You are on page 1of 16

วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจ�ำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2560 121

ท้าวเวสสุวัณคือใครในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและฮินดู1
Who is Vessavana in Buddhist and Hindu Mythologies
ปริวัตร ศิระเกียรติสกุล2
Pariwat Sirakiatsakul
อรอุษา สุวรรณประเทศ3
Onusa Suwanpratest

บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง ท้าวเวสสุวัณคือใครในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและฮินดู มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการ
ปรากฏของพระนาม บทบาทหน้าที่และความส�ำคัญของท้าวเวสสุวัณในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและฮินดู เป็นการ
วิเคราะห์เอกสาร แสดงผลการศึกษาด้วยการพรรณนาความ ที่มุ่งหาค�ำอธิบายเพื่ออภิปรายเชิงเปรียบเทียบการ
ปรากฏของพระนาม บทบาทหน้าทีแ่ ละความส�ำคัญของท้าวเวสสุวณ ั ในคัมภีรท์ างพุทธศาสนาและฮินดู ผลการศึกษา
การปรากฏของพระนามพบว่า ท้าวเวสสุวณ ั คือองค์เดียวกับท้าวกุเวรและท้าวไพรศรพณ์ มีบทบาทหน้าทีแ่ ละความ
ส�ำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ (1) บทบาทในการเป็นผูค้ มุ้ ครองดูแลศาสนา (2) บทบาทในการเป็นจตุโลกบาล และ (3) บทบาท
ในการเป็นผู้สั่งสอนและช่วยเหลือ การวิจัยครั้งนี้ท�ำให้ทราบสารสาระของท้าวเวสสุวัณว่า ไม่ว่าท่านจะมีพระนาม
บทบาทหน้าที่ และด�ำรงอยู่ในกาละและเทศะใด ดังที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและฮินดู ได้สะท้อนภาพของ
ท่านในการเป็นแบบอย่างการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่มุ่งบ�ำเพ็ญเพียรสู่ความหลุดพ้น มุ่งสู่ปรมาตมัน
ค�ำส�ำคัญ: เวสสุวัณ กุเวร จตุโลกบาล เทพปกรณัม พุทธ ฮินดู

Abstract
The purpose of this paper was to study the names, the roles and the important of
Vessavana in Buddhist and Hindu Mythologies. Documentary analysis was used to explore an
explanation through comparative discussion among the names, the roles and the important
of the Vessavana in Buddhist and Hindu Mythologies. The results were reported by descrip-
tive writing indicated that the Vessavana is also recognized as Kubera and Bhaisob. Their roles
can be designated in three aspects which are (1) the guardian of religion (2) being the Loka-pa-
las and (3) being the preacher and the saviour. Furthermore, the results of the study pointed
out the essence of the Vessavana that no matter what he is called or his role is, he is the ar-
chetype of the Buddhist and Hindu doctrines to attain nirvana.
Keywords: Vessavana, Kubera, Lokapalas, Mythology, Buddhist, Hindu

1
บทความนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรือ่ ง “ท้าวเวสสุวณ
ั : บทบาทด้านการสัง่ สอนในการปริวตั รทางจิตวิญญาณมนุษย์”
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคติชนวิทยา ภาควิชาคติชนวิทยา ปรัชญา และศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
2
นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
3
อาจารย์ ดร. ภาควิชาคติชนวิทยา ปรัชญา และศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
122 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 3, September - December 2017

บทน�ำ
บูชาท้าวเวสสุวัณ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ 
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ 
ท้าวเวสสุวัณโณ จาตุมะหาราชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต 
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวัณโณ นะโม พุทธายะ.
บทบูชาท้าวเวสสุวณ ั ข้างต้นนีเ้ ป็นบทสวดบูชาโดยทัว่ ไปในหมูผ่ นู้ บั ถือท้าวเวสสุวณ ั เป็นการแสดง
ให้เห็นว่าผู้นับถือมีการรับรู้ถึงบุคลิกภาพอันเป็นส�ำคัญของท่านว่าท่านมีรูปเป็นยักษ์ อุปมาว่ามีพันตา
สามารถรู้เห็นโดยรอบ เป็นใหญ่ในหมู่ยักษ์และอมนุษย์ เป็นท้าวมหาราชในชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นนาย
แห่งภูตผี เป็นผู้ที่ตายจากโลกนี้ตายโดยไม่เกิด ดับสิ้นซึ่งกิเลสกองทุกข์ไปด้วยบรมสุข
การรับรูเ้ กีย่ วกับท้าวเวสสุวณ
ั นัน้ ในไตรภูมกิ ถาบรรยายว่าท่านเป็นหัวหน้าของจตุโลกบาลเทพเทวา
ปกครองสวรรค์ชนั้ จาตุมหาราชิกา ปกครองยักษ์จงึ ท�ำให้นริ มาณกายของท่านปรากฏให้พบเห็นได้ทวั่ ไปตาม
สถานที่ต่างๆ เช่น บริเวณประตูทางเข้าวัด โบสถ์ วิหาร บางคราวอาจพบเห็นท่านในลักษณะรูปเคารพบูชา
ทีต่ งั้ อยูใ่ นเทวาลัย โดยรูปลักษณ์ของท้าวเวสสุวณ ั ปรากฏในรูปลักษณ์ของยักษ์ยนื ถือกระบองยาวหรือคทา
(ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) เป็นทีเ่ คารพนับถือว่าเป็นเครือ่ งรางของขลังป้องกันภูตผี ปีศาจ แต่ในบางแห่งยังพบ
รูปเคารพของท่านในรูปของชายนัง่ ในท่ามหาราชลีลา มีลกั ษณะโดดเด่น คือ พระอุระพลุย้ เป็นทีเ่ คารพนับถือ
ในความเชือ่ ว่าเป็นเทพแห่งความร�ำ่ รวย โดยผูน้ บั ถือฮินดูขานพระนามท่านว่า “พระกุเวร” บางสถานทีพ่ บเห็น
ท่านในรูปของกายมนุษย์ และรูปเทพบุตร อีกทั้งยังมีการสร้างวัตถุมงคลเพื่อบูชาตามความเชื่อ กล่าวกันว่า
ผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษมักพกพารูปท้าวเวสสุวัณส�ำหรับคล้องคอเพื่อเป็น
เครื่องรางของขลังป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน
ผู้วิจัยจึงขอยกคติความเชื่อเกี่ยวกับท้าวเวสสุวัณ มาพอเป็นสังเขป ได้แก่ (1) ผ้ายันต์รูปยักษ์
(2) การสวดภาณยักษ์ (3) รูปเคารพบูชา ที่วัดจุฬามณี อ�ำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม พบข้อมูลว่า
รูปเคารพท้าวเวสสุวัณ มีทั้งหมด 4 ภาค คือ พรหมาสูติเทพ ชั้นพรหม-มีรูปกายสีทอง ภูษาสีทอง, เทพบุตร
สูติเทพ ชั้นดาวดึงส์-มีรูปกายสีทอง ภูษาสีแดง, จาตุมหาราช ชั้นจาตุมหาราชิกา-มีรูปกายสีเขียวหรือด�ำ
ภูษาสีเขียว, ชั้นมนุษย์-มาในรูปแบบมนุษย์ (4) ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ที่ซุ้มเรือนแก้วของพระพุทธชินราช พบรูปหล่อปิดทองด้านซ้ายของฐานองค์พระท�ำเป็นรูปท้าวเวสสุวัณ
(5) รูปท้าวเวสสุวณ ั หรือพระไพศรพณ์ เป็นสัญลักษณ์ของอัยการ (6) รูปปัน้ ท้าวเวสสุวณ ั ทีห่ น้าศาลหลักเมือง
อ�ำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และเป็นตราประจ�ำจังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
จากข้อมูลทางคติชนคดีเกีย่ วกับท้าวเวสสุวณ ั ดังทีก่ ล่าวมาข้างต้นสามารถสังเกตได้วา่ ในสังคมไทย
มีการรับรู้เกี่ยวกับท้าวเวสสุวัณในวงกว้าง โดยทั่วไปท่านปรากฏในรูปของยักษ์ซึ่งสามารถพบได้ตามประตู
ทางเข้าวัด โบสถ์ วิหาร แต่ก็ยังมีรูปลักษณ์อื่นที่แตกต่างออกไป จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าพระนาม
ที่แตกต่างกัน ประกอบกับรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันดังกล่าวข้างต้นนั้น มีนัยยะหรือมีความหมายในทาง
คติชนวิทยาอย่างไร จึงเป็นทีม่ าของการศึกษาวิจยั ในครัง้ นี้ ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงศึกษาด้วยการส�ำรวจข้อมูลเบือ้ งต้น
ว่าการรับรู้ของคนในสังคมไทยมีความสอดคล้องตรงกับข้อมูลในคัมภีร์ทางศาสนาหรือไม่อย่างไร
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจ�ำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2560 123

1. ค�ำถามในการศึกษา
ท้าวเวสสุวัณคือใคร
2. จุดมุ่งหมายของการศึกษา
เพื่อศึกษาการปรากฏของพระนาม บทบาทหน้าที่และความส�ำคัญ ของท้าวเวสสุวัณในคัมภีร ์
ทางพุทธศาสนาและฮินดู
3. ความส�ำคัญของการศึกษา
ได้ทราบถึงการปรากฏของพระนาม บทบาทหน้าที่และความส�ำคัญ ของท้าวเวสสุวัณในคัมภีร์
ทางพุทธศาสนาและฮินดู อันเป็นสารสาระน�ำไปสู่การศึกษาทางคติชนวิทยาต่อไป
4. ขอบเขตการศึกษา
เป็นการศึกษาจากเอกสารทีเ่ กีย่ วข้องกับท้าวเวสสุวณ
ั คัมภีรท์ างพุทธศาสนาได้แก่ (1) พระไตรปิฎก
(2) ไตรภูมิกถา (3) ปฐมสมโพธิกถา คัมภีร์ทางฮินดูได้แก่ (1) รามายณะ (2) มหาภารตะ

วิธีการวิจัย
เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพจากข้อมูลแหล่งทุตยิ ภูมิ ด้วยการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร (documentary
analysis) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การศึกษา แสดงผลการศึกษาด้วยการพรรณนาความ (descriptive)
ที่มุ่งหาค�ำอธิบาย (explanatory) เพื่ออภิปรายเชิงเปรียบเทียบการปรากฏของพระนาม บทบาทหน้าที่และ
ความส�ำคัญ ของท้าวเวสสุวัณในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาและฮินดู

ผลการวิจัย
การน�ำเสนอผลการวิจัยเพื่อตอบค�ำถามในการศึกษาครั้งนี้ว่าท้าวเวสสุวัณคือใครใน 2 ประเด็น
ได้แก่ (1) พระนามต่างๆ และรูปลักษณ์ที่ปรากฏ และ (2) บทบาทหน้าที่และความส�ำคัญ เป็นการศึกษา
ให้เห็นถึงความเชือ่ เกีย่ วกับท้าวเวสสุวณ ั ในสังคมไทยตามทีป่ รากฏหลักฐานในเอกสาร ผูว้ จิ ยั จึงเลือกศึกษา
จากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และฮินดู ซึ่งผลการศึกษามีรายละเอียด ดังนี้
1. พระนามต่างๆ และรูปลักษณ์ที่ปรากฏ
พระนามต่างๆ ของท้าวเวสสุวณ ั และรูปลักษณ์ทปี่ รากฏ มีเอกสารทีผ่ วู้ จิ ยั พบในปัจจุบนั ได้ปรากฏ
เรียกสมญานามของท่านไว้หลากหลาย เช่น กิตานุ (Ki-tanu)-ผูม้ รี า่ งอัปลักษณ์, ธเนศวร/ธนปติ (Dhana-pati)-
ผูเ้ ป็นเจ้าแห่งสมบัต,ิ อุจฉาวสุ (Ichchhavasu)-ผูไ้ ด้รบั สมบัตทิ กุ อย่างทีต่ อ้ งการ, ยักษะราชา (Yaksha-raja)-
ราชาแห่งยักษ์, รากษะเสนทรา (Rakshasendra)-หัวหน้าแห่งรากษส, รัตนครณ-พุงแก้ว, อีศะสขี-เพือ่ นพระศิวะ
(ประจักษ์ ประภาพิทยากร, 2529, หน้า 12-14; พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ, 2556,
หน้า 125-130; สมบัติ พลายน้อย, 2555, หน้า 211; สุรศักดิ์ ทอง, 2553, หน้า 153)
จากการศึกษาพระนามของท้าวเวสสุวณ ั ทีเ่ รียกอย่างเป็นทางการตามเอกสารคัมภีรท์ างพระพุทธศาสนา
และคัมภีรท์ างฮินดู ผูว้ จิ ยั ได้พบว่ามีพระนามของท้าวเวสสุวณ ั 3 พระนาม ได้แก่ (1) ท้าวเวสสุวณ ั (2) ท้าวกุเวร
และ (3) ท้าวไพศรพณ์ พระนามและรูปลักษณ์ที่ปรากฏของ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวกุเวร และท้าวไพศรพณ์
จากคัมภีร์ทางพุทธศาสนา และฮินดู มีรายละเอียดดังนี้
124 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 3, September - December 2017

1.1 ท้าวเวสสุวัณ
จากการศึกษาพระไตรปิฎกฉบับ มหามกุฏราชวิทยาลัย (2552) พบว่า ในพระไตรปิฎก/
พระสุตตันตปิฎก/ทีฆนิกาย/ปาฏิกวรรค/อาฏานาฏิยสูตร บรรยายว่าพระนามท้าวเวสสุวัณเป็น “ต�ำแหน่ง”
ของเทพบุตรชือ่ กุเวรในสวรรค์ชน้ั จาตุมหาราชิกา ซึง่ ต่อมาได้ครองราชสมบัตใิ นราชธานี ชือ่ วิสาณะ ตัง้ แต่นน้ั
จึงเรียกว่าท้าวเวสสุวัณ มีต�ำแหน่งในการดูแลสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาซึ่งอยู่ในความปกครองของสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ (มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552, หน้า 135; สมบัติ พลายน้อย, 2555, หน้า 217-221;
แสงฉาย อนงคาราม, 2521, หน้า 124; อดิศร ถีรสีโล, 2549, หน้า 15-20; http://www.84000.org/tipitaka/
attha/attha.php?b=11&i=207)
ส่วนรามายณะฉบับ ราเมศ เมนอน (2551) ในอุดรกัณฑ์ กล่าวถึงท้าวเวสสุวัณในพระนาม
ของเวศรวัณ [ไวศรวัณ] เป็นโอรสพระวิศราวะ [วิศรพ] ผู้ที่ได้รับพรจากพระพรหมให้มีต�ำแหน่งเทพเป็น
โลกบาล (ราเมศ เมนอน, 2551, หน้า 664-667)
รูปของท้าวเวสสุวณ ั ทีพ่ บได้ทวั่ ไปตามประตูทางเข้าวัด โบสถ์ วิหาร มีลกั ษณะเป็นยักษ์เพราะ
ตามพระไตรปิฎกว่าท่านปกครองยักษ์ เป็นใหญ่ในหมู่ยักษ์และรากษส โดยภาพที่ยกตัวอย่างนี้ (ภาพที่ 1)
เป็นท้าวเวสสุวณั ทีต่ งั้ ตระหง่านอยูท่ หี่ น้าศาลหลักเมือง จังหวัดอุดรธานี หันหน้าไปทางทิศเหนือ เป็นรูปปัน้ ยักษ์
ขนาดใหญ่สีขาว ทรงเครื่องเต็มยศ ประดับด้วยกระเบื้องสี พระหัตถ์ทั้งสองข้างกุมกระบองอยู่ในลักษณะ
ของการปกป้อง และอีกภาพเป็นท้าวเวสสุวัณในลักษณะปกป้องอยู่ที่ซุ้มเรือนแก้วของพระพุทธชินราช
ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 1 ท้าวเวสสุวัณ หน้าศาลหลักเมือง จังหวัดอุดรธานี


ที่มา: http://www.udclick.com/home1/index.php?option=com_sobi2&sobi2Task=sobi2Details&-
catid=62&sobi2Id=2005&Itemid=300146
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจ�ำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2560 125

ภาพที่ 2 ท้าวเวสสุวัณที่ซุ้มเรือนแก้วของพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ


อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ที่มา: ภาพถ่ายโดย ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ
วัดมหายานจีนเรียกท้าวเวสสุวณ
ั ว่า ไต้บนุ๋ ประจ�ำทิศเหนือ ประจ�ำฤดูสารท (ใบไม้รว่ ง) สีกายด�ำ
ถือดวงแก้วและงู (ผาสุข อินทราวุธ, 2543, หน้า 203; สมบัติ พลายน้อย, 2555, หน้า 217-221) แต่ในสมบัติ
พลายน้อย (2555, หน้า 217-221) เรียก โต้บุ๋น แปลว่า ได้ยินไปทั่ว มียักษ์เป็นบริวารเหมือนกัน ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 ไต้บุ๋น ท�ำจากนาก ศิลปะจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2187) สถาบันศิลปะในสหรัฐอเมริกา


ที่มา: ผาสุข อินทราวุธ (2543, หน้า 242)
126 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 3, September - December 2017

1.2 ท้าวกุเวร
พระไตรปิฎกฉบับ มหามกุฏราชวิทยาลัย (2552) กล่าวถึงพระนามท้าวกุเวร ปรากฏใน
พระสุตตันตปิฎก/ทีฆนิกาย/ปาฏิกวรรค/อาฏานาฏิยสูตร โดยบรรยายก�ำเนิดของท้าวกุเวรว่า เมือ่ พระพุทธเจ้า
ยังไม่อุบัติ มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อกุเวรพราหมณ์ ท�ำไร่หีบอ้อยขาย ได้สร้างโรงหีบอ้อย ประกอบเครื่องยนต์
7 เครื่อง กุเวรพราหมณ์ได้ให้ผลก�ำไรซึ่งเกิดขึ้นที่โรงเครื่องยนต์แห่งหนึ่งแก่มหาชนที่มาแล้วได้กระท�ำบุญ
ผลก�ำไรทีม่ ากกว่าได้ตงั้ ขึน้ ในทีน่ นั้ จากโรงทีเ่ หลือ กุเวรพราหมณ์เลือ่ มใสด้วยบุญนัน้ จึงถือเอาผลก�ำไรทีเ่ กิดขึน้
แม้ในโรงทีเ่ หลือให้ทานตลอดสองหมืน่ ปี เขาได้ถงึ แก่กรรมไปเกิดเป็นเทพบุตรชือ่ กุเวรในสวรรค์ชนั้ จาตุมหาราชิกา
(มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552, หน้า 135; สมบัติ พลายน้อย, 2555, หน้า 217-221; แสงฉาย อนงคาราม,
2521, หน้า 124; อดิศร ถีรสีโล, 2549, หน้า 15-20; http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.
php?b=11&i=207)
รามายณะฉบับ ราเมศ เมนอน (2551) กล่าวถึงพระนามท้าวกุเวร ปรากฏในอุดรกัณฑ์ ว่าเป็น
ต�ำแหน่งของเทพผู้เป็นหนึ่งในสี่ของจตุโลกบาล ในรามายณะ บรรยายว่า ครั้งเป็นมนุษย์ท้าวกุเวรองค์นี้
คือ เวศรวัณ ผู้ซึ่งได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นโลกบาล (ราเมศ เมนอน, 2551, หน้า 664-667) ตามการ
วิเคราะห์ความเชือ่ ในต�ำนานเกีย่ วกับโลกบาลในยุคมหากาพย์ โดย ณัชพล ศิรสิ วัสดิ์ (2555, หน้า 104-105)
กล่าวว่ามีบทบาทเป็นโลกบาลรักษาประจ�ำทิศเหนือ เป็นเทพแห่งทรัพย์สินอันมีศักดิ์เท่าเทียมองค์อินทร์
วรุณเทพ และยมเทพ ซึง่ มีความสอดคล้องกับเทวนิยายของ สมบัติ พลายน้อย (2555, หน้า 211) ทีอ่ อกเสียง
พระนามของท้าวกุเวรองค์นคี้ รัง้ เป็นมนุษย์วา่ ไวศรวัณ คือ นอกจากปุลสั ตย์ผเู้ ป็นปูจ่ ะให้ชอื่ ว่า ไวศรวัณ แล้วก็ยงั
มีชอื่ ว่า กุเวร อีกด้วย และต่อมาจึงได้รบั พรจากพระพรหมให้เลือ่ นขึน้ เป็นท้าวกุเวรดูแลโลกบาลทิศเหนือ ดังนี้
“วิศรพเป็นนามบิดา จึ่งออกนามา ว่าไวศรวัณสรรพ์ดี อีกตงปรากฏนามมี ทั่วทั้งแดนตรี
ชื่อว่ากุเวรเจนธรรม”
(สมบัติ พลายน้อย, 2555, หน้า 211)

ประจักษ์ ประภาพิทยากร (2529, หน้า 12-14) กล่าวว่า ในรามายณะ ท้าวกุเวรเป็นโอรสของ
พระวิศรวัสมุนี กับนางอิทาวิฑา ในมหาภารตะว่า เป็นโอรสของพระปุลัสตย์ ซึ่งเป็นบิดาของพระวิศรวัส
อีกชั้นหนึ่ง กล่าวกันว่า ท้าวกุเวรใฝ่ใจกับท้าวพรหมา เป็นเหตุให้บิดาโกรธ จึงได้แบ่งภาคเป็นพระวิศรวัส
และพระวิศรวัสเกิดแต่ปุลัสตย์ จึงได้นามอีกว่า เปาลัสตยัม ซึ่งรามเกียรติ์ไทยเรียกว่า ลัสเตียน ท้าวลัสเตียน
ได้กับนางนิกษาบุตรีท้าวสุมาลีรากษสเป็นชายา เกิดโอรสด้วยกัน คือ ทศกัณฐ์ กุมภกรรณ พิเภก และส�ำมะ
นักขา ดังนั้นท้าวกุเวร ซึ่งในรามเกียรติ์ถือเป็นเทวดาองค์เดียวกับท้าวกุเปรัน (สุรศักดิ์ ทอง, 2553, หน้า153)
จึงเป็นลูกร่วมบิดาเดียวกันกับทศกัณฑ์
มหาภารตะ ฉบับ กรุณา กุศลาสัย และ เรืองอุไร กุศลาสัย (2555, หน้า 108) ปรากฏพระนาม
ท้าวกุเวร ในวนบรรพ โดยบรรยายถึงดินแดนของท้าวกุเวรว่า ดินแดนของท้าวกุเวรผูเ้ ป็นเทพเจ้าแห่ง ทรัพย์สนิ
เงินทอง อยูบ่ นภูเขาไกลาส มีสระโบกขรณี มีบวั อันหอมประหลาด มีบริวารได้แก่ เหล่ายักษ์และรากษสดูแล
รักษาอย่างเข้มแข็ง
อีกทั้งยังปรากฏพระนามท้าวกุเวรว่าเป็นท้าวจตุโลกบาล ในต�ำนานทางฮินดูบรรยายว่า
ท้าวกุเวรเคยเป็นขโมยมาก่อน คือมีเรือ่ งเล่าว่าตอนทีเ่ ป็นมนุษย์นนั้ คืนหนึง่ ได้เข้าไปขโมยของในวิหารพระศิวะ
ไส้ตะเกียงภายในวิหารได้หมดลง ต้องจุดใหม่ถึงสิบครั้ง ด้วยการจุดไฟนี้ถือว่าเป็นความดี (เหมือนจุดบูชา
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจ�ำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2560 127

พระศิวะ) เลยได้ไปเกิดเป็นท้าวกุเวร พระศิวะก็จะโปรดคนประเภทนี้อยู่มาก (สมบัติ พลายน้อย, 2555,


หน้า 217-221; Sanyal, 2004)
ท้าวกุเวรนีช้ าวบ้านเรียกกันว่า เวสสุวณ ั คนแต่กอ่ นมักแขวนรูปเขียนเป็นพระยายักษ์ ซึง่ ก็คอื
ท้าวกุเวรหรือเวสสุวัณนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายจากผีหรือยักษ์ เพราะเวสสุวัณเป็นใหญ่ในหมู่ยักษ์
รากษส และผี เพื่อป้องกันดูแลเด็ก และท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวัณมีคนเป็นพาหะ คนจึงเป็นบริวารของ
ท้าวกุเวรด้วย (ประจักษ์ ประภาพิทยากร, 2529, หน้า 12-14) ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 4 ท้าวกุเวร
ที่มา: พระยาสัจจาภิรมย์ฯ (สรวง ศรีเพ็ญ) (2556, หน้า 46)
1.3 ท้าวไพศรพณ์
ไตรภูมิกถาฉบับ กรมศิลปากร (2555) ปรากฏพระนามท้าวไพศรพณ์ เทพผู้ท�ำหน้าที่เป็น
ท้าวจตุโลกบาลประจ�ำทิศเหนือ ซึ่งสอดคล้องกับ สมบัติ พลายน้อย (2555, หน้า 211) กล่าวว่า ในหนังสือ
ไตรภูมิเรียกท้าวกุเวรว่า “ท้าวไพศรพณ์มหาราช” และได้พรรณนาถึงการแต่งองค์ที่แสดงว่าท้าวไพศรพณ์
ร�่ำรวยมากมีทองมากมายไม่รู้กว่ากี่ร้อยล้าน ซึ่งไตรภูมิกถาฉบับ กรมศิลปากร (2555, หน้า 184) บรรยาย
รูปลักษณ์ของท้าวไพศรพณ์มหาราช ดังนี้
“ท้าวไพศรพณ์มหาราช ผู้เป็นใหญ่ปกครองหมู่ยักษ์และเทวดาทั้งหลายทางทิศเหนือของ
ก�ำแพงจักรวาล ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ เครื่องประดับกายของท้าวไพศรพณ์และ
บริวารเป็นทองเนือ้ สุกงาม หมูย่ กั ษ์ทงั้ หลายบ้างก็ถอื ค้อนถือสากและจามรีลว้ นเป็นทองค�ำ
ทั้งสิ้นไม่รู้ว่ากี่ร้อยล้าน หมู่ยักษ์เหล่านี้มีหน้าตาน่ากลัว ท้าวไพศรพณ์มหาราชทรง
ม้าสีเหลืองดังทอง ขับพลน�ำไปถึงก�ำแพงจักรวาลด้านทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ เดินทางไป
ทางอากาศจนถึงเขายุคันธรด้านทิศเหนือ”
(กรมศิลปากร, 2555, หน้า 184)
128 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 3, September - December 2017

ท้าวไพศรพณ์มหาราชนีเ้ ป็นผูป้ กครองทิพยนครทิศเหนือของจาตุมหาราชิกา กล่าวคือสวรรค์


ชั้นที่ 1 มีมหาราชปกครอง 4 องค์ ประจ�ำทิศทั้ง 4 เรียกท้าวจาตุมหาราช หรือท้าวจตุโลกบาล4 แปลว่า
ผู้พิทักษ์รักษาโลก อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของท้าวสักกะ (พระอินทร์) มีหน้าที่รายงานสภาพความเป็น
ไปของสั ง คมมนุ ษ ย์แก่หมู่เทพชั้นดาวดึงส์ใ นสุธรรมสภา ถ้ า ทั พอสู ร รุ กผ่ า นด่ านเบื้ องต้ นใกล้ เข้ า มา
ท้าวมหาราชทัง้ 4 เป็นผูท้ ำ� หน้าทีไ่ ปรายงานต่อพระอินทร์ (กรมศิลปากร, 2555, หน้า 179; พนิตา อังจันทรเพ็ญ,
ม.ป.ป., หน้า 115-117; ป.อ. ปยุตฺโต, 2552, หน้า 61; อรวรรณ ทรัพย์พลอย, 2536, หน้า 97-108; Cotterell
& Strom, 2014, pp.372-373) ในรายละเอียดของรูปลักษณ์นนั้ มีการบรรยายถึงรูปลักษณ์ของท้าวไพศรพณ์
ผ่านศิลปะหลังบานประตูพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม บนหน้าต่างบานที่ 20 (อรุณศักดิ์ กิ่งมณี,
2551, หน้า 102) ดังภาพที่ 5

ภาพที่ 5 ท้าวไพศรพณ์เทพผู้พิทักษ์หลังบานประตูพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม หน้าต่างบานที่ 20


ภาพ: เทพบุรุษผิวกายสีขาว
เทพศาสตราวุธ: พระขรรค์
พาหนะ: ปลากราย
ที่มา: อรุณศักดิ์ กิ่งมณี (2551, หน้า 102)
ส่วนความส�ำคัญของปลากรายนั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดถึงเหตุที่น�ำมาเป็นเทพพาหนะ
อย่างไรก็ตาม เรือ่ งปลากรายมีพบอยูใ่ นคัมภีรน์ ารายณ์สบิ ปางฉบับโรงพิมพ์หลวงกล่าวไว้ในตอน “มัจฉาวตาร”
ว่าพระนารายณ์ได้เนรมิตกายมาในร่างของ “ปลากรายทอง” เพื่อปราบสังข์อสูร ทั้งนี้ยังไม่ทราบ แน่ชัดว่า
ความส�ำคัญของปลากรายจากเหตุการณ์นี้จะเป็นที่มาหรือเกี่ยวข้องกับการน�ำมาเป็นพาหนะของเทพ
หรือไม่อย่างไร
4
ในไตรภูมิกถา จตุโลกบาล ได้แก่ (1) เทวดาผู้เป็นใหญ่ปกครองเทวดาทั้งหลายฝ่ายตะวันออกของภูเขาสิเนรุราชนั้นชื่อว่า
ท้าวธตรฐราช เป็นเจ้าเทวดาทั้งหลายตลอดถึงก�ำแพงจักรวาลด้านตะวันออก (2) เทวดาผู้เป็นใหญ่ปกครองเทวดาทั้งหลาย
ด้านทิศตะวันตกชื่อว่าท้าววิรปู กั ขราช เป็นเจ้าแห่งเทวดาและหมูค่ รุฑราช หมูน่ าคราช ตลอดถึงก�ำแพงจักรวาลด้านตะวันตก
(3) เทวดาผู้เป็นใหญ่ฝ่ายทักษิณชื่อว่าท้าววิรุฬหกราชปกครองหมู่ยักษ์ชื่อว่ากุมภัณฑ์และเทวดาทั้งหลาย ตลอดถึงก�ำแพง
จักรวาลด้านทักษิณ (4) เทวดาผู้เป็นใหญ่ปกครองด้านทิศอุดรชื่อว่าท้าวไพศรพณ์มหาราช เป็นเจ้าแห่งยักษ์ทั้งหลายและ
เทวดาเบื้องอุตตรทิศ ของภูเขาสิเนรุราช ตลอดถึงก�ำแพงจักรวาลด้านอุตตรทิศ และเป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจ�ำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2560 129

2. บทบาทหน้าที่และความส�ำคัญ
บทบาทหน้าทีแ่ ละความส�ำคัญจากการศึกษาเอกสารคัมภีรท์ างพระพุทธศาสนา และคัมภีรท์ างฮินดู
ผู้วิจัยได้พบว่าในพระนามของท้าวเวสสุวัณ ท้าวกุเวร และท้าวไพศรพณ์ มีบทบาทหน้าที่และความส�ำคัญ
3 ด้าน ได้แก่ (1) บทบาทในการเป็นผูค้ มุ้ ครองดูแลศาสนา (2) บทบาทในการเป็นจตุโลกบาล และ (3) บทบาท
ในการเป็นผู้สั่งสอนและช่วยเหลือ โดยผู้วิจัยขอน�ำเสนอผลการศึกษาในประเด็นบทบาทหน้าที่และ
ความส�ำคัญตามพระนามที่ปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนา ดังนี้
2.1 ท้าวเวสสุวัณ
ในพระไตรปิฎกฉบับ มหามกุฏราชวิทยาลัย (2552) บทบรรยายได้แสดงให้เห็นถึงบทบาท
หน้าที่และความส�ำคัญของท้าวเวสสุวัณในการเป็นหัวหน้าจตุโลกบาล และการเป็นผู้คุ้มครองดูแลศาสนา
ดังปรากฏในพระสุตตันตปิฎก/ทีฆนิกาย/ปาฏิกวรรค/อาฏานาฏิยสูตร ว่าคืนหนึง่ ขณะทีพ่ ระพุทธเข้าประทับ
ณ เขาคิชฌกูฎ ใกล้กรุงราชคฤห์ ท้าวมหาราช ทัง้ สี(่ จตุมหาราช)5 พร้อมด้วยเสนารักษ์ คนธรรพ์ (รุกขเทวดา)
กุมภัณฑ์และนาค เมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่ถวายบังคมแล้ว ท้าวเวสสุวัณ (มีนามอย่างหนึ่งว่าท้าวกุเวร)
กราบทูลว่ามียักษ์ชั้นผู้ใหญ่ชั้นกลางชั้นต�่ำที่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคก็มี ไม่เลื่อมใสก็มี แต่ที่ไม่เลื่อมใส
มีมาก เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม เพื่อเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด
ดืม่ สุราเมรัย พวกยักษ์เหล่านัน้ ไม่เว้นจากสิง่ เหล่านี้ โดยมากจึงไม่ชอบ มีสาวกของพระผูม้ พี ระภาคเสพเสนาสนะ
อันสงัดในป่า ซึ่งพวกยักษ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่เลื่อมใสในพระธรรมวินัยของพระองค์อาศัยอยู่เพื่อคุ้มครองรักษา
เพือ่ ไม่ให้เบียดเบียน เพือ่ อยูเ่ ป็นสุขแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ขอพระผูม้ พี ระภาคทรงเรียนการรักษา
ชือ่ อาฏานาฏิยา เพือ่ ท�ำยักษ์เหล่านัน้ ให้เลือ่ มใส พระผูม้ พี ระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ (พนิตา อังจันทรเพ็ญ,
ม.ป.ป., หน้า 115-117; ป.อ. ปยุตฺโต, 2552, หน้า 212-213; มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552, หน้า 111-119;
สมบัติ พลายน้อย, 2555, หน้า 221; สุชีพ ปุญญานุภาพ, 2539, หน้า 363-364; อดิศร ถีรสีโล, 2549,
หน้า 15-20)
ปฐมสมโพธิกถาฉบับ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (2552) ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของท้าว
เวสสุวัณในการเป็นจตุโลกบาล และการช่วยเหลือพระพุทธเจ้าเพื่อบ�ำเพ็ญเพียรสู่การหลุดพ้นครั้งสมัย
พุทธกาลว่า ท้าวเวสสุวัณได้ร่วมกับท้าวจตุโลกบาลน�ำบาตรศิลามรกตมาทั้ง 4 ทิศ แล้วเข้ากราบทูลถวาย
ให้ทรงรับซึ่งข้าวสัตตุด้วยบาตรทิพย์ทั้ง 4 จากนั้นพระพุทธองค์ทรงอธิษฐานผสานบาตรทั้ง 4 เข้าเป็นบาตร
เดียวกันแล้วทรงรับข้าวสัตตุด้วยบาตรนั้น ดังความว่า
“พาณิชสองพี่น้องนามตปุสสะ และภัลลิกะน�ำข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงถวายบิณฑบาตแก่
พระพุทธองค์ แลขณะนั้นพระพุทธองค์ทรงปริวิตกว่าบาตรของตถาคตก็มิได้มี ณ กาลนั้น
ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ทราบในพุทธอัธยาศัยก็น�ำเอาบาตรศิลาทั้ง 4 บาตร มาทั้ง 4 ทิศ
ทิศละองค์ น้อมเข้ากราบทูลถวายให้ทรงรับซึ่งข้าวสัตตุด้วยบาตรทิพย์ทั้ง 4 พระพุทธองค์
ทรงรับทั้ง 4 บาตร เพื่อจะรักษาปสาทศรัทธาแห่งท้าวจตุมหาราช ใช่จะทรงรับด้วย
มหิจฉภาพเจตนา [ความมักมาก] จึงทรงอธิษฐานผสานบาตรทั้ง 4 เข้าเป็นบาตรเดียว
แล้วทรงรับข้าสัตตุด้วยบาตรนั้น”
(ปรมานุชิตชิโนรส, กรมพระ, 2552, หน้า 175-176)
5
ในพระไตรปิฎก จตุมหาราชผู้วางการรักษาทั้ง 4 ทิศ ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ ได้แก่ (1) ท้าวธตรัฏฐ์
เป็นเจ้าแห่งคนธรรพ์ ดูแลทิศตะวันออก (2) ท้าววิรุฬหะ เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ดูแลทิศใต้ (3) ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าแห่งนาคราช
ดูแลทิศตะวันตก (4) ท้าวเวสสุวัณ หรือท้าวกุเวร เป็นเจ้าแห่งยักษ์ทั้งหลายดูแลทิศเหนือ
130 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 3, September - December 2017

อีกทัง้ ตามความเชือ่ ของผูน้ บั ถือศาสนาพุทธมหายานในจีน มีการนับถือท้าวเวสสุวณ ั ในบทบาท


ของเทพธรรมบาล ผู้คุ้มครองดูแลศาสนา ถ้าอยู่เป็นคู่เฝ้าประตูวัดเรียกทวารบาล อีกทั้งยังเป็นโลกบาล คือ
จาตุมหาราชา จีนเรียกท้าวเวสสุวณ ั ว่า ไต้บนุ๋ (ผาสุข อินทราวุธ, 2543, หน้า 203; สมบัต ิ พลายน้อย, 2555,
หน้า 217-221) แต่ใน สมบัติ พลายน้อย (2555, หน้า 217-221) เรียก “โต้บนุ๋ ” นับถือเป็น เทพเจ้าแห่งโภคทรัพย์
2.2 ท้าวกุเวร
พระไตรปิฎกฉบับ มหามกุฏราชวิทยาลัย (2552) ในพระสุตตันตปิฎก/ทีฆนิกาย/ปาฏิกวรรค/
อาฏานาฏิยสูตร แสดงให้เห็นถึงบทบาทของท้าวกุเวรครัง้ เป็นกุเวรพราหมณ์ในการเป็นผูส้ งั่ สอนและช่วยเหลือ
ด้วยการเป็นแบบอย่างของผู้บ�ำเพ็ญทานบารมีจากผลก�ำไรของโรงหีบอ้อย จึงได้ไปเกิดเป็นกุเวรเทพบุตร
ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา อันแสดงถึงบทบาทของท้าวกุเวรในการเป็นจตุโลกบาลอีกด้วย (มหามกุฏราช
วิทยาลัย, 2552, หน้า 135; สมบัติ พลายน้อย, 2555, หน้า 217-221; แสงฉาย อนงคาราม, 2521, หน้า
124; อดิศร ถีรสีโล, 2549, หน้า 15-20; http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=207)
รามายณะฉบับของ ราเมศ เมนอน (2551) ใน อุดรกัณฑ์ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของท้าวกุเวร
ในการเป็นหนึง่ ในสีข่ องจตุโลกบาล และยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทในการสัง่ สอนด้วยการเป็นแบบอย่างของ
ผูท้ ตี่ งั้ มัน่ ในการบ�ำเพ็ญบารมี อกี ทัง้ ตามการวิเคราะห์ความเชือ่ ในต�ำนานเกีย่ วกับโลกบาลในยุคมหากาพย์
โดย ณัชพล ศิรสิ วัสดิ์ (2555, หน้า 104-105) กล่าวสอดคล้องว่า ท้าวกุเวรมีบทบาทเป็นโลกบาลรักษาประจ�ำ
ทิศเหนือ เป็นเทพแห่งทรัพย์สนิ อันมีศกั ดิเ์ ท่าเทียมองค์อนิ ทร์ วรุณเทพและยมเทพ ตามรามายณะบรรยายว่า
ครัง้ เป็นมนุษย์ทา้ วกุเวรองค์นคี้ อื เวศรวัณ บ�ำเพ็ญตบะจนได้รบั พรจากพระพรหมให้เป็นโลกบาล ตามความว่า
“เวศรวัณ [ไวศรวัณ] เป็นโอรสพระวิศราวะ [วิศรพ] ได้ไปนัง่ บ�ำเพ็ญเพียร ณ กลางป่าแห่งหนึง่
มันนั่งอยู่เช่นนั้นเนิ่นนานราวหนึ่งพันปีจนร่างกายคล้ายกลายเป็นเปลวเพลิงศักดิ์สิทธิ์
เปลวหนึ่งก็ปาน มันด�ำรงชีพอยู่ด้วยน�้ำและอากาศที่หายใจ จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่มัน
ไม่แม้กระทั่งหายใจอีก อันเป็นจุดสงบนิ่งอย่างสมบูรณ์ หนึ่งพันปีจึงผ่านไปคล้ายเพียง
หนึง่ ปี เมือ่ ถึงปลายปีทหี่ นึง่ พัน พรหมเทพ องค์อนิ ทร์และปวงเทวะจึงมาปรากฏกายต่อมัน
มหาบิดรกล่าว ‘หลานรัก เจ้าบ�ำเพ็ญเพียรด้วยความมุ่งมั่น จนส�ำเร็จ จงบอกปู่มาเถิด
เจ้าปรารถนาสิ่งใด เจ้าจะได้ในทุกสิ่ง’
เวศรวัณตอบ ‘มหาบิดร โปรดให้ข้าได้เป็นโลกบาลผู้พิทักษ์ผืนโลก’
พรหมเทพตอบ ‘ปู่ก�ำลังจะสร้างโลกบาลทั้งสี่ ก็พอดีกับเจ้ามาขอ เช่นนั้น ปู่ให้เจ้าเป็น
โลกบาลตามใจ และยังให้เจ้าเป็นเทพแห่งทรัพย์สนิ อันมีศกั ดิเ์ ท่าเทียมองค์อนิ ทร์ วรุณเทพ
และยมเทพ’ ”
(ราเมศ เมนอน, 2551, หน้า 664-667)

ข้างต้นเห็นได้วา่ ท้าวกุเวรบ�ำเพ็ญตบะหลายพันปีเป็นทีโ่ ปรดปรานของท้าวพรหมา ทีท่ า้ วกุเวร


มีใจฝักใฝ่กบั ท่านท้าวพรหมานัน้ เป็นเพราะท้าวกุเวรนัน้ ต้องการบ�ำเพ็ญตบะบารมี หรือสร้างสมความดีดว้ ย
การเข้าฌานและบ�ำเพ็ญทุกรกิริยานานนับพันปี จนท่านท้าวพรหมาโปรดปรานประทานบุษบกให้ใน
The Encyclopedia of World Mythology บรรยายว่า อันบุษบกนี้หากใครได้ขึ้นไปแล้วสามารถล่องลอย
ไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ หลังจากนั้นทศกัณฐ์ได้แย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ทั้งนี้ท้าวกุเวรยังได้รับ
ประทานพรให้เป็นอมฤต (ไม่มตี าย) กับทัง้ ให้เป็นหัวหน้าผูม้ อี ำ� นาจสูงสุดแห่งโลกบาลและเป็นเจ้าแห่งทรัพย์
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจ�ำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2560 131

ด้วยอ�ำนาจนั้นจึงได้เป็นผู้รักษาทิศ และได้เป็นเจ้าของทองและเงินแก้วต่างๆ และทรัพย์แผ่นดินทั่วไป


(Cotterell & Strom, 2014, pp.372-373)
2.3 ท้าวไพศรพณ์
ไตรภูมิกถาฉบับ กรมศิลปากร (2555) แสดงให้เห็นถึงบทบาทของท้าวไพศรพณ์มหาราช
ในการเป็นหัวหน้าจตุโลกบาล กล่าวคือ ท้าวจตุโลกบาลเสด็จตรวจตราผู้ท�ำความดีความชั่วในโลกนี้ทุกวัน
บางวันจะส่งเทพบุตรมาแทน เช่น วันพระ 8 ค�่ำ ส่วนวันพระ 15 ค�่ำ จะเสด็จด้วยพระองค์เอง โดยถือแผ่น
ทองสุกและดินสอท�ำด้วยหินแดงตระเวนดูมนุษย์ ถ้าเห็นผู้ใดท�ำบุญท�ำกรรมก็จะเขียนชื่อผู้นั้นลงใน
แผ่นทองว่า คนนีอ้ ยูบ่ า้ นนีไ้ ด้กราบไหว้บชู าและปฏิบตั ติ อ่ พระศรีรตั นตรัย เลีย้ งดูบดิ ามารดา สดับฟังพระเทศนา
มีศีลเมตตา ฯลฯ แล้วส่งให้ปัญจสิขรเทพบุตรเพื่อถวายแก่พระมาตุลีแล้วจึงน�ำไปถวายแก่พระอินทร์
เทวดาทัง้ หลายจะมาอ่านดูในแผ่นทอง ถ้าเห็นว่ารายชือ่ ในแผ่นทองมีมากก็จะแซ่ซอ้ งสาธุการยินดี ด้วยเห็น
ว่ามนุษย์จะได้ขนึ้ สวรรค์มาเป็นเพือ่ นตนอีกมากมาย และจตุราบายก็จะว่างเปล่าลง ถ้าเทวดาเห็นรายชือ่ ใน
แผ่นทองนั้นน้อยก็จะเสียใจแล้วกล่าวว่า อนิจจามนุษยโลกท�ำบุญกันน้อยนัก คงชวนกันท�ำบาปมาก คงจะ
พากันไปเกิดในจตุราบายเป็นจ�ำนวนมาก ต่อไปเมืองสวรรค์ของเราคงว่างลงเป็นแน่ (กรมศิลปากร, 2555,
หน้า 190-191; พนิตา อังจันทรเพ็ญ, ม.ป.ป., หน้า 115-117; อรวรรณ ทรัพย์พลอย, 2536, หน้า 97-108)
อีกทัง้ ยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทของท้าวไพศรพณ์มหาราชในการสัง่ สอนมนุษย์ และการเป็น
ผูช้ ว่ ยเหลือให้ของวิเศษ กล่าวไว้ในไตรภูมกิ ถาฉบับ กรมศิลปากร (2555) โดยท่านได้ให้ของวิเศษและสัง่ สอน
เกีย่ วกับผลของการกระท�ำบุญกรรม การหมัน่ สร้างบุญบารมี ตามความตอนทีพ่ ระเจ้าศรีธรรมาโศกราชรับสัง่
ให้พระนางเจ้าอสันธมิตตาถวายผ้าไตรจีวรจ�ำนวนหกหมืน่ ส�ำรับ พระไพศรพณ์มหาราช [ท้าวเวสสุวณ ั ] ได้มอบ
ผอบวิเศษที่สามารถชักผ้าออกมาได้ตามที่ต้องการให้แก่พระนาง ทั้งนี้เพราะเมื่อชาติก่อนพระนางได้ถวาย
ผ้าเช็ดหน้าผืนหนึง่ แด่พระปัจเจกพุทธเจ้า จากเหตุการณ์ทพี่ ระนางได้พบพระไพศรพณ์ทำ� ให้ได้เรียนรู้ พระนาง
จึงถวายคติธรรมแก่พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชว่าให้หมั่นสร้างความดี ละเว้นความชั่ว และตั้งตนอยู่ในความ
ไม่ประมาท (กรมศิลปากร, 2555, หน้า 156-157; พระครูสงั วรสมาธิวตั ร ประเดิม โกมโล, 2528, หน้า 188-191)
การศึกษาเพื่อตอบค�ำถามในการศึกษาครั้งนี้ว่าท้าวเวสสุวัณคือใครใน 2 ประเด็น ได้แก่
(1) พระนามต่างๆ และรูปลักษณ์ที่ปรากฏ และ (2) บทบาทหน้าที่และความส�ำคัญ เป็นการศึกษาให้เห็นถึง
ความเชื่อเกี่ยวกับท้าวเวสสุวัณในสังคมไทยตามที่ปรากฏหลักฐานคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และฮินดู
สามารถแสดงผลดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์การปรากฏของพระนาม บทบาทหน้าทีแ่ ละความส�ำคัญ ในคัมภีรท์ างพุทธศาสนา
และคัมภีร์ทางฮินดู
บทบาทหน้าที่และ คัมภีร์ทางพุทธศาสนา คัมภีร์ทางฮินดู
พระนาม
ความส�ำคัญ พระไตรปิฎก ไตรภูมกิ ถา ปฐมสมโพธิกถา รามายณะ มหาภารตะ
ผู้คุ้มครองดูแลศาสนา 
ท้าว
ผู้เป็นจตุโลกบาล   
เวสสุวัณ
ผู้สั่งสอนและช่วยเหลือ  
132 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 3, September - December 2017

บทบาทหน้าที่และ คัมภีร์ทางพุทธศาสนา คัมภีร์ทางฮินดู


พระนาม
ความส�ำคัญ พระไตรปิฎก ไตรภูมกิ ถา ปฐมสมโพธิกถา รามายณะ มหาภารตะ
ผู้คุ้มครองดูแลศาสนา 
ไม่ปรากฏ
ท้าวกุเวร ผู้เป็นจตุโลกบาล   บทบาท
หน้าที่และ
ผู้สั่งสอนและช่วยเหลือ
  ความส�ำคัญ
ผู้คุ้มครองดูแลศาสนา
ท้าว
ผู้เป็นจตุโลกบาล 
ไพศรพณ์
ผู้สั่งสอนและช่วยเหลือ 
สรุปและภิปรายผล
กล่าวโดยสรุปจากการศึกษาพระนามและรูปลักษณ์ พบว่า ท้าวเวสสุวณ ั คือองค์เดียวกับท้าวกุเวร
และท้าวไพศรพณ์ กล่าวคือ คัมภีร์ทางพุทธศาสนาบันทึกว่าเป็นเทพที่อยู่ในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาภายใต้
การแต่งตั้งของท้าวสักกะเทวราช หรือพระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แต่ในทางฮินดูว่าท้าว
เวสสุวัณคือองค์เดียวกับท้าวกุเวร เป็นจตุโลกบาล มีศักดิ์เท่าเทียมองค์อินทร์ วรุณเทพและยมเทพ ภายใต้
การแต่งตัง้ ของพระพรหม โดยสามารถสรุปให้เห็นว่าทัง้ ในคติพทุ ธและฮินดูทา่ นคือองค์เดียวกัน ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 สรุปผลการศึกษาคติความคิดการปรากฏของพระนามในศาสนาพุทธและฮินดู
โลกบาล
ทิศ
ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู
ตะวันออก ธตรฐ/ธตรัฏฐ์ อินทร์
ใต้ วิรุฬหก/วิรุฬหะ ยม
ตะวันตก วิรูปักข์/วิรูปักษ์ วรุณ
เหนือ ไพศรพณ์/เวสสุวัณ/กุเวร กุเวร
รูปที่ปรากฏของท้าวกุเวรเป็นรูปคนมีกายพิการ ถือคทา (เป็นยอดศัสตราวุธอานุภาพท�ำลายโลก
ให้เป็นจุณภายในพริบตา) หน้าเป็นยักษ์ มีขาสามขา บางแห่งว่าขาพิการ มีฟันแปดซี่ สีกายขาว มีอาภรณ์
ทรงมงกุฎอย่างงาม รูปเขียนเมื่อนั่งบนบุษบกมีสี่กร และมีม้าสีขาวเป็นพาหนะ (พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,
พระบาทสมเด็จ, 2556, หน้า 125-130; พระยาสัจจาภิรมย์ฯ สรวง ศรีเพ็ญ, 2556, หน้า 47; ประจักษ์
ประภาพิทยากร, 2529, หน้า 12-14; อรวรรณ ทรัพย์พลอย, 2536, หน้า 97-108) บ้างว่าทรงโค แกะตัวผู้
หรือขี่คอคน ในสังคมไทยนั้นรูปของท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวรส่วนมากพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือ
กระบองยาวหรือคทา (สุรศักดิ์ ทอง, 2553, หน้า 150-152) ส่วนท้าวไพศรพณ์มีรูปลักษณ์เป็นเทพบุรุษกาย
สีขาว ถือพระขรรค์ ทรงปลากราย (อรุณศักดิ์ กิ่งมณี 2551, หน้า 102)
แม้มีพระนามปรากฏเรียกต่างๆ กัน แต่ไม่ว่าจะเป็นพระนามใดทั้งศาสนาพุทธและฮินดู ท่านมี
บทบาทหน้าทีเ่ ดียวกัน แต่กม็ สี ว่ นทีแ่ ตกต่างกันอยูบ่ า้ ง กล่าวคือ จากการศึกษาบทบาทหน้าทีแ่ ละความส�ำคัญ
พบว่า ทั้งท้าวเวสสุวัณ ท้าวกุเวร และท้าวไพศรพณ์ ล้วนมีบทบาทและความส�ำคัญในศาสนาพุทธและฮินดู
ในการเป็นเทพจตุโลกบาล กับทั้งเป็นผู้ที่มีบทบาทในการสั่งสอนและช่วยเหลือ ดังตารางที่ 3
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจ�ำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2560 133

ตารางที่ 3 สรุปผลการศึกษาคติความคิดบทบาทหน้าที่และความส�ำคัญในศาสนาพุทธและฮินดู
พระนาม ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู
ผู้คุ้มครองดูแลศาสนา -
ผู้เป็นจตุโลกบาล ผู้เป็นจตุโลกบาล
ผู้สั่งสอนและช่วยเหลือ

ท่านสอนในตัวบท
-สอนและช่วยเหลือ อสันธมิตตา-
ท้าวเวสสุวัณ การหมั่นบ�ำเพ็ญบารมี ผู้สั่งสอนและช่วยเหลือ
ท้าวกุเวร การสั่งสอนและช่วยเหลือผู้อื่นต่อ 
ท่านสอนผู้อ่านคัมภีร์
ท้าวไพศรพณ์
-ช่วยเหลือ พระพุทธเจ้า- -แบบของการบ�ำเพ็ญตบะบารมี-
ขณะปริวิตกรับบาตรจากพาณิช 2 พี่น้อง เวศรวัณหรือกุเวรนั่งสมาธิและได้รับ

ท่านสอนผู้อ่านคัมภีร์ พรจากพระพรหม
-แบบของการบ�ำเพ็ญทานบารมี-
กุเวรพราหมณ์บริจาคผลก�ำไรโรงหีบอ้อย
แล้วไปเกิดในจาตุมหาราชิกา

จากตารางเห็นได้ว่า นอกจากบทบาทหน้าที่และความส�ำคัญของท้าวเวสสุวัณ ท้าวกุเวร และ


ท้าวไพศรพณ์ ที่เป็นผู้คุ้มครองดูแลศาสนา เป็นเทพจตุโลกบาล ตามที่ปรากฏตามคัมภีร์แล้ว การศึกษา
ในครัง้ นีย้ งั พบข้อมูลอีกว่าท่านมีบทบาทหน้าทีแ่ ละความส�ำคัญในการสัง่ สอนและช่วยเหลือ ทัง้ เป็นการสัง่ สอน
และช่วยเหลือตามลายลักษณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์ และเป็นการสั่งสอนและช่วยเหลือในฐานะ “ทิพยบุคคล
ต้นแบบในการปฏิบัติ” ด้วย ทั้งนี้ในความสอดคล้องกัน ณัชพล ศิริสวัสดิ์ (2555, หน้า 104-105) ยังกล่าว
เพิ่มเติมถึงบทบาทหน้าที่ของโลกบาลอีกว่า โลกบาลในวรรณคดีมหากาพย์ มีบทบาทเป็นผู้ช่วยเหลือ
“พระผูเ้ ป็นเจ้า” และ “มนุษย์” ในลักษณะต่างๆ เพือ่ ท�ำให้สามารถแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคทีเ่ กิดขึน้ ได้ และ
ยังมีบทบาทเป็นผู้ประทานรางวัลและเป็นผู้ทดสอบด้วย
ในความเป็นท้าวเทวราช (โลกบาล) ถือเป็นต�ำแหน่งเท่านั้น เมื่อใดที่สิ้นบุญกรรมต้องจุติจาก
เทวพิภพไป ท้าวสักกะเทวราช (พระอินทร์) ก็จะทรงแต่งตั้งหรือรอการมาอุบัติของท้าวเทวราชองค์ใหม่
อีกต่อๆ ไป (สุรศักดิ์ ทอง, 2553, หน้า 147) มีลักษณะเช่นเดียวกับท้าวสักกะ6 กล่าวคือ ถือเป็นชื่อต�ำแหน่ง
ประจ�ำเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา มิใช่ชื่อเฉพาะ เทวดามหาราชผู้เป็นใหญ่ทั้ง 4 ก็ต้องจุติไปเพื่อถือปฏิสนธิ
ในภพภูมิใหม่ตามกฎแห่งกรรมกันทุกองค์ ไม่มีใครครองความเป็นอมตะหรืออยู่ในต�ำแหน่งโลกบาล
ได้ตลอดไป ดังข้อความในอรรถกถารุกขธรรมชาดกว่า “ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ
6
ใน พระอินทร์ในวรรณคดีสันสกฤต บาลี และวรรณคดีไทย ของ เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา (2520, หน้า 177-181อ้างถึงใน
ณัชพล ศิริสวัสดิ์, 2555, หน้า 121-122) และดูเพิ่มในสักกปัณหสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก กล่าวถึงการจุติ
ของท้าวสักกเทวราชครั้งลงมาฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้า จาก http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=
5727&Z=6256&pagebreak=0 ค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2557
134 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 3, September - December 2017

อยูใ่ นกรุงพาราณสี ท้าวเวสสุวณ ั มหาราชทีท่ รงอุบตั พิ ระองค์แรกจุติ ท้าวสักกะทรงตัง้ ท้าวเวสสุวณ


ั องค์ใหม่” 7
อีกทั้งในพระนามของท้าวเวสสุวัณในศาสนาพุทธที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้นท่านยังมีบทบาทที่ส�ำคัญคือ
การเป็นผูค้ มุ้ ครองดูแลศาสนา ส่วนพระนามของท้าวกุเวรในศาสนาฮินดูทปี่ รากฏในมหาภารตะนัน้ ไม่ปรากฏ
การกล่าวถึงบทบาทหน้าที่และความส�ำคัญอย่างชัดเจน
จากการบ�ำเพ็ญทานบารมีและตบะบารมีอันเป็นทิพยบุคคลต้นแบบของบทบาทในการสั่งสอน
และช่วยเหลือจนท่านได้รบั พรให้เป็นเทพแห่งทรัพย์และเป็นจตุโลกบาล คนจึงนับถือท่านว่าเป็นเทพแห่งทรัพย์
ประทานความร�่ำรวย หากแต่ศึกษาในเชิงลึกในทางพุทธศาสนาผู้วิจัยจึงได้เห็นภาพของแบบอย่างในการ
บ�ำเพ็ญบารมี การคุม้ ครองดูแลศาสนา จากนัน้ ท่านจึงได้รบั พรเรือ่ งทรัพย์และได้เป็นจตุโลกบาล ผูว้ จิ ยั เห็นว่า
ทรัพย์ดังที่ปรากฏตามเอกสารนั้นมิได้หมายถึงทรัพย์ทางโลกแต่เป็นอริยทรัพย์8 เพื่อการมุ่งบ�ำเพ็ญเพียร
สู่ความหลุดพ้น ด้วยการมีทา้ วเวสสุวณ ั ท้าวกุเวร และท้าวไพศรพณ์ เป็นต้นแบบของการปฏิบตั ิ ในทางฮินดู
ก็เช่นเดียวกันท่านเป็นทิพยบุคคลต้นแบบของการปฏิบัติบ�ำเพ็ญเพียร แม้ว่าท่านจะได้รับพรให้เป็นเทพ
โลกบาลมีทรัพย์มากมาย แต่ท่านก็ยังคงมีทรัพย์นั้นเพียงช่วงกาละและเทศะหนึ่ง จากนั้นก็ต้องหมดวาระ
จากต�ำแหน่งเทพจตุโลกบาล เป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้จะเป็นเทพเสพสุขกับการมีทรัพย์กห็ มดทรัพย์ได้เช่นกัน
ดังนั้นจึงควรตั้งมั่นสู่ปรมาตมัน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดให้เป็นทุกข์อีกต่อไป
ดังนีแ้ ล้วการศึกษาคติความคิดเรือ่ งท้าวเวสสุวณ
ั ทีป่ รากฏในศาสนาพุทธและฮินดู โดยการอภิปราย
เปรียบเทียบพระนามและรูปลักษณ์ของท้าวเวสสุวัณ ท้าวกุเวร ท้าวไพศรพณ์ ทั้งในพุทธศาสนาและฮินดู
ท�ำให้เห็นภาพท่านด�ำรงอยู่ในต�ำแหน่งเทพจตุโลกบาลที่สามารถหมดบุญได้เช่นเดียวกับท้าวสักกะเทวราช
ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบบทบาทหน้าทีแ่ ละความส�ำคัญท�ำให้เห็นภาพว่าท่านได้บำ� เพ็ญบารมีจงึ ได้รบั พร
ให้เป็นจตุโลกบาล ท่านจึงเป็นแบบอย่างของการประพฤติปฏิบตั บิ ำ� เพ็ญบารมี ประกอบกับความเป็นเทพเจ้า
แห่งทรัพย์นั้น ทรัพย์มิได้หมายถึงทรัพย์สินเงินทอง หากแต่ในทางพุทธศาสนาคือการสอนให้ตั้งมั่นอยู่ใน
อริยทรัพย์ มุ่งบ�ำเพ็ญเพียรสู่ความหลุดพ้น ในทางฮินดูความเป็นเทพแห่งทรัพย์ที่ไม่ยั่งยืนได้สะท้อนให้เห็น
แบบอย่างของการตั้งมั่นสู่ปรมาตมัน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดให้เป็นทุกข์อีกต่อไป

กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิ่งแก้ว อัตถากร คุณธัญญ์ฐิตา สถิรไชยวิทย์
คุณโรจกร ธูปศรี คุณปิยะ รุ่งทรัพย์ทวีคูณ ที่ท�ำให้การวิจัยครั้งนี้ส�ำเร็จได้ด้วยดี

7
อ่านเพิ่มเติมในชาตกฏฺฐกถา เล่ม 2 หน้า 136 อ้างถึงใน ณัชพล ศิริสวัสดิ์ (2555, หน้า 123) ศึกษาเรื่อง โลกบาลในวรรณคดี
พุทธศาสนา วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8
อมรา มลิกา (2530) กล่าวไว้ใน อริยทรัพย์ Seven noble treasures ว่าอริยทรัพย์ 7 ประการ ได้แก่ (1) ศรัทธา (Faith)
(2) ศีล (Morality) (3) หิริ (Moral Shame) (4) โอตตัปปะ (Moral Fear) (5) พาหุสัจจะ (Great Learning) (6) จาคะ (Charity)
และ (7) ปัญญา (Wisdom) คุณธรรมเหล่านีเ้ ป็นสิง่ ประเสริฐ ถ้าผูใ้ ดท�ำอริยทรัพย์ทงั้ 7 ประการนี้ ให้บริบรู ณ์แล้ว ความบริบรู ณ์น ้ี
จะเป็นก�ำลังให้ไปถึงสภาวะโสดาบัน คือเข้าสู่กระแสความเป็นอริยบุคคล อ่านเพิ่มได้จาก
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~sprapant/Buddhism/treasures.htm ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2559
วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจ�ำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2560 135

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. (2555). ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จ�ำกัด.


กรุณา กุศลาสัย และ เรืองอุไร กุศลาสัย. (2555). มหาภารตะยุทธ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ศยาม.
ณัชพล ศริ สิ วัสดิ.์ (2555). โลกบาลในวรรณคดีพทุ ธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรมานุชิตชิโนรส, กรมพระ. (2552). สมุดภาพปฐมสมโพธิกถา วรรณคดีพระพุทธศาสนาพากษ์ไทย
คัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา.
ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2529). เทวนุกรมในวรรณคดี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ป.อ. ปยุตฺโต. (2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
ผาสุข อินทราวุธ. (2543). พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย.
พนิตา อังจันทรเพ็ญ (บรรณาธิการ). (ม.ป.ป.). สมุดภาพไตรภูมิพระร่วง. กรุงเทพฯ: สถาบันบันลือธรรม
ธรรมสภา.
พระครูสงั วรสมาธิวตั ร (ประเดิม โกมโล). (2528). บทเรียนไตรภูมพ ิ ระร่วง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พทิ กั ษ์อกั ษร.
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. (2556). เทพเจ้าและสิ่งน่ารู้. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
พระยาสัจจาภิรมย์ฯ (สรวง ศรีเพ็ญ).(2556). เทวก�ำเนิด. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล พระสุตตันตปฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
ภาค 3 เล่ม 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
ราเมศ เมนอน. (2551). รามายณะ แปลจาก The Ramayana โดย วรวดี วงสง่า. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สมบัติ พลายน้อย. (2555). เทวนิยาย. กรุงเทพฯ: ยิปซี.
สุชพี ปุญญานุภาพ. (2539). พระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ ทอง. (2553). สยามเทวะ. กรุงเทพฯ: มติชน.
แสงฉาย อนงคาราม. (2521). พระไตรปิฎก มหาวิตถารนัย 5000 กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก คัมภีร์ที่ 1
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ลูก ส. ธรรมภักดี.
อดิศร ถีรสีโล. (2549). เล่าเรื่องท้าวเวสสุวัณ เทพเจ้าผู้พิทักษ์โลกของชาวพุทธโบราณ. สิรินธรปริทรรศน์.
7(17), 15-20.
อมรา มลิกา. (2530). อริยทรัพย์ Seven noble treasures. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2559 จากhttp://pioneer.
netserv.chula.ac.th/~sprapant/Buddhism/treasures.htm
อรวรรณ ทรัพย์พลอย. (2536). เทวดารักษาทิศ (ท้าวโลกบาล). นิตยสารศิลปากร. 36(6), 97-108.
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี. (2551). เทพฮินดู ผู้พิทักษ์พุทธสถาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส
Cotterell, Arther & Strom, Rachel. (2014). The Encyclopedia of World Mythology. London: Hermes
House, an imprint of Anness Publishing Ltd.
Sanyal, Sumanta. (2004). Kubera. Encyclopedia Mythica. Retrieved February 2, 2014, from http://
www.pantheon.org/articles/k/kubera.html#
136 Journal of Humanities, Naresuan University Year 14 Volumn 3, September - December 2017

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=5727&Z=6256&pagebreak=0 ค้นเมื่อวันที่
20 เมษายน 2557
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=207 ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2558
http://www.udclick.com/home1/index.php?option=com_sobi2&sobi2Task=sobi2Details&
catid=62&sobi2Id=2005&Itemid=300146 ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2556

You might also like