You are on page 1of 19

ความรูพื้นฐานเกี่ยวกับพืชกัญชา

จักรกฤษณ สิงหบุตร๑ และชยันต พิเชียรสุนทร๒,๓


๑เภสัชกรชํานาญการ, สถาบันการแพทยแผนไทย กรมการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก
๒ศาสตราจารย, วิทยาลัยการแพทยทางเลือก, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม,
๓๙/๑ ถนนรัชดาภิเษก, แขวงจันทรเกษม, เขตจตุจักร, กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
๓ราชบัณฑิต (ประเภทวิชาวิทยาศาสตรสุขภาพ สาขาวิชาเภสัชศาสตร), สํานักวิทยาศาสตร ราชบัณฑิตยสภา,
สนามเสือปา, เขตดุสิต, กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

บทคัดยอ
มนุ ษ ย รู จั ก พื ช กั ญ ชาและนํ า มาใช ป ระโยชน แ ต โ บราณ มี ก ารใช ป ระโยชน อ ย า งหลากหลาย
เชน ใชเสนใยจากตนสําหรับทอเปนผาที่ตองการความแข็งแรงและทนทานเปนพิเศษ ใชสูบเพื่อความบันเทิง
เป น เครื่ อ งหย อ นใจ ใช เ ป น เครื่ อ งยาในหลายประเทศ เช น อิ น เดี ย จี น ไทย กั ญ ชามี ชื่ อ วิ ท ยาศาสตร ว า
Cannabis sativa L. (วงศ Cannabaceae) เปนพืชที่มีถิ่นกําเนิดในแถบเอเชียกลาง แลวกระจายพันธุไปยัง
ภูมิภาคเขตรอนในแถบตาง ๆ ของโลก กัญชาเปนไมลมลุก ใบรูปฝามือ หยักลึกเปนแฉกแหลม ๕-๗ แฉก
ดอกแยกเพศตางตน ออกรวมเปนชอกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง สีเขียวออน ไมมีกลีบดอก ผลแบบผลแหง
เมล็ดลอนมีกลีบเลี้ยงติดทน ปลูกไดทั่วทุกภูมิภาค ใบและเรือนชอดอกเพศเมียมีองคประกอบทางเคมีเปนสาร
กลุมแคนนาบินอยด (cannabinoids) ที่สําคัญเชน สารเดลทา-๙-เททระไฮโดรแคนนาบินอล (∆๙-ทีเอชซี)
[∆9-tetrahydrocannabinol (∆9-THC)] ซึ่งเปนสารที่ออกฤทธิ์กระตุนและกดระบบประสาทสวนกลาง อาจทํา
ให เ กิ ด อาการประสาทหลอนและเสพติ ด ได ปริ ม าณสารแคนนาบิ น อยด ใ นกั ญ ชาขึ้ น กั บ สภาพแวดล อ ม
(ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ดิน น้ํา ปริมาณแสงแดดตอวัน ตลอดจนสายพันธุ วิธีการปลูก และสวนของพืชกัญชา)
ส ว นของพื ช กั ญ ชาที่ พ บสาร ∆๙ -ที เ อชซี ม ากที่ สุ ด คื อ ช อ ดอก และใบ สารสํ า คั ญ อี ก ชนิ ด หนึ่ ง คื อ
สารแคนนาบิไดออล (ซีบีดี) [cannabidiol (CBD)] ซึ่งสามารถออกฤทธิ์คลายกังวล เปนตน ในปจจุบันสารทั้ง
๒ ชนิดนี้มีความสําคัญในการแบงกลุมของสายพันธุกัญชา โดยเมื่อวัดปริมาณ ∆๙-ทีเอชซี และ ซีบีดี ที่พบในพืช
กัญชา อาจแบงสายพันธุพืชกัญชาออกเปนกลุม ๆ ได เชน แบงเปนกลุมพืชกัญชาที่ใชเปนยา (drug-type)
และกลุมพืชกัญชาที่ใชเปนเสนใย (fiber-type) ในทางการแพทยแมจะมีการศึกษาในหลอดทดลองที่พบฤทธิ์
ทางเภสั ช วิ ท ยาของกั ญ ชาและสารที่ ไ ด จ ากกั ญ ชามากมายและหลากหลาย แต จ ากผลการศึ ก ษาในคน
ถึงปจจุบันนี้ยืนยันไดเพียงวาพืชกัญชาใชบําบัดอาการปวดเรื้อรัง ลดอาการคลื่นไสอาเจียนในผูปวยมะเร็งที่อยู
ในระหวางการรับยาเคมีบําบัด และเสริมการรักษาผูปวยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
ไดเทานั้น ในปจจุบันนี้ประเทศไทยมีการปรับกฎหมายที่เกี่ยวของกับยาเสพติดใหเอื้อตอการใชประโยชน
ของกัญชามากขึ้น โดยอนุญาตใหมีการปลูกกัญชาเปนเสนใย (เรียก ‘กัญชง’) และใชประโยชนทางการแพทย
ทั้ ง ในรู ป สารสกั ด กัญ ชาที่ ใ ช ท างการแพทย แ ผนป จจุ บั น และการใช กัญ ชาเป น ตั ว ยาอย า งหนึ่ง ของตํ ารับ
ยาแผนไทย อยางไรก็ตามภาครัฐยังคงมีมาตรการในการควบคุมการใชกัญชาเพื่อความปลอดภัยและปองกัน
การใชในทางที่ผิด และมาตรการในการบังคับใชกฎหมาย

บทนํา
กัญ ชาเป นชื่อพื ชที่มีชื่อวิ ทยาศาสตรวา Cannabis sativa L. ในวงศ Cannabaceae (๑) เปนพืช
ที่ ม นุ ษ ย รู จั ก ใช ป ระโยชน ม าอย า งยาวนาน ไม ว า จะใช ลํ า ต น เป น เส น ใย ใช ใ บและเรื อ นช อ ดอกเพศเมี ย
กินเปนอาหารและยา หรือใชสูบเปนเครื่องหยอนใจ พืชกัญชามีชื่อสามัญหลายชื่อ เชน cannabis, hemp,
Indian hemp, ganja, marihuana, marijuana เปนพืชลมลุกอายุปเดียว ดอกแยกเพศตางตน (dioecious)
แต อ าจพบพื ช กั ญ ชาที่ เ ป น แบบดอกแยกเพศร ว มต น (monoecious) ได มี ถิ่ น กํ า เนิ ด อยู ใ นทวี ป เอเชี ย
แลวแพรไปทั่วโลก สารองคประกอบเคมีในกัญชาที่สําคัญมี สารกลุมแคนนาบินอยด (cannabinoids) ที่สําคัญ
เชน ∆๙-เททระไฮโดรแคนนาบินอล [∆9-tetrahydrocannabinol (∆๙-THC)], แคนนาบิไดออล (cannabidiol,
CBD), แคนนาบินอล (cannabinol, CBN), แคนนาบิเจอรอล (cannabigerol, CBG) สารกลุมเทอรพีนอยด
เปนตน สาร ∆9-THC เปนสารที่ออกฤทธิ์ตอระบบประสาทสวนกลาง พบมากในชอดอกเพศเมีย ในปจจุบัน
พืชกัญชาเปนพืชปลูกในเขตรอนและเขตอบอุนทั่วทุกทวีปของโลก โดยมีการพัฒนาสายพันธุเพื่อใหเหมาะสม
กับการใชประโยชนเปนเสนใยหรือใชเปนยาบําบัดโรค (๒, ๓)

พฤกษศาสตรพื้นบานของกัญชา
พืชกัญชามีกําเนิดในแถบเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต มีหลักฐานวามีการใชประโยชน
จากกั ญ ชาตั้ ง แต ยุ ค หิ น ใหม (Neolithic Age) พบหลั ก ฐานว า มนุ ษ ย รู จั ก ปลู ก พื ช กั ญ ชาเพื่ อ ใช ป ระโยชน
จากเส น ใยที่ เ กาะไต ห วั น เป น ครั้ ง แรก ส ว นการใช เ ป น พื ช ออกฤทธิ์ ต อ จิ ต ประสาทนั้ น อาจจะเกิ ด จาก
ความบังเอิญจนพัฒนาไปสูการใชในพิธีกรรมและความเชื่อตาง ๆ รวมทั้งการใชในพิธีกรรมที่เกี่ยวของกับ
การบําบัดโรคจนพืชกัญชาถูกใชเปนพืชปลูกเพื่อใชเสนใย เปนยา และใชในพิธีกรรมความเชื่อเรื่อยมา พิธีกรรม
ของลัทธิฮินดูและพุทธศาสนานิกายตันตระของอินเดียและทิเบต มีการใชเรือนชอดอกและยางของกัญชา
ในการชวยใหเกิดสมาธิและสามารถสื่อสารกับวิญญาณได
วากันวาในราว ๕,๐๐๐ ปกอนในแผนดินจีนมี ‘เสินหนง (Shennong)’ ผูที่ไดรับการยกยองใหเปน
‘เทพเจ า แห ง ชาวนา’ ผู ซึ่ ง จดบั น ทึ ก ประโยชน ข องสมุ น ไพรต า ง ๆ และได บั น ทึ ก ว า กั ญ ชาใช บํ า บั ด
“ความเหนื่อยลา (fatigue), โรคไขขออักเสบ (rheumatism) และไขมาลาเรีย” ตอมาในศาสตรการแพทย
แผนจีนมีการใชน้ํามันและโปรตีนจากเมล็ดกัญชาในการบําบัดโรคผิวหนังอักเสบ โรคสะเก็ดเงิน และลดการ
อักเสบในอียิปตโบราณหญิงสาวใชกัญชาในการลดอาการปวดและปรับอารมณ เชนเดียวกับชาวโรมันที่ใช
รากกัญชาในการลดอาการปวด นอกจากนี้ยังมีหลักฐานการใชกัญชาในอีกหลากหลายชาติพันธุ เชน กรีก
ฝรั่งเศส และอาหรับ (๓)

ในยุ ค ล า อาณานิ ค มเป น ยุ ค ที่ กัญ ชาเป น ที่ รู จั ก ไปทั่ว ทวี ป ยุ โ รป โดยแพทย ช าวโปรตุ เ กสได บั น ทึ ก
ฤทธิ์ของกัญชาในอินเดียไววาทําใหเคลิ้มสุข ทําใหสงบ กระตุนการยอยอาหาร ทําใหประสาทหลอน และ
กระตุนกําหนัด (๓) ในการแพทยอายุรเวทของอินเดียใชใบกัญชาแหงเปนเครื่องยา มีชื่อเรียกในหลายชื่อ
เชน Vijaya, Bhanga, Kanja, Charas โดยมีสูตรตํารับที่มีสวนผสมของกัญชา คือ Jatiphaladi Curna และ
Madadananda Modaka ใช สํ า หรั บ บํ า บั ด โรคเกี่ ย วกั บ ทางเดิ น อาหาร (Agnimandya), นอนไม ห ลั บ
(Anidra), ทองรวงเฉียบพลัน (Atisara) เปนตน (๔)
ในอินเดียมีการนํากัญชามาเตรียมเปนผลิตภัณฑไดหลายแบบ โดยมีชื่อเรียกตางกัน ที่สําคัญเชน
มาริฮัวนา (marihuana, marijuana) เปนผลิตภัณฑที่ไดจากการนําเรือนชอดอกตัวเมีย (กะหลี่กัญชา)
มาผึ่งใหแหง แลวบดเปนผงหยาบ
กัญชา (ganja) เปนผงหยาบของดอก ผล หรือใบแหง นํามาอัดเปนแทง หรือแผนบาง
แบง (bhang หรือ bang) เปนผงหยาบของใบกัญชา อาจมีชอดอกเพศผูหรือชอดอกเพศเมีย ปน
มาเล็กนอยจัดเปนผลิตภัณฑที่มีคุณภาพต่ํา
แฮชิส (hashish) หรือ ชาราส (charas) เปนยางกัญชาที่เตรียมไดจากการนํากะหลี่กัญชามาใสไวใน
ถุงผา ใชไมทุบใหยางไหลออกมา แลวจึงขูดยางออกจากถุงผา ชนิดนี้จัดเปนผลิตภัณฑที่มีความแรงสูง (๕)

ในทางการแพทย แ ผนไทย พื ช กั ญ ชา (กั ญ ชา) มี ส ว นที่ ใ ช เ ป น ตั ว ยาในตํ า รั บ ยาเกื อ บทุ ก ส ว น


ไมวาจะเปนราก กานใบ ใบ และเรือนยอดชอดอกตัวเมีย (ซึ่งมีฤทธิ์แรงที่สุด) ตําราสรรพคุณยาไทยระบุวา
กัญชามีรสเมาเบื่อ มีสรรพคุณแตกตางกันตามสวนที่ใช เชน ใบมีสรรพคุณแกหอบหืด เจริญอาหาร ชูกําลัง
เปนตน แตทําใหจิตใจขลาดกลัว ตาลาย ประสาทหลอน, ดอกมีสรรพคุณแกโรคประสาท ทําใหนอนหลับ
เจริ ญ อาหาร กั ด เสมหะในคอ เป น ต น (๖, ๗) จากการสื บ ค น ตํ า ราการแพทย แ ผนไทยของสถาบั น
การแพทยแ ผนไทย กรมการแพทย แผนไทยและการแพทยทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบตํารับยา
กว า ๒๐๐ ขนาน ซึ่ ง มี กั ญ ชาเป น ตั ว ยาอย า งหนึ่ง ที่ สํ า คั ญ เช น ในคั ม ภี ร ธ าตุ พ ระนารายน (ฉบั บ ใบลาน)
พบตํารับยาที่เขากัญชา ๔ ขนาน ไดแก ยาอัคคินีวคณะ ยาทิพกาศ ยาศุขไสยาศน และยามหาวัฒนะ (๘)
ในตํารายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พบตํารับยาที่เข ากัญ ชา ๑๗ ขนาน เชน ยาน้ํามัน
สนั่นไตรภพ ยาแกลมเนาวนารีวาโย ยาแกลมขึ้นเบื้องสูง (๙) และเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุขไดออก
ประกาศ เรื่อง กําหนดตํารับยาเสพติดใหโทษในประเภท ๕ ที่มีกัญชาปรุงผสมอยูที่ใหเสพเพื่อรักษาโรคหรือ
การศึกษาวิจัยได โดยไดกําหนดตํารับยาแผนไทยที่เชื่อวานาจะมีประสิทธิผล ปลอดภัย วิธีการผลิตไมยุงยาก
ซับซอน ตัวยาหาไมยากและมีสรรพคุณตํารับที่แกใชแกปญหาสาธารณสุขในปจจุบันได รวมทั้งสิ้น ๑๖ ตํารับ
(๑๐)

ตารางที่ ๑. ตํารับยาแผนไทยที่มีกัญชาเปนตัวยาที่อนุญาตใหเสพเพื่อบําบัดโรคหรือการศึกษาวิจัยได
(ประกาศกระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๖๒) (๑๐)

ชื่อตํารับยา ที่มาของตํารับยา
๑. ยาอัคคินีวคณะ คัมภีรธาตุพระนารายน
๒. ยาศุขไสยาศน คัมภีรธาตุพระนารายน
๓. ยาแกลมเนาวนารีวาโย ตํารายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
๔. ยาน้ํามันสนั่นไตรภพ ตํารายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
๕. ยาแกลมขึ้นเบื้องสูง ตํารายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
๖. ยาไฟอาวุธ แพทยศาสตรสงเคราะห เลม ๑ พระยาพิศณุประสาทเวช
๗. ยาแกนอนไมหลับ /ยาแกไขผอมเหลือง แพทยศาสตรสงเคราะห เลม ๑ พระยาพิศณุประสาทเวช
๘. ยาแกสัณฑฆาต กลอนแหง แพทยศาสตรสงเคราะห เลม ๒ พระยาพิศณุประสาทเวช
๙. ยาอัมฤตโอสถ แพทยศาสตรสงเคราะห เลม ๒ พระยาพิศณุประสาทเวช
๑๐. ยาอไภยสาลี เวชศึกษา พระยาพิศณุประสาทเวช
๑๑. ยาแกลมแกเสน เวชศาตรวัณณณา
๑๒. ยาแกโรคจิต อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เลม ๒
๑๓. ยาไพสาลี อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เลม ๒
๑๔. ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เลม ๒
๑๕. ยาทําลายพระสุเมรุ คัมภีรแพทยไทยแผนโบราณ เลม ๒ ขุนโสภิตบรรณลักษณ
๑๖. ยาทัพยาธิคุณ คัมภีรแพทยไทยแผนโบราณ เลม ๒ ขุนโสภิตบรรณลักษณ

พฤกษศาสตรของกัญชา
กัญชาเปนไมลมลุกปเดียว ลําตนตั้งตรง สูง ๑-๕ เมตร มีขนสีเขียวอมเทาและไมคอยแตกกิ่ง ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปฝามือ ขอบใบเวาลึกจนถึงจุดโคนใบเปน ๕-๗ แฉก แตละแฉกรูปยาวรี กวาง ๐.๓-๑.๕ เซนติเมตร
ยาว ๖-๑๐ เซนติ เ มตร โคนและปลายสอบ ขอบจั ก ฟ น เลื่ อ ย แผ น ใบด า นบนสี เ ขี ย วเข ม กว า ด า นล า ง
ดอกขนาดเล็ ก แยกเพศต า งต น (แต อ าจพบต น ที่ มี ด อกแยกเพศร ว มต น ได บ า ง) ดอกเพศผู อ อกเป น ช อ
ตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบชั้นเดียว ๕ กลีบ กลีบไมติดกัน เกสรเพศผูมี ๕ อัน ดอกเพศเมียเมียออกเดี่ยว
ตามซอกใบและปลายยอด แตละดอกมีใบประดับสีเขียวเขม คลายกาบและมีขนเปนตอมหุมอยู ไมมีกลีบดอก
มีรังไข ๑ อัน ภายในชองเดียว ผลเปนแบบผลแหงเมล็ดลอน ขนาดเล็ก เกลี้ยง สีน้ําตาล ชอดอกเพศเมียของ
กัญชาเรียก ‘กะหลี่กัญชา’ (แตบางทองที่อาจเรียก ‘กะเต็น’) (๔, ๑๑, ๑๒)
สวนใหญกัญชาเปนพืชที่ปรับตัวไดดีในทุกสภาพอากาศ ดิน แมลงศัตรูพืช เปนตน จึงทําใหกัญชา
พันธุเดียวกัน หากนําไปปลูกในอีกสถานที่หนึ่งที่สภาพอากาศ ดิน ตลอดจนการดูแลที่ตางกัน จะทําใหกัญชา

พันธุนั้นสามารถปรับตัวเขากับสภาพแวดลอมใหม สงผลตอลักษณะทางพฤกษศาสตรข องพืช อาจทําให


ความสูงแตกตางกัน การเรียงตัวของใบตางกัน ตลอดจนการสรางสารองคประกอบเคมีอาจจะแตกตางกัน
นอกจากนี้ พืชกัญชายังสามารถผสมขามสายพันธุ เนื่องจากโดยทั่วไปพืชกัญชาสวนใหญมีดอกที่แยกเพศ
ตางตน หากเกสรเพศผูของกัญชาสายพันธุหนึ่งผสมพันธุกับเกสรเพศเมียของกัญชาอีกสายพันธุหนึ่ง ก็จะเกิด
การผสมข า มสายพั น ธุ ขึ้ น อาจทํ า ให ส ายพั น ธุ ใ หม ที่ ไ ด อาจมี ค วามแตกต า งกั น ออกไป พบว า เกสรเพศผู
ของกัญชาสามารถปลิวไปไดไกลถึงราว ๑๐๐ กิโลเมตร จึงทําใหกัญชามีลักษณะที่อาจแตกตางกันออกไปตาม
แตละสายพันธุ จึงนําไปใชประโยชนไดอยางหลากหลาย โดยอาจใหเสนใยที่เหนียวและทนทาน ใชเปนยา
ใชสูบเพื่อสันทนาการ เปนตน (๑๓)

ก. ข.

ภาพที่ ๑. ชอดอกของพืชกัญชา (ก.) ชอดอกเพศผู, และ (ข.) ชอดอกเพศเมีย


(ภาพถายโดย ชยันต พิเชียรสุนทร)
เนื่องจากมนุษยรูจักใชประโยชนจากกัญชามาแตโบราณ พืชกัญชาจึงพัฒนาเปนพืชปลูกทั้งในเขตรอน
และเขตอบอุนทั่วไป ในป พ.ศ. ๒๒๙๖ ลินเนียส (Linnaeus) นักพฤกษศาสตรชาวสวีเดนเปนคนแรกที่ตั้ง
ชื่อวิทยาศาสตรของกัญชาเปน Cannabis sativa L. และจัดใหอยูในวงศ Cannabaceae ตีพิมพในหนังสือชื่อ
Species Plantarum ตอมาในป พ.ศ. ๒๔๑๘ ลามารค (Lamarck) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส ไดเสนอ
ชนิ ด ของกั ญ ชาเป น ๒ ชนิ ด คื อ C. sativa เป น กั ญ ชาชนิ ด ที่ ป ลู ก ในประเทศทางซี ก โลกตะวั น ตก และ
C. indica Lam. เปนพืชกัญชาปาที่พบในธรรมชาติที่อินเดียและประเทศเพื่อนบาน ตอมาภายหลังมีการเสนอ
ชนิ ด C. ruderalis Janisch. อี ก ด ว ย อย า งไรก็ ต าม ป จ จุ บั น นั ก พฤกษศาสตร ย อมรั บ ว า พื ช กั ญ ชา
มีชื่อวิทยาศาสตรที่ถูกตองเพียงชื่อเดียวคือ Cannabis sativa L. และชื่ออื่นเปนชื่อพอง (๑, ๑๔)

อยางไรก็ตาม มีผูเสนอใหแบงพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) เปน ๒ กลุมยอยตามลักษณะทาง


พฤกษศาสตร แ ละสารกลุ ม แคนนาบิ น อยด ที่ พ บคื อ กลุ ม sativa-type และ กลุ ม indica-type (๑๓)
ซึ่งมีรายละเอียดตาม ตารางที่ ๒.
ตารางที่ ๒. ความแตกตางของกลุม sativa-type และ indica-type
(Chandra S และคณะ, ๒๕๖๐) (๑๓)
กลุม sativa-type indica-type
เขตการกระจายพันธุเริ่มแรก ทั่วไป (เอเชียใต) จํ า เพาะ (อั ฟ กานิ ส ถาน, ปากี ส ถาน, แถบ
ตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย)
การปรับตัวตามฤดูกาล คอนขางนาน (late-maturing) คอนขางเร็ว (early-maturing)
บอยครั้งในภูมิภาคกึ่งเขตรอน การปรับตัวในภูมิภาคที่หนาวและแหงแลง
ความสูง คอนขางสูง (๒-๔ เมตร) คอนขางเตี้ย (๑-๒ เมตร)
ลักษณะวิสัย กิ่ ง ก า นแผ ก ระจาย (ปล อ งยาว) ไม เปนพุม (ปลองสั้น) คลายรูปกรวย แนน ตาถี่
หนาแนน ตาหาง
ความกวางของใบยอย ใบแคบ ใบกวาง
ความเขมของสีใบ สีเขียวออน สีเขียวเขม
ความยาวของฤดูกาล late-maturing early-maturing
กลิ่น กลิ่นหอม (sweet) กลิ่นไมหอม (sour & acrid)
ปริมาณ CBD พบ CBD นอยหรือไมพบ พบ CBD มาก
ผลตอจิตประสาท ทําใหเคลิ้มสุข ทําใหสงบ
ผอนคลายรางกาย ทําใหเกียจคราน
ตอมานักพฤกษศาสตรพยายามจําแนกพืชกัญชาตามลักษณะทางพันธุกรรม การใชประโยชน และ
ปริมาณสารกลุมแคนนาบินอยด ทั้ง THC และ CBD ซึ่งในทศวรรษที่ผานมานั้น อาจมีการแบงประเภทของ
กัญชาไดเปน ๖ กลุม คือ
๑. พืชกัญชาที่ใหเสนใย (hemp) ที่ปลูกในเอเชียตะวันตกและยุโรป พบ THC ปริมาณนอย แตพบสาร
CBD ปริมาณสูง
๒. กั ญ ชาที่ ใ ห เ ส น ใย (hemp) ที่ ป ลู ก ในเอเชี ย ตะวั น ออก โดยเฉพาะจี น มี THC ปริ ม าณน อ ย
ถึงปานกลาง แตมี CBD ปริมาณสูง
๓. กัญชา (marijuana) ที่ปลูกทั่วไปแถบเอเชียใตและเอเชียกลาง มี THC ปริมาณสูงมาก (ชื่อการคา
ของกัญชาชนิดนี้คือ ‘sativa-type’)
๔. กัญชา (marijuana) ที่ปลูกแถบเอเชียใต โดยเฉพาะในอัฟกานิสถานและประเทศใกลเคียง มี THC
และ CBD ในปริมาณสูงพอกัน (ชื่อการคาของกัญชาชนิดนี้คือ ‘indica-type’)
๕. กัญชาที่ใหเสนใย (hemp) ซึ่งเกิดจาการผสมขามสายพันธุของกลุม ๑. และ ๒
๖. กั ญ ชาชนิ ด ใช เ ป น สารออกฤทธิ์ ต อ จิ ต ประสาท (marijuana) ซึ่ ง เกิ ด จาการผสมข า มสายพั น ธุ
ของกลุมที่ ๓ และ ๔ (๑๓)

ตารางที่ ๓. กรอบความคิดเกี่ยวกับการจัดกลุมของกัญชา (ไมรวมกลุมทีผ่ สมขามสายพันธุ)


(Chandra S และคณะ, ๒๕๖๐) (๑๓)
กลุม ระบบการจัดกลุม ศัพท ป ริ ม า ณ ป ริ ม า ณ
Small & Hillig McPartland & Guy Clark & Merlin ทางการคา THC CBD
Cronquist (๒๕๑๙) (๒๕๔๗a, ๒๕๔๘a) (๒๕๔๗) (๒๕๕๖)
1 C. sativa C. sativa C. sativa C. sativa - ต่ํา สูง
subsp. sativa ‘hemp biotype’ subsp. sativa subsp. sativa
var. sativa (narrow leaf hemp)
2 C. indica C. indica C. indica - ต่ําถึงปาน สูง
‘hemp biotype’ subsp. chinensis subsp. chinensis กลาง
(broad leaf hemp)
3 C. sativa C. indica C. indica C. indica ‘sativa- สูง ต่ํา
subsp. indica ‘narrow-leaflet subsp. indica subsp. indica type’ หรือไมพบ
var. indica drug biotype’ (narrow leaf drug)
4 C. indica C. indica C. indica ‘indica- ปานกลาง ปานกลาง
‘wide-leaflet subsp. afghanica subsp. afghanica type’ ถึงสูง ถึงสูง
drug biotype’ (broad leaf drug)

นอกจากนี้ ยังมีการแบงประเภทของพืชกัญชาตามปริมาณสารกลุมแคนนาบินอยดที่พบ โดยในป


%∆9𝑇𝑇𝑇𝑇𝑇𝑇+%𝐶𝐶𝐶𝐶𝐶𝐶
พ.ศ. ๒๕๒๔ ฟตเทอรมัน (Futterman) และคณะ ไดเสนอสูตร %𝐶𝐶𝐶𝐶𝐶𝐶
สําหรับแบงประเภทพืช
กัญชาตามคาที่ได หากคาที่ไดมากกวา ๑.๐ จะจัดเปน ‘drug-types’ แตถาคาที่ไดนอยกวา ๑.๐ จะจัดเปน
‘fiber-types’ (๑๕)
ในป พ .ศ. ๒๕๓๐ โฟร เ นี ย (Fournier) และคณะได จํ า แนกประเภทตามลั ก ษณะทางเคมี
(chemotype) เปน ๓ กลุม คือ กลุม ‘fiber’ ให THC < รอยละ ๐.๓, CBD > รอยละ ๐.๕ และอัตราสวน
THC/CBD < ๐.๑ กลุ ม ‘Intermediate’ มี THC > ร อ ยละ ๐.๕, CBD > ร อ ยละ ๐.๕ และอั ต ราส ว น
THC/CBD > ๐.๕ และกลุม ‘Drug’ ซึ่งมีปริมาณ THC > รอยละ ๐.๒ และไมมี CBD อัตราสวน THC/CBD
จึงระบุไมได (๑๖) และในปพ.ศ. ๒๕๕๒ กาลาล (Galal) และคณะ ไดพยายามแบงพืชกัญชาเปนฟโนไทป
(phenotype) โดยใชปริมาณสารกลุมแคนนาบินอยด ๓ ชนิด ไดแก THC, CBD และ CBG ซึ่งสามารถแบงได
เป น ๕ ฟ โ นไทป คื อ ‘Drug’, ‘Intermediate’, ‘fiber’, ‘CBG’ และ ‘Non-cannabinoid’ โดยมี
รายละเอียดตามตารางที่ ๔. (๑๗)

ตารางที่ ๔. แสดง phenotype ของกัญชา ตามการศึกษาของกาลาลและคณะ


(Galal AM และคณะ, ๒๕๕๒) (๑๗)
ฟโนไทป (phenotype) THC CBD CBD:THC CBG:CBD
1 Drug 0.5-15 % 0.01-0.16% < 0.02 ~ 0.5
2 Intermediate 0.5-5 % 0.9-7.3 % 0.6-4 ~ 0.1
3 Fiber 0.05-0.70 % 1.0-13.6 % >5 ~ 0.05
4 CBG < 0.05 % < 0.5 % - > 0.5
5 Non-cannabinoid 0 0 - -

ทั้งหมดที่กลาวมานั้นเปนความพยายามในแบงประเภทของพืชกัญชาเพื่อใหเกิดความเขาใจพืชชนิดนี้
ทั้ ง จากลั ก ษณะภายนอกจนถึ ง สารองค ป ระกอบเคมี ซึ่ ง อาจใช เ ป น แนวทางในการกํ า หนดการปลู ก ตาม
ความตองการในการใชประโยชน

ประโยชนของเสนใยและเมล็ดพืชกัญชา
มนุษยรูจักใชประโยชนจากเสนใยกัญชามาแตโบราณ เสนใยจากตนกัญชานี้มีชื่อสามัญวา ‘เฮมป
(hemp หรือ Indian hemp)’ คนไทยบางถิ่นเรี ยก ปอกั ญ ชา มาก อน ปอกั ญ ชามี ส มบั ตินุม เหนียว และ
ทนทาน เปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และสามารถนํามาใชใหมได จึงมีการนําไปใชประโยชนในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
เชน เครื่องนุงหม เสื้อเกราะกันกระสุน หรือใชในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เชน ทําฉนวนกันความรอน โครงสราง
บางสวนของรถยนต ทํ าเยื่อกระดาษ ปจ จุ บันอุตสาหกรรมปอกัญชาเจริญรุดหนาไปมาก มี ม ากกวา ๓๐
ประเทศทั่วโลก เชน ออสเตรเลีย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี ใชประโยชนจากปอกัญชาไดหลากหลายใน
ทุกสวนของเฮมป ทั้งที่ใชทําปุย อาหารสัตว เปนตน
เมล็ดกัญชามีคุณคาทางโภชนาการสูง ใชเปนอาหารหรือผลิตภัณฑเสริมอาหาร เชน นมเมล็ดกัญชา
น้ํามันเมล็ดกัญชา (hemp seed oil) สารสกัดจากเมล็ดกัญชายังใชเปนสวนประกอบในผลิตภัณฑความงาม
และผลิตภัณฑดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ยังอาจนําไปใชทําพลาสติกชีวภาพ เปนตน
ในประเทศไทยในทางกฎหมายเรียก ‘ปอกัญชา’ วา ‘กัญชง’ ชาวเขาเผามง ลีซอ และอีกอ ปลูก
กัญ ชงหลายพั นธุ เชน พันธุแ ม ส ะงะ พันธุปางตอง พันธุปางอุง พันธุม ณีพฤกษ มีปลูกมากในเขตจังหวัด
ทางภาคเหนือ เชน ตาก เชียงราย นาน เชียงใหม
ในปจจุบันชาวเขาเผามงยังคงมีการใชผาที่ถักทอจากกัญชงสําหรับเปนเครื่องนุงหม ตั้งแตเกิดจนถึง
วาระสุดทายของชีวิต ในอดีตเครื่องนุงหมที่ใชสวมใสใหผตู ายของชนชาติมง จะตองทําจากกัญชงเทานั้น ทําให
กัญชงกลายเปนพืชสําคัญในการดํารงชีวิตและในจารีตประเพณีดั้งเดิมของชาวเขาบางเผามงแตอดีต (๑๘)

ก. ข.

ค.

ง.

ภาพที่ ๒. สวนประกอบของกัญชาที่ใหเสนใย (ก.) ตน แสดงลักษณะวิสัย, (ข.) เสนใยที่ลอกจากลําตน,


(ค.) และ (ง.) ภาพตัดขวางลําตนกัญชา
(Chandra S และคณะ, ๒๕๖๐) (๑๓)

สารองคประกอบที่เปนยาในพืชกัญชา
กัญชาเปนพืชที่มีการศึกษาเกี่ยวกับองคประกอบเคมีมายาวนาน ปจจุบันพบสารองคประกอบเคมี
ถึง ๕๖๕ ชนิด ที่สําคัญคือ สารกลุมแคนนาบินอยด (cannabinoids) ซึ่งพบ ๑๒๐ ชนิด ที่สําคัญเชน เดลตา-
๙-เททระไฮโดรแคนนาบินอยด (∆9-tetrahydrocannabinol หรือ ∆9-THC), แคนนาบิไดออล (cannabidiol
หรื อ CBD], แคนนาบิ น อล (cannabinol หรื อ CBN), แคนนาบิ โ ครมี น (cannabichromene หรื อ CBC),
แคนนาบิเจอรอล (cannabigerol หรือ CBG) (๑๙)
๑๐

สาร ∆9-THC เปนสารที่พบในปริมาณสูงสุดในกลุมแคนนาบินอยด โดยอาจพบไดถึงรอยละ ๑๗.๓,


รองลงมาไดแก สาร CBG ซึ่งพบไดราวรอยละ ๑๖.๓, สาร CBN พบราวรอยละ ๙.๖, สาร CBD และ CBC พบ
ในปริมาณใกลเคียงกันราวรอยละ ๗.๗ เปนตน (๑๙)
สาร ∆9-THC พบไดในทุกสวนของพืชกัญชา โดยจะพบมากในยาง (resin) จากเซลลขน (trichome)
ที่บริเวณชอดอกเพศเมีย (ภาพที่ ๓) จากบทความปริทัศนของอังเดร (Andre) ซึ่งตีพิมพเมื่อปพ.ศ. ๒๕๕๙
สรุปวาพบในดอกกัญชามีสาร ∆9-THC ๓๐-๒๐๐ มก/ก, ในใบพบ ∆9-THC ๘-๖๐ มก/ก สวนในเมล็ดและราก
ของกัญชาพบ ∆9-THC ในปริมาณนอย นอกจากนี้ ยังพบวากัญชาสายพันธุเบโดรแคน (bedrocan) มีปริมาณ
∆9-THC ราว ๑๙๐ มก/ก โดยสาร CBD จะสามารถพบไดในใบมากกวาดอกราว ๒ เทา โดยในใบพบ CBD
ราว ๒๐ มก/ก และในดอกพบ CBD ราว ๑๐ มก/ก อยางไรก็ตาม ยังพบวากัญชาสายพันธุเบไดออล (bediol)
อาจพบสาร CBD ไดสูงถึงราว ๘๐ มก/ก (๒๐)

ภาพที่ ๓. เซลลขน (trichomes) บริเวณชอดอกเพศเมียของกัญชา


(Bonini SA และคณะ, ๒๕๖๑) (๓)
ชีวสังเคราะห (biosynthesis) ของสารกลุมแคนนาบินอยดในกัญชานั้น สวนใหญมีสารตั้งตนมาจาก
สารเจอรานิลไพโรฟอสเฟต (geranyl pyrophosphate) ซึ่งเมื่อทําปฏิกิริยากับกรดโอลิเวโทลิก (olivetolic
acid) โดยมีเอนไซม geranylpyrophosphate : olivetolate geranyltransferase เปนตัวเรงปฏิกิริยา จะได
กรดแคนนาบิเจอโรลิก (cannabigerolic acid) ซึ่งกรดนี้เมื่อถูกเรงปฏิกิริยาโดยเอนไซมตางชนิดกัน จะได
สารกลุมของแคนนาบินอยดแตกตางกันไป โดยมีกลไกชีวสังเคราะหดังที่แสดงในภาพที่ ๔. จากความแตกตาง
ในวิถีชีวสังเคราะหดังกลาว จึงอาจแบงประเภทของสารกลุมแคนนาบินอยดไดเปน สารกลุมเดลตา-๙-เททระ
ไฮโดรแคนนาบินอยด (∆9-THC), สารกลุมแคนนาบิไดออล (CBD), และสารกลุมแคนนาบิโครมีน (CBC) (๑๓,
๑๙-๒๑)
๑๑

ภาพที่ ๔. วิถชี ีวสังเคราะหของสารกลุมแคนนาบินอยดในกัญชา


(Chandra S และคณะ, ๒๕๖๐, Kinghorn AD และคณะ, ๒๕๖๐, Andre CM และคณะ, ๒๕๕๙, Thomas BF และคณะ, ๒๕๕๙)
(๑๓, ๑๙-๒๑)

สารกลุมแทรนส-เดลตา-๙-เททระไฮโดรแคนนาบินอยด (trans-∆9-tetrahydrocannabinol,
∆9-THC types)
ป จ จุ บั น สามารถแยกสารกลุ ม นี้ ไ ด ก ว า ๑๐ ชนิ ด โดยสารสํ า คั ญ หลั ก ในกลุ ม นี้ คื อ สาร ∆ 9-THC
พบครั้ ง แรกโดย Gaoni และ Mechoulam ในป พ .ศ. ๒๕๐๗ (๒๒) สาร ∆ 9-THC นี้ มี ฤ ทธิ์ ก ระตุ น ตั ว รั บ
แคนนาบินอยด (cannabinoid receptors) แบบ partial agonist ทั้ง ๒ ชนิด คือ ชนิด CB1 และ CB2 ทําให
เกิดการกระตุนระบบประสาท (psychotropic effect) นอกจากนี้สาร ∆9-THC ยังทําปฏิกิริยากับตัวรับอื่น ๆ
ได อี ก หลายชนิ ด จึ ง ออกฤทธิ์ อื่ น ๆ ได เช น ต า นอาเจี ย น แก ป วด ต า นมะเร็ ง ลดความดั น ในลู ก ตา
ทําใหเจริญอาหาร อยางไรก็ตาม พบวาสาร ∆9-THC อาจทําใหเกิดการติด (addiction) และความวิตกกังวล
(anxiety) ได (๑๙, ๒๐, ๒๓)
๑๒

สารกลุมแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD type)


สารกลุมนี้ที่พบมี CBD และ กรดแคนนาบิซิโอลิก (cannabiciolic acid) ซึ่งเปนสารสําคัญที่แยกได
จากกั ญ ชาชนิ ด ที่ ใ ห เ ส น ใย (fiber type) สาร CBD นี้ ออกฤทธิ์ ก ระตุ น ตั ว รั บ แคนนาบิ น อยด ไ ด น อ ยกว า
∆9-THC ซึ่ ง อาจส ง ผลในการเป น ตั ว ควบคุ ม ทางลบ (negative modulator) ของทั้ ง CB1 และ CB2 ทํ า ให
CBD เป น สารที่ ไ ม อ อกฤทธิ์ ต อ ระบบประสาท (non-psychoactive effect) ป จ จุ บั น ยั ง พบอี ก ว า CBD
สามารถออกฤทธิ์ผานตัวรับอีกหลายชนิด ทําให CBD สามารถออกฤทธิ์ตานการอักเสบ แกปวด คลายกังวล
ตานมะเร็ง ตานการคลื่นไสอาเจียน ตานการชัก เปนตน (๑๓, ๑๙, ๒๐, ๒๓)
สารกลุมแคนนาบิโครมีน (cannabichromene, CBC type)
สาร CBC เปนสารที่เสถียรสูงที่สุดในกลุมแคนนาบินอยด สาร CBC พบมากในระยะที่กัญชากําลัง
เจริญเติบโต (vegetative stage) สารประเภทนี้ไมออกฤทธิ์ตอ CB1 แตสามารถลดการอักเสบผานการกระตุน
ที่ transient receptor potential channel (TRPA1) นอกจากนี้ยังพบวา CBC ยังมีกลไกลดการอักเสบอื่น
เชน สามารถลดไนตริกออกไซด, IL-10, interferon-γ (๓)
สารกลุมแคนนาบิเจอรอล (cannanigerol, CBG type)
สารกลุ ม นี้ ไ ม อ อกฤทธิ์ ต อ ระบบประสาท (non-psychoactive effect) ที่ ผ า นการกระตุ น ที่ CB1
โดยสารสกัดกั ญ ชาที่ มี ปริ ม าณ CBG สู ง (ไม มี ∆9-THC) สามารถเพิ่ม การกินอาหารของหนูได นอกจากนี้
สาร CBG ยั ง กระตุ น การทํ า งานของ α-2 adrenergic receptor ทํ า ให เ กิ ด ฤทธิ์ ใ นการนอนหลั บ
คลายกลามเนื้อแกปวด ไดอีกดวย (๓)
สารกลุมแคนนาบินอล (cannabinol, CBN type)
สารกลุมนี้ไดจากการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของสาร ∆9-THC มักพบในกัญชาที่แหงและเก็บไวนาน
สารนี้ส ามารถจั บกั บตั วรั บแคนนาบิ น อยด CB1 ไดนอยกวา ∆9-THC จึงทําให มีฤทธิ์ใ นการกระตุน ระบบ
ประสาทนอย (๑๓, ๑๙, ๒๐)
สารองค ป ระกอบเคมี อื่ น ๆ ที่ พ บในพื ช กั ญ ชา ได แ ก กลุ ม เทอร พี น อยด (terpenoids),
กลุ ม เฟลโวนอยด (flavonoids), กลุ ม ลิ ก นิ น (lignins), กลุ ม พี น อล (phenolic compounds) (๒๐)
ในเมล็ ด กั ญ ชามี น้ํ า มั น ระเหยยาก เรี ย ก ‘น้ํ า มั น เมล็ ด กั ญ ชา (hemp seed oil)’ ซึ่ ง มี อ งค ป ระกอบ
เปนกรดไขมันหลายชนิด เชน กรดไลโนเลอิก (linoleic acid), กรดแกมมา-ไลโนเลอิก (γ-linolenic acid),
กรดโอเลอิก (oleic acid), กรดแพลมิติก (palmitic acid) (๒๔)
๑๓

ภาพที่ ๕. โครงสรางของสารกลุมแคนนาบินอยดประเภทตาง ๆ (THC: tetrahydrocannabinol, CBD:


cannabidiol, CBN: cannabinol, CBC: cannabichromene, CBG: cannabigerol)
(Kinghorn AD และคณะ, ๒๕๖๐, Thomas BF และคณะ, ๒๕๕๙) (๑๙, ๒๑)

ระบบเอนโดแคนนาบินอยด (Endocannabinoid System)


สารองค ป ระกอบเคมี ใ นกั ญ ชาทํ า ปฏิ กิ ริ ย ากั บ ระบบเอนโดแคนนาบิ น อยด (endocannabinoid
system) ได ระบบนี้มีตัวรับ (receptors) สําคัญ ๒ ชนิด คือ Cannabinoid Receptor ชนิดที่ ๑ (CB1)
ซึ่งพบมากที่ระบบประสาทสวนกลาง ทั้งในสวนของ prefrontal cortex, basal ganglia, hippocampus,
amygdala, hypothalamus, และ cerebellum ทําใหมีผลตอจิตประสาท นอกจากนี้ยังสามารถพบ CB1
ใน smooth muscle, myocardium, adipocytes, and preganglionic sympathetic neurons ในสวนนี้
จะสงผลตอระบบตอมไรทอ (endocrine system) กับ Cannabinoid Receptor ชนิดที่ ๒ (CB2) พบได
บริ เ วณ peripheral blood mononuclear cells พบมากที่ เ ซลล macrophages, B cells, และ natural
killer cells ในระบบประสาทสวนกลาง CB2 มีสวนในการควบคุมการตอบสนองของกระบวนการอักเสบ
นอกจากนี้ CB2 ยังสงผลตอกลามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดและกลามเนื้อเรียบอีกดวย
รางกายมนุษยมีการสรางสารขึ้นมาเพื่อกระตุนการทํางานของตัวรับทั้ง ๒ ชนิดนี้ ที่สําคัญ ไดแก
N-arachidonoylethanolamine (AEA ห รื อ anandamide) แ ล ะ 2-arachidonoylglycerol (2-AG)
(๓, ๒๕)
๑๔

การใชพชื กัญชาในการแพทยแผนปจจุบัน
กัญชามีการใชประโยชนทางแพทยมาอยางยาวนาน จากฤทธิ์ตอจิตประสาทที่เกิดขึ้น ในปจจุบันมี
ขอมูลที่กลาวถึงการใชกัญชาอยางหลากหลาย เชน การรักษามะเร็ง เปนยากันชัก ลดการปวด ใชในโรคเอดส
ทั้งหมดเหลานี้ทําใหกัญชาเปนกระแสในสังคมไทยเปนอยางมาก
สถาบันวิชาการแหงชาติดานวิทยาศาสตร วิศวกรรมและการแพทยของสหรัฐอเมริกา [The National
Academies of Sciences, Engineering, and Medicine (NASEM)] ไดรวมรวมการศึกษาที่เกี่ยวของกับการ
ใชกัญชาหรือสารกลุมแคนนาบินอยดในการรักษาโรคและกลุมอาการตาง ๆ จากหลักฐานทางวิชาการเหลานั้น
ทําใหส ถาบันแหงนี้ ได ส รุปประโยชน ของกั ญชาหรือสารกลุม แคนนาบินอยดไว ที่สําคัญ คือกลุมที่พบวามี
หลักฐานสําคัญชัดเจนของกัญชาในการรักษาโรค (conclusive or substantial evidence that cannabis
or cannabinoids are effective) ประกอบด วย ๑. การใชกัญ ชาในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง, ๒. การ
รับประทานสารกลุมแคนนาบินอยดเพื่อตานการอาเจียนในผูปวยที่ไดรับเคมีบําบัด, และ ๓. การรับประทาน
สารกลุมแคนนาบินอยดเพื่อปรับปรุงภาวะกลามเนื้อหดเกร็งในผูปวยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple
sclerosis) (๒๖)
ปวดเรื้อรัง สําหรับการใชกัญชาในการรักษาการปวดนั้นมีการใชกันมาอยางยาวนาน ในสหรัฐอเมริกา
พบวาคนที่ใชกัญชาเพื่อสันทนาการจะมีการสั่งใชยาระงับปวดกลุม opioid ลดลง จากการศึกษารูปแบบ
systematic review ทั้งหมด ๒ การศึกษา สรุปไดวากัญชาสามารถรักษาอาการปวดเรื้อรังในผูปวยผูใหญได
โดยนอกจากจะผานการกระตุนที่ตัวรับ CB1 และ CB2 แลว ยังพบวามีกลไกระงับปวดในโปรตีนกลุมอื่นดวย
เชน TRPV1, GPR55, PPARs และมี บางรายงานระบุ วา ควรได รั บสาร THC และ CBD รวมกันจะให ฤ ทธิ์
ในการลดปวดไดดีกวา CBD อยางเดียว (๒๖-๒๘)
อาการคลื่นไสอาเจียน ในสหรัฐอเมริกามีการขึ้นทะเบียนยาที่เปนสาร THC สังเคราะห เพื่อใชในการ
บํ า บั ด อาการคลื่ น ไส อ าเจี ย นในผู ป ว ยที่ ไ ด รั บ เคมี บํ า บั ด ที่ ใ ช ย าต า นอาเจี ย นกลุ ม อื่ น แล ว ไม ไ ด ผ ล โดยมี
ยา Nabilone และ Dronabinol ซึ่ ง ขึ้ น ทะเบี ย นยาป พ.ศ. ๒๕๒๕ และ ๒๕๒๙ ตามลํ า ดั บ ภายหลั ง มี
การศึกษายา Nabiximol ซึ่งเปนสารสกัดกัญชาโดยมี THC และ CBD ในอัตราสวน ๑:๑ โดยใหยาดวยการ
ฉีดพนทางปาก เพื่อบําบัดอาการคลื่นไสอาเจียนในผูปวยที่ไดรับเคมีบําบัดอีกดวย (๒๖-๒๘)
ภาวะกล า มเนื้ อหดเกร็ง จากการศึกษา systematic review จํ านวน ๒ การศึกษา พบว าการใช
สารกลุ ม แคนนาบิ น อยด ส ามารถลดการหดเกร็ ง ของกล า มเนื้ อ ในผู ป ว ยโรคปลอกประสาทเสื่ อ มแข็ ง ได
แตยังไมพบหลักฐานที่ชัดเจนในการรักษาการหดเกร็งในผูปวยที่มีการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง (spinal cord
injury) (๒๖)
อาการชั ก จากผลการศึ ก ษาในขั้ นพลี คลินิ กใหข อมูล ที่ส นับสนุน การใชส ารกลุม แคนนาบิ น อยด
โดยเฉพาะ CBD ในการรักษาอาการชัก และจากการศึกษาทางคลินิกแบบ randomize control trial ทําใหมี
ขอมูลสนับสนุนการใชยาดังกลาวมากขึ้น เปนที่มาของการขึ้นทะเบียนยาในชื่อการคา Epidiolex® ซึ่งเปนสาร
CBD ที่ ส กั ด ได จ ากกั ญ ชา โดยมี ข อ บ ง ใช ใ นการรั ก ษาอาการชั ก ที่ รุ น แรงและพบได ย าก ได แ ก
๑๕

Lennox-Gastaut syndrome และ Dravet syndrome (๓, ๒๖, ๒๗) โดยการศึกษาของ Russo ในปพ.ศ.
๒๕๖๑ ไดจัดใหการใชยาดังกลาวในขอบงใชที่กําหนดนี้ อยูในระดับเชื่อถือได (conclusive) (๒๙)

ตารางที่ ๕. ยาทีไ่ ดจากกัญชาหรือสารกลุมแคนนาบินอยด


(NASEM, ๒๕๖๐) (๒๖)

ยาที่มีพนื้ ฐานจากกัญชาหรือสารกลุมแคนนาบินอยด
สาร การบริหารยา/รูปแบบยา คําอธิบายเพิ่มเติม
สารจากธรรมชาติ Cannabidiol (CBD) กินทางปาก (แคปซูล) เปนสารกลุมแคนนาบินอยด
พนทางปาก ที่สกัดจากกัญชา
กัญชา (cannabis) หลากหลาย สารกลุมแคนนาบินอยด
Cannador กินทางปาก (แคปซูล) THC และ CBD ที่สกัดจากกัญชา
Epidiolex® น้ํามัน สาร CBD เขมขนที่สกัดจากกัญชา
Nabiximol (Sativex®) พนทางปาก THC และ CBD ที่สกัดจากกัญชา
๒ สายพันธุ
Tetrahydrocannabinol กินทางปาก (แคปซูล) สารออกฤทธิ์กลุมแคนนาบินอยด
(THC) สูบ
พนทางปาก
THC/CBD กินทางปาก (แคปซูล) สารกลุมแคนนาบินอยด
สารสังเคราะห Ajulemic acid (AjA) กินทางปาก (แคปซูล) สารสังเคราะหกลุมแคนนาบินอยด
ที่ไมสงผลตอระบบประสาท
Dronabinol กินทางปาก (แคปซูล) THC สังเคราะห
(Marinol®, Syndros®)
Nabilone (Cesamet®) กินทางปาก (แคปซูล) สารสังเคราะหกลุมแคนนาบินอยด (THC)

สารกลุมแคนนาบินอยดจากกัญชาอาจยังมีประโยชนทางการแพทยอื่น ๆ เชน ชวยใหเจริญอาหาร


เพื่อเพิ่มน้ําหนักในผูปวย HIV/AID, ลดความดันในลูกตาสําหรับโรคตอหิน, บําบัดผูปวยกลุมโรคระบบประสาท
เชน การชวยใหนอนหลับ โรคพารกินสัน ความจําเสื่อม แตตองมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมตอไปจนไดขอสรุป
ที่ชัดเจน (๒๖)
๑๖

อาการขางเคียงจากการใชกัญชาหรือสารกลุมแคนนาบินอยด
กัญชานอกจากจะมีประโยชนทางการแพทยที่หลากหลายแลว สิ่งที่ควรคํานึงถึงคือผลที่ไดรับจากการ
ใชพืชกัญชาหรือสารจากกัญชาดวยเพื่อใหสามารถประเมินความเหมาะสมในการรักษาได ผลจากการใชกัญชา
ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในการเกิดผลเสียตอระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความจํา
อาการทางจิต โรคจิตเพทและอาการทางอารมณได (ตารางที่ ๖) สอดคลองกับการศึกษาของ Whiting ในป
พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งสรุปอาการไมพึงประสงคจากการใชสารกลุมแคนนาบินอยดวามีอาการเวียนศีรษะ ปากแหง
คลื่นไส เหนื่อยลา งวง เคลิ้มสุข อาเจียน งุนงงสับสน เซื่องซึม สับสน เสียการทรงตัว เกิดภาพหลอน เปนตน
(๓๐, ๓๑)
ตารางที่ ๖. อาการขางเคียงทางคลินิกทั่วไปที่พบจากการใชกัญชาหรือสารกลุมแคนนาบินอยด
(Cohen K และคณะ, ๒๕๖๒) (๓๐)
สภาวะทางจิต • เพิ่มความเสี่ยงตอการผิดปรกติทางจิต ทําใหเกิดการบริโภคซ้ําในผูใชที่ออนไหว
หรือผูใชใหม
• วิตกกังวล ตื่นตระหนก โดยเฉพาะผูใชใหม
• การใชติดตอกันเปนเวลานานสงผลตอสภาพอารมณ ทําใหฟุงพลานและซึมเศราได
• การติดกัญชา
การเรี ยนรู และการรบกวน • สงผลตอการเรียนรู ซึ่งอาจสงผลใหเกิดการเพิ่มอุบัติเหตุบนถนน
ระบบประสาทสวนกลาง • การใชในระยะยาวสงผลตอการทํางานของสมอง
ผลตอระบบหายใจ • การใชระยะสั้นทําใหลดภูมิคุมกันในระบบทางเดินหายใจ
• การใช ใ นระยะยาวทํ า ให เ พิ่ ม ความเสี่ ย งต อ การเป น โรคในทางเดิ น หายใจและ
มะเร็งปอด
ผลตอระบบหัวใจ • เพิ่มโอกาสการเกิดโรคจากการเพิ่มอัตราการเตนของหัวใจและลดความดันโลหิต
และหลอดเลือด • บางรายงานพบความสั ม พั น ธ ข องการใช กั ญ ชากั บ การเกิ ด กล า มเนื้ อ หั ว ใจ
ตายเฉียบพลัน โรคของกลามเนื้อหัวใจ จนถึงหัวใจหยุดเตนได

กัญชากับสถานะทางกฎหมายในประเทศไทย
ตามพระราชบั ญ ญั ติ ย าเสพติ ด ให โ ทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ กํ า หนดให ‘กั ญ ชา’ เป น ยาเสพติ ด ให โ ทษ
ประเภทที่ ๕ หามมิใหผูใดผลิต จําหนาย นําเขา สงออก หรือมีไวในครอบครอง เวนแตรัฐมนตรีจะอนุญาตโดย
ความเห็นชอบของคณะกรรมการเปนราย ๆ ไป ตลอดจนการเสพยาเสพติดใหโทษดังกลาวมีความผิดตาม
กฎหมาย (๑๘) แตจากการที่พืชชนิดนี้สามารถนํามาใชประโยชนไดอยางหลากหลายทั้งใหเสนใย และการใช
เปนยานั้น ทําใหภาครัฐมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวของเพื่อการพัฒนาพืชชนิดนี้เพื่อใหเปนพืชเศรษฐกิจ
ในป 2559 ไดออกกฎกระทรวง เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหนาย หรือมีไวในครอบครองซึ่ง
ยาเสพติดใหโทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ พ.ศ. ๒๕๕๙ กําหนดนิยามของ “เฮมพ” (Hemp) วาหมายถึง
๑๗

พื ช ซึ่ ง มี ชื่ อ ทางวิ ท ยาศาสตร ว า Cannabis sativa L. subsp. sativa อั น เป น ชนิ ด ย อ ยของพื ช กั ญ ชา
(Cannabis sativa L.) ที่ มี ป ริ ม าณสารเททระไฮโดรแคนนาบิ น อลไม เ กิ น ร อ ยละ ๑.๐ ต อ น้ํ า หนั ก แห ง
ปจจุบันกฎกระทรวงฉบับนี้กําหนดใหเฉพาะหนวยงานของรัฐเปนผูขออนุญาตผลิต จําหนาย หรือมีไวใน
ครอบครองซึ่งยาเสพติดใหโทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ (๓๒) และในปพ.ศ. ๒๕๖๒ ไดมีปรับกฎหมายตาม
พระราชบั ญ ญั ติ ยาเสพติ ด ให โ ทษ (ฉบั บ ที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมี ก ารแก ไ ขเพื่ อ ให ส ามารถใช กั ญ ชา
ในทางการแพทยได (๓๓) ยกตัวอยางเชน “มาตรา ๒๖/๒ หามมิใหผูใดผลิต นําเขา หรือสงออกซึ่งยาเสพติด
ใหโทษในประเภท ๕ เวนแตในกรณีดังตอไปนี้
(๑) ในกรณีจําเปนเพื่อประโยชนของทางราชการ การแพทย การรักษาผูปวย หรือการศึกษาวิจัยและ
พัฒนา ทั้งนี้ ใหรวมถึงการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร หรืออุตสาหกรรม เพื่อประโยชนทาง
การแพทยดวย ซึ่งไดรับใบอนุญาตจากผูอนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
(๒) ในกรณีที่เปนกัญชง (Hemp) ซึ่งเปนพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตรวา Cannabis sativa L.subsp.
sativa และมีลักษณะตามที่คณะกรรมการกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งไดนําไปใชประโยชน
ตามที่ กํ า หนดในกฎกระทรวง ให ก ระทํ า ได เ มื่ อ ได รั บ ใบอนุ ญ าตจากผู อ นุ ญ าตโดยความเห็ น ชอบของ
คณะกรรมการ
(๓) ในกรณีที่เปนการนําติดตัวเขามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไมเกินปริมาณที่จําเปนสําหรับ
ใชรักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผูประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผูประกอบวิชาชีพ
ทันตกรรม ผูประกอบวิชาชีพการแพทยแผนไทย ผูประกอบวิชาชีพการแพทยแผนไทยประยุกตหรื อหมอ
พื้นบานตามกฎหมายวาดวยวิชาชีพการแพทยแผนไทย ซึ่งเปนผูใหการรักษา ใหกระทําไดเมื่อไดรับใบอนุญาต
จากผูอนุญาต ทั้งนี้ ผูประกอบวิชาชีพการแพทยแผนไทยและหมอพื้นบาน ใหเปนไปตามหลักเกณฑ วิธีการ
และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ”
อยางไรก็ตาม การปรับกฎหมายดังกลาว ไมวาจะดวยเหตุผลเพื่อประโยชนดานเศรษฐกิจจากเสนใย
หรือการใชประโยชนทางแพทยนั้น ยังตองการขอมูลสนับสนุนที่คอนขางมาก ทั้งการวิธีการตรวจวิเคราะห
ปริมาณสารกลุมแคนนาบินอยด (ที่รวดเร็ว แมนยํา และราคาถูก) สายพันธุกัญชา การปลูก การใชในสูตรตํารับ
ทั้งนี้เพื่อปองกันไมใหเกิดการใชผิดวัตถุประสงคอันจะกอใหเกิดผลเสียตอสังคมโดยรวมได

เอกสารอางอิง
1. The Plant List (2013). Version 1.1. Published on the Internet; available from:
http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2696480 (accessed Apr 15, 2019).
2. Edwards SE, Rocha IC, Williamson EM, Heinrich M. Phytopharmacy: An evidence-based guide to
herbal medical products. Singapore: C.O.S. Printers Pte; 2015.
3. Bonini SA, Premoli M, Tambaro S, Kumar A, Maccarinelli G, Memo M, et al. Cannabis sativa: A
comprehensive ethnopharmacological review of a medicinal plant with a long history.
J Ethnopharmacol. 2018;227:300-15.
๑๘

4. Ministry of Health, Government of India. The Ayurvedic Pharmacopoeia of India, Part I., Vol I. New
Delhi: Ministry of Health, Government of India; 2004.
5. ชยันต พิเชียรสุนทร, แมนมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส. คําอธิบายตําราพระโอสถพระนารายณ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิง่ ; 2548.
6. เสงี่ยม พงษบุญรอด. ไมเทศเมืองไทย สรรพคุณของยาเทศและยาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพกรุงธน; 2522.
7. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. ยอเภสัชกรรมไทยและสรรพคุณสมุนไพร. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศิลปสยามบรรจุภัณฑ
และการพิมพ; 2552.
8. คณะอนุกรรมการคุมครองตํารับยาและตําราการแพทยแผนไทย. คัมภีรธาตุพระนารายน ฉบับใบลาน
(ตําราพระโอสถพระนารายณ). กรุงเทพฯ: โรงพิมพองคการสงเคราะหทหารผานศึก; 2555.
9. โรงเรียนแพทยแผนโบราณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์). ตํารายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพน
วิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาใหจารึกไวเมื่อ
พ.ศ. 2375 ฉบับสมบูรณ. พระนคร: โรงพิมพมหามกุฎราชวิทยาลัย; 2505.
10. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดตํารับยาเสพติดใหโทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยูที่ใหเสพ
เพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2562. ราชกิจจานุเบกษา เลม 136 ตอนพิเศษ
94 ง วันที่ 11 เมษายน 2562.
11. ราชบัณฑิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ; 2546.
12. Smitinand T, Larsen K, editors. Flora of Thailand. Vol 2. pt 4. Bangkok: TISTR Press; 1981.
13. Chandra S, Lata H, El Sohly MA, editors. Cannabis sativa L. - botany and biotechnology. n.p.:
Springer International Publishing; 2017.
14. Pollio A. The name of Cannabis: A short guide for nonbotanists. Cannabis Cannabinoid Res.
2016;1(1):234-8.
15. Fetterman PS, Keith ES, Waller CW, Guerrero O, Doorenbos NJ, Quimby MW. Mississippi-grown
Cannabis sativa L: preliminary observation on chemical definition of phenotype and variations in
tetrahydrocannabinol content versus age, sex, and plant part. J Pharm Sci. 1971;60(8):1246-9.
16. Fournier G, Richez-Dumanois C, Duvezin J, Mathieu JP, Paris M. Identification of a new chemotype
in Cannabis sativa: cannabigerol-dominant plants, biogenetic and agronomic prospects.
Planta Med. 1987;53(3):277-80.
17. Galal AM, Slade D, Gul W, El-Alfy AT, Ferreira D, El Sohly MA. Naturally occurring and related
synthetic cannabinoids and their potential therapeutic applications. Recent Pat CNS Drug Discov.
2009;4(2):112-36.
18. กองควบคุมวัตถุเสพติด สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คูมือพนักงานเจาหนาที่ในการกํากับดูแลซึ่ง
ยาเสพติดใหโทษประเภทที่ 5 เฉพาะเฮมพ (Hemp). กรุงเทพฯ: โรงพิมพสํานักงานพระพุทธศาสนาแหงชาติ; 2561.
19. Kinghorn AD, Falk H, Gibbons S, Kobayashi J, editors. Phytocannabinoids unraveling the complex
chemistry and pharmacology of Cannabis sativa. Vol 103. n.p.: Springer International Publishing; 2017.
20. Andre CM, Hausman JF, Guerriero G. Cannabis sativa: The plant of the thousand and one
molecules. Front Plant Sci. 2016;7:19. doi: 10.3389/fpls.2016.00019.
21. Thomas BF, El Sohly MA. The analytical chemistry of cannabis. n.p.: Elsevier; 2016.
๑๙

22. Gaoni Y, Mechoulam R. Isolation, structure and partial synthesis of an active constituent of
hashish. J Am Chem Soc. 1964;86(8):1646–7.
23. Pertwee RG. The diverse CB1 and CB2 receptor pharmacology of three plant cannabinoids:
δ9-tetrahydrocannabinol, cannabidiol and Δ9-tetrahydrocannabivarin. Br. J. Pharmacol.2008
;153(2):199-215.
24. Montserrat-de la Paz S, Marín-Aguilar F, García-Giménez MD, Fernández-Arche MA. Hemp
(Cannabis sativa L.) seed oil: analytical and phytochemical characterization of the unsaponifiable
fraction. J Agric Food Chem. 2014;62(5):1105-10.
25. วิมล พันธุเวทย. Endocannabinoid system. Thai Pharm Health Sci J. 2009;4(1);84-93.
26. National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine; Health and Medicine Division; Board
on Population Health and Public Health Practice; Committee on the Health Effects of Marijuana:
An Evidence Review and Research Agenda. The Health Effects of Cannabis and Cannabinoids: The
Current State of Evidence and Recommendations for Research. Washington (DC): National
Academies Press (US); 2017.
27. Ebbert JO, Scharf EL, Hurt RT. Medical cannabis. Mayo Clin Proc. 2018;93(12):1842-7.
28. PDQ Integrative, Alternative, and Complementary Therapies Editorial Board. Cannabis and
Cannabinoids (PDQ®): Health Professional Version. 2018 Aug 16. In: PDQ Cancer Information
Summaries [Internet]. Bethesda (MD): National Cancer Institute (US); 2002. Available from:
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK65755/
29. Russo EB. Cannabis therapeutics and the future of neurology. Front Integr Neurosci. 2018;12:51.
doi: 10.3389/fnint.2018.00051.
30. Cohen K, Weizman A, Weinstein A. Positive and negative effects of cannabis and cannabinoids on
health. Clin Pharmacol Ther. 2019;105(5):1139-47.
31. Whiting PF, Wolff RF, Deshpande S, Di Nisio M, Duffy S, Hernandez AV, et al. Cannabinoids for
medical use: A systematic review and meta-analysis. JAMA. 2015;313(24):2456-73.
32. กฎกระทรวง เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหนาย หรือมีไวในครอบครองซึ่งยาเสพติดใหโทษใน
ประเภท 5 เฉพาะเฮมพ พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559. ราชกิจจานุเบกษา เลม 134 ตอนที่ 1 ก วันที่ 6
มกราคม 2560.
33. พระราชบัญญัติ ยาเสพติดใหโทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ใหไว ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ พ.ศ. 2562.
ราชกิจจานุเบกษา เลม 136 ตอนที่ 19 ก วันที่ 18 กุมภาพันธ 2562.

You might also like