You are on page 1of 17

คูม่ อื การใช้งานระบบสำหรับช่างเจาะน้ำบาดาล

(User Manual for Mobile Application)

โครงการจ้างเหมาพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)
สำหรับการประกอบกิจการน้ำบาดาล

สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
สารบัญ
บทนำ.......................................................................................................................................................................1
ความเป็นมาของโครงการ...........................................................................................................................1
วัตถุประสงค์ของโครงการ...........................................................................................................................2
วัตถุประสงค์ของเอกสารคู่มือการใช้งานระบบ...........................................................................................2
1. การลงทะเบียนใช้งานระบบบน Mobile Application สำหรับช่างเจาะน้ำบาดาล.............................................3
2. การเข้าสู่ระบบ.....................................................................................................................................................7
3. การดำเนินการ.....................................................................................................................................................9
บทนำ
ความเป็นมาของโครงการ
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีภารกิจหลักในด้านการควบคุม กำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาลให้เป็น
ไปตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. ๒๕๒๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีหน้าทีใ่ นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
บาดาลซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของประเทศ การควบคุมการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลให้เป็นไปตาม
แผนการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลแห่งชาติ และแผนการจัดสรรทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน ให้บริการแก่
ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลและประชาชนทัว่ ไป ทั้งด้านสาธารณูปโภค การเกษตร ธุรกิจเชิงพาณิชย์และ
อุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองการขยายตัวของประชากรและรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการใช้
ปริมาณน้ำบาดาลสูงอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล (กรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล)
การดำเนินการด้านการควบคุม กำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาลที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ยังคงประสบปัญหาอันได้แก่ ปัญหาอุปสรรคด้านการออกใบอนุญาตที่ยังเป็นภาระให้กับผู้ประกอบกิจการ
น้ำบาดาลหรือประชาชน อาทิ เอกสารหรือหลักฐานประกอบการขอรับใบอนุญาตมีจำนวนมากและซับซ้อน
การยื่นเอกสารหรือหลักฐานประกอบคำขอรับใบอนุญาต ยังจำเป็นต้องยื่นในพื้นที่จังหวัดหรือในเขต อปท. นั้น ขั้น
ตอนและกระบวนการในการขอรับใบอนุญาตมีหลายขั้นตอนทำให้เกิดความล่าช้า การติดตามทวงถามยังทำได้
เพียงการสอบถามทางโทรศัพท์เท่านั้น ปัญหาอุปสรรคด้านการชำระเงินหรือการจัดเก็บรายได้จากการประกอบ
กิจการน้ำบาดาล อันได้แก่ ช่องทางการชำระเงินยังมีจำกัด และไม่สะดวก ยังจำกัดอยู่ในช่วงเวลาราชการหรือเวลา
ทำการของธนาคาร อีกทั้งมีบัญชีซึ่งกระจายในแต่ละจังหวัด (สนง.ทสจ.) ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในบางครั้งและยาก
ต่อการบริหารจัดการ อีกทั้งปัญหาอุปสรรคด้านการบริหารจัดการฐานข้อมูล ปัจจุบัน ฐานข้อมูลด้านการประกอบ
กิจการน้ำบาดาลที่ได้รับใบอนุญาตทั่วประเทศมีมากกว่า 60,000 บ่อ ซึ่งการนำเข้าข้อมูลมาจากเจ้าหน้าที่ที่บันทึก
ข้อมูลจากเอกสารที่ได้รับจากการยื่นคำขอของผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลด้วยการกรอกข้อมูลด้วยการเขียนและ
แนบสำเนาเอกสารหรือหลักฐาน ซึ่งบางครั้งอาจมีความไม่ชดั เจนและบิดเบือนด้วยความไม่ตั้งใจหรือตั้งใจ (ปลอม
แปลงเอกสาร) และข้อมูลที่ได้ไม่เป็นปัจจุบัน โดยปัญหาดังกล่าว ก่อให้เกิดความซับซ้อนและล่าช้าในขั้นตอนการ
ยื่นคำขอ เกิดความไม่โปร่งใสทั้งจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจของเจ้าหน้าที่ อีกทั้งยังทำให้เกิดการกระทำความผิด
กฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล จากทั้งผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล ช่างเจาะน้ำบาดาล หรือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
และยังไม่สอดรับกับภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทางเทคโนโลยี (Disruptive technologies) ปัจจุบัน
สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาลควบคุม กำกับ ดูแลบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับใบอนุญาตจำนวนมากกว่า 60,000 บ่อ
รวมทั้งมีการจัดเก็บรายได้จากค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลที่เป็นรายได้ของแผ่นดินและกองทุนพัฒนา
น้ำบาดาลผ่านระบบสารสนเทศเพื่อการควบคุมกิจการน้ำบาดาล (Groundwater Control License: GCL) ซึ่ง
เป็นระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับใบอนุญาตและการจัดเก็บรายได้ แต่ก็ยังขาดงานบริการที่
เข้าถึงประชาชนที่สะดวกรวดเร็ว ข้อมูลด้านการประกอบกิจการน้ำบาดาลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถ
เข้าถึงได้ง่าย มีความทันสมัยและความโปร่งใสติดตามตรวจสอบได้

1
นอกจากนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลยังต้องดำเนินการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามแผนปฏิบัติการการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2551 (ฉบับที่
2) ทั่วประเทศไทย จำนวนมากกว่า 7,000 แห่ง แต่หากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลยังไม่ได้ทำการแก้ไขปัญหาดังที่
กล่าวมา ก็จะนำมาซึ่งปัญหาด้านการบริการ อีกทั้งประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านการประกอบกิจการ
น้ำบาดาลจนนำไปสู่การขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์น้ำบาดาลของประเทศ และอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของกรม
ทรัพยากรน้ำบาดาลในฐานะผู้รับผิดชอบด้านการควบคุม กำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาล รวมถึงการ
บริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาน้ำบาดาลของประเทศเป็นไปอย่างยากลำบากขาดความร่วมมือจากภาค
ประชาชน ดังนั้น สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล เห็นว่าการนำเอาเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้จะช่วยให้ขั้นตอนการ
บริการด้านการประกอบกิจการน้ำบาดาลมีมาตรฐาน โปร่งใส ลดขั้นตอนและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาลเพื่อเข้าสู่ระบบได้โดยง่าย
และการดำเนินงานออกใบอนุญาตเป็นไปตามพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทาง
ราชการ พ.ศ. 2558 และอยู่ภายใต้พระราชบัญญัตวิ ่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ประชาชนเข้าถึง
องค์ความรูด้ ้านน้ำบาดาลและด้านการประกอบกิจการน้ำบาดาลจนเห็นถึงความสำคัญในการอนุรกั ษ์และพัฒนา
น้ำบาดาลของประเทศ จะสามารถนำมาซึ่งการแก้ปัญหาดังที่กล่าวมา และสอดคล้องกับนโยบายหรือโมเดลการ
พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการ “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม” การขับเคลื่อนการดำเนินงานภาครัฐ
ด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และ “Zero copy” การยกเลิกสำเนาเอกสารราชการ จึงมี
แนวคิดทีจ่ ะพัฒนา “ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) สำหรับการประกอบกิจการน้ำบาดาล” ซึ่งเป็น
เครื่องมือที่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อลดขั้นตอนและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการประกอบกิจการน้ำบาดาล ผ่านระบบบริการ
อิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) สำหรับการประกอบกิจการน้ำบาดาล
วัตถุประสงค์ของเอกสารคู่มือการใช้งานระบบ
เพื่อเป็นคู่มือประกอบการปฏิบัติงานจริงให้แก่เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องการการให้บริการประชาชน,
นิติบุคคล หรือช่างเจาะ ให้สามารถใช้งานระบบ e-Service ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้งาน Mobile Application สำหรับช่างเจาะน้ำบาดาล
1. การลงทะเบียนใช้งานระบบบน Mobile Application สำหรับช่างเจาะน้ำบาดาล
เข้า Mobile Application สำหรับช่างเจาะน้ำบาดาล คลิกที่ลิงค์ “ลงทะเบียนผู้ใช้งานระบบ”

2
หน้าจอสำหรับอ่านข้อมูลเลขบัตรประชาชนในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา ถ้าต้องการกรอกข้อมูลเองให้เลือกปุ่ม
“ข้ามขั้นตอนนี้”

3
หน้าจอสำหรับบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้งานระบบสำหรับช่างเจาะน้ำบาดาล เมื่อกรอกข้อมูลสำคัญครบถ้วน
กดปุ่ม “ลงทะเบียน” ทีอ่ ยู่ด้านล่าง

4
หน้าจอแสดงข้อมูลของผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนสำเร็จ สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัว เปลี่ยนรหัสผ่าน ได้

5
2. การเข้าสู่ระบบ
หน้าจอเข้าสู่ระบบ Mobile Application สำหรับช่างเจาะน้ำบาดาล

6
หน้าหลักของ Mobile Application สำหรับช่างเจาะน้ำบาดาล

7
8
3. การดำเนินการ
จากหน้าหลัก เมนู “ดำเนินการ” คือเมนูสำหรับการบันทึกรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับช่างเจาะน้ำบาดาล เช่น
นบ./๓ นบ./๔ นบ./๕ และรายงานการอุดกลบ
หน้าจอแสดงตัวอย่างงานที่มาถึงช่างเจาะน้ำบาดาล เพื่อดำเนินการบันทึกข้อมูล

หน้าจอแสดงข้อมูลการบันทึกรายงาน นบ./๓ นบ./4 นบ./๕

9
หน้าจอแสดงข้อมูลการบันทึกรายงาน นบ./๓ นบ./4 นบ./๕ (ต่อ)

10
หน้าจอแสดงข้อมูลการบันทึกรายงาน นบ./๓ นบ./4 นบ./๕ (ต่อ)

11
หน้าจอแสดงข้อมูลการบันทึกรายงาน นบ./๓ นบ./4 นบ./๕ (ต่อ)

12
หน้าจอแสดงข้อมูลการบันทึกรายงาน นบ./๓ นบ./4 นบ./๕ (ต่อ)

13
เมื่อบันทึกข้อมูลครบถ้วนและตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว เลื่อนมาที่ดา้ นล่างสุด กดปุ่ม “ส่งข้อมูลคำขอ”
เพื่อส่งข้อมูลนี้ไปยังเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนถัดไป

14
15

You might also like