You are on page 1of 20

การแพทย์ล้านนา

การแพทย์พื้นเมืองล้านนาเชียงใหม่ มีลักษณะของการแพทย์แบบองค์รวม โดยผสมผสานองค์ความรู้


การรักษาโรค ความป่วยไข้ของผู้คน ร่วมกับระบบสังคมวัฒนธรรมของชุมชน โดยมีการใช้ความเชื่อ กฎ
ระเบียบ ประเพณีที่ชุมชนคิดร่วมกันและมีการสืบทอดต่อๆ กันมาในสังคมเชียงใหม่เป็นระยะเวลายาวนาน
เป็นกระบวนการทางสาธารณสุขและองค์ความรู้ที่ผู้บวชเรียนตามประเพณีล้านนาต้องศึกษาเรียนรู้ เชื่อมโยง
แนวทางการรักษาและป้องกันเข้ากับความเชื่อที่ผูกพันแนบแน่นอยู่ในสังคม การดําเนินชีวิตประจําวัน มีการ
ให้คําอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุการเกิ ดโรค อาการเจ็บป่วยไว้ ในลักษณะของความเกี่ยวพันระหว่างคนกับ
ธรรมชาติ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และความเชื่อทางศาสนา ได้แก่ สาเหตุจากการกระทําของผี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไสยศาสตร์
โหราศาสตร์ และผลของกรรมที่ส่งผลให้เป็นไปต่างๆ นานา
การบําบัดรักษาอาการป่วยไข้ต่างๆ โดยอาศัยเครื่องมือ การรักษาด้วยตัวยาจากสมุนไพรที่เชื่อว่ามี
สรรพคุณในการรักษา ผสมผสานกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา รวมถึงการใช้หลัก
จิตวิทยาเพื่อบําบัดอาการของผู้ป่วยประกอบเข้าด้วยกัน (ประยุทธ, 2552)

ในสมัยพระนางจามเทวีธิดาเจ้าเมืองละโว้ครองเมืองหริภุณชัยมีการกล่าวถึงหมอยาในตํานานจาม
เทวีวงศ์ในตํานานมูลศาสนา โดยกล่ าวเรียงตามความสําคัญเริ่มจากพระมหาเถระ คนถื อศีล ตามด้วย
นักปราชญ์ ช่าง หมอโหร และหมอยา สมัยราชวงศ์มังราย ที่มีพญามังรายเป็นพระมหากษัตริย์ครองเมือง
นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ นักพัฒนาที่สําคัญ ไม่ได้มีบันทึกเกี่ยวกับการแพทย์ชัดเจน และเมื่อมาถึงรัชสมัย
พระเมืองแก้ว (พ.ศ.2038-2068) ได้มีบันทึกถึง “ยาแก้ 5 ต้น” กล่าวถึงพระฤาษี 5 ตนที่มีผิวพรรณดี
ร่างกายแข็งแรงและอายุเกินร้อยได้บอกแนะนําสมุนไพร 5 ประเภท ได้แก่ “ประล่องม่อน หย่อนถงพา(ผา)
ตาผีบอด รอดเมืองพรหม และขมเหลือเพี้ย” ซึ่งสมุนไพร 5 ชนิดดังกล่าวหมายถึง หมูปล่อยซึ่งเป็นพืชเถา
แตงเถื่อน หนาดดํา บอระเพ็ด และต้นเนียมฤาษี และเมื่อหมอหลวงปรุงแล้ว พบว่าได้ผลดี จึงบันทึกไว้เป็นยา
ตําราหลวง และพระองค์ก็มอบหมายให้พระสงฆ์ปรุงยาร่วมกับทําพิธีเจริญพระพุทธมนต์ในช่วงเข้าพรรษา
และนําแจกจ่ายแก่ประชาชนในวันออกพรรษาถือเป็นยาอายุวัฒนะ ต่อมาในปี พ.ศ.2101 อาณาจักรล้านนา
เสียเอกราชแก่พม่า แต่ตําราสมุนไพรในวัดต่างๆก็ยังไม่สูญหายไปแต่ไม่ได้ถูกรวบรวมไว้เป็นตํารับหลวง
หลังจากนั้นอาณาจักรล้านนาก็ตกเป็นประเทศราชของไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระ
นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้จารึกตํารายาไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในปี พ.ศ.2375 โปรดให้พระ
ยาบําเรอราชแพทยา นําตํารายามาจารึกบนแผ่นหินแล้วติดไว้ตามศาลารายหลังต่างๆ ดังปรากฏหลักฐานใน
โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ความตอน
หนึ่งว่า
๏ พระยาบําเรอราชผู้ แพทยา ยิ่งฤๅ
รู้รอบรู้รักษา โรคฟืน้
บรรหารพนักงานหา โอสถ ประสิทธิเ์ อย
จําหลักลักษณะยาพื้น แผ่นไว้ทานหลัง
และในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีการพิมพ์ตํารับยา 2 เล่ม คือ ตําราเวชศาสตร์วรรณา และตําราแพทย์
ศาสตร์สงเคราะห์ และเมื่อมีการตั้งกระทรวงศึกษาธิการ ทางกระทรวงก็ได้พิมพ์ตําราแพทย์ข้ึนอีกในปี พ.ศ.
2447 เรียกว่าตําราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์แต่เนื้อหาว่าด้วยการแพทย์ตะวันตกเกือบทั้งหมด จะมียาไทย
เหลืออยู่บ้างในส่วนที่ไม่มียาตะวันตกใช้เท่านั้น ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 การปกครองหัวเมืองล้านนามีความ
ใกล้ชิดและเข้มงวดมากขึ้น วัฒนธรรมหลายอย่างจากกรุงเทพฯจึงได้แพร่เข้าสู่ดินแดนล้านนาด้วยโดยเฉพาะ
ล้านนาในยุคหลัง นอกจากนี้ก็มีบริษัทค้าไม้สักต่างชาติซึ่งมีชาวพม่าเข้ามาทํางานด้วย ก็มีการนํายาสมุนไพร
พม่ า เข้ า มาด้ ว ยและยาบางขนานก็ เ ป็ น ที่ นิ ย มของคนท้ อ งถิ่ น จากการสํา รวจตามวั ดต่ า งๆที่ผ่ า นมาโดย
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พบตํารายาเป็นจํานวนมาก ซึ่งสถาบันวิจัยฯ ได้นํามาถ่ายเป็น
ไมโครฟิล์มเก็บรักษาไว้ พบว่าตํารายาล้านนาที่เขียนด้วยอักษรพื้นเมืองหรืออักษรธรรมยังไม่ได้รวบรวมเป็น
หมวดหมู่ ส่วนใหญ่พูดถึงสรรพคุณของยาในการรักษาโรค อาจเป็นการใช้ยาสมุนไพรชนิดเดียว ไปจนถึง
ตํารับยาที่มีตัวยา 47 ชนิด (ยารักษาโรคพิษสุนัขบ้ามีสมุนไพรมากที่สุด) แต่ไม่มีการกล่าวถึง สมุฎฐานของ
โรคเช่นในยาตําราหลวงของภาคกลาง และจะมีความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์มาเกี่ยวข้องด้วย การถ่ายทอด
องค์ความรู้มีอยู่หลายวิธี เช่น การบันทึกตํารับยาอยู่ในพับสา (ปั๋บสา) ใบลาน ตลอดจนถ่ายทอดรุ่นสู่รุ่น
เรื่อยมาโดยการฝึกปฏิบัติในครอบครัวและชุมชน จนกระทั่งการแพทย์แผนปัจจุบันเข้ามาถึงโดยการนําของ
คณะมิชชันนารีชาวอเมริกันมาตั้งโรงพยาบาลแมคคอร์มิกทําให้มีความนิยมของการใช้สมุนไพรและการรักษา
พื้นบ้านลดลง และยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด ความเชื่อ รวมถึงพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพทั้งหมด
วิธีการรักษาด้วยหมอพื้นบ้าน หรือ หมอเมือง หรือหมอพื้ นเมือง จะประกอบด้ วยคุ ณค่า ความ
ศรัทธา ความเชื่อ และวัฒนธรรมเน้นเรื่องการกิน การอยู่ และวิถีชีวิต ซึ่งจะต้องครบวงจร เช่นรู้คาถา
พิธีกรรม โหราศาสตร์ การตัดเกิด สะเดาะเคราะห์ และใช้สมุนไพร ทําให้มีการผสมผสานเชื่อมโดยงกันทั้งใน
ส่วนของกาย ใจและจิตวิญญาณ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทรรศนะ และความเชื่อซึ่งมีอิทธิพลมาจากลัทธิ
พราหมณ์และพุทธศาสนา โดยเชื่อว่าเหตุแห่งการเจ็บป่วยเกี่ยวข้องกับกรรม ทั้งกรรมจากการกระทําใน
ปัจจุบันและกรรมจากการสั่งสมมาแต่อดีตชาติ ชาวล้านนาเชื่อว่าคนประกอบขึ้นจากรูปกับนาม คือ กาย
(ธาตุ) กับใจ(ขวัญ) อย่างสมดุลและสัมพันธ์กัน ถ้าเสียไป เช่นขวัญตก ขวัญหาย หรือธาตุเสีย ธาตุอ่อน ธาตุ
พิการจะมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ เชื่อว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุท้ัง 5 ได้แก่ ดิน น้ํา ลม ไฟ และอากาศ
ธาตุหรือธาตุพระเจ้า และการพิจารณาสมุฎฐานของโรค โดยดูอายุ อาชีพ ครอบครัว ความประพฤติ อาหาร
การกิน การเจ็บป่วยในอดีต ดูดวง คํานวณธาตุตามอายุ การเสี่ยงทายโดยหมอเมื่อ ใช้คาถา นั่งทางใน
ทํานายจากนิมิต ตลอดจนใช้ไม้วาคนไข้ และหาสาเหตุว่าเกิดจากขวัญ หรือเคราะห์(วิบาก/เวรกรรม) หรือผี
หรือเลือดลม(ธาตุ) หรือจากการเบียดเบียนของพยาธิ
วิธีการรักษาโรคของหมอเมือง แบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ๆ คือ
1. การรักษาโรคทาง “ไสยศาสตร์” คือ การใช้คาถาอาคม ได้แก่ การแฮก การเสกเป่า การเช็ด
การใช้น้ํามันมนต์
2. การรักษาโรคแบบ “มด” คือ การทรงเจ้าเข้าผี รักษาด้วยจิตวิญญาณ
3. การรักษาโรคแบบ “หมอยา” คือ การใช้ยาสมุนไพรต่างๆ อาจอยู่ในรูปแบบยาผง จากสมุนไพร
ตากแห้ง ยาต้มโดยใช้ส่วนของสมุนไพรตากแห้ง ทําเป็นมัดๆหรือซอย สําหรับต้มทาน ยาฝน นํา
ส่วนราก ลําต้น หรือหัวของพืชตากแห้ง นํามารวมเป็นชุดแล้วฝนกับหินให้น้ํายาหยดลงในขัน ยา
ลูกกลอน เป็นยาที่ตําเป็นผงแล้วผสมกับน้ําผึ้งหรือน้ํามะขามเปียกให้เหนียวแล้วปัน้ เป็นลูกกลอน
ยาธาตุเป็นยาบํารุงร่างกายเป็นยาที่ตําเป็นผงแล้วผสมกับน้ําผึ้งใส่กระออมไว้กินประจําวัน อาจ
เรียกว่ายาธาตุน้ําผึ้ง ยาสด เอาสดๆแล้วใช้ทันที เก็บไว้นานไม่ได้ ใช้ชะโลมหรือพอก

ถ้ามีท้งั 3 วิธรี วมกัน เรียกว่าการรักษาแบบ “มดหมอ”


การแฮก เป็นการใช้วัตถุเสกเป่าเอาไปกดหรือขูดตามร่างกายตามจุดที่จะทําการรักษา โรคส่วนใหญ่มักเป็น
ก้อนเนื้อ หรืออาการปวด ทําโดยฝนหัวไพลสดกับหินให้น้ําหยดลงในขันใส่น้ํา แล้วบริกรรมคาถาเป่าลงไปที่
น้ํา ให้คนป่วยกินน้ํา แล้วใช้หัวไพลหรือวัตถุอื่น เช่นหินเสียมตุ่นที่มีรูปคล้ายฟันตัวตุ่น หรือแสงพระว้องเป็น
สัมฤทธ์วงกลมคล้ายกําไล หรือมีดที่ทําด้วยวัตถุต่างๆเช่น เขาวัวควายที่ตายจากฟ้าผ่า งาช้าง หรือเหล็ก เป็น
ต้น นําไปแหกขูดบริเวณจุดที่ทําการรักษา แหกจากส่วนบนของร่างกายลงไปส่วนล่าง แล้วนําน้ําในขันเท
ออกไปนอกเรือน พ่อหมอล้างมือแล้วทําการปลุกเสกน้ํามนต์ให้คนไปไปดื่มที่บ้านบางแห่งก็จะใช้ใบพลู 9 ใบ
เสกคาถาแล้วนําไปลูบตามจุดที่บวมก่อนที่จะนํามีดแหกมาเสกคาถาแล้วนําไปสับบริเวณที่มีอาการบวม
พร้อมกับท่องคาถาเสกเป่าไปด้วย เรียกว่าการเช็ดแฮก
การเป่า เป็นการบริกรรมคาถาเป่าลงไปบนร่างกายที่เจ็บป่วย เช่น โรควิงเวียน ตาแดง งูสวัด แผล แมลง
หรือสัตว์มีพิษกัดต่อย แล้วก็จะทําการปลุกเสกน้ํามนต์ให้คนไปไปดื่มที่บ้าน
การเช็ด เป็นการนําใบไม้หรือใบพลูเสกเป่าด้วยอาคมมาเช็ดถูบริเวณทีม่ ีอาการเจ็บป่วยตามร่างกาย
การใช้น้ํามันมนต์ ใช้น้ํามันที่ได้จากสัตว์เช่น น้ํามันเยือง (เลียงผา) น้ํามันหมูจากหมูดํา น้ํามันจากพืช เช่น
จากมะพร้าว งา นํามาบริกรรมคาถาและเสกเป่า นํามารักษาโรคปวดจากกระดูกแตกหัก เอ็นพลิก บอบช้ํา
ตามร่างกาย
ขวากซุย นํามาใช้รักษาแผลสดและแผลเน่าเปื่อย โดยนําอิฐ(มะดินกี่) ถ่านไม้สัก ขี้ข่าหง้อง(หยากไย่ใน
ห้องครัวที่ถูกรมควัน) ปูนขาวและหมิ่นหม้อนึ่ง (เขม่าที่จับอยู่ที่ก้นหม้อนึ่ง) นํามาผสมแล้วตําให้เข้ากันแล้ว
นําไปทาบนแผล พร้อมกับมีการเสกเป่าด้วย

นอกจากนี้ยงั มีวิธีการรักษาเพื่อบรรเทาอาการปวดได้แก่
1. การนวด รักษาด้วยการใช้มือบีบ ซึ่งจะมีท้ังคนบีบนวดที่ไม่ได้เป็นหมอที่เป็นการบีบนวดเพื่อคลาย
เส้นตึงในร่างกาย กับคนที่มีความรู้ในด้านหมอที่มีความรู้ในด้านยาสมุนไพรและรับรักษาโรคซึ่ง
เรียกว่าเป็นหมอชาวบ้าน จะต้องมีการศึกษาเอ็นสําคัญในร่างกายคนและจุดสําหรับการบีบนวดและ
มีตําราให้ศึกษา ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคปวดและโรคอย่างอื่นได้เช่น แน่นหน้าอก ปัสสาวะติดขัด แขน
ไม่มีกําลัง และมีการใช้ปลิงดูดเลือดเข้าช่วยด้วย
2. การย่ําขาง เป็นการใช้รักษาโรคโป่งคือมีอาการปวดตามแข้งขา โดยหมอผู้ทําพิธีจะกล่าวคําไหว้ครู
และเอาน้ํามันงาทาตัวคนไข้ แล้วหมอจะเอาเท้าจุ่มในกาละมังที่มีน้ํามันไพลแล้วไปเหยียบไปที่ใบขาง
ที่เป็นเหล็กหล่อได้จากใบไถที่ใช้ไถนาที่วางอยู่บนเตา เมื่อถูกความร้อนน้ําที่เท้าหมอจะร้อนซ่าเป็นไอ
แล้วหมอใช้เท้าดังกล่าวเหยียบลงไปบริเวณที่ทําการรักษา
3. การตอกเส้น โดยหมอจะกล่าวคําไหว้ครูแล้วใช้น้ํามันเยือง(น้ํามันเลียงผา)หรือน้ํามันนวดทาบริเวณ
ที่ปวด แล้วใช้คันไม้จรดไปที่บริเวณนั้นและใช้ค้อนตอกไปที่คันไม้น้นั พร้อมกับย้ายไปมา
4. การจู้(ประคบ) แบบเร่งด่วนจะใช้ผ้าม้วนแล้วเป่าเอาลมร้อนสู่ผ้าแล้วประคบบริเวณรอยช้ํา หรืออาจ
ประคบโดยสมุนไพรโดยทําเป็นลูกประคบซึ่งนําสมุนไพรห่อด้วยผ้าทําเป็นลูกกลมๆรวบชายผ้าไว้
ด้านบนแล้วผูกด้วยเชือก ถ้าเป็นสมุนไพรที่ตําตากแห้งเวลาใช้ให้นําไปนึ่งแล้วจึงนําไปประคบ ถ้าเป็น
สมุนไพรสดจะใช้อิฐหรือเศษกระเบื้องมุงหลังคาเผาไฟให้ร้อนแล้วนําลูกประคบไปนาบแล้วจึงนําไป
ประคบบริเวณที่ทําการรักษา

การแพทย์ยุคมิชชันนารีอเมริกันในเชียงใหม่ (พ.ศ. 2410 - 2445)


ชาวเชียงใหม่ได้รับวิทยาการความรู้ด้านการแพทย์ การรักษาพยาบาลแบบตะวันตก เริ่มต้นตั้งแต่เมือ่
ปี พ.ศ.2410 ครั้ง ที่มิ ชชัน นารีคณะอเมริกัน เพรสไบที เ รี ย น นําโดย ศาสนาจารย์เดเนียล แมคกิลวารี
(Daniel McGilvary) ได้รับอนุญาตจาก พระเจ้ากาวิโลรส เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 6 (พ.ศ. 2399-
2413) ให้เดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในเชียงใหม่ ควบคู่ไปกับการเผยแพร่วิทยาการ ด้านการศึกษา
และการแพทย์ แต่การขยายงานด้านศาสนาไม่ประสบความสําเร็จเท่ากับด้านการบุกเบิกและจัดวางระบบ
การแพทย์ ที่ เ ป็ น ไปได้ ด้ วยดี โดยเฉพาะในช่ ว งปี พ.ศ. 2414-2415 ที่ มี นายแพทย์ช าร์ ล วรู แมน (Dr.
Charles Vrooman) เป็นแพทย์มิชชันนารีคนแรกที่ปฏิบัติงานอยู่ในประเทศลาว เดินทางย้ายมาประจําการ
ที่ศาสนจักรเชียงใหม่ ส่งผลให้คณะมิชชันนารีขยายบทบาทด้านการแพทย์ได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ต่อมานายแพทย์แมเรียน เอ. ชีค (Dr.Marion A. Cheek) หรือที่ชาวบ้านเรียก หมอชิก เข้ามารับ
งานด้านนี้ในระหว่าง พ.ศ. 2418 - 2428 จากนั้นจึงลาออกไปทํากิจการป่าไม้ งานการแพทย์ของมิชชันนารี
ในระยะนี้จัดบริการแบบโอสถศาลา (Dispensary) และออกไปให้การรักษาตามบ้านผู้ป่วย จนกระทั่งถึง พ.ศ.
2429 จึงจัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวโดยความรับผิดชอบของนายแพทย์เอ.เอ็ม.แครี่ (Dr. A. M. Cary)
โรงพยาบาลของมิชชันนารีได้รับการพัฒนาให้มีความก้าวหน้ามั่นคงมากยิ่งขึ้น เมื่อนายแพทย์แมคเคน เข้ามา
รับผิดชอบใน พ.ศ. 2433
นายแพทย์ เจมส์ ดับบลิว แมคเคน (Dr. James W. McKean) แพทย์มิชชันนารีอเมริกัน เป็น
บุคคลสําคัญอีกท่านหนึ่งที่เดินทางเข้ามาในเชียงใหม่ และใน พ.ศ. 2447 ริเริ่มสร้างห้องทดลองผลิตวัคซีน
สําหรับปลูกฝีดาษโดยใช้เวลาถึง 10 ปีพยายามผลิตวัคซีนนี้ในโรงพยาบาลมิชชันนารีจนสําเร็จ และให้การ
ฝึกหัดคนปลูกฝี และส่งไปบําบัดผู้ป่วยตามหมู่บ้านที่ห่างไกล นอกจากนี้ยังได้นําเครื่องจักรเข้ามาผลิตยา
ควินิน สําหรับใช้รักษาคนไข้มาลาเรียในเชียงใหม่
นายแพทย์แมคเคน ได้สร้างโรงพยาบาลขึ้นในเชียงใหม่ อยู่ทางด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ําปิง โดย
ได้รับเงินจาก มิสซิสไซรัส เอช แมคคอร์มิค เพื่อสร้างตึกอํานวยการโรงพยาบาลแห่งนี้ ใช้ชื่อครั้งแรกว่า
โรงพยาบาลเชียงใหม่ เป็นสถานที่ผลิตวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษและใช้เป็นที่รักษาพยาบาลคนไข้กว่า ๔๐ ปี
จึงได้ย้ายจากที่เดิมไปสร้างในที่แห่งใหม่ ซึ่งกลายเป็นโรงพยาบาลแมคคอร์มิคในปัจจุบัน
ต่อมา นายแพทย์แมคเคน เกิดความสนใจในโรคเรื้อน ซึ่งในสมัยนั้น บริเวณเกาะกลางแม่น้ําปิง ทาง
ทิศใต้ของสะพานนวรัฐ เมื่อหมดช่วงฤดูฝน จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อนเดินทางมาจากหมู่บ้านท่าปี อําเภอจอมทอง
พากันเข้ามาอาศัยอยู่ชั่วคราว และประกอบอาชีพขอทานในตัวเมือง จนถึงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่น้ําท่วมเกาะ ก็
จะพากันอพยพกลับไปหมู่บ้านและกลับมาอีก เป็นเช่นนี้อยู่ทุกปี ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้เป็นที่น่ารังเกียจกลัวของ
ประชาชนทั่วไป และโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการรักษา เป็นช่องทางที่ทําให้เชื้อโรคเรื้อนแพร่กระจายได้
ใน พ.ศ. 2451 นายแพทย์แมคเคน จึงขออนุญาตจาก เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 8
(พ.ศ. 2444-2452) ใช้พ้ืนที่บริเวณเกาะกลางแม่น้ําปิง จัดสร้างนิคมผู้ป่วยโรคเรื้อน เป็นสถานที่ดําเนินการ
ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อนในเชียงใหม่ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 ได้พัฒนามาจนเป็นที่รู้จักกันในชื่อ
“โรงพยาบาลโรคเรื้อนแมคเคน” โรงพยาบาลโรคเรื้อนแห่งแรกในประเทศไทย มาจนถึงปัจจุบัน
ขณะที่โรงพยาบาลของมิชชันนารีอเมริกัน มีนายแพทย์เอ็ดวิน ซี. คอร์ท (Dr. Edwin C. Cort) เข้า
มารับผิดชอบแทนตั้งแต่ พ.ศ. 2456 เป็นต้นมา
นายแพทย์คอร์ทได้พัฒนาโรงพยาบาลให้เจริญเป็นที่ยอมรับของผู้คนอย่างกว้างขวาง จนในทีส่ ดุ โรง
พยาบาลเดิม ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก รับผู้ป่วยพักรักษาตัวได้เพียง 8 เตียง มีความคับแคบลง ใน พ.ศ.
2463 จึงมีการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ ขึ้นที่บ้านหนองเส้ง ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ําปิง และก่อสร้าง
แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2468 ตั้งชื่อว่า “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” ตามชื่อของผู้บริจาคเงินทุนในการก่อสร้าง
และมีพิธีเปิดโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
(สมเด็จพระราชบิดา) เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2468 และใน
พ.ศ. 2472 พระองค์ยังเสด็จมาทรงงานแพทย์ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ กระทั่งเสด็จทิวงคตในเดือนพฤศจิกายน
พ.ศ. 2472 ที่กรุงเทพฯ
ในปี พ.ศ. 2459 นายแพทย์คอร์ทได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดแพทย์ขึ้น มีนักศึกษาแพทย์รุ่นแรกและรุ่น
เดียวก็ยุติลง นอกจากนี้ยังจัดตั้งโรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์ขึ้น ใน พ.ศ. 2466 เพื่อเตรียมบุคลากร
สําหรับระบบโรงพยาบาลสมัยใหม่ นับเป็นโรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย และแห่ง
แรกในส่วนภูมิภาค โดยทําการสอนสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันคือ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์
มิค มหาวิทยาลัยพายัพ (ประสิทธิ์, 2551)
ในสมั ย นั้ น เชี ย งใหม่ ป ระสบปั ญ หาด้ า นสาธารณสุข คื อ การระบาดของไข้ ท รพิ ษ หรื อ โรคฝี ด าษ
(Smallpox) ไข้มาลาเรีย (Malaria) โรคเรื้อน (Leprosy) อหิวาตกโรค (Cholera) และการขาดแคลนแพทย์อย่าง
มาก จนกระทั่ง พ.ศ. 2456 รัฐบาลไทยมีการจัดตั้ง “โอสถสภา หรือ โอสถสถาน โอสถศาลา” และ ใน พ.ศ.
2475 เปลี่ ย นชื่อ เรี ย กว่ า “สุ ข ศาลา” ขึ้น เพื่อ เป็น สถานที่ ใ ห้ ก ารรัก ษาพยาบาล ป้ องกั น โรคระบาดและ
โรคติดต่ออันตรายให้แก่ราษฎรในชุมชน และจัดให้มีแพทย์ผู้ทําหน้าที่แพทย์ประจํามณฑล แพทย์ประจําหัว
เมือง หรือ แพทย์สาธารณสุขจังหวัด และแพทย์ประจําตําบล ทําให้ระบบการแพทย์และสาธารณสุขของ
เชียงใหม่และในภาคเหนือพัฒนาเจริญมากขึ้น (กรมวิชาการ, 2543)
แพทย์ประจํามณฑลพายัพ
พระพิจิตรโอสถ หรือ หมอรอด สุตันตานนท์ เป็นบุตรของ หลวงวิเชียรโอสถ (ชื่น) และหม่อม
ราชวงศ์หญิงปริก อิศรางกูร ซึ่งหลวงวิเชียรโอสถ เป็นแพทย์แผนโบราณ และแพทย์หลวงในราชสํานักของ
รัชกาลที่ 5 ช่วยเหลือราชการเมื่อมีโรคระบาด เมื่อมีการตั้งโรงพยาบาลศิริราชขึ้นใน พ.ศ.2431 หลวงวิเชียร
โอสถเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอน
พระพิจิตรโอสถ เรียนจบโรงเรียนราชแพทยาลัย เป็นนักเรียนแพทย์รุ่นที่ 7 สอบไล่ได้เป็นที่ 1 และ
ออกรับราชการเป็นแพทย์ประจําศิริราชพยาบาลเมื่อปี พ.ศ.2444 ขณะนั้นรัชกาลที่ 5 ปรับการปกครองหัว
เมืองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล มีคณะข้าหลวงประจําอยู่ในจังหวัดที่เป็นที่ต้ังมณฑล โดยมีแพทย์ประจํา
มณฑลอยู่ในคณะข้าหลวงด้วย พระพิจิตรโอสถได้สมัครเป็นแพทย์ประจํามณฑลพายัพที่เมืองเชียงใหม่
เนื่องจากต้องการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่เมื่อปลายปี พ.ศ.2444 ร่วมกับ
พระยานริศราชกิจ ข้าหลวงใหญ่มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ รับผิดชอบด้านการแพทย์ท้ังเมืองเชียงใหม่
ลําพูน ลําปาง แพร่ น่าน เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียงแพทย์ประจําตัวข้าหลวงใหญ่เพียง
คนเดียว ชื่อ หมอจําปี หลังจากนั้นชาวเมืองเชียงใหม่ก็รู้จักและพึ่งหมอรอด เมื่อยามเจ็บป่วย หมอรอดยัง
เป็นหมอหลวงประจําองค์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ คือ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 8
(พ.ศ. 2444-2452), เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 9 (พ.ศ. 2454-2482) และพระราชชายาเจ้า
ดารารัศมี (พ.ศ. 2416-2476) ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุนประสิทธิ์เวชสาตร(พ.ศ.
2449), ขุนพิจิตรโอสถ , หลวงพิจิตรโอสถและพระพิจิตรโอสถ ตามลําดับ ระยะแรกพระพิจิตรโอสถมีบ้าน
และเปิดเป็นคลินิกรักษาคนไข้ที่ต้นถนนเจริญประเทศตรงข้ามจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

ภาพประกอบ บ้านหลังเดิมของพระพิจิตรโอสถ (ภาพ: บุญเสริม สาตราภัย)

ด้านครอบครัวสมรสกับเจ้ากาบคํา ณ ลําพูน ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าเลากู๊และเจ้าคําป้อ ณ ลําพูน มี


บุตรธิดา ๔ คน คือ พันเอกวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) ซึ่งดํารงตําแหน่งนายกเทศมนตรีนคร
เชียงใหม่เป็นคนแรก ใน พ.ศ. 2479-2480, นางเฉลิม บุษบรรณ , นางฉลอง สารสิทธิประกาศ และ นาง
ฉลวย ณ ลําพูน โดยเมื่อครอบครัวได้โยกย้ายไปอยู่ที่ย่านช้างเผือก เนื้อที่กว้างขวาง ปัจจุบันเป็นบริเวณ
โรงแรมโนโวเทล
พระพิจิตรโอสถรับราชการเป็นแพทย์อยู่ที่เมืองเชียงใหม่ตลอดอายุราชการรวม ๒๕ ปีจนเกษียณเมื่อ
ปี พ.ศ.๒๔๖๙เสียชีวิตเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๙๘ ที่บ้านย่านช้างเผือก ขณะอายุ ๗๒ ปี (เรือนไทย วิชาการ
ดอทคอม, 2554)
แพทย์ประจําเมือง หรือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
ก่อนปี พ.ศ. 2436 มีแพทย์ผู้ทําหน้าที่แพทย์ประจําเมืองเรียกว่า “หมอหลวงประจําเมือง” โดยให้
ผู้ว่าราชการเมืองเลือกหาหมอที่มีความรู้พอวางใจได้และแต่งตั้งให้ทําหน้าที่นี้ ภายหลัง พ.ศ. 2436 เมื่อมี
แพทย์ประกาศนียบัตรจบการศึกษาแล้ว ก็ได้ออกไปรับราชการในตําแหน่งแพทย์ประจําเมืองบ้าง แต่ก็เป็น
จํานวนน้อยแห่ง จวบจนกระทั่ง พ.ศ. 2442 สมเด็จฯกรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงกําหนดให้แพทย์ประจํา
เมืองที่จะรับใหม่ต้องมีความรู้ทางผ่าตัดและรักษาบาดแผลด้วย แพทย์แผนปัจจุบันจึงได้กระจายออกสู่
ต่างจังหวัดมากขึ้น และต่อมาเมื่อเปลี่ยนคําว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยลง
วั น ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 แล้ ว ก็ ไ ด้ เ ปลี่ ย นชื่ อ แพทย์ ป ระจํ า เมื อ ง เป็ น แพทย์ ป ระจํ า จั ง หวั ด ซึ่ ง
เปลี่ยนแปลงมาเป็นนายแพทย์อนามัยจังหวัด และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในที่สุด
หมอหลวงประจําหัวเมือง และ แพทย์ประจําเมืองเชียงใหม่ สังกัดกรมสาธารณสุข
กระทรวงมหาดไทย มีรายนามผู้ดํารงตําแหน่งตามลําดับ ดังนี้
1. พระบําราบนราพาธ
2. หลวงกสิวฒั น์ วิบูลย์เวช
3. หลวงอายุรกิจโกศล
4. ขุนเฉลิมอาติแพทย์
5. นายแพทย์ เปี่ยม มุสิกภุมมะ
6. นายแพทย์ สมบูรณ์ มณเฑียรมณี
7. นายแพทย์ ชลอ จันทร์สวุ รรณ
8. นายแพทย์ นัดดา ศรียาภัย
ต่อมาหลังวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2502 ได้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า อนามัยจังหวัด มีรายนามแพทย์ผู้ดํารง
ตําแหน่ง นายแพทย์อนามัยจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
1. นายแพทย์ อมร นนทสุต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2503 – 30 เมษายน พ.ศ. 2510
2. นายแพทย์ สุธรรม หิรัญนิรมล 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 – 30 กันยายน พ.ศ. 2513
3. นายแพทย์ ปรีชา ดีสวัสดิ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2513 – 30 กันยายน พ.ศ. 2517
หลังจากนั้นจึงได้ทําการเปลี่ยนชื่อ อนามัยจังหวัด มาเป็น สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งมีรายนาม
แพทย์ผ้ดู ํารงตําแหน่ง “นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่” ดังนี้
1. นายแพทย์ จํารูญ ศิริพนั ธ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
2. นายแพทย์ อุทัย สุประดิษฐ์ 1 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2527
3. นายแพทย์ อนันต์ ลาภสมทบ 1 มกราคม พ.ศ. 2528 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534
4. นายแพทย์ ทวีศกั ดิ์ บัวน้าํ จืด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 30 กันยายน พ.ศ. 2535
5. นายแพทย์ ธงชัย เติมประสิทธิ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
6. นายแพทย์ ธํารงค์ สมบุญตนนท์ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543
7. นายแพทย์ วุฒิไกร มุ่งหมาย 30 มิถนุ ายน พ.ศ. 2543 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2546
8. นายแพทย์ รัฐวุฒิ สุขมี 20 มิถุนายน พ.ศ. 2546 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
9. นายแพทย์วัฒนา กาญจนกามล 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน (ประวัติสํานักงาน
สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่, ม.ป.ป.)

แพทย์ประจําตําบล
การจัดให้มีแพทย์ประจําตําบล เป็นความคิดของเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฏศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เมื่อ
ครั้งเป็นพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก โดยขอตั้งหมอพื้นเมืองเป็นแพทย์
ประจําตําบล เพื่อให้ช่วยจดบันทึกคนเกิดคนตาย ได้ทดลองทําอยู่ 2-3 ปี (พ.ศ. 2484-2450) ต่อมา สมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ในฐานะเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรงดําริให้กํานัน
ผู้ใหญ่บ้านเลือกหมอแผนโบราณในท้องที่ ตั้งให้เป็นหมอประจําตําบลเพื่อแบ่งเบาภาระแพทย์ประจําเมืองใน
การปลู ก ฝี แ ละจํ า หน่ า ยยาตํ า ราหลวง ปรากฏว่ า การปฏิ บั ติ ไ ด้ ผ ลเป็ น ที่ น่ า พอใจ ใน พ.ศ. 2457
กระทรวงมหาดไทยจึงแก้ไขพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 ให้มีตําแหน่งแพทย์ประจําตําบล
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (ประกอบ ตู้จินดา, สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9)

โรงพยาบาลนครเชียงใหม่
ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2484-2488) เทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งหลวงศรีประกาศ
เป็นนายกเทศมนตรี ในเวลานั้น มีนโยบายจะขยับขยาย โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่ ที่ต้ังอยู่ถนนวิ
ชยานนท์ บริเวณใกล้กับสี่แยกอุปคุต ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเพียงแห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เหมาะสม
กับความเจริญก้าวหน้าของเทศบาลนครเชียงใหม่ และจํานวนผู้ป่วยที่มารับบริการตรวจรักษาซึ่งมีเพิ่มมาก
ขึ้น เนื่องจากมีจํานวนเตียงผู้ป่วยเพียง 11 เตียง และต้องใช้สถานที่ร่วมกับสํานักงานเทศบาลฯ จึงจัดตั้ง
คณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วย เทศมนตรี นายแพทย์เทศบาล และสมาชิกเทศบาล เพื่อพิจารณาหา
สถานที่ที่เหมาะสมสําหรับสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2482 เทศบาลตกลงซื้อ ที่ดินของพันโท
พระอาสาสงคราม(ต๋อย หัสดิเสวี) (สมโชติ, 2553; ระเบียบ, 2504) ในตําบลสุเทพ บริเวณทิศตะวันตกด้าน
นอกประตูสวนดอก เนื้อที่ 30 ไร่ 80 ตารางวา ในราคา 5,200 บาท โดยเหตุผลว่า เป็นที่ที่มีอากาศดี
สามารถมองเห็นพระธาตุดอยสุเทพ เด่นชัด และไม่อยู่ห่างไกลมากนัก ผู้ป่วย ประชาชน สามารถเดินทางมา
โรงพยาบาลได้สะดวก เมื่อจัดซื้อที่ดินแล้ว จึงติดต่อขอแบบแปลนจากกรมสาธารณสุข และเริ่มก่อสร้าง ในปี
พ.ศ. 2482 โดยสร้างตึกอํานวยการขึ้นเป็นหลังแรก เป็นตึก 2 ชั้น ใช้งบประมาณของเทศบาลฯ เป็นเงิน
38,225 บาท ในปีต่อมาสร้างตึกผู้ป่วย เป็นอาคาร 2 ชั้น มีจํานวนเตียง 50 เตียง โดยใช้งบประมาณจาก
เทศบาลฯ 22,050 บาท และได้รับจากกรมสาธารณสุข 2,000 บาท
เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้อนุมัติงบประมาณ สร้างโรงครัว 3,800 บาท โรงซักฟอกและโรงพักศพ
1,650 บาท และกรมสาธารณสุขให้เงินสนับสนุนสร้างถังน้ําใช้ในโรงพยาบาล 837.96 บาท
นายแพทย์ยง ชุติมา (พ.ศ.2443-2507) ได้อุทิศที่ดินที่อยู่ติดกับโรงพยาบาล จํานวน 4 ไร่เศษ
ให้กับโรงพยาบาลฯ ทําให้มีเนื้อที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการ เทศบาลฯ ได้ติดต่อกับกรมสาธารณสุข เพื่อขอ
แพทย์เพิ่ม ซึ่งทางกรมฯ มีความเห็นว่า เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูง เมือ่
เทียบกับรายได้ของเทศบาลแล้ว อาจจะไม่เพียงพอ ประกอบกับไม่มีแพทย์สมัครมาทํางาน เนื่องจากเป็น
โรงพยาบาลในสังกัดเทศบาลฯ เมื่อแพทย์เกษียณอายุแล้ว จะไม่ได้รับบําเหน็จบํานาญดังข้าราชการทั่วไป
ดังนั้น กรมฯ และเทศบาลฯ จึงมีความเห็นร่วมกันให้โอนโรงพยาบาลแห่งนี้ไปอยู่ในสังกัดกรมสาธารณสุข ใน
ปี พ.ศ.2484 พร้อมกับนําเครื่องมืออุปกรณ์แพทย์ของโรงพยาบาลที่มีอยู่เดิม ไปใช้ในโรงพยาบาลที่เปิดใหม่
แห่งนี้ด้วย
สําหรับการตั้งชื่อโรงพยาบาลนั้น ในตอนแรกเทศบาลฯ เห็นว่า เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการริเริ่มก่อสร้าง
โรงพยาบาลนี้และใช้เงินงบประมาณเทศบาลฯ ในการก่อสร้างไปเป็นจํานวนมาก จึงขอตั้งชื่อโรงพยาบาลนี้
ว่า “โรงพยาบาลเทศบาลนครเชียงใหม่” โดยขอให้ติดป้ายชื่อนี้ไว้ที่ตึกอํานวยการ แต่ทางกรมฯ เกรงว่า
อาจมีความสับสนเข้าใจผิดได้ จึงตกลงร่วมกันปรับชื่อโรงพยาบาล เป็น “โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ”
และเริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2484 ซึ่งตรงกับ “วันชาติ” ของไทยในเวลานั้น และเป็น
การเปิดให้บริการรักษาพยาบาลก่อนสงครามโลกครั้งที่สองในไทย เริ่มขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 (วี
กูล, 2504; กําเนิดคณะแพทยศาสตร์, 2548)
พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กรมสาธารณสุข ได้โอนโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไป
สังกัดกรมการแพทย์ และมีการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น
พ.ศ. 2493 สร้ า งตึ ก สงฆ์ (หลั ง แรก) เป็ น อาคาร 2 ชั้ น ด้ ว ยเงิ น บริ จ าคจากคณะสงฆ์ จั ง หวั ด
เชียงใหม่ ที่ได้บอกบุญเรี่ยไรไปตามวัดต่างๆ และจากพ่อค้าประชาชนในเชียงใหม่ สิ้นค่าก่อสร้าง 65,000
บาท และเมื่อรวมอุปกรณ์ต่างๆ ในอาคารแล้ว สิ้นค่าใช้จ่ายเป็นเงินทั้งสิ้น 304,305.56 บาท และในช่วง
เวลานี้ โรงพยาบาลฯ ได้ รั บ โอนเงิ น ช่ ว ยเหลื อ จากประธานาธิ บ ดี แ ฮร์ รี่ เอส. ทรู แ มน แห่ ง ประเทศ
สหรัฐอเมริกา ผ่านกรมการแพทย์ เพื่อใช้ก่อสร้างตึกเอ็กซเรย์ ห้องปฏิบัติการ และตึกผ่าตัด
พ.ศ. 2495 ขุนสมานเวชชกิจ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลฯ ในเวลานั้น ร่วมกับกรมอนามัย และ
องค์การอนามัยโลก ได้ตกลงที่จะสร้างตึกสูติกรรมขึ้น เป็นตึก 2 ชั้น ยาว 45 เมตร กว้าง 8 เมตร มีจํานวน
เตียง 52 เตียง เพื่อให้ผ้ทู ี่มาคลอดบุตรและผู้ที่อยู่ในระยะพักฟื้น ได้แยกอยู่เป็นสัดส่วน จึงได้เชิญนายอุดม
บุญประสบ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในเวลานั้น เป็นประธานคณะกรรมการจัดหาเงินเพื่อสร้างตึก ซึ่ง
มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง 461,330.80 บาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ได้รับบริจาค 109,560.25 บาท เงินก.ศ.ส
(เงินจากการจําหน่ายอากรแสตมป์เพื่อการศึกษาและสาธารณสุข) ที่กรมการแพทย์จัดหา 300,000 บาท
เงิ น ที่ ไ ด้ รั บ บริ จ าคจากอํา เภอต่ า งๆ ในจัง หวั ด เชี ย งใหม่ 22,719 บาท และเงิ น จากแผนกอนามัย หน่ ว ย
สงเคราะห์แม่และเด็ก 10,455.25 บาท โดยองค์การอนามัยโลก ได้มอบเตียงผู้ป่วย พร้อมที่นอนและตู้ข้าง
เตียง จํานวน 52 ชุด และเตียงทําคลอด 1 เตียง สําหรับใช้ในตึกสูติกรรม
ภาพประกอบ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่สมัยแรก
พ.ศ. 2503 มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนคร
เชียงใหม่ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
และให้โอนกิจการของโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากกรมการแพทย์มาอยู่ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ฯ
ในขณะนั้นมีจํานวนเตียง 120 เตียง ต่อมามีการก่อสร้างตึกอายุกรรมของภาควิชาอายุรศาสตร์ และตึกเด็ก
ของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2506 ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทําการของภาควิชาเวชศาสตร์
ครอบครัว
พ.ศ. 2507 ก่อสร้างอาคารสงฆ์อาพาธหลังใหม่ เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยเงินของคณะสงฆ์ภาคเหนือ
และเงินบริจาคของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ ลําพูน จํานวน 670,000 บาท
พ.ศ. 2508 โอนโรงพยาบาลนครเชียงใหม่มาอยู่ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และก่อสร้างตึกกานดา วิบูลสันติ มีจํานวนเตียง 40 เตียง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 1,600,000 บาท และตึก
นิมมานเหมินท์-ชุติมา โดยเงินบริจาคของตระกูลนิมมานเหมินท์-ชุติมา จํานวน 2 ล้านบาทเศษ รับผู้ป่วยเพิม่
ได้อีก 20 เตียง
พ.ศ. 2510 ก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 7 ชั้น ปัจจุบันคือ อาคารบุญสม มาร์ติน
พ.ศ. 2525 รั ฐ บาลในสมั ย พลเอกเกรี ย งศั ก ดิ์ ชมะนั น ท์ เป็ น นายกรั ฐ มนตรี มี ม ติ ใ ห้ ส ร้ า ง
โรงพยาบาลขนาดใหญ่เป็ น ศู น ย์ ก ารแพทย์ ป ระจํ าภาค รวม 4 แห่ ง เพื่อน้อมเกล้าน้ อมกระหม่ อมถวาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลมหาราช เนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์
ครบ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 สําหรับภาคเหนือได้มีมติให้สร้างที่จังหวัดเชียงใหม่ และเห็นว่า โรงพยาบาล
นครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความพร้อมด้านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาวิชา มี
การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ใช้เพื่อการรักษาพยาบาล คือ อาคารสุจิณฺโณ ดังนั้น ทบวงมหาวิทยาลัย จึง
กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ขอเปลี่ยนชื่อ “โรงพยาบาลนครเชียงใหม่” เป็น
“โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่” และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาล
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 (สมโชติ, 2553)
จึงนับเป็นสถานพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่และในภาคเหนือ ซึ่งปัจจุบัน เป็น
โรงพยาบาลจํานวนเตียง 1,384 เตียง
โรงพยาบาลแมคคอร์มิค (McCormick Hospital)
เริ่มต้นจากการที่คณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน เดินทางเข้ามาเผยแพร่คําสอนทางคริสต์
ศาสนาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ขณะเดียวกันก็ได้ให้ความเอาใจใส่ดูแล และรักษาพยาบาลชาวบ้านผู้ที่เจ็บไข้
ได้ป่วย มีการจัดตั้ง โอสถศาลา (Dispensary) โดยให้มีแพทย์ทํางานประจําตรวจรักษาโรคด้วยยาสามัญ
ประจําบ้าน ซึ่งคณะมิชชันนารีนําติดตัวมา (ประวัติโรงพยาบาลแมคคอร์มิค, 2553)
ในปี พ.ศ. 2431 รั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว รั ช กาลที่ 5 แห่ ง กรุ ง
รัตนโกสินทร์ ได้พัฒนาเป็น โรงพยาบาลอเมริกันมิชชั่น แต่ยังเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก มีจํานวนเตียงรับ
รักษาคนไข้รวม 8 เตียง ตั้งทําการอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ําปิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งโรงพยาบาลแห่งนี้เป็น
ต้นกําเนิดโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งที่สองของประเทศไทยและเป็นโรงพยาบาลแห่ง
แรกในภูมิภาค

ภาพประกอบ โรงพยาบาลอเมริกันมิชชั่น

การก่อตั้งโรงพยาบาล
ปี พ.ศ. 2410 ศาสนาจารย์ ดานิแอล แมคกิลวารี เดินทางเข้ามายังจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่คํา
สอนทางคริสต์ศาสนา ในการนี้ท่านได้นําการ แพทย์ การสาธารณสุขแผนปัจจุบัน มาสู่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย
นั บ จากนั้ น มาคณะมิ ช ชั่ น ได้ ส่ ง แพทย์ มิ ช ชั่ น นารี หลายคนเดิ น ทางเข้ า มา อาทิ เ ช่ น นายแพทย์ วู ร แมน
นายแพทย์ชิก นายแพทย์แครี่
ปี พ.ศ. 2431 ปรับปรุงโอสถศาลาเป็นโรงพยาบาล ให้ชื่อว่า โรงพยาบาลอเมริกันมิชชั่น เปิดรักษา
ผู้ป่วยและทําการผ่าตัด ซึ่งต่อมาคือ โรงพยาบาลแมคคอร์มิคปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2432 นายแพทย์ เจมส์ ดับบริวแมคเคน แพทย์มิชชั่นนารี เดินทางมาประจําที่โรงพยาบาล
และต่อมาแยกตัวออกไปสร้าง โรงพยาบาลโรคเรื้อนแมคเคน
ปี พ.ศ. 2451 นายแพทย์ อี ซี คอร์ท เดินทางมาประจําโรงพยาบาล ท่านได้ปฏิบัติงานอย่างดีเยี่ยม
เป็นเวลากว่า 40 ปี ในประเทศไทย และเป็นบุคคลที่สําคัญที่สุดผู้หนึ่งที่สร้างโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จนเป็น
โรงพยาบาลที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2463 มีการเริ่มสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ ในด้านตะวันออกแม่น้ําปิง เนื่องจากพื้นที่ให้บริการ
ของโรงพยาบาลเริ่มคับแคบ แออัดขยายตัวไม่ได้ ประกอบกับความต้องการของประชาชนในด้านการแพทย์
ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นายแพทย์คอร์ท จึงคิดสร้างโรงพยาบาลในที่แห่งใหม่ข้ึน โดยความเห็นชอบจากคณะ
มิ ช ชั่ น นารี และได้ รั บ เงิ น บริ จ าคจากนางไซรั ส แมคคอร์ มิ ค และนางไวรี่ จํ า นวน 30,000 เหรี ย ญ
สหรัฐอเมริกา และได้รับสมทบจากเจ้านายฝ่ายเหนือและคหบดีชาวเชียงใหม่ นายแพทย์คอร์ท จึงซื้อที่นาที่
บ้านหนองเส้ง พื้นที่ 78 ไร่ จัดสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่และเพื่อเป็นเกียรติแก่นางไซรัส แมคคอร์มิค จึง
เรียกชื่อโรงพยาบาลนี้ใหม่ ว่า โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

ภาพประกอบ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค พ.ศ. 2468

ภาพประกอบ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2468 มีพิธีเปิดโรงพยาบาลแมคคอร์มิคอย่างเป็นทางการ โดย


สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พร้อมสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี
เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด

ปี 2472 ในระหว่างวันที่ 24 เมษายน ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช


กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระบรมราชชนก) เสด็จมาทรงงานแพทย์ที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกิจด้วยความรักและเมตตา เป็นที่ซาบซึ้งใจและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณของ
ผู้เจ็บป่วยและชาวเชียงใหม่อย่างยิ่ง จึงพร้อมใจกันถวายพระสมัญญานามว่า “หมอเจ้าฟ้า”
ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 มีพิธีเปิด ตึกมหิดล โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เป็นตึกที่สร้างเป็น
อนุสรณ์รําลึกในพระมหากรุณาธิคุณของ หมอเจ้าฟ้า เมื่อครั้งเสด็จมาทรงงานแพทย์ ณ โรงพยาบาลแมค
คอร์มิค โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้น และได้รับการร่วมบริจาคสมทบค่าก่อสร้างตึกจากประชาชนชาวเชียงใหม่

ภาพประกอบ ตึกมหิดล

ปี พ.ศ. 2485 ถึง พ.ศ. 2488 ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลได้เข้าควบคุมโรงพยาบาล โดย


เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลเสรีเริงฤทธิ์ และใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2489 รัฐบาลมอบคืนกิจการให้คณะมิชชั่นนารี จึงกลับมาใช้ชื่อโรงพยาบาลแมค
คอร์มิค ดังเดิม
ใน วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้า
สิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดําเนินเยี่ยมโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
ภาพประกอบ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช รัชกาล
ปัจจุบัน เสด็จพระราชดําเนินเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเปิดตึกมหิดลหลังใหม่ ซึ่งพระองค์โปรดเกล้า
โปรดกระหม่อม ให้สร้างขึ้นแทนตึกมหิดลหลังเดิมที่ชํารุดทรุดโทรม โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ใน
พระปรมาภิไธยและพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จํานวน 1,000,000.00 บาท
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงพระราชทานพระราชทรัพย์จํานวน 5,000 บาท สมเด็จ
พระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์โครงการก่อสร้างตึกมหิดลหลังใหม่ พร้อม
พระราชทานเงินจํานวนรวม 1 ล้านบาท จากทุนการกุศลสมเด็จย่า 600,000 บาท และทุนการกุศล ก.ว.
400,000 บาท เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างตึก

ภาพประกอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดําเนินเปิดตึกมหิดลหลังใหม่

ภาพประกอบ ตึกมหิดล หลังใหม่


ปัจจุบันโรงพยาบาลแมคคอร์มิค เป็นโรงพยาบาลบริการให้การรักษาโรคทั่วไป (General Hospital) มี
จํานวนเตียงผู้ป่วย 400 เตียง จัดให้บริการบําบัดรักษา และบริการทางการพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยทุกสาขา
ตลอด 24 ชั่วโมง มีจํานวนแพทย์ พยาบาล และบุคลากรมากกว่า 800 คน

บุคคลสําคัญในประวัติศาสตร์ของโรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ (โรงพยาบาลแมคคอร์มิค, 2555)


นายแพทย์ เจมส์ ดับบลิว แมคเคน (Dr. James W. McKean)
เป็นแพทย์มิชชั่นนารีชาวอเมริกนั เดินทางเข้ามาร่วมพันธ
กิจการแพทย์ ในโรงพยาบาลอเมริกนั มิชชั่น ในปี พ.ศ. 2432
ปี พ.ศ. 2449 ผลิตวัคซีนสําหรับใช้ปลูกฝีดาษ ป้องกันโรค
ฝีดาษ และเป็นผู้นําเครื่องจักรเข้ามาเพื่อผลิตยาควินิน สําหรับ
บําบัดรักษาไข้มาลาเรียแก่ชาวเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง
ปี พ.ศ. 2463 ร่วมกับนายแพทย์คอร์ท สร้างโรงพยาบาล
แมคคอร์มิค
ปี พ.ศ. 2451 สร้างโรงพยาบาลแมคเคน สําหรับบําบัดรักษา
ผู้ป่วยโรคเรื้อน
นายแพทย์เจมส์ ได้เสียชีวิต เมื่อปี พ.ศ. 2492

ภาพประกอบ เครื่องผลิตยายาควินินเม็ด อ.ม. (อเมริกันมิชชัน่ ) ทีน่ ายแพทย์แมคเคนนําเข้ามา ปัจจุบนั ตั้ง


แสดงที่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค
มิสซิสไซรัส เอช แมคคอร์มิค (Mrs. Cyrus H. McCormick)

ผู้บริจาคเงิน US $2,5,000เป็นทุนเริม่ ก่อสร้างโรงพยาบาลแมคคอร์มิค เมื่อปี ค.ศ. 1917

นายแพทย์เอ็ดวิน ชาร์ลส์ คอร์ท (Edwin Charles Cort, M.D.)


นายแพทย์คอร์ท เกิดวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 ณ เมือง Rochelle
มลรัฐอิลลินอย สหรัฐอเมริกา จบแพทยศาสตรบัณฑิตจาก John Hopkins
Medical College สมรสกับ นางสาวมาร์เบล กิลสัน (Miss Marbel Gilson) ไม่
มีบุตรด้วยกัน
ปี ค.ศ. 1915 มาเป็นแพทย์ประจําโรงพยาบาลอเมริกนั มิชชั่น ที่
จังหวัดเชียงใหม่
ปี ค.ศ. 1916 ก่อตั้งโรงเรียนแพทย์ ขึ้นทีโ่ รงพยาบาลแมคคอร์มิค
ต่อมายุติการสอนไป เนื่องจากมีโรงเรียนแพทย์ของทางการคือ คณะ
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เปิดการสอนขึ้นทีเ่ ชียงใหม่
ปี ค.ศ. 1920 ก่อสร้างโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ด้วยเงินทุนบริจาคเริม่ แรกจากนางไซรัส แมคคอร์มิค
ปี ค.ศ. 1923 ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดนางพยาบาลแมคคอร์มิค
ปี ค.ศ. 1925 เปิดโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ทีต่ ้งั อยู่ในปัจจุบัน และทําการย้ายผู้ป่วยตลอดจน
อุปกรณ์การแพทย์จากโรงพยาบาลอเมริกนั มิชชัน่ มาอยู่ในที่โรงพยาบาลใหม่
ปี ค.ศ. 1929 ได้รับใช้และร่วมการทรงงานกับสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลเดชวิกรม พระบรม
ราชชนก ทีเ่ สด็จทรงงานแพทย์ทีโ่ รงพยาบาลแมคคอร์มิค
ปี ค.ศ. 1941 เดินทางลี้ภัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปอยู่ประเทศพม่า และประเทศอินเดีย
ปี ค.ศ. 1946 กลับเชียงใหม่มาเป็นแพทย์โรงพยาบาลแมคคอร์มิคอีกครั้ง
ปี ค.ศ. 1949 เกษียณอายุงาน เมื่ออายุครบ 70 ปี และเดินทางกลับประเทศสหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 1950 ท่านได้เสียชีวิต รวมสิริอายุ 71 ปี
เกียรติคุณที่นายแพทย์คอร์ทได้รับในฐานะที่เป็นผู้ทําคุณประโยชน์สุงสุดให้แก่ประเทศไทย ท่าน
ได้รับพระราชทานเครื่องอิสิยาภรณ์ช้ันสูงสุด คือ ประถมาภรณ์มงกฎไทยและประถมาภรณ์ช้างเผือก และ
ได้รับเข็มกลัดทองฝั่งเพชรจากกระทรวงสาธารณสุข
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (อนุกูล ก้อนแก้ว, ม.ป.ป.)

พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนกทีม่ ีต่อโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
- วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2467 เวลา 16.30 น. เสด็จพระราชดําเนินพร้อมสมเด็จพระราชชนนีฯ
มาเป็นประธานพิธีเปิดโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
- วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2472 ถึง วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เสด็จมาทรงงานแพทย์ที่
โรงพยาบาลแมคคอร์มิค โดยประทับที่บ้านของนายแพทย์อี ซี คอร์ท

พระราชกรณียกิจที่ทรงในระหว่างที่ทรงงานแพทย์
- ทรงงานตรวจผู้ป่วยทีม่ ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ
- ทรงเสด็จเยีย่ มและตรวจรักษาผู้ป่วย ทีน่ อนพักรักษาในหอพักผู้ป่วย เสด็จพร้อม นายแพทย์อี ซี คอร์ท
และเสด็จส่วนพระองค์ ไม่ว่าเวลากลางวัน/กลางคืน ซึ่งได้ตรัสสั่งพยาบาลว่า วันนี้หมอคอร์ท ไม่อยู่ถ้า
ผู้ป่วยต้องการให้เรียก
- ทรงเข้าร่วมงานการผ่าตัดผู้ป่วยกับ นายแพทย์อี ซี คอร์ทและทีมงาน
- ทรงสนพระทัยในการตรวจผู้ป่วยเด็ก ทรงอุ้มและทรงเล่นกับเด็ก
- ทรงงานด้านห้อง LAB ทรงตรวจ Stool Urine และ Blood
- ทรงล้างหูน้ําหนวก น้องชาย ของอาจารย์ศรีวิไล สิงห์เนตร ด้วยพระหัตถ์
- ทรงประทานคําแนะนําในการช่วยเหลือผู้ป่วยแก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล
- พระราชกรณียกิจที่เป็นกล่าวกันทั้งเมือง คือเรื่องเด็กชายคนหนึ่งถูกกระสุนปืนลั่นเข้าที่แขน เสียเลือด
มาก ต้องให้เลือดเป็นครั้งแรกในโรงพยาบาล ทรงประกาศหาผู้บริจาคเลือด พระองค์ทรงทํากรุ๊ฟแมท
กับพระโลหิตของพระองค์

ด้านการทํานุบํารุงโรงพยาบาลแมคคอร์มิค
- ทรงปรารภจะให้มีการขยายโรงพยาบาลให้กว้างขว้างขึ้น
- ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จ้าง นายแพทย์ เฮนรี่ โอไบรน์อัน แพทย์ชาวอเมริกัน มาเป็นแพทย์
ประจําโรงพยาบาลแมคคอร์มิค เป็นเวลา 4 ปี
- ทรงพระราชทานเงิน US $3,000 ให้กบั โรงพยาบาลเพื่อซื้อเครื่องเอ็กซเรย์ ใช้ในโรงพยาบาล นับว่าเป็น
เครื่องเอ็กซเรย์เครื่องแรกทีม่ ีใช้ในภูมิภาค
หลวงอนุสารสุนทร (เดิมชื่อ สุ่นฮี้ ชัวย่งเสง)
เกิดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2410 แต่งงานกับนางคําเที่ยง มีบุตรธิดา 2 คน ต่อมาได้แต่งงานกับ นาง
อโนชา อนุสารสุนทร มีบุตรธิดา 5 คน หลวงอนุสารสุนทร ได้สร้างตึกสูติสถาน ให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

ภาพประกอบ สมเด็จพระพรรณวสาอัยยิกาเจ้าเสด็จเปิดตึกสูติกรรม โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เมื่อวันที่ 5


กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471

วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2453 ได้รบั พระราชทานสัญญาบัตรเป็น ขุนอนุสารสุนทร


วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็นหลวงอนุสารสุนทร เป็น
กรมการพิเศษ ในจังหวัดเชียงใหม่
หลวงอนุสารสุนทร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2477
นอกจากการสร้างตึกสูติสถาน โรงพยาบาลแมคคอร์มิคแล้ว ท่านยังบริจาคเงินเพื่อสร้างตึกสุขศาลา
ของเทศบาลเชียงใหม่ และอื่นๆ อีกหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ (หลวงอนุสารสุนทร, 2546)

โรงพยาบาลนครพิงค์
เดิมชื่อ “โรงพยาบาลเชียงใหม่” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลนครพิงค์ ตั้งแต่วันที่ 28
กันยายน พ.ศ. 2533 เพื่อลดความสับสนของผู้มารับบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระหว่างชื่อ โรงพยาบาล
มหาราชนครเชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจําจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่เลขที่
159 หมู่ที่ 10 ตําบลดอนแก้ว อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ หลักกิโลเมตรที่ 9 ถนนโชตนา (เชียงใหม่ –
ฝางเดิม) อยู่ห่างจากเขตชุมชนของเทศบาลนครเชียงใหม่ ประมาณ 5 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ว่าการ
อําเภอแม่ริม ประมาณ 7 กิโลเมตร (ประวัติโรงพยาบาลนครพิงค์, 2553)
นอกจากนี้เชียงใหม่ ยังมีโรงพยาบาลประจําอําเภออีก เช่น โรงพยาบาลฝาง โรงพยาบาลแม่แตง
โรงพยาบาลพร้าว ฯลฯ (กรมวิชาการ, 2543)
สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
แต่เดิมเรียกว่า อนามัยจังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ดํารงตําแหน่งแพทย์ประจําเมืองเชียงใหม่คนแรก คือ
พระบําราบนราพาธ โดยสํานักงานอนามัยจังหวัดแต่เดิม ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิม บริเวณ
หลั ง อนุ ส าวรี ย์ ส ามกษั ต ริ ย์ ปั จ จุ บั น และในสมั ย ของนายแพทย์ อ มร นนทสุ ต ดํ า รงตํ า แหน่ ง นายแพทย์
สาธารณสุขจังหวัด ได้ย้ายสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด มาตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ

บรรณานุกรม
1. ประยุทธ สายต่อเนื่อง. แรกมีหมอฝรั่งในล้านนา: การเข้ามาของมิชชันนารีอเมริกันในเชียงใหม่
[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร; 2552. [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2555]. เข้าถึงได้จาก:
URL:http://www.sac.or.th/main/activities_detail.php? lecture_id=32&category_id=4
2. ประสิ ท ธิ์ พงศ์ อุ ด ม. ประวั ติ ค วามเป็ น มาของสภาคริ ส ตจั ก รในประเทศไทย [อิ น เตอร์ เ น็ ต ].
เชียงใหม่: หน่วยงานจดหมายเหตุประวัติศาสตร์และวิจัย สภาคริสตจักรในประเทศไทย; 2551.
[เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2555]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://ahr.cct.or.th
3. กระทรวงกลาโหม. หอมรดกไทย: ความสัมพันธ์ไทย-อเมริกัน [อินเตอร์เน็ต ]. กรุงเทพฯ:
กระทรวงฯ; 2542. [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค. 2555].เข้าถึงได้จาก:
URL: http://www1.mod.go.th/heritage/nation/military/usrelation/usrelation1.htm
4. กรมวิชาการ. กระทรวงศึกษาธิการ. เชียงใหม่ นพบุรีศรีนครพิงค์. กรุงเทพฯ: กรม, 2543.
5. สมโชติ อ๋องสกุล. แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ สองข้างทางถนนสุเทพ. เชียงใหม่: มูลนิธิ
โรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
6. ระเบียบ ฤกษ์เกษม. ประวัติของโรงพยาบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่. เชียงใหม่เวชสาร. 2504
กันยายน;1(1): 9-17.
7. วีกูล วีรานุวัตต์. การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่. เชียงใหม่เวชสาร. 2504
กันยายน;1(1):1-8.
8. กําเนิ ดคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . ใน 20 ปี สมาคมศิษย์เก่าแพทย์เชียงใหม่.
เชียงใหม่: สมาคม; 2548.
9. ประกอบ ตู้จิ น ดา, สารานุ ก รมไทยสําหรับ เยาวชนฯ เล่ ม ที่ 9 เข้ า ถึ ง ได้ จ าก: URL:
http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%E1%BE%B7%C2%EC%BB%C3%D0
%A8%D3%E0%C1%D7%CD%A7+%CB%C3%D7%CD%B9%D2%C2%E1%BE%B7%C2%EC%C
A%D2%B8%D2%C3%B3%CA%D8%A2%A8%D1%A7%CB%C7%D1%B4&select=1#
10. เรือนไทย วิชาการดอทคอม. บรรดาศักดิ์ของแพทย์มีอะไรบ้างครับ [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึง
เมื่อ 13 ธ.ค. 2554]. เข้าถึงได้จาก
URL: http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4839.20;wap2
11. หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชัวย่งเสง) [อินเตอร์เน็ต]. คนเมืองดอทคอม. 2546. [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค.
2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.khonmuang.com/pages/luanganusarn.htm
12. ประวัติโรงพยาบาลแมคคอร์มิค [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: โรงพยาบาลแมคคอร์มิค; ม.ป.ป. [เข้าถึง
เมื่อ 6 ม.ค. 2553]. เข้าถึงได้จากURL: http://www.mccormick.in.th/about_history.htm
13. โรงพยาบาลแมคคอร์มิค. ประวัติโรงพยาบาลแมคคอร์มิค {CD-ROM}. เชียงใหม่: โรงพยาบาล;
2555.
14. หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชัวย่งเสง) [อินเตอร์เน็ต]. คนเมืองดอทคอม. 2546. [เข้าถึงเมื่อ 6 ม.ค.
2555]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.khonmuang.com/pages/luanganusarn.htm
15. ประวัติโรงพยาบาลนครพิงค์ [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: โรงพยาบาลนครพิงค์; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 6
ม.ค. 2553]. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.nkp-hospital.go.th/history.php
16. ประวัติสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 14 ม.ค. 2553]. เข้าถึงได้จาก URL:
http://www.chiangmaihealth.com/ict/chianmai_health.php

You might also like