You are on page 1of 38

สารบัญ

บทสรุปผู้บริหาร 1

I. บทนํา 4

II. ความท้าทายทีประเทศไทยต้องเผชิญจากปญหาสิ งแวดล้อม 7

III. บทบาทภาคการเงินเพือรับมือกับการเปลียนแปลงด้านสิ งแวดล้อม 11

IV. แนวทางดําเนินงานของ ธปท. เพือรับมือกับการเปลียนแปลงด้านสิ งแวดล้อม 13

V. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพือขับเคลือนและรับมือกับปญหาสิ งแวดล้อม
อย่างบูรณาการ 24

VI. ผลลัพธ์ทีประเทศไทยจะได้รบ
ั (What success looks like) 26

ภาคผนวก 28
บทสรุปผู้บริหาร

บทสรุปผูบ้ ริหาร
ปจจุบันประเทศไทยกําลังเผชิญกับการเปลียนแปลงด้านสิ งแวดล้อมทีเร่งตัวและส่งผลกระทบ
รุนแรงมากขึน ทั งจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปญหาฝุน PM 2.5 รวมถึงแรงกดดันจากนโยบาย
การค้าระหว่างประเทศในการปรับตัวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนตา ขณะทีโครงสร้างเศรษฐกิจไทย
ยังพึงพาการใช้พลังงานจากถ่านหินและนามัน และใช้เทคโนโลยีแบบดั งเดิมทียังไม่เปนมิตร
กับสิ งแวดล้อมเท่าทีควร ดังนั น การปรับเปลียนให้ระบบเศรษฐกิจไทยมุ่งสู่การเปนเศรษฐกิจ ที
เปนมิตรกับสิ งแวดล้อมมากขึน รวมถึงการบรรลุเปาหมายความเปนกลางทางคาร์บอนภายใน
ป 2593 (ค.ศ. 2050) และเปาหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเปนศูนย์ภายในป 2608
(ค.ศ. 2065) ตามที รัฐ บาลประกาศเจตนารมณ์ ไ ว้ จึ ง ต้ อ งมี แ ผนงานที ชั ด เจนโดยคํ า นึง ถึง
จังหวะเวลาและความเร็วของการดําเนินการทีเหมาะสมกับบริบทและความพร้อมของระบบ
เศรษฐกิจและสังคมไทยควบคู่กันด้วย

ความท้ า ทายสํ า คั ญ ในการขั บ เคลื อนระบบเศรษฐกิ จ ไทยเพื อรั บ มื อ กั บ การเปลี ยนแปลง


ด้ า นสิ งแวดล้ อ ม คื อ การลงทุ น เพื อรับ มื อ กั บ ภั ย พิ บั ติ ท างธรรมชาติ ที ต้ อ งอาศั ย เงิ น ลงทุ น
มหาศาล ขณะทีกลไกตลาดยังไม่สามารถสร้างแรงจูงใจได้เพียงพอทีจะเอือให้แต่ละภาคส่วน
โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) เร่งปรับตัวได้อย่างเท่าทัน เนืองจากขาดข้อมูล
ด้านสิ งแวดล้อมทีจะใช้ประเมินโอกาสและความเสียงทีอาจจะเกิดขึน รวมถึงการผนวกปจจัย
ด้านสิ งแวดล้อมเข้าเปนส่วนหนึงของกระบวนการตัดสินใจและต้นทุนการดําเนินงานได้อย่า ง
เปนระบบ ส่งผลให้ความพร้อมในการปรับตัวของแต่ละภาคส่วนไม่เท่ากัน ดําเนินการได้ไม่
พร้อมกัน ซึงอาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันในระดับทีแตกต่างกันทั งในระยะสั น
และระยะยาว

ภาคการเงิ น ในฐานะที มี บ ทบาทสํ า คั ญ ในการจั ด สรรเงิ น ทุ น ให้ แ ก่ ร ะบบเศรษฐกิ จ จึ ง มี


ส่ ว นสํ า คั ญ ในการสนั บ สนุ น ให้ แ ต่ ล ะภาคส่ ว นสามารถปรับ ตั ว ได้ ผ่ า นการจั ด สรรเงิ น ทุ น สู่
ภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถลงทุนในเทคโนโลยีและปรับรูปแบบการทําธุ ร กิ จ ให้
รองรับ การเปลี ยนแปลงด้านสิ งแวดล้ อมได้อ ย่างเท่ าทั น ดั ง นั น ธนาคารแห่ ง ประเทศไทย
(ธปท.) ในฐานะผู้กํากับดูแลผู้ให้บริการในภาคการเงิน โดยเฉพาะสถาบันการเงิน จึงกําหนด
ทิ ศ ทางการดํ า เนิ น งานที สํ าคั ญ เพื อสนั บ สนุ นบทบาทของภาคการเงิ น เพื อให้ ส ามารถตอบ
โจทย์ภาคส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ งขึน ดังนี

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 1
บทสรุปผู้บริหาร

1. ลดความลักลั นในการเตรียมความพร้อมและปรับตัวของแต่ละภาคส่วน โดยจัดตั ง


คณะทํางานร่วมภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน เพือจัดทํา Thailand Taxonomy ให้
เปนมาตรฐานกลางในการกํ า หนดนิ ย ามของกลุ่ ม กิ จ กรรมที เปนมิ ต รกั บ สิ งแวดล้ อ มของ
ประเทศ เพือเปนหลักอ้างอิงและสร้างความเข้าใจทีตรงกัน โดยจะเริ มจากกลุ่มกิจกรรมที มี
นัยสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยและมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas:
GHG) สูง คือภาคพลังงานและภาคขนส่ง และจะทยอยทําสําหรับภาคเกษตรและอุตสาหกรรม
ในช่วงปลายป 2566

2. แ ก้ ป ญ ห า information asymmetry โ ด ย ร่ ว ม มื อ กั บ ห น่ ว ย ง า น ต่ า ง ๆ ใ น
การพั ฒ นาระบบฐานข้อมู ล กลางด้ านสิ งแวดล้ อมของประเทศ เพื อให้ มี ฐ านข้ อมู ลเพียงพอ
เพือสนับสนุนการจัดและจําแนกกลุ่มกิจกรรมตาม Thailand Taxonomy รวมถึงการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินทีคํานึงถึงสิ งแวดล้อม โดยจะทยอยพัฒนาระบบฐานข้อมูล
ตั งแต่ไตรมาส 4 ป 2565

3. เร่งส่งเสริมให้สถาบันการเงินผนวกแนวคิดด้านสิ งแวดล้อมเข้าเปนส่วนหนึงของ
การดํ า เนิน งานอย่า งมี ม าตรฐาน โดยจะออกแนวนโยบายการดํา เนิน งานด้านสิ งแวดล้อม
(standard practice) ในไตรมาส 3 ป 2565 และผลักดันให้สถาบันการเงินจัดทําแนวปฏิบัติ
ทีดี (industry handbook) เพือใช้อ้างอิงเปนมาตรฐานขั นตาในการบริหารความเสียงร่วมกัน
ในไตรมาส 2 ป 2566 เพือให้มั นใจว่าระบบการเงินสามารถจัดสรรเงินทุนและมีผลิตภัณฑ์และ
บริการรองรับการปรับตัวด้านสิ งแวดล้อมของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs อย่างเพียงพอและ
ตอบโจทย์ความต้องการ

4. สนับสนุนให้มีมาตรการสร้างแรงจูงใจทีเหมาะสม เพือกระตุ้นให้สถาบันการเงิน
ภาคธุ ร กิ จ และผู้ บ ริโ ภคเห็น ถึง ความจํ าเปนเร่งด่ว นในการปรับ ตัวด้า นสิ งแวดล้ อม รวมถึ ง
แนวทางการช่ ว ยบรรเทาภาระค่ า ใช้ จ่ า ยที อาจเกิ ด ขึ นทั งต้ น ทุ น การดํ า เนิ น งานและต้ น ทุน
ด้ า นความเสี ยง เช่ น กลไกการคาประกั น ด้ า นสิ งแวดล้ อ ม กลไกสนั บ สนุ น ค่ า ใช้ จ่ า ยใน
การขอมาตรฐานรับ รองการเปนกิ จกรรมที เปนมิ ตรกั บ สิ งแวดล้ อ ม โดยจะทยอยพิจ ารณา
ความเหมาะสมของมาตรการต่าง ๆ ตั งแต่ไตรมาส 4 ป 2565

5. ยกระดั บ ความรู้ แ ละความชํ า นาญของบุ ค ลากรในภาคการเงิ น โดยพั ฒ นา


หลั ก สู ต รร่ ว มกั บ ผู้ เ ชี ยวชาญจากหน่ ว ยงานต่ า ง ๆ ทั งในและต่ า งประเทศอย่ า งต่ อ เนื อง
เพือสร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจ รวมทั งเพิ มความสามารถด้านการประเมินโอกาส
และความเสียงด้านสิ งแวดล้อม และให้คําแนะนําแก่ภาคธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 2
บทสรุปผู้บริหาร

หากภาคการเงินสามารถดําเนินการได้บรรลุผลตามเปาประสงค์ จะมีส่วนช่วยให้ทุกภาคส่วน
เข้าใจและสามารถระบุกิจ กรรมทีเปนมิต รกั บสิ งแวดล้อมได้อย่า งมี มาตรฐานสอดคล้ อ งกั น
และสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสิ งแวดล้อมได้เพียงพอเพือใช้ประกอบการตัดสินใจในมิติต่าง ๆ
เช่น การกําหนดนโยบาย กลยุทธ์ หรือการบริหารความเสียง ภาครัฐสามารถดําเนินนโยบาย
ได้ตรงจุดสอดคล้องกับบริบทของประเทศ และสามารถเชือมโยงภาคเศรษฐกิจต่า ง ๆ ได้ดี
ยิ งขึ น โดยมี Thailand Taxonomy เปนมาตรฐานกลางและมี ข้ อ มู ล สนั บ สนุ น การดํ า เนิ น
นโยบายอย่างเพียงพอ กลุ่มสถาบันการเงินได้รบ
ั ความเชือมั น รวมทั งมีผลิตภัณฑ์และบริก าร
ที ตอบโจทย์ ก ารปรั บ ตั ว ของภาคธุ ร กิ จ ด้ ว ยราคาที เหมาะสมกั บ ต้ น ทุ น และความเสี ยง
ภาคธุรกิจ สามารถแข่งขันได้ดีขึนจากการปรับเปลียนห่วงโซ่การผลิตและขั นตอนดําเนิ นการ
ของบริษัทได้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล SMEs ทราบถึงช่องว่างในการปรับตัวของตนเอง
และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพือช่วยให้ปรับตัวด้วยต้นทุนทีไม่เปนภาระมากจนเกินไป และ
สามารถอยู่รอดได้ในระบบเศรษฐกิจทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อม ส่วนนักลงทุนและประชาชนมี
แหล่ ง ข้ อ มู ล อ้ างอิง จากการเปดเผยข้อ มูล ที มี ม าตรฐาน เพื อใช้ป ระกอบการตัดสิ นใจลงทุน
เลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์ทางการเงินทีสนับสนุนกิจกรรมทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อม

ทั งนี การขับเคลือนระบบเศรษฐกิจเพือรับมือกับการเปลียนแปลงด้านสิ งแวดล้อมให้เกิดผล


เปนรูปธรรม ทุกภาคส่วนทั งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการเงินต้องประสานความร่วมมือกัน
อย่างบูรณาการและต่อเนือง โดยเฉพาะภาครัฐทีต้องมีบทบาทสําคัญในการกําหนดทิศทาง
และกรอบเวลาในการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ (reference pathway) การเร่งพัฒนา
โครงสร้างพืนฐานสําคัญเพือสนับสนุนให้เกิดกลไกตลาดและกลไกด้านราคาทีสะท้อนต้นทุน
การดํ า เนิ น งานและผลกระทบด้ า นสิ งแวดล้ อ ม (price-in externality) ได้ อ ย่ า งเหมาะสม
เพือให้แต่ละภาคส่วนวางแผนการดําเนิน งานและจัด สรรทรัพยากรรองรับได้สอดคล้ อ งกั น
และช่วยให้บรรลุเปาหมายของประเทศทั งด้านสิ งแวดล้อมและสังคมเศรษฐกิจได้อย่างยั งยืน

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 3
บทนำ

I. บทนำ
ธปท. จั ด ทํ า เอกสารทิ ศ ทางการดํ า เนิ น งานเพื อความยั งยื น ด้ า นสิ งแวดล้ อ ม (directional paper)
ฉบั บ นี เพื อกํ า หนดทิ ศ ทางเชิ ง กลยุ ท ธ์ ใ ห้ ทุ ก ภาคส่ ว นโดยเฉพาะภาคการเงิ น เร่ง ปรับ ตั ว รวมถึ ง
พัฒนาโครงสร้างพืนฐานเพือรับมือกับการเปลียนแปลงด้านสิ งแวดล้อมโดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศ
ซึ ง เ ป น ส่ ว น ห นึ ง ข อ ง ก า ร ดํ า เ นิ น ก า ร ภ า ยใ ต้ แ น ว น โ ย บ า ย ภู มิ ทั ศ น์ ใ ห ม่ ภ า ค ก า ร เ งิ น ไ ท ย
(Financial Landscape)1 ทีมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมและการกํากับ
ดู แ ลความเสี ยง เพื อสนับ สนุ น การเปลียนผ่า นไปสู่เศรษฐกิ จดิ จิทั ล และเศรษฐกิ จที เปนมิต รกับ
สิงแวดล้อม

ก า ร ดํ า เ นิ น การ ใ นส่ วน ควา มยั ง ยื น ด้ าน สิ งแ วดล้ อ มมี เ ปา หมายสํ าคั ญเ พื อ ใ ห้ ภ าค การ เงิ น
(1) มีความพร้อมรับมือกับโอกาสและความเสียงด้านสิ งแวดล้อมอย่างเปนระบบ และ (2) ช่วยสนับสนุน
ให้ ภ าคธุ ร กิ จ ปรับ ตั ว และลดกิ จกรรมทางเศรษฐกิ จที ไม่ เ ปนมิ ต รกั บ สิ งแวดล้ อ มได้ อ ย่ า งทั น การณ์
ทั งนี เพือให้มั นใจว่าทิศทาง แนวทาง และกรอบเวลาดําเนินการทีระบุในเอกสารฉบับนีมีความชัดเจน
และเปนไปได้ในทางปฏิบัติ ธปท. ได้พิจารณาถึง

- ข้อ คิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและสาธารณชน ทีได้จากการทํา public hearing แนวนโยบาย


Financial Landscape ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 (รายละเอียดตาม Box 1)

1
ดูรายละเอียดเอกสาร Financial Landscape เพิ มเติมได้ที https://www.bot.or.th/landscape/files/consultation-paper-th.pdf

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 4
บทนำ

- บริบทและความพร้อ มของประเทศไทย ทีต้องบรรลุเปาหมายความเปนกลางทางคาร์บอน


(carbon neutrality) ในป 2593 (ค.ศ. 2050) และการปล่อ ยก๊า ซเรือ นกระจกสุท ธิเ ปนศูนย์
(net zero emission) ภายในป 2608 (ค.ศ. 2065)

- มาตรฐานสากล แนวทางการดํ า เนิ น งานและประสบการณ์ ใ นต่ า งประเทศ เพื อติ ด ตาม


พัฒนาการและวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละประเทศทีสามารถนํามาประยุกต์ใช้กับบริบท
ของประเทศไทยได้

Box 1 สรุปข้อคิดเห็น จาก public hearing ความยั่งยืนด้า นสิ่ งแวดล้ อ ม


(เดือนกุมภาพันธ์ 2565)

ในภาพรวมทุกภาคส่ว นเห็ น ตรงกัน ว่ า ปญหาด้ า นสิ งแวดล้ อ มเปนประเด็ น ที ต้ อ งเร่ง


ดํ า เนิ น การและประเทศไทยควรมี ทิ ศ ทางและแนวทางดํ า เนิ น การเพื อให้ บ รรลุ เ ปาหมาย
ด้ า นสิ ง แว ด ล้ อ ม ( net zero emissions) อ ย่ า ง บู ร ณ า ก า ร ชั ด เ จ น แล ะ เ ป นรู ป ธ ร ร ม
โดยภาคธุ ร กิ จ เห็ น ว่ า การปรับ ตั ว ให้ อ ยู่ ร อดในระยะยาวจํ า เปนต้ อ งปรับ เปลี ยนรู ป แบบธุ ร กิ จ
การจั ด หาวั ต ถุ ดิ บ เทคโนโลยี ที ใช้ ใ นกระบวนการผลิ ต ซึ งเปนการลงทุ น ที มี ต้ น ทุ น สู ง และใช้
ระยะเวลาคื น ทุน ยาว จึ ง ควรมี ผ ลิต ภัณ ฑ์ และบริการทางการเงิ น รวมถึ ง มาตรการภาครัฐช่ว ย
สนับสนุนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะ SMEs ซึงมีเงินทุน ทรัพยากร และองค์ความรู้ค่อนข้างจํากัด
นอกจากนี ภาคการเงินต้องการให้มีมาตรฐานการดําเนินงานด้านสิ งแวดล้อมทีสอดคล้องกัน และ
ต้ อ งการเห็ น ภาครั ฐ กํ า หนดทิ ศ ทางและกรอบเวลาในการปรั บ ตั ว ของภาคเศรษฐกิ จ ต่ า ง ๆ
(reference pathway) ไปสู่ net zero emissions ทีชัดเจน รวมถึงมีมาตรการสร้างแรงจูงใจเพือ
รองรับการปรับตัวตาม pathway ดังกล่าว ขณะเดียวกันควรสร้างความตระหนักรูใ้ ห้แก่ภาคธุรกิจ
และประชาชนทั วไปเพือกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจลงทุ นหรือ เลือกใช้ผ ลิตภั ณฑ์ที เปนมิ ต รกั บ
สิ งแวดล้อม

ดั ง นั น การดํ า เนิ น การด้ า นสิ งแวดล้ อ มต้ อ งบู ร ณาการการขั บ เคลื อนจากทุ ก ภาคส่ ว น
โดยเฉพาะนโยบายและมาตรการจากภาครัฐเพือให้บรรลุเปาหมายของประเทศร่วมกัน อย่างไรก็ดี
ในช่วงเปลียนผ่านควรมีทั งแรงจูงใจและบทลงโทษ (carrot and stick) ควบคู่กัน เพือช่วยลดภาระ
ห รื อ ต้ น ทุ น ที เ พิ มขึ น ใน การ ปรั บ ตั วขอ งภา คธุ ร กิ จ ภ า ค ก าร เ งิ น แ ล ะ ป ร ะ ชาชน ร ว ม ถึ ง
การปรับเปลียนกฎระเบียบให้เอือต่อการดําเนินธุรกิจทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อม

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 5
บทนำ

Box 1 สรุปข้อคิดเห็น จาก public hearing ความยั่งยืนด้า นสิ่ งแวดล้ อ ม


(เดือนกุมภาพันธ์ 2565) (ต่อ)
ข้อเสนอแนะต่อการสร้างระบบนิเวศการเงินเพือความยั งยืนด้านสิงแวดล้อม

- จั ด ทํ า คํ า นิ ยา มก ลา งด้ านสิ งแวด ล้ อ ม ( taxonomy) ให้ แ ล้ ว เสร็ จ ภายใน 1-2 ป


เพือรองรับนโยบายของภาครัฐ การดําเนินธุรกิจ และการระดมเงินทุนด้านสิ งแวดล้ อ ม
โดย taxonomy ควร 1) สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและบริบทของประเทศ โดยเฉพาะ
เปาหมาย net zero emissions 2) คํ า นึ ง ถึ ง ประเด็ น ด้ า นสั ง คม เช่ น สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน
3) สะท้อ นความคิดเห็นของทุกภาคส่วนเพือให้สามารถนําไปใช้ได้สอดคล้องกันทั งใน
และนอกภาคการเงิน และ 4) มีความโปร่งใสและน่าเชือถือเพียงพอเพือปองกันการเกิด
การกล่าวอ้างเกินจริงว่ามีการดําเนินการด้านสิ งแวดล้อมแล้ว (greenwashing)

- กําหนดแนวทางดําเนินงานด้านความยั งยืนและการเปดเผยข้อ มูลของสถาบันการเงิ น


ทีสอดคล้อ งกับมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐานตามข้อเสนอของ Task Force on Climate-
Related Financial Disclosures (TCFD) แ ล ะ ม า ต ร ฐ า น International Sustainability
Standards Board (ISSB) และควรใช้เทคโนโลยีเปนตัวช่วยให้มีการเปดเผยข้อมูล รวมถึง
มี data platform ทีเชือมต่อฐานข้อมูลของหน่ว ยงานต่าง ๆ เพือให้นักลงทุนประเมิ น และ
จัดการโอกาสและความเสียงด้านสิงแวดล้อมได้ดีขึน

- ภาครัฐและหน่วยงานกํากับดูแลควรมีมาตรการช่วยลดต้นทุน/สร้างโอกาสให้กับสถาบั น
การเงิ น และภาคธุ ร กิ จ ที คํ า นึ ง ถึ ง สิ งแวดล้ อ ม เช่ น 1) ให้ เ งิ น ช่ ว ยเหลื อ ในการปรับ ตั ว
2) ลดภาระทางภาษี 3) ให้สินเชือดอกเบียตา (soft loan) 4) ปรับลดนาหนักสินทรัพย์เสียง
(risk weighted asset) ให้ต่างจากเกณฑ์ปจจุบัน 5) อุดหนุนค่าใช้จ่ายการจ้างผู้ ทวนสอบ
(verifier) และ 6) จั ด อั น ดั บ ขององค์ ก รตามผลการดํ า เนิ น งานด้ า นความยั งยื น โดยมี
มาตรฐานทีสะท้อนบริบทของตลาดเกิดใหม่ด้วย

- ควรเร่งสร้างความรูเ้ กียวกับความยั งยืนด้านสิงแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)


ให้ ทั งบุ ค ลากรในภาคการเงิ น และผู้ ใ ช้ บ ริ ก ารทางการเงิ น โดยจั ด ให้ มี เ ครือ ข่ า ยและ
ส่วนงานทีเปนศูนย์กลาง เพือส่งเสริมการแลกเปลียนเรียนรูแ
้ ละความร่วมมือกัน

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 6
ความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

II. ความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญจากปัญหา
สิ่งแวดล้อม
การเปลียนแปลงด้านสิงแวดล้อ มโดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศทีเร่งตัวและรุนแรงขึน เปนหนึงใน
ปญหาที สร้า งผลกระทบและความเสียหายต่ อ ระบบเศรษฐกิ จและความเปนอยู่ ของประชาชน
รวมทั งทําให้เกิดความเสียงสําคัญ 2 ด้าน คือ

1. ความเสียงทางกายภาพ (Physical risk) ทีจะสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินจากภัยธรรมชาติ


สําหรับไทยถือเปนประเทศลําดับต้น ๆ ทีได้รับผลกระทบรุนแรงจากภัยธรรมชาติและปญหามลภาวะ
ต่ า ง ๆ เช่ น มหาอุ ท กภั ย ในป 2554 ที มี มู ล ค่ า ความเสี ย หายสู ง ถึ ง 1. 4 ล้ า นล้ า นบาท 2 ขณะที
ขี ด ความสามารถในการรับ มือกั บภัย ธรรมชาติ ข องไทยค่อ นข้างตา โดยอยู่ ใ นอั น ดั บที 39 จาก 48
ประเทศ 3 ซึ งหากไทยยั ง ไม่ เ ริ มปรับ ตั ว การเปลี ยนแปลงสภาพภู มิ อ ากาศอาจส่ ง ผลให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์
มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลดลงถึงร้อยละ 43.6 ในป 25914 ทั งนี เพือรับมือกับความเสียงข้างต้น
ไทยจะต้ อ งมี ก ารลงทุ น ในโครงสร้ า งพื นฐานอี ก มหาศาล เช่ น การบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรนา
ขณะเดี ย วกั น เพื อช่ ว ยลดความเสี ยงดั ง กล่า ว ในการประชุ ม COP26 ไทยได้ ย กระดั บ Nationally
Determined Contribution (NDC)5 ขึ นเปนร้ อ ยละ 40 ภายในป 2573 (ค.ศ. 2030) รวมทั งได้
ป ร ะ ก า ศเ จต น ารมณ์ พ ร้ อ มยกร ะดั บการ แก้ ไ ขปญหา ส ภาพ ภู มิ อ ากาศ เพื อ บร รลุ เปา หมาย
ความเปนกลางทางคาร์บอนภายในป 2593 (ค.ศ. 2050) และเปาหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สุทธิเปนศูนย์ภายในป 2608 (ค.ศ. 2065)

2. ความเสียงจากการเปลียนผ่านต่อระบบเศรษฐกิจ (Transition risk) ซึงเกิดจากการเร่งปรับตัว


เพือแก้ปญหาสภาพภูมิอากาศ จนอาจไปเพิ มโอกาสทีจะเกิดความเสียหายจากการเปลียนแปลงของ
ปจจัยต่าง ๆ ทั งค่านิยมของผู้บริโภคและนักลงทุน และพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎเกณฑ์
และนโยบายของทางการ เช่น นโยบายการลงทุน การจัดสรรงบประมาณ การเก็บภาษี รวมถึงนโยบาย
การค้ า ระหว่างประเทศเพือแก้ปญหาด้านสิ งแวดล้อ มและการปรับตั ว สู่เ ศรษฐกิจคาร์บ อนตา เช่น
ม า ต ร ก า ร Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ข อ ง ก ลุ่ ม ป ร ะ เ ทศ ใ น ยุ โ ร ป แ ล ะ

2
รายงาน Thai Flood 2011 ของ World Bank
https://documents1.worldbank.org/curated/en/677841468335414861/pdf/698220WP0v10P106011020120Box370022B.
pdf
3
รายงาน Global Climate Risk Index 2021 ของ Germanwatch https://www.germanwatch.org/en/19777
4
รายงาน The economics of climate change: no action not an option ของ Swiss Re Institute (2021)
https://www.swissre.com/dam/jcr:e73ee7c3-7f83-4c17-a2b8-8ef23a8d3312/swiss-re-institute-expertise-publication-
economics-of-climate-change.pdf
5
NDC คือ ข้อเสนอการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกทีแต่ละประเทศกําหนด

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 7
ความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

ม า ต ร ก า ร ข อ ง ส ห รั ฐ อ เ ม ริ ก า ที อ า จ จั ด เ ก็ บ ภ า ษี สํ า ห รั บ ผู้ ก่ อ ม ล พิ ษ ( polluter import fee)


โดยความเสียงจากการเปลียนผ่านดังกล่าวส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว โดย

- ธุ ร กิ จ ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่ ม อุ ต สาหกรรมแบ บดั งเ ดิ ม ซึ ง กา รผลิ ตยั ง พึ ง พ า


ทรัพยากรธรรมชาติเปนหลัก (resource-intensive) อาจเจอความท้าทายในการระดมทุน
จากต่ า งประเทศมากขึน เนื องจากประเด็ น ด้ า นสิ งแวดล้ อ มจะกลายเปนเงื อนไขสํา คัญใน
การตัดสินใจของนักลงทุน เช่น การรวมกลุ่มของธุรกิจทางการเงินขนาดใหญ่ในต่างประเทศ
ทีต้องการสนับสนุนการบรรลุ net zero emissions ในป 2593 (ค.ศ. 2050)6 ขณะทีบริษัท
ไ ท ย มี ก า ร ป ร ะ ก า ศ เ ป า ห ม า ย net zero emissions เ พี ย ง 16 บ ริ ษั ท ใ น ป 2564 7
เพือเตรียมพร้อมต่อการปรับตัวทางธุรกิจ บริห ารความคาดหวังจากนักลงทุน และแรงกดดัน
จากสาธารณชนที ต้ อ งการเห็ น บริ ษั ท ขนาดใหญ่ มี บ ทบาทสํ า คั ญ ในการมุ่ ง สู่ net zero
emissions ทั งที ปล่ อ ยโดยตรงตาม scope 1 8 และที ปล่ อ ยทางอ้ อ ม scope 2 9 ผ่ า นการซือ
พลังงานไฟฟา และ scope 310 จากกระบวนการในห่วงโซ่การผลิต

- ธุ ร กิ จ SMEs เปนกลุ่ ม เปราะบาง เนื องจากขาดทรั พ ยากรและความรู้ ค วามเข้ า ใจใน


การปรับ ตั ว ที เหมาะสม ซึ งอาจทํ า ให้ สู ญ เสี ย ความสามารถในการแข่ ง ขั น และกระทบต่ อ
ความอยู่รอดของธุรกิจโดยธุรกิจในภาคการค้าและการผลิต11 มีแนวโน้มทีจะได้รับผลกระทบ
โดยตรงจากนโยบายด้านสิ งแวดล้อม โดยเฉพาะบริษัททีอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของธุรกิจขนาด
ใหญ่จะได้รบ
ั แรงกดดันจากนโยบายของต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจในภาคเกษตร ทีมีสัดส่วน
การจ้ า งงานถึง ร้อ ยละ 33.2 ของกํ า ลั ง แรงงานทั งหมด12 ยั ง ปล่ อ ยก๊ า ซมีเ ทนในปริมาณสูง
จึงอาจได้รบ
ั แรงกดดันจากมาตรการด้านสิ งแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ ได้ในระยะยาว อีกทั ง
ยังต้องเร่งปรับตัวเพือรับมือกับผลกระทบจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ ทีอาจรุนแรงขึนด้วย

- ภาคครัวเรือ น ต้องเผชิญกับต้นทุนค่าครองชีพทีสูงขึน โดยเฉพาะต้นทุนจากการใช้พลังงาน


ซึ งผลกระทบจะยิ งรุ น แรงหากไม่ ไ ด้ เ ตรีย มรับ มื อ แต่ เ นิ น ๆ นอกจากนี ความเปนอยู่ ข อง

6
Glasgow Finance Alliance for Net Zero (GFANZ)
7
สํานักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย (2564), หุ้นไทย ร่วมใจรักษ์โลก.
https://www.efinancethai.com/efinReview/efinReviewMain.aspx?release=y&name=er_202112031050
8
Scope 1 หมายถึง การปล่อ ยก๊าซเรือ นกระจกทีเกิด จากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์ก รโดยตรง (Direct Emissions) เช่น การเผาไหม้ข อง
เครืองจักร การใช้ยานพาหนะ หรือสารเคมีทีเกิดจากการบําบัดนาเสียหรือการรัวซึม/รัวไหลจากกระบวนการหรือกิจกรรมขององค์กร เปนต้น
9
Scope 2 หมายถึง การปล่อ ยก๊าซเรือ นกระจกทางอ้อ มทีเกิด จากการใช้พลัง งานขององค์กร (Energy Indirect Emissions) เช่น การซือ
พลังงานไฟฟามาใช้ในองค์กร เปนต้น
10
Scope 3 หมายถึ ง การปล่ อ ย ก๊ าซเรื อ นกร ะ จกทางอ้ อม ด้ า นอื น ๆ ที เกิ ด จากสิ นทรั พ ย์ ที องค์ กร ไม่ ได้ เ ปนเจ้ าของ หรื อ คว บ คุ ม
หรือ stakeholder นอกองค์ก ร แต่อ ยู่ใ นห่ว งโซ่ก ารผลิต ขององค์ก ร เช่น การซือวัต ถุดิบจากผู้ประกอบการในห่ว งโซ่การผลิต การขนส่ง
สินค้าด้วยพาหนะทีไม่ใช่ขององค์กร การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เปนต้น
11
ภาคการค้าและการผลิตคิดเปนสัดส่วนร้อยละ 51.4 ของ SME GDP (อ้างอิงข้อมูลจากสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อ ม
(สสว.) วันที 14 ต.ค. 2560 เรือง ทําความรูจ
้ ักกับ SME ไทย
12
สํานักงานสถิติแห่งชาติ การสํารวจภาวะการทํางานของประชากรทั วราชอาณาจักร ไตรมาสที 4 เดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2564

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 8
ความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

ครัว เรือนอาจได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศและภั ย ธรรมชาติทีผันผวนรุนแรง ซึงจะ


ซาเติมปญหาความเหลือมลาในสังคมไทย

- ภาคการเงิน ความเสียงด้านสิ งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศอาจกระทบการดําเนินธุรกิจของ


สถาบันการเงิน โดยลูกค้า ของสถาบันการเงินอาจได้รับผลกระทบจนไม่สามารถชําระหนีได้
หรือเหตุการณ์ด้านสิ งแวดล้อมสร้างความผันผวนต่อราคาตราสารทางการเงินทีสถาบันการเงิน
ถือครอง นอกจากนี การเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย อาจสร้างความเสียหายต่อ
สินทรัพย์และทรัพยากรของสถาบันการเงิน เช่น อาคาร อุปกรณ์ และบุคลากร เกิดเปนความเสียง
ด้านปฏิบัติการเช่นกัน ภาคการเงินจึงต้องเร่งเพิ มศักยภาพในการประเมินความเสียงรวมถึง
โอกาสจากการเปลียนแปลงด้านสิ งแวดล้อม

การดํ า เนิ น มาตรการรั บ มื อ และจั ด การความเสี ยงทั งสองด้ า นข้ า งต้ น จํ า เปนต้ อ งคํ า นึ ง ถึ ง
จังหวะเวลา (timing) และความเร็วของการดําเนินการ (speed) โดย Network for Greening the
Financial System (NGFS) ไ ด้ ป ร ะ เ มิ น ฉ า ก ทั ศ น์ (scenarios) ข อ ง รู ป แ บ บ ใ น ก า ร ป รั บ ตั ว
(ภาคผนวก 1) พบว่า การปรับตัว ทีเริ มต้นเร็ว และค่อยเปนค่อยไปจะช่ว ยให้เกิดการปรับตัว ทีราบรืน
(scenario: orderly) ส่งผลให้ physical risk และ transition risk อยู่ในระดับตา แม้ในระยะสั นอาจ
ส่ ง ผ ล ก ร ะ ท บ ต่ อ ร ะ บ บ เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ม า ก ก ว่ า ก า ร ป รั บ ตั ว อ ย่ า ง ก ะ ทั น หั น แ ล ะ ไ ม่ เ ป น ร ะ เ บี ยบ
(scenario : disorderly) แต่ ใ นระยะยาว ผลกระทบจะน้ อ ยกว่า มาก แต่ ห ากไม่ ปรับตั ว หรือ ปรับช้า
จนเกิ น ไป (scenario : hot house world) คาดว่ า GDP ของเศรษฐกิจโลกจะลดลงได้ถึ งร้อยละ 25
ภายในสิ นศตวรรษนี13

สํ า หรั บ ประเทศไทย เพื อให้ ก ารดํ า เนิ น การด้ า นสิ งแวดล้ อ มและการเปลี ยนผ่ า นของระบบ
เศรษฐกิจและสังคมเปนไปอย่างราบรืนและไม่ส่งผลกระทบเชิงลบในวงกว้าง จําเปนต้องคํานึงถึง
บริบทของประเทศ โดยเฉพาะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยทียังพึงการใช้พลังงานจากถ่านหินและนามัน
ในสั ด ส่ ว นทีสู ง ประมาณร้อ ยละ 60 ของการใช้พ ลัง งานทั งหมด14 และอุ ต สาหกรรมส่ว นใหญ่ยังใช้
เทคโนโลยี แ บบดั งเดิ ม การดํ า เนิ น การดัง กล่ าวจึง หมายถึง การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจครั งใหญ่
ทั งการปรับรูปแบบการทําธุรกิจ การวางแผนการลงทุนใหม่ของภาคธุรกิจและการจัดสรรเงินทุนของ
ภาคการเงิ น ดั ง นั น การเริ มดํ าเนิ น การแต่ เ นิ น ๆ และการกํ า หนดทิ ศ ทางที ชั ด เจนทั งใน (1) มิ ติ
ด้านสิ งแวดล้อม และ (2) มิติด้านเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กัน จะช่ว ยให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีเวลา
ปรั บ ตั ว และสามารถวางแผนการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ และลงทุ น ได้ ส อดคล้ อ งกั น ทั งนี การปรั บ ตั ว ของ
ภาคเศรษฐกิจดังกล่าว ยังต้องเผชิญความท้าทายทีสําคัญ ดังนี

13
NGFS Climate Scenarios for central banks and supervisors (June 2020)
https://www.ngfs.net/sites/default/files/medias/documents/820184_ngfs_scenarios_final_version_v6.pdf
14
รายงานความก้าวหน้ารายสองป ฉบับที 3 ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศ
http://climate.onep.go.th/wp-content/uploads/2021/01/BUR3_Thailand_251220-.pdf

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 9
ความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

(1) กลไกตลาดยั ง ไม่ ส ะท้ อ นโอกาสและความเสี ยงด้ า นสิ งแวดล้ อ มได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
(market failure) ส่งผลให้การกําหนดราคาและต้นทุนยังไม่เอือให้ภาคส่วนต่าง ๆ ปรับตัว
โ ด ยมี ส า เ ห ตุ สํ า คั ญ 2 ป ร ะ ก า ร คื อ ผ ล ก ร ะ ท บ ด้ า น สิ ง แว ด ล้ อ ม ไ ม่ ส ะ ท้ อ น อ ยู่ ใ น ต้ นทุ น
การดํ า เนิ น งานของภาคธุ ร กิ จ (externality) และการขาดข้ อ มู ล ที เพี ย งพอที จะใช้ ป ระเมิ น
ความเปนมิตรด้านสิ งแวดล้อมของธุรกิจ (information asymmetry)

(2) การดําเนินการเพือมุ่งสู่กิจกรรมทีเปนมิตรกับสิงแวดล้อมทีมีความลักลั น ไม่ได้ทําพร้อ มกัน


ทั งระบบ อาจก่ อ ให้ เ กิ ด การได้ เ ปรี ย บเสี ย เปรี ย บด้ า นการแข่ ง ขั นทั งในระยะสั นและ
ระยะยาว ธุ ร กิ จ จึ ง ยั งไม่มี แรงจูงใจทีจะปรับตั ว เพราะการเริ มก่ อนอาจหมายถึ งส่ ว นแบ่งทาง
การตลาดในปจจุบันของตนเองจะลดลง (first-mover disadvantage)

(3) ผลกระทบและระดับความพร้อ มในการปรับตัว ของแต่ละขนาดธุร กิจไม่เ ท่ากั น โดยเฉพาะ


กลุ่มอุตสาหกรรมทีส่วนใหญ่ยังใช้เทคโนโลยีแบบดั งเดิมซึงไม่เปนมิตรกับสิ งแวดล้อม นอกจากนี
กลุ่มธุรกิจ SMEs ยังมีทรัพยากรจํากัด ทําให้ไม่สามารถบริห ารจัดการด้านสิ งแวดล้อ มได้ เ ต็ ม
ประสิทธิภาพ

(4) การลงทุ น เพื อรั บ มื อ กั บ ภั ย ธรรมชาติ ต้ อ งอาศั ย เงิ น ลงทุ น มหาศาล ซึ งภาคเอกชนเพี ย ง
ภาคส่ว นเดียวอาจไม่สามารถจัดสรรเงินทุนทั งหมดได้ อีกทั งผลตอบแทนจากการลงทุนอาจไม่
คุ้มค่าในเชิงธุรกิจ

(5) การประสานนโยบายของแต่ ล ะภาคส่ ว นยั ง ไม่ เ ชื อมโยงแบบองค์ ร วม โดยปญหาด้ า น


สิ งแวดล้ อ มเปนปญหาเชิ ง โครงสร้า งที มี ค วามซั บ ซ้ อ นและเชื อมโยงกั บ หลายภาคเศรษฐกิ จ
ซึงไม่สามารถผลักดันให้สัมฤทธิ ผลได้ด้วยหน่วยงานหรือภาคเศรษฐกิจเดียว

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 10
บทบาทภาคการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

III. บทบาทภาคการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง
ด้านสิ่งแวดล้อม
ภาคการเงินในฐานะทีมีบทบาทสําคัญในการจัดสรรเงินทุนให้แก่ระบบเศรษฐกิจ จึงมีส่วนสําคัญ
ในการขับเคลือนให้ภาคธุรกิจและครัวเรือ นสามารถปรับตัวได้ในช่วงเปลียนผ่าน โดยไม่ก่อให้เกิด
ความเสียงในการชําระหนีกับสถาบันการเงินจนส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาว รวมทั ง
ช่ว ยเพิ มโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ ทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อมเพือสนับสนุนการปรับโครงสร้างของระบบ
เศรษฐกิจ ในทางกลับกัน หากภาคการเงินไม่ช่วยผลักดันและส่งเสริมภาคธุรกิจให้สามารถรับมือกับ
การเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ อย่างยั งยืน ภาคการเงินจะไม่มีช่องทางการทําธุรกิจและลงทุน
ทีเพียงพอเพือจะกระจายความเสียงได้อย่างเหมาะสม

ดังนั น หน่วยงานกํากับดูแลภาคการเงินในต่างประเทศจึงเริมดําเนินการในเรืองนีอย่างจริง จั ง
โดยกลุ่มประเทศทีพัฒนาแล้ว เช่น กลุ่มประเทศในยุโรป สหราชอาณาจักร และสิงคโปร์ ได้บังคับใช้
มาตรฐานการดําเนินการด้านสิ งแวดล้อมอย่างเข้มงวดโดยฉพาะมิติด้านความมั นคงและเสถียรภาพ
ระบบการเงิน เพือรับมือกับความเสียงด้านสิ งแวดล้อม รวมถึงได้พัฒนาโครงสร้างพืนฐานทีจําเปน
เช่น ระบบฐานข้อมูล กระบวนการรับรองกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียว (verification) ทีเปนมาตรฐาน
และการสนับสนุนการลงทุนใหม่ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อม เพือสร้างระบบนิ เวศ
ด้านความยั งยืนในระยะยาว ขณะทีกลุ่มประเทศทียังพึงพาอุตสาหกรรมการผลิตเปนกลไกขับเคลือน
เศรษฐกิ จ เช่ น มาเลเซี ย จะเพิ มการสนั บ สนุ น ทางการเงิ น เพื อให้ ธุ ร กิ จ ปรับ ตั ว จากกิ จ กรรมทาง
เศรษฐกิจทีไม่เปนมิตรกับสิ งแวดล้อมในช่วงการเปลียนผ่านมากกว่าการมุ่งสู่มาตรฐานสีเขียวเพียง
อย่างเดียว (inclusivity)

สําหรับหน่วยงานกํากับดูแลในภาคการเงินของไทย 15 เริมดําเนินการเรืองนี โดยคํานึงถึงบริบท


ข อ ง ไ ท ย ที ภ า ค ส่ ว น ต่ า ง ๆ ยั ง ต้ อ ง เ ร่ ง ป รั บ ตั ว เ ป น สํ า คั ญ ต า ม แ น ว ท า ง ก า ร พั ฒ น า
ภาคการเงิ น เพื อความยั งยื น (Sustainable Finance Initiatives for Thailand)16 โดยมุ่ ง เน้ น ใน
3 ประเด็นหลัก ดังนี

15
หน่วยงานกํากับดูแลภาคการเงินของไทยมี 5 หน่วยงาน ได้แก่ สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สํานักงานคณะกรรมการกํากับ
หลัก ทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ (ก.ล.ต.) สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) และ ธปท.
16
เอกสารแนวทางการพัฒนาภาคการเงินเพือความยั งยืน (Sustainable Finance Initiatives for Thailand)
Sustainable_Finance_Initiatives_for_Thailand.pdf (bot.or.th)

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 11
บทบาทภาคการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

1) ความมั นคงหรือเสถียรภาพระบบการเงิน โดย Moody’s17 ได้ประเมินว่าประมาณร้อยละ 15 - 30


ของยอดสินเชือทั งหมดของระบบธนาคารพาณิช ย์ในอาเซีย นเปนสินเชือที ให้แก่ภ าคอุตสาหกรรมที
ปล่ อ ยคาร์บ อนสู งซึ งมีค วามเสี ยงต่ อ transition risk ดั ง นั น ภาคการเงิ น ควรมี บ ทบาทสํ า คั ญ ใน
การสนับสนุนการปรับตัวของเศรษฐกิจเพือลดความเสียงทั งต่อ ตนเองและต่อเสถียรภาพระบบใน
ระยะยาว ผ่านการจัดสรรเงินทุนเพือสนับสนุนการปรับตัวในช่วงเปลียนผ่าน ด้ว ยผลิตภัณฑ์และ
บริการทางการเงินทีตอบโจทย์ความต้องการทั งในแง่ต้นทุน ความเพียงพอของเงินทุน รวมถึงเงือนไข
อื น ๆ ที สนั บ สนุ น การเปลี ยนผ่ า นสู่ เ ศรษฐกิ จ สี เ ขี ย ว (transition path) ของภาคธุ ร กิ จ ได้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบเชิงลบในวงกว้าง นอกจากนี ภาคการเงินควรแสดงความมุ่งมั นและ
เปดเผยข้อมูลการดําเนินการด้านสิ งแวดล้อมอย่างชัดเจน รวมถึงยกระดับข้อมูลด้านสิ งแวดล้อมของ
ไทยทีจําเปนในการวิเคราะห์และประเมินความเสียงรวมถึงโอกาสด้านสิ งแวดล้อม

2) การสร้ า งโอกาสการลงทุ น ในเทคโนโลยี แ ละรู ป แบบธุ ร กิ จ ใหม่ ๆ รวมถึ ง สนั บ สนุ น โอกาส
การลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ เช่น การลงทุนตามโมเดลธุรกิจ BCG ซึงสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (BOI) คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรม BCG ของไทยจะมีมูลค่าร้อยละ 25 ของ GDP ภายในป
256818 ซึงการมีนิยามกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีคํานึงถึงสิ งแวดล้อมทีตรงกัน จะช่วยให้ผู้มีเงินทุนสนใจ
ทีจะลงทุนในกิจกรรมสีเขียวมากขึน

3) การสนั บ สนุ น ให้ก ลุ่ม เปราะบางและกลุ่ ม ที ได้ รับ ผลกระทบสามารถปรับ ตัว รวมถึงการสร้า ง
องค์ ค วามรู้ แ ละมี ม าตรการสนั บ สนุ น ทางการเงิ น ให้ แ ก่ ภ า คธุ ร กิ จ โดยเฉพาะกลุ่ ม SMEs ที มี
ความเปราะบางค่ อ นข้ า งมาก โดย SME Climate Hub19 สํ า รวจว่ า ร้ อ ยละ 48 ของ ธุ ร กิ จ SMEs
ยังขาดแหล่งเงินทุนเพือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

17
ข้อมูลจาก Moody’s วันที 21 มี.ค. 2565 เรือง Research Announcement: Moody's – ASEAN banks making progress, but face
challenges to decarbonize finance https://www.moodys.com/research/Moodys-ASEAN-banks-making-progress-but-
face-challenges-to-decarbonize--PBC_1322651?&cid=YJZ7YNGSROZ5414
18
ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที 22 พ.ย. 2564 เรือง บีโอไอ ชีเทรนด์ลงทุน BCG มาแรง เผยสถิติกว่า 6 ป ขอรับส่งเสริมเกือบ 7
แสนล้าน https://www.bangkokbiznews.com/business/973244
19
ข้อมูลจาก SME Climate Hub วันที 23 กุมภาพันธ์ 2565 เรือง Survey: small businesses face recurring barriers to carbon
reduction https://businessclimatehub.org/sme-survey-barriers-to-climate-action/

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 12
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

IV. แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับ


การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

Box 2 องค์ ป ระกอบสำคั ญ ในการรั บ มื อ กั บ การเปลี ่ ย นแปลงด้ า น


สภาพภู มิ อ ากาศของภาคการเงิ น

เพื อสนั บสนุ นให้ ภ าคการเงิ นไทยพร้อมรับมื อ กับการเปลียนแปลงด้ านสิ งแวดล้อมและ


สามารถตอบโจทย์ความต้องการปรับตัวของภาคธุรกิจได้ดียิ งขึน ธปท. จะให้ความสําคัญ
กั บ การวางรากฐานสํ า คั ญ 5 ด้ า น (5 building blocks) ประกอบด้ ว ย (1) การปรั บ
กระบวนการดําเนินธุรกิจของสถาบันการเงินเพือให้มีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้าน
สิ ง แ ว ด ล้ อ ม ที ต อ บ โ จ ท ย์ ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ข อ ง ภ า ค ธุ ร กิ จ ( Products and Services)
(2) มาตรฐานการจั ด กลุ่ ม กิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ ที คํ า นึ ง ถึ ง สิ งแวดล้ อ ม (Taxonomy)
(3) ฐานข้อมูลทีเปนระบบและเข้าถึงได้และมาตรฐานการเปดเผยข้อมูลของสถาบัน การเงิ น
(Data and Disclosure) (4) โครงสร้ า งแรงจู ง ใจ (Incentive) เพื อสนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม
การดําเนินงานด้านสิ งแวดล้อมในภาคการเงินทีเหมาะสม และ (5) องค์ความรูแ
้ ละทักษะของ
บุ ค ลากรในภาคการเงิ น (Capacity Building) โดยออกแบบให้ ส อดคล้ อ งกั บ แนวทาง
การพัฒนาภาคการเงินเพือความยั งยืนตามทีกล่าวในส่วนที III โดยมีเปาหมายสิ งทีอยากเห็น
และสิ งทีไม่อยากเห็นดังแสดงใน Box 2 และมีรายละเอียดโดยสรุปดังนี

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 13
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 14
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

การปรับกระบวนการดำเนินธุ รกิ จของสถาบันการเงินเพื่ อให้ มี


Building
Block 1 ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินด้านสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์
ความต้องการของภาคธุรกิจ (Products and Services)
ปจจุบันผลกระทบด้านสิ งแวดล้อมยังไม่สะท้อนในต้ นทุนการดําเนิน งานของสถาบันการเงิ น อีกทั ง
การดําเนินการของแต่ละสถาบันการเงินยังแตกต่างและไม่ได้มีมาตรฐานเดียวกัน ดังนั น การยกระดับ
มาตรฐานการดําเนิ นงานของภาคการเงิ นเพื อรองรับความยั งยื น ด้านสิ งแวดล้อ มจึงเปนสิ งจําเปน
โดยผนวกแนวคิดและผลกระทบทีอาจมีทั งมิติของโอกาสและความเสียงในกระบวนการตัดสินใจทาง
ธุรกิจทุกขั นตอน (end-to-end) ตั งแต่การวางโครงสร้างการกํากับดูแลกิจการ การกําหนดกลยุทธ์
กระบวนการบริห ารความเสี ยง และการเปดเผยข้ อ มู ล ต่ อ สาธารณชน ซึ งท้ า ยที สุ ด จะกระตุ้ น ให้
ภาคการเงิ น โดยรวมมี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก ารทางการเงิ น ที หลากหลาย เพี ย งพอ และตอบโจทย์
ภาคเศรษฐกิ จ ในการเร่ง ปรั บ ตั ว สู่ เ ศรษฐกิ จ ที เปนมิ ต รกั บ สิ งแวดล้ อ ม อย่ า งไรก็ ดี การยกระดั บ
มาตรฐานการดําเนินงานดังกล่าวต้องคํานึงถึง ความสมดุลระหว่างมาตรฐานสากลและความพร้อมของ
สถาบันการเงินและภาคเศรษฐกิจของไทยด้วย

เป้าหมายที่อยากเห็น

1. ภาคการเงินไทยมีจุดยืนและคํามั นสัญญาทีจะร่ว มแก้ปญหาด้านสิ งแวดล้อมอย่างจริง จั ง


โดยมี ผ ลิ ต ภัณฑ์ และบริการทางการเงิ น ที ตรงกับ ความต้อ งการและจูง ใจให้เ กิด การปรับตั ว ในช่ว ง
เปลียนผ่านของภาคธุรกิจอย่างเพียงพอทั งในแง่ความเร็ว (speed) และจังหวะเวลา (timing)

2. สถาบันการเงินมีโครงสร้างการบริหารจัดการและกระบวนการดําเนินงานด้านสิ งแวดล้อม
ที สอดคล้ อ งและเหมาะสมกั บ วั ฒ นธรรมองค์ ก ร รู ป แบบธุ ร กิ จ ขนาด ความซั บ ซ้ อ น และระดั บ
ความเสียง (risk proportionality) ตลอดกระบวนการดําเนิน ธุรกิจในลักษณะ end-to-end เพือให้
สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน มีกลไกผนวกการประเมินทั งโอกาสและความเสียง
ด้ า นสิ งแวดล้ อ มโดยเฉพาะการเปลี ยนแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ รวมถึ ง วิ เ คราะห์ ภ าวะวิ ก ฤติ แ ละ
การบริหารความเสียงในกรอบของ climate risk (scenario analysis and stress testing) ตลอดจน
เปดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างโปร่งใส

แนวทางดำเนิ น การ

1. ธปท. ในฐานะผู้กํากับดูแลสถาบันการเงิน จะจัดทําแนวนโยบายเรืองการดําเนินธุรกิจ


สถาบันการเงินโดยคํานึงถึงมิติด้านสิงแวดล้อมและการเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในช่วงครึงหลัง
ของป 2565 เพื อสื อสารความคาดหวัง ของ ธปท. และเปนกรอบให้สถาบัน การเงิ น ใช้เ ปนแนวทาง

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 15
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

อ้ า งอิ ง ในการยกระดั บ กระบวนการปฏิบั ติ ง านภายใน ในลั ก ษณะ end-to-end ตั งแต่ ก ารกํ า หนด
โครงสร้า งบทบาทความรับ ผิ ด ชอบ การกํ า หนดกลยุ ท ธ์ แ ละการวั ด ผลสั ม ฤทธิ ในการดํ า เนิ น งาน
ด้านสิ งแวดล้อม การกําหนดกระบวนการและเครืองมือบริหารความเสียง ตลอดจนการเปดเผยข้ อมูล
การดําเนินงานด้านสิ งแวดล้อม ซึงเปนไปในทิศทางทีสอดคล้องกับหลักการของ Basel Committee
on Banking Supervision (BCBS)20 รวมถึงแนวนโยบายของผู้กํากับดูแลภาคการเงินในต่างประเทศ
(รายละเอียดตามภาคผนวก 2)

ในระยะต่ อ ไป ธปท. จะพิ จ ารณาจั ด ทํ า หลั ก เกณฑ์ แนวนโยบาย หรือ แนวปฏิ บั ติ ใ นส่ ว น
ทีเกียวข้องเพิ มเติม เพือให้สถาบันการเงินมีแนวทางการดําเนินงานทีสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ห รื อ ต า ม แน วทาง ที BCBS แ ล ะ / ห รื อ International Sustainability Standards Board (ISSB)
จะกําหนดเพิ มเติมในอนาคต (รายละเอียดตามภาคผนวก 3) โดยจะพิจารณาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้ องกับ
บริบทไทยและคํานึงถึงต้นทุนการดําเนินงาน ความเสียง และความพร้อมของสถาบันการเงิน

2. ธ ป ท . ส นั บ ส นุ นก า ร พั ฒ นา คู่ มื อ แนว ปฏิ บั ติ ของ ภา ค สถ า บั นก าร เ งิ น ( industry


handbook) ในครึงแรกของป 2566 เพือกําหนดรายละเอียดในระดับปฏิบัติการให้สามารถนําไปใช้ได้จริง
และสามารถประเมินผลการดําเนินงานด้านสิ งแวดล้อมของสถาบันการเงินแต่ละแห่งได้อย่างชัดเจน
รวมทั งมีผ ลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินทีเพียงพอและสามารถตอบโจทย์ในการจัดสรรทรัพยากร
ให้แก่ภาคธุรกิจได้อย่างเหมาะสม

3. ธปท. จะประเมินและติดตามคุณภาพการบริหารจัดการด้านสิงแวดล้อมอย่างต่อเนือง
ใ น ช่ ว ง ครึ ง หลั ง ขอ งป 2566 แ ล ะ จ ะ พิ จา รณ าค วามเ ปน ไ ปได้ ใน กา รผน วกกา รดํ าเ นิ นงาน
ด้านสิ งแวดล้อมให้เปนส่วนหนึงของการประเมินการจัดระดับโดยรวม (composite rating) ตามหลัก
risk proportionality ภายในสิ นป 2567

4. ธปท. กําหนด climate scenario analysis และทํา stress testing โดยระยะแรกจะทํา


pilot exercise กับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ภายในสิ นป 2566 และจะขยายให้ครอบคลุม
ธนาคารพาณิชย์ไทยทั งหมดภายในป 2567 โดยจะเริมจาก climate scenario ทีมีผลกระทบต่อ
ประเทศสูง เพือระบุและประเมิน exposure ใน portfolio และเตรียมความพร้อมระบบข้อมูลและความรู้
ของบุคลากร ก่อนผนวกเข้าเปนส่วนหนึงของการดําเนินธุรกิจแบบ day-to-day และการประเมิน
ความเพียงพอของเงินกองทุนตาม Pillar II

20
Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) เผยแพร่แนวนโยบาย Principles for the effective management and
supervision of climate-related financial risks ในวันที 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เพือเปนแนวทางให้สถาบันการเงินใช้อ้างอิงใน
การบริหารจัดการความเสียงทีเกียวข้องกับการเปลียนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 16
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

Building
Block 2 มาตรฐานการจั ด กลุ่ ม กิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ ที่ ค ำนึ ง ถึ ง
สิ่ ง แวดล้ อ ม (Taxonomy)
ปจจุ บั น แต่ ล ะภาคส่ว นมีค วามเข้าใจเกียวกั บ กิจ กรรมที เปนมิ ต รกั บสิ งแวดล้ อ มแตกต่ า งกั น ทํ า ให้
การขับเคลือนการดําเนินงานด้านสิ งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดสรรเงินทุนยังไม่ตรงจุดซึงอาจนําไปสู่
การกล่ า วอ้ า งเกิ น จริง ว่ า มี ก ารดํ า เนิ น การด้ า นสิ งแวดล้ อ มแล้ ว (greenwashing) หรือ การจั ด สรร
เงินทุนให้ภ าคธุรกิจ ทีต้องการปรับตัว โดยเฉพาะในช่ว งเปลียนผ่าน (transitional activities) ยังไม่
เพียงพอ ดังนัน จําเปนต้องมีมาตรฐานกลางในการกําหนดนิยามและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ทีคํานึงถึงสิ งแวดล้อม (Taxonomy) เพือให้ภ าครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการเงิน มีความเข้าใจตรงกัน
และมีจุดยึดโยงให้นําไปใช้อ้างอิงในการกําหนดนโยบาย วางแผนเชิงกลยุทธ์ รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์
และการบริก ารของภาคธุ ร กิ จ ได้ อ ย่ า งมี ม าตรฐานและสอดคล้ อ งกั น ซึ งจะช่ ว ยให้ แ ต่ ล ะภาคส่ ว น
สามารถประเมินสถานะการดําเนินการด้านสิ งแวดล้อมและสามารถวางแผนรองรับการปรับตัวในช่ว ง
เปลียนผ่านทีสอดคล้องกับบริบทของไทยได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์

เป้าหมายที่อยากเห็น

1. ประเทศไทยมี Taxonomy ทีเปนมาตรฐานกลางทีช่ว ยกําหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีเปน


มิ ต รกั บ สิ งแวดล้ อ มที เปนที ยอมรั บ ในระดั บ สากล และสอดคล้ อ งกั บ บริ บ ทของไทย โดยเฉพาะ
การปรับตัวในช่วงเปลียนผ่านภายในกรอบเวลาทีเหมาะสม

2. ภาคการเงิน ภาครัฐ และภาคเอกชนนํา Taxonomy ไปใช้อ้างอิงในกระบวนการทํางานและ


ดําเนินธุรกิจทีคํานึงถึงสิ งแวดล้อม โดยสถาบันการเงินสามารถนําไปใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ
กระบวนการประเมิ น ความเสี ยง และการเปดเผยข้ อ มู ล ด้ า นสิ งแวดล้ อ ม ภาครัฐ และผู้ กํ า กั บ ดู แล
สามารถออกแบบมาตรการจู ง ใจด้ า นสิ งแวดล้ อ มที เหมาะสมกั บ แต่ ล ะกลุ่ ม ประเภทธุ ร กิ จ และ
ภาคเอกชนสามารถใช้ประเมิน สถานะความพร้อมและวางแผนในการปรับตั ว ด้านสิ งแวดล้อมของ
ตนเองได้อย่างเหมาะสม

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 17
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

แนวทางดำเนิ น การ

1. ธปท. ในฐานะผู้ ขั บเคลือนการดํา เนิ น งานภายใต้ คณะทํ า งาน Thailand Taxonomy21


มี แ นวคิ ด ที จะจั ด กลุ่ ม กิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ ในรู ป แบบ Principle-based Taxonomy22 ซึ งใน
ระยะแรกจะมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ทางด้านสิ งแวดล้อม23 เพือลดปญหาการเปลียนแปลงสภาพภูมอ
ิ ากาศ
(Climate Change Mitigation) โดยพิ จ ารณาเงื อนไขและตั ว ชี วั ด ที มี ค วามโปร่ ง ใส สอดคล้ อ งกั บ
สถานะแรกเริ มและความเปนไปได้ ใ นการปรับ ตั ว ของภาคธุ ร กิ จ ไทยทั งมิ ติ ข องจั ง หวะเวลาและ
ความเร็ว และลดปญหา greenwashing ทีอาจเกิดขึนภายหลัง นอกจากนี ยังมุ่งเน้นให้การจัดกลุ่มนั น
สอดคล้ อ งกั บ ASEAN Taxonomy24 และเที ย บเคี ย งได้ กั บ มาตรฐานของประเทศในกลุ่ ม ภู มิ ภ าค
อาเซียนอืน ๆ (รายละเอียดตามภาคผนวก 4)

2. คณะทํางาน Thailand Taxonomy จะทยอยจัดทํารายละเอียดในแต่ละภาคเศรษฐกิจ


ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความจํ า เปนเร่ ง ด่ ว น โดยคํ า นึ ง ผลกระทบที อาจเกิ ด ขึ น และความพร้ อ ม
ในการปรับตัวของแต่ละภาคส่วน โดยเริมจากการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคพลังงานและ
ภาคขนส่ง ซึงเปนภาคเศรษฐกิจหลักทีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่ว นทีสูง และเปนกิจกรรม
ฐานรากที เชื อมโยงและเปนกลไกสํ า คั ญ ในการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกของกิ จ กรรมที เกี ยวข้ อ ง
ใ น ภ า ค เ ศร ษฐ กิ จ อื น แ ล ะ มี แ ผน ที จ ะขยายการจั ด ทํ า รายละเอี ย ดให้ ค รอบคลุ ม ภาคเกษตร
ภาคอุตสาหกรรม และภาคเศรษฐกิจอืน ๆ ในระยะต่อไป

ทั งนี ธปท. จะพิจารณาร่วมกับหน่วยงานทีเกียวข้อง อาทิ อบก. และ ก.ล.ต. ในการพัฒนาให้


มีห น่ว ยงานหรือบุคลากรทีรับรองมาตรฐานด้านสิ งแวดล้อมภายในประเทศ (local verifier) ในจํานวน
ทีเพียงพอต่อความต้ องการของตลาด เพืออํานวยความสะดวกแก่ภ าคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ให้

21
ธปท. ได้จัดตั งคณะทํางานขับเคลือนการกําหนดนิยามและจัด หมวดหมู่โครงการหรือกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจทียั งยืนสําหรับประเทศไทย
(Thailand Taxonomy) ซึ งมี ห น่ ว ยงานภาครัฐ และ ภาคเอ กชนที มี ค ว าม เชี ยว ชาญเข้ า ร่ว ม เพื อ สะ ท้ อ นคว าม เห็ น ของ ทุ ก ภาค ส่ ว น
โดยคณะทํางาน Thailand Taxonomy ระยะที 1 ประกอบด้ว ย ผู้แทนจาก สศค. ธปท. ก.ล.ต. คปภ. ตลท. สํานัก งานนโยบายและแผน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ งแวดล้อ ม กรมพัฒนาพลัง งานทดแทนและอนุร ัก ษ์ พลัง งาน สํานัก งานนโยบายและแผนพลัง งาน สํานัก งาน
นโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือ นกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) สภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ
22
ในเบืองต้นอาจจัดกลุ่มกิจกรรมเปน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มกิจกรรมทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อม (green activities: Green List) (2) กลุ่มกิจกรรมที
อยู่ระหว่างปรับตัว (transition activities: Amber List) และ (3) กลุ่มกิจกรรมทีไม่เปนมิตรกับสิ งแวดล้อม (brown activities: Red List) เมือ
กรองขั นต้นแล้วจะประเมินขั นถัดไปว่ากิจกรรมนั นส่งผลให้เกิดความเสียหายด้านสิ งแวดล้อมอืน (Do No Significant Harm: DNSH) หรืออาจ
นําไปสู่ปญหาด้านสังคม (social impact) ในวงกว้างหรือไม่ และมีมาตรการลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ งแวดล้อม (Remedial Measures) อย่างไร
เพือให้สามารถจําแนกได้ว่าเปนกิจกรรมทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อมอย่างแท้จริง
23
การจั ด ทํ า Taxonomy ของประเทศต่ า ง ๆ รวมถึ ง ASEAN Taxonomy จะครอบคลุ ม วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก 4 ด้ า น คื อ (1) การลดปญหา
การเปลียนแปลงสภาพภู มิอ ากาศ (Climate Change Mitigation) (2) การปรับตัว ต่อ การเปลียนแปลงสภาพภู มิอ ากาศ (Climate Change
Adaptation) (3) การอนุรก
ั ษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (Protect Biodiversity) และ (4) การสนับสนุนการบริหารทรัพยากรให้ยืดหยุ่ นหรือ
การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั งยืน (Promote Resource Resilience)
24
ASEAN Taxonomy เปน Taxonomy กลาง ขอ ง กลุ่ ม ปร ะ เ ทศอ า เซี ย น ที จั ด ทํ า ขึ น โด ย ASEAN Taxonomy Board (ATB) ซึ ง เ ป น
คณะกรรมการทีจัดตั งขึนภายใต้การกํากับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่ม
อาเซียน สําหรับไทยมีตัวแทนจาก ธปท. ก.ล.ต. และ คปภ. ร่วมเปนคณะทํางาน

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 18
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

สามารถเข้าถึงการประเมินมาตรฐานสิ งแวดล้อมในแต่ละกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีสอดคล้องกับ
Taxonomy ด้วยต้นทุนทีเหมาะสม

Building
Block 3 ฐานข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ระบบและเข้ า ถึ ง ได้ แ ละมาตรฐานการเปิ ด เผย
ข้ อ มู ล ของสถาบั น การเงิ น (Data and Disclosure)
หนึ งในอุ ปสรรคสําคั ญของการดํา เนิ น การเรืองความยั งยื น ด้านสิ งแวดล้อ ม คื อ การเข้ าถึงข้อมูล ที
ไม่เท่าเทียมกัน (information asymmetry) ทําให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีข้อมูลไม่เพียงพอทีจะใช้ประกอบการ
ตัดสินใจหรือสนับสนุนการดําเนินงานในมิติต่าง ๆ ดังนั น ธปท. จึงมีแนวคิดทีจะพัฒนาระบบนิเวศของ
ข้ อ มู ล ด้ านสิ งแวดล้ อ มระดั บประเทศที เปดกว้างให้ ทุกภาคส่ ว นสามารถใช้ป ระโยชน์ ได้ อย่ างเต็มที
ซึงจะช่วยยกระดับคุณภาพข้อมูลด้านสิ งแวดล้อมภายใต้ธรรมาภิบาลข้อมูลทีดีทั งในแง่ (1) ความพร้อม
ใช้งานของข้อมูล (data availability) (2) การเปรียบเทียบกันได้ของข้อมูล (data comparability) และ
(3) ความสอดคล้องของข้อมูล (data consistency) เพือให้ข้อมูลทีกระจัดกระจายตามหน่วยงานต่าง ๆ
มีความถูกต้อง น่าเชือถือ และพร้อมใช้งานได้ในเชิงลึก รวมถึงมีมาตรฐานทีสามารถนํามาเชือมโยงหรือ
เปรียบเทียบได้สอดคล้องกันมากขึน

เป้าหมายที่อยากเห็น

1. สถาบันการเงินเปดเผยข้อมูลด้านสิ งแวดล้อมโดยเฉพาะการเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทีชัดเจน ต่อเนืองและเพียงพอต่ อสาธารณชนในการตัดสิ นใจลงทุนหรือ เลือกใช้บริการทางการเงิ น
รวมถึ ง สอดคล้ อ งและเที ย บเคี ย งได้ กั บ มาตรฐานสากล เช่ น Task Force on Climate-related
Financial Disclosures (TCFD)25, BCBS และ ISSB

2. ภาคการเงิ น ไทยมี โ ครงสร้ า งพื นฐานที รวมศู น ย์ ข้ อ มู ล ที จํ า เปนใ นด้ า นสิ งแว ด ล้ อ ม
เพือสนับสนุนการวิเคราะห์โอกาสและการบริห ารความเสียงด้านสิ งแวดล้อมของภาคสถาบันการเงิน
และเชือมโยงข้อมูลด้านสิ งแวดล้อมที เกียวข้องจากหน่ว ยงานภาครัฐภายนอกอืน ๆ อาทิ กระทรวง
ท รั พ ยา ก ร ธ ร ร มช าติ แล ะ สิ ง แ วด ล้ อ ม ก ร ะ ท ร ว ง พ ลั ง ง า น แ ล ะ ก ร ะ ท ร ว ง คม นา ค ม ร ว ม ทั ง
เปดโอกาสให้ ห น่ ว ยงานทั งภาครั ฐ และภาคเอกชนสามารถใช้ ป ระโยชน์ จ ากโครงสร้ า งพื นฐาน
ด้านข้อมูลดังกล่าวเพือการตัดสินใจเชิงธุรกิจ กําหนดกลยุทธ์การดําเนินงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์และ

25
แนวทางการเปดเผยข้อมูลตามมาตรฐาน TCFD ครอบคลุม 4 ปจจัยสําคัญ ได้แก่ (1) โครงสร้างการกํากับดูแล (Governance) ทีเกียวกับ
โอกาสและความเสียงด้านการเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) กลยุทธ์ (Strategy) ในการจัดการในแต่ละช่วงเวลาทั งระยะสั น กลาง และ
ยาว (3) กระบวนการบริหารความเสียง (Risk Management) และ (4) ตัวชีวัดและเปาหมายความสําเร็จ (Metrics and Targets)

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 19
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

บริการ การบริห ารความเสียง และสนับสนุนการกํากับดูแลและการดําเนินนโยบายภาครัฐ ได้อย่า ง


เหมาะสม เพือลดปญหา information asymmetry ของทุกภาคส่วนในระยะยาว

แนวทางดำเนิ น การ

1. ธปท. จะกํ า หนดมาตรฐานการเปดเผยข้ อ มู ลด้ า นสิ งแวดล้ อ มสํา หรับ สถาบั น การเงิน
ในช่วงครึงหลังของป 2565 โดยอ้างอิงแนวทางการเปดเผยข้อมูลจาก TCFD เพือให้ภ าคการเงินมี
ข้อมูลการดําเนินงานด้านสิ งแวดล้อมทีเปนมาตรฐานและสามารถเปรียบเทียบกับสถาบันการเงินอืน ๆ
ได้ ส อดคล้ อ งกั น ในประเทศและต่ า งประเทศ 26 โดยในระยะแรกจะให้ ก ลุ่ ม ธนาคารพาณิ ช ย์ ที มี
ความสํ า คั ญ ต่ อ ระบบในประเทศ (Domestic Systemically Important Banks (D-SIBs)) เปดเผย
ข้อมูลงวดแรกในป 2567 และสถาบันการเงินอืน ๆ ในป 2568

2. ธปท. จะร่ว มกั บ หน่ ว ยงานที เกี ยวข้ อ งทั งภาครัฐ และภาคเอกชนในการรวบรวมและ
สร้างระบบฐานข้อ มูล กลาง (Big Data) ด้านสิงแวดล้อ มของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพือให้
ประเทศไทยและภาคการเงินมีข้อมูลเพียงพอ เพือให้ทุกภาคส่ว นใช้ในการสนับสนุนการดําเนินงาน
และบริหารจัดการความเสียงด้านสิ งแวดล้อม โดยมีองค์ประกอบดังแสดงใน Box 3 ดังนี

Box 3 แนวทางการสร้างระบบฐานข้อมูลกลางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ

26
ปจจุบันมีผู้กํากับดูแลทีกําหนดให้สถาบันการเงินเปดเผยข้อมูลโดยอ้างอิงมาตรฐาน TCFD ด้วยวิธี mandatory เช่น ญีปุน (ป 2566)
สิงคโปร์ (ป 2566) นิวซีแลนด์ (ป 2566) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (ป 2568) และอังกฤษ (คาดว่าจะเริมป 2565)

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 20
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

(1) ฐานข้อมูลทะเบียนมาตรฐานด้านสิงแวดล้อม (ESG registries) จะรวบรวมข้อมูลบันทึก


ทะเบี ยนการรับรอง ESG ของบริษั ท และโครงการต่ า ง ๆ ที จั ด ทํ า โดยหน่ ว ยงานรับ รองที เกี ยวข้อง
ตลอดจนตัวชีวัดสําคัญทีใช้ในการพิจารณาเพือการรับรองตามมาตรฐานทีกําหนด

(2) ฐานข้อมูลการรายงานตามมาตรฐานสากล (disclosure platform) จะรวบรวมข้อมูล


จากการรายงานตามมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน TCFD ของบริษัทจดทะเบียนและสถาบันการเงิ น
เพื อให้ ส ามารถเปรีย บเที ย บข้ อ มู ล ระหว่ า งกั น ได้ ง่ า ยขึ น และในระยะต่ อ ไปอาจขยายขอบเขตให้
ครอบคลุมถึงธุรกิจ SMEs ต่อไป

(3) ฐานข้ อ มู ล เพื อการวิเ คราะห์ เชิ ง ลึ ก (data analytics platform) จะรวบรวมข้อมูล
เชิ ง ลึ ก ในด้า นสิ งแวดล้อ มจากแต่ล ะภาคส่ว น เช่ น สภาพภูมิอ ากาศและการปล่ อยก๊าซเรือนกระจก
เพือประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ งแวดล้อมและกําหนดนโยบาย

(4) ฐานข้ อ มู ล โปรแกรมผลิ ต ภั ณ ฑ์ (product program platform) จะรวบรวมข้ อ มู ล


ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก ารทางการเงิ น หรื อ product program การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ หรื อ สนั บ สนุ น
การดําเนินงานด้านสิ งแวดล้อมของหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินทีมีให้แก่ภาคธุรกิจ

ทั งนี แนวทางพัฒนาระบบฐานข้อมูลข้างต้น มีทิศทางดําเนินงานทีสอดคล้องกับการพั ฒ นา


ระบบฐานข้อมูลทีมีในประเทศต่าง ๆ (รายละเอียดตามภาคผนวก 5)

Building
Block 4 โครงสร้ า งแรงจู ง ใจ (Incentive) เพื่ อ สนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม
การดำเนิ น งานด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มในภาคการเงิ น ที่ เ หมาะสม
ผลกระทบจากนโยบายด้านสิ งแวดล้อม แรงกดดันจากนานาชาติ รวมถึงการประกาศเปาหมาย net
zero emission อย่างต่อเนืองของกลุ่ม ธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้ภ าคธุรกิจในไทย โดยเฉพาะกลุ่ ม
ธุรกิจ SMEs ทีอยู่ในห่วงโซ่ของภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคส่งออก ต้องเร่งปรับตัวและยกระดับ
มาตรฐานการดํ า เนิ น งานด้ านสิ งแวดล้ อ ม เพื อไม่ ใ ห้ ห ลุ ด ขบวนหรือ ถู กกี ดกั น จากห่ว งโซ่ ก ารผลิต
ซึงการปรับตัวของธุรกิจ SMEs ต้องเผชิญกับต้นทุนการดําเนินการสูง จึงต้องอาศัยเงินทุนสนับสนุน
อย่างเพียงพอ ขณะทีสถาบันการเงินยังไม่สามารถประเมินความเสียงและผลกระทบด้านสิ งแวดล้อม
ได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้การกําหนดราคาไม่ได้สะท้อนความเสี ยงและไม่ไ ด้สร้า งความแตกต่ า ง
ระหว่างกิจกรรมทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อมและกิจกรรมทีไม่ เปนมิ ตรกับสิ งแวดล้อมได้อ ย่า งชั ด เจน
ดั ง นั น การมี มาตรการสร้างแรงจูงใจเพือกระตุ้ น ให้ภ าคธุร กิจ ปรับตั ว และให้ ภ าคการเงิ นสามารถ
จัดสรรเงินทุนและมีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินรองรับอย่างเพียงพอ จึงเปนสิ งจําเปนในช่วงของ
การเปลียนผ่าน

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 21
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

เป้าหมายที่อยากเห็น

1. ภาคธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนในต้นทุนทีเหมาะสมและปรับตัวได้


ทั นการณ์ ใ นช่ ว งเปลี ยนผ่ า น รวมถึ ง สามารถรับ แรงกดดั น จากต่ า งประเทศและบริษั ท ต้ น นาของ
กลุ่ม supply chain ทีเร่งให้ธุรกิจ SMEs มีเปาหมาย net zero emission และเปดเผยข้อมูลการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจก

2. สถาบันการเงินมีผ ลิตภัณฑ์ทางการเงินทีหลากหลาย และราคาทีจูงใจเพือช่ว ยกระตุ้นและ


ลดภาระหรื อ ต้ น ทุ น ให้ ภ าคธุ ร กิ จ ในช่ ว งปรั บ ตั ว โดยมี ก ลไกหรื อ มาตรการจู ง ใจทั งในรู ป แบบ
stick และ carrot ให้สถาบันการเงินและภาคธุรกิจทีไม่นําไปสู่การบิดเบือนกลไกตลาดในระยะยาว

แนวทางดำเนิ น การ

ศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางเลือกในการสร้างแรงจูงใจที เหมาะสมกั บบริบทของไทย


เพื อกระตุ้ น ให้ส ถาบั น การเงิน และภาคธุร กิ จปรับตั ว สู่กิ จ กรรมที เปนมิต รกั บสิ งแวดล้ อ ม โดยมี
หลักการในการพิจารณาความเหมาะสมของมาตรการสร้างแรงจูงใจดังนี

- ในช่ วงเปลี ยนผ่ าน ซึ งเปนช่ ว งเวลาทีภาคธุ ร กิจ โดยเฉพาะ SMEs มี ต้ น ทุ น ในการปรับตัว


ค่อนข้างสูง ธปท. จะเน้นสนับสนุนมาตรการสร้างแรงจูงใจในเชิงบวก (carrot) เพือช่ว ยลด (1) ต้นทุน
การดําเนินงานของภาคธุรกิจ อาทิ เงินสนับสนุนการลงทุนและค่าทวนสอบการเปดเผยข้อมูล สินเชือ
ดอกเบียตา และ (2) ต้นทุนความเสียงของสถาบันการเงิน อาทิ การมีกลไกคาประกัน แหล่งเงินทุ น
ดอกเบียตา

- ในระยะยาว ซึ งเปนช่ ว งเวลาที ไทยมี โ ครงสร้ า งพื นฐานพร้ อ มรองรั บ การดํ า เนิ น งาน
ด้ า นสิ งแวดล้อ ม ส่ ง ผลให้กลไกตลาดทํ างานได้อ ย่า งมี ประสิท ธิภ าพ ดั ง นั น ธปท. อาจพิ จารณาให้
นาหนักกับ มาตรการเชิงบังคับหรือบทลงโทษในลักษณะ stick มากขึน อาทิ เกณฑ์ด้านความเสี ยง
เพือให้สะท้อนความเสียงด้านสิ งแวดล้อมอย่างแท้จริง (รายละเอียดมาตรการจูงใจในต่างประเทศตาม
ภาคผนวก 6)

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 22
แนวทางดำเนินงานของ ธปท. เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

Building
Block 5 อ ง ค์ ค ว า ม รู ้ แ ล ะ ทั ก ษ ะข อ ง บุ ค ล า กร ใ น ภ า ค ก า ร เงิ น
(Capacity Building)
การเสริมสร้างขีดความสามารถของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในภาคการเงิน (Capacity
Building) ให้ เ ข้ า ใจประเด็ น เรืองความยั งยื น การเปลี ยนแปลงสภาพภู มิ อ ากาศและสิ งแวดล้ อ ม
อย่ า งแท้ จ ริง เพื อให้ บุ ค ลากรสามารถนํ า ไปประกอบการประเมิ น และบริห ารความเสี ยง รวมทั ง
พิจารณาโอกาสทางธุรกิจ

เป้าหมายที่อยากเห็น

1. ระบบการเงิ น ไทยมี ร ะบบองค์ ค วามรู้พื นฐาน (knowledge management) ที เพี ย งพอใน


การสร้างความพร้อมรับมือกับการเปลียนแปลงด้านสิ งแวดล้อม และมีกลไกพัฒนาความรู้และทักษะ
ของบุคลากรในภาคการเงินอย่างต่อเนืองและเปนระบบ

2. สถาบันการเงินมีบุคลากรทีมีความรูค
้ วามชํานาญและมีจํานวนทีเพียงพอรองรับการบริห าร
จัดการและประเมินความเสียงทีเกิดจากการเปลียนแปลงด้านสิ งแวดล้อมทั งระดับ transaction และ
portfolio ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความซับซ้อนในการดําเนินงาน รวมถึงสามารถจัดกลุ่ม
และแยกประเภทกิจกรรมตาม taxonomy ได้อย่างเปนมาตรฐาน

แนวทางดำเนิ น การ

ธปท. จะประสานความร่ว มมื อ กั บ หน่ ว ยงานที เกี ยวข้ อ งต่ า ง ๆ ทั งภาครัฐ ภาคเอกชน
สถาบั น การเงิ น และผู้ กํ า กั บ ดู แ ลทั งในและนอกภาคการเงิ น และทั งภายในประเท ศและ
ต่างประเทศ เพือพัฒนาหลักสูตรและ workshop การบริห ารความเสียงด้านสิ งแวดล้อม โดยใน
ร ะ ยะ แ ร ก จ ะ เ น้ น เ รื อ ง ก า รเ ป ดเ ผ ยข้ อ มู ล ตา มกร อ บ TCFD แ ล ะ ก า ร ปร ะ เ มิ น ผล กร ะ ทบต่ อ
การดําเนินงานผ่าน scenario analysis และการทดสอบภาวะวิกฤติ รวมถึง พัฒนากลไกการสือสาร
ให้ เ ข้ า ถึง ประชาชนและภาคธุร กิจ โดยเฉพาะ SMEs ผ่ า นกิ จกรรมส่ งเสริม ความรู้ท างการเงิ นและ
ช่ อ ง ท า ง ต่ า ง ๆ ข อ ง ธ ป ท . แ ล ะ เ ค รื อ ข่ ายพั น ธมิ ตร เ พื อ ส ร้ า ง ค วาม ตร ะหนั กรู้ ที เ ท่ า ทั น กั บ
การเปลียนแปลงด้านสิ งแวดล้อม

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 23
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนและรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ

V. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนและ
รับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ
ธปท. ตระหนักว่าการขับเคลือนระบบเศรษฐกิจไปสู่การเติบโตทียั งยืนด้านสิงแวดล้อมจะสําเร็จได้
ต้ อ งอาศั ย ความร่ว มมื อ กั น อย่ า งบู ร ณาการของทุ ก ภาคส่ ว น โดยบทบาทของภาคการเงิ น เปน
ส่ว นหนึงของการขับเคลือนดังกล่ าว แต่ผ ลจะเกิดขึนได้มากเพียงใด ยังต้องอาศัยการวางรากฐาน
ทีสําคัญของประเทศ ดังนี

(1) กําหนดทิศทางและแนวทางการบริหารจัดการด้านสิงแวดล้อมในระดับประเทศทีชัดเจน
(reference pathway) เพือให้แต่ละภาคส่วนสามารถเตรียมความพร้อมเพือปรับตัวได้ทันการณ์
เช่น กําหนดเปาหมายปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาเศรษฐกิจสําคัญในแต่ละช่วงเวลา

(2) เร่งพัฒนากลไกด้านราคาเพือให้ต้นทุนการดําเนินงานต่าง ๆ ของระบบเศรษฐกิจสะท้อ น


ผลกระทบด้ า นสิ งแวดล้ อ ม (price-in externality) เพื อให้ ก ารวางแผนลงทุ น ของธุ ร กิจและ
การจัดสรรเงินทุนไม่บิดเบือนจนประเทศไม่สามารถบรรลุเปาหมายด้านสิ งแวดล้อมได้ ตัวอย่างกลไก
ด้านราคา เช่น การคิดค่าใช้จ่ายจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการเก็บภาษี คาร์บอนหรือ
การมีตลาดคาร์บอนเครดิตทีหลายประเทศในยุโรป รวมถึงบางประเทศในเอเชียได้ดําเนินการแล้ว

(3) ออกนโยบายหรือ มาตรการสนั บ สนุ น ที ตอบโจทย์ ความพร้อ มที แตกต่ างกั น ของแต่ละ
ก ลุ่ ม ธุ ร กิ จ โ ด ย เ ฉ พ า ะ SMEs ร ว ม ถึ ง ก า ร ส ร้ า ง แ ร ง จู ง ใ จ เ พื อ ก ร ะ ตุ้ น ใ ห้ ทุ ก ภ า ค ส่ ว น
เกิดการปรับตัว เช่น การลดหย่อนภาษีและให้เงินสนับสนุนกับธุรกิจทั งในและนอกภาคการเงิน

(4) ลงทุนในโครงสร้างพืนฐานขนาดใหญ่ ทีจําเปนสําหรับ การปรับ ตัว ต่อ การเปลียนแปลง


สภาพภูมิอ ากาศของประเทศอย่างเปนรูปธรรม เพือช่ว ยสนับสนุนการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจ
รายสาขา และลดความเสียหายจากภัยธรรมชาติทีอาจเกิดขึน เช่น อุทกภัยทีมีต่อชุมชนเมืองและ
พืนทีการเกษตร

(5) มี ก า ร ทํ า ง า นร่ ว ม กั นอ ย่ า ง บู ร ณ า ก า ร ขอ ง ทุ ก ภ า ค ส่ ว น ทั ง ภ า ค รั ฐ ผู้ กํ า กั บดู แ ล


สถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และภาคครัว เรือน เพือให้มีทิศทางและเปาหมายด้านสิ งแวดล้อมของ
ประเทศทีชัดเจนและครอบคลุมทั งมิติโอกาสและผลกระทบทีอาจเกิดขึน ทั งนี ภาครัฐต้องสือสารให้
ทุกภาคส่ว นเข้าใจและเห็นความจําเปนในเรืองนี โดยเน้นจุดสําคัญทีจะก่อให้เกิดแรงกระเพือมที
ช่ว ยขยายผลให้เกิดการเปลียนแปลงในวงกว้าง เช่น การให้นาหนักกับภาคเศรษฐกิจทีจะสร้า ง
การเปลียนแปลงได้มาก

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 24
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนและรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ

ทั งนี ธปท. พร้อมทีจะร่วมมือกับทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิด ด้วยการสนับสนุนทั งงานศึกษาวิจัยเชิงลึ ก


เพือประเมินความรุนแรงและรูปแบบของผลกระทบจากการเปลี ยนแปลงด้านสิ งแวดล้ อมต่อ ระบบ
เศรษฐกิจเพือสร้างความตระหนักรูแ
้ ละกระตุ้นให้เร่งปรับตัว การร่วมพัฒนาโครงสร้างพืนฐานกลาง
ทีสําคัญ ทีจะสนับสนุนให้กลไกตลาดทํางานได้ดีขึนและสะท้อนต้นทุนของผลกระทบด้านสิ งแวดล้ อม
ในการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ เช่ น การสนั บ สนุ น การพั ฒ นาฐานข้ อ มู ล ที สํ า คั ญ ที จะช่ ว ยให้ ก ารวางแผน
การปรับตัว สอดคล้องกับเปาหมายของประเทศ การทํางานร่ว มกับภาครัฐในมิติต่าง ๆ เพือกําหนด
ทิศทางการมุ่งสู่เปาหมายด้านสิ งแวดล้อมทีชัดเจน และร่ว มหาแนวทางให้ ระบบเศรษฐกิจ สามารถ
ปรั บ ตั ว ได้ ผ่ า นมาตรการทั งที เปน carrot และ stick ซึ งอาศั ย การผสมผสานมาตรการต่ า ง ๆ
ทั งด้ า นการคลั ง ด้ า นการเงิ น รวมถึ ง นโยบายส่ง เสริม อุ ตสาหกรรมและนโยบายด้ านสิ งแวดล้อม
ซึงการขับเคลือนอย่างบูรณาการร่วมกันจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเปาหมายทั งด้านสิ งแวดล้อมและ
สังคมเศรษฐกิจได้อย่างยั งยืน

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 25
ผลลัพธ์ที่ประเทศไทยจะได้รับ (What success looks like)

VI. ผลลัพธ์ทปี่ ระเทศไทยจะได้รับ


(What success looks like)

Box 4 ผลลัพธ์ที่ประเทศไทยจะได้รับ

ธปท. คาดหวั ง ว่ า การดํ า เนิ น การตามแนวทางข้ า งต้ น จะส่ ง ผลให้ ภ าคการเงิ น สามารถ
สนับสนุนการเปลียนผ่านไปสู่เศรษฐกิจทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อมได้อย่างราบรืนและทันการณ์
เพื อให้ ทุ ก ภาคส่ วนสามารถรับ มื อกั บ ความเสียงจากการเปลี ยนแปลงด้า นสิ งแวดล้ อ มและ
สภาพภูมิอากาศได้อย่างเท่าทัน (รายละเอียดตาม Box 4)

ช่วง transition เปนช่วงทีภาคธุรกิจต้องเริมปรับตัว แต่การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ยังมี


ต้นทุนและความเสียงสูง และการพัฒนาข้อมูลและเครืองมือ ในการประเมินโอกาสและ
ความเสี ยงยั ง ไม่ ส มบู ร ณ์ ส ถาบั น การเงิ น ต้ อ งตระหนั ก ถึ ง ผลกระทบด้ า นสิ งแวดล้ อ มใน
การดําเนินงานและกระบวนการตัดสินใจ โดยรับรู้ exposure / vulnerabilities ทีอาจได้รับ
ผลจากความเสี ยงด้า นสิ งแวดล้ อ ม รวมถึ ง มี บ ทบาทสํ า คั ญในการสนั บ สนุ น หรือกระตุ้นให้
ภาคธุรกิจปรับตัวสู่การดําเนินกิจกรรมทีเปนมิตรกับสิ งแวดล้อม (green activities) หรือลด
กิจกรรมทีไม่เปนมิตรกับสิ งแวดล้อม (brown activities) โดยภาคการเงินเริมมีฐานข้อมูลและ
เครืองมือสําหรับการประเมินโอกาสและความเสียงด้านสิ งแวดล้อมอย่างจริงจังและเปนระบบ
มากขึน อีกทั งสามารถจําแนกพอร์ตสินเชือในส่วนของ green และ non-green activities ได้

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 26
ผลลัพธ์ที่ประเทศไทยจะได้รับ (What success looks like)

รวมถึงเริมกําหนดเปาหมายด้านสิ งแวดล้อม เช่น สัดส่วนของสินเชือทีสนับสนุนกิจกรรมทีเปน


มิตรต่อสิ งแวดล้อม และการนําเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินทีจะรองรับการเปลียนผ่าน
ของภาคธุรกิจ (transition plan)

ช่ ว ง new normal เปนช่ ว งที กลไกตลาดทํ า งานได้ ราคาและต้ น ทุ น สะท้ อ นความเสียง


ทีแท้จริงโดยคํานึงถึงผลกระทบต่าง ๆ ต่อสิ งแวดล้อม และมีข้อมูลและเครืองมือพร้อม :
สถาบั น การเงิ น ต้ อ งสามารถผนวกผลกระทบด้ า นสิ งแวดล้ อ มในการดํ า เนิ น งานและ
กระบวนการตัดสินใจของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถระบุ ประเมิน วัด และลด
ความเสียงด้านสิ งแวดล้อมทั งในระดับ transaction และ portfolio ได้อย่างเหมาะสม และ
ผนวกเข้าเปนส่วนหนึงของโครงสร้า งการกํา หนดราคา ซึงจะเปนส่วนหนึงของกลไกตลาด
ที จะสร้ า งแรงจู ง ใจให้ ภ าคธุ ร กิ จ เร่ ง ปรั บ ตั ว ออกจากกิ จ กรรมที ส่ ง ผลกระทบทางลบต่ อ
สิ งแวดล้ อ ม และสนั บ สนุ น การบรรลุ เปาหมายด้านสิ งแวดล้ อมของประเทศบนพื นฐานของ
ความพร้อมทั งด้านระบบนิเวศข้อมูล (data ecosystem) การประเมินและรับรองกระบวนการ
ดําเนินการเพือความยั งยืนด้านสิ งแวดล้อม และบุคลากรในภาคการเงิน

ทิศทางการดำเนิ นงานเพื
ทางการพัฒนาสู ่อความยั
่ความยั
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ง่ ยืนด้า่งยืนสินด้ง่ แวดล้
านสิ่งอแวดล้ อม ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย
ม ภายใต้
27
ภาคผนวก

ภาคผนวก

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 28
ภาคผนวก

ภาคผนวก 1 ฉากทัศน์การปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ ของ NGFS และการคาดการณ์ผลกระทบทีเกิดขึน

ทีมา: NGFS Climate Scenarios for central banks and supervisors (June 2020)

ภาคผนวก 2 แนวทางการกําหนดแนวปฏิบัติด้านสิ งแวดล้อมสําหรับสถาบันการเงินของประเทศต่าง ๆ 27

ประเทศ รูปแบบการบังคับใช้ แนวทางและความคืบหน้าในการดําเนินการ

ออกแนวนโยบาย - BOE/PRA: ประเมิ น implementation plan ของ


(guideline) และใช้กลไก สถาบันการเงิน (ต.ค. 2562) พบว่า การดําเนินงานมี
กลุ่มประเทศในยุโรป
การตรวจสอบ ความคืบหน้าชัดเจนในการให้ความสําคัญของคณะ
(Bank of England:
(supervisory dialogue) กรรมการบริหารและผู้บริหารระดับสู ง แต่ยังต้อง
BOE และ
เพือติดตามความคืบหน้า พัฒนาในเรืองการบริหารความเสียงและ Scenario
Prudential
เปนระยะ โดยกําหนดให้ analysis ซึงเปนแผนงานหลักทีจะผลักดันในระยะ
Regulation
ปฏิบัติตามแล้วเสร็จภายใน ต่อไป
Authority: PRA)
สิ นป 2564
เม.ย. 2562 / - ECB: ใ ห้ ส ถ า บั น ก า ร เ งิ น ป ร ะ เ มิ น ต น เ อ ง ถึ ง
(European Central ควา มคื บ หน้ า ในป 2564 เที ยบกั บ guideline โดย
Bank: ECB) พ.ย. พบว่ า สถาบั นการเงิ นในยุ โ รปส่ ว นใหญ่ ท ราบถึ ง
2563 ผลกระทบของความเสียงและกําหนดแผนงานด้าน

27
หลักเกณฑ์หรือแนวนโยบายของทุกประเทศมีความคล้ายคลึงกัน โดยมุ่งหวังในการสร้างความพร้อมให้สถาบันการเงินปรับตัวรองรับความ
เสียงด้านสิ งแวดล้อมและการเปลียนแปลงสภาพอากาศ โดยครอบคลุม 4 ด้านหลัก คือ (1) โครงสร้างการกํากับดูแลกิจการ (governance)
(2) การกําหนดกลยุทธ์ (strategy) (3) การบริหารจัดการความเสียง (risk management) และ (4) การเปดเผยข้อมูล (disclosure)

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 29
ภาคผนวก

ประเทศ รูปแบบการบังคับใช้ แนวทางและความคืบหน้าในการดําเนินการ

นี แ ล้ ว แ ต่ ก า รปฏิ บั ติ ต า ม guideline ให้ ไ ด้ เ ต็ ม


รูปแบบยังมีจุดทีต้องปรับปรุงเพิ มเติม ซึง ECB จะ
ผลักดันการติดตามผ่านกระบวนการกํากับดูแลและ
ตรวจสอบอย่างจริงจังมากขึนในป 2565

ออกเปนหลักเกณฑ์ให้ถือ - BSP จัดทํา guidelines เพิ มเติมในรายละเอียด เรือง


ปฏิบัติ โดยให้เวลาสถาบัน Environmental & Social risk management ที
ฟลิปปนส์
การเงินปรับตัวภายใน 3 ป เน้นมิติของ credit และoperational risks (ต.ค. 2564)
(Bangko Sentral ng
Pilipinas: BSP) เม.ย.
2563

ออก guideline และมี - คณะทํางานร่วมระหว่าง MAS และสมาคมธนาคาร


supervisory dialogue สิงคโปร์ได้จัดทําคู่มือปฏิบัติ (industry handbook)
สิงคโปร์
เพือติดตามความคืบหน้า ทีรวบรวมตัวอย่างแนวทางปฏิบัติ และขยายความ
(Monetary
เปนระยะ โดยกําหนดให้ หลักการของ guideline ให้ชัดเจนยิ งขึน (ม.ค. 2564)
Authority of
ดําเนินการแล้วเสร็จภายใน
Singapore: MAS)
มิ.ย. 2565 - MAS ประเมิ น ความคื บ หน้ า การดํ า เนิ น การตาม
ธ.ค. 2563 guideline ในป 2564 โดยระบุความท้าทายสําคัญ
เรืองข้อมูล และเครืองมือทีใช้วิเคราะห์และประเมิน
ค ว า ม เ สี ย ง ด้ า น สิ ง แ ว ด ล้ อ ม ต ล อ ด จ น
ความเชียวชาญของบุคลากรในภาคการเงิน

ออก guideline เพือเปน - APRA จั ด ทํ า แ บบประเมิ น ต น เองภา คสมั ค รใจ


.
แนวปฏิบต
ั ิให้สถาบัน (Voluntary self-assessment survey) เพื อประเมิ น
ออสเตรเลีย
การเงินใช้อ้างอิง ความคืบหน้าการปฏิบัตต
ิ าม guideline ในป 2565
(Australian Prudential
โ ด ย พ บ ว่ า ส ถ า บั น ก า ร เ งิ น มี ค ว า ม คื บ ห น้ า
Regulation Authority:
ค่ อ นข้ า งมากในการดํ าเนิ นการด้ าน governance
APRA) พ.ย. 2564
แ ล ะ disclosure ทั ง นี ค ว า ม ท้ า ท า ย สํ า คั ญคื อ
ก า ร ผ น ว ก ค ว า ม เ สี ย ง จ า ก ก า ร เ ป ลี ย น แ ป ล ง
สภาพภูมิอากาศในกระบวนการบริหารความเสียง
อย่างครบวงจร

เผยแพร่รา่ งหลักเกณฑ์เพือ - อยู่ระหว่างดําเนินการ


ขอความเห็นจาก
มาเลเซีย
สาธารณชนเมือ ธ.ค. 2564
โดยกําหนดให้สถาบัน

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 30
ภาคผนวก

ประเทศ รูปแบบการบังคับใช้ แนวทางและความคืบหน้าในการดําเนินการ

(Bank Negara การเงินปฏิบต


ั ิตามภายใน
Malaysia: BNM) 2-3 ป หลังจากออก
หลักเกณฑ์

ภ า ค ผ นวก 3 ความคื บ หน้ า ประเด็ น การกํ า กั บ ดู แ ลภาคการเงิ น ในมิ ติ ด้ า นสิ งแวดล้ อ มและ
การเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับสากล

เกณฑ์ด้านเงินกองทุน (Capital Requirement)

- BCBS อ ยู่ ร ะ ห ว่ า ง ศึ ก ษ า แ น ว ท า ง ก า ร ผ น ว ก climate-related risk ไ ว้ เ ป น ส่ ว น ห นึ ง ข อ ง


การประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนของสถาบันการเงิน โดยยังมีความท้าทายทีสําคัญเรือง
ความเพียงพอของข้อมูลทีจะใช้ประเมินผลกระทบด้านสิ งแวดล้อมในลักษณะ forward-looking
และ climate-related risk ที มี ค วามผั น ผวนและความไม่ แ น่ น อนสู ง ซึ งต่ า งจากความเสี ยง
ทางการเงินประเภทอืน ๆ

- หน่ว ยงานกํากับดูแลภาคการเงินในหลายประเทศ อาทิ กลุ่มประเทศในยุโรป ใช้ Pillar 2 ภายใต้


Basel III framework ในการกําหนดให้สถาบันการเงินผนวกปจจัยด้านสิ งแวดล้อมเปนส่วนหนึง
ของการบริห ารความเสี ยงและการพิ จ ารณาความเพี ย งพอของเงิ น กองทุ น ให้ เ หมาะสมกั บ
สภาพแวดล้อมในปจจุบัน เนืองจากมีความยืดหยุ่นและเปนไปในเชิงหลักการ (Principle-based)
และไม่ ไ ด้ ก ระทบต่ อ อั ต ราเงิ น กองทุ น ขั นตา ซึ ง ธปท. ได้ ป รับ ปรุ ง หลั ก เกณฑ์ ก ารกํ า กั บ ดู แ ล
เงินกองทุนโดยทางการตาม Pillar 2 ให้ครอบคลุมปจจัยด้านสิ งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
(ESG) ตั งแต่วันที 1 มกราคม 2565

การเปดเผยข้อมูล (Disclosure)

- BCBS อยู่ ร ะหว่ า งศึ ก ษาแนวทางการเปดเผยข้ อ มู ล ของสถาบั น การเงิ น ภายใต้ Pillar 3 ของ
Basel III framework ใ ห้ ค ร อ บ ค ลุ ม ป จ จั ย ด้ า น สิ ง แ ว ด ล้ อ ม ซึ ง ดํ า เ นิ น ก า ร คู่ ข น า น กั บ
International Sustainability Standards Board ( ISSB) ภ า ย ใ ต้ International Financial
Reporting Standards (IFRS) Foundation เพือให้แนวทางการเปดเผยข้อมูลของภาคสถาบัน
การเงินสอดคล้องกับแนวทางการเปดเผยข้อมูลด้านความยั งยืนจากมาตรฐานการบัญชีระหว่าง
ประเทศ

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 31
ภาคผนวก

ภาคผนวก 4 แนวทางการพัฒนา Taxonomy ของประเทศต่าง ๆ

สหภาพ อาเซียน จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย (แผน)


ยุโรป

วัตถุประสงค์ทางสิงแวดล้อม

การลดปญหาการเปลียนแปลง
สภาพภูมิอากาศ (ต้นป 66)

การปรับตัวต่อการเปลียนแปลง
สภาพภูมิอากาศ (ระยะต่อไป)

การอนุรก
ั ษ์ความหลากหลาย
ทางชีวภาพ (ระยะต่อไป)

การสนับสนุนการบริหาร 28 29

ทรัพยากรให้ยืดหยุน
่ หรือ (ระยะต่อไป)

การใช้ทรัพยากรอย่างมี
ประสิทธิภาพและยั งยืน

การปองกัน ลด และควบคุม
มลพิษ (ระยะต่อไป)

การปรับตัวสู่เศรษฐกิจ
หมุนเวียน

รูปแบบการบังคับใช้

บังคับใช้เปนกฎระเบียบ 30

ใช้งานตามความสมัครใจ 31 7 31 31 31

28
สหภาพยุโรปกําหนดรายละเอียดเฉพาะเจาะจง เรืองการใช้ทรัพยากรนาและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั งยืน
29
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ผนวกรวมการขับเคลือนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าไปในวัตถุประสงค์นีด้วย
30
ปจจุบันใช้บังคับสําหรับ Green Bond และ Green Credit เท่านั น
31
ภูมิภาคอาเซียน สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียมุ่งสนับสนุนให้ใช้ Taxonomy ภายในภาคการเงินเปนลําดับแรก

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 32
ภาคผนวก

สหภาพ อาเซียน จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย (แผน)


ยุโรป

วิธีการจําแนกและจํานวนภาคเศรษฐกิจในการจัดทํา Taxonomy

จัดหมวดหมู่กิจกรรมทาง
เศรษฐกิจ

กําหนดเงือนไขตัวชีวัด 32

(Metric &Threshold)

จํานวนภาคเศรษฐกิจทีนํามา 13 6 ตาม 8 834 12 4


National
จัดทํา Taxonomy 33 ป 2566
classifi-
cation

ภาคผนวก 5 แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ESG ของประเทศต่าง ๆ

ประเทศ ดําเนินการโดย แนวทางการดําเนินการจัดทําฐานข้อมูล ESG

ธนาคารกลาง - พั ฒ นา Greenprint Platform เปนศู น ย์รวมข้อมู ล ESG ในระดั บ ประเทศ


สิงคโปร์ (MAS) ซึ งประกอบด้ ว ยข้ อ มู ล ทะเบี ย น มาตรฐานด้ า นสิ งแวดล้ อ ม (registry
สิงคโปร์
platform) ข้ อ มู ล การรายงานตามมาตรฐานสากล (disclosure platform)
เปนต้น และเปดกว้างให้ stakeholder กลุ่มต่าง ๆ เข้ามาใช้ข้อมูลได้ เพือเปน
marketplace ในการแลกเปลียนข้อมูลด้าน ESG

รัฐบาลอังกฤษ - ไม่มีระบบข้อมูล กลางของประเทศ แต่มีผู้ให้บริการข้อมูล ESG และ ESG


และFinancial Ratings หลากหลายซึงอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ FCA และมีแ ผนทีจะ
อังกฤษ
Conduct พัฒนา Health and Climate Change Platform ร่วมกับ WHO เพือผลักดัน
Authority ให้เกิดความยั งยืนในกลุ่ม supply chain ของระบบสาธารณสุขของประเทศ
(FCA)

รัฐบาลญีปุน - รั ฐ บ า ล ญี ปุ น พั ฒ น า Climate Change Adaptation Information


และ Japan's Platform (A-PLAT) เปนฐานข้อมูล กลางของประเทศ เพือรวบรวมข้อ มู ล
Financial และตัวชีวัดด้านการบรรเทาและปรับตัว จากการเปลียนแปลงด้านสภาพ

32
อ้างอิงจากเอกสาร Developing Sustainable Finance Definitions and Taxonomies ของ OECD
33
การกําหนดภาคเศรษฐกิจขึนอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ/ภูมิภาค โดยส่ว นใหญ่จะครอบคลุม (1) ภาคพลังงาน (2) คมนาคม (3) เกษตร
ปาไม้ ประมง (4) อุตสาหกรรมการผลิต (5) การสือสารโทรคมนาคม (6) การจัดการของเสีย และ (7) การก่อสร้าง
34
มาเลเซียไม่กําหนดภาคเศรษฐกิจอย่างเฉพาะเจาะจง โดยใช้วิธียกตัวอย่างภาคเศรษฐกิจจํานวน 8 ภาค

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 33
ภาคผนวก

ประเทศ ดําเนินการโดย แนวทางการดําเนินการจัดทําฐานข้อมูล ESG

ญีปุน Service ภู มิ อ ากาศ ซึ งรวมถึ ง ข้ อ มู ล ด้ า น climate change ของประเทศต่ า ง ๆ


Authority ในกลุ่มเอเชียแปซิฟก (AP-PLAT) ด้วย
(JFSA)
- JFSA พั ฒ นา ESG platform เพื อรวบรวมข้ อ มู ล ทะเบี ยนมาตรฐานด้าน
สิ งแวดล้ อ มของ ESG-related Bonds และออก Code of Conduct for
ESG Evaluation and Data Providers เพือใช้กํากับดูแลผู้ให้บริการข้อมูล
ด้าน ESG และ ESG Ratings ทีมีอยู่หลายราย ให้มีการดําเนินงานภายใต้
มาตรฐานเดียวกัน

รัฐบาลแคนาดา - จั ด ตั ง Canadian Centre for Climate Services (CCCS) เปนศู น ย์ ก ลาง


Environment ข้ อ มู ล ด้ า นสภาพภู มิ อ ากาศภายในประเทศ และเปนเครื องมื อ เพื อทํ า
แคนาดา
and Climate Climate Scenario
Change
- อ ยู่ ร ะ ห ว่ า ง จั ด ตั ง Canadian Centre for Climate Information and
Canada
Analytics (C3IA) เพื อเปนศู น ย์ ก ลางเชื อมโยงข้ อ มู ล สภาพภู มิ อ ากา ศ
(ECCC) และ
เศรษฐกิ จ อุ ต สาหกรรม และข้ อ มูล การเงิ น ทั งจากภาครัฐ และเอกชนใน
Statistics
ลักษณะ hub-and-spoke data platform
Canada

กลุ่ม รัฐบาลกลาง/ - ส่ ง เสริ ม Digital Green Transition โดยพั ฒ นาโครงสร้ า งพื นฐานด้ า น
Nordic* ท้องถิ นในกลุ่ม ข้อมูลในลักษณะของ Open Green Data Portal ภายใต้การกํากับดูแลของ
ประเทศ Nordic รั ฐ บาลกลาง ซึ งครอบคลุ ม การจั ด เก็ บ ข้ อ มู ล สํ า คั ญ ของภาคพลั ง งาน
คมนาคม เกษตร ปาไม้ เปนต้น

* กลุ่มประเทศ Nordic ประกอบด้วยฟนแลนด์ สวีเดน และเดนมาร์ก

ภาคผนวก 6 รูปแบบมาตรการจูงใจของประเทศต่าง ๆ

ประเทศ ตัวอย่างกลไกหรือมาตรการสนับสนุนด้านสิงแวดล้อม

- Corporate Bond Purchase Scheme (CBPS) สํ า ห รั บ secondary monetary policy


purpose เพือสนับสนุนเศรษฐกิจเปลียนผ่านไปสู่ net zero emissions economy โดยตั งเปา
อังกฤษ
weighted average carbon intensity (WACI) ของ CBPS portfolio ลดลงร้ อ ยละ 25 ในป
ค.ศ. 2025 และเปน net zero ในป ค.ศ.2050

- Green Loan and Sustainability-Linked Loans/Bonds Grant Scheme สํ า ห รั บ ส่ ง เ ส ริ ม


ธุรกิจและธนาคารด้านสิ งแวดล้อมและความยั งยืนในส่วนของค่าใช้จ่ายในการประเมินการเปน
สิงคโปร์
ธุรกิจสีเขียวและยั งยืน

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 34
ภาคผนวก

ประเทศ ตัวอย่างกลไกหรือมาตรการสนับสนุนด้านสิงแวดล้อม

- Solution providers (data) สําหรับ Green FinTech หรือ Green Tech ในด้านเงินทุน งานวิจย

และการพัฒนาความรูบ
้ ุคลากร

- Green Investments Programme (GIP) ผ่ า น asset managers โดยเบื องต้ น ลงทุ น ที วงเงิ น
US$100m จากวงเงิ น ทั งหมด US$2 billion ที Green Bond Investment Pool (GBIP) ของ
Bank for International Settlements (BIS)

- Carbon Emission Reduction Facility (CERF) โดยเสนอสินเชือดอกเบียตาแก่สถาบันการเงิน


ที ร้ อ ยล ะ 1.75 (ขณ ะที medium-term lending facility (MLF) อยู่ ที ร้ อ ยล ะ 2.95) สํ า หรั บ
จีน
การพัฒ นาธุรกิจในด้านการใช้ พลัง งานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้พลังงานหมุนเวียน และ
การพัฒนา green technology

- Climate Lending Facility โดยธนาคารกลางญี ปุ นให้ เ งิ น กู้ แ ก่ ส ถาบั น การเงิ น โดยไม่ คิ ด


ดอกเบี ย จํ า นวนเงิ น ประมาณ $18 billion (สิ นสุ ด ป ค.ศ. 2023 และขอต่ อ อายุ ได้ ถึ ง ป ค.ศ.
ญีปุน
2030) สํ า ห รั บ green bonds/loans, sustainability-linked bonds/loans with climate-
change related targets รวมถึงสําหรับ climate-change transition โดยสถาบันการเงินต้อง
เปดเผยข้ อ มู ล เปาหมายและผลลัพ ธ์ต าม TCFD อี ก ทั ง สถาบั น การเงิน ที ปล่ อยเงิ นกู้ ภายใต้
มาตรการนีจะได้รบ
ั การลดภาระต้นทุนจาก excess reserves ทีปจจุบันมีอัตราดอกเบียติดลบ

- Low Carbon Transition Facility (LCTF)35 (วงเงิ น 2 พั น ล้ า นริง กิ ต มาจาก Bank Negara
Malaysia (BNM) 1 พันล้านริงกิต และสถาบันการเงิน 1 พันล้านริงกิต) สําหรับ SMEs ทุกกิจการ
มาเลเซีย
เพื อสนั บ สนุน financing working capital และ capital expenditure ได้ แ ก่ sustainability
certification, sustainable materials for production, และ energy efficiency ซึ ง SMEs
จะได้วงเงินสูงสุดต่อกิจ การที 10 พันล้านริงกิต โดยกําหนดอัต ราดอกเบียสูงสุด จากสถาบั น
การเงินทีร้อยละ 5 (รวมค่าธรรมเนียมการคาประกันความเสียง (หากมี) และให้ระยะเวลาสูงสุด
10 ป ทั งนี BNM ไม่ได้กําหนดระยะเวลาสิ นสุดของโครงการ โดยจะให้จนกว่าเต็มวงเงิน

35
BNM ออก 2 มาตรการช่วยเหลือ SMEs ภายใต้เงินทุนของ BNM ดังนี 1) มาตรการ Business Recapitalisation Facility (BRF) จํานวน
1 พันล้านริงกิต และ 2) LCTF จํานวน 1 พันล้านริงกิต: https://www.bnm.gov.my/-/new-bnm-funds-sme-brf-lctf

ทิศทางการพัฒนาสู่ความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย


ธนาคารแห่งประเทศไทย 35

You might also like