You are on page 1of 3

ชื่อผลงาน : ผลการเฝ้ าระวังและติดตามอาการไม่พึงประสงค์ (Intensive

ADR Monitoring) จากการใช้ยา


อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ในการลดระดับกรดยูริก ในผู้ป่วยโรคเกาต์ราย
ใหม่ ที่โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย
ชื่อผู้นำเสนอ : ภก.อิทธิกร พวงท้าว เภสัชกรปฏิบัติการ โรงพยาบาล
อุทุมพรพิสัย

บทคัดย่อ
โรคเกาต์เป็ นโรคที่เกิดจากระดับกรดยูริก (Uric acid) ในเลือดสูง
ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ เนื่องจากมีการเกาะของเกลือยูเรทบริเวณข้อ
และเอ็น หากเป็ นเรื้อรังจะทำให้ข้อผิดรูปและเสียหน้าที่ในการทำงาน
ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) เป็ นยาที่ช่วยลดการสร้างกรดยูริกใน
ร่างกาย แพทย์อาจมีความจำเป็ นต้องเลือกใช้ในผู้ป่วยบางราย ที่มีระดับ
กรดยูริกสูงมาก ๆ ด้วยความจำเป็ นอย่างยิ่งต่อการรักษาและความปลอดภัย

ในผู้ป่วยบางราย อาจเกิดอาการแพ้ยารุนแรงได้ (น้อยกว่า 1%) คือ ภาวะ


ผิวหนังเปื่ อยลอกทัง้ ตัว (Steven Johnson syndrome) ดังนัน
้ เพื่อความ
ปลอดภัย จากการใช้ยาอย่างแท้จริง ทางโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จึงมีนโย
บายให้ติดตามประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยรายใหม่ที่เริ่มได้
รับการรักษาด้วยยาอัลโลพูรินอล
(Allopurinol) ในช่วง 6 เดือนแรกของการรักษา ในผูป
้ ่ วยทุกราย
วิธีการดำเนินการวิจัย : เก็บข้อมูลย้อนหลัง จากเวชระเบียนของผู้ป่วย ที่
ได้รับ ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol)
ตัง้ แต่เดือนตุลาคม 2560 – เดือนกันยายน 2562 จากโปรแกรม Him Pro
หลังจากได้มอบบัตรเฝ้ าระวัง เพื่อลดการแพ้ยาที่รุนแรง ในผู้ป่วยรายใหม่ที่
เริ่มยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) รายใหม่ ทุกราย ติดตามอาการไม่พึง
ประสงค์ ทุกๆ รอบการนัด ในช่วง 6 เดือนแรก นำข้อมูลมาวิเคราะห์
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาโดยติดตามจากอาการไม่พึงประสงค์
ทัง้ ที่พบอาการที่นำไปสู่อาการแพ้ยาที่รุนแรง เช่น มีไข้สูง ปวดเมื่อย เจ็บ
คอ ร่วมกับมีอาการ เช่น มีผ่ น
ื ตุ่มน้ำพุพอง จุดแดงบริเวณผิวหนัง เยื่อบุตา
อักเสบ เจ็บตา และตาแดง หรือมีแผลที่ปาก/อวัยวะเพศ/ก้น ตามเยื่อบุอ่อน
ต่าง ๆ

ผลการวิจย
ั : จากการติดตามการใช้ยา อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ใน
ผู้ป่วยที่แพทย์เริ่มสั่งใช้ยา ครัง้ แรก
ในจำนวนผู้ป่วยที่ติดตามการใช้ยา โดยใช้แบบฟอร์มที่สร้างขึน
้ (บัตรเฝ้ า
ระวังเพื่อลดการแพ้ยาที่รุนแรง) ในช่วง 6 เดือนแรก ตัง้ แต่เริ่มการรักษา
ในช่วงเดือน ตุลาคม 2561 – เดือนกันยายน 2562 พบว่า มีผู้ป่วยที่ใช้ยา
อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ทัง้ สิน
้ 407 ราย ในจำนวนดังกล่าว มีผู้ป่วย
รายใหม่ที่เริ่มได้รับยา 16 ราย
(ร้อยละ 3.93) และได้ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ หลังใช้ยา ในช่วง 6
เดือนแรก พบอาการไม่พึงประสงค์ ทัง้ หมด 9 ราย (ร้อยละ 2.21) ส่วน
ใหญ่เป็ นอาการนำ ที่อาจจะนำไปสู่อาการแพ้ยาที่รุนแรงได้ ส่วนอาการไม่
พึงประสงค์ แบบรุนแรง (Intensive ADR Monitoring) เช่น Stevens
- Johnson Syndrome (SJS) หรือ Toxic Epidermal Necrolysis
(TEN) ยังไม่พบ (ร้อยละ 0.00) นัน
้ หมายความว่าระบบ ที่สร้างขึน
้ สามารถ
ช่วยป้ องกันการเกิดอาการแพ้ยาชนิดรุนแรงให้แก่ผู้ป่วยได้ 100% โดยใช้
ระบบเตือนและเฝ้ าระวังตนเอง ด้วยบัตรเฝ้ าระวัง ที่เภสัชกรได้แนะนำ และ
มอบให้ตงั ้ แต่ครัง้ แรกที่ผู้ป่วยได้รับยา ทำให้ผู้ป่วยตระหนักและคำนึงถึง
ความปลอดภัยจากการใช้ยา ในกลุ่มยาที่มีรายงาน การเกิดอาการไม่พึง
ประสงค์ที่รุนแรง (Intensive ADR Monitoring) เช่น ยาอัลโลพูรินอล
(Allopurinol)

You might also like