You are on page 1of 458

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

กระทรวงสาธารณสุข
พิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๖๔
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยฉบับอนุรักษ์ ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัว
ยากัญชา.-- นนทบุรี : กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวง
สาธารณสุข, 2564.
454 หน้า.
1. การแพทย์แผนไทย. 2. แพทย์แผนโบราณ. 3. การแพทย์ทางเลือก. 4. กัญชา --
การใช้รักษา. I. ชื่อเรื่อง.

615.88
ISBN 978-616-11-4755-6

ที่ปรึกษา :
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
(ตุลาคม 2563 - กันยายน 2564)
นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ศาสตราจารย์ ดร.ภก.ชยันต์ พิเชียรสุนทร ราชบัณฑิต ส�ำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา
นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ (ภาษา เอกสาร และหนังสือ)
ผู้รวบรวมและเรียบเรียง:
ดร.นันทศักดิ์ โชติชนะเดชาวงศ์ ผู้อ�ำนวยการกองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
และแพทย์พื้นบ้านไทย
นางสาวสุวิมล สุมลตรี แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ
พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม ๒๕64
จ�ำนวนพิมพ์ 650 เล่ม
จัดพิมพ์โดย:
กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
พิมพ์ที่ : บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จ�ำกัด
อนุเคราะห์ภาพถ่ายโดย :
กลุ่มงานวิชาการเภสัชกรรมแผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
พิพิธภัณฑ์พืช กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
นายศศิพงค์ ทิพย์รัชดาพร เภสัชกรช�ำนาญการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

ห้ามจ�ำหน่าย
สาร
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้ให้ความส�ำคัญต่อการแพทย์แผนไทยต่อการสร้างความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
ให้กับประเทศ เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนา
ที่มุ่งเน้นการยกระดับแพทย์แผนไทยและสมุนไพรสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจตามแผนปฏิรูปประเทศ โดยใช้
ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ตามแบบความเป็นไทยหลากหลายและโดดเด่น
ในระดับสากล ผสานองค์ความรู้จากเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่เข้ากับองค์ความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิม
ของไทย น� ำ ไปสู ่ ก ารพั ฒ นาต่ อ ยอดด้ า นเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมที่ ส นั บ สนุ น การสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ทางธุ ร กิ จ
หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต และยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้น
การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี โดยน�ำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการสร้างความเป็นเลิศ
ทางด้านบริการทางการแพทย์และสุขภาพให้กับประชาชนทุกช่วงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ
กระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจหลักในการจัดบริการและพัฒนาระบบบริการสุขภาพในด้านส่งเสริม
สุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ และคุ้มครองผู้บริโภค สนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญา
ด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพ
ส่งเสริมการท�ำการตลาดผ่านการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของสมุนไพรไทย โดยใช้
โอกาสจากความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่หันมาใส่ใจสุขภาพ โดยนโยบายที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่งในการ
ดูแลประชาชนทุกช่วงวัยทั้งในมิติสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อลดความเจ็บป่วย ลดความยากจนของประชาชน
ซึ่ง 1 ใน 5 ของนโยบายดังกล่าว คือ ผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข
ให้ประชาชนเข้าถึงการใช้กญ ั ชาและสมุนไพรทางการแพทย์ได้อย่างปลอดภัย เพือ่ สร้างโอกาสทางการรักษา เศรษฐกิจ
และการสร้างรายได้ของประชาชน โดยก�ำหนดกลไกการด�ำเนินงานตามกฎหมายบัญญัติไว้
นอกจากส่งเสริมการผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข ในระบบ
บริการสุขภาพแล้ว กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยังมีบทบาทภายใต้
พระราชบั ญ ญั ติ คุ ้ ม ครองและส่ ง เสริ ม ภู มิ ป ั ญ ญาการแพทย์ แ ผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการคุ ้ ม ครองต� ำ รั บ ยา
และต�ำราการแพทย์แผนไทยที่มีประโยชน์หรือมีคุณค่าทางการแพทย์หรือการสาธารณสุขให้เป็น “ต�ำรับยาแผนไทย
ของชาติและต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ” ที่ผา่ นมา กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่ อง ประกาศก�ำหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ แ ละต� ำ รั บยาแผนไทยของชาติ ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘
ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖4 จ�ำนวน 32 ฉบับ คุ้มครองต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ จ�ำนวน 579 รายการ
ศิลาจารึก จ�ำนวน 536 แผ่น และต�ำรับยาแผนไทยของชาติในต�ำราและศิลาจารึกดังกล่าว จ�ำนวน 45,134 ต�ำรับ
พบว่า ในต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชามีคุณค่าในทางการแพทย์หรือการสาธารณสุขเป็นพิเศษ
จ�ำนวน 162 ต�ำรับ สมควรเผยแพร่ น�ำไปสู่การใช้ประโยชน์รักษาโรคหรือการศึกษาวิจัย และเป็นผลงานทางวิชาการ
ส�ำคัญของกระทรวงสาธารณสุข น�ำสู่การต่อยอดในระบบสุขภาพ เศรษฐกิจ ทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม
ท้ า ยที่ สุ ด นี้ ขอขอบคุ ณ คณะกรรมการคุ ้ ม ครองและส่ ง เสริ ม ภู มิ ป ั ญ ญาการแพทย์ แ ผนไทยและ
คณะอนุกรรมการคุม้ ครองต�ำรับยาแผนไทยและต�ำราการแพทย์แผนไทย รวมทัง้ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือกที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการจัดท�ำผลงานครั้งนี้

(นายอนุทิน ชาญวีรกูล)
รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ก-
ค�ำน�ำ
ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕2๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติด
ให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยกัญชายังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ยกเว้นเปลือก ล�ำต้น เส้นใย
กิ่งก้าน ราก และใบซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย การขออนุญาตสามารถน�ำกัญชามาใช้ประโยชน์ได้ตาม
วัตถุประสงค์เพื่อการรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยที่ก�ำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก�ำหนด
ต�ำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ทีม่ กี ญั ชาปรุงผสมอยูท่ ใี่ ห้เสพเพือ่ การรักษาโรคหรือการศึกษาวิจยั ได้ พ.ศ. 2564
ได้แก่ ต�ำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ได้การรับรองจากส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต�ำรับยา
ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ภายใต้รูปแบบพิเศษของการเข้าถึงยา (Special Access
Scheme) ต�ำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ได้รับอนุญาตภายใต้โครงการศึกษาวิจัยที่ได้รับอนุญาตจากส�ำนักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา ต� ำ รั บ ยาแผนไทยที่ มี กั ญ ชาปรุ ง ผสมอยู ่ ที่ ผู ้ ป ระกอบวิ ช าชี พ การแพทย์ แ ผนไทย
ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์และหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ปรุงขึ้นจากองค์ความรู้และภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ชัดเจน และได้รับการรับรองจากกรมการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก ซึ่งในปัจจุบันมีการพิจารณากลั่นกรองต�ำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ในต�ำรา
การแพทย์แผนไทย โดยค�ำแนะน�ำของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและสภาการแพทย์แผนไทย
เป็นต�ำรับที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ จ�ำนวน 11 ต�ำรับ
พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ ก�ำหนดให้
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเกี่ยวกับต�ำรับยา
แผนไทยและต�ำราการแพทย์แผนไทยทั่วราชอาณาจักร เพื่อจัดท�ำทะเบียนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยเกี่ยวกับ
ต�ำรับยาแผนไทยและต�ำราการแพทย์แผนไทยใช้ประโยชน์ในการอ้างอิง ทางวิชาการ ศึกษา วิจัย พัฒนา และ
มาตรา ๑๗ ก�ำหนดให้รัฐมนตรีมีอ�ำนาจประกาศก�ำหนดต�ำรับยาแผนไทยหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยที่มีประโยชน์
หรือมีคุณค่าในทางการแพทย์หรือการสาธารณสุขเป็นพิเศษ ให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์
แผนไทยของชาติแล้วแต่กรณี การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการก�ำหนดในกฎกระทรวง
ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์ ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา ได้ประกาศก�ำหนด
ให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
การประกาศก�ำหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ จ�ำนวนทั้งสิ้น 162 ต�ำรับ
การจัดพิมพ์ครั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ต้นฉบับอีกทางหนึ่ง รวมทั้งมีการจัดระบบใหม่ให้อ่านเข้าใจง่าย สามารถ
น�ำมาเป็นต�ำรับยาส�ำหรับศึกษา ค้นคว้า อีกทั้งเป็นฐานข้อมูลอ้างอิงในการคุ้มครองต�ำรับยาแผนไทยและต�ำรา
การแพทย์แผนไทยโดยประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงได้จดั พิมพ์เป็นชุดต�ำราภูมปิ ญ ั ญาการแพทย์แผนไทย
ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา เพื่อน�ำไปสู่การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และวิชาการ
ท�ำให้ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยจึงจะคงอยู่คู่ประเทศชาติตราบนานเท่านาน

(แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์)
อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุข
-ข- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
สารบัญ
หน้า

สาร -ก-
ค�ำน�ำ -ฃ-
สารบัญ -ค-
❀ ค�ำแนะน�ำการใช้ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: -ง-
ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
❀ ความส�ำคัญของชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: -ฉ-
ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
❀ แนวทางการถ่ายถอด -ฌ-
❀ ลักษณะอักขรวิธีและเครื่องหมายโบราณ -ญ-
❀ พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของกัญชา -ฑ-
❀ พฤกษศาสตร์ของกัญชา -ฒ-
❀ สารองค์ประกอบที่เป็นยาในพืชกัญชา -ด-
❀ การใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของกัญชา -ถ-
❀ การคัดเลือกวัตถุดิบกัญชา -ธ-
❀ การเตรียมกัญชาก่อนใช้ปรุงยา -น-
ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา มีดังนี้
❀ กลุ่มโรคกษัย/กล่อน ๑ ❀ กลุ่มโรคลม ๕๓
ยาน�้ำมันสนั่นไตรภพ 2 ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง 54
ยาแก้กษัยท้น 11 ยาแก้ลมอุทธังคมาวาตา 59
ยาแก้กล่อนแห้ง 19 ยาแก้ลมวาระยักขวาโย 69
ยาธรณีสัณฑะฆาต 40 ยาแก้ลมสิตมัควาโย 72
ยาพรหมภักตร์ 47 ยาแก้ลมอัตพังคีวาโย 75
ยาแก้ลมกล่อน 49 ยาน�้ำมันละลอกพระสมุทร 79
ยาแก้ลมกล่อน 7 จ�ำพวก 50 ยาแก้ลมยักขินีวาโย 82
ยาอัคนีสูวิการ 51 ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย 87
ยาแก้กล่อนปัตคาด 52 ยาท�ำลายพระเมรุ 89
ยาคันธวาต 52 ยาปัตคาดใหญ่ 120

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ฃ-
หน้า

ยาวิสัมพยาใหญ่ 123 ยาแก้ลมจุกเสียด 172


ยาแก้ลมอุทธังควาต 129 ยาแก้เส้น แก้เมื่อย แก้เหน็บชา 172
ยาแก้ลมปัตคาด 133 ยาแก้ลมพรรดึก 172
ยาแก้ลมพิรุศวาโย 140 ❀ กลุ่มโรคเด็ก ๑๗๓
ยาไกรยราวุฒิ 141 ยาไฟอาวุธ 17๔
ยาธนสิทธิ์ 142 ยาแก้ทรางกินข้าวไม่ได้ 18๑
ยาไวเวก 143 ❀ กลุ่มโรคริดสีดวง ๑๘๓
ยานารายน์เรืองเดช 144 ยาธรณีไหว 184
ยาปทุมโอสถ 146 ยานาดธิจร 193
ยาบรมไกรจักร 147 ยาสิทธิจร 196
ยาไฟประลัยกัลป์ 148 ยานารายณ์จักรพิเศษ 202
ยาแก้ลม 16 จ�ำพวก 149 ยาริดสีดวงมหากาฬ 206
ยาเนาวโกฐ 150 ยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก 210
ยาประคบ 151 ยาแก้ริดสีดวงทางปัสสาวะ 212
ยาแก้ลมกระทบหทัย 152 ยาไฟอาทิตย์ 214
ยาอักปัตร 153 ยามหาอาวุธ 215
ยาแก้ลมเยาววารี 154 ยาแก้รดิ สีดวง หืด หอบ ไอ ท้องเป็นดาน 216
ยาแก้ลมโรกนี 155 ยาเพชรอาวุธใหญ่ 217
ยาจุลอัพยาฤทธิ 156 ยาเทพอาวุธ 218
ยาหอมเนาวโกฐ 158 ยาตรุสกราทิวัก 219
ยาแก้ลม 161 ยาแก้ริดสีดวงในอก ในคอ 220
ยาหอมสันนิบาต 162 ยาเพชรอาวุธใหญ่ 221
ยาประลัยกัลป์ใหญ่ 163 ยาร้อน 222
ยาแก้ลมโรคนี 164 ยาแก้ริดสีดวงเลือด 223
ยาฝนแสนห่า 165 ยาทาแก้ริดสีดวงทวารหนัก 223
ยาพรหมชาติ 167 ❀ กลุ่มอาการนอนไม่หลับ ๒๒๕
ยาหอมสว่างอารมณ์ 168 ยาศุขไสยาศน์ 226
ยาแก้ลมจักรพังคี 169 ยาศุขไสยาศน์ 230
ยาแก้ลมพันทวาต 170 ยาศุขไสยาศน์ใหญ่ 231
ยาสว่างอารมณ์ 171 ยาศุขไสยาศน์กลาง 232

-ค- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


หน้า

ยาศุขไสยาศน์น้อย 233 ยาต้มกินแก้ผอมแห้ง 281


ยาศุขไสยาศน์ 234 ยาแก้ธาตุพิการ 281
ยาศุขไสยาศน์ 235 ❀ กลุ่มอาการท้องท้องเสีย ท้องเดิน/ ๒๘๑
ยาศุขไสยาศน์ 236 บิด/ป่วง
ยาศุขไสยาศน์กลาง 237 ยาทิพยสูพสุวรรณ 284
ยาประทุมไสยาศน์ 238 ยาแก้โรคบิด 296
ยาอ�ำบุดไสยาศน์ 242 ยาแก้ป่วงหิว 299
ยามหานิทรา 243 ยาแก้มุศกายธาตุอติสาร 302
ยาส�ำราญนิทรา 244 ยาแก้ลง แก้บิด 306
ยาสุขเกษมใหญ่ 247 ยาแก้ตกมูกเลือดตานโจร 308
ยาทิพกาศ 252 ยาแก้ป่วงลม 313
ยาหอมเทพร�ำจวน 254 ยาแก้ป่วงน�้ำ 315
ยาทิพย์โอสถ 255 ยาแก้อติสาร 317
ยาต้มกินข้าวไม่ได้ นอนไม่หลับ 256 ยาแก้ลงกาลสิงคลี 318
ยาแก้ลมให้นอนหลับ 257 ยาประสะพิมเสนใหญ่ 319
ยาแก้เด็กนอนไม่หลับ 258 ยาแก้ลง 320
ยาทาตาข้างล่าง 259 ยาบุบผานุคจุณ 321
ยาเทพนิมิตน้อย 260 ยาแก้บิดมูกน้อย 322
ยาอยู่ไฟ แก้นอนไม่หลับ 261 ยาแก้อติสาร 323
ยาแก้นอนไม่หลับ 262 ยาออกลูกให้ลงท้อง 324
ยาประทุมไสยาศน์จันทบุรี 262 ยาแก้มูกเลือด 325
ยาแก้โรคจิต 262 ยาเทพนิมิตร 326
ยาหอมอุดมมัธยัสถ์ 262 ยาพิศวาศ 327
❀ กลุ่มยาบ�ำรุง ยาอายุวัฒนะ ๒๖๓ ยาแก้กาฬสิงคลี 328
ยาอัคคินีวคณะ 264 ยาแก้ลงท้องด้วยโรคต่าง ๆ 329
ยาอินทจวร 278 ยาแก้ออกฝีลงเลือด 329
ยาอายุวัฒนะ 279 ยาประสะทับทิม 329
ยาอายุวัฒนะ 280 ยาแก้ตกมูกเลือด 329

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ฅ-
หน้า

❀ กลุ่มโรคฝี ๓๓๑ ❀ กลุ่มโรคสตรี ๓๕๑


ยาแก้พิษฝี 33๒ ยาต้มแก้โลหิตเน่าร้าย 352
ยาแก้ฝีภาตะวารี 334 ❀ กลุ่มโรคตา ๓๕๓
ยามหาอุดม 335 ยาสุม 354
ยานรพิษ 336 ❀ กลุ่มอื่น ๆ ๓๕๕
ยาแก้ฝีในมดลูก 337 ยามหาวัฒนะ 356
❀ กลุ่มไข้ ๓๓๙ ยาแก้มหาสันนิบาตทุวัณโทษ 358
ยาแก้ไข้ผอมเหลือง 340 ยามหาไวยราบ 360
ยาเขียวมหาสัมฤทธิ์ 342 ยาแก้วควรค่า 361
ยาแก้ไข้จับ 343 ยาเสน่ห์ข้าวสุก 363
ยาหอมพิสดาร 344 ยาหงษ์ทองของคุณตาน 364
ยาแก้ไข้เดือน 4 345 ยาแก้องคชาติตาย 365
ยาเบญจกูลกล่อมธาตุ 346 ยามหาจักรวาฬน้อย 366
ยาแก้ไข้ต่าง ๆ 346 ยาอุปทมเลือด 368
ยาหอมนวโกฐกลาง 346 ยาแก้มุตคาด 369
❀ กลุ่มอาการไอ ๓๔๗ ยาตัดกาฬ 369
ยาแก้เสมหะในคอ 348 ยาบาททะกฤษและบาดทะยัก 369
ยาอัมฤควาที 349 ยาแก้อาโป 370
ยาแก้ไอทั้งปวง 350

ภาคผนวก
ภาคผนวก 1 เภสัชวัตถุ 37๓
ภาคผนวก 2 การเตรียมตัวยาก่อนใช้ปรุงยา 387
ภาคผนวก ๓ วิธีการปรุงยา 393
ภาคผนวก 4 อภิธานศัพท์ 403
รายชื่อคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง 411
เอกสารอ้างอิง 415

-ฆ- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำแนะน�ำการใช้ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์:
ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
“ค�ำแนะน�ำการใช้ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติ
ที่เข้าตัวยากัญชา” นี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ถอดความต�ำรับยาทีเ่ ป็นตัวอักษรไทยโบราณจากเอกสารโบราณประเภทจารึก
คัมภีร์ใบลาน สมุดไทย และเอกสารฉบับคัดลอก จัดท�ำค�ำอ่านอ้างอิงตามค�ำศัพท์ สมัยปัจจุบันตามพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เพือ่ ความสะดวกส�ำหรับผูอ้ า่ น หรือผูส้ นใจ บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข
ที่ต้องการเข้าถึง เข้าใจเนื้อหาสาระเกี่ยวกับต�ำรับยาและน�ำไปใช้ประโยชน์ได้
ต�ำราเล่มนี้ มุ่งหวังให้เป็น “ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทย
ของชาติที่เข้าตัวยากัญชา” (National Thai Traditional Remedies with Ganja) โดยรวบรวมและคัดเลือก
จากต�ำรับยาแผนไทยของชาติ ที่ได้ประกาศคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์
แผนไทย พ.ศ. 2542 ประกอบด้วย ต�ำรับยา 162 ต�ำรับ จ�ำแนกตามกลุ่มโรค/อาการ 13 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโรคกษัย
กล่อน กลุ่มโรคลม กลุ่มโรคเด็ก กลุ่มโรคริดสีดวง กลุ่มอาการนอนไม่หลับ กลุ่มยาบ�ำรุง ยาอายุวัฒนะ กลุ่มอาการ
ท้องเสีย ท้องเดิน บิด ป่วง กลุ่มโรคฝี กลุ่มไข้ กลุ่มอาการไอ กลุ่มโรคสตรี กลุ่มโรคตา และกลุ่มอื่น ๆ น�ำไปสู่
การใช้ประโยชน์และต่อยอดทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ

ค�ำอธิบายความหมายของชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติ


ทีเ่ ข้าตัวยากัญชา
ธรรมชาติ ข องต� ำ รั บ ยาแผนไทยที่ มี ก ารคิ ด ค้ น และมี ก ารคั ด ลอกสื บ ต่ อ กั น มา ท� ำ ให้ บ างต� ำ รั บ ยา
มีส่วนประกอบของตัวยาไม่ตรงกับต�ำรับยาในคัมภีร์หรือต�ำรายาดั้งเดิม เช่น น�้ำหนักของตัวยาบางตัวอาจต่างไป
ตัวยาบางตัวอาจหายไป หรือมีการเพิ่มตัวยาบางตัวขึ้นมา แต่ยังคงมีเค้าโครงของต�ำรับยาที่ใกล้เคียงกับต�ำรับยา
ที่อยู่ในคัมภีร์หรือต�ำรายาดั้งเดิม ในที่นี้ผู้จัดท�ำจึงรวบรวมที่มาของต�ำรับยาดั้งเดิมไว้ และหากต�ำรับยาใดที่มีการ
คัดลอกจากต�ำรับยาดั้งเดิมซึ่งมีสูตรเหมือนกัน หรือมีสูตรใกล้เคียงกัน (คิดเป็นร้อยละ 60) จะเรียบเรียงต่อกันมา
เพือ่ ให้ผอู้ า่ นสามารถเข้าใจต้นก�ำเนิดหรือแหล่งทีม่ าของต�ำรับยานัน้ เช่น ยาศุขไสยาศน์ ทีอ่ ยูใ่ นคัมภีรธ์ าตุพระนารายณ์
กั บ ยาศุ ข ไสยาศน์ ที่ อ ยู ่ ใ นต� ำ รายาเกร็ ด เลขที่ 244 ต� ำ รายาเกร็ ด เลขที่ 574 และต� ำ ราอายุ ร เวทศึ ก ษา
ขุนนิทเทสสุขกิจ เป็นยาที่มีสูตรต�ำรับเหมือนกัน จึงระบุที่มาจากทั้ง 4 แหล่งเพื่อเป็นการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูล
เกี่ยวกับประวัติแหล่งที่มาของต�ำรับยา นอกจากนี้ยังมีต�ำรับยาอื่นที่ปรากฏตามกลุ่มโรคหรืออาการไว้ด้วย

ภาคผนวกของชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ตอนท้ายของหนังสือนี้ มีภาคผนวกอยู่ 4 เรื่อง เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตัวยาต่าง ๆ ได้แก่
เภสัชวัตถุ การเตรียมตัวยาก่อนใช้ปรุงยา วิธีการปรุงยา และอภิธานศัพท์มีรายละเอียดพอสังเขป ดังต่อไปนี้

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ง-
ภาคผนวก ๑ เภสัชวัตถุ (Medicinal material, Materia Medica)
เป็นภาคผนวกที่รวมตัวยาหรือเภสัชวัตถุ ทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบ
ของต�ำรับยาในรูปของตาราง โดยแต่ละช่องจะให้ข้อมูลดังนี้
● ชื่อไทย (Thai title) หมายถึง ชื่อตัวยาที่ระบุในสูตรต�ำรับยา โดยเป็นชื่อที่เรียกหรือรู้จักเป็นสากล
ในปัจจุบัน ซึ่งอาจแตกต่างจากชื่อที่ใช้เรียกหรือเขียนในเอกสารต้นฉบับเดิม โดยเรียงชื่อตัวยา
ตามล�ำดับอักษรภาษาไทย ก-ฮ ในแบบพจนานุกรม
● ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรที่เป็นต้นก�ำเนิดของตัวยา
ประกอบด้วย ชื่อสกุล (genus) เขียนด้วยตัวเอน ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตามด้วยชื่อระบุชนิด
(specific epithet) ซึง่ เขียนด้วยตัวเอนเช่นกัน ขึน้ ต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์เล็ก และชือ่ ผูต้ งั้ ชือ่ (author’s
name) ทีเ่ ขียนด้วยตัวอักษรปรกติ ขึน้ ต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ ทัง้ นีอ้ าจใช้ชอื่ ย่อตามทีก่ ำ� หนดในหนังสือ
Authors of Plant Names* และฐานข้อมูล The Plantlist** และฐานข้อมูล Plants of the
World Online*** หากพืชสมุนไพรชนิดใดสามารถระบุพันธุ์ (variety) หรือพันธุ์ปลูก (cultivar) ได้
ก็จะระบุไว้หลังชื่อ โดยใช้ตัวย่อ var. หรือ cv. ตามล�ำดับ แล้วตามด้วยชื่อพันธุ์หรือชื่อพันธุ์ปลูก
ภาคผนวก ๒ การเตรียมตัวยาก่อนใช้ปรุงยา (Prepreparation of crude drug)
เนื่องจากตัวยาบางชนิดมีฤทธิ์แรงเกินไปหรือมีพิษมาก อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ หรือตัวยาบางชนิด
อาจไม่สะอาด มีเชื้อโรคปนเปื้อน หรือมีความชื้นมากเกินไป ตัวยาเหล่านี้จึงต้องผ่านกระบวนการประสะ สะตุ
หรื อ ฆ่ า ฤทธิ์ ก่ อ นน� ำ มาใช้ ป รุ ง ยา เพื่ อ ความปลอดภั ย ของผู ้ บ ริ โ ภค ภาคผนวกนี้ จึ ง น� ำ เสนอข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
การประสะ สะตุ หรือฆ่าฤทธิ์ของตัวยาบางชนิดก่อนน�ำไปใช้
ภาคผนวก ๓ วิธีการปรุงยา (Compounding of traditional medicinal preparation)
ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติท่ีเข้าตัวยากัญชา
มีรูปแบบของยาเตรียมที่ส�ำคัญ 7 วิธี ได้แก่ ยาต้ม, ยาผง, ยาเม็ด, ยาลูกกลอน, ยาประคบ, ยาขี้ผึ้ง และยาน�้ำมัน
ซึ่งภาคผนวกนี้ได้อธิบายกระบวนการผลิตยาแต่ละรูปแบบโดยละเอียด
ภาคผนวก ๔ อภิธานศัพท์ (Glossary)
เป็นบัญชีค�ำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย โรคหรืออาการทางการแพทย์แผนไทย รวมทั้ง
ศั พ ท์ ท างเภสั ช กรรมไทยที่ ก ล่ า วถึ ง ส่ ว นใหญ่ น� ำ มาจาก “พจนานุ ก รมศั พ ท์ แ พทย์ แ ละเภสั ช กรรมแผนไทย”
ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ส่วนค�ำศัพท์ที่ยังไม่มีในพจนานุกรมดังกล่าว คณะท�ำงานฯ
และคณะอนุกรรมการฯ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยได้ร่วมกันพิจารณา ปรับแก้ เพื่อจัดท�ำความหมาย
ของค�ำศัพท์เหล่านั้นขึ้น

* Brummit RK, Powell CE. Authors of plant names. London: Royal Botanic Gardens, Kew. 1992.
**The Plant List (2013). Version 1.1. Published on the Internet; http://www.theplantlist.org/(accessed 1st
September 2021).
*** Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew Published on the Internet;
http://www.plantsoftheworldonline.org/ (accessed 1st September 2021)

-จ- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ความส�ำคัญ
ของชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์:
ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
กัญชา เป็นชือ่ พืชทีม่ ชี อื่ วิทยาศาสตร์วา่ Cannabis sativa L. ในวงศ์ Cannabaceae เป็นพืชทีม่ นุษย์
รู้จักใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะใช้ล�ำต้นเป็นเส้นใย ใช้ใบและเรือนช่อดอกเพศเมีย กินเป็นอาหารและยา
หรื อ ใช้ สู บ เป็ น เครื่ อ งหย่ อ นใจ พื ช กั ญ ชามี ชื่ อ สามั ญ หลายชื่ อ เช่ น cannabis, hemp, Indian hemp,
ganja, marihuana, marijuana เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ดอกแยกเพศต่างต้น (dioecious) แต่อาจพบพืชกัญชา
ที่เป็นแบบดอกแยกเพศร่วมต้น (monoecious) ได้ มีถิ่นก�ำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย แล้วแพร่ไปทั่วโลก สารองค์ประกอบ
เคมีในกัญชาที่ส�ำคัญมีสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ที่ส�ำคัญ เช่น Δ9- เททระไฮโดรแคนนาบินอล
[Δ9-tetrahydrocannabinol (Δ9-THC)], แคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD), แคนนาบินอล (cannabinol,
CBN), แคนนาบิเจอรอล (cannabigerol, CBG) สารกลุ่มเทอร์พีนอยด์ เป็นต้น สาร Δ9-THC เป็นสารที่ออกฤทธิ์
ต่อระบบประสาทส่วนกลาง พบมากในช่อดอกเพศเมีย ในปัจจุบันพืชกัญชาเป็นพืชปลูกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น
ทั่วทุกทวีปของโลก โดยมีการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์เป็นเส้นใยหรือใช้เป็นยาบ�ำบัดโรค

ภาพที่ 1 ต้นกัญชา

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ฉ-
ในทางการแพทย์แผนไทย พืชกัญชามีส่วนที่ใช้เป็นตัวยาในต�ำรับยาเกือบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นราก
ก้านใบ ใบ และเรือนยอดช่อดอกเพศเมีย (ซึ่งมีฤทธิ์แรงที่สุด) ต�ำราสรรพคุณยาไทยระบุว่า กัญชา มีรสเมาเบื่อ
มีสรรพคุณแตกต่างกันตามส่วนที่ใช้ เช่น ใบมีสรรพคุณแก้หอบหืด เจริญอาหาร ชูก�ำลัง เป็นต้น แต่ท�ำให้จิตใจ
ขลาดกลัว ตาลาย ประสาทหลอน ดอกมีสรรพคุณแก้โรคประสาท ท�ำให้นอนหลับ เจริญอาหาร กัดเสมหะในคอ
เป็นต้น จากการสืบค้นต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ที่ได้ประกาศคุ้มครองต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ
จ�ำนวน 579 รายการ ศิลาจารึก จ�ำนวน 536 แผ่น และต�ำรับยาแผนไทยของชาติในต�ำราและศิลาจารึกดังกล่าว
จ�ำนวน 45,134 ต�ำรับ (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2564) มีต�ำรับยาตัวยากัญชา จ�ำนวน 162 ต�ำรับ มีการบันทึก
ไว้ในต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติฉบับที่เก่าแก่ที่สุด คือ คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ซึ่งต้นฉบับ ใช้ค�ำว่า คัมภีร์ธาตุ
พระนารายน์ หรือต�ำราพระโอสถพระนารายณ์นี้เป็นหลักฐานทางการแพทย์แผนไทยชิ้นส�ำคัญสืบเนื่องกันมา
ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายว่า
“ที่เรียกว่าต�ำราพระโอสถพระนารายณ์ เพราะมีต�ำราพระโอสถซึ่งหมอหลวงได้ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์
มหาราช”

ภาพที่ 2 คัมภีร์ธาตุพระนารายน์ (ฉบับใบลาน) พ.ศ. 2459

-ช- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


นอกจากนี้ ยังมีการบันทึกเกี่ยวกับกัญชาไว้ในต�ำราการแพทย์แผนไทยที่เป็นเอกสารชั้นต้นส�ำคัญ
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ ศิลาจารึกวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ)์
ต�ำราพระโอสถครั้งรัชกาลที่ ๒ ต�ำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ (สมุดไทย)
เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีการใช้กัญชาทางการแพทย์มามากกว่า 360 ปี แต่เมื่อ 40 ปี ที่ผ่านมา
มีการออกพระราชบัญญัติให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕2๒ ท�ำให้คนไทยต้องหยุดใช้ประโยชน์จากกัญชา
เพราะผิ ด กฎหมาย และไม่มีการใช้และพัฒนาสิ่ ง ที่ เ ป็ นประโยชน์ จากกั ญ ชามายาวนานหลายสิ บปี จนท� ำให้
ภูมิปัญญาเรื่องกัญชาสูญหายไป ซึ่งในประเทศไทยมีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕2๒ แก้ไขเพิ่มเติม
โดย พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยกัญชายังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5
และสามารถน�ำกัญชามาใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด ได้แก่ ผลิตหรือครอบครองเพื่อการศึกษาวิจัย
ทางด้านการแพทย์ ผลิตซึง่ กระท�ำโดยการปรุงเฉพาะกัญชาส�ำหรับคนไข้เฉพาะรายของตน และจ�ำหน่ายเฉพาะกัญชา
เพื่อการรักษาผู้ป่วย เป็นต้น
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ เรื่อง ก�ำหนดต�ำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕
ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ. 2564 โดยได้ก�ำหนดต�ำรับยาแผนไทย
ที่เชื่อว่าน่าจะมีประสิทธิผล ปลอดภัย วิธีการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อน ตัวยาหาไม่ยาก และมีสรรพคุณต�ำรับที่ใช้
แก้ปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบันได้ รวมทั้งสิ้น ๑1 ต�ำรับ

ตารางที่ 1 ต�ำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาเป็นตัวยาที่อนุญาตให้เสพเพื่อบ�ำบัดโรคหรือการศึกษาวิจัยได้
(ประกาศกระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๖4)
ชื่อต�ำรับยา ที่มาของต�ำรับยา
1. ยาอัคคินีวคณะ คัมภีร์ธาตุพระนารายน์
2. ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย ต�ำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
3. ยาน�้ำมันสนั่นไตรภพ ต�ำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
4. ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง ต�ำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
5. ยาไฟอาวุธ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
6. ยาแก้สัณฑฆาต กล่อนแห้ง แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
7. ยาอัมฤตโอสถ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
8. ยาอไภยสาลี เวชศึกษา พระยาพิศณุประสาทเวช
9. ยาไพสาลี อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
10. ยาท�ำลายพระสุเมรุ คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
11. ยาทัพยาธิคุณ คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ซ-
แนวทางการถ่ายถอด
การถ่ายถอด มีหลายคนจารึก มีหลายลายมือ มีทั้งค�ำศัพท์ภาษาไทยโบราณ การสะกดค�ำและการใช้
ค�ำศัพท์มีลักษณะเฉพาะ เพื่อให้เป็นประโยชน์ด้านการแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะ การถ่ายถอดเป็นภาษาไทยจาก
จารึกสมุดไทยครั้งนี้ มีแนวทางดังนี้ คือ
๑. ถ่ายถอดจากภาษาไทยและตัวอักษรไทยโบราณเป็นภาษาไทยปัจจุบัน โดยถอดความครั้งเดียว
ไม่ได้ใช้วิธีการถ่ายถอดตามตัวซึ่งต้องรักษาอักขรวิธีแบบโบราณตามต้นฉบับเดิม โดยยึดค�ำศัพท์สมัยปัจจุบัน
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕54 เพื่อจะได้สะดวกส�ำหรับผู้อ่านที่ต้องการเข้าถึงสาระเกีย่ วกับ
ต�ำรับยาเป็นประการส�ำคัญ สามารถอ่านเข้าใจและน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ทนั ที ดังตารางที่ 2 ต่อไปนี้

ค�ำปัจจุบันตามพจนานุกรม ค�ำโบราณตามต้นฉบับ
กัญชา การชา กานชา
ก�ำลังวัวเถลิง ก�ำลังโคเถลิง ก�ำลังงัวเถลิง
ค�ำรบ เคารบ
จันทนา จันคันนา จันขนา
จุกโรหินี ตุกะโรหิณี จุกกะโรหิณี
ชิงช้าชาลี ชิงชาลี
เถาวัลย์เปรียง วันเปรียง
เนระพูส ี เนียระพูสี
เบญจ เบญ เช่น เบญกูน เขียนเป็น เบญจกูล
ประค�ำไก่ มะค�ำไก่
ประค�ำดีควาย มะค�ำดีควาย ประค�ำดีกระบือ
ผักแพวแดง ผัดแผวแดง พัดแพวแดง
พิมเสน พุมเสน ภีมเสน
ฟักข้าว ผักเข้า ฝักเข้า
มะกา มัดกา
ละลาย ลาย
ริดสีดวง ฤษดวง ฤศดวง
สะค้าน ตะค้าน
สมุฏฐาน สมุถาน
สันนิบาต สรรนิบาต สาริบาต
หัว ศีรษะ เช่น ศีรษะหอม เขียนเป็น หัวหอม

2. ค�ำศัพท์โบราณที่ไม่สามารถหาความหมายได้จะคงไว้ตามอักขรวิธีเดิม

-ฌ- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ลักษณะอักขรวิธีและเครื่องหมายโบราณ
เนื่องจากการเขียนหนังสือของคนไทยสมัยก่อนที่มิได้รับราชการในกรมอาลักษณ์ มักมีลักษณะเฉพาะ
เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล และเป็นยุคสมัยที่คนไทยยังไม่มีการประกาศใช้พจนานุกรมเพื่อก�ำหนดหลักเกณฑ์
เป็นมาตรฐานให้สะกดค�ำที่มีความหมายเดียวกันเหมือนกันทั่วประเทศ ดังนั้นการผสมค�ำเพื่อการอ่านจึงเป็นไป
อย่างอิสระ มีรูปแบบแตกต่างกันตามแต่ส�ำนักที่เรียนแต่ละแห่งนิยม หากส�ำนักเรียนนั้นอยู่ใกล้ความเจริญ เช่น
พระราชวัง หรือวัดในกรุงการเขียนหนังสือก็จะมีแบบแผนที่ชัดเจนและถูกต้อง มากกว่า ๑ ด้วยเหตุดังกล่าวการใช้
รูปอักษรเขียนค�ำ เพื่อสื่อความหมายให้อ่านออกเสียงได้เข้าใจตามภาษาพูด ที่ใช้กันในท้องถิ่น จึงมีความส�ำคัญมาก
ท�ำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้รูปพยัญชนะ รูปสระส�ำหรับสะกดค�ำได้หลากหลายรูปแบบ แม้จะมีความหมาย
เช่นเดียวกันก็ตาม เช่น ค�ำว่า กานชา การชา ก้รรชา กันชา เป็นต้น เห็นได้ชัดเจนว่า การเขียนหนังสือของคนไทย
สมัยก่อนเขียนตามเสียงพูด เพือ่ ให้สามารถอ่านออกเสียง และเข้าใจความหมายได้โดยไม่ให้ความส�ำคัญกับวิธกี ารเขียน
นอกจากนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ยังได้อธิบายถึงลักษณะการเขียน
ข้อความลงในหนังสือสมุดไทยว่ามี ๓ ลักษณะ ๒ คือ
๑. ลักษณะการเขียนหนังสืออย่างอาลักษณ์ ได้แก่ หนังสือที่ผู้เขียนเป็นผู้มีความรู้ ฝึกหัดงานเขียน
จากข้าราชการในกรมอาลักษณ์หรือจากผูร้ หู้ ลัก ผูร้ เู้ หล่านีจ้ ะมีความรูค้ วามสามารถในทางอักษรศาสตร์ จึงเขียนหนังสือ
ได้ถูกต้อง สวยงาม เป็นระเบียบตามแบบฉบับ
๒. ลักษณะการเขียนอย่างหนังสือเสมียน ได้แก่ หนังสือที่ผู้เขียนหัดเขียนแต่หนังสือหวัด เพื่อการเขียน
ให้เร็วและข้อความไม่ตกหล่นเป็นหลัก ส่วนอักขรวิธีนั้นไม่ถือเป็นเรื่องส�ำคัญ เน้นเฉพาะเพื่อการอ่านเข้าใจ
ในความหมายของข้อความที่ต้องการสื่อสารเท่านั้น
๓. ลักษณะการเขียนอย่างหนังสือหวัด ได้แก่ หนังสือที่เขียนให้มีลักษณะคล้ายตัวบรรจง แต่ไม่กวดขัน
ในทางอักษรศาสตร์ ไม่มีรูปแบบแห่งการเขียนอันเป็นแบบฉบับที่แน่นนอน มีความประสงค์เพียงเพื่อให้สามารถ
อ่านได้รู้เรื่องเท่านั้น การเขียนเช่นนี้ จึงมีทั้งการเขียนตกหล่น และเพิ่มเติมข้อความตามความประสงค์ของผู้เขียน
เป็นส�ำคัญ


ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “ลักษณะอักขรวิธตี น้ ฉบับหนังสือกฎหมายตราสามดวง”, กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถาน,
กรุงเทพ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๐, หน้า ๒๗.

“สาส์นสมเด็จเล่ม ๒๖”, กรุงเทพ : คุรุสภา, ๒๕๒๕, หน้า ๑๕๘-๑๖๒.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ญ-
อักขรวิธีพิเศษ ที่ปรากฏในต้นฉบับมีลักษณะดังนี้
1. มีการเขียนรูปอักษรให้เชื่อมต่อกัน เพื่อให้เขียนได้รวดเร็ว เพราะไม่ต้องยกอุปกรณ์การเขียน
หลายครั้ง หากเป็นตัวอักษรที่มีหางยาวก็จะมาเขียนเพิ่มเติมภายหลัง เช่น

= ฝิ่น

= มะขามเปียก

= รัตตะปิตตะ

= หญ้าปากควาย

2. เขียนค�ำต่าง ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ แต่สามารถเขียนให้สื่อความหมายได้โดยไม่ค�ำนึงถึงความถูกต้อง


ของรูปศัพท์ เช่น

กานชา ” กัญชา
ก้รรชา ” กัญชา
วิเสศ ” วิเศษ
บระเพด ” บอระเพ็ด
สรรพัศ ” สารพัด
เอยน ” เย็น
กินเฃา ” กินข้าว
ผักคราช ” ผักคราด
ลมอ�ำภาท ” ลมอัมพาต
ท่วา้ ย ” ถวาย
สีสะ ” ศีรษะ
คางแขง ” คางแข็ง
สรรนิบาท ” สันนิบาต

-ฎ- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


3. พยัญชนะต้นบางตัว เช่น ด ท ส อาจมีการใช้ตัว ต เขียนแทนตามความนิยมของผู้บันทึก เช่น
ตะโพก - สะโพก

4. ใช้ไม้มลาย ในค�ำที่เขียนด้วย สระไอ และ ใอ เช่น


รังปลวกไต้ดิน - รังปลวกใต้ดิน
ไบ - ใบ
กระทุ่มไหญ่ - กระทุ่มใหญ่

5. ไม่มีการเขียนไม้ไต่คู้  (–็)  แทนสระเสียงสั้นลดรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น


เปน - เปน
ขี้เหลก - ขี้เหล็ก
ผักเปด - ผักเป็ด
ฝีเอน - ฝีเอ็น
เจบปวด - เจ็บปวด
คางแขง - คางแข็ง
เข้าเยน - ข้าวเย็น
มเรง - มะเร็ง
เบญจกเมง - เบญจกะเม็ง

เครื่องหมายวรรคตอนโบราณ
ขนบในการบันทึกข้อมูลของบรรพชนไทย มักใช้เครื่องหมายโบราณแบบต่าง ๆ แสดงหน้าที่และฐานะ
ของข้อความที่มีเครื่องหมายต่าง ๆ ประกอบอยู่ดังนี้
1. ๏ เรียกว่า ฟองมัน ฟองดัน ตาโค หรือ ตาไก่ ใช้ส�ำหรับเริ่มต้นเรื่อง หรือขึ้นต้นข้อความใหม่ ได้ทั้งที่
เป็นวรรค บรรทัด หรือบท เช่น
“๏ สิทธิการิยะ ...”
2. ๚, ฯ เรียกว่า อังคั่น ใช้ส�ำหรับคั่นข้อความแต่ละตอน หรือแต่ละหัวข้อ และให้จบข้อความย่อยก็ได้
เช่น
“ ...ให้แก้ดูตามบุญ ๚ ”
“...แก้ตานโจรตกเสมหะโลหิตก็หาย ๚ ”
3. ๛ เรียกว่าโคมูตร และ ๚ะ๛ อังคั่น วิสรรชนีย์ โคมูตร ใช้ส�ำหรับแสดงว่า จบข้อความตอนนั้น
บรรทัดนั้น หรือ วรรคนั้นเรื่องนั้น เช่น
“...แก้จุกเสียด แก้ฤษดวงส�ำหรับอยู่เพลิงมิได้ ดีนักแล ๚ะ๛
“...แก้หืดนั้นก็หายมามาก วิเสศนัก ๚ะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ฏ-
4. 1 เรียกว่า เครื่องหมายปีกกา ใช้ประกอบนามบุคคล ค�ำศัพท์ หรือตัวเลข เพื่อประหยัดพื้นที่ในการ
เขียนข้อความที่ซ�้ำกับข้อความข้างหน้า เช่น
เนื้อ 1
“ ...ใส่ตากัดต้อ สาย

แพะ 1
“... กดูก งูเหลือม
ขอด 1
“...แลเปนเหนบไปทังตัว แลเส้น ตึง
เล่า 1
“... น�้ำ ครึ่ง ต้ม ๓ เอา ๑ ให้กิน

5. + เรียกว่า ตีนครุ หรือ ตีนกา ใช้ส�ำหรับเขียนแสดงมาตราชั่งน�้ำหนักแบบไทยโบราณ โดยเฉพาะ


ส�ำหรับเครื่องยาไทย เช่น สีเสียดทังสอง 1 อ่านว่า สีเสียดทั้งสองสิ่งละ ๑ เฟื้อง

มรดกภูมิปัญญาการแพทย์แผนโบราณนั้น ยังมีสาระน่ารู้อีกมากที่ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ สันนิษฐานว่า


ต้องเป็นศาสตร์ที่ใช้ได้สัมฤทธิ์ผลในสังคมมาช้านานแล้ว จึงมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อสืบต่อความรู้
เหล่านั้นให้คงอยู่ หากมีความรู้และความเข้าใจในอักษรวิธีโบราณเป็นอย่างดีและมีการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดแล้ว
อาจน�ำกลับมาใช้ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตได้

-ฐ- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของกัญชา*
พืชกัญชามีก�ำเนิดในแถบเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีหลักฐานวามีการใชประโยชนจาก
กัญชาตั้งแตยุคหินใหม (Neolithic Age) พบหลักฐานวามนุษยรูจักปลูกพืชกัญชาเพื่อใชประโยชน จากเสนใย
ที่เกาะไตหวันเปนครั้งแรก สวนการใชเปนพืชออกฤทธิ์ตอจิตประสาทนั้น อาจจะเกิดจากความบังเอิญจนพัฒนา
ไปสูการใชในพิธีกรรมและความเชื่อตาง ๆ รวมทั้งการใชในพิธีกรรมที่เกี่ยวของกับการบ�ำบัดโรคจนพืชกัญชา
ถูกใชเปนพืชปลูกเพื่อใชเสนใย เปนยา และใชในพิธีกรรมความเชื่อเรื่อยมา พิธีกรรม ของลัทธิฮินดูและพุทธศาสนา
นิกายตันตระของอินเดียและทิเบต มีการใชเรือนชอดอกและยางของกัญชา ในการชวยใหเกิดสมาธิและสามารถ
สื่อสารกับวิญญาณได
วากันวาในราว ๕,๐๐๐ ปกอนในแผนดินจีนมี ‘เสินหนง (Shennong)’ ผูที่ไดรับการยกยองใหเปน
‘เทพเจาแหงชาวนา’ ผูซึ่งจดบันทึกประโยชนของสมุนไพรตาง ๆ และไดบันทึกวา กัญชาใชบ�ำบัด “ความเหนื่อยลา
(fatigue), โรคไขขออักเสบ (rheumatism) และไขมาลาเรีย” มีการใชน�้ำมันและโปรตีนจากเมล็ดกัญชาในการบ�ำบัด
โรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน และลดการอักเสบในอียิปตโบราณหญิงสาวใชกัญชาในการลดอาการปวด
และปรับอารมณ เชนเดียวกับชาวโรมันที่ใช รากกัญชาในการลดอาการปวด นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการใชกัญชา
ในอีกหลากหลายชาติพันธุ เชน กรีก ฝรั่งเศส อาหรับ
ในยุคล่าอาณานิคมเป็นยุคที่กัญชาเป็นที่รู้จักไปทั่วทวีปยุโรป โดยแพทย์ชาวโปรตุเกสได้บันทึกฤทธิ์
ของกัญชาในอินเดียไว้วา่ ท�ำให้เคลิ้มสุข ท�ำให้สงบ กระตุ้นการย่อยอาหาร ท�ำให้ประสาทหลอน และกระตุ้นก�ำหนัด
ในการแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้ใบกัญชาแห้งเป็นเครื่องยา มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น Vijaya, Bhanga, Kanja,
Charas โดยมีสูตรต�ำรับที่มีส่วนผสมของกัญชา คือ Jatiphaladi Curna และ Madadananda Modaka
ใช้ส�ำหรับบ�ำบัดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร (Agnimandya), นอนไม่หลับ (Anidra), ท้องร่วงเฉียบพลัน (Atisara)
เป็นต้น
ในอินเดียมีการน�ำกัญชามาเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายแบบ โดยมีชื่อเรียกต่างกัน ที่ส�ำคัญ เช่น
มาริฮัวนา (marihuana, marijuana) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการน�ำเรือนช่อดอกตัวเมีย (กะหลี่กัญชา) มาผึ่งให้แห้ง
แล้วบดเป็นผงหยาบ
กัญชา (ganja) เป็นผงหยาบของดอก ผล หรือใบแห้ง น�ำมาอัดเป็นแท่ง หรือแผ่นบาง
แบง (bhang หรือ bang) เป็นผงหยาบของใบกัญชา อาจมีช่อดอกเพศผู้หรือช่อดอกเพศเมียปนมา
เล็กน้อยจัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพต�่ำ
แฮชิส (hashish) หรือ ชาราส (charas) เป็นยางกัญชาที่เตรียมได้จากการน�ำกะหลี่กัญชามาใส่ไว้
ในถุงผ้า ใช้ไม้ทุบให้ยางไหลออกมา แล้วจึงขูดยางออกจากถุงผ้า ชนิดนี้จัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแรงสูง

*
จักรกฤษณ์ สิงห์บุตร และชยันต์ พิเชียรสุนทร. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกัญชา. ในการอบรมวิทยากรครู ก หลักสูตรการใช้
กัญชาทางการแพทย์แผนไทย, โรงแรม ที เค พาเลซ, ๒๕๖๒.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ฑ-
พฤกษศาสตร์ของกัญชา*
กัญชาเป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ล�ำต้นตั้งตรง สูง ๑-๕ เมตร มีขนสีเขียวอมเทาและไม่ค่อยแตกกิ่ง ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปฝ่ามือ ขอบใบเว้าลึกจนถึงจุดโคนใบเป็น ๕-๗ แฉก แต่ละแฉกรูปยาวรี กว้าง ๐.๓-๑.๕ เซนติเมตร
ยาว ๖-๑๐ เซนติเมตร โคนและปลายสอบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ดอกขนาดเล็ก
แยกเพศต่างต้น (แต่อาจพบต้นที่มีดอกแยกเพศร่วมต้นได้บ้าง) ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง
มีกลีบชั้นเดียว ๕ กลีบ กลีบไม่ติดกัน เกสรเพศผู้มี ๕ อัน ดอกเพศเมียเมียออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายยอด
แต่ละดอกมีใบประดับสีเขียวเข้ม คล้ายกาบและมีขนเป็นต่อมหุ้มอยู่ ไม่มีกลีบดอก มีรังไข่ ๑ อัน ภายในช่องเดียว
ผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน ขนาดเล็ก เกลีย้ ง สีนำ�้ ตาล ช่อดอกเพศเมียของกัญชาเรียก “กะหลีก่ ญ
ั ชา” (แต่บางท้องที่
อาจเรียก “กะเต็น”)
ส่วนใหญ่กัญชาเป็นพืชที่ปรับตัวได้ดีในทุกสภาพอากาศ ดิน แมลงศัตรูพืช เป็นต้น จึงท�ำให้กัญชาพันธุ์
เดียวกัน หากน�ำไปปลูกในอีกสถานที่หนึ่งที่สภาพอากาศ ดิน ตลอดจนการดูแลที่ต่างกัน จะท�ำให้กัญชาพันธุ์นั้น
สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ส่งผลต่อลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืช อาจท�ำให้ความสูงแตกต่างกัน
การเรียงตัวของใบต่างกัน ตลอดจนการสร้างสารองค์ประกอบเคมีอาจจะแตกต่างกัน นอกจากนี้ พืชกัญชายังสามารถ
ผสมข้ามสายพันธุ์ เนื่องจากโดยทั่วไปพืชกัญชาส่วนใหญ่มีดอกที่แยกเพศต่างต้น หากเกสรเพศผู้ของกัญชาสายพันธุ์
หนึ่งผสมพันธุ์กับเกสรเพศเมียของกัญชาอีกสายพันธุ์หนึ่ง ก็จะเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ขึ้น อาจท�ำให้สายพันธุ์ใหม่
ที่มีความแตกต่างกันออกไป พบว่าเกสรเพศผู้ของกัญชาสามารถปลิวไปได้ไกลถึงราว ๑๐๐ กิโลเมตร จึงท�ำให้กัญชา
มีลักษณะที่อาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสายพันธุ์ จึงน�ำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย โดยอาจให้เส้นใย
ที่เหนียวและทนทาน ใช้เป็นยาใช้สูบ เพื่อสันทนาการ เป็นต้น
เนื่องจากมนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากกัญชามาแต่โบราณ พืชกัญชาจึงพัฒนาเป็นพืชปลูกทั้งในเขตร้อน
และเขตอบอุ่นทั่วไป ใน พ.ศ. ๒๒๙๖ ลินเนียส (Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนเป็นผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์
ของกัญชาเป็นคนแรกว่า Cannabis sativa L. และจัดให้อยู่ในวงศ์ Cannabaceae ตีพิมพ์ ในหนังสือชื่อ
Species Plantarum ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ ลามาร์ค (Lamarck) นักธรรมชาติวิทยา ชาวฝรั่งเศสได้เสนอ
ชนิดของกัญชาเป็น ๒ ชนิด คือ C. sativa เป็นกัญชาชนิดที่ปลูกในประเทศทางซีกโลกตะวันตก และ C. indica Lam.
เป็นพืชกัญชาป่าที่พบในธรรมชาติที่อินเดียและประเทศเพื่อนบ้าน ต่อมาภายหลังมีการเสนอชนิด C. ruderalis
Janisch. อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนักพฤกษศาสตร์ยอมรับว่าพืชกัญชา มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องเพียงชื่อเดียว
คือ Cannabis sativa L. และชื่ออื่นเป็นชื่อพ้อง
อย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอให้แบ่งพืชกัญชา เป็น ๒ กลุ่มย่อยตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์และสารกลุ่ม
แคนนาบินอยด์ที่พบ คือ กลุ่ม sativa-type และกลุ่ม indica-type ซึ่งมีรายละเอียดตาม ตารางที่ 3

-ฒ- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ตารางที่ 3 ความแตกต่างของกลุ่ม sativa-type และ indica-type (Chandra S และคณะ, ๒๕๖๐)

กลุ่ม sativa-type indica-type


เขตการกระจายพันธุ์เริ่มแรก ทั่วไป (เอเชียใต้) จ�ำเพาะ (อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน,
แถบตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย)
การปรับตัวตามฤดูกาล ค่อนข้างนาน (late-maturing) ค่อนข้างเร็ว (early-maturing)
บ่อยครั้งในภูมิภาคกึ่งเขตร้อน การปรับตัวในภูมิภาคที่หนาวและ
แห้งแล้ง
ความสูง ค่อนข้างสูง (๒-๔ เมตร) ค่อนข้างเตี้ย (๑-๒ เมตร)
ลักษณะวิสัย กิ่งก้านแผ่กระจาย (ปล้องยาว) เป็นพุ่ม (ปล้องสั้น) คล้ายรูปกรวย
ไม่หนาแน่น ตาห่าง แน่น ตาถี่
ความกว้างของใบย่อย ใบแคบ ใบกว้าง
ความเข้มของสีใบ สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม
ความยาวของฤดูกาล late-maturing early-maturing
กลิ่น กลิ่นหอม (sweet) กลิ่นไม่หอม (sour & acrid)
ปริมาณ CBD พบ CBD น้อยหรือไม่พบ พบ CBD มาก
ผลต่อจิตประสาท ท�ำให้เคลิ้มสุข ท�ำให้สงบ
ผ่อนคลายร่างกาย ท�ำให้เกียจคร้าน

ต่อมานักพฤกษศาสตร์พยายามจ�ำแนกพืชกัญชาตามลักษณะทางพันธุกรรม การใช้ประโยชน์และปริมาณ
สารกลุ่มแคนนาบินอยด์ ทั้ง THC และ CBD ซึ่งในทศวรรษที่ผ่านมานั้น อาจมีการแบ่งประเภทของกัญชาได้เป็น
๖ กลุ่ม คือ
๑. กัญชาที่ให้เส้นใย (hemp) ที่ปลูกในเอเชียตะวันตกและยุโรป พบ THC ปริมาณน้อย แต่พบสาร
CBD ปริมาณสูง
๒. กัญชาที่ให้เส้นใยที่ปลูกในเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะจีน มี THC ปริมาณน้อย ถึงปานกลาง แต่มี
CBD ปริมาณสูง
๓. กัญชา ที่ปลูกทั่วไปแถบเอเชียใต้และเอเชียกลาง มี THC ปริมาณสูงมาก (ชื่อการค้าของกัญชาชนิดนี้
คือ ‘sativa-type’)
๔. กัญชา (marijuana) ที่ปลูกแถบเอเชียใต้ โดยเฉพาะในอัฟกานิสถานและประเทศใกล้เคียง มี THC
และ CBD ในปริมาณสูงพอกัน (ชื่อการค้าของกัญชาชนิดนี้คือ ‘indica-type’)
๕. กัญชาที่ให้เส้นใย ซึ่งเกิดจาการผสมข้ามสายพันธุ์ของกลุ่ม ๑ และ ๒
๖. กัญชาชนิดใช้เป็นสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งเกิดจาการผสมข้ามสายพันธุ์ของกลุ่มที่ ๓ และ ๔

*
จักรกฤษณ์ สิงห์บุตร และชยันต์ พิเชียรสุนทร. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกัญชา. ในการอบรมวิทยากรครู ก หลักสูตรการใช้
กัญชาทางการแพทย์แผนไทย, โรงแรม ที เค พาเลซ, ๒๕๖๒.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ณ-
สารองค์ประกอบที่เป็นยาในพืชกัญชา*
กัญชาเป็นพืชที่มีการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบเคมีมายาวนาน ปัจจุบันพบสารองค์ประกอบเคมี
ถึง ๕๖๕ ชนิด ที่ส�ำคัญคือ สารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) ซึ่งพบ ๑๒๐ ชนิด ที่ส�ำคัญเช่น เดลตา๙-เททระไฮ
โดรแคนนาบินอล (Δ9-tetrahydrocannabinol หรือ Δ9-THC), แคนนาบิไดออล (cannabidiol หรือ CBD],
แคนนาบินอล (cannabinol หรือ CBN), แคนนาบิโครมีน (cannabichromene หรือ CBC), แคนนาบิเจอรอล
(cannabigerol หรือ CBG)
สาร Δ9-THC เป็นสารที่พบในปริมาณสูงสุดในกลุ่มแคนนาบินอยด์ โดยอาจพบได้ถึงร้อยละ ๑๗.๓,
รองลงมาได้แก่ สาร CBG ซึ่งพบได้ราวร้อยละ ๑๖.๓, สาร CBN พบราวร้อยละ ๙.๖, สาร CBD และ CBC พบใน
ปริมาณใกล้เคียงกันราวร้อยละ ๗.๗ เป็นต้น
สาร Δ9-THC พบได้ในทุกส่วนของพืชกัญชา โดยจะพบมากในยาง (resin) จากเซลล์ขนที่บริเวณ
ช่อดอกเพศเมีย จากบทความปริทัศน์ของอังเดร (Andre) ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ สรุปว่าพบในดอกกัญชา
มีสาร Δ9-THC ๓๐-๒๐๐ มก./ก. ในใบพบ Δ9-THC ๘-๖๐ มก./ก. ส่วนในเมล็ดและรากของกัญชาพบ Δ9-THC
ในปริมาณน้อย นอกจากนี้ ยังพบว่ากัญชาสายพันธุ์เบโดรแคน (bedrocan) มีปริมาณ Δ9-THC ราว ๑๙๐ มก./ก.
โดยสาร CBD จะพบได้ในใบมากกว่าดอกราว ๒ เท่า โดยในใบพบ CBD ราว ๒๐ มก./ก. และในดอกพบ CBD
ราว ๑๐ มก./ก. อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ากัญชาสายพันธุ์เบไดออล (bediol) อาจพบสาร CBD ได้สูงถึงราว ๘๐ มก./ก.
ชี ว สั ง เคราะห์ (biosynthesis) ของสารกลุ ่ ม แคนนาบิ น อยด์ ใ นกั ญ ชานั้ น ส่ ว นใหญ่ มี ส ารตั้ ง ต้ น มาจากสาร
เจอรานิลไพโรฟอสเฟต (geranyl pyrophosphate) ซึ่งเมื่อท�ำปฏิกิริยากับกรดโอลิเวโทลิก (olivetolic acid)
โดยมีเอนไซม์ geranylpyrophosphate : olivetolate geranyltransferase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้
กรดแคนนาบิเจอโรลิก (cannabigerolic acid) ซึ่งกรดนี้เมื่อถูกเร่งปฏิกิริยาโดยเอนไซม์ต่างชนิดกัน จะได้สารกลุ่ม
ของแคนนาบินอยด์แตกต่างกันไป จากความแตกต่างในวิถีชีวสังเคราะห์ดังกล่าว จึงอาจแบ่งประเภทของสาร
กลุม่ แคนนาบินอยด์ได้เป็น สารกลุม่ เดลตา9 -เททระไฮโดรแคนนาบินอยด์ (Δ9-THC), สารกลุม่ แคนนาบิไดออล (CBD),
และสารกลุ่มแคนนาบิโครมีน (CBC)

ภาพที่ 3 โครงสร้างของสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ประเภทต่าง ๆ
(THC: tetrahydrocannabinol, CBD: cannabidiol, CBC: cannabichromeme)

-ด- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


สารกลุ่มแทรนส์-เดลต้า๙ -เททระไฮโดรแคนนาบินอยด์ (trans-Δ9-tetrahydrocannabinol,
Δ9-THC types)
ปัจจุบันสามารถแยกสารกลุ่มนี้ได้กว่า ๑๐ ชนิด โดยสารส�ำคัญหลักในกลุ่มนี้คือ สาร Δ 9-THC
พบครั้งแรกโดย Gaoni และ Mechoulam ใน พ.ศ. ๒๕๐๗ สาร Δ9-THC นี้มีฤทธิ์กระตุ้นตัวรับแคนนาบินอยด์
(cannabinoid receptors) แบบ partial agonist ทั้ง ๒ ชนิด คือ ชนิด CB1 และ CB2 ท�ำให้เกิดการกระตุ้น
ระบบประสาท (psychotropic effect) นอกจากนี้ สาร Δ9-THC ยังท�ำปฏิกิริยากับตัวรับอื่น ๆ ได้อีกหลายชนิด
จึงออกฤทธิ์อื่น ๆ ได้ เช่น ต้านอาเจียน แก้ปวด ต้านมะเร็ง ลดความดันในลูกตา ท�ำให้เจริญอาหาร อย่างไรก็ตาม
พบว่าสาร Δ9-THC อาจท�ำให้เกิดการติด (addiction) และความวิตกกังวล (anxiety) ได้

สารกลุ่มแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD type)


สารกลุ่มนี้ที่พบมี CBD และ กรดแคนนาบิซิออลิก ซึ่งเป็นสารส�ำคัญที่แยกได้จากกัญชาชนิดที่ให้เส้นใย
สาร CBD นี้ ออกฤทธิ์กระตุ้นตัวรับแคนนาบินอยด์ได้น้อยกว่า Δ9-THC ซึ่งอาจส่งผลในการเป็นตัวควบคุม
ทางลบ (negative modulator) ของทั้ง CB1 และ CB2 ท�ำให้ CBD เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท
(non-psychoactive effect) ปัจจุบันยังพบอีกว่า CBD สามารถออกฤทธิ์ผ่านตัวรับอีกหลายชนิด ท�ำให้ CBD
สามารถออกฤทธิ์ตา้ นอักเสบ แก้ปวด คลายกังวล ต้านมะเร็ง ต้านการคลื่นไส้อาเจียน ต้านการชัก เป็นต้น

สารกลุ่มแคนนาบิโครมีน (cannabichromene, CBC type)


สาร CBC เป็นสารทีเ่ สถียรทีส่ ดุ ในกลุม่ แคนนาบินอยด์ สาร CBC พบมากในระยะทีก่ ญ
ั ชาก�ำลังเจริญเติบโต
(vegetative stage) สารประเภทนี้ไม่ออกฤทธิ์ต่อ CB1 แต่สามารถลดการอักเสบผ่านการกระตุ้น ที่ transient
receptor potential channel (TRPA1) นอกจากนี้ ยังพบว่า CBC ยังมีกลไกลดการอักเสบอื่น เช่น สามารถ
ลดไนทริกออกไซด์, IL-10, interferon-γ

สารกลุ่มแคนนาบิเจอรอล (cannanigerol, CBG type)


สารกลุ่มนี้ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (non-psychoactive effect) ที่ผา่ นการกระตุ้นที่ CB1 โดยสาร
สกัดกัญชาที่มีปริมาณ CBG สูง (ไม่มี Δ9-THC) สามารถเพิ่มการกินอาหารของหนูได้ นอกจากนี้ สาร CBG ยังกระตุ้น
การท�ำงานของ α-2 adrenergic receptor ท�ำให้เกิดฤทธิ์ในการนอนหลับ คลายกล้ามเนื้อ แก้ปวด ได้อีกด้วย

สารกลุ่มแคนนาบินอล (cannabinol, CBN type)


สารกลุ่มนี้ได้จากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสาร Δ9-THC มักพบในกัญชาที่แห้งและเก็บไว้นาน
สารนี้สามารถจับกับตัวรับแคนนาบินอยด์ CB1 ได้น้อยกว่า Δ9-THC จึงท�ำให้มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทน้อย
สารองค์ประกอบเคมีอนื่ ๆ ทีพ่ บในพืชกัญชา ได้แก่ กลุม่ เทอร์พนี อยด์ (terpenoids), กลุม่ เฟลโวนอยด์ (flavonoids),
กลุ ่ ม ลิ ก นิ น (lignins), กลุ ่ ม ฟี น อลิ ก (phenolic compounds) ในเมล็ ด กั ญ ชามี น�้ ำ มั น ระเหยยาก เรี ย ก
“น�ำ้ มันเมล็ดกัญชา (hemp seed oil)” ซึง่ มีองค์ประกอบ เป็นกรดไขมันหลายชนิด เช่น กรดลิโนลีอกิ (linoleic acid),
กรดแกมมา-ลิโนลีอิก (γ-linolenic acid), กรดโอลีอิก (oleic acid), กรดแพลมิติก (palmitic acid)

*
จักรกฤษณ์ สิงห์บุตร และชยันต์ พิเชียรสุนทร. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกัญชา. ในการอบรมวิทยากรครู ก หลักสูตรการใช้กัญชา
ทางการแพทย์แผนไทย, โรงแรม ที เค พาเลซ, ๒๕๖๒.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ต-
การใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของกัญชา
ส่วนที่เป็นยาเสพติดให้โทษ
● เมล็ดกัญชา ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์
● ช่อดอก ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ศึกษาวิจัยและผลิตภัณฑ์สารสกัด

ก. ค.

ข.

ภาพที่ 4 ส่วนประกอบของพืชกัญชาที่เป็นยาเสพติดให้โทษ (ก.) เมล็ดกัญชาแห้ง, (ข., ค.) ช่อดอกเพศเมียสด

ส่วนที่ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ
ใบ กิ่ง ก้าน ราก ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ศึกษาวิจัย ผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร

เครือ่ งส�ำอาง
เปลือก ล�ำต้น เส้นใย ใช้ศึกษาวิจัยใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น สิ่งทอ ยานยนต์ กระดาษ

สารสกัดที่มีสาร CBD เป็นส่วนประกอบ และต้องมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน�้ำหนัก


ใช้เพื่อศึกษาทางการแพทย์ ศึกษาวิจัย ผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร เครื่องส�ำอาง


กากจากการสกัด ต้องมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ ๐.๒ โดยน�้ำหนัก

-ถ- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพที่ 5 ส่วนประกอบของพืชกัญชาที่ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ (ก.) ล�ำต้น, (ข.) กิ่ง, (ค.) โคนราก,
และ (ง.) ราก

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -ท-
การคัดเลือกวัตถุดิบกัญชา
การคัดเลือกวัตถุดบิ กัญชาเพือ่ น�ำมาเป็นส่วนประกอบในต�ำรับยา จากการสืบค้นตามคัมภีร์ ต�ำราการแพทย์
แผนไทย ไม่พบการระบุรายละเอียดที่แน่ชัดว่าจะต้องใช้กัญชาสายพันธุ์ใด ลักษณะภายนอกเป็นอย่างไร อายุพืช
เท่าใด แต่จากการสอบถามหมอพื้นบ้านและผู้เชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนไทยได้ให้ข้อมูลว่า ใบกัญชาที่จะน�ำมาใช้
ในการปรุงยาต้องใช้ใบกัญชาเพสลาด หมายถึง ใบกัญชาที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ซึ่งแต่เดิมหมอพื้นบ้าน
จะใช้วิธีการเด็ดใบกัญชามาชิมรสก่อนที่จะน�ำเด็ดไปปรุงยาต่อไป ในส่วนของช่อดอกเพศเมีย หรือ กะหลี่กัญชา
จะสังเกตจากลักษณะภายนอก ได้แก่ ช่อดอกเป็นรูปหัวนกเค้า มีขน เป็นสีนำ�้ ตาลประมาณครึง่ หนึง่ ของช่อดอกทัง้ หมด
ก็สามารถน�ำมาใช้ปรุงยาได้
การคัดเลือกวัตถุดิบกัญชาเพื่อน�ำมาใช้ในการเตรียมต�ำรับยาแผนไทยเข้ากัญชา โดยอาศัยองค์ความรู้
จากหมอพื้นบ้านผนวกกับข้อมูลอ้างอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้ดังนี้
ช่อดอกกัญชา
คัดเลือกช่อดอกเพศเมียกัญชาจากแปลงปลูกที่มีอายุประมาณ ๔ เดือน เป็นช่อดอกเพศเมียที่ไม่มี
การผสมพันธุ์จนเกิดเป็นเมล็ด เมื่อส่องด้วยแว่นขยายพบว่าขนต่อม (Glandular trichome) เปลี่ยนเป็น
สีอ�ำพัน (Amber) มากกว่าร้อยละ ๕๐ โดยเซลล์ขนจะเริม่ ต้นจากลักษณะใส เป็นสีขาวขุน่ แล้วเปลีย่ นเป็นสีนำ�้ ตาล
และพบเกสรเพศเมีย (Pistil) เปลี่ยนจากใสเป็นสีอ�ำพัน มากกว่าร้อยละ ๕๐ มีกลิ่นหอม มีสภาพไม่เปียกชื้น
ไม่มีร่องรอยการถูกท�ำลายจากโรคพืช

ภาพที่ 6 (ก., ข.) เซลล์ขน (Glandular trichome), (ค.) ช่อดอกเพศเมียสด

-ธ- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ใบกัญชา
ใบกัญชาจากต้นที่มีอายุไม่น้อยกว่า ๑.๕-๓ เดือน เป็นใบที่เติบโตเต็มที่ ลักษณะใบสมบูรณ์ มีจ�ำนวนแฉก
ไม่น้อยกว่า ๕ แฉก มีสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม ไม่มีร่องรอยการท�ำลายจากโรคพืช และมีสภาพไม่เปียกชื้น

ภาพที่ 7 พืชกัญชา (ก.) ใบสด

การเตรียมกัญชาก่อนใช้ปรุงยา
การน�ำกัญชาไปใช้ท�ำยานั้น ควรมีการเตรียมตัวยาโดยการให้ความร้อนเสียก่อน เนื่องจากในกัญชาสดนั้น
จะมีกรดเททระแคนนาบินอลิก หรือ ทีเอชซีเอ (tetrahydrocannabinolic acid, THCA) และกรดแคนนาบิดิออลิก
หรือ ซีบีดีเอ (cannabidiolic acid, CBDA) ซึ่งเป็นสารที่ยังไม่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ต่อมาเมื่อกัญชาได้รับ
ความร้อนจะเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสาร (decarboxylation) โดยสาร THCA และ CBDA จะถูกเปลี่ยน
เป็นสาร THC และ CBD ซึ่งเป็นสารส�ำคัญออกฤทธิ์ของกัญชา ดังนั้น ก่อนน�ำกัญชาไปใช้ปรุงยานั้นควรน�ำกัญชา
ไปสะตุโดยการคั่ว เพื่อท�ำให้ได้ยาที่มีฤทธิ์ของกัญชาแรงขึ้น


ส�ำนักงานจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือการปรุงยา
เฉพาะรายต�ำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย (ส่วนที่ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ) ส�ำหรับหน่วยบริการสาธารณสุข. 2564.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย -น-
วิธีการสะตุใบ ราก และก้านกัญชา
๑. น�ำไปล้างด้วยน�้ำสะอาด ๓ ครั้ง แล้วผึ่งบนตะแกรงให้สะเด็ดน�้ำ
๒. ตั้งกระทะ แล้วน�ำไปคั่วไฟอ่อนเป็นเวลา ๓-๕ นาที หรือจนกว่าจะแห้งกรอบ
๓. น�ำไปเทใส่ถาด รอจนกว่าจะเย็น ก่อนน�ำบรรจุในภาชนะปิดสนิท

ภาพที่ 8 วิธีการสะตุกัญชา

-บ- ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


กลุ่มโรคกษัย กล่อน
ยาน�้ำมันสนั่นไตรภพ
ยาน�้ำมันสนั่นไตรภพ เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ซึ่งมีความส�ำคัญ
ทางประวัตศิ าสตร์ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั (รัชกาลที่ ๓) เมือ่ ครัง้ ยังทรงด�ำรงพระราชอิสริยยศ
เป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อเดือน ๑๑ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ทรงเป็นแม่ทัพคุมทหาร
ไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี พระองค์ได้เสด็จยาตราทัพออกจากกรุงเทพมหานคร เส้นทางยาตราทัพได้ผ่านคลอง
บางกอกใหญ่เข้าคลองด่าน เมื่อเสด็จถึงวัดจอมทอง หรือวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร อันเป็นวัดโบราณ ก็เสด็จ
หยุดประทับแรมที่หน้าวัดและได้ทรงกระท�ำพิธีเบิกโขลนทวารตามลักษณะพิชัยสงคราม ณ วัดนี้ ในพิธีดังกล่าวนี้
ได้ทรงอธิษฐานขอให้เสด็จไปราชการทัพคราวนี้หากประสบความส�ำเร็จและเสด็จกลับมาโดยสวัสดิภาพจะสร้างวัด
ถวายให้ใหม่ ครั้นเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว ก็ทรงเริ่มปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งหมด ได้เสด็จมาประทับคุมงาน
และตรวจตราการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย
พระองค์ได้ให้เหล่านักปราชญ์รวบรวมและคัดเลือกสรรพความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยส่วนหนึ่งมาจารึกประดับ
เป็ น แผ่ น หิ น อ่ อ น สี เ ทารู ป สี่ เ หลี่ ย มจั ตุ รั ส ขนาดกว้ า งยาว ด้ า นละ ๓๓ เซนติ เ มตร ติ ด ประดั บ อยู ่ ที่ ผ นั ง
ด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ต�ำราดังกล่าวประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. ๒๕59 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓3 ตอนพิเศษ 93 ง วันที่ 22 เมษายน ๒๕59
ยาน�้ำมันสนั่นไตรภพ ประกอบด้วย ใบกะเพรา ใบแมงลัก ผักเสี้ยนผี กระชาย กัญชา พริกไทย หอมแดง หญ้าไซ
เกลือสมุทร ลูกคัดเค้า ต�ำเอาน�้ำสิ่งละทะนาน น�้ำมันงาทะนานหนึ่งหุงคงแต่น�้ำมัน เอาลูกจันทน์ กระวาน กานพลู
เทียนด�ำ เทียนขาว การบูร สิ่งละ ๑ สลึง บดปรุงลงในน�้ำมัน จึงเอามาทาท้องรีดเสียให้ได้ ๓ วันก่อน แล้วจึงกิน
น�้ำมันนี้ ๓ วัน สรรพคุณ แก้กล่อนกษัยทั้งปวง ครอบดานทุกประการ นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาน�้ำมันสนั่นไตรภพ
ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 1000 ชื่อ คัมภีร์กษัย เล่ม 1
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 6 ชื่อ สมุดกระไสยโรค เล่ม ๘ ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 7 ชื่อ คัมภีร์กระไสย เล่ม 1 ประวัติ ได้มาจาก
กระทรวงธรรมการ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2480
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
ร.ศ. ๑๒6 พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย
ของราชแพทยาลัยและผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสรได้ริเริ่มจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2450 โดยได้รับ
พระอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชือ่ เวชสาตร์วณ
ั ณ
์ นา รวบรวมโดย พระยาประเสริฐสารทด�ำรง
(หนู) แพทย์กรมหมอยา ฝ่ายพระราชวังบวร และเป็นแพทย์ใหญ่ ประจ�ำโรงศิริราชพยาบาล
เวชสาตร์วัณ์ณนา จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2450 จัดพิมพ์โดยนายสุ่ม วรกิจพิศาล เป็นบุตร
ของพระยาประเสริฐสารทด�ำรง (หนู) พิมพ์ครั้งแรก จ�ำนวน 500 เล่มเท่านั้น

2 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์

(อ�ำพัน กิตติขจร) ได้รวบรวมและตรวจสอบคัมภีรต์ า่ ง ๆ จ�ำนวน 3 เล่ม ซึง่ ใช้เป็นหลักสูตรของสมาคม
เภสัชกรรมไทยแผนโบราณแห่งประเทศไทย วัดสามพระยา พระนคร เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน
พ.ศ. 2504
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ ถูกรวบรวมขึ้นโดย
ท่านขุนนิทเทสสุขกิจ ใช้เวลาว่างในการเรียบเรียงต�ำราแพทย์ขึ้น ซึ่งเป็นต�ำราที่กล่าวถึงต�ำราแพทย์
ทางเวชกรรม ซึ่งโดยมากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโรคทางการแพทย์แผนไทยทั้งสมุฏฐานการเกิดโรค
การตรวจโรค อาการของโรคยารักษา สรรพคุณ เป็นต้น

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 3
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ประเภทเอกสาร โบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ขนานหนึ่งเอาใบกะเพรา ใบแมงลัก ผักเสี้ยนผี กระชาย กัญชา พริกไทย หอมแดง หญ้าไซ
เกลือสมุทร ลูกคัดเค้า ต�ำเอาน�้ำสิ่งละทะนาน น�้ำมันงาทะนานหนึ่งหุงคงแต่น�้ำมัน เอาลูกจันทน์ กระวาน กานพลู
เทียนด�ำ เทียนขาว การบูร สิ่งละ ๑ สลึง บดปรุงลงในน�้ำมัน จึงเอามาทาท้องรีดเสียให้ได้ ๓ วันก่อนแล้วจึง
กินน�้ำมันนี้ ๓ วัน หายดีนัก น�้ำมันชื่อ สนั่นไตรภพครอบดานทุกประการ ฯ

4 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
กษัยเหล็ก (ศาลานวด)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 5
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะกษัยโรค อันบังเกิดขันเป็นอุปปาติกะ คือกษัยเหล็กอันเป็นค�ำรบ ๓ มี
ประเภทกระท� ำ ให้ หั ว เหน่ า แลท้ อ งน้ อ ยนั้ น แข็ ง ดุ จ ดั ง แผ่ น ศิ ล า แลจะไหวตั ว ไปมาก็ มิ ไ ด้ ครั้ น แก่ เข้ า แข็ ง
ลามขึ้นไปถึงยอดอกแลให้บริโภคอาหารมิได้ ให้ปวดขบดังจะขาดใจตายดังนี้ ฯ
อนึ่ง เอา ใบกะเพรา ใบแมงลัก ใบเสี้ยนผี กระชาย กัญชา พริกไทย หอมแดง หญ้าไซ เกลือ
ลูกคัดเค้า ยาทั้งนี้ต�ำเอาน�้ำสิ่งละทะนาน น�้ำมันงาทะนาน ๑ หุงให้คงแต่น�้ำมันแล้วจึงเอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์
กระวาน กานพลู เทียนด�ำ เทียนขาว การบูร สิ่งละ ๑ สลึง ท�ำเป็นจุณปรุงลงในน�้ำมันนั้น แล้วจึงเอามาทาท้อง
รีดเสียให้ได้ ๓ วันก่อน แล้วจึงกินน�้ำมันนี้อีก ๓ วัน หายวิเศษนัก ยาน�้ำมันขนานนี้ ชื่อสนั่นไตรภพ ครอบกษัย
ทั้งปวงดีนัก ฯ

6 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์กษัย เล่ม 1
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1000
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ อนึ่ง เอา ใบกะเพรา ใบแมงลัก ใบผักเสี้ยนผี กระชาย กัญชา พริกไทย ขิง หอมแดง หญ้าไซ
เกลือ ผลคัดเค้า ยาทั้งนี้ต�ำเอาน�้ำสิ่งละทะนาน น�้ำมันงาทะนาน ๑ หุงให้คงแต่น�้ำมัน แล้วจึงเอาผลจันทน์
ดอกจั น ทน์ กระวาน กานพลู เที ย นด� ำ เที ย นขาว การบู ร สิ่ ง ละ 1 บาท ท� ำ เป็ น จุ ณ ปรุ ง ลงในน�้ ำ มั น นั้ น
แล้วจึ่งเอามาทาท้อง รีดเสียให้ได้ ๓ วันก่อน แล้วจึงกินน�้ำมันนี้อีก ๓ วันหายวิเศษนัก ๚ะ ๏ ยาขนานนี้
ชื่อว่าสนั่นไตรภพ ครอบกษัยทั้งปวงดีนัก

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 7
ชื่อเอกสาร สมุดกระไสยโรค เล่ม ๘
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๖
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ อนึ่งเอา ใบกะเพรา ใบแมงลัก ใบผักเสี้ยนผี กระชาย กัญชา พริกไทย หอมแดง หญ้าไซ เกลือ
ผลคัดเค้า ยาทั้งนี้ ต�ำเอาน�้ำสิ่งละทะนาน น�้ำมันงาทะนาน ๑ หุงให้คงแต่น�้ำมัน แล้วจึงเอาผลจันทน์ ดอกจันทน์
กระวาน กานพลู เทียนด�ำ เทียนขาว การบูร สิ่งละ ๑ สลึง ท�ำเป็นจุณปรุงลงในน�้ำมันนั้น แล้วจึงเอามาทาท้อง
รีดเสียให้ได้ ๓ วันก่อน แล้วจึงกินน�้ำมันนั้นอีก ๓ วัน หายวิเศษนัก ยาน�้ำมันขนานนี้ชื่อสนั่นไตรภพ ครอบกษัย
ทั้งปวงดีนัก ๚

8 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์กระไสย เล่ม 1
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 7
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ อนึ่งเอา ใบกะเพรา ใบแมงลัก ใบผักเสี้ยนผี กระชาย กัญชา พริกไทย ขิง หอมแดง หญ้าไซ
เกลือ ผลคัดเค้า ยาทั้งนี้ต�ำเอาน�้ำสิ่งละทะนาน น�้ำมันงาทะนาน 1 หุงให้คงแต่น�้ำมัน แล้วจึงเอาผลจันทน์
ดอกจั น ทน์ กระวาน กานพลู เที ย นด� ำ เที ย นขาว การบู ร สิ่ ง ละ 1 บาท ท� ำ เป็ น จุ ณ ปรุ ง ลงในน�้ ำ มั น นั้ น
แล้วจึงเอามาทาท้อง รีดเสียไห้ได้ 3 วันก่อน แล้วจึงกินน�้ำมันนี้อีก 3 วัน หายวิเศษนัก ฯ ยาขนานนี้ชื่อว่า
สนั่นไตรภพ ครอบกษัยทั้งปวงดีนัก

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 9
ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
อนึ่งเอา ใบกะเพรา ๑ ใบแมงลัก ๑ ใบผักเสี้ยนผี ๑ กระชาย ๑ กัญชา ๑ พริกไทย ๑ ขิง ๑
หอมแดง ๑ หญ้าไซ ๑ เกลือ ๑ ลูกคัดเค้า ๑ ยาทั้งนี้ต�ำเอาน�้ำสิ่งละทะนาน น�้ำมันงา ๑ ทะนาน หุงให้คงแต่น�้ำมันแล้ว
จึงเอา ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ การบูร ๑ เอาสิ่งละ ๑ บาท ต�ำเป็น
ผงปรุงลงในน�้ำมันนั้น แล้วจึงเอามาทาท้องรีดให้ได้สามวันก่อน แล้วจึงกินน�้ำมันอีกสามวันวิเศษนัก ยาขนานนี้ชื่อว่า
สนั่นไตรภพ ครอบกษัยทั้งปวงดีนัก
ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
อนึ่ง เอา ใบกะเพรา 1 ใบแมงลัก 1 ใบผักเสี้ยนผี 1 กระชาย 1 กัญชา 1 พริกไทย 1 ขิง 1 หอมแดง 1
หญ้าไซ 1 เกลือ 1 ลูกคัดเค้า 1 ยาทั้งนี้ต�ำเอาสิ่งละลายน�้ำสิ่งละ 1 ทะนาน น�้ำมันงา 1 ทะนาน หุงให้คงแต่น�้ำมัน
แล้วจึงเอาลูกจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 เทียนด�ำ 1 เทียนขาว 1 การบูร 1 เอาสิ่งละ 1 บาท
ต�ำเป็นผงปรุงลงในน�้ำมันแล้วจึง เอามาทาท้องรีดให้ได้ 3 วันก่อน แล้วจึงกินน�้ำมันนี้อีก 3 วันวิเศษนักแล
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาสนั่นไตรภพ เอา ใบกะเพรา ใบแมงลัก ใบผักเสี้ยนผี กระชาย กัญชา พริกไทย ขิง หอมแดง หญ้าไซ
เกลือ ลูกคัดเค้า ยาทั้งนี้ต�ำผสมกับน�้ำเอาสิ่งละ ๑ ทะนาน น�้ำมันงา ๑ ทะนาน หุงให้คงแต่น�้ำมัน แล้วเอาลูกจันทน์
ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู เทียนด�ำ เทียนขาว การบูร เอาสิ่งละ ๑ บาท ทําเป็นจุณ ปรุงลงในน�้ำมันนั้น
เอาทาท้อง นวดหลัง รีดท้อง ให้ได้ ๓ วันก่อน แล้วจึงกินน�้ำมันนี้อีก ๓ วัน แก้กษัยทั้งปวง
ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอา ใบกะเพรา ใบแมงลัก ใบผักเสี้ยนผี กระชาย กัญชา พริกไทย ขิง หอมแดง หญ้าไซ เกลือ ลูกคัดเค้า
ของทั้งนี้ต�ำเอาน�้ำสิ่งละทะนาน เอาน�้ำมันงา 1 ทะนาน หุงให้คงแต่น�้ำมัน แล้วเอาลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน
กานพลู เทียนด�ำ เทียนขาว การบูร เอาสิ่งละ 1 บาท บดเป็นผงใส่ลงในน�้ำมันที่หุงไว้นั้น เอาทาท้องรีดให้ได้ 3 วัน
แล้วกินยานี้อีก 3 วันหายแล

10 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาแก้กษัยท้น
ยาแก้กษัยท้น เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวม
ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตรา
แก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใด ๆ ใครมีใจรัก
วิชาใด ก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ต�ำราการแพทย์
การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามบริเวณ
ผนังคอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด ซึ่งจะให้
เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์ ว่าด้วยเรื่อง ต�ำรานวด
ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา ชื่อโรค รวมทั้งต�ำรา
ว่าด้วยสรรพคุณยา ทัง้ พืชวัตถุ สัตว์วตั ถุ และธาตุวตั ถุ ซึง่ เป็นวิชาการแพทย์แผนไทยทีเ่ ป็นความรูส้ บื ทอดมาแต่โบราณ
จ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนด
ให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8 และการประกาศกําหนด
ตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาแก้กษัยท้น ประกอบด้วย โกฐทั้งห้า เทียนทั้งห้า
ลูกจันทน์ กระวาน กานพลู พริกหอม พริกหาง บอระเพ็ด เปล้าทั้งสอง สิ่งละส่วน กัญชา ๒ ส่วน ขมิ้นอ้อย แห้วหมู
ผลพิลังกาสา ไคร้เครือ สิ่งละ ๔ ส่วน ดีปลี หัสคุณ สิ่งละ ๑๖ ส่วน ใบกะเพราแห้ง ๓๒ ส่วน วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณ
บดละลายน�้ำร้อนกิน สรรพคุณ แก้กษัยท้นและกษัยเสียด นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาแก้กษัยท้น ที่มีการคัดลอก
ในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 6 ชื่อ สมุดกระไสยโรค เล่ม ๘ ประวัติ สมบัติเดิม

ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 8 ชื่อ คัมภีร์กระไสย เล่ม 2 ประวัติ ได้มาจาก
กระทรวงธรรมการ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2480
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 441 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ๘ ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 516 ชื่อ ตํารายาเกร็ด ประวัติ เจ้าพระยามุขมนตรี
(อวบ) ให้หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2473
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
ร.ศ. ๑๒6
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 11
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ
กษัยท้น (ศาลานวด)

12 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะกษัยโรค อันบังเกิดขึ้นเป็นอุปปาติกะ คือกษัยท้นนั้นเป็นค�ำรบ ๑๑
เกิดเพื่ออาหารบริโภค เมื่อท้องเปล่าอยู่ และบ่มิได้บริโภคอาหารเข้าไป ก็สงบเป็นปกติดีอยู่ ครั้นเมื่อบริโภคอาหาร
เข้าไปได้น้อยก็ดี มากก็ดี จึงกระท�ำให้ท้นขึ้นมายอดอก บางทีให้อาเจียนให้อ้วก บางทีให้แน่นอกแลชายโครง
ให้ ห ายใจไม่ ต ลอดท้ อ งดั่ ง จะสิ้ น ใจ แล้ ว กระท� ำ ให้ แ น่ น ขึ้ น มาแต่ ท ้ อ งน้ อ ยชั ก เอากระเพาะข้ า วแขวนขึ้ น ไปไว้
จะบริโภคอาหารก็มิได้ดังกล่าวมานี้ ฯ
อนึ่ ง เอา โกฐทั้ ง 5 เที ย นทั้ ง 5 ลู ก จั น ทน์ กระวาน กานพลู พริ ก หอม พริ ก หาง บอระเพ็ ด
เปล้าทั้งสอง สิ่งละส่วน กัญชา ๒ ส่วน ขมิ้นอ้อย แห้วหมู ผลพิลังกาสา ไคร้เครือ สิ่งละ ๔ ส่วน ดีปลี หัสคุณ
สิ่งละ ๑๖ ส่วน ใบกะเพราแห้ง ๓๒ ส่วน ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำร้อนกินแก้กษัยท้นแลกษัยเสียดนั้นหายดีนัก ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 13
ชื่อเอกสาร สมุดกระไสยโรค เล่ม ๘
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๖
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ อนึ่ ง เอา โกฐทั้ ง ๕ ผลจั น ทน์ กระวาน กานพลู พริ ก หอม พริ ก หาง บอระเพ็ ด เปล้ า ทั้ ง ๒
สิ่งละ ๒ ส่วน กัญชา ๒ ส่วน ขมิ้นอ้อย แห้วหมู ผลพิลังกาสา ไคร้เครือ ๔ ส่วน ดีปลี หัสคุณ สิ่งละ ๑๖ ส่วน
ใบกะเพราแห้ง ๓๒ ส่วน ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำร้อนกิน แก้กษัยท้น ซึ่งกระท�ำให้เสียดนั้นหายดีนัก ๚

14 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์กระไสย เล่ม 2
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 8
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ อนึ่งยากษัยท้นนั้น เอา โกฐทั้ง ๕ ผลจันทน์ กระวาน กานพลู พริกหอม พริกหาง บอระเพ็ด
เปล้าทั้ง ๒ สิ่งละส่วน กัญชา ๒ ส่วน ขมิ้นอ้อย แห้วหมู ผลพิลังกาสา ไคร้เครือ สิ่งละ ๔ ส่วน ดีปลี หัสคุณ
สิ่ ง ละ ๑๖ ส่ ว น ใบกะเพราแห้ ง ๓๒ ส่ ว น ท� ำ เป็ น จุ ณ บดละลายน�้ ำ ร้ อ น กิ น แก้ ก ษั ย ท้ น ซึ่ ง กระท� ำ ให้ เ สี ย ด
นั้นหาย ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 15
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 441
ประเภทเอกสารโบราณหนังสือ สมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
เอา ลูกจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 เทียนทัง้ 5 โกฐสอ 1 โกฐเขมา 1 โกฐกักกรา 1
โกฐพุ ง ปลา 1 บอระเพ็ ด 1 แห้ ว หมู 1 รากไคร้ เ ครื อ 1 กั ญ ชา 1 ขมิ้ น อ้ อ ย 1 หั ส คุ ณ ทั้ ง 2 ยาทั้ ง นี้
เอาสิ่งละ 1 บาท ลูกพิลังกาสา 1 พริกหอม 1 พริกหาง 1 ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ 2 บาท ดีปลีเท่ายา กะเพรา
เท่ายาทั้งหลาย ต�ำผงละลายน�้ำผึ้ง เป็นลูกกลอนกินหนัก 1 สลึง แก้ฉันวุฒิโรค 8 จ�ำพวก กินเดือน 1 จึงเห็นคุณยา
จ�ำเริญอาหาร ๚

16 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 516
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้กล่อน 5 ประการ เอา ลูกจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 มหาหิงคุ์ 1 ยาด�ำ 1
ระย่อม 1 พิษนาศน์ 1 ใบกระวาน 1 ว่านน�้ำ 1 ผิวมะกรูด 1 รากไคร้เครือ 1 กัญชา 1 หัวอุตพิด 1 หัวบุก 1
หัวกลอย 1 หัวกระดาดทั้ง 2 ผักแพวแดง 1 เจตมูล 1 เจตพังคี 1 สะค้าน 1 ช้าพลู 1 ขิงแห้ง 1 ดีปลี 1
เกลือสินเธาว์ 1 โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ยาทั้งนี้เสมอภาค พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย น�้ำสุรา น�้ำร้อน น�้ำผึ้ง น�้ำส้มซ่า
กินหนัก 1 สลึง แก้แน่นหน้าอก จุกเสียดดีนัก หายมาแล้วแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 17
ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
อันว่ากษัยท้น
เมื่อท้องเปล่านั้นค่อยสงบ ครั้นกินอาหารเข้าไปมันก็ท้นขึ้นมาเอายอดอก เมื่อมันแน่นในโครงหายใจอยู่
อัด ๆ ดังจะสิ้นใจ มันแน่นขึ้นมาแต่ท้องน้อย มันชักเอากระเพาะเข้าขึ้นไปไว้จะกินอาหารมิได้ ถ้าจะแก้ท่าน
ให้เอาดีปลี ๑๐ บาท ขิงแห้ง ๑ ต�ำลึง ยาด�ำ ๓ บาท การบูร ๖ สลึง พริกไทย ๒ บาท กานพลู ๓ สลึง
กระวาน ๒ สลึง ต�ำเป็นผงแก้กษัยท้นท้อง ละลายน�้ำผึ้งกินหายแล
แล้วให้ท�ำยาแกง
ที เข้ า หั ว เข้ า ค่ า แลว่ า นหางช้ า ง นั้ น ให้ กิ น แล้ ว จึ ง ท� ำ ยาขนานนี้ กิ น เถิ ด ท่ า นให้ เ อาเที ย นทั้ ง ๕
โกฐทั้ง ๕ เปล้าทั้ง ๒ เอาสิ่งละ ๑ สลึง พริกหอม ๑ พริกหาง ๑ ลูกจันทน์ ๑ ลูกกระวาน ๑ คราม ๑ ยาทั้งนี้
เอาสิ่งละ ๑ เฟื้อง บอระเพ็ด ๑ แห้วหมู ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ ลูกพิลังกาสา ๑ รากไคร้เครือ ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ
๑ บาท หั ส คุ ณ ๑ ต�ำลึง ใบกะเพราแห้ง ๒ ต� ำ ลึ ง ดี ปลี ๑ บาท กั ญ ชา ๒ สลึ ง ต� ำ เป็ นผงละลายน�้ ำผึ้ ง
กินแก้ลมกษัยเสียดหายแล
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอา เทียนทั้ง 5 โกฐทั้ง 5 เปล้าทั้ง 2 สิ่งละ 1 สลึง พริกหอม พริกหาง ลูกจันทน์ ลูกกระวาน
คราม สิ่งละ ๑ เฟื้อง บอระเพ็ด แห้วหมู ขมิ้นอ้อย ลูกพิลังกาสา รากไคร้เครือ สิ่งละ ๑ บาท หัสคุณ ๑ ต�ำลึง 1
ใบกะเพราแห้ง ๒ ตําลึง ดีปลี 1 บาท กัญชา ๒ สลึง ทําเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งกิน แก้ลมกษัยเสียด
ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอาเทียนทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๕ เปล้าทั้ง ๒ เอาสิ่งละ ๑ สลึง พริกหอม พริกหาง ลูกจันทน์ ลูกกระวาน
คราม เอาสิ่งละ ๑ เฟื้อง บระเพ็ด หัวแห้วหมู ขมิ้นอ้อย ลูกพิลังกาสา รากไคร้เครือ เอาสิ่งละ ๑ บาท หัสคุณ ๔ บาท
ใบกะเพราแห้ง ๘ บาท ดีปลี ๑ บาท กัญชา ๒ สลึง บดเป็นผงละลายน�้ำผึ้งกิน

18 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาแก้กล่อนแห้ง
ยาแก้กล่อนแห้ง เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ซึ่งมีความส�ำคัญทาง
ประวัติศาสตร์ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เมื่อครั้งยังทรงด�ำรงพระราชอิสริยยศ
เป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อเดือน ๑๑ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ทรงเป็นแม่ทัพคุมทหาร
ไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี พระองค์ได้เสด็จยาตราทัพออกจากกรุงเทพมหานคร เส้นทางยาตราทัพได้ผ่าน
คลองบางกอกใหญ่เข้าคลองด่าน เมื่อเสด็จถึงวัดจอมทอง หรือวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร อันเป็นวัดโบราณ
ก็เสด็จหยุดประทับแรมที่หน้าวัดและได้ทรงกระท�ำพิธีเบิกโขลนทวารตามลักษณะพิชัยสงคราม ณ วัดนี้ ในพิธี
ดังกล่าวนี้ได้ทรงอธิษฐานขอให้เสด็จไปราชการทัพคราวนี้หากประสบความส�ำเร็จและเสด็จกลับมาโดยสวัสดิภาพ
จะสร้างวัดถวายให้ใหม่ ครั้นเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว ก็ทรงเริ่มปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งหมด ได้เสด็จมา
ประทับคุมงานและตรวจตราการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การแพทย์แผนไทย พระองค์ได้ให้เหล่านักปราชญ์รวบรวมและคัดเลือกสรรพความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยส่วนหนึ่ง
มาจารึกประดับเป็นแผ่นหินอ่อน สีเทารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างยาว ด้านละ ๓๓ เซนติเมตร ติดประดับอยู่ที่ผนัง
ด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ต�ำราดังกล่าวประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. ๒๕59 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓3 ตอนพิเศษ 93 ง วันที่ 22 เมษายน ๒๕59
ยาแก้กล่อนแห้งนี้เป็นศิลาจารึกที่สูญหายไปแล้ว จากเดิมซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะมีอยู่ 92 แผ่น จากการศึกษาเชิงเอกสาร
โดยการเทียบศิลาจารึกซึ่งปรากฏในปัจจุบัน กับส�ำเนาฉบับที่คัดลอกโดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร. วิเชียร จีรวงส์
(พ.ศ. 2512) ฉบับของศาสตราจารย์ นพ. ส�ำราญ วังศพ่าห์ (พ.ศ. 2523) และฉบับของกรมศิลปากร (พ.ศ. 2545)
พบว่าศิลาจารึกที่สูญหายไปหลัง พ.ศ. 2512 อาจมีจ�ำนวนถึง 9 แผ่น ซึ่งยาแก้กล่อนแห้งนี้เป็นหนึ่งในศิลาจารึก
ที่สูญหายไป โดยมีการคัดลอกเหมือนศิลาจารึกเหมือนจริง ใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์เปลี่ยนพื้นให้เป็นสีด�ำและตัวอักษร
เป็นสีขาว พร้อมค�ำจารึก และค�ำอ่านจารึก ยาแก้กล่อนแห้ง ประกอบด้วย สะค้าน ผักแพวแดง ดองดึง มหาหิงคุ์
ว่านน�้ำ โกฐสอ โกฐจุฬาลัมพา โกฐพุงปลา กัญชา หัวอุตพิด ชะเอม ดีปลี แก่นแสมทะเล ยาด�ำ เอาเสมอภาค
พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณละลายน�้ำผึ้งรวงกินหนัก ๑ สลึง สรรพคุณ แก้กล่อนแห้ง นอกจากนี้
ยังพบต�ำรับยาแก้กล่อนแห้ง ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 1002 ชื่อ พระคัมภีร์ชวดาร เล่ม 1

❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยขาว เลขที่ 1 ชื่อ ตํารายาว่าด้วยโรคกระไสย ประวัติ
หอสมุดแห่งชาติ ซื้อจากนายต่วน วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2459
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 2 ชื่อ ต�ำรากะสายกล้อน ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 104 ชื่อ คัมภีร์ธาตุทั้ง ๕ ประวัติ นางอึ่ง
ให้หอสมุดแห่งชาติ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2459
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 223 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนั ง สื อ สมุ ด ไทยด� ำ เลขที่ 245 ชื่ อ ตํารายาเกร็ ด ประวั ติ นางริ้ ว
ให้หอสมุดแห่งชาติ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2464

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 19
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 258 ชื่อ ต�ำรับยาเกร็ด

❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยขาว เลขที่ 269 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ หอสมุดแห่งชาติ
ซื้อจากนายต่วน วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2459
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 285 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 437 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 548 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 561 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ เจ้าพระยามุขมนตรี
(อวบ) ให้หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2473
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 589 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ หลวงแกล้ว
กาญจนเขตร (ม.ร.ว.คอย อรุณวงศ์ ณ อยุธยา) ให้หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2471
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
ร.ศ. ๑๒6
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อเวชสาตร์วัณ์ณนา
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

20 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ ยาแก้กล่อนแห้งซึ่งกระท�ำให้จุกเสียดแลเป็นพรรดึก ให้เป็นก้อนในท้อง ให้เจ็บ
ทั่วสรรพางค์ ให้มือกระด้าง ให้เมื่อยขบขัดเข่าแลน่องคู้ ให้ตามืดหูหนักให้เสียงแหบแห้ง ให้ขัดอก ให้ท้องขึ้น
กินอาหารมิได้ เป็นเหตุทั้งนี้เพราะเสมหะแห้ง บังเกิดแต่บุรุษสตรีก็ดุจกัน
๏ ท่ า นจึ ง ประกอบยานี้ ไว้ ใ ห้ แ ก้ เอา สะค้ า น ผั ก แพวแดง ดองดึ ง มหาหิ ง คุ ์ ว่ า นน�้ ำ โกฐสอ
โกฐจุฬาลัมพา โกฐพุงปลา กัญชา หัวอุตพิด ชะเอม ดีปลี แก่นแสมทะเล ยาด�ำ เอาเสมอภาค พริกไทยเท่ายา
ทั้งหลาย ท�ำเป็นจุณละลายน�้ำผึ้งรวงกินหนัก ๑ สลึง แก้ดังกล่าวมาแต่หลังวิเศษนัก ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 21
ชื่อเอกสาร พระคัมภีร์ชวดาร เล่ม 1
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1002
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

22 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ จะว่าด้วยโรคส�ำหรับบุรุษ แลสตรีก็เหมือนกัน แต่จะว่าด้วยบุรุษนั้นก่อน ถ้าผู้ใดเป็นโทษสัณฑฆาต
แลกล่อนแห้งมักให้ผกู พรรดึกแลลมเสียดแทง ให้เป็นลูกก้อนเป็นดานในท้อง ให้เมือ่ ยขบทัว้ สารพางค์มกั ให้เจ็บบัน้ เอว
ให้มือตายเท้าตาย เป็นเหน็บชา มักขัดหัวหน่าวหน้าสะโพกตึง สองราวข้างตลอดจนทวารหนัก ปัสสาวะเป็นโลหิต
ให้ปวดศีรษะ ให้วิงเวียนหน้าตา ปากเบี้ยว จักษุแหก เสียงแหบเจรจามิได้ยิน จักษุมืดหูหนัก ให้จุกเสียด ท้องขึ้น
แน่นหน้าอก เสพอาหารไม่มีรส โรคทั้งนี้เป็นเพื่อวาตะ เสมหะ โลหิตก�ำเริบในไส้นอกไส้ เมื่อจะเป็นนั้น ให้เหม็นเนื้อ
เหม็นตัว แลถอยอาหาร บางทีให้จับสะบัดร้อนสะท้านหนาว มักอยากของเปรี้ยวหวานแลของเย็น เป็นดังนี้เพราะ
โลหิตแห้งติดกระดูกสันหลัง บุรุษและสตรีเป็นเหมือนกัน ท่านให้แต่งยานี้แก้ เอา สะค้าน 1 ผักแพวแดง 1
ดองดึง 1 ว่านน�้ำ 1 มหาหิงคุ์ 1 เนื้อในฝักราชพฤกษ์ 1 โกฐสอเทศ 1 โกฐพุงปลา 1 โกฐจุฬาลัมพา 1 กัญชา 1
อุตพิด 1 ชะเอมเทศ 1 ดีปลี 1 แก่นแสมทะเล 1 ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค พริกไทยกึ่งยา แต่ว่าผ่อนตามก�ำลัง ท�ำผง
แล้วเอาน�้ำใบกะเม็ง น�้ำผลมะค�ำดีควายเอาเท่ากันเคล้ายาให้ได้ 7 หน ผึ่งให้แห้งแล้วบดกับน�้ำผึ้งกิน หนัก 1 สลึง
แก้สรรพโรคดังกล่าวมา หายแล ๚ะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 23
ชื่อเอกสาร ตํารายาว่าด้วยโรคกระไสย
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ถ้าจะแก้เอา สะค้าน ผักแพวแดง ว่านน�ำ้ ยาด�ำ ดองดึง มหาหิงคุ์ โกฐสอ โกฐพุงปลา โกฐจุฬาลัมพา กัญชา
ชะเอมเทศ ดีปลี แก่นแสมทะเล รากเจตมูล ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งกิน
หนัก ๑ สลึง กินยานี้ ๗ วันกินยาทุเลาเสียครั้งนี้

24 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาว่าด้วยโรคกระไสย
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาสะกดลมส�ำหรับกัน ให้เอาสะค้าน ๑ ว่านน�้ำ ๑ ยาด�ำ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ โกฐพุงปลา ๑ โกฐน�้ำเต้า ๑
ชะเอมเทศ ๑ แก่นแสมทะเล ๑ ผักแพวแดง ๑ ดีปลี ๑ กัญชา ๑ อุตพิด ๑ ขิงแห้ง ๑ รากเจตมูล ๑ รากช้าพลู ๑
ศิริยาทั้งนี้เอาเสมอภาค เอาพริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ละลายน�้ำส้มซ่า น�้ำมะนาว น�้ำผึ้งก็ได้ แก้กษัยครอบทั้งปวงแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 25
ชื่อเอกสาร ตํารากะสายกล้อน
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ แก้กล่อนแลจุกเสียดพรรดึก มันให้เป็นก้อนอยู่ในท้อง ให้เจ็บทั่วสารพางค์ ให้ตีนกระด้าง มือกระด้าง
เมื่อยขบ ขัดหัวหน่าวแข้งขา ให้เจ็บทวารหนักเบา เจ็บไหล่ ศีรษะเวียน หน้าตาปากเบี้ยว เสียงแหบ ให้ตามืดนัก
ให้ขัดสีข้างอก ให้ท้องขึ้นพอง กินอาหารมิได้ เป็นเพราะเพื่อเสมหะแห้งอยู่นอกใน แลโรคทั้งนี้ บุรุษ สตรีย่อมมี
เหมือนกัน
ถ้าจะแก้ให้ เอา สะค้าน ๑ ผักแพวแดง ๑ ดองดึง ๑ ขิง ๑ ว่านน�้ำ ๑ ยาด�ำ ๑ โกฐจุฬาลัมพา ๑ โกฐสอ
๑ โกฐพุ ง ปลา ๑ กั ญ ชา ๑ หั ว อุ ต พิ ด ๑ ชะเอม ๑ ดี ป ลี ๑ แก่ น แสมทะเล ๑ ยาทั้ ง นี้ เ อาเสมอภาค
เอาพริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งกิน ๑ สลึง วิเศษนักแล ๚

26 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ธาตุทั้ง ๕
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๐๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ท่ า นให้ เ อายานี้ กิ น เอาสะค้ า น ๑ ผั ก แพวแดง ๑ ดองดึ ง ๑ อ� ำ พั น ๑ มหาหิ ง คุ ์ ๑ ยาด� ำ ๑
โกฐสอ ๑ โกฐจุฬาลัมพา ๑ โกฐพุงปลา ๑ กัญชา ๑ อุตพิด ๑ ชะเอมเทศ ๑ ดีปลี ๑ แก่นแสมทะเล ๑ ยาทั้งนี้
เอาเท่ากัน พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งรวงกินเพลาละ ๑ สลึง บอกไว้ให้รู้ยานี้อย่าสนเท่ห์เลย ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 27
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๒๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ พระโอสถกันเตรา พระยาสมุทรสาครทูลเกล้าฯ ถวาย ท่านให้เอา หัวแห้วหมู ๑ เปราะหอม ๑
พริ ก ไทยล่ อ น ๑ เปล้ า ทั้ ง ๒ บอระเพ็ ด ขิ ง แห้ ง ๑ เจตมู ล เพลิ ง ๑ สมุ ล แว้ ง ๑ ดองดึ ง ๑ แสมทะเล ๑
อบเชยเทศ ๑ ลูกผักชีลา ดีปลี สะค้าน ช้าพลู ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ๑
ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ กัญชา ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๒ สลึง เอาพริกไทยเท่ายาทั้งนี้ แล้วเอาเปลือก
กันเกราแดงเท่ายาทั้งหลาย ยา ๓๐ สิ่ง ต�ำเป็ นผงละลายน�้ ำผึ้ ง กิ นหนั ก ๑ สลึ ง แก้ เส้ นอั มพฤกษ์ ปั ต คาด
แก้กล่อนทั้งปวง เป็นยาอายุวัฒนะด้วยแล ๚

28 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๕
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาศรีสัณฑะฆาต เจริญอัคนีผล สะค้าน ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ผักแพวแดง ๑ ต�ำลึง ๑ บาท หัวดองดึง
๑ ต�ำลึง ๑ บาท ว่านนํ้า ๑ ต�ำลึง ๑ บาท มหาหิงคุ์ ๒ บาท ๒ สลึง เนื้อฝักราชพฤกษ์ โกฐนํ้าเต้าก็ได้ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท
โกฐสอจีน ๑ ต�ำลึง ๑ บาท โกฐพุงปลา ๑ ต�ำลึง ๑ บาท โกฐจุฬาลัมพา ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ดอกกัญชา ๑ ต�ำลึง ๑ บาท
หัวอุตพิด ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ชะเอมเทศ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ดีปลี ๑ ต�ำลึง ๑ บาท แก่นแสมทะเล ๑ ต�ำลึง ๑ บาท
ด่างแสมสาร ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ยาด�ำ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท โกฐเขมา ๑ ต�ำลึง ๑ บาท รากช้าพลู ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ขิงแห้ง
๑ ต�ำลึง ๑ บาท รากเจตมูลเพลิง ๑ ต�ำลึง ๑ บาท แก่นขี้เหล็ก ๑ ต�ำลึง ๑ บาท พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย เอาสรรพยา
๒๒ นั้นต�ำผงกิน แก้กล่อน นํ้าเถาวัลย์เปรียงต้มละลายยา แก้เสมหะติดคอ นํ้าใบกะเม็ง นํ้าลูกมะค�ำดีควายต้ม
ละลายยา จะให้มีกําลัง นํ้าผึ้งรวงละลายยา แก้จุก นํ้ากระเทียมต้ม แก้ลมเฟ้อ นํ้าส้มซ่า จะให้ลง นํ้าขี้เหล็กทั้ง ๕
ละลายยากิน ประจุลมแล ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 29
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๕๘
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยากล่อน ท่านให้เอา โกฐจุฬาลัมพา โกฐสอเทศ โกฐหัวบัว เทียนด�ำ เทียนสัตบุษย์ เทียนตาตั๊กแตน
สะค้าน ดีปลี เบญจกูลทั้ง ๕ ดองดึง เกลือสินเธาว์ มหาหิงคุ์ ยาด�ำ กัญชา ว่านน�้ำ รากช้าพลู หัวอุตพิด ชะเอม
หนักสิ่งละ ๑ บาท พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ฯ๛

30 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๖๙
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยากล่อนแห้งแลจุกเสียด พรรดึกนั้น ให้บังเกิดเจ็บท้อง ให้เจ็บทั่วสารพางค์ตัวเมื่อยขบขัด มันแล่น
ลงไปในปัตคาด แลทวารหนัก ทวารเบา ทั้งนี้เป็นเพื่อเสลดแห้งอยู่ในไส้ ให้บังเกิดพรรดึก ตัวร้อนถอยอาหารนั้นให้
อยากเปรี้ยว อยากหวาน โรคทั้งนี้เป็นพรรดึก ให้เป็นลมกามพฤกษ์บุรุษทั้งหลาย
ท่านให้เอายานี้กิน เอา สะค้าน ๑ ผักแพวแดง ๑ ดองดึง ๑ อ�ำพัน ๑ มหาหิงคุ์ ๑ ยาด�ำ ๑ โกฐสอ ๑
โกฐจุฬาลัมพา ๑ โกฐพุงปลา ๑ กัญชา ๑ อุตพิด ๑ ชะเอม ๑ ดีปลี ๑ แก่นแสมทะเล ๑ ยาทั้งนี้เอาเท่ากัน
พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งรวงกินเพลาละ ๑ สลึง บอกไว้ให้รู้ยานี้อย่าสนเท่ห์เลย ๚ สิ้นกล่าว
เท่านี้แล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 31
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 285
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ บุกรอ 2 สลึง กลอย 2 สลึง กระดาดแดง 2 สลึง ดองดึง 2 สลึง บอระเพ็ด 2 สลึง ว่านน�้ำ 2 สลึง
โกฐสอ 2 สลึง โกฐจุฬาลัมพา 2 สลึง โกฐพุงปลา 2 บาท สมอเทศ 3 สลึง กัญชา 3 สลึง แก่นแสมทะเล 3 สลึง
หัวอุตพิด 1 บาท ชะเอม 1 บาท 2 สลึง มหาหิงคุ์ 1 บาท 2 สลึง ผักแพวแดง 3 บาท ยาด�ำ 3 บาท พริกไทย
เท่ายาทั้งปวง ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้ง แก้ลมกล่อน 7 จ�ำพวก สรรพโรคริดสีดวง ม้ามย้อยหายแล ฯ ประสะพริกไทย
ของกรมขุนฯ อุดมเดชท�ำแล้ว ๛

32 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 437
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาลม สะค้ า น ดองดึ ง ว่ า นน�้ ำ มหาหิ ง คุ ์ ยาด� ำ โกฐพุ ง ปลา โกฐสอ โกฐจุ ฬ าลั ม พา กั ญ ชา
อุตพิด ชะเอมเทศ ดีปลี พริกเทศ พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งก็ได้ น�้ำร้อนก็ได้ น�้ำขิง น�้ำเหล้า
ก็ได้ กินหนัก 1 สลึง ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 33
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 548
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่ อ โทสั ณ ฑฆาต ท่ า นพระครู พ ่ ว งสรรเสริ ญ คุ ณ มากนั ก ท่ า นเขี ย นต� ำ ราให้ ใ นต� ำ ราว่ า แก้ ล ม
จุกเสียด ให้เจ็บทั่วสารพางค์ มือเท้ากระด้าง คอแข็ง ขัดแข้งเข่า ขัดทวารหนัก ทวารเบา ให้มืดหน้า มัวตา
เสียงแหบเครือ ตามืด หูหนัก กินอาหารมิได้ โรคทั้งนี้ไซร้เกิดเพื่อเสมหะในอกอยู่นอกไส้บุรุษสตรีเหมือนกัน ท่านให้
ท�ำยานี้กิน ให้เอา สะค้าน 1 ผักแพวแดง 1 ดองดึง 1 มหาหิงคุ์ 1 ว่านน�้ำ 1 ยาด�ำ 1 โกฐสอ 1 โกฐจุฬาลัมพา 1
โกฐพุงปลา 1 กัญชา 1 หัวอุตพิด 1 ชะเอมเทศ 1 อบเชยเทศ 1 ดีปลี 1 เจตมูล 1 แก่นแสมทะเล 1 ยาทั้งนี้
เอาเสมอภาค พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งกินหนัก 1 สลึง ดีนักแล ๚ะ๛

34 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 35
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะว่าด้วยโรคสัณฑะฆาตอันเกิดแก่บุรุษสตรีเหมือนกัน ถ้าผู้ใดเป็นโทสัณฑะฆาต
แลกล่อนแห้งโลหิตแห้ง มักผูกเป็นพรรดึกและเป็นลมเสียดแทง ให้เป็นลูก เป็นก้อน เป็นเถา เป็นดานแข็งอยู่ในท้อง
ให้เมื่อยขบทั่วสารพางค์กาย มักให้มือ ให้เท้าเป็นเหน็บชาตายไปก็มี มักให้เจ็บบั้นเอวขัดหัวหน่าวหน้าสะโพก
ให้ตึงสองราวข้างตลอดลงไปจนถึงทวารหนัก ทวารเบา เบาเหลือง เบาแดง เป็นโลหิต มักให้ปวดศีรษะ วิงเวียน
หน้าตามืดมัวไป มักให้ชักหลังแข็ง ปากเบี้ยว ตาแหก ท�ำให้เสียงแหบแห้ง เจรจามิได้ยิน ให้หูหนัก มักให้จุกเสียด
ท้องขึ้น หนักอก แน่นหน้าอก กินอาหารไม่มีรส โรคอันนี้เป็นเพื่อวาตะเสมหะ โลหิตก�ำเริบ ในไส้ นอกไส้ เมื่อจะเป็น
นั้นให้เมื่อยเขม่นเนื้อเขม่นตัว ให้ถอยอาหาร บางทีให้สะบัดร้อน สะท้านหนาว มักอยากกินของเปรี้ยวหวาน
และของอันที่เย็น โรคนี้เป็นเพราะโลหิตแห้งติดกระดูกสันหลัง ท่านจึงให้แต่งยานี้แก้ เอาสะค้าน ๑ ผักแพวแดง ๑
ดองดึง ๑ ว่านน�้ำ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ เนื้อราชพฤกษ์ ๑ โกฐสอเทศ ๑ โกฐพุงปลา ๑ โกฐจุฬาลัมพา ๑ หัวอุตพิด ๑
กัญชา ๑ อบเชยเทศ ๑ ชะเอมเทศ 1 แก่นแสมทะเล ๑ ดีปลี ๑ เอาเสมอภาคเอาพริกไทยกึ่งยา แต่ว่าดูพอให้ควร
ตามก�ำลัง ต�ำเป็นผง เอาน�้ำลูกมะค�ำดีควาย น�้ำใบกะเม็ง เอาเท่ากันเคล้ายาให้ได้ 3 หน ตากแดดให้ยาแห้ง
บดด้วยน�้ำผึ้งกิน หนัก ๑ บาท ๑ สลึง ก็ได้แก้สรรพโรคอันกล่าวมาหาย ๚

36 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 589
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยานี้แก้กล่อน ๕ ประการ เอา สะค้าน ๑ ว่านน�้ำ ๑ ยาด�ำ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ โกฐสอ ๑ โกฐพุงปลา ๑
โกฐน�้ำเต้า ๑ กัญชา ๑ หัวอุตพิด ๑ หัวดองดึง ๑ ดีปลี ๑ ผักแพวแดง ๑ ชะเอม ๑ แก่นแสมทะเล ๑ ยาทั้งนี้
เอาสิ่งละ ๑ บาท เอาพริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ๚ะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 37
ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอาสะค้าน ผักแพวแดง ดองดึง ว่านน�้ำ ยาด�ำ มหาหิงคุ์ โกฐสอ โกฐจุฬาลัมพา โกฐพุงปลา
กัญชา หัวอุตพิด เนื้อฝักราชพฤกษ์ ชะเอมเทศ ดีปลี แก่นแสมทะเล เอาสิ่งละ ๑ ส่วน พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย
ต�ำเป็นผง เอาน�้ำใบกะเม็ง น�้ำลูกมะค�ำดีควาย เคล้ายาผงตากแดดให้แห้งสิ่งละ ๗ ครั้ง แล้วบดด้วยน�้ำผึ้งกิน
หนัก ๑ สลึง แก้กล่อน ๕ ประการ ซึ่งให้จุกเสียดแลเป็นพรรดึก แก้ลมเป็นก้อนในอุทร ให้เจ็บทั่วร่างกาย เจ็บสะเอว
มือเท้าตายกระด้างแลเมื่อยขบทุกข้อทุกล�ำ ขัดแข้งขา เจ็บทวารหนัก เบาพิการต่าง ๆ เจ็บศีรษะเวียนหน้าตา
เจ็บไหล่ทั้งสอง ปากเปรี้ยว เสียงแหบแห้ง ขัดสีข้าง ขัดอก ท้องขึ้น กินอาหารไม่มีรส นอนไม่ใคร่หลับ โรคทั้งนี้
เป็นเพราะเสมหะแห้ง บุรุษแลสตรีเป็นเหมือนกัน
เอา สะค้าน ว่านน�้ำ ผักแพวแดง ยาด�ำ มหาหิงคุ์ โกฐสอ โกฐพุงปลา โกฐจุฬาลัมพา กัญชา ชะเอมเทศ
ดีปลี แก่นแสมทะเล รากเจตมูลเพลิง หัวอุตพิด หัวดองดึง เอาเสมอภาค เอาพริกไทยเท่ายาทัง้ หลาย บดเป็นผงละลาย
น�้ำผึ้งกินหนัก ๑ สลึง กินยานี้ ๗ วันแล้วกินยาทุเลาครั้ง ๑ แล้วให้ท�ำยาขนานต่อไปนี้กินต่อไป
ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
หนังสือเอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
คัมภีร์อภัยสันตา เล่ม 1
ยาชื่อทัพยาธิคุณ เอา สะค้าน ๑ ผักแพวแดง ๑ ดองดึง ๑ ว่านน�้ำ ๑ ยาด�ำ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ โกฐสอจีน ๑
โกฐจุฬาลัมพา ๑ โกฐพุงปลา ๑ กัญชา ๑ เหง้าอุตพิด ๑ เยื่อราชพฤกษ์ ๑ ชะเอมเทศ ๑ ดีปลี ๑ แก่นแสมทะเล ๑
สิ่งละ ๑ ส่วน พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย กระท�ำเป็นจุณ น�้ำใบกะเม็งน�้ำผลมะค�ำดีควาย เคล้ายาตากแดดให้แห้ง
สิ่งละ ๗ ครั้ง แล้วบดด้วยน�้ำผึ้งกินหนัก ๑ สลึง แก้กล่อน ๕ ประการ ให้จุกเสียดและพรรดึกเป็นก้อนในอุทร
เจ็บทั่วสรรพางค์กาย เจ็บสะเอว มือเท้าตาย กระด้าง และเมื่อยขบทุกข้อล�ำ ขัดแข้ง ขัดขา เจ็บทวารหนัก ทวารเบา
พิการต่าง ๆ เจ็บศีรษะ เวียนหน้าตา และเจ็บไหล่ทั้งสอง ปากเปรี้ยว เสียงแหบแห้งขัดข้าง ขัดอก ท้องขึ้น ท้องพอง
กินอาหารมิได้ นอนไม่หลับ โรคทั้งนี้เป็นเพราะเสมหะแห้งในอก เป็นบ้าเพื่อดีเพื่อลมเป็นบาทจิตร โรคทั้งนี้บุรุษสตรี
เป็
นดุจกัน
คัมภีร์ชวดาร
ยาแก้โรคส�ำหรับบุรุษขนานนี้ เอา เถาสะค้าน ๑ ผักแพวแดง ๑ หัวดองดึง ๑ ว่านน�้ำ ๑ มหาหิงคุ์ ๑
เนื้อในฝักราชพฤกษ์ ๑ โกฐสอ ๑ โกฐพุงปลา ๑ โกฐจุฬาลัมพา ๑ กัญชา ๑ หัวอุตพิด ๑ ชะเอมเทศ ๑ ดีปลี ๑
แก่ น แสมทะเล ๑ ยาทั้ ง นี้ เ อาเสมอภาค พริ ก ไทยกึ่ ง ยา แต่ ว ่ า ผ่ อ นตามก� ำ ลั ง ท� ำ ผงแล้ ว เอาน�้ ำ ใบกะเม็ ง ๑
น�้ำผลมะค�ำดีควาย ๑ เอาเท่ากันเคล้ายาให้ได้ ๗ ครั้ง ผึ่งให้แห้งแล้วบดกับน�้ำผึ้งรับประทานหนัก 1 สลึง
แก้โรคดังกล่าวมาแล้วแต่หลัง

38 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้โรคส�ำหรับบุรุษขนานนี้ เอา เถาสะค้าน ๑ ผักแพวแดง ๑ หัวดองดึง ๑ ว่านน�้ำ ๑ มหาหิงคุ์ ๑
เนื้อในฝักราชพฤกษ์ ๑ โกฐสอ ๑ โกฐพุงปลา ๑ โกฐจุฬาลัมพา ๑ กัญชา ๑ หัวอุตพิด ๑ ชะเอมเทศ ๑ ดีปลี ๑
แก่ น แสมทะเล ๑ ยาทั้ ง นี้ เ อาเสมอภาค พริ ก ไทยกึ่ ง ยา แต่ ว ่ า ผ่ อ นตามก� ำ ลั ง ท� ำ ผงแล้ ว เอาน�้ ำ ใบกะเม็ ง ๑
น�้ำผลมะค�ำดีควาย ๑ เอาเท่ากันเคล้ายาให้ได้ ๗ ครั้ง ผึ่งให้แห้งแล้วบดกับน�้ำผึ้งรับประทาน หนัก ๑ สลึง แก้โรค
ดังกล่าวมาแล้วแต่หลัง
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
❀ ยาแก้โรคส�ำหรับบุรุษ และสตรี เอา เถาสะค้าน ผักแพวแดง หัวดองดึง ว่านน�้ำ มหาหิงคุ์ เนื้อใน
ฝักราชพฤกษ์ โกฐสอ โกฐพุงปลา โกฐจุฬาลัมพา กัญชา หัวอุตพิด ชะเอมเทศ ดีปลี แก่นแสมทะเล ยาทั้งนี้
เอาส่วนเท่ากัน พริกไทยกึ่งยาหรือน้อยกว่าตามแต่ก�ำลัง ท�ำเป็นจุณ แล้วเอาน�้ำใบกะเม็ง น�้ำลูกมะค�ำดีควาย
เอาเท่ากันเคล้ายาให้ได้ ๗ ครั้ง ผึ่งให้แห้งแล้วบดกับน�้ำผึ้งกินหนักสลึง แก้โรคท้องผูกพรรดึก ลมเสียดแทงเป็นดาน
ในท้อง เมื่อยขบเจ็บสะเอว มือตายเท้าตาย เหน็บชา ขัดหัวหน่าว สะโพก ปัสสาวะเป็นโลหิต ปวดหัว ปากเปี้ยว
ตาแหก เบื่ออาหาร เสียงแห้ง สะบัดร้อนสะบัดหนาว
❀ ยาแก้สัณฑะฆาตปัตคาด ชายหญิง แก้กล่อนแห้งเป็นพรรดึก เป็นลม มือตายตีนตาย เมื่อยขบ
ขัดหัวเหน่า ปัสสาวะเป็นเลือดหนองให้เจ็บศีรษะ วิงเวียนหน้าตา ให้ปากเปรี้ยว เสียงแหบ หูหนัก ขัดสีข้าง ขัดอก
ให้ท้องขึ้น กินอาหารไม่รู้จักรส เอา สะค้าน ผักแพวแดง หัวดองดึง ว่านน�้ำ ยาด�ำ มหาหิงคุ์ โกฐสอ โกฐจุฬาลัมพา
โกฐพุงปลา อุตพิด ชะเอมเทศ กัญชา จิงจ้อ ดีปลี แก่นแสมทะเล เสมอภาค พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำผงละลาย
น�้ำผึ้งกิน ๑ สลึง
❀ ยาแก้กล่อน ลมตามืดหูตึง เมื่อยต้นคอ และแถวไหล่ ชักหลังโก่ง จับตะโพกเท้าชา มือชา จับศีรษะ
วิงเวียน เอาสะค้าน เจตมูล ดีปลี ขิง ช้าพลู ยาด�ำ โกฐพุงปลา โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา หัวดองดึง กัญชา บอระเพ็ด
สิ่งละ ๑ ต�ำลึง โกฐสอ ๒ บาท มหาหิงคุ์ ๒ บาท ต�ำผงละลายน�้ำผึ้ง กินแก้ลมจุกเสียดก็ได้
❀ ยาแก้กษัยดินเกิดแต่ปถวีธาตุ เอา สะค้าน ว่านน�้ำ ผักแพวแดง ยาด�ำ มหาหิงคุ์ โกฐสอ โกฐพุงปลา
โกฐจุฬาลัมพา กัญชา ชะเอมเทศ ดีปลี แก่นแสมทะเล รากเจตมูลเพลิง หัวอุตพิด หัวดองดึง เอาส่วนเท่ากัน
เอาพริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ทําเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งกินหนัก 1 สลึง กินยานี้เจ็ดวันแล้วจึงกินยา ทุเลาเสียครั้งหนึ่ง

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 39
ยาธรณีสัณฑะฆาต
ยาธรณีสัณฑะฆาต เป็นต�ำรับยาอยู่ในต�ำราสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นต�ำราที่เกิด
ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต�ำรับยาเล่มแรกของสภากาชาดไทยที่ใช้ในการรักษาการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
กรณีพิพาทดินแดนฝั่งแม่น�้ำโขง (เหตุวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112) มีทหารและชาวบ้านบาดเจ็บเป็นจ�ำนวนมาก
แต่ขาดแคลนยา จึงมีองค์การกุศล ในนาม “สภาอุณาโลมแดง” ช่วยกันรวบรวมต�ำรายาไทยเพื่อท�ำการผลิต
และปรุงยาส่งไปใช้รักษาทหารและชาวบ้าน จนเมื่อเหตุการณ์สงบจึงมีการรวบรวมเป็นเล่มไว้ใช้สืบต่อกันมา
ต�ำราสภาอุณาโลมแดง ประกาศกําหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. ๒๕60 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓4 ตอนพิเศษ 141 ง วันที่ 25
พฤษภาคม ๒๕60 ยาธรณีสัณฑะฆาต ประกอบด้วย ชะเอม 1 บาท โหราเท้าสุนัข 1 บาท การบูร 1 บาท
กัญชา 1 บาท อบเชย 1 บาท ดองดึง 1 บาท อุตพิด 1 บาท กระดาดทั้ง 2 สิ่งละ 2 บาท หัวบุก 1 บาท
ผลจันทน์ 1 บาท ดอกจันทน์ 1 บาท กระวาน 1 บาท กานพลู 1 บาท เทียนด�ำ 2 บาท กลอย 1 บาท
ช้าพลู 2 บาท สะค้าน 1 บาท เจตมูล 1 ต�ำลึง 1 บาท ขิง 1 ต�ำลึง 1 บาท ผักแพวแดง 3 บาท สมุลแว้ง 2 บาท
ว่ า นน�้ ำ 1 ต� ำ ลึ ง โกฐกระดู ก 3 บาท โกฐสอ 2 บาท โกฐน�้ ำ เต้ า 3 ต� ำ ลึ ง สมอไทย 2 ต� ำ ลึ ง 2 บาท
โกฐพุงปลา 2 บาท มะขามป้อม 2 ต�ำลึง 2 บาท มหาหิงคุ์ 2 ต�ำลึง รงทอง 2 ต�ำลึง โกฐจุฬาลัมพา 2 บาท
ยาด�ำ 4 ต�ำลึง พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย สรรพคุณ แก้เถาดาน ท้องผูก นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาธรณีสัณฑะฆาต
ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 29 ชื่อ คัมภีร์จรณะสังคหะ เล่ม ๑ ประวัติ

กรมหลวงวงสาฯ กรมหมื่นไชยนาทฯ ประทานหอสมุดแห่งชาติ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 33 ชื่อ คัมภีร์สังคหะ เล่ม ๒ ประวัติ ได้มาจาก
กระทรวงธรรมการ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2480
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 230 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อเวชสาตร์วัณ์ณนา
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชือ ่ เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สงั เขป ของพระยาพิษณุประสารเวช
เป็นต�ำราการแพทย์แผนไทย ซึง่ ใช้เป็นคูม่ อื หมอและผูพ้ ยาบาลไข้ โดยท่านเป็นผูร้ วบรวมรายละเอียด
พระคัมภีร์ ต�ำราที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยนั้นซึ่งมีพิมพ์แล้วในแพทย์ศาสตร์ และคัมภีร์แพทย์
ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโรงเรียนราชแพทยาลัย เพื่อหวังต่อสาธารณะประโยชน์แพทย์ไทยทั้งปวง ในการใช้
ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียนเวชสโมสร สอนวิชาแพทย์ไทยโบราณ ตั้งแต่ ร.ศ. 128
(พ.ศ. 2452) มีการคัดลอกและใช้กันอย่างแพร่หลาย
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)

40 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. ๑๑๒
หนังสือเอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ยาชื่อธรณีสัณฑะฆาต แก้ลมกษัย 8 จ�ำพวก ให้เมื่อยขบ จุกเสียด ผูกพรรดึก กินอาหารมิได้
ท่านให้เอา ชะเอม 1 บาท โหราเท้าสุนัข 1 บาท การบูร 1 บาท กัญชา 1 บาท อบเชย 1 บาท
ดองดึง 1 บาท อุตพิด 1 บาท กระดาดทั้ง 2 สิ่งละ 2 บาท หัวบุก 1 บาท ผลจันทน์ 1 บาท ดอกจันทน์ 1 บาท
กระวาน 1 บาท กานพลู 1 บาท เทียนด�ำ 2 บาท กลอย 1 บาท ช้าพลู 2 บาท สะค้าน 1 บาท เจตมูล
1 ต�ำลึง 1 บาท ขิง 1 ต�ำลึง 1 บาท ผักแพวแดง 3 บาท สมุลแว้ง 2 บาท ว่านน�้ำ 1 ต�ำลึง โกฐกระดูก 3 บาท
โกฐสอ 2 บาท โกฐน�้ำเต้า 3 ต�ำลึง สมอไทย 2 ต�ำลึง 2 บาท โกฐพุงปลา 2 บาท มะขามป้อม 2 ต�ำลึง 2 บาท
มหาหิงคุ์ 2 ต�ำลึง รงทอง 2 ต�ำลึง โกฐจุฬาลัมพา 2 บาท ยาด�ำ 4 ต�ำลึง พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ท�ำผงไว้ใช้ดี
นักแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 41
ชื่อเอกสาร คัมภีร์จรณะสังคหะ เล่ม ๑
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๙
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อธรณีสัณฑะฆาต แก้ลมกษัย ๘ จ�ำพวก ให้เมื่อยให้ขบ จุกเสียด ผูกพรรดึก กินอาหารมิได้ ท่านให้
เอา ชะเอม ๑ บาท โหราเท้าสุนัข ๑ บาท การบูร ๑ บาท กัญชา ๑ บาท อบเชย ๑ บาท ดองดึง ๑ บาท อุตพิด
๑ บาท กระดาดทั้ง ๒ สิ่งละ ๒ บาท หัวบุก ๑ บาท ลูกจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท กระวาน ๑ บาท
กานพลู ๑ บาท เทียนด�ำ ๒ บาท กลอย ๑ บาท ช้าพลู 2 บาท สะค้าน ๑ บาท เจตมูลเพลิง 1 ต�ำลึง ๑ บาท
ขิง ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ผักแพวแดง ๓ บาท สมุลแว้ง ๒ บาท ว่านน�้ำ ๑ ต�ำลึง โกฐกระดูก ๓ บาท โกฐสอ ๒ บาท
โกฐน�้ำเต้า ๓ ต�ำลึง สมอไทย ๒ ต�ำลึง ๒ บาท โกฐพุงปลา ๒ บาท มะขามป้อม ๒ ต�ำลึง ๒ บาท มหาหิงคุ์ ๒ ต�ำลึง
รงทอง ๒ ต�ำลึง โกฐจุฬาลัมพา ๒ บาท ยาด�ำ ๔ ต�ำลึง พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ท�ำผงไว้ใช้ดีนักแล ๚ะ

42 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์สังคหะ เล่ม ๒
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๓๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อธรณีสัณฑะฆาต แก้ลมกษัย ๘ จ�ำพวก ให้เมื่อย ให้ขบ ให้จุก ให้เสียด ผูกพรรดึก กินอาหารมิได้
ท่านให้เอา ชะเอม ๑ บาท โหราเท้าสุนัข ๑ บาท การบูร ๑ บาท กัญชา ๑ บาท อบเชย ๑ บาท ดองดึง ๑ บาท
อุตพิด ๑ บาท กระดาดทั้ง ๒ สิ่งละ ๒ บาท หัวบุก ๑ บาท ผลจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท กระวาน ๑ บาท
กานพลู ๑ บาท เทียนด�ำ ๒ บาท กลอย ๑ บาท ช้าพลู 2 บาท สะค้าน ๑ บาท เจตมูล ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ขิง ๑ ต�ำลึง
๑ บาท ผักแพวแดง ๓ บาท สมุลแว้ง ๒ บาท ว่านน�้ำ ๑ ต�ำลึง โกฐกระดูก ๓ บาท โกฐสอ ๒ บาท โกฐน�้ำเต้า ๓ ต�ำลึง
สมอไทย ๒ ต�ำลึง ๒ บาท โกฐพุงปลา ๒ บาท มะขามป้อม ๒ ต�ำลึง ๒ บาท มหาหิงคุ์ ๒ ต�ำลึง รงทอง ๒ ต�ำลึง
โกฐจุฬาลัมพา ๒ บาท ยาด�ำ ๔ ต�ำลึง พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ท�ำผงไว้ใช้ดีนักแล ๚ะ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 43
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาขนานนี้ ท่านให้เอา โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท เทียนด�ำ ๑ บาท เทียนขาว ๑ บาท ยาด�ำ
๑ บาท สีเสียด ๑ บาท ลูกจันทน์ ๒ บาท ดอกจันทน์ ๒ บาท กานพลู ๒ บาท ขิงแห้ง ๒ บาท ดีปลี ๒ บาท การบูร
๒ บาท กัญชา ๒ บาท หิงยางโพธิ์ ๒ บาท เจตมูลเพลิง ๑ ต�ำลึง โหราเท้าสุนัข ๑ ต�ำลึง ๑ บาท พริกล่อน ๑ ต�ำลึง
๑ บาท รงทองสะตุ ๑ ต�ำลึง ๒ บาท ยาฝิ่น ๑ สลึง ศิริยา ๑๙ สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณละลายน�้ำผึ้งรวงกินเป็นลูกดอง แก้ลม
ให้ตายจ�ำหระข้างหนึ่ง แล้วให้เมื่อยขบเสียดแทงแลให้ตีนตาย ให้มือตาย ให้เป็นเหน็บเส้นมึนตึงอยู่ยกตีน ยกมือ
ขึ้นมิได้ แลลมตะคริว ลมพรรดึกเป็นอยู่เป็นนิจก็ดี ยานี้จะบ�ำบัดเสียได้ซึ่งลมเหล่านี้ให้ถึงซึ่งพินาศความฉิบหาย
วิเศษนัก พระต�ำรายาขนานนี้ได้มาแต่เมืองพุกาม ๚

44 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาธรณีสัณฑะฆาตน้อย แก้โรคในกองกษัยกล่อน ทั้งชายหญิง ให้จุกเสียดขับเสมหะแห้ง ให้ไอให้หอบ
ให้ผูกพรรดึก เอา ชะเอม ๒ บาท รากมูลเพลิง ดีปลี ผักแพวแดง ว่านน�้ำ สิ่งละ ๒ บาท ช้าพลู ขิงแห้ง สิ่งละ ๓ บาท
โกฐน�้ำเต้า ๑๐ บาท อบเชยเทศ สมุลแว้ง หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว หัวกลอย หัวบุก หัวอุตพิด ดองดึง
โหราเท้าสุนัข กัญชา กานพลู ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนด�ำ เทียนขาว โกฐเขมา โกฐกระดูก สะค้าน สิ่งละ ๑ บาท
สมอไทย การบูร มะขามป้อม สิ่งละ ๖ บาท มหาหิงคุ์ ๒ ต�ำลึง รงทอง ๓ ต�ำลึง ยาด�ำ ๕ ต�ำลึง พริกไทยเท่ายา
ทั้งหลายต�ำผง กระสายน�้ำมะนาว มะกรูดก็ได้ กิน
ธรณีสัณฑะฆาต แก้โรคกองลม กษัยกล่อน พรรดึก เสมหะพิการต่าง ๆ เอาชะเอมเทศ รากช้าพลู ดีปลี
ผักแพวแดง ว่านน�้ำ สิ่งละ ๒ บาท รากเจตมูลเพลิง ขิงแห้งสิ่งละ ๓ บาท โกฐพุงปลา โกฐสอ โกฐเขมา โกฐกระดูก
สะค้าน อบเชย สมุลแว้ง หัวบุก หัวอุตพิด หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว หัวกลอย โหราเท้าสุนัข หัวดองดึง
ลูกเร่ว ลูกจันทน์เทศ กานพลู ดอกจันทน์เทศ เทียนด�ำ เทียนขาว กัญชา สิ่งละ ๑ บาท สมอไทย มะขามป้อม
การบูร สิ่งละ ๖ บาท มหาหิงคุ์ ๘ บาท รงทอง ๑๒ บาท ยาด�ำ ๒๐ บาท พริกไทย ๑๒๘ บาท โกฐน�้ำเต้า ๑๐ บาท
ต�ำผงละลายน�้ำผึ้ง น�้ำมะกรูด น�้ำมะงั่วก็ได้ แก้เลือดตีขึ้น คนอยู่ไฟกินก็ได้
ชื่อเอกสาร เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป ของพระยาพิศณุประสาทเวช
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาธรณีสัณฑะฆาตน้อย แก้โรคในกองกษัยกล่อนทั้งชาย ทั้งหญิง ให้จุกเสียด ขับเสมหะแห้งให้ไอ
ให้หอบ ให้ผูกพรรดึก เป็นโรคเพราะเส้นจึงเป็นต่าง ๆ เอา ชะเอม ๒ บาท โกฐเขมา ๑ บาท โกฐกระดูก ๑ บาท
โกฐน�้ำเต้า ๑๐ บาท สะค้าน ๑๑ บาท รากเจตมูลเพลิง ๒ บาท ช้าพูล ๓ บาท ขิงแห้ง ๓ บาท ดีปลี ๒ บาท
ผักแพวแดง ๒ บาท ว่านน�้ำ ๒ บาท อบเชยเทศ ๑ บาท สมุลแว้ง ๑ บาท หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว
หัวกลอย หัวบุก หัวอุตพิด หัวดองดึง โหราเท้าสุนัข กัญชา กานพลู ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนด�ำ เทียนขาว
ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท สมอไทย ๖ บาท มะขามป้อม ๖ บาท มหาหิงคุ์ ๒ ต�ำลึง การบูร ๖ บาท รงทอง ๓ ต�ำลึง
ยาด�ำ ๕ ต�ำลึง พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย กระสาย น�้ำมะนาว มะกรูดก็ได้ ฯ
ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้กล่อน 5 ประการ เอา กระดาดทั้ง 2 บุกรอ 1 กลอย 1 ดองดึง 1 ว่านน�้ำ 1 ดีปลี 1 มะตูมอ่อน 1
เจตมูลเพลิง 1 สะค้าน 1 บอระเพ็ด 1 โกฐสอ 1 โกฐจุฬาลัมพา 1 โกฐพุงปลา 1 สิ่งละ 2 สลึง โกฐสอเทศ 1
กัญชา 1 แก่นแสมทะเล 1 สิ่งละ 3 สลึง อุตพิด 1 บาท ชะเอม 6 สลึง ยาด�ำ 1 ผักแพว 1 สิ่งละ 1 บาท
พริกไทยเท่ายาทั้งหลายท�ำเป็นจุณละลายน�้ำผึ้งน�้ำร้อนก็ได้ กินหนัก 1 สลึง แก้กล่อนแลริดสีดวง ม้ามย้อยหายดีนัก

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 45
ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอาชะเอมเทศ โกฐสอ โกฐหัวบัว โกฐกระดูก สะค้าน สมุลแว้ง เอาสิ่งละ ๒ บาท ขิง เจตมูลเพลิง เทียนด�ำ
เทียนขาว กานพลู ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ดองดึง เอาสิ่งละ ๑ บาท หัวกระดาดทั้ง ๒ หัวอุตพิด หัวบุกรอ หัวกลอย
เอาสิ่งละ ๓ บาท โหราเท้าสุนัข ๒ บาท เนื้อลูกสมอไทย ๑๐ บาท กัญชา ๖ สลึง ดีปลี ๑ บาท โกฐน�้ำเต้า ๖ บาท
โกฐจุฬาลัมพา ๒ บาท รงทอง ๑๒ บาท ยาด�ำ ๑๒ บาท มหาหิงคุ์ ๕ บาท การบูร ๔ บาท พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย
บดปั ้ น แท่ ง ละลายน�้ ำ มะกรู ด น�้ ำ มะนาว น�้ ำ มะขามเปี ย กกิ น แก้ ล มปั ต คาด สั ณ ฑะฆาต ลมกุ ม ภั ณ ฑยั ก ษ์
ลมบาทยักษ์ แก้จุกเสียดแน่น แก้พรรดึก แก้ชักปากเบี้ยวตาแหก หายแล
เอาโกฐสอ โกฐหัวบัว โกฐกระดูก สะค้าน สมุลแว้ง ชะเอมเทศ โหราเท้าสุนัข เอาสิ่งละ ๒ บาท ขิง
เจตมูลเพลิง เทียนด�ำ เทียนขาว กานพลู ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ หัวดองดึง เอาสิ่งละ ๑ บาท กัญชา ๖ สลึง
โกฐจุฬาลัมพา ๒ บาท หัวกระดาดทั้ง ๒ หัวอุตพิด หัวบุกรอ หัวกลอย เอาสิ่งละ ๓ บาท ดีปลี ๑ บาท การบูร ๔ บาท
มหาหิงคุ์ ๕ บาท โกฐน�้ำเต้า ๖ บาท เนื้อลูกสมอไทย ๑๐ บาท รงทอง ๑๒ บาท ยาด�ำ ๑๒ บาท พริกไทยล่อนเท่ายา
ทั้งหลาย บดเป็นผง ละลายน�้ำมะกรูด หรือน�้ำมะนาวหรือน�้ำส้มมะขามเปียกกิน แก้ลมปัตคาด สัณฑะฆาต
ลมกุมภัณฑ์ยักษ์ ลมราชยักษ์ ลมจุกแดกเสียดแน่น แก้ลมผูกเป็นพรรดึก แก้ลมบาทยักษ์ ซึ่งมีอาการชักปากเบี้ยว
ตาแหก หายแล

46 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาแก้โรคกระไส
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 13
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ยาชื่อพรหมภักตร์ ประจุลมครอบกษัยทั้งปวง ท้องมาน หืด ริดสีดวง ตามมือตาย เสลด ผอมเหลือง
เป็นลม เจ็บในอกประจุลม เอา มหาหิงคุ์ 1 ยาด�ำ 1 สีเสียดเทศ 1 เทียนด�ำ 1 เทียนขาว 1 ดอกจันทน์ 1 กัญชา 1
กระวาน 1 กานพลู 1 เจตมูล 1 เอาสิ่งละ 2 บาท ลูกจันทน์ 2 บาท การบูร 2 บาท โหราเท้าสุนัข 1 สลึง เป็นยา
ตัดรากกษัยทั้ง 20 ดังกล่าวมานั้นแล ๚๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 47
ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาผงชื่อยาพรหมพักตร์ ประจุกษัยครองกษัยท้องมารหืดไอทั้งปวง แก้ลมตีนตายเสลดตกผอมเหลือง
เป็นลมง่วงเหงาเจ็บในอกท่านให้เอา มหาหิงคุ์ ๑ ยาด�ำ ๑ สีเสียดเทศ ๑ เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ ดอกจันทน์ ๑
กระวาน ๑ กานพลู ๑ กัญชา ๑ รากเจตมูลเพลิง ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท ลูกจันทน์ ๒ บาท การบูร ๓ บาท
โหราเท้าสุนัข ๕ บาท รงทอง ๖ บาท ฝิ่น ๑ ต�ำลึง ศิริยาทั้งนี้ ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งเป็นน�้ำกระสาย กินหนักสลึง ๑
เป็นยาตัดรากกษัยทั้ง ๑๒๖ จ�ำพวกดังกล่าวมานั้นหายแล
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาพรหมพักตร์ ประจุกษัย ครอบกษัย ท้องมาน หืด ไอ ทั้งปวง แก้ลมตื่นตายสเลดตก ผอมเหลือง
เป็นลมง่วงเหงา เจ็บในอก เอามหาหิงคุ์ ยาด�ำ สีเสียดเทศ เทียนด�ำ เทียนขาว ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู
กัญชา รากเจตมูลเพลิง เอาสิ่งละ ๑ บาท ลูกจันทน์ ๒ บาท การบูร ๓ บาท โหราเท้าสุนัข ๕ บาท รงทอง 6 บาท
ฝิ่น ๑ ตําลึง ยาทั้งนี้ทําเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งเป็นกระสาย กินหนัก ๑ สลึง เป็นยาตัดรากกษัยทั้งปวง

48 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒75
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลมกล่อน เอาโคคลาน ๑ ต�ำลึง เทียนสัตบุษย์ ๑ ต�ำลึง ๒ บาท การบูร ๓ บาท กระวาน ๑ ต�ำลึง
๒ บาท กัญชา ๓ บาท พริกไทย ๒ ต�ำลึง หิงคุ์ ๒ ต�ำลึง ลูกเอ็น ๑ ต�ำลึง ๒ บาท เจตมูล ๒ ต�ำลึง ๓ บาท
ดีปลี ๕ ต�ำลึง ขิง ๒ ต�ำลึง ๒ บาท สมุลแว้ง ๓ ต�ำลึง รากมะเขือขื่น ๓ บาท บุกรอ ๒ ต�ำลึง ๒ บาท หอยแครง ๒ บาท
หอยขม ๒ บาท น�้ำอ้อยแดง น�้ำเปลือกมะรุมเป็นกระสายกิน แก้ลมกล่อน ขัดข้อให้เมื่อย แลเสียดแทงขัดข้อ
กินหาย ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 49
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 516
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลมกล่อน 7 จ�ำพวก แก้เลือดผู้หญิง เอา กระวาน 1 บาท 2 สลึง กานพลู 1 บาท 2 สลึง
มหาหิงคุ์ 1 บาท 2 สลึง ยาด�ำ 1 บาท 2 สลึง พริกไทย 1 บาท 2 สลึง โหราเท้าสุนัข 1 บาท 2 สลึง
เทียนทั้ง 5 สิ่งละ 1 บาท 2 สลึง กัญชา 1 สลึง 1 เฟื้อง รง 1 บาท 2 สลึง ห่อใบพลูเสียแล้ว ต�ำผงละลาย
น�้ำผึ้งกินหายแล ๚

50 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 574
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่ออัคนีสูวิการ บุกรอ กลอย กระดาดแดง กระดาดขาว อุตพิด โกฐสอ โกฐเขมา เทียนด�ำ กัญชา
สิ่งละ ๑ บาท เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ แก่นแสมทะเล ผักแพวแดง ดองดึง ว่านน�้ำ บอระเพ็ด มะตูมอ่อนสิ่งละ ๒ บาท
สมอไทย ขิง ดีปลี เจตมูล สะค้าน รากช้าพลู สิ่งละ ๓ บาท มหาหิงคุ์ การบูร สิ่งละ ๑ ต�ำลึง ๒ บาท พริกไทยเท่ายา
ทั้งหลายต�ำแก้ลมกล่อน ท้องขึ้นเฟ้ออยู่หายแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 51
ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ขนานหนึ่ง เอา โกฐสอ 1 เทียนทั้ง 5 ลูกจันทน์ 1 กานพลู 1 สิ่งละ 1 สลึง เจตพังคี 1 เจตมูล 1
สะค้าน 1 ว่านน�้ำ 1 กัญชา 1 เปราะหอม 1 ดองดึง 1 พริกไทย 1 ขิง 1 บอระเพ็ด 1 ลูกผักชี 1 กระวาน 1
สมุลแว้ง 1 สิ่งละ 1 บาท แก่นกันเกรา 1 ดีปลี 1 สิ่งละ 15 บาท ท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งกินแก้กล่อนปัตคาด
หายดีนัก

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาคันธวาต แก้ลมกษัยกล่อน เอาสะค้าน ดีปลี ขิง สิ่งละ ๑ บาท เจตมูลเพลิง ๒ สลึง บอระเพ็ด ๓ สลึง
ลูกสมอเทศ ๑ บาท ๑ สลึง หัวบุก หัวกลอย หัวอุตพิด หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว สิ่งละ ๑ บาท ลูกมะตูมอ่อน
๒ สลึง ว่านน�้ำ ๒ บาท ๒ สลึง ชะเอมเทศ ๑ บาท ๒ สลึง หัวดองดึง ๒ บาท กัญชา แก่นแสมทะเล ๑ บาท ๑ สลึง
โกฐสอ ๓ สลึง โกฐพุงปลา ๒ บาท ๒ สลึง โกฐน�้ำเต้า ๓ บาท โกฐจุฬาลัมพา ๑ บาท ผักแพวแดง ๓ บาท ยาด�ำ
๓ บาท มหาหิงคุ์ ๒ บาท พริกไทยล่อน ๗ ต�ำลึง ต�ำผงกระสายน�้ำผึ้งน�้ำร้อนกิน

52 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


กลุ่มโรคลม
ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง
ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง เป็นต�ำรับยาอยู่ต�ำราพระโอสถ ครั้งรัชกาลที่ 2 ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์
กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงเห็นว่า คัมภีร์แพทย์
ณ โรงพระโอสถ สมัยกรุงศรีอยุธยาหายไปจึงทรงค้นคว้าต�ำราจากที่ต่าง ๆ เพราะทรงวิตกว่าต�ำราและคัมภีร์แพทย์
ต่าง ๆ จะเสื่อมสูญ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าผู้เชี่ยวชาญลักษณะโรค และสรรพคุณยา รวมทั้ง
ผู้ที่มีต�ำรายาดี ๆ น�ำเข้าทูลเกล้าฯ ถวายและทรงโปรดฯ ให้พระพงษ์อ�ำมรินทรราชนิกูล พระโอรสในสมเด็จพระเจ้า
กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นหมอหลวงสืบถามและเลือกสรรต�ำรายาดีจดเป็นต�ำราหลวงส�ำหรับโรงพระโอสถ เป็นนายกอง
รวบรวม เมื่ อ ปี จุ ล ศั ก ราช ๑๑๗๔ (พ.ศ. ๒๓๕๕) ต� ำ รายานี้ มี ชื่ อ ว่ า ต� ำ รายาโรงพระโอสถครั้ ง รั ช กาลที่ ๒
ต� ำ ราพระโอสถฉบั บ หลวงที่ ร วบรวมขึ้ น ในคราวนั้ น เมื่ อ ได้ มี ก ารช� ำ ระตรวจสอบอย่ า งดี แ ล้ ว ต� ำ ราพระโอสถ
ครั้งรัชกาลที่ ๒ ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๗ ง วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และเป็นต�ำราการแพทย์แผนไทยที่เป็น ๒ เรื่อง คือ ต�ำรายาในโรง
พระโอสถ และต�ำราพระโอสถ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงขนานนามหนังสือ
เล่มนี้ว่า “ต�ำราพระโอสถ” เพื่อให้เรียกง่ายขึ้น ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง ประกอบด้วย ยาด�ำ กัญชา อุตพิด ดองดึง
สิ่งละ ๔ ส่วน กระเทียม ๖ ส่วน ว่านน�้ำ ชะเอมเทศ โกฐน�้ำเต้า โกฐพุงปลา มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๘ ส่วน ว่านเปราะ
ผลผักชี ดีปลี สิ่งละ ๑๒ ส่วน ขิงแห้ง แก่นแสมทะเล รากส้มกุ้ง สะค้าน สิ่งละ ๑๖ ส่วน พริกไทย เปลือกกันเกรา
สิ่งละ ๒๔ ส่วน วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำผึ้งรวงให้กินหนัก ๑ สลึง สรรพคุณ แก้ลมขึ้นสูง นอกจากนี้ยังพบ
ต�ำรับยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

54 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำราพระโอสถครั้งรัชกาลที่ 2
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยต�ำรายา คือวิเศษสรรพคุณส�ำเร็จ อันอาจาริยเจ้าในก่อนกล่าวไว้ ให้แก้
สรรพโรคทั้งปวงต่าง ๆ สืบกันมา ในที่นี่จะว่าแต่สรรพคุณวิเศษ คือคณะสรรพยาที่จะแก้ซึ่งโรคสรรพลมทั้งปวง
อันก�ำเริบพัดขึ้นเบื้องบนนั้น โดยนัยดังนี้
๑ ยาแก้ลมขึ้นสูง เอา ยาด�ำ กัญชา อุตพิด ดองดึง สิ่งละ ๔ ส่วน กระเทียม ๖ ส่วน ว่านน�้ำ
ชะเอมเทศ โกฐน�้ำเต้า โกฐพุงปลา มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๘ ส่วน ว่านเปราะ ผลผักชี ดีปลี สิ่งละ ๑๒ ส่วน ขิงแห้ง
แก่นแสมทะเล รากส้มกุ้ง สะค้าน สิ่งละ ๑๖ ส่วน พริกไทย เปลือกกันเกรา สิ่งละ ๒๔ ส่วน ท�ำเป็นจุณบดละลาย
น�้ำผึ้งรวง ให้กินหนักสลึง ๑ แก้ลมขึ้นสูงหายดีนัก ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 55
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง (ระเบียงรอบพระมหาเจดีย์)

56 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยต�ำรายาคือวิเศษสรรพคุณส�ำเร็จอันอาจารย์เจ้าในก่อนประมวลไว้ ให้แก้
สรรพโรคทั้งปวงต่าง ๆ สืบกันมา ฯ ในที่นี้จะว่าแต่สรรพคุณวิเศษ คือ คณะสรรพยาที่จะแก้ซึ่งโรคสรรพลมทั้งปวง
อันก�ำเริบพัดขึ้นเบื้องบนนั้นโดยนัยดังนี้ ฯ
ยาแก้ลมขึ้นสูง เอา ยาด�ำ กัญชา อุตพิด ดองดึง สิ่งละ ๔ ส่วน กระเทียม ๖ ส่วน ว่านน�้ำ ชะเอมเทศ
โกฐน�้ำเต้า โกฐพุงปลา มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๘ ส่วน ว่านเปราะ ผลผักชี ดีปลี สิ่งละ ๑๒ ส่วน ขิงแห้ง แก่นแสมทะเล
รากส้มกุ้ง สะค้าน สิ่งละ ๑๖ ส่วน พริกไทย เปลือกกันเกรา สิ่งละ ๒๔ ส่วน ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำผึ้งรวง
ให้กินหนัก ๑ สลึง แก้ลมขึ้นสูงหายดีนัก
สรรพยานี้ ของข้าพระพุทธเจ้า หลวงทิพย์รักษา ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ขอเดชะ ได้ใช้แล้ว

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 57
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้ลมขึ้นสูง เอา ยาด�ำ กัญชา อุตพิด ดองดึง สิ่งละ ๔ ส่วน กระเทียม 6 ส่วน ว่านน�้ำ ชะเอมเทศ
โกฐน�้ำเต้า โกฐพุงปลา มหาหิงคุ์ สิ่งละ 8 ส่วน ว่านเปราะ ลูกผักชี ดีปลี สิ่งละ ๑๒ ส่วน ขิงแห้ง แก่นแสมทะเล
รากส้มกุ้ง สะค้าน สิ่งละ ๑๖ ส่วน พริกไทย เปลือกกันเกรา สิ่งละ ๒4 ส่วน ทําเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งรวงให้กิน
หนัก 1 สลึง แก้ลมขึ้นสูง

ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอายาด�ำ กัญชา อุตพิด ดองดึง สิ่งละ ๔ ส่วน กระเทียม ๖ ส่วน ว่านน�้ำ ชะเอมเทศ โกฐน�้ำเต้า โกฐพุงปลา
มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๘ ส่วน ว่านเปราะ ลูกผักชี สิ่งละ ๑๒ ส่วน ขิงแห้ง แก่นแสมทะเล รากส้มกุ้ง สะค้าน สิ่งละ ๑๖ ส่วน
ท�ำเป็นจุณ บดละลายน�้ำผึ้งรวงกินหนัก ๑ สลึง แก้ลมขึ้นเบื้องสูง

58 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาแก้ลมอุทธังคมาวาตา
ยาแก้ลมอุทธังคมาวาตา เป็นต�ำรับยาอยูต่ ำ� ราพระโอสถ ครัง้ รัชกาลที่ 2 ซึง่ มีความส�ำคัญทางประวัตศิ าสตร์
กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงเห็นว่า คัมภีร์แพทย์
ณ โรงพระโอสถ สมัยกรุงศรีอยุธยาหายไปจึงทรงค้นคว้าต�ำราจากที่ต่าง ๆ เพราะทรงวิตกว่าต�ำราและคัมภีร์แพทย์
ต่าง ๆ จะเสื่อมสูญ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เหล่าผู้เชี่ยวชาญลักษณะโรค และสรรพคุณยา รวมทั้ง
ผู้ที่มีต�ำรายาดี ๆ น�ำเข้าทูลเกล้าฯ ถวายและทรงโปรดฯ ให้พระพงษ์อ�ำมรินทรราชนิกูล พระโอรสในสมเด็จ
พระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเป็นหมอหลวงสืบถามและเลือกสรรต�ำรายาดีจดเป็นต�ำราหลวงส�ำหรับโรงพระโอสถ เป็นนายก
องรวบรวม เมื่อปีจุลศักราช ๑๑๗๔ (พ.ศ. ๒๓๕๕) ต�ำรายานี้มีชื่อว่า ต�ำรายาโรงพระโอสถครั้งรัชกาลที่ ๒
ต�ำราพระโอสถฉบับหลวงที่รวบรวมขึ้นในคราวนั้น เมื่อได้มีการช�ำระตรวจสอบอย่างดีแล้ว ต�ำราพระโอสถครั้งรัชกาล
ที่ ๒ ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศกระทรวง
สาธารณสุข เรือ่ ง การประกาศก�ำหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๗ ง วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และเป็นต�ำราการแพทย์แผนไทยทีเ่ ป็น ๒ เรือ่ ง คือ ต�ำรายาในโรงพระโอสถ และต�ำราพระโอสถ
ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ ทรงขนานนามหนังสือเล่มนี้ว่า “ต�ำราพระโอสถ” เพื่อให้
เรียกง่ายขึ้น ยาแก้ลมอุทธังคมาวาตา ประกอบด้วย โกฐสอ โกฐเขมา มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๔ ส่วน การบูร กานพลู
ดอกจันทน์ พิลังกาสา กัญชา สิ่งละ ๖ ส่วน โกฐหัวบัว สมอเทศ กระล�ำพัก จันทน์ชะมด พริกหอม ดีปลี
สิ่งละ ๘ ส่วน กระวาน สมอไทย ผลจันทน์ สิ่งละ ๑๐ ส่วน กฤษณา ขิงแห้ง สิ่งละ ๑๒ ส่วน พริกไทย ๔๐ ส่วน
วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำผึ้งให้กินหนัก ๑ สลึง สรรพคุณ แก้อุทธังคมาวาตกล้า กระท�ำให้คลุ้มคลั่ง แลแก้ลม
อันให้มือตายเท้าตาย แลเป็นเหน็บชา แลแก้สรรพลมใหญ่ทั้งปวง อันบังเกิดในกองธาตุ นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยา
แก้ลมอุทธังคมาวาตา ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

❀ เอกสารโบราณประเภทหนั ง สื อ สมุ ด ไทยด� ำ เลขที่ 281 ชื่ อ ต� ำ รายาเกร็ ด ประวั ติ นางวาด,
นายกระจ่าง, นายทองอ่อน ภวะวิภาต ให้หอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2468
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 413 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 429 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 534 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
ร.ศ. ๑๒6

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 59
ชื่อเอกสาร ต�ำราพระโอสถครั้งรัชกาลที่ 2
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยต�ำรายา คือวิเศษสรรพคุณส�ำเร็จ อันอาจาริยเจ้าในก่อนกล่าวไว้ ให้แก้
สรรพโรคทั้งปวงต่าง ๆ สืบกันมา ในที่นี่จะว่าแต่สรรพคุณวิเศษ คือคณะสรรพยาที่จะแก้ซึ่งโรคสรรพลมทั้งปวง
อันก�ำเริบพัดขึ้นเบื้องบนนั้น โดยนัยดังนี้
3 หนึ่ง เอาโกฐ โกฐเขมา มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๔ ส่วน การบูร กานพลู ดอกจันทน์ ผลพิลังกาสา กัญชา
สิ่งละ ๖ ส่วน โกฐหัวบัว สมอเทศ กระล�ำพัก จันทน์ชะมด พริกหอม ดีปลี สิ่งละ ๘ ส่วน พริกไทย ๔๐ ส่วน
ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำผึ้งให้กินหนักสลึง ๑ แก้อุทธังคมาวาตกล้ากระท�ำให้คลุ้มคลั่ง แลแก้ลมอันให้มือตาย
เท้าตาย แลเป็นเหน็บชา แลแก้สรรพลมใหญ่ทั้งปวง อันบังเกิดในกองธาตุนั้นหายวิเศษนัก ๚
สรรพยา 3 ขนานนี้ ของหลวงทิพยรักษา ได้ใช้แล้ว

60 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ
(ระเบียงรอบพระมหาเจดีย์)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 61
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยต�ำรายาคือวิเศษสรรพคุณส�ำเร็จอันอาจารย์เจ้าในก่อนประมวลไว้ ให้แก้
สรรพโรคทั้งปวงต่าง ๆ สืบกันมา ฯ ในที่นี้จะว่าแต่สรรพคุณวิเศษ คือ คณะสรรพยาที่จะแก้ซึ่งโรคสรรพลมทั้งปวง
อันก�ำเริบพัดขึ้นเบื้องบนนั้นโดยนัยดังนี้ ฯ
อนึ่ง เอา โกฐสอ โกฐเขมา มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๔ ส่วน การบูร กานพลู ดอกจันทน์ พิลังกาสา กัญชา
สิ่งละ ๖ ส่วน โกฐหัวบัว สมอเทศ กระล�ำพัก จันทน์ชะมด พริกหอม ดีปลี สิ่งละ ๘ ส่วน กระวาน สมอไทย
ผลจันทน์ สิ่งละ ๑๐ ส่วน กฤษณา ขิงแห้ง สิ่งละ ๑๒ ส่วน พริกไทย ๔๐ ส่วน ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำผึ้งให้กิน
หนั ก ๑ สลึ ง แก้ อุ ท ธั ง คมาวาตกล้ า กระท� ำ ให้ ค ลุ ้ ม คลั่ ง แลแก้ ล มอั น ให้ มื อ ตายเท้ า ตายแลเป็ น เหน็ บ ชาแล
แก้สรรพลมใหญ่ทั้งปวงอันบังเกิดในกองธาตุนั้นหายวิเศษนัก ฯ
สรรพยานี้ ของข้าพระพุทธเจ้า หลวงทิพย์รักษา ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ขอเดชะ ได้ใช้แล้ว

62 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒81
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 63
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่ อ อ� ำ มฤคธารา ยั ง มี ห มอคนหนึ่ ง ชื่ อ ว่ า โคนมารเถฏ ประกอบยานี้ เอามหาหิ ง คุ ์ ๒ บาท
การบูร ๓ บาท ดีปลี ๑ ต�ำลึง ลูกกระวาน ๑ ต�ำลึง ๑ บาท สมอเทศ ๑ ต�ำลึง ลูกจันทน์ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท
กานพลู ๓ ต�ำลึง กัญชา ๓ ต�ำลึง กฤษณา ๑ ต�ำลึง ๒ บาท กระล�ำพัก ๑ ต�ำลึง จันทน์ชะมด ๔ ต�ำลึง
สมอไทย ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ดอกจันทน์ ๓ บาท ขิงแห้ง ๑ ต�ำลึง ๒ บาท โกฐสอ ๒ ต�ำลึง ใบพิมเสน ๒ บาท
ว่านน�้ำ ๓ บาท พริกเทศ ๑ ต�ำลึง โกฐหัวบัว ๑ ต�ำลึง โกฐเขมา ๒ บาท พริกหอม ๒ ต�ำลึง ลูกพิลังกาสา ๓ ต�ำลึง
พริกไทย ๑๐ บาท ถ้าลมกล้า เอา ๑๐ ต�ำลึง ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งปั้นเท่าลูกพุทรา เท่าลูกเดือย แก้ลม ๑๔ จ�ำพวก
แก้ริดสีดวง ๔ แก้โลหิต ๔ แก้เสมหะ ๘ จ�ำพวก ที่ว่าจะแก้ได้ด้วยสรรพคุณยาทั้งนี้เถิดด้วย มหาหิงคุ์อย่างอันใดอาจ
ที่จะแก้ได้ซึ่งลมอุทังควาตนั้น ให้เคลื่อนขึ้นเคลื่อนลงอยู่ในท้องก็ดี เป็นที่จ�ำเริญธาตุ ลูกกะวานดับพิษฝีภายในท้อง
ระงับเสมหะ ลูกจันทน์ระงับเสมหะในสมอง กระดูก กานพลู จะระงับพิษฝีในไส้ กัญชา ห้ามลมอันร้อนกระหนกระหาย
ทั่วสารพางค์ตัว ทั้งจ�ำเริญอาหารด้วยทั้งนอนหลับมีก�ำลัง กฤษณาแก้ร้อนให้ได้สมปฤดี จันทน์ชะมดห้ามมิให้
ใจนั้นระส�่ำระสายได้ สมอเทศแก้เสมหะในกระดูกสันหลัง แลเลือดเน่า ขิงห้ามน�้ำเหลืองนั้นท�ำให้เมื่อยกระดูก
โกฐหัวบัวจะจ�ำเริญกาย ให้สมบูรณ์ พิมเสนแก้ลมแลเสมหะในสมอง ว่านน�้ำห้ามลมจุกเสียดขึ้นจากทวารทั้ง ๙
มิให้วิ่งว่อนหน้าตา สมอไทยห้ามมิให้ธาตุน้ันแปรปรวน โกฐสอห้ามมิให้เสมหะ มิให้คลาดจากที่ พริกหอมห้ามมิให้
น�้ำตานั้นไม่แห้งขาดได้ พิลังกาสาร้อนกล้าจะบ�ำรุงธาตุ พริกไทยกินข้าวได้ ขัณฑสกรผูกน�ำจิตให้ชื่น จบสรรพคุณ
เมื่อจะประสมยาเอาข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน เสกด้วยคาถานี้ ๏ สังสาเรสังสะรันตะทังมะริตันต�ำพะน�ำมะหะ

64 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 413
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ยาชื่ออ�ำมฤคทารา ให้เอา มหาหิงคุ์ 1 บาท การบูร 3 บาท กานพลู 3 บาท กฤษณา 3 บาท
จันทน์ชะมด 2 บาท ดีปลี 1 ต�ำลึง กระวาน 1 ต�ำลึง กัญชา 3 บาท กระล�ำพัก 1 ต�ำลึง สมอไทย 1 ต�ำลึง 1 บาท
สมอเทศ 1 ต�ำลึง ดอกจันทน์ 3 บาท โกฐหัวบัว 1 ต�ำลึง สมอพิเภก 1 ต�ำลึง โกฐเขมา 2 บาท ลูกพิลังกาสา 3 บาท
ขิงแห้ง 1 ต�ำลึง 2 บาท ว่านน�้ำ 2 บาท โกฐสอ 2 บาท พริกหอม 2 บาท พริกไทย 10 ต�ำลึง พิมเสน 2 บาท
ต�ำผงแก้ลม 100 จ�ำพวก น�้ำกระสายยักตามใช้เถิด

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 65
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 429
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาหอม เอามหาหิงคุ์ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง การบูร ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ดีปลี ๒ สลึง กระวาน ๒ สลึง ๑ เฟื้อง
สมอเทศ ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๒ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กัญชา ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กฤษณา ๓ สลึง
กระล�ำพัก ๒ สลึง จันทน์ชะมด ๑ บาท สมอไทย ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ดอกจันทน์ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ขิง ๓ สลึง
โกฐหัวบัว ๒ สลึง พิมเสน ๑ สลึง ว่านน�้ำ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง สมอพิเภก ๒ สลึง โกฐสอ ๑ สลึง โกฐเขมา ๑ สลึง
พริกหอม ๑ บาท พริกหาง ๑ บาท ลูกพิลังกาสา ๑ สลึง ๑ เฟื้อง พริกไทย (เลือน)

66 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 534
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาอ�ำมฤคธารา ท่านให้เอา มหาหิงคุ์ 2 บาท ขิงแห้ง 1 ต�ำลึง 2 บาท ลูกกระวาน 1 ต�ำลึง 1 บาท
กานพลู 3 บาท กฤษณา 1 ต�ำลึง 2 บาท กระล�ำพัก 1 ต�ำลึง ลูกจันทน์ 1 ต�ำลึง 1 บาท ดอกจันทน์ 3 บาท
จันทน์ชะมด 2 ต�ำลึง ลูกสมอไทย 1 ต�ำลึง 1 บาท สมอเทศ 1 ต�ำลึง ลูกสมอพิเภก 1 ต�ำลึง โกฐก้านพร้าว 1 ต�ำลึง
โกฐหัวบัว 1 ต�ำลึง โกฐสอ 2 บาท โกฐกระดูก 2 บาท โกฐเขมา 1 ต�ำลึง ว่านน�้ำ 3 บาท การบูร 3 บาท ดีปลี 1 ต�ำลึง
พริกหอม 2 ต�ำลึง ลูกพิลังกาสา 3 บาท กัญชา 1 ต�ำลึง 2 บาท อบเชย 2 บาท สมุลแว้ง 3 บาท พริกไทย 8 ต�ำลึง
พิมเสน 2 บาท ศิริยาทั้งนี้ต�ำผงคลุกน�้ำผึ้งกิน แก้ลมทั้งหลายหายแล ๚ะ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 67
ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6
หนังสือเอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาวาดตาวาธ เอา โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๑ บาท กานพลู การบูร ดอกจันทน์
ลูกพิลังกาสา กัญชา สิ่งละ ๑ บาท ๒ สลึง โกฐหัวบัว สมอเทศ กระล�ำพัก จันทนา พริกหาง พริกหอม ดีปลี
สิ่งละ ๒ บาท พริกไทย ๑๐ ต�ำลึง ลูกกระวาน ๒ บาท ๑ สลึง เนื้อไม้ ๓ บาท ขิง ๓ บาท ท�ำผง กระสายน�้ำผึ้งน�้ำร้อน
น�้ำข่าก็ได้ กินแก้ลมขึ้นเบื้องสูง แก้ท้องขึ้นเสียดแน่น
เอา โกฐสอ โกฐเขมา มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๔ ส่วน การบูร กานพลู ดอกจันทน์ ลูกพิลังกาสา กัญชา
สิ่งละ ๖ ส่วน โกฐหัวบัว สมอเทศ กระล�ำพัก จันทน์ชะมด พริกหอม ดีปลี สิ่งละ ๘ ส่วน กระวาน สมอไทย
ดอกจันทน์ สิ่งละ ๑๐ ส่วน กฤษณา ขิงแห้ง สิ่งละ ๑๒ ส่วน พริกไทย ๔๐ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดละลายน�้ำผึ้งกิน
หนัก ๑ สลึง แก้อุทธังคมาวาตกล้า กระท�ำให้คลุ้มคลั่ง และแก้ลมอันกระท�ำให้มือเท้าตาย และเป็นเหน็บชา
แก้สรรพลม
เอา โกฐเขมา มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๔ ส่วน การบูร กานพลู ดอกจันทน์ ลูกพิลังกาสา กัญชา สิ่งละ 6 ส่วน
โกฐหัวบัว สมอเทศ กระลําพัก จันทน์ชะมด พริก หอม ดีปลี สิ่งละ 8 ส่วน พริกไทย ๔๐ ส่วน ทําเป็นจุณบดละลาย
น�้ำผึ้งกินหนัก ๑ สลึง แก้อุทธังคมาวาตกล้ากระทําให้คลุ้มคลั่ง แก้ลมมือตายเท้าตาย เป็นเหน็บชา แก้สรรพลมใหญ่

68 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาแก้ลมวาระยักขวาโย
ยาแก้ลมวาระยักขวาโย เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
(วัดโพธิ์) ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต
รวบรวม ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษา
มาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูล
ชั้นใด ๆ ใครมีใจรักวิชาใด ก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม
ต�ำราการแพทย์การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้
ตามบริเวณผนังคอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑป
ภายในวัด ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์
ว่าด้วยเรื่อง ต�ำรานวด ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา
ชื่อโรค รวมทั้งต�ำราว่าด้วยสรรพคุณยา ทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็น
ความรู้สืบทอดมาแต่โบราณจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8
และการประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาแก้ลมวาระยักขวาโย
ประกอบด้วย โกฐทั้งห้า เทียนทั้งห้า ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ผักแพวแดง สิ่งละส่วน ดองดึง น�้ำประสานทอง
กัญชา การบูร รากจิงจ้อ มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๒ ส่วน พริกไทย ขิงแห้ง ดีปลี รากส้มกุ้งทั้งสอง สิ่งละ ๑๐ ส่วน กระเทียม
ผิวมะกรูด เทพทาโร เปล้าน้อย สิ่งละ ๑๒ ส่วน สมอพิเภก ๑๖ ส่วน มะขามป้อม ๓๒ ส่วน สมอไทย ๔๘ ส่วน
วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำกระสายอันควรแก่โรคกินหนัก ๑ สลึง สรรพคุณ แก้ลมวาระยักขวาโย อันบังเกิดแต่
กองอชิรณะ นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาแก้ลมวาระยักขวาโย ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 69
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ลมวาระยักขวาโย (ศาลานวด)

70 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะก�ำเนิดแห่งลมอันชื่อว่า วาระยักขวาโย เป็นค�ำรบ ๓ นั้น เกิดแต่
กองอชิณวาต มักกระท�ำให้อยากคาวหวานแลเนื้อ ปลา ปู หอย ครั้นบริโภคเข้าไปท�ำให้เสียดชายโครงทั้ง 2 ข้าง
แลให้จุกอก แล้วแล่นลงมาจับเอาองคชาตกระท�ำให้ตีนมือตายแลหิวโหยหาแรงมิได้ ลมจ�ำพวกนี้ ถ้าบังเกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้ใดถึงปีหนึ่งจะให้มือตีนทั้งสองนั้นเสีย ดังกล่าวมานี้ ฯ
ขนานหนึ่ง เอา โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ผักแพวแดง สิ่งละ 1 ส่วน ดองดึง
น�้ำประสานทอง กัญชา การบูร รากจิงจ้อ มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๒ ส่วน พริกไทย ขิงแห้ง ดีปลี รากส้มกุ้งทั้ง 2
สิ่งละ ๑๐ ส่วน กระเทียม ผิวมะกรูด เทพทาโร เปล้าน้อย สิ่งละ ๑๒ ส่วน สมอพิเภก ๑๖ ส่วน มะขามป้อม ๓๒ ส่วน
สมอไทย ๔๘ ส่วน ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำกระสายอันควรแก่โรคกินหนัก ๑ สลึง แก้ลมวาระยักขวาโย อันบังเกิด
แต่กองอชิรณะนั้นหายวิเศษนัก ฯ

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


ประเภทเอกสารโบราณหนังสือ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอา โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ผักแพวแดง สิ่งละ ๑ ส่วน ดองดึง
น�้ำประสานทอง กัญชา การบูร รากจิงจ้อ มหาหิงคุ์ สิ่งละ ๒ ส่วน พริกไทย ขิงแห้ง ดีปลี รากส้มกุ้งทั้ง 2
สิ่งละ ๑๐ ส่วน กระเทียม ผิวมะกรูด เทพทาโร เปล้าน้อย สิ่งละ ๑๒ ส่วน สมอพิเภก ๑๖ ส่วน มะขามป้อม ๓๒ ส่วน
สมอไทย ๔๘ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดละลายน�้ำกระสายอันควรแก่โรคกินหนัก ๑ สลึง แก้ลม

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 71
ยาแก้ลมสิตมัควาโย
ยาแก้ลมสิตมัควาโย เป็นต�ำรับยาอยูใ่ นศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ)์
ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวม
ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษามา
ตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใด ๆ
ใครมีใจรักวิชาใดก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ต�ำรา
การแพทย์การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้
ตามบริเวณผนังคอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑป
ภายในวัด ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์
ว่าด้วยเรื่อง ต�ำรานวด ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา
ชื่อโรค รวมทั้งต�ำราว่าด้วยสรรพคุณยาทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็นความรู้
สืบทอดมาแต่โบราณจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8
และการประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาแก้ลมสิตมัควาโย
ประกอบด้วย ลูกจันทน์ ดีปลี พริกไทย ขิงแห้ง หอมแดง สิง่ ละ ๘ ส่วน ฝิน่ กัญชา น�ำ้ ตาลทราย น�ำ้ มันเนย สิง่ ละ ๑๖ ส่วน
วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณ แล้วเอาน�้ำมะพร้าวนาฬิเกเป็นกระสาย เคี่ยวเป็นยางมะตูม แล้วจึงเอาผลสมอไทยปอกผิวเสีย
๑๐๘ ผล ใส่ลงเคี่ยวไปให้ซาบในผลสมอให้กินวันละ ๓๖ ผล ที่จะกินในเวลาใดมิได้บังคับ ให้สิ้นแต่ในวันเดียวนั้น
โดยนัยท่านกล่าวบังคับไว้ให้กิน ๓ วัน ให้สิ้นผลสมอ สรรพคุณ แก้ลมสิตมัควาโย นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยา
แก้ลมสิตมัควาโย ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

72 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ลมสิตมัควาโย (ศาลานวด)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 73
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะก�ำเนิดแห่งลมอันชื่อว่า สิตมัควาโย เป็นค�ำรบ ๑๐ นั้นเกิดแต่กามวาต
แลกองลมวิหค กระท�ำให้มอื เย็นเท้าเย็นก่อน แล้วจึงท�ำให้มอื ตายเท้าตาย ยกมือขึน้ มิได้ ลมกองนี้ ครัน้ แก่เข้าแก้มถิ อย
จึงตกไปในระหว่างอัมพาต กระท�ำให้ลิ้นกระด้าง เจรจามิชัด มักให้เตโชเป็นกติกธาตุ แพทย์ทั้งหลายพึงรู้ถ้าบังเกิดขึ้น
แก่บุคคลผู้ใดแล้ว อายุมิยืนเลย ฯ จึงพระฤๅษีภัตสรรณให้แต่งยานี้แก้
เอา ลูกจันทน์ ดีปลี พริกไทย ขิงแห้ง หอมแดง สิ่งละ ๘ ส่วน ฝิ่น กัญชา น�้ำตาลทราย น�้ำมันเนย
สิ่งละ ๑๖ ส่วน ท�ำเป็นจุณ แล้วเอาน�้ำมะพร้าวนาฬิเกเป็นกระสาย เคี่ยวเป็นยางมะตูม แล้วจึงเอาผลสมอไทย
ปอกผิวเสีย ๑๐๘ ผล ใส่ลงเคี่ยวไปให้ซาบในผลสมอให้กินวันละ ๓๖ ผล ที่จะกินในเวลาใดมิได้บังคับ ให้ส้ิน
แต่ในวันเดียวนั้นโดยนัยท่านกล่าวบังคับไว้ให้กิน ๓ วัน ให้สิ้นผลสมอ แก้ลมสิตมัควาโยนั้นหายวิเศษนัก ฯ

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาฤาษีพัดสรรณ เอา ลูกจันทน์ ดีปลี พริกไทย ขิงแห้ง หอมแดง สิ่งละ ๘ ส่วน ฝิ่น กัญชา น�้ำตาลทราย
น�้ำมันเนย สิ่งละ ๑๖ ส่วน ท�ำเป็นจุณ แล้วเอาน�้ำมะพร้าวนาลิเกเป็นกระสายเคี่ยวเป็นยางมะตูม แล้วเอาลูกสมอไทย
ปอกผิวเสีย ๑๐๘ ผลใส่ลงเคี่ยวให้ซาบในลูกสมอ กินวันละ ๓๖ ลูก กิน ๓ วัน

74 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาแก้ลมอัตพังคีวาโย
ยาแก้ลมอัตพังคีวาโย เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ซึ่งมีความส�ำคัญ
ทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) เมื่อครั้งยังทรงด�ำรงพระราช
อิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อเดือน ๑๑ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ทรงเป็นแม่ทัพ
คุมทหารไปตั้งทัพอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี พระองค์ได้เสด็จยาตราทัพออกจากกรุงเทพมหานคร เส้นทางยาตราทัพ
ได้ผ่านคลองบางกอกใหญ่เข้าคลองด่าน เมื่อเสด็จถึงวัดจอมทอง หรือวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร อันเป็นวัดโบราณ
ก็เสด็จหยุดประทับแรมที่หน้าวัดและได้ทรงกระท�ำพิธีเบิกโขลนทวารตามลักษณะพิชัยสงคราม ณ วัดนี้ ในพิธี
ดังกล่าวนี้ได้ทรงอธิษฐานขอให้เสด็จไปราชการทัพคราวนี้ หากประสบความส�ำเร็จและเสด็จกลับมาโดยสวัสดิภาพ
จะสร้างวัดถวายให้ใหม่ ครั้นเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว ก็ทรงเริ่มปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งหมด ได้เสด็จ
มาประทับคุมงานและตรวจตราการก่อสร้างด้วยพระองค์เอง แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การแพทย์แผนไทย พระองค์ได้ให้เหล่านักปราชญ์รวบรวมและคัดเลือกสรรพความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย
ส่วนหนึ่งมาจารึกประดับเป็นแผ่นหินอ่อน สีเทารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างยาว ด้านละ ๓๓ เซนติเมตร ติดประดับ
อยู่ที่ผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสาราม
ราชวรวิหาร ต�ำราดังกล่าวประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ๒๕59 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓3 ตอนพิเศษ 93 ง วันที่ 22 เมษายน ๒๕59
ยาแก้ลมอัตพังคีวาโย ประกอบด้วย หอมแดง 1 คนทีสอ 1 ตาเสือ 1 พริกล่อน 1 กัญชา 1 ปีบ 1 วิธีท�ำ
ท�ำผงน�้ำส้มสายชูเป็นกระสาย ปั้นลูกกลอนกิน ทุกวันหาย นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาแก้ลมอัตพังคีวาโยที่มีการคัดลอก
ในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 75
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดราชโอสารามราชวรวิหาร
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ลมหมู่หนึ่งชื่อ อัตพังคีวาโย มันย่อมให้เจ็บกระหม่อม เจ็บทั่วสารพางค์ศีรษะขึ้นแต่ฝ่าเท้าตลอด
ถึงกระหม่อม ถ้าเกิดผู้ใด ผู้นั้นอายุไม่ยืนเลย ถ้าจะแก้ เอา หอมแดง ๑ คนทีสอ ๑ ตาเสือ ๑ พริกล่อน ๑
กัญชา ๑ ปีบ ๑ ท�ำผงน�้ำส้มสายชูเป็นกระสาย ปั้นลูกกลอนกิน ทุกวันหาย ๚

76 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ลมอัตพังคีวาโย (ศาลานวด)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 77
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะก�ำเนิดแห่งลมอันชื่อว่า อัตพังคีวาโย เป็นค�ำรบ ๘ นั้น เกิดแต่อโธคมาวาต
ก�ำเริบกล้า พัดขึน้ มาตลอดกระหม่อมกระท�ำให้เจ็บในกระหม่อม ดุจบุคคลเอาเข็มไปสักลงทัว่ ทัง้ ศีรษะแลสารพางค์กาย
ครั้นเดือนขึ้น ๆ ตามเดือน ครั้นเดือนแรม ลงตามเดือน ขึ้นแต่ฝ่าเท้าเป็นอาทิ ลมกองนี้ถ้าเกิดแต่บุคคลใด ผู้นั้น
อายุมิยืนเลย ฯ จึงพระฤๅษีสุรเทพให้แต่งยานี้แก้
เอา หอมแดง ใบคนทีสอ เปลือกตาเสือ พริกล่อน กัญชา ใบปีบ เอาเสมอภาค ท�ำเป็นจุณ บดละลาย
น�้ำส้มสายชูกินหนัก ๑ สลึง แก้ลมอัตพังคีวาโย ซึ่งท่านกล่าวไว้ว่า ๕ วันนั้นหายดีนัก ฯ

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาฤาษีสุรเทพ เอา หอมแดง ใบคนทีสอ เปลือกตาเสือ พริกไทยล่อน กัญชา ใบปีบ เอาเสมอภาค
ท�ำเป็นจุณ บดละลายน�้ำส้มสายชู กินหนัก ๑ สลึง แก้ลม

78 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาน�้ำมันละลอกพระสมุทร
ยาน�ำ้ มันละลอกพระสมุทร เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
(วัดโพธิ์) ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต
รวบรวม ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษา
มาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใด ๆ
ใครมีใจรักวิชาใดก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ต�ำรา
การแพทย์การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้
ตามบริเวณผนังคอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑป
ภายในวัด ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์
ว่าด้วยเรื่อง ต�ำรานวด ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา
ชื่อโรค รวมทั้งต�ำราว่าด้วยสรรพคุณยาทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็นความรู้
สืบทอดมาแต่โบราณจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8
และการประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาน�้ำมันละลอกพระสมุทร
ประกอบด้วย บอระเพ็ด เปลือกมะรุม ตูมกาแดง รากเสนียด รากอังกาบ รากขัดมอน กลอย ลูกขี้กาแดง พันงูแดง
ไคร้หางนาค แห้วหมู ขมิ้นอ้อย ใบบวบขม ข่าลิง แสนประสะต้น ช้าเกลือ ใบกะเม็ง หัวบอนแดง สันพร้านางแอ
จอกใหญ่ กัญชา เอาน�้ำสิ่งละทะนาน น�้ำมันงาทะนาน ๑ หุงให้คงแต่น�้ำมัน แล้วจึงเอาลูกจันทน์ ดอกจันทน์
กระวาน กานพลู เทียนเยาวพาณี เทียนด�ำ เทียนขาว สิ่งละ ๑ สลึง ท�ำเป็นจุณปรุงลงในน�้ำมันทั้งกินทั้งทา
สรรพคุณ แก้ลมอัตพังคีวาโย นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาน�้ำมันละลอกพระสมุทร ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณ
เล่มอื่น ๆ เช่น
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 79
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ลมอัตพังคีวาโย (ศาลานวด)

80 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะก�ำเนิดแห่งลมอันชื่อว่า อัตพังคีวาโย เป็นค�ำรบ ๘ นั้น เกิดแต่อโธคมาวาต
ก�ำเริบกล้า พัดขึน้ มาตลอดกระหม่อมกระท�ำให้เจ็บในกระหม่อม ดุจบุคคลเอาเข็มไปสักลงทัว่ ทัง้ ศีรษะแลสารพางค์กาย
ครั้นเดือนขึ้น ๆ ตามเดือน ครั้นเดือนแรม ลงตามเดือน ขึ้นแต่ฝ่าเท้าเป็นอาทิ ลมกองนี้ถ้าเกิดแต่บุคคลใด ผู้นั้น
อายุมิยืนเลย ฯ จึงพระฤๅษีสุรเทพให้แต่งยานี้แก้
ยาน�้ำมันชื่อละลอกพระสมุท ร เอา บอระเพ็ ด เปลื อ กมะรุ ม ตู ม กาแดง รากเสนี ย ด รากอั ง กาบ
รากขัดมอน กลอย ลูกขี้กาแดง พันงูแดง ไคร้หางนาค แห้วหมู ขมิ้นอ้อย ใบบวบขม ข่าลิง แสนประสะต้น ช้าเกลือ
ใบกะเม็ง หัวบอนแดง สันพร้านางแอ จอกใหญ่ กัญชา เอาน�้ำสิ่งละทะนาน น�้ำมันงาทะนาน ๑ หุงให้คงแต่น�้ำมัน
แล้วจึงเอาลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู เทียนเยาวพาณี เทียนด�ำ เทียนขาว สิ่งละ ๑ สลึง ท�ำเป็นจุณ
ปรุงลงในน�้ำมันทั้งกินทั้งทา แก้ลมอัตพังคีวาโยนั้นหายวิเศษนัก ฯ

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาละลอกพระสมุทร เอา บอระเพ็ด เปลือกมะรุม ตูมกาแดง รากเสนียด รากอังกาบ รากขัดมอน
กลอย ลูกขี้กาแดง พันงูแดง ไคร้หางนาค แห้วหมู ขมิ้นอ้อย ใบบวบขม ข่าลิง แสนประสะต้น ช้าเครือ ใบกะเม็ง
หัวบอนแดง เฉียงพร้านางแอ จอกใหญ่ กัญชา ต�ำคั้นกับน�้ำ เอาน�้ำสิ่งละ ๑ ทะนาน น�้ำมันงา ๑ ทะนาน หุงให้คง
แต่น�้ำมัน แล้วเอาลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู เทียนเยาวพาณี เทียนด�ำ เทียนขาว สิ่งละ ๑ สลึง
ท�ำเป็นจุณ ปรุงลงในน�้ำมัน ทั้งกินทั้งทา แก้ลม

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 81
ยาแก้ลมยักขินีวาโย
ยาแก้ลมยักขินวี าโย เป็นต�ำรับยาอยูใ่ นศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ)์
ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวม
ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตรา
แก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใด ๆ ใครมีใจรัก
วิชาใดก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ต�ำราการแพทย์
การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามบริเวณผนัง
คอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด ซึ่งจะให้เป็น
แหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์ ว่าด้วยเรื่อง ต�ำรานวด
ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา ชื่อโรค รวมทั้งต�ำราว่าด้วย
สรรพคุณยาทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็นความรู้สืบทอดมาแต่โบราณ
จ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนด
ให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8 และการประกาศ
ก�ำหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63 ลงประกาศ
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาแก้ลมยักขินีวาโย ประกอบด้วย
โกฐสอ โกฐเขมา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู ลูกปราย สิ่งละ ๒ ส่วน บุกรอ กลอย อุตพิด กระดาดแดง
กัญชา ขิงแห้ง กระชาย แห้วหมู ดองดึง ผักแพวแดง บอระเพ็ด ว่านน�้ำ หัสคุณเทศ เปล้าน้อย รากจิงจ้อใหญ่
ใบสะเดา ใบสวาด สิ่งละ ๔ ส่วน พริกไทย ๘๖ ส่วน วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำผึ้งรวงกินหนัก ๑ สลึง สรรพคุณ
แก้ลมยักขินีวาโย นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยายาแก้ลมยักขินีวาโย ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 230 ชื่อ ตํารายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม

ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 244 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

82 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ลมยักขินีวาโย (ศาลาวิมังสา)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 83
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิ ท ธิ ก าริ ย ะ จะกล่ า วลั ก ษณะก� ำ เนิ ด แห่ ง ลมอั น ชื่ อ ว่ า ยั ก ขิ นี ว าโยเป็ น ค� ำ รบ ๑๔ นั้ น เกิ ด แต่
กองสัณฑะฆาตกระท�ำให้เสียดอกแลชายโครงมิทรงตัวขึ้นได้ มักให้ตัวโก่งแข็งเป็นเกลียว ให้เสียดสองราวข้าง
แล้วแล่นขึ้นไปจับเอาต้นลิ้นแลไรฟันกระบอกตา กระท�ำให้เจรจามิชัด มักเป็นร�ำมะนาดแลให้จักษุมืดดังกล่าวมานี้
ถ้าบังเกิดแต่บุคคล ผู้ใดถอยอายุ ฯ
ขนานหนึ่ง เอาโกฐสอ โกฐเขมา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู ลูกปราย สิ่งละ ๒ ส่วน บุกรอ
กลอย อุตพิด กระดาดแดง กัญชา ขิงแห้ง กระชาย แห้วหมู ดองดึง ผักแพวแดง บอระเพ็ด ว่านน�้ำ หัสคุณเทศ
เปล้าน้อย รากจิงจ้อใหญ่ ใบสะเดา ใบสวาด สิ่งละ ๔ ส่วน พริกไทย ๘๖ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดละลายน�้ำผึ้งรวงกิน
หนัก ๑ สลึง แก้ลมยักขินีวาโย อันบังเกิดแต่กองสัณฑะฆาตหายดีนัก ฯ

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอาโกฐสอ โกฐเขมา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู ลูกปราย สิ่งละ ๒ ส่วน บุกรอ กลอย อุตพิด
กระดาดแดง กัญชา ขิงแห้ง กระชาย แห้วหมู ดองดึง ผักแพวแดง บอระเพ็ด ว่านน�้ำ หัสคุณเทศ เปล้าน้อย
รากจิงจ้อใหญ่ ใบสะเดา ใบสวาด สิ่งละ ๔ ส่วน พริกไทย ๘๖ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดละลายน�้ำผึ้งรวงกินหนัก ๑ สลึง
แก้ลม

84 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อมิกรคุณ ขนานนี้ ท่านให้เอา บุกรอ ๑ บาท กลอย ๑ บาท อุตพิด ๑ บาท กระดาดแดง ๑ บาท
กัญชา ๑ บาท ขิงแห้ง ๑ บาท กระชาย ๑ บาท แห้วหมู ๑ บาท ดองดึง ๑ บาท ผักแพวแดง ๑ บาท
บอระเพ็ด ๑ บาท ว่านน�้ำ ๑ บาท สหัสคุณ ๑ บาท เปล้าน้อย ๑ บาท รากจิงจ้อใหญ่ ๑ บาท ใบสะเดา ๑ บาท
ใบสวาด ๑ บาท โกฐสอ ๒ สลึง โกฐเขมา ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๒ สลึง ดอกจันทน์ ๒ สลึง กระวาน ๒ สลึง
กานพลู ๒ สลึง ลูกปราย ๒ สลึง ศิริยา ๒๔ สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ เอาพริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ละลายน�้ำผึ้งรวงกิน
เท่าผลพุทรา แก้ลมจับตาให้ตามัวจับเอี้ยวให้เอี้ยวเมื่อย แลลมตะคริวจับเข่าให้เข่าเมื่อย แลลมให้นอนมิหลับ
แลลมกษัยแล่นไปทั่วทั้งตัว แลลมให้เขม่นทั้งตัว แลลมให้เสียดถ่วงแทงสองสีข้างแลเจ็บท้อง แลลมอัมพาตราชยักษ์
แลลมปัตคาด แก้ฝีในท้อง แลฝีมานทะลุน หายวิเศษนัก ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 85
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อมิศคุณ ท่านให้เอา บุกรอ ๑ กลอย ๑ อุตพิด ๑ กัญชา ๑ ขิง ๑ กระดาดแดง ๑ กระชาย ๑
แห้วหมู ๑ ดองดึง ๑ ใบสะเดา ๑ หัสคุณ ๑ ใบสวาด ๑ เปล้าน้อย ๑ รากจิงจ้อ ๑ ผักแพวแดง ๑ บอระเพ็ด ๑
ว่านนํ้า ๑ ทั้งนี้ สิ่งละ ๑ บาท โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ลูกกราย
พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำผงละลายนํ้าผึ้ง ลม ๑๐๘ จ�ำพวก หาย ๚

86 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย
ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
(วัดโพธิ์) ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต
รวบรวม ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษา
มาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูล
ชั้นใด ๆ ใครมีใจรักวิชาใดก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม
ต�ำราการแพทย์การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้
ตามบริเวณผนังคอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑป
ภายในวัด ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์
ว่าด้วยเรื่อง ต�ำรานวด ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา
ชื่อโรค รวมทั้งต�ำราว่าด้วยสรรพคุณยาทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็นความรู้
สืบทอดมาแต่โบราณจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8
และการประกาศก�ำหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย
ประกอบด้วย กัญชา ๑ ดีปลี ๑ พริกไทย ๑ ขิงแห้ง ๑ ขอบชะนางทั้ง ๒ ตานหม่อน ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์
สมุลแว้ง ๑ อบเชย ๑ กานพลู ๑ เอาเสมอภาค วิธีท�ำ ภาค ท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำผึ้งกินหนัก ๑ สลึง ให้กินเช้าเย็น
อาจารย์ท่านกล่าวไว้วา่ ให้กิน ๗ วัน สรรพคุณ ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาแก้ลมเนาวนารีวาโย
ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช

ร.ศ. ๑๒6

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 87
ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) แผ่นที่สูญหาย
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะก�ำเนิดแห่งลม อันชื่อว่าเนาวนารีวาโย เป็นค�ำรบ ๑๘ นั้น เกิดแต่
กองปัตคาดปลายสัณฑะฆาตเจือกัน กล่าวคือจับต้นคอเป็นต้นก็ดี ในล�ำคอก็ดี เหตุว่าแล่นถึงกันมักบังเกิดแก่
สตรีทรงครรภ์ กระท�ำให้ปลายมือปลายเท้า ดุจปลาดุกยอก แล้วขึ้นมาจับเอาต้นคอให้คอแข็ง จะเบือนคอก็มิได้
สมมติวา่ คอแข็ง แล้วกระท�ำพิษให้ร้อนเป็นก�ำลัง จึงพระฤาษีเพทะกะเทพให้แต่งยานี้
แก้เอา กัญชา ๑ ดีปลี ๑ พริกไทย ๑ ขิงแห้ง ๑ ขอบชะนางทั้ง ๒ ตานหม่อน ๑ ลูกจันทน์ ๑
ดอกจั น ทน์ สมุ ล แว้ ง ๑ อบเชย ๑ กานพลู ๑ เอาเสมอภาค ท� ำ เป็ น จุ ณ บดละลายน�้ ำ ผึ้ ง กิ น หนั ก ๑ สลึ ง
ให้กินเช้าเย็น อาจารย์ท่านกล่าวไว้วา่ ให้กิน ๗ วันหายวิเศษนัก ฯ

ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาฤาษีเทพกะเทพ เอา กัญชา ดีปลี พริกไทย ขิงแห้ง ขอบชะนางทั้งสอง ตานหม่อน ลูกจันทน์
ดอกจันทน์ สมุลแว้ง อบเชย กานพลู เอาเสมอภาค ท�ำเป็นจุณ บดละลายน�้ำผึ้งกินหนัก ๑ สลึง กินเช้าเย็น
ว่ากิน ๗ วัน แก้ลมหาย

88 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาท�ำลายพระเมรุ
ยาท�ำลายพระเมรุ เป็นต�ำรับยาอยู่ในต�ำราสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นต�ำรา
ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสมั ย รั ช กาลที่ 5 เป็ น ต� ำ รั บ ยาเล่ ม แรกของสภากาชาดไทยที่ ใช้ ใ นการรั ก ษาการสู ้ ร บระหว่ า งไทย
กับฝรัง่ เศส กรณีพพิ าทดินแดนฝัง่ แม่นำ�้ โขง (เหตุวกิ ฤติการณ์ ร.ศ. 112) มีทหารและชาวบ้านบาดเจ็บเป็นจ�ำนวนมาก
แต่ขาดแคลนยา จึงมีองค์การกุศล ในนาม “สภาอุณาโลมแดง” ช่วยกันรวบรวมต�ำรายาไทยเพื่อท�ำการผลิต
และปรุงยาส่งไปใช้รักษาทหารและชาวบ้าน จนเมื่อเหตุการณ์สงบ จึงมีการรวบรวมเป็นเล่มไว้ใช้สืบต่อกันมา
ต�ำราสภาอุณาโลมแดง ประกาศกําหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. ๒๕60 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓4 ตอนพิเศษ 141 ง วันที่ 25 พฤษภาคม
๒๕60 ยาท�ำลายพระเมรุ ประกอบด้วย ลูกจันทน์ 1 เฟื้อง ดอกจันทน์ 1 สลึง กระวาน 1 สลึง 1 เฟื้อง กานพลู
2 สลึง เกลือสินเธาว์ 2 สลึง 1 เฟื้อง ว่านน�้ำ 3 สลึง โกฐสอ 3 สลึง 1 เฟื้อง โกฐเขมา 1 บาท เทียนด�ำ 3 บาท
1 เฟื้อง เทียนแดง 1 บาท 3 สลึง เทียนตาตั๊กแตน 1 บาท 2 สลึง เทียนขาว 1 บาท 1 สลึง เทียนข้าวเปลือก 1 บาท
2 สลึง ขิง 1 บาท 3 สลึง เจตมูล 2 บาท 2 สลึง สมอไทย 2 บาท 3 สลึง สมอเทศ 2 บาท 3 สลึง 1 เฟื้อง
ดีปลี 3 บาท 2 สลึง บุกรอ 3 บาท 3 สลึง หัสคุณเทศ 7 ต�ำลึง 3 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง กัญชา 2 บาท 1 สลึง
พริกล่อน 5 ต�ำลึง 3 บาท 3 สลึง 1 เฟื้อง การบูร 2 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง วิธีท�ำ กระท�ำเป็นจุณ น�้ำผึ้ง น�้ำอ้อยแดง
น�้ำส้มซ่า ก็ได้ กินเป็นลูกกลอนหนัก 1 สลึง ระบาย ถ้าธาตุหนักกินหนัก 1 สลึง 1 เฟื้อง สรรพคุณ แก้ลมจุกเสียด
ลมเมื่อยขบในร่างกาย ลมเปลี่ยวด�ำ ลมอัมพฤกษ์อัมพาต นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาท�ำลายพระเมรุ ที่มีการคัดลอก
ในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 33 ชื่อ คัมภีร์สังคหะ เล่ม 2

❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 230 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 232 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 236 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 242 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยขาว เลขที่ 269 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 278 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 282 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 302 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 339 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 516 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ เจ้าพระยามุขมนตรี
(อวบ) ให้หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2473
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 560 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 89
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 566 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ หลวงแกล้ว
กาญจนเขตร (ม.ร.ว.คอย อรุณวงศ์ ณ อยุธยา) ให้หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2471
❀ เอกสารโบราณประเภทหนั ง สื อ สมุ ด ไทยด� ำ เลขที่ 574 ชื่ อ ต� ำ รายาเกร็ ด ประวั ติ นายรอด
ให้หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2473
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยขาว เลขที่ 630 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ดต่าง ๆ ประวัติ นายเสงี่ยม
พงษ์บุญรอด ให้หอสมุดแห่งชาติ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2494
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยขาว เลขที่ 666 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
ยาท�ำลายพระเมรุ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ยาท�ำลายพระสุเมรุ ยาพระอานนท์ ยาท�ำลายเขา
พระสุเมรุใหญ่ ยาไพศาลี ยาราคาค่าทอง ยาตุ้มทองใหญ่ ยาแก้สารพัดโรค เป็นต้น

90 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. ๑๑๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือเอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ท�ำลายพระเมรุ แก้ลม 108 จ�ำพวก แก้ไส้เลื่อน 5 จ�ำพวก แก้ท้องมาน 5 จ�ำพวก แก้ลมพานไส้
5 จ�ำพวก แก้กุฏฐัง 5 จ�ำพวก แก้เสมหะ 10 จ�ำพวก แก้ตาฟางหูตึง แก้ลมบาทจิตร 5 จ�ำพวก แก้เสียดแทง
เมื่อยขบ แก้ลมชักสะดุ้ง ลมปัตคาด ลูกจันทน์ 1 เฟื้อง ดอกจันทน์ 1 สลึง กระวาน 1 สลึง 1 เฟื้อง กานพลู 2 สลึง
เกลือสินเธาว์ 2 สลึง 1 เฟื้อง ว่านน�้ำ 3 สลึง โกฐสอ 3 สลึง 1 เฟื้อง โกฐเขมา 1 บาท เทียนด�ำ 3 บาท 1 เฟื้อง
เทียนแดง 1 บาท 3 สลึง เทียนตาตั๊กแตน 1 บาท 2 สลึง เทียนขาว 1 บาท 1 สลึง เทียนข้าวเปลือก 1 บาท 2 สลึง
ขิง 1 บาท 3 สลึง เจตมูล 2 บาท 2 สลึง สมอไทย 2 บาท 3 สลึง สมอเทศ 2 บาท 3 สลึง 1 เฟื้อง ดีปลี 3 บาท
2 สลึง บุกรอ 3 บาท 3 สลึง หัสคุณเทศ 7 ต�ำลึง 3 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง กัญชา 2 บาท 1 สลึง พริกล่อน 5 ต�ำลึง
3 บาท 3 สลึง 1 เฟื้อง การบูร 2 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง กระท�ำเป็นจุณ น�้ำผึ้ง น�้ำอ้อยแดง น�้ำส้มซ่าก็ได้ กินเป็น
ลูกกลอนหนัก 1 สลึง ระบาย ถ้าธาตุหนักกินหนัก 1 สลึง 1 เฟื้อง วิเศษนัก ดังกล่าวมาแล้วแต่หลัง ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 91
ชื่อเอกสาร คัมภีร์สังคหะ เล่ม ๒
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๓๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

92 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อราคาค่าทอง ท่านให้เอา ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๒ สลึง
ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ผลพิลังกาสา ๓ สลึง ว่านน�้ำ ๓ สลึง ๑ เฟื้อง โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท ๑ เฟื้อง
เทียนด�ำ ๑ บาท ๑ สลึง เทียนแดง ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนขาว ๑ บาท ๒ สลึง เทียนตาตั๊กแตน ๑ บาท ๒ สลึง
๑ เฟื้อง เทียนข้าวเปลือก ๑ บาท ๓ สลึง ขิงแห้ง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เจตมูล ๒ บาท สมอไทย ๒ บาท ๑ เฟื้อง
สมอเทศ ๒ บาท ๑ สลึง บุกรอ ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง การบูร ๒ บาท ๒ สลึง ใบกัญชา ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง
หัสคุณ ๗ ต�ำลึง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง พริกไทย ๑๔ ต�ำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง รวมยา ๒๓ สิ่งนี้ ต�ำเป็นจุณ
ละลายน�้ำผึ้งรวง น�้ำอ้อยแดง น�้ำนมโคก็ได้ น�้ำมันเนยก็ได้ กินเช้า กินเย็น แก้ท้องมาน แก้พุงโร แก้กษัยกล่อน
แลไส้เลื่อน แก้หืด ๒๐ จ�ำพวก แก้ริดสีดวง ๒๐ จ�ำพวก แก้มะเร็ง คุดทะราด แก้พยาธิซึ่งกระท�ำให้เมื่อยขบ
ทั่วสารพางค์กาย แลให้วิงเวียนศีรษะ แก้ลมให้ชัก ปากเบี้ยว ตาแหก แก้ลมปัตคาด ราทยักษ์ ชักสะดุ้งเต้น
ทั่วสารพางค์กาย แลลมอัศวาตให้ธาตุทั้ง ๔ นั้นหย่อน ให้แปรปรวนบังเกิดนั้นต่าง ๆ แลแก้ลมเป็นก้อนในอุทร
ให้กลิ้งขึ้นกลิ้งลงให้เป็นดาน แลมักท�ำให้ขึ้งโกรธ มักซึมเศร้า หาวนอน แลแก้ลมนอนมิหลับ ให้แสบไส้พุง
เกิ ด เสมหะ เกิ ด โลหิ ต เพื่ อ ลมกรรมชวาตนั้ น ถ้ า แลบุ ค คลผู ้ ใ ดได้ เ สพยานี้ แ ล้ ว อาจบ� ำ บั ด เสี ย ซึ่ ง โรคาพยาธิ
ให้ฉิบหายแล เจริญซึ่งก�ำลังเป็นอันมาก พระต�ำรานี้ทา่ นคิดปริศนาได้ตุ่มหนึ่ง ท่านจารึกไว้ในแผ่นทอง พระมหาฤๅษี
นารอด ท่านบอกให้ไว้เป็นทานในโลกนี้ แก่บุรุษ แก่สตรี แต่หนุ่มแลปานกลาง ท่านทั้งหลายเร่งท�ำบริโภคเถิด
เป็นมหาวิเศษนัก อย่าสนเท่ห์เลย ๚ะ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 93
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

94 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อตุ้มทองใหญ่ ขนานนี้ ท่านให้เอา ลูกจันทน์ ๑ เฟื้อง ดอกจันทน์ ๑ เฟื้อง กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง
กานพลู ๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง ๓ เฟื้อง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง ว่านน�้ำ ๓ สลึง ๑ เฟื้อง โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท
๑ เฟื้อง เทียนด�ำ ๑ บาท ๑ สลึง เทียนแดง ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนขาว ๑ บาท ๒ สลึง เทียนตาตั๊กแตน
๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนแกลบ ๑ บาท ๓ สลึง เทียนข้าวเปลือก ๑ บาท ๓ สลึง ขิงแห้ง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง
เจตมูล ๒ บาท สมอไทย ๒ บาท ๑ เฟื้อง สมอเทศ ๒ บาท ๑ สลึง บุกรอ ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง การบูร ๒ บาท
๒ สลึง ใบกัญชา ๑ ต�ำลึง ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง หัสคุณเทศ ๗ ต�ำลึง ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง พริกล่อน ๔ ต�ำลึง
๓ บาท ๑ สลึง ถ้าไม่ได้พริกล่อนให้เอา พริกไทย ๑๕ ต�ำลึง ศิริยา ๒๓ สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งรวง น�้ำอ้อยแดง
น�้ำนมโค น�้ำมันเนยก็ได้กินเช้ากินเย็น แก้ท้องมานพุงโร กษัยกล่อน ไส้เลื่อน แลแก้หืด ๒๐ จ�ำพวกแล แก้ริดสีดวง
๒๐ จ�ำพวกแล แก้ผิวเนื้อสาก เนื้อซีด เนื้อชา ๒๐ จ�ำพวก แลแก้กามทุจริต ๒๐ จ�ำพวก แลแก้ตามืด หูตึง
และเดินมักให้เจ็บสะโพก ให้เสียดสันหลัง แลแก้สองขาเป็นเหน็บชา แก้ลมจุกเสียด แลลมยอดอก แลลมอาเจียน
๒๐ จ�ำพวก แลแก้มะเร็งคุดทะราด แลพยาธิซึ่งท�ำให้เมื่อยขบทั่วสารพางค์ตัว แลให้วิงเวียนศีรษะ แลแก้ลมให้
สีปากเขียว ตาแหก แลลมปัตคาด ราชยักษ์ สะดุ้งเต้นสารพางค์ตัว แลลมอัศวาตให้ธาตุทั้ง ๔ นั้นหย่อน ให้แปรปรวน
บังเกิดโรคนั้นต่าง ๆ แลแก้ลมเป็นก้อนไฟในอุทร ให้กลิ้งขึ้นลงบ้างให้เป็นดานบ้าง แลแก้ลมมักกระท�ำให้ขึงโกรธ ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 95
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาราคาค่าทอง ลูกจันทน์ ๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๒ สลึง ดีปลี
๒ สลึง ๑ เฟื้อง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง ว่านน�้ำ ๓ สลึง ๑ เฟื้อง โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท ๑ เฟื้อง เทียนด�ำ
๑ บาท ๑ สลึง เทียนแดง ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนขาว ๑ บาท ๒ สลึง เทียนตาตั๊กแตน ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง
เทียนข้าวเปลือก ๑ บาท ๓ สลึง ขิงแห้ง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เจตมูล ๒ บาท สมอไทย ๒ บาท ๑ เฟื้อง
สมอเทศ ๒ บาท ๑ สลึง บุกรอ ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง การบูร ๒ บาท ๒ สลึง กัญชา ๑ ต�ำลึง ๒ บาท ๒ สลึง
๑ เฟื้อง หัสคุณเทศ ๗ ต�ำลึง ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง พริกไทย ๑๕ ต�ำลึง ศิริยา ๒๓ สิ่ง ๚

96 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๖
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ท่านให้เอา พริกไทย หนัก ๒ ต�ำลึง ๒ บาท ขิงแห้ง ๒ ต�ำลึง ๒ บาท เจตมูลเพลิง ๒ ต�ำลึง ๒ บาท
บุกรอ ๑ ต�ำลึง ๒ สลึง กลอย ๒ สลึง อุตพิด ๒ สลึง รากจิงจ้อ ๓ สลึง รากส้มกุ้ง ๓ สลึง เปล้าน้อย ๓ สลึง เปล้าใหญ่
๓ สลึง สะค้าน ๓ สลึง พาดไฉน ๓ สลึง หัสคุณเทศ ๑ บาท ลูกจันทน์ ๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง
กานพลู ๑ สลึง เทียนทั้ง ๕ เอาสิ่งละ ๑ สลึง โกฐสอ ๑ สลึง โกฐเขมา ๑ สลึง โกฐเชียง ๑ สลึง โกฐหัวบัว ๑ สลึง
โกฐพุงปลา ๑ สลึง สมุลแว้ง ๑ สลึง ดีปลี ๑ สลึง ชะเอมเทศ ๑ สลึง ใบพิมเสน ๑ สลึง กัญชา ๑ สลึง แก่นแสมทะเล
๑ สลึง ต�ำเป็นผง ละลายนํ้าผึ้ง นํ้าส้มซ่า นํ้าร้อน แก้ลม ๑๖ จ�ำพวก แก้ริดสีดวง หืดไอ ผอมแห้ง ท้องมาน และกษัย

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 97
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๖๙
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

98 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ เอาลูกจันทน์ ๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง
๑ เฟื้อง เกลือสินเธาว์ ๓ สลึง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง ๑ เฟื้อง อ�ำพัน ๑ บาท โกฐสอ ๑ บาท ๑ เฟื้อง โกฐเขมา ๑ บาท
๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนแดง ๖ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนตาตั๊กแตน ๗ สลึง เทียนแกลบ ๗ สลึง ๑ เฟื้อง ขิงแห้ง ๒ บาท
เจตมูล ๒ บาท ๑ เฟื้อง ลูกสมอไทย ๕ สลึง สมอเทศ ๙ บาท ๑ เฟื้อง บุกรอ ๑๐ สลึง การบูร ๑๐ สลึง ๑ เฟือ้ ง
หัสคุณเทศ ๗ สลึง พริกไทย ๗ ต�ำลึง ๒ บาท ใบกัญชา ๘ ต�ำลึง ๓ บาท ยาทั้งนี้ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำผึ้งกินก็ได้ด้วย
น�้ำนมโคก็ได้ คุลีการท�ำเมื่อเพ็ญวันจันทร์ ต�ำรานี้ทา่ นสรรไว้ส�ำหรับโรคทั้งหลาย ถ้าท้องใหญ่ ท้องมาน ตามืด ตาฟาง
เดินไม่ได้ เจ็บสะโพก เสียดสันหลัง ลุกขึ้นไม่ได้ ให้หนักตัวเป็นขีเ้ รือ้ นมะเขือ ขีเ้ รือ้ นมะกรูด ขีเ้ รือ้ นน�ำ้ เต้า ขีเ้ รือ้ นมะเร็ง
ขีเ้ รือ้ นคางคก ขีเ้ รือ้ นกุฏฐัง ขีเ้ รือ้ นแรด ขีเ้ รือ้ นกลากเกลือ้ นทั้งปวง แลพยาธิพิษคชราช ฝีกวาดมะเร็งทั้งปวงก็หาย
ลมมือตายตีน ตายทั้งตัว ปวดหัวตา แหกปากเบี้ยว เจ็บคอ ลมปัตคาด ราทยักษ์ ลมให้เต้นให้ร�ำให้หัว ลมให้เขม่นตา
แลเจ็บตา เจ็บอก จุกอก สารพัดพิษซาง เป็นหืดไอทั้งปวง ลมมักให้ด่ากัน มักให้โกรธกัน มักหึงผู้หญิง หญิงมักหึงผัว
ด่าพ่อตีแม่ก็หาย ลมจับหัวใจมักให้นอนเป็นไส้กล่อนก็หาย ลมให้ป่วนไส้พุงก็หาย ผู้ใดได้กินยานี้มีก�ำลังเท่าช้างสาร
อายุยืนได้ ๑,๐๐๐ ปี ต�ำรานี้ท่านคิดปริศนาได้ไว้ทองขุมหนึ่งท่านคิดได้ ได้แต่ต�ำรานี้ท่านเขียนไว้กับแผ่นทอง ถ้าผู้ใด
ได้พบให้บอกกันสืบ ๆ กันไป ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์ เมื่อจะกินยานั้นให้ถือศีล 5 แล้วกินกระยาบวช ๗ วัน อย่ากิน
ของคาวจงส�ำเร็จที่ความปรารถนา ถ้าผู้ใดกินยานี้แล้วโรคทั้งปวงมิหาย ก็ให้ตูผู้ชื่อฤๅษีพรหมนาไตรนี้ไปตกนรกเถิด
ท่านทั้งปวง อย่าได้สนเท่ห์เลย ได้ท�ำแก้ริดสีดวงแล้วดีนักแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 99
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

100 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อราคาค่าทอง ท่านให้เอา ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๒ สลึง
ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ผลพิลังกาสา ๓ สลึง ว่านน�้ำ ๓ สลึง ๑ เฟื้อง โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท ๑ เฟื้อง
เทียนด�ำ ๑ บาท ๑ สลึง เทียนแดง ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนขาว ๑ บาท ๒ สลึง เทียนตาตั๊กแตน ๑ บาท ๒ สลึง
๑ เฟื้อง เทียนข้าวเปลือก ๑ บาท ๓ สลึง ขิงแห้ง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เจตมูล ๒ บาท สมอไทย ๒ บาท ๑ เฟื้อง
สมอเทศ ๒ บาท ๑ สลึง บุกรอ ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง การบูร ๒ บาท ๒ สลึง ใบกัญชา ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง
หัสคุณ ๗ ต�ำลึง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง พริกไทย ๑๔ ต�ำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง รวมยา ๒๓ สิ่งนี้ ต�ำเป็นจุณ
ละลายน�้ำผึ้งรวง น�้ำอ้อยแดง น�้ำนมโคก็ได้ น�้ำมันเนยก็ได้ กินเช้า กินเย็น แก้ท้องมาน แก้พุงโร แก้กษัยกล่อน
แลไส้เลื่อน แก้หืด ๒๐ จ�ำพวก แก้ริดสีดวง ๒๐ จ�ำพวก แก้มะเร็ง คุดทะราด แก้พยาธิซึ่งกระท�ำให้เมื่อยขบ
ทั่วสารพางค์กาย แลให้วิงเวียนศีรษะ แก้ลมให้ชัก ปากเบี้ยว ตาแหก แก้ลมปัตคาด ราทยักษ์ ชักสะดุ้งเต้น
ทั่วสารพางค์กาย แลลมอัศวาตให้ธาตุทั้ง ๔ นั้นหย่อน ให้แปรปรวนบังเกิดนั้นต่าง ๆ แลแก้ลมเป็นก้อนในอุทร
ให้กลิ้งขึ้นกลิ้งลงให้เป็นดาน แลมักท�ำให้ขึ้งโกรธ มักซึมเศร้า หาวนอน แลแก้ลมนอนมิหลับ ให้แสบไส้พุง เกิดเสมหะ
เกิดโลหิต เพื่อลมกรรมชวาตนั้น ถ้าแลบุคคลผู้ใดได้เสพยานี้แล้วอาจน�ำบัดเสียซึ่งโรคาพยาธิให้ฉิบหายแล เจริญซึ่ง
ก�ำลังเป็นอันมาก พระต�ำรานี้ท่านคิดปริศนาได้ตุ่มหนึ่ง ท่านจารึกไว้ในแผ่นทอง พระมหาฤๅษีนารอด ท่านบอกให้ไว้
เป็นทานในโลกนี้ แก่บุรุษ แก่สตรี แต่หนุ่มแลปานกลาง ท่านทั้งหลายเร่งท�ำบริโภคเถิด เป็นมหาวิเศษนัก อย่าสนเท่ห์
เลย ๚ะ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 101
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒78
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลมต่าง ๆ ให้เจ็บหน้าอกแลเกลียวข้าง เส้นตึงแต่หัวหน่าวขึ้นมาหน้าอก ให้ปวดท้อง ให้เหียนราก
ให้ปวดหนังท้อง ให้น�้ำลายเป็นฟอง ถ่มน�้ำลายอยู่ยังรุ่งยังค�่ำ ลางทีให้ร้อน ลางทีให้หนาว ให้หน้ามืด ให้เวียน ให้วิง
แลลมกษัยกล่อน ๗ จ�ำพวก แก้โรคทั้งหลายก็หายแล ท่านให้เอา ลูกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง
กานพลู ๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เกลือสินเธาว์ ๑ สลึง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ล�ำพัน ๑ บาท โกฐสอ
๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท ๑ สลึง เทียนด�ำ ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนแดง ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนตาตั๊กแตน
๑ บาท ๒ สลึง เทียนแกลบ ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ขิงแห้ง ๒ บาท เจตมูลเพลิง ๒ บาท ลูกสมอไทย ๒ บาท ๑ สลึง
ลูกสมอเทศ ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง บุกรอ ๒ สลึง การบูร ๒ บาท หัสคุณเทศ ๒ บาท ๒ สลึง กัญชา ๗ ต�ำลึง
๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง รากต้นยาสูบ ๑ สลึง พริกไทย ๑๕ ต�ำลึง ๓ บาท ๑ สลึง ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำผึ้งรวงกิน
แก้โรคทั้งหลายหายสิ้นประเสริฐนักแล ท�ำแล้ว ๚

102 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 282
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 103
ค�ำอ่านปัจจุบัน
ยานี้ชื่อท�ำลายพระเมรุ เอา จันทน์ ๑ เฟื้อง ดอกจันทน์ ๑ เฟื้อง กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๒ สลึง
ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เกลือสินเธาว์ ๓ สลึง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ว่านน�้ำ ๑ บาท โกฐสอเทศ ๑ บาท
โกฐเขมา ๑ บาท ๑ สลึง เทียนด�ำ ๑ บาท ๑ สลึง 1 เฟื้อง เทียนขาว ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนแดง ๑ บาท
๓ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนตาตั๊กแตน ๒ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนข้าวเปลือก ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง ขิงแห้ง ๒ บาท
๓ สลึง ๑ เฟื้อง เจตมูลเพลิง ๓ บาท ๑ เฟื้อง สมอเทศ ๓ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง บุกรอ ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง
หัสคุณเทศ ๕ ต�ำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง กัญชา ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง ๑ เฟื้อง พริกล่อน ๑6 ต�ำลึง ๑ บาท ๓ สลึง
๑ เฟื้อง การบูร ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เป็นยา ๒๔ สิ่ง ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งก็ได้ น�้ำอ้อยแดงก็ได้ กินวัน ๒ เวลา
เพลาละ ๑ สลึง แก้สารพัดโรค ๕๐๐ จ�ำพวก แก้มารท้องใหญ่ ๕ จ�ำพวก แก้ไส้ลาม ๕ จ�ำพวก แก้ลม ๕ พวก
แก้กล่อน ๕ จ�ำพวก

104 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 302
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 105
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ต�ำรายาพระอานนท์ ท่านให้เอา ลูกจันทน์ 1 สลึง กระวาน 1 สลึง 1 เฟื้อง กานพลู 2 สลึง
ดีปลี 2 สลึง 1 เฟื้อง ลูกพิลังกาสา 2 สลึง ว่านน�้ำ 3 สลึง 1 เฟื้อง เกลือสินเธาว์ 1 บาท เทียนด�ำ 1 สลึง
เทียนแดง 1 สลึง 1 เฟื้อง เทียนตาตั๊กแตน 1 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง เทียนแกลบ 1 บาท 2 สลึง เทียนเยาวพาณี
1 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง การบูร 1 บาท 2 สลึง สมอไทย 5 บาท 2 สลึง สมอเทศ 2 บาท สมอพิเภก 2 บาท 1 เฟื้อง
โกฐสอ 2 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง โกฐเขมา 2 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง บุกรอ 2 บาท 1 สลึง ขิงแห้ง 2 บาท 2 สลึง
1 เฟื้อง เจตมูลเพลิงแดง 2 บาท 3 สลึง 1 เฟื้อง หัสคุณเทศ 1 ต�ำลึง 1 บาท กัญชา 1 ต�ำลึง 2 บาท
พริกไทยล่อน 2 ต�ำลึง 1 บาท เอาเคล้ากันเป็นยา 24 นี้ต�ำผงละลายน�้ำผึ้ง 1 น�้ำอ้อยแดง 1 นมโค 1 ก็ได้ กินหนัก
1 สลึง กินวันละ 3 เวลา อย่าให้ขาดได้เลย แก้สารพัดโรค 500 จ�ำพวก ท้องมาน 5 จ�ำพวก ไส้เลื่อน 5 จ�ำพวก หืด
ไอมองคร่อ 5 จ�ำพวก กุฏฐัง มะเร็ง 5 จ�ำพวก ตามืด ตาฟาง หูหนัก หูตึง 5 จ�ำพวก แลลมมักให้หลงลืม แลให้
เจ็บสะโพก จุกเสียด สลักอก คุดทะราด ฝีเพดาน ฝีล�ำคอในนอก แลลมมักให้ไอ ให้กระท�ำ ให้มัว แลลมมักให้ตัวสั่น
หัวสั่นไปทั่วสารพางค์กาย แลลมปัตคาด บาดทะยัก ลมหาวเรอ ให้รากให้สะอึก ลมอัคขมุขี ลมสัณฑะฆาต
ลมกุมภัณฑ์ยักษ์ ลมสะแกเวียน 107 จ�ำพวก เกิดในสารราชโทษเพราะโลหิตเสียพิการต่าง ๆ แลลมมักให้ทุ่มเถียงกัน
แลมักให้ หึงผัวหึงเมีย แลลมดีเดือด ดีพลุ่ง มักด่าพ่อแม่แล ลมให้วิตกวิจารณ์ นอนมิหลับ แลลมให้ง่วงเหงา หาวนอน
แลลมคัดอก พูดไม่ชัด ลิ้นกระด้าง คางแข็ง จุกกระผามม้ามย้อย เป็นง่อยเปลี้ยเสียพิกล กินข้าวน�้ำแลให้ปวดมวน
บวมฟกทุกประการ ถ้าได้กินยานี้หายแล พระต�ำรานี้พระพุทธเจ้าออกพระโอษฐ์โปรดประทานแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
บัดนี้พระองค์ก็สู่พระนิพพานแล้ว ฯ

106 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 339
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 107
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ ครั้งหนึ่งห่าลงเมืองไพสาลี คนทั้งหลายล้มตายเป็นอันมาก สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า
โปรดสัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสเรียกพระอานนท์มาแล้ว จึงบอกยาให้พระอานนท์ ในสรรพยานั้นให้เอา ลูกจันทน์ ๑ เฟื้อง
ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เกลือสินเธาว์ ๓ สลึง ลูกพิลังกาสา
๓ สลึง ๑ เฟื้อง ล�ำพัน หัวว่านน�้ำก็ได้ ๑ บาท โกฐสอ ๑ บาท ๑ เฟื้อง โกฐเขมา ๑ บาท ๑ สลึง เทียนด�ำ ๑ บาท
๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนแดง ๑ บาท ๒ สลึง เทียนขาว ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนตาตั๊กแตน ๑ บาท ๓ สลึง
เทียนข้าวเปลือก ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ขิงแห้ง ๒ บาท รากเจตมูลเพลิง ๒ บาท 1 เฟื้อง สมอไทย ๒ บาท ๑ สลึง
สมอเทศ ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง บุกรอ ๒ บาท ๒ สลึง หัสคุณเทศ ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง กัญชา ๒ บาท ๓ สลึง
พริกไทยล่อน ๑๕ ต�ำลึง ๒ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ศิริผสมยา ๒๓ สิ่งนี้ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งรวงก็ได้ น�้ำอ้อยแดง
ก็ได้ น�้ำนมโค ก็ได้ กินหนัก ๑ สลึง จงทุกวัน วันละ ๓ เพลา อย่าให้ขาด บ�ำบัดสารพันโรค ๕๐๐ จ�ำพวก หืดไอ
๑๔ จ�ำพวก กุฏฐัง ๕ จ�ำพวก แก้เสมหะ ๑๐ จ�ำพวก บ้าทุจริต ๙ จ�ำพวก จักษุฟาง จักษุมืด โสตหนัก โสตตึง วาโยมัก
ให้สติหลงลืม ให้เจ็บสะโพก จุกเสียด ขบสลักอก ขี้เรื้อน คุดทะราด เป็นฝีในล�ำคอ แลเพดาน ลมมักไอ จาม แก้วาโย
สะทก ตัวสั่นทั่วสารพางค์ ลมปัตคาด ราชยักษ์ ลมมักให้เรอ ราก สะอึก ลมทักขิณคุณ ลมประวาตคุณ ลมบาดทะยัก
ลมพานทยักษ์ ลมจ�ำปราบ ลมกุมภัณฑ์หลวง ลมสะแกเวียน ลมทั้ง ๗ จ�ำพวกนี้ เกิดเหตุโทษสันนิบาต แลโลหิตพิการ
ต่าง ๆ ลมมักทุ่มเถียงกันหึงผัว หึงเมีย ด่าบิดา มารดา ลมมักวิตกวิจารณ์ นอนมิหลับ มักง่วงเหงา หาวนอน ลมมักให้
ขัดเจ็บในอกในใจ ขัดล�ำคอ เจรจามิชัด ลมมักให้ปวดมวนไส้พุง เป็นป้าง จุกผาม ม้ามย้อย ง่อยเปลี้ย เสียขา ขัดต้นลิ้น
กินอาหารมักปะทะอก ฟกบวมทุกแห่ง รับประทานโอสถนีห้ ายแล ๚ พระต�ำรานี้ พระมหากรุณาเสด็จเข้าสูป่ รินพิ พาน
แล้ว พระอานนท์ก็บอกกล่าวให้ทานต่อ ๆ มา แก่ท้าวพระยาสามลราช จึงปรึกษากันฝังพระต�ำรานี้ไว้ให้เป็นทาน
แก่ประชาชนชีพราหมณ์ ด้วยว่ารักต�ำรับนี้ จึงพิกัดพระต�ำรานี้ ปานทองนพคุณตุ่มหนึ่ง จารึกพระอักษรนี้กับ
แผ่นสุพรรณบัฏใส่ตุ่มฝังไว้ยังเมืองอภัยสาลีเป็นปริศนา ถ้าผู้ใดคิดได้ ก็ว่าได้ทองตุ่มหนึ่ง พระร่วงคิดได้แต่ต�ำรานี้
ท่านจึงจ�ำแนกแจกให้ทานต่อ ๆ ไป ถ้าผู้ใดพบให้บอกกันต่อ ๆ ไป เพราะว่าให้ยาเป็นทาน ถ้าผู้ใดมิเชื่อพระต�ำรานี้
จะไปสู่อบายภูมิ ถ้าเราแกล้งกล่าวเท็จเป็นจริง ก็ให้เราตกไปดุจกันนั้นเถิดอายุ วัณโณ สุขัง พลัง ๚

108 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 516
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 109
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ขนานนี้ชื่อพระอานนท์ เอา ลูกจันทน์ 1 เฟื้อง ดอกจันทน์ 1 สลึง กระวาน 1 สลึง 1 เฟื้อง
กานพลู 2 สลึง ดีปลี 2 สลึง 1 เฟื้อง เกลือสินเธาว์ 3 สลึง ลูกพิลังกาสา 3 สลึง 1 เฟื้อง ว่านน�้ำ 1 บาท
โกฐสอ 1 บาท โกฐเขมา 1 บาท 1 สลึง เทียนด�ำ 1 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง เทียนแดง 1 บาท 2 สลึง
เทียนขาว 1 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง เทียนตาตั๊กแตน 1 บาท 3 สลึง เทียนข้าวเปลือก 1 บาท 2 สลึง ขิงแห้ง 2 บาท
เจตมูลเพลิง 2 บาท สมอไทย 2 บาท 1 สลึง สมอเทศ 2 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง บุกรอ 2 บาท 2 สลึง
หัสคุณเทศ 2 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง กัญชา 2 บาท 2 สลึง การบูร 1 ต�ำลึง 1 บาท 1 เฟื้อง พริกไทย 15
ต�ำลึง 2 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง เป็นยา 20 สิ่ง ต�ำผงละลายน�้ำอ้อยแดง น�้ำผึ้งก็ได้ กินวันละ 3 เวลา อย่าให้ขาด
แก้สารพัดโรค 500 จ�ำพวก แก้มาน ท้องโต 5 จ�ำพวก กล่อน 5 ประการ แก้คุณแก้ไสย 5 จ�ำพวก แก้ไอเป็นโลหิต
ริดสีดวง 108 จ�ำพวก แก้มะเร็งกุฏฐัง 5 จ�ำพวก แก้เสมหะ 10 ประการ แก้มุตกิต 5 จ�ำพวก แก้ตามืดตึง สติหลงลืม
แก้ จุ ก เสี ย ด เมื่ อ ยสะโพก แก้ขัดสลัก อก ให้ตีนเย็ น มื อ เย็ น เป็ นฝี ในล� ำ คอในเพดาน มั ก ให้ ไ อจาม เป็ น ลม
มั ก ให้ ก ระทบตั ว ทั่ ว สารพางค์ ก าย มั ก ให้ ป วดศี ร ษะ แก้ ป ั ต คาด ราทยั ก ษ์ มั ก ให้ ห าวเรอ รากสะอึ ก ลมนี้ ชื่ อ
ทักขิณคุณ แก้ลมสีทวาท ราทยักษ์ ลมกุมภัณฑ์ ลมกุมภัณฑ์หลวง ลมสะแกเวียน ลม 7 จ�ำพวกนี้ ย่อมบังเกิด
ในใกล้สันนิบาตแล ๚

110 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 560
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้สารพัดโรคทั้งปวง ท่านให้เอาลูกจันทน์ ๑ เฟื้อง ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง ๑ ไพ
กานพลู ๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง ว่านน�้ำ ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เกลือสินเธาว์ ๑ บาท เทียนด�ำ
๑ บาท ๑ เฟื้อง เทียนเยาวพาณี ๑ บาท ๑ สลึง การบูร ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง สมอเทศ ๑ บาท ๒ สลึง
สมอไทย ๑ บาท ๓ สลึง เทียนข้าวเปลือก ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง สมอพิเภก ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง
โกฐสอ ๒ บาท โกฐเขมา ๒ บาท ๑ เฟื้อง บุกรอ ๒ บาท ๑ สลึง ขิงแห้ง ๒ บาท ๒ สลึง เจตมูลเพลิง ๒ บาท
๒ สลึง ๑ เฟือ้ ง หัสคุณเทศ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท กัญชา ๗ ต�ำลึง ๒ บาท พริกล่อน ๑๕ ต�ำลึง ศิรยิ า ๒๓ สิง่ นีต้ �ำเป็นผง
ละลายน�้ำผึ้ง น�้ำอ้อยแดง น�้ำนมโค ยานี้กิน ๑ สลึง หายโรคทั้งปวงแล ๚ะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 111
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 566
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

112 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ ต�ำราพระพุทธโกษาอาจาริยเจ้า เมื่อท่านไปแปรทุษ ณ เมืองสิงหฬุลังกา ณ ครั้งนั้นสิ้น
ไตรมาส ๓ เดือน ทั้งกลางวันแลกลางคืน ครั้งนั้นสมเด็จอ�ำมรินตราธิราช ก็ลงมากระท�ำของสาธุการอนุโมทนาแล้ว
พระอินทร์ตราธิราช จึงว่าพระผู้เป็นเจ้าแต่กระท�ำเพียรพยายาม อุสาหะนั่งจารหนังสืออยู่กลางวัน กลางคืนนี้
พระองค์จะเกิดโรคาพยาธิต่าง ๆ สมเด็จอ�ำมรินตราธิราช จึงเอาแผ่นทองนพคุณที่จารพระต�ำรานั้น ถวายแก่
พระพุทธโกษาจาริยเจ้า ในพระต�ำรานั้นท่านให้เอา ลูกจันทน์เทศ ๑ สลึง ดอกจันทน์เทศ ๒ สลึง ลูกกระวาน ๓ สลึง
กานพลู ๑ บาท ดีปลี ๑ บาท ๑ สลึง ลูกพิลังกาสา ๑ บาท ๒ สลึง ว่านน�้ำ ๑ บาท ๓ สลึง โกฐเขมา ๒ บาท
เทียนด�ำ ๒ บาท ๑ สลึง เทียนแดง ๒ บาท ๒ สลึง เทียนขาว ๒ บาท ๓ สลึง เทียนตาตั๊กแตน ๓ บาท เทียนข้าวเปลือก
๓ บาท ๑ สลึง ขิงแห้ง ๓ บาท ๒ สลึง เจตมูล ๓ บาท ๓ สลึง ลูกสมอไทย ๑ ต�ำลึง สมอเทศ ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง
บุกรอ ๑ ต�ำลึง ๒ สลึง หัสคุณเทศ ๗ ต�ำลึง ๓ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กัญชา ๑ ต�ำลึง ๑ บาท พริกล่อน ๑ ต�ำลึง
๑ บาท ๒ สลึง ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งเป็นลูกกลอนกินเพลาละ ๑ สลึง แก้สารพัดลมทั้ง ๘๐ จ�ำพวก แก้ริดสีดวง
๘๐ จ�ำพวก ถ้าผู้ใดอุตสาหะกระท�ำยานี้กิน ก็จะมีปัญญาอันยิ่งกว่าคนทั้งหลาย จะมีอายุยืนได้ ๑๐๐ ปี เพราะว่า
ปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวงนั้นแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 113
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 566
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

114 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ ท่านให้เอา ลูกจันทน์ ๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๒ สลึง
ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง อ�ำพัน ๓ สลึง ๑ เฟื้อง โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท ๑ เฟื้อง
เทียนด�ำ ๑ บาท ๑ สลึง เทียนแดง ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนขาว ๑ บาท ๒ สลึง เทียนตาตั๊กแตน ๑ บาท ๒ สลึง
๑ เฟื้อง เทียนแกลบ ๑ บาท ๓ สลึง ขิงแห้ง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง รากเจตมูลเพลิง ๒ บาท สมอไทย ๒ บาท
๑ เฟื้อง สมอเทศ ๒ บาท ๑ สลึง บุกรอ ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง การบูร ๒ บาท ๒ สลึง หัสคุณเทศ ๗ ต�ำลึง ๓ บาท
๓ สลึง ๑ เฟื้อง กัญชา ๑ ต�ำลึง ๓ บาท ๒ สลึง พริกล่อน ๕ ต�ำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ต�ำเป็นผงละลาย
น�้ำผึ้งรวง น�้ำอ้อย น�้ำส้มงั่ว น�้ำส้มมะนาว ก็ได้กินเท่าลูกพุทรา ส�ำหรับโรคทั้งหลาย แก้ท้องโร ท้องมาน ไส้เลื่อน
หืด ไอ เสมหะ แก้ลม ๑๘ จ�ำพวก โลหิตตก ๒๐ จ�ำพวก กุฏฐัง ๒๐ จ�ำพวก แก้เพื่อทุจริต แลตามืด ตาฟาง หูตึง
หูหนวก เดินเจ็บสะโพก เสียดแทง เจ็บหลัง แลลมจุกก็ดี ขี้เรื้อน คชราด ๒๐ จ�ำพวก ฝีดาษ แลลมตะมอยขบ
ทั่วสารพางค์ตัว ให้วิง ให้เวียนศีรษะ ลมจับปากเบี้ยว ตาแหก เจ็บคอ ให้ไอ ให้จาม ลมปัตคาด ราชยักษ์ แลลม
กระตุกหัวทั่วสารพางค์ตัว ลมมักหาวทุกค�่ำเช้ามิได้ขาด มักให้เหียน ราก มักให้สะอึก บวมมือ บวมหน้า บวมตีน
บวมหลัง บวมทั่วสารพางค์นั้นก็หาย แก้ได้สารพัดโรค แลลมอัศวาต ปัศวาตมีโลหิตมิได้เสมอกัน มีธาตุมิได้เสมอกัน
จึงให้เจ็บทั่วสารพางค์ ให้บังเกิดโรคทั้งหลายนั้นแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 115
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 574
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อท�ำลายพระเมรุ ลูกจันทน์ ๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง ว่านน�้ำ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง
กานพลู ๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เกลือสินเธาว์ ๓ สลึง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง ๑ เฟื้อง โกฐสอ ๑ บาท ๑ เฟื้อง
โกฐเขมา ๑ บาท ๑ สลึง เทียนด�ำ ๑ บาท ๑ สลึง เทียนขาว ๑ บาท ๒ สลึง เทียนแดง ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง
เทียนตาตั๊กแตน ๑ บาท ๓ สลึง เทียนข้าวเปลือก ๑ บาท ๓ สลึง ขิง ๒ บาท เจตมูลเพลิง ๒ บาท ๑ สลึง
สมอไทย ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง สมอเทศ ๒ บาท ๒ สลึง บุกรอ ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง หัสคุณ ๗ ต�ำลึง ๒ สลึง
กัญชา ๒ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง พริกไทยหนัก ๑๕ ต�ำลึง ๒ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง การบูร ๒ บาท ต�ำเป็นจุณละลาย
น�้ำผึ้ง น�้ำอ้อยแดงก็ได้ กินวันละ 2 เพลา หนักละ ๑ สลึง แก้สารพัดลม 500 จ�ำพวก ง่อยเปลี้ย แท้งลูก ปวดศีรษะ
หายแล ๚

116 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ดต่าง ๆ
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 630
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาท�ำลายเขาพระสุเมรุใหญ่ ลูกจันทน์ ๑ เฟื้อง ดอกจันทน์ ๑ สลึง ลูกกระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู
๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เกลือสินเธาว์ ๓ สลึง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ว่านน�้ำ ๑ บาท โกฐสอ ๑ บาท
๑ เฟื้อง โกฐเขมา ๑ บาท ๑ สลึง เทียนด�ำ ๑ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนแดง ๑ บาท ๒ สลึง เทียนขาว ๑ บาท
๒ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนข้าวเปลือก ๑ บาท ๓ สลึง เทียนตาตั๊กแตน ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ลูกสมอไทย ๒ บาท
ลูกสมอเทศ ๒ บาท ๑ เฟื้อง หัวบุกรอ ๑ สลึง หัสคุณเทศ ๒ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กัญชา ๒ บาท ๒ สลึง
ขิงแห้ง ๒ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง เจตมูล ๓ บาท พริกไทยล่อน ๖ ต�ำลึง ๓ บาท

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 117
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาแก้ไข้ทั้งปวง ยาเกร็ดผู้ใหญ่
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 666
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ เอา ลูกจันทน์ 1 เฟื้อง ดอกจันทน์ 1 สลึง กระวาน 1 สลึง 1 เฟื้อง กานพลู 2 สลึง ดีปลี 2 สลึง
1 เฟื้อง เกลือสินเธาว์ 3 สลึง ลูกพิลังกาสา 3 สลึง 1 เฟื้อง ว่านน�้ำ 1 บาท โกฐสอ 1 บาท โกฐเขมา 2 บาท 1 สลึง
เทียนด�ำ 1 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง เทียนแดง 1 บาท 2 สลึง เทียนขาว 2 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง เทียนตาตั๊กแตน
1 บาท 3 สลึง เทียนข้าวเปลือก 1 บาท 2 สลึง ขิงแห้ง 2 บาท เจตมูล 2 บาท 1 เฟื้อง ลูกสมอไทย 2 บาท 1 สลึง
ลูกสมอเทศ 2 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง บุกรอ 2 บาท 2 สลึง หัสคุณเทศ 2 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง กัญชา 2 บาท
2 สลึง การบูร 1 ต�ำลึง 1 บาท 1 เฟื้อง พริกไทย 15 ต�ำลึง 2 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง เข้ากันเป็นยา 25 สิ่ง ต�ำเป็น
ผงละลายน�้ำอ้อยแดงกิน น�้ำผึ้งกิน 1 สลึง กินวัน 3 เวลา อย่าให้ขาดได้ แก้โรคสารพัดโรค แก้มานท้องโต 5 จ�ำพวก
แก้ไส้เลื่อน 5 จ�ำพวก แก้คุณแก้ไสย 5 จ�ำพวก แก้กล่อน 5 จ�ำพวก แก้ไอ แก้ริดสีดวง แก้หืด 108 จ�ำพวก แก้กุฏฐัง
5 จ�ำพวก แก้เสมหะ 10 จ�ำพวก แก้มุตกิด 5 จ�ำพวก แก้ตามืด ตาฟาง หูหนัก หูตึง มักสติหลงลืม แก้จุกเสียด
แก้เมื่อยสะโพก เป็นฝีในล�ำคอ ในเพดาน มักไอ จาม เป็นลม สะทกทั่วสารพางค์ตัว ตีนมือเย็น ปวดหัว แก้ลมปัตคาด
ราทยักษ์ ให้หาวเรอ ให้ราก ให้สะอึก ชีวทักขิณคุณ แก้ลมมิศวาต 1 บาดทะยัก 1 ลมกุมภัณฑ์ 1 ลมจับพิราบ 1
ลมกุมภัณฑ์หลวง 1 แก้ลมสะแกเวียน 1 ลมทั้ง 7 จ�ำพวกนี้เถิดให้โทษสาริบาตแล ๚

118 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอาลูกจันทน์ ๑ เฟื้อง ดอกจันทน์ ๑ สลึง ลูกกระวาน ๑ สลึงเฟื้อง กานพลู ๒ สลึง เกลือสินเธาว์
๓ สลึง ดีปลี ๒ สลึงเฟื้อง ว่านน�้ำ ๓ สลึงเฟื้อง โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาทเฟื้อง เทียนด�ำ ๕ สลึง
เทียนแดง ๕ สลึงเฟื้อง เทียนขาว ๖ สลึง เทียนตาตั๊กแตน ๖ สลึงเฟื้อง เทียนข้าวเปลือก ๗ สลึง ขิงแห้ง ๗ สลึงเฟื้อง
กัญชา ๒ บาท รากเจตมูลเพลิง ๒ บาทเฟื้อง หัวบุกรอ ๙ สลึง เนื้อลูกสมอไทย ๙ สลึงเฟื้อง เนื้อลูกสมอเทศ ๑๐ สลึง
การบูร ๑๐ สลึงเฟื้อง หัสคุณเทศ ๑๐ สลึงเฟื้อง พริกไทยล่อน ๕๗ บาท ๓ สลึง บดเป็นผงละลายน�้ำอ้อยแดง
หรือน�้ำนมโค กินครั้งละ ๑ สลึง แก้ลมจุกเสียด ลมปะทะอก ลมตามืด หูหนัก ปวดหัวมึนตึง ลมเมื่อยขบในร่างกาย
ลมสะดุ้งแลสั่นไปทั้งตัว ลมเปรี้ยวด�ำ แก้จุกผามม้ามย้อย มานกษัย ไส้พอง ท้องใหญ่ ลมคลั่งเพ้อ ลมอัมพฤกษ์
อัมพาต ลมปัตคาด แก้โรคผิวหนัง ลมชัก ปากเบี้ยว ตาแหก แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคเสมหะโลหิตเรื้อรัง หายแล
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
❀ ยาอภัยสาลี เอา ลูกจันทน์ ๑ สลึง ดอกจันทน์ ๒ สลึง ลูกกระวาน ๓ สลึง โกฐสอ ๒ บาท กานพลู
๑ สลึง ลูกพิลังกาสา ๑ บาท ๒ สลึง ว่านน�้ำ ๑ บาท ๓ สลึง โกฐเขมา ๒ บาท ๑ สลึง เทียนข้าวเปลือก ๒ บาท
๒ สลึง เทียนแดง ๓ บาท ๒ สลึง เทียนขาว ๒ บาท เทียนตาตั๊กแตน ๒ บาท ๑ สลึง เจตมูลเพลิง ๓ บาท สมอไทย
๓ บาท ๑ สลึง สมอเทศ ๓ บาท ๑ สลึง หัวบุกรอ ๓ บาท ๓ สลึง หัสคุณเทศ ๑ ต�ำลึง ๒ บาท จันทน์เทศ ๑ ต�ำลึง
กัญชา ๓ บาท ๓ สลึง พริกไทยล่อน ๑ ต�ำลึง ท�ำผงกินเช้าเย็นทุกวัน แก้สารพัดลม แก้โลหิต แก้ริดสีดวง
❀ ยาท�ำลายพระเมรุ แก้ลมต่าง ๆ แก้มานท้องใหญ่ แก้กษัยเลือด แก้ตามืด ตาฟาง หูหนัก หูตึง แก้สติ
ลืมหลง แก้เสียดหน้าสะโพก แก้เมื่อยขบ ให้ไอ ให้จาม เป็นตะคริว แก้คุดทะราด ฝีเส้น ฝีเอ็น เอาลูกจันทน์ ๑ เฟื้อง
ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๒ สลึง ดีปลี ๑ ตําลึง ๒ สลึง เกลือสินเธาว์ ๓ สลึง ว่านน�้ำ
โกฐสอเทศ สิ่งละ ๑ บาท โกฐเขมา ๕ สลึง เทียนด�ำ เทียนข้าวเปลือก เทียนขาว สิ่งละ ๖ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนแดง
๖ สลึง เทียนตั๊กแตน ๗ สลึง ขิงแห้ง ๒ บาท เจตมูล ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง สมอไทย สมอเทศ สิ่งละ ๒ บาท ๓ สลึง
บุกรอ ๒ บาท ๒ สลึง หัสคุณเทศ ๗ ต�ำลึง ๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง กัญชา ๒ บาท ๑ สลึง พริกไทยล่อน ๕ ต�ำลึง
๓ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง การบูร ๒ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้ง ปั้นลูกกลอนขนาดตามควร
กินเช้า เย็น
❀ ยาไพศาลี ว่าพระพุทธเจ้า ทรงให้พระอานนท์ทําแจกเป็นทาน เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ สิง่ ละ ๑ สลึง
กระวาน ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง ว่านน�้ำ ๓ สลึง ๑ เฟื้อง
เกลือสินเธาว์ ๑ บาท เทียนดํา ๑ เฟื้อง เทียนเยาพาณี ๖ สลึง ๑ เฟื้อง การบูร ๗ สลึง สมอเทศ ๗ สลึง ๑ เฟื้อง
เทียนข้าวเปลือก 6 สลึง สมอไทย ๒ บาท สมอพิเภก ๒ บาท ๑ เฟื้อง โกฐสอ ๙ สลึง โกฐเขมา ๙ สลึง ๑ เฟื้อง
บุกรอ ๗ สลึง ขิงแห้ง ๑๐ สลึง ๑ เฟื้อง เจตมูลเพลิง ๗ สลึง หัสคุณเทศ ๕ บาท กัญชา ๓๐ บาท พริกไทยล่อน
๖๐ บาท ยาทั้งนี้ท�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้ง น�้ำอ้อยแดง น�้ำนมโคก็ได้กิน หนัก 2 สลึง กิน ๓ เวลา แก้สารพัดโรค
ไส้เลื่อนกล่อน หืดไอ กุฏฐัง เสมหะ ตามืด ตาฟาง หูหนวก หูตึง ลมสติมักหลงลืม เจ็บสะโพก จุกเสียด ลมสลักอก
ขี้เรื้อน คุดทะราด เป็นฝีในเพดานและลําคอ ลม ลมมักให้หาวเรอ ให้รากสะอึก ลมเวียน นอนไม่หลับ ให้ง่วงเหงา
หาวนอน ลมปวดมวนในท้อง บ้างเป็นจุดผาม ม้ามย้อยหงอย เพ้อ พูด มิชัด

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 119
ยาปัตคาดใหญ่
ยาปัตคาดใหญ่ เป็นต�ำรับยาอยู่ในต�ำราสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เป็นต�ำราที่เกิดขึ้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต�ำรับยาเล่มแรกของสภากาชาดไทยที่ใช้ในการรักษาการสู้รบระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
กรณีพิพาทดินแดนฝั่งแม่น�้ำโขง (เหตุวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112) มีทหารและชาวบ้านบาดเจ็บเป็นจ�ำนวนมาก
แต่ขาดแคลนยา จึงมีองค์การกุศล ในนาม “สภาอุณาโลมแดง” ช่วยกันรวบรวมต�ำรายาไทยเพื่อท�ำการผลิต
และปรุงยาส่งไปใช้รักษาทหารและชาวบ้าน จนเมื่อเหตุการณ์สงบ จึงมีการรวบรวมเป็นเล่มไว้ใช้สืบต่อกันมา
ต�ำราสภาอุณาโลมแดง ประกาศกําหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุ ข เรื่ อ ง การประกาศก� ำ หนดตําราการแพทย์ แ ผนไทยของชาติ แ ละตํารั บ
ยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. ๒๕60 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓4 ตอนพิเศษ 141 ง
วันที่ 25 พฤษภาคม ๒๕60 ยาปัตคาดใหญ่ ประกอบด้วย ชะเอมเทศ 2 บาท โกฐบัว 2 บาท โกฐสอ 2 บาท
โกฐกระดูก 2 บาท สะค้าน 2 บาท ขิง 1 บาท เจตมูล 2 บาท สมุลแว้ง 2 บาท เทียนด�ำ 1 บาท เทียนขาว 1 บาท
กานพลู 1 บาท ดอกจันทน์ 1 สลึง ลูก จันทน์ เ ทศ 1 บาท หั วดองดึ ง 2 บาท หั วกระดาดแดง 2 บาท
หั ว กระดาดขาว 2 บาท หั ว อุ ต พิ ด 2 บาท โหราท้ า วสุ นั ข 2 บาท หั ว กลอย 2 บาท สมอไทย 7 บาท
มะขามป้อม 10 บาท กัญชา 2 บาท ดีปลี 1 บาท โกฐจุฬา 2 บาท โกฐน�้ำเต้า 3 บาท รงทอง 9 บาท
ยาด�ำ 4 บาท มหาหิงคุ์ 4 บาท การบูร 3 บาท 2 สลึง พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย วิธีท�ำ กระท�ำเป็นจุณ
น�้ำกระสายต่าง ๆ กิน สรรพคุณ แก้ลมกษัยกล่อน กลัดเสียดแน่น นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาปัตคาดใหญ่ ที่มีการ
คัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารฉบั บ คั ด ลอกและพิ ม พ์ เ ผยแพร่ ชื่ อ เวชศึ ก ษา แพทย์ ศ าสตร์ สั ง เขป ของพระยาพิ ษ ณุ

ประสารทเวช
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

120 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. ๑๑๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือเอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ปัตคาดใหญ่ ชะเอมเทศ 2 บาท โกฐบัว 2 บาท โกฐสอ 2 บาท โกฐกระดูก 2 บาท สะค้าน 2 บาท
ขิง 1 บาท เจตมูล 2 บาท สมุลแว้ง 2 บาท เทียนด�ำ 1 บาท เทียนขาว 1 บาท กานพลู 1 บาท ดอกจันทน์ 1 สลึง
ลูกจันทน์เทศ 1 บาท หัวดองดึง 2 บาท หัวกระดาดแดง 2 บาท หัวกระดาดขาว 2 บาท หัวอุตพิด 2 บาท
โหราท้าวสุนัข 2 บาท หัวกลอย 2 บาท บุกรอ 2 บาท สมอไทย 7 บาท มะขามป้อม 10 บาท กัญชา 2 บาท
ดีปลี 1 บาท โกฐจุฬาลัมพา 2 บาท โกฐน�้ำเต้า 3 บาท รงทอง 9 บาท ยาด�ำ 4 บาท มหาหิงคุ์ 4 บาท การบูร
3 บาท 2 สลึง พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย กระท�ำเป็นจุณ น�้ำกระสายต่าง ๆ กินแก้ลมกษัยกล่อนกลัดเสียดแน่น ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 121
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาปัตคาดใหญ่ เอา ชะเอมเทศ โกฐสอ โกฐหัวบัว โกฐกระดูก สะค้าน สมุลแว้ง สิ่งละ ๒ บาท
ขิง เจตมูลเพลิง เทียนด�ำ เทียนขาว กานพลู ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ หัวดองดึง สิ่งละ ๑ บาท หัวกระดาดแดง
หัวกระดาดขาว หัวอุตพิด หัวบุก หัวกลอย สิ่งละ ๓ บาท โหราเท้าสุนัข ๒ บาท ลูกสมอไทยเอาแต่เนื้อ ๑๐ บาท
กัญชา ๑ บาท ๒ สลึง ดีปลีหนัก ๑ บาท โกฐน�้ำเต้า ๖ บาท โกฐจุฬาลัมพา ๒ บาท รงทอง ๓ ต�ำลึง ยาด�ำ
๓ ต�ำลึง มหาหิงคุ์ ๕ บาท การบูร ๑ ต�ำลึง พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลาย ท�ำผงกระสาย น�้ำมะกรูด น�้ำมะนาว
น�้ำส้มมะขามเปียกก็ได้ แก้ลมปัตคาด สัณฑะฆาต จุกเสียดแน่น ท้องผูกเป็นพรรดึก แก้ลมซึ่งกระท�ำให้ชัก
ปากเบี้ยว ตาแหก
ชื่อเอกสาร เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป ของพระยาพิศณุประสาทเวช
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาปัตคาดใหญ่ เอา ชะเอมเทศ ๒ บาท โกฐสอ ๑ โกฐหัวบัว ๑ โกฐกระดูก ๑ สะค้าน ๑ สมุลแว้ง ๑
ยาทั้งนี้ เอาหนักสิ่งละ ๒ บาท ขิง ๑ เจตมูลเพลิง ๑ เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ กานพลู ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑
หัวดองดึง ๑ ยาทั้งนี้เอาหนักสิ่งละ ๑ บาท หัวกระดาดแดง หัวกระดาดขาว ๑ หัวอุตพิด ๑ หัวบุก ๑ หัวกลอย ๑
ยาทั้งนี้เอาหนัก สิ่งละ ๓ บาท โหราเท้าสุนัข ๒ บาท ลูกสมอไทยเอาแต่เนื้อหนัก ๑๐ บาท กัญชา ๑ บาท ๒ สลึง
ดีปลีหนัก ๑ บาท โกฐน�้ำเต้า ๖ บาท โกฐจุฬาลัมพา ๒ บาท รงทองหนัก ๓ ต�ำลึง ยาด�ำ ๓ ต�ำลึง มหาหิงคุ์ ๕ บาท
การบูร ๑ ต�ำลึง พริกไทยล่อนเท่ายาทั้งหลายท�ำผง กระสาย น�้ำมะกรูด มะนาว ส้มมะขามเปียกก็ได้ แก้ลมปัตคาด
สัณฑะฆาต ลมสัตฆาต กุมภัณฑ์ยักษ์ ราทยักษ์ จุกแดก เสียดแน่น ผูกเป็นพรรดึก แก้ลมบาดทะยักซึ่งกระท�ำให้ชัก
ปากเบี้ยว ตาแหกหาย ฯ

122 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาวิสัมพยาใหญ่
ยาวิสัมพยาใหญ่ เป็นต�ำรับยาที่พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ได้เขียนไว้ เรียกว่า “ต�ำรายา
พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ ได้คัดเลือกมาเขียนลงสมุดไว้เป็นตัวรงมีต�ำรับยาแผนไทย 24 ต�ำรับ
มียาฝรั่ง และตัวยาสมุนไพรที่ปรากฏในต�ำราเล่มนี้มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 249 ชนิด รวมทั้งพระองค์ยังทรงคิดวิธีการ
แช่ยาด้วยแอลกอฮอล์ด้วย ปัจจุบันมีต�ำรับยาแผนไทยคงเหลือ 20 ต�ำรับ เช่น ยาวาตาประสิทธิ ยาจัตุรงค์
ยาวิสัมพยาน้อย ยาวิสัมพยากลาง ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาเทพจิตรารมณ์ ยาพรหมภักตร์ เป็นต้น พระกรณียกิจส�ำคัญ
อีกประการหนึ่งทางด้านการแพทย์คือ ทรงเป็นหมอไทยเพียงคนเดียวที่ร่วมในการถวายการรักษาพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงพระประชวรก่อนที่จะเสด็จสวรรคต โดยต�ำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 1 ต�ำรา 20 ต�ำรับ ได้ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทย
ของชาติ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและ
ตํารับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๗ ง
วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๙ ยาวิสัมพยาใหญ่ ประกอบด้วย ขิงแห้ง ๑ สมอเทศ ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑
กระวาน ๑ กานพลู ๑ ลูกเอ็น ๑ ใบพิมเสน ๑ ลูกผักชี ๑ น�้ำประสานทอง ๑ โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ การบูร ๑
เปลือกสมุลแว้ง ๑ รากไคร้เครือ ๑ อบเชย ๑ จันทน์ขาว ๑ ดีปลีหนักเท่ายา แก้ลงท้อง แน่น จุก เสียด ก็ได้
ให้เอา น�้ำส้มซ่า น�้ำขิงสด น�้ำดอกไม้ เป็นกระสายก็ได้ แก้พยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ไอ แก้สะอึก น�้ำขิงต้มเป็นกระสาย
แก้นอนไม่หลับ น�้ำกัญชา ต้มเป็นกระสาย แก้หาว แก้เรอ แก้สันนิบาต 10 จ�ำพวก น�้ำร้อนเป็นกระสายแทรกพิมเสน
นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยา วิสัมพยาใหญ่ ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อ ต�ำรายาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. ๑๑๒

❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 104 ชื่อ คัมภีร์ธาตุทั้ง ๕ ประวัติ นางอึ่ง
ให้หอสมุดแห่งชาติ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2459
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 240 ชื่อ ตํารายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 534 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
ยาวิสัมพยาใหญ่ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ยาวิสัมพยากลาง ยาวิสัมพยา เป็นต้น

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 123
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาที่ ๑๒ ชื่อวิสัมพยาใหญ่
ให้เอา ขิงแห้ง ๑ สมอเทศ ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ลูกเอ็น ๑ ใบพิมเสน ๑
ลูกผักชี ๑ น�้ำประสานทอง ๑ โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ การบูร ๑ เปลือกสมุลแว้ง ๑ รากไคร้เครือ ๑ อบเชย ๑
จันทน์ขาว ๑ ดีปลีหนักเท่ายา ๒๕ สิ่งนี้
ยาที่ ๑๒ ชื่อวิสัมพยาใหญ่
แก้ลงท้อง แน่น จุก เสียด ก็ได้ ให้เอา น�้ำส้มซ่า น�้ำขิงสด น�้ำดอกไม้ เป็นกระสายก็ได้ แก้พยาธิ
แก้ริดสีดวง แก้ไอ แก้สะอึก น�้ำขิงต้มเป็นกระสาย แก้นอนไม่หลับ น�้ำกัญชา ต้มเป็นกระสาย แก้หาว แก้เรอ
แก้สันนิบาต 10 จ�ำพวก น�้ำร้อนเป็นกระสาย แทรกพิมเสน ๚

124 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. ๑๑๒
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อวิสัมพยาใหญ่ ไว้วางในทางไข้ทั้งสามฤดูบรรดามี ในกลกองเลือดลมวิกาลก่อเหตุเพศพานต่าง ๆ
กระท�ำโทษกลอนจ�ำก�ำหนดเอาสรรพยาเข้า ตรีผลา สมุลแว้ง ล�ำพัน กานพลู ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน
กัญชา อบเชยเทศประชุม แก่นจันทน์ทั้ง 2 มั่วสุม เข้าขิงแห้งคุม การบูรก�ำหนดจดจ�ำ ลูกเอ็น ชะเอมเทศท�ำ
ใบกระวาน ว่านน�้ำ โกฐเทียนทั้ง 5 เข้ากัน เปราะหอม น�้ำประสารสัน รากไคร้เครือนั้น แลลูกผักชีนี้นา สมอเทศ
เสมอภาคต�ำรา ดีปลีเท่ายา สมทบกันต�ำผงละลายกระสายน�ำ้ ผึง้ กิน หนักสลึง ท�ำลายพยาธิ 8 ประการ แก้โรคริดสีดวง
บันดาล บังเกิดวิกาล ในกลกองธาตุ แก้สะอึก แก้ไอ ละลายน�้ำผึ้ง น�้ำขิง ส�ำแทรกเกลือร�ำหัดกินหาย แก้จุกเสียด
ละลายน�้ำกุ่มบกเป็นกระสาย

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 125
ชื่อเอกสาร คัมภีร์ธาตุทั้ง ๕
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๐๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ วิสัมพยากลาง แลยานี้อาจสามารถจะแก้โรคต่าง ๆ มีอุปเท่ห์นั้นต่าง ๆ กันในสรรพยานั้น
ท่านให้เอาสมอไทย ๑ ขิงแห้ง ๑ สมุลแว้ง ๑ ว่านน�้ำ ๑ น�้ำประสานทอง ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑
กระวาน ๑ กานพลู ๑ ชะเอมเทศ ๑ การบูร ๑ เทียนทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๕ ลูกเอ็นเทศ ๑ รากไคร้เครือ ๑ เกลือสินเธาว์ ๑
เอาสิ่งละ ๑ บาท ดีปลีเสมอภาค ถ้าจะท�ำวิสัมพยากลาง ดีปลีเอา ๓ ต�ำลึง ถ้าจะท�ำวิสัมพยาใหญ่นั้น ดีปลี เอา ๖ ต�ำลึง
ท�ำผงแก้ลมทางสันนิบาต ให้ปวดมวนบิดลงท้องหาย ถ้านอนมิหลับละลายน�้ำกัญชาต้ม ถ้าจะแก้ทางสันนิบาต
ละลายน�้ำส้มซ่ากิน ถ้าหิวโหยละลายน�้ำขิง น�้ำกระเทียมกิน ถ้าเป็นลมจับอยู่เนือง ๆ เอาดีปลีทวีขึ้นเท่ายา
น�้ำกระเทียมกิน ถ้าไข้นอนไม่หลับ หิวโหย หาแรงไม่ได้ ละลายน�้ำดอกไม้เทศ น�้ำมะลิสด แก้ไข้เพื่อลม น�้ำดีปลีต้ม
ถ้ากินข้าวไม่ได้ ละลายน�้ำขิงต้มกิน ดีนักแล ๚

126 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อวิสัมพยา เอา ลูกจันทน์ ๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง ลูกกระวาน ๑ สลึง กานพลู ๑ สลึง
นํ้าประสานทอง ๑ สลึง เปลือกอบเชยไทย ๑ บาท เปลือกอบเชยเทศ ๒ สลึง สมุลแว้ง ๑ บาท ๑ สลึง รากไคร้เครือ
๒ สลึง โกฐทั้ง ๕ สิ่งละ ๒ สลึง เทียนทั้ง ๕ สิ่งละ ๑ บาท ลูกเอ็นเทศ ๒ สลึง ใบพิมเสน ๑ บาท ๒ สลึง จุกโรหิณี
๑ บาท กัญชา ๑ บาท การบูร ๑ บาท ๒ สลึง ขิงแห้ง ๑ บาท ๑ สลึง ลูกสมอไทย ๑ บาท ๑ สลึง สมอเทศ ๑ บาท
๑ สลึง ว่านนํ้า ๑ บาท ๑ สลึง พิมเสน ๑ สลึง ชะมด ๑ สลึง ท�ำเป็นผงไว้ ถ้าลมกล้าให้ทวีดีปลี กินเท่ายาทั้งหลาย
ถ้านอนไม่หลับ ให้แทรกกัญชาเข้า ๒ สลึง บดละลาย นํ้าใบชุมเห็ดไทยต้มกิน นอนหลับดีแล ถ้าจะให้สะกดลม
ให้ทวีดีปลีขึ้นเท่าตัว ละลายนํ้าส้มซ่ากินเถิด ดีนักแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 127
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 534
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ วิสมั พยา เอา สมอเทศ 1 สมอพิเภก 1 สมอไทย 1 ขิงแห้ง 1 สมุลแว้ง 1 ว่านน�ำ้ 1 น�ำ้ ประสานทอง 1
ลูกจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 ชะเอมทั้ง 2 การบูร 1 ผักชี 1 ระย่อม 1 เปราะหอม 1
โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ลูกเอ็นเทศ 1 รากไคร้เครือ 1 เกลือสินเธาว์ 1 ใบกระวาน 1 จุกโรหิณี 1 กัญชา 1 อบเชย 1
ดอกบุนนาค 1 ดอกบัวหลวง 1 ศิริยาเหล่านี้เอาเสมอภาค ถ้าจะแก้ไข้เอาดีปลีเสมอภาค ถ้าจะแก้โลหิต เอาดีปลี
กึ่งยา ถ้าจะแก้ลมเอาดีปลีเท่ายา ต�ำผงบดปั้นแท่งไว้ใช้เถิด

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาวิสัมพยากลาง เอา ลูกผักชีลา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู การบูร โกฐสอ โกฐหัวบัว
โกฐเชียง โกฐน�้ำเต้า โกฐพุงปลา โกฐก้านพร้าว เทียนด�ำ เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียนเยาวพาณี เทียนข้าวเปลือก
สมุลแว้ง สมอเทศ สมอไทย กัญชา ลูกเอ็น ใบกระวาน ขิงแห้ง สิ่งละ ๑ บาท ดีปลีกึ่งยาทั้งหลาย ท�ำผงกินแก้จุกเสียด

128 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาแก้ลมอุทธังควาต
ยาแก้ลมอุทธังควาต เป็นต�ำรับยาอยู่ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) หมวด
พระคัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 2 เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1039 หนังสือสมุดไทยด�ำ เมื่อ พ.ศ. 2413
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ
กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัยจางวางกรมแพทย์เป็นแม่กองจัดหารวบรวม ช�ำระสอบสวนต�ำราคัมภีร์แพทย์ที่ใช้กันอยู่
ขณะนั้นให้ถูกต้อง แล้วส่งมอบให้พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์ กรมอักษร
พิมพการ จัดสร้างขึ้นใหม่เป็น “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เพื่อเป็นส่วนพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ และเป็นต�ำรา
ที่ใช้ประโยชน์ในชาติบ้านเมืองต่อไป ตัวยาประกอบด้วย มหาหิงคุ์ ๑ ยาด�ำ ๑ รงทอง ๑ หัวอุตพิด ๑ บุก ๑
กลอย ๑ กระดาดทั้ง ๒ สนเทศ ๑ กรักขี ๑ เปล้าทั้ง ๒ รากช้าพลู ๑ กัญชา ๑ ผลสมอไทย ๑ สมอพิเภก ๑
สะค้าน ๑ ดีปลี ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ว่านนางค�ำ ๑ ใบคนทีสอ ๑ ใบสันพร้าหอม ๑
ใบสวาด ๑ เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ โกฐเชียง ๑ อบเชย ๑ พริกไทย ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ แก่นแสมทั้ง ๒ ยาทั้งนี้
เอาเสมอภาค วิธีท�ำ ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งกิน สรรพคุณ แก้ลมอุทธังควาต นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาแก้ลม
อุทธังควาต ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 560 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ เจ้าพระยามุขมนตรี

(อวบ) ให้หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2473
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
ร.ศ. ๑๒6
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 129
ชื่อเอกสาร คัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 2
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1039
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ แม้นจะแก้ลมอุทธังควาต อันจับหัวใจให้ชัก มือก�ำ เท้าก�ำ ลิ้นกระด้างคางแข็ง ตีขึ้นปะทะอก
หายใจสะอึกสะอื้น เป็นประหนึ่งจะสิ้นใจ ท่านให้ท�ำยานี้เอามหาหิงคุ์ ๑ ยาด�ำ ๑ รงทอง ๑ หัวอุตพิด ๑ บุก ๑
กลอย ๑ กระดาดทั้ง ๒ สนเทศ ๑ กรักขี ๑ เปล้าทั้ง ๒ รากช้าพลู ๑ กัญชา ๑ ผลสมอไทย ๑ สมอพิเภก ๑
สะค้าน ๑ ดีปลี ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ว่านนางค�ำ ๑ ใบคนทีสอ ๑ ใบสันพร้าหอม ๑
ใบสวาด ๑ เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ โกฐเชียง ๑ อบเชย ๑ พริกไทย ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ แก่นแสมทั้ง ๒ ยาทั้งนี้
เอาเสมอภาค ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำผึ้งกิน หายแล ๚ะ

130 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 560
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลมอุทังคมาวาต อันจับให้ชกั มือ เท้าก�ำ ลิน้ กระด้าง คางแข็งตีขนึ้ ประทะอก หายใจสะอึกสะอืน้
อย่างสิ้นใจ เอา มหาหิงคุ์ 1 ยาด�ำ ๑ ไพ รงทอง ๑ หัวอุตพิด ๑ หัวบุก ๑ หัวกลอย ๑ หัวกระดาดทั้ง ๒
สนเทศ ๑ กรักขี ๑ เปล้าทั้ง ๒ รากช้าพลู ๑ กัญชา ๑ สมอไทย ๑ สมอพิเภก ๑ สะค้าน ๑ ดีปลี 1 ลูกจันทน์ ๑
ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ เจตมูล ๑ ขิง ๑ ว่านนางค�ำ ๑ ใบคนทีสอ ๑ ใบสันพร้าหอม ๑ ใบสวาด ๑
เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ โกฐเชียง ๑ อบเชย ๑ พริกไทย ๑ ลูกมะตูมอ่อน ๑ แก่นแสมทั้ง 2 เอาเสมอภาค
ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำผึ้งกิน หายแล ๚ะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 131
ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
แม้นจะแก้ลมอุทธังคมาวาต อันจับหัวใจให้ชักมือก�ำให้เท้าก�ำ ลิ้นกระด้างคางแข็ง ตีขึ้นปะทะอกหายใจ
สะอึกสะอื้น เป็นประหนึ่งจะสิ้นใจ ท่านให้ท�ำยานี้ เอามหาหิงคุ์ ๑ ยาด�ำ ๑ รงทอง ๑ หัวอุตพิด ๑ บุก ๑ กลอย ๑
กระดาดทั้ง ๒ สนเทศ ๑ สักขี ๑ เปล้าทั้ง ๒ รากช้าพลู ๑ กัญชา ๑ ผลสมอไทย ๑ สมอพิเภก ๑ สะค้าน ๑ ดีปลี ๑
ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ว่านนางค�ำ ๑ ใบคนทีสอ ๑ ใบเฉียงพร้าหอม ๑ สวาด ๑
เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ โกฐเชียง ๑ อบเชย ๑ พริกไทย ๑ ผลมะตูมอ่อน ๑ แก่นแสมทั้ง ๒ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค
ท�ำผงละลายน�้ำผึ้งกินหายแล
ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
คัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 2
แม้นจะแก้ลมอุทธังคมาวาต อันจับหัวใจให้ชักมือก�ำ เท้าก�ำ ลิ้นกระด้าง คางแข็ง ตีขึ้นปะทะอก
หายใจสะอื้น เป็นประหนึ่งจะสิ้นใจท่านให้ท�ำยานี้ เอา มหาหิงคุ์ 1 ยาด�ำ 1 รงทอง 1 หัวอุตพิด 1 บุกรอ 1 กลอย 1
กระดาดทั้ง 2 สนเทศ 1 สักขี 1 เปล้าทั้ง 2 รากช้าพลู 1 กัญชา 1 สมอไทย 1 สมอพิเภก 1 สะค้าน 1 ดีปลี 1
ผลจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 ว่านนางค�ำ 1 ใบคนทีสอ 1 ใบเฉียงพร้าหอม 1 ใบสวาด 1
เทียนด�ำ 1 เทียนขาว 1 โกฐเชียง 1 อบเชย 1 พริกไทย 1 ผลมะตูมอ่อน 1 แก่นแสมทั้ง 2 ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค
ท�ำผงละลายน�้ำผึ้งกินหายแล

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้ลมอุทธังคมาวาต
อันจับหัวใจให้ชักมือก�ำให้ชักเท้าก�ำ ลิ้นกระด้าง คางแข็ง ตีขึ้นปะทะอก หายใจสะอึกสะอื้น จะสิ้นใจ
เอามหาหิงคุ์ ยาด�ำ รงทอง หัวอุตพิด บุกรอ กลอย กระดาดทั้งสอง สนเทศ สักขี เปล้าทั้ง 2 รากช้าพลู กัญชา
ลูกสมอไทย สมอพิเภก สะค้าน ดีปลี ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู ว่านนางค�ำ ใบคนทีสอ ใบสันพร้าหอม
ใบสวาด เทียนด�ำ เทียนขาว โกฐเชียง อบเชย พริกไทย ลูกมะตูมอ่อน แก่นแสมทั้ง 2 เอาส่วนเท่ากัน ท�ำผงละลาย
น�้ำผึ้งกิน

132 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์สังคหะ เล่ม ๒
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๓๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 133
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อปัศวาต ให้เอาโกฐสอจีน ๑ สลึง โกฐสอเทศ ๑ สลึง โกฐจุฬาลัมพา ๑ สลึง ถ้าหามิได้ ให้เอา
หญ้าตีนนกแทนโกฐจุฬาลัมพา ๑ สลึง โกฐพุงปลา ๑ สลึง โกฐกักกรา ๑ สลึง เทียนทั้ง ๕ สิ่งละ ๑ สลึง ผลจันทน์
๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง กานพลู ๑ สลึง ผลเร่ว ๑ สลึง ใบกัญชา ๑ สลึง ใบสมอทะเล ๑ สลึง
ใบหนาด ๑ สลึง ใบกระวาน ๑ สลึง ใบกะเพรา ๑ สลึง เอื้องเพ็ดม้า ๑ สลึง สะค้าน ๑ สลึง ช้าพลู ๑ สลึง
ขิงแห้ง ๑ สลึง ไพลแห้ง ๑ สลึง ข่าตาแดงแห้ง ๑ สลึง ว่านน�้ำ ๑ สลึง เปราะหอม ๑ สลึง เจตมูล ๑ สลึง
เจตพังคี ๑ สลึง ดองดึง ๑ สลึง พริกไทยล่อน ๑ สลึง สมุลแว้ง ๑ สลึง ผักแพวแดง ๑ สลึง โรกแดง ๑ สลึง
โรกขาว ๑ สลึง รากลูกเขยตาย ๑ สลึง ระย่อม ๑ สลึง พิษนาศน์ ๑ สลึง ไคร้เครือ ๑ สลึง แก่นแสมสาร ๑ สลึง
แก่นแสมทะเล ๑ สลึง แห้วหมู ๑ สลึง บอระเพ็ด ๑ สลึง มะขามป้อม ๑ สลึง สมอพิเภก ๑ สลึง สมอไทย ๑ สลึง
สมอเทศ ๑ สลึง หัวบุก ๑ สลึง กลอย ๑ สลึง กระดาดแดง ๑ สลึง กระดาดขาว ๑ สลึง อุตพิด ๑ สลึง เสมอภาค
แก่นขี้เหล็ก กึ่งยา ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง โกฐน�้ำเต้า เท่ายา ๔ ต�ำลึง ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ถ้าโรคนั้น
นานนัก ให้ใส่มหาหิงคุ์ ยาด�ำ น�้ำประสานทอง น�้ำกระสาย อันควรแก่โรค ขับอุจจาระ ปัสสาวะ ให้เดินเป็นปกติ
แก้ปัตคาด อัมพาต อัมพฤกษ์ ท�ำพิษ หายวิเศษนักแล ๚ะ

134 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์สังคหะ เล่ม ๒
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๓๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 135
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลมปัตคาด ให้ตึง ให้ตายไปจ�ำหระหนึ่ง บางทีเป็นไปทั้ง ๒ ข้าง ให้ชักงุ้มไปข้างหน้า แหงนมา
ข้างหลัง บางทีให้เหน็บ ให้ชา เป็นง่อย เป็นเปลี้ย ให้เป็นไปจ�ำหระหนึ่ง ปากเบี้ยว ตาแหก หูหนัก ตาฟาง รู้มิถึงว่า
เป็นลมอัมพาต ราทยักษ์ อักขมุขี อีงุ้มอีแอ่น ลมปัตคาดนี้ให้ถ่ายอุจจาระผูกเป็นพรรดึก บางทีให้ขัดปัสสาวะด้วย
บางทีให้ปัสสาวะมาก ถ่ายบ่อย ๆ หยดย้อยไปก็มี
ท่านให้กินยาขนานนี้วิเศษนัก ท่านให้เอา โกฐสอจีน ๑ โกฐสอเทศ ๑ โกฐจุฬาลัมพา ๑ ถ้ามิได้ให้เอา
หญ้าตีนนก ๑ โกฐพุงปลา ๑ โกฐกักกรา ๑ เทียนทั้ง ๕ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ผลเร่ว ๑
ใบกัญชา ๑ ใบสมอทะเล ๑ ใบหนาด ๑ ใบกะเพรา ๑ ใบกระวาน ๑ เอื้องเพ็ดม้า ๑ สะค้าน ๑ ช้าพลู ๑ ขิงแห้ง ๑
ไพลแห้ง ๑ ข่าตาแดงแห้ง ๑ กระชายแห้ง ๑ ว่านน�้ำ ๑ เปราะหอม ๑ เจตมูลเพลิง ๑ เจตพังคี ๑ ดองดึง ๑
พริกไทยล่อน ๑ พริกเทศ ๑ พริกชี้ฟ้า ๑ อบเชย ๑ สมุลแว้ง ๑ ผักแพวแดง ๑ เปล้าน้อย ๑ เปล้าใหญ่ ๑ โรกแดง ๑
โรกขาว ๑ รากลูกเขยตาย ๑ ระย่อม ๑ แก่นแสมสาร ๑ แก่นแสมทะเล ๑ แก่นขี้เหล็ก ๑ แห้วหมู ๑ บอระเพ็ด ๑
หัสคุณเทศ ๑ หัสคุณไทย ๑ มะขามป้อม ๑ สมอพิเภก ๑ สมอไทย ๑ หัวบุก ๑ หัวกลอย ๑ กระดาดแดง ๑
กระดาดขาว ๑ หัวอุตพิด ๑ เสมอภาค โกฐน�้ำเต้าเท่ายาทั้งหลาย ถ้าโรคนั้นนาน โรคนั้นหนัก ให้ใส่ มหาหิงคุ์ ยาด�ำ
น�้ำประสานทอง แล ๚ะ

136 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 137
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลมปัตคาด ให้ตึง ให้ตายไปจ�ำหระหนึ่ง ลางทีเป็นทั้งสองข้าง ให้ชักงุ้มไปข้างหน้าแง้นมา
ข้างหลัง ลางทีให้เหน็บให้ชา เสียแข้งเสียขา เป็นง่อย เป็นเปลี้ย ให้เป็นไปซีกเสี้ยว ปากเบี้ยว ตาแหก หูหนัก ตาฟาง
รู้มิถึงว่าเป็นลมอัมพาต ราทยักษ์ อักขมุขี อีงุ้มอีแอ่น ลมปัตคาดนี้ให้ถา่ ยอุจจาระผูกเป็นพรรดึก ลางทีให้ขัดปัสสาวะ
ด้วย ลางทีให้ขัดปัสสาวะมาก เบาบ่อย ๆ หยดย้อยไปก็มี ท่านให้กินยาขนานนี้วิเศษนัก โกฐสอจีน ๑ โกฐสอเทศ ๑
โกฐจุฬาลัมพา ๑ ถ้าหามิได้ หญ้าตีนนก ๑ โกฐพุงปลา ๑ โกฐกักกรา ๑ เทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑
กระวาน ๑ กานพลู ๑ ลูกเร่ว ๑ ใบกัญชา ๑ ใบสมอทะเล ๑ ใบหนาด ๑ ใบกระวาน ๑ ใบกะเพรา ๑ เอื้องเพ็ดม้า ๑
สะค้าน ๑ ช้าพลู ๑ ขิงแห้ง ๑ ไพลแห้ง ๑ ข่าตาแดงแห้ง ๑ กระชายแห้ง ๑ ว่านนํ้า ๑ เปราะหอม ๑ เจตมูลเพลิง ๑
เจตพังคี ๑ ดีงูต้น ๑ พริกไทยล่อน ๑ พริกเทศชี้ฟ้า ๑ อบเชย ๑ สมุลแว้ง ๑ ผักแพวแดง ๑ เปล้าน้อย ๑ เปล้าใหญ่ ๑
โรกแดง ๑ โรกขาว ๑ รากลูกเขยตาย ๑ ระย่อม ๑ แก่นแสมสาร ๑ แก่นแสมทะเล ๑ แก่นขี้เหล็ก ๑ แห้วหมู ๑
บอระเพ็ด ๑ หัสคุณเทศ ๑ หัสคุณไทย ๑ มะขามป้อม ๑ สมอพิเภก ๑ สมอเทศ ๑ สมอไทย ๑ หัวบุก ๑ หัวกลอย ๑
กระดาดแดง ๑ กระดาดขาว ๑ หัวอุตพิด ๑ เสมอภาค โกฐนํ้าเต้าเท่ายาทั้งหลาย ถ้าโรคนั้นนาน โรคนั้นหนักให้ใส่
มหาหิงคุ์ ยาด�ำ นํ้าประสานทองด้วย

138 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อปัตคาด ให้เอา โกฐสอจีน ๑ สลึง โกฐสอเทศ ๑ สลึง โกฐจุฬาลัมพา ๑ สลึง ถ้าหาไม่ได้
ให้เอาหญ้าตีนนกแทน โกฐจุฬาลัมพา โกฐพุงปลา ๑ สลึง โกฐกักกรา ๑ สลึง เทียนทั้ง 5 สิ่งละ ๑ สลึง ผลจันทน์
๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง กานพลู ๑ สลึง ผลเร่ว ๑ สลึง ใบกัญชา ๑ สลึง ใบสมอทะเล ๑ สลึง
ใบหนาด ๑ สลึง ใบกระวาน ๑ สลึง ใบกะเพรา ๑ สลึง เอื้องเพ็ดม้า ๑ สลึง สะค้าน ๑ สลึง ช้าพลู ๑ สลึง ขิงแห้ง
๑ สลึง ไพลแห้ง ๑ สลึง ข่าตาแดงแห้ง ๑ สลึง กระชายแห้ง ๑ สลึง ว่านนํ้า ๑ สลึง เปราะหอม ๑ สลึง เจตมูลเพลิง
๑ สลึง เจตพังคี ๑ สลึง ดองดึง ๑ สลึง พริกไทย ๑ สลึง สมุลแว้ง ๑ สลึง ผักแพวแดง ๑ สลึง โรกแดง ๑ สลึง
โรกขาว ๑ สลึง รากลูกเขยตาย ๑ สลึง ระย่อม ๑ สลึง พิษนาศน์ ๑ สลึง ไคร้เครือ ๑ สลึง แก่นแสมสาร ๑ สลึง
แก่นแสมทะเล ๑ สลึง

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 139
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดราชโอสารามราชวรวิหาร
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ลมชื่อพิรุศวาโย มันจับแก่ใครจะเบือนตัวมิได้เลย อยากแต่ของหวาน ถ้าเกิดแก่ผู้ใดยายากนัก
ถ้าจะแก้ เอา ไพล ๒ บาท ตานน�ำ้ ๒ บาท ม่วงคัน ๒ บาท ตานหม่อน ๒ บาท ส้มกุง้ ๒ บาท สุพรรณถัน ๒ บาท
แทงทวย ๒ บาท ทราก ๒ บาท ปีบ ๒ บาท กัญชา ๑ ต�ำลึง ๒ บาท ผักแว่น ๑ ต�ำลึง ตีนเป็ด ๑ ต�ำลึง
ขอบชะนางแดง ๑ ต�ำลึง ช้าพลู ๑ บาท โปร่งฟ้า ๑ ต�ำลึง ตานด�ำ ๑ ต�ำลึง ถั่วแระ ๒ บาท ใบสะเดา ๑ ต�ำลึง
คนทีสอ ๑ ต�ำลึง พันงู ๑ ต�ำลึง ลูกผักกาด ๑ ต�ำลึง ลูกจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท ดีปลี ๑ บาท ขิงแห้ง ๑ บาท
ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งกิน ทุกวันหาย ๚

140 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาว่าด้วยโรคกระไสย
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ บุก ๒ บาท กลอย ๙ สลึง อุตพิด ๑ บาท ดองดึง ๒ สลึง ดีปลี ๑ บาท ขิงแห้ง ๓ สลึง เจตมูล ๒ บาท
จิงจ้อหลวง ๒ บาท ๒ สลึง พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ลูกจันทน์ ๑ บาท กัญชา ๑ บาท ใบหัสคุณ ๑ บาท
ทองหลางใบมน ๑ บาท ใบคูณ ๑ บาท ละลายน�้ำร้อนเท่าลูกพุทรากิน วันละ 3 ลูก สารพัดพยาธิทั้งหลายแล
ชื่อไกรยราวุฒิแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 141
ชื่อเอกสาร ตํารากะสายกล้อน
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชือ่ ธนสิทธิ์ ท่านให้ เอา ว่านน�ำ้ ๑ สะค้าน ๑ ขิง ๑ พริกไทย ๑ บอระเพ็ด ๑ เปล้าใหญ่ ๑ แห้วหมู ๑
กัญชา ๑ สมอทั้ง 3 ลูกพิลังกาสา ๑ ลูกกระวาน ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ เทียนทั้ง ๕ ยาทั้งนี้ เอาสิ่งละ ๑ ต�ำลึง
ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู เอาหนักสิ่งละ ๒ สลึง กันเกราเอาเท่ายาทั้งหลาย แล้วเอาดีปลีเท่ายา ศิริยา ๒๗ สิ่งนี้
ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำผึ้งกินเท่าลูกสมอ แก้โรคทั้งปวง แลแก้ลมวะทังวะไท กินแก้ลมกษัยกล่อน ลมสะทกสะท้าน
ลมปะทะในอก อาเจียน ลมอัมพฤกษ์ น�้ำลายเหนียว แก้ริดสีดวง แก้เสมหะ ๗ จ�ำพวก ๑๖ จ�ำพวก กินหายสิ้นแล
แก้มือเย็น ตีนเย็น เมื่อยขบ ตามืด หูหนัก สารพัดโรค ยักน�้ำกระสายเอาเถิด ดีนักแล ๚

142 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาคลอดบุตร
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๖
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยานี้ชื่อไวเวก นั้นเล่า เอา พริกไทย ๑ ใบคนทีสอ ๑ พริกหาง ๑ ขิง ๑ ไพล ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ สลึง
ดีปลี ๑ บาท รากช้าพลู ๒ สลึง สะค้าน ๑ บาท รากเจตมูลเพลิง ๒ สลึง หัสคุณเทศ ๒ สลึง เปล้าน้อย ๑ สลึง
เปล้าใหญ่ ๓ สลึง สมอทั้ง ๓ สิ่งละ ๒ บาท สมุลแว้ง ๑ สลึง น�้ำประสานทอง ๒ สลึง ลูกกระวาน ๒ สลึง
กานพลู ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๑ สลึง เทียนทั้ง ๕ เอาสิ่งละ ๑ สลึง กัญชา ๒ สลึง การบูร ๒ สลึง รงทอง ๒ สลึง
ยาด�ำ ๓ บาท สิ่งทั้งนี้ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำส้มซ่า น�้ำส้ม น�้ำมะนาว น�้ำผึ้งก็ได้ กินเถิด แลลมอัมพาต ราทยักษ์
แก้บวม ผอม หอบพักเหลือง จุกเสียด เสมหะแห้งในอก แก้บุพโพโลหิตอันให้โทษต่าง ๆ แก้สันนิบาต แก้ลมปชวนะ
แก้ไข้ท่านเพื่อเสมหะให้มีก�ำลัง เชื่อมมิสิ้นเป็นก�ำลัง แก้พรรดึก และเสมหะอันเป็นก้อนจมอยู่ในท้อง เลือดมิถึงระดูก็ดี
ประสูติลูก อยู่ไฟไม่ได้ จุกเสียดเพราะเลือดก็ดี กลายเป็นริดสีดวงให้บวมย่อมหอบพัก ยาทั้ง 2 ขนานนี้บ�ำรุงธาตุ
ยาทั้งนี้คู่กันได้ท�ำมาแล้ว ยานี้ให้แต่งเครื่องกระยาบวด ธูปเทียน ข้าวตอก ดอกไม้ มะพร้าวอ่อนลูกหนึ่ง เงิน ๑ บาท
๒ สลึง ปิดเทียนเขาจึงท�ำ ๓ วัน ๗ วัน จึงประสิทธิ ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 143
ชื่อเอกสาร คัมภีร์สังคหะ เล่ม ๒
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๓๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

144 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อนารายน์เรืองเดช แก้ลม ๓๘ จ�ำพวก ให้ตามืด หูหนัก ให้เหน็บ ให้ชา แขนขาตายไป
จ�ำหระหนึ่ง ให้ปากเบี้ยว ตาแหก สติเคลิ้มคลุ้ม เป็นใบ้บา้ เสียจริตไป แก้ลง แก้ราก แก้บิด ปวดมวน
ท่านให้เอา ไฟเดือน 5 ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เอื้องเพ็ดม้า ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง หัวดองดึง ๑ บาท
๓ สลึง ๑ เฟื้อง บอระเพ็ด ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง รากเจตมูลเพลิง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ขมิ้นอ้อย ๑ บาท ๓ สลึง
๑ เฟื้อง ข่า ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง กระชาย ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง กะทือ ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ไพล ๑ บาท
๓ สลึง ๑ เฟื้อง ขิงแห้ง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง รากช้าพลู ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ผิวมะกรูด ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง
ผิวส้มซ่า ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ผิวมะงั่ว ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ผลช้าพลู ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง หัวแห้วหมู
๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ใบหนาด ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ใบเสนียด ๒ ต�ำลึง ๓ บาท ใบคนทีสอ ๒ ต�ำลึง ๓ บาท
ใบมะตูม ๒ ต�ำลึง ๓ บาท ใบมะค�ำไก่ ๒ ต�ำลึง ๓ บาท ใบเลี่ยน ๒ ต�ำลึง ๓ บาท ผักเสี้ยนผี ๒ ต�ำลึง ๓ บาท กุ่มน�้ำ
๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง กุ่มบก ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง มะรุม ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ทองหลาง ๑ บาท ๓ สลึง
๑ เฟื้อง บุกรอ ๑ บาท ๒ สลึง ดีปลี ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง กัญชา ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ว่านน�้ำ ๓ บาท ๒ สลึง
๑ เฟื้อง ผลกระวาน ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ผลพิลังกาสา ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๓ บาท ๑ เฟื้อง
มหาหิงคุ์ ๓ สลึง เกลือสินเธาว์ ๑ บาท ๑ สลึง สะค้าน ๑ บาท เทียนแดง ๑ บาท ๑ สลึง เทียนขาว ๑ บาท
เทียนด�ำ ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนตาตั๊กแตน ๑ บาท เทียนแกลบ ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เทียนเยาวพาณี ๑ สลึง
โกฐสอ ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง โกฐพุงปลา ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง โกฐเขมา ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง โกฐเชียง ๑ บาท ๒ สลึง
หัวเต่าเกียด ๑ บาท ๒ สลึง คุคะ ๑ บาท ๒ สลึง การบูร ๑ ต�ำลึง ๑ บาท มหาสะด�ำ ๑ บาท ๒ สลึง
พญามือเหล็ก ๑ บาท ๒ สลึง ผลจันทน์ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท พริกไทย ๑ ต�ำลึง ๑ บาท
ต�ำเป็นจุณ เวลาเช้าน�้ำผึ้ง เวลากลางวัน เวลาเย็นเบญจกูล รวมเป็นสรรพ ๕๖ สิ่ง ๚ะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 145
ชื่อเอกสาร ตํารายาฝีดาด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๖๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อปทุมโอสถ โกฐทั้ง ๙ เทียนทั้ง ๗ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ จันทน์ทั้ง ๒ ช้าพลู ๑ กานพลู
ลูกกระวาน ใบกระวาน กัญชา ๑ สมอทั้ง ๓ มะขามป้อม สิ่งละ ๑ บาท เกสรบัวหลวงเท่ายา ต�ำผง น�้ำดอกไม้เทศ
ปรุงชะมด ๑ สลึง ชะมดเชียง ๒ สลึง พิมเสน ๓ สลึง หญ้าฝรั่น ๒ สลึง อ�ำพันทอง ๒ สลึง เกล็ดหอยหอม ๒ สลึง
กระแจะตะนาว ๒ สลึง บดเป็นแท่ง ตากในร่ม เมื่อจะกินน�้ำดอกไม้เทศ น�้ำดอกไม้ไทย นอนไม่หลับ กินอาหารไม่ได้
ให้อิดโรย เหนื่อยหน่าย กินยานี้หายมีก�ำลัง แลตานซาง สาริบาต ฝีดาษสลบไปสุรา ถ้าไข้จับแลสาริบาต น�้ำดอกไม้
ถ้าตานภายนอก ถ้าตานภายใน น�้ำสารพัดเขี้ยวงา ถ้าจะถ่ายบิดเอาน�้ำใบสวาด รากจิงจ้อแทรกกินลงแล แก้ลงท้อง
ตกมูก ตกเลือดอติสาร น�ำเปลือกมะเดื่อต้มหยุด ถ้าลงโลหิต ชุมเห็ดไทย ใบเทียน ใบทับทิม น�้ำกระสายยาหยุดราก
น�้ำลูกยอ แทรกพิมเสนกิน ถ้าชักมือก�ำ ตีนก�ำ แลท�ำให้ลิ้นกระด้างคางแข็งกินหาย ฯ

146 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๒๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อบรมไกรจักร เอา เปลือกมูกหลวง เปลือกมูกมัน บอระเพ็ด ๑ แห้วหมู ๑ รากเจตมูล ๑
กรุงเขมา ๑ ดีปลี ๑ กัญชา ๑ อุตพิด ๑ พริกทั้ง ๓ ใบสลอดกินลง เอาเสมอภาค ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำผึ้งกิน
บ�ำบัดลม ๔๒ จ�ำพวก ริดสีดวง ๔๐ จ�ำพวก บ�ำบัดโรคสันนิบาต ๔๐ จ�ำพวก แก้เสมหะแลมองคร่อ ๔๒ จ�ำพวก
แก้ไอเพื่อเสมหะ แลมองคร่อ ๑๔ จ�ำพวก ยานี้ประสิทธินักแล๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 147
ชื่อเอกสาร พระตําหรับหลวง
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๒๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อไฟประลัยกัลป์ คู่กันทั้ง ๒ ขนานแก้ได้เหมือนกัน เอา ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑
กานพลู ๑ ดีปลี ๑ โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ เปลือกสมุลแว้ง ๑ รากส้มกุ้ง ๑ เปล้าทั้ง ๒ ชะเอมเทศ ๑ รากจิงจ้อ ๑
สะค้าน ๑ พริกหาง ๑ ดองดึง ๑ หัวแห้วหมู ๑ เปลือกแมงคุด ๑ ยา ๒6 นี้เอาสิ่งละ ๒ บาท กัญชา ๒ สลึง
การบูร ๒ สลึง หัสคุณเทศ ๒ บาท เจตมูลเท่ายาทั้งหลาย จึงเอาพริกไทยเท่าเจตมูล จึงเอาขิงเท่าพริกไทย ต�ำผง
ละลายน�้ำกระสายเหมือนกัน

148 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลม ๑๖ จ�ำพวก ขนานนี้ ท่านให้เอา ว่านน�้ำ ๓ สลึง มหาหิงคุ์ ๓ สลึง ขิงแห้ง ๓ สลึง ดีปลี ๓ สลึง
เจตมูลเพลิง ๓ สลึง สมุลแว้ง ๓ สลึง ชะเอมเทศ ๓ สลึง รากตองแตก ๓ สลึง โกฐเขมา ๓ สลึง เทียนด�ำ ๓ สลึง
เทียนขาว ๓ สลึง ดอกจันทน์ ๓ สลึง หัสคุณเทศ ๓ สลึง เปล้าน้อย ๓ สลึง เปล้าใหญ่ ๓ สลึง เปล้าน�้ำเงิน ๓ สลึง
ลูกผักชีล้อม ๓ สลึง ลูกผักชีลา ๓ สลึง อบเชยไทย ๓ สลึง ใบกัญชา ๓ สลึง ศิริยา ๒๐ สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ ละลาย
น�้ำขิง น�้ำผึ้ง น�้ำมะนาวก็ได้ กินแก้ลมมือ ลมตีน เหน็บ แลเหน็บไปทั้งตัว แลลมปัตคาด แลแก้ลมทั้ง ๑๖ จ�ำพวก
แลลมกามจวนกินดี ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 149
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 272
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อเนาวโกฐ เอา โกฐทั้ง ๙ เทียนทั้ง ๗ ลูกผักชีทั้ง ๒ อบเชย ๑ ดอกบุนนาค ๑ สารภี ๑ บัวทั้ง ๕
มะลิ ๑ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ จันทน์ทั้ง ๒ รากย่านาง ๑ พิมเสน ๑ ดีงูทับทาง ๑ ชะเอมทั้ง ๒ สมุลแว้ง ๑
เปราะหอม ๑ ใบพิมเสน ๑ ระย่อม ๑ พิษนาศน์ ๑ คุคะ ๑ มหาสด�ำ ๑ เนระพูสี ๑ ว่านกีบแรด ๑ ว่านร่อนทอง ๑
นอแรด ๑ เขากวาง ๑ งาช้าง ๑ กระดูกงูทับทาง 1 เลือดแรด ๑ หัวหญ้าชันกาด ๑ น�้ำประสานทอง ๑ ลิ้นทะเล ๑
แก่นประดู ๑ สักขี ๑ ดินถน�ำ ๑ ชะมด ๑ ฝิ่นต้น ๑ ฝิ่นเครือ ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑
ชาดหรคุณ ๑ ลูกราชดัด ๑ สารพัดพิษ ๑ เบญกานี ๑ ยาทั้งนี้สิ่ง ๑ เฟื้อง ลูกบัว ๑ บาท กัญชา ๑ บาท ชะลูด ๑
จันทน์เทศ ๑ จันทน์ไทย ๑ ต้มเอาน�้ำเป็นกระสาย บดท�ำแท่งแก้ไข้ ๑๒ จ�ำพวก ถ้ารากเอาพิมเสนใส่ในลูกยอ
เผาให้ไหม้ บดละลายยากินแล ๚

150 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 273
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ก�ำเนิดปัตคาด ราทยักษ์มันเกิดในไส้ ให้เท้าสั่น มือสั่น สั่นทั่วสารพางค์ ปากเบี้ยว ตาแหก ให้เอา
เลือดออกเสียแล้ว จึงประคบด้วยยานี้ เอา ใบกัญชา ๑ ใบข่า ๑ ใบหมีเหม็นอ่อน ๑ แป้งเหล้า ๑ ยานี้ ต�ำให้แหลก
เอาน�้ำมะงั่วเป็นกระสาย เหล้าน้อยหนึ่ง ห่อผ้าประคบลมแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 151
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 273
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือชสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ขนานหนึ่งแก้ลมกระทบหทัย เอา โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑
กานพลู ๑ การบูร ๑ พิมเสน ๑ มหาหิงคุ์ ๑ ยาด�ำ ๑ เกลือสินเธาว์ ๑ รง ๑ ผักแพวแดง ๑ ตรีกฏุก ๑ ตรีผลา ๑
เบญจกูล ๑ กัญชา ๑ โหราเท้าสุนัข ๑ เอาเสมอภาค ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งกินแล ๚

152 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร พระตําราหลวงชื่ออุไทยะจีนดาบาฬี
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๗๗
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาขนานหนึง่ ชือ่ ว่า อักปัตร ให้เอา ใบรักขาว ๑ บอระเพ็ด ๑ โกฐแก้ว ๑ ดอกกัญชา ๑ ลูกมะตูมอ่อน ๑
เกลือสินเธาว์ ๑ รากไคร้ ๑ ย่านาง ๑ ชะเอม ๑ แห้วหมู ๑ ทับทิม ๑ ช้าพลู ๑ ดีปลีชา้ ง ๑ เทพทาโรก็ได้ สนก็ได้ ๑
สมุลแว้ง ๑ สมอเทศ ๑ เทียนด�ำ ๑ ดองดึง ๑ จุกโรหิณี ๑ พริกไทย ๑ เอาเสมอภาค ตากให้แห้ง ต�ำเป็นผงละลาย
น�้ำอ้อยกินเท่าลูกในสมอพิเภก แก้ลม ๘๐ จ�ำพวก แก้ดีพลุ่ง ๔๐ จ�ำพวก แก้เสลด ๒๐ จ�ำพวก แก้ประเมหะ
๒๐ จ�ำพวก แลโรคกุฏฐัง แก้บวม ๕ ประการ แก้ริดสีดวงน�้ำ แลลมจุกเสียด แลโรคผอมเหลือง แก้โรคเสียงแหบ
แก้ไข้คร�่ำคร่า แก้ไข้เจลียง ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 153
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 312
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ มีลมอันหนึ่งชื่อลมเยาววารี ย่อมเกิดแต่ต้นคอ คอตีนร้อนดุจดังไฟ เอา กัญชา หนัก ๑ ต�ำลึง
พริก ๗ ต�ำลึง ขิง ๑ ต�ำลึง ส้มกุ้ง ๑ ต�ำลึง คนทีสอ ๑ ต�ำลึง ใบปีบ ๑ ต�ำลึง ใบมะตูม ๑ ต�ำลึง ขอบชะนางแดง ๑ ต�ำลึง
ผักแว่น ๑ ต�ำลึง ตานหม่อน ๑ ต�ำลึง เอาลูกจันทน์ กระวาน สิ่งละ ๒ บาท ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งกิน ๗ วันหาย ๚

154 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 312
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ลมอันหนึ่งชื่อโรกนี เมื่อเป็นนั้นให้แสบไส้ทั่วสารพางค์ตัว ให้ตามืด ให้ครั่นตัว ให้ลิ้นหด ลิ้นแห้ง
กินอาหารมิได้ ให้เอา หอมแดง ๑ ขิง ๑ ใบมะตูม ๑ คนทีสอ ๑ ใบเสนียด ๑ ใบสะเดา ๑ ใบปีบ ๑ ใบหนาด ๑
ใบมะยมตัวผู้ ๑ เอาสิ่งละ ๑ ต�ำลึง รากช้าพลู ๑ ลูกจีน ๑ กระวาน ๑ ดีปลี ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท สน ๒ บาท
หัวบุก ๑ บาท อุตพิด ๑ ตรีกฏุก กัญชาเท่ายาทั้งหลาย ต�ำเป็นผง กวนน�้ำผึ้งกิน ๗ วันหาย ตีค่าไว้ ๑ ชั่งทอง
หนึ่งแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 155
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 548
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

156 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อจุลอัพยาฤทธิ ท่านให้เอา รากช้าพลู 1 ต�ำลึง สะค้าน 1 ต�ำลึง เจตมูล 1 ต�ำลึง ขิงแห้ง 1 ต�ำลึง
ดีปลี 1 ต�ำลึง 2 บาท แก่นขี้เหล็ก 2 ต�ำลึง แก่นแสมทะเล 1 ต�ำลึง 2 บาท ดองดึง 1 บาท 2 สลึง ลูกคนทีสอ
1 ต�ำลึง ว่านน�้ำ 1 ต�ำลึง 2 สลึง กะทือ 1 ต�ำลึง ไพล 3 บาท กระชาย 2 บาท ขมิ้นอ้อย 1 ต�ำลึง ข่า 2 บาท
หัวอุตพิด 1 ต�ำลึง หัวกระดาดแดง 2 บาท กลอย 2 บาท เปลือกกุ่มทั้ง 2 สิ่งละ 2 บาท กระเทียมแห้ง 1 ต�ำลึง
ลูกกระดอม 2 บาท ลูกมะแว้งทั้ง 2 สิ่งละ 2 บาท บอระเพ็ด 2 บาท ลูกสมอไทย 3 ต�ำลึง ลูกมะตูมอ่อน 1 ต�ำลึง
2 บาท เปลือกมะรุม 3 บาท เปลือกทองหลางใบมน 3 บาท รากจิงจ้อ 1 ต�ำลึง แห้วหมู 1 ต�ำลึง กัญชา 2 บาท
ผักแพวแดง 2 บาท พริกไทยล่อน 4 ต�ำลึง มหาหิงคุ์ 2 บาท ยาด�ำ 2 บาท การบูร 2 บาท ลูกจันทน์ 1 บาท
เปลือกกันเกราแดง 1 ต�ำลึง ใบมะตูม 2 ต�ำลึง ใบหนาด 2 ต�ำลึง โกฐทั้ง 5 สิ่งละ 2 สลึง เทียนทั้ง 5 สิ่งละ 2 สลึง
ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งกินหนัก ๑ สลึง แก้กล่อน ท้องขึ้นเพลากลางคืน แก้ลมอัมพาตให้มือตาย ตีนตาย ปากเบี้ยว
ตาแหก ละลายน�้ำส้มสายชูกิน ลมราทยักษ์ ละลายน�้ำกระเทียม ลมมหาสดมภ์ ละลายน�้ำมะนาว ลมปัตคาด
ให้เหน็บชา ละลายน�้ำสมอไทยต้มกิน ลมอัมพฤกษ์นอนไม่หลับ ละลายน�้ำสะค้านต้ม หืดไอ มองคร่อ ละลายน�้ำไพล
เลือดตีขึ้น น�้ำใบผักเป็ดแดง ต�ำคั้นน�้ำละลายยากิน ลมริดสีดวง ให้ผอมเหลือง ละลายน�้ำเบญจกูลต้มกิน ท้องมาน
น�้ำเกลือกิน ในทางเลือด ทางลม ใช้ได้ทุกอย่างยักน�้ำกระสาย โดยควรเข้าโรคเถิด ดีนักแล ๚ะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 157
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 548
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

158 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 159
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ต�ำรายา 15 ขนานนี้ท่านพระครูแทนเมืองฉะเชิงเทราให้ไว้ แต่ล้วนยาดีท่านได้ใช้มามากแล้ว
ได้จริงมาก ยาหอมเนาวโกฐ ขนานนี้แก้โรคได้มาก แก้ครอบไปพร้อมทั้งทางเลือด ทางลม แลโรคอื่น ๆ ถ้ารู้จักใช้แล้ว
ใช้ได้มากแก้หมุนไปรอบตัว เจ้าของท่านสรรเสริญว่าดีนักให้เอา โกฐทั้ง 9 เทียนทั้ง 9 เอาสิ่งละ 1 บาท
จันทน์แดง 1 บาท จันทน์ขาว 1 บาท สนเทศ 1 บาท สักขี 1 บาท ชะลูด 1 บาท อบเชย 1 บาท สมุลแว้ง 1 บาท
พิษนาศน์ 1 บาท ว่านกีบแรด 1 บาท ว่านร่อนทอง เอาสิ่งละ 1 บาท รากไคร้เครือ 1 บาท ลูกจันทน์ 1 บาท
ดอกจันทน์ 1 บาท กระวาน 1 บาท กานพลู 1 บาท เกสรบัวหลวง 1 บาท เกสรบุนนาค 1 บาท เกสรสารภี 1 บาท
กฤษณา 1 บาท กระล�ำพัก 1 บาท ขอนดอก 1 บาท เทพทาโร 1 บาท พริกหอม 1 บาท พริกหาง 1 บาท
ดีปลี 1 บาท รากช้าพลู 1 บาท สะค้าน 1 บาท เจตมูลเพลิง 1 บาท ขิงแห้ง 1 บาท ดอกค�ำจีน 3 บาท ดอกค�ำฝอย
3 บาท ดอกค�ำไทย 3 บาท เลือดแรด 1 ต�ำลึง 2 บาท สารส้มสะตุ 1 บาท มดยอบ 3 บาท ฝางเสน 1 ต�ำลึง
2 บาท แฝกหอม 2 บาท เนระพูสี 2 บาท บอระเพ็ด 1 ต�ำลึง จุกโรหิณี 1 บาท การบูร 3 บาท ลูกกระดอม 1 บาท
ยาทั้งนี้ต�ำผงบดปั้นแท่งใช้ได้สารพัด แก้ร้อนทุรนทุราย ทั้งภายนอกภายใน น�้ำซาวข้าวทั้งกินทั้งพ่น คลั่งเพ้อน�้ำมูตร
ถ้ากระหายน�้ำเป็นก�ำลัง เอาน�้ำเปลือกทองหลางใบมน รากบัวหลวงแช่น�้ำเป็นกระสาย เลือดตีขึ้นน�้ำขิงแทรกดีงูกิน
ถ้าไม่ฟังละลายสุราแทรกดีจระเข้กิน ถ้าตกมูก ตกเลือดน�้ำปูนใส ถ้าจะกวาดได้สารพัดน�้ำสุรา ถ้าหาวเรอวิงเวียน
ลุกขึ้นหน้ามืดตามัวน�้ำสะค้านต้มเป็นกระสาย ถ้ากินข้าวไม่ได้ นอนไม่หลับเอากัญชาต้มน�้ำเป็นกระสาย ถ้าราก
เอาข้าวสุกเผาไฟต้มเอาน�้ำเป็นกระสาย ถ้าลงน�้ำเปลือกมะเดื่อ ถ้าสันนิบาตทั้งลงทั้งราก น�้ำมะเฟืองทั้ง 5 ต้ม
เป็นกระสายกินวันละ 3 เพลา ถ้าเมื่อยขบระบมไปทั้งตัว เมื่อยทั้งข้อมือข้อตีน สันหลัง บั้นเอวทั้งกลางวัน กลางคืน
เอากฤษณาแทรก ถ้าไม่ฟังน�้ำกุหลาบทั้งกินทั้งชโลม ถ้าเป็นลมให้ชักมือชักตีนก�ำ ลิ้นกระด้างคางแข็ง น�้ำกานพลูต้ม
ถ้าคลั่งเพ้อน�้ำกุหลาบ เอาหัสคุณเทศต้มเป็นกระสายทั้งกินทั้งทา ถ้าจุกเสียดน�้ำกระเทียม ถ้าปวดหัวน�้ำหัวหอม
เป็นกระสายทา ถ้าไอน�้ำมะนาวกับเกลือกวาด ถ้าตกมูกตกเลือด เอาไพลหมกไฟเป็นกระสาย ถ้าเด็กเป็นตาน
เป็นทราง ให้ขี้เป็นเม็ดมะเขือ เป็นไข่เน่า เป็นน�้ำล้างปลาเอารากตาลทั้ง 5 ต้มกินเช้าเย็น ถ้าเป็นเม็ดขึ้นมาที่ลิ้น
ที่คอ ทรวงอกสุราเป็นกระสายกิน ถ้าพุงโรผอมแห้งเอาตรีผลาต้มเอาน�้ำเป็นกระสาย ถ้ากินข้าวไม่ได้น�้ำผึ้งเป็น
กระสาย ถ้าผูกพรรดึกเอาดีเกลือเป็นกระสายแทรกดีงู ถ้าเป็นงูสวัด เปลือกเพกาฝนเอาน�้ำละลายยาทา

160 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 560
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลม ให้เอา กัญชา ๑ กระเทียม ๑ พริกไทย 1 ดีปลี ๑ ไพล ๑ ว่านน�้ำ ๑ ผิวมะกรูด ๑ การบูร ๑
มะรุม ทั้ง ๕ บดท�ำแท่งไว้ ละลายน�้ำผึ้งกิน ดีนักแล ๚ะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 161
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 560
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาหอมสันนิบาต เอา ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ลูกเอ็นเทศ ๑ เทียนขาว ๑
เทียนยี่หร่า ๑ เทียนตาตั๊กแตน ๑ แก่นสน ๑ ดอกสน ๑ พริกหอม ๑ พริกหาง ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ สลึง กฤษณา ๑
ขอนดอก ๑ ชะมด ๑ โกฐกระดูก ๑ โกฐเชียง ๑ เทียนสัตตบุษย์ ๑ เทียนข้าวเปลือก ๑ กัญชา ๑ ก�ำยาน ๑ จันทน์หอม ๑
แฝกหอม ๑ ลูกโหระพา ๑ เอาสิ่งละ ๒ สลึง ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ สะค้าน ๑ ช้าพลู ๑ เจตมูล ๑ ลูกสมอเทศ ๑ ยาทั้งนี้
เอาสิ่งละ ๑ บาท เอาน�้ำฝักราชพฤกษ์เป็นกระสาย บดแทรกชะมด พิมเสน ร�ำหัดกินแล ๚ะ๛

162 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 566
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ขนานหนึ่งชื่อประลัยกัลป์ใหญ่ ท่านให้เอา ลูกจันทน์ ๑ บาท ๒ สลึง ดอกจันทน์ ๑ บาท ลูกกระวาน
๑ บาท กานพลู ๑ บาท ดีปลี ๓ บาท เปลือกสมุลแว้ง ๑ ต�ำลึง เทียนด�ำ ๒ บาท เทียนขาว ๒ บาท หัวดองดึง
๑ ต�ำลึง กัญชา ๒ ต�ำลึง รากเจตมูลเพลิงแดง ๑ ต�ำลึง ๒ บาท ขิงแห้ง ๓ ต�ำลึง หัวกระดาดแดง ๑ บาท ๒ สลึง
หัวกระดาดขาว ๑ บาท ๒ สลึง หัวบุก ๑ บาท ๒ สลึง หัวกลอย ๑ บาท ๒ สลึง อุตพิด ๑ ต�ำลึง เอาพริกไทยเท่ายา
ทั้งหลาย ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำผึ้งกิน หนัก ๑ สลึง แก้สารพัดลม แลริดสีดวง มองคร่อ หืดไอ กษัย ไส้พอง ท้องมาน
ดานเสมหะ แลป้างมาน แก้ลมทั้ง ๘๐ จ�ำพวก หายแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 163
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 566
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ ยังมีลมอันหนึ่ง ชื่อว่าโรคนี มันให้เจ็บเสียดแทงไปมาทั่วสารพางค์ตัว ให้วิงเวียนหน้า
วิงเวียนตา ให้ทอ้ งขึน้ ท้องพอง กินอาหารมิได้ ท่านให้เอา ขิงแห้ง ๑ หัวหอม ๑ กระเทียม ๑ ใบมะตูม ๑ ใบคนทีสอ ๑
ใบเสนียด ๑ เปลือกมะยมตัวผู้ ๑ ขอบชะนางแดง ๑ รากเสนียด ๑ เปลือกปีบ ๑ รากส้มกุ้ง ๑ รากช้าพลู ๑ เอาสิ่งละ
๒ สลึง ลูกจันทน์ ๑ บาท ลูกกระวาน ๑ บาท ดีปลี ๑ บาท แก่นสน ๒ บาท หัวบุก ๑ ต�ำลึง หัวอุตพิด ๑ ต�ำลึง
กัญชา ๒ บาท พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำผึ้งกิน หนัก ๑ สลึง กินไป ๗ วันหาย แลชื่อโตลาก็วา่
แก้สันนิบาตก็หายแล ๚

164 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 589
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 165
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาพระต�ำรานี้ชื่อ ฝนแสนห่า แก้สันนิบาต ๗ จ�ำพวก อันเป็นเพื่อเสลดก็ดี เพื่อเลือดก็ดี เป็นเพื่อกิน
ของทั่วก็ดี เพื่อท�ำหนักก็ดี ให้แต่งยานี้แก้เถิดไม่เป็นไรเลย แก้ลมทั้ง ๙ จ�ำพวก ก็ได้แล ให้เอา พันธุ์ผักกาด ๑
ลูกผักชี ๑ ขิง ๑ ข่า ๑ กะทือ ๑ ไพล ๑ ใบคนทีสอ ๑ เปล้าทั้ง ๒ เอา ๒ สลึง เนระพูสี ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑
ลูกพิลังกาสา ๑ ดีปลี ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ เทียนทั้ง ๕ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ โกฐหัวบัว ๑ โกฐจุฬาลัมพา ๑
โกฐพุงปลา ๑ ฝิ่น ๑ สลึง ยาด�ำ ๑ สลึง ลูกมะค�ำดีควาย ๑ ผักโหม ๑ ขี้กาทั้ง ๒ สิ่งละ ๑ สลึง ลูกกระดอม ๑ หอม ๑
พริก ๑ กระเทียมกรอบ ๑ อ�ำพัน ๑ กัญชา ๑ การบูร ๑ สมอไทย ๑ สมอพิเภก ๑ ยาทั้งนี้ ต�ำเป็นผงไว้นัตถุ์ก็ดี
แก้เลือดละลายน�้ำส้มป่อย เป็นป่วงละลายด้วยน�้ำเหล้า แก้ลมละลายด้วยอ้อยแดง แก้เสลดละลายด้วยน�้ำมะนาว
แก้ลมขบ แก้เอ็นเสียวไส้ แลลมพานไส้ แก้จุกอก เสียดโครง แก้สะอึกละลายด้วยน�้ำขิงก็ได้ แก้รากก็ได้ ถ้าจะให้ดูแรง
คนไข้ด้วยให้กินแต่ตามก�ำลังเถิด แก้ร้อนนอนมิหลับ กินข้าวไม่ได้ แก้กระหายน�้ำแล ๚

166 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 618
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาพรหมชาติ เอา บัลลังก์ศลิ า ๓ ผักกะโฉม ๑ เอาเกสรบัวหลวง ๑ บัวขม ๑ สัตตบุษย์ ๑ เกสรพุทธชาติ ๑
สารภี ๑ พิกุล ๑ บุนนาค ๑ ล�ำดวน ๑ จ�ำปา ๑ มะลิ ๑ สัตตบงกช ๑ ขอนดอก ๑ อบเชย ๑ ว่านเปราะ ๑ ใบโลด ๑
เทียนทั้ง ๒ ผักเป็ดแดง ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ โกฐทั้ง ๕ จันทน์ทั้ง ๒ กรุงเขมา ๑
เนระพูสี ๑ ก�ำยาน ๑ อ�ำพันขี้ปลา ๑ ลูกผักชีทั้ง ๒ ชะเอมทั้ง ๒ ต้นร่างแห ๑ ลูกเอ็น ๑ รากขัดมอน ๑ ดีปลี ๑
ใบกระวาน ๑ กัญชา ๑ ชะมด ๑ บดปั้นแท่งไว้จะใช้ละลายน�้ำจันทน์ น�้ำดอกไม้เถิด แก้ลมมหาสดมภ์ ลมอัมพาต
ลมพรรดึก แก้ขัดอก แก้จุก ราก ไอ ขัดเบา แลปวดท้อง กินข้าวมิสะดวก แก้บวมภายใน แก้ไข้เหนือสันนิบาต
ระส�่ำระส่าย ให้เอาเถาวัลย์เปรียงแดง แก้ปวดท้อง ถ้ามิฟังเอาแซ่ม้าทะลาย 1 รากโคกกระออม 1 รากชุมเห็ด 1
ต้มเอาน�้ำเป็นกระสายแทรก แก้ปวดปัสสาวะ แก้ระส�่ำระสาย เสียงเครือ คางแข็ง กินข้าวไม่ได้ นอนไม่หลับ
รากลมเปล่า ตานทรางขโมย ให้เชื่อม พิจารณาใช้เอาเถิด ดีนักแล ตีค่าไว้ 1 ชั่งทองแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 167
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ดต่าง ๆ
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 630
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาหอมสว่างอารมณ์ จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา กระล�ำพัก ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู
ชะเอม ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง เทียนทั้ง ๕ พิมเสน เปราะหอม กัญชา เม็ดพันธุ์ผักกาด เกสรบัวหลวง
ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกสารภี อบเชยเทศ ยาทั้งนี้สิ่งละ ๑ บาท ฝิ่น ๑ สลึง ดีงูเหลือม ๑ สลึง
ท�ำเป็นจุณ ๚

168 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ชวดาล
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๑๑๐
ประเภทเอกสารโบราณ ใบลาน

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยังมีลมพวกหนึ่งชื่อว่า จักรพังคี ย่อมให้เจ็บทั่วทั้งสารพางค์ตัว เคลื่อนขึ้นแต่ฝ่ามือไปถึงกระหม่อม
ให้เหม็นปาก ผู้ใดเป็นลมนี้ อายุไม่ยืนเลย ยังมีฤๅษีตนหนึ่งว่า จะแก้ลมนั้นได้ ให้เอาหอมแดง ๑ เปลือกตาเสือ ๑
กัญชา ๑ ดีปลี ๑ ใบทะปิด ๑ ใบสะเดา ๑ เอาเท่ากัน บดลงจงละเอียด เอาน�้ำส้มซ่าเป็นกระสาย คุลีการให้สมกัน
ให้กิน ๕ วัน หายแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 169
ชื่อเอกสาร คัมภีร์ชวดาล
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๑๑๐
ประเภทเอกสารโบราณ ใบลาน

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยังมีลมจ�ำพวกหนึ่งชื่อ พันทวาต มันย่อมให้มือตายตีนตายยังมิเจ็บเลย มันให้กินอาหารมิได้เลย ยังมี
ฤๅษีตนหนึ่งชื่อว่า อุทุกสรรเพชญ์ ว่าจะแก้ลมนั้น ให้เอา กัญชา ๒ บาท เบี้ยผู้ ๑ ต�ำลึง ยาฝิ่น ๑ สลึง น�้ำตาลทราย
๑ ต�ำลึง ลูกจันทน์ ๒ บาท ดีปลี ๒ บาท พริก ๒ บาท หอมแดง ๒ บาท บดจงละเอียด เอาน�้ำมะพร้าวนาฬิเก
เป็นกระสายเคี่ยวไปเป็นยางมะตูมจึงเอาสมอฝ้าย ๑๐ ลูก ปอกใส่ลงในยาอันเคี่ยวนั้น ให้จงงวดดุจสาคู แลเท่าลูกฝ้าย
ทุกวันถอยแล ยานี้ชื่อ มหาอนุรุทวาโยอัคคี ๚

170 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อสว่างอารมณ์ เอาเทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน กานพลู ๑ จันทน์ทั้ง ๒
กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ ขอนดอก ๑ ว่านกีบแรด ๑ ว่านร่อนทอง ๑ อบเชย ๑ ชะเอมเทศ ๑ สังกรณี ๑ เนระพูสี ๑
ดีปลี ๑ ลิ้นทะเลปิ้งไฟ ๑ เปราะหอม ๑ การบูร ๑ เมล็ดพันธุ์ผักกาด ๑ ลูกกัญชา ๑ เกสรบัวหลวง ๑ ดอกพิกุล ๑
ดอกบุนนาค ๑ ดอกสารภี ๑ ดอกมะลิ ๑ พิมเสน ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง บดด้วยน�้ำดีงูเหลือมเป็นกระสายปั้นแท่งไว้กิน
แก้ลงน�้ำรากกล้วยตีบ ๑ ต้มน�้ำลูกจันทน์ก็ได้จะให้ชื่นใจน�้ำดอกไม้ แก้คอเสมหะเหนียว น�้ำชะเอม แก้ไอ น�้ำราก
มะกล�่ำเครือยัก ใช้ตามโรค ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 171
ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบั
บคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
❀ ขนานหนึ่ง เอา เบญจกูล 1 กระทือ 1 ไพล 1 เปลือกกุ่มทั้ง 2 เปลือกมะรุม 1 เปลือกทองหลาง
ใบมน 1 กัญชา 1 ต้นยุงปัดแม่มา่ ย 1 แร่อ้ายติง 1 พระยาโคตตะบอง 1 เสมอภาคท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งกิน
แก้ลมจุกเสียด แก้ลมสันดานหายดีนัก
❀ ขนานหนึ่งเอา เทียนขาว 1 เทียนด�ำ 1 เทียนข้าวเปลือก 3 ขิง 4 เจตมูลเพลิง 5 ใบกัญชา 20
พริกไทย 40 ส่วน ท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้ง น�้ำส้มซ่า กินแก้เส้น แก้เมื่อย แก้เหน็บชา แก้ตีนตาย มือตายหายดีนัก

ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้ลมพรรดึก แก้ลมหูหนัก แก้เสียงแหบแห้ง แก้กล่อนเป็นลูกเป็นก้อนในท้อง แก้เจ็บทวารหนัก
ทวารเบา ปากเปื่อย และให้หนักอก ท้องขึ้นท้องพอง กินอาหารมิได้ เอาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง หัวดองดึง มหาหิงคุ์
ว่านน�้ำ ยาด�ำ โกฐจุฬาลัมพา โกฐพุงปลา โกฐสอ กัญชา หัวอุตพิด ชะเอม ดีปลี แก่นแสมทะเล สิ่งละ ๑ บาท
พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งกิน หนัก ๑ สลึง

172 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


กลุ่มโรคเด็ก
ยาไฟอาวุธ

ยาไฟอาวุธ เป็นต�ำรับยาอยู่ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) หมวดพระคัมภีร์
ประถมจิ น ดา เล่ ม ๑๒ เลขที่ เ อกสารตามหอสมุ ด แห่ ง ชาติ 1019 หนั ง สื อ สมุ ด ไทยด� ำ เมื่ อ พ.ศ. 2413
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ
กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัยจางวางกรมแพทย์เป็นแม่กองจัดหารวบรวม ช�ำระสอบสวนต�ำราคัมภีร์แพทย์ที่ใช้กัน
อยู่ขณะนั้นให้ถูกต้อง แล้วส่งมอบให้พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์
กรมอักษรพิมพการ จัดสร้างขึ้นใหม่เป็น “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เพื่อเป็นส่วนพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ
และเป็นต�ำราที่ใช้ประโยชน์ในชาติบ้านเมืองต่อไป ตัวยาประกอบด้วย ผลจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู
โกฐทั้งห้า เทียนทั้งห้า ชะเอมเทศ กัญชา แก่นแสมทะเล เอาสิ่งละส่วน อุตพิด สุมลแว้ง ดีปลี ใบพิมเสน
เอาสิ่งละ ๒ ส่วน รากจิงจ้อ รากส้มกุ้ง รากเปล้าน้อย รากเปล้าใหญ่ รากสะค้าน รากพาดไฉน เอาสิ่งละ ๓ ส่วน
หัสคุณเทศ ๔ ส่วน บุกรอ ๙ ส่วน พริกไทย ขิงแห้ง เจตมูล เอาสิ่งละ ๑๖ ส่วน วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณเอาน�้ำมะนาว
เป็นกระสาย บดปั้นแท่งไว้กิน สรรพคุณ แก้ทรางทั้ง ๗ จ�ำพวก แก้ตานโจรทั้ง ๑๒ จ�ำพวก แก้หืดน�้ำนมทั้ง ๗ จ�ำพวก
แก้ไอผอมเหลืองแลแก้ไส้พองท้องใหญ่ แก้พุงโร แลลมจุกเสียด แลแก้ป้าง แก้ม้าม แลดานเสมหะให้ปวดมวน
เสียดแทง แลแก้อุจจาระเป็นเสมหะโลหิตระคนกันมักให้ถอยก�ำลังแลมักให้เป็นไข้ไม่รู้สึกตัว ให้ลงเป็นโลหิต
แลไข้เพื่อ เสมหะ ลมโหด นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาไฟอาวุธ ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 223 ชื่อ ตํารายาเกร็ด

❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 238 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 428 ชื่อ ตํารายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 439 ชื่อ ตํารายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
ร.ศ. ๑๒8 พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย
ของราชแพทยาลัยและผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสรได้ริเริ่มจัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2450 โดยได้รับ
พระอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อเวชสาตร์วัณ์ณนา
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
ยาไฟอาวุธ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ยาอักขีวุด ยาแสงอาวุธ ยาอัคคีวุธ เป็นต้น

174 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ประถมจินดา เล่ม ๑๒
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1019
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อไฟอาวุธ ขนานนี้ท่านให้เอา ผลจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5
ชะเอมเทศ กัญชา แก่นแสมทะเล เอาสิ่งละส่วน อุตพิด สมุลแว้ง ดีปลี ใบพิมเสน เอาสิ่งละ ๒ ส่วน รากจิงจ้อ
รากส้มกุ้ง รากเปล้าน้อย รากเปล้าใหญ่ รากสะค้าน รากพาดไฉน เอาสิ่งละ ๓ ส่วน หัสคุณเทศ ๔ ส่วน บุกรอ ๙ ส่วน
พริกไทย ขิงแห้ง เจตมูล เอาสิ่งละ ๑๖ ส่วน รวมยา ๓๒ สิ่งนี้ ท�ำเป็นจุณเอาน�้ำมะนาวเป็นกระสาย บดปั้นแท่งไว้กิน
แก้ทรางทั้ง ๗ จ�ำพวก แก้ตานโจรทั้ง ๑๒ จ�ำพวก แก้หืดน�้ำนมทั้ง ๗ จ�ำพวก แก้ไอผอมเหลือง แลแก้ไส้พองท้องใหญ่
แก้พุงโร แลลมจุกเสียด แลแก้ป้าง แก้ม้าม แลดานเสมหะให้ปวดมวนเสียดแทง แลแก้อุจจาระเป็นเสมหะโลหิต
ระคนกัน มักให้ถอยก�ำลังแลมักให้เป็นไข้ไม่รู้สึกตัว ให้ลงเป็นโลหิตแลไข้เพื่อเสมหะ ลมโหด ถ้าได้กินยาขนานนี้
หายสิ้นทุกประการวิเศษนัก ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 175
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๒๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อไฟอาวุธ เอาพริกไทย 2 ต�ำลึง ๒ บาท ขิงแห้ง 10 บาท เจตมูลเพลิง ๒ ต�ำลึง ๒ บาท บุกรอ
๑ ต�ำลึง ๒ สลึง หัวอุตพิด ๑ ต�ำลึง ๒ สลึง รากจิงจ้อใหญ่ ๑ บาท รากส้มกุ้งน้อย ๑ บาท เปล้าใหญ่ ๑ บาท
เปล้าน้อย ๑ บาท สะค้าน ๑ บาท พาดไฉน ๑ บาท หัสคุณเทศ ๒ บาท ลูกจันทน์เทศ ดอกจันทน์เทศ สิ่งละ ๒ สลึง
กระวาน ๑ บาท กานพลู ๑ บาท เทียนทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๕ เอาสิ่งละ ๒ สลึง สมุลแว้ง ๑ บาท ๒ สลึง ชะเอมเทศ ๑ บาท
ใบพิมเสน ๑ บาท ๒ สลึง กัญชา ๑ บาท ๒ สลึง แก่นแสมทะเล ๑ บาท ๒ สลึง แก่นแสมสาร ๑ ต�ำลึง ๒ สลึง
ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งกับน�้ำมะนาวกิน แก้ลมใหญ่ ๑๖ จ�ำพวก แก้ริดสีดวง หืดไอแห้งก็หาย เป็นกษัย ๗ จ�ำพวกนั้น
ก็หาย แก้ลมสันดาน ดานคุณและดานเสมหะ เป็นป้าง ม้ามและปวดท้อง ท้องขึ้นเป็นท้องใหญ่ ไส้พองก็หาย สารพัด
ลมทั้งปวง ริดสีดวง หอบ หืด ไอทั้งปวงก็หาย ๚

176 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๘
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ อักขีวุฒิ เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู โกฐทั้ง ๕ ชะเอมเทศ กัญชา แก่นแสมทะเล
สิ่งละ 1 ส่วน อุตพิด สมุลแว้ง ช้าพลู ใบพิมเสน สิ่งละ 2 ส่วน รากจิงจ้อ รากส้มกุ้ง เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ สะค้าน
พาดไฉน สิ่งละ ๓ ส่วน บุกรอ ๙ ส่วน พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง เจตมูลเพลิง สิ่งละ ๑๖ ส่วน นํ้ามะนาวเป็นกระสาย
บดท�ำแท่งเท่าเมล็ดนุ่น ละลายนํ้าร้อนก็ได้ นํ้าเปลือกมะรุมต้มก็ได้ ๑ เม็ด ๒ เม็ด ๓ เม็ด ๔ เม็ด ๕ เม็ด พอควร
ด้วยกําลังเด็ก กําลังผู้ใหญ่นั้นเถิด ช�ำระเสมหะแห้งหายแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 177
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 428
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อแสงอาวุธ เอา โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ชะเอม ๑
กัญชา ๑ แก่นแสมทะเล ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง หัวอุตพิด ๑ สมุลแว้ง ๑ ดีปลี ๑ ใบพิมเสน ๒ สลึง รากจิงจ้อ ๑
รากส้มกุ้ง ๑ เปล้าน้อย ๑ เปล้าใหญ่ ๑ สะค้าน ๑ พาดไฉน ๑ สิ่งละ ๓ สลึง หัสคุณเทศ ๑ บาท บุกรอ ๒ สลึง
พริกไทย ๑ ขิงแห้ง ๑ รากเจตมูลเพลิง ๑ สิ่งละ ๑ ต�ำลึง น�้ำมะนาวเป็นกระสาย บดท�ำแท่งกินด้วยน�้ำมะนาวก็ได้
น�้ำร้อนก็ได้ แก้ทราง 7 จ�ำพวกก็ได้ แก้ตานโจร ๑๒ จ�ำพวก หืดน�้ำนม ๗ จ�ำพวก แก้ผอมเหลือง ไส้พองท้องใหญ่
ท้องโร ลมจุกเสียด เป็นป่วง ม้าม เสมหะอุจจาระ เป็นเสมหะโลหิตระคนกัน ให้ปวดมวน จุกเสียด ขบแทง มักให้
ถอยก�ำลัง ย่อมเป็นไปไม่รู้สึกตัวโทษเสมหะแล้วลงเลือด เสมหะ แลลมโหด ให้กินยานี้หาย น�้ำร้อนก็ได้ น�้ำมะนาวก็ได้
น�้ำสมอต้มก็ได้ ตีราคา ๑ ชั่งทอง

178 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 439
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ อัคคีวุธ เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ชะเอมเทศ กัญชา
แก่นแสมทะเล สิ่งละส่วน อุตพิด สมุลแว้ง ดีปลี ใบพรมมิ ใบพิมเสน สิ่งละ 2 ส่วน รากจิงจ้อ รากส้มกุ้ง เปล้าน้อย
เปล้าใหญ่ สะค้าน พาดไฉน สิง่ ละ 3 ส่วน หัสคุณ 4 ส่วน บุกรอ 9 ส่วน พริกไทย ขิงแห้ง เจตมูลเพลิง สิง่ ละ 16 ส่วน
น�้ำมะนาวเป็นกระสายบด ท�ำแท่งกิน แก้ทราง 7 จ�ำพวก แก้หืดน�้ำนม 7 จ�ำพวก แก้ไอผอมเหลือง ไส้พอง
ท้องใหญ่ ลมจุกเสียด เป็นป้าง เถาดานเสมหะให้ปวด…(เอกสารช�ำรุด)…เสียดแทงอุจจาระเป็นเสมหะระคนกัน
มักให้ถอยก�ำลัง ย่อมเป็นไข้ไม่รู้สึกตัว ให้ลงเลือด โทษเสมหะ โลหิตได้กินยานี้ หายสิ้นแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 179
ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒๘
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาชื่อไฟอาวุธขนานนี้ เอาผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕
ชะเอมเทศ ๑ กัญชา ๑ แก่นแสมทะเล ๑ เอาสิ่งละ ๑ ส่วน อุตพิด ๑ เปลือกสมุลแว้ง ๑ ดีปลี ๑ ใบพิมเสน ๑
เอาสิ่งละ ๒ ส่วน รากจิงจ้อ ๑ รากส้มกุ้ง ๑ รากเปล้าน้อย ๑ รากเปล้าใหญ่ ๑ รากสะค้าน ๑ รากพาดไฉน ๑
เอาสิ่งละ ๓ ส่วน หัสคุณเทศ ๔ ส่วน บุกรอ ๙ ส่วน พริกไทย ๑ ขิงแห้ง ๑ รากเจตมูลเพลิง ๑ เอาสิ่งละ ๑๖ ส่วน
รวมยา ๓๒ สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ เอาน�้ำมะนาวเป็นกระสายบดท�ำแท่งไว้ กินแก้ทราง ๗ จ�ำพวก แก้ตานโจรทั้ง ๑๒ จ�ำพวก
แก้หืดน�้ำนม ทั้ง ๗ จ�ำพวก แก้ไอผอมเหลือง แลแก้ไส้พอง ท้องใหญ่ แก้พุงโร แลลมจุกเสียด แลแก้ป้าง แก้ม้าม
แก้ตานเสมหะ ให้ปวดมวน เสียดแทง แก้อุจจาระเป็นเสมหะโลหิตระคนกัน มักให้ถอยก�ำลัง มักให้เป็นไข้ไม่รู้สึกตัว
ให้ลงเป็นโลหิต แก้ไข้เพื่อเสมหะเพื่อลม
ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ ชะเอมเทศ กัญชา แก่นแสมทะเล
เอาสิ่งละ ๑ ส่วน หัวอุตพิด เปลือกสมุลแว้ง ดีปลี ใบพิมเสน เอาสิ่งละ ๒ ส่วน รากจิงจ้อ รากส้มกุ้ง รากเปล้าน้อย
รากเปล้าใหญ่ รากสะค้าน รากพาดไฉน เอาสิ่งละ ๓ ส่วน หัสคุณเทศ ๔ ส่วน หัวบุกรอ ๙ ส่วน พริกไทย ขิงแห้ง
รากเจตมูลเพลิง เอาสิ่งละ ๑๖ ส่วน บดปั้นแท่งด้วยน�้ำมะนาว กินแก้ซาง ๗ จ�ำพวก แก้ตานโจร แก้หืดน�้ำนม
แก้ไอผอมเหลือง แก้ไส้พอง ท้องใหญ่ แก้พุงโร แก้ลมจุกเสียด แก้ป้างม้าม แก้ดานเสมหะ ให้ปวดมวนเสียดแทง
แก้อุจจาระเป็นเสมหะโลหิตระคนกัน ท�ำให้ถอยก�ำลัง ท�ำให้เป็นไข้โดยไม่รู้สึกตัว ท�ำให้ลงเป็นโลหิต แก้ไข้เพื่อเสมหะ
เพื่อลมหายแล
ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
คัมภีร์ประถมจินดา เล่ม ๑2
ยาชือ่ ไฟอาวุธขนานนี้ เอา ผลจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพลู 1 โกฐทัง้ 5 ชะเอมเทศ 1
กัญชา 1 แก่นแสมทะเล 1 เอาสิ่งละ 1 ส่วน อุตพิด 1 เปลือกสมุลแว้ง 1 ดีปลี 1 ใบพิมเสน 1 เอาสิ่งละ 2 ส่วน
รากจิงจ้อ 1 รากส้มกุ้ง 1 รากเปล้าน้อย 1 รากเปล้าใหญ่ 1 รากสะค้าน 1 รากพาดไฉน 1 เอาสิ่งละ 3 ส่วน
หัสคุณเทศ 4 ส่วน บุกรอ 9 ส่วน พริกไทย 1 ขิงแห้ง 1 รากเจตมูลเพลิง 1 เอาสิ่งละ 16 ส่วน รวมยา 32 สิ่งนี้
ท�ำเป็นจุณ เอาน�้ำมะนาวเป็นกระสาย บดท�ำแท่งไว้กินแก้ทราง 7 จ�ำพวก แก้ตานโจร ทั้ง 12 จ�ำพวก แก้หืดน�้ำนม
ทั้ง 7 จ�ำพวก แก้ไอผอมเหลือง แลแก้ไส้พอง ท้องใหญ่ แก้พุงโร แลลมจุกเสียด
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาไฟอาวุธ เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู ชะเอมเทศ กัญชา แก่นแสมทะเล โกฐทั้ง 5
เทียนทั้ง 5 ทั้งนี้ สิ่งละ 1 ส่วน อุตพิด ดีปลี ใบพิมเสน เปลือกสมุลแว้ง สิ่งละ 2 ส่วน รากจิงจ้อ รากส้มกุ้ง
รากเปล้าน้อย รากเปล้าใหญ่ รากสะค้าน รากพาดไฉน สิ่งละ 3 ส่วน หัสคุณเทศ 4 ส่วน บุกรอ 9 ส่วน พริกไทย
ขิงแห้ง รากเจตมูลเพลิง สิ่งละ 16 ส่วน ท�ำเป็นจุณ เอาน�้ำมะนาว เป็นกระสาย บดปั้นท�ำแท่งไว้ กินแก้ซาง 7 จ�ำพวก
และแก้ตานโจร 12 จ�ำพวก แก้หืดน�้ำนมทั้ง 7 จ�ำพวก แก้ไอผอมเหลือง และแก้ไส้พอง ท้องใหญ่ แก้พุงโรและ
ลมจุกเสียด แก้ป้าง แก้ม้าม แก้ดานเสมหะ ให้ปวดมวนเสียดท้อง แก้อุจจาระเป็นเสมหะโลหิตระคนกัน มักให้
ถอยก�ำลัง มักให้เป็นไข้ไม่รู้สึกตัว ให้ลงเป็นโลหิต แก้ไข้เพื่อเสมหะและเพื่อลม
180 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
ชื่อเอกสาร คัมภีร์ลมช่วดาน
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 56
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ทรางกินข้าวมิได้ กินนมมิได้ มิให้นอนมิหลับ เอา ถั่วพู ๑ โกฐ 1 กัญชา ๑ น�้ำตาลทราย ๑
บดท�ำแท่งไว้ ละลายน�้ำกิน ถ้าลงท้องเอาฝิ่นร�ำหัดลง แก้พิการ ตานทรางทั้งปวงแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 181
182 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
กลุ่มโรคริดสีดวง
ยาธรณีไหว

ยาธรณีไหว เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวม
ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตรา
แก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใด ๆ ใครมีใจรัก
วิชาใดก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ต�ำราการแพทย์
การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามบริเวณผนัง
คอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด ซึ่งจะให้
เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์ ว่าด้วยเรื่อง ต�ำรานวด
ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา ชื่อโรค รวมทั้งต�ำราว่าด้วย
สรรพคุณยาทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็นความรู้สืบทอดมาแต่โบราณ
จ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนด
ให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติ หรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8 และการประกาศก�ำหนด
ต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63 ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาธรณีไหว ประกอบด้วย ฝิ่นส่วน ๑ มหาหิงคุ์ ยาด�ำ กัญชา
กระวาน กานพลู สิ่งละ ๔ ส่วน โหราเท้าสุนัข ผลจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนด�ำ เทียนขาว ตรีกฏุก สิ่งละ ๘ ส่วน
การบูร เจตมูลเพลิง สิ่งละ ๑๒ ส่วน รงทองสุทธิ ๒๔ ส่วน วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณบดด้วยน�้ำผึ้งรวงให้กินหนัก ๑ สลึง
สรรพคุณ แก้ริดสีดวง หืด ไอ นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาธรณีไหว ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 282 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม

ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนั ง สื อ สมุ ด ไทยด� ำ เลขที่ 509 ชื่ อ ต� ำ รายาเกร็ ด ประวั ติ วั ด จ� ำ ปา
ให้หอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 510 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 566 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ หลวงแกล้ว
กาญจนเขตร (ม.ร.ว.คอย อรุณวงศ์ ณ อยุธยา) ให้หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2471
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

184 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสาร ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
สรรพริดสีดวง (ระเบียงรอบพระมหาเจดีย์)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 185
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยต�ำรายาคือวิเศษสรรพคุณส�ำเร็จ อันอาจารย์เจ้าในก่อนประมวลไว้ ให้แก้
สรรพโรคทั้งปวงต่าง ๆ สืบกันมา ฯ ในที่นี้จะว่าแต่วิเศษสรรพคุณ คือคณะสรรพยาซึ่งจะแก้โรคสมมติว่าหฤศโรค
คือสรรพริดสีดวงนั้น โดยนัยดังนี้ ฯ
ยาชื่อธรณีไหว เอา ฝิ่น ส่วน ๑ มหาหิงคุ์ ยาด�ำ กัญชา กระวาน กานพลู สิ่งละ ๔ ส่วน โหราเท้าสุนัข
ผลจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนด�ำ เทียนขาว ตรีกฏุก สิ่งละ ๘ ส่วน การบูร เจตมูลเพลิง สิ่งละ ๑๒ ส่วน รงทองสุทธิ
๒๔ ส่วน ท�ำเป็นจุณบดด้วยน�้ำผึ้งรวงให้กินหนัก ๑ สลึง แก้ริดสีดวง หืด ไอ ทั้งปวงหายดีนัก ฯ
สรรพยานี้ ของข้าพระพุทธเจ้า ขุนศรีโอสถ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ขอเดชะ ได้ใช้แล้ว

186 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 282
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 187
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ ยาร้อนชื่อธรณีไหว
ท่านให้เอา มหาหิงคุ์ ๑ สีเสียด ๑ เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว 1 ดีปลี ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ กัญชา ๑
ยาด�ำ ๑ ยา ๙ สิ่งนี้ เอาสิ่งละ ๑ บาท ลูกจันทน์ 2 บาท ขิงแห้ง 2 บาท การบูร 2 บาท เจตมูลเพลิง 1 ต�ำลึง
โหราเท้าสุนัข ๑ ต�ำลึง ๑ บาท รงทอง ๑ ต�ำลึง ๒ สลึง พริกไทย ๒ ต�ำลึง จันทน์ ๑ สลึง ยาทั้งนี้ท�ำเป็นผงละลาย
น�้ำผึ้งก็ได้ น�้ำอ้อยแดงก็ได้ แก้ธาตุพรรดึก สรรพลมทั้งปวง เมื่อยเจ็บท้อง ลมร้อน ลมจุกเสียด ลมขบ ลมมือตาย
ตีนตาย เมื่อยเจ็บทั่วสารพางค์ตัว ให้หวานปาก ให้เจ็บหัวหน่าว ลมมักให้นอนอยู่ เสลดตกผอมเหลือง ก�ำเดาเลือด
ไปดังบ่าตามืด ปนหืด บ่าหลัง ไหล่ กินข้าวมิได้ เจ็บอกอยู่ก็ดี สรรพริดสีดวงในทวารทั้ง ๙ แห่ง สรรพขี้เรื้อนก็ดี
ครั้นได้กินยานี้ก็จะบ�ำบัดหายแล ฯ

188 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 509
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ต�ำราตาคงแขก ยาชื่อธรณีไหว แก้ลมมือตายเท้าตาย แก้ลม 7 จ�ำพวก ลมริดสีดวง ให้ลง ท่านให้เอา
ยาด�ำ 1 ต�ำลึง 1 บาท โหราเท้าสุนัข 1 ต�ำลึง 1 บาท เจตมูล 1 ต�ำลึง 2 สลึง รงทองสะตุ 1 ต�ำลึง 1 บาท 3 สลึง
การบูร 1 บาท 1 สลึง พริกล่อน 1 ต�ำลึง 2 สลึง โกฐสอจีน 1 บาท โกฐเขมา 1 บาท เทียนด�ำ 1 บาท เทียนขาว
1 บาท ลูกจันทน์ 2 บาท กระวาน 2 บาท กานพลู 2 บาท ขิงแห้ง 2 บาท ดีปลี 2 บาท กัญชา 2 บาท มหาหิงคุ์
2 บาท 2 สลึง ฝิ่นดิบ 1 เฟื้อง สีเสียดเทศ 2 สลึง ยา 19 สิ่ง ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งรวง ปั้นลูกกลอน กินหนัก 1 เฟื้อง
แก้ลมตายไปจ�ำหระหนึ่ง แก้ลมขบ ลมเสียด ลมเหน็บชา ลมตะคริว มือเท้ากระดิกไม่ได้ ลมพรรดึกดีนักแล ฯะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 189
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 510
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาด�ำ 1 บาท มหาหิงคุ์ 1 บาท รงทอง 1 บาท สีเสียดเทศ 1 บาท โหราเท้าสุนัข 1 บาท ฝิ่น 1 บาท
กระวาน 1 บาท กานพลู 1 บาท ลูกจันทน์ 1 ต�ำลึง ดีปลี 1 บาท กัญชา 1 บาท เทียนด�ำ 1 ต�ำลึง เทียนขาว 1 ต�ำลึง
การบูร 1 ต�ำลึง 1 บาท เจตมูล 2 ต�ำลึง พริกไทย 2 ต�ำลึง ขิง 2 บาท ยาทั้งนี้ต�ำผงละลายน�้ำผึ้ง แก้ลมจุกเสียด
ยานี้ชื่อขันณีวาย ะ๛

190 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 566
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ ยาชื่อธรณีไหว ท่านให้เอา ยาด�ำ ๑ บาท มหาหิงคุ์ ๑ บาท โหราเท้าสุนัข ๒ บาท พริกไทย
๒ บาท ดีปลี ๒ บาท กระวาน ๑ บาท กานพลู ๑ บาท ลูกจันทน์กะหลาป๋า ๑ บาท ดอกจันทน์กะหลาป๋า ๒ บาท
เทียนด�ำ ๒ บาท เทียนขาว ๒ บาท ขิงแห้ง ๒ บาท รากเจตมูล ๑ ต�ำลึง ๒ บาท กัญชา ๑ บาท การบูร ๓ บาท
ยาฝิ่น ๑ สลึง รงทองฆ่าเสียก่อนเอา ๑ ต�ำลึง ๓ บาท ยาทั้งนี้ต�ำผงละลายน�้ำผึ้ง น�้ำอ้อยแดงก็ได้ กินแก้ธาตุ แก้ลม
พรรดึก แก้สารพัดลมทั้งปวง แก้เจ็บท้อง แก้ลมมือตีนตาย แก้ริดสีดวง ๘ แก้ลมให้เมื่อยเจ็บทั่วสารพางค์ แก้ลม
ให้หวานปาก ลมขัดเจ็บหัวหน่าว ลมมักสลบ หาวนอนก็หาย ต�ำรานี้พระสังฆราชเมืองหงสาวดี อาพาธชี ละลุกนั่งถึง
๓ ปี ฉันยานี้หายดีนักแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 191
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาธรณีไหวของขุนศรีโอสถ เอา ฝิ่น ๑ ส่วน มหาหิงคุ์ ยาด�ำ กัญชา กระวาน กานพลู สิ่งละ ๔ ส่วน
โหราเท้าสุนัข ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ เทียนด�ำ เทียนขาว ตรีกฏุก สิ่งละ ๘ ส่วน การบูร เจตมูลเพลิง สิ่งละ ๑๒ ส่วน
รงทองสุทธิ ๒๔ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดด้วยน�้ำผึ้ง กินหนัก ๑ สลึง แก้ริดสีดวง หืด ไอ
ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)
เอกสารฉบั
บคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอามหาหิงคุ์ ยาด�ำ สีเสียดเทศ เทียนด�ำ เทียนขาว ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู กัญชา รากเจตมูลเพลิง
เอาสิ่งละ 1 บาท ลูกจันทน์ 2 บาท การบูร 1 บาท โหราเท้าสุนัข 5 บาท รงทอง 6 บาท ฝิ่น 4 บาท บดเป็นผง
ละลายน�้ำผึ้งกิน หนัก ๑ สลึง

192 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยานาดธิจร
ยานาดธิจร เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวม
ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตรา
แก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใด ๆ ใครมีใจรัก
วิชาใดก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ต�ำราการแพทย์
การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามบริเวณ
ผนังคอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด
ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์ ว่าด้วยเรื่อง
ต�ำรานวด ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา ชื่อโรค
รวมทั้งต�ำราว่าด้วยสรรพคุณยาทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็นความรู้
สืบทอดมาแต่โบราณจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติ หรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8
และการประกาศก�ำหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยานาดธิจร ประกอบด้วย
โกฐสอ โกฐเขมา เทียนขาว ผลจันทน์ กานพลู สิ่งละส่วน รากทนดี รากชิงชี่ รากจิงจ้อ เปลือกทองหลางใบมน
เปลือกมะรุม เปลือกกุ่มทั้งสอง บุกรอ กลอย อุตพิด ตรีกฏุก กระเทียม มะตูมอ่อน แห้วหมู กัญชา สิ่งละ ๒ ส่วน
วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณบดด้วยน�้ำผึ้งให้กินหนัก ๑ สลึง สรรพคุณ แก้โรคริดสีดวง ผอมเหลืองบริโภคอาหารเผ็ดร้อนมิได้
นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยานาดธิจร ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 193
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสาร ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
สรรพริดสีดวง (ระเบียงรอบพระมหาเจดีย์)

194 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยต�ำรายาคือวิเศษสรรพคุณส�ำเร็จ อันอาจารย์เจ้าในก่อนประมวลไว้ ให้แก้
สรรพโรคทั้งปวงต่าง ๆ สืบกันมา ฯ ในที่นี้จะว่าแต่วิเศษสรรพคุณ คือคณะสรรพยาซึ่งจะแก้โรคสมมติว่าหฤศโรค
คือสรรพริดสีดวงนั้น โดยนัยดังนี้ ฯ
ยาชื่อนาดธิจร เอา โกฐสอ โกฐเขมา เทียนขาว ผลจันทน์ กานพลู สิ่งละส่วน รากทนดี รากชิงชี่ รากจิงจ้อ
เปลือกทองหลางใบมน เปลือกมะรุม เปลือกกุ่มทั้ง 2 บุกรอ กลอย อุตพิด ตรีกฏุก กระเทียม มะตูมอ่อน แห้วหมู
กัญชา สิ่งละ ๒ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดด้วยน�้ำผึ้งให้กินหนัก ๑ สลึง แก้โรคริดสีดวงผอมเหลือง บริโภคอาหารเผ็ดร้อน
มิได้นั้นหายดีนัก ฯ
สรรพยานี้ ของข้าพระพุทธเจ้า ขุนศรีโอสถ ทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย ขอเดชะ ได้ใช้แล้ว

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยานาดธิจร ของขุนศรีโอสถ เอา โกฐสอ โกฐเขมา ลูกจันทน์ กานพลู สิ่งละ 1 ส่วน รากทนดี รากชิงชี่
รากจิงจ้อ เปลือกทองหลางใบมน เปลือกมะรุม เปลือกกุ่มทั้ง 2 บุกรอ กลอย อุตพิด ตรีกฏุก กระเทียม มะตูมอ่อน
แห้วหมู กัญชา สิ่งละ ๒ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดด้วยน�้ำผึ้งหนัก ๑ สลึง แก้โรคริดสีดวงผอมเหลือง และบริโภคอาหาร
เผ็ดร้อนไม่ได้

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 195
ยาสิทธิจร
ยาสิทธิจร เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวม
ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตรา
แก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใด ๆ ใครมีใจรัก
วิชาใดก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ต�ำราการแพทย์
การแพทย์ แ ผนไทยคงจะสู ญ หาย กระจั ด กระจายไปไม่ น ้ อ ย จึ ง น� ำ มาจารึ ก บนแผ่ น หิ น อ่ อ นประดั บ ไว้ ต าม
บริเวณผนังคอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด
ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์ ว่าด้วยเรื่อง
ต�ำรานวด ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา ชื่อโรค
รวมทั้งต�ำราว่าด้วยสรรพคุณยาทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็นความรู้
สืบทอดมาแต่โบราณจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติ หรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8
และการประกาศก�ำหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาสิทธิจร ประกอบด้วย
โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว เทียนด�ำ เทียนขาว ผลจันทน์ กระวาน กานพลู ขิงแห้ง ดีปลี สมอไทย สมอเทศ
สมอพิเภก มะขามป้อม ผลพิลังกาสา แก่นแสมทั้งสอง รากส้มกุ้ง สะค้าน สิ่งละส่วน กัญชา ๒ ส่วน หอยขมเผา
เบี้ยจั่นเผา สิ่งละ ๕ ส่วน พริกไทย ๓๔ ส่วน วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณบดด้วยน�้ำผึ้งให้กินหนัก ๑ สลึง สรรพคุณ แก้ริดสีดวง
หืด ไอ มองคร่อ อกจากนี้ยังพบต�ำรับยาสิทธิจร ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณ เล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
ร.ศ. ๑๒6
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 223 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 240 ชื่อ ตํารายาเกร็ด

196 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสาร ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
สรรพริดสีดวง (ระเบียงรอบพระมหาเจดีย์)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 197
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยต�ำรายาคือวิเศษสรรพคุณส�ำเร็จ อันอาจารย์เจ้าในก่อนประมวลไว้ ให้แก้
สรรพโรคทั้งปวงต่าง ๆ สืบกันมา ฯ ในที่นี้จะว่าแต่วิเศษสรรพคุณ คือคณะสรรพยาซึ่งจะแก้โรคสมมติว่าหฤศโรค
คือสรรพริดสีดวงนั้น โดยนัยดังนี้ ฯ
ยาชื่อสิทธิจร เอาโกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว เทียนด�ำ เทียนขาว ผลจันทน์ กระวาน กานพลู ขิงแห้ง
ดีปลี สมอไทย สมอเทศ สมอพิเภก มะขามป้อม ผลพิลังกาสา แก่นแสมทั้ง 2 รากส้มกุ้ง สะค้าน สิ่งละส่วน
กัญชา ๒ ส่วน หอยขมเผา เบี้ยจั่นเผา สิ่งละ ๕ ส่วน พริกไทย ๓๔ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดด้วยน�้ำผึ้งให้กินหนัก ๑ สลึง
แก้ริดสีดวง หืด ไอ มองคร่อ หายดีนัก ฯ
สรรพยานี้ ของข้าพระพุทธเจ้า ขุนศรีโอสถ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ขอเดชะ ได้ใช้แล้ว

198 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๒๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ ยาแก้ริดสีดวง หืด ไอ และมองคร่อ แลกษัยจุกเสียด และกษัยเถา กษัยดาน ดานคุณ
เราได้ท�ำใช้มากอยู่แล้วเอา หัสคุณเทศ ๑ ลูกมะตูม ๑ รากมะแหนต้น ๑ แก่นแสมทั้ง 2 สะค้าน ๑ รากส้มกุ้ง ๑
ลูกพิลงั กาสา ๑ ลูกสมอเทศ ๑ สมอไทย ๑ มะขามป้อม ๑ ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ โกฐหัวบัว ๑
เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ยา ๒๒ นี้เอาสิ่งละ ๒ สลึง หอยแครง
หอยขม หอยตาวัว หอยจุ๊บแจง หอยกาบ เบี้ยจั่น เบี้ยแก้ ทั้งนี้เผาเอาสิ่งละ ๑ บาท กัญชา ๒ บาท พริกไทยเท่ายา
ทั้งหลาย ถ้าจะให้ทุเลาธาตุ เอาใบสมอทะเลใส่ลง ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ต�ำละลายน�้ำผึ้งกินหนัก ๑ สลึง กินเช้า กินเย็น
แก้ริดสีดวง เลือดเสีย แก้สารพัดลมทั้งปวงดีนักแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 199
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ ต�ำรายาแก้ริดสีดวง หืดไอ มองคร่อ แลลมจุกเสียด เป็นกษัยดาน ดานคุณ เราได้ท�ำใช้
มามากอยู่แล้ว ท่านให้เอา หัสคุณเทศ ๑ ลูกมะตูมอ่อน ๑ รากมะแหนต้น ๑ แก่นแสมทั้ง ๒ สะค้าน ๑ รากส้มกุ้ง ๑
ลูกพิลังกาสา ๑ ลูกสมอเทศ ๑ สมอไทย ๑ ลูกมะขามป้อม 1 โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ โกฐหัวบัว ๑ เทียนด�ำ 1
เทียนขาว ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ ลูกกระวาน ๑ กานพลู ๑ ดีปลี ๑ ทัง้ นีเ้ อาสิง่ ละ ๒ สลึง เอา เปลือกหอยแครง ๑
หอยกาบใหญ่ ๑ หอยตาหัว ๑ หอยขม ๑ เบี้ยจักจั่น ทั้งนี้เผาให้โชนเอาสิ่งละ ๓ สลึง เอา กัญชา ๒ บาท
เอาพริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ถ้าจะให้ผายเอาใบสมอทะเลแทรกลงหนัก ๒ บาท ละลายนํ้าผึ้งรวงกินเท่าหนัก ๑ สลึง
แก้ริดสีดวง ทั้งมองคร่อ หืด ไอ ทั้งปวงนั้นหายแล เราได้ท�ำใช้มากอยู่แล้ว อย่าสนเท่ห์เลยดีนักแล ๚

200 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ขนานหนึ่งชื่ออัมฤตย์โอสถ แก้ลมกษัยทั้งปวง เอา หัสคุณ ๑ แก่นแสมทะเล ๑ รากส้มกุ้ง ๑ ลูกมะตูม ๑
ลูกมะแหน ๑ ลูกพิลงั กาสา ๑ สมอเทศ ๑ สมอไทย ๑ โกฐเขมา ๑ เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑
กระวาน ๑ กานพลู ๑ ดีปลี ๑ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค เอาเปลือกหอยโข่ง ๑ เปลือกหอยขม ๑ เปลือกหอยแครง ๑
เบี้ยผู้เผา ๑ เอาสิ่งละ ๓ ส่วน เอา กัญชา ๑๐ ส่วน เอาพริกไทย ๒ เท่ายาทั้งหลาย ต�ำผงกระสายยักย้าย
ใช้ให้ชอบโรคทั้งหลายเถิด

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
❀ ยาอํามฤตโอสถ แก้ลมกษัยทั้งปวง เอาหัสคุณ แก่นแสมทะเล รากส้มกุ้ง ลูกมะตูม ลูกมะแหน
ลูกพิลังกาสา สมอเทศ สมอไทย โกฐเขมา เทียนด�ำ เทียนขาว ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู ดีปลี
เอาส่วนเท่ากันเอาเปลือกหอยโข่ง เปลือกหอยขม เปลือกหอยแครง เบี้ยผู้เผา สิ่งละ ๒ ส่วน กัญชา ๑๐ ส่วน
พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ทําเป็นจุณ กระสายยกใช้ให้ชอบแก่โรค
❀ ยาสิทธิจร ของขุนศรีโอสถ เอา โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว เทียนด�ำ เทียนขาว ลูกจันทน์ กระวาน
กานพลู ขิงแห้ง ดีปลี สมอไทย สมอเทศ สมอพิเภก มะขามป้อม ลูกพิลงั กาสา แก่นแสมทัง้ สอง รากส้มกุง้ สะค้าน
สิง่ ละ ๑ ส่วน กัญชา ๒ ส่วน หอยขมเผา เบี้ยจั่นเผา สิ่งละ ๕ ส่วน พริกไทย ๓๔ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดด้วยน�้ำผึ้งกิน
หนัก ๑ สลึง แก้ริดสีดวง หืด ไอ มองคร่อ

ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอา หัสคุณ แก่นแสมทะเล รากส้มกุ้ง ลูกมะตูม ลูกแหน ลูกพิลังกาสา ลูกสมอเทศ ลูกสมอไทย
โกฐเขมา เทียนด�ำ เทียนขาว ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู ดีปลี เอาเสมอภาค เอาเปลือกหอยโข่ง
เปลือกหอยขม เปลือกหอยแครง เบีย้ ตัวผู้ หอยทัง้ หลายเผา เอาสิง่ ละ ๙ ส่วน กัญชา ๑๐ ส่วน พริกไทย ๒ เท่า
ยาทัง้ หลาย บดเป็นผงละลายน�้ำกระสายที่เหมาะกับโรคกิน

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 201
ยานารายณ์จักรพิเศษ
ยานารายณ์จักรพิเศษ เป็นต�ำรับยาอยู่ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) หมวด
พระคัมภีรแ์ ผนนวด เล่ม ๒ เลขทีเ่ อกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1005 หนังสือสมุดไทยด�ำ เมือ่ พ.ศ. 2413
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ
กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัยจางวางกรมแพทย์เป็นแม่กองจัดหารวบรวม ช�ำระสอบสวนต�ำราคัมภีร์แพทย์ที่ใช้กัน
อยู่ขณะนั้นให้ถูกต้อง แล้วส่งมอบให้พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์
กรมอักษรพิมพการ จัดสร้างขึ้นใหม่เป็น “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เพื่อเป็นส่วนพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ
และเป็นต�ำราที่ใช้ประโยชน์ในชาติบ้านเมืองต่อไป ตัวยาประกอบด้วย บุก ๑ ต�ำลึง กลอย ๑ ต�ำลึง กระดาดแดง
๑ ต�ำลึง อุตพิด ๑ ต�ำลึง ขิงแห้ง ๑ ต�ำลึง จิงจ้อใหญ่ ๑ ต�ำลึง กัญชา ๑ ต�ำลึง ดองดึง ๑ ต�ำลึง เจตมูลเพลิง ๑ ต�ำลึง
ดีปลี ๑ ต�ำลึง กานพลู ๑ บาท เบญจเทียน สิ่งละ ๑ บาท สมุลแว้ง ๑ บาท ผลจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท
โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท กระวาน ๑ บาท พริกเทศเท่ายาทั้งหลาย วิธีท�ำ ละลายน�้ำผึ้งรวงกินเท่า
ผลมะขามป้อมเช้าค�ำ่ ก็ได้ ดองเหล้าไว้กนิ สรรพคุณ ริดสีดวง ๑๖ ประการ นอกจากนีย้ งั พบต�ำรับยานารายณ์จกั รพิเศษ
ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 230 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 622 ชื่อ พระสมุดตํารายา

ยานารายณ์จักรพิเศษ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ยาไฟประลัยกัลป์ใหญ่ เป็นต้น

202 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์แผนนวด เล่ม ๒
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1005
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ขนานหนึ่งให้ เอา บุก ๑ ต�ำลึง กลอย ๑ ต�ำลึง กระดาดแดง ๑ ต�ำลึง อุตพิด ๑ ต�ำลึง ขิงแห้ง ๑ ต�ำลึง
จิงจ้อใหญ่ ๑ ต�ำลึง กัญชา ๑ ต�ำลึง ดองดึง ๑ ต�ำลึง เจตมูลเพลิง ๑ ต�ำลึง ดีปลี ๑ ต�ำลึง กานพลู ๑ บาท เบญจเทียน
สิ่งละ ๑ บาท สมุลแว้ง ๑ บาท ผลจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท กระวาน
๑ บาท พริกเทศเท่ายาทั้งหลาย ละลายน�้ำผึ้งรวงกินเท่าผลมะขามป้อม เช้าค�่ำก็ได้ ดองเหล้าไว้กินก็ได้ บ�ำบัดริดสีดวง
๑๖ ประการ ยานี้ชื่อนารายน์จักรพิเศษ ดีนักแล ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 203
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อไฟประลัยกัลป์ใหญ่ ขนานนี้ ท่านให้เอา โกฐสอ ๓ บาท โกฐหัวบัว ๓ บาท เทียนด�ำ ๓ บาท
เทียนขาว ๓ บาท ลูกจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท กระวาน ๑ บาท กานพลู ๑ บาท สมุลแว้ง ๑ บาท ดองดึง
๑ บาท อุตพิด ๑ บาท กลอย ๑ บาท บุก ๑ บาท กระดาดแดง ๓ ต�ำลึง ขิงแห้ง ๑ บาท ดีปลี ๑ บาท กัญชา ๑ บาท
รากจิงจ้อ ๑ ต�ำลึง ๒ บาท เจตมูล ๕ ต�ำลึง พริกไทย ๑๖ ต�ำลึง ศิริยา ๒๐ สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้ง น�้ำร้อนก็ได้
กินแก้ริดสีดวงลม ๑๖ จ�ำพวก แลริดสีดวงให้เป็นในทรวงอก แลให้นอนไม่หลับ กินอาหารไม่ได้ ให้หอบ ให้เหนื่อยนัก
เดินไม่ได้แล แก้ริดสีดวงขึ้นทวารหนัก ทวารเบา แลแก้ริดสีดวงเป็นเม็ด เป็นยอด ขึ้นในล�ำไส้นั้น หายดีนัก ๚

204 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร พระสมุดตํารายา
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๖๒๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ชื่อสมังหิงคุ วันเสาร์ ขึ้น ๒ ค�่ำ เดือน ๒ ปีขาล ฉศก ออกพระสิทธิสั่งให้แทรกบุก ๑ บาท อุตพิด ๒ สลึง
กระดาดทั้งสอง ๒ สลึง สะค้าน ๒ สลึง ดอกจันทน์ ๒ สลึง กระวาน ๒ สลึง กานพลู ๒ สลึง เทียนด�ำ ๒ สลึง ดีปลี
๑ บาท โกฐเขมา ๓ สลึง โกฐสอ ๑ บาท ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๑ บาท ๒ สลึง ลูกเบญกานี ๑ บาท ๒ สลึง ขิงแห้ง ๒ สลึง
กัญชา ๒ บาท รากเจตมูลเพลิง ๒ บาท พริกล่อน ๑ ต�ำลึง ๒ บาท รากจิงจ้อ ๑ สลึง มหาหิงคุ์ 1 สลึง สรรพยา
๑๙ สิ่งนี้ ต�ำเป็นผง แล้วเอาเนยกวนยา ตากให้แห้งละลายด้วยน�้ำผึ้งรวงกิน เวลาละ ๑ สลึง บ�ำบัดริดสีดวง ๓๐ พวก
แก้ผอมเหลืองก็ดี ไปปัสสาวะนักก็ดี กินข้าวมิได้ก็ดี แก้ลมขบเท้าแลมือ แก้ลมเสียดในท้อง แก้ลมอันให้ท้นท้อง
แลลงท้องเป็นบานทะโรคก็ดี ให้อาเจียน แลเหียนเขฬะก็ดี แลเจ็บหลัง เจ็บเอวก็ดี ให้จ�ำเริญอัคนีผล ชื่อสุริยาทิจร
ต�ำราออกพระแพทยพงษา ประกอบ ณ วันอังคาร แรม ๑๕ ค�่ำ เดือน ๕ ปีมะแม เอกศก ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 205
ยาริดสีดวงมหากาฬ
ยาริดสีดวงมหากาฬ เป็นต�ำรับยาอยู่ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) หมวด
พระคัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 2 เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1039 หนังสือสมุดไทยด�ำ เมื่อ พ.ศ. 2413
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ
กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัยจางวางกรมแพทย์เป็นแม่กองจัดหารวบรวม ช�ำระสอบสวนต�ำราคัมภีร์แพทย์ที่ใช้กันอยู่
ขณะนั้ น ให้ ถู ก ต้ อ ง แล้ ว ส่ ง มอบให้ พ ระเจ้ า ราชวงษ์ เ ธอ กรมหมื่ น อั ก ษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลั ก ษณ์
กรมอักษรพิมพการ จัดสร้างขึ้นใหม่เป็น “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เพื่อเป็นส่วนพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ
และเป็นต�ำราที่ใช้ประโยชน์ในชาติบ้านเมืองต่อไป ตัวยาประกอบด้วย เทียนทั้ง 5 โกฐกักกรา 1 โกฐสอ 1
โกฐพุงปลา 1 โกฐจุฬาลัมพา 1 โกฐก้านพร้าว 1 ผลจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 ตรีกฎุก 1 กัญชา 1 สะค้าน 1
เอาสิ่งละ 2 สลึง มดยอบ 1 บาท แก่นสนเทศ 1 บาท สมุลแว้ง 1 บาท อบเชยเทศ 1 บาท ขอบชะนางทั้ง 2
สิ่งละ 1 บาท ชาดก้อน 1 สลึง สารหนู 1 เฟื้อง วิธีท�ำ ชาดกับสารนั้นเอาใส่ตั้งไฟขึ้น เอาน�้ำมะนาวบีบลงคั่วให้แห้ง
ให้ได้ 3 ครั้ง ให้ชาดกับสารนั้นเกรียม แล้วจึงเอาประสมกันเข้ากับยานั้น แล้วเอาสุราที่จุดไฟติดนั้นเป็นกระสาย
เอาพิมเสน 1 เฟื้อง ฝิ่น 1 เฟื้อง บดปั้นเท่าเม็ดพริกไทย ละลายสุรากิน 3 เม็ด ถ้ากินมิได้กินแต่เม็ดหนึ่ง สรรพคุณ
แก้ริดสีดวงเปื่อยทวารทั้ง 9 ริดสีดวงในอก เป็นปรวดปะรัง เป็นหนอง ฟูมอยู่ก็ดี มะเร็งคุดทะราด ฝีเปื่อยทั้งตัว
ยาอันใดไม่ฟัง อุปทม ไส้ด้วน ไส้ลาม ไส้เลื่อนก็ดี เป็นฝีนานหายก็ดี แลชายหญิงเป็นช�้ำรั่ว นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยา
ริดสีดวงมหากาฬ ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช

ร.ศ. ๑๒6
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

206 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 2
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1039
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 207
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวก�ำเนิดริดสีดวงมหากาฬ 4 จ�ำพวก ๆ หนึ่งขึ้นในล�ำคอ ทวารหนัก ทวารเบา
จ�ำพวกหนึ่งขึ้นในล�ำไส้ตลอดถึงล�ำคอ ที่ขึ้นในทรวงอกนั้น ตั้งขึ้นเป็นกอง เป็นหมู่กันประมาณ 9 เม็ด 10 เม็ด
เท่าเม็ดถั่วเขียว เมื่อสุกนั้นแตกออกเป็นบุพโพโลหิตระคนกัน แล้วก็เลื่อนเข้าหากันให้บานออกสัณฐานดังดอกบุก
เป็นบุพโพ โลหิตไหลซึมอยู่ ไม่รู้วา่ ฝีปลวกแลฝีหัวคว�่ำ เพราะว่าบริวารตั้งเป็นเม็ดขึ้นตามล�ำไส้คลอดขึ้นล�ำคอ ให้ปาก
คอนั้นเปื่อย กินเผ็ดร้อนมิได้ ถ้าจะแก้ ท่านให้ปรุงยาให้กินภายในเสียก่อน แล้วจึงเอาเทียนทั้ง 4 โกฐกักกรา 1
โกฐสอ 1 โกฐพุงปลา 1 โกฐจุฬาลัมพา 1 โกฐก้านพร้าว 1 ผลจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 ตรีกฎุก 1 กัญชา 1 สะค้าน 1
เอาสิ่งละ 2 สลึง มดยอบ 1 บาท แก่นสนเทศ 1 บาท สมุลแว้ง 1 บาท อบเชยเทศ 1 บาท ขอบชะนางทั้ง 2
สิ่งละ 1 บาท ชาดก้อน 1 สลึง สารหนู 1 เฟื้อง ชาดกับสารนั้น เอาใส่ตั้งไฟขึ้น เอาน�้ำมะนาวบีบลงคั่วให้แห้ง
ให้ได้ 3 ครั้ง ให้ชาดกับสารนั้นเกรียม แล้วจึงเอาประสมกันเข้ากับยานั้น แล้วเอาสุราที่จุดไฟติดนั้นเป็นกระสาย
เอาพิมเสน 1 เฟื้อง ฝิ่น 1 เฟื้อง บดปั้นเท่าเม็ดพริกไทย ละลายสุรากิน 3 เม็ด ถ้ากินมิได้กินแต่เม็ดหนึ่ง ยานี้
แก้ริดสีดวงเปื่อยทวารทั้ง 9 ริดสีดวงในอก เป็นปรวดปะรัง เป็นหนอง ฟูมอยู่ก็ดี มะเร็งคุดทะราดฝีเปื่อยทั้งตัว
ยาอันใดไม่ฟัง อุปทม ไส้ด้วน ไส้ลาม ไส้เลื่อนก็ดี เป็นฝีนานหายก็ดี แลชายหญิงเป็นช�ำรั่ว ถ้าได้กินยานี้หายสิ้น
ทุกประการอย่าสนเท่ห์เลย ยานี้เป็นมหาวิเศษนักแล

208 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
สิทธิการิยะ จะกล่าวก�ำเนิดริดสีดวงมหากาฬ ๔ จ�ำพวก ๆ หนึ่งขึ้นในล�ำคอ ในทวารหนักในทวารเบา
จ�ำพวกหนึ่งขึ้นในล�ำไส้ ตลอดถึงล�ำคอ เมื่อขึ้นนั้น ตั้งขึ้นเป็นกองเป็นหมู่กันประมาณ ๙, ๑๐ เม็ด เม็ดเท่าถั่วเขียว
เมื่อสุกนั้นแตกออกเป็นบุพโพโลหิตระคนกัน แล้วก็เลื่อนเข้าหากัน ให้บานออกสัณฐานดังดอกบุก เป็นบุพโพโลหิต
ไหลซึมอยู่ ไม่รู้ก็ว่าฝีปลวกแลฝีหัวคว�่ำ เพราะว่าบริวารนั้นตั้งเป็นเม็ด ขึ้นตามล�ำไส้ตลอดขึ้นล�ำคอ ให้ปากคอ
นั้นเปื่อยกินเผ็ดกินร้อนมิได้ ถ้าจะแก้ท่านให้ปรุงยานี้ให้กินภายในเสียก่อน
แล้วจึงเอาเทียนทั้ง ๕ โกฐกักกรา ๑ โกฐสอ ๑ โกฐพุงปลา ๑ โกฐจุฬาลัมพา ๑ โกฐก้านพร้าว ๑
ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ ตรีกฏุก ๑ กัญชา ๑ สะค้าน ๑ เอาสิ่งละ ๒ สลึง มดยอบ ๑ บาท แก่นสนเทศ ๑ บาท
สมุลแว้ง ๑ บาท อบเชยเทศ ๑ บาท ขอบชะนางทั้ง ๒ สิ่งละ ๑ บาท ชาดก้อน ๑ สลึง สารหนู ๑ เฟื้อง
แต่อธิบายแปลกออกไปบ้างจึงลงไว้ด้วยกับสารหนูนั้นเอาใส่กระเบื้องตั้งไฟขึ้น เอาน�้ำมะนาวบีบลงขั้ว
ให้แห้งให้ได้ ๓ ครั้ง ให้ชาดกับสารนั้นเกรียม แล้วจึงผสมกันเข้ากับยานั้นแล้วเอาสุราที่จุดไฟติดนั้นบดเป็นกระสาย
เอาพิมเสน ๑ เฟื้อง ฝิ่น ๑ เฟื้อง บดบั้นเท่าเม็ดพริกไทย ละลายสุรากิน ๓ เม็ด ถ้ากินมิได้กินแต่เม็ดหนึ่ง ยานี้แก้
ริดสีดวงเปื่อยทวารทั้ง ๙ ริดสีดวงในอกเป็นปะหรวดเป็นรัง เป็นหนองฟูมอยู่ก็ดี มะเร็ง คุดทะราด ฝีเปื่อยทั้งตัว
ยาอันใดไม่ฟ้ง อุปะทมไส้ด้วน ไส้ลาม ไส้เสื่อนก็ดี เป็นฝีนานหายก็ดี ชายหญิงเป็นช�้ำรั่ว ถ้าได้กินยานี้หายสิ้น
ทุกประการอย่าสนเท่ห์เลย ยานี้เป็นมหาวิเศษนักแล

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ริดสีดวงมหากาฬ ๔ จ�ำพวก ขึ้นในล�ำคอ ขึ้นในอก ขึ้นในทวาร ขึ้นในล�ำไส้ ในอกในล�ำคอเป็นเม็ด ๆ เท่า
ถั่วเขียว เมื่อสุกแตกออกเป็นบุพโพโลหิตออกมา แล้วเลื่อนเข้าหากันบานดังดอกบุก เป็นบุพโพโลหิตไหล อนึ่งเกิดขึ้น
ดังเม็ดข้าวโพดตามล�ำไส้ ล�ำคอ ถ้าจะแก้ เอา เทียนทั้ง 5 โกฐกักกรา โกฐพุงปลา โกฐก้านพร้าว โกฐจุฬาลัมพา
โกฐสอ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กัญชา ตรีกฏุก สะค้านเอาสิ่งละ ๒ สลึง มดยอบ แก่นสนเทศ สมุลแว้ง อบเชยเทศ
ขอบชะนางทั้ง 2 สิ่งละ ๑ บาท ท�ำเป็นจุณ เอาชาดก้อน ๑ สลึง สารหนู ๑ เฟื้อง ชาดก้อนกับสารหนู บดให้ละเอียด
ใส่กระเบื้องคั่วให้ร้อน เอาน�้ำมะกรูดบีบลงคั่วให้แห้งได้ ๓ หน ให้ชาดกรอบ แล้วจึงเอาประสมเข้ากับยาผงทั้งนั้น
เอาสุราเข้มเป็นกระสาย แทรกพิมเสน ๑ เฟื้อง ฝิ่น ๑ เฟื้อง บดปั้นท�ำแท่งไว้เท่าเม็ดพริกไทย ละลายสุรากิน ๑-๓ เม็ด
แก้สรรพริดสีดวงเรื้อรัง ฝีเปื่อยทั้งตัว คุดทะราด อุปทม ไส้ด้วน ไส้ลาม และสตรีเป็นมุตกิด ช�้ำรั่วในทวารหนัก
ทวารเบา กิน

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 209
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ
ลักษณะหฤศโรค (ศาลาเลื่อนศักดิ์)

210 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ปุนะจะปะรัง ล�ำดับนีจ้ ะกล่าวด้วยนัยอันหนึง่ ใหม่ ว่าด้วยลักษณะหฤศโรค อันชือ่ ว่าบานทะโรค กล่าวคือ
ริดสีดวง อันบังเกิดขึ้นตามขอบทวารรอบนั้นเป็นค�ำรบ ๑๗ มีลักษณะอาการกระท�ำให้เปื่อยไปทั้ง ทวารหนัก
เป็นบุพโพโลหิตเหม็นเน่า เหม็นโขงยิ่งนัก ให้ปวดแสบ ปวดร้อน เป็นก�ำลัง และอุจจาระนั้นผูกเข้าไม่ได้ ถ้าผูกเข้า
กระท�ำให้เจ็บปวดให้ตึงไปทั้งทวาร มีความเวทนาเป็นอันมาก ฯ
ขนานหนึ่ง เอา พริกไทย ขิงแห้ง ผลกระวาน ผลจันทน์ สะค้าน ดีปลี รากช้าพลู รากกัญชา เอาเสมอภาค
ท�ำเป็นจุณ บดละลายน�้ำผึ้งรวงกินหนัก ๑ สลึง แก้ริดสีดวงอันบังเกิดขึ้นตามขอบทวารหนักหายดีนัก ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 211
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ
ริดสีดวงบังเกิดในทางปัสสาวะ (ศาลามุทิตา)

212 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ปุนะจะปะรัง ล�ำดับนี้จะกล่าวด้วยนัยอันหนึ่งใหม่ ว่าด้วยลักษณะหฤศโรค อันชื่อว่า อัคนีโชต กล่าวคือ
โรคริดสีดวง อันบังเกิดในทางปัสสาวะนั้นเป็นค�ำรบ ๑๑ มีอาการกระท�ำให้ปัสสาวะนั้นเป็นโลหิตสด ๆ ไหลออกมา
ตามช่องปัสสาวะ บางทีให้น�้ำปัสสาวะเหลืองดุจน�้ำขมิ้น บางทีให้น�้ำปัสสาวะออกมาเป็นบุพโพเจือ ให้แสบร้อน
เป็นก�ำลัง ฯ
ขนานหนึ่ง เอา บุกรอ ดีปลี ขิงแห้ง อุตพิด กลอย กระดาดแดง ขอบชะนางขาว ลูกจันทน์ โกฐสอ
โกฐเขมา กระวาน กานพลู เทียนด�ำ เทียนขาว เทียนเยาวพาณี สมุลแว้ง กัญชา สิ่งละ 1 ส่วน พริกไทยล่อน ๒ ส่วน
ท�ำเป็นจุณ บดละลายน�้ำร้อนกินหนัก ๑ สลึง แก้ริดสีดวงอันบังเกิดในทางปัสสาวะนั้น หายดีนัก ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 213
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่ อ ไฟอาทิ ต ย์ ขนานนี้ ท่ า นให้ เ อา โกฐสอ ๒ สลึ ง โกฐเขมา ๒ สลึ ง เที ย นแดง ๒ สลึ ง
เทียนสัตตบุษย์ ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๒ สลึง กระวาน ๒ สลึง กานพลู ๒ สลึง สมุลแว้ง ๒ สลึง สะค้าน ๒ สลึง
รากช้าพลู ๒ สลึง เปราะหอม ๒ สลึง เพชรสังฆาต ๒ สลึง แห้วหมู ๒ สลึง ใบกัญชา ๒ สลึง บุกรอ ๒ สลึง
ดองดึง ๒ สลึง รากส้มกุ้งน้อย ๒ สลึง ส้มกุ้งใหญ่ ๒ สลึง ไพล ๒ สลึง กระชาย ๒ สลึง พริกหาง ๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง
เจตมูล ๓ ต�ำลึง ๒ บาท พริกไทย ๖ ต�ำลึง 1 บาท ศิริยา ๒๔ สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งรวง น�้ำอ้อยแดง
กินหนัก ๑ สลึง แก้ริดสีดวง เป็นเม็ดยอดขึ้นในทรวงอก เจ็บลงไปถึงทวารหนักแล แก้ลมเสียดแทง ลมท้นท้อง
แก้ลมไส้พอง ท้องขึ้น แลหืด ให้ไอเป็นก�ำลัง แลลมมักให้หาวนอนแล แก้สรรพริดสีดวงทั้งปวง แลแก้สัพพยาธิทั้งปวง
หายกินดี ท่านจึงตีค่าไว้เป็นราคา ๑๐ ต�ำลึงทอง ๚

214 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อมหาอาวุธ ขนานนี้ ท่านให้เอา กลอย ๓ สลึง กระดาด ๓ สลึง เจตมูล ๓ สลึง บุกรอ ๑ ต�ำลึง
อุตพิด ๑ ต�ำลึง ดีปลี ๑ ต�ำลึง ลูกจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท กัญชา ๑ ต�ำลึง ๑ บาท พริกไทย
๔ ต�ำลึง ๑ บาท ๑ สลึง ศิริยา ๑๐ สิ่งนี้ ท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งรวงกินผลพุทรา แก้ริดสีดวงผอมเหลือง ให้ตกโลหิต
แลแก้ริดสีดวงขึ้นปาก ขึ้นตา ขึ้นลิ้น ขึ้นเพดานก็ดี แก้ตีนมือเหน็บชาแล แก้มือตีนตาย ให้หาวเสียว เสียดสีข้าง
แลชายโครงให้กรนดัง แลให้หลับลืมเวลานั้น ถ้าจะแก้ลมแน่นหน้าอก แลจุกเสียด ละลายน�้ำร้อน น�้ำขิงกินวิเศษนัก ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 215
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ริดสีดวง หืดหอบ ไอท้องเป็นดาน ท่านให้เอา เจตมูลเพลิงแดง ๑ ต�ำลึง ขิงแห้งหนัก
๑ ต�ำลึง การบูร ๑ ต�ำลึง กัญชา ๑ ต�ำลึง เปลือกหอยแครง ๒ บาท เอาพริกไทย ๔ ต�ำลึง ต�ำเป็นผงละลายนํ้าผึ้ง
กินเพลาละ ๑ สลึง กินเช้าเย็นทุกวัน โรคนั้นหาย ๚

216 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาเพชรอาวุธใหญ่ เอา เจตพังคี ๑ บาท ว่านนํ้า ๑ บาท โรกแดง ๑ บาท โรกขาว ๑ บาท กระเช้าแดง
๑ บาท ไพล ๑ บาท กะทือ ๑ บาท ผิวมะกรูด ๑ บาท ลูกผักชี ๑ บาท ใบคนทีสอ ๑ ต�ำลึง ๒ บาท ใบสลอดแห้ง
๒ ต�ำลึง บุกรอ ๑ บาท ๒ สลึง รากส้มกุ้ง ๑ บาท กลอย ๓ สลึง กระดาดขาว ๑ บาท ๒ สลึง กระดาดแดง ๑ บาท
๒ สลึง เจตมูลเพลิง ๑ บาท ๒ สลึง บอระเพ็ด ๑ บาท กัญชา ๒ บาท เต่าเกียด ๑ บาท ๒ สลึง ดองดึง ๒ สลึง
ลูกกราย ๒ สลึง ลูกพิลังกาสา ๑ บาท หัวแห้วหมู ๒ บาท ดีปลี ๑ บาท ๒ สลึง สมุลแว้ง ๑ ต�ำลึง สะค้าน ๑ บาท
๒ สลึง รากช้าพลู ๑ บาท ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง กระวาน ๑ สลึง กานพลู ๑ สลึง โกฐทั้ง ๕
เทียนทั้ง ๕ พริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ต�ำเป็นผงละลายนํ้าผึ้ง จ�ำเพาะริดสีดวง ๕๐๐ จ�ำพวก ละลายนํ้าส้มซ่า แก้ลม
๕๐๐ จ�ำพวก ดีนักแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 217
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อเทพอาวุธ เอา เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑
ลูกกระวาน ๑ ดีปลี ๑ ลูกกราย ๑ กระดาดแดง ๑ กระดาดขาว ๑ ยาทั้งนี้ สิ่งละ ๑ เฟื้อง อุตพิด ๒ สลึง พริกไทย ๑
หัวบุก ๑ กลอย ๑ รากเจตมูลเพลิง ๑ แก่นแสมทะเล ๑ รากส้มกุ้ง ๑ รากจิงจ้อใหญ่ ๑ ทั้งนี้สิ่งละ ๑ บาท กัญชา
๒ บาท สมอไทย ๑ บาท ๒ สลึง รากหัสคุณ ๑ ต�ำลึง ท�ำเป็นผงละลายนํ้าร้อน นํ้าผึ้ง นํ้าส้มซ่าก็ได้ กินจ�ำเพาะ
ริดสีดวง แลลมจุกเสียด กินอาหารมิได้ นอนมิหลับ บ�ำบัดโรคทั้ง ๑๐๘ จ�ำพวก อายุ 100 ปีแล ๚

218 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร พระตําราหลวงชื่ออุไทยะจีนดาบาฬี
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๗๗
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาขนานหนึง่ ชือ่ ว่า ตรุสกราทิวกั ให้เอา ลูกรัก ๑ เปลือกกัญชา ๑ กานพลู ๑ เบญจกูล ๑ รากถัว่ แระ ๑
ลูกผักชี ๑ กะทือ ๑ ไพล ๑ รากราชพฤกษ์ ๑ ขอนดอก ๑ เทียนทั้ง ๕ เทียนตาตั๊กแตน ๑ จิงจ้อ ๑ เปลือกสนุ่น ๑
ผักโหมหิน ๑ เอาเสมอภาค เกลือสินเธาว์ ๒ ส่วน ต้มกินก็ได้ ต�ำเป็นผงกินก็ได้ แก้ริดสีดวง ๖ ประการ แก้บวม
๕ ประการ แก้ไข้ประสูติบุตร แก้ลมตีขึ้น ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 219
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 527
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ริดสีดวงในอก ในคอ เอา อุตพิด ๑ ต�ำลึง บุกรอ ๒ บาท กลอย ๒ บาท ข่า ๒ บาท กระเทียม
๒ บาท เจตมูลเพลิง ๒ บาท เกลือ ๒ บาท ดองดึง ๒ บาท กระดาดแดง ๒ บาท โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ ลูกจันทน์ ๑
ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ เทียนด�ำ ๑ ดีปลี ๑ กัญชา ๑ พริกเท่ายาทั้งหลาย ท�ำผงละลายน�้ำผึ้งกิน
แก้ริดสีดวงในคอ ในอก ในทวาร จุกเสียด ไอมองคร่อ กินหายแล ๚

220 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อเพชรอาวุธใหญ่ เอาโกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑
สิง่ ละ ๑ สลึง เจตพังคีทงั้ ๒ โรกทัง้ ๒ กระเช้าแดง ๑ ไพลแห้ง ๑ กะทือ ๑ ผิวมะกรูด ๑ ลูกผักชี ๑ รากส้มกุง้ ๑
บอระเพ็ด ๑ ลูกพิลังกาสา ๑ แห้วหมู ๑ สมุลแว้ง ๑ เอาสิ่งละ ๑ บาท หัวบุกรอ ๑ บาท ๒ สลึง หัวกระดาดแดง
๑ บาท ๒ สลึง หัวกระดาดขาว ๑ บาท ๒ สลึง หัวกลอย ๒ สลึง เจตมูลเพลิงแดง ๑ บาท ๒ สลึง หัวเต่าเกียด
๑ บาท ๒ สลึง หัวดองดึง ๑ บาท ๒ สลึง ลูกกราย ๑ บาท ๒ สลึง ดีปลี ๑ บาท ๒ สลึง สะค้าน ๑ บาท ๒ สลึง
ช้าพลู 1 บาท 2 สลึง กัญชา ๒ บาท ใบคนทีสอแห้ง ๑ ต�ำลึง ๒ บาท ใบสลอดแห้ง ๒ ต�ำลึง เอาพริกไทยเท่ายา
ทั้งหลาย ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้ง น�้ำส้มซ่ากิน แก้ริดสีดวง ๕ จ�ำพวก แก้เสมหะ 5 จ�ำพวก แก้หืดไอ เลือดลม
(ตัวอักษรเลือน) เถาดาน ยักกระสายใช้เถิด ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 221
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 566
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ต�ำรายาร้อน เอา หัวบุก ๑ บาท หัวอุตพิด ๑ บาท หัวกระดาดแดง ๑ บาท หัวกระดาดขาว ๑ บาท
หัวกลอย ๑ บาท หัวดองดึง ๒ บาท รากมะรุม ๒ บาท ขิงแห้ง ๒ ต�ำลึง ๒ บาท กระเทียมสด ๔ ต�ำลึง เปล้าน้อย
๑ บาท เปล้าใหญ่ ๑ บาท ลูกจันทน์ ๒ บาท ดอกจันทน์ ๒ บาท ลูกกระวาน ๑ ต�ำลึง ดีปลี ๑ ต�ำลึง เทียนด�ำ ๑ ต�ำลึง
เทียนขาว ๑ ต�ำลึง กัญชา ๑ ต�ำลึง โกฐเขมา ๑ ต�ำลึง หัสคุณเทศ ๔ ต�ำลึง ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งกิน เพลาละ ๑ สลึง
เมื่อจะประกอบยานี้ เอา ๓ วัน ๗ วัน เป็นสิทธินั้นด้วย จึงท�ำยานี้ กินแก้ริดสีดวง มองคร่อ แก้ริดสีดวงขึ้นในคอ ในอก
ในท้อง แลลมเสียด จุก แก้สารพัดพิษ แก้หืด แก้ไอ ให้ยอก สลักในอก แก้เหม็นปาก หวานปากก็หาย ยานี้แก้โรคได้
ทั้ง ๙๖ จ�ำพวก ดีนักแล ๚

222 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 574
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ริดสีดวงเลือด เอา หัวบุก หัวกลอย อุตพิด รากเจตมูลเพลิง ๒ บาท ลูกกัญชา ๑ บาท
กระดาดแดง ๒ บาท แห้วหมู ๑ ต�ำลึง ดองดึง ๒ บาท ล�ำพัน ๑ ต�ำลึง ว่านเปราะ ๑ ต�ำลึง เปลือกสมุลแว้ง ๑ ต�ำลึง
ดีปลี ๑ บาท ลูกช้าพลู ๒ บาท ลูกจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท ขิงแห้ง ๒ ต�ำลึง พริกไทยล่อน 1 ทะนาน
๑ ต�ำเป็นผงละลายน�้ำผึ้งกิน พยาธิโรคาทั้งปวง ยาชื่อว่า หัศรังคุริแล ๚

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบั
บคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอา ขมิ้นชัน ใบกัญชา สิ่งละ ๑๕ กรัม น�้ำมันเม็ดฝ้าย พอเปียก ใส่แก้ริดสีดวงทวารหนัก ใส่แก้
โรคผิวหนังต่าง ๆ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 223
224 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
กลุ่มอาการนอนไม่หลับ
ยาศุขไสยาศน์

ยาศุขไสยาศน์ เป็นต�ำรับยาอยู่ในคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ เป็นหลักฐานทางการแพทย์แผนไทยชิ้นส�ำคัญ
ที่เหลือสืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) นี้ค้นพบต้นฉบับ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นสมบัติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ตกทอดมายังพระเจ้า
น้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทรประทานหอพระสมุด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ ตัวยาประกอบด้วย การบูร 1 ส่วน
ใบสะเดา ๒ ส่วน หัสคุณเทศ ๓ ส่วน สมุลแว้ง ๔ ส่วน เทียนด�ำ ๕ ส่วน โกฐกระดูก ๖ ส่วน ลูกจันทน์ ๗ ส่วน
ดอกบุนนาค ๘ ส่วน พริกไทย ๙ ส่วน ขิงแห้ง ๑๐ ส่วน ดีปลี ๑๑ ส่วน ใบกัญชา ๑๒ ส่วน วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณ
ละลายน�้ำผึ้ง เมื่อจะกินเสกด้วยสัพพีติโย ๓ จบ แล้วกินพอควร สรรพคุณ แก้สรรพโรคทั้งปวงหายสิ้น มีก�ำลัง
กินข้าวได้ นอนเป็นสุข นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาศุขไสยาศน์ ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 244 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ กรมหลวงวงสาฯ

กรมหมื่นไชยนาทฯ ประทานหอสมุดแห่งชาติ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458
❀ เอกสารโบราณประเภทหนั ง สื อ สมุ ด ไทยด� ำ เลขที่ 574 ชื่ อ ต� ำ รายาเกร็ ด ประวั ติ นายรอด
ให้หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ. 2473
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

226 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน)
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1143
ประเภทเอกสารโบราณ ใบลาน

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาศุขไสยาศน์ ให้เอา การบูร 1 ส่วน ใบสะเดา ๒ ส่วน หัสคุณเทศ ๓ ส่วน สมุลแว้ง ๔ ส่วน
เทียนด�ำ ๕ ส่วน โกฐกระดูก ๖ ส่วน ลูกจันทน์ ๗ ส่วน ดอกบุนนาค ๘ ส่วน พริกไทย ๙ ส่วน ขิงแห้ง ๑๐ ส่วน
ดีปลี ๑๑ ส่วน ใบกัญชา ๑๒ ส่วน ท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้ง เมื่อจะกินเสกด้วยสัพพีติโย ๓ จบ แล้วกินพอควร
แก้สรรพโรคทั้งปวงหายสิ้น มีก�ำลัง กินข้าวได้ นอนเป็นสุขนักแล ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 227
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ขนานหนึ่งชื่อ สุขไสยาศน์ ท่านให้เอา ใบสะเดา ๒ สลึง หัสคุณเทศ ๓ สลึง สมุลแว้ง ๑ บาท เทียนด�ำ
๑ บาท ๑ สลึง โกฐกระดูก ๑ บาท ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๑ บาท ๓ สลึง ดอกบุนนาค ๒ บาท พริก ๒ บาท ๑ สลึง
ขิง ๒ บาท ๒ สลึง ดีปลี ๒ บาท ๓ สลึง ใบกัญชา ๓ บาท ท�ำเป็นจุณ ละลายนํ้าผึ้ง เมื่อจะกินเสกด้วย สัพพีติโย
๓ จบ แล้วกินหนัก ๑ บาท แก้นอนไม่หลับ ให้จ�ำเริญอาหาร ๚

228 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 574
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาศุขไสยาศน์ แก้ลม เอา การบูร ๑ ใบสะเดา ๒ หัสคุณ ๓ สมุลแว้ง ๔ เทียนด�ำ ๕ โกฐกระดูก ๖
ลูกจันทน์ ๗ ดอกบุนนาค ๘ พริกไทย ๙ ขิงแห้ง ๑๐ ดีปลี ๑๑ กัญชา ๑๒ ท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้ง เมื่อจะกินเสก
ด้วยสัพพิติโย 3 จบ แล้วจึงกินตามก�ำลัง แก้สรรพโรคทั้งปวง ทั้งหลายหายสิ้น มิก�ำลังตังณะรายกินข้าวได้
นอนเป็นสุขนักหนา ๚

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
๏ ยาศุขไสยาศน์ เอา การบูร ๑ ส่วน ใบสะเดา ๒ ส่วน หัสคุณเทศ ๓ ส่วน สมุลแว้ง ๔ ส่วน เทียนดํา ๕ ส่วน
โกฐกระดูก 6 ส่วน ลูกจันทน์ 7 ส่วน ดอกบุนนาค 8 ส่วน พริกไทย 9 ส่วน ขิงแห้ง ๑๐ ส่วน ดีปลี ๑๑ ส่วน
ใบกัญชา ๑๒ ส่วน ทําเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้ง กินพอควร แก้สรรพโรค มีกําลังกินข้าวได้ นอนเป็นสุข

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 229
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๕
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชือ่ ศุขไสยาศน์ ท่านให้เอา ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ แก่นสน ๑ จันทน์เทศ ๑ กฤษณา ๑
กระล�ำพัก ๑ สะค้าน ๑ กัญชา ๑ การบูร ๑ โกฐหัวบัว ๑ พริกไทย ๑ ขิง ๑ ดีปลี ๑ ฝิ่น ๑ ชะมดเชียง ๑ พิมเสน ๑
ดีงูเหลือม ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละส่วน เกสรบัวหลวง 8 ส่วน ศิริยา ๑๙ สิ่งนี้ นํ้าดอกมะลิเป็นกระสาย บดปั้นแท่งกิน
แก้ดับพิษฝีดาษ และพิษฝียอดเดียว แลนอนไม่หลับ ละลายนํ้าดอกไม้สดกิน หายแล ฯ

230 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อศุขไสยาศน์ใหญ่ เอา กฤษณา ๑ บาท การบูร ๑ บาท น�้ำประสานทอง ๑ บาท ชะลูด ๑ บาท
ลูกจันทน์ ๒ บาท ดอกจันทน์ ๒ บาท กระวาน ๒ บาท กานพลู ๒ บาท อบเชย ๒ บาท (ตัวอักษรเลือน) ๒ บาท
ชะลูด ๑ สลึง พิมเสน ๑ เฟื้อง กัญชาเท่ายาทั้งหลาย บดปั้นแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษสลบ แก้คอ แก้เสียงเสมหะ
น�้ำขิง แก้ร้อน น�้ำซาวข้าว แก้ฝีดาษ น�้ำจันทน์ น�้ำดอกไม้ แก้นอนไม่หลับ กินอาหารไม่ได้ ยานี้นอนหลับ กินข้าว
ได้แล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 231
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อศุขไสยาศน์กลาง แก้พิษนอนไม่หลับ เอา ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑
ราก (ตัวอักษรเลือน) ๑ กัญชา ๑ ลูกสะบ้าปิ้งไฟ ๑ สิ่งละ ๒ สลึง เทียนทั้ง ๕ โหราเท้าสุนัข ๑ โหราบอน ๑
โหราอ�ำมฤต ๑ โหรามิกสิงคลี ๑ สิ่งละ ๑ เฟื้อง โหราเขาเนื้อ ๑ เห็ดมูลโค ๑ สิ่งละ ๑ สลึง ต�ำเป็นผง แล้วแบ่ง
ออกเป็น ๒ ส่วน ๆ หนึ่งนั้น บดปั้นแท่งไว้กิน เป็นศุขไสยาศน์กลาง

232 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อศุขไสยาศน์น้อย อีกขนานหนึ่ง แก้นอนไม่หลับ เอาโกฐหัวบัว ๑ โกฐเชียง ๑ จันทน์ขาว ๑
กระวาน ๑ กานพลู ๑ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ ขอนดอก ๑ ชะลูด ๑ อบเชย ๑ หัวกลอย ๑ รากนางโพสพ ๑
ลูกสะบ้าปิ้งไฟ ๑ การบูร ๑ ลูกกัญชา ๑ เมื่อบดปรุงชะมด พิมเสน หญ้าฝรั่น อ�ำพันทอง น�้ำดอกไม้เทศ บดปั้นแท่งไว้
กินแก้นอนไม่หลับ กินข้าวไม่ได้ สวิงสวายหายแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 233
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 567
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อศุขไสยาศน์ ท่านให้เอา จันทน์แดง ๑ จันทน์ขาว ๑ ลูกกระวาน ๑ พริกไทย ๑ ขิง ๑ ดีปลี ๑
กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ โกฐหัวบัว ๑ ชะเอม ๑ สะค้าน ๑ กัญชา ๑ ยาทั้งนี้เอา สิ่งละ ๒ สลึง เกสรบัวหลวง ๒ บาท
พิมเสน ๑ สลึง ชะมดเชียง ๑ สลึง ยาฝิ่น ๑ สลึง ดีงูเหลือม ๑ สลึง ทั้งนี้ต�ำเป็นผงบดด้วยน�้ำดอกไม้ ปั้นเป็นแท่ง
ไว้กิน แก้พิษฝี และนอนไม่หลับ ถ้าจะแก้ไข้ยาให้แทรกฝิ่น เอาแต่น�้ำดอกไม้ ละลายกินดับพิษทั้งปวง ดีนักแล ๚

234 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 567
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อศุขไสยาศน์ แก้ไข้ให้ร้อน นอนไม่หลับ ท่านให้เอา จันทน์หอม ๑ ใบระงับพิษ ๑ ใบสมี ๑
ใบผักชี ๑ ใบผักกระเฉด ๑ ใบชุมเห็ดไทย ๑ ลูกผักกาด ๑ กัญชา ๑ ทั้งนี้เสมอภาคบดละเอียด ปั้นเป็นแท่งไว้
แก้ไข้นอนไม่หลับ ละลายด้วยน�้ำดอกไม้กิน นอนหลับได้แล้ว ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 235
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อศุขไสยาศน์ ดับพิษฝีดาษ แลพิษไข้ทั้งปวง แลนอนไม่หลับ เอา เกสรบัวหลวง ๒ บาท จันทน์แดง
๒ บาท กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ ขอนดอก ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ สน ๑ สะค้าน ๑ กัญชา ๑ โกฐหัวบัว ๑
พริกไทย ๑ ขิง ๑ ดีปลี ๑ กานพลู ๑ ชะมด ๑ พิมเสน ๑ เอา สิ่งละ ๑ สลึง บดด้วยน�้ำดอกไม้ ให้กินเถิด ๚

236 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 566
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยานี้ชื่อศุขไสยาศน์กลาง เอา ลูกจันทน์เทศ ๒ สลึง ดอกจันทน์เทศ ๒ สลึง ลูกกระวาน ๒ สลึง กานพลู
๒ สลึง รากตนเท ๑ บาท หัวกลอย ๑ สลึง กัญชา ๑ สลึง ลูกในสะบ้าใหญ่เผา ๑ ต�ำเป็นผง บดละลายน�้ำดอกไม้ ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 237
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๕
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อว่าประทุมไสยาศน์ แก้ไข้นอนไม่หลับ เอา จันทน์หอม ๒ บาท ดอกบัวหลวง ๒ บาท กฤษณา
๒ บาท กระล�ำพัก ๑ บาท ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท กัญชา ๒ บาท กลอย ๑ บาท ชะลูด ๑ บาท
อบเชย ๑ สลึง ลูกผักชี ๑ สลึง การบูร ๑ สลึง ชะมด ๑ เฟื้อง ฝิ่น ๑ เฟื้อง พิมเสน ๑ เฟื้อง บดเป็นแท่ง ละลาย
นํ้าดอกไม้ แก้พิษไข้นอนไม่หลับ ท�ำพิษต่าง ๆ ถ้ากินหลับลงได้แล ๚

238 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อประทุมไสยาศน์ แก้นอนไม่หลับ เอา จันทน์เทศ ๒ บาท เกสรบัวหลวง ๒ บาท กฤษณา ๒ บาท
กระล�ำพัก ๓ บาท ๒ สลึง กัญชา ๒ บาท ลูกจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท ชะลูด ๑ บาท กลอย ๑ บาท
อบเชย ๑ สลึง ลูกผักชี ๑ สลึง ฝิ่น ๑ เฟื้อง การบูร ๑ สลึง ชะมด ๑ เฟื้อง พิมเสน ๑ เฟื้อง ดีงูเหลือม ๒ เฟื้อง
ยาทั้งนี้ต�ำเป็นผง ละลายน�้ำผึ้งกิน แก้พิษฝีทั้งหลาย พิษไข้ทั้งปวง นอนหลับแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 239
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 567
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อประทุมไสยาศน์ แก้นอนไม่หลับ ท่านให้เอา จันทน์หอม ๑ บาท ดอกบัวหลวง ๑ บาท กฤษณา
๑ บาท กระล�ำพัก ๑ สลึง ลูกจันทน์ ๑ เฟื้อง ดอกจันทน์ ๑ เฟื้อง กัญชา ๑ สลึง กลอย ๑ สลึง ขอนดอก ๑ สลึง
ลูกผักชี ๑ สลึง การบูร ๑ สลึง ฝิ่น ๑ เฟื้อง ดีงูเหลือม ๑ เฟื้อง ชะมด ๑ เฟื้อง พิมเสน ๑ เฟื้อง ยาทั้งนี้ บดให้ละเอียด
ปั้นแท่งไว้ ละลายด้วยน�้ำดอกไม้กิน แก้นอนไม่หลับ ดีนักแล ๚

240 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 437
ประเภทเอกสารโบราณหนังสือ สมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อประทุมไสยาศน์ แก้ไข้แลฝีดาษ ตานทราง นอนไม่หลับ เอาเกสรบัวหลวง 2 บาท จันทน์เทศ
2 บาท ลูกจันทน์เทศ 1 สลึง ลูกผักชี 1 สลึง กลอยแห้ง 1 สลึง กัญชา 1 บาท การบูร 1 เฟื้อง ชะมด 1 เฟื้อง
พิมเสน 1 เฟื้อง อ�ำพัน 1 เฟื้อง กฤษณา 1 สลึง กระล�ำพัก 1 สลึง ขอนดอก 1 สลึง ดีงูเหลือม 1 เฟื้อง ฝิ่น 1 เฟื้อง
น�้ำดอกไม้เป็นกระสาย บดท�ำแท่ง ละลายน�้ำดอกไม้กินหาย ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 241
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 437
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่ออ�ำบุดไสยาศน์ แก้ไข้ นอนไม่หลับ แก้ลง แก้ราก อันใดก็ได้ เอา ถั่วทอง 1 รากคนทา 1
รากถั่วพู 1 ข้าวโพด 1 กัญชา 1 น�้ำตาลทราย 1 เสมอภาค ท�ำแท่งละลายน�้ำดอกไม้กิน นอนหลับ ถ้าลงแทรกฝิ่น ๚

242 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชือ่ มหานิทรา ท่านให้เอา ลูกจันทน์เทศ ๑ ดอกจันทน์เทศ ๑ ลูกกระวาน ๑ กานพลู ๑ เอาสิง่ ละ ๒ สลึง
เทียนทั้ง ๕ สิ่งละ ๑ สลึง หัวกลอย ๒ สลึง เห็ดขี้วัว ๑ สลึง รากข้าวเรือ ๒ สลึง กัญชา ๒ สลึง ลูกสะบ้าใหญ่เผา
๑ บาท ต�ำเป็นผง บดละลายสุราให้กินตามกําลังคนไข้ นอนหลับดีนักแล เราได้ท�ำใช้มามากอยู่แล้ว อย่าสนเท่ห์เลย
เราได้ท�ำแล้ว ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 243
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒75
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อส�ำราญนิทรา เอา พิมเสน ๑ สลึง โกฐหัวบัว ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๒ สลึง ดอกจันทน์ ๒ สลึง
กระวาน ๒ สลึง กานพลู ๒ สลึง จันทน์แดง ๓ สลึง จันทน์ขาว ๓ สลึง กฤษณา ๓ สลึง กระล�ำพัก ๓ สลึง
ชะลูด ๓ สลึง ขอนดอก ๓ สลึง การบูร ๓ สลึง กัญชา ๓ สลึง รากข้าวเรือ ๓ สลึง หัวกลอย ๓ สลึง ลูกสะบ้ามอญ
๓ สลึง อบเชย ๓ สลึง หญ้าฝรั่น ๑ บาท ท�ำเป็นจุณ น�้ำดอกไม้เป็นกระสายบดท�ำแท่งไว้ แก้นอนไม่หลับ ไปพลี
เอาชุมเห็ดไทยทั้งต้นทั้งราก ต้มเป็นกระสายกิน แก้นอนไม่หลับแล ๚

244 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 574
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อส�ำราญนิทรา เอา โกฐหัวบัว ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู กระล�ำพัก สิ่งละ ๒ สลึง
จันทน์แดง จันทน์ขาว กฤษณา ชะลูด ขอนดอก การบูร กัญชา รากข้าวเรือ ลูกสะบ้าใหญ่ อบเชย กลอย สิ่งละ ๓ สลึง
พิมเสน ๑ สลึง หญ้าฝรั่น ๑ บาท ท�ำผงน�้ำดอกไม้สด บดกิน แก้นอนไม่หลับ ไข้จับดวงใจ หายแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 245
ชื่อเอกสาร เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป เล่ม ๑, ๒, ๓ พระยาพิศณุประสาทเวช
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาส�ำราญนิทรา
เอา พิมเสน ๑ โกฐหัวบัว ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ สิ่งละ ๒ สลึง
จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ ขอนดอก ๑ ชะลูด ๑ กัญชา ๑ รากข้าวเรือ ๑ ผลสะบ้าปิ้งไฟ ๑ กลอย ๑
อบเชยเทศ ๑ สิ่งละ ๓ ส่วน หญ้าฝรั่น ๒ ส่วน ต�ำเป็นผง บดด้วยน�้ำดอกไม้ แทรกพิมเสน แก้ลม ฯ

ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาส�ำราญนิทรา
เอา พิมเสน โกฐหัวบัว ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู สิ่งละ ๒ สลึง จันทน์ทั้ง 2 กฤษณา
กระล�ำพัก ขอนดอก ชะลูด การบูร กัญชา รากข้าวเรือ ๑ สลึง สะบ้าปิ้งไฟ กลอย อบเชยเทศ สิ่งละ ๓ สลึง
หญ้าฝรั่ง ๒ สลึง ต�ำผงบดด้วยน�้ำดอกไม้ พิมเสน กินแก้ลม

246 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 566
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะต�ำราชื่อว่าสุขเกษมใหญ่ ท่านให้เอา เปลือกชะลูด ๑ ดอกชะลูด ๑ เปลือกอบเชยไทย
เปลือกอบเชยเทศ เปลือกสมุลแว้ง ๑ ชะเอมเทศ ๑ ลูกเอ็นเทศ ๑ ลูกช้าพลู ๑ เทียนทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๕ ลูกจันทน์เทศ ๑
ดอกจันทน์เทศ ๑ ตรีกฏุก ๑ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ ขอนดอก ๑ ยาทั้งนี้ เอาสิ่งละ ๑ บาท กัญชา ๒ บาท
ต�ำเป็นผงไว้ เมื่อจะบดจึงแทรกชะมด ๑ พิมเสน ๑ หญ้าฝรั่น ๑ อ�ำพันทอง ๑ ละลายน�้ำดอกไม้เทศกิน แก้ไข้เหนือ
สันนิบาตเลือด สันนิบาตลม อันท�ำพิษให้คลั่งไคล้ ทุรนทุราย เชื่อมมัวนัก นอนไม่หลับ ละลายน�้ำใบกัญชา
ต้มให้กินนอนเป็นสุขดีนักแล ยานี้แก้ได้สารพัด แก้ไข้เหนือ แลตานทราง ฝีดาษ ฝียอดเดี่ยว แลฝีเลือด ฝีลมทั้งปวง
หายทุกประการแล ท่านตีค่าไว้ ๕ ต�ำลึงทองแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 247
ชื่อเอกสาร พระตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๖๒๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา
ภาพต้นฉบับ

248 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ พระโอสถชื่อสุขเกษมใหญ่ ขุนเทวะพรมมาแพทย์มีชื่อปรึกษาพร้อมกันประกอบถวาย โกฐทั้ง ๙
เทียนทั้ง 9 ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ พริกไทย ๑ ขิง ๑ ดีปลี ๑ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ ชะลูด ๑ ขอนดอก ๑
อบเชยทั้ง ๒ สมุลแว้ง ๑ ลูกเอ็น ๑ ลูกช้าพลู ๑ ใบกระวาน ๑ ลูกกระวาน ๑ กั ญ ชา ๑ ผลสมอทั้ง ๓
ผลมะขามป้อม ๑ ดอกบุนนาค ๑ กานพลู ๑ ยาทั้งนี้สิ่งละ ๑ บาท ต�ำผงน�้ำดอกไม้เทศเป็นกระสายบดแล้ว
จึงปรุงชะมดสด ๑ สลึง ชะมดเชียง ๒ สลึง พิมเสน ๓ สลึง หญ้าฝรั่น ๒ สลึง อ�ำพันทอง ๒ สลึง เกล็ดหอยหอม ๑ สลึง
กระแจะตะนาว ๒ สลึง บดปั้นแท่งตากไว้ในร่ม แล้วใส่ขวดไว้อย่าให้ถูกลม เมื่อจะกิน ละลายน�้ำดอกไม้เทศกับ
น�้ำดอกมะลิเจือกัน แก้นอนไม่หลับ กินอาหารไม่ได้ ให้อิดโรยก�ำลัง แก้สารพัดไข้เหนือ ไข้พิษ ตานทรางขโมย
แลพิษไข้สารบาต ถ้าฝีดาษให้คลั่ง ให้สลบ ละลายสุรา ถ้าไข้เหนือสารบาตลายน�้ำดอกไม้ ถ้าท�ำพิษให้ร้อนแทรก
สารพัดเขี้ยวงา ถ้าจะถ่ายพิษเอาน�้ำใบสวาด รากจิงจ้อแทรกกินลงแล ถ้าลงท้องละลายน�้ำเปลือกมะเดื่อกินหยุด
ถ้าลงเอาใบชุมเห็ดไทย ใบเทียน ใบทับทิมต้มเอาน�้ำละลายยากิน ถ้ารากละลายน�้ำลูกยอต้ม แทรกพิมเสนกิน
ถ้าชักมือ ชักเท้าก�ำ กระท�ำให้ลิ้นกระด้าง คางแข็ง ได้กินยานี้หายสิ้น พระโอสถต�ำรับนี้ ตีคา่ ไว้ ๑ ชั่งทองหนึ่งแล ๚ะ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 249
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 566
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สุขเกษม ท่านให้เอา ชะลูด ๑ อบเชยทั้ง ๒ ชะเอมเทศ ๑ บาท ลูกเอ็น ๑ บาท ลูกช้าพลู ๑ บาท
เทียนทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ๑ บาท กฤษณา ๑ บาท กระล�ำพัก ๑ บาท ขอนดอก ๑ บาท แก่นสนเทศ ๑ บาท
กัญชา ๒ บาท จึงปรุงชะมด พิมเสน ๑ หญ้าฝรั่น ๑ อ�ำพันทอง ถ้าแก้ไข้ น�้ำดอกไม้ แก้นอนไม่หลับ น�้ำชุมเห็ดต้ม
ถ้าแก้ราก น�้ำลูกยอต้ม ถ้าลงท้อง น�้ำเปลือกมะเดื่อ ถ้าสะอึก ให้เอาเถาสะอึก ต้มละลายยานี้กินหายแล ถ้ากระหายน�้ำ
เอารากมะแว้งทั้ง ๒ รากขัดมอนต้มละลายยานี้กินหาย ๚

250 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ดต่าง ๆ
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 630
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาสุขเกษมใหญ่ โกฐทั้ง ๙ เทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กฤษณา กระล�ำพัก ขอนดอก ชะลูด
อบเชยทั้ง ๒ ลูกเอ็นเทศ ลูกช้าพลู ใบกระวาน ลูกกระวาน ใบกัญชา มะขามป้อม สมอทั้ง ๓ ดอกบุนนาค กานพลู
ยาทั้งนี้ เอาสิ่งละ ๑ บาท อ�ำพันทอง ๒ สลึง กระแจะตะนาว

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 251
ยาทิพกาศ
ยาทิพกาศ เป็นต�ำรับยาอยู่ในคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ เป็นหลักฐานทางการแพทย์แผนไทยชิ้นส�ำคัญ
ที่เหลือสืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) นี้ค้นพบต้นฉบับ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นสมบัติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ตกทอดมายังพระเจ้า
น้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทรประทานหอพระสมุด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ ตัวยาประกอบด้วย ยาด�ำ เทียนด�ำ
ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน พิมเสน สิ่งละส่วน การบูร ๔ ส่วน ฝิ่น ๘ ส่วน ใบกัญชา ๑๖ ส่วน วิธีท�ำ
สุราเป็นกระสาย บดท�ำแท่ง น�้ำกระสายใช้ให้ชอบโรคร้อนแลเย็น กินพอควร สรรพคุณ แก้สารพัดทั้งหลาย
อันให้ระส�่ำระสาย กินข้าวมิได้ นอนมิหลับ ตกบุพโพ ตกโลหิต ลงแดง นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาทิพกาศ ที่มีการ
คัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

252 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน)
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1143
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือใบลาน

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาทิพกาศ ให้เอา ยาด�ำ เทียนด�ำ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน พิมเสน สิ่งละ 1 ส่วน การบูร ๔ ส่วน
ฝิ่น ๘ ส่วน ใบกัญชา ๑๖ ส่วน สุราเป็นกระสาย บดท�ำแท่ง น�้ำกระสายใช้ให้ชอบโรคร้อนแลเย็น กินพอควร
แก้สารพัดทั้งหลาย อันให้ระส�่ำระสาย กินข้าวไม่ได้ นอนไม่หลับ ตกบุพโพ ตกโลหิต ลงแดง หายแล ฯ

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาทิพกาศ เอา ยาด�ำ เทียนดํา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน พิมเสน สิ่งละ ๑ ส่วน การบูร ๔ ส่วน
ฝิ่น 8 ส่วน ใบกัญชา ๑๖ ส่วน สุราเป็นกระสายบดทําแท่ง น�้ำกระสายใช้ให้ชอบโรคร้อนและเย็น กินพอควร
แก้ระส�่ำระสาย กินข้าวไม่ได้ นอนไม่หลับ ตกบุพโพโลหิต ลงแดง

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 253
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๑๘
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาหอมชื่อเทพร�ำจวน แก้นอนไม่หลับ แก้กลุ้มอก กลุ้มใจ โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์
กระวาน กานพลู สน สักขี ชะลูด อบเชย สมุลแว้ง จันทน์ทั้ง ๒ ชะเอม พิกุล บุนนาค สารภี เกสรบัวหลวง มะลิซ้อน
มะลิลา จ�ำปา กระดังงา กัญชา กฤษณา กระล�ำพัก ขอนดอก น�้ำประสานทอง ตรีกฏุกเอาเท่ากันท�ำผงแทรก
เครื่องหอม แก้ลมมีพิษ ๚

254 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อทิพย์โอสถ สะกดพระวาโย จ�ำเริญพระอาหาร ท่านให้เอา มหาหิงคุ์ ๑ สลึง ว่านนํ้า ๒ สลึง
ลูกพิลังกาสา ๓ สลึง เกลือสินเธาว์ ๑ บาท เทียนเยาวพาณี ๑ บาท ๑ สลึง สมอไทย ๑ บาท ๒ สลึง เจตมูลเพลิง
๑ บาท ๓ สลึง โกฐสอ ๒ บาท ดีปลี ๒ บาท ๑ สลึง ขิงแห้ง ๒ บาท ๒ สลึง พริกไทย พริกหอม ๑ บาท ๑ สลึง
กัญชา ๑ บาท ๒ สลึง บุก ๑ บาท ๑ สลึง ต�ำเป็นผง นํ้าร้อน นํ้าขิง นํ้ากัญชาต้ม แก้นอนไม่หลับ จ�ำเริญอาหาร ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 255
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๕๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาต้ม กินข้าวไม่ได้ นอนไม่หลับ เอา ดีปลี มะแว้งเครือ มะเขือขื่น บอระเพ็ด กัญชา ยาข้าวเย็น
ลูกพิลังกาสา ต้มกิน แก้ดีพลุ่งด้วย ๚

256 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๖๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ลมเอาสับทั้งปวง จับให้นอนหลับไม่รู้ตัว เอายาด�ำ 1 มหาหิงคุ์ 1 รงทอง 1 สีเสียดเทศ 1 ดีปลี 1
การบูร 1 กระวาน 1 กัญชา 1 เทียนด�ำ 1 เทียนขาว 1 ลูกจันทน์ 1 การบูร 1 พริก 1 ขิง 1 ฝิ่น 2 ไพ ท�ำแท่งผง
ละลายน�้ำผึ้งรวงกิน หายแล ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 257
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 314
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้เด็กนอนไม่หลับ กระเทียม ๑ มหาหิงคุ์ ๑ ว่านน�้ำ ๑ บอระเพ็ดเถา ใบชุมเห็ดเท่ายาทั้งหลาย
บดท�ำแท่ง ให้เด็กกิน นอนหลับ กัญชา เป็นกระสาย ๚

258 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 353
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาทาตาข้างล่าง ฝิ่น ๑ กาลี ๑ กัญชา ๑ รากยาสูบ ๑ ทะลายหมากดิบ ยาทั้งนี้เอาเสมอภาค
บดทาตาข้างล่างให้นอนหลับ ของนายสุกแล ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 259
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 498
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อเทพนิมิตน้อย แก้ให้นอนไม่หลับ เอา กัญชา 5 บาท ลูกผักกาด ๑ บาท เทียนทั้ง ๕ สิ่งละ ๑ บาท
บดปั้นแท่งไว้ ฝนด้วยน�้ำอ้อยแดงกิน แก้สลบ แก้ระส�่ำระสาย แก้ฝีดาษ แก้ทรางแล ๚

260 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 574
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาอยู่ไฟแก้นอนไม่หลับ เอา รากล�ำโพงกาสลัก ๑ บาท พิษนาศน์ ๑ บาท ดีจระเข้ ๑ บาท ๑ สลึง
ลูกกระวาน ๑ บาท ๓ สลึง ใบกระวาน ๑ สลึง ดอกบุนนาค ๒ บาท ใบกัญชา ๑ บาท ๒ สลึง ดีปลี ๒ บาท
ชะเอมเทศ ๓ บาท พริกไทยล่อน ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง ๑ เฟื้อง มะขามป้อม ๒ บาท ต�ำเป็นผงน�้ำส้มซ่า ถ้าจะแก้เลือดสุรา
แก้ลมน�้ำผึ้ง ถ้าให้สลักอก แก้ลม แก้เสมหะ ก�ำเดา ไฟธาตุทั้ง ๕ ให้นอนหลับกินข้าวได้เป็นปรกติ ใครท�ำแล้ว
จะว่าดีได้ให้ผู้ไข้ให้แม่นแท้หาย ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 261
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 582
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ถ้าแลผินอนไม่หลับ เอา ใบมะตูม ๑ กัญชา ๑ ใบคนทีสอ ๑ ใส่ฝน่ิ น้อยหนึง่ ๑ บดให้กนิ นอนหลับแล ๚

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาประทุมไสยาศน์จันทบุรี เอา จันทน์หอม เกสรบัวหลวง สิ่งละ ๑ บาท กฤษณา กระล�ำพัก ลูกจันทน์
ดอกจันทน์ กัญชา กลอย สิ่งละ ๑ สลึง ขอนดอก พิมเสน ฝิ่น ดีงูเหลือม ชะมด สิ่งละ ๑ เฟื้อง ลูกผักชี การบูร
สิ่งละ ๑ สลึง บดเป็นแท่ง ละลายน�้ำดอกไม้ กินแก้นอนไม่หลับ
ยาแก้โรคจิต เอาเปลือกกุ่มน�้ำ ๒ บาท เปลือกมะรุม 6 บาท แห้วหมู เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ รางแดง
จันทน์เทศ เปลือกมะตูม ก้านกัญชา บอระเพ็ด เปลือกโมกมัน หญ้าชันกาด สนเทศ สิ่งละ ๑ บาท ระย่อมเท่ายา
ทั้งหลาย รวมตําผง ละลายน�้ำร้อนแทรกพิมเสน กินครั้งแรกหนัก ๒ ไพ ถ้านอนไม่หลับ ให้ทวียาขึ้นไปถึง 1 สลึง
ยาหอมอุดมมัธยัสถ์ เอา ดอกกระดังงา ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค เกสรบัวหลวง เปลือกชะลูด
กํายาน เนื้อไม้จันทน์เทศ ชะเอมเทศ สิ่งละ ๑ บาท จันทน์แดง ๓ บาท ตําผงไว้ แก้ดีเดือด แก้กลุ้ม สวิงสวาย กินกับ
น�้ำดอกไม้สด พิมเสน หญ้าฝรั่น ชะมดเชียง ถ้าไม่มี แทรกน�้ำดอกไม้สดอย่างเดียวก็ได้ แก้เชื่อม น�้ำลูกสมอไทยต้ม
ถ้านอนไม่หลับ น�้ำรากชุมเห็ดเทศ น�้ำกัญชาต้มก็ได้ ถ้ามีครรภ์กินประจําท้องว่าทําให้เด็กมีกําลัง นักเรียนกินว่าทําให้
ใจชื่น มีปัญญาเรียนหนังสือ กินเวลากลางวันว่า แก้ลมกระทบหัวใจและลมทั้งปวง

262 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


กลุ่มยาบ�ำรุง ยาอายุวัฒนะ
ยาอัคคินีวคณะ

ยาอัคคินีวคณะ เป็นต�ำรับยาอยู่ในคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ เป็นหลักฐานทางการแพทย์แผนไทย
ชิ้นส�ำคัญที่เหลือสืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน) นี้ค้นพบ
ต้นฉบับในสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นสมบัติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ตกทอดมายัง
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทรประทานให้หอพระสมุด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ ตัวยาประกอบด้วย
กัญชา ยิงโสม สิ่งละส่วน เปลือกอบเชย ใบกระวาน กานพลู สะค้าน สิ่งละ ๒ ส่วน ขิงแห้ง ๓ ส่วน รากเจตมูลเพลิง
ดีปลี สิ่งละ ๔ ส่วน น�้ำตาลกรวด ๖ ส่วน วิธีท�ำ กระท�ำเป็นจุณ น�้ำผึ้งรวงเป็นกระสาย บดเสวยหนัก ๑ สลึง
สรรพคุณ แก้อาเจียน ๔ ประการ ด้วยติกกะขาคินีก�ำเริบ แลวิสมาคินี มันทาคินีอันทุพล จึงคลื่นเหียนอาเจียน มิให้
เสวยพระกระยาหารได้ ให้จ�ำเริญ พระธาตุทั้ง ๔ ให้เสวยพระกระยาหาร เสวยมีรส ชูก�ำลังยิ่งนัก โดยมีขุนประสิทธิ
โอสถจีน ประกอบทูลเกล้าฯ ถวาย ครั้งสมเด็จพระนารายน์เป็นเจ้าเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาอัคคินีวคณะ
ที่มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
❀ เอกสาร ต้นสมุทตําราฝีดาษ ทําพิศมต่าง ๆ เลขที่ ๑๖๓ หนังสือสมุดไทยขาว
❀ เอกสาร ตํารายาเกร็ด เลขที่ ๒๓๒ หนังสือสมุดไทยดํา
❀ เอกสาร ตํารายาเกร็ด เลขที่ ๒๓3 หนังสือสมุดไทยดํา
❀ เอกสาร ตํารายาเกร็ด เลขที่ ๒๔๕ หนังสือสมุดไทยดํา
❀ เอกสาร ตํารายาเกร็ด เลขที่ ๒๔๗ หนังสือสมุดไทยดํา
❀ เอกสาร ต�ำรายาเกร็ด เลขที่ ๒75 หนังสือสมุดไทยด�ำ
❀ เอกสาร ต�ำรายาเกร็ด เลขที่ 415 หนังสือสมุดไทยด�ำ
❀ เอกสาร ตํารายาเกร็ด เลขที่ 428 หนังสือสมุดไทยดํา
❀ เอกสาร ต�ำรายาเกร็ด เลขที่ 574 หนังสือสมุดไทยด�ำ
❀ เอกสาร ต�ำรายาแก้ไข้ทั้งปวง ยาเกร็ดผู้ใหญ่ เลขที่ 666 หนังสือสมุดไทยขาว
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชือ ่ คัมภีรแ์ พทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อ ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
โดยมีชอื่ เรียกแตกต่างกันไป เช่น ยาชีวอัศวะนีวฒ
ั ณะ ยาอัคคีวฒ ั ณะ ยาอัคคี ยาอัคคีวชั ณะ ยาอัคคินวี คณะ
ยาอัคคีวัทณะ ยาอัคคิวคณะ เป็นต้น

264 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน)
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1143
ประเภทเอกสารโบราณ ใบลาน

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาอัคคินีวคณะ ให้เอา กัญชา ยิงโสม สิ่งละ 1 ส่วน เปลือกอบเชย ใบกระวาน กานพลู สะค้าน
สิ่งละ ๒ ส่วน ขิงแห้ง ๓ ส่วน รากเจตมูลเพลิง ดีปลี สิ่งละ ๔ ส่วน น�้ำตาลกรวด ๖ ส่วน กระท�ำเป็นจุณ น�้ำผึ้งรวง
เป็นกระสาย บดเสวยหนัก 1 สลึง แก้อาเจียน ๔ ประการ ด้วยติกขาคินีก�ำเริบ แลวิสมาคินี มันทาคินีอันทุพพล
จึงคลื่นเหียน อาเจียน มิให้เสวยพระกระยาหารได้ ให้จ�ำเริญพระธาตุทั้ง ๔ ให้เสวยพระกระยาหาร เสวยมีรสชูก�ำลัง
ยิ่งนัก ข้าพระพุทธเจ้า ขุนประสิทธิโอสถจีน ประกอบทูลเกล้าฯ ถวาย ครั้หงสมเด็จพระนารายน์เป็นเจ้าเมืองลพบุรี
เสวยเพลาเช้าอัตราดีนักแล ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 265
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ลักษณะมันทธาตุ (ศาลาสิริวัฒนภักดี)

266 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะในมันทธาตุอันเป็นค�ำรบ ๔ นั้น ยิ่งไปด้วยเสมหะมีก�ำลัง คือเพลิงธาตุนั้น
หย่อนเผาอาหารมิได้ย่อย กระท�ำให้ลงไปวันละ ๒ เพลา ๓ เพลา ให้สวิงสวาย ให้ถอยแรงยิ่งนักแล กระท�ำให้ท้องขึ้น
มิ รู ้ วาย ให้ อุ จ จาระเป็นเมือกมัน เป็นเปลวหยาบ แลละเอี ย ดระคนกั น ให้ ปวดมวนเป็ นก� ำ ลั ง โทษทั้ ง นี้ เกิ ด
ในกองทวาทศอาโปให้เป็นเหตุ ฯ
ถ้าจะแก้ให้เอา ยิงโสม กัญชา อบเชย ใบกระวาน กานพลู สะค้าน ขิงแห้ง เจตมูล ดีปลี น�้ำตาลกรวด
เอาเสมอภาคท�ำเป็นจุณบดละลายน�้ำผึ้งกิน แก้มันทธาตุยิ่งไปด้วยกองเสมหะ กล่าวคือ อาโปธาตุอันวิปริตนั้นหาย ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 267
ชื่อเอกสาร ต้นสมุทตําราฝีดาษ ทําพิศมต่าง ๆ
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๖๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาอัคคินีวคณะ แก้อาเจียน ๔ ประการ ก�ำเริบด้วยธาตุทั้ง ๔ เอาเจตมูล ๑ บาท อบเชย ๒ สลึง
สะค้าน ๒ สลึง กานพลู ๒ สลึง ขิงแห้ง ๓ สลึง ดีปลี ๑ บาท กัญชา ๑ สลึง โสม ๑ สลึง น�้ำตาลกรวด ๑ บาท ๒ สลึง
บดด้วยน�้ำผึ้งกินหนัก ๑ สลึง หายแล ๚

268 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่ออัคคินีวคณะ ใบกัญชา ๑ ยิงโสม ๑ สิ่งละ 1 ส่วน เปลือกอบเชย ๑ ใบกระวาน ๑ กานพลู ๑
สะค้าน ๑ สิง่ ละ ๒ ส่วน ขิงแห้ง ๓ ส่วน รากเจตมูลเพลิง ๑ ดีปลี ๑ สิง่ ละ ๔ ส่วน น�ำ้ ตาลกรวด ๖ ส่วน ต�ำผงน�ำ้ ผึง้ รวง
เป็นกระสายบด เสวยเพลาเช้าหนัก ๑ สลึง แก้อาเจียน ๔ ประการ ด้วยติกขาคินีก�ำเริบ และวิสมาคินี และมันทาคินี
อันทุพพล จึงคลื่นเหียน อาเจียน มิให้เสวยพระกระยาหารได้ และจ�ำเริญพระธาตุทั้ง ๔ ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 269
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อผลเตโช การบูร ๑ สลึง กัญชา ๒ สลึง พริก ๓ สลึง ขิง ๑ บาท กานพลู ๑ บาท ๑ สลึง
สะค้าน ๑ บาท ๒ สลึง ดีปลี ๑ บาท ๓ สลึง น�้ำตาลทราย ๒ บาท ใบกระวาน ๒ บาท ๑ สลึง ผักแพวแดง ๒ บาท
๒ สลึง อบเชย ๒ บาท ๓ สลึง สน ๓ บาท เจตมูลเพลิง ๓ บาท ๑ สลึง ท�ำเป็นจุณ จ�ำเริญเตโชธาตุให้กล้าขึ้น
แก้อาโปธาตุก�ำเริบ ให้ปัสสาวะมาก วันละ ๙ วันละ ๑๐ ทะนาน หายวิเศษนัก ๚
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด

270 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๕
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่ออัคคินีวคณะ ให้เอา กัญชา 1 ส่วน เปลือกอบเชย ใบกระวาน กานพลู สะค้าน สิ่งละ ๒ ส่วน
ขิงแห้ง ๓ ส่วน รากเจตมูล ดีปลี สิ่งละ ๔ ส่วน นํ้าตาลกรวด ๖ ส่วน ท�ำเป็นจุณ นํ้าผึ้งเป็นกระสายกินหนัก ๑ สลึง
แก้อาเจียน ๔ ประการ ด้วยติกขาคินีกําเริบ และวิสมาคินี มันทาคินีอันทุพพลภาพ จึงคลื่นเหียนให้กินอาหารไม่ได้
ให้กนิ ยานีจ้ ำ� เริญธาตุทงั้ 4 ให้อาหารมีรสชูกำ� ลัง ยานีพ้ ระนารายณ์ลพบุรเี สวยอัตรา ขุนประสิทธิโอสถทองจีนถวาย ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 271
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๗
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ รากเจตมูล ๑ บาท เปลือกอบเชย ๑ สลึง สะค้าน ๒ สลึง ขิงแห้ง ๒ สลึง ดีปลี ๒ สลึง กัญชา ๑ สลึง
หินส้ม ๑ สลึง นํ้าตาลกรวด ๑ บาท ๒ สลึง ท�ำผงบดด้วยนํ้าผึ้งเป็นกระสายกิน ๑ สลึง แก้อาเจียนทั้ง ๔ ประการ
ให้กําเริบด้วยติกขาคินี วิสมาคินี มันทาคินี ให้พิการ คลื่นเหียน ไม่ให้กินข้าวได้ ให้จ�ำเริญธาตุทั้ง ๔ ให้กินข้าวได้
มีรสชูก�ำลังยิ่งนัก ชื่ออัคนี ขุนประเสริฐทิพย์โอสถ ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้าเมืองลพบุรีเสวยเช้า
อัตราดียิ่งนักแล ๚

272 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒75
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาอัคคินีวคณะ เอา กัญชา ๒ บาท สะค้าน ๑ ต�ำลึง ขิงแห้ง ๑ ต�ำลึง ๒ บาท เจตมูล ๒ ต�ำลึง
ดีปลี ๒ ต�ำลึง น�้ำตาลกรวด ๓ ต�ำลึง อบเชย ๑ ต�ำลึง โสม ๒ บาท ใบกระวาน ๑ บาท กานพลู ๑ บาท ท�ำจุณ
แก้ให้ไฟธาตุจ�ำเริญกล้าขึ้น ปกติบริบูรณ์ดังเก่า ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 273
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 415
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ โสม 1 บาท 1 สลึง ใบกัญชา 1 บาท 2 สลึง อบเชย 1 บาท ใบกระวาน 1 บาท กานพลู 1 บาท
สะค้าน 2 บาท 2 สลึง ขิงแห้ง 3 บาท 3 สลึง เจตมูลเพลิง 5 บาท ดีปลี 5 บาท น�้ำตาลกรวด 6 บาท กินกลางวัน
กลางคืน น�้ำดอกไม้แก้ธาตุยาน ๚๛

274 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 428
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาลม แก้อาเจียน ๘ ประการ ท่านให้เอา เจตมูลเพลิง หนัก ๑ บาท ขิงหนัก ๒ สลึง อบเชย ๒ สลึง
กานพลู ๒ สลึง ใบกระวาน ๒ สลึง สะค้าน ๒ สลึง ดีปลี ๑ บาท กัญชา ๑ สลึง น�้ำตาลกรวด ๑ บาท ๒ สลึง ละลาย
กับน�้ำผึ้งกินเท่าลูกพุทรา แก้ลม แก้ไส้เลื่อน ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 275
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 574
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาอัคคินีวคณะ เอา กัญชา ๒ บาท โสม ๒ บาท อบเชย สะค้าน สิ่งละ ๑ ต�ำลึง เจตมูล ดีปลี
สิ่งละ ๒ ต�ำลึง ใบกระวาน 1 กานพลู ๑ บาท ขิง ๑ ต�ำลึง ๒ บาท น�้ำตาลกรวด ๓ ต�ำลึง ต�ำเป็นผงกิน ๚

276 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาแก้ไข้ทั้งปวง ยาเกร็ดผู้ใหญ่
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 666
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาอัคคินีวคณะ ด้วยติกขาคินีก�ำเริบแล วิสมาคินี มันทาคินีอันทุพพล จึงคลื่นเหียน มิให้กินอาหารได้
ยานี้ให้จ�ำเริญธาตุทั้ง 4 แก้อาเจียน 4 ประการ ให้จ�ำเริญ รสอาหารก�ำลัง เอา กัญชา 1 เฟื้อง โสม 1 เฟื้อง
เปลือกอบเชย 1 สลึง ใบกระวาน 1 สลึง กานพลู 1 สลึง ขิง 1 สลึง 1 เฟื้อง เจตมูล 2 สลึง ดีปลี 2 สลึง น�้ำตาลกรวด
3 สลึง ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งกิน 1 สลึง แล ๚

ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอา กัญชา โสม อบเชยญวน เอาสิ่งละ 1 สลึง ใบกระวาน กานพลู สะค้าน เอาสิ่งละ 2 สลึง ขิงแห้ง
3 สลึง เจตมูลเพลิง ดีปลี สิ่งละ 1 บาท น�้ำตาลกรวด 6 สลึง

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาอัคคินีวคณะ เอา กัญชา ยิงสม สิ่งละ ๑ ส่วน เปลือกอบเชย ใบกระวาน กานพลู สะค้าน สิ่งละ ๒ ส่วน
ขิงแห้ง ๓ ส่วน รากเจตมูลเพลิง ดีปลี สิ่งละ 4 ส่วน น�้ำตาลกรวด ๖ ส่วน ทําเป็นจุณ น�้ำผึ้งรวงเป็นกระสาย กินหนัก
๑ สลึง แก้อาเจียน กินอาหารมิได้ ให้เจริญอาหาร

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 277
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่ออินทจวร ขนานนี้ ท่านให้เอา หิงยางโพธิ์ ๑ บาท ว่านน�้ำ ๒ บาท ลูกพิลังกาสา ๒ บาท ขิงแห้ง
๒ บาท พริกไทย ๑ บาท กัญชา ๑ บาท ดีปลี ๑ ต�ำลึง ๒ บาท บุกรอ ๕ ต�ำลึง ศิริยา ๘ สิ่งนี้ ท�ำจุณ ละลายน�้ำผึ้งรวง
น�้ำนมโคกินเท่าเม็ดพริกไทยไปจนหมด ๑ เฟื้อง มีก�ำลังได้ถึง ๒๐๐ บุรุษ เป็นอายุวัฒนะ ยาขนานนี้พระยาหงสา
ได้เสพแล้วมีก�ำลังมากนัก ท่านจึงตีคา่ ไว้เป็นราคา ๑๐๐,๐๐๐ ต�ำลึงทอง ๚

278 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๗
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาอายุวัฒนะ ท่านจารึกต�ำราไว้ในแผ่นทองนพคุณ ให้แก่สมณะชีพราหมณ์ แก่คนทั้งหลาย อันโรค
พยาธิทั้งหลายต่าง ๆ เอา เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑ เทียนแดง ๑ เทียนสัตตบุษย์ ๑ เทียนเยาวพาณี ๑ โกฐสอ ๑
โกฐเขมา ๑ โกฐกักกรา ๑ โกฐพุงปลา ๑ บอระเพ็ด ๑ ใบกัญชา ๑ หัสคุณทั้ง ๒ ลูกพิลังกาสา รากไคร้เครือ ๑
แห้วหมูใหญ่ ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ พริกหอม ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ ต�ำลึง ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กานพลู ๑ เอาสิ่งละ
๒ บาท เอาดีปลีเท่ายา เอาใบกะเพราเท่ายาทั้งหลาย ต�ำผงละลายนํ้าผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนกินหนัก ๑ สลึง เป็นอัตรา
ไปถึงเดือนหนึ่งจึงจะรู้จักคุณยาเห็นประจักษ์วิเศษนักแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 279
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 342
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ หิงคุ์ ๑ บาท ว่านน�้ำ ๒ บาท พิลังกาสา ๓ บาท เกลือสินเธาว์ ๑ ต�ำลึง เทียนเยาวพาณี ๑ ต�ำลึง ๑ บาท
สมอ ๑ ต�ำลึง ๒ บาท ผักแพวแดง ๑ ต�ำลึง ๓ บาท โกฐสอ ๒ ต�ำลึง ขิงแห้ง ๑๐ ต�ำลึง พริกไทย ๑๙ ต�ำลึง ใบกัญชา
๑๙ ต�ำลึง หัวบุก ๔ ต�ำลึง ยานี้ผู้ใดกินมีก�ำลังต่อ ๒๐๐ คน ละลายน�้ำผึ้งรวงกินเท่าลูกพริกไทย รูปก็งามแล ๚

280 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 572
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาต้มกินแก้ผอมแห้ง เอา ใบกระพังโหม กะเพราต้น ๑ ตะไคร้ ๓ ต้น รากสะแก เปลือกมะตูม
เปลือกไข่เน่า แห้วหมู พริกไทย ขิง ดีปลี กัญชา ขี้วัว ขมิ้นอ้อย บอระเพ็ด ต้มกินหายแล ๚

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้ธาตุพิการ ให้ซีดผอมเหลือง กินอาหารไม่มีรส เอา รากช้าพลู หนัก 1 สลึง ดีปลี ๕ บาท ผักแพวแดง
๕ สลึง พริกไทย ๑ สลึง ขิง ๑ สลึง ใบกัญชา ๑ สลึง ต�ำเป็นผงไว้ แล้วเอาปลาช่อน ๑ ตัว ล้างน�้ำให้หมดเมือก
ต้มทั้งเกล็ด ต้มเอาน�้ำ ๓ เอา ๑ แล้วตักเอาปลาออกเสีย เอากระเทียม ๓๓ กลีบ ตําใส่ลงในน�้ำปลาต้มนั้น ต้มแต่
พอเดือด วางไว้ให้เย็นชั่งเอาหนัก 1 สลึง ยาผงหนัก 3 สลึง ละลายกันเช้าเย็นทุกวัน

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 281
282 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
กลุ่มอาการท้องเสีย
ท้องเดิน บิด ป่วง
ยาทิพยสูพสุวรรณ
ยาทิพยสูพสุวรรณ เป็นต�ำรับยาอยูใ่ นต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) หมวดพระคัมภีร์
ประถมจินดา เล่ม 9 เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1016 หนังสือสมุดไทยด�ำ เมื่อ พ.ศ. 2413 พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมืน่ ภูบดีราชหฤทัย
จางวางกรมแพทย์เป็นแม่กองจัดหารวบรวม ช�ำระสอบสวนต�ำราคัมภีรแ์ พทย์ทใี่ ช้กนั อยูข่ ณะนัน้ ให้ถกู ต้อง แล้วส่งมอบ
ให้พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์ กรมอักษรพิมพการ จัดสร้างขึ้นใหม่เป็น
“คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เพื่อเป็นส่วนพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ และเป็นต�ำราที่ใช้ประโยชน์ในชาติบ้านเมือง
ต่อไป ตัวยาประกอบด้วย ก�ำมะถันทั้ง 2 การบูร จันทน์ทั้ง 2 กฤษณา กระล�ำพัก โกฐกระดูก โกฐเขมา ผลจันทน์
ดอกจันทน์ สีเสียดทั้ง 2 ผลเบญกานี ครั่ง เปลือกมะขามขบ ใบสะเดา ผลปราย ชะเอมเทศ กัญชา ยาฝิ่น ดีงูเหลือม
ขมิ้นอ้อย ตรีกฏุก เอาสิ่งละ ๑ สลึง กะเทียมกรอบ ๒ สลึง กานพลู ๑ บาท เปลือกหามกราย ๒ บาท วิธีท�ำ
ท�ำเป็นจุณเอาเปลือกแคแดง เปลือกเพกา เปลือกฝาง ต้มด้วยเหล้าเอาน�้ำเป็นกระสาย บดปั้นแท่งไว้ ถ้าจะแก้ลง
ละลายน�้ำเปลือกมะเดื่อต้มกิน ถ้าจะแก้บิดละลายน�้ำกะทือก็ได้น�้ำปูนใสก็ได้ แลแก้ตานทรางแลทรางโจร ถ้าผู้ใหญ่
เป็นริดสีดวง ให้ลงเป็นเสมหะ โลหิต เน่าก็ดีให้กินยานี้หาย นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาทิพยสูพสุวรรณ ที่มีการคัดลอก
ในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
ร.ศ. ๑๒8
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อเวชสาตร์วัณ์ณนา
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อ ต�ำรายาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. ๑๑๒
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 159 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 238 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 242 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 246 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 275 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 561 ชื่อ ตํารายาเกร็ด
ยาทิพยสูพสุวรรณ มีชอื่ เรียกแตกต่างกันไป เช่น ยาทิพยสูพสุวรรณ ยาทิพย์ศภุ สุวรรณ ยาทิพย์สภุ สุวรรณ
ยาทิพสุขสุวรรณ ยาแดงใหญ่ ยาสุพรรณทิพย์ ยาแก้ลงโลหิตอติสาร ยาสุพรรณราช ยากระเทียมสุก ยาประสะแดงน้อย
ยาเหลืองวิเศษ เป็นต้น

284 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ประถมจินดา เล่ม 9
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1016
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ยาชื่อทิพยสูพสุวรรณ ขนานนี้ ท่านให้เอาก�ำมะถันทั้ง 2 การบูร จันทน์ทั้ง 2 กฤษณา กระล�ำพัก
โกฐกระดูก โกฐเขมา ผลจันทน์ ดอกจันทน์ สีเสียดทั้ง 2 ผลเบญกานี ครั่ง เปลือกมะขามขบ ใบสะเดา ผลปราย
ชะเอมเทศ กัญชา ยาฝิ่น ดีงูเหลือม ขมิ้นอ้อย ตรีกฏุก เอาสิ่งละ ๑ สลึง กระเทียมกรอบ ๒ สลึง กานพลู ๑ บาท
เปลือกหามกราย ๒ บาท รวมยา ๒๙ สิ่งนี้ ท�ำเป็นจุณ เอาเปลือกแคแดง เปลือกเพกา เปลือกฝาง ต้มด้วยเหล้า
เอาน�้ำเป็นกระสาย บดปั้นแท่งไว้ ถ้าจะแก้ลงละลายน�้ำเปลือกมะเดื่อต้มกิน ถ้าจะแก้บิด ละลายน�้ำกะทือก็ได้
น�้ำปูนใสก็ได้ แลแก้ตานทราง แลทรางโจร ถ้าผู้ใหญ่เป็นริดสีดวง ให้ลงเป็นเสมหะโลหิตเน่าก็ดี ให้กินยานี้หาย

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 285
ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒๘
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาชื่อทิพย์ศุภสุวรรณ
ขนานนี้ท่านให้เอา ก�ำมะถันทั้ง ๒ การบูร ๑ จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ โกฐกระดูก ๑
โกฐเขมา ๑ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ สีเสียดทัง้ ๒ ผลเบญกานี ๑ ครัง่ ๑ เปลือกมะขามขบ ๑ ใบสะเดา ๑ ผลปราย ๑
ชะเอมเทศ ๑ กัญชา ๑ ฝิ่น ๑ ดีงูเหลือม ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ ตรีกฏุก ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง กระเทียมกรอบ ๒ สลึง
กานพลู ๑ บาท เปลือกหามกราย ๒ บาท รวมยา ๒๙ สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ เอาเปลือกแคแดง ๑ เปลือกเพกา ๑
เปลือกฝาง ๑ ต้มด้วยเหล้าเอาน�้ำเป็นกระสายบดปั้นแท่งไว้ ถ้าจะแก้ลงละลายน�้ำเปลือกมะเดื่อต้มกิน ถ้าจะแก้บิด
ละลายน�้ำกะทือก็ได้ น�้ำปูนใสก็ได้ แก้ตานทราง แลทรางโจร ถ้าผู้ใหญ่เป็นริดสีดวงให้ลงเป็นเสมหะโลหิตเน่าก็ดี
ให้กินยานี้หาย
ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
คัมภีร์ประถมจินดา เล่ม 9
ยาชื่อทิพย์สุภสุวรรณขนานนี้ท่านให้เอา ก�ำมะถันทั้ง 2 การบูร 1 จันทน์ทั้ง 2 กฤษณา 1 กระล�ำพัก 1
โกฐกระดูก 1 โกฐเขมา 1 ผลจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 สีเสียดทั้ง 2 ผลเบญกานี 1 ครั่ง 1 เปลือกมะขามขบ 1
ใบสะเดา 1 ผลปราย 1 ชะเอมเทศ 1 กัญชา 1 ฝิ่น 1 ดีงูเหลือม 1 ขมิ้นอ้อย 1 ตรีกฏุก 1 เอาสิ่งละ 1 สลึง
กานพลู 1 บาท กระเทียมกรอบ 2 สลึง เปลือกหามกราย 2 บาท รวมยา 29 สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ เอาเปลือกแคแดง 1
เปลือกเพกา 1 เปลือกฝาง 1 ต้มด้วยเหล้าเอาน�้ำเป็นกระสาย บดปั้นแท่งไว้ ถ้าจะแก้ลงละลายน�้ำมะเดื่อต้มกิน
ถ้าจะแก้บิดละลายน�้ำกระทือก็ได้ น�้ำปูนใสก็ได้ แลแก้ตานทราง แลทรางโจร ถ้าผู้ใหญ่เป็นริดสีดวง ให้ลงเป็นเสมหะ
โลหิตเน่าก็ดี ให้กินยานี้หาย
ยาเหลืองวิเศษ
เอา ก�ำมะถันแดง กระล�ำพัก โกฐกระดูก โกฐเขมา ดอกจันทน์ แก่นสนเทศ กัญชา ชะเอมเทศ ฝิ่น
ตรีกฏุก ดีงูเหลือม สิ่งละ ๑ สลึง ก�ำมะถันเหลือง การบูร จันทน์เทศ จันทน์แดง สิ่งละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กฤษณา
สีเสียดเทศ สีเสียดไทย ครั่ง สิ่งละ ๒ สลึง เปลือกมะขามเทศ ลูกจันทน์ เปลือกตะขบ ลูกกราย สิ่งละ ๓ สลึง
เบญกานี กานพลู ใบสะเดา สิ่งละ ๑ บาท กระเทียมกรอบ ๑ บาท ๒ สลึง เปลือกขี้อา้ ย ๓ บาท ขมิ้นอ้อยกึ่งยา
ทั้งหลาย กินแก้ลงตานซาง แล้วลงโทษริดสีดวง
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาทิพสุขสุวรรณ
เอา การบูร กฤษณา กระล�ำพัก โกฐกระดูก โกฐเขมา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกเบญกานี ครั่ง ใบสะเดา
ลูกปราย ชะเอมเทศ กัญชา ฝิ่น ดีงูเหลือม ขมิ้นอ้อย จันทน์ทั้ง 2 เปลือกมะขามขบ สีเสียดทั้ง 2 ทั้งนี้เอาสิ่งละ
๑ สลึง ตรีกฏุกสิ่งละ ๑ สลึง ก�ำมะถันทั้ง 2 สิ่งละ ๑ สลึง กระเทียมกรอบ ๒ สลึง กานพลู ๑ บาทเปลือกหามกราย
๒ บาท ท�ำเป็นจุณ เอาเปลือกแคแดง เปลือกเพกา เปลือกฝาง ต้มด้วยน�้ำสุรา เอาน�้ำเป็นกระสาย บดปั้นท�ำแท่งไว้
ถ้าจะแก้ลง ละลายด้วยน�้ำเปลือกมะเดื่อต้มกิน ถ้าจะแก้บิดละลายด้วยน�้ำกะทือ น�้ำปูนใสก็ได้ แก้ตานซาง
และซางโจร ถ้าผู้ใหญ่เป็นริดสีดวง ให้เป็นเสมหะโลหิตเน่าก็ดีให้กิน

286 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาประสะทับทิม เอา ก�ำมะถันแดง กระล�ำพัก โกฐกระดูก โกฐเขมา ดอกจันทน์ สิ่งละ 1 สลึง
ก�ำมะถันเหลือง การบูร จันทน์เทศ สิ่งละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กฤษณา ๒ สลึง ลูกจันทน์ ๓ สลึง สีเสียดเทศ ครั่ง
สีเสียดไทย สิ่งละ ๒ สลึง ลูกเบญกานี ๑ บาท ๑ สลึง เปลือกมะขาม เปลือกตะขบ สิ่งละ ๓ สลึง แก่นสนเทศ
กัญชา สิ่งละ ๑ สลึง ใบสะเดา ๑ บาท ลูกกราย ๓ สลึง ชะเอมเทศ ดีงูเหลือม ฝิ่น ตรีกฏุก สิ่งละ ๑ สลึง
ขมิ้นอ้อย ๑ สลึง ๑ เฟื้อง กระเทียมกรอบ ๑ บาท ๑ สลึง กานพลู ๑ บาท เปลือกหามกราย ๒ บาท ๒ สลึง
ท�ำผงละลายน�ำ้ เปลือกแค เปลือกเพกา เปลือกฝาง ต้มเป็นกระสายแทรกสุรากิน แก้ลงท้อง แก้มกู เลือด ละลายน�ำ้ ปูนใส
แทรกกะทือ หมกไฟ และแก้ลงตานซาง

ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอาก�ำมะถันทั้ง ๒ การบูร จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา กระล�ำพัก โกฐกระดูก โกฐเขมา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์
สีเสียดทั้ง ๒ เบญกานี ครั่ง เปลือกมะขามขบ ใบสะเดา ลูกปราย ชะเอมเทศ กัญชา ฝิ่น ดีงูเหลือม ขมิ้นอ้อย ตรีกฏุก
เอาสิ่งละ ๑ สลึง กระเทียมกรอบ ๒ สลึง กานพลู ๑ บาท เปลือกหามกราย ๒ บาท เอาเปลือกแคแดง เปลือกเพกา
เปลือกฝาง ต้มด้วยเหล้า เอาน�้ำเป็นกระสายบดปั้นแท่ง แก้ลง ละลายเปลือกมะเดื่อต้มกิน แก้บิด ละลายน�้ำกะทือ
หรือน�้ำปูนใสกิน แก้ตานซาง ตานโจร ผู้ใหญ่เป็นริดสีดวงให้ลงเป็นเสมหะ เป็นโลหิตเน่า กินยานี้หายแล

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 287
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. ๑๑๒
หนังสือเอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ยาชื่อแดงใหญ่ เอาจันทน์ทั้ง 3 สิ่งละ 2 สลึง ก�ำมะถันทั้ง 2 สิ่งละ 2 สลึง จันทนา 2 สลึง การบูร 2 สลึง
กฤษณา 2 สลึง กระล�ำพัก 2 สลึง โกฐสอ 2 สลึง โกฐเขมา 2 สลึง ลูกจันทน์ 2 สลึง ดอกจันทน์ 2 สลึง สีเสียดทั้ง 2
สิ่งละ 2 สลึง ครั่ง 2 สลึง เปลือกมะขามขบ 2 สลึง สนเทศ 2 สลึง ใบสะเดา 2 สลึง ก�ำยาน 2 สลึง ลูกปราย 2 สลึง
ชะเอมเทศ 2 สลึง กัญชา 2 สลึง ฝิ่น สิ่งละ 3 สลึง ดีงูเหลือม 2 สลึง ขมิ้นอ้อย 2 สลึง ขมิ้นชัน 2 สลึง
ตรีกฏุก 2 สลึง ผักเข็ด 2 สลึง เปลือกเพกา 2 สลึง ลูกเบญกานี 1 ต�ำลึง ยางสน 2 สลึง กระเทียมกรอบ 1 ต�ำลึง
กานพลู 1 ต�ำลึง เปลือกหามกราย 2 ต�ำลึง เปลือกแคแดง 2 สลึง เปลือกอ้อย 2 สลึง เปลือกช้างน้าว 2 บาท
เปลือกมะม่วงพรวน 1 ต�ำลึง ลูกในมะม่วงพรวน 2 บาท ฝางเสน 2 ต�ำลึง เปลือกตะเคียน 1 ต�ำลึง ลูกบิด 3 บาท
ลูกตะลุมพุก 3 ต�ำลึง เปลือกปะโลง 3 ต�ำลึง แล้วเอาเปลือกจิก เปลือกกรด แคแดง มาต้มเอาน�้ำเป็นกระสาย แก้บิด
แก้ลงท้อง ๚ะ

288 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๘
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สุพรรณทิพย์ เอา สุพรรณถันทั้ง ๒ การบูร กฤษณา กระล�ำพัก โกฐสอ โกฐเขมา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์
สีเสียดเทศ สีเสียดไทย ลูกเบญกานี ครั่ง เปลือกมะขามขบ สนเทศ ใบสะเดา ลูกกราย ชะเอมเทศ กัญชา ฝิ่น
ดีงเู หลือม ขมิน้ อ้อย ตรีกฏุก สิง่ ละ 1 ส่วน กระเทียมกรอบ สิง่ ละ ๒ ส่วน กานพลู ๔ ส่วน เปลือกหามกราย ๘ ส่วน
ต�ำเป็นผง แล้วจึงเอาเปลือกแคแดง เปลือกเพกา ฝาง สุราเป็นกระสาย บดท�ำแท่งไว้ ถ้าลงละลายนํ้าเปลือกมะเดื่อต้ม
ถ้าเป็นบิดตกเลือด ตกมูก ละลายนํ้ากะทือ นํ้าไพล นํ้าปูนใสกิน ถ้าผู้ใหญ่เป็นริดสีดวงลงเป็นเสมหะ เป็นโลหิตเน่า
กินหายดีนัก ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 289
ชื่อเอกสาร ตําราฝีดาด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๕๙
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ เอาสุพรรณถันทั้ง ๒ การบูร ๑ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ โกฐสอ ๑ สลึง โกฐเขมา ๑ สลึง ลูกจันทน์
๑ สลึง ดอกจันทน์ ๑ สลึง สีเสียดทั้ง 2 ลูกเบญกานี ๑ สลึง เปลือกลูกมะขาม ๑ สลึง สนเทศ ๑ สลึง ใบสะเดา
๑ สลึง กัญชา ฝิ่น ๑ สลึง ดีงูเหลือม ๑ สลึง ขมิ้นอ้อย ๑ สลึง ตรีกฏุก ๑ สลึง กระเทียมกรอบ ๒ สลึง กานพลู
๑ บาท เปลือกหามกราย ๒ บาท ต�ำเป็นผงแล้ว จึงเอาเปลือกแคแดง เปลือกเพกา ฝางต้มด้วยสุราเป็นกระสาย
บดท�ำแท่งไว้ ถ้าลงละลายน�้ำเปลือกมะเดื่อ ถ้าเป็นบิด ตกมูกเลือด ละลายน�้ำปูนใส ถ้าผู้ใหญ่เป็นริดสีดวงลง
เป็นเสมหะ เป็นโลหิตเน่าก็ดีกินหายแล ๚ 

290 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒75
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาสุพรรณทิพย์ ก�ำมะถันแดง ๑ บาท ก�ำมะถันเหลือง ๑ บาท การบูร ๑ บาท กฤษณา ๑ บาท
กระล�ำพัก ๑ บาท โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท ลูกจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท สีเสียดทั้ง 2 สิ่งละ ๑ บาท
เบญกานี ๑ บาท ครั่ง ๑ บาท เปลือกเม็ดมะขามคั่ว ๑ บาท สน ๑ บาท ใบสะเดา ๑ บาท ลูกกราย ๑ บาท
ชะเอม ๑ บาท กัญชา ๑ บาท เปลือกฝิ่น ๑ บาท ดีงูเหลือม ๑ บาท ขมิ้นอ้อย ๑ บาท ตรีกฏุก สิ่งละ ๑ บาท
กระเทียมสุก ๒ บาท กานพลู ๑ ต�ำลึง เปลือกหามกราย ๒ ต�ำลึง ต�ำผง เมื่อจะบด เปลือกแคแดง ๑ เปลือกเพกา ๑
ฝาง ๑ สุราเป็นกระสายบด แก้ครรภ์รักษาดี แก้เสมหะเน่า ปวดมวน แก้บิด เอาเทียนด�ำ ๑ ฝาง ต้มด้วยน�้ำปูนใส
เป็นกระสายแก้บิด ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 291
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒75
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ ล งโลหิ ต อติ ส าร เอากํามะถั น แดง ๑ บาท กํามะถั น เหลื อ ง ๑ บาท กฤษณา ๑ บาท
กระล�ำพัก ๑ บาท โกฐกระดูก ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท ลูกจันทน์ ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ บาท จันทน์แดง ๑ บาท
จันทน์ขาว ๑ บาท สีเสียดเทศ ๑ บาท สีเสียดไทย ๑ บาท ลูกเบญกานี ๑ บาท ครั่ง ๑ บาท เปลือกมะขามขบ ๑ บาท
แก่นสน ๑ บาท ใบสะเดา ๑ บาท ลูกปราย ๑ บาท ชะเอมเทศ ๑ บาท กัญชา ๑ บาท ขมิ้นอ้อย ๑ บาท พริก ๑ บาท
ขิง ๑ บาท ดีปลี ๑ บาท ผักกระเฉด ๑ บาท กระเทียมกรอบ ๑ บาท กานพลู ๑ บาท เปลือกเพกา ๑ บาท
เปลือกหามกราย ๑ บาท ยาฝิ่น ดีงูเห่า ดีงูเหลือม ท�ำเป็นผง แก้ลง นํ้าแคแดง เพกา ฝาง เป็นกระสายบด
แก้ปวดมวน นํ้ากะทือ แก้บิด ฝาง เทียนด�ำ ต้มด้วยน�้ำปูนใสเป็นกระสาย แก้บิด น�้ำเปลือกสะเดา เปลือกฝิ่น
เปลือกมังคุด ต้มวิเศษ ๚

292 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อสุพรรณราช เอา ก�ำมะถันทั้ง ๒ การบูร ๑ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ โกฐกระดูก ๑ โกฐเขมา ๑
ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ สน ๑ ลูกเบญกานี ๑ จันทน์ทั้ง 2 สีเสียดทั้ง ๒ เปลือกลูกมะขาม ๑ ใบสะเดา ๑
ลูกกราย ๑ ชะเอมเทศ ๑ กัญชา ๑ เนระพูสี ๑ เทียนด�ำ ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ กระชาย ๑ ตรีกฏุก ๑ ฝิ่นเหนือ ๑ เอาสิ่งละ
๒ สลึง กระเทียมกรอบ ๒ บาท การพลู ๒ บาท เปลือกหามกราย ๒ บาท ดีงูเหลือม ๑ สลึง ต�ำเป็นผงเอาเปลือกเพกา
เปลือกแคแดง ฝาง ต้มด้วยสุราเป็นน�้ำกระสายบดปั้นแท่งไว้ กินแก้ลงน�้ำเปลือกมะเดื่อ แก้บิดปวดมวน ตกมูกเลือด
น�้ำกะทือ น�้ำไพลหมกไฟกิน แก้ตานทรางโจรก็ได้ แก้ฝีดาษ เหือดหัดทาท้องก็ได้ ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ยักใช้เถิด ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 293
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยากระเทียมสุก แก้สารพัดลงต่าง ๆ แก้ลงในอติสารวัตร กํามะถันแดง ๑ บาท กํามะถันเหลือง ๑ บาท
การบูร ๑ บาท เนื้อไม้ ๑ บาท จันทน์แดง ๑ บาท จันทน์ขาว ๑ บาท โกฐสอ ๑ บาท โกฐเขมา ๑ บาท ดอกจันทน์
๑ บาท กระวาน ๑ บาท ว่านกีบแรด ๑ บาท ว่านร่อนทอง ๑ บาท เนระพูสี ๑ บาท ไพล ๑ บาท บอระเพ็ด ๑ บาท
ใบสะเดาแห้ง ๑ บาท ขมิ้นอ้อย ๑ บาท ขมิ้นชัน ๑ บาท ใบกัญชา ๑ บาท ใบสะแก ๑ บาท พริกไทย ๑ บาท
ขิง ๑ บาท ดีปลี ๑ บาท สะค้าน ๑ บาท ช้าพลู ๑ บาท เจตมูล ๑ บาท ครั่ง ๑ บาท เปลือกเมล็ดในมะขามคั่ว ๑ บาท
ฝาง ๑ บาท แก่นสน ๑ บาท ชะเอมเทศ ๑ บาท เปลือกสีเสียด ๒ บาท สีเสียดเทศ ๒ บาท สีเสียดไทย ๒ บาท
ลูกเบญกานี ๒ บาท ลูกมะตูม ๒ บาท เปลือกขี้อ้าย ๑ ต�ำลึง เปลือกหามกราย ๑ ต�ำลึง เปลือกฝิ่นต้น ๑ ต�ำลึง
ลูกจันทน์ ๑ ต�ำลึง กานพลู ๑ ต�ำลึง กระเทียมสุก ๓ ต�ำลึง

294 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๖
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชือ่ ประสะแดงน้อย เอา กํามะถันทัง้ ๒ การบูร ๑ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ โกฐกระดูก ๑ โกฐเขมา ๑
ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ แก่นจันทน์ทั้ง ๒ ครั่ง ๑ ลูกเบญกานี ๑ เปลือกมะขามขบ ๑ สนเทศ ๑ ใบสะเดา ๑
ลูกกราย ๑ กัญชา ๑ ฝิ่น ๑ ดีงูเหลือม ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ ตรีกฏุก ๑ กระเทียมกรอบ ๑ เปลือกเพกา ๑ เอาสิ่งละ ๑ บาท
ต�ำเป็นผง นํ้ากระสายฝาง มะม่วงพรวน เปลือกแคแดง ต้มเอานํ้าบดเป็นนํ้ากิน ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 295
ยาแก้ โรคบิด

ยาแก้โรคบิด เป็นต�ำรับยาอยูใ่ นศิลาจารึกวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ซึง่ มีความส�ำคัญทางประวัตศิ าสตร์
กล่ า วคื อ พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว (รั ช กาลที่ ๓) เมื่ อ ครั้ ง ยั ง ทรงด� ำ รงพระราชอิ ส ริ ย ยศเป็ น
พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อเดือน ๑๑ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓ ทรงเป็นแม่ทัพคุมทหารไปตั้งทัพอยู่ที่
เมืองกาญจนบุรี พระองค์ได้เสด็จยาตราทัพออกจากกรุงเทพมหานคร เส้นทางยาตราทัพได้ผ่านคลองบางกอกใหญ่
เข้าคลองด่าน เมื่อเสด็จถึงวัดจอมทอง หรือวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร อันเป็นวัดโบราณ ก็เสด็จหยุดประทับแรม
ที่หน้าวัดและได้ทรงกระท�ำพิธีเบิกโขลนทวารตามลักษณะพิชัยสงคราม ณ วัดนี้ ในพิธีดังกล่าวนี้ได้ทรงอธิษฐาน
ขอให้เสด็จไปราชการทัพคราวนี้หากประสบความส�ำเร็จและเสด็จกลับมาโดยสวัสดิภาพจะสร้างวัดถวายให้ใหม่
ครั้นเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว ก็ทรงเริ่มปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งหมด ได้เสด็จมาประทับคุมงานและตรวจตรา
การก่อสร้างด้วยพระองค์เอง แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย พระองค์ได้ให้
เหล่านักปราชญ์รวบรวมและคัดเลือกสรรพความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยส่วนหนึ่งมาจารึกประดับเป็นแผ่นหินอ่อน
สีเทารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างยาว ด้านละ ๓๓ เซนติเมตร ติดประดับอยู่ที่ผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหาร
พระพุทธไสยาสน์และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ต�ำราดังกล่าวประกาศก�ำหนดให้
เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ๒๕59
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓3 ตอนพิเศษ 93 ง วันที่ 22 เมษายน ๒๕59 ยาแก้โรคบิด ประกอบด้วย
พริก ๑ ขิง ๑ กระเทียม ๑ หอม ๑ ไพล ๑ ดินประสิวขาว ๑ สารส้ม ๑ ก�ำมะถัน ๑ หอระดาน ๑ ลูก ๒ ดอก ๒
ลูกกราย ๑ ใบไม้เท้ายายม่อม ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ กัญชาเท่ายาทั้งหลาย วิธีท�ำ บดด้วยน�้ำมะนาว น�้ำมะงั่ว น�้ำส้มสายชู
สรรพคุณ แก้สรรพโรคบิดออกฝีหัด นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาแก้โรคบิด มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อเวชสาตร์วัณ์ณนา

❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 1 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)

296 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ถ้ามิฟงั พริก ๑ ขิง ๑ กระเทียม ๑ หอม ๑ ไพล ๑ ดินประสิวขาว ๑ สารส้ม ๑ ก�ำมะถัน ๑ หรดาล ๑ ลูก
๒ ดอก ๒ ลูกกราย ๑ ใบไม้เท้ายายม่อม ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ กัญชาเท่ายาทั้งหลาย บดด้วยน�้ำมะนาว น�้ำมะงั่ว
น�้ำส้มสายชู แก้สรรพโรคบิดออก ฝีหัด กินหาย ๚ะ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 297
ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
คัมภีร์อติสาร ถ้ามิฟัง เอา พริก 1 ขิง 1 กระเทียม 1 หอม 1 ไพล 1 ดินประสิว 1 สารส้ม 1
สุพรรรณถัน 1 หรดาล 1 ลูก 2 ดอก 2 ลูกกราย 1 ใบเท้ายายม่อม 1 ขมิ้นอ้อย 1 กัญชาเท่ายาทั้งหลาย
บดด้วยน�้ำมะนาว น�้ำมะงั่ว น�้ำส้มสายชู แก้สรรพบิดออกหัด ออกฝีหาย

ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 1 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ถ้ามิฟัง เอาพริกไทย ขิง กระเทียม หอม ไพล ดินประสิว สารส้ม ก�ำมะถัน หรดาล ลูก ๒ ดอก ๒ ลูกกราย
ใบเท้ายายม่อม ขมิ้นอ้อย กัญชาเท่ายาทั้งหลาย บดด้วยน�้ำมะนาว น�้ำมะงั่ว น�้ำส้มสายชู แก้บิดออกหัด ออกฝี
หายแล

298 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยาแก้ป่วงหิว
ยาแก้ป่วงหิว เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวม
ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษามาตรวจตรา
แก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูลชั้นใด ๆ ใครมีใจรัก
วิชาใด ก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม ต�ำราการแพทย์
การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามบริเวณผนัง
คอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัด ซึ่งจะให้
เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์ ว่าด้วยเรื่อง ต�ำรานวด
ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา ชื่อโรค รวมทั้งต�ำรา
ว่า ด้ ว ยสรรพคุณ ยา ทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัต ถุ ซึ่ งเป็นวิ ชาการแพทย์ แ ผนไทยที่ เ ป็ นความรู ้ สื บทอด
มาแต่โบราณจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศกระทรวง
สาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 1)
พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8
และการประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาแก้ป่วงหิว ประกอบด้วย
ลูกเบญกานี ลูกกล้วยตีบอ่อน ลูกทับทิมอ่อน ใบทับทิม ใบสะแก ดินกิน กรดทั้ง ๕ ใบสะเดา ใบทองหลางใบมน
ใบมะตูม ใบกัญชา ใบกะเม็ง สิ่งละส่วน ใบกระท่อม ๒ ส่วน ขมิ้นอ้อย ๓ ส่วน ไพล ๔ ส่วน เทียนด�ำ ๕ ส่วน
วิ ธี ท� ำ ท� ำ เป็ น จุ ณ บดท� ำ แท่ ง ไว้ กิ น สรรพคุ ณ แก้ ป ่ ว งหิ ว นอกจากนี้ ยั ง พบต� ำ รั บ ยาแก้ ป ่ ว งหิ ว มี ก ารคั ด ลอก
ในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 299
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ

300 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะป่วงหิว อันบังเกิดแต่กองปัสวาตอติสาร อันเป็นค�ำรบ ๔ นั้น โดยวิเศษ
แลลักษณะป่วงหิวนั้น กระท�ำให้ลง ให้ราก ให้ตัวเย็นเป็นเหน็บ ให้เหงื่อตกเช็ดมิได้ขาด ให้สวิงสวายในอกเป็นก�ำลัง ฯ
อนึ่งเอาลูกเบญกานี ลูกกล้วยตีบอ่อน ลูกทับทิมอ่อน ใบทับทิม ใบสะแก ดินกิน กรดทั้ง ๕ ใบสะเดา
ใบทองหลางใบมน ใบมะตูม ใบกัญชา ใบกะเม็ง สิ่งละส่วน ใบกระท่อม ๒ ส่วน ขมิ้นอ้อย ๓ ส่วน ไพล ๔ ส่วน
เทียนด�ำ ๕ ส่วน ท�ำเป็นจุณบดท�ำแท่งไว้กิน แก้ป่วงหิวหายดีนัก ๚

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอา ลูกเบญกานี ลูกกล้วยตีบอ่อน ลูกทับทิมอ่อน ใบทับทิม ใบสะแก ดินกิน กรดทั้ง 5 ใบสะเดา
ใบทองหลางใบมน ใบมะตูม ใบกัญชา ใบกะเม็ง สิ่งละ ๑ ส่วน ใบกระท่อม ๒ ส่วน ขมิ้นอ้อย ๓ ส่วน ไพล ๔ ส่วน
เทียนด�ำ ๕ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดท�ำแท่งไว้ กินแก้ป่วงหิว

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 301
ยาแก้มุศกายธาตุอติสาร
ยาแก้มุศกายธาตุอติสาร เป็นต�ำรับยาอยู่ในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
(วัดโพธิ์) ซึ่งมีความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2374 ให้เหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิต
รวบรวม ตรวจสอบคัดเลือก ต�ำราการแพทย์ เลือกสรรต�ำรับต�ำราต่าง ๆ ซึ่งสมควรจะเล่าเรียนเป็นชั้นสามัญศึกษา
มาตรวจตราแก้ไข ใช้ของเดิมบ้าง หรือประชุมผู้รู้หลักในวิชานั้น ๆ โดยมาก เพื่อคนทั้งหลายไม่เลือกว่าตระกูล
ชั้นใด ๆ ใครมีใจรักวิชาใด ก็ให้สามารถเล่าเรียนได้ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม
ต�ำราการแพทย์การแพทย์แผนไทยคงจะสูญหาย กระจัดกระจายไปไม่น้อย จึงน�ำมาจารึกบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้
ตามบริเวณผนังคอสอง เสาของระเบียงรอบพระอุโบสถพระวิหาร พระวิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑป
ภายในวัด ซึ่งจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของมหาชนไม่เลือกชั้นบรรดาศักดิ์ โดยจารึกต�ำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์
ว่าด้วยเรื่อง ต�ำรานวด ต�ำแหน่งเส้นเอ็นในร่างกาย ต�ำรายาว่าด้วยเรื่องต่าง ๆ สมุฏฐานโรค ต�ำรายาว่าด้วยชื่อยา
ชื่อโรค รวมทั้งต�ำราว่าด้วยสรรพคุณยา ทั้งพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ ซึ่งเป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็น
ความรู้สืบทอดมาแต่โบราณจ�ำนวนทั้งสิ้นกว่า 453 แผ่นศิลา 1,330 ต�ำรับ ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วัดโพธิ์) ประกาศก�ำหนดให้เป็นต�ำรับยาแผนไทยของชาติหรือต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติ ตามประกาศ
กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศก�ำหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ
(ฉบับที่ 1) พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓2 ตอนพิเศษ 317 ง วันที่ 30 พฤศจิกายน ๒๕๕8
และการประกาศกําหนดต�ำราการแพทย์แผนไทยของชาติและต�ำรับยาแผนไทยของชาติ (ฉบับที่ 28) พ.ศ. ๒๕63
ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓7 ตอนพิเศษ 179 ง วันที่ 5 สิงหาคม ๒๕63 ยาแก้มุศกายธาตุอติสาร
ประกอบด้วย กัญชา ใบสะเดา ใบทองหลางใบมน ใบคนทีสอ ใบมะตูม เสมอภาค วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณบดท�ำแท่งไว้
ละลายน�้ำกระสายอันควรแก่โรค สรรพคุณ กินแก้มุศกายธาตุอติสาร นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาแก้มุศกายธาตุอติสาร
มีการคัดลอกในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยขาว เลขที่ 56 ชื่อ คัมภีร์ลมช่วดาน ประวัติ พระเทพเวที

วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2481
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อเวชสาตร์วัณ์ณนา

302 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ลักษณะมุศกายธาตุอติสาร (ศาลาพงศาช�ำนาญกิจ)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 303
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวในลักษณะมุศกายธาตุอติสาร อันเป็นโบราณกรรมนั้นเป็นค�ำรบ ๔ นั้น เกิดแต่
กองอาโปธาตุ มีปิตตัง เป็นต้น มีมุตตังเป็นที่สุด และลักษณะอาการประเภทนั้น คือบริโภคอาหารนั้นส�ำแลงแห่งธาตุ
จึงให้เป็นโลหิตเป็นเสมหะเน่า เหม็นดังกลิ่นอาศพให้กุจฉิยาวาตะ โกฎฐาไสยะวาตะระคนกัน ให้ท้องขึ้นปะทะอยู่
หน้าอกให้แน่น ให้อาเจียนลมเปล่า ให้เหม็นอาหาร จะลุกนั่งมิได้ ให้หน้ามืดยิ่งนัก ๚
อนึ่ง เอา กัญชา ใบสะเดา ใบทองหลางใบมน ใบคนทีสอ ใบมะตูม เสมอภาค ท�ำเป็นจุณบดท�ำแท่งไว้
ละลายน�้ำกระสายอันควรแก่โรค กินแก้มุศกายธาตุอติสารวิเศษนัก ๚

304 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ลมช่วดาน
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 56
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ขนานหนึ่งแก้ลงเลือด เอา กัญชา ๑ ใบทองหลางใบมน ๑ ใบสะเดา ๑ ใบคนทีสอ ๑ ใบมะตูม
เอาเสมอภาค บดเป็นแท่ง ละลายน�้ำผึ้งกินหายแล ๚

ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้ลงเป็นเลือดเป็นหนอง เอา กัญชา ใบทองหลางใบมน ใบคนทีสอ ใบสะเดา ใบมะตูม บดละลาย
น�้ำผึ้งกิน

ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
คัมภีร์อติสาร แก้ลงเป็นเลือดเป็นหนอง เอา กัญชา 1 ใบทองหลางใบมน 1 ใบคนทีสอ 1 ใบสะเดา 1
ใบมะตูม 1 บดละลายน�้ำผึ้งกิน

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 305
ยาแก้ลง แก้บิด
ยาแก้ลง แก้บิด เป็นต�ำรับยาอยู่ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย) หมวดพระคัมภีร์
มหาโชตรัต เล่ม 3 เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1040 หนังสือสมุดไทยด�ำ เมื่อ พ.ศ. 2413 พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ กรมหมืน่ ภูบดีราชหฤทัย
จางวางกรมแพทย์เป็นแม่กองจัดหารวบรวม ช�ำระสอบสวนต�ำราคัมภีรแ์ พทย์ทใี่ ช้กนั อยูข่ ณะนัน้ ให้ถกู ต้อง แล้วส่งมอบ
ให้พระเจ้าราชวงษ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลักษณ์ กรมอักษรพิมพการ จัดสร้างขึ้นใหม่เป็น
“คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เพื่อเป็นส่วนพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ และเป็นต�ำราที่ใช้ประโยชน์ในชาติบ้านเมือง
ต่อไป ตัวยาประกอบด้วย ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กานพลู ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ ไพล ๑ ยาทั้งนี้คั่วให้ไหม้ กัญชา ๑
ดินกิน ๑ น�้ำกระสายควรแก่โรค นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยาแก้ลง แก้บิด มีการคัดลอก ในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช

ร.ศ. ๑๒6
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อ เวชสาตร์วัณ์ณนา
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อ ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

306 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 3
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1040
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลง แก้บิด ให้ปวดให้มวนท้อง เอา ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กานพลู ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ ไพล ๑
ยาทั้งนี้ คั่วให้ไหม้ กัญชา ๑ ดินกิน ๑ น�้ำกระสายควรแก่โรค นั้นเถิด ๚ะ

ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒6


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้ลงแก้บิด ให้ปวด ให้มวนท้อง เอาผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กานพลู ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ ไพล ๑ ยาทั้งนี้
คั่วให้ไหม้ กัญชา ๑ ดินกิน ๑ น�้ำกระสายควรแก่โรคนั้นเถิด

ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบั
บคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
คัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 3
ยาแก้ลงบิด ให้ปวด ให้มวนท้อง เอา ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กานพลู ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ ไพล ๑ ยาทั้งนี้
คั่วให้ไหม้ กัญชา ๑ ดินกิน ๑ น�้ำกระสายควรแก่โรคนั้นเถิด

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้ลง แก้บิด ให้ปวด มวนในท้อง เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กานพลู ขมิ้นอ้อย ไพล ยาทั้งนี้คั่วให้ไหม้
แล้วเอา กัญชา ดินกิน ส่วนเท่ากัน บดกินใช้น�้ำกระสายตามควร

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 307
ยาแก้ตกมูกเลือดตานโจร
ยาแก้ตกมูกเลือดตานโจร เป็นต�ำรับยาอยู่ในต�ำราเวชศาสตร์ ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 (สมุดไทย)
หมวดพระคัมภีรป์ ระถมจินดา เล่ม 10 เลขทีเ่ อกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1017 หนังสือสมุดไทยด�ำ เมือ่ พ.ศ. 2413
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าราชวรวงษ์เธอ
กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย จางวางกรมแพทย์เป็นแม่กองจัดหารวบรวม ช�ำระสอบสวนต�ำราคัมภีร์แพทย์ที่ใช้กันอยู่
ขณะนั้ น ให้ ถู ก ต้ อ ง แล้ ว ส่ ง มอบให้ พ ระเจ้ า ราชวงษ์ เ ธอ กรมหมื่ น อั ก ษรสาสนโสภณ จางวางกรมอาลั ก ษณ์
กรมอักษรพิมพการ จัดสร้างขึ้นใหม่เป็น “คัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง” เพื่อเป็นส่วนพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ
และเป็นต�ำราที่ใช้ประโยชน์ในชาติบ้านเมืองต่อไป ตัวยาประกอบด้วย พิมเสน เทียนทั้งห้า ผลจันทน์ ดอกจันทน์
กระวาน กานพลู จันทน์ทั้งสอง กฤษณา กระล�ำพัก ชะเอมเทศ อบเชยเทศ เปราะหอม การบูร ว่านกีบแรด
ว่านร่อนทอง ดีปลี ลิ้นทะเล กัญชา พันธุ์ผักกาด เกสรบัวหลวง ดอกมะลิซ้อน ดอกมะลิลา ดอกพิกุล เอาสิ่งละ ๓ ส่วน
ยาฝิ่น ส่วน ๑ วิธีท�ำ ท�ำเป็นจุณเอาดีงูเหลือมแช่เอาน�้ำเป็นกระสาย บดท�ำแท่งไว้ละลายน�้ำดอกไม้กิน สรรพคุณ
แก้ตานโจรกระท�ำให้ลงท้องตกมูกเลือดปวดมวน นอกจากนี้ยังพบต�ำรับยายาแก้ตกมูกเลือดตานโจร มีการคัดลอก
ในเอกสารโบราณเล่มอื่น ๆ เช่น
เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 254 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด

❀ เอกสารโบราณประเภทหนังสือสมุดไทยด�ำ เลขที่ 415 ชื่อ ต�ำรายาเกร็ด ประวัติ สมบัติเดิม
ของหอสมุดแห่งชาติ
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
ร.ศ. ๑๒8
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อเวชสาตร์วัณ์ณนา
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
(อ�ำพัน กิตติขจร)
❀ เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่ ชื่อต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ

308 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ประถมจินดา เล่ม 10
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1017
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ถ้าแก้ตกมูกเลือด ตานโจรขนานนี้ ท่านให้เอาพิมเสน เทียนทั้ง 5 ผลจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน
กานพลู จันทน์ทั้ง 2 กฤษณา กระล�ำพัก ชะเอมเทศ อบเชยเทศ เปราะหอม การบูร ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง ดีปลี
ลิ้นทะเล กัญชา พันธุ์ผักกาด เกสรบัวหลวง ดอกมะลิซ้อน ดอกมะลิลา ดอกพิกุล เอาสิ่งละ ๓ ส่วน ยาฝิ่นส่วน ๑
รวมยา ๒9 สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ เอาดีงูเหลือมแช่เอาน�้ำเป็นกระสาย บดท�ำแท่งไว้ ละลายน�้ำดอกไม้กิน แก้ตานโจร
กระท�ำให้ลงท้อง ตกมูกเลือด ปวดมวนหายดีนัก ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 309
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๕๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยานี้ชื่อว่าสว่างอารมณ์ ท่านให้เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู ชะเอม ดีปลี ลิ้นทะเล
เทียนทั้ง ๕ กัญชา การบูร ว่านกีบแรด ๑ ว่านร่อนทอง ๑ กฤษณา กระล�ำพัก พิมเสน เปราะหอม ลูกพันธุ์ผักกาด
เกสรพิกุล เกสรบัวหลวง เกสรสารภี เกสรบุนนาค เกสรมะลิ อบเชยเทศ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ บาท ชะมด พิมเสน
ดีงู เอาสิ่ง ๑ บาท ยา ๓ สิ่งนี้เอาเป็นกระสาย บดเป็นแท่งเท่าเม็ดพริกไทย ตีค่าไว้เม็ดละ ๑ สลึง ชื่อว่าสว่างอารมณ์
แก้กระหาย แก้เหียน แก้มูกเลือด แก้ลงแดง ๚

310 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 415
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ท่านให้เอา ชะเอมเทศ 1 บาท 2 สลึง ลูกจันทน์ 1 บาท ดอกจันทน์ 1 บาท กระวาน 1 บาท กานพลู
1 บาท ดีปลี 1 บาท ลิ้นทะเล 1 บาท เทียนด�ำ 1 บาท เทียนขาว 1 บาท เทียนข้าวเปลือก 1 บาท เทียนตาตั๊กแตน
1 บาท เทียนเยาวพาณี 1 บาท การบูร 2 สลึง กัญชา 5 บาท ว่านกีบแรด 1 บาท ว่านร่อนทอง 1 บาท จันทน์ขาว
1 บาท จันทน์แดง 1 บาท กฤษณา 1 บาท กระล�ำพัก 1 บาท พิมเสน 1 สลึง เปราะ 1 บาท ลูกพันธุ์ผักกาด 1 บาท
เกสรบัวหลวง 1 บาท เกสรบุนนาค 1 บาท ดอกพิกุล 1 บาท ดอกมะลิซ้อน 1 บาท อบเชย 1 บาท ฝิ่น 1 เฟื้อง
ดีงูเหลือม 1 เฟื้อง แช่น�้ำเป็นกระสาย บดเป็นแท่งไว้เท่าเม็ดแป้งหอม ตีค่าไว้เม็ดละ 1 บาท แก้เชื่อม กระหายน�้ำ
ตกมูกเลือด ลงแดง แก้ราก แก้ทราง แก้ตัวร้อน แก้คลั่ง แก้สลบไม่รู้จักสมประดี เอารากมะกล�่ำเครือ ชะเอมเทศต้ม
ให้หนาว ร้อน แก้สวิงสวาย ทุรนทุราย เอาอ�ำพัน ชะมดเชียง พิมเสน น�้ำดอกไม้เทศ น�้ำดอกไม้สด เป็นกระสาย ๚๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 311
ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒๘
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้ตกมูกเลือดตานโจร เอาพิมเสน ๑ เทียนทั้ง ๕ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑
จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา ๑ กระล�ำพัก ๑ ชะเอมเทศ ๑ อบเชยเทศ ๑ เปราะหอม ๑ การะบูร ๑ ว่านกีบแรด ๑
ว่านร่อนทอง ๑ ดีปลี ๑ ลิ้นทะเล ๑ กัญชา ๑ เมล็ดพันธุ์ผักกาด ๑ เกสรบัวหลวง ๑ ดอกมะลิซ้อน ๑ ดอกมะลิลา ๑
ดอกพิกุล ๑ เอาสิ่งละ ๓ ส่วน ยาฝิ่น ๑ ส่วน รวมยา ๒๙ สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ เอาดีงูเหลือม ละลายน�้ำเป็นกระสาย
บดท�ำแท่ง ละลายน�้ำดอกไม้กิน แก้ตานโจรกระท�ำให้ลงท้อง ตกมูก ตกเลือด ปวดมวน

ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
คัมภีร์ประถมจินดา เล่ม 10 ยาแก้ตกมูกเลือดทรางโจร เอา พิมเสน 1 เทียนทั้ง 5 ผลจันทน์ 1
ดอกจันทน์ 1 กระวาน 1 กานพูล 1 จันทน์ทงั้ 1 กฤษณา 1 กระล�ำพัก 1 ชะเอมเทศ 1 อบเชยเทศ 1 เปราะหอม 1
การบูร 1 ว่านกีบแรด 1 ว่านร่อนทอง 1 ดีปลี 1 ลิ้นทะเล 1 กัญชา 1 เมล็ดพันธุ์ผักกาด 1 เกสรบัวหลวง 1
ดอกมะลิซ้อน 1 ดอกมะลิลา 1 ดอกพิกุล 1 เอาสิ่งละ 3 ส่วน ยาฝิ่น 1 ส่วน รวมยา 29 สิ่งนี้ท�ำเป็นจุณ เอาดีงูเหลือม
ละลายน�้ำเป็นกระสาย บดท�ำแท่ง ละลายน�้ำดอกไม้กิน แก้ตานโจร กระท�ำให้ลงท้อง ตกมูก ตกเลือด ปวดมวน

ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
เอา พิมเสน เทียนทั้ง ๕ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน กานพลู จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา กระล�ำพัก
ชะเอมเทศ อบเชยเทศ เปราะหอม การบูร ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง ดีปลี ลิน้ ทะเล กัญชา เมล็ดผักกาด เกสรบัวหลวง
ดอกมะลิซ้อน ดอกมะลิลา ดอกพิกุล เอาสิ่งละ ๓ ส่วน ยาฝิ่น ๑ ส่วน เอาน�้ำดีงูเหลือมเป็นกระสาย บดปั้นแท่ง ละลาย
น�้ำดอกไม้กิน แก้ตานโจร ท�ำให้ลงท้อง ตกมูกเลือด ปวดมวน หายแล

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาแก้ตานโจรตกมูกเลือด เอา พิมเสน ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู กฤษณา กระล�ำพัก
ชะเอมเทศ อบเชยเทศ เปราะหอม การบูร ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง ดีปลี ลิ้นทะเล กัญชา เกสรบัวหลวง
ดอกมะลิซ้อน ดอกมะลิลา ดอกพิกุล เทียนทั้ง 5 จันทน์ทั้ง 2 เม็ดพันธุ์ผักกาด ทั้งหมดนี้เอาสิ่งละ 3 ส่วน ยาฝิ่น
1 ส่วน ท�ำเป็นจุณ เอาดีงูเหลือมละลายเป็นกระสาย บดปั้นแท่งไว้ ละลายด้วยน�้ำดอกไม้ กินแก้ตานโจร กระท�ำให้
ลงท้อง ตกมูกตกโลหิต และปวดมวน

312 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ป่วงลม (ศาลาเลื่อนศักดิ์)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 313
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะป่วง ๕ ประการ อันบังเกิดในกองปัสสยาวาตอติสาร โดยวิเศษ คือ
ป่วงน�้ำ ป่วงลม ป่วงวานร ป่วงสุนัข ป่วงหิวนั้น ในที่นี้จะกล่าวแต่ลักษณะป่วงลมนั้นก่อนเป็นปฐม ฯ
ในลักษณะป่วงลมนั้น คือกระท�ำให้หาวให้ลงให้ท้องขึ้น แต่ไม่ราก ให้ผิวเนื้อเขียวคล�้ำด�ำ เข้าให้สวิงสวาย
ในดวงหทัยยิ่งนัก
อนึ่ง เอา โกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ลูกจันทน์ทั้ง ๒ ลูกเบญกานี ลูกตะบูน ลูกจิกนา กานพลู การบูร
น�้ำประสานทอง ขมิ้นอ้อย ลูกมะค�ำดีควาย ลูกสะบ้าปิ้ง เปลือกฝิ่นต้น เปลือกฝิ่นเครือ กัญชา รากทองกวาว
เขาเลียงผาเผา นอแรดเผา เขาควายเผือกเผา เอาเสมอภาคท�ำเป็นจุณท�ำแท่งไว้ ละลายลูกน�้ำส�ำโรงต้ม แทรกพิมเสน
กินแก้ป่วงลมทั้งปวงหาย ฯ

314 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ
ป่วงน�้ำ (ศาลาวิมังสา)

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 315
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวลักษณะป่วงน�้ำ อันเกิดแต่ปัสสวาตอติสารเป็นค�ำรบ ๕ โดยวิเศษ แลลักษณะ
ป่วงน�้ำนั้น ให้ลงไปจะนับเพลามิได้ ให้รากเขียว รากเหลือง รากแดง ให้ผิวเนื้อเหี่ยวจะบริโภคอันใดมิได้อยู่ท้องให้หิว
เป็นก�ำลัง แลลักษณะป่วงทั้ง ๕ ประการ เป็นอติสาทยะโรค รักษายากนัก ฯ
อนึ่ง เอาเปลือกสนุ่น เปลือกมะม่วงพรวน เปลือกกระทุ่มขี้หมู เปลือกกระท่อม กัญชา เทียนด�ำ โกฐสอ
โกฐเขมา โกฐพุงปลา โกฐจุฬาลัมพา โกฐหัวบัว กระดองเต่าเหลืองเผา กระดูกปูนาเผา รากนางแย้ม รากมะนาว
รากมะปราง ต้มด้วยน�ำ้ ปูนใสแทรกพิมเสน แทรกดีงกู นิ แก้ปว่ งน�ำ้ ถ้าหิวนัก เอาน�ำ้ ตาลกรวด น�ำ้ ตาลทราย น�ำ้ ตาลหม้อ
แทรกลงกินหาย ฯ

316 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์ทวติงสาพาธคํากลอน เล่ม ๓
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๐๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ล�ำดับนี้จะวัจนา ซึ่งหยูกยาทั้งปวงมี ในอติสารกล่าวคดี ตามคัมภีร์สืบ ๆ มา ท่านให้เอากระล�ำพักกับ
ชาดก้อนแลกัญชา ก�ำมะถันแดงลูกจันทน์หา พิมเสน ครั่ง แลค�ำไทย ยาทั้งนี้สิ่งละ ๑ สลึง เอาฝิ่นย่อม ยิ่งเอา ๒ สลึง
ไซร้ เบญกานีก�ำหนดในหนัก ๑ บาท ๑ สลึง ขิงพอการ จันทน์ทั้งสองสีเสียดเทศ โดยสังเกตทั้ง ๓ ฐาน สิ่งละ ๒ สลึง
ปานตามต�ำนาน ท่านกล่าวมา เปลือกมะเดื่อทั้งเปลือกแค เป็นน�้ำแทรกกระสายยา บดปั้นเป็นแท่งท่า ลงพิการ
ละลายเหล้ากิน ถ้าลงซางกะทือหมก น�ำ้ ปูนใสกินดีสนิ้ แม้นลงได้ให้ละลายกิน ทับทิมอ่อนแทรกน�ำ้ ปูน แก้สรรพอติสาร
ซึ่งกล่าวกาลโทษทั้งมูล อาจสามารถให้ขาดสูญ โทษอติสารแลลงนา ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 317
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๕
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ลงกาลสิงคลี แก้ไข้ ให้เอา ชันรง ๑ บาท ครั่ง ๑ บาท ใบเทียน ๑ บาท ใบทับทิม ๓ บาท
ลูกกล้วยตีบ ๑ บาท กัญชา ๑ บาท พิมเสน ๑ บาท เบญกานี ๑ บาท ลูกจันทน์ ๑ บาท เทียนทั้ง ๕ สิ่งละ ๑ บาท
บดท�ำแท่งไว้ละลายด้วยน�้ำขมิ้นชัน น�้ำฝาง ต้มกินหายแล ๚

318 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๘
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ประสะพิมเสนใหญ่ เอา พิมเสน กระล�ำพัก ชาดจอแส ฝิ่น กัญชา ครั่ง สีเสียดไทย ลูกจันทน์สิ่งละส่วน
สีเสียดเทศ จันทน์ทั้ง ๒ สิ่งละ ๒ ส่วน ลูกเบญกานี ๔ ส่วน นํ้าร้อนเป็นกระสาย บดท�ำแท่งละลายนํ้าเปลือกมะเดื่อ
นํ้าแคแดง ต้มกิน แก้ลง แก้พิษฝีดาดละลายสุรา ถ้าลงเพื่อทรางละลายนํ้ากะทือหมกไฟ แทรกนํ้าปูนใส ถ้าลงเพื่อไข้
ละลายนํ้าลูกทับทิมอ่อนแทรกนํ้าปูนใส แก้สารพัดลงหายดีนัก ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 319
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๙
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ เอา ถั่วทอง ๑ รากคนทา ๑ รากถั่วพู ๑ รากข้าวโพด ๑ กัญชา ๑ นํ้าตาลทราย ๑ บดท�ำแท่ง กินด้วย
นํ้าข่า แก้ลง ถ้ามิหยุดเอากลิ่นแทรกลิ้นหยุดแล ๚

320 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร พระตําราหลวงชื่ออุไทยะจีนดาบาฬี
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๗๗
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา
ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาขนานหนึ่งชื่อว่า บุบผานุคจุณ ให้เอา กรุงเขมา ๑ เปลือกหว้า ๑ รากก�ำเราะ ๑ ชะเอม ๑ ดินสอ
แกลบ ๑ ศิลายอน ๑ มะขามป้อม ๑ กล้วยตีบ ๑ สัตตบงกชเอาเกสร ๑ เกสรบัวหลวง ๑ รากจิงจ้อ ๑ อุตพิด ๑
หัวแห้วหมู ๑ มะตูมอ่อน ๑ มูกใหญ่ ๑ ตะไคร้หอม ๑ สมุลแว้ง ๑ พริกไทย ๑ ขิงแห้ง ๑ บอระเพ็ด ๑ จันทน์แดง ๑
เปลือกกระดังงา ๑ ดอกสัตตบุษย์ ๑ ดอกกัญชา ๑ มะทราง ๑ อินทนิน ๑ ดอกมะลิซ้อน ๑ เอาเสมอภาค ตากจงแห้ง
ต�ำเป็นผงประกอบด้วยน�้ำผึ้งใส่โถ หุงด้วยน�้ำซาวข้าวสารกิน แก้ขัดนักแลสลบ ให้ลงแดง บิดเลือด แก้กระหายน�้ำ
ก�ำลังถอย แลสันนิบาตโลหิตไข้ เมื่อประสูติบุตร ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 321
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 415
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ บิดมูกน้อย เอา สีเสียดทัง้ 2 กัญชา 1 ผักบุง้ 1 แพงพวย 1 ผักกระเฉด 1 ใบล�ำโพง 1 กระทืบยอด 1
ใบระงับ 1 น�้ำดับไฟ 1 บดน�้ำร้อนแทรกพิมเสน การบูร แทรกฝิ่น ดีงูเหลือม กินแก้ลงด�ำ ลงแดง ลงเลือดสดเน่า
ยานี้อติสารแล ๚๛

322 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 415
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ฝิ่น 1 สลึง กัญชา 1 สลึง พิมเสน 1 สลึง กระล�ำพัก 1 สลึง ว่านร่อนทอง 1 สลึง ว่านกลีบแรด 1 สลึง
สีเสียดไทย 1 สลึง จันทน์แดง 1 สลึง จันทน์ขาว 1 สลึง ครั่ง 1 สลึง สีเสียดเทศ 1 สลึง กระเทียมกรอบ 3 สลึง
ลูกเบญกานี 1 บาท ลูกจันทน์ 1 บาท 1 สลึง ยาทั้งนี้ต�ำผงบดเป็นแท่งไว้ เอาน�้ำปูนใสบดแก้ไข้ตัดทราง ตัดฝี
ตัดแก้อติสาร แก้บดิ แก้ลงมูกเลือด ลงแดง แก้ปวด ละลายน�ำ้ ลูกทับทิมต้ม (ตัวอักษรเลือน) น�ำ้ ฝางต้ม (ตัวอักษรเลือน)
น�้ำปูนใสแก้ไข้แล ๚๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 323
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 437
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาออกลูก ได้ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน ก็ดีมันให้ลงท้อง ให้ท้องขึ้น ท้องพอง กินข้าวมิได้ ถ้าจะแก้
เอาลูกเบญกานี 1 บาท ขิง 1 บาท ดีปลี 1 บาท กระเทียมสุก 1 บาท ลูกมะขามขบ 1 บาท ฝิ่น 1 บาท กัญชา
1 บาท ท�ำผงละลายน�้ำตาลหม้อกินหายแล ๚

324 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 502
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้มูกเลือด ดากออก ท่านให้เอา เปลือกมะตูม 1 ลูก เอาเปลือกชะเอม 1 รากสะแก 1 3 สิ่งนี้
เท่ากัน กะเพราทั้งสอง 2 ทั้งต้นทั้งราก ใบกระพังโหม 1 ขิง 1 ขมิ้นอ้อย 7 บอระเพ็ด 7 พริกไทย 7 ขิง 7
ดีปลี 7 ดอกหัวตะไคร้ 3 หัว ขี้วัวหน่อยหนึ่ง กัญชา ด้วยเนื้อกินแทรกเหล้าหน่อยหนึ่ง

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 325
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อเทพนิมิต แก้ปวด แก้ลง ท่านให้ เอาการบูร ๑ ฝิ่น ๑ กัญชา ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑
เทียนทั้ง ๕ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ ๑ สลึง บดด้วยน�้ำปูนใสให้กินแก้บิด แก้ลงท้อง แก้ตานขโมย ให้ลงท้อง ละลายน�้ำจันทน์
น�้ำดอกไม้ก็ได้วิเศษนักแล ๚

326 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 561
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อพิศวาศ แก้พิษอุจจาระ ตกมูกเลือด ลงแดง กินอาหารมิได้ นอนมิหลับ แก้สารพัดพิษไข้
ทั้งปวง โทษอุจจาระเน่าให้ร้อนทุรนทุราย สวิงสวายเชื่อมมัว เอา ยาด�ำ ๑ ลูกจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑
พิมเสน ๑ เอาสิ่งละส่วน ฝิ่นเหนือ ๓ ส่วน การบูร ๔ ส่วน กานพลู ๕ ส่วน กัญชา ๑๔ ส่วน น�้ำสุราเป็นกระสาย
บดปั้นแท่งไว้กินยักน�้ำกระสายใช้เถิด ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 327
ชื่อเอกสาร ตํารายาแก้เลือดลมเสีย
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๗๘๘
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้กาฬสิงคลี ท่านเอา ฝาง ๑ กัญชา ๑ จันทน์ทั้งสอง ๑ รากหมาก ๑ รากมะพร้าว ๑ แก่นขนุน ๑
รากมะฝ่อ ๑ แกแล ๑ สมอทั้ง ๓ รากมะดูก ๑ รากคนทา ๑ รากมะเดื่อ ๑ ต้มกิน แก้ลงท้องหายฯ

328 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 1-3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)
เอกสารฉบั
บคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
❀ ยาแก้ลงท้องด้วยโรคต่าง ๆ เอาพิมเสน กระล�ำพัก ชาดก้อน กัญชา ครั่ง สีเสียดไทย ลูกจันทน์
ก�ำมะถันแดง เอาสิ่งละ ๑ สลึง จันทน์ทั้ง ๒ สีเสียดเทศ ยาง หวายเทศ ยาฝิ่น เอาสิ่งละ ๒ สลึง ลูกเบญกานี
สลึงเฟื้อง บดปั้นแท่งด้วยน�้ำเปลือกมะเดื่อหรือเปลือกแคแดง แก้ลงฝีดาดละลายสุรากิน แก้ลงซาง ละลายน�้ำกะทือ
แทรกปูนใสกิน แก้ลงไข้ละลายน�้ำลูกทับทิมอ่อนต้มแทรกน�้ำปูนใสกิน แก้ลงอติสารทุกอย่างแล
❀ ยาแก้ออกฝีลงเลือด เอาก�ำมะถันทั้ง ๒ การบูร กฤษณา กระล�ำพัก โกฐกระดูก โกฐเขมา ลูก ๒
ดอก ๒ จันทน์ทั้ง ๒ สีเสียดทั้ง ๒ เบญกานี ครั่ง เปลือกมะขามขบ สน ใบสะเดา ลูกกราย ก�ำยาน ชะเอมเทศ
กัญชา ฝิ่น ดีงูเหลือม ขมิ้นอ้อย พริกไทย ขิง ดีปลี ผักกะเฉด กระเทียมกรอบ กานพลู เปลือกเพกา หามกราย ๓ ส่วน
นอกนั้นเอาเสมอภาค บดเป็นผง เอาเปลือกแคแดง เปลือกมะม่วงพรวน เปลือกฝาง ต้มเอาน�้ำเป็นกระสายบด
แก้ลง น�้ำเปลือกมะเดื่อต้ม แก้บิด น�้ำกะทือหมกไฟกิน
❀ ยาประสระทับทิม เอาก�ำมะถันแดง กระล�ำพัก โกฐกระดูก โกฐเขมา ดอกจันทน์ แก่นสนเทศ กัญชา
ชะเอมเทศ ฝิ่น ตรีกฏุก ดีงูเหลือม เอาสิ่งละ ๑ สลึง ก�ำมะถันเหลือง การบูร จันทน์เทศ จันทน์แดง ขมิ้นอ้อย
เอาสิ่งละ ๑ สลึงเฟื้อง กฤษณา สีเสียดเทศ สีเสียดไทย ครั่ง เอาสิ่งละ ๒ สลึง ลูกจันทน์ เปลือกมะขาม เปลือกตะขบ
ลูกกราย เอาสิ่งละ ๓ สลึง ลูกเบญกานี ๕ สลึง ใบสะเดา ๑ บาท กระเทียมกรอบ ๖ สลึง กานพลู ๑ บาท
เปลือกหามกราย ๑๐ สลึง บดปั้นแท่ง แก้ลงท้อง ละลายน�้ำเปลือกแค เปลือกเพกา เปลือกฝางต้มแทรกสุรา
แก้มูกเลือด ละลายน�้ำปูนใสแทรกหัวกะทือหมกไฟกิน แก้ลงตาลซางแลลงริดสีดวงได้ด้วย

ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ออกฝีลงเลือด เอาสุพรรณถันทัง้ 2 การบูร 1 กฤษณา 1 กระล�ำพัก 1 โกฐกระดูก 1 โกฐเขมา 1 ลูก 2 ดอก
จันทน์ 2 ทั้ง 2 สีเสียดทั้ง 2 ลูกเบญกานี 1 ครั่ง 1 เปลือกมะขามขบ 1 สน 1 ใบสะเดา 1 ลูกกราย 1
ก�ำยาน 1 ชะเอมเทศ 1 กัญชา 1 ฝิ่น 1 ดีงูเหลือม 1 ขมิ้นอ้อย 1 พริก 1 ขิง 1 ดีปลี 1 ผักกระเฉด 1
กระเทียมกรอบ 1 กานพลู 1 เปลือกเพกา 1 หามกราย 3 ส่วน ยาทั้งนี้เอาเสมอภาคต�ำผง

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
❀ ยาแก้ตกมูกเลือด แก้บิด แก้ลง เอาเทียนทั้ง 5 สิ่งละ ๑ บาท ชันตะเคียน ชันย้อย สิ่งละ ๑ สลึง
ลูกกล้วยตีบ ๑ หวี เนื้อครั่ง เปลือกครั่ง กัญชา กานพลู ลูกเบญกานี เม็ดในลูกยาง กระวาน ขี้ยาฝิ่นอย่างดี สิ่งละ
๑ บาท ใบทับทิม ใบเทียน สิ่งละ ๑ กระจาด บดเป็นเม็ด กินกับน�้ำร้อน แก้ปวดบิดเมื่อจะกินให้แทรกขี้ยา

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 329
330 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
กลุ่มโรคฝี
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก
ภาพต้นฉบับ
ฝีดาษ

332 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวด้วยวิธี ในอหิวาตกโรคอนึ่ง คือฝีดาษ อันบังเกิดขึ้นในวันศุกร์นั้น เป็นค�ำรบ ๖
เมื่อจะบังเกิดนั้น มีปีศาจชื่อนัทยักษ์มาแต่ประจิมทิศ เข้าประจ�ำตัวผู้ไข้เป็นเจ้าของ มีอาการกระท�ำให้ชักเท้าก�ำมือ
ให้จักษุแดง แลหลับมิลง ให้จักษุนั้นค้างอยู่ มักกระท�ำให้เขละเหนียวเป็นฟองฟูมปาก มักให้ปากเฟ็ด แลคางแข็ง
ให้โสตประสาทตึงมิได้ยินสรรพส�ำเนียงอันใด บางทีให้หนาว บางทีให้ร้อน บางทีให้ขนชูชัน ให้เมื่อยทุกข้อกระดูก
ให้ปวดเป็นก�ำลัง ลักษณะซึ่งกล่าวมานี้ โดยอ�ำนาจแห่งปีศาจกระท�ำโทษ ถ้าแพทย์ผู้ใดจะแก้ ให้กระท�ำวิธีเสียก่อน
คือให้เอาแป้งปั้นเป็นรูปโครูป ๑ คันชั่งคัน ๑ ผู้ไข้รูป ๑ แล้วจึงให้กระท�ำบัตร ๖ มุม ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้
ฉัตรธง และเครื่องมัจฉะมังสะ ย�ำพล่า เหล้าขาว สิ่งละ ๒๑ ใส่ลงในบัตร แล้วจึงปัดด้วยมนตร์นี้ ๗ คาบ แล้วจึง
เอาไปเสียหนบูรพาทิศ ให้กระท�ำ ๓ วันหาย ฯ
ขนานหนึ่งเอา โหราเดือยไก่ โหราเท้าสุนัข โหราบอน โหราอ�ำมฤต สิ่งละ ๒ ส่วน รากมะแว้งทั้ง 2
รากมะเขือขื่น ว่านน�ำ้ ใบหนาด ใบมะค�ำไก่ ใบกัญชา เจตพังคี ไพล สิ่งละ ๔ ส่วน แฝกหอม รากสลอดน�ำ้ สิ่งละ
๑๖ ส่วน รากดินคั่ว ๓๒ ส่วน ท�ำเป็นจุณ บดท�ำแท่งไว้ละลายน�้ำมูตร น�้ำสุราก็ได้ ให้กินแก้พิษฝีร้ายอันบังเกิด
ในวันศุกร์นั้นหายวิเศษนัก ๚ะ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 333
ชื่อเอกสาร คัมภีร์แผนฝีดาด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๔๖
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ฝีอันหนึ่งชื่อภาตะวารี มันเกิดทวารข้างซ้ายถึงหัว ให้หาวน�ำ้ ตาตก เจ็บหลังเหม็นปากได้ ๓ ปี ผู้นั้นตาย
ยังมีฤๅษีคนหนึ่งชื่อ นามสวร แก้ได้ไว้ เอา สะเดา ๑ กัญชา ๑ สมอ ๑ ผักคราด ๑ พันธุ์ผักกาด ๑ เอาเท่ากันตากแดด
น�ำ้ อ้อยแดงเป็นกระสาย ยา 1 ส่วน น�้ำอ้อยแดง ๒ ส่วน ให้กินจอก ๑ ก่อนรุ่งแล้วกิน ๑ วัน 3 หนหายแล ๚

334 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตําราฝีดาด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๕๔
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อมหาอุดม แก้พิษฝีท�ำให้คลั่งมิให้นอนหลับ เอา ว่านกีบแรด สังกรณี เนระพูสี ว่านร่อนทอง
ชะเอมเทศ ชันตะเคียน ก�ำมะถันแดง ฝิ่น กัญชาที่ดี พิมเสน บดน�้ำอ้อยแดงเป็นกระสาย ละลายน�้ำตาลทราย
จันทน์หอมก็ได้หายแล ฯ๛

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 335
ชื่อเอกสาร ตําราฝีดาด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๑๖๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อนรพิษ เอาพริก หนัก ๑ สลึง ขิง หนัก ๑ สลึง ข่า หนัก ๑ สลึง สังกรณี หนัก ๑ เฟื้อง เนระพูสี
หนัก ๑ เฟื้อง จันทน์ทั้ง 2 หนักสิ่งละ ๑ เฟื้อง กรุงเขมา หนัก ๑ สลึง รากสารพัดพิษ หนัก ๑ สลึง ผลสารพัดพิษ
หนัก ๑ สลึง ใบพลูแก่ หนัก ๑ สลึง ดีปลี หนัก ๑ เฟื้อง พิมเสน หนัก ๑ เฟื้อง บดท�ำแท่งไว้เท่าเมล็ดฝ้าย แก้พิษ
ทั้งปวง ละลายน�ำ้ สุรากิน แก้สลบแทรกโหราเดือยไก่ ถ้าเด็ก ๆ สลบ ฝนเอาน�ำ้ ขิงแทรกกิน ถ้าเห็นหัวฝีนั้นลงเลือด
ทวารทั้ง 2 เอาฝิ่นแทรกหนัก ๑ เฟื้อง กิน ถ้าแก้สะอึกเอา ไคร้เครือ ๑ ดีงู ๑ น�ำ้ ผึ้ง ๑ เอาแทรกยานี้ชุบส�ำลีอมดีนัก
แก้คลั่ง เอากัญชา ๑ ฝิ่นแทรกยากิน ถ้าคอแห้ง เอาน�้ำตาล ๑ ขัณฑสกร ฝักส้มป่อยเผา ดีงูแทรก ยาชุบส�ำลีอม
หายดีนักแล ๚

336 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๒๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ภาคหนึ่ง เอา กฤษณา ๑ บาท การบูร ๑ โกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ กานพลู ๑ ดีปลี เอาสิ่งละ ๒ บาท
กัญชา ๑ เนื้อสมอไทย ๑ เนื้อสมอพิเภก ๑ หัวสัตตบุษย์ เอาสิ่งละ ๑ ต�ำลึง ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งกิน แก้ฝีในมดลูก
แก้อุปทม แก้ลมพลวก และลมให้หิว แลจุกเสียด แก้ฝีในท้อง แลนิ่วหญิงชาย หืดไอ มองคร่อ กษัยกล่อนกิน
หายสิ้นแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 337
338 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
กลุ่มไข้
ชื่อเอกสาร คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณ เล่ม 2
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1046
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ กัญชา แก้ไข้ผอมเหลือง หาก�ำลังมิได้ ให้ตัวสั่น เสียงสั่นเป็นด้วยวาโยธาตุก�ำเริบ แก้นอนมิหลับ
เอา ตรีกฏุก จันทน์ทั้ง ๒ ใบสะเดา ใบคนทีเขมา พริกล่อนเสมอภาค ใบกัญชาเท่ายาทั้งนั้น ท�ำผง เอาน�้ำมะพร้าว
น�้ำผึ้ง น�้ำส้มซ่า น�้ำตาลทราย กะทือสด น�้ำเบญจทับทิม ต้มละลายยากินหายแล ๚

340 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ พระยาพิศณุประสาทเวช ร.ศ. ๑๒๘
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
กัญชา แก้ไข้ผอมเหลืองหาก�ำลังมิได้ ให้ตัวสั่น เสียงสั่น เป็นด้วยวาโยธาตุก�ำเริบ แก้นอนมิหลับ
เอาตรีกฏุก ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ใบสะเดา ๑ ใบคนทีเขมา ๑ พริกไทยล่อนเสมอภาค ใบกัญชาเท่ายาทั้งหลาย
ท�ำผงเอาน�้ำมะพร้าว น�้ำผึ้ง น�้ำส้มซ่า น�้ำตาล กะทือสด น�้ำเบญจทับทิม ต้มละลายยากินหายแล

ชื่อเอกสาร คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 1-3 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อ�ำพัน กิตติขจร)


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
กัญชา แก้ไข้ผอมเหลืองหาก�ำลังมิได้ ให้ตัวสั่น เสียงสั่น เป็นด้วยวาโยธาตุก�ำเริบ นอนมิหลับ เอาตรีกฏุก
จันทน์ทั้ง ๒ ใบสะเดา ใบคนทีเขมา พริกไทยล่อน เอาสิ่งละเท่ากัน เอาใบกัญชาเท่ายาทั้งหลาย บดเป็นผง
เอาน�้ำมะพร้าว น�้ำผึ้ง น�้ำส้มซ่า น�้ำตาลทราย กะทือสด น�้ำเบญจทับทิม ต้มละลายน�้ำกิน

ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
คัมภีร์สรรพคุณ
กัญชา แก้ไข้ผอมเหลือง หาก�ำลังมิได้ ให้ตัวสั่น เสียงสั่น เป็นด้วยวาโยธาตุก�ำเริบ แก้นอนมิหลับ
เอาตรีกฏุก ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ใบสะเดา ๑ ใบคนทีเขมา ๑ พริกไทยล่อน เสมอภาค ใบกัญชาเท่ายาทั้งหลาย ท�ำผง
เอาน�้ำมะพร้าว น�้ำผึ้ง น�้ำส้มซ่า น�้ำตาลทราย กะทือสด น�้ำเบญจทับทิม ต้มกินหายแล

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาประสะกัญชา แก้ไข้ผอมเหลือง หาก�ำลังมิได้ ให้ตัวสั่น เสียงสั่น เป็นด้วยวาโยธาตุก�ำเริบ แก้นอนมิหลับ
เอาตรีกฏุก จันทน์ทงั้ 2 ใบสะเดา ใบคนทีเขมา พริกไทยล่อน เสมอภาค ใบกัญชาเท่ายาทัง้ หลาย ท�ำผงเอาน�ำ้ มะพร้าว
น�้ำผึ้ง น�้ำส้มซ่า น�้ำตาลทราย กะทือสด น�้ำเบญจทับทิม ต้มละลายกิน

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 341
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๖๓
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาเขียวมหาสัมฤทธิ์ เอา รากพุงดอ ๑ รากย่านาง ๑ รากไม้เท้ายายม่อม ๑ จันทน์ทั้ง 2 เชือกเขามวก
ทั้ง 2 เปราะหอม ๑ ใบพิมเสน ๑ กัญชา ๑ หญ้าแพรก ๑ หญ้าปากควาย ๑ ใบไผ่ปา่ ๑ บดละลายน�้ำดอกไม้กิน
หายแล ๚

342 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 433
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ไข้จับ ท่านให้เอา ก้านสะเดา 303 ก้าน ยาห้าราก ใบมะนาว 1 แก่นขี้เหล็ก 1 บอระเพ็ด 1
รากกัญชา 1 สมอไทย 330 ลูก สมอดีงู 15 สมอพิเภก 10 ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ สิง่ ละ 10 บาท กาฝากขีเ้ หล็ก 1
ต้มไข้จับหายแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 343
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 515
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาหอมพิสดาร แก้ไข้เหนือ สันนิบาต แก้ร้อน แก้นอนมิหลับ แก้คลั่งทุรนทุราย แก้สารพัดไข้ ท่านให้
เอาเกสรบัวหลวง 1 ดอกบุนนาค 1 ดอกพิกุล 1 ดอกมะลิ 1 ดอกสารภี 1 จันทน์เทศ 1 จันทน์แดง 1 กฤษณา 1
กระล�ำพัก 1 ลูกจันทน์เทศ 1 ดอกจันทน์ 1 เทียนทัง้ 5 โกฐสอ 1 โกฐน�ำ้ เต้า 1 โกฐเขมา 1 โกฐหัวบัว 1 โกฐเชียง 1
อบเชย 1 เปราะหอม 1 ว่านกีบแรด 1 ว่านร่อนทอง 1 ลูกพันธุ์ผักกาด 1 ชะเอมเทศ 1 ลิ้นทะเล 1 กัญชา 1
ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ 1 สลึง ชะมดเชียง 1 เฟื้อง ฝิ่น 1 เฟื้อง ดีงูเหลือม 1 เฟื้อง ต�ำบดปั้นแท่งไว้ แก้ลง น�้ำเปลือกแค
แก้ทรางทั้งปวง แก้ร้อนกระสับกระส่าย แก้กระหายน�้ำฝนด้วยน�้ำชะเอมเทศกิน แก้คลั่ง ทุรนทุราย ฝนด้วยน�้ำดอกไม้
ปั้นแท่งเท่าเม็ดแป้งหอม ท่านตีคา่ ไว้เม็ดละ 1 เฟื้องทอง เมื่อบดยานั้นให้ระลึกถึง ฤๅษีกระสบ ฤๅษีตาวัว ฤๅษีตาไฟ
ฤๅษีอินศวร ฤๅษีนารอด ฤๅษีนาไล ฤๅษีรกระไลยะโกฐ ทั้ง ๗ ตน บูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ จึงใช้ยาประสิทธิแล ๚ะ๛

344 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 589
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ถ้าไข้เดือน ๔ ไข้เพื่อก�ำเดา แลลมปนกัน ท่านให้เอา แห้วหมู ๑ ผักแพวแดง ๑ เทียนด�ำ ๑ เทียนขาว ๑
ลูกจันทน์ ๑ ดีปลี ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ หอมแดง ๑ กัญชา ๑ บดละลายน�้ำผึ้งกินหาย ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 345
ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
❀ ยาเบญจกูลกล่อมธาตุ แก้ธาตุพกิ ารต่าง ๆ เอาขิง สะค้าน ช้าพลู ดีปลี รากเจตมูล แห้วหมู ลูกมะตูมอ่อน
ฝาง แกแล จันทน์แดง จันทน์ขาว สมอไทย สมอเทศ สมอดีงู ถ้าผู้หญิงจะกินให้เอาสมอพิเภก ให้ยกสมอดีงูเสีย
ลูกกระดอม ก้านสะเดา กัญชา บอระเพ็ด ขมิ้นอ้อย เอาสิ่งละ ๑ ส่วน ต้มกิน กินเที่ยงคืน ถ้าไข้หายแล้วให้เมื่อยเพลีย
เรียกว่า ลมปลายไข้
❀ แก้ไข้ต่าง ๆ น�้ำกะสายเลือกใช้ตามแต่โรค เอาเหล็กดีกราง ๑ บาท ทองแดงกราง กระดูกหมานิล
กระดูกม้า รากดิน แมงจู้จี้ ขี้ควายเผา สิ่งละ ๒ สลึง กระดองเต่าเหลือง ๑ สลึง กระดองตะพาบน�้ำ กระดองปู่ป่า
กระดูกนกเงือก กัญชา ใบคนทีสอ สิ่งละ ๒ สลึง หญ้าแทรกเผือก ว่านน�้ำ หญ้าปากควาย สิ่งละ ๖ สลึง ใบสวาด
ใบมะยม ใบมะเฟือง ใบพรมมิ สิ่งละ ๑ บาท ทองค�ำเปลว ๑๓ แผ่น ลูกมะนาว ๒๓ ลูก เอาน�้ำมะนาวประสะเหล็ก
เสียก่อน เทียนทั้ง 5 โกฐทั้ง 5 ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู น�้ำประสานทอง ลิ้นทะเล สิ่งละ ๒ สลึง
ยาทั้งนี้ท�ำเป็นผงหรือแท่งไว้ กินแก้สารพัดไข้
❀ ยาหอมนวโกฐกลาง แก้ไข้ ๓ ระดู แก้เสมหะโลหิตทําพิษ แก้ร้อนหนาวสั่น เอา โกฐทั้ง 9 เทียนทั้ง 5
สมอทั้ง 3 มะขามป้อม จันทน์ทั้ง 2 กฤษณา กระล�ำพักดอก ลูกเอ็น พริกไทย เบญจกูล แห้วหมู กระวาน กานพลู
อบเชย สมุลแว้ง ส่วนเท่ากัน ทําผง แก้กินข้าวไม่ได้นอนไม่หลับ เอากัญชาต้มเป็นกระสาย ถ้ารากเอาข้าวสุกเผาไฟ
ให้ไหม้ ต้มเอาน�้ำละลายยากิน ถ้าลงท้องเอาน�้ำเปลือกมะเกลือต้ม ถ้าสันนิบาตทั้งรากทั้งลง เอามะเฟืองทั้ง 5 ต้มกิน
วันละ ๓ เวลา ถ้าเมื่อยทั้งตัว เอาหัสคุณเทศต้มละลายยาทั้งกินทั้งทา เป็นไข้เชื่อม เอากฤษณาเป็นกระสาย
น�้ำกุหลาบก็ได้ ถ้าเป็นลมชักมือเท้าก�ำ ลิ้นแข็งพูดไม่ได้ เอากานพลูต้มน�้ำละลายยากิน จุกกระเทียมต้ม ปวดหัว
น�้ำหัวหอมต้ม ถ้าไอน�้ำมะนาวกับเกลือ ตกมูกเลือดเอาไพลหมกไฟ ถ้าเด็กเป็นตานซาง ขี้เป็นเม็ดมะเขือ เอารากตาล
ทั้ง 5 มาต้มเป็นกระสายกินเช้าเย็น ถ้าเป็นเม็ดขึ้นที่ลิ้นล�ำคอ ทรวงอก เอาสุราเป็นกระสาย ถ้าพุงโร ผอมแห้ง
เอาดีปลาเป็นกระสาย กินข้าวมิได้เอาน�้ำผึ้งเป็นกระสาย ถ้ามีให้ผูกเอาดีเกลือเป็นกระสาย ดีงูแทรก ถ้าเป็นเริม
เอาเปลือกเพกาฝนเป็นกระสายทา สันนิบาตน�้ำใบชบาเป็นกระสายทา ถ้าประดงมดเอารังมดรี่ต้มเป็นกระสาย
ทัง้ กินทัง้ พ่น ถ้าเปือ่ ยเป็นเม็ดผืน่ ทัง้ ตัว ใบพลูคน้ั เอาน�ำ้ เป็นกระสายทา ถ้าเป็นลมสลบ เอาน�ำ้ ข่าต้มน�ำ้ ตาลแทรกให้กนิ
ถ้าหญิงอยู่ไฟไม่ได้ เอาฟักเขียว ไพล ดินประสิวขาวต้ม คั้นเอาน�้ำละลายยาพ่นให้เปียกทั้งตัว เข้าไฟได้ ถ้าบาด
เสี้ยนหนาม ตะมอย เอาดีจระเข้เป็นกระสาย ละลายทา

346 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


กลุ่มอาการไอ
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาที่ ๘
ให้เอา โกฐเชียง ๑ เทียนขาว ๑ ผิวผลมะตูมแก่ ๑ ลูกผักชี ๑ ลูกผักขวง ๑ กานพลู ๑ ดีปลี ๑
รากมะแว้งต้น ๑ รากจิงจ้อแดง ๑ รากขัดมอนเล็ก ๑ รากแตงหนู ๑ ขิงแห้ง ๑ หัวแห้วหมู ๑ หัวเปราะขาว ๑
กระเทียมสุก ๑ หัวหอม ๑ เถาบอระเพ็ด ๑ เถามวกแดง ๑ มหาหิงคุ์ ๑ กัญชา ๑ ต้นส้มเช้า ๑ ตรีผลา ๑ เข้ากัน
เป็นยา ๒๒ สิ่ง
ยาที่ ๘
แก้เหนื่อยหอบเพราะเสมหะ ฯ แก้เสมหะในคอ ให้แน่นหน้าอก กินเข้าไปให้เสมหะออกมา แก้หืดหอบ
ด้วยเสมหะ ถ้าโรคซึ่งเป็นที่กล่าวมาทั้งนี้ กินยาที่ ๘ นี้เข้าไปแล้วให้ร้อนเหงื่อออก กินอาหารได้แล ๚

348 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. ๑๑๒
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
ยาอัมฤควาที เอาโกฐทั้ง 5 เทียนทั้ง 5 ผลสมอไทย ผลสมอพิเภก ผลมะขามป้อม ผลเอ็น ใบกระวาน
น�้ำประสานทอง สารส้ม ไคร้เครือ ผลผักชีลา เปลือกอบเชยเทศ ยาทั้งนี้สิ่งละ 1 บาท ชะเอมเทศ 2 บาท ต�ำผง
บดแท่งไว้ แก้ไอ แก้คอแห้ง เสมหะเหนียว ละลายส้มมะขามเปียกแทรกเกลือ กวาดแก้ไอ น�้ำรากดีปลี ดีงูเหลือม
พิมเสน แก้อาเจียน น�้ำใบยอปิ้งต้ม แก้สะอึกหอบ กระหายน�้ำ ร้อนภายในละลายน�้ำผลมะกอกเผาไฟต้มแก้เชื่อม
น�้ำจันทน์เทศต้ม แก้พรรดึก น�้ำสมอไทยต้มแทรกเกลือ แก้นอนไม่หลับ น�ำ้ รากกัญชาต้ม แก้ขัดเบา น�้ำผลมะเฟือง
น�้ำผลแตงกวาคั้น

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 349
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 489
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาแก้ไอทั้งปวง ท่านให้เอา สลัดได ๑ พริกชี้ฟ้า ๑ พริกเทศ ๑ พริกไทย ๑ กัญชา ๑ ไพล ๑
กะทือ 1 ส้มมะขามเปียก ๑ เกลือ ๑ เอาเสมอภาค ต�ำลูกกลอนกินหายแล ๛

350 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


กลุ่มโรคสตรี
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ดต่าง ๆ
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 630
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาต้มแก้โลหิตเน่าร้าย เบญจกูล โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ จันทน์ทั้ง ๒ แห้วหมู กานพลู สน สักขี
ไม้สัก ก�ำลังวัวเถลิง ขมิ้นอ้อย พันธุ์ผักกาด สมอไทย สมอพิเภก ฝาง แกแล แก่นปรู แก่นประดู่ เทพทาโร ค�ำฝอย
กะทกรก แซ่ม้าทะลาย เลือดแรด ครั่งดุ้น ดอกพิกุล ดอกมะลิ ใบเงิน ใบทอง กระดาดทองน�้ำตะโก ๓ แผ่น
ใบกัญชา ๑ บาท ต้มรับประทานเช้าเย็น

352 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


กลุ่มโรคตา
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 361
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ พระฤๅษีทา่ นกล่าวไว้ ถึงต้อกระจก แลจะใส่ยาท่านให้แต่งยาสุมกระหม่อมเสียก่อน เอา รากต�ำลึง ๑
ผักชี ๑ รากชันกาด ๑ ยอดเปล้า ๑ ยอดมะแว้งเครือ ๑ ส้มซ่า ๑ ส้มป่อย ๑ ไพล ๑ ขมิน้ อ้อย ๑ สมุลแว้ง ๑ กัญชา ๑
สัตตบุษย์ ๑ กก ๑ หอม ๑ ยาทั้งนี้เอาเท่ากัน ต�ำเอาน�้ำกรอง แล้วจึงเอาน�้ำยานั้นสูจงได้ ๓ วัน แล้วท�ำประจ�ำธาตุ
จึงใส่ยากันต้อเถิด ฯ

354 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ยากลุ่มอื่น ๆ
ชื่อเอกสาร คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ (ฉบับใบลาน)
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 1143
ประเภทเอกสารโบราณ ใบลาน

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยามหาวัฒนะ ให้เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู สิ่งละ 1 ส่วน เทียนด�ำ เทียนขาว
เทียนแดง เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี โกฐสอ โกฐเขมา โกฐกักกรา โกฐพุงปลา บอระเพ็ด ใบกัญชา หัสคุณทั้ง ๒
ลูกพิลังกาสา รากไคร้เครือ แห้วหมูใหญ่ ขมิ้นอ้อย พริกหอม พริกหาง สิ่งละ ๒ ส่วน ดีปลีเท่ายาทั้งนั้น จึงเอา
ใบกะเพราแห้ง ๒ เท่าดีปลี ท�ำเป็นจุณละลายน�้ำผึ้งรวงเป็นลูกกลอน กินหนักสลึง ๑ กินไปทุกวันให้ได้ 1 เดือน
จึงจะรู้จักคุณยาเห็นประจักษ์อันวิเศษ แก้ฉันวุฒิโรค ๙๖ ประการ กับพยาธิทั้งหลายทุกประการ ดีนักแล ฯ

356 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๕
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยามหาวัฒนะ ให้เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู สิ่งละ 1 ส่วน เทียนด�ำ เทียนขาว
เทียนแดง เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี โกฐสอ โกฐเขมา โกฐกักกรา โกฐพุงปลา บอระเพ็ด ใบกัญชา หัสคุณทั้ง ๒
ลูกพิลังกาสา รากไคร้เครือ แห้วหมูใหญ่ ขมิ้นอ้อย พริกหอม พริกหาง สิ่งละ ๒ ส่วน ดีปลีเท่ายาทั้งนั้น จึงเอา
ใบกะเพราแห้ง ๒ เท่าดีปลี ท�ำเป็นจุณละลายน�้ำผึ้งรวงเป็นลูกกลอน กินหนักสลึง ๑ กินไปทุกวันให้ได้ 1 เดือน
จึงจะรู้จักคุณยาเห็นประจักษ์อันวิเศษ แก้ฉันวุฒิโรค ๙๖ ประการ กับพยาธิทั้งหลายทุกประการ ดีนักแล ฯ

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยามหาวัฒนะ เอา ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู สิ่งละ ๑ ส่วน เทียนด�ำ เทียนขาว เทียนแดง
เทียนสัตตบุษย์ เทียนเยาวพาณี โกฐสอ โกฐเขมา โกฐกักกรา โกฐพุงปลา บอระเพ็ด ใบกัญชา หัสคุณทั้ง 2
ลูกพิลังกาสา รากไคร้เครือ ขมิ้นอ้อย พริกหอม สิ่งละ 2 ส่วน ดีปลีเท่ายาทั้งนั้น เอาใบกะเพราแห้ง 2 เท่าดีปลี
ท�ำเป็นจุณ ละลายน�้ำผึ้งรวง เป็นลูกกลอนกินหนัก 1 สลึง กินทุกวัน ให้ได้ 1 เดือน จึงจะรู้คุณยาเห็นประจักษ์
แก้พยาธิทั้งหลาย

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 357
ชื่อเอกสาร ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ประเภทเอกสารโบราณ ศิลาจารึก

ภาพต้นฉบับ
สันนิบาตทุวัณโทษ (ระเบียงรอบพระมหาเจดีย์)

358 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ปุนะจะปะรัง ล�ำดับนี้จะกล่าวด้วยนัยอันหนึ่งใหม่ ว่าด้วยลักษณะมหาสันนิบาต อันบังเกิดในที่สุด
แห่งโบราณชวร กล่าวคือสันนิบาตทุวันโทษนั้นเป็นค�ำรบ ๒ สืบต่อไป แล้เมื่อจะบังเกิดนั้นเกิดแต่กองสมุฏฐาน
๖ ประการ ประชุมพร้อมกันเข้าแล้วเมื่อใด มีอาการกระท�ำให้หาวเป็นต้น แลให้บิดคร้านมักท�ำให้ร้อนเป็นก�ำลัง
แล้วให้สะท้านหนาว ให้บริโภคอาหารมิได้ ให้เสโทตก ให้สยบมัวเมา ให้ปากขม ให้วิงเวียน ให้หน้าแตกระแหงระหวย
มักพึงใจอันเย็น ให้ปัสสาวะเหลือง ให้จักษุแดง ให้เล็บแลผิวตัวนั้นเหลือง มีกลิ่นดังสาบม้า ลักษณะที่กล่าวมานี้
จัดเป็นทุวันโทษในมหาสันนิบาตเป็นอสาทยะโรคหายในตรีโทษนั้น ตามอาจารย์กล่าวไว้ดังนี้ ฯ
ขนานหนึ่งเอาสมอทั้ง 3 มะขามป้อม รากกัญชา สิ่งละ 1 ส่วน เบญจกูล สิ่งละ ๒ ส่วน ต้มตามวิธี
ให้กินแก้มหาสันนิบาตทุวันโทษ ซึ่งกระท�ำให้เสโทตก ให้น�้ำปัสสาวะเหลืองนั้นหายดีนัก ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 359
ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๖
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อมหาไวยะราบ ท่านให้เอา ฝิ่น ๑ สลึง ๑ เฟื้อง เห็ดระย้า ๑ สลึง ๑ เฟื้อง รากช้าพลู 2 สลึง
๒ เฟื้อง ใบชุมเห็ดไทยเอาเมื่อมันนอนพลีเอา ๑ บาท กัญชา ๑ บาท ๒ สลึง สมอทั้ง 3 สิ่งละ ๑ สลึง โหราเท้าสุนัข
๓ สลึง ๑ เฟื้อง ท�ำแท่งละลายนํ้าอ้อย นํ้าตาลทราย นํ้าตาลกรวด ๚

360 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๓๙
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 361
ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาชื่อ แก้วควรค่า แก้ลม 38 จ�ำพวก ให้ตามืด หูหนัก ให้เหน็บ ให้ชา แขนขาตายไปจ�ำหระ หนึ่ง
ให้ปากเบี้ยว ตาแหก สติเคลิ้มคลุ้มเป็นใบ้บ้าเสียกริยาไป (ต่าง) ๆ แก้ลง แก้ราก แก้บิดปวดมวน ท่านให้เอา
ไฟเดือนห้า ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง เอื้องเพ็ดม้า ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง หัวดองดึง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง
บอระเพ็ด ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง รากเจตมูลเพลิง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ขมิ้นอ้อย ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ข่า ๑
บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง กระชาย ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง กระทือ ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ไพล ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง
ขิงแห้ง ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง รากช้าพลู ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ผิวมะกรูด ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ผิวมะนาว
๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ผิวส้มซ่า ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ผิวมะงั่ว ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ลูกช้าพลู ๑ บาท ๓ สลึง
๑ เฟื้อง หัวแห้วหมู ๑ บาท ๓ สลึง ๑ เฟื้อง ใบหนาด ๒ ต�ำลึง ๓ บาท ใบเสนียด ๒ ต�ำลึง ๓ บาท ใบคนทีสอ ๒ ต�ำลึง
๓ บาท ใบมะตูม ๒ ต�ำลึง ๓ บาท ใบปะค�ำไก่ ๒ ต�ำลึง ๓ บาท ใบเลี่ยน ๒ ต�ำลึง ๓ บาท ผักเสีย้ นผี ๒ ต�ำลึง ๓ บาท
กุม่ นํา้ ๓ บาท ๑ สลึง ๑ เฟือ้ ง กุม่ บก ๓ บาท ๑ สลึง ๑ เฟือ้ ง มะรุม ๓ บาท ๑ สลึง ๑ เฟือ้ ง ทองหลาง ๓ บาท
๑ สลึง ๑ เฟื้อง บุกรอ ๑ บาท ๒ สลึง ดีปลี ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ๓ สลึง กัญชา ๓ บาท ๒ สลึง ว่านนํ้า ๓ บาท ๒ สลึง
๑ เฟื้อง ผลกระวาน ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ผลพิลังกาสา ๑ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง กานพลู ๓ บาท ๑ เฟื้อง
มหาหิงคุ์ ๑ บาท ๒ สลึง เกลือสินเธาว์ ๑ บาท ๑ สลึง สะค้าน ๑ บาท เทียนแดง ๑ บาท ๑ สลึง เทียนขาว ๑ บาท
เทียนด�ำ ๓ สลึง เทียนตาตั๊กแตน ๑ บาท เทียนแกลบ ๓ สลึง ๒ ไพ เทียนเยาวพาณี ๑ สลึง โกฐหัวบัว ๑ สลึง
โกฐพุงปลา ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง โกฐเขมา ๑ ต�ำลึง ๑ สลึง โกฐเชียง ๑ บาท ๒ สลึง หัสคุณ ๑ บาท๒ สลึง หัวเต่าเกียด
๑ บาท ๒ สลึง คุคะ ๑ บาท ๒ สลึง การบูร ๑ ต�ำลึง ๑ บาท มหาสะด�ำ ๑ บาท ๒ สลึง พญามือเหล็ก ๑ บาท ๒ สลึง
ลูกจันทน์ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ดอกจันทน์ ๑ ต�ำลึง ๑ บาท พริกไทย ๑ ต�ำลึง ๑ บาท ต�ำเป็นจุณ เพลาเช้า นํ้าผึ้งเพลา
กลางวัน เพลาเย็นละลายนํ้าเบญจกูล ศิริเป็นสรรพยา ๕๗ สิ่ง ๚

362 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ตํารายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๒๔๒
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาเสน่ห์ข้าวสุก เอา ลูกจันทน์ 1 ส่วน ดอกจันทน์ 1 ส่วน กัญชา ๒ ส่วน ส้มมะขาม 1 ส่วน
บดเป็นแท่งกินเท่าลูกพุทราแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 363
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 302
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาหงษ์ทองของคุณตาน ท่านให้เอา มหาหิงคุ์ 1 การบูร 1 ดีปลี 1 กระวาน 1 กานพลู 1 กัญชา 1
กฤษณา 1 กระล�ำพัก 1 จันทน์ทั้ง 2 สมอทั้ง 3 1 ลูกจันทน์ 1 ดอกจันทน์ 1 ขิงแห้ง 1 โกฐหัวบัว 1 โกฐสอ 1
โกฐเขมา 1 ว่านน�้ำ 1 ลูกพิลังกาสา 1 พริกหอม 1 ยาทั้งนี้เอาสิ่งละ 1 บาท พิมเสน 2 บาท พริกไทยกึ่งยา
ต�ำผงละลายน�้ำผึ้ง น�้ำร้อนก็ได้ กินแก้ไข้เพื่อลมทั้งปวง แลเลือดพิการ แก้สารพัดโรคทั้งปวง แก้ริดสีดวงผอมเหลือง
แก้หืดไอ แก้กล่อน แลเสมหะพิการ แก้ตกเลือด มุตกิด มุตฆาต สัณฑฆาต แก้ลง ตกโลหิตทวารทั้ง 9 เป็นช�้ำรั่ว
กินยานี้หายสิ้น ยานี้วิเศษนักแล ๚

364 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 363
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ถ้าองคชาติตายไป เอา ดีปลี ๑ ลูกช้าพลู ๑ พริก ๑ ขิง ๑ ลูกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ รากสะแก ๑
กัญชาเท่ายาทั้งหลาย ต�ำเป็นผงละลายน�ำ้ ผึ้งกิน จ�ำเพาะองคชาติตายแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 365
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 511
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยด�ำ

ภาพต้นฉบับ

366 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยามหาจักรวาฬน้อย ส�ำหรับโรคสันดาน 96 ประการ แก้โลหิต 75 ประการ เลือด 92 ประการ
แก้ลม 138 จ�ำพวก แก้ริดสีดวงลม 36 จ�ำพวก แก้ริดสีดวงเลือด 29 จ�ำพวก แก้พิษฝีภายใน 108 จ�ำพวก
แก้ฝีภายนอก 172 จ�ำพวก ยาขนานนี้ท่านตีค่าไว้ 1 ชั่งทองหนึ่ง อย่าได้ประมาทจงเคารพครูให้จงดี ถ้า (ตัวอักษร
เลือน) ครูถงึ ทีจ่ งวางยาต�ำรับนีแ้ ล ยาอันนีจ้ ดั วางก็ได้ น�ำ้ ขิงเป็นกระสาย ท�ำเป็นผงก็ได้ น�ำ้ ผึง้ เป็นกระสาย เป็นลูกกลอน
กินแก้ลม แก้เลือด แก้ริดสีดวง แลแก้ฝี ละลายสุราเป็นกระสาย ยักเอาเถิดต้มกินบ้าง
ท่านให้เอา เปลือกมะม่วงกะล่อน 1 บาท มะม่วงคัน 1 บาท เปลือกหว้าทั้ง 2 เอาสิ่งละ 1 บาท
เปลือกสารภี 1 บาท เปลือกพิกุล 1 บาท เถาคันแดง 1 บาท เปลือกกุ่มทั้ง 2 เอาสิ่งละ 1 บาท ลูกมะค�ำดีควาย
1 บาท เปลือกหมีเหม็น 1 บาท เปลือกมะเขือขื่น 1 บาท เจตมูล 1 บาท ดีปลี 1 บาท สะค้าน 1 บาท รากช้าพลู
1 บาท แห้วหมู 1 บาท ขิง 1 บาท ข่า 1 บาท ผักแพวแดง 1 บาท มวกทั้ง 2 สิ่งละ 1 บาท สารส้ม 3 สลึง
ดินประสิว 3 สลึง เกลือสินเธาว์ 1 บาท ยาด�ำ 3 สลึง เทียนทั้ง 5 สิ่งละ 2 สลึง โกฐทั้ง 5 สิ่งละ 2 สลึง หัสคุณไทย
2 บาท หัสคุณเทศ 1 บาท ลูกจันทน์ 2 สลึง ดอกจันทน์ 2 สลึง กระวาน 2 สลึง กานพลู 2 สลึง แก่นสน 1 บาท
แก่นแสมทั้ง 2 สิ่งละ 1 บาท พริกไทย 2 บาท กัญชา 1 ต�ำลึง มหากาฬทั้ง 5 สิ่งละ 1 บาท ขมิ้นอ้อย 1 บาท
ไพล 1 บาท ว่านกีบแรด 1 บาท รากส้มกุ้งใหญ่ 1 บาท ว่านร่อนทอง 1 บาท ว่านนางค�ำ 1 บาท ฝักส้มป่อย 1 บาท
หัวดองดึง 3 สลึง รากไคร้เครือ 1 บาท รากหนาดด�ำ 1 บาท กระเทียม 1 บาท การบูร 1 บาท บดปั้นแท่งไว้
สุราเป็นกระสาย กินแก้ฝีในท้อง ฝีนอกท้อง 3,000 จ�ำพวก แลยา 65 สิ่งวิเศษนักแล ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 367
ชื่อเอกสาร ต�ำรายาเกร็ด
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ 609
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยขาว

ภาพต้นฉบับ

ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ ยาอุปทมเลือด เอา น�้ำข่า 1 น�้ำขิง 1 ผักแพวแดง 5 ต�ำลึง กัญชา 1 ต�ำลึง ฝิ่น 1 บาท คุคะ 1 ต�ำลึง
น�ำ้ มันงา 1 ทะนาน พริก 1 ทะนาน หุงให้คงแต่น�้ำมันหายแล ๚

368 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ชื่อเอกสาร เวชสาตร์วัณ์ณนา
เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ขนานหนึ่ง เอา พญามือเหล็ก 1 ฝาง เถาวัลย์เปรียง 1 แก่นขนุน 1 รากกัญชา 1 เสมอภาคต้มกิน
แก้ปวดมุตคาดหายดีนัก

ชื่อเอกสาร ต�ำราอายุรเวทศึกษา ขุนนิทเทสสุขกิจ


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาตัดกาฬ มิให้เกิด เอาเหล็กดีกราง หนัก 5 สลึง ประสะด้วยน�ำ้ มะนาวลูกละครั้ง 7 ลูก 7 หญ้าแพรก
เผือก ๒ สลึง หญ้าปากควาย ข่า สิ่งละ 2 สลึง เปลือกอ้อยช้าง กัญชา สิ่งละ ๒ ตําลึง บดปั้นแท่ง ไว้กินกับมูตร
แก้ร้อนภายใน ถ้ากินแก้ของผิดสําแดง แปรไปต่าง ๆ น�้ำซาวข้าว ถ้าจะแก้รากเลือดน�้ำมะนาว แก้ตกเลือด ถ้าตก
และหยุดแล้ว อย่าให้ค้างคืน เร่งรุเสีย ถ้าจะรุเลือด ละลายน�้ำผึ้งกิน

ชื่อเอกสาร เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป เล่ม ๑, ๒, ๓ พระยาพิศณุประสาทเวช


เอกสารฉบับคัดลอกและพิมพ์เผยแพร่
ยาบาททะกฤษและบาดทะยัก ราคาหนักชั่งทองอย่าปองขาย แต่แก้ไขไข้คนให้พ้นตาย จะนับหลายสิบ
แล้วโดยประมาณ อาจารย์จึงชี้แจงแจ้งเจตนา ให้เห็นเหตุแพทย์พันธุ์ในสัณฐาณแรก เกิดบาดทะกฤษท�ำผิดการ
อยู่ส�ำราญสีเส้นดังสีคราม ถ้าเป็นบาดทะยักหนักอย่างอื่น เมื่อเดินยืนย�่ำเหยียบในป่าหนามถูกเสี้ยนยอกหอกดาบ
ก็ตาม ถ้านิ่งความเอาไว้หลายราตรีเป็นเกาะเหมือนหนึ่งบาททะกฤษ ถ้าแพทย์พิจารณาเป็นทางอย่าห่างหนี
อย่าสงสัยนิบาตปิศาจนี้ ครั้นถึงที 3 วันจะบรรลัย ต�ำรับท่านให้หุงขี้ผึ้งปิด จึงขับพิษสารพัดไม่ตัดษัย กะบากะเบียน
การบูร จ�ำรูญใจผิวไม้ไผ่เทียนแดงและเทียนด�ำ โกฐกระดูก พุงปลากาสลัก ลิ้นทะเลจงประจักษ์หัวขิงข่า พันธุ์ผัก
ชี้ขี้แมลงสาบ สมุดด�ำอีกทั้งน�้ำประสานทองนิเทศดี ลูกผักกาด กัญชา ฝาหอยขม เบี้ยอีแก้น�้ำนมนางเสือสีห์
เม็ดมะขาม ใบราชพฤกษ์เป็นยา 47 ส�ำเร็จการคั่วหมดบดไว้อย่าให้เหลือ แต่นมเสือนี้ใส่ประสมประสานใส่น�้ำมัน
งาด�ำ เมื่อท�ำการเอาฝิ่นพานพาดกระดาดไทย จึงเอายาทาทับลงทีหลัง แทงหนังด้วยเข็มให้เลือดไหล เปลือกมะกอก
ต้มชะประสระไปใบกลอยใส่กระบอกไฟใส่แผลคน ถึงเภทหมาบ้าอันสาหัส ถ้ามันกัดแก้หายมาหลายหน ให้ท�ำเหมือน
ต�ำรับไม่อับจน จงปิด ต้นยาคั่วที่ตัวดี จึงแล่นสร้านไปประทานให้พิษหาย ก็กลับกลายเชื่อมมืนมาคืนที่ ครั้นชักหยุด
สุดสมประฤดี ครั้นถึงที่แล้วจึงถ่ายให้กายเบาขี้เหล็กทั้ง 5 ใบมะกากับตองแตก กระสายแทรกยาด�ำเหมือนค�ำเขา
อย่าประมาทลบหลู่ดูเบา พระครูเฒ่าแก้หายมาหลายคนเอย ฯ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 369
ชื่อเอกสาร ยาชื่ออาโป
เลขที่เอกสารตามหอสมุดแห่งชาติ ๔๔๐
ประเภทเอกสารโบราณ หนังสือสมุดไทยดํา

ภาพต้นฉบับ

370 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ค�ำอ่านปัจจุบัน
๏ แก้อาโปภาคหนึ่ง ให้เอารากช้าพลู ๑ ต�ำลึง สะค้าน ๑ ต�ำลึง เจตมูล ๑ ต�ำลึง ขิง ๑ ต�ำลึง ดีปลี ๑ ต�ำลึง
๒ บาท แก่นขี้เหล็ก ๒ ต�ำลึง แก่นแสม ๒ บาท ดองดึง ๑ บาท ๒ สลึง ลูกคนทีสอ ๑ ต�ำลึง ว่านน�ำ้ ๑ ต�ำลึง ๒ สลึง
กะทือ ๑ ต�ำลึง ไพล ๓ บาท กระชาย ๒ บาท ขมิ้นอ้อย ๑ ต�ำลึง ข่า ๒ บาท หัวอุตพิด ๑ ต�ำลึง กระดาดแดง ๒ บาท
กลอย ๒ บาท กุ่มทั้ง ๒ สิ่งละ ๒ บาท กระเทียม ๑ ต�ำลึง ลูกกระดอม ๒ บาท ลูกมะแว้งทั้ง ๒ สิ่งละ ๒ บาท
บอระเพ็ด ๒ บาท ลูกสมอไทย ๓ ต�ำลึง มะตูมอ่อน ๑ ต�ำลึง ๒ บาท เปลือกมะรุม ๓ บาท เปลือกทองหลาง ๓ บาท
รากจิงจ้อ ๑ ต�ำลึง แห้วหมู ๑ ต�ำลึง กัญชา ๒ บาท ผักแพวแดง ๒ บาท พริกไทย ๔ ต�ำลึง มหาหิงคุ์ ๒ บาท
ยาด�ำ ๒ บาท การบูร ๒ บาท ลูกจันทน์ ๑ บาท เปลือกกันเกราแดง ๑ ต�ำลึง ใบมะตูม ๒ ต�ำลึง ใบหนาด ๒ ต�ำลึง
โกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ สิ่งละ ๒ สลึง ต�ำผงละลายน�้ำผึ้งกิน ๑ สลึง แก้กล่อนให้ท้องขึ้นเพลาเย็นกลางคืนหาย
ถ้าจะแก้ลมอัมพาตให้มือตายตีนตายไปปากเบี้ยว ตาแหก ละลายน�้ำส้มสายชูกิน ถ้าลมราทยักษ์ น�้ำกระเทียมต้ม
ถ้าแลมหาสดมภ์ละลายน�้ำมะนาวกิน ถ้าลมปัตคาดให้เหน็บชา น�้ำสมอไทยต้มกิน ถ้าลมอัมพฤกษ์ให้นอนไม่หลับ
ละลายน�ำ้ สะค้านต้มกิน ถ้าหืดไอ แก้มองคร่อ น�ำ้ ไพลกิน ถ้าแก้เลือดตีขึ้นละลายน�้ำใบผักเป็ดกิน ถ้าแก้ลมริดสีดวง
ให้ผอมเหลือง ละลายน�้ำเบญจกูลกิน ถ้าท้องมานละลายน�้ำเกลือต้มกิน ยาขนานนี้แก้วหาค่ามิได้ ตามแต่จะใช้เถิด
แก้สารพัดโรคทั้งปวง ๚

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 371
372 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
ภาคผนวก ๑
เภสัชวัตถุ
พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
1 กรดน�้ำ Scoparia dulcis L.
2 กระชาย Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
3 กระดอม Gymnopetalum chinense (Lour.) Merr.
4 กระดังงา Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson.
5 กระดาดขาว Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don, “KRADAT KHAO”.
6 กระดาดแดง Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don, “KRADAT DAENG”.
7 กระท่อม Mitragyna speciosa Korth.
8 กระทุ่มขี้หมู Mitragyna rotundifolia (Roxb.) Kuntze.
9 กระเทียม Allium sativum L.
10 กระเบา Hydnocarpus castaneus Hook. f. & Thomson.
11 กระเบียน Ceriscoides turgida (Roxb.) Tirveng.
12 กระพังโหม Oxystelma esculentum (L.f.) Sm.
13 กระล�ำพัก Euphorbia antiquorum L. (สลัดได)
Excoecaria agallocha L. (ตาตุ่ม)
14 กระวาน Wurfbainia testacea (Ridl.) Skornick. & A.D. Poulsen.
15 กรักขี Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner
16 กรุงเขมา Cissampelos pareira var. hirsuta (Buch. -Ham. ex DC.) Forman.
17 กฤษณา Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte.,
Aquilaria malaccensis Lam.
18 กล้วยตีบ Musa (ABB) “Kluai Tip”.
19 กลอย Dioscorea hispida Dennst.
20 กะทกรก Passiflora foetida L.
21 กะทือ Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm.
22 กะเพรา Ocimum tenuiflorum L.
23 กะเม็ง Eclipta prostrata (L.) L.
24 กัญชา Cannabis sativa L.
25 กันเกรา Cyrtophyllum fragrans (Roxb.) DC.
26 กานพลู Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L. M. Perry.
27 ก�ำยาน Styrax tonkinensis (Pierre) Craib ex Hartwich.
28 ก�ำลังวัวเถลิง Anaxagorea luzonensis A. Gray.
29 กุ่มนํ้า Crateva religiosa G. Forst.
30 กุ่มบก Crateva adansonii DC.
31 แกแล Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner.

374 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
32 โกฐกระดูก Aucklandia lappa Decne
33 โกฐกักกรา Pistacia chinensis subsp. integerrima (J. L. Stewart) Rech. f.
34 โกฐก้านพร้าว Neopicrorhiza scrophulariiflora (Pennell) D. Y. Hong.
35 โกฐเขมา Atractylodes lancea (Thunb.) DC.
36 โกฐจุฬาลัมพา Artemisia annua L.
37 โกฐเชียง Angelica sinensis (Oliv.) Diels.
38 โกฐชฎามังสี Nardostachys jatamansi (D. Don) DC.
39 โกฐน�้ำเต้า Rheum palmatum L.,
Rheum officinale Baill.,
Rheum tanguticum (Maxim. ex Regel) Balf.
40 โกฐพุงปลา Terminalia chebula Retz.
41 โกฐสอ Angelica dahurica (Hoffm.) Benth. & Hook. f. ex Franch.
& Sav. var. dahurica
42 โกฐสอเทศ Iris × germanica L.,
Iris pallida Lam.
43 โกฐหัวบัว Ligusticum sinense Oliv. cv. Chuanxiong.
44 ขนุน Artocarpus heterophyllus Lam.
45 ขมิ้นชัน Curcuma Longa L.
46 ขมิ้นอ้อย Curcuma sp. “Khamin Oi”
47 ขอนดอก Mimusops elengi L.,
Lagerstroemia floribunda Jack
48 ขอบชะนางขาว Pouzolzia zeylanica (L.) Benn.
49 ขอบชะนางแดง Gonostegia pentandra (Roxb.) Miq.
50 ขัดมอน Sida acuta Burm. f.
51 ข่า Alpinia galanga (L.) Willd.
52 ข่าตาแด Alpinia officinarum Hance.
53 ข้าวโพด Zea mays L.
54 ข้าวเย็นใต้ Premna herbacea Roxb.
55 ข้าวเย็นเหนือ Smilax corbularia Kunth.
56 ขิง Zingiber officinale Roscoe.
57 ขี้กาแดง Trichosanthes tricuspidata Lour.
58 ขี้เหล็ก Senna siamea (Lam.) H. S. Irwin & Barneby.
59 ขี้อ้าย Terminalia nigrovenulosa Pierre.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 375
พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
60 ไข่เน่า Vitex glabrata R. Br.
61 คนทา Harrisonia perforata (Blanco) Merr.
62 คนทีเขมา Vitex negundo L.
63 คนทีสอ Vitex trifolia L.
64 คราม Indigofera tinctoria L.
65 คัดเค้า Oxyceros horridus Lour.
66 คําไทย Bixa orellana L.
67 ค�ำฝอย Carthamus tinctorius L.
68 คูณ Cassia fistula L.
69 แคแดง Sesbania grandiflora (L.) Poir.
70 โคคลาน Mallotus repandus (Willd.) Müll. Arg.
71 ไคร้เครือ Aristolochia pierrei Lec.
72 ไคร้หางนาค Phyllanthus taxodiifolius Beille
73 จอกใหญ่ Pistia stratiotes L.
74 จันทน์ขาว Santalum album L.
75 จันทน์ชะมด Mansonia gagei J.R. Drumm.
76 จันทน์แดง Pterocarpus santalinus L.f.
77 จันทน์เทศ Santalum album L.
78 จันทนา Tarenna hoaensis Pit.
79 จําปา Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre
80 จิกนา Barringtonia acutangula (L.) Gaertn.
81 จิงจ้อ/จิงจ้อใหญ่ Camonea vitifolia (Burm.f.) A. R. Simões & Staples
82 จุกโรหิณี Barleria strigosa Willd.
83 เจตพังคี Cladogynos orientalis Zipp. ex Span.
84 เจตมูล/เจตมูลเพลิง/ Plumbago indica L.
เจตมูลเพลิงแดง
85 เฉียงพร้านางแอ Carallia brachiata (Lour.) Merr.
86 ชบา Hibiscus rosa-sinensis L.
87 ชะพลู/ช้าพลู Piper sarmentosum Roxb.
88 ชะลูด Alyxia reinwardtii Blume
89 ชะเอมเทศ Glycyrrhiza glabra L.
90 ชะเอมไทย Albizia myriophylla Benth.
91 ชันย้อย Hopea odorata Roxb.

376 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
92 ช้างน้าว Ochna integerrima (Lour.) Merr.
93 ชิงชี่ Capparis micracantha DC.
94 ชุมเห็ดเทศ Senna alata (L.) Roxb.
95 ชุมเห็ด/ชุมเห็ดไทย Senna tora (L.) Roxb.
96 ดอกจันทน์ Myristica fragrans Houtt.
97 ดองดึง Gloriosa superba L.
98 ดีงู/ดีงูต้น Picrasma javanica Blume.
99 ดีปลี Piper retrofractum Vahl.
100 ตองแตก Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh.
101 ตะขบ Muntingia calabura L.
102 ตะเคียน Hopea odorata Roxb.
103 ตะไคร้ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf.
104 ตะไคร้หอม Cymbopogon winterianus Jowitt ex Bor.
105 ตะบูน Xylocarpus granatum J. Koenig
106 ตะลุมพุก Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. & Sastre
107 ตานขโมย Apostasia nuda R. Br.
108 ตานด�ำ Diospyros montana Roxb.
109 ตานเสี้ยน Xantolis siamensis (H. R. Fletcher) P. Royen
110 ตานหม่อน Tarlmounia elliptica (DC.) H. Rob., S. C. Keeley, Skvarla
& R. Chan
111 ตาล/ตาลโตนด Borassus flabellifer L.
112 ตาเสือ Aphanamixis polystachya (Wall.) R. Parker
113 ตําลึง Coccinia grandis (L.) Voigt.
114 ตีนเป็ด Alstonia scholaris (L.) R. Br.
115 ตูมกาแดง Strychnos nux-blanda A. W. Hill
116 เต่าเกียด Homalomena aromatica (Spreng.).
117 แตงหนู Cucumis maderaspatanus L.
118 ถั่วทอง Vigna radiata (L.) R. Wilczek
119 ถั่วพู Psophocarpus tetragonolobus (L.) DC.
120 ถั่วแระ Cajanus cajan (L.) Huth
121 เถาคันแดง Parthenocissus quinquefolia (L.) Planch.
122 เถาวัลย์เปรียง Solori scandens (Roxb.) Sirich. & Adema.
123 ทนดี Baliospermum solanifolium (Burm.) Suresh.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 377
พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
124 ทราก/ซาก charcoal from Erythrophleum succirubrum Gagnep.
125 ทองกวาว Butea monosperma (Lam.) Kuntze
126 ทองหลางใบมน Erythrina suberosa Roxb.
127 ทะลายหมาก Areca catechu L.
128 ทับทิม Punica granatum L.
129 เทพทาโร Cinnamomum parthenoxylon (Jack) Meisn.
130 เทียนแกลบ Foeniculum vulgare Mill.
131 เทียนขาว Cuminum cyminum L.
132 เทียนข้าวเปลือก Foeniculum vulgare Mill.
133 เทียนด�ำ Nigella sativa L.
134 เทียนแดง Lepidium sativum L.
135 เทียนต้น Impatiens balsamina L.
136 เทียนตาตั๊กแตน Anethum graveolens L.
137 เทียนเยาวพาณี Trachyspermum ammi (L.) Sprague.
138 เทียนสัตตบุษย์ Pimpinella anisum L.
139 แทงทวย Mallotus plicatus (Müll. Arg.) Airy Shaw
140 นางแย้ม Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.
141 น�้ำนมราชสีห์ Euphorbia hirta L.
142 น�้ำมันงา Sesamum indicum L.
143 น�้ำอ้อย Saccharum Officinarum L.
144 เนระพูสี Pteridrys syrmatica (Willd.) C. Chr. & Ching.
145 บวบขม Trichosanthes cucumerina L.
146 บอนแดง Colocasia esculenta (L.) Schott.
147 บอระเพ็ด Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson.
148 บัวขม Nymphaea pubescens Wild.
149 บัวจงกลนี Nymphaea pubescens Willd.
150 บัวนิลุบล Nymphaea nouchali Burm. f.
151 บัวลินจง Nymphaea spp.
152 บัวสัตตบรรณ Nymphaea rubra Roxb. ex Andrews
153 บัวสัตตบุษย์ Nelumbo nucifera Gaertn.
154 บัวหลวง Nelumbo nucifera Gaertn.
155 บุก Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson.
156 บุกรอ Amorphophallus saraburensis Gagnep.

378 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
157 บุนนาค Mesua ferrea L.
158 เบญกานี Quercus infectoria G. Olivie.
159 ใบกระวาน Laurus nobilis L.
160 ใบเงิน Graptophyllum pictum (L.) Griff.
161 ใบทอง Graptophyllum pictum (L.) Griff.
162 ประดู่ Pterocarpus macrocarpus Kurz.
163 ปะค�ำไก่ Putranjiva roxburghii Wall.
164 ปีบ Millingtonia hortensis L. f.
165 เปราะหอม Kaempferia galanga L.
166 เปล้าน้อย Croton stellatopilosus H. Ohba.
167 เปล้าน�้ำเงิน Croton cascarilloides Raeusch.
168 เปล้าใหญ่ Croton persimilis Müll. Arg.
169 โปร่งฟ้า Murraya koenigii (L.) Spreng.
170 ผักกระเฉด Neptunia oleracea Lour.
171 ผักกะโฉม Limnophila rugosa (Roth) Merr.
172 ผักเค็ด Senna sophera (L.) Roxb.
173 ผักคราด Spilanthes acmella (L.) L.
174 ผักบุ้ง Ipomoea cairica var. indica Hallier f.
175 ผักเป็ดแดง Alternanthera bettzickiana (Regel) G. Nicholson.
176 ผักแพวแดง Arnebia euchroma (Royle ex Benth.) I. M. Johnst.
177 ผักแว่น Marsilea minuta L.
178 ผักเสี้ยนผี Cleome viscosa L.
179 ไผ่ Bambusa spp.
180 ไผ่ป่า Bambusa bambos (L.) Voss.
181 ฝางเสน Caesalpinia sappan L.
182 ฝ้าย Gossypium hirsutum L.
183 ฝิ่น/ฝิ่นต้น Jatropha multifida L.
184 แฝกหอม Chrysopogon zizanioides (L.) Roberty.
185 พญามือเหล็ก Strychnos lucida R. Br., Strychnos ignatii P.J. Bergius.
186 พรมมิ Bacopa monnieri (L.) Wettst.
187 พริกชี้ฟา ้ Capsicum annuum L.
188 พริกเทศ Alpinia galanga (L.) Willd.
189 พริกไทย Piper nigrum L.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 379
พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
190 พริกไทยล่อน Piper nigrum L.
191 พริกหอม Zanthoxylum piperitum (L.) DC.
192 พริกหาง Piper cubeba L. f.
193 พลู Piper betle L.
194 พันงู Achyranthes aspera L.
195 พิกุล Mimusops elengi L.
196 พิมเสนต้น Pogostemon cablin (Blanco) Benth.
197 พิลังกาสา Ardisia elliptica Thunb.
198 พิษนาศน์ Sophora exigua Craib.
199 พุงดอ Azima sarmentosa (Blume) Benth. & Hook. f.
200 เพกา Oroxylum indicum (L.) Kurz.
201 เพชรสังฆาต Cissus quadrangularis L.
202 แพงพวย Catharanthus roseus (L.) G. Don
203 ไพล Zingiber montanum (J. Koenig) Link ex A. Dietr.
204 ไฟเดือนห้า Asclepias curassavica L.
205 มดยอบ Commiphora myrrha (Nees) Engl.
206 มวกแดง Urceola rosea (Hook. & Arn.) D. J. Middleton.
207 มหากาฬ Gynura divaricata (L.) DC.
208 มหาสด�ำ Cyathea podophylla (Hook.) Copel.
209 มหาหิงคุ์/หิงคุ์/หิงคุ์ยางโพธิ์ Ferula assa-foetida L., Ferula foetida L.
210 มะกรูด Citrus hystrix DC.
211 มะกล�่ำเครือ Abrus precatorius L.
212 มะกอก Spondias pinnata (L.f.) Kurz.
213 มะขาม/ส้มมะขาม Tamarindus indica L.
214 มะขามเทศ Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.
215 มะขามป้อม Phyllanthus emblica L.
216 มะขามเปียก/ส้มมะขามเปียก Tamarindus indica L.
217 มะเขือขื่น Solanum aculeatissimum Jacq.
218 มะค�ำไก่ Putranjiva roxburghii Wall.
219 มะค�ำดีกระบือ/มะค�ำดีควาย Sapindus trifoliatus L.
220 มะงั่ว Citrus medica L.
221 มะดูก Siphonodon celastrineus Griff.
222 มะเดื่อ Ficus racemosa L.

380 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
223 มะตูม Aegle marmelos (L.) Corrêa.
224 มะตูมนิ่ม Aegle marmelos (L.) Corrêa.
225 มะทราง Madhuca pierrei (F. N. Williams) H. J. Lam
226 มะนาว Citrus x aurantiifolia (Christm.) Swingle.
227 มะปราง Bouea macrophylla Griff.
228 มะพร้าว Cocos nucifera L.
229 มะเฟือง Averrhoa carambola L.
230 มะม่วงกะล่อน Mangifera caloneura Kurz.
231 มะยม Phyllanthus acidus (L.) Skeels.
232 มะรุม Moringa oleifera Lam.
233 มะลิ Jasminum sambac (L.) Aiton.
234 มะแว้งเครือ Solanum trilobatum L.
235 มะแว้งต้น Solanum violaceum Ortega.
236 มังคุด Garcinia mangostana L.
237 โมกมัน Wrightia arborea (Dennst.) Mabb.
238 โมกหลวง Holarrhena pubescens Wall. ex G. Don
239 พันธุ์ผักกาด Brassica nigra (L.) W. D. J. Koch.
240 แมงลัก Ocimum × citriodorum Vis.
241 ไม้เท้ายายม่อม/เท้ายายม่อม Clerodendrum indicum (L.) Kuntze.
242 ไม้สัก Tectona grandis L. f.
243 ยอ Morinda citrifolia L.
244 ยาด�ำ Aloe vera (L.) Burm. f.
245 ย่านาง Tiliacora triandra (Colebr.) Diels.
246 ยาสูบ Nicotiana tabacum L.
247 รง/รงทอง Garcinia hanburyi Hook. f.
248 ระงับ/ระงับพิษ Breynia glauca Craib.
249 ระย่อม Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz.
250 รักขาว Cerbera manghas L.
251 ราชพฤกษ์ Cassia javanica L.
252 เร่ว Wurfbainia uliginosa (J. Koenig) Giseke.
253 โรกขาว Tamilnadia uliginosa (Retz.) Tirveng. & Sastre.
254 โรกแดง Dioecrescis erythroclada (Kurz) Tirveng.
255 ล�ำพัน Enhalus acoroides (L. f.) Royle.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 381
พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์

256 ล�ำโพง Datura metel L.
257 ล�ำโพงกาสลัก Datura metel L. var. fastuosa Danert.
258 ลูกเขยตาย Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC.
259 ลูกจันทน์ Myristica fragrans Houtt.
260 ลูกบิด Helicteres isora L.
261 ลูกผักขวง Glinus oppositifolius (L.) Aug. DC.
262 ลูกผักชีล้อม Oenanthe javanica (Blume) DC.
263 ลูกผักชี Coriandrum sativum L.
264 ลูกเอ็น/ผลเอ็น Elettaria cardamomum (L.) Maton.
265 เลี่ยน Melia azedarach L.
266 โลด Aporosa villosa (Lindl.) Baill.
267 โลดทะนง Trigonostemon reidioides (Kurz) Craib.
268 ว่านกีบแรด Angiopteris evecta (G. Forst.) Hoffm.
269 ว่านน�้ำ Acorus calamus L.
270 ว่านนางค�ำ Curcuma aromatica Salisb.
271 ว่านเปราะ Kaempferia galanga L.
272 ว่านร่อนทอง Ludisia discolor (Ker Gawl.) Blume.
273 สน Pinus merkusii Jungh. & de Vriese.
Pinus kesiya Royle ex Gordon.
274 สนเทศ Platycladus orientalis (L.) Franco.
275 สนุ่น Salix tetrasperma Roxb.
276 ส้มกุ้ง/ส้มกุ้งใหญ่ Ampelocissus martini Planch.
277 ส้มกุ้งน้อย Grewia sinuata Wall. ex Mast.
278 ส้มเช้า Euphorbia neriifolia L.
279 ส้มซ่า Citrus x aurantium L.
280 ส้มป่อย Senegalia rugata (Lam.) Britton & Rose.
281 สมอดีงู Terminalia citrina (Gaertn.) Roxb.
282 สมอทะเล Shirakiopsis indica (Willd.) Esser.
283 สมอเทศ Terminalia chebula Retz.
284 สมอไทย Terminalia chebula Retz.
285 สมอพิเภก Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
286 สมี Sesbania sesban (L.) Merr.
287 สมุลแว้ง Cinnamomum bejolghota (Buch. -Ham.) Sweet.

382 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
288 สลอด Croton tiglium L.
289 สลอดน�้ำ Ficus heterophylla L. f.
290 สลัดได Euphorbia antiquorum L.
291 สวาด Caesalpinia bonduc (L.) Roxb.
292 สะแกแสง Cananga brandisiana (Pierre) Saff.
293 สะค้าน Piper wallichii (Miq.) Hand. -Mazz.
294 สะเดา Azadirachta indica var. siamensis Valeton.
295 สะบ้า Entada rheedeii Spreng.
296 สะบ้ามอญ Entada phaseoloides (L.) Merr.
297 สักขี Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner.
298 สังกรณี Barleria strigosa Willd.
299 สัตตบงกช Nelumbo nucifera Gaertn.
300 สันพร้านางแอ Carallia brachiata (Lour.) Merr.
301 สันพร้าหอม Eupatorium fortunei Turcz.
302 สารพัดพิษ Sophora tomentosa L.
303 สารภี Mammea siamensis (Miq.) T. Anderson.
304 สีเสียด/สีเสียดไทย Senegalia catechu (L.f.) P. J. H. Hurter & Mabb.
305 สีเสียดเทศ Uncaria gambir (W. Hunter) Roxb.
306 เสนียด Justicia adhatoda L.
307 แสมทะเล Avicennia marina (Forssk.) Vierh.
308 แสมสาร Senna garrettiana (Craib) H. S. Irwin & Barneby.
309 โสม Panax ginseng C. A. Mey.
310 หญ้าชันกาด/ชันกาด Panicum repens L.
311 หญ้าไซ Leersia hexandra Sw.
312 หญ้าตีนนก Digitaria ciliaris (Retz.) Koeler.
313 หญ้าน�้ำดับไฟ Lindenbergia philippensis (Cham. & Schltdl.) Benth.
314 หญ้าปากควาย Dactyloctenium aegyptium (L.) Willd.
315 หญ้าฝรั่น Crocus sativus L.
316 หญ้าพันงูแดง Cyathula prostrata (L.) Blume.
317 หญ้าแพรก Cynodon dactylon (L.) Pers.
318 หนาด Blumea balsamifera (L.) DC.
319 หมีเหม็น Litsea glutinosa (Lour.) C. B. Rob.
320 หว้า Syzygium cumini (L.) Skeels.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 383
พืชวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อวิทยาศาสตร์
321 หอม/หัวหอม Allium ascalonicum L.
322 หอมแดง Eleutherine bulbosa (Mill.) Urb.
323 หัสคุณ/หัสคุณไทย/ Holarrhena curtisii King & Gamble.
สหัสคุณ/สหัสคุณไทย
324 หัสคุณเทศ/สหัสคุณเทศ Kleinhovia hospita L.
325 หางกราย Terminalia triptera Stapf
326 เห็ดมูลโค/เห็ดขี้วัว Copelandia cyanescens
327 แห้วหมู Cyperus rotundus L.
328 โหระพา Ocimum basilicum L.
329 โหราเขาเนื้อ Diplazium dilatatum Blume
330 โหราเดือยไก่ Aconitum carmichaeli Debeaux.
331 โหราท้าวสุนัข/โหราตีนหมา Balanophora abbreviata Blume.
332 โหราบอน Sauromatum giganteum (Engl.) Cusimano & Hett.
333 โหราอ�ำมฤต Tinospora cordifolia (Willd.) Hook. f. & Thomson
334 อบเชย/อบเชยไทย Cinnamomum iners (Reinw. ex Nees & T. Nees) Blume.
335 อบเชยญวน Cinnamomum loureiroi Nees.
336 อบเชยเทศ Cinnamomum verum J. Presl.
337 อ้อยช้าง Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.
338 อ้อยแดง Saccharum officinarum L.
339 อังกาบ Barleria cristata L.
340 อินทนิน Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
341 อุตพิด Typhonium trilobatum (L.) Schott.
342 เอื้องเพ็ดม้า Persicaria chinensis (L.) H. Gross

384 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ธาตุวัตถุ
ล�ำดับ ชื่อตัวยา ชื่อสามัญ ชื่อทางเคมี / ชื่อวิทยาศาสตร์
1 กระแจะตะนาว Krachae powder -
2 การบูร camphor d-camphor, dl-camphor
3 ก�ำมะถัน/ก�ำมะถันเหลือง/ sulphur sulphur
สุพรรณถัน
4 เกลือ sea salt sodium chloride
5 เกลือสมุทร sea salt sodium chloride
6 เกลือสินเธาว์ Sintao salt prepared sodium chloride
7 ขันทศกร precipitated nectar -
8 ดินประสิว crude saltpetre crude potassium nitrate
9 ดินประสิวขาว saltpetre pure potassium nitrate
10 ดีเกลือ Glauver’s salt sodium sulfate decahydrate
11 น�้ำตาลกรวด Crystalline sugar sucrose
12 น�้ำตาลทราย table sugar sucrose
13 น�้ำตาลโตนด Palmyra palm sugar sucrose
14 น�้ำประสานทอง borax sodium borate
15 น�้ำปูนใส limewater saturated calcium hydroxide
solution
16 น�้ำส้มสายชู vinegar acetic acid
17 ปูนขาว lime calcium oxide
18 ปูนแดง redlime calcium oxide
19 แป้งข้าวหมาก fermented rice flour -
20 พิมเสน Borneol camphor d-borneol, dl-borneol
21 สารส้ม ammonium alum hydrated aluminium
ammonium sulfate
22 สุรา liquor ethyl Alcohol

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 385
386 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
ภาคผนวก ๒
การเตรียมตัวยาก่อนใช้ปรุงยา
ภาคผนวก ๒
การเตรียมตัวยาก่อนใช้ปรุงยา
ยาไทย หรือ ยาแผนไทย มักใช้เป็นยาต�ำรับ ซึ่งแต่ละต�ำรับประกอบด้วยตัวยาต่าง ๆ ในการเตรียมตัวยา
เพื่อใช้ปรุงยาตามต�ำรับยานั้นมีความส�ำคัญมาก เนื่องจากตัวยาสมุนไพรหลายชนิดต้องผ่านกระบวนการบางอย่าง
ก่อนที่แพทย์ปรุงยาจะน�ำมาใช้ปรุงยาได้ ทั้งนี้เนื่องจากตัวยามีฤทธิ์แรงเกินไป ไม่สะอาด อาจมีการปนเปื้อน
ของเชื้อโรค มีปริมาณความชื้นมากเกินไป หรือมีพิษมาก จึงต้องผ่านกระบวนการประสะ สะตุ และฆ่าฤทธิ์เสียก่อน
เพื่อความปลอดภัยของผู้น�ำมาใช้
ประสะ เมื่ออยู่ในชื่อยา ค�ำประสะ มีความหมาย ๒ อย่าง คือ ท�ำให้สะอาด บริสุทธิ์ หรือมีมากขึ้น เช่น
ยาประสะน�ำ้ นม หมายถึง ยาทีท่ ำ� ให้นำ�้ นมสะอาดขึน้ อีกความหมายหนึง่ คือมีสว่ นผสมเท่ายาอืน่ ทัง้ หมด เช่น ยาประสะ
กะเพรา หมายความว่า ยานั้นมีกะเพราเท่าตัวยาอื่นทั้งหมดรวมกัน แต่ในความหมายที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวยาก่อน
น�ำไปใช้ปรุงยานัน้ ค�ำ ประสะ หมายถึง การท�ำให้พษิ ของตัวยานัน้ ลดลง เช่น ประสะยางสลัดได ยางตาตุม่ ยางหัวเข้าค่า
สะตุ ในศาสตร์ดา้ นเภสัชกรรมแผนไทย ค�ำ สะตุ อาจหมายถึง ท�ำให้ตวั ยาแห้งและมีฤทธิแ์ รงขึน้ (เช่น การสะตุสารส้ม),
ท�ำให้พิษของตัวยาลดลง (เช่น การสะตุหัวงูเห่า), ท�ำให้ตัวยาแห้งและปราศจากเชื้อ (เช่น การสะตุดินสอพอง)
หรือการท�ำให้ตัวยานั้นสลายตัวลง (เช่น การสะตุเหล็ก)
ฆ่าฤทธิ์ หมายถึง ท�ำให้ความเป็นพิษของเครื่องยาบางอย่างลดลงหรือหมดไป จนสามารถน�ำไปใช้ปรุงยา
ได้โดยไม่เป็นอันตรายกับผู้ใช้ยา มักใช้กับตัวยาที่มีพิษมาก เช่น ลูกสลอด สารหนู ปรอท ชาด หรือใช้กับตัวอย่างที่ไม่มี
พิษ เช่น ชะมดเช็ด ซึ่งเป็นการฆ่ากลิ่นฉุนหรือดับกลิ่นคาว ท�ำให้มีชะมดเช็ดมีกลิ่นหอม

สมุนไพรที่ต้องผ่านกระบวนการก่อนน�ำไปปรุงยา
2.1 กระดาดขาว
น�ำมาปิ้งไฟหรือนึ่งก่อน จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
2.2 กระดาดแดง
น�ำมาปิ้งไฟหรือนึ่งก่อน จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
2.3 กลอย
ถ้าเป็นตัวยาสด ให้หั่นเป็นแว่นบาง ๆ น�ำมาล้างน�้ำสะอาด 7 ครั้ง แล้วน�ำมาตากหรืออบให้แห้ง คั่วด้วย
ไฟอ่อน ๆ พอสุก จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.4 กัญชา
คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ พอมีกลิ่นหอม จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.5
เกลือ
น�ำเกลือล้างให้สะอาด โดยเอาเกลือใส่ในหม้อดิน เทน�้ำใส่ให้เกลือละลาย แล้วน�ำมาตั้งไฟจนแห้ง
และฟู หรือคั่วเกลือที่อุณหภูมิสูง โดยน�ำเกลือใส่ในหม้อดิน ตั้งไฟให้ความชื้นและน�้ำระเหยออกหมด จนเกลือกรอบ
จึงน�ำมาใช้ปรุงยา
388 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
2.6 เข้าค่า
วิธีที่ 1 น�ำหัวเข้าค่าใส่ในถ้วย ต้มน�้ำร้อนให้เดือด ชงกับหัวเข้าค่า ทิ้งไว้ให้เย็น ค่อย ๆ รินน�้ำทิ้ง แล้วใช้น�้ำ
เดือดชงอีกครั้ง จนหัวเข้าค่าสุก จึงน�ำไปใช้ปรุงยา
วิธีที่ 2 น�ำหัวเข้าค่าใส่ถ้วย เติมน�้ำเย็นลงไปเล็กน้อย ใช้กระทะตั้งไฟใส่น�้ำลงไป แล้วน�ำถ้วยหัวเข้าค่านั้น
ขึ้นตั้งในกระทะ ปิดฝาตุ๋น อย่าให้น�้ำในกระทะเข้าไปในถ้วย เมื่อหัวเข้าค่าสุกจึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
2.7 ไคร้
เครือ
คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้สุกจนเกือบไหม้ จึงน�ำมาปรุงยา
2.8
ชะมดเช็ด
หั่นหัวหอมหรือผิวมะกรูดให้เป็นฝอยละเอียด ผสมกับชะมดเช็ด ใส่ลงบนใบพลูหรือช้อนเงิน น�ำไปลน
ไฟเทียนจนชะมดละลายและหอม แล้วกรองเอาน�้ำชะมดเช็ดจึงน�ำมาปรุงยาได้
2.9 ดองดึง
วิธีที่ 1 น�ำไปต้มหรือนึ่ง ให้สุกทุกครั้ง แล้วผึ่งแดดหรืออบให้แห้ง จึงน�ำมาปรุงยาได้
วิธีที่ 2 น�ำไปปิ้งไฟให้พอสุก ไม่ไหม้เกรียมจนเกินไป จึงน�ำมาปรุงยาได้
วิธีที่ 3 น�ำหัวดองดึงมาล้างให้สะอาด เทน�้ำผึ้งให้ท่วม เคี่ยวในหม้อดินที่แตกแล้วจนน�้ำผึ้งงวดและแห้ง
จึงน�ำมาปรุงยาได้
วิธีที่ 4 น�ำไปพรมเหล้า แล้วน�ำไปนึ่ง จากนั้นอบให้แห้ง จึงน�ำมาปรุงยาได้
วิธีที่ 5 น�ำไปแช่น�้ำข้าว จึงน�ำมาปรุงยาได้
วิธีที่ 6 มาคั่วไฟในกระทะทองเหลือง ที่ความร้อน 120 องศาเซลเซียส จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.10
ดินประสิว
น�ำดินประสิวมาต�ำให้ละเอียดพอควรใส่ในหม้อดินประมาณ 1 ใน 3 ของหม้อดินที่ใช้สะตุ ไม่ใส่น�้ำ
ตั้งเตาถ่านใช้ไฟอ่อน ๆ ไม่ต้องปิดฝาหม้อดินรอจนดินประสิวละลายแห้งเป็นแผ่น สีขาวขุ่น ทิ้งให้เย็น จึงน�ำมาปรุงยา
2.11 ตองแตก
วิธีที่ 1 น�ำตัวยาไปคั่ว ด้วยไฟอ่อน ๆ พอสุกไม่ให้ไหม้ จึงน�ำไปปรุงยาได้
วิธีที่ 2 หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกเคล้าด้วยสุราให้ชุ่มแล้วตั้งไฟคั่วให้แห้ง จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.12 บุก
ถ้าเป็นตัวยาสด ให้หั่นเป็นแว่นบาง ๆ น�ำมาล้างน�้ำสะอาด 7 ครั้ง แล้วน�ำมาตากหรืออบให้แห้ง คั่วด้วย
ไฟอ่อน ๆ พอสุก จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.13 บุกรอ
ถ้าเป็นตัวยาสด ให้หั่นเป็นแว่นบาง ๆ น�ำมาล้างน�้ำสะอาด 7 ครั้ง แล้วน�ำมาตากหรืออบให้แห้ง คั่วด้วย
ไฟอ่อน ๆ พอสุก จึงน�ำมาปรุงยาได้

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 389
2.14 เบี้ยจั่น
วิธีที่ 1 น�ำตัวยาไปต�ำพอแหลก คั่วให้กรอบ เกือบไหม้ น�ำมาต�ำให้เป็นผงละเอียด จึงน�ำมาปรุงยาได้
วิธีที่ 2 น�ำตัวยา ใส่ในเตาถ่าน เผาจนตัวยาสุก กรอบ เป็นสีขาว น�ำมาต�ำให้ละเอียด หลังจากนั้นน�ำไปแร่ง
ด้วยแร่งเบอร์ 60 น�ำมาปรุงยาได้
2.15 เบี
้ยผู้
วิธีที่ 1 น�ำตัวยาไปต�ำพอแหลก คั่วให้กรอบ เกือบไหม้ น�ำมาต�ำให้เป็นผงละเอียด จึงน�ำมาปรุงยาได้
วิธีที่ 2 น�ำตัวยา ใส่ในเตาถ่าน เผาจนตัวยาสุก กรอบ เป็นสีขาว น�ำมาต�ำให้ละเอียด หลังจากนั้นน�ำไปแร่ง
ด้วยแร่งเบอร์ 60 น�ำมาปรุงยาได้
2.16
มดยอบ
น�ำตัวยาไปคั่ว ด้วยไฟอ่อน ๆ พอสุกกรอบ อย่าให้ไหม้ จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.17 มหาหิ
งคุ์
น�ำมหาหิงคุใ์ ส่หม้อดิน เอาใบกะเพราแดงใส่นำ�้ ต้มจนเดือด เทน�ำ้ ใบกะเพราแดงขณะร้อน ๆ ลงในหม้อดิน
ลงละลายมหาหิงคุ์ แล้วกรองให้สะอาดจึงน�ำมาปรุงยาได้
2.18 มะกอก
น�ำตัวยาไปสุม จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
2.19 มะค�
ำดีควาย
น�ำตัวยาไปสุม จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
2.๒0
รงทอง
วิธีที่ 1 น�ำรงทองมาบดเป็นผง บีบน�้ำมะกรูดใส่ลงจนปั้นได้ ห่อใบบัวหลวง ๗ ชั้น ปิ้งไฟอ่อน ๆ จนรงทอง
ละลาย ใบบัวสุกเกรียม
วิธีที่ 2 น�ำรงทองต�ำเป็นผง ห่อใบบัวหลาย ๆ ใบ มัดให้แน่น ไม่ให้รงทองรั่วออกมาได้ น�ำมาปิ้งไฟอ่อน ๆ
จนรงทองละลาย ทิ้งให้เย็น รงทองจะสุกกรอบ จึงน�ำมาท�ำยาได้ หรือ
วิธีที่ 3 น�ำรงทองต�ำเป็นผง ห่อใบข่าหลาย ๆ ใบ มัดให้แน่น ไม่ให้รงทองรั่วออกมาได้ น�ำมาปิ้งไฟอ่อน ๆ
จนรงทองละลาย ทิ้งให้เย็น รงทองจะสุกกรอบ จึงน�ำมาท�ำยาได้
2.21 ระย่อม
แช่น�้ำซาวข้าว 3-๔ ชั่วโมง หรือพรมเหล้า แล้วน�ำใส่กระทะคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ให้สุกเหลือง ไม่ให้ไหม้
2.22 ส้มป่อย (ฝัก)

น�ำมาปิ้งไฟ จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้

390 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


2.23 สมอทะเล (ใบ)
น�ำใบสมอทะเลไปนึ่ง ตาก หรืออบให้แห้ง จึงจะน�ำมาใช้ปรุงยาได้ ส่วนกรณียาต้ม ใช้ใบสดได้โดย
ไม่ต้องนึ่ง
2.24 สลัดได
วิธีที่ 1 น�ำยางสลัดไดใส่ในถ้วยทนความร้อน ต้มน�้ำร้อนให้เดือด ชงลงในถ้วยยาง กวนให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้เย็น
ค่อย ๆ รินน�้ำทิ้ง ท�ำแบบนี้ 7 ครั้ง จนน�้ำยางสุก เอาน�้ำยางมาผึ่งให้แห้ง จึงน�ำมาปรุงยาได้
วิธีที่ ๒ น�ำยางสลัดไดใส่ถ้วยทนความร้อน นึ่งในกระทะที่มีน�้ำ ใช้ไฟปานกลางปิดฝากระทะไม่ต้องปิดฝา
ถ้วยน�้ำยางนึ่งแบบไข่ตุ๋น ระวังอย่าให้น�้ำในกระทะกระเด็นลงในถ้วยยาง นึ่งจนยางสุก น�ำยางไปผึ่งแดดให้แห้งแล้ว
น�ำมาย่างด้วยไฟอ่อน ๆ จึงน�ำมาปรุงยาได้
วิธีที่ 3 น�ำต้นสลัดได หั่นเป็นชิ้น แล้วตากให้แห้ง จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.25 สะบ้ามอญ

น�ำตัวยาไปสุมกับไฟ จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
2.26 สัก
น�ำตัวยาไปสุมกับไฟ จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้ ถ้าใส่ยาต้ม ไม่ต้องสุมไฟ
2.27 สารส้ม
สารส้มที่ใช้ทางยานั้น มักจะน�ำมาสะตุก่อนใช้ เรียก สารส้มสะตุ หรือ สารส้มสุทธิ โดยน�ำสารส้มมาบด
ให้ละเอียด ใส่ในหม้อดินหรือกระทะเหล็ก ตั้งไฟจนสารส้มฟูและมีสีขาว แล้วจึงยกลงจากไฟ ทิ้งให้แห้ง
2.28 สีเสียดเทศ
ถ้าใส่ยาผงทุบเป็นก้อนเล็ก ๆ คั่วด้วยไฟอ่อน ๆ ไม่ให้ไหม้ จึงน�ำมาปรุงยา ถ้าเข้ายาภายนอกไม่ต้องสะตุ
2.29 หอยขม
1) น�ำตัวยาใส่ในหม้อดินประมาณครึ่งหม้อ ปิดฝาตั้งไฟถ่าน ใส่ถา่ นให้เต็มเตาใช้ไฟแรง รอจนถ่านมอด
ทิ้งให้เย็น เปิดดูเปลือกหอย จะขาวกรอบ ใช้มือหักได้
2) ถ้ายังไม่สุกขาวกรอบให้สุมอีกรอบ ใส่ถา่ นให้เต็มเตา ใช้ไฟแรงเปลือกหอยจะสุก ขาวกรอบน�ำมาต�ำ
ให้ละเอียด แร่งด้วยแร่ง เบอร์ 60 จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.30 หอยแครง
1) น�ำตัวยาใส่ในหม้อดินประมาณครึ่งหม้อ ปิดฝาตั้งไฟถ่าน ใส่ถา่ นให้เต็มเตาใช้ไฟแรง รอจนถ่านมอด
ทิ้งให้เย็น เปิดดูเปลือกหอย จะขาวกรอบ ใช้มือหักได้
2) ถ้ายังไม่สุกขาวกรอบให้สุมอีกรอบ ใส่ถา่ นให้เต็มเตา ใช้ไฟแรงเปลือกหอยจะสุก ขาวกรอบ น�ำมาต�ำ
ให้ละเอียด แร่งด้วยแร่ง เบอร์ 60 จึงน�ำมาปรุงยาได้

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 391
2.31 หัสคุณเทศ
วิธีที่ 1 น�ำตัวยาไปคั่ว จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
วิธีที่ 2 หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกเคล้าด้วยสุราให้ชุ่ม แล้วตั้งไฟคั่วให้แห้ง จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.32
หัสคุณไทย
วิธีที่ 1 น�ำตัวยาไปคั่ว จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
วิธีที่ 2 หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกเคล้าด้วยสุราให้ชุ่ม แล้วตั้งไฟคั่วให้แห้ง จึงน�ำมาปรุงยาได้
2.33
โหราเดือยไก่
น�ำมานึ่งก่อน จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
2.34 โหราเท้าสุนัข
น�ำมานึ่งก่อน จึงน�ำไปใช้ปรุงยาได้
2.35 อุตพิด
ถ้าเป็นตัวยาสด ให้หั่นเป็นแว่นบาง ๆ ล้างน�้ำสะอาด 7 ครั้ง แล้วน�ำมาตากหรืออบให้แห้งคั่วด้วยไฟ
อ่อน ๆ พอสุก จึงน�ำมาปรุงยาได้
ถ้าเป็นตัวยาแห้ง ให้หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นน�ำมาคั่วในกระทะให้เหลือง จึงสามารถน�ำมาใช้ปรุงยาได้

392 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาคผนวก ๓
วิธีการปรุงยา
ภาคผนวก ๓ วิธีการปรุงยา
3.1 ยาต้ม (decoction)
เป็นรูปแบบการปรุงยาแผนโบราณที่แพทย์แผนไทยนิยมใช้กันมากรูปแบบหนึ่ง การปรุงยารูปแบบนี้
มีการจัดเตรียมตัวยาได้ทั้งสดและแห้ง น�ำตัวยาหลากหลายชนิดมาประสมกัน ต้มเดือด หรือเคี่ยว รินกินน�้ำ
โดยทั่วไปโบราณจะใช้หม้อดินเผาใหม่ ๆ ต้มยา ไม่ใช้หม้อที่ท�ำด้วยโลหะต่าง ๆ เช่น หม้อทองแดง หม้ออะลูมิเนียม
เพราะท�ำให้ฤทธิ์ของยาเปลี่ยนไป หรือมีโลหะปนเปื้อนยา ปัจจุบันนิยมใช้หม้อสเตนเลส หรือหม้อเคลือบตั้งต้ม
บนเตาแก๊ส ไม่ใช้หม้อดินเพราะแตกง่ายเนื่องจากไม่มียางฟืนผสานก้นหม้อ
เครื่องยาที่น�ำไปใช้ตามต�ำรับนั้นต้องท�ำความสะอาดโดยการปัดฝุ่น ล้างน�้ำ น�ำไปผึ่งลมให้แห้ง แล้ว
ย่อยขนาดให้เหมาะสมส�ำหรับต้มให้น�้ำซึมซาบไปในเนื้อตัวยาและดึงตัวยาส�ำคัญออกมาได้ แล้วน�ำตัวยาไปใส่
ในหม้อต้มขนาดพอเหมาะ เติมน�้ำพอท่วมยา น�ำตั้งเตาต้มให้เดือดด้วยไฟกลางประมาณ 15 นาที ดับไฟยกหม้อลง
จากเตา รินเอาน�้ำดื่ม รูปแบบยาต้มแบ่งออกเป็น 4 วิธี ได้แก่
3.1.1 ยาต้ม วิธีที่ 1 การต้มให้เดือดด้วยไฟแรงก่อนแล้วลดอุณหภูมิลงโดยใช้ไฟอ่อน ๆ ต้มต่อไปอีก
10-15 นาที กรองเอาส่วนที่เป็นน�้ำมาดื่ม
3.1.2 ยาต้ม วิธีที่ 2 การต้มเคี่ยวด้วยไฟอ่อน คือ การต้มโดยใช้ไฟอ่อน ๆ ใช้เวลาในการต้มประมาณ
20-30 นาที กรองเอาแต่ส่วนที่เป็นน�้ำมาดื่ม
3.1.3 ยาต้ม วิธีที่ 3 ยาต้มเคี่ยวไฟกลาง ต้มสามเอาหนึ่ง คือ เติมน�้ำใส่ตัวยาสามส่วนต้มให้เหลือน�้ำ
เพียงหนึ่งส่วน รินเอาแต่น�้ำเก็บไว้ วิธีการต้มแบบนี้นิยมใช้กับต�ำรับยาเล็ก ๆ ส่วนต�ำรับยาที่มีตัวยาประสมมาก ๆ นิยม
น�ำยามาต้มซ�้ำแบบเดิม 3 ครั้ง น�ำเอาน�้ำยาทั้งหมดมารวมกันแบ่งเอาแต่น�้ำดื่ม
3.1.4 ยาต้ม วิธีที่ 4 การต้มยาในระดับอุตสาหกรรม การต้มให้เดือดด้วยไฟแรงก่อนแล้วลดอุณหภูมิลง
โดยใช้ไฟอ่อน ๆ ต้มต่อไปอีก 10-15 นาที กรองเอาส่วนที่เป็นน�้ำ แล้วให้เติมน�้ำต้มสุกปรับเพิ่มปริมาตรยาเท่ากับ
ปริมาตรน�้ำเริ่มต้น
กระบวนการผลิตยาต้ม
1. น�ำเครื่องยาที่ใช้ตามต�ำรับยามาท�ำความสะอาด ด้วยการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากตัวยาที่
ไม่สามารถล้างด้วยน�้ำได้ และคัดแยกสิ่งที่ปนเปื้อนมากับตัวยา เช่น น�ำไปล้างน�้ำท�ำความสะอาด
เอาดิน ฝุ่นผง และสิ่งสกปรกอื่น ๆ ออกจากตัวยา น�ำตัวยาที่คัดแยกเอาสิ่งแปลกปลอมและปนเปื้อน
ออกเรียบร้อยแล้วน�ำตัวยาไปผึ่งลมให้แห้ง
2. ย่อยขนาดของสมุนไพรให้มีขนาดพอเหมาะส�ำหรับต้ม เพื่อให้น�้ำสามารถซึมซาบเข้าไปในตัวยา
และดึงเอาสารส�ำคัญออกมาได้
3. น�ำเครื่องยาปริมาณตามต�ำรับยามาต้มน�้ำในระยะเวลาที่ก�ำหนดไว้ในแต่ละต�ำรับ
3.1 กรณียาต้ม วิธีที่ 1 ให้เติมน�้ำพอท่วม (โดยใช้มือกดบนยาเบา ๆ ให้ตัวยาจมอยู่ใต้น�้ำและให้น�้ำ
ท่วมหลังมือ) น�ำไปตั้งบนเตา ต้มจนเดือดด้วยไฟกลาง แล้วลดอุณหภูมิลงโดยใช้ไฟอ่อน ๆ
ต้มต่อไปอีก 10-15 นาที จึงยกหม้อลงจากเตา รินเอาน�้ำแต่น�้ำดื่ม
3.2 กรณียาต้ม วิธีที่ 2 เติมน�้ำให้ท่วมยา ตั้งไฟต้มเคี่ยวจนเหลือน�้ำครึ่งหนึ่ง

394 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


3.3 กรณียาต้ม วิธีที่ 3 ให้ประมาณจากน�้ำที่ใส่ลงไป เช่น หากใส่น�้ำลงไป 3 ถ้วย ให้ต้มเคี่ยวจนได้
น�้ำยาประมาณ 1 ถ้วย
3.4 กรณียาต้ม วิธีที่ 4 ให้เติมน�้ำตามปริมาตรที่ก�ำหนดในสูตรต�ำรับ น�ำไปตั้งบนเตา ต้มจนเดือด
ด้วยไฟกลาง แล้วลดอุณหภูมิลงโดยใช้ไฟอ่อน ๆ ต้มต่อไปอีก 10-15 นาที จึงยกหม้อลง
จากเตา หลังกรองแยกกากและบีบกากแล้ว ให้เติมน�ำ้ ต้มสุกปรับเพิม่ ปริมาตรยาเท่ากับปริมาตร
น�้ำเริ่มต้น
4. กรองแยกกากออกด้วยผ้าขาวบางจะได้ส่วนยาน�้ำที่ผ่านการกรอง
5. สารปรุงแต่งในต�ำรับ (ถ้ามี)
5.1 สารปรุงแต่งที่เป็นของแข็ง เช่น การบูร พิมเสน ดีเกลือ ให้แทรกละลายน�้ำยาที่ได้จากข้อ 4
5.2 สารปรุงแต่งที่เป็นของเหลว เช่น น�้ำผึ้ง ให้แทรกผสมกันกับยาน�้ำที่ได้จากข้อ 4
6. บรรจุยาลงในภาชนะที่เหมาะสม
3.2 ยาผง
ยาผง (powder) เป็นยาเตรียมแผนโบราณรูปแบบหนึ่ง ยาเตรียมแบบนี้อาจใช้กินโดยตรง แล้วดื่มน�้ำ
ตามมาก ๆ หรืออาจแทรกด้วยกระสายบางอย่าง เพื่อช่วยให้กินยาได้ง่ายขึ้น การเตรียมยาผงอาจท�ำได้โดยการ
น�ำตัวยาต่าง ๆ ตามชนิดและปริมาณ/ปริมาตรที่ระบุหรือก�ำหนดไว้ในต�ำรับยามาผสมกัน จากนั้นน�ำยาที่ได้ไปบด
ให้ละเอียดโดยใช้เครื่องมือส�ำหรับบดยาชนิดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม หรือน�ำไปบดด้วยเครื่องบดยาสมุนไพร
ที่ใช้กระแสไฟฟ้า จากนั้นน�ำผงยาที่ได้ไปแร่งผ่านตะแกรงหรือแร่งที่เหมาะสม โดยทั่วไปมักใช้แร่งเบอร์ 100,
เบอร์ 80 หรือ เบอร์ 60 จนได้ยาผงที่มีขนาดตามต้องการ
กระบวนการผลิตยาผง
1. การท�ำให้แห้งก่อนน�ำไปย่อยขนาด มีหลักการปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.1 ต้องท�ำความสะอาดวัตถุดิบสมุนไพรอย่างเหมาะสม จากนั้ให้น�ำเข้าสู่กระบวนการท�ำให้แห้ง
โดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการเน่า และเพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์
1.2 ควรมีการย่อยขนาดให้เหมาะสมเท่า ๆ กัน ก่อนน�ำไปท�ำให้แห้ง
1.3 ไม่วางสมุนไพรซ้อนกันจนหนาเกินไป และควรเกลี่ยชิ้นส่วนของสมุนไพรให้สม�่ำเสมอ
1.4 ใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมกับชนิดและส่วนของสมุนไพร เพื่อคงกลิ่น รส สารส�ำคัญของสมุนไพรไว้
1.5 บริเวณที่ปฏิบัติงานควรสะอาด ถูกสุขลักษณะ มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ลดการปนเปื้อนของ
เชื้อจุลินทรีย์
2. การย่ อ ยขนาดหรื อ การบดผง เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ มี อ ยู ่ ห ลายประเภท เช่ น เครื่ อ งบดแบบค้ อ น
(hammer mill) เครื่องบดแบบตัด (cutting mill) ซึ่งใช้ในการย่อยขนาดของสมุนไพรแห้งและสมุนไพรสดตามล�ำดับ
นอกจากเครื่องมือที่ใช้การย่อยขนาดแล้ว ยังต้องค�ำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
2.1 สมุนไพรที่น�ำไปย่อยต้องถูกชนิด ถูกส่วน สะอาด ไม่มีหิน ดิน และทรายปนเปื้อน
2.2 มีการลดความชื้นของสมุนไพรเพื่อให้ย่อยขนาดได้ง่าย ไม่เหนียว เช่น มีความชื้นน้อยกว่า
ร้อยละ 5 ของสมุนไพรแห้ง จะท�ำให้บดสมุนไพรได้ง่ายขึ้น
2.3 ในกรณีที่ต้องการผงยาสมุนไพรละเอียดมาก ไม่ควรบดสมุนไพรให้ละเอียดทั้งหมดในครั้งเดียว
แต่ควรมีการแร่งเป็นระยะ ๆ กล่าวคือ เริ่มแร่งจากแร่งเบอร์เล็กก่อน จากนั้นน�ำไปบดซ�้ำและ
เปลี่ยนเป็นแร่งเบอร์ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนได้ขนาดที่ต้องการ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 395
2.4 สมุนไพรที่มีเส้นใยสูง เช่น เถาวัลย์เปรียง ควรตัดหรือสับให้มีขนาดเล็กลงก่อน แล้วจึงน�ำไปบด
ด้วยเครื่องบด
2.5 ในกรณีที่ต้องบดสมุนไพรหลายชนิดรวมกัน เช่น ในสูตรต�ำรับยาหอม ให้ใส่สมุนไพรที่บดยาก
ลงไปบดก่อน
2.6 อัตราการป้อนสมุนไพรเข้าเครื่องบดต้องสัมพันธ์กับความสามารถในท�ำงานของเครื่อง
2.7 การบดสมุนไพรที่ละเอียดมากอาจเกิดความร้อนขึ้นได้ง่าย จึงควรหยุดพักการท�ำงานของ
เครื่องเป็นช่วง ๆ หรือหาวิธีการลดความร้อนที่เหมาะสม
2.8 ถ้าในสูตรต�ำรับมีตัวยาสมุ นไพรหลายชนิ ด ต้ อ งท� ำ ให้ ตัวยาสมุ นไพรแต่ ล ะชนิ ด กระจาย
อย่างสม�ำ่ เสมอก่อนน�ำไปบรรจุ หากใช้วธิ บี ดพร้อมกัน ต้องบดให้ละเอียด มีขนาดเท่ากันทัง้ หมด
ไม่ มี ส ่ ว นใดเหลื อ ในกรณี ที่ แ ยกบด ต้ อ งบดผ่ า นแร่ ง ที่ มี ข นาดเดี ย วกั น และน� ำ ไปผสม
ในเครื่องผสมในเวลาที่เหมาะสมจนผงยาเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งนี้ให้ศึกษาการกระจายตัวของ
ผงยาสมุนไพรในวิธีการที่ผลิตด้วย
2.9 บริเวณที่บดสมุนไพร ต้องมีการควบคุมสุขลักษณะที่ดีเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์
2.10 บุคลากรที่ปฏิบัติงานจะต้องผ่านการฝึกอบรมทั้งด้านการปฏิบัติการเภสัชกรรมที่ดี และ
ความปลอดภัยในโรงงาน เนื่องจากต้องท�ำงานกับเครื่องจักรกล
3. การบรรจุ
3.1 ห้องที่ท�ำการบรรจุต้องสะอาด มีการควบคุมความชื้น และการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ถ้าเป็นไปได้
ควรบรรจุในห้องที่มีการควบคุมความดันอากาศเป็นบวก
3.2 เครื่องบรรจุมีความเหมาะสมในการบรรจุผงยาสมุนไพรสู่ซองหรือภาชนะบรรจุได้ตามปริมาณ
ที่ก�ำหนดไว้
3.3 ยาเม็ด
ยาเม็ด (tablet) เป็นยาเตรียมรูปแบบหนึ่ง ต�ำราเภสัชกรรมแผนโบราณของไทยให้วิธีการปรุงยา
เตรียมรูปแบบนี้ไว้รวมกับยาผงว่า เตรียมจาก “ยาตากแห้งประสมแล้ว บดเป็นผงละเอียด ปั้นเม็ดหรือใช้ในรูปยาผง”
การท�ำยาเม็ดแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่ การใช้แบบพิมพ์ด้วยมือ และการใช้เครื่องตอกยาเม็ด
3.3.๑ การใช้แบบพิมพ์ด้วยมือ
การท�ำยาเม็ดด้วยวิธีนี้ จะต้องเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อน โดยการน�ำแบบพิมพ์ยาเม็ด
และกระจกแผ่นใสวางลงในกะละมังขนาดใหญ่ เทราดด้วยน�้ำเดือดจนทั่ว เช็ดให้แห้งสนิทด้วยผ้าสะอาด ใช้ส�ำลีชุบ
แอลกอฮอล์ เช็ดซ�้ำอีกครั้งหนึ่ง ทิ้งให้แอลกอฮอล์ระเหยก่อนน�ำไปใช้พิมพ์ยาเม็ด จากนั้นวางกระจกแผ่นใสบนโต๊ะ
แล้ววางแบบพิมพ์ยาเม็ดลงบนแผ่นกระจกใส
อุปกรณ์
1. แบบพิมพ์ยาเม็ด (แบบทองเหลือง)
2. แผ่นกระจกใส 1 แผ่น
3. กาต้มน�้ำ
4. ผ้าผืนเล็ก
5. ถาดใส่ยาเม็ด
6. แป้งมัน

396 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


7. กะละมัง
8. แอลกอฮอล์
9. ส�ำลี
กระบวนการผลิตยาเม็ดแบบพิมพ์ด้วยมือ
๑. กวนแป้งมันกับน�้ำเดือดให้เป็นแป้งเปียกใส น�ำผงยามาคลุกเคล้ากับแป้งเปียกใสในสัดส่วนที่
พอเหมาะจนเข้ากันดี
2. น�ำผงยาที่ผสมกันแล้วมาแผ่บนแผ่นกระจก แล้วน�ำแบบพิมพ์ยาเม็ดกดลงบนยา
3. กดยาที่พิมพ์แล้วออกจากแบบพิมพ์ยาเม็ด ใส่ถาดที่เตรียมไว้
4. น�ำไปตากแดดจัด หรือเข้าตู้อบไฟฟ้าซึ่งตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 50-55 องศาเซลเซียส นานราว 5-6 ชั่วโมง
5. น�ำยาเม็ดที่ได้เก็บใส่ขวดโหลแก้วที่สะอาด ปิดฝาให้มิดชิด
3.3.2 การใช้เครื่องตอกยาเม็ด
ยาเม็ดตอกอัด (compressed tablet) เป็นรูปแบบยาเตรียมที่ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้นำ� มาใช้กบั ยาแผนไทยได้ เพือ่ พัฒนายาแผนไทยให้มมี าตรฐาน ง่ายต่อการตรวจสอบ
และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในการผลิตยาเม็ดตอกอัดนั้น จ�ำเป็นต้องมีส่วนผสมอื่นนอกจากองค์ประกอบอันเป็น
ตัวยาส�ำคัญ ได้แก่ สารท�ำเจือจาง (diluent), สารยึดเกาะ (binder), สารช่วยไหล (glidant), สารหล่อลื่น (lubricant),
สารต้านการยึดติด (antiadherent), สารช่วยแตกตัว (disintegrant), สารลดแรงตึงผิว (surfactant) และสารดูดซับ
(adsorbent)
กระบวนการผลิตยาเม็ดตอกอัดด้วยเครื่องตอกยาเม็ด มี 2 วิธี คือ
1. การตอกโดยตรง (direct compression) มีขั้นตอนดังนี้
1.1 น�ำผงยาและสารช่วยต่าง ๆ ในต�ำรับยาผ่านแร่งความละเอียดอย่างน้อย เบอร์ 80 ชั่ง
ตามสูตรต�ำรับ
1.2 ผสมผงยาและสารช่วยทั้งหมดเข้าด้วยกัน
1.3 น�ำไปตอกด้วยเครื่องตอกยาเม็ด ได้เป็นยาเม็ดออกมา
1.4 น�ำไปบรรจุภาชนะ
2. ตอกยาเม็ดด้วยการท�ำแกรนูล (granulation) มีขั้นตอนดังนี้
2.1 น�ำผงยา และสารช่วย เช่น สารท�ำเจือจาง, สารช่วยแตกตัว ผสมแห้งด้วยเครื่องผสมให้เข้า
เป็นเนื้อเดียวกัน
2.2 เตรียมสารละลายสารยึดเกาะตามสูตรต�ำรับ ผสมเปียกในสารผสมข้อ 2.1 จนได้เป็นสาร
ที่จับตัวกันเป็นก้อน
2.3 น�ำมาแร่งเปียกด้วยเครื่องแร่งเปียก ได้เป็นแกรนูลเปียก
2.4 น�ำแกรนูลเปียกมาอบแห้งด้วยตู้อบไฟฟ้าจนได้เป็นแกรนูลแห้ง
2.5 น�ำแกรนูลแห้งมาแร่งแห้ง และผสมสารช่วย เช่น สารช่วยไหล สารต้านการยึดติด สารหล่อลื่น
ให้เข้ากัน
2.6 น�ำสารผสมที่ได้ในข้อ 2.5 ตอกด้วยเครื่องตอกยาเม็ดได้เป็นยาเม็ดออกมา
2.7 น�ำไปบรรจุภาชนะ

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 397
3.4 ยาลูกกลอน
ยาลูกกลอน (pill) เป็นยาเตรียมที่มีรูปร่างกลม อาจท�ำจากผงยาชนิดเดียวหรือผงตัวยาหลายชนิด
ที่ผสมปรุงตามต�ำรับยา โดยมีน�้ำกระสายยาท�ำให้ผงยาเกาะติดกัน เช่น น�้ำต้มสุก น�้ำผึ้ง น�้ำแป้ง น�้ำข้าวเช็ด น�้ำมะกรูด
น�้ำเปลือกมะรุม โดยทั่วไปนิยมใช้ น�้ำผึ้ง ต�ำรายาแผนโบราณไทยให้วิธีการปรุงยาเตรียมรูปแบบนี้ไว้ว่า “ยาตากแห้ง
ประสมแล้ว บดเป็นผงละเอียด ปั้นเป็นลูกกลอน”
องค์ประกอบในการผลิตยายาลูกกลอน
การผลิตยาลูกกลอนให้ได้คุณภาพต้องค�ำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้
1. ผงยาสมุนไพร คุณลักษณะของผงยาสมุนไพรแต่ละชนิดมีความส�ำคัญต่อการผลิตยาลูกกลอน
แตกต่างกัน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
1.1 ลักษณะผงยาสมุนไพรที่จะท�ำให้ผลิตยาลูกกลอนได้ดี จะต้องเป็นผงยาสมุนไพรที่ละเอียด
ผ่านแร่งขนาดเบอร์ 60-100
1.2 คณ ุ ลักษณะเฉพาะตัวของสมุนไพรทีใ่ ช้มผี ลต่อการผลิตยาลูกกลอน เช่น ถ้าส่วนของสมุนไพรนัน้
มีแป้งอยู่เป็นจ�ำนวนมาก เช่น เหง้าของขมิ้น ไพล เปราะหอม รากระย่อมน้อย ผลกล้วย
เมล็ดเทียนต่าง ๆ จะท�ำให้การผลิตยาลูกกลอนท�ำได้ง่าย เนื่องจากสมุนไพรมีการเกาะตัวกัน
ได้ดี ท�ำให้ปั้นเป็นลูกกลอนได้สะดวก ไม่ต้องใช้สารยึดเกาะจ�ำนวนมาก แต่ถ้ามีส่วนผสม
ของเปลือก แก่น ใบ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีแป้ง จะมีปัญหาการไม่เกาะตัวของสมุนไพร ท�ำให้ปั้นเม็ด
ได้ยาก ซึ่งอาจแก้โดยบดผงยาสมุนไพรให้ละเอียดขึ้น และใช้สารยึดเกาะช่วยในปริมาณ
ที่เหมาะสม เพราะอาจท�ำให้เกิดปัญหาการไม่แตกตัวหรือแตกตัวช้าของยาลูกกลอน
2. สารยึดเกาะ สารยึดเกาะที่ใช้ในการผลิตยาลูกกลอนนิยมใช้น�้ำผึ้งหรือน�้ำผึ้งเทียม
น�้ำผึ้ง เป็นของเหลว เหนียว ใส สีเหลือง หรือเหลืองปนน�้ำตาล หนักกว่าน�้ำ คือมีน�้ำหนัก 1.3-1.5
กิโลกรัมต่อปริมาตร 1 ลิตร น�้ำผึ้งเป็นผลิตผลจากน�้ำหวานของดอกไม้ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของน�้ำผึ้ง ได้แก่
แหล่งผลิตและฤดูกาล แต่โดยทั่วไป น�้ำผึ้งแท้ประกอบด้วยน�้ำตาลอินเวิร์ต (invert sugar) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 65
มีน�้ำตาลซูโครส (sucrose) น้อยมาก ไม่เกินร้อยละ 10 นอกจากนี้ ยังมีน�้ำตาลเดกซ์โทรส (dextrose) และฟรักโทส
(fructose) ในปริมาณใกล้เคียงกัน
น�้ำผึ้งเทียม ส่วนผสมของน�้ำผึ้งเทียมส่วนใหญ่ คือ น�้ำตาลแบะแซ หรือ น�้ำเชื่อมกลูโคส (glucose
syrup) ได้มาจากการย่อยแป้งมันส�ำปะหลังหรือแป้งข้าวโพดได้เป็นน�้ำตาลกลูโคสชนิดหนึ่ง บางชนิดมีแป้งผสมอยู่
ซึ่งจะช่วยท�ำให้การเกาะตัวดีขึ้น แต่มีข้อเสียคือ เก็บได้ไม่นานเมื่อเทียบกับน�้ำผึ้ง เกิดการบูด มีกลิ่นเปรี้ยว นอกจากนี้
ยาลูกกลอนที่ใช้น�้ำผึ้งเทียมในการยึดเกาะ จะคงตัวไม่ได้นาน และขึ้นราได้ง่าย
นอกจากนี้ อาจใช้น�้ำเชื่อมและแป้งเปียกเป็นส่วนช่วยสารยึดเกาะได้อีกด้วย
3. เครื่องมือการผลิต เครื่องมือที่ใช้ผลิตยาลูกกลอนขึ้นอยู่กับขนาดของการผลิต ตั้งแต่ระดับครัวเรือน
จนถึงระดับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยทั่วไปประกอบด้วย เครื่องมืออย่างน้อย 4 เครื่อง ได้แก่
- เครื่องผสม
- เครื่องรีดเส้น
- เครื่องตัดเม็ด
- เครื่องปั้นเม็ด ที่มีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ เครื่องกลิ้งเม็ดให้กลม หม้อเคลือบ และ
เครื่องอบแห้ง

398 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


กระบวนการผลิตยาลูกกลอน
1. เตรียมเครื่องมือให้สะอาดอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2. เตรียมส่วนผสมให้เป็นไปตามสูตรต�ำรับ
3. เตรียมผงยาสมุนไพรก่อนการผลิตให้เหมาะสม เช่น การท�ำความสะอาด การท�ำให้แห้ง การย่อยขนาด
และการผสมให้เข้ากัน
4. ผลิตตามรูปแบบของเครือ่ งมือการผลิตของแต่ละสถานทีผ่ ลิต โดยยึดแนวทางการท�ำให้ได้ยาลูกกลอน
ที่ดี ซึ่งมีข้อควรระวังในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
4.1 การผสมเปียก ต้องมีความระมัดระวังรอบคอบทุกขัน้ ตอน การผสมให้เป็นเนือ้ เดียวกันขึน้ อยูก่ บั
เครื่องมือ สารยึดเกาะที่ใช้ และระยะเวลาใช้ผสม
4.2 การรีดเส้น ต้องรีดเส้นให้มีความหนาแน่นของเนื้อยาสม�่ำเสมอ เพื่อให้ได้เม็ดยาที่มีขนาด
ใกล้เคียงกันเมื่อน�ำไปตัดเม็ด
4.3 การตัดเม็ด
4.4 การปั้นเม็ดกลม
4.5 การกลิ้งเม็ดให้กลม นิยมใช้แป้งข้าวโพดหรือผงยาโปรยลงไปในบริเวณที่กลิ้งเม็ดยาเพื่อไม่ให้
ยาลูกกลอนติดกัน
4.6 การอบแห้ง ต้องอยู่ในมาตรฐานที่ก�ำหนด
4.7 การเคลือบ ซึ่งต้องมีความช�ำนาญอย่างมาก เพื่อไม่ให้ความชื้นในเม็ดยาออกมาข้างนอก
และไม่ให้ความชื้นจากข้างนอกเข้าไปในเม็ดยาลูกกลอน ทั้งยังท�ำให้เม็ดยาลูกกลอนเงางาม
น่ากิน

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 399
ขั้นตอนการผลิตยาลูกกลอน

การเตรียมสมุนไพร
1. ท�ำความสะอาด
2. ท�ำให้แห้ง
3. ย่อยขนาด

การผสมเปียก
ผสมผงสมุนไพรต่าง ๆ กับสารยึดเกาะ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

การปั้นลูกกลอน

วิธีที่ 1. การใช้มือปั้นและ วิธีที่ 2. การใช้เครื่องรีดเส้น วิธีที่ 3. การใช้เครื่องผลิต


ใช้รางไม้ปั้นลูกกลอน และเครื่องตัดเส้น ลูกกลอนอัตโนมัติ
1. ปั้นเส้นยา 1. รีดเส้นยา
2. ตัดเส้นยาด้วยรางไม้ 2. ตัดเส้นยาเป็น
ปั้นลูกกลอน เม็ดลูกกลอน

3.5
ยาประคบ
ยาประคบเป็นยาเตรียมแผนโบราณรูปแบบหนึ่ง ต�ำราโบราณให้วิธีการปรุงยาเตรียมรูปแบบนี้ไว้ว่า
เตรียมจาก “ยาสดหรือแห้ง ประสมแล้ว ท�ำเป็นลูกประคบ” โดยการน�ำสมุนไพรหลายชนิดที่เป็นสมุนไพรสด
หรือสมุนไพรแห้ง ผ่านกระบวนการท�ำความสะอาด น�ำมาหั่นให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ น�ำไปต�ำให้พอแหลก
ก่อนน�ำไปบรรจุรวมกันในผ้าให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์และต�ำแหน่งที่ต้องการใช้ลูกประคบ เช่น
รูปทรงกลมใช้ประคบส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และทรงหมอน เพื่อใช้นาบบริเวณที่ต้องการ
ยาประคบ ใช้ประคบส่วนต่าง ๆ ของร่างกายควบคู่กับการนวดแผนไทย เพื่อรักษาและบรรเทาอาการ
เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยสมุนไพรและความร้อนจากลูกประคบนั้น ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
ท�ำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ แก้ปวดเมื่อย และยังท�ำให้รู้สึกสดชื่น
จากกลิ่นหอมของน�ำ้ มันหอมระเหยอีกด้วย

400 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


อุปกรณ์ที่ใช้ในการท�ำลูกประคบ
1. ผ้าส�ำหรับห่อสมุนไพรลูกประคบ ต้องเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบที่มีเนื้อแน่นพอดี สามารถป้องกันไม่ให้
สมุนไพรร่วงออกมาจากผ้าได้
2. เชือกส�ำหรับมัดผ้าห่อลูกประคบ
3. สมุนไพรที่ใช้ต้องผ่านการท�ำความสะอาด ไม่มีเชื้อรา และต้องมีสมุนไพร 4 กลุ่มหลัก ดังนี้
3.1 กลุ่มสมุนไพรที่มีน�้ำมันหอมระเหย เช่น ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ มะกรูด
3.2 กลุ่มสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เช่น ใบมะขาม ใบส้มป่อย
3.3 กลุ่มสารแต่งกลิ่นหอม เช่น การบูร พิมเสน
3.4 เกลือมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ และแก้อาการอักเสบได้ มีสมบัติดูดความร้อนท�ำให้ตัวยาสมุนไพรซึมได้
เร็วขึ้น
กระบวนการผลิตลูกประคบ
1. น�ำสมุนไพรมาล้างท�ำความสะอาด หั่นเป็นชิ้นให้ได้ขนาดที่ต้องการ
2. น�ำสมุนไพรไปต�ำให้พอแหลก
3. เติมเกลือและการบูรลงไป ผสมให้เข้ากัน ระวังอย่าให้สมุนไพรที่ผสมแฉะเป็นน�้ำ
4. น�ำสมุนไพรที่ผสมเรียบร้อยแล้ว ไปบรรจุในผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบ ห่อเป็นลูกประคบมัดด้วยเชือกให้แน่น

3.6
ยาขี้ผึ้ง
ยาขี้ผึ้ง (ointment) เป็นยาเตรียมแผนโบราณรูปแบบหนึ่ง ต�ำรายาโบราณให้วิธีการปรุงยาเตรียม
รูปแบบนี้ไว้ว่า เตรียมจาก “ยาประสมแล้ว ท�ำเป็นยากวนหรือยาขี้ผึ้งปิดแผล” ยาขี้ผึ้งเป็นรูปแบบยาใช้ภายนอก
การเตรียมยาเป็นการต่อยอดมาจากการเตรียมยาน�้ำมัน เป็นภูมิปัญญาไทยที่เอาตัวยาไม่ละลายน�้ำ เตรียมให้อยู่
ในรูปน�้ำมัน แล้วเติมขี้ผึ้ง เพื่อให้เป็นรูปแบบกึ่งของแข็ง
ในการเตรียมยาขี้ผึ้ง มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ขี้ผึ้ง และตัวยาส�ำคัญ ขี้ผึ้งมี 4 ประเภทหลัก ได้แก่
1. ขี้ผึ้งชนิดไฮโดรคาร์บอน (oleaginous base) ซึ่ ง มี อ งค์ ประกอบเป็ นไขล้ วน ๆ ไม่ มี น�้ ำเป็ น
องค์ประกอบ เมื่อทาจะมีลักษณะเป็นมันติดผิวหนัง ล้างออกยาก เช่น พาราฟินแข็ง (hard paraffin), พาราฟินนิ่ม
(soft paraffin)
2. ขี้ผึ้งชนิดดูดน�้ำ (absorption base) ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นไข เมื่อทิ้งไว้จะดูดน�้ำได้ เช่น ขี้ผึ้ง ไขแกะ
3. ขี้ผึ้งชนิดละลายน�้ำ (water-soluble base) ซึ่งละลายน�้ำได้ ซึมเข้าผิวหนังได้ดี ไม่มีกลิ่นหืน เช่น
พอลิเอทิลีนไกลคอล
4. ขี้ผึ้งชนิดอิมัลชัน (emulsifying base) ซึ่งมีน�้ำเป็นองค์ประกอบ เช่น ลาโนลิน

กระบวนการผลิตยาขี้ผึ้ง
วิธีที่ 1 ผสมตัวยาลงไปในขี้ผึ้งพื้นที่หลอมเหลว
1. ละลายตัวยาสมุนไพรลงในขี้ผึ้งที่หลอมเหลว (หากตัวยาเป็นของแข็ง ต้องบดให้ละเอียด)
2. ทิ้งไว้ให้เย็นจนเกือบแข็งตัว
3. การผสมตัวยาลงไปตอนที่ขี้ผึ้งเย็นจนเกือบแข็งตัวแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเสื่อมสลายของ
ตัวยา

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 401
วิธีที่ 2 การบดผสมตัวยาในขี้ผึ้งพื้นที่แข็งตัว
1. ใช้โกร่งบดตัวยาให้ละเอียด (กรณีที่ผงยาไม่ละลายในขี้ผึ้งหรือละลายได้น้อย)
2. น�ำขี้ผึ้งมาบดผสมลงไป หลอมให้เข้ากัน
3. เมื่ออุณหภูมิของสารผสมขี้ผึ้งลดลงราว 40 องศาเซลเซียส หรืออุ่น ๆ ใกล้จะเริ่มแข็งตัว ให้เติมสาร
ผสมลงในยาพื้น โดยเทแล้วกวนผสมให้เข้ากัน
4. แบ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ในขณะที่ยาขี้ผึ้งยังอุ่นอยู่ ทิ้งไว้ให้แข็งตัว

3.7 ยาน�้ำมัน
ยาน�้ำมันเป็นยาเตรียมรูปแบบหนึ่ง วิธีการปรุงยาเตรียมจากยาสดหรือแห้ง เมื่อผสมแล้วบดเป็นผงหยาบ
หุงด้วยน�้ำมัน ยาน�้ำมันใช้เป็นยาภายในและยาภายนอกได้ น�้ำมันที่ใช้ในการปรุงยามักเป็นน�้ำมันพืช (ที่ใช้มาก
ได้แก่ น�้ำมันงา และน�้ำมันมะพร้าว) น�้ำมันเนย นมหรือไขสัตว์ ผสมกับตัวยาตามต�ำรับ ตัวยาที่มีน�้ำมากก็ให้บีบ
เอาแต่น�้ำ ส่วนตัวยาที่แห้งหรือมีน�้ำเป็นส่วนประกอบน้อยมากจะบดเป็นผงแล้วผสมน�้ำให้พอเปียก เมื่อผสมกับ
น�้ำมันพืชหรือไขสัตว์แล้วก็หุงเคี่ยวให้เหลือแต่น�้ำมัน เมื่อได้น�้ำมันแล้วอาจรินเอาน�้ำมันเก็บไว้ใช้ หรือเก็บน�้ำมัน
แช่ตัวยาไว้ เมื่อจะใช้ก็ตักเอาแต่น�้ำมันมาใช้

กระบวนการผลิตยาน�้ำมัน
1. น�ำสมุนไพรในสูตรต�ำรับมาหั่นบาง ๆ
2. เคี่ยวในน�้ำมัน โดยใช้ไฟกลาง ๆ ระวังไม่ให้ชิ้นส่วนสมุนไพรไหม้
3. เติมส่วนประกอบอื่น ๆ ในสูตรต�ำรับที่ต้องใช้ความร้อนเพื่อช่วยการละลายลงไปในระหว่างการเคี่ยว
เช่น ก�ำยาน สีเสียด จุนสี เป็นต้น
4. กรองโดยใช้ผา้ ขาวบาง เพื่อเก็บน�้ำมันที่ได้จากการเคี่ยว
5. เติมส่วนประกอบในต�ำรับ (ที่ไม่ต้องใช้ความร้อนช่วยละลาย) ลงไปในน�้ำมัน ข้อ 4 เช่น พิมเสน
การบูร เป็นต้น
6. บรรจุในภาชนะที่เหมาะสม

402 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ภาคผนวก ๔
อภิธานศัพท์
ภาคผนวก ๔ อภิธานศัพท์
กระษัย, กระไษย์ ดู กษัย.
กระสาย, กระสายยา น. เครื่องแทรกยา เช่น น�้ำ เหล้า น�้ำผึ้ง น�้ำดอกไม้ ในทางเภสัชกรรมแผนไทย
ใช้แทรกยาเพื่อช่วยให้กินยาง่ายขึ้น และ/หรือเสริมฤทธิ์ของยาให้มีสรรพคุณ
ดีขึ้น, หากเป็นของเหลวมักเรียก น�้ำกระสาย หรือ น�้ำกระสายยา. (ส.กษาย). 
กระไสย ดู กษัย.
กวาด, กวาดยา ก. เอายาป้ายในปาก คอ ลิ้นของทารกและเด็ก โดยใช้นิ้วหมุนโดยรอบ มักใช้
นิ้วชี้. 
กษัย น. โรคกลุ ่ ม หนึ่ ง เกิ ด จากความเสื่ อ มหรื อ ความผิ ด ปรกติ ข องร่ า งกายจาก
ความเจ็บป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาแล้วไม่หาย ท�ำให้ร่างกายซูบผอม
กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรัดตึง โลหิตจาง ผิวหนังซีดเหลือง ไม่มีแรง มือเท้าชา
เป็นต้น ต�ำราการแพทย์แผนไทยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ ตามสาเหตุของ
การเกิดโรค คือ กษัยที่เกิดจากธาตุสมุฏฐาน (มี ๘ ชนิด ได้แก่ กษัยกล่อน ๕ ชนิด
กับกษัยน�้ำ กษัยลม และกษัยเพลิง) กับกษัยที่เกิดจากอุปปาติกะโรค (มี ๑๘ ชนิด
ได้แก่ กษัยล้น กษัยราก กษัยเหล็ก กษัยปู กษัยจุก กษัยปลาไหล กษัยปลาหมอ
กษัยปลาดุก กษัยปลวก กษัยลิ้นกระบือ กษัยเต่า กษัยดาน กษัยท้น กษัยเสียด
กษัยเพลิง กษัยน�้ำ กษัยเชือก และกษัยลม), เขียนว่า กระษัย กระไษย์ กระไสย
หรือ ไกษย ก็มี.
กษัยกล่อน น. โรคกษัยกลุ่มหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของธาตุทั้ง ๔ ต�ำราการแพทย์
แผนไทย แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ กษัยกล่อนดิน กษัยกล่อนน�้ำ กษัยกล่อนลม
กษัยกล่อนไฟ และกษัยเถา.
กษัยดาน น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดที่ยอดอก ท�ำให้กล้ามเนื้อตั้งแต่
ยอดอกถึงหน้าท้องแข็งมาก ผู้ป่วยมีอาการปวด จุกเสียดแน่น กินข้าวไม่ได้
ถ้าลามลงถึงท้องน้อย ท�ำให้ปวดอยู่ตลอดเวลา ถูกความเย็นไม่ได้ แต่ถ้าลามลงไป
ถึงหัวหน่าวจะรักษาไม่ได้.
กษัยเถา น. กษัยกล่อนชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของลมสัณฑะฆาตและลมปัตฆาต
ซึ่งท�ำให้เส้นพองและแข็งอยู่บริเวณหัวหน่าวไปจนถึงหลัง ผู้ชายจะเกิดทาง
ด้านขวา ส่วนผู้หญิงจะเกิดทางด้านซ้าย รักษายาก ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บปวด
ในทรวงอกและปวดเสียวจนถึงบริเวณต้นคอ ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น.
กษัยเลือด, กษัยโลหิต ดู กษัยกล่อนน�ำ้ . 
กษัยเหล็ก น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากลมอัดแน่นแข็งเป็นดาน
อยู่ในท้องน้อย ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด ท้องแข็งลามขึ้นไปถึงยอดอก กินอาหาร
ไม่ได้ เป็นต้น.
โกฏฐาสยาวาตา น. ลมพัดในล�ำไส้และกระเพาะอาหาร เป็นองค์ประกอบ ๑ ใน ๖ ชนิดของ
ธาตุลม.

404 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ไกษย ดู กษัย.
ขับ ก. บังคับให้ออก เช่น ขับน�้ำคาวปลา ขับลม ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ.
ไข้ ๑. น. ความเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิต เช่น ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้เหนือ ไข้หวัด
นอกจากนี้ ในทางการแพทย์แผนไทยยังมีไข้ตัวเย็นอันเกิดจากธาตุไฟพิการ.
๒. ก. อาการครั่นเนื้อครั่นตัว สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดเมื่อย, โดยทั่วไป
หมายถึง อาการที่มีอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นผิดจากระดับปรกติเนื่องจาก
ความเจ็บป่วย.
ไข้พิษไข้กาฬ น. โรคกลุ่มหนึ่งที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ตัวร้อนจัด ปากแห้ง
ฟันแห้ง น�้ำลายเหนียว ตาแดง ร้อนในกระหายน�้ำ มือเท้าเย็น มีเม็ดสีด�ำ แดง
หรือเขียว ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างผุดขึ้นตามร่างกาย ต�ำราการแพทย์แผนไทย
แบ่งออกเป็น 21 ชนิด โดยเรียกชื่อแตกต่างกันตามลักษณะอาการ เช่น ไข้อีแดง
ไข้ปานด�ำ ไข้ปานแดง ไข้รากสาด.
ไข้ร�ำเพร�ำพัด, ไข้ลมเพลมพัด โรคชนิดหนึ่ง มักไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยมีอาการแตกต่างกันออกไป เช่น อาจมีไข้
จุกเสียดในท้อง อาเจียน ละเมอเพ้อพก, ร�ำเพร�ำพัด หรือ ลมเพลมพัด ก็เรียก. 
จุก ก. อาการที่บังเกิดแน่นอยู่ในอกหรือในท้อง เช่น กินมากจนจุก.
เจริญอาหาร ๑. ก. บริโภคอาหารได้มากขึ้น. ๒ ว. ที่ท�ำให้บริโภคอาหารได้มาก ที่ท�ำให้รู้สึก
อยากอาหาร เช่น ยาเจริญอาหาร. 
ชโลม ก. ท�ำให้เปียกชุ่ม ในทางการแพทย์แผนไทย ใช้ผ้าชุบน�้ำยาแล้วเช็ดตัวให้เปียก
เช่น ชโลมยา ชโลมน�้ำ.
เชื่อม 1. น. อาการอย่างหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคบางชนิด มีลักษณะอาการหน้าหมอง
ซึม มึนงง ตาปรือ คล้ายจะเป็นไข้ หรือเป็นอาการที่เกิดจากพิษไข้หรือพิษของ
โรคบางชนิด.
2. ว. มีอาการเงื่องหงอย มึนซึมคล้ายเป็นไข้ มักใช้ร่วมกับค�ำอื่นที่มีความหมาย
เกี่ยวข้องกับอาการที่แสดงออกให้เห็นเด่นชัด ได้แก่ เชื่อมซึม เชื่อมมึน และ
เชื่อมมัว.
เชื่อมมัว ดูใน เชื่อม.
ซาง น. โรคเด็กประเภทหนึง่ มักเกิดในเด็กเล็ก ท�ำให้มอี าการตัวร้อน เชือ่ มซึม ปากแห้ง
อาเจียน กินอาหารไม่ได้ท้องเดิน มีเม็ดขึ้นในปาก คอ ลิ้นเป็นฝ้า เป็นต้น แบ่งเป็น
๒ ประเภท คือ ซางเจ้าเรือน และซางจร ทั้งซางเจ้าเรือนและซางจรจะท�ำให้
มีอาการแตกต่างกันตามวันเกิดของเด็ก, เขียนว่า ทราง ก็มี.
ตานขโมย ดู ตานโจร.
ตานโจร น. ตานที่เกิดกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5-7 ขวบ แพทย์แผนไทยเชื่อว่ามักเกิดจาก
การกินอาหารอันท�ำให้เกิดพยาธิในร่างกาย มีอาการหลายอย่าง เช่น ลงท้อง
ธาตุวิปริต ชอบกินของสดของคาว กินอาหารได้น้อย อุจจาระเหม็นคาวจัด
อุจจาระกะปริบกะปรอยหรือเป็นมูกเลือด บางทีเลือดออกสด ๆ ท�ำให้เด็กซูบซีด
เมือ่ เป็นนานประมาณ ๓ เดือน จะมีอาการลงท้อง ตกเลือดดัง่ น�ำ้ ล้างเนือ้ ปวดมวน
เป็นมูกเลือด ดากออก ตัวผอมเหลือง, ตานขโมย ก็เรียก.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 405
ตานซาง, ตานทราง, ตาลทราง น. ๑. โรคหรือความเจ็บ ป่วยที่เกิดในเด็ก มี ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ โรคตาน
และโรคซาง ใช้ค�ำนี้เมื่อไม่ต้องการระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นโรคใด. ดู ซาง
และ ตานประกอบ.
๒. โรคตานที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากโรคซาง แต่รักษาไม่หาย เมื่อเด็กพ้นเขตซาง
จึงพัฒนาเป็นโรคตาน.
เถาดาน น. โรคชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นล�ำแข็งตั้งขึ้นที่ยอดอกแล้วลามลงไปถึงท้องน้อย
ท�ำให้เจ็บปวด จุกเสียด แน่นหน้าอก.
ทราง ดู ซาง.
ท้องมาน, ท้องมาร น. ชื่อโรคจ�ำพวกหนึ่งมีอาการให้ท้องโตอย่างหญิงมีครรภ์.
บาทจิตร ดู ลมบาทจิตต์, ลมบาดทะจิตร.
ประดง น. 1. โรคกลุ ่ ม หนึ่ ง ต� ำ ราการแพทย์ แ ผนไทยส่ ว นใหญ่ ว ่ า เกิ ด จากไข้ ก าฬ
แทรกไข้พิษ ผู้ป่วยมีเม็ดผื่นหรือตุ่มขึ้นตามผิวหนัง อาจมีอาการคัน ปวดแสบ
ปวดร้อน ตัวร้อน มือเท้าเย็น ร้อนในกระหายน�้ำ หอบ สะอึก ปวดเมื่อยในกระดูก
ปวดศีรษะ เป็นต้น แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ตามลักษณะของเม็ดผื่นหรือตุ่ม
ได้แก่ ประดงมด ประดงช้าง ประดงควาย ประดงวัว ประดงลิง ประดงแมว
ประดงแรด และประดงไฟ. 2. โรคประเภทหนึ่ง ต�ำราการแพทย์แผนไทยว่า
เกิดจากลมรามะธานี ซึ่งเกิดที่หัวใจ พัดขึ้นไปบนศีรษะ ท�ำให้ผู้ป่วยมีอาการคันหู
หน้า และตา. 3. โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ท�ำให้คัน เป็นต้น ตามต�ำราการแพทย์
แผนไทยว่า มีหลายชนิด เช่น ประดงเลือด ประดงลม, ไข้ประดง ก็เรียก.
ปัฏฆาต, ปัตคาด, น. ๑. เส้นที่มีจุดเริ่มต้นบริเวณขอบเชิงกรานด้านหน้า แล่นถึงตาตุ่ม เส้นด้านบน
ปัตะฆาฎ, ปัตฆาต จะแล่นไปทางด้านหลัง ขึ้นข้างกระดูกสันหลัง (ถัดออกมาจากเส้นรัตตฆาต)
ถึงบริเวณต้นคอ ท้ายทอย ขึ้นศีรษะ แล้วลงมาที่แขน เส้นที่อยู่ด้านขวา เรียก
เส้นปัตฆาตขวา เส้นที่อยู่ดา้ นซ้าย เรียก เส้นปัตฆาตซ้าย ส่วนเส้นด้านล่างจะเริ่ม
จากบริเวณหน้าขา แล่นลงมาถึงตาตุ่มด้านใน เรียก เส้นปัตฆ­ าตใน ส่วนด้านนอก
เริ่มจากบริเวณสะโพก แล่นลงมาถึงตาตุ่มด้านนอก เรียก เส้นปัตฆาตนอก.
๒. โรคลมชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมักมีอาการปวดเมื่อยตามแนวเส้นปัตฆาต เคลื่อนไหว
ไม่สะดวก, ลมปัตฆาต ก็เรียก, เขียนว่า ปัตคาด ปัฏฆาต ปัตะฆาฎ หรือ ปัตฆาฏ
ก็มี. 
ฝีปลวก น. ฝีวัณโรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีต่อมกลัดหนองขึ้นที่ปอด ต�ำราว่าเมื่อเริ่มเป็นจะมี
อาการเจ็บบริเวณหน้าอกถึงสันหลัง ท�ำให้ผอมเหลือง อาเจียนเป็นเลือด ไอเรื้อรัง
เหม็นคาวคอ กินไม่ได้นอนไม่หลับ.
ฝีเอ็น น. ฝีชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดผุดขึ้นตามเส้นเอ็น มักพบบริเวณเส้นเอ็นที่ล�ำคอ
ต�ำราการแพทย์แผนไทยว่า เกิดจากความบอบช�้ำบริเวณล�ำคออันเนื่องมาจาก
การคลอด.
พรรดึก 1. ก. อาการท้องผูกมาก มีอุจจาระเป็นก้อนแข็ง คล้ายขี้แมวหรือขี้แพะ.
2. น. อุจจาระเป็นก้อนแข็ง กลม คล้ายขี้แมวหรือขี้แพะ.

406 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


พิษไข้ น. อาการผิดปรกติทเี่ กิดขึน้ จากไข้ เช่น มีผนื่ ร้อนใน กระหายน�ำ้ ท้องผูก อ่อนเพลีย
ครั่นเนื้อครั่นตัว.
มงคร่อ, มงคล่อ ดู มองคร่อ.
มองคร่อ น. 1. โรคระบบทางเดินหายใจประเภทหนึ่ง ผู้ป่วยมีเสมหะเหนียวข้นอยู่ใน
ช่องหลอดลมท�ำให้มีอาการไอเรื้อรัง. 2. ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หมายถึง
โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะในช่องหลอดลม ท�ำให้มีอาการไอเรื้อรัง โดยเฉพาะ
เมื่อนอนราบ, มงคร่อ หรือ มงคล่อ ก็เรียก. (อ. bronchiectasis).
มะเร็ง น. โรคเรื้อรังกลุ่มหนึ่ง ผู้ป่วยมักมีแผล ผื่น ตุ่ม ก้อน เป็นต้น ผุดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ
ภายในหรือภายนอกร่างกาย ต�ำราการแพทย์แผนไทยแบ่งเป็นหลายประเภท
เช่น มะเร็งไร มะเร็งตะมอย มะเร็งทรวง มะเร็งช้าง หากผู้ป่วยมีอาการไข้ร่วมด้วย
มักเรียก ไข้มะเร็ง เช่น ไข้มะเร็งปากทูม ไข้มะเร็งปากหมู ไข้มะเร็งเปลวไฟฟ้า
หากผู้ป่วยมีฝีร่วมด้วย เรียกว่า ฝีมะเร็ง เช่น ฝีมะเร็งทรวง ฝีมะเร็งฝักบัว
ฝีมะเร็งตะมอย. ๒. ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หมายถึง เนื้องอกชนิดร้าย
เกิดขึ้นเพราะเซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ควบคุมไม่ได้แล้วแทรกไปตามเนื้อเยื่อ
ข้างเคียง และ อาจหลุดจากแหล่งเริ่มต้นไปแบ่งตัวเพิ่มจ�ำนวนที่บริเวณอื่น ๆ ได้
รักษาไม่ค่อยหาย. 
มุตกิด น. โรคชนิดหนึ่ง เกิดกับผู้หญิง ผู้ป่วยมักมีระดูขาว ปัสสาวะขุ่นข้น บางครั้งบริเวณ
ขอบทวาร เบาอาจเป็นเม็ดหรือแผล คัน เปื่อย แสบ เหม็นคาว มีอาการ แสบอก
กินอาหารไม่รรู้ ส ปวดหลัง เสียวมดลูก เป็นต้น ต�ำราการแพทย์แผนไทยหลายเล่ม
แบ่งมุตกิด ออกเป็น ๔ จ�ำพวก คือ ๑) ปัสสาวะเป็นช�้ำเลือดมีกลิ่นเหมือน
ปลาเน่า ๒) ปัสสาวะเป็นเลือดจาง ๆ สีเหมือนน�้ำชานหมาก ๓) ปัสสาวะเป็น
หนองจาง ๆ เหมือนน�้ำซาวข้าว และ ๔) ปัสสาวะเป็นเมือกหยดลงเหมือน
น�้ำมูกไหล, เขียนว่า มุตรกฤต มุตระกฤต หรือ มุตรกฤจฉ์ มุตร์กิจฉ์ ก็มี.
มุตฆาต, มุตตฆาต น. โรคชนิดหนึ่งที่ท�ำให้เกิดความผิดปรกติของน�้ำปัสสาวะ เกิดจากการกระทบ
กระแทก เช่น จากอุบตั เิ หตุ เพศสัมพันธ์ ผูป้ ว่ ยมีอาการปวดมากเวลาถ่ายปัสสาวะ
ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปวดขัดบริเวณสีข้าง จุกเสียดบริเวณหน้าอก อาเจียน
เป็นลมเปล่า เบื่ออาหาร เป็นต้น, เขียนว่า มุตรฆาฏ หรือ มุตระฆาฎ ก็มี.
มุตรกฤจฉ์ล มุตรกฤต, มุตระกฤต ดู มุตกิด.
มุตรฆาฏ, มุตระฆาฎ ดู มุตฆาต, มุตตฆาต.
ยา ๑. น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรคหรือบ�ำรุงร่างกาย ในทางการแพทย์แผนไทย
มักหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสมุนไพรตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป ผสมปรุงแต่งตามต�ำรับ
เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มีเช่น ยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาน�้ำ
เรียกตามสีก็มี เช่น ยาเขียว ยาด�ำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มีเช่น ยาขม ยาหอม
เรียกตามวิธีท�ำก็มี เช่น ยาต้ม ยาดอง ยาฝน ยาหลาม เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี
เช่น ยากวาด ยาดม ยาอม ยานัตถุ์ ยาเป่า ยาพ่น ยาพอก ยาเหน็บ ยาสวน.
๒. (กฎ) น. วัตถุที่รับรองไว้ในต�ำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 407
ประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายส�ำหรับใช้ในการวินิจฉัย บ�ำบัด บรรเทา รักษา หรือ
ป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์
หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งส�ำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายส�ำหรับ ให้เกิดผลแก่สุขภาพ
โครงสร้าง หรือการกระท�ำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ๓. ก.
ท�ำให้หายโรค, รักษาให้หาย ในค�ำว่า เยียวยา. 
ยาผาย น. ยาแผนโบราณไทยรูปแบบหนึ่ง ใช้ขับหรือระบายลม เลือด และธาตุ ให้เดิน
เป็นปรกติ เช่น ยาผายลมช่วยให้ลมระบายออกทางทวารหนัก ยาผายเลือด
เป็นยาส�ำหรับฟอดเลือดหรือระดูให้เป็นปรกติ ยาผายธาตุช่วยให้ถ่ายอุจจาระ
เป็นปรกติ.
ระบาย ก. ถ่ายออก เช่น ระบายท้อง.
ริดสีดวง น. โรคกลุ่มหนึ่ง เกิดได้กับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตา จมูก ล�ำไส้
ทวารหนัก ต�ำราการแพทย์แผนไทยว่า มี 18 ชนิด แต่ละชนิดมีอาการและ
ชื่อเรียกแตกต่างกันไป บางชนิดอาจะมีติ่งหรือก้อนเนื้อเกิดขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น
ริดสีดวงตา ริดสีดวงทวารหนัก, หฤศโรค ก็เรียก, เขียนว่า ฤศดวง หรือ ฤษดวง
ก็มี.
ริดสีดวงมหากาฬ น. 1. ริดสีดวงประเภทหนึ่ง เกิดในล�ำคอ อก ล�ำไส้ และทวารหนัก เมื่อเริ่มเป็น
ผูป้ ว่ ยมีเม็ดขนาดเท่าถัว่ เขียวขึน้ เป็นกลุม่ 9-10 เม็ด เมือ่ สุกจะแตกออกเป็นหนอง
ปนเลือดแล้วเปื่อยลามเป็นปื้น มีหนองปนเลือดไหลซึมตลอดเวลา ปากคอเปื่อย
กินอาหารเผ็ดร้อนไม่ได้. 2. ยาแผนไทยขนานหนึ่ง ใช้แก้ริดสีดวง.
ฤศดวง, ฤษดวง ดู ริดสีดวง.
ลมกษัย, ลมกระษัย น. ลมที่ท�ำให้ผอมแห้งแรงน้อย เป็นต้น.
ลมกุมภัณฑยักษ์ น. โรคลมมีพิษชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการชัก มือก�ำเท้างอ หมดสติ โบราณว่า
ถ้ารักษาไม่ได้ภายใน 11 วัน อาจถึงแก่ความตาย.
ลมขึ้น, ลมขึ้นสูง, น. โรคชนิดหนึ่งหรือความผิดปรกติอันเกิดจากธาตุลม ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย
ลมขึ้นเบื้องสูง สวิงสวาย หน้ามืด หูอื้อ เป็นต้น.
ลมตีขึ้นเบื้องสูง ดู ลมขึ้นสูง.
ลมปลายไข้ น. ความผิดปรกติเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ไม่สบายตัว วิงเวียน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย ท้องอืดเฟ้อ มักเกิดขึน้ หลังฟืน้ ไข้ หรือหายจากความเจ็บป่วยบางอย่าง.
ลมปัตฆาต ดู ปัตฆาต.
ลมพรรดึก น. โรคลมชนิดหนึ่ง เกิดจากอาการท้องผูกมาก มีลมคั่งอยู่ในท้อง เป็นเถาดาน
อุ จ จาระเป็ น ก้ อ นแข็ ง คล้ า ยขี้ แ มวหรื อ ขี้ แ พะ ต� ำ ราการแพทย์ แ ผนไทยว่ า
อาจเกิดจากธาตุไฟก�ำเริบ หรือกินของแสลง ผู้ป่วยมักมีอาการจุกเสียด กินอาหาร
ไม่ได้ทุรนทุราย ร้อนตามแข้งขา เป็นเหน็บชา ปัสสาวะบ่อย ๆ เป็นต้น. 
ลมพานไส้ น. โรคลมชนิดหนึ่ง ต�ำราการแพทย์แผนไทยว่า ผู้ป่วยมีอาการอาเจียน จุกอก
หากเป็นอยู่นานถึง ๗ เดือน ผู้ป่วยจะปวดเสียดบริเวณซี่โครงด้านซ้าย ร่างกาย
ผอม เหลือง อยากกินของสดของคาว เมื่อมีอาการเรื้อรังถึง ๓ ปี จะถึงแก่
ความตาย.

408 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ลมพุทธยักษ์, ลมพุทยักษ์ น. โรคลมชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมักมีอาการชัก กระสับกระส่าย ขบฟันตาเหลือก
ตาเบิกกว้าง ปากเบี้ยว มือก�ำเท้างอ แยกแข้งแยกขา ไม่มีสติ เป็นต้น.
ลมมหาสดม, ลมมหาสดมภ์ น. โรคลมอันมีพิษชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการหาวนอนมาก จิตใจสับสน หมดสติ.
ลมราชยักษ์, ลมราทยักษ, น. โรคลมชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการเป็นไข้ตัวร้อน ชักมือก�ำเท้างอ ลิ้นกระด้าง
ลมราทยักษ์, ลมราทธยักษ์ คางแข็ง คอแข็ง ตาเหลือง เป็นต้น, ราทยักษวาโย ก็เรียก.  
โลหิตเน่า น. โลหิตทุจริตโทษประเภทหนึ่ง เกิดจากโลหิตระดูร้าง โลหิตคลอดบุตร โลหิต
ต้องพิฆาต และโลหิตตกหมกช�้ำ ที่ปล่อยทิ้งให้เรื้อรังจนเน่า ท�ำให้เกิดอาการ
ต่าง ๆ แทรกซ้อนขึ้น เช่น เกิดจ�้ำเลือดตามผิวหนังเป็นสีด�ำ แดง เขียว หรือขาว
หรือเป็นตุ่มขนาดเล็ก ท�ำให้มีอาการคันมาก.
สมุฏฐาน น. ที่เกิด ที่ตั้งเหตุ.
สวิงสวาย ก. อาการที่รู้สึกใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม.
สะอึก ก. อาการที่หายใจชะงักเป็นระยะ เนื่องจากกะบังลมหดตัวและช่องสายเสียง
ปิดตามทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน, ลมสะอึก ก็เรียก.
สันฑฆาต, สันทฆาต, น. ๑ เส้นที่มีจุดเริ่มต้นบริเวณขอบเชิงกรานด้านหน้า แล่นถึงตาตุ่ม เส้นด้านบน
สันทะฆาฏ จะแล่นไปทางด้านหลัง ขึน้ ข้างกระดูกสันหลัง ถึงบริเวณต้นคอ ท้ายทอย ขึน้ ศีรษะ
แล้วลงมาที่แขน เส้นที่อยู่ด้านขวา เรียก เส้นสันฑฆาตขวา เส้นที่อยู่ด้านซ้าย
เรียก เส้นสันฑฆาตซ้าย. ๒. โรคเกี่ยวกับเส้นชนิดหนึ่ง ท�ำให้มีอาการจุกเสียด
หน้าอก. ๓. โรคชนิดหนึ่ง เกิดจากการกระทบกระแทกชอกช�้ำอย่างแรง เช่น
ตกต้นไม้ถูกทุบถองโบยตีท�ำให้เกิดเลือดออกเป็นลิ่ม เป็นก้อน แห้ง หรือเน่าเสีย
อยู่ภายใน เรียก โลหิตต้องพิฆาต ในสตรีอาการอาจรุนแรงหากเกิดขณะมีระดู
แบ่งเป็น ๔ ชนิดตามความรุนแรงของโรค ได้แก่ เอกสันฑฆาต โทสันฑฆาต
ตรีสันฑฆาต และอาสันฑฆาต. 
สันนิบาต น. ๑. ความเจ็บป่วยอันเกิดจากกองสมุฏฐานปิตตะ วาตะ และเสมหะ ร่วมกัน
กระท�ำให้เกิดโทษเต็มก�ำลัง ในวันที่ ๓๐ ของการเจ็บป่วย. ๒. ไข้ประเภทหนึ่ง
ผู้ป่วยมีอาการ สั่นเทิ้ม ชักกระตุก และเพ้อ เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาต
หน้าเพลิง. 
สุม ก. 1. วางทับซ้อน ๆ กันลงไปจนสูงเป็นกอง มักใช้กับค�ำว่า กระหม่อม เป็น
สุมกระหม่อม. 2. น�ำตัวยามาผสมรวมกันใส่ในหม้อดิน เผาให้เป็นถ่าน ยกลง
จากเตา ทิ้งไว้จนเย็น (โดยไม่เปิดฝาหม้อ หากเปิดฝาหม้อตัวยาภายในจะเป็นเถ้า
มักใช้ร่วมกับค�ำว่า ยา เป็น สุมยา).
สุมกระหม่อม ดู สุม.
เส้น น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นแนว ไม่ก�ำหนดความยาว แนวที่มีลักษณะของธาตุดิน
จะจับต้องได้ เช่น เส้นเลือด เส้นเอ็น เส้นประสาน ในแนวเหล่านี้อาจเป็นทาง
ขับเคลื่อนของธาตุน�้ำ ธาตุไฟ หรือธาตุลม, เอ็น หรือ เส้นเอ็น ก็เรียก.
เส้นเอ็น ดู เส้น.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 409
เสียด ก. อาการที่รู้สึกอึดอัดหรือแทงยอกในท้องหรืออกเนื่องจากมีลมอยู่ ในค�ำว่า
เสียดท้อง เสียดอก จุกเสียด.
ไส้ลาม น. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ผู้ป่วย
มีเม็ดฝีขึ้นที่ภายในอวัยวะเพศและลามออกมาภายนอก ไปที่ท้องน้อย ทวารหนัก
ทวารเบา เมื่อเม็ดฝีแตกออกหนองจะไหลออกมา อาจมีอาการปวดมวนท้อง
ถ่ายเป็นมูกเลือก แน่นหน้าอก อาเจียน กินอาหารไม่ได้ หรือเป็นลมบ่อย ๆ
ร่วมด้วย.
ไส้เลื่อน น. โรคที่ล�ำไส้ออกไปจากช่องท้อง ได้แก่ ลงมาที่ถุงอัณฑะ (ในผู้ชาย) ที่แคมใหญ่
(ในผู้หญิง) หรือเลื่อนลงมาทางหน้าขา หรือเลื่อนออกไปทางหน้าท้อง สะดือ
หรือเลื่อนผ่านกระบังลมเข้าไปในช่องอก.
หฤศโรค ดู ริดสีดวง.
อยู่ไฟ 1. ก. นอนหรือนั่งผิงไฟ ใช้กับสตรีหลังคลอด โบราณมักใช้ไฟจากไม้ที่ติดไฟง่าย
ให้ความร้อนดีและนาน ไม่แตกปะทุ เช่น ไม้สะแกนา ไม้มะขาม. 2. น. กระบวนการ
ดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดในระยะแรก ซึง่ ครอบคลุมการนอนหรือนัง่ ผิงไฟ
การเข้ากระโจม การอาบสมุนไพร การนั่งถ่าน การทับหม้อเกลือ การนวด
การประคบ การกินยา การกินอาหาร เป็นต้น โบราณเชื่อว่าความร้อนจะช่วย
ให้มดลูกเข้าอูไ่ ด้เร็วขึน้ ช่วยขับน�ำ้ คาวปลา ช่วยให้เลือดลมของสตรีหลังคลอดไหล
เวียนดีขึ้น ลดการเกร็งและปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ ช่วยให้แผลฝีเย็บหายเร็วขึ้น
ลดอาการเจ็บปวดอันเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกและจากเต้านมคัด ช่วยให้
ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เป็นต้น, ในเรือนไฟ ก็เรียก.
อัมพาต น. ๑. ลมที่พัดจากปลายเท้าขึ้นไปทั่วตัว ท�ำให้อวัยวะบางส่วน เช่น แขนขาตาย
ลิ้นกระด้างคางแข็ง. ๒. โรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการอวัยวะบางส่วน เช่น
แขนขาตาย ไม่มีความรู้สึก, เขียนว่า อัมพาธิ อ�ำมพาด อ�ำมพาต อ�ำมพาธ
อ�ำมพาธิหรือ อ�ำมะพาธ ก็มี. (ส. อม + วาต). 
อัมพาธิ, อ�ำมพาด, ดู อัมพาต.
อ�ำมพาต, อัมพาธ,
อ�ำมพาธิ, อ�ำมะพาธิ
เอ็น ดู เส้น.
อุทธังคมาวาตา น. ลมพัดตั้งแต่ปลายเท้าถึงศีรษะ บางต�ำราว่าพัดตั้งแต่กระเพาะอาหารถึงล�ำคอ
แล้วออกทางปาก เช่น ลมที่เกิดจากการเรอ อุทธังคมาวาตาเป็น องค์ประกอบ
๑ ใน ๖ ชนิดของธาตุลม. 

410 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


รายชื่อคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
412 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 413
414 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
เอกสารอ้างอิง
กฎกระทรวง เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จ�ำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134
ตอนที่ 1 ก วันที่ 6 มกราคม 2560.
กรมการแพทย์ แ ผนไทยและการแพทย์ ท างเลื อ ก. พจนานุ ก รมศั พ ท์ แ พทย์ แ ละเภสั ช กรรมแผนไทย ฉบั บ
ราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๕๙. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำ� นักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๖๐.
กองควบคุมวัตถุเสพติด ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการก�ำกับดูแลซึ่ง
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เฉพาะเฮมพ์ (Hemp). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส�ำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ; 2561.
จักรกฤษณ์ สิงห์บุตร, ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพืชกัญชา. ใน การอบรมวิทยากรครู ก หลักสูตร
การใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย, โรงแรม ที เค พาเลซ, ๒๕๖๒.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. ค�ำอธิบายต�ำราพระโอสถพระนารายณ์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง; 2548.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, วิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 1: น�้ำกระสายยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, วิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 2: เครื่องยาพฤกษวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, วิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 3: เครื่องยาสัตว์วัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, วิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 4: เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, วิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 5: คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, วิเชียร จีรวงส์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย เล่ม 6 : คู่มือเภสัชกรรมแผนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556.
ต�ำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์, ๒๕๐๕.
นิทเทสสุขกิจ, ขุน (ถมรัตน์ พุ่มชูศรี). อายุรเวทศึกษา เล่ม ๒. กรุงเทพ ฯ : พร้อมจักรการพิมพ์. ๒๕๑๖.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘. (๒๕๕๘, ๓๐ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๑๗ ง.
หน้า 1-80.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 25๕๘. (๒๕๕๙, ๑๒ มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๗ ง.
หน้า ๑-๓.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 415
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 25๕๙. (๒๕๕๙, ๒๒ เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๙๓ ง.
หน้า ๑-๑๕.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 4) พ.ศ. 25๕๙. (๒๕๕๙, 11 พฤษภาคม). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓๓
ตอนพิเศษ 106 ง. หน้า ๑-4.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ ๘) พ.ศ. 25๕๙. (๒๕๖๐, ๒๔ พฤษภาคม). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓๔
ตอนพิเศษ ๑๓๙ ง. หน้า ๑.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 9) พ.ศ. 2559. (๒๕๖๐, 24 พฤษภาคม). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓๔
ตอนพิเศษ 139 ง. หน้า ๑-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 10) พ.ศ. 2560. (๒๕๖๐, 25 พฤษภาคม). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓๔
ตอนพิเศษ 141 ง. หน้า ๑-4.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 11) พ.ศ. 2560. (๒๕๖๐, 25 พฤษภาคม). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓๔
ตอนพิเศษ 141 ง. หน้า ๑-5.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 12) พ.ศ. 2560. (๒๕๖๐, 3 กรกฎาคม). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓๔
ตอนพิเศษ 175 ง. หน้า ๑-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ ๑๓) พ.ศ. 25๖๐. (๒๕๖๐, ๖ พฤศจิ ก ายน). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓๔
ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง. หน้า ๑.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ ๑5) พ.ศ. 25๖๐. (๒๕๖1, 12 กุ ม ภาพั น ธ์ ) . ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓5
ตอนพิเศษ 32 ง. หน้า ๑-3.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบับที่ ๑6) พ.ศ. 25๖1. (๒๕๖1, 5 มิถนุ ายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓5 ตอนพิเศษ 128 ง.
หน้า ๑-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบับที่ ๑7) พ.ศ. 25๖1. (๒๕๖1, 5 มิถนุ ายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓5 ตอนพิเศษ 128 ง.
หน้า ๑-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2561. (๒๕61, 29 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๓5 ตอนพิเศษ
152 ง. หน้า ๑-2.

416 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 19) พ.ศ. 2561. (๒๕61, 6 พฤศจิ ก ายน). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓5
ตอนพิเศษ 280 ง. หน้า ๑-4.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 2๐) พ.ศ. 25๖1. (๒๕๖2, ๒2 มกราคม). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓6
ตอนพิเศษ 20 ง. หน้า ๑-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 24) พ.ศ. 25๖2. (๒๕๖2, 16 ตุ ล าคม). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓6
ตอนพิเศษ 257 ง. หน้า ๑-3.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 26) พ.ศ. 25๖3. (๒๕๖3, 2 มิ ถุ น ายน). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓7
ตอนพิเศษ 130 ง. หน้า ๑-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 27) พ.ศ. 25๖3. (๒๕๖3, 8 มิ ถุ น ายน). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓7
ตอนพิเศษ 134 ง. หน้า ๑-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 28) พ.ศ. 25๖3. (๒๕๖3, 5 สิ ง หาคม). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓7
ตอนพิเศษ 179 ง. หน้า ๑-3.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 29) พ.ศ. 25๖3. (๒๕๖3, 28 กั น ยายน). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓7
ตอนพิเศษ 225 ง. หน้า ๑-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การประกาศกําหนดตําราการแพทย์แผนไทยของชาติและตํารับยาแผนไทย
ของชาติ (ฉบั บ ที่ 31) พ.ศ. 25๖4. (๒๕๖4, 2 เมษายน). ราชกิ จ จานุ เ บกษา. เล่ ม ๑๓8
ตอนพิเศษ 76 ง. หน้า ๑-2.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก�ำหนดต�ำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพ
เพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564. ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม 138 ตอนพิเศษ 35 15 กุมภาพันธ์ 2564.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137
ตอนที่ 290 วันที่ 14 ธันวาคม 2563.
พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ให้ไว้ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 19 ก วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
พิศณุประสาทเวช, พระยา. เวชศึกษา แพทย์ศาสตร์สังเขป เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทย สะพานยศเส. ร.ศ. ๑๒๗.
พิศณุประสาทเวช, พระยา. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศุภการจ�ำรูญ ถนนอัษฎางค์.
ร.ศ. ๑๒๘.
พิศณุประสาทเวช, พระยา. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศุภการจ�ำรูญ ถนนอัษฎางค์.
ร.ศ. ๑๒6.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 417
ราชบัณฑิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2546.
โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ)์ . ต�ำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วัดโพธิ)์ พระนคร พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมือ่ พ.ศ. 2375
ฉบับสมบูรณ์. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย; 2505.
วิมล พันธุเวทย์. Endocannabinoid system. Thai Pharm Health Sci J. 2009;4(1); 84-93.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ย่อเภสัชกรรมไทยและสรรพคุณสมุนไพร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์
และการพิมพ์; 2552.
สภากาชาดไทย. ต�ำรับยาสภาอุณาโลมแดง ร.ศ. 112. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977)
จ�ำกัด, 2557.
ส�ำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ชุดต�ำรา
ภู มิ ป ั ญ ญาการแพทย์ แ ผนไทย ฉบั บ อนุ รั ก ษ์ ต� ำ ราการแพทย์ แ ผนไทยในศิ ล าจารึ ก วั ด พระเชตุ พ น
วิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2557.
ส�ำนักคุม้ ครองภูมปิ ญ ั ญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ชดุ ต�ำราภูมปิ ญ ั ญา
การแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรกั ษ์ ต�ำราการแพทย์แผนไทยในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ)์
เล่ม ๓. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. 2557.
ส�ำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ชุดต�ำรา
ภู มิ ป ั ญ ญาการแพทย์ แ ผนไทย ฉบั บ อนุ รั ก ษ์ คั ม ภี ร ์ ธ าตุ พ ระนารายณ์ ฉบั บ ใบลาน (ต� ำ ราพระโอสถ
พระนารายณ์). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
2555. หน้า 116.
ส�ำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. จารึกต�ำรายา
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
ในพระบรมราชูปถัมภ์. ๒๕๕๗.
ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. พจนานุกรมศัพท์แพทย์และ
เภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2559. นนทบุรี: โรงพิมพ์ส�ำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ; 2560.
เสงี่ยม พงษ์บุญรอด. ไม้เทศเมืองไทย สรรพคุณของยาเทศและยาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงธน; 2522.
โสภิตบรรณลักษณ์, ขุน (อ�ำพัน กิตติขจร), คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อุตสาหกรรม
การพิมพ์. ๒๕๐๔.
โสภิตบรรณลักษณ์, ขุน (อ�ำพัน กิตติขจร). คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อุตสาหกรรม
การพิมพ์. ๒๕๐๔.
โสภิตบรรณลักษณ์, ขุน (อ�ำพัน กิตติขจร). คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อุตสาหกรรม
การพิมพ์. ๒๕๐๔.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ก�ำภีธาตุพรณะราย”. คัมภีร์ใบลาน ๑ ผูก. อักษรไทย. ภาษาไทย. เส้นจาร.
ฉบับลานดิบ. เลขที่ ๑๑๔๓. หมวดเวชศาสตร์.

418 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “คัมภีร์กระไสย เล่ม 1”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 7.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “คัมภีร์กระไสย เล่ม 2”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ ๘.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “คัมภีร์จรณะสังคหะ เล่ม ๑”. หนังสือสมุดไทยดํา. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 29.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “คัมภีร์ชวดาล”. ใบลาน. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 1110. หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “คัมภีร์ทวติงสาพาธคํากลอน เล่ม ๓”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย.
เลขที่ 103. หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “คัมภีร์ธาตุทั ง ๕”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 104.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “คัมภีร์แผนฝีดาด”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 146.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “คัมภีร์ลมช่วดาน”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ ๕๖.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “คัมภีร์สังคหะ เล่ม ๒”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 33.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต้นสมุทตําราฝีดาษ ทําพิศมต่าง ๆ”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย.
เลขที่ 163. หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารากะสายกล้อน”. หนังสือสมุดไทยดํา. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 2.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตําราฝีดาด”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 154.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุ ด แห่ ง ชาติ กรมศิ ล ปากร. “ตําราฝี ด าด”. หนั ง สื อ สมุ ด ไทยด� ำ . อั ก ษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 159.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุ ด แห่ ง ชาติ กรมศิ ล ปากร. “ตําราฝี ด าด”. หนั ง สื อ สมุ ด ไทยด� ำ . อั ก ษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 160.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 269.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 281.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 218.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 223.
หมวดเวชศาสตร์.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 419
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 230.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 232.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 233.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 235.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 236.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 238.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 239.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 240.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 242.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 244.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 245.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 246.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 247.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 254.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 258.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 263.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 273.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 275.
หมวดเวชศาสตร์.

420 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 278.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 312.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 314.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 339.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 342.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 353.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 361.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 363.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 489.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 589.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาแก้เลือดลมเสีย”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 788.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาคลอดบุตร”. หนังสือสมุดไทยดํา. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 26.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาฝีดาด”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 164.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ตํารายาว่าด้วยโรคกระไสย”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 1.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 609.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 618.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 534.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 548.
หมวดเวชศาสตร์.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 421
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 566.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 282.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 285.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 272.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 527.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 560.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 561.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 567.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 572.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 574.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 582.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 413.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 415.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 428.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 429.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 437.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 439.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 441.
หมวดเวชศาสตร์.

422 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 433.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 498.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 502.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 509.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 510.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 511.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 515.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 516.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 302.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาเกร็ดต่าง ๆ”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ ๖๓๐.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาแก้ไข้ทั้งปวง ยาเกร็ดผู้ใหญ่”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย.
เลขที่ ๖๖๖. หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ต�ำรายาแก้โรคกระไส”. หนังสือสมุดไทยขาว. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ ๑๓.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “พระตํารายาเกร็ด”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 623.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “พระตําราหลวงชื่ออุไทยะจีนดาบาฬ”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย.
เลขที่ 277. หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “พระตําหรับหลวง”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 224.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “พระสมุดตํารายา”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 622.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “ยาชือ่ อาโป”. หนังสือสมุดไทยด�ำ. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 440. หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. “สมุดกระไสยโรค เล่ม ๘”. หนังสือสมุดไทยดํา. อักษรไทย. ภาษาไทย. เลขที่ 6.
หมวดเวชศาสตร์.
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 2. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน). 2542.

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 423
หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 1. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน). 2542.
Andre CM, Hausman JF, Guerriero G. Cannabis sativa: The plant of the thousand and one molecules.
Front Plant Sci. 2016;7:19. doi: 10.3389/fpls.2016.00019.
Bonini SA, Premoli M, Tambaro S, Kumar A, Maccarinelli G, Memo M, et al. Cannabis sativa:
A comprehensive ethnopharmacological review of a medicinal plant with a long history.
J Ethnopharmacol. 2018;227:300-15.
Cannabis and Cannabinoids : The Current State of Evidence and Recommendations for Research.
Washington (DC): National Academies Press (US); 2017.
Chandra S, Lata H, El Sohly MA, editors. Cannabis sativa L. - botany and biotechnology. n.p.:
Springer International Publishing; 2017.
Cohen K, Weizman A, Weinstein A. Positive and negative effects of cannabis and cannabinoids
on health. Clin Pharmacol Ther. 2019;105(5):1139-47.
Ebbert JO, Scharf EL, Hurt RT. Medical cannabis. Mayo Clin Proc. 2018;93(12):1842-7.
Edwards SE, Rocha IC, Williamson EM, Heinrich M. Phytopharmacy: An evidence-based guide
to herbal medical products. Singapore: C.O.S. Printers Pte; 2015.
Fetterman PS, Keith ES, Waller CW, Guerrero O, Doorenbos NJ, Quimby MW. Mississippi-grown
Cannabis sativa L: preliminary observation on chemical definition of phenotype and
variations in tetrahydrocannabinol content versus age, sex, and plant part. J Pharm Sci.
1971;60(8):1246-9.
Fournier G, Richez-Dumanois C, Duvezin J, Mathieu JP, Paris M. Identification of a new chemotype
in Cannabis sativa: cannabigerol-dominant plants, biogenetic and agronomic prospects.
Planta Med. 1987;53(3):277-80.
Galal AM, Slade D, Gul W, El-Alfy AT, Ferreira D, El Sohly MA. Naturally occurring and related
synthetic cannabinoids and their potential therapeutic applications. Recent Pat CNS Drug
Discov. 2009;4(2):112-36.
Gaoni Y, Mechoulam R. Isolation, structure and partial synthesis of an active constituent of
hashish. J Am Chem Soc. 1964;86(8):1646–7.
Kinghorn AD, Falk H, Gibbons S, Kobayashi J, editors. Phytocannabinoids unraveling the complex
chemistry and pharmacology of Cannabis sativa. Vol. 103. n.p.: Springer International
Publishing; 2017.
Ministry of Health, Government of India. The Ayurvedic Pharmacopoeia of India, Part I., Vol I.
New Delhi: Ministry of Health, Government of India; 2004.
Montserrat-de la Paz S, Marín-Aguilar F, García-Giménez MD, Fernández-Arche MA. Hemp (Cannabis
sativa L.) seed oil: analytical and phytochemical characterization of the unsaponifiable
fraction. J Agric Food Chem. 2014;62(5):1105-10.

424 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา


National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine; Health and Medicine Division;
Board on Population Health and Public Health Practice; Committee on the Health Effects
of Marijuana: An Evidence Review and Research Agenda. The Health Effects of
PDQ Integrative, Alternative, and Complementary Therapies Editorial Board. Cannabis and
Cannabinoids (PDQ®): Health Professional Version. 2018 Aug 16. In: PDQ Cancer
Information Summaries [Internet]. Bethesda (MD): National Cancer Institute (US); 2002.
Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK65755/
Pertwee RG. The diverse CB1 and CB2 receptor pharmacology of three plant cannabinoids:
δ9-tetrahydrocannabinol, cannabidiol and Δ9-tetrahydrocannabivarin. Br. J. Pharmacol.
2008 ;153(2):199-215.
Pollio A. The name of Cannabis: A short guide for nonbotanists. Cannabis Cannabinoid Res.
2016;1(1):234-8.
Russo EB. Cannabis therapeutics and the future of neurology. Front Integr Neurosci. 2018;12:
51. doi: 10.3389/fnint.2018.00051.
Smitinand T, Larsen K, editors. Flora of Thailand. Vol. 2. pt 4. Bangkok: TISTR Press; 1981.
The Plant List (2013). Version 1.1. Published on the Internet; available from:
http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2696480 (accessed Apr 15, 2021).
Thomas BF, El Sohly MA. The analytical chemistry of cannabis. n.p.: Elsevier; 2016.
Whiting PF, Wolff RF, Deshpande S, Di Nisio M, Duffy S, Hernandez AV, et al. Cannabinoids for
medical use: A systematic review and meta-analysis. JAMA. 2015;313(24):2456-73.

………………………………………………………………

กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย 425
426 ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์: ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
ชุดต�ำราภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ฉบับอนุรักษ์:
ต�ำรับยาแผนไทยของชาติที่เข้าตัวยากัญชา
National Thai Traditional Remedies with Ganja

You might also like