You are on page 1of 18

วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง

ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564


------------------------------------------------------------------------------
แนวคิดเศรษฐกิจสีนำ้ เงินกับมุมมองผู้ประกอบกำรเรือท่องเทีย่ วในจังหวัดภูเก็ต
A Blue Economy Concept from the Perspectives of
Boat Tourism Entrepreneurs in Phuket

Received: September 21, 2020 ธนะชัย เจริญศิลาวาทย์1 และเจริญชัย เอกมาไพศาล2


Revised: March 04, 2021 Tanachai Chareonsilawart and Charoenchai Agmapaisarn
Accepted: April 09, 2021
บทคัดย่อ

การศึกษานี ม้ ี วัตถุประสงค์เ พื่ อศึกษาการจัดการของผู้ประกอบการเรือนาเที่ ยวภายใต้แนวคิด


เศรษฐกิจสีนา้ เงินในจังหวัดภูเก็ต โดยผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลักเป็ นผูป้ ระกอบการหรือผูเ้ ชี่ยวชาญในสายงานเรือ
ท่องเที่ยว
ผลที่ได้จากการศึกษาครัง้ นีพ้ บว่า กลุม่ ผูป้ ระกอบการ มีความรูค้ วามสามารถในการดาเนินกิจกรรม
เรือท่องเที่ยว มีความรูใ้ นการตระหนักถึงการอนุรกั ษ์ ป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเล
โดยจาแนกออกเป็ น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการดาเนินงาน ผูป้ ระกอบการเรือท่องเที่ยวมี
การดาเนินกิจการด้วยการใช้องค์ความรู ข้ องการดาเนินธุรกิจ โดยการปฏิบตั ิตามระเบียบ และข้อกาหนด
ที่ อาจส่ง ผลกระทบต่อระบบนิเ วศทางทะเลผ่านทางการบริการอันเป็ นเครื่องมื อส าคัญของการพัฒนา
กิจกรรมเรือท่องเที่ยว 2) ด้านสังคมและผลกระทบโดยรวม ผูป้ ระกอบการเรือท่องเที่ยวทุกคนต้องร่วมมือกัน
ดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเล รวมถึงเป็ นการสร้างงานและสร้างความเข้าใจให้กับชุมชนท้องถิ่นที่ เป็ น
เจ้า ของพื น้ ที่ อ ย่า งไม่มี ปั ญ หาขัด แย้ง และเอื อ้ ประโยชน์ซ่ึง กัน และกัน และ 3) ด้า นสิ่ ง แวดล้อ มและ
การป้อ งกัน ดูแ ลรัก ษา ผู้ป ระกอบการเรื อ ท่อ งเที่ ย ว ประกอบกิ จ กรรมท่อ งเที่ ย วโดยการให้ค วามรู ้แ ก่
นัก ท่อ งเที่ ย วและสร้า งการตระหนัก รู ถ้ ึ ง การอนุรัก ษ์ธ รรมชาติ ถื อ เป็ น การเพิ่ ม คุณ ค่า ของการอนุรักษ์
ธรรมชาติ ซึ่ง เป็ น การประยุก ต์ผ่า นแนวคิด เศรษฐกิ จ สี น า้ เงิ น สู่ก ารท่อ งเที่ ย วต่อ ระบบนิ เ วศทางทะเล
อันนาไปสู่วิธี คิดแบบใหม่ท่ี เป็ นระบบมากขึน้ โดยอาศัยความเข้าใจและความร่วมมื อของทุกภาคส่วน
อาจกล่าวได้ว่า การจัดการกิจกรรมเรือท่องเที่ยวทางทะเลและมุมมองของผูป้ ระกอบการหรือผูเ้ ชี่ยวชาญ

1
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; Graduate student, Master of
Business Administration program, National Institute of Development Administration; Email: tanachaicrew@gmail.com
2
อาจารย์ป ระจ าคณะการจัด การการท่อ งเที่ ย ว สถาบัน บัณ ฑิ ต พัฒ นบริห ารศาสตร์; Lecturer, Graduate School of
Tourism, National Institute of Development Administration; Email: roenbkk@gmail.com
42
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
ในเรือท่องเที่ยวนัน้ มีความเป็ นไปได้ท่ีจะพัฒนาเศรษฐกิจสีนา้ เงินของประเทศไทย ประกอบกับองค์ความรู ้
การคานึงถึงการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างเต็มประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็ นแบบอย่างที่ดีในการนาเที่ยว

คำสำคัญ: เศรษฐกิจสีนำ้ เงิน มุมมองผู้ประกอบกำร ภูเก็ต

ABSTRACT

In this study, the researchers examine the management of boat tourism entrepreneurs
under the blue economy concept in Phuket. Key informants were entrepreneurs or experts in the
area of boat tourism.
Findings showed that the entrepreneurs exhibited knowledge and abilities in the operation
of boat tourism activities. They had knowledge of conservation awareness, the protection of natural
resources, and the marine environment. The study was classified into three aspects as follows.
1) The economic aspect affecting the operations: Boat tourism entrepreneurs operated their
business using the knowledge of business operations. They performed in accordance with the
rules and regulations which may have an impact on the marine ecosystem through services,
important tools for the development of boat tourism activities. 2) The social aspect and overall
impact: All boat tourism entrepreneurs must cooperate to maintain the marine ecosystem.
They created work and fostered understanding with the local community, the owner of area,
without any conflicts and with mutual benefits. 3) The environmental protection and maintenance:
Boat tourism entrepreneurs operated tourism activities by providing knowledge to tourists and
fostering an awareness of natural conservation in order to increase the value of nature
conservation. The blue economy concept was applied in tourism towards the marine ecosystem
which led to a new way of more systematic thinking with the understanding and cooperation of all
sectors. It may be said that with the organization of boat tourism activities and the perspectives of
entrepreneurs or experts in boat tourism, it is possible to develop the blue economy in Thailand.
The body of knowledge, as well as the consideration of the use of marine resources in an efficient
manner can be a good model in tourism.

Keywords: Blue Economy, Entrepreneur’s Perspectives, Phuket

43
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
ควำมเป็ นมำและควำมสำคัญของปั ญหำ
ปั จจุบนั การใช้ทรัพยากรทางทะเลมีจานวนมากขึน้ สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ไทยอย่า งต่อ เนื่ อ ง เศรษฐกิ จ สี น า้ เงิ น (Blue Economy) จึง เป็ น ประเด็น ส าคัญ ที่ ขับ เคลื่ อ นการพัฒ นา
ทางทะเลและชายฝั่ ง สู่การพัฒนาที่ย่ งั ยืน โดยเศรษฐกิจสีนา้ เงินถื อว่ามีความสาคัญต่อบรรดาประเทศ
ที่กาลังพัฒนาซึ่งมีอาณาเขตประเทศติดกับชายทะเล เพราะสามารถนาทรัพยากรทางทะเลมาใช้ให้เกิ ด
มูลค่า และสร้างผลประโยชน์ตอ่ ประเทศชาติ (ดวงพร อุไรวรรณ, 2561)
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง นอกจากเป็ นแหล่ง มรดกของสินค้าและบริการที่ม นุษย์บริโภค
โดยตรงแล้ว ยังมีความสาคัญต่อการดารงชีวิตอยู่ของมนุษย์ หรือที่เข้าใจกันว่าเป็ นระบบสนับสนุนชีวิต
(Life Support System) ทาหน้าที่เป็ นแหล่งที่ทิง้ ของเสียต่าง ๆ ที่มาจากกระบวนการผลิตและการบริโภค
ของมนุษย์ เมื่อสมดุลของระบบนิเวศถูกกระทบกระเทือน ผลกระทบที่เกิดขึน้ คือ ความเสื่อมโทรมของระบบ
นิเวศ และระบบสนับสนุนชีวิต (Life Support System) ที่ถกู ทาลาย ประเทศไทยก็ไม่ตา่ งจากประเทศอื่น ๆ
ที่ได้รบั ผลกระทบจากการที่ประเทศได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะทางพืน้ ที่
ชายทะเลด้านทะเลอันดามัน โดยสาเหตุหลักที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ การขยายพืน้ ที่สร้างสิ่งปลูก
สร้า งต่า ง ๆ ปริม าณน า้ เสี ย ที่ ร ะบายลงสู่ท ะเล และการท่อ งเที่ ย ว ซึ่ง ผู้ป ระกอบการไม่ไ ด้ต ระหนักถึง
ผลกระทบที่อาจเกิดขึน้ ได้ในอนาคต (อรพรรณ ณ บางช้าง และอิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์, 2557)
สาหรับประเทศไทยนัน้ แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจสีนา้ เงินไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากแนวคิดของเศรษฐกิจ
สีนา้ เงินมีลกั ษณะสอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ที่ได้มีการปรับกลยุทธ์การขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็ นรูปธรรมมากขึน้ ด้วยการผลักดันให้
เกิดเศรษฐกิจสีเขียว อาจกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจสีนา้ เงินเป็ นการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ให้คานึงถึง
การใช้และการอนุรกั ษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือระบบนิเวศทางทะเล ให้สามารถดารงอยู่ได้อย่าง
ยั่งยืน (นิรมล สุธรรมกิจ และอนิณ อรุณเรืองสวัสดิ,์ 2561)
ภูเก็ต เป็ นจังหวัดเดียวที่มีสภาพภูมิประเทศเป็ นเกาะและเป็ นแหล่งท่องเที่ยวที่สาคัญของประเทศ
ไทย โดยได้ช่ือว่าเป็ น “ไข่มุกแห่งอันดามัน” อีกทัง้ ยังเป็ นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีช่ือเสียงใน
ระดับโลก เช่น ชายหาด กิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ กิจกรรมบันเทิง กิจกรรมนันทนาการ และกีฬาทางนา้
ทัง้ นีย้ งั มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับเกาะบริวารโดยรอบและเกาะในจังหวัดใกล้เคียง (สานักงานสถิติ
จังหวัดภูเก็ต, 2561)
จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การศึกษาเศรษฐกิจสีนา้ เงินโดยส่วนใหญ่ เป็ นการศึกษาข้อมูล
ในต่างประเทศ และคณะผูว้ ิจยั ยังไม่พบการเก็บข้อมูลในเชิงการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องโดยตรงในบริบทของ
การท่องเที่ยวทางทะเลในประเทศไทย ดังนัน้ คณะผูว้ ิจยั จึงสนใจศึกษา เศรษฐกิจสีนา้ เงิน (Blue Economy)
กั บ การจัด การในมุ ม มองของผู้ป ระกอบการธุ ร กิ จ เรื อ น าเที่ ย วบริ เ วณชายฝั่ งทะเลในจัง หวัด ภู เ ก็ ต
44
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
โดยคณะผูว้ ิจยั หวังว่าผลการวิจยั จะเป็ นประโยชน์ต่อผูป้ ระกอบการธุรกิจเรือนาเที่ยว โดยใช้เป็ นแนวทาง
ในการวางแผนปรับปรุงบริการการท่องเที่ยวทางทะเลให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจสีนา้ เงินอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์กำรวิจัย
เพื่อศึกษาการจัดการของผูป้ ระกอบการธุรกิจเรือนาเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลในจังหวัดภูเก็ตภายใต้
แนวคิดเศรษฐกิจสีนา้ เงิน

แนวคิด ทฤษฎี และงำนวิจัยทีเ่ กี่ยวข้อง


แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเศรษฐกิจสีนำ้ เงิน
เรณู สุขารมณ์ และยุวดี คาดการณ์ไ กล (2556, น. 79) กล่าวว่า เศรษฐกิ จสี น ้าเงิ น เกิ ดขึ น้ จาก
ความไม่ลงตัวของแนวคิดเศรษฐกิ จสี เขี ยวที่ ไม่สามารถท าให้เกิ ดขึน้ ได้จริง เนื่ องด้วยเป็ นการพัฒนาที่
เอื อ้ ประโยชน์ส าหรับกลุ่มผู้มี รายได้สูง หรื อประเทศที่ พัฒนาแล้ว และต้องมี การลงทุนเพิ่ มเติมมากใน
การปรับเปลี่ ยนกระบวนการผลิ ตด้วยสิ่งใหม่ ให้เป็ นมิ ตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึน้ ดังนัน้ เศรษฐกิจสีนา้ เงิ น
เป็ นระบบของการแก้ไขปั ญหาของกลุ่มผูม้ ีรายได้นอ้ ย หรือประเทศกาลังพัฒนา เพราะส่วนใหญ่เป็ นกิจกรรม
ด้านความมั่นคงทางอาหาร และมีการลงทุนเพิ่มเติมน้อยกว่ากรณี เศรษฐกิจสีเขียว ประกอบกับประชากร
ที่อาศัยตามชายฝั่ งทะเลล้วนพึ่งพิงทรัพยากรทางทะเลจานวนมาก แนวคิด เศรษฐกิจสีนา้ เงินดังกล่าวจึงมี
แนวคิดและแนวปฏิบตั ิท่ีคล้ายคลึงไปในทางเดียวกันกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ เน้นการจัดการ
และการผลิตที่ตอ้ งสอดคล้องกับภูมิสังคมในท้องถิ่น (Pauli, 2010) กล่าวคือ ไม่ทาลายทรัพยากรธรรมชาติ
นาหลักวิชาการและเทคโนโลยีมาประยุกต์ ในขณะที่เศรษฐกิจสีนา้ เงินให้ความสาคัญกับการประยุก ต์
นวัตกรรมที่จะนาของเสียหรือของเหลือใช้ เพื่อลดการมีของเหลือทิง้ สูส่ ่งิ แวดล้อม
สาหรับประเทศไทย สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) ได้นิยามเศรษฐกิจสีนา้ เงินว่าเป็ น
แนวทางการดาเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ให้ความสาคัญกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน หรือหากกล่าวให้เข้าใจง่ายที่สุด เศรษฐกิ จ
สีนา้ เงิน หมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่ส่งผลเสียต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามชายฝั่ ง
และในทะเลนั่น เอง แนวคิด เรื่ อ งเศรษฐกิ จ สี น า้ เงิ น นั้น มี ท่ี ม าที่ ไ ปโดยเริ่ม ต้น จากการประชุม Rio+20
ที่ประเทศบราซิล เมื่อปี ค.ศ. 2012 อันเป็ นการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามกรอบของ UN
Commission on Sustainable Development (UNCSD) อัน เป็ นแนวคิ ด ทางเศรษฐกิ จ ที่ มุ่ ง เน้น ให้เ กิ ด
ความกินดีอยู่ดีของมนุษย์และความเท่าเทียมทางสังคม โดยลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากร
ของระบบนิเวศน์ (ณฐนภ ศรัทธาธรรม, 2563)

45
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
การท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ ง ถื อเป็ นกลุ่มที่ใหญ่ท่ีสุดของการท่องเที่ ยวโดยเฉพาะ อีกทัง้
การจัดการเขตชายฝั่งแบบบูรณาการ เพื่อช่วยอนุรกั ษ์และรักษาระบบนิเวศทางทะเล ส่งเสริมและสนับสนุน
เศรษฐกิจสีนา้ เงินอย่างยั่งยืน (World Tourism Organization [UNWTO], 2019) จากรายงานดังกล่าวสรุป
ได้ว่า ความส าเร็จ ของการดาเนินงานของโครงการตามแนวเศรษฐกิ จ สี นา้ เงิ น สามารถประกอบด้ว ย
1) ความร่วมมือกันหลายฝ่ าย ทัง้ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม 2) การนาภูมิปัญญาท้องถิ่นประยุกต์กบั
นวัตกรรมสมัยใหม่ 3) ทุกภาคส่วนเล็งเห็นประโยชน์ในระยะยาวของระบบนิเวศทางทะเล
งำนวิจัยทีเ่ กี่ยวข้อง
คณะผูว้ ิจยั ได้ศกึ ษางานวิจยั ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสีนา้ เงินและการท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ งที่
เกี่ยวข้องโดยตรง โดยได้สรุปหรือสังเคราะห์องค์ความรูใ้ นรูปแบบของตาราง ดังนี ้

ตำรำง 1 การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง


ผู้เขียน จุดประสงค์กำรวิจัย กำรดำเนินกำรวิจัย ผลกำรศึกษำหรือข้อสังเกต
Zappino ทบทวนประสบการณ์และ ร ว บ ร ว ม ข้ อ มู ล ที่ ได้พิ จ ารณาถึ ง ผลกระทบต่อ สิ่ง แวดล้อ มของ
(2005) กลยุ ท ธ์ ข องอุ ต สาหกรรม เกี่ยวข้อง โดยได้รบั การ การท่ อ งเที่ ย วและวิ เ คราะห์ ก ารริ เ ริ่ ม การ
การท่ อ งเที่ ย วแคริ บ เบี ย น ต ร ว จ ส อ บ แ ล ะ ก า ร ท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น ในภู มิ ภ าค เพื่ อ เป็ น
เ พื่ อ ร ะ บุ บ ท บ า ท ที่ มี วิ เ คราะห์ป ระเทศทาง ประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นที่จาเป็ นสาหรับการ
ศักยภาพของการท่องเที่ยว แถบแคริบเบียนจานวน พัฒนาเศรษฐกิจสีนา้ เงินในอนาคต
ในการส่งเสริมความยั่งยืน 34 ประเทศ
Kathijotes เพื่ อ เสนอเป้ า หมายของ กรณี ศึกษาที่นาเสนอถึง การท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ งเป็ นตลาด
(2013) แบบจาลองเศรษฐกิจสีนา้ ป ร ะ เ ด็ น ส า คั ญ ข อ ง ที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด และเติ บ โตอย่ า งรวดเร็ ว แต่
เงิน โดยเปลี่ยนจากความ เศรษฐกิจสีนา้ เงินในด้าน กลายเป็ นการสร้างความยั่งยืนที่นอ้ ยที่สดุ ต่อ
ขาดแคลนไปสู่ความอุดม สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม แ ล ะ การท่ อ งเที่ ย วทั่ ว โลก การลงทุ น ในการ
ส ม บู ร ณ์ พ ร้ อ ม แ ก้ ไ ข พฤติกรรมต่อการพัฒนา ท่องเที่ยวที่เป็ นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถ
สิ่ ง แวดล้อ มด้ ว ยวิ ธี ก าร ชายฝั่งอย่างยั่งยืน ลดต้นทุนและเพิ่มคุณค่าของระบบนิเวศและ
ใหม่ ๆ มรดกวัฒนธรรม
Gon, Osti, & เพื่ อ วิ เ คราะห์ ว่ า ชุ ม ชน เก็บข้อมูลจากผูอ้ ยูอ่ าศัย ผลการวิจัยฉบับนีไ้ ด้พบว่า ทัศนคติของผูอ้ ยู่
Pechlaner ท้ อ งถิ่ น ในพื ้ น ที่ ช ายฝั่ ง ในพืน้ ที่ชายฝั่ งตอนเหนือ อาศัยในพืน้ ที่ชายฝั่ งทางตอนเหนือของทะเล
(2016) ได้ร ับ รู ้ถึ ง ผลกระทบจาก ของทะเลเอเดรียติก โดย เอเดรียติกต่อการท่องเที่ยวทางเรือสามารถ
การท่ อ งเที่ ย วด้ ว ยเรื อ ใช้แบบสอบถามและเก็บ เป็ นแรงขั บ เคลื่ อ นส าคั ญ ต่ อ การพั ฒ นา
หรือไม่ ข้ อ มู ล ในช่ ว งฤดู ห นาว ท้องถิ่นและแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนที่
ปี ค.ศ. 2013 ทางานหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
และกระตุน้ ให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวให้
มีประสิทธิภาพมากขึน้
46
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
ตำรำง 1 (ต่อ) การทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง
ผู้เขียน จุดประสงค์กำรวิจัย กำรดำเนินกำรวิจัย ผลกำรศึกษำหรือข้อสังเกต
Spalding เพื่ อ ศึ ก ษาหลั ก การของ วิเคราะห์และสังเคราะห์ การท่องเที่ยวโดยเรือ สามารถสร้างนวัตกรรม
(2016) เศรษฐกิ จ สีน า้ เงิ น ในการ ก า ร ส ร้ า ง มู ล ค่ า ท า ง และวิ วัฒ นาการเชิ งบวก และสามารถช่วย
จั ด การและสนับ สนุน ทุก เศรษฐกิ จ จากการใช้ จัด การขยะมูล ฝอย และการลดการปล่อ ย
ชี วิ ต บนโลก โดยสามารถ ประโยชน์ทางทะเล มลพิษ โดยผูใ้ ห้บริการเกี่ยวกับเรือท่องเที่ยว
ร ว ม กิ จ ก ร ร ม ใ น ภ า ค สมัครใจในการช่วยเหลือด้านทรัพยากรทาง
เศรษฐกิจสีนา้ เงิน เพื่อทา ทะเล และเฝ้าระวังอย่างจริงจังถึงผลกระทบ
ความเข้ า ใจและสร้ า ง ในอนาคต ทั้ ง ยั ง สามารถดึ ง เอาแนวคิ ด
เ ศ ร ษ ฐ กิ จ สี น ้ า เ งิ น ใ ห้ เศรษฐกิ จ สี น า้ เงิ น มาพัฒ นาทางเศรษฐกิ จ
สามารถเป็ นจริงได้ แ ล ะ สั ง ค ม จ า ก ค ว า ม เ สื่ อ ม โ ท ร ม ข อ ง
สิง่ แวดล้อมได้
Jones & เพื่ อ ศึ ก ษาการกระจาย ใช้ วิ ธี วิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ ผลของการศึ ก ษาชี ้ใ ห้เ ห็ น ถึ ง บทเรี ย นที่ ไ ด้
Navarro ความเสี่ย งของเศรษฐกิ จ และการทบทวน เรียนรู แ้ ละทิศทางนโยบายในอนาคตสาหรับ
(2018) การท่องเที่ยวมอลตาจาก วรรณกรรม โดยเก็ บ เศรษฐกิ จ สี น ้า เงิ น โดยเฉพาะกิ จ กรรมเรื อ
การพึ่ ง พาท่ อ งเที่ ย วใน ข้อ มูลจากผู้ร่ว มจัด งาน ท่ อ ง เ ที่ ย ว เ ป็ น ตั ว ขั บ เ ค ลื่ อ น น า ไ ป สู่
รู ป แบบจ านวนมากไปสู่ เดินเรือในมอลตาจานวน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง และ
รู ป แบบเฉพาะหรื อ แบบ 25 คน กระตุน้ โอกาสสาหรับการท่องเที่ยวทางทะเล
เฉพาะทาง
Tegar & เพื่อทดสอบและแสดงผล วิเคราะห์การพัฒนาการ การพัฒ นาแหล่ง ท่อ งเที่ ย ว ควรค านึง ถึ ง 6
Gurning วิ จั ย เ ชิ ง เ ป รี ย บ เ ที ย บ ท่อ งเที่ ย วทางทะเลและ ปั จ จั ย คื อ สิ่ ง ดึ ง ดู ด ใจทางการท่ อ งเที่ ย ว
(2018) สาเหตุโดยใช้ท ฤษฎี 6As ช า ย ฝั่ ง โด ย ก า รเ ก็ บ สิ่ ง อ านวยความสะดวก ความสามารถใน
ระหว่ า งการท่ อ งเที่ ย ว ข้อมูลจากแหล่งเอกสาร การเข้าถึง ทรัพยากรบุคคล ภาพลักษณ์ และ
ของลัมปุงและมัลดีพส์ ต่ า ง ๆในอุ ต สาหกรรม ราคา และการพัฒนาเหล่านีส้ ามารถเติ บ โต
ก า ร ท่ อ ง เ ที่ ย ว ข อ ง และสอดคล้องกับหลักการของนวัตกรรมการ
ประเทศอินโดนีเซีย พัฒนาที่ย่งั ยืนภายใต้เศรษฐกิจสีนา้ เงิน
Hoerterer, ศึกษาความสัมพันธ์ของผู้ เก็ บข้อมูลจากผูเ้ ข้าร่ว ม การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลต่อการ
Schupp, มี ส่ว นได้ส่ว นเสี ย ในภาค ก า ร ป ร ะ ชุ ม เ ชิ ง ทางานในการดารงชีวิตประจาวัน และส่งผล
Benkens, เศรษฐกิจสีนา้ เงินที่สาคัญ ปฏิบัติการกับผูม้ ีความรู ้ กระทบต่อชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
Nickiewicz, ต่อสภาพภูมิอากาศในการ หลัก จากวิ ท ยาศาสตร์ สาหรับชุมชนชายฝั่ ง พร้อมกับสนับสนุนการ
Krause, & ทางานในชีวิตประจาวัน การประมง ในประเทศ ล ด ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ภู มิ อ า ก า ศ ผ่ า น
Buck เยอรมนี จานวน 25 คน การสนับสนุนเพิ่มเติมจากรัฐบาล
(2020)

47
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
ระเบียบวิธีวิจัย
กลุ่มตัวอย่างเป็ นผูป้ ระกอบการในธุรกิจเรือนาเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตจานวน 15 คน หรือประมาณ
12-15 คน ถื อ ว่ า เหมาะสม (Hagaman & Wutich, 2017, p. 35) และจะหยุ ด สั ม ภาษณ์เ มื่ อ ข้อ มู ล มี
ความครบถ้วนหรืออิ่ม ตัว (Saturation) (Malterud, Siersma, & Guassora, 2016) ทั้ง นี เ้ ครื่องมื อที่ ใช้ใ น
การวิจยั นีเ้ ป็ นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลัก (Key Informants) ซึ่งเป็ นผูท้ ่ีมี
ความรู ้ ทัก ษะ และมี ป ระสบการณ์ใ นเรื่ อ งที่ ต ้อ งการศึก ษา โดยเป็ น การสัม ภาษณ์แ บบกึ่ ง โครงสร้าง
(Semi-Structural Interview) ซึ่งเหมาะสาหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกที่อยูภ่ ายในเวลา 30 นาที โดยใช้คาถาม
ปลายเปิ ด เพื่ อ ให้ผู้สัม ภาษณ์ไ ด้มี โ อกาสแสดงความคิด เห็ น (Jamshed, 2014) เนื่ อ งด้ว ยสถานการณ์
โควิด-19 ในปั จจุบนั ทาให้ผปู้ ระกอบการส่วนใหญ่ได้รบั ผลกระทบ (UNCTAD, 2020) ได้ปิดบริษัทชั่วคราว
จึ ง ยากต่ อ การท าการนั ด หมาย ทางคณะผู้วิ จั ย จึ ง ท าการคัด เลื อ ก ตัว อย่ า งสุ่ ม ตามวั ต ถุ ป ระสงค์
(Purposeful Random Sampling) (Palinkas, Horwitz, Green, Wisdom, Duan, & Hoagwood, 2015)
โดยคณะผูว้ ิจยั มีกลุ่มผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลักที่ตรงตามวัตถุประสงค์แต่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะรวบรวมได้ทงั้ หมด
ดังนัน้ วิธีการเก็บข้อมูลเป็ นการสัมภาษณ์เชิงลึกจึงเลือกสุ่ม ผูใ้ ห้ข้อมูลหลักในขนาดเล็กแทนผูใ้ ห้ข้อมูล
ทัง้ หมด (Robinson, 2014) กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ผูป้ ระกอบการ หรือผู้ เชี่ยวชาญในสายงานเรือ
ท่องเที่ ยวโดยการเข้าสัม ภาษณ์ทาในช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 จากผู้ประกอบการที่ ยัง ดาเนินกิ จ การ
ณ ขณะนั้น และข้อมูล ทั้ง หมดที่ ไ ด้ม าจากการสัม ภาษณ์เ ชิ ง ลึกกับผู้ให้ข้อมูล หลักแต่ละรายนั้น จะท า
การวิเคราะห์ขอ้ มูลและตรวจสอบข้อมูลโดยมีหลักการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าในด้านวิธีการเก็ บ
รวบรวมข้อมูล (Method Triangulation) (Erzberger & Prein, 1997; Natow, 2020) นอกจากนีย้ งั มีการวิเคราะห์
ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนือ้ หา (Content Analysis) พร้อมอภิปรายและสรุปผล โดยการวิจยั เชิงคุณภาพมีขอ้
แตกต่างจากงานวิจยั เชิงปริมาณตรงที่ งานวิจยั เชิงคุณภาพจะการเน้นการศึกษาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็ นอยู่
แต่ไม่สามารถวัดความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นได้อย่างชัดเจน (ศิลปพร ศรีจ่นั เพชร, 2560)

ผลกำรวิจัย
จากการเก็ บ ข้อมูล โดยการสัม ภาษณ์เ ชิ ง ลึก (In-Depth Interview) ด้วยคาถามทั้ง หมด 13 ข้อ
เพื่อสัมภาษณ์ตามวัตถุประสงค์ โดยสัมภาษณ์ผูป้ ระกอบการหรือผูเ้ ชี่ ยวชาญในสายงานเรือท่องเที่ ยว
ในจังหวัดภูเก็ต จานวน 15 คน ได้ขอ้ มูลตามตาราง 2 และตาราง 3 ดังนี ้

48
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
ตำรำง 2 ผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลัก
ลำดับ เพศ อำยุ (ปี ) ประสบกำรณ์กำรทำงำน (ปี ) ตำแหน่ง
A1 หญิง 26 3 เจ้าของกิจการ
A2 หญิง 43 11 เจ้าของกิจการ
A3 ชาย 55 20 เจ้าของกิจการ
A4 ชาย 47 23 ผูจ้ ดั การฝ่ ายพัฒนาธุรกิจ
A5 ชาย 33 10 เจ้าของกิจการ
A6 หญิง 40 3 ผูช้ ่วยผูจ้ ดั การฝ่ ายขายและการตลาด
A7 ชาย 46 20 เจ้าของกิจการ
A8 ชาย 41 8 ผูจ้ ดั การทั่วไป
A9 ชาย 32 18 เจ้าของกิจการ
A10 หญิง 40 7 ผูจ้ ดั การฝ่ ายขายและการตลาด
A11 หญิง 43 4 เจ้าของกิจการ
A12 หญิง 37 6 ผูจ้ ดั การฝ่ ายขายและการตลาด
A13 ชาย 76 35 เจ้าของกิจการ
A14 หญิง ไม่ระบุ 5 ผูอ้ านวยการ
A15 หญิง 39 12 เจ้าของกิจการ

ตำรำง 3 เครื่องมือคาถามและวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์
คำถำมที่ใช้ในกำรสัมภำษณ์ วัตถุประสงค์
- ท่านรูจ้ กั เศรษฐกิจสีนา้ เงินหรือไม่ (ถ้ารูจ้ กั ท่านคิดว่าหมายถึงอะไร) เพื่ อ ทราบถึ ง ปั จ จั ย ทาง
- ท่านคิดว่าปั จจัยความสาเร็จของธุรกิจของท่านคืออะไร เศรษฐกิ จที่ส่งผลต่อการ
- ท่านคิดว่าสิง่ ใดเป็ นอุปสรรคในการดาเนินธุรกิจของท่าน ดาเนินงาน
- ท่านมีแผนอะไรรองรับในการแข่งขันที่เข้มข้นในธุรกิจเรือนาเที่ยว
- ท่านคิดว่าพนักงานของท่านปฏิบตั ิงานตามระเบียบของบริษัทหรือไม่ อย่างไร เ พื่ อ ท ร า บ ถึ ง ปั จ จั ย
- ท่านคิดว่าท่านมีความรูเ้ กี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหรือไม่ อย่างไร ท า ง ด้ า น สั ง ค ม แ ล ะ
- ท่านคิดว่ากิจกรรมเรือนาเที่ยวส่งผลกระทบต่อชุมชนข้างเคียงหรือไม่ อย่างไร ผลกระทบโดยรวม
- บริษัทของท่านมีสว่ นในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนหรือไม่ อย่างไร
- ท่านคิดว่ากิจการของท่านมีสว่ นในการเปลีย่ นแปลงสภาพแวดล้อมทางทะเลหรือไม่ อย่างไร เ พื่ อ ท ร า บ ถึ ง ปั จ จั ย
- ท่านคิดว่าการท่องเที่ยวทางทะเลมีส่วนในการสร้างการรับรู ใ้ นการอนุรกั ษ์ธรรมชาติทาง ทางด้านสิ่งแวดล้อมและ
ทะเลหรือไม่ อย่างไร การป้องกันดูแลรักษา
- ท่านคิดว่าบริษัทของท่านสามารถอนุรกั ษ์ธรรมชาติทางทะเลได้อย่างไร
- ท่านคิดว่าจะสามารถยกระดับการท่องเที่ยวทางทะเลให้มีผลกระทบต่อธรรมชาติได้นอ้ ย
ที่สดุ หรือไม่ อย่างไร
49
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
คณะผูว้ ิจยั ได้ทาการวิเคราะห์เนือ้ หา และการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) เมื่อได้
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และจดบันทึกมาแล้ว โดยได้ตรวจสอบความถูกต้องเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ
โดยด้า นข้อ มูล (Data Triangulation) (Erzberger & Prein, 1997; Natow, 2020) คื อ เปรี ย บเที ย บข้อ มูล
เรื่องเดียวกันที่ได้มาจากผูใ้ ห้ขอ้ มูลหลาย ๆ คนในการศึกษาในครัง้ นีไ้ ด้ใช้การตรวจสอบจากแหล่งบุคคล
มากที่สดุ โดยการสอบถามข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างหลายกลุ่มโดยใช้คาถามเดียวกัน ทาให้ผลการศึกษานี ้
จาแนกเป็ น 3 ด้าน ได้แก่
1. ด้ำนปั จจัยทำงเศรษฐกิจทีส่ ่งผลต่อกำรดำเนินงำนของกำรท่องเที่ยวภำยใต้เศรษฐกิจสีนำ้ เงิน
คณะผูว้ ิจยั พบว่าผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่ไม่ทราบความหมายของเศรษฐกิจสีนา้ เงิน หากไม่ได้รบั
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีจานวน 11 คน จาก 15 คน แต่จากการสัมภาษณ์ พบว่า กิจกรรมของผูป้ ระกอบการ
ทุกรายล้วนเอือ้ ประโยชน์ในการสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และข้อมูลที่ได้รบั จากการสัมภาษณ์ ผูป้ ระกอบการ
มีความรูค้ วามเข้าใจเกี่ยวกับการดาเนินงาน และมีวิธีในการดาเนินงานที่คล้ายคลึงกับแนวคิดของเศรษฐกิจ
สีนา้ เงิน โดยเห็นได้จากผลสัมภาษณ์ตวั อย่างผูป้ ระกอบการเกี่ยวกับกิจกรรมสีนา้ เงิน เช่น
“…เราจะเน้นเรื่องการบริการ และเน้นเรื่องความพึง พอใจของลูกค้า ลูกค้ามาใช้บริการทัวร์เราและ
ได้รบั แผ่นผับ โฆษณาซึ่งมีเนือ้ หาเกี่ยวกับเรื่องไกด์ เรื่องรถ และเรื่องร้านอาหารที่เราเลือกสรรร้านอาหารที่
คิดว่าดีท่ีสุด การที่ลูกค้ากลับไปพูดบอกปากต่อปาก สิ่งที่ลูกค้ามากับทัวร์เรา อาจจะเป็ นคอมเมนต์ทาง
ทริปแอดไวเซอร์ (Trip Advisor) หรือในคอมเมนต์ของบริษัท ก็สามารถทาให้ลกู ค้าเชื่อมั่นในการบริการของ
เรา และเชื่อมั่นในตัวพนักงานเราที่ลกู ค้าไปใช้การบริการครับ...” [A7]
“…เรือที่เราใช้ในการนาเที่ยวคือเรือสปี ดโบ๊ต ซึ่งเราต่อขึน้ มาโดยคานึงถึงความปลอดภัยสูงสุด และ
เรือของเราจะเน้นในเรื่องระบบความปลอดภัย คือ มีหอ้ งอับเฉา ตรงนีม้ นั มีไว้เพื่อกรณี ท่ีเรือเรามี ปัญหา
เช่น รั่ว หรือประสบอุบตั ิเหตุในการที่จะมีนา้ เข้า จะทาให้เรือของเราไม่จม นอกจากชูชีพแล้ว ตัวเรือของเรา
เองก็ทาให้แตกต่างจากคูแ่ ข่ง โดยเราเน้นระบบความปลอดภัยขัน้ สูง นั่นแปลว่าทาให้เรามีตน้ ทุนในการต่อ
เรือที่แพงกว่าอย่างแน่นอน...” [A14]
จากตัวอย่างข้อมูล ของผู้ให้ข้อมูลหลักคนที่ 7 [A7*] และ คนที่ [A14] ได้สนับสนุนแนวคิดด้า น
การส่งเสริมการดาเนินธุรกิจ โดยการนาเสนอจุดเด่นในด้านบริการและมาตรฐานต่าง ๆ และการจัดการ
ความพึงพอใจของลูกค้า สอดคล้องกับผลการศึกษาของ Jones and Navarro (2018) ที่ว่ากิจกรรมเรือ
ท่อ งเที่ ย วเป็ น ตัว ขับ เคลื่ อ นน าไปสู่อุต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย วที่ แ ข็ ง แกร่ง และกระตุ้น โ อกาสส าหรับ
การท่องเที่ยวทางทะเล ผูป้ ระกอบการสามารถเพิ่มประสบการณ์การรับรู ข้ องลูกค้าด้วยปั จจัยการบริการ
และผลิตภัณฑ์ท่ีมีคณ ุ ภาพ (Sdoukopoulos, Perra, Boile, Efthymiou, Dekoulou, & Orphanidou, 2021)
นอกจากนีแ้ นวคิดของการท่องเที่ยวภายใต้เศรษฐกิจสีนา้ เงินสามารถนาไปใช้พฒ ั นาการท่องเที่ยวอื่น ๆ

50
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
ได้อีกทางหนึ่ง แต่จ ากผลการสัม ภาษณ์ยัง พบปั ญหา หรืออุปสรรคของการดาเนิ นธุ รกิ จ เรือ ท่องเที่ ย ว
ยกตัวอย่างเช่น
“…เราทาราคาที่ อยู่ในระดับมาตรฐาน จะไม่ทาในราคาที่ ต่ ากว่าทุน แล้วให้เราเกิ ดแผล เราไม่เอา
เราไม่ทาอย่างนัน้ ทาเพื่อที่จะให้ได้ตวั เลขของลูกค้าเราไม่เอา เราจะไม่ทาให้ธุรกิจการท่องเที่ยวเสียหายในเรื่อง
ของราคา เพราะบางคนชอบของถูก แต่ไม่ได้คณ ุ ภาพ พอลูกค้ากลับมาร้องเรียน ทีนีก้ ็จะลุกลามในธุรกิจหมด
เลยครับ ท่องเที่ยวก็จะโดนกันหมด เราจะไม่ทาอย่างนัน้ เราจะรักษาภาพลักษณ์การท่องเที่ยว...” [A3]
เนื่ อ งด้ว ยสภาวะและการค้า ของจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต ผู ก ขาดกั บ ภาคอุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย ว
และภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โดยรายได้หลักของภูเก็ตมาจากธุรกิจการท่องเที่ยวประมาณ
377,878 ล้านบาท (คณะกรรมการสถิติจังหวัดภูเก็ต , สานักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต , 2561) ทาให้ทราบถึง
ปั จจัยความสาเร็จในการดาเนินเรือท่องเที่ยวที่สามารถกระตุน้ เศรษฐกิจในด้านการท่องเที่ยวทางทะเลได้
เป็ นอย่ า งดี โดย Wenhai, Cusack, Baker, Tao, Mingbao, Paige, and Others (2019) ได้ ศึ ก ษาถึ ง
เศรษฐกิจสีนา้ เงินได้เข้ามามีบทบาทในระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็ นประเทศในกลุ่มของสหภาพยุโรป หรือแม้แต่
ประเทศอินโดนีเซียที่ได้รบั เอาแนวคิดของเศรษฐกิจสีนา้ เงินมาเป็ นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดังนัน้ ปั จจัยหลัก
ของกิ จ กรรมเรื อ ท่ อ งเที่ ย วภายใต้แ นวคิ ด เศรษฐกิ จ สี น ้า เงิ น คื อ การเน้น การบริ การ ซึ่ง การรวบรวม
บูรณาการข้อมูล และองค์ประกอบสาคัญของแนวคิดเศรษฐกิจสีนา้ เงินสามารถกระตุน้ นวัตกรรม นาไปสู่
การพัฒนาการบริการใหม่ ๆ (European Parliamentary Research Service, 2020) ผูป้ ระกอบการต่างก็ให้
ความสาคัญในด้านการบริการที่ส่งเสริมจุดเด่นของกิจกรรมเรื อท่องเที่ยวได้เป็ นอย่างดี อีกทัง้ ยังส่งผลต่อ
ภาพลักษณ์ของผูป้ ระกอบการได้อีกทางหนึ่ง
2. ด้ำนปั จจัยทำงด้ำนสังคมและผลกระทบโดยรวมของกำรท่องเที่ยวภำยใต้เศรษฐกิจสีนำ้ เงิน
คณะผูว้ ิจยั พบว่า เศรษฐกิจสีนา้ เงินในธุรกิจการท่องเที่ยวนัน้ เมื่อเข้ามาใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ
ที่อยู่ใกล้เจ้าของพืน้ ที่หรือคนในชุมชน จะก่อให้เกิดการจ้างงานและอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ส่งผลให้
คนในชุม ชนมี ส่วนร่วมในกิ จ กรรมการท่องเที่ ยว และยัง สร้างรายได้ให้กับคนในชุม ชนทั้ง ทางตรงและ
ทางอ้อม จากผลการสัมภาษณ์ของผูป้ ระกอบการให้ขอ้ มูลสนับสนุนว่าธุรกิจเรือท่องเที่ยวสามารถสร้าง
รายได้ให้กบั ชุมชน ดังตัวอย่าง
“…ที่น่ีเราจะไม่มีพนักงานที่เป็ นชาวต่างชาติ คือ จะเป็ นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วยิ่งเป็ นคนที่หน้า
งานก็จะเป็ นคนที่อยู่ในพื น้ ที่ เป็ นชาวบ้าน ที่เค้ารักในท้องทะเลเหมื อนกันเรา แล้วก็ท่ีเค้ามีความสุขใน
การให้บริการลูกค้าทุก ๆ วัน และก็มีความสุขที่จะได้บอกเล่าเรื่องราวภูมิปัญญาของตัวเองในพืน้ ที่ของเค้า
ให้กบั ลูกค้าฟั ง...” [A1]
“…กลับเป็ นผลดีกบั เขาก็คือเขามีรายได้เพิ่มขึน้ จากปกติเขาอยูบ่ า้ นเฉย ๆ พอเราทาธุรกิจท่องเที่ยว
เขามีฝีมือทางพายเรือก็มาเป็ นพนักงานพายเรือ หรือมีความรูเ้ กี่ยวกับทาอาหาร ก็มาเป็ นแม่ครัว โดยปกติ
51
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
คนที่น่ีเขาตัดยาง ทาสวนปาล์ม ซึ่งไม่ได้กระทบการงานของเขา เพราะรับจ้างกรีดยางรายได้น้อยกว่า
และไม่ ม่ ัน คง แต่ม าท าเกี่ ย วกับ ท่ อ งเที่ ย วกับ เราก็ มี เ งิ น เดื อ นประจ า บางคนอาจจะช่ วงเช้า ตัด ยาง
ช่วงกลางวันประมาณ 8 โมงเก็บขีย้ างเรียบร้อยแล้วก็มาทางานกับเรา...” [A12]
สาหรับชุมชนที่มีรายได้นอ้ ยในประเทศที่กาลังพัฒนา การพัฒนาเศรษฐกิจสีนา้ เงินในท้องถิ่นเป็ น
ความสมดุล ที่ ท้า ทายระหว่ า งการท่ อ งเที่ ย วทางทะเลและการใช้ท รัพ ยากรในพื น้ ที่ (Garland, Axon,
Graziano, Morrissey, & Heidkamp, 2019) อย่างไรก็ตาม ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวทางทะเลภายใต้
เศรษฐกิ จ สี นา้ เงิ นนั้น ไม่ไ ด้จ ะมี ผลกระทบเชิง บวกอย่างเดียว การท่องเที่ ยวก็ สามารถสร้างผลกระทบ
เชิงลบได้เช่นกัน ในมุมมองของผูป้ ระกอบการก็ประสบกับเรื่องนี ้ โดยมีผลรบกวนการใช้กิจกรรมชีวิตของคน
ในพืน้ ที่พอสมควร ดังตัวอย่างการสัมภาษณ์
“…เกาะบางเกาะ ที่จากเมื่อก่อนเขาอยู่แบบสงบ สบาย ไม่มีนกั ท่องเที่ยวเข้ามามากมาย เขาจะ
เดินไปชายหาดตรงไหนเขาก็ ไ ปได้ แต่พ อมี ธุ รกิ จ การท่องเที่ ย วเข้ามา มันก็ มี ผลกระทบเชิ ง ลบได้ด ้ว ย
ทางด้านกายภาพและวิถีชีวิต และได้รว่ มมือกับกรมเจ้าท่าในการช่วยปรับปรุงสภาพบริเวณท่าเรือด้วยกัน
เพื่อที่จะลดผลกระทบต่อชาวบ้านให้นอ้ ยที่สดุ ...” [A3]
“…บริษัทเราอยู่ท่ีโบ๊ทลากูน การใช้ร่องนา้ ด้วยกัน อาจจะกระทบกันบ้าง เช่น อาจจะมีเรือประมง
เข้ามา แล้วเรือของเราเป็ นเรือที่ใช้ความเร็วจะทาคลื่น ซึ่งไปกระทบเรือเค้า แต่ก็มีกฎระเบียบของกรมเจ้าท่า
ที่จะล่องอยูใ่ นร่องนา้ จะต้องใช้ความเร็วจากัด เราให้สญ ั ญาณทุกครัง้ เวลาขับเรือเข้าจอดที่ทา่ เพื่อที่จะให้มี
ผลกระทบกับเรือประมงให้นอ้ ยที่สดุ ...” [A4]
จากงานวิจยั ของ Spalding (2016) ที่ศึกษาจากผูใ้ ห้บริการล่องเรือโดยสมัครใจในการช่วยเหลื อ
ด้านทรัพยากรทางทะเล และเฝ้าระวังอย่างจริงจังถึงผลกระทบในอนาคต รวมทัง้ ให้ความสาคัญกับแนวคิด
เศรษฐกิจสีนา้ เงินต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
จะเห็นได้ว่า ผูป้ ระกอบการไม่ได้คานึงถึงรายได้จากการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว แต่ยงั คานึงถึงผลกระทบ
และปรับตัวให้เข้ากับชาวบ้านเจ้าของพืน้ ที่ซ่งึ สามารถนามาอธิบายได้กบั ผลการศึกษาในข้อนี ้
จากข้อ มูล เศรษฐกิ จ สี น ้า เงิ น ในสหภาพยุโ รปมี จ านวนผู้มี ง านท า 5 ล้า นคนในปี ค.ศ. 2018
โดยเพิ่มขึน้ ร้อยละ 11.6 จากปี ก่อน เพราะได้แรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่ งเป็ น
หลัก (European Commission, 2020) และการท่องเที่ยวโดยพึ่งคนในชุมชนชายฝั่ งที่เป็ นเจ้าของพืน้ ที่เพื่อ
มี ส่ว นร่ว มในเศรษฐกิ จ สี น า้ เงิ น ด้ว ยการสนับ สนุน ที่ เ พี ย งพอสามารถช่ว ยพัฒ นาคุณภาพชี วิ ต ในการ
ดารงชีวิตไปสู่ผลลัพธ์ท่ีย่ งั ยืน (Phelan, Ruhanes, & Mair, 2020) อาจกล่าวได้ว่า กิจกรรมเรือท่องเที่ยว
ส่งผลกระทบทัง้ เชิงบวกและเชิงลบ กล่าวคือ ผลกระทบเชิงบวกสามารถสร้างรายได้ให้กบั คนในชุมชน ด้วย
การช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ ใช้เ วลาว่างให้เกิ ดประโยชน์ ทาให้คนในชุม ชนพัฒ นาตัวเองเพื่อต้อนรับ
นักท่องเที่ยว ส่วนผลกระทบเชิงลบ คือ การรุกลา้ พืน้ ที่ และกิจกรรมชีวิตของคนในชุมชน ในขณะที่มมุ มอง
52
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
ของผูป้ ระกอบการทุกคนต้องการลดผลกระทบความขัดแย้งระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ หากทุกฝ่ ายต่างยินยอม
ที่จะแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน ทุกฝ่ ายก็จะได้รบั ผลประโยชน์ ด้วยความประนีประนอม ซึ่งจะสามารถดาเนิน
กิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน และกระจายผลประโยชน์ท่ีเกิดขึน้ จากธุรกิจเรือนาเที่ยว ทัง้ ยังสามารถยกระดับ
สภาพภูมิสงั คมให้เอือ้ ต่อการใช้ชีวิตของชาวบ้านและการทากิจกรรมเรือท่องเที่ยวหรือกิจกรรมการท่องเที่ยว
รูปแบบอื่น ๆ ให้ดีขนึ ้ ได้
3. ด้ำนสิ่งแวดล้อมและกำรป้ องกันดูแลรักษำของกำรท่องเทีย่ วภำยใต้เศรษฐกิจสีนำ้ เงิน
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลในประเด็นของแนวคิดเศรษฐกิจสีนา้ เงินนัน้ นับเป็ นฐาน
ทุนเศรษฐกิจที่สาคัญ ของประเทศไทย รวมถึงระดับภูมิภาคและระดับโลก เพราะทรัพยากรทางทะเลมี
การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ทัง้ อิทธิพลของปั จจัย
ที่ ม าจากการใช้ป ระโยชน์ข องมนุ ษ ย์ และจากปรากฏการณ์ต ามธรรมชาติ รวมทั้ง ผลกระทบจาก
การเปลี่ ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ส่งผลกระทบต่อระบบนิ เวศทางทะเล และระบบนิ เวศพื น้ ท ะเล
เสื่อมโทรม (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง, 2559) จากผลการศึกษาพบว่า ผูป้ ระกอบการเรือท่องเที่ยว
ทุกคนยืนยันว่ากิจกรรมเรือท่องเที่ยวมีผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยมัคคุเทศก์และพนักงานบนเรือต้องมีการบอก
กล่าวถึงกฎระเบียบและข้อห้ามต่าง ๆ ในการมาเที่ยวทะเลแก่นกั ท่องเที่ยว รวมทัง้ ปฏิบตั ติ วั เป็ นแบบอย่างที่ดี
“...ก่อนหน้านีม้ นั อาจจะเป็ นเรื่องยากในการควบคุมเรื่องนักท่องเที่ยว ซึ่งตอนนีเ้ ราก็ดงึ เข้ามาเป็ น
นโยบายด้วย ตลอดจนให้ข้อมูล ลูกค้าว่าการท่องเที่ ยวที่ ดีเป็ นอย่างไร ต้องประพฤติตัวอย่างไร อี กทั้ ง
พนักงานก็ตอ้ งทาตัวให้เป็ นตัวอย่างด้วย...” [A6]
“...ทั้ง นี ้ทั้ง นั้น เพี ย งแค่บ ริ ษั ท เดี ย ว เราไม่ ส ามารถที่ จ ะดูแ ลได้ เพราะฉะนั้น คิ ด ว่ า ถ้า ได้รับ
ความร่วมมือจากทุก ๆ หน่วยงาน ทุก ๆ บริษัททัวร์ทางทะเลร่วมมือกัน คิดว่าทรัพยากรทางทะเลของเรา
จะอยู่และยั่ง ยื นกับเราไปอี กนาน เพราะตอนนีเ้ ราก็ไ ด้รับผลกระทบหลายอย่างแล้วที่เกิ ดขึน้ มา เราได้
มองเห็นคุณค่าของธรรมชาติมากขึน้ ว่า สิ่งที่เขาควรอยู่กบั เรา เพราะถ้าเขาไม่อยู่กบั เรา เราจะสูญเสียอะไร
เพราะฉะนัน้ บริษัทสามารถพูดคานีไ้ ด้เลยว่า เราต้องทาให้ได้มากที่สดุ เท่าที่ทาได้...” (A15)
จากแนวคิ ด เศรษฐกิ จ สี น ้า เงิ น กั บ การป้ อ งกั น และดู แ ลรัก ษาด้า นสิ่ ง แวดล้ อ มนั้ น ควรมี
การประเมินผลกระทบ และสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิ ดขึน้
ต่อธรรมชาติในอนาคตทั้ง ด้า นบวกและด้า นลบ จะเห็นได้ว่าที่ กล่าวมาภาคผู้ประกอบการซึ่ง เป็ น ผู้ใ ช้
ผลประโยชน์ทางทะเลมีความตัง้ ใจและใส่ใจอนุรกั ษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลเป็ นทุนเดิมอยูแ่ ล้ว
แต่ก ารบูร ณาการจากภาครัฐ ที่ จ ะเข้า มาร่ว มกัน ป้อ งกัน ดูแ ลรัก ษาด้า นสิ่ ง แวดล้อ ม เพื่ อ ให้ท รัพ ยากร
ทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนค่อนข้างน้อย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้ องต้องมีการจัดการและ
วางแผนอย่างเป็ นระบบ สรรหาบุคลากรที่ มี ความรู ด้ า้ นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากร
การท่องเที่ยว (สุเทพ สิงห์ฆาฬะ, 2560) อาจใช้การประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เรื่องการอนุรกั ษ์ธรรมชาติและ
53
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
สิ่ง แวดล้อม เพื่ อให้ผู้คนที่ ใช้ประโยชน์ในพื น้ ที่ ต ระหนัก ถึง ความส าคัญของทรัพ ยากรธรรมชาติท่ี มี ต่อ
การท่องเที่ยว เพื่อหาวิธีปอ้ งกันผลกระทบเชิงลบจากการท่องเที่ยว

สรุปและอภิปรำยผล
ผลการศึกษานี ท้ าให้ทราบว่า กลุ่ม ผู้ประกอบการมี ความรู ้ และความสามารถในการประกอบ
กิ จ กรรมเรื อ ท่ อ งเที่ ย ว รวมทั้ง มี ค วามเอาใจใส่ เพื่ อ สร้า งความพึ ง พอใจให้แ ก่ ลู ก ค้า โดยมี ก ารให้
ความช่วยเหลือสังคมจากผลประกอบกิจการเรือท่องเที่ยว ให้ความรูแ้ ก่นกั ท่องเที่ยว และสร้างการตระหนัก
ถึงการอนุรกั ษ์ธรรมชาติการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีนา้ เงิน ซึ่งถือว่าเป็ นการประยุ กต์ใช้แนวคิด
เศรษฐกิ จ สี น า้ เงิ น สู่ก ารท่อ งเที่ ย วอย่า งยั่ง ยื น ต่อ ระบบนิ เ วศทางทะเลในพื น้ ที่ ข องตัว เอง โดยมุ่ง เน้น
การพัฒนา 3 ด้านสาคัญ ได้แก่
1) ด้า นเศรษฐกิ จ ที่ ส่ ง ผลต่ อ การด าเนิ น งาน ผู้ป ระกอบการเรื อ ท่อ งเที่ ย วมี ก ารด าเนิ น กิ จ การ
โดยการใช้องค์ความรูข้ องการดาเนินธุรกิ จแสดงความหวงแหนทรัพยากรทางทะเลที่เป็ นแหล่งทามาหากิน
โดยการปฏิบตั ิตามระเบียบและข้อกาหนด ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลผ่านทางการบริการ
อันเป็ นเครื่องมื อส าคัญของการพัฒนากิจกรรมเรือท่องเที่ ยว ตลอดจนเป็ นแบบอย่างที่ ดี พร้อมทัง้ เพิ่ม
ความมั่นใจในการลงทุน และจัดสรรการใช้ประโยชน์ภายในพืน้ ที่เศรษฐกิจสีนา้ เงินได้อย่างสมเหตุสมผล
2) ด้านสังคมและผลกระทบโดยรวม ผูป้ ระกอบการเรือท่องเที่ยวรวมถึงคนในชุมชนท้องถิ่นทุกคน
พร้อมใจร่วมมือกันดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเล ไม่ให้นกั ท่องเที่ยวทาลายสิ่งแวดล้อมทางทะเลเป็ นเหตุ
ให้เกิดการเสื่อมโทรม เพื่อป้องกันการเกิ ดผลกระทบเป็ นวงกว้างในการประกอบกิจ การ ทัง้ ยังช่วยเพิ่ม
โอกาสด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนมากยิ่งขึน้ สาหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีนา้ เงินที่ผปู้ ระกอบการเรือ
ท่องเที่ยวประกอบธุรกิจ โดยคานึงถึงความเหมาะสม และเป็ นการสร้างงาน สร้างความเข้าใจให้กบั ชุมชน
ท้องถิ่นที่เป็ นเจ้าของพืน้ ที่โดยมีปัญหาขัดแย้งหรือผลกระทบอันอาจเกิดขึน้ กับชุมชนโดยรอบให้นอ้ ยที่สดุ
และเอือ้ ประโยชน์ซ่งึ กันและกัน
3) ด้านสิ่งแวดล้อมและการป้องกันดูแลรักษา ผูป้ ระกอบการเรือท่องเที่ยว รวมถึงการประกอบกิจกรรม
เรื อท่องเที่ ยวได้ให้ความรู ้แก่ นักท่องเที่ ยว และได้สร้างการตระหนักรู ถ้ ึ งการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยการให้
นักท่องเที่ยวรับรูถ้ ึงการอนุรกั ษ์ธรรมชาติ ไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ งซึ่งการป้องกันดูแล
รักษาดังกล่าวทาให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ งคงความสวยงามอยู่ และยังช่วยลด
ผลกระทบสะสมในกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเลภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีนา้ เงิน
ประเทศไทยยัง ไม่ มี นโยบายใดก าหนดทิ ศทางการพัฒ นาที่ ชัดเจนเกี่ ยวกั บเศรษฐกิ จ สี น ้า เงิ น
ทัง้ นโยบายที่กาหนดไว้ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
พ.ศ. 2560-2564 ที่มีสาระสาคัญที่สอดคล้องและมุ่งให้ความสาคัญกับผลประโยชน์แห่งชาติทางท้องทะเล
54
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
กล่าวคือ มีวตั ถุประสงค์และเป้าหมายที่ตอ้ งการวางรากฐานให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
สามารถเข้า ถึ ง ทรัพ ยากรได้ อ ย่ า งมี คุณ ภาพและเป็ น มิ ต รกับ สิ่ ง แวดล้อ ม (ดวงพร อุไ รวรรณ, 2561)
ถึงแม้ผปู้ ระกอบการหรือผูเ้ ชี่ยวชาญในกิจกรรมเรือท่องเที่ยวนัน้ จะมีการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมให้เป็ นจุดแข็ง
ของการบริการอาจยังไม่เพียงพอ ดังนัน้ ภาครัฐควรออกนโยบายเกี่ ยวกับเศรษฐกิจสีนา้ เงินอย่างจริงจั ง
และควรมี การพูดคุย หรือบูรณาการความร่วมมื อกับภาคเอกชน หรือภาคผู้ประกอบการในภาคธุ รกิ จ
เดียวกันให้มีการดาเนินงานร่วมกัน
อย่างไรก็ ตามกิ จ กรรมการท่องเที่ ยวทางทะเลถึง แม้จ ะยากที่ จ ะควบคุม ให้เป็ นไปตามแนวคิ ด
เศรษฐกิจสีนา้ เงิน แต่ก็เป็ นการรับรูถ้ ึงขัน้ ตอนแรกที่สาคัญในการจัดการหรือป้องกันกับความเสี่ยงดังกล่าว
Dimopoulos, Queiros, and Van Zyl (2019) กล่ า วว่ า กิ จ กรรมเรื อ ท่ อ งเที่ ย วทางทะเลกับ มุม มองของ
ผูป้ ระกอบการ หรือผูเ้ ชี่ยวชาญในเรือท่องเที่ยวนัน้ มีความเป็ นไปได้ท่ีจะพัฒนาเศรษฐกิจสีนา้ เงินให้สอดรับ
กับบริบทการบริหารจัดการของประเทศไทย เพื่ อนาไปสู่การนาเสนอแนวทางการบริห ารจัดการ และ
การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจสีนา้ เงินของประเทศไทยต่อไป เศรษฐกิจสีนา้ เงินถือเป็ นอีกหนึ่งผลประโยชน์
แห่งชาติทางทะเลของประเทศไทยที่จาต้องได้รบั การพิทกั ษ์ ปกป้อง และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์
อย่ า งยั่ง ยื น ที่ ส าคัญ คื อ การสนับ สนุน ให้เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เป็ น ธรรม และ
มีความยั่งยืน ภายใต้วิธีคิดแบบใหม่ท่ีเป็ นระบบ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
รวมถึงผลักดันให้ภาคประชาชนและนักท่องเที่ยวทัง้ ชาวไทยและชาวต่างชาติเกิดความตื่นตัวและร่วมมือ
ในการรักษาสภาพแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างถูกต้อง เพื่อเป็ นแนวทางในการดาเนิน
กิจกรรมเรือท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจสีนา้ เงินควบคู่กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างยั่งยืน

ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยข้างต้น ได้นามาสู่ข้อเสนอแนะต่อการจัดการของผู้ประกอบการเรือ ท่องเที่ ย ว
ต่อเศรษฐกิจสีนา้ เงินในมิตติ า่ ง ๆ ดังนี ้
1. ผูป้ ระกอบการเรือท่องเที่ยวควรมีแนวทางปฏิบตั ทิ ่ีเหมือนกัน เช่น แนวทางมัคคุเทศก์และพนักงาน
บนเรือที่บอกกล่าวถึง กฎระเบียบต่าง ๆ ให้ลูกค้าจาเป็ นต้องปฏิ บัติ ตาม เพื่อให้เกิดมาตรฐาน ระเบียบ
แบบแผนสาหรับกิจกรรมเรือท่องเที่ยว
2. แนวทาง การวางแผน หรือการขอความร่วมมือ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอนุรกั ษ์ทรัพยากร
ทางทะเลส่วนใหญ่เป็ นการปฏิบตั ิโดยบุคคล กล่าวคือ ผูป้ ระกอบการ มัคคุเทศก์ หรือพนักงานบนเรือเท่านัน้
ท าให้ก ารสนับ สนุน และให้ข้อ มูล จากหน่ว ยงานค่อ นข้า งน้อ ย นับ ว่า เป็ น ปั จ จัย ส าคัญ ของการจัด การ

55
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีนา้ เงิน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างกลุ่ม
ผูป้ ระกอบการมากกว่านี ้
สาหรับข้อเสนอแนะในการงานวิจยั ครัง้ ต่อไป ควรจะขยายพืน้ ที่การเก็บข้อมูลให้กว้างขึน้ เนื่องจาก
งานวิจัยชิน้ นีก้ าหนดให้ขอ้ มูลหลักอยู่ในพืน้ ที่จังหวัดภูเก็ตเท่านัน้ และในงานวิจัยครัง้ ต่อไปแนะนาให้มี
การท าวิ จัย ในช่ ว งเวลาที่ เ หตุก ารณ์ส ถานการณ์โ ควิ ด -19 ได้บ รรเทาลง ซึ่ ง จะสามารถรวบรวมกลุ่ม
ผูป้ ระกอบการได้มากขึน้ รวมถึงเพื่อให้ทราบถึงมุมมองของการท่องเที่ยวในภาคเศรษฐกิจสีนา้ เงินที่ ต่าง
ออกไป เช่น มุมมองของภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ ยวข้อง หรือมุมมองของกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจสีนา้ เงิน
อื่น ๆ อาทิ การประมง การเดินเรือ การขนส่ง โรงแรม รีสอร์ต ที่มีแหล่งที่ตงั้ บนเกาะหรือตามแนวชายฝั่ ง
ตลอดถึงการขุดเจาะนา้ มัน แก๊สธรรมชาติ เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคเศรษฐกิจ
สีนา้ เงินนัน้ มีมุมมองที่เกี่ ยวเนื่องกันหรือไม่ เพื่อให้มีขอ้ มูลที่หลากหลายประกอบการพัฒนาเศรษฐกิ จ
สีนา้ เงินของประเทศไทยต่อไป

เอกสำรอ้ำงอิง
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง. (2559). แผนแม่ บทการบริ หารจั ดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง
พ.ศ. 2560-2579. สื บค้นเมื่ อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก https://dmcrth.dmcr.go.th/ attachment/dw/
download.php?WP=rUqjMT00qmAZG22DM7y04TyerPMjZ200qmyZZz1CM5O0hJatrTDo7o3Q
คณะกรรมการสถิติจงั หวัดภูเก็ต, สานักงานสถิติจงั หวัดภูเก็ต. (2561). แผนพัฒนาสถิติระดับพืน้ ที่ จังหวัด
ภูเก็ต ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561-2564). สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก http://phuket.nso.
go.th/images/new/interest_stat/analysis_popular61_64.pdf
นิรมล สุธรรมกิจ และ อนิณ อรุณเรืองสวัสดิ.์ (2561). การศึกษาแนวโน้มของการพัฒนาจังหวัดชายฝั่งทะเล
ของไทย เพื่ อ เข้ า สู่ เ ศรษฐกิ จ สี น้ า เงิ น (SRI6030701). สื บ ค้น เมื่ อ 20 พฤษภาคม 2563,
จาก https://elibrary.trf.or.th /project_content.asp?PJID=SRI6030701
ณฐนภ ศรัทธาธรรม. (2563). ถึงเวลาแล้วหรือยังทีส่ งั คมไทย จะหันมาสนใจ “เศรษฐกิจสีนา้ เงิน”. สืบค้นเมื่อ
20 พฤษภาคม 2563, จาก https://researchcafe.org/study-of-potential-development-for-blue-
economy
ดวงพร อุไรวรรณ. (2561). แนวคิดเศรษฐกิจสีนา้ เงินกับผลประโยชน์แห่งชาติทางท้องทะเลของประเทศ
ไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 1-13.
เรณู สุขารมณ์ และยุวดี คาดการณ์ไกล. (2554). บทวิจารณ์หนังสือ: The Blue Economy-10 Years, 100
Innovations, 100 Million Jobs. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 4(7), 78-86.
ศิลปพร ศรีจ่นั เพชร. (2560). การวิจยั เชิงคุณภาพ. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(37), 92-103.
56
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
สานักงานสถิติจงั หวัดภูเก็ต. (2561). โครงการจัดทาแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด ปี งบประมาณ พ.ศ. 2561.
สื บ ค้ น เมื่ อ 20 พฤษภาคม 2563, จากhttp://phuket.nso.go.th/images/new/ interest_stat/
analysis_popular.pdf
สุเทพ สิงห์ฆาฬะ. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ย่ งั ยืนในมุมมองของผูป้ ระกอบการท่องเที่ยว
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตาบลกมลา อาเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์, 3(2), 127-136.
โสภารัตน์ จารุสมบัติ (บรรณาธิการ). (2561). คู่มือการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจสีนา้ เงินของประเทศไทย.
สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.trf.or.th/attachments/article/13429/
Blue_Economy-A_Policy_Handbook.pdf
อรพรรณ ณ บางช้าง และอิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์. (2557). การศึกษาความเป็ นไปได้ในการใช้มาตรการทาง
เศรษฐศาสตร์เ พื่อสนับสนุนการบริหารการจัดการทรัพ ยากรทะเล (RDG5430017). สืบค้นเมื่อ
20 พฤษภาคม 2563, จาก https://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5430017
Dimopoulos, D., Queiros, D., & van Zyl, C. (2019). Sinking deeper: The most significant risks
impacting the dive tourism industry in the East African Marine Ecoregion. Ocean & Coastal
Management, 181(November), 104897
Erzberger, C., & Prein, G. (1997). Triangulation: Validity and empirically-based hypothesis construction.
Quality and Quantity, 31(2), 141–154.
European Commission. (2020). The EU Blue Economy Report 2020. Retrieved from
https://medblueconomyplatform.org/wp-content/uploads/2020/08/file-library-5ebcdba
54fcab7a5c6b0.pdf
European Parliamentary Research Service. (2020). The Blue Economy, Overview and EU policy
framework (PE 646.152 – January 2020).
Garland, M., Axon, S., Graziano, M., Morrissey, J., & Heidkamp, C. P. (2019). The blue economy:
Identifying geographic concepts and sensitivities. Geography Compass, 13(7), Retrieved
May 20, 2021, from https://doi.org/10.1111/gec3.12445
Gon, M., Osti, L., & Pechlaner, H. (2016), Leisure boat tourism: residents’ attitudes towards
nautical tourism development, Tourism Review, 17, 180-191.
Hagaman, A. K., & Wutich, A. (2017). How Many Interviews Are Enough to Identify Metathemes in
Multisited and Cross-cultural Research? Another Perspective on Guest, Bunce, and
Johnson’s (2006) Landmark Study. Field Methods, 29(1), 23-41.
57
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
Hoerterer, C., Schupp, M. F., Benkens, A., Nickiewicz, D., Krause, G., & Buck, B. H. (2020).
Stakeholder perspectives on opportunities and challenges in achieving sustainable growth
of the blue economy in a changing climate. Frontiers in Marine Science, 6(795). 1-12.
Jamshed, S. (2014). Qualitative research method-interviewing and observation. Journal of Basic
and Clinical Pharmacy, 5(4), 87-88.
Jones, A., & Navarro, C. (2018). Events and the blue economy: Sailing events as alternative
pathways for tourism futures – the case of Malta. International Journal of Event and Festival
Management, 9(2), 204-222.
Kathijotes, N. (2013). Keynote: Blue economy: Environmental and behavioural aspects towards
sustainable coastal development. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 101, 7-13.
Retrieved May 20, 2021, from https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2013.07.173
Malterud, K., Siersma, V. D., & Guassora, A. D. (2016). Sample size in qualitative interview studies:
Guided by information power. Qualitative health research, 26(13), 1753–1760.
Natow, R. S. (2020). The use of triangulation in qualitative studies employing elite interviews.
Qualitative Research, 20(2), 160–173.
Palinkas, L. A., Horwitz, S. M., Green, C. A., Wisdom, J. P., Duan, N., & Hoagwood, K. (2015).
Purposeful sampling for qualitative data collection and analysis in mixed method
implementation research. Administration and Policy in Mental Health and Mental Health
Services Research, 42(5), 533–544.
Pauli, G. (2010). The Blue Economy: 10 Years, 100 Innovations, 100 Million Jobs. Taos, New
Mexico: Paradigm Publications.
Phelan, A., Ruhanen, L., & Mair, J. (2020). Ecosystem services approach for community-based
ecotourism: Towards an equitable and sustainable blue economy. Journal of Sustainable
Tourism, 28(10), 1665-1685.
Robinson, O. C. (2014). Sampling in interview-based qualitative research: A theoretical and
practical guide. Qualitative Research in Psychology, 11(1), 25–41.
Sdoukopoulos, E., Perra, V. M., Boile, M., Efthymiou, L., Dekoulou, P., & Orphanidou, Y. (2021).
Connecting cruise lines with local supply chains for enhancing customer experience:
A platform application in Greece. In E. Nathanail, G. Adamos, & I. Karakikes (Eds.),
Advances in Mobility-as-a-Service Systems (Vol. 1278, pp.1086–1096). Springer US.
58
วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
ปี ที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564
------------------------------------------------------------------------------
Spalding, M. J. (2016). The new blue economy: The future of sustainability. Journal of Ocean and Coastal
Economics, 2(2), 8, Retrieved May 20, 2021, from https://doi.org/10.15351 /2373-8456.1052
Tegar, D., & Gurning, R. O. S. (2018). Development of marine and coastal tourism based on blue
economy. International Journal of Marine Engineering Innovation and Research, 2.
Wenhai, L., Cusack, C., Baker, M., Tao, W., Mingbao, C., Paige, K., & Others. (2019). Successful
blue economy: Examples with an emphasis on international perspectives. Frontiers in
Marine Science, 6(261).
UNCTAD. (2020). The COVID-19 Pandemic and the Blue Economy: New Challenges and
Prospects for Recovery and Resilience. Retrieved May 20, 2021, from
https://unctad.org/system/files/ official-document/ditctedinf2020d2_en.pdf
UNWTO. (2019). Tourism in the 2030 Agenda. Retrieved May 20, 2021, from
https://www.unwto.org/tourism-in-2030-agenda
Zappino, V. (2005). Caribbean Tourism and Development: An overview. (ECDPM Discussion
Paper No. 65). Maastricht: ECDPM. Retrieved May 20, 2021, from http://ecdpm.org/
wpcontent/uploads/ 2013/11/DP-65-Caribbean-Tourism-Industry-Development-2005.pdf

59

You might also like