You are on page 1of 26

06

การศึกษาวิเคราะห์สมุนไพรในคัมภีรพ์ รหมปโรหิต 

Analytical Study of Herbal Medicine in


Phrom P’Rohit Scripture

อภิรดา เอี่ยมอ�่ำ *
ทัพพ์เทพ ทิพยเจริญธัม* **
ฉันทณัฏฐ์ ทิพยเจริญธัม*
วิมลมาศ ชัยวรศิลป์*
ธรรมณพรรธ ดวงดี*
Apirada Iam-am
Thapthep Thippayacharoentam
Chantanat Thippayacharoentam
Wimonmas Chaiworaslip
Thamnapat Duangdee
* สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
** ผูร้ บั ผิดชอบโครงการ: ทัพพ์เทพ ทิพยเจริญธัม สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์
ศิรริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 0 2419 1706 E-mail: thapthap.tip@gmail.com
บ ท คั ด ย่ อ

คัมภีรพ์ รหมปโรหิต เป็นสมุดไทยขาว การบันทึกใช้อกั ขรวิธแี บบไทยโบราณ


ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จ�ำนวน 110 หน้า ประกอบด้วยหน้าต้น 57 หน้า หน้า
ปลาย 53 หน้า ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคและอาการของสตรี
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยว
กับสมุนไพรในคัมภีร์พรหมปโรหิต โดยการปริวรรตถอดค�ำหรือข้อความจากการ
เขียนตามอักขรวิธีแบบโบราณให้เป็นการเขียนตามแบบอักขรวิธีในปัจจุบัน การ
ศึกษาวิเคราะห์สมุนไพรในคัมภีร์พรหมปโรหิต การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ
องค์ความรูเ้ กีย่ วกับสมุนไพรในคัมภีรพ์ รหมปโรหิตกับองค์ความรูเ้ กีย่ วกับสมุนไพร
ตามศาสตร์และองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย สรุปและอภิปรายผล
ผลการศึกษาพบสมุนไพรทั้งหมด 290 ชนิด พบรสยาสมุนไพรจ�ำนวน 10
รส พิกัดยาสมุนไพรจ�ำนวน 10 พิกัด วิธีการปรุงยาสมุนไพรจ�ำนวน 24 วิธี ผลการ
ศึกษาเปรียบเทียบต�ำรับยาสมุนไพรในคัมภีรพ์ รหมปโรหิต กับต�ำรับยาสมุนไพรใน
บัญชียาหลักแห่งชาติ พบว่ามีชื่อตรงกัน 3 ต�ำรับ
ผลการศึกษานีเ้ กิดประโยชน์ตอ่ วงวิชาการการแพทย์แผนไทยด้านการเรียน
การสอนเภสัชกรรมแผนไทย การท�ำเวชปฏิบตั ดิ า้ นการแพทย์แผนไทย และวงการ
วิชาการด้านการแพทย์แผนไทย

ค�ำส�ำคัญ: สมุนไพร, การแพทย์แผนไทย, คัมภีร์พรหมปโรหิต

138 138
Abstract
‘Phrom P’Rohit’ scripture is a white Thai traditional book. It was
written using ancient Thai characters which were used in the early
Rattanakosin era. The manuscript consisted of 110 pages which include
57 pages in the front part and 53 pages in the back part, which discuss
women’s diseases.
The objectives of this research are to transliterate and study
the herbal medicine mentioned in the ‘Phrom P’Rohit’ scripture by
transliterating the ancient Thai script into modern Thai script. This was
then, analyzed and compared to current knowledge of traditional herbal
medicine. The results of the study revealed 290 herbal materials, 10
teastes of medicine. Three similar herbal formulations were found as a
result of the comparative study between the herbal medical formulations
mentioned in the ‘Phrom P’Rohit’ scripture and the national list of
herbal medicine.
The result of this study can be applied for teaching Thai traditional
pharmacy, the practice of Thai traditional medicine, and also the Thai
traditional medical academic field.

Keywords: Herbal medicine, Thai traditional medicine, Phrom P’Rohit scripture

139 139
การศึกษาวิเคราะห์สมุนไพรในคัมภีร์พรหมปโรหิต

บทน�ำ
การแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาในการดูแลรักษาสุขภาพของคน
ไทยมาช้านาน มีหลักฐานการบันทึกในต�ำราโอสถพระนารายณ์ สมัยกรุง
ศรีอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ มีการจารึกสรรพวิชาต่างๆ ไว้ตามศาลาราย
วัดโพธิ์ และวัดราชโอรสาราม อีกทั้งมีการคัดลอกคัมภีร์ต่างๆ เผยแพร่กัน
อย่างกว้างขวาง ทั้งในรูปแบบใบลาน สมุดไทย และสมุดฝรั่ง คัมภีร์พรหม
ปโรหิต เป็นคัมภีร์ที่บันทึกในรูปแบบสมุดไทยขาว มีจ�ำนวนทั้งสิ้น 110
หน้า ประกอบด้วยหน้าต้น 57 หน้า หน้าปลาย 53 หน้า ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
มีผู้น�ำมาบริจาคให้กับโรงเรียนอายุรเวทธ�ำรง สถานการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจัดการ
เรียนการสอนหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์มากว่า 36 ปี โดยใช้
ต�ำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ฉบับอนุรักษ์) อ้างอิงในการเรียนการสอน
ตลอดมา ประกอบด้วยคัมภีร์ 13 คัมภีร์ (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์
ไทยเดิมฯ 2550: ก) และต�ำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 3 จ�ำนวน 10
คัมภีร์ (โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ 2504: ก) ต่อมาเมื่อ
ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง
รัชกาลที่ 5 เล่ม 1-3 ออกเผยแพร่ จึงพบคัมภีรม์ รณญาณสูตร และคัมภีรแ์ ผน
นวดเพิ่มเติมขึ้นมา (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ
2542: 7-8) แต่ไม่พบว่ามีคัมภีร์พรหมปโรหิตแต่อย่างใด ดังนั้นหากมีการ

140 140
อ ภิ ร ดา เ อี่ ย ม อํ่ า, ทั พ พ์ เท พ ทิ พ ย เจ ริ ญ ธั ม,
ฉั น ท ณั ฏ ฐ์ ทิ พ ย เจ ริ ญ ธั ม, วิ ม ล มา ศ ชั ย ว ร ศิ ล ป์, ธ ร ร ม ณ พ ร ร ธ ด ว ง ดี

ศึกษาวิจัยคัมภีร์นี้อย่างจริงจังก็อาจพบคัมภีร์ใหม่อีกเล่มหนึ่งที่สามารถน�ำ
มาอ้างอิงประกอบการเรียนการสอนให้กับแพทย์แผนไทยได้ และจะช่วย
ให้องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและศึกษาวิเคราะห์องค์
ความรูเ้ กีย่ วกับสมุนไพรในคัมภีรพ์ รหมปโรหิต เป็นการวิจยั เชิงคุณภาพ โดย
การศึกษาจากเอกสารต้นฉบับ คัมภีร์พรหมปโรหิต ของโรงเรียนอายุรเวท
ธ�ำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การปริวรรตถอดค�ำ
หรือข้อความจากการเขียนตามอักขรวิธีแบบโบราณให้เป็นการเขียนตาม
แบบอักขรวิธใี นปัจจุบนั การศึกษาวิเคราะห์สมุนไพรในคัมภีรพ์ รหมปโรหิต
การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบองค์ความรูเ้ กีย่ วกับสมุนไพรในคัมภีรพ์ รหม
ปโรหิตเป็นการศึกษาเปรีบเทียบกับองค์ความรูเ้ กีย่ วกับสมุนไพรตามศาสตร์
และองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย สรุปและอภิปรายผล การศึกษานี้
ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยที่
มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี จ�ำนวน 3 ท่าน ในการน�ำเสนอบทความนี้
มุ่งเน้นไปที่องค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ทั้งในเชิงปริมาณชนิดของเครื่อง
ยาสมุนไพรที่มีการบันทึกไว้ในคัมภีร์ ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของต�ำรับ
ยาสมุนไพร รสยาสมุนไพร วิธีการปรุงยา และสมุนไพรที่น�ำมาท�ำเป็นน�้ำ
กระสายยา และเพื่อให้แน่ใจว่าความรู้ในคัมภีร์พรหมปโรหิตเป็นความรู้

141 141
ใหม่ทไี่ ม่เคยมีในการเรียนการสอนมาก่อนจึงได้ทำ� การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
สาระส�ำคัญเกี่ยวกับสมุนไพรในคัมภีร์พรหมปโรหิต กับหลักเภสัชกรรม 4
ประการ คือ เภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช คณาเภสัช และเภสัชกรรม (มูลนิธิ
ฟืน้ ฟูสง่ เสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548:
21) ทีใ่ ช้เป็นมาตรฐานในการเรียนการสอนเกีย่ วกับวิชาเภสัชกรรมแผนไทย
คณะผูว้ จิ ยั เชือ่ ว่าการศึกษาวิจยั นีจ้ ะเกิดประโยชน์ทงั้ ในมิตกิ ารเรียนการสอน
และการท�ำเวชปฏิบัติด้านการแพทย์แผนไทยอย่างกว้างขวาง

ผลการศึกษา
1. ผลการปริวรรตคัมภีร์พรหมปโรหิต: จากการศึกษาวิเคราะห์
ลักษณะของวัตถุที่ใช้บันทึก คัมภีร์พรหมปโรหิตเป็นการบันทึกบนสมุด
ไทยขาว ด้วยอักษรไทยและอักษรขอมไทย เช่นเดียวกับในต�ำราเวชศาสตร์
ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 รวมทั้งรูปลักษณะอักษรและอักขรวิธีของอักษร
ไทยและอักษรขอมไทยในคัมภีร์พรหมปโรหิตนั้น มีความคล้ายคลึงกับที่
ใช้ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 ด้วย จึงสันนิษฐานว่าเป็นการ
บันทึกโดยใช้อักขรวิธีแบบไทยโบราณยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเช่นกัน
ดังภาพที่ 1 ซึ่งการบันทึกแบบนี้พบได้ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาล
ที่ 5 ดังนั้น คัมภีร์พรหมปโรหิตจึงน่าจะเป็นบันทึกในยุคเดียวกัน และจาก
การศึกษาเปรียบเทียบกับต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 ก็พบว่า
เนื้อหาบางส่วนของคัมภีร์พรหมปโรหิตตรงกันกับคัมภีร์ประถมจินดา ใน
ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 1 (คณะกรรมการฝ่ายประมวล
เอกสารและจดหมายเหตุ 2542: 169) ดังภาพที่ 2 และคัมภีรม์ หาโชตรัต ใน
ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 2 (คณะกรรมการฝ่ายประมวล
เอกสารและจดหมายเหตุ 2542: 264) ดังภาพที่ 3 แต่เนื้อหาส่วนใหญ่ของ
คัมภีร์พรหมปโรหิตมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง โดยไม่ซ�้ำซ้อน
กับคัมภีร์อื่น เนื่องจากการบันทึกในคัมภีร์พรหมปโรหิตเป็นการเขียนโดย
ใช้ภาษาไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ท�ำให้การปริวรรตส่วนมากสามารถ

142 142
ท�ำได้ไม่ยากนัก เพราะใกล้เคียงกับภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมี
ความจ�ำเพาะของลายมือ รูปลักษณ์ของตัวอักษร และรูปประโยค ตามความ
ถนัดของผู้บันทึก ท�ำให้เกิดอุปสรรคในการปริวรรต ข้อความบางส่วนที่ไม่
แน่ชัดว่ามีหมายความว่าอย่างไรซึ่งมีจ�ำนวน 10 ข้อความ ดังรายละเอียด
ที่แสดงไว้ในตารางที่ 1
สาระส�ำคัญของคัมภีร์พรหมปโรหิตกล่าวถึงโรคเกี่ยวกับสตรีและยา
รักษา ตัวอย่างหลักการรักษาที่ส�ำคัญที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ เช่น “แพทย์ผู้จะ
รักษาให้พิจารณาโดยละเอียด และให้รู้จักลักษณะก�ำเนิดโลหิตระดู เกิดขึ้น
แต่ที่อันใด จึงกระท�ำให้พิษนั้นต่างๆ ดังนี้ ถ้าแลรู้สันทัดแล้ว จึงให้แต่งยา
อันชื่อพรหมภักตร์ ให้กินประจุเลือดเน่าเลือดร้าย เลือดตกเลือดหมก นั้น
ให้ออกเสียให้สิ้นเชิงแล้ว จึงแต่งยาบ�ำรุงธาตุให้กินต่อไป หวังจะให้ธาตุทั้ง
สี่บริบูรณ์ขึ้นเสมอกัน”
2. ผลการศึกษาวิเคราะห์สาระส�ำคัญเกีย่ วกับสมุนไพรในคัมภีรพ์ รหม
ปโรหิตเปรียบเทียบกับหลักเภสัชกรรม 4 ประการ
2.1  หลักเภสัชวัตถุ คือ สมุนไพรต่างๆ ที่น�ำมาใช้เป็นเครื่อง
ยาเพื่อปรุงยารักษาโรค ประกอบด้วยสมุนไพร 3 หมวด คือ พืชวัตถุ
สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ
อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548: 23-62) ผลการศึกษา
วิเคราะห์สมุนไพรในคัมภีร์พรหมปโรหิต พบสมุนไพรพืชวัตถุ 253
รายการ ผลิตภัณฑ์จากพืชวัตถุ 7 รายการ สัตว์วตั ถุ 20 รายการ และ
ธาตุวัตถุ 10 รายการ รวมทั้งสิ้น 290 รายการ ดังตารางที่ 2 โดยไม่
รวมรายการ 10 รายการในตารางที่ 1
2.2  หลักสรรพคุณเภสัช คือการรูจ้ กั สรรพคุณของยาสมุนไพร
และรสยาสมุนไพร ซึง่ รสของยาสมุนไพรจะสามารถบอกถึงสรรพคุณ
ของยาได้ เช่น รสฝาด สมานแผล ปิดธาตุ รสเปรี้ยว แก้เสมหะ ฟอก
โลหิต เป็นต้น (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวท

143 143
วิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548: 66-69) ผลการศึกษาวิเคราะห์รส
ยาสมุนไพรทีม่ กี ารบันทึกไว้ในคัมภีรพ์ รหมปโรหิตพบรสยาทัง้ สิน้ 10
รส เรียงตามความถี่ที่พบดังนี้ 1) รสขม 61 ครั้ง 2) รสฝาด 41 ครั้ง
3) รสเผ็ดร้อน 21 ครั้ง 4) รสจืด 20 ครั้ง 5) รสหอมเย็น 19 ครั้ง 6)
รสเปรี้ยว 18 ครั้ง 7) รสเค็ม 8) รสเย็น และ 9) รสเมาเบื่อ 13 ครั้ง
เท่ากัน 10) รสหวาน 8 ครั้ง รสที่มีความถี่ในการบันทึกสูงเป็นรสที่
ถูกน�ำมาใช้บอ่ ย และเมือ่ น�ำมาเปรียบเทียบกับรสยาสมุนไพรในต�ำรา
เภสัชกรรมแผนไทย ซึ่งมีรสยา 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ รสประธาน 3
รส ได้แก่ รสร้อน รสเย็น และรสสุขุม กลุ่มที่ 2 คือยา 9 รส ได้แก่
รสฝาด รสหวาน รสมัน รสเค็ม รสเปรี้ยว รสขม รสเมาเบื่อ รสร้อน
รสหอมเย็น และยังมีรสที่ 10 อีกคือรสจืด ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์มียา 4
รส คือ รสฝาด รสเผ็ด รสเค็ม และรสเปรี้ยว ในคัมภีร์วรโยคสาร มี
ยา 6 รส คือ รสหวาน รสเปรี้ยว รสเค็ม รสเผ็ด รสขม และรสฝาด
ในคัมภีร์ธาตุวิวรณ์มี ยา 8 รส คือ รสขม รสฝาด รสเค็ม รสเผ็ดร้อน
รสหวาน รสเปรี้ยว รสหอมเย็น และรสมัน (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการ
แพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548: 63-102)
ดังนั้นจะพบว่า มีรสยาประธาน 1 รสในคัมภีร์พรหมปโรหิต คือ รส
เย็น และมีรสยาอื่นๆ ตรงกับต�ำราและคัมภีร์ข้างต้น 3 รส คือ รส
ฝาด รสเค็ม รสเปรี้ยว ดังตารางที่ 3
2.3  หลักคณาเภสัช คือ หมวดหมูข่ องยาสมุนไพรทีจ่ ดั ไว้เป็น
กลุ่มๆ หรือพวกๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า พิกัดยา ซึ่งพิกัดยา หมายถึง
ตัวยาหลายสิ่งรวมกันเข้าเป็นพิกดั ยา ได้แก่จลุ พิกัด ซึง่ หมายถึงพิกดั
ยาน้อยอย่างโดยมากชื่อจะพ้องกัน ต่างกันที่แหล่งก�ำเนิด สี ขนาด
รูปร่างลักษณะ และรส พิกัดยาสองสิ่ง พิกัดตรี (ตรีพิกัด) หรือพิกัด
ยา 3 สิ่ง พิกัดจตุ หรือพิกัดยา 4 สิ่ง พิกัดเบญจะ หรือพิกัดยา 5 สิ่ง
พิกดั ฉกะ หรือพิกดั ยา 6 สิง่ พิกดั สัตตะ หรือพิกดั ยา 7 สิง่ พิกดั อัฏฐะ
หรือพิกัดยา 8 สิ่ง พิกัดนวะ (เนาวะ) หรือพิกัดยา 9 สิ่ง พิกัดทศะ

144 144
หรือพิกัดยา 10 สิ่ง และพิกัดพิเศษ มหาพิกัด คือ พิกัดยาหรือหมวด
หมูย่ าเดียวกันและก�ำหนดสัดส่วนไว้ เช่น มหาพิกดั ตรีกฏุก มหาพิกดั
ตรีผลา มหาพิกัดเบญจกูล (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ
อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548: 103-135)
ผลการศึกษาวิเคราะห์พิกัดยาสมุนไพรที่มีการบันทึกไว้ใน
คัมภีร์พรหมปโรหิต พบพิกัดยาจ�ำนวน 10 พิกัด คือ กระพังโหมทั้ง
สอง (กระพังโหมน้อย กระพังโหมใหญ่) จันทน์ทั้งสอง (จันทน์ขาว
จันทน์แดง) เปล้าทั้งสอง (เปล้าน้อย เปล้าใหญ่) สมอทั้งสอง (สมอ
ไทย สมอเทศ) แสมทั้งสอง (แสมทะเล แสมสาร) ตรีกฏุก (เหง้าขิง
แห้ง เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี) ตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขาม
ป้อม) โกฐทั้งห้า (โกฐสอ โกฐเขมา โกฐหัวบัว โกฐเชียง โกฐจุฬาลัม
พา) เทียนทั้งห้า (เทียนด�ำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก
เทียนตาตั๊กแตน) เบญจกูล (ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูลเพลิง ขิง)
เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักคณาเภสัช พบว่าในคัมภีร์พรหม
ปโรหิต มีเพียง 3 หมวดพิกัด คือ จุลพิกัด พิกัดตรี และพิกัดเบญจะ
เท่านั้น ไม่พบหมวดพิกัดอื่น จุลพิกัด พบ 5 พิกัด ได้แก่ พิกัดเปล้า
ทั้งสอง พิกัดกระพังโหมทั้งสอง พิกัดจันทน์ทั้งสอง พิกัดสมอทั้งสอง
และพิกัดแสมทั้งสอง พิกัดตรี พบ 2 พิกัด คือ พิกัดตรีกฏุก และพิกัด
ตรีผลา พิกัดเบญจะ พบ 3 พิกัด คือ พิกัดโกฐทั้งห้า พิกัดเทียนทั้ง
ห้า และพิกัดเบญจกูล
2.4  หลักเภสัชกรรม คือ การปรุงยา การผสมเครื่องยาตั้งแต่
2 สิ่งขึ้นไป วิธีการปรุงยาโบราณ 25 วิธี เพิ่มเติมขึ้นอีก 3 วิธี คือ ยา
ตอกเม็ด ยาเคลือบเม็ด และยาบรรจุในแคปซูล ซึ่งเป็นวิธีการปรุง
ยาสมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นในการผลิตยาสมุนไพร (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริม
การแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548:
137-138)

145 145
ผลการศึกษาวิเคราะห์วิธีการปรุงยาสมุนไพรมีการบันทึกไว้
ในคัมภีร์พรหมปโรหิต พบว่า มีวิธีท�ำยา 24 วิธี คือ การกวนด้วย
น�้ำผึ้งท�ำก้อน การกวนเป็นก้อน การคั่ว การเคี่ยวให้ข้นหรือเคี่ยวให้
งวด การเคี่ยวให้แห้ง การดองด้วยสุราและฝังข้าวเปลือก การดอง
เหล้า การต้มดื่ม การต้มสามเอาหนึ่ง การต้มสุมด้วยไฟแกลบ การ
ต�ำให้แหลกแล้วใส่กระเบื้องตั้งไฟกวนไปสักครู่หนึ่งจึงปั้นแท่งตาก
แดด การต�ำเอาน�้ำ การบดท�ำเป็นผง การท�ำสดหรือท�ำเป็นผงและ
ละลายน�้ำกระสายยา การบดปั้นแท่ง การบดละลายน�้ำกระสายยา
การบดให้ละเอียดแล้วจึงนึง่ ให้สกุ และปัน้ เป็นเม็ด การปัน้ แท่งไว้แล้ว
ฝนกิน การปิดทอง การเผาไฟให้สุกบีบเอาน�้ำ การฝนแล้วทา การ
ฝานเป็นแว่นแช่สุรา การหุงด้วยน�้ำมัน การให้ใส่ยาในลูกมะพร้าว
อ่อน เผาไฟไว้ให้เอียน และเมื่อน�ำมาเปรียบเทียบกับวิธีการปรุงยา
โบราณ 25 วิธี พบว่า ในภาพรวมวิธีการปรุงยามีความแตกต่างกัน มี
บ้างบางวิธมี คี วามคล้ายคลึงกัน เช่น กลุม่ ยาต้ม หรือกลัน่ กลุม่ ยาดอง
หรือกัดหัวเหล้า กลุ่มยาที่บดให้เป็นผง และกลุ่มยาที่เผา หรือคั่ว ดัง
ในตารางที่ 4 ล�ำดับที่ 1-16 ในวิธีปรุงยาโบราณ 25 วิธี (มูลนิธิฟื้นฟู
ส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์)
2548: 137-138) กับวิธีการปรุงยาดังในตารางที่ 4 ล�ำดับที่ 1-11
ในคัมภีร์พรหมปโรหิต แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด และ
มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในวิธีปรุงยากลุ่มอื่นๆ ดังในตารางที่
4 ล�ำดับที่ 12-24 ในคัมภีร์พรหมปโรหิต
นอกจากนีย้ งั พบกรรมวิธใี นการใช้ให้เกิดประสิทธิผลตามความเชือ่ 5
วิธี ด้วยกัน คือ 1) เอาเงินทองผูกคอหม้อยาไว้แล้วกิน 2) เมื่อจะกินยา ให้
นุ่งขาวห่มขาว 3) เอาเงินหรือทองผูกคอหม้อจึงฝังข้าวเปลือกไว้ 7 วัน 4)
เมื่อจะกินเสกด้วยสักกัตวาสามที 5) เมื่อต้มยานั้นผู้ต้มอย่าให้กอดมือกอด
ตีน ให้เหยียดมือเหยียดตีนเป็นเคล็ดตามต�ำรา
พบวิธีการใช้สมุนไพรกับส่วนของร่างกายอีก 7 วิธี คือ 1) การฝนทา

146 146
ปลายตีน 2) การบดทาฝ่าตีน 3) การหยอดเข้าสะดือ 4) การพอกกระหม่อม
5) การทาท้องน้อยและหัวเหน่า 6) การรดและทาที่โยนี 7) การทาต้นคาง
ทั้ง 2 คาง
พบวิธีการใช้สมุนไพรเป็นน�้ำกระสายยาจ�ำนวน 20 ชนิด ได้แก่ น�้ำ
กระสายยาที่ได้จากพืชวัตถุและผลิตภัณฑ์จากพืช 14 รายการ คือ 1) น�้ำ
ข่า 2) น�้ำขิง 3) น�้ำเปลือกต้นมะรุม 4) น�้ำพริกไทย 5) น�้ำมะนาว 6) น�้ำยาง
สลัดได 7) น�้ำลูกยอ 8) น�้ำส้มซ่า 9) น�้ำมะกรูด 10) น�้ำส้มมะขามเปียก 11)
น�้ำส้มสายชู 12) น�้ำสุรา 13) น�้ำมันงา 14) น�้ำตาล น�้ำกระสายยาที่ได้จาก
สัตว์วตั ถุและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ 5 รายการ คือ 1) น�ำ้ นมโค 2) น�ำ้ เยีย่ ววัว 3)
เนย 4) น�ำ้ มันวัว 5) น�ำ้ ผึง้ กระสายยาทีไ่ ด้จากธาตุวตั ถุ 1 รายการ คือ น�ำ้ ร้อน
3. ผลการศึกษาวิเคราะห์สรรพคุณของต�ำรับยาสมุนไพรในคัมภีร์
พรหมปโรหิต พบว่าส่วนใหญ่เป็นโรคและอาการเกี่ยวกับสตรี การตั้งครรภ์
การคลอด และหลังคลอด และพบโรคและอาการเกี่ยวกับการคลอดมาก
ที่สุดถึง 9 รายการ ได้แก่ 1) คลอดลูกขวางท้อง 2) คลอดลูกเลือดไม่ออก 3)
คลอดลูกแลเลือดตีขึ้นให้ตาเหลือกตาช้อน 4) หญิงคลอดลูกแล้วเลือดตีขึ้น
5) ตกมูกตกเลือด 6) ลูกตายในท้อง 7) คลอดลูกและรกไม่ออก 8) ตกเลือด
9) เลือดตกหมก รองลงมาคือเกี่ยวกับเลือด 6 รายการ ได้แก่ 1) เลือดตก
ทวารทั้ง 9 2) เลือดตกทวารหนัก 3) เลือดตกทวารเบา 4) เลือดแท้งลูก 5)
เลือดเน่าหนองในท้อง 6) เลือดร้าย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าคัมภีร์พรหมปโรหิต
เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับโรคและอาการของสตรี การตั้งครรภ์ การดูแลมารดา
หลังคลอด และระบบเลือดของสตรี
4. ผลการวิเคราะห์ต�ำรับยาสมุนไพรที่พบในคัมภีร์พรหมปโรหิต พบ
ว่า มีต�ำรับยาสมุนไพร 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ไม่มีชื่อต�ำรับ ซึ่งมีเป็นจ�ำนวนมาก
ที่สุด และกลุ่มที่มีชื่อต�ำรับมีทั้งสิ้น 11 ต�ำรับ ได้แก่ 1) ยาชื่อพรหมภักตร์ 2)
ก�ำลังราชสีห์น้อย 3) ราชสีห์ใหญ่ 4) ไฟห้ากอง 5) มหาอุดม 6) ไฟประลัย
กัลป์ 7) เอกขันที 8) เบญขันที 9) สุรามฤท 10) เบญจกูล 11) เบญจกูล

147 147
โสฬส และเมื่อน�ำเอาชื่อของต�ำรับยาในคัมภีร์พรหมปโรหิตมาเปรียบเทียบ
กับชื่อต�ำรับยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ พบว่าตรงกัน 3 ต�ำรับ คือ ไฟห้า
กอง ไฟประลัยกัลป์ และเบญจกูล (กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทย
และสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก 2554: 9-11) แต่เมื่อน�ำส่วนประกอบของต�ำรับที่
มีชอื่ ตรงกันทัง้ 3 ต�ำรับมาเปรียบเทียบกัน กลับพบว่าทัง้ 3 ต�ำรับแม้จะมีชอื่
เหมือนกัน แต่ส่วนประกอบของตัวยาในต�ำรับแตกต่างกัน เช่น ยาเบญจกูล
ในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีสว่ นประกอบคือ ดีปลี ขิง เจตมูลเพลิง รากช้าพลู
เถาสะค้าน (กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบัน
การแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
2554: 87) แต่ในคัมภีร์พรหมปโรหิต ต�ำรับยาเบญจกูล ประกอบด้วย ดีปลี
ขิง เจตมูลเพลิง พริกไทย หัวบุก ดังตารางที่ 5

อภิปรายผลการศึกษา
1. การปริวรรต: จากผลการศึกษาในส่วนการปริวรรตคัมภีร์ที่พบว่า
ใช้ตวั อักษรไทยในการอธิบายความ และใช้อกั ษรขอมไทยเขียนค�ำภาษาบาลี
ตลอดจนรูปลักษณะอักษรและอักขรวิธีของอักษรไทยและอักษรขอมไทย
ในคัมภีร์พรหมปโรหิตนั้น มีความคล้ายคลึงกับที่ใช้ในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับ
หลวง รัชกาลที่ 5 นอกจากนีย้ งั มีขอ้ ความบางตอนของคัมภีรพ์ รหมปโรหิตที่
เหมือนในต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 อีกด้วย จึงอาจสันนิษฐาน
อายุของคัมภีร์พรหมปโรหิตได้ว่าน่าจะมีอายุร่วมสมัยรัชกาลที่ 5
2. รสยา: รสของยาสมุนไพรเป็นส่วนที่บอกสรรพคุณของยา รสยา
ทั้ง 10 รสที่พบในคัมภีร์พรหมปโรหิต หากน�ำมาวิเคราะห์รสยาประจ�ำธาตุ
จะพบว่า รสยาประจ�ำธาตุดิน ได้แก่ รสฝาด รสหวาน รสมัน รสเค็ม (มูลนิธิ
ฟืน้ ฟูสง่ เสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548:
81) ซึ่งในคัมภีร์พรหมปโรหิต ไม่พบรสมัน รสยาประจ�ำธาตุน�้ำ ได้แก่ รส
เปรี้ยว รสขม รสเมาเบื่อ (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวท

148 148
วิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548: 81) ซึง่ ในคัมภีรพ์ รหมปโรหิตมีครบทุกรส
และตัวยาส่วนใหญ่ที่ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสตรี หรือที่มักเรียกว่าโรคโลหิต
สตรีก็จัดเป็นกลุ่มยาประจ�ำธาตุน�้ำด้วย จึงมีความสอดคล้องกันกับทฤษฎี
การแพทย์แผนไทย รสยาประจ�ำธาตุลม ได้แก่ รสร้อน (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริม
การแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548: 81) ซึ่งก็
พบในคัมภีร์พรหมปโรหิตเช่นกัน รสยาประจ�ำธาตุไฟ ได้แก่ รสหอมเย็น รส
จืด (มูลนิธฟิ น้ื ฟูสง่ เสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมาร-
ภัจจ์) 2548: 81) ซึง่ ก็พบในคัมภีรพ์ รหมปโรหิตเช่นกัน ส่วนยารสจืด รสเย็น
ทีพ่ บในคัมภีรพ์ รหมปโรหิตนัน้ ก็สอดคลองกับทฤษฎีเกีย่ วกับรสยาทางการ
แพทย์แผนไทยเช่นกัน โดยจัดยารสจืด เป็นรสที่ 10 และยารสเย็นจัดอยู่
ในหมวดรสยาประธาน (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวท
วิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์) 2548: 63-81)
3. พิกัดยา: ส่วนหมวดพิกัดยาที่พบในคัมภีร์พรหมปโรหิตเพียง 3
กลุ่มพิกัด คือ จุลพิกัด พิกัดตรี และพิกัดเบญจะ นั้น ที่น่าสนใจคือพิกัดตรี
ซึ่งพบเพียง 2 พิกัด คือพิกัดตรีกฏุก ประกอบด้วย เหง้าขิงแห้ง เมล็ดพริก
ไทย ดอกดีปลี มีรสร้อน สรรพคุณบ�ำรุงไฟธาตุ น่าจะมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ปลูก
ไฟธาตุให้บริบรู ณ์ ซึง่ สอดคล้องกับข้อความในคัมภีรม์ หาโชตรัตเกีย่ วกับการ
รักษาโลหิตปกติโทษ โดยการประจุโลหิตร้าย แต่งยาบ�ำรุงไฟธาตุเพือ่ ให้ธาตุ
ทั้งสี่เสมอกัน แล้วจึงบ�ำรุงโลหิตให้บริบูรณ์ (มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์
ไทยเดิมฯ 2550: 273) และพิกัดตรีผลา ประกอบด้วย สมอไทย สมอพิเภก
มะขามป้อม มีรสเปรี้ยวฝาด สรรพคุณกัดเสมหะ ฟอกโลหิต ช่วยระบาย
อ่อนๆ แก้ปิตตะ วาตะ เสมหะในกองธาตุ ฤดู อายุ และธาตุสมุฏฐาน แก้
โลหิต แก้นำ�้ ดี (มูลนิธฟิ น้ื ฟูสง่ เสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชี
วกโกมารภัจจ์) 2548: 109) ซึง่ จะช่วยปรับสมดุลธาตุของสตรีได้เป็นอย่างดี
4. วิธีการปรุงยา: วิธีการปรุงยาที่พบเฉพาะในคัมภีร์พรหมปโรหิต
12 วิธีนั้น การกวนด้วยน�้ำผึ้งท�ำก้อน และการกวนเป็นก้อนอาจคล้ายกับ
การท�ำยาลูกกลอนในปัจจุบัน การต�ำให้แหลกแล้วใส่กระเบื้องตั้งไฟกวนไป

149 149
สักครู่หนึ่งจึงปั้นแท่งตากแดด  และการปั้นแท่งไว้แล้วฝนกิน เป็นกรรมวิธี
ท�ำยาในสมัยโบราณที่พบในคัมภีร์ต่างๆ แต่ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน การ
เคี่ยวให้ข้นหรือเคี่ยวให้งวดหรือการเคี่ยวให้แห้ง ไม่ทราบรายละเอียดว่า
หลังจากแห้งแล้วจะน�ำไปใช้อย่างไร การต�ำเอาน�้ำและการเผาไฟให้สุกบีบ
เอาน�้ำ เป็นวิธีที่มักนิยมท�ำในการเตรียมน�้ำกระสายยา การปิดทอง เป็นวิธี
ที่ยังพบอยู่ในปัจจุบัน เช่น ยามหานิลแท่งทอง หรือยาหอมแท่งทองเพราะ
ทองมีรสเย็นสรรพคุณดับพิษร้อนถอนพิษต่างๆ การฝนแล้วทานิยมใช้ใน
หมอพื้นบ้าน การฝานเป็นแว่นแช่สุรา คล้ายกับยาดองเหล้า การให้ใส่ยาใน
ลูกมะพร้าวอ่อนเผาไฟไว้ให้เอียน ส่วนวิธีการน�ำยาใส่ในลูกมะพร้าวแล้วน�ำ
ไปเผาไฟ เป็นวิธีการที่พบได้ในคัมภีร์อื่นๆ เช่นกัน
5. พิธกี รรมในการปรุงยาหรือเตรียมยาสมุนไพร: เกีย่ วกับกรรมวิธใี น
การใช้ให้เกิดประสิทธิผลตามความเชือ่ 5 วิธี ทีพ่ บในคัมภีรพ์ รหมปโรหิตนัน้
กรรมวิธที ชี่ ว่ ยสร้างคุณค่ากับยา เช่น การเอาเงินทองผูกคอหม้อยาไว้แล้วกิน
และเอาเงินหรือทองผูกคอหม้อจึงฝังข้าวเปลือกไว้ 7 วัน ซึง่ เป็นการสร้างขวัญ
ก�ำลังใจให้เกิดความศรัทธาต่อยา เช่น เมือ่ จะกินยา ให้นงุ่ ขาวห่มขาว และเมือ่
จะกินเสกด้วยสักกัตวาสามที ส่วนวิธีการเมื่อต้มยานั้นผู้ต้มอย่าให้กอดมือ
กอดตีน ให้เหยียดมือเหยียดตีนเป็นเคล็ดตามต�ำรานั้น
6. วิธีการใช้ยา: วิธีการใช้สมุนไพรกับส่วนของร่างกายที่พบในคัมภีร์
พรหมปโรหิต 7 วิธีนั้นเป็นวิธีที่มีความเฉพาะต่อการรักษาโรคสตรีที่ชัดเจน
เช่น การรดและทาทีโ่ ยนี และการทาท้องน้อยและหัวเหน่า ส่วนวิธกี ารอืน่ ๆ
เช่น การหยอดเข้าสะดือนัน้ เกีย่ วข้องกับแนวคิดทีว่ า่ สะดือเป็นศูนย์กลางของ
ร่างกาย เป็นศูนย์รวมของลมและเส้นทางเดินของลมทีเ่ รียกว่า เส้นประธาน
ซึ่งมีจุดเริ่มต้นอยู่บริเวณรอบๆ สะดือ ดังกล่าวไว้ในคัมภีร์แผนนวด ใน
ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 2 (คณะกรรมการฝ่ายประมวล
เอกสารและจดหมายเหตุ 2542: 93-94) การฝนทาปลายตีน การบดทาฝ่า
ตีน และการพอกกระหม่อมนัน้ อาจเกีย่ วข้องกับแนวคิดทีว่ า่ ฝ่ามือ ฝ่าตีน ซึง่
กระหม่อมคือจุดส�ำคัญของทางเดินของเลือดลม เป็นต�ำแหน่งที่แพทย์แผน

150 150
ไทยใช้ในการตรวจร่างกาย และบริหารยา เช่น การพอกยา แปะยา ทายา
และมีการทาต้นคางทั้ง 2 คางด้วย
7. การศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับบัญชียาหลักแห่งชาติ: จาก
ผลการเปรียบเทียบชื่อของต�ำรับยาในคัมภีร์พรหมปโรหิตกับชื่อต�ำรับยา
ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่ตรงกัน 3 ต�ำรับ คือ ไฟห้ากอง ไฟประลัยกัลป์
และเบญจกูลนัน้ แสดงให้เห็นว่ามีการน�ำชือ่ ต�ำรับยาในอดีตมาใช้ในปัจจุบนั
ส�ำหรับส่วนประกอบของต�ำรับที่แตกต่างกันอาจเกิดจากหลายปัจจัย จึง
ท�ำให้มกี ารปรับตัวยาอืน่ ทีม่ สี รรพคุณใกล้เคียงกันมาทดแทน เช่น ในปัจจุบนั
อาจหาตัวยาสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบไม่ได้หรือหายาก เช่น สังข์ ซึ่งเป็น
ส่วนประกอบของต�ำรับยาไฟประลัยกัลป์ในคัมภีร์พรหมปโรหิต แต่ไม่พบ
สังข์เป็นส่วนประกอบของต�ำรับยาไฟประลัยกัลป์ในบัญชียาหลักแห่งชาติ
หรือยาสมุนไพรบางตัวอาจมีความเป็นพิษตามองค์ความรู้สมัยใหม่ เช่น
ดินประสิว ซึ่งเป็นส่วนประกอบของต�ำรับยาไฟประลัยกัลป์ในคัมภีร์พรหม
ปโรหิต แต่ไม่พบดินประสิวเป็นส่วนประกอบของต�ำรับยาไฟประลัยกัลป์ใน
บัญชียาหลักแห่งชาติ (กลุม่ งานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางเลือก 2554: 53-54) ดังตารางที่ 5

สรุปและข้อเสนอแนะ
การที่จะน�ำยาที่ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าใช้สมุนไพรชนิดใดมา
ปรุงยาอาจท�ำให้ได้ต�ำรับยาที่ไม่ตรงกับต้นฉบับตามคัมภีร์และอาจท�ำให้
สรรพคุณยาต่างไปจากเดิมได้ ดังนั้นจึงควรหาวิธีสรุปผลให้แน่ชัดเสียก่อน
ว่าสมุนไพรชนิดนั้นคือสมุนไพรชนิดใด ส�ำหรับรายการสมุนไพรทั้งหมด
ทีพ่ บในคัมภีรพ์ รหมปโรหิตนัน้ ส่วนใหญ่ใช้รกั ษาโรคเกีย่ วกับสตรี ซึง่ มีหลาย
กลุ่มอาการหากมีการน�ำไปศึกษาวิจัยต่อยอดเพื่อการน�ำไปใช้ประโยชน์
ก็จะเกิดคุณูปการต่อประเทศชาติและประชาชน ที่น่าสนใจคือวิธีการผลิต
ยาและการใช้ยาทีเ่ กีย่ วข้องกับพิธกี รรมและความเชือ่ ซึง่ แสดงให้เห็นถึงราก

151 151
เหง้าทางวัฒนธรรมของการแพทย์แผนไทย และเป็นส่วนทีช่ ว่ ยเยียวยารักษา
ใจของผูท้ เี่ จ็บไข้ได้ปว่ ยร่วมกับการรักษาร่างกาย หากมีการน�ำมาศึกษาอย่าง
จริงจังอาจพบคุณประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ และจากผลการศึกษาที่พบว่า
คัมภีรพ์ รหมปโรหิตเป็นคัมภีรท์ เี่ กีย่ วกับโรคและอาการของสตรี การตัง้ ครรภ์
การดูแลมารดาหลังคลอด และระบบเลือดของสตรีนั้น จึงควรที่จะน�ำเอา
คัมภีร์พรหมปโรหิตมาใช้อ้างอิงในการเรียนการสอนและการท�ำเวชปฏิบัติ
ในโรคเกี่ยวกับสตรีร่วมกับคัมภีร์มหาโชตรัตและคัมภีร์อื่นๆ ก็จะช่วยให้
ศาสตร์และองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมีความเข้มแข็งชัดเจนขึ้น
อีกด้วย

ภาพที่ 1 คัมภีร์พรหมปโรหิต

152 152
ภาพที่ 2 เปรียบเทียบเนื้อหาของคัมภีร์พรหมปโรหิตที่ตรงกันกับคัมภีร์ประถมจินดา
ข้อความที่ขีดเส้นใต้คือข้อความส่วนที่ตรงกัน
ภาพข้อความบางส่วนของคัมภีร์ประถมจินดา เล่ม 1 เลขที่ 1009 หน้าต้นที่ 11-14 จากต�ำรา
เวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 1 หน้า 169

ภาพจากคัมภีร์พรหมปโรหิต ฉบับสมุดไทยขาว

153 153
ภาพที่ 3 เปรียบเทียบเนื้อหาของคัมภีร์พรหมปโรหิตที่ตรงกันกับคัมภีร์มหาโชตรัต
ข้อความที่ขีดเส้นใต้คือข้อความส่วนที่ตรงกัน
ภาพข้อความบางส่วนของคัมภีร์มหาโชตรัต เล่ม 2 เลขที่ 1039 หน้าปลายที่ 40-43 จากต�ำรา
เวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 2 หน้า 264

ภาพจากคัมภีร์พรหมปโรหิต ฉบับสมุดไทยขาว

154 154
ตารางที่ 1 ข้อความในคัมภีร์พรหมปโรหิตที่ยังไม่ชัดเจน

155 155
ตารางที่ 2 สมุนไพรที่พบในคัมภีร์พรหมปโรหิต (ไม่นับรวมสมุนไพรในตารางที่ 1)
หมวด รายการสมุนไพร
สมุนไพรพืชวัตถุ 253 รายการ
ก-ฮ กกลังกา กรรณิการ์ กระชาย กระดอม กระดังงา กระทุงหมาบ้า กระเทียม กระเทียม
สุก กระพังโหมน้อย กระพังโหมใหญ่ กระเม็ง กระล�ำพัก กระวาน กรุงเขมา กฤษณา
กล้วยตีบ กล้วยน�้ำ กระทือ ก้างปลาแดง กานพลู ก�ำยาน กุ่มน�้ำ กุ่มบก แกลบ โกฐ
กระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา โกฐเชียง โกฐน�ำ้ เต้า โกฐสอ โกฐหัวบัว
ขนุน ขมิน้ เครือ ขมิน้ อ้อย ขอนดอก ขัดมอญ ข่า ข้าวตอกกัญญา ข้าวเปลือก ข้าวสาร
ข้าวสารค้างครก ขิง ขิงแห้ง ขี้กาแดง ขี้เหล็ก เข้าค่า ไข่เน่า คนทีเขมา คนทีสอ ครอบ
จักรวาล คัดเค้า ค�ำไทย ค�ำฝอย ค�ำลาว คุย คูน โคกกระสุน ไคร้หอม งวงตาล จิงจ้อ
จงกลนี จันทน์ จันทน์ขาว จันทน์แดง จันทน์หอม จ�ำปา จิกจิงจ้อใหญ่ เจตมูลเพลิง
เจตมูลเพลิงแดง ชะลูด ชะเลือด ชะเอมเทศ ช้าพลู ชิงช้าชาลี ชุมเห็ด ชุมเห็ดไทย เชือก
เขามวกแดง เชือกเขาย่านาง ซ้องแมว ดอกค�ำไทย ดองดึง ดีปลี ตองแตก ตะไคร้ ตาล
โตนด ตีนเป็ดเครือ เตยหอม เตยอ่อน ถัว่ ผี ถัว่ แระ เถาวัลย์เปรียงแดง ทองหลางใบมน
ทับทิม เทพธาโร เท้ายายม่อม เทียนขาว เทียนด�ำ เทียนแดง เทียนตาตั๊กแตน เทียน
ข้าวเปลือก เทียนเยาวภานี เทียนสัตตบุษย์ โทงเทง นกเขาเหง้า นมต�ำเรีย นมแมว
น้อยหน่า น้อยแหน่ นิลุบล เนียม บวบหอม บอระเพ็ด บัว บัวขม บัวผัน บัวเผื่อน บัว
หลวง บุนนาค เบญจมาศ ปลาไหลเผือก ปุด เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ ผักกระชับ ผักขวง
ผักคราด ผักชี ผักชีล้อม ผักเป็ด ผักเป็ดแดง ผักแพวแดง ผักเสี้ยนผี ผักโหมหัด ผัก
โหมหินแดง ไผ่ป่า ฝาง ฝางเสน ฝ้ายหีบ แฝกหอม พญามือเหล็ก พรรณผักกาด พริก
พริกไทย พริกล่อน พริกหอม พริกหาง พันงูแดง พิกุล ไพล มหาหิงคุ์ มะกรูด มะกล�่ำ
เครือ มะกอก มะกา มะเกลือ มะขาม มะขามแก่ มะขามขบ มะขามป้อม มะขาม
เปียก มะดูก มะเฟือง มะไฟเดือนห้า มะไฟตัวผู้ มะยมตัวผู้ มะรุมต้น มะลิซ้อน มะลิ
ลา มะแว้งเครือ มะแว้งต้น โมกมัน โมกหลวง ไม้แดง ไม้ไผ่ ไม้ไผ่สีสุก ไม้รวก มะเดื่อ
มะเดื่อปล้อง มะตูม มะนาว มะพร้าวอ่อน มะพลับ รัก รักขาว รักซ้อน ราชพฤกษ์
เล็บครุฑ ละหุ่ง ละหุ่งแดง ล�ำโพง ล�ำพัน ล�ำพันขาว ล�ำพันแดง ล�ำโพงกาสลัก ลูกยอ
ลูกย่างทราย ลูกสมอพิเภก ลูกเอ็น ว่าน ว่านน�้ำ ว่านเปราะหอม ว่านหางช้าง สน
สนเทศ ส้มซ่า ส้มป่อย ส้มมะขามเปียก สมอ สมอทะเล สมอเทศ สมอไทย สมุลแว้ง
สมอพิเภก สมอร่องแร่ง สลอด สลัดได สะแก สะค้าน สะเดา สะท้อน สะบ้า สักขี
สังกรณี สัตตบงกช สัตตบุษย์ สัตตบรรณ สารภี เสนียด แสมทะเล แสมสาร หญ้าไทร
หมาก หมากดิบ หวายขม หอม หอมแดง หัวบุก หัสคุณ หางไหลแดง แห้วหมูหงอน
ไก่เทศ หญ้าเกล็ดหอย หญ้าฝรั่น หญ้ายองไฟ หญ้าแห้วหมู หนาด หนาดหอม อ�ำพัน
อบเชย อ้อยแดง อังกาบ อัญชันขาว อุบล เอื้องเพชรม้า
ผลิตจากพืชวัตถุ 7 รายการ
ก-ฮ ธูปไทย น�้ำตาลทราย น�้ำส้มสายชู น�้ำตาล น�้ำตาลโตนด ยาด�ำ สุรา

156 156
หมวด รายการสมุนไพร
สัตว์วัตถุ 20 รายการ
ก-ฮ ขี้เทาลูกวัว ขี้หนูพุก ไข่ไก่ ครั่ง ชะมด ดีงูเหลือม ดีจระเข้ น�้ำผึ้ง น�้ำมันวัว น�้ำเยี่ยว
วัว เบี้ยจั่น เบี้ยผู้ แมงมุม รังนก เลือดแรด หอยขม หอยแครง หอยสังข์ หัวเต่านา
หัวปลาไหล
ธาตุวัตถุ 10 รายการ
ก-ฮ การบูร กรวดปูน เกลือ เกลือสินเธาร์ ดินประสิวขาว น�้ำร้อน ปูนขาว ประสานทอง
พิมเสน สารส้ม
รวมทั้งสิ้น 290 รายการ

157 157
ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบรสยาในคัมภีรพ์ รหมปโรหิต กับต�ำราเภสัชกรรมแผนไทย และคัมภีร์
อื่นๆ √ = พบ, × = ไม่พบ

รสยาสมุนไพรในต�ำรา คัมรสยาใน รสยาใน รสยาใน รสยาใน


ล�ำดับ ภี ร พ
์ รหม คั ม ภี ร ธ
์ าตุ คั ม ภี ร ์ คั มภีร์ธาตุ
เภสัชกรรมแผนไทย ปโรหิต วิภังค์ วรโยคสาร วิวรณ์
รสประธาน
1 ร้อน × x x x
2 เย็น √ x x x
3 สุขุม × x x x
รสยา 9 รส
1 ฝาด √ √ √ √
2 หวาน √ × √ √
3 มัน × × × √
4 เค็ม √ √ √ √
5 เปรี้ยว √ √ √ √
6 ขม √ × √ √
7 เมาเบื่อ √ × × ×
8 ร้อน √ × × ×
9 หอมเย็น √ × × √
รสอื่นๆ
1 จืด √ × × ×
2 เผ็ด × √ √ ×
3 เผ็ดร้อน × × × √
รวม 10 4 6 8

158 158
ตารางที่ 4 วิธีการปรุงยาที่พบในคัมภีร์พรหมปโรหิต
วิธีการปรุงยา 25 วิธี วิธีการปรุงยาในคัมภีร์พรหมปโรหิต 24 วิธี
กลุ่มยาต้ม หรือกลั่น
(1) ยาต้ม สับเป็นชิ้นเป็นท่อนใส่ลงในหม้อ (1) การต้มดื่ม
เติมน�้ำต้มรินแต่น�้ำกิน (2) การต้มสามเอาหนึ่ง
(2) ยาผสมแล้วต้มเอาน�้ำบ้วนปาก (3) การต้มสุมด้วยไฟแกลบ
(3) ยาผสมแล้วต้มเอาน�้ำอาบ
(4) ยาผสมแล้วต้มเอาน�้ำแช่
(5) ยาผสมแล้วต้มเอาน�้ำชะ
(6) ยาผสมแล้วต้มเอาน�้ำสวนทวาร
(7) ยาผสมแล้ว ต้มเอาไอน�้ำรม
(8) ยากลั่น เอาตัวยาใส่ในเครื่องต้มกลั่นเอา
น�้ำเหงื่อ หรือกลั่นสุรา เอาน�้ำเหงื่อกิน
กลุ่มยาดอง หรือกัดหัวเหล้า
(9) ยาดองแช่ด้วยน�้ำสุราหรือน�้ำท่า รินน�้ำ (4) การดองด้วยสุราและฝังข้าวเปลือก
ดื่ม (5) การดองเหล้า
(10) ยากัดหัวเหล้าหรือแอลกอฮอล์ และหยด
ลงในน�้ำเติมน�้ำกิน
กลุ่มยาที่บดให้เป็นผง
(11) ยาต�ำเป็นผงแล้วบดให้ละเอียดละลายน�้ำ (6) การบดท�ำเป็นผง
กระสายกิน (7) การบดปั้นแท่ง
(12) ยาต�ำเป็นผงแล้วปั้นเป็นเม็ดหรือปั้นลูก (8) การท�ำสดหรือท�ำเป็นผง และละลายน�้ำ
กลอนกิน กระสายยา
(13) ยาผสมแล้วต�ำเป็นผงให้ละเอียดใส่กล้อง (9) การบดละลายน�้ำกระสายยา
เป่าทางจมูกและคอ เช่น ยานัตถุ์ (10) การบดให้ละเอียดแล้วจึงนึ่งให้สุกและ
(14) ยากวาด (บดผงให้ละเอียด) เอาตัวยาที่ ปั้นเป็นเม็ด
ใช้กวาด ใช้นิ้วป้ายกวาดลงที่คอ
กลุ่มยาที่เผา หรือคั่ว
(15) ยาเผาเป็นด่าง แล้วเอาด่างมาแช่น�้ำไว้ (11) การคั่ว
รินน�้ำกิน
(16) ยาเผาหรือคั่วให้ไหม้ยาต�ำเป็นผงให้
ละเอียดละลายน�้ำกระสายกิน

159 159
วิธีการปรุงยา 25 วิธี วิธีการปรุงยาในคัมภีร์พรหมปโรหิต 24 วิธี
กลุ่มยาสุม ยาพอก ยาทา ยาประคบ
(17) ยาผสมแล้วใช้เป็นยาสุม (ใช้ยาผสมแล้ว
โป๊ะลงบนกระหม่อม)
(18) ยาผสมแล้วใช้เป็นยาทา
(19) ยาผสมแล้วท�ำเป็นลูกประคบ
(20) ยาผสมแล้วใช้เป็นยาพอก (เอาตัวยา
ผสมกันแล้วต�ำให้แหลกใช้พอกหัวฝี)
กลุ่มสูบควัน หรือสูดดม
(21) ยาผสมแล้วห่อผ้าบรรจุลงในกลักแล้วใช้
สูดดม
(22) ยาผสมแล้วมวนเป็นบุหรี่ หรือสูบเอาควัน
เช่น บุหรี่
กลุ่มอื่นๆ
(23) ยาหุงด้วยน�้ำมัน เอาน�้ำมันใส่กล้องเป่า (12) การหุงด้วยน�้ำมัน
บาดแผลหรือฐานฝี (13) การกวนด้วยน�้ำผึ้งท�ำก้อน
(24) ยาผสมแล้วติดไฟใช้ควันใช้กล้องเป่า (14) การเคี่ยวให้ข้น เคี่ยวให้งวด
บาดแผลและฐานฝี (15) การเคี่ยวให้แห้ง
(25) ยาผสมแล้วใช้เหน็บทวาร (16) การต�ำให้แหลกแล้วใส่กระเบื้องตั้งไฟ
กวนไปสักครู่หนึ่งจึงปั้นแท่งตากแดด
(17) การต�ำเอาน�้ำ
(18) การปั้นแท่งไว้แล้วฝนกิน
(19) การปิดทอง
(20) การเผาไฟให้สุกบีบเอาน�้ำ
(21) การฝนแล้วทา
(22) การฝานเป็นแว่นแช่สุรา
(23) การให้ใส่ยาในลูกมะพร้าวอ่อน เผาไฟ
ไว้ให้เอียน
(24) การกวนเป็นก้อน

160 160
ตารางที่ 5 ผลการเปรียบเทียบสมุนไพรส่วนประกอบในต�ำรับยาที่มีชื่อตรงกันทั้งในคัมภีร์พรหม
ปโรหิตและบัญชียาหลักแห่งชาติ จ�ำนวน 3 ต�ำรับ

ชื่อต�ำรับยา สมุนไพรที่ สมุนไพรที่ต่างกัน


ล�ำดับ สมุนไพร เหมือนกัน บัญชียาหลักแห่งชาติ คัมภีร์พรหมปโรหิต
1 ไฟห้ากอง รากเจตมูลเพลิง สารส้มสะตุ ฝัก แก่นแสมทะเล
แดง เหง้าขิง ส้มป่อย
พริกไทย
2 ไฟประลัยกัลป์ สารส้ม ขมิ้น รากเจตมูลเพลิงแดง เกลือ สังข์ ดินประ
อ้อย ไพล ขิง ผิวมะกรูด แก่นแสม สิวขาว ลูกจันทน์
กระเทียม ทะเล การบูร เหง้า เทียนด�ำ เทียนขาว
กระทือ เหง้าข่า กระชาย หัวหอม
เปลือก มะรุม พริก
ไทยล่อน ดอกดีปลี
3 เบญจกูล ดีปลี ขิง เจตมูล รากช้าพลู เถาสะค้าน พริกไทย หัวบุก
เพลิง

161 161
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย
มหิดล ที่สนับสนุนโครงการวิจัย

เอกสารอ้างอิง
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการ
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 2554. บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ. 2554 ตาม
ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่
4) พ.ศ. 2554 คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์
(กรุงเทพ) จ�ำกัด.
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2542. ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาล
ที่ 5 เล่ม 1. ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, กรุงเทพฯ: ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ กรม
ศิลปากร, คณะกรรมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จัดพิมพ์เนือ่ ง
ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542.
____________, 2542. ต�ำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 2. ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ
กรมศิลปากร, กรุงเทพฯ: ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, คณะกรรมการจัดงาน
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จัดพิมพ์เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธมี หามงคล
เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542.
มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธ�ำรง สถานการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550. ต�ำราการแพทย์
แผนไทยเดิม (แพทย์ศาสตร์สังเคราะห์ฉบับอนุรักษ์) เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์.
มูลนิธฟิ น้ื ฟูสง่ เสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์), 2548. ต�ำราเภสัชกรรม
ไทย. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.
โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร พระนคร, 2504.
แพทยศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

162 162

You might also like