You are on page 1of 11

เส้นทางสายไหม

One Belt One Road (OBOR)


พลเรือตรี สุรพงศ์ เจริญวัฒนสุข ร.น.
Rear Admiral Surapong Charoenwadhanasuk RTN.
รองเจ้ากรมส่งกาลังบารุงทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
Deputy Director of Joint Logistics, Royal Thai Armed Forces Headquarter
นักศึกษา วปอ.หลักสูตร วปอ.รุ่นที่ ๖๐
บทคัดย่อ
One Belt One Road (OBOR) เป็นยุทธศาสตร์การพัฒ นาหลัก ที่จีนริเริ่มดาเนินการ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประกาศเปิดตัวโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในปี ๒๕๕๖ เพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อ
ระหว่างจีนกับบรรดาประเทศต่างๆ ที่อยู่บนเส้นทางระหว่างจีนกับยุโรปและประเทศในเอเชีย OBOR
ที่ริเริ่มขึ้นมานั้น วัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็เพื่อแสวงหาการสนับสนุนและอานวยความสะดวกให้กับ การ
พัฒ นาโครงสร้างพื้ นฐานด้านการ คมนาคม พลั งงาน การค้า และการสื่อสาร รวมทั้งด้านอื่น ๆ ใน
บรรดาประเทศที่อยู่บนเส้นทาง OBOR แม้จะถูกนาเสนอในฐานะยุทธศาสตร์ใหม่ แต่โดยเนื้ อแท้แล้ว
OBOR เป็ น การสานต่ อ ยุ ท ธศาสตร์ การพั ฒ นาของจี น ที่ ก าลั ง ด าเนิ น การอยู่ เพื่ อ มุ่ งผลั ก ดั น การ
เชื่อมโยงและเส้น ทางการค้าในภูมิภาค เพิ่มบทบาทของบริษัทจีนในเวทีสากล และเพิ่มการเข้าถึง
ตลาดโลกของจี น หรื อ อี ก นั ย หนึ่ ง คื อ ภาคต่ อ ของของยุ ท ธศาสตร์ อ อกสู่ ต ลาดโลก (Going Out
Strategy) ของจีน ผ่านมาตรการสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศของรัฐบาลจีน ที่ดาเนินต่อเนื่อง
มามากกว่าทศวรรษ
คาสาคัญ : เส้นทางสายไหม,ยุทธศาสตร์ใหม่,ยุทธศาสตร์ออกสู่ตลาดโลก

Abstract
One Belt One Road (OBOR). It is the main development strategy that
China has initiated in recent years. The announcement was made by President Jin
Ping in 2013 to increase the connection between China and other countries. On the
route between China and Europe and the Asian countries OBOR initiated. The real
purpose is to Seek support and facilitate Development of infrastructure for energy,

trade and communications. Including all other countries in the path OBOR. Even if it
is presented as a new strategy. Obviously, the OBOR is a continuation of China's
ongoing development strategy. It aims to drive links and trade routes in the region.
Enhance the role of Chinese companies in the international arena. And increase
China's access to the world market. In other words China's Going Out Strategy for
China's Foreign Investment Which continues for more than a decade.

บทนา
นับตั้งแต่ครั้งแรกที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงของจีนได้เริ่มเอ่ยถึงคาว่า “Silk Road” หรือ
เส้นทางสายไหม เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๖ มาจนถึงวันนี้กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่า ผู้นาจีนยังไม่ลดละ
ความพยายามที่จะปลุกฟื้นคืนชีพเส้นทางสายไหมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
โดยเฉพาะการยอมควักกระเป๋าตั้งกองทุน Silk Road Fund สูงถึง ๔๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ เพื่อโชว์
ความจริงใจในการสร้างความร่ วมมือกับประเทศต่างๆ ตามแนวเส้นทางสายไหมในประวัติศาสตร์ที่
ครอบคลุมเกือบทั้งโลก ไม่เฉพาะในภูมิภาคเอเชีย คาว่า One Belt, One Road หรือ อีไต้อีลู่ (Yi Dai,
Yi Lu) ในภาษาจีนกลาง ก็เป็นอีกแนวคิดที่ผู้นาจีนหยิบยกขึ้นมากล่าวบ่อยๆ เช่นกัน ซึ่งคาว่า Belt
ในที่นี้ก็คือ Silk Road Economic Belt ที่ผู้นาจีนเอ่ยขึ้นครั้งแรกในระหว่างการเยือนเพื่อนบ้านใน
เอเชียกลางเมื่อกันยายน ๒๕๕๖ และคาว่า Road ก็คือ Maritime Silk Road ที่ผู้นาจีนกล่าวถึงในอีก
เดือนถัดมา ช่วงระหว่างการเยือนเพื่อนบ้านในอาเซียน ทั้งหมดนี้เป็นเสมือน “คัมภีร์” สาคัญที่ผู้นา
ของจีนจะต้องนาไปหยิบยกเผยแพร่เพื่อหาแนวร่วมในระหว่างการเดินทางเยือนประเทศต่างๆ และ
สะท้อนถึงความมุมานะที่จะปลุกคืนชีพเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์
สาคัญในการขยายบทบาทและแสวงหาผลประโยชน์ของจีนโดยการเชื่อมโยงกับภูมิภาคต่างๆ โดย
ประเทศไทยเองสามารถตั้ง ข้อสังเกตจากการริเริ่มโครงการ เส้นทางสายไหม และ One Belt One
Road ได้ ดังนี้
ประการแรก เส้นทางสายไหมและ One Belt One Road ถูกริเริ่มและผลักดันสู่แวดวง
ระหว่างประเทศ โดยผู้นาระดับสูงสุดของจีน จึงสะท้อนถึงความแน่วแน่ของจีนในการสร้าง “โมเดล
ใหม่” ในการบูรณาการจีนกับภูมิภาคต่างๆ และกลายเป็นเครื่องมือสาคัญทางนโยบายต่างประเทศ
และภายในประเทศของจีน โดยได้รับการตอบรับอย่างกระตือรือร้นจากรัฐบาลมณฑลหลายแห่งของ
จีน
ประการที่สอง จีนมีบทบาทหลักในฐานะเป็นผู้ริเริ่มและเป็นสถาปนิกออกแบบโครงการ
นี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าสู่ภูมิภาคต่างๆ อย่างแนบเนียนไม่โฉ่งฉ่างและดูไม่น่ากลัว ครอบคลุม


ทั้งกลุ่มอาเซียน เอเชียใต้ เอเชียกลาง เชื่อมโยงไปจนถึงตะวันออกกลาง แอฟริกาและยุโรป ไปจนถึง
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งการเชื่อมโยง ๒ มหาสมุทร คือ มหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย
ประการสุดท้าย เส้นทางสายไหม นับเป็นอภิมหาโครงการของรัฐบาลจีนที่ไม่ได้มีเฉพาะ
มิติเศรษฐกิจ หากแต่ครอบคลุมหลากหลาย ทั้งการเมือง สังคม วัฒนธรรม และสาคัญเชิงยุทธศาสตร์
ในการเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ ที่จีนต้องการใช้เพื่อสร้างเครือข่ายแสวงหาแนวร่วมในการคานอานาจกับ
มหาอานาจอื่น โดยเฉพาะสหรัฐฯ
One Belt One Road คืออะไร
One Belt One Road คื อ โครงการภ ายใต้ ยุ ท ธศาสตร์ One Belt One Road
ประกอบด้วย ๒ ส่วนหลัก คือ วงแหวนเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบก และเส้นทางสายไหมทาง
ทะเลแห่งศตวรรษที่ ๒๑ โดยวงแหวนเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบก มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมจีน
กับยุโรปผ่านทางเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก ส่วนเส้นทางสายไหมทางทะเล จะเชื่อมจีนกับยุโรป
ผ่านเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และแอฟริกา นอกจากสองเส้นทาง
การเชื่อมต่อหลักนี้ โครงการ OBOR ยังรวมถึงการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ และ
เส้นทางเพิ่มเติมที่จะเชื่อมต่อกับ ๒ ระเบียงเศรษฐกิจสาคัญ
ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๘ จีนได้เปิดเผย วิสัยทัศน์และปฏิบัติการในการร่วมสร้างวงแหวน
เศรษฐกิจบนเส้นทางสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งโครงการจะเป็ น
ประโยชน์แก่ทุกประเทศที่เข้ามาร่วมมือ จะสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจะพัฒนาความร่วมมือใน
ภูมิภาค จะสร้างความเข้มแข็งในการแลกเปลี่ยน และจะส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนา วิสัยทัศน์
OBOR ระบุว่า โครงการนี้ จะใช้สวนอุตสาหกรรมทางเศรษฐกิจเป็นฐานความร่วมมือ ส่วนแผนงาน
ทางทะเลจะเน้นสร้างเส้นทางการคมนาคมที่ “ราบลื่น มั่นคง และมีประสิทธิภาพ” เชื่อมต่อท่าเรือ
สาคัญที่ตั้งอยู่ตลอดเส้นทางเป้าหมายของโครงการ OBOR ภายใต้กรอบนี้
เป้ า หมายส าคั ญ ของ OBOR คื อ “การประสานนโยบาย” เพื่ อ ความร่ ว มมื อ ทาง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างจีนกับประเทศต่าง ๆ ใน OBOR และนโยบายสนับสนุนเพื่อ
ความร่ ว มมื อ ดั ง กล่ า วและโครงการขนาดใหญ่ การเชื่ อ มโยงระบบสาธารณู ป โภค (Facilities
Connectivity) เป็นอีกเรื่องที่ได้รับการให้ความสาคัญ และรวมถึงการปรับปรุงการเชื่ อมโยงระบบ
โครงสร้ างพื้ น ฐาน การก่ อ สร้ างระเบี ย งการคมนาคมระหว่ างประเทศ และการพั ฒ นาเครือ ข่า ย
โครงสร้างระเบียบเศรษฐกิจที่สาคัญของ OBOR โดยแบ่งเส้นทางได้ดังต่อไปนี้
จีน-มองโกเลีย-รัสเชีย
สะพานเศรษฐกิจรัสเชียใหม่
จีน-เอเชียกลาง-เอเชียตะวันตก

จีน-ปากีสถาน
บังคลาเทศ-จีน-อินเดีย-เมียนมาร์
จีน-คาบสมุทรอินโดจีน
โดยพื้ น ฐานข้ามพรมแดนของโครงการนี้ ยังให้ ความส าคั ญ กั บ การพั ฒ นาโครงสร้าง
พื้น ฐานด้านพลั งงานด้วย โดยเฉพาะท่อส่งก๊าซและน้ามัน สายส่ งไฟฟ้ าข้ามแดน และการพัฒ นา
โครงข่ายไฟฟ้าระดับภูมิภาค อีกจุดเน้นสาคัญของโครงการคือ การยกเลิกสิ่งที่เป็นอุปสรรคของการค้า
การลงทุน และการก่อตั้งเขตการค้าเสรีการค้าวิสัยทัศน์ OBOR เน้นการลงทุนในหลากหลายภาค ทั้ ง
ภาคการเกษตร ป่าไม้ ประมง อุตสาหกรรมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และภาคการท่องเที่ยว และเรียกร้องให้
มี ก ารเพิ่ ม ความร่ ว มมื อ ในการส ารวจและพั ฒ นาพลั งงานถ่ านหิ น น้ ามั น ก๊ าซธรรมชาติ พลั งน้ า
นิ วเคลีย ร์ พลั งงานลม และพลังงานแสงอาทิ ตย์ และเพื่อ ทาให้ โครงการนี้เกิดขึ้ นได้จริง จีน จึงจะ
หาทางทาบันทึกความเข้าใจ แผน และข้อตกลงความร่วมมือทวิภาคีใหม่ กับประเทศในพื้นที่เป้าหมาย
OBOR
การบริหารจัดการของ One Belt One Road (OBOR)
OBOR ไม่ใช่สถาบัน และไม่ได้ดาเนินการด้วยการประสานงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
แต่เป็ น โครงการที่ ขับ เคลื่ อนโดยรัฐ บาล และอยู่ภ ายใต้ การดูแลของ กล่ มุ ผู นาเพื่ อความคืบ หน้ า
โครงการ พั ฒ นาโครงการ OBOR (The Leading Group forAdvanceing the Development of
One Belt One Road) ซึ่งมีสมาชิกรวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล และมีประธานเป็น จาง เกา
ลี่ ผู้ ซึ่งเป็น รองประธานาธิบดีป ระเทศจีน และเป็นสมาชิกคณะกรรมการประจากรมการเมืองของ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนด้วย บทบาทที่ชัดเจนของกลุ่มนี้แทบไม่เป็นที่รับรู้เลย แต่การที่


สมาชิกกลุ่มประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็นแล้วว่ากลุ่มนี้มีความสาคัญเพียงไร
ในสายตาของบรรดารัฐบาลสมาชิก
จี น ก าลั ง อยู่ ร ะหว่ า งการพั ฒ นาแผนงานรายภาคเป็ น การเฉพาะ ทั้ ง ภาคพลั ง งาน
การเกษตร พิทักษ์สิ่งแวดล้อม การศึกษและความร่วมมือทางวัฒนธรรม ภายใต้โครงการนี้ อย่างไรก็
ตาม เอกสารวิสัยทัศน์ OBOR ระบุว่า การพัฒนาของโครงการเป็นกระบวนการที่ยืดหยุ่น แตกต่างกัน
ไปในแต่ละพื้ นที่ และมีจีนทาหน้าที่ประสานประเทศต่าง ๆ ตลอดเส้นทาง OBOR “เพื่อหาข้อสรุป
เรื่องตารางเวลา แผนที่นาทาง และความสอดคล้องกัน ของโครงการพัฒนาระดับชาติและแผนความ
ร่วมมือระดับภูมิภาค” พิจารณาจากธรรมชาติโดยรวมของ OBOR อีกหลายตัวละครดูเหมือนจะเข้า
มามีส่วนในโครงการอนาคตของ OBOR รวมทั้ง หน่วยงานรัฐจีน ที่รับผิดชอบด้านการลงทุนนอก
ประเทศ หน่วยงานระดับชาติหรือรองๆ ลงไปของบรรดาประเทศเจ้าภาพ ผู้บังคับใช้กฎหมาย บริษัท
สัญชาติจีน บริษัทร่วมลงทุนที่ไม่ใช่สัญชาติจีน สถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชนหลากหลาย และ
อื่นๆการคุ้มครองด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของ OBOR
รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ประกาศว่า OBOR จะดาเนิ น การ
“หารืออย่างกว้างขวาง” และแบ่งปันผลประโยชน์อย่างโปร่งใสและเปิดกว้าง ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ OBOR
ได้ระบุถึงภาระผูกพันแบบกว้างๆ ไว้จานวนหนึ่ง รวมถึงการส่งเสริมโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และ เรียกร้องให้บริษัทที่ดาเนินการภายใต้ OBOR เข้าไปมีส่วนในเศรษฐกิจการจ้างงานและวิถีชีวิตใน
ระดับท้องถิ่น นอกจากนี้ยังระบุว่า การดาเนินโครงการควรส่งเสริมทิศทาง “สีเขียว” และ “คาร์บอน
ต่า” คานึงถึงผลกระทบในมิติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างเต็มที่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก
มีตัวละครจากหลากหลากหลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องในขั้ นตอนดาเนินโครงการ จึงไม่มีชุดของ
มาตรฐานหรือแนวทางที่ชัดเจนในการประยุกต์การดาเนินการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือด้านอื่น
ๆ ยิ่งไปกว่านั้น โครงการมีพันธะผูกพันที่จะต้องดาเนินการตามกฎหมายและระเบียบภายในประเทศ
เช่นเดียวกับ พัน ธะต่อนโยบายและ4มาตรการคุ้มครองของบรรดาสถาบันเงินทุนและองค์กรอื่นที่
เกี่ยวข้องในแต่ละโครงการ ตัวอย่างเช่น หาก AIIB ให้การนับสนุนโครงการหนึ่งบนเส้นทาง One Belt
One Road กรอบมาตรการด้ า นสั งคมและสิ่ ง แวดล้ อ มของ AIIB ก็ จ ะถู ก น ามาใช้ เช่ น เดี ย วกั น
ธนาคารเฉพาะด้านของจีนอย่างธนาคารเพื่อการนาเข้าและส่งออกก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและ
นโยบายภายในของแต่ล ะท้อ งถิ่น ของโครงการการเงิน ส าหรับ โครงการภายใต้ OBOR โครงการ
ภายใต้ OBOR ต้ อ งการเงิ น หลายพั น ล้ า นดอลลาร์ ในระยะอั น ใกล้ นี้ เงิ น ทุ น เหล่ า นี้ จะมาจาก
หลากหลายแหล่ง ซึ่งหลายแหล่งไม่ใช่แหล่งเงินทุนใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารเฉพาะกิจของจีน
รวมถึ งธนาคารเพื่ อ การพั ฒ นาจี น ได้ ให้ ก ารสนั บ สนุ น การเงิน กับ หลายโครงการ ซึ่ งปั จจุ บั น เป็ น
โครงการอยู่บนเส้นทาง OBOR มานานกว่าศวรรษแล้ว บรรดาธนาคารพาณิชย์จีนก็มีบทบาทในหลาย
ประเทศตลอดเส้นทาง เช่นเดียวกับกองทุนรวมตราสารทุนและบริษัทด้านการลงทุนของจีนจานวน

มากนั บ แต่ เปิ ด ตัว OBOR องค์ก รเหล่ านี ้ได้มีการตั้ งกองทุน ขึ้นใหม่และรับ เงิน สนับ สนุน เพิ่ มจาก
รัฐบาล หลายกองทุนตั้งขึ้นเพื่อดาเนินการสนับสนุนการเงินเฉพาะแก่โครงการ OBOR ที่รู้จักกันดีก็คือ
กองทุนเส้นทางสายไหม จีนยังได้ประกาศอีกว่า มีแผนจะพิจารณาการขยายโครงการเงินช่วยเหลือ
ต่างประเทศ ที่เน้นสนับสนุนโครงการด้านการคมนาคม พลังงาน และโทรคมนาคมในประเทศตาม
เส้นทาง OBOR
สรุปโครงการ OBOR สะท้อนให้เห็ นถึงการกลับมาให้ความสาคัญกับการส่งเสริมการ
ลงทุน นอกประเทศของจี น โดยเฉพาะในโครงการที่ ขยายการเชื่ อมโยงระดับภูมิภ าค มีการจัดตั้ ง
กองทุน ใหม่ขึ้น มาอีกหลายกองทุน เพื่อสนับสนุนโครงการเป็ นการเฉพาะ และ บรรดาบริษัทและ
สถาบันต่าง ๆ ก็ออกมาสนับสนุนและประกาศแผนเพิ่มการลงทุนและให้กู้แก่โครงการภายใต้ เส้นทาง
นี้ อย่างรวดเร็วหาก OBOR ประสบความสาเร็จในการสร้างโอกาสใหม่สาหรับการลงทุนและระดม
แหล่ งเงิน ทุ น ใหม่ ภาคเอกชนจี น ดูจะได้รับประโยชน์จากสั ญ ญเพื่ อออกแบบ พั ฒ นา และดาเนิ น
โครงการภายใต้นโยบายนี้ โดยเฉพาะกับบรรดารัฐวิสาหกิจจีนที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลจีนในการ
แสวงโอกาสการลงทุนในกลุ่ม ประเทศ OBOR แต่บริษัทเอกชนจานวนมากก็แสดงการสนับสนุนด้วย
เช่นกัน การเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้นอาจสร้างตลาดใหม่ให้ภาคส่งออกของจีน ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่ม
การเข้าถึงแหล่ งทรัพยากรธรรมชาติและแหล่ งพลั งงานที่จีน ต้องการอย่างมากด้ว ย นอกจากเพิ่ ม
อิ ท ธิ พ ลให้ จี น ในกิ จ การเศรษฐกิ จ โลกแล้ ว โครงการนี้ ยั ง จะเพิ่ ม โอกาสให้ แ ก่ จี น ในการส่ งออก
เทคโนโลยีและกาลังการผลิตที่เหลือจากความต้องการภายในประเทศอีกด้วยวิสัยทัศน์ OBOR ให้
ความสาคัญกับศักยภาพของการขยายความร่วมมือและการลงทุน เพื่อผลประโยชน์ของจีน และของ
บรรดาประเทศที่ระบบโครงสร้างพื้นฐานยั งอยู่ในระดับด้อยพัฒนา การเพิ่มขึ้นของแหล่งเงินทุนเพื่อ
โครงสร้างพื้นฐานจะได้รับการต้อนรับอย่างดีจากบรรดาประเทศตลอดเส้นทาง OBOR อย่างไรก็ตาม
เพื่อให้โครงการนี้จะสามารถบรรลุพันธะสัญญาที่ว่าจะพัฒ นาแบบ “ได้กันทั้งสองฝ่าย”(WIN-WIN)
นั้น จาเป็นอย่างยิ่งที่การไหลเวียนของการเงินโครงการจะต้องมีความยั่งยืน ไม่ก่อผลกระทบอันตราย
และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงกับกลุ่มเป้าหมายของโครงการนั้น ๆ

อิทธิพลของ One Belt One Road (OBOR)


นโยบาย One Belt One Road คือ การนาเส้นทางสายไหมมาปรับปรุงอีกครั้ง โดยมี
ชื่อเรียกใหม่ว่า "เส้นทางสายไหมใหม่ (New Silk Road) ในศตวรรษที่ ๒๑" ซึ่งมียุทธศาสตร์สาคัญคือ
การพัฒนาและสร้างทางคมนาคม ๒ เส้นทางอันได้แก่ "Silk Road Economic Belt" ซึ่งเป็นเส้นทาง
สายไหมทางบก และ "Maritime Silk Road" ซึ่งเป็นเส้นทางสายไหมทางทะเล
ถ้าเปรียบเทียบระหว่างเส้นทางสายไหมใหม่ทางบกและทางทะเล จะพบว่า "เส้นทาง
สายไหมทางทะเล" จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภูมิภาคอาเซียน และจีนก็หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้

ประโยชน์จากเส้นทางคมนาคมเส้นนี้ในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างจีนและอาเซียนภายใต้แนวคิด
ดังต่อไปนี้
แนวความคิดที่ ๑ สนับสนุนการเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอุปสรรค
สาคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างภายในภูมิภาคอาเซียนเอง และระหว่างภูมิภาคอาเซียน -จีน
คือ ปัญหาระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านการคมนาคม จีนในฐานะที่มีความพร้อมมากกว่าทั้ง
ทางด้านการเงินและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน จึงมีแนวคิดที่จะ
ผลักดันการเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวนี้
แนวความคิด ที่ ๒ ส่ งเสริม และพั ฒ นาทุ น ระหว่างภู มิ ภ าคอาเซีย นและจี น อาเซี ย น
ต้องการเงินลงทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไม่ต่ากว่า ๖ แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ
๒๑ ล้ านล้ านบาท (ค านวณที่ อั ต รา ๑ เหรีย ญสหรัฐ เท่ ากั บ ๓๕ บาท) ด้ ว ยเหตุ นี้ จี น จึ งได้ จัด ตั้ ง
"ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียน (Asian Infrastructure Investment Bank ; AIIB)
ขึ้น โดยต้องการปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน ในอัตรา
ดอกเบี้ ย ต่า เพื่ อน าไปลงทุ น ก่อ สร้ างและพั ฒ นาโครงสร้างพื้ น ฐาน เป็ นที่ ท ราบกัน ดีว่า การที่ จี น
พยายามผลักดันให้จัดตั้ง AIIB ขึ้น ทั้งที่มีธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียน (Asian Development Bank;
ADB) รวมถึ ง ธนาคารโลก (World Bank) กองทุ น การเงิ น ระหว่ า งประเทศ (Interna-tional
Monetary Fund; IMF) แล้วก็ตาม ทั้งนี้ เป็นเพราะจีนต้องการส่งเสริมให้เกิดการใช้ สกุลเงินหยวน
ในภูมิภาคอาเซียน และผลักดันให้หยวนเป็นอีกหนึ่งสกุลเงินหลักในเวทีการค้าโลก ดังนั้น AIIB เป็นอีก
หนึ่งสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการยกระดับทั้งบทบาทและสถานะของจีนในเวที
ระหว่างประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมืองและการเงิน
แนวความคิดที่ ๓ ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน จัดได้
ว่าเป็นเขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ในปี ๒๕๕๗ มูลค่าการลงทุนระหว่างอาเซียน-จีนมีมูลค่า
สูงถึง ๑ แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ ๓.๕ ล้านล้านบาท และจีนตั้งเป้าไว้ว่า มูลค่าทางการค้า
ระหว่างอาเซียน-จีน จะต้องไม่ต่ากว่า ๑ ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ ๓๕ ล้านล้านบาท ในปี
๒๕๖๓ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์, ๒๕๕๘)
แนวความคิดที่ ๔ ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคอาเซียนและจีน ความสัมพันธ์ที่
กล่าวนี้ คือ ความสัมพันธ์ทางด้านสังคม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของนโยบาย One
Belt One Road โดยการกระชับความสัมพันธ์ของจีนกับภูมิภาคอาเซียนกระทาผ่านการศึกษาและ
การท่องเที่ยวเป็นหลัก

One Belt One Road ในบริบทที่ส่งผลกระทบต่อระดับภูมิภาคและระดับโลก


ประเด็น ‘เส้นทางสายไหมศตวรรษที่ ๒๑’ หรือ One Belt One Road เป็นที่กล่าวถึง
อย่างกว้างขวางบนเวทีน านาชาติ นับตั้งแต่ สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้ประกาศแนวคิดการนา
เส้นทางสายไหมมาปรับปรุงอีกครั้งในปี ๒๐๑๓ โดยมี ๒ ยุทธศาสตร์สาคัญคือ
การพัฒนาเส้นทางสายไหมทางบก (Silk Road Economic Belt) และเส้นทางสายไหม
ทางทะเล (Maritime Silk Road) โดยมุ่ งสร้างเครือข่ายด้ านโครงสร้างพื้ น ฐานที่ ค รอบคลุ มตั้ งแต่
เส้ น ทางถนน ทางรถไฟ โทรคมนาคม ท่อส่ งน้ามัน และท่ าเรือ หวังเชื่อมโยงเศรษฐกิจทั้ งภายใน
ภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคในหลายประเทศที่เกี่ยวข้อง นโยบายนี้ยังสะท้อนถึงความพยายามของจีน
ที่ ต้ อ งการประกาศความเป็ น มหาอ านาจของโลกภายใต้ ก ติ ก าใหม่ ดั งที่ เราได้ เห็ น สั ญ ญาณการ
เปลี่ยนแปลงดุลอานาจทางเศรษฐกิจและการเมืองจากโลกตะวันตกมาสู่ตะวันออก เช่น เหตุการณ์
Brexit และการขึ้นดารงตาแหน่งประธานาดีธิบดีของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ยึดโยงกับนโยบาย ‘อเมริกามา
ก่อน’
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับทั่ว โลก รวมทั้งประเทศไทยคือ ‘จีนอพยพใหม่’ หาก One Belt
One Road (OBOR) ประสบผลสาเร็จ และเกิดการเคลื่อนย้ายประชากรจานวนมหาศาล ขณะนี้ใน
แอฟริกามีชาวจีนไม่ต่ากว่า ๒ ล้านคน ลาวมีไม่ต่ากว่า ๕ แสนคน ยังไม่รวมถึงจานวนที่จะเพิ่มขึ้นใน
อนาคต เพราะรัฐบาลลาวได้ตกลงในส่วนของ OBOR ที่จะให้จีนเป็นผู้ลงทุนสัมปทานข้างทางรถไฟ
ข้างละ ๑๕๐ เมตร ในประเทศไทยเองก็มีกรณีที่หญิงไทยแต่งงานกับคนจีน รับเป็นนอมินีกว้านซื้อ
ที่ดิน ดังนั้นคนไทยต้องรู้เท่าทัน OBOR ให้มาก “OBOR” จะเป็นวิกฤตหรือโอกาส ถ้าเรารู้บริบทเท่า
ทันจีน OBOR เท่ากับโอกาส แต่ถ้าไม่รู้เท่าทันก็คือวิกฤต ไม่เฉพาะไทย แต่เป็นบริบททั่วโลก
จีนวางหมากตามภูมิรัฐศาสตร์ หาจุดศูนย์ถ่วงเศรษฐกิจโลก
บริ ษั ท ของจี น ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น บรรษั ท ที่ เ ป็ น ของรั ฐ (State Owned Enterprise) มี
โครงการก่อสร้าง ๔,๐๐๐ สัญญา มูลค่าลงทุน ๗๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ล งทุนไปกับ
โครงสร้างพื้นฐาน นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาไอที ความร่วมมือด้านการเงิน มีเขตเศรษฐกิจที่สร้าง
ความร่วมมือเป็นเขตพิเศษร่วมมือทางการค้ามากกว่า ๕๒ เขต โดยประเทศที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์นี้
จะได้รับรายได้ในลักษณะของภาษีที่เกิดจากธุรกรรมนี้จากจีน ๙๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ และสร้างงาน
ให้มากกว่า ๗๐,๐๐๐ ตาแหน่ง มีการประเมินการลงทุนคร่าวๆ ว่าใช้เงินราว ๘ ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
นี่คือสถานะปัจจุบันของ One Belt One Road
จีนให้ความสาคัญกับภูมิรัฐศาสตร์อย่างมาก จึงมักลงทุนกับพื้นที่เป้าหมาย “ดังนั้นเมื่อ
จะพูดเรื่องเส้นทางสายไหมบนบก จึงเลือกไปพูดที่คาซัคสถาน และพูดเรื่องเส้นทางสายไหมทางทะเล
ที่จากาตาร์ อินโดนีเซีย โดยเฉพาะ สิ่งที่จีนมองจริงๆ คือความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม”

กลยุทธ์หนึ่งของจีนคือมองหาจุดศุนย์ถ่วง หรือจุดศูนย์กลางของระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งในขณะนี้มัน
กลับมาฝั่งเอเชียอย่างเห็ นได้ชัด โดยเฉพาะหลังปี ๒๐๐๐ เป็นต้นมา และในปี ๒๐๑๕อาเซียนก็มี
นโยบายมี ส่ ว นร่ ว มกั บ จี น และอิ น เดี ย และไม่ ว่าไทยจะได้ ห รือ เสี ย ประโยชน์ ต้ องไม่ ลื ม ว่าหลาย
โครงการของจีนไม่ได้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่ยังเชื่ อมโยงไปถึงเรื่องวัฒ นธรรม จึงควร
ศึกษาให้ละเอียด หากหวังได้ผลประโยชน์จากประเทศมหาอานาจ ทาให้ประเทศไทยต้องศึกษาให้
ละเอียดและถี่ถ้วน ไม่งั้นจะเสียประโยชน์ ซึ่งต้องยอมรับว่า OBOR เป็นเมกะโปรเจกต์ใหญ่ที่สุดใน
โลกตอนนี้ เราเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ไทยต้องศึ กษาให้จริงจังกว่านี้ อย่าเปิดหน้าไพ่ เพื่อจะได้
ประโยชน์เต็มที่จากการทีม่ ีประเทศมหาอานาจแข่งขันกัน
โครงการอภิมหาโปรเจกต์ตามความท้าทายของ One Belt One Road
๑ อภิมหาโปรเจกต์ที่ทาแบบค่อยเป็นค่อยไป
โปรเจกต์นี้ดาเนินการแบบ step by step นั่นคือเจรจากับแต่ละประเทศไปเรื่อยๆ ไม่มี
กลยุทธ์แม่บท (Grand Strategy) ดังนั้นทุกวันนี้รัฐบาลจีนยังไม่รู้ว่า OBOR มีโปรเจกต์อะไรบ้าง ซึ่ง
นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก อาทิ ญี่ปุ่น ยุโรป สหรัฐฯ จะมองว่าไม่ชัดเจน เพราะค่อยๆ ทา เหมือน
มั่วๆ ทาก่อน ขายของก่อน เอาหรือ ไม่เอาอีกเรื่อง ขณะที่คนจีนเห็นต่างไปว่าจีนเป็นประเทศกาลัง
พัฒนา จึงต้องขยายงานตามความต้องการที่เกิดขึ้น เช่น จะทาถนนก็ต้องมั่นใจว่ามีรถวิ่งแน่ๆ ก่อน
ค่อยขยายถนน ซึ่งท าให้ ห ลายฝ่ ายตั้งคาถามเรื่อ งความปลอดภั ย ยกตัว อย่ างเช่น มีรายงานข่าว
บ่อยครั้งว่ารถไฟความเร็วสู งของจีนประสบอุบัติเหตุ เช่น ขบวนหนึ่งจอดอยู่ที่ชานชาลา แล้วถูกอีก
ขบวนชน ทางการจีนให้เหตุผลว่าเกิดจากการลด safety margin เพราะอยากทาความเร็วให้มากขึ้น
ดังนั้นหากใครคิดจะเข้าร่วมก็ต้องคิดทบทวนถึงความปลอดภัยให้ดีเสียก่อน เพราะการสร้างโครงสร้าง
พื้นฐานไม่ได้มีแค่ถนนหรือราง แต่ยังรวมไปถึงระบบท่อแก๊ซ ท่อน้ามัน โรงไฟฟ้า เขื่อน การระเบิดแก่ง
หินต่างๆ
๒ ประเด็น ความยั่งยื นยังคลุ มเครือ (Sustainability) OBOR เป็นเมกะโปรเจกต์ที่ใช้
งบประมาณมหาศาลราว ๘ ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าจะมี Silk Road Fund และธนาคารเพื่อการ
ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIP) แต่ในบางครั้งจีนใช้วิธีให้ประเทศที่เจรจาด้วยหรือทาโปร
เจกต์ด้วยกู้เงิน และให้รัฐบาลของประเทศนั้นเซ็นค้าประกัน คาถามคือใครรับผิดชอบหนี้ ใครเป็น
เจ้ า หนี้ ดั ง นั้ น เมื่ อ มองหนี้ ส าธารณะของจี น ต่ า แต่ ถ้ า ดู จ ากหนี้ ข องรั ฐ วิ ส าหกิ จ (State Owned
Enterprise) จีนมีหนี้มหาศาล แล้ว OBOR จะถือเป็นโครงการที่เลี้ยงตัวเองได้ไหม
๓ ความขัดแย้งระหว่างทาง
ระหว่างการก่อสร้าง จีนได้สร้างความขัดแย้งกับคนในพื้นที่จานวนหนึ่ง เนื่องจากจีน
ไม่ใช่มูลนิธิหรือองค์กรไม่แสวงหาผลกาไร แต่ทาเพื่อธุรกิจและกระตุ้นเศรษฐกิ จตัวเอง จีนต้องการ
ระบายเหล็ก ซีเมนต์ และคนในประเทศ ดังนั้นรัฐบาลอื่นกู้เงินจีน รัฐบาลนั้นเป็นผู้ค้าประกัน เอาเงินกู้
๑๐
ไปซื้อ know-how เทคโนโลยีจีน และคนจีนมาทางานอย่างไรก็ดี สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือจีนขับเคลื่อน
การลงทุนโดยรัฐบาล โดยเฉพาะรัฐบาลอัดฉีดเงินเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาให้จีดีพีโต แม้ว่าจีน
จะให้เหตุผลว่าโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยสร้างเมืองซึ่งเป็นหัวใจในการพัฒนาเศรษฐกิจก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็
เพราะว่าจีนต้องการให้คนกระจุกตัวในเมืองเพื่อลดต้นทุนทางธุรกรรม ลดภาคชนบทและการเกษตร
โดยมุ่งพัฒนาเฉพาะเศรษฐกิจภายในเมือง นอกจากนี้ จีนยังยึดหลักเกณฑ์ตามกลไกตลาดในแบบฉบับ
ของตนเองว่า “ถ้าเจ๊ง ไม่ทา ไม่ได้กาไร ไม่ทา” ซึ่งส่งผลให้การเจรจารถไฟไทย-จีนล่าช้ายาวนานกว่า
จะเริ่มเดินหน้าโครงการ นอกจากนี้จีนยังตั้งองค์กรระหว่างประเทศ New Development Bank ขึ้น
เพื่อบริห ารจัดการอย่างเป็น ระบบ โดยมีผู้กล่าวอ้างว่าจีนต้องการให้ มีกลไกประเมินความคุ้มของ
โครงการเท่านั้น สร้างบทบาทเชิงรุกระหว่างประเทศ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ว่าจีนแข็งแรงคนเดียว รอบข้าง
ต้องแข็งแรงด้วย ทุกคนจึงจะได้ประโยชน์ร่วมกัน Silk Road มีมิติห ลากหลาย แม้ว่ าประเด็นการ
ลงทุ น จะดึ ง ความสนใจจากหลายประเทศได้ อ ยู่ ห มั ด แต่ ก ารลงทุ น ก็ มี ก ารค้ า เข้ า มาเกี่ ย วข้ อ ง
นอกจากนี้ในอนาคตจะมีนโยบายการพัฒ นา Smart Silk Road กับ Green Silk Road ที่พ่วงเรื่อง
สิ่ ง แวดล้ อ มและวั ฒ นธรรมเข้ า มาด้ ว ย ซึ่ ง จะท าให้ จี น ได้ ส่ ง ออกแนวคิ ด และวั ฒ นธรรม ผ่ า น
ทุนการศึกษาในอนาคต
นโยบายของจีนในรอบนี้นั้นครอบคลุมไปค่อนโลก เราอาจคิดว่ามันเป็นนโยบายที่ไกลตัว
หรือเป็ น เรื่องของกลไกอานาจที่คนธรรมดายากจะมีส่ วนร่วม แต่เมื่อมันเกิดขึ้น แน่นอนว่ามันจะ
กระทบกับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือบรรษัทขนาดใหญ่ ไหนก็ตาม ก็ต้อง
เตรียมตัวด้านข้อมูลให้พร้อม มิฉะนั้นเราอาจเป็นฝ่ายเสียเปรียบในทุกทาง

One Belt One Road ในบริบทที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย


นโยบาย One Belt One Road ส่ งผลกระทบต่ อ ไทยอย่ างมิ อ าจหลี ก เลี่ ย ง แต่ห าก
พิจารณาตามเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ ๒๑ จะพบว่าตลอดเส้นทางการค้าสายนี้ทั้งทางบกและ
ทางน้า ไม่ผ่านประเทศไทยเลย หากแต่เชื่อมโยงกับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งในทางภูมิศาสตร์ ไทยถือเป็น
จุดศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ จึงกล่าวได้ว่าผลกระทบต่อไทยที่เกิดจากนโยบาย One Belt One Road
เป็ นผลกระทบทางอ้อม แต่ก็ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ และมิติทาง
สังคม วัฒนธรรม ดังนี้
๑ มิติทางเศรษฐกิจ
การที่จีนให้ความสาคัญกับการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคอาเซียนและ
การสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อของท่าเรือต่างๆตามเส้นทางสายไหมทางทะเลในขณะที่ไทยคือศูนย์กลาง
ของกลุ่มประเทศอาเซียน ดังนั้นไทยจึงควรอาศัยความได้เปรียบนี้ผลักดันตนเองให้ เป็นศูนย์กลาง
ด้านคมนาคมขนส่ง และเป็นศูนย์กลางของการกระจายสินค้าระหว่างภูมิภาคอาเซียนและจีนรวมถึง
๑๑
ภูมิภาคอื่นๆในส่วนของเส้นทางการค้าทางทะเลจีนมีทางออกติดทะเลเพียงด้านเดียวดังนั้นจีนจึงอาศัย
แนวคิ ด Maritime Silk Road เป็ น การปกป้ อ งเส้ น ทางการค้ า ทางทะเลของตน โดยร่ ว มมื อ กั บ
ประเทศที่เป็นทางผ่าน ซึ่งบางประเทศในอาเซียนอย่างเวียดนาม และฟิลิปปินส์ที่กาลังมีข้อพิพาทกับ
จี น ในเรื่ อ งของการรุ ก ล้ าอธิ ป ไตยทางทะเล ส่ ง ผลให้ ทั้ งสองประเทศนี้ ไม่ ใคร่จ ะยอมรั บ แนว คิ ด
Maritime Silk Road ของจีนเท่าใดนัก ซึ่งอาจเป็นโอกาสของไทยในการกระชับความสัมพันธ์ทาง
เศรษฐกิจกับ จีน ในฐานะที่ไทยเป็นส่วนสาคัญ ของภูมิภาคอาเซียน และไม่มีข้อพิพาทใด ๆ กับจีน
ดังนั้นการจัดตั้ง AIIB ของจีนส่งผลกระทบทางบวกต่อไทยในด้านของการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่ง
เงินทุน และการผลักดันให้สกุลเงินหยวนเป็นอีกหนึ่งเงินสกุลหลักในเวทีการค้าระหว่างประเทศ โดย
จะส่งผลบวกต่อไทยในแง่ของความหลากหลายในตลาดเงินระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นการลดต้นทุน
และกระจายความเสี่ย งในตลาดเงินอย่างไรก็ตามเมื่อเงินหยวนกลายเป็นหนึ่งสกุลเงินหลักในเวที
การค้าโลกย่อมส่งผลต่อรูปแบบการค้าระหว่างไทยและจีน ดังนั้นไทยจาต้องคานึงถึงการเปลี่ยนแปลง
ครั้งนี้ด้วย
๒ มิติทางสังคม วัฒนธรรม
ไทยและจีนถือได้ว่ามีการเชื่อมโยงทางเชื้อสายและวัฒนธรรมอันดีต่อกัน ความได้เปรียบ
นี้ย่อมส่งผลบวกต่อหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ อุ ต สาหกรรมด้ า นความบั น เทิ ง อุ ต สาหกรรมด้ า นการศึ ก ษา เป็ น ต้ น
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านการศึกษาของไทย ได้รับผลกระทบทางบวกจากการที่รัฐบาลจีนมีนโยบาย
ให้การสนับสนุนชาวจีนเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศด้วยการให้สิทธิของการสมัครเป็นพลเมืองของ
เมืองใหญ่ๆของจีน หลังจากที่จบการศึกษาและกลับมาทางานที่ประเทศตน ซึ่งอุดมศึกษาของไทยถือ
เป็นแหล่งที่ชาวจีนให้ความสาคัญในอันดับต้น ๆ
แม้ว่ายุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมทางทะเลจะไม่ได้ลากผ่านไทยโดยตรง แต่ไทยยังเป็น
๑ ใน ๖ ระเบียงเศรษฐกิจย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งก็คือจีน -คาบสมุทรอินโดจีน ที่รวมถึง
ประเทศเวีย ดนาม ลาว และกัมพูช า อีกทั้งยังอยู่ในภูมิภ าคอาเซียน ซึ่งเป็นเป้าหมายของจีนด้ว ย
เช่นกันเมื่อถามว่าไทยควรตั้งรับการแผ่ข ยายอานาจและปรับบทบาทตัวเองอย่างไร เพื่อรักษาสมดุล
ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ คาตอบที่ได้คือ ยากจะเกิดความสมดุลไทย-จีน เพราะจีนเป็น
ชาติการค้า มีระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ภายใต้ระบบเผด็จการที่พยายามหนุนนาให้ประเทศอื่น
เดินตามรอย เช่น ลาว และกัมพูชา ซึ่ง ทาตามระบบจีนทุกอย่าง เพราะไม่มีทางเลือก ผลปรากฏว่า
การลงทุนสร้างรถไฟให้ลาวร้อยเปอร์เซ็นต์ทาให้จีนได้สัมปทานข้างทางรถไฟ และเอาคนจีนมาอยู่ได้
“จากพื้นฐานประวัติศาสตร์ ไทยมีระบบเศรษฐกิจเสรี ตอนเกิดสงครามในภูมิภาค ไม่มี
สงครามภายใน ถึงมีก็น้อยมาก ไทยไม่ประสบปัญหานัก แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว เขมรนั้นบอบ
ช้า พอสงครามสงบลง แล้วจีนเข้าไปภายใต้สิ่งที่เรียกว่า ‘China Model’ ซึ่งสาคัญมาก” โดยกลุ่มทุน
๑๒
ชาติตะวันตกเองก็ต้องการเป็ นแบบจีน แต่ติดจริตประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ดังนั้นเวลาจะ
ลงทุนอะไรก็จะไปลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศที่ผ่อนปรนเรื่องกฎกติกา ยิ่งเป็นเผด็จการ
ยิ่งดี เพราะคล่อง ตัดสินใจเร็ว
“ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่จะรุ่งเรืองได้ด้วยระบบอานาจนิยม ยิ่งเป็นเผด็จการยิ่งดี
ที่ผ่านมาไทยเจอวิกฤตต้มยากุ้ง -จีนอยู่ได้ อียูเจอยูโรโซน -จีนอยู่ได้ สหรัฐเจอแฮมเบอร์เกอร์ -จีนอยู่
ได้ เพราะเป็นเผด็จการ ดังนั้น สมดุลไทย-จีนทาไม่ได้เลย หากจะทา ต้องทาเหมือนกัมพูชาที่รักษา
ความสัมพันธ์อันดีกับจีนได้ เพราะจีนขออะไรก็ให้หมดเลย”

สรุป
จาก One Belt One Road ประเทศไทยควรจะเตรีย มความพร้ อ มรั บ มื อ กั บ ความ
เปลี่ยนแปลงทั้ง ๒ มิติ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย รวมไปถึงความขัดแย้ง การอพยพ และ
ปัญหาการบริหารจัดการรถไฟ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีความรับผิดชอบในด้านนี้ จึงต้องคิด
ทบทวนพิจารณาโดยละเอียด ตลอดจนคานึงถึงด้าน Soft Infrastructureควบคู่ไปด้วย เช่น กฎหมาย
ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่ง ประเทศไทยเองก็ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เท่าที่ควร ซึ่งหากมีการเตรียม
ความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวฯ ก็ น่าจะได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย ซึ่งเป็นการสร้างความ
เชื่อมโยง การค้า และโอกาสอย่างมหาศาล ที่ได้จากโครงการ OBOR รวมไปถึงเรื่องการถ่ายทอด
เทคโนโลยีของรัฐบาลจีนที่มีต่อประเทศไทยซึ่งส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาประเทศไทยในอนาคตได้
อย่างแท้จริง ซึ่งคุณค่าของนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ของจีน ไม่ได้อยู่ที่เรื่องวัตถุ หรือแค่มี
โครงสร้างพื้นฐาน แต่อยู่ที่การใช้โครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นเชื่อมโยงนักธุรกิจ ประชาชนของแต่ละ
ประเทศเป็นพลังที่แท้จริง และประเทศไทยกาลังเร่งพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
(อีอีซี) อย่างเต็มที่ เพื่อเชื่อมกับนโยบาย “One Belt One Road” ของจีนอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน

บรรณานุกรม
สธน.ทหาร, ข้อแนะนาและข้อปฏิบัติในการบริหารสัญญาระหว่างประเทศ
สมาคมธุรกิจการส่งออกแห่งประเทศไทย, การสัมมนาทางวิชาการเรื่องการขจัดปัญหาโต้แย้งระหว่าง
ผู้ส่งออกกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียวใต้, ๒๕๕๙
http://schillerinstitute.org/strategic/2014/0905-shixiu-1belt_1road.htm
: HKTDC Research (2558)
รายงานของ IDI เรื่อง Making Inroads: Chinese Infrastructure Investment in ASEAN
๑๓
and Beyond การวิจัยและการผลิตเอกสารนี ้ได้รับการสนับสนุนจาก Heinrich-Böll-
Stiftung เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลนิธิMcKnight และ มูลนิธPิ lanet Wheeler
พิมพ์โดยได้รับอนุญาตจาก Creative Commons Attribution-NonCommercial-
ShareAlike 4.0 International License

You might also like