You are on page 1of 560

ตํารับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย

ฉบับสมบูรณ์

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2554
ISBN 978-616-11-0927-1
ตํารับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์
ที่ปรึกษา
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ นายแพทย์วชิ ยั โชควิวฒั น
บรรณาธิการ
เภสัชกรหญิงเย็นจิตร เตชะดํารงสิน
กองบรรณาธิการ
แพทย์จนี จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์ รศ.ดร.ภก.อุทยั โสธนะพันธุ ์ รศ.ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์
นางสาวทัศนีย ์ ฮาซาไนน์ นางอภิญญา เวชพงศา แพทย์จนี สว่าง กอแสงเรือง
นายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล นางสาววาสนา บุญธรรม นายวงศกร จ้อยศรี
คณะทํางาน
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เภสัชกรหญิงเย็นจิตร เตชะดํารงสิน นางสาวทัศนีย ์ ฮาซาไนน์ นางยุพาวดี บุญชิต
นางสาววาสนา บุญธรรม นางรวินนั ท์ กุดทิง นายวงศกร จ้อยศรี
ผูท้ รงคุณวุฒดิ า้ นการแพทย์แผนจีน
แพทย์จนี จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์ แพทย์จนี สว่าง กอแสงเรือง นายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล
นายวิญญู เตโชวาณิชย์ แพทย์จนี สมบัติ แซ่จวิ แพทย์จนี ธงชัย ลี้นาํ โชค
แพทย์จนี มานพ เลิศสุทธิรกั ษ์ แพทย์จนี วิทยา บุญวรพัฒน์ แพทย์จนี สมชาย จิรพินิจวงศ์
แพทย์จนี บุญเกียรติ เบญจเลิศ แพทย์จนี สมบูรณ์ ฟูเจริญทรัพย์
สถาบันวิจยั สมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เภสัชกรหญิงปราณี ชวลิตธํารง เภสัชกรหญิงมาลี บรรจบ ดร.กัลยา อนุลกั ขณาปกรณ์
ดร.ภญ.ประไพ วงศ์สนิ คงมัน่ ดร.ภญ.ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก นางธิดารัตน์ บุญรอด
กองควบคุมยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เภสัชกรวินิต อัศวกิจวีรี เภสัชกรประสิทธิ์ ศรีทพิ ย์สุขโข เภสัชกรยอดวิทย์ กาญจนการุณ
องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข
เภสัชกรหญิงสุปรียา ป้ อมประเสริฐ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ รศ.ดร.นพ.ปราโมทย์ ธีรพงษ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รศ.ดร.ภก.อุทยั โสธนะพันธุ ์
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.ภก.รพีพล ภโววาท ผศ.ภก.วิเชียร จงบุญประเสริฐ
คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉี ยวเฉลิมพระเกียรติ
แพทย์จนี บุญเกียรติ เบญจเลิศ
ราชบัณฑิตยสถาน
ศ.ดร.ประพิณ มโนมัยวิบูลย์
เจ้าของลิขสิทธิ์: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ออกแบบ: เภสัชกรหญิงเย็นจิตร เตชะดํารงสิน
ถ่ายภาพ: นายอัศวิน นรินท์ชยั รังษี รศ.ดร.ภก.อุทยั โสธนะพันธุ ์
ปก: นายแพทย์สมชัย โกวิทเจริญกุล นางสาวสาวิณี ทัพวงษ์
พิมพ์ครัง้ ที่ 1: พฤศจิกายน 2554
พิมพ์ท่ี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด
79 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900
ข้อมูลทางบรรณานุ กรมของหอสมุดแห่งชาติ
เย็นจิตร เตชะดํารงสิน (บรรณาธิการ)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์—กรุงเทพมหานคร:
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด, 2554. 560 หน้า ภาพประกอบ
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข
ISBN 978-616-11-0927-1
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ ก

คํานํ า
การแพทย์แผนจีนเป็ นศาสตร์ท่มี รี ากฐานที่แข็งแกร่ง มีประวัตคิ วามเป็ นมายาวนานหลายพันปี
และได้เข้ามาร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบนั และการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพของคนไทย โดย
เข้ามาพร้อมคนจีนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยตัง้ แต่ยุคกรุงสุโขทัย จุดเด่นของการแพทย์แผนจีนคือ
มีการบันทึกอย่างเป็ นระบบและต่อเนื่อง ทําให้ภมู ปิ ญั ญาและประสบการณ์ของบรรพบุรุษสามารถสืบทอด
ต่อกันมา และพัฒนาให้กา้ วหน้าอย่างโดดเด่นจนเป็ นทีย่ อมรับในนานาอารยประเทศเพิม่ ขึ้นเรื่อย ๆ
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึง
ความสําคัญของภูมปิ ญั ญาด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พ้นื บ้าน และการแพทย์ทางเลือกต่อสุขภาวะ
และวิถชี ีวติ ของคนไทย และเห็นความจําเป็ นของการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ไว้ใช้ประโยชน์ จึงได้จดั ทํา
โครงการ “การจัดการความรูด้ า้ นตํารับยาจีนในประเทศไทย” ขึ้นระหว่างปี งบประมาณ พ.ศ.2549 - 2553
และได้จดั พิมพ์เป็ นหนังสือชุด “ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บ่อยในประเทศไทย” 3 เล่ม เพือ่ การเผยแพร่และใช้
ประโยชน์ หนังสือชุดนี้เป็ นหนังสือภาษาไทยชุดแรกทีไ่ ด้เรียบเรียงสาระสําคัญด้านตํารับยาจีนทีค่ รบถ้วน
สมบูรณ์ เหมาะกับยุคสมัย และเป็ นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคมไทย หนังสือแต่ละเล่มมีภาษาจีนและภาษา
อังกฤษประกอบด้วย โดยเล่มแรกได้พมิ พ์เผยแพร่ในเดือนธันวาคม 2549 ซึง่ ได้รบั ความนิยมและตอบรับ
อย่างแพร่หลายจนต้องจัดพิมพ์ถงึ 3 ครัง้ ในเวลาไล่เลีย่ กัน หลังจากนัน้ เล่ม 2 ก็ได้พมิ พ์เผยแพร่ใน
เดือนธันวาคม 2551 ซึง่ ได้รบั การตอบสนองเป็ นอย่างดีย่งิ จนคณะผูจ้ ดั ทําต้องตัดสินใจจัดพิมพ์ เล่ม 3
ออกมาในเดือนมีนาคม 2553
ตําราทัง้ 3 เล่ม เป็ นผลงานทีก่ รมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกภาคภูมใิ จ
มาก เพราะเป็ นครัง้ แรกที่มกี ารจัดทําตําราลักษณะนี้ในประเทศไทย นอกจากจะได้รบั การยอมรับกัน
อย่างกว้างขวางในทุกวงการแลว้ คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนยังได้ให้การรับรองเป็ น
ตําราที่ใช้เป็ นแนวทางในการศึ กษาวิชาการแพทย์แผนจีนสําหรับผู ท้ ่ีประสงค์จะขึ้นทะเบียนและรับ
ใบอนุ ญาตเป็ นผู ป้ ระกอบโรคศิ ลปะสาขาการแพทย์แผนจีน พ.ศ. 2554 ทําให้ตาํ ราทัง้ 3 เล่ม ไม่
เพียงพอต่อการใช้งานซึง่ ผูท้ น่ี าํ ไปใช้ก็ยอมรับในความแม่นยําของตํารับยาต่าง ๆ ว่าใช้ได้ผลดี จึงมีเสียง
เรียกร้องจากผูเ้ กี่ยวข้องในทุกภาคส่วนให้จดั พิมพ์ตาํ ราชุดนี้เพิม่ ใหม่ เนื่องจากตําราชุดนี้ได้ผ่านการใช้
งานมาหลายปี และมีรายงานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของตํารับยาจีนเพิม่ เติม ทัง้ การศึกษาทางเภสัช
วิทยา การศึกษาทางคลินิก การศึกษาความปลอดภัย ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวังในการใช้ กรมพัฒนา
ข คํานํา

การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จึงตัดสินใจจัดทําหนังสือ “ตํารับยา


จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์” ขึ้นใหม่ โดยรวมส่วนที่เป็ นตํารับยาจีนทัง้ 100 ตํารับ จาก
เล่ม 1, 2 และ 3 เข้าด้วยกัน รวมทัง้ เพิม่ เนื้อหาในเรื่องรายละเอียดของประเภทตํารับยาจีน คําอธิบาย
ตํารับยาจีนบางตํารับ ข้อมูลวิชาการทีเ่ กี่ยวข้อง และปรับปรุงเนื้อหาให้เป็ นปัจจุบนั เพือ่ ให้ผูใ้ ช้สามารถใช้
งานได้สะดวกยิง่ ขึ้น ในขณะเดียวกันเพือ่ ไม่ให้ขนาดของเล่มหนาเกินไป จึงตัดเนื้อหาในส่วนความรูท้ วั ่ ไป
ทีอ่ ยู่ส่วนหน้าของแต่ละเล่มและตัดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรแต่ละชนิดออก รวมทัง้ ตัดส่วนที่
เป็ นภาษาจีนและภาษาอังกฤษออกด้วย คงไว้แต่ตวั ตํารับยาจีนทีเ่ ป็ นภาษาไทย 100 ตํารับ
ในนามของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ผมขอขอบคุณบรรณาธิการ
และกองบรรณาธิการทีไ่ ด้กรุณาสละเวลามาช่วยกันเรียบเรียง ปรับปรุง และแก้ไขเนื้อหาจนหนังสือ “ตํารับ
ยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์” เล่มนี้สาํ เร็จลุลว่ งไปด้วยดี ผมหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะได้รบั
การยอมรับและเป็ นประโยชน์ต่อแพทย์แผนจีน แพทย์แผนปัจจุบนั เภสัชกร นักศึกษาแพทย์แผนจีน
นักวิชาการ บุคลากรสาธารณสุข และผูส้ นใจทัวไป ่

(นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา)
อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ ค

คําแนะนํ าการใช้หนังสือ
ตํารับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์
คําแนะนําการใช้หนังสือ ตํารับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ มีวตั ถุประสงค์
เพื่อ ให้ผู อ้ ่ า นได้เ ข้าใจถึง ความหมายและที่ม าของข้อ ความต่ า ง ๆ ที่ปรากฏในหนัง สือ เล่ม นี้ ได้แ ก่
การแพทย์แผนจีน ตํารับยาจีน ยา ตัวยา การทับศัพท์ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ อภิธานศัพท์ มอโน-
กราฟตํารับยาจีน ตลอดจนข้อมูลวิทยาศาสตร์ของตํารับยา
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลวิชาการที่ได้ระบุในมอโนกราฟ มิได้หมายความว่าเป็ นข้อมูลที่ยอมรับใน
การขึ้นทะเบียนตํารับยาของประเทศไทย การอ้างอิงสรรพคุณเพื่อการขอขึ้นทะเบียนตํารับยานั้นต้อง
เป็ นไปตามพระราชบัญญัตยิ า กฎกระทรวง ประกาศ และคําสัง่ กระทรวงที่เกี่ยวข้อง
การแพทย์แผนจีน
ตามพระราชกฤษฎีกากําหนดให้สาขาการแพทย์แผนจีนเป็ นสาขาการประกอบโรคศิลปะตาม
พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิ ลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2552 ได้กาํ หนดว่า การแพทย์แผนจีน
หมายความว่า “การกระทําต่อมนุษย์หรือมุง่ หมายจะกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัย-
โรค การบําบัดโรค การป้ องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้ นฟูสุขภาพโดยใช้ความรูแ้ บบแพทย์แผนจีน”
และกําหนดให้มคี ณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีน สําหรับผูข้ อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
เป็ นผูป้ ระกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนต้องมีความรู ใ้ นวิชาชีพ คือ เป็ นผูไ้ ด้รบั ปริญญาหรือ
ประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาสาขาการแพทย์แผนจีน จากสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการวิชาชีพ
สาขาการแพทย์แผนจีนรับรอง และต้องสอบผ่านความรูต้ ามหลักเกณฑ์ วิธกี ารและเงือ่ นไขทีค่ ณะกรรมการ
วิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนกําหนด สําหรับผูส้ าํ เร็จการศึกษาจากต่างประเทศซึ่งมิได้มสี ญั ชาติไทย
ต้องได้รบั อนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนจากประเทศทีส่ าํ เร็จการศึกษาด้วย
ตํารับยาจีน
ตํารับยาจีน หมายถึง ตํารับยาที่ใช้กนั มาตัง้ แต่สมัยโบราณและมีผลต่อการบําบัดโรคมาเป็ น
เวลานานแล ว้ ตํา รับยาเกิด จากการผสมกันของตัว ยาต่ าง ๆ ตัง้ แต่ ส องชนิดขึ้นไป ซึ่ง ได้จ ากการ
วินิจฉัยโรคแล ้วจึงคัดเลือกตัวยาทีเ่ หมาะสมมารวมกันในสัดส่วนทีก่ าํ หนดในตําราการแพทย์จนี
ง คําแนะนําการใช้หนังสือตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์

ยา
ในหนังสือเล่มนี้ ยา หมายถึงวัตถุทใ่ี ช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยระบุช่อื คุณสมบัติ รส การ
เข้าเส้นลมปราณ สรรพคุณ ขนาดและวิธใี ช้
ตัวยา
กําหนดให้ระบุช่อื จีน ชื่อละตินตามเภสัชตํารับของสาธารณรัฐประชาชนจีน (The Pharmacopoeia
of the People’s Republic of China) เพือ่ ความเป็ นสากล หากมีช่อื ไทยจะระบุไว้ดว้ ย
การทับศัพท์ภาษาจีน
การทับศัพท์ภาษาจีนในหนังสือเล่มนี้ จะสะกดเสียงคําอ่านเป็ นภาษาไทยโดยวิธีต่าง ๆ ตาม
ความเหมาะสม ดังนี้
1. ทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีน ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2549 ดังนี้
1) เครื่องหมายกํากับเสียงวรรณยุกต์ในระบบพินอิน ใช้ ˉ ˊ ˇ และ ˋ เทียบได้กบั
เสียงวรรณยุกต์ไทย ดังนี้
เสียงหนึ่ง ˉ เทียบเท่าเสียงสามัญ
เสียงสอง ˊ เทียบเท่าเสียงจัตวา
เสียงสาม ˇ เทียบเท่าเสียงเอก (ยกเว้นเมือ่ อยู่หน้าพยางค์ทม่ี เี สียง
สาม ˇ ให้ออกเสียงเป็ นเสียงสอง ˊ โดยคงเครื่องหมาย
เสียงสาม ˇ เช่น 解表 jiě biǎo ให้ออกเสียงว่า
เจีย๋ เปี่ ยว)
เสียงสี่ ˋ เทียบเท่าเสียงโท
คําทีอ่ อกเสียงเบาจะไม่มเี ครื่องหมายวรรณยุกต์กาํ กับ
2) เสียงสระในภาษาจีน ไม่มคี วามแตกต่างระหว่างเสียงสัน้ และเสียงยาวเหมือนในภาษา
ไทย โดยปกติพยางค์ทม่ี เี สียงวรรณยุกต์เป็ นเสียงหนึ่ง เสียงสอง และเสียงสาม จะ
ออกเป็ นเสียงสัน้ หรือยาวก็ได้ ยกเว้นเสียงสี่ จะออกเสียงสัน้ เสมอ
3) เครื่องหมายพินทุทอ่ี ยู่ใต้ตวั พยัญชนะแสดงว่า พยัญชนะตัวนัน้ ๆ ออกเสียงควบกลํา้
กับตัวทีต่ ามมา ยกเว้นตัว ห ทีม่ เี ครื่องหมายพินทุกาํ กับจะออกเสียงควบกลํา้ และ
อักษรนําด้วย เช่น
滑脉 huá mài = หฺวาม่าย 槐花 huái huá = ไหฺวฮฺวา
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ จ

4) เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กบั เสียงพยัญชนะไทยทีม่ อี กั ษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กบั


อักษรตํา่ ) ได้ให้ไว้ทงั้ 2 ตัว เช่น ฉ ช ฝ ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียง
วรรณยุกต์ของไทย เช่น
茶 ฉา 吃 ชือ 焚 เฝิ น 饭 ฟัน่
ในกรณีทเ่ี ป็ นอักษรเดีย่ ว ซึง่ ในการผันวรรณยุกต์ตอ้ งใช้ ห นํา ถ้าอักษรเดี่ยวนัน้ เป็ น
ตัวควบกลํา้ ให้แทรกตัว ห ไว้ระหว่างตัวควบกลํา้ เพือ่ ให้อ่านได้สะดวก เช่น
玉女煎 ยฺวน ่ี ฺหวีเ่ จียน 橘皮 จฺ ห วี ผี 吴茱萸 หวูจูยหฺ วี 郁金 ยฺหวีจ่ นิ
5) เสียงสระผสมในภาษาจีนบางเสียง เมือ่ ถอดเป็ นอักษรไทยแล ้วจะมีเสียงพยัญชนะ ย
หรือ ว อยู่ดว้ ย เช่น
越鞠丸 yuè jū wán = เยฺวจ่ วฺ ห ี วาน 川芎 chuān xiōng = ชวนซฺยง
6) พยัญชนะทีม่ เี ครื่องหมายทัณฑฆาตกํากับในคําทับศัพท์ให้ออกเสียงด้วย เช่น
肺 fèi = เฟ่ ย ์ 贝母 beì mǔ = เป้ ยห ์ มู่
2. สะกดเสียงให้ใกล้เคียงกับเสียงเดิม เช่น
黄 หวง 皇 หวง 王 หวาง 院 เวีย ่น 元 เหวียน
3. สะกดให้ถกู ต้องตามหลักไวยากรณ์ไทย เช่น
血 เซฺวย ่ี 学 เสฺวย ี 论 ลุน ่ 吴 หวู 外 ไว่
4. สะกดตามความคุน้ เคยของสําเนี ยง เช่น
神 เสิน 参 เซิน 要 เอี้ยว 叶 เยีย ่ 涩 เซ่อ
湿 ซือ 肾 เซิน ่ 生 เซิง 饮 อิน ่ 芍 เสา

การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
การทับศัพท์ภาษาอังกฤษของชื่อองค์ประกอบทางเคมีในตัวยาให้เป็ นภาษาไทยนัน้ ชื่อกลุ่ม
สารเคมีจะถอดคําตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2535 เช่น
สารกลุ่มซาโปนิน แอลคาลอยด์ เป็ นต้น สําหรับสารเคมีเดี่ยวแต่ละชนิดจะยังคงใช้เป็ นภาษาอังกฤษ
เช่น สาร aristolochic acid, caffeine, theophylline เป็ นต้น
อภิธานศัพท์
ศัพท์แพทย์จนี เป็ นศัพท์เฉพาะซึง่ แตกต่างจากศัพท์แพทย์แผนตะวันตก เนื่องมาจากพื้นฐานที่
แตกต่างกัน พื้นฐานการแพทย์จนี ได้นาํ เอาปรัชญาและศาสนามาอธิบายถึงสรีรวิทยา พยาธิวทิ ยา และ
ฉ คําแนะนําการใช้หนังสือตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์

กฏเกณฑ์วิธีการรักษา โดยถือว่าร่ างกายของมนุ ษย์มีความเป็ นเอกภาพกับธรรมชาติ ซึ่งนอกจาก


อวัยวะต่าง ๆ มีส่วนสัมพันธ์กนั เองแล ้ว มนุษย์ก็ไม่อาจแยกตัวเป็ นอิสระจากธรรมชาติได้ กล่าวคือ เมือ่
เงือ่ นไขของฤดูกาล เวลา สถานทีเ่ ปลีย่ นแปลง ก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายในลักษณะทีแ่ ตกต่างกัน ทําให้
เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้น หลักการแพทย์แผนจีนประกอบด้วย ทฤษฎีและเหตุผล หลักวิธกี ารรักษา ตํารับยา
จีน และยา ดังนัน้ เพือ่ ให้ผูอ้ ่านเข้าใจความหมายของศัพท์เฉพาะที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ ให้ดูความหมาย
ในหนังสือ “พจนานุกรมศัพท์การแพทย์แผนจีน (จีน-ไทย-อังกฤษ)” ที่จดั ทําโดยกรมพัฒนาการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ร่ วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเฉิ งตู
สาธารณรัฐประชาชนจีน พิมพ์ครัง้ ที่ 1 เมือ่ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554
มอโนกราฟตํารับยาจีน
คําอธิบายความหมายของมอโนกราฟตํารับยาจีนในแต่ละหัวข้อ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ชื่อตํารับ ใช้ช่อื ไทยทับศัพท์คาํ อ่านภาษาจีนกลาง (พินอิน) และวงเล็บชื่อจีน
2. ตําราต้นตํารับ เป็ นชื่อหนังสือปฐมภูมิ (primary source) โดยขึ้นต้นด้วยภาษาจีน ตาม
ด้วยคําอ่านภาษาจีนกลาง และวงเล็บชื่ออังกฤษ ตามด้วยปี ทเ่ี ขียน ชื่อผูเ้ ขียนแบบพินอิน วงเล็บภาษาจีน
และคําอ่านทับศัพท์ภาษาจีนกลาง
3. ส่วนประกอบ ระบุช่ือตัวยาซึ่งเป็ นส่วนประกอบในตํารับยาจีนโดยเรียงลําดับดังนี้ ตัวยา
หลัก ตัวยาเสริม ตัวยาช่วย และตัวยานําพา สําหรับชื่อตัวยาแต่ละชนิด จะเขียนชื่อจีน ตามด้วยชื่อ
ละติน โดยเอาส่วนทีใ่ ช้ทาํ ยาเป็ นคํานําหน้า เช่น Radix (ราก) Fructus (ผล) Semen (เมล็ด) Cortex
(เปลือก) เป็ นต้น ทัง้ นี้ ชื่อละตินจะใช้ตามชื่อที่ปรากฏในเภสัชตํารับของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตาม
ด้วยคําอ่านภาษาจีนกลาง และปริมาณทีใ่ ช้
4. วิธใี ช้ อธิบายวิธเี ตรียมยา และวิธรี บั ประทาน
5. การออกฤทธิ์ ระบุการออกฤทธิ์ของตํารับยาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
6. สรรพคุณ ระบุสรรพคุณของตํารับยาตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน
7. คําอธิบายตํารับ เนื้อหาในหัวข้อนี้เน้นให้ผูอ้ ่านรูจ้ กั ตัวยาซึ่งเป็ นส่วนประกอบในตํารับยา
ได้แก่ การทําหน้าทีข่ องตัวยา รส คุณสมบัติ และสรรพคุณของตัวยาแต่ละชนิด โดยตัวยาชนิดเดียวกัน
เมือ่ อยู่คนละตํารับอาจมีสรรพคุณแตกต่างกันบ้าง และเมือ่ ใช้ร่วมกับตัวยาอื่นในตํารับตามหลักการจับคู่
ยา (配伍 เพ่ยอ์ ู่) อาจเพิม่ ฤทธิ์ ลดพิษ และเพิม่ ประสิทธิผลการรักษา
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ ช

8. รู ปแบบยาในปัจจุบนั รู ปแบบยาเตรียมจากสมุนไพรจีน ที่มกี ารจําหน่ายในสาธารณรัฐ-


ประชาชนจีนในปัจจุบนั
9. ข้อแนะนํ าการใช้ เป็ นข้อแนะนําวิธีใช้ยาที่ถูกต้องที่ผูป้ ่ วยและผูป้ ระกอบโรคศิลปะด้าน
การแพทย์แผนจีนควรทราบ เช่น ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการอาเจียนค่อนข้างรุนแรง ควรรับประทานตํารับยาหวูจู-
ยฺหวีทงั เมือ่ ยาเย็นแล ้ว เป็ นต้น
10. ข้อควรระวังในการใช้ เป็ นข้อควรระวังเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้ตาํ รับยาที่
ผูป้ ่ วย หรือผูป้ ระกอบโรคศิลปะด้านการแพทย์แผนจีนควรทราบ เช่น ควรระมัดระวังการใช้ตาํ รับยาซือ่ -
หนี้ส่านในผูป้ ่ วยโรคความดันโลหิตสูง เป็ นต้น
11. ข้อห้ามใช้ เป็ นข้อมูลทีอ่ ธิบายว่าตํารับยานัน้ ห้ามใช้ในผูป้ ่ วยกลุม่ ใด เพือ่ ความปลอดภัยใน
การใช้ยาของผูป้ ่ วย เช่น ห้ามใช้ตาํ รับยาต้าเฉิงชี่ทงั ในสตรีมคี รรภ์ เป็ นต้น
12. ข้อ มู ล วิช าการที่เ กี่ย วข้อ ง เป็ น ข้อ มูล จากการวิจ ยั ที่ส นับ สนุ น สรรพคุ ณ ของตํา รับ ยา
แบ่งเป็ น 3 ส่วน ได้แก่ การศึกษาทางเภสัชวิทยา ทางคลินิก และความปลอดภัย โดยระบุเฉพาะข้อมูลที่
เกี่ยวข้องโดยสังเขป และระบุเลขเอกสารอ้างอิงไว้หลังฤทธิ์หรือสรรพคุณทีก่ ล่าวถึง
13. ภาพประกอบ มีภาพประกอบตํารับยาแต่ละตํารับซึง่ ชัง่ นํา้ หนักของตัวยาตามสูตร และภาพ
ตัวยาเดีย่ วทีเ่ ป็ นส่วนประกอบในตํารับยา
14. เอกสารอ้างอิง จะอยู่ทา้ ยมอโนกราฟ โดยมีรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง ดังนี้
14.1 การอ้างอิงหนังสือหรือตําราทีผ่ ูแ้ ต่งเขียนทัง้ เล่ม
ชื่อผูแ้ ต่ง. ชื่อหนังสือ. ครัง้ ทีพ่ มิ พ์. เมืองทีพ่ มิ พ์: สํานักพิมพ์, ปี ทพ่ี มิ พ์. เช่น
Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-
Chinese library of traditional Chinese medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of
Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
14.2 การอ้างอิงบทใดบทหนึ่งในหนังสือหรือตํารา
ชื่อผูแ้ ต่ง. ชื่อเรื่อง. ใน: ชื่อบรรณาธิการ. ชื่อหนังสือ. เล่มที.่ ครัง้ ทีพ่ มิ พ์. เมืองที่
พิมพ์: สํานักพิมพ์, ปี ทพ่ี มิ พ์. เช่น
Liu JG, Wu F. Xiebai San. In: Xia M (ed). Modern study of the medical
formulae in traditional Chinese medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ซ คําแนะนําการใช้หนังสือตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์

14.3 การอ้างอิงวารสารภาษาอังกฤษ
ชื่อผูแ้ ต่ง. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร. (ใช้ช่อื ย่อตามระบบ Index Medicus หากเป็ นชื่อ
จีนใช้ตามชื่อวารสาร) ปี ทพ่ี มิ พ์; ฉบับที:่ หน้าแรก-หน้าสุดท้าย. เช่น
Guo P, Ma ZC, Li YF, Liang QD, Wang JF, Wang SQ. Effect of siwu
tang on protein expression of bone marrow of blood deficiency mice induced by irradiation.
Zhongguo Zhongyao Zazhi 2004; 29(9): 893-6.
14.4 การอ้างเฉพาะบทในเอกสารประกอบการฝึ กอบรม
ชื่อผูแ้ ต่ง. ชื่อเรื่อง. ใน: ชื่อบรรณาธิการ. ชื่อเอกสาร. [เอกสารประกอบการ
ฝึ กอบรม]. เมืองทีพ่ มิ พ์: ชื่อหน่วยงาน, ปี ทพ่ี มิ พ์. เช่น
สมบูรณ์ ฟูเจริญทรัพย์, บุญยง เศวตบวร. การตัง้ ตํารับยา. ใน: มานพ เลิศสุทธิรกั ษ์;
พจงจิต เลิศสุทธิรกั ษ์; นิตต์นนั ท์ เทอดเกียรติ (บรรณาธิการ). ตํารับยาจีน. [เอกสารประกอบการ
ฝึ กอบรมหลักสูตรยาและสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2547.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ ฌ

สารบัญ
หน้า
คํานํ า ก
คําแนะนํ าการใช้หนังสือตํารับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ ค
บทที่ 1 ตํารับยาจีน 1
บทที่ 2 พัฒนาการของตํารับยาจีน 3
บทที่ 3 การปรับเปลี่ยนสูตรตํารับยาจีน 7
บทที่ 4 ประเภทของตํารับยาจีน 17
4.1 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก (解表剂 เจีย่ เปี่ ยวจี้) 27
หมาหวงทัง (麻黄汤) 27
กุย้ จือทัง (桂枝汤) 32
จิ่วเว่ยเ์ ชียงหัวทัง (九味羌活汤) 37
เสีย่ วชิงหลงทัง (小青龙汤) 43
อิน๋ เฉียวส่าน (银翘散) 48
ซังจฺหวีอน่ิ (桑菊饮) 54
หมาหวงซิง่ เหรินสือเกากันเฉ่ าทัง (麻黄杏仁石膏甘草汤) 59
ไฉเก๋อเจี่ยจีทงั (柴葛解肌汤) 63
ป้ ายตูส๋ ่าน (败毒散) 69
เจียเจี่ยนเวย์หรุยทัง (加减葳蕤汤) 75
4.2 ตํารับยาปรับสมดุล (和解剂 เหอเจีย่ จี้) 80
เสีย่ วไฉหูทงั (小柴胡汤) 80
ซือ่ หนี้ส่าน (四逆散) 86
เซียวเหยาส่าน (逍遥散) 91
ปัน้ เซีย่ เซีย่ ซินทัง (半夏泻心汤) 96
4.3 ตํารับยาดับร้อน (清热剂 ชิงเร่อจี้) 101
ไป๋ หู่ทงั (白虎汤) 101
จูเ๋ ยีย่ สือเกาทัง (竹叶石膏汤) 105
ชิงอิง๋ ทัง (清营汤) 110
ญ สารบัญ

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
หวงเหลียนเจี่ยตูท๋ งั (黄连解毒汤) 116
เต่าเช่อส่าน (导赤散) 120
หลงต่านเซีย่ กานทัง (龙胆泻肝汤) 124
เซีย่ ไป๋ ส่าน (泻白散) 131
เซีย่ หวงส่าน (泻黄散) 135
ชิงเว่ยส์ ่าน (清胃散) 139
ยฺวน่ี ฺหวีเ่ จียน (玉女煎) 143
เสาเย่าทัง (芍药汤) 147
ไป๋ โถวเวิงทัง (白头翁汤) 153
ชิงสู่อ้ชี ่ที งั (清暑益气汤) 157
4.4 ตํารับยาอบอุน่ ภายใน (温里剂 เวินหลี่จ้ )ี 163
หลีจ่ งหวาน (理中丸) 163
เสีย่ วเจี้ยนจงทัง (小建中汤) 167
หวูจูยหฺ วีทงั (吴茱萸汤) 171
ซือ่ หนี้ทงั (四逆汤) 175
ตังกุยซือ่ หนี้ทงั (当归四逆汤) 180
4.5 ตํารับยาระบาย (泻下剂 เซี่ยเซี่ยจี้) 185
ต้าเฉิงชี่ทงั (大承气汤) 185
เสีย่ วเฉิงชี่ทงั (小承气汤) 190
เถียวเว่ยเ์ ฉิงชี่ทงั (调胃承气汤) 194
ต้าหวงฟู่จ่อื ทัง (大黄附子汤) 197
เวินผีทงั (温脾汤) 201
หมาจื่อเหรินหวาน (麻子仁丸) 205
ซินเจียหวงหลงทัง (新加黄龙汤) 209
4.6 ตํารับยาบํารุง (补益剂 ปู่อ้ จี ้ )ี 214
ซือ่ จฺวนิ จื่อทัง (四君子汤) 214
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ ฎ

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
เซินหลิงไป๋ จูส๋ ่าน (参苓白术散) 218
ปู่จงอี้ช่ที งั (补中益气汤) 225
เซิงม่ายส่าน (生脉散) 230
ซือ่ อูท้ งั (四物汤) 235
กุยผีทงั (归脾汤) 240
ลิว่ เว่ยต์ ้ หี วงหวาน (六味地黄丸) 246
ต้าปู่อนิ หวาน (大补阴丸) 251
อีกว้ นเจียน (一贯煎) 255
เซิน่ ชี่หวาน (肾气丸) 259
4.7 ตํารับยาสมาน (固涩剂 กูเ้ ซ่อจี้) 264
ยฺวผ่ี งิ เฟิ งส่าน (玉屏风散) 264
เจินเหรินหยัง่ จัง้ ทัง (真人养脏汤) 268
ซือ่ เสินหวาน (四神丸) 274
4.8 ตํารับยาสงบจิตใจ (安神剂 อันเสินจี้) 278
ซวนเจ่าเหรินทัง (酸枣仁汤) 278
เทียนหวางปู่ซนิ ตัน (天王补心丹) 282
4.9 ตํารับยาช่วยย่อย (消导剂 เซียวต่าวจี้) 289
เป่ าเหอหวาน (保和丸) 289
จื่อสือเต่าจื้อหวาน (枳实导滞丸) 294
จื่อสือเซียวผีห่ วาน (枳实消痞丸) 299
4.10 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่ (理气剂 หลี่ช่ีจ้ )ี 305
เยฺวจ่ วฺ หี วาน (越鞠丸) หรือ ซฺยงจูห๋ วาน (芎术丸) 305
ปัน้ เซีย่ โฮ่วผอทัง (半夏厚朴汤) 309
ซูจ่อื เจี้ยงชี่ทงั (苏子降气汤) 314
ติ้งฉ่ วนทัง (定喘汤) 320
ฏ สารบัญ

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
จฺหวีผจี ูห้ รูทงั (橘皮竹茹汤) 325
4.11 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด (理血剂 หลี่เซฺ ว่ยี จี้) 330
เซฺวย่ี ฝู่จูย๋ วฺ ที งั (血府逐瘀汤) 330
ปู่หยางหวนอู่ทงั (补阳还五汤) 337
เวินจิงทัง (温经汤) 343
เซิงฮฺวา่ ทัง (生化汤) 350
กงไว่ยวฺ น่ิ ฟาง (宫外孕方) 354
เสีย่ วจีอ๋ นิ๋ จื่อ (小蓟饮子) 360
ไหฺวฮฺวาส่าน (槐花散) 365
เจียวอ้ายทัง (胶艾汤) 369
4.12 ตํารับยารักษาอาการลม (治风剂 จื้อเฟิ งจี้) 374
ชวนซฺยงฉาเถียวส่าน (川芎茶调散) 374
เสีย่ วหัวลัวตั ่ น (小活络丹) 380
หลิงเจี่ยวโกวเถิงทัง (羚角钩藤汤) 385
4.13 ตํารับยาขับความชื้น (祛湿剂 ชฺ วซี ือจี้) 391
ผิงเว่ยส์ ่าน (平胃散) 391
ฮัว่ เซียงเจิ้งชี่ส่าน (藿香正气散) 395
อินเฉินเฮาทัง (茵陈蒿汤) 401
ปาเจิ้งส่าน (八正散) 405
อู่หลิงส่าน (五苓散) 411
จูหลิงทัง (猪苓汤) 415
อู่ผสี ่าน (五皮散) 419
หลิงกุย้ จูก๋ นั ทัง (苓桂术甘汤) 423
เจินอู่ทงั (真武汤) 427
เชียงหัวเซิง่ ซือทัง (羌活胜湿汤) 431
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ ฐ

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
4.14 ตํารับยาขับเสมหะ (祛痰剂 ชฺ วถี นั จี้) 436
เอ้อร์เฉินทัง (二陈汤) 436
เวินต่านทัง (温胆汤) 441
ชิงชี่ฮวฺ า่ ถานหวาน (清气化痰丸) 446
หลิงกันอู่เว่ยเ์ จียงซินทัง (苓甘五味姜辛汤) 451
ซานจื่อหยัง่ ชินทัง (三子养亲汤) 455
จื่อโซ่วส่าน (止嗽散) 459
ปัน้ เซีย่ ไป๋ จูเ๋ ทียนหมาทัง (半夏白术天麻汤) 464
4.15 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น (治燥剂 จื้อเจ้าจี้) 469
ซังซิง่ ทัง (桑杏汤) 469
ชิงจ้าวจิ้วเฟ่ ยท์ งั (清燥救肺汤) 474
ไป่ เหอกูจ้ นิ ทัง (百合固金汤) 479
หยัง่ อินชิงเฟ่ ยท์ งั (养阴清肺汤) 485
ไม่เหมินตงทัง (麦门冬汤) 490
4.16 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง (痈疡剂 ยงหยางจี้) 495
ซือ่ เมีย่ วหย่งอันทัง (四妙勇安汤) 495
หยางเหอทัง (阳和汤) 499
เหว่ยจ์ งิ ทัง (苇茎汤) 505
ต้าหวงหมูต่ นั ทัง (大黄牡丹汤) 509
อี้อฟ่ี ่ ูจ่อื ไป้ เจี้ยงส่าน (薏苡附子败酱散) 513
ภาคผนวก 517
1. รายชื่อตํารับยาจีน 517
2. รายชื่อตัวยาสมุนไพรจีน 523
ดัชนี 535
 
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 1

บทที่ 1
ตํารับยาจีน (中药方剂 จงเย่าฟางจี้)
ตํารับยาประกอบด้วยตัวยาที่เหมาะสมตามหลักการจําแนกกลุ่มอาการ เพื่อตัง้ หลักเกณฑ์ใน
การรักษา (辨证立法 เปี้ ยนเจิ้งลี่ฝ่า) และตามหลักการและโครงสร้างของตํารับยา การตัง้ ตํารับยาที่
เหมาะสมอาจเสริมฤทธิ์หรือลดพิษของยาในตํารับได้ การเสริมฤทธิ์ ลดพิษหรือลดความแรงของยาที่
เหมาะสม มีผลทําให้ตวั ยาสามารถออกฤทธิ์ได้ดี
ตามคัมภีร ์ “เน่ยจ์ งิ (内经)” ตํารับยาจะประกอบด้วยตัวยาหลัก ตัวยาเสริม ตัวยาช่วย และ
ตัวยานําพา ตัวยาหลักเป็ นตัวยาที่สาํ คัญที่สุดในตํารับยา โดยทัว่ ไปจะใช้ในปริมาณมากที่สุด ส่วนตัวยา
เสริมและตัวยาช่วยจะใช้ในปริมาณรองลงมา
ตัวยาหลัก (主药 จูเ่ ย่า หรือ 君药 จฺวนิ เย่า)
ตัวยาหลัก คือตัวยาสําคัญในตํารับทีใ่ ห้ผลการรักษาตามอาการหรือสรรพคุณหลักของตํารับยา
นัน้ เช่น การใช้หมาหวง (麻黄) เป็ นตัวยาหลักในตํารับยาขับเหงือ่ แก้หอบหืด เป็ นต้น
ตัวยาเสริม (辅药 ฝู่ เย่า หรือ 臣药 เฉิ นเย่า)
ตัวยาเสริม คือตัวยาทีช่ ่วยเสริมหรือเพิม่ ประสิทธิผลการรักษาของตัวยาหลักในตํารับ รวมทัง้ ใช้
รักษาอาการอืน่ ๆ ของโรคนัน้ ๆ ทีต่ วั ยาหลักไม่สามารถครอบคลุมอาการเหล่านัน้ ได้ เช่น การใช้กยุ ้ จือ
(桂枝 กิ่งอบเชยจีน) เป็ นตัวยาเสริมสําหรับหมาหวง (麻黄) ในการขับเหงือ่ กระทุง้ ไข้ ในตํารับยาหมา-
หวงทัง (麻黄汤) เป็ นต้น
ตัวยาช่วย (佐药 จัว่ เย่า)
ตัวยาช่ วย คือตัวยาที่ช่วยเสริมฤทธิ์ของตัวยาหลักและตัวยาเสริม เพื่อรักษาอาการรองและ
อาการอื่น หรือตัวยาที่ใช้ลดพิษและควบคุมฤทธิ์ของตัวยาหลักและตัวยาเสริม หรือเป็ นตัวยาที่ใช้ใน
กรณีท่อี อกฤทธิ์ตรงข้ามกับตัวยาหลัก ตัวยานี้มกั ใช้ในปริมาณน้อย เช่น การใช้เซิงเจียง (生姜 ขิงสด)
ลดพิษของปัน้ เซีย่ (半夏) ซึง่ เป็ นตัวยาหลักในตํารับยาแก้ไอ เป็ นต้น
ตัวยานํ าพา (使药 สือ่ เย่า)
ตัวยานําพา คือตัวยาทีท่ าํ หน้าทีป่ รับตัวยาในตํารับให้เข้ากัน และ/หรือทําหน้าทีน่ าํ พาตัวยาอืน่ ๆ
ในตํารับให้ไปยังบริเวณทีต่ อ้ งการรักษา มักใช้ตวั ยานี้ในปริมาณน้อย ตัวอย่างเช่น การใช้กนั เฉ่ า (甘草
2 การตัง้ ตํารับยาจีน

ชะเอมเทศ) เป็ นตัวยานําพา ทําหน้าที่ปรับตัวยาทัง้ ตํารับให้เข้ากัน และป้ องกันการขับเหงือ่ มากเกินไป


ของหมาหวง (麻黄) และกุย้ จือ (桂枝 กิ่งอบเชยจีน) ในตํารับยาหมาหวงทัง (麻黄汤) เป็ นต้น
นอกจากตัวยาหลักแลว้ ตํารับยาหนึ่ง ๆ ไม่จาํ เป็ นต้องมีส่วนประกอบครบทัง้ หมด และตัวยา
หนึ่ง ๆ อาจทําหน้าทีห่ ลายอย่างได้ หากอาการเจ็บป่ วยไม่ซบั ซ้อน อาจใช้ตวั ยาเพียงหนึ่งหรือสองชนิดได้
หากตัวยาหลักและตัวยาเสริมไม่มพี ษิ หรือไม่มอี าการข้างเคียง ก็ไม่จาํ เป็ นต้องมีตวั ยาช่วย และหากตัวยา
หลักสามารถเข้าสู่บริเวณทีเ่ จ็บป่ วยได้ ก็ไม่จาํ เป็ นต้องใช้ตวั ยานําพา โดยทัว่ ไปการตัง้ ตํารับยามักใช้ตวั ยา
หลักเพียงหนึ่งชนิด แต่หากอาการเจ็บป่ วยมีความซับซ้อนมาก ก็สามารถใช้ตวั ยาหลักได้มากกว่าหนึ่ง
ชนิด ส่วนตัวยาเสริมนัน้ สามารถใช้ได้หลายชนิด และตัวยาช่วยมักใช้จาํ นวนชนิดมากกว่าตัวยาเสริม
สําหรับตัวยานําพานัน้ มักใช้เพียง 1-2 ชนิด ดังนัน้ ในยาแต่ละตํารับ อาจมีจาํ นวนชนิดของตัวยาทีท่ าํ
หน้าทีแ่ ตกต่างกันขึ้นกับอาการของผูป้ ่ วย ชนิดของโรค และวิธรี กั ษาเป็ นสําคัญ
เอกสารที่ใช้ประกอบการเรียบเรียง
1. Li F, Fan QL, Zhu ZB, Zhao JQ, Zhu WX. Science of prescriptions: A newly compiled practical English-Chinese
library of traditional Chinese medicine. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional
Chinese Medicine, 2000.
2. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
3. สมบูรณ์ ฟูเจริญทรัพย์, บุญยง เศวตบวร. การตัง้ ตํารับยา. ใน: มานพ เลิศสุทธิรกั ษ์, พจงจิต เลิศสุทธิรกั ษ์, นิตต์นนั ท์ เทอดเกียรติ
(บรรณาธิการ). ตํารับยาจีน. [เอกสารประกอบการฝึ กอบรมหลักสูตรยาและสมุนไพรจีน วันที่ 12-24 มิถนุ ายน 2547]. นนทบุร:ี
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
กรุงเทพมหานคร, 2547.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 3

บทที่ 2
พัฒนาการของตํารับยาจีน
(方剂的形成与发展 ฟางจี้เตอสิงเฉิ งยฺหวี่ฟาจัน่ )
ตํารับยาจีนที่ใช้กนั มาตัง้ แต่สมัยโบราณซึ่งมีผลต่อการป้ องกันและรักษาโรคนัน้ เกิดจากการ
ผสมกันของตัวยาต่าง ๆ ตัง้ แต่สองชนิดขึ้นไปตามหลักการตัง้ ตํารับยาจีน ศาสตร์ดา้ นเภสัชตํารับของจีน
มีการศึกษาวิจยั และพัฒนาในเชิงวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง เพือ่ สนับสนุนการนําไปใช้โดยอาศัยความรู ้
ตามภูมปิ ญั ญา ตามตํานานและหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ ตํารับยาจีนเริ่มกําเนิดขึ้นในยุคสังคมทาส ได้
เริ่มมีการนําตัวยาเดีย่ วมาใช้เพือ่ การป้ องกันและบําบัดรักษาโรค ต่อมาในยุคราชวงศ์ซาง (商代 Shang
Dynasty: 1,600-1,100 ปี ก่อนคริสต์ศกั ราช) มนุษย์ได้เรียนรูช้ นิดของโรคและรูจ้ กั ตัวยามากขึ้น รูจ้ กั นํา
ตัว ยาหลายชนิดมาผสมกันเป็ นตํารับเพื่อ ใช้ในการรักษาโรคภัย ไข้เจ็บ ทําให้การบําบัดรักษาโรคมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ. 1979 ได้มกี ารค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจากสุสานหม่าหวางตุย
(马王堆 Ma Wangdui) ในสมัยราชวงศ์ฮนั ่ พบตํารับยารักษาโรคจํานวน 52 ขนาน ซึง่ ถือเป็ นตํารายา
ทีเ่ ก่าแก่ทส่ี ุดของประวัตศิ าสตร์การแพทย์จนี
การพัฒนาวิชาการด้านการแพทย์จนี ทําให้ตาํ รับยามีความสมบูรณ์และมีเนื้อหาสาระมากขึ้น ใน
ยุคจัน้ กัว๋ ยุคราชวงศ์ฉิน และยุคราชวงศ์ฮนั ่ ได้พบคัมภีรห์ วงตี้เน่ ยจ์ งิ 《黄帝内经 The Yellow
Emperor’s Canon of Internal Medicine》เนื้อหาประกอบด้วยทฤษฎีพ้นื ฐานของเภสัชตํารับ เช่น
หลักการตัง้ ตํารับยา ข้อห้ามในการจัดยาร่วมหรือยากลุม่ รูปแบบยาเตรียมของตํารับยา วิธใี ช้ยา เป็ นต้น
รวมทัง้ สิ้น 13 ตํารับ ซึง่ ถือเป็ นจุดกําเนิดของศาสตร์ดา้ นเภสัชตํารับในปัจจุบนั
เสินหนงเปิ๋ นเฉ่ าจิง《神农本草经 Classic of Shen Nong’s Materia Medica》เป็ นคัมภีร ์
สมุนไพรจีนฉบับแรกทีส่ บื ทอดมาตัง้ แต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮนั ่ และแพร่หลายใช้มาจนถึงปัจจุบนั คัมภีร ์
นี้ได้บนั ทึกชื่อสมุนไพรจีนถึง 365 ชนิด และบรรยายถึงทฤษฎีการใช้สมุนไพรจีนต่าง ๆ ในบททีว่ ่าด้วย
เรื่องของยา คือ จฺวนิ (君 ยาหลัก) เฉิน (臣 ยาเสริม) จัว่ (佐 ยาช่วย) สื่อ (使 ยานําพา) ชีฉิง (七情
ยาร่วมทัง้ 7 ประเภท) และซือ่ ชี่อู่เว่ย ์ (四气五味 4 รส 5 กลิน่ ) ซึง่ ในวงการวิทยาศาสตร์ปจั จุบนั ยอมรับ
ว่าผลของยาสมุนไพรทีบ่ นั ทึกไว้ในคัมภีรเ์ ล่มนี้ส่วนใหญ่จะถูกต้อง เช่น หมาหวงใช้รกั ษาโรคหอบ หวง-
เหลียนรักษาโรคบิด สาหร่ายรักษาโรคคอพอก เป็ นต้น
4 พัฒนาการของตํารับยาจีน

ในยุ คราชวงศ์ฮนั ่ ตะวันออก มีแพทย์ท่ีมีช่ือเสียงท่านหนึ่ง คือ จางจ้งจิ่ง ( 张仲景 Zhang


Zhongjing) ได้รวบรวมความรูท้ างการแพทย์ในอดีตบวกกับประสบการณ์ของตนเองแต่งคัมภีรซ์ างหาน
จ๋าปิ้ งลุ่น《伤寒杂病论 Treatise on Febrile and Miscellaneous Diseases》เนื้อหาประกอบด้วย
ตํารับยารักษาโรคต่าง ๆ รวม 269 ตํารับ โดยได้อธิบายถึงรายละเอียดการปรับเพิม่ หรือลดขนาดยาใน
ตํารับ วิธใี ช้ และรูปแบบยาเตรียมทีเ่ หมาะสม คัมภีรเ์ ล่มนี้มคี วามสมบูรณ์มาก ต่อมาชนรุ่นหลังได้ยกย่อง
ท่านให้เป็ น “บิดาแห่งตํารับยาจีน” ในยุคราชวงศ์ถงั เป็ นยุคแรกทีพ่ ทุ ธศาสนารุ่งเรืองทีส่ ุด ซึง่ มีอทิ ธิพล
ต่อพัฒนาการทางการแพทย์จนี มีหนังสือตําราทางการแพทย์เกิดขึ้นจํานวนมาก ทําให้มกี ารพัฒนาศาสตร์
ด้านตํารับยาจีนอย่างกว้างขวาง เช่น ตําราเป้ ย์จเี๋ ชียนจินเอี้ยวฟาง《备急千金要方 Thousand Ducat
Formulae》และตําราเชียนจินอี้ฟาง《千金翼方 Supplement to the Thousand Ducat Formulae》
ของซุนซือเหมี่ยว (孙思邈 Sun Simiao) ตําราไว่ไถมี่เอี้ยว《外台秘要 Arcane Essentials from
Imperial Library》ของหวางถาว (王焘 Wang Tao) ซึง่ บรรจุตาํ รับยาไว้กว่า 6,000 ตํารับ หนังสือ
ดังกล่าวทัง้ สามเล่ม จัดเป็ นงานรวบรวมตํารับยาครัง้ ยิ่งใหญ่โดยแพทย์ผูม้ ชี ่ือเสียงในประวัติศาสตร์
การแพทย์จนี นับเป็ นมรดกอันลํา้ ค่าทีต่ กทอดมาจนถึงปัจจุบนั
ในยุคราชวงศ์ซ่ง ทางการได้จดั ให้มกี ารประชุมคณะแพทย์จนี และได้รวบรวมขึ้นเป็ นตําราไท่ผิง
เซิ่งหุย้ ฟาง《太平圣惠方 Peaceful Holy Benevolent Formulae》 บรรจุตาํ รับยาไว้รวม 16,834
ตํารับ ตําราเซิ่งจี่จง่ ลู่《圣济总录 The Complete Record of Holy Benevolence》บรรจุตาํ รับยา
ประมาณ 20,000 ตํารับ และตําราไท่ผิงหุย้ หมินเหอจี้จฺหวีฟาง《太平惠民和剂局方 Formulae of
the Peaceful Benevolent Dispensary》บรรจุตาํ รับยาไว้รวม 788 ตํารับ สําหรับตําราไท่ผงิ หุย้ หมิน
เหอจี้จฺหวีฟางถือเป็ นตํารายาหลวงเล่มแรกในโลกเกี่ยวกับตํารับยา ตําราเล่มนี้ได้รวบรวมตํารับยาหลวง
และมีการแก้ไขปรับปรุงใหม่ โดยมีรายละเอียดของเนื้อหาในแต่ละตํารับ เช่น สรรพคุณของตํารับยา
ส่วนประกอบ วิธแี ปรรูป และการนําไปใช้ให้ตรงตามสรรพคุณทีต่ อ้ งการ ตําราดังกล่าวนับเป็ นตําราสําหรับ
โอสถสถานในยุคราชวงศ์ซ่ง ซึง่ ต่อมาได้มกี ารพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็ นจุดเริ่มต้นของกําเนิดเภสัช-
ตํารับเล่มแรกของประเทศจีน ในยุคราชวงศ์จนิ (金代 Jin Dynasty) เฉิ งอูจ่ ่ี (成无己 Cheng Wuji)
ได้แต่งตําราซางหานหมิงหลี่ล่นุ 《伤寒明理论 Expoundings on the Treatise on Febrile Diseases》
ซึง่ คัดเลือกตํารับยาจํานวน 20 ขนานจากตําราซางหานลุ่น《伤寒论 Treatise on Febrile Diseases》
นํามาศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียด และได้ให้คาํ อธิบายตํารับยาแต่ละตํารับอย่างชัดเจน ได้แก่ ตัวยาหลัก
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 5

ตัวยาเสริม ตัวยาช่วย และตัวยานําพา ซึ่งถือเป็ นตําราทฤษฎีตาํ รับยาจีนเล่มแรกและเป็ นพื้นฐานในการ


พัฒนาตํารับยาในยุคต่อมา
ในยุคราชวงศ์หมิง แพทย์จนี จูสู ้ (朱橚 Zhu Su) และคณะ ได้รวบรวมตํารับยาต่าง ๆ ก่อน
ศตวรรษที่ 15 และได้แต่งตําราผู่จ้ ฟี าง《普济方 Prescription for Universal Relief》บรรจุตาํ รับยา
ไว้รวม 61,739 ตํารับ จัดเป็ นตําราทีบ่ รรจุจาํ นวนตํารับยามากทีส่ ุดของจีนจวบจนปัจจุบนั ในยุคราชวงศ์
ชิง (清代 Qing Dynasty) มีการก่อตัง้ สํานักโรคระบาดขึ้น โดยได้รวบรวมแพทย์จนี ที่มชี ่อื เสียงหลาย
ท่านมาร่วมกันคิดค้นและพัฒนาตําราการแพทย์และเภสัชตํารับ ทําให้เนื้อหาในตํารับยามีความสมบูรณ์
มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ตําราอีฟางเข่า《医方考 Textual Criticism on Prescriptions》อีฟางจีเ๋ จี่ย
《医方集解 Collection of Formulae and Notes》เป็ นต้น ทําให้ทฤษฎีตาํ รับยาจีนได้รบั การพัฒนา
ก้าวหน้าขึ้นอีกระดับหนึ่ง
หลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลจีนมีนโยบายสังคายนาการแพทย์จนี ทัว่ ประเทศ
มีการรวบรวมและชําระตําราแพทย์ดงั้ เดิมอย่างกว้างขวาง มีการศึกษาวิจยั ทางพรีคลินิกและทางคลินิก
ในสถาบันวิจยั ต่าง ๆ ของประเทศ โดยศึกษาครอบคลุมทัง้ ตํารับยาโบราณ ตํารับยาลับ และตํารับยาจาก
ประสบการณ์ของแพทย์ท่มี ชี ่ือเสียง ขณะเดียวกันก็ได้คิดค้นตํารับยาใหม่ ๆ ที่มปี ระสิทธิภาพจํานวน
มาก และได้พฒั นารูปแบบยาใหม่ ๆ ขึ้น จากผลดังกล่าวเป็ นทีม่ าของพัฒนาการของตํารับยาจีน
โดยสรุป พัฒนาการของตํารับยาจีนมีประวัติศาสตร์อนั ยาวนาน โดยเริ่มจากระดับสามัญสู่
ระดับที่กา้ วหน้าทันสมัยขึ้น จากความธรรมดาง่าย ๆ จนกลายเป็ นความลึกซึ้ง ซึ่งต้องอาศัยเวลาอัน
ยาวนาน แล้วค่อย ๆ สืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็ นสาขาวิชาที่มีความโดดเด่น สมบูรณ์ และมีทฤษฎีท่ี
เป็ นระบบแขนงหนึ่ งของการแพทย์จนี
เอกสารที่ใช้ประกอบการเรียบเรียง
1. Li F, Fan QL, Zhu ZB, Zhao JQ, Zhu WX. Science of prescriptions: A newly compiled practical English-Chinese
library of traditional Chinese medicine. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional
Chinese Medicine, 2000.
2. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
3. วิชยั โชควิวฒั น. ประวัตกิ ารแพทย์จนี โดยสังเขป. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2547; 2(1): 73-92.
เทพแห่งการแพทย์แผนจีน จางจ้งจิ่ง
สถานทีถ่ ่ายภาพ: Traditional Chinese Medicine Expo 2008,
International Trade Center, ปักกิ่ง
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 7

บทที่ 3
การปรับเปลี่ยนสูตรตํารับยาจีน (方剂变通 ฟางจี้เปี้ ยนทง)
ฟางจี้เปี้ ยนทง (方剂变通) คือ การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยา เพื่อรักษาอาการเจ็บป่ วยที่มี
ความซับซ้อน ตํารับยาจีนทีใ่ ช้กนั มาตัง้ แต่สมัยโบราณซึ่งมีผลต่อการป้ องกันและรักษาโรคนัน้ เกิดจาก
การผสมกันของตัวยาต่าง ๆ ตัง้ แต่ 2 ชนิดขึ้นไป โดยเริ่มจากการวินิจฉัยโรคของแพทย์จีน แลว้ จึง
คัดเลือกตัวยาที่เหมาะสมเข้าเป็ นหมวดหมู่ ตัวยาแต่ละชนิดมีสรรพคุณเด่นและด้อยในตัวเอง ดังนัน้
การตัง้ ตํารับยาทีเ่ หมาะสมอาจเสริมฤทธิ์หรือลดพิษของตัวยาในตํารับได้ การเสริมฤทธิ์ ลดพิษ หรือลด
ความแรงของตัวยาที่เหมาะสม มีผลทําให้ตวั ยาสามารถออกฤทธิ์ได้ดี พัฒนาการของตํารับยาจีนมี
ประวัตอิ นั ยาวนาน เริ่มจากระดับพื้นฐานที่ไม่ซบั ซ้อนสู่ระดับที่กา้ วหน้าทันสมัยและลึกซึ้ง ซึ่งต้องอาศัย
เวลาอันยาวนาน แลว้ ค่อย ๆ สืบทอดต่อกันมาจนกลายเป็ นสาขาวิชาหนึ่งของการแพทย์แผนจีนที่โดดเด่น
สมบูรณ์ และมีทฤษฎีทเ่ี ป็ นระบบ
ตามคัมภีรเ์ น่ยจ์ งิ 《内经》ตํารับยาจะประกอบด้วยตัวยาหลัก (主药 จู่เย่า หรือ 君药 จฺวนิ
เย่า) คือ ตัวยาทีเ่ ป็ นตัวยาสําคัญทีใ่ ช้รกั ษาโรคของตํารับยานัน้ ตัวยานี้จะมีผลรักษาสาเหตุของโรคหรือ
อาการสําคัญของโรค หรือ กล่าวอีก นัยหนึ่ง คือ ตัวยาหลักบอกสรรพคุณหลักของตํารับนัน้ ตัว ยา
เสริม (辅药 ฝู่เย่า หรือ 臣药 เฉินเย่า) คือ ตัวยาที่ช่วยเสริมหรือเพิม่ ประสิทธิผลการรักษาของตัวยา
หลักในตํารับ รวมทัง้ ใช้รกั ษาอาการอื่น ๆ ของโรคนัน้ ๆ ทีต่ วั ยาหลักไม่สามารถครอบคลุมอาการเหล่านัน้
ได้ ตัวยาช่วย (佐药 จัว่ เย่า) คือตัวยาที่ช่วยเสริมฤทธิ์ ควบคุม ลดพิษ ขจัดพิษของตัวยาหลักและตัว
ยาเสริม รวมทัง้ รักษาผลข้างเคียงของตัวยาหลักและตัวยาเสริม และตัวยานํ าพา (使药 สื่อเย่า) คือ ตัว
ยาทีท่ าํ หน้าทีน่ าํ พาตัวยาอื่น ๆ ให้ไปยังบริเวณทีต่ อ้ งการรักษา และทําหน้าทีป่ รับตัวยาในตํารับให้เข้ากัน
ได้ ตัวยาหลักเป็ นตัวยาที่สาํ คัญที่สุดในตํารับยา โดยทัว่ ไปจะใช้ในปริมาณมากที่สุด ส่วนตัวยาเสริม
และตัวยาช่ วยจะใช้ในปริมาณรองลงมา นอกจากตัวยาหลักแลว้ ตํารับยาหนึ่ง ๆ ไม่จาํ เป็ นต้องมี
ส่วนประกอบครบหมด และตัวยาหนึ่ง ๆ อาจทําหน้าที่หลายอย่างได้ หากอาการเจ็บป่ วยไม่ซบั ซ้อน
อาจใช้ตวั ยาเพียงหนึ่งหรือสองชนิดได้ หากตัวยาหลักและตัวยาเสริมไม่มพี ษิ หรือไม่มอี าการข้างเคียง ก็
ไม่จาํ เป็ นต้องมีตวั ยาช่วย และหากตัวยาหลักสามารถเข้าสู่บริเวณทีเ่ จ็บป่ วยได้ ก็ไม่จาํ เป็ นต้องใช้ตวั ยา
นําพา
8 การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยาจีน

ฟางจี้เปี้ ยนทง (方剂变通) หรือ การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยา ไม่มหี ลักเกณฑ์ทต่ี ายตัว แต่จะ
ขึ้นกับอาการเจ็บป่ วย เพศ อายุ ฤดูกาล และสภาพแวดลอ้ มของผูป้ ่ วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพิจารณา
ให้เหมาะสมกับอาการของผูป้ ่ วย และต้องมีประสิทธิผลในการรักษา ตํารับยาจีนโบราณพื้นฐานทีใ่ ช้บ่อย
มีประมาณ 300-400 ตํารับ แต่เมือ่ นํามาปรับเปลี่ยนสู ตรจะได้ตาํ รับยาเพิ่มขึ้นเป็ นจํานวนมากนับเป็ น
หลายหมืน่ ตํารับได้ การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยาจีนเบื้องต้นสามารถทําได้ ดังนี้
1. การนํ าตํารับยาจีนพื้นฐาน 2 ตํารับมารวมกันได้เป็ นตํารับยาใหม่
การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยาวิธนี ้ ี เป็ นการนําตํารับยาจีนพื้นฐาน 2 ตํารับมารวมกัน ได้เป็ นตํารับ
ยาใหม่ ซึง่ สามารถปรับเพิม่ หรือลดขนาดยาได้โดยไม่เปลีย่ นแปลงส่วนประกอบของตํารับยาทัง้ 2 ตํารับ
วิธีน้ ีสามารถเปลีย่ นความแรงของตํารับยาเดิมหรือเปลีย่ นขอบเขตการรักษาได้ บางครัง้ คุณสมบัติเด่น
หรือด้อยของตัวยาในตํารับยาอาจถูกเปลีย่ นให้เหมาะสมกับสรรพคุณใหม่ทต่ี อ้ งการ ตัวอย่างเช่น
ซือ่ จฺวนิ จื่อทัง (四君子汤) เป็ นตํารับยาบํารุงชี่ เมือ่ นํามารวมกับ ซื่ออูท้ งั (四物汤) ซึ่งเป็ น
ตํารับยาบํารุงเลือด จะได้ตาํ รับยาใหม่ เรียกว่า ปาเจินทัง (八珍汤) เป็ นตํารับยาบํารุงชี่และเลือด ตํารับ
ยานี้ใช้เหรินเซินและสู ต้ หี วง ใช้เป็ นยาหลัก เสริมชี่บาํ รุงเลือด ไป๋ จู ๋ ฝูหลิง ตังกุย และไป๋ เสา เป็ นตัวยา
เสริม โดยไป๋ จู ๋ และฝูหลิง เสริมม้ามระบายชื้น ช่วยตัวยาหลักเหรินเซินในการเสริมชี่บาํ รุงม้าม ตังกุย
และไป๋ เสา เสริมเลือด ปรับสมดุลอิง๋ ชี่ ช่วยตัวยาหลักสูต้ หี วงในการบํารุงอินของเลือด ชวนซยฺงเป็ นตัว
ยาช่วย ช่วยการไหลเวียนของเลือด ป้ องกันไม่ให้การไหลเวียนของเลือดติดขัด กันเฉ่ า (จื้อ) เสริมพลังชี่
ปรับสมดุลส่วนกลางและปรับสมดุลยาทัง้ หมด
ซือ่ อูท้ งั (四物汤) เป็ นตํารับยาบํารุงเลือด เมือ่ นํามารวมกับ หวงเหลียนเจี่ยตูท๋ งั (黄连解毒
汤) ซึ่งเป็ นตํารับยาระบายความร้อน บรรเทาพิษไข้ จะได้ตาํ รับยาใหม่ เรียกว่า เวินชิงอิ่น (温清饮)
เป็ นตํารับยาบํารุงเลือด และระบายความร้อน บรรเทาพิษไข้
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 9

ตารางแสดงตัวอย่างการนํ าตํารับยาจีนพื้นฐาน 2 ตํารับมารวมกัน


ซื่อจฺวนิ จือ่ ทัง ซื่ออูท้ งั หวงเหลียนเจีย่ ตูท๋ งั ปาเจินทัง เวินชิงอิน่
ตัวยา
(四君子汤) (四物汤) (黄连解毒汤) (八珍汤) (温清饮)
เหรินเซิน (人参) 10 กรัม 3 กรัม
ฝูหลิง (茯苓) 9 กรัม 8 กรัม
ไป๋ จู ๋ (白术) 9 กรัม 10 กรัม
กันเฉ่ า (จื้อ)
6 กรัม 5 กรัม
[甘草(炙)]
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง)
12 กรัม 15 กรัม 12 กรัม
[熟地黄(酒蒸)]
ตังกุย (จิ่วจิ้นเฉ่ า)
10 กรัม 10 กรัม 10 กรัม
[当归(酒浸炒)]
ไป๋ เสา (白芍) 12 กรัม 8 กรัม 12 กรัม
ชวนซฺยง (川芎) 8 กรัม 5 กรัม 8 กรัม
หวงเหลียน (黄连) 9 กรัม 9 กรัม
หวงฉิน (黄芩) 6 กรัม 6 กรัม
หวงป๋ อ (黄柏) 9 กรัม 9 กรัม
จือจื่อ (栀子) 9 กรัม 9 กรัม

2. การเพิม่ ตัวยาในตํารับยาจีนพื้นฐานได้เป็ นตํารับยาใหม่


การเพิม่ ตัวยาในตํารับยาจีนพื้นฐาน คือ การเพิม่ ตัวยาหลักหรือตัวยารอง ในทางคลินิกการเพิม่
ตัวยาหลักมีวตั ถุประสงค์เพือ่ รักษาอาการเจ็บป่ วยทีม่ คี วามซับซ้อนมาก ส่วนการเพิม่ ตัวยารองขึ้นอยู่กบั
อาการเจ็บป่ วยทีเ่ ป็ นอาการรอง โดยอาการเจ็บป่ วยหลักนัน้ ไม่เปลีย่ นแปลง ทัง้ นี้ อาจมีการปรับเปลีย่ น
นํา้ หนักของตัวยาในตํารับให้เหมาะสม การตัง้ ชื่อตํารับยาใหม่ ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กบั การเพิม่ ตัวยาหลัก
หรือตัวยารอง โดยถ้าเพิม่ ตัวยาหลักจะเติมชื่อตัวยาทีเ่ พิม่ ไว้ขา้ งหน้าชื่อตํารับยาเดิม ส่วนการเพิม่ ตัวยา
รองจะเติมชื่อตัวยาใหม่เข้าไปข้างหลังชื่อตํารับยาเดิม หรือตัง้ เป็ นชื่อตํารับยาใหม่
10 การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยาจีน

ตัวอย่างการเพิม่ ตัวยาหลัก เช่น


ซือ่ จฺวนิ จื่อทัง (四君子汤) เป็ นตํารับยาเสริมม้าม บํารุงชี่ เมือ่ เพิม่ เฉินผี (陈皮) และปัน้ เซีย่
(半夏) จะได้ตาํ รับยาใหม่ เรียกว่า เฉินเซีย่ ลิว่ จฺวนิ หวาน (陈夏六君丸) หรือ ลิว่ จฺวนิ จื่อทัง (六君子
汤) เป็ นตํารับยาบํารุงชี่ของม้าม ขจัดความชื้นและละลายเสมหะ
ซือ่ อูท้ งั (四物汤) เป็ นตํารับยาบํารุงเลือด เมือ่ เพิม่ เถาเหริน (桃仁) และหงฮฺวา (红花) จะ
ได้ตาํ รับยาใหม่ เรียกว่า เถาหงซื่ออูท้ งั (桃红四物汤) เป็ นตํารับยาสลายเลือดคัง่ บํารุงเลือด ปรับ
ประจําเดือนให้เป็ นปกติ และช่วยให้เลือดไหลเวียนดี
ตารางแสดงตัวอย่างการเพิม่ ตัวยาหลักในตํารับยาจีนพื้นฐาน
ซื่อจฺวนิ จือ่ ทัง เฉิ นเซี่ยลิว่ จฺวนิ หวาน ซื่ออูท้ งั เถาหงซื่ออูท้ งั
ตัวยา
(四君子汤) (陈夏六君丸) (四物汤) (桃红四物汤)
เหรินเซิน (人参) 10 กรัม 10 กรัม
ฝูหลิง (茯苓) 9 กรัม 9 กรัม
ไป๋ จู ๋ (白术) 9 กรัม 9 กรัม
กันเฉ่ า (จื้อ)
6 กรัม 6 กรัม
[甘草(炙)]
เฉินผี (陈皮) 9 กรัม
ปัน้ เซีย่ (半夏) 12 กรัม
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง)
12 กรัม 15 กรัม
[熟地黄(酒蒸)]
ตังกุย (จิ่วจิ้นเฉ่ า)
10 กรัม 12 กรัม
[当归(酒浸炒)]
ไป๋ เสา (白芍) 12 กรัม 10 กรัม
ชวนซฺยง (川芎) 8 กรัม 8 กรัม
เถาเหริน (桃仁) 6 กรัม
หงฮฺวา (红花) 4 กรัม
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 11

ตัวอย่างการเพิม่ ตัวยารอง เช่น


ไป๋ หู่ทงั (白虎汤) เป็ นตํารับยาระบายความร้อน เสริมธาตุนาํ้ เมือ่ เพิม่ เหรินเซิน (人参) จะได้
ตํารับยาใหม่ เรียกว่า ไป๋ หู่เจียเซินทัง (白虎加参汤) เป็ นตํารับยาระบายความร้อน บํารุงชี่ เสริมธาตุ
นํา้ แต่หากเพิ่มชังจู ๋ (苍术) เข้าไปในไป๋ หู่ทงั (白虎汤) จะได้ตาํ รับยาใหม่ เรียกว่า ไป๋ หู่เจียชังจูท๋ งั
(白虎加苍术汤) เป็ นตํารับยาระบายความร้อน สลายความชื้น
ตารางแสดงตัวอย่างการเพิม่ ตัวยารองในตํารับยาจีนพื้นฐาน
ไป๋ หูท่ งั ไป๋ หูเ่ จียเซินทัง ไป๋ หูเ่ จียชังจูท๋ งั
ตัวยา
(白虎汤) (白虎加参汤) (白虎加苍术汤)
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)] 3 กรัม 3 กรัม 3 กรัม
สือเกา (ซุ่ย) [石膏(碎)] 30 กรัม 30 กรัม 30 กรัม
จิงหมี่ (粳米) 9 กรัม 9 กรัม 9 กรัม
จือหมู่ (知母) 9 กรัม 9 กรัม 9 กรัม
เหรินเซิน (人参) 10 กรัม
ชังจู ๋ (苍术) 9 กรัม
หมาหวงทัง (麻黄汤) เป็ นตํารับยาขับเหงือ่ กระทุง้ หวัด กระจายชี่ท่ปี อด และบรรเทาอาการ
หอบ เมือ่ เพิม่ ไป๋ จู ๋ (白术) จะได้ตาํ รับยาใหม่ เรียกว่า หมาหวงเจียจูท๋ งั (麻黄加术汤) เป็ นตํารับยา
ขับเหงือ่ กระทุง้ หวัด สลายความเย็นและความชื้น
ตารางแสดงตัวอย่างการเพิม่ ตัวยารองในตํารับยาจีนพื้นฐาน (ต่อ)
หมาหวงทัง หมาหวงเจียจูท๋ งั
ตัวยา
(麻黄汤) (麻黄加术汤)
หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) [麻黄(去节)] 6 กรัม 6 กรัม
กุย้ จือ (桂枝) 4 กรัม 4 กรัม
ซิง่ เหริน (ชฺวผ่ี เี จียน) [杏仁(去皮尖)] 9 กรัม 9 กรัม
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)] 3 กรัม 3 กรัม
ไป๋ จู ๋ (白术) 12 กรัม
12 การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยาจีน

ตารางแสดงตัวอย่างการเพิม่ ตัวยารองในตํารับยาจีนพื้นฐาน (ต่อ)


ปาเจินทัง สือฉวนต้าปู่ทงั เอ้อร์เฉิ นทัง เวินต่านทัง
ตัวยา
(八珍汤) (十全大补汤) (二陈汤) (温胆汤)
เหรินเซิน (人参) 3 กรัม 8 กรัม
ฝูหลิง (茯苓) 8 กรัม 8 กรัม 9 กรัม 5 กรัม
ไป๋ จู ๋ (白术) 10 กรัม 10 กรัม
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)] 5 กรัม 5 กรัม 3 กรัม 3 กรัม
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง)
15 กรัม 15 กรัม
[熟地黄(酒蒸)]
ตังกุย (จิ่วจิ้นเฉ่ า)
10 กรัม 10 กรัม
[当归(酒浸炒)]
ไป๋ เสา (白芍) 8 กรัม 8 กรัม
ชวนซฺยง (川芎) 5 กรัม 5 กรัม
โร่วกุย้ (肉桂) 8 กรัม
หวงฉี (黄芪) 15 กรัม
ปัน้ เซีย่ (半夏) 15 กรัม 6 กรัม
จฺหวีผี (橘皮) 15 กรัม 9 กรัม
จื่อสือ (เมีย่ นเฉ่ า)
6 กรัม
[枳实(面炒)]
จูห้ รู (竹茹) 6 กรัม
กระสายยา
เซิงเจียง (生姜) 3 กรัม 3 กรัม
อูเหมย (乌梅) 1 ผล
ต้าเจ่า (大枣) 1 ผล
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 13

ปาเจินทัง (八珍汤) เป็ นตํารับยาบํารุงชี่และเลือด เมือ่ เพิม่ โร่วกุย้ (肉桂) และหวงฉี (黄芪) จะได้
ตํารับยาใหม่ เรียกว่า สือฉวนต้าปู่ทงั (十全大补汤) ซึ่งจะเพิ่มฤทธิ์บาํ รุงชี่และช่ วยให้มา้ มแข็งแรง
โดยโร่วกุย้ จะให้ความอบอุ่นและทะลวงจิงลัว่ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของชี่และเลือดดีข้ นึ และหวงฉี
บํารุงเหวียนชี่ให้สมบูรณ์ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีและปรับสมดุลหยางของม้าม
เอ้อร์เฉินทัง (二陈汤) เป็ นตํารับยาขจัดความชื้น ละลายเสมหะ ปรับสมดุลชี่ส่วนกลาง เมือ่
เพิม่ จื่อสือ (枳实) และจูห้ รู (竹茹) จะได้ตาํ รับยาใหม่ เรียกว่า เวินต่านทัง (温胆汤) ซึ่งจะเพิม่ ฤทธิ์
ปรับการไหลเวียนของชี่ในร่างกาย ขจัดความร้อน ขับเสมหะ
3. การเอาตัวยาเดิมออกและเพิม่ ตัวยาใหม่ในตํารับยาจีนพื้นฐาน
วิธนี ้ ีเป็ นวิธที น่ี ิยมใช้มากทีส่ ุด ตัวอย่างเช่น การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยาซือ่ อูท้ งั (四物汤) ซึง่
เป็ นตํารับยาบํารุงเลือด โดยการเอาสูต้ หี วง (熟地黄) ออก ใช้ตงั กุยเหว่ย ์ (当归尾) แทนตังกุย (จิ่ว
จิ้นเฉ่ า) [当归(酒浸炒)] ใช้เช่อเสา (赤芍) แทนไป๋ เสา (白芍) และเพิม่ เถาเหริน (桃仁) หงฮฺวา
(红花) หวงฉี (黄芪) และตี้หลง (地龙) เข้าไป จะได้ตาํ รับยาใหม่ เรียกว่า ปู่หยางหวนอู่ทงั (补阳还
五汤) ซึ่งเป็ นตํารับยาบํารุงชี่ ช่วยการไหลเวียนของเลือดดีข้ น ึ และทะลวงเส้นลมปราณ แก้อมั พฤกษ์
อัมพาต เส้นลมปราณติดขัด เส้นเลือดอุดตันจากสาเหตุช่ีพร่อง ตํารับนี้มหี วงฉีเป็ นตัวยาหลักและใช้
ปริมาณมาก เพือ่ บํารุงม้าม เสริมหยางชี่ ช่วยให้ช่สี มบูรณ์มแี รงขับเคลือ่ นด้วยการไหลเวียน เพือ่ ขจัดการ
คัง่ ตังกุยเหว่ยเ์ ป็ นตัวยาเสริม ช่วยสลายเลือดคัง่ แต่ไม่ทาํ ร้ายเม็ดเลือด ชวนซยฺง เช่อเสา เถาเหริน และ
หงฮฺวา ช่วยตังกุยเหว่ยเ์ พือ่ การไหลเวียนขจัดเลือดคัง่ ส่วนตี้หลงทะลวงจิงลัวเป็ ่ นตัวยาช่วย
การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยาซือ่ อูท้ งั (四物汤) ซึง่ เป็ นตํารับยาบํารุงเลือด โดยการเอาสูต้ หี วง
(熟地黄) ออก แลว้ เพิม่ โร่วกุย้ (肉桂) เสีย่ วหุยเซียง (เฉ่ า) [小茴香(炒)] และกันเจียง (干姜)
เพือ่ ให้ความอบอุ่นแก่เส้นลมปราณ เพิม่ หรูเซียง (乳香) และม่อเย่า (没药) เพือ่ สลายเลือดคัง่ และขับ
หนอง เพิม่ ผู่หวง (蒲黄) อู่หลิงจือ (เฉ่ า) [五灵脂(炒)] และเอีย่ นหูสฺวอ่ (延胡索) เพือ่ ระงับปวด
จะได้ตาํ รับยาใหม่ เรียกว่า เส้าฟู่จูย๋ วฺ ที งั (少腹逐瘀汤) ซึง่ เป็ นตํารับยาสลายเลือดคัง่ บริเวณท้องน้อย
และระงับอาการไส้ต่งิ อักเสบเรื้อรัง
14 การปรับเปลีย่ นสูตรตํารับยาจีน

ตารางแสดงตัวอย่างการเอาตัวยาเดิมออกและเพิม่ ตัวยาใหม่ในตํารับยาจีนพื้นฐาน
ซื่ออูท้ งั ปู่หยางหวนอูท่ งั เส้าฟู่ จูย๋ วฺ ที งั
ตัวยา
(四物汤) (补阳还五汤) (少腹逐瘀汤)
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) [熟地黄(酒蒸)] 12 กรัม
ตังกุย (จิ่วจิ้นเฉ่ า) [当归(酒浸炒)] 10 กรัม 9 กรัม
ตังกุยเหว่ย ์ (当归尾) 6 กรัม
ไป๋ เสา (白芍) 12 กรัม
เช่อเสา (赤芍) 6 กรัม 6 กรัม
ชวนซฺยง (川芎) 8 กรัม 3 กรัม 3 กรัม
หวงฉี (黄芪) 120 กรัม
เถาเหริน (桃仁) 3 กรัม
หงฮฺวา (红花) 3 กรัม
ตี้หลง (地龙) 3 กรัม
โร่วกุย้ (肉桂) 3 กรัม
เสีย่ วหุยเซียง (เฉ่ า) [小茴香(炒)] 1.5 กรัม
กันเจียง (干姜) 3 กรัม
หรูเซียง (乳香) 3 กรัม
ม่อเย่า (没药) 3 กรัม
ผู่หวง (蒲黄) 9 กรัม
อู่หลิงจือ (เฉ่ า) [五灵脂(炒)] 6 กรัม
เอีย่ นหูสฺวอ่ (延胡索) 3 กรัม

เอกสารที่ใช้ประกอบการเรียบเรียง
1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s Republic of China. Vol. I.
English ed. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.
2. วิชยั โชควิวฒั น, ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน (บรรณาธิการ). ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1. พิมพ์
ครัง้ ที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2549.
3. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 15

4. Zhang EQ. The Chinese Materia Medica: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese Medicine. 7th ed.
Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional Chinese Medicine, 1990.
5. Ou M. Chinese-English Manual of Common-Used Prescriptions in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Guangdong:
Guangdong Science and Technology Publishing House, 1991.
6. Zhao QM. Si Junzi Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
7. Ru K, Jiang JM. Siwu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
8. Zhang J, Zhao XX, Wu F. Huanglian Jiedu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
9. Gao A. Wenqing Yin. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine. Vol.1.
1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
10. Zhao H, Wang L. Liu Junzi Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
11. Ru K, Peng K, Yuan XQ, Lian ZH. Tao Hong Siwu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol.2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
12. Yuan XQ. Bazhen Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
13. Yuan XQ. Shiquan Dabu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
14. Ru K, Wang XD. Erchen Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol.2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
15. Ru K, Wang XD. Wendan Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol.2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
16. Yuan ZY, Qu YH. Mahuang Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
17. Zhang J. Baihu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine. Vol.1.
1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
18. Peng K, Yuan XQ, Zhao XX. Buyang Huanwu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol.2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
19. Reng K. Shaofu Zhuyu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol.2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
เภสัชยราชา ซุนซือเหมีย่ ว
สถานทีถ่ ่ายภาพ: Traditional Chinese Medicine Expo 2008,
International Trade Center, ปักกิ่ง
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 17

บทที่ 4
ประเภทของตํารับยาจีน (方剂分类 ฟางจี้เฟิ นเล่ย)์
ตํารับยาจีนแบ่งตามสรรพคุณเป็ นประเภทใหญ่ ๆ 17 ประเภท ได้แก่ ตํารับยารักษากลุม่ อาการ
ภายนอก ตํารับยาปรับให้สมดุล ตํารับยาดับร้อน ตํารับยาอบอุ่นภายใน ตํารับยาระบาย ตํารับยาบํารุง
ตํารับยาสมาน ตํารับยาสงบจิตใจ ตํารับยาเปิ ดช่องทวาร* ตํารับยาช่วยย่อย ตํารับยาควบคุมการ
ไหลเวียนของชี่ ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด ตํารับยาบรรเทาอาการลม ตํารับยาขับความชื้น
ตํา รับ ยาขับ เสมหะ ตํา รับ ยารัก ษาอาการแห้ง ขาดความชุ่ ม ชื้ น และตํา รับ ยารัก ษาแผล ฝี หนอง
รายละเอียดของตํารับยาจีนแต่ละประเภทที่ได้คดั เลือกมาบรรจุในหนังสือเล่มนี้ มีจาํ นวน 100 ตํารับ
ดังนี้
1. ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก (解表剂 เจีย่ เปี่ ยวจี้)
หมายถึง ตํารับยาทีใ่ ช้รกั ษากลุม่ อาการของโรคอันมีสาเหตุจากภายนอก เช่น สภาพอากาศทัง้ 6
ได้แก่ ลม ความเย็น ความร้อนอบอ้าว ความชื้น ความแห้ง และไฟ ตํารับยานี้จะออกฤทธิ์กาํ จัดของเสีย
ที่อยู่ตามผิวหนังออกโดยผ่านการขับเหงื่อ และกระทุง้ อาการของโรคหัดให้ออกได้ง่ายขึ้น โดยทัว่ ไป
ตํารับยาประเภทนี้จะมีรสเผ็ด ต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับโรคตามสาเหตุของโรค เช่น ลมร้อน ลมเย็น และ
สภาพร่างกาย ซึง่ มีลกั ษณะอิน-หยาง แกร่ง-พร่อง แตกต่างกัน แบ่ง เป็ น 3 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับยารักษากลุ่มอาการภายนอกที่มีรสเผ็ดอุน่ (辛温解表剂 ซิงเวินเจี่ยเปี่ ยวจี้) รสเผ็ด
อุ่น และมีฤทธิ์ขบั กระจาย ใช้รกั ษาอาการไข้จากการกระทบลมเย็น หนาวสัน่ ได้แก่ หมาหวงทัง (麻黄
汤) กุย้ จือทัง (桂枝汤) จิ่วเว่ยเ์ ชียงหัวทัง (九味羌活汤) เสีย่ วชิงหลงทัง (小青龙汤)
2) ตํารับยารักษากลุ่มอาการภายนอกที่มีรสเผ็ดเย็น (辛凉解表剂 ซิงเหลียงเจี่ยเปี่ ยวจี้) รส
เผ็ด เย็น และมีฤทธิ์ขบั กระจาย ใช้รกั ษาอาการไข้จากการกระทบลมร้อน เหงือ่ ออก ได้แก่ อิน๋ เฉียวส่าน
(银翘散) ซังจฺหวีอ่นิ (桑菊饮) หมาหวงซิง่ เหรินสือเกากันเฉ่ าทัง (麻黄杏仁石膏甘草汤) ไฉเก๋อ-
เจี่ยจีทงั (柴葛解肌汤)
3) ตํารับยาเสริมภูมิคมุ ้ กันและขับเหงือ่ (扶正解表剂 ฝูเจิ้งเจี่ยเปี่ ยวจี้) ประกอบด้วยยารักษา
กลุม่ อาการภายนอกและยาบํารุงชี่ มีฤทธิ์ขบั เหงือ่ บํารุงร่างกาย และเสริมภูมคิ ุม้ กัน ใช้รกั ษาอาการไข้
* ตํารับยาเปิ ดช่องทวารไม่ได้คดั เลือกมาบรรจุในหนังสือเล่มนี้
18 ประเภทของตํารับยาจีน

หนาวสัน่ ในผูป้ ่ วยทีม่ อี าการหนักและผูป้ ่ วยทีม่ รี ่างกายอ่อนแอ ได้แก่ ป้ ายตูส๋ ่าน (败毒散) เจียเจี่ยน-
เวย์หรุยทัง (加减葳蕤汤)
2. ตํารับยาปรับให้สมดุล (和解剂 เหอเจีย่ จี้)
หมายถึงตํารับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มสี รรพคุณรักษาอาการของโรคเส้าหยาง ช่วยให้การ
ทํางานของตับ ม้าม กระเพาะอาหารและลําไส้ดขี ้นึ ตํารับยานี้แบ่งเป็ น 3 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับยาปรับเส้าหยางให้สมดุล (和解少阳剂 เหอเจี่ยเส้าหยางจี้) ใช้รกั ษาโรคเส้าหยาง
ซึง่ เป็ นกลุม่ อาการกึ่งภายในกับกึ่งภายนอก เช่น เสีย่ วไฉหูทงั (小柴胡汤)
2) ตํารับยาปรับตับและม้ามให้สมดุล (调和肝脾剂 เถียวเหอกานผีจ้ )ี ประกอบด้วยตัวยาทีม่ ี
ฤทธิ์กระจายชี่ของตับ และเสริมม้ามให้แข็งแรง มีสรรพคุณปรับตับและม้ามให้สมดุล ใช้รกั ษาโรคที่ช่ี
ติดขัดไปกระทบต่อม้าม หรือม้ามพร่องอ่อนแอ ไม่สามารถทําหน้าที่ดา้ นลําเลียง จนส่งผลให้ช่ีของตับ
กระจายได้ไม่คล่อง ทําให้ตบั และม้ามไม่สมดุล ได้แก่ ซือ่ หนี้ส่าน (四逆散) เซียวเหยาส่าน (逍遥散)
3) ตํารับยาปรับกระเพาะอาหารและลําไส้ให้สมดุล (调和肠胃剂 เถียวเหอฉางเว่ยจ์ ้ )ี รส
เผ็ดและขม กระจายสู่เบื้องล่าง มีฤทธิ์ปรับม้ามและกระเพาะอาหารให้สมดุล ใช้รกั ษาโรคที่การทํางาน
ของกระเพาะอาหารและลําไส้แปรปรวน เช่น ปัน้ เซีย่ เซีย่ ซินทัง (半夏泻心汤)
3. ตํารับยาดับร้อน (清热剂 ชิงเร่อจี้)
หมายถึง ตํารับยาที่ใช้รกั ษากลุ่มอาการร้อนภายในร่างกาย ประกอบด้วยตัวยาซึ่งมีสรรพคุณ
ดับร้อน ขับระบายไฟ ทําให้เลือดเย็นลง แก้พษิ ร้อนอบอ้าว ถอนพิษ ขจัดร้อนจากภาวะพร่อง แบ่งเป็ น
5 กลุม่ ตามตําแหน่งของโรค ดังนี้
1) ตํารับยาดับร้อนในระดับชี่ (清气分热剂 ชิงชี่เฟิ นเร่อจี้) เป็ นตํารับยาทีม่ ฤี ทธิ์ดบั ร้อน ขับ
ระบายความร้อนในระดับชี่ ใช้รกั ษาโรคทีม่ ไี ข้สูง กระหายนํา้ มาก เหงือ่ ออกมาก ชีพจรใหญ่ ได้แก่ ไป๋ หู่-
ทัง (白虎汤) จูเ๋ ยีย่ สือเกาทัง (竹叶石膏汤)
2) ตํารับยาดับร้อนในระบบอิง๋ ชี่และเลือด (清营凉血剂 ชิงอิง๋ เหลียงเซฺวย่ี จี้) ประกอบด้วย
ตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์ดบั ร้อนขับระบายความร้อนสูงในระบบอิง๋ ชี่และเลือด ช่วยให้เลือดเย็นลง กระจายการคัง่ ของ
เลือด และห้ามเลือดอันเนื่องมาจากเลือดร้อน ระบายความร้อนและถอนพิษไข้ เช่น ชิงอิง๋ ทัง (清营汤)
3) ตํารับยาดับร้อนถอนพิษ (清热解毒剂 ชิงเร่อเจี่ยตูจ๋ ้ )ี ประกอบด้วยตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์ดบั ร้อน
ถอนพิษ ใช้รกั ษาโรคที่มอี าการพิษร้อนมากภายใน รวมทัง้ พิษร้อนบริเวณศีรษะ และใบหน้า เช่น หวง-
เหลียนเจี่ยตูท๋ งั (黄连解毒汤)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 19

4) ตํารับยาดับร้อนในอวัยวะภายใน (清脏腑热剂 ชิงจัง้ ฝู่เร่อจี้) ประกอบด้วยตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์


ดับร้อนภายในเป็ นองค์ประกอบสําคัญ ใช้รกั ษากลุ่มอาการร้อนที่เกิดในอวัยวะภายในทัง้ หลาย ได้แก่
เต่าเช่อส่าน (导赤散) หลงต่านเซีย่ กานทัง (龙胆泻肝汤) เซีย่ ไป๋ ส่าน (泻白散) เซีย่ หวงส่าน (泻黄
散) ชิงเว่ยส์ ่าน (清胃散) ยฺวน ่ี ฺหวีเ่ จียน (玉女煎) เสาเย่าทัง (芍药汤) ไป๋ โถวเวิงทัง (白头翁汤)
5) ตํารับยาลดไข้จากอาการเป็ นลมเพราะแพ้แดดและเสริมชี่ (清暑益气剂 ชิงสู่อ้ ชี ่จี ้ )ี มี
สรรพคุณลดไข้จากอาการเป็ นลมเพราะแพ้แดด และตัวยาที่มสี รรพคุณบํารุงชี่ เสริมอิน ใช้รกั ษาโรคที่
ถูกแดดเป็ นเวลานาน ทําให้มอี าการอ่อนเพลีย ตัวร้อน และหมดสติ เช่น ชิงสู่อ้ชี ่ที งั (清暑益气汤)
4. ตํารับยาอบอุน่ ภายใน (温里剂 เวินหลี่จ้ )ี
หมายถึง ตํารับยาที่ใช้รกั ษากลุ่มอาการเย็นภายในร่างกาย มีฤทธิ์ทาํ ให้ร่างกายอบอุ่น สลาย
ความเย็น แก้ปวด เสริมการทํางานของม้ามและกระเพาะอาหาร ตํารับยานี้มรี สเผ็ดร้อน
กลุ่มอาการเย็นภายในร่างกาย มีสาเหตุมาจากสภาพหยางของร่างกายพร่อง หยางไม่เพียงพอ
ทําให้เกิดความเย็นภายในร่างกาย หรือใช้ยาผิดทําให้หยางลดลง หรือกระทบกับความเย็นภายนอกและ
เข้าถึงอวัยวะภายใน แลว้ ต่อไปยังเส้นลมปราณ แบ่งเป็ น 3 กลุ่มตามความรุนแรงของอาการของโรค
และตําแหน่งทีเ่ กิดโรค ดังนี้
1) ตํารับยาขจัดความเย็นอุน่ จงเจียว (温中祛寒剂 เวินจงชฺวหี านจี้) ใช้รกั ษาโรคทีม่ อี าการ
เย็นพร่องภายในที่ตาํ แหน่งจงเจียว (ม้ามและกระเพาะอาหาร) ประกอบด้วยตัวยาที่มฤี ทธิ์อ่นุ ร้อน และ
เสริมบํารุงชี่ของม้าม ได้แก่ หลีจ่ งหวาน (理中丸) เสีย่ วเจี้ยนจงทัง (小建中汤) หวูจูยหฺ วีทงั (吴茱
萸汤)
2) ตํารับยาฟื้ นคืนหยางชี่ (回阳救逆剂 หุยหยางจิ้วหนี้จ้ )ี ประกอบด้วยตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์อ่นุ
ร้อน มีสรรพคุณอุ่นหยางของไต ช่วยให้หยางฟื้ นคืนกลับ ใช้รกั ษากลุ่มอาการหนาวเย็นมากจากหยาง
ของไตอ่อนแอ หรือหยางของหัวใจและไตอ่อนแอ เช่น ซือ่ หนี้ทงั (四逆汤)
3) ตํารับยาอบอุน่ เส้นลมปราณขับกระจายหนาว (温经散寒剂 เวินจิงซ่านหานจี้) ประกอบด้วย
ตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์ขบั กระจายหนาว อบอุ่นเส้นลมปราณ และบํารุงเลือด ทะลวงชีพจร ใช้รกั ษาโรคทีม่ อี าการ
หยางชี่ไม่เพียงพอ เลือดลมอ่อนแอ หรืออาการปวดทีเ่ กิดจากความเย็นมากระทบ ซึง่ มีผลต่อการไหลเวียน
ของเส้นลมปราณ เช่น ตังกุยซือ่ หนี้ทงั (当归四逆汤)
20 ประเภทของตํารับยาจีน

5. ตํารับยาระบาย (泻下剂 เซี่ยเซี่ยจี้)


หมายถึง ตํารับยาที่ใช้รกั ษากลุ่มอาการแกร่งภายในร่างกาย ประกอบด้วยตัวยาที่มสี รรพคุณ
ระบายท้อง กําจัดของเสียทีต่ กค้างในกระเพาะอาหารและลําไส้ ขับระบายความร้อนทีส่ ูงเกินไป และขับนํา้
เนื่องจากกลุ่มอาการแกร่ งภายในร่างกายที่เป็ นสาเหตุให้ทอ้ งผู กนัน้ อาจเกิดจากความร้อน
ความเย็น ความแห้ง และนํา้ ตํารับยาประเภทนี้แบ่งตามพยาธิสภาพของร่างกายและอายุของผูป้ ่ วยได้
ดังนี้
1) ตํารับยาเย็นระบายท้อง (寒下剂 หานเซีย่ จี้) ประกอบด้วยตัวยาทีเ่ ป็ นยาเย็น มีสรรพคุณ
เป็ นยาระบาย ใช้รกั ษาโรคท้องผูกจากความร้อนสะสมภายในร่างกาย ได้แก่ ต้าเฉิงชี่ทงั (大承气汤)
เสีย่ วเฉิงชี่ทงั (小承气汤) เถียวเว่ยเ์ ฉิงชี่ทงั (调胃承气汤)
2) ตํารับยาอุน่ ระบายท้อง (温下剂 เวินเซีย่ จี้) ประกอบด้วยตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์อบอุ่น หยางขับ
กระจายความเย็น ใช้ร่วมกับตัวยาทีม่ รี สขมเย็นทะลวงลงล่าง ใช้รกั ษาโรคทีม่ อี าการแกร่งภายในร่างกาย
ทีเ่ กิดจากความเย็น ได้แก่ ต้าหวงฟู่จ่อื ทัง (大黄附子汤) เวินผีทงั (温脾汤)
3) ตํารับยาเพิ่มความชุ่มชื้นระบายท้อง (润下剂 รุ่นเซี่ยจี้) ประกอบด้วยตัวยาที่มฤี ทธิ์ให้
ความชุ่มชื้นและหล่อลืน่ ลําไส้ เพือ่ ให้ถ่ายง่าย ใช้รกั ษาโรคท้องผูกเนื่องจากนํา้ ในลําไส้ไม่เพียงพอ ทําให้
อุจจาระแข็ง และถ่ายยาก เช่น หมาจื่อเหรินหวาน (麻子仁丸)
4) ตํารับยาเพิ่มความแข็งแรงของลําไส้ระบายท้อง (攻补兼施剂 กงปู่เจียนซือจี้) มีสรรพคุณ
บํารุงและระบาย ใช้รกั ษาโรคทีม่ อี าการแกร่งภายใน และพลังชี่ของร่างกายอ่อนแอ หากระบายอย่างเดียว
จะทําให้มอี าการอ่อนเพลียมากขึ้น จึงต้องทัง้ บํารุงและระบายท้องพร้อมกัน เช่น ซินเจียหวงหลงทัง (新
加黄龙汤)

6. ตํารับยาบํารุง (补益剂 ปู่อ้ จี ้ )ี


หมายถึง ตํารับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มสี รรพคุณช่วยเพิ่มสารจําเป็ น เพิ่มภูมติ า้ นทาน และ
ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ใช้รกั ษาภาวะพร่องต่าง ๆ แบ่งเป็ น 4 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับยาบํารุงชี่ (补气剂 ปู่ช่จี ้ )ี ประกอบด้วยตัวยาทีม่ สี รรพคุณบํารุงชี่ สามารถเพิม่ สมรรถนะ
การทํางานของปอดและม้าม ใช้รกั ษาโรคทีช่ ่ขี องปอดและม้ามพร่อง ได้แก่ ซือ่ จฺวนิ จื่อทัง (四君子汤)
เซินหลิงไป๋ จูส๋ ่าน (参苓白术散) ปู่จงอี้ช่ที งั (补中益气汤) เซิงม่ายส่าน (生脉散)
2) ตํารับยาบํารุงเลือด (补血剂 ปู่เซฺวย่ี จี้) ประกอบด้วยตัวยาบํารุงเลือด ใช้รกั ษาอาการขาด
เลือด ได้แก่ ซือ่ อูท้ งั (四物汤) กุยผีทงั (归脾汤)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 21

3) ตํารับยาบํารุงอิน (补阴剂 ปู่อนิ จี้) ประกอบด้วยตัวยาทีม่ สี รรพคุณเสริมบํารุงอิน ใช้รกั ษา


อาการอินของตับ และไตพร่อง ได้แก่ ลิว่ เว่ยต์ ้ หี วงหวาน (六味地黄丸) ต้าปู่อนิ หวาน (大补阴丸)
อีกว้ นเจียน (一贯煎)
4) ตํารับยาบํารุงหยาง (补阳剂 ปู่หยางจี้) ประกอบด้วยตัวยาทีม่ สี รรพคุณบํารุง หยางของไต
ใช้รกั ษาอาการหยางของไตอ่อนแอ เช่น เซิน่ ชี่หวาน (肾气丸)
7. ตํารับยาสมาน (固涩剂 กูเ้ ซ่อจี้)
หมายถึง ตํารับยาที่ใช้รกั ษาโรคที่ช่ีของเลือด สารพื้นฐานในไต และอสุจิเคลื่อนหลัง่ ออกง่าย
ประกอบด้วยตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์ยบั ยัง้ หรือเหนี่ยวรัง้ ให้เสถียร การเคลือ่ นหลังออกของสารภายในร่
่ างกาย ทําให้
สู ญเสียชี่ของเลือด ซึ่งมีสาเหตุและพยาธิสภาพของร่างกายแตกต่างกัน เช่น เหงือ่ ออกขณะนอนหลับ
ท้องเสียเรื้อรัง ปัสสาวะรดที่นอนในขณะหลับ ประจําเดือนมามากผิดปกติ รวมถึงอาการตกขาวมาก
ผิดปกติ แบ่งได้ ดังนี้
1) ตํารับยาเสริมภูมิตา้ นทานของผิวกายระงับเหงือ่ (固表止汗剂 กูเ้ ปี่ ยวจื่อฮัน่ จี้) มีสรรพคุณ
บํารุงชี่ ปกป้ องรู ขมุ ขนของร่างกาย ช่วยระงับไม่ให้เหงือ่ ออกง่าย ใช้รกั ษาโรคเหงือ่ ออกเอง ซึ่งมีสาเหตุ
จากพลังชี่ทห่ี ่อหุม้ ผิวกายขาดภูมติ า้ นทาน หรือใช้รกั ษาโรคทีม่ อี าการอินพร่อง ทําให้เกิดความร้อน เหงือ่
ออกมาก เช่น ยฺวผ่ี งิ เฟิ งส่าน (玉屏风散)
2) ตํารับยาสมานลําไส้แก้ทอ้ งเสีย (涩肠固脱剂 เซ่อฉางกูท้ วั จี้) มีสรรพคุณแก้ทอ้ งเสีย บํารุง
ม้ามและไต ช่วยชะลอและยับยัง้ การถ่ายมาก หรือถ่ายโดยควบคุมไม่ได้ ใช้รกั ษาโรคม้ามและไตพร่อง
(หยางพร่อง) ซึง่ ทําให้ทอ้ งเสียเรื้อรัง ถ่ายไม่หยุด ได้แก่ เจินเหรินหยัง่ จัง้ ทัง (真人养脏汤) ซือ่ เสิน-
หวาน (四神丸)
8. ตํารับยาสงบจิตใจ (安神剂 อันเสินจี้)
หมายถึง ตํารับยาที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์กล่อมจิตใจทําให้สงบ หรือตัวยาบํารุง
หัวใจ ลดความกระวนกระวายใจ เช่ น ตํารับยาบํารุงหัวใจช่วยให้นอนหลับ (滋养安神剂 จือหย่าง
อันเสินจี้) มีฤทธิ์บาํ รุงเลือดและอิน ช่วยให้จติ ใจสงบ ช่วยให้นอนหลับ ใช้รกั ษาโรคที่มอี าการตกใจง่าย
หวาดกลัว ใจสัน่ และนอนไม่หลับ ได้แก่ ซวนเจ่าเหรินทัง (酸枣仁汤) เทียนหวางปู่ซนิ ตัน (天王补
心丹)
22 ประเภทของตํารับยาจีน

9. ตํารับยาช่วยย่อย (消导剂 เซียวต่าวจี้)


หมายถึง ตํารับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มสี รรพคุณช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีข้ นึ ขับอาหาร
ตกค้าง บรรเทาท้องอืด หรืออาการจุกเสียดแน่นท้อง แบ่งเป็ น 2 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับยาช่วยย่อยขับอาหารตกค้าง (消食导滞剂 เซียวสือต่าวจื้อจี้) ประกอบด้วยตัวยาที่
มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดท้องและช่วยย่อยอาหาร ใช้รกั ษาอาการอาหารไม่ย่อย ได้แก่ เป่ า-
เหอหวาน (保和丸) จื่อสือเต่าจื้อหวาน (枳实导滞丸)
2) ตํารับยาช่วยย่อยแก้ทอ้ งอืด (消痞化积剂 เซียวผีฮ่ ฺว่าจีจ้ )ี มีสรรพคุณช่วยให้ช่เี ดิน ช่วย
การไหลเวียนของเลือด และขับชื้นสลายเสมหะซึ่งเป็ นสาเหตุให้ทอ้ งอืด เช่น จื่อสือเซียวผี่หวาน (枳实
消痞丸)

10. ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่ (理气剂 หลี่ช่ีจ้ )ี


หมายถึง ตํารับยาทีส่ ่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวยาทีช่ ่วยให้การไหลเวียนของชี่ภายในร่างกายดีข้นึ
หรือปรับชี่ให้ลงสู่เบื้องล่าง แบ่งเป็ น 2 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับยาขับเคลื่อนชี่ (行气剂 สิงชี่จ้ )ี มีฤทธิ์ควบคุมการทํางานของชี่ทงั้ ระบบทําให้ไหลเวียน
ดีข้นึ ใช้รกั ษาโรคที่มอี าการชี่ตดิ ขัด ได้แก่ เยฺว่จฺวหี วาน (越鞠丸) หรือ ซฺยงจูห๋ วาน (芎术丸) ปัน้ -
เซีย่ โฮ่วผอทัง (半夏厚朴汤)
2) ตํารับยาปรับชี่ลงตํา่ (降气剂 เจี้ยงชี่จ้ )ี ทีม่ ฤี ทธิ์ปรับชี่ให้ลงสู่เบื้องล่าง ลดการไหลย้อนขึ้น
ของชี่ในร่างกาย เพือ่ ระงับอาการไอหอบ หรืออาเจียน ได้แก่ ซูจ่อื เจี้ยงชี่ทงั (苏子降气汤) ติ้งฉ่ วนทัง
(定喘汤) จฺหวีผจี ูห้ รูทงั (橘皮竹茹汤)
11. ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด (理血剂 หลี่เซฺ ว่ยี จี้)
หมายถึง ตํารับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มสี รรพคุณรักษาอาการผิดปกติของระบบเลือด ช่วย
ปรับสมดุลของชี่และเลือด โดยทัว่ ไปใช้บาํ รุงเลือด ห้ามเลือด สลายเลือดคัง่ และช่วยการไหลเวียนของ
เลือดให้ดขี ้นึ แบ่งเป็ น 2 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับยากระตุน้ เลือดสลายเลือดคัง่ (活血祛瘀剂 หัวเซฺวย่ี ชวียฺวจี ้ )ี มีสรรพคุณรักษา
อาการทีม่ เี ลือดคัง่ และชํา้ ใน (เลือดตกใน) ได้แก่ เซฺวย่ี ฝู่จูย๋ วฺ ที งั (血府逐瘀汤) ปู่หยางหวนอู่ทงั (补
阳还五汤) เวินจิงทัง (温经汤) เซิงฮฺวา่ ทัง (生化汤) กงไว่ยวฺ น ่ิ ฟาง (宫外孕方)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 23

2) ตํารับยาห้ามเลือด (止血剂 จื่อเซฺวย่ี จี้) มีฤทธิ์หา้ มเลือดทัง้ ภายในและภายนอกร่างกาย ใช้


รักษาอาการของโรคทีม่ เี ลือดออก เช่น ไอเป็ นเลือด เลือดกําเดาไหล ถ่ายเป็ นเลือด หรือประจําเดือนมา
มากผิดปกติ ได้แก่ เสีย่ วจีอ๋ นิ ๋ จื่อ (小蓟饮子) ไหฺวฮฺวาส่าน (槐花散) เจียวอ้ายทัง (胶艾汤)
12. ตํารับยารักษาอาการลม (治风剂 จื้อเฟิ งจี้)
หมายถึง ตํารับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มรี สเผ็ด มีฤทธิ์กระจายออกขับไล่ลม ทําให้ลมสงบ
คลายการหดเกร็ง หรือเสริมอิน ลดหยางภายในร่างกาย แบ่งเป็ น 2 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับยาขับกระจายลมภายนอก (疏散外风剂 ซูส่านไว่เฟิ งจี้) มีรสเผ็ด มีฤทธิ์กระจาย
ออกขับไล่ลม มีสรรพคุณรักษากลุ่มอาการโรคที่เกิดจากการกระทบลมภายนอกแทรกเขา้ สู่ผิวหนัง
กล ้ามเนื้อ เส้นลมปราณ เส้นเอ็น กระดูก ข้อต่อ ทําให้บริเวณนัน้ เกิดโรคขึ้น ได้แก่ ชวนซฺยงฉาเถียวส่าน
(川芎茶调散) เสีย่ วหัวลัวตั ่ น (小活络丹)
2) ตํารับยาทําให้ลมภายในสงบ (平熄内风剂 ผิงซีเน่ยเ์ ฟิ งจี้) มีสรรพคุณสงบลมของตับ
เป็ นหลัก โดยทัว่ ไปมักใช้ร่วมกับตัวยาที่มฤี ทธิ์ดบั ร้อน สลายเสมหะ บํารุงเลือด ใช้รกั ษาโรคที่มอี าการ
เจ็บป่ วยจากลมภายในร่างกาย เช่น หลิงเจี่ยวโกวเถิงทัง (羚角钩藤汤)
13. ตํารับยาขับความชื้น (祛湿剂 ชฺ วซี ือจี้)
หมายถึง ตํารับยาที่ใช้รกั ษาโรคหรือกลุม่ อาการเจ็บป่ วยทีเ่ กิดจากความชื้น ประกอบด้วยตัวยา
ทีม่ สี รรพคุณขจัดความชื้นด้วยการขับนํา้ สลายชื้น ระบายนํา้ ทีม่ ลี กั ษณะขุ่นเป็ นตะกอน เพือ่ ให้เกิดสภาพ
คล่อง สาเหตุทท่ี าํ ให้เกิดความชื้นมี 2 สาเหตุ คือ
ความชื้ นจากภายนอก เมื่อร่ างกายกระทบความชื้นจากภายนอก ทําให้ทางเดินของชี่ติดขัด
เกิดอาการกลัวหนาว เป็ นไข้ตวั ร้อน ปวดศีรษะ ปวดเมือ่ ยตามตัว หรืออาจปวดบวมทีข่ อ้ ทําให้ขอ้ ยืดงอ
ไม่สะดวก
ความชื้นจากภายใน ความชื้นภายในร่างกายมีผลต่อการทํางานของม้าม ปอด ไต ทางเดินของ
ซานเจียว และกระเพาะปัสสาวะ ทําให้ระบบการกําจัดนํา้ เสียบกพร่อง เป็ นผลให้เกิดภาวะนํา้ ตกค้าง (นํา้
เสียที่ค่อนข้างใส) กับเสมหะ (นํา้ เสียที่ค่อนข้างหนืด) หรือนํา้ เสียที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทําให้เกิด
อาการบวมนํา้
ร่างกายของคนมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายในและภายนอก ดังนัน้ ความชื้นจากภายนอก
สามารถเขา้ สู่ภายในได้ ในทํานองเดียวกัน ความชื้นจากภายในสามารถขจัดออกสู่ภายนอกได้โดยผ่าน
ผิวหนัง ความชื้นภายนอกและภายในจึงมีผลต่อกัน
24 ประเภทของตํารับยาจีน

โดยทัว่ ไป ความชื้นมักมาพร้อมกับลม ความเย็น และความร้อน และเนื่องจากสภาพร่างกาย


ของคนมีความแข็งแรง อ่อนแอ แกร่ง และพร่องต่างกัน ตําแหน่งที่เกิดโรคสามารถเกิดได้ทงั้ ส่วนบน
ส่วนล่าง ภายใน และภายนอก นอกจากนี้ อาการเจ็บป่ วยอาจแปรเปลีย่ นไปเป็ นเย็นหรือร้อนได้ การ
รักษาด้วยการสลายความชื้นจึงมี 5 วิธี คือ
(1) หากตําแหน่งของโรคอยู่ภายนอกหรืออยู่ส่วนบน ให้ใช้ยาขับเหงือ่ น้อย ๆ เพือ่ ขจัดความชื้น
ให้ออกทางเหงือ่
(2) หากตําแหน่งของโรคอยู่ภายในหรืออยู่ส่วนล่าง ให้ใช้ยาหอมเย็นรสขม หรือรสหวานอมจืด
เพือ่ ขับนํา้ ออกทางปัสสาวะ
(3) หากความชื้นแปรสภาพเป็ นเย็น ให้อ่นุ หยางสลายชื้น
(4) หากความชื้นแปรสภาพเป็ นร้อน ให้ขจัดร้อนสลายชื้น
(5) หากร่างกายอ่อนแอ (พร่อง) มีความชื้นค่อนข้างมาก ให้ขจัดความชื้นพร้อมกับเสริมบํารุง
ตํารับยาขับความชื้นแบ่งเป็ น 5 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับยาปรับสมดุลของกระเพาะอาหารทําให้แห้ง (燥湿和胃剂 เจ้าซือเหอเว่ยจ์ ้ )ี มีรสขม
อุ่น มีฤทธิ์ข จัด ความชื้นทํา ให้แ ห้ง และมีก ลิ่นหอม มีฤ ทธิ์ก ระจายสลายความชื้น ใช้รกั ษาโรคที่มี
ความชื้นอุดกัน้ ภายในร่างกาย และมีลมเย็นจากภายนอกมากระทบ ได้แก่ ผิงเว่ยส์ ่าน (平胃散) ฮัว่ -
เซียงเจิ้งชี่ส่าน (藿香正气散)
2) ตํารับยาดับร้อนขับความชื้น (清热祛湿剂 ชิงเร่อชฺวซี อื จี้) มีสรรพคุณขจัดความร้อน ขับ
ความชื้น ใช้รกั ษาโรคทีม่ อี าการร้อนชื้น ได้แก่ อินเฉินเฮาทัง (茵陈蒿汤) ปาเจิ้งส่าน (八正散)
3) ตํารับยาขับนํ้ าระบายความชื้น (利水渗湿剂 หลีสุ่ยเซิน่ ซือจี้) มีสรรพคุณระบายความชื้น
ออกทางปัสสาวะ ใช้รกั ษาโรคทีม่ นี าํ้ หรือความชื้นตกค้าง (บวมนํา้ ) ได้แก่ อู่หลิงส่าน (五苓散) จูหลิง
ทัง (猪苓汤) อู่ผสี ่าน (五皮散)
4) ตํารับยาทําให้อบอุน่ แก้ภาวะนํ้ าชื้น (温化水湿剂 เวินฮฺว่าสุ่ยซือจี้) มีสรรพคุณอบอุ่นหยาง
ขับนํา้ ใช้รกั ษาโรคทีม่ คี วามเย็นชื้น ได้แก่ หลิงกุย้ จูก๋ นั ทัง (苓桂术甘汤) เจินอู่ทงั (真武汤)
5) ตํารับยาขับลมชื้นแก้ปวด (祛风胜湿剂 ชฺวเี ฟิ งเซิง่ ซือจี้) มีสรรพคุณขับลมชื้น ใช้รกั ษา
โรคทีม่ อี าการปวดเนื่องจากลมชื้น หรือโรคผืน่ คันตามผิวหนัง เช่น เชียงหัวเซิง่ ซือทัง (羌活胜湿汤)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 25

14. ตํารับยาขับเสมหะ (祛痰剂 ชฺ วถี นั จี้)


หมายถึง ตํารับยาทีใ่ ช้รกั ษาโรคต่าง ๆ อันเกิดจากเสมหะ ประกอบด้วยตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์ขบั เสมหะ
และนํา้ เสียที่ตกค้าง เนื่องจากเสมหะมีหลายชนิด เช่น เสมหะชื้น เสมหะร้อน เสมหะแห้ง เสมหะเย็น
และเสมหะปนลม ดังนัน้ จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ดังนี้
1) ตํารับยาอบอุน่ และทําให้แห้งสลายเสมหะ (燥湿化痰剂 เจ้าซือฮฺว่าถันจี้) ประกอบด้วย
ตัวยาละลายเสมหะ สลายความชื้น และตัวยาทีม่ รี สขมอุ่น ช่วยให้ความชื้นหายไป หรือตัวยาทีม่ รี สหวาน
จืด ช่วยขับความชื้น ใช้รกั ษาโรคทีม่ อี าการเสมหะชื้น ได้แก่ เอ้อร์เฉินทัง (二陈汤) เวินต่านทัง (温胆
汤)
2) ตํารับยาดับร้อนสลายเสมหะ (清热化痰剂 ชิงเร่อฮฺว่าถันจี้) ประกอบด้วยตัวยาทีม่ ฤี ทธิ์
ขจัดความร้อนและขับเสมหะ ใช้รกั ษาโรคทีม่ อี าการเสมหะร้อน เช่น ชิงชี่ฮวฺ า่ ถันหวาน (清气化痰丸)
3) ตํารับยาอุน่ ปอดสลายเสมหะเย็น (温化寒痰剂 เวินฮฺว่าหานถันจี้) มีสรรพคุณเพิม่ ความ
อบอุ่นให้ปอด สลายเสมหะ ใช้รกั ษาโรคที่มอี าการเสมหะเย็น ได้แก่ หลิงกันอู่เว่ยเ์ จียงซินทัง (苓甘五
味姜辛汤) ซานจื่อหยัง่ ชินทัง (三子养亲汤)
4) ตํารับยาขับไล่ลมละลายเสมหะ (治风化痰剂 จื้อเฟิ งฮฺวา่ ถันจี้) แบ่งเป็ น 2 กลุม่ ย่อย ดังนี้
(1) ตํารับยาขับลมภายนอกสลายเสมหะ (疏风化痰剂 ซูเฟิ งฮฺวา่ ถันจี้) เหมาะกับผูป้ ่ วยทีม่ ี
เสมหะเนื่องจากลมภายนอก ทําให้ปอดกระจายชี่ไม่คล่อง จึงเกิดเสมหะ ต้องรักษาด้วยการกระจายลม
และสลายเสมหะ เช่น จื่อโซ่วส่าน (止嗽散)
(2) ตํารับยาขับลมภายในสลายเสมหะ (熄风化痰剂 ซีเฟิ งฮฺว่าถันจี้) เหมาะกับผูป้ ่ วยทีม่ ี
เสมหะเนื่องจากพื้นฐานเดิมมีเสมหะอยู่ก่อนแลว้ เมื่อมีลมจากตับชักนําให้เสมหะขึ้นสู่ส่วนบนของ
ร่างกาย จึงทําให้เจ็บป่ วย ตํารับยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วยตัวยาที่มสี รรพคุณขับลมภายในและสลาย
เสมหะ เช่น ปัน้ เซีย่ ไป๋ จูเ๋ ทียนหมาทัง (半夏白术天麻汤)
15. ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น (治燥剂 จื้อเจ้าจี้)
หมายถึง ตํารับยาทีป่ ระกอบด้วยตัวยาทีม่ สี รรพคุณเสริมสร้างสารนํา้ หล่อเลี้ยง ช่วยให้อวัยวะมี
ความชุ่มชื้น แบ่งเป็ น 2 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับรักษาอาการแห้งภายนอกที่ออกฤทธิ์กระจายเบาบาง ช่วยการไหลเวียนของชี่ท่ปี อด
(轻宣外燥剂 ชิงซวนไว่เจ้าจี้) มีสรรพคุณรักษาความแห้งอันเนื่องมาจากอากาศภายนอก มักเกิดในฤดู
26 ประเภทของตํารับยาจีน

ใบไม้ร่วง เมือ่ ลมหนาวมา ทําให้ช่ปี อดกระจายไม่คล่อง นิยมใช้ตวั ยาทีม่ คี ุณสมบัตอิ ่นุ นํา้ หนักเบา ได้แก่
ซังซิง่ ทัง (桑杏汤) ชิงจ้าวจิ้วเฟ่ ยท์ งั (清燥救肺汤)
2) ตํารับยารักษาอาการแห้งภายในด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้น เสริมอิน (滋润内燥剂 จือรุ่น
เน่ยเ์ จ้าจี้) มีสรรพคุณรักษาอาการแห้งแบบร้อน มักจะเกิดในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งยังมีความร้อนของ
ปลายฤดูรอ้ นแฝงอยู่ ทําให้นาํ้ หล่อเลี้ยงในปอดลดลง นิยมใช้ยาทีม่ คี ุณสมบัตเิ ย็นนํา้ หนักเบา ได้แก่ ไป่ -
เหอกูจ้ นิ ทัง (百合固金汤) หยัง่ อินชิงเฟ่ ยท์ งั (养阴清肺汤) ไม่เหมินตงทัง (麦门冬汤)
16. ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง (痈疡剂 ยงหยางจี้)
หมายถึง ตํารับยาที่ประกอบด้วยตัวยาที่มสี รรพคุณขับพิษร้อน ขับหนอง หรือสลายตุ่มก้อน
ด้วยความอุ่น ใช้รกั ษาโรคแผล ฝี หนอง ตุ่มก้อนต่าง ๆ แบ่งเป็ น 2 กลุม่ ดังนี้
1) ตํารับยารักษาแผล ฝี หนองภายนอกร่างกาย (外痈剂 ไว่ยงจี้) มีสรรพคุณรักษาแผล ฝี
หนองที่เกิดตามผิวหนังภายนอก ได้แก่ ฝี ฝกั บัว ฝี หวั แข็ง ตุ่มหนองที่ผวิ หนัง งูสวัด ไฟลามทุ่ง ต่อม
นํา้ เหลืองโต ได้แก่ ซือ่ เมีย่ วหย่งอันทัง (四妙勇安汤) หยางเหอทัง (阳和汤)
2) ตํารับยารักษาแผล ฝี หนองภายในร่างกาย (内痈剂 เน่ยย์ งจี้) มีสรรพคุณรักษาแผล ฝี
หนองทีเ่ กิดตามอวัยวะภายในต่าง ๆ เช่น ฝี ในปอด ไส้ต่งิ อักเสบ ได้แก่ เหว่ยจ์ งิ ทัง (苇茎汤) ต้าหวง-
หมูต่ นั ทัง (大黄牡丹汤) อี้อฟ่ี ่ ูจ่อื ไป้ เจี้ยงส่าน (薏苡附子败酱散)
รายละเอียดของตํารับยาจีนแต่ละตํารับจะประกอบด้วย ตําราต้นตํารับ ส่วนประกอบ วิธีใช้
การออกฤทธิ์ สรรพคุณ คําอธิบายตํารับ รูปแบบยาในปัจจุบนั ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้ ข้อมูล
วิชาการทีเ่ กี่ยวข้อง เอกสารอ้างอิง และภาพประกอบของตํารับยาและตัวยา ดังนี้
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 27

หมาหวงทัง (麻黄汤)
ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
麻黄 (去节) Herba Ephedrae (with joints removed) หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) 6 กรัม
桂枝 Ramulus Cinnamomi กุย้ จือ 4 กรัม
杏仁 (去皮尖) Semen Armeniacae Amarum ซิง่ เหริน (ชฺวผ่ี เี จียน) 9 กรัม
(with its skin removed)
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 3 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม แล ้วนอนห่มผ้า เพือ่ อบให้เหงือ่ ออกพอควร1,3
การออกฤทธิ์
ขับเหงือ่ กระทุง้ หวัด กระจายชี่ทป่ี อด บรรเทาอาการหอบ1,3
สรรพคุณ
ใช้รกั ษาไข้หวัดจากการกระทบความเย็น โดยมีอาการตัวร้อน กลัวหนาว ปวดศีรษะ ปวดเมือ่ ย
ตามตัว ไม่มเี หงือ่ มีอาการหอบ ลิ้นมีฝ้าขาวบาง ชีพจรลอย ตึงแน่น1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลม
อักเสบ อาการหอบและหืดจากไข้หวัดเนื่องจากกระทบลมเย็นทีม่ สี ภาพแกร่ง1,3
28 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

ตํารับยา หมาหวงทัง (麻黄汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) [麻黄(去节)] กุย้ จือ (桂枝)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ซิง่ เหริน (ชฺวผ่ี เี จียน) [杏仁(去皮尖)] กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 29

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
麻黄(去节) ตัวยาหลัก เผ็ด ขม อุ่น กระทุง้ ไข้หวัด ขับเหงือ่ กระจายชี่
หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) เล็กน้อย ของปอด บรรเทาอาการหอบ ขับ
ปัสสาวะ ลดบวม
桂枝 กุย้ จือ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ กระจายชี่และเลือด และ
(กิ่งอบเชยจีน) อมหวาน กระตุน้ หยางของหัวใจ
杏仁 (去皮尖) ตัวยาช่วย ขม อุ่น ระบายและกระจายชี่ของปอด
ซิง่ เหริน (ชฺวผ่ี เี จียน) เล็กน้อย บรรเทาอาการไอและหอบ ให้ความ
ชุ่มชื้นแก่ลาํ ไส้ และระบายอ่อน ๆ
甘草(炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง เสริมความ
กันเฉ่ า (จื้อ) ชุ่มชื้นให้ปอด แก้ไอ แก้ปวด ปรับ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยหมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) มีรสเผ็ดขม มีคุณสมบัตอิ ่นุ เล็กน้อย เป็ นตัวยาหลัก
มีสรรพคุณกระทุง้ ไข้หวัด ขับเหงือ่ กระจายชี่ของปอด และบรรเทาอาการหอบ กุย้ จือมีรสเผ็ดอมหวาน มี
คุณสมบัตอิ ่นุ เป็ นตัวยาเสริม ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้สะดวกขึ้นและกระตุน้ หยางของหัวใจ
ใช้ร่วมกับหมาหวงสามารถเพิม่ ฤทธิ์ขบั เหงือ่ ให้แรงขึ้น ซิ่งเหริน (ชฺว่ผี เี จียน) เป็ นตัวยาช่วย ระบายและ
กระจายชี่ของปอด บรรเทาอาการไอและหอบ กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา ช่วยเสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง
เสริมความชุ่มชื้นให้ปอด ระงับไอ และช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาชงพร้อมดืม่ 4
ข้อแนะนํ าการใช้
หลังจากใช้ตาํ รับยาหมาหวงทัง เมือ่ เหงือ่ ออกหายไข้แลว้ ควรหยุดยาทันที ไม่ควรใช้ต่อเนื่อง
ระยะยาว1,3
30 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาหมาหวงทังมีรสเผ็ดอุ่น มีฤทธิ์ขบั เหงือ่ ค่อนข้างแรง จึงไม่ควรใช้กบั ผูป้ ่ วยที่มอี าการ
เหงือ่ ออกแบบพร่อง ไข้หวัดจากการกระทบลมร้อน ไข้หวัดในผูป้ ่ วยทีม่ รี ่างกายอ่อนแอ เลือดพร่องจาก
การคลอดบุตร ตํารับยานี้เหมาะสําหรับอาการไข้หวัดจากการกระทบลมเย็นเท่านัน้
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาหมาหวงทัง มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาหมาหวงทังมีฤทธิ์ระบายความร้อนในกระต่าย บรรเทา
อาการไอ ขับเสมหะ และขยายหลอดลมในหนู ถบี จักร บรรเทาอาการอักเสบ ต้านเชื้อไวรัส และต้านเชื้อ
แบคทีเรีย4
การศึกษาทางคลินิก: การศึกษาผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดีพบว่า
ตํารับยานี้ทาํ ให้ความดันเลือดสู งขึ้น เพิม่ อัตราการเต้นของหัวใจ เพิม่ ปริมาตรเลือดหัวใจบีบต่อครัง้ และ
ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที ทําให้อตั ราส่วนระหว่างปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อพื้นทีผ่ วิ
กายสูงขึ้น แต่ทาํ ให้แรงต้านส่วนปลายทัง้ หมดลดลง5 เมือ่ ให้ผูป้ ่ วยเด็กซึง่ เป็ นไข้หวัดจากการกระทบลม
เย็นภายนอก และมีไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส* จํานวน 167 ราย รับประทานตํารับยาหมาหวงทัง
เฉลีย่ คนละ 2 ห่อ โดยรับประทานวันละ 1 ห่อ พบว่าการรักษาได้ผลร้อยละ 90 และเมือ่ ให้ผูป้ ่ วยเด็กทีม่ ี
ไข้สูง 38 องศาเซลเซียส* จํานวน 13 ราย รับประทานตํารับยาหมาหวงทังคนละ 6 ห่อ พบว่าผูป้ ่ วยทุก
รายหายเป็ นปกติ4 จากการศึกษาในผูป้ ่ วยไข้หวัดใหญ่จาํ นวน 120 ราย โดยผูป้ ่ วยทีไ่ ม่มอี าการปอดอักเสบ
ให้รบั ประทานตํารับยาหมาหวงทังอย่างเดียว ส่วนผูป้ ่ วยทีม่ อี าการปอดอักเสบร่วมด้วยให้รบั ประทานตํารับ
ยาหมาหวงทังร่วมกับยาอื่น พบว่าผูป้ ่ วยจํานวน 102 ราย หายเป็ นปกติเมือ่ รับประทานยาเพียง 1-2 ห่อ
ผูป้ ่ วยอีก 18 ราย หายเป็ นปกติเมือ่ รับประทานยาวันละ 1 ห่อ ติดต่อกัน 5-7 วัน4 นอกจากนี้ ตํารับยา
หมาหวงทังยังมีสรรพคุณขับเหงื่อ ระบายความร้อน แก้ไอ บรรเทาหอบ บรรเทาอาการปวด และขับ
ปัสสาวะ1,3
การศึกษาความปลอดภัย: การศึกษาพิษเฉียบพลันในหนู ถบี จักร โดยการฉีดสารสกัดเข้าช่อง
ท้อง พบว่าขนาดของสารสกัดเทียบเท่าผงยาทีท่ าํ ให้หนู ถบี จักรตายร้อยละ 50 (LD50) และร้อยละ 95 มี

* ถ้าผูป้ ่ วยมีไข้สูง 40 องศาเซลเซียส ให้ใช้ตาํ รับยาหมาซิง่ กันสือทัง (麻杏甘石汤) จะเหมาะสมกว่า


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 31

ค่าเท่ากับ 28.51 และ 56.35 กรัม/กิโลกรัม ตามลําดับ โดยอาการทีเ่ กิดขึ้นหลังจากได้รบั สารสกัด คือ มี
เหงือ่ ออกมากจนเปี ยกชื้นบริเวณท้อง หนู ส่วนหนึ่งตายหลังจากมีอาการตื่นเต้น กระสับกระส่ายและ
กลา้ มเนื้อหดเกร็ง หนู อกี ส่วนหนึ่งตายหลังจากมีอาการตื่นเต้นแลว้ กลา้ มเนื้อหดเกร็งจนไม่เคลือ่ นไหว
แล ้วหยุดหายใจ โดยสาเหตุการตายเนื่องจากหนู ได้รบั ยาเกินขนาดมาก4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาหมาหวงทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Yuan ZY, Qu YH. Mahuang tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese
medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Xu FH, Uebaba K. Effect of Kampo formulations (traditional Chinese medicine) on circulatory parameters. Acupunct
Electrother Res 1999; 24(1): 11-28.
32 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

กุย้ จือทัง (桂枝汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
桂枝 Ramulus Cinnamomi กุย้ จือ 9 กรัม
白芍 Radix Paeoniae Alba ไป๋ เสา 9 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 9 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 4 ผล

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม หลังรับประทานยาแลว้ ให้รบั ประทานข้าวต้มหรือนํา้ อุ่น หลังจากนัน้ ห่มผ้าเพือ่ ให้
เหงือ่ ออกเล็กน้อย เพือ่ ให้ไข้หายเร็วขึ้น1,3
การออกฤทธิ์
กระทุง้ ไข้หวัด ผ่อนคลายกล ้ามเนื้อผิวหนัง ปรับสมดุลของอิง๋ ชี่กบั เว่ยช์ 1,3่ี
สรรพคุณ
รักษาไข้หวัดจากการกระทบลมเย็นและภูมคิ ุม้ กันทีผ่ วิ ภายนอกบกพร่อง โดยมีอาการปวดศีรษะ
ตัวร้อน เหงือ่ ออก กลัวลม คลืน่ ไส้ คัดจมูก ลิ้นมีฝ้าขาวบาง ชีพจรลอย ช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาไดต้ ามความเหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยโรคหวัด ไขห้ วัด
ระบาดจากการกระทบลมเย็นภายนอกและภูมคิ ุม้ กันตํา่ ผิวหนังคันเป็ นลมพิษ ผื่นจากความชื้น ปวด
เส้นประสาท ปวดกล ้ามเนื้อ1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 33

ตํารับยา กุย้ จือทัง (桂枝汤)

2 เซนติเมตร
ต้าเจ่า (大枣)

2 เซนติเมตร
กุย้ จือ (桂枝)
เซิงเจียง (生姜) 3 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร

ไป๋ เสา (白芍) 2 เซนติเมตร กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草 (炙)]


34 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
桂枝 กุย้ จือ ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ผ่อนคลายกล ้ามเนื้อ
(กิ่งอบเชยจีน) อมหวาน ให้ความอบอุ่น และเสริมหยาง
ช่วยให้ช่มี กี ารหมุนเวียนดีข้นึ
白芍 ไป๋ เสา ตัวยาเสริม ขม เปรี้ยว เย็น เสริมอินเลือด ปรับประจําเดือน
อมหวาน เล็กน้อย และปรับสมดุลชี่ของตับ ระงับ
ปวด เก็บกักอินชี่ ระงับเหงือ่
大枣 ต้าเจ่า ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง สร้างเลือด
(พุทราจีน) สงบจิตใจ ปรับสมดุลของยา
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ออกจากผิวกาย ให้
(ขิงสด) ความอบอุ่นแก่กระเพาะอาหาร
แก้คลืน่ ไส้ ช่วยให้ปอดอบอุ่น
ระงับไอ
甘草 (炙) ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ปรับ
กันเฉ่ า (จื้อ) ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง)

ตํารับยานี้ประกอบด้วยกุย้ จือมีรสเผ็ดอมหวานและมีคุณสมบัตอิ ่นุ เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณ


กระจายความเย็น กําจัดของเสียที่อยู่ตามกลา้ มเนื้อและผิวหนังออกโดยผ่านการขับเหงือ่ ไป๋ เสาเป็ นตัว
ยาเสริม รสเปรี้ยวขม คุณสมบัติเย็นเล็กน้อย ช่วยเสริมอินของเลือด เมือ่ ใช้ร่วมกับกุย้ จือสามารถขับ
เหงือ่ และเหนี่ยวรัง้ ปรับสมดุลของอิง๋ ชี่และเว่ยช์ ่ี ช่วยให้การขับเหงือ่ ไม่ทาํ ลายอิน และการห้ามเหงือ่ ไม่
รบกวนการกําจัดของเสียออกภายนอก ตัวยาทัง้ สองนี้มที งั้ ฤทธิ์ตรงกันข้ามและเสริมฤทธิ์กนั ตัวยาช่วย
ได้แก่ เซิงเจียงรสเผ็ด อุ่น ช่วยเสริมฤทธิ์ของกุย้ จือในการกําจัดของเสียทีอ่ ยู่ตามกลา้ มเนื้อ และให้ความ
อบอุ่นแก่กระเพาะอาหาร บรรเทาอาการคลืน่ ไส้ ต้าเจ่ารสหวาน สุขุม ช่วยเสริมชี่บาํ รุงส่วนกลาง และ
เสริมอินบํารุงเลือด เมือ่ ใช้ร่วมกับเซิงเจียงสามารถปรับสมดุลของอิง๋ ชี่และเว่ยช์ ่ี กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยา
นําพา ช่วยเสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง และช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 35

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยากุย้ จือทังกับผูป้ ่ วยโรคหวัดทีเ่ กิดจากการกระทบลมเย็นภายนอกทีม่ อี าการแกร่ง
หรือผูป้ ่ วยทีถ่ กู ลมร้อนกระทบภายนอก โดยมีอาการกลัวลม มีเหงือ่ ออกเอง และมีอาการคอแห้ง ชีพจร
เต้นเร็ว1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยากุย้ จือทัง มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ขบั เหงือ่ ลดไข้ ต้านอักเสบในหนู ถบี จักรและหนู
ขาว ระงับปวด ระงับไอ ขับเสมหะ ทําให้จติ สงบ และเสริมภูมติ า้ นทานในหนู ถบี จักร4 สารออกฤทธิ์ลดไข้
ต้านอักเสบ ได้แก่ สาร 2-methoxycinnamaldehyde5, 3-phenyl-2-propene-1-ol6 และ cinnamaldehyde7
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยากุย้ จือทังมีสรรพคุณขับเหงือ่ ลดไข้ ขับเสมหะ ลดอาการเกร็ง
ของกล ้ามเนื้อ แก้ปวด ช่วยทําให้ระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารดีข้นึ 1,3,4
การศึกษาความปลอดภัย: การศึกษาพิษเฉียบพลันในหนู ถบี จักร โดยฉีดสารสกัดเข้าช่องท้อง
พบว่าขนาดของสารสกัดเทียบเท่าผงยาที่ทาํ ให้หนู ถบี จักรตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ 28.13
กรัม/กิโลกรัม และเมือ่ ฉีดสารสกัดนํา้ เข้าหลอดเลือดดําที่หูกระต่ายในขนาดเทียบเท่าผงยา 15 กรัม/
กิโลกรัม ไม่พบอาการพิษ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยากุย้ จือทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพร
จีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2549.
4. Yuan ZY, Qu YH. Guizhi Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese
medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Guo JY, Yang YX, Zhao BS, Liu HB, Li LF, Ma YY, Guo SY, Huo HR, Jiang TL. Effect of 2-methoxycinnamaldehyde
on activity of COX and PGE2 release in cerebral microvascular endothelial cells stimulated by IL-1. Zhongguo Zhong
Yao Za Zhi 2006; 31(13): 1087-90.
36 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

6. Guo JY, Huo HR, Zhao BS, Liu HB, Li LF, Guo SY, Jiang TL. Effect of 3-Phenyl-2-Propene-1-ol on PGE2 release
from rat cerebral microvascular endothelial cells stimulated by IL-1beta. Am J Chin Med 2006; 34(4): 685-93.
7. Guo JY, Huo HR, Zhao BS, Liu HB, Li LF, Ma YY, Guo SY, Jiang TL. Cinnamaldehyde reduces IL-1beta-induced
cyclooxygenase-2 activity in rat cerebral microvascular endothelial cells. Eur J Pharmacol 2006; 537(1-3): 174-80.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 37

จิว่ เว่ยเ์ ชียงหัวทัง (九味羌活汤)


ตําราต้นตํารับ
此事难知 ฉื่อซือ
่ หนานจือ (Prescription by Zhang Yuansu, quoted from the book
1
Medical Problems)
« ค.ศ. 1186 Zhang Yuansu (张元素 จางเหวียนซู่) »2
ส่วนประกอบ
羌活 Rhizoma seu Radix Notopterygii เชียงหัว 6 กรัม
防风 Radix Ledebouriellae ฝางเฟิ ง 6 กรัม
苍术 Rhizoma Atractylodis ชังจู ๋ 6 กรัม
细辛 Herba Asari ซีซ่ นิ * 2 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 3 กรัม
白芷 Radix Angelicae Dahuricae ไป๋ จ่อื 3 กรัม
生地黄 Radix Rehmanniae เซิงตี้หวง 3 กรัม
黄芩 Radix Scutellariae หวงฉิน 3 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 3 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขับเหงือ่ ขจัดความชื้น และระบายความร้อนภายใน1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการมีความร้อนภายในและถูกลมเย็นชื้นกระทบภายนอก โดยมีอาการกลัวหนาว
มีไข้ ตัวร้อน ไม่มเี หงือ่ ปวดศีรษะและปวดตึงท้ายทอย ปวดเมือ่ ยตามตัว ปากขมและกระหายนํา้ ลิ้นมี
ฝ้ าขาวลืน่ ชีพจรลอย1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ ลี มเย็นชื้นปรากฏภายนอกและ
มีความร้อนอยู่ภายใน เช่น ไข้หวัดใหญ่ ปวดเอว ปวดเส้นประสาทกระดูกรองนัง่ ข้ออักเสบจากลมชื้น1,3
* ซีซ่ นิ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ เล็กน้อย ต้องควบคุมขนาดใช้ตามทีก่ าํ หนดเท่านัน้
38 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

ตํารับยา จิว่ เว่ยเ์ ชียงหัวทัง (九味羌活汤)

2 เซนติเมตร
ฝางเฟิ ง (防风)

2 เซนติเมตร
เชียงหัว (羌活)

2 เซนติเมตร
ซีซ่ นิ (细辛)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 39

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร ไป๋ จ่อื (白芷)
ชังจู ๋ (苍术)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร เซิงตี้หวง (生地黄)
ชวนซฺยง (川芎)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร กันเฉ่ า (甘草)
หวงฉิน (黄芩)
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
羌活 เชียงหัว ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการหวัดจากการ
อมขม กระทบลมเย็นและความชื้น
บรรเทาอาการปวดศีรษะ
ปวดเมือ่ ยตามส่วนบนของ
ร่างกาย
40 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


防风 ฝางเฟิ ง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยกระทุง้ ไข้หวัดจากการ
อมหวาน เล็กน้อย กระทบลมภายนอกและ
ความชื้น ระงับปวดและคลาย
อาการเกร็งของกล ้ามเนื้อ
苍术 ชังจู ๋ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขจัดลมชื้น เสริมบํารุงม้าม
(โกฐเขมา) อมขม ให้แข็งแรง ขับความชื้น
细辛 ซีซ่ นิ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับลมสลายความเย็น เปิ ด
ทวาร ระงับปวด ให้ความ
อบอุ่นแก่ปอด ขับของเหลว
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และ
(โกฐหัวบัว) เลือด ขับลมในเลือด ระงับ
ปวด
白芷 ไป๋ จ่อื ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการหวัดจากการ
(โกฐสอ) กระทบลมเย็นภายนอก
บรรเทาอาการปวดศีรษะ
ปวดฟัน ลดอาการคัดจมูก
จากไข้หวัดหรือโรคโพรงจมูก
อักเสบ
生地黄 เซิงตี้หวง ตัวยาช่วย หวาน เย็น ระบายความร้อนในเลือด
(โกฐขี้แมว) อมขม บํารุงเลือดและอินชี่ของตับ
และไต เสริมสารนํา้
黄芩 หวงฉิน ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อนในระบบชี่
และเลือด ขับพิษร้อน ลดไข้
และห้ามเลือด
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 41

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


甘草 กันเฉ่ า ตัวยา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่บาํ รุงส่วนกลาง ระบาย
(ชะเอมเทศ) นําพา ความร้อน ขับพิษ ระงับไอ
ขับเสมหะ บรรเทาอาการปวด
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยเชียงหัวเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณขับเหงื่อ ขจัดลมชื้น ช่วยให้การ


ไหลเวียนของชี่ดขี ้นึ บรรเทาอาการเหน็บชา ระงับปวด ตัวยาเสริม ได้แก่ ฝางเฟิ งและชังจู ๋ สรรพคุณขับ
เหงื่อ ขจัดความชื้น ช่วยเสริมฤทธิ์ขบั เหงื่อของตัวยาเชียงหัว ตัวยาช่วย ได้แก่ ซี่ซนิ ชวนซฺยง และ
ไป๋ จ่อื มีสรรพคุณขับลมเย็น ช่วยให้ช่แี ละเลือดไหลเวียนดีข้ นึ บรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดเมือ่ ยตาม
ร่างกาย เซิงตี้หวงช่วยระบายความร้อนของเลือดในร่างกายและควบคุมฤทธิ์ของยาไม่ให้อ่นุ แห้งเกินไป
ส่วนหวงฉินช่วยระบายความร้อนของชี่ กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาเม็ด ยาชงพร้อมดืม่ 5
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยทีอ่ นิ และชี่พร่อง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ลดไข้ในกระต่าย ระงับปวดและต้านอักเสบในหนู ถบี จักร
และหนู ขาว5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาอาการปวดตามเส้นประสาทบริเวณสะโพกที่
ทอดไปถึงขา (Sciatica rheumatic arthritis) ปวดเมือ่ ยตามร่างกาย บรรเทาอาการหวัด ขับเหงือ่ ลดไข้
ปวดศีรษะเนื่องจากถูกลมเย็นชื้นมากระทบ และบรรเทาอาการลมพิษแบบเฉียบพลัน5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
42 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาจิ่วเว่ยเ์ ชียงหัวทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูล
ยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Zhou YF. Science of Prescriptions. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional Chinese
Medicine, 2002.
5. Fan SP, Wang X. Jiuwei Qianghuo Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 43

เสีย่ วชิงหลงทัง (小青龙汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Fibrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
麻黄(去节) Herba Ephedrae หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) 9 กรัม
(with joints removed)
桂枝 Ramulus Cinnamomi กุย้ จือ 6 กรัม
干姜 Rhizoma Zingiberis กันเจียง 3 กรัม
细辛 Herba Asari ซีซ่ นิ 3 กรัม
白芍 Radix Paeoniae Alba ไป๋ เสา 9 กรัม
五味子 Fructus Schisandrae Chinensis อู่เว่ยจ์ ่อื 3 กรัม
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 9 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม

ตํารับยา เสีย่ วชิงหลงทัง (小青龙汤)


44 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) [麻黄(去节)] กุย้ จือ (桂枝)

2 เซนติเมตร
กันเจียง (干姜) 2 เซนติเมตร
ซีซ่ นิ (细辛)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป๋ เสา (白芍) อู่เว่ยจ์ ่อื (五味子)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ (半夏) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 45

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
กระทุง้ ไข้หวัด ขับความเย็น แก้ไอระงับหอบ เสริมความอบอุ่นให้ปอด และสลายของเหลว
ในปอด1,3
สรรพคุณ
รักษาไข้หวัดจากการกระทบความเย็นภายนอก นํา้ และของเหลวตกค้างภายใน มีอาการกลัว
หนาว ตัวร้อน ไม่มเี หงือ่ ไอหอบ เสมหะมากและใส คอไม่แห้ง หรือคอแห้งแต่ไม่อยากดื่มนํา้ อาเจียน
แต่ไม่มอี ะไรออก สะอึก ท้องเดิน ปัสสาวะขัด ลิ้นมีฝ้าขาวและลืน่ ชีพจรลอย ตึงแน่น1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หายใจ
ขัดจากหลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
麻黄 (去节) ตัวยาหลัก เผ็ดอมขม อุ่น กระทุง้ ไข้หวัด ขับเหงือ่ กระจาย
หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) ชี่ของปอด ขับปัสสาวะ ลดบวม
桂枝 กุย้ จือ ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ผ่อนคลายกล ้ามเนื้อ
(กิ่งอบเชยจีน) อมหวาน ให้ความอบอุ่น และเสริมหยาง
ช่วยให้ช่มี กี ารหมุนเวียนดีข้นึ
干姜 กันเจียง ตัวยาเสริม เผ็ด ร้อน ให้ความร้อน อบอุ่นส่วนกลาง
(ขิงแห้ง) สลายความเย็น ดึงหยางให้กลับ
เพือ่ ให้ชพี จรและลมปราณทํางาน
ดีข้ นึ ให้ความอบอุ่นที่ปอด
สลายความเย็น
细辛 ซีซ่ น
ิ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับลมสลายความเย็น เปิ ดทวาร
แก้ปวด ให้ความอบอุ่นแก่ปอด
ขับของเหลว
46 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


白芍 ไป๋ เสา ตัวยาช่วย ขม เปรี้ยว เย็น เสริมอินเลือด ปรับประจําเดือน
อมหวาน เล็กน้อย และปรับสมดุลชี่ของตับ ระงับ
ปวด เก็บกักอินชี่ ระงับเหงือ่
五味子 อู่เว่ยจ์ อ
่ื ตัวยาช่วย เปรี้ยว อุ่น รัง้ ชี่ของปอด บํารุงสารนํา้ ให้ไต
อมหวาน เสริมสารนํา้ ระงับเหงือ่ เหนี่ยวรัง้
นํา้ อสุจิ แก้ทอ้ งเสีย สงบจิตใจ
บํารุงประสาท
半夏 ปัน
้ เซีย่ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ละลายและขับเสมหะ สลาย
(มีพษิ )* ของเหลว แก้อาเจียน กดชี่ไม่ให้
ตีข้นึ แก้สะอึก ยุบและสลาย
ก้อนเสมหะในท้อง
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ระบาย
กันเฉ่ า (จื้อ) ความร้อน ขับพิษ แก้ไอ ขับ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) เสมหะ แก้ปวด ปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยหมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) และกุย้ จือเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณกระทุง้ ไข้หวัด


ขับเหงือ่ กระจายชี่ของปอด บรรเทาอาการหอบ กันเจียงและซีซ่ นิ เป็ นตัวยาเสริม ช่วยให้ความอบอุ่นแก่
ปอดและขับของเหลวที่ตกค้างอยู่ภายใน ตัวยาทัง้ สองเมือ่ ใช้ร่วมกับหมาหวงและกุย้ จือสามารถเพิ่มฤทธิ์
กระทุง้ ไข้หวัดจากการกระทบความเย็นภายนอกให้แรงขึ้น เสาเย่าช่วยเสริมอิง๋ ชี่และเหนี่ยวรัง้ อินชี่ เมือ่ ใช้
ร่วมกับกุย้ จือสามารถปรับสมดุลของอิง๋ ชี่และเว่ยช์ ่ี ป้ องกันไม่ให้ฤทธิ์ขบั เหงือ่ ของหมาหวงและกุย้ จือแรง
เกินไป ตัวยาช่วย ได้แก่ อู่เว่ยจ์ ่อื ช่วยเหนี่ยวรัง้ ชี่ของปอดและระงับไอ ป้ องกันไม่ให้ฤทธิ์ขบั กระจายของ
ตัวยาหลักทําลายชี่ของปอด ส่วนปัน้ เซี่ยมีสรรพคุณขับเสมหะ สลายของเหลวตกค้าง ปรับสมดุลของ
กระเพาะอาหาร และระงับอาเจียน กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา ช่วยเสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง และช่วย
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 47

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาชง ยานํา้ 4
ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยาเสี่ยวชิงหลงทังกับผูป้ ่ วยที่มอี าการไอแห้งไม่มเี สมหะ หรือมีเสมหะสีเหลือง
ข้นเหนียว คอแห้ง ปากแห้ง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเสีย่ วชิงหลงทัง มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาเสีย่ วชิงหลงทังมีฤทธิ์บรรเทาอาการหอบในหนู ตะเภา บรรเทา
อาการแพ้อากาศในหนู ขาวและหนู ตะเภา4 บรรเทาอาการอักเสบของทางเดินหายใจทีเ่ กิดจากการแพ้ในหนู
ถีบจักร5,6 ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีข้นึ ในหนู ขาวและกระต่าย4 และมีฤทธิ์ตา้ นเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส
(cytomegalovirus) ในหลอดทดลอง7
การศึก ษาทางคลินิ ก: ตํารับยาเสี่ยวชิงหลงทังมีสรรพคุณรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
หอบหืด ไข้หวัดใหญ่ ไตอักเสบเฉียบพลัน แก้ไอ ขับเสมหะ และขับปัสสาวะ1,3,4 พบว่าการใช้ตาํ รับยานี้
ร่วมกับยาพ่น fluticasone ในผูป้ ่ วยโรคหืด จะให้ผลการรักษาดีกว่าการใช้เดีย่ ว ๆ8
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาเสีย่ วชิงหลงทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-
จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Qu YH, Yuan ZY. Xiao Qinglong Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional
Chinese medicine, Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press; 1997.
5. Nagai T, Arai Y, Emori M, Nunome SY, Yabe T, Takeda T, Yamada H. Anti-allergic activity of a Kampo (Japanese
herbal) medicine "Sho-seiryu-to (Xiao-Qing-Long-Tang)" on airway inflammation in a mouse model. Int
Immunopharmacol 2004; 4(10-11): 1353-65.
6. Kao ST, Wang SD, Wang JY, Yu CK, Lei HY. The effect of Chinese herbal medicine, xiao-qing-long tang (XQLT), on
allergen-induced bronchial inflammation in mite-sensitized mice. Allergy 2000; 55(12): 1127-33.
7. Murayama T, Yamaguchi N, Iwamoto K, Eizuru Y. Inhibition of ganciclovir-resistant human cytomegalovirus
replication by Kampo (Japanese herbal medicine). Antivir Chem Chemother 2006; 17(1): 11-6.
8. Zhang X, Wang L, Shi Q. Effect of fluticasone inhalation combined with xiaoqinglong decoction on pulmonary
function and serum interleukin-16 level in asthma patients. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2003; 23(6): 426-9.
48 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

อิน๋ เฉี ยวส่าน (银翘散)


ตําราต้นตํารับ
温病条辨 เวินปิ้ งเถียวเปี้ ยน (Treatise on Differentiation and Treatment of Epidemic
Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 1978 Wu Tang (吴瑭 หวูถงั ) »2
ประกอบด้วย
银花 Flos Lonicerae อิน๋ ฮฺวา 9 กรัม
连翘 Fructus Forsythiae เหลียนเฉียว 9 กรัม
薄荷 Herba Menthae ป๋ อเหอ 6 กรัม
荆芥穗 Spica Schizonepetae จิงเจี้ยซุ่ย 5 กรัม
淡豆豉 Semen Sojae Praeparatum ตัน้ โต้วฉื่อ 5 กรัม
牛蒡子 Fructus Arctii หนิวป้ างจื่อ 9 กรัม
苦桔梗 Radix Platycodi ขูเ่ จีย๋ เกิง 6 กรัม
生甘草 Radix Glycyrrhizae เซิงกันเฉ่ า 5 กรัม
竹叶 Herba Lophatheri จูเ๋ ยีย่ 4 กรัม
芦根 Rhizoma Phragmitis หลูเกิน ปริมาณพอเหมาะ

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ช่วยขับกระจายความร้อนออกสู่ภายนอก ระบายความร้อน ระงับพิษ1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการที่เกิดจากร่างกายกระทบลมร้อนภายนอก โดยจะมีไข ้ แต่ไม่มเี หงือ่ หรือเหงือ่
ออกไม่สะดวก กลัวลมหนาวเล็กน้อย ปวดศีรษะ คอแห้ง เจ็บคอ ปลายลิ้นแดง ลิ้นมีฝ้าบางขาวหรือ
เหลือง ชีพจรลอย เร็ว1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 49

ตํารับยา อิน๋ เฉี ยวส่าน (银翘散)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
อิน๋ ฮฺวา (银花) เหลียนเฉียว (连翘)
50 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ป๋ อเหอ (薄荷)
จิงเจี้ยซุ่ย (荆芥穗)

2 เซนติเมตร
ตัน้ โต้วฉื่อ (淡豆豉) 2 เซนติเมตร
หนิวป้ างจื่อ (牛蒡子)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ขูเ่ จีย๋ เกิง (苦桔梗) เซิงกันเฉ่ า (生甘草)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
จูเ๋ ยีย่ (竹叶) หลูเกิน (芦根)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 51

ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการอักเสบจากการติด


เชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ต่อมทอนซิลอักเสบเฉี ยบพลัน สมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส
เยือ่ หุม้ สมองอักเสบ และคางทูม1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
银花 อิน๋ ฮฺวา ตัวยาหลัก อมหวาน เย็น บรรเทาหวัดจากการกระทบ
(ดอกสายนํา้ ผึ้ง) ลมร้อน ระบายความร้อน
ขับพิษร้อน
连翘 เหลียนเฉียว ตัวยาหลัก ขม เย็น บรรเทาหวัดจากการกระทบ
เล็กน้อย ลมร้อนหรือตัวร้อนระยะแรกเริ่ม
โดยกระจายความร้อนในระบบ
หัวใจและช่วงบนของร่างกาย
ขับพิษ แก้พษิ ฝี หนอง
薄荷 ป๋ อเหอ ตัวยาเสริม เผ็ด เย็น กระจายลมร้อนทีก่ ระทบต่อ
ร่างกาย ระบายความร้อน ช่วย
ให้สมองโปร่ง สายตามองเห็นชัด
ขึ้น ลําคอโล่ง ผ่อนคลายตับ
คลายเครียด
荆芥穗 จิงเจี้ยซุ่ย ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น บรรเทาหวัดจากการกระทบลม-
เล็กน้อย เย็นภายนอก ขับเหงือ่ กระทุง้
พิษ
淡豆豉 ตัน้ โต้วฉื่อ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น บรรเทาหวัดจากลมภายนอก
เล็กน้อย ลดอาการหงุดหงิด
牛蒡子 หนิวป้ างจื่อ ตัวยาเสริม เผ็ด เย็น บรรเทาหวัดจากการกระทบลม
อมขม ร้อนภายนอก บรรเทาอาการ
คออักเสบ ระบายอ่อน ๆ
52 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


苦桔梗 ขูเ่ จีย๋ เกิง ตัวยาเสริม ขม สุขมุ กระจายชี่ทป่ี อด ขับเสมหะ ระงับ
อมเผ็ด ไอมีเสมหะมาก แน่ นหน้าอก
อึดอัด คอบวมเจ็บ ขับฝี หนอง
และเสมหะในปอด
生甘草 เซิงกันเฉ่ า ตัวยาเสริม อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศ) และ ร่างกาย ระบายความร้อน ขับพิษ
ตัวยานําพา ระงับไอ ขับเสมหะ ปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
竹叶 จูเ๋ ยีย่ ตัวยาช่วย จืดอม เย็น ลดไข้ บรรเทาอาการร้อนใน
(หญ้าขุยไม้ไผ่) หวานเผ็ด กระหายนํา้ คอแห้ง ขับพิษไข้
ออกทางปัสสาวะ
芦根 หลูเกิน ตัวยาช่วย อมหวาน เย็นมาก ลดไข้ บรรเทาร้อนใน กระหายนํา้
(หญ้าแขม) เพิม่ ความชุ่มชื้นให้ปอดและ
กระเพาะอาหาร ระงับคลืน่ ไส้
อาเจียน ระงับไอมีเสมหะเหลือง
จัดจากภาวะปอดอักเสบ

ตํารับยานี้ประกอบด้วยอิน๋ ฮฺวาและเหลียนเฉียวเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความร้อน ลดพิษ


ตัวยาเสริม ได้แก่ ป๋ อเหอ จิงเจี้ยซุ่ย และตัน้ โต้วฉื่อ ช่วยขับกระจายพิษไข้ออกทางผิวกาย รักษาอาการ
หนาว ๆ ร้อน ๆ ไม่มเี หงือ่ บรรเทาอาการปวดศีรษะ หนิวป้ างจื่อ ขู่เจีย๋ เกิง และเซิงกันเฉ่ า ช่วยลดพิษ
ขับเสมหะ ระงับไอ ช่วยให้ลาํ คอโล่ง รักษาอาการเจ็บคอ โดยหนิวป้ างจื่อซึง่ มีรสเผ็ดและคุณสมบัตเิ ย็น
ยังช่วยขับกระจายความร้อนออกทางผิวหนัง จูเ๋ ยี่ยและหลูเกินเป็ นตัวยาช่วย มีสรรพคุณระบายอ่อน ๆ
ระบายความร้อน สร้างสารนํา้ ลดอาการหงุดหงิด บรรเทาอาการกระหายนํา้ จูเ๋ ยี่ยยังช่วยขับปัสสาวะ ทําให้
พิษไข้ถกู ขับออกทางปัสสาวะด้วย1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาผง ยาเม็ด ยาลูกลอน ยาชง ยานํา้ 4
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 53

ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยกลุม่ อาการทีเ่ กิดจากร่างกายกระทบลมเย็นภายนอก หากเตรียม
เป็ นยาต้มไม่ควรต้มนาน เพราะจะทําให้ฤทธิ์ยาลดลง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ระบายความร้อนลดไข้ในกระต่ายและหนู ขาว ยาต้ม
ยาชง และยาเม็ด มีฤทธิ์ตา้ นอักเสบในหนู ขาวและหนู ถบี จักร ระงับปวดในหนู ถบี จักร ยาเม็ดมีฤทธิ์
ต้านเชื้อจุลนิ ทรียใ์ นหลอดทดลองและในหนู ถบี จักร1,3,4 สารสกัด 50% เอทานอล มีฤทธิ์ตา้ นเชื้อไวรัส
ไข้หวัดใหญ่5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณขับเหงือ่ ลดไข ้ ระงับปวด ขับเสมหะ ระงับไอ
ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส และช่วยลดการอักเสบ1,3,4
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ฉีดยานํา้ อิน๋ เฉียวส่านเข้าหลอดเลือดดําหนู ถบี จักร พบว่าขนาด
ของยานํา้ เทียบเท่าผงยาทีท่ าํ ให้หนู ถบี จักรตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ 4.8 กรัม/กิโลกรัม หากให้
ทางปากหนู ถบี จักร พบว่าขนาดยานํา้ เทียบเท่าผงยา 27.5 กรัม/กิโลกรัม ไม่ทาํ ให้เกิดความผิดปกติใด ๆ
นอกจากนี้ เมือ่ ให้ยาเม็ด ยาชง และยาต้มทางปากหนู ถบี จักร พบว่าขนาดยาเทียบเท่าผงยาทีท่ าํ ให้หนู ถบี จักร
ตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ 75, 30 และ 100 กรัม/กิโลกรัม ตามลําดับ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาอิน๋ เฉียวส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Qu YH, Yuan ZY. Yin Qiao San. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Wang X, Hao O, Wang W, Ying X, Wang H. Evaluation of the use of different solvents to extract the four main
components of Yinqiaosan and their in vitro inhibitory effects on influenza-A virus. Kaohsiung J Med Sci 2010;
26(4): 182-91.
54 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

ซังจฺหวีอน่ิ (桑菊饮)
ตําราต้นตํารับ
温病条辨 เวินปิ้ งเถียวเปี้ ยน (Treatise on Differentiation and Treatment of Epidemic
Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 1798 Wu Tang (吴瑭 หวูถงั ) »2
ประกอบด้วย
桑叶 Folium Mori ซังเยีย่ 7.5 กรัม
菊花 Flos Chrysanthemi จฺหวีฮวฺ า 3 กรัม
杏仁 Semen Armeniacae Amarum ซิง่ เหริน 6 กรัม
薄荷 Herba Menthae ป๋ อเหอ 2.5 กรัม
桔梗 Radix Platycodi เจีย๋ เกิง 6 กรัม
连翘 Fructus Forsythiae เหลียนเฉียว 5 กรัม
苇根 Rhizoma Phragmitis เหว่ยเ์ กิน 6 กรัม
生甘草 Radix Glycyrrhizae เซิงกันเฉ่ า 2.5 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขับกระจายความร้อนออกทางผิวกาย ทะลวงปอดให้โปร่ง ระงับไอ1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการไอในระยะเริ่มแรกที่มสี าเหตุจากลมร้อน โดยมีอาการไอ ตัวร้อนไม่มาก กระหาย
นํา้ เล็กน้อย ลิ้นมีฝ้าขาวบาง ชีพจรลอย1,3
ตํารับยานี้ สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยที่เป็ นหวัด ไข้หวัดระบาด
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ปอดบวมจากหลอดลมอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 55

ตํารับยา ซังจฺหวีอน่ิ (桑菊饮)

3 เซนติเมตร
ซังเยีย่ (桑叶) 2 เซนติเมตร
จฺหวีฮวฺ า (菊花)

2 เซนติเมตร
ซิง่ เหริน (杏仁) 2 เซนติเมตร
ป๋ อเหอ (薄荷)
56 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เจีย๋ เกิง (桔梗) เหลียนเฉียว (连翘)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เหว่ยเ์ กิน (苇根) เซิงกันเฉ่ า (生甘草)

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
桑叶 ซังเยีย่ ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายและกระจายความแห้ง
(ใบหม่อน) อมหวาน ร้อนของปอดและตับ ลดอาการ
ตามัวจากการอักเสบและร้อนใน
菊花 จฺหวีฮวฺ า ตัวยาหลัก เผ็ดขม เย็น กระจายลมร้อน ลดไข้ บรรเทา
(เก๊กฮวย) อมหวาน เล็กน้อย หวัดและอาการปวดศีรษะ ผ่อน
คลายตับ ลดอาการตาลาย ตามัว
หรือตาแดงจากการอักเสบและ
ร้อนใน
杏仁 ซิง่ เหริน ตัวยาเสริม ขม อุ่น ระงับไอและหอบ หล่อลืน่ ลําไส้
เล็กน้อย ระบายอ่อน ๆ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 57

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


薄荷 ป๋ อเหอ ตัวยาเสริม เผ็ด เย็น กระจายลมร้อนทีก่ ระทบต่อ
ร่างกาย ระบายความร้อน ช่วยให้
สมองโปร่ง สายตามองเห็นชัด
ขึ้นลําคอโล่ง ผ่อนคลายตับ
คลายเครียด
桔梗 เจีย๋ เกิง ตัวยาเสริม ขม สุขมุ กระจายชี่ท่ปี อด ขับเสมหะ
อมเผ็ด ระงับไอมีเสมหะมาก แน่ น
หน้าอก อึดอัด คอบวมเจ็บ
ขับฝี หนองและเสมหะในปอด
连翘 เหลียนเฉียว ตัวยาช่วย ขม เย็น บรรเทาหวัดจากการกระทบลม
เล็กน้อย ร้อน หรือตัวร้อนระยะแรกเริ่ม
โดยกระจายความร้อนในระบบ
หัวใจและช่วงบนของร่างกาย
ขับพิษ แก้พษิ ฝี หนอง
苇根 เหว่ยเ์ กิน ตัวยาช่วย อมหวาน เย็นมาก ลดไข้ หรือร้อนใน กระหายนํา้
(หญ้าแขม) เพิม่ ความชุ่มชื้นให้ปอดและ
กระเพาะอาหาร ระงับคลืน่ ไส้
อาเจียน ระงับไอมีเสมหะเหลือง
จัดจากภาวะปอดอักเสบ
生甘草 เซิงกันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ บํารุงชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศ) ร่างกาย ระบายความร้อน ขับพิษ
ระงับไอ ขับเสมหะ ปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
58 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

ตํารับยานี้ประกอบด้วยซังเยี่ยและจฺหวีฮฺวาเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความร้อนอ่อน ๆ


ขับกระจายความร้อนของเว่ยช์ ่ีในปอด เพือ่ ระงับไอ ตัวยาเสริม ได้แก่ ป๋ อเหอมีสรรพคุณขับกระจาย
ลมร้อน ซิ่งเหรินและเจีย๋ เกิงทะลวงปอด ระงับไอ ตัวยาช่วย ได้แก่ เหลียนเฉียวมีสรรพคุณระบายความ
ร้อนออกทางผิวหนัง เหว่ยเ์ กินระบายความร้อน สร้างสารนํา้ และบรรเทาอาการกระหายนํา้ เซิงกันเฉ่ าเป็ น
ตัวยานําพา ช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยาชง ยานํา้ เชื่อม ยาผง4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้า มใช้ตาํ รับยานี้ ก บั ผู ป้ ่ วยที่มีอาการไอจากลมเย็น หากเตรียมเป็ นยาต้ม ไม่ควรต้มนาน
เนื่องจากฤทธิ์ยาจะลดลง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ขบั เหงือ่ ในหนู ขาว ลดอุณหภูมริ ่ างกายกระต่าย
และต้านอักเสบในหนู ถบี จักร4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณระงับไอ ขับเสมหะ เสริมสร้างระบบภูมคิ ุม้ กัน
ลดการอักเสบ และขับเหงือ่ เล็กน้อย จึงใช้บรรเทาอาการทีม่ ไี ข้เล็กน้อย1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาซังจฺหวีอ่นิ . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. He YW. Shang Ju Yin. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 59

หมาหวงซิ่งเหรินสือเกากันเฉ่ าทัง (麻黄杏仁石膏甘草汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
麻黄 (去节) Herba Ephedrae หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ )* 6 กรัม
(with joints removed)
石膏 Gypsum Fibrosum สือเกา 30 กรัม
杏仁 (去皮尖) Semen Armeniacae Amarum ซิง่ เหริน (ชฺวผ่ี เี จียน) 9 กรัม
(with its skin and tip removed)
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
เผ็ด เย็น ระบายความร้อน ระบายชี่ของปอด ควบคุมอาการหอบ1,3
สรรพคุณ
รักษาไอหอบจากการกระทบลมร้อน โดยมีอาการไข้ไม่ยอมลด อาจมีหรือไม่มเี หงือ่ ไอถี่จากชี่
ย้อนกลับ ถ้าเป็ นหนักจะมีอาการไอหอบรุนแรง คอแห้ง กระหายนํา้ ลิ้นมีฝ้าบางขาวหรือเหลือง ชีพจร
ลืน่ เร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ อี าการไอหอบทีม่ สี าเหตุจาก
ปอดร้อน หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน และหอบหืดทีม่ สี าเหตุจากปอดหรือหลอดลมอักเสบ1,3

* สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุ ญาตให้ยาทีผ่ ลิตขึ้นโดยมีลาํ ต้นและ/หรือกิ่งเอเฟดรา (Ephedra) คิดเป็ นนํา้ หนักลําต้นและ/


หรือกิ่งแห้งสําหรับรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 2 กรัม
60 ตํารับยารักษารักษากลุม่ อาการภายนอก

ตํารับยา หมาหวงซิ่งเหรินสือเกากันเฉ่ าทัง (麻黄杏仁石膏甘草汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ )[麻黄(去节)] สือเกา (石膏)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ซิง่ เหริน (ชฺวผ่ี เี จียน)[杏仁(去皮尖)] กันเฉ่ า (จื้อ)[甘草(炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 61

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
麻黄 (去节) ตัวยาหลัก เผ็ดขมอุ่น ขับเหงือ่ ขับพิษไข้ กระจายชี่ท่ี
หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) เล็กน้อย ปอด บรรเทาหอบ
石膏 สือเกา ตัวยาเสริม เผ็ดอมหวาน เย็นมาก ระบายความร้อน รักษาอาการ
(เกลือจืด) ไข้รอ้ นสูง ลดอาการร้อนกระวน-
กระวายและกระหายนํา้
杏仁 (去皮尖) ตัวยาช่วย ขม อุ่น ระบายและกระจายชี่ทป่ี อด
ซิง่ เหริน (ชฺวผ่ี เี จียน) เล็กน้อย ระงับไอ บรรเทาหอบ ให้ความ
ชุ่มชื้นแก่ลาํ ไส้ และระบาย
อ่อน ๆ
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
กันเฉ่ า (จื้อ) อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยหมาหวง (ชฺว่เี จีย๋ ) เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณช่วยขับกระจายชี่ท่ไี ม่ดี


ออกสู่ภายนอก กระจายชี่ของปอด และควบคุมอาการหอบ สือเกาเป็ นตัวยาเสริม มีคุณสมบัตเิ ย็นมาก
นํา้ หนักทีใ่ ช้จะมากกว่าหมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) 5 เท่า ซึง่ นอกจากระบายความร้อนทีป่ อดแลว้ ยังควบคุมตัวยา
หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) ไม่ให้อ่นุ ร้อนมากเกินไป ซิง่ เหริน (ชฺวผ่ี เี จียน) เป็ นตัวยาช่วย ช่วยระบายและลดการ
ไหลย้อนของชี่ปอด และยังช่วยหมาหวง (ชฺว่เี จีย๋ ) และสือเกาในการระบายชี่ของปอด รวมทัง้ ควบคุม
อาการหอบ กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับสมดุลของตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน และป้ องกันความเย็น
ของสือเกาไม่ให้ไปทําลายกระเพาะอาหาร1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยานํา้ เชื่อม4
62 ตํารับยารักษารักษากลุม่ อาการภายนอก

ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ อี าการหอบจากปอดร้อนแกร่งเกินเท่านัน้ ห้ามใช้ในผูป้ ่ วยทีม่ ี
อาการหอบจากการกระทบลมเย็น หรืออาการหอบจากกลุม่ อาการพร่อง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ระงับไอ ขับเสมหะ และบรรเทาอาการหอบในหนู ถบี จักร
และหนู ตะเภา บรรเทาอาการผืน่ คันในหนู ถบี จักรและหนู ขาว บรรเทาอาการปอดอักเสบในหนู ขาว ลดไข้
ในกระต่าย เสริมสร้างระบบภูมคิ ุม้ กันในหนู ถบี จักร ต้านจุลชีพในหลอดทดลอง4 ลดกิจกรรมทีเ่ กิดโดย
อัตโนมัตขิ องหนู ถบี จักร5 และทําให้หนู ถบี จักรทีไ่ ด้รบั pentobarbital sodium นอนหลับได้นานขึ้น6
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนบน
หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หอบหืดในระยะกําเริบ ไอเรื้อรัง ต่อมทอนซิลอักเสบชนิดเฉียบพลันในเด็ก
จมูกอักเสบ ลดไข้ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคผิวหนังผืน่ คัน4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิระพินิจวงศ์, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาหมาหวงซิ่งเหรินกันเฉ่ าสือเกาทัง.
[เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนา
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Yuan ZY. Mahuang Xingren Gancao Shigao Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Zhang XM, Luo JB. Effects of herba ephedrae, honey-fried herba ephedrae and maxingshigan decoction on
autonomic activities of mice. Zhong Yao Cai 2010; 33(2): 236-9.
6. Zhang XM, Luo JB. Effect of Herba ephedrae, honey-fried Herba ephedrae and Maxingshigan decoction on
pentobabital sodium sleep experiment in mice. Nan Fang Yi Ke Da Xue Xue Bao 2010; 30(1): 121-2.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 63

ไฉเก๋อเจีย่ จีทงั (柴葛解肌汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒六书 ซางหานลิว่ ซู (Six Books on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 1445 Tao Hua (陶华 เถาหัว) »2
ส่วนประกอบ
柴胡 Radix Bupleuri ไฉหู 9 กรัม
葛根 Radix Puerariae เก๋อเกิน 9 กรัม
羌活 Rhizoma seu Radix Notopterygii เชียงหัว 3 กรัม
白芷 Radix Angelicae Dahuricae ไป๋ จ่อื 3 กรัม
黄芩 Radix Scutellariae หวงฉิน 9 กรัม
石膏 Gypsum Fibrosum สือเกา 9 กรัม
桔梗 Radix Platycodonis เจีย๋ เกิง 3 กรัม
芍药 Radix Paeoniae เสาเย่า 3 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis เซิงเจียง 3 แว่น
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 2 ผล
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 3 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
คลายกล ้ามเนื้อ ระบายความร้อน1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการลมเย็นกระทบร่างกายแลว้ การคัง่ แปรเปลีย่ นเป็ นความร้อน โดยมีอาการกลัว
หนาวเล็กน้อย มีไข้สูง ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามร่ างกาย ปวดตา ปวดเบ้าตา จมูกแห้ง หงุดหงิด
กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ลิ้นมีฝ้าเหลืองบาง ชีพจรลอยใหญ่เล็กน้อย1,3
ตํา รับ ยานี้ ส ามารถเพิ่ม หรื อ ลดขนาดยาให้เ หมาะสมสํา หรับ ผู ป้ ่ วยไข้ห วัด ไข้ห วัด ระบาด
หลอดลมอักเสบ ปวดฟัน เป็ นต้น1,3
64 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

ตํารับยา ไฉเก๋อเจีย่ จีทงั (柴葛解肌汤)

2 เซนติเมตร
ไฉหู (柴胡)
2 เซนติเมตร
เชียงหัว (羌活)

2 เซนติเมตร
เก๋อเกิน (葛根)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 65

2 เซนติเมตร
ไป๋ จ่อื (白芷)
2 เซนติเมตร
หวงฉิน (黄芩)

2 เซนติเมตร
สือเกา (石膏) เจีย๋ เกิง (桔梗)
2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เสาเย่า (芍药) เซิงเจียง (生姜)

2 เซนติเมตร
ต้าเจ่า (大枣) 2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (甘草)
66 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
柴胡 ไฉหู ตัวยาหลัก ขม เผ็ด เย็น ขับกระจายลดไข้ ผ่อนคลายระบบ
เล็กน้อย ตับและคลายเครียด ช่วยให้หยางชี่
ขึ้นสู่สว่ นบน
葛根 เก๋อเกิน ตัวยาหลัก เผ็ด เย็น บรรเทาอาการหวัดจากการกระทบ
อมหวาน ลมเย็นภายนอก ลดไข้ บรรเทา
อาการคอแห้ง กระหายนํา้
羌活 เชียงหัว ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการหวัดจากการกระทบ
อมขม ลมเย็น ปวดศีรษะ ปวดเมือ่ ยตาม
ร่างกาย
白芷 ไป๋ จ่อื ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการหวัดจากการกระทบ
(โกฐสอ) ลมเย็นภายนอก บรรเทาอาการ
ปวดศีรษะ ปวดฟัน ลดอาการคัด
จมูกจากไขห้ วัดหรือโรคโพรงจมูก
อักเสบ
黄芩 หวงฉิน ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อน ขจัดความชื้น
ขับพิษร้อน ระบายความร้อน
ในเลือด ห้ามเลือด ลดไข้ และ
กล่อมครรภ์
石膏 สือเกา ตัวยาช่วย เผ็ด เย็นมาก ระบายความร้อนในกระเพาะอาหาร
(เกลือจืด) อมหวาน รักษาอาการไขร้ อ้ นสูง ลดอาการ
กระวนกระวายและกระหายนํา้
桔梗 เจีย๋ เกิง ตัวยาช่วย ขม สุขมุ กระจายชี่ทป่ี อด ขับเสมหะ ระงับ
อมเผ็ด อาการไอทีม่ เี สมหะมาก อึดอัด
แน่นหน้าอก คอบวม ขับฝี หนอง
และเสมหะในปอด
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 67

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


芍药 เสาเย่า ตัวยาช่วย ขม เปรี้ยว เย็น เสริมอินเลือด ปรับเส้นลมปราณ
อมหวาน เล็กน้อย และประจําเดือน ปรับสมดุลชี่ของ
ตับ ระงับปวด เก็บกักอินชี่ ระงับ
เหงือ่
生姜 เซิงเจียง ตัวยานําพา เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ขับความเย็นทําให้ช่ี
(ขิงแก่สด) ไหลเวียน ให้ความอบอุ่นแก่
ส่วนกลางของร่างกายและปอด
ระงับอาเจียนและไอ
大枣 ต้าเจ่า ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(พุทราจีน) บํารุงเลือดในระบบประสาท
ประสานฤทธิ์ยาให้สุขมุ
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(ชะเอมเทศ) ระบายความร้อน ขับพิษ ระงับไอ
ขับเสมหะ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ ไฉหูและเก๋อเกิน มีสรรพคุณคลายกลา้ มเนื้อ บรรเทา


อาการปวดเมื่อยและระบายความร้อน ตัวยาเสริม ได้แก่ เชียงหัวและไป๋ จ่ือ ช่วยเสริมฤทธิ์บรรเทา
อาการปวดเมื่อยของตัวยาหลัก ตัวยาช่วย ได้แก่ หวงฉินและสือเกา ช่วยระบายความร้อน เจีย๋ เกิง
ช่วยกระจายชี่ท่ปี อด ระบายเสียชี่ (邪气) ออก และเสาเย่า มีสรรพคุณปรับอิง๋ ชี่ (营气) ระบายความ
ร้อน ตัวยานําพา ได้แก่ เซิงเจียงและต้าเจ่า มีสรรพคุณปรับอิง๋ ชี่และเว่ยช์ ่ี (卫气) และปรับสมดุล
ส่วนกลางของร่างกาย กันเฉ่ าช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
68 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยที่ลมเย็นกระทบร่างกายแลว้ ยังไม่แปรเปลี่ยนเป็ นความร้อน หรือ
ผูป้ ่ วยที่อาการของโรคเข้าสู่อวัยวะฝู่หยางหมิง (กระเพาะอาหารและลําไส้) แลว้ ทําให้มอี าการท้องผูก
และปวดท้อง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: เมือ่ ให้ผูป้ ่ วยไขห้ วัดระบาด จํานวน 393 ราย ที่มอี ุณหภูมริ ่างกาย
ระหว่าง 38-38.9 องศาเซลเซียส จํานวน 240 ราย และ 39-40.5 องศาเซลเซียส จํานวน 153 ราย
รับประทานยาต้มโดยปรับเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะกับผูป้ ่ วย พบว่า 378 ราย มีอาการไขล้ ดลงได้
ภายใน 48 ชัว่ โมง คิดเป็ นร้อยละ 90 เมือ่ ให้ผูป้ ่ วยเด็กที่เป็ นโรคไข้หวัดระบาดและมีไข้สูง จํานวน 12
ราย รับประทานยาต้มโดยปรับเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสม พบว่าได้ผลดีมาก ไข้จะลดลงโดยเฉลีย่
ภายใน 2 วันครึ่ง เมือ่ ให้ผูป้ ่ วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน จํานวน 109 ราย รับประทานยาต้ม
พบว่าผูป้ ่ วยทุกรายหายเป็ นปกติ โดยขนาดยาที่รบั ประทานคือ 1-6 ห่อ เมือ่ ให้ยาต้มโดยปรับเพิม่ หรือ
ลดขนาดยาให้เ หมาะกับ ผู ป้ ่ วยโรคติด เชื้อ ในระบบทางเดิน หายใจ จํา นวน 125 ราย ซึ่ง ทุก รายมี
อุณหภูมริ ่างกายสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส (39-40 องศาเซลเซียส 70 ราย สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
14 ราย และตํา่ กว่า 39 องศาเซลเซียส 41 ราย) พบว่ารักษาได้ผลมากกว่าร้อยละ 90 โดยอาการไข้จะ
เริ่มลดลงหลังให้ยา 1-5 ชัว่ โมง ผูป้ ่ วยทีม่ ไี ข้ลดลงจนเป็ นปกติภายใน 24, 24-48 และ 48-72 ชัว่ โมง มี
จํานวนเท่ากับ 62, 51 และ 12 ราย ตามลําดับ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาไฉเก๋อเจีย่ จีทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
4. Yuan ZY. Chai Ge Jieji Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 69

ป้ ายตูส๋ า่ น (败毒散)
ตําราต้นตํารับ
小儿药证直诀 เสีย่ วเอ๋อร์เย่าเจิ้งจือ๋ จฺเหวีย (Key to Therapeutics of Children’s Diseases)1
« ค.ศ. 1114 Qian Yi (钱乙 เฉียนอี)่ »2
ประกอบด้วย
羌活 Rhizoma seu Radix Notopterygii เชียงหัว 30 กรัม
独活 Radix Angelicae Pubescentis ตูห๋ วั 30 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 30 กรัม
柴胡 Radix Bupleuri ไฉหู 30 กรัม
前胡 Radix Peucedani เฉียนหู 30 กรัม
枳壳 Fructus Aurantii จื่อเขอ 30 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 30 กรัม
桔梗 (炒) Radix Platycodi (parched) เจีย๋ เกิง (เฉ่ า) 30 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 30 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 15 กรัม

วิธีใช้
นํายาทัง้ หมดมาบดเป็ นผง รับประทานครัง้ ละ 6 กรัม โดยรับประทานกับนํา้ กระสายยาทีเ่ ตรียม
จากการต้มเซิงเจียง (生姜) 2-3 แว่น และป๋ อเหอ (薄荷) 3-4 กรัม ในนํา้ ประมาณ 1 แก้ว หรือเตรียม
เป็ นยาต้ม โดยปรับลดนํา้ หนักยาจากตํารับยาข้างต้นลง 5 เท่า1,3
การออกฤทธิ์
เสริมชี่ บรรเทาอาการภายนอก กระจายลม ขับความชื้น1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการทีม่ สี าเหตุจากพลังชี่ไม่เพียงพอ เมือ่ กระทบลมเย็นจากภายนอก จะมีอาการไข้สูง
70 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

กลัวหนาว ปวดศีรษะ คอแข็ง ปวดเมือ่ ยตามตัวและแขนขา ไม่มเี หงือ่ คัดจมูก เสียงเปลีย่ น ไอมีเสมหะ
ท้องอืด แน่นบริเวณทรวงอก ลิ้นมีฝ้าขาวเหนียว ชีพจรลอยนุ่ม เวลากดลึกไม่มแี รง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรค
คางทูม หลอดลมอักเสบ ไขข้ออักเสบเรื้อรังชนิดรูมาติก ลมพิษ ผิวหนังเป็ นผืน่ อักเสบจากภูมแิ พ้ และฝี
หนองอักเสบในระยะแรก1,3

ตํารับยา ป้ ายตูส๋ า่ น (败毒散)

2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
เชียงหัว (羌活)
ตูห๋ วั (独活)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 71

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ชวนซฺยง (川芎) ไฉหู (柴胡)

2 เซนติเมตร
เฉียนหู (前胡)
2 เซนติเมตร
จื่อเขอ (枳壳)

3 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓)
2 เซนติเมตร
เจีย๋ เกิง (桔梗)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参) กันเฉ่ า (甘草)
72 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
羌活 เชียงหัว ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการหวัดจากการ
อมขม กระทบลมเย็น ปวดศีรษะ ปวด
เมือ่ ยตามร่างกาย
独活 ตูห๋ วั ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการปวดเมือ่ ย อาการ
อมขม เล็กน้อย หวัดจากการกระทบลมเย็นและ
ความชื้นภายนอก
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด
(โกฐหัวบัว) ขับลมในเลือด ระงับปวด
柴胡 ไฉหู ตัวยาเสริม ขม เย็น ขับกระจายลดไข้ ผ่อนคลายตับ
อมเผ็ด เล็กน้อย ช่วยให้หยางชี่ข้นึ สู่ส่วนบนของ
ร่างกาย คลายเครียด
前胡 เฉียนหู ตัวยาช่วย ขม เย็น ลดชี่ให้ตาํ ่ ลง ขับเสมหะ กระจาย
อมเผ็ด เล็กน้อย และระบายลมร้อน
枳壳 จื่อเขอ ตัวยาช่วย ขม เย็น แก้อาการแน่นทรวงอก ช่วยให้
อมเผ็ด เล็กน้อย การไหลเวียนของชี่ทท่ี รวงอกดีข้นึ
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ ระบายนํา้ สลายความชื้น เสริม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย บํารุงม้าม สงบจิตใจ
桔梗 (炒) ตัวยาช่วย ขม สุขมุ นํายาขึ้นส่วนบนของร่างกาย
เจีย๋ เกิง (เฉ่ า) อมเผ็ด บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ
แน่นหน้าอก คอบวมเจ็บ
ขับฝี หนองและเสมหะในปอด
บรรเทาไอทีม่ เี สมหะมาก
人参 เหรินเซิน ตัวยาช่วย หวานอม อุ่น เสริมชี่ สร้างสารนํา้ บํารุงหัวใจ
(โสมคน) ขมเล็กน้อย เล็กน้อย และม้าม สงบจิตใจ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 73

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
(ชะเอมเทศ) อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยเชียงหัวและตูห๋ วั เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณขับพิษชื้นและลมเย็นให้
กระจายไปทัว่ ร่างกาย ตัวยาเสริม ไดแ้ ก่ ชวนซฺยงมีสรรพคุณช่วยใหก้ ารไหลเวียนของเลือดดีข้ึน
และขับลม ส่วนไฉหูมสี รรพคุณผ่อนคลายกลา้ มเนื้อ ตัวยาทัง้ สองนี้ช่วยการออกฤทธิ์ของเชียงหัวและตู ๋
หัวในการขับพิษภายนอกและระงับปวด ตัวยาช่วย ได้แก่ จื่อเขอมีสรรพคุณกดชี่ลงล่าง เจีย๋ เกิง (เฉ่ า)
เปิ ดทะลวงปอด ทําให้ปอดทํางานดีข้นึ เฉียนหูขบั เสมหะ ฝูหลิงระบายความชื้น เหรินเซินเสริมสร้างภูมิ
ต้านทานและเพิ่มชี่เพื่อขับของเสียออกทางเหงื่อ ตัวยานําพา ได้แก่ กันเฉ่ าช่ วยปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน เสริมชี่และปรับสมดุลส่วนกลางของร่างกาย เมื่อนํามารับประทานโดยเพิ่มเซิงเจียง
และป๋ อเหอ เซิงเจียงและป๋ อเหอจะช่วยขับกระจายลมเย็น1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ค่อนไปทางแห้งอุ่น เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ อี าการทีม่ สี าเหตุจากการกระทบลม
เย็นภายนอก รวมทัง้ มีความชื้นและร่างกายพร่องร่วมด้วย ตํารับยานี้ไม่เหมาะสมกับกรณี ท่มี คี วามชื้น
และร้อน1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณขับเหงือ่ แก้ไข ้ ระงับปวด ขับเสมหะ ระงับไอ
ขับปัสสาวะ กระตุน้ การไหลเวียนของเลือด ลดอาการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
74 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาป้ ายตูส๋ ่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Qu YH, Wang X. Ren Shen Bai Du San. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 75

เจียเจีย่ นเวย์หรุยทัง (加减葳蕤汤)


ตําราต้นตํารับ
1
่ (Revised Popular Treatise on Febrile Diseases)
重订通俗伤寒论 ฉงติงทงซูซางหานลุน
« ค.ศ. 1016 Yu Gen (俞根 ยฺหวีเกิน) »2
ส่วนประกอบ
生葳蕤 Rhizoma Polygonati Odorati เซิงเวย์หรุย 9 กรัม
生葱白 Bulbus Allii Fistulosi เซิงชงไป๋ 6 กรัม
淡豆豉 Semen Sojae Praeparatum ตัน้ โต้วฉื่อ 9 กรัม
薄荷 Herba Menthae ป๋ อเหอ 5 กรัม
桔梗 Radix Platycodonis เจีย๋ เกิง 5 กรัม
白薇 Radix Cynanchi Atrati ไป๋ เวย์ 3 กรัม
红枣 Fructus Ziziphi Jujubae หงเจ่า 2 ผล
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 2 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ ดืม่ ขณะอุ่น1,3
การออกฤทธิ์
เสริมอิน ระบายความร้อน ขับเหงือ่ ขับกระจายหวัดทีเ่ กิดจากลมภายนอก1,3
สรรพคุณ
รักษาผู ป้ ่ วยที่มีพ้ ืนฐานร่ า งกายเป็ นกลุ่มอาการอินพร่ อง แล ว้ เป็ นหวัด จากการกระทบลม
ภายนอก โดยมีอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน มีไข้ กลัวลมเย็นเล็กน้อย ไอ คอแห้ง เสมหะข้นขับออกยาก
ไม่มเี หงือ่ หรือเหงือ่ ออกไม่มาก กระหายนํา้ ใจร้อนรุ่ม ลิ้นแดง ชีพจรเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลม
อักเสบ หรือกรณีหลังคลอดหรือเสียเลือด แล ้วเป็ นไข้หวัด1,3
76 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

ตํารับยา เจียเจีย่ นเวย์หรุยทัง (加减葳蕤汤)

2 เซนติเมตร
เซิงชงไป๋ (生葱白)
2 เซนติเมตร
เซิงเวย์หรุย (生葳蕤)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 77

2 เซนติเมตร

ตัน้ โต้วฉื่อ (淡豆豉) 2 เซนติเมตร


ป๋ อเหอ (薄荷)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เจีย๋ เกิง (桔梗) ไป๋ เวย์ (白薇)

2 เซนติเมตร
หงเจ่า (红枣) 2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
生葳蕤 เซิงเวย์หรุย ตัวยาหลัก อมหวาน เย็น บํารุงอิน บรรเทาอาการไอแห้ง มี
เล็กน้อย เสมหะแห้งเนื่องจากอินพร่อง ลด
ไข้ บรรเทาอาการร้อนใน คอแห้ง
กระหายนํา้
生葱白 เซิงชงไป๋ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับกระจายความร้อน ขับพิษร้อน
(หอมจีน) บรรเทาอาการปวดศีรษะจากการ
กระทบปัจจัยก่อโรคจากภายนอก
บรรเทาอาการปวดท้อง
78 ตํารับยารักษากลุม่ อาการภายนอก

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


淡豆豉 ตัน้ โต้วฉื่อ ตัวยาเสริม เผ็ดอม อุ่น บรรเทาหวัดจากลมภายนอก ลด
หวาน ขม เล็กน้อย อาการหงุดหงิด
เล็กน้อย
薄荷 ป๋ อเหอ ตัวยาเสริม เผ็ด เย็น กระจายความร้อนทีก่ ระทบต่อ
ร่างกาย ระบายความร้อน ช่วยให้
สมองโปร่ง ลําคอโล่ง ผ่อนคลาย
ตับ คลายเครียด
桔梗 เจีย๋ เกิง ตัวยาเสริม ขม สุขมุ กระจายชี่ทป่ี อด ขับเสมหะ ระงับ
อมเผ็ด อาการไอทีม่ เี สมหะมาก อึดอัด
แน่นหน้าอก คอบวม ขับฝี หนอง
และเสมหะในปอด
白薇 ไป๋ เวย์ ตัวยาช่วย เค็ม ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด ขับ
เล็กน้อย ปัสสาวะ บรรเทาพิษฝี หนอง
红枣 หงเจ่า ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(พุทราจีน) บํารุงเลือดในระบบประสาท
ประสานฤทธิ์ยาให้สุขมุ
甘草 (炙) ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
กันเฉ่ า (จื้อ) และนําพา อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ เซิงเวย์หรุยรสหวาน ชุ่มชื้น มีสรรพคุณเสริมอินและเพิ่ม


สารนํา้ ทําให้ปอดชุ่มชื้น บรรเทาอาการไอและคอแห้ง ตัวยาเสริม ได้แก่ เซิงชงไป๋ ตัน้ โต้วฉื่อ ป๋ อเหอ
และเจีย๋ เกิง ช่วยกระจายชี่ท่ปี อด บรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการกระทบปัจจัยก่อโรคจากภายนอก
บรรเทาอาการไอ ช่วยให้ลาํ คอโล่ง ตัวยาช่วย ได้แก่ ไป๋ เวย์รสเค็ม คุณสมบัตเิ ย็น ช่วยลดความร้อนใน
ระบบเลือด บรรเทาอาการหงุดหงิดกระหายนํา้ หงเจ่ารสหวานชุ่ม ช่วยเสริมบํารุงม้าม ตัวยานําพาคือ
กันเฉ่ า (จื้อ) ช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 79

ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ยาตํารับนี้เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยทีอ่ นิ พร่องแล ้วเป็ นหวัด ห้ามใช้กบั ผูป้ ่ วยทีไ่ ม่มภี าวะอินพร่อง1,3
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาเจียเจี่ยนเวย์หรุยทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน].
นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2552.
80 ตํารับยาปรับให้สมดุล

เสีย่ วไฉหูทงั (小柴胡汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
柴胡 Radix Bupleuri ไฉหู 12 กรัม
黄芩 Radix Scutellariae หวงฉิน 9 กรัม
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 9 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 9 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 6 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 4 ผล
甘草(炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 5 กรัม

ตํารับยา เสีย่ วไฉหูทงั (小柴胡汤)


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 81

ไฉหู (柴胡)
2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ (半夏)
หวงฉิน (黄芩)

เซิงเจียง (生姜)
3 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เหรินเซิน(人参)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ต้าเจ่า(大枣) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
82 ตํารับยาปรับให้สมดุล

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม1,3
การออกฤทธิ์
ปรับสมดุลเส้นเส้าหยาง (ถุงนํา้ ดี)1,3
สรรพคุณ
ใช้รกั ษาโรคทีเ่ กิดจากพิษไข้เข้าสู่เส้นเส้าหยาง (ถุงนํา้ ดี) ทําให้มอี าการเดีย๋ วหนาวเดีย๋ วร้อน แน่น
ทรวงอก และชายโครง เซื่องซึม เบือ่ อาหาร หงุดหงิด คลืน่ ไส้ ปากขม คอแห้ง ตาลาย ลิ้นมีฝ้าขาวบาง
ชีพจรตึง หรือสตรีทเ่ี ป็ นไข้เนื่องจากกระทบความเย็น หรือความร้อนเข้าสู่ระบบเลือด1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคเส้าหยาง (ถุงนํา้ ดี) ซึ่งมี
การแสดงออกคือเป็ นโรคไข้หวัด ไข้มาลาเรีย ท่อถุงนํา้ ดีตดิ เชื้อ โรคตับอักเสบ เนื้อเยื่อทรวงอกอักเสบ
กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ระบบย่อยอาหารไม่ดี เต้านมอักเสบ เจ็บเส้นประสาททีบ่ ริเวณซีโ่ ครง ระบบ
ประสาทกระเพาะอาหารทํางานบกพร่อง1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
柴胡 ไฉหู ตัวยาหลัก ขม เผ็ด เย็น ลดไข้ ผ่อนคลาย คลายเครียด
เล็กน้อย ช่วยให้หยางลอยขึ้นส่วนบน
黄芩 หวงฉิน ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อน แก้ความชื้น
ขับพิษร้อน ช่วยให้เลือดเย็นลง
และห้ามเลือด แก้ตวั ร้อน
กล่อมครรภ์
半夏 ปัน
้ เซีย่ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น สลายความชื้น ละลายเสมหะ
(มีพษิ )* กดชี่ลงล่าง แก้คลืน่ ไส้อาเจียน
สลายเสมหะทีเ่ กาะตัวเป็ นก้อน

* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 83

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ผ่อนคลายผิวหนัง ขับเหงือ่ ให้
(ขิงสด) ความอบอุ่นแก่ส่วนกลางของ
ร่างกาย (กระเพาะอาหาร) แก้
คลืน่ ไส้อาเจียน ให้ความอุ่นแก่
ปอด ระงับไอ
人参 เหรินเซิน ตัวยาช่วย หวานอมขม อุ่น บํารุงชี่ (อย่างดี) เสริมปอด
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย บํารุงม้าม ก่ อให้เกิดสารนํา้
สงบจิตใจ
大枣 ต้าเจ่า ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(พุทราจีน) ร่างกาย เสริมเลือด สงบจิต
ปรับสมดุลของยา
甘草(炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ระบาย
กันเฉ่ า (จื้อ) ความร้อน แก้พษิ ขับเสมหะ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ระงับไอ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยไฉหู เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณขับกระจายปัจจัยก่ อโรคกึ่งภายนอก
หวงฉินเป็ นตัวยาเสริม ช่วยระบายความร้อนทีส่ ะสมอยู่ก่งึ ภายใน เมือ่ ใช้ตวั ยาทัง้ สองร่วมกัน ตัวยาหนึ่ง
ขับกระจายปัจจัยก่ อโรค อีกตัวหนึ่งระบายความร้อนที่สะสมอยู่ จึงสามารถขจัดปัจจัยก่ อโรคในเส้น
ลมปราณเส้าหยาง ปัน้ เซี่ยและเซิงเจียงช่วยปรับกระเพาะอาหารให้สมดุล ช่วยให้ช่ีลงสู่เบื้องล่าง เหริน
เซินและต้าเจ่าช่ วยเสริมชี่ และบํารุงส่วนกลาง กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา ช่ วยปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาชง ยาเม็ด4
84 ตํารับยาปรับให้สมดุล

ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยาเสี่ยวไฉหูทงั กับผูป้ ่ วยที่เป็ นโรคส่วนบนแกร่ง ส่วนล่างพร่อง ไฟตับสูงจัดจน
พุง่ ขึ้นส่วนบน มีอาการอินพร่อง อาเจียนเป็ นเลือด1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเสีย่ วไฉหูทงั มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาเสีย่ วไฉหูทงั มีฤทธิ์ปกป้ องตับ เพิม่ การไหลเวียนของเลือด
ในตับ ช่วยให้นาํ้ ในถุงนํา้ ดีไหลเวียนดีข้ นึ เพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของกระเพาะอาหาร ลดไข้ และ
ต้านอักเสบในหนู ขาว เพิ่มภูมติ า้ นทานในหนู ถบี จักร4 ต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีในหลอดทดลอง5
ปกป้ องตับอ่อนและรักษาตับอ่อนอักเสบเรื้อรังในหนู ขาว6 นอกจากนี้ พบว่าตํารับยาเสีย่ วไฉหูทงั มีผลลด
ระดับความเข้มข้นในเลือดของยาเบาหวาน tolbutamine ในหนู ขาวเมือ่ ใช้ร่วมกัน7
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาเสีย่ วไฉหูทงั มีสรรพคุณในการรักษาโรคตับอักเสบทีเ่ กิดจากเชื้อ
ไวรัสรัสตับอักเสบชนิดบี8,9 และชนิดซี10 ต้านเชื้อแบคทีเรีย ถอนพิษไข้ ตํารับยานี้มจี ดุ เด่นในด้านรักษา
อาการตัวร้อน ลดการอักเสบ ช่วยกระตุน้ การทํางานของระบบย่อยอาหาร ระงับอาการคลืน่ ไส้ ขับเสมหะ
ระงับไอ ปกป้ องตับ ช่วยให้นาํ้ ในถุงนํา้ ดีไหลเวียนดีข้นึ และสงบจิตใจ1,3
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ให้สารสกัดชนิดผงของตํารับยานี้ทางปากหนู ขาวในขนาด 40,
160 และ 640 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ติดต่อกันนาน 6 เดือน ไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเสีย่ วไฉหูทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Zhang SF, Li CW, Wang L. Xiao Chaihu Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional
Chinese medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Chang JS, Wang KC, Liu HW, Chen MC, Chiang LC, Lin CC. Sho-saiko-to (Xiao-Chai-Hu-Tang) and crude
saikosaponins inhibit hepatitis B virus in a stable HBV-producing cell line. Am J Chin Med 2007; 35(2): 341-51.
6. Su SB, Li YQ, Shen HY, Motoo Y. Effects of Chinese herbal medicines on spontaneous chronic pancreatitis in rats
and the pathological relationships between formulas and syndromes. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2006; 4(4): 358-62.
7. Nishimura N, Naora K, Hirano H, Iwamoto K. Effects of sho-saiko-to (xiao chai hu tang), a Chinese traditional
medicine, on the gastric function and absorption of tolbutamide in rats. Yakugaku Zasshi 2001; 121(2): 153-9.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 85

8. Lee CH, Wang JD, Chen PC. Risk of liver injury associated with Chinese herbal products containing radix bupleuri
in 639,779 patients with hepatitis B virus infection. PLoS One 2011; 6(1): e16064.
9. Qin XK, Li P, Han M, Liu JP. Xiaochaihu Tang for treatment of chronic hepatitis B: a systematic review of
randomized trials. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2010; 8(4): 312-20.
10. Deng G, Kurtz RC, Vickers A, Lau N, Yeung KS, Shia J, Cassileth B. A single arm phase II study of a Far-Eastern
traditional herbal formulation (sho-sai-ko-to or xiao-chai-hu-tang) in chronic hepatitis C patients. J Ethnopharmacol
2011; 136(1): 83-7.
86 ตํารับยาปรับให้สมดุล

ซื่อหนี้ สา่ น (四逆散)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน
่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
柴胡 Radix Bupleuri ไฉหู 6 กรัม
枳实 Fructus Aurantii Immaturus จื่อสือ 6 กรัม
白芍 Radix Paeoniae Alba ไป๋ เสา 9 กรัม
甘草(炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม1,3
การออกฤทธิ์
ขับกระจายพิษออกจากผิวกาย ผ่อนคลายตับ ปรับชี่ของระบบม้าม1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะทีม่ หี ยางชี่อดุ กัน้ อยู่ภายในร่างกาย ไม่สามารถกระจายไปทีแ่ ขนและขา ทําให้มอื เท้า
เย็น ชี่ของตับไม่ผ่อนคลาย การทํางานของม้ามติดขัด ทําให้มอี าการอึดอัด แน่นท้อง ถ่ายเป็ นบิด ปวด
ท้อง ลิ้นมีฝ้าขาว ชีพจรตึง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยกระเพาะอาหารอักเสบ มีแผล
ในกระเพาะอาหาร ลําไส้อกั เสบ4 ตับอักเสบเรื้อรัง ถุงนํา้ ดีอกั เสบ นิ่วในถุงนํา้ ดี ตับอ่อนอักเสบ ปวด
ประสาทตรงชายโครง อาการทางประสาทของกระเพาะอาหาร ซึง่ มีสาเหตุมาจากชี่ตบั ไม่ผ่อนคลาย การ
ทํางานของม้ามติดขัด1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 87

ตํารับยา ซื่อหนี้ สา่ น (四逆散)

ไฉหู (柴胡)
2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป๋ เสา (白芍)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
จื่อสือ (枳实) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
88 ตํารับยาปรับให้สมดุล

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
柴胡 ไฉหู ตัวยาหลัก ขม เผ็ด เย็น ขับกระจายลดไข้ แก้ตวั ร้อน
เล็กน้อย ผ่อนคลายระบบตับ และช่วยให้
หยางชี่ข้นึ สู่สว่ นบน ผ่อนคลาย
คลายเครียด
枳实 จื่อสือ ตัวยาเสริม ขม เผ็ด เย็น ขับของเสียที่ตกค้าง ละลาย
(ส้มซ่า) เล็กน้อย เสมหะ
白芍 ไป๋ เสา ตัวยาช่วย ขม เปรี้ยว เย็น เสริมอินเลือด ปรับประจําเดือน
อมหวาน เล็กน้อย และปรับสมดุลชี่ของตับ ระงับ
ปวด เก็บกักอินชี่ ระงับเหงือ่
甘草(炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่บาํ รุงส่วนกลาง ระบาย
กันเฉ่ า (จื้อ) ความร้อน แก้พษิ ขับเสมหะ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ระงับไอ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยไฉหูเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณผ่อนคลายตับ ปรับการไหลเวียนของชี่
ให้เป็ นปกติ และขับกระจายความร้อนออกจากผิวกาย ไป๋ เสาเสริมบํารุงตับ ลดอาการหดเกร็ง และเสริม
อิน จึงสามารถขับกระจายความร้อนออกภายนอกโดยไม่ทาํ ลายอิน จื่อสือมีสรรพคุณขับของเสียตกค้าง
ช่วยให้การทํางานของม้ามไม่ติดขัด กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้า
กัน เมือ่ ใช้ร่วมกับตัวยาไป๋ เสาสามารถลดอาการหดเกร็ง และระงับปวด1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาผง4
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 89

ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาซื่อหนี้ส่านใช้ได้เฉพาะกับผูป้ ่ วยที่มอื เท้าเย็นจากหยางชี่ถูกปิ ดกัน้ ภายใน ซึ่งทําให้ช่ีไปไม่
ถึงมือและเท้า ทําให้มอื เท้ามีอาการเย็น ถ้าเกิดจากสาเหตุอ่นื ๆ เช่น หยางพร่อง เลือดลมไปเลี้ยงไม่ถงึ มือ
เท้า ทําให้มอื เท้าเย็น จะใช้ตาํ รับยานี้ไม่ได้1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาซื่อหนี้ สา่ น มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาซือ่ หนี้ส่านมีฤทธิ์ปกป้ องตับ5 ยับยัง้ การเกิดความไวต่อการ
สัมผัส ในหนู ถีบจัก ร 7 สารสกัด แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ต า้ นการหดเกร็ง ของลําไส้ก ระต่ าย รัก ษาแผลใน
กระเพาะอาหารหนู ขาว สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับ ช่วยให้การทํางานของระบบประสาทส่วนกลาง
ดีข้นึ เมือ่ ให้สารสกัดนํา้ ทางปากหนู ถบี จักรในขนาดเทียบเท่าผงยา 20 กรัม/กิโลกรัม มีผลลดไข้6
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาซือ่ หนี้ส่านมีสรรพคุณในการสงบสติ แก้อาการกลา้ มเนื้อเกร็ง
ระงับปวด ระบายความร้อน ต้านเชื้อแบคทีเรีย และมีสรรพคุณทีเ่ ด่นชัดในเรื่องการป้ องกันการถูกทําลาย
ของตับ1,3 นอกจากนี้ตาํ รับยานี้ยงั มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดในสมองผูป้ ่ วยทีเ่ ลือดไปเลี้ยงสมองติดขัด ช่วย
ให้การไหลเวียนของเลือดดีข้นึ บรรเทาอาการหดเกร็งของกระเพาะอาหารและลําไส้ ช่วยให้การย่อยของ
กระเพาะอาหารเป็ นปกติ บรรเทาอาการสะอึก และขับของเสียที่ตกค้างในลําไส้เล็กส่วนต้น รวมทัง้ มี
สรรพคุณรักษาอาการหวาดผวาเนื่องจากไข้สูง เป็ นบิด และปวดท้องในผูป้ ่ วยเด็ก6 และลดอาการมือมี
เหงือ่ ออกมากผิดปกติ8
การศึกษาความปลอดภัย: การศึกษาพิษเฉียบพลันในหนู ถบี จักรโดยการให้สารสกัดนํา้ ทางปาก
และฉีดเข้าช่องท้อง พบว่าขนาดของสารสกัดเทียบเท่าผงยาที่ทาํ ให้หนู ถบี จักรตายร้อยละ 50 (LD50)
มีค่าเท่ากับ 413 และ 122.8 กรัม/กิโลกรัม ตามลําดับ และเมือ่ ให้สารสกัดนํา้ ทางปากหนู ขาว วันละครัง้
ติดต่อกันนาน 20 วัน ไม่พบการเปลีย่ นแปลงทีผ่ ดิ ปกติของนํา้ หนักตัว และการทํางานของตับและไต6
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
90 ตํารับยาปรับให้สมดุล

3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาซือ่ หนี้ส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพร
จีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
5. Jiang J, Zhou C, Xu Q. Alleviating effects of si-ni-san, a traditional Chinese prescription, on experimental liver injury
and its mechanisms. Biol Pharm Bull 2003; 26(8): 1089-94.
6. Liu SQ, Zhang SF. Sini san. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
7. Sun Y, Chen T, Xu Q. Si-Ni-San, a traditional Chinese prescription, and its drug-pairs suppress contact sensitivity in
mice via inhibition of the activity of metalloproteinases and adhesion of T lymphocytes. J Pharm Pharmacol 2003;
55(6): 839-46.
8. Ninomiya F. Clinical Evaluation of Perspiration Reducing Effects of a Kampo Formula, Shigyaku-san, on
Palmoplantar Hidrosis. Evid Based Complement Alternat Med 2008; 5(2): 199-203.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 91

เซียวเหยาส่าน (逍遥散)
ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
1
Dispensary)
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈诗文 เฉินซือเหวิน) »2
ส่วนประกอบ
柴胡 Radix Bupleuri ไฉหู 15 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 15 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 15 กรัม
生姜(煨) Rhizoma Zingiberis Recens Praeparata เซิงเจียง (เวย์) 3 กรัม
甘草(炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 15 กรัม
白芍 Radix Paeoniae Alba ไป๋ เสา 15 กรัม
薄荷 Herba Menthae ป๋ อเหอ 3 กรัม

ตํารับยา เซียวเหยาส่าน (逍遥散)


92 ตํารับยาปรับให้สมดุล

3 เซนติเมตร
ไฉหู (柴胡) ไป๋ จู ๋ (白术)
2 เซนติเมตร

3 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓) 2 เซนติเมตร
เซิงเจียง (เวย์) [生姜 (煨)]

5 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
ตังกุย (当归)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร

ไป๋ เสา (白芍) ป๋ อเหอ (薄荷)


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 93

วิธีใช้
ใช้นาํ้ ต้มเซิงเจียง (เวย์) กับป๋ อเหอ เป็ นนํา้ กระสายยา บดตัวยาอื่นทีเ่ หลือเป็ นผง รับประทาน
ครัง้ ละ 6-9 กรัม หรือเตรียมเป็ นยาต้มโดยปรับลดนํา้ หนักยาลงครึ่งหนึ่งจากตํารับยาข้างต้น1,3
การออกฤทธิ์
คลายเครียด ผ่อนคลายชี่ของตับ เสริมเลือด และบํารุงม้าม1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะชี่ของตับติดขัดไม่หมุนเวียน เลือดพร่ อง โดยมีอาการปวดชายโครง ปวดศีรษะ
ตาลาย ปากขม คอแห้ง อ่อนเพลีย รับประทานอาหารได้นอ้ ย หรือมีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาว สตรี
ประจําเดือนมาไม่ปกติ แน่นและตึงบริเวณเต้านม ลิ้นแดงซีด ชีพจรตึงและพร่อง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มเี ลือดพร่อง ชี่ตบั ติดขัดซึ่ง
แสดงออกโดยการเป็ นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เยือ่ หุม้ ทรวงอกอักเสบ โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง โรค
ประสาทอ่อน และประจําเดือนผิดปกติ1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
柴胡 ไฉหู ตัวยาหลัก ขมเผ็ด เย็น ขับกระจายลดไข้ แก้ตวั ร้อน ผ่อน
เล็กน้อย คลายตับ และช่วยให้หยางชี่ข้นึ สู่
ส่วนบน ผ่อนคลาย คลายเครียด
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาเสริม ขม อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง แก้
อมหวาน ความชื้น ระบายนํา้ ระงับเหงื่อ
กล่อมครรภ์
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาเสริม หวาน กลาง ระบายความชื้นและนํา้ เสริมม้าม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ให้แข็งแรง สงบจิตใจ
生姜(煨) ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ให้ความอบอุ่นแก่ส่วนกลาง
เซิงเจียง (เวย์) (กระเพาะอาหาร) ระงับอาเจียน
(ขิงสดปิ้ ง) และให้ความอบอุ่นแก่ปอด ระงับไอ
94 ตํารับยาปรับให้สมดุล

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


甘草(炙)กันเฉ่ า (จื้อ) ตัวยาเสริม หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุ งส่วนกลาง ปรับ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
当归 ตังกุย ตัวยาช่วย หวานเผ็ด อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้เลือดมีการ
(โกฐเชียง) หมุนเวียน ปรับประจําเดือน ระงับ
ปวด ช่วยให้ลาํ ไส้มคี วามชุ่มชื้น
白芍 ไป๋ เสา ตัวยาช่วย ขม เปรี้ยว เย็น เสริมอินเลือด ปรับประจําเดือน
อมหวาน เล็กน้อย และปรับสมดุลชี่ของตับ ระงับปวด
เก็บกักอินชี่ ระงับเหงือ่
薄荷 ป๋ อเหอ ตัวยานําพา เผ็ด เย็น ขับกระจายลมร้อนที่กระทบต่อ
ร่างกาย ระบายความร้อน ช่วยให้
ศีรษะและสายตาสดใส ลําคอโล่ง
กระทุง้ โรคหัด ผ่อนคลายตับ
คลายเครียด

ตํารับยานี้ประกอบด้วยไฉหูเป็ นตัวยาหลัก มีฤทธิ์ผ่อนคลายตับ คลายเครียด ตังกุยและไป๋ เสา


มีฤทธิ์บาํ รุงเลือด และผ่อนคลายตับ เมือ่ ใช้ตวั ยาทัง้ สามร่วมกัน สามารถรักษาภาวะชี่ของตับติดขัดและ
เลือดพร่อง ไป๋ จูแ๋ ละฝูหลิงมีฤทธิ์บาํ รุงส่วนกลาง เสริมม้ามให้แข็งแรง ช่วยเสริมการสร้างชี่และเลือด
เซิงเจียง (เวย์) มีฤทธิ์ให้ความอบอุ่นแก่ส่วนกลาง และปรับสมดุลของกระเพาะอาหาร ป๋ อเหอช่วยเสริม
ฤทธิ์ผ่อนคลายตับของไฉหูให้แรงขึ้น กันเฉ่ า (จื้อ) ช่วยเสริมฤทธิ์ของไป๋ จูแ๋ ละฝูหลิงให้แรงขึ้น และปรับ
ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยานํา้ ยาลูกกลอน ยาผง ยาต้ม4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเซียวเหยาส่าน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาเซียวเหยาส่านมีฤทธิ์ปกป้ องตับ เพิ่มการหลัง่ นํา้ ย่อยใน
กระเพาะอาหารหนู ขาว และลดอาการเกร็งของลําไส้กระต่าย4
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 95

การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาเซียวเหยาส่านมีสรรพคุณเด่นชัดในการปกป้ องตับ รักษาโรคตับ


แข็ง ถุงนํา้ ดีอกั เสบเรื้อรัง ลดอาการหดเกร็ง ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีข้ นึ เสริมความแข็งแรงของ
กระเพาะอาหาร ปรับสภาพการทํางานของมดลูก บํารุงเลือด และสงบจิตใจ1,3,4 มีรายงานว่าตํารับยา
เซียวเหยาส่านช่วยให้อาการของผูป้ ่ วยโรคซึมเศร้าดีข้นึ โดยไม่มอี าการไม่พงึ ประสงค์5 และตํารับยานี้ใน
รูปแบบยาเม็ดมีสรรพคุณช่วยควบคุมการทํางานของระบบประสาทอัตโนมัตแิ ละระบบต่อมไร้ท่อ ทําให้
ผูป้ ่ วยทีต่ บั ติดขัดและม้ามพร่องมีอาการดีข้นึ 6
การศึกษาความปลอดภัย: มีรายงานการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนู ถบี จักร พบว่าเมือ่ ให้ผงยา
ทางปาก ขนาดทีท่ าํ ให้หนู ถบี จักรตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ 20.77 กรัม/กิโลกรัม และขนาด
สูงสุดของผงยาเมือ่ ให้ทางปากโดยไม่ทาํ ให้หนู ถบี จักรตัวใดตาย มีค่าเท่ากับ 200 กรัม/กิโลกรัม4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเซียวเหยาส่าน. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2549.
4. Liu SQ, Zhang SF, Wang L. Xiaoyao San. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional
Chinese medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Zhang Y, Han M, Liu Z, Wang J, He Q, Liu J. Chinese herbal formula xiao yao san for treatment of depression: a
systematic review of randomized controlled trials. Evid Based Complement Alternat Med 2012; 2012: 931636.
6. Chen JX, Ji B, Lu ZL, Hu LS. Effects of chai hu (radix burpleuri) containing formulation on plasma beta-endorphin,
epinephrine and dopamine on patients. Am J Chin Med 2005; 33(5): 737-45.
96 ตํารับยาปรับให้สมดุล

ปัน้ เซี่ยเซี่ยซินทัง (半夏泻心汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
半夏 (洗) Rhizoma Pinelliae (washed) ปัน้ เซีย่ (สี)่ 9 กรัม
干姜 Rhizoma Zingiberis กันเจียง 6 กรัม
黄芩 Radix Scutellariae หวงฉิน 6 กรัม
黄连 Rhizoma Coptidis หวงเหลียน 3 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 6 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 4 ผล
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ปรับสมดุลกระเพาะอาหาร ลดอาการชี่ไหลย้อนกลับ แก้อาการจุกแน่น กระจายชี่ท่ตี ดิ ขัดเป็ น
1,3
ก้อน
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการชี่ของกระเพาะอาหารติดขัด โดยมีอาการเบือ่ อาหาร จุกแน่นที่ล้นิ ปี่ เรอเป็ นลม
หรืออาเจียน มีเสียงลมในลําไส้และท้องเสีย ลิ้นมีฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรตึง เร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่ช่ขี องกระเพาะอาหารติดขัด
เช่น กระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบเฉียบพลัน กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เป็ นแผลทีก่ ระเพาะอาหาร
และลําไส้เล็กส่วนต้น ระบบการย่อยอาหารไม่ดี โรคของระบบทางเดินอาหารทีม่ สี าเหตุจากความเครียด
และแพ้ทอ้ ง1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 97

ตํารับยา ปัน้ เซี่ยเซี่ยซินทัง (半夏泻心汤)

2 เซนติเมตร
กันเจียง (干姜)

2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ (สี)่ [半夏(洗)]

2 เซนติเมตร
หวงเหลียน (黄连)
98 ตํารับยาปรับให้สมดุล

2 เซนติเมตร
หวงฉิน (黄芩) 2 เซนติเมตร ต้าเจ่า (大枣)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
เหรินเซิน (人参)
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
半夏 (洗) ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น* ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ
ปัน้ เซีย่ (สี)่ (มีพษิ ) ลดการไหลย้อนกลับของชี่
ระงับอาเจียน สลายเสมหะที่
จับตัวเป็ นก้อนและเถาดาน
干姜 กันเจียง ตัวยาหลัก เผ็ด ร้อน ให้ความอบอุ่นแก่ส่วนกลาง
(ขิงแก่แห้ง) ของร่างกาย สลายความเย็น
ดึงหยางให้กลับคืนเพือ่ กระตุน้
ชีพจร ให้ความอบอุ่นแก่ปอด
สลายความชื้น
黄芩 หวงฉิน ตัวยาเสริม ขม เย็นมาก ระบายความร้อน ขจัดความชื้น
ขับพิษร้อน ลดความร้อนใน
เลือด ห้ามเลือดและกล่อมครรภ์
* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 99

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


黄连 หวงเหลียน ตัวยาเสริม ขม เย็นมาก ระบายความร้อนของหัวใจ
และกระเพาะอาหาร
人参 เหรินเซิน ตัวยาช่วย หวานอมขม อุ่น เสริมชี่อย่างมาก เสริมปอด
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย บํารุงม้ามและกระเพาะอาหาร
สร้างธาตุนาํ้ ช่วยสงบจิตใจ
ปรับการเต้นของหัวใจให้กลับ
สู่สภาวะปกติ
大枣 ต้าเจ่า ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(พุทราจีน) ร่างกาย สร้างเลือด สงบจิตใจ
ปรับสมดุลของตัวยาให้เข้ากัน
甘草 (炙) ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
กันเฉ่ า (จื้อ) และนําพา อาหาร ระบายความร้อน
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ขับพิษ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ ปัน้ เซีย่ (สี)่ และกันเจียง มีสรรพคุณรักษาอาการจุก-
เสียดแน่ นท้อง ตัวยาเสริม ได้แก่ หวงฉินและหวงเหลียน รสขม ลดความร้อนที่อุดกัน้ การออกฤทธิ์
ของตัวยาขา้ งต้นทัง้ 4 ชนิดค่อนข้างพิเศษ คือ อาศัยรสเผ็ดเพือ่ กระจาย และรสขมเพือ่ ลดอาการชี่ไหล
ย้อนขึ้น ทําให้ช่ขี องกระเพาะอาหารไม่ตดิ ขัด อาการจุกแน่นจึงหายได้ ตัวยาช่วย ได้แก่ เหรินเซิน กันเฉ่ า
(จื้อ) และต้าเจ่า ร่วมกันบํารุงชี่ท่จี งเจียว ตัวยาทัง้ หมดในตํารับนี้ออกฤทธิ์ร่วมกันและเสริมฤทธิ์กนั ใน
การรักษาอาการจุกเสียด แน่นท้อง อาเจียน และระงับอาการถ่ายท้อง1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม5
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้มคี ุณสมบัตคิ ่อนข้างร้อนและมีฤทธิ์ทาํ ให้แห้ง จึงห้ามใช้กบั ผูป้ ่ วยทีอ่ นิ ของกระเพาะ-
อาหารพร่อง โดยมีอาการคลืน่ ไส้อาเจียน เรอเป็ นลม1,3,4
100 ตํารับยาปรับให้สมดุล

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนู ขาว5 รักษา
แผลในกระเพาะอาหารชนิดเฉียบพลันที่เกิดจากความเครียดในหนู ขาว6 รักษากระเพาะอาหารอักเสบ
เรื้อรังในหนู ถีบจักร7 ต้านอักเสบในสัตว์ทดลอง สารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ระงับปวด และยับยัง้ การ
เคลือ่ นไหวของลําไส้เล็กหนู ถบี จักร5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาอาการกระเพาะอาหารอักเสบที่ไม่รุนแรง
กระเพาะอาหารฝ่ อลีบ ระบบทางเดินอาหารเป็ นแผลและมีเลือดออก เสริมบํารุงกระเพาะอาหาร และปรับ
สมดุลการทํางานของกระเพาะอาหารลําไส้ สงบจิตใจ ระงับอาเจียนในสตรีมคี รรภ์ และรักษาโรคบิด1,3,5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาปัน้ เซี่ยเซี่ยซินทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูล
ยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Zhou YF. Science of Prescriptions. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional Chinese
Medicine, 2002.
5. Liu SQ, Zhang SF, Li CW. Banxia Xiexin Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
6. Zhang Z, Si YC, Bai LM. Effect of Bnxia Xexin Decoction and its disassembled recipes on somatostatin in rats with
stress gastric ulcer. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2007t; 27(10): 916-8.
7. Xue R, Cao Y, Han N, Lin X, Liu Z, Yin J. Activity of DBXX granules on anti-gastric ulcer and decreasing the side
effect of chemotherapy in S180 tumor-bearing mice. J Ethnopharmacol 2011; 137(3): 1156-60.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 101

ไป๋ หูท่ งั (白虎汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน
่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
石膏(碎) Gypsum Fibrosum สือเกา (ซุ่ย) 30 กรัม
粳米 Nonglutinous Rice จิงหมี่ 9 กรัม
知母 Rhizoma Anemarrhenae จือหมู่ 9 กรัม
甘草(炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 3 กรัม

วิธีใช้
ต้มตัวยาทัง้ หมดจนจิงหมี่ (ข้าวเจ้า) สุก แล ้วรินเอานํา้ ดื่ม1,3
การออกฤทธิ์
เสริมสารนํา้ ระบายความร้อน1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะความร้อนและไข้สูงในตําแหน่งหยางหมิง ซึง่ อยู่ในระบบชี่ของกระเพาะอาหาร และ
ลําไส้ใหญ่ โดยมีอาการร้อนจัด หน้าแดง หงุดหงิด คอแห้ง กระหายนํา้ เหงือ่ ออกมาก ความร้อนสู ง
กลัวร้อน ชีพจรใหญ่ เต้นแรงมากกว่าปกติ1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคไข้หวัดระบาด สมองอักเสบ
เยื่อหุม้ สมองอักเสบ ปอดบวม ปอดอักเสบ เลือดเป็ นพิษเนื่องจากความร้อนในชี่สูงจัด ช่องปากอักเสบ
เหงือกอักเสบ เบาหวานซึง่ เกิดจากผูป้ ่ วยมีความร้อนสูงในกระเพาะอาหาร1,3
102 ตํารับยาดับร้อน

ตํารับยา ไป๋ หูท่ งั (白虎汤)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
จิงหมี่ (粳米)
สือเกา (石膏)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
จือหมู่ (知母) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草 (炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 103

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
石膏(碎) สือเกา (ซุ่ย) ตัวยาหลัก เผ็ด เย็นมาก ระบายความร้อนในปอดและ
(เกลือจืดทุบให้แตก) อมหวาน กระเพาะอาหาร บรรเทาอาการ
ไข้รอ้ นสูง กระวนกระวาย
กระหายนํา้
知母 จือหมู่ ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อน เสริมอิน ให้
อมหวาน ความชุ่มชื้น แก้ความแห้ง
粳米 จิงหมี่ ตัวยาช่วย หวานจืด กลาง เสริมกระเพาะอาหาร ป้ องกัน
(ข้าวเจ้า) และนําพา สารนํา้
甘草(炙) ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ปรับ
กันเฉ่ า (จื้อ) และนําพา ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง)

ตํารับยานี้ประกอบด้วยสือเกาเป็ นตัวยาหลัก รสเผ็ดอมหวาน คุณสมบัตเิ ย็นมาก มีสรรพคุณ


ระบายความร้อนในเส้นลมปราณหยางหมิง จือหมู่เป็ นตัวยาเสริม ช่วยเสริมฤทธิ์ของสือเกาให้ระบาย
ความร้อนในปอดและกระเพาะอาหารได้ดยี ่งิ ขึ้น กันเฉ่ า (จื้อ) และจิงหมีเ่ ป็ นตัวยาช่วยและนําพา เมือ่ ใช้
ร่วมกันจะช่วยป้ องกันกระเพาะอาหารไม่ให้ถกู กลุม่ ยาเย็นไปทําลาย1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยาไป๋ หู่ทงั กับผูป้ ่ วยทีอ่ าการภายนอก (เปี่ ยว) ยังไม่ได้รบั การแก้ไข มีไข้ตวั ร้อนทีเ่ กิด
จากเลือดพร่อง อวัยวะภายในเย็นแท้ แต่มอี าการร้อนเทียมภายนอก1,3 ซึง่ มีอาการแสดงคือ มีอาการไข้
แต่ชอบความอบอุ่น หิวนํา้ แต่ไม่อยากดื่มนํา้ แขนขาขยับอยู่ไม่สุข แต่ผูป้ ่ วยเซื่องซึม และห้ามใช้กบั
ผูป้ ่ วยทีม่ ไี ข้เนื่องจากม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง มีเหงือ่ ลักออก และอ่อนเพลียมาก5
104 ตํารับยาดับร้อน

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาไป๋ หูท่ งั มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ระบายความร้อน ลดไข้ในกระต่าย เสริมภูมคิ มุ ้ กัน
บรรเทาอาการไข้สมองอักเสบในหนู ถบี จักร4 และกระตุน้ การดูดซึมกลูโคสเข้าเซลล์ไขมันในหลอดทดลอง6
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาไป๋ หู่ทงั มีสรรพคุณลดไข้ รักษาโรคเลือดเป็ นพิษ สงบจิตใจ บรรเทา
อาการไขข้ออักเสบ ระงับเหงือ่ แก้กระหายนํา้ ลดนํา้ ตาลในเลือดทีเ่ กิดจากการมีความร้อนสูงจัดในระบบ
ชี่ของเส้นลมปราณหยางหมิง1,3
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาไป๋ หู่ทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน].
นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2549.
4. Zhang J. Baihu Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
6. Chen CC, Hsiang CY, Chiang AN, Lo HY, Li CI. Peroxisome proliferator-activated receptor gamma transactivation-
mediated potentiation of glucose uptake by Bai-Hu-Tang. J Ethnopharmacol 2008; 118(1): 46-50.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 105

จูเ๋ ยี่ยสือเกาทัง (竹叶石膏汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน
่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
竹叶 Herba Lophatheri จูเ๋ ยีย่ 15 กรัม
石膏 Gypsum Fibrosum สือเกา 30 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis ไม่ตง 15 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 5 กรัม
半夏 (制) Rhizoma Pinelliae Praeparata ปัน้ เซีย่ (จื้อ) 9 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 3 กรัม
粳米 Semen Oryzae Nonglutinosae จิงหมี่ 15 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อน เพิม่ สารนํา้ เสริมชี่ ปรับสมดุลกระเพาะอาหาร1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการที่เกิดขึ้นภายหลังจากผูป้ ่ วยฟื้ นจากไข้ท่เี กิดจากการกระทบความเย็น หรือความ-
ร้อน หรือหวัดแดด ซึง่ พิษร้อนยังถูกกําจัดไม่หมด รวมทัง้ กลุม่ อาการของผูท้ ส่ี ู ญเสียชี่และสารนํา้ โดยมี
อาการตัวร้อน เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย ชี่พร่ อง ร้อนหงุดหงิด แน่ นหน้าอก พะอืดพะอม ปากแห้ง
กระหายนํา้ หรืออ่อนเพลีย กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ลิ้นแดงมีฝ้าน้อย ชีพจรเต้นเร็ว อ่อนแรง1,3
106 ตํารับยาดับร้อน

ตํารับยา จูเ๋ ยี่ยสือเกาทัง (竹叶石膏汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
สือเกา (石膏)
จูเ๋ ยีย่ (竹叶)

2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไม่ตง (麦冬) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 107

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร

ปัน้ เซีย่ (จื้อ) [半夏(制)] จิงหมี่ (粳米)

ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไข้หวัดใหญ่ เยื่อหุม้ สมอง


อักเสบชนิดบี เยื่อหุม้ สมองและไขสันหลังอักเสบ ปอดอักเสบ โลหิตเป็ นพิษ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็ นกลุ่ม
อาการของชี่และอินพร่องในระยะหลังของโรค1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
竹叶 จูเ๋ ยีย
่ ตัวยาหลัก จืดอมหวาน เย็น ลดไข้ บรรเทาอาการร้อนใน
(หญ้าขุยไม้ไผ่, ใบไผ่ขม) เผ็ด คอแห้ง กระหายนํา้ ขับพิษไข้
ออกทางปัสสาวะ
石膏 สือเกา ตัวยาหลัก เผ็ด เย็นมาก ระบายความร้อนในกระเพาะ-
(เกลือจืด) อมหวาน อาหาร รักษาอาการไข้รอ้ นสูง
ลดอาการกระวนกระวายและ
กระหายนํา้ สมานแผล
麦冬 ไม่ตง ตัวยาเสริม หวาน เย็น เสริมบํารุงอิน ให้ความชุ่มชื้น
อมขม เล็กน้อย แก่ปอด เสริมสร้างธาตุนาํ้ ให้
กระเพาะอาหาร ลดอาการ
กระวนกระวาย ทําให้จติ ใจ
สบาย
108 ตํารับยาดับร้อน

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


人参 เหรินเซิน ตัวยาเสริม หวานอมขม อุ่น เสริมชี่ สร้างธาตุนาํ้ บํารุง
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย หัวใจและม้าม สงบจิตใจ
半夏 (制) ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ
ปัน้ เซีย่ (จื้อ) (มีพษิ ) * ลดการไหลย้อนกลับของชี่
บรรเทาอาการคลืน่ ไส้อาเจียน
สลายเสมหะทีเ่ กาะตัวเป็ นก้อน
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ปรับ
กันเฉ่ า (จื้อ) ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้า
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) กัน
粳米 จิงหมี่ ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ปรับ
(ข้าวเจ้า) ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยจูเ๋ ยีย่ และสือเกาเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความร้อนและลดอาการ
กระวนกระวาย ตัวยาเสริม ได้แก่ เหรินเซินมีสรรพคุณเสริมชี่ ไม่ตงเสริมอินและสร้างสารนํา้ ปัน้ เซีย่ (จื้อ)
เป็ นตัวยาช่วย มีสรรพคุณลดการไหลย้อนกลับของชี่ ระงับอาเจียน ตัวยานําพาคือ กันเฉ่ า (จื้อ) และจิงหมี่
ช่วยเสริมกระเพาะอาหาร และปรับสมดุลส่วนกลางของร่างกาย (กระเพาะอาหาร ตับ ถุงนํา้ ดี และม ้าม)1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผู ป้ ่ วยที่มีความร้อนแกร่ ง หรือมีไข้สู งซึ่งมีอาการในระยะแรกของโรค
ร่างกายยังไม่ปรากฏอาการอ่อนแอ ชี่และอินยังไม่ถกู ทําลาย1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ลดนํา้ ตาลในเลือดหนู ถบี จักร4
การศึกษาทางคลินิก: ยาต้มมีสรรพคุณบํารุงร่างกายให้แข็งแรง บรรเทากลุ่มอาการชี่และอิน
พร่องในระยะหลังของโรค มีอาการเลือดออกเป็ นจํา้ ใต้ผวิ หนังเนื่องจากโลหิตเป็ นพิษ โรคหัด ปอดอักเสบ
* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 109

มีไข้ ระงับไอ ขับเสมหะ ปวดฟัน เป็ นแผลในปาก บรรเทาอาการอาเจียนที่เกิดจากเคมีบาํ บัด กระตุน้


ระบบการย่อยอาหาร และช่วยให้จติ ใจสงบ1,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาจูเ๋ ยี่ยสือเกาทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Zhang J, Wu F. Zhuye Shigao Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
110 ตํารับยาดับร้อน

ชิงอิง๋ ทัง (清营汤)


ตําราต้นตํารับ
温病条辨 เวินปิ้ งเถียวเปี้ ยน (Treatise on Differentiation and Treatment of Epidemic
Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 1798 Wu Tang (吴瑭 หวูถงั ) »2
ประกอบด้วย
水牛角 Cornu Bubali สุ่ยหนิวเจี่ยว* 30 กรัม
玄参 Radix Scrophulariae เสฺวยี นเซิน 9 กรัม
生地黄 Radix Rehmanniae เซิงตี้หวง 15 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis ไม่ตง 9 กรัม
银花 Flos Lonicerae อิน๋ ฮฺวา 9 กรัม
连翘 Fructus Forsythiae เหลียนเฉียว 6 กรัม
黄连 Rhizoma Coptidis หวงเหลียน 5 กรัม
竹叶心 Herba Lophatheri จูเ๋ ยีย่ ซิน 3 กรัม
丹参 Radix Salviae Miltiorrhizae ตันเซิน 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขับพิษร้อนจากอิง๋ ชี่ เสริมอิน ช่วยให้เลือดหมุนเวียนดี1,3

___________________________________________
* ตํารับเดิมใช้ ซีเจีย่ ว (犀角 นอแรด) 2 กรัม ปัจจุบนั ใช้ สุ่ยหนิวเจีย่ ว (水牛角 เขาควาย) 30 กรัม ทดแทน เนื่องจากแรดเป็ นสัตว์สงวน
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 111

ตํารับยา ชิงอิง๋ ทัง (清营汤)

3 เซนติเมตร
1 เซนติเมตร

สุ่ยหนิวเจี่ยว (水牛角)
112 ตํารับยาดับร้อน

2 เซนติเมตร
เสฺวยี นเซิน (玄参) 2 เซนติเมตร
เซิงตี้หวง (生地黄)

2 เซนติเมตร
ไม่ตง (麦冬)

2 เซนติเมตร
อิน๋ ฮฺวา (银花)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เหลียนเฉียว (连翘)
หวงเหลียน (黄连)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
จูเ๋ ยีย่ ซิน (竹叶心) ตันเซิน (丹参)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 113

สรรพคุณ
ใช้รกั ษาภาวะความร้อนเขา้ สู ่องิ ๋ ชี่ โดยมีไขส้ ูงตอนกลางคืน หงุดหงิด พูดเพ้อ กระวนกระวาย
นอนไม่หลับ บางครัง้ คอแห้ง ถ้าเป็ นมากจะมีเลือดออกใต้ผวิ หนังเป็ นจํา้ ๆ ลิ้นแดงคลํา้ และแห้ง ชีพจร
เร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไข้สมองอักเสบชนิดบี เยื่อหุม้ -
สมองอักเสบ โลหิตเป็ นพิษ หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ ซึง่ เกิดจากความร้อนเข้าสู่องิ ๋ ชี่1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
水牛角 สุ่ยหนิวเจี่ยว ตัวยาหลัก เค็ม
เย็น ลดพิษร้อนพิษไข้เข้ากระแสเลือด
(เขาควาย) รักษาอาการเพ้อจากไข้สูง อาเจียน
เป็ นเลือด เลือดกําเดาไหล
玄参 เสฺวยี นเซิน ตัวยาเสริม ขมอม เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
หวานเค็ม ลง ลดพิษร้อนเข้าสู่กระแสเลือด
และระบบหัวใจ เสริมอิน ขับพิษ
บรรเทาอาการท้องผูก
生地黄 เซิงตี้หวง ตัวยาเสริม หวานอม เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
(โกฐขี้แมว) ขม ลง บํารุงเลือดและอินชี่ของตับ
และไตเสริมสารนํา้
麦冬 ไม่ตง ตัวยาเสริม หวานอม เย็น เสริมบํารุงอินและทําให้ปอด
ขม เล็กน้อย ชุ่มชื้น เสริมบํารุงสารนํา้ ให้
กระเพาะอาหาร ลดอาการกระวน-
กระวาย ทําให้จติ ใจสบาย
银花 อิน๋ ฮฺวา ตัวยาช่วย อมหวาน เย็น บรรเทาหวัดจากการกระทบลม-
(ดอกสายนํา้ ผึ้ง) ร้อน ระบายความร้อน ขับพิษร้อน
แก้พษิ ฝี หนอง
114 ตํารับยาดับร้อน

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
连翘 เหลียนเฉียว ตัวยาช่วย ขม เย็น บรรเทาหวัดจากการกระทบลม-
เล็กน้อย ร้อนหรือตัวร้อนระยะแรกเริ่ม
โดยกระจายความร้อนในระบบ
หัวใจและช่วงบนของร่างกาย
ขับพิษ แก้พษิ ฝี หนอง
黄连 หวงเหลียน ตัวยาช่วย ขม เย็นมาก ระบายความร้อนของหัวใจและ
กระเพาะอาหาร
竹叶心 จูเ๋ ยีย่ ซิน ตัวยาช่วย จืดอม เย็น ลดไข้ บรรเทาอาการร้อนใน
(หญ้าขุยไม้ไผ่, หวานเผ็ด คอแห้ง กระหายนํา้ ขับพิษไข้
ใบไผ่ขม) ออกทางปัสสาวะ
丹参 ตันเซิน ตัวยานําพา ขม เย็น ช่วยให้เลือดไหลเวียน สลาย-
เล็กน้อย เลือดคัง่ ระงับปวดแน่นหน้าอก
เส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้
ประจําเดือนปกติ ทําให้เลือดเย็น
ลง สงบประสาท
ตํารับยานี้ประกอบด้วยสุ่ย หนิวเจี่ยวเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความร้อน ช่ ว ยให้
เลือดเย็นลง ขับพิษ ตัวยาเสริม ได้แก่ เสฺวยี นเซิน เซิงตี้หวง และไม่ตง มีสรรพคุณเสริมอิน ระบาย
ความร้อน ทําให้เลือดเย็นลง ตัวยาช่ วย ได้แก่ อิน๋ ฮฺวา เหลียนเฉี ยว หวงเหลียน และจู เ๋ ยี่ยซิน มี
สรรพคุณระบายความร้อน ขับพิษ กระทุง้ พิษร้อนออกสู่ภายนอก ตันเซินเป็ นตัวยานําพา ช่วยให้เลือด
หมุนเวียนดีข้นึ และกระจายเลือดคัง่ 1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยที่ล้นิ มีฝ้าขาวลืน่ ซึ่งเป็ นอาการที่เกิดจากมีความชื้นสู ง เนื่องจาก
ตํารับยานี้มสี รรพคุณเพิม่ ความชื้นให้ร่างกาย1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 115

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ลดไข้และลดพิษจากท็อกซินในกระต่ าย ต้าน
อักเสบในหนู ขาว ยับยัง้ เชื้อราและแบคทีเรียหลายชนิดในหลอดทดลอง4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณบรรเทาอาการอักเสบ ลดไข้ เพิม่ ภูมติ า้ นทาน ช่วย
ให้การทํางานของหัวใจดีข้ นึ กระตุน้ ให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีข้ นึ รักษาอาการเลือดออกใต้
ผิวหนังทีข่ ้นึ เป็ นจํา้ ๆ และช่วยห้ามเลือด4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาชิงอิง๋ ทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Liu JG, Wu F. Qing Ying Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
116 ตํารับยาดับร้อน

หวงเหลียนเจีย่ ตูท๋ งั (黄连解毒汤)


ตําราต้นตํารับ
外台秘要 ไว่ไถปี้ เอี้ยว (The Medical Secrets of an Official)1
« ค.ศ 752 Wang Tao (王焘 หวางถาว) »2
ส่วนประกอบ
黄连 Rhizoma Coptidis หวงเหลียน 9 กรัม
黄芩 Radix Scutellariae หวงฉิน 6 กรัม
黄柏 Cortex Phellodendri หวงป๋ อ 6 กรัม
栀子 Fructus Gardeniae จือจื่อ 9 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อน แก้พษิ อักเสบ1,3
สรรพคุณ
รักษาพิษไข้ พิษร้อน ไข้สูง ตัวร้อนทัง้ 3 ช่วงของร่างกาย (三焦 ซานเจียว) โดยมีอาการไข้สูง
จัด กระสับกระส่าย หวาดผวา พูดเพ้อ นอนไม่หลับ ริมฝี ปากแห้ง อาเจียนเป็ นเลือด ผิวเป็ นจํา้ ผืน่ แดง
ถ่ายเป็ นมูก เป็ นบิด มีอาการร้อนชื้น ดีซ่าน พิษฝี หนองอักเสบ ปัสสาวะสีเหลืองเขม้ ลิ้นแดงมีฝ้าเหลือง
ชีพจรเต้นเร็วและแรง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคหวัดระบาด เยื่อหุม้ สมอง
อักเสบและไขสันหลังอักเสบชนิดระบาด ผิวหนังติดเชื้อเป็ นหนอง ตับอักเสบชนิดติดเชื้อเฉี ยบพลัน
เลือดเป็ นพิษ กระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบเฉียบพลัน โรคบิดจากติดเชื้อ ติดเชื้อในระบบทางเดิน
ปัสสาวะ ถุงนํา้ ดีอกั เสบร้อนเป็ นพิษเฉียบพลัน ระบบประสาทอัตโนมัติเสียสมดุล มีอาการวัยทอง มี
อาการโรคประสาท นอนไม่หลับ ความดันเลือดสูง ช่องปากอักเสบ ปวดฟัน ประสาทของกระเพาะอาหาร
ตับ และถุงนํา้ ดีรอ้ นจัด อาการอักเสบต่าง ๆ ทีม่ เี ลือดออกหรือเป็ นโรคหัด1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 117

ตํารับยา หวงเหลียนเจีย่ ตูท๋ งั (黄连解毒汤)

2 เซนติเมตร
หวงเหลียน (黄连)
2 เซนติเมตร
หวงฉิน (黄芩)

2 เซนติเมตร
จือจื่อ (栀子) หวงป๋ อ (黄柏)
3 เซนติเมตร
118 ตํารับยาดับร้อน

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
黄连 หวงเหลียน ตัวยาหลัก ขม เย็นมาก ระบายความร้อนของหัวใจและกระเพาะ-
อาหาร
黄芩 หวงฉิน ตัวยาเสริม ขม เย็นมาก ระบายความร้อนของปอด ซึง่ อยู่ช่วงบน
ของร่างกาย
黄柏 หวงป๋ อ ตัวยาช่วย ขม เย็นมาก ระบายความร้อนซึง่ อยู่ช่วงล่างของ
และนําพา ร่างกาย
栀子 จือจื่อ ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อนทัง้ 3 ช่วงของร่างกาย
(ลูกพุด) และนําพา นําเอาความร้อนลงตํา่ และระบายออก
ตํารับยานี้ประกอบด้วยหวงเหลียนเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความร้อนในหัวใจและ
กระเพาะอาหาร หวงฉินเป็ นตัวยาเสริม ช่ว ยระบายความร้อ นในปอดและหัว ใจ หวงป๋ อช่ ว ยระบาย
ความร อ้ นซึ่ง อยู ่ส่ว นล่า งของร่า งกาย จือ จื่อ ช่ว ยระบายความร อ้ นในซานเจีย ว และขับ ออกทาง
ปัสสาวะ กันเฉ่ า (จื้อ) และจิงหมีเ่ ป็ นตัวยาช่วยและนําพา เมือ่ ใช้ตวั ยาทัง้ 4 ร่วมกันจะช่วยขจัดความ
ร้อนสูงและขจัดพิษ1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน4
ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาหวงเหลียนเจี่ยตูท๋ งั เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยที่มพี ษิ ร้อนอักเสบทัง้ 3 ช่วงของร่างกาย แต่
ร่างกายยังไม่สูญเสียสารนํา้ จึงไม่เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยมีไข้สูงจัดจนสูญเสียธาตุนาํ้ ของร่างกาย ซึง่ เนื้อลิ้น
จะเป็ นเงาและมีสแี ดงจัด1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาหวงเหลียนเจีย่ ตูท๋ งั มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ลดไข้ในกระต่าย หนู ขาว และหนู ถบี จักร เพิม่
ความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด ระงับปวด ต้านอักเสบ แก้บดิ แก้ทอ้ งเสีย และเพิ่มการดูดซึมของ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 119

ลําไส้เล็กหนู ถีบจักร ลดความดันเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมอง และรักษาแผลใน


กระเพาะอาหารหนู ขาว4 ช่วยให้ลดภาวะไขมันในเลือดสูงในหนู ขาว5 ลดนํา้ ตาลในเลือดหนู ขาวทีช่ กั นําให้
เป็ นเบาหวานชนิดไม่พง่ึ พาอินซูลนิ 6,7 ปกป้ องเนื้อเยือ่ บุโพรงหลอดเลือดหนู ขาวจากภาวะเบาหวานชนิดไม่
พึง่ พาอินซูลนิ 8 ช่วยพัฒนาการเรียนรูแ้ ละความจําในหนู ขาวทีช่ กั นําให้เป็ นโรคอัลไซเมอร์9 การศึกษาใน
หนู ถบี จักรทีช่ กั นําให้สมองขาดเลือดพบว่า ตํารับยาหวงเหลียนเจี่ยตูท๋ งั มีฤทธิ์ปกป้ องระบบประสาท10 และ
ลดความบกพร่องของการเรียนรูแ้ ละความจํา11
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาหวงเหลียนเจี่ยตูท๋ งั มีสรรพคุณต้านอักเสบ ระบายความร้อน
ต้านเชื้อโรคทีท่ าํ ให้เกิดพิษ ปรับการไหลเวียนของนํา้ ในถุงนํา้ ดี ห้ามเลือด ขับปัสสาวะ และลดความดัน
เลือด1,3,4 ตํารับยานี้ยงั ช่วยให้อาการผิดปกติของระบบประสาทในผูป้ ่ วยโรคหลอดเลือดสมองทีม่ ภี าวะ
หยางแกร่งดีข้นึ 12
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาหวงเหลียนเจี่ยตูท๋ งั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Zhang J, Zhao XX, Wu F. Huanglian Jiedu Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in
traditional Chinese medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Jin J, Zhang Y, Hu WX, Zhang ZY, Xu NN, Zhou QL. Effects of Huanglian Jiedu Decoction on blood lipid
metabolism and its related gene expressions in rats with hyperlipidemia. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2010; 8(3):
275-9.
6. Jin D, Lu FE, Chen G, Sun H, Lu XH. Effects of Huanglian Jiedu Decoction on phosphatidylinositol-3-kinase
expression in target tissues of type 2 diabetic rats. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2007; 5(5): 541-5.
7. Chen G, Lu FE, Xu LJ. Effects of Huanglian Jiedu Decoction on glucose transporter 4 in target tissues of type 2
diabetic rats. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2007; 5(4): 412-5.
8. Xiao YL, Lu FE, Xu LJ, Leng SH, Wang KF. Protective effects of Huanglian Jiedu decoction on vascular endothelial
function in type 2 diabetic rats. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2005; 30(22): 1767-70.
9. Fang Q, Zhan XP, Mo JL, Sun M. The effect of huanglian jiedu tang on Alzheimer's disease and its influence on
cytokines. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2004; 29(6): 575-8.
10. Zhang Q, Ye YL, Yan YX, Zhang WP, Chu LS, Wei EQ, Yu YP. Protective effects of Huanglian-Jiedu-Tang on
chronic brain injury after focal cerebral ischemia in mice. Zhejiang Da Xue Xue Bao Yi Xue Ban 2009; 38(1): 75-80.
11. Xu J, Murakami Y, Matsumoto K, Tohda M, Watanabe H, Zhang S, Yu Q, Shen J. Protective effect of Oren-gedoku-
to (Huang-Lian-Jie-Du-Tang) against impairment of learning and memory induced by transient cerebral ischemia in
mice. J Ethnopharmacol 2000; 73(3): 405-13.
120 ตํารับยาดับร้อน

เต่าเช่อส่าน (导赤散)
ตําราต้นตํารับ
小儿药证直诀 เสีย่ วเอ๋อร์เย่าเจิ้งจือ๋ จฺเหวีย (Key to Therapeutics of Children’s
Diseases)1
« ค.ศ. 1114 Qian Yi (钱乙 เฉียนอี่) »2
ประกอบด้วย
生地黄 Radix Rehmanniae เซิงตี้หวง 18 กรัม
木通 Caulis Akebiae มูท่ ง 12 กรัม
淡竹叶 Herba Lophatheri ตัน้ จูเ๋ ยีย่ 12 กรัม
生甘草 Radix Glycyrrhizae เซิงกันเฉ่ า 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
เสริมอิน ระบายความร้อนของหัวใจ สลายนิ่ว ขับปัสสาวะ1,3
สรรพคุณ
ลดความร้อนที่หวั ใจ โดยมีอาการร้อนบริเวณหน้าอกหรือหัวใจ หรือมีอาการกระวนกระวาย
หน้าแดง คอแห้ง กระหายนํา้ มีความรูส้ กึ อยากดื่มนํา้ เย็นมาก ปากหรือลิ้นเป็ นแผล หรือลดความร้อนที่
เคลือ่ นย้ายจากหัวใจสู่ลาํ ไส้เล็ก โดยมีอาการปัสสาวะขัดหรือปวดแสบ ปัสสาวะเขม้ หรือมีสแี ดง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีก่ ารควบคุมประสาทอัตโนมัติ
ผิดปกติ ช่องปากอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ และนอนไม่หลับ1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 121

ตํารับยา เต่าเช่อส่าน (导赤散)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
มูท่ ง (木通) เซิงตี้หวง (生地黄)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ตัน้ จูเ๋ ยีย่ (淡竹叶) เซิงกันเฉ่ า (生甘草)
122 ตํารับยาดับร้อน

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
生地黄 เซิงตี้หวง ตัวยาหลัก หวานเย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
(โกฐขี้แมว) อมขม ลง บํารุงเลือดและอินชี่ของตับ
และไต เสริมสารนํา้
木通 มูท่ ง ตัวยาเสริม ขม เย็น ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ช่วยให้เลือด
ไหลเวียนดี ขับนํา้ นม
淡竹叶 ตัน้ จูเ๋ ยีย่ ตัวยาช่วย จืดอม เย็น ลดไข้ บรรเทาอาการร้อนใน
(หญ้าขุยไม้ไผ่, และนําพา หวานเผ็ด คอแห้ง กระหายนํา้ ขับพิษไข้
ใบไผ่ขม) ออกทางปัสสาวะ
生甘草 เซิงกันเฉ่ า ตัวยาช่วย อมหวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
(ชะเอมเทศ) และนําพา อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยเซิงตี้หวงเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความร้อน เสริมอินและทําให้
เลือดเย็นลง มู่ทงเป็ นตัวยาเสริม มีสรรพคุณลดความร้อนที่หวั ใจ ขับปัสสาวะ ตัวยาช่ วยและนําพา
ได้แก่ ตัน้ จูเ๋ ยี่ยขับความร้อนและลดอาการกระวนกระวายทีห่ วั ใจ นําความร้อนลงสู่ส่วนล่างของร่างกาย
และขับออกทางปัสสาวะ เซิงกันเฉ่ าระบายพิษร้อน บรรเทาปวด และปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ประกอบด้วยมูท่ งซึง่ มีคุณสมบัตเิ ย็นมาก ควรระวังการใช้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ ้ามและกระเพาะ-
อาหารพร่องและอ่อนแอ1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 123

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึ กษาทางคลินิก : ตํารับยานี้มีสรรพคุณรักษาโรคช่ องปากอัก เสบ อาการคอแห้ง
กระสับกระส่าย โรคคางทูม โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หนองใน และ
ลมพิษ1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาเต่าเช่อส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-
จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Liu JG, Wang X, Wu F. Dao Chi San. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
124 ตํารับยาดับร้อน

หลงต่านเซี่ยกานทัง (龙胆泻肝汤)
ตําราต้นตํารับ
医方集解 อีฟางจีเ๋ จี่ย (Collection of Prescriptions with Notes)1
« ค.ศ. 1682 Wang Mao (汪昴 หวางม่าว) »2
ประกอบด้วย
龙胆草 (酒炒) Radix Gentianae หลงต่านเฉ่ า 6 กรัม
(parched with wine) (จิ่วเฉ่ า)
黄芩 (酒炒) Radix Scutellariae หวงฉิน (จิ่วเฉ่ า) 9 กรัม
(parched with wine)
栀子 (酒炒) Fructus Gardeniae จือจื่อ (จิว่ เฉ่ า) 9 กรัม
(parched with wine)
泽泻 Rhizoma Alismatis เจ๋อเซีย่ 12 กรัม
木通 Caulis Akebiae มูท่ ง 9 กรัม
车前子 Semen Plantaginis เชอเฉียนจื่อ 9 กรัม
当归 (酒洗) Radix Angelicae ตังกุย (จิว่ สี)่ 3 กรัม
Sinensis
(washed with wine)
生地黄 (酒炒) Radix Rehmanniae เซิงตี้หวง (จิว่ เฉ่ า) 9 กรัม
(parched with wine)
柴胡 Radix Bupleuri ไฉหู 6 กรัม
生甘草 Radix Glycyrrhizae เซิงกันเฉ่ า 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อนแกร่งของตับและถุงนํา้ ดี ลดความร้อนชื้นบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ตัง้ แต่
ใต้สะดือลงมาจนถึงท้องน้อย ตลอดจนถึงอวัยวะเพศ1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 125

สรรพคุณ
รักษาภาวะตับและถุงนํา้ ดีมคี วามร้อนแกร่ง ทําให้รบกวนส่วนบนของร่างกาย หรือเส้นลมปราณ
ตับมีความร้อนชื้น ทําให้ความร้อนชื้นลงสู่ส่วนล่างของร่างกาย โดยมีอาการปวดศีรษะ ตาแดง เจ็บชาย
โครง ปากขม หูตึง หูอกั เสบ หรือมีอาการบวมคันที่อวัยวะเพศ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และมีเหงือ่
ออกตามอวัยวะเพศ ปัสสาวะขุน่ สตรีมรี ะดูขาว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยความดันเลือดสูง การทํางาน
ของประสาทอัตโนมัตผิ ดิ ปกติ หูชนั้ กลางและเยื่อนัยน์ตาอักเสบเฉียบพลัน รักษาฝี หนองทีโ่ พรงจมูกส่วนบน
และหูชนั้ กลาง ถุงนํา้ ดีและตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ งูสวัด ลูกอัณฑะและถุง
อัณฑะมีผน่ื คันและอักเสบเฉียบพลัน ต่อมลูกหมากหรืออุง้ เชิงกรานหรือช่องคลอดอักเสบเฉียบพลัน1,3

ตํารับยา หลงต่านเซี่ยกานทัง (龙胆泻肝汤)


126 ตํารับยาดับร้อน

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
หลงต่านเฉ่ า (龙胆草) หวงฉิน (黄芩)

3 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
จือจื่อ (栀子) เจ๋อเซีย่ (泽泻)

2 เซนติเมตร
เชอเฉียนจื่อ (车前子)
2 เซนติเมตร
มูท่ ง (木通)

5 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ตังกุย (当归) เซิงตี้หวง (生地黄)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 127

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ไฉหู (柴胡) เซิงกันเฉ่ า (生甘草)

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
龙胆草 (酒炒) ตัวยาหลัก ขม เย็นมาก ระบายความร้อนแกร่งของตับและ
หลงต่านเฉ่ า (จิ่วเฉ่ า) ถุงนํา้ ดี บรรเทาอาการปวดศีรษะ
ตาแดง หูอ้ อื เจ็บชายโครง ขับ
ความร้อนชื้นของส่วนล่างของ
ร่างกาย บรรเทาอาการอักเสบบริเวณ
อวัยวะเพศ ปัสสาวะสีเข้มจัด
黄芩 (酒炒) ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อนชื้น ขับพิษร้อน
หวงฉิน (จิ่วเฉ่ า) ช่วยให้เลือดเย็นลงและห้ามเลือด
栀子 (酒炒) ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อนชื้น ทําให้เลือดเย็น
จือจื่อ (จิ่วเฉ่ า) ลง ขับพิษ ลดอักเสบ
(ลูกพุดผัดเหล ้า)
泽泻 เจ๋อเซีย ่ ตัวยาช่วย จืด เย็น ขับปัสสาวะ ขับความชื้น ระบาย
และนําพา อมหวาน ความร้อน
木通 มูท่ ง ตัวยาช่วย ขม เย็น ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ช่วยให้เลือด
และนําพา ไหลเวียนดี ขับนํา้ นม
车前子 เชอเฉียนจื่อ ตัวยาช่วย อมหวาน เย็น ขับปัสสาวะ ระบายความชื้น ผ่อน
และนําพา คลายระบบตับ
128 ตํารับยาดับร้อน

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


当归 (酒洗) ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียน
ตังกุย (จิว่ สี)่ และนําพา อมเผ็ด ดี ลดบวม ระงับปวด
生地黄 (酒炒) ตัวยาช่วย หวาน เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
เซิงตี้หวง (จิว่ เฉ่ า) และนําพา อมขม ลง บํารุงเลือดและอินชี่ของตับ
(โกฐขี้แมวผัดเหล ้า) และไต เสริมสารนํา้
柴胡 ไฉหู ตัวยานําพา ขม เย็น ขับกระจายลดไข้ ผ่อนคลาย
อมเผ็ด เล็กน้อย ระบบตับ ช่วยให้หยางชี่ข้นึ สู่
ส่วนบนของร่างกาย คลายเครียด
生甘草 เซิงกันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
(ชะเอมเทศ) อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้า
กัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยหลงต่านเฉ่ า (จิ่วเฉ่ า) เป็ นตัวยาหลัก มีรสขมและเย็นมาก มีสรรพคุณ
ระบายความร้อนแกร่งของตับและถุงนํา้ ดี ขับความร้อนชื้นบริเวณส่วนล่างของร่างกาย ตัง้ แต่ใต้สะดือลง
มาจนถึงท้องน้อย ตัวยาเสริม ได้แก่ หวงฉิน (จิ่วเฉ่ า) และจือจื่อ (จิ่วเฉ่ า) มีสรรพคุณช่วยระบายความ
ร้อนแกร่งของตับและถุงนํา้ ดี ตัวยาช่วยและนําพา ได้แก่ เจ๋อเซีย่ มูท่ ง และเชอเฉียนจื่อ มีสรรพคุณ
ระบายความร้อน ขับความชื้น ทําให้ความร้อนชื้นถูกขับออกทางปัสสาวะ เซิงตี้หวง (จิ่วเฉ่ า) และตังกุย
(จิ่วสี่) ช่วยเสริมอิน บํารุงเลือด ผ่อนคลายระบบตับ ตัวยานําพา ได้แก่ ไฉหูช่วยกระจายชี่ของตับและ
ถุงนํา้ ดีไม่ให้ตดิ ขัด และช่วยนําพาตัวยาต่าง ๆ เข้าสู่ตบั และถุงนํา้ ดี ส่วนเซิงกันเฉ่ าช่วยปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน เพือ่ ไม่ให้ความขมและเย็นจัดไปทําร้ายกระเพาะอาหาร1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน ยาเม็ด4
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 129

ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้เป็ นเวลานาน เนื่องจากตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาที่มรี สขมและเย็นเป็ น
ส่วนใหญ่ จึงทําลายชี่ของกระเพาะอาหารได้ง่าย และควรระมัดระวังการใช้กบั ผูป้ ่ วยที่กระเพาะอาหาร
และม้ามพร่อง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: เมือ่ ให้ยาต้มทางปากหนู ถบี จักรและหนู ขาว ขนาดเทียบเท่าผงยา 10
และ 20 กรัม/กิโลกรัม ตามลําดับ พบว่ามีฤทธิ์ตา้ นอักเสบ และยาต้มขนาดเทียบเท่าผงยา 50 กรัม/
กิโลกรัม มีฤทธิ์เสริมและปรับสมดุลของระบบภูมคิ ุม้ กันในหนู ถบี จักร เมือ่ ฉีดยาต้มเข้าหลอดเลือดดํา
แมว ขนาดเทียบเท่าผงยา 1 กรัม/กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์ลดความดันเลือด และพบว่าความแรงในการ
ออกฤทธิ์ลดความดันเลือดในหนู ขาวและกระต่ายจะสัมพันธ์กบั ขนาดยาทีใ่ ห้ นอกจากนี้ยงั พบว่ายาต้ม
มีฤทธิ์ตา้ นเชื้อจุลนิ ทรีย4์ และต้านเชื้อไวรัสเริม5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณระบายความร้อน สงบจิตใจ บรรเทาอาการอักเสบ
ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต บรรเทาอาการตับและถุงนํา้ ดีอกั เสบ และห้ามเลือด4 มีรายงานว่าการใช้
ตํารับยานี้โดยมีนาํ้ หนักของตัวยาไฉหู มากกว่า 19 กรัม ในผูป้ ่ วยตับอักเสบจากไวรัสชนิดบี อาจเพิ่ม
ความเสีย่ งทีจ่ ะทําให้เกิดการบาดเจ็บทีต่ บั 6
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ให้ยาต้มทางปากหนู ถบี จักรในขนาดเทียบเท่าผงยา 26 กรัม/
กิโลกรัม พบว่าหนู ถบี จักรมีอาการสงบและมีการเคลือ่ นไหวน้อยลง และจะกลับคืนสู่สภาพปกติภายใน
24 ชัว่ โมง ไม่พบหนู ถบี จักรตัวใดตายภายใน 3 วัน เมือ่ ฉีดยาต้มเข้าหลอดเลือดดําหนู ถบี จักร พบว่า
ขนาดยาต้มเทียบเท่าผงยาที่ทาํ ให้หนู ถบี จักรตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ 72 กรัม/กิโลกรัม4
นอกจากนี้ มีรายงานว่ามักตรวจพบสาร aristolochic acid ที่มคี วามเป็ นพิษต่อไตในตํารับยานี้ใน
ท้องตลาด9 และพบว่าตํารับยานี้มคี วามเป็ นพิษต่อไตในหนู ขาว7,8 ทัง้ นี้เกิดจากความสับสนในการใช้ตวั
ยามูท่ ง โดยหากใช้ผดิ เป็ นตัวยา กวนมูท่ ง (关木通 Aristolochiae Manshuriensis Caulis) ก็จะเกิด
ความเป็ นพิษได้7-9
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
130 ตํารับยาดับร้อน

3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาหลงต่านเซี่ยกานทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์


ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Liu JG, Wang X. Long Dan Xie Gan Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Cheng HY, Huang HH, Yang CM, Lin LT, Lin CC. The in vitro anti-herpes simplex virus type-1 and type-2 activity
of Long Dan Xie Gan Tan, a prescription of traditional Chinese medicine. Chemotherapy 2008; 54(2): 77-83.
6. Lee CH, Wang JD, Chen PC. Risk of liver injury associated with Chinese herbal products containing radix bupleuri in
639,779 patients with hepatitis B virus infection. PLoS One 2011; 6(1): e16064.
7. Hsieh SC, Lin IH, Tseng WL, Lee CH, Wang JD. Prescription profile of potentially aristolochic acid containing
Chinese herbal products: an analysis of National Health Insurance data in Taiwan between 1997 and 2003. Chin Med
2008; 3: 13.
8. Zhang N, Xie M. The nephrotoxicity in rats caused by Longdan Xiegan decoction. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi
2006; 31(10): 836-9.
9. Zhang N, Xie M. Nephrotoxicity of Aristolochia manshriensis and Longdan Xiegan decoction. Zhongguo Zhong Yao
Za Zhi 2007; 32(7): 619-22.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 131

เซี่ยไป๋ ส่าน (泻白散)


ตําราต้นตํารับ
1
่ วเอ๋อร์เย่าเจิ้งจือ๋ จฺเหวีย (Key to Therapeutics of Children Diseases)
小儿药证直诀 เสีย
« ค.ศ. 1114 Qian Yi (钱乙 เฉียนอี)่ »2
ส่วนประกอบ
桑白皮 Cortex Mori Radicis ซังไป๋ ผี 30 กรัม
地骨皮 Cortex Lycii Radicis ตี้กู่ผี 30 กรัม
甘草(炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 3 กรัม

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผง ใส่จงิ หมี่ (ข้าวเจ้า) เล็กน้อย และเติมนํา้ 2 ถ้วย ต้มจนเหลือนํา้
2 ใน 3 ส่วน แล ้วแบ่งรับประทานก่อนอาหาร วันละ 3 ครัง้ 1
การออกฤทธิ์
ระบายและขับความร้อนของปอด ระงับไอ บรรเทาอาการหอบ1
สรรพคุณ
ใช้รกั ษาอาการไอ หอบ เนื่องจากปอดร้อน รูส้ กึ ตัวร้อนผ่าวที่ผวิ หนังช่วงบ่ายถึงเย็น ลิ้นแดงมี
ฝ้ าเหลือง ชีพจรเล็กและเร็ว1
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคหลอดลมอักเสบ พิษร้อน
และปอดอักเสบทีม่ สี าเหตุจากโรคหัด อาการไอและหอบทีม่ สี าเหตุจากปอดร้อนในผูป้ ่ วยวัณโรคปอด1
132 ตํารับยาดับร้อน

ตํารับยา เซี่ยไป๋ ส่าน (泻白散)

2 เซนติเมตร
ซังไป๋ ผี (桑白皮)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ตี้กู่ผี (地骨皮) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草 (炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 133

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
桑白皮 ซังไป๋ ผี ตัวยาหลัก อมหวาน เย็น ระบายความร้อนในปอด บรรเทา
(เปลือกรากหม่อน) อาการหอบ ระบายนํา้ ลดอาการ
บวม
地骨皮 ตี้กู่ผี ตัวยาเสริม จืด เย็น ระบายและขับความร้อนทีห่ ลบ
อมหวาน อยู่ภายในปอด หรือความร้อนที่
เกิดจากอินพร่อง
甘草(炙) ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ระบาย
กันเฉ่ า (จื้อ) และนําพา ความร้อน ขับพิษ แก้ไอ ขับ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) เสมหะ แก้ปวด ปรับประสานยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยซังไป๋ ผเี ป็ นตัวยาหลัก รสอมหวาน คุณสมบัติเย็น มีสรรพคุณระบาย
ความร้อนในปอด ตี้กู่ผเี ป็ นตัวยาเสริม ช่วยระบายและขับความร้อนที่หลบอยู่ภายในปอด กันเฉ่ า (จื้อ)
และจิงหมีเ่ ป็ นตัวยาช่วยและนําพา เมือ่ ใช้ร่วมกันสามารถบํารุงกระเพาะอาหาร และเสริมการทํางานของ
ม้ามและปอดเพือ่ ให้ช่ขี องปอดแข็งแรง1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง3
ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาเซี่ยไป๋ ส่านไม่เหมาะกับผูป้ ่ วยที่มอี าการไอและหอบที่มสี าเหตุจากการกระทบลมหนาว
ภายนอก หรืออ่อนแอเนื่องจากหยางพร่อง กลัวหนาว1
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเซี่ยไป๋ ส่าน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางคลินิก: เมือ่ ให้ผูป้ ่ วยโรคไอร้อยวันรับประทานตํารับยาเซีย่ ไป๋ ส่านติดต่อกัน 4-8
วัน ผูป้ ่ วยจะมีอาการดีข้นึ มาก หรือบางรายหายเป็ นปกติ และเมือ่ ให้ผูป้ ่ วยเด็กโรคปอดอักเสบรับประทาน
134 ตํารับยาดับร้อน

ยาโดยปรับเปลีย่ นสู ตร พบว่าได้ผลการรักษาเป็ นที่น่าพอใจ นอกจากนี้ยงั พบว่าตํารับยาเซี่ยไป๋ ส่าน


ใหผ้ ลดีสาํ หรับการรัก ษาโรคและอาการต่าง ๆ ไดแ้ ก่ หลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน อาการหอบ
เนื่องจากหลอดลมอักเสบ อาการไอ ไข้ตาํ ่ ในผูป้ ่ วยวัณโรค ปอดอักเสบในเด็กทีม่ สี าเหตุจากอินของปอด
พร่อง3
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. Liu JG, Wu F. Xiebai san. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 135

เซี่ยหวงส่าน (泻黄散)
ตําราต้นตํารับ
小儿药证直诀 เสีย
่ วเอ๋อร์เหย้าเจิ้งจือ๋ จฺเหวีย (Key to Therapeutics of Children
1
Diseases)
« ค.ศ. 1114 Qian Yi (钱乙 เฉียนอี)่ »2
ส่วนประกอบ
石膏 Gypsum Fibrosum สือเกา 15 กรัม
栀子 Fructus Gardeniae จือจื่อ 6 กรัม
防风 Radix Saponshnikoviae Divaricatae ฝางเฟิ ง 120 กรัม
藿香 Herba Agastaches seu Pogostemi ฮัว่ เซียง 21 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 90 กรัม

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผง แลว้ ผัดกับนํา้ ผึ้งผสมเหลา้ จนกระทัง่ ผงยามีกลิ่นหอมหวาน
รับประทานครัง้ ละ 3-6 กรัม หรือเตรียมเป็ นยาต้มโดยปรับลดนํา้ หนักยาลงตามสัดส่วน1,3
การออกฤทธิ์
ระบายและขับความร้อนของม้ามและกระเพาะอาหาร1,3
สรรพคุณ
ใช้รกั ษาไข้รอ้ นจัดที่มสี าเหตุจากมา้ มและกระเพาะอาหาร โดยมีอาการร้อนใน ปากเป็ นแผล มี
กลิน่ กระวนกระวาย กระหายนํา้ หิวบ่อย ริมฝี ปากแห้ง ลิ้นแดง ชีพจรเต้นเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยเด็กที่ปากเป็ นแผลเรื้อรัง โรค
ทราง ชอบแลบลิ้นบ่อย โรคอืน่ ๆ ทีม่ สี าเหตุจากม้ามและกระเพาะอาหารมีความร้อนสูง1,3
136 ตํารับยาดับร้อน

ตํารับยา เซี่ยหวงส่าน (泻黄散)

2 เซนติเมตร
จือจื่อ (栀子)

2 เซนติเมตร
สือเกา (石膏)

2 เซนติเมตร
ฝางเฟิ ง (防风)

2 เซนติเมตร
ฮัว่ เซียง (藿香) 2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草 (炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 137

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
石膏 สือเกา ตัวยาหลัก เผ็ด เย็นจัด ระบายความร้อน ลดอาการไข้ร้อน
(เกลือจืด) อมหวาน สูง กระวนกระวาย กระหายนํา้
栀子 จือจื่อ ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายความร้อน เสริมความชื้น
(ลูกพุด) ทําให้เลือดเย็นลง แก้พษิ อักเสบ
防风 ฝางเฟิ ง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยกระทุง้ ไข้หวัดจากการกระทบ
อมหวาน เล็กน้อย ลมภายนอก
藿香 ฮัว่ เซียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น สลายความชื้น ระบายความร้อน
(พิมเสน) ระงับอาเจียน
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน กลาง บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
(ชะเอมเทศ) ค่อนข้างเย็น อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
เล็กน้อย ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ สือเกามีสรรพคุณระบายความร้อนสู งในกระเพาะ-
อาหารและเส้นลมปราณหยางหมิง จือจื่อช่วยขับระบายความร้อนสู งที่อยู่ในซานเจียวออกทางปัสสาวะ
ฝางเฟิ งเป็ นตัวยาเสริม ช่ว ยขับระบายความร้อนในเส้นลมปราณมา้ ม เมือ่ ใช้ร่วมกับจือจื่อ สามารถขับ
ระบายความร้อนทัง้ ขึ้นบนและลงล่าง ฮัว่ เซียงมีกลิ่นหอม เป็ นตัวยาช่วย มีสรรพคุณแก้ง่วง ปรับการ
ไหลเวียนชี่ของม้ามและกระเพาะอาหาร และช่วยให้การทํางานของจงเจียวดีข้นึ รวมทัง้ ช่วยเพิม่ ฤทธิ์ฝาง-
เฟิ งแรงขึ้น กระจายความร้อนของม้ามและกระเพาะอาหาร กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ช่วยขับพิษร้อน ปรับ
สมดุลส่วนกลาง และปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน เพือ่ ช่วยให้ฤทธิ์ระบายความร้อนในม้ามโดยไม่
ทําลายม ้าม1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยาเซีย่ หวงส่านกับผูป้ ่ วยทีอ่ นิ ของกระเพาะอาหารพร่อง และชอบแลบลิ้นเนื่องจากชี่
พร่องแต่กาํ เนิด5
138 ตํารับยาดับร้อน

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเซี่ยหวงส่าน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาเซีย่ หวงส่านมีฤทธิ์ตา้ นอักเสบในหนู ถบี จักร1,4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาเซีย่ หวงส่านมีสรรพคุณลดไข้ บรรเทาอาการอักเสบ สงบจิตใจ
่ า้ ย่อยและช่วยย่อยอาหาร1,3,4
ขับปัสสาวะ เพิม่ การหลังนํ
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน. ตํารับยาเซี่ยหวงส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Wang X. Xiehuang San. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 139

ชิงเว่ยส์ า่ น (清胃散)
ตําราต้นตํารับ
兰室秘藏 หลานสือมีฉ่ าง (Secret Record of the Chamber of Orchid)1
« ค.ศ 1249 Li Dongyuan (李东垣 หลีต่ งเหวียน) »2
ส่วนประกอบ
黄连 Rhizoma Coptidis หวงเหลียน 3 กรัม
地黄 Radix Rehmanniae ตี้หวง 12 กรัม
丹皮 Cortex Moutan Radicis ตันผี 9 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 6 กรัม
升麻 Rhizoma Cimicifugae เซิงหมา 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อนในกระเพาะอาหาร ทําให้เลือดเย็นลง1,3
สรรพคุณ
รักษากระเพาะอาหารมีพษิ ร้อนสะสม โดยมีอาการปวดฟันร้าวไปจนถึงศีรษะ รูส้ กึ ร้อนบริเวณ
ใบหน้า กลัวร้อน ชอบเย็น หรือเหงือกเป็ นแผล มีหนอง หรือเหงือกบวม อักเสบ เลือดออกตามไรฟัน
หรือริมฝี ปาก ลิ้นบริเวณกรามบวม เจ็บ หรือปากร้อน เหม็น ปากและลิ้นแห้ง ลิ้นแดง มีฝ้าเหลือง ชีพจร
ลืน่ ใหญ่และเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคเหงือกอักเสบ ช่ องปาก
อักเสบ เหงือกบวม เป็ นหนอง ลิ้นอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบเนื่องจากกระเพาะอาหารร้อนจัด1,3
140 ตํารับยาดับร้อน

ตํารับยา ชิงเว่ยส์ า่ น (清胃散)

2 เซนติเมตร
หวงเหลียน (黄连)

ตันผี (丹皮) 2 เซนติเมตร


22เซนติเมตร
ตี้หวง (地黄)

5 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
ตังกุย (当归) เซิงหมา (升麻)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 141

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
黄连 หวงเหลียน ตัวยาหลัก ขม เย็นมาก ระบายความร้อนทีห่ วั ใจและกระเพาะ-
อาหาร
地黄 ตี้หวง ตัวยาเสริม หวาน เย็น ระบายความร้อนในเลือด ช่วยให้เลือด
(โกฐขี้แมว) อมขม เย็นลง บํารุงสารนํา้
丹皮 ตันผี ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด ขับความ
(เปลือกรากโบตัน)๋ อมเผ็ด เล็กน้อย ร้อนทีห่ ลบอยู่ในเลือด
当归 ตังกุย ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น บํารุงเลือด ช่ ว ยให้เ ลือ ดไหลเวียน
(โกฐเชียง) อมหวาน ดีข้นึ ลดบวม แก้ปวด
升麻 เซิงหมา ตัวยานําพา เผ็ด เย็น กระจายความร้อนและขับพิษ นําตัวยา
อมหวาน เล็กน้อย ทุกตัวเข้าสู่แหล่งเกิดโรค
ตํารับยานี้ประกอบด้วยหวงเหลียนเป็ นตัวยาหลัก รสขม คุณสมบัตเิ ย็นมาก มีสรรพคุณระบาย
ความร้อนที่หวั ใจและกระเพาะอาหาร ตัวยาเสริม ได้แก่ ตี้หวงและตันผีมสี รรพคุณระบายความร้อนใน
เลือด ช่วยให้เลือดเย็นลง และเสริมอิน ตังกุยเป็ นตัวยาช่วย ช่วยบํารุงเลือด ช่ ว ยให้เ ลือ ดไหลเวียนดี
ขึ้น ลดบวม และระงับปวด เซิงหมาช่วยกระจายความร้อน ขับพิษ และนําพาตัวยาทัง้ หมดในตํารับเข้าสู่
แหล่งเกิดโรค เมื่อใช้ร่วมกับตัวยาอื่นในตํารับจะช่ วยระบายความร้อนของกระเพาะอาหารและทําให้
เลือดเย็นลง1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง ยาต้ม4
ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ไม่เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ อี าการปวดฟันเนื่องจากกระทบลมหนาว และอาการร้อนใน
จากอินพร่อง ธาตุนาํ้ น้อย ร้อนอักเสบมากแล ้วทําให้ปวดฟัน1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาชิงเว่ยส์ า่ น มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
142 ตํารับยาดับร้อน

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ตา้ นอักเสบในหนู ขาวและหนู ถบี จักร และเสริม


ภูมคิ มุ ้ กันในไก่4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาชิงเว่ยส์ ่านมีสรรพคุณฆ่าเชื้อ ต้านอักเสบ ห้ามเลือด ลดไข้ แก้
ปวด สงบประสาท และช่วยให้เลือดไหลเวียนดีข้นึ 1,3,4
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ใหส้ ารสกัดนํา้ ทางปากหนู ถบี จักรขนาดเทียบเท่าผงยา 108
กรัม/กิโลกรัม พบว่าไม่มหี นู ถบี จักรตัวใดตายภายใน 3 วัน4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาชิงเว่ยส์ ่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพร
จีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2549.
4. Wang X. Qingwei San. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 143

ยฺว่นี ฺ หวี่เจียน (玉女煎)


ตําราต้นตํารับ
景岳全书 จิ่งเยฺวย่ี ฉวนซู (Jing Yue’s Complete Works)1
« ค.ศ. 1624 Zhang Jingyue (张景岳 จางจิ่งเยฺวย่ี ) »2
ส่วนประกอบ
石膏 Gypsum Fibrosum สือเกา 30 กรัม
熟地黄 Radix Rehmanniae Praeparata สูต้ หี วง 30 กรัม
(酒蒸)
(จิ่วเจิง)
知母 Rhizoma Anemarrhenae จือหมู่ 4.5 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis Japonici ไม่ตง 6 กรัม
牛膝 Radix Achyranthis Bidentatae หนิวซี 4.5 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ ดืม่ ตอนอุ่นหรือตอนเย็นก็ได้1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อนของกระเพาะอาหาร เสริมสารนํา้ เสริมอิน1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะกระเพาะอาหารร้อนและมีสารนํา้ น้อย (อินพร่อง) โดยมีอาการปวดศีรษะ ปวดเหงือก
และฟัน หรือฟันโยก อึดอัด ร้อน คอแห้ง กระหายนํา้ ลิ้นแดงและแห้ง มีฝ้าเหลืองและแห้ง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคฟันอักเสบ เหงือกบวม เป็ น
หนอง ช่องปากอักเสบเฉียบพลัน ลิ้นอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ซึ่งโรคเหล่านี้ลว้ นเป็ นกลุ่ม
อาการกระเพาะอาหารร้อนและสารนํา้ น้อยจากไตอินพร่อง1,3
144 ตํารับยาดับร้อน

ตํารับยา ยฺว่นี ฺหวี่เจียน (玉女煎)

3 เซนติเมตร
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) [熟地黄(酒蒸)]

2 เซนติเมตร
สือเกา (石膏)
2 เซนติเมตร
ไม่ตง (麦冬)

2 เซนติเมตร
หนิวซี (牛膝) 2 เซนติเมตร
จือหมู่ (知母)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 145

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
石膏 สือเกา ตัวยาหลัก เผ็ด เย็นจัด ระบายความร้อนรักษาอาการไข้
(เกลือจืด) อมหวาน ร้อนสูง ลดอาการกระวนกระวาย
กระหายนํา้ และสมานแผล
熟地黄(酒蒸) ตัวยาเสริม หวาน อุ่น บํารุงสารนํา้ ของไต (เส้าอิน)
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) เล็กน้อย เสริมตัวยาสือเการะบายความ
(โกฐขี้แมวนึ่งเหล ้า) ร้อนและบํารุงสารนํา้
知母 จือหมู่ ตัวยาช่วย ขม เย็น ให้ความชุ่มชื้น เสริมตัวยาสือเกา
ระบายความร้อนในกระเพาะ-
อาหาร
麦冬 ไม่ตง ตัวยาช่วย ขมอมหวาน เย็น เสริมสารนํา้ ในกระเพาะอาหาร
เล็กน้อย เล็กน้อย ช่วยตัวยาสูต้ หี วงบํารุงสารนํา้
ของไต
牛膝 หนิวซี ตัวยานําพา ขมอมหวาน กลาง นําความร้อน การอักเสบ และ
(พันงูนอ้ ย) เปรี้ยว เลือดทีอ่ ยู่ส่วนบนของร่างกายให้
ระบายลงล่าง เพือ่ เป็ นการหยุด
เลือดทีร่ อ้ นแล ้วกระจายออก
นอกระบบ
ตํารับยานี้ประกอบด้วยสือเกาเป็ นตัวยาหลัก มีรสเผ็ดอมหวาน คุณสมบัตเิ ย็นมาก มีสรรพคุณ
ระบายความร้อนรักษาอาการไข้รอ้ นสู ง สู ต้ หี วง (จิ่วเจิง) เป็ นตัวยาเสริม ช่วยเสริมบํารุงอินของไต เสริม
ฤทธิ์ของสือเการะบายความร้อนและบํารุงสารนํา้ ตัวยาช่วย ได้แก่ จือหมูม่ รี สขม เย็น และมีคุณสมบัตใิ ห้
ความชุ่มชื้น ช่วยเสริมฤทธิ์ของสือเการะบายความร้อนในกระเพาะอาหาร ไม่ตงบํารุงอินของกระเพาะ
อาหาร และช่ วยสูต้ หี วงบํารุงอินของไต หนิวซีเป็ นตัวยานําพา ช่วยนําความร้อน การอักเสบ และเลือดที่
อยู่ส่วนบนของร่างกายให้ระบายลงล่าง เพือ่ เป็ นการหยุดเลือดทีร่ อ้ นแล ้วกระจายออกนอกระบบ1,3
146 ตํารับยาดับร้อน

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ไม่เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยอุจจาระเหลว ถ่ายบ่อย1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยายฺว่นี ฺหวี่เจียน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยายฺวน่ี ฺหวีเ่ จียนมีฤทธิ์ลดนํา้ ตาลในเลือดกระต่าย4 และหนู ขาว5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยายฺว่นี ฺหวี่เจียนมีสรรพคุณต้านอักเสบ ขับพิษร้อน ช่วยให้จติ ใจ
สงบ เสริมสารนํา้ 1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยายฺวน่ี ฺหวีเ่ จียน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Zhang J, Wang X, Zhao XX. Baitouweng Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in
traditional Chinese medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Wang J, Wang Q, Wang ZZ, Feng Z, Liu SY, Zhang QQ, Cai QW, Pan JJ. Comparative study on hypoglycemic
effects of different traditional Chinese medicine treatments in rats with diabetes mellitus induced by alloxan. Zhong
Xi Yi Jie He Xue Bao 2010; 8(8): 781-4.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 147

เสาเย่าทัง (芍药汤)
ตําราต้นตํารับ
医学六书 อีเสฺวยี ลิว่ ซู (Six Medical Books by Liu Hejian)1
« ค.ศ. 1182 Liu Hejian (刘河间 หลิวเหอเจียน) »2
ประกอบด้วย
芍药 Radix Paeoniae เสาเย่า 15 กรัม
黄连 Rhizoma Coptidis หวงเหลียน 9 กรัม
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 9 กรัม
黄芩 Radix Scutellariae หวงฉิน 9 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 9 กรัม
肉桂 Cortex Cinnamomi โร่วกุย้ 5 กรัม
槟榔 Semen Arecae ปิ งหลาง 5 กรัม
木香 Radix Aucklandiae มูเ่ ซียง 5 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 5 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อนชื้น ปรับชี่ สมานเลือด1,3
สรรพคุณ
ระงับอาการถ่ายเป็ นบิดเนื่องจากร้อนชื้น โดยมีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็ นมูกเลือดมีสแี ดงและขาว
หลังถ่ายอุจจาระแลว้ มีอาการปวดถ่วง มีอาการแสบร้อนที่ทวารหนัก ปัสสาวะสีเขม้ ลิ้นเป็ นฝ้ าเหนียวมี
สีเหลืองอ่อน ชีพจรตึงและเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยโรคลําไส้อกั เสบเฉี ยบพลัน
หรือโรคลําไส้ใหญ่รอ้ นชื้นเนื่องจากเชื้อบิด1,3
148 ตํารับยาดับร้อน

ตํารับยา เสาเย่าทัง (芍药汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เสาเย่า (芍药) หวงเหลียน (黄连)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 149

2 เซนติเมตร
ต้าหวง (大黄)
2 เซนติเมตร
หวงฉิน (黄芩)

2 เซนติเมตร
โร่วกุย้ (肉桂)

3 เซนติเมตร

ตังกุย (当归)

2 เซนติเมตร
ปิ งหลาง (槟榔)

2 เซนติเมตร
มูเ่ ซียง (木香) 2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (甘草)
150 ตํารับยาดับร้อน

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
芍药 เสาเย่า ตัวยาหลัก ขมเปรี้ยว เย็น ปรับสมานชี่กบั เลือด บรรเทา
อมหวาน เล็กน้อย อาการปวดท้องของโรคบิด ปวด
ท้องหลังถ่ายอุจจาระ
黄连 หวงเหลียน ตัวยาเสริม ขม เย็นมาก ระบายความร้อนของหัวใจและ
กระเพาะอาหาร
大黄 ต้าหวง ตัวยาเสริม ขม เย็น ขับถ่ายของเสียตกค้าง สลาย
(โกฐนํา้ เต้า) ก้อน ระบายความร้อน ห้ามเลือด
ขจัดพิษ ช่วยให้เลือดมีการ
ไหลเวียนดีข้นึ
黄芩 หวงฉิน ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อน ขจัดความชื้น
ขับพิษร้อน ช่วยให้เลือดเย็นลง
และห้ามเลือด
当归 ตังกุย ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียน
อมเผ็ด ดีข้นึ ลดบวม ระงับปวด
肉桂 โร่วกุย้ ตัวยาช่วย เผ็ด ร้อน กระจายความเย็น ระงับปวด ให้
(อบเชยจีน) อมหวาน ความอบอุ่นและทะลวงจิงลัว่
ทําให้ระบบหมุนเวียนทัง้ เลือด
และชี่หมุนเวียนดี
槟榔 ปิ งหลาง ตัวยาช่วย ขมอมเผ็ด อุ่น ถ่ายพยาธิในลําไส้ ช่วยให้ช่ี
(หมากสง) หมุนเวียน ขับนํา้ ขจัดอาหาร
ตกค้าง ถ่ายท้องบิด ปวดถ่วง
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 151

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


木香 มูเ่ ซียง ตัวยาช่วย ขมอมเผ็ด อุ่น ช่วยให้ช่หี มุนเวียน ระงับปวด
(โกฐกระดูก) เจริญอาหาร กระตุน้ การทํางาน
ของม้าม ป้ องกันชี่ตดิ ขัดจากยา
บํารุงชี่เลือดทีม่ ากเกินไป ซึง่ ทําให้
เลือดข้นและขัดต่อการทํางานใน
ระบบลําเลียงของกระเพาะอาหาร
และม้าม
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
(ชะเอมเทศ) อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้า
กัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยเสาเย่าเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณปรับสมานชี่และเลือด รักษาอาการ


ปวดท้องบิด ปวดท้องหลังถ่ายอุจจาระ ตัวยาเสริม ได้แก่ หวงเหลียน หวงฉิ น และต้าหวง ใช้เป็ น
ยาระบายร้อน ขจัดพิษ ตัวยาช่ วย ได้แก่ ตังกุยและโร่ วกุย้ ปรับสมดุลอิง๋ ชี่ ช่ วยให้เลือดไหลเวียน
สะดวก มู่เซียงและปิ งหลาง ช่วยให้ช่ีไหลเวียนไม่ติดขัด กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยานํา้ ยาเม็ด4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ควรระมัดระวังการใช้กบั ผู ป้ ่ วยที่เป็ นบิดในระยะแรกซึ่งจะมีไข้ หรือผู ป้ ่ วยที่เป็ นบิดเรื้อรัง
เนื่องจากเย็นพร่อง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ช่วยลดอาการหดเกร็งของลําไส้ในกระต่าย ต้าน-
เชื้อบิดในหลอดทดลองและในหนู ถบี จักร และต้านการอักเสบในหนู ถบี จักร4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณแก้โรคบิด ระงับอาการปวด1,3,4
152 ตํารับยาดับร้อน

การศึกษาความปลอดภัย: การศึกษาพิษเฉียบพลันในหนู ถบี จักรโดยการให้ตาํ รับยาเสาเย่าทัง


ทางปากในขนาด 100 กรัม/กิโลกรัม พบว่าหลังจากให้ยา 72 ชัว่ โมง มีหนู ตาย 11 ตัว จากหนู ทดลอง
ทัง้ หมด 12 ตัว แต่ เมื่อเอาปิ งหลางออกจากตํารับยาดังกล่าว แลว้ ทําการทดลองเหมือนเดิม ไม่พบ
สัตว์ทดลองตัวใดตาย แสดงว่าปิ งหลางในขนาดสู งมีความเป็ นพิษในสัตว์ทดลอง ดังนัน้ ควรความ
ระมัดระวังอย่าใช้ยาเกินขนาด4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเสาเย่าทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Zhang J, Wang XD, Wang X. Shao Yao Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 153

ไป๋ โถวเวิงทัง (白头翁汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน
่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
白头翁 Radix Pulsatillae ไป๋ โถวเวิง 15 กรัม
黄连 Rhizoma Coptidis หวงเหลียน 6 กรัม
黄柏 Cortex Phellodendri หวงป๋ อ 12 กรัม
秦皮 Cortex Fraxini ฉินผี 12 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อนและแก้พษิ ช่วยให้เลือดเย็นลงและหยุดการถ่ายบิด1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะร้อนเป็ นพิษ โรคบิดถ่ายเป็ นเลือด โดยมีอาการถ่ายกระปิ ดกระปอย มีหนอง เลือด
มูกแดงมากกว่ามูกสีขาว ปวดท้องน้อย ปวดถ่วง มวนท้อง ถ่ายเป็ นบิด ทวารหนักแสบร้อน ตัวร้อน
ใจหงุดหงิด คอแห้ง กระหายนํา้ ลิ้นแดง มีฝ้าเหลือง ชีพจรตึงและเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยโรคลําไส้อกั เสบเฉี ยบพลัน
โรคบิดทัง้ ชนิดมีและไม่มตี วั ซึง่ ล ้วนเป็ นโรคบิดแบบร้อนอักเสบ1,3
154 ตํารับยาดับร้อน

ตํารับยา ไป๋ โถวเวิงทัง (白头翁汤)

2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร หวงเหลียน (黄连)


ไป๋ โถวเวิง (白头翁)

3 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
หวงป๋ อ (黄柏) ฉินผี (秦皮)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 155

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
白头翁 ไป๋ โถวเวิง ตัวยาหลัก ฝาด ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด ขับพิษร้อน
เล็กน้อย
黄连 หวงเหลียน ตัวยาเสริม ขม เย็นมาก ระบายความร้อนของหัวใจและ
กระเพาะอาหาร แก้พษิ หยุดการ
ถ่ายป็ นบิด
黄柏 หวงป๋ อ ตัวยาเสริม ขม เย็นมาก ระบายความร้อนซึง่ อยู่ช่วงล่างของ
ร่างกาย เสริมสารนํา้ หยุดการถ่าย
เป็ นบิด
秦皮 ฉินผี ตัวยาช่วย ขม ฝาด เย็น ระบายความร้อน ขับความชื้นตกค้าง
ฝาดสมาน ทําให้หยุดถ่ายเป็ นบิด
ตํารับยานี้ประกอบด้วยไป๋ โถวเวิงเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความร้อนระบายความร้อน
ในเลือด และขับพิษร้อน ตัวยาเสริม ได้แก่ หวงเหลียนและหวงป๋ อ มีรสขม คุณสมบัตเิ ย็นมาก ช่วยดับ
ร้อนและขจัดพิษ เสริมอิน ระงับการถ่ายเป็ นบิด ฉินผีรสขมฝาด คุณสมบัตเิ ย็น เป็ นตัวยาช่วย ช่วยดับ
ร้อนและทําให้ความชื้นแห้ง ฝาดสมานทําให้หยุดถ่ายเป็ นบิด1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยานํา้ ยาเม็ด ยาต้ม4
ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาไป๋ โถวเวิงทังไม่เหมาะกับผูป้ ่ วยที่เป็ นโรคบิดแบบอ่อนแอ เป็ นบิดเรื้อรัง1,3 และผูป้ ่ วย
ทีห่ ยางของม้ามพร่อง5
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาไป๋ โถวเวิงทัง มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ตา้ นเชื้อบิดในหลอดทดลอง4
156 ตํารับยาดับร้อน

การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณต้านอักเสบ ฆ่าเชื้ออะมีบา ขับความร้อน บรรเทา


อาการเกร็ง หยุดถ่าย ห้ามเลือด1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาไป๋ โถวเวิงทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพร
จีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2549.
4. Zhang J, Wang X, Zhao XX. Baitouweng Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in
traditional Chinese medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 157

ชิงสูอ่ ้ ชี ่ีทงั (清暑益气汤)


ตําราต้นตํารับ
温热经纬 เวินเร่อจิงเหว่ย ์ (Compendium on Epidemic Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 1852 Wang Shixiong (王士雄 หวางซือ่ สฺวง) »2
ประกอบด้วย
西洋参 Radix Panacis Quinquefolii ซีหยางเซิน 5 กรัม
西瓜翠衣 Exocarpium Citrulli ซีกวาเชฺวย่ อ์ ี 30 กรัม
石斛 Herba Dendrobii สือหู 15 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis ไม่ตง 9 กรัม
黄连 Rhizoma Coptidis หวงเหลียน 3 กรัม
竹叶 Herba Lophatheri จูเ๋ ยีย่ 6 กรัม
荷梗 Petiolus Nelumbinis เหอเกิง 15 กรัม
知母 Rhizoma Anemarrhenae จือหมู่ 6 กรัม
粳米 Semen Oryzae Nonglutinosae จิงหมี่ 15 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 3 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อน เสริมชี่ เสริมอิน เพิม่ สารนํา้ และสารจําเป็ น1,3
158 ตํารับยาดับร้อน

ตํารับยา ชิงสูอ่ ้ ชี ่ีทงั (清暑益气汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ซีหยางเซิน (西洋参) ซีกวาเชฺวย่ อ์ ี (西瓜翠衣)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 159

2 เซนติเมตร
ไม่ตง (麦冬)

2 เซนติเมตร
สือหู (石斛)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
จูเ๋ ยีย่ (竹叶)
หวงเหลียน (黄连)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เหอเกิง (荷梗) จือหมู่ (知母)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
จิงหมี่ (粳米) กันเฉ่ า (甘草)
160 ตํารับยาดับร้อน

สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการที่สารนํา้ หล่อเลี้ยงในระบบชี่ถูกทําลายโดยความร้อนหรือความอบอ้าว โดยมี
อาการตัวร้อน เหงือ่ ออกมาก กระวนกระวาย คอแห้ง ปัสสาวะไม่คล่อง มีสเี ข้ม ร่างกายอ่อนเพลีย หมด
แรง หน้าตาอิดโรย ชีพจรพร่องช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไข้รอ้ นอบอ้าว ไข้แดด ไข้ฤดู
ร้อนในเด็ก และไข้หวัดติดเชื้อทีเ่ กิดในช่วงเวลาทีม่ อี ากาศร้อนอบอ้าวและมีการขาดสารนํา้ หล่อเลี้ยง1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
西洋参 ซีหยางเซิน ตัวยาหลัก อมหวาน เย็น บํารุงอิน เสริมชี่ ระบายความ-
(โสมอเมริกนั ) ขมเล็กน้อย ร้อน เพิม่ สารนํา้ และสารจําเป็ น
西瓜翠衣 ตัวยาหลัก หวาน เย็น ระบายความร้อน ขับพิษ
ซีกวาเชฺวย่ อ์ ี เล็กน้อย บรรเทาอาการคอแห้ง
(เปลือกผลแตงโม) กระหายนํา้ ขับปัสสาวะ
石斛 สือหู ตัวยาเสริม อมหวาน เย็น เสริมอิน ระบายความร้อน
เล็กน้อย สร้างเสริมสารนํา้ หล่อเลี้ยง
กระเพาะอาหาร
麦冬 ไม่ตง ตัวยาเสริม หวานอม เย็น เสริมบํารุงอินและทําให้ปอด
ขม เล็กน้อย ชุ่มชื้น เสริมบํารุงสารนํา้ ให้
กระเพาะอาหาร ลดอาการ
กระวนกระวาย ทําให้จติ ใจ
สบาย
黄连 หวงเหลียน ตัวยาเสริม ขม เย็นมาก ระบายความร้อนของหัวใจ
และกระเพาะอาหาร
竹叶 จูเ๋ ยีย่ ตัวยาช่วย จืดอม เย็น ลดไข้ บรรเทาอาการร้อนใน
(หญ้าขุยไม้ไผ่, หวานเผ็ด คอแห้ง กระหายนํา้ ขับพิษไข้
ใบไผ่ขม) ออกทางปัสสาวะ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 161

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


荷梗 เหอเกิง ตัวยาช่วย จืด เย็น บรรเทาอาการอึดอัดเนื่องจาก
(ก้านบัวหลวง) อากาศร้อนและชื้น ท้องเสีย
ริดสีดวงจมูก ลมพิษ
知母 จือหมู่ ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายและขับความร้อน
อมหวาน เสริมอิน ให้ความชุ่มชื้น
แก้ความแห้ง
粳米 จิงหมี่ ตัวยาช่วย หวานจืด สุขมุ เสริมกระเพาะอาหาร ป้ องกัน
(ข้าวเจ้า) ธาตุนาํ้ เมือ่ ใช้คู่กบั ชะเอมเทศ
จะช่วยป้ องกันส่วนกลางของ
ร่างกาย (กระเพาะอาหาร)
ไม่ให้ถกู กลุม่ ยาเย็นไปทําลาย
甘草 กันเฉ่ า ตัวยาช่วย อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศ) และนําพา ร่างกาย ระบายความร้อน
ขับพิษ ระงับไอ ขับเสมหะ
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยซีหยางเซินและซีกวาเชฺว่ยอ์ เี ป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณสร้างเสริมสารนํา้
บํารุงอิน เสริมชี่ ระบายความร้อน ตัวยาเสริม ได้แก่ สือหู ไม่ตง และหวงเหลียน ช่วยเสริมอินและ
ระบายความร้อน ตัวยาช่วย ได้แก่ จูเ๋ ยี่ย เหอเกิง และจือหมู่ ช่วยระบายความร้อน ลดอาการกระวน-
กระวาย กันเฉ่ าและจิงหมี่ ช่วยเสริมชี่และประสานกระเพาะอาหาร1,3-5
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม6
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ไม่เหมาะกับผูป้ ่ วยทีม่ อี าการไข้หรือมีความร้อนแห้งปนความชื้น1,3
162 ตํารับยาดับร้อน

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้ใช้รกั ษาอาการหอบทีเ่ กิดในฤดูรอ้ น ปอดอักเสบ ไข้ฤดูรอ้ นใน
เด็กผ่อนคลายประสาท บํารุงร่างกายทีอ่ ่อนแอ ปกป้ องสารจําเป็ น และต้านเชื้อจุลนิ ทรีย1,3-6

เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาชิงสู่อ้ ชี ่ที งั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Lin YF, Yi Z, Zhao YH. Chinese Dai Medicine Colorful Illustrations. 1st ed. Kunming: Yunnan Min Zu Publishing
House, 2003.
5. ปราณี ชวลิตธํารง (บรรณาธิการ). สมุนไพรไทย-จีน. พิมพ์ครัง้ ที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2547.
6. Xu CH, Wang X. Qing Shu Yi Qi Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 163

หลี่จงหวาน (理中丸)
ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน
่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิง่ ) »2
ส่วนประกอบ
干姜 Rhizoma Zingiberis กันเจียง 90 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 90 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 90 กรัม
甘草(炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 90 กรัม

วิธีใช้
บดตัวยาทัง้ หมดเป็ นผง ปัน้ เป็ นลูกกลอนโดยใช้นาํ้ ผึ้งเป็ นกระสายยา รับประทานกับนํา้ ต้มสุก
วันละ 2-3 ครัง้ ครัง้ ละ 9 กรัม หรือต้มเอานํา้ ดื่มโดยปรับลดนํา้ หนักยาลงจากตํารับยาข้างต้น 10 เท่า1,3
การออกฤทธิ์
เสริมความอบอุ่น ขับความเย็นทีส่ ่วนกลาง เสริมชี่และพลัง บํารุงม้ามและกระเพาะอาหาร1,3
สรรพคุณ
รักษาโรคทีม่ สี าเหตุจากม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ โดยมีอาการปวดท้องน้อย ชอบความ-
อบอุ่น กดนาบที่หน้าท้องแลว้ รู ส้ ึกสบาย อุจจาระใสเหลว ท้องอืด รับประทานอาหารได้นอ้ ย คลื่นไส้
อาเจียน ลิ้นซีด มีฝ้าขาว ชีพจรจม เล็ก หรือหยางพร่องและเสียเลือด ชักหรือสะดุง้ ผวาในเด็กทีเ่ ป็ นโรค
เรื้อรัง มีนาํ้ ลายและเสมหะไหลหลังจากหายป่ วย เจ็บทรวงอกจากหยางของส่วนกลางพร่อง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคกระเพาะอาหารและลําไส้
อักเสบเรื้อรัง ลําไส้เป็ นแผล การย่อยอาหารไม่ดี กระเพาะอาหารขยายตัว บวม หรือย้อยตํา่ ลง ม้ามและ
กระเพาะอาหารพร่องเย็น กระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบเฉียบพลัน1,3
164 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

ตํารับยา หลี่จงหวาน (理中丸)

กันเจียง (干姜)
2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参)

2 เซนติเมตร
3 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术) กันเฉ่ า (จื้อ)[甘草(炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 165

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
干姜 กันเจียง ตัวยาหลัก เผ็ดร้อน เสริมความอบอุ่น ขับความเย็น
(ขิงแห้ง) และฟื้ นฟูหยางชี่ของม้ามและ
กระเพาะอาหาร สมานระบบ
กระเพาะอาหารทําให้ช่ีลงตํา่
ระงับอาการคลืน่ ไส้อาเจียน
人参 เหรินเซิน ตัวยาเสริม หวานอมขม อุ่น เสริมชี่อย่างมาก บํารุงม้ามและ
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย กระเพาะอาหาร
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาช่วย ขมอมหวาน อุ่น ให้ความอบอุ่นกับระบบม้าม
บํารุงม้าม ขับความชื้น
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ปรับ
กันเฉ่ า (จื้อ) ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง)
ตํารับยานี้ประกอบด้วยกันเจียงเป็ นตัวยาหลัก มีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณให้ความอบอุ่นกับ
ส่วนกลางของร่างกาย ขับความเย็นและฟื้ นฟูหยางชี่ของม้ามและกระเพาะอาหาร ปรับสมดุลของกระเพาะ-
อาหารทําให้ช่ลี งตํา่ ระงับอาเจียน เหรินเซินเป็ นตัวยาเสริม ช่วยเสริมบํารุงชี่ ช่วยให้มา้ มและกระเพาะ-
อาหารแข็งแรง ไป๋ จูเ๋ ป็ นตัวยาช่วย ช่วยให้ความอบอุ่นกับม้าม ทําให้ม ้ามแข็งแรง และขับความชื้น กันเฉ่ า
(จื้อ) เป็ นตัวยานําพา ช่วยเสริมชี่ของม้าม ปรับสมดุลส่วนกลาง และปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอนนํา้ ผึ้ง ยาลูกกลอนนํา้ ยาต้ม4
ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาหลีจ่ งหวานมีฤทธิ์ให้ความอบอุ่นและแห้ง จึงไม่เหมาะทีจ่ ะใช้กบั ผูป้ ่ วยโรคหวัดทีม่ อี าการ
ตัวร้อน หรืออินพร่องมีสารนํา้ น้อย ร้อนใน1,3
166 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาหลี่จงหวาน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารหนู ขาว4 ช่วย
ฟื้ นฟูความผิดปกติของระบบประสาท ต่อมไร้ท่อ และภูมคิ ุม้ กัน ในหนู ขาวที่ชกั นําให้มอี าการคลา้ ยม้าม
พร่อง5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาหลีจ่ งหวานมีสรรพคุณช่วยให้ระบบการทํางานของกระเพาะ-
อาหารและลําไส้ และการไหลเวียนของเลือดดีข้นึ เสริมพลังการขับพิษและของเสีย บรรเทาอาการเกร็ง
แก้ปวด แก้อาเจียน แก้ทอ้ งเสีย และขับปัสสาวะ1,3,4 การศึกษาผลของตํารับยาหลีจ่ งหวานในผูป้ ่ วยกระเพาะ-
อาหารอักเสบแบบต่าง ๆ จํานวน 30 ราย พบว่าหายปวด 25 ราย ปวดลดลง 5 ราย6 การใช้ตาํ รับยานี้ใน
ผูป้ ่ วยลําไส้อกั เสบแบบเฉียบพลันและเรื้อรังจํานวน 30 ราย นาน 3-10 วัน พบว่าผูป้ ่ วย 18 ราย มีอาการ
ดีข้นึ 6
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. มานพ เลิศสุทธิรกั ษ์. ตํารับยาหลีจ่ งหวาน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-
จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Ou YJH. Lizhong Wan. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Zhao N, Zhang W, Guo Y, Jia H, Zha Q, Liu Z, Xu S, Lu A. Effects on neuroendocrinoimmune network of Lizhong
Pill in the reserpine induced rats with spleen deficiency in traditional Chinese medicine. J Ethnopharmacol 2011;
133(2): 454-9.
6. Chen JK, Chen TT. Chinese Herbal Formulas and Applications. CA: Art of Medicine Press, 2008.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 167

เสีย่ วเจี้ยนจงทัง (小建中汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
饴糖 Saccharum Granorum อีถ๋ งั 30 กรัม
芍药 Radix Paeoniae เสาเย่า 18 กรัม
桂枝 Ramulus Cinnamomi กุย้ จือ 9 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 6 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 10 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 4 ผล

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ โดยละลายอีถ๋ งั ลงในนํา้ ยาทีต่ ม้ ได้ และดืม่ ขณะอุ่น ๆ1,3
การออกฤทธิ์
ให้ความอบอุ่นและบํารุงจงเจียว (กระเพาะอาหารและม้าม) บรรเทาอาการปวดเกร็ง1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการปวดท้องที่เกิดจากภาวะเย็นพร่อง โดยมีอาการปวดท้องเป็ นครัง้ คราว ชอบ
ความอบอุ่น ชอบให้กดท้องเมือ่ ปวด เพราะจะช่วยบรรเทาปวดได้ หรือมีอาการอ่อนเพลีย กระวนกระวาย
ใจสัน่ หน้าซีด ลิ้นมีฝ้าขาว ชีพจรจม เล็ก ตึง ไม่มแี รง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ ไี ข้เนื่องจากหยางพร่อง แพทย์
จีนจางเอินฉิน ใช้ตาํ รับยานี้โดยเพิ่มตัวยาไป๋ จ่อื (白芷) 30 กรัม และเพิม่ นํา้ หนักของกันเฉ่ าเป็ น 15
กรัม รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วนต้นได้ผลดี1,3
168 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

ตํารับยา เสีย่ วเจี้ยนจงทัง (小建中汤)

อีถ๋ งั (饴糖) 2 เซนติเมตร


2 เซนติเมตร กุย้ จือ (桂枝)
เสาเย่า (芍药)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (甘草) 2 เซนติเมตร เซิงเจียง (生姜) ต้าเจ่า (大枣)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 169

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
饴糖 อีถ๋ งั ตัวยาหลัก หวาน อุ่น บํารุงชี่ หล่อเลี้ยงอินของม้าม
ให้ความอบอุ่นแก่จงเจียว
ระงับปวด
芍药 เสาเย่า ตัวยาเสริม ขมเปรี้ยว เย็น ปรับสมานชี่กบั เลือด บรรเทา
อมหวาน เล็กน้อย อาการปวดท้องของโรคบิด
ปวดท้องหลังถ่ายอุจจาระ
桂枝 กุย้ จือ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ผ่อนคลายกล ้ามเนื้อ
(กิ่งอบเชยจีน) อมหวาน ให้ความอบอุ่น และเสริมหยาง
ช่วยให้ช่มี กี ารไหลเวียนดีข้นึ
甘草 กันเฉ่ า ตัวยาช่วยและ อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ระบาย
(ชะเอมเทศ) ตัวยานําพา ความร้อน ขับพิษ ระงับไอ
ขับเสมหะ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วยและ เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ให้ความอบอุ่นแก่
(ขิงแก่สด) ตัวยานําพา กระเพาะอาหาร บรรเทาอาการ
คลืน่ ไส้อาเจียน ช่วยให้ปอด
อบอุ่น ระงับไอ
大枣 ต้าเจ่า ตัวยาช่วยและ หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(พุทราจีน) ตัวยานําพา ร่างกาย สร้างเลือด สงบจิตใจ
ปรับสมดุลของตัวยาให้เข้ากัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก คือ อีถ๋ งั มีรสหวาน คุณสมบัตอิ ่นุ เข้าสู่มา้ ม ช่วยบํารุงชี่และ


หล่อเลี้ยงอินของม้าม จึงมีสรรพคุณทัง้ ให้ความอบอุ่นแก่จงเจียวและบรรเทาอาการปวดได้ ตัวยาเสริม
ได้แก่ เสาเย่ามีฤทธิ์เสริมอินและเลือด บรรเทาอาการเกร็งและระงับอาการปวดทอ้ ง กุย้ จือช่วยเพิม่
หยางชี่ เมือ่ ใช้ตวั ยาทัง้ สองร่วมกัน ตัวยาหนึ่งเสริมอิน อีกตัวยาหนึ่งเพิ่มหยาง จึงช่วยปรับอิง๋ ชี่ (营气)
170 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

และเว่ยช์ ่ี (卫气) และช่วยปรับสมดุลอินหยาง ตัวยาช่วยและนําพา ได้แก่ เซิงเจียง มีสรรพคุณเพิ่ม


เว่ยห์ ยาง (卫阳) ต้าเจ่าบํารุงอิง๋ อิน (营阴) บํารุงม้ามและกระเพาะอาหาร กันเฉ่ าปรับสมดุลและบํารุง
จงเจียว1,3,4
หมายเหตุ: ตํารับยานี้ดดั แปลงมาจากตํารับยากุย้ จือทัง โดยเพิม่ นํา้ หนักของเสาเย่าอีกเท่าตัว
และใส่อถี ๋ งั ทําให้สรรพคุณเปลีย่ นจากปรับอิง๋ เว่ยเ์ ป็ นอุ่นและบํารุงจงเจียว บรรเทาอาการปวด1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม5
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยกลุม่ อาการอินพร่อง หรือผูป้ ่ วยทีม่ อี าการอาเจียนเพราะรสหวานของ
ยาจะทําให้อาเจียนมากขึ้น หรือผูป้ ่ วยที่ปวดท้องเนื่องจากมีพยาธิ เพราะรสหวานของยาจะทําให้พยาธิ
ย้อนกลับขึ้นมา และเมื่ออาเจียนจะมีพยาธิปนออกมา รวมทัง้ ผู ป้ ่ วยที่ทอ้ งอืด เพราะตํารับยานี้เป็ นยา
บํารุง อาจทําให้ทอ้ งอืดมากขึ้น1,3,4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ยบั ยัง้ และป้ องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนู
ขาว และมีฤทธิ์ระงับปวดในสัตว์ทดลอง5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณบํารุงร่างกาย ลดอาการเกร็ง ระงับปวด กระตุน้
ระบบการไหลเวียนของเลือด เพิม่ ประสิทธิภาพการทํางานของระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ช่วยสมานแผล
ในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง บรรเทาอาการท้องผูก รักษาโรคตับอักเสบ
ชนิดบี1,3,5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาเสี่ยวเจี้นยจงทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน].
นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2552.
4. Zhou YF. Science of Prescriptions. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional Chinese
Medicine, 2002.
5. Ou YJJ. Xiao Jianzhong Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 171

หวูจูยหฺ วีทงั (吴茱萸汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน
่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
吴茱萸(浸炒) Fructus Evodiae หวูจูยหฺ วี (จิ้นเฉ่ า) 3 กรัม
(saturated and fried)
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 6 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 18 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 4 ผล
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
เสริมอาการพร่อง เสริมชี่ เพิ่มความอบอุ่นส่วนกลาง ลดการไหลเวียนสวนทางลอยขึ้นของชี่
ระงับอาเจียน1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะเย็นพร่องของตับและกระเพาะอาหาร โดยหลังรับประทานอาหารแลว้ มีอาการกระอัก
กระอ่วนจุกลิ้นปี่ แน่ นหน้าอกและอึดอัด หรือปวดกระเพาะอาหาร อาเจียน เรอเหม็นเปรี้ยว ถ่ายเป็ นบิด
มือเท้าเย็น ร้อ นรุ่ มหน้าอก จิตใจไม่สงบ มือเท้าเคลื่อนไหวไม่เป็ นสุ ข ปวดศี รษะที่บริเวณเส้น
ลมปราณเชี่ยอิน (ซานเจียวและตับ) ทําให้อาเจียนแต่ไม่มอี ะไรออก บ้วนนํา้ ลายเป็ นฟอง หรือปวดและ
รูส้ กึ เย็นที่กลางศีรษะ1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
เฉียบพลันหรือเรื้อรัง มีแผลในกระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วนต้น ตับอักเสบ อาเจียนในขณะตัง้ ครรภ์
ปวดศีรษะขา้ งเดียว กลุ่มอาการซึ่งมีสาเหตุจากตับและกระเพาะอาหารพร่องเย็น ภาวะหรือกลุม่ อาการที่
เกิดจากอินทีไ่ ม่ปกติตขี ้นึ เบื้องบน1,3
172 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

ตํารับยา หวูจูยหฺ วีทงั (吴茱萸汤)

2 เซนติเมตร

หวูจูยหฺ วี (จิ้นเฉ่ า) [吴茱萸(浸炒)]


2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参)

3 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เซิงเจียง (生姜) ต้าเจ่า (大枣)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 173

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
吴茱萸 (浸炒) ตัวยาหลัก เผ็ดอมขม ร้อน สลายความเย็น แก้ปวด
หวูจูยหฺ วี (จิ้นเฉ่ า) (มีพษิ อบอุ่นส่วนกลาง ระงับอาเจียน
เล็กน้อย)* เสริมหยาง แก้ทอ้ งร่วง
人参 เหรินเซิน ตัวยาเสริม หวานอมขม อุ่น เสริมพลังชี่อย่างมาก บํารุง
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย หัวใจและม้าม เสริมปอด
สร้างสารนํา้ ช่วยให้จติ ใจสงบ
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น อบอุ่นส่วนกลาง ระงับอาเจียน
(ขิงสด) กระทุง้ ไข้หวัด ขับเหงือ่ แก้ไอ
ให้ความอบอุ่นแก่ปอด เมือ่ ใช้
ร่วมกับหวูจูยหฺ วีจะเพิม่ ฤทธิ์
แก้อาเจียนให้แรงขึ้น
大枣 ต้าเจ่า ตัวยานําพา หวาน อุ่น บํารุงเสริมชี่ส่วนกลาง บํารุง
(พุทราจีน) โลหิตและสงบจิตใจ
ตํารับยานี้ประกอบด้วยหวูจูยหฺ วี (จิ้นเฉ่ า) มีรสเผ็ดร้อน เป็ นตัวยาหลัก โดยออกฤทธิ์เข้าสู่เส้น-
ลมปราณตับ ม้าม และไต สามารถให้ความอบอุ่นกับกระเพาะอาหาร ช่วยให้ช่ีลงสู่เบื้องล่างเพื่อระงับ
อาเจียน ผ่อนคลายตับเพื่อระงับปวด ให้ความอบอุ่นกับไตเพือ่ ระงับท้องเสีย เหรินเซินเป็ นตัวยาเสริม
ช่วยเสริมบํารุงเหวียนชี่อย่างมาก และช่วยสร้างสารนํา้ เซิงเจียงเป็ นตัวยาช่วย ช่วยให้ความอบอุ่นแก่
กระเพาะอาหาร สลายความเย็น กดชี่ให้ลงตํา่ เพื่อระงับอาเจียน ต้าเจ่าเป็ นตัวยานําพา ช่วยบํารุงเสริมชี่
ส่วนกลาง ช่วยปรับฤทธิ์ของหวู จูยฺหวีและเซิงเจียงให้ชา้ และอ่อนลง และเสริมฤทธิ์ของเหรินเซินให้แรง
ขึ้น1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4

* หวูจูยหฺ วี เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ เล็กน้อย ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


174 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

ข้อแนะนํ าการใช้
1. ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการอาเจียนค่อนข้างรุนแรง ควรรับประทานยาเมือ่ ยาเย็นแล ้ว1,3
2. ผู ป้ ่ วยบางรายมีอาการคลื่นไส้หลังรับประทานยา ในกรณี น้ ีให้ผูป้ ่ วยพักผ่อน โดยทัว่ ไป
อาการจะดีข้นึ เองภายหลังรับประทานยาแล ้วประมาณครึ่งชัว่ โมง1,3
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในผูป้ ่ วยทีม่ คี วามร้อนคัง่ ค้างในกระเพาะอาหาร หรืออาเจียนมีรสขม เรอเหม็นเปรี้ยวอัน
เนื่องมาจากมีความร้อนในร่างกาย1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาหวูจูยหฺ วีทงั มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ตา้ นอาเจียนในนกพิราบ มีฤทธิ์ยบั ยัง้ การเกิดแผล
กระเพาะอาหารในหนู ขาว4 การศึกษาในสัตว์ทดลองหลายชนิดพบว่า ตํารับยาหวูจูยหฺ วีทงั มีฤทธิ์เพิม่ การ
ทํางานของเอนไซม์ในตับทีเ่ กี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซมึ ของยา5 จึงเกิดอัตรกิรยิ ากับยาบางชนิด
เช่น caffeine และ theophylline ทําให้ความเข้มข้นของยาในเลือดลดลง6,7
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาหวูจูยหฺ วีทงั มีสรรพคุณกระตุน้ การไหลเวียนโลหิตของระบบทางเดิน
อาหาร ลดอาการตึงของกล ้ามเนื้อเรียบ บรรเทาอาการเกร็ง ระงับอาเจียน ระงับปวด ช่วยย่อยอาหาร1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาหวูจูยหฺ วีทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Ou YJJ. Wuzhuyu Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Ueng YF, Don MJ, Peng HC, Wang SY, Wang JJ, Chen CF. Effects of Wu-chu-yu-tang and its component herbs on
drug-metabolizing enzymes. Jpn J Pharmacol 2002; 89(3): 267-73.
6. Tsai TH, Chang CH, Lin LC. Effects of Evodia rutaecarpa and rutaecarpine on the pharmacokinetics of caffeine in
rats. Planta Med 2005; 71(7): 640-5.
7. Jan WC, Lin LC, Chieh-Fu-Chen, Tsai TH. Herb-drug interaction of Evodia rutaecarpa extract on the
pharmacokinetics of theophylline in rats. J Ethnopharmacol 2005; 102(3): 440-5.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 175

ซื่อหนี้ ทงั (四逆汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ประกอบด้วย
附子 Radix Aconiti Praeparata ฟู่จ่อื 9 กรัม
干姜 Rhizoma Zingiberis กันเจียง 9 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 12 กรัม
วิธีใช้
ต้มฟู่จ่อื กับนํา้ ก่อน 1 ชัว่ โมง แล ้วจึงใส่ตวั ยาอืน่ ลงไปต้มรวมกัน ดืม่ นํา้ ยาขณะอุ่น ๆ1,3
การออกฤทธิ์
ให้ความอบอุ่นแก่ มา้ มและไต ช่ วยอาการช็อคที่เกิดจากชี่เย็นพร่ องติดขัด ดึงพลังหยางให้
1,3
กลับคืน
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการเย็นจัดในร่างกายเนื่องจากหยางพร่องมาก โดยมีอาการช็อค มือเท้าเย็นซีด
หนาวมากจนตัวงอ ถ่ายเป็ นนํา้ อาหารไม่ย่อย ปวดเย็นในท้อง หน้าตาอิดโรย อ่อนเพลียอยากนอน
หน้าซีด ปากคอแห้งแต่ไม่กระหายนํา้ เหงือ่ ลักออกมาก ชีพจรจมเล็ก เต้นอ่อน ช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคเรื้อรังและพลังร่างกาย
ถดถอย ต่อมสารคัดหลัง่ ต่อมไทรอยด์ และต่อมหมวกไตผิดปกติจากหยางพร่องและมีความเย็นสู ง
กล ้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย หัวใจล ้มเหลว หรืออาการช็อคทีม่ สี าเหตุจากหยางชี่หลุดลอยจนหัวใจวาย1,3
176 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

ตํารับยา ซื่อหนี้ ทงั (四逆汤)

2 เซนติเมตร
ฟู่จ่อื (附子)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
กันเจียง (干姜) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 177

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
附子 ฟู่จ่อื ตัวยาหลัก เผ็ด ร้อน เสริมหยาง บํารุงธาตุไฟ ดึงพลัง
(โหราเดือยไก่ทผ่ี ่าน (มีพษิ )* หยางทีส่ ูญเสียไปให้กลับคืน อุ่น
การฆ่าฤทธิ์) หยางของหัวใจ ม้าม และไต
สลายความเย็น ระงับปวด
干姜 กันเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น เสริมความอบอุ่น ขับความเย็น
(ขิงแก่แห้ง) และนําพา และฟื้ นฟูหยางชี่ของม้ามและ
กระเพาะอาหาร สมานระบบ
กระเพาะอาหารทําให้ช่ลี งตํา่
ระงับอาการคลืน่ ไส้อาเจียน
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
กันเฉ่ า (จื้อ) ร่างกาย บรรเทาอาการปวด ปรับ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยฟู่จ่อื เป็ นตัวยาหลัก มีรสเผ็ด ฤทธิ์รอ้ นมาก สรรพคุณเพิม่ ความร้อน อุ่น
ลมปราณให้หวั ใจ มา้ ม และไต สามารถดึงพลังหยางที่สูญเสียไปใหค้ ืนมา กันเจียงเป็ นตัวยาช่วยและ
นําพา มีฤทธิ์อ่นุ ส่วนกลางของร่างกาย รักษาอาการเย็นภายใน ระงับอาเจียน เสริมฤทธิ์ของฟู่จ่อื ให้หยางชี่
ไหลเวียนและอุ่นหยางทีส่ ่วนกลางของร่างกาย ส่วนกันเฉ่ า (จื้อ) เสริมชี่บาํ รุงม้าม ลดพิษและความแรงของ
ฟู่จ่อื ลง เพือ่ ไม่ให้ทาํ ลายชี่ของอินมากเกินไป1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน ยานํา้ 4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ใช้รกั ษาโรคหยางพร่องมากและมีความเย็นจัดในร่างกายเป็ นหลัก ห้ามใช้ในกรณีทม่ี ี
อาการร้อนจัดในร่างกาย หากผูป้ ่ วยมีสหี น้าแดง กระวนกระวายจากกลุม่ อาการเย็นแท้แต่รอ้ นเทียม ควรรอ
ให้ยาเย็นก่อนแล ้วจึงดืม่ นอกจากนี้ การต้มยาต้องต้มฟู่จ่อื ก่อนตัวยาอืน่ ๆ ในตํารับยา เพือ่ ลดพิษยา1,3
* ฟู่จอ่ื เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
178 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ช่วยให้การทํางานของกลา้ มเนื้อหัวใจกระต่ายดีข้นึ และ
ป้ องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ4 ป้ องกันการเกิดภาวะหัวใจวายในหนู ขาวที่ชกั นําด้วย adriamycin5,6 มี
ฤทธิ์ลดปริมาณวิตามินซีในต่อมหมวกไต ต้านอักเสบ และระงับปวดในหนู ขาว เสริมภูมติ า้ นทานใน
กระต่าย4 และต้านซึมเศร้าในหนู ขาวทีม่ ภี าวะเครียดเรื้อรัง7
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้สามารถกระตุน้ ประสาทส่วนกลาง ส่งเสริมระบบพลังงานการ-
เผาผลาญ ยกระดับกลไกการทํางานของร่างกายให้ดีข้ นึ ลดและป้ องกันอาการช็อค บํารุงหัวใจ รักษา
อาการกล ้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และถ่ายเป็ นนํา้ 1,3,4 เมือ่ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของตํารับยานี้กบั
ยา isosorbide dinitrate ในผูป้ ่ วยทีม่ อี าการปวดเค้นหัวใจ และจัดอยู่ในกลุ่มอาการเย็นและขาดหยาง
พบว่าผูป้ ่ วยทีใ่ ช้ตาํ รับยานี้และยา isosorbide dinitrate มีอาการทางคลินิกและคลืน่ ไฟฟ้ าหัวใจดีข้นึ ไม่
ต่างกัน แต่ตาํ รับยานี้ลดการใช้ออกซิเจนของกลา้ มเนื้อหัวใจได้ดกี ว่า ช่วยให้การทํางานของหัวใจดีข้ นึ 8
และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวติ ให้ดขี ้ นึ ได้ดกี ว่ายา isosorbide dinitrate และการใช้ตาํ รับยานี้ร่วมกับยา
isosorbide dinitrate จะให้ผลการรักษาทีด่ ที ส่ี ุด9
การศึกษาความปลอดภัย: การศึกษาพิษเฉียบพลันในหนู ถบี จักรโดยให้ยาต้มทางปากและฉีด
เข้าช่องท้อง พบว่าขนาดของยาต้มเทียบเท่าผงยาทีท่ าํ ให้หนู ถบี จักรตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ
71.78 และ 5.82 กรัม/กิโลกรัม ตามลําดับ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาซือ่ หนี้ทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Ou YJJ. Si Ni Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine. Vol.
1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Zhao MQ, Wu WK, Zhao DY, Duan XF, Liu Y. Protective effects of sini decoction on adriamycin-induced heart
failure and its mechanism. Zhong Yao Cai 2009; 32(12): 1860-3.
6. Zhao MQ, Wu WK, Zhao DY, Liu Y, Liu Y, Liang TW, Luo HC. Protective effects of Sini decoction on adriamycin-
induced heart failure and its mechanism: role of superoxide dismutase. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2005; 30(14):
1111-4.
7. Guo JY, Huo HR, Li LF, Guo SY, Jiang TL. Sini tang prevents depression-like behavior in rats exposed to chronic
unpredictable stress. Am J Chin Med 2009; 37(2): 261-72.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 179

8. Jin M, Qin J, Wu W. Clinical study on "sini" decoction in treating stenocardia for coronary heart disease. Zhong Yao
Cai 2003; 26(1): 71-3.
9. Qin J, Wu W, Zhang J, Jin M, Wu G, Liu H. Living quality change of sini decoction in treating angina pectoris.
Zhong Yao Cai 2004; 27(5): 385-7.
180 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

ตังกุยซื่อหนี้ ทงั (当归四逆汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 9 กรัม
桂枝 Ramulus Cinnamomi กุย้ จือ 9 กรัม
芍药 Radix Paeoniae เสาเย่า 9 กรัม
细辛 Herba Asari ซีซ่ นิ 6 กรัม
木通 Caulis Akebiae มูท่ ง 6 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 8 ผล
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
อุ่นเส้นลมปราณ กระจายความเย็น เสริมเลือด ทะลวงชีพจร1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะช็อคจากเลือดพร่องและความเย็นอุดกัน้ โดยมีอาการกลา้ มเนื้อหดเกร็ง แขนขาเย็น
ไม่กระหายนํา้ ปวดเมือ่ ยตามแขนขาและลําตัว หรือปวดเกร็งที่ทอ้ ง ลิ้นซีดมีฝ้าขาว ชีพจรจมเล็ก หรือ
ชีพจรเล็กจนคลําพบยาก1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยเส้นเลือดฝอยทีป่ ลายมือปลาย
เท้าอุดตัน เส้นเลือดดําอักเสบทีเ่ กิดจากการอุดตัน แผลจากหิมะกัด ไขข้ออักเสบเรื้อรังจากลมชื้น ปวด
ประจําเดือน ปวดเส้นประสาท ปวดเอว เป็ นแผลในกระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วนต้น ซึง่ มีสาเหตุจาก
เลือดพร่องและความเย็นเกาะตัว1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 181

ตํารับยา ตังกุยซื่อหนี้ ทงั (当归四逆汤)

2 เซนติเมตร
กุย้ จือ (桂枝)

3 เซนติเมตร

ตังกุย (当归)
2 เซนติเมตร
เสาเย่า (芍药)
182 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร ชวนมูท่ ง (川木通)
ซีซ่ นิ (细辛)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)] ต้าเจ่า (大枣)

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
当归 ตังกุย ตัวยาหลัก เผ็ดขม อุ่น บํารุงเลือด ทําให้เลือดไหลเวียน
อมหวาน ดี สลายเลือดคัง่ สร้างเลือดใหม่
桂枝 กุย้ จือ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ผ่อนคลายกล ้ามเนื้อ
(กิ่งอบเชยจีน) อมหวาน ให้ความอบอุ่น และเสริมหยาง
ช่วยให้ช่มี กี ารไหลเวียนดีข้นึ
芍药 เสาเย่า ตัวยาเสริม ขมเปรี้ยว เย็น เสริมอินเลือด ปรับประจําเดือน
อมหวาน เล็กน้อย ปรับสมดุลชี่ของตับ ระงับปวด
เก็บกักอินชี่ ระงับเหงือ่
细辛 ซีซ่ นิ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับสลายความเย็น เปิ ดทวาร
(มีพษิ ระงับปวด อุ่นปอด ขับของเหลว
เล็กน้อย)*
* ซีซ่ นิ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ เล็กน้อย ต้องควบคุมขนาดใช้ตามทีก่ าํ หนดเท่านัน้
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 183

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


木通 มูท
่ ง** ตัวยาช่วย ขม เย็น ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ช่วยให้
เลือดไหลเวียนดี ขับนํา้ นม
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามและ
กันเฉ่ า (จื้อ) กระเพาะอาหาร ระบายความ-
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ร้อน ขับพิษ ปรับประสานตัว-
ยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
大枣 ต้าเจ่า ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(พุทราจีน) ร่างกาย สร้างเลือด สงบจิตใจ
ปรับสมดุลของตัวยาทัง้ หมด
ให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตังกุยเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณบํารุงและปรับสมดุลเลือด ตัวยาเสริม
ได้แ ก่ เสาเย่ า ช่ ว ยเสริม เลือ ดและปรับ สมดุ ล อิง๋ ชี่ กุ ย้ จือ มีฤ ทธิ์อุ่น ทะลวงหลอดเลือ ด ช่ ว ยเสริ ม
สรรพคุ ณ ของตัง กุ ย ในการเพิ่ม ความอบอุ่ น และเสริม เลือ ด ส่ ว นซี่ซิน มีฤ ทธิ์ ก ระตุน้ หยางชี่ อุ่ น
เส น้ ลมปราณภายนอกและอวัยวะภายใน เมื่อใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ มีฤทธิ์ทะลวงทุกส่วนของร่างกาย
ขับกระจายความเย็น ช่ วยให้มอื และเท้าอบอุ่น และขจัดอาการเหน็บชา มู่ทงเป็ นตัวยาช่ วย มีฤทธิ์
ทะลวงหลอดเลือดและไขข้อ คุณสมบัตเิ ย็นของมูท่ งสามารถป้ องกันความร้อนของซีซ่ นิ และกุย้ จือไม่ให้
ไปทําลายอินของเลือด ตัวยานําพา ได้แก่ กันเฉ่ า (จื้อ) และต้าเจ่า มีสรรพคุณบํารุงชี่ เสริมม้ามและ
กระเพาะอาหาร ปรับสมดุลของตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยที่ช็อคจากเลือดพร่ อง ความเย็นอุดกัน้ ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั
ผูป้ ่ วยทีช่ อ็ คจากความร้อน เป็ นแผลจากหิมะกัดในระยะสุดท้าย หรือมีความเย็นอุดกัน้ เป็ นเวลานาน ทําให้
ความเย็นแปรเปลีย่ นเป็ นโรคร้อนอย่างชัดเจน1,3
** นิยมใช้ชวนมูท่ งแทนมูท่ ง
184 ตํารับยาอบอุ่นภายใน

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: จากการศึกษาในกระต่าย พบว่ายาต้มมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดและ
ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีข้ นึ และการศึกษาในหลอดทดลองพบว่ายาต้มมีฤทธิ์ตา้ นเชื้อแบคทีเรีย
ในลําไส้ใหญ่ และเชื้อจุลนิ ทรียท์ ก่ี ่อเกิดฝี หนอง4
การศึกษาทางคลินิก: ยาต้มมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดเส้นประสาท ปวดเมือ่ ย
มือเท้าและร่ างกายในสตรีหลังคลอด ปวดประจําเดือน ระงับปวดในผูป้ ่ วยมะเร็ง บรรเทาอาการไหล่
อักเสบ อาการโพรงกระดู กเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง และแผลเปื่ อยจากการกระทบกับความหนาวมาก
เกินไป4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิระพินิจวงศ์, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาตังกุยซื่อหนี้ทงั . [เอกสารแปลเพือ่
การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Ou YJJ. Danggui Sini Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 185

ต้าเฉิ งชี่ทงั (大承气汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิง่ ) »2
ส่วนประกอบ
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 12 กรัม
厚朴 Cortex Magnoliae Officinalis โฮ่วผอ 15 กรัม
芒硝 Natrii Sulphas หมางเซียว 9 กรัม
枳实 Fructus Aurantii Immaturus จื่อสือ 12 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ โดยต้มโฮ่วผอและจื่อสือก่อนสักพัก แลว้ จึงใส่ตา้ หวง ต้มต่อ รินเอานํา้ ยาทีต่ ม้ ได้
ขณะร้อนมาละลายหมางเซียว1,3
การออกฤทธิ์
ทําให้ช่ไี หลเวียนสะดวก ขับความร้อน ขับสิง่ ตกค้าง และช่วยให้ถ่ายอุจจาระคล่อง1,3
สรรพคุณ
1. รักษาภาวะแกร่งของกระเพาะอาหารและลําไส้ โดยมีอาการท้องผูก ถ่ายไม่ออก แน่นท้อง
ผายลมบ่อย ๆ ปวดท้องกดแลว้ รูส้ กึ เจ็บ เวลากดจะแข็งเป็ นก้อน สะบัดร้อนสะบัดหนาว มีความร้อนสูง
ทําให้มอี าการเพ้อ มือและเท้ามีเหงือ่ ออก ลิ้นมีฝ้าเหลืองแห้ง เกิดเป็ นตุ่ม หรือมีรอยดําไหมแ้ ตกแห้ง ชีพจร
จม แกร่ง1,3
2. รักษาอาการที่เกิดจากความร้อนจัด โดยมีอาการธาตุแข็ง ถ่ายเป็ นนํา้ ใส มีกลิ่นเหม็นมาก
ท้องอืด ปวดท้องกดไม่ได้ เมือ่ กดจะเป็ นก้อนแข็ง ปากและลิ้นแห้ง ชีพจรลืน่ แกร่ง1,3
3. ผู ป้ ่ วยที่มภี าวะร้อนแกร่งภายใน โดยมีอาการร้อนจัด เป็ นไข้ชกั และคลุมคลั ้ ง่ 1,3
186 ตํารับยาระบาย

ตํารับยา ต้าเฉิ งชี่ทงั (大承气汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ต้าหวง (大黄) โฮ่วผอ (厚朴)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
หมางเซียว (芒硝) จื่อสือ (枳实)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 187

ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการร้อนจัดในช่วงเวลา


สัน้ ๆ โดยมีพษิ ไข้ทงั้ ที่เกิดจากโรคติดต่อหรือโรคไม่ติดต่อ หรือลําไส้ไม่เคลือ่ นไหวชัว่ คราว หรือลําไส้
อุดตัน1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
大黄 ต้าหวง ตัวยาหลัก ขม เย็น ขับถ่ายของเสียตกค้าง สลายก้อน
(โกฐนํา้ เต้า) ระบายความร้อน ห้ามเลือด แก้พษิ
ช่วยให้เลือดมีการไหลเวียนดีข้นึ
芒硝 หมางเซียว ตัวยาเสริม เค็ม เย็น ขับถ่าย สลายก้อนอุจจาระทีแ่ ข็งให้อ่อน-
(ดีเกลือ) อมขม ตัวลง ระบายความร้อน
厚朴 โฮ่วผอ ตัวยานําพา ขม เผ็ด อุ่น ช่วยให้ช่มี กี ารหมุนเวียน แก้ความชื้น
สลายของเสียตกค้าง ระงับอาการหอบ
枳实 จื่อสือ ตัวยานําพา ขม เผ็ด เย็น ขับชี่ลงล่าง สลายก้อน สลายของเสีย
(ส้มซ่า) เล็กน้อย ตกค้าง ละลายเสมหะ
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ ต้าหวงมีรสขม คุณสมบัติเย็น มีสรรพคุณระบายความ
ร้อนและขับถ่ายของเสียตกค้าง หมางเซียวเป็ นตัวยาเสริม มีรสเค็ม คุณสมบัติเย็น ช่ วยสลายก้อน
อุจจาระทีแ่ ข็งให้อ่อนตัวลง ระบายความร้อน เมือ่ ใช้ร่วมกับต้าหวงจะช่วยเสริมฤทธิ์ของต้าหวงให้แรงขึ้น
ตัวยานําพา ได้แก่ โฮ่วผอและจื่อสือช่วยต้าหวงและหมางเซียวในการสลายของเสียตกค้าง ขจัดความ
ร้อนทีส่ ะสมในกระเพาะอาหารและลําไส้ใหญ่โดยทําให้ช่มี กี ารหมุนเวียน ช่วยให้การขับถ่ายดีข้นึ 1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาชง4
ข้อแนะนํ าการใช้
เนื่องจากตํารับยาต้าเฉิงชี่ทงั มีฤทธิ์แรงมาก จึงให้หยุดยาทันทีทอ่ี าการดีข้นึ ไม่ควรรับประทาน
ยาต่อ เพราะจะทําลายชี่ของระบบกระเพาะอาหาร1,3
188 ตํารับยาระบาย

ข้อควรระวังในการใช้
ต้องใช้ตาํ รับยาต้าเฉิงชี่ทงั อย่างระมัดระวังในผูป้ ่ วยที่สภาพร่างกายอ่อนแอ หรืออาการทางโรค
ภายนอกยังไม่ได้แก้ไข หรือกระเพาะอาหารและลําไส้ไม่มอี าการธาตุแข็ง1,3
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาต้าเฉิ งชี่ทงั มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: จากการศึกษาในหนู ตะเภา หนู ขาว และกระต่าย พบว่าสารสกัดนํา้
มีฤทธิ์ช่วยกระตุน้ การบีบตัวของลําไส้ใหญ่ เพิม่ การซึมผ่านของของเหลวผ่านเยื่อเมือกลําไส้ใหญ่ ทําให้มี
ปริมาณนํา้ ในลําไส้ใหญ่มากขึ้น และช่วยเร่งการขับกากอาหารออกจากลําไส้ใหญ่ สารสกัดนํา้ ยังมีฤทธิ์ตา้ น
เชื้อแบคทีเรีย ลดอาการปวดบวมในหนู ขาว และต้านอักเสบในหนู ตะเภา1,4 การศึกษาในหลอดทดลอง
และในหนู ขาวแสดงให้เห็นว่า ตํารับยาต้าเฉิงชี่ทงั มีฤทธิ์ระบายความร้อนออกจากภายใน5 นอกจากนี้ พบว่า
ตํารับยานี้สามารถแสดงฤทธิ์ต่อปอดและลําไส้ใหญ่พร้อม ๆ กัน โดยลดการอักเสบของปอดและลําไส้ใหญ่
หนู ถีบจักร และลดความดันช่องท้องที่สูงและรักษาอาการบาดเจ็บที่ปอดของหนู ขาวที่ตบั อ่อนอักเสบ
เฉียบพลัน ซึง่ สนับสนุนทฤษฎีการแพทย์แผนจีนทีว่ ่าปอดและลําไส้ใหญ่มคี วามสัมพันธ์กนั แบบภายนอก
ภายใน6,7
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาต้าเฉิงชี่ทงั มีสรรพคุณช่วยกระตุน้ การเคลือ่ นไหวของลําไส้ ช่วย
ให้การขับถ่ายดีข้นึ 1,3 ช่วยให้ผูป้ ่ วยทีม่ กี ารทํางานของกระเพาะอาหารและลําไส้ผดิ ปกติอย่างรุนแรงกลับคืน
เป็ นปกติ8 ช่วยฟื้ นฟูสภาพให้ซมึ ผ่านได้ของเยื่อเมือกลําไส้ในผูป้ ่ วยตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันอย่างรุนแรง9
มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการใช้ตาํ รับยานี้กบั ยาสวนทวารในผูป้ ่ วยผ่าตัดถุงนํา้ ดี10 ผ่าตัดมดลูก11
และผ่าตัดมะเร็งในช่องท้อง12 พบว่าตํารับยานี้ช่วยให้มกี ารอักเสบน้อยกว่า มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า
และฟื้ นฟูการทํางานของทางเดินอาหารหลังผ่าตัดได้ดกี ว่า นอกจากนี้ ตํารับยานี้ยงั มีสรรพคุณลดการ
อักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย สงบสติ แก้อาการตัวร้อน1,3 และรักษาภาวะหายใจอึดอัดทีเ่ กิดภายหลังการ
บาดเจ็บ13
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 189

2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ ามวงศ์. ตํารับยาต้าเฉิ งชี่ทงั . [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Wen LX. Da Chengqi Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicin.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Tian ZS, Shen CH, Li DH, Liu YY. Experimental studies on the symptom-complex mechanism of pi man zao shi of
dachengqi decoction. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi. 1993; 18(3): 170-4, 192.
6. Sun XG, Fan Q, Wang QR. Effect of dachengqi decoction on expressions of TLR4 and TNF-alpha in the lung and
the large intestine of mice with endotoxemia. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2011; 31(2): 244-8.
7. Wan MH, Li J, Tang WF, Gong HL, Chen GY, Xue P, Zhao XL, Xia Q. The influnence of dachengqi tang on acute
lung injury and intra abdominal hypertension in rats with acute pancreatitis. Sichuan Da Xue Xue Bao Yi Xue Ban
2011; 42(5): 707-11.
8. Yang SL, Li DB. Clinical study on therapy of clearing hallow viscera in treating critical patients with gastro-enteric
function disorder. Chin J Integr Med 2006; 12(2): 122-5.
9. Chen H, Li F, Jia JG, Diao YP, Li ZX, Sun JB. Effects of traditional Chinese medicine on intestinal mucosal
permeability in early phase of severe acute pancreatitis. Chin Med J 2010; 123(12): 1537-42.
10. Qi QH, Wang J, Liang GG, Wu XZ. Da-Cheng-Qi-Tang promotes the recovery of gastrointestinal motility after
abdominal surgery in humans. Dig Dis Sci 2007; 52(6): 1562-70.
11. Cao BL, Jiao L, Liu XM. Application of Dachengqi Granule in the perioperative period of total laparoscopic
hysterectomy. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2009; 29(5): 441-3.
12. Wang S, Qi Q. Influence of pre-operational medicated dachengqi granule on inflammatory mediator in tumor patients.
Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 1999; 19(6): 337-9.
13. Liu FC, Xue F, Cui ZY. Experimental and clinical research of dachengqi decoction in treating post-traumatic
respiratory distress syndrome. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 1992; 12(9) :541-2, 518.
190 ตํารับยาระบาย

เสีย่ วเฉิ งชี่ทงั (小承气汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 12 กรัม
厚朴 Cortex Magnoliae Officinalis โฮ่วผอ 6 กรัม
枳实 Fructus Aurantii Immaturus จื่อสือ 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม โดยต้มโฮ่วผอและจื่อสือก่อนจนปริมาตรของนํา้ ต้มเหลือครึ่งหนึ่ง จึงใส่ตา้ หวง
ต้มต่อนานประมาณ 10 นาที1,3
การออกฤทธิ์
ช่วยให้ช่ไี หลเวียนได้สะดวก ขับความร้อนทีอ่ ดุ กัน้ ระบบการขับถ่าย ช่วยให้ถ่ายอุจจาระสะดวก
1,3
ขึ้น
สรรพคุณ
รัก ษากลุ่ม อาการอวัย วะฝู่ หยางหมิง แกร่ ง แบบไม่รุน แรง โดยมีอ าการเพ้อ มีไ ข้ตอนบ่ า ย
ท้องผูกคลําได้เป็ นก้อนที่ทอ้ ง ลิ้นมีฝ้าสีเหลืองหม่น ชีพจรลื่น เร็วมาก หรือใช้รกั ษาโรคบิดระยะแรก
โดยมีอาการปวดแน่นท้อง หรือปวดจุกใต้ล้นิ ปี่ และท้อง1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 191

ตํารับยา เสีย่ วเฉิ งชี่ทงั (小承气汤)

2 เซนติเมตร
ต้าหวง (大黄) 2 เซนติเมตร
โฮ่วผอ (厚朴)

2 เซนติเมตร
จื่อสือ (枳实)
192 ตํารับยาระบาย

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
大黄 ต้าหวง ตัวยาหลัก ขม เย็น ขับถ่ายของเสียตกค้าง สลาย
(โกฐนํา้ เต้า) ก้อน ระบายความร้อน ห้าม
เลือด ขับพิษ ช่วยให้การ
ไหลเวียนของเลือดดีข้นึ
厚朴 โฮ่วผอ ตัวยาเสริม ขมเผ็ด อุ่น ช่วยให้ช่มี กี ารไหลเวียน
ขับความชื้น สลายของเสีย
ตกค้าง ระงับอาการหอบ
枳实 จื่อสือ ตัวยานําพา ขมเผ็ด เย็น ขับชี่ลงเบื้องล่าง สลายก้อน
เล็กน้อย สลายของเสียตกค้าง ละลาย
เสมหะ
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาเม็ด4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ช่วยกระตุน้ การบีบตัวของลําไส้ใหญ่ เพิ่มการซึมผ่าน
ของของเหลวผ่านเยื่อเมือกลําไส้ใหญ่ ทําให้ปริมาตรนํา้ ในลําไส้ใหญ่มากขึ้น และเร่งการขับกากอาหาร
ออกจากลําไส้ใหญ่ของหนู ตะเภา หนู ขาว และกระต่าย และต้านเชื้อแบคทีเรียในหลอดทดลอง4
การศึกษาทางคลินิก: ยาต้มมีสรรพคุณบรรเทาอาการกระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบ
เฉี ยบพลัน กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ตับอักเสบ ขับของเสียตกค้าง และช่ วยให้การทํางานของ
กระเพาะอาหารและลําไส้ของผูป้ ่ วยหลังการผ่าตัดดีข้นึ 4,5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สมชาย จิระพินิจวงศ์. ตํารับยาเสีย่ วเฉิงชี่ทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 193

4. Wen LX. Xiao Chengqi Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Chen JK, Chen TT. Chinese Herbal Formulas and Applications. CA: Art of Medicine Press, 2008.
194 ตํารับยาระบาย

เถียวเว่ยเ์ ฉิ งชี่ทงั (调胃承气汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 12 กรัม
芒硝 Natrii Sulphas หมางเซียว 12 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มต้าหวงกับกันเฉ่ า แล ้วละลายหมางเซียวในนํา้ ยาทีต่ ม้ ก่อนดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขับความร้อนทีอ่ ดุ กัน้ ช่วยการขับถ่าย1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะทีม่ คี วามร้อนแห้งในกระเพาะอาหารและลําไส้ โดยมีอาการท้องผูก คอแห้ง กระหาย
นํา้ อารมณ์หงุดหงิด รูส้ กึ ตัวร้อนผ่าว หรือมีอาการท้องอืด แน่นท้อง พูดเพ้อ ลิ้นมีฝ้าเหลือง ชีพจรลืน่
เร็ว และใช้ในกรณี ท่ีกระเพาะอาหารและลําไส้มคี วามร้อนสู งจนเกิดมีเลือดออกเป็ นจํา้ ๆ ปรากฏที่
ผิวหนัง หรืออาเจียนเป็ นเลือด เลือดกําเดาไหล ปวดเหงือก ฟัน และเจ็บคอ ท้องอืดแน่นเป็ นเถาดาน1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 195

ตํารับยา เถียวเว่ยเ์ ฉิ งชี่ทงั (调胃承气汤)

2 เซนติเมตร
ต้าหวง (大黄)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
หมางเซียว (芒硝) กันเฉ่ า (甘草)
196 ตํารับยาระบาย

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
大黄 ต้าหวง ตัวยาหลัก ขม เย็น ขับถ่ายของเสียตกค้าง สลาย
(โกฐนํา้ เต้า) ของเสียทีก่ ่อตัวเป็ นก้อน
ระบายความร้อน ห้ามเลือด
ขับพิษ ช่วยให้เลือดมีการ
ไหลเวียนดีข้นึ
芒硝 หมางเซียว ตัวยาช่วย เค็มอมขม เย็น ขับถ่าย สลายก้อนอุจจาระ
(ดีเกลือ) ทีแ่ ข็งให้อ่อนตัวลง ระบาย
ความร้อน
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ขับพิษ
(ชะเอมเทศ) ระงับไอ ขับเสมหะ ปรับ
ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาเม็ด4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณลดการอักเสบ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ช่วยกระตุน้ การ
เคลือ่ นไหวของลําไส้ ช่วยให้การขับถ่ายดีข้นึ สงบจิตใจ และลดไข้4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สมชาย จิระพินิจวงศ์, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเถียวเว่ยเ์ ฉิงชี่ทงั . [เอกสารแปล
เพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผน
ไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Wen LX. Tiaowei Chengqi Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 197

ต้าหวงฟู่ จือ่ ทัง (大黄附子汤)


ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 9 กรัม
附子 (炮) Radix Aconiti Praeparata ฟู่จ่อื (เผ้า) 9 กรัม
细辛 Herba Asari ซีซ่ นิ 3 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
เสริมหยางกระจายความเย็นทีต่ กค้างในร่างกาย ช่วยให้ช่แี ละเลือดหมุนเวียน ขับถ่ายของเสียที่
ตกค้างในลําไส้ใหญ่1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการความเย็นจับคัง่ อยู่ในร่างกาย โดยมีอาการปวดท้องน้อย ท้องผูก ปวดชายโครง
ตัวร้อน มีไข้ มือเท้าเย็น ลิ้นมีฝ้าขาวและเหนียว ชีพจรตึง แน่น1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคท้องผูกทีม่ สี าเหตุจากการมี
ความเย็นสะสมคัง่ ในร่างกาย หรือลําไส้อดุ ตันแบบพร่อง1,3
198 ตํารับยาระบาย

ตํารับยา ต้าหวงฟู่ จือ่ ทัง (大黄附子汤)

ต้าหวง (大黄)
2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ฟู่จ่อื (เผ้า) [附子(炮)] ซีซ่ นิ (细辛)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 199

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
大黄 ต้าหวง ตัวยาหลัก ขม เย็น เป็ นยาระบาย ขับของเสียตกค้าง
(โกฐนํา้ เต้า)
附子 (炮) ตัวยาหลัก เผ็ด ร้อน เสริมหยาง บํารุงธาตุไฟ ดึงพลัง
ฟู่จ่อื (เผ้า) (มีพษิ )* หยางทีส่ ูญเสียไปให้กลับคืน อุ่น
(โหราเดือยไก่) หยางของหัวใจ ม้าม และไต สลาย
ความเย็น ระงับปวด
细辛 ซีซ่ น
ิ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น เสริมความอบอุ่นให้กบั เส้น-
ลมปราณ และสลายความเย็น
ช่ วยเสริมหยาง ระงับปวด
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ ฟู่จ่อื (เผ้า) มีรสเผ็ด คุณสมบัตริ อ้ นมาก มีสรรพคุณ
เสริมหยางให้ความอบอุ่นแก่ไต บํารุงธาตุไฟ ดึงพลังหยางที่สูญเสียไปให้กลับคืน สลายความเย็น และ
ระงับปวด ต้าหวงระบายความร้อนและขับถ่ายของเสียตกค้าง ตัวยาเสริมคือ ซี่ซนิ มีรสเผ็ด คุณสมบัติ
อุ่น ช่วยเสริมความอบอุ่นให้กบั เส้นลมปราณและสลายความเย็น ช่วยฟู่จ่อื เสริมหยางและระงับปวด เมือ่
ใช้ตวั ยาทัง้ สามร่วมกันจะมีฤทธิ์เสริมหยางกระจายความเย็นทีต่ กค้างในร่างกาย1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อควรระวังในการใช้
โดยทัว่ ไปนํา้ หนักของตัวยาต้าหวงทีใ่ ช้ตอ้ งไม่มากกว่าตัวยาฟู่จ่อื เมือ่ รับประทานยาตํารับนี้แลว้
จะถ่ายอุจจาระดี แสดงว่าอาการของโรคจะเขา้ สู่ภาวะปกติ แต่หากรับประทานแลว้ ไม่ถ่าย แต่กลับมี
อาการคลืน่ ไส้ อาเจียน มือเท้าเย็น ชีพจรเล็ก ถือว่าเป็ นอันตราย ให้หยุดยา1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาต้าหวงฟู่ จือ่ ทัง มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
* ฟู่จอ่ื (โหราเดือยไก่) เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
200 ตํารับยาระบาย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์เป็ นยาถ่าย และช่วยปรับอุณหภูมขิ องร่างกายให้


เป็ นปกติในหนู ถบี จักร4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาต้าหวงฟู่จ่อื ทังมีสรรพคุณเพิม่ กําลังในการขับถ่ายของเสีย ช่วย
ให้เลือดไหลเวียนดีข้นึ บํารุงหัวใจ ระงับปวด และแก้ทอ้ งผูก1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. มานพ เลิศสุทธิรกั ษ์. ตํารับยาไต้หวงฟู่จ่อื ทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Wen LX . Dahuang Fuzi Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese
medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 201

เวินผีทงั (温脾汤)
ตําราต้นตํารับ
备急千金要方 เป้ ยจ์ เี๋ ชียนจินเอี้ยวฟาง (Thousand Gold Remedies for Emergencies)1
« ค.ศ. 581-682 Sun Simiao (孙思邈 ซุนซือเหมีย่ ว) »2

ส่วนประกอบ
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 12 กรัม
附子(淡) Radix Aconiti Praeparata ฟู่จ่อื (ตัน้ ) 9 กรัม
干姜 Rhizoma Zingiberis กันเจียง 6 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 9 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 3 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ โดยแยกต้มฟู่จ่อื ก่อนตัวยาอืน่ 30-60 นาที เพือ่ ลดพิษยาให้นอ้ ยลง และใส่ตา้ หวง
หลังจากต้มยาชนิดอืน่ ๆ ในตํารับให้เดือดแล ้วประมาณ 5-10 นาที แล ้วต้มต่อประมาณ 5 นาที1,3
การออกฤทธิ์
บํารุงหยาง และเสริมความอบอุ่นให้ม ้าม เพือ่ ขับถ่ายของเย็น และของเสียทีค่ งั ่ ค้างภายใน1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการท้องร่วงหรือเป็ นบิดที่มสี าเหตุจากมา้ มเย็นบกพร่อง ทําให้มคี วามเย็นและของเสีย
คัง่ ค้างภายใน มีอาการท้องผูก ท้องเย็น ปวดท้องรอบสะดือเรื้อรัง เวลาได้รบั ความร้อนประคบจะรูส้ กึ ดี
ขึ้น หรือเป็ นบิดเรื้อรัง ปวดท้องจุกแน่นใต้ล้นิ ปี่ มือเท้าเย็น ลิ้นมีฝ้าขาว ชีพจรจมและตึง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาได้ตามความเหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคกระเพาะอาหาร
อักเสบเรื้อรัง ลําไส้อกั เสบเรื้อรัง ท้องผูกจากภาวะหยางพร่องกลุ่มผูป้ ่ วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ วัณโรคลําไส้
ท้องเสียเรื้อรังทีม่ สี าเหตุจากหยางพร่อง ลําไส้ใหญ่อกั เสบหรือเป็ นแผล1,3
202 ตํารับยาระบาย

ตํารับยา เวินผีทงั (温脾汤)

ต้าหวง (大黄) 2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
ฟู่จ่อื (ตัน้ ) [附子(淡)]

กันเจียง (干姜)
2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参) กันเฉ่ า (甘草) 2 เซนติเมตร
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 203

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
大黄 ต้าหวง ตัวยาหลัก ขม เย็น ขับถ่ายอุจจาระ ระบายความร้อน
(โกฐนํา้ เต้า) ขับพิษ ห้ามเลือด กระจายเลือดชํา้
ทําให้เลือดหมุนเวียน มีฤทธิ์
ค่อนข้างแรงในการขับถ่ายของเสีย
ทีค่ งั ่ ค้าง
附子(淡) ตัวยาหลัก เผ็ด ร้อน เสริมหยาง บํารุงธาตุไฟ ดึงพลัง
ฟู่จ่อื (ตัน้ ) (มีพษิ )* หยางทีส่ ูญเสียไปให้กลับคืน อุ่น
(โหราเดือยไก่) หยางของหัวใจ ม้าม และไต สลาย
ความเย็น ระงับปวด
干姜 กันเจียง ตัวยาเสริม เผ็ด ร้อน ให้ความร้อน อบอุ่นส่วนกลาง
(ขิงแห้ง) สลายความเย็น ดึงหยางให้กลับคืน
เพือ่ กระตุน้ ชีพจร ให้ความอบอุ่น
แก่ปอด สลายความชื้น เมือ่ ใช้ร่วม
กับฟู่จ่อื จึงเพิม่ ความแรงของตํารับ
人参 เหรินเซิน ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมพลังชี่อย่างมาก บํารุงหัวใจ
(โสมคน) อมขม เล็กน้อย และม้าม เสริมปอด สร้างสารนํา้
เล็กน้อย ช่วยให้จติ ใจสงบ
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน กลาง เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ระบาย
(ชะเอมเทศ) ค่อนข้างเย็น ความร้อน ขับพิษ แก้ไอ ขับเสมหะ
เล็กน้อย ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ ฟู่จ่อื (ตัน้ ) มีรสเผ็ดมากและคุณสมบัติรอ้ นมาก มี
สรรพคุณเสริมหยางให้ความอบอุ่นแก่ม ้ามและสลายความเย็น ต้าหวงขับถ่ายของเสียทีค่ งั ่ ค้าง ตัวยา
* ฟู่จอ่ื (โหราเดือยไก่) เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
204 ตํารับยาระบาย

เสริมคือ กันเจียงมีรสเผ็ด คุณสมบัตอิ ่นุ ช่วยฟู่จ่อื ให้ความอบอุ่นกับส่วนกลางของร่างกาย สลายความ-


เย็น เหรินเซินและกันเฉ่ าช่วยเสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง โดยเหรินเซินสามารถเสริมฤทธิ์อ่นุ หยางของกัน-
เจียงและฟู่จ่อื ส่วนกันเฉ่ าช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน ตํารับยานี้มสี รรพคุณบํารุงหยางเพือ่
ขับถ่ายของเสีย1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเวินผีทงั มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาเวินผีทงั มีฤทธิ์ช่วยให้หนู ถบี จักรขับถ่ายดีข้นึ 4 ปกป้ องเซลล์
หลอดไตในหลอดทดลอง5 ต้านอนุมลู อิสระทีท่ าํ ให้การทํางานของไตหนู ขาวบกพร่อง6 ลดอัตราเสีย่ งของ
การเกิดโรคไตในหนู ขาวที่ชกั นําให้เป็ นเบาหวาน7 ประวิงการเกิดไตวายเรื้อรังโดยลดปัจจัยต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้อง8 และประวิงการเสือ่ มของระบบประสาทในหนู ถบี จักรจากการสูญเสียเซลล์ประสาทสัง่ การ9
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาเวินผีทงั มีสรรพคุณเพิม่ แรงบีบตัวของระบบทางเดินอาหาร บรรเทา
อาการท้องผูก เสริมระบบการย่อยอาหาร เพิม่ การดูดซึม ช่วยให้การทํางานของไตดีข้นึ 1,3,4 ช่วยประวิง
พัฒนาการของโรคไตวายเรื้อรังในผูป้ ่ วยโรคไต10 กระตุน้ ประสาทส่วนกลาง บํารุงและกระตุน้ หัวใจ1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาเวินผีทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Wen LX. Wenpi Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Yokozawa T, Rhyu DY, Cho EJ. Protection by the Chinese prescription Wen-Pi-Tang against renal tubular LLC-PK1
cell damage induced by 3-morpholinosydnonimine. J Pharm Pharmacol 2003; 55(10): 1405-12.
6. Rhyu DY, Yokozawa T, Choa EJ, Park JC. Prevention of peroxynitrite-induced renal injury through modulation of
peroxynitrite production by the Chinese prescription Wen-Pi-Tang. Free Radic Res 2002 Dec;36(12):1261-9.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 205

หมาจือ่ เหรินหวาน (麻子仁丸)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ประกอบด้วย
麻子仁 Fructus Cannabis หมาจื่อเหริน 500 กรัม
芍药 Radix Paeoniae Alba เสาเย่า 250 กรัม
杏仁 Semen Armeniacae Amarum ซิง่ เหริน 250 กรัม
枳实 Fructus Aurantii Immaturus จื่อสือ 250 กรัม
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 500 กรัม
厚朴 Cortex Magnoliae Officinalis โฮ่วผอ 250 กรัม

วิธีใช้
นํายาทัง้ หมดมาบดเป็ นผงละเอียด เตรียมเป็ นยาลู กกลอนโดยใช้นาํ้ ผึ้งเป็ นนํา้ กระสายยา
รับประทานครัง้ ละ 9 กรัม กับนํา้ ต้มสุกอุ่น วันละ 1-2 ครัง้ หรือต้มเอานํา้ ดื่มโดยปรับขนาดยาให้
เหมาะสม1,3
การออกฤทธิ์
ถ่ายอุจจาระ ให้ความชุ่มชื้นแก่ลาํ ไส้1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการทอ้ งผูก ลําไสแ้ ห้ง อุจจาระแข็ง ปัสสาวะน้อย หรือท้องผูกหลังฟื้ นไขเ้ นื่องจาก
ร่างกายมีสารจําเป็ นไม่เพียงพอสําหรับการหล่อเลี้ยงและหล่อลืน่ หรือท้องผูกเป็ นประจํา1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการท้องผูก ลําไส้แห้ง
หรือท้องผูกหลังฟื้ นไข้จากภาวะร้อนหรือเสียเหงือ่ มาก1,3
206 ตํารับยาระบาย

ตํารับยา หมาจือ่ เหรินหวาน (麻子仁丸)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
หมาจื่อเหริน (麻子仁) เสาเย่า (芍药)

2 เซนติเมตร
จื่อสือ (枳实) ต้าหวง (大黄)
2 เซนติเมตร
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 207

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
โฮ่วผอ (厚朴) ซิง่ เหริน (杏仁)

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
麻子仁 หมาจื่อเหริน ตัวยาหลัก หวานสุขมุ ขับถ่าย ระบาย หล่อลื่นลําไส้
(ผลกัญชา) ทําให้ลาํ ไส้ช่มุ ชื้น
芍药 เสาเย่า ตัวยาเสริม ขมเปรี้ยว เย็น เสริมอินเลือด ปรับประจําเดือน
อมหวาน เล็กน้อย และปรับสมดุลชี่ของตับ ระงับ
ปวด เก็บกักอินชี่ ระงับเหงือ่
杏仁 ซิง่ เหริน ตัวยาเสริม ขม อุ่น ระงับไอ ระงับหอบ หล่อลืน่ ลําไส้
เล็กน้อย ระบายอ่อน ๆ
枳实 จื่อสือ ตัวยาช่วย ขม เย็น ขับชี่ลงล่าง ขับของเสียตกค้าง
อมเผ็ด เล็กน้อย ขับเสมหะ สลายก้อนและเถาดาน
大黄 ต้าหวง ตัวยาช่วย ขม เย็น ขับถ่ายของเสียตกค้าง สลาย
(โกฐนํา้ เต้า) ก้อน ระบายความร้อน ห้ามเลือด
ขจัดพิษ ช่วยให้เลือดมีการไหล-
เวียนดีข้นึ
厚朴 โฮ่วผอ ตัวยาช่วย ขม อุ่น ทําให้ช่หี มุนเวียน ขับความชื้น
อมเผ็ด ขับของเสียและอาหารตกค้าง
ระงับหอบ
208 ตํารับยาระบาย

ตํารับยานี้พฒั นามาจากตํารับยาเสี่ยวเฉิงชี่ทงั โดยเพิ่มตัวยาหมาจื่อเหริน ซิ่งเหริน และเสาเย่า


ตัวยาหลักคือหมาจื่อเหริน ซึง่ มีนาํ้ มันมากและใช้ในปริมาณสูง จะช่วยหล่อลืน่ ลําไส้ทาํ ให้ถ่ายอุจจาระง่าย
ตัวยาเสริม คือ ซิง่ เหริน ช่วยหล่อลืน่ และกดชี่ลงล่างให้ออกสู่ลาํ ไส้ ตัวยาช่วย ได้แก่ ต้าหวง จื่อสือ และ
โฮ่วผอ มีฤทธิ์ขบั ของเสียทีต่ กค้างในกระเพาะอาหารและลําไส้ นํา้ ผึ้งเป็ นตัวยานําพาช่วยหล่อลืน่ ระบาย1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอนนํา้ ผึ้ง ยาลูกกลอนนํา้ ยาต้ม ยาเม็ด ยาแคปซูล4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ควรระวังการใช้กบั ผูป้ ่ วยท้องผูกทีเ่ ป็ นผูส้ ูงอายุและผูท้ ม่ี รี ่างกายอ่อนแอ เลือดแห้งหรือขาดสาร
นํา้ ร่างกายไม่มคี วามร้อน และห้ามใช้กบั สตรีมคี รรภ์1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ขบั ถ่ายในหนู ถบี จักร ขับของเสียทีต่ กค้างในกระเพาะ-
อาหารและลําไส้คางคก ช่วยหล่อลืน่ ลําไส้กระต่ายให้ขบั ถ่ายอุจจาระง่าย4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาอาการท้องผูก แผลทีท่ วารหนัก โรคเบาหวาน
และปัสสาวะเล็ดเนื่องจากมีความผิดปกติของระบบประสาททีค่ วบคุม4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาหมาจื่อเหรินหวาน. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบัน
การแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Wen LX. Ma Zi Ren Wan. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 209

ซินเจียหวงหลงทัง (新加黄龙汤)
ตําราต้นตํารับ
瘟病条辨 เวินปิ้ งเถียวเปี้ ยน (Treatise on Differentiation and Treatment of Epidemic
Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 1798 Wu Tang (吴塘 หวูถงั ) »2
ส่วนประกอบ
生大黄 Radix et Rhizoma Rhei เซิงต้าหวง 9 กรัม
芒硝 Natrii Sulphas หมางเซียว 9 กรัม
玄参 Radix Scrophulariae เสฺวยี นเซิน 15 กรัม
细生地 Radix Rehmanniae ซีเ่ ซิงตี้ 15 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis ไม่ตง 15 กรัม
海参 Sea Cucumber ไห่เซิน* 2 ตัว
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 4.5 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 4.5 กรัม
生甘草 Radix Glycyrrhizae เซิงกันเฉ่ า 6 กรัม
姜汁 Ginger juice เจียงจือ 6 ช้อนชา

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ โดยควรแยกต้มเหรินเซิน แล ้วนํามาผสมกับนํา้ ยาทีต่ ม้ แล ้วก่อนดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
เสริมอิน บํารุงชี่ ขับระบายความร้อนออกทางอุจจาระ1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการเจิ้งชี่ (正气 พลังภายในร่างกาย) อ่อนแอ มีความร้อนอุดกัน้ โดยมีอาการท้องผูก
ท้องอืดแน่น อ่อนเพลีย ไม่มแี รง ปากคอแห้ง ริมฝี ปากแตก ลิ้นมีฝ้าเหลืองเกรียมหรือแห้งดําเกรียม1,3
* ไห่เซินตัวเล็กใช้ 2 ตัว หรือตัวใหญ่ใช้ 1 ตัว
210 ตํารับยาระบาย

ตํารับยา ซินเจียหวงหลงทัง (新加黄龙汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เซิงต้าหวง (生大黄) หมางเซียว (芒硝)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 211

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เสฺวยี นเซิน (玄参) ซีเ่ ซิงตี้ (细生地)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร ไห่เซิน (海参)
ไม่ตง (麦冬)

2 เซนติเมตร 3 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参) ตังกุย (当归)

2 เซนติเมตร
เซิงกันเฉ่ า (生甘草) เจียงจือ (姜汁)
212 ตํารับยาระบาย

ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่ลาํ ไส้เป็ นอัมพาต ลําไส้เล็ก


อุดตัน ท้องผูกเป็ นประจํา หรือมีไข้สูงที่เกิดจากการติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ โดยมีกลุ่มอาการร้อนแกร่ง
สะสมอยู่ภายใน และเจิ้งชี่พร่อง ทําให้สูญเสียอินของเลือดมาก1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
生大黄 เซิงต้าหวง ตัวยาหลัก ขม เย็น ขับถ่ายของเสียตกค้างทีเ่ กาะเป็ น
(โกฐนํา้ เต้า) ก้อน ระบายความร้อน ห้ามเลือด
ขจัดพิษ ช่วยให้การไหลเวียนของ
เลือดดีข้นึ
芒硝 หมางเซียว ตัวยาหลัก เค็ม เย็น ขับถ่าย สลายก้อนอุจจาระทีแ่ ข็งให้
(ดีเกลือ) อมขม อ่อนตัวลง ระบายความร้อน
玄参 เสฺวย ี นเซิน ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด ลดพิษ
อมหวาน ร้อนเข้าสู่กระแสเลือดและระบบ
เค็ม หัวใจ เสริมอิน ขับพิษ บรรเทา
อาการท้องผูก
细生地 ซีเ่ ซิงตี้ ตัวยาเสริม หวาน เย็น ระบายความร้อนในเลือด บํารุง
(โกฐขี้แมว) อมขม เลือดและอินชี่ของตับและไต
เสริมสารนํา้
麦冬 ไม่ตง ตัวยาเสริม ขม เย็น เสริมสารนํา้ ในกระเพาะอาหาร
อมหวาน เล็กน้อย เสริมอิน ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด
เล็กน้อย ช่วยให้จติ ใจแจ่มใส บรรเทาอาการ
หงุดหงิด
海参 ไห่เซิน ตัวยาเสริม เค็ม อุ่น บํารุงไต บํารุงเลือด บรรเทาอาการ
อ่อนเพลีย บรรเทาอาการหย่อน
สมรรถภาพทางเพศ และฝันเปี ยก
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 213

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


人参 เหรินเซิน ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงหัวใจและม้าม เสริม
(โสมคน) อมขม เล็กน้อย ปอด สร้างธาตุนาํ้ ช่วยให้จติ ใจ
เล็กน้อย สงบ
当归 ตังกุย ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้การไหลเวียน
อมเผ็ด ของเลือดดีข้นึ ลดบวม ระงับปวด
生甘草 เซิงกันเฉ่ า ตัวยาช่วย อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(ชะเอมเทศ) ระบายความร้อน ขับพิษ ระงับไอ
ขับเสมหะ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
姜汁 เจียงจือ ตัวยานําพา เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ขับความเย็นทําให้ช่ี
(นํา้ คัน้ ขิงสด) ไหลเวียน ให้ความอบอุ่นแก่
ส่วนกลางของร่างกายและปอด
ระงับอาเจียนและไอ
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ เซิงต้าหวงและหมางเซียว มีสรรพคุณขับระบายความ-
ร้อนและถ่ายท้อง ทําให้อุจจาระที่เป็ นก้อนแข็งอ่อนนุ่มลง ตัวยาเสริม ได้แก่ เสฺวยี นเซิน ซี่เซิงตี้ ไม่ตง
และไห่เซิน ใช้ร่วมกันเพื่อเพิม่ สารนํา้ และเพิม่ อิน ตัวยาช่วย ได้แก่ เหรินเซิน เซิงกันเฉ่ า และตังกุย มี
สรรพคุณบํารุงชี่และเลือด ช่วยเพิม่ ภูมติ า้ นทาน บํารุงอินของเลือด และเสริมฤทธิ์ของตัวยาอื่น ๆ ทําให้
ถ่ายอุจจาระระบายความร้อน ไข้จงึ ลดลง เจียงจือเป็ นตัวยานําพา ช่วยเสริมม้าม กระเพาะอาหาร และ
ลดชี่ของกระเพาะอาหารทีไ่ หลย้อนขึ้น สามารถป้ องกันหรือลดการสํารอกยาได้1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาซินเจียหวงหลงทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานขอ้ มูลยาสมุนไพรจีน].
นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2552.
214 ตํารับยาบํารุง

ซื่อจฺวนิ จือ่ ทัง (四君子汤)


ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
1
Dispensary)
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈师文 เฉินซือเหวิน) »2
ส่วนประกอบ
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 10 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 9 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 9 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม1,3
การออกฤทธิ์
เสริมชี่บาํ รุงม้าม1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะชี่ของระบบมา้ มและกระเพาะอาหารพร่อง โดยมีอาการรับประทานอาหารได้นอ้ ย
เบือ่ อาหารและถ่ายเหลว หน้าซีดขาว พูดเสียงเบาอ่อน มือเท้าไม่มแี รง ชีพจรจมเล็กอ่อน หรือ ชีพจรจม
เต้นช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคโลหิตจางจากการขาดสาร-
อาหาร เนื่องจากระบบการย่อยอาหารไม่ดี โรคกระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบเรื้อรัง หรือผูป้ ่ วยโรคบิด
เรื้อรังซึง่ เกิดจากชี่ของม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 215

ตํารับยา ซื่อจฺวนิ จือ่ ทัง (四君子汤)

2 เซนติเมตร
5 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参) ฝูหลิง (茯苓)

2 เซนติเมตร
3 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
216 ตํารับยาบํารุง

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
人参 เหรินเซิน ตัวยาหลัก หวานอมขม อุ่น เสริมชี่อย่างมาก เสริมปอด
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย บํารุงม้ามและกระเพาะอาหาร
สร้างธาตุนาํ้ ช่วยให้จติ ใจสงบ
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาเสริม ขม อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง
อมหวาน แก้ความชื้น ระบายนํา้ ระงับ
เหงือ่ กล่อมครรภ์
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน กลาง ระบายความชื้นและนํา้ เสริม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ม้ามให้แข็งแรง ช่วยให้จติ ใจ
สงบ
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ปรับ
กันเฉ่ า (จื้อ) ประสานตัว ยาทัง้ หมดให้
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยเหรินเซินเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณบํารุงเหวียนชี่อย่างมาก เสริมม้าม
ให้แข็งแรง และบํารุงกระเพาะอาหาร ไป๋ จูเ๋ ป็ นตัวยาเสริม ช่วยเสริมม้ามให้แข็งแรง ขจัดความชื้น ช่วยให้
แห้ง ฝูหลิงเป็ นตัวยาช่วย ช่วยระบายความชื้นและนํา้ เสริมม้ามให้แข็งแรง กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา
ช่วยบํารุงส่วนกลางและปรับประสานตัว ยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาเม็ด ยาลูกกลอน4
ข้อควรระวังในการใช้
1. ถ้าใช้ตาํ รับยาซื่อจฺวนิ จื่อทังนาน ๆ จะทําให้ปากและลิ้นแห้ง กระหายนํา้ หงุดหงิด และ
กระสับกระส่าย1,3
2. ต้องระมัดระวังการใช้ตาํ รับยาซื่อจฺวนิ จื่อทังกับผูป้ ่ วยที่มอี าการไข้สูง ร้อนจัดเนื่องจากอิน
พร่ อง หรือมีสารตกค้างในกระเพาะอาหาร ท้องอืด มีสารนํา้ ไม่เพียงพอ หงุดหงิด กระหายนํา้ และ
ท้องผูก1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 217

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาซื่อจฺวนิ จือ่ ทัง มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์บาํ รุงม้ามหนู ขาวและหนู ถบี จักร ช่วยปรับสมดุล
การทํางานของกระเพาะอาหารและลําไส้หนู ขาว เสริมภูมคิ ุม้ กันในหนู ถบี จักร เสริมสร้างเซลล์สมองและ
เซลล์ตบั หนู ถบี จักรทีอ่ ายุมาก4 และลดกรดในแบบจําลองของกระเพาะอาหาร5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาซือ่ จฺวนิ จื่อทังมีสรรพคุณในการเพิม่ ประสิทธิภาพการทํางานของ
ประสาทส่วนกลาง กระตุน้ การเผาผลาญ เพิม่ ภูมติ า้ นทาน ปรับสภาพการทํางานของกระเพาะอาหารและ
ลําไส้ เพิม่ ประสิทธิภาพการดูดซึมของระบบการย่อยอาหาร ระงับอาการท้องเสีย แก้อาการบวมนํา้ และ
ช่วยขับปัสสาวะ1,3
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาซื่อจฺวนิ จื่อทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Zhao H. Si Junzi Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Wu TH, Chen IC, Chen LC. Antacid effects of Chinese herbal prescriptions assessed by a modified artificial stomach
model. World J Gastroenterol 2010; 16(35): 4455-9.
218 ตํารับยาบํารุง

เซินหลิงไป๋ จูส๋ า่ น (参苓白术散)


ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
Dispensary)1
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈师文 เฉินซือเหวิน) »2
ส่วนประกอบ
人参 (去芦) Radix Ginseng (stem removed) เหรินเซิน (ชฺวห่ี ลู) 1,000 กรัม
白茯苓 Poria ไป๋ ฝูหลิง 1,000 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis ไป๋ จู ๋ 1,000 กรัม
Macrocephalae
白扁豆 Semen Dolichoris Album ไป๋ เปี่ ยนโต้ว 750 กรัม
(姜汁津, 去皮, (macerated in ginger juice, (เจียงจือจิน, ชฺวผ่ี ,ี
微炒) bark removed and stir-baked เวย์เฉ่ า)
to just dry)
薏苡仁 Semen Coicis อี้อเ่ี หริน 500 กรัม
山药 Rhizoma Dioscoreae ซานเย่า 1,000 กรัม
莲子肉 Semen Nelumbinis เหลียนจื่อโร่ว 500 กรัม
缩砂仁 Fructus Amomi ซูซ่ าเหริน 500 กรัม
桔梗 Radix Platycodonis (stir-baked เจีย๋ เกิง 500 กรัม
(炒令深黄色) to deep yellowish) (เฉ่ าลิง่ เซินหวงเซ่อ)
甘草 (炒) Radix Glycyrrhizae (stir-baked) กันเฉ่ า (เฉ่ า) 1,000 กรัม

หมายเหตุ: สามารถปรับลดนํา้ หนักยาข้างต้นตามอัตราส่วนให้เหมาะสมกับความต้องการใช้


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 219

ตํารับยา เซินหลิงไป๋ จูส๋ า่ น (参苓白术散)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (ชฺวห่ี ลู) [人参(去芦)] ไป๋ ฝูหลิง (白茯苓)
220 ตํารับยาบํารุง

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术) ไป๋ เปี่ ยนโต้ว (เจียงจื่อจิน, ชฺวผ่ี ,ี เวย์เฉ่ า)
[白扁豆(姜汁津,去皮,微炒)]

2 เซนติเมตร
อี้อเ่ี หริน (薏苡仁)

ซานเย่า (山药) 2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
เหลียนจื่อโร่ว (莲子肉) 2 เซนติเมตร
ซู่ซาเหริน (缩砂仁)

2 เซนติเมตร
เจีย๋ เกิง (เฉ่ าลิง่ เซินหวงเซ่อ) 2 เซนติเมตร
[桔梗(炒令深黄色)] กันเฉ่ า (เฉ่ า) [甘草(炒)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 221

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผงละเอียด รับประทานวันละ 2 ครัง้ ครัง้ ละ 6 กรัม โดยใช้นาํ้ ต้มต้าเจ่า
(大枣 พุทราจีน) เป็ นนํา้ กระสายยา หรือต้มเอานํา้ ดื่ม โดยปรับลดนํา้ หนักยาจากตํารับยาข้างต้น 100
เท่า1,3-5
การออกฤทธิ์
บํารุงชี่ เสริมม้าม ปรับสมดุลกระเพาะอาหาร ระบายความชื้น1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการที่มคี วามชื้นคัง่ ที่มสี าเหตุจากม้ามพร่อง โดยมีอาการแขนขาไม่มแี รง ร่างกาย
อ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย หรือท้องเสีย แน่นท้องและอึดอัดบริเวณทรวง
อกและลิ้นปี่ หน้าเหลืองซีด ลิ้นมีฝ้าเหนียวขาว ชีพจรพร่อง เชื่องช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มคี วามชื้นตกค้างจากม้าม
พร่อง โดยมีอาการอาหารไม่ย่อย เป็ นโรคกระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบเรื้อรัง โลหิตจาง กลุ่มอาการ
ของโรคไต ไตอักเสบเรื้อรัง และโรคเรื้อรังอืน่ ๆ1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
人参 (去芦) ตัวยาหลัก หวานอมขม อุ่น เสริมชี่อย่างมาก เสริมปอด
เหรินเซิน (ชฺวห่ี ลู) เล็กน้อย เล็กน้อย บํารุงม้ามและกระเพาะอาหาร
(โสมคนทีเ่ อาส่วนหัว สร้างธาตุนาํ้ ช่วยสงบจิตใจ
ออก) ปรับการเต้นของหัวใจให้กลับ
สู่สภาวะปกติ
白茯苓 ไป๋ ฝูหลิง ตัวยาหลัก หวาน สุขมุ ระบายความชื้นและนํา้ เสริม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ม้ามให้แข็งแรง ช่วยให้จติ ใจ
สงบ
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาหลัก ขม อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง
อมหวาน ขจัดความชื้น ระบายนํา้ ระงับ
เหงือ่ กล่อมครรภ์
222 ตํารับยาบํารุง

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


白扁豆 (姜汁津, ตัวยาเสริม หวาน อุ่น เสริมม้าม ขจัดความชื้น
去皮, 微炒) เล็กน้อย บรรเทาอาการทีเ่ กิดจากการ
ไป๋ เปี่ ยนโต้ว กระทบลมแดดทีม่ อี าการ
(เจียงจือจิน, ชฺวผ่ี ,ี ท้องเสีย อาเจียน
เวย์เฉ่ า)
薏苡仁 อี้อเ่ี หริน ตัวยาเสริม จืด เย็น สลายความชื้น ขับปัสสาวะ
(ลูกเดือย) อมหวาน เล็กน้อย เสริมบํารุงม้าม บรรเทาอาการ
บวมนํา้ ปวดข้อ ปวดเมือ่ ย
กล ้ามเนื้อ ปอดอักเสบ ลําไส้
อักเสบ ขับหนอง
山药 ซานเย่า ตัวยาเสริม หวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมอิน บํารุงม้าม
ปอดและไต เหนี่ยวรัง้ สาร-
จําเป็ น บรรเทาอาการตกขาว
莲子肉 เหลียนจื่อโร่ว ตัวยาเสริม หวาน สุขมุ เสริมสร้างบํารุงไตให้แข็งแรง
(เมล็ดบัว) อมขม เหนี่ยวรัง้ อสุจิ บํารุงม้าม ระงับ
อาการท้องเสีย รักษาอาการ
ตกขาวของสตรี เสริมบํารุง
หัวใจ
缩砂仁 ซู่ซาเหริน ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น สลายความชื้น ช่วยให้การ
ไหลเวียนของชี่ดขี ้นึ อุ่นจงเจียว
ระงับอาเจียน บรรเทาอาการ
ท้องเสีย กล่อมครรภ์
桔梗 (炒令深黄色) ตัวยานําพา ขม สุขมุ กระจายชี่ทป่ี อด ขับเสมหะ
เจีย๋ เกิง (เฉ่ าลิง่ เซิน อมเผ็ด บรรเทาอาการไอมีเสมหะมาก
หวงเซ่อ) อึดอัด แน่นหน้าอก คอบวม
เจ็บคอ ขับฝี หนองในปอด
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 223

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


甘草 (炒) ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ปรับ
กันเฉ่ า (เฉ่ า) ประสานตัว ยาทัง้ หมดให้เ ข้า
(ชะเอมเทศผัด) กัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ เหรินเซิน (ชฺวห่ี ลู) ไป๋ ฝูหลิง และไป๋ จู ๋ ซึง่ เป็ นตัวยาใน
ตํารับยาซื่อจฺวนิ จื่อทัง มีสรรพคุณบํารุงชี่ของม้ามและกระเพาะอาหาร ตัวยาเสริม ได้แก่ ไป๋ เปี่ ยนโต้ว
(เจียงจื่อจิน, ชวี่ผ,ี เวย์เฉ่ า) อี้อ่เี หริน ซานเย่า และเหลียนจื่อโร่ว มีสรรพคุณเสริมฤทธิ์ของไป๋ จูใ๋ นการ
เสริมม้ามให้แข็งแรง โดยระบายความชื้น และระงับอาการท้องเสีย ตัวยาช่วยคือ ซู่ซาเหริน ช่วยกระตุน้
ระบบการทํางานของกระเพาะอาหารและม้ามให้ดีข้ นึ และยังช่ วยตัวยาซื่อจฺวินจื่อในการกระตุน้ การ
ทํางานของกระเพาะอาหารและม้ามให้ดขี ้นึ บรรเทาอาการท้องเสีย และระงับอาเจียน ตัวยานําพา ได้แก่
เจีย๋ เกิง (เฉ่ าลิง่ เซินหวงเซ่อ) ช่วยนําฤทธิ์ของตัวยาในตํารับขึ้นส่วนบนของร่างกาย ซึ่งส่งผลดีต่อปอด
และกันเฉ่ า (เฉ่ า) มีสรรพคุณบํารุงส่วนกลาง และปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง ยาต้ม5
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ควรระวังการใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยกลุม่ อาการร้อนทีม่ สี าเหตุจากอินพร่อง หากชี่และอินพร่อง
หรืออินพร่องร่วมกับม้ามพร่อง ต้องปรับการใช้ให้เหมาะสม1,3,4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์กระตุน้ ระบบการดูดซึมของลําไส้เล็กในกระต่าย
เมือ่ ให้ยาทางปากกระต่ายในขนาด 1 กรัม/กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์อย่างอ่อนในการกระตุน้ การบีบตัวของ
กระเพาะอาหารและลําไส้ หากให้ยาในขนาด 2 กรัม/กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์บรรเทาอาการหดเกร็งของ
กระเพาะอาหารและลําไส้5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียที่มสี าเหตุจากม้ามพร่องทัง้
ในผูใ้ หญ่และเด็ก บรรเทาอาการกระเพาะอาหารอักเสบชนิดไม่รุนแรง ช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพการทํางานของ
กระเพาะอาหารและลําไส้ กระตุน้ การย่อยและดู ดซึมอาหาร บรรเทาอาการลําไส้อกั เสบชนิดเรื้อรัง ลด
บวม และลดอาการข้างเคียงจากการฉายรังสี1,3,5
224 ตํารับยาบํารุง

เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเซินหลิงไป๋ จูส๋ ่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูล
ยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Zhou YF. Science of Prescriptions. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional Chinese
Medicine, 2002.
5. Zhao H. Shen Ling Baizhu San. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 225

ปู่จงอี้ช่ีทงั (补中益气汤)
ตําราต้นตํารับ
脾胃论 ผีเว่ยล์ น
ุ่(Treatise on the Spleen and Stomach)1
« ค.ศ.1249 Li Dongyuan (李东垣 หลีต่ งเหวียน) »2
ส่วนประกอบ
黄芪 Radix Astragali Membranacei หวงฉี 15 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 10 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 10 กรัม
甘草(炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 5 กรัม
橘皮 Pericarpium Citri Reticulatae จฺหวีผี 6 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 10 กรัม
(酒焙干) (baked with wine to dry) (จิ่วเป้ ยก์ นั )
升麻 Rhizoma Cimicifugae เซิงหมา 3 กรัม
柴胡 Radix Bupleuri ไฉหู 3 กรัม

ตํารับยา ปู่จงอี้ช่ีทงั (补中益气汤)


226 ตํารับยาบํารุง

5 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
หวงฉี (黄芪) จฺหวีผี (橘皮)

5 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ตังกุย (จิว่ เป้ ยก์ นั ) [当归(酒焙干)] เหรินเซิน (人参)

2 เซนติเมตร

กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草 (炙)] 3 เซนติเมตร


ไป๋ จู ๋ (白术)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร

เซิงหมา (升麻) ไฉหู (柴胡)


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 227

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ หรือทําเป็ นยาเม็ดรับประทานครัง้ ละ 10-15 กรัม วันละ 2-3 ครัง้ รับประทานกับ
1,3
นํา้ อุ่น
การออกฤทธิ์
เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ช่วยให้หยางชี่ลอยขึ้น1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะชี่ของมา้ มและกระเพาะอาหารพร่อง โดยมีอาการตัวร้อน มีเหงือ่ ปวดศีรษะ กลัว
หนาว คอแห้งและกระหายนํา้ ต้องการดื่มนํา้ อุ่น ชี่นอ้ ย อ่อนแรงจนไม่อยากพูด รับประทานอาหารไม่รูร้ ส
มือเท้าไม่มแี รง ลิ้นซีดมีฝ้าขาวบาง ชีพจรอ่อน ไม่มแี รง หรือชี่พร่อง ทําให้มดลูกและกระเพาะอาหาร
หย่อน ท้องเสีย หรือถ่ายเป็ นบิดเรื้อรัง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาได้ตามความเหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคความดันเลือด
ตํา่ ปวดศีรษะเรื้อรัง การควบคุมการทํางานของระบบประสาทอัตโนมัตผิ ดิ ปกติ โรคกระเพาะอาหารลําไส้
อักเสบเรื้อรัง กลา้ มเนื้อลีบไม่ทาํ งาน กระเพาะอาหารหย่อน ลําไส้ตรงทวารหนักหย่อน มดลูกหย่อน ไต
หย่ อน (ไตเคลื่อนหย่อนมากเกินปกติ) มีเลือดออกเรื้อรัง มดลู กกลับเข้าที่ไม่เรียบร้อยหลังคลอด
ประจําเดือนมามากเกินไป มีจาํ้ เลือดจากอาการแพ้และมีอาการเป็ นจํา้ ๆ จากเกล็ดเลือดตํา่ มีไข้ตาํ ่ ๆ
เรื้อรังในระยะพักฟื้ นหรือระยะหลังผ่าตัด และโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่มสี าเหตุจากชี่ของม้ามและกระเพาะ
อาหารพร่อง1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รสคุณสมบัติ สรรพคุณ
黄芪 หวงฉี ตัวยาหลัก หวาน อุ่น บํารุงชี่ให้หยางลอยขึ้น เสริม
เล็กน้อย สร้างภูมติ า้ นทานผิวหนัง ระบาย
นํา้ ลดบวม ช่ วยสร้างเซลล์
กลา้ มเนื้อ และช่ วยเสริมภูม-ิ
ต้านทาน ขับพิษหนองออกจาก
ร่างกาย
人参 เหรินเซิน ตัวยาเสริม หวานอมขม อุ่น เสริมชี่อย่างมาก สร้างสารนํา้
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย บํารุงหัวใจและม้าม สงบจิตใจ
228 ตํารับยาบํารุง

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาเสริม ขม อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง แก้
อมหวาน ความชื้น ระบายนํา้ ระงับเหงือ่
กล่อมครรภ์
甘草(炙) ตัวยาเสริม หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ปรับ
กันเฉ่ า (จื้อ) ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง)
橘皮 จฺหวีผี ตัวยาช่วย เผ็ดขม อุ่น ปรับสมดุลชี่ของม้ามให้แข็งแรง
(ผิวส้มจีน) ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ
当归 (酒焙干) ตัวยาช่วย หวานเผ็ด อุ่น บํารุงเลือด ช่ วยให้เลือดมีการ
ตังกุย (จิว่ เป้ ยก์ นั ) หมุนเวียน ปรับประจําเดือน ระงับ
ปวด ช่วยให้ลาํ ไส้มคี วามชุ่มชื้น
升麻 เซิงหมา ตัวยานําพา เผ็ด เย็น ขับกระจายกระทุง้ โรคหัด ระบาย
อมหวาน เล็กน้อย ความร้อนแก้พษิ ช่วยให้หยางชี่
ลอยขึ้น
柴胡 ไฉหู ตัวยานําพา ขมเผ็ด เย็น ขับกระจายลดไข้แก้ตวั ร้อน
เล็กน้อย ผ่อนคลายระบบตับ และช่วยให้
หยางชี่ข้นึ สูส่ ่วนบน คลายเครียด
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ หวงฉี มีสรรพคุณบํา รุง ชี่ใ ห ห้ ยางลอยขึ้น ตัวยาเสริม
ได้แก่ เหรินเซิน ไป๋ จู ๋ และกันเฉ่ า (จื้อ) มีสรรพคุณบํารุงชี่ และเสริมม้ามให้แข็งแรง ตัวยาช่วย ได้แก่
จฺหวีผชี ่วยควบคุมการไหลเวียนของชี่ ตังกุยบํารุงเลือด ตัวยานําพา ได้แก่ เซิงหมาและไฉหู มีสรรพคุณ
ระบายความร้อน ช่วยให้หยางชี่ลอยขึ้น 1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยาปู่จงอี้ช่ที งั กับผูป้ ่ วยทีม่ อี าการร้อนจากอินพร่อง หรือผูป้ ่ วยชี่พร่องทีม่ กี ารสูญเสีย
สารนํา้ ด้วย1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 229

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาปู่จงอี้ช่ีทงั มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาปู่จงอี้ช่ที งั มีฤทธิ์เสริมภูมติ า้ นทาน แก้อ่อนเพลีย ปกป้ อง
ตับ ปรับสมดุลและกระตุน้ การทํางานของระบบดูดซึมอาหารของลําไส้เล็กหนู ถบี จักร และยับยัง้ การเกิด
แผลในกระเพาะอาหารหนู ขาว1,4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาปู่จงอี้ช่ที งั มีสรรพคุณเสริมสร้างเซลล์ของภูมติ า้ นทาน กระตุน้
การเผาผลาญ (metabolism) และการทํางานของสมองส่วนหน้า เพิม่ ความแข็งแรงให้กบั กลา้ มเนื้อลาย
กลา้ มเนื้อเรียบ และกลา้ มเนื้อพังผืดเส้นเอ็นต่าง ๆ กระตุน้ การทํางานของระบบการย่อย และการดูดซึม
ของทางเดินอาหาร1,3 ลดอาการอักเสบของเยื่อจมูกจากภูมแิ พ้5 การให้ผูป้ ่ วยมะเร็งในระบบทางเดิน
อาหารใช้ตาํ รับยานี้ก่อนการผ่าตัด 7 วัน พบว่าสามารถป้ องกันไม่ให้ภูมคิ ุม้ กันลดตํา่ ลงจากความเครียด6
นอกจากนี้ ตํารับยานี้ยงั สามารถลดอาการล ้าและช่วยให้คุณภาพชีวติ ของผูป้ ่ วยมะเร็งดีข้นึ 7
การศึกษาความปลอดภัย: การศึกษาพิษเฉียบพลันในหนู ขาวโดยการให้ยาทางปากในขนาด 166
กรัม/กิโลกรัม วันละ 2 ครัง้ ติดต่อกัน 3 วัน พบว่าไม่มหี นู ขาวตัวใดตายภายใน 7 วัน และไม่ทาํ ให้เกิด
อาการผิดปกติใด ๆ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาปู่จงอี้ช่ที งั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพร
จีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2549.
4. Zhao H, Jiang JM. Buzhong Yiqi Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional
Chinese medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Yang SH, Yu CL. Antiinflammatory effects of Bu-zhong-yi-qi-tang in patients with perennialallergic rhinitis. J
Ethnopharmacology 2008; 115(1): 104-9.
6. Kimura M, Sasada T, Kanai M, Kawai Y, Yoshida Y, Hayashi E, Iwata S, Takabayashi A. Preventive effect of a
traditional herbal medicine, Hochu-ekki-to, on immunosuppression induced by surgical stress. Surg Today 2008;
38(4): 316-22.
7. Jeong JS, Ryu BH, Kim JS, Park JW, Choi WC, Yoon SW. Bojungikki-tang for cancer-related fatigue: a pilot
randomized clinical trial. Integr Cancer Ther. 2010; 9(4): 331-8.
230 ตํารับยาบํารุง

เซิงม่ายส่าน (生脉散)
ตําราต้นตํารับ
内外伤辨感论 เน่ยไ์ ว่ซางเปี้ ยนกัน่ ลุน
่ (Differentiation on Endogenous and Exogenous
1
Diseases)
« ค.ศ. 1231 Li Gao (李杲 หลีเ่ กา) หรือ Li Dongyuan (李东垣 หลีต่ งเหวียน) »2
ส่วนประกอบ
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 10 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis Japonici ไม่ตง 15 กรัม
五味子 Fructus Schisandrae Chinensis อู่เว่ยจ์ ่อื 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม1
การออกฤทธิ์
บํารุงชี่ เสริมสร้างสารนํา้ เสริมและเก็บสะสมอิน ระงับเหงือ่ 1,3
สรรพคุณ
ใช้รกั ษาอาการไข้ต่าง ๆ ทีช่ ่แี ละอินพร่องมาก มีอาการหายใจสัน้ เหงือ่ ออกมาก ปากคอแห้ง ลิ้น
แดงแห้ง อ่อนเพลีย ชีพจรพร่ องจมไม่มแี รง หรืออาการไอเรื้อรังซึ่งเกิดจากชี่และอินของปอดพร่ อง
ไอแห้ง หายใจสัน้ เหงือ่ ออกเองหรือหัวใจเต้นเร็ว ชีพจรพร่องเล็กหรี่อ่อนไม่มแี รง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการภาวะช็อคที่เกิดจาก
การเสียเลือดหรือขาดสารนํา้ 1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 231

ตํารับยา เซิงม่ายส่าน (生脉散)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参) อู่เว่ยจ์ ่อื (五味子)

22 เซนติ
เซนติเมตร
ไม่ตง (麦冬)
เมตร
232 ตํารับยาบํารุง

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
人参 เหรินเซิน ตัวยาหลัก หวานอมขม อุ่น บํารุงชี่และเสริมกําลัง บํารุง
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย หัวใจและปอด
麦冬 ไม่ตง ตัวยาเสริม หวานอมขม เย็น บํารุงอิน เสริมสร้างสารนํา้
เล็กน้อย ระบายความร้อน ให้ความ-
ชุ่มชื้นแก่ปอด
五味子 อู่เว่ยจ์ อ
่ื ตัวยาช่วย เปรี้ยว อุ่น ควบคุมอินชี่ของปอด แก้
อมหวาน เหนื่อยหอบ ระงับเหงือ่ สร้าง
สารนํา้ แก้กระหายนํา้ บํารุง
ประสาท
เมือ่ ใช้สมุนไพรทัง้ 3 ชนิดร่วมกัน จะช่วยให้การบํารุงชี่สมบูรณ์ ทําให้เกิดสารนํา้ แก้กระหายนํา้
สะสมอิน ระงับเหงือ่ ทําให้เกิดพลังงานในระบบชีพจร และการเต้นของชีพจรที่อ่อนมากกลับดีข้ นึ จึงได้
ชื่อว่า “เซิงม่าย (เกิดชีพจร)”1,3 ถ้าอาการไม่รุนแรง สามารถใช้ตงั ่ เซิน (党参 Radix Codonopsis
Pilosulae) หรือ โสมอเมริกนั [ซีหยางเซิน (西洋参 Radix Panacis Quinquefolii)] แทนโสมคน4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยานํา้ ยาแคปซูล ยาฉีด*5
ข้อแนะนํ าการใช้
1. หากชี่และอินไม่สมบูรณ์ อินพร่อง ความร้อนกําเริบ ให้ใช้โสมอเมริกนั แทนโสมคน ถ้าอาการ
หนักมากถึงขัน้ อันตราย สามารถเพิม่ นํา้ หนักยาในตํารับนี้ได้1,3
2. สามารถใช้ตาํ รับยาเซิงม่ายส่านเพือ่ บํารุงชี่และเสริมสารนํา้ ในผูป้ ่ วยวัณโรค โรคระบบทางเดิน
หายใจเรื้อรัง ระบบประสาทอ่อนแอ ซึ่งเป็ นสาเหตุให้มอี าการไอ หงุดหงิด นอนไม่หลับ โรคหัวใจ การเต้น
ของหัวใจผิดปกติแบบชี่และอินพร่อง โดยปรับขนาดยาตามอาการ1,3

* ในประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้ยาเตรียมจากสมุนไพรในรูปแบบยาฉีด
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 233

ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาเซิงม่ายส่านมีฤทธิ์กระชับหรือเก็บชี่ จึงไม่เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ ไี ข้สูงจากสาเหตุภายนอก
และยังไม่ได้กาํ จัดออกโดยการขับเหงือ่ หรือกระทุง้ ไข้ ไข้ยงั ไม่สร่าง ผูป้ ่ วยหวัดแดด และผูป้ ่ วยทีช่ ่แี ละ
สารนํา้ ถูกทําลาย1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเซิงม่ายส่าน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาเซิงม่ายส่านมีฤทธิ์ควบคุมการทํางานของกลา้ มเนื้อหัวใจ
กระต่าย ช่วยบํารุงเซลล์กลา้ มเนื้อหัวใจทําให้หวั ใจเต้นดีข้นึ ควบคุมการทํางานของระบบประสาทส่วนกลาง
หนู ถบี จักร แสดงฤทธิ์ตา้ นอักเสบและฤทธิ์เสริมภูมคิ มุ ้ กันหนู ขาว ป้ องกันอาการกล ้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน
ที่มสี าเหตุมาจากการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง5 และป้ องกันการบาดเจ็บของสมองหนู ขาวจากปฏิกิริยา
ออกซิเดชัน หรือจากการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง6
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาเซิงม่ายส่านมีฤทธิ์ยบั ยัง้ การเกิดลิม่ เลือดในหลอดเลือดของ
ผูป้ ่ วยโรคหัวใจ ปรับสมดุลของระดับไขมันในเลือด ช่วยป้ องกันอาการเป็ นลมเพราะแพ้แดดในผูส้ ูงอายุ
รักษาอาการปอดอักเสบ บรรเทาอาการกล ้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วนซึง่ มีสาเหตุมาจากการขาดเลือดไปหล่อ
เลี้ยง บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกในผูป้ ่ วยโรคหัวใจ ช่วยทําให้การทํางานของหัวใจทีผ่ ดิ ปกติจากชี่และอิน
พร่องดีข้นึ ช่วยให้ระบบการย่อยและการดูดซึมดีข้นึ รวมทัง้ ใช้รกั ษาอาการเวียนศีรษะในสตรีหลังคลอด
รักษาอาการไข้จากหวัดแดด วัณโรคปอด เหงือ่ ออกมาก เหงือ่ ออกเอง แผลในปาก ไข้หวัดในเด็กที่เกิด
จากชี่และอินพร่อง และตับอักเสบในเด็ก1,5 จากการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็ นระบบ สรุปว่าการใช้ตาํ รับยานี้
มีประโยชน์ต่อผูป้ ่ วยหัวใจลม้ เหลว7 และช่วยให้ผูป้ ่ วยกลา้ มเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสมีอาการ
ดีข้นึ 8
การศึกษาความปลอดภัย: จากการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนู ถบี จักร โดยการฉีดยาฉีดทีเ่ ตรียม
จากตํารับยาเซิงม่ายส่านเข้าหลอดเลือดดํา พบว่าขนาดที่ทาํ ให้หนู ถบี จักรตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่า
เทียบเท่ากับผงยา 34.64 กรัม/กิโลกรัม และการให้ตาํ รับยานี้ในขนาดเทียบเท่าผงยา 20 กรัม/กิโลกรัม
ไม่ทาํ ให้สตั ว์ทดลองตัวใดตายภายใน 72 ชัว่ โมงหลังจากให้ยา เมือ่ ฉีดยาทีม่ คี วามเข้มข้นเป็ น 3 เท่าของ
ยาฉีดเข้าช่องท้องหนู ถบี จักรในขนาด 0.9 มิลลิลติ ร/10 กรัม ไม่พบสัตว์ทดลองตัวใดตาย ภายใน 48
ชัว่ โมง หลังจากให้ยา และเมือ่ ฉีดยาดังกล่าวเข้าหลอดเลือดดําหนู ถบี จักรในขนาด 20 มิลลิลติ ร/กิโลกรัม
วันละครัง้ ทุกวันติดต่อกัน 15 วัน ไม่ทาํ ให้เกิดอาการผิดปกติใด ๆ5
234 ตํารับยาบํารุง

เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สมบูรณ์ ฟูเจริญทรัพย์, บุญยง เศวตบวร. ตํารับยาเซิงม่ายส่าน. ใน มานพ เลิศสุทธิรกั ษ์, พจงจิต เลิศสุทธิรกั ษ์, นิตต์นนั ท์ เทอด
เกียรติ (บรรณาธิการ). ตํารับยาจีน. [เอกสารประกอบการฝึ กอบรมหลักสูตรยาและสมุนไพรจีน วันที่ 12-24 มิถนุ ายน 2547].
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
กรุงเทพมหานคร: ร้านพุม่ ทอง, 2547.
4. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
5. Zhao H, Zhang S, Wang X. Shengmai san. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional
Chinese medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
6. Ichikawa H, Wang L, Konishi T. Prevention of cerebral oxidative injury by post-ischemic intravenous administration
of Shengmai San. Am J Chin Med 2006; 34(4): 591-600.
7. Zheng H, Chen Y, Chen J, Kwong J, Xiong W. Shengmai (a traditional Chinese herbal medicine) for heart failure.
Cochrane Database Syst Rev 2011;(2): CD005052.
8. Liu ZL, Liu ZJ, Liu JP, Yang M, Kwong J. Herbal medicines for viral myocarditis. Cochrane Database Syst Rev
2010; (7): CD003711.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 235

ซื่ออูท้ งั (四物汤)
ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
1
Dispensary)
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈诗文 เฉินซือเหวิน) »2
ส่วนประกอบ
熟地黄(酒蒸) Radix Rehmanniae Praeparata สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) 12 กรัม
当归(酒浸炒) Radix Angelicae Sinensis ตังกุย (จิ่วจิ้นเฉ่ า) 10 กรัม
白芍 Radix Paeoniae Alba ไป๋ เสา 12 กรัม
川芎 Radix Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 8 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม1
การออกฤทธิ์
บํารุงเลือด ปรับสมดุลของเลือด1,3,4
สรรพคุณ
ใช้รกั ษาอาการเลือดพร่อง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เช่น สตรีประจําเดือนไม่ปกติ ปวดท้องน้อย
ปวดประจําเดือนหรือมีอาการตกเลือด เลือดจับเป็ นก้อนหรือปวดเป็ นระยะ ๆ สตรีมคี รรภ์ท่ที ารกดิ้น
มากกว่าปกติ หรือตกเลือดไหลไม่หยุด สตรีหลังคลอดทีน่ าํ้ คาวปลาออกไม่สะดวก ลิม่ เลือดจับเป็ นก้อน
ปวดท้องน้อย ท้องแข็ง มีอาการสะบัดร้อนสะบัดหนาวจากภาวะเลือดคัง่ 1,3,4
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการปวดระดู โลหิตจาง
อ่อนเพลียหลังคลอด นํา้ นมไม่เพียงพอ ลมพิษ ปวดศีรษะเนื่องจากระบบประสาท6
236 ตํารับยาบํารุง

ตํารับยา ซื่ออูท้ งั (四物汤)

3 เซนติเมตร 5 5เซนติ
เซนติเมตร
เมตร
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) [熟地黄(酒蒸)] ตังกุย (จิ่วจิ้นเฉ่ า) [当归(酒浸炒)]

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป๋ เสา (白芍) ชวนซฺยง (川芎)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 237

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
熟地黄(酒蒸) ตัวยาหลัก อมหวาน อุ่น บํารุงเลือด เสริมอิน เพิม่ สาร-
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) เล็กน้อย จําเป็ น เช่น นํา้ อสุจิ และนํา้ ไข-
(โกฐขี้แมวนึ่งเหล ้า) สันหลัง
当归(酒浸炒) ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น เพิม่ การไหลเวียนและบํารุงเลือด
ตังกุย (จิ่วจิ้นเฉ่ า) อมหวาน ปรับประจําเดือนให้เป็ นปกติ
(โกฐเชียงผัดเหล ้า)
白芍 ไป๋ เสา ตัวยาช่วย ขมเปรี้ยว เย็น เสริมและเก็บกักอินของเลือด
อมหวาน เล็กน้อย ปรับประจําเดือน สงบตับ ระงับ
เหงือ่ ระงับปวด
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด
(โกฐหัวบัว) ขับลมในเลือด ระงับปวด
ตัวยาสูต้ หี วง (จิ่วเจิง) และไป๋ เสาช่วยบํารุงเลือด แต่เป็ นยาอิน จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาของการ
ไหลเวียนของเลือด ซึ่งตัวยาอื่นในตํารับคือ ตังกุยและชวนซฺยง เป็ นยาทีม่ รี สเผ็ดและอุ่น จะช่วยให้การ
ไหลเวียนของเลือดดีข้ นึ 6 เมือ่ นําตัวยาทัง้ หมดมารวมเป็ นตํารับเดียวกัน จึงช่วยบํารุงเลือด ปรับการ
ไหลเวียนของเลือดและปรับประจําเดือนได้ดว้ ย หากผูป้ ่ วยมีภาวะเลือดคัง่ หรือมีล่มิ เลือดอุดตันร่วม
ด้วย ให้เปลีย่ นตัวยาไป๋ เสาเป็ นเช่อเสา (赤芍 Radix Paeoniae Rubra) แทน และหากผูป้ ่ วยมีภาวะ
โลหิตร้อน ให้เปลีย่ นตัวยาสูต้ หี วงเป็ นตี้หวง (地黄 โกฐขี้แมว) แทน5
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยานํา้ ยาฉีด*7
ข้อแนะนํ าการใช้
ตํารับยาซือ่ อูท้ งั เป็ นยาบํารุงเลือดทีน่ ิยมใช้เป็ นตํารับพื้นฐานในการปรับประจําเดือนให้เป็ นปกติ
เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ อี าการใจสัน่ เวียนศีรษะ หน้าหมองคลํา้ ลิ้นซีด ชีพจรเล็กและเลือดพร่อง1,4
เหมาะกับอาการเรื้อรัง หรืออาการทีไ่ ม่รุนแรง6
* ในประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้ยาเตรียมจากสมุนไพรในรูปแบบยาฉีด
238 ตํารับยาบํารุง

ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาซือ่ อูท้ งั ไม่เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยทีห่ ยางของม้ามและกระเพาะอาหารพร่อง ซึง่ มีอาการเบือ่
อาหารและถ่ายเหลว1,4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาซื่ออูท้ งั มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาซื่ออูท้ งั มีฤทธิ์เสริมภูมติ า้ นทาน ชะลอความแก่ บรรเทา
อาการโลหิตจาง จากการศึกษาในหนู ตะเภา พบว่าตํารับยานี้ช่วยบรรเทาอาการหลังจากการแท้งลูก5
กล่อมประสาท บรรเทาอาการเกร็งของมดลูก ช่วยให้ประจําเดือนมาเป็ นปกติ1 ตํารับยานี้ยงั มีฤทธิ์ช่วย
ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงของไขกระดู กหนู ถีบจักร8 ทําให้มกี ารสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น9
การศึกษาในหลอดทดลองพบว่า ตํารับยานี้สามารถกระตุน้ ให้เซลล์ท่อนํา้ นมมีการเพิม่ จํานวน10
การศึกษาทางคลินิก: มีการศึกษาใช้ตาํ รับยานี้ใน 2-3 รอบของการมีประจําเดือน โดยให้ยา
ติดต่อกัน 5 หรือ 7 วัน หลังเริ่มมีประจําเดือน พบว่าสามารถบรรเทาอาการปวดระดูได้เพียงเล็กน้อย แต่
ในรอบเดือนถัดไปทีไ่ ม่ได้ให้ยา จะมีอาการปวดลดลงอย่างชัดเจน11,12 นอกจากนี้ พบว่าตํารับยานี้ทาํ ให้
ความดันเลือดสูงขึ้น แต่ไม่ทาํ ให้มกี ารเปลีย่ นแปลงของค่าทางชีวเคมีทเ่ี กี่ยวข้องกับภาวะเลือดจาง13
การศึกษาความปลอดภัย: การฉีดสารสกัดนํา้ เข้าช่องท้องหนู ถบี จักรในขนาด 2 กรัม/กิโลกรัม
พบว่าไม่ทาํ ให้สตั ว์ทดลองตาย7
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. Li F, Fan QL, Zhu ZB, Zhao JQ, Zhu WX. Science of prescriptions: A newly compiled practical English-Chinese
library of traditional Chinese medicine. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional
Chinese Medicine, 2000.
4. สมบูรณ์ ฟูเจริญทรัพย์, บุญยง เศวตบวร. ตํารับยาซื่ออูท้ งั . ใน มานพ เลิศสุทธิรกั ษ์, พจงจิต เลิศสุทธิรกั ษ์, นิตต์นนั ท์ เทอดเกียรติ
(บรรณาธิการ). ตํารับยาจีน. [เอกสารประกอบการฝึ กอบรมหลักสูตรยาและสมุนไพรจีน วันที่ 12-24 มิถนุ ายน 2547]. สถาบัน
การแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพ-
มหานคร: ร้านพุม่ ทอง, 2547.
5. Ou M, Li YW, Gao HS, Cen WW. Chinese-English manual of common-used prescriptions in traditional Chinese
medicine. 1st ed. Guangzhou: Guangdong Science & Technology Publishing House, 1991.
6. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. Seattle: Eastland Press, 1990.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 239

7. Ru K, Jiang JM. Siwu tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine.
Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
8. Guo P, Ma ZC, Li YF, Liang QD, Wang JF, Wang SQ. Effect of siwu tang on protein expression of bone marrow of
blood deficiency mice induced by irradiation. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2004; 29(9): 893-6.
9. Tan W, Song CS, Tan HL, Liu LL, Ma ZC, Wang YG, Gao Y. Hematopoietic effect of siwu decoction in the mice
with blood deficiency induced by compound method of bleeding, starved feeding and exhausting. Zhongguo Zhong
Yao Za Zhi 2005; 30(12): 926-9.
10. Chang CJ, Chiu JH, Tseng LM, Chang CH, Chien TM, Chen CC, Wu CW, Lui WY. Si-Wu-Tang and its constituents
promote mammary duct cell proliferation by up-regulation of HER-2 signaling. Menopause 2006; 13(6): 967-76.
11. Yeh LL, Liu JY, Lin KS, Liu YS, Chiou JM, Liang KY, Tsai TF, Wang LH, Chen CT, Huang CY. A randomised
placebo-controlled trial of a traditional Chinese herbal formula in the treatment of primary dysmenorrhoea. PLoS One
2007; 2(8): e719.
12. Cheng JF, Lu ZY, Su YC, Chiang LC, Wang RY. A traditional Chinese herbal medicine used to treat dysmenorrhoea
among Taiwanese women. J Clin Nurs 2008; 17(19): 2588-95.
13. Yeh LL, Liu JY, Liu YS, Lin KS, Tsai TF, Wang LH. Anemia-related hemogram, uterine artery pulsatility index, and
blood pressure for the effects of Four-Agents-Decoction (Si Wu Tang) in the treatment of primary dysmenorrhea. J
Altern Complement Med 2009; 15(5): 531-8.
240 ตํารับยาบํารุง

กุยผีทงั (归脾汤)
ตําราต้นตํารับ
济生方 จี้เซิงฟาง (Prescriptions for Succouring the Sick หรือ Recipes for Saving
Lives)1
« ค.ศ.1253 Yan Yonghe (严用和 เอีย๋ นย่งเหอ) » 2
ส่วนประกอบ
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 15 กรัม
黄芪 Radix Astragali Membranacei หวงฉี 30 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 30 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 8 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 3 กรัม
茯神 Poria cum Ligno Hospite ฝูเสิน 30 กรัม
酸枣仁 Semen Ziziphi Spinosae ซวนเจ่าเหริน 30 กรัม
(炒, 去壳) (stir-fried, shell removed) (เฉ่ า, ชฺวเ่ี ค่อ)
龙眼肉 Arillus Longan หลงเหยีย่ นโร่ว 30 กรัม
远志 (蜜炙) Radix Polygalae (honey-parched) หย่วนจื้อ (มีจ่ ้ อื ) 3 กรัม
木香 Radix Aucklandiae มูเ่ ซียง 15 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 6 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 3 ผล

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม หรือเตรียมเป็ นยาลูกกลอนนํา้ ผึ้ง โดยเพิ่มนํา้ หนักของตัวยาตามสัดส่วนข้างต้น
ขนาดเม็ดละ 9 กรัม รับประทานเวลาท้องว่าง ครัง้ ละ 1 เม็ด วันละ 3 ครัง้ 1
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 241

ตํารับยา กุยผีทงั (归脾汤)

2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参)

2 เซนติเมตร
หวงฉี (黄芪)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术)
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
242 ตํารับยาบํารุง

2 เซนติเมตร
5 เซนติเมตร ฝูเสิน (茯神)
ตังกุย (当归)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
หลงเหยีย่ นโร่ว (龙眼肉)
ซวนเจ่าเหริน (酸枣仁)

2 เซนติเมตร
หยวนจื้อ (远志) 2 เซนติเมตร
มูเ่ ซียง (木香)

2 เซนติเมตร
3 เซนติเมตร
เซิงเจียง (生姜) ต้าเจ่า (大枣)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 243

การออกฤทธิ์
บํารุงชี่เลือด เสริมระบบม้าม บํารุงหัวใจ1,3
สรรพคุณ
รักษาโรคทีร่ ะบบหัวใจ ม้าม ชี่และเลือดพร่อง โดยมีอาการใจสัน่ หลงลืม นอนไม่หลับ เหงือ่ ลัก
ออก ไข้ตาํ ่ ๆ อ่อนเพลีย เบือ่ อาหาร หน้าซีดเหลือง ลิ้นซีด มีฝ้าขาวบาง ชีพจรเล็กและเชื่องช้า1,3
รักษาโรคที่ระบบมา้ มมีการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ โดยมีอาการถ่ายอุจจาระเป็ นเลือด ตก
เลือดในสตรี ประจําเดือนมาก่อนกําหนด ประจําเดือนมีปริมาณมาก สีซดี จาง หรือไหลไม่หยุด หรืออาจ
มีอาการตกขาว1,3
ตํารับยานี้สามารถปรับเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีก่ ารควบคุมของประสาท
อัตโนมัตแิ ละประสาทหัวใจผิดปกติ มีอาการของสตรีวยั ทอง นอนไม่หลับ หลงลืม โลหิตจาง เกล็ดเลือด
และโปรตีนตํา่ กระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบเรื้อรัง เส้นประสาทบริเวณกระเพาะอาหารอักเสบ มดลูก
มีเลือดออก เนื่องจากประสิทธิภาพการทํางานของหัวใจบกพร่อง ม้ามพร่อง1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
人参 เหรินเซิน ตัวยาหลัก หวานอมขม อุ่น เสริมชี่อย่างมาก สร้างสารนํา้
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย บํารุงหัวใจและม้าม สงบจิตใจ
黄芪 หวงฉี ตัวยาหลัก หวาน อุ่น บํารุงม้ามและชี่ เสริมภูมคิ มุ ้ กัน
เล็กน้อย ระงับเหงือ่
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาเสริม ขม อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง ขับ
อมหวาน ความชื้น ระบายนํา้ ระงับเหงือ่
甘草 (炙) กันเฉ่ า (จื้อ) ตัวยาเสริม หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ร่างกาย เสริมความชุ่มชื้นให้
ปอด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ปวด
当归 ตังกุย ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงตับ บํารุงเลือด ช่วยให้เลือด
อมเผ็ด ไปเลี้ยงหัวใจดีข้นึ
茯神 ฝูเสิน ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ ระบายนํา้ ช่วยให้จติ ใจสงบ ช่วย
(โป่ งรากสนติดเนื้อไม้) เล็กน้อย ให้นอนหลับดีข้นึ
244 ตํารับยาบํารุง

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


酸枣仁 (炒,去壳) ตัวยาช่วย เปรี้ยว สุขมุ บํารุงหัวใจและตับ สงบประสาท
ซวนเจ่าเหริน อมหวาน ระงับเหงือ่
(เฉ่ า, ชฺวเ่ี ค่อ)
龙眼肉 ตัวยาช่วย อมหวาน อุ่น บํารุงม้ามและชี่ เพิม่ เลือดมา
หลงเหยีย่ นโร่ว หล่อเลี้ยงระบบหัวใจ
(เนื้อผลลําใย)
远志 (蜜炙) ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น สงบประสาท ขับเสมหะ เปิ ดทวาร
หย่วนจื้อ (มีจ่ ้ อื ) อมขม เล็กน้อย ทําให้ความสัมพันธ์ของการทํางาน
ระหว่างหัวใจและไตดีข้นึ
木香 มูเ่ ซียง ตัวยาช่วย ขม อุ่น ช่วยให้ช่หี มุนเวียน ระงับปวด
(โกฐกระดูก) อมเผ็ด เจริญอาหาร กระตุน้ การทํางาน
ของม้าม เพือ่ ป้ องกันชี่ตดิ ขัดจาก
ยาบํารุงชี่เลือดทีม่ ากเกินไป ซึง่
ทําให้เลือดข้นและขัดต่อการ
ทํางานในระบบลําเลียงของ
กระเพาะอาหารและม้าม
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะ-
(ขิงแก่สด) อาหาร
大枣 ต้าเจ่า ตัวยาช่วย หวาน อุ่น ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะ-
(พุทราจีน) อาหาร
ตํารับยานี้ประกอบด้วยเหรินเซินและหวงฉีเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณบํารุงชี่และเสริมม้ามให้
แข็งแรง ตัวยาเสริม ได้แก่ ไป๋ จูแ๋ ละกันเฉ่ า (จื้อ) ช่วยบํารุงม้าม เสริมชี่ ช่วยเสริมสร้างต้นกําเนิดของชี่
และเลือด ตัวยาช่วย ได้แก่ ตังกุยช่วยหล่อเลี้ยงตับเพื่อสร้างเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ฝูเสิน ซวนเจ่าเหริน
และหลงเหยี่ยนโร่วบํารุงหัวใจ สงบจิตใจ หย่วนจื้อทําให้หวั ใจและไตประสานการทํางานกันดีข้ นึ และ
จิตใจสงบ มู่เซียงช่วยปรับชี่ กระตุน้ การทํางานของมา้ มเพื่อป้ องกันชี่ติดขัดจากยาบํารุงชี่เลือดที่มาก
เกินไป ซึง่ ทําให้เลือดข้นและขัดขวางการลําเลียงในระบบของกระเพาะอาหารและม ้าม1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 245

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยานํา้ 4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับนี้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ คี วามร้อนหรือไข้หลบในซึง่ เกิดจากอินพร่อง และชีพจรเต้นเร็ว1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึ ก ษาทางเภสัช วิ ท ยา: ตํา รับ ยานี้ มีฤ ทธิ์ย บั ยัง้ การเกิ ด แผลในกระเพาะอาหารชนิ ด
เฉียบพลันในหนู ถบี จักร โดยปรับสมดุลและเพิม่ ประสิทธิภาพการทํางานของสมอง ทําให้การขับนํา้ ย่อย
และการเคลือ่ นไหวของกระเพาะอาหารและลําไส้กลับคืนสู่สภาพปกติ4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาระบบหัวใจและม้ามทีช่ ่แี ละเลือดไม่สมบูรณ์
เพียงพอ มีอาการใจสัน่ หยางพร่องทําให้เท้าบวม บรรเทาอาการตับอักเสบชนิดเรื้อรัง เป็ นจํา้ เลือดใต้
ผิวหนัง ระงับอาการตกเลือดในสตรี ประจําเดือนมาก่อนกําหนด บรรเทาอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย
วิงเวียนศีรษะ4 ช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพการทํางานของระบบการเผาผลาญสารอาหารให้เป็ นพลังงาน และ
เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง1,3
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, วราภรณ์ ตัง้ อร่ามวงศ์, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยากุยผีทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน].
นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2551.
4. Liu JG, Jiang JM. Gui Pi Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
246 ตํารับยาบํารุง

ลิ่วเว่ยต์ ้ หี วงหวาน (六味地黄丸)


ตําราต้นตํารับ
่ วเอ๋อร์เย่าเจิ้งจือ๋ จฺเหวีย (Key to Therapeutics of Children’s
小儿药证直诀 เสีย
Diseases)1
« ค.ศ. 1114 Qian Yi (钱乙 เฉียนอี)่ »2
ส่วนประกอบ
熟地黄(酒蒸) Radix Rehmanniae Praeparata สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) 240 กรัม
山茱萸 Fructus Corni ซานจูยหฺ วี 120 กรัม
山药 Rhizoma Dioscoreae ซานเย่า 120 กรัม
泽泻 Rhizoma Alismatis เจ๋อเซีย่ 90 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 90 กรัม
丹皮 Cortex Moutan Radicis ตันผี 90 กรัม

วิธีใช้
นํายาทัง้ หมดมาบดเป็ นผงละเอีย ด เตรียมเป็ นยาลูกกลอนโดยใช้นาํ้ ผึ้งเป็ นนํา้ กระสายยา
รับประทานครัง้ ละ 6-9 กรัม วันละ 2-3 ครัง้ รับประทานกับนํา้ ต้มสุกอุ่น หรือนํา้ ต้มสุกผสมเกลือให้มรี ส
กร่อยเล็กน้อย หรือต้มเอานํา้ ดืม่ โดยปรับขนาดยาให้เหมาะสม1,3
การออกฤทธิ์
บํารุงตับและไต เสริมอินและธาตุนาํ้ 1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะอินของตับและไตพร่ อง โดยมีอาการปวดหรือเมื่อยลา้ บริเวณเอว มึนหรือเวียน
ศีรษะ ตาลาย หูอ้ อื หูหนวก เหงือ่ ออกตอนหลับ นํา้ อสุจหิ ลัง่ ออกมาไม่รูต้ วั ทารกกระหม่อมปิ ดไม่มดิ
อาการจากอินพร่องจนเกิดภาวะร้อนพร่อง ทําให้มไี ข้ในช่วงบ่ายและกลางคืน หรือมีเหงือ่ ออก ฝ่ ามือฝ่ า
เท้าร้อน กระหายนํา้ ปวดฟันจากภาวะร้อนพร่อง ปากแห้ง คอแห้ง ลิ้นแดง ฝ้ าน้อย ชีพจรเล็กและเร็วถี1,3่
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 247

ตํารับยา ลิ่วเว่ยต์ ้ หี วงหวาน (六味地黄丸)

3 เซนติเมตร
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง)[熟地黄(酒蒸)] 2 เซนติเมตร
ซานจูยหฺ วี (山茱萸)

2 เซนติเมตร 3 เซนติเมตร
ซานเย่า (山药) เจ๋อเซีย่ (泽泻)

3 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓) ตันผี (丹皮)
248 ตํารับยาบํารุง

ตํา รับ ยานี้ ส ามารถเพิ่ม หรือ ลดขนาดยาให เ้ หมาะสมสํา หรับ ผู ป้ ่ ว ยโรคประสาทอัต โนมัติ
ผิดปกติ ความดันเลือดสู ง ผนังหลอดเลือดแข็งตัว โรคเบาหวาน ไตอักเสบเรื้อรัง ไทรอยด์เป็ นพิษ
วัณโรคปอด ทางเดินปัสสาวะติดเชื้อเรื้อรัง หอบหืด ประจําเดือนขาดหาย ประจําเดือนมาน้อย พัฒนาการ
ทางร่างกายและสมองของทารกช้าผิดปกติท่เี กิดจากภาวะอินของตับและไตพร่อง1,3 ผูป้ ่ วยที่มอี าการ
เหนื่อยง่าย เส้นประสาทตาและจอประสาทตาอักเสบ4
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
熟地黄(酒蒸) ตัวยาหลัก อมหวาน อุ่น บํารุงอินและเลือด เสริมอสุจแิ ละ
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) เล็กน้อย ไขกระดูก
(โกฐขี้แมวนึ่งเหล ้า)
山茱萸 ซานจูยห ฺ วี ตัวยาเสริม เปรี้ยว อุ่น เสริมบํารุงตับและไต เก็บออม
อมฝาด เล็กน้อย สารจําเป็ น เหนี่ยวรัง้ การหลังเร็
่ ว
ของอสุจแิ ละปัสสาวะ
山药 ซานเย่า ตัวยาเสริม หวาน กลาง บํารุงชี่ เสริมอิน บํารุงม้าม ปอด
และไต เหนี่ยวรัง้ สารจําเป็ น แก้
ตกขาว
泽泻 เจ๋อเซีย
่ ตัวยาช่วย จืด เย็น ขับปัสสาวะ ขับความชื้น ระบาย
อมหวาน ความร้อน
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน กลาง ขับนํา้ สลายความชื้น บํารุงม้าม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย สงบประสาท
丹皮 ตันผี ตัวยาช่วย ขมอมเผ็ด เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
(เปลือกรากโบตัน)๋ เล็กน้อย ลง กระจายเลือดเสีย ทําให้การ
ไหลเวียนของเลือดดีข้นึ
ตํารับยานี้เน้นการใช้สูต้ ีหวง (จิ่วเจิง) เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณเสริมอินของไต เสริมอสุจิ
และไขกระดูก ตัวยาเสริม ได้แก่ ซานจูยฺหวีเสริมบํารุงตับและไต และซานเย่าเสริมอินของไตและบํารุง
ม้าม ตัวยาช่วย ได้แก่ เจ๋อเซีย่ เมือ่ ใช้ร่วมกับสูต้ หี วง (จิ่วเจิง) จะช่วยขับปัสสาวะ ตันผีใช้ร่วมกับซานจู-
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 249

ยฺหวีจะช่วยระบายความร้อนสูงในตับ ฝูหลิงใช้ร่วมกับซานเย่าจะช่วยขับความชื้นในมา้ ม ตํารับยานี้เป็ น


ทัง้ ยาบํารุงและยาระบาย แต่เน้นการบํารุงเป็ นหลัก1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาชงพร้อมดืม่ ยาเม็ด ยานํา้ ยาต้ม5
ข้อควรระวังในการใช้
ควรระมัดระวังการใช้ตาํ รับยาลิว่ เว่ยต์ ้ หี วงหวานในผูป้ ่ วยมา้ มพร่องที่มกี ารเผาผลาญและการ
ขับเคลือ่ นไม่ด1,3ี
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาลิ่วเว่ยต์ ้ หี วงหวาน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: การศึกษาในสัตว์ทดลองหลายชนิด พบว่าตํารับยาลิว่ เว่ยต์ ้ หี วงหวาน
มีฤทธิ์เพิม่ นํา้ หนักของอัณฑะ รังไข่ และมดลูก เพิม่ จํานวนตัวอสุจิ ลดไขมันในเลือด ลดนํา้ ตาลในเลือด
ยับยัง้ การแข็งตัวของผนังหลอดเลือด ช่วยการไหลเวียนของเลือด ลดความดันโลหิต ชะลอความแก่ เสริม
สมรรถนะการทํางานของร่างกาย กระตุน้ ภูมคิ ุม้ กัน ปกป้ องตับ และช่วยให้ประสิทธิภาพการทํางานของ
ไตดีข้นึ 5,6
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาลิว่ เว่ยต์ ้ หี วงหวานมีสรรพคุณเสริมกําลัง บํารุงร่างกาย ฟื้ นการ
ทํางานของไตทีอ่ กั เสบเรื้อรังจากไตอินพร่องและร้อนชื้น ลดอาการบวมและปัสสาวะมีโปรตีนในผูป้ ่ วยโรค
ไต บรรเทาอาการปัสสาวะบ่อย มีประสิทธิภาพสําหรับรักษาการเป็ นหมันในผูช้ าย บรรเทาอาการของ
หญิงวัยหมดประจําเดือน ลดความดันเลือด ปรับการทํางานของระบบต่อมไร้ท่อ รักษาโรคเบาหวานชนิด
ไม่พง่ึ พาอินซูลนิ หอบหืดจากไตพร่อง และหลอดอาหารอักเสบ1,3,6
การศึกษาความปลอดภัย: การให้ตาํ รับยาลิว่ เว่ยต์ ้ หี วงหวานทางปากหนู ขาว ขนาด 500, 1,000
และ 2,000 มิลลิกรัม/โลกรัม เพียงครัง้ เดียว และให้วนั ละครัง้ นาน 13 สัปดาห์ พบว่าไม่มหี นู ตาย ไม่มี
ความผิดปกติของนํา้ หนักตัว ค่าทางโลหิตวิทยาและชีวเคมี และพฤติกรรมทางคลินิก7 เมือ่ ให้ตาํ รับยาลิว่
เว่ยต์ ้ หี วงหวานทางปากหนู ถบี จักรในขนาด 0.6, 3 และ 30 กรัม/กิโลกรัม ติดต่อกันนาน 14 เดือน พบว่า
ไม่ทาํ ให้หนู เป็ นมะเร็ง แต่กลับสามารถลดการเกิดเนื้องอกได้5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
250 ตํารับยาบํารุง

2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาลิว่ เว่ยต์ ้ หี วงหวาน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
5. Hu SM, Jiang JM. Liuwei Dihuang Wan. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional
Chinese medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
6. Chen JK, Chen TT. Chinese Herbal Formulas and Applications. CA: Art of Medicine Press, 2008.
7. Ha H, Lee JK, Lee HY, Koh WS, Seo CS, Lee MY, Huang DS, Shin H. Safety Evaluation of Yukmijihwang-tang:
assessment of acute and subchronic toxicity in rats. Evid Based Complement Alternat Med 2011; 2011: 672136.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 251

ต้าปู่อนิ หวาน (大补阴丸)


ตําราต้นตํารับ
丹溪心法 ตันซีซน
ิ ฝ่ า (Danxi’s Experimental Therapy)1
« ค.ศ.1347 Zhu Danxi (朱丹溪 จูตนั ซี) »2
ส่วนประกอบ
熟地黄 (酒蒸) Rhizoma Rehmanniae Praeparata สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) 180 กรัม
(steamed in rice wine)
龟板 (酥炒) Plastrum Testudinis (fried with กุยปัน่ (ซูเฉ่ า) 180 กรัม
honey to crip)
黄柏 (炒) Cortex Phellodendri (parched) หวงไป่ (เฉ่ า) 120 กรัม
知母 (酒浸炒) Rhizoma Anemarrhenae จือหมู่ (จิ่วจิ้นเฉ่ า) 120 กรัม
(macerated in rice wine and
then parched)

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดให้ละเอียด เติมนํา้ ทีไ่ ด้จากการนึ่งกระดูกสันหลังหมูในปริมาณพอเหมาะ
คลุกเคลา้ ให้เขา้ กัน นวดยาใหม้ ลี กั ษณะเหมือนดินเหนียว ผสมนํา้ ผึ้งบริสุทธิ์ท่เี คี่ยวจนเหนียวและมี
สีคลํา้ จากนัน้ นํามาปัน้ เป็ นยาลูกกลอน หนักเม็ดละประมาณ 9 กรัม รับประทานครัง้ ละ 1 เม็ด วันละ 2
ครัง้ เช้า-เย็น โดยใช้นาํ้ เกลือเจือจางเป็ นนํา้ กระสายยา หรือต้มเอานํา้ ดื่ม โดยปรับลดนํา้ หนักยาลงจาก
ตํารับยาข้างต้น 10 เท่า1,3
การออกฤทธิ์
เสริมอิน ลดความร้อนจากอินพร่อง1,3
252 ตํารับยาบํารุง

ตํารับยา ต้าปู่อินหวาน (大补阴丸)

2 เซนติเมตร
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) [热地黄(酒蒸)]
2 เซนติเมตร
กุยปัน่ (ซูเฉ่ า) [龟板(酥炒)]

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
หวงป๋ อ (เฉ่ า) [黄柏(炒)] จือหมู่ (จิ่วจิ้นเฉ่ า) [知母(酒浸炒)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 253

สรรพคุณ
รักษากลุม่ อาการอินพร่องทีม่ คี วามร้อนแกร่ง โดยมีอาการไข้ตาํ ่ ๆ ช่วงบ่าย ซึง่ มักเกิดกับผูป้ ่ วย
วัณโรคกระดู ก ปวดร้อนที่เข่า ขาไม่มีแรง มีเหงื่อลักออก (เหงื่อออกขณะหลับ ตื่นแลว้ ไม่มีเหงื่อ)
นํา้ กามเคลือ่ นในขณะนอนหลับ ไอมีเลือดปน อาเจียนเป็ นเลือด มีอารมณ์โกรธง่าย หงุดหงิด กระวน
กระวาย ลิ้นแดง มีฝ้าน้อย ชีพจรตําแหน่ง “ฉื่อ” เต้นเร็วและแรง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคต่อมไทรอยด์ทาํ งานมาก
เกินไป วัณโรคไต วัณโรคกระดูก และโรคเบาหวาน ทีม่ ลี กั ษณะของกลุม่ อาการอินพร่องหยางแกร่ง1
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
热地黄 (酒蒸) ตัวยาหลัก อมหวาน อุ่น บํารุงอินและเลือด เสริมอสุจิ
สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) เล็กน้อย และไขกระดูก
(โกฐขี้แมวนึ่งเหล ้า)
龟板 (酥炒) ตัวยาหลัก เค็ม เย็น เสริมอิน ลดหยาง บํารุงไต
กุยปัน่ (ซูเฉ่ า) อมหวาน บํารุงกระดูก บรรเทาอาการปวด
(กระดองเต่าคัว่ ) เมือ่ ยเอว ปวดหัวเข่า เส้นเอ็น
黄柏 (炒) ตัวยาเสริม ขม เย็นมาก ระบายความร้อนซึง่ อยู่ช่วงล่าง
หวงป๋ อ (เฉ่ า) ของร่างกาย
知母 (酒浸炒) ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อน เสริมอิน ให้
จือหมู่ (จิ่วจิ้นเฉ่ า) อมหวาน ความชุ่มชื้น
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ สู ต้ หี วง (จิ่วเจิง) และกุยปัน่ (ซูเฉ่ า) ซึ่งใช้ปริมาณ
มากกว่าปกติ มีสรรพคุณเสริมอิน ควบคุมหยาง เพิม่ สารนํา้ ควบคุมธาตุไฟ ตัวยาเสริม ได้แก่ หวงป๋ อ
(เฉ่ า) และจือหมู่ (จิ่วจิ้นเฉ่ า) มีสรรพคุณระบายความร้อนและรักษาอินไว้ ไขกระดูกสันหลังหมูและ
นํา้ ผึ้งเป็ นตัวยาช่วยและนําพา มีสรรพคุณเสริมบํารุงร่างกาย และช่วยตัวยาหลักในการเสริมบํารุงสาร
จําเป็ นพื้นฐานของร่างกาย รวมทัง้ ช่วยควบคุมความขมและความแห้งของหวงป๋ อ (เฉ่ า)1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาต้ม1,4
254 ตํารับยาบํารุง

ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ ธี าตุอ่อน ถ่ายเหลว1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณลดไข้ บรรเทาอาการอักเสบ สงบจิตใจ ควบคุม
ระบบประสาทอัตโนมัตทิ ต่ี ่นื ตัว และบํารุงสุขภาพร่างกาย1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาต้าปู่อินหวาน. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน].
นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2552.
4. Zhou YF. Science of Prescriptions. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional
Chinese Medicine, 2002.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 255

อีกว้ นเจียน (一贯煎)


ตําราต้นตํารับ
续名医类案 ซู่หมิงอีเล่ยอ์ นั้ (Supplement to the Classified Medical Records of
Famous Physicians)1
« ค.ศ. 1770 Wei Zhixiu (魏之绣 เว่ยจ์ ่อื ซิว่ ) »2
ส่วนประกอบ
地黄 Radix Rehmanniae ตี้หวง 30 กรัม
北沙参 Radix Glehniae เป่ ยซ์ าเซิน 10 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis Japonici ไม่ตง 10 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 10 กรัม
枸杞子 Fructus Lycii โก่วฉีจ่อื 10 กรัม
川楝子 Fructus Meliae Toosendan ชวนเลีย่ นจื่อ 5 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม1,3
การออกฤทธิ์
เสริมบํารุงอินของตับและไต กระจายและปรับชี่ของตับ1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะอินของตับและไตพร่อง เจ็บชายโครงเนื่องจากชี่ตดิ ขัด มีอาการแน่นหน้าอก หรือ
เจ็บเสียดชายโครง เรอเปรี้ยว คอแห้ง ปากแห้ง ลิ้นแดงแห้ง ไส้เลือ่ นหรือมีกอ้ นเถาดาน ชีพจรเล็กอ่อน
หรือพร่องตึง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง
ระยะเริ่มต้น ไขมันทีต่ บั สู ง กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง กระเพาะอาหารเป็ นแผล โรคเบาหวาน ความ-
ดันเลือดสูง และอาการของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ทีม่ สี าเหตุจากภาวะอินของตับและไตพร่อง1,3
256 ตํารับยาบํารุง

ตํารับยา อีกว้ นเจียน (一贯煎)


2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
ตี้หวง (地黄) เป่ ยซ์ าเซิน (北沙参)

5 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
ไม่ตง (麦冬) ตังกุย (当归)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
โก่วฉีจ่อื ไม่ตง (枸杞子) ชวนเลีย่ นจื่อ (川楝子)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 257

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
地黄 ตี้หวง ตัวยาหลัก หวาน เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
(โกฐขี้แมว) อมขม บํารุงเลือดและอินชี่ของตับและไต
เสริมสารนํา้
北沙参 เป่ ยซ์ าเซิน ตัวยาเสริม หวาน เย็น เสริมอิน ระบายความร้อนที่ปอด
อมขม เล็กน้อย เสริมสารนํา้ บํารุงกระเพาะอาหาร
และช่วยเพิม่ ฤทธิ์ของตี้หวงในการ
เสริมอิน บํารุงเลือดและสร้างสารนํา้
麦冬 ไม่ตง ตัวยาเสริม หวาน เย็น เสริมอิน บํารุงปอดให้ช่มุ ชื้น เสริม
อมขม เล็กน้อย สารนํา้ บํารุงกระเพาะอาหาร ระบาย
ความร้อนของหัวใจ ลดอาการ
กระวนกระวาย และช่วยเพิม่ ฤทธิ์
ของตี้หวงในการเสริมอิน บํารุง
เลือด และสร้างสารนํา้
当归 ตังกุย ตัวยาเสริม หวาน อุ่น บํารุงเลือด ปรับประจําเดือนให้
(โกฐเชียง) อมเผ็ด ปกติ ระงับปวด หล่อลืน่ ลําไส้ และ
ช่วยเพิม่ ฤทธิ์ของตี้หวงในการเสริม
อิน บํารุงเลือด และสร้างสารนํา้
枸杞子 โก่วฉีจ่อื ตัวยาเสริม หวาน สุขมุ บํารุงตับและไต บํารุงสายตา และ
ช่วยเพิม่ ฤทธิ์ของตี้หวงในการเสริม
อิน บํารุงเลือดและสร้างสารนํา้
川楝子 ชวนเลีย่ นจื่อ ตัวยาช่วย ขม เย็น ช่ วยให้ช่ีหมุนเวียน ระงับปวด
(เลีย่ นดอกขาว) และนําพา ผ่อนคลายชี่ของตับ คลายเครียด
ตํารับยานี้เน้นใช้ต้ ีหวงตัวยาหลัก มีสรรพคุณบํารุงเลือดและอินชี่ของตับและไต เสริมสารนํา้
ตัวยาเสริม ได้แก่ เป่ ยซ์ าเซิน ไม่ตง ตังกุย และโก่วฉีจ่อื มีสรรพคุณช่วยเสริมอินของตับ เมือ่ ใช้ตวั ยา
258 ตํารับยาบํารุง

เหล่านี้ร่วมกับตี้หวงจะช่วยเพิม่ ฤทธิ์ของตี้หวงในการเสริมอิน บํารุงเลือดและสร้างสารนํา้ ชวนเลีย่ นจื่อ


เป็ นตัวยาช่ วยและนําพา เมื่อใช้ปริมาณน้อยในตํารับยาจะช่วยผ่อนคลายตับและช่วยให้ช่ีหมุนเวียน
แม้ว่าชวนเลี่ยนจื่อจะมีรสขมและมีคุณสมบัติแห้ง แต่คุณสมบัติแห้งนี้สามารถควบคุมได้ ทําให้ฤทธิ์
ผ่อนคลายตับยังคงอยู่เมือ่ ใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตํารับซึ่งมีปริมาณมาก มีรสหวาน และมีคุณสมบัติ
เย็น และล ้วนเป็ นยาเสริมอิน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาเม็ด4
ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยาอีกว้ นเจียนกับผูป้ ่ วยทีม่ เี สมหะมากหรือเสมหะตกค้างภายใน1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาอีกว้ นเจียน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาอีกว้ นเจียนมีฤทธิ์ปกป้ องตับหนู ถบี จักร สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์
ยับยัง้ การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหนู ขาว4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาอีกว้ นเจียนมีสรรพคุณบํารุงและปกป้ องตับ ลดนํา้ ตาลในเลือด
เสริมภูมคิ มุ ้ กัน ลดการอักเสบ ระบายความร้อน ระงับปวด สงบประสาท และปรับระบบประสาทอัตโนมัติ
ให้สมดุล1,3,4
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ให้ผงยาทางปากหนู ถบี จักรขนาด 40 และ 50 กรัม/กิโลกรัม
พบว่าการกินอาหารและการเคลือ่ นไหวของหนู ถบี จักรยังเป็ นปกติ และไม่พบหนู ถบี จักรตัวใดตายภายใน
72 ชัว่ โมงหลังจากได้รบั ยา4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาอีกว้ นเจียน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Hu XM, Wang L . Yiguan Jian. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese
medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 259

เซิ่นชี่หวาน (肾气丸)
ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย
่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิง่ ) »2
ส่วนประกอบ
地黄(干) Radix Rehmanniae ตี้หวง (กัน) 240 กรัม
山药 Rhizoma Dioscoreae ซานเย่า 120 กรัม
山茱萸 Fructus Corni ซานจูยหฺ วี 120 กรัม
泽泻 Rhizoma Alismatis เจ๋อเซีย่ 90 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 90 กรัม
丹皮 Cortex Moutan Radicis ตันผี 90 กรัม
桂枝 Ramulus Cinnamomi กุย้ จือ 30 กรัม
附子(炮) Radix Aconiti Praeparata ฟู่จ่อื (เผ้า) 30 กรัม
(stir-baked at high temperature)

ตํารับยา เซิ่นชี่หวาน (肾气丸)


260 ตํารับยาบํารุง

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ตี้หวง (กัน) [地黄(干)] ซานเย่า (山药)

3 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เจ๋อเซีย่ (泽泻)
ซานจูยหฺ วี (山茱萸)

2 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓) ตันผี (丹皮)
2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร

กุย้ จือ (桂枝)


2 เซนติเมตร ฟู่จ่อื (เผ้า) [附子(炮)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 261

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผงละเอียด เตรียมเป็ นลูกกลอนนํา้ ผึ้งหนักเม็ดละ 9 กรัม รับประทาน
กับนํา้ สุกอุ่น ครัง้ ละ 1 เม็ด วันละ 2 ครัง้ เช้า-เย็น หรือเตรียมเป็ นยาต้มโดยปรับลดนํา้ หนักยาลงจาก
ตํารับยาข้างต้น 10 เท่า1,3
การออกฤทธิ์
บํารุงเสริมหยาง เพิม่ ความอบอุ่นให้ไต1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะหยางของไตไม่สมบูรณ์ โดยมีอาการเมือ่ ยเอว ขาไม่มแี รง ช่วงล่างของร่างกายมีอาการ
เย็น ท้องน้อยหดเกร็ง ร้อนรุ่มหน้าอก กระสับกระส่าย ปัสสาวะไม่คล่อง หรือมีปสั สาวะมาก ผิดปกติ
และเสมหะชื้นตกค้าง หรือมีอาการของโรคเบาหวาน เช่น หิวบ่อย กระหายนํา้ ปัสสาวะบ่อย และขาบวม
นํา้ ลิ้นมีลกั ษณะอ้วนหนาและซีด ชีพจรพร่อง อ่อนแรง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน
ประสาทอัตโนมัติผดิ ปกติ ประสาทเสื่อมในผูส้ ู งอายุ ต่อมลูกหมากโตในระยะต้น มีบุตรยาก โรคขาด
ประจําเดือน และกลุม่ ผูป้ ่ วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ทีก่ ารทํางานของระบบขับปัสสาวะผิดปกติโดยมีสาเหตุจาก
หยางของไตไม่สมบูรณ์1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
地黄(干) ตัวยาหลัก หวาน เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น บํารุง
ตี้หวง (กัน) อมขม อิน เสริมสารนํา้
(โกฐขี้แมว)
山药 ซานเย่า ตัวยาเสริม หวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมอิน บํารุงม้าม ปอดและไต
เหนี่ยวรัง้ สารจําเป็ น แก้ตกขาว
山茱萸 ซานจูยห
ฺ วี ตัวยาเสริม เปรี้ยว อุ่น เสริมบํารุงตับและไต เก็บออมสาร-
อมฝาด เล็กน้อย จําเป็ น เหนี่ยวรัง้ การหลังเร็
่ วของอสุจิ
และควบคุมการขับปัสสาวะให้ดขี ้นึ
262 ตํารับยาบํารุง

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


泽泻 เจ๋อเซีย
่ ตัวยาช่วย
จืด เย็น ขับปัสสาวะ ขับความชื้น ระบาย
อมหวาน ความร้อน
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย จืด สุขมุ ขับนํา้ สลายความชื้น บํารุงม้าม สงบ
(โป่ งรากสน) อมหวาน จิตใจ
丹皮 ตันผี ตัวยาช่วย ขมอม เย็น ระบายความร้อน ทํา ให้เลือ ดเย็นลง
(เปลือกรากโบตัน)๋ เผ็ด เล็กน้อย กระจายเลือดเสีย ทําให้การไหลเวียน
ของเลือดดีข้นึ
桂枝 กุย้ จือ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ผ่อนคลายกล ้ามเนื้อ ให้ความ-
(กิ่งอบเชยจีน) อมหวาน อบอุ่น ช่วยให้ช่มี กี ารหมุนเวียนดีข้นึ
附子 (炮) ตัวยาช่วย เผ็ด ร้อน ดึงหยางให้กลับคืนมา เสริมหยาง บํารุง
ฟู่จ่อื (เผ้า) (มีพษิ )* ไฟธาตุ สลายความเย็น ระงับปวด
(โหราเดือยไก่ท่ี
ผ่านการฆ่าฤทธิ์)
ตํารับยานี้เน้นการใช้ต้ หี วง (กัน) เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณเสริมอินของไต ตัวยาเสริม ได้แก่
ซานจูยฺหวีและซานเย่าเสริมบํารุงตับและม้าม และช่วยเสริมฤทธิ์ของตี้หวง (กัน) ให้แรงขึ้น ตัวยาช่วย
ได้แก่ กุย้ จือ (ปริมาณน้อย) และฟู่จ่อื (เผ้า) มีสรรพคุณให้ความอบอุ่นและบํารุงหยางของไต เจ๋อเซี่ย
และฝูหลิงช่วยขับปัสสาวะ ระบายความชื้น ตันผีช่วยระบายความร้อนสูงในตับ เมือ่ ใช้ร่วมกับตัวยาที่มี
ฤทธิ์ให้ความอบอุ่นและบํารุงหยางของไต จะทําให้มที งั้ ฤทธิ์บาํ รุงและระบายเพือ่ กําจัดส่วนทีเ่ ป็ นมัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยานํา้ ยาชง ยาต้ม4
ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาเซิ่นชี่หวานไม่เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยที่มภี าวะร้อนจากอินพร่อง ขาดนํา้ หรือสารจําเป็ นที่มี
สาเหตุจากความร้อนและความแห้งในร่างกาย1,3

* ฟู่จอ่ื เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 263

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเซิ่นชี่หวาน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาเซิน่ ชี่หวานมีฤทธิ์ชะลอความแก่และเสริมภูมติ า้ นทานในหนู
ถีบจักร เพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของต่อมหมวกไตหนู ขาว4 กระตุน้ ระบบประสาทซิมพาเทติกและ
ระบบของต่อมไร้ท่อในหนู ท่ชี กั นําให้เกิดกลุ่มอาการเย็นพร่อง5 และลดนํา้ ตาลในเลือดหนู ขาวที่ชกั นําให้
เป็ นเบาหวาน6
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาเซิ่นชี่หวานมีสรรพคุณปรับการทํางานของไตและต่อมหมวกไต
ให้ดขี ้นึ ปกป้ องและบํารุงตับ กระตุน้ ระบบการไหลเวียนของเลือด ลดความดันโลหิตและสงบจิตใจ1,3,4
การศึกษาความปลอดภัย: การศึกษาพิษเรื้อรังในหนู ขาว พบว่าเมือ่ ให้สารสกัดนํา้ ทางปากขนาด
40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม วันละครัง้ ติดต่อกันนาน 6 เดือน ไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาเซิ่นชี่หวาน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Hu SM, Jiang JM. Shenqi Wan. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese
medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Song H, Liang Y. Effect of Yang-warming and Qi-tonifying natural products on neuroendocrine of deficiency-cold
rats. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 1997; 22(3): 182-4.
6. Wang J, Wang Q, Wang ZZ, Feng Z, Liu SY, Zhang QQ, Cai QW, Pan JJ. Comparative study on hypoglycemic
effects of different traditional Chinese medicine treatments in rats with diabetes mellitus induced by alloxan. Zhong Xi
Yi Jie He Xue Bao 2010; 8(8): 781-4.
264 ตํารับยาสมาน

ยฺว่ผี ิงเฟิ งส่าน (玉屏风散)


ตําราต้นตํารับ
丹溪心法 ตันซีซน
ิ ฝ่ า (Danxi’s Experimental Therapy)1
« ค.ศ.1347 Zhu Danxi (朱丹溪 จูตนั ซี) »2
ส่วนประกอบ
黄芪 Radix Astragali Membranacei หวงฉี 30 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 60 กรัม
防风 Radix Saposhnikoviae Divaricatae ฝางเฟิ ง 30 กรัม

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผงละเอียด รับประทานกับนํา้ อุ่นวันละ 2 ครัง้ ครัง้ ละ 6-9 กรัม หรือ
เตรียมเป็ นยาต้ม โดยปรับลดนํา้ หนักยาตามส่วน1,3
การออกฤทธิ์
เพิม่ ชี่ เสริมภูมคิ มุ ้ กัน ระงับเหงือ่ 1,3
สรรพคุณ
ใช้รกั ษาผูป้ ่ วยที่มรี ่างกายอ่อนแอ ภูมคิ ุม้ กันตํา่ แพ้อากาศ เป็ นหวัดง่าย เหงือ่ ออกเอง หน้าซีด
ขาว กลัวลม ลิ้นซีดและมีฝ้าขาว ชีพจรลอยและพร่องอ่อน1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมตามความรุนแรงของอาการของโรค4 และ
สามารถใช้ในผูป้ ่ วยทีม่ เี หงือ่ ออกมาก ภูมแิ พ้ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หลอดลมอักเสบ
เยื่อจมูกอักเสบจากการแพ้ เยื่อจมูกอักเสบชนิดเรื้อรัง เนื่องจากภูมคิ ุม้ กันตํา่ หรือไข้หวัดจากการกระทบ
ลมภายนอก1,3,5
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 265

ตํารับยา ยฺว่ผี ิงเฟิ งส่าน (玉屏风散)

2 เซนติเมตร
หวงฉี (黄芪) 3 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术)

2 เซนติเมตร

ฝางเฟิ ง (防风)
266 ตํารับยาสมาน

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
黄芪 หวงฉี ตัวยาหลัก หวาน อุ่น บํารุงชี่ของปอดและม้าม เสริมภูมคิ มุ ้ กัน
เล็กน้อย ระงับเหงือ่
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาเสริม ขม อุ่น เสริมม้าม มีฤทธิ์ทาํ ให้แห้ง สลาย
อมหวาน ความชื้น บํารุงชี่
防风 ฝางเฟิ ง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยกระทุง้ ไข้หวัดจากการกระทบลม
และนําพา อมหวาน เล็กน้อย ภายนอก
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ หวงฉีมสี รรพคุณบํารุงชี่และระงับเหงือ่ ไป๋ จูเ๋ ป็ นตัวยา
เสริม ช่วยให้มา้ มแข็งแรง บํารุงชี่ และเสริมฤทธิ์ของหวงฉีให้แรงขึ้น ฝางเฟิ งเป็ นตัวยาช่วยและนําพา มี
สรรพคุณช่วยกระทุง้ ไข้หวัดจากการกระทบลมภายนอก1,3 ในกรณีทก่ี ารทํางานของระบบภูมคิ มุ ้ กันแกร่ง
เกินไป ตัวยาฝางเฟิ งจะเสริมฤทธิ์ตวั ยาหวงฉี ปรับการทํางานของระบบภูมคิ ุม้ กันให้เป็ นปกติ และถ้าการ
ทํางานของระบบภูมคิ ุม้ กันบกพร่อง ตัวยาหวงฉีจะช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพการทํางานของระบบภูมคิ ุม้ กัน
ในขณะทีต่ วั ยาไป๋ จูแ๋ ละฝางเฟิ งไม่มผี ลดังกล่าว6
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยานํา้ ลูกกลอนสารสกัด ยาผง ยาต้ม7
ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยายฺวผ่ี งิ เฟิ งส่านกับผูป้ ่ วยทีม่ เี หงือ่ ออกตอนกลางคืนเนื่องจากอินพร่อง1 ขณะใช้
ตํารับยานี้ควรหลีกเลีย่ งการสัมผัสลมและความเย็น และควรหลีกเลีย่ งอาหารดิบ เย็น และมัน8 ภายใน
10 วันแรกของการใช้ยา อาจทําให้ปากแห้ง แต่จะหายได้เอง8
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยายฺว่ผี ิงเฟิ งส่าน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: เมือ่ ให้สารสกัดนํา้ ทางปากหนู ถบี จักรขนาดเทียบเท่าผงยา 30 กรัม/
กิโลกรัม เป็ นเวลาติดต่อกัน 4 วัน พบว่าช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีข้นึ และปรับสมดุลของระบบ
ภูมคิ ุม้ กัน โดยควบคุมการแบ่งตัวของลิมโฟซัยท์จากม้ามของหนู ถบี จักรในหลอดทดลอง6 นอกจากนี้ยงั
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 267

พบว่าตํารับยายฺวผ่ี งิ เฟิ งส่านมีฤทธิ์ยบั ยัง้ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่บางชนิดในไก่ บรรเทาอาการเยื่อจมูกอักเสบ


ในกระต่าย ช่วยชะลอความแก่ในหนู ถบี จักร และควบคุมการทํางานของต่อมเหงือ่ ในกระต่าย1,7
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยายฺวผ่ี งิ เฟิ งส่านมีฤทธิ์เพิม่ การทํางานของระบบภูมคิ ุม้ กันในอาสา
สมัครสุ ขภาพดี6 สามารถปรับสมดุลของระบบภูมิคุม้ กัน รักษาอาการหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง
เยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมแิ พ้ และบรรเทาอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจในเด็ก7 การศึกษาใน
ผูป้ ่ วยโรคของหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มภี าวะชี่ของปอดพร่อง พบว่าตํารับยานี้จะช่วยลดอุบตั กิ ารณ์
ของโรคปอดบวมที่เกิดจากการอยู่ในโรงพยาบาล และช่วยให้การทํางานของระบบภูมคิ ุม้ กันดีข้นึ 9
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ให้ผงยาทางปากหนู ถบี จักรขนาด 100 กรัม/กิโลกรัม ไม่ทาํ ให้
หนู ถบี จักรตัวใดตายภายใน 24 ชัว่ โมง และเมือ่ ให้ผงยาขนาด 15 กรัม/กิโลกรัม เป็ นเวลาติดต่อกันนาน
14 วัน จะทําให้สตั ว์ทดลองเกิดอาการท้องเสียเล็กน้อย แต่การเคลือ่ นไหวและการกินอาหารเป็ นปกติ และ
ไม่พบการเปลีย่ นแปลงที่ผดิ ปกติทางจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อหัวใจ ตับ ปอด ไต และกระเพาะอาหาร
เมือ่ ให้ผงยาทางปากสุนขั ในขนาด 264 กรัม/กิโลกรัม เป็ นเวลาติดต่อกันนาน 3 เดือน ไม่พบอาการ
ผิดปกติใด ๆ7
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยายฺวผ่ี งิ เฟิ งส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Zuo YF, Zhu ZB, Huang YZ, Tao JW, Li ZG. Science of prescriptions. Nanjing University of Traditional Chinese
Medicine and Shanghai University of Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai
University of Traditional Chinese Medicine, 2000.
5. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
6. Poon PM, Wang CK, Fung KP, Fong CY, Wong EL, Lau JT, Leung PC, Tsui SK, Wan DC, Waye MM, Au SW, Lau
CB, Lam CW. Immunomodulatory effects of a traditional Chinese medicine with potential antiviral activity: a self-
control study. Am J Chin Med 2006; 34(1): 13-21.
7. Xin Y, Yuan XQ. Yupingfeng san. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese
medicine. Vol.1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
8. Chen JK, Chen TT. Chinese Herbal Formulas and Applications. CA: Art of Medicine Press, 2008.
9. Yan L, Chen XC, Guo J, Qi LL, Qian YM, Zhou XG. Prevention of hospital-acquired pneumonia with Yupingfeng
Powder in patients with acute cerebral vascular diseases: a randomized controlled trial. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao
2010; 8(1): 25-9.
268 ตํารับยาสมาน

เจินเหรินหยัง่ จัง้ ทัง (真人养脏汤)


ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จหฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
1
Dispensary)
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈师文 เฉินซือเหวิน) »2
ส่วนประกอบ
罂粟壳 Pericarpium Papaveris อิงซู่เค่อ 20 กรัม
肉桂 Cortex Cinnamomi โร่วกุย้ 3 กรัม
肉豆蔻 Semen Myristicae โร่วโต้วโข่ว 12 กรัม
诃子 Fructus Chebulae เหอจื่อ 12 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 6 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 12 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 9 กรัม
白芍 Radix Paeoniae Alba ไป๋ เสา 15 กรัม
木香 Radix Aucklandiae มูเ่ ซียง 9 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ให้ความอบอุ่นและบํารุงหยางของม้าม ทําให้ลาํ ไส้แข็งแรง ระงับอาการท้องเสีย1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 269

ตํารับยา เจินเหรินหยัง่ จัง้ ทัง (真人养脏汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
อิงซู่เค่อ (罂粟壳) โร่วกุย้ (肉桂)
270 ตํารับยาสมาน

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
โร่วโต้วโข่ว (肉豆蔻) เหอจื่อ (诃子)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร ไป๋ จู ๋ (白术)
เหรินเซิน (人参)

3 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ตังกุย (当归) ไป๋ เสา (白芍)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
มูเ่ ซียง (木香) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 271

สรรพคุณ
รักษาอาการท้องเดินหรือถ่ายบิดเรื้อรังที่มสี าเหตุจากกลุ่มอาการเย็นพร่องที่มา้ มและไต โดยมี
อาการกลัน้ อุจจาระไม่ได้ หรือถ่ายจนลําไส้ตรงหย่อนย้อยลงมา ปวดท้องและชอบความอบอุ่น กดท้อง
แล ้วอาการดีข้นึ มีอาการอ่อนเพลียไม่มแี รง รับประทานอาหารได้นอ้ ย ลิ้นซีดมีฝ้าขาว ชีพจรจมช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคลําไส้อกั เสบเรื้อรัง หรือ
เป็ นวัณโรคทีล่ าํ ไส้ โรคบิดเรื้อรัง ลําไส้ตรงหย่อนเนื่องจากหยางพร่อง และกลัน้ อุจจาระไม่ได้1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
罂粟壳 อิงซู่เค่อ ตัวยาหลัก เปรี้ยว สุขมุ สมานปอดเพือ่ ระงับอาการไอเรื้อรัง
(เปลือกผลฝิ่ น) ระงับอาการปวดท้อง ปวดกระดูก
และกล ้ามเนื้อ ช่วยให้ลาํ ไส้ช่มุ ชื้น
ระงับอาการบิดเรื้อรัง ท้องเสีย-
เรื้อรัง ปัสสาวะมีเลือดปน
肉桂 โร่วกุย้ ตัวยาหลัก เผ็ด ร้อน เสริมหยาง บํารุงธาตุไฟในระบบไต
(อบเชยจีน) อมหวาน ขับความเย็น ระงับปวด เพิม่ ความ
อบอุ่นให้ลมปราณไหลเวียนดี
肉豆蔻 โร่วโต้วโข่ว ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ให้ความอบอุ่นแก่ม ้ามและไต
(ลูกจันทน์) สมานลําไส้ ระงับท้องเดิน
诃子 เหอจื่อ ตัวยาเสริม ขม เปรี้ยว อุ่น สมานปอดเพือ่ ระงับอาการไอเรื้อรัง
ฝาด มีอาการเสียงแหบ ระงับอาการบิด-
เรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ปัสสาวะมี
เลือดปน
人参 เหรินเซิน ตัวยาเสริม หวาน อุ่น เสริมชี่อย่างมาก บํารุงหัวใจและ
(โสมคน) อมขม เล็กน้อย ม้าม เสริมปอด สร้างสารนํา้ ช่วย
เล็กน้อย ให้จติ ใจสงบ
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาเสริม ขม อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง
อมหวาน ระบายนํา้ ระงับเหงือ่ กล่อมครรภ์
272 ตํารับยาสมาน

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


当归 ตังกุย ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้การไหลเวียน
อมเผ็ด ของเลือดดีข้นึ ลดบวม ระงับปวด
白芍 ไป๋ เสา ตัวยาช่วย ขม เปรี้ยว เย็น เสริมอินเลือด ปรับเส้นลมปราณ
อมหวาน เล็กน้อย และประจําเดือน ปรับสมดุลชี่ของ
ตับ ระงับปวด เก็บกักอินชี่ ระงับ
เหงือ่
木香 มูเ่ ซียง ตัวยาช่วย ขม อุ่น ช่วยให้ช่ไี หลเวียน ระงับปวด ช่วย
(โกฐกระดูก) อมเผ็ด ให้เจริญอาหาร กระตุน้ การทํางาน
ของม้าม เพือ่ ป้ องกันชี่ตดิ ขัด
甘草 (炙) ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
กันเฉ่ า (จื้อ) และนําพา อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ อิงซู่เค่ อ ซึ่งใช้ในขนาดสู งเพื่อให้ออกฤทธิ์หยุดถ่าย


โร่วกุย้ ให้ความอบอุ่นแก่มา้ มและไต ตัวยาเสริม ได้แก่ โร่วโต้วโข่ว ให้ความอบอุ่นแก่มา้ มและไต ช่วย
สมานลําไส้ เหอจื่อระงับการถ่าย เหรินเซินและไป๋ จู ๋ ช่วยบํารุงชี่และมา้ ม ตัวยาช่วย ได้แก่ ตังกุยและ
ไป๋ เสา มีสรรพคุณบํารุงเลือดและปรับชี่ท่ไี หลเวียนในหลอดเลือด ทําหน้าที่หล่อเลี้ยงและไหลเวียนทัว่
ร่างกาย มูเ่ ซียงช่วยให้ช่ไี หลเวียน ระงับอาการปวดท้อง ตัวยานําพาคือ กันเฉ่ า (จื้อ) ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน และเมือ่ ใช้ร่วมกับไป๋ เสาจะช่วยบรรเทาอาการปวด1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยโรคบิดระยะแรกทีพ่ ษิ ร้อนสะสมยังไม่ถกู กําจัดหรือระบายออก1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: เมือ่ ให้ผูป้ ่ วยโรคลําไส้อกั เสบ จํานวน 49 ราย รับประทานยาต้มโดยเพิม่
หรือลดขนาดยาให้เหมาะสม วันละ 1 ห่อ ติดต่อกัน 30 วัน โดยห้ามผูป้ ่ วยรับประทานยาอื่นในระหว่าง
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 273

การรักษา และห้ามรับประทานของมันและอาหารรสจัด พบว่าผูป้ ่ วยหายเป็ นปกติโดยไม่กลับมาเป็ นอีก


จํานวน 29 ราย (คิดเป็ นร้อยละ 59.18) ได้ผลดี 10 ราย (คิดเป็ นร้อยละ 20.41) มีอาการดีข้นึ 8 ราย
(คิด เป็ น ร้อ ยละ 16.33) และไม่ไ ด้ผ ลในการรัก ษา 2 ราย (คิด เป็ น ร้อ ยละ 4.08) เมื่อ ให้ผู ป้ ่ วย
โรคเบาหวานทีม่ อี าการท้องเสีย 78 ราย รับประทานยาต้มวันละ 1 ห่อ ติดต่อกัน 7 ห่อ หลังจากอาการดี
ขึ้นให้รบั ประทานยาต่ออีก 8 ห่อ พบว่าผูป้ ่ วย 75 ราย (คิดเป็ นร้อยละ 96.2) สามารถควบคุมอาการ
ท้องเสียได้ และไม่ได้ผลในผูป้ ่ วย 3 ราย4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาเจินเริ่นหยัง่ จัง้ ทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน].
นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2552.
4. Xin Y. Zhenren Yang Zang Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
274 ตํารับยาสมาน

ซื่อเสินหวาน (四神丸)
ตําราต้นตํารับ
(Standard of Diagnosis and Treatment)1
证治准绝 เจิ้งจื้อจุ่นจฺเหวีย
« ค.ศ.1602 Wang Kentang (王肯堂 หวางเขิน่ ถัง) »2
ส่วนประกอบ
补骨脂 Fructus Psoraleae ปู๋กู่จอื 120 กรัม
肉豆蔻 Semen Myristicae โร่วโต้วโค่ว 60 กรัม
吴茱萸 (浸炒) Fructus Evodiae หวูจูยหฺ วี 30 กรัม
(saturated and fried) (จิ้นเฉ่ า)
五味子 Fructus Schisandrae Chinensis อู่เว่ยจ์ ่อื 60 กรัม

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมารวมกัน เติมเซิงเจียง (生姜 ขิงสด) 240 กรัม และต้าเจ่า (大枣 พุทราจีน)
100 ผล บดเป็ นผงละเอียด ปัน้ เป็ นลูกกลอนโดยใช้นาํ้ เป็ นกระสายยา รับประทานกับนํา้ ต้มสุกหรือนํา้
ต้มสุกผสมเกลือเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนครัง้ ละ 9-12 กรัม หรือต้มเอานํา้ ดื่มโดยปรับลดนํา้ หนัก
ยาลงจากตํารับยาข้างต้น 10 เท่า1,3
การออกฤทธิ์
เสริมความอบอุ่นทัง้ ไตและม้าม เพิม่ ความแข็งแรงให้ลาํ ไส้ ช่วยระงับการขับถ่ายโดยการเหนี่ยว
รัง้ การบีบรัดตัวของลําไส้1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการท้องเสียทีม่ สี าเหตุจากไตและม้ามพร่อง ท้องเสียตอนเช้าตรู่ เบือ่ อาหาร ถ่ายเหลว
อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง มือเท้าเย็น เมือ่ ยเอว อ่อนเพลีย ไม่มแี รง ลิ้นซีดจางและมีฝ้าขาวบาง ชีพจรจม
เต้นช้า ไม่มแี รง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคลําไส้อกั เสบเรื้อรัง ลําไส้
ใหญ่เป็ นแผลอักเสบหรือเป็ นวัณโรคทีล่ าํ ไส้ และผูส้ ูงอายุทป่ี ่ วยเรื้อรังและมีอาการท้องเสียเนื่องจากหยาง
ของม้ามและไตพร่อง แก้ทอ้ งเสียตอนเช้าตรู่ (ตีหา้ )1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 275

ตํารับยา ซื่อเสินหวาน (四神丸)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ปู๋กู่จอื (补骨脂) โร่วโต้วโค่ว (肉豆蔻)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
หวูจูยหฺ วี (จิ้นเฉ่ า) [吴茱萸(浸炒)] อู่เว่ยจ์ ่อื (五味子)

2 เซนติเมตร
ต้าเจ่า (大枣)
2 เซนติเมตร
เซิงเจียง (生姜)
276 ตํารับยาสมาน

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
补骨脂 ปู๋กู่จอื ตัวยาหลัก เผ็ดขม อุ่น ทําให้เลือดไหลเวียน เสริมหยาง
ของไต บํารุงม้าม หยุดถ่าย
肉豆蔻 โร่วโต้วโค่ว ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ให้ความอบอุ่นกับม้ามและไต
(ลูกจันทน์) สมานลําไส้ ระงับท้องร่วง
吴茱萸 (浸炒) ตัวยาเสริม เผ็ดอมขม ร้อน ให้ความอบอุ่นกับม้ามและ
หวูจูยหฺ วี (จิ้นเฉ่ า) (มีพษิ กระเพาะอาหาร สลายความเย็น
เล็กน้อย)* และความชื้น ระงับปวด
五味子 อู่เว่ยจ์ อ
่ื ตัวยาช่วย เปรี้ยว อุ่น เก็บชี่ของปอด เสริมสารนํา้ ของ
และนําพา อมหวาน ไต ระงับเหงือ่ เหนี่ยวรัง้ อสุจิ
ระงับถ่าย สงบจิตใจ
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น สลายความชื้น ช่วยให้การ
(ขิงสด) และนําพา ไหลเวียนของนํา้ ในร่างกายดีข้นึ
大枣 ต้าเจ่า ตัวยาช่วย อมหวาน อุ่น บํารุงม้ามและกระเพาะอาหาร
(พุทราจีน) และนําพา เสริมชี่
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ ปู๋กู่จือมีรสเผ็ดขม คุณสมบัติอุ่นเล็กน้อย มีสรรพคุณ
เด่นในการเสริมหยางของไต ตัวยาเสริม ได้แก่ โร่วโต้วโค่วช่วยให้ความอบอุ่นกับม้ามและไต สมานลําไส้
และระงับท้องร่วง หวูจูยหฺ วีช่วยให้ความอบอุ่นกับม้ามและกระเพาะอาหาร สลายความเย็นและความชื้น
ตัวยาช่วยและนําพา ได้แก่ อู่เว่ยจ์ ่อื มีคุณสมบัตอิ ่นุ มีฤทธิ์ฝาดสมาน เซิงเจียงสลายความชื้น ช่วยให้การ
ไหลเวียนของนํา้ ในร่างกายดีข้นึ และต้าเจ่าบํารุงม้ามและกระเพาะอาหาร1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยาผง ยาต้ม4

* หวูจูยหฺ วี เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ เล็กน้อย ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 277

ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยาซือ่ เสินหวานกับผูป้ ่ วยโรคท้องร่วงที่มสี าเหตุจากอาหารไม่ย่อย หรือมีความร้อน
สะสมในกระเพาะอาหารและลําไส้1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาซื่อเสินหวาน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์แก้ทอ้ งเสียในกระต่ายที่เกิดจากหยางของม้าม
และไตพร่อง1,4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาซื่อเสินหวานมีสรรพคุณปกป้ องเยื่อเมือกของกระเพาะอาหาร
และลําไส้ เสริมหยางของม้ามและไต บรรเทาอาการท้องร่วง เหนี่ยวรัง้ การหลังเร็
่ วของอสุจแิ ละการขับ
1,3,4
ปัสสาวะ บรรเทาอาการแพ้ และแก้ไอหอบ
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน. ตํารับยาซือ่ เสินหวาน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Xin Y. Sishen Wan. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese medicine. Vol..
1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
278 ตํารับยาสงบจิตใจ

ซวนเจ่าเหรินทัง (酸枣仁汤)
ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ประกอบด้วย
酸枣仁 Semen Ziziphi Spinosae ซวนเจ่าเหริน 18 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 3 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 6 กรัม
知母 Rhizoma Anemarrhenae จือหมู่ 6 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 3 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
บํารุงโลหิต สงบประสาทและจิตใจ ระบายความร้อน บรรเทาอาการกระวนกระวาย1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการนอนไม่หลับที่มสี าเหตุจากภาวะพร่อง ทําให้ร่างกายอ่อนเพลียและกระวนกระวาย
ใจ มีอาการใจสัน่ เหงือ่ ออกขณะนอนหลับ เวียนศีรษะ ตาลาย ปากแห้งคอแห้ง ชีพจรตึง เล็ก1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ อี าการประสาทและหัวใจ
อ่อนแอ หัวใจเต้นไม่สมํา่ เสมอหรือเต้นถีเ่ กินไป1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 279

ตํารับยา ซวนเจ่าเหรินทัง (酸枣仁汤)

2 เซนติเมตร
ซวนเจ่าเหริน (酸枣仁) 2 เซนติเมตร
ชวนซฺยง (川芎)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
3 เซนติเมตร จือหมู่ (知母) กันเฉ่ า (甘草)
ฝูหลิง (茯苓)
280 ตํารับยาสงบจิตใจ

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
酸枣仁 ซวนเจ่าเหริน ตัวยาหลัก เปรี้ยว สุขมุ บํารุงหัวใจและตับ สงบประสาท
อมหวาน ระงับเหงือ่
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด
(โกฐหัวบัว) ขับลมในเลือด ระงับปวด
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาเสริม หวาน สุขมุ ระบายนํา้ สลายความชื้น เสริม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย บํารุงม้าม สงบจิตใจ
知母 จือหมู่ ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายและขับความร้อน เสริม
อมหวาน อิน บรรเทาอาการแห้ง ทําให้
เกิดความชุ่มชื้น
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศ) ร่างกาย ระบายความร้อน
ขับพิษ ระงับไอ ขับเสมหะ ปรับ
ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยซวนเจ่าเหรินเป็ นตัวยาหลัก มีฤทธิ์เข้าสู่หวั ใจและตับ บํารุงเลือด เสริม


ตับ บํารุงหัวใจ สงบประสาท ตัวยาเสริม ได้แก่ ชวนซฺยงช่วยการไหลเวียนของเลือดและชี่ท่ตี บั จึงช่วย
เสริมบํารุงทัง้ ตับและหัวใจ ฝูหลิงช่วยบํารุงหัวใจและสงบประสาท จือหมู่เป็ นตัวยาช่วย เสริมอิน ลด
ความร้อ นแห้งที่ทาํ ให้เกิดอาการกระวนกระวาย และช่ วยลดความร้อนแห้งของชวนซฺ ย งให้นอ้ ยลง
กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยานํา้ เชื่อม4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์สงบจิตใจ ช่วยให้นอนหลับในหนู ถบี จักร หนู ขาว หนู
ตะเภา กระต่าย แมว และสุนขั 4 โดยมีกลการออกฤทธิ์ผ่านการกระตุน้ ตัวรับ GABA5 และ serotonin6
นอกจากนี้ พบว่าตํารับยานี้ช่วยเพิม่ อัตราการรอดชีวติ ของหนู ถบี จักรทีต่ บั วายเฉียบพลัน7
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 281

การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้ช่วยสงบประสาท ช่วยให้นอนหลับ ระบายความร้อน1,3,4 ใช้


ได้ผลดีกบั หญิงระยะเริ่มหมดประจําเดือนทีม่ คี วามปกติของการนอนหลับ8 ช่วยให้ผูป้ ่ วยตับอักเสบเรื้อรัง
อย่างรุนแรงมีภาวะการนอนหลับดีข้นึ และบรรเทาอาการบาดเจ็บของเซลล์ตบั 9 การใช้ตาํ รับยาเตรียม
ขนาด 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครัง้ จะมีฤทธิ์คลายกังวลเหมือนการใช้ยา diazepam ขนาด 2 มิลลิกรัม
วันละ 2 ครัง้ และการใช้ตาํ รับยาเตรียมขนาด 1 กรัม ก่อนนอน 30 นาที จะช่วยให้นอนหลับ ตํารับยา
นี้ไม่รบกวนการทํางานในเวลากลางวัน และไม่พบรายงานของอาการข้างเคียง10,11
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาซวนเจ่าเหรินทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Xiao ZZ, Dai B. Suan Zao Ren Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Yi PL, Tsai CH, Chen YC, Chang FC. Gamma-aminobutyric acid (GABA) receptor mediates suanzaorentang, a
traditional Chinese herb remedy, -induced sleep alteration. J Biomed Sci 2007; 14(2): 285-97.
6. Yi PL, Lin CP, Tsai CH, Lin JG, Chang FC. The involvement of serotonin receptors in suanzaorentang-induced sleep
alteration. J Biomed Sci 2007;14(6): 829-40.
7. Zhu HP, Gao ZL, Tan DM, Zhong YD. Effect of Suanzaoren decoction on acute hepatic failure in mice. Zhongguo
Zhong Yao Za Zhi 2007; 32(8): 718-21.
8. Yeh CH, Arnold CK, Chen YH, Lai JN. Suan zao ren tang as an original treatment for sleep difficulty in climacteric
women: a prospective clinical observation. Evid Based Complement Alternat Med 2011; 2011: 673813.
9. Zhu HP, Gao ZL, Tan DM. Clinical observation on auxiliary treatment with suanzaoren decoction for chronic severe
hepatitis. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2007; 27(4): 303-5.
10. Chen HC, Hsieh MT, Shibuya TK. Suanzaorentang versus diazepam: a controlled double-blind study in anxiety.
Int J Clin Pharmacol Ther Toxicol 1986; 24(12): 646-50.
11. Chen HC, Hsieh MT. Clinical trial of suanzaorentang in the treatment of insomnia. Clin Ther 1985; 7(3): 334-7.
282 ตํารับยาสงบจิตใจ

เทียนหวางปู่ซินตัน (天王补心丹)
ตําราต้นตํารับ
摄生总要 ชัวเซิงจ่งเอี้ยว (An Outline of Health Conservation)1
« ค.ศ. 1638 Hong Ji (洪基 หงจี) »2
ประกอบด้วย
生地 Radix Rehmanniae เซิงตี้ 120 กรัม
玄参 Radix Scrophulariae เสฺวยี นเซิน 60 กรัม
丹参 Radix Salviae Miltiorrhizae ตันเซิน 60 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 60 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 60 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 60 กรัม
柏子仁 Semen Biotae ไป๋ จ่อื เหริน 60 กรัม
酸枣仁 Semen Ziziphi Spinosae ซวนเจ่าเหริน 60 กรัม
远志 Radix Polygalae หย่วนจื้อ 60 กรัม
天冬 Radix Asparagi เทียนตง 60 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis ไม่ตง 60 กรัม
五味子 Fructus Schisandrae อู่เว่ยจ์ ่อื 60 กรัม
桔梗 Radix Platycodi เจีย๋ เกิง 60 กรัม
วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผง เตรียมเป็ นยาลู กกลอนโดยใช้นาํ้ ผึ้งเป็ นนํา้ กระสายยา แล ว้
เคลือบด้วยจูซา (朱砂 ชาด)* 15-20 กรัม รับประทานกับนํา้ ต้มสุกอุ่น ครัง้ ละ 9 กรัม วันละ 3 ครัง้
หรือเตรียมเป็ นยาต้มโดยปรับลดนํา้ หนักยาลงจากตํารับยาข้างต้น 10 เท่า1,3
การออกฤทธิ์
เสริมสร้างอิน ระบายความร้อน เสริมเลือด สงบจิตใจ1,3
* จูซาหรือชาด เป็ นตัวยาทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าพิษก่อนใช้ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้ยาทีผ่ ลิตขึ้นโดยมีชาดคิดเป็ นนํา้ หนัก
สําหรับรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 30 มิลลิกรัม จึงอาจดัดแปลงตํารับยาโดยไม่ตอ้ งใช้จูซาในการเตรียมยา
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 283

ตํารับยา เทียนหวางปู่ซินตัน (天王补心丹)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร เสฺวยี นเซิน (玄参)
เซิงตี้ (生地)

5 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ตันเซิน (丹参) ตังกุย (当归)
284 ตํารับยาสงบจิตใจ

2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参) 3 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓)

2 เซนติเมตร
ไป๋ จ่อื เหริน (柏子仁) 2 เซนติเมตร
ซวนเจ่าเหริน (酸枣仁)

2 เซนติเมตร
หย่วนจื้อ (远志)

2 เซนติเมตร
เทียนตง (天冬)
2 เซนติเมตร
ไม่ตง (麦冬)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
อู่เว่ยจ์ ่อื (五味子) เจีย๋ เกิง (桔梗)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 285

สรรพคุณ
รักษาอาการหัวใจและไตอ่อนแอ เลือดน้อยและอินพร่อง ร้อนพร่องรบกวนภายใน มีอาการ
หงุดหงิดจากอินพร่อง นอนหลับไม่สนิท ใจสัน่ อ่อนเพลีย ฝันเปี ยก ขี้หลงขี้ลมื อุจจาระแข็งแห้ง มีแผล
ในปากและลิ้น ลิ้นแดงมีฝ้าเล็กน้อย ชีพจรเล็กเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการประสาทอ่อน หัวใจ
เต้นเร็วเป็ นครัง้ คราว ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทาํ งานมากผิดปกติ1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
生地 เซิงตี้ ตัวยาหลัก หวาน เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
(โกฐขี้แมว) อมขม ลง บํารุงเลือดและอินชี่ของตับ
และไต เสริมสารนํา้
玄参 เสฺวยี นเซิน ตัวยาหลัก ขมอม เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
หวานเค็ม ลง ลดพิษร้อนเข้าสู่กระแสเลือด
และระบบหัวใจ เสริมอิน ขับพิษ
บรรเทาอาการท้องผูก
丹参 ตันเซิน ตัวยาเสริม ขม เย็น ช่วยให้เลือดไหลเวียน สลาย
เล็กน้อย เลือดคัง่ ระงับปวดแน่นหน้าอก
เส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้
ประจําเดือนปกติ ทําให้เลือดเย็น
ลง สงบประสาท
当归 ตังกุย ตัวยาเสริม หวาน อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียน
อมเผ็ด ดี ลดบวม ระงับปวด
人参 เหรินเซิน ตัวยาเสริม หวานอม อุ่น เสริมชี่อย่างมาก สร้างสารนํา้
(โสมคน) ขมเล็กน้อย เล็กน้อย บํารุงหัวใจและม้าม สงบจิตใจ
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาเสริม หวาน สุขมุ ระบายนํา้ สลายความชื้น เสริม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย บํารุงม้าม สงบจิตใจ
286 ตํารับยาสงบจิตใจ

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


柏子仁 ไป๋ จ่อื เหริน ตัวยาช่วย อมหวาน สุขมุ บํารุงหัวใจ สงบประสาท บรรเทา
อาการใจสัน่ นอนไม่หลับ หล่อลืน่
ลําไส้ ระบายอ่อน ๆ
酸枣仁 ซวนเจ่าเหริน ตัวยาช่วย เปรี้ยว สุขมุ บํารุงหัวใจและตับ สงบประสาท
อมหวาน ระงับเหงือ่
天冬 เทียนตง ตัวยาช่วย ขม เย็น บํารุงอิน ทําให้ช่มุ ชื้น ระงับไอ
อมหวาน แห้ง ไอเรื้อรังจากปอดขาดอิน
ลดไข้ รักษาอาการเหงือ่ ออก
ร้อนใน กระหายนํา้ ฝันเปี ยก
ท้องผูกจากอินของไตพร่อง
远志 หย่วนจื้อ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น สงบประสาท ขับเสมหะ เปิ ดทวาร
อมขม เล็กน้อย ทําให้ความสัมพันธ์ของการ
ทํางานระหว่างหัวใจและไตดีข้นึ
麦冬 ไม่ตง ตัวยาช่วย หวาน เย็น เสริมบํารุงอินและทําให้ปอด
อมขม เล็กน้อย ชุ่มชื้น เสริมบํารุงสารนํา้ ให้
กระเพาะอาหาร ลดอาการกระวน-
กระวาย ทําให้จติ ใจสบาย
五味子 อู่เว่ยจ์ ่อื ตัวยาช่วย เปรี้ยว อุ่น เก็บชี่ของปอด เสริมสารนํา้ ของ
อมหวาน ไต ระงับเหงือ่ เหนี่ยวรัง้ อสุจิ
ระงับถ่าย สงบจิตใจ
桔梗 เจีย๋ เกิง ตัวยานําพา ขม สุขมุ นํายาขึ้นช่วงบนของร่างกาย
อมเผ็ด บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ
ไอมีเสมหะมาก แน่ นหน้าอก
คอบวมเจ็บ ขับฝี หนองและ
เสมหะในปอด
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 287

ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ เซิงตี้มสี รรพคุณเสริมอิน บํารุงเลือด บํารุงไต และ


เสริมอินชี่ของหัวใจ เสฺวยี นเซิน มีสรรพคุณเสริมอิน ระบายความร้อน ลดภาวะร้อนพร่องที่หลบอยู่ใน
ร่างกายและทําให้จติ ใจสงบ ตัวยาเสริม ได้แก่ ตันเซิน ตังกุย เหรินเซิน และฝูหลิง มีสรรพคุณเสริมชี่
บํารุงเลือด และทําให้จติ ใจสงบ ตัวยาช่วย ได้แก่ ไป๋ จ่อื เหริน ซวนเจ่าเหริน และหย่วนจื้อ มีสรรพคุณ
บํารุงหัวใจและม้าม สงบจิตใจ เทียนตงและไม่ตง ช่วยเสริมและหล่อลืน่ ในการระบายความร้อนพร่อง
อู่เว่ยจ์ ่อื ช่วยเก็บกักชี่ สร้างสารนํา้ และป้ องกันการสู ญเสียชี่ของระบบหัวใจ เจีย๋ เกิงเป็ นตัวยานําพา ช่วย
ลําเลียงยาขึ้นสู่ส่วนบนของร่างกาย จูซาช่วยควบคุมอารมณ์ทาํ ให้จติ ใจสงบ ตัวยาทัง้ หมดเมือ่ ใช้รวมกัน
จะช่วยบํารุงอินของเลือด ลดภาวะร้อนพร่อง และทําให้จติ ใจสงบ1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาที่ให้ความชุ่มชื้น ซึ่งกระทบการทํางานของกระเพาะอาหาร ทําให้
ท้องอืดแน่ น จึงไม่เหมาะที่จะรับประทานเป็ นเวลานาน1,3 นอกจากนี้ จูซาเป็ นตัวยาที่มพี ษิ จึงควรใช้
อย่างระมัดระวัง5
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ช่วยให้การทํางานของกลา้ มเนื้อหัวใจดีข้ นึ เสริม
ระบบภูมคิ มุ ้ กันในหนู ถบี จักร และช่วยให้หนู ถบี จักรนอนหลับ5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณปรับการทํางานของสมองชัน้ นอก (cerebral
cortex) ได้ผลดี ช่วยสงบจิตใจและช่วยให้นอนหลับ โดยไม่ทาํ ให้อ่อนเพลียหรือไม่สดชื่น ทัง้ ยังบํารุง
เลือดและรักษาอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ1,3,4 และมีรายงานถึงประสิทธิภาพทีด่ ขี องการใช้ตาํ รับยา
นี้กบั ผูท้ น่ี อนไม่หลับเนื่องจากภาวะอินพร่องไฟแกร่ง6
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเทียนหวางปู่ซนิ ตัน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
288 ตํารับยาสงบจิตใจ

4. Xiao ZZ, Wang X. Tian Wang Bu Xin Dan. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Li H, Gao Y, Liu P. Effect of Tianwang Buxin decoction or Tianwang Buxin without Radix platycodi decoction on
brain neurotransmitter of rats hyposomnia model. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2009; 34(2): 217-23.
6. Ye R, Yuan ZZ, Dai CX. Intervention of tianwang buxin decoction combined with dormancy hygiene education for
treatment of sub-healthy insomnia patients of yin deficiency fire excess syndrome. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za
Zhi 2011; 31(5): 618-21.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 289

เป่ าเหอหวาน (保和丸)


ตําราต้นตํารับ
丹溪心法 ตันซีซนิ ฝ่ า (Danxi’s Experimental Therapy)1
« ค.ศ. 1347 Zhu Danxi (朱丹溪 จูตนั ซี) »2

ส่วนประกอบ
山楂 Fructus Crataegi ซานจา 180 กรัม
神曲 Massa Fermentata Medicinalis เสินชฺวี 60 กรัม
萝卜子 Semen Raphani หลัวปู่จ่อื 30 กรัม
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 90 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 90 กรัม
陈皮 Pericarpium Citri Reticulatae เฉินผี 30 กรัม
莲翘 Fructus Forsythiae เหลียนเฉียว 30 กรัม

ตํารับยา เป่ าเหอหวาน (保和丸)


290 ตํารับยาช่วยย่อย

2 เซนติเมตร
ซานจา (山楂)

เสินชฺวี (神曲) 2 เซนติเมตร


2 เซนติเมตร
หลัวปู่จ่อื (萝卜子)

2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ (半夏) 3 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เฉินผี (陈皮) เหลียนเฉียว (莲翘)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 291

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผง ปัน้ เป็ นลูกกลอนโดยใช้นาํ้ เป็ นกระสายยา รับประทานครัง้ ละ 6-9
กรัม รับประทานกับนํา้ ต้มสุก หรือเตรียมเป็ นยาต้มโดยโดยปรับลดนํา้ หนักยาลงจากตํารับยาข้างต้น 10
เท่า1,3
การออกฤทธิ์
เจริญอาหาร ปรับสมดุลของกระเพาะอาหาร1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการทีเ่ กิดจากการกินอาหารมาก มีอาหารตกค้าง จุกแน่นหน้าอก ท้องอืด บางครัง้ ปวด
พะอืดพะอม เรอเหม็นเปรี้ยว เบือ่ อาหาร คลืน่ ไส้ หรืออาจมีอาการท้องเสีย ถ่ายท้อง หรือกินอาหารเป็ น
พิษ ถ่ายท้องเหมือนเป็ นบิด ลิ้นมีฝ้าเหลือง หนาและเหนียว และชีพจรลืน่
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีร่ ะบบย่อยอาหารไม่ดี กระเพาะ-
อาหารและลําไส้อกั เสบ ซึง่ เกิดจากการสะสมของอาหารทีต่ กค้างมากเกินไป1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
山楂 ซานจา ตัวยาหลัก เปรี้ยวอม อุ่น สลายอาหารทีต่ กค้างในร่างกาย
หวาน เล็กน้อย โดยเฉพาะย่อยสลายอาหารทีม่ ี
ไขมันและเนื้อสัตว์
神曲 เสินชฺว ี ตัวยาเสริม อมหวาน อุ่น ช่วยย่อยอาหาร บํารุงม้าม สลาย
เผ็ด อาหารทีบ่ ูดและตกค้าง
萝卜子 หลัวปู่จ่อื ตัวยาเสริม เผ็ดอม กลาง ช่วยให้ช่ลี งตํา่ เจริญอาหาร และ
(เมล็ดหัวผักกาด) หวาน สลายอาหารทีต่ กค้าง
半夏 ปัน ้ เซีย่ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับลมและระบายของเสียตกค้าง
(มีพษิ )* ปรับกระเพาะอาหารและบรรเทา
อาการคลืน่ ไส้ อาเจียน

* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


292 ตํารับยาช่วยย่อย

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


陈皮 เฉินผี ตัวยาช่วย เผ็ด ขม อุ่น ขับลมและระบายของเสียตกค้าง
(ผิวส้มจีน) ปรับกระเพาะอาหารและบรรเทา
อาการคลืน่ ไส้ อาเจียน
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย จืดอมหวาน กลาง บํารุงม้าม ขับความชื้น ปรับ
(โป่ งรากสน) ส่วนกลางของร่างกาย หยุดถ่าย
สงบจิตใจ
莲翘 เหลียนเฉียว ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อน กระจายและ
เล็กน้อย ขับพิษ
ตํารับยานี้ประกอบด้วยซานจาเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณย่อยสลายอาหารที่ตกค้างในร่างกาย
โดยเฉพาะไขมันและเนื้อสัตว์ ตัวยาเสริม ได้แก่ เสินชฺวชี ่วยย่อยอาหาร บํารุงม้าม สลายอาหารทีบ่ ูดและ
ตกค้าง หลัวปู่จ่อื ช่วยให้ช่ลี งตํา่ เจริญอาหาร และสลายอาหารทีต่ กค้าง ตัวยาช่วย ได้แก่ ปัน้ เซีย่ และเฉิน
ผีช่วยให้ช่ไี หลเวียน ระบายของเสียตกค้าง ปรับสมดุลของกระเพาะอาหาร และระงับอาเจียน ฝูหลิงช่วย
ให้มา้ มแข็งแรง ขับปัสสาวะ ปรับสมดุลของกระเพาะอาหารและม้ามเพือ่ บรรเทาอาการท้องเดิน เหลียน-
เฉียวระบายความร้อนและสลายอาหารทีต่ กค้าง1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอนนํา้ ยาต้ม4
ข้อควรระวังในการใช้
ควรใช้ตาํ รับยาเป่ าเหอหวานอย่างระมัดระวังในผูป้ ่ วยทีม่ า้ มพร่องหรือม้ามอ่อนแอ ห้ามรับประทาน
อาหารรสจัดหรือมันจัด1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเป่ าเหอหวาน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาเป่ าเหอหวานมีฤทธิ์กระตุน้ การดูดซึมของลําไส้เล็กและขจัด
ของตกค้างในกระเพาะอาหารและลําไส้ของหนู ถบี จักร คลายกลา้ มเนื้อเรียบของลําไส้เล็กกระต่าย เพิม่
การหลังนํ ่ า้ ดีในหนู ขาว1,4
่ า้ ย่อยในกระเพาะอาหารและการหลังนํ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 293

การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาเป่ าเหอหวานมีสรรพคุณช่วยย่อยสลายอาหารทีต่ กค้าง ช่วยให้


ลําไส้และกระเพาะอาหารบีบตัว บรรเทาอาการอาเจียน คลืน่ ไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านอักเสบ1,3,4
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ให้ยาเป่ าเหอหวานทางปากหนู ถบี จักรขนาด 120 กรัม/กิโลกรัม
วันละ 2 ครัง้ เช้า-เย็น ติดต่อกัน 7 วัน พบว่าไม่มหี นู ถบี จักรตัวใดตาย หนู ทกุ ตัวมีการเคลือ่ นไหวเป็ น
ปกติและมีนาํ้ หนักตัวเพิม่ ขึ้น อีกการทดลองหนึ่งพบว่า เมือ่ ให้ยาทางปากและฉีดเข้าช่องท้องหนู ถบี จักร
ขนาดสูงสุดทีไ่ ม่ทาํ ให้หนู ตายภายใน 24 ชัว่ โมง คือ 96 และ 72 กรัม/กิโลกรัม ตามลําดับ เมือ่ ให้ยาทาง
ปากหนู ขาวขนาด 32.0, 16.0, 8.0 และ 4.0 กรัม/กิโลกรัม วันละครัง้ ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ไม่พบการ
เปลีย่ นแปลงของหัวใจ ตับ ม้าม ปอด ไต กระเพาะอาหาร ลําไส้ และเลือด4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. มานพ เลิศสุทธิรกั ษ์. ตํารับยาเป่ าเหอหวาน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-
จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Jiang DX, Liu ZY, Lian ZH, Wang X. Baohe Wan. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in
traditional Chinese medicine. Vol.2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
294 ตํารับยาช่วยย่อย

จือ่ สือเต่าจื้อหวาน (枳实导滞丸)


ตําราต้นตํารับ
内外伤辨惑论 เน่ยไ์ ว่ซางเปี้ ยนฮฺว่าลุน่ (Treatise on Differentiation of Internal and
External Injuries)1
« ค.ศ. 1231 Li Gao (李杲 หลีเ่ กา) หรือ Li Dongyuan (李东垣 หลีต่ งเหวียน) »2
ส่วนประกอบ
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 30 กรัม
枳实 Fructus Aurantii Immaturus จื่อสือ 15 กรัม
神曲 Massa Fermentata Medicinalis เสินชฺวี 15 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 9 กรัม
黄芩 Radix Scutellariae หวงฉิน 9 กรัม
黄连 Rhizoma Coptidis หวงเหลียน 9 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 9 กรัม
泽泻 Rhizoma Alismatis เจ๋อเซีย่ 6 กรัม

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผงละเอียด ผสมกับนํา้ ปัน้ เป็ นยาลูกกลอน รับประทานครัง้ ละ 6-9
กรัม วันละ 2 ครัง้ โดยใช้นาํ้ อุ่นเป็ นนํา้ กระสายยา หรือปรับลดนํา้ หนักยาจากตํารับยาข้างต้นครึ่งหนึ่ง
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ช่วยย่อยสลายของเสียทีต่ กค้าง และระบายความร้อนชื้น1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 295

ตํารับยา จือ่ สือเต่าจื้อหวาน (枳实导滞丸)

2 เซนติเมตร
ต้าหวง (大黄) 2 เซนติเมตร
จื่อสือ (枳实)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓) เสินชฺวี (神曲)
296 ตํารับยาช่วยย่อย

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术) หวงฉิน (黄芩)

2 เซนติเมตร
เจ๋อเซีย่ 泽泻
2 เซนติเมตร
หวงเหลียน (黄连)
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการอาหารไม่ย่อย ที่มสี าเหตุจากภาวะร้อนชื้น โดยมีอาการปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่
ถ่ายท้องและถ่ายเป็ นบิด หรือท้องผูก ปัสสาวะสีเข้ม และปริมาณน้อย ลิ้นมีฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรจม มี
แรง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่ระบบการย่อยอาหารไม่ดที ่ี
เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน กระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบ ท้องเสียจากการติดเชื้อ ซึง่ มีอาการอาหารไม่ย่อย
มีความร้อนชื้นทีม่ ้ามและกระเพาะอาหาร1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
大黄 ต้าหวง ตัวยาหลัก ขม เย็น เป็ นยาระบาย ขับของเสียที่
(โกฐนํา้ เต้า) ตกค้าง สลายก้อน ระบาย
ความร้อน ห้ามเลือด ขจัดพิษ
ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีข้นึ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 297

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


枳实 จื่อสือ ตัวยาเสริม ขม เผ็ด เย็น ขับชี่ลงล่าง สลายก้อน สลาย
เล็กน้อย ของเสียตกค้าง ละลายเสมหะ
神曲 เสินชฺวี ตัวยาช่วย หวาน อุ่น ช่วยย่อยอาหาร บํารุงม้าม
และนําพา เล็กน้อย สลายอาหารทีบ่ ูดและตกค้าง
และเผ็ด
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ ระบายความชื้นและนํา้ เสริม
(โป่ งรากสน) และนําพา เล็กน้อย ม้ามให้แข็งแรง ช่วยให้จติ ใจ
สงบ
黄芩 หวงฉิน ตัวยาช่วย ขม เย็นมาก ระบายความร้อน ขจัด
และนําพา ความชื้น ขับพิษร้อน ลด
ความร้อนในเลือด ห้ามเลือด
และกล่อมครรภ์
黄连 หวงเหลียน ตัวยาช่วย ขม เย็นมาก ระบายความร้อนของหัวใจ
และนําพา และกระเพาะอาหาร
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาช่วย ขม อุ่น เสริมม้ามให้แข็งแรง ขจัด
และนําพา อมหวาน ความชื้น ระบายนํา้ ระงับเหงือ่
กล่อมครรภ์
泽泻 เจ๋อเซีย่ ตัวยาช่วย จืด เย็น ขับปัสสาวะ ขับความชื้น
และนําพา อมหวาน ระบายความร้อน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยต้าหวงเป็ นตัวยาหลัก ใช้ปริมาณมากเพื่อให้ระบาย ถ่ายของเสียที่
ตกค้า งอยู่ ภายในกระเพาะอาหารที่เกิดจากภาวะแกร่ ง ตัวยาเสริม คือ จื่อสือ ช่ วยให้ช่ีไหลเวีย น
กระจายการคัง่ สลายของเสียที่ตกค้าง และบรรเทาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ตัวยาช่วยและนําพา ได้แก่
หวงฉิน และหวงเหลียน มีสรรพคุณขจัดความชื้นให้แห้งและระบายความร้อน บรรเทาอาการท้องเสีย
ฝูหลิงและเจ๋อเซีย่ มีสรรพคุณระบายนํา้ และความชื้น บรรเทาอาการท้องเดิน ไป๋ จู ๋ มีสรรพคุณเสริมม้าม
และขจัดความชื้น1,3
298 ตํารับยาช่วยย่อย

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ควรระวังการใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยอาหารไม่ย่อยทีม่ สี าเหตุจากม้ามพร่อง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ช่วยย่อยอาหาร ปรับสมดุลระบบการทํางานของ
กระเพาะอาหารและลําไส้ในสัตว์ทดลอง และต้านเชื้อแบคทีเรียในหลอดทดลอง4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณช่วยกระตุน้ การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลําไส้
ช่วยการย่อยและการดูดซึมอาหาร ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรีย1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาจือ่ สือเต่าจื้อหวาน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูล
ยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Jiang DX, Liu ZY. Zhishi Daozhi Wan. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 299

จือ่ สือเซียวผี่หวาน (枳实消痞丸)


ตําราต้นตํารับ
兰室秘藏 หลานสือมีฉ่ าง (Secret Record of the Chamber of Orchid)1
« ค.ศ 1249 Li Dongyuan (李东垣 หลีต่ งเหวียน) »2
ส่วนประกอบ
枳实 Fructus Aurantii Immaturus จื่อสือ 15 กรัม
厚朴 (炙) Cortex Magnoliae Officinalis โฮ่วผอ (จื้อ) 12 กรัม
黄柏 Cortex Phellodendri หวงป๋ อ 15 กรัม
半夏曲 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ ชฺว*ี 9 กรัม
干生姜 Rhizoma Zingiberis กันเซิงเจียง 3 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 9 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 6 กรัม
白茯苓 Poria ไป๋ ฝูหลิง 6 กรัม
麦芽曲 Fructus Hordei Germinatus ไม่หยาชฺวี 6 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผงละเอียด ผสมกับนํา้ หรือแป้ งเปี ยก ปัน้ เป็ นยาลูกกลอน รับประทาน
ครัง้ ละ 6-9 กรัม วันละ 2 ครัง้ โดยใช้นาํ้ อุ่นเป็ นนํา้ กระสายยา หรือต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
บรรเทาอาการแน่นเฟ้ อ บํารุงม้าม ปรับสมดุลของกระเพาะอาหาร1,3

* ปัน้ เซี่ยชฺวี คือ ปัน้ เซี่ยที่ผ่านการเผ้าจื้อแล้วและแปรรูปเป็ นก้อน ปัจจุบนั ใช้ปนั้ เซี่ยทดแทนได้ และปัน้ เซี่ยเป็ นสมุนไพรที่มพี ษิ ต้อง
ฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
300 ตํารับยาช่วยย่อย

ตํารับยา จือ่ สือเซียวผี่หวาน (枳实消痞丸)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
จื่อสือ (枳实) โฮ่วผอ (จื้อ) [厚朴(炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 301

2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ ชฺวี (半夏曲)

หวงป๋ อ (黄柏) 2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร เหรินเซิน (人参)
กันเซิงเจียง (干生姜)

2 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术) 2 เซนติเมตร
ไป๋ ฝูหลิง (白茯苓)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ไม่หยาชฺวี (麦芽曲) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
302 ตํารับยาช่วยย่อย

สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการแน่ นท้องจากม้ามพร่ อง มีอาการแน่ นอึดอัดใต้ล้ ินปี่ เบื่ออาหาร ร่ างกาย
อ่อนเพลีย หรือมีอาการแน่นหน้าอกและแน่นท้อง รับประทานอาหารได้นอ้ ย อาหารไม่ย่อย ถ่ายอุจจาระ
ไม่คล่อง ลิ้นมีฝ้าเหนียว ชีพจรลืน่ 1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมในผูป้ ่ วยที่มอี าการแน่นท้องจากม้ามพร่อง
เช่น กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง เป็ นต้น1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
枳实 จื่อสือ ตัวยาหลัก ขม เผ็ด เย็น ขับชี่ลงล่าง สลายก้อน สลาย
เล็กน้อย ของเสียตกค้าง ละลายเสมหะ
厚朴 (炙) ตัวยาเสริม ขม เผ็ด อุ่น ช่วยให้ช่ไี หลเวียนดี ขจัด
โฮ่วผอ (จื้อ) ความชื้น สลายของเสียตกค้าง
ระงับอาการหอบ
黄柏 หวงป๋ อ ตัวยาช่วย ขม เย็นมาก ระบายความร้อนซึง่ อยู่ช่วงล่าง
ของร่างกาย เสริมสารนํา้ ระงับ
อาการถ่ายเป็ นบิด
半夏曲 ปัน้ เซีย่ ชฺวี ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ
ลดการไหลย้อนกลับของชี่
ระงับอาเจียน สลายเสมหะที่
จับตัวเป็ นก้อนและเถาดาน
干生姜 กันเซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด ร้อน ให้ความอบอุ่นแก่ส่วนกลาง
(ขิงแก่แห้ง) ของร่างกาย สลายความเย็น
ดึงหยางให้กลับคืนเพือ่ กระตุน้
ชีพจร ให้ความอบอุ่นแก่ปอด
สลายความชื้น
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 303

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


人参 เหรินเซิน ตัวยาช่วย หวานอมขม อุ่น เสริมชี่อย่างมาก เสริมปอด
(โสมคน) เล็กน้อย เล็กน้อย บํารุงม้ามและกระเพาะอาหาร
สร้างสารนํา้ สงบจิตใจ
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาช่วย ขม อุ่น เสริมม้ามให้แข็งแรง ขจัด
อมหวาน ความชื้น ระบายนํา้ ระงับเหงือ่
กล่อมครรภ์
白茯苓 ไป๋ ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ ระบายความชื้นและนํา้ เสริม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ม้ามให้แข็งแรง ช่วยให้จติ ใจ
สงบ
麦芽曲 ไม่หยาชฺวี ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ เสริมกระเพาะอาหารให้
(ข้าวบาร์เล่ยง์ อก) แข็งแรง ช่วยย่อยอาหาร
บรรเทาอาการแน่นท้อง
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
กันเฉ่ า (จื้อ) อาหาร ระบายความร้อน
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ขับพิษ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยจื่อสือเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณช่วยให้ช่ไี หลเวียน สลายของเสียทีจ่ บั ตัว
เป็ นก้อน บรรเทาอาการจุกเสียดแน่ นท้อง ตัวยาเสริม คือ โฮ่วผอ (จื้อ) ช่วยเสริมฤทธิ์ของตัวยาหลัก
เพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการจุกเสียดแน่ นท้อง ตัวยาช่วย ได้แก่ หวงป๋ อ มีสรรพคุณระบาย
ความร้อน ขจัดความชื้น บรรเทาอาการแน่นท้อง ปัน้ เซี่ยชฺวี ช่วยสลายความชื้น ปรับความสมดุลของ
กระเพาะอาหาร กันเซิงเจียง มีฤทธิ์อ่นุ จงเจียว ขจัดความเย็น เมือ่ ใช้ตวั ยาทัง้ สามร่วมกันจะช่วยเสริม
ฤทธิ์ให้แรงขึ้น โดยกันเซิงเจียงรสเผ็ด มีฤทธิ์ขบั กระจาย และหวงป๋ อรสขม มีฤทธิ์กดชี่ลงล่าง เหรินเซิน
มีฤทธิ์เสริมภูมติ า้ นทานและบํารุงม้ามให้แข็งแรง ไป๋ จูแ๋ ละไป๋ ฝูหลิงมีฤทธิ์ขจัดความชื้น เสริมบํารุงม้าม
ไม่หยาชฺวมี สี รรพคุณช่วยย่อยอาหารและปรับสมดุลของกระเพาะอาหาร กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา มี
ฤทธิ์ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
304 ตํารับยาช่วยย่อย

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้ในผูป้ ่ วยทีม่ อี าการแน่นท้องชนิดแกร่ง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์กระตุน้ การเคลือ่ นไหวของกระเพาะอาหารและ
ลําไส้ ช่วยให้การขับถ่ายดีข้นึ ในหนู ถบี จักรและกระต่าย4
การศึกษาทางคลินิก: เมือ่ ศึกษาในผูป้ ่ วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง จํานวน 30 ราย โดย
ให้รบั ประทานยานาน 6 เดือน พบว่าได้ผลดีในผูป้ ่ วย 26 ราย มีอาการดีข้นึ 3 ราย และไม่ได้ผล 1 ราย
จากการศึกษาในผูป้ ่ วยหลังการผ่าตัดที่มอี าการอุดกัน้ ลําไส้ ถ่ายลําบาก จํานวน 12 ราย โดยให้ผูป้ ่ วย
รับประทานยาในรูปแบบยาต้มแทนยาลูกกลอน วันละ 2 ห่อ แบ่งรับประทานวันละ 4 ครัง้ พบว่าผูป้ ่ วย
จํานวน 11 ราย หายเป็ นปกติโดยไม่กลับมาเป็ นอีก4 การศึกษาในผูป้ ่ วยธาตุพกิ ารจํานวน 27 ราย พบว่า
ตํารับยานี้ทาํ ให้มกี ารเคลือ่ นไหวของกระเพาะอาหารมากขึ้น ลดอาการอาหารไม่ย่อย5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาจื่อสือเซียวผี่หวาน. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทํา
ฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Jiang DX, Liu ZY, Wang X. Zhishi Xiaopi Wan. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Lin J, Cai G, Xu JY. A comparison between Zhishi Xiaopiwan and cisapride in treatment of functional dyspepsia.
World J Gastroenterol 1998; 4(6): 544-547.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 305

เยฺว่จฺวหี วาน (越鞠丸) หรือ ซฺ ยงจูห๋ วาน (芎术丸)


ตําราต้นตํารับ
丹溪心法 ตันซีซน
ิ ฝ่ า (Danxi’s Experimental Therapy)1
« ค.ศ.1347 Zhu Danxi (朱丹溪 จูตนั ซี) »2
ส่วนประกอบ
香附 Rhizoma Cyperi เซียงฝู่ 90 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 90 กรัม
苍术 Rhizoma Atractylodis ชังจู ๋ 90 กรัม
栀子 Fructus Gardeniae จือจื่อ 90 กรัม
神曲 Massa Fermentata Medicinalis เสินชฺวี 90 กรัม
วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผงละเอียด ปัน้ เป็ นยาลูกกลอนเม็ดเล็ก ขนาดเท่าเมล็ดถัว่ เขียว ใช้
นํา้ เป็ นกระสายยา รับประทานครัง้ ละ 6-9 กรัม หรือต้มเอานํา้ ดื่ม โดยปรับลดนํา้ หนักยาลงจากตํารับยา
ข้างต้น 10 เท่า1,3
การออกฤทธิ์
ช่วยให้ช่ไี หลเวียน ขจัดการคัง่ ของชี่1,3
สรรพคุณ
รักษากลุม่ อาการคัง่ หกลักษณะ ได้แก่ ชี่ เลือด เสมหะ ความร้อน อาหาร และความชื้น โดยมี
อาการแน่ นอึดอัดบริเวณทรวงอกและลิ้นปี่ ปวดแน่ นท้อง รู ส้ ึกไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้
อาเจียน เรอมีกลิน่ เหม็นเปรี้ยว ลิ้นมีฝ้าขาวเหนียว ชีพจรตึง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคระบบทางเดินอาหารซึ่งมี
สาเหตุจากความเครียด แผลในกระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วนต้น กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ตับ
อัก เสบชนิ ด ติด ต่ อ ถุง นํา้ ดีอ กั เสบ หรือ เป็ น นิ่ ว ในถุง นํา้ ดี ปวดเส้น ประสาทบริเ วณชายโครง ปวด
ประจําเดือน เป็ นต้น1,3
306 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

ตํารับยา เยฺว่จฺวหี วาน (越鞠丸)

2 เซนติเมตร
ชวนซฺยง (川芎) 2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เซียงฝู่ (香附) ชังจู ๋ (苍术)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร เสินชฺวี (神曲)
จือจื่อ (栀子)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 307

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
香附 เซียงฝู่ ตัวยาหลัก เผ็ดอมขม สุขมุ ผ่อนคลายตับ ช่วยให้ช่ไี หลเวียน
(แห้วหมู) และอมหวาน ปรับประจําเดือน ระงับปวด
เล็กน้อย
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และ
(โกฐหัวบัว) และช่วย เลือด ขับลมในเลือด ระงับปวด
苍术 ชังจู ๋ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับลมชื้น เสริมบํารุงม้าม ขับ
(โกฐเขมา) และช่วย อมขม ความชื้น
栀子 จือจื่อ ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด เสริม
(ลูกพุด) และช่วย ความชื้น ขจัดพิษอักเสบ
神曲 เสินชฺว ี ตัวยาเสริม หวาน อุ่น ช่วยย่อยอาหาร บํารุงม้าม สลาย
และช่วย เล็กน้อย อาหารทีบ่ ูดและตกค้าง
และเผ็ด

ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก คือ เซียงฝู่ มีสรรพคุณขจัดการคัง่ ของชี่ ช่วยให้ช่ไี หลเวียน


ตัวยาเสริมและตัวยาช่วย ได้แก่ ชวนซฺยง มีสรรพคุณช่วยให้ช่ีไหลเวียน เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
ขจัดการคัง่ ของเลือด และเสริมฤทธิ์ของเซียงฝู่ในการขจัดการคัง่ ของชี่ ชังจูม๋ สี รรพคุณเสริมม้ามให้
แข็งแรง ขจัดความชื้นที่อุดกัน้ จือจื่อมีสรรพคุณลดไข้ ระบายความร้อน และเสินชฺวชี ่วยปรับสมดุล
ของกระเพาะอาหาร ช่ ว ยย่ อยอาหารที่ตกค้าง ตํารับยานี้สามารถขจัดเสมหะที่มีสาเหตุจากมา้ มมี
ความชื้น หรือมีการคัง่ ของชี่ ความร้อน หรืออาหารไม่ย่อย หากขจัดการคัง่ ออก เสมหะก็จะหาย1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาผง5
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยกลุม่ อาการแกร่งเท่านัน้ ไม่เหมาะกับผูป้ ่ วยกลุม่ อาการพร่อง1,3,4
308 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: เมือ่ ให้สารสกัดเอทานอล สารสกัดปิ โตรเลียมอีเทอร์ และสารสกัด
บิวทานอล ทางปากหนู ถบี จักร พบว่ามีฤทธิ์ตา้ นอาการซึมเศร้า5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณช่วยให้จติ ใจสงบ ระงับอาการปวดไมเกรน บรรเทา
อาการตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน ถุงนํา้ ดีอกั เสบ บรรเทาอาการกระเพาะอาหารอักเสบทัง้ ชนิดเฉียบพลัน
และชนิดเรื้อรัง กระตุน้ ระบบการย่อยอาหาร และคลายการหดตัวของกล ้ามเนื้อมดลูก1,3,6
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาเยฺวจ่ วฺ หี วาน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
4. Zhou YF. Science of Prescriptions. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional Chinese
Medicine, 2002.
5. Wei XH, Cheng XM, Shen JS, Wang ZT. Antidepressant effect of Yue-ju-Wan ethanol extract and its fractions in
mice models of despair. J Ethnopharmacol 2008; 117(2): 339-44.
6. Fan SP, Zhang Q. Yueju Wan. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 309

ปัน้ เซี่ยโฮ่วผอทัง (半夏厚朴汤)


ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ประกอบด้วย
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 12 กรัม
厚朴 Cortex Magnoliae Officinalis โฮ่วผอ 9 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 12 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 9 กรัม
苏叶 Folium Perillae ซูเยีย่ 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ช่วยให้ช่ไี หลเวียน ผ่อนคลายอาการอึดอัด ลดชี่ไหลย้อน สลายเสมหะ1,3
สรรพคุณ
รักษาผูป้ ่ วยทีม่ อี าการกลืนลําบาก คลา้ ยมีเม็ดหรือก้อนมาจุกลําคอ มีความรูส้ กึ กลืนไม่เข้าและ
คายไม่ออก อึดอัดแน่นหน้าอก อาจมีอาการไอหรืออาเจียน ลิ้นมีฝ้าขาวชื้นหรือลืน่ เหนียวชีพจรตึงหรือ
ลืน่ 1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มปี ระสาทสัมผัสของลําคอ
ผิดปกติ คออักเสบ กล่องเสียงบวม หลอดลมอักเสบ หอบหรือหืดจากหลอดลมผิดปกติ อาเจียนจาก
ประสาทสัมผัสผิดปกติ ประสาทสัมผัสกระเพาะอาหารผิดปกติ คลืน่ ไส้อาเจียนในสตรีมคี รรภ์เนื่องจาก
เสมหะหรือชี่ไหลย้อน1,3
310 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

ตํารับยา ปัน้ เซี่ยโฮ่วผอทัง (半夏厚朴汤)

2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ (半夏) 2 เซนติเมตร
3 เซนติเมตร
โฮ่วผอ (厚朴) ฝูหลิง (茯苓)

3 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เซิงเจียง (生姜) ซูเยีย่ (苏叶)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 311

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
半夏 ปัน
้ เซีย่ ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ ลด
(มีพษิ )* การไหลย้อนกลับของชี่ บรรเทา
อาการคลืน่ ไส้อาเจียน สลายเสมหะ
ทีเ่ กาะตัวเป็ นก้อน
厚朴 โฮ่วผอ ตัวยาเสริม ขม อุ่น ทําให้ช่หี มุนเวียน ขับความชื้น ขับ
อมเผ็ด ของเสียและอาหารตกค้าง ระงับหอบ
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาเสริม หวาน สุขมุ ระบายความชื้นและนํา้ เสริมบํารุง
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ม้าม ทําให้จติ ใจสงบ
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ กระจายหวัด ให้ความอบอุ่น
(ขิงแก่สด) และนําพา แก่กระเพาะอาหาร ระงับอาเจียน
ช่วยให้ปอดอบอุ่น ระงับไอ และ
บรรเทาพิษของยาปัน้ เซีย่
苏叶 ซูเยีย่ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ กระจายหวัดเย็น ให้ความ
(ใบงาขี้ม ้อน) และนําพา อบอุ่นแก่ส่วนกลาง ระงับอาเจียน
อุ่นปอด ระงับไอ ป้ องกันและ
บรรเทาอาการแพ้ปูและปลา
ตํารับยานี้ประกอบด้วยปัน้ เซี่ยเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลกระเพาะอาหาร ลด
อาการชี่ไหลย้อน ละลายเสมหะที่เกาะติดเป็ นก้อน ตัวยาเสริม ได้แ ก่ โฮ่ วผอมีสรรพคุณปรับการ
ไหลเวียนของชี่ให้ลงด้านล่าง ลดอาการแน่นท้อง และเสริมฤทธิ์ของปัน้ เซีย่ ฝูหลิงมีสรรพคุณระบายนํา้
ช่วยเสริมฤทธิ์ละลายเสมหะของปัน้ เซี่ย ตัวยาช่วยและนําพา ได้แก่ เซิงเจียงมีฤทธิ์ขบั กระจายประสาน
กระเพาะอาหาร ระงับอาเจียน ซูเยีย่ มีกลิน่ หอม มีสรรพคุณขับกระจายทําให้ช่ไี หลเวียน กระจายชี่ของตับ
ปรับสมดุลของม้าม1,3

* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


312 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตัวยาในตํารับยานี้ส่วนใหญ่มคี ุณสมบัตอิ ่นุ แห้ง จึงเหมาะสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการชี่ตดิ ขัด หรือ
เสมหะชื้นอุดกัน้ เท่านัน้ ห้ามใช้ในผูป้ ่ วยที่ขาดสารนํา้ หล่อเลี้ยงเนื่องจากอินพร่อง หรือมีความร้อนจาก
อินพร่อง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: เมือ่ ฉีดยาต้มเข้าหลอดเลือดดําแมวในขนาด 0.4 กรัม/กิโลกรัม พบว่า
มีฤทธิ์ช่วยให้อาการกลืนอาหารลําบากของแมวดีข้ นึ หลังให้ยาแลว้ ประมาณ 30 นาที อาการดังกล่าวจะ
กลับคืนสู่สภาพปกติ เมือ่ ให้ผงยาแก่หนู ขาวทางปากในขนาด 4 กรัม/กิโลกรัม/วัน ติดต่อกัน 6 วัน
พบว่ามีฤทธิ์ยบั ยัง้ การเคลื่อนไหวของหนู ขาวโดยเฉพาะในที่มดื และฤทธิ์ดงั กล่าวจะคงอยู่ได้นาน 2 วัน
นอกจากนี้ยงั พบว่าตํารับยานี้มฤี ทธิ์ช่วยให้หนู ถบี จักรนอนหลับ และมีฤทธิ์ตา้ นอาการแพ้ของผิวหนังใน
หนู ตะเภา4 จากการศึกษาฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง พบว่าสารสกัดด้วยตัวทําละลายชนิดต่าง ๆ5-7
และสารพอลิแซ๊กคาไรด์8ของตํารับยานี้ มีฤทธิ์ตา้ นซึมเศร้าในหนู ถบี จักร และยาต้มมีฤทธิ์ทาํ ให้หนู ขาวที่
ชักนําให้เครียดเรื้อรังแบบอ่อน ๆ มีอาการดีข้นึ 9
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณบรรเทาอาการคอหอยอักเสบเรื้อรัง4 กลืนอาหาร
ลําบากในผูส้ ู งอายุและผูป้ ่ วยพาร์คินสัน10,11 หอบหืด อาเจียน มีอาการคัน ลําไส้อกั เสบชนิดเฉียบพลัน
กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังชนิดไม่รุนแรง4 ช่วยให้ผูป้ ่ วยธาตุพกิ ารมีอาการดีข้นึ 12,13 บรรเทาอาการโรค
ฮีสทีเรีย4 ลดอุบตั กิ ารณ์ของโรคปอดบวมและการเสียชีวติ ที่เกี่ยวขอ้ งกับโรคปอดบวมในผูป้ ่ วยโรค
สมองเสื่อม14 มีรายงานว่าผูป้ ่ วยชายอายุ 40 ปี รายหนึ่งที่มอี าการหายใจขัดขณะนอนหลับทุกคืน มี
อาการดีข้นึ เมือ่ ใช้ยาตํารับนี้15
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาปัน้ เซี่ยโฮ่วพัวทั
่ ง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 313

4. Peng K. Ban Xia Hou Po Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Wang Y, Kong L, Chen Y. Behavioural and biochemical effects of fractions prepared from Banxia Houpu decoction
in depression models in mice. Phytother Res 2005; 19(6): 526-9.
6. Wang YM, Kong LD, Huang ZQ. Screening of antidepressant fractions of banxia houpu decoction. Zhongguo Zhong
Yao Za Zhi 2002; 27(12): 932-6.
7. Luo L, Nong Wang J, Kong LD, Jiang QG, Tan RX. Antidepressant effects of Banxia Houpu decoction, a traditional
Chinese medicinal empirical formula. J Ethnopharmacol 2000; 73(1-2): 277-81.
8. Guo Y, Kong L, Wang Y, Huang Z. Antidepressant evaluation of polysaccharides from a Chinese herbal medicine
Banxia-houpu decoction. Phytother Res 2004; 18(3): 204-7.
9. Li JM, Kong LD, Wang YM, Cheng CH, Zhang WY, Tan WZ. Behavioral and biochemical studies on chronic mild
stress models in rats treated with a Chinese traditional prescription Banxia-houpu decoction. Life Sci 2003; 74(1): 55-
73.
10. Iwasaki K, Wang Q, Nakagawa T, Suzuki T, Sasaki H. The traditional Chinese medicine banxia houpo tang improves
swallowing reflex. Phytomedicine 1999; 6(2): 103-6.
11. Iwasaki K, Wang Q, Seki H, Satoh K, Takeda A, Arai H, Sasaki H. The effects of the traditional chinese medicine,
"Banxia Houpo Tang (Hange-Koboku To)" on the swallowing reflex in Parkinson's disease. Phytomedicine 2000; 7(4):
259-63.
12. Oikawa T, Ito G, Hoshino T, Koyama H, Hanawa T. Hangekobokuto (Banxia-houpo-tang), a Kampo Medicine that
Treats Functional Dyspepsia. Evid Based Complement Alternat Med 2009; 6(3): 375-8.
13 Oikawa T, Ito G, Koyama H, Hanawa T. Prokinetic effect of a Kampo medicine, Hange-koboku-to (Banxia-houpo-
tang), on patients with functional dyspepsia. Phytomedicine 2005; 12(10): 730-4.
14. Iwasaki K, Kato S, Monma Y, Niu K, Ohrui T, Okitsu R, Higuchi S, Ozaki S, Kaneko N, Seki T, Nakayama K,
Furukawa K, Fujii M, Arai H. A pilot study of banxia houpu tang, a traditional Chinese medicine, for reducing
pneumonia risk in older adults with dementia. J Am Geriatr Soc 2007; 55(12): 2035-40.
15. Hisanaga A, Itoh T, Hasegawa Y, Emori K, Kito T, Okabe A, Kurachi M. A case of sleep choking syndrome improved
by the Kampo extract of Hange-koboku-to. Psychiatry Clin Neurosci 2002; 56(3): 325-7.
314 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

ซูจอ่ื เจี้ยงชี่ทงั (苏子降气汤)


ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
Dispensary)1
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈师文 เฉินซือเหวิน) »2
ประกอบด้วย
紫苏子 Fructus Perillae จื่อซูจ่อื 9 กรัม
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 9 กรัม
厚朴 Cortex Magnoliae Officinalis โฮ่วผอ 6 กรัม
(姜炒) (baked with ginger) (เจียงเฉ่ า)
前胡 Radix Peucedani เฉียนหู 6 กรัม
肉桂 Cortex Cinnamomi โร่วกุย้ 3 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 6 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 3 กรัม
苏叶 Folium Perillae ซูเยีย่ 2 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 6 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 3 ผล

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
บรรเทาอาการหอบ ระงับไอ ขับเสมหะ1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 315

สรรพคุณ
รักษาภาวะร่างกายช่วงบนแกร่ง แต่ช่วงล่างพร่อง โดยมีเสมหะและนํา้ ลายมาก มีอาการหายใจ
สัน้ เหนื่อยไอหอบ อึดอัดแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ขาอ่อนแรง มือเท้าอ่อนลา้ ไม่มกี าํ ลัง ลิ้นขาวลืน่ หรือ
ขาวเหนียวมัน1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
หอบหืด ถุงลมโป่ งพอง อาการไอเนื่องจากปอดและหัวใจผิดปกติ อาการเหนื่อยหอบที่เกิดจากภาวะ
ร่างกายช่วงบนแกร่งแต่ช่วงล่างพร่อง มีเสมหะและนํา้ ลายคัง่ ค้างมาก1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
紫苏子 จื่อซูจ่อื ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ระงับไอ ระงับหอบ ช่วยให้ลาํ ไส้
(ผลงาขี้ม ้อน) ชุ่มชื้น ระบายอ่อน ๆ
半夏 ปัน ้ เซีย่ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับความชื้น ละลายเสมหะ ลด
(มีพษิ )* อาการชี่ยอ้ นขึ้น ระงับอาเจียน
厚朴 (姜炒) ตัวยาเสริม ขม อุ่น ทําให้ช่หี มุนเวียน ขับความชื้น ขับ
โฮ่วผอ (เจียงเฉ่ า) อมเผ็ด ของเสียและอาหารตกค้าง ระงับ
หอบ
前胡 เฉียนหู ตัวยาเสริม ขม เย็น ลดชี่ให้ตาํ ่ ลง ขับเสมหะ กระจาย
อมเผ็ด เล็กน้อย และระบายลมร้อน
肉桂 โร่วกุย้ ตัวยาช่วย เผ็ด ร้อน เสริมหยาง บํารุงธาตุไฟในระบบ
(อบเชยจีน) อมหวาน ไต ขับความเย็น ระงับปวด เพิม่
ความอบอุ่นให้ลมปราณหมุนเวียน
当归 ตังกุย ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงและสร้างเลือดใหม่ และทําให้
อมเผ็ด เลือดไหลเวียนดีข้นึ บรรเทาปวด
ช่วยให้ลาํ ไส้มคี วามชุ่มชื้น ระบาย
อ่อน ๆ

* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


316 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ขับความเย็นทําให้ช่ี
(ขิงแก่สด) หมุนเวียน ทําให้ส่วนกลางของ
ร่างกายโล่ง บรรเทาอาการแพ้จาก
การรับประทานปู ปลา
苏叶 ซูเยีย่ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ กระจายหวัดเย็น ให้ความ
(ใบงาขี้ม ้อน) อบอุ่นแก่ส่วนกลางของร่างกาย
ระงับอาเจียน อุ่นปอด ระงับไอ
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(ชะเอมเทศ) ระบายความร้อน ขับพิษ ระงับไอ
ขับเสมหะ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
大枣 ต้าเจ่า ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(พุทราจีน) บํารุงเลือดในระบบประสาท
ประสานฤทธิ์ยาให้สุขมุ
ตํารับยานี้ประกอบด้วยจื่อซู จ่ือเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณปรับและลดชี่ ระงับหอบ บรรเทา
อาการไอ ขับเสมหะ ตัวยาเสริม ได้แก่ ปัน้ เซี่ย โฮ่วผอ (เจียงเฉ่ า) และเฉียนหู ร่วมกันออกฤทธิ์ระงับ
หอบ บรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะทีต่ ดิ ค้าง ตัวยาช่วย ได้แก่ โร่วกุย้ มีสรรพคุณขับความเย็น อุ่นหยาง
ให้ไต เสริมชี่ให้คงตัว จึงระงับหอบ ตังกุยเสริมบํารุงและปรับเลือดให้เป็ นปกติ การใช้ตวั ยาทัง้ สองร่วมกัน
จะช่วยขจัดอาการพร่องของช่วงล่างของร่างกาย ทําให้ช่ไี ม่ไหลย้อนขึ้นจนทําให้เกิดอาการไอและเหนื่อย
หอบ เซิงเจียงและซูเยี่ย ขับความเย็นกระจายชี่ของปอด ตัวยานําพา ได้แก่ กันเฉ่ าและต้าเจ่า มีสรรพคุณ
ปรับประสานส่วนกลางของร่างกาย1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาผง4
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 317

ตํารับยา ซูจอ่ื เจี้ยงชี่ทงั (苏子降气汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
จื่อซูจ่อื (紫苏子) ปัน้ เซีย่ (半夏)
318 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร เฉียนหู (前胡)
โฮ่วผอ (厚朴)

2 เซนติเมตร
โร่วกุย้ (肉桂)

3 เซนติเมตร

ตังกุย (当归)

เซิงเจียง (生姜) 3 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (甘草)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ซูเยีย่ (苏叶) ต้าเจ่า (大枣)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 319

ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาที่มฤี ทธิ์อุ่นแห้งเป็ นหลัก มีสรรพคุณขับความแกร่งส่วนบนของ
ร่างกายเป็ นหลัก จึงไม่เหมาะกับผูป้ ่ วยที่มอี าการปอดและไตพร่อง หรือไอ เหนื่อยหอบ เสมหะมากจาก
ภาวะปอดร้อน1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ระงับไอและต้านอักเสบในหนู ถบี จักร บรรเทาอาการ
หอบในหนู ตะเภา4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณเป็ นยาขับเสมหะ ระงับไอ ระงับหอบ นอกจากนี้
ยังพบว่า ตํารับยานี้สามารถปรับสมรรถนะการทํางานของต่อมหมวกไตให้ดขี ้ นึ เพิ่มการไหลเวียนของ
เลือด และเพิม่ ภูมติ า้ นทานให้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการกลัวความหนาวเย็น1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาซูจ่อื เจี้ยงชี่ทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2550.
4. Fan YP, Zhang Q, Wang X. Su Zi Jiang Qi Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
320 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

ติ้งฉ่ วนทัง (定喘汤)


ตําราต้นตํารับ
摄生众妙方 เซ่อเซิงจ้งเมีย
่ วฟาง (Effective Prescriptions for Health Conservation)1
« ค.ศ. 1550 Zhang Sheche (张摄尺 จางเซ่อเช่อ) »2
ส่วนประกอบ
麻黄 Herba Ephedrae หมาหวง 9 กรัม
白果 Semen Ginkgo ไป๋ กว่อ 9 กรัม
苏子 Fructus Perillae ซูจ่อื 6 กรัม
杏仁 Semen Armeniacae Amarum ซิง่ เหริน 9 กรัม
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 9 กรัม
款冬花 Flos Farfarae ข่วนตงฮฺวา 9 กรัม
桑白皮 Cortex Mori Radicis ซังไป๋ ผี 9 กรัม
黄芩 Radix Scutellariae หวงฉิน 6 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 3 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ช่วยกระจายชี่ปอด ระงับหอบ ขจัดความร้อน ขับเสมหะ1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการมีเสมหะร้อนอุดกัน้ ในปอด ร่ วมกับถูกลมเย็นภายนอกมากระทบ โดยมี
อาการไอ หอบ เสมหะมากสีเหลืองข้น กลัวหนาว มีไข้ ลิ้นมีฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรลืน่ เร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
อาการหอบจากหลอดลมหดเกร็ง และมีกลุม่ อาการดังทีก่ ล่าวข้างต้น1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 321

ตํารับยา ติ้งฉ่ วนทัง (定喘汤)

2 เซนติเมตร
ไป๋ กว่อ (白果)
2 เซนติเมตร
หมาหวง (麻黄)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ซูจ่อื (苏子) ซิง่ เหริน (杏仁) ปัน้ เซีย่ (半夏)
322 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ข่วนตงฮฺวา (款冬花) ซังไป๋ ผี (桑白皮)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
หวงฉิน (黄芩) กันเฉ่ า (甘草)

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
麻黄 หมาหวง ตัวยาหลัก เผ็ดขม อุ่น ขับเหงือ่ ขับพิษไข้ กระจายชี่ปอด
เล็กน้อย* บรรเทาหอบ
白果 ไป๋ กว่อ ตัวยาหลัก อมหวาน สุขมุ ควบคุมการทํางานของระบบปอด
(แปะก๊วย) ขมฝาด (มีพษิ )** บรรเทาอาการหอบ ละลายเสมหะ
苏子 ซูจ่อื ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ระงับไอ ระงับหอบ ช่วยให้ลาํ ไส้
(ผลงาขี้ม ้อน) ชุ่มชื้น ระบายอ่อน ๆ
杏仁 ซิง่ เหริน ตัวยาเสริม ขม อุ่น ระบายและกระจายชี่ทป่ี อด ระงับ
เล็กน้อย ไอ บรรเทาหอบ ให้ความชุ่มชื้น
แก่ลาํ ไส้ และระบายอ่อน ๆ
* สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุญาตให้ยาทีผ่ ลิตขึ้นโดยมีลาํ ต้นและ/หรือกิ่งเอเฟดรา (Ephedra) คิดเป็ นนํา้ หนักลําต้น
และ/หรือกิ่งแห้งสําหรับรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 2 กรัม
** ไป๋ กว่อ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ห้ามใช้ในปริมาณมาก ควรระมัดระวังการใช้ในเด็กเล็ก
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 323

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
半夏 ปัน
้ เซีย่ ตัวยาเสริม เผ็ด
อุ่น สลายความชื้น ละลายเสมหะ
(มีพษิ )*** กดชี่ลงล่าง บรรเทาอาการคลืน่ ไส้
อาเจียน สลายเสมหะทีเ่ กาะตัว
เป็ นก้อน
款冬花 ข่วนตงฮฺวา ตัวยาเสริม เผ็ดขม อุ่น ให้ความชุ่มชื้นแก่ระบบปอด
เล็กน้อย ระงับอาการไอ ละลายเสมหะ
桑白皮 ซังไป๋ ผี ตัวยาช่วย อมหวาน เย็น ระบายความร้อนของปอด
(เปลือกรากหม่อน) บรรเทาอาการหอบ ระบายนํา้
ลดอาการบวม
黄芩 หวงฉิน ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อน ขจัดความชื้น
ขับพิษร้อน ช่วยให้เลือดเย็นลง
ห้ามเลือด ลดไข้ และกล่อมครรภ์
甘草 กันเฉ่ า ตัวยา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ขับพิษ
(ชะเอมเทศ) นําพา ระงับไอ ขับเสมหะ ปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ หมาหวงมีสรรพคุณกระจายชี่ของปอด ขับชี่ท่ไี ม่ดี
ออกนอกร่างกาย ควบคุมอาการหอบให้สงบลง ไป๋ กว่อมีสรรพคุณสมานปอด ขับเสมหะ ควบคุม
อาการหอบให้สงบลง เมือ่ ใช้ตวั ยาสองชนิดนี้ร่วมกัน หมาหวงจะช่วยกระจาย ในขณะทีไ่ ป๋ กว่อจะช่วย
เหนี่ยวรัง้ จึงเสริมฤทธิ์กนั ทําให้อาการหอบหายเร็วขึ้น และยังช่วยลดฤทธิ์ของหมาหวงไม่ให้ช่ขี องปอด
กระจายมากเกินไป ตัวยาเสริม ได้แก่ ซู จ่ือ ซิ่งเหริน ปัน้ เซี่ย และข่วนตงฮฺวา มีสรรพคุณช่ วยลดชี่
ควบคุมอาการหอบ ขับเสมหะ และระงับอาการไอ ตัวยาช่วย ได้แก่ ซังไป๋ ผี และหวงฉิน มีสรรพคุณ
ช่วยระบายความ-ร้อนของปอด ลดไข้ และระงับอาการหอบ กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดในตํารับให้เข้ากัน1,3

*** ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


324 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยไข้หวัดทีเ่ กิดจากจากการกระทบลมเย็นในระยะแรก โดยมีอาการไอ
หอบและไม่มเี หงือ่ หรือไม่มเี สมหะร้อนที่ทาํ ให้ไอ และห้ามใช้ในกรณีท่เี ป็ นโรคหอบหืดเรื้อรัง ชี่พร่อง
ชีพจรจม เล็ก อ่อนแรง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ขบั เสมหะ บรรเทาอาการหอบในหนู ถบี จักร และหนู
ตะเภา ระงับอาการไอในหนู ถีบจัก ร ยับยัง้ การหดเกร็ง ของกล า้ มเนื้อเรียบของหลอดลมหนู ตะเภา
เสริม สร้า งระบบภูมิต า้ นทานในหนู ถีบ จัก ร ต้า นจุล ชีพ ในหลอดทดลอง 4 และต้า นเชื้อ respiratory
syncytial virus (RSV) ในหนู ถบี จักร5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้จะช่วยคลายกลา้ มเนื้อเรียบของหลอดลม ทําให้อาการหอบ
สงบลง และขับเสมหะ ระงับอาการไอ ขับเหงือ่ และลดไข้4 มีรายงานพบว่าตํารับยานี้ช่วยให้ผูป้ ่ วยเด็กที่
เป็ นโรคหอบมีอาการดีข้นึ 6
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ให้ยาต้มทางปากหนู ถบี จักรในขนาดเทียบเท่าผงยา 150 กรัม/
กิโลกรัม ไม่พบความผิดปกติหรือตายภายใน 3 วัน4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาติ้งฉ่ วนทัง. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2550.
4. Fan YP, Zhang Q, Wang X. Ding Chuan Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Cui ZZ, Wu ZQ, Wang XF. Dingchuantang decoction restores the imbalance of TH2/TH1 in mice infected by
respiratory syncytial virus. Zhongguo Dang Dai Er Ke Za Zhi 2006; 8(1): 63-5.
6. Chan CK, Kuo ML, Shen JJ, See LC, Chang HH, Huang JL. Ding Chuan Tang, a Chinese herb decoction, could
improve airway hyper-responsiveness in stabilized asthmatic children: a randomized, double-blind clinical trial.
Pediatr Allergy Immunol 2006; 17(5): 316-22.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 325

จฺหวีผีจูห้ รูทงั (橘皮竹茹汤)


ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber) 1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
橘皮 Exocarpium Citri Rubrum จฺหวีผี 9 กรัม
竹茹 Caulis Bambusae in Taenis จูห้ รู 9 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 9 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 3 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 6 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 5 ผล

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ลดอาการชี่ไหลย้อนกลับ ระงับอาเจียน เสริมชี่ ระบายความร้อน1,3
สรรพคุณ
รักษากลุม่ อาการกระเพาะอาหารพร่อง ชี่สวนทางลอยขึ้น (ชี่ยอ้ นกลับ) และมีความร้อน โดยมี
อาการสะอึก เรอ หรืออาเจียน เบือ่ อาหาร ลิ้นนุ่มแดง ชีพจรเร็ว ไม่มแี รง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับสตรีมคี รรภ์ทม่ี อี าการแพ้ทอ้ ง มีภาวะ
อุดตันบางส่วนที่ขวั้ ตอนปลายกระเพาะอาหาร อาเจียนเนื่องจากกระเพาะอาหารอักเสบ มีอาการของ
ระบบประสาทกระเพาะอาหาร (เช่น ความเครียดลงกระเพาะ) อาเจียนหลังจากผ่าท้อง มีอาการสะอึกไม่
หยุด โดยมีสาเหตุจากกระเพาะอาหารพร่อง และชี่ไหลย้อนกลับ1,3
326 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

ตํารับยา จฺหวีผีจูห้ รูทงั (橘皮竹茹汤)

3 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
จูห้ รู (竹茹)
จฺหวีผี (橘皮)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 327

2 เซนติเมตร
เซิงเจียง (生姜)
2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (甘草) ต้าเจ่า (大枣)

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
橘皮 จฺหวีผี ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น เสริมม้าม ขจัดความชื้น ละลาย
อมขม เสมหะ
竹茹 จูห้ รู ตัวยาหลัก อมหวาน เย็น ระบายความร้อน ละลายเสมหะ
(เปลือกชัน้ กลางของ เล็กน้อย บรรเทาอาการคลืน่ ไส้ อาเจียน
ลําต้นไผ่ดาํ )
生姜 เซิงเจียง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ขับความเย็นทําให้ช่ี
(ขิงแก่สด) ไหลเวียน ให้ความอบอุ่นแก่
ส่วนกลางของร่างกายและปอด
ระงับอาเจียนและไอ
328 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของชี่

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


人参 เหรินเซิน ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมบํารุงเหวียนชี่ เสริมม้าม
(โสมคน) และนําพา อมขม เล็กน้อย บํารุงปอด เสริมสารนํา้ ลดอาการ
เล็กน้อย กระหายนํา้ สงบประสาท
甘草 กันเฉ่ า ตัวยาช่วย อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(ชะเอมเทศ) และนําพา ระบายความร้อน ขับพิษ ระงับ
อาการไอ ขับเสมหะ ปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
大枣 ต้าเจ่า ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(พุทราจีน) และนําพา บํารุงเลือดในระบบประสาท
ประสานฤทธิ์ยาให้สุขมุ
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ จฺหวีผี มีสรรพคุณปรับชี่ ช่ วยให้กระเพาะอาหาร
ทํางานดีข้นึ ปรับสมดุล ระงับอาเจียน จูห้ รู ระบายความร้อนในกระเพาะอาหาร ระงับอาเจียน ตัวยาทัง้
สอง ชนิดนี้จะช่วยเสริมฤทธิ์ลดชี่ไหลย้อนกลับ ระงับอาเจียน และระบายความร้อนในกระเพาะอาหาร
เซิงเจียงเป็ นตัวยาเสริม มีสรรพคุณเสริมฤทธิ์ระงับอาเจียนของตัวยาหลัก และป้ องกันไม่ให้ตวั ยาหลัก
ระบายความร้อนในกระเพาะอาหารมากเกินไป ตัวยาช่ วยและตัวยานําพา ได้แก่ เหรินเซิน กันเฉ่ า
และต้าเจ่า บํารุงชี่ บํารุงม้าม ช่วยปรับสมดุลกระเพาะอาหารและปรับประสานตัวยาทัง้ หมดในตํารับให้
เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยที่มอี าการชี่ไหลย้อนขึ้น สะอึก อาเจียน ซึ่งมีสาเหตุจากกลุ่มอาการ
เย็นพร่อง หรือ อาการร้อนแกร่ง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: เมือ่ ให้ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการวิงเวียนศีรษะจํานวน 128 ราย รับประทานยาต้ม
ทีเ่ พิม่ ตัวยาอืน่ ตามความเหมาะสมกับอาการของผูป้ ่ วย พบว่าผูป้ ่ วยหายเป็ นปกติ 106 ราย มีอาการดีข้นึ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 329

22 ราย และเมือ่ เฝ้ าติดตามผลนาน 6 เดือน ไม่พบผูป้ ่ วยรายใดเป็ นซํา้ อีก เมือ่ ให้ผูป้ ่ วยทีม่ เี นื้องอกและ
ได้รบั การฉายรังสี จํานวน 41 ราย รับประทานยาต้มวันละ 1 ห่อ โดยแบ่งรับประทานวันละ 6-8 ครัง้
ติดต่อกัน 5 ห่อ หากผูป้ ่ วยมีอาการอาเจียนรุนแรง ให้เพิม่ เกลือทีค่ วั ่ แลว้ 1 กรัม (เกลือคัว่ มีสรรพคุณ
ระงับอาเจียนได้ผลดีมาก) พบว่ายาต้มสามารถลดอาการข้างเคียงทีเ่ กิดจากการฉายรังสีเมือ่ เปรียบเทียบ
กับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ ยาต้มยังมีสรรพคุณรักษาอาการอักเสบในระบบทางเดินอาหารของผูป้ ่ วย
จํานวน 69 ราย และรักษาโรคไตวายเรื้อรังในผูป้ ่ วยจํานวน 40 ราย โดยจะยิ่งได้ผลดีเมือ่ ใช้ร่วมกับยา
แผนปัจจุบนั 4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาจฺหวีผจี ูห้ รูทงั . [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน].
นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2552.
4. Fan YQ, Zhang Q. Jupi Zhuru Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
330 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

เซฺ ว่ยี ฝู่ จูย๋ วฺ ที งั (血府逐瘀汤)


ตําราต้นตํารับ
医林改错 อีหลินก่ายชฺวอ่ (Correction on the Errors of Medical Works)1
« ค.ศ. 1830 Wang Qingren (王清任 หวางชิงเริ่น) »2
ประกอบด้วย
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 9 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 5 กรัม
赤芍 Radix Paeoniae Rubra เช่อเสา 9 กรัม
桃仁 Semen Persicae เถาเหริน 12 กรัม
红花 Flos Carthami หงฮฺวา 9 กรัม
牛膝 Radix Achyranthis Bidentatae หนิวซี 9 กรัม
柴胡 Radix Bupleuri ไฉหู 3 กรัม
桔梗 Radix Platycodi เจีย๋ เกิง 5 กรัม
枳壳 Fructus Aurantii จื่อเขอ 6 กรัม
生地 Radix Rehmanniae เซิงตี้ 9 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 3 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
สลายเลือดคัง่ ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีข้นึ พลังขับเคลือ่ นชี่ดขี ้นึ ระงับอาการปวด1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะเลือดคัง่ ในทรวงอก โดยมีอาการเจ็บหน้าอก ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดเหมือนเข็มทิม่ ที่
ตําแหน่งเดิม ชี่ยอ้ นกลับ สะอึกไม่หยุด ร้อนใน หงุดหงิด แน่นหน้าอก ใจสัน่ นอนไม่หลับ อารมณ์รอ้ น
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 331

โกรธง่าย มีไข้ช่วงหัวคํา่ ลิ้นมีสแี ดงคลํา้ หรือมีจดุ เลือดคัง่ เป็ นจํา้ ๆ ริมฝี ปากมีสคี ลํา้ หรือมีขอบตาดําทัง้
2 ข้าง ชีพจรฝื ดหรือตึงแน่น1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
และหลอดเลือดสมองอุดตันและอักเสบ ความดันเลือดสู ง ตับแข็ง ปวดประจําเดือน ประจําเดือนขาดหาย
รกค้างในครรภ์หลังจากการแท้งบุตร และผูป้ ่ วยทีม่ อี าการปวดศีรษะ เจ็บหน้าอกและชายโครงเนื่องจากชี่
ติดขัด มีเลือดคัง่ 1,3

ตํารับยา เซฺ ว่ยี ฝู่ จูย๋ วฺ ที งั (血府逐瘀汤)

5 เซนติเมตร
ตังกุย (当归) 2 เซนติเมตร

เช่อเสา (赤芍)
332 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร


ชวนซฺยง (川芎) เถาเหริน (桃仁) หงฮฺวา (红花)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
หนิวซี (牛膝) ไฉหู (柴胡)

2 เซนติเมตร
เจีย๋ เกิง (桔梗)
2 เซนติเมตร
จื่อเขอ (枳壳)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เซิงตี้ (生地) กันเฉ่ า (甘草)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 333

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
当归 ตังกุย ตัวยาหลัก หวาน อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี
อมเผ็ด ขึ้น ลดบวม ระงับปวด
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด
(โกฐหัวบัว) ขับลมในเลือด ระงับปวด
赤芍 เช่อเสา ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็นลง
เล็กน้อย บรรเทาอาการผดผืน่ แดงบนผิวหนัง
อาเจียนเป็ นเลือด เลือดกําเดาไหล
ประจําเดือนไม่มา เป็ นเถาดานหรือ
ก้อนในท้อง
桃仁 เถาเหริน ตัวยาหลัก ขม สุขมุ ช่วยให้เลือดในระบบตับและหัวใจ
(เมล็ดท้อ) อมหวาน หมุนเวียนดี กระจายเลือดคัง่
รักษาประจําเดือนไม่มา บรรเทาปวด
ประจําเดือน หล่อลืน่ ลําไส้ ระบาย
อ่อน ๆ
红花 หงฮฺวา ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ช่วยให้เลือดหมุนเวียน ทะลวง
(ดอกคําฝอย) จิงลัว่ ช่วยให้ประจําเดือนปกติ
บรรเทาอาการปวดประจําเดือน
ระงับปวด ลดบวม
牛膝 หนิวซี ตัวยาหลัก ขมอมหวาน สุขมุ ช่วยนําความร้อนทีเ่ กิดจากการ
(พันงูนอ้ ย) เปรี้ยว อักเสบและเลือดทีอ่ ยู่ส่วนบนของ
ร่างกายให้ระบายลงล่าง เพือ่ หยุด
เลือดทีร่ อ้ นแล ้วกระจายออกนอก
ระบบ
334 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


柴胡 ไฉหู ตัวยาเสริม ขม เย็น ขับกระจายลดไข้ ผ่อนคลายตับ
อมเผ็ด เล็กน้อย และช่วยให้หยางชี่ข้นึ สู่สว่ นบน
คลายเครียด
桔梗 เจีย๋ เกิง ตัวยาเสริม ขมอมเผ็ด สุขมุ กระจายชี่ทป่ี อด ขับเสมหะ บรรเทา
อาการไอมีเสมหะมาก แน่นหน้าอก
อึดอัด คอบวมเจ็บ ฝี ในปอด อาเจียน
枳壳 จื่อเขอ ตัวยาเสริม ขม เย็น ช่วยให้ช่บี ริเวณทรวงอกไหลเวียนดี
อมเผ็ด เล็กน้อย และช่วยให้เลือดไหลเวียน
生地 เซิงตี้ ตัวยาเสริม หวาน เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็นลง
(โกฐขี้แมว) อมขม บํารุงเลือดและอินชี่ของตับและไต
เสริมสารนํา้
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
(ชะเอมเทศ) อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ ตังกุย ชวนซฺ ยง เช่ อเสา เถาเหริน และหงฮฺวา มี
สรรพคุณสลายการคัง่ ของเลือด ทําให้เลือดไหลเวียนดี หนิวซีช่วยทะลุทะลวงหลอดเลือด สลายเลือดคัง่
ช่วยให้เลือดไหลเวียนลงสู่ส่วนล่าง ตัวยาเสริม ได้แก่ ไฉหูช่วยผ่อนคลายตับ ปรับชี่ เจีย๋ เกิงและจื่อเขอ
ช่วยการไหลเวียนของชี่บริเวณทรวงอก เซิงตี้ช่วยระบายความร้อนทําให้เลือดเย็นลง เมือ่ ใช้คู่กบั ตังกุย
จะบํารุงเลือด ช่วยหล่อลืน่ บรรเทาความแห้ง ทําให้สลายเลือดคัง่ โดยไม่ทาํ ลายอินของเลือด กันเฉ่ าเป็ น
ตัวยานําพา ช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาสลายการคัง่ ของเลือดหลายชนิด จึงไม่ควรใช้กบั ผูป้ ่ วยที่ไม่มี
อาการเลือดคัง่ และห้ามใช้กบั สตรีมคี รรภ์1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 335

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดในหนู ขาวดีข้ ึน
ป้ องกันการขาดออกซิเจนและยับยัง้ การหดตัวของกลา้ มเนื้อหัวใจหนู ถบี จักร4 ปกป้ องกลา้ มเนื้อหัวใจหนู
ขาวจากการขาดเลือด5 ต้านการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งในกระต่าย6 กระตุน้ ให้ไขกระดูกหนู ถบี
จักรสร้างเม็ดเลือดเพิม่ ขึ้น7 ช่วยปรับสมดุลของระบบภูมคิ มุ ้ กันในหนู ถบี จักร4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณต้านการแข็งตัวของเลือดและขยายหลอดเลือด
บรรเทาอาการหดเกร็งของกลา้ มเนื้อหัวใจ1,3,4 ทําให้พฒั นาการของภาวะหลอดเลือดแดงแข็งช้าลง8 ช่วยให้
ผูป้ ่ วยปวดเค้นหัวใจทีม่ ภี าวะเลือดคัง่ มีการไหลเวียนของเลือดดีข้นึ และมีอาการและคุณภาพชีวติ ดีข้นึ 9,10
ช่ ว ยการไหลเวีย นของเลือ ดและขจัด เลือ ดคัง่ ในหู ช นั้ ในและก้า นสมองของผู ป้ ่ วยที่หู ห นวกอย่ า ง
เฉี ยบพลัน11 รักษาภาวะเกิดพังผืดที่ตบั ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี12 นอกจากนี้ยงั มี
สรรพคุณสงบจิตใจ และช่วยให้มดลูกหดตัว1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเซวีย่ ฝู่จูว๋ ที งั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Peng K, Wang XD, Yuan XQ. Xue Fu Zhu Yu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Tang D, Liu Z, Zhang H, Sun M, Sui Y. Protective effects of xuefu zhuyu decoction on myocardium ischemia
reperfusion injury in rats. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2010; 35(22): 3077-9.
6. Li Y, Zhao A, Zeng H, Lin G, Jiang H. Effects of Xuefu Zhuyu decoction on serum asymmetric dimethylarginine in
atherosclerosis rabbits. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2009; 34(12): 1530-4.
7. Gao D, Lin JM, Zheng LP. Experimental study on effect of Xuefu Zhuyu Decoction on bone marrow hematopoietic
stem cells of mice. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2007; 27(6): 527-30.
8. Li Y, Chen K, Shi Z. Effect of xuefu zhuyu pill on blood stasis syndrome and risk factor of atherosclerosis. Zhongguo
Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 1998; 18(2): 71-3.
9. Chu FY, Wang J, Yao KW, Li ZZ. Effect of Xuefu Zhuyu Capsule (血府逐瘀胶囊) on the symptoms and signs and
health-related quality of life in the unstable angina patients with blood-stasis syndrome after percutaneous coronary
intervention: A Randomized controlled trial. Chin J Integr Med 2010; 16(5): 399-405.
10. Xue M, Chen KJ, Ma XJ, Liu JG, Jiang YR, Miao Y, Yin HJ. Effects of Xuefu Zhuyu Oral Liquid on hemorheology
in patients with blood-stasis syndrome due to coronary disease and their relationship with human platelet antigen-3
polymorphism]. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2008; 6(11): 1129-35.
336 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

11. Zhu TM, Sun H, Jin RJ. Effect of TCM formula for promoting blood circulation to remove blood stasis on brainstem
auditory evoked potential and Transcranial Doppler parameters in patients with sudden deafness. Zhongguo Zhong Xi
Yi Jie He Za Zhi 2006; 26(8): 740-2.
12. Ru QJ, Tang ZM, Zhang ZE, Zhu Q. Clinical observation on effect of xuefu zhuyu decoction in treating patients with
liver fibrosis caused by chronic hepatitis B]. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2004; 24(11): 983-5.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 337

ปู่หยางหวนอูท่ งั (补阳还五汤)
ตําราต้นตํารับ
医林改错 อีหลินก่ายชฺวอ่ (Correction on the Errors of Medical Works)1
« ค.ศ. 1830 Wang Qingren (王清任 หวางชิงเริ่น) »2
ประกอบด้วย
生黄芪 Radix Astragali Membranacei เซิงหวงฉี 120 กรัม
当归尾 Radix Angelicae Sinensis ตังกุยเหว่ย ์ 6 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 3 กรัม
赤芍 Radix Paeoniae Rubra เช่อเสา 6 กรัม
桃仁 Semen Persicae เถาเหริน 3 กรัม
红花 Flos Carthami หงฮฺวา 3 กรัม
地龙 Lumbricus ตี้หลง 3 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
บํารุงชี่ ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีข้นึ ทะลวงเส้นลมปราณ1,3
สรรพคุณ
รักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต ปากเบี้ยว ตาเข พูดอูอ้ ้ ไี ม่ชดั นํา้ ลายไหลที่มมุ ปาก ขาลีบเดินไม่ได้
ปัสสาวะบ่อยหรือกลัน้ ปัสสาวะไม่ได้ ลิ้นมีฝ้าขาว ชีพจรเชื่องช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีเ่ ลือดคัง่ และชี่พร่อง เนื่องจาก
สาเหตุต่าง ๆ เช่น หลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตกเฉียบพลัน หรือเป็ นโปลิโอในวัยเด็ก เป็ นต้น1,3
338 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ตํารับยา ปู่หยางหวนอูท่ งั (补阳还五汤)

2 เซนติเมตร
เซิงหวงฉี (生黄芪)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 339

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ตังกุยเหว่ย ์ (当归尾)
ชวนซฺยง (川芎)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เช่อเสา (赤芍) เถาเหริน (桃仁)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
หงฮฺวา (红花) ตี้หลง (地龙)
340 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
生黄芪 เซิงหวงฉี ตัวยาหลัก หวาน อุ่น บํารุงชี่ของปอดและม้าม เสริม
เล็กน้อย ภูมคิ มุ ้ กัน ระงับเหงือ่
当归尾 ตังกุยเหว่ย ์ ตัวยาเสริม หวาน อุ่น ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดไม่
(โกฐเชียง) อมเผ็ด ติดขัด
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด
(โกฐหัวบัว) ขับลมในเลือด ระงับปวด
赤芍 เช่อเสา ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
เล็กน้อย ลง อาเจียนเป็ นเลือด เลือด
กําเดาไหล ประจําเดือนไม่มา
เป็ นเถาดานหรือก้อนในท้อง
桃仁 เถาเหริน ตัวยาช่วย ขม สุขมุ ช่วยให้เลือดในระบบตับและ
(เมล็ดท้อ) อมหวาน หัวใจหมุนเวียนดี กระจายเลือดคัง่
รักษาประจําเดือนไม่มา บรรเทา
อาการปวดประจําเดือน หล่อลืน่
ลําไส้ ระบายอ่อน ๆ
红花 หงฮฺวา ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ทะลวง
(ดอกคําฝอย) เส้นลมปราณ ขจัดเลือดคัง่
บรรเทาอาการปวด
地龙 ตี้หลง ตัวยาช่วย เค็ม เย็น ระบายความร้อน บรรเทาอาการ
(ไส้เดือนดิน) ลมช่วยให้เส้นลมปราณหมุนเวียน
ดี แก้ไข้ตวั ร้อนจัดทีท่ าํ ให้คลุม้
คลัง่ ชักกระตุก หรือเป็ นลมหมด
สติ ขจัดชี่พร่องติดขัด ทําให้เป็ น
อัมพาต อัมพฤกษ์ ปากเบี้ยว ตาเหล่
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 341

ตํารับยานี้ใช้รกั ษาผูป้ ่ วยอัมพฤกษ์จากโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะ โดยมีอาการหลักคือ


ชี่พร่องและมีเลือดคัง่ ดังนัน้ จึงเน้นใช้เซิงหวงฉีเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณบํารุงเหวียนชี่ เพือ่ เพิม่ พลังชี่
ให้สมบูรณ์ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี สลายเลือดคัง่ โดยไม่กระทบเจิ้งชี่ ตังกุยเหว่ยเ์ ป็ นตัวยาเสริม ช่วย
สลายเลือดคัง่ ทําให้การไหลเวียนของเลือดสะดวกและไม่กระทบอินของเลือด ตัวยาช่วย ได้แก่ ชวนซฺยง
เช่อเสา เถาเหริน และหงฮฺวา ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีข้นึ สลายเลือดคัง่ ตี้หลงทะลวงเส้นลมปราณ เมือ่
ใช้ยาเหล่านี้ร่วมกันจะช่วยให้ช่สี มบูรณ์ ขับเคลือ่ นเลือดได้ดี ทะลวงเส้นปราณ สลายการคัง่ ของเลือด1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้เหมาะสําหรับผู ป้ ่ วยที่รูส้ ึกตัวแลว้ อุณหภูมขิ องร่ างกายเป็ นปกติ และไม่มอี าการ
เลือดออกอีก ห้ามใช้กบั ผูป้ ่ วยที่มคี วามดันโลหิตสู งเนื่องจากลมในตับเคลือ่ นไหวผิดปกติ มีเสมหะอุด
กัน้ ระบบเส้นลมปราณ อินพร่อง เลือดร้อน1,3
ตํารับยานี้ใช้เซิงหวงฉีในปริมาณสู ง โดยทัว่ ไปจะเริ่มจาก 30-60 กรัม แลว้ ค่อย ๆ เพิม่ จนถึง
120 กรัม และเมือ่ อาการหายดีแล ้ว ต้องรับประทานยาต่ออีกระยะหนึ่ง เพือ่ ป้ องกันการกลับมาเป็ นใหม่1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์บรรเทาอาการกลา้ มเนื้อแขนขาไม่มแี รงในหนู ตะเภา
ช่วยบรรเทาอาการเลือดคัง่ ในสมองหนู ขาว ยับยัง้ การรวมกลุ่มของเกล็ดเลือด ชะลอการจับตัวของเลือด
ลดไขมันในเลือดของกระต่าย4 ปกป้ องระบบประสาทของหนู gerbil ทีช่ กั นําให้สมองขาดเลือด5 และหนู
ขาวทีช่ กั นําให้ไขสันหลังขาดเลือด6 กระตุน้ การเจริญและพัฒนาการของเซลล์ประสาทในหลอดทดลอง7
กระตุน้ ให้เส้นประสาทเพิม่ จํานวนในหนู ขาวทีช่ กั นําให้สมองขาดเลือด8 เพิม่ การไหลเวียนของเลือดในหนู
ขาวทีม่ ภี าวะชี่พร่องและเลือดคัง่ ทัง้ ทีเ่ ป็ นและไม่เป็ นโรคหลอดเลือดหัวใจ9,10 ปกป้ องกลา้ มเนื้อหัวใจหนู
ขาวจากการขาดเลือด11 สมานแผลในหนู ขาวทีเ่ ป็ นแผลเรื้อรัง12 และต้านอักเสบในหนู ถบี จักร13
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณช่วยขยายหลอดเลือดในสมอง ทําให้การไหลเวียน
ของเลือดดีข้ นึ บรรเทาอาการเลือดคัง่ และการหล่อเลี้ยงของเลือดไม่เพียงพอ เพิ่มการละลายของไฟบริน
(fibrin) ยับยัง้ การรวมกลุม่ ของเกล็ดเลือด ชะลอการแข็งตัวของเลือด4 ช่วยให้ภาพคลืน่ ไฟฟ้ าหัวใจและ
อาการปวดเค้นหน้าอกในผูป้ ่ วยหลอดเลือดหัวใจดีข้ นึ 14 ช่วยฟื้ นฟูการทํางานของระบบประสาทของ
ผูป้ ่ วยในระยะพักฟื้ นจากภาวะสมองขาดเลือด ทําให้คุณภาพชีวติ ดีข้นึ 15 เมือ่ ใช้ตาํ รับยานี้ร่วมกับยาแผน
342 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ปัจจุบนั ตามมาตรฐานการรักษา พบว่าสามารถลดความถีแ่ ละความรุนแรงของการชักในผูป้ ่ วยโรคลมชัก


ทีเ่ กิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง16
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาปู่หยางหวนอู่ทงั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Peng K, Yuan XQ, Zhao XX. Bu Yang Huan Wu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Zhao YN, Wu XG, Li JM, Chen CX, Rao YZ, Li SX. Effect of BuYangHuanWu recipe on cerebral microcirculation
in gerbils with ischemia-reperfusion. Sichuan Da Xue Xue Bao Yi Xue Ban 2010; 41(1): 53-6.
6. Wang L, Jiang DM. Neuroprotective effect of Buyang Huanwu Decoction on spinal ischemia/reperfusion injury in
rats. J Ethnopharmacol 2009; 124(2): 219-23.
7. Sun J, Bi Y, Guo L, Qi X, Zhang J, Li G, Tian G, Ren F, Li Z. Buyang Huanwu Decoction promotes growth and
differentiation of neural progenitor cells: using a serum pharmacological method. J Ethnopharmacol 2007; 113(2):
199-203.
8. Tan XH, Qu HD, Peng K, Chen YY, Tong L, Shen JG, Zhu CW. Effects of Buyanghuanwu decoction on nerve
proliferation in rats with sequelae of ischemic stroke. Nan Fang Yi Ke Da Xue Xue Bao 2006; 26(2): 189-92.
9. Wang WR, Lin R, Zhang H, Lin QQ, Yang LN, Zhang KF, Ren F. The effects of Buyang Huanwu Decoction on
hemorheological disorders and energy metabolism in rats with coronary heart disease. Ethnopharmacol 2011;
137(1) :214-20.
10. Ren J, Lin C, Liu J, Xu L, Wang M. Experimental study on Qi deficiency and blood stasis induced by muti-factor
stimulation in rats. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2011; 36(1): 72-6.
11. Yang G, Fang Z, Liu Y, Zhang H, Shi X, Ji Q, Lin Q, Lin R. Protective Effects of Chinese Traditional Medicine
Buyang Huanwu Decoction on Myocardial Injury. Evid Based Complement Alternat Med 2009.
12. Xu JN, Que HF, Tang HJ. Effects and action mechanisms of Buyang Huanwu Decoction in wound healing of chronic
skin ulcers of rats. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2009; 7(12): 1145-9.
13. Duan JY. Anti-inflammatory and immunologic actions of buyang huanwu tang. Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 1989;
9(3): 164-6, 134.
14. Zhang H, Liang MJ, Ma ZX. Clinical study on effects of buyang huanwu decoction on coronary heart disease.
Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 1995; 15(4): 213-5.
15. Cai GX, Liu BY. Effect of ultra-micronized Buyang Huanwu decoction on neurological function, quality of life, and
serum vascular endothelial growth factor in patients convalescent from cerebral infarction. Zhongguo Wei Zhong
Bing Ji Jiu Yi Xue 2010; 22(10): 591-4.
16. Hijikata Y, Yasuhara A, Yoshida Y, Sento S. Traditional Chinese medicine treatment of epilepsy. J. Altern
Complement Med 2006, 12(7): 673-7.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 343

เวินจิงทัง (温经汤)
ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
吴茱萸 Fructus Evodiae หวูจูยหฺ วี 9 กรัม
桂枝 Ramulus Cinnamomi กุย้ จือ 6 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 9 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 6 กรัม
芍药 Radix Paeoniae เสาเย่า 9 กรัม
阿胶 Colla Corii Asini อาเจียว 6 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis ไม่ตง 9 กรัม
丹皮 Cortex Moutan Radicis ตันผี 6 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 6 กรัม
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 9 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 6 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ให้ความอบอุ่นแก่เส้นลมปราณ ขับกระจายความเย็น บํารุงเลือด ขจัดเลือดคัง่ 1,3
344 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ตํารับยา เวินจิงทัง (温经汤)

2 เซนติเมตร
หวูจูยหฺ วี (吴茱萸) 2 เซนติเมตร
กุย้ จือ (桂枝)

3 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ตังกุย (当归) ชวนซฺยง (川芎)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 345

2 เซนติเมตร
อาเจียว (阿胶)
2 เซนติเมตร
เสาเย่า (芍药)

2 เซนติเมตร
ตันผี (丹皮)
2 เซนติเมตร
ไม่ตง (麦冬)

2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ (半夏)
2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参)

2 เซนติเมตร
เซิงเจียง (生姜) กันเฉ่ า (甘草) 2 เซนติเมตร
346 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

สรรพคุณ
รัก ษากลุ่ ม อาการเย็ น พร่ อ งเกาะกุ ม เส้น ลมปราณชงเริ่ น (冲任) หรื อ มีเ ลือ ดคัง่ ทํา ให้
ประจําเดือนมาไม่ปกติ มาเร็วหรือมาช้า หรือมานานเกินไป หรือมีไข้ในช่วงหัวคํา่ ร้อนทีฝ่ ่ ามือ ปากและ
ริมฝี ปากแห้งหรือเย็น ปวดท้องน้อย มีบตุ รยาก1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีป่ ระจําเดือนมาผิดปกติ โดยมี
สาเหตุจากการทํางานของมดลูกผิดปกติ มิใช่เกิดจากความผิดปกติของมดลูก อุง้ เชิงกรานอักเสบเรื้อรัง
และเนื้องอกทีม่ ดลูก1,3
คําอธิบายตํารับ

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


吴茱萸 หวูจูยห
ฺ วี ตัวยาหลัก เผ็ดอมขม ร้อน สลายความเย็นของเส้น
(มีพษิ ลมปราณตับ ระงับปวด ให้
เล็กน้อย)* ความอบอุ่นแก่ส่วนกลางของ
ร่างกาย ระงับอาเจียน เสริม
หยาง ระงับท้องร่วง
桂枝 กุย้ จือ ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ผ่อนคลายกล ้ามเนื้อ
(กิ่งอบเชยจีน) อมหวาน ให้ความอบอุ่น และเสริมหยาง
ช่วยให้ช่มี กี ารไหลเวียนดีข้นึ
当归 ตังกุย ตัวยาเสริม เผ็ดขม อุ่น บํารุงเลือด ทําให้การไหลเวียน
อมหวาน ของเลือดดีข้นึ สลายเลือดคัง่
สร้างเลือดใหม่
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และ
(โกฐหัวบัว) เลือด ขับลมในเลือด ระงับปวด

* หวูจูยหฺ วี เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ เล็กน้อย ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 347

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


芍药 เสาเย่า ตัวยาเสริม ขมเปรี้ยว เย็น เสริมอินของเลือด ปรับประจํา-
อมหวาน เล็กน้อย เดือน ปรับสมดุลชี่ของตับ ระงับ
ปวด เก็บกักอินชี่ ระงับเหงือ่
阿胶 อาเจียว ตัวยาเสริม หวาน สุขมุ บํารุงเลือด ห้ามเลือด เสริม
(กาวหนังลา) บํารุงอิน บํารุงปอดให้ช่มุ ชื้น
麦冬 ไม่ตง ตัวยาเสริม ขมอม เย็น เสริมสารนํา้ ในกระเพาะอาหาร
หวาน เล็กน้อย เสริมอิน ให้ความชุ่มชื้นแก่
เล็กน้อย ปอด ช่วยให้จติ ใจแจ่มใส
บรรเทาอาการหงุดหงิด
丹皮 ตันผี ตัวยาเสริม ขม เย็น ทําให้เลือดเย็น ระบายความ-
(เปลือกรากโบตัน)๋ อมเผ็ด เล็กน้อย ร้อน ขับความร้อนในเลือด
人参 เหรินเซิน ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมพลังชี่ บํารุงหัวใจและ
(โสมคน) อมขม เล็กน้อย ม้าม เสริมปอด สร้างสารนํา้
เล็กน้อย ช่วยให้จติ ใจสงบ
半夏 ปัน้ เซีย่ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น สลายความชื้น ละลายเสมหะ
(มีพษิ )** กดชี่ลงล่าง บรรเทาอาการ
คลืน่ ไส้อาเจียน สลายเสมหะที่
เกาะตัวเป็ นก้อน
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ให้ความอบอุ่นแก่
(ขิงแก่สด) กระเพาะอาหาร บรรเทาอาการ
คลืน่ ไส้ ช่วยให้ปอดอบอุ่น
ระงับไอ
甘草 กันเฉ่ า ตัวยาช่วย อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ขับพิษ
(ชะเอมเทศ) และนําพา ระงับไอ ขับเสมหะ ปรับ
ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
** ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
348 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ หวูจูยฺหวี และกุย้ จือ มีสรรพคุณช่วยให้ความอบอุ่น


แก่เส้นลมปราณ สลายความเย็น และช่วยให้เลือดไหลเวียนดีข้ นึ ตัวยาเสริม ได้แก่ ตังกุย ชวนซฺยง
และเสาเย่า มีสรรพคุณปรับการไหลเวียนของเลือด สลายเลือดคัง่ เสริมเลือด และปรับประจําเดือน
อาเจียว ไม่ตง และตันผี มีสรรพคุณบํารุงเลือดและอินของตับ ตัวยาเหล่านี้ร่วมกันขจัดเลือดคัง่ เพือ่ ให้
เลือดใหม่ไหลเวียนดี และไม่มผี ลข้างเคียง ตัวยาช่วย ได้แก่ เหรินเซินและกันเฉ่ า มีสรรพคุณบํารุงม้าม
ซึง่ เป็ นแหล่งสร้างชี่และเลือด ช่วยตังกุยและอาเจียวเพิม่ อินและบํารุงเลือด ปัน้ เซีย่ มีสรรพคุณปรับชี่ของ
กระเพาะอาหารให้ลงเบื้องล่าง สลายการคัง่ และช่วยปรับประจําเดือน เซิงเจียงช่วยให้ความอบอุ่นแก่
กระเพาะอาหาร ทําให้ระบบการทํางานของกระเพาะอาหารดีข้นึ กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดในตํารับยาให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอนนํา้ ผึ้ง4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ กี อ้ นในท้องทีม่ สี าเหตุจากเลือดคัง่ จากภาวะแกร่ง5
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์กระตุน้ การทํางานของสมองส่วนล่างและต่อมใต้สมอง
ในหนู ขาว4 เพิม่ การหลัง่ ฮอร์โมนที่กระตุน้ การตกไข่ (Luteinizing hormone)6 และมีฤทธิ์บาํ รุงเลือด
ในหนู ถบี จักร4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาอาการประจําเดือนมาไม่ปกติหรือภาวะขาด
ประจําเดือน ปวดประจําเดือน ช่วยให้การทํางานของมดลูกดีข้นึ ลดอาการเกร็ง บรรเทาอาการเลือดออก
ทีม่ ดลูก มดลูกอักเสบ4 ปรับระบบฮอร์โมนไม่ให้รบกวนการตกไข่ในหญิงทีม่ ภี าวะรังไข่มถี งุ นํา้ หลายใบ7
การศึกษาในหญิงวัยระยะกําลังหมดประจําเดือนถึงเพิ่งหมดประจําเดือนที่มอี าการหนาวสะท้านที่ขา
พบว่าตํารับยานี้มฤี ทธิ์ลดการไหลเวียนของเลือดทีม่ ากเกินไปทีแ่ ขน ทําให้เลือดไหลเวียนได้ดตี ลอดทัว่ ทัง้
ร่างกาย8
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 349

3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาเวินจิงทัง. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยา


สมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2550.
4. Peng K, Yuan XQ. Wenjing Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
6. Miyake A, Lee JW, Tasaka K, Ohtsuka S, Aono T. Wenjing-tang, a traditional Chinese herbal medicine increases
luteinizing hormone release in vitro. Am J Chin Med 1986; 14(3-4): 157-60.
7. Ushiroyama T, Hosotani T, Mori K, Yamashita Y, Ikeda A, Ueki M. Effects of switching to wen-jing-tang (unkei-to)
from preceding herbal preparations selected by eight-principle pattern identification on endocrinological status and
ovulatory induction in women with polycystic ovary syndrome. Am J Chin Med 2006; 34(2): 177-87.
8. Ushiroyama T, Sakuma K, Nosaka S. Comparison of effects of vitamin E and wen-jing-tang (unkei-to), an herbal
medicine, on peripheral blood flow in post-menopausal women with chilly sensation in the lower extremities: a
randomized prospective study. Am J Chin Med 2006; 34(6): 969-79.
350 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

เซิงฮฺว่าทัง (生化汤)
ตําราต้นตํารับ
傅青主女科 ฟู่ชงิ จู่นฺหวีเ่ คอ (Fu Qingzhu’s Obstetrics and Gynecology)1
« ค.ศ. 1826 Fu Qingzhu (傅青主 ฟู่ชงิ จู่) »2
ประกอบด้วย
全当归 Radix Angelicae Sinensisเฉฺวยี นตังกุย 24 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong
ชวนซฺยง 9 กรัม
桃仁 Semen Persicae (skin removed)
เถาเหริน 6 กรัม
(去皮尖) (ชฺวผ่ี เี จียน)
干姜 (炮黑) Rhizoma Zingiberis (well baked) กันเจียง (เผ้าเฮย์) 2 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 2 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ อาจเติมเหล ้าเหลือง 1 ช้อนโต๊ะ เมือ่ ต้มใกล ้จะแล ้วเสร็จ1,3
การออกฤทธิ์
สลายการคัง่ ของเลือด ทําให้เลือดไหลเวียนดี ให้ความอบอุ่นแก่เส้นลมปราณ ระงับอาการปวด1,3
สรรพคุณ
ใช้สาํ หรับขับนํา้ คาวปลาในสตรีหลังคลอด ซึง่ มีอาการปวดท้องน้อย เมือ่ กดจะเจ็บมากขึ้น ตําแหน่ง
ทีเ่ จ็บมีกอ้ น รอบขอบลิ้นมีสมี ว่ งคลํา้ ชีพจรจมและฝื ด1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสําหรับขับนํา้ คาวปลาตกค้างในสตรีหลังคลอด
ผูป้ ่ วยทีม่ กี อ้ นเนื้อในมดลูก มีเลือดคัง่ ตรงอุง้ เชิงกราน โดยมีสาเหตุจากความเย็นอุดกัน้ 1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 351

ตํารับยา เซิงฮฺว่าทัง (生化汤)

5 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เฉฺวยี นตังกุย (全当归) ชวนซฺยง (川芎)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร


เถาเหริน (桃仁) กันเจียง (เผ้าเฮย์) [干姜 (炮黑)] กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
352 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
全当归 เฉฺวย ี นตังกุย ตัวยาหลัก หวาน อุ่น บํารุงเลือด ทําให้การไหลเวียน
(ตังกุยทัง้ ราก) อมเผ็ด ของเลือดดี สลายเลือดคัง่ สร้าง
เลือดใหม่
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนขับเคลือ่ นชี่
(โกฐหัวบัว) ทําให้เลือดไหลเวียนดี ระงับปวด
桃仁 (去皮尖) ตัวยาเสริม ขม สุขมุ ช่วยการทะลุทะลวง ช่วยสลาย
เถาเหริน (ชฺวผ่ี เี จียน) อมหวาน เลือดคัง่ ทําให้เลือดไหลเวียนดี
(เมล็ดท้อเอาเปลือกออก)
干姜 (炮黑) ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยขับความเย็น ให้ความอบอุ่น
กันเจียง (เผ้าเฮย์) ในเส้นลมปราณ ระงับอาการปวด
(ขิงปิ้ งจนดํา)
甘草 (炙) กันเฉ่ า (จื้อ) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ร่างกาย บรรเทาอาการปวด ปรับ
ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน

ตํารับยานี้ ถ้าเติมเหลา้ เหลืองซึ่งมีคุณสมบัติอุ่น รสหวานเผ็ด จะเพิ่มการไหลเวียนของเลือด


ขับความเย็น สลายลม1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยที่มเี ลือดคัง่ หลังคลอด ที่เกิดจากมีความร้อนสู งในระบบเลือด และ
ควรระมัดระวังการใช้ในผูป้ ่ วยทีค่ ลอดลูกโดยการผ่าตัด1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ช่วยเพิม่ การบีบตัวของมดลูกในหนู ถบี จักรและหนู
ขาว กระตุน้ การบีบตัวของมดลูกกระต่ายในระยะใกล้คลอด โดยไม่มผี ลต่อปากมดลูก5 ปรับสมรรถภาพ
4
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 353

การทํางานของมดลูกหนู ถบี จักร และต้านอักเสบในหนู ถบี จักร4 จากการศึกษาในหนู ขาวทีเ่ ลือดคัง่ อย่าง
เฉียบพลันพบว่า ตํารับยานี้ช่วยการไหลเวียนของเลือดในบริเวณมดลูก ลดความหนืดของเลือด และลด
การเกิดลิม่ เลือดในหลอดเลือด6
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณขับนํา้ คาวปลาในสตรีหลังคลอด บรรเทาอาการ
ปวดท้องน้อยแบบกดแลว้ เจ็บ ปรับสภาพการทํางานของมดลูก ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีข้นึ ดูดซึม
่ า้ นม1,3,4
เลือดทีอ่ อกนอกเส้นเลือดกลับเข้าสู่ระบบ และกระตุน้ การหลังนํ
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเซิงฮว่าทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Peng K. Sheng Hua Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Hong M, Yu L, Ma C, Zhu Q. Effect of extract from shenghua decoction on myoelectric activity of rabbit uterine
muscle in the latest period of pregnancy. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2003; 28(12): 1162-4.
6. Qian X, Yu H. Effects of shenghua decoction on hemorheology, thrombosis and microcirculation. Zhongguo Zhong
Yao Za Zhi 2011; 36(4): 514-8.
354 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

กงไว่ยวฺ ่นิ ฟาง (宫外孕方)


ตําราต้นตํารับ
山西医学院 ซานซีอเี สฺวยี เวีย่ น (Shanxi Medical College)1
ส่วนประกอบ
สูตร 1
丹参 Radix Salviae Miltirorrhizae ตันเซิน 15 กรัม
赤芍 Radix Paeoniae Rubrae เช่อเสา 9 กรัม
桃仁 Semen Persicae เถาเหริน 9 กรัม
乳香 Resina Olibani หรูเซียง 9 กรัม
没药 Myrrha ม่อเย่า 9 กรัม
สูตร 2 ส่วนประกอบเหมือนสูตร 1 โดยเพิม่ ตัวยาอีก 2 ชนิด ดังนี้
三棱 Rhizoma Sparganii ซานเหลิง 6 กรัม
莪术 Rhizoma Zedoariae เอ๋อร์จู ๋ 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,2
การออกฤทธิ์
ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีข้นึ ขจัดเลือดคัง่ สลายก้อน ระงับปวด1,2
สรรพคุณ
รัก ษาสตรีตงั้ ครรภ์นอกมดลู ก ที่มีอ าการปวดท้อ งน้อ ยเฉี ย บพลันหลัง ขาดประจํา เดือน มี
เลือดออกทางช่องคลอด สีเลือดคลํา้ หรือมีเยือ่ เมือกปนออกมา กดเจ็บมากทีช่ ่องท้องน้อย1,2
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 355

ตํารับยา กงไว่ยวฺ ่นิ ฟาง (宫外孕方) สูตร 1

ตํารับยา กงไว่ยวฺ ่นิ ฟาง (宫外孕方) สูตร 2


356 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ตันเซิน (丹参) 2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร


เช่อเสา (赤芍)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เถาเหริน (桃仁) หรูเซียง (乳香)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ม่อเย่า (没药) ซานเหลิง (三棱)

2 เซนติเมตร
เอ๋อร์จู ๋ (莪术)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 357

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
丹参 ตันเซิน ตัวยาหลัก ขม เย็น ช่วยให้เลือดไหลเวียน สลาย
เล็กน้อย เลือดคัง่ ระงับปวด แน่นหน้าอก
เส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้
ประจําเดือนปกติ ลดความร้อน
ในเลือด สงบประสาท
赤芍 เช่อเสา ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด
เล็กน้อย บรรเทาอาการผดผืน่ แดงบน
ผิวหนัง อาเจียนเป็ นเลือด
เลือดกําเดาไหล ประจําเดือนไม่
มา เป็ นเถาดานหรือก้อนในท้อง
桃仁 เถาเหริน ตัวยาเสริม ขม สุขมุ ช่วยให้เลือดในระบบตับและ
(เมล็ดท้อ) อมหวาน หัวใจไหลเวียนดีข้นึ กระจาย
เลือดคัง่ รักษาอาการประจํา-
เดือนไม่มา บรรเทาอาการปวด
ประจําเดือน หล่อลืน่ ลําไส้
ระบายอ่อน ๆ
乳香 หรูเซียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยให้ระบบไหลเวียนของชี่และ
อมขม เลือดดีข้นึ ระงับปวด ลดบวม
没药 ม่อเย่า ตัวยาช่วย ขม สุขมุ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีข้นึ
(มดยอบ) อมเผ็ด ระงับปวด ลดบวม สมานแผล
三棱 ซานเหลิง ตัวยาช่วย ขม สุขมุ ขับเคลือ่ นการไหลเวียนของชี่
ขจัดเลือดคัง่ สลายของเสียที่
ตกค้าง ระงับปวด
莪术 เอ๋อร์จู ๋ ตัวยาช่วย ขม เผ็ด อุ่น ขับเคลือ่ นการไหลเวียนของชี่
ขจัดเลือดคัง่ สลายของเสียที่
ตกค้าง ระงับปวด
358 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ ตันเซินและเช่อเสา รสขม เย็นเล็กน้อย ออกฤทธิ์ใน


ระดับเลือด ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีข้นึ ขจัดเลือดคัง่ ลดความร้อนในเลือด ระงับปวด เถาเหริน
เป็ นตัวยาเสริม รสขมอมหวาน สุขมุ สลายลิม่ เลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีข้นึ ใช้ได้ผลดีกรณีปวดท้อง
หลังการคลอดทีเ่ กิดจากมีเลือดคัง่ อุดตัน ตัวยาช่วย ได้แก่ หรูเซียงและม่อเย่า มีกลิน่ หอม มีฤทธิ์ทะลุ
ทะลวง สามารถสลายเลือดคัง่ และช่วยให้การไหลเวียนของชี่และเลือดดีข้ นึ ทําให้อาการปวดค่อย ๆ
บรรเทาลง ตัวยาทัง้ สองนี้มสี รรพคุณกระจายการคัง่ ของเลือด และระงับปวดโดยเฉพาะ ซานเหลิงรส
ขม ไม่มกี ลิน่ หอม ออกฤทธิ์ดใี นการทะลุทะลวงเลือดที่คงั ่ ทําให้เส้นลมปราณโล่ง ขณะที่เอ๋อร์จูร๋ สขม
เผ็ด อุ่น มีกลิน่ หอม มีสรรพคุณสลายชี่ท่ตี ิดขัดในเลือดและสิ่งตกค้าง เมือ่ ใช้ตวั ยาทัง้ สองร่วมกันจะ
เสริมฤทธิ์ทะลุทะลวงและสลายสิง่ ตกค้างให้ดขี ้นึ 1,2
หมายเหตุ: การเลือกใช้สูตรตํารับยานี้จะขึ้นอยู่กบั สุขภาพและอาการของผูป้ ่ วย โดยยาต้มสูตร
1 ใช้กบั ผูป้ ่ วยทีเ่ ริ่มเป็ นระยะแรก หรือเลือดในช่องท้องยังไหลเวียนและไม่มอี าการห้อเลือด ส่วนยาต้ม
สูตร 2 ใช้กบั ผูป้ ่ วยทีเ่ ลือดในช่องท้องจับกันเป็ นก้อน3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาเม็ด3
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้กบั สตรีตงั้ ครรภ์นอกมดลูก และมีเลือดออกมาก หรือช็อคหมดสติ การ
ช่วยเหลือฉุกเฉินและผ่าตัดจะเหมาะสมกว่า1,2
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มสูตร 1 และสูตร 2 มีฤทธิ์ลดอาการบวมนํา้ ในหนู ถบี จักร โดย
ยาต้มสู ตร 2 มีฤทธิ์แรงกว่า สู ตร 1 เมื่อแยกศึกษาตัวยาเดี่ยว พบว่าเช่อเสา เถาเหริน และ เอ๋อร์จูม๋ ี
ฤทธิ์ยบั ยัง้ อาการบวมนํา้ แต่ซานเหลิงและตันเซินมีฤทธิ์ไม่ชดั เจน ยาต้มสูตร 1 และสูตร 2 มีฤทธิ์ขยาย
หลอดเลือด ช่วยสลายลิม่ เลือด และลดอาการบวมในกระต่าย และต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดได้ดใี น
หลอดทดลอง โดยตัวยาที่มฤี ทธิ์ตา้ นเชื้อแบคทีเรียคือ เช่อเสาและตันเซิน ยาต้มสู ตร 2 มีฤทธิ์ระงับ
อาการปวดท้องได้ดใี นหนู ถบี จักร กระตุน้ การทํางานของเซลล์กลืนกิน (phagocyte) ในกระต่ายและหนู
ถีบจักร เพิ่มการซึมผ่านของผนังหลอดเลือดให้ดีข้ นึ และกระตุน้ การทํางานของระบบการสลายการ
แข็งตัวของเลือด3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 359

การศึกษาทางคลินิก: จากการศึกษาในสตรีตงั้ ครรภ์นอกมดลูก เมือ่ ให้ผูป้ ่ วยที่เลือดในช่อง


ท้องยังไหลเวียนไม่จบั ตัวเป็ นก้อน จํานวน 20 ราย ใช้ยาสูตร 1 พบว่าทุกรายหายเป็ นปกติ และเมือ่ ให้
ผูป้ ่ วยที่มเี ลือดในช่องท้องจับตัวเป็ นก้อน จํานวน 593 ราย ใช้ยาสู ตร 2 พบว่า 53 ราย อาการดีข้ นึ
540 ราย อาการหายเป็ นปกติ3
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, วราภรณ์ ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน. ตํารับยากงไว่วน่ิ ฟาง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
3. Peng K. Gongwaiyun Fang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
360 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

เสีย่ วจีอ๋ นิ๋ จือ่ (小蓟饮子)


ตําราต้นตํารับ
济生方 จี้เซิงฟาง (Prescriptions for Succouring the Sick)1
« ค.ศ. 1253 Yan Yonghe (严用和 เอีย๋ นย่งเหอ) »2
ประกอบด้วย
小蓟 Herba Cephalanoploris เสีย่ วจี ๋ 15 กรัม
藕节 Nodus Nelumbinis Rhizomatis โอวเจีย๋ 9 กรัม
蒲黄 (炒) Pollen Typhae (parched) ผู่หวง (เฉ่ า) 9 กรัม
生地黄 Radix Rehmanniae เซิงตี้หวง 30 กรัม
栀子 Fructus Gardeniae จือจื่อ 9 กรัม
木通 Caulis Akebiae มูท่ ง 9 กรัม
淡竹叶 Herba Lophatheri ตัน้ จูเ๋ ยีย่ 9 กรัม
滑石 Talcum Pulveratum หฺวาสือ 12 กรัม
当归 (酒洗) Radix Angelicae Sinensis ตังกุย (จิว่ สี)่ 9 กรัม
(washed with wine)
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ช่วยให้เลือดเย็นลง ห้ามเลือด ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการปัสสาวะมีเลือดปนเนื่องจากมีความร้อนสะสมภายในร่างกาย ปัสสาวะบ่อยมีสเี ข้ม
ลิ้นแดง มีฝ้าขาวบาง ชีพจรเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยที่มเี ลือดออกในทางปัสสาวะ
อย่างเฉียบพลันที่เกิดจากมีความร้อนอุดกัน้ มีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ เป็ นนิ่ว ไตอักเสบชนิด
เฉียบพลัน และวัณโรคลงไต1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 361

ตํารับยา เสีย่ วจีอ๋ นิ๋ จือ่ (小蓟饮子)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เสีย่ วจี ๋ (小蓟) โอวเจีย๋ (藕节)
362 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

2 เซนติเมตร
ผู่หวง (蒲黄)
2 เซนติเมตร
เซิงตี้หวง (生地黄)

จือจื่อ (栀子) 2 เซนติเมตร


2 เซนติเมตร
มูท่ ง (木通)

2 เซนติเมตร

ตัน้ จูเ๋ ยีย่ (淡竹叶) 2 เซนติเมตร


หฺวาสือ (滑石)

5 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
ตังกุย (当归)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 363

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
小蓟 เสีย
่ วจี ๋ ตัวยาหลัก ขมเย็น ห้ามเลือด ทําให้เลือดเย็นลง
อมหวาน สลายเลือดคัง่ ขับพิษ ขับฝี หนอง
藕节 โอวเจีย๋ ตัวยาเสริม ฝาดสุขมุ ทําให้เลือดเย็นลง ห้ามเลือด
(ข้อเหง ้าบัวหลวง) อมหวาน สลายเลือดคัง่
蒲黄 (炒) ตัวยาเสริม อมหวาน
สุขมุ ห้ามเลือด สลายเลือดคัง่ ขับ
ผู่หวง (เฉ่ า) ปัสสาวะ
生地黄 เซิงตี้หวง ตัวยาช่วย หวาน เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็นลง
(โกฐขี้แมว) อมขม บํารุงเลือดและอินชี่ของตับและไต
เสริมสารนํา้
栀子 จือจื่อ ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อน เสริมความชื้น
(ลูกพุด) ทําให้เลือดเย็นลง บรรเทาอาการ
อักเสบ ขับพิษ
木通 มูท ่ง ตัวยาช่วย ขม เย็น ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ช่วยให้เลือด
ไหลเวียนดี ขับนํา้ นม
淡竹叶 ตัน้ จูเ๋ ยีย ่ ตัวยาช่วย จืดอม เย็น ลดไข้ บรรเทาอาการร้อนในคอแห้ง
(หญ้าขุยไม้ไผ่, หวานเผ็ด กระหายนํา้ ขับพิษไข้ออกทาง
ใบไผ่ขม) ปัสสาวะ
滑石 หฺวาสือ ตัวยาช่วย จืด เย็น ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ ขับความร้อน
(หินลืน่ ) อมหวาน ขับความชื้น ขับฝี หนอง
当归 (酒洗) ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี
ตังกุย (จิว่ สี)่ อมเผ็ด ลดบวม ระงับปวด
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
กันเฉ่ า (จื้อ) บรรเทาอาการปวด ปรับประสาน
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
364 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ตํารับยานี้ประกอบด้วยเสี่ยวจีเ๋ ป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณห้ามเลือดและทําให้เลือดเย็นลง ตัวยา


เสริม ได้แก่ โอวเจีย๋ และผู่หวง (เฉ่ า) มีสรรพคุณทําให้เลือดเย็นลง ห้ามเลือด และสลายเลือดคัง่ ตัวยา
ช่วย ได้แก่ เซิงตี้หวงและจือจื่อช่ วยห้ามเลือด ทําให้เลือดเย็นลงและระบายความร้อน มู่ทง ตัน้ จู -๋
เยี่ย และ หฺวาสือ มีสรรพคุณขับนิ่ว ขับและระบายความร้อนออกทางปัสสาวะ ส่วนตังกุย (จิ่วสี)่ มีฤทธิ์
เสริมเลือดและปรับประสานเลือดไม่ให้รบั ผลกระทบมากเกินไปจากการใช้ตวั ยาที่มคี ุณสมบัตเิ ย็นหลาย
ชนิด และควบคุมระบบเลือดให้เป็ นปกติ กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวด
และปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
เนื่องจากตํารับยานี้มคี ุณสมบัติเย็นและขับระบายมาก จึงห้ามใช้กบั ผูป้ ่ วยปัสสาวะมีเลือดปน
ชนิดเรื้อรังทีเ่ กิดจากชี่พร่อง
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณห้ามเลือด ขับปัสสาวะ รักษาโรคติดเชื้อในทางเดิน-
ปัสสาวะ ไตอักเสบชนิดเฉียบพลัน และระบายความร้อน1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาเสีย่ วจีอ๋ นิ ๋ จือ่ . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-
จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Peng K. Xiao Ji Yin Zi. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol. . 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 365

ไหฺวฮฺวาส่าน (槐花散)
ตําราต้นตํารับ
本事方 เปิ่ นซือ
่ ฟาง (Effective Prescriptions for Universal Relief)1
« ค.ศ. 1949 Xu Shuwei (许叔微 สฺวซ่ี ู่เวย์) »2
ส่วนประกอบ
槐花 (炒) Flos Sophorae (parched) ไหฺวฮฺวา (เฉ่ า) 12 กรัม
侧柏叶 Cacumen Biotae เช่อไป่ เยีย่ 12 กรัม
荆芥穗 Spica Schizonepetae จิงเจี้ยซุ่ย 6 กรัม
枳壳 (麸炒) Fructus Aurantii จื่อเขอ (ฟูเฉ่ า) 6 กรัม
(parched with bran)

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขจัดความร้อนในลําไส้ ห้ามเลือด กระจายลม ทําให้ช่ลี งเบื้องล่าง1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการที่เกิดจากพิษลมร้อนและความชื้นสะสมในลําไส้ใหญ่ส่วนปลายเป็ นเวลานาน
ทําให้มอี าการถ่ายอุจจาระมีเลือดปน เป็ นสีมว่ งคลํา้ หรือสีแดงสด เลือดอาจออกก่อนหรือหลังถ่ายอุจจาระ
หรือปนมากับอุจจาระก็ได้ และรักษาอาการถ่ายอุจจาระมีเลือดออกสีแดงสดทีเ่ กิดจากริดสีดวงทวาร1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่ถ่ายอุจจาระที่มเี ลือดปนมี
สาเหตุจากลําไส้ใหญ่ส่วนปลายอักเสบ หรือมีต่งิ เนื้อทีล่ าํ ไส้ตรง หรือริดสีดวงทวาร1,3
366 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ตํารับยา ไหฺวฮฺวาส่าน (槐花散)

2 เซนติเมตร
ไหฺวฮฺวา (เฉ่ า) [槐花(炒)]
2 เซนติเมตร
เช่อไป่ เยีย่ (侧柏叶)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
จิงเจี้ยซุ่ย (荆芥穗) จื่อเขอ (ฟูเฉ่ า) [枳壳(麸炒)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 367

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
槐花 (炒) ตัวยาหลัก ขม เย็น ขับความร้อน ลดความร้อนใน
ไหฺวฮฺวา (เฉ่ า) เล็กน้อย เลือด ห้ามเลือด บรรเทาอาการ
เลือดกําเดาไหล อาเจียนเป็ น
เลือด ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน
ริดสีดวงทวาร ตาแดง ตาเจ็บ
เนื่องจากความ-ร้อนทีต่ บั ขึ้นสู่
เบื้องบน
侧柏叶 เช่อไป่ เยีย
่ ตัวยาเสริม ขมฝาด เย็น ทําให้เลือดเย็นลง ห้ามเลือด
เล็กน้อย บรรเทาอาการเลือดกําเดาไหล
อาเจียนเป็ นเลือด ถ่ายอุจจาระ
หรือปัสสาวะมีเลือดปน ตก-
เลือดในสตรี ระงับไอ ขับเสมหะ
荆芥穗 จิงเจี้ยซุ่ย ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น บรรเทาหวัดจากการกระทบลม
เล็กน้อย ภายนอก ขับเหงือ่ กระทุง้ พิษ
枳壳 (麸炒) ตัวยานําพา ขม เย็น ช่วยให้การไหลเวียนของชี่
จื่อเขอ (ฟูเฉ่ า) อมเผ็ด เล็กน้อย บริเวณทรวงอกดีข้นึ บรรเทา
(ส้มซ่าผัดรําข้าวสาลี) อาการแน่นทรวงอก สลายของ
เสียทีต่ กค้าง
ตํารับยานี้ประกอบด้วยไหฺวฮฺวา (เฉ่ า) เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณขจัดความร้อน ขับพิษ ลด
ความร้อนในเลือ ด ห้ามเลือด ใช้ได้ผลดีกบั การขจัดความร้อนชื้นในลําไส้ใหญ่ บรรเทาอาการถ่าย
อุจจาระมีเลือดปน เช่อไป่ เยี่ยเป็ นตัวยาเสริม ช่วยเสริมฤทธิ์ของไหฺวฮฺวา (เฉ่ า) ให้เข้าสู่ระดับเลือดได้
เพือ่ ลดความร้อนในเลือด ลดความชื้น ช่วยให้แห้ง และรสฝาดของเช่อไป่ เยี่ยยังช่วยเสริมฤทธิ์หา้ มเลือด
ของไหฺวฮฺวา (เฉ่ า) จิงเจี้ยซุ่ยเป็ นตัวยาช่วย มีฤทธิ์กระจายลมและห้ามเลือด ช่วยขจัดความร้อนในระดับ
368 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ชี่ ยกระดับชี่ท่บี ริสุทธิ์ข้ นึ ข้างบน และสลายลมในระดับเลือด จื่อเขอ (ฟูเฉ่ า) เป็ นตัวยานําพา ช่วยขยาย
ลําไส้ทาํ ให้ช่ลี งเบื้องล่าง1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง ยาต้ม1,3
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้ตดิ ต่อกันเป็ นเวลานาน และห้ามใช้ในกรณีทถ่ี ่ายเป็ นเลือดโดยไม่ได้มสี าเหตุ
จากร้อนชื้น1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณห้ามเลือด บรรเทาอาการอักเสบ และฆ่าเชื้อ1,3
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สมชาย จิระพินิจวงศ์. ตํารับยาไหฺวฮฺวาส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 369

เจียวอ้ายทัง (胶艾汤)
ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย
่(Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
阿胶 Colla Corii Asini อาเจียว 6 กรัม
艾叶 Folium Artemisiae Argyi อ้ายเยีย่ 9 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 9 กรัม
芍药 Radix Paeoniae เสาเย่า 12 กรัม
干地黄 Radix Rehmanniae กันตี้หวง 12 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 12 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม โดยชงละลายอาเจียวในนํา้ ยาที่ตม้ ได้ แบ่งดื่ม 2 ครัง้ ดื่มขณะอุ่น ๆ1,3
การออกฤทธิ์
บํารุงเลือด ห้ามเลือด ปรับประจําเดือน กล่อมครรภ์1,3
370 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

ตํารับยา เจียวอ้ายทัง (胶艾汤)

สรรพคุณ
รักษากลุม่ อาการทีเ่ ส้นลมปราณชงม่าย (冲脉) และเริ่นม่าย (任脉) เกิดภาวะพร่อง โดยทําให้
มีอาการประจําเดือนออกมาก กะปริดกะปรอย มีเลือดออกไม่หยุด หรือแท้งบุตร แท้งบุตรแลว้ ยังมี
เลือดออก มีอาการปวดท้อง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการแท้งคุกคาม หรือแท้ง
บุตรซํา้ ซาก ประจําเดือนออกมากจากภาวะการทํางานของมดลูกผิดปกติ หลังคลอดมดลูกไม่เข้าอู่ และมี
เลือดออกไม่หยุดเนื่องจากเส้นลมปราณชงม่ายและเยิน่ ม่ายเสือ่ มหรือพร่อง1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 371

2 เซนติเมตร
อาเจียว (阿胶)

3 เซนติเมตร

ตังกุย (当归)
2 เซนติเมตร
อ้ายเยีย่ (艾叶)

2 เซนติเมตร
กันตี้หวง (干地黄)
2 เซนติเมตร
เสาเย่า (芍药)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ชวนซฺยง (川芎) กันเฉ่ า (甘草)
372 ตํารับยาควบคุมการไหลเวียนของเลือด

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
阿胶 อาเจียว ตัวยาหลัก หวาน สุขมุ บํารุงเลือด ห้ามเลือด เสริมบํารุง
(กาวหนังลา) อิน บํารุงปอดให้ช่มุ ชื้น
艾叶 อ้ายเยีย ่ ตัวยาหลัก ขม อุ่น ให้ความอบอุ่นระบบเส้นลมปราณ
อมเผ็ด ห้ามเลือด ปรับประจําเดือนให้
ปกติ บํารุงครรภ์ ป้ องกันการแท้ง
当归 ตังกุย ตัวยาเสริม หวาน อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียน
และตัวยาช่วย อมเผ็ด ดีข้นึ ลดบวม ระงับปวด
芍药 เสาเย่า ตัวยาเสริม ขมเปรี้ยว เย็น ปรับสมานชี่กบั เลือด บรรเทา
และตัวยาช่วย อมหวาน เล็กน้อย อาการปวดท้องของโรคบิด
ปวดท้องหลังถ่ายอุจจาระ
干地黄 กันตี้หวง ตัวยาเสริม หวาน เย็น ระบายความร้อนในเลือด บํารุง
(โกฐขี้แมว) และตัวยาช่วย อมขม เลือดและอินชี่ของตับและไต
เสริมสารนํา้
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด
(โกฐหัวบัว) และตัวยาช่วย ขับลมในเลือด ระงับปวด
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
(ชะเอมเทศ) อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ อาเจียวมีสรรพคุณบํารุงเลือดและห้ามเลือด อ้ายเยีย่
มีสรรพคุณอุ่นเส้นลมปราณและห้ามเลือด เมือ่ ใช้ตวั ยาทัง้ สองร่วมกันจะช่วยปรับระดู กล่อมครรภ์ และ
ห้ามเลือด ตัวยาเสริมและตัวยาช่วย ได้แก่ ตังกุย เสาเย่า กันตี้หวง และชวนซฺยง มีสรรพคุณบํารุงเลือด
ปรับระดู และช่ วยการไหลเวียนของเลือด ป้ องกันการคัง่ ของเลือด กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับ
ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน นอกจากนี้เมื่อใช้กนั เฉ่ าร่วมกับอาเจียวจะช่วยห้ามเลือด และเมื่อใช้
ร่วมกับเสาเย่าจะช่วยลดการหดเกร็งและบรรเทาปวด1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 373

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ ภี าวะร้อนแกร่งทีเ่ ป็ นสาเหตุทาํ ให้ประจําเดือนมามากผิดปกติ หรือ
มากะปริดกะปรอย1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: การศึกษาในหนู ถบี จักรพบว่า ตํารับยานี้มฤี ทธิ์คลา้ ยฮอร์โมน
เอสโตรเจน5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณห้ามเลือดได้ผลดี ทัง้ ยังปรับการทํางานของมดลูก
และกระตุน้ การสร้างเม็ดเลือดแดง1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาเจียวอ้ายทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
4. Peng K. Jiao Ai Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Zhao P, Niu J, Wang J, Yu J, Hao Q, Li Y. Research on phytoestrogenic effects and their mechanisms of Jiaoai tang
and Shenqi Jiaoai tang. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2009; 34(19): 2503-7.
374 ตํารับยารักษาอาการลม

ชวนซฺ ยงฉาเถียวส่าน (川芎茶调散)


ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
Dispensary)1
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈诗文 เฉินซือเหวิน) »2
ประกอบด้วย
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 120 กรัม
羌活 Rhizoma seu Radix Notopterygii เชียงหัว 60 กรัม
白芷 Radix Angelicae Dahuricae ไป๋ จ่อื 60 กรัม
细辛 Herba Asari ซีซ่ นิ 30 กรัม
薄荷叶 Herba Menthae (added after) ป๋ อเหอเยีย่ 240 กรัม
(后下) (โฮ่วเซีย่ )
荆芥 Herba Schizonepetae จิงเจี้ย 120 กรัม
(去梗) (stem removed) (ชฺวเ่ี กิง)
防风 Radix Ledebouriellae ฝางเฟิ ง 45 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 60 กรัม

วิธีใช้
นํายาทัง้ หมดมาบดเป็ นผง รับประทานครัง้ ละ 6 กรัม วันละ 2 ครัง้ ใช้นาํ้ ชาเจือจางเป็ นนํา้ กระสาย
ยา หรือต้มเอานํา้ ดืม่ โดยปรับลดนํา้ หนักยาลงจากตํารับยาข้างต้น 10 เท่า1,3
การออกฤทธิ์
กระจายลม ระงับปวด1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 375

ตํารับยา ชวนซฺ ยงฉาเถียวส่าน (川芎茶调散)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร เชียงหัว (羌活)
ชวนซฺยง (川芎)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป๋ จ่อื (白芷) ซีซ่ นิ (细辛)
376 ตํารับยารักษาอาการลม

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร

ป๋ อเหอเยีย่ (薄荷叶) จิงเจี้ย (荆芥)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (甘草)
ฝางเฟิ ง (防风)

สรรพคุณ
บรรเทาอาการไขห้ วัดจากการกระทบลมภายนอก ปวดศีรษะส่วนหน้า หรือปวดศีรษะข้างเดียว
หรือปวดกลางกระหม่อม มีไข้กลัวหนาว คัดจมูก ตาลาย ลิ้นมีฝ้าบางขาว ชีพจรลอย ลืน่ 1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
川芎 ชวนซฺยง ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด
(โกฐหัวบัว) ขับลมในเลือด ระงับปวด
羌活 เชียงหัว ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการหวัดจากการ
อมขม กระทบลมเย็น ปวดศีรษะ
ปวดเมือ่ ยร่างกาย
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 377

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


白芷 ไป๋ จ่อื ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ บรรเทาอาการหวัดจาก
(โกฐสอ) การกระทบลมเย็นภายนอก
ระงับปวดศีรษะ ปวดฟัน ลด
อาการคัดจมูกจากไข้หวัดหรือ
โรคโพรงจมูกอักเสบ
细辛 ซีซ่ นิ ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขับลมสลายความเย็น เปิ ดทวาร
(มีพษิ ระงับปวด ให้ความอบอุ่นแก่
เล็กน้อย)* ปอด ขับของเหลว
薄荷叶 (后下) ตัวยาเสริม เผ็ด เย็น ขับกระจายลมร้อนทีก่ ระทบต่อ
ป๋ อเหอเยีย่ (โฮ่วเซีย่ ) ร่างกาย ระบายความร้อน ช่วย
ให้ศีรษะโล่งและสายตาสดใส
ลําคอโล่งผ่อนคลายตับ คลาย
เครียด
荆芥 (去梗) ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น บรรเทาหวัดจากการกระทบลม-
จิงเจี้ย (ชฺวเ่ี กิง) เล็กน้อย ภายนอก ขับเหงือ่ กระทุง้ พิษ
防风 ฝางเฟิ ง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยกระทุง้ ไข้หวัดจากการกระทบ
อมหวาน เล็กน้อย ลมภายนอก
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศ) ร่างกาย ระบายความร้อน ขับพิษ
ระงับไอ ขับเสมหะ ปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ ชวนซฺยงใช้รกั ษาอาการปวดศีรษะจากเส้นลมปราณ
เส้าหยางและเจีย๋ อินจิง (ปวดศีรษะทัง้ สองข้างหรือกลางกระหม่อม) เชียงหัวใช้รกั ษาอาการปวดศีรษะจาก
เส้นลมปราณไท่หยาง (ปวดศีรษะตรงด้านหลัง) ไป๋ จ่อื ใช้รกั ษาอาการปวดศีรษะจากเส้นลมปราณหยางหมิง

* ซีซ่ นิ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ เล็กน้อย ต้องควบคุมขนาดใช้ตามทีก่ าํ หนดเท่านัน้


378 ตํารับยารักษาอาการลม

(ปวดหัวคิ้วโหนกแก้ม) และซี่ซนิ ใช้รกั ษาอาการปวดศีรษะจากเส้นลมปราณเส้าอิน (ปวดเวียนลามถึง


ขากรรไกร)1,3 ตัวยาเสริม ได้แก่ ป๋ อเหอเยี่ย จิงเจี้ย (ชฺวเ่ี กิง) และฝางเฟิ ง ช่วยระบายส่วนบน ขับกระจาย
อิทธิพลของลมภายนอก ทําให้ศีรษะโล่งและตาสว่าง ช่วยตัวยาหลักขับกระจายลม ระงับปวด และยัง
ช่วยรักษาอาการภายนอก กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพาโดยปรับสมดุลส่วนกลางของร่างกายและเสริมชี่ ช่วย
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เขา้ กัน ช่วยให้การระบายชี่ข้นึ บนได้ดี ไม่สูญเสียพลังชี่ การใช้นาํ้ ชาเจือ
จางเป็ นนํา้ กระสายยา เพือ่ ให้รสขมเย็นของชาช่วยระบายลมร้อนของยาที่ข้ นึ ส่วนบนของร่างกาย ทัง้ ยัง
ป้ องกันยาขับลมต่าง ๆ ไม่ให้อ่นุ ร้อนเกินไป ป้ องกันการระบายส่วนบนไม่ให้มากเกินไป1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง ยาเม็ด ยาชง ยาลูกกลอนนํา้ ยาลูกกลอนสารสกัด ชาชง ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ใช้ตวั ยาอุ่นเผ็ดกระจายอย่างมาก จึงไม่ควรใช้กบั ผูป้ ่ วยที่ชี่พร่องมาเป็ นเวลานาน
เลือดพร่อง หรือปวดศีรษะจากลมตับ หรือหยางตับสูง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ระงับปวดและช่วยให้จติ ใจสงบในหนู ถบี จักร ต้าน
อักเสบในหนู ขาวและหนู ถบี จักร ลดไข้ในหนู ขาว4 และปกป้ องการเสือ่ มของระบบประสาททีเ่ กี่ยวข้องกับ
สารสือ่ ประสาท dopamine5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณบรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดกระดูกสันหลังทีบ่ ริเวณ
ใกล ้ต้นคอ โพรงไซนัสบริเวณหน้าผากอักเสบเฉียบพลัน จมูกอักเสบเฉียบพลัน และจมูกอักเสบจากการ
แพ้อากาศ1,3,4
การศึกษาความปลอดภัย: การศึกษาพิษเฉียบพลันในหนู ถบี จักรโดยการให้ตาํ รับยานี้ทาง-ปาก
ในขนาด 50 กรัม/กิโลกรัม วันละ 2 ครัง้ ติดต่อกันนาน 3 วัน พบว่าหนู มอี าการสงบ เคลือ่ นไหวน้อย
และไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ และเมือ่ ให้ตาํ รับยาดังกล่าวทางปากหนู ถบี จักรที่อายุนอ้ ย ในขนาด 17
กรัม/กิโลกรัม วันละครัง้ ติดต่อกันนาน 8 วัน พบว่านํา้ หนักของม้ามและการเจริญเติบโตของหนู เพิม่ ขึ้น
แต่ไม่มผี ลต่อหัวใจ ตับ ไต อัณฑะ และมดลูก และการเคลือ่ นไหวของร่างกาย แสดงให้เห็นว่าตํารับยานี้
มีพษิ น้อยมาก4
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 379

เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาชวนซฺยงฉาเถียวส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Xu CH. Chuang Xiong Cha Tiao Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Shu D, He J, Chen J. Neuroprotective effects and mechanisms of Chuanxiong Chatiao pulvis against MPTP-induced
dopaminergic neurotoxicity in mice model of Parkinson's disease. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2009; 34(19): 2494-
7.
380 ตํารับยารักษาอาการลม

เสีย่ วหัวลัว่ ตัน (小活络丹)


ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
Dispensary)1
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈师文 เฉินซือเหวิน) »2
ส่วนประกอบ
川乌 (制) Radix Aconiti Praeparata ชวนอู (จื้อ) 180 กรัม
草乌 (制) Radix Aconiti Kusnezoffii เฉ่ าอู (จื้อ) 180 กรัม
Praeparata
天南星 (制) Rhizoma Arissaematis เทียนหนานซิง (จื้อ) 180 กรัม
乳香 Resina Olibani หรูเซียง 66 กรัม
没药 Myrrha ม่อเย่า 66 กรัม
地龙 Lumbricus ตี้หลง 180 กรัม

วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดให้ละเอียด ผสมกับนํา้ กระสายยา เช่น นํา้ นํา้ ผึ้ง เป็ นต้น ปัน้ เป็ นยา-
ลูกกลอน หนักเม็ดละประมาณ 3 กรัม รับประทานขณะท้องว่าง ครัง้ ละ 1 เม็ด วันละ 1-2 ครัง้ โดยใช้
เหล ้าหรือนํา้ อุ่นเป็ นนํา้ กระสายยา1,3
การออกฤทธิ์
อุ่นเส้นลมปราณ เพิม่ การไหลเวียนของเลือด ขจัดลมชื้น ขับเสมหะและเลือดคัง่ 1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการของโรคที่เส้นลมปราณถูกลมชื้นอุดกัน้ โดยมีอาการชาตามแขนขาเรื้อรังเป็ น
เวลานานไม่หาย หรือมีอาการปวดเส้นเอ็นและกระดูกตามแขนขา โดยตําแหน่งทีป่ วดไม่แน่นอน1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 381

ตํารับยา เสีย่ วหัวลัว่ ตัน (小活络丹)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ชวนอู (จื้อ) [川乌(制)] เฉ่ าอู (จื้อ) [草乌(制)]

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
หรูเซียง (乳香)
เทียนหนานซิง (จื้อ)
[天南星(制)]
382 ตํารับยารักษาอาการลม

2 เซนติเมตร
ม่อเย่า (没药) 2 เซนติเมตร
ตี้หลง (地龙)
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยกลุม่ อาการทีเ่ กิดจากลมชื้นอุด
กัน้ เส้นลมปราณ ทําให้ขอ้ อักเสบ ปวดเอว ปวดตัง้ แต่ตน้ คอ ไหล่ และขอ้ มือ ปวดอักเสบบริเวณขอ้ ต่อ
ของไหล่ ปวดข้อเนื่องจากข้อผิดรู ป ข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง และใช้กบั ผูป้ ่ วยโรคหลอดเลือดสมองจาก
เสมหะชื้นอุดกัน้ เส้นลมปราณ1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
川乌 (制) ชวนอู (จื้อ) ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขจัดลมชื้น กระจายความเย็น
(รากแก้วของโหราเดือยไก่ อมขม (มีพษิ )* ระงับปวด เป็ นยาชา
ทีผ่ ่านการฆ่าฤทธิ์)
草乌 (制) ตัวยาหลัก เผ็ด ร้อน ขจัดลมชื้น ให้ความอบอุ่น
เฉ่ าอู (จื้อ) อมขม (มีพษิ )* ระงับปวด
天南星 (制) ตัวยาเสริม ขม อุ่น ขับความชื้น ขับเสมหะ บรรเทา
เทียนหนานซิง (จื้อ) อมเผ็ด (มีพษิ )* อาการลมวิงเวียน เส้นเลือด
สมองตีบ ลมชัก อัมพาตที่
ใบหน้า บรรเทาอาการอักเสบ
ปวดบวม
乳香 หรูเซียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยให้ระบบไหลเวียนของชี่และ
อมขม เลือดดีข้นึ ระงับปวด ลดบวม

* ชวนอู เฉ่ าอู และเทียนหนานซิง เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 383

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


没药 ม่อเย่า ตัวยาช่วย ขม สุขมุ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ระงับ
(มดยอบ) อมเผ็ด ปวด ลดบวม สมานแผล
地龙 ตี้หลง ตัวยาช่วย เค็ม เย็น ระบายความร้อน ช่วยให้เส้น
(ไส้เดือนดิน) เล็กน้อย ลมปราณไหลเวียนดี บรรเทา
อาการไข้สูงทีท่ าํ ให้คลุมคลั
้ ง่
อาการชักกระตุก หรือเป็ นลม
หมดสติ ชี่พร่องติดขัดที่ทาํ ให้
เป็ นอัมพาต อัมพฤกษ์ ปากเบี้ยว
ตาเหล่
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักที่มฤี ทธิ์แรง ได้แก่ ชวนอู (จื้อ) และเฉ่ าอู (จื้อ) มีรสเผ็ด
คุณสมบัติรอ้ น จึงมีสรรพคุณขจัดลมชื้น ช่วยให้เส้นลมปราณอบอุ่น และระงับปวด ตัวยาเสริม คือ
เทียนหนานซิง (จื้อ) มีสรรพคุณละลายเสมหะ ขจัดความชื้น และระงับปวด ตัวยาช่วย ได้แก่ หรูเซียง
และม่อเย่า เมือ่ ใช้ร่วมกันมีสรรพคุณช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ขจัดการคัง่ ของเลือด ทําให้ช่ีไหลเวียนดี
ตี้หลงมีฤทธิ์แรงในการทะลวงเส้นลมปราณ เสริมสรรพคุณของยาทัง้ สอง เหลา้ เป็ นตัวยานําพา มี
คุณสมบัตริ อ้ นแรง มีฤทธิ์เพิม่ การไหลเวียนของเลือด ขับความเย็น สลายลม และช่วยให้ยาไปออกฤทธิ์
ในตําแหน่งทีต่ อ้ งการ1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอนนํา้ ผึ้ง ยาลูกกลอนสารสกัด ยาเม็ด1,5
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้มฤี ทธิ์แรงมาก เหมาะสําหรับผูป้ ่ วยโรคเรื้อรังทีย่ งั มีสภาพร่างกายแข็งแรง ห้ามใช้กบั
สตรีมคี รรภ์และผูป้ ่ วยอินพร่องทีม่ ไี ข้1,3,4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ระงับปวดและสงบจิตใจในหนู ถบี จักร5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณระงับปวด บรรเทาอาการเกร็ง ช่วยสงบจิตใจ
บรรเทาอาการข้ออักเสบ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ปรับระบบการไหลเวียนของเลือดให้เป็ นปกติ1,3,5
384 ตํารับยารักษาอาการลม

การศึกษาความปลอดภัย: การใช้ตาํ รับยานี้เกินขนาดจะทําให้เกิดความเป็ นพิษ โดยจะมีอาการ


แขนขาชาและเย็น ลิ้นแข็ง หน้าซีด มีเหงื่อออก เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เลือดออกใน
ทางเดินอาหาร ใจสัน่ หัวใจเสียจังหวะ และหมดสติ วิธแี ก้พษิ ทําโดยการล ้างท้อง ให้ยาต้มกันเฉ่ าและลฺว่ี
โต๋ว (緑豆) หรือให้ยาเดกซาเมทาโซนเขา้ หลอดเลือดดํา6
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาเสี่ยวหัวลัว่ ตัน. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน].
นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2552.
4. Zhou YF. Science of Prescriptions. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional
Chinese Medicine, 2002.
5. Xu ZH. Xiao Huo Luo Dan. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
6. Chen JK, Chen TT. Chinese Herbal Formulas and Applications. CA: Art of Medicine Press, 2008.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 385

หลิงเจีย่ วโกวเถิงทัง (羚角钩藤汤)


ตําราต้นตํารับ
通俗伤寒论 ทงสูซางหานลุน่ (Popular Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 1182 Liu Wansu (刘完素 หลิวหวานซู่) »2
ประกอบด้วย
羚羊角 Cornu Saigae Tataricae หลิงหยางเจี่ยว 4.5 กรัม
(先煎) (เซียนเจียน)
双钩藤 Ramulus Uncariae cum Uncis ซวงโกวเถิง 9 กรัม
(后入) (decocted later) (โฮ่วรู่)
桑叶 Folium Mori ซังเยีย่ 6 กรัม
菊花 Flos Chrysanthemi จฺหวีฮวฺ า 9 กรัม
川贝母 Bulbus Fritillariae Cirrhosae ชวนเป้ ยห์ มู่ 12 กรัม
鲜生地 Radix Rehmanniae เซียนตี้หวง 15 กรัม
竹茹 Caulis Bambusae in Taeniam จูห้ รู (เซียนจื้อ, 9 กรัม
(鲜制, 与羚 (fresh and prepared, decocted first ยฺหวีหลิงหยางเจี่ยว
羊角先煎代水) with Cornu Saigae Tataricae in เซียนเจียไต้สุ่ย)
water)
白芍 Radix Paeoniae Alba ไป๋ เสา 9 กรัม
茯神木 Poria cum Ligno Hospite ฝูเสินมู่ 9 กรัม
生甘草 Radix Glycyrrhizae Recens เซิงกันเฉ่ า 3 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดื่ม โดยต้มหลิงหยางเจี่ยวและจูห้ รูดว้ ยนํา้ ปริมาณพอเหมาะนาน 20 นาที นําเฉพาะ
นํา้ ทีต่ ม้ ได้ไปใช้ตม้ ตัวยาอื่น ๆ ในตํารับยา ยกเวน้ ซวงโกวเถิงให้ใส่หลังจากต้มตัวยาอื่น ๆ ให้เดือดแลว้
ประมาณ 5-10 นาที แล ้วจึงต้มต่อประมาณ 5 นาที เพือ่ ป้ องกันไม่ให้สารออกฤทธิ์ระเหยหรือสลายไป1,3,4
386 ตํารับยารักษาอาการลม

การออกฤทธิ์
ดับลมในตับ เสริมธาตุนาํ้ คลายเส้น1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะร้อนแกร่งจนเกิดลมร้อนเคลือ่ นไหว โดยมีอาการไขข้ ้นึ สูงแบบไม่ยอมลด หงุดหงิด
กระวนกระวาย กระสับกระส่าย เกร็ง ชักกระตุก อาจรุนแรงถึงขัน้ หมดสติ ลิ้นแดงกํา่ และแห้ง หรือลิ้น
แห้งจนขึ้นเป็ นตุ่ม ชีพจรตึงและเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มภี าวะร้อนแกร่งจนเกิดลม
ร้อนเคลื่อนไหว เช่น ความดันเลือดสู ง ระบบประสาทอัตโนมัติทาํ งานผิดปกติ ระบบเส้นเลือดในสมอง
ผิดปกติเนื่องจากความร้อนสู ง การทํางานของต่อมไทรอยด์มากผิดปกติ ลมบ้าหมู เวียนศีรษะอย่าง
รุนแรง1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
羚羊角 หลิงหยางเจี่ยว ตัวยาหลัก เค็ม เย็น สงบชี่ตบั และบรรเทาอาการลม
(เขากุย) ระงับอาการชัก ลดไข้ บรรเทา
อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
ตาแดงบวม
双钩藤 ซวงโกวเถิง ตัวยาหลัก จืด เย็น ผ่อนคลายระบบตับ ขับลม
桑叶 ซังเยีย่ ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายและกระจายความแห้ง
(ใบหม่อน) อมหวาน ร้อนของปอดและตับ ทําให้ตาสว่าง
菊花 จฺหวีฮวฺ า ตัวยาเสริม เผ็ดขม เย็น กระจายลมร้อน ลดไข้ บรรเทา
(เก๊กฮวย) อมหวาน เล็กน้อย หวัด ปวดศีรษะ ผ่อนคลายตับ
ช่ ว ยให้ต าสว่าง รัก ษาอาการ
ตาแดงและตาลาย
川贝母 ชวนเป้ ยห์ มู่ ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อน ละลายเสมหะ
อมหวาน เล็กน้อย ให้ความชุ่มชื้นปอด ระงับไอ
สลายก้อน ลดบวม
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 387

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


鲜生地 เซียนตี้หวง ตัวยาช่วย หวาน เย็น ระบายความร้อน ทําให้เลือดเย็น
(โกฐขี้แมวสด) อมขม ลง บํารุงเลือดและอินชี่ของตับ
และไต เสริมสารนํา้
竹茹 จูห้ รู ตัวยาช่วย อมหวาน เย็น ระบายความร้อน ละลายเสมหะ
(เปลือกชัน้ กลางของ เล็กน้อย บรรเทาอาการคลืน่ ไส้ อาเจียน
ลําต้นไผ่ดาํ )
白芍 ไป๋ เสา ตัวยาช่วย ขมเปรี้ยว เย็น ปรับสมานชี่กบั เลือด รักษา
อมหวาน เล็กน้อย อาการปวดท้องบิด ปวดท้องหลัง
ถ่ายอุจจาระ
茯神木 ฝูเสินมู่ ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ ระบายนํา้ ช่วยให้จติ ใจสงบ ช่วย
(โป่ งรากสนติดเนื้อไม้) เล็กน้อย ให้นอนหลับดีข้นึ
生甘草 เซิงกันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
(ชะเอมเทศ) อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้า
กัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยหลิงหยางเจี่ยวและซวงโกวเถิงเป็ นตัวยาหลัก มีคุณสมบัติเย็น ดับลม
ในตับ ระบายความร้อน ต้านการชัก ตัวยาเสริม ได้แก่ ซังเยี่ยและจฺหวีฮฺวาเสริมสรรพคุณดับลมในตับ
ตัวยาช่วย ได้แก่ ไป๋ เสาและเซียนตี้หวงมีสรรพคุณเสริมอิน เพิม่ สารนํา้ ช่วยให้ตบั อ่อนนุ่ม และช่วยให้
การหดเกร็งของเส น้ เอ็นมีความยืดหยุ่น ชวนเป้ ย ห์ มู่และจู ห้ รูมสี รรพคุณระบายความร้อน สลาย
เสมหะ ฝูเสินมูช่ ่วยปรับสภาพของตับให้ปกติและสงบจิตใจ เซิงกันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน เมือ่ ใช้ร่วมกับไป๋ เสาแลว้ ความหวานและเปรี้ยวของตัวยาทัง้ สองนี้จะแปรสภาพ
เป็ นระบบอิน เพือ่ ผ่อนคลายการหดเกร็งของเส้นเอ็น1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม5
388 ตํารับยารักษาอาการลม

ตํารับยา หลิงเจีย่ วโกวเถิงทัง (羚角钩藤汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
หลิงหยางเจี่ยว (羚羊角) ซวงโกวเถิง (双钩藤)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 389

2 เซนติเมตร
จฺหวีฮวฺ า (菊花)
3 เซนติเมตร
ซังเยีย่ (桑叶)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ชวนเป้ ยห์ มู่ (川贝母) เซียนตี้หวง (鲜生地)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
จูห้ รู (竹茹) ไป๋ เสา (白芍)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ฝูเสินมู่ (茯神木) เซิงกันเฉ่ า (生甘草)
390 ตํารับยารักษาอาการลม

ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้ไม่เหมาะกับผูป้ ่ วยทีม่ พี ษิ ไข้รอ้ นนานจนทําลายอิน ส่งผลให้อนิ พร่องเกิดลมเคลือ่ นไหว
เส้นเอ็นและเส้นเลือดหดเกร็ง จนเกิดอาการมือเท้ากระตุก1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ระบายความร้อน ต้านการชักในหนู ขาว5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณช่วยลดความดันเลือด และสงบจิตใจ5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาหลิงเจี่ยวโกวเถิงทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. วิชยั โชควิวฒั น, ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน. ตํารับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 1. พิมพ์ครัง้ ที่ 3.
กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์กจิ การโรงพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2550.
5. Xu CH. Ling Jiao Gou Teng Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 391

ผิงเว่ยส์ า่ น (平胃散)
ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
Dispensary)1
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈诗文 เฉินซือเหวิน) »2
ประกอบด้วย
苍术 Rhizoma Atractylodis (rough bark ชังจู ๋ (ชฺวช่ี ูผ,ี 15 กรัม
(去粗皮, discarded, soaked in rice-washed หมีก่ นั จิ้น
米泔浸二日) water for two days) เหลีย่ งยือ่ )
厚朴 Cortex Magnoliae Officinalis โฮ่วผอ (ชฺวช่ี ูผ,ี 9 กรัม
(去粗皮, (bark removed, ginger juice เจียงจื่อจื้อ,
姜汁制, 炒香) prepared, fried) เฉ่ าเซียง)
陈皮 (去白) Pericarpium Citri Reticulatae เฉินผี (ชฺวไ่ี ป๋ ) 9 กรัม
甘草 (炒) Radix Glycyrrhizae (fried) กันเฉ่ า (เฉ่ า) 4 กรัม

วิธีใช้
บดเป็ นผง รับประทานครัง้ ละ 3-5 กรัม โดยใช้นาํ้ ต้มเซิงเจียง (ขิงแก่สด) และต้าเจ่า (พุทรา
จีน) เป็ นนํา้ กระสายยา หรือต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
เสริมบํารุงม้าม ขับความชื้น ทําให้ช่ไี หลเวียน ปรับประสานกระเพาะอาหาร1,3
392 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยา ผิงเว่ยส์ า่ น (平胃散)

2 เซนติเมตร
ชังจู ๋ (苍术) 2 เซนติเมตร
เฉินผี (陈皮)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
โฮ่วผอ (厚朴) กันเฉ่ า (甘草)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 393

สรรพคุณ
รักษาภาวะม้ามและกระเพาะอาหารมีความชื้นคัง่ ค้าง โดยมีอาการจุกเสียดแน่นท้องหรือกระเพาะ-
อาหาร เบือ่ อาหาร ปากจืดรับประทานอาหารไม่รูร้ ส คลืน่ ไส้อาเจียน เรอเหม็นเปรี้ยว ร่างกายและแขนขา
หนักหน่วงตึง เหนื่อยล ้าอยากนอน ท้องเสียบ่อย ลิ้นมีฝ้าขาวหนาและเหนียว ชีพจรเต้นช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยกระเพาะอาหารหรือลําไส้
อักเสบเฉียบพลัน ประสาทสัมผัสของกระเพาะอาหารและลําไส้ผดิ ปกติ อาหารไม่ย่อยเฉียบพลันซึ่งเกิด
จากมีความชื้นคัง่ ค้างในกระเพาะอาหารและลําไส้1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
苍术 (去粗皮, ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขับลมชื้น เสริมบํารุงม้าม
米泔浸二日) อมขม ขับความชื้น
ชังจู ๋ (ชฺวช่ี ูผ,ี หมีก่ นั
จิ้นเหลีย่ งยือ่ )
(โกฐเขมาแช่นาํ้
ซาวข้าว 2 วัน)
厚朴 (去粗皮, ตัวยาเสริม ขม อุ่น ทําให้ช่หี มุนเวียน ขับความชื้น
姜汁制, 炒香) อมเผ็ด ขับของเสียและอาหารตกค้าง
โฮ่วผอ (ชฺวช่ี ูผ,ี ระงับหอบ
เจียงจื่อจื้อ, เฉ่ าเซียง)
陈皮 (去白) ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ปรับและกระจายชี่ ปรับส่วนกลาง
เฉินผี (ชฺวไ่ี ป๋ ) อมขม ของร่างกายให้เป็ นปกติ ขับ
(ผิวส้มจีน) ความชื้น ละลายเสมหะ
甘草 (炒) ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงม้าม ระงับไอ ทําให้
กันเฉ่ า (เฉ่ า) ปอดชุ่มชื้น ระงับปวด ผ่อนคลาย
(ชะเอมเทศผัด) ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน
394 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยานี้ประกอบด้วยชังจูเ๋ ป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณทําให้ช่ขี องม้ามขับเคลือ่ นไหลเวียนและ


ขับความชื้น ตัวยาเสริม คือ โฮ่วผอ (ชฺวช่ี ูผ,ี เจียงจื่อจื้อ, เฉ่ าเซียง) ขับความชื้นและบรรเทาอาการท้องอืด
แน่นเฟ้ อ เฉินผี (ชฺวไ่ี ป๋ ) เป็ นตัวยาช่วย มีฤทธิ์ทาํ ให้ช่ไี หลเวียนและขับความชื้น กันเฉ่ า (เฉ่ า) เป็ นตัวยา
นําพา มีสรรพคุณประสานส่วนกลางและปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยม้ามพร่องหรืออินพร่องโดยทีไ่ ม่มคี วามชื้นร่วมด้วย หรือมีล้นิ แดง ฝ้ า
น้อย ปากขมคอแห้ง หรือชีพจรเต้นช้า1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณปรับและรักษาความผิดปกติของกลไกการทํางาน
ของกระเพาะอาหารและลํา ไส ้ และขจัดนํา้ ส่ว นเกินที่ทาํ ใหเ้ กิดความชื้น คัง่ ค้า งในร่า งกาย บรรเทา
อาการเบื่ออาหารและมีกลิน่ ปากในเด็ก รักษาผิวหนังอักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาผิงเว่ยส์ ่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-
จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Fan YP, Zhang Q, Wang XD. Ping Wei San. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 395

ฮัว่ เซียงเจิ้งชี่สา่ น (藿香正气散)


ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
Dispensary)1
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈师文 เฉินซือเหวิน) »2
ประกอบด้วย
藿香 Herba Agastachis ฮัว่ เซียง 90 กรัม
紫苏 Folium Perillae จื่อซู 30 กรัม
白芷 Radix Angelicae Dahuricae ไป๋ จ่อื 30 กรัม
半夏曲 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ ชฺวี 60 กรัม
陈皮 (去白) Pericarpium Citri Reticulatae เฉินผี (ชฺวไ่ี ป๋ ) 60 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 30 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 60 กรัม
大腹皮 Pericarpium Arecae ต้าฟู่ผี 30 กรัม
厚朴 Cortex Magnoliae Officinalis โฮ่วผอ 60 กรัม
(去粗皮, (bark removed, ginger juice-fried) (ชฺวช่ี ูผ,ี
姜汁炒) เจียงจื่อเฉ่ า)
苦桔梗 Radix Platycodi ขูเ่ จีย๋ เกิง 60 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 75 กรัม
วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผง แบ่งรับประทานครัง้ ละ 6 กรัม โดยใช้นาํ้ ต้มเซิงเจียง (ขิงแก่สด)
และต้าเจ่า (พุทราจีน) เป็ นนํา้ กระสายยา หรือต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขับกระจายของเสียออกจากร่างกาย สลายความชื้นภายใน ปรับชี่ ปรับสมดุลส่วนกลาง1,3
396 ตํารับยาขับความชื้น

สรรพคุณ
รักษาอาการท้องเสียและอาเจียนที่เกิดจากการกระทบความเย็นภายนอก และมีความชื้นสะสม
ภายในร่างกาย โดยมีอาการไข้ กลัวหนาว ปวดศีรษะ แน่นบริเวณท้องและทรวงอก อาเจียน ถ่ายท้อง
ปวดท้อง มีเสียงในลําไส้ซง่ึ เกิดจากลําไส้เคลือ่ นไหวมากเกินไป ลิ้นมีฝ้าเหนียวและหนา1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยไข้หวัดลงทางเดินอาหาร
ไข้หวัดระบาด กระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบเฉียบพลัน เป็ นแผลในกระเพาะอาหารและลําไส้เล็กส่วน
ต้น ลําไส้ใหญ่อกั เสบเรื้อรัง อาหารเป็ นพิษ และโรคคางทูม1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
藿香 ฮัว่ เซียง ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น สลายความชื้น บรรเทาอาการหวัดแดด
(ต้นพิมเสน) ระงับอาเจียน
紫苏 จื่อซู ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ กระจายหวัดเย็น ให้ความ
(ใบงาขี้ม ้อน) อบอุ่นแก่ส่วนกลางของร่างกาย ระงับ
อาเจียน อุ่นปอด ระงับไอ ป้ องกัน
และบรรเทาอาการแพ้ปูและปลา
白芷 ไป๋ จ่อื ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการหวัดจากการกระทบ
(โกฐสอ) ลมเย็นภายนอก บรรเทาอาการปวด
ศีรษะ ปวดฟัน ลดอาการคัดจมูก
จากไข้หวัดหรือโรคโพรงจมูกอักเสบ
半夏曲 ปัน้ เซีย่ ชฺว*ี ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ ลดการ
(มีพษิ )** ไหลย้อนกลับของชี่ บรรเทาอาการ
คลื่นไส้อ าเจีย น สลายเสมหะที่
เกาะตัวเป็ นก้อน
陈皮 (去白) ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ปรับและกระจายชี่ ปรับส่วนกลางของ
เฉินผี (ชฺวไ่ี ป๋ ) อมขม ร่างกายให้เป็ นปกติ ขับความชื้น
(ผิวส้มจีน) ละลายเสมหะ
* ปัน้ เซีย่ ชฺวี คือ ปัน้ เซีย่ ทีผ่ ่านการเผ้าจื้อแล้วและแปรรูปเป็ นก้อน ปัจจุบนั ใช้ปนั้ เซี่ยทดแทนได้
** ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 397

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ ระบายนํา้ สลายความชื้น บํารุง
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ม้าม ช่วยให้จติ ใจสงบ
厚朴 (去粗皮, 姜汁 ตัวยาช่วย ขม อุ่น ทําให้ช่หี มุนเวียน ขับความชื้น ขับ
炒) โฮ่วผอ (ชฺวช่ี ูผ,ี อมเผ็ด ของเสียและอาหารตกค้าง ระงับ
เจียงจื่อเฉ่ า) หอบ
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาช่วย ขม อุ่น เสริมม้ามให้แข็งแรง แก้ความชื้น
อมหวาน ระบายนํา้
大腹皮 ต้าฟู่ผี ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยให้ช่ขี องกระเพาะอาหารและ
(เปลือกผลหมาก) เล็กน้อย ลําไส้หมุนเวียน ระบายของเสีย
ตกค้าง ขับนํา้ ลดบวม
苦桔梗 ขูเ่ จีย๋ เกิง ตัวยาช่วย ขม สุขมุ กระจายชี่ทป่ี อด ขับเสมหะ ระงับ
อมเผ็ด ไอมีเสมหะมาก แน่ นหน้าอก
อึดอัดคอบวมเจ็บ ขับฝี หนอง
และเสมหะในปอด
甘草 (炙) กันเฉ่ า (จื้อ) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ร่ างกาย ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน

ตํารับยานี้ประกอบด้วยฮัว่ เซียงเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลกระเพาะอาหาร ระงับ


อาเจียน ทําให้ช่สี ะอาดลอยขึ้นสู่ส่วนบนและขับของเสียลงสู่สว่ นล่างของร่างกาย ขจัดความร้อนชื้นจาก
หวัดแดด ขจัดของเสีย ตัวยาเสริม ได้แก่ จื่อซูและไป๋ จ่อื มีสรรพคุณช่วยเสริมฤทธิ์ของฮัว่ เซียงในการ
ขับลมเย็นและขจัดของเสียออกจากร่างกาย ปัน้ เซีย่ ชฺวแี ละเฉินผี (ชฺวไ่ี ป๋ ) ช่วยขจัดความชื้นและปรับ
สมดุลของกระเพาะอาหาร ลดการไหลย้อนของชี่ และระงับอาเจียน ตัวยาช่วย ได้แก่ ไป๋ จแู ๋ ละฝูหลิงมี
สรรพคุณช่วยให้กระเพาะอาหารและม้ามแข็งแรง ปรับสมดุลส่วนกลางของร่างกาย และบรรเทาอาการ
ท้องเสีย ต้าฟู่ผแี ละโฮ่วผอ (ชฺวช่ี ูผ,ี เจียงจือ่ เฉ่ า) ช่วยให้ช่ไี หลเวียนดีข้นึ สลายความชื้น และบรรเทาอาการ
อึดอัดแน่นท้อง ส่วนขูเ่ จีย๋ เกิงช่วยให้ช่ปี อดกระจายคล่อง กระบังลมทํางานดีข้นึ และช่วยสลายความชื้น
ภายใน ตัวยานําพา ได้แก่ กันเฉ่ า (จื้อ) และนํา้ กระสายยา (นํา้ ต้มเซิงเจียงและต้าเจ่า) มีสรรพคุณปรับ
สมดุลของม้ามและกระเพาะอาหาร และปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
398 ตํารับยาขับความชื้น

่ ยงเจิ้งชี่สา่ น (藿香正气散)
ตํารับยา ฮัวเซี

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ฮัว่ เซียง (藿香) ไป๋ จ่อื (白芷)

2 เซนติเมตร
จื่อซู (紫苏)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 399

2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ (半夏)
2 เซนติเมตร
เฉินผี (陈皮)

3 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓)
2 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术)

2 เซนติเมตร
ต้าฟู่ผี (大腹皮)

2 เซนติเมตร
โฮ่วผอ (厚朴)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ขูเ่ จีย๋ เกิง (苦桔梗) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
400 ตํารับยาขับความชื้น

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยานํา้ ยาลูกกลอน ยาแคปซูล4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยอินพร่องและมีความร้อนสู งสะสมอยู่ภายในร่างกาย และระมัดระวัง
การใช้ในผู ป้ ่ วยที่มอี าการคอแห้งและลิ้นมีฝ้าเหลืองเหนียว หากเตรียมเป็ นยาต้ม ไม่ควรต้มยานาน
เกินไป เพราะจะทําให้ฤทธิ์ยาลดลง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์เพิม่ ประสิทธิภาพการทํางานของกระเพาะอาหารและ
ลําไส้หนู ถบี จักร ควบคุมการบีบตัวของลําไส้เล็กและบรรเทาอาการท้องเสียในหนู ขาวและหนู ถบี จักร5,6
ระงับอาเจียนในนกพิราบ ระงับปวดและยับยัง้ การบีบตัวของมดลูกในหนู ถบี จักร และต้านเชื้อจุลนิ ทรีย ์
ในหลอดทดลอง4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณช่วยปรับสมรรถภาพการทํางานของกระเพาะอาหาร
และลําไส้ ระงับอาเจียน บรรเทาอาการท้องเสีย ขับเหงือ่ ลดไข้ ระงับปวด ต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
ขับเสมหะ ระงับไอ และขับปัสสาวะ1,3,4
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ให้ยาแคปซูลโดยเตรียมเป็ นสารละลายขนาด 25 มิลลิลติ ร/
กิโลกรัม ทางปากหนู ถบี จักร ซึง่ เทียบเท่า 583 เท่าของขนาดทีใ่ ช้ในคน วันละ 2 ครัง้ พบว่าหลังจากให้
ยา 7 วัน หนู ถบี จักรมีการเคลือ่ นไหวปกติ และไม่พบหนู ถบี จักรตัวใดตาย4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาฮัว่ เซียงเจิ้งชี่ส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Fan YP, Zhang Q, Zhao XX. Huo Xiang Zheng Qi Shui. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Lu Y, Li D, Tang F. Mechanism of huoxiang zhengqi extract for regulating the intestinal motility in rat model of
diarrhea-predominant irritable bowel syndrome. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2011; 31(7): 941-5.
6. Lu Y, Peng B, He R, Gao J, Yang H, Yi H, Li J. Comparative study on acute toxicity and pharmacological effect of
huoxiang zhengqi microemulsion and huoxiang zhengqi tincture. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2010; 35(15): 2004-7.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 401

อินเฉิ นเฮาทัง (茵陈蒿汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ประกอบด้วย
茵陈 Herba Artemisiae Capillaris อินเฉิน 30 กรัม
栀子 Fructus Gardeniae จือจื่อ 15 กรัม
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 9 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อน ระบายความชื้น ลดอาการตัวเหลือง1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการดีซ่านเนื่องจากความชื้น โดยมีอาการตัวเหลืองหน้าเหลืองสดเด่นชัด ทอ้ งบวม
เล็กน้อย คอแห้ง ปัสสาวะไม่คล่อง ลิ้นมีฝ้าเหลืองเหนียว ชีพจรเร็ว จม1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการของดีซ่านที่เกิดจาก
ร้อนชื้น เช่น โรคตับอักเสบเฉียบพลันชนิดติดต่อ ถุงนํา้ ดีอกั เสบ นิ่วในถุงนํา้ ดี และตับอ่อนอักเสบชนิด
เฉียบพลัน1,3
402 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยา อินเฉิ นเฮาทัง (茵陈蒿汤)

2 เซนติเมตร
อินเฉิน (茵陈) 2 เซนติเมตร
จือจื่อ (栀子)

2 เซนติเมตร
ต้าหวง (大黄)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 403

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
茵陈 อินเฉิน ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายความร้อนชื้น ลดการอุดตัน
เล็กน้อย ของถุงนํา้ ดี บรรเทาอาการดีซ่าน
栀子 จือจื่อ ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อน ขับความชื้น
(ลูกพุด) ทําให้เลือดเย็นลง บรรเทาอาการ
กระวนกระวายจากความร้อนสูง
แก้พษิ ลดบวม ระงับปวด
大黄 ต้าหวง ตัวยาช่วย ขม เย็น ขับถ่ายของเสียตกค้าง สลาย
(โกฐนํา้ เต้า) ก้อน ระบายความร้อน ห้ามเลือด
ขจัดพิษ ช่วยให้เลือดมีการ
ไหลเวียนดีข้นึ
ตํารับยานี้ประกอบด้วยอินเฉิ นเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความร้อนชื้น ลดอาการ
ตัวเหลือง จือจื่อเป็ นตัวยาเสริม มีสรรพคุณระบายความร้อนชื้นในระบบซานเจียว ช่วยนําพาความร้อน
ชื้นลงสู่ส่วนล่างของร่างกาย และขับออกทางปัสสาวะ ต้าหวงเป็ นตัวยาช่วย มีสรรพคุณระบายความร้อน
สลายการคัง่ ช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระดีข้นึ 1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการตัวเหลืองซีดจากตับอักเสบเรื้อรัง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ปกป้ องตับในหนู ขาวและหนู ถบี จักร1,4-8 ขับนํา้ ดี
ขับนิ่วในหนู ขาว ปกป้ องตับในหนู ขาวและหนู ถบี จักร ลดไขมันในเลือดหนู ถบี จักร1,4 ลดนํา้ ตาลในเลือด
หนู ถบี จักร9 และต้านเชื้อไวรัสเริมในหลอดทดลอง10
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณบรรเทาอาการถุงนํา้ ดีอกั เสบ นิ่วในถุงนํา้ ดี ดีซ่าน
และตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน ช่วยให้การขับปัสสาวะดีข้นึ ต้านเชื้อไวรัส และห้ามเลือด1,3,4
404 ตํารับยาขับความชื้น

เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาอินเฉินเฮาทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Fan YP, Zhang Q, Wang XD. Yin Chen Hao Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Sun MY, Wang L, Mu YP, Liu C, Bian YQ, Wang XN, Liu P. Effects of Chinese herbal medicine Yinchenhao
Decoction on expressions of apoptosis-related genes in dimethylnitrosamine- or carbon tetrachloride-induced liver
cirrhosis in rats. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2011; 9(4): 423-34.
6. Cao HX, Sun H, Jiang XG, Lu HT, Zhang GM, Wang XJ, Sun WJ, Wu ZM, Wang P, Liu L, Zhou J. Comparative
study on the protective effects of Yinchenhao Decoction against liver injury induced by alpha-naphthylisothiocyanate
and carbon tetrachloride. Chin J Integr Med 2009; 15(3): 204-9.
7. Liu C, Sun M, Wang L, Wang G, Chen G, Liu C, Liu P. Effects of Yinchenhao Tang and related decoctions on DMN-
induced cirrhosis/fibrosis in rats. Chin Med 2008; 3: 1.
8. Chen SD, Fan Y, Xu WJ. Effects of yinchenhao decoction (see text) for non-alcoholic steatohepatitis in rats and study
of the mechanism. J Tradit Chin Med 2011; 31(3): 220-3.
9. Pan J, Han C, Liu H, Du J, Li A. Effects of yinchenhao decoction on normal animals and animal models of diabetes
mellitus. Zhong Yao Cai 2001; 24(2): 128-31.
10. Cheng HY, Lin LT, Huang HH, Yang CM, Lin CC. Yin Chen Hao Tang, a Chinese prescription, inhibits both herpes
simplex virus type-1 and type-2 infections in vitro. Antiviral Res 2008, 77(1): 14-9.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 405

ปาเจิ้งส่าน (八正散)
ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จห
ฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
Dispensary)1
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈师文 เฉินซือเหวิน) »2
ส่วนประกอบ
木通 Caulis Akebiae มูท่ ง* 500 กรัม
瞿麦 Herba Dianthi ฉฺวไี ม่ 500 กรัม
车前子 Semen Plantaginis เชอเฉียนจื่อ 500 กรัม
萹蓄 Herba Polygoni Avicularis เปี่ ยนชฺว่ี 500 กรัม
滑石 Talcum หฺวาสือ 500 กรัม
大黄 (面裹煨, Radix et Rhizoma Rhei (coated ต้าหวง (เมีย่ น 500 กรัม
去面切, 焙) with flour paste and then roasted, กว่อเว่ย,์ ชฺว่ี
sliced after removal of the coat and เมีย่ นเชฺวย่ี ,
then baked) เป้ ย)์
山栀子仁 Fructus Gardeniae ซานจือจื่อเหริน 500 กรัม
灯芯 Medulla Junci เติงซิน 3 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 500 กรัม
วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดยกเว้นเติงซินมาบดเป็ นผง รับประทานครัง้ ละ 6-9 กรัม โดยใช้นาํ้ ต้มเติงซินใน
นํา้ ประมาณ 1 แก้ว เป็ นนํา้ กระสายยา หรือเตรียมเป็ นยาต้ม โดยปรับลดนํา้ หนักยาจากตํารับยาข้างต้น
ลง 30 เท่า ยกเว้นเติงซินใช้นาํ้ หนัก 3 กรัมเท่าเดิม1,3
การออกฤทธิ์
ขับและระบายความร้อน ขับปัสสาวะ1,3
* นิยมใช้ชวนมูท่ งแทนมูท่ ง
406 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยา ปาเจิ้งส่าน (八正散)

2 เซนติเมตร
ชวนมูท่ ง (川木通) 2 เซนติเมตร
ฉฺวไี ม่ (瞿麦)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เชอเฉียนจื่อ (车前子) หฺวาสือ (滑石)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 407

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เติงซิน (灯芯)
เปี่ ยนชฺว่ี (萹蓄)

2 เซนติเมตร
ต้าหวง (เมีย่ นกว่อเว่ย,์ ชฺวเ่ี มีย่ นเชฺวย่ี , เป้ ย)์
[大黄 (面裹煨,去面切,焙)]

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ซานจือจื่อเหริน (山栀子仁) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]

สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการที่ปสั สาวะขัด ปวดแสบที่มสี าเหตุจากความร้อนชื้น โดยมีอาการปวดแน่ น
บริเวณท้องน้อย ปัสสาวะขุน่ มีสเี ข้มถึงสีแดง ปัสสาวะบ่อย กลัน้ ปัสสาวะไม่ได้ หากมีอาการรุนแรงอาจ
ถึงขัน้ ปัสสาวะไม่ออก มักมีอาการปากคอแห้งร่วมด้วย ลิ้นแดง มีฝ้าเหลือง ชีพจรลืน่ แกร่ง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะทีเ่ กิด
จากความร้อนชื้น เช่น ทางเดินปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ นิ่ว
ในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ1,3
408 ตํารับยาขับความชื้น

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
木通 มูท
่ง ตัวยาหลัก ขม เย็น ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว ช่วยให้
เลือดไหลเวียนดี ขับนํา้ นม
瞿麦 ฉฺวไี ม่ ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายความร้อนของระบบ
หัวใจและลําไส้เล็ก ดึง
ความร้อนลงสูส่ ว่ นล่างของ
ร่างกายและขับออกทาง
ปัสสาวะ ทะลวงจิงลัว่ ทําให้
เลือดไหลเวียน
车前子 เชอเฉียนจื่อ ตัวยาหลัก หวาน เย็น ขับปัสสาวะ ระบายความชื้น
ระงับอาการท้องเสีย ระบาย
ความร้อนของตับและปอด
ละลายเสมหะ ช่วยให้การมอง
เห็นดีข้นึ
萹蓄 เปี่ ยนชฺว่ี ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายความชื้นและความร้อน
เล็กน้อย บริเวณส่วนล่างของร่างกาย
ขับปัสสาวะ ถ่ายพยาธิ บรรเทา
อาการผืน่ คันจากความชื้น
滑石 หฺวาสือ ตัวยาหลัก จืด เย็น ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ ขับความ-
(หินลืน่ ) อมหวาน ร้อน ขับความชื้น ขับฝี หนอง
大黄 (面裹煨, 去面 ตัวยาเสริม ขม เย็น ขับถ่ายของเสียตกค้าง
切, 焙) ต้าหวง (เมีย ่น สลายก้อน ระบายความร้อน
กว่อเว่ย,์ ชฺวเ่ี มีย่ นเชฺวย่ี , ห้ามเลือด ขจัดพิษ ช่วยให้
เป้ ย)์ (โกฐนํา้ เต้าปิ้ ง) เลือดมีการไหลเวียนดีข้นึ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 409

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


山栀子仁 ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อนชื้น ทําให้
ซานจือจื่อเหริน เลือดเย็นลง บรรเทาอาการ
(เนื้อในเมล็ดลูกพุด) อักเสบ ขับพิษ
灯芯 เติงซิน ตัวยาช่วย จืด เย็น ขับปัสสาวะ ระบายความร้อน
อมหวาน เล็กน้อย ทีห่ วั ใจ ลดอาการหงุดหงิด
ช่วยให้นอนหลับ
甘草 (炙) ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
กันเฉ่ า (จื้อ) และนําพา ร่างกาย บรรเทาอาการปวด
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน
ตํา รับ ยานี้ ป ระกอบด้ว ยมู่ท ง ฉฺ วีไ ม่ เชอเฉี ย นจื่อ เปี่ ย นชฺ ว่ี และหฺ ว าสือ เป็ น ตัว ยาหลัก มี
สรรพคุณขับปัสสาวะและระบายความชื้น ตัวยาเสริมคือ ต้าหวง (เมีย่ นกว่อเว่ย,์ ชฺว่เี มีย่ นเชวี่ย, เป้ ย)์
เมื่อ ใช้ร่วมกับมู่ท งจะช่ว ยขับของเสีย ตกค้าง ขับปัส สาวะและระบายความร้อน ตัว ยาช่ว ย ได้แ ก่
ซานจือจื่อเหริน ช่วยระบายความร้อนชื้นในซานเจียว เติงซินช่วยนําความร้อนลงสู่ส่วนล่างของร่างกาย
กัน เฉ่ า (จื้อ ) มีส รรพคุ ณ บรรเทาปวดและปรับ ประสานตัว ยาในตํารับให้เ ข้ากัน ช่ ว ยป้ องกัน ไม่ใ ห้
คุณสมบัตเิ ย็นของตัวยาอืน่ ในตํารับทําลายกระเพาะอาหาร1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง ยาต้ม5
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั สตรีมคี รรภ์ หรือผู ป้ ่ วยที่ร่างกายอ่อนแอ ควรระวังการใช้กบั ผูป้ ่ วยที่มี
อาการปัสสาวะขุน่ สีขาวเหมือนนมเจือนํา้ มัน และชี่ตดิ ขัด1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ตา้ นเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดในหลอดทดลอง ป้ องกัน
การรวมตัวของผลึกแคลเซียมออกซาเลตในหลอดทดลอง ลดความหนืดของเลือดหนู ขาว5 และขับปัสสาวะ
ในกระต่าย6
410 ตํารับยาขับความชื้น

การศึกษาทางคลินิก: ยาผงมีสรรพคุณบรรเทาอาการทางเดินปัสสาวะอักเสบเฉียบพลันและ
เรื้อรัง ขับนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ รักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ กรวยไตอักเสบเรื้อรัง
บรรเทาอาการปวดตามข้อ และลดไข้5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาปาเจิ้งส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
4. Ou M. Chinese-English Manual of Common-Used Prescriptions in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Guangzhou:
Guangdong Science & Technology Publishing House, 1991.
5. Fan YP, Zhang Q, Wang XD, Wang X. Bazheng San. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
6. Wu J, Yang YJ, Cao F. Effects of bazheng mixture on urinary amount and contractile-relaxant function of isolated
urethral smooth muscle in rabbits]. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2002; 22(4): 289-91.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 411

อูห่ ลิงส่าน (五苓散)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน
่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
泽泻 Rhizoma Alismatis เจ๋อเซีย่ 15 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 9 กรัม
桂枝 Ramulus Cinnamomi กุย้ จือ 6 กรัม
猪苓 Polyporus จูหลิง 9 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 9 กรัม

วิธีใช้
นํายาทัง้ หมดมาบดเป็ นผง ละลายนํา้ รับประทานครัง้ ละ 3-6 กรัม หรือต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขับปัสสาวะ ระบายความชื้น ให้ความอบอุ่น ทําให้ช่ไี หลเวียน1,3
สรรพคุณ
รักษาภาวะความชื้นของนํา้ ตกค้างอยู่ภายใน โดยมีอาการดังนี้ ปวดศีรษะ ตัวร้อน คอแห้ง
กระหายนํา้ แต่เมือ่ ดืม่ นํา้ แล ้วจะมีอาการคลืน่ ไส้อาเจียน ปัสสาวะขัด ลิ้นมีฝ้าขาวลืน่ หรือขาวหนา ชีพจร
ลอย บวมนํา้ ถ่ายเหลว หรือมีเสมหะเหลวตกค้าง วิงเวียนหรือมึนศีรษะ ท้องน้อยมีอาการเต้นตุบ๊ ๆ1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคกระเพาะและลําไส้อกั เสบ
เฉียบพลัน มีอาการคลืน่ ไส้อาเจียนเป็ นเวลาประจํา โรคอหิวาต์เทียม ลมพิษทีม่ สี าเหตุจากความเย็น โรคไต
อักเสบเฉียบพลันระยะแรก ถุงอัณฑะบวมนํา้ มีปสั สาวะตกค้างจากความชื้น และนํา้ ตกค้างอยู่ภายใน1,3
412 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยา อูห่ ลิงส่าน (五苓散)

3 เซนติเมตร
เจ๋อเซีย่ (泽泻)
2 เซนติเมตร
กุย้ จือ (桂枝)

ฝูหลิง (茯苓) 3 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร

จูหลิง (猪苓)
2 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 413

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
泽泻 เจ๋อเซีย
่ ตัวยาหลัก หวานจืด เย็น ระบายความชื้นและนํา้ ระบาย
ความร้อน
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาเสริม หวาน กลาง ระบายความชื้นและนํา้ เสริมม้าม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ให้แข็งแรง ทําให้จติ ใจสงบ
猪苓 จูหลิง ตัวยาเสริม หวานจืด กลาง ระบายความชื้นและนํา้ แก้ถ่าย
เหลว ช่วยให้ปสั สาวะคล่อง แก้
ปัสสาวะขุน่ ลดอาการตัวบวม
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาเสริม ขม อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง แก้
อมหวาน ความชื้น ระบายนํา้ ระงับเหงือ่
กล่อมครรภ์
桂枝 กุย้ จือ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ กระจายชี่ และเลือด ขับ
(กิ่งอบเชยจีน) อมหวาน กระจายความเย็นออกจากร่างกาย
และอุ่นหยางชี่ให้มกี ารไหลเวียนดี
ขึ้น
ตํารับยานี้เน้นใช้เจ๋อเซีย่ ซึง่ มีรสหวานจืดและมีคุณสมบัตเิ ย็นเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบาย
ความชื้นออกทางปัสสาวะ ตัวยาเสริม ได้แก่ ฝูหลิงและจูหลิงมีสรรพคุณระบายความชื้น ช่วยเพิม่ ฤทธิ์
ระบายของเสียและขับปัสสาวะ ไป๋ จูเ๋ สริมม้ามให้แข็งแรงและระบายนํา้ กุย้ จือเป็ นตัวยาช่วย ช่ วยขับ
กระจายความเย็นออกจากร่างกายและอุ่นหยางชี่ให้มกี ารไหลเวียนดี1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาเม็ด ยาผง ยาต้ม5
ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยาอู่หลิงส่านมีสรรพคุณช่วยระบายนํา้ ให้ซมึ ออก หากชี่ของม้ามพร่องอ่อนแอ การขับเคลือ่ น
ของชี่ในไตไม่เพียงพอ ควรใช้คู่กบั ตัวยาทีม่ สี รรพคุณเสริมชี่บาํ รุงม้าม และเนื่องจากตํารับยานี้มสี รรพคุณ
เน้นไปทางระบายนํา้ ออก จึงไม่ควรใช้ตดิ ต่อกันเป็ นระยะเวลานาน1,3
414 ตํารับยาขับความชื้น

ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยาอู่หลิงส่านกับผูป้ ่ วยที่อนิ พร่อง ปัสสาวะขัด1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาอูห่ ลิงส่าน มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: สารสกัด 50% แอลกอฮอล์มฤี ทธิ์ขบั ปัสสาวะในหนู ถบี จักรและหนู
ขาว ผงยามีฤทธิ์ปกป้ องและเพิม่ ประสิทธิภาพการทํางานของไต สารสกัดนํา้ มีฤทธิ์ปกป้ องตับจากการถูก
ทําลายด้วยแอลกอฮอล์ในหนู ถบี จักร5 ผงยามีฤทธิ์ลดนํา้ ตาลในเลือดหนู ขาวทีช่ กั นําให้เป็ นเบาหวาน6
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาอู่หลิงส่านมีสรรพคุณกระตุน้ การไหลเวียนของเลือดและช่วยให้
ปัสสาวะคล่อง1,3 บรรเทาอาการไตอักเสบ ลดอาการบวมนํา้ บรรเทาอาการปวดท้อง และถ่ายเหลว5 ทําให้
อาสาสมัครสุขภาพดีมปี ริมาตรปัสสาวะเพิม่ ขึ้นร้อยละ 112 โดยไม่มอี าการข้างเคียงใด ๆ7
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาอู่หลิงส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพร
จีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2549.
4. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
5. Fan YP, Zhang Q, Zhao XX, Wang XD. Wuling san. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in
traditional Chinese medicine. Vol.2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
6. Liu IM, Tzeng TF, Liou SS, Chang CJ. The amelioration of streptozotocin diabetes-induced renal damage by Wu-
Ling-San (Hoelen Five Herb Formula), a traditional Chinese prescription. J Ethnopharmacol 2009; 124(2): 211-8.
7. Chen JK, Chen TT. Chinese Herbal Formulas and Applications. CA: Art of Medicine Press, 2008.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 415

จูหลิงทัง (猪苓汤)
ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน
่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
猪苓 Polyporus Umbellatus จูหลิง 9 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 9 กรัม
泽泻 Rhizoma Alismatis เจ๋อเซีย่ 9 กรัม
阿胶 Colla Corii Asini อาเจียว 9 กรัม
滑石 Talcum หฺวาสือ 9 กรัม
วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาต้มเอานํา้ ดื่ม ยกเวน้ อาเจียวให้ชงละลายในนํา้ ยาที่ตม้ แลว้ แบ่งดื่ม 2 ครัง้
ดืม่ ขณะอุ่น ๆ1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อน ขับปัสสาวะ เสริมอิน ห้ามเลือด1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการที่มคี วามร้อนชื้นในร่างกายจนมีผลต่ออิน โดยมีอาการปัสสาวะขัดและปวด
หรือ ปัสสาวะมีเลือดปน ถ่ายเป็ นนํา้ ปวดแน่นท้องน้อย กระวนกระวายนอนไม่หลับ กระหายนํา้ อยาก
ดืม่ นํา้ และมีอาการไอ1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคกระเพาะอาหารและลําไส้
อักเสบ ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะชนิดไม่รุนแรง นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบจากร้อนชื้น
กระทบอิน ซึง่ โรคเหล่านี้จดั อยู่ในกลุม่ อาการร้อนชื้นจะส่งผลต่ออิน1,3
416 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยา จูหลิงทัง (猪苓汤)

2 เซนติเมตร
อาเจียว (阿胶)
2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓)
จูหลิง (猪苓)

2 เซนติเมตร
เจ๋อเซีย่ (泽泻) 2 เซนติเมตร
หฺวาสือ (滑石)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 417

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
猪苓 จูหลิง ตัวยาหลัก จืด สุขมุ ระบายความชื้นและนํา้ ลด
อมหวาน อาการถ่ายเหลว ช่วยให้
ปัสสาวะคล่อง บรรเทาอาการ
ปัสสาวะขุน่ ลดบวม
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาหลัก หวาน สุขมุ ระบายนํา้ สลายความชื้น
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย เสริมบํารุงม้าม สงบจิตใจ
泽泻 เจ๋อเซีย ่ ตัวยาเสริม จืด เย็น ขับปัสสาวะ ขับความชื้น
อมหวาน ระบายความร้อน
阿胶 อาเจียว ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ บํารุงเลือด ห้ามเลือด เสริม
(กาวหนังลา) บํารุงอิน บํารุงปอดให้ช่มุ ชื้น
滑石 หฺวาสือ ตัวยาช่วย จืด เย็น ขับนิ่ว ขับปัสสาวะ ขับความ-
(หินลืน่ ) อมหวาน ร้อน ขับความชื้น ขับฝี หนอง
ตํารับยานี้ประกอบด้วยจูหลิงและฝู หลิงเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความชื้นออกทาง
ปัสสาวะ เสริมม้ามให้แข็งแรง ตัวยาเสริมคือ เจ๋อเซีย่ มีสรรพคุณขับปัสสาวะ เมือ่ ใช้ร่วมกับจูหลิงและฝูหลิง
จะเพิม่ ฤทธิ์ขบั ปัสสาวะและระบายของเสีย ตัวยาช่วย ได้แก่ อาเจียว มีสรรพคุณเสริมบํารุงอิน บํารุงเลือด
และห้ามเลือด หฺวาสือมีสรรพคุณระบายความร้อน บรรเทาอาการปัสสาวะขัด และขับนิ่ว1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม5
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ระวังการใช้ตาํ รับยานี้กบั ผู ป้ ่ วยที่มคี วามร้อนสะสมในร่ างกาย และมีเหงื่อออกมากจนอินถูก
ทําลายอย่างรุนแรง1,3,4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: การศึกษาในหนู ขาวพบว่า ยาต้มมีฤทธิ์ขบั ปัสสาวะ ช่วยให้การทํางาน
ของไตทีผ่ ดิ ปกติชนิดเรื้อรังดีข้นึ ขับนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และยับยัง้ การเจริญของเนื้องอก5
418 ตํารับยาขับความชื้น

การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ บรรเทา


อาการปัสสาวะขัด ขับนิ่ว กระเพาะปัสสาวะอักเสบชนิดเฉียบพลัน ปัสสาวะมีเลือดปน โรคข้ออักเสบที่มี
อาการปากแห้ง ตาแห้ง และโรคตับแข็งทีม่ อี าการท้องบวมนํา้ 5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาจูหลิงทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี:
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
4. Zhou YF. Science of Prescriptions. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional Chinese
Medicine, 2002.
5. Fan SP, Zhang Q. Zhuling Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 419

อูผ่ ีสา่ น (五皮散)


ตําราต้นตํารับ
华氏中藏经 หัวซือ่ จงจ้างจิง (Huatuo’s Treatise on Viscera)1
« ค.ศ. 1322 Zhao Zi’ang (赵子昂 จ้าวจื่ออ๋าง) »2
ส่วนประกอบ
茯苓皮 Cortex Poria ฝูหลิงผี 9 กรัม
生姜皮 Cortex Zingiberis เซิงเจียงผี 9 กรัม
桑白皮 Cortex Mori Radicis ซังไป๋ ผี 9 กรัม
大腹皮 Pericarpium Arecae ต้าฟู่ผี 9 กรัม
陈橘皮 Pericarpium Citri Reticulatae เฉินจฺหวีผี 9 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความชื้น ลดอาการบวมนํา้ ปรับชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการบวมนํา้ ใต้ผวิ หนังที่มสี าเหตุจากมา้ มพร่อง เกิดความชื้นสะสมมาก มีอาการ
บวมทัง้ ตัว ลําตัวรูส้ กึ หนักหน่วง อืดแน่นท้องและทรวงอก ชี่ยอ้ นขึ้นทําให้เหนื่อยหอบหายใจถี่ ปัสสาวะ
ไม่คล่อง และใช้กบั สตรีมคี รรภ์ทม่ี อี าการบวมนํา้ ลิ้นมีฝ้าขาวเหนียว ชีพจรจม เต้นค่อนข้างช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการบวมนํา้ เฉียบพลัน
สตรีมคี รรภ์ท่มี อี าการบวมนํา้ ไตอักเสบเฉียบพลันระยะแรกร่วมกับบวมนํา้ โดยมีสาเหตุจากม้ามพร่อง
เกิดความชื้นสะสมมาก ทําให้บวมนํา้ ใต้ผวิ หนัง1,3
420 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยา อูผ่ ีสา่ น (五皮散)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร


ฝูหลิงผี (茯苓皮) เซิงเจียงผี (生姜皮) ซังไป๋ ผี (桑白皮)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ต้าฟู่ผี (大腹皮) เฉินจฺหวีผี (陈橘皮)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 421

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
茯苓皮 ฝูหลิงผี ตัวยาหลัก อมหวาน สุขมุ ขับนํา้ ลดบวม
(เปลือกโป่ งรากสน)
生姜皮 เซิงเจียงผี ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการบวมนํา้ ปรับ
(ผิวขิงแก่สด) เล็กน้อย สมดุลของนํา้ ช่วยให้การ
ไหลเวียนของนํา้ ในร่างกาย
สะดวกขึ้น
桑白皮 ซังไป๋ ผี ตัวยาหลัก อมหวาน เย็น ระบายความร้อนของปอด
(เปลือกรากหม่อน) บรรเทาอาการหอบ ระบายนํา้
ลดบวม
大腹皮 ต้าฟู่ผี ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ช่วยให้ช่ขี องกระเพาะอาหาร
(เปลือกผลหมาก) เล็กน้อย และลําไส้ไหลเวียน ระบาย
ของเสียตกค้าง ขับนํา้ ลดบวม
陈橘皮 เฉินจฺหวีผี ตัวยาหลัก เผ็ดขม อุ่น ขับลมและระบายของเสีย
ตกค้าง ปรับกระเพาะอาหาร
และบรรเทาอาการคลืน่ ไส้
อาเจียน
ตํารับยานี้ประกอบด้วย ฝูหลิงผีมสี รรพคุณขับนํา้ ระบายความชื้น และเสริมบํารุงม้าม ทําให้
ม้ามทําหน้าทีล่ าํ เลียงนํา้ ได้ดขี ้นึ เซิงเจียงผีรสเผ็ด มีสรรพคุณขับกระจายนํา้ ซังไป๋ ผชี ่วยปรับชี่ของปอด
ลงเบื้องล่าง ทําให้การไหลเวียนของนํา้ ดีข้ นึ ต้าฟู่ผมี สี รรพคุณช่วยให้ช่ีของกระเพาะอาหารและลําไส้
ไหลเวียน และขับนํา้ เฉินจฺหวีผชี ่วยให้ช่ขี องกระเพาะอาหารไหลเวียน และสลายความชื้น เมือ่ ใช้ตวั ยา
ทัง้ ห้าร่วมกันมีสรรพคุณช่วยให้ปสั สาวะคล่อง และลดอาการบวม1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม5
422 ตํารับยาขับความชื้น

ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
การใช้ตาํ รับยานี้ในผูป้ ่ วยที่มา้ มพร่องและบวมนํา้ มาก หรือผูป้ ่ วยที่บวมนํา้ และมีลมภายนอก
ร่วมด้วย ต้องปรับปริมาณของยาให้เหมาะสมกับสาเหตุของโรค1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ขบั ปัสสาวะ รักษาอาการไตอักเสบเฉี ยบพลัน ช่วย
ขับเหงือ่ ลดความดันโลหิตจากไตอักเสบเฉียบพลัน ปรับการเคลือ่ นไหวของลําไส้ และช่วยกระตุน้ ให้การ
หลังสารในระบบการย่
่ อยอาหารดีข้นึ 1,3,5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Chuan WK, Li JW, Lin ZG. A General History of Chinese Medicine. 1st ed. Beijing: People’s Medical Publishing
House, 1999.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาอู่ผสี ่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี:
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
4. Ou M. Chinese-English Manual of Common-Used Prescriptions in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Guangzhou:
Guangdong Science & Technology Publishing House, 1991.
5. Fan YP, Zhang Q, Wang X. Wupi San. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 423

หลิงกุย้ จูก๋ นั ทัง (苓桂术甘汤)


ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
茯苓 Poria ฝูหลิง 12 กรัม
桂枝 Ramulus Cinnamoni กุย้ จือ 9 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephalae ไป๋ จู ๋ 6 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 6 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
เสริมบํารุงม้าม ระบายความชื้น อุ่นสลายเสมหะและของเหลวทีค่ งั ่ อยู่ภายใน1,3
สรรพคุณ
รักษาผูป้ ่ วยที่มเี สมหะและของเหลวตกค้างที่เกิดจากหยางพร่อง โดยมีอาการแน่นบริเวณทรวง
อกและชายโครง ใจสัน่ วิงเวียนศีรษะ ไอจนอาเจียน เสมหะใส ลิ้นมีฝ้าขาวลืน่ ชีพจรตึง ลืน่ 1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ เี สมหะทีเ่ กิดจากหยางพร่อง
ซึ่งพบในกรณีที่การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัตผิ ดิ ปกติ ปวดศีรษะขา้ งเดีย ว มีเสีย งในหู
วิงเวียนศีรษะ ความดันเลือดตํา่ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง1,3
424 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยา หลิงกุย้ จูก๋ นั ทัง (苓桂术甘汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓) กุย้ จือ (桂枝)

2 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术) 2 เซนติเมตร กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 425

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาหลัก จืด สุขมุ ระบายความชื้นและนํา้ เสริม
(โป่ งรากสน) อมหวาน ม้ามให้แข็งแรง ช่วยให้จติ ใจ
สงบ
桂枝 กุย้ จือ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ผ่อนคลายกล ้ามเนื้อ
(กิ่งอบเชยจีน) อมหวาน ให้ความอบอุ่น ช่วยให้ช่มี กี าร
ไหลเวียนดีข้นึ
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาช่วย ขม อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง
อมหวาน ขจัดความชื้น ระบายนํา้
ระงับเหงือ่ กล่อมครรภ์
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
กันเฉ่ า (จื้อ) อาหาร ระบายความร้อน
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ขับพิษ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ ฝูหลิง มีสรรพคุณบํารุงม้าม ระบายความชื้น ขับเสมหะ
และสลายของเหลวที่คงั ่ ตัวยาเสริมคือ กุย้ จือมีคุณสมบัติอุ่น ช่วยเพิ่มหยางชี่ สลายของเหลวที่คงั ่
ลดชี่ท่ไี หลย้อน เมือ่ ใช้ร่วมกับฝูหลิงซึง่ มีฤทธิ์ระบายนํา้ จะช่วยสลายความชื้น ทําให้การไหลเวียนของชี่
ดีข้นึ ละลายเสมหะและของเหลวที่คงั ่ ค้างอยู่ ไป๋ จูเ๋ ป็ นตัวยาช่ ว ย มีส รรพคุณบํารุง มา้ มให้แ ข็ง แรง
ขจัดความชื้น ช่วยปรับเปลีย่ นการลําเลียงของม้ามให้ดขี ้นึ กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา ช่วยเสริมชี่และ
ปรับสมดุลของจงเจียว1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้มฤี ทธิ์อ่นุ แห้ง มีผลทําลายสารนํา้ ของร่างกาย จึงห้ามใช้ในผูป้ ่ วยทีอ่ นิ พร่อง ขาดสาร
1,3
นํา้
426 ตํารับยาขับความชื้น

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ป้องกันกลา้ มเนื้อหัวใจขาดเลือดในหนู ถบี จักรและหนู
ขาว ทําให้การเต้นของหัวใจกระต่ายเป็ นปกติ ช่วยสงบจิตใจและทําให้หนู ถบี จักรและหนู ขาวนอนหลับ
ได้นานขึ้น ยับยัง้ การหดตัวของมดลูกทีแ่ ยกจากกายหนู ขาว4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณช่วยให้การทํางานของหัวใจเป็ นปกติ ระงับไอ
บรรเทาอาการหอบหืด รักษาโรคเยื่อหุม้ ปอดอักเสบ และโรคไตอักเสบเรื้อรัง กระตุน้ ระบบการย่อยและ
ดูดซึมอาหาร ช่วยกระตุน้ การไหลเวียนของชี่ กําจัดนํา้ ส่วนเกินออกไป1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาหลิงกุย้ จูก๋ นั ทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Fan YP, Zhang Q, Wang XD. Ling Gui Zhu Gan Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in
Traditional Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 427

เจินอูท่ งั (真武汤)
ตําราต้นตํารับ
伤寒论 ซางหานลุน่ (Treatise on Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
附子 Radix Aconiti Praeparata ฟู่จ่อื 9 กรัม
(炮去皮) (roasted and peel-removed) (เผ้าชฺวผ่ี )ี
茯苓 Poria ฝูหลิง 9 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis ไป๋ จู ๋ 6 กรัม
Macrocephalae
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 9 กรัม
芍药 Radix Paeoniae เสาเย่า 9 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
อุ่นหยาง และระบายนํา้ 1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการที่หยางของม้ามและไตอ่อนแอมาก ทําให้เกิดนํา้ สะสม โดยมีอาการปัสสาวะไม่
คล่อง แขนขาปวดหนักหน่วง ปวดท้องถ่ายเหลวเป็ นนํา้ หรือตัวบวม ไม่กระหายนํา้ ลิ้นมีฝ้าขาว ชีพจร
จม1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคไต บวมนํา้ จากโปรตีนตํา่
บวมนํา้ จากโรคหัว ใจ ไตอัก เสบเรื้อ รัง ภาวะการทํา งานของต่ อ มไทรอยด์แ ละต่ อ มใต้ส มองลดลง
กระเพาะอาหารและลําไส้อกั เสบเรื้อรังทีม่ อี าการบวมนํา้ เนื่องจากหยางพร่อง1,3
428 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยา เจินอูท่ งั (真武汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร

ฟู่จ่อื (เผ้าชฺวผ่ี )ี [附子(炮去皮)] ฝูหลิง (茯苓) เซิงเจียง (生姜)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术) เสาเย่า (芍药)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 429

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
附子 (炮去皮) ตัวยาหลัก เผ็ด ร้อน ดึงพลังหยางทีส่ ูญเสียไปให้
ฟู่จ่อื (เผ้าชฺวผ่ี )ี (มีพษิ )* กลับคืนมา เสริมหยาง บํารุงธาตุ
ไฟ สลายความเย็น ระงับปวด
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาเสริม จืด สุขมุ ขับนํา้ สลายความชื้น บํารุง
(โป่ งรากสน) อมหวาน ม้าม สงบจิตใจ
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาช่วย ขม อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามให้แข็งแรง
อมหวาน ขจัดความชื้น ระบายนํา้
ระงับเหงือ่
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ให้ความอบอุ่นแก่
(ขิงแก่สด) กระเพาะอาหาร บรรเทาอาการ
คลืน่ ไส้ ช่วยให้ปอดอบอุ่น
ระงับไอ
芍药 เสาเย่า ตัวยานําพา ขมเปรี้ยว เย็น เสริมอินของเลือด ปรับ
อมหวาน เล็กน้อย ประจําเดือน ปรับสมดุลชี่ของ
ตับ ระงับปวด เก็บกักอินชี่
ระงับเหงือ่
ตํารับยานี้ประกอบด้วยฟู่จ่อื (เผ้าชฺวผ่ี )ี เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณช่วยอุ่นหยางชี่ของไต ทําให้
ไตมีแรงขับนํา้ จึงมีผลทําให้หยางของม้ามดีข้นึ ฝูหลิงเป็ นตัวยาเสริม มีสรรพคุณช่วยเสริมม้าม สลาย
ความชื้น และระบายนํา้ ตัวยาช่วย ได้แก่ ไป๋ จูช๋ ่วยให้ม ้ามทํางานดีข้นึ และขจัดความชื้น เซิงเจียงช่วยอุ่น
หยาง ขับกระจายความเย็นและนํา้ เสาเย่าเป็ นตัวยานําพา ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4

* ฟู่จอ่ื เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


430 ตํารับยาขับความชื้น

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: จากการศึกษาในหนู ขาว พบว่ายาต้มช่วยให้การทํางานของไตดีข้นึ 4
การศึกษาทางคลินิก: ยาต้มมีสรรพคุณรักษากลุม่ อาการทีห่ ยางของม้ามและไตอ่อนแอมาก ทําให้
เกิดการสะสมของนํา้ มีอาการปัสสาวะไม่คล่อง รักษาอาการไตอักเสบเรื้อรัง ช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็ น
ปกติ ปรับภาวะความเลือดทีส่ ูงหรือตํา่ เรื้อรังให้เป็ นปกติ ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจทํางานดีข้นึ บรรเทา
อาการหวัด ไอหอบ วิงเวียนศีรษะ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาเจินอู่ทงั . [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานขอ้ มูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2550.
4. Zhang Q, Fan YP. Zhenwu Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 431

เชียงหัวเซิ่งซือทัง (羌活胜湿汤)
ตําราต้นตํารับ
内外伤辨感论 เน่ยไ์ ว่ซางเปี้ ยนกัน่ ลุน่ (Differentiation on Endogenous and Exogenous
Diseases)1
« ค.ศ. 1231 Li Gao (李杲 หลีเ่ กา) หรือ Li Dongyuan (李东垣 หลีต่ งเหวียน) »2
ส่วนประกอบ
羌活 Rhizoma seu Radix Notopterygii เชียงหัว 6 กรัม
独活 Radix Angelicae Pubescentis ตูห๋ วั 6 กรัม
防风 Radix Ledebouriellae ฝางเฟิ ง 3 กรัม
藁本 Rhizoma et Radix Ligustici เก๋าเปิ่ น 3 กรัม
川芎 Rhizoma Ligustici Chuanxiong ชวนซฺยง 3 กรัม
蔓荆子 Fructus Viticis มันจิ
่ งจื่อ 2 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 3 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขจัดลมชื้นภายนอก ระงับปวด1,3
สรรพคุณ
รักษาโรคหรือกลุ่มอาการทีเ่ กิดจากลมชื้น โดยมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมือ่ ยตามร่างกาย ขยับ
ตัวลําบาก กลัวลมและความเย็นเล็กน้อย ลิ้นมีฝ้าขาว ชีพจรลอย เต้นเชื่องช้า1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไข้หวัด โรคหวัดตามฤดูกาล
โรคปวดประสาทบริเวณกระดูกรองนัง่ โรคข้ออักเสบเรื้อรังที่เกิดจากการกระทบลมเย็นและความชื้น
ภายนอก1,3
432 ตํารับยาขับความชื้น

ตํารับยา เชียงหัวเซิ่งซือทัง (羌活胜湿汤)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เก๋าเปิ่ น (藁本)
เชียงหัว (羌活)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร ตูห๋ วั (独活)
่ งจื่อ (蔓荆子)
มันจิ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 433

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ฝางเฟิ ง (防风) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]

2 เซนติเมตร
ชวนซฺยง (川芎)
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
羌活 เชียงหัว ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการหวัดจากการกระทบ
อมขม ลมเย็นและความชื้น ปวดศีรษะ
ปวดเมือ่ ยส่วนบนของร่างกาย
独活 ตูห๋ วั ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น บรรเทาอาการหวัดจากการกระทบ
อมขม เล็กน้อย ลมเย็นและความชื้นภายนอก ขจัด
ลมชื้น บรรเทาอาการปวดเมือ่ ยที่
ส่วนล่างของร่างกาย
防风 ฝางเฟิ ง ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ช่วยกระทุง้ ไข้หวัดจากการกระทบ
อมหวาน เล็กน้อย ลมภายนอก
藁本 เก๋าเปิ่ น ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับลม บรรเทาอาการหวัดปวด
ศีรษะทีเ่ กิดจากกระทบลมเย็นและ
ความชื้น ระงับปวด
434 ตํารับยาขับความชื้น

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


川芎 ชวนซฺยง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ช่วยการไหลเวียนของชี่และเลือด
(โกฐหัวบัว) ขับลมในเลือด ระงับปวด
蔓荆子 มันจิ ่ งจื่อ ตัวยาช่วย ขม เผ็ด เย็น กระจายอาการหวัดจากการกระทบ
เล็กน้อย ลมร้อน บรรเทาอาการปวดศีรษะ
ตาแดง บวม ปวดตา ตาลาย
甘草 (炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
กันเฉ่ า (จื้อ) อาหาร ระบายความร้อน ขับพิษ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ เชียงหัว มีสรรพคุณขจัดลมชื้นที่ส่วนบนของร่างกาย
และตูห๋ วั ขจัดลมชื้นที่ส่วนล่างของร่างกาย เมื่อใช้ตวั ยาทัง้ สองร่วมกัน สามารถขจัดลมชื้นทัว่ ร่างกาย
ช่วยบรรเทาอาการปวดไขข้อ ตัวยาเสริม ได้แก่ ฝางเฟิ งและเก๋าเปิ่ น ช่วยขจัดลมชื้น ระงับอาการปวด
ศีรษะ ตัวยาช่วย ได้แก่ ชวนซฺยง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ขจัดลม ระงับปวด มัน่ จิงจื่อช่วย
ขจัดลม ระงับปวด กันเฉ่ า (จื้อ) เป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยานํา้ 4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้มรี สเผ็ดและมีคุณสมบัตอิ ุ่น กระจายภายนอก ใช้รกั ษาอาการไข้จากการกระทบลม
ชื้น ไม่เหมาะสําหรับกลุม่ อาการหวัดจากการกระทบลมร้อนหรืออาการหวัดทีม่ เี หงือ่ ออก1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: เมื่อให้ยาต้มทางปากหนู ขาวในขนาดเทียบเท่าผงยา 2.5 กรัม/
กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์ลดอาการบวมที่องุ ้ เท้า ยาต้มขนาดเทียบเท่าผงยา 10 กรัม/กิโลกรัม มีฤทธิ์เสริม
ภูมคิ ุม้ กันโดยการเพิม่ Natural Killer Cells ในหนู ขาวอย่างชัดเจน เมือ่ นํายาต้มทีส่ กัดนํา้ มันหอมระเหย
ออกแลว้ ตกตะกอนด้วยแอลกอฮอล์ นําสารละลายที่ได้มาเตรียมเป็ นยานํา้ ที่ความเขม้ ข้นต่าง ๆ กัน
และให้ทางปากกระต่าย พบว่าขนาดของยาเทียบเท่าผงยา 3.9 กรัม/กิโลกรัม มีฤทธิ์ลดไข้ท่เี กิดจากการ
กระทบลมเย็น4
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 435

เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน. ตํารับยาเชียงหัวเซิ่งซือทัง. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบัน
การแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Xie M. Qianghuo Shengshi Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
436 ตํารับยาขับเสมหะ

เอ้อร์เฉิ นทัง (二陈汤)


ตําราต้นตํารับ
太平惠民和剂局方 ไท่ผงิ หุย้ หมินเหอจี้จหฺ วีฟาง (Prescription of Peaceful Benevolent
1
Dispensary)
« ค.ศ. 1151 Chen Shiwen (陈诗文 เฉินซือเหวิน) »2
ส่วนประกอบ
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 15 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 9 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 3 กรัม
乌梅 Fructus Mume อูเหมย 1 ผล
橘皮 Pericarpium Citri Reticulatae จฺหวีผี 15 กรัม
甘草(炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 3 กรัม

ตํารับยา เอ้อร์เฉิ นทัง (二陈汤)


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 437

3 เซนติเมตร

ปัน้ เซีย่ (半夏)


2 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓)

3 เซนติเมตร
เซิงเจียง (生姜) 2 เซนติเมตร
อูเหมย (乌梅)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
จฺหวีผ(ี 橘皮) กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]
438 ตํารับยาขับเสมหะ

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ ปรับสมดุลชี่สว่ นกลาง1,3
สรรพคุณ
รักษาโรคที่มีความชื้นและเสมหะ โดยมีอาการไอ มีเสมหะมากสีข าว แน่ นหน้าอก อึดอัด
คลืน่ ไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ใจสัน่ ลิ้นชุ่มและมีฝ้าขาว ชีพจรลืน่ 1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคหลอดลมอักเสบ กระเพาะ-
อาหารอักเสบ ซึง่ เกิดจากการมีเสมหะชื้น1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
半夏 ปัน
้ เซีย่ ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ กดชี่
(มีพษิ )* ลงล่าง ระงับอาเจียน สลายเสมหะ
ทีเ่ กาะกันเป็ นก้อน
橘皮 จฺหวีผี ตัวยาเสริม เผ็ด ขม อุ่น ปรับสมดุลชี่ของม้ามให้แข็งแรง
ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน กลาง ระบายความชื้นและนํา้ เสริมม้าม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ให้แข็งแรง สงบจิตใจ
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ให้ความอบอุ่นแก่ส่วนกลาง
(ขิงสด) (กระเพาะอาหาร) ระงับอาเจียน
และให้ความอบอุ่นแก่ปอด ระงับไอ
乌梅 อูเหมย ตัวยาช่วย เปรี้ยว กลาง กักเก็บอินชี่ของปอด แก้ไอ แก้
(บ๊วยดํา) ฝาด ท้องเสีย สร้างสารนํา้ แก้กระหายนํา้

* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 439

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


甘草(炙) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ปรับประสาน
กันเฉ่ า (จื้อ) ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง)
ตํารับยานี้ประกอบด้วยปัน้ เซีย่ เป็ นตัวยาหลัก มีรสเผ็ด คุณสมบัตอิ ่นุ และแห้ง มีสรรพคุณขจัด
ความชื้น ละลายเสมหะ กดชี่ลงล่าง ปรับสมดุลกระเพาะอาหาร ระงับอาเจียน จฺหวีผเี ป็ นตัวยาเสริม มี
สรรพคุณควบคุมการไหลเวียนของชี่ สลายความชื้นด้วยความแห้ง เพือ่ ให้ช่ไี หลเวียนดีและสลายเสมหะ
ตัวยาช่ วย ได้แก่ ฝู หลิงมีสรรพคุณบํารุงม้าม ระบายความชื้น เซิงเจียงระงับอาเจียน สลายเสมหะ
สามารถลดพิษของปัน้ เซี่ย ในขณะเดียวกันช่วยเพิ่มฤทธิ์ของปัน้ เซี่ยและจฺหวีผที าํ ให้ช่ีไหลเวียนดีและ
สลายเสมหะ ส่วนการใช้อูเหมยในปริมาณน้อยจะช่วยกักเก็บอินชี่ของปอด กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ช่วย
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด และปรับสมดุลกระเพาะอาหาร1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้
ตํารับยาเอ้อร์เฉินทังมีคุณสมบัติเผ็ดและร้อนแห้ง จึงห้ามใช้ในผูป้ ่ วยที่เป็ นวัณโรคปอดและ
มีเลือดออก อินพร่อง เสมหะแห้งและมีเลือดปน1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ตํารับยาเอ้อร์เฉิ นทัง มีรายงานการศึกษาวิจยั ด้านต่าง ๆ ดังนี้
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยาเอ้อเฉินทังมีฤทธิ์ขบั เสมหะ ระงับไอ บรรเทาอาการหอบ
่ า้ ย่อย ลดความเป็ นกรดในกระเพาะอาหาร ปกป้ องตับ ฆ่าเชื้อจุลนิ ทรีย ์ ต้านอักเสบ และ
ยับยัง้ การหลังนํ
ช่วยให้การทํางานของหัวใจเป็ นปกติ1,4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยาเอ้อเฉิ นทังมีสรรพคุณบํารุงกระเพาะอาหาร แก้อาเจียน ขับ
เสมหะ ระงับอาการไอได้ดี สามารถป้ องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลําไส้ได้1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of traditional Chinese medicine: A practical English-Chinese library of traditional Chinese
medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
440 ตํารับยาขับเสมหะ

2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English glossary of common
terms in traditional Chinese medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, สุณี จีระจิตสัมพันธ์, ธีรพงศ์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเอ้อร์เฉินทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2549.
4. Ru K, Wang XD. Erchen Tang. In: Xia M (ed.). Modern study of the medical formulae in traditional Chinese
medicine. Vol.2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 441

เวินต่านทัง (温胆汤)
ตําราต้นตํารับ
三因极一病证方论 ซานอินจี-๋ ปิ้ งเจิ้งฟางลุน่ (Prescriptions Assigned to the Three
Categories of Pathogenic Factors of Diseases)1
« ค.ศ. 1174 Chen Yan (陈言 เฉินเอีย๋ น) »2
ประกอบด้วย
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 6 กรัม
竹茹 Caulis Bambusae in Taenia จูห้ รู 6 กรัม
枳实 Fructus Aurantii Immaturus จื่อสือ 6 กรัม
(面炒) (powder-fried) (เมีย่ นเฉ่ า)
陈皮 Pericarpium Citri Reticulatae เฉินผี 9 กรัม
甘草 (炙) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (จื้อ) 3 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 5 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 5 แว่น
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 1 ผล

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ปรับสมดุลชี่ สลายเสมหะ ระบายพิษในถุงนํา้ ดี ปรับสมดุลกระเพาะอาหาร1,3
สรรพคุณ
รักษาโรคที่เกี่ยวกับการทํางานของกระเพาะอาหารและถุงนํา้ ดีไม่สมดุลกัน เสมหะร้อนขึ้น
รบกวนส่วนบนของร่างกาย โดยมีอาการเวียนศีรษะ อาเจียน หงุดหงิด ใจสัน่ อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย
นอนไม่หลับ เป็ นลมชัก ปากขม กระหายนํา้ เล็กน้อย ลิ้นเป็ นฝ้ าเหลืองเหนียว ชีพจรลืน่ เร็วหรือตึงเร็ว1,3
442 ตํารับยาขับเสมหะ

ตํารับยา เวินต่านทัง (温胆汤)


ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีก่ ารควบคุมประสาทอัตโนมัติ
ผิดปกติ มีกลุม่ อาการของวัยหมดประจําเดือน ประสาทอ่อน เส้นเลือดสมองแข็งตัว โรคกระเพาะอาหาร
อักเสบเรื้อรัง ซึง่ โรคและอาการเหล่านี้เกิดจากการทํางานของกระเพาะอาหารและถุงนํา้ ดีไม่สมดุลกัน และ
มีเสมหะร้อนขึ้นรบกวนส่วนบนของร่างกาย1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
半夏 ปัน
้ เซีย่ ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ
(มีพษิ )* ลดการไหลย้อนกลับของชี่
บรรเทาอาการคลืน่ ไส้อาเจียน
สลายเสมหะทีเ่ กาะตัวเป็ นก้อน
* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 443

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


竹茹 จูห้ รู ตัวยาเสริม อมหวาน เย็น ระบายความร้อน ละลายเสมหะ
(เปลือกชัน้ กลางของ เล็กน้อย บรรเทาอาการคลืน่ ไส้ อาเจียน
ลําต้นไผ่ดาํ )
枳实 (面炒) ตัวยาเสริม ขม เย็น ขับชี่ลงล่าง ขับของเสียตกค้าง
จื่อสือ (เมีย่ นเฉ่ า) อมเผ็ด เล็กน้อย ขับเสมหะ สลายเสมหะทีเ่ กาะตัว
เป็ นก้อนหรือเถาดาน
陈皮 เฉินผี ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ปรับและกระจายชี่ ปรับส่วน
(ผิวส้มจีน) อมขม กลางของร่างกายให้เป็ นปกติ
ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ ระบายนํา้ สลายความชื้น เสริม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย บํารุงม้าม ทําให้จติ ใจสงบ
甘草 (炙) กันเฉ่ า (จื้อ) ตัวยานําพา หวาน อุ่น เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศผัดนํา้ ผึ้ง) ร่างกาย ระบายความร้อน ลดพิษ
ขับเสมหะ ระงับไอ ปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
生姜 เซิงเจียง ตัวยานําพา เผ็ด อุ่น ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะ-
(ขิงแก่สด) อาหาร ขับกระจายเหงือ่ ระงับ
อาเจียน
大枣 ต้าเจ่า ตัวยานําพา หวาน อุ่น ปรับสมดุลม้ามและกระเพาะ-
(พุทราจีน) อาหาร
444 ตํารับยาขับเสมหะ

2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ (半夏) 2 เซนติเมตร
จูห้ รู (竹茹)

2 เซนติเมตร
จื่อสือ (枳实)
2 เซนติเมตร
เฉินผี (陈皮)

2 เซนติเมตร

กันเฉ่ า (จื้อ) [甘草(炙)]

3 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓)

3 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เซิงเจียง (生姜) ต้าเจ่า (大枣)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 445

ตํารับยานี้ประกอบด้วยปัน้ เซีย่ เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณลดการไหลย้อนขึ้นของชี่ ปรับสมดุล


ของกระเพาะอาหาร ขจัดความชื้น สลายเสมหะ ตัวยาเสริม ได้แก่ จูห้ รู มสี รรพคุณระบายความร้อน
สลายเสมหะ ระงับอาเจียน บรรเทาอาการหงุดหงิด และจื่อสือ (เมีย่ นเฉ่ า) ช่วยให้ช่ีไหลเวียนดี สลาย
เสมหะ ทําให้เสมหะและชี่ลงสู่ส่วนล่างของร่างกาย ตัวยาช่วย ได้แก่ เฉินผีมสี รรพคุณปรับการไหลเวียน
ของชี่ ขจัดความชื้น ฝูหลิงช่วยให้ม ้ามแข็งแรง ระบายความชื้น ตัวยานําพา ได้แก่ เซิงเจียง ต้าเจ่า และ
กันเฉ่ า (จื้อ) มีสรรพคุณปรับสมดุลของม้ามและกระเพาะอาหาร และช่วยปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยที่มอี าการนอนไม่หลับเนื่องจากหัวใจพร่อง ใจสัน่ เนื่องจากเลือด
พร่อง วิงเวียนเนื่องจากอินพร่อง และอาเจียนเนื่องจากมีความเย็นในกระเพาะอาหาร1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ควบคุมการเผาผลาญไขมันในหนู ขาวที่เลี้ยงด้วย
อาหารที่มไี ขมันสู ง5
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณช่วยให้จติ ใจสงบ ช่วยให้นอนหลับ ช่วยให้ระบบ
ประสาทอัตโนมัตทิ าํ งานดีข้นึ และระงับอาเจียน1,3,4

เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาเวินต่านทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน
ตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Ru K, Wang XD. Wen Dan Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Chun Z, Li JL, Cheng DH, Luo X, Yang ZR. Molecular mechanism of wendan tang in prevention of lipid metabolism
disorder in adult rats. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2003; 28(12): 1184-7.
446 ตํารับยาขับเสมหะ

ชิงชี่ฮวฺ ่าถานหวาน (清气化痰丸)


ตําราต้นตํารับ
医方考 อีฟางเข่า (Verification of Formulae)1
« ค.ศ. 1584 Wu Kun (吴琨 หวูคุน) »2
ประกอบด้วย
胆南星 Arisaema cum Bile ต่านหนานซิง 45 กรัม
黄芩 Radix Scutellariae หวงฉิน 30 กรัม
瓜蒌仁 Semen Trichosanthis กวาโหลวเหริน 30 กรัม
枳实 Fructus Aurantii Immaturus จื่อสือ 30 กรัม
陈皮 Pericarpium Citri Reticulatae เฉินผี 30 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 30 กรัม
杏仁 Semen Pruni Armeniacae ซิง่ เหริน 30 กรัม
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 45 กรัม

วิธีใช้
เตรียมเป็ นยาลูกกลอน โดยใช้นาํ้ ต้มเซิงเจียง (ขิงแก่สด) เป็ นนํา้ กระสายยา รับประทานกับนํา้
สุกอุ่นครัง้ ละ 6 กรัม1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อน ละลายเสมหะ ปรับการไหลเวียนของชี่ภายในร่างกาย และระงับไอ1,3
สรรพคุณ
ระบายความร้อน ขับละลายเสมหะที่มสี เี หลือง เหนียวข้นและขับออกยาก บรรเทาอาการแน่น
หน้าอก เหนื่อยหรืออึดอัด หรือคลืน่ ไส้อาเจียน ลิ้นมีสแี ดง ฝ้ ามีสเี หลืองเหนียวหรือข้น ชีพจรลืน่ เร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาใหเ้ หมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
ปอดอักเสบทีม่ สี าเหตุจากเสมหะร้อนเหนียวข้นติดอยู่ภายใน1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 447

ตํารับยา ชิงชี่ฮวฺ ่าถานหวาน (清气化痰丸)

2 เซนติเมตร
ต่านหนานซิง (胆南星)
2 เซนติเมตร
หวงฉิน (黄芩)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
กวาโหลวเหริน (瓜蒌仁) จื่อสือ (枳实)
448 ตํารับยาขับเสมหะ

2 เซนติเมตร 3 เซนติเมตร
เฉินผี (陈皮) ฝูหลิง (茯苓)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ซิง่ เหริน (杏仁) ปัน้ เซีย่ (半夏)

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
胆南星 ต่านหนานซิง ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายความร้อน ขับและละลาย
เสมหะทีร่ อ้ นจัด ลดอาการสะดุง้
ผวาและดับลม บรรเทาอาการ
ลมชักหรือชักกระตุกทีเ่ กิดจาก
เสมหะร้อนจัด
黄芩 หวงฉิน ตัวยาเสริม ขม เย็น ขับระบายความร้อน ขจัดความชื้น
ขับพิษ ทําให้เลือดเย็นลง ห้าม
เลือด กล่อมครรภ์
瓜蒌仁 กวาโหลวเหริน ตัวยาเสริม หวาน เย็น ระบายความร้อนทีป่ อด ขับเสมหะ
กระจายชี่ บรรเทาอาการแน่น
หน้าอก เสริมความชุ่มชื้นให้ปอด
หล่อลืน่ ลําไส้ ระบายอ่อน ๆ
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 449

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


枳实 จื่อสือ ตัวยาเสริม ขม เย็น ขับชี่ลงล่าง ขับของเสียตกค้าง
อมเผ็ด เล็กน้อย ขับเสมหะ สลายก้อนและเถาดาน
陈皮 เฉินผี ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ปรับและกระจายชี่ ปรับส่วนกลาง
(ผิวส้มจีน) อมขม ของร่างกายให้เป็ นปกติ ขับ
ความชื้นละลายเสมหะ
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ ระบายความชื้นและนํา้ เสริมบํารุง
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ม้าม ทําให้จติ ใจสงบ
杏仁 ซิง่ เหริน ตัวยาช่วย ขม อุ่น ระงับไอ ระงับหอบ หล่อลืน่ ลําไส้
เล็กน้อย ระบายอ่อน ๆ
半夏 ปัน้ เซีย่ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ ลด
(มีพษิ )* การไหลย้อนกลับของชี่ ระงับ
อาเจียน สลายก้อนและเถาดาน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยต่านหนานซิงเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายความร้อนและขับเสมหะ
รักษาอาการของความร้อนแกร่งและเสมหะร้อนแกร่งที่เหนียวข้นจนติดกัน ตัวยาเสริม ได้แก่ หวงฉิน
และกวาโหลวเหรินมีสรรพคุณลดความร้อนและขับเสมหะร้อนทีป่ อด และช่วยเพิม่ ฤทธิ์ของต่านหนานซิง
จื่อสือและเฉินผี ช่วยละลายเสมหะทําให้ขบั ออกได้งา่ ยขึ้น ตัวยาช่วย ได้แก่ ฝูหลิงมีสรรพคุณระบาย
ความชื้นและเสริมบํารุงม้าม ซิง่ เหรินกระจายชี่ทป่ี อด และปัน้ เซีย่ ละลายเสมหะ ขจัดความชื้น1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการเสมหะเย็นหรือแห้งจัด1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณระบายความร้อน ต้านเชื้อจุลนิ ทรีย ์ ขับเสมหะ
บรรเทาอาการไอ ระงับหอบ1,3,4
* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
450 ตํารับยาขับเสมหะ

เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาชิงชี่ฮว่าถานหวาน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Wang XD. Qing Qi Hua Tan Wan. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 451

หลิงกันอูเ่ ว่ยเ์ จียงซินทัง (苓甘五味姜辛汤)


ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
干姜 Rhizoma Zingiberis กันเจียง 9 กรัม
细辛 Herba Asari ซีซ่ นิ 6 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 12 กรัม
五味子 Fructus Schisandrae อู่เว่ยจ์ ่อื 6 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ให้ความอบอุ่นแก่ปอด สลายของเหลวทีต่ กค้าง1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการที่มขี องเหลวเย็นตกค้างภายใน โดยมีอาการไอ มีเสมหะมาก เสมหะใสสีขาว
อึดอัดแน่นทรวงอก หายใจไม่สะดวก ลิ้นมีฝ้าขาวลืน่ ชีพจรตึงลืน่ 1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
และมีอาการหอบหืดทีเ่ กิดจากมีของเหลวเย็นตกค้างภายใน1,3
452 ตํารับยาขับเสมหะ

ตํารับยา หลิงกันอูเ่ ว่ยเ์ จียงซินทัง (苓甘五味姜辛汤)

2 เซนติเมตร
กันเจียง (干姜) 2 เซนติเมตร
ซีซ่ นิ (细辛)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓) อู่เว่ยจ์ อ่ื (五味子) 2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (甘草)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 453

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
干姜 กันเจียง ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น เสริมความอบอุ่นแก่ส่วนกลางของ
(ขิงแก่แห้ง) ร่างกาย ขับความเย็นและฟื้ นฟู
หยางชี่ของม้ามและกระเพาะอาหาร
สมานระบบกระเพาะอาหาร ทําให้ช่ี
ลงตํา่ ระงับอาการคลืน่ ไส้อาเจียน
细辛 ซีซ่ นิ ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ขับลม สลายความเย็น เปิ ดทวาร
(มีพษิ ระงับปวด ให้ความอบอุ่นแก่ปอด
เล็กน้อย)* ขับของเหลว
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาเสริม หวาน สุขมุ ระบายนํา้ สลายความชื้น เสริม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย บํารุงม้าม สงบจิตใจ
五味子 อู่เว่ยจ์ ่อื ตัวยาช่วย เปรี้ยว อุ่น เก็บชี่ของปอด เสริมธาตุนาํ้ ของไต
อมหวาน ระงับเหงือ่ เหนี่ยวรัง้ อสุจิ ระงับ-
ถ่าย สงบจิตใจ
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(ชะเอมเทศ) ระบายความร้อน ขับพิษ ระงับ-
อาการไอ ขับเสมหะ ปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก คือ กัน เจีย ง รสเผ็ด มีส รรพคุ ณ ให้ค วามอบอุ่ น แก่ ป อด
สลายความเย็น สลายของเหลวทีต่ กค้าง ให้ความอบอุ่นแก่มา้ ม และขจัดความชื้น ตัวยาเสริม ได้แก่ ซีซ่ นิ
รสเผ็ดกระจาย ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ปอด สลายความเย็น เสริมฤทธิ์ของกันเจียง ฝูหลิง รสหวานจืด
เสริมม้าม ระบายชื้น ตัวยาช่วยคือ อู่เว่ยจ์ ่ือ มีสรรพคุณเหนี่ยวรัง้ ชี่ของปอด ระงับอาการไอ เมื่อใช้
ร่วมกับซีซ่ นิ ซีซ่ นิ มีฤทธิ์อ่นุ กระจาย อู่เว่ยจ์ ่อื มีฤทธิ์เหนี่ยวรัง้ ทําให้เสียชี่ (邪气) ถูกกําจัดโดยที่เจิ้งชี่ (正
气) ไม่ถกู ทําลาย1,3
* ซีซ่ นิ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ เล็กน้อย ต้องควบคุมขนาดใช้ตามทีก่ าํ หนดเท่านัน้
454 ตํารับยาขับเสมหะ

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับนี้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการปอดร้อน มีความแห้งในปอด อินพร่อง เสมหะร้อน มีอาการ
ไอจากวัณโรคปอด เนื่องจากตํารับยานี้มรี สเผ็ด และมีฤทธิ์รอ้ นแห้ง1,3
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาหลิงกันอู่เว่ยเ์ จียงซินทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพร
จีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2552.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 455

ซานจือ่ หยัง่ ชินทัง (三子养亲汤)


ตําราต้นตํารับ
韩氏医通 หานซือ่ อีทง (Han’s Book on Medicine)1
« ค.ศ. 1522 Han Mao (韩懋 หานเม่า) »2
ส่วนประกอบ
白芥子 Semen Sinapis Albae ไป๋ เจี้ยจื่อ 6 กรัม
苏子 Fructus Perillae ซูจ่อื 9 กรัม
莱服子 Semen Raphani ไหลฝูจ่อื 9 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ลดชี่ ช่วยให้กระบังลมเคลือ่ นไหวดี ละลายเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร1,3
สรรพคุณ
รักษากลุม่ อาการชี่ตดิ ขัด มีเสมหะอุดตัน โดยมีอาการไอหอบทีเ่ กิดจากหลอดลมเกร็งตัว ชี่ของ
ปอดไหลย้อน มีเสมหะมากจนทําให้แน่นหน้าอก รับประทานอาหารได้นอ้ ย อาหารไม่ย่อย ลิ้นเป็ นฝ้ าขาว
เหนียว ชีพจรลืน่ 1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผู ป้ ่ วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
หลอดลมโป่ งพอง หอบหืดจากหลอดลมเกร็งตัว ถุงลมโป่ งพอง หอบหืดจากโรคหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้
จัดเป็ นกลุม่ อาการชี่ตดิ ขัด และเสมหะอุดตัน1,3
456 ตํารับยาขับเสมหะ

ซานจือ่ หยัง่ ชินทัง (三子养亲汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร


ไป๋ เจี้ยจื่อ (白芥子) ซูจ่อื (苏子) ไหลฝูจ่อื (莱服子)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 457

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
白芥子 ไป๋ เจี้ยจื่อ ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ให้ความอบอุ่นแก่ปอด ช่วยให้ช่ี
(เมล็ดพรรณผักกาด) ไหลเวียน ขับเสมหะ ระงับไอ
บรรเทาอาการหอบ กระจายเลือด
คัง่ สลายเสมหะทีส่ ะสมอยู่ใต้
ผิวหนังและระหว่างกล ้ามเนื้อ
ระงับปวด
苏子 ซูจ่อื ตัวยาเสริม เผ็ด อุ่น ระงับอาการไอและหอบ ช่วยให้
(ผลงาขี้ม ้อน) ลําไส้ช่มุ ชื้น ระบายอ่อน ๆ
莱菔子 ไหลฝูจ่อื ตัวยาเสริม เผ็ด สุขมุ ช่วยให้ช่ลี งตํา่ สลายเสมหะ เจริญ-
(เมล็ดหัวผักกาดขาว) อมหวาน อาหาร และสลายอาหารทีต่ กค้าง
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ ไป๋ เจี้ยจื่อ มีสรรพคุณช่วยอุ่นชี่ของปอดให้มกี ารไหลเวียน
ดี และกระบังลมเคลือ่ นไหวดี สลายเสมหะ ตัวยาเสริม ได้แก่ ซูจ่อื มีสรรพคุณช่วยลดชี่ทไ่ี หลย้อน ทําให้
เสมหะถูกขับออกง่าย ระงับอาการไอ บรรเทาอาการหอบ ไหลฝูจ่ือ ช่วยย่อยอาหาร สลายอาหารที่
ตกค้าง ทําให้การไหลเวียนของชี่ดขี ้นึ ช่วยขับเสมหะ1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาชงละลาย4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
หลังจากรับประทานตํารับยานี้จนอาการดีข้นึ แล ้ว ต้องเสริมสร้างภูมติ า้ นทานของผูป้ ่ วยด้วย1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: เมือ่ ให้ยาต้มทางปากหนู ตะเภาในขนาดเทียบเท่าผงยา 4.5 และ 9
กรัม/กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์ระงับอาการหอบ และฤทธิ์ดีกว่าตัวยาเดี่ยวแต่ละชนิดในขนาดยาที่เท่ากัน
ยาต้มมีฤทธิ์ขยายกลา้ มเนื้อหลอดลมที่แยกจากกายหนู ตะเภา เมือ่ ให้ส่วนสกัดที่ละลายในแอลกอฮอล์
ของยาต้มและตัวยาเดี่ยวทัง้ 3 ชนิด ทางปากหนู ถีบจักรในขนาดเทียบเท่าผงยา 9 กรัม/กิโลกรัม
พบว่าตํารับยาซานจื่อหยัง่ ชินทังและไหลฝูจ่ือมีฤทธิ์ระงับอาการไอได้ดี แต่ซูจ่ือและไป๋ เจี้ยจื่อมีฤทธิ์ไม่
458 ตํารับยาขับเสมหะ

ชัดเจน ยาต้มมีฤทธิ์ยบั ยัง้ การลําเลียงอาหารในระบบทางเดินอาหารหนู ถบี จักร ทําให้ระยะเวลาทีอ่ าหาร


อยู่ในลําไส้เล็กนานขึ้น จึงมีการดูดซึมอาหารดีข้นึ นอกจากนี้ สารสกัดนํา้ ยังมีฤทธิ์ตา้ นอักเสบในหนู ถบี จักร
และต้านเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดในหลอดทดลอง4
การศึกษาทางคลินิก: เมือ่ ศึกษาในผูป้ ่ วยที่มอี าการไอ 40 ราย ซึ่งในจํานวนนี้มผี ูป้ ่ วยที่มอี ายุ
มากกว่า 60 ปี ที่ไอเรื้อรังมานานกว่า 10 ปี จํานวน 14 ราย โดยให้รบั ประทานยาต้ม วันละ 2 ครัง้
ติดต่อกัน 21 วัน พบว่าผูป้ ่ วย 25 ราย หายเป็ นปกติ และ 15 ราย มีอาการดีข้ นึ มาก ไม่พบอาการ
ข้างเคียงในผูป้ ่ วยทุกราย ยาตํารับนี้ให้ผลการรักษาดีมาก จึงนิยมเตรียมเป็ นยาสําเร็จรูปสําหรับใช้ระงับ
อาการไอและขับเสมหะ เมื่อให้ตาํ รับยานี้ร่วมกับยาแผนปัจจุบนั ในผูป้ ่ วยโรคปอดและหัวใจเต้นเร็ว
เฉียบพลัน ซึ่งมีอาการไอ มีเสมหะ และหอบร่วมด้วย จํานวน 37 ราย พบว่าได้ผลดีมาก 21 ราย ดีข้ นึ
13 ราย เมือ่ ให้ยาต้มแก่ผูป้ ่ วยโรคคอหอยอักเสบเรื้อรัง (chronic pharyngitis) จํานวน 32 ราย
พบว่าได้ผลดีมาก 15 ราย ดีข้นึ 13 ราย4
การศึกษาความปลอดภัย: เมือ่ ให้ยาต้มซานจื่อหยัง่ ชินทัง ไป๋ เจี้ยจื่อ ซูจ่อื และไหลฝูจ่อื ทาง
ปากหนู ถบี จักรในขนาดเทียบเท่าผงยา 120, 80, 250 และ 200 กรัม/กิโลกรัม ตามลําดับ ไม่พบหนู
ทดลองตัวใดตาย เมื่อฉี ดสารสกัดนํา้ ของตํารับยานี้เข้าช่ องท้องหนู ถีบจักร พบว่าขนาดของสารสกัด
เทียบเท่าผงยาทีท่ าํ ให้หนู ถบี จักรตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่าเท่ากับ 41.5 กรัม/กิโลกรัม และเมือ่ ให้สาร
สกัดทางปาก พบว่า ไม่สามารถหาค่า LD50 แต่ข นาดสู ง สุดที่หนู ถ บี จัก รทนไดเ้ มือ่ ใหท้ างปาก มีค่า
เท่ากับ 120 กรัม/กิโลกรัม ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าตํารับยานี้มคี วามปลอดภัย4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, วราภรณ์ ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน. ตํารับยาซานจื่อหยัง่ ชินทัง. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทํา
ฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Ru K, Xie M. Sanzi Yangqin Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 459

จือ่ โซ่วส่าน (止嗽散)


ตําราต้นตํารับ
医学心悟 อีเสฺวยี ซินวู่ (Medicine Comprehended หรือ A Summary on Medicine from
Clinical Practice)1-2
« ค.ศ. 1732 Cheng Zhongling (程钟龄 เฉิงจงหลิง) »2
ส่วนประกอบ
紫菀 (蒸) Radix Asteris (steamed) จื่อหวัน่ (เจิง) 1,000 กรัม
百部 (蒸) Radix Stemonae (steamed) ไป่ ป้ ู (เจิง) 1,000 กรัม
白前 (蒸) Rhizoma Cynanchi Vincetoxici ไป๋ เฉียน (เจิง) 1,000 กรัม
(steamed)
桔梗 (炒) Radix Platycodi (parched) เจีย๋ เกิง (เฉ่ า) 1,000 กรัม
陈皮 Pericarpium Citri Reticulatae เฉินผี 500 กรัม
荆芥 Herba Schizonepetae จิงเจี้ย 1,000 กรัม
甘草 (炒) Radix Glycyrrhizae Praeparata กันเฉ่ า (เฉ่ า) 375 กรัม
(parched)
วิธีใช้
นําตัวยาทัง้ หมดมาบดเป็ นผง รับประทานครัง้ ละ 6 กรัม พร้อมนํา้ อุ่นหรือนํา้ ขิง หรือเตรียม
เป็ นยาต้ม โดยปรับลดนํา้ หนักยาจากตํารับยาข้างต้นลง 100 เท่า1,3
การออกฤทธิ์
ระงับไอ ละลายเสมหะ กระจายชี่ปอด1,3
สรรพคุณ
รักษากลุม่ อาการโรคปอดทีม่ สี าเหตุจากการกระทบลมภายนอก โดยมีอาการคันคอแลว้ ไอ หรือ
มีไข้ กลัวหนาวเล็กน้อย ลิ้นมีฝ้าขาวบาง1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลม
อักเสบ หลอดลมอักเสบเรื้อรังทีม่ อี าการกําเริบ และวัณโรคปอด1,3
460 ตํารับยาขับเสมหะ

ตํารับยา จือ่ โซ่วส่าน (止嗽散)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
จื่อหวัน่ (เจิง) [紫菀(蒸)] ไป่ ป้ ู (เจิง) [百部(蒸)]
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 461

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป๋ เฉียน (เจิง) [白前(蒸)] เจีย๋ เกิง (เฉ่ า) [桔梗(炒)]

2 เซนติเมตร
จิงเจี้ย (荆芥)

2 เซนติเมตร
เฉินผี (陈皮)
2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (เฉ่ า) [甘草(炒)]
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
紫菀 (蒸) ตัวยาหลัก เผ็ดอมหวาน อุ่น ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ดึงชี่ลงตํา่
จื่อหวัน่ (เจิง) และขม ละลายเสมหะที่เป็ นสาเหตุของ
การไอ ทัง้ การไอแบบเฉียบพลัน
และเรื้ อ รัง ทัง้ แบบเย็ น ร้อ น
พร่อง หรือแกร่ง บรรเทาอาการ
คันคอ เสมหะมีเลือดปน
462 ตํารับยาขับเสมหะ

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


百部 (蒸) ตัวยาหลัก ขมอมหวาน อุ่น ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ระงับ
ไป่ ป้ ู (เจิง) เล็กน้อย ไอทัง้ แบบเฉียบพลันและ
เรื้อรัง ไอกรน วัณโรค
白前 (蒸) ตัวยาหลัก เผ็ดขม อุ่น ช่วยให้ช่ลี งตํา่ ละลายเสมหะ
ไป๋ เฉียน (เจิง) เล็กน้อย บรรเทาอาการไอมีเสมหะมาก
แน่นหน้าอก หอบ
桔梗 (炒) ตัวยาเสริม ขมอมเผ็ด สุขมุ กระจายชี่ทป่ี อด ขับเสมหะ
เจีย๋ เกิง (เฉ่ า) บรรเทาอาการไอมีเสมหะมาก
แน่นหน้าอก อึดอัด คอบวม
เจ็บคอ ฝี ในปอด อาเจียน
陈皮 เฉินผี ตัวยาเสริม เผ็ดขม อุ่น ปรับและกระจายชี่ ปรับ
ส่วนกลางของร่างกายให้เป็ น
ปกติ ขับความชื้น ละลาย
เสมหะ
荆芥 จิงเจี้ย ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น บรรเทาหวัดจากการกระทบ
เล็กน้อย ลมเย็นภายนอก ขับเหงือ่
กระทุง้ พิษ
甘草 (炒) ตัวยาช่วย อมหวาน สุขมุ บํารุงชี่ เสริมม้ามและกระเพาะ-
กันเฉ่ า (เฉ่ า) และนําพา อาหาร ระบายความร้อน ขับ-
(ชะเอมเทศผัด) พิษ ปรับประสานตัวยาทัง้ หมด
ให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วย จื่อหวัน่ (เจิง) ไป่ ป้ ู (เจิง) และไป๋ เฉียน (เจิง) เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณ
แก้ไอและขับเสมหะ ตัวยาเสริม ได้แก่ เจีย๋ เกิง (เฉ่ า) และเฉินผี ช่วยกระจายชี่ของปอดให้ลงสู่เบื้องล่าง
ของร่างกาย บรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ จิงเจี้ยช่วยกระทุง้ หวัด กระจายลมเย็นออกสู่ภายนอก
ช่วยให้ช่ีของปอดไหลเวียน เป็ นตัวยาช่วย กันเฉ่ า (เฉ่ า) ใช้ร่วมกับเจีย๋ เกิง (เฉ่ า) รักษาอาการระคายคอ
และทําให้ลาํ คอโล่ง รวมทัง้ ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 463

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาผง ยาต้ม ยาเม็ด ยาลูกกลอน4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้กบั ผู ป้ ่ วยที่มอี าการไอเรื้อรังที่มสี าเหตุจากอินพร่ อง ควรระวังการใช้กบั
ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการไอทีม่ สี าเหตุจากปอดร้อน หรือเสมหะร้อน1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ระงับไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการหอบหืด ต้าน
อักเสบ และลดไข้ในสัตว์ทดลอง และยับยัง้ เชื้อไวรัสในหลอดทดลอง4
การศึกษาทางคลินิก: ยาต้มมีสรรพคุณยับยัง้ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการ
ไอเรื้อรัง ขับเสมหะ ขับเหงือ่ และลดไข้4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาจื่อโซ่วส่าน. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
4. Ru G, Zhao XX, Wang XD. Zhisou San. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
464 ตํารับยาขับเสมหะ

ปัน้ เซี่ยไป๋ จูเ๋ ทียนหมาทัง (半夏白术天麻汤)


ตําราต้นตํารับ
医学心悟 อีเสฺวยี ซินวู่ (Medicine Comprehended หรือ A Summary on Medicine
from Clinical Practice)1-2
« ค.ศ. 1732 Cheng Zhongling (程钟龄 เฉิงจงหลิง) »2
ประกอบด้วย
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 9 กรัม
天麻 Rhizoma Gastrodiae เทียนหมา 6 กรัม
白术 Rhizoma Atractylodis Macrocephala ไป๋ จู ๋ 15 กรัม
茯苓 Poria ฝูหลิง 6 กรัม
橘红 Pericarpium Citri Reticulatae จฺหวีหง 6 กรัม
生姜 Rhizoma Zingiberis Recens เซิงเจียง 1 แว่น
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 2 ผล
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 4 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ ปรับสมดุลลมในตับ1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 465

ตํารับยา ปัน้ เซี่ยไป๋ จูเ๋ ทียนหมาทัง (半夏白术天麻汤)

2 เซนติเมตร
ปัน้ เซีย่ (半夏)
2 เซนติเมตร
เทียนหมา (天麻)

2 เซนติเมตร
ไป๋ จู ๋ (白术) 3 เซนติเมตร
ฝูหลิง (茯苓)
466 ตํารับยาขับเสมหะ

3 เซนติเมตร
3 เซนติเมตร
จฺหวีหง (橘红) เซิงเจียง (生姜)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ต้าเจ่า (大枣) กันเฉ่ า (甘草)
สรรพคุณ
รักษาภาวะที่มเี สมหะและลมขึ้นรบกวนส่ว นบนของร่า งกายพร้อ มกัน ทํา ใหม้ อี าการปวด
และเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก คลืน่ ไส้ ลิ้นมีฝ้าขาวเหนียว ชีพจรตึงและลืน่ 1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้ความเหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มอี าการวิงเวียนศีรษะ
เนื่องจากนํา้ ในหู ไม่สมดุล การทํางานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ หลอดเลือดแดงในสมอง
แข็งตัว ทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรัง เส้นประสาทบริเวณหน้าผากอักเสบ หลอดเลือดสมองผิดปกติ ซึ่ง
โรคและอาการต่าง ๆ เหล่านี้ทม่ี สี าเหตุจากผูป้ ่ วยมีเสมหะและลมขึ้นรบกวนส่วนบนของร่างกาย1,3
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
半夏 ปัน
้ เซีย่ ตัวยาหลัก เผ็ด อุ่น ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ ลดการ
(มีพษิ )* ไหลย้อนกลับของชี่ บรรเทาอาการ
คลืน่ ไส้ อาเจียน สลายเสมหะทีเ่ กาะ-
ตัวเป็ นก้อน
* ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 467

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


天麻 เทียนหมา ตัวยาหลัก อมหวาน สุขมุ ดับลมในตับ ระงับการเกร็งกระตุก
ปรับและควบคุมหยางชี่ของตับ
บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ
白术 ไป๋ จู ๋ ตัวยาเสริม ขม อุ่น เสริมม้ามให้แข็งแรง ขจัดความชื้น
อมหวาน ระบายนํา้
茯苓 ฝูหลิง ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ ระบายนํา้ สลายความชื้น บํารุงม้าม
(โป่ งรากสน) เล็กน้อย ช่วยให้จติ ใจสงบ
橘红 จฺหวีหง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น เสริมม้าม ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ
(ผิวส้มจีน) อมขม
生姜 เซิงเจียง ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขับเหงือ่ ออกจากผิวกาย ให้ความ
(ขิงแก่สด) อบอุ่นแก่กระเพาะอาหาร บรรเทา
อาการคลืน่ ไส้ ช่วยให้ปอดอบอุ่น
ระงับไอ และขจัดพิษของยาปัน้ เซีย่
大枣 ต้าเจ่า ตัวยาช่วย หวาน อุ่น ปรับสมดุลม้าม และกระเพาะอาหาร
(พุทราจีน)
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ ปรับชี่ ช่วยให้ช่หี มุนเวียนเป็ นระบบ
(ชะเอมเทศ) ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ ปัน้ เซีย่ มีสรรพคุณขจัดความชื้น สลายเสมหะ ลดการ
ไหลย้อนกลับของชี่ ระงับอาเจียน และเทียนหมามีสรรพคุณสลายเสมหะ ดับลมในตับ ช่วยบรรเทา
อาการเวียนศีรษะ ไป๋ จูเ๋ ป็ นตัวยาเสริม มีสรรพคุณบํารุงม้ามและสลายความชื้นด้วยความแห้ง เมือ่ ใช้
ร่วมกับปัน้ เซีย่ และเทียนหมาจะขับความชื้น สลายเสมหะ ตัวยาช่วย ได้แก่ ฝูหลิงมีสรรพคุณบํารุงม้าม
ระบายความชื้น จฺหวีหงปรับชี่และสลายเสมหะ เซิงเจียงและต้าเจ่าปรับสมดุลอิง๋ ชี่และเว่ยช์ ่ี และกันเฉ่ า
เป็ นตัวยานําพา ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
468 ตํารับยาขับเสมหะ

ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้มฤี ทธิ์อ่นุ แห้ง ดับลมในตับ จึงไม่ควรใช้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะที่
มีสาเหตุจากหยางของตับขึ้นรบกวนส่วนบน หยางของตับสู ง อินพร่อง ตับร้อน หรืออินของตับและไต
พร่อง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: การศึกษาในหนู ขาวทีม่ คี วามดันเลือดสูงพบว่า ตํารับยานี้มฤี ทธิ์ลด
ความดันโลหิต5 เพิม่ การไหลเวียนเลือด และช่วยลดภาวะกลา้ มเนื้อหัวใจโตเกินทีเ่ กิดจากความดันเลือด
สูง6
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาอาการวิงเวียนศีรษะได้ผลร้อยละ 97.5 จาก
ผูป้ ่ วย 40 รายรักษาอาการวิงเวียนศีรษะเนื่องจากเสมหะชื้นอุดกัน้ ทําให้นาํ้ ในหูไม่สมดุล ได้ผลร้อยละ
98 จากผูป้ ่ วย 50 ราย นอกจากนี้ยงั รักษาโรคลมบ้าหมูและมีอาการปวดศีรษะได้ผลร้อยละ 81 จาก
ผูป้ ่ วย 37 ราย4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, วราภรณ์ ตัง้ อร่ามวงศ์, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาปัน้ เซีย่ ไป๋ จเู ๋ ทียนหมาทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูล
ยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Ru K, Wang XD. Banxia Baizhu Tianma Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 1. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Wang XZ, Jiang JY, Luo SS. Effect of banxia baizhu tianma decoction on the vascular endothellal function of
spontaneous hypertensive rats. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2011; 31(6): 811-5.
6. Jiang JY, Wang XZ, Luo SS. Effect of banxia baizhu tianma decoction on the left ventricular hypertrophy of
hypertrophied myocardium in spontaneously hypertensive rat. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi 2010; 30(10):
1061-6.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 469

ซังซิ่งทัง (桑杏汤)
ตําราต้นตํารับ
温病条辨 เวินปิ้ งเถียวเปี้ ยน (Treatise on Differentiation and Treatment of Epidemic
Febrile Diseases)1
« ค.ศ. 1798 Wu Tang (吴瑭 หวูถงั ) »2
ส่วนประกอบ
桑叶 Folium Mori ซังเยีย่ 6 กรัม
杏仁 Semen Pruni Armeniacae ซิง่ เหริน 9 กรัม
淡豆豉 Semen Sojae Praeparatum ตัน้ โต้วฉื่อ 6 กรัม
沙参 Radix Glehniae ซาเซิน 12 กรัม
浙贝母 Bulbus Fritillariae Thunbergii เจ้อเป้ ยห์ มู่ 6 กรัม
山栀子 Fructus Gardeniae ซานจือจื่อ 6 กรัม
梨皮 Pear peel หลีผี 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ช่วยกระจายอาการร้อนแห้งทีไ่ ม่รุนแรง ช่วยให้ปอดชุ่มชื้น ระงับไอ1,3
สรรพคุณ
รักษากลุม่ อาการของโรคทีเ่ กิดจากความแห้งอุ่นมากระทบปอด โดยมีอาการตัวร้อน ปวดศีรษะ
กระหายนํา้ คอแห้ง ไอแห้ง มีเสมหะน้อยและเหนียว ลิ้นแดง มีฝ้าบางขาวแห้ง ชีพจรลอย เร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไข้หวัด คออักเสบ หลอดลม-
อักเสบ หลอดลมโป่ งพอง ซึง่ มีสาเหตุจากความแห้งอุ่นมากระทบปอด1,3
470 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

ตํารับยา ซังซิ่งทัง (桑杏汤)

2 เซนติเมตร
ซังเยีย่ (桑叶)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 471

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
ซิง่ เหริน (杏仁) ซาเซิน (沙参)

2 เซนติเมตร
เจ้อเป้ ยห์ มู่ (浙贝母)
2 เซนติเมตร
ตัน้ โต้วฉื่อ (淡豆豉)

2 เซนติเมตร
ซานจือจื่อ (山栀子) 2 เซนติเมตร
หลีผี (梨皮)
คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส
คุณสมบัติ สรรพคุณ
桑叶 ซังเยีย่ ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายและกระจายความร้อน
(ใบหม่อน) อมหวาน แห้งของปอดและตับ ช่วยให้
สายตามองเห็นชัดเจนขึ้น
杏仁 ซิง่ เหริน ตัวยาหลัก ขม อุ่น ระงับไอ ระงับหอบ หล่อลืน่
เล็กน้อย ลําไส้ ระบายอ่อน ๆ
淡豆豉 ตัน้ โต้วฉื่อ ตัวยาเสริม เผ็ดอมหวาน อุ่น บรรเทาหวัดจากลมภายนอก
ขมเล็กน้อย เล็กน้อย ลดอาการหงุดหงิด
472 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


沙参 ซาเซิน ตัวยาเสริม หวาน เย็น เสริมอิน ระบายความร้อนที่
อมขม เล็กน้อย ปอด เสริมสารนํา้ บํารุง
กระเพาะอาหาร
浙贝母 เจ้อเป้ ยห
์ มู่ ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อน ละลาย
อมหวาน เล็กน้อย เสมหะ ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด
ระงับไอ สลายก้อน ลดบวม
山栀子 ซานจือจื่อ ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อน เสริม
(ลูกพุด) ความชื้น แก้พษิ อักเสบ
ลดความร้อนในเลือด
梨皮 หลีผี ตัวยาช่วย หวาน เย็น ระบายความร้อน เสริมสารนํา้
อมฝาด ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ระงับ
ไอ ลดไข้
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลัก ได้แก่ ซังเยี่ย มีสรรพคุณรักษาอาการแห้งอันเนื่องมาจาก
อากาศภายนอก ช่วยการไหลเวียนของชี่ทป่ี อด ระงับอาการไอ ซิง่ เหรินช่วยให้ช่ปี อดกระจาย ให้ความ-
ชุ่มชื้นและระงับไอ ตัวยาเสริม ได้แก่ ตัน้ โต้วฉื่อมีสรรพคุณเสริมฤทธิ์ของซังเยี่ยในการขับกระจายชี่ของ
ปอด ช่วยให้ช่ขี องปอดไหลเวียนดีข้นึ ซาเซินและเจ้อเป้ ยห์ มู่ช่วยเสริมฤทธิ์ของซิ่งเหรินในการให้ความ
ชุ่มชื้นแก่ปอดและระงับไอ ตัวยาช่วย ได้แก่ ซานจือจื่อช่วยระบายความร้อนที่ปอด และหลีผชี ่วยเพิม่
ความชุ่มชื้นแก่ปอด1,3,4
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม5
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ตํารับยานี้มฤี ทธิ์อ่อน ไม่ควรใช้กบั ผูป้ ่ วยกลุ่มอาการร้อนแห้งอย่างรุนแรงจนอินของปอดถูก
ทําลาย มีไข้และไอหอบ ลิ้นแห้งมีสแี ดง และมีฝ้าบางขาว4
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 473

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาอาการไอเรื้อรัง ลดไข้ บรรเทาอาการอักเสบ
และฆ่าเชื้อ4,5
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาซังซิ่งทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี:
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
4. Zhou YF. Science of Prescriptions. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai University of Traditional Chinese
Medicine, 2002.
5. Xu CH. Sang Xing Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
474 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

ชิงจ้าวจิ้วเฟ่ ย์ทงั (清燥救肺汤)


ตําราต้นตํารับ
医门法津 อีเหมินฝ่ าลฺว่ี (Principle and Prohibition for Medical Profession)1
« ค.ศ. 1658 Yu Chang (喻昌 ยฺวชี าง) »2
ประกอบด้วย
冬桑叶 Folium Mori ตงซังเยีย่ 9 กรัม
石膏 Gypsum Fibrosum สือเกา 7.5 กรัม
麦门冬 Ophiopogonis ไม่เหมินตง 3.6 กรัม
(去心) (core removed) (ชฺวซ่ี นิ )
杏仁 Semen Pruni Armeniacae ซิง่ เหริน 2 กรัม
(去皮尖,炒) (skin removed, fried) (ชฺวผ่ี เี จียน, เฉ่ า)
枇杷叶 Folium Eriobotryae ผีผาเยีย่ 3 กรัม
(刷去毛, (hair removed, (ซฺวาชฺวเ่ี หมา,
蜜涂灸黄) honey-fried to yellow) มีถ่ จู ้ อื หวง)
真阿胶 Colla Corii Asini เจินอาเจียว 2.4 กรัม
胡麻仁 Semen Sesami หูหมาเหริน 3 กรัม
(炒,研) (fried and ground) (เฉ่ า, เอีย๋ น)
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 2 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 3 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ให้ความชุ่มชื้น ขจัดความแห้งของปอด1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 475

ตํารับยา ชิงจ้าวจิ้วเฟ่ ย์ทงั (清燥救肺汤)

สรรพคุณ
รักษาผูป้ ่ วยภาวะปอดแห้งร้อน ซึง่ มีสาเหตุจากความแห้งร้อนเข้าสู่ระบบชี่ โดยมีอาการตัวร้อน
ปวดศีร ษะ ไอแห้ง ไม่ม ีเสมหะ เหนื่ อ ยหอบเนื่ อ งจากชี่ย อ้ นกลับ ลํา คอและจมูก แห้ง แน่ น หน้า อก
เจ็บชายโครง คอแห้ง กระหายนํา้ หงุดหงิด ลิ้นแห้งไม่มฝี ้ า ชีพจรใหญ่พร่องและเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยคออักเสบ หลอดลมอักเสบ
ถุงลมโป่ งพอง วัณโรคปอดทีเ่ กิดจากความร้อนแห้งกระทบปอด หรือความร้อนแห้งเข้าสู่ระบบชี่1,3
476 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

2 เซนติเมตร
3 เซนติเมตร สือเกา (石膏)
ตงซังเยีย่ (冬桑叶)

2 เซนติเมตร

2 เซนติเมตร
ไม่เหมินตง (麦门冬)
ซิง่ เหริน (杏仁)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เจินอาเจียว (真阿胶) ผีผาเยีย่ (枇杷叶)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร


หูหมาเหริน (胡麻仁) เหรินเซิน (人参) กันเฉ่ า (甘草)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 477

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
冬桑叶 ตงซังเยีย ่ ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายและกระจายความแห้ง
(ใบหม่อน) อมหวาน ร้อนของปอดและตับ ทําให้
ตาสว่าง
石膏 สือเกา ตัวยาเสริม เผ็ด เย็นมาก ขับระบายความร้อน ลดไข้ รักษา
(เกลือจืด) อมหวาน อาการร้อนกระวนกระวาย แก้
กระหายนํา้
麦门冬 (去心) ตัวยาเสริม หวาน เย็น เสริมบํารุงอินและทําให้ปอดชุ่ม-
ไม่เหมินตง (ชฺวซ่ี นิ ) อมขม เล็กน้อย ชื้น เสริมบํารุงสารนํา้ ให้กระเพาะ-
อาหาร ลดอาการกระวนกระวาย
ทําให้จติ ใจสบาย
杏仁 (去皮尖,炒) ตัวยาช่วย ขม อุ่น ระงับไอ ระงับหอบ หล่อลืน่ ลําไส้
ซิง่ เหริน (ชฺวผ่ี เี จียน, เล็กน้อย ระบายอ่อน ๆ
เฉ่ า)
枇杷叶 (刷去毛,蜜 ตัวยาช่วย ขม สุขมุ ระงับไอ ขับเสมหะ ลดอาการ
涂灸黄) ผีผาเยีย่ ชี่ยอ้ นขึ้น ปรับประสานตัวยา
(ซฺวาชฺวเ่ี หมา, มีถ่ จู ้ อื หวง) ทัง้ หมดให้เข้ากัน
真阿胶 เจินอาเจียว ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ บํารุงเลือด ห้ามเลือด เสริมบํารุง
(กาวหนังลา) อิน บํารุงปอดให้ช่มุ ชื้น
胡麻仁 (炒, 研) ตัวยาช่วย หวาน สุขมุ เสริมบํารุงอิน บํารุงปอดให้ช่มุ ชื้น
หูหมาเหริน (เฉ่ า, เอีย๋ น) หล่อลืน่ ลําไส้ ระบายอ่อน ๆ
(เมล็ดงาผัดแล ้วบด)
人参 เหรินเซิน ตัวยาช่วย หวาน อุ่น เสริมบํารุงเหวียนชี่ เสริมม้าม
(โสมคน) อมขม เล็กน้อย บํารุงปอด เสริมนํา้ ลดอาการ
เล็กน้อย กระหายนํา้ และสงบประสาท
478 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


甘草 กันเฉ่ า ตัวยาช่วย อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงม้าม ระงับไอ ระบาย
(ชะเอมเทศ) ความร้อน ขับพิษ ระงับปวด เพิม่
การปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตงซังเยี่ยเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณระบายและกระจายความแห้งร้อน
ของปอด ตัวยาเสริม ได้แก่ สือเกาและไม่เหมินตง มีสรรพคุณระบายความร้อนแห้งและเพิม่ ความชุ่มชื้น
ให้แก่ปอด ตัวยาช่วย ได้แก่ ซิง่ เหรินและผีผาเยี่ยมีสรรพคุณเสริมชี่ให้ปอด เจินอาเจียวและหูหมาเหริน
เสริมอินและเพิม่ ความชุ่มชื้นให้ปอด เหรินเซินและกันเฉ่ าเสริมชี่และปรับประสานส่วนกลางของร่างกาย1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาผง4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ควรระมัดระวังการใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยทีม่ ้ามและกระเพาะอาหารพร่อง5
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณบรรเทาอาการคออักเสบ ปอดอักเสบ กระตุน้ กลไก
การขจัดเสมหะ ระงับอาการไอ เสริมบํารุงร่างกายให้แข็งแรง1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาชิงจ้าวจิ้วเฟ่ ยท์ งั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Xu CH. Qing Zao Jiu Fei Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Bensky D, Barolet R. Chinese herbal medicine: Formulas & strategies. 1st ed. Seattle: Eastland Press, 1990.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 479

ไป่ เหอกูจ้ นิ ทัง (百合固金汤)


ตําราต้นตํารับ
1
医方集解 อีฟางจีเ๋ จี่ย (Collection of Prescription with Notes)
« ค.ศ. 1846 Bao Xiang’ao (鲍相璈 เป้ าเซียงเอ๋า) »2
ส่วนประกอบ
生地黄 Radix Rehmanniae เซิงตี้หวง 6 กรัม
熟地黄 Radix Rehmanniae Praeparata สูต้ หี วง 9 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis ไม่ตง 5 กรัม
百合 Bulbus Lilii ไป่ เหอ 3 กรัม
贝母 Bulbus Fritillariae เป้ ยห์ มู่ 3 กรัม
白芍 (炒) Radix Paeoniae Alba (parched) ไป๋ เสา (เฉ่ า) 3 กรัม
玄参 Radix Scrophulariae เสฺวยี นเซิน 3 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 3 กรัม
桔梗 Radix Platycodonis เจีย๋ เกิง 3 กรัม
生甘草 Radix Glycyrrhizae เซิงกันเฉ่ า 3 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
สร้างอิน ทําให้ปอดชุ่มชื้น ละลายเสมหะ ระงับไอ1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการไอที่มสี าเหตุจากความแห้งกระทบปอด โดยมีอาการลําคอแห้งและเจ็บ ไอ
หายใจหอบ เสมหะมีเลือดปน รูส้ กึ ร้อนทีฝ่ ่ ามือและฝ่ าเท้า ลิ้นแดง ฝ้ าน้อย ชีพจรเล็กเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยวัณโรคปอด หลอดลมอักเสบ
เรื้อรัง หลอดลมโป่ งพอง คออักเสบเรื้อรัง และไอจากปอดแห้ง1,3
480 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

ตํารับยา ไป่ เหอกูจ้ นิ ทัง (百合固金汤)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เซิงตี้หวง (生地黄) สูต้ หี วง (熟地黄)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร ไป่ เหอ (百合)
ไม่ตง (麦冬)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 481

2 เซนติเมตร
เป้ ยห์ มู่ (贝母)
2 เซนติเมตร
ไป๋ เสา (เฉ่ า)[白芍(炒)]

2 เซนติเมตร 3 เซนติเมตร
เสฺวยี นเซิน (玄参)
ตังกุย (当归)

2 เซนติเมตร
เจีย๋ เกิง (桔梗)
2 เซนติเมตร
เซิงกันเฉ่ า (生甘草)

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
生地黄 เซิงตี้หวง ตัวยาหลัก หวาน เย็น ระบายความร้อนในเลือด เสริมอิน
(โกฐขี้แมว) อมขม ชี่ของตับและไต สร้างสารนํา้
熟地黄 สู ต้ ห ี วง ตัวยาหลัก อมหวาน อุ่น บํารุงอินและเลือด เสริมอสุจแิ ละ
(โกฐขี้แมวนึ่งเหล ้า) เล็กน้อย ไขกระดูก
482 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


麦冬 ไม่ตง ตัวยาเสริม หวาน เย็น เสริมบํารุงอินและทําให้ปอดชุ่มชื้น
อมขม เล็กน้อย เสริมบํารุงสารนํา้ ให้กระเพาะอาหาร
ลดอาการกระวนกระวาย ทําให้
จิตใจสบาย
百合 ไป่ เหอ ตัวยาเสริม หวาน เย็น เสริมอิน ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด
เล็กน้อย ระงับไอ ระบายความร้อนของ
หัวใจ ทําให้จติ ใจสบาย
贝母 เป้ ยห์ มู่ ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อน ละลายเสมหะ
อมหวาน เล็กน้อย ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด ระงับไอ
สลายก้อน ลดบวม
白芍 (炒) ตัวยาช่วย ขมเปรี้ยว เย็น เสริมอินเลือด ปรับเส้นลมปราณ
ไป๋ เสา (เฉ่ า) อมหวาน เล็กน้อย และประจําเดือน ปรับสมดุลชี่ของ
ตับ ระงับปวด เก็บกักอินชี่ ระงับ
เหงือ่
玄参 เสฺวยี นเซิน ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด ลดพิษ
อมหวาน ร้อนเข้าสู่กระแสเลือดและระบบ
หัวใจ เสริมอิน ขับพิษ บรรเทา
อาการท้องผูก
当归 ตังกุย ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น เพิม่ การไหลเวียนและบํารุงเลือด
อมหวาน ปรับประจําเดือนให้เป็ นปกติ
桔梗 เจีย๋ เกิง ตัวยาช่วย ขม สุขมุ กระจายชี่ทป่ี อด ขับเสมหะ ระงับ
อมเผ็ด อาการไอทีม่ เี สมหะมาก อึดอัด
แน่นหน้าอก คอบวมเจ็บ ขับฝี
หนองและเสมหะในปอด
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 483

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


生甘草 เซิงกันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(ชะเอมเทศ) ระบายความร้อน ขับพิษ ระงับไอ
ขับเสมหะ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ เซิงตี้หวงและสูต้ หี วง มีสรรพคุณเสริมอิน บํารุงไต ช่วย
ปรับให้เลือดเย็นลง และห้ามเลือด ตัวยาเสริม ได้แก่ ไม่ตง ไป่ เหอ และเป้ ยห์ มู่ มีสรรพคุณเสริมอิน
ช่วยเพิม่ ความชุ่มชื้นแก่ปอด ละลายเสมหะ ระงับอาการไอ ตัวยาช่วย ได้แก่ เสฺวยี นเซิน เสริมอิน ช่วย
ลดความร้อนในเลือด ตังกุย มีสรรพคุณเสริมเลือด ลดความแห้ง ไป๋ เสา (เฉ่ า) มีสรรพคุณเสริมอินของ
เลือด เจีย๋ เกิง ช่วยกระจายชี่ปอด ระงับอาการไอ ขับเสมหะ กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา ช่วยปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน และเมือ่ ใช้ร่วมกับเจีย๋ เกิงจะช่วยให้ลาํ คอโล่ง1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน ยาลูกกลอนเขม้ ข้น ยาชงละลาย4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
เนื่องจากตัวยาในตํารับนี้ส่วนใหญ่มรี สหวาน คุณสมบัตเิ ย็น เสริมความชุ่มชื้น จึงอาจจะทําให้
เกิดความเหนียวมากจนชี่ติดขัดได้ หากผูท้ ่มี มี า้ มพร่อง ถ่ายเหลว ท้องอืด ปวดท้อง เบื่ออาหาร ต้อง
ระมัดระวังในการใช้หรือห้ามใช้1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: เมือ่ ศึกษาในผูป้ ่ วยทีม่ อี าการหายใจหอบ จํานวน 30 ราย โดยแบ่งเป็ น
2 กลุม่ กลุม่ ละ 15 ราย กลุม่ ที่ 1 ให้รบั ประทานยาต้มร่วมกับยาแผนปัจจุบนั กลุม่ ที่ 2 ให้รบั ประทาน
ยาแผนปัจจุบนั อย่างเดียว พบว่าผูป้ ่ วยหายเป็ นปกติเมือ่ พักรักษาตัวทีโ่ รงพยาบาลเฉลีย่ 18.93 วัน และ
27.83 วัน ตามลําดับ เมือ่ ศึกษาในผูป้ ่ วยเนื้องอกจํานวน 36 ราย ที่ได้รบั การรักษาโดยการฉายรังสี
และในระหว่างการรักษามีอาการปอดอักเสบจากการไอ หายใจขัด ปากแห้ง คอแห้ง เป็ นไข้ โดยให้
ผูป้ ่ วยรับประทานยาต้มวันละ 2 ห่อ ติดต่อกันหลายห่อ จนกว่าอาการขา้ งเคียงเหล่านี้หายไป และใน
ระหว่างการฉายรังสี ให้รบั ประทานยาต้มด้วย พบว่าสามารถลดอาการข้างเคียงได้ผลดี และช่วยเพิ่ม
ประสิทธิผลการรักษาทางคลินิก อีกการศึกษาในผูป้ ่ วยวัณโรคปอดจํานวน 30 ราย ได้ผลดี 26 ราย ไม่
484 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

ได้ผล 4 ราย นอกจากนี้ เมือ่ ให้ยาตํารับนี้เพือ่ รักษาอาการไอเรื้อรังในเด็กจํานวน 42 ราย พบว่าได้ผล


ร้อยละ 97.64
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, วราภรณ์ ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน. ตํารับยาไป่ เหอกูจ้ นิ ทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Xu CH. Baihe Gujin Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 485

หยัง่ อินชิงเฟ่ ย์ทงั (养阴清肺汤)


ตําราต้นตํารับ
重楼玉钥 ฉงโหลวยฺวเ่ี ย่า (Jade Key to the Selected Chamber)1
« ค.ศ. 1838 Zheng Meijian (郑梅涧 เจิ้งเหมยเจี้ยน) »2
ส่วนประกอบ
大生地 Radix Rehmanniae ต้าเซิงตี้ 6 กรัม
麦冬 Radix Ophiopogonis ไม่ตง 5 กรัม
玄参 Radix Scrophulariae เสฺวยี นเซิน 5 กรัม
丹皮 Cortex Moutan Radicis ตันผี 3 กรัม
贝母 (去心) Bulbus Fritillariae (core removed) เป้ ยห์ มู่ (ชฺวซ่ี นิ ) 3 กรัม
白芍 (炒) Radix Paeoniae Alba (parched) ไป๋ เสา (เฉ่ า) 3 กรัม
薄荷 Herba Menthae ป๋ อเหอ 2 กรัม
生甘草 Radix Glycyrrhizae เซิงกันเฉ่ า 2 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
เสริมอิน ระบายความร้อนในปอด1,3
สรรพคุณ
รักษาคอตีบทีม่ สี าเหตุจากอินพร่อง โดยมีอาการเป็ นไข้ จมูกแห้ง ริมฝี ปากแห้ง อาจมีหรือไม่มี
อาการไอ หายใจไม่คล่องคล ้ายเป็ นหอบหืด แต่ไม่ได้เป็ นโรคหอบหืด ลําคอมีแผ่นเยือ่ ขาว ลอกออกยาก1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีอ่ นิ พร่อง เช่น มีอาการคอตีบ
คอหอยหรือต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน หลอดลมหรือคอหอยอักเสบเรื้อรัง1,3
486 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

ตํารับยา หยัง่ อินชิงเฟ่ ย์ทงั (养阴清肺汤)

2 เซนติเมตร
ต้าเซิงตี้ (大生地) 2 เซนติเมตร
ไม่ตง (麦冬)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เสฺวยี นเซิน (玄参) ตันผี (丹皮)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 487

2 เซนติเมตร
เป้ ยห์ มู่ (ชฺวซ่ี นิ ) [贝母(去心)]
2 เซนติเมตร
ไป๋ เสา (เฉ่ า) [白芍(炒)]

2 เซนติเมตร
เซิงกันเฉ่ า (生甘草) 2 เซนติเมตร
ป๋ อเหอ (薄荷)

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
大生地 ต้าเซิงตี้ ตัวยาหลัก หวาน เย็น ระบายความร้อนในเลือด
(โกฐขี้แมว) อมขม เสริมอินชี่ของตับและไต สร้าง
สารนํา้
麦冬 ไม่ตง ตัวยาหลัก หวาน เย็น เสริมบํารุงอินและทําให้ปอด
อมขม เล็กน้อย ชุ่มชื้น เสริมบํารุงสารนํา้ ให้
กระเพาะอาหาร ลดอาการ
กระวนกระวาย ทําให้จติ ใจ
สบาย
488 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ


玄参 เสฺวย
ี นเซิน ตัวยาหลัก ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด
อมหวาน ลดพิษร้อนเข้าสูก่ ระแสเลือด
เค็ม และระบบหัวใจ เสริมอิน
ขับพิษ บรรเทาอาการท้องผูก
丹皮 ตันผี ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด
(เปลือกรากโบตัน)๋ อมเผ็ด เล็กน้อย กระจายเลือดคัง่ ช่วยให้การ
ไหลเวียนของเลือดดีข้นึ
贝母 (去心) ตัวยาช่วย ขม เย็น ระบายความร้อน ละลาย
เป้ ยห์ มู่ (ชฺวซ่ี นิ ) อมหวาน เล็กน้อย เสมหะ ให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด
ระงับไอ สลายเสมหะทีจ่ บั ตัว
เป็ นก้อน ลดบวม
白芍 (炒) ตัวยาช่วย ขมเปรี้ยว เย็น เสริมอินของเลือด ปรับเส้น
ไป๋ เสา (เฉ่ า) อมหวาน เล็กน้อย ลมปราณและประจําเดือน
ปรับสมดุลชี่ของตับ ระงับ
ปวด เก็บกักอินชี่ ระงับเหงือ่
薄荷 ป๋ อเหอ ตัวยานําพา เผ็ด เย็น กระจายลมร้อนทีก่ ระทบต่อ
ร่างกาย ระบายความร้อน
ช่วยให้สมองโปร่ง สายตา
มองเห็นชัดขึ้น ลําคอโล่ง
ผ่อนคลายตับ คลายเครียด
生甘草 เซิงกันเฉ่ า ตัวยานําพา หวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศ) ร่างกาย ระบายความร้อน
ขับพิษ ระงับไอ ขับเสมหะ
ปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 489

ตํารับยานี้เป็ นตํารับรักษาอาการคอตีบที่มสี าเหตุจากอินพร่องโดยเฉพาะ ประกอบด้วยตัวยา


หลัก ได้แก่ ต้าเซิงตี้ มีสรรพคุณช่วยเสริมอินของไต ไม่ตงสร้างอินให้แก่ปอด เสฺวยี นเซินขับพิษและ
ขจัดความร้อนพร่อง ตันผีเป็ นตัวยาเสริม มีสรรพคุณลดอาการบวมและความร้อนในเลือด ตัวยาช่วย
ได้แก่ เป้ ยห์ มู่ (ชฺว่ซี ิน) ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ปอด ละลายเสมหะ ไป๋ เสา (เฉ่ า) ช่วยเก็บกักอินชี่และ
ระบายความร้อน ตัวยานําพา ได้แก่ ป๋ อเหอ ช่วยให้ลาํ คอโล่ง เซิงกันเฉ่ า ขจัดพิษและปรับประสานตัวยา
ให้เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน ยานํา้ เชื่อม สารสกัดเข้มข้นกึ่งเหลว4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ตา้ นเชื้อคอตีบในหลอดทดลอง เสริมภูมคิ ุม้ กันใน
หนู ตะเภาและหนู ถบี จักร4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาอาการคอตีบ ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
ระงับไอ ขับเสมหะ เจ็บคอ ช่องปากอักเสบ โรคเกี่ยวกับเยือ่ ประสาทเสียง และเลือดกําเดาไหล1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาหยัง่ อินชิงเฟ่ ยท์ งั . [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูล
ยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Xu CH. Yangyin Qingfei Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
490 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

ไม่เหมินตงทัง (麦门冬汤)
ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ประกอบด้วย
麦门冬 Radix Ophiopogonis ไม่เหมินตง 60 กรัม
人参 Radix Ginseng เหรินเซิน 6 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 4 กรัม
粳米 Oryzae Glutinosae จิงหมี่ 6 กรัม
大枣 Fructus Ziziphi Jujubae ต้าเจ่า 3 ผล
半夏 Rhizoma Pinelliae ปัน้ เซีย่ 9 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
เสริมบํารุงปอดและกระเพาะอาหาร ปรับประสานส่วนกลางของร่างกาย และกดชี่ท่ยี อ้ นขึ้นให้
ลงล่าง1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการปอดฝ่ อซึ่งมีอาการไอ โดยมีเสลดและนํา้ ลายมาก เหนื่อยหอบหรือหายใจสัน้ ๆ
ปากแห้ง คอแห้ง กระหายนํา้ ลิ้นแห้งมีสแี ดง ฝ้ าน้อย ชีพจรพร่อง เต้นถี1,3่
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยทีม่ อี าการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
คออักเสบเรื้อรัง วัณโรคปอด กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง กระเพาะอาหารรัดตัวทําให้อกั เสบ ภาวะอิน
ของปอดและกระเพาะอาหารพร่องภายหลังจากฟื้ นไข้1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 491

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
麦门冬 ไม่เหมินตง ตัวยาหลัก หวาน เย็น เสริมบํารุงอินและทําให้ปอด
อมขม เล็กน้อย ชุ่มชื้น เสริมบํารุงสารนํา้ ให้
กระเพาะอาหาร ลดอาการกระวน-
กระวาย ทําให้จติ ใจสบาย
人参 เหรินเซิน ตัวยาเสริม หวานอม อุ่น บํารุงชี่และเสริมกําลัง บํารุงหัวใจ
(โสมคน) ขมเล็กน้อย เล็กน้อย และปอด
甘草 กันเฉ่ า ตัวยาเสริม อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของ
(ชะเอมเทศ) ร่างกาย ระบายความร้อน ขับพิษ
ระงับไอ ขับเสมหะ ปรับประสาน
ตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน
粳米 จิงหมี่ ตัวยาเสริม หวานจืด สุขมุ เสริมกระเพาะอาหาร ป้ องกันสาร
(ข้าวเจ้า) และนําพา นํา้ เมือ่ ใช้คู่กบั กันเฉ่ าจะช่วย
ป้ องกันส่วนกลางของร่างกาย
(กระเพาะอาหาร) ไม่ให้ถกู กลุม่
ยาเย็นไปทําลาย
大枣 ต้าเจ่า ตัวยาเสริม หวาน อุ่น ปรับสมดุลม้าม และกระเพาะ-
(พุทราจีน) และนําพา อาหาร
半夏 ปัน ้ เซีย่ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ขจัดความชื้น ละลายเสมหะ ลด
(มีพษิ )* การไหลย้อนกลับของชี่ บรรเทา
อาการคลืน่ ไส้ อาเจียน สลาย
เสมหะทีเ่ กาะตัวเป็ นก้อน

*
ปัน้ เซีย่ เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้
492 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

ตํารับยา ไม่เหมินตงทัง (麦门冬汤)

ตํารับยานี้ประกอบด้วยไม่เหมินตงเป็ นตัวยาหลัก ใช้ปริมาณสูง เพือ่ เสริมบํารุงอินของปอดและ


กระเพาะอาหาร พร้อมทัง้ ระบายอาการร้อนพร่ องของปอดและกระเพาะอาหาร ตัวยาเสริม ได้แ ก่
เหรินเซินเสริมชี่และบํารุงส่วนกลางของร่างกาย เมือ่ ใช้ร่วมกับไม่เหมินตงจะเสริมฤทธิ์ในการเสริมชี่และ
นํา้ ทําให้คอไม่แห้ง จิงหมี่และต้าเจ่าเป็ นตัวยาเสริมและนําพา มีฤทธิ์บาํ รุงม้ามและกระเพาะอาหาร
ปัน้ เซีย่ เป็ นตัวยาช่วย มีฤทธิ์กดชี่ทย่ี อ้ นขึ้นให้ลงล่างและละลายเสมหะ1,3
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 493

2 เซนติเมตร
ไม่เหมินตง (麦门冬)
2 เซนติเมตร
เหรินเซิน (人参)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
กันเฉ่ า (甘草) จิงหมี่ (粳米)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ต้าเจ่า (大枣) ปัน้ เซีย่ (半夏)
494 ตํารับยารักษาอาการแห้งขาดความชุ่มชื้น

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยกลุม่ อาการปอดฝ่ อทีม่ สี าเหตุการกระทบลมเย็น1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ช่วยให้การทํางานของระบบทางเดินหายใจดีข้ นึ ใน
กระต่าย ระงับไอและขับเสมหะ บรรเทาอาการปอดอักเสบระยะแรกเริ่มในหนู ขาว4 ลดอาการไวเกินต่อ
การตอบสนองของทางเดินหายใจหนู ตะเภา5,6 และลดนํา้ ตาลในเลือดหนู ถบี จักร4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้สามารถเสริมบํารุงร่างกาย รักษาอาการเสลดติดคอในผูป้ ่ วย
สูงอายุทม่ี ปี ญั หาจากโรคระบบทางเดินหายใจชนิดเรื้อรัง ระงับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
ระงับไอ ขับเสมหะ โดยจะให้ผลการรักษาทีด่ กี บั ผูป้ ่ วยโรคหืดทีท่ างเดินหายใจอักเสบอย่างรุนแรง ผูป้ ่ วย
เพศหญิง และระยะของโรคไม่เกิน 1 ปี นอกจากนี้ ตํารับยานี้ยงั มีสรรพคุณ บรรเทาอาการปอดอักเสบ
หลอดลมอักเสบ คอแห้ง และกระเพาะอาหารอักเสบ1,3,4,7
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. สว่าง กอแสงเรือง. ตํารับยาไม่เหมินตงทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Xu CH. Mai Men Dong Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese Medicine.
Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Aizawa H, Yoshida M, Inoue H, Hara N. Traditional oriental herbal medicine, Bakumondo-to, suppresses vagal
neuro-effector transmission in guinea pig trachea. J Asthma 2003; 40(5): 497-503.
6. Aizawa H, Shigyo M, Nakano H, Matsumoto K, Inoue H, Hara N. Effect of the Chinese herbal medicine,
Bakumondo-to, on airway hyperresponsiveness induced by ozone exposure in guinea-pigs. Respirology 1999; 4(4):
349-54.
7. Chen JK, Chen TT. Chinese Herbal Formulas and Applications. CA: Art of Medicine Press, 2008.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 495

ซื่อเมี่ยวหย่งอันทัง (四妙勇安汤)
ตําราต้นตํารับ
验方新编 เอี้ยนฟางซินเพียน (New Compilation of Proved Recipes)1
« ค.ศ. 1846 Bao Xiang’ao (鲍相璈 เป้ าเซียงเอ๋า) »2
ส่วนประกอบ
金银花 Flos Lonicerae จินอิน๋ ฮฺวา 90 กรัม
玄参 Radix Scrophulariae เสฺวยี นเซิน 90 กรัม
当归 Radix Angelicae Sinensis ตังกุย 30 กรัม
甘草 Radix Glycyrrhizae กันเฉ่ า 15 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อน ขจัดพิษ ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีข้นึ ระงับปวด1,3
สรรพคุณ
รักษาอาการเน่าตายของเนื้อเยือ่ และกระดูกตรงส่วนปลายของนิ้วเท้า ซึง่ เกิดจากการอักเสบและ
การอุดตันของเส้นเลือดทีม่ สี าเหตุจากอินพร่องร้อนแกร่ง โดยผิวหนังบริเวณนัน้ จะมีสดี าํ คลํา้ บวมเล็กน้อย
ปวดมาก เน่าและมีกลิน่ เหม็น มีไข้ กระหายนํา้ ลิ้นแดง ชีพจรเต้นเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยหลอดเลือดแดงอักเสบที่มี
สาเหตุจากการอุดตันในหลอดเลือด หรือจากสาเหตุอน่ื 1,3
496 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

ตํารับยา ซื่อเมี่ยวหย่งอันทัง (四妙勇安汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
จินอิน๋ ฮฺวา (金银花) เสฺวยี นเซิน (玄参)

3 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ตังกุย (当归) กันเฉ่ า (甘草)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 497

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
金银花 จินอิน ๋ ฮฺวา ตัวยาหลัก อมหวาน เย็น ระบายความร้อน ขับพิษฝี หนอง
(ดอกสายนํา้ ผึ้ง) บรรเทาหวัดจากการกระทบลมร้อน
玄参 เสฺวยี นเซิน ตัวยาเสริม ขม เย็น ระบายความร้อนในเลือด ลดพิษ
อมหวาน ร้อนเข้าสู่กระแสเลือดและระบบ
เค็ม หัวใจ เสริมอิน ขับพิษ บรรเทา
อาการท้องผูก
当归 ตังกุย ตัวยาช่วย หวาน อุ่น บํารุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียน
อมเผ็ด ดี ลดบวม ระงับปวด
甘草 กันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลางของร่างกาย
(ชะเอมเทศ) ระบายความร้อน ขับพิษ ระงับไอ
ขับเสมหะ ปรับประสานตัวยา
ทัง้ หมดให้เข้ากัน
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ จินอิน๋ ฮฺวามีสรรพคุณระบายความร้อน ขับพิษ ตัวยา
เสริม คือ เสฺ ว ีย นเซิน มีส รรพคุณ ขับ พิษ ร อ้ น ตัง กุย เป็ น ตัว ยาช่ ว ย ช่ ว ยให เ้ ลือ ดไหลเวีย นดีข้ึน
สลายเลือ ดคัง่ กันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา เมือ่ ใช้ร่วมกับจินอิน๋ ฮฺวา จะช่วยให้สรรพคุณระบายความร้อน
และขจัดพิษดีข้นึ 1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ไม่ควรใช้ตาํ รับยานี้กบั ผูป้ ่ วยโรคหลอดเลือดอักเสบทีม่ กี ลุม่ อาการเย็น หรือชี่และเลือดพร่อง1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์ระงับปวดในหนู ถบี จักร4
498 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

การศึกษาทางคลินิก: เมือ่ ให้ยาต้มโดยเพิม่ ตัวยาอืน่ ให้เหมาะสมแก่ผูป้ ่ วยโรคหลอดเลือดอุดตัน


ทีเ่ กิดจากการอักเสบจํานวน 120 ราย พบว่าได้ผลร้อยละ 100 อีกการศึกษาให้ยาต้มซือ่ เมีย่ วหย่งอันทัง
รักษาผูป้ ่ วยโรคดังกล่าว จํานวน 30 ราย พบว่าได้ผลดีมาก 28 ราย4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of Common
Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, วราภรณ์ ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน. ตํารับยาซื่อเมีย่ วหย่งอันทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยา
สมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Li Y. Simaio Yongan Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 499

หยางเหอทัง (阳和汤)
ตําราต้นตํารับ
外科全生集 ไว่เคอเฉฺวยี นเซิงจี ๋ (Life-saving Manual of Diagnosis and Treatment of
External Diseases)1
« ค.ศ. 1740 Wang Weide (王惟德 หวางเหวย์เต๋อ) »2
ส่วนประกอบ
熟地 Radix Rehmanniae Praeparata สูต้ ี 30 กรัม
鹿角胶 Colla Cornus Cervi ลูเ่ จี่ยวเจียว 9 กรัม
肉桂 Cortex Cinnamomi โร่วกุย้ 3 กรัม
(研粉) (ground into fine powder) (เอีย๋ นเฝิ่ น)
姜炭 Zingiberis Praeparata เจียงถ้าน 2 กรัม
麻黄 Herba Ephedrae หมาหวง 2 กรัม
白芥子 Semen Sinapis Albae ไป๋ เจี้ยจื่อ 6 กรัม
生甘草 Radix Glycyrrhizae เซิงกันเฉ่ า 3 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
อุ่นหยางบํารุงเลือด กระจายความเย็น ทะลวงการอุดกัน้ 1,3
500 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

ตํารับยา หยางเหอทัง (阳和汤)

2 เซนติเมตร
สูต้ ี (熟地) 2 เซนติเมตร
โร่วกุย้ (เอีย๋ นเฝิ่ น) [肉桂(研粉)]

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เจียงถ้าน (姜炭) ลูเ่ จี่ยวเจียว (鹿角胶)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 501

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร ไป๋ เจี้ยจื่อ (白芥子)
หมาหวง (麻黄)

2 เซนติเมตร
เซิงกันเฉ่ า (生甘草)

สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการอินที่เกิดจากหยางพร่องและถูกความเย็นจับตัวเกิดเป็ นก้อน โดยมีลกั ษณะ
เป็ นตุ่มก้อนหรือเป็ นฝี ทไ่ี ม่มหี วั บริเวณทีเ่ ป็ นตุ่มก้อนสีไม่เปลีย่ นแปลงและไม่รอ้ น ไม่มอี าการกระหายนํา้
ลิ้นซีด มีฝ้าขาว ชีพจรจมเล็ก1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิม่ หรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยวัณโรคกระดูก วัณโรคทีเ่ ยือ่ บุช่อง
ท้อง วัณโรคต่อมนํา้ เหลือง หลอดเลือดอักเสบจากลิม่ เลือดอุดตัน ไขกระดูกสันหลังอักเสบชนิดเรื้อรัง
เป็ นฝี ระดับลึกมานาน หมอนรองกระดูกสันหลังโป่ งออกหรือกระดูกสันหลังหนาขึ้น เนื่องจากหยางพร่อง
และมีความเย็นจับตัวกัน1,3
502 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
熟地 สู ต้ ี ตัวยาหลัก หวาน อุ่น บํารุงอินและเลือด เสริมอสุจิ
(โกฐขี้แมวนึ่งเหล ้า) เล็กน้อย และไขกระดูก
鹿角胶 ลูเ่ จี่ยวเจียว ตัวยาเสริม เค็ม อุ่น บํารุงตับและไต เสริมอสุจแิ ละ
(กาวเขากวาง) บํารุงเลือด ห้ามเลือด
肉桂 (研粉) ตัวยาช่วย เผ็ด ร้อน เสริมหยาง บํารุงธาตุไฟใน
โร่วกุย้ (เอีย๋ นเฝิ่ น) อมหวาน ระบบไต ขับความเย็น ระงับ
(อบเชยจีนบดเป็ นผง) ปวด เพิม่ ความอบอุ่นให้ช่ี
ไหลเวียน
姜炭 เจียงถ้าน ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น ให้ความอบอุ่นแก่ปอดและ
(ขิงแก่เผาเป็ นถ่าน) กระเพาะอาหาร ระงับอาเจียน
ระงับไอ ดูดซับพิษ
麻黄 หมาหวง ตัวยาช่วย เผ็ดขม อุ่น ขับเหงือ่ ขับพิษไข้ กระจาย
เล็กน้อย* ชี่ปอด บรรเทาหอบ
白芥子 ไป๋ เจี้ยจื่อ ตัวยาช่วย เผ็ด อุ่น อุ่นปอด ช่วยให้ช่ไี หลเวียน
(เมล็ดพรรณผักกาด) ขับเสมหะ ระงับไอ บรรเทา
อาการหอบ กระจายการคัง่
สลายเมือกทีส่ ะสมอยู่ใต้
ผิวหนังและระหว่างกล ้ามเนื้อ
ระงับปวด
生甘草 เซิงกันเฉ่ า ตัวยานําพา อมหวาน สุขมุ เสริมชี่ บํารุงส่วนกลาง ขับพิษ
(ชะเอมเทศ) ระงับไอ ขับเสมหะ ปรับ
ประสานตัวยาทัง้ หมดให้เข้ากัน

* สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อนุญาตให้ยาทีผ่ ลิตขึ้นโดยมีลาํ ต้นและ/หรือกิ่งเอเฟดรา (Ephedra) คิดเป็ นนํา้ หนักลําต้นและ/


หรือกิ่งแห้งสําหรับรับประทานในมื้อหนึ่งไม่เกิน 2 กรัม
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 503

ตํารับยานี้ประกอบด้วยสู ต้ เี ป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณบํารุงและช่วยให้เลือดอุ่น ลู่เจี่ยวเจียว


เป็ นตัวยาเสริม ช่วยบํารุงไขกระดูกและช่วยเพิม่ จิง (精 หมายถึง สารจําเป็ นในร่างกาย) ทําให้เอ็นและ
กระดูกแข็งแรง และช่วยเสริมสรรพคุณในการบํารุงเลือดของสูต้ ี ตัวยาช่วย ได้แก่ เจียงถ้านและโร่วกุย้
(เอีย๋ นเฝิ่ น) มีสรรพคุณช่วยอุ่นและทะลวงเส้นลมปราณ สลายความเย็นทีจ่ บั ตัว หมาหวงช่วยเปิ ดรูขมุ ขน
และกล า้ มเนื้ อ เพือ่ กระจายความเย็น ออกสู ่ภ ายนอก และไป๋ เ จี้ย จื่อ ช่ว ยขับ เมือ กที่ส ะสมระหว่า ง
กลา้ มเนื้อกับใต้ผวิ หนัง เซิงกันเฉ่ าเป็ นตัวยานําพา มีสรรพคุณขจัดพิษและปรับประสานตัวยาทัง้ หมดให้
เข้ากัน1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม ยาลูกกลอน4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้กบั ผู ป้ ่ วยกลุ่มอาการหยาง หรือมีอาการกํา้ กึ่งระหว่างกลุ่มอาการหยางและอิน หรือ
ผูป้ ่ วยทีม่ อี าการอินพร่องและมีความร้อน และห้ามใช้หมาหวงเกินปริมาณทีก่ าํ หนด1,3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ตํา รับ ยานี้ ม ฤี ทธิ์ป้ องกัน การอัก เสบของกระดู ก อ่อ นข อ้ ต่อ ใน
5
กระต่าย
การศึกษาทางคลินิก: เมื่อนําเชื้อวัณโรคปอดจากเสมหะผูป้ ่ วยมาศึกษาในหลอดทดลอง
พบว่ายาต้มสามารถฆ่าเชื้อได้ มีรายงานการศึกษาวิจยั ทางคลินิกหลายฉบับทีแ่ สดงว่าตํารับยานี้สามารถ
รักษาผูป้ ่ วยวัณโรคกระดูกได้ผลดี นอกจากนี้ ยังพบว่ายาต้มสามารถรักษาอาการหมอนรองกระดูกสันหลัง
โป่ งออกหรือกระดูกสันหลังหนาขึ้น หลอดเลือดอักเสบจากลิม่ เลือดอุดตัน ประสาทส่วนกลางอักเสบ ไข-
กระดูกสันหลังอักเสบชนิดเรื้อรัง แผลมีหนอง หลอดลมอักเสบและไอหอบชนิดเรื้อรัง และการเต้นของ
หัวใจผิดปกติ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิรพินิจวงศ์. ตํารับยาหยางเหอทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
504 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

4. Li Y, Wang XD. Yanghe Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
5. Chen ZW, Chen YQ. Effects of Yanghe Decoction on vascular endothelial growth factor in cartilage cells of
osteoarthritis rabbits. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao 2008; 6(4): 372-5.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 505

เหว่ยจ์ งิ ทัง (苇茎汤)


ตําราต้นตํารับ
千金要方 เชียนจินเอี้ยวฟาง (Thousand Golden Prescriptions)1
« ค.ศ. 652 Sun Simiao (孙思邈 ซุนซือเหมีย่ ว) »2
ส่วนประกอบ
苇茎 Rhizoma Phragmitis เหว่ยจ์ งิ 30 กรัม
薏苡仁 Semen Coicis อี้อเ่ี หริน 30 กรัม
冬瓜子 Semen Benincasae ตงกวาจื่อ 24 กรัม
桃仁 Semen Persicae เถาเหริน 9 กรัม

วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขับร้อน ละลายเสมหะ ขจัดการคัง่ และขับหนอง1,3
สรรพคุณ
รักษากลุม่ อาการทีม่ กี ารคัง่ ของเสมหะร้อนทําให้เป็ นฝี ในปอด โดยมีอาการไอ เสมหะข้นเหลือง
มีหนองเลือดปน มีกลิน่ เหม็นคาว ไอมากจนมีความรูส้ กึ เจ็บลึก ๆ ในทรวงอก ลิ้นแดง ฝ้ าเหลืองเหนียว
ชีพจรลืน่ เร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยที่มฝี ี ในปอด ปอดอักเสบที่มี
เสมหะร้อนในปอด1,3
506 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

ตํารับยา เหว่ยจ์ งิ ทัง (苇茎汤)

2 เซนติเมตร
2 เซนติเมตร
เหว่ยจ์ งิ (苇茎) อี้อเ่ี หริน (薏苡仁)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ตงกวาจื่อ (冬瓜子) เถาเหริน (桃仁)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 507

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
苇茎 เหว่ยจ์ งิ ตัวยาหลัก อมหวาน เย็นมาก ลดไข้ บรรเทาอาการร้อนใน
(หญ้าแขม) กระหายนํา้ เพิม่ ความชุ่มชื้น
ให้ปอดและกระเพาะอาหาร
ระงับคลืน่ ไส้อาเจียน ระงับไอ
มีเสมหะเหลืองเข้มจากภาวะ
ปอดอักเสบ
薏苡仁 อี้อเ่ี หริน ตัวยาเสริม จืด เย็น สลายความชื้น ขับปัสสาวะ
(ลูกเดือย) อมหวาน เล็กน้อย บรรเทาอาการบวมนํา้ เสริม
บํารุงม้าม บรรเทาอาการ
ปวดขอ้ ปวดเมือ่ ยกล ้ามเนื้อ
บรรเทาอาการปอดอักเสบ
ลําไส้อกั เสบ ขับหนอง
冬瓜子 ตงกวาจื่อ ตัวยาเสริม อมหวาน เย็น ระบายความร้อนของปอด
(เมล็ดฟัก) เล็กน้อย ขับเสมหะ บรรเทาอาการ
ปอดอักเสบ ลําไส้อกั เสบ
และขับหนอง
桃仁 เถาเหริน ตัวยาช่วย ขม สุขมุ ช่วยให้เลือดในระบบตับและ
(เมล็ดท้อ) อมหวาน หัวใจไหลเวียนดี กระจาย
เลือดคัง่ รักษาภาวะขาด
ประจําเดือน ปวดประจําเดือน
หล่อลืน่ ลําไส้ ระบายอ่อน ๆ
ตํารับยานี้ประกอบด้วยเหว่ยจ์ งิ เป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณขจัดความร้อนในปอด ตัวยาเสริม
ได้แก่ อี้อเ่ี หรินและตงกวาจื่อ ช่วยขับเสมหะร้อน ระบายความชื้น และขับหนอง เถาเหรินเป็ นตัวยาช่วย
ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีข้นึ และสลายการคัง่ ของเลือด1,3
508 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: ยาต้มมีฤทธิ์บรรเทาอาการอ่อนเพลีย และเสริมสร้างระบบภูมคิ ุม้ กัน
ในหนู ถบี จักร4
การศึกษาทางคลินิก: ยาต้มมีสรรพคุณบรรเทาอาการฝี ในปอด ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ
ไอเรื้อรัง จมูกอักเสบ และขากรรไกรบนอักเสบ4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, สมชาย จิระพินิจวงศ์. ตํารับยาเหว่ยจ์ งิ ทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2552.
4. Li Y, Wang XD. Weijing Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional Chinese
Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 509

ต้าหวงหมู่ตนั ทัง (大黄牡丹汤)


ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย
่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ประกอบด้วย
大黄 Radix et Rhizoma Rhei ต้าหวง 18 กรัม
芒硝 Natrii Sulphas หมางเซียว 9 กรัม
牡丹皮 Cortex Moutan Radicis หมูต่ นั ผี 9 กรัม
桃仁 Semen Persicae เถาเหริน 12 กรัม
冬瓜子 Semen Benincasae ตงกวาจื่อ 30 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ระบายความร้อน ทะลวงการคัง่ และสลายการเกาะตัวของเลือด ลดอาการบวม1,3
สรรพคุณ
รักษาฝี ในลําไส้ระยะแรกที่ยงั ไม่กลัดหนอง โดยมีอาการเหงือ่ ออก ตัวร้อน ปวดท้องด้านขวา-
ส่วนล่าง เวลากดแล ้วเจ็บ หรือขาขวายืดไม่ได้1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยกลุ่มอาการร้อนชื้นที่มกี าร-
อักเสบเฉียบพลันของกระดูกก้นกบ อุง้ เชิงกราน และบริเวณโดยรอบ เช่น ไสต้ ่ิง ท่ออสุจิ รังไข่และ
ท่อรังไข่ และผูป้ ่ วยที่มฝี ี หนองในลําไส้ท่เี กิดจากความร้อนชื้นและเสมหะอุดกัน้ 1,3
510 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

ตํารับยา ต้าหวงหมู่ตนั ทัง (大黄牡丹汤)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ต้าหวง (大黄) หมางเซียว (芒硝)

2 เซนติเมตร
หมูต่ นั ผี (牡丹皮) 2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
เถาเหริน (桃仁) ตงกวาจื่อ (冬瓜子)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 511

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
大黄 ต้าหวง ตัวยาหลัก ขม เย็น ขับถ่ายของเสียตกค้าง สลายก้อน
(โกฐนํา้ เต้า) ระบายความร้อน ห้ามเลือดขจัดพิษ
ช่วยให้เลือดมีการไหลเวียนดีข้นึ
芒硝 หมางเซียว ตัวยาเสริม เค็มอมขม เย็น ขับถ่าย สลายก้อนอุจจาระทีแ่ ข็ง
(ดีเกลือ) ให้อ่อนตัวลง ระบายความร้อน
牡丹皮 หมูต ่ นั ผี ตัวยาเสริม ขมอมเผ็ด เย็น ทําให้เลือดเย็นลง ระบายความร้อน
(เปลือกรากโบตัน)๋ เล็กน้อย ขับความร้อนทีห่ ลบอยู่ในเลือด
桃仁 เถาเหริน ตัวยาช่วย ขม สุขมุ ช่วยให้เลือดในระบบตับและหัวใจ
(เมล็ดท้อ) อมหวาน หมุนเวียนดี กระจายเลือดคัง่
รักษาประจําเดือนไม่มา บรรเทา
อาการปวดประจําเดือน หล่อลืน่
ลําไส้ ระบายอ่อน ๆ
冬瓜子 ตงกวาจื่อ ตัวยาช่วย อมหวาน เย็น ระบายความร้อนของปอด ขับ
(เมล็ดฟัก) เล็กน้อย เสมหะ บรรเทาอาการปอดอักเสบ
ลําไส้อกั เสบ และขับฝี หนอง
ตํารับยานี้ประกอบด้วยต้าหวงเป็ นตัวยาหลัก มีสรรพคุณขับพิษร้อนชื้นและของของเสียที่
ตกค้างและคัง่ อยู่ในลําไส้ ตัวยาเสริม ได้แก่ หมางเซียวมีสรรพคุณสลายก้อนแข็งให้อ่อนลง ช่วยต้าหวง
ขับถ่ายของเสียลงด้านล่าง หมูต่ นั ผีช่วยให้เลือดเย็นลง ตัวยาช่วย ได้แก่ เถาเหรินมีสรรพคุณขจัดเลือด
คัง่ ช่วยการออกฤทธิ์ของหมูต่ นั ผี ตงกวาจื่อช่วยระบายความร้อนชื้นในลําไส้ ขับฝี หนอง1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ควรระมัดระวังการใช้กบั ผูส้ ูงอายุ สตรีมคี รรภ์ และผูท้ ม่ี รี ่างกายอ่อนแอหรือพร่องเกินไป1,3
512 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึ ก ษาทางเภสัช วิท ยา: ตํา รับ ยานี้ ม ีฤ ทธิ์ ต า้ นเชื้ อ จุล ิน ทรีย ใ์ นหลอดทดลอง มีฤ ทธิ์
ต้านอักเสบ ช่วยให้การทํางานของกลา้ มเนื้อลําไส้ของกระต่ายและสุนขั ดีข้ นึ เพิ่มประสิทธิภาพการขับ
ของเหลวในลําไส้ของกบและสุนขั และมีฤทธิ์เสริมภูมคิ มุ ้ กันในกระต่าย4
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณบรรเทาอาการอักเสบ ต้านเชื้อจุลนิ ทรีย ์ ช่วยขับ
พิษร้อนชื้นและของเสียทีต่ กค้างและคัง่ อยู่ในลําไส้ ขจัดฝี หนอง บรรเทาอาการถุงนํา้ ดีอกั เสบเฉียบพลัน
ต่อมทอนซิลอักเสบในเด็ก1,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาไต้หวงหมู่ตนั ทัง. [เอกสารแปลเพือ่ การจัดทําฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุร:ี สถาบันการแพทย์
ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2551.
4. Li Y, Wang XD. Da Huang Mu Dan Tang. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 513

อี้อฟ่ี จืู่ อ่ ไป้ เจี้ยงส่าน (薏苡附子败酱散)


ตําราต้นตํารับ
金匮要略 จินคุ่ยเอี้ยวเลีย่ (Synopsis of Prescriptions of the Golden Chamber)1
« ค.ศ. 219 Zhang Zhongjing (张仲景 จางจ้งจิ่ง) »2
ส่วนประกอบ
薏苡仁 Semen Coicis อี้อเ่ี หริน 30 กรัม
败酱草 Herba Patriniae ไป้ เจี้ยงเฉ่ า 15 กรัม
熟附子 Radix Aconiti Praeparata สูฟ่ ูจ่อื 6 กรัม
วิธีใช้
ต้มเอานํา้ ดืม่ 1,3
การออกฤทธิ์
ขับหนอง ลดบวม1,3
สรรพคุณ
รักษากลุ่มอาการเป็ นฝี ท่กี ลัดหนองในลําไส้ ผิวหนังหยาบกร้านเป็ นเกล็ด เล็บบางฉีกแตกง่าย
ไม่มไี ข้ หนังท้องตึง ปวดแน่นบริเวณด้านล่างของช่องท้องด้านขวา เมือ่ กดแล ้วรูส้ กึ นิ่ม ชีพจรเร็ว1,3
ตํารับยานี้สามารถเพิ่มหรือลดขนาดยาให้เหมาะสมสําหรับผูป้ ่ วยไส้ต่งิ อักเสบเรื้อรังที่กลัดหนอง
1,3
แล ้ว
514 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

ตํารับยา อี้อฟ่ี จืู่ อ่ ไป้ เจี้ยงส่าน (薏苡附子败酱散)

2 เซนติเมตร
อี้อเ่ี หริน (薏苡仁)

2 เซนติเมตร 2 เซนติเมตร
ไป้ เจี้ยงเฉ่ า (败酱草) สูฟ่ ูจ่อื (熟附子)
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 515

คําอธิบายตํารับ
สมุนไพร ทําหน้าที่ รส คุณสมบัติ สรรพคุณ
薏苡仁 อี้อเ่ี หริน ตัวยาหลัก จืด เย็น สลายความชื้น ขับปัสสาวะ
(ลูกเดือย) อมหวาน เล็กน้อย บรรเทาอาการบวมนํา้ เสริม
บํารุงม้าม บรรเทาอาการปวด-
ข้อ ปวดเมือ่ ยกล ้ามเนื้อ
บรรเทาอาการปอดอักเสบ
ลําไส้อกั เสบ ขับหนอง
败酱草 ไป้ เจี้ยงเฉ่ า ตัวยาเสริม เผ็ดอมขม เย็น ระบายความร้อน ขับพิษ
เล็กน้อย สลายฝี ขับหนอง สลายเลือดคัง่
ระงับปวด
熟附子 สูฟ่ ูจ่อื ตัวยาช่วย เผ็ด ร้อน ดึงพลังหยางทีส่ ูญเสียไปให้
(รากแขนงของ (มีพษิ ) * กลับคืนมา เสริมหยาง บํารุง
โหราเดือยไก่ทผ่ี า่ น ธาตุไฟ สลายความเย็น ระงับ
การฆ่าฤทธิ์) ปวด
ตํารับยานี้ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ อี้อ่เี หริน มีสรรพคุณระบายความชื้น ลดบวม ตัวยาเสริม
คือ ไป้ เจี้ยงเฉ่ า ช่วยขับกระจายเลือดคัง่ และขับหนอง สูฟ่ ูจ่อื เป็ นตัวยาช่วย ใช้ในปริมาณน้อย รสเผ็ด
ร้อน มีสรรพคุณสลายความเย็นชื้น ทําให้การไหลเวียนของชี่ดขี ้นึ 1,3
รูปแบบยาในปัจจุบนั
ยาต้ม4
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวังในการใช้
ห้ามใช้ตาํ รับยานี้กบั กรณีไส้ต่งิ อักเสบเฉียบพลันทีย่ งั ไม่กลัดหนอง1,3

* ฟู่จอ่ื เป็ นสมุนไพรทีม่ พี ษิ ต้องฆ่าฤทธิ์ยาก่อนใช้


516 ตํารับยารักษาแผล ฝี หนอง

ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาทางคลินิก: ตํารับยานี้มสี รรพคุณรักษาโรคไส้ต่ิงอักเสบทัง้ เฉี ยบพลันและเรื้อรัง
ถุงนํา้ ดีอกั เสบเรื้อรัง และโพรงกระดูกเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง1,3,4
เอกสารอ้างอิง
1. Zhang E. Prescriptions of Traditional Chinese Medicine: A Practical English-Chinese Library of Traditional Chinese
Medicine. 6th ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine, 1999.
2. Ou M, Lu X, Li Y, Lai SL, Chen XQ, Huang YZ, Chen JF, Shen C, Zhen WW. Chinese-English Glossary of
Common Terms in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Hong Kong: Joint Publishing Co., 1982.
3. จรัส ตัง้ อร่ามวงศ์, เย็นจิตร เตชะดํารงสิน, ธีรวัฒน์ ตัง้ อร่ามวงศ์. ตํารับยาอี้อ่ฟี ่ ูจ่อื ไป้ เจี้ยงส่าน. [เอกสารแปลเพื่อการจัดทํา
ฐานข้อมูลยาสมุนไพรจีน]. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, 2552.
4. Li Y, Wang XD. Yiyi Fuzi Baijiang San. In: Xia M (ed.). Modern Study of the Medical Formulae in Traditional
Chinese Medicine. Vol. 2. 1st ed. Beijing: Xue Yuan Press, 1997.
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 517

ภาคผนวก 1 : รายชื่อตํารับยาจีน
รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋
一贯煎 Yiguan Jian อีกว้ นเจียน เจ็กก้วงเจีย
八正散 Bazheng San ปาเจิ้งส่าน โป๊ ยเจี้ยซัว่
二陈汤 Erchen Tang เอ้อร์เฉินทัง หยีถ่ ง่ิ ทึง
九味羌活汤 Jiuwei Qianghuo Tang จิ่วเว่ยเ์ ชียงหัวทัง กิว๋ บีเ่ กียงอัวะทึง
川芎茶调散 Chuanxiong Chatiao San ชวนซฺยงฉาเถียวส่าน ชวนเกียงแต่เถีย่ วซัว่
大补阴丸 Da Buyin Wan ต้าปู่อนิ หวาน ตัว่ โป้ วอิมอี ๊
大承气汤 Da Chengqi Tang ต้าเฉิงชี่ทงั ไต่เส่งคี่ทงึ
大黄附子汤 Dahuang Fuzi Tang ต้าหวงฟู่จ่อื ทัง ตัว่ อึง๊ หู่จอื ทึง
大黄牡丹汤 Dahuang Mudan Tang ต้าหวงหมูต่ นั ทัง ตัว่ อึง๊ โบวตัวทึง
三子养亲汤 Sanzi Yangqin Tang ซานจื่อหยัง่ ชินทัง ซําจื้อเอี้ยงชิงทึง
小柴胡汤 Xiao Chaihu Tang เสีย่ วไฉหูทงั เซียวฉ่ าโอ่วทึง
小承气汤 Xiao Chengqi Tang เสีย่ วเฉิงชี่ทงั เซีย่ วเส่งคี่ทงึ
小活络丹 Xiao Huo Luo Dan เสีย่ วหัวลัวตั ่ น เซีย่ วอัวะลกตัง
小蓟饮子 Xiaoji Yinzi เสีย่ วจีอ๋ นิ๋ จื่อ เสีย่ วกีอ๋ ม่ิ จือ๋
小建中汤 Xiao Jianzhong Tang เสีย่ วเจี้ยนจงทัง เซียวเกี่ยงตงทึง
小青龙汤 Xiao Qinglong Tang เสีย่ วชิงหลงทัง เซียวแชเหล่งทึง
六味地黄丸 Liuwei Dihuang Wan ลิว่ เว่ยต์ ้ หี วงหวาน หลักบีต่ ่อี ง่ึ อี ๊
天王补心丹 Tianwang Buxin Dan เทียนหวางปู่ซนิ ตัน เทียนอ๊วงโป่ วซิมตัง
五苓散 Wuling San อู่หลิงส่าน โหงวเหล่งซัว่
五皮散 Wupi San อู่ผสี ่าน โหงวพ้วยสัว่
止嗽散 Zhisou san จื่อโซ่วส่าน จี้เซ่าสัว่
518 ภาคผนวก 1 : รายชื่อตํารับยาจีน

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋


白虎汤 Baihu Tang ไป๋ หู่ทงั แปะโฮวทึง
白头翁汤 Baitouweng Tang ไป๋ โถวเวิงทัง แปะเถ่าองทึง
半夏白术天麻 Banxia Baizhu Tianma ปัน้ เซีย่ ไป๋ จูเ๋ ทียนหมา ปั ๊วแห่แปะตุก๊

Tang ทัง เทียนหมัวทึ ่ ง
半夏厚朴汤 Banxia Houpo Tang ปัน้ เซีย่ โฮ่วผอทัง ปัว้ แห่เก่าพกทึง
半夏泻心汤 Banxia Xiexin Tang ปัน้ เซีย่ เซีย่ ซินทัง ปัว้ แห่เซีย่ ซิมทึง
归脾汤 Guipi Tang กุยผีทงั กุยปี่ ทงึ
加减葳蕤汤 Jiajian Weirui Tang เจียเจี่ยนเวย์หรุยทัง เกียเกี้ยมอุยซุย้ ทึง
龙胆泻肝汤 Longdan Xiegan Tang หลงต่านเซีย่ กานทัง เหล่งต้าเซีย่ กัวทึง
平胃散 Pingwei San ผิงเว่ยส์ ่าน เผ่งอุ่ยซัว่
生化汤 Shenghua Tang เซิงฮฺวา่ ทัง แซฮ่วยทึง
生脉散 Shengmai San เซิงม่ายส่าน แซแหมะซัว่
四君子 Si Junzi Tang ซือ่ จฺวนิ จื่อทัง ซีก่ งุ จือทึง
四妙勇安汤 Simiao Yongan Tang ซือ่ เมีย่ วหย่งอันทัง ซีเ่ หมียวย่งอังทึง
四逆散 Sini San ซือ่ หนี้ส่าน ซีเ่ หง็กซัว่
四逆汤 Sini Tang ซือ่ หนี้ทงั ซีเ่ หง็กทึง
四神丸 Sishen Wan ซือ่ เสินหวาน ซีส่ ง่ิ อี ๊
四物汤 Siwu Tang ซือ่ อูท้ งั ซีห่ ม่วยทึง
玉女煎 Yunu Jian ยฺวน่ี ฺหวีเ่ จียน เหง็กนึงเจีย
玉屏风散 Yupingfeng San ยฺวผ่ี งิ เฟิ งส่าน เหง็กผิง่ ฮวงซัว่
百合固金汤 Baihe Gujin Tang ไป่ เหอกูจ้ นิ ทัง แป๊ ะฮะกูก้ มิ ทึง
当归四逆汤 Danggui Sini Tang ตังกุยซือ่ หนี้ทงั ตังกุยซีเ่ หง็กทึง
导赤散 Daochi San เต่าเช่อส่าน เต่าเชียะซัว่
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 519

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋


芍药汤 Shaoyao Tang เสาเย่าทัง เจีย๊ กเอีย๊ ะทึง
血府逐瘀汤 Xuefu Zhuyu Tang เซฺวย่ี ฝู่จูย๋ วฺ ที งั ฮ่วยฮู่ตกอูท๊ งึ
阳和汤 Yanghe Tang หยางเหอทัง เอีย่ งหัว่ ทึง
竹叶石膏汤 Zhuye Shigao Tang จูเ๋ ยีย่ สือเกาทัง เต็กเฮียะเจียะกอทึง
补阳还五汤 Buyang Huanwu Tang ปู่หยางหวนอู่ทงั โป๋ วเอีย๊ งห่วงโหงวทึง
补中益气汤 Buzhong Yiqi Tang ปู่จงอี้ช่ที งั โปวตงเอีย๊ ะคี่ทงึ
麦门冬汤 Maimendong Tang ไม่เหมินตงทัง แบะหมึง่ ตงทึง
羌活胜湿汤 Qianghuo Shengshi Tang เชียงหัวเซิง่ ซือทัง เกียงอั ๊วะเซ่งซิบทึง
苏子降气汤 Suzi Jiangqi Tang ซูจ่อื เจี้ยงชี่ทงั โซวจื้อกัง้ คี่ทงึ
苇茎汤 Weijing Tang เหว่ยจ์ งิ ทัง อุ่ยแก้ทงึ
吴茱萸汤 Wuzhuyu Tang หวูจูยหฺ วีทงั โหง่วจูหยู่ทงึ
败毒散 Baidu San ป้ ายตูส๋ ่าน ไป่ ตกั ซัว่
定喘汤 Dingchuan Tang ติ้งฉ่ วนทัง เตี่ยช่วงทึง
苓甘五味姜辛 Ling Gan Wuwei Jiang หลิงกันอู่เว่ยเ์ จียงซิน เหล่งกําโงวบีเ่ กียงซิง

Xin Tang ทัง ทึง
苓桂术甘汤 Ling Gui Zhu Gan Tang หลิงกุย้ จูก๋ นั ทัง เหล่งกุ่ยตุกกําทึง
参苓白术散 Shen Ling Baizhu San เซินหลิงไป๋ จูส๋ ่าน เซียมเหล็งแปะตุกทึง
肾气丸 Shenqi Wan เซิน่ ชี่หวาน เสีย่ งคี่อี ๊
保和丸 Baohe Wan เป่ าเหอหวาน เปาหัว่ อี ๊
宫外孕方 Gongwaiyun Fang กงไว่ยวฺ น่ิ ฟาง เก็งหงัวอิ ่ ง่ ฮึง
泻白散 Xiebai San เซีย่ ไป๋ ส่าน เซีย่ แปะซัว่
泻黄散 Xiehuang San เซีย่ หวงส่าน เซีย่ อึง่ ซัว่
养阴清肺汤 Yangyin Qingfei Tang หยัง่ อินชิงเฟ่ ยท์ งั เอียงอิมเช็งฮุ่ยทึง
520 ภาคผนวก 1 : รายชื่อตํารับยาจีน

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋


茵陈蒿汤 Yinchenhao Tang อินเฉินเฮาทัง อิงถิง่ เกาทึง
枳实导滞丸 Zhishi Daozhi Wan จื่อสือเต่าจื้อหวาน จีซ๋ กิ เต่าทีอ่ ี ๊
枳实消痞丸 Zhishi Xiaopi Wan จื่อสือเซียวผีห่ วาน จีซ๋ กิ เซียวผีอี ๊
柴葛解肌汤 Chai Ge Jieji Tang ไฉเก๋อเจี่ยจีทงั ฉ่ ากัวะโกยกีทงึ
桂枝汤 Guizhi Tang กุย้ จือทัง กุย้ กีทงึ
胶艾汤 Jiao Ai Tang เจียวอ้ายทัง กาเฮี่ยทึง
桑菊饮 Sang Ju Yin ซังจฺหวีอน่ิ ซึงเก็กอิ้ม
桑杏汤 Sang Xing Tang ซังซิง่ ทัง ซึงเห่งทึง
调胃承气汤 Tiaowei Chengqi Tang เถียวเว่ยเ์ ฉิงชี่ทงั เถีย่ วอุ่ยเส่งคี่ทงึ
逍遥散 Xiaoyao San เซียวเหยาส่าน เซียวเอีย่ วซัว่
真武汤 Zhen Wu Tang เจินอู่ทงั จิงบูทงึ
真人养脏汤 Zhenren Yang Zang Tang เจินเหรินหยัง่ จัง้ ทัง จิงยิ้งเอียงจัง่ ทึง
黄连解毒汤 Huanglian Jiedu Tang หวงเหลียนเจี่ยตูท๋ งั อึง่ โน้ยโกยตักทึง
羚角钩藤汤 Lingjiao Gouteng Tang หลิงเจี่ยวโกวเถิงทัง เหล่งกักเกาติ่งทึง
理中丸 Lizhong Wan หลีจ่ งหวาน ลีตงอี ๊
麻黄汤 Mahuang Tang หมาหวงทัง หมัวอึ ่ ง่ ทึง
麻黄杏仁石膏 Mahuang Xingren หมาหวงซิง่ เหรินสือเกา หมัวอึ ่ ง๊ เห่งยิ้งเจียะ
甘草汤 Shigao Gancao Tang กันเฉ่ าทัง กอกําเชาทึง
麻子仁丸 Maziren Wan หมาจื่อเหรินหวาน หมัวจื ่ อ๋ หยิง่ อี ๊
清气化痰丸 Qingqi Huatan Wan ชิงชี่ฮวฺ า่ ถานหวาน เช็งขีฮ่ ่วยถํา่ อี ๊
清暑益气汤 Qingshu Yiqi Tang ชิงสู่อ้ชี ่ที งั เช็งซู่เอียะคี่ทงึ
清胃散 Qingwei San ชิงเว่ยส์ ่าน เช็งอุ่ยซัว่
清营汤 Qingying Tang ชิงอิง๋ ทัง เช็งเหว่งทึง
清燥救肺汤 Qingzao Jiufei Tang ชิงจ้าวจิ้วเฟ่ ยท์ งั เช็งเฉ่ ากิ้วฮุ่ยทึง
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 521

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋


银翘散 Yinqiao San อิน๋ เฉียวส่าน หงิง่ เขีย่ วซัว่
猪苓汤 Zhuling Tang จูหลิงทัง ตือเหล่งทึง
温胆汤 Wendan Tang เวินต่านทัง อุงต๋าทึง
温经汤 Wenjing Tang เวินจิงทัง อุงเก็งทึง
温脾汤 Wenpi Tang เวินผีทงั อุงปี่ ทงึ
越鞠丸 Yueju Wan เยฺวจ่ วฺ หี วาน อวกเก๊กอี ๊
新加黄龙汤 Xinjia Huanglong Tang ซินเจียหวงหลงทัง ซิงเกียอึง่ เหล่งทึง
槐花散 Huaihua San ไหฺวฮฺวาส่าน ห่วยฮวยซัว่
酸枣仁汤 Suanzaoren Tang ซวนเจ่าเหรินทัง ซึงจ๋อหยิง่ ทึง
橘皮竹茹汤 Jupi Zhuru Tang จฺหวีผจี ูห้ รูทงั กิก๊ พ้วยเต๊กหยู่ทงึ
薏苡附子败酱散 Yiyi Fuzi Baijiang San อี้อฟ่ี ่ ูจ่อื ไป้ เจี้ยงส่าน อี้อห่ี ู่จ้ อื ไป่ เจี้ยซัว่
藿香正气散 Huoxiang Zhengqi San ฮัว่ เซียงเจิ้งชี่ส่าน คักเฮียเจี้ยคี่ซวั ่

 
ราชาสมุนไพรจีน หลีส่ อื เจิน
สถานทีถ่ ่ายภาพ: Traditional Chinese Medicine Expo 2008,
International Trade Center, ปักกิ่ง
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 523

ภาคผนวก 2 : รายชื่อตัวยาจีน
รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย
丁香 Dingxiang ติงเซียง เต็งเฮีย กานพลู
人参 Renshen เหรินเซิน หยิง่ เซียม โสมคน
人参 Renshen เหรินเซิน หยิง่ เซียม โสมคนทีเ่ อาส่วน
(去芦) (qulu) (ชฺวห่ี ลู) (คื่อโล ้ว) หัวออก
川贝母 Chuanbeimu ชวนเป้ ยห์ มู่ ชวงป่ วยบ้อ -
川楝子 Chuanlianzi ชวนเลีย่ นจื่อ ชวนเหลีย่ งจี้ ผลเลีย่ น
川乌 Chuanwu ชวนอู ชวงโอว รากแก้วของโหรา
เดือยไก่
川乌 (制) Chuanwu (zhi) ชวนอู (จื้อ) ชวงโอว (จี่) รากแก้วของโหรา
เดือยไก่ทผ่ี ่าน
การฆ่าฤทธิ์แล ้ว
川芎 Chuanxiong ชวนซฺยง ชวงเกียง โกศหัวบัว
大腹皮 Dafupi ต้าฟู่ผี ไต่ป ั ๊กพ้วย เปลือกผลหมาก
大黄 Dahuang ต้าหวง ตัว่ อึง๊ โกศนํา้ เต้า
大黄 (面裹煨, Dahuang ต้าหวง (เมีย่ น - ตัว่ อึง๊ (หมีกอ๋ อุยคื่อ โกศนํา้ เต้าปิ้ ง
去面切, 焙) (mianguowei, กว่อเว่ย ์ ชฺวเ่ี มีย่ น หมีเ่ ฉียก ป๋ วย)
qumianqie, bei) เชฺวย่ี เป้ ย)์
大戟 Daji ต้าจี ๋ ตัว่ เก็ก -
大生地 Dashengdi ต้าเซิงตี้ ตัว่ แชตี่ โกศขี้แมวสด
大枣 Dazao ต้าเจ่า ตัว่ จ้อ พุทราจีน
干地黄 Gandihuang กันตี้หวง กังตี่องึ ๊ โกศขี้แมวแห้ง
干姜 Gan Jiang กันเจียง กังเกีย ขิงแห้ง
524 ภาคผนวก 2 : รายชื่อตัวยาจีน

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


三棱 Sanling ซานหลิง ซําเล ้ง -
山药 Shanyao ซานเย่า ซัวเอีย๊ ะ ฮ่วยซัว
山楂 Shanzha ซานจา ซัวจา -
山栀子 Shanzhizi ซานจือจื่อ ซัวกีจ้ อื ลูกพุด
山栀子仁 Shanzhiziren ซานจือจื่อเหริน ซัวกีจอื๋ ยิ้ง เนื้อในเมล็ดลูกพุด
山茱萸 Shanzhuyu ซานจูยหฺ วี ซัวจูยู ้ -
小蓟 Xiaoji เสีย่ วจี ๋ เสีย่ วกี๋ -
巴豆 Badou ปาโต้ว ปาต่าว สลอด
贝母 Beimu เป้ ยห์ มู่ ป่ วยบ้อ -
贝母 (去心) Beimu (quxin) เป้ ยห์ มู่ (ชฺวซ่ี นิ ) ป้ วยบ้อ (คื่อซิม) -
车前子 Cheqianzi เชอเฉียนจื่อ เชียไจ่จ้ ี -
丹皮 Danpi ตันผี ตังพ้วย เปลือกรากโบตัน๋
丹参 Danshen ตันเซิน ตังเซียม -
木通 Mutong มูท่ ง บักทง -
木香 Muxiang มูเ่ ซียง บักเฮีย โกศกระดูก
牛蒡子 Niubangzi หนิวป้ างจื่อ หงูผ่ งั ่ จี้ -
牛膝 Niuxi หนิวซี หงูฉ่ ิก พันงูนอ้ ย
升麻 Shengma เซิงหมา เซ็งมัว้ -
双钩藤 Shuang gouteng ซวงโกวเถิง ซังเกาติง๊ เขาควายแม่หลูบ
水牛角 Shuiniujiao สุ่ยหนิวเจี่ยว จุ่ยหงูก่ กั เขาควาย
天冬 Tiandong เทียนตง เทียนตง -
天麻 Tianma เทียนหมา เทียนมัว้ -
天南星 (制) Tiannanxing เทียนหนานซิง (จื้อ) เทียงหนํา่ แช (จื่) -
乌梅 Wumei อูเหมย โอวบ๊วย บ๊วยดํา
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 525

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


乌头 Wutou อูโถว โอวท้าว -
五灵脂 Wulingzhi อู่หลิงจือ โหงวเหล่งจี -
五味子 Wuweizi อู่เว่ยจ์ ่อื โหงวบีจ่ ้ ี -
牙硝 Yaxiao หยาเซียว แหง่เซียว ดินประสิว
艾叶 Aiye อ้ายเยีย่ เฮี่ยเฮีย๊ ะ -
白扁豆 (姜 Baibiandou ไป๋ เปี่ ยนโต้ว แปะเปี่ ยงเต่า (เกีย ถัว่ แปบ
汁津, 去皮, (jiangzhijin, (เจียงจื่อจิน ชฺวผ่ี ี จับจิง คื่อพ้วย
微炒) qupi, weichao) เวย์เฉ่ า) หมุย่ ช่า)
白茯苓 Baifuling ไป๋ ฝูหลิง แปะหกเหล็ง โป่ งรากสน
白果 Baiguo ไป๋ กว่อ แปะก้วย แปะก๊วย
白笈 Baiji ไป๋ จี๋ แปะกิบ๊ -
白芥子 Baijiezi ไป๋ เจี้ยจื่อ แป๊ ะไก้จ้ ี เมล็ดพรรณผักกาด
白敛 Bailian ไป๋ เลีย่ น แปะเนี่ยม -
白前(蒸) Baiqian (zheng) ไป๋ เฉียน (เจิง) แปะใจ๊ (เจ็ง) -
白芍 Baishao ไป๋ เสา แปะเจียก -
白芍 (炒) Baishao (chao) ไป๋ เสา (เฉ่ า) แปะเจียก (ซ่า) -
白头翁 Baitouweng ไป๋ โถวเวิง แปะเถ่าอง -
白薇 Baiwei ไป๋ เวย์ แปะมุย้ -
白芷 Baizhi ไป๋ จ่อื แปะจี้ โกฐสอ
白术 Baizhu ไป๋ จู ๋ แปะตุก๊ -
半夏 Banxia ปัน้ เซีย่ ปัว้ แห่ -
半夏曲 Banxiaqu ปัน้ เซีย่ ชฺวี ปัว้ แห่ขกั -
半夏 (洗) Banxie (xi) ปัน้ เซีย่ (สี)่ ปัว้ แห่ (โส้ย) -
半夏 (制) Banxie (zhi) ปัน้ เซีย่ (จื้อ) ปัว้ แห่ (จี่) -
526 ภาคผนวก 2 : รายชื่อตัวยาจีน

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


北沙参 Beishashen เป่ ยซ์ าเซิน ปั ๊กซาเซียม -
冬瓜子 Dongguazi ตงกวาจื่อ ตังกวยจี้ เมล็ดฟัก
冬桑叶 Dongsangye ตงซังเยีย่ ตังซึงเฮียะ ใบหม่อน
甘草 Gancao กันเฉ่ า กําเช่า ชะเอมเทศ
甘草 (生) Gancao (sheng) กันเฉ่ า (เซิง) กําเช่า (แช) ชะเอมเทศ
甘草(炒) Gancao (chao) กันเฉ่ า (เฉ่ า) กําเช่า (ช่า) ชะเอมเทศผัด
甘草 (炙) Gancao (zhi) กันเฉ่ า (จื้อ) กําเช่า (เจี่ย) ชะเอมเทศ
ผัดนํา้ ผึ้ง
甘遂 Gansui กันสุย้ กําซุย้ -
瓜蒌 Gualou กวาโหลว กวยลู ้ -
瓜篓子 Gualouzi กวาโหลวจื่อ กวยหลูจ่ ้ ี -
龙胆草 Longdancao หลงต่านเฉ่ า เหล่งต่าเฉ่ า -
龙眼肉 Longyanrou หลงเหยีย่ นโร่ว เหล่งงังเน็
่ ก เนื้อลําไย
生葱白 Shengcongbai เซิงชงไป๋ แชชังแป๊ ะ หอมจีนสด
生大黄 Shengdahuang เซิงต้าหวง แชตัว่ อึง๊ โกฐนํา้ เต้าดิบ
生地黄 Shengdihuang เซิงตี้หวง แชตี่องึ ๊ โกฐขี้แมวสด
生姜 Shengjiang เซิงเจียง แชเกีย ขิงสด
生姜皮 Shengjiangpi เซิงเจียงผี แชเกียพ้วย ผิวขิงแก่สด
生葳蕤 Shengweirui เซิงเวย์หรุย แชอุยซุย้ -
石膏 Shigao สือเกา เจียะกอ เกลือจืด
石斛 Shihu สือหู สือหู เอื้องเค้ากิ่ว
石脂 Shizhi สือจือ เจียะจี -
玄参 Xuanshen เสฺวยี นเซิน เหีย่ งเซียม -
玉竹 Yuzhu ยฺวจ่ี ู ๋ เง็กเต็ก -
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 527

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


百部 (蒸) Baibu (zheng) ไป่ ป้ ู (เจิง) แป๊ ะโป๋ ว (เจ็ง) -
百合 Baihe ไป่ เหอ แป๊ ะฮะ -
当归 Danggui ตังกุย ตังกุย ตังกุย
当归 Danggui ตังกุย ตังกุย (ป่ วยจิ้ว) ตังกุยแช่เหล ้า
(酒焙干) (jiubeigan) (จิ่วเป้ ยก์ นั ) แล ้วปิ้ งให้แห้ง
当归 Danggui ตังกุย ตังกุย ตังกุยผัดเหล ้า
(酒浸炒) (jiujinchao) (จิ่วจิ้นเฉ่ า) (ฉาจิ้ว)
当归身 Dangguishen ตังกุยเซิน ตังกุยซิง รากแก้วตังกุย
当归头 Dangguitou ตังกุยโถว ตังกุยเท้า เหง ้าตังกุย
当归尾 Dangguiwei ตังกุยเหว่ย ์ ตังกุยบ้วย รากฝอยตังกุย
หรือ โกฐเชียง
灯芯 Dengxin เติงซิน เต็งซิม -
地骨皮 Digupi ตี้กู่ผี ตี่กกุ๊ พ้วย -
地黄 Dihuang ตี้หวง ตี่องึ ๊ โกฐขี้แมว
地龙 Dilong ตี้หลง ตี่เล ้ง ไส้เดือนดิน
防风 Fangfeng ฝางเฟิ ง ห่วงฮง -
红花 Honghua หงฮฺวา อัง่ ฮวย ดอกคําฝอย
红枣 Hongzao หงเจ่า อัง่ จ้อ พุทราจีน
芒硝 Mangxiao หมางเซียว หมังเซี ่ ยว ดีเกลือ
朴硝 Puxiao ผู่เซียว พกเซียว ดีเกลือ
全当归 Quandanggui เฉฺวยี นตังกุย ฉ่ วงตังกุย ตังกุยทัง้ ราก
肉豆蔻 Roudoukou โร่วโต้วโค่ว เหน็กเต่าโข่ว ลูกจันทน์เทศ
肉桂 Rougui โร่วกุย้ เหน็กกุ่ย เปลือกอบเชยจีน
肉桂 (研粉) Rougui (yanfen) โร่วกุย้ (เอีย๋ นเฝิ่ น) เหน็กกุ่ย (ไหงฮุ่ง) เปลือกอบเชยจีน
บดผง
528 ภาคผนวก 2 : รายชื่อตัวยาจีน

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


芍药 Shaoyao เสาเย่า เจียกเอียะ -
西瓜翠衣 Xiguacuiyi ซีกวาเชฺวย่ อ์ ี ไซกวยชุย้ อี เปลือกผลแตงโม
西洋参 Xiyangshen ซีหยางเซิน ไซเอีย่ เซียม โสมอเมริกนั
竹茹 Zhuru จูห้ รู เต็กยู ้ เปลือกชัน้ กลาง
ของลําต้นไผ่ดาํ
竹叶 Zhuye จูเ๋ ยีย่ เต็กเฮียะ หญ้าขุยไม้ไผ่ หรือ
ใบไผ่ขม
阿胶 A’jiao อาเจียว อากา กาวหนังลา
补骨脂 Buguzhi ปู่กู่จอื โป๋ วกุก๊ จี -
苍术 Cangzhu ชังจู ๋ ชังตุก๊ โกฐเขมา
陈橘皮 Chenjupi เฉิ น จฺ ห วี ผี ถิง่ กิกพ้วย ผิวส้มจีน
陈皮 Chenpi เฉินผี ถิง่ พ้วย ผิวส้มจีน
赤芍 Chishao เช่อเสา เช่อเสา -
附子(炮) Fuzi (pao) ฟู่จ่อื (เผ้า) หู่จ้ อื (เผ่า) รากแขนงของ
โหราเดือยไก่ท่ี
ผ่านการฆ่าฤทธิ์
龟板 (酥炒) Guiban (suchao) กุยปัน่ (ซูเฉ่ า) กูปงั้ (โซวช่า) กระดองเต่าคัว่
龟甲 (酥炒) Guijia (suchao) กุยเจี่ย (ซูเฉ่ า) กูกะ (โซวช่า) กระดองเต่าคัว่
诃子 Hezi เหอจื่อ คอจี้ ผลสมอไทย
连翘 Lianqiao เหลียนเฉียว เหลีย่ งเคี้ยว -
芦根 Lugen หลูเกิน โล่วกิง รากหญ้าแขม
麦冬 Maidong ไม่ตง แบะตง -
麦门冬 Maimendong ไม่เหมินตง แบะหมึง่ ตง -
麦芽 Maiya ไม่หยา แบะแง ้ ข้าวบาร์เล่ยง์ อก
麦芽曲 Maiyaqu ไม่หยาชฺวี แบะแง ้ขัก ข้าวบาร์เล่ยง์ อก
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 529

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


没药 Moyao ม่อเย่า หมุกเอีย๊ ะ มดยอบ
牡丹皮 Mudanpi หมูต่ นั ผี โบ๋วตัวพ้วย เปลือกรากโบตัน๋
羌活 Qianghuo เชียงหัว เกียงอั ๊วะ -
沙参 Shashen ซาเซิน ซาเซียม -
苏叶 Suye ซูเยีย่ โซวเฮียะ ใบงาขี้ม ้อน
苏子 Suzi ซูจ่อื โซวจี้ ผลงาขี้ม ้อน
苇根 Weigen เหว่ยเ์ กิน อุ่ยกิ่ง รากหญ้าแขม
苇茎 Weijing เหว่ยจ์ งิ อุย๋ แก้ ลําต้นหญ้าแขม
吴茱萸 Wuzhuyu หวูจูยหฺ วี โหง่วจูยู ้ -
吴茱萸 Wuzhuyu หวูจูยหฺ วี โหง่วจูยู ้ -
(浸炒) (jinchao) (จิ้นเฉ่ า) (จิ้มช่า)
杏仁 Xingren ซิง่ เหริน เห่งยิ้ง -
杏仁 Xingren ซิง่ เหริน เห่งยิ้ง -
(去皮尖) (qupijian) (ชฺวผ่ี เี จียน) (คื่อผ่วยเจียม)
芫花 Yuanhua เหยียนฮฺวา อ่วงฮวย -
远志 Yuanzhi หย่วนจื้อ เอียงจี่ -
败酱草 Baijiangcao ไป้ เจี้ยงเฉ่ า ไป่ เจี้ยเช่า -
侧柏叶 Cebaiye เช่อไป่ เยีย่ เจ็กแป๊ ะเฮียะ -
厚朴 Houpo โฮ่วผอ เก่าผก -
厚朴 (炙) Houpo (zhi) โฮ่วผอ (จื้อ) เก่าผก (จี่) -
金银花 Jinyinhua จินอิน๋ ฮฺวา กิมหงิง่ ฮวย ดอกสายนํา้ ผึ้ง
枇杷叶 Pipaye ผีผาเยีย่ ปี่ แป่ เฮียะ ใบปี่ แป้
乳香 Ruxiang หรูเซียง อือเฮีย -
530 ภาคผนวก 2 : รายชื่อตัวยาจีน

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


饴糖 Yitang อีถ๋ งั อีท่ ้งึ นํา้ ตาลทีเ่ ตรียมได้
จากข้าวบาร์เล่ยง์ อก
细生地 Xishengdi ซีเ่ ซิงตี้ โซ่ยแชตี่ โกฐขี้แมว
细辛 Xixin ซีซ่ นิ โซ่ยซิง -
郁金 Yujin ยฺหวีจ่ นิ เฮียกกิม ว่านนางคํา
泽泻 Zexie เจ๋อเซีย่ เจ็กเสีย่ -
知母 Zhimu จือหมู่ ตีบอ้ -
知母 Zhimu จือหมู่ ตีบอ้ (จิ้วจิ่มช่า) -
(酒浸炒) (jiujinchao) (จิ่วจิ้นเฉ่ า)
柏子仁 Baiziren ไป๋ จ่อื เหริน แปะจื่อยิ้ง เนื้อในเมล็ด
สนหางสิงห์
草乌 Caowu เฉ่ าอู เฉาโอว -
胆南星 Dannanxing ต่านหนานซิง ต่าหนํา่ แช -
独活 Duhuo ตูห๋ วั ตกอั ๊วะ -
茯苓 Fuling ฝูหลิง หกเหล็ง โป่ งรากสน
茯苓皮 Fulingpi ฝูหลิงผี หกเหล่งพ้วย เปลือกโป่ งรากสน
茯神 Fushen ฝูเสิน หกซิ้ง โป่ งรากสนติด
เนื้อไม้
枸杞子 Gouqizi โก่วฉีจ่อื เก๋ากีจ๋ ้ ี -
钩藤 Gouteng โกวเถิง เกาติง๊ เขาควายแม่หลูบ
胡麻仁 Humaren หูหมาเหริน โอ่วหมัวยิ ่ ้ง เมล็ดงา
姜 Jiang เจียง เกีย ขิง
姜炭 Jiangtan เจียงถ้าน เกียถัว่ ขิงแก่เผาเป็ นถ่าน
姜汁 Jiangzhi เจียงจื่อ เกียจับ นํา้ คัน้ ขิงแก่สด
荆芥 Jinjie จิงเจี้ย เกงไก้ -
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 531

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


荆芥穗 Jinjiesui จิงเจี้ยซุ่ย เกงไก้สุ่ย -
前胡 Qianhu เฉียนหู ไจ่โอ๊ว -
牵牛 Qianniu เชียนหนิว คังงู ้ -
神曲 Shenqu เสินชฺวี สิง่ ขัก -
香附 Xiangfu เซียงฝู่ เฮียงหู หัวแห้วหมู
茵陈 Yinchen อินเฉิน อิงทิ้ง -
枳壳 Zhiqiao จื่อเขอ จีขกั ผลส้มซ่า
枳壳 (麸炒) Zhiqiao (fuchao) จื่อเขอ (ฟูเฉ่ า) จีข๋ กั (ฮูช่า) ผลส้มซ่าผัด
รําข้าวสาลี
枳实 Zhishi จื่อสือ จีซ๋ กิ ผลอ่อนส้มซ่า
หรือส้มเกลี้ยง
栀子 Zhizi จือจื่อ กีจ้ ี ผลพุดซ้อน
柴胡 Chaihu ไฉหู ฉ่ าโอ๊ว -
莪术 Erzhu เอ๋อร์จู ๋ หง่อตุก๊ -
桂枝 Guizhi กุย้ จือ กุย้ กี กิ่งอบเชยจีน
荷梗 Hegeng เหอเกิง ห่อแก้ ก้านบัว
胶饴 Jiaoyi เจียวอี๋ กาอี ๊ นํา้ ตาลทีเ่ ตรียมได้
จากข้าวบาร์เล่ยง์ อก
桔梗 Jiegeng เจีย๋ เกิง กิก๊ แก้ -
桔梗 (炒) Jiegeng (chao) เจีย๋ เกิง (เฉ่ า) กิกแก้ (ช่า) -
桔梗 (炒令 Jiegeng (chaoling เจีย๋ เกิง (เฉ่ าลิง่ กิกแก้ (ฉาเหล่งซิม -
深黄色) shenhuangshe) เซินหวางเซ่อ) อึง่ เส็ก)
莱菔子 Laifuzi ไหลฝูจ่อื ไหล่หกจี้ เมล็ดหัวผักกาดขาว
莲子 Lianzi เหลียนจื่อ โหน่ยจี้ เมล็ดบัว
莲子肉 Lianzirou เหลียนจื่อโร่ว โหน่ยจี้เน๊ก เนื้อเมล็ดบัว
532 ภาคผนวก 2 : รายชื่อตัวยาจีน

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


秦皮 Qinpi ฉินผี ฉิ่งพ้วย -
桑白皮 Sangbaipi ซังไป่ ผี ซึงแปะพ้วย เปลือกรากหม่อน
桑叶 Sangye ซังเยีย่ ซึงเฮียะ ใบหม่อน
桃仁 Taoren เถาเหริน ท้อยิ้ง เมล็ดท้อ
浙贝母 Zhebeimu เจ้อเป้ ยห์ มู่ เจี้ยกป้ วยบ้อ -
淡豆豉 Dandouchi ตัน้ โต้วฉื่อ ตาเต่าสี่ เมล็ดถัว่ เหลืองที่
ผ่านการหมักแล ้ว
淡竹叶 Danzhuye ตัน้ จูเ๋ ยีย่ ตาเต็กเฮียะ หญ้าขุยไม้ไผ่ หรือ
ใบไผ่ขม
海参 Haishen ไห่เซิน ไฮเซียม -
海藻 Haizao ไห่เจ้า ไห่เฉ่ า สาหร่ายทะเล
黄柏 Huangbo หวงป๋ อ อึง่ แปะ -
黄柏 (炒) Huangbo (chao) หวงป๋ อ (เฉ่ า) อึง่ แปะ (ช่า) -
黄连 Huanglian หวงเหลียน อึง่ โน้ย -
黄芪 Huangqi หวงฉี อึง่ คี้ -
黄芩 Huangqin หวงฉิน อึง่ งิ้ม -
菊花 Juhua จฺหวีฮวฺ า เก๊กฮวย เก๊กฮวย
羚羊角 Lingyangjiao หลิงหยางเจี่ยว เหล่งเอีย่ งกัก เขากุย
梨皮 Lipi หลีผี ไหล่พว้ ย เปลือกผลสาลี่
鹿角胶 Lujiaojiao ลูเ่ จี่ยวเจียว เต็กกั ๊กกา กาวเขากวาง
萝卜子 Luobuzi หลัวปู่จ่อื หล่อปกจี้ เมล็ดหัวผักกาด
麻黄 Mahuang หมาหวง หมัวอึ่ ง๊ -
麻黄 (去节) Mahuang (qujie) หมาหวง (ชฺวเ่ี จีย๋ ) หมัวอึ ่ ง๊ (คื่อจัก) -
麻子仁 Maziren หมาจื่อเหริน หมัวจื ่ ่อยิ้ง ผลกัญชา
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 533

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


银花 Yinhua อิน๋ ฮฺวา หงึง่ ฮวย ดอกสายนํา้ ผึ้ง
猪苓 Zhuling จูหลิง ตือเหล็ง -
萹蓄 Bianque เปี่ ยนชฺว่ี เปี ยงเถียก -
葱白 Congbai ชงไป๋ ชังแป๊ ะ หอมจีน
葛根 Gegen เก๋อเกิน กั ๊วกิง -
滑石 Huashi หฺวาสือ กุกเจีย๊ ะ หินลืน่
款冬花 Kuandonghua ข่วนตงฮฺวา ควงตงฮวย -
硫黄 Liuhuang หลิวหวง หลิว่ อึง๊ กํามะถัน
紫苏叶 Zisuye จื่อซูเยีย่ จี่โซวเฮียะ ใบงาขี้ม ้อน
紫苏子 Zisuzi จื่อซูจ่อื จี่โซวจี้ ผลงาขี้ม ้อน
紫菀 (蒸) Ziwan (zheng) จื่อหวัน่ (เจิง) จี่อว้ ง (เจ็ง) -
粳米 Jingmi จิงหมี่ แกบี้ ข้าวเจ้า
蒲黄 Puhuang ผู่หวง ผู่องึ ๊ ละอองเกสรกกช้าง
煨姜 Weijiang เวย์เจียง อุยเกีย ขิงปิ้ ง
犀角 Xijiao ซีเจี่ยว ไซกัก นอแรด
槟榔 Binglang ปิ งหลาง ปิ งน้อ หมากสง
槐花 Huaihua ไหฺวฮฺวา ห่วยฮวย -
槐花 (炒) Huaihua (chao) ไหฺวฮฺวา (เฉ่ า) ห่วยฮวย (ช่า) -
蔓荆子 Manjingzi มันจิ
่ งจื่อ หมังเก็ ่ งจี้ ผลคนทีสอทะเล
熟地 Shudi สูต้ ี เส็กตี่ โกฐขี้แมวนึ่งเหล ้า
熟地黄 Shudihuang สูต้ หี วง (จิ่วเจิง) เส็กตี่องึ ๊ (จิวเจ็ง) โกฐขี้แมวนึ่งเหล ้า
(酒蒸) (jiuzheng)
熟附子 Shufuzi สูฟ่ ูจ่อื เส็กหู่จ้ อื รากแขนงของโหรา
เดือยไก่ทผ่ี ่านการ
ฆ่าฤทธิ์
534 ภาคผนวก 2 : รายชื่อตัวยาจีน

รายชื่อ พินอิน จีนกลาง จีนแต้จวิ๋ ไทย


缩砂仁 Susharen ซู่ซาเหริน ซกซายิ้ง ผลเร่วดง
酸枣仁 Suanzaoren ซวนเจ่าเหริน ซึงจ่อยิ้ง -
罂粟壳 Yingsuqiao อิงซู่เค่อ เอ็งเซ็กขัก เปลือกผลฝิ่ น
黎芦 Lilu หลีหลู หลีล่ ู ้ -
薄荷 Bohe ป๋ อเหอ เปาะห่อ ใบสะระแหน่
橘红 Juhong จฺหวีหง กิก๊ อั ๊ง ผิวส้มจีน
橘皮 Jupi จฺหวีผี กิก๊ พ้วย ผิวส้ม
薏苡仁 Yiyiren อี้อเ่ี หริน อี้อยี๋ ้งิ ลูกเดือย
藁本 Gaoben เก๋าเปิ่ น ก๋อปึ้ ง -
藕节 Oujie โอวเจีย๋ โหงวจัก ข้อเหง ้าบัวหลวง
瞿麦 Qumai ฉฺวไี ม่ กื่อแบะ -
藿香 Huoxiang ฮัว่ เซียง คักเฮีย ต้นพิมเสน

 
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 535

ดัชนี
กงไว่ยวฺ น่ิ ฟาง, 354 เจ็กก้วงเจีย, 255
กาเฮี่ยทึง, 369 เจินเหรินหยัง่ จัง้ ทัง, 268
กิก๊ พ้วยเต๊กหยู่ทงึ , 325 เจินอู่ทงั , 427
กิว๋ บีเ่ กียงอัวะทึง, 37 เจียเจี่ยนเวย์หรุยทัง, 75
กุยปี่ ทงึ , 240 เจีย๊ กเอีย๊ ะทึง, 147
กุยผีทงั , 240 เจียวอ้ายทัง, 369
กุย้ กีทงึ , 32
กุย้ จือทัง, 32 ฉ่ ากัวะโกยกีทงึ , 63
เก็งหงัวอิ ่ ง่ ฮึง, 354 ไฉเก๋อเจี่ยจีทงั , 63
เกียเกี้ยมอุยซุย้ ทึง, 75
เกียงอั ๊วะเซ่งซิบทึง, 431 ชวนเกียงแต่เถีย่ วซัว,่ 374
ชวนซฺยงฉาเถียวส่าน, 374
คักเฮียเจี้ยคี่ซวั ่ , 395 ชิงจ้าวจิ้วเฟ่ ยท์ งั , 474
ชิงชี่ฮวฺ า่ ถานหวาน, 446
จฺหวีผจี ูห้ รูทงั , 325 ชิงเว่ยส์ ่าน, 139
จิงบูทงึ , 427 ชิงสู่อ้ชี ่ที งั , 157
จิงยิ้งเอียงจัง่ ทึง, 268 ชิงอิง๋ ทัง, 110
จิ่วเว่ยเ์ ชียงหัวทัง, 37 เช็งขีฮ่ ่วยถํา่ อี,๊ 446
จี้เซ่าสัว่ , 459 เช็งเฉ่ ากิ้วฮุ่ยทึง, 474
จีซ๋ กิ เต่าทีอ่ ,ี ๊ 294 เช็งซู่เอียะคี่ทงึ , 157
จีซ๋ กิ เซียวผีอ,ี ๊ 299 เช็งเหว่งทึง, 110
จื่อโซ่วส่าน, 459 เช็งอุ่ยซัว,่ 139
จื่อสือเซียวผีห่ วาน, 299 เชียงหัวเซิง่ ซือทัง, 431
จูหลิงทัง, 415
จูเ๋ ยีย่ สือเกาทัง, 105 ซวนเจ่าเหรินทัง, 278
536 ดัชนี

ซังจฺหวีอน่ิ , 54 แซฮ่วยทึง, 350


ซังซิง่ ทัง, 469 เซีย่ แปะซัว่ , 131
ซานจื่อหยัง่ ชินทัง, 455 เซีย่ ไป๋ ส่าน, 131
ซิงเกียอึง่ เหล่งทึง, 209 เซีย่ หวงส่าน, 135
ซินเจียหวงหลงทัง, 209 เซีย่ อึง่ ซัว่ , 135
ซีก่ งุ จือทึง, 214 เซียมเหล็งแปะตุกทึง, 218
ซีส่ ง่ิ อี,๊ 274 เซียวเกี่ยงตงทึง, 167
ซีเ่ หง็กซัว่ , 86 เซียวฉ่ าโอ่วทึง, 80
ซีเ่ หง็กทึง, 175 เซียวแชเหล่งทึง, 43
ซีห่ ม่วยทึง, 235 เซีย่ วเส่งคี่ทงึ , 190
ซีเ่ หมียวย่งอังทึง, 495 เซียวเหยาส่าน, 91
ซึงเก็กอิ้ม, 54 เซียวเอีย่ วซัว่ , 91
ซึงจ๋อหยิง่ ทึง, 278 เซีย่ วอัวะลกตัง, 380
ซึงเห่งทึง, 469 เซฺวย่ี ฝู่จูย๋ วฺ ที งั , 330
ซือ่ จฺวนิ จื่อทัง, 214 โซวจื้อกัง้ คี่ทงึ , 314
ซือ่ เมีย่ วหย่งอันทัง, 495
ซือ่ เสินหวาน, 274 ตังกุยซีเ่ หง็กทึง, 180
ซือ่ หนี้ทงั , 175 ตังกุยซือ่ หนี้ทงั , 180
ซือ่ หนี้ส่าน, 86 ตัว่ โป้ วอิมอี,๊ 251
ซือ่ อูท้ งั , 235 ตัว่ อึง๊ โบวตัวทึง, 509
ซูจ่อื เจี้ยงชี่ทงั , 314 ตัว่ อึง๊ หู่จอื ทึง, 197
ซําจื้อเอี้ยงชิงทึง, 455 ต้าเฉิงชี่ทงั , 185
เซิงม่ายส่าน, 230 ต้าปู่อนิ หวาน, 251
เซิงฮฺวา่ ทัง, 350 ต้าหวงฟู่จ่อื ทัง, 197
เซิน่ ชี่หวาน, 259 ต้าหวงหมูต่ นั ทัง, 509
เซินหลิงไป๋ จูส๋ ่าน, 218 ติ้งฉ่ วนทัง, 320
แซแหมะซัว่ , 230 ตือเหล่งทึง, 415
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 537

เต็กเฮียะเจียะกอทึง, 105 แปะโฮวทึง, 101


เต่าเช่อส่าน, 120 แป๊ ะฮะกูก้ มิ ทึง, 479
เต่าเชียะซัว่ , 120 โป๊ ยเจี้ยซัว่ , 405
เตี่ยช่วงทึง, 320 โปวตงเอีย๊ ะคี่ทงึ , 225
ไต่เส่งคี่ทงึ , 185 โป๋ วเอีย๊ งห่วงโหงวทึง, 337
ไป่ ตกั ซัว่ , 69
เถียวเว่ยเ์ ฉิงชี่ทงั , 194 ไป๋ โถวเวิงทัง, 153
เถีย่ วอุ่ยเส่งคี่ทงึ , 194 ไป๋ หู่ทงั , 101
ไป่ เหอกูจ้ นิ ทัง, 479
เทียนหวางปู่ซนิ ตัน, 282
เทียนอ๊วงโป่ วซิมตัง, 282 ผิงเว่ยส์ ่าน, 391
เผ่งอุ่ยซัว่ , 391
แบะหมึง่ ตงทึง, 490
ไม่เหมินตงทัง, 490
ปัน้ เซีย่ เซีย่ ซินทัง, 96
ปัน้ เซีย่ ไป๋ จูเ๋ ทียนหมาทัง, 464 ยฺวผ่ี งิ เฟิ งส่าน, 264
ปัน้ เซีย่ โฮ่วผอทัง, 309 ยฺวน่ี ฺหวีเ่ จียน, 143
ปัว้ แห่เก่าพกทึง, 309 เยฺวจ่ วฺ หี วาน, 305
ปัว้ แห่เซีย่ ซิมทึง, 96
ปั ๊วแห่แปะตุก๊ เทียนหมัวทึ ่ ง, 464 ลิว่ เว่ยต์ ้ หี วงหวาน, 246
ปาเจิ้งส่าน, 405 ลีตงอี,๊ 163
ป้ ายตูส๋ ่าน, 69
ปู่จงอี้ช่ที งั , 225 เวินจิงทัง, 343
ปู่หยางหวนอู่ทงั , 337 เวินต่านทัง, 441
เปาหัว่ อี,๊ 289 เวินผีทงั , 201
เป่ าเหอหวาน, 289
แปะเถ่าองทึง, 153 เสาเย่าทัง, 147
538 ดัชนี

เสีย่ งคี่อ,ี ๊ 259 เหล่งกักเกาติ่งทึง, 385


เสีย่ วกีอ๋ ม่ิ จือ๋ , 360 เหล่งกุ่ยตุกกําทึง, 423
เสีย่ วจีอ๋ นิ ๋ จื่อ, 360 เหล่งกําโงวบีเ่ กียงซิงทึง, 451
เสีย่ วเจี้ยนจงทัง, 167 เหล่งต้าเซีย่ กัวทึง, 124
เสีย่ วเฉิงชี่ทงั , 190 หวูจูยหฺ วีทงั , 171
เสีย่ วไฉหูทงั , 80 หวงเหลียนเจี่ยตูท๋ งั , 116
เสีย่ วชิงหลงทัง, 43 ห่วยฮวยซัว่ , 365
เสีย่ วหัวลัวตั ่ น, 380 เหว่ยจ์ งิ ทัง, 505
โหงวพ้วยสัว,่ 419
หงิง่ เขีย่ วซัว่ , 48 โหงวเหล่งซัว,่ 411
เหง็กนึงเจีย, 143 โหง่วจูหยู่ทงึ , 171
เหง็กผิง่ ฮวงซัว,่ 264 ไหฺวฮฺวาส่าน, 365
หมาจื่อเหรินหวาน, 205
หมาหวงซิง่ เหรินสือเกากันเฉ่ าทัง, 214 อวกเก๊กอี,๊ 305
หมาหวงทัง, 27 อิงถิง่ เกาทึง, 401
หมัวจื ่ อ๋ หยิง่ อี,๊ 205 อินเฉินเฮาทัง, 401
หมัวอึ ่ ง่ ทึง, 27 อิน๋ เฉียวส่าน, 48
หมัวอึ่ ง๊ เห่งยิ้งเจียะกอกําเชาทึง, 214, อีกว้ นเจียน, 255
หยัง่ อินชิงเฟ่ ยท์ งั , 485 อี้อฟ่ี ่ ูจ่อื ไป้ เจี้ยงส่าน, 513
หยางเหอทัง, 499 อี้อห่ี ู่จ้ อื ไป่ เจี้ยซัว,่ 513
หยีถ่ ง่ิ ทึง, 436 อึง่ โน้ยโกยตักทึง, 116
หลงต่านเซีย่ กานทัง, 124 อุงเก็งทึง, 343
หลักบีต่ ่อี ง่ึ อี,๊ 246 อุงต๋าทึง, 441
หลิงกันอู่เว่ยเ์ จียงซินทัง, 451 อุงปี่ ทงึ , 201
หลิงกุย้ จูก๋ นั ทัง, 423 อุ่ยแก้ทงึ , 305
หลิงเจี่ยวโกวเถิงทัง, 385 อู่ผสี ่าน, 419
หลีจ่ งหวาน, 163 อู่หลิงส่าน, 411
ตํารับยาจีนทีใ่ ช้บอ่ ยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ 539

เอ้อร์เฉินทัง, 436
เอียงอิมเช็งฮุ่ยทึง, 485
เอีย่ งหัว่ ทึง, 499

ฮ่วยฮู่ตกอูท๊ งึ , 330
ฮัว่ เซียงเจิ้งชี่ส่าน, 395
 
 

You might also like