You are on page 1of 22

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยสถานที่ท่องเที่ยวคลองโอ่งอ่าง

Guidelines for increasing the efficiency of safety management


of the Ong Ang Canal Bangkok

ปรมัตถ์ รุ่งแสง

โครงร่างวิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย
คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
พ.ศ. 2566
สารบัญ

บทที่ 1 1
บทนำ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์การศึกษา 2
คำถามการวิจัย 3
ขอบเขตของการวิจัย 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
นิยามศัพท์และนิยามปฏิบัติการ 4
บทที่ 2 5
แนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 5
ประวัติความเป็นมา คลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร 5
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง 7
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 17
บทที่ 3 18
วิธีดำเนินการวิจัย 18
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 18
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 19
การเก็บรวบรวมข้อมูล 20
กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล 20
1

บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การท่องเที่ยวถือเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูง เป็นธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศเป็นอันดับต้น ๆ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Industry) เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย
ธุรกิจหลายประเภท ทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางอ้อมหรือธุรกิจสนับสนุนต่าง ๆ การ
ซื้อบริการของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็น การส่งสินค้าออกที่มองไม่เห็นด้วยสายตา (Invisible
Export) เพราะเป็นการซื้อด้วยเงินตราต่างประเทศ การผลิต สินค้า คือ บริการต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวซื้อก็
จะต้องมีการลงทุน ซึ่งผลประโยชน์จะตกอยู่ในประเทศและจะช่วยให้เกิดงานอาชีพอีกหลายแขนง เกิดการ
หมุนเวียนทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ทางด้านสังคมการท่องเที่ยวเป็นการพั กผ่อนคลาย ความตึงเครียด พร้อม
กับการได้รับความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่ผิดแผกแตกต่างออกไปอีกครั้ง อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเป็น
แหล่งที่มาของรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับดุลการชำระเงินได้เป็น
อย่างมาก
ปัจจุบันแหล่งท่องเที่ ยวในประเทศไทยมีมากมายหลายแห่ง หนึ่งในสถานที่ที่ได้รับความนิยมและมี
ชื่อเสียง คือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย จึงเป็นศูนย์กลางความเจริญในทุกด้าน เป็น
ศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม ระบบการขนส่ง รวมถึงการติดต่อกับนานาประเทศ
เหตุผลที่นักท่องเที่ยวพากันมาเที่ยวกรุงเทพมหานคร คือ กรุงเทพฯ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายและหลากหลาย
ประเภท เป็นเมืองแห่งสีสันทั้งกลางวันและกลางคืน หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของกรุงเทพฯ ในกลุ่ม
ชาวต่างชาติและชาวไทยคือ ถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง คลองโอ่งอ่างเป็นส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุง ขุดขึ้นเมื่อ
ปี พ.ศ. 2326 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เชื่อมต่อกับคลอง
บางลำพูบริเวณปากคลองมหานาค สิ้นสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้าก่อนจะออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีต
คลองโอ่งอ่างเป็นชุมชนค้าขายริมคลองที่มีเ รือแล่นพลุกพล่าน เป็นแหล่งค้าขายโอ่ง เครื่องปั้นดินเผาของชาว
มอญและชาวจีน จึงเป็นที่มาของชื่อคลองโอ่งอ่าง ต่อมาในปี พ.ศ.2519 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็น
โบราณสถานแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะจัดระเบียบผู้ค้าสะพานเหล็ก โดยได้มีจดหมายไป
ถึงกลุ่มผู้ค้าสะพานเหล็กให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ออก แต่ก็ติดขัดด้วยสาเหตุหลายประการ จนกระทั่งปี
พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการ รื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และร้านค้าที่รุกล้ำคลองโอ่งอ่าง
ทั้งหมด ตามมติคณะคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์และย่านเมืองเก่า โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อ
ปรับปรุงภูมิทัศน์ คืนพื้นที่คลองประวัติศาสตร์และพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชน รวมไปถึงพัฒนาระบบการ
2

ระบายน้ำให้ดีขึ้น ซึ่งร้านค้าต่างๆ ที่รื้อย้ายออกไปนั้น ส่วนใหญ่ก็ได้ ไปเช่าพื้นที่ห้างเมก้า พลาซ่า (Mega


Plaza) ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามคลองโอ่งอ่าง ถนนมหาไชย เพื่อทำการค้า
ปัจจุบันคลองแห่งนี้มีความสวยงาม เปิดโล่งจนสามารถมองเห็นสะพานข้ามคลองที่เรียงกัน 5 สะพาน
คือ สะพานดำรงสถิต สะพานภาณุพันธุ์ สะพานหัน สะพานบพิตรพิมุข และสะพานโอสถานนนท์ ได้อย่าง
ชัดเจน และทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 16.00-22.00 น. กรุงเทพมหานครได้จัดให้มีกิจกรรม “ถนนคนเดิน
คลองโอ่งอ่าง” ตั้งแต่สะพานดำรงสถิต ถึง สะพานบพิตรพิมุข ซึ่งมีร้านขายของมากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้มา
เลือกซื้อของกิน ของใช้ ของเล่นต่างๆ รวมทั้งรับชมการแสดงที่มีให้ชมตลอดทาง นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์
ประจำคลองโอ่งอ่าง นั่นก็คือการพายเรือคายัค ล่องชมความงดงามของคลองโอ่งอ่าง โดยกรุงเทพมหานครได้
จัดหาเรือคายัคไว้บริการ รอบละ 30 นาที สามารถรับบัตรคิวที่ท่าน้ำหน้าร้านสะพานเหล็กสแควร์ (สตรีทอาร์ต
เหล่ากองทัพการ์ตูน) ฝั่งพระนคร ใกล้สะพานดำรงสถิต ถือเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
จนกลายเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาติและชาวไทยนิยมมากัน
และเนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการ
แข่งขันของประเทศมีศักยภาพในการทำรายได้ให้กับประเทศไทยสูง ดังนั้น นโยบายด้านการท่องเที่ยวของ
ประเทศไทยที่จะต้องเร่งดำเนินการ คือ การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ มีมาตรฐาน
ความ-ปลอดภัยและการให้บริหารระดับสากล เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพจากทั่วโลก เนื่องจากความ
ปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว เพราะความ
ปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญและสะท้อนภาพลักษณ์ของประเทศเจ้าบ้านไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในด้านชีวิต
และทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ความปลอดภัยที่ควรเริ่มตั้งแต่นักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงประเทศไทยจนถึง
วันที่เดินทางกลับไปยังประเทศของตน
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาจึงเห็นความสำคัญในด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว โดยสนใจ
ศึกษา เรื่อง “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยพื้นที่คลองโอ่งอ่าง” โดยมุ่งเน้นศึกษา
ผู้ประกอบการในพื้นที่คลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนเพิ่ม
มากขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเฉพาะช่วงยามเย็นถึงช่วงค่ำคืนที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก มีความเสี่ยงและภัย
อันตรายจากด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาการการเพิ่มประสิทธิภาพการ
รักษาความปลอดภัยถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่างกรุงเทพมหานคร
3

คำถามการวิจัย
1. ปัญหาและและอุปสรรคในการรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร เป็น
อย่างไร
2. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร ที่
เหมาะสม ควรเป็นอย่างไร

ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง
กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยแบบภาคสนาม (Field Research) โดยผู้วิจัย
ได้ทำการวิจัย เชิงคุณภาพ ด้ว ยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In – depth interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บ
รวบรวมข้อมูลสำหรับการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง วิจัยใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling)
1.1 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสัมภาษณ์เจาะลึก (In – Depth Interview)
1.1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ริมคลองโอ่งอ่าง หมายถึง กลุ่มคน
ที่เป็นผู้เข้ามาทำกิจกรรมภายในพื้นที่ คลองโอ่งอ่างในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งมุ่งเน้นไปที่กลุ่ ม
นักท่องเที่ยวโดยอาจเข้ามาในวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น มาซื้อสินค้า ท่องเที่ยว มาพักผ่อน ฯลฯ
1.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยรอบพื้นที่มาตั้งแต่
กำเนิดหรือมากกว่า 10 ปี อาจเป็นเจ้าของที่พักอาศัยหรือมีการประกอบกิจกรรมอยู่ในพื้นที่
รวมถึงกลุ่มผู้เช่าที่พักในพื้นที่เพื่อประกอบอาชีพต่างๆ
1.1.3 เจ้าหน้าที่รัฐหรือ
1.2 ขอบเขตด้านพื้นที่
สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยศึกษาเฉพาะในเขตพื้นที่คลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร
1.3 ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย จำนวน 2 เดือน (มิ.ย. – ก.ค.)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบปัญหาและอุปสรรคการรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุง
การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่างให้มีประสิทธิภาพและมีความ
ปลอดภัยกับนักท่องเที่ยวและชุมชนในพื้นที่คลองโอ่งอ่างมากยิ่งขึ้น
4

2. สามารถนำผลจากการศึกษาในครั้งนี้ไปพัฒนาและปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความ
ปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง
3. ทำให้ทราบแนวทางการรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง
4. ผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลด้านความปลอดภัยและแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

นิยามศัพท์และนิยามปฏิบัติการ
1. ปัญหาและอุปสรรค หมายถึง สิ่งที่ ผู้ประกอบการคลองโอ่งอ่างหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจ
นครบาลจักรวรรดิเห็นว่าเป็นสิ่งขัดขวางการปฏิ บัติงานด้านความปลอดภัยมิให้ดำเนินไปด้วยดีหรือบรรลุ
วัตถุประสงค์ต่อการดำเนินงานการรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ คือ สิ่ง
ขัดขวางการดำเนินงานรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง มิให้ดำเนินไปด้วยดีหรือบรรลุวัตถุประสงค์ต่อ
การรักษาความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง
2. การเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัย หมายถึง การเพิ่มความสามารถในการรักษาความ
ปลอดภัย คลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร ตามบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ส ำเร็จลุล ่ว งตา ม
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหรือแนวทางที่กำหนดไว้ โดยการรักษาความปลอดภัยมี ประสิทธิภาพ มีความถูก
ต้องได้มาตรฐาน รวดเร็ว ทันเวลา และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อความปลอดภัยของคลองโอ่งอ่าง
3. การรักษาความปลอดภัย หมายถึง การระวังป้องกันภัยเพื่อระงับเหตุร้ายโดยใช้มาตรการและ
แผนการดำเนินการทั้งปวงเพื่อพิทักษ์ รักษา คุ้มครอง ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินภายในพื้นที่คลองโอ่งอ่าง
4. คลองโอ่งอ่าง หมายถึง เป็นช่วงหนึ่งของคลองรอบกรุง มีขอบเขตจากปากคลองมหานาคไปถึงปาก
คลองซึ่งหันออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางตอนใต้ ข้าง ๆ กับสะพานพระพุทธยอดฟ้า มีระยะทางรวมประมาณ
750 เมตร คลองโอ่ ง อ่ า งทำหน้ า ที ่ เ ป็ น เส้ น แบ่ ง เขตปกครองระหว่ า งเขตพระนครกั บ เขตสั ม พั น ธวงศ์
กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภท Street Food โดยมีการจับจ่ายซื้อของกินของใช้ บริการ
ร้านอาหาร เครื่องดื่ม เป็นถนนคนเดิน มีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งร้านค้าขายของอยู่บริเวณสองฟากฝั่งคลอง
5

บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
ในการดำเนินการวิจัย เรื่อง “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยสถานที่
ท่องเที่ยวคลองโอ่งอ่าง” โดยภาพรวมผู้วิจัยได้ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
1. ประวัติความเป็นมาของคลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร
2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรม
2.2 ทฤษฎีควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
3. แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในการท่องเที่ยว
3.1 ความหมายของการรักษาความปลอดภัย
3.2 ประเภทและปัญหาความไม่ปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
3.3 แนวทางการจัดการความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
3.4 สาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ปลอดภัย
3.5 มาตรการรักษาความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5. กรอบแนวคิดในการวิจัย

ประวัติความเป็นมา คลองโอ่งอ่าง กรุงเทพมหานคร


คลองโอ่งอ่างเป็นส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุง ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2326 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เชื่อมต่อกับคลองบางลำพูบริเวณปากคลองมหานาค สิ้นสุดที่เชิง
สะพานพระปกเกล้าก่อนจะออกไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ในอดีตคลองโอ่งอ่างเป็นชุมชนค้าขายริมคลองที่มีเรือ
แล่นพลุกพล่าน เป็นแหล่งค้าขายโอ่ง เครื่องปั้น ดินเผาของชาวมอญและชาวจีน จึงเป็นที่มาของชื่อคลองโอ่ง
อ่าง ต่อมาในปี พ.ศ.2519 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นเส้นแบ่งเขต
ระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะจัดระเบียบผู้ค้าสะพานเหล็ก โดยได้มีจดหมายไป
ถึงกลุ่มผู้ค้าสะพานเหล็กให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ออก แต่ก็ติดขัดด้วยสาเหตุหลายประการ จนกระทั่งปี
พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการ รื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และร้านค้าที่รุกล้ำคลองโอ่งอ่าง
6

ทั้งหมด ตามมติคณะคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์และย่า นเมืองเก่า โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อ


ปรับปรุงภูมิทัศน์ คืนพื้นที่คลองประวัติศาสตร์และพื้นที่สาธารณะให้กับประชาชน รวมไปถึงพัฒนาระบบการ
ระบายน้ำให้ดีขึ้น ซึ่งร้านค้าต่างๆ ที่รื้อย้ายออกไปนั้น ส่วนใหญ่ก็ได้ไปเช่าพื้นที่ห้างเมก้า พลาซ่า ( Mega
Plaza) ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามคลองโอ่งอ่าง ถนนมหาไชย เพื่อทำการค้า
ปัจจุบันคลองแห่งนี้มีความสวยงาม เปิดโล่งจนสามารถมองเห็นสะพานข้ามคลองที่เรียงกัน 5 สะพาน
คือ สะพานดำรงสถิต สะพานภาณุพันธุ์ สะพานหัน สะพานบพิตรพิมุข และสะพานโอสถานนนท์ ได้อย่าง
ชัดเจน และทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ เวลา 16.00-22.00 น. กรุงเทพมหานครได้จัดให้มีกิจกรรม “ถนนคนเดิน
คลองโอ่งอ่าง” ตั้งแต่สะพานดำรงสถิต ถึง สะพานบพิตรพิมุข ซึ่งมีร้านขายของมากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้มา
เลือกซื้อของกิน ของใช้ ของเล่นต่างๆ รวมทั้งรับชมการแสดงที่มีให้ชมตลอดทาง นอกจากนี้ยังมีอี กหนึ่งไฮไลท์
ประจำคลองโอ่งอ่าง นั่นก็คือการพายเรือคายัค ล่องชมความงดงามของคลองโอ่งอ่าง โดยกรุงเทพมหานครได้
จัดหาเรือคายัคไว้บริการ รอบละ 30 นาที สามารถรับบัตรคิวที่ท่าน้ำหน้าร้านสะพานเหล็กสแควร์ (สตรีทอาร์ต
เหล่ากองทัพการ์ตูน) ฝั่งพระนคร ใกล้สะพานดำรงสถิต ถื อเป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
จนกลายเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวต่างชาติและชาวไทยนิยมมากัน

ภาพประกอบ : บรรยากาศคลองโอ่งอ่างในเวลากลางคืน
ที่มา : https://www.tripanddrip.com/story/ถนนคนเดิน-คลองโอ่งอ่าง/
7

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรม
1.1 ทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ (Community Relation Theory)
ทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ได้ถูกเสนอขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ 1920 ซึ่งมีรากฐานมาจากแนวความคิดและ
ผลการวิจัยของนักอาชญาวิทยากลุ่มชิคาโกหรือสำนักนิเวศวิ ทยาอาชญากรรม(The Ecological School of
Criminology) ภายใต้การนำของปาร์กซึ่งได้รับอิทธิพลในด้านความคิดเกี่ยวกับความสำคัญของชุมชนจาก
นักวิชาการ 3 ท่าน (ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2526 : 19) คือ
1. แนวความคิดของ ดาร์วิน (Darwin) เกี่ยวกับการพึ่งพาอาศัยระหว่างสัตว์และพืช
2. ข้อเขียนของ ซิมเมล (Simmel) เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านเวลาและสถานที่ของความสัมพันธ์ทาง
สังคม
3. ทฤษฎีของ เดอร์คิม (Durkheim) กล่าวถึง ความหนาแน่นของประชากรที่เป็นปัจจัยที่กระทบต่อ
ความแก่งแย่งทางสังคมและการแบ่งงาน
จากแนวคิดทั้งสามท่านนี้ พาร์ค (Park) ได้พยายามจูงใจให้นักอาชญาวิทยาทั้งหลายเห็นความสำคัญ
ของปัจจัยต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมของเมืองที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมอาชญากร ต่อมาแนวความคิดดังกล่าว
ได้รับความสนใจจาก เบอร์เกสส์ (Burgess) ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ทฤษฎีวงรอบ (Concentric Circles
Theory) ทำการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรม พบว่า อาชญากรรมมักมีสถิติสูงในบริเวณกลางนครชิคา
โก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นย่านธุรกิจร่วมกับ ย่านที่อยู่อาศัยชั่ว คราวเนื่องจากมีการย้ายเข้าออกเสมอ และสถิติ
อาชญากรรมพร้อมด้วยปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนจะ ลดลงทุกขณะ เมื่อถอยห่างจากใจกลางเมืองออกไป
จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าวนี้ นักอาชญาวิทยากลุ่มชิคาโกสรุปว่า อาชญากรรมเป็นปรากฏการณ์
ถาวรตามลักษณะของท้องที่ บริเวณใดที่เกิดอาชญากรรมขึ้นบ่อยครั้ง ก็จะคงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกเช่นนี้ ซึ่งกลุ่ม
ชิคาโกเห็นว่าเป็น “การขาดระเบียบของสังคม” (Social Disorganization) หมายถึง สภาวะแตกสลายของ
กลไกทางสังคม ที่มีหน้าที่ค้ำจุนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และขวัญกำลังใจของสมาชิกในสังคมและจาก
แนวความคิดของกลุ่มชิคาโกนี้เอง เฮอร์เบอร์ก เกนส์ (Herbert Gans) จึงได้ใช้เป็นพื้นฐานในการสร้าง
แนวความคิดที่ต่อเนื่อง เรียกว่า หมู่บ้านในเมื องเออร์แบนวิลเลจ (Urban village) คือการสร้างความสัมพันธ์
ในสังคมหรือชุมชนด้วยการจัดสภาพพื้นที่ในชุมชนให้มีลักษณะเอื้ออำนวยต่อการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของ
ชุมชนของตน ให้มีลักษณะที่สะดวกหรือง่ายต่อการติดตามรวมทั้งสร้างความรับผิดชอบต่อส่วนรวมแก่สมาชิก
ในชุมชน ซึ่งมีความเชื่อว่าหากเพิ่ม ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมโดยให้ชุมชนรวมตัวกันให้แน่นแฟ้น ก็ย่อมจะช่วยกัน
ป้องกันอาชญากรรมได้มาก ขึ้นอันเป็นการเสริมสร้างแนวคิดทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์
ดังนั้นโดยสรุปแล้ว หลักตามแนวทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ ก็คือการจัดสภาพทั่วไป ไม่ว่าในระดับเมือง
ชุมชนหรือละแวกบ้าน ในลักษณะเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้ง่ายต่อการ ควบคุม สังเกตและ
8

ตรวจตรา โดยไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกของชุมชน มีส่วนร่วม


ในการป้องกันชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของตนเองให้ปลอดภัยจาก อาชญากรรม ในส่วนของตำรวจนั้น ได้มี
การนำเอาทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์มาปรับใช้ กับงานชุมชน มวลชนชุมชนสัมพันธ์ เพื่อการแสวงหาความร่วมมือ
จากประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในด้านการ ป้องกันอาชญากรรม (กรมตำรวจ, 2539 : 22) โดยกล่าวว่า
“ตำรวจ มีความเป็นมาควบคู่กับวิวัฒนาการของสังคม การที่ สมาชิกในสังคมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขนั้น
ย่อมต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ เพื่อให้ทุกคนถือ ปฏิบัติโดยทั่วกันและต้องมีผู้รักษากฎเกณฑ์ดังกล่าว เพื่อมิให้
ผู้ใดละเมิด หากมีการละเมิดก็ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งหน้าที่ในการ
รักษากฎเกณฑ์นั้น ได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนเป็นสถาบันอย่างหนึ่งเรียกว่าตำรวจมีหน้าที่หลักในการบังคับใช้
กฎหมาย การ ป้องกันเหตุร้ายไม่ให้เกิดขึ้น การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และ
การรักษาความมั่นคงภายในของรัฐ
โดยในสังคมยุคปัจจุบันนี้ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นนั้น
ตำรวจมีบทบาทสำคัญยิ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เนื่องจากตำรวจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเพียง
หน่วยเดียวที่ติดต่อสัมพันธ์กับประชาชนทุกระดับ ตลอด 24 ชั่วโมง แต่การ ปฏิบัติภารกิจ ดังกล่าวนั้น ตำรวจ
มิได้ดำเนินการอยางโดดเดี่ยว หากต้องอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อม ต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
การทหาร และเทคโนโลยีซึ่งสภาพแวดล้อมเหล่านี้มีประชาชนเป็นองค์ประกอบหลักอยู่เสมอ ดังนั้นการปฏิบัติ
ภารกิจของตำรวจไม่ว่าด้านใด ๆ จึงต้อง เกี่ยวข้องกับประชาชนและพฤติกรรมของประชาชนในสังคมมากกว่า
ที่คนทั่วไปจะคาดคิด ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตำรวจกับประชาชน เพื่อการแสวงหาความ
ร่วมมือให้ประชาชนเข้าร่วมในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมโดยการ
แสดงออกซึ่งท่าที ทัศนคติสนองตอบที่ดีระหว่างกัน ในฐานะที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นผู้มีส่วนร่วมในการแก้ไข
ปัญหาอาชญากรรมจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการ
รักษาความสงบสุขของสังคมตลอดไป
2.ทฤษฎีควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
เกิดขึ้นจากเหตุผลจากสภาพของความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสังคมและการเพิ่มขึ้นของ
ประชากรในสังคมที่เปลี่ยนมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม สภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมแบบต่างคนต่างอยู่
การแยกตัวของชุมชนของบุคคล ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกว่าไม่มีความมั่นคงในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน ทำ
ให้เกิดความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว ลักษณะดังกล่าวนำไปสู่การทำให้เกิดผลร้ายต่อสังคมโดยรวม เป็นการกร่อน
ทำลายโครงสร้างของความสัมพันธ์ภายในชุมชน สมาชิกภายใน ชุมชนต่างปล่อยปละละเลยต่างคนต่างเอาตัว
รอดไม่สนใจต่อการป้องกันปัญหาอาชญากรรม ทำให้ในที่สุดปัญหาอาชญากรรมจึงกลายเป็ นความรับผิดชอบ
ของตำรวจแต่เพียงฝ่ายเดียว ความปลอดภัยของสมาชิกชุมชนจึงอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการตกเป็น เหยื่ อ
อาชญากรรม (ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2526 : 30)
9

ทฤษฎี ก ารควบคุ ม อาชญากรรมจากสภาพแวดล้ อ มเป็ น ความพยายามของนั ก วิ ช าการที ่ จะนำ


แนวความคิดทฤษฎีบังคับใช้กฎหมายและทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ โดย
สาระสำคัญของทฤษฎีนี้อยู่ที่การลดช่องโอกาสสำหรับการประกอบอาชญากรรมภายใต้เงื่อนไขสภาพแวดล้อม
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม รวมทั้งความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมภายใต้กรอบกฎหมายซึ่งตราขึ้นเพื่อ
ผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมด้วย สำหรับแนวทางหลักของการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม
มี 2 แนวทาง คือ แนวทางแรก การกล่อมเกลาและปลูกฝังจิตสำนึกสำหรับบุคคลจัดเป็นแผนระยะยาว ซึ่ง
เกี่ยวข้องกับหลายสถาบันทางครอบครัว เริ่มจากครอบครัว สถาบันการศึกษา ศาสนาและการเมือง และ
จำเป็นต้องกระทำอย่างต่อเนื่องและยาวนาน แนวทางที่สอง การจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อขัดขวางการละเมิด
กฎหมาย คือ เป็นแผน เร่งด่วนและต่อเนื่อง ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้ 2 มิติและมีมาตรการรองรับกล่าวคือ
มิติที่ 1 สภาพแวดล้อมรูปธรรม
1. ระดับชุมชนเป็นมาตรการการวางผังเมืองและชุมชนการติ ดตั้งไฟฟ้าส่องสว่าง การออกแบบอาคาร
และการสลักหมายเลขบนทรัพย์สิน
2. ระดับบ้านเรือน เป็นมาตรการความมั่นคงของประตูหน้าต่าง การใช้สัญญาณเตือนภัยการใช้
อุปกรณ์เปิดปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ
มิติที่ 2 สภาพแวดล้อมนามธรรม
1. มาตรการเพื่อนบ้านเตือนภัย
2. มาตรการสายตรวจประชาชน
3. มาตรการตรวจตราบ้านเมือง
จากการศึกษาของอัลแมน (ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ , 2526 : 43) เกี่ยวกับอิทธิพลของสภาพแวดล้อม
รูปธรรมมีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมได้อธิบายว่า ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ต่างทำเครื่องหมายในสภาพแวดล้อมเพื่อ
เป็นสัญลักษณ์แสดงสิทธิในความเป็นเจ้าของและต่อสู้เพื่อป้องกันตนเองจากผู้รุกราน สำหรับในสังคมมนุษย์
ดังกล่าวแบ่งตามลักษณะการครอบครองของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลได้ 3 ประเภท คือ
พื้นที่ปฐมภูมิ ได้แก่พื้นที่ครอบครอง โดยสังคมที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าไปได้โดยชอบธรรม ภายใต้
ขอบเขตที่กำหนดไว้ได้แก่ สวนสาธารณะ โรงพยาบาล โรงมหรสพ
พื้นที่ทุติยภูมิ ได้แก่พื้นที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ปฐมภูมิและพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ ตรอก ซอย ย่านที่
อยู่อาศัย เป็นต้น
การจัดสภาพแวดล้อมในชุมชนเพื่อป้องกันอาชญากรรมในปัจจุบันไม่ได้รับความสนใจจากหน่วยงาน
รัฐบาลอย่างเพียงพอจึงมักจะเกิดปัญหาอาชญากรรมในบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากผังเมืองและชุมชนมี
อิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและพฤติกรรมของพลเมืองทั่ว ๆ ไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกอาชญากรรมมักอาศัยช่วง
โอกาสในสภาพแวดล้อมประกอบอาชญากรรมจึงทำให้ประชาชน ผู้ใช้ประโยชน์พื้นที่ในชุมชนต้องพึ่งพาเมตตา
10

ธรรมของผู้ออกแบบผังเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และลักษณะการจัดสภาพชุมชนก็มีผลต่อการเพิ่มหรือลด
อาชญากรรมด้วยสภาพแวดล้อมระดับบ้านเรือน การจัดสภาพแวดล้อมระดับบ้านเรือนให้ป ลอดภัยจาก
อาชญากรรม ได้แก่ ประตู หน้าต่างควรเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์สำหรับรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ กุญแจที่มี
คุณภาพเพราะจะทำให้การทำลายหรือสะเดาะกระทำได้ยากยิ่งขึ้นและคนร้ายต้องใช้เวลานานเสี่ยงต่อบุคคล
อื่นจะพบเห็น และหน้าต่างควรปิดเสมอในเวลากลางคืน หน้าต่างบานเกล็ดควรติดไว้สำหรับหน้าต่างชั้นบน
และอยู่ในทิศทางไม่ลับตาคน ควรติดตั้งสัญญากันขโมยและติดเหล็กดัดเพื่อความแข็งแกร่งให้แก่ประตูหน้าต่าง
การจัดสภาพแวดล้อมตามนามธรรม ถือได้ว่าเป็นหัวใจของการป้องกันอาชญากรรมวิธีหนึ่ง เพราะเป็นบทบาท
และความรับผิดชอบร่วมกันของชุมชนในการสอดส่องดูแลความปลอดภัยภายในชุมชนที่อยู่อาศัยของตน
ตลอดจนแจ้งเหตุด่วน เหตุร้ายแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ

3. แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในการท่องเที่ยว
ในการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ผู้ศึกษาศึกษาในหัวข้อ
หลักๆ ดังต่อไปนี้
1. ความหมายของการรักษาความปลอดภัย
2. ประเภทและปัญหาความไม่ปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
3. แนวทางการจัดการความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
4. สาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ปลอดภัย
3.1. ความหมายของการรักษาความปลอดภัย
กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์ (2548 : 11) ความปลอดภัย (Safety) คือ สภาวะที่ปราศจากอุบัติเหตุ หรือ
ปลอดภัยจากความเจ็บปวดหรือบาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหายและความสูญเสียต่อทรัพย์สินซึ่งการจัดการความ
ปลอดภัยจะรวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและการดำเนินการให้สูญเสียน้อยที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น
ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีและปลอดภัย
สมาคมสุขศึกษา พลศึกษาและสันทนาการ แห่งสหรัฐอเมริกา หรือ American Association for
Health, Physical Education and Recreation (อ้างถึงใน เอมอัช ฌา วัฒ นบุรานนท์ , 2548 : 21) ได้ให้
ความหมายของความปลอดภัยว่า หมายถึง การปราศจากภยัน ตราย หรือปราศจากการบาดเจ็บหรือการตาย
ทรัพย์สินเสียหาย หรือทำให้เสียเวลาที่มีค่าไป
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (2551 : 113) ระบุไว้ว่า ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวหมายถึง ความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเดินทางของ
นักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยทางอุบัติเหตุ หรือความปลอดภัยจากอาชญากรรมหากนักท่องเที่ยว
ประสบความเดือดร้อนถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าแม่ค้าหรือ มัคคุเทศก์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน หรือรถรับจ้าง
11

สาธารณะที่เรียกค่าบริการในอัตราสูงเกินไปย่อมต้องส่ งผลเสียต่อภาพลักษณ์โดยรวมของประเทศ และอาจ


สูญเสียโอกาสที่จะกลับมาเที่ยวในครั้งต่อไป ในทางตรงกันข้ามแหล่งท่องเที่ยวที่มีการจัดการด้านความ
ปลอดภั ย และสวัส ดิภ าพอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ย่ อ มสร้ า งความมั ่ น ใจให้ ก ั บนั ก ท่ อ งเที ่ ยว ท ำให้ จ ำนวน
นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทำให้เงินตราไหลเข้าสู่ประเทศ เพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขึ้นด้วย
ราณี อิสิชัยกุล (2544 : 17) กล่าวถึง ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวไว้ว่า หมายถึงความปลอดภัย
ในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ปัจจุบันแหล่งท่องเที่ยวจะต้องการมีการจัดการด้านความปลอดภัยอย่าง
มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเยี่ยมชม จึงจะทำให้นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
ก่อให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นและชุมชนตามมา สาเหตุความไม่ปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่ องเที่ยวอาจจะ
ประสบภัยซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้
- อาชญากรรม
- การประสบอุบัติเหตุ
- สาธารณสุข
- ภัยธรรมชาติ
- การหลงทาง
- พืชและสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยว
สรุป ความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ และอาจ
ส่งผลต่อการสูญเสี ยนักท่องเที่ยวในโอกาสต่อ ๆ ไป จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องมีการ
จัดการความปลอดภัยให้ได้มาตรฐานคุณภาพ เพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เกิดความปลอดภัย ดึงดูด
นักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

3.2 ประเภทและปัญหาความไม่ปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
ความไม่ปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว แบ่งได้หลายรูปแบบ ดังนี้
2.1 ภัยในที่พัก เช่น โรงแรม บังกะโล รีสอร์ท แมนชั่น คอนโดมิเนียม เกสต์เฮ้าส์ไม่ว่าจะเป็นที่พัก
แบบใด ก็มีความเสี่ยงกับอันตรายที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาซึ่งภัยอันตรายที่เกิดจากที่พักอาศัยมีหลายรูปแบบ
เช่น
- ภัยจากโจรผู้ร้าย โดยนักท่องเที่ยวอาจถูกขโมยทรัพย์สิน ข่มขืน หรือฆ่าเพื่อชิงทรัพย์
- ภัยจากการเกิดอัคคีภัย ซึ่งการเกิดอัคคีภัยในแต่ละครั้ง นั้นนำมาซึ่งความเสียหาย การเกิดอัคคีภัยใน
อาคารสูงแต่ละครั้ง จะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งการสูญเสียของโรงแรมมักส่งผลกระทบถึงการท่องเที่ยว
ด้วย ดังนั้นควรมีมาตรการที่รัดกุมเพื่อความปลอดภัย เช่นตรวจตราซ่อมบำรุง อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ
12

เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อน อย่างสม่ำเสมอและจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงให้พร้อม โดยระลึกเสมอว่า


เมื่อเกิดอัคคีภัยต้องปฏิบัติ ดังนี้
1) แจ้งข่าวเพลิงไหม้ทันที โทร 199 หรือสถานีดับเพลิงตำรวจใกล้เคียงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ
2) ดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ
3) หากดับเพลิงขั้นต้นไม่ได้ให้ปิดประตูหน้าต่างทุกบานและอุดท่อต่าง ๆที่อาจเป็นทางผ่านของก๊า ซ
และควันเพลิง
2.2 ภัยจากการเดินทาง โดยแบ่งเป็น
- ภัยจากการเดินทางทางอากาศ นักท่องเที่ยวควรปฏิบัติตามค าแนะน าของ
เจ้าหน้าที่โดยเคร่งครัด เพราะเมื่อเครื่องบินตกแต่ละครั้ง จะพบว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นจ านวนมาก
- ภัยจากการเดินทางทางบก สาเหตุที่ส ำคัญของการเกิดอุบัติเหตุทางบกก็อาจเกิดจากผู้ขับขี่ โดย
สภาพร่างกายของผู้ขับขี่ไม่พร้อม เช่น ผู้ขับขี่อยู่ในสภาพมึนเมา หรือเหนื่อยล้าเกินไป
- ภัยจากการเดิน ทางทางน้ำ เช่น เรือโดยสาร เรือหางยาว เรือพาย เรือสำราญ โดยสถิติพ บว่า
อุบัติเหตุการเดินทางทางน้ำ เกิดจากความประมาทของผู้ขับเรือและแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิตพร้อมกันหลายคน
นอกจากที่ผู้ขับเรือต้องระมัดระวังแล้ว ผู้โดยสารต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และควรฟังพยากรณ์
อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา หากมีคำเตือนเรื่องพายุลมแรง ควรงดการเดินทางเสีย
2.3 ภัยจากแหล่งท่องเที่ยว
สาเหตุความไม่ปลอดภัยจากแหล่งท่องเที่ยว สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
- อาชญากรรม หมายถึง โจรผู้ร้ายที่อาจก่ออันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินเช่น การล้วงกระเป๋า การท
าร้ายร่างกาย ตลอดจนการสังหารนักท่องเที่ยว จากการสำรวจเรื่องความปลอดภัย พบว่า ในประเทศอิตาลี
นิวยอร์ก อเมริกาใต้ หรือ อียิปต์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมีความวิตก เรื่องความปลอดภัย
- การประสบอุบัติเหตุ ซึ่งมักเกิดจากความประมาทหรือการขาดความระมัดระวัง ในการประกอบ
กิจกรรมท่องเที่ยว ทั้งที่เกิดจากผู้ประกอบและผู้ให้บริการ เช่นพนักงานขับขี่ยานพาหนะต่าง ๆ หรือจาก
นักท่องเที่ยวเอง เช่น การปีนป่ายภูเขา น้ำตก การว่ายน้ำทะเล หรือแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น
- สาธารณสุข หมายถึง การเกิดโรคภัยไข้เจ็บขณะท่องเที่ยวหรือปัญหาสุขภาพอันเกิดจากปัญหา
สาธารณสุขที่มีมาตรฐานของแหล่งท่องเที่ยว เช่น ในอาหารและน้ำและจากโรคที่ติดต่อที่แพร่ระบาดในบริเวณ
นั้น เช่น โรคไวรัสในตับ โรคมาเลเรีย โรคซาร โรคไข้หวัดนก เป็นต้น
- ภัยธรรมชาติ หมายถึง ภัยธรรมชาติ ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีโอกาสเกิดได้ตามธรรมชาติ ตามฤดูกาล
หรือเกิดขึ้นฉับพลัน เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า เป็นต้น
- การหลงทาง ซึ่งอาจเกิดในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นป่าหรือภูเขาที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปโดยปราศจาก
ผู้นำเที่ยว
13

- พืชและสัตว์ในแหล่งท่องเที่ยว เกิดจากการแหย่หรือพยายามทำร้ายสัตว์ในอุทยานแห่งชาติ การส่ง


เสียงดังในป่า การเด็ดหรือทำลายพืชพันธุ์ในป่า เป็นต้น
ดังนั้น แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ควรกำหนดแนวทางและมาตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อป้องกัน
นักท่องเที่ยวและประชาชนในท้องถิ่น
3.3. แนวทางการจัดการความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
การจัดการความปลอดภัย ในแหล่งท่องเที่ยวเป็นหน้าที่ข องรัฐ แต่เนื่องจากการท่องเที่ยวเป็ น
อุตสาหกรรมที่เกิดประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชน ดังนั้นเอกชนควรเข้ามามีส่วน
ร่วมในการจัดการด้านความปลอดภัยซึ่งจะทำให้การปฏิบัติเกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย
มีแนวทางการจัดการความปลอดภัย ดังต่อไปน
3.3.1 แนวทางการจัดการความปลอดภัยที่รัฐควรดำเนินการ
1) การปฐมนิเทศนักท่องเที่ยวก่อนเข้าชมในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อชี้แจงสาเหตุของความไม่ปลอดภัย
แนวทางการป้องกัน โดยอาจใช้ในรูปแบบการบรรยาย การจัดนิทรรศการ หรือการแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์
2) การอบรมเจ้าของท้องถิ่น หรือพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อชี้แจงสาเหตุของความไม่ปลอดภัย
แนวทาง ตลอดจนวิธีการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวเมื่อเกิดอันตรายต่าง ๆ
3) การจัดหน่วยรักษาความปลอดภัย เช่น ตำรวจท่องเที่ยวเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของชีวิตและ
ทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการจัดตำรวจตรวจตราความสงบเรียบร้อยตลอดเวลาและครอบคลุมพื้นที่
ทั้งหมดอย่างทั่วถึง
4) การออกกฎระเบียบ ตลอดจนมาตรการการลงโทษผู้ที่กระทำผิดอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการขู่โจร
ผู้ร้ายให้เกิดความเกรงกลัว ไม่กล้ากระทำผิด
5) การให้ความสำคัญต่อสาธารณสุข โดยการให้ความรู้ด้านสาธารณสุขที่จำเป็นแก่ผู้ประกอบการและ
ประชาชนและการบังคับใช้มาตรฐานด้านสุขภาพอนามัยแก่นักท่องเที่ยวรวมทั้งประชาชนในท้องถิ่น
6) เมื่อเกิดเหตุของความไม่ปลอดภัย ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ
และเอกชนจะต้องร่วมมือกันจัดการปัญหาต่าง ๆ ด้วยความซื่อตรง เปิดเผยข้อเท็จจริงแก่สื่อมวลชน แสดง
ความห่วงใยต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือเดือดร้อนและจัดการเรื่องราวต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
7) เพื่อป้องกันการเกิด ความไม่ปลอดภัยในอนาคต ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแหล่งท่องเที่ยวควรมีส่วน
ร่วมกันด าเนินการต่อไปนี้
- จัดตั้งคณะทำงานจัดการวิกฤติความไม่ปลอดภัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งจัดทำบัญชีรายชื่อ
และเบอร์โทรศัพท์ของคณะทำงาน
- จัดทำแผนดำเนินการงานต่าง ๆ เพื่อป้องกันความไม่ปลอดภัยเช่น แผนระดมพลฉุกเฉิน เป็นต้น
- จัดเจ้าหน้าที่ร่วมงานและติดตั้งอุปกรณ์ใช้งานที่จำเป็น
14

- มีการประสานงานตามขั้นตอนต่างๆ หับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อ งเช่น ตำรวจ สมาชิกสภาผู้แทน


ราษฎร องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น

3.4. สาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ปลอดภัย
ศรัญยา วรากุลวิทย์ (2548 : 31) กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ปลอดภัยมี ดังต่อไปนี้
1. วั ฒ นธรรมที ่ แ ตกต่ า งกั น ระหว่ า งชาติ การดำเนิ น ชี ว ิ ต ขนบธรรมเนี ย ม ประเพณี ร ะหว่ า ง
นักท่องเที่ยวและประชาชนในท้องถิ่น มีความแตกต่าง อาจนำมาซึ่งความไม่เข้าใจกันและกันเช่น การจับศีรษะ
ของชาวตะวันตก ทำให้เกิดความไม่พอใจของประชาชนในท้องถิ่น มีผลต่อการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
2. รถรับจ้างทั่วไป รถรับจ้างที่ไม่มีมิเตอร์ โก่งราคาค่าโดยสารหรือรับจ้างไปส่งนักท่องเที่ยวเฉพาะที่
คิดราคาเกินความเป็นจริง หรือการสื่อสารระหว่างนักท่องเที่ยวและรถรับจ้างไม่เข้าใจกัน ในเรื่องการต่อรอง
ราคา เช่น ตกลงราคาค่าจ้างราคาหนึ่ง เมื่อเสร็จสิ้นการเดินทางคิดค่าจ้างเหมาอีกราคาหนึ่ง ทำให้นักท่องเที่ยว
รู้สึกเสียเปรียบ เกิดความประทับใจไม่ดี
3. ปัญหาการก่อความเดือดร้อนรำคาญ บริเวณสถานีรถไฟ สถานีขนส่ง สนามบินผู้ขับขี่รถรับจ้างทุก
ประเภท ตามตื้อยื้อแย่งผู้โดยสารให้มาใช้บริการรถของตน ทำให้เกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีในสายตานักท่องเที่ยวโดย
ภาพรวม บริเวณนักท่องเที่ยวสำคัญที่มีนักท่องเที่ยวหนาแน่นมีพ่อค้าแม่ค้าขายของที่ระลึก ก่อให้เกิดความ
เดือดร้อนรำคาญแก่นักท่องเที่ยว
4. ปัญหาทรัพย์สินสูญหาย เช่น ลืมทรัพย์สินไว้บนรถโดยสารประจำทาง ลืมทรัพย์สินไว้ตามสถานที่
ท่องเที่ยว และทรัพย์สินสูญหายในที่พัก ฯลฯ
5. ปัญหาการลักทรัพย์ ปัญหานี้เกิดขึ้นตามสถานที่บูชาสักการะต่าง ๆ ซึ่งมีระเบียบว่านักท่องเที่ยว
จะต้องถอดรองเท้าไว้ด้านนอกของสถานที่นั้น ๆ ทำให้พวกมิจฉาชีพฉวยโอกาสขโมยรองเท้าของนักท่องเที่ยว
ขณะที่นักท่องเที่ยวเข้าไปด้านในสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ
6. ปัญหาการฉกชิงวิ่งราวทรัพย์ของนักท่องเที่ยว ขณะที่นักท่องเที่ยวขี่จักรยานหรือเดินทางท่องเที่ยว
ในแหล่งชุมชน ปัญหานี้จะเกิดจากนักท่องเที่ยวเช่าจักรยานตามร้านบริการทั่วไปเพื่อขี่ จักรยานท่องเที่ยวตาม
สถานที่ต่าง ๆ นักท่องเที่ยววางกระเป๋าไว้หน้าตะกร้ารถ คนร้ายจะใช้รถจักรยานยนต์ตระเวนไปตามที่เปลี่ยว
เมื่อพบนักท่องเที่ยวขี่จักรยานตามลำพัง พวกมิจฉาชีพจะฉวยโอกาสวิ่งราวเอาทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวไป
7. ปัญหาความนิยมของนักท่องเที่ยวในการอาศัยหนังสือนำเที่ยว หนังสือนำเที่ยวบางเล่มซึ่งจัดพิมพ์
มานาน นักท่องเที่ยวใช้ข้อมูลนำเที่ยวในหนังสือเป็นเพื่อเดินทางและเข้าพักในโรงแรมที่มีมาตรการในการรักษา
ความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ทำให้ทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวสูญหายในที่พัก หรือเดินหลงทาง การเที่ย ว
ชมแหล่งท่องเที่ยวในยามวิกาล โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย
15

8. ปัญหายาเสพติด ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่เป็นภัยต่อสังคม พ่อค้ายาเสพติดแฝงมาในฐานะ


นักท่องเที่ยวหรือเดินทางมาเพื่อเสพยาเสพติด จำหน่ายยาเสพติด ล้วนก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมาทั้งสิ้น
9. มัคคุเทศก์นอกกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 กำหนดให้มัคคุเทศก์
ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และต้องมีบัตรอนุญาตทุกที่ทุกเวลาที่มีการตรวจตรา
10. การฆาตกรรม ปัญหาฆาตกรรมที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวเป็นคดีที่รุนแรงและครึกโครมเป็นอย่าง
มาก แม้ว่าคดีดังกล่า วจะเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้งก็ตาม แต่เป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ คดี
เหล่านี้อาจเกิดจากการชิงทรัพย์ การทะเลาะวิวาท ข่มขืน และขัดผลประโยชน์ฯลฯ ทำให้เสียภาพพจน์
11. การหลอกลวง ปัญหาการหลอกลวงในการซื้อขายอัญมณีบริษัทนำเที่ยวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตก
ลงกันไว้ และบริษัทนำเที่ยวทิ้งนักท่องเที่ยว ฯลฯ สำหรับร้านค้าอั ญมณี จะมีเครือข่ายปฏิบัติการขายกับ
มัคคุเทศก์ให้นำนักท่องเที่ยวเข้าร้านที่มัคคุเทศก์และคนขับรถได้รับผลประโยชน์ส่วนแบ่งค่านายหน้า ปัญหาที่
เกิดกับนักท่องเที่ยว คือ การขายอัญมณีในราคาที่เกินความเป็นจริง นำอัญมณีปลอมมาขายให้นักท่องเที่ยว
12. กลุ่มต้มตุ๋น เช่น ผู้ชายประเภทสองที่หากินกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยวิธีเข้าไปเป็นมิตร
สนิทสนมชวนกันไปดื่มเหล้า และใส่ยาสลบลงไปในเหล้าให้นักท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ยวหมดสติ จะขน
ทรัพย์สินของมีค่าหลบหนีไป
13. สถานเริงรมย์ แหล่งบันเทิงเหล่านี้เป็นที่รวมของนักท่องเที่ยว หญิงบริการการโชว์ประเภทต่าง ๆ
สถานที่ประเภทนี้จะสร้างปัญหาให้แก่นักท่องเที่ยวเสมอ เช่น การกรรโชกทรัพย์จากนักท่องเที่ยว ค่าเครื่องดื่ม
ราคาแพง ถ้านักท่องเที่ยวไม่ยอมจะถูกรุมทำร้าย
14. ภาษาที่ใช้ นักท่องเที่ยวที่มาเมืองไทย มักมีปัญหาเรื่องภาษาเพราะนักท่องเที่ยวพูดภาษาไทยไม่ได้
และคนไทยพูดภาษาต่างประเทศไม่ได้เช่นกัน ทำให้เข้าใจกันยากกว่าจะรู้เรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่าง
นักท่องเที่ยวกับประชาชนในท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องลำบากใจมากสำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

3.5. มาตรการรักษาความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว
มาตรการรักษาความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนที่ควร
พิจารณาดำเนินการมาตรการรักษาความปลอดภัยให้สอดคล้องกับสาเหตุแห่งภัยนี้
1. มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านอาชญากรรม
1.1 จัดจุดตรวจและหน่วยรับแจ้งในแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต่อ
การโจรกรรม เช่น บริเวณร้านขายสินค้า
1.2 จัดฝึกอบรมอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายในแหล่งท่องเที่ยวให้คอย
สอดส่องดูแลหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปตามพื้นที่ตามความเหมาะสม
1.3 จัดทำป้ายเตือนนักท่องเที่ยวในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงจากโจรผู้ร้าย
16

1.4 จัดทำแผ่นพับเตือนนักท่องเที่ยวถึงอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อให้นักท่องเที่ยว


ระมัดระวังตัวเกี่ยวกับภัยที่อาจเกิดต่อชีวิตและทรัพย์สิน
2. มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านอุบัติเหตุ
2.1 จัดทำป้ายเตือน ป้ายชีแจงเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความ
ระมัดระวังขณะเที่ยวชม
2.2 จัดเจ้าหน้าที่ประจำจุดบริเวณที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเพื่อทำหน้าที่คอยเตือน
ในขณะเดียวกันก็คอยเฝ้าดูแลพื้นที่ด้วย
2.3 จัดฝึกอบรมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยพร้อมวัสดุอุปกรณ์ การกู้ภัยประจำไว้ในจุดที่
สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้สะดวกที่สุด
2.4 สร้างสิ่งป้องกันถาวร เพื่อป้องกันอันตรายตามความเหมาะสม เช่น ราวบันได
และรั้วกั้นสำหรับทางเดินขึ้นเขา สะพานข้ามแม่น้ำ
2.5 จัดตั้งหน่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นในจุดที่เหมาะสมเพื่อให้การปฐมพยาบาลแก่ผู้ประสบ
อุบัติเหตุ
2.6 กำหนดมาตรการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุแก่นักท่องเที่ยว เช่น
ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น
3. มาตรการรักษาความปลอดภัยด้านสาธารณสุข
3.1 กำหนดมาตรการควบคุมผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มให้ประกอบการภายใต้
สุขอนามัยและตามกฏหมาย
3.2 ตรวจสอบร้านอาหารที่มีสุขลักษณะที่ดี และประกาศเป็นร้านที่รับรองความสะอาด เช่น
โครงการ clean food, Good Taste โครงการร้านอาหารสะอาด
3.3 รักษาความสะอาดบริเวณแหล่งท่องเที่ยว เช่น จั ดถังขยะไว้ให้ทั่วบริเวณและกำจัดขยะ
ให้ถูกวิธี และจัดเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดตามแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
3.4 ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยที่สามารถรับรู้กันได้ทั่วถึงภายในแหล่งท่องเที่ยวที่มีโอกาส
เพื่อเตือนล่วงหน้าก่อนที่ภัยธรรมชาติจะถึงตัว
3.5 ติ ด ตั ้ ง ระบบเครือ ข่ า ยกั บ หน่ ว ยงานที่ เกี ่ ยวข้อ งกั บ การเกิด ภั ย ธรรมชาติเ ช่ น กรม
อุตุนิยมวิทยา หน่วยป้องกันไฟป่า กรมป่าไม้
17

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วารานัย ยุวนะเตมีย์ (2559 : 249) ได้ศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่
เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติขณะ
เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้นแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1.การรับรู้ความ เสี่ยงด้านอุบั ติเหตุของ
ยานพาหนะ อยู่ในระดับเสี่ยงปานกลาง 2.การรับรู้ความเสี่ยงด้านอันตรายต่อ ชีวิตและทรัพย์สิน อยู่ในระดับ
เสี่ยงน้อย 3.การรับรู้ความเสี่ยงด้านการติดโรคภัยไข้เจ็บ อยู่ในระดับ เสี่ยงปานกลาง 4.การรับรู้ความเสี่ยงด้าน
อันตรายจากสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับเสี่ยงน้ อย ส่วนความคิด เห็นต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในประเทศไทย
อยู่ในระดับดีมากที่สุด และภาพลักษณ์ด้านความ ปลอดภัยในประเทศไทยอยู่ในระดับดี
Judge Richard P.(1973 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมในชุมชนผลการวิจัยสรุป
ได้ว่า การต่อสู้กับอาชญากรรมไม่ใช่ความรับผิดชอบของหน่วยงานตำรวจเพียงลำพัง แต่ควรเป็นความร่วมมื อ
ระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการลดความรุนแรงของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น โดยตำรวจมีหน้าที่ให้
ข้อมูลแก่ประชาชนในการป้องกันตนเอง บ้านเรือนและครอบครัวและประชาชนจะต้องมีมีความรับผิดชอบ
เบื้องต้นเกี่ยวกับ การปิดล็อคประตูหน้าต่างและรายงานพฤติกรรมอาชญากรหรือพฤติกรรมที่น่าสงสัยใน
ละแวกบ้านของตน ดังนั้นประชาชนจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันอาชญากรรม
ไชยวัฒน์ อัศว์ไชยตระกูล (2556 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมและความ
ปลอดภัย ของนักท่องเที่ย วชาวต่างชาติที่ มีต่ อการกลับ มาท่ องเที่ยวซ้ำ และการแนะนำแหล่งท่ องเที ่ ย ว
กรณีศึกษาถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่แนะนำให้นักท่องเที่ยว
ต่างชาติคนอื่น ๆ มาท่องเที่ยวถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุประมาณไม่เกิน 24
ปีมาจากภูมิภาคยุโรป เดินทางมาท่องเที่ยวถนนข้าวสารเป็นครั้งแรกและ เดินทางมาท่องเที่ยวเพียงคนเดียว
โดยต้องการมาท่องเที่ยวโดยตรงเพื่อสันทนาการ ด้านการรับรู้ข้อมูล อาชญากรรมและความปลอดภัยนั้น ส่วน
ใหญ่นักท่องเที่ยวจะรู้สึกวิตกกังวลด้านอาชญากรรม เกี่ยวกับทรัพย์สินมากกว่าอาชญากรรมประเภทอื่น ๆ
เนื่องจากการเลือกเป้าหมายของผู้กระทำผิด ต่าง ๆ มีโอกาสและได้ผลตอบแทนในการเสี่ยงคุ้มค่ามากกว่าไม่ว่า
จะเป็นการลักทรัพย์การปล้นทรัพย์การวิ่งราวทรัพย์แม้กระทั่งการขายสิ่งผิ ดกฎหมายให้แก่นักท่องเที่ยว
ต่างชาติไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด การค้าบริการทางเพศ หรือการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ อีกทั้งความรู้สึก
ของนักท่องเที่ยว ต่างชาตินั้นรู้สึกถูกเอารัดเอาเปรียบกับราคาของสินค้าและบริการที่สูงเกินควรรวมถึง
ความรู้สึกเดือดร้อนรำคาญและเบื่อหน่ายกับการขายสินค้าบนท้องถนน ส่วนการรับรู้ข่าวสารอาชญากรรมนั้น
ส่วนใหญ่รับรู้เมื่อมาถึงประเทศไทยแล้วและได้มีการบอกต่อเตือนภัยในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติผู้ประกอบการ
ต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยว ซึ่งการบอกต่อและเตือนภัยเหล่านี้นักท่องเที่ยว ต่างช าติส่วนใหญ่
ประทับใจและรู้สึกอุ่นใจกับการท่องเที่ยว ซึ่งผลวิจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการแนะนำ บอกต่อนักท่องเที่ยว
18

ต่างชาติคนอื่น โดยคิดเป็นร้อยละ 40.1 (Multiple R = .401) และสามารถที่จะ ร่วมกันอธิบายการแนะนำ


บอกต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติคนอื่นโดยคิดเป็นร้อยละ 16.1 (Multiple R Squared = .161) จึงสรุปได้ว่าการ
รับรู้เกี่ยวกับ อาชญากรรม และความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่มีอิทธิพลต่อการกลั บ มา
ท่องเที่ยวซ้ำและแนะนำบอกต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติคนอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
สรุปได้ว่า ความต้องการความมั่นคงและความปลอดในชีวิตและทรัพย์สินเป็นปัจจัยสำคัญที่มนุษย์
ต้องการเพื่อความเป็นอยู่ที่สงบสุขปราศจากอุบัติภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณภัย เช่นวาตภัย อัคคีภัย
อุทกภัย อาชญากรรม หรือภัยที่มนุษย์ก่อขึ้น รวมถึงความปลอดภัยด้านสาธารณสุขความปลอดภัยด้าน
สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านการจราจร และความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อ
ความเสียหายของคนจำนวนมาก หรือก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการดำเนิน การวิจ ัย นี้ไ ด้ก ำหนดระเบียบวิธ ีว ิจัย (methodology research) เป็นการวิจัยเชิ ง
คุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนาย่อย
จากกลุ่มย่อย (Focus group) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษา “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัย
สถานทีท่องเที่ยวคลองโอ่งอ่าง”ทั้งนี้เพื่อนำผลงานวิจัยให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการวางแผน
และพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัย และเป็นการวางแนวทางปฏิบัติส ำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ให้
สามารถรักษาความปลอดภัยตามกฎระเบียบที่ได้ด ำเนินการไว้ รวมทั้งการมีส่วนร่วมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐและ
ผู้ประกอบการแบบบูรณาการต่อไป ทั้งนี้วิธีดำเนินการวิจัยของงานวิจัยจะนำเสนอเป็นขั้นตอนในลำดับต่อไป
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การศึกษาในครั้งนี้กำหนดประชากรในการศึกษาเชิงคุณภาพ แบ่งกลุ่มประชากรออกเป็น 2 กลุ่มการ
สัมภาษณ์คือ
1. การสั ม ภาษณ์ เ ทคนิ ค บอกต่ อ (Snow ball) โดยการเลื อ กแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive
Sampling) เป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญกับประเด็นลักษณะ ปัจจัย ปัญหาและอุปสรรคการมีส่วนร่วมของ
19

ผู้ประกอบการต่อการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสารและเป็นการสัมภาษณ์แบบเชิง
ลึก (In-depth Interview) ซึ่ง ได้แก่
- เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ประกอบด้วย สถานีต ำรวจนครบาลจักรวรรดิ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
แบ่งเป็น ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ฝ่ายโยธา และฝ่าย
เทศกิจ
- สมาคมผู้ประกอบกิจการคลองโอ่งอ่าง
- ประชากรที่อยู่ในพื้นที่มานานกว่า 10 ปี
- ผู้ประกอบการในพื้นที่
- นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ
2. การสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้
ที่ตรงกับประเด็นปัญหาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการต่อการรักษาความปลอดภัยในสถานที่
ท่องเที่ยวย่านคลองโอ่งอ่างโดยตรง ได้แก่
- ผู้ประกอบการและบุคลากรในสถานประกอบการ

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. การพัฒนาเครื่องมือในการสัมภาษณ์เชิงลึก
1.1 ผู้วิจัยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.2 นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามารวบรวมประมวลผลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และ
กรอบแนวคิดในการวิจัย
1.3 กำหนดกรอบแนวคิดในการสัมภาษณ์เชิงลึก
1.4 สร้างข้อคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งได้นำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ของอธิป
นนทกะตระกู ล เรื ่ อ ง แนวทางการจั ด การความปลอดภั ย ของเกสต์ เ ฮ้ า ส์ ใ นย่ า นถนนข้ า วสาร
กรุงเทพมหานคร มาประยุกต์ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ โดยใช้ค ำถามปลายเปิด ซึ่งเป็นคำถามที่เปิด
โอกาสสำหรับผู้ให้ข้อมูลได้แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด และแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ไม่ชัก นำ
ด้วยความคิดของผู้วิจัยแต่อย่างใด รวมถึงการใช้ค ำถามที่มีความชัดเจนเข้าใจง่ายและเป็นที่เข้าใจ
ตรงกันทุกฝ่าย
1.5 นำแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่สร้างขึ้น ให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับ
หัวข้อการวิจัย รวมทั้งนำมาให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและความเหมาะสม
ของการจัดเรียงลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา รวมทั้ งความเป็นไปได้ใน
การนำไปใช้ในการสัมภาษณ์จริง
20

1.6 นำข้อเสนอแนะมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษาทำการตรวจสอบ
แบบสัมภาษณ์เชิงลึกอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบความเข้าใจที่ชัดเจนในข้อค าถามต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้ใน
การสัมภาษณ์จริง
2. ใช้ แ บบสั ม ภาษณ์ เ ชิ ง ลึ ก ซึ ่ ง ประเด็ น คำถามที ่ ใ ช้ เ ป็ น แนวทางในการสั ม ภาษณ์ โ ดยยึ ด ตาม
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการสัมภาษณ์แบบเปิดกว้าง ไม่จ ำกัดคำตอบ ซึ่งการสัมภาษณ์ลักษณะนี้จะมี
ความยืดหยุ่นสูง เพราะมีความประสงค์ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีอิสระที่จะอธิบาย
3. จัดเตรียมแบบสัมภาษณ์ กระดาษ ปากกา ดินสอ ยางลบ และกล้องถ่ายรูป

การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยดำเนินการดังต่อไปนี้
1. การเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) จากสถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ
สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ผู้นำชุมชน สมาคมผู้ประกอบกิจการคลองโอ่งอ่าง และผู้ประกอบกิจการ ในพื้นที่
ประเด็นในการสัมภาษณ์ลักษณะปัจจัย สภาพปัญหา และอุปสรรคการรักษาความปลอดภัยสถานที่ท่องเที่ยว
คลองโอ่งอ่าง
2. การเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) จากผู้ประกอบการและบุคลากรในสถาน
ประกอบการ ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป และแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการต่อการรักษาความ
ปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร

กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้น ำชมชน สมาคมผู้ประกอบกิจการถนนข้าวสาร ผู้
ประกอบกิจการ และบุคลากรในสถานประกอบการย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานครเกี่ยวกับประเด็นการ
วิจัย โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกเป็นรายบุคคลและการสนทนากลุ่ม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีความละเอียดมาก
ยิ่งขึ้น ดำเนินการดังนี้
1. จดบันทึกและทำดัชนีข้อมูล
2. ค้นหาความหมายข้อความและสรุปข้อความ
3. จัดกลุ่มของข้อความ
4. สร้างข้อสรุปและพิสูจน์ข้อสรุป
5. วิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว

You might also like