You are on page 1of 14

รายวิชา 400105 กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน

ข้อ 1.
นายแมนทาสัญญาเช่าที่ดินจากนายหมูเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัยโดยทาสัญญาถูกต้องตามกฎหมายมีกาหนดเวลา 10
ปี โดยนายแมนตกลงว่าเมื่อครบกาหนดเวลาตามสัญญาเช่าแล้วนายแมนยินยอมออกจากที่ดินและจะไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ออกจากที่ดินโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ หลังจากทาสัญญาแล้วนายแมนทาการปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินและปลูกต้นมะม่วงรอบ
รั้วบ้าน เมื่อครบกาหนดสัญญาเช่านายแมนขอต่ออายุสัญญาเช่าเนื่องจากยังหาที่อยู่ใหม่ไม่ได้ แต่นายหมูไม่ต้องการให้เช่า
ต่อ นายแมนโกธรมากจึงบอกกับนายหมูว่าจะรื้อบ้าน และขุดต้นมะม่วงออกไปจากที่ดินแต่นายหมูไม่ยอม ดังนี้ ให้ท่าน
วินิจฉัยว่านายแมนมีสิทธิรื้อถอนบ้านและขุดต้นมะม่วงออกจากที่ดินได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 144 ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็น
สาระสาคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทาลาย ทาให้บุบสลาย หรือทาให้ทรัพย์นั้น
เปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
มาตรา 145 ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่
ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
มาตรา 146 ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น
ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย
วินิจฉัย
การที่นายแมนเช่าที่ดินของนายหมูเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัยนั้น ถือได้ว่านายแมนเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของนายหมูใน
อันที่ปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินของนายหมูได้ บ้านที่นายแมนปลูกลงบนที่ดินตามสัญญาเช่าจึงไม่ เป็นส่วนควบของที่ดินตาม
มาตรา 146 แต่อย่างไรก็ตามนายแมนผู้เช่าได้ตกลงไว้ในสัญญาเช่าว่าจะไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินเมื่อครบ
กาหนดอายุสัญญาเช่า ดังนั้นบ้านจึงตกเป็นส่วนควบกับที่ดินภายหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลง เนื่องจากนายแมนมีสิทธิตาม
สัญญาเช่าที่ดินที่จะปลูกสร้างบ้านลงบนที่ดินเท่านั้นที่จะเข้าข้อยกเว้นทาให้บ้านไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
ถ้าทาการปลูกสร้างสิ่งอื่นลงไปในลักษณะที่เป็นส่วนควบกับที่ดินแล้ว สิ่งที่ปลูกสร้างลงไปนั้นย่อมเป็นส่วนควบกับ
ที่ดิน ดังนั้นต้นมะม่วงเป็นไม้ยืนต้นจึงเป็นส่วนควบกับที่ดินตามาตรา 145 ส่วนควบย่อมเป็น
กรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์ประธานตามมาตรา 144 วรรคสอง ดัง นี้เมื่อนายหมูเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์
ประธานจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและต้นมะม่วงที่นายแมนปลูกสร้างบนที่ดินด้วย
สรุป
ดังนั้นนายแมนจึงไม่มีสิทธิรื้อถอนบ้านและขุดต้นมะม่วงออกจากที่ดินได้ ตามเหตุผลข้างต้น

ข้อ 2.
นายอมตะครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดของนายนครติดต่อกันได้ 10 ปี ระหว่างที่นายอมตะยื่นคาร้องขอให้ศาล
มีคาสั่งให้ตนเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น นายนครรู้เรื่องการยื่นคาร้องของนายอมตะ
นายนครจึงทาสัญญาและจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้นายกรุง โดยนายกรุงไม่รู้เรื่องการครอบครองปรปักษ์ของนาย
อมตะแต่อย่างใด หลังจากนั้น 3 เดือนศาลมีคาสั่งให้นายอมตะเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์
นายอมตะจึงนาคาสั่งศาลไปยื่นของจดทะเบี ยนการได้มาซึ่ ง กรรมสิ ทธิ์ทีสานั กงานที่ ดิน นายกรุง รู้เรื่ องจึง คัด ค้านการ
ทะเบียนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าระหว่างนายอมตะกับนายกรุงผู้ใดมีกรรมสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า
กัน และนายกรุงจะคัดค้านการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ของนายอมตะได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1299 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่ง
อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสัง หาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทาเป็นหนั งสือและได้จด
ทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้
ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้ จดทะเบียนนั้น มิให้
ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว
วินิจฉัย
นายอมตะเป็ น ผู้ ไ ด้ ก รรมสิ ท ธิ์ ใ นที่ ดิ น ของนายนครโดยการครอบครองปรปั ก ษ์ ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น การได้ ม าซึ่ ง
อสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรค 2 แต่ถ้านายอมตะ
ยังไม่ได้จดทะเบียนสิทธิการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว นายอมตะจึงยังไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทางทะเบียน
และไม่สามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู่บุคคลภายนอกผู้ได้อสังหาริมทรัพย์นั้นไปโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริต และจดทะเบียน
สิทธิโดยสุจริตแล้ว
ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า ระหว่างที่นายอมตะกาลังยื่นคาร้องขอให้ศาลมีคาสั่งให้ตนเป็นผู้ได้กรรมสิทธิใน
ที่ดินของนายนครโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น นายนครได้ทาสัญญาและจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้นายกรุง โดยนายก
รุงไม่รู้เรื่องการครอบครองปรปักษ์ของนายอมตะแต่อย่างใด นายกรุงจึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดย
เสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วนายกรุงจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดีกว่านายอมตะซึ่งยัง
ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรค 2
สรุป
นายกรุงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดีกว่านายอมตะ
นายกรุงจึงคัดค้านการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ของทางอมตะได้

ข้อ 3.
นายประเสริฐมีที่ดินมีโฉนดติดอยู่ริมแม่น้า ต่อมาปรากฏว่าเกิดสันดอนดินกลางแม่น้าและตื้นเขินจากสันดอนดิน
ดังกล่าวจนเข้ามาชิดติดกับที่ดินของนายประเสริฐ นายประเสริฐจึง ทาการนารถไถ่มาปรับหน้าดินให้เป็นเนื้อเดียวกันกับ
ที่ดินของตนเองและครอบครองที่ดินดังกล่าวมาจนครบ ๑๐ ปี และไปดาเนินการขอให้เจ้าหน้าที่ดินขอโฉนดที่ดินเพิ่มเติม
โดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบกับที่ดินของตนเองและตนเองได้ครอบครองปรปักษ์มาจนครบ ๑๐ นายประเสริฐจึงได้
ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ ถ้าท่านเป็นเจ้าหน้าที่ที่ดินจะเห็นด้วยกับความเห็นของนายประเสริฐหรือไม่เพราะเหตุ
ใด ให้อธิบายโดยยกหลักกฎหมายประกอบการวินิจฉัยมาโดยละเอียด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 144 ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดย
สภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสาคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้
นอกจากจะทาลาย ทาให้บุบสลาย หรือทาให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
มาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของ
แผ่นดิน
มาตรา 1308 ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
วินิจฉัย
การพิจารณาว่าที่งอกริมตลิ่งจะเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าขอที่ดินชายตลิ่งนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักดังต่อไปนี้คือ
1. ต้องเป็นที่ดินที่งอกออกจากชายตลิ่งเข้าไปในพื้นน้า
2. ต้องเป็นที่งอกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
3. เวลาน้าขึ้นตามปกติน้าท่วมไม่ถึงที่งอกนั้น
4. ที่งอกริมตลิ่งย่อมตกเป็นของเจ้าของที่ดินแปลงที่เกิดที่งอกนั้น
ดัง นั้ นจากปัญ หาสัน ดอนดิ นกลางแม่น้ าและตื้น เขิ นจากสัน ดอนดิ นดั ง กล่า วจนเข้า มาชิด ติด กับ ที่ดิ นของนาย
ประเสริฐ จึงไม่ใช่ที่ดินที่งอกออกจากชายตลิ่งเข้าไปในพื้นน้า นายประเสริฐจึงไม่ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ตามหลักส่วนควบ และ
ไม่อาจยกอายุความขึ้นครอบครองปรปักษ์ที่ดินสันดอนดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติของแผ่นดินได้
สรุป
ถ้าข้าพเจ้าเป็นเจ้าหน้าที่ที่ดินจะไม่รับจดทะเบียนให้นายประเสริฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว

ข้อ 4.
นายเดชเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1234 ส่วนนายดวงเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1235 ซึ่งมีเขตที่ดินติดต่อกัน
นายดวงสร้างบ้านสองหลัง แท็งก์เก็บน้า และรั้วบ้าน โดยเข้าใจว่าบ้านทั้งสองหลังและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอยู่ในเขตที่ดิน
ของตน เมื่อนายดวงสร้างบ้านหลังแรก แท็งก์เก็บน้าและรั้วบ้านเสร็จกับสร้างบ้านหลังที่สองจนถึงขั้นทาคานชันบนเสร็จ
แล้ว นายเดชกับนายดวงได้ร่วมกันทาการรังวัดสอบเขตที่ดิน ปรากฏว่าชายคาบ้านหลัง แรก แท็งก์เก็บน้า และรั้วบ้า น
บางส่วนรุกล้าเข้าไปในที่ของนายเดช ส่วนบ้านหลังทีสองก็สร้างอยู่ในที่นายเดชทั้งหลัง นายเดชจึงห้ามมิให้นายดวงก่อสร้าง
แต่นายดวงก็ยังขืนก่อสร้างจนแล้วเสร็จ นายเดชต้องการให้นายดวงรื้อถอนบ้านทั้งสองหลังและสิ่งปลูกสร้างอื่นที่รุกล้าเข้า
ไปในที่ดินของตน
ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้ออ้างของนายเดชฟังขึ้นหรือไม่
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1310 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆ
แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง
แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิไ ด้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้
ผู้สร้างรื้อถอนไป และทาที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทาไม่ได้โดยใช้เงินพอสมควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดิน
จะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้
มาตรา 1311 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทาที่ดินให้เป็นตามเดิม
แล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้าของจะเลือกให้ส่ง คืนตามที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้าของที่ดินต้ องใช้ราคาโรงเรือนหรือใช้ค่า
แห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นแล้วแต่จะเลือก
มาตรา 1312 วรรค 2 ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือนนั้นกระทาการโดยไม่สุจริต ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างรื้อ
ถอนไป และทาที่ดินให้เป็นตามเดิมโดยผู้สร้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายก็ได้
วินิจฉัย
กรณีตามปัญหา การที่นายดวงสร้างบ้านหลัง แรกโดยเข้าใจว่าอยู่ในเขตที่ดินของตน เป็นการสร้างโรงเรือนโดย
เข้าใจว่าตนมีสิทธิจะสร้างได้ จึงเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้าเข้าไปในที่ดินของนายเดชโดยสุจริต นายดวงจึงเป็นเจ้าของเป็น
คนแรกและไม่ต้องรื้อถอนส่วนที่รุกล้าของบ้านหลังนี้ แต่นายดวงต้องเสียเงินในแก่นายเดชเจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น
และนายเดชต้องจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจายอมให้แก่นายดวงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1312 วรรค
1
ส่วนแท็งก์เก็บน้าและรั้วบ้าน มิใช่โรงเรือนตามความหมายของมาตรา 1312 และไม่ถือว่าเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของ
โรงเรือน แม้นายดวงจะสร้างโดยสุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1312 วรรค 1 นายดวงจึงต้องรื้อถอนแท็งก์เก็บ
น้าและรั้วบ้านส่วนที่รุกล้าออกจากที่ดินของนายเดช
สาหรับบ้านหลังที่สอง แม้จะลงมือก่อสร้างนายดวงจะกระทาโดยสุ จริตก็ตาม แต่เมื่อนายดวงก่อสร้างถึงขั้นทาคาน
ชั้นบนจึงทราบว่าบ้านอยู่ในที่ดินของนายเดช แต่นายดวงก็ยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จ ถือได้ว่า นายดวงสร้างบ้านหลังที่สอง
ในที่ดินของนายเดชโดยไม่สุจริต ตามาตรา 1311 เพราะกรณีการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นซึ่งจะถือ ว่าเป็นการ
สร้างโดยสุจริต ตามาตรา1310 จะต้องเป็นการกระทาโดยสุจริตตั้งแต่ลงมือก่อสร้างจนกระทั่งสร้างเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้น เมื่อ
นายเดชต้องการให้นายดวงรื้อถอนบ้านหลังที่สองดังกล่าว นายดวงจึงต้องรื้อถอนออกไป
สรุป
ข้ออ้างของนายเดช ฟังไม่ขึ้น

ข้อ 5.
นายบุญตรงมีที่ดินที่ยังไม่มี น.ส.3 แปลงหนึ่ง นายบุญตรงได้ให้นายใจคดอาศัยอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าว เพราะเห็น
ว่านายใจคดเป็นเพื่อนเก่าของตนกาลังลาบาก ไม่มีที่อยู่อาศัย ต่อมา นายใจคดได้ไ ปขอออก น.ส.3 สาหรับที่ดินแปลง
ดังกล่าว นายบุญตรงทราบเรื่องจึงไปคัดค้านต่อนายอาเภอ นายอาเภอจึงแจ้งเรื่องที่นายบุญตรงมาคัดค้านแก่นายใจคดและ
ยังไม่มีการออกโฉนดให้นายใจคดโดยนายอาเภอแนะนาว่า ให้ไปฟ้องให้ศาลชี้ขาดเสียก่อน แต่นายใจคดมิได้ฟ้องนายบุญ
ตรงแต่อย่างใด และยังคงอาศัยอยู่ในที่ดินนั้นมาอีก 1 ปีเศษแล้วก็ไ ปขอออก น.ส.3 อีกครั้งหนึ่ง ครั้ งนี้นายบุญ ตรงมิไ ด้
คัดค้าน ทางอาเภอจึงออก น.ส.3ให้ เมื่อได้ น.ส.3แล้ว นายใจคดก็ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวแก่นายฟ้าใหม่
นายฟ้าใหม่อ้างว่าตนได้สิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าว
ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าข้ออ้างสู้ของนายฟ้าใหม่รับฟังได้หรือไม่ เพียงใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครองบุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะแห่ง การ
ยึดถือได้ ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้
ครอบครองโดยสุจริต อาศัยอานาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก
วินิจฉัย
กรณีตามปัญหา การที่นายใจคดอาศัยอยู่ในที่ดินของนายบุญตรงโดยที่นายบุญ ตรงอนุญาตให้อยู่เป็นเพียงการ
ยึดถือที่ดินไว้แทนนายบุญตรงเท่านั้น การที่นายใจคดจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ก็โดยบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่ง
การยืดถือไปยังนายบุญตรงเสียก่อนตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ มาตรา1381 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านายใจ
คดได้ปฏิบัติตามหลักกฎหมายดังกล่าว นายใจคดมิได้เกิดสิทธิครอบครองแต่อย่างใด
การที่นายใจคดไปขอออก น.ส.3 ต่อนายอาเภอและนายบุญตรงได้ทราบความดังกล่าวแล้วก็ตาม หาใช่เป็นการ
บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 ไม่ ดัง นั้น แม้นายใจคดจะครอบครองที่ดินนั้นต่อมาช้านาน
เพียงใด หรือไปทาการออก น.ส.3 ใหม่ ก็มิใช่การบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ต้องถือว่านายใจคดครอบครอง
ที่ดินนั้นแทนนายบุญตรงตลอดมา เมื่อนายใจคดจดทะเบียนโอนขายที่ดิน ให้แก่นายฟ้าใหม่ นายฟ้าใหม่ก็ย่อมไม่มีสิทธิดีไป
กว่านายใจคด
สรุป
ดังนั้น ข้ออ้างของนายฟ้าใหม่ฟังไม่ขึ้น

ข้อ 6.
นายแสงฉายมีที่ดินติดอยู่กับที่ดินของนางจันทร์เพ็ญซึ่งเป็นที่ดินที่มีเพียง น.ส.3 นายแสงฉายได้เดินผ่านที่ดินของ
นางจันทร์เพ็ญโดยสงบ เปิดเผย และมีเจตนาให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเดินผ่านที่ดินของนางจันทร์เพ็ญตลอดไป นายแสงฉายใช้
ที่ดินแปลงนี้มา 3 ปีแล้วก็ตาย นางแสงนวลบุตรของนายแสงฉายซึ่งอาศัยอยู่บนที่ดินของนายแสงฉายต่อจากบิดาก็ได้ใช้เส้น
ทางเดินนั้นต่อมาเช่นกัน ต่อมาอีก 5 ปีก็เลิกใช้ทางเดินนี้แล้วไปใช้ทางอื่นเสีย 2 ปี แล้วจึงกลับมาใช้ทางเดินบนที่ดินของนาง
จันทร์เพ็ญอีก 3 ปี นางจันทร์เพ็ญก็ปิดทางไม่ให้ใช้อีกต่อไป นางแสงนวลขอให้นางจันทร์เพ็ญเปิดทาง โดยอ้างว่าจะนับอายุ
ความ 1 ปีหรือ 10 ปี ตนก็ได้โดยภาระจายอมโดยอายุความอยู่แล้ว
ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข้ออ้างของนางแสงนวลฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้า
เป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบ ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้
ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจายอมอันเป็นเหตุ ให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่ง
กระทบถึง ทรัพ ย์สิ นของตนหรือ ต้อ งงด เว้น การใช้สิท ธิบ างอย่ างอั นมี อยู่ ในกรรมสิ ทธิ์ ทรัพย์ สิน นั้น เพื่ อประโยชน์แ ก่
อสังหาริมทรัพย์อื่น
มาตรตรา 1401 ภาระจายอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นาบทบัญญัติ ว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ใน
ลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
วินิจฉัย
กรณีข้ออ้างที่ว่าแม้จะมีอายุความ 10 ปี ก็ได้ภาระจายอมนั้น ก็ฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน เพราะแม้นางแสงนวลจะมีสิทธิ
นับเอาระยะเวลาที่บิดาของใช้เดินมารวมด้วยตามมาตรา 1385 ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านางแสงดวงได้ขาดการใช้
ทางเดินนี้ไปเสีย 2 ปี และกรณีไม่อยู่ในบังคับมาตรา 1384 ที่จะให้ถือว่าการใช้ทางเดินไม่ สะดุดหยุดลง ดังนั้น ระยะเวลา
ตอนแรก 8 ปี จึงสะดุดหยุดลงแล้ว ต้องเริ่มต้นนับระยะเวลาใหม่เฉพาะตอนหลังคือ 3 ปี เท่านั้น ดังนี้ นางแสงนวลจึงยัง
มิได้รับภาระจายอมโดยอายุความตามมาตรา 1387 ประกอบมาตรตรา 1401 และมาตรา 1382
สรุป
ข้ออ้างของนางแสงนวลจึงฟังไม่ขึ้น

ข้อ 7.
นายสมรภูมิ ทาสัญญาให้นายยุทธภูมิมีสิทธิเก็บกินในที่ดินมีโฉนดของตนไปตลอดชีวิต แต่มิได้ไปทาการจดทะเบียน
กัน ต่อมานายสมรภูมิโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับนายภพภูมิโดยทาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แล้ว เมื่อนายภพภูมิจะเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวแต่ไม่สามารถเข้าครอบครองได้เนื่องจากนายยุทธภูมิอ้างว่าตนมีสิทธิเก็บ
กินตลอดชีวิตตามที่ได้ทาสัญญาไว้กับนายสมรภูมิ เช่นนี้ข้ออ้างของนายยุทธภูมิฟังขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใด
หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปนายสมรภูมิไม่ได้โอนขายที่ดินให้แก่นายภพภูมิ แต่เป็นการยกให้นายภพภูมิโดยเสน่หา
โดยทาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ข้ออ้างของนายยุทธภูมิฟังขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1299 วรรคแรก ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นท่านว่าการได้มาโดย
นิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทาเป็นหนังสือ
และได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
วินิจฉัย
การทาสัญญาระหว่างนายสมรภูมิกับนายยุทธภูมิให้นายยุทธภูมิมีสิทธิเก็บกิน ในที่ดินมีโฉนดของตนไปตลอดชีวิต
เป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก
เมื่อยังไม่ได้ไปทาการจดทะเบียน ย่อมไม่บริบูรณ์ แต่ยังใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาในฐานะบุคคลสิทธิเท่านั้น ย่อมใช้ยัน
บุคคลภายนอกไม่ได้
หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปนายสมรภูมิไม่ได้โอนขายที่ดินให้แก่นายภพภูมิ แต่เป็นการยกให้โดยเสน่หาโดยทาเป็น
หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนายยุทธภูมิก็หาอาจยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้นายภพภูมิเช่นกันเนื่อง
การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ยังไม่บริบูรณ์ โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรค
แรก มิไ ด้ค านึงถึ งว่า บุคคลภายนอกจะต้องเสียค่ าตอบแทนหรือสุ จริต หรือไม่ก็ตาม (เทียบเคียงนัยคาพิพากษ าฎี กาที่
6872/2539 ) ดังนั้นข้อต่อสู้ของนายยุทธภูมิจึงไม่สามารถรับฟังต่อสู้นายภพภูมิได้
สรุป
ข้ออ้างของนายยุทธภูมิฟังไม่ขึ้น

ข้อ 8.
นายสมชายทาสัญญาให้นายสมเดชเดินผ่านที่ดินของตนเป็นภาระจายอมแต่ไม่ไ ด้ทาการจดทะเบียน ต่อมานาย
สมชายถึงแก่ความตาย นายสมหมายบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายสมชายแจ้งยกเลิกภาระจายอมกับนายสมเดชโดยอ้าง
ว่าการทาสัญญาระหว่างนายสมเดชเป็นเรื่องเฉพาะตัวและไม่จดทะเบียนตนเองไม่ต้องรับผิดชอบ เช่นนี้นายสมหมายมีสิทธิ
ยกเลิกภาระจายอมตามสัญญาที่นายสมชายทาไว้กับนายสมเดชหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1299 วรรคแรก ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นท่านว่าการได้มาโดย
นิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทาเป็นหนังสือ
และได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดย
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น
มาตรา 1600 ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดก ของผู้ตายได้แก่ท รัพย์สินทุกชนิดของ
ผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดย
แท้
วินิจฉัย
การได้ภาระจายอมโดยนิติกรรม แม้ไม่ได้จดทะเบียนจึงไม่บริบูรณ์ในฐานะทรัพยสิทธิ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก แต่ยังใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาในฐานะบุคคลสิทธิ ซึ่งเมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่าย
หนึ่งตายลง ทายาทของฝ่ายนั้นก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600
สรุป
ภาระจายอมหาได้สิ้นไปไม่ นายจะยกเลิกภาระจายอมไม่ได้

ข้อ 9.
นายประจักษ์อายุ 19 ปี ทาการขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของตนให้กับนายประจวบในราคา 300,000 บาท ต่อมา
นายประจวบได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้กับนายประจันต์ในราคา 330,000 บาท ความมาทราบถึงนายประเจตน์ผู้เป็นบิดา
ของนายประจักษ์ นายประเจตน์จึงมาบอกล้างการซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าวและเรียกร้องรถยนต์คืนจากนายประจันต์ ดังนี้
ให้ท่านวินิจฉัยว่านายประเจตน์มีสิทธิบอกล้างและเรียกรถยนต์คืนจากนายประจันต์หรือไม่เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทานิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้ แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทา
ลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 1329 สิทธิของบุคคลผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ว่าผู้โอน
ทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ และนิติกรรมนั้นได้ถูกบอกล้างภายหลัง
วินิจฉัย
กรณีนายประจักษ์อายุ 19 ปี ซึ่งอยู่ในภาวะเป็นผู้เยาว์ ทาการขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของตนให้กับนายประจวบ
ในราคา 300,000 บาท นิติกรรมดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆียะ
แต่ความปรากฏต่อไปว่านายประจวบได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้กับนายประจันต์ในราคา 330,000 บาท กรณีจึงต้องด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1329 ซึ่งถือว่านายประจันต์เป็นบุคคลผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนและ
โดยสุจริต ย่อมไม่เสียสิทธิไป ถึงแม้ว่าผู้โอนทรัพย์สินให้กรณีตามปัญหาคือนายประจวบจะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรม
อันเป็นโมฆียะจากการซื้อขายกับผู้เยาว์ก็ตาม ทั้งนิติกรรมซื้อขายรถยนต์นั้นนายประเจตน์ถูกบอกล้างภายหลังอีกด้วย
สรุป
นายประเจตน์จึงไม่มีสิทธิบอกล้างและเรียกรถยนต์คืนจากนายประจันต์แต่อย่างใด

ข้อ 10.
บริษัทกรกฎา จากัด ทากิจการซื้อขายรถยนต์ได้ซื้อรถยนต์คันหนึ่งจากนายสิงหา โดยไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วเป็นรถยนต์
ของนายตุลาที่นายสิงหาลักนาเอามาขาย ต่อมานายตุลาพบรถยนต์คันดังกล่าวจึงเรียกคืนจากบริษัทกรกฎา จากัด เช่นนี้
บริษัทกรกฏา จากัดปฏิเสธว่าจะไม่คืนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่นายตุลาได้หรือไม่เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1332 บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของ
ชนิดนั้น ไม่จาต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา
วินิจฉัย
บริษัทกรกฎา จากัดทากิจการซื้อขายรถยนต์ได้ซื้อรถยนต์คันหนึ่งจากนายสิงหาโดยไม่รู้ว่าเป็นรถยนต์ของนายตุลา
ที่นายสิงหาลักมา ต่อมานายตุลาพบรถยนต์คันดังกล่าวจึงเรียกคืนจากบริษัทกรกฎา จากัด กรณีเช่นนี้บริษัทกรกฎา จากัด
จะอ้างมาตรา 1332 ไม่ได้ เพราะมาตรา 1332 เป็นบทคุ้มครองผู้ซื้อทรัพย์สินจากพ่อค้าที่ขายของชนิดนั้น บริษัทกรกฎา
จากัด ซื้อจากนายสิงหาซึ่งไม่ใช่พ่อค้าแต่อย่างใดจึงถือว่าซื้อจากคนที่ไม่มีสิทธิขายให้เมื่อเจ้าของที่แท้จริงคือนายตุลามา
ติดตามเอาคืนก็ต้องคืนแก่เจ้าของที่แท้จริงไป นายตุลา สามารถเรียกรถคืนจากบริษัทกรกฎา จากัดได้เพราะเป็นเจ้าของที่
แท้จริง
สรุป
บริษัท กรกฎา จากัด ปฏิเสธว่าจะไม่คืนรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่นายตุลาไม่ได้

ข้อ 11.
นายพิชิตกับนายปรีดาทาสัญญากันด้วยวาจาให้นายปรีดามีสิทธิเก็บกินบนที่ดินของนายพิชิตเป็นเวลา 5 ปี เมื่อ
นายปรีดาเข้ามาใช้สิทธิเก็บกินได้ 3 ปี นายพิชิตขายที่ดินให้นายนรพล นายนรพลต้องการทาประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเอง
จึงไม่ยอมให้นายปรีดามาใช้สิทธิเก็บกินบนที่ดินอีก ดังนี้ นายปรีดาจะอ้างสิทธิเก็บกินบนที่ดินแปลงนี้ อีก 2 ปี ขึ้นต่อสู้ได้
หรือไม่ นายนรพลจะต้องยอมให้นายปรีดาใช้สิทธิเก็บกินจนครบ 5 ปี หรือไม่ เพราะเหตุใด จงอธิบาย
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1299 วรรคแรก ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่า การได้มาโดย
นิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ย วกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทาเป็นหนังสือ
และได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
วินิจฉัย
ตามกฎหมาย การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางนิติกรรมนั้น จะ
บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิได้ จะต้องทาเป็นหนัง สือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่ง ถ้าฝ่าฝนนจะมีผลเป็น
เพียงบุคคลสิทธิ ใช้กล่าวอ้างได้เฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ไม่สามารถยกขึ้นกล่าวอ้างต่อบุคคลภายนอกได้ (มาตรา 1299 วรรค
แรก)
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายพิชิตกับนายปรีดาทาสัญญากันด้วยวาจา ให้นายปรีดามีสิทธิเก็บกินบนที่ดินของนายพิชิตเป็น
เวลา 5 ปีนั้น ถือว่านายปรีดาเป็นผู้ได้มาซึ่ง ทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์โดยนิติกรรม เมื่อไม่ไ ด้ทาเป็นหนัง สือและจด
ทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิการได้มาดังกล่าวจึงไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิ แต่มีผลผูกพันเป็นบุ คคลสิทธิระหว่างนาย
พิชิตกับนายปรีดาเท่านั้น ดังนั้น เมื่อต่อมานายพิชิตขายที่ดินให้นายนรพล นายนรพลจึงไม่ต้องผูกพันในข้อตกลงที่นายพิชิต
มีต่อนายปรีดา และนายปรีดาไม่สามารถอ้างการได้สิทธิเก็บกินบนที่ดินขึ้นต่อสู้กับนายนรพลได้ นายนรพลจึงไม่ต้องให้นาย
ปรีดาใช้เก็บกินบนที่ดินนั้นต่อไปแต่อย่างใด
สรุป
นายนรพลไม่จาต้องยอมให้นายปรีดาใช้สิทธิเก็บกินจนครบ 5 ปี

ข้อ 12.
นายสมชายปลูกบ้านหลังหนึ่งลงในที่ดินของตนเอง โดยก่อนปลูกสร้างได้ขอรังวัดสอบเขตที่ดินแล้ว แต่หลังจาก
ปลูกเสร็จพบว่าระเบียงบ้านชั้นบนรุกล้าเข้าไปในที่ดินของนายสมภพที่อยู่ติดกันเป็นระยะ 50 เซนติเมตร ตลอดแนวของ
ระเบียงบ้าน ดังนี้ การปลูกสร้างรุกล้าของนายสมชายสุจริตหรือไม่ หากนายสมภพจะให้นายสมชายรื้อถอนระเบียงบ้าน
ส่วนที่รุกล้า นายสมชายจะต้องปฏิบัติตามหรือไม่ จงอธิบาย
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1312 บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้าเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้าง
ขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้นและจดทะเบียนสิทธิเป็นภาระจายอม ต่อภายหลังถ้าโรงเรือนนั้น
สลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสียก็ได้
วินิจฉัย
ตามอุทาหรณ์ การที่นายสมชายปลูกบ้านลงบนที่ดินของตนเอง โดยก่อนปลูกสร้างได้ขอรังวัดสอบเขตแล้ว แต่เมื่อ
ปลูกสร้างเสร็จพบว่าระเบียงบ้านชั้นบนรุกล้าเข้าไปในที่ดินของนายสมภพที่อยู่ติดกันเป็นระยะ 50 เซนติเมตร ถือว่าเป็น
กรณีที่นายสมชายได้สร้างโรงเรือนรุกล้าในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ตามมาตรา 1312 วรรคแรก ดังนั้น นายสมชายย่อมได้
กรรมสิทธิ์ในโรงเรือนที่ปลูกสร้างรวมถึงส่วนที่รุกล้าด้วย หากนายสมภพจะให้นายสมชายรื้อถอนระเบียงบ้านที่รุกล้า นาย
สมชายไม่ต้องปฏิบัติตามได้ แต่นายสมชายจะต้องจ่ายเงินให้แก่นายสมภพเป็นค่าใช้ที่ดิน และนายสมภพต้องจดทะเบียน
สิทธิเป็นภาระจายอม และหากต่อไปโรงเรือนส่วนที่รุกล้าสลายไปทั้งหมด นายสมภพสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน
ภาระจายอมเสียก็ได้ การปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้าของนายสมชายเป็นการกระทาโดยสุจ ริต หากนายสมภพจะให้นายสมชาย
รื้อถอนระเบียงบ้านส่วนที่รุกล้า นายสมชายไม่จาต้องปฏิบัติตามแต่นายสมชายจะต้องจ่ายเงินให้แก่นายสมภพเป็นค่าใช้
ที่ดิน

ข้อ 13.
นายกล้าหาญทาสัญญาขายที่ดิน น.ส.3 ของตนให้กับนายเขมชาติ โดยเป็นการทาสัญญาซื้อขายกันเองและมีการชา
ระราคาที่ดินให้นายกล้าหาญครบถ้วน และนายกล้าหาญก็ส่งมอบที่ดินให้นายเขมชาติแล้ว หลังจากนายเขมชาติสร้างบ้าน
อยู่ในที่ดินนั้นติดต่อกันได้ห้าปี นายกล้าหาญถึงแก่ความตาย นายพิชิตบุตรของนายกล้าหาญได้จดทะเบียนรับมรดกที่ดิน
แปลงนั้น แล้วแจ้งให้นายเขมชาติย้ายออกไปจากที่ดินนั้น แต่ นายเขมชาติอ้างว่าที่ดินเป็นของตน และไม่ยอมย้ายออกไป
ต่อจากนั้นอีก 4 เดือน นายพิชิตจึงฟ้องขับไล่และเรียกที่ดินคืนจากนายเขมชาติ ดังนี้ให้วินิจฉัยว่า ระหว่างนายพิชิตกับนาย
เขมชาติ ผู้ใดมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และนายเขมชาติต้องออกไปจากที่ดินนั้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1367 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง
มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง ถ้าผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง หรือไม่ยึดถือทรัพย์สินต่อไปไซร้ การครอบครอง
ย่อมสิ้นสุดลง
มาตรา 1378 การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้น ย่อมทาได้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง
วินิจฉัย
ตามอุทาหรณ์ การที่นายกล้าหาญทาสัญญาขายที่ดิน น.ส.3 ของตนให้กับนายเขมชาติ โดยเป็นการทาสัญญาซื้อ
ขายกั นเองนั้น สัญญาซื้อขายที่ ดินระหว่า งนายกล้า หาญกับนายเขมชาติ ย่อมตกเป็นโมฆะเพราะไม่ไ ด้จดทะเบี ยนกั บ
พนักงานเจ้าหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ดินดัง กล่าวเป็นที่ดิน น.ส.3 ซึ่งมีเพียงสิทธิครอบครองและการซื้อขาย
ดังกล่าวได้มีการชาระราคาครบถ้วนและได้มีการส่งมอบที่ดินให้แก่นายเขมชาติผู้ซื้อแล้ว การครอบครองที่ดินของนายกล้า
หาญผู้ขายจึงสิ้นสุดลงตามมาตรา 1377 วรรคแรก เพราะนายกล้าหาญได้สละเจตนาครอบครองและไม่ได้ยึดถือที่ดินนั้น
ต่อไปแล้ว ส่วนนายเขมชาติก็ได้ซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินนั้นแล้วโดยการส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองตามมาตรา 1378 และ
นายเขมชาติได้เข้ายึดถือที่ดินนั้นด้วยเจตนายึดถือเพื่อตนในฐานะเจ้าของตามมาตรา 1367 แต่ต่อมาอีก 5 ปี เมื่อนายกล้า
หาญถึงแก่ความตาย ดังนี้ แม้นายพิชิตบุตรของนายกล้าหาญจะได้จดทะเบียนรับมรดกที่ดินนั้นแล้วแจ้ งให้นายเขมชาติย้าย
ออกไปจากที่ดินนั้น นายเขมชาติก็ไม่ต้องย้ายออกไปจากที่ดินนั้นตามที่นายพิชิตต้องการ เพราะนายเขมชาติเป็นผู้มีสิทธิ
ครอบครองเหนือที่ดินนั้นดีกว่านายพิชิต เนื่องจากนายพิชิตผู้รับมรดกไม่มีสิทธิดีกว่านายกล้าหาญเจ้ามรดกตามหลักที่ว่า
“ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” นั่นเอง
สรุป
นายเขมชาติมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่านายพิชิต และนายเขมชาติไม่ต้องย้ายออกไปจากที่ดินนั้น

ข้อ 14.
นายสินสมุทรเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งอยู่ติดกับทางสาธารณะซึ่งเป็นทางดินลูกรังกว้างสองเมตรครึ่ง นายสิน
สมุทรจึงได้ใช้ทางผ่านที่ดินของนายสุดสาคร โดยทาเป็นถนนลาดยางกว้างสามเมตรเพื่อใช้รถปิ๊กอัพผ่านเข้าออกระหว่าง
ที่ดินของตนกับถนนพหลโยธินซึ่งสะดวกกว่า หลังจากนายสินสมุทรใช้ทางผ่านที่ดินของนายสุดสาครติดต่อกันเป็นเวลากว่า
สิบปี โดยนายสุดสาครไม่รู้เรื่องแต่อย่างใด ต่อมานายสินสมุทรได้สร้างโรงงานในที่ดินของตน ทาให้ต้องใช้รถยนต์บรรทุกสิบ
ล้อผ่านเข้าออกเพื่อขนส่งสินค้าวันละหลายเที่ยว นายสินสมุทรจึงเปลี่ยนจากถนนลาดยางเป็นถนนคอนกรีตกว้างหกเมตร
หลังจากนั้น นายสุดสาครรู้เรื่องจึงมาปรึกษาท่าน เพราะไม่ต้องการให้นายสินสมุทรใช้ถนนนั้นผ่านที่ดินของตน ดั งนี้ให้ท่าน
วินิจฉัยว่าระหว่างนายสินสมุทรกับนายสุดสาครมีสิทธิและหน้าที่เหนือที่ดินแปลงดังกล่าวอย่างไร จงอธิบาย
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้ า
เป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้
ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจายอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่ง
กระทบถึ ง ทรั พย์ สิ น ของตน หรื อ ต้อ งงดเว้ นการใช้ สิท ธิ บ างอย่า งอัน มี อยู่ ใ นกรรมสิ ท ธิ์ท รั พย์ สิ น นั้น เพื่อ ประโยชน์ แ ก่
อสังหาริมทรัพย์อื่น
มาตรา 1388 เจ้าของสามยทรัพย์ไ ม่มีสิทธิทาการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ หรือในสามยทรัพย์ ซึ่ง ทาให้เกิด
ภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสินสมุทรได้ใช้ทางผ่านที่ดินของนายสุดสาคร โดยทาเป็นถนนลาดยางกว้าง 3 เมตร
ผ่านที่ดินของนายสุดสาครเพื่อใช้รถปิ๊กอัพผ่านเข้าออกระหว่างที่ดินของนายสินสมุทรกับถนนพหลโยธิน โดยนายสุดสาคร
ไม่รู้เรื่องติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ย่อมถือว่านายสินสมุทรได้ภาระจายอมเหนือที่ดินของนายสุดสาครโดยอายุความ
ปรปักษ์ คือการได้มาซึ่งภาระจายอมโดยอายุความ ตามมาตรา 1387, 1401 และมาตรา 1382
ต่อมาการที่นายสินสมุทรได้สร้างโรงงานในที่ดินของตน และต้องการใช้รถยนต์บรรทุกสิบล้อผ่านเข้าออกเพื่อขนส่งสินค้าวัน
ละหลายเที่ยว นายสินสมุทรจึงเปลี่ยนจากถนนลาดยางเป็นถนนคอนกรีตกว้าง 6 เมตรนั้น การกระทาดังกล่าวของนายสิน
สมุทรเป็นเรื่องที่เจ้าของสามยทรัพย์ทาการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ซึ่งทาให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ ดังนั้น นาย
สินสมุทรจะกระทาไม่ได้ตามมาตรา 1388
สรุป
นายสินสมุทรได้ภาระจายอมเป็นถนนลาดยางกว้าง 3 เมตร ผ่านที่ดินของนายสุดสาครแล้ว และนายสุดสาครจะ
ห้ามนายสินสมุทรไม่ให้ใช้ทางภาระจายอมนั้นไม่ได้ แต่นายสินสมุทรจะเปลี่ยนถนนลาดยางซึ่งเดิมกว้าง 3 เมตรเป็นถนน
คอนกรีตกว้าง 6 เมตรไม่ได้

ข้อ 15.
นายนครทาพินัยกรรมยกที่ดินพร้อมหอพักให้กับบุตรชายของตนสามคน โดยยกให้นายเปรมมีกรรมสิทธิ์สองส่วน
นายเกริกและนายกฤตคนละหนึ่งส่วน หลังจากนายนครถึงแก่ความตาย ทายาททั้งสามตกลงจะยังไม่แบ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
แปลงนั้น โดยจะดาเนินกิจการหอพักต่อไปสาหรับค่าเช่าที่เก็บได้ตกลงแบ่งคนละเท่าๆกัน ต่อมาเกิดน้าท่ วมหอพักได้รับ
ความเสียหาย นายเกริกได้จัดการซ่อมแซมหอพักเสียค่าใช้จ่ายไป 100,000 บาท จึงเรียกให้นายเปรมช่วยออกเงินค่าซ่อม
หอพัก 50,000 บาท และนายกฤตออกเงิน 25,000 บาท แต่นายเปรมไม่ยอม โดยอ้างว่าค่าเช่าที่ได้รับก็เท่าๆกัน ดังนั้นหนี้
ค่าซ่อมแซมก็ควรจะรับผิดชอบเท่าๆกันด้วย ส่วนนายกฤตก็ยังไม่ยอมชาระเช่นกัน นายเปรม นายเกริก และนายกฤตจึงตก
ลงที่จะขายที่ดินพร้อมหอพัก แล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกันตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของ ดังนี้ นายเกริกจะเรียกให้เอาเงินที่
ขายได้มาชาระหนี้ค่าซ่อมหอพักที่นายเกริกออกไปก่อนแล้วค่อยแบ่งเงินกั นตามส่วนได้หรือไม่ และนายเปรมกับนายกฤต
จะต้องร่วมรับผิดชอบค่าซ่อมแซมจานวนคนละเท่าใด เพราะเหตุใด
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1360 วรรคสอง ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีใน
ทรัพย์สินนั้น
มาตรา 1362 เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จาต้องช่วยเจ้าของรวมคนอื่นๆ ตามส่วนของตนในการออกค่าจัดการ ค่าภาษี
อากร และค่ารักษากับทั้งค่าใช้ทรัพย์สินรวมกันด้วย
มาตรา 1365 วรรคสอง ถ้าเจ้าของรวมคนหนึ่งต้องรับผิดต่อเจ้าของรวมคนอื่นในหนี้ซึ่งเกิดจากการเป็นเจ้าของรวม
หรือในหนี้ซึ่งได้ก่อขึ้นใหม่เพื่อชาระหนี้เดิมดังว่านั้นก็ดี ในเวลาแบ่ง เจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้เอาส่วนซึ่งจะได้แก่
ลูกหนี้ของตนในทรัพย์สินรวมนั้นชาระหนี้เสียก่อน หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายนครทาพินัยกรรมยกที่ดินพร้อมหอพักให้กับบุตรชายของตนทั้งสามคน คือ นายเปรม
นายเกริก และนายกฤตนั้น บุตรทั้งสามคนย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินและหอพัก โดยนายเปรมมีกรรมสิทธิ์สอง
ส่วน นายเกริกและนายกฤตมีกรรมสิทธิ์คนละหนึ่งส่วน สาหรับค่าเช่าหอพักซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยนั้น ป.พ.พ.มาตรา 1360
วรรคสอง เพียงให้ข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของรวมคนหนึ่งๆมีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สิน แต่เจ้าของ
รวมสามารถตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ดังนั้น เมื่อนายเปรม นายเกริก และนายกฤตตกลงให้แบ่งค่าเช่าหอพักคนละเท่าๆกัน
ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงของผู้ทรงกรรมสิทธิ์รวมนั้น และเมื่อปรากฏว่า ต่อมาน้าท่วมหอพักได้รับความเสียหาย และนาย
เกริกได้จัดการซ่อมแซมหอพักเสียค่าใช้จ่ายไป 100,000 บาท ซึ่ง ตามมาตรา 1362 กาหนดไว้ว่า เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ
จะต้องช่วย
เจ้าของรวมคนอื่นๆตามส่วนของตนในการออกค่ารักษาทรัพย์สิน ดังนั้น เมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่ได้ตกลงเป็น
อย่างอื่นจึงต้องเป็นไปตามกฎหมาย กล่าวคือ นายเปรม นายเกริก และนายกฤตจะต้องออกค่ารักษาทรัพย์สินตามส่วนของ
ตน เมื่อนายเปรมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมสองส่วน ก็ต้องออกเงินค่ารักษาทรัพย์สิน 50,000 บาท ส่วนนายเกริกและ
นายกฤตมีคนละหนึ่งส่วน ต้องออกเงินคนละ 25,000 บาท
และการที่นายเปรม นายเกริก และนายกฤต ตกลงที่จะขายที่ดินพร้อมหอพัก แล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกันตาม
ส่วนที่ตนเป็นเจ้าของนั้น นายเกริกย่อมสามารถเรียกร้องให้เอาเงินที่ขายได้มาชาระหนี้ค่าซ่อมหอพักให้แก่ตนตามส่วนที่
นายเปรมกับนายกฤตจะต้องรับผิดชอบ แล้วจึงค่อยเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกันตามส่วนได้ เพราะเจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ต้อง
รับผิดชอบต่อเจ้าของรวมอื่นๆ ในหนี้ซึ่งเกิดจากการเป็นเจ้าของรวม ซึ่งในเวลาแบ่งเจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้เอา
ส่วนซึ่งจะได้แก่ลูกหนี้ของตนในทรัพย์สินรวมนั้นชาระเสียก่อนได้ ตามมาตรา 1365 วรรคสอง โดยกรณีนี้นายเปรมจะต้อง
รับผิดชอบชดใช้ค่าซ่อมแซมหอพักให้แก่นายเกริกจานวน 50,000 บาท และนายกฤตต้องชดใช้จานวน 25,000 บาท
สรุป
นายเกริกจะเรียกให้เอาเงินที่ขายได้มาชาระค่าซ่อมแซมหอพักที่นายเกริกออกไปก่อน แล้วค่อยแบ่งเงินกันตามส่วน
ได้ และนายเปรมกับนายกฤตจะต้องร่วมรับผิดชอบค่าซ่อมแซมหอพักให้แก่นายเกริก โดยนายเปรมจะต้องออกเงิน 50,000
บาท ส่วนนายกฤตต้องออกเงิน 25,000 บาท

ข้อ 16.
นายสาธิตแบ่งขายที่ดินของนายสาธิตให้นางเมฆลาโดยทั้งนายสาธิตและนางเมฆลาตกลงให้ที่ดินของนางเมฆลามี
ทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินแปลงของนายสาธิตในส่วนที่เหลือ แต่ไม่ได้จดทะเบียนการได้มา เมื่อนางเมฆลาซื้อ
ที่ดินจากนายสาธิตมาแล้ว ได้เข้ามาปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินแปลงนั้น แทนที่จะเดินในทางที่ตกลงไว้กับนายสาธิต นางเมฆ
ลากลับใช้ทางผ่านในส่วนอื่นของที่ดินของนายสาธิต โดยไม่บอกนายสาธิตและยังทาถนนคอนกรีตเพื่อให้รถยนต์เข้าออก
นอกจากนั้นนางเมฆลายังเข้ามาในที่ดินของนายสาธิตโดยเข้ามาทิ้งขยะในที่ดินของนายสาธิตทุกวันด้วย นางเมฆลาได้ทา
เช่นนี้ตลอดกว่าสิบปีโดยนายสาธิตไม่ทราบ เมื่อนายสาธิตทราบจึงได้มาห้ามและบอกให้นางเมฆลาเลิกใช้ถนนที่นางเมฆลา
สร้างให้มาใช้ถนนเส้นที่ตกลงเดิม และเลิกเข้ามาทิ้งขยะในที่ดินของนายสาธิต นางเมฆลาตกลงเลิกทิ้งขยะ แต่ถนนนางเมฆ
ลาไม่ยอมเพราะถนนที่ตนสร้างสะดวกสบายกว่า แต่พอผ่านมาได้สามเดือนนางเมฆลาได้เข้าทิ้งขยะในที่ดินของนายสาธิตอีก
คราวนี้นายสาธิตทนไม่ไหว หนึ่งเดือนหลังจากนั้น นายสาธิตจึงได้ฟ้องต่อศาลให้นางเมฆลาเลิกทิ้งขยะและรื้อถนนที่นางเมฆ
ลาสร้างออกไป
ให้ท่านวินิจฉัยถึงสิทธิของนางเมฆลาในถนนที่นางเมฆลาสร้าง และการทิ้งขยะในที่ดินของนายสาธิต
ธงคาตอบ
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1374 ถ้าผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรั พย์สิน เพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วย
กฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนนั้นได้ ถ้าเป็นที่น่าวิตกว่าจะยังมีการรบกวนอีก ผู้
ครอบครองจะขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้
การฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกรบกวน
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สิน ของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็ น
อสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่าน
ว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจายอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่ง
กระทบถึ ง ทรั พย์ สิ น ของตน หรื อ ต้อ งงดเว้ นการใช้ สิท ธิ บ างอย่า งอัน มี อยู่ ใ นกรรมสิ ท ธิ์ท รั พย์ สิ น นั้น เพื่อ ประโยชน์ แ ก่
อสังหาริมทรัพย์อื่น
มาตรา 1401 ภาระจายอมอาจได้มาโดยอายุความ ท่านให้นาบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอันกล่าวไว้ใน
ลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
วินิจฉัย
กรณีตามอุทาหรณ์ มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 เกี่ยวกับสิทธิของนางเมฆลาในถนนที่นางเมฆลาสร้าง การที่นายสาธิตแบ่งขายที่ดินของนายสาธิตให้
นางเมฆลา และตกลงให้นางเมฆลามีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะผ่านที่ดินแปลงของนายสาธิตใน
ส่วนที่เหลือนั้น ถือว่านางเมฆลาได้ภาระจายอมโดยทางนิติกรรม และแม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาก็สามารถใช้
บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี แต่เมื่อนางเมฆลาซื้อที่ดินจากนายสาธิตมาแล้วและได้เข้ามาปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินแปลง
นั้น แทนที่จะเดินเข้าออกในทางที่ตกลงไว้กับนายสาธิต กลับใช้ทางผ่านในส่วนอื่นของที่ดินของนายสาธิตโดยไม่บอกนาย
สาธิต และยังทาถนนคอนกรีตเพื่อให้รถยนต์เข้าออกจนครบกาหนด 10 ปี โดยที่นายสาธิตไม่ทราบ กรณีนี้จึง ถือได้ว่านาง
เมฆลาซึ่ง เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ประโยชน์ในภารยทรัพย์ (ที่ดินของนายสาธิต) โดยสงบและโดยเปิดเผย และด้วย
เจตนาจะได้สิทธิภาระจายอมในภารยทรัพย์นั้น ดัง นั้นนางเมฆลาย่อมได้ภาระจายอมในถนนที่นางเมฆลาสร้างโดยการ
ครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 ประกอบมาตรา 1401 และนายสาธิตซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์จะฟ้องให้นางเมฆลา
รื้อถนนที่นางเมฆลาสร้างออกไปไม่ได้ ตามมาตรา 1387
ประเด็นที่ 2 เกี่ยวกับการทิ้งขยะของนางเมฆลาในที่ดินของนายสาธิต การที่นางเมฆลาได้นาขยะมาทิ้งในที่ดินของ
นายสาธิตทุกวันนั้น ถือว่านายสาธิตผู้ครอบคอรงที่ ดินถูกนางเมฆลารบกวนการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย นาย
สาธิตจึงมีสิทธิบอกห้ามและให้นางเมฆลาเลิกเข้ามาทิ้งขยะในที่ดินของนายสาธิตได้ตามมาตรา 1374 วรรคแรก และเมื่อ
นางเมฆลาตกลงเลิกทิ้งขยะแล้ว การรบกวนการครอบครองย่อมระงับไป แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่า พอผ่านมาได้สาม
เดือนนางเมฆลาได้เข้ามาทิ้งขยะในที่ดินของนายสาธิตอีก จึงถือว่านายสาธิตได้ถูกรบกวนการครอบครองอีก ดังนั้นนาย
สาธิตจึงมีสิทธิฟ้องเป็นคดีต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งห้ามไม่ให้นางเมฆลานาขยะเข้ามาทิ้งในที่ดินของนายสาธิตได้ แต่ต้องฟ้อง
ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ถูกรบกวนตามมาตรา 1374 วรรคสอง และตามข้อเท็จจริงนายสาธิตได้ฟ้องคดีต่อศาลหลังจากถูก
นางเมฆลากระทาการดังกล่าวได้หนึ่งเดือน ดังนั้นนายสาธิตจึงสามารถฟ้องศาลเพื่อสั่งให้นางเมฆลาเลิกทิ้งขยะในที่ดินของ
นายสาธิตตามมาตรา 1374 ได้ นางเมฆลาได้ภาระจายอมในถนนที่นางเมฆลาสร้างโดยการครอบครองปรปักษ์ นายสาธิต
จะฟ้องศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้นางเมฆลารื้อถนนที่นางเมฆลาสร้างออกไปไม่ได้ แต่นายสาธิตสามารถฟ้องศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้
นางเมฆลาเลิกทิ้งขยะในที่ดินของนายสาธิตได้

You might also like