You are on page 1of 5

“ความท้าทายในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อมิติแนวคิดอิน

โด – แปซิฟิก (Free and Open Indo – Pacific) อันนำไปสู่การ


กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศในโลกยุค
ปั จจุบัน”

ปั จจุบันแนวคิดเรื่อง “อินโด – แปซิ ฟิ ก (Free and Open Indo –


Pacific)” นับว่ามีบทบาทสำคัญเป็ นอย่างยิ่งในเวทีระหว่างประเทศ ทัง้ นี ้
นักวิชาการด้านภูมิรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้
สะท้อนให้เห็นปรากฏการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศภายหลัง
สงครามเย็น ประกอบกับบริบทสถานการณ์โลกและภูมิภาคได้
เปลี่ยนแปลงไป อาทิ อิทธิพลของจีนได้แผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน
และมีแนวคิดเรื่องมหาสมุทรอินเดียนับเป็ นพื้นที่สำคัญในการแข่งขัน
ระหว่างประเทศมหาอำนาจ โดยมีผู้เล่น (players) ในเวทีการเมือง
ระหว่างประเทศ มีทรรศนะและเห็นประโยชน์จากแนวคิดอินโด -
1
แปซิฟิก (Free and Open Indo – Pacific)
ทัง้ นี ้ แนวคิดอินโด - แปซิฟิก นับเป็ น Grand Strategy ของ
ประเทศญี่ปุ่น โดยมีการต่อยอด จากสุนทรพจน์เรื่อง
“Confluence of the Two Seas” ซึ่งนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี
ประเทศญี่ปุ่น ได้แถลงต่อรัฐสภาอินเดียเมื่อปี ๒๕๕๐ ตลอดจน
นโยบาย The Arc of Freedom and Prosperity” รวมทัง้ ยุทธศาสตร์
1
www.eastasiawatch .in./politics-and-economy
2

“Diamond Strategy” เมื่อปี ๒๕๕๕ จีนได้มีบทบาทเพิ่มขึน


้ อย่าง
รวดเร็วต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาได้มี
บทบาทลดลง จึงนับเป็ นประเด็นสำคัญส่งผลให้นายชินโซะ อาเบะ นายก
รัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ประกาศแนวคิด อินโด - แปซิฟิก อย่างเป็ นทางการใน
การประชุม Tokyo International Conference on Africa
Development (TICAD) ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๙ ณ กรุงไนโรบี โดย
สะท้อนจุดยืนเรื่องนโยบาย ประกอบด้วย ๑) ยึดหลักนิติธรรม (Rule of
Law) และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ ๒) ตัง้ อยู่บนพื้นฐาน
ภูมิภาคนิยม (regionalism) ๓) มุ่งเพิ่มบทบาททางการทหาร ทัง้ นี ้
แนวคิดยุทธศาสตร์อินโด - แปซิฟิกญี่ปุ่น ได้มี ๓ องค์ประกอบ เช่น เรื่อง
การส่งเสริมและปลูกฝั งค่านิยมพื้นฐาน อาทิ หลักนิติธรรม (Rule of
Law) และประชาธิปไตย เรื่องการแสวงหาความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
และการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพ ถือว่าญี่ปุ่นมีแนวคิดอินโด -
แปซิฟิกชัดเจนโดยมีการนำแนวคิดไปปรับใช้และจัดทำเป็ นยุทธศาสตร์
การต่างประเทศ โดยสะท้อนท่าทีหลายมิติ อาทิ ด้านเศรษฐกิจซึ่ง
ปรารถนาที่จะเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออกกับอินเดียและแอฟริกาใน
ด้านการเมืองญี่ปุ่นเน้นเรื่องการส่งเสริม ความร่วมมือกับ
มหาอำนาจกับสหรัฐอเมริกา

ด้านสหรัฐ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้กล่าว


สุนทรพจน์ช่วงที่มีการประชุม APEC ณ นครดานัง เวียดนาม ใน
เดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยได้เน้นย้ำถึงเรื่องความร่วมมือในด้านการ
ค้าและเศรษฐกิจกับประเทศอินโด - แปซิฟิก โดยสหรัฐจะเน้นเรื่องการค้า
เสรีซึ่งเป็ นข้อแตกต่างในการตีความคำว่า “Free and Open” ของ
สหรัฐอเมริกากับ ญี่ปุ่น โดยสหรัฐฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการที่
3

อินเดียเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคโดยอาจส่งผลต่อสถานการณ์การเมือง
ระหว่างประเทศในอนาคต โดยนักวิชาการกล่าวว่า มหาสมุทรอินเดียจะ
กลายเป็ นศูนย์กลางผลประโยชน์ที่ทับซ้อนของประเทศมหาอำนาจ เช่น
สหรัฐฯ และจีน
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาที่ตงั ้ ภูมิรัฐศาสตร์สหรัฐฯ เห็นว่า ปั จจัยที่
ส่งผลให้สหรัฐฯ มีบทบาท ในภูมิภาคเป็ นเรื่องเศรษฐกิจ การค้า
การลงทุน มากกว่าปั จจัยการเมือง ส่วนอินเดียนับเป็ นตัวแปรสำคัญ
เรื่องแนวคิดอินโด - แปซิฟิก สืบเนื่องจากตัง้ อยู่กึ่งกลางภูมิภาค ประกอบ
กับเศรษฐกิจเจริญเติบโตรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม อินเดียเห็นว่า จีนเป็ น
เพื่อนบ้านซึ่งมีความท้าทายและมีผลประโยชน์ ทัง้ นี ้ อินเดียยังคงกังวล
ต่อจีนในประเด็นการขยายอิทธิพล ของจีนในมหาสมุทรอินเดียโดยผ่าน
การสร้างท่าอากาศยานจีนและการสร้างท่าเรือในภูมิภาคเอเชียใต้ ได้แก่
ปากีสถาน ศรีลังกา มัลดีฟส์ และบังกลาเทศ ภายใต้แนวคิด Belt and
Road Initiative : BRI) ทัง้ นี ้ อินเดียเห็นว่า อาจส่งผลกระทบต่อ
ประเด็นความมั่นคงและการเมือง นอกจากนี ้ อินเดียยังกังวลต่อประเด็น
ที่สหรัฐฯ ลดบทบาทอันส่งผลให้แนวคิดอินโด - แปซิฟิกอาจเป็ นทางเลือก
หนึ่งในมิติยุทธศาสตร์ซึ่งอินเดียนำไปใช้ในอนาคต
ด้านออสเตรเลียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ออสเตรเลียได้มีการ
เผยแพร่ Foreign Policy White Paper 2017 ซึ่งเป็ นเอกสารกำหนด
ทิศทางเรื่องการดำเนินนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียในรอบ
๑๐ ปี โดยให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก ทัง้ นี ้ ได้กล่าวถึง
บทบาทความรับผิดชอบของออสเตรเลีย โดยมีเป้ าหมาย ประกอบด้วย
๑) การส่งเสริมความมั่นคง ๒) การเปิ ดกว้างตลอดจนเรื่องความเจริญ
รุ่งเรือง ประการสำคัญ ได้เน้นย้ำเรื่องความเสี่ยงด้านความมั่นคงใน
ทะเลจีนใต้ในบริบทจีน
4

สำหรับประเด็นความท้าทายของแนวคิดอินโด - แปซิฟิก มีแนว


โน้มนำไปสู่การเป็ นยุทธศาสตร์ ทางการเมืองระหว่างประเทศ โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง ออสเตรเลีย อินเดีย สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึง่ มีผลประโยชน์
กับแนวคิดอินโด - แปซิฟิก และยังมีเรื่องประเด็นท้าทาย อาทิ การ
ดำเนินนโยบายต่างประเทศภายใต้แนวคิด อินโด - แปซิฟิก
อนึ่ง การที่สหรัฐฯ กำหนดนโยบาย America First อาจเป็ น
อุปสรรคในการสร้างเอกภาพของกลุ่มพันธมิตร สืบเนื่องจากสหรัฐฯ ให้
ความสำคัญกับเรื่องการค้าเสรี ในขณะที่ญี่ปุ่นมีความสนใจในประเด็น
เรื่องความมั่นคงทางทะเลและความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค อย่างไร
ก็ตาม ญี่ปุ่นมีข้อจำกัด ไม่มีแหล่งเงินทุน ในการขับเคลื่อนนโยบาย
ดังนัน
้ ญี่ปุ่นจึงต้องร่วมมือกับสหรัฐ

กล่าวโดยสรุป ประเด็นเรื่องแนวคิดอินโด - แปซิฟิก ถือเป็ น


ยุทธศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น
โดยมีมิติด้านการเมืองซึ่งสหรัฐได้เข้ามามีอิทธิพลโดยมีบทบาทสำคัญใน
บริบท ที่จีนขยายอิทธิพลในภูมิภาคอาเซียน ส่วนด้านเศรษฐกิจ
ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนประเด็นความเชื่อมโยงในภูมิภาค
มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียโดยเน้นประเทศอินเดียและ
แอฟริกา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายตลาดและเครือข่ายความเชื่อม
โยงในภูมิภาค ทัง้ นี ้ แนวคิดอินโด - แปซิฟิกเป็ นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์ซึ่งมี
ความสำคัญในการจัดทำยุทธศาสตร์ของประเทศต่างๆ
5

จัดทำโดย นางสาวธุวดารา มุสิกะโปดก


นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ชำนาญการ
กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

File : บทความแนวคิดอินโด แปซิฟิก 29 363

As of 29 March 2020/Tu

You might also like