You are on page 1of 18

เรื่อง ยุทธศาสตร์การลงทุนของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป (CLMV)

จัดทำโดย
นางสาว กรุณาพร ชัยเลิศ 631910059
นางสาว ผกามาศ ไกรนรา 631910172
นางสาว พรจิรา วีระแก้ว 631910173
นาย วัชรพล บุญแสง 640410242

เสนอ
ผศ.ดร. พิชญ์อาภา พิศุทธ์เศรณี

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 126332 เอเชียตะวันออกศึกษา


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำนำ

คณะผู้จัดทำ

สารบัญ
เนื้อหา
1

บทที่ 1
กรอบแนวคิดทฤษฎี

1.1 แนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์หลัก หรือมหายุทธศาสตร์ (Grand strategy)


1.2 แนวคิดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI)
1.3 แนวคิดผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest)
1.4 แนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-Politics)
1.5 แนวคิดภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ (Geo-Economics)
1.6 แนวคิดอำนาจละมุน (Soft Power)
2

บทที่ 2
ปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์การลงทุนของจีนในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การศึกษาปัจจัยทางยุทธศาสตร์การลงทุนของจีนในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้นโยบาย
นโยบายสี จิ้นผิง ในศตวรรษที่ 21 กับการเปลี่ยนแปลงภูมิทางเศรษฐศาสตร์ ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ 3 ปัจจัย
หลักคือ ปัจจัยทางการเมือง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์การลงทุนทางด้านภูมิศาสตร์และ
นิเวศวิทยา

2.1 ปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์การลงทุนทางด้านการเมือง
ยุทธศาสตร์การลงทุนของจีนในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางด้านการเมือง ประกอบด้วยปัจจัย
3 ประการ ได้แก่ (1) นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (2) นโยบายการก้าวออกไปของจีน (Go out Policy)
และ (3) นโยบายหนึ่งแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI)
โดยภายหลังจากการประกาศหลักการนิกสัน (Nixon Doctrine) ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ.
1969 เพื่อถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม (Vietnam War) และบทบาทของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลง ประกอบกับการเปิดประเทศของจีนเมื่อ ค.ศ. 1978 จีนจึงได้ริเริ่มการปฏิรูปและพัฒนาประเทศมากขึ้น ส่งผล
ทำให้จีนกลายเป็นรัฐที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก และมี GDP ระดับโลกเป็นลำดับที่ 2 (14.36 ล้าน
ล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองจากสหรัฐฯ ใน ค.ศ. 2019 อีกทั้ง ยังเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่า งประเทศมาก
เป็นอันดับต้น ๆ ในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น การดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนจึงเป็นการใช้ทุนสำรองที่มีจำนวน
มากเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือ และเข้าไปลงทุนยังต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
(Infrastructure) ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา อาทิ เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ภาคพื้นทวีป (CLMV) ซึ่งจีนได้ใช้
เงินทุนในรูปแบบเงินกู้เป็นตัวขับเคลื่อนในการดำเนินนโยบายต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อ
ผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interests) ต่อจีนอย่างมากในหลากหลายด้าน (เศรษฐกิจ การเมือง)
2011 -> นโยบายการก้าวออกไปของจีน (Go out Policy) ภายใต้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติของจีน ฉบับที่ 12 (2011 - 2015) ซึ่งถือเป็นปัจจัยผลักดันการลงทุนในต่างประเทศของจีน โดยเน้น
โครงการการก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมโยง (Connectivity) ระหว่างจีนกับบรรดา
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือภูมิภาคอาเซียนให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการ
ดำเนินยุทธศาสตร์ของโครงการ BRI -> ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ/ในการกระจายความเจริญ->ภูมิภาคตอนใต้
และตะวันตกของจีนที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงาน และการ
เข้าถึงทรัพยากรผ่านการเชื่อมโยงเส้นทางการค้าระหว่างประเทศ
3

2.2 ปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์การลงทุนทางด้านเศรษฐกิจ
จากนโยบายปฏิรูปประเทศของจีน ที่นอกเหนือจากจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสามารถพัฒนาได้
อย่างรวดเร็วแล้ว กลับกันก็ยังทำให้จีนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วจนกลายไปเป็นประเทศที่มี ขนาด
เศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา ซึง่ จีนได้กำหนดให้การออกไปลงทุนในต่างประเทศเป็นรากฐาน
สำคัญที่ช่วยส่งเสริมการส่งออกของจีนซึ่งทำให้จีนมีการลงทุนในประเทศใหม่อยู่มากขึ้ นเรื่อย ๆ และจีนได้เข้ามามี
บทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ หรืออาเซียนหรือโดยเฉพาะกลุ่ม CLMVโดยการเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
ของจริงนั้น เพื่อต้องการแสวงหาทรัพยากรและตลาดใหม่ในการรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และ
เป็นการแก้ปัญหาพื้นที่ที่ไม่ติดทะเลให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่ประตูการค้าอาเซียนด้วย และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ได้มีเงินทุนจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนเป็นจำนวนมากเพราะมีแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ
และมีตลาดแรงงานที่เพียงพอ ทั้งจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนได้
เติบโตขึ้นและทำให้จีนที่เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของอาเซียนพลอยได้ผลประโยชน์ไปด้วย ซึ่งก็ทำให้เห็นถึงความสำเร็จ
ของความพยายามที่จะเข้ามาลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

2.3 ปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์การลงทุนทางด้านภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยา
4

บทที่ 3
ปัจจัยภายในของแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปที่ส่งผลต่อการลงทุนของจีน

2.1 ปัจจัยภายในของกัมพูชาทีส่ ่งผลต่อการลงทุนของจีน


การพัฒนาของกัมพูชาได้เริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1993 โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนมาจากจีน รองลงมาคือเกาหลี
ใต้ และตามมาด้วยสหรัฐฯ โดยกัมพูชามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะประเทศที่กำลังพัฒนาและเป็นฐานการผลิต
ใหม่ของอาเซียน เพราะกัมพูชานั้นมีระบบโลจิสติกส์ทั้งทางบกและทางน้ำเชื่อมไปยังเวียดนามไทย ลาว และจีน
และ กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนในปี 1999 กัมพูชายังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก
อีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเข้ามามีบทบาทของกัมพูชาในระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น อัตราการเติบโตของกัมพูชา
สูงถึงร้อยละ 8 ต่อปี เพราะได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ
ปัจจัยแรกที่ส่งผลให้จีนลงทุนในกัมพูชาคือ การที่จีนและกัมพูชามีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ในอดีต โดยได้
สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่ปี 1958 และได้มีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกันมาอย่างยาวนาน ทั้งในระดับ
สถาบันพระมหากษัตริย์ของกัมพูชากับผู้นำจีนและระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล และการให้ความช่วยเหลือสงคราม
ภายในของกัมพูชาหลายครั้งทำให้จีนเป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัมพูชามาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือ
ของจีนแก่กัมพูชาเพื่อพัฒนาหรือ Official Development Assistance หรือ ODA โดยมีทั้งในรูปแบบให้เปล่าเงิน
หรือการกู้ยืมแบบมีเงื่อนไข ทั้งในด้านเศรษฐกิจและด้านทางการทหาร ซึ่งกัมพูชาเองได้เอาเงินส่วนนี้ไปพัฒนาถนน
สะพาน เขื่อน ผลิตไฟฟ้าและท่าเรือ ในปี 1994 ถึง 2012 การลงทุนของจีนในกัมพูชาสูงเป็นอันดับหนึ่ง และเหตุนี้
เองการลงทุนของจีนจึงทำให้กัมพูชาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในอาเซียนและเอเชีย
ตะวันออก
ทั้งนี้ เหตุผลที่ทำให้จีนลงทุนในกัมพูชาคือ “ความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีเยี่ยม” เพราะความมั่นคงของ
สถานการณ์ทางการเมืองและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่มั่นคง ต้นทุนค่าแรงต่ำ ค่านิยมร่วมของเอเชียและที่ตั้ง
ทางยุทธศาสตร์ของกัมพูชาในเอเชีย การลงทุนของจีนในกัมพูชามีความหลากหลายในแง่ของความเป็นเจ้าของและ
ความเฉพาะเจาะจงของสินทรัพย์เป็นอย่างมาก โดยรัฐวิสาหกิจของจีนจะมุ่งเน้นไปที่การลงทุนในโรงงานไฟฟ้า
พลังงานน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนบริษัทเอกชนของจีนจะมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ
และนอกจากนี้อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้จีนลงทุนในกัมพูชา คือ จุดที่ตั้งของกัมพูชา โดยจีนได้ลงทุนใน เขต
เศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเรียกว่า สีหนุวิ ลล์ ซึ่งเป็น จังหวัดชายฝั่งทะเลที่อยู่ทางตอนใต้ของกัมพูชา โดยเป็นเมืองที่มี
ความสำคัญทางเศรษฐกิจนับเป็นอันดับสามรองจากพนมเปญและเสียมราฐ และสีหนุวิลล์ยังถูกจัดเป็นเมือง
ยุทธศาสตร์บนเส้นทางการค้าระหว่างประเทศสายสำคัญของโครงการ One belt one road หรือ ต่อมาเปลี่ยนชื่อ
เป็นBRIอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้มีการหลั่งไหลเข้ามาของนักลงทุนจีน ที่เชื่อมเส้นทางส่งออกไปยังไทยและ
5

เวียดนามพร้อมกับวางแผนพัฒนาให้พื้นที่เมืองนี้เป็นเมืองอุตสาหกรรม ทั้งนี้จีนยังได้ลงทุนในภาคพลังงานใน
กัมพูชาอีกด้วยแถมยังลงทุนในการสร้างโรงกลั่นน้ำมัน และการลงทุนของจีนในกัมพูชาในการทำโครงการทาง
สิ่งแวดล้อม ยังทำให้บริษัทของจีนได้รับทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของกัมพูชาไป ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไม้
ตลอดจนสามารถเข้าถึงอ่าวไทยและหมู่เกาะทะเลจีนใต้ได้
ทั้งหมดนี้มาจากการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างจีนและกัมพูชาในรูปแบบของทวิภาคี ซึ่งการลงทุนของจีน
มีส่วนช่วยทำให้กัมพูชาพัฒนาเศรษฐกิจและลดระดับความยากจนของชาวกัมพูชาอีกด้วย แต่อีกประเด็นที่ ทำให้
กัมพูชามีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นนั้นก็ คือ กัมพูชาได้รับสิทธิการใช้ประโยชน์ทางภาษี 0% จากสหรัฐอเมริกาสหประชาชาติ
อาเซียน เกาหลี ญี่ปุ่นและจีนทำให้การลงทุนของนักลงทุนจากต่างชาติเพิ่มมากินขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการลงทุน
ของจีนก็ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมของกัมพูชาเป็นอย่างมาก อาทิเช่น จังหวัดสีหนุวิลล์ได้มีการเปลี่ยนแปลงและ
พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้จากเดิ มที่เป็นเมืองพักตากอากาศที่เงียบสงบทางตอนใต้ของกัมพูชา ได้กลายมา
เป็นเมืองอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมท้องถิ่นและนำไปสู่การต่อต้านและคัดค้านโครงการดังกล่าว หรือจะ
เป็นการที่ประชาชนกัมพูชาต้องย้ายถิ่นฐานเนื่องจากได้รับผลกระทบของการสร้างเขื่อน เป็นต้น ซึ่ งปัจจัยถัดมาคือ
หากมองในระดับการเมืองระหว่างประเทศนั้นจะเห็นได้ว่า การที่จีนลงทุนในกัมพูชาและมีความสัมพันธ์อันดี
ร่วมกัน ทำให้ลดการพึ่งพาเงิน ทุน จากสหรัฐ อเมริกาได้ โดยที่จีนพยายามกระจายอิทธิพลทางการเมือ งและ
เศรษฐกิจทั่วภูมิภาคผ่านโครงการ BRI และในขณะเดียวกันกัมพูชาเองได้มีความพยายามที่จะพัฒนาเศรษฐกิจโดย
ไม่ต้องยึดมั่นในด้านสิทธิมนุษยชน ดังที่สหรัฐประณามสิ่งที่เกิดขึ้นในสีหนุวิลล์ โดยจากเหตุการณ์ที่กล่าวมาทั้งหมด
นี้ถือเป็นความพยายามของจีนที่จะกำจัดอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา
และปัจจัยสุดท้ายคือ การขยายบทบาทในภูมิภาคโดย จีนได้ลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของ
จีนในกัมพูชา ถือเป็นส่วนหนึ่งในแนวคิดทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป้าหมายของจีน คือ ต้องการพัฒนาหรือ
กระตุ้น เศรษฐกิจ ของจีน และเป้าหมายทางภูมิรัฐ ศาสตร์คือจีนต้องการอาศัยการพัฒ นาเศรษฐกิจมาสร้าง
เสถียรภาพในเอเชียกลางเพื่อป้องกัน ความขัดแย้งในภูมิภาคได้ และจีนพยายามทำให้กัมพูชามาอยู่ฝั่งเดียวกันกับ
จีนเพื่อขยายบทบาทในทะเลจีนใต้ แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนจากจีนมักก่อให้เกิดความตึงเครียดกับประเทศเพื่อน
บ้านในแถบเอเชียตะวันออกเชียงใต้อยู่เสมอ แต่เพื่อครอบครองความเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคจีนจำเป็นต้องรู้ทัน
ต่อสถานการณ์และทำความเข้าใจของสังคมกัมพูชา เพื่อมีให้เกิดความต่อต้านเพราะจีนก็ตระหนักได้ดีว่า ตอนนี้
หลายประเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทในกัมพูชาด้านการค้าบ้างแล้ว

2.2 ปัจจัยภายในของลาวที่ส่งผลต่อการลงทุนของจีน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Laos People's Democratic Republic) หรือ สปป.ลาว ถือ
เป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญสำหรับการลงทุนของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวี ป (CLMV) มาอย่างยาวนาน
โดยปัจจัยภายในหรือปัจจัยดึงดูด (Pull Factors) ที่ส่งผลต่อบทบาทการลงทุนของจีนภายในลาว ประกอบไปด้วย
6

4 ปัจจัยหลัก อันได้แก่ (1) ปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) (2) ปัจจัยทางด้านทรัพยากรภายใน (3)


ปัจจัยเชิงความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ (Political Relationship) และ (4)
ปัจจัยทางด้านนโยบายภายใน (Economic Cooperation) ดังนี้
ปัจจัยแรก คือ ปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ในแง่พื้นที่ของสปป.ลาว ซึ่งมีเขตเศรษฐกิจ
บ่อเต็นในแขวงหลวงน้ำทาที่ติดกับชายแดนจีนด้านสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ลาวจึงมีบทบาทสำคัญทางด้าน
ภูมิรัฐศาสตร์ในการเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่เป็นประตูเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการคมนาคมขนส่งระหว่างจีน
กับภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ตอนใน หรือกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งนี้ การลงทุนของจีนสามารถส่งผล
เปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ของลาวจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Land-locked) ให้กลายเป็นประเทศที่
เชื่อมโยงไปยังประเทศอื่น ๆ (Land-Linked) ด้านการคมนาคมขนส่งทางบกทั้งทางถนน และระบบรางรถไฟ
ความเร็วระหว่างจีน ลาว และเวียดนาม ดังที่จะเห็นจากโครงการทางรถไฟสายจีน-ลาว (China-Laos Railway:
CLR)
ปัจจัยที่สอง คือ ปัจจัยทางด้านทรัพยากรภายใน ซึ่งสปป.ลาว ถือเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ไป
ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุมากกว่า 570 ชนิด โดยมีแร่ธาตุสำคัญ อาทิ ทองคำ ทองแดง ตะกั่ว วูลแฟรม
และยิปซัม อีกทั้งยังมีการส่งออกแร่มีสัดส่วนถึง 40% ของการส่งออกทั้งหมดของลาว ดังนั้น ลาวจึงเป็นพื้นที่ที่
เหมาะแก่การพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะไฟฟ้าพลังงานน้ำ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคเอเซีย
(Battery of Asia) ส่งผลให้การลงทุนของจีนสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทางด้านพลังงาน สัมปทานเหมืองแร่
และการผลิตแร่อะลูมินา (Alumina) รวมถึงสัมปทานสิทธิในการเช่าที่ดินจากรัฐบาลลาวในโครงการเกษตรพันธะ
สัญญา เพื่อการเพาะปลูกพืชพรรณ เช่น ยางพารา ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และชา เป็นต้น
ปัจจัยที่สาม คือ ปัจจัยเชิงความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ (Political
Relationship) ซึ่งลาวเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีภายใต้ระบอบการเมืองและอุดมการณ์การพัฒนาประเทศ
ตามแนวทางสังคมนิยมที่มีความใกล้เคียงกับจีน ประกอบกับการมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยความ
มุ่งหวังของจีนคือ ความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจมณฑลทางตอนใต้ ในขณะเดียวกันลาวก็ได้ประโยชน์จากการเป็น
ประเทศที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจ และการคมนาคมขนส่งกับทุกประเทศภายในภูมิภาคซึ่งอาจส่งเสริมให้ลาวหลุดพ้น
จากการเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least developed country: LDC)
ปัจจัยสุดท้าย คือ ปัจจัยทางด้านนโยบายภายใน โดยรัฐบาลลาวมีนโยบายส่งเสริมนักลงทุนทั้งจากภายใน
และต่างประเทศ เขตเศรษฐกิจ พิเศษและนโยบายกลไกลทางระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ที่เรียกว่ า “นโยบาย
จินตนาการใหม่” (New Economic Mechanism) ซี่งริเริ่มในปี 1986 ได้กลายมาเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการ
ขับเคลื่อนการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อลดความยากจจน (LDC) และสร้างการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจที่เน้นการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุนเป็นระยะ โดยเฉพาะการออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุน
7

และจัดการการลงทุนจากต่างประเทศ (Law on Foreign Investment Promotion and Management) ส่งผล


ให้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) เข้ามาลงทุนในลาวเป็นจำนวนมาก ซึ่ง
มีจีนเป็นประเทศผู้ลงทุนและเป็นแหล่งทุนรายใหญ่ที่สุดของลาว
2.3 เมียนมาร์
2.4 เวียดนาม
8

บทที่ 4
พลวัตการลงทุนของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป

4.1 พลวัตการลงทุนของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ช่วงทศวรรษ 2000


ประเทศจีน ได้ดำเนิน นโยบายปฏิรูป และเปิดประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1978 ด้วยการดำเนินนโยบาย
ต่างประเทศต่อเอเชียตะวันออกเชียงใต้ โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการส่งเสริมความสัมพันธ์ และการแลกเปลี่ยน
ความร่วมมือทางด้านสังคม วัฒนธรรม การทูต และการเยือนประเทศของผู้นำในระดับต่าง ๆ รวมถึงทางเศรษฐกิจ
การค้า การลงทุน การให้เงินกู้ และการให้เงินเปล่า เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคทัง้ ด้านเศรษฐกิจ และความมั่นคง
ในด้านเศรษฐกิจ จีนได้มีการลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้ งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ในปี
2002 (Framework Agreement on ASEAN – China Comprehensive Economic Cooperation: ACFTA)
ซึ่งมีเป้าหมายในการจัดตั้งเขตการค้ าเสรีระหว่างจีนกับสมาชิกเก่าของอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไทย โดยมีแนวคิดที่จะเปิดการค้าเสรีในบางสินค้า เช่น สัตว์มีชีวิต
เนื้อสัตว์ ปลา และอาหารทะเลและต่อมาเริ่มมีการลดภาษีขึ้น ถัดมาใน ค.ศ. 2009 ได้มีการพัฒนาขยายกรอบ
สินค้าให้มีความกว้างเพิ่มมากยิ่งขึ้น ในด้านการลงทุน อาเซียนและจีนได้มีการลงนามความตกลงด้านการลงทุนโดย
ครอบคลุมในด้านการคุ้มครองการลงทุน การอำนวยความสะดวกต่อการลงทุน โดยมีข้อตกลงให้ปฎิบัติต่อนักลงทุน
ทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นธรรม อันจะนำไปสู่การไหลเข้า ของเงินทุนใหม่ และนำเอาผลกำไรกลับมาลงทุนในรูปแบบที่
ยั่งยืน
นอกจากนี้ ทางด้านความมั่นคง ใน ค.ศ. 2002 จีนยังได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ก่อน
และจะไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ต่อประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ หรือปลอดอาวุธนิวเคลียร์ โดยได้ลงนามในแถลงการณ์
ที่เรียกว่า (Declaration of the Conduct of Parties in the South China Sea: DOC) ณ กรุงพนมเปญ ซึ่ง
เป็นการลงนามว่าด้วยการปฎิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ที่มีส่วนช่วยยับยั้ง และคลี่คลายความขัดแย้ง อีกทั้งยังทำ
ให้ภาพลักษณ์ของจีนเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 จีนได้ลงนามข้อตกลงทางด้านความ
มั่นคง ในส่วนที่สัญญามิตรไมตรีและความร่วมมือ (ASEAN’s treaty of amity and corporation หรือ TAC) ซึ่ง
เป็นการยืนยันว่าจีนจะดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศในอาเซียน โดยอยู่บนหลักการของการเคารพในเอกราช
อธิปไตย ความเท่าเทียมของกันและกัน การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน และระงับข้อพิพาทโดยสันติ
วิธี ซึ่งเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านของจีนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ จีนยังได้เข้าร่วมกลไกความ
มั่นคงของภูมิภาคนี้อีกด้วย เช่น การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการเมืองและความมั่ นคงใน
ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค (ARF) หรือจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนกับคู่เจรจา เพื่อเป็นการ
สถาปนาความสัมพันธ์ของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มมากขึ้น
9

4.2 พลวัตการลงทุนของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ช่วงทศวรรษ 2010


10

4.3 พลวัตการลงทุนของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปในปัจจุบัน
ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา (ค.ศ. 2000) ประเทศจีนได้กลายเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจและเป็นตัว
แสดงที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ทว่าเนื่องด้วยการหดตัวลงเป็นอย่างมากของตลาดส่งออก
โลกภายในปี 2015 ส่งผลให้การออกของจีนชะลอตัวลงไปเช่นกัน ดังนั้น จีนจึงได้หันมาเน้นการลงทุนในระบบ
โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ซึ่งริเริ่มขึ้นในปี 2013
พร้อมกับการจัดตั้ง “ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย” (Asian Infrastructure Investment Bank:
AIIB) เพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน (CLMV) เพื่อสอดรับกับ BRI
พลวัตการลงทุนของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ยังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดังที่
ปรากฏให้เห็นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีน ฉบับที่ 13 (2016-2020) และฉบับที่ 14 (2021–
2025) ที่มเี ป้าหมายในการขยายเศรษฐกิจเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน ภายใต้ “แผนยุทธศาสตร์สองหมุนเวียน” (Dual
Circulation) หรือนโยบายการสนับสนุนการหมุนเวียนเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน ที่จะอาศัยหัวใจสำคัญอย่าง “การ
หมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศ” (Internal Circulation) ควบคู่ไปกับ “การหมุนเวียนภายนอกประเทศ”
(External Circulation) เป็นยุทธศาสตร์แกนหลักในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของจีนให้เข้ากับเศรษฐกิจภายนอกมาก
ยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “ความฝันจีน 2025” (China Dream) ที่/ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในของ
จีน ความอยู่ดีกินของคนทั้งประเทศ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างมณฑลชายฝั่งตะวันออกกับ
มณฑลตะวันจีน รวมถึงปัญหาความขัดแย้งของชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง
ยุทธศาสตร์นี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า จีนยังคงให้ความสำคัญกับกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) และ
ยังคงยึดถือแนวทางดังกล่าวต่อไปด้วยการไม่ลดระดับการเปิดประเทศ อีกทั้งยังคงมุ่งเน้นการเชื่อมโยงและการ
สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกับกลุ่มประเทศ BRI (Belt and Road Initiative) ซึ่งเป็นพันธมิตรทาง
ยุทธศาสตร์สำคัญของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุม่ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปอย่างกลุ่มประเทศ
CLMV ด้วยการเดินหน้าสานต่อโครงการลงทุน ประเภทรางรถไฟความเร็ว และโครงข่ายคมนาคมภายในภูมิภาค
อาทิ โครงการทางรถไฟสายจีน-ลาว (China-Laos Railway) และโครงการดาราสาคร (Dara Sakor) เป็นโครงการ
พัฒนาพื้นที่โครงข่ายคมนาคม เป็นต้น
โครงการทางรถไฟสายจีน -ลาว (China-Laos Railway: CLR) ซึ่งเปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2021
ระหว่างนครคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีน ชายแดนบ่อเต็น และนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว ถือเป็นมิติใหม่ใน
ฐานะประตูการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียนกับจีนอันเป็นส่วนหนึ่งของ
ระเบียงเศรษฐกิจจีน-อินโดจีน และโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ที่เป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนา
ประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการขยายอิทธิพลทางการค้าและการเมืองของจีน
11

โครงการดาราสาคร (Dara Sakor) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่โครงข่ายคมนาคมภายใต้ยุทธศาสตร์ BRI


ของจีน ซึ่งรัฐบาลกัมพูช าได้ลงนามในข้อตกลงพัฒ นาร่ว มกับ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Tianjin Union
Development Group (UDG) รายใหญ่ของจีน เมื่อปี 2008 ที่มีระยะเวลาการดำเนิน การ 25-30 ปี เพื่อสร้าง
พื ้ น ที่ น ำร่ อ งโครงการเขตทดลองการพั ฒ นาแบบบู ร ณาการระหว่ า งจี น กั บ กั ม พู ช า (Cambodia–China
Comprehensive Investment and Development Pilot Zone) และเชื่อมโยงเครือข่ายการค้า การลงทุนไปสู่
ยุโรปตะวันตก และเอเชียทั้งภูมิภาค โดยการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงต่าง ๆ เพื่อ ให้ Dara Sakor เป็นศูนย์กลาง
สินค้าอุตสาหกรรม ศูนย์กระจายสินค้าสู่นานาประเทศผ่านท่าเรือน้ำลึกและสนามนานาชาติ และดึงดูดนักลงทุน
ต่างชาติเข้ามาลงทุน
นอกจากนี้ เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่หลายประเทศต้องเผชิญกับการระบาดของโรค COVID-19
ตั้งแต่ในช่วงปลาย ค.ศ. 2019 ซึ่งการระบาดของโรคอุบัติใหม่เช่นนี้ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
ต่าง ๆ อย่างหนักเนื่องจากรัฐบาลแต่ละประเทศต้องออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ตั้งแต่ด้านการเข้าออก
พื้นที่ การใช้มาตรการ Social distancing การปิดเมืองและปิดสนามบิน รวมถึงการปิดเส้นทางขนส่ งทั้งทางเรือ
และทางอากาศ อย่างไรก็ดี โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการขนส่ง
สินค้า วัสดุและอุปกรณ์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศ เช่น โครงการ
ก่อสร้างอุโมงค์บนเส้นทางรถไฟจีน -ลาว ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น โดยดำเนินการควบคู่ไปกับ
“เส้นทางสายไหมสุขภาพ” (Health Silk Road : HSR) ที่ริเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2015 ซึ่งเป็นเส้นทางที่ช่วยกัน
ปกป้องชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนในการต่อสู้กับโรคระบาด นอกจากนี้ จีนยังได้อาศัยจังหวะในช่วงการ
แพร่ระบาดของ COVID-19 ด้วยการกระชับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศ BRI ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นผ่านการให้ความ
ช่ ว ยเหลื อ ทางการแพทย์ แ ละสาธารณสุ ข อาทิ การส่ ง อุ ป กรณ์ แ ละที ม แพทย์ ผู้ เชี่ ย วชาญ และการก่ อ สร้ า ง
สถานพยาบาล ภายใต้โครงการ Health Silk Road ซึ่งจะมีส่วนช่วยปูทางในการส่งออกวัคซีนป้องกัน COVID-19
ไปยังตลาดกลุ่มประเทศ BRI ในระยะถัดไป
การส่งออกวัคซีนป้องกัน COVID-19 ไปยังตลาดกลุ่มประเทศ BRI โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศในแถบเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ จีนได้พยายามใช้ “อำนาจอ่อน” (Soft power) โดยให้ความช่วยเหลือผ่านนโยบาย “การทูต
วัคซีน” (Vaccine Diplomacy) ทั้งการส่งวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) และวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ที่จีน
คิดค้นและผลิตได้เอง รวมถึงส่งหน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์จาก
ประเทศที่เป็นต้นเหตุของการแพร่เชื้อ ให้กลายเป็น “ผู้ให้ความช่วยเหลือ” ตลอดจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำ
ให้ ว ั ค ซี น ของจี น เป็ น สิ น ค้ า สาธารณะ (global public goods) อี ก ทั ้ ง ยั ง เป็ น การแสดงให้ ท ั ่ ว โลกเห็ น ถึ ง
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและทางการแพทย์ในการผลิตวัคซีน
12

บทที่ 5
สรุปผลกระทบและแนวโน้มในอนาคตของยุทธศาสตร์การลงทุนจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป
13

บรรณานุกรม

Praornpit Katchwattana. (2565). ส่องประโยชน์ที่ เวียดนามและกัมพูชา ได้จากโครงการ สายแถบและเส้นทาง


BRI เมกะโปรเจ็กต์จากจีนที่มาสร้างความแข็งแกร่งให้อาเซียน. สืบค้น 1 มีนาคม 2566, จาก
https://www.salika.co/2022/12/07/vietnam-cambodia-advantage-from-china-belt-and-road/
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์. (2552). เขตการค้าอาเซียน-จีน สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์,
2566, http://58.82.155.201/AEC/pdf/laws2/4in/5cn/7.IN-CN-07.pdf
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.). Belt and Road Initiative ช่วยเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากการ
ระบาดของโรค COVID-19. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2566, จาก
https://www.ditp.go.th/contents_attach/709462/709462.pdf
กริช อึ้งวิฑูรสถิตย์, และจรินทร์ เจริญศรีวัฒนกุล. (2564). การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวียดนาม :
สถานการณ์และโอกาส. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(3). สืบค้น 28
กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://so02.tci-
thaijo.org/index.php/ibas/article/download/252639/171056/933331
จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง, ธฤษณุ เมธาวุฒิสกุล และอภิมุข สดมพฤกษ์. (2564). การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ตามนโยบายจีนลงใต้ในประเทศเวียดนาม. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1). สืบค้น 28
กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://so03.tci-
thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/download/247081/170075/912578
ณัชชา ม่วงศิริกุล. (2564). การทูตวัคซีนของจีน : การขยายอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สืบค้น 1
มีนาคม 2566, จาก http://isas.arts.su.ac.th/wp-content/uploads/2564/social/05610797.pdf
ประอรพิต กัษฐวัฒนา. (2022). เหรียญสองด้านความสัมพันธ์ ‘กัมพูชาและจีน’ มิตรแท้ร่วมดันเศรษฐกิจภูมิภาค
ให้โตไม่หยุด. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์, 2566, https://www.salika.co/2022/08/26/cambodia-china-
economic-development-cooperation/
พาตีเมาะ แนปีแน. (ม.ป.ป.). การเมืองวัคซีนในภูมิภาคเอเชียใต้. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2566, จาก
http://www.ias.chula.ac.th/article/การเมืองวัคซีนในภูมิภาคเอเชียใต้
พิทยา สุวคันธ์. (2563). ยุทธศาสตร์การลงทุนของจีนในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเชียงใต้ภายใต้นโยบายสี
จิ้นผิง ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในอาเซียน. (ม.ป.ป.). สรุปภาพรวมและทิศทางเศรษฐกิจของเวียดนาม. สืบค้น 1
มีนาคม 2566, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/92803/92803.pdf
สวรินทร์ เพชรพิสิฐพงศ์. (ม.ป.ป.). ปกิณกะ: การทูตวัคซีนของจีนและชาติมหาอำนาจ. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์
2566, จาก
14

http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/index.php?option=com_content&view=article&id=191:test-
8&catid=14&Itemid=142
อรสา รัตนอมรภิรมย์. (2563). การทูตโควิด-19 บนเส้นทางสายไหมสุขภาพ. สืบค้น 1 มีนาคม 2566, จาก
http://www.vijaichina.com/sites/default/files/เส้นทางสายไหมสุขภาพ_VJChina FOCUS 6.pdf
อักษรศรี พานิชสาส์น. (2562). ไหนว่าไม่รักกัน : ความสัมพันธ์เศรษฐกิจจีน-เวียดนาม. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์
2566, จาก https://www.the101.world/china-and-vietnam/

You might also like