You are on page 1of 113

การพูด : ไทยกลางมาตราฐาน

จัดทำโดย

นางสาว ปิยธิดา บัวขาว รหัสนักศึกษา 6313601001162


นาย พงศ์ภัค ลุ่งกี่ รหัสนักศึกษา 6313601001166
นางสาว ภัทรวดี สิงห์ทอง รหัสนักศึกษา 6313601001191
นาย ภานุวัฒน์ ช่วยแท่น รหัสนักศึกษา 6313601001196
นาย ยศธนกร ขุนทน รหัสนักศึกษา 6313601001205
นางสาว อริสษา รักสุข รหัสนักศึกษา 6313601001206
นางสาว โรฟานี กูตงดือราแม รหัสนักศึกษา 6313601001212
นางสาว วรดา วิหกฤทธิ์ รหัสนักศึกษา 6313601001217
นางสาว อาแอเสาะ หะมะ รหัสนักศึกษา 6313601001218
นางสาว สมัชญา สุขยูง รหัสนักศึกษา 6313601001250
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 กลุ่มเรียน 63095.134

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้า รายวิชา ภาษาไทยเพื่อการศึกษา


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
การพูด : ไทยกลางมาตรฐาน

จัดทำโดย

นางสาว ปิยธิดา บัวขาว รหัสนักศึกษา 6313601001162


นาย พงศ์ภัค ลุ่งกี่ รหัสนักศึกษา 6313601001166
นางสาว ภัทรวดี สิงห์ทอง รหัสนักศึกษา 6313601001191
นาย ภานุวัฒน์ ช่วยแท่น รหัสนักศึกษา 6313601001196
นาย ยศธนกร ขุนทน รหัสนักศึกษา 6313601001205
นางสาว อริสษา รักสุข รหัสนักศึกษา 6313601001206
นางสาว โรฟานี กูตงดือราแม รหัสนักศึกษา 6313601001212
นางสาว วรดา วิหกฤทธิ์ รหัสนักศึกษา 6313601001217
นางสาว อาแอเสาะ หะมะ รหัสนักศึกษา 6313601001218
นางสาว สมัชญา สุขยูง รหัสนักศึกษา 6313601001250
คณะนิติศาสตร์ สาขานิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 กลุ่มเรียน 63095.134

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้า รายวิชา ภาษาไทยเพื่อการศึกษา


ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาข้อมูลการพูดไทยกลางมาตรฐาน และเปรียบเทียบแนวโน้มการใช้คำของ
มนุษย์ในแต่ละยุคสมัย พบว่าภาษาไทยกลางมาตรฐานถือเป็นภาษาพื้นฐานที่มนุษย์ใช้สื่อสารและสร้างมนุษย์
สัมพันธ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และภาษามีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นภาษาในอดีต
ภาษาปัจจุบัน ภาษาวัยรุ่น ภาษาเด็ก ภาษาใบ้ เป็นต้น เพื่อนำหลักเกณฑ์ กลวิธี และประโยชน์ด้านการพูดไปใช้
ในการเสนอด้านต่างๆในรูปแบบต่างๆ พบว่า การพูดมีหลายรูปแบบ หลายโอกาส ที่ใช้ในการสื่อสารทั้งวัจ
นภาษาหรืออวัจนภาษารวมถึงกลวิธีการพูดต่างๆ เช่น พูดเพื่อให้ความรู้ โน้มน้าวใจ จรรโลงใจ ความเพลิดเพลิน
เป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และเป็นการเรียนรู้หลักการพูดเพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี
พบว่า การพูดจาไพเราะ ทักทายกันด้วยไมตรี มีความจริงใจต่อกันและใส่ใจต่อสิ่งที่รับผิดชอบเป็นพื้นฐานการ
สร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีเมื่อมนุษย์มีสัมพันธภาพที่ดี ก็จะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพไปในทางที่เหมาะสมในด้าน
ต่างๆด้วย
การพูดมีหลายวิธีซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในการใช้ภาษาในแต่ละช่วงยุคสมัย ไม่
ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์การพูด กลวิธีการพูด น้ำเสียงและจังหวะทำนองในการพูดล้วนแล้วก็แตกต่างกันไปตาม
กาลเวลา ทั้งที่คำเดียวกัน ความหมายของคำเหมือนกัน แต่กลับพูดออกเสียงต่างกันซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาษาการ
พูดมีความเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลายุคสมัยของมนุษย์ แต่ไม่ว่าจะยังไงการพูดก็ยังคงมีความสำคัญในการ
สร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เมื่อมนุษย์มีสัมพันธภาพที่ดี ก็จะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพไปในทางที่เหมาะสมทั้งในด้าน
ภาษา ด้านการศึกษา ด้านสังคม หรือรวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ของบุคคลหลายท่านซึ่งไม่สามารถกล้าวไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมดทุก
ท่าน ซึ่งท่านแรกผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ อาจารย์ลักขณา ทองสุข อาจารย์ผู้ได้ให้ความรู้ คำแนะนำ รวมถึงการ
ตรวจทานและการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นตอนการทำงาน ทางผู้จัดทำขอขอบคุณท่าน
เป็นอย่างสูงไว้ในโอกาสนี้ และขอขอบคุณสถานที่หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแหล่ง
เอื้อความอำนวยในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
สุดท้ายนี้ผู้จัดทำขอขอบคุณอาจารย์และเพื่อนๆที่อยู่เบื้องหลังในความสำเร็จที่ได้ให้ความช่วยเหลือ
สนับสนุนและให้กำลังใจมาโดยตลอด
คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร รหัสวิชา GELA101-60 ชั้นอุมดม


ศึกษาปีที่ 3 โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่อง การพูด ซึง่ ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจความหมาย
ความสำคัญ องค์ประกอบ และประเภทของการพูดมากยิ่งขึ้น ตลอดจนทราบหลักการเตรียมการของการพูด
การฝึกพูด การปรับปรุงตัวผู้พูด และสามารถพูดได้ถูกต้องตามศาสตร์และศิลป์ของการพูด ตามสถานการณ์
ต่างๆ โดยรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้จากตำรา หนังสือ วารสาร ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้จากเว็บต่างๆ

ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยผู้จัดทำหวังว่ารายงาน


ฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ

หน้า

บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
คำนำ ง
สารบัญตาราง จ

บทที่ 1 บทนำ 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
นิยามศัพท์เฉพาะ 2

บทที่ 2 ทฤษฎีเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
ความหมายของการพูด 4
ความสำคัญของการพูด 8
ประเภทของการพูด 13
องค์ประกอบของการพูด 18
การเตรียมตัวการพูด 23
ลักษณะผู้พูดที่ดี 31
มารยาทในการพูด 37
หลักปฏิบัติตนในการพูด 42
หลักเบื้องต้นของการพูด 44
จุดมุ่งหมายในการพูด 57
หลักเกณฑ์ในการพูด 65
ความบกพร่องในการพูด 73
ชนิดของการพูด 80

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานวิจัย 84
ขอบเขตด้านเนื้อหา 84
ขอบเขตด้านเวลา 85
สารบัญ (ต่อ)
หน้า

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์การวิจัย 86
ผลวิเคราะห์ข้อมูลทางวิจัย 86

บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 92
สรุปผลการวิจัย 92

บรรณานุกรม 93
ภาคผนวก
ประวัติผู้ทำวิจัย
สารบัญตาราง
หน้า

ตารางที่ 3.1 ขอบเขตด้านเวลา 84


ตารางที่ 3.2 ขอบเขตด้านเนื้อหาและสถานที่ 85
ตารางที่ 4.1 การเปรียบเทียบการพูดในแต่ละยุคสมัย 86
ตารางที่ 4.2 หลักเกณฑ์การพูด 87
ตารางที่ 4.3 เครื่องมือการสร้างและส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ 87
บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การพูดเป็นปัจจัยที่สำคัญของกระบวนการสือ่ สารของมนุษย์ เป็นการติดต่อทางภาษาที่รวดเร็วกว่า
การสือ่ ความหมายแบบอื่นๆ ในปัจจุบันโลกมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสื่อสารมวลชน ทำให้
มนุษย์สื่อสารกันโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ แม้กระทั่งพูดผ่านโปรแกรมบางโปรแกรมที่ใช้
ทางอินเทอร์เน็ต เมือ่ เปิดเข้าไปก็จะมีเสียงพูดทีบ่ ันทึกไว้ เช่น การอ่านออกเสียงคำศัพท์ หรือเรือ่ งราวต่างๆที่
บันทึกนอกเหนือจากข้าความไว้ด้วยสื่อเหล่านี้ ทำให้การพูดเกิดประโยชน์อย่างกล้างขวางและรวดเร็ว
การพูดเป็นศาสตร์ เนื่องจากเป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์ มีทฤษฎี มีกฎเกณฑ์ และหลักการเรียนรู้อย่างเป็น
ระบบและเป็นกระบวนการ อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดกันได้ เช่น หลักเกณฑ์การออกเสียงจัดเป็นสัทศาสตร์
การแสดงกิริยาอาการจัดเป็นจริยศาสตร์ และการติดต่อสื่อสารจัดเป็นสังคมศาสตร์ เป็นต้น เพราะคำว่า
“ศาสตร์” นั้น ประกอบด้วย ลักษณะ 3 ประการคือ มีลกั ษณะเฉพาะตัว (Characteristics) องค์ความรู้
(Body of knowledge) มีวิธีการเฉพาะตัว (Method of Inquiry knowledge) การพูดจึงนับได้ว่า
เป็น “ศาสตร์” เพราะต้องประกอบด้วยลักษณะเฉพาะตัวต่างจากอีก 3 ทักษะ (ฟัง อ่าน และเขียน)ประการ
หนึ่ง ต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการพูดในลักษณะต่าง ๆ ประการหนึง่ และต้องมีวิธีการ มีหลักการ มีกฎเกณฑ์
และวิธีการถ่ายทอด ปฏิบัติ ฝึกฝน เช่นเดียวกับสาขาวิชาแขนง
อื่น ๆ ประการหนึง่
การพูดเป็นศิลปะ เนื่องจากต้องนำหลักเกณฑ์ที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติจริง โดยต้องใช้ความสามารถในการ
เรียงร้อยถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำ วลี และประโยคอย่างมีศิลปะ เพื่อสื่อ “สาร” หรือ ส่ง “สาร” ไปยัง
กลุ่มผู้ฟัง ทำให้เกิดความสละสลวยทางด้านการใช้ภาษาในการสื่อสารและยังทำให้ผู้ฟังประทับใจอีกด้วย
เนื่องจากกระบวนการการใช้ทกั ษะการพูดเพื่อสื่อสารนั้น ต้องผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ
ถึงวิธีการที่จะสื่อความหมายให้เกิดประสิทธิภาพนั่นเอง การพูดไทยกลางมาตรฐาน จากข้อมูลที่ได้ศึกษา
มาคณะกลุ่มเห็นควรจัดทำรายงานวิชาการเรื่อง การพูดไทยกลางมาตรฐาน จัดทำขึ้นเพื่อต้องการสืบต่อให้
เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาในรายงานเล่มนี้


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาข้อมูลการพูดไทยกลางมาตรฐาน และเปรียบเทียบแนวโน้มการใช้คำของมนุษย์ในแต่ละ
ยุคสมัย
2. เพื่อนำหลักเกณฑ์ กลวิธี และประโยชน์ด้านการพูดไปใช้ในการเสนอด้านต่างๆในรูปแบบต่างๆ
3. เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และเป็นการเรียนรู้หลักการพูดเพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รบั ทราบถึงข้อมูลความเป็นมาของหลักการพูดไทยกลางมาตรฐาน
2.ได้ทราบถึงประโยชน์และแนวทางการพูดในรูปแบบต่างๆเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี
3.ได้เข้าใจระบบการทำงานของภาษา การใช้น้ำเสียง จังหวะในการพูดเพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

คำนิยามศัพท์เฉพาะ
การพูดโดยฉับพลันหรือกระทันหัน (Thelmpromptuspeech): การพูดทีผ่ ู้พูดไม่รู้ตัวมาก่อน
จะต้องพูดไม่ได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งในด้านเนื้อเรือ่ งทีจ่ ะพูด แต่ก็ได้รับเชิญหรือได้รบั มอบหมายให้พูด
การพูดโดยการเตรียมการมาล่วงหน้า (The Extemperamous): การพูดแบบนีเ้ ป็นการพูด ทีผ่ ู้
พูดได้มีโอกาสเตรียมตัวมาก่อนคือ ผู้พูดรู้ว่าตนเองได้รับเชิญหรือจะต้องพูดในเรื่องอะไรบ้าง
การพูดโดยอาศัยอ่านจากต้นฉบับ (Thespeakingfrommanuscripts): เป็นการพูดทางพิธีการ
ต่าง ๆ สำคัญๆ เช่น การกล่าวเปิดงานการกล่าวรายงานการพูดประเภทนีผ้ ู้พูดจะต้องฝึกฝนตนในเรื่องการอ่าน
ต้นฉบับให้คล่อง การฝึกสายตาเวลาพูดการฝึกอ่านย่อหน้าวรรคตอนและคำศัพท์ที่ยากตลอดทั้งสำนวนการพูด
ให้เหมาะสม
การพูดโดยวิธีท่องจำ (The memorized speaking): การพูดลักษณะนี้เป็นการพูด ที่ผู้พูดจะต้อง
เตรียมตัวท่องจำเนื้อหาอย่างละเอียดการพูดแบบนีเ้ ป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องใช้ความเพียรพยายามมาก
ผู้พูด (Speaker): ทำหน้าทีส่ ่งสารผ่านสือ่ ไปให้ผู้ฟังซึ่งผูพ้ ูดจะสามารถทำให้ผฟู้ ังเข้าใจได้มากน้อย
เพียงใดขึ้นอยู่กบั ความสามารถในการใช้ภาษา
สาร (Message): เป็นเนื้อหาที่ผพู้ ูดส่งไปยังผู้ฟัง ซึ่งจะต้องมีคุณค่าและคุ้มค่าแก่การเสียเวลาของ
ผู้ฟัง
ช่องทางในการสื่อสาร (Communica-tion): เป็นสิง่ ที่นำสารไปสู่ผู้ฟงั ได้แก่ เวลา สถานที่
สภาพแวดล้อมและประสาทสัมผัสทัง้ 5 รวมทั้งสื่อ อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
ผู้ฟัง (Audience): ทำหน้าทีร่ ับสารของผูพ้ ูดโดยอาศัยสื่อเป็นเครื่องนำสารไปสูผ่ ู้ฟังก่อนการพูดผู้
พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟงั
ปฏิกิริยาจากผู้ฟัง (Feedback): ขณะที่ผู้ฟงั รับสารและแปลสารจะเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบเช่นปรบมือ
หัวเราะ ยิ้ม


กระบวนการ(Process): ขั้นตอนการปฏิบัตงิ านหรือการทำงานตั้งแต่เริม่ ต้นจนงานเสร็จตาม
วัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด
ผู้พูด หรือ ผู้ส่งสาร (Sender/Encoder): ผู้ทที่ ำหน้าที่ถา่ ยทอดความรู้ ความคิดไปสู่ผู้ฟัง ผู้พูดต้อง
รู้จักใช้ภาษา น้ำเสียง หน้าท่าทางอย่างเหมาะสม
ผู้ฟัง หรือ ผู้รับสาร (Receiver/Recipient /Decoder): ผู้ที่เป็นเป้าหมายที่ผพู้ ูดต้องการจะสื่อสาร
ไปถึง
ภาวะสูญเสียการได้ยินหรือหูหนวก (Deafness): เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีความสามารถในการได้ยิน
ลดลงหรือสูญเสียการได้ยินทั้งหมด โดยเกิดขึ้นได้ตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นในภายหลัง โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่
เช่น ประสาทหูเสือ่ มเพราะอายุมากขึ้น กรรมพันธุ์ การได้รับบาดเจ็บ หรือการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน
เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก (Assistive Technology): เป็นวิทยาการที่ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต
คนพิการ ให้พ้นจากอุปสรรค ที่ทำให้คนพิการ มีสมรรถนะ ที่ด้อยกว่าคนปกติ ทัง้ ในด้าน การดำเนิน
ชีวิตประจำวัน การศึกษา และการประกอบอาชีพ
การพูดแบบไม่เป็นทางการ(Informal Speech): เป็นการพูดที่ให้บรรยากาศเป็นกันเองโดยส่วน
ใหญ่เป็นการพูดทั่วไปในชีวิตประจำวัน
การพูดแบบเป็นทางการ (Formal Speech): การพูดหรือสนทนากันอย่างมีพิธีรีตอง เป็นการพูด
ต่อหน้าชุมชนในโอกาสต่างๆ ซึง่ สิง่ เหล่านี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนและฝึกฝนเป็นอย่างดี ภาษาต้องสุภาพ
เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
การพูดเพื่อให้ความรู้ (Informative Speech): เป็นการสือ่ สารทีผ่ ู้พูดในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง
เพื่อให้ผู้ฟงั ได้ฟัง และทราบในข้อมูล เช่น การบรรยาย การอภิปราย การสัมภาษณ์ โดยผู้พูดจะทำหน้าที่
ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจไปสูผ่ ู้ฟงั
โน้มน้าวใจ(Persuasive Speech): การพูดเชิญชวน เกลี้ยกล่อม ชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ
ศรัทธา มีความคิดเห็นคล้อยตาม และปฏิบัติตาม ควรจะต้องเป็นไปโดยความสมัครใจหรือความยินยอมพร้อม
ใจของผูฟ้ ัง มิใช่การบีบบังคับหรือการใช้อบุ ายอย่างอื่น
การพูดเพื่อจรรโลงใจ(Recreative Speech): เป็นการพูดที่มจี ุดมุง่ หมายเพื่อบอกเล่า สิง่ ที่เป็น
นามธรรมให้ผฟู้ ังมีความรู้สึกที่สงู ส่ง ดีงาม และให้ได้รบั คุณค่าด้านจิตใจลักษณะการพูดจรรโลงใจการพูด
จรรโลงใจมีลักษณะแบบบอกเล่า


บทที่ 2

ทฤษฎีเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รายงานเรื่องการพูด จากข้อมูลทั้งหมดที่ทางคณะกลุ่มได้รวบรวมหามาสามารถจัดเรียงเนื้อหา
ตามลำดับหัวข้อได้ดงั ต่อไปนี้
1. ความหมายของการพูด
2. ความสำคัญของการพูด
3. ประเภทของการพูด
4. องค์ประกอบของการพูด
5. การเตรียมตัวการพูด
6. ลักษณะผู้พูดที่ดี
7. มารยาในการพูด
8. การปฏิบัติตนในการพูด
9. หลักเบื้องต้นของการพูด
10. จุดมุ่งหมายในการพูด
11. หลักเกณฑ์ในการพูด
12. ข้อบกพร่องในการพูด
13. ชนิดของการพูด

ความหมายการพูด
ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์ กล่าวว่า การพูด คือ พฤติกรรมในการสื่อความหมายของมนุ ษย์โดยการใช้
สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เสียง ภาษา อากัปกิริยาท่าทางเพื่อถ่ายทอดความรุ้ ความคิดเห็น และความรูส้ ึกจากผู้พูด
ไปสู่ผู้ฟัง
สิทธา พินิจภูวดล กล่าวว่า การพูด คือ การสื่อสารซึ่งผู้พูด คำพูดและผู้ฟังอยู่ในเวลาและสถานที่
เดียวกัน เป็นการบอกกล่าวให้ผู้ฟังได้ล่วงรูถ้ ึงความคิดเห็น และการปฎิบัติตา่ งๆ ซึ่งพึงมีต่อกัน
ผอบ โปษะกฤษณะ กล่าวว่า การพูด คือการสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นทราบความประสงค์ของตน จน
สามารถได้รับความสำเร็จสมความมุ่งหมายของผู้พูด
จากความหมายดังกล่าวมาแล้วอาจสรุปได้ว่า การพูดเป็นการสื่อความหมายโดยการใช้เสียง ภาษา
และอากัปกิริยาท่าทางเป็นสื่อไปยังผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังได้รับความรูค้ วามคิดและการปฎิบัตติ า่ งๆ
อ้างอิง : (สบาย ไสยรินทร์ และคณะ. 2525 : 195-196)

สรุป : การพูดคือการสื่อสารคำพูด โดยกาใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เสียง ภาษา หรืออากัปกิริยาต่างๆ
เพื่อให้ผู้อื่นทราบความประสงค์ของตน

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ (2543,น.13) ให้ความหมายของการพูดไว้ว่า การพูดคือ กระบวนการสื่อสาร


ความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง หรือกลุ่มหนึ่ง โดยมีภาษาน้ำเสียงและอากัปกิริยาเป็นสื่อ นอกจากนี้ยังให้
ความหมายต่อไปอีกว่า การพูดคือ การแสดงออกถึงอารมณ์ และความรู้สึก โดยใช้ภาษาและเสียงสื่อ
ความหมาย
สมิต สัชฌุกร (2547,น.11) กล่าวว่า การพูดคือ พฤติกรรมในการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดถ่ายทอด
ซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้พูดฝ่ายหนึ่งกับผู้ฟังฝ่ายหนึ่งด้วยการใช้สัญลักษณ์หลายระบบพร้อมกัน ได้แก่ เสียง
ภาษา และอากัปกิริยา การพูด เป็นการสื่อสาร 2 ฝ่ายในระบบทางคู่ หรือทุติยวิถี ซึ่งมีผู้ให้การสื่อสารฝ่ายหนึ่ง
กับผู้รับการสื่อสารอีกฝ่ายหนึ่ง
สวนิต ยมาภัย และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ (2548,น.13) ได้กล่าวถึงการพูดว่า การพูดเป็นหนทาง
หนึ่งที่จะทำให้บคุ คลได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นได้อย่างถูกต้อง และมีหลักเกณฑ์ ซึ่งหากเรามีความบริสุทธิ์ใจ
ต่อสิ่งที่เราคิดต่อผู้อื่นก็จะเกิดความสำเร็จในการพูด
สุขุม นวลสกุล (2540,น.12) ได้ให้คำจำกัดความของการพูดไว้อย่างน่าสนใจว่าการพูดเป็นเครือ่ งมื อ
สื่อสาร ที่มีอานุภาพมากที่สุดในโลก การพูดเป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้าใจระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
สรุปได้ว่า การพูดคือ การสื่อสารความหมายโดยใช้เสียง อากัปกิริยา ท่าทาง เพื่อถ่ายทอดความรู้สึก
นึกคิดอารมณ์ ความคิดเห็น ความต้องการ เพื่อให้เกิดผลตามที่ผู้พูดมีเจตนา
ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการงานและกิจธุระต่างๆ เวลาเข้าสังคม คบหากับผู้อื่นรวมทั้งการทำ
ประโยชน์ให้แก่สังคมส่วนรวม มักเป็นผู้ที่เก่ง พูดดีมีประสิทธิภาพในการพูดแทบทัง้ สิ้น
การพูดเป็น “ศาสตร์” มีหลักการและมีกฎเกณฑ์ สอนและฝึกกันได้ สำหรับคนธรรมดา และอีกส่วน
หนึ่งเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัวของแต่ละคน ที่จะทำให้ผู้ฟังนั่งฟังได้ตลอด แต่ถ้าได้ฝึกฝนทักษะการพู ด
มากพอ ก็สามารถทำได้เช่นกัน
อ้างอิง : (สายใจ ทองเนียม. 2560 : 55 – 56)
สรุป : การพูดคือ การสื่อสารความหมายโดยใช้เสียง อากัปกิริยา ท่าทาง เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
อารมณ์ ความคิดเห็น ความต้องการ เพื่อให้เกิดผลตามทีผ่ ู้พูดมีเจตนา

การพูดคือการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรูส้ ึก หรือความต้องการของผู้พูดเพื่อสื่อความหมายไป


ยังผู้ฟัง โดยใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และอากัปกิริยาท่าทางจนเป็นที่เข้าใจกันได้
การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ว่าเป็น "ศาสตร์"เพราะเป็นการพูดจะต้องมีหลักเกณฑ์ และวิธีการ
ต่างๆที่ใช้สอน ถ่ายทอด ปฏิบัติ ฝึกฝน เช่นเดียวกับหลักวิชาแขนงอื่นๆ ในส่วนที่เป็น "ศิลป์"นั้น ก็เพราะการ
พูดเป็นเรื่องของความสามารถพิเศษเฉพาะบุคคล ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะเป็นนักพูดที่ดีจึงต้องศึกษาหลักและ
วิธีการพูด แล้วหมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ


อ้างอิง : (กันทิมา วัฒนะประเสริฐ และคณะ. 2540 : 1233)
สรุป : การพูดคือการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรูส้ ึกจนเป็นที่เข้าใจกันได้

ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์(2526:6) ให้ความหมายการพูดว่า การพูดคือพฤติกรรมในการสื่อสาร


ความหมายของมนุษย์โดยการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น เสียง ภาษา อากัปกิริยา ท่าทาง เพื่อถ่ายทอดความรู้
ความคิดเห็น และความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง
เอกฉัท จารุเมธีชน(2541:37) กล่าวว่า การพูดคือ การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงรวมทั้งกิริยาอาการ
ถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้สึก และความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังรับรู้และเกิดการตอบสนอง
สมปราชญ์ อัมมะพันธ์(มปป:6-7) อธิบายเรื่องเกี่ยวกับการพูดว่า การพูดเป็นศิลปะในการเลือกใช้ถ้อยคำภาษา
ท่าทาง ศิลปะในการนำเสนอ ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการศิลปะในการต่อรองและศิลปะในการ
เลือกจังหวะหรือโอกาสที่จะนำเสนอเรื่องใดกับใครในเวลาในเหมาะสม พูดให้ถูกจังหวะเวลาควรไม่ควร
จากความหมายดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า การพูด หมายถึง การถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้ สึก
ตลอดจนความต้องการของผู้พูดออกมาโดยอาศัยถ้อยคำ น้ำเสียง อากัปกิริยาต่างๆ ที่ทำให้ผู้ฟังได้ยินรั บรู้ และ
เข้าใจเรื่องรวมของผู้พูด และเกิดการตอบสนองได้
อ้างอิง : (สบาย ไสยรินทร์, ชวน เพชรแก้ว และ ศุภวรรณ สอนสังข์. 2533 : 201)
สรุป : การพูด หมายถึง การถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรูส้ ึก ตลอดจนความต้องการของผู้พูดออกมาโดย
อาศัยถ้อยคำ น้ำเสียง อากัปกิริยาต่างๆ ที่ทำให้ผู้ฟังได้ยินรับรู้และเข้าใจเรื่องรวมของผู้พูด และเกิดการ
ตอบสนองได้

ฉลวย สุรสิทธิ์(2520:2) ได้ให้ความหมายของการพูดไว้และสรุปได้ว่าการพูดเป็นทัง้ ศาสตร์และศิ ลป์


ที่เป็นศาสตร์เพราะมีระเบียบวิธีการศึกษา มีระเบียบแบบแผนกำหนดเป็นทฤษฎี ให้ศึกษาและปฏิบัติจน
สามารถพิสูจน์ได้ ส่วนที่เป็นศิลป์เพราะเป็นการพูดต้องใช้ศิบปะทางภาษาในการนำเสนอความรู้ ความคิด
ต่างๆ ให้ผู้ฟังเข้าใจ ผู้พูดจึงต้องอาศัยศิลปะการสร้างสรรค์ดว้ ยภาษาที่ดที ี่สุด เพื่อให้ผู้ฟังประทับใจและเข้ า ใจ
สารตั้งแต่ตั้งแต่ตน้ จนจบ
สนุก รัฐถาวร (มปป.:9) ได้ให้ความหมายของการพูดว่า การพูดคือการใช้ศาสตร์และศิลป์ เพื่อชนะใจ
ผู้ฟังด้วยเหตุผล และเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังคล้อยตามความประสงค์ของผู้พูด นับว่าบรรลุ
ตามเป้าหมายของผู้พูด
วารุณ พลบูรณ์(2542:39) ได้ให้ความหมายของการพูดไว้ในการใช้ภาษาไทยว่า คือพฤติกรรมเพื่อ
สื่อความหมายของมนุษย์ เป็นแบบหนึ่งในหลายๆแบบและเป็นแบบที่เรียกว่า"สื่อความด้วยปาก"ซึ่งไม่ได้
หมายความเพียงการสื่อความหมายโดยใช้ปากเท่านั้น แต่เป็นการสื่อสารด้วยเสียง ด้วยภาษา ด้วยอากั ป กิ ริ ย า
ท่าทาง ด้วยสีหน้าและหน้าตา เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรูส้ ึก ความต้องการ ตลอดจนอารมณ์ต่างๆ
ไปยังกลุ่มผู้ฟังให้ได้ผลตามความมุง่ หมายของผู้พูด


ผะอบ โปษะกฤษณะ (2506:119) ได้ให้ความหมายทางการพูดไว้อย่างกะทัดรัดว่าหมายถึ ง การพู ด
ให้ผู้อื่นทราบความประสงค์ของผู้พูดจนได้รับความสำเร็จสมความมุง่ หมายของผู้พูด
จากคำจำกัดความดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า การพูดหมายถึงการสื่อสารโดยการใช้วัจนภาษาและอวัจน
ภาษาในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ของผู้พูดให้ผู้อื่นรับทราบได้ตรงตามเจตนา
อ้างอิง : (วิเศษ ชาญประโคน. 2550 : 157 – 158)
สรุป : พฤติกรรมเพื่อสื่อความหมายของมนุษย์ ให้ผู้อื่นทราบความประสงค์ของผู้พูดจนได้รับความสำเร็จสม
ความมุ่งหมายของผู้พูด

การพูดเป็นพฤติกรรมการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟังกล่าวคือ เมื่อมีผู้พูดก็ต้องมีผู้ฟัง
จึงจะเกิดความสมบูรณ์ จะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้
สวนิต ยมาภัย (2525) ได้ให้ความหมายของการพูดไว้ว่า "การพูด คือการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และ
อากัปกิริยา ท่าทาง เพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้สึก และความต้องการของผู้พูด ให้ผู้ฟังรับรู้ และเกิ ด
การตอบสนอง"
จากความหมายดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่า การพูดเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึ กคิดของตนเองให้ผู้อื่น
ได้รับรู้ เข้าใจ โดยอาศัย การฝึกฝน มิใช่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นเพียงผู้ให้อวัยวะที่ใช้สำหรับ
ออกเสียงมาเท่านั้น คนเราถ้าอวัยวะที่ใช้สำหรับออกเสียงไม่บกพร่อง ก็สามารถเปล่งเสียงออกมาได้ ซึ่งเป็น
เรื่องของธรรมชาติ แต่ที่จะเปล่งเสียงออกมาให้เป็นภาษาทีส่ ื่อสารกันเข้าใจในหมูช่ นด้วยกันนั้น ต้องอาศั ย การ
เรียนรู้ คือเรียนรู้ถึงภาษาที่ใช้พูดจากันในหมู่เหล่า และอาศัยการฝึกฝน เพื่อให้พูดได้ดี บรรลุจุดมุ่งหมายของ
การพูดและใช้การพูดเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้
อ้างอิง : (สบาย ไสยรินทร์ และคณะ. 2525 : 195-196)
สรุป : การพูดก็คือพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ โดยอาศัยภาษา ถ้อยคำ น้ำเสียง ตลอดจนกิริยาท่าทาง
และอื่น ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนแก่ผู้อื่น ให้เกิดผลตอบสนองตามที่ต้องการ

การพูดเป็นพฤติกรรมทางภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟังเพื่อการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ เป็นการ
เปล่งเสียงออกมาเป็นภาษาเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการของผู้ พู ด ไป
ยังผู้ฟัง โดยใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และอากัปกิริยา จนเป็นที่เข้าใจกันได้
การพูดที่ดี คือ การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง
ตามจรรยามารยาท ประเพณีนิยมของสังคม เพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้สึก ความต้องการ
ทัศนคติ และ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ให้ผู้ฟังได้รับรู้และก่อให้เกิดการตอบสนองตรงตามที่ผู้พูด
ต้องการ
การพูดจึงเป็นการสื่อสารสองทาง คือ มีทั้งผู้พูดและผู้ฟัง การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ “ศาสตร์”
หมายถึง การพูดจะต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ ที่ใช้สอน ถ่ายทอด ปฏิบัติ ฝึกฝน เช่นเดียวกับหลัก


วิชาแขนงอื่นๆ ส่วน “ศิลป์” หมายถึง การพูดเป็นเรื่องของความสามารถพิเศษเฉพาะบุคคล นอกจากนี้
การพูดยังจัดเป็นทักษะและวิชาชีพอีกประการหนึ่ง ซึ่งสามารถขยายความได้ดงั นี้
- ที่ว่าเป็นศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์ มีทฤษฎีให้เรียนรู้และถ่ายทอดกันได้ เช่น
หลักเกณฑ์การออกเสียงจัดเป็นสัทศาสตร์ การแสดงกิริยาอาการจัดเป็นจริยศาสตร์ และการติดต่อสื่อสาร
จัดเป็นสังคมศาสตร์ เป็นต้น
- ที่ว่าเป็นศิลป์ เพราะ ต้องนำหลักเกณฑ์ไปปฏิบัติให้เกิดความไพเราะสวยงาม เป็นที่ประทับใจแก่
ผู้ฟัง การศึกษาแต่หลักเกณฑ์หรือทฤษฎีเพียงอย่างเดียวจึงไม่ สามารถที่จะช่วยให้ผู้ศึกษาวิชาการพูดได้รับ
ประโยชน์จากการพูดมากเท่าทีค่ วร จึงจำเป็นต้องนำไปปฏิบตั ิ โดยเพิ่มเทคนิคและกลวิธีตา่ งๆ ที่จะทำให้ ผู้ฟั ง
เกิดความพอใจ
- ที่ว่าเป็นทักษะ เพราะ การพูดต้องอาศัยการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญจึงจะใช้ประโยชน์ ไ ด้ดี ยิ่ ง
ชำนาญมากเท่าใดก็ยิ่งพูดดีขึ้นเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะเรียนรู้ทฤษฎีและมีศิลปะในการพูดเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้ว
แต่ถ้าขาดการฝึกฝนก็จะเอาดีไม่ได้ ตรงกับสุภาษิตที่กล่าวว่า “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็ นไม่ เท่ kมื อ
คลำ และสิบมือคลำไม่เท่าทำเอง”
- ที่ว่าเป็นวิชาชีพ เพราะ ทุกๆ อาชีพใช้ภาษาพูดเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสาร ถ้าพูดดีเป็นศรีสง่า
ตนเอง ประกอบอาชีพใดๆ ก็มีแต่ความเจริญก้าวหน้า แต่ถ้าพูดไม่ดีจะมีแต่ความเสื่อมและเกิดอันตรายแก่
ตนเองเช่นกัน ดังสุภาษิตที่กล่าวว่า “พูดดีเป็นศรีแก่ปาก”
อ้างอิง : ( ความหมายการพูด. (ม.ป.ป.). 2-4 )
สรุป : การพูดเป็นพฤติกรรมทางภาษาทีค่ วบคู่ไปกับการฟังเพื่อการสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ การพูด จึ ง
เป็นการสื่อสารสองทาง คือ มีทั้งผู้พูดและผู้ฟัง การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

ความสำคัญของการพูด
การพูดมีความสำคัญแก่บุคคลมาก เพราะมีส่วนเข้าไปเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าในวงงานทั้ง
ภาครัฐและภาคเอกชนเป็นเวลานานกว่าบุคคลนั้นจะเป็นหัวหน้างานเล็กหรือใหญ่ เป็นครู อาจารย์
นักการเมือง นักบวช พระภิกษุสงฆ์ พ่อค้า ตลอดจนนักธุรกิจ ล้วนมีแต่ความจำเป็นต้องฝึกให้มีความสามารถ
ในการพูดต่อชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพด้วยกันทั้งสิ้น เพราะการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานจำเป็นต้องใช้ การพู ด
เพื่ออธิบาย บอกเล่า โน้มน้าวจูงใจ ชี้แจงและทำความเข้าใจกับบุคคลอยู่ตลอดเวลา
สรุปความสำคัญของการพูดได้ดังนี้
1. การพูดเข้าใจง่ายกว่าการสื่อสารอย่างอื่น เพราะการพูดต้องใช้น้ำเสียง กิริยา ท่าทาง ถ้อยคำ
ตลอดจนสีหน้า แววตาของผู้พูดประกอบด้วย ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจกว่าการอ่านหรือการเขียนเพียง
อย่างเดียว
2. การพูดเป็นเครื่องของการสมาคม ช่วยส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จในชีวิต อาชีพ และหน้าที่การ
งาน วาจาเป็นเครื่องแสดงออกถึงความฉลาดอุปนิสัยใจคอของผู้พูดตลอดจนความมีไมตรีจติ ต่อกัน สร้างความ


สบายใจและมีมนุษย์สัมพันธ์ จึงนับได้ว่าการพูดเป็นขั้นแรกในการสมาคมและช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้กิจการ
สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
3. การพูดช่วยก่อให้เกิดความเข้าใจต่อกัน การพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็นกันนับตั้งแต่
บุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อรัฐ ตลอดจนถึงประเทศต่อประเทศ และที่สุดการพูดสามารถบันดาลให้เกิดสันติ ภาพ
แก่โลก
4. การพูดช่วยปลอบประโลมใจ ให้คนมีทุกข์ควายทุกข์ คนท้อแท้เกิดกำลังใจเกิดความ มุ่งมั่นที่
สร้างสรรค์สังคมก่อประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม
อ้างอิง : (จิระภพสุคันธ์กาญจน์ และคณะ. 2550 : 202 – 204)
สรุป : การพูดมีความสำคัญแก่บุคคลมาก เพราะการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานจำเป็นต้องใช้การพูด เพื่อ
อธิบาย บอกเล่า โน้มน้าวจูงใจ ชี้แจงและทำความเข้าใจกับบุคคลอยู่ตลอดเวลา

การพูดมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก เพราะเราใช้การพูดมากกว่าการฟังและ
การเขียน เพื่ออบรม สั่งสอน เจรจาต่อรอง เพื่อสื่อความรู้สึกนึกคิด เพื่อสร้างสัมพันธไมตรี เป็นต้น
สมบัติ จำปาเงิน ได้กล่าวถึงข้อคิดจากม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช ไว้ในนักพูดไทย(2537:119) เกี่ ย วกั บ
ความสำคัญของการพูดสรุปได้ว่า การพูดสมบัติอันพิเศษของมนุษย์เป็นความสามารถและเป็นสมบัติ อันพิ เศษ
ของมนุษย์ การพูดเป็นสมบัติสิ่งเดียวของมนุษย์ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกว่าสั ตว์โบกอื่นๆ และด้วยการพูด
มนุษย์จึงสามารถติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงความประสงค์ให้ทราบ และการใช้การพูดในการประกาศหลักธรรม
ต่างๆ จึงกล่าวได้ว่า การพูดมีความสำคัญดังนี้
1. เป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวจิตใจบุคคลให้คิดและเห็นคล้อยตาม เช่น การพูดโฆษณ
ประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาหาเสียง การเชิญชวนให้ร่วมกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
2. เป็นเครื่องมือในการสมาคมต้องอาศัยปิยวาจาเพื่อผูกไมตรีมิให้รู้ร้างอันจะเป็นหนทางไปสู้
ความสำเร็จในกิจการด้านต่างๆ
3. เป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต การพูดช่วยให้กิจการทั้งปวงดำเนิ นไปอย่างราบรื่น อาทิ
ทางการเมืองอาศัยการพูดเป็นเครื่องมือสื่อนโยบายให้ทุกคนเข้าใจ การค้าอาศัยการพูดในการเจรจาซื้อขาย
การสงครามต้องใช้วิธีทางการทูต เจรจาไกล่เกลี่ยในกรณีต่างๆให้สงบโดยสันติ หรือใช้การพูดเป็ นกลอุ บ ายให้
ฝ่ายตรงกันข้ามเข้าใจคลาดเคลื่อนเป็นอย่างอื่น
4. เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆเพื่อลดภาวะเครียด เพื่อเพิ่มเติมความสุขแก่
ชีวิต เช่น บทเพลง บทกวี เป็นต้น
อ้างอิง : (วิเศษ ชาญประโคน. 2550 : 158 – 160)
สรุป : การพูดมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก เป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวจิตใจบุ คคล
ให้คิดและเห็นคล้อยตาม ต้องอาศัยปิยวาจา เป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต


สมชาติ กิจยรรยง (2548,น.19) กล่าวถึงความสำคัญของการพูดไว้ว่า เป็นกระบวนการที่มี
จุดมุ่งหมายเพื่อ
1. ให้ข่าวสารข้อเท็จจริง
2. ให้ความรู้ความเข้าใจทัศนคติทถี่ ูกต้อง
3. ให้ความบันเทิง
4. ให้ผู้ฟังเชื่อถือ ซึ่งการทำให้ผู้ฟังเชื่อถือได้นั้นผู้พูดควรจะปฏิบัติดงั นี้
• เชื่อตัวเองก่อน ก่อนที่จะพูดให้ผู้อื่นเชื่อ
• ต้องเสนอข้อมูลหนักแน่นมีเหตุผล
• ย่อเรื่องให้ง่ายและกระชับเพื่อให้คนฟังเข้าใจ
• ท่าทีของผู้พูดน่าเชื่อถือ
สวัสดิ์ บรรเทิงสุข (2537,น.21) การพูดเป็นเครื่องมือในการเข้าสังคม ที่สำคัญของมนุษย์ มนุษย์ใช้
การพูดเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อความหมายซึ่งกันและกันตลอดจนเป็นประเทศอยู่ได้ และได้กล่าวถึงความสำคัญ
ของการพูดในด้านต่างๆ พอสรุปได้ดงั นี้
ด้านการสื่อสาร การพูดช่วยให้สื่อสารกับผู้อื่นได้ถูกต้องเหมาะสม ช่วยในการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้
ความคิดเห็น ความรู้สึก และความต้องการของคน
ด้านการเข้าสมาคมและการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ การพูดเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันรู้
เรื่อง การพูดที่ดีจะช่วยสร้างมนุษย์สัมพันธ์ และเป็นเครื่องมือในการเข้าสมาคมที่ดที ี่สุด
ด้านศาสนา เป็นเรื่องของความเชื่อ ดังนั้นการจะชักจูงให้คนอื่นเชื่อ หรือเกิดความชอบหรือมี ทัศ นคติ
คล้อยตาม ต้องใช้ศิลปะในการพูดอย่างมาก ผู้ใดสามารถพูดโน้มน้าวให้คนในสังคมเชื่อในสิ่งที่ดีงามและ
ประพฤติปฏิบัตดิ ีได้ สังคมนั้นก็จะอยู่กันอย่างสงบสุข
การปกครอง มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่จะต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ดัง นั้นจึงจำเป็นต้องมีการจัดวาง
ระเบียบสร้างกฎเกณฑ์ขึ้น เพื่อให้คนในสังคมได้ยึดถือปฏิบัติในแนวเดียวกัน เพื่อความสงบสุขของสังคมนั้น
ด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ การพูดเป็นการแสดงออกถึงบุคลิกภาพลักษณะ และทัศนคติของผู้พูด การ
รู้จักพูดให้ถูกต้องเหมาะสมกับผู้ฟัง เหมาะกับกาลเทศะ พูดอย่างมีขั้นตอนตามหลักการพูด จะช่วยพัฒนา
บุคลิกภาพของตนให้ดีขึ้น รู้จักวางตัวได้ดีขึ้น กิริยาท่าทางไม่เคอะเขิน แต่งกายเหมาะสมมีความเชื่อมั่นใน
ตนเอง มีความกระตือรือร้น มีมนุษย์สัมพันธ์ดี มีความน่ารักและเป็นกันเองกับคนทั่วไป
ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย หากคนส่วนใหญ่ในสังคมรูจ้ ักพูดในสิ่งที่ควรพูด รู้จักนิ่ง ในสิ่ ง ที่ ค วรนิ่ ง
กล้าออกความเห็น กล้าคัดค้านในสิ่งที่ไม่ชอบไม่ควร เราจะพัฒนาสังคมให้เป็นประชาธิปไตยได้เร็วกว่านี้
ด้านการประกอบอาชีพ แทบทุกอาชีพจำเป็นต้องใช้การพูดเป็นเครือ่ งมือในการประกอบอาชี พ ทั้ง สิ้ น
อาจเป็นเครื่องมือประกอบอาชีพโดยตรงหรือโดยอ้อม แต่หากได้นำความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการพูดไป
ประยุกต์เข้ากับงานอาชีพแล้ว จะทำให้งานที่ทำอยู่ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน เช่น ทนายความ จิตแพทย์
นักการเมือง พ่อค้า แม่ค้า ฯลฯ

๑๐
ด้านการสอน เป็นการใช้ศิลปะ และความสามารถในการพูดมากที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะผู้สอนต้อง
ถ่ายทอดความรู้ ความคิดเห็น และชี้แจงเหตุผลต่อศิษย์ เพื่อจะเอาความรู้ไปเป็นประโยชน์ในการดำรงชีพ เพื่ อ
พัฒนาสังคม และช่วยเหลือประเทศชาติด้านต่างๆ ต่อไป
สมิต สัชฌุกร (2547,น.10) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพูดว่า การพูดเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ที่
เกิดจากการเรียนรู้ มิใช่สัญชาตญาณ ที่มีมาแต่กำเนิด ความสามารถที่จะเป็นนักพูดทีด่ ี จึงอาจศึกษาและฝึกฝน
ได้
วิรัช ลภิรัตนกุล (2526,น.2) กล่าวว่าพฤติกรรมการพูดของมนุษย์มคี วามสำคัญต่อชีวิตประจำวัน และ
ชีวิตการทำงานของเรา ทั้งนี้เพราะมนุษย์ต้องใช้การพูดเสมอ และใช้คำพูดเป็นสื่อบุคคล หรือเป็นวิถีทางหนึ่ง
ในการถ่ายทอด ชักนำเอาความรู้สึกนึกคิดของตนออกตีแผ่ แสดงให้ผู้อื่นได้ทราบและเข้าใจ
อ้างอิง : (สายใจ ทองเนียม. 2560 : 56 – 58)
สรุป : การพูดมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ทุกคนต้องอาศัยการพูดในการถ่ายทอดความรูส้ ึกนึกคิด สร้าง
ความเข้าใจที่ดีระหว่างคนในสังคม นอกจากนี้การพูดยังช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับชีวิต และเป็ น
พื้นฐานช่วยสร้างความศรัทธา และความเชื่อมั่นในบุคลิกภาพให้แก่บุคคลนั้ นๆอีกด้วย

การพูด มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เป็นการสื่อความเข้าใจระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง โดยเฉพาะ


ในเด็กปฐมวัยนั้น พ่อแม่ ครู ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องหาวิธีการเทคนิคต่าง ๆ ในการส่งเสริมพัฒนาการพู ด ด้ ว ยการให้
เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ ด้วยการพูดคำตอบจากคำทายของปริศนาคำทายจะช่วยส่งเสริมให้เด็กสามารถ
บอกชื่อสิ่งต่าง ๆ สื่อความหมายจากภาพเป็นเรื่องราวได้ ตลอดจนแปลความหมายของคำพูดเป็นประโยค
สมบูรณ์ คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้อย่างถูกต้อง
อ้างอิง : ( ครูอภิชัย. 2551 : 3 )
สรุป : เป็นการสื่อความเข้าใจระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ด้วยการพูดคำตอบจากคำทายของปริศนาคำทายจะช่วย
ส่งเสริมให้เด็กสามารถบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ สื่อความหมายจากภาพเป็นเรื่องราวได้

การพูดเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดสำหรับบุคคลในทุกสาขาอาชีพ ตั้งแต่ข้าราชการ นักการเมือง


นักวิชาการ นักบริหาร นักธุรกิจ ทหาร ตำรวจ แพทย์ พยาบาล พ่อค้า แม่ค้า พระภิกษุ ฯลฯ เนื่องจากกลุ่ม คน
ทุกสาขาอาชีพต้องอาศัยการพูดเพื่อสื่อสารความหมายที่ตอ้ งการไปยังผู้ฟัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความ
เข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟังนั่นเอง ในสังคมไทยนั้น มีผู้ที่มองเห็นความสำคัญและคุณค่าของการพูด
มากมาย ดังนี้
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ กล่าวไว้ว่า มนุษย์เราจะติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้สึก
นึกคิดกันได้ก็ด้วยอาศัยการพูดเป็นสำคัญจะติดต่อกันฉันเพื่อนเพื่อสังสรรค์สามัคคีกันก็ต้องอาศัยคำพูด จะ
ติดต่อกันทางธุรกิจเป็นการทำมาค้าขายก็ต้องอาศัยคำพูด จะติดต่อกันทางการปกครองและทางการบ้าน
การเมืองก็ต้องอาศัยคำพูด ถ้าจะให้คนชอบท่านและนิยมท่าน ท่านจะต้องมีสังคหวัตถุ 4 ซึ่งอย่างหนึ่งได้แก่
ปิยวัจนะ วาจาอันเป็นที่รักใคร่อ่อนหวาน

๑๑
หลวงวิจิตรวาทการ ก็ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพูดไว้ว่า วิชานักพูดเป็นศิลปะอันสำคัญอันหนึ่ง
และผู้ที่เป็นนักพูดก็ต้องนับว่าเป็นผู้มีศิลปะอันประเสริฐอันหนึ่งเหมือนกัน นักพูดเป็นบุคคลจำนวนหนึ่งพวก
หนึ่ง ซึ่งทำให้โลกนี้เป็นที่รื่นรมย์นักพูดที่ดีๆย่อมสามารถจะดับความทุกข์และให้ความสุขแก่คนทั้งหลายโดย
การปลุกหรือปลอบหัวใจด้วยคำพูดอันฉลาดของเขา การที่นักพูดเป็นที่พอใจของคนทั้งหลายนั้น ก็เพราะเหตุ
ว่าเขาได้ใช้คำพูดของเขาเป็นเครื่องทำความสุขความรื่นรมย์ให้แก่บุคคล คำพูดของนักพูดที่ดีๆย่อมจะเป็นยา
อันประเสริฐสำหรับชโลมหัวใจ พระพุทธเจ้าเป็นนักพูดทีป่ ระเสริฐสุดคนหนึ่งของโลก ใครจะเศร้าโศก ทุกข์ร้อน
ขุ่นหมองอย่างไร ถ้าได้เข้าถึงพระองค์แล้ว ความเศร้าโศกทุกข์ร้อนและขุ่นหมองนั้นก็พลันหายและความสุข
ความสบายก็จะมีขึ้นมาแทนที่ เพราะเหตุฉะนี้ วิชานักพูด จึงเป็นศิลปะและมีประโยชน์อย่างยิ่งอันหนึ่งในโลก
สุนทรภู่ กวีเอกของไทยก็ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพูดไว้ในนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งว่า
"ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายท าลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะ
พูดจา" หรือในบทกวีนิพนธ์ชื่อเพลงยาวถวายโอวาท ของสุนทรภู่ ก็มีวรรคทองที่บ่งบอกถึงความสำคัญของการ
พูดไว้ดังนี้
"อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตาย
นั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ" หรือหนึ่งในวรรคทองบางตอนจาก "พระอภัยมณี" ว่า “เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียง
ลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ บันเทิงสุข ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพูดโดยเปรียบเทียบกับดินสอ
ไว้โดยสรุปได้ว่า คุณค่าของดินสอด ามิได้อยู่ทกี่ ารพยายามแปลความหมายของดินสอดำแต่คุณค่าของดินสอดำ
ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะสามารถใช้ดินสอดำเขียนสิ่งที่มีคุณค่าขึ้นมาได้มากน้อยเพียงใด การพูดก็เป็นเช่นดินสอดำ
กล่าวคือ ความสำคัญของการพูดมิได้อยู่ที่การพยายามจะสรรหาถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะหูมาเพื่อให้ความหมาย
ของการพูดแต่อยู่ที่ประสิทธิภาพในการพูดต่างหากแม้แต่ถ้อยคำสำนวนหรือวลีเกี่ยวกับคำพูดที่มีผู้ รู้ผูกไว้เป็น
คำสั้น ๆ แต่คมคาย ลึกซึ้ง ก็เป็นการบ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับการพูด เช่น
"ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา"
"พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย"
“คนที่พูดจะขายได้แม้กระทั่งแกลบ แต่คนที่ไม่พูดจะไม่สามารถขายได้แม้กระทัง่ ข้าวสาร”...
ภาษิตอินเดีย
“คำพูดเหน็บแนมที่เฉียบแหลมรุนแรงย่อมเชือดเฉือนได้ลึกกว่าคมอาวุธ” ...คติ
ฝรั่งเศส
"พูดความจริงแค่ครึง่ เดียวก็คือการโกหกทั้งหมด" ...ภาษิตชาวยิว
"การพูดให้ร้ายไม่ทำให้คนดีเป็นคนเลว เพราะเมื่อน้ำลดหินก็ยังอยู่ที่เดิม"...ภาษิต
จีน
ในพระพุทธศาสนา ก็มีค าสอนที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการพูดไว้เช่นกัน โดยปรากฏอยู่ในหนังสือ
อรรถกถาธรรมบท ขุททกนิกาย ภาคที่ 3 ดังนี้
ยถาปิ รุจิร ปุปฺผ วณฺณวนฺต อคนฺธก เอว สุภาสิตา วาจา อผลา โหติ อกุพฺพโต

๑๒
วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ ยถาปิ รุจิร ปุปฺผ วณฺณวนฺต สคนฺธก
เอว สุภาสิตา วาจา สผลา โหติ สุกุพฺพโต ฯ
คำแปล
ดอกไม้ งาม มีสีสวย แต่ไม่มีกลิ่น ฉันใด วาจาสุภาษิต ย่อมไม่มีผลแก่บุคคลผู้ไม่ทำตาม
ฉันนั้น แต่วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่ผู้ทำตามด้วยดี เหมือนดอกไม้งาม มีสีสวย และมีกลิ่นหอมฉะนั้น
“มนุญฺ เมว ภาเสยฺย ” ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ ฯ ขุ. ชา. เอก. 27/10.
“โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ” การเปล่งวาจางาม ย่อมสำเร็จประโยชน์ ฯ ขุ. ชา. เอก. 27/28.
จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่า ทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกภาษา ต้องก็ให้ความสำคัญกับการพูด ซึ่งเป็น
ศาสตร์และศิลป์ทมี่ นุษย์ตอ้ งเรียนรู้และฝึกฝนจนสามารถนำไปปฏิบัตจิ ริงจนเห็นผลได้ ซึ่งความสำคั ญ ของการ
พูดมิใช่จ ากัดอยู่แค่การรู้จักพูดแต่สิ่งที่เป็นกุศลและเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมส่วนรวมเท่านั้น แต่
การฝึกฝนพัฒนาตนเองด้านการพูด ยังเป็นปัจจัยทำให้ผู้ฝึกฝนได้เป็นนักวางแผน นักคิด นักสร้างสรรค์ อีกด้ ว ย
เนื่องจากการพูดนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องผ่านการค้นคว้า การคิดอย่างรอบคอบ การวิเคราะห์ มีการวาง
แผนการพูด ต้องรู้จักและเข้าใจผู้ฟัง และต้องเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง ดังนั้น การฝึกฝนทักษะ
ด้านการพูดจึงเป็นการพัฒนาศักยภาพตนเองทั้งในด้านกายภาพและด้านความคิด เพื่อปรับบุคลิกภาพของ
ตนเองให้เหมาะกับสังคม ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติอีกช่องทางหนึ่ง เพราะเหตุดงั กล่ า วนี้
การพูดจึงเปรียบเสมือนบันไดสำคัญขั้นแรกของมนุษย์ในการสมาคมและเป็นสะพานเชื่อมไปสู่ความสำเร็จ
ในชีวิตได้การพูดมีความสำคัญต่อมนุษย์หลายประการ เช่น การพูดทำให้มนุษย์เข้าใจซึ่งกันและกัน
การพูดเป็นเครื่องมือสื่อสารสำคัญทีส่ ุดทีจ่ ะทำให้มนุษย์ทอี่ ยู่กันในสังคมมีความเข้าใจกันมากขึ้น เป็นเครื่ องมื อ
ที่สร้างความสัมพันธ์กันทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันและกัน และยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์ได้เปิดเผย
ตนเองไปสู่โลกกว้างทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับชาติได้อีกด้วย
อ้างอิง : ( ศิริรัตน์ กลยะณ. 2558 : 3 – 7 )
สรุป : การพูดทำให้เกิดการรับรู้ความหมายร่วมกัน มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน ดังนั้น ในการสร้าง
ความเข้าใจเพื่อให้มีแนวทางปฏิบัตอิ ย่างเดียวกัน เพื่อประโยชน์สุขแห่งสังคมที่ตนอาศัยอยู่ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่
จะต้องรับรู้ความหมายของสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน รวมไปถึงการกระทำและคำพูดด้วย

ประเภทของการพูด
การพูดแบ่งอย่างกว้างๆ ออกได้ 2 ประเภท คือ การพูดอย่ างไม่เป็นทางการ และการพูดอย่างเป็น
ทางการ
การพูดอย่างไม่เป็นทางการ หมายถึง การพูดในโอกาสทั่วๆไป หรือ เป็นการพูดในชีวิตประจำวัน
เป็นการพูดที่ไม่มีแบบแผน ซึ่งได้แก่ การพูดคุยสนทนาในหมูเ่ พื่อนฝูง เพื่อนบ้าน ญาติสนิทมิตรสหาย เป็นต้น
การพูดอย่างเป็นทางการ หมายถึง การพูดที่มีแบบแผน มักพุดในโอกาสต่างๆ โดยมีจุดประสงค์ที่
แน่นอน ผุ้พูดจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของเนื้อหาเตรียมบุคลิกภาพ และ มีการฝึกฝน เพื่อให้การพูดบังเกิด
ผลอย่างแท้จริง การพูดแบบนี้ได้แก่ การโต้สวาที การอภิปราย การปาฐกถา การแสดงสุนทรพจน์ เป็นต้น
๑๓
อ้างอิง : (สบาย ไสยรินทร์ และคณะ. 2525 : 197)
สรุป : การพูด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการพูดอย่างเป็นทางการ การพูดในโอกาสทั่วๆไป และการพูด
อย่างไม่เป็นทางการ การพูดที่มแี บบแผน มักพุดในโอกาสต่างๆ

การพูดอาจแบ่งตามเกณฑ์ได้หลายแบบ เช่น แบ่งตามวิธีพูด และแบ่งตามผู้ฟังในที่นี้จะขอกล่าวถึง


การพูดที่แบ่งตามวิธีการพูด 4 ประเภท คือ
1.การพูดฉับพลัน เป็นการพูดที่ผู้พูดไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อนผู้พูดส่วนมากจะเป็นผู้ใหญ่ที่ได้รบั
เชิญให้ออกไปพูดเพื่อเป็นเกียรติในงานสังคม เช่น การกล่าวคำขอบคุณ การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ
การพูดแบบนี้ต้องมีสมาธิ และเลือกสาระสำคัญเพียงจุดเดียวมาใช้พูด
2.การพูดแบบเตรียมตัวล่วงหน้า เป็นการพูดที่ผู้พูดรู้ล่วงหน้าว่าจะพูดเรื่องอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่
และใครเป็นคนฟัง ดังนั้นผู้พูดสามารถที่จะเตรียมเนื้อหาสาระที่จะพูดและจดเค้าโครงหัวข้อใส่กระดาษแผ่น
เล็กๆไว้ประกอบการพูดให้เป็นไปตามลำดับได้การพูดแบบนี้ทำให้ผู้พูดสามารถเตรียมเรื่ องได้เหมือนสม เป็น
การพูดที่เหมาะกับผู้ที่มคี วามชำนาญในการพูด
3.การพูดแบบท่องจำ เป็นวิธีการพูดที่ผู้พูดต้องท่องจำไว้ในสมองขณะพูดต้องใช้น้ำหนักเสียงสูงต่ำ
หนักเบาให้เสมือนการพูด มิใช่ท่องจำ การพูดแบบนี้เหมาะสำหรับการแสดงละครที่มีการเตรียมบทบาทและ
บทพูดไว้แล้ว นักศึกษาที่จะเตรียมการพูดเพื่อรายงานหน้าชั้นเรียนไม่ควรใช้วิธีการพูดแบบท่องจำนี้
4.การพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ เป็นการพูดที่ผู้พูดมีการเตรียมเนื้อหาสาระร่างไว้ และนำข้อความ
นั้นไปอ่านให้เหมือนพูด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด เหมาะกับการพูดที่ใช้เฉพาะในพิ ธีการต่างๆ เช่น
การกล่าวสุนทรพจน์ ของนายกรัฐมนตรี การกล่าวเปิดงานของผู้อำนวยการโรงเรียน ฯลฯ
อ้างอิง : (ธนู ทดแทนคุณ และ กุลวดี ทดแทนคุณ. 2549 : 211)
สรุป : การพูดอาจแบ่งตามเกณฑ์ได้หลายแบบ เช่น การพูดฉับพลัน การพูดแบบเตรียมตัวล่ ว งหน้ า การพู ด
แบบท่องจำ การพูดแบบอ่านจากต้นฉบับ

ประสงค์ รายณสุข (2528,น.148-152) ได้แบ่งการพูดออกเป็นแบบต่างๆ ดังนี้


1. จำแนกตามรูปแบบ
จำแนกตามรูปแบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.1 การพูดระหว่างบุคคล เป็นการสือสารขั้นพื้นฐาน ที่ไม่ยึดหลักการพูดทีเ่ ป็นทางการ
หรือคร่งครัดนัก เพียงแต่ใช้เกณฑ์การพูดที่เกี่ยวกับกาลเทศะและบุคคลเท่านั้น เช่น การสนทนา การสัมภาษณ์
การซักถาม การพูดทางโทรศัพท์ ฯลฯ
1.2 การพูดในกลุ่ม เป็นการพูดในลักษณะแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกันของกลุ่ม
บุคคลที่มีมากว่า 2 คนขึ้นไป เพื่อจุดประสงค์ ในการางแผนทำงานร่วมกัน หรือหาทางแก้ปัญหาต่างๆ เช่น
การประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม

๑๔
1.3 การพูดในที่ประชุม เป็นการพูดในที่สาธารณะต่อหน้าผู้ฟังจำนวนมาก เป็นการสื่อสาร
ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง โดยผู้พูดต้องเตรียมตัวในการพูดมาอย่างดี ทั้งการวิเคราะห์ผู้ฟัง และการเตรียมเนื้อหา
ตลอดจนวิธีเสริมสร้างประสิทธิภาพในการพูด การพูดประเภทนี้ ไดแก่ การบรรยาย การแสดงปาฐกถา และ
การอภิปรายแบบต่างๆ
2. จำแนกตามโอกาส
จำแนกตามโอกาส แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การพูดที่เป็นทางการ เป็นการพูดต่อสาธารณชน มีลักษณะเป็บแบบแผนผู้พูดต้อง
เตรียมตัวมาอย่างดี เตรียมการพูดและฝึกพูด เพื่อให้เกิดทักษะ และเรียกความเสื่อมใสศรัทธาจากผู้ฟัง
2.2 การพูดที่ไม่เป็นทางการ เป็นการพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน มีลักษณะ เป็นกันเอง
ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ภาษาที่ใช้เป็นภาษาปาก
3. จำแนกตามวัตถุประสงค์ในการพูด
จำแนกตามวัตถุประสงค์ในการพูด แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
3.1 การพูดเพื่อให้ความรู้ เป็นการพูดในลักษณะบอกเล่า ชี้แจง แถลงข้อเท็จจริ ง แก่ ผู้ฟั ง
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้รับสาระ หรือความรู้จากการฟัง
3.2 การพูดเพื่อจูงใจและปลุกใจ เป็นการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ หรือชักนำผู้ฟังให้เชื่อคำพูด
ของผู้พูด เกิดความเสื่อมใสศรัทธาในตัวผู้พูด จนถึงกับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม และมีความคิดเห็นคล้อยตาม
3.3 การพูดเพื่อความเพลิดเพลินและจรรโลงใจ เป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังได้รับความ
เพลิดเพลิน มักเป็นเรื่องเบาสมอง ไม่ต้องใช้ความคิดมากนัก
4. จำแนกตามลักษณะการพูด
จำแนกตามลักษณะการพูด มี 4 ประเภท คือ
4.1 การพูดโดยฉับพลัน เป็นการพูดที่ผู้พูดไม่รู้ตัวล่วงหน้า มักเป็นการพูดในงานรื่นเริง
สังสรรค์ หรืออาจเป็นการแสดงความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหาบางประการ
4.2 การพูดโดยท่องจำ มีลักษณะการพูดใกล้เคียงกับการพูดโดยฉับพลัน แต่ผู้พูดรู้ตัวมา
ก่อนล่วงหน้า จึงมีโอกาสเตรียมตัวด้วยการท่องจำ
4.3 การพูดโดยอ่านจากต้นฉบับ เป็นการพูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ การพูดมัก
ใช้ในโอกาสที่เป็นพิธีกร
4.4 การพูดโดยมีการบันทึก เป็นการพูดในที่ชุมชนที่นิยมใช้มาก และได้ผลดีกว่าแบบอื่ น
ผู้พูดต้องศึกษาค้นคว้า และเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี มีการจดบันทึกข้อความสำคัญที่จะนำไปพูด เช่น สำนวน
คำคม
อัมพร แก้วสุวรรณ (2522,น.75-80) กล่าวว่า การพูดมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. การพูดโดยไม่มีการเตรียมตัว เป็นวิธีพูดไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อนมีผู้พูดจำนวนน้อยเท่านั้น ที่
สามารถพูดในวิธีนี้ได้โดยไม่เคอะเขิน ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเขาจะต้องได้รับการฝึกฝน และมีความเคยชินต่อ
การปรากฏตัวในสายตาคนมากๆ

๑๕
2. โดยมีการเตรียมตัว เป็นการพูดโดยที่ผู้พูดต้องรู้ตวั ล่วงหน้านานพอที่จะศึกษาสถานการณ์ใ นการพู ด
เนื้อเรื่อง ผู้ฟัง และองค์ประกอบในด้านอื่นๆ ซื้อผู้พูดอาจใช้วิธีต่างๆ ดังนี้
•การอ่าน หมายถึงการอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมมา ซึ่งเป็นการพูดที่ไม่เป็นธรรมชาตินอกเสียจากว่ า ผู้
พูดต้องเป็นนักอ่านที่ดี ไม่ก้มหน้าก้มตาอ่าน จนไม่ได้มองผู้ฟัง และอ่านออกเสียงในระดับเดียวตลอดเวลา
•การท่องปากเปล่า เป็นการเตรียมการพูดทีเ่ สียเวลา เพราะผู้พูดต้ องเสียเวลาในการท่องจำสิ่งทีจ่ ะพูด
ให้ได้ทั้งหมด และอาจทำให้ผู้พูดไม่มั่นใจ หรือเครียดเวลาพูด เพราะกังวลว่าจะพูดไม่ครบตามที่ทอ่ งมา และยั ง
ไม่ได้แสดงความคิดเห็นของผู้พูดในระหว่างการพูดด้วย
•การจำเพียงหัวข้อ เป็นวิธีที่ผู้พูดวางแผนการพูดว่ามีโครงร่างในการพูดอย่างไรและผู้พูดสามารถเลือก
หาถ้อยคำมาใช้ให้เหาะสมกับโอกาสได้ เพียงแต่ใช้สอดคล้องกับโครงเรื่องทีว่ างไว้
อ้างอิง : (สายใจ ทองเนียม. 2560 : 58 – 60)
สรุป : ประเภทของการพูดนั้นอาจแบ่งได้ตามรูปแบบของการพูด โอกาสในการพูดวัตถุประสงค์ในการพูด และ
ลักษณะของการพูด การพูดทุกประเภทจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ให้ผู้ฟังเกิดความรู้ ความเข้าใจ และคล้ อย
ตามสิ่งที่ผู้พูดต้องการ

การพูดอาจแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายแบบด้วยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงการพูดเพียง2 แบบ คือ


• แบบที่ 1 แบ่งตามวิธีพูดมี 4 ประเภท คือ
1) การพูดโดยฉับพลันหรือกระทันหัน (Thelmpromptuspeech)ได้แก่การพูดที่ผู้พูดไม่รู้ตัวมา
ก่อนจะต้องพูดไม่ได้มีการเตรียมตัวล่วงหน้าทั้งในด้านเนื้อเรื่องที่จะพูด แต่ก็ได้รับเชิญหรือได้ รับ มอบหมายให้
พูด เช่น การพูดกล่าวอวยพรในวันเกิด กล่าวอวยพรคู่บ่าวสาว กล่าวต้อนรับผู้มาเยือน กล่าวขอบคุณผู้มี
อุปการะสนับสนุน การพูดกะทันหันนี้ หากผู้พูดได้รับเชิญในลักษณะดังกล่าวข้อที่ควรปฏิบัติเพื่อให้การพูด
ประสบความสำเร็จ ก็ควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
- ต้องคุมสติให้มั่น อย่าประหม่าหรือตกใจตื่นเต้นจนเกินไป ทำจิตใจให้ปกติและสร้างความมั่นใจให้แก่
ตนเองด้วยการสร้างความพึงพอใจและ ความยินดีที่จะได้พูดในโอกาสเช่นนั้น
- ให้นึกถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่เรียนรู้หรือได้พบเห็นมา ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์แก่ผู้ฟังและเป็ น
เรื่องราวที่เข้ากับ บรรยากาศที่จะพูดแม้ว่าขณะนั้นจะมีเวลาโอกาสสั้นๆ ก่อนจะพูดก็ควรนึกคิ ด รวมทั้ งขณะที่
เดินจากที่นั่งไปยังที่จะพูด
- กำหนดเรื่องที่จะพูดให้ชัดเจน กำหนดเวลาพูดให้เหมาะสมกับโอกาสและงานนั้นๆอย่าพูดไปโดยไม่มีการ
กำหนดหัว เรื่องและกำหนดเวลาไว้เพราะจะมีผลให้การพูดไม่ดี คนฟังก็ เบื่อหน่าย
2) การพูดโดยการเตรียมการมาล่วงหน้า (The Extemperamous) การพูดแบบนี้เป็นการพูด ที่ผู้
พูดได้มีโอกาสเตรียมตัวมาก่อนคือ ผู้พูดรู้ว่าตนเองได้รับเชิญหรือจะต้องพูดในเรื่องอะไรบ้าง จึงต้องมีการ
เตรียมตัวล่วงหน้าเท่าทีโ่ อกาสเวลาจะอำนวยให้ ดังนั้นการเตรียมในเรื่องต่างๆ ที่จะพูดเป็นคุ ณสมบัติ สำคั ญ ที่
นักพูดจะต้องปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ

๑๖
3) การพูดโดยอาศัยอ่านจากต้นฉบับ (Thespeakingfrommanuscripts) การพูดประเภทนี้ เป็ น
การพูดตามต้นฉบับที่เขียนขึ้นซึ่งเป็นการเตรียมไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี ส่วนมากเป็นการพูดทางพิธีการต่า ง ๆ
สำคัญๆ เช่น การกล่าวเปิดงานการกล่าวรายงาน การกล่าวเปิดประชุม การกล่าวรายงานการประชุม การ
กล่าวคำปราศรัย การกล่าวคำสดุดีการกล่าวคำให้โอวาท การกล่าวต้อนรับทีเ่ ป็นพิธีการสำคัญๆ ฯลฯ การพู ด
ประเภทนี้ผู้พูดจะต้องฝึกฝนตนในเรื่องการอ่านต้นฉบับให้คล่อง การฝึกสายตาเวลาพูดการฝึกอ่านย่อหน้า
วรรคตอนและคำศัพท์ทยี่ ากตลอดทั้งสำนวนการพูดให้เหมาะสม
4) การพูดโดยวิธีท่องจำ (The memorized speaking) การพูดลักษณะนี้เป็นการพูด ที่ผู้พูด
จะต้องเตรียมตัวท่องจำเนื้อหาอย่างละเอียดจากเอกสาร ตำรา หนังสือต่างๆ อย่างแม่นยำ เช่น การท่องจำ
ตัวเลข จำสุภาษิตคำพังเพย เนื้อหาที่สำคัญๆ การพูดแบบนี้เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องใช้ความเพียรพยายาม
มากในการจดจำเนื้อหา และจะต้องมีเวลาในการเตรียมตัว เช่น การเทศน์ของพระสงฆ์ การสวดอ้อนวอน
บวงสรวงพิธีกรรมของพราหมณ์ การทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ และการทำพิธี กรรมของศาสนาต่างๆ เป็นต้น
• แบบที่ 2 แบ่งตามจำนวนผู้ฟัง มี 2 ประเภท คือ
1) การพูดรายบุคคล เป็นการพูดตัวต่อตัว ได้แก่ การพูดที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การสนทนา
การสัมภาษณ์ การเล่าเรื่อง การแนะนำตัว เป็นต้น
2) การพูดในที่ชุมนุมชน เป็นการพูดที่มีผู้ฟังเป็นจำนวนมาก เป็นการพูดที่มแี บบแผนต้องมีการเตรียม
ตัว และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ การพูดประเภทนี้ได้แก่ การบรรยาย การอภิปราย การปาฐกถา การแสดง
สุนทรพจน์ เป็นต้น
อ้างอิง : ( หลักเกณฑ์การพูด. 2554 : 5 )
สรุป : การพูดอาจแบ่งตามเกณฑ์ตา่ ง ๆ ได้หลายแบบด้วยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงการพูดเพียง 2 แบบ คื อ แบ่ ง
ตามวิธีพูด และ แบ่งตามจำนวนผู้ฟัง

การพูดอาจแบ่งตามเกณฑ์ต่าง ๆ ได้หลายแบบด้วยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงการพูด 2 ประเภท คือ


1. ประเภทการพูดที่แบ่งตามวัตถุประสงค์
2. ประเภทการพูดที่แบ่งตามวิธีการพูด
ประเภทที่ 1 การพูดที่แบ่งตามวัตถุประสงค์
1. การพูดเพื่อให้ความรู้
การพูดประเภทนี้ เป็นการพูดเพื่อให้ความรู้ เป็นการพูดอธิบาย ชี้แจง แสดงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังได้รับความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาสาระอย่างครบถ้วน ผู้พูดจึงต้องมีการเตรียมตัว
ล่วงหน้าและศึกษาค้นคว้าเรียบเรียงข้อมูลและนำเสนออย่างมีขั้นตอนเป็นลำดับ เพื่อให้ผู้ฟังฟังได้ง่ายและ
เข้าใจ หากผู้ฟังมีข้อปัญหาทีส่ งสัย ก็สามารถซักถามได้ และผู้พูดจะต้องตอบคำถาม หรืออธิบายให้จดั เจน การ
พูดในลักษณะนี้มีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การอบรม ปฐมนิเทศ บรรยายสรุป การอธิบาย การสาธิต การ
แถลงการณ์ การประกาศ รวมไปถึงการเรียนการสอนด้วย

๑๗
2. การพูดเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจ
การพูดเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อชักชวน เชิญชวน หรือเกลี้ยกล่อมให้ผู้ฟังคล้อยตามและ
ปฏิบัติตาม หรือโน้มน้าวให้ผู้ฟังยกเลิกไม่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้พูดจะต้องใส่อารมณ์ ความรู้สึกที่จริงใจ
ประกอบการพูด เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้พูดมีความเชื่อเช่นนั้น การพูดในลักษณะนี้นิยมใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น
การโฆษณาสินค้า การปลุกเร้าให้เกิดปฏิกิริยามวลชน การชักชวนให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงเลื อกตั้ ง การ
โน้มน้าวให้ใช้สินค้าไทย การเชิญชวนให้บริจาคเงินทำบุญ เป็นต้น
3. การพูดเพื่อจรรโลงใจ
การพูดเพื่อจรรโลงใจ เป็นการพูดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะอธิบาย หรือบรรยายคุณงามความดี ความประณีต
งดงาม ตลอดจนเรื่องราวบันเทิงใจ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลิน รู้สึกสบายใจ และได้รับคุณค่าด้านจิตใจ
การพูดในลักษณะนี้นิยมใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแสดงความยินดี การกล่าวสดุดียกย่องบุคคล การกล่ า วใน
งานรื่นเริง การกล่าวคำปราศรัย การให้โอวาท เป็นต้น
4. การพูดเพื่อหาคำตอบ
การพูดลักษณะนี้ เป็นการพูดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ความรู้ ความเห็นของผู้ฟังในเรื่องใดเรื่อง
หนึ่ง ผู้พูดจะต้องรู้จักการใช้ภาษาทีถ่ ูกต้อง เหมาะสม เรียบเรียงถ้อยคำแลความคิดเพื่อสื่อความหมายให้ผู้ฟั ง
เข้าใจได้ชัดเจนตรงตามที่ต้องการ การพูดเพื่อหาคำตอบนั้นนิยมใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การสอบสัมภาษณ์
การสอบถามข้อมูล และการปรึกษาปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น
ประเภทที่ 2 การพูดที่แบ่งตามวิธีพูด
1. การพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า
2. การพูดโดยอ่านต้นฉบับ
3. การพูดโดยการท่องจำเนื้อหา
4. การพูดโดยมีบันทึกหรือมีการเตรียมตัวล่วงหน้า
อ้างอิง : ( ศิริรัตน์ กลยะณี. 2558 : 6 – 9 )
สรุป : การพูดประเภทนี้ เป็นการพูดเพื่อให้ความรู้ เป็นการพูดอธิบาย ชี้แจง แสดงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องใด
เรื่องหนึ่งโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังได้รบั ความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาสาระอย่างครบถ้วน

องค์ประกอบของการพูด
องค์ประกอบของการพูด ได้แก่ ผู้พูด เนื้อเรื่องที่พูด ผู้ฟัง และโอกาส
ผู้พูด คือผู้ที่แสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับความคิด พฤติกรรมเกี่ยวกับเสียง พฤติกรรมเกี่ยวกับอากัปกิริยา
และพฤติกรรมเกี่ยวกับภาษา เพื่อถ่ายถอดไปยังผู้ฟัง จากพฤติกรรมดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่าผู้พูดจะต้องแสดง
ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึก ข้อคิดเห็นข้อเท็จจริงตลอดจนทัศนคติของตนไปสู่ผู้ฟั ง ให้ดี ที่สุด เท่ าที่
จะทำได้ การพูดถึงเป็นสิ่งที่มิใช่ของง่ายดังทีห่ ลายคนเข้าใจกัน
เนื้อเรื่องที่พูด คือเนื้อหาสาระหรือเรื่องราวที่ผู้พูดถ่ายทอดไปสู่ผู้ฟัง ผู้พูดควรจะพูดในสิ่งที่
ประกอบด้วยสาระความรู้ ข้อเท็จจริง และข้อคิดที่มีคุณค่าไม่ควรเป็นเนื้อหาที่กล่าวถึงอย่างเรื่อยเปื่อย ความ
๑๘
ถนัดและมีความรู้ในเรื่องที่พูดจะมีส่วนช่วยอย่างสำคัญให้ผู้พูดประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นการรู้จัก
ตระเตรียมตัว การรู้จักลำดับและดำเนินเรื่องอย่างมีระเบียบ เช่น มีบทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป และมีการอ้าง
ที่มาของข้อมูล จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย แจ่มแจ้งและรวดเร็ว
ผู้ฟัง คือผู้สนองตอบพฤติกรรมของผู้พูด โดยผู้พูดเป็นผู้ปฏิบัติการให้เกิดการเคลื่อนไหวไปเร้าให้มีการ
ตอบสนอง ผู้พูดจะสื่อความหมายได้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้น ถ้าหากได้เรียนรู้ผู้ฟังของตนว่าเป็นใคร มีการศึกษา
และสถานะทางสังคมระดับใด ในส่วนของผู้ฟังก็มีอยู่หลายสิ่งที่ปรารถนาจากผู้พูด เช่น ความรู้ ความบันเทิง
ความเหมาะสมกับโอกาส ความเป็นมิตร เป็นต้น
โอกาส คือเวลาและสถานที่ แม้จะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด แต่ถ้าการพูดไม่สอดคล้องกับโอกาส การ
สื่อสารด้วยวิธีนี้ก็อาจไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่เต็มความมุง่ หมายได้
อ้างอิง : ( สบาย ไสยริทร์ และคณะ. 2525 : 196-197 )
สรุป : ผู้พูดจะต้องแสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับเสียงและภาษา เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ฟังและสามารถถ่ายทอด
ความรู้สึกไปสู่ผู้ฟังได้เป็นอย่างดี

การพูดที่ดีและประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบของการพูด ดังที่สำเนียง มณีก าญจน์


สมบัติ จำปาเงิน (2538, น. 5) และนภดล จันทร์เพ็ญ (2539, น. 56) กล่าวว่า การพูดให้ประสบ
ความสำเร็จมีองค์ประกอบ 5 ประการดังนี้
1. ผู้พูดจะต้องรู้จักใช้ภาษา เสียง อากัปกิริยาท่าทาง และบุคคลิกภาพของตนอย่างมี
ประสิทธิภาพ เพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ข้อคิดเห็น ข้อเท็จจริง ตลอดจนทัศนคติของตนไปสู่ผู้ฟังให้ดีที่สุด
นอกจากนี้ผู้พูดจะต้องรู้จักเก็บสะสมความคิด ความอ่าน ที่มีคุณค่ามีประโยชน์นำมารวบรวมตระเตรียมให้เป็ น
ระเบียบ เพื่อที่จะถ่ายทอดให้ผู้ฟังทราบ เข้าใจง่าย ชัดเจนแจ่มแจ้ง และรวดเร็ว
2. สาระหรือเนื้อเรื่องที่พูด ผู้พูดที่ดีต้องรู้จักเลือกพูดในเรื่อง หรือหัวข้อที่ตนถนัด และมี
ประสบการณ์ มีความรูใ้ นด้านนั้นอย่างละเอียดลึกซึ้งจริงๆ ควรมีการเตรียมเนื้อหา ลำดับเรื่องราว ดำเนิ นการ
พูดถูกต้องตามหลักเกณฑ์
3. ผู้ฟัง การสื่อความหมายเป็นกระบวนการติดต่อทางสังคมที่มผี ู้พูดเป็นผู้ให้ และผู้ ฟั ง เป็ นผู้ รั บ
ผู้พูดจะสื่อความหมายได้ตรงเป้าหมายทีต่ ั้งไว้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่ที่ผู้พูดรู้จักผู้ฟังของตนเองว่า เป็นใคร มีการศึกษา
และสถานะทางสังคมระดับใด
4. เครื่องมือในการสื่อความหมาย เครื่องมือในที่นี้ หมายถึงสิ่งที่ช่วยถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
ของผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง เช่น เสียง สีหน้า ท่าทาง รวมถึงเครื่องโสตทัศนูปกรณ์อื่นๆด้วย
5. ความมุ่งหมายหรือผลที่เกิดจากการพูด ผลของการพูดจะครบตามจุดมุ่งหมายของผู้พูดหรือไม่นั้นดู
ได้จากการแสดงออกของผู้ฟัง ผู้ฟังอาจแสดงออกด้วยการหัวเราะยิ้ม ฯลฯ
อ้างอิง : ( สายใจ ทองเนียม. 2560 : 61-62 )
สรุป : ผู้พูดจะต้องมีบุคลิกภาพที่ดีเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกไปสู่ผู้ฟัง และต้องรู้จักเก็บสะสมความคิดที่มี
ประโยชน์นำมาถ่ายทอดให้ผู้ฟังทราบ และเข้าใจง่ายขึ้น

๑๙
การพูด เป็นการสื่อความหมายระหว่างคนกับคน โดยการใช้คำพูด นอกจากการใช้คำพูดแล้วยังต้องใช้
กิริยาท่าทาง สีหน้า ดวงตา และการเคลื่อนไหวทางร่างกาย เป็นสิ่งช่วยเสริมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การพูดยังเป็น
กระบวนการต่อเนื่อง มีผู้ส่งสาร(ผู้พูด) มีผู้รับ(ผู้ฟัง) เครื่องมือในการสื่อสารและพฤติกรรมผูกพันเชื่อมโยงกัน
ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งการสื่อสารก็ไม่เกิดขึ้น องค์ประกอบทีส่ ำคัญของการพูดมีดงั นี้ คือ
1. ผู้พูด ผู้พูดต้องถามตัวเองทุกครั้งว่าจะพูดกับใคร จะบอกอะไร เพื่อจุดมุ่งหมายอะไรแล้วจะพูด
อย่างไรที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจตรงตามทีเ่ ราต้องการในเวลาอันรวดเร็วได้
ผู้พูดจึงต้องมีบุคลิดภาพดีมีกลวิธี มีศิลปะในการพูด การใช้ภาษาและท่าทางเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก
ความคิดเห็น และความต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจได้ตรงตามเป้าประสงค์ และให้ผู้ฟังฟังอย่างตั้งใจ ตั้งแต่ต้นจนจบ
อย่างสนุกสนานเพลิดเพลินไม่ใช่เป็นการฝืนใจฟัง
2. ผู้ฟัง ผู้ฟังเป็นผู้รับสารหรือเรื่องราวที่ผู้พูดส่งมา ผู้ฟังต้องมีความพร้อมในการฟัง มีความสนใจ มี
สมาธิ คอยติดตาม แปลสารที่ได้รับเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันตามทีผ่ ู้พูดต้องการ ส่วนจะเห็นด้วย คล้ อย
ตามและปฏิบัติตามหรือไม่ก็เกิดขึ้นอยู่กับวิจารณญานของผู้ฟังแต่ละคน
3. สื่อ หรือเครื่องมือ หรือช่องทางในการสื่อสาร หรือเป็นสิ่งที่ผู้พูดใช้สำหรับส่งสารหรือเรื่องราวไปยัง
ผู้ฟังโดยผ่านทางการดู การฟัง การดมกลิ่น การสัมผัส การชิมรส เครื่องมือหรือสื่อเหล่านี้อาจจะประกอบด้ ว ย
วัตถุจริง(แบบจำลอง)สิ่งพิมพ์เสียง และโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ สื่อที่ดีจะต้องนำสารหรือเรื่องราวจากผู้พูดไปยัง
ผู้ฟังได้อย่างชัดเจน
ถูกต้อง ง่าย และรวดเร็ว
4. สารหรือเรื่องราว หรือสิ่งที่ผู้พูดจะบอกแก่ผู้ฟังขณะที่ผู้ส่ง (สาร) ผ่าน (สื่อ)ออกไปสารหรือ
เรื่องราว หรือสิ่งที่ผู้พูดจะบอกแก่ผู้ฟังนั้นจะเกาะติดไปกับสื่อด้วย การพูดที่ดีนั้นผู้พูดจะต้องพูดให้มีสาระ เรื่อง
นั้นเกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง เนื้อถ้อยกระทงความสั้น กระชับสลับซับซ้อนหรือสับสน การพูดทุกครั้ง
ต้องมีจุดมุ่งหมาย และหลักจากการพูดจะมีผลการพูดเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือดีหรือไม่ดี ผู้พูด
เปรียบเสมือนสิ่งเร้า ไปเร้าหรือยั่วยุผู้ฟังด้วยคำพูด ผู้ฟังจะมีการแสดงออกตอบสนองการกระทำของผู้พูด ผู้พูด
อาจรู้ผลที่เกิดจากการพูดของตนได้ทันที โดยการสังเกตอาการแสดงออกของผู้ฟัง เช่น การขมวดคิ้ว การมอง
เหม่อ การพยักหน้าการหัวเราะ หรือการปรบมือ เป็นต้น ย่อมเป็นเครื่องบ่งบอกความรู้สึกของผู้ฟัง ที่มีตอ่ ผู้พูด
อ้างอิง : (จิระภพ สุคันธ์กาญจน์ และคณะ. 2521 : 204-205)
สรุป : การพูดที่ดีผู้พูดจะต้องพูดให้มีสาระและเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง การพูดทุกครั้งต้องมีจุดมุ่งหมายและ
หลักการพูด

การพูดมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. ผู้พูด เป็นผู้ที่ต้องแสดงความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิดไปสู่ผู้ฟังให้ดี ที่สุด ผู้ พู ด ต้ อง
รู้จักใช้ภาษา น้ำเสียง สีหน้าท่าทางอย่างเหมาะสม ตลอดจนใช้อุปกรณ์ต่างๆ ประกอบ เพื่อให้การพูดบรรลุ
จุดมุ่งหมาย

๒๐
2. สาระหรือเนื้อหาเรื่องที่พูด เนื้อเรื่องต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน มีประโยชน์ เป็นไปในทาง
สร้างสรรค์ ผู้พูดควรเลือกเรื่องที่ตนถนัดและมีความรู้จริงๆ
3. ผู้ฟัง เป็นผู้รับสารที่ผู้พูดถ่ายทอดมาให้ ผู้ฟังต้องสามารถฟังถ้อยคำต่างๆได้เข้าใจ มีสมาธิ และ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้พูดซึ่งอาจแตกต่างกับความคิดของตนผู้ฟังอาจแสดงปฏิกิริยาให้ผู้พูดทราบด้วย
การพยักหน้า ปรบมือ ยิ้ม หัวเราะก้มหน้า ขมวดคิ้ว เป็นต้น ผู้พูดก็จะทราบได้ว่าผลของการพูดตรงกับความมุง่
หมายหรือไม่
อ้างอิง : (จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. 2540 : 123)
สรุป: ผู้พูดจะต้องถ่ายทอดความรูไ้ ปสู่ผู้ฟัง ผู้พูดต้องรู้จักใช้น้ำเสียงและภาษาในการพูดได้เหมาะสม เพื่ อให้
การพูดนั้นถึงจุดมุ่งหมาย

สัมฤทธิผลทางการพูดจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยองค์ประกอบที่มีความเหมาะสมสอดคล้องและ
สัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบสำคัญของการพูดมีอยู่ 4 ประการ ดังนี้
1. ผู้พูด คือ ผู้ที่ต้องการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก แลพความต้องการของตนไปให้ผู้อื่น
ได้รับรู้ ผู้พูดนั้นจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมทีจ่ ะพูด มีความรูใ้ นหัวข้อเรื่องพูดนั้นๆ มีการวิเคราะห์ผู้ฟัง รู้จัก
ใช้ภาษา น้ำเสียง กิริยาท่าทาง ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ประกอบได้เหมาะสม กลมกลืน สอดคล้องกับ
เนื้อหาที่พูด และจะต้องรู้จักสังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟังเพื่อปรับกระบวนการพูดให้เข้าถึงผู้ฟัง อันจะทำให้การพูด
นั้นบรรลุวัตถุประสงค์
2. ผู้ฟัง คือ ผู้รับเนื้อหาสาระจากผู้พูด อาจเป็นบุคคลเดียวกันหรือหลายคนก็ได้ผู้ฟังนั้นจะสามารถรับ
สารได้ตรงตามเจตนาของผู้พูดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยจากตัวผู้พูด ระดับความยาก
ง่ายของเนื้อหาที่ได้รับฟัง ปัจจัยจากตัวผู้ฟัง ได้แก่ ความสนใจ ความพร้อม พื้นฐานความรู้ เดิ ม ประสบการณ์
และทักษะการฟังของผู้ฟัง ผู้พูดที่ดีจึงควรมีการ วิเคราะห์ผู้ฟัง เพื่อจะได้เตรียมเนื้อหา วิ ธีการนำเสนอให้
สัมพันธ์กับผู้ฟัง
3. สาร คือ เน้อหาสาระหรือเรื่องที่พูด สารที่ดีต้องมีความถูกต้องชัดเจน มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ มี
ความยากง่ายเหมาะสมกับระดับของผู้ฟัง เป็นเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจ ให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง และควรเป็ น
เรื่องที่ผู้พูดมีความถนัด มีความรอบรู้ การเตรียมความพร้อมในเนื้อหาสาระเป็นอย่างดีจะช่วยให้ผู้พูดเกิดความ
มั่นใจ ส่งผลให้การพูดนั้นมีประสิทธิภาพ
4.สื่อ คือสิ่งที่ช่วยถ่ายทอดความรู้ความคิดของผู้พูดไปยังผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาสาระ ได้แก่
คำพูดหรือภาษา สีหน้า ท่าทาง โสตทัศนูปกรณ์ เป็นต้น ในการเลือกใช้สื่อนี้ผู้พูดต้องพิจารณาใช้ ให้ เหมาะสม
กับเนื้อหาและผู้ฟัง
อ้างอิง : (ศิริรัตน์ กลยะณี. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพูด. 2554 : 1 )
สรุป: สิ่งที่ถ่ายทอดความรู้ความคิดของผู้พูดไปยังผู้ฟังเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาที่พูดไป ผู้พูดควรที่จะเลือก
ภาษา สีหน้า ท่าทาง ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้ฟัง

๒๑
องค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารด้วยการพูด ประกอบด้วย
1. ผู้พูด คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อไปยังผู้ฟัง โดยอาศัยเสียงและภาษา
2. สื่อ คือ สิ่งนำสารไปยังผู้ฟัง ได้แก่ อากาศ โสตประสาทของมนุษย์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3. สาร คือ ภาพ ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ที่สมองแปลงและส่งออกมาในรูปของเสียง และเป็น
ภาษาที่มีความหมายเพื่อการสื่อสารต่อไป
4. ผู้ฟัง เป็นผู้รับสารจากผู้พูดโดยอาศัยเสียงและภาษา
5. ปฏิกิริยาจากผู้ฟัง คือ การตอบสนองจากผู้ฟังไปยังผู้พูดเมื่อรับสารและแปลสารเป็นภาษาเดียวกัน
อาจแสดงออกได้ทั้ง วัจนภาษา และ อวัจนภาษา
อ้างอิง : (ธนู ทดแทนคุณ และกุลวดี ทดแดนคุณ.2549 : 210)
สรุป : ผู้พูดเป็นผู้ที่ทำหน้าทีส่ ่งสารผ่านสื่อไปยังผู้ฟัง โดยการอาศัยเสียงและภาษา การตอบสนองจากผู้ฟังไป
ยังผู้พูดเมื่อรับสาร

การพูดโดยทั่วไปมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. ผู้พูด (Speaker) ทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อไปให้ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถใน
การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดไปสู่ผู้ฟังได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งผู้พูดจะสามารถทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้มากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ภาษา เสียง กิริยาท่าทางเจตคติตอ่ ผู้ฟัง และระดับความรู้ในเรื่องที่จะพูด
2. สาร (Message) เป็นเนื้อหาที่ผู้พูดส่งไปยังผู้ฟัง ซึ่งจะต้องมีคุณค่าและคุม้ ค่าแก่การเสี ย เวลาของ
ผู้ฟังตลอดจนสารที่ผู้พูดส่งไปนั้นจะต้องมีการคัดเลือกจัดลำดับขั้นตอน และมีการฝึกฝนของผู้พูดมาเป็นอย่างดี
3. ช่องทางในการสื่อสาร (Communica-tion) เป็นสิ่งที่นำสารไปสู่ผู้ฟัง ได้แก่ เวลา สถานที่
สภาพแวดล้อมและประสาทสัมผัสทั้ง 5 รวมทั้งสื่อ อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ภาพยนตร์
อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
4. ผู้ฟัง (Audience) ทำหน้าที่รับสารของผู้พูดโดยอาศัยสื่อเป็นเครื่องนำสารไปสู่ผู้ฟังก่อนการพู ด ผู้
พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟัง เช่น อายุ เพศ อาชีพ ศาสนา ความเชื่อทัศนคติ ภูมิหลังหรือสถานะทางสังคม โดยผู้ฟัง
จะสามารถรับสารได้ตรงกับเจตนาของผู้พูดมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทักษะความพร้อม ความสนใจ พื้นความรู้
วัฒนธรรม และเจตคติของผู้ฟัง
5. ปฏิกิริยาจากผู้ฟัง (Feedback) ขณะที่ผู้ฟังรับสารและแปลสารจะเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบเช่นเมื่อ
พูดถูกใจหรือเป็นที่พอใจจะมีการฝังมุกศีรษะ ปรบมือ หัวเราะ ยิ้มและแสดงให้เห็นถึงการชื่นชมพร้อมกับตั้ง ใจ
ฟังและเมื่อพูดไม่ถูกใจจะมีการและส่งเสียงหรือแสดงท่าทางให้เห็นถึงความไม่ชอบใจและขัดแย้งต่อผู้พูด
อ้างอิง : (อรณิชา กอบกำ.องค์ประกอบของการพูด. 2561 : 2 )
สรุป : การที่ผู้พูดส่งสารไปยังผู้ฟัง พูดจึงต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรูส้ ึกนึกคิดไปสู่ ผู้ฟั ง
ขณะที่ผู้ฟังรับสารและตอบโต้เมื่อพูดถูกใจหรือไม่พอใจจะมือการปรบมือ หัวเราะ

๒๒
การพูด เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นอย่างเป็นกระบวนการ (Process) ที่ต่อเนื่อง กล่าวคือ เป็น
กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือระหว่างบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์
สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกันได้ ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้
- ผู้พูด หรือ ผู้ส่งสาร (Sender/Encoder) ได้แก่ ผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความคิดไปสู่ ผู้ฟั ง ผู้
พูดต้องรู้จักใช้ภาษา น้ำเสียง หน้าท่าทางอย่างเหมาะสม ตลอดจนใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบเพื่อให้การพูด
บรรลุจุดมุ่งหมาย บางครัง้ ผู้พูดก็หมายถึงกลุ่มบุคคลได้เช่นกัน
- ผู้ฟัง หรือ ผู้รับสาร (Receiver/Recipient /Decoder) ได้แก่ ผู้ที่เป็นเป้าหมายที่ผู้พูดต้องการ
จะสื่อสารไปถึง หรือผู้ฟังดังนั้น การที่ผู้ฟังจะเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อสารมากเพียงใดขึ้นอยู่กับระดับ
ความรู้ การตอบสนองต่อสาร เช่น การพยักหน้า ปรบมือ ยิ้ม หัวเราะ ก้มหน้า ขมวดคิ้ว ฯลฯ และความ
น่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร
- สาร/หรือเนื้อหาที่พดู (Massage) ได้แก่ เนื้อหาที่ผู้พูดต้องการจะสื่อสาร เป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ฟั ง ได้
ตอบสนองกลับไปยังผู้พูด ดังนั้น ในกระบวนการสื่อสาร เนื้อหาสาระต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน มีประโยชน์
เป็นไปในทางสร้างสรรค์
- สื่อ/ช่องทางติดต่อ (Media/Medium/Channel) หมายถึง ช่องทางที่ผู้พูดใช้ส่งสารไปยังผู้รับ
สารหรือผู้ฟัง ซึ่งผู้พูดต้องรู้จักเลือกช่องทางที่จะสื่อสารเนื้อหาไปยังผู้ฟังให้เหมาะสม และผู้พูดจะเลือกทางใด
เพื่อสื่อสารก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสารที่จะส่งด้วยเช่นกัน
- การตอบสนอง (Feedback/response) ได้แก่ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากทีผ่ ู้ฟังได้ยินสารที่ถูกส่ ง
มา แล้วตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งสารหรือผู้พูด อาจเป็นการตอบสนองด้วยวาจา หรือภาษากายก็ได้ และการ
ตอบสนองอาจเป็นได้ทั้งทางบวก เช่น หัวเราะ ปรบมือ ยิ้ม เป็นต้น และทางลบ เช่น ส่ายหน้า ไม่สนใจ ขมวด
คิ้ว เป็นต้น
อ้างอิง : (อรอุมา บุตรมิมุสา. องค์ประกอบของการพูด. 2555 : 1 )
สรุป : การพูดเป็นการบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล หรือบุคคลต่อกลุ่มโดยการ
ใช้พฤติกรรม หรือสัญลักษณ์ที่เข้าใจกันได้

การเตรียมตัวในการพูด
การเตรียมตัวในการพูดเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ถึง
ความสำเร็จในการพูดที่เด่นชัด การเตรียมตัวในการพูดมีดงั ต่อไปนี้
1. การวิเคราะห์ผู้ฟัง ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ฟัง ผู้พูดจะต้องรู้จักผู้ฟังดีพอสมควรทั้งนี้เพื่อที่จะได้
เตรียมการพูดให้เหมาะสม การรู้จักผู้ฟังหมายถึงการรู้เกี่ยวกับลักษณะหรือองค์ประกอบของผู้ฟังนั่นเอง
ลักษณะของผู้ฟังที่ผู้พูดจะต้องพิจารณาคือ อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพและความสนใจจำนวนผู้ฟัง
ทัศนคติที่มีต่อเรื่องที่จะพูด และทัศนคติที่มีต่อคนพูด ลักษระดังกล่าวนี้ ผู้พูดต้องรู้จักสังเกตและพยายามทำ
ความเข้าใจให้มากทีส่ ุด เพื่อจะได้เตรียมเรื่องทีจ่ ะพูด การใช้ถ้อยคำการเสนอความคิด และเนื้ อหาสาระต่ างๆ
ได้เหมาะสม
๒๓
2. การพิจารณาโอกาสที่จะพูด การเตรียมตัวในการพูดจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย กล่าวคือ
จะต้องพิจารณาให้รู้ว่า การพูดครั้งนั้นๆ มีความมุ่งหมายประการใด เพื่อความรู้หรือเพื่อความบันเทิง หรื อเป็ น
การให้ข้อคิด หรือเพื่อชักจูงใจ ตัวอย่างเช่น การพูดในงานมงคลสมรส ควรพูดในทำนองให้ข้อคิ ด ไม่ ใ ช่ ใ ห้เกิ ด
ความสลดหดหู่ใจ เป็นต้น นอกจากนี้ควรจะพิจารณาด้วยว่า เป็นการพูดคนเดียวหรือหลายคน เพื่อที่จะได้
ตระเตรียมตัวให้เหมาะสม เช่น ถ้าพูดหลายคนก็ควรทราบว่าเป็นประธานหรือตัวประกอบ แม้ กระทั่ ง การพู ด
เป็นคนที่เท่าไรก็ควรทราบเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำหน้าที่ได้ถูกต้ องนั่นเอง ส่วนในเรื่องของเวลาที่
กำหนดให้ก็ควรจะต้องนำมาพิจารณาด้วย หลักสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ การพูดทุกครั้งควรพอดีกับเวลาที่
กำหนด ไม่จบก่อนเวลาหรือเลยเวลาจนมากเกินไป
3. การพิจารณาแบบของการพูด แบบของการพูดเป็นสิ่งที่ผู้พูดจะต้องนำมาพิจารณาในการพูด
ด้วย คือจะต้องรู้ว่าการพูดแบบใดเหมาะสมในโอกาสใดและควรเตรียมตัวอย่างไร เท่าที่ปฏิบัตโิ ดยทั่ว ไป แบบ
ของการพูดมี 4 แบบ คือ พูดโดยอ่านจากร่างที่เตรียมไว้ พูดโดยท่องจำจากร่าง พูดไปคิดไปจากความทรงจำที่
เตรียมไว้ และพูดโดยไม่ได้เตรียมตัว แบบการพูดทั้ง 4 แบบนี้ผู้พูดที่ ฉลาดมักจะใช้แบบการพูดไปคิดไปจาก
ความทรงจำทีเ่ ตรียมไว้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าเป็นแบบการพูดที่แสดงถึงความมีปฏิภาณ ไหวพริ บ ความรอบรู้
และความสามารถในการประสานเรื่องราว แต่อย่างไรก็ตามผู้พูดแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน แบบใดแบบ
หนึ่งจะเหมาะกับใครย่อมขึ้นอยู่กับตัวผู้พูดและโอกาสที่พูดเป็นสำคัญ
4. การเตรียมเรื่องที่จะพูด การเตรียมเรื่องหมายถึง การเลือกเรื่อง การวางโครงเรื่อง และการ
จัดระเบียบเนื้อเรื่องนั่นเอง
ในการเลือกเรื่องที่จะพูดนั้นมีหลักเกณฑ์ที่ควรพิจารณา คือ เลือกเรื่องที่มีความรู้ดีอยู่แล้ว เลือกเรื่องที่
ผูพ้ ูดสนใจ และเลือกเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ
ส่วนการวางโครงเรื่องมีข้อควรพิจารณากว้างๆคือ โครงเรื่องต้องสอดคล้องต่อเนื่องกัน โครงเรื่อง
ครอบคลุมเรื่องที่พูดทั้งหมด แต่ละเรื่องควรประกอบด้วยคำนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป และโครงเรื่องควร
ประกอบด้วยหัวข้อใหญ่เพียง 4-5 หัวข้อก็พอ เพราะหากมีมากเกินไปจะทำให้คนฟังสับสน
สำหรับการจัดระเบียบเนื้อเรื่อง ซึ่งหมายถึงการเตรียมคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป ผู้พูดจะต้องกำหนด
ขอบเขต แบ่งสัดส่วนการพูดให้พอเหมาะ การที่จะเตรียมอะไรก่อนหลังนั้นแล้วแต่ความถนัดของผู้พูด แต่
โดยทั่วไปแล้วเตรียมคำนำก่อนแล้วจึงเตรียมเนื้อเรื่องและบทสรุปทีหลัง อาจจะมีบางคนเตรียมเนื้อเรื่องก่อน
แล้วค่อยเตรียมคำนำและบทสรุปทีหลังก็มี ในส่วนของคำนำสิ่งที่จำเป็นที่ขาดเสียไม่ได้คือ ต้องเร้ า ความสนใจ
หรือสร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังเกิดความสนใจเพื่อที่จะได้กระตือรือร้นฟังต่อไปจนจบเรื่อง คำนำจึงควรรวบรัด
ตรงประเด็นและใช้ถ้อยคำเร้าอารมณ์ ส่วนเนื้อเรื่องควรจะประกอบด้วยลักษณะดังนี้คือ ไม่ยากหรือง่าย
จนเกินไป เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง มีจุดประสงค์ที่แน่นอน และแสดงให้เห็นถึงสติปัญญาของผู้พูด การจัด
ระเบียบเนื้อเรื่องอาจจะจัดตามลำดับเวลาหรือแบบลำดับสถานที่หรือภูมิศาสตร์ก็ได้ สิ่งที่ต้องคำนึงอยู่เสมอคื อ
ประเภทเดียวกันควรอยู่ในหมู่พวกเดียวกัน และหัวข้อที่มีน้ำหนักมากที่สุดควรวางไว้ตอนต้นและตอนท้ าย แต่
ถ้าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก สลับซับซ้อนควรเริ่มจากหัวข้อที่ง่ายไปสู่หัวข้อที่ยากที่สุด และถ้าเป็นการพูดเชิง
อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติโดยมีขั้นตอนควรจะรักษาขั้นตอนไว้ให้รดั กุม สำหรับบทสรุปซึ่งเป็นส่วนที่สิ้นสุดการ

๒๔
พูดนั้นผู้พูดจะต้องคำนึงให้มาก เพราะมีความสำคัญมาก ดูเหมือนว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าคำนำเสียอีก การ
เตรียมบทสรุปจะต้องไม่ยาวจนเกินไป ควรย้ำจุดสำคัญหรือจุดเด่ นของเรื่องให้เด่นชัด ควรใช้ถ้อยคำที่
สละสลวย ถ้าสรุปได้เป็นข้อๆ โดยจำแนกหัวข้อสำคัญได้จะช่วยย้ำความเข้าใจให้แก่ผู้ฟังได้มากขึ้น สิ่งที่ควรละ
เว้นในการกล่าวสรุปคือ ไม่ขอโทษผู้ฟังและไม่สรุปนอกเรื่อง
อ้างอิง : (สบาย ไสยริทร์ และคณะ.2525 : 198-200)
สรุป : ควรย้ำจุดสำคัญหรือจุดเด่นของเรื่องให้เด่นชัด ควรใช้ถ้อยคำที่สละสลวย ถ้าสรุปได้เป็นข้อๆ โดย
จำแนกหัวข้อสำคัญได้จะช่วยย้ำความเข้าใจให้แก่ผู้ฟังได้มากขึ้น และไม่พูดนอกเรื่อง

การเตรียมการการพูดจะต้องเตรียมการในเรื่องต่างๆ ดังนี้
การวิเคราะห์ผู้ฟัง เป็นการพิจารณาภาพรวมของกลุ่มผู้ฟังในด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการ
เตรียมการพูดให้เหมาะสมกับผู้ฟัง เช่น เพศ วัย อาชีพ ระดับการศึกษา จำนวนคน หากเป็นวัยรุก็ควรเลือก
เรื่องและยกตัวอย่างเรื่องที่วัยรุ่นสนใจ เช่น การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ วัยรุ่นชายอาจสนใจกีฬาฟุตบอล
วัยรุ่นหญิงอาจสนใจความสวยความงาม ผู้สูงอายุมักสนใจเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
การเตรียมเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย 2 ข้อ ดังนี้
1.) การเลือกเรื่อง ควรเลือกเรื่องที่น่าสนใจ และเป็นเรื่องที่สามารถหาข้อมูลมาสนับสนุนได้ หรือ
สามารถรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาประกอบ เพื่อประกอบให้เรื่องน่าสนใจทันสมัยมากขึ้น และที่
สำคัญผู้พูดควรมีความรูแ้ ละความถนัด ความสนใจในเรื่องนั้นๆด้วย
2.) การเรียบเรียงเนื้อหาสาระ หรือการจัดเรื่อง แบ่งเป็นส่วนๆ ดังนี้
ก. คำปฏิสันถาร หรือคำทักทายผู้ฟัง หากการพูดครั้งนั้นเป็นพิธีการ เช่น พิธีเปิดสัมมนา
คำปฏิสันถารจะกล่าวไม่เกิน 3 กลุ่ม ไม่นิยมกล่าวคำว่าสวัสดีขึ้นต้น และไม่นิยมกล่าวคำแสดงความรู้สึก เช่น
ที่รัก ที่เคารพ นิยมเรียกเฉพาะตำแหน่งเท่านั้น เช่น
‘ท่านอธิการบดี คณาจารย์และนักศึกษา’
‘ท่านประธานและท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย’
‘นมัสการพระคุณเจ้า ผู้อำนวยการ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน’
การพูดที่ไม่เป็นพิธีการ ผู้พูดควรดูกาลเทศะ เช่น คำปราศรัยของนักการเมือง การประชุม คำ
ปฏิสันถารต้องสั้นสุภาพ นิยมกล่าวคำแสดงความรู้สึกเพื่อแสดงความเป็นกันเองไว้ด้วย เช่น ‘สวัสดีพ่อแม่พี่
น้องชาวไทยที่รักทั้งหลาย’ ‘ท่านอาจารย์ พี่ๆที่เคารพและเพื่อนๆน้องๆที่รัก’
ข. คำนำ เป็นการเกริ่นหรือการกล่าวนำเข้าสู่เรื่อง เป็นการเร้าอารมณ์ชวนให้ผู้ฟังอยาก
ติดตาม เช่น การขึ้นต้นด้วยคำถาม คำคม บทกวี การขึ้นต้นแบบพาดหัวข่าวอย่างสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
หลีกเลี่ยงการขออภัย ออกตัว ถ่อมตัว
ค. เนื้อเรื่อง เน้นส่วนที่สำคัญที่สุดการเสนอสารสำคัญ เปรียบได้กับหัวใจของการพูด ผู้พูด
ต้องลำดับเรื่องให้เป็นไปตามลำดับ เช่น เรียงตามเวลา เรียงตามเหตุและผล เเละขยายความเรื่องให้ผู้ฟังเข้ า ใจ
ง่ายและชัดเจน

๒๕
ง. สรุป การสรุปเรื่องควรจะสั้นมีน้ำหนัก น่าจดจำ เป็นการทำให้ผู้ฟังเกิดการประทับใจ อาจ
ใช้คติพจน์ คำคม ข้อความขำขัน เป็นต้น
จ. คำลงท้ายและการกล่าวคำอำลา ไม่ควรลงท้ายอย่างไร้สาระ เช่น ‘ผมก็ไม่รู้จะพูดอะไร
แล้ว ผมขอจบเพียงเท่านี้’ หรือ ลงท้ายที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกไม่ดี เช่น ‘ดิฉันหวังว่าเมื่อท่านได้ฟังเรื่องที่ดฉิ ันเล่ามานี้
ท่านคงจะฉลาดขึ้นนะคะ’
การกล่าวคำอำลาโดยทั่วไปมักใช้คำว่า สวัสดี แต่หากเป็นการกล่าวโอวาท คำอวยพร คำปราศรัยไม่
ต้องลงท้ายว่าสวัสดีหรือขอบคุณ
การเตรียมตัวผู้พูด การเตรียมตัวผู้พูดมีความสำคัญและมีหลักสำคัญหลายอย่าง เช่น
1.) การสร้างความเชื่อมั่น ไม่หวั่นไหว
2.) การใส่ใจความรูส้ ึกผู้ฟัง
3.) การฝึกฝนซักซ้อม การใช้น้ำเสียง บุคลิกลักษณะ เช่น การทรงตัวการยืน การเดิน การใช้สายตา
การแสดงออกทางสีหน้าและการแสดงกิริยาท่าทางประกอบการพูดต่างๆ
4.) การเตรียมเครื่องแต่งกายให้เหมาะสม
อ้างอิง : (ธนู ทดแทนคุณ และกุลวดี ทดแดนคุณ.2549 : 212-214)
สรุป : การเลือกเรื่อง ควรเลือกเรื่องที่น่าสนใจ และเป็นเรื่องที่สามารถหาข้อมูลมาสนับสนุนได้ หรือสามารถ
รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาประกอบ เพื่อประกอบให้เรื่องน่าสนใจทันสมัยมากขึ้น
การจะทำงานใดๆต้องมีการเตรียมตัว มีการจัดทำโครงการ วางแผนดำเนินการ และประเมินผล
เพือ่ ให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด ตรงตามเป้าหมายมากที่สุด และสนองความต้องการของผู้รับมากที่สุด การพูดก็
เช่นเดียวกัน ต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี การเตรียมตัวของผู้พูด จำแนกเป็น 2 ส่วน คือการเตรียมตัวของผู้
พูดและการเตรียมเรื่อง
1. การเตรียมตัวของผู้พูด ทุกครั้งที่ได้รบั เชิญหรือได้รับมอบหมายให้พูด ผู้พูดต้องเตรียมการพูดให้ ดี
โดยมีหลักดังนี้
1.1 หลักแห่งการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองมีวิธีการ
ต่างๆ ดังนี้
1.1.1 การเลือกเรื่อง เลือกเรื่องที่ผู้พูดสนใจ และผู้ฟังก็สนใจเช่นเดียวกันทั้งนี้ผู้พูด
ต้องอาศัยการคาดการณ์โดยอาศัยวาระโอกาส เหตุการณ์แวดล้อมในช่วงเวลานั้นว่าผู้ฟังโดยภาพรวม กำลัง
สนใจเรื่องอะไรเรื่องแนวใดและผู้พูดก็สนใจเรื่องดังกล่าวด้วย เมื่อทั้งสองฝ่ายสนใจร่วมกัน ย่อมเป็นหนทางทำ
ให้การพูดประสบความสำเร็จได้โดยสะดวก
1.1.2 ปฏิภานการดำเนินเรื่อง การที่ผู้พูดพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ลื่นไหลอย่าง
สนุกสนาน ได้สาระความรู้เป็นอย่างดี ต้องอาศัยปฏิภานการดำเนินเรื่องที่ดี ที่ชัดเจนคือ เข้าใจเนื้อเรื่องอย่าง
ละเอียดและเรียนรู้วิธีจัดลำดับเนื้อเรื่องตามความสำคัญมากน้อย ที่สำคัญผู้พูดต้องรู้และมั่นใจว่าจะพูดเรื่อง
อะไร พูดให้ใครฟังและพูดเพื่ออะไร ข้อมูลเหล่านี้เปรียบได้กับป้ายบอกทางที่จะนำเราไปสู่จุดมุ่งหมายได้อย่ า ง
ง่ายดายและปลอดภัย

๒๖
2.การสร้างความต้องการทีจ่ ะพูด การพูดที่จะประสบความสำเร็จ ผู้พูดต้องสร้างความต้องการที่ จ ะ
พูดให้ได้ก่อน เพราะธรรมชาติกำหนดให้มนุษย์ทุกคนให้การพูดเป็นเครื่องมือสื่อสาร ดังนั้นนักพูดต้องเป็นผู้มี
ความตั้งใจแน่วแน่ มีกำบังใจหนักแน่นที่จะต้องสร้างความปรารถอย่างแรงกล้าที่จะพูดให้ได้ เพื่ อเพิ่ ม พลั ง การ
พูด วิธีสร้างความต้องการในการพูดมีดังนี้
2.1 สร้างจิตวิญญาณการพูด การพูดเป็นการนำพลัง นำจิตวิญญาณของผู้พูดไปแสดง ไป
สื่อและบอกเล่าเรื่องราว เหตุการณ์สู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดต้องใส่ความรู้สึก ใส่ชีวิต ใส่ความสนใจ ความตั้งใจลงใน
คำพูด ในเนื้อหา ลีลาท่าทางและน้ำเสียง เพื่อปลุกผู้ฟังให้สนใจตลอดเวลา และเห็นความต้องการของผู้พูดว่า
เป็นผู้มีความตั้งใจจริงใรการพูดครั้งนั้นๆ
2.2 มีความจริงใจ นักพูดที่ดีตอ้ งมีความจริงใจต่อตนเองและผู้ฟัง จริงใจต่อตนเอง ได้ แก่
เชื่อ ศรัทธาในสิ่งที่พูด มั่นใจว่าสารที่พูดมีคณ ุ ค่ามีประโยชน์และมีการเตรียมตัวมาอย่างดี เพื่อให้เกิดประโยชน์
สูงสูด ในส่วนของการจริงใจต่อผู้ฟัง ได้แก่ ให้เกียรติและเคารพผู้ฟังทีเ่ สียสละเวลามาฟัง ดังนั้นจึงควรได้เนื้อหา
สาระที่มีคุณค่า เมื่อผู้พูดสำนึกถึงความจริงใจดังนี้แล้ว ความต้องการที่จะพูดย่อมมีมากนั่นย่อมแสดงว่า การ
พูดต้องสัมฤทธิ์ผลตามจุดหมายอย่างแน่นอน
3.การเตรียมเรื่อง การเตรียมเรื่องมี 2 ส่วน คือ การกำหนดหัวข้อเรื่อง และการเตรียมหัวข้อเรื่อง
3.1 การกำหนดหัวข้อเรื่อง การกำหนดหัวข้อเรื่องมีหลักการดังนี้
3.1.1 เรื่องที่ผู้พูดมีความรู้และสามารถค้นคว้าได้ การพูดในเรื่องที่ตนมีความรู้
และมีแหล่งข้อมูลที่สามารถค้นคว้าได้ย่อมเป็นผลต่อการพูด เพราะทำให้ผู้พูดมั่นใจการพูดมีน้ำหนักมีเหตุผล
และพูดได้ข้อมูลชัดเจนทุกประเด็น
3.1.2 เรื่องที่มีสาระประโยชน์ การพูดทุกครั้งผู้พูดต้องคำนึงจนเป็นนิสัยว่สเรื่องที่
จะพูดมีคุณค่าสาระ มีประโยชน์คุ้มค่าที่ผู้ฟังเสียสละเวลาฟังมาก
3.1.3 เรื่องที่ผู้พูดและผู้ฟังสนใจ ผู้พูดต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกเรื่องที่อยู่ใน
ความสนใจทั้งของตนเองและของผู้ฟัง
3.1.4 เรื่องแปลกใหม่หรือทันสมัย ความอยากรู้อยากเห็นเป็นสัญชาตญาณของ
มนุษย์ ดังนั้นเรื่องที่แปลกใหม่ ทันสมัย หรือนำเก่ามาเล่าใหม่ จึ งเป็นที่สนใจของผู้ฟังตลอดกาล
3.1.5 เรื่องที่เป็นความขัดแย้ง ข้อขัดแย้งทั้งหลายต่างต้องการจุดจบคนทั่วไป ชอบ
ฟังเรื่องที่เป็นความขัดแย้ง เพราะได้รสชาติเป็นสีสันทางอารมณ์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการจุดจบ อันเป็นข้ อ
สิ้นสุดของการขัดแย้ง
3.1.6 เรื่องที่เหมาะกับระดับการศึกษา เพศและวัยของผู้ฟัง การศึกษา เพศ และวัย
ที่ต่างกันย่อมสนใจเรื่องราว เหตุการณ์ไม่เหมือนกัน เพราะประสบการณ์ เพศ และวุฒิภาวะแห่งวัยเป็นตัว
กำหนดให้คิดทำต่างกัน
3.2 การเตรียมเนื้อเรื่อง การเตรียมเนื้อเรื่องมี 2 ส่วน คือส่วนของแหล่งข้อมูลและส่วน
ของโครงเรื่อง

๒๗
3.2.1 แหล่งข้อมูล นักพูดที่ดีต้องมีการเตรียมข้อมูลให้พร้อมให้ละเอียด ชัดเจน
โดยยึดหลักว่าข้อมูลต้องกว้างรู้สึกรู้จริง การศึกษาค้นคว้าข้อมูลอาจได้จากแหล่งต่อไปนี้
3.2.2 ส่วนของโครงสร้าง โครงสร้างของการพูดมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับการ
เขียน คือ คำนำ เนื้อเรื่องและสรุป แต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
หลักการใช้มือประกอบการพูดมีดังนี้
1. ใช้เมื่อต้องการเสริมข้อความและต้องสอดคล้องกับถ้อยคำ เช่น ใช้ปลายนิ้วก้อยแสดงสิ่งของ
ขนาดเล็ก ใช้สองมือแสดงขนาดของสิ่งของ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ฟังเกิดภาพที่ชัดเจน
2. การเคลื่อนไหวมือ ต้องพอดีกับการเปล่งคำ ไม่ช้าหรือไม่เร็วกว่าคำทีพ่ ูด
3. ไม่ใช้มือในระดับต่ำกว่าเอว หรือสูงกว่าไหล่ จะทำให้เป็นทีต่ ลกขบขัน
4. ถ้าจำเป็นต้องชี้นิ้วให้ชี้ไปด้านบนแทนการใช้ไปที่ผู้ฟัง ไม่ชี้หน้าผู้ฟัง เพราะเป็นการเสีย
มารยาทอย่างแรง
5. ไม่ใช้มือซ้ำซากอยู่ท่าเดียวโดยไม่สอดคล้องกับเรื่องทำให้น่าเบื่อ
6. เมื่อไม่ได้ใช้มือประกอบการพูด ควรปล่อยมือข้างลำตัว ไม่ใช้มือล้วง แคะ แกะ เกา ดึงเสื้อ
ดึงกระโปรง ขยับเน็คไท หรือลูบคลำส่วนต่างๆ ให้วุ่นวายจนน่ารำคาญ
อ้างอิง : (วิเศษ ชาญประโคน.2549 :161-180)
สรุป : การเตรียมตัว ควรมีการเตรียมตัวของผู้พูดและการเตรียมเรื่อง รวมถึงการใช้มือประกอบการพูด ต้ อง
เคลื่อนไหวให้พอดีกับการเปล่งคำ ไม่ช้าหรือไม่เร็วกว่าคำทีพ่ ูด

เมื่อผู้พูดเตรียมตัวมาดีแล้ว ถึงเวลาที่จะพูดควรปฏิบัตติ นดังต่อไปนี้


1. ตรงต่อเวลา ต้องไปถึงที่ที่จะพูดก่อนเวลาเล็กน้อย เพื่อเตรียมตนเองให้มีความมั่นใจ ไม่ตื่นเวที
2. การเดินสู่ที่พูด ต้องเดินอย่างองอาจ แสดงความมั่นใจในตัวเอง
3. การแต่งกาย สุภาพ เรียบร้อย ไม่ควรสวยหรือเด่นเกินไป เพราะผู้ฟังจะหันมาสนใจการแต่งกาย
ของผู้พูดมากกว่าเรื่องที่พูด
4. ให้เกียรติผู้ฟัง
5. การใช้สายตา ไม่ควรมองต่ำหรือมองไปข้าง ๆ หรือมองชั้นบน ควรกวาดสาตามองให้ทั่ว
6. ภาษาพูด ใช้ภาษาสุภาพ ควรมีอารมณ์ขันแทรกบ้าง หน้าตายิ้มแย้มแต่ไม่สนุกจนลืมเนื้อหา
7. อุปกรณ์ประกอบการพูด จะช่วยให้เรื่องน่าสนใจมากขึ้น ควรเตรียมการใช้ให้พร้อม
8. เอกสาร หรือบันทึกย่อเพื่อเตือนความทรงจำขณะพูด
9. ต้องมีไหวพริบ
10. ไม่พูดแข่งเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะ
11. รักษาเวลา
12. การจบ ควรจบแบบทิ้งท้ายให้คิด ไม่ควรจบห้วน ๆ จบด้วยเนื้อหาและน้ำเสียงที่ประทับใจ
อ้างอิง : (สุทธิชัย ปัญญโรจน์. การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด . 2556 : 1)

๒๘
สรุป : ควรตรงต่อเวลา ไม่ตื่นเวที ส่วนการแต่งกาย ควรแต่งสุภาพ เรียบร้อย เพราะผู้ฟังจะหั นมาสนใจการ
แต่งกายของผู้พูดมากกว่าเรื่องที่พูด

การตั้งวัตถุประสงค์ การพูดที่ดีควรรู้วัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะพูดว่า พูดเพื่ออะไร จะได้เตรียมการ


พูด จัดข้อความ ถ้อยคำและวิธีการพูดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตงั้ ไว้มี ๓ ประการ คือ
๑. เพื่อความบันเทิง เป็นการตั้งวัตถุประสงค์เพื่อให้เรียนรู้ด้วยความบันเทิง เพื่อความสนุกสนานแก่
สมาชิก การตั้งวัตถุประสงค์แบบนี้มักจะเป็นงานที่จดั ขึ้นเพื่อการพักผ่อน เช่น งานพบปะสังสรรค์นักเรียนเก่า
๒. เพื่อให้ข่าวสารหรือข้อเท็จจริง เป็นการตั้งวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจให้แก่
ผู้ฟังยิ่งขึ้นโดยไม่คำนึงว่าผู้ฟังจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น การปาฐกถา การบรรยาย การพูด จึงควรเตรียมให้
ชัดเจน มีตัวอย่างประกอบโดยใช้คำพูดธรรมดาเข้าใจง่าย ถ้ามีศัพท์ทางเทคนิคหรือวิชาการ ก็ควรอธิบายให้
ชัดเจน
๓. เพื่อชักจูง การตั้งวัตถุประสงค์แบบนี้ก็มุ่งหวังทีจ่ ะให้ผู้ฟังได้รู้ เชื่อตาม เห็นคล้อยตาม ทั้งความคิ ด
และการกระทำการพูดแบบนี้มักมีในโอกาสต่าง ๆ เช่น การพูดโฆษณาขายสินค้า การพูดโฆษณาหาเสียง
เลือกตั้ง การพูดเพื่อให้ร่วมบริจาคเงินเพื่อการกุศล เป็นต้น
การวิเคราะห์ผู้ฟัง ผู้ฟังมีอิทธิพลต่อผู้พูดเป็นอย่างยิ่ง ผู้พูดจึงควรจะรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังด้วยการศึกษา
ว่าผู้ฟัง คือใคร การศึกษาระดับใด และเป็นคนประเภทใด เพื่อจะได้เตรียมเนื้อหา ตัวอย่าง ตลอดจนการใช้
ถ้อยคำสำนวนภาษาให้สัมพันธ์กับผู้ฟัง
การเลือกเรื่องที่จะพูด เรื่องที่จะพูดเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้ไม่ควรเป็นเรื่องกว้างขวางมากจน
หาประเด็นสำคัญได้ยากและไม่อาจสรุปให้จบลงในเวลาได้ถ้าผู้พูดสามารถเลือกได้ควรเลือกเรื่องที่ตนถนัด
เข้าใจ หรือมีประสบการณ์มาจะทำให้พูดได้ดี แต่ถ้าเลือกเรื่องหรือกำหนดหัวข้อไม่ได้ก็ควรรับเฉพาะเรื่องที่ ตน
มีความรู้ความสนใจเป็นพิเศษ จะทำให้การพูดมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น เรื่องที่จะพูดควรเหมาะแก่ โอกาส
สถานที่และผู้ฟัง ผู้ฟังส่วนมากชอบฟังเรื่องที่ตนสนใจ หรือเกี่ยวข้องด้วย หรือเรื่องอยู่ในระดับทีต่ นพอฟังรู้เรื่อง
การรวบรวมเนื้อหา เนื้อเรื่องเป็นสิ่งสำคัญในการพูด เนื้อหาจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการหาข้อมูลจาก
แหล่งต่าง ๆ เช่น
๑. โดยการคิด นักพูดต้องเป็นนักคิดก่อน การรู้จักคิดทำให้รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งต่าง ๆ มากซึ่งทำให้
สามารถ แสดงเหตุผลและข้อเท็จจริงได้กว้างขวาง การคิดเป็นปัจจัยสำคัญทีส่ ุดในการเตรียมพู ด เพราะทำใ ห้
คิดก่อนพูด พูดออกมาด้วยความเชื่อมั่นตัวเอง ด้วยความรู้สึกของตัวเองจริง ๆ เป็นวิญญาณการพูด
๒. การค้นคว้าเพิ่มเติม การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยมีความคิดเป็นกรอบและแนวทาง ทำให้การ
ค้นคว้ามีหลักเริ่มต้นที่ดีไม่กระจัดกระจาย นอกจากนี้ การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ช่วยให้มีหลักฐานสนับสนุน
ความคิดให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เช่น สถิติ แหล่งที่มาของตำรา และความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เป็น
เอตทัคคะในทางนั้น ๆ

๒๙
การวางโครงเรื่อง การวางโครงเรื่องเป็นการจัดสาระสำคัญของข้อความทั้งหมดให้เป็นระเบียบ มี
ความต่อเนื่องกันทำให้ผู้พูดและผู้ฟังสามารถเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดได้ดีขึ้นโดยไม่เกิดความสับสนและผู้พูด
สามารถเลือกเน้นบางตอนของเรื่องให้เหมาะแก่เวลา การวางโครงเรื่องมีหลักอยู่ดังต่อไปนี้
๑. ต้องวางโครงเรื่องให้ครอบคลุมเรื่องที่จะพูดทั้งหมดและสอดคล้องต่อเนื่องกันไปโดยมีหัวข้อใหญ่
ตั้งแต่ ๒ หัวข้อขึ้นไป ไม่ควรเกิน ๕ หัวข้อ การแบ่งขั้นตอนการพูดเป็นส่วนต่าง ๆ ต้องทำหน้าที่ส่งเสริมหรือ
ขยายกันเพื่อให้เนื้อหามีความชัดเจนและมีน้ำหนักยิ่งขึ้น
๒. ควรเขียนโครงเรื่องให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามหัวข้อ แต่หากมีความช านาญพอจะเขียนเฉพาะหัว ข้ อ
สำคัญๆ ไว้สั้น ๆ เพื่อเตือนความจำก็ได้
๓. แต่ละหัวข้อสำคัญควรมีความหมายเดียว ไม่ควรกำหนดหลายความหมาย ถ้าจำเป็นจะต้องมีหลาย

ความหมาย ก็ควรจะแยกเป็นข้อ ๆ ต่างหากจากกัน
๔. แต่ละหัวข้อสำคัญควรจะแยกเป็นหัวข้อย่อยตั้งแต่ ๒ หัวข้อขึ้นไป
๕. ใจความย่อยต้องต่อเนื่อง ไม่ซ้ำซ้อนกันและมีน้ำหนัก โดยมีถ้อยคำที่กลมกลืนกัน
๖. โครงเรื่องทั้งหมดต้องมี “คำนำ” หรือ “อารัมภบท” “เนื้อเรื่อง” และ “สรุป” โดยมีสัดส่วน
พอเหมาะ เช่น เนื้อเรื่องควรเป็นร้อยละ ๘๐-๘๕ ของการพูดทั้งหมด คำนำไม่เกินร้อยละ ๑๐และสรุป
ประมาณร้อยละ ๕-๑๐
อ้างอิง : (การเตรียมตัวในการพูด. ม.ป.ป. : 1-2)
สรุป : รู้จักคิดทำให้รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งต่าง ๆ มากซึ่งทำให้สามารถแสดงเหตุผลและข้อเท็จจริงได้ กว้ างขวาง
การคิดถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเตรียมพูด เพราะพูดออกมาด้วยความเชื่อมั่นในตัวเอง ด้วยความรู้สึก
ของตัวเอง

เตรียมเรื่องที่จะพูด โดยรวบรวมเนื้อหาจากความรู้หรือข้อมูลที่มีอยู่จากประสบการณ์เดิม และจาก


การค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น จากการอ่านหนังสือ การสัมภาษณ์หรือสอบถามผู้รู้ ฯลฯ
ต่อจากนั้นก็นำมาคัดเลือกโดยคงส่วนที่จำเป็นไว้ และตัดส่วนที่ไม่จำเป็นทิ้ง และนำมาจัดลำดับและวางโครง
เรื่อง โดยแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ ขั้นที่เป็นคำนำหรือตอนที่เริ่มต้นเรียกว่าการอารัมภบท
ต่อจากนั้นก็มาถึงตอนเนื้อเรื่อง และตอนสรุปตามลำดับในการเตรียมเรื่ องนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องเตรียมเป็น
พิเศษ คือ การกล่าวอารัมภบทและการกล่าวสรุป การกล่าวอารัมภบทจะต้องสร้างความศรัทธาให้เกิ ด กั บ ผู้ ฟั ง
และเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟังได้ ส่วนการกล่าวสรุปควรมุ่งให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจเป็นสำคัญ
เตรียมวิธีใช้ถ้อยคำให้ตรงตามความคิดของตนเอง โดยใช้คำให้ถูกต้องตามหลักภาษา เช่น ประโยคว่ า
“เขายื่นคำร้องต่อศาล” ถ้าใช้ว่า “เขายื่นคำร้องแก่ศาล” ก็ถือว่าใช้คำผิดหลักภาษา เป็นต้น ใช้คำให้
ถูกต้องตามความหมาย เช่นคำว่า อ่อน และ อ่อนแอความหมายผิดกันไป ถ้าเราจะกล่าวว่า “เขา
อ่อนแอมาก” กับ “เขาอ่อนมาก” ความหมายของประโยคทัง้ สองนั้นจะผิดกันจะใช้แทนกันไม่ได้ เป็นต้น

๓๐
วิเคราะห์ผู้ฟังทั้งในด้าน วัย เพศ ระดับการศึกษา ฐานะ อาชีพ จำนวนผู้ฟังและสถานภาพทางสังคม
ของผู้ฟังในด้านต่าง ๆ เพื่อจะได้ใช่ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ฟัง
พยายามจำเนื้อเรื่องที่จะพูดให้ได้มากทีส่ ุดเท่าที่จะมากได้ หรือไม่ก็พยายามจำจดสำคั ญ ๆ ของเรื่ อง
ให้ได้ อาจใช้วิธีบันทึกย่อหัวข้อที่สำคัญไว้ เพื่อที่ว่าเมื่อมองปราดเดียวก็สามารถเข้าใจ และขยายเรื่องต่อเองได้
ทันที
ฝึกพูดเหมือนกับอยู่ในสถานการณ์จริง เริ่มตั้งแต่กล่าวปฏิสันถาร กล่าวอารัมภบท พูดเนื้อหาจนถึง
ตอนกล่าวสรุปตามที่ได้เตรียมไว้ ฝึกเปล่งเสียงให้ดังพอที่คิดว่าผู้ฟังจะได้ยินทั่วถึง ฝึกเน้นเมื่อถึงตอนสำคัญ
และลดเสียงลงเมื่อถึงตอนที่จะเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟัง ฝึกหยุดและเว้นช่วงจังหวะในการออกเสียง ฝึกสี
หน้าท่าทางให้เหมาะสมกับเนื้อหา การฝึกดังกล่าวควรฝึกหลาย ๆ ครั้ง จนมั่นใจว่าสามารถพูดได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง : (นิพนธ์ ศศิธร และคณะ. หลักการเตรียมตัวก่อนพูด. ๒๕๓๓ : ๑)
สรุป : พยายามจำเนื้อเรื่องที่จะพูดให้ได้มากทีส่ ุดเท่าที่จะมากได้ หรือไม่ก็พยายามจำจดสำคั ญ ๆ ของเรื่ อง
ให้ได้ อาจใช้วิธีบันทึกย่อหัวข้อที่สำคัญไว้ เพื่อที่ว่าเมื่อมองปราดเดียวก็สามารถเข้าใจ และขยายเรื่องต่อเองได้
ทันที

ลักษณะของผู้พูดที่ดี
ผู้พูดที่ดีควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีความคิด หมายความว่า ผู้พูดจะต้องมีความคิดเห็นและมีความรู้อันเป็นแก่นสาร หรือมี
คุณค่ามีสาระเพียงพอสำหรับผู้ฟังนั่นเอง
2. มีจุดประสงค์ที่แน่นอนและจุดประสงค์นั้นโดยแจ่มแจ้ง หมายความว่าผู้พูดจะต้องเข้าใจ
จุดประสงค์ของการพูดไม่ว่าจุดประสงค์นั้นตนเองหรือผุ้อื่นเป็นผู้กำหนดขึ้น ทั้ง นี้เพื่อจะได้กำหนดเนื้อหาและ
วิธีการให้สอดคล้องกันผูท้ ี่ไม่สนใจจุดปรงสงค์ของผู้กำหนดหัวข้ออาจประสบความล้มเหลวในการพูดได้โดยง่าย
3. มีเค้าโครงเรื่อง หมายความว่าเมื่อรู้ว่าตนเองจะต้องไปพูดเรื่องใดจะต้องกำหนดเค้าโครง
เนื้อหาเรื่องนั้นอย่างคร่าวๆหรืออย่างละเอียด เพื่อช่วยให้ตนเองพูดได้ง่ายไม่ผิดพลาดหรือสับสน และช่วยให้
ผู้ฟังเข้าใจเรื่องได้โดยง่ายอีกด้วย
4. รู้จักใช้ภาษาที่ดี หมายความว่าผู้พูดจะต้องรู้จักเลือกเฟ้นถ้อยคำให้เหมาะสมกับผู้ฟังและ
โอกาส รู้จักใช้คำศัพท์ สุภาษิต คำพังเพย โวหารต่างๆในที่อันสมควร ในขณะเดียวกันก็รู้จักละเว้นการใช้
ถ้อยคำหยาบกระด้างหรือการพูดที่ก้าวร้าวผู้อื่น
5. มีบุคคลิกภาพที่ดี หมายความว่ามีกริยาท่าทางทีเ่ หมาะสม มีน้ำเสียงที่ชัดเจนและไม่ประหม่ า
ในการพูดนั่นเอง ผุ้พูดที่มีบุคคลิกดีจะสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้จึงควรฝึกฝนตนเองในด้านนี้ให้มาก
6. ช่างสังเกตและมีไหวพริบดี หมายถึงเป็นผู้ที่รจู้ ักสังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟัง และเข้าใจผู้ฟังตลอดเวลา
พร้อมกันนั้นต้องรู้จักปรับตัว รู้จักแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที
อ้างอิง : (สบาย ไสยริทร์ และคณะ. 2525 : 200 - 206)

๓๑
สรุป : การเป็นผู้พูดที่ดีควรมีความคิดทีเ่ หมาะสม มีจุดประสงค์ทแี่ น่นอน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ง่ า ย รู้ จั กการ
ใช้ภาษาที่ดีให้เหมาะสมกับโอกาส

ผู้พูดที่ดีจะต้องคำนึงถึงระเบียบวินัยที่ดี มีศิลปะในการพูด มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอด


สามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจตรงกันสมความมุ่งหมายของผู้พูด
ผู้พูดที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. มีการเตรียมพร้อมในการพูดทีด่ ี ซึ่งอาจแบ่งได้ดังนี้
1.1 เตรียมตน เช่น การสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง เตรียมวิธีการพูด การแสดงท่าทาง
ประกอบ ศึกษาเทคนิคการพูดของบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับความสำเร็จ
1.2 เตรียมเรื่อง เช่น การกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะพูด เรื่องที่จะพูดนั้น มีความรู้มากน้อยแค่
ไหน จะค้นคว้าที่ใด อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังเพียงใด
1.3 เตรียมการณ์ เช่น การจะพูดนั้น จะต้องวางโครงการเรื่องต่างๆ ไว้ เช่น ข้อมูลอ้างอิง
ใดๆ บ้าง จะใช้สำนวนสุภาษิต บทร้อยกรองใดมาอ้างบาง จะต้องวางโครงการเรื่องที่จะพูดไว้ว่าจะใช้เวลา
เท่าใดจึงจะเหมาะสม มีจุดยืนในความคิดที่แน่นอน ไม่วกวนกลับไปกลับมาหรือโกหกตลบตะแลง
1.4 เตรียมใจ เช่น สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ถ้าผู้ฟังถามแบบลองภูมิ พูดส่อเสี ย ด พู ด คุ ย
กันโห่ฮา เป็นต้น
1.5 เตรียมตอบ เช่น จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามข้อสงสัย การแสดงความคิดเห็น
เสนอแนะ มีความยุติธรรม ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผล
2. มีการวิเคราะห์ผู้ฟัง เพื่อการพูดประสบความสำเร็จ ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงผู้ฟังเป็ นสำคัญ เช่ น
เพศ วัย ระดับการศึกษา จำนวนที่รับฟัง อาชีพ ความสนใจ ศาสนา เวลา ลักษณะของที่ประชุม เป็นต้น ถ้า
พิจารณาสิ่งดังกล่าวนี้ ความสำเร็จในการพูดย่อมประสบผลครึง่ ค่อนทางแล้ว
3. มีศิลปะในการพูด เช่น การสร้างอารมณ์ขัน มีกริยาท่าทางสุภาพ น้ำเสียงนุ่มนวลน่ า ฟั ง รู้ จั ก
เน้นจังหวะช้า เร็ว หนักเบาในการพูด ไม่พูดด้วยอารมณ์ มีศิลปะในการพูดดี มีถ้อยคำดี พูดถูกต้องตามการ
สมัย เหมาะสม กับเวลา เหมาะสมกับบุคคล เหมาะสมกับสถานที่และโอกาส
4. มีความมุ่งมั่น ฝึกฝนการพูดสม่ำเสมอ เช่น ฝึกพูดคนเดียว หรือพูดต่อหน้ากระจก พูดต่อผู้ ฟั ง
กลุ่มเล็กๆ และกลุ่มใหญ่ๆ เป็นต้น เพื่อจะได้หาความชำนิชำนาญเพื่อนำข้อบกพร่องมาแก้ไขปรับปรุง กลวิธี
การพูดของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
อ้างอิง : (นาย กิติศักดิ์ ก้อนกลีบ. ลักษณะของผู้พูดที่ดี. 2545 : 1)
สรุป : ผู้พูดจะต้องคำนึงถึงระเบียบวินัย มีการเตรียมความพร้อมในการพูด เช่น เรื่องที่จะพูด การตอบ
คำถามจากผู้ฟัง มีการสร้างอารมณ์ ถ้อยคำในการพูด

1. มีความมุ่งหมายดี ทั้งความมุ่งหมายทั่วไปและความมุง่ หมายเฉพาะ


2. มีความเหมาะสม กับกาลสมัย เวลาที่กำหนดให้ สถานที่ โอกาส และบุคคล

๓๒
3. ใช้ถ้อยคำดี คือ พูดด้วยถ้อยคำที่เป็นจริง มีประโยชน์ และเป็นที่พอใจแก่ผู้ฟัง
4. มีบุคลิกลักษณะดี คือต้องใช้น้ำเสียง ภาษา สายตา ท่าทาง และกิริยาอาการต่าง ๆ ให้ เป็ นไปตาม
ธรรมชาติ สอดคล้องกับเนื้อหาของเรื่องที่พูด สาระหรือเนื้อเรื่องที่จะพูด การเตรียมเนื้อหาจะต้องมีโครงเรื่อง
ได้แก่ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุปจบ เพื่อให้การพูดดำเนินไปโดยสม่ำเสมอตลอดเรื่อง คำนำ เป็นตอนสำคัญที่จะ
เรียกร้องให้ผู้ฟังสนใจและตั้งใจฟัง คำนำจึงต้องใช้ภาษาและสำนวนทีก่ ระทัดรัดได้ใจความดี โดยอาจขึ้ นต้ นได้
หลายแบบ ได้แก่
1. กล่าวถึงความสำคัญของเรื่อง
2. นำด้วยตัวอย่างหรือนิทาน
3. นำด้วยข้อความที่เร้าใจ
4. นำด้วยคำถามที่เร้าใจ
5. นำด้วยการยกย่องผู้ฟัง
6. นำด้วยคำพังเพย สุภาษิต คำขวัญ คำประพันธ์ หรือคำคม
เนื้อเรื่อง จะต้องเตรียมให้
1. สอดคล้องกับคำนำ
2. เป็นไปตามลำดับขั้นตอนตามโครงเรื่อง
3. เวลาพูดต้องแสดงสีหน้า ท่าทางให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่อง เพื่อให้เกิดความสนใจ แต่
ไม่มากจนกลายเป็นเล่นละคร
สรุปจบ อาจทำได้หลายวิธี คือ
1. ย้ำจุดสำคัญ
2. จำแนกหัวข้อสำคัญ
3. ทบทวนความรู้ทวั่ ไป
4. สรุปด้วยการสรรเสริญสดุดี
หลักทั่วไปในการพูด
1. เตรียมตัวให้พร้อม
2. ซักซ้อมให้ดี
3. ท่าทีให้สง่า
4. วาจาสุขุม
5. ทักที่ประชุมให้โน้มน้าว
6. เรื่องราวให้กระชับ
7. ตาจ้องจับผู้ฟัง
8. เสียงดังแต่พอดี
9. อย่าให้มีเอ้ออ้า
10. ดูเวลาให้พอครบ

๓๓
11. สรุปจบให้จับใจ
12. ยิ้มแย้มแจ่มใสเมื่ออำลา
อ้างอิง : (ลักษณะการพูดที่ด.ี ม.ป.ป. : 1)
สรุป : มีความมุ่งหมายและความเหมาะสมทีด่ ี การเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับผู้พูด การใช้น้ำ เสี ย ง ภาษา
ท่าทาง จะต้องเป็นไปตามธรรมชาติ

การพูดที่ดีไม่เพียงแต่พูดให้ผู้ฟังเข้าใจเท่านั้น แต่ต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นระหว่างผู้พูด
และผู้ฟังด้วย สามารถปฏิบัติได้ดงั นี้
๑. ความคิดเชิงบวก
๒. ความซื่อสัตย์ จริงใจ
๓. การมีสติ
๔. การวิเคราะห์แยกแยะ
๕. การคำนึงถึงประโยชน์ผู้ฟัง
๖. ความรับผิดชอบ
๗. ความสมบูรณ์ชัดเจน
๘. ความสุภาพและมีมารยาท
๙. ความเป็นกลาง
๑๐. การมีคุณธรรมและจริยธรรม
๑๑. ความตั้งใจ
๑๒. ความกล้าหาญ
๑๓. ความมีระเบียบวินัย
๑๔. คำพูดที่ดี
๑๕. บุคลิกและการแต่งการสุภาพเรียบร้อย
อ้างอิง : (ศิริรัตน์ กลยะณ. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพูด. 2558 : 1)
สรุป : ผู้พูดจะต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ฟัง เช่น การซื่อสัตย์ จริงใจ มีความรับผิ ด ชอบ ระเบี ย บ
วินัยและคำนึงถึงผลประโยชน์ผู้ฟัง

เตรียมตัวให้พร้อมทัง้ กายและใจทีจ่ ะฟัง


1.ปรับปรุงทัศนคติของตน โดยสำรวจว่าตนมีปัญหาในการฟังด้านใดบ้าง และพยายามขจัด อุ ป สรรค
ต่างๆ ที่เป็นเครื่องกีดขวางการรับฟัง
2.เลือกตำแหน่งที่นั่งให้เหมาะสม สามารถได้ยินและมองเห็นผู้พูดได้ชัดเจน
3.ฟังด้วยความอดทน และมีวิจารณญาณ เพื่อจะได้ประเมินความหมายของผู้พู ด
4.ฟังด้วยความตั้งใจ เพื่อจับประเด็นและสาระสำคัญของเรื่องให้ได้

๓๔
5.ฟังด้วยความคิด ประเมินผล และวิจารณ์ในกระบวนการพูด
6.หากผู้ฟังได้ปฏิบัติตนตามคำแนะนำข้างต้นก็จะเกิดประโยชน์จากการฟังมากมาย คือ
7.ได้สาระประโยชน์จากการฟัง
8.ได้รับความรูแ้ ละประสบการณ์อย่างกว้างขวาง สร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง
9.ทำให้กล้าคิด กล้าแสดงออก
10.เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสม
11.เป็นผู้ที่มีมารยาทในการสนทนาเมื่อตั้งใจฟัง
12.การรู้จักฟังผู้อื่นพูด จะได้รับความนิยมชมชอบ และเป็นการเสริมบุคลิกภาพให้กับตนเอง
อ้างอิง : (ลักษณะที่ดีของผู้พูด. ม.ป.ป. : 1)
สรุป : ต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งกายและใจ กล้าแสดงออก มีการใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสม มีการ
เสริมบุคลิกภาพให้กับตนเอง

การพูดของแต่ละบุคคลในแต่ละครัง้ จะดีหรือไม่ดีอย่างไรนั้น เรามีเกณฑ์ที่จะพิจารณาได้ ถ้ า เป็ นการ


พูดที่ดีจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ต้องมีเนื้อหาดี เนื้อหาก็จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย เนื้อหาที่ดีต้องตรงตามจุดมุง่ หมาย
ของผู้พูด ผู้พูดมีจุดมุ่งหมายการพูดเพื่ออะไร เพื่อความรู้ ความคิด เพื่อความบันเทิง เพื่อจูงใจโน้มน้าวใจ
เนื้อหาจะต้องตรงตามเจตนารมณ์ของผู้พูดและเนื้อหานั้นต้องมีความยากง่ายเหมาะกับผู้ฟัง มีการลำดับ
เหตุการณ์ ความคิดที่ดมี ีระเบียบไม่วกวน จึงจะเรียกว่ามีเนื้อหาดี
2. ต้องมีวิธีการถ่ายทอดดี ผู้พูดจะต้องมีวิธีการถ่ายทอดความรู้ความคิดหรือสิ่งที่ตอ้ งการถ่ายทอดให้
ผู้ฟังเข้าใจง่ายเกิดความเชื่อถือ และประทับใจ ผู้พูดต้องมีศิลปะในการใช้ถ้อยคำภาษาและการใช้น้ำเสียง มีการ
แสดงกิริยาท่าทางประกอบในการแสดงออกทางสีหน้า แววตาได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม การพูดจึง จะเกิด
ประสิทธิผล
3. มีบุคลิกภาพดี ผู้พูดจะต้องแสดงออกทางกายและทางใจได้เหมาะสมกับโอกาสของการพูด อัน
ประกอบด้วย รูปร่างหน้าตา ซึ่งเราไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนอะไรได้มากนัก แต่ก็ต้องทำให้ดดู ีทสี่ ุด การแต่ ง
กายและกริยาท่าทาง ในส่วนนี้เราสามารถที่จะสร้างภาพให้ดี ได้ไม่ยาก จึงเป็นส่วนที่จะช่วยในการสร้าง
บุคลิกภาพที่ดีได้มาก ส่วนทางจิตใจนั้นเราต้องสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้สูง มีความจริงใจและมีความคิด
ริเริ่ม ผู้พูดที่มีบุคลิกภาพที่ดี จึงดึงดูดใจให้ผู้ฟังเชื่อมั่น ศรัทธาและประทับใจได้งา่ ย การสร้างบุคลิกภาพทีด่ ีเป็น
คุณลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของการพูด
อ้างอิง : (ลักษณะการพูดที่ด.ี ม.ป.ป. : 1)
สรุป : การพูดในแต่ละครัง้ จะต้องมีเนื้อหาที่ดตี รงตามจุดมุง่ หมาย ต้องมีวิธีการถ่ายทอดความรู้ความคิดทีท่ ำ
ให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจได้ง่าย ผู้พูดจะต้องแสดงออกทางกายและทางใจได้เหมาะสมกั บโอกาสที่จะพูด

๓๕
การพูดที่จะประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีการฝึกฝนอย่างมีขั้นตอนดังนี้
๑. ปรับปรุงบุคลิกภาพของผู้พูด บุคลิกภาพของผู้พูดเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะทำให้ผู้ฟังเกิดความ
ประทับใจและเชื่อถือศรัทธาผู้พูด การปรับปรุงบุคลิกภาพของผู้พูดมีดงั นี้
- สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เริ่มจากการแต่งกายอย่างเหมาะสม สุภาพและเรียบร้อย
รวมทั้งการควบคุมสติอารมณ์ของตนเอง ไม่ประหม่า มั่นใจว่าตนเองพูดได้และพูดได้ดี
- มีความรู้จริงในเรื่องที่พูด โดยค้นคว้าหาความรูใ้ นเรื่องทีจ่ ะพูด นำเสนอข้อมูลอย่างมี เหตุ
มีผล มีหลักฐานสนับสนุนข้อมูลที่นำเสนอ
- มีทัศนคติที่ดีต่อการพูด โดยเห็นความสำคัญของการว่าเป็นโอกาสที่จะได้แสดงความรู้
และความสามารถแก่ผู้ฟัง
- มีทัศนคติ ความรู้สึก เจตนาที่ดี และจริงใจต่อผู้ฟัง
- หมั่นฝึกซ้อมและประเมินผลการพูดของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
๒. พยายามสร้างลักษณะร่วมระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง คือ การสร้างอารมณ์ร่วม ทัศนคติความสนใจ
และประสบการณ์รว่ มระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ซึ่งทำได้ดังนี้
- วิเคราะห์ผู้ฟัง ผู้พูดที่ดีต้องยึดผู้ฟังเป็นจุดศูนย์กลาง โดยเลือกพูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจ และ
เกิดความประทับใจผู้พูด
- วิเคราะห์กาลเทศะและสถานการณ์ ผู้พูดที่ดีควรเลือกพูดให้เหมาะกับโอกาสและสถานที่
โดยกำหนดเนื้อหาและเวลาในการพูดให้เหมาะสมในการพูดแต่ละครั้ง
๓. มีคุณธรรมและจรรยามารยาท ได้แก่
- มีคุณธรรมในการพูด คือ รับผิดชอบสิ่งที่พูด ซื่อสัตย์ ไม่พูดโจมตีผู้อื่น ไม่พูดเรื่องส่วนตัว
ของผู้อื่น ที่สำคัญคือ ไม่นินทาผู้อื่น
- มีจรรยามารยาทในการพูด คือ แต่งกายให้สุภาพ มีมารยาทเหมาะสมตามสั งคมและ
วัฒนธรรมไทย ไม่พูดประชดประชันหรือเหน็บแนมใคร ผู้พูดควรยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และพูดให้
ตรงต่อเวลา
๔. มีความมุ่งหมายในการพูด คือ การตั้งจุดมุ่งหมายในการพูดทุกครั้งว่าจะพูดเพื่ออะไร ได้แก่ พูด
เพื่อให้ความรู้ พูดเพื่อชักจูงใจหรือโน้มน้าวใจ หรือพูดเพื่อความสนุกสนาน เป็นต้น การตั้งจุดมุ่งหมายในการ
พูด
อ้างอิง : ( หลักการพูดที่ดี. ม.ป.ป. : 1)
สรุป : การพูดที่ประสบความสำเร็จนั้นผู้พูดจะต้องสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความรู้จริงในเรื่องที่พูด มี
ความมุ่งหมายในการพูดว่าจะพูดเพื่ออะไร

๓๖
มารยาทในการพูด
นักพูดที่ดีต้องรักษามารยาทในการพูดอย่างเคร่งครัด มารยาททีด่ ีของการพูด มีดังนี้
1. พูดให้ตรงจุดมุ่งหมาย เช่น เพื่ออธิบาย เพื่อจรรโลงใจ เพื่อให้ความรู้หรือเพื่อโน้มน้าวจิตใจ
2. ขณะพูดต้องไม่แสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจใดๆ
3. ไม่ใช้วาจาเสียดแทง เหน็บแนมหรือหยอกล้อใดๆ จะทำให้ผู้ฟังไม่สบายใจ
4. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่คิดเห็นไม่ตรงกับตน
5. มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ใช้ถ้อยคำสุภาพ คำง่ายเหมาะกับวัย และระดับของผู้ฟัง
6. ไม่พูดอวดตน ภูมิรู้ หรือยกตนข่มท่าน เป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง
7. ไม่พูดเรื่องส่วนตัว นอกจากจะมีผู้ถามและถ้าจำเป็นต้องพูดควรพูดเพียงเล็กน้อย
8. การนำคำกล่าวมาจากที่อื่น ต้องบอกที่มาให้ชัดเจนเพื่อแสดงความเคารพและให้เกียรติผู้นั้น
อ้างอิง : (วิเศษ ชาญประโคน. 2549 : 180 - 181)
สรุป : การมีมารยาททีด่ ผี ู้พูดจะต้องพูดอธิบาย ให้ความรู้ดว้ ยถ้อยคำที่สุภาพ อ่อนโยนต่อผู้ฟัง รวมถึงการให้
เกียรติผู้ฟังโดยไม่แสดงอาการทีไ่ ม่เหมาะสมทางสีหน้าหรืออารมณ์

มารยาทคือกิริยาวาจาที่เรียบร้อย ถูกต้อง และงดงามตามแบบแผนของสังคมและทำให้ผู้ฟังเกิดความ


ศรัทธา มีลักษณะการแสดงออกดังนี้
1. มีกิริยาท่าทางสง่าผ่าเผย สำรวม สุภาพเรียบร้อยมีดวงหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส อาการนั่งยืน หรือ
เคลื่อนไหว เหมาะสมภาคภูมิ
2. แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เลือกใช้เสื้อผ้าเหมาะสม กับกาลเทศะและโอกาส
3. ใช้คำพูดสุภาพเหมาะสมกับเรื่องทีพ่ ูด ไม่พูด ปด โอ้อวด ก้าวร้าว และไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมา
เปิดเผย
4. พูดให้เหมาะกับเวลา และพยายามพูดให้ดีทสี่ ุดในทุกโอกาส
5. ควบคุมอารมณ์ในขณะพูด ไม่แสดงอารมณ์ไม่พงึ ประสงค์ ซึ่งทำให้การสื่อสารมีอุปสรรค
6. รับฟังคิดเห็นจากคนอื่น เปิดโอกาสให้ผู้ฟังแสดงทรรศนะซึ่งแตกต่างจากตน ไม่ผูกขาดการพูดแต่
เพียงผู้เดียว
มารยาทในการพูดช่วยก่อให้เกิดบรรยากาศของการสื่อสารทีด่ ีผู้รบั และผู้ส่งสารมีไมตรีจติ และมีค วาม
เข้าใจยอมรับซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการสื่อสารที่ราบรื่น และเกิดสัมฤทธิผลในที่สุด
อ้างอิง : (ธนู ทดแทนคุณ และกุลวดี ทดแดนคุณ. 2549 : 211-212)
สรุป : มารยาทที่ดตี ้องมีกิริยาท่าทางทีส่ ุภาพเรียบร้อย แต่งกายสะอาด เหมาะสมและถูกกาลเทศะ รวมถึงไม่
พูดโอ้อวด ก้าวร้าวหรือนำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเปิดเผย

๓๗
มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยนสุภาพ หน้ า ตายิ้ ม
แย้มแจ่มใส ไมใช้ท่าทางประกอบคำพูดให้มากจนเกินไป ย่อมช่วยเสริมสร้างให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสผู้
พูดได้เป็นอันมาก การฝึกฝนให้มีมารยาทในการพูดที่พึงปฏิบัตมิ ีดงั ต่อไปนี้
1. ต้องรู้จักกล่าวคำทักทาย เมื่อมีผู้แนะนำให้ขึ้นไปพูด ควรลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉงแต่เรียบร้อย
เดินไปยังที่พูด หยุดเว้นระยะเล็กน้อย แล้วจึงกล่าวคำทักทายหรือคำปฏิสันถารทีเ่ หมาะสม
2. ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ผู้พูดที่ดีต้องเป็นคู่สนทนาทีด่ ี ให้เกียรติและรับฟังผู้อื่นด้วย กรณี พู ด ในที่ ป ระชุ ม
เมื่อมีเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะขณะพูดควรหยุดพูดชั่วคราว รอให้เสียงนั้นเบาลงหรือหยุดจึงค่อยพูดต่อไป
ถ้าเป็นระหว่างการสนทนาควรหยุดพูดตามความเหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สนทนาบ้าง เมื่อพูดจบ
แล้วหยุดเว้นระยะเล็กน้อย ก้มศีรษะให้แก่ผู้ฟังแล้วกลับไปยังที่นั่ง
3. ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และน้ำเสียง เมื่อมีผู้ฟังบางคนโห่ร้องหรือล้อเลียนระหว่างพูด อาจทำให้
อารมณ์เสียได้ ผู้พูดต้องใจเย็นและควบคุมน้ำเสียงตลอดจนกิริยาวาจาของตนไว้ให้สุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ ทั้ ง
ต้องไม่พูดดัดเสียงให้ผิดปกติไปจากน้ำเสียงที่เคยพูดตามปกติในชีวิตประจำวัน
4. ต้องไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขู่ผู้ฟัง เมื่อพูดต่อหน้าทีป่ ระชุมไม่ควรพูดอวดตนหรืออวดภูมิ รวมทั้ ง ไม่
ควรใช้กิริยาวาจาเชิงดูถูก ก้าวร้าว หรือข่มขู่ผู้ฟังแต่อย่างใด
5. ต้องรู้จักใช้คำสุภาพ เมื่อมีความคิดเห็นไม่ตรงกับผู้อื่นระหว่างการสนทนา ไม่ควรพูดจาหยาบคาย
รุนแรง แต่ควรรู้จักกล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ หรือเสียใจในโอกาสอันเหมาะสม
อ้างอิง : (พะนอม แก้วกำเนิด. มารยาทในการพูดที่ด.ี 2560 : 3 )
สรุป : มารยาทที่ดีผู้พูดจะต้องกล่าวคำทักทายผู้ฟัง ถือเป็นการให้เกียรติผู้ฟัง ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์
น้ำเสียง ไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขู่ผู้ฟัง

การพูดของคนเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีหลักเกณฑ์ รู้จักกาลเวลา และที่สำคัญต้องคำนึงถึง


มารยาทที่ดใี นการพูดด้วย
มารยาทในการพูดแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล
2. มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล มีดังนี้
1. เรื่องที่พูดควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน
2. ไม่พูดเรื่องของตนเองมากจนเกินไป ควรฟังในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด ไม่สอดแทรกเมื่อเขา
พูดยังไม่จบ
3. พูดตรงประเด็น อาจออกนอกเรื่องบ้างพอผ่อนคลายอารมณ์
4. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่บังคับให้ผู้อื่นเชื่อหรือคิดเหมือนตน

๓๘
มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ
การพูดในที่สาธารณะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เพราะการพูดในทีส่ าธารณะ
นั้นย่อมมีผู้ฟังซึ่งมาจากที่ต่าง ๆ กัน มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และพื้นฐานความรู้ ความสนใจและรสนิยมต่างกันไป
มารยาทในการพูดระหว่างบุคคลอาจนำมาใช้ได้และควรปฏิบัตเิ พิ่มเติมดังนี้
1. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะแก่โอกาสและสถานที่
2. มาถึงสถานที่พูดให้ตรงเวลาหรือก่อนเวลาเล็กน้อย
3. ก่อนพูดควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังตามธรรมเนียมนิยม
4. ไม่แสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่ประชุม
5. ใช้คำพูดที่ให้เกียรติแก่ผู้ฟังเสมอ
6. ไม่พูดพาดพิงถึงเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นในที่ประชุม
7. ไม่พูดหยาบโลนหรือตลกคะนอง
8. พูดให้ดังพอได้ยินทัว่ กันและไม่พูดเกินเวลาที่กำหนด
อ้างอิง : (มิสฐาปนี จันทร์แว่น. มารยาทการพูด. 2559 : 1 )
สรุป : มารยาทในการพูดระหว่างบุคคล ควรเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนใจและพอใจร่วมกัน ไม่พูดเรื่ อง
ของตนเองมากจนเกินไป มารยาทในการพูดในที่สาธารณะ ไม่ควรแสดงกิริยาอาการอันไม่สมควรต่อหน้าที่
ประชุม

1. มารยาทการพูดระหว่างบุคคล
การพูดระหว่างบุุคคล หมายถึง การที่คนสองคนพูดคุยกัน หรือการสนทนากันภายในกลุ่ม ซึ่งจะมี
มารยาทในวงสนทนาที่เราต้องเรียนรู้ เพื่อไม่เป็นการทำให้ผู้ฟังของเรารู้สึกไม่ดี หรือไม่สบายใจได้ โดยจะมี
มารยาทที่เราควรรู้ ดังนี้
ผู้พูด และผู้ฟังต้องมีความพึงพอใจในเรือ่ งที่จะพูดร่วมกัน
มารยาทในข้อแรกคือการทีเ่ รากับคู่สนทนาจะต้องมีความพึงพอใจในเรื่องที่จะพูดร่วมกัน เพราะถ้าเรา
พูดเรื่องที่ตนเองอยากพูดอยู่ฝ่ายเดียวโดยไม่สนใจอีกฝ่ายก็จะดูเป็นการเสียมารยาท เช่น ถ้าเราอยากพูดถึง
หนังที่เราเพิ่งจะไปดูมา แต่เพื่อนของเราเป็นคนที่ไม่ชอบดูหนังเราก็อาจจะหลีกเลี่ยงเรื่องนี้ แล้วเปลี่ยนไปคุย
เรื่องที่เรา และเพื่อนสนใจร่วมกันจะดีกว่า
เปลี่ยนจากสถานะผู้พูด มาเป็นผู้ฟังบ้าง
หลังจากที่เราได้เรื่องทีจ่ ะพูดคุยร่วมกันแล้ว มารยาทข้อต่อมาทีค่ วรทำ คือ การเปลี่ยนเป็ นคนฟั ง บ้ า ง
เราไม่ควรพูดเรื่องของตัวเองมากจนเกินไป หรือพูดเรื่องนั้นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ควรเว้นจังหวะให้เพื่อนของเราได้
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วย และเราก็ต้องรับฟังอย่างตั้งใจเช่นกัน

๓๙
เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
เมื่อเราได้รับบทเป็นผู้ฟังแล้วสิ่งที่ต้องทำคือ การเคารพความคิดเห็นของผู้ที่คุยกับ เราด้วย เช่ น ถ้ า เรา
กับเพื่อน ๆ กำลังพูดคุยกันเรื่องวิชาที่เรารู้สึกว่าเรียนยาก หรือเรียนง่าย แล้วมีความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างกัน เราก็
ต้องเคารพความคิดเห็นของเพื่อน และไม่ควรไปบังคับให้เพื่อนคิด หรือรู้สึกเหมือนกับเราอยู่ฝ่ายเดียว
ไม่พูดออกนอกเรื่อง หรือนอกประเด็น
มารยาทข้อต่อมาเราควรจะพูดให้ตรงประเด็น หรือพูดให้สอดคล้องกับหัวข้อที่เรากำลังคุยกันอยู่ เช่ น
ถ้าเพื่อน ๆ ของเรากำลังพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องการไปทัศนศึกษา แต่เรากลับพูดออกนอกเรื่องก็อาจจะทำให้เพื่อน
ของเรารู้สึกไม่พอใจ หรือหลุดออกจากประเด็นที่คยุ กันอยู่ก็เป็นได้
ไม่พูดแทรกในระหว่างทีค่ นอืน่ กำลังพูด
มารยาทข้อนี้เป็นสิ่งที่ควรมี และพึงปฏิบัติทั้งการพูด และการฟัง เพราะถ้าเราพูดแทรกขึ้นมาใน
ขณะที่อีกฝ่ายยังพูดไม่จบ จะถือว่าเสียมารยาทมาก ๆ และอาจทำให้ผู้ทกี่ ำลังพูดอยู่เสียสมาธิจนไม่สามารถพูด
ต่อได้ ดังนั้น เราควรรอให้อีกฝ่ายพูดจบแล้วเราจึงค่อยพูดขึ้นมาแทน
2. มารยาทการพูดในที่สาธารณะ
สำหรับการพูดในที่สาธารณะจำเป็นที่จะต้องรักษามารยาทให้มากกว่าการพูดระหว่างบุคคล เนื่องจาก
เป็นการพูดในสถานที่ที่เปิดกว้าง มีผู้ฟังที่แตกต่างกันทั้งทางอายุ ระดับการศึกษา ไปจนถึงมี ค วามรู้ ความเข้ า
ในเรื่องที่เราจะพูดไม่เท่ากัน โดยจะมีมารยาทที่เราควรรู้ ดังนี้
การแต่งกายให้สุภาพ ถูกกาลเทศะ
เมื่อเราต้องไปพูดตามสถานทีต่ ่าง ๆ นอกจากที่เราจะต้องศึกษากฎระเบียบ หรือข้อปฏิบัติของสถานที่
นั้น ๆ แล้ว ก็ยังต้องศึกษาลักษณะของงานที่เราจะไปพูด เพื่อจะได้แต่งตัวตามรูปแบบงาน ตามความเหมาะสม
ของสถานที่ หรือเหมาะสมกับช่วงเวลาที่พูดด้วย
ควรแสดงความเคารพต่อผู้ฟังก่อนจะเริ่มพูด
การเริ่มกล่าวทักทายผู้ฟัง หรือเกริ่นนำผู้ฟังเข้าสู่เรื่องที่เรากำลังจะพู ดนั้นนับว่าเป็นมารยาทสากลที่ผู้
พูดควรจดจำ และปฏิบัติทุกครั้ง เช่น เวลาที่เราจะนำเสนองานหน้าชั้นเรียนเราควรยกมือไหว้คุณครู สวัสดี
เพื่อน ๆ หรือเรามักจะได้ยินคำกล่าวตอนเริ่มนำเสนอรายงานว่า เรียนคุณครูที่เคารพ และสวัสดีเพื่อน ๆ ที่
น่ารักทุกคน ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง และแสดงถึงมารยาทที่ดี
พูดให้พอดีกับเวลาที่กำหนด
เมื่อเราต้องพูดในงานที่มีระยะเวลากำหนดไว้ เราควรจะฝึกซ้อม และพยายามพูดเนื้อหาของเราให้
พอดีกับเวลาที่กำหนด เป็นข้อที่สำคัญมากเมื่อเราต้องไปพูดในงานที่มคี นอื่นรอพูดต่อจากเรา หรือมีพิธีการอื่ น
ๆ ทีต้องดำเนินไปตามเวลา ถ้าเราพูดเลยเวลาที่กำหนดก็จะไปกระทบกับเวลาของผู้อื่นด้วย
ไม่พูดพาดพิงถึงบุคคลอื่น
มารยาทในการพูดข้อต่อมา เวลาที่เรากำลังพูดเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่เราไม่ควรกล่าวพาดพิง หรื อ
กล่าวถึงเรื่องของผู้อื่น เพราะจะถือเป็นการไม่ให้เกียรติบคุ คลที่เรากำลังกล่าวถึง

๔๐
อย่าแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้พูดในที่นี้จะหมายถึง การกระทำที่จะส่งผลให้คนฟังรู้สึกไม่ดี หรื อไม่
พอใจกับสิ่งที่เรากำลังทำ เช่น การตะโกนใส่ผู้ฟัง การแสดงท่าทางไม่พอใจกับเรื่องทีก่ ำลังพูด หรื อด่ า ทอผู้ ฟั ง
ขณะที่พูด เพราะเป็นพฤติกรรมไม่สุภาพ และไม่สมควรทำอย่างยิ่งเมื่อต้องออกไปพูดต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก
ไม่พูดคำหยาบคาย หรือพูดจาไม่สุภาพ
มารยาทข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ เลย นั่นคือการควรควบคุมถ้อยคำ หรื อสำนวนที่เราจะใช้พูดต่อ
หน้าที่สาธารณะไม่ให้มีคำหยาบคาย หรือคำพูดทีไ่ ม่สุภาพ เพราะจะทำให้คนที่ฟังรูส้ ึกไม่ดี และทำให้เรื่องทีเ่ รา
พูดดูไม่น่าฟังขึ้นมาทันที
อ้างอิง : (สวนิต ยมาภัย. มารยาทในการพูด. 2528 : 5 )
สรุป : มารยาทที่ดไี ม่ควรพาดพิงถึงบุคคลอื่น ไม่พูดออกนอกเรื่อง หรือนอกประเด็น และควรพู ด ให้ พ อดี กับ
เวลาที่กำหนด

1. ในการพูดต้องรู้กาลเทศะว่า เมื่อใดควรพูด เมื่อใดไม่ควรพูด เช่น ขณะรับประทานอาหาร ไม่ ค วร


พูดเรื่องน่าเกลียด น่ากลัว สยดสยอง งานมงคลไม่ควรพูดเรื่องโศกเศร้า
2. พูดด้วยกิริยาที่อ่อนน้อมถ่อมตัว
3. ไม่พูดสอดแทรกหรือขัดจังหวะผู้อื่น ต้องรอให้ผู้อื่นพูดจบข้อความเสียก่อนแล้วจึงพูดต่อ
4. เรื่องที่พูดนั้นควรเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายสนใจ พอใจร่วมกัน เช่น ข่าวเหตุการณ์ที่เป็นทีส่ นใจ
5. พูดตรงประเด็นอาจจะออกนอกเรื่องได้บ้างเล็กน้อย เพื่อผ่อนคลายอารมณ์
6. เคารพในสิทธิและความคิดเห็นผู้อื่นตามสมควร ไม่พยายามข่มให้ผู้อื่นเชื่อถือหรือคิดเหมือนตน
หรือแสดงว่าตนรู้ดีกว่าผู้พูดอื่น ๆ
7. ไม่กล่าวร้ายหรือนินทาผู้อื่น หลีกเลี่ยงการใช้คำทีแ่ สดงการดูหมิ่นผู้ทเี่ ราพูดด้วย ในขณะที่ พูด ควร
วางตัวให้สุภาพเรียบร้อย ไม่แสดงว่าตนรูย้ กตนข่มท่าน
8. ต้องควบคุมอารมณ์ในขณะสนทนา หลีกเลี่ยงการใช้คำโต้แย้งรุนแรง
9. พูดด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงไมตรีจิตต่อกัน และแสดงความสนใจในเรื่องที่พูดด้วยท่าทางมี
ชีวิตชีวา
10. ใช้ภาษาสุภาพ ถ้าใช้คำคะนองบ้างก็ให้พอเหมาะแก่กาลเทศะและผู้ฟัง
11. ใช้เสียงดังพอควร ไม่ตะโกน ไม่ใช้เสียงกระด้างหรือเสียงเบาเกินไป
12. ขณะที่พูดควรมองหน้าสบตาผู้พูดอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องตั้งใจฟังคำพูดของผู้พูดอื่น ๆ และไม่
กระซิบกระซาบกับคนนั่งข้างเคียง
อ้างอิง : (สถาพร พันธุ์มณี. หลักการพูด. 2523 : 2 )
สรุป : ควรใช้เสียงที่ดังพอดี ไม่ตะโกน ควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ดี หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่รนุ แรง รวมถึงควร
พูดด้วยใบหน้าทีย่ ิ้มแย้มแจ่มใส

๔๑
หลักปฏิบัติในการพูด
สำเนียง มณีกาญจน์ และสมบัติ จำปาเงิน (2542:42) กล่าวถึงข้อควรปฏิบัติในการพูด 12 ประการ
ดังนี้
1. การตรงต่อเวลา ควรไปถึงสถานที่ก่อนเวลา เพื่อเตรียมพูด
2. การก้าวขึ้นสู่เวทีพูด ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน ควรให้เป็นไปตามธรรมชาติ มีความองอาจมั่นใจใน
ตนเอง ถ้ารู้สึกประหม่าอยู่บ้าง ควรหายใจลึกๆ สองสามครั้งจะช่วยได้มาก
3. ระมัดระวังเรื่องการแต่งกาย ควรแต่งกายอย่างรัดกุม การแต่งกายสวยมีจุดเด่นเกินไป จะทำให้
ผู้ฟังหันไปสนใจกับสิ่งนั้นๆ มากกว่าการพูด
4. ให้เกียรติผู้ฟังเสมอ เช่น การผายมือไปยังผู้ฟัง การยิ้มให้แก่ผู้ฟัง
5. ควรประสานกับผู้ฟังโดยทัว่ ๆไป เพราะสายตาเป็นสื่อสัมพันธ์ที่โยงสายใยของหัวใจเข้าหากัน ทั้งยั ง
แสดงความจิตใจอีกด้วย
6. การใช้ภาษาสุภาพ ควรแทรกความขบขัน ผ่อนอารมณ์บ้าง แต่ต้องคำนึงถึงเนื้อหาด้วย
7. ตัวอย่าง ข้ออ้างอิง จะต้องชัดเจน ต้องผสมกลมกลืน เข้ากับเนื้อหาได้ดี
8. ลีลาการพูด ควรให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่อง ผู้พูดต้องมีไหวพริบพร้อมจะปรับลีลาให้เข้ากับ
สภาพแลดล้อม จังหวะและโอกาสพูด
9. คอยสังเกตุปฎิกิริยาจากผู้ฟัง ถ้าเห็นผู้ฟังเบื่อหรือมีสิ่งอื่นมารบกวนสมาธิ ควรเปลี่ยนแนวการพูด
ใหม่ให้เหมาะ ไม่ต้องคิดว่าเตรียมมาอย่างไรจะต้องพูดอย่างนั้นเท่านั้นทั้งหมด
10. ไม่ควรพูดแข่งกับเสียงหัวเราะ หรือเสียงปรบมือ
11. มีการทิ้งท้ายให้ผู้ฟังเก็บเอาไปคิด หลังจากสิ้นสุดการพูด
12. พูดตามที่ตั้งใจไว้ และรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด
อ้างอิง : (ธนู ทดแทนคุณ และกุลวดี ทดแดนคุณ. 2549 : 214)
สรุป : ควรตรงต่อเวลาหรือไปก่อนเวลาเพื่อเตรียมตัวในการพูด ถือเป็นการให้เกียรติผู้ฟัง คือ ไม่ ต้ องให้ ผู้ฟั ง
ต้องรอ เมื่อพูดจบควรทิ้งท้ายให้ผู้ฟังเก็บเอาไปคิดด้วย

หลักปฏิบัติในการพูด
1. ศึกษาเกี่ยวกับผู้ฟังและสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดดังนี้
1.1 ศึกษาผู้ฟังว่าอยู่ในวัยใด เพศใด การศึกษาระดับใด อาชีพอะไร
1.2 ศึกษาผู้ฟังว่ามีเจตคติ อารมณ์ และรสนิยมอย่างไร
1.3 ศึกษาสภาพแวดล้อม เช่น สถานที่ที่จะพูด ช่วงเวลา
2. เลือกเรื่องและจัดเนื้อเรื่องที่พูด
2.1 การเลือกเรื่อง ควรเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้ฟังเป็นเรื่องที่แปลกใหม่
2.2 การจัดเนื้อเรื่อง เริ่มจาก คำนำ ต้องดึงดูดความสนใจ ไม่กล่าวถ่อมตัว แก้ตัว หรื อ
กล่าวถึงความเป็นมาของเรื่องไกลเกินไป ควรเป็นใจความเพียง 2 – 3 ประโยค ส่วนเนื้อเรื่องต้องเป็น
๔๒
ข้อเท็จจริง หลักฐาน เหตุผล และตัวอย่างที่ชัดเจน การสรุปไม่ใช่การย่อเรื่องที่พูดแล้ว แต่เป็นการเน้น
ประเด็นสำคัญด้วยถ้อยคำสำนวนทีเ่ ด่นเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความประทับใจ
3. เตรียมตัวผู้พูด
ผู้พูดที่ไม่มีประสบการณ์ในการพูดในที่ประชุมชนมาก่อนมักตื่นเต้น ประหม่า เสี ยงสั่น ท่าทางเคอะ
เขิน อันเป็นลักษณะของการขาดความมัน่ ใจในตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพูดล้มเหลว ผู้ พู ด จึ ง ควร
เตรียมตัวและฝึกฝนการพูดอยู่ตลอดเวลา เพื่อความมั่นใจในตนเอง
อ้างอิง : (ขวัญชัย กิตติปาโล. หลักและศิลปะการพูด. 2561 : 1 )
สรุป : ควรศึกษาว่าผู้ฟังอยู่วัยไหน เพศใด อาชีพอะไร เพื่อที่จะได้เตรียมเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ฟัง และควร
ฝึกพูดบ่อยๆเพื่อจะได้มีความมั่นใจในการพูดมากขึ้น

1. พูดให้มีเนื้อหาสาระ เชิงสร้างสรรค์ น่าสนใจ พูดแล้วทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจ มีความหวังรู้สึกดี สด


ชื่น สมหวัง
2. มีความตั้งใจ จริงใจในการพูด น้ำเสียงในการพูดนั้นต้องแสดงออกถึงความจริงใจ สุภาพอ่อนโยน
ดังชัดเจน ตั้งใจที่จะให้ความรูท้ ี่มเี นื้อหาสาระดี
3. มีความเข้าใจผู้ฟัง ผู้ที่เราจะพูดด้วย หากเรามีความเข้าใจผู้ฟังว่าต้องการอะไร ผู้พูดมีเจตนาดี การ
พูดนั้นก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
4. การพูดที่ดีนั้นต้องให้เกียรติผู้ฟังเสมอ กริยาท่าทาง การพูดให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นการสร้าง
ความเป็นมิตร สร้างความรัก ความผูกพัน ความสามัคคี
หลักการทั้ง 4 ข้อนี้เป็น หลักการการพูดที่ดีที่ทำให้เกิดสิ่งที่ดีๆ ตามมาอย่างมากมาย ทำให้ผู้พูดมี
เสน่ห์ ทำให้เกิดความสำเร็จตามที่ผู้พูดต้องการ การพูดที่ดเี ป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในชีวิต การพู ด ที่ ดีนั้น
เป็นศิลปะที่ต้องฝึกฝน
อ้างอิง : (เกรียงศักดิ์ พลอยแสง. หลักปฏิบัติ. 2560 : 3 )
สรุป : หลักการการพูดที่ดีทที่ ำให้เกิดสิ่งทีด่ ีๆ ตามมาอย่างมากมาย ทำให้ผู้พูดมีเสน่ห์ ทำให้เกิดความสำเร็ จ
ตามที่ผู้พูดต้องการ การพูดที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในชีวิต การพูดทีด่ ีนั้นเป็นศิลปะทีต่ ้องฝึกฝน

หลักปฏิบัติในการพูดที่ดี
๑.ก่อนพูดควรคิดก่อนเสมอ ระมัดระวังคำพูดที่จะทำให้คนอื่นไม่พอใจ อย่าพูดพล่อยๆ โดยไม่มี
หลักฐาน
๒.ควรใช้คำพูดที่สุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
๓.ออกเสียงสระ พยัญชนะ และตัวควบกล้ำให้ชัดเจน
๔.ควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยาของการพูด เช่น
(๔.๑) มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสในการพูด
(๔.๒) มีคำยกย่องชมเชยคนฟังตามสมควร

๔๓
(๔.๓) ไม่พูดตำหนิ นินทาผู้อื่นต่อหน้าคนฟังมากๆ
(๔.๔) ไม่พูดขัดคอคนอื่นในทำนองทะลุกลางปล้อง
(๔.๕) ไม่พูดถึงจุดอ่อนของคนฟังบ่อยๆ
(๔.๖) ไม่ควรแสดงอารมณ์รุนแรง
๕.ไม่ควรใช้ภาษาที่ผิดแบบแผนหรือภาษาทีใ่ ช้กันเฉพาะกลุ่ม
อ้างอิง : (สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา. การพูดขั้นพื้นฐาน. 2561 : 5 )
สรุป : ก่อนพูดควรคิดหรือไตร่ตรองให้ดกี ่อน และควรระมัดระวังคำพูดทีจ่ ะทำให้ผู้ฟังไม่พอใจ รวมถึงการใช้
ถ้อยคำที่สุภาพเหมาะสมและถูกกาลเทศะ

หลักเบื้องต้นของการพูด
การพูดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ การที่จะพูดให้คล่องแคล่วหรือ สามารถพูดให้จั บใจคนฟั ง
พูดให้คนเชื่อศรัทธาและเข้าใจ จึงเป็นสิ่งที่เกิดจากการศึกษา และฝึกฝน ซึ่งมีสิ่งที่ผู้พูดจะต้องศึกษาเป็น
เบื้องต้นคือ
1.การเตรียมตัวผู้พูด
2.การวิเคราะห์ผู้ฟังและกาลเทศะ
3.การเลือกเรื่องที่พูด
4.การเขียนต้นฉบับ
ทั้งสี่ส่วนนี้มีส่วนสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ที่จะช่วยส่งเสริมให้การพูดประสบผลสำเร็จและบรรลุ
วัตถุประสงค์ตามเป้าหมายทีว่ างไว้ ส่วนประกอบแต่ละส่วนนั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การเตรียมตัวผู้พูด
ผู้พูดเป็นจักรกลสำคัญของการพูด และจะต้องยืนอยู่ต่อหน้าผู้คนเป็นจำนวนมาก ความพร้อมทุกอย่าง
รวมถึงบุคลิกภาพที่ดี และใช้เครื่องสื่อความหมายได้อย่างยอดเยี่ยมจะทำให้การพูดครั้งนั้นมีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น มีอะไรบ้างที่ผู้พูดควรปรับปรุงเพื่อสร้างประสิทธิภาพของการพูด
1.1 การใช้ภาษา ภาษาเป็นเครื่องหมายแสดงถึงรสนิยมที่ดีงามของผู้ของผู้พูด ผู้พูดที่ดีไม่
จำเป็นต้องใช้ศัพท์แปลกๆ หรือประโยคสลับซับซ้อนแต่ควรใช้ถ้อยคำทีม่ ีความหมาย ประโยคสั้ นเข้ า ใจง่ าย มี
ข้อแนะนำบางประการในการใช้ภาษา
1.1.1 ใช้ภาษาให้เหมาะสมแก่บุคคล สถานที่ และโอกาส โดยคำนึงถึงพื้นฐานของ
ผู้ฟัง เช่น จะเล่านิทานให้เด็กฟังต้องใช้ภาษาอีกระดับหนึ่ง จะใช้ภาษาเหมือนกำลังสนทนากับผู้ใหญ่ไม่ได้
1.1.2 ใช้ภาษาที่สุภาพ มิใช่ภาษาเขียน หรือภาษาราชการ โดยทั่วไปนิยมใช้ภาษา
สนทนาที่สุภาพ ผู้พูดที่ใช้ลีลาของการสนทนา จะทำให้การพูดนั้นพรั่งพรูไม่เป็นที่รำคาญของผู้ฟัง
1.1.3 ใช้คำง่ายๆ ประโยคไม่สลับซับซ้อน และสั้นกว่าประโยคในภาษาเขียน ในแต่
ละประโยคไม่ควรมีสันธานเชื่อมประโยคมากกว่า 1 คำ เช่น คำว่าซึ่ง เพราะฉะนั้น อันที่ ฯลฯ

๔๔
1.1.4 ใช้บุรุษสรรพนาม คำแทนตัวทัง้ ของผู้พูด และผู้ฟังจะทำให้บรรยากาศของ
การติดต่อสื่อสารกันใกล้ชิดยิ่งขึ้น ตรงไปตรงมา และเป็นกันเอง นิยมใช้คำว่าผม ดิฉัน
1.1.5 อย่าใช้ถ้อยคำ หรือวลีหรือข้อความเดียวกันซ้ำๆ ซากๆ จะทำให้ผู้ฟังเกิด
ความเบื่อหน่ายและไม่สนใจฟัง เช่น นอกจากนี้แล้วก็ แบบว่า อย่างว่า ฯลฯ
1.1.6 ใช้คำพูดที่ให้อารมณ์ร่วมและเห็นภาพพจน์ เพราะจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย
และไม่ต้องเสียเวลาคิด เช่น โปร่งใส
1.2 น้ำเสียง น้ำเสียงในการพูดแสดงให้เห็นถึงความสุภาพ หรือความไม่สุภาพของผู้พูดได้
อย่างได้เป็นอย่างดี เสียงของคนเราย่อมเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงได้ เสียงที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1.2.1 มีความดังและความเร็วพอสมควร หรือไม่ช้าเนิบนาบจนน่ารำคาญไม่ดังหรือ
เบาจนเกินไปหางเสียงไม่ยาวหรือห้วนจนไม่น่าฟัง ออกเสียงชัดเจนถูกต้องตามความนิยมของสังคม
1.2.2 แจ่มใสนุ่มนวลชวนฟัง น้ำเสียงของผู้พูดจะบ่งบอกถึงอารมณ์และความรู้สึก
ของผู้พูด ผู้พูดกวนเคารพผู้ฟัง โดยแสดงออกทางน้ำเสียงขณะพูด การเพิ่มคำว่า "ค่ะ" "นะคะ" "นะครั บ" ท้ า ย
ประโยคของการพูด จะช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้แก่ผู้พูดอีกด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องมีคำเหล่านี้ทุกประโยค
เพราะจะกลายเป็นเรื่องน่ารำคาญ
1.2.3 เข้ากับกาลเทศะ การปรับปรุงเสียงให้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่
ตลอดจนอารมณ์ของผู้ฟังและความมุ่งหมายของผู้พูดเอง เช่น ถ้าพูดเกี่ยวกับเรื่องทางวิชาการควรพูดให้ช้าลง
พูดเรื่องสนุกเบาสมองและเข้าใจง่ายควรพูดให้เร็วขึ้น ถ้าเป็นเรื่องเศร้าก็พูดให้เสียงเศร้าตามไปด้วย ถ้าเป็น
เรื่องตื่นเต้นก็ควรพูดให้เสียงดังและตื่นเต้นด้วย อัตราการพูดที่ดีเหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 120-180 คำต่อ
นาที
1.2.4 ไม่เป็นเสียงเคียวเนือยๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้พูดที่มีเสียงต่ำและช้าจะทำให้ผู้ฟั ง
เบื่อหน่ายและง่วงผู้พูดที่ใช้เสียงสูงเกินไปจะทำให้ผู้ฟังเกิดความตึงเครียดและเหนื่อย
1.2.5 ออกเสียงให้ถูกต้องโดยเฉพาะคำ /ร/ล/กว/ทร/คว/ขว/
1.2.6 ไม่พูดตัดคำจนสั้นหรือพูดเร็วจนฟังไม่เพราะเช่น
กิโลกรัม เป็น กิโล
สับปะรด เป็น สับ-รด
มหาวิทยาลัย เป็น มหาลัย หรือมหาวิชชาลัย
1.3 การใช้สายตา สายตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ การพูดอาศัยความจริงใจเพราะฉะนั้นปาก
พูดตาต้องมองผู้ฟังจะทำให้เข้าใจตรงกันได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ทั้ งการสื่อความหมายก็เป็นไปด้วยดี ผู้พูด
ต้องพยายามสบตาผู้ฟัง เพราะจะแสดงว่าเราสนใจผู้ฟังตลอดเวลาและจะช่วยสร้างบรรยากาศและความรู้สึกที่
ดีต่อกันด้วย
1.4 การเดิน เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพและเป็นสื่อแสดงที่สะดุดตาหรือสนใจ
ของผู้ฟัง จากเก้าอี้นั่งไปยังเวทีไม่ควรเดินเร็วหรือช้าเกินไป ส่งตัวให้สง่า หลังไม่โกงหน้าอกไม่ยืด ไม่

๔๕
กระมิดกระเมี้ยนเหนียมอาย แกว่งสายตาตามปกติ หัวไหล่ไม่ตึงและแข็งทื่อ ศีรษะตั้งตรง คางไม่ยื่นล้ำมาก
เกินไป
1.5 การทรงตัว หมายถึง การยืนในขณะพูด ไม่ควรยืมตามสบายจนเกินไปและก็ไม่ตงึ เครียด
มาก ท่ายืนที่ดีที่สุดคือ ถ้าที่เราสามารถควบคุมกล้ามเนื้อในร่างกายได้อย่างสบาย เท้าทั้งสองข้างไม่อยู่หา่ งหรือ
ชิดติดกันจนเกินไป ควรให้อยู่ห่างกันประมาณ 1 คืบ ปลายเท้าอยู่ล้ำกันนิดหน่อยน้ำหนักตัวตรงบนเท้า 2 ข้าง
ท่ายืนไม่ควรนำมาใช้ในการพูดคือ ถ้ายืนแบบทหาร ท่า ยืนเทศน์ ท่ายืนแสดงตนเหนือผู้ฟัง ท่ายืนเสมื อนดารา
ภาพยนตร์หรือนางแบบ
1.6 การแสดงออกทางใบหน้า เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ผู้พูดใช้สื่อความหมายกับผู้ฟัง
ผู้ฟังจะอ่านความรู้สึกของผู้พูดได้จากสีหน้า การที่ผู้พูดใส่ความรู้สึกในใบหน้าจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย
และลึกซึ้ง การแสดงสีหน้าของผู้พูดจะต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่พูดและอากัปกิริยาที่ใช้ประกอบ เช่น เมื่อ
พูดถึงเรื่องเศร้า พูดถึงเรื่องหนักปัญหาสำคัญก็สีหน้าขรึม พูดถึงเรื่องปกติธรรมดาทั่วไป ก็แสดงสีหน้ายิ้มแย้ม
แจ่มใส
1.7 การแสดงท่าทาง ปกติคนเราชอบดูภาพที่เคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่งท่าทาง
ประกอบการพูดจะเป็นสิ่งที่ดงึ ดูดความสนใจของผู้ฟัง และทำให้การพูดมีประสิทธิภาพมากขึ้ น การใส่ ท่ า ทาง
ประกอบนั้นจะทำให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด ดูไม่ขัดตา การใช้มือประกอบท่าทางควรอยู่ระดับสายตาและ
ระดับเอวของผู้พูด ไม่ควรให้เก้งก้างและไร้สาระ หรือล้วงแคะแกะเกา ผู้พูดหน้าใหม่จะมีความรู้สึกว่ามือของ
ตนเป็นส่วนที่เกะกะ และเก้งก้างที่สุด วิธีที่แก้ได้คือ ให้แขนห้อยลงแนบลำตัวปล่อยตามสบาย เมื่อถึงคราวที่
จำเป็นต้องใช้ท่าทางประกอบ ก็ยกขึ้นมาใช้อย่างสุภาพเรียบร้อยและมีชีวิตชีวา
1.8 การแต่งกาย เป็นการบอกนิสัยใจคอและรสนิยมของผู้พูด การแต่งกายที่ดีคือสุภาพ
เรียบร้อยตามสมัยนิยม โดยคำนึงถึงวัย รูปร่าง และฐานะของผู้แต่ง ผู้พูดที่แต่งกายสวยเด่นใช้เครื่องประดับ
มากเกินไปหรือรุงรังเกินไป จะทำให้ผู้ฟังหันมาสนใจเครื่องแต่งกายของผู้พูดมากกว่าเนื้ อหาที่พูด เรื่องราวของ
การแต่งกายรวมไปถึงทรงผม ใบหน้า รองเท้า
อ้างอิง : (จิระภพ สุคันธ์กาญจน์ และคณะ.2521 : 205-208)
สรุป: การพูดเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ การที่จะพูดให้คล่องแคล่วสามารถพูดให้คนอื่นเชื่อและ
เข้าใจ จึงเป็นสิ่งที่เกิดจากการศึกษาและฝึกฝน

การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
๑. ศาสตร์ในการพูด ก็คือ การเรียนรู้หลักการพูด ซึ่งหลักการพูดนั้นมีวิชาการมากมายที่ต้องเรียนรู้
เช่น การใช้ภาษา การออกเสียง การใช้โทนเสียง การปรับเสียงตามความหนักเบาของการเน้น การวิเคราะห์
ผู้ฟัง การตอบและการโต้ตอบ การใช้สายตา การประสานตา การกวาดสายตา การเคลื่อนไหว ฯลฯ เป็น
ศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้กันค่อนข้างนานและละเอียดละอออย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎี ต่าง ๆ การ
วางแผนต่าง ๆ ความรู้และวิทยาการหลายรูปแบบ ซึ่งมาใช้ประกอบเป็นศาสตร์การพูด

๔๖
๒. ศิลป์การพูด
ศิลป์การพูด เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฝึกฝนภายใต้ศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว บางครั้งก็เรียนศาสตร์อย่าง
กระจ่างแจ้ง แต่ก็ไม่มีศิลป์ก็ไปไม่รอดเช่นกัน ศิลปะเป็นความสามารถส่วนบุคคล ความมีไหวพริบ ปฏิภาณ
ความถนัด ตลอดจนศักยภาพของแต่ละคนที่จะมีการต่อการพูดของเขาเอง ก็เช่นเดียวกัน มีศิลป์การพูดช่ำชอง
แต่ถ้าไม่มีศาสตร์ก็ไปไม่รอดเช่นกัน ดังนั้น นักพูดต้องเรียนรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ไปพร้อม ๆ กัน
อ้างอิง : (จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ.หลักในการพูด.2538 : 2 )
สรุป: การพูดมีวิชาการมากมาย การวิเคราะห์ การโต้ตอบและการตอบ การพูดเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้ อง
เรียนรู้เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎี การวางแผนความรู้ต่างๆมาประกอบเป็นศาสตร์การพูด

ศิลปะในการพูดเป็นสิ่งทีส่ อนกันไม่ได้เป็นแต่สิ่งทีศ่ ึกษาและฝึกฝนกันได้ เพราะการพูดเป็นพฤติกรรมที่


เกิดจากการเรียนรู้ ดังนั้นการจะมีความสามารถที่จะพูดได้คล่องแคล่ว หรือความสามารถที่ จ ะพู ด ให้จั บ ใจคน
ฟัง พูดให้คนเชื่อถือ ศรัทธา และเข้าใจนั้นจึงเป็นสิ่งที่เกิดจากการศึกษาและฝึกฝน ถ้าเราศึกษาชีวประวัติของ
นักพูดเอกๆ เช่น เซอร์วินสตัน เซอร์ชิล ประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี
ประธานาธิบดีริชาร์ด เอม. นิกสัน ฯลฯ แล้ว จะพบว่าท่านเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ได้ศึกษาวิชาวาทวิ ทยา
(ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม)และได้มีการฝึกฝนมาแล้วทั้งสิ้น ที่กล่าวมานี้มิได้หมายความว่า ผู้ที่ได้ศึกษาวิชา
วาทวิทยานี้แล้วจะต้องเป็นนักพูดเอกชื่อเสียงโด่งดัง แต่ต้องการจะเน้นให้เห็นว่าความสามารถในการพูดนั้น
เป็นสิ่งที่เกิดจากการศึกษาและฝึกฝน ไม่มีใครที่เกิดมาแล้วพูดเก่งเลย หรืออาจพูดได้ว่าทุกคนเกิดมาแล้วก็จะ
พูดได้ แต่ไม่ทุกคนที่จะพูดเป็นก่อนที่จะมีการฝึกฝน ผู้พูดจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้รู้ถึงหลักการเบื้องต้ นในการ
พูดที่สำคัญๆไว้ การพูดที่ดแี ละมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.การปรับปรุงตัวผู้พูด
2.การวิเคราะห์ผู้ฟังและกาลเทศะ
3.การเลือกเรื่องพูด
1.การปรับปรุงตัวผู้พูด
โดยเหตุที่ในการพูดนั้น ผู้พูดจะต้องแสดงออกถึงบุคลิกภาพซึ่งรวมทั้งการใช้ภาษา น้ำเสียง การยืน
การแต่งกาย การใช้สายตา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนเครื่องมือสื่อความหมายไปสู่ผู้ฟังดังนั้น ผู้พูด จะต้ องรู้ จั ก
ปรับปรุงให้รู้จกั ใช้เครื่องมือสื่อความหมายเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพดังจะได้กล่า วต่อไปนี้
1.1 การใช้ภาษา ผุ้พูดจะต้องใช้ภาษาพูดให้ถูกต้องกับความนิยมของกลุ่มชนในสังคม
นอกจากภาษาจะเป็นเครื่องมือสื่อความหมายแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงถึงรสนิยมที่ดีงามของผู้พูดอีกด้วย ในการ
เป็นผู้พูดที่ดีนั้นไม่จำเป็นที่ว่าผู้พูดจะต้องใช้ศพั ท์แปลกๆ หรือ ผูกประโยคสลับซับซ้อน แต่ผู้พูดควรใช้ถ้อยคำที่
มีความหมาย ประโยคจะต้องสั้นและเข้าใจง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาครูควรจะรู้จักเลือกใช้คำที่
กระทัดรัด ง่ายแก่การเข้าใจของนักเรียนมาอธิบายในชั้น ไม่ใช่เอาคำยากมาอธิบายให้เด็กฟัง และควรใช้ ภาษา
ให้ถูกหลักภาษาไทยด้วย ความจริงแล้วเด็กจะเรียนสิ่งต่างๆ ด้วยการลอกเลียนแบบ ถ้าครูพูดให้หอ้ งเรี ย นด้ ว ย
ภาษาที่ไม่สุภาพและหยาบแล้วเด็กก็จะจำไปใช้ อาจจะยึดข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นหลักเกณฑ์ในการใช้ภาษา

๔๗
1.2 น้ำเสียง น้ำเสียงในการพูดมีส่วนสำคัญอย่างมากในการส่งความหมายจากผู้พูดไปยัง
ผู้ฟัง น้ำเสียงที่พูดนั้นอาจจะแสดงให้เห็นถึงความสุภาพ หรือความไม่สุภาพในตัวผู้พูดได้เป็นอย่ า งดี และเสี ย ง
ของคนเราย่อมเปลี่ยนแปลงได้ นั่นหมายความว่า เราอาจจะปรับปรุงเสียงให้ดีขึ้นได้ ถ้าเสียงไม่ดีการสื่อ
ความหมายก็ขาดประสิทธิภาพไปถ้าเสียงดีก็จะทำให้การสื่อความหมายได้ผล
1.3 การใช้สายตา สายตาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของผู้พูด เมื่อผู้พูดได้สบตา
ผู้ฟังแล้ว จะทำให้การสื่อความหมายเป็นไปได้อย่างสะดวก และเกิดความเข้าใจได้อย่างรวดเร็วขึ้น เพราะ
สายตานั้นสามารถสร้างความสัมพันธ์ และถ่ายทอดความรู้สึกของผู้พูดไปสู่ผู้ฟังได้ วิธีที่ใช้สายตาทีด่ ี คือ ค่ อยๆ
กวาดสายตาไปหาผู้ฟัง พยายามมองให้ทั่วถึงกัน และถ้าสอบถามกับผู้ฟังให้แสดงความจริงใจออกมา ทาง
สายตานั้นๆด้วย ผู้พูดต้องพยายามมองผู้ฟังอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นการแสดงว่าเราสนใจผู้ฟัง ผู้พูดจะต้ องไม่
ใช้สายตามองพื้น เพดาน ประตู มองข้ามหัวผู้ฟังไปยังฝาห้อง ,หรือมองออกไปด้านนอก จงจำเอาไว้ว่าเมื่อตา
มองปากก็พูด
1.4 การเดิน การเดินเป็นสิ่งแรกที่สะดุดตาหรือเป็นจุดสนใจของผู้ฟัง และนับเป็นส่วนสำคัญ
ของบุคลิกภาพด้วย วิธีการเดินที่ดีนับแต่ที่นั่งของผู้พูดนั้น ควรก้าวเดินในฝีเท้าทีพ่ อเหมาะไม่ช้าหรือเร็ ว เกิ นไป
ในขณะเดียวกันก็ทรงตัวให้สง่างาม ไม่เดินหลังโก่งหรือยืดอกหรือกระมิดกระเมี้ยนอาย ระวังอย่าให้หัว ไหล่ ตึ ง
และทื่อ ขณะที่เดินต้องให้แขนแกว่งตามสบาย แต่ต้องระวังไม่ให้แกว่งมากเกินไปหรือไม่แกว่งเลย และใน
ขณะเดียวกันศีรษะจะต้องตั้งตรง ควรจะอยู่ในลักษณะทีข่ นานกับพื้นตลอดเวลา ในขณะที่เดินนั้น อย่ า ให้ ค าง
ล้ำอวัยวะส่วนอื่น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการเดิน อาจจะหัดเดินด้วยการเดินทูลหนังสือบนศีรษะ
สำหรับนักศึกษาที่ออกไปเป็นครูนั้น เวลาที่พูดคือเวลาสอน ฉะนั้นจะต้องยืนพูดมิใช่นั่งพูด
และเวลาสอนไม่ควรเดินมากนัก เวลาเดินในห้องเรียนก็ไม่ควรเดินตามสบาย หรือรีบเร่งจนเกินไป และ
นอกจากนี้ก็ไม่ควรนั่งบนโต๊ะเรียนด้วย
1.5 การทรงตัว การทรงตัวหรือการยืนก็เป็นอีกส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของผู้พูด การทรง
ตัวในขณะที่พูดนั้นจะต้องระมัดระวังไม่ให้ยืนสบายจนเกินไป คือต้องไม่ผ่อนคลายกล้ามเนื้อจนมากเกินไป และ
ต้องไม่ยืนให้ตึงเครียดมาก เพราะความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เพราะจะทำให้ความสามารถในการพูดลดน้ อย
ถอยลง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วและมีชีวิตจิตใจ ท่ายืนที่ดีที่สุด คือท่าที่เราสามารถ
ควบคุมกล้ามเนื้อในร่างกายได้อย่างสบาย โดยมีความรู้สึกว่าไม่ต้องยืนมากนัก ในขณะที่ยืนนั้น ต้องมี
ความรู้สึกว่าไม่เครียด และมีความเป็นตัวของตัวเองควรจะระลึกไว้เสมอว่า การทรงตัวทีด่ นี ั้น หลัง จะต้ องตรง
ไม่โกงงุ้ม ไหล่ต้องไม่ห่อ และจะต้องรู้จักเก็บท้องด้วย คือไม่ให้หน้าท้องยื่นออกมา ท่ายืนที่ไม่ควรนำไปใช้ใน
การพูด คือ ที่ยืนแบบทหาร ท่ายืนเกร็ง ท่ายืนแล้วไหล่เอียงไปข้างหนึ่ง ท่ายืนโคลงตัวไปมา ท่าบาดหลวงเทศน์
(คือเวลาพูดแล้วเขย่งเท้า) ที่ยืนเหมือนดาราภาพยนตร์ หรือนางแบบ ฯลฯ
สำหรับนักศึกษาครูนั้น ไม่ควรยืนท้าวสะเอวตลอดเวลา ควรยืนในท่าที่สง่า แต่มีลักษณะที่
เป็นมิตรกับนักเรียน มิใช่จะยืนด้วยท่าทางที่เครียดเพื่อให้นักเรียนกลัว เวลาเรียกให้นักเรียนตอบคำถามนั้น ครู
ควรจะใช้วิธีเรียกชื่อนักเรียนมากกว่าใช้มือชี้ไปเรื่อยๆ แต่วิธีที่ดีครูควรจะจำชื่อนักเรียนในชั้นให้ได้

๔๘
1.6 การแสดงออกทางใบหน้า การแสดงออกทางสีหน้าของผู้พูดนั้น เป็นส่วนหนึ่งของ
เครื่องมือที่ผู้พูดใช้สื่อความหมายกับผู้ฟัง ผู้ฟังจะอ่านความรูส้ ึกของผุ้พูดได้จากสีหน้าเช่นเดียวกับนักเรียน จะ
รู้ว่าครูอารมณ์ดีหรือไม่ด้วยการสังเกตจากสีหน้าครู ถ้าผู้พูดต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจในเรื่ องที่คนพูดนั้นอย่างลึกซึ้ง
ผู้พูดต้องใส่ความรู้สึกลงในใบหน้า เพื่อให้คล้องตามเรื่องที่ตนพูดและอากัปกิริยาอื่นๆ เช่น เมื่อผู้พูดพูดถึง เรื่ อง
ที่เศร้า ก็ควรจะที่สีหน้าเศร้า และเสียงเศร้าๆด้วย เมื่อพูดถึงปัญหาที่สำคัญๆ ก็ควจะมีสีหน้าขรึม ตามปกติเมื่ อ
พูดเกี่ยวับเรื่องทั่วๆไปแล้ว ผู้พูดควรจะมีสีหน้ายิ่มแย้มแจ่มใส เพื่อว่าบรรยากาศในสถานทีน่ ั้นจะได้ไม่ตึงเครียด
อีกทั้งผู้พูดและผู้ฟังจะได้มีความรู้สึกที่คนุ้ เคยและเป็นมิตรต่อกันอีกด้วย
ครูเป็นผู้ที่ตะต้องเกี่ยวกับการสอนการเรียน และปัญหาต่างๆในห้องเรียนอีกมากมาย ซึ่ ง เป็ น
การยากเหลือเกินที่จะให้ครูมหี น้าตายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา ถึงกระนั้นก็ดีครูควรจะฝึกให้มีสีหน้า ปกติ ใ น
เวลาสอน มิใช่นำใบหน้าที่บงึ้ ตึงเคร่งขรึมเข้าไปในห้องเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนหวาดกลัวจนไม่กล้าซักถามวิชา
ที่เรียน อนึ่งครูก็ไม่ควรที่จะทำหน้าตายิ้มมากเกินไปจนกลายเป็น ‘หน้าเป็น’ เพราะจะทำสภาพในห้องเรียน
หละหลวม ไม่มีระเบียบและเด็กจะไม่สนใจในการสอนของครู
1.7 การแสดงท่าทาง การแสดงท่าทางประกอบการพูด เป็นสิ่งหนึ่งที่ดึ ง ดูดความสนใจ
ของผู้ฟัง และทำให้การพูดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามปกติแล้วคนเราชอบดูภาพที่ เคลื่อนไหวมากกว่าภาพนิ่ง
ฉะนั้นในการพูด ถ้าจำเป็นที่จะต้องแสดงท่าทาง เช่น โบกไม้โบกมือหรือทำมือประกอบ ก็ควรจะทำให้ถูกต้ อง
ไม่ขัดตาผู้ฟัง การใช้มือประกอบท่าทางนั้น ควรอยู่ระหว่างระดับสายตา กับ ระดับเอวของผ้พูด และไม่ควร
แสดงออกให้เลยไปกว่าความกว้างของช่วงไหล่ของผู้พูด ควรจะระลึกไว้เสมอว่า ผู้พูดควรจะแสดงท่าทาง
ประกอบการพูดประกอบการพูดต่อเมื่อต้องการอธิบาย หรือเน้นข้อความที่พูด การแสดงท่าทาง จะต้องมี
ความหมายสอดคล้องกับความรูส้ ึกนึกคิด จะต้องเหมาะกับโอกาสและเรื่องที่จะพูด จะต้องเรียบร้อย สุภาพ ไม่
ซ้ำซาก และมีชีวิตจิตใจ
นอกจากการใช้มือประกอบท่าทางที่มีความหมายแล้ว สิ่งที่ควรจะนำมาพิจารณาด้วย คือ
ตำแหน่งของมือ ขณะที่เรายืนพูด ผู้พูดใหม่ๆ จะมีความรู้สึกว่า มือนั้นเป็นส่วนที่เกะกะมาก บางคนถึ ง กั บ ยื นถู
มือของตัวเอง หรือหมุนแหวนรอบนิ้วไปมา หรือบิดผ้าเดหน้าหรือล้วงแคะแกะเกา เป็นต้น วิธีที่ช่วยแก้ความ
เก้งก้าง ก็คือให้แขนห้อยลงมาแนบลำตัว ให้มือแนบกับข้างตัวอย่างสบายๆ และในขณะที่ยืนจะต้องไม่ยืน
กอดอก หรือเอามือท้าวสะเอวหรือเอามือใส่กระเป๋า หรือเอามือไว้ข้างหลัง ถ้าหากว่าผู้พูดต้องยืนอยู่บนเวที
โดยมีที่ยืนพูดด้วยนั้นให้ผู้พูดวางมือทั้งสองบน stand นั้น ถ้าหากว่าผู้พูดจะต้องพูดในห้องกว้างๆทีม่ ี โต๊ะ เขี ย น
หนังสือก็ให้วางมือลงบนโต๊ะ ถ้าพูดในที่ทมี่ ีเก้าอี้ ก็ให้จับพนักเก้าอี้ไว้ ถ้าหากว่าผู้พูดจะต้องนั่งพูดก็ให้เอามื อไว้
บนตักพอสบายๆแต่ไม่ควรกอดอก
ผู้ที่จะไปเป็นครูควรจะยืนสอน เขียนกระดานดำ ซื้ออุปกรณ์แล้วใช้มือประกอบการสอน ครูที่
นั่งสอน ก้มหน้าก้มตาดูหนังสือบนโต๊ะนั้น จะไม่ได้รบั ความสนใจจากนักเรียน
1.8 การแต่งกาย การแต่งกายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่จะดึงดูดความสนใจของ
ผู้ฟัง ถ้าผู้พูดแต่งกายสวยเกินไปหรือสกปรกเกินไป จะทำให้ผู้ฟังหันความสนใจไปสู่เครื่องแต่งกายของผู้พูด
และไม่สนใจในเนื้อความของเรื่องที่ผู้พูดพูด โดยปกติแล้วถือว่า การแต่งกายเป็นการบอกนิสัยใจคอ แลพร

๔๙
สนิยมของผู้พูด การแต่งกายที่ดีก็คือ แต่งกายให้เรียบร้อยตามสมัยนิยม โดยคำนึงถึงวัย รูปร่าง และฐานะของ
ผู้แต่ง และควรจะแต่งเหมาะกับโอกาสและสถานที่ที่ตนจะไปพูดนอกจากนี้ยังควรระวังเรื่องสีให้มาก ผ็ที่มี
รูปร่างอ้วนใหญ่ ควรแต่งสี้ข่มทีส่ ุภาพหรือผ้าดอกใหญ่ ถ้าเป็นผ้าลายริ้ว ก็ควรจะวางผ้าให้ลายริ้ ว เป็ นทางตรง
ส่วนผู้ที่มีรูปร่างผอมเล็กก็ควรจะวางผ้าให้ลายริ้วเป็นทางขวาง ถ้าเป็นผ้าดอกก็ควรเป็นลายดอกเล็กๆและควร
จะแต่งตัวด้วยผ้าสีนวล อ่อน เพราะจะทำให้รปู ร่างไม่ผอมบางเกินไป
สำหรับสตรีนั้น ไม่ควรจะแต่งให้สั้นและเปิดเผยเกินไป ความยาวของกระโปรงควรจะยาว
คลุมเข่า สำหรับแบบเสื้อควรจะเลือกแบบทีส่ ุภาพ แต่งแล้วดูเรียบร้อยและสง่างาม
สำหรับชายนั้นไม่ควรใส่เสื้อยืดขึ้นเวทีพูด ถ้าจะต้องแต่งเครือ่ งแบบก็ต้องใส่สีเสื้อและกางเกง
เป็นสีเดียวกัน กางเกงไม่ควรรัดรูป หรือสั้นเต่อ ควรหลีกเลี่ยงผ้าที่ออกแสงแวววาวหรือมีลวดลายมากเกินควร
นอกจากนี้แล้วก็ควรระวังเรื่องทรงผม ใบหน้า เข็มขัด รองเท้า เนคไท กลิ่นตัว ปลิ่นปากฯลฯ
ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจเท่าๆกับเครื่องแต่งกาย
1.9 การใช้ไมโครโฟน (Microphone) ไมโครโฟนเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพูดที่เป็น
ประโยชน์มาก จะช่วยให้ผู้ฟังได้ยินกันทั่วถึง เทคนิคในการใช้ไมโครโฟนอย่าง่ายๆก็คือ ในขณะที่พูดควรให้
ไมโครโฟนอยู่ห่างจากปากประมาณ 8-12 นิ้ว ควรให้ไมโครโฟนอยู่ตรงปากแล้วปรับไมโครโฟนให้เหมาะกับ
ความสูงของผู้พูด ในขณะที่พูดอย่ามองไมโครโฟน แต่ให้มองทีผ่ ู้ฟังโดยคงความสง่าของลำตัวไว้ และไม่ควรจั บ
ไมโครโฟนหรือฐานไมโครโฟน เมื่อพร้อมที่จะพูดแล้ว ก็ควรจะพูดไปทันทีโดยไม่ต้องเคาะไมโครโฟน หรื อ พู ด
ว่า ‘ฮัลโหล ฮัลโหล’ ฯลฯ หรือกระแอมกระไอก่อนเลย เมื่อพูดใส่ไมโครโฟนก็ควรจะพูดด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม มี
การควบคุมอารมณ์หวั่นวิตกของตนเอง มิฉะนั้นการพูดนั้นๆ จะไม่เป็นผลดี
1.10 ความเชื่อมั่นในตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นสิ่งสำคัญมากในตัวผู้พูด ถ้าผู้พูดมี
ความเชื่อมั่นในตนเองแล้ว การพูดจะดำเนินไปด้วยดี ความสะทกสะท้าน ตกใจ กลัว จะไม่เกิดขึ้น
ผู้พูดใหม่ๆ เมื่อออกมาพูดมักจะมีอาการประหม่า บางคนตกใจพูดไม่ออก มีอาการขาสั่น ปากสั่น หน้า
ซีด เหงื่อไหล อาการเช่นนี้เกิดจากการ ทำงานของระบบประสาทภายในร่างกายกะทันหัน ประกอบกับอารมณ์
วิตกของผู้พูด ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า การตื่นเวที
การสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเองนั้นทำได้โดย
1.10.1 การเตรียมเรื่องที่จะพูดให้พร้อม
1.10.2 มีการฝึกซ้อมพูดประมาณ 10-12 ครั้ง
1.10.3 มีความอดทน และพยายามแก้ไขข้อบกพร่องของตน
1.10.4 รู้จักควบคุมอารมณ์หวั่นวิตกของตนเอง
อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกประหม่านั้นเกิดขึ้นได้เสมอจนกว่าผู้พูดจะมีประสบการณ์ ในการพู ด
มากพอสมควร หรือมีการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดีแต่ถ้าผู้พูดเกิดความรู้สึกตื่นเวทีเมื่อเผชิญหน้ากับผู้ฟัง ผู้พูดควร
จะแก้ด้วยการให้การเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นประโยชน์ เช่น เดินไปมา เอามือไขว้หลัง ยกแก้ ว น้ ำ ขึ้ นดื่ ม
โดยทำก่อนขึ้นเวที ในขณะที่เดินขึ้นเวทีหรือที่ยืนพูดก็ควรที่จะสูดลมหายใจเข้าปอดแรงๆ 3-5 ครั้ง เมื่อขึ้นเวที
อย่ารีบร้อนพูด หยุดนิ่งสักอึดใจ เมื่อระงับความประหม่าได้ และมองดูคนฟังแล้วจึงเริ่มพูด

๕๐
2.วิเคราะห์ผู้ฟังและกาลเทศะ
การพูดที่มีประสิทธิภาพ ผู้พูดควรจะมีการเตรียมตัว ในการเตรียมที่ดีนั้น ผู้พูดจะต้องรู้จักผู้ฟังก่อน
เพราะการพูดชนิดเดียวกันอาจเหมาะสำหรับชนกลุ่ม หนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะกับชนกลุ่มหนึ่ง ฉะนั้นจะต้องมี
การวิเคราะห์ผู้ฟัง หรือศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.1 วัยของผู้ฟัง ผู้ฟังที่มีวัยต่างกัน ความสนใจความเข้าใจในเรื่องย่อมแตกต่างกัน การ
เรียนรู้ถึงอายุผู้ฟัง ก็เพื่อให้ทราบว่า การพูดกับคนในวัยนั้นๆควรใช้วิธีการพูด และคำพูดอย่างไร วั ย เด็ ก เด็ กมี
ลักษณะซุกซน ไม่อยู่นิ่งเฉย ไม่ได้มีความตัง้ ใจฟังเรื่องได้นานๆ มีความเบื่อง่าย มีความสนใจในเรื่องสนุ กสนาน
เพลิดเพลิน มีนิสัยอยากรู้และของรับประทาน ตามปกติเด็กจะมีพื้นความรู้ และความสนใจทีน่ ้อย
ดังนั้นการพูดกับเด็กจะต้องพูดในเรื่องที่สนุกใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย แต่เต็มไปด้วยอารมณ์สนุกรุกเร้า
เสียงที่พูดจะต้องตื่นเต้น ไม่น่าเบื่อ และเนือยๆเป็นอันขาด
วัยรุ่น เป็นวัยที่มีลักษณะคล้ายกับเด็ก แต่มีความสำคัญตนผิดคิดว่าตนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฉะนั้ นวั ย รุ่ นไม่
ชอบให้ใครมาทำกับตนเหมือนเด็ก วัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่
เข้าใจเหตุการณ์บางอย่าง เพราะยังไม่มีประสบการณ์เพียงพอ และยังไม่มีความรับผิดชอบมากพอ แต่ ต รงกั น
ข้ามวัยรุ่นมักจะชอบทำในสิ่งใหม่ๆเสมอ ฉะนั้น การพูดกับเด็กวัยรุ่นควรมีจุดมุง่ หมายทีม่ ุ่งในเหตุการณ์ปัจจุบัน
น่าทดลองและเหตุการณ์ทที่ นั สมัย
วัยหนุ่มสาว มักจะเป็นวัยที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เป็นชายหนุ่มก็ผ่านการบวชเรียน
มาแล้ว วัยหนุ่มสาวเป็นวัยที่มีความรู้และพละกำลัง เป็นวัยที่มีความกระตือรือร้นรักความก้าวหน้า และ
ต้องการแสดงความสามารถ การเตรียมเรื่องที่จะพูดให้วัยหนุ่มสาวฟัง ควรพูดในเรื่องของความเจริ ญ ก้ า วหน้ า
ด้านอุดมการณ์และการเปลี่ยนแปลง ผู้พูดควรใช้เหตุผลในการโน้มน้าวใจ
วัยชรา เป็นวัยที่มีประสบการณ์มามาก ชอบคิด ชอบในสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่นคุณธรรม บางคนก็
ห่วงลูกหลาน ครอบครัว ฉะนั้น การพูดกับวัยชรา จึงควรพูดในทางสวัสดิภาพของครอบครัว จิตใจ และควรจะ
พูดในทำนองเป็นที่ปรึกษา หรือเป็นผู้ปรับทุกข์
2.2 เพศของผู้ฟัง ความสนใจของผู้ฟังนั้นขึ้นอยู่กับเพศเดียวกัน เพราะโดยทั่วไปแล้ว
เพศหญิงจะให้ความสนใจในเรื่องของความสวยงาม การบ้านการเรือน การสมาคม การแต่งตัว ส่วนเพศชายจะ
สนใจในเรื่องของการเมือง กีฬา เครื่องยนต์กลไก เรื่องงาน เรื่องสวัสดิภาพในครอบครัว เมื่อเราจะพูดให้ผู้ชาย
ฟัง เราควรเตรียมเรื่องที่จะนำมาพูดพร้อมทั้งเหตุผล เพราะผู้ชายนั้นเป็นเพศที่ถูกชักจูงโน้มน้าวใจได้ย ากกว่ า
เพศหญิง ในทางตรงกันข้าม เป็นหญิงเป็นเพศที่มีความละเอียด อ่อนไหวง่าย ฉะนั้น ควรนำคำพูดที่สุภาพ
อ่อนหวานมาใช้
2.3 ความแตกต่างของความเชื่อและศาสนา เชื้อชาติ ศาสนา จารีตและความเชื่อ เป็ น
วัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่เรายึดถือกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม ผู้พูดควรระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย ฉะนั้นแล้วจะทำให้ผู้ฟัง
ขุ่นข้องหมองใจ เป็นเหตุให้เสียผลการพูดไป
2.4 ฐานะและอาชีพของผู้ฟัง ในการเรียนรู้ถึงอาชีพและฐานะของผู้ฟังมาก่อนนั้น ย่อม
เป็นผลกำไรของผู้พูด เพราะผู้ที่ต่างอาชีพย่อมมีความสนใจที่ตา่ งกัน ยกตัวอย่างเช่นผู้ฟังเป็นผู้ที่มีฐานะยากจน

๕๑
ความเป็นอยู่แร้นแค้น ผู้พูดจะต้องพูดไปในทำนองให้คำปรึกษาและแสดงความเห็นใจ ผู้ฟังมีฐานะดี มีอาชีพ
ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจและค้าขาย ผู้พูดจะต้องเรียบเรียงเรื่องไปในแนวทางเศรษฐกิจและการลงทุน แต่ถ้าพูดกับ
ชาวนา ก็ต้องพูดให้ผู้ฟังภูมิใจในอาชีพว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
2.5 ระดับการศึกษา ผู้พูดควรพิจารณาดูว่า ผู้ฟังมีระดับการศึกษามากน้ อยเพี ย งใด ถ้ า
กลุ่มผู้ฟังเป็นผู้ที่มีการศึกษาน้อย ผู้พูดจะต้องเตรียมคำพูดที่เข้าใจง่าย ถ้าผู้ฟังเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง ผู้พูด
จะต้องใช้คำพูดทีม่ ีเหตุผลและมีแนวโน้มไปในทางวิชาการ
2.6 ความสนใจของผู้ฟัง ถ้าผู้พูดทราบมาก่อนว่าผู้ฟังส่วนใหญ่สนใจในเรื่องอะไร ก็จะ
ได้เตรียมเรื่องได้ถูกต้อง และสามารถที่จะพูดให้ตรงเป้าหมายได้ เพราะถ้ าพูดถูกจุดที่ผู้ฟังสนใจ พร้อมด้วย
คำแนะนำนั้น ผู้ฟังย่อมจะชอบและสนใจฟังมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เราสืบทราบมาว่าผู้ฟังส่วนใหญ่สนใจใน
เรื่องยาเสพติดให้โทษ เราก็ชี้ให้เห็นโทษ เราก็ชี้ให้เห็นโทษของยาเสพติดและบอกลักษณะของผู้ที่ติดยาร้ายนัน้
พร้อมทั้งวิธีป้องกัน
2.7 สถานที่ การรู้ถึงสถานที่ที่จะพูดนั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้พูดควรจะทราบล่วงหน้า เพื่อจะ
ได้เตรียมทั้งในด้านการแต่งกาย และเนื้อเรื่องได้ถูกต้อง เพราะเรื่องที่เหมาะสมกับสถานที่หนึ่งนั้นอาจจะไม่
เหมาะกับอีกสถานที่หนึ่งก็ได้
2.8 เวลา เวลาก็เป็นส่วนหนึ่งในการพูด เช่น การพูดในเวลากลางวันนั้น อากาศมักจะ
ร้อนอบอ้าว ผู้ฟังอาจนั่งฟังไม่สบายเท่าทีค่ วร ฉะนั้น การพูดก็จะต้องเป็บแบบรวบรัดและได้ความ ควรระลึกไว้
ว่าเวลาย่อมทำให้อารมณ์ของคนเปลี่ยนแปลงไปได้ นอกจากนี้แล้ว ผู้พูดควรจะรู้อีกด้วยว่า ตนมีเวลาพูดมาก
น้อยเพียงไร เพราะจะได้เตรียมเรื่องมาพูดให้พอเหมาะกับเวลา
2.9 โอกาส การพูดในแต่ละโอกาสย่อมไม่เหมือนกัน เช่น การพูดอวยพรในงานสมรส
ย่อมไม่เหมือนกับการพูดอวยพรในงานวันเกิด การใช้ถ้อยคำตลอดจนการแต่งกายย่อมเปลี่ยนไป ผู้พูดที่ดีจึง
ควรทราบมาก่อนว่าตนจะพูดในโอกาสอะไร เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ถูกต้องและเหมาะสม
3. การเลือกเรือ่ งพูด
ในการพูดที่ใดก็ตาม เราจะต้องคำนึงถึงเนื้อเรื่องที่จะไปพูด และควรจะพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
3.1 การเลือกเรื่อง ต้องพยายามเลือกเรื่องที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสนใจ ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้พูด
ถนัด ก็จะทำให้ผู้พูดพูดได้ดี ในขณะเดียวกันถ้าเรื่องที่พูดนั้น ผู้ฟังไม่สนใจ การพูดนั้นก็จะล้มเหลว ถ้า เลื อกพู ด
ในเรื่องที่ผู้ฟังไม่สนใจ ก็ดูเหมือนว่าผู้พูดได้ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการเรี ยกความสนใจจากผู้ฟัง อนึ่ ง ผู้ พู ด
ควรจะเลือกเรื่องที่จะให้ประโยชน์ และความรู้แก่ผู้ฟังได้ เพราะตามหลักจิตวิทยานั้น คนเราชอบฟั ง เรื่ องที่ ต น
จะได้รับประโยชน์ โดยทั่วไปแล้วคนเราสนใจสิ่งทีเ่ ป็นแก่นสารของชีวิต เช่น สุขภาพ การงาน ความมั่นคงและ
ความปลอดภัย ของครอบครัว เรื่องที่เเปลก ปัญหาการเมืองเเละสังคมที่เขาอยู่ เรื่องที่ช่วยจัดปัญหาของผู้ฟัง
เรื่องที่กำลังเป็นข่าว เรื่องที่มีผู้ขัดเเย้งความนึกคิดเป็นต้น ฉะนั้นจะเลือกเรื่องใดก็ตาม ควรจะปรับเรื่องนั้นๆ ให้
เข้ากับผู้ฟัง นอกจากนี้เเล้ว ก็กำหนดเนื้อหาของเรื่องที่จะพูดให้อยู่ในวงจำกัด เพื่อว่าจะได้พูดให้เหมาะสมกั บ
เวลา เเละควรพิจารณาถึงสภาวะของผู้พูด คือรู้ว่าตัวพูดพูดเป็นใคร เเละพูดในเเนวใด เช่น ถ้าผู้พูดเป็นครู ก็
ควรจะพูดเเละให้เเง่ความคิดในฐานะครู อย่าพูดในฐานะพ่อค้าหรือนายธนาคาร

๕๒
3.2 การเตรียมเนื้อเรื่อง ผู้พูดจะพูดเรื่องอะไรก็ตาม ควรจะตั้งจุดมุง่ หมายของเรื่องที่ ตน
พูดเอาไว้ก่อน แล้วจึงทำการค้นคว้า หาข้อเท็จจริง ข้ออ้างอิง หลักฐานมาสนับสนุนเรื่องที่ตนจะพูด แล้วจึง
เขียนเรื่อง และซ้อมพูด
อ้างอิง : (ศุภรัตน์ เทพบุรี.หลักของการพูด.2561 : 2 )
สรุป: การเลือกเรื่องที่พูดเลือกเรื่องที่ทั้งผู้ฟังและผู้พูดสนใจ เป็นเรื่องที่พูดพูดถนัด การที่ผู้พูดจะพูดเรื่อง
อะไรก็ตาม ควรตั้งจุดมุ่งหมายของเรื่องที่ตนเองจะพูด

ก่อนที่จะก้าวมาเป็น “นักพูด” ผู้พูดส่วนใหญ่มักจะผ่านขั้นตอนของการฝึกฝนเพื่อพัฒนาตนเองใน


หลายรูปแบบ การพูดเป็นการสื่อสารจากตัวผู้พูดไปยังผู้ฟัง เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบความรู้สึกนึกคิด
และความต้องการของตน รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็น ก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกัน
และกันช่วยให้กิจการต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้ องมีการ
พูดจาตอบโต้ติดต่อกับบุคคลต่าง ๆ เสมอ การพูดจึงเป็นเครื่องมือของการติดต่อสื่อสารละเป็นบันไดขั้นแรก
ของการสมาคมและความสำเร็จในชีวิตและมีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์
การพูดมีผู้ให้หลักเกณฑ์สำหรับผู้ฝึกพูดไว้หลายแบบด้วยกัน ซึ่ง จิตรจำนงค์ สุภาพ (2528:99)
กล่าวถึงสูตรสำเร็จหรือบันได 13 ขั้นสำหรับนักพูด ได้เรียงถ้อยคำไว้อย่างคล้องจองซึ่งจะนำผู้พูดไปสู่
ความสำเร็จในการเป็นนักพูดทีด่ ีมปี ระสิทธิภาพไว้ดังนี้
1. เตรียมให้พร้อม ก่อนถึงเวลาพูดผู้พูดจะต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆได้ไม่ว่าจะเป็น การเตรี ย ม
เนื้อหาสาระ การจัดระเบียบความคิด การสร้างโครงเรื่องในการพูด การวิเคราะห์ผู้ฟัง หรือแม้แต่การเตรียม
ตัวของผู้พูดเอง
2. ซ้อมให้ดี การพูดที่ดีผู้พูดจะต้องเตรียมการซักซ้อมเรื่องที่จะพูดให้เกิดความชำนาญ มีลำดับ
ขั้นตอนและเป็นธรรมชาติ
3. ท่าทีมีสง่า การมีบุคลิกภาพทีเ่ หมาะสมจะช่วยให้ภาพของผู้พูดโดดเด่นและเป็นทีน่ ่าเชื่อถือ
4. กิริยาต้องสุขุม การแสดงอากัปกิริยาที่สุขุมรอบคอบและการรู้จักควบคุมอารมณ์ขณะพูดจะทำให้
มองว่าผู้พูดเป็นคนที่สำรวมและหนักแน่น
5. ทักที่ประชุมอย่าวกวน การทักทายผู้ฟังควรเริ่มให้ถูกต้องตามลำดับ ขั้นตอน เหมาะกับรูปแบบ
และโอกาสที่พูด
6. เริ่มต้นให้โน้มน้าว ควรเริ่มต้นให้น่าสนใจและเร้าใจผู้ฟังให้อยากติดตาม
7. เรื่องราวต้องกระชับ การเสนอเนื้อหาให้กระชับ ตรงประเด็น และได้ใจความครบถ้วนสมบูรณ์
8. ตาจับที่ผู้ฟัง ขณะที่พูดกวาดสายตาของผู้พูดควรมองไปยังผู้ฟัง ไม่ควรก้มหน้าแหงนมองเพดาน
หรือมองออกไปข้างนอก
9. เสียงดังให้พอดี ควรพูดให้ได้ยินชัดเจน ไม่ดังหรือเบาจนเกินไป
10. อย่ามีเอ้อ…อ้า หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ไร้ความหมาย เช่น เอ้อ…อ้า ฯลฯ
11. ดูเวลาให้พอครบ ควรพูดให้ตรงตามกำหนดเวลา

๕๓
12. สรุปจบให้จับใจ จบการพูดให้เป็นที่ประทับใจผู้ฟัง
13. ไวในปฏิภาณ มีปฏิภาณในการแก้ปัญหาหรือเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
การได้เรียนรู้สูตรสำเร็จดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จะช่วยให้ผู้พูดเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถนำ
ทักษะต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพูดได้เป็นอย่างดีแต่ทงั้ นี้ผู้พูดต้องไม่ลืมว่า การพู ด ให้ไ ด้ผลดี
นั้นไม่ใช่เรียนรู้แค่เพียงหลักการแล้วสามารถพูดได้เพราะการพูดที่ดีและได้ผลยังต้องอาศัยการฝึกฝนและ
ประสบการณ์ควบคูก่ ันไปอีกด้วย
หลักการใช้เสียง ความชัดเจนถูกต้อง
เสียงพูดเป็นสิ่งสำคัญในการพูดเป็นอย่างยิ่ง นักพูดบางคนที่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเพราะไม่
รู้จักใช้เสียงในการพูด ทั้งๆ ที่มีความรู้ดีแต่พูดแล้วไม่ชวนให้ผู้ฟังสนใจ เสียงพูดที่ดีอาจจูงใจผู้ฟังให้สนใจฟัง
และเห็นคล้อยตามได้ดีมาก สิ่งที่ควรทราบในการใช้เสียงพูดมีดงั นี้
1. ลักษณะเสียง
เสียงที่ดี คือ เสียงทุ้ม นุ่มนวล ไม่สูงไม่ต่ำเกินไป
เสียงสูง ทำให้ผู้ฟังเคร่งเครียด และเบื่อหน่ายได้ง่าย
เสียงต่ำ ทำให้ผู้ฟังง่วงเหงาเศร้าซึม ไม่สนใจในการพูด
2. จังหวะพูด
การพูดต้องมีจังหวะชัดเจน ชัดถ้อยชัดคำ ไม่พูดเร็วหรือรัวเกินไป และไม่ช้าเกินไปจนยานคาง การ
พูดในที่สาธารณะต้องใช้จังหวะทีช่ ้ากว่าการสนทนากันเล็กน้อย การพูดเร็วเกินไปผู้ฟังจะฟังไม่ทนั แล้วเกิดการ
ไม่สนใจขึ้น ส่วนการพูดช้าผู้ฟังก็จะเบื่อและไม่สนใจเช่นเดียวกัน ตามปกติอัตราการพูดทีเ่ หมาะสม คือ การ
พูดในอัตรา 120 – 180 คำต่อนาที
3. ลีลาการพูด
ผู้พูดที่ดีจะต้องรู้จักเปลี่ยนระดับหรือจังหวะของเสียง ในจุดที่ต้องการเน้น หรือการเรียกร้องความ
สนใจ ซึ่งอาจทำได้โดยพูดให้ดังหรือเบากว่าปกติ พูดให้ช้าลงหรือหยุด หรือพูดซ้ำหรือย้ำ การเปลี่ยนลีลา
การพูด มีข้อควรระวังดังนี้
3.1 เน้นให้ตรงจุดที่ควรเน้น
3.2 มีจังหวะในการเน้น คือ ไม่เน้นตลอดไป เพราะการเน้นอยู่ตลอดเวลาจะไม่ทำให้ผู้ฟัง
เข้าใจได้ว่าตอนใดสำคัญกว่ากัน
4. เสียงชัดเจน
ผู้พูดจะต้องออกเสียงคำทุกคำให้ชัดเจนตามลักษณะของภาษาทัว่ ๆ ไป เช่นตัวควบกล้ำ หรืออกเสียง
คำที่มีเสียง /ร/ และ /ล/ จะต้องชัดเจน คำที่ออกเสียงประวิสรรชนีย์ บางคำออกเสียงเน้นหนักขนาดไหน
ต้องออกให้ถูก เช่น สบาย จะต้องออกเสียง /สะ/ เพียงครึ่งเสียง ถ้าออกเสียงเต็มคำจะผิดลักษณะออกเสียง
ภาษาไทย

๕๔
5. ออกเสียงให้เต็มคำ
การพูดที่ดีไม่ควรใช้คำย่อ หรือคำตัดพยางค์ เช่น กิโลกรัม ก็ไม่ควรใช้คำว่า โล หรื อวิ ท ยาลั ย เป็ น
วิทชาลัย เป็นต้น

ข้อบกพร่องทั่วไปของการใช้น้ำเสียง
1. เสียงเบาเกินไป
2. พูดช้า หรือเร็วเกินไป
3. พูดอึกอัก เอ้ออ้า น่ารำคาญ
4. พูดด้วยท่วงทำนองเหมือนอ่านหนังสือ หรือท่องจำ
5. พูดราบเรียบระดับเดียวกันตั้งแต่ตน้ จนจบ
การเลือกเรื่องทีจ่ ะพูด
การเลือกเรื่องพูด ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพูด เรื่องที่ดีควรมีประเด็นที่
เด่นชัดและมีขอบข่ายของเนื้อหาที่เหมาะกับเวลาที่ใช้พูด ผู้พูดที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ มักจะเลือก
เรื่องพูดโดยพิจารณาหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต (2542 : 110-111) กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการเลือกเรื่องที่จะพูดไว้ ดังนี้
1. กรณีที่เลือกเรื่องเอง ควรเลือกเรื่องที่เราอยากพูด รู้เรื่องดี มีความถนัด และมีประสบการณ์
2. กรณีที่มีผู้กำหนดเรื่องมาให้ ควรศึกษาจุดประสงค์ในเรื่องนั้นๆ ให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน เพื่อ
สำรวจว่าเรามีความรูพ้ อที่จะรับผิดชอบพูดเรื่องนั้นได้หรือไม่
3. เลือกเรื่องให้เหมาะแก่โอกาส เหมาะกับกาลเทศะและจุดมุ่งหมายของการพูด
4. เลือกเรื่องที่มีความเหมาะสมกับผู้ฟัง โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับเพศ วัย การศึกษา อาชีพ
และจำนวนของผู้ฟัง
5. เลือกเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือควรค่าแก่การฟัง
6. เลือกเรื่องที่มีแนวทางและขอบข่ายที่เด่นชัด เช่น เป็นเรื่องที่พูดทั่วๆ ไป หรือเป็นเรื่องที่ต้องพู ด
ในแนวลึก
7. เลือกเรื่องที่สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูล และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ประกอบการพูดได้ไม่ยากนัก
8. เลือกเรื่องที่เหมาะกับสถานการณ์และช่วงเวลาทีใ่ ช้พูด
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการเลือกเรื่องที่จะพูดนั้น ต้องอาศัยกฎเกณฑ์ในการเลือกอย่างมาก
และยังต้องคำนึงถึงคุณสมบัติทั้งผู้ฟังและผู้พูดเองด้วย ซึ่งจะทำให้การเลือกเรื่องที่จะพูดนั้นประสบ
ความสำเร็จเร็วขึ้น อีกประการหนึ่งที่สำคัญสำหรับการพูด ก็คือ การเตรียมการพูด
นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต (2544 : 109-136) กล่าวว่า การเตรียมการพูด นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ
นักพูด การเตรียมการพูดที่ดี นอกจากจะทำให้ผู้พูดเกิดความมั่นใจในตนเองแล้ว ยังช่วยให้การพูดนั้นๆ
สามารถดำเนินไปตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้นผู้พูดที่ดีจึงควรเตรียมการพูดในวิธีตอ่ ไปนี้

๕๕
การเตรียมเรื่องที่จะพูด
เมื่อสามารถเลือกเรื่องที่จะพูดแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ผู้พูดจะต้องเตรียมการก็คือ การเตรียมเรื่องพูด
หรือการเตรียมเนื้อเรื่อง การเตรียมเรื่องพูดเป็นการกำหนดแผนในการพูดว่า เราจะพูดอะไรพูดอย่างไร เริ่ ม
พูดเมื่อไหร่ พูดนานแค่ไหน พูดกับใคร และใช้รูปแบบการพูดแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ผู้พูดที่ดีควร
เตรียมเรื่องพูดไว้ล่วงหน้า เพราะจะช่วยให้พูดได้ตรงประเด็นและเป็นไปตามความมุง่ หมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ ง
ผู้พูดที่ฝึกการพูดใหม่ๆควรคำนึงถึงเรื่องให้มากเป็นพิเศษการเตรียมเรื่องพูดมีลำดับขั้นตอนการเตรียมการดังนี้
1. ขั้นเริ่มคิด เมื่อตกลงว่าจะพูดเรื่องใดแล้ว ก็ให้พิจารณาถึงสาระของเรื่องที่จะพูดว่าจะพูดใน
ประเด็นใดบ้าง ประเด็นต่างๆ เหล่านี้อาจรวบรวมจากประสบการณ์ จากการศึ กษาค้นคว้า หรืออาจ
สอบถามจากผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ จะทำให้ได้หัวข้อเรื่องหรือประเด็นที่น่าสนใจมากขึ้น
2. ขั้นพิจารณาข้อมูล นำประเด็นหรือหัวข้อเรื่องที่รวบรวมไว้มาพิจารณาถึงความเหมาะสม เช่ น
ประเด็นที่ไม่ค่อยตรงกันเนื้อหาก็ตัดออก หรือเรื่องใดที่มี ลักษณะที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันก็จัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน
หรือยุบรวมเป็นหัวข้อเดียวกัน
3. ขั้นเขียนโครงเรื่อง เป็นการจัดลำดับเนื้อหาทีจ่ ะพูด โดยนำประเด็นหรือหัวข้อเรื่องที่ได้เลื อกไว้
แล้ว มาจัดเรียงลำดับการพูดก่อนหลังตามความเหมาะสมการวางโครงเรื่องที่จะพู ดเป็นสิ่งจำเป็นสิ่งจำเป็นที่ ผู้
พูดจะต้องเตรียมการ ทั้งนี้เพราะโครงเรื่องเปรียบเสมือนเส้นทางเดินหรือเส้นแกนร้อยของการพูดซึ่งมี
ประโยชน์ต่อผู้พูดหลายประการดังนี้
1. ช่วยให้ผู้พูดได้มีโอกาสคิดและไตร่ตรองก่อนการพูด
2. ช่วยให้ผู้พูดทราบขอบข่ายและขั้นตอนของเรื่องที่จะพูด
3. ช่วยให้ผู้พูดพูดเนื้อหาได้ตามลำดับโดยไม่สับสน
4. ช่วยให้ผู้พูดพูดได้ตรงประเด็นและอยู่ในขอบข่ายของเรื่องที่พูด
5. ช่วยให้ผู้พูดเลือกเน้นเนื้อหาบางตอนได้เหมาะแก่เวลา
การเตรียมขั้นตอนการพูด
เมื่อผู้พูดเลือกเรื่อง วางโครงเรื่อง จัดหาข้อมูลและทำร่างบทพูดโดยคร่าวๆแล้ว ขั้นตอนที่ผู้พูด ต้ อง
ดำเนินการต่อไปก็คือ การเตรียมขั้นตอนการพูด การเตรียมขั้นตอนการพูด หรือการจัดหาเนื้อเรื่องเป็นการ
ลำดับความให้เนื้อความต่อเนื่องกันอย่างมีระเบียบ
อ้างอิง : (อรุณีประภา หอมเศรษฐี.อวัจนภาษา.2528 : 6 )
สรุป: ในการดำเนินชีวิตประจำวันเราจำเป็นต้องมีการพูดจาตอบโต้ การพูดเป็นเครื่องมือของการ
ติดต่อสื่อสารและเป็นความสำเร็จในชีวิตและมีความสำคัญต่อมนุษย์

ความรู้เบื้องต้นเกีย่ วกับการฝึกพูด
เป็นการเรียนรู้การเข้าใจคำพูดของผู้อื่น โดยเริ่มจากการเข้าใจคำศัพท์ประเภทต่างๆเด็กจะสะสม
ความเข้าใจคำศัพท์อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะใช้คำศัพท์เหล่านี้ในการพูดสื่อภาษากับผู้อื่น คำศัพท์ที่เด็กเรียนรู้
ประกอบด้วย คำนาม ที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ อวัยวะร่างกาย ชื่อพืช ผัก ผลไม้ เเละอาหาร ชื่อสี คำบอก

๕๖
ความรู้สึก สัมผัส บอกสถานที่ ทิศทาง เวลา ขนาด จำนวน ระยะทาง กิริยาอาการ คำวิเศษณ์ คำบุ พ บท เเละ
คำสันธาน เด็กปกติเรียนรู้คำนามได้ก่อนคำประเภทอื่น เเต่เมื่ออายุมากขึ้น อัตราการเรียนรู้คำนามลดลง จะ
เรียนรู้คำประเภทอื่นเเทน ได้เเก่ คำกิริยา คำบุพบท เเละคำสันธาน ด้านจำนวนคำศัพท์ที่เด็กรู้ก็มีจำนวน
เพิ่มขึ้นจากจำนวนที่รู้จักเพียงเเค่สิบคำเมื่ออายุ 1 ปี กลายเป็นเกือบ 2,000 คำ เมื่ออายุ 4 ปี ในช่วงอายุ 2-
4 ปีเด็กจะมีพัฒนาการด้านการเรียนรูค้ ำศัพท์ที่รวดเร็วมาก และมีอัตราการพัฒนาการสูงกว่าในช่วงอายุอื่นๆ
อ้างอิง : (สุกัญญา ตีระวนิช.หลักของการพูด.2528 : 5 )
สรุป: การฝึกพูดเป็นการเรียนรู้การเข้าใจคำพูดของผู้อื่น โดยเริ่มจากการเข้าใจคำศัพท์ประเภทต่างๆ เพื่อ
พัฒนาการด้านการเรียนรู้คำศัพท์ทรี่ วดเร็วมากขึ้น

ข้อควรคำนึงเบื้องต้นสาหรับการเป็นผู้พดู
บุคคลซึ่งจะเป็นผู้พูดในที่ชุมนุมชนที่ดีได้ ควรต้องมีลักษณะอันจะเอื้ออำนวยต่อการ พัฒนาตนเองให้
เป็นผู้พูดที่ดียิ่งขึ้นไปทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เพราะการเป็นผู้พูดในที่ชุมนุมชนที่ ดีต้องอาศัยการเอาใจใส่
และความพากเพียรของบุคคลนั้นเป็นสำคัญ ข้อควรคานึงเบื้องต้นของการเป็นผู้ พูดที่ดี คือ
1. ต้องมีความศรัทธา มีศรัทธาเลื่อมใสต้องการเป็นนักพูดทีด่ ีมแี รงบันดาลใจทีจ่ ะ พากเพียรพยายาม
ในการพัฒนาตนเองจนประสบความสำเร็จ
2. ต้องใฝ่ความรู้ ผู้ที่ใฝ่ความรู้ หมั่นศึกษาพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอเปรียบเหมือน แสงสว่า งในหมู่
บุคคลทั่วไป ในอันที่จะถ่ายทอดแสงสว่างแห่งความรู้ให้แก่ผู้ฟังจนก่อให้เกิดประโยชน์ แก่ผู้ฟัง
3. ต้องเป็นนักสังเกตและจดจำ คนช่างสังเกตและจดจำมักได้เปรียบผู้อื่นเสมอ มัก เป็นผู้พูดที่มี
เกร็ดความรู้น่าสนใจ โดยเฉพาะจากประสบการณ์แปลกๆมาเล่าสู่กันฟัง
4. ต้องหมันฝึกฝน มีการเปรียบเทียบว่า การพูดเหมือนการว่ายน้ำ จะอ่านตำรากี่ร้อย กี่พันเล่ม ก็ ต าม
ถ้าไม่กระโดดลงไปในน้ำจริงๆ ก็ไม่มีทางว่ายน้ำเป็น การพูดก็เช่นเดียวกัน การพัฒนา ตนเองในด้านนี้ จะได้ ผล
จากการฟังคำบรรยายเกี่ยวกับแนวทางวิธีการเพียงร้อยละ 10 ต่อเมื่อมีการ แสดงให้ดูเป็นตัวอย่างหรือสาธิตก็
จะได้เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20 ส่วนที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด อยู่ที่การ ฝึกฝนและหมั่นปฏิบัติถึงร้อยละ 70
อ้างอิง : (เบญญาพัชร์ วันทอง.หลักการพูด.2560.3 )
สรุป: ผู้พูดควรมีลักษณะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตนเองให้พูดไปในทางที่ดีมากขึ้น การเป็นผู้พูดที่ดีต้อง
อาศัยการเอาใส่ใจของบุคคลนั้นเป็นสำคัญ

จุดมุ่งหมายของการพูด
มนุษย์มีจุดมุ่งหมายในการพูดโดยทั่วไป 3 ประการ
1. การพูดเพื่อให้ความรู้ หรือเพื่อบอกเล่า เป็นการเสนอข่าวสาร ความรู้ข้อเท็จจริงเรื่องราวตามลำดับ
ขั้นตอน เช่น การเล่าเรื่อง การสอน การเสนอผลงาน ฯลฯ
2. พูดเพื่อโน้มน้าวใจเป็นการพูดที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับ หากเชื่อถือและปฏิบัติตาม และ
ชี้ให้เห็นโทษหากไม่เชื่อถือและปฏิบัตติ าม เช่น การโต้วาที การพูดหาเสียง ฯลฯ
๕๗
3. การพูดเพื่อจรรโลงใจ เป็นการพูดที่ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าและความงาม ความดี ที่ก่อให้ เกิ ด ความรู้ สึก
และยกระดับจิตใจ หรือทำให้เกิดความเบิกบานใจ เช่น การแสดงความยินดีในโอกาสที่นักศึกษาจบการศึกษา
อ้างอิง : (ธนู ทดแทนคุณ และกุลวดี ทดแดนคุณ. 2549 : 210 - 211)
สรุป : จุดมุ่งหมายในการพูดโดยทั่วไป คือการพูดเพื่อให้ความรู้ พูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจ และเพื่อจรรโลงใจ

การพูดทุกครั้งผู้พูดควรมีจุดมุง่ หมายเป็นแนวทางในการเตรียมพูด เพื่อให้การพูดนั้นมีความชัดเจนว่ า


ต้องการพูดให้ผู้ฟังได้รบั รูอ้ ะไร โดยทั่วไปจุดมุ่งหมายของการพูดแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
๑. การพูดเพื่อให้ความรู้ เป็นการพูดเพื่อให้ความรู้ นำเสนอข่าวข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นเพื่อให้ ผู้ฟั ง
เกิดความรู้ความเข้าใจ โดยการบรรยาย อธิบาย แนะนำ เช่น บรรยายทางวิชาการ การรายงานเรื่ องราว การ
ชี้แจง การเล่าเรื่อง เป็นต้น การพูดตามจุดมุ่งหมายนี้ผู้พูดต้องเตรียมเนื้อหาข้อมูลต่างๆ ให้พร้อม และเลื อกใช้
วิธีการที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย
๒. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการพูดชักจูงใจให้ผู้ฟังเกิดการยอมรับความคิดและการกระทำของผู้
พูด มีความคิดเห็นคล้อยตาม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด หรือการกระทำ เช่น การพูดหาเสียง
การพูดขอความช่วยเหลือ การพูดขายสินค้า การพูดโต้วาที เป็นต้น การพูดตามจุดมุ่งหมายนี้ผู้พูดต้องแสดง
การพูดให้ผู้ฟังเห็นความสำคัญ ประโยชน์ของการปฏิบตั ิตามและคุณธรรมของการพูด ไม่พูดหลอกลวง หรือพูด
ละเมิดสิทธิของผู้อื่นให้เสียหาย
๓. การพูดเพื่อจรรโลงใจ เป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน สบายใจ เกิด
ความรู้สึกผ่อนคลาย หรือยกระดับจิตใจ เช่น การเล่านิทาน การพูดเรื่องตลกขบขัน การกล่าวสดุดีการกล่าว
อวยพร การพูดให้โอวาท เป็นต้น การพูดตามจุดมุ่งหมายนี้เนื้อหาต้องมีความสนุกสนานหรือแสดงถึงคุณงาม
ความดีเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ผู้ฟัง
๔. การพูดเพื่อค้นหาคำตอบ เป็นการพูดเพื่อขจัดข้อสงสัย คลี่คลายปัญหาโดยการสอบถาม ขอ
คำปรึกษาจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง หรือพูดเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ฟัง เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของ
บุคคลและส่วนร่วม เช่น การสอบถามข้อมูลความรู้ การปรึกษาปัญหาสุขภาพ การพูดสนทนา การอภิปราย
เป็นต้น การพูดตามจุดมุง่ หมายนี้ผู้พูดจะต้องพูดแสดงประเด็นปัญหา และใช้คำถามทีท่ ำให้ผู้ฟัง คิด หาคำตอบ
หรือวิธีการแก้ปัญหานั้น
อ้างอิง : (จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. 2540 : 123 - 124)
สรุป : การพูดทุกครั้งควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมพูดเพื่อให้การพูดนั้นมีความหมาย
ชัดเจน

1. การพูดเพื่อให้ความรู้
เป็นการพูดเพื่อให้สาระความรู้ เป็นการพูดที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ฟัง เช่น การนำเสนอรายงานที่
เราไปสืบค้นมาให้เพื่อนฟัง การที่คุณครูสอนในห้องเรียน หรือการที่เราพูดให้ความรูบ้ างอย่างกับผู้อื่นก็เช่นกัน

๕๘
2. การพูดเพื่อให้ความบันเทิง
สำหรับจุดมุ่งหมายนี้เป็นการพูดทีเ่ น้นความเพลิดเพลิน สนุกสนาน อย่างเรื่องตลกขบขันต่าง ๆ ซึ่ ง จะ
ไม่ต้องใช้หลักการอะไรมาก หรือไม่ต้องใช้การเตรียมตัวก่อนพูด เช่น การพูดเรื่องตลกให้เพื่อน ๆ ฟัง การเล่า
เรื่องผี เล่าเรื่องที่เราประสบพบเจอมาให้คนที่เรารู้จักฟัง ผู้ฟังก็จะได้รู้สึกสนุก ตื่นเต้นไปกับเรื่องที่เราพูดไปด้วย
3. การพูดเพื่อความจรรโลงใจ
ต่อมาเป็นการพูดเพื่อทำให้ผู้ฟังได้คติเตือนใจ ได้แนวทางในการใช้ชีวิต พูดเพื่อให้คนฟังมีจิตใจทีส่ ูงขึ้น
อยากกระทำแต่ความดี เช่น การพูดสุนทรพจน์ การขับเสภา หรือการเล่านิทานสอนใจ ซึ่งจะทำให้ ผู้ฟั ง ได้ รับ
ข้อคิดจากเรื่องที่ฟังด้วย
4. การพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจ
สำหรับจุดมุ่งหมายในการพูดข้อนี้ถือว่าเป็นความสามารถเฉพาะบุคคลก็ว่าได้ เพราะเป็นการพูดที่ตอ้ ง
มีหลักการ มีแหล่งข้อมูล ผู้พูดต้องมีความน่าเชื่อถือพอสมควร การพูดในลักษณะนี้จะต้องพูดเพื่อเปลี่ยนแปลง
ความคิดเห็นของผู้ฟังให้คล้อยตามเรา เช่น การพูดโต้วาที การพูดชักชวนเพื่อให้ทำบางสิ่งบางอย่างตามที่เรา
ต้องการ การพูดเชิญชวน รณรงค์ หรือที่เราจะเห็นการพูดเพื่อโฆษณาสรรพคุณของสินค้าให้คนสนใจอยากจะ
ซื้อตาม
อ้างอิง : (วินิจ วรรรถนอม. หลักการพูด. 2522 : 4 )
สรุป : การพูดเป็นการพูดเพื่อให้สาระความรู้ ให้ความบันเทิงเพลิดเพลิน พูดโน้มน้าวจิตใจหรือจรรโลงใจ
เพื่อให้ผู้ฟังได้คติเตือนใจ

๑. การพูดเพื่อให้ความรู้ การเล่าเรื่องราวต่างๆ การอธิบายการสาธิต


๒. การพูดเพื่อให้ความบันเทิง
๓. การพูดเพื่อจรรโลงใจ เพื่อให้ได้คติชีวิต
๔. การพูดเพื่อชักจูงใจหรือโน้มน้าวใจ
อ้างอิง : (สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา. การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. 2554 : 1)
สรุป : การพูดเพื่อให้ความรู้ การเบ่าเรื่องราวต่างๆ การให้ความบันเทิง การพูดจรรโลงใจให้คติโน้มน้าวใจ

ผู้พูดจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายที่พูดได้อย่างถูกต้องโดยจะต้องศึกษาและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ที่จะ
พูดแต่ละครั้งให้ชัดเจนและพูดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายที่วางไว้ โดยจุดมุ่งหมายของการพูดสามารถกำหนดได้
ดังนี้
1. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือข้อเท็จจริง
เป็นการพูดโดยอาศัยข้อมูลในเรื่องที่ผู้ฟังต้องการจะทราบ ซึ่งจะต้องพูดให้ตรงประเด็นในหัวข้อที่
กำหนดในบางครัง้ ผู้พูดต้องมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจในเรื่องที่พูดมากที่สุดส่วนใหญ่ จ ะ
เป็นการพูดแบบบรรยายพรรณนา เล่าเรื่อง อธิบาย ชี้แจงสาธิต และวิธีเสนอรายงาน

๕๙
2. การพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจ
เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องใช้ศลิ ปะในการพูดเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเลื่อมใสมีความคิด เห็น
คล้อยตามหรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามทีผ่ ู้พูดสร้างความมุ่งหมายไว้ เช่น การพูดโน้มน้าวใจให้ป ระชาชน
ลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองของตน การพูดชักชวนให้เลื่อมใสในลัทธิทางศาสนา การพูดโฆษณาขายสินค้า
ของพนักงานขายเป็นต้น
3. การพูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจ
เป็นการพูดที่เน้นให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนานบันเทิง การพูดในลักษณะนี้เป็นการสร้างความนึกคิด
ของผู้ฟังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อยกระดับจิตใจของผู้ฟังในทางที่ดแี ละมีความสุขในขณะทีฟ่ ังการพูด เช่ น
การคำสดุดี การกล่าวคำอวยพร การกล่าวขอบคุณหรือคำปราศรัยในงานบันเทิงที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ เป็น
ต้น
4. การพูดเพื่อหาทางแก้ปัญหาหรือคำตอบต่างๆ
ผู้พูดจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่พูดเป็นอย่างดีและสามารถตอบปัญหาที่ผู้ฟังสงสัยได้รวมทั้งเป็น
การพูดในเชิงวิชาการหรือการพูดในแนวทางขจัดปัญหาข้อสงสัยต่างๆ ให้ปรากฏอย่างมีเหตุมีผลบางครั้งเป็น
การพูดเพื่อตอบปัญหาของผู้ที่มีความสงสัย เช่น การพูดสัมมนาทางวิชาการ การพูดตอบกระทู้คำถามของ
รัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีในการประชุม เป็นต้น
5. การพูดเพื่อแนะนำและชี้แนะ
เป็นการพูดในเวลาจำกัด ส่วนมากเป็นการพูดแนะนำบุคคลแนะนำการปฏิบัตงิ านและลักษณะงาน
ที่ทำของหน่วยงานต่างๆ โดยการพูดให้คำแนะนำมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ฟังทราบข้อเท็จจริงอย่างสั้นๆ พอดี กับ
เวลา เช่น การรายงานตัวของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชาหรือการสรุปงานในหน้าที่รับผิดชอบของ
ผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชาในโอกาสตรวจเยี่ยมราชการ เป็นต้น
อ้างอิง : (อรณิชา กอบกำ. ศิลปะการพูด. 2561 : 3)
สรุป : ผู้พูดจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายที่พูดและวัตถุประสงค์ที่จะพูดในแต่ละครัง้ ให้ชัดเจนและพูดให้ตรงตาม
จุดมุ่งหมายที่วางไว้

การพูดแต่ละครั้งมีจุดมุ่งหมายต่างกัน ผู้พูดจะต้องรู้จักจุดมุ่งหมายที่พูดได้อย่างถูกต้องตรงความ
ต้องการของผู้ฟังมีนักพูดบางท่านเวลาพูดในโอกาสต่างๆ ไม่เข้าใจไม่รู้ซึ้งถึงความมุ่งหมายที่เขาต้องการให้พู ด
แต่กลับไปพูดนอกเรื่องที่ไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายทีว่ างไว้ ก็เป็นผลทำให้ผู้ฟังเกิดความเบือ่ หน่ายไม่ได้รบั ประโยชน์
จากการฟังเท่าที่ควร เมื่อเป็นเช่นนี้นักพูดที่ดีจะต้องศึกษาวิเคราะห์ให้เข้าใจความมุ่งและวั ตถุประสงค์ ที่จ ะพู ด
แต่ละครั้งให้ชัดเจนและพูดตรงกับความมุ่งหมายทีว่ างไว้ โดยกำหนดได้ดังนี้
1. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือข้อเท็จจริงแก่ผู้ฟังการพูดแบบนี้เป็นการพูดโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ใน
เรื่องที่ผู้ฟังต้องการจะทราบ การพูดต้องพูดให้ตรงประเด็นและหัวข้อที่กำหนดให้ บางครั้งผู้พูดต้องเตรียม
อุปกรณ์ประกอบการบรรยายไปด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่พูดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพูด
เช่นนี้ส่วนมากจะใช้วิธีการพูดด้วยการบรรยาย อธิบาย พรรณนา เล่าเรื่อง ชี้แจง สาธิตและวิธีเสนอรายงาน ฯ

๖๐
2. การพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังการพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องใช้ศลิ ปะในการพูดหลายๆ แบบเพื่ อจู ง ใจ
ให้ผู้ฟังเกิดความศรัทธาเลื่อมใสมีความคิดเห็นคล้อยตาม หรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ ผู้พู ดตั้ง ความมุ่ง
หมายไว้ เช่น การพูดชักชวนให้เลื่อมใสในลัทธิทางศาสนา การพูดให้ประชาชนเลือกตนเองเป็นผู้แ ทนของ
นักการเมือง การพูดโฆษณาขายสินค้าของผู้แทนบริษัท ฯ
3. การพูดเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเพื่อจรรโลงใจแก่ผู้ฟังการพูดแบบนี้ ผู้พูดต้องเข้าใจว่า
บรรยากาศในการพูดก็ดี ความต้องการของผู้ฟังก็ดี เป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องเน้นให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนาน
บันเทิงควบคู่ไปกับการได้รับความรู้สึกนึกคิดที่แปลกใหม่ เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการพูดในลักษณะเสริมสร้างความ
นึกคิดของผู้ฟังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับจิตใจของผู้ฟังในทางที่ดีมีความสุขในขณะที่ฟังการพูด
เช่น การกล่าวคำสดุดี กล่าวคำอวยพร กล่าวขอบคุณ หรือกล่าวคำปราศรัยในงานบันเทิงต่างๆ ที่จัดขึ้นใน
โอกาสต่างๆ
4. การพูดเพื่อหาทางแก้ปัญหาหรือคำตอบต่างๆกับการพูดแบบนี้ ผู้พูดจะต้องมีความรูเ้ กี่ยวกับเรื่องที่
พูดได้เป็นอย่างดีหรือสามารถตอบปัญหาต่างๆ ที่ผู้ฟังสงสัยอยากจะรู้อยากจะฟังจากผู้พูด จึงเป็นการพูดในเชิง
วิชาการหรือในแนวทางขจัดปัญหาข้อสงสัยต่างๆ ให้ปรากฏอย่างมีเหตุมีผล บางครั้งก็เป็นการพูดเพื่อตอบ
ปัญหาของผู้ที่มีความสงสัยถามปัญหาขึ้นมา เช่น การพูดสัมมนาในทางวิชาการ การพูดตอบกระทู้ค ำถามของ
รัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี
5. การพูดเพื่อแนะนำและชี้แนะเรื่องต่างๆการพูดแบบนี้ เป็นการพูดในเวลาจำกัดตามลักษณะเรื่อง
แนะนำและเวลาที่จะอำนวยให้ ส่วนมากเป็นการพูดแนะนำบุคคล แนะนำการปฏิบัตงิ านและลักษณะของงาน
ที่ทำของหน่วยต่างๆ การพูดให้คำแนะนำมุ่งการพูดเพื่อให้ผู้ฟังทราบเฉพาะข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างย่ อๆ พอกั บ
เวลา ใช้กับการรายงานตัวของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชา การแนะนำสรุปงานในหน้ า ที่รั บผิ ด ชอบของ
ผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับบัญชาในโอกาสตรวจเยี่ยม ฯ
อ้างอิง : (วารุณี เรืองมี. ภาษาไทยเพื่องานอาชีพ. 2559 : 5)
สรุป : การพูดแต่ละครั้งมีจุดมุง่ หมายต่างกัน เช่น การพูดเพื่อให้ความรูห้ รือข้อเท็ จจริง การพู ด เพื่ อโน้ ม น้ า ว
จิตใจ การพูดให้เกิดความเพลิดเพลิน การพูดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา การพูดเพื่อแนะนำ

ความมุ่งหมายของการพูด คือ การแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้ฟัง และผู้ฟังสามารถรับรู้เรื่องราว


และเข้าใจได้ตรงกับความต้องการของผู้พูด ตลอดจนสามารถนำไปปฏิบตั ิได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า
พูดได้อย่างใจนึก
ระลึกได้ดังใจหวัง
ยังประโยชน์ให้แก่ผู้ฟัง
สร้างพลังในการเปลี่ยนแปลง
ความมุ่งหมายของการพูด แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ความมุ่งหมายของการพูดโดยทั่วไป และ
2. ความมุ่งหมายเฉพาะ

๖๑
1.๑ ความมุ่งหมายโดยทั่วไป คือ การพูดที่พยายามให้ผู้ฟังสนใจ เข้าใจ และประทั บ ใจจาก
การพูดนั้น ๆ
- ความสนใจ จะเกิดได้เพราะผู้พูดได้เตรียมตัวเป็นอย่างดี กล่าวคือ สนใจที่จะรับฟัง
เพราะเตรียมพูดมาดี และสนใจที่จะรับฟังจนจบเรือ่ งเพราะเตรียมเนื้อหามาดี
ความเข้าใจ การเรียกร้องให้คนสนใจฟังเท่านั้นยังไม่เป็นการเพียงพอ จะต้องให้ผู้ฟังเข้าใจด้วย ซึ่งกระทำได้โดย
การเตรียมเนื้อเรื่อง การใช้ถ้อยคำ การเรียบเรียงประโยคทีง่ ่ายต่อการเข้าใจ เป็นต้น
ความประทับใจ คือ ความเข้าใจที่ชัดเจน จนมองเห็นภาพ ซึ่งทำได้โดยการใช้คำคม ข้อความที่ลึกซึ้ ง กิ นใจ คำ
รุนแรงที่เหมาะสม ตลอดจนอุปมาอุปไมยต่าง ๆ เป็นต้น
ดังนั้น ในการพูดทุกครั้ง ผู้พูดจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุปจบให้สอดคล้องกัน เพื่อ
ช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการพูดทุก ๆ ครั้ง
๑.2 ความมุ่งหมายเฉพาะ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- เพื่อให้ข่าวสารความรู้ เป็นการพูดแบบเสนอข้อเท็จจริง โดยไม่มุ่งหมายที่จะเปลี่ยน
ทัศนคติของผู้ฟัง แต่เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ฟัง
- เพื่อความบันเทิง เป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังสนุกสนานครึกครื้น มักเป็นการพูดหลังอาหาร ซึ่ ง
จัดขึ้นเพื่อเป็นการพักผ่อน
- เพื่อชักจูงใจ คือ การพูดที่มุ่งหวังให้ผู้ฟังเปลี่ยนใจเห็นคล้อยตามผู้พูด โดยใช้ การเร้า
อารมณ์เป็นที่ตั้ง
อ้างอิง : (ประเสริฐ บุญเสริม. ศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสาร. 2560 : 1)
สรุป : ความมุ่งหมายของการพูด คือ การแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้ฟังและผู้ฟังรับรู้และเข้าใจเรื่องราว
ได้ตรงกับจุดมุง่ หมายของผู้พูด

ในการพูดแต่ละครัง้ ผู้พูดต้องกำหนดจุดมุง่ หมายว่าต้องการจะให้ผู้ฟังได้รับ สิ่งใด จะพูดเรื่ องอะไร


เพื่ออะไร และพูดอย่างไร ทั้งยังต้องคำนึงถึงผู้ฟังด้วย การพูดที่มคี วามมุ่งหมายทีช่ ัดเจนจะช่วยให้ผู้ฟังเข้ า ใจ
เรื่องราวได้ตรงกับความต้องการของผู้พูด ความมุ่งหมายโดยทัว่ ไปของการพูด มีดังนี้
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ เป็นการพูดที่แจ้งข่าวสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับการพูด
เชิงวิชาการ กึ่งวิชาการ หรือการเล่าเรื่องทั่วๆ ไป เช่น การบรรยาย การปาฐกถา การอธิบาย การสาธิ ต
การชี้แจง การกล่าวรายงาน การเล่าเรื่อง เป็นต้น
2. เพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการพูดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ฟังให้เป็นไปตามจุดประสงค์ ของผู้
พูด โดยให้ผู้ฟังเห็นถึงประโยชน์หรือโทษของสิ่งที่พูด และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ฟังให้กระทำ
หรือเลิกกระทำสิ่งนั้น เช่น การพูดหาเสียง การโฆษณา การพูดชักชวน การพูดร้องขอวิงวอน การพูด
โต้แย้ง การพูดวิจารณ์ เป็นต้น การพูดประเภทนี้ผู้พูดต้องใช้ทงั้ เหตุและผล ข้อมูลอ้างอิง หลักจิต วิ ท ยา
และวาทศิลป์ จึงจะสามารถทำให้ผู้ฟังเชื่อและเปลี่ยนพฤติกรรมได้

๖๒
3. เพื่อจรรโลงใจ เป็นการพูดสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง ขณะเดียวกันก็อาจเป็นการ
ยกระดับจิตใจผู้ฟังให้สูงขึ้น เช่น การพูดเรื่องตลกขบขัน การพูดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่ใ ห้
ความบันเทิง การสนทนาธรรม การพูดในโอกาสต่างๆ อาทิ การกล่าวอวยพร งานวันเกิด งานมงคลสมรส
เป็นต้น
4. เพื่อค้นหาคำตอบ เป็นการพูดเพื่อขจัดข้อสงสัยของผู้พูด ในชีวิตประจำวันเรามักจะพบกับ
อุปสรรคหรือปัญหาต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งเราอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ จึงต้องสอบถาม
หรือปรึกษาจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ เช่น การสอบถามข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การสอบถามเส้นทาง การ
ปรึกษาปัญหาชีวิตและสุขภาพ เป็นต้น
นอกจากนี้ ทัศนีย์ ศุภเมธี (2526 : 35–36) ได้ให้จุดมุง่ หมายของการพูดไว้ดงั นี้
1. การพูดเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ผู้พูดต้องเสนอ เรื่องราวที่เป็นจริงมี
รายละเอียดพอสมควร หรือมีความคิดเห็นของผู้พูดสอดแทรกไปด้วย เพื่อให้ผู้ฟังได้รบั รูแ้ ละเกิดความเข้ า ใจ
อย่างชัดเจน เช่น การบรรยายของวิทยากร การอบรมสั่งสอนของครูอาจารย์ เป็นต้น
2. การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น ผู้พูดต้องมีความรูค้ วามเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ดี และสามารถแสดง
เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ผู้ฟังเข้าใจถึงแนวความคิดของผู้พูดได้ เช่น การอภิปราย การโต้วาที เป็นต้น
3. การพูดเพื่อจรรโลงใจ เป็นการพูดให้ผู้ฟังเกิดความสนุกเพลิดเพลิน นอกจากนี้การพู ด ประเภท
นี้ยังเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถยกระดับจิตใจของผู้ฟังให้สูงขึ้นได้ดว้ ย มิใช่เพียงสนุกสนานเท่านั้น สิ่งสำคัญที่จะช่ ว ย
ให้ผู้พูดบรรลุความมุ่งหมายได้คือ ต้องมีกลวิธีในการเสนอเรื่องและความสามารถในการใช้ภาษา ตลอดจน
แสดงท่าทางอย่างสอดคล้องกัน เช่น การพูดเรื่องตลกในวงสนทนา การแสดงของคณะตลกต่างๆ การพูด
เรื่องที่สอนคติเตือนใจ เป็นต้น
4. การพูดเพื่อโน้มน้าวใจผู้ฟัง เป็นการพูดที่ผู้พูดต้องมีความสามารถและระมัดระวังเป็นพิเศษว่า
จะพูดอย่างไร จึงจะทำให้ผู้ฟังเกิดการยอมรับความคิดและการกระทำของผู้พูด การพูดแบบนี้ผู้พู ด ต้องสร้ า ง
ศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ฟังและต้องพูดให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม บางทีอาจเปลี่ยนความคิด ความเชื่อ หรือ
พฤติกรรมที่มีอยู่เดิมของ ผู้ฟังได้ด้วย
อวยชัย ผกามาศ ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของการพูดไว้ว่า การพูดแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็น
การพูดเดี่ยวหรือพูดเป็นกลุ่มย่อมมีความมุ่งหมายแตกต่างกันออกไปตามกาลเทศะและบุคคล สามารถ
ประมวลได้ดังนี้
1. พูดเพื่อบอกเล่าข้อเท็จจริง ข้อนี้มุ่งให้ผู้ฟังได้รับความรู้สาระจากเรื่องที่พูดให้มากที่สุด
ดังนั้นผู้พูดต้องมีการเตรียมตัวมาดีพอสมควรใช้สำนวนภาษาที่น่าสนใจเหมาะสมกับผู้ฟัง เช่น การกล่ าว
รายงาน การกล่าวปราศรัย การกล่าวสุนทรพจน์ การบรรยาย การอธิบาย เป็นต้น
2. พูดเพื่อความบันเทิง ข้อนี้มุ่งให้ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นสำคัญ พูดให้ตรง
เป้าหมาย อย่าเยิ่นเย้อหรือเนิ่นนานจนเกินไป ใช้สีหน้ากิริยา ท่าทาง เสี ยง และสำนวนภาษาที่สร้าง
บรรยากาศเป็นกันเอง เช่น การเล่าเรื่องในประเภทต่างๆ

๖๓
3. พูดเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจ ข้อนี้มุ่งให้ผู้ฟังมีเจตคติที่ดี เปลี่ยนแนวคิดเดิมหรือความคิด
เก่าๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะในที่สุดเพราะผู้ฟังมีความรู้สึกว่าตนเองได้รับประโยชน์ ผู้
พูดต้องใช้ศิลปะการพูดและลีลาการพูด น้ำเสียงกิริยาอาการต่างๆ เพื่อประกอบการพูดจนผู้ฟังคล้อยตามได้
เช่น การพูดเชิญชวนบริจาคทรัพย์เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นต้น
อ้างอิง : (อรอุมา บุตรมิมุสา. จุดมุ่งหมายของการพูด. 2556 : 1 )
สรุป : การพูดแต่ละครั้ง ผู้พูดจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายว่าต้องการจะให้ผู้ฟังได้รับสิ่งใด จะพูดเรื่องอะไร
เพื่ออะไร เช่น เพื่อแจ้งให้ทราบ เพื่อค้นหาคำตอบ แสดงความคิดเห็น เพื่อความบันเทิง

การพูดเป็นการสนทนาในชีวติประจำวัน ผู้พูดอาจไม่จำเป็นต้องตัง้ วัตถุประสงค์อย่างเป็นทางการ แต่


หากเป็นการพูดต่อหน้าสาธารณชน ผู้พูดควรตั้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อเตรียมข้อมูลเนื้อหา ฟลักฐาน
อ้างอิงและสำนวนภาษิตที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งมีจุดมุ่งหมายของการพูดจำแนกได้ดงั นี้
๑. พูดเพื่อให้ความรู้
ความหมาย :การพูดเพื่อให้ความรูเ้ ป็นการสื่อสารที่ผู้พูดในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง เพื่อให้ผู้ฟังได้ฟังและ
ทราบในข้อมูล
รูปแบบ : ใช้รูปแบบได้หลายวิธี เช่น การบรรยาย การอภิปราย การสัมภาษณ์ โดยผู้ พู ด จะทำหน้ า ที่
ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจไปสู่ผู้ฟัง
ประโยชน์ที่ได้รับ:ได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดระหว่างผู้พูดและผู้ฟังและความสนใจในเรื่องเดี ย วกั นช่ ว ย
พัฒนาความรู้เกิดประโยชน์ต่อคนจำนวนมากและหลายระดับ
๒. พูดเพื่อโน้มน้าวใจ
ความหมาย :การพูดเพื่อโน้มน้าวใจเป็นการพูดที่ผู้พูดต้องใช้ศิลปะเพื่อจูงใจให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อและ
คล้อยตามความมุ่งหมายของผู้พูด
รูปแบบ : ใช้รูปแบบพูดโดยแสดงให้ผู้ฟังเห็นว่า ผู้พูดให้ความสำคัญและสนใจผู้ฟัง เช่นการพูดโฆษณา
เพื่อขายสินค้าและบริการต่างๆผู้พูดจะต้องรู้จักสังเกต ใส่ใจความตอ้งการของผู้ฟังแล้วจึงประสานความ
ต้องการของตนและผู้ฟังเข้าด้วยกัน โดยอาศัยประสบการณ์ การค้นคว้าข้อมูล และการติดตามข่าวสารต่างๆ
ประโยชน์ที่ได้รับ : สร้างความตระหนกัในสิ่งทีด่ ีเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังและช่วยให้ผู้พูดประสบความสำเร็ จ ตรง
ตามเป้าหมาย
๓. พูดเพื่อจรรโลงใจ
ความหมาย : การพูดจรรโลงใจเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อบอกเล่าสิ่งที่เป็นนามธรรมและ
สร้างทัศนคติทดี่ ีแก่ผู้ฟัง
รูปแบบ : ใช้รูปแบบพูดโดยการบรรยาย อธิบาย หรือยกโวหารมาประกอบการพูด และเพื่อให้ผู้ฟัง
เข้าถึงการพูดได้ดีขึ้น ผู้พูดต้องศึกษาข้อมูลทีส่ ร้างความประทับใจและยกระดับจิตใจผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้รับแนวคิดที่
ดีมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
ประโยชน์ที่ได้รับ : ช่วยยกระดับจิตใจของผู้ฟังให้ได้รบั ความสุขเกิดทัศนคติทดี่ ใี นการดำเนินชีวิต

๖๔
๔. พูดเพื่อให้ความบันเทิง
ความหมาย : การพูดเพื่อให้ความบันเทิงเป็นการสื่อสารด้วยการพูดในเรื่องที่สนุกสนานเพื่อสร้าง
อารมณ์ขันหรือผ่อนคลายความรู้สึกของผู้พูด
รูปแบบ : ใช้รูปแบบการพูดโดยบรรยายข้อมูลที่ก่อให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์โดยผู้
พูดต้องทราบบรรยากาศและความต้องการของผู้ฟังและควรพูดให้เกิดความสนุกสนานควบคู่ไปกับการทำให้
ผู้ฟังมีความรู้
ประโยชน์ที่ได้รับ : ผู้ฟังได้รับความรู้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
๕. พูดเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถาม
ความหมาย : การพูดเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถามเป็นการพูดที่ผู้พูดจะต้องให้คำตอบหรือ
คำแนะนำในประเด็นที่เป็นข้อ สงสัย รวมถึงหาแนวทางหรือทางออกสำหรับปัญหานั้นๆ
รูปแบบ : ใช้รูปแบบพูดตอบคำถามอธิบายข้อเท็จจริง โดยผู้พูดจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ
เกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสารเป็นอย่างดีสามารถตอบปัญหาต่างๆ ที่ผู้ฟังสงสัยได้
ประโยชน์ที่ได้รับ : ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางแก้ปัญหาระหว่างผู้พูดและผู้ฟังรวมถึงได้ข้อสรุป
หรือคำตอบในประเด็นนั้น
อ้างอิง : (สมบัติ จำปาเงิน. ความรู้เบื้องต้นในการพูด. 2559 : 1 - 3 )
สรุป : การพูดเป็นการสนทาในชีวิตประจำวันของคนเรา ผู้พูดอาจไม่จำเป็นต้องตั้งวัตถุประสงค์อย่างเป็น
ทางการก็ได้
การพูดมีจุดมุ่งหมาย ดังต่อไปนี้
1. เพื่อให้ผู้ฟังได้รับความรู้ความเข้าใจ เป็นการอธิบายที่มุ่งหมายให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหา
สาระของเรื่องที่พูด ตามเนื้อหาสาระของวิชาการในสาขาต่างๆ เช่น การอธิบายเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้
นักเรียนฟัง โดยอาจจะยกตัวอย่าง พร้อมกับการใช้สื่อต่างๆ ประกอบเพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
2. เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความคิดหรือทัศนะอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการอธิบายเกี่ยวกับแนวคิด มุ่งให้ ผู้ฟั ง ได้
นำไปพิจารณาไตร่ตรองทำให้เกิดแนวคิดหรือทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรืออาจจะนำไปปฏิบัติซึ่งจะเป็นประ
โยขน์ต่อตนเองและสังคม
อ้างอิง : (มณฑนา วัตนถนอม. การพูดอธิบาย. 2533 : 5 )
สรุป : การพูดมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ผู้ฟังได้รับความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้เกิดความคิดและทัศนะอย่างใดอย่ า ง
หนึ่ง

หลักเกณฑ์ในการพูด
การพูดนั้นผู้ที่จะพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรรู้หลักการพูดในเบื้องต้น เพื่อจะได้ มี แนวทางในการ
ปฏิบัติและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ซึ่งหลักการพูดโดยทัว่ ไปมีดงั นี้
๑. วิเคราะห์ผู้ฟัง การวิเคราะห์ผู้ฟังเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้พูดควรกระทำทุกครั้งก่อนแสดงการพูด
เนื่องจากผู้ฟังเป็นปัจจัยสำคัญที่สะท้อนถึงความสามารถของผู้พูด ผู้พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟังในเรื่องของเพศ วัย

๖๕
ระดับการศึกษา อาชีพ ความสนใจ จำนวน ทัศนคติ และความคาดหวัง เพื่อจะได้เตรียมเนื้ อหา วิธีพูดหรือ
ถ้อยคำ กิริยาท่าทางให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังนั้นๆ และให้ได้ผลสมความมุง่ หมายของผู้พูด
๒. วิเคราะห์โอกาส ผู้พูดต้องรู้ว่างานที่ตอ้ งไปแสดงการพูดนั้นจัดขึ้นเนื่องในโอกาสใด เช่ น งาน
สมรส งานเลี้ยงสำเร็จการศึกษา การบรรยายวิชาการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้เตรียมการแต่งกาย ภาษา เนื้ อหา
และวิธีการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
๓. วิเคราะห์กาลเทศะ ผู้พูดที่ดีต้องคำนึงถึงเรื่องวัน เวลา และสถานที่ที่พูดด้วย เพราะวันเวลา
สถานที่ที่เหมาะสมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างบรรยากาศ ในการพูดนั้นถ้าเลือกสถานที่พูดไม่
เหมาะสมจะทำให้ผู้ฟังขาดความสนใจ สถานที่ที่แสดงการพูดควรเป็นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีแสงสว่าง
เพียงพอ เพื่อให้ผู้ฟังมีสมาธิในการฟัง นอกจากนี้เรื่องของเวลาก็สำคัญเช่นกัน ผู้พูดที่ดีควรพิจารณา
สถานการณ์แวดล้อม เพื่อปรับลักษณะการพูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ
๔. ศึกษารูปแบบของการพูด ผู้พูดต้องศึกษารูปแบบหรือประเภทของการพูดเพื่อเลือกใช้ให้
เหมาะสมกับโอกาสของการพูด ซึ่งรูปแบบของการพูดนั้นแบ่งเป็นแบบต่างๆ ตามวิธีการแบ่ง ดังนี้
๔.๑) แบ่งตามวิธีการพูด ซึ่งเป็นการพูดที่มีผู้พูดเพียงคนเดียว มีรายละเอียดดังนี้
-การพูดปากเปล่าโดยไม่มกี ารเตรียมล่วงหน้า(Impromptu)
-การพูดปากเปล่าโดยมีการเตรียมล่วงหน้า(Extemporaneous)
-การพูดโดยวิธีท่องจำ(Memorize Speech)
-การพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับ(Reading fromm Manuscript)
๔.๒) แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการพูด แบ่งออกได้เป็น๓ประเภท ดังนี้
-การพูดเพื่อให้ความรู้(Informative Speech)
-การพูดเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจ(Persuasive Speech)
-การพูดเพื่อจรรโลงใจ(Recreative Speech)
๔.๓) แบ่งตามโอกาสของการพูด แบ่งออกเป็น๒ประเภท ดังต่อไปนี้
-การพูดแบบไม่เป็นทางการ(Informal Speech)
-การพูดแบบเป็นทางการ(Formal Speech)
๕. เลือกเรื่องพูด ในการพูดนั้นหากผู้พูดต้องเป็นผู้เลือกหัวข้อเรื่องในการพูดเอง ควรเลือก
เรื่องหรือหัวข้อเรื่องพูดตามหลักการณ์ตอ่ ไปนี้
-เลือกเรื่องที่ผู้พูดมีความรู้ ประสบการณ์ สามารถค้นคว้าข้อมูล
-เลือกเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ
-เลือกเรื่องที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง
-เลือกเรื่องที่เหมาะสมกับความคิดของผู้ฟัง
-เลือกเรื่องที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และโอกาส
-เลือกเรื่องที่มีความทันสมัยและเป็นปัจจุบนั
-เลือกเรื่องที่มีขอบเขตไม่กว้างหรือลึกซึ้งเกินไป

๖๖
๖. เตรียมเนื้อหาในการพูด
เนื้อหาที่ใช้ในการพูดนั้น ผู้พูดควรทำตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
๖.๑) ตั้งจุดมุ่งหมายในการพูด ในการพูดทุกครั้งผู้พูดต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการพูด ว่าจะ
พูดเพื่ออะไร เพื่อให้ความรู้ เพื่อโน้มน้าวใจ เพื่อจรรโลงโลก หรือเพื่อค้นหาคำตอบ เพื่อจะได้มีแนวทางในการ
เตรียมเนื้อหา เตรียมการใช้ภาษา และกลวิธีการพูดได้อย่างเหมาะสม
๖.๒) จำกัดขอบเขตของเรื่องที่พูด ผู้พูดจะต้องกำหนดประเด็นของเรื่องว่าจะพูดใน
ประเด็นใดบ้าง และควรเน้นประเด็นใดเป็นพิเศษ โดยพิจารณาจากจุดมุ่งหมายทีว่ างไว้ และระยะเวลาที่ ได้รั บ
มอบหมายให้พูดด้วย
๖.๓) วางโครงสร้าง คือการลำดับประเด็นสำคัญของเรื่อง โดยจัดลำดับก่อนหลังตาม
ความสำคัญ และควรจัดให้มีความสัมพันธ์กัน การวางโครงสร้างเรื่องทีด่ ีจะช่วยให้เนื้อหาทีจ่ ะพูด เป็ นระเบี ย บ
ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย การวางโครงเรื่องพูดมีหลักปฏิบัตเิ หมือนกับการเขียนโครงเรื่องในงานเขียน โดยเริ่มจาก
การรวบรวมความรูค้ วามคิด การเลือกสรรความรูค้ วามคิด การจัดลำดับความรู้ความคิด และการขยายความรู้
ความคิด
๖.๔) ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เมื่อวางโครงเรื่องเสร็จแล้วผู้พูดต้องค้นคว้ารวบรวม
ข้อมูล รายละเอียด และตัวอย่างจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ มาใส่เพิ่มเติมให้หัวข้อในโครงเรื่องทีว่ างไว้ มี
ความสมบูรณ์
๗. จัดเรื่องพูด ในการจัดเรื่องเพื่อเตรียมพูดนัน้ จะแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ
๗.๑) การทักทายผู้ฟังหรือการปฏิสันถาร การทักทายเป็นมารยาทในสังคม การพูด ก็
เช่นกันเมื่อผู้พูดกับผู้ฟังได้พบกันก็จะมาการทักทายกัน ถือเป็นการให้เกียรติผู้ฟังและเป็นการเตรียมตัวผู้ฟังให้
ฟังเรื่องที่ผู้พูดกำลังจะพูด การกล่าวทักทายผู้ฟัง แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ
-การทักทายแบบเป็นทางการ
-การทักทายแบบกึ่งทางการ
๗.๒) การเกริ่นนำหรืออารัมภบท หลังจากทักทายผู้ฟังแล้ว ผู้พูดจะต้องพูดเกิร่นนำเรื่องที่
จะพูดเพื่อสร้างความตืน่ เต้นเร้าใจ สนใจใคร่ตดิ ตามสาระของเรื่องที่พูดต่อไปด้วยการใช้คำพูดที่จบั ใจผู้ฟัง การ
เกิร่นมีหลายวิธี ดังนี้
-ขึ้นต้นด้วยการแสดงความยินดีเต็มใจทีไ่ ด้มาพูด
-ขึ้นต้นด้วยการตั้งคำถาม
-ขึ้นต้นด้วยข้อความที่กระตุน้ ให้สงสัย
-ขึ้นต้นด้วยคำคมบทกวี
-ขึ้นต้นด้วยการเล่าเรื่องที่สนุกสนานและน่าสนใจ
-ขึ้นต้นด้วยการอ้างวาทะของบุคคลทีม่ ีชื่อเสียง
-ขึ้นต้นด้วยตัวอย่างหรือนิทาน
-ขึ้นต้นด้วยการชี้ให้ผู้ฟังเห็นประโยชน์ที่ได้รบั

๖๗
๗.๓) การกล่าวเนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องเป็นส่วนสำคัญของการพูด ผู้พูดต้องเตรียมข้อมูลให้
พร้อม และต้องดำเนินเรื่องให้น่าสนใจ มีความสอดคลองกับเวลา ซึ่งผู้พูดควรปฏิบัตดิ ังหลักการต่อไปนี้
-ถ่ายทอดตามลำดับความของเรื่อง
-พูดอยู่ในประเด็นไม่ออกนอกเรื่อง
- เน้นย้ำประเด็นที่สำคัญ ควรมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้เข้าใจง่าย
-สังเกตพฤติกรรมของผู้ฟัง ต้องมีการสอบถาม ทบทวนเป็นระยะ
-ใช้โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
-เนื้อความควรโยงประสบการณ์ใหม่ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของผู้ฟัง จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจ
ชัดเจนง่ายขึ้น
-ควรสอดส่องอารมณ์ขันในเนื้อเรื่องบ้าง เพื่อไม่ให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย
-เร้าความรู้สึกของผู้ฟังให้มากขึ้นเป็นลำดับ ด้วยการยกตัวอย่างอุทาหรณ์เบาๆไว้ตอนต้น และหนัก
ขึ้นในตอนท้ายๆ เพื่อให้เข้มมากข้นขึ้น
-ดำเนินเรื่องให้สอดคล้องกับเวลาที่กำหนด ผู้พูดต้องพร้อมที่จะตัดตอนบางตอน หรือเพิ่มขยายความ
ได้ในกรณีที่จำเป็น
๗.๔) การกล่าวสรุป การกล่าวสรุปที่ดีจะให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจและจดจำได้ การ
กล่าวสรุปมีหลายวิธีดังนี้
-กล่าวสรุปเน้นย้ำสาระสำคัญของเรื่อง
-กล่าวสรุปโดยการเรียกร้องชักชวนหรือกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติตามทีผ่ ู้พูดต้องการ
-กล่าวสรุปแบบให้คิดหรือทิ้งท้ายด้วยคำถาม ให้ผู้ฟังนำกลับไปคิดต่อ
-กล่าวสรุปโดยใช้บทกวี คำคม สำนวน สุภาษิต คำพังเพย หรือเพลง
-กล่าวสรุปแบบเฉลยคำตอบ ซึ่งการกล่าวสรุปแบบนี้ต้องสัมพันธ์กับคำเกริ่นนำที่เป็นคำถาม
๘. เตรียมบุคลิกภาพ บุคลิกภาพนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ฟังสนใจและประทับใจในผู้ พู ด
อันส่งผลให้ผู้พูดประสบความสำเร็จ ดังนั้นผู้ควรฝึกฝนและปรับปรุงบุคลิกภาพต่างๆ ต่อไปนี้
๘.๑) การใช้ภาษา ผู้พูดควรคำนึงถึงระดับภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟังตามสถานการณ์การ
พูด และควรเลือกถ้อยคำที่เข้าใจง่าย มีความตรงตามที่ตนต้องการ
๘.๒) อากัปกิริยา ผู้พูดควรจัดท่านั่ง ท่ายืน ตลอดจนท่าเคลื่อนไหวต่างๆขณะพูด
ดังต่อไปนี้
-การเดิน ผู้พูดควรฝึกซ้อมท่าทางการเดินให้สง่างาม ตัวตรง ปล่อยแขนแนบลำตัว หน้ามองตรง
ปรากฏตัวด้วยท่าทีกระตือรือร้น
-การยืน ถ้าเป็นการยืนพูดควรยืนแยกเท้าทั้งสองข้างแต่พองามประมาณ๑คืบ ปลายเท้าเหลื่อมกัน
เล็กน้อย ทรงตัวมั่นคง ไม่โอนเอน ไม่ยืนสลับขาไปมา ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
-การนั่ง หากเป็นการนั่งพูด ควรฝึกการนั่งให้ตวั ตรง หลังตรง ไม่พิงพนักเก้าอี้ ไม่นั่งไขว่ ห้ า ง หรื อกาง
ขา

๖๘
-การใช้ท่าทางประกอบการพูด ผู้พูดที่ดีควรแสดงท่าทางประกอบการพูดให้เหมาะสมกับเนื้อหาและมี
จุดมุ่งหมาย
๘.๓) การแสดงออกทางสีหน้า การพูดโดยทั่วไปผู้พูดควรแสดงสีหน้าโดยปกติ ยิ้มแย้ม
แจ่มใส ไม่ควรแสดงสีหน้าเคร่งเครียด และควรแสดงสีหน้าให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด
๘.๔) การใช้สายตา ผู้พูดควรมองผู้ฟังอย่างทั่วถึง สบสายตาเป็นระยะ พึงหลีกเลี่ยงการ
แหงนหน้ามองเพดาน เหม่อลอย หรือก้มมองพื้น การใช้สายตาอย่างทั่วถึงช่วยสร้างบรรยากาศที่เป็ นมิ ตร ทำ
ให้ผู้ฟังสนใจ และรู้สึกว่าผู้พูดให้ความสำคัญแก่ตน
๘.๕) การออกเสียงและการใช้เสียง ผู้พูดควรฝึกพูดด้วยน้ำเสียงที่ธรรมชาติ มีความชัดเจน
หลีกเลี่ยงน้ำเสียงเนือยๆ รู้จักใช้เสียงสูง ต่ำหนัก เบา ให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด
๘.๖) การแต่งกายและทรงผม ผู้พูดควรแต่งการให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เหมาะสมแก่
โอกาส
๙. ประเมินผลการพูด ผู้พูดที่ดีควรประเมินผลการพูดของตนเองทุกครั้ง เพื่อพัฒนาการพูดพูด
ของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การประเมินผลการพูดผู้อาจจะประเมินด้วยตนเอง จากการพิจารณา
ปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้ฟัง ว่าผู้ฟังมีความสนใจในการฟังมากน้อยเพียงใด
การพูดในบางครั้งผู้ฟังอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
-บุคลิกภาพและการแสดงออกขณะพูด ได้แก่ การแต่งกาย การปรากฏตัว การพูดของผู้พูดเป็นธรรม
สชาติ มีความมั่นใจสามารถสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมกับเรื่องราวเพียงไร
-การเลือกเรื่องหรือเนื้อหาสาระ เป็นเรื่องที่น่าสนใจเหมาะกับผู้ฟังเพียงไร
-การเรียบเรียง ผู้พูดสามารถจัดลำดับเรื่องราวได้ดีเพียงไรเกริ่นนำหรือสรุปจบได้น่าสนใจหรือไม่
-การใช้ถ้อยคำถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมกับโอกาส และสร้างคววามประทับใจแก่ผู้ฟังหรือหรือไม่
-เสียงหรือลีลาของการใช้เสียง น้ำเสียงดังชัดเจน ระดับเสียง ลีลาของเสียงเหมาะสมกับเรื่องราว
หรือไม่
-การใช้สายตาหรือสีหน้า การแสดงออกทางแววตา สีหน้าสอดคล้องกับเรื่องที่พูดเพียงไร มีการ
ประสานสายตากับผู้ฟังทั่วถึงหรือไม่
-การใช้ท่าทางประกอบการพูด ท่าทางประกอบการพูดเป็นไปตามธรรมชาติและเหมาะสมกับ
บรรยากาศเพียงไร
๑๐. คุณสมบัติของผู้พูดที่ดี
-มีความรู้ในเรื่องที่พูดเป็นอย่างดี
-มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีบุคลิกภาพที่ดี น่าเชื่อถือ
-ใช้ภาษาพูดได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล มีการใช้อวัจนภาษาและลีลาท่าทางประกอบการพูด
อย่างเหมาะสม
-รู้จักเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหาและสรุปความได้
-มีวัตถุประสงค์ในการพูดที่ชัดเจน รู้จักวิเคราะห์ปญั หาก่อนพูด ขณะพูด และหลังพูด

๖๙
-มีอารมณ์ขัน รู้จักสร้างบรรยากาศทีด่ ีในการพูด มีมารยาทในการพูด
อ้างอิง : หนังสือการใช้ภาษาไทย:คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลกรุงเทพ. พ.ศ.๒๕๕๑. : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ : หน้าที่ ๑๔๙ – ๑๕๖.
สรุป: การพูดนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผู้พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟังในเรื่องของ วัย ระดับการศึกษา อาชีพ และจัดเตรียม
เนื้อหาในการพูด และ ผู้พูดจะต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ใช้ภาษาพูดได้เหมาะสมและมีอารมณ์ขัน สร้างบรรยากาศ
ที่ดีเพื่อไม่ผู้ฟังสนุกสนานและไม่น่าเบื่อเกินไป

หลักการหรือแนวทางในการพูด
การพูดแบบต่างๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเพียงการนำเอา การพูดเล่าเรื่อง การพูดอธิบาย และการพู ด
ให้ความรู้มากล่าวถึงเท่านั้น แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงการพูดทั้ง๓ประเภทดังกล่าว มีประเด็นที่ผู้พูดทั้ง๒ประเภท
ใหญ่ๆ คือ ข้อปฏิบัติก่อนการพูด และข้อปฏิบัติขณะพูด ทั้งสองประการนี้ผู้พูดจะต้องใช้เสมอไม่ว่าเป็นการพูด
แบบใดๆ

ข้อปฏิบัติก่อนการพูด
๑) สำรวจสภาพร่างกายและการแต่งกายให้พร้อมที่พูด เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย เสื้อผ้า เนคไท เข็มขัด กระเป๋า เป็นต้น
๒) ทบทวนประโยคขึ้นต้น หัวข้อต่างๆ ในการดำเนินเรื่อง และประโยคลงท้าย
๓) ถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆแล้ว บทพูดทีเ่ ตรียมไว้ไม่ควรนำขึ้นไปบนเวที
๔) ซักซ้อมว่าจะทักทายผู้ฟังอย่างไร
๕) ดื่มน้ำเย็น และสูดลมหายใจลึกๆ เพื่อลดอาการประหม่า อาการตื่นเต้น
ข้อปฏิบัติขณะพูด
๑) ขณะขึ้นไปพูดจะต้องเดินอย่างสง่าผ่าเผย ไม่ก้มหน้าหรือเหลียวหน้า เหลียวหลัง
๒) ไม่โค้งคำนับ หรือทำความเคารพใคร จนกว่าจะถึงที่พูด
๓) เมื่อถึงที่พูด ต้องโค้งประธาน แล้วหันไปปฏิสันถาวรผู้ฟัง
๔) ควรยืนให้เท้าทั้งสองห่างกันพอประมาณ ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าทั้งสองไม่แกว่งเท้าเล่น หรื อ
โยกตัวไปหน้ากลับหลัง หรือถอยหน้าถอยหลัง
๕) อย่าก้มหน้า อย่ามองเพดาน อย่ามองออกนอกหน้าต่าง หรือหลบสายตาผู้ฟัง หรือมองจุ ด ใด
จุดหนึ่งในสถานที่พูดเพียงจุดเดียว แต่ควรใช้สายตามองผู้ฟังโดยกวาดสายตามองให้ทวั่ เป็นระยะๆ
๖) ถ้าในระหว่างพูดเกิดลืมเนื้อหาทีพ่ ูดมาอย่างกระทันหัน หรือพูดติดขัด จงอย่าตกใจ พยายาม
ยิ้มกับผู้ฟัง และหาทางพูดประโยคอื่นๆ สัก ๒-๓ ประโยค แต่ถ้านึกไม่ออกจริงๆก็ให้ผ่านไป ไม่ควรเสียเวลาคิ ด
อยู่แต่ประโยคที่พูดไม่ออกนั้น

๗๐
๗) พยายามจบลงด้วยถ้อยคำที่เตรียมมาแล้วอย่างดี ไม่ควรจบอย่างเลื่อนลอยด้วยการใช้คำว่า
“สวัสดี” หรือ “ขอบคุณ” เพราะไม่ให้ความอะไรทีเ่ ป็นประโยชน์ต่อผู้พูด และการขอบคุณนั้นโดยสภาพที่เป็ น
จริงแล้วผู้ฟังควรขอบคุณผู้พูดมากกว่า
อ้างอิง : หนังสือการใช้ภาษา : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี : ปี ๒๕๓๓ : กรุ ง
สยามการพิมพ์ ๔-๑๐ ถนนราชบพิธ กรุงเทพ.
สรุป : การพูดที่กล่าวมานี้เป็นการพุดทีเ่ ล่าเรื่อง หรือพูดอธิบาย ก่อนการพูดนั้นควรสำรวจเครื่องแต่ง กายของ
ตน ความสะอาดเรียบร้อย และในขณะทีพ่ ูดนั้นผู้พูดไม่ควรก้มหน้าหรือหลบสายตาผู้ฟัง

หลักการพูด
๑. ศึกษาเกี่ยวกับผู้ฟังและสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดดังนี้
๑.๑ ศึกษาผู้ฟังว่าอยู่ในวัยใด เพศใด การศึกษาระดับใด อาชีพอะไร
๑.๒ ศึกษาผู้ฟังว่ามีเจตคติ อารมณ์ และรสนิยมอย่างไร
๑.๓ ศึกษาสภาพแวดล้อม เช่น สถานที่ที่จะพูด ช่วงเวลา
๒. เลือกเรื่องและจัดเนื้อเรื่องที่พูด
๒.๑ การเลือกเรื่อง ควรเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้ฟังเป็นเรื่องที่แปลกใหม่
๒.๒ การจัดเนื้อเรื่อง เริ่มจาก คำนำ ต้องดึงดูดความสนใจ ไม่กล่าวถ่อมตัว แก้ตัว หรื อ
กล่าวถึงความเป็นมาของเรื่องไกลเกินไป ควรเป็นใจความเพียง 2 – 3 ประโยค ส่วนเนื้อเรื่องต้องเป็น
ข้อเท็จจริง หลักฐาน เหตุผล และตัวอย่างที่ชัดเจน การสรุปไม่ใช่การย่อเรื่องที่พูดแล้ว แต่เป็นการเน้น
ประเด็นสำคัญด้วยถ้อยคำสำนวนทีเ่ ด่นเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความประทับใจ
๓. เตรียมตัวผู้พูด
ผู้พูดที่ไม่มีประสบการณ์ในการพูดในที่ประชุมชนมาก่อนมักตื่นเต้น ประหม่า เสียงสั่น ท่าทางเคอะ
เขิน อันเป็นลักษณะของการขาดความมัน่ ใจในตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพูดล้มเหลว ผู้ พู ด จึ ง ควร
เตรียมตัวและฝึกฝนการพูดอยู่ตลอดเวลา เพื่อความมั่นใจในตนเอง
นอกจากนี้ยังต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
การเตรียมบุคลิกภาพ
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมบุคลิกภาพที่ดีของผู้พูด มีดังนี้
๑. การแต่งกาย
๑.๑ เหมาะสมกับตัวเอง
๑.๑ เหมาะสมกับกาลเทศะ
๑.๓ เหมาะสมกับวัยและสมัยนิยม
๑.๔ สะอาดและเป็นระเบียบ
๒. การใช้เสียง
๒.๑ มีความดัง – ค่อย พอเหมาะที่ผู้ฟังจะได้ยินทัว่ ไป

๗๑
๒.๒ มีความนุ่มนวล แจ่มใส ชัดเจน ไม่แหบเครือ
๒.๓ ออกเสียง ร ล ควบกล้ำ ได้ชัดเจน
๒.๔ หลีกเลี่ยงการใช้เสียงระดับเดียวกันตลอดเวลา ควรมีการเน้นน้ำเสียงบ้าง
๒.๕ ไม่ควรใช้เสียงที่เปล่งออกมาโดยไร้ความหมาย เช่น อ่า อ้า เอ่อ เอ้อ หรือ เสียงที่
เปล่งออกมาจากความเคยชิน เช่น ก็ แล้วก็ แบบ แบบว่า นะครับ ครับ นะคะ นะฮะ เป็นต้ น
๓. ภาษา
๓.๑ ใช้ข้อความหรือประโยคที่สั้น เข้าใจง่าย (ง่าย งาม ชัดเจน)
๓.๒ ใช้ภาษาถูกต้องตามหลักภาษาไทย
๓.๓ ใช้ภาษาสนทนาที่สุภาพ ไม่เป็นภาษาเขียนหรือภาษาราชการ แต่ไม่ใช่ภาษาตลาด
๓.๔ หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาสแลง สบถ คำหยาบ คำภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น
ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่เหมาะสมกับผู้ฟัง รวมทั้งคำทีไ่ ม่สุภาพจนเกินไป เช่น ศรีษะแม่เท้ า แมวรั บ ประทาน
ปลา
๓.๕ ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส
๔. ท่วงทีและอากัปกิริยาที่เหมาะสม สามารถช่วยเสริมสร้างการพูดได้ดังนี้
๔.๑ ช่วยในการสื่อความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจความรูส้ ึกนึกคิดของผู้พูดได้ดยี ิ่งขึ้น
๔.๒ เรียกร้องความสนใจจากผู้ฟัง
๔.๓ ช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียดของผู้พูด
๔.๔ ทำให้การพูดเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น
๕. การทรงตัว
๕.๑ ท่าเดิน เช่น เดินขึ้นเวที เดินในขณะพูด เดินกลับมายังที่เดิม ต้องเดินตัวตรง ไม่
ช้าไม่เร็วเกินไป เมื่อถึงที่จะพูดควรหยุดสักครู่ กวาดสายตาให้ทั่วกลุ่มผู้ฟังแล้วจึงเริ่มพูด
๕.๒ ท่ายืน เท้าทั้งคู่ควรชิดกันพองาม ให้น้ำหนักตัวลงทีเ่ ท้าทัง้ สอง ไม่ยืนเอียง ไม่เท้ า
โต๊ะ ไม่ยืนแอ่นหน้าแอ่นหลัง โคลงตัวไปมา ไม่ยืนเหมือนหุ่น หรือยืนท่านางแบบ
๖. การใช้มือประกอบการพูด
๖.๑ ใช้ให้ตรงความหมายที่พูด
๖.๒ ไม่ใช้ซ้ำซาก
๗. การใช้สายตา
๗.๑ ควรมองผู้ฟังให้ทั่วถึง อย่ามองจุดเดียว
๗.๒ ถ้ากลุ่มผู้ฟังกลุ่มใหญ่ ค่อยๆ กวาดสายตาไปยังผู้ฟังกลุ่มต่างๆ
๗.๓ ควรมองสบตาไม่ใช่จ้องหรือหลบตา
๗.๔ ไม่มองข้ามศีรษะผู้ฟัง ไม่มองเพดาน พื้นห้อง หรือมองออกไปนอกห้องตลอดเวลา
8. การแสดงสีหน้า
๘.๑ แสดงสีหน้าให้สอดคล้องตามเรื่องทีพ่ ูด แต่ไม่แสดงมากเกินไปจนเหมือนเล่นละคร

๗๒
๘.๒ ไม่ยิ้มหรือบึ้งมากเกินไป
๘.๓ ไม่ยักคิ้วหลิ่วตา กระพริบตาจนบ่อยครัง้
๙. ปฏิภาณไหวพริบ
ขณะที่พูดอยู่อาจมีปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น ปัญหาที่ไม่คาดคิดนี้ ผู้พูดจะต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ
เพื่อแก้ไขปัญหาในการพูดให้ราบรื่นด้วยดี
๑๐. การลำดับหัวข้อเรื่อง
คือ รายละเอียดในการวางโครงเรื่อง เป็นการจัดสาระสำคัญของข้อความทัง้ หมดให้สอดคล้องและ
เป็นระเบียบต่อเนื่องกันไป ช่วยให้ผู้พูดและผู้ฟังไม่สับสน
๑๑. การดำเนินเรื่องตามความมุ่งหมาย
ผู้พูดควรคำนึกถึงจุดมุ่งหมายทีไ่ ด้วางไว้ เช่น พูดเพื่อให้ความรู้ พูดเพื่อชักจูงใจ หรือพูดเพื่ อความ
บันเทิง พยายามดำเนินเรื่องสู่จุดมุ่งหมายนั้นๆ
อ้างอิง: (การพูด หลักการพูด การใช้เสียง ม.ป.ป. : 2 )
สรุป: หลักการพูดนั้นควรศึกษาเกี่ยวกับผู้ฟังว่าอยู่ใน วัย การศึกษา อาชีพใด และจัดเนื้อเรื่องที่จะต้องพูดผู้ที่
ควรเตรียมตัวและฝึกฝนในการพูด เพื่อความมั่นใจในตนเอง

ความบกพร่องทางการพูด
หมายถึง บุคคลที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับ ปรุ ง
แต่ระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด ความบกพร่อง ทางการพูดพิจารณาได้ ๓ ด้ า น
ดังนี้
๑.๑ ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง แบ่งเป็น ๔ ลักษณะ คือ
- เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป เช่นความ เป็น คาม เป็นต้น
- ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง เช่น กิน เป็น จิน เป็นต้น
- เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่สียงที่ถูกต้องลงไปด้วย เช่น หกล้ม เป็น หก - กะ - ล้ม
- เสียงเพี้ยนหรือเปล่งไปเช่น แล้ว เป็น แล่ว ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าความบกพร่องเหล่านี้
เกิดขึ้นบ่อยๆ เป็นประจำหรือไม่ ขนบธรรมเนียมหรือประเพณีของผู้พูดเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าเกิดขึ้นนานๆ
ครั้ง และเป็นวัฒนธรรมของผู้พูดก็ไม่ถือว่าผิดปกติ เช่น คนภาคใต้เรียกแมงกะพรุนว่า แมงพุนก็ไม่ถือว่า
ผิดปกติแต่อย่างใด
๑.2 ความบกพร่องของเสียงพูด แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ
- ความบกพร่องของระดับเสียง เช่น เสียงสูงหรือต่ำตลอดเวลา หรือเสียงที่พูดอยู่ในระดับ
เดียวตลอด เสียงพูดผิดเพศ ผิดวัย
- เสียงดังหรือค่อยเกินไป คล้ายๆ กับตะโกนหรือกระซิบอยู่ตลอดเวลา
- คุณภาพของเสียงไม่ดี เช่น เสียงแตกพร่า เสียงกระด้าง เสียงแหบแห้งตลอดเวลา เป็นต้น

๗๓
๑.๒ ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด แบ่งเป็น 5 ลักษณะ คือ
- พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
- การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
- อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
- จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
- เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย ความบกพร่องประเภทนี้พบมากคือการติดอ่างและ
พูดเร็วรัว คนติดอ่างจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับการพูด เช่น พูดซ้ำคำคำเดียวหลายๆ ครั้ง หรืออึดอักๆ เสีย งยื ด
ยานคาง พูดขาดเป็นห้วงๆ มีกิริยาท่าทางที่แสดงถึงความยากลำบากในการออกเสียงส่วนการพูดเร็วเกินไปนั้ น
เสียงพูดจะผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็นรูปประโยคผิดไปสลับเสียงตัวหนึ่ง เป็นต้น
๒. ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถ ที่จะเข้าใจความหมายของ
คำพูด และ / หรือไม่สามารถแสดงความคิด ออกมาเป็นถ้อยคำได้ ซึ่งพิจารณาได้ ๓ ด้าน ดังนี้
๒.๑ การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย มี ๕ ลักษณะคือ
- มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
- มีความผิดปกติของไวยกรณ์และโครงสร้างของประโยค
- ไม่สามารถสร้างประโยคได้
- มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
- ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ
๒.๒ การไม่มีความสามารถเข้าใจและสร้างถ้อยคำ เนื่องจากสมองหรือปราสาท ได้รับการ
กระทบกระเทือนหรือบาดเจ็บ มี ๗ ลักษณะ คือ
- อ่านไม่ออก
- เขียนไม่ได้
- สะกดคำไม่ได้
- ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
- จำคำหรือประโยคไม่ได้
- ไม่เข้าใจคำสั่ง
- อารมณ์ไม่คงที่
๒.๓ ความผิดปกติหลังการพัฒนาภาษา เกิดขึ้นหลังจากที่เด็กมีพัฒนาการทางภาษาแล้ว จึง
อาจกล่าวได้ว่า ความผิดปกติทางการพูดมีความแตกต่างจากความผิดปกติทางภาษาคือ ความผิดปกติท างการ
พูด เป็นความผิดปกติที่เกี่ยวกับเสียงพูดในด้านการปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียงจังหวะและขั้นตอนของ
เสียงพูด ส่วนความผิดปกติทางภาษาเป็นความผิดปกติด้านการพัฒนาทางภาษาความสามารถเกี่ยวกับความ
เข้าใจ การสร้างถ้อยคำและความผิดปกติที่เกิดก่อนและหลังการมีพัฒนาการทางภาษา
สาเหตุ ขณะตั้งครรภ์ กรรมพันธุ์ การติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หักเยอรมัน
กามโรค คางทูม พิษจากยาหรืออาหารบางประเภทที่มารดาได้รับขณะมีครรภ์ โรคขาดธาตุอาหารของมารดา

๗๔
ขณะมีครรภ์ เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน อุบัติเหตุของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น หกล้ม กระทบกระแทกขณะ
คลอด ความผิดปกติของการคลอด เช่น คลออดยาก คลอดก่อนกำหนด ท่าคลอดของเด็กผิดปกติ หลังคลอด
การแพ้พิษยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาควินิน ยาแก้หวัด ฯลฯ การติดเชื้อ เช่น การเป็นหูน้ำหนวก ฯลฯ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในหู เช่น มีเนื้องอกในหู หูได้รับเสียงดังติดต่อกันเวลานาน อุบัติเหตุที่
กระทบกระเทือนบริเวณหูหรือประสาทหู
วิธีการสอน เด็กที่มีความบกพร่องการออกเสียงผิด ควรจะตรวจสอบดูก่อนว่า เด็กพูดผิดในการ
ออกเสียงอะไรบ้าง แล้วแก้ที่เสียงพยัญชนะหรือสระนั้นโดยเฉพาะ และจะต้องฝึกหายใจให้ถูกต้อง ฝึกการวาง
อวัยวะในการพูดให้ถูกต้อง ฝึกการเปล่งเสียงให้ถูกต้อง การแก้ไขจะได้ผลถ้าเด็กได้รับการฝึกอย่างอื่นควบคู่กัน
ไปด้วยได้แก่
การฝึกฟังการฝึกฟังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนภาษา เป็นการฝึกหูให้คุ้นเคยกับเสียงต่างๆ
เสียงสระและเสียงพยัญชนะ การได้ยินที่ดีนำไปสู่การพูดที่ดี การแก้ไขการพูดจะได้ผลยิ่งขึ้นถ้าเด็กทราบว่า
การจะออกเสียงพยัญชนะและสระแต่ละเสียงนั้นทำอย่างไร ใช้อวัยวะส่วนใดบ้าง เช่น เสียง ป ใช้ริมฝีปากทั้ง
สองข้าง เสียง ง ใช้โคนลิ้น การบริหารลิ้น ลิ้นเป็นอวัยวะที่สำคัญมากในการพูด การอ่านออกเสียงพยัญชนะ
แทบทุกตัวต้องใช้ลิ้น จึงมีความจำเป็นต้องบริหารลิ้น กระทำได้โดยการฝึกม้ วนลิ้นไปมาม้วนลิ้นจากด้านข้าง
เข้าหาส่วนกลาง แลบลิ้นออกมาให้ยาวที่สุด กดลิ้นเข้ากับเพดาน ยกโคนลิ้นขึ้นลง รัวปลายลิ้นกับริมฝีปาก ฟั น
ปุ่มเหงือกและเพดานแข็ง
๑. การเล่นเกมส์ ธรรมชาติของเด็กชอบเล่นอยู่แล้ว ถ้าให้เล่นเกมส์ที่ต้องใช้ในการพูดแล้วจะทำ
ให้เด็กมีโอกาสพูดยิ่งขึ้น เกมส์ที่เลือกควรเหมาะกับวัยของเด็กและการพูดเป็นส่วนสำคัญ เกมส์ที่ใช้ฝึกเสียง ป
ได้แก่เกมส์การเป่าต่างๆ เช่น เป่ากระดาษ เป่ายางยืด เป่านุ่น ฯลฯ
๒. เด็กที่มีความบกพร่องการติดอ่าง พยามยามให้เด็กพูด แม้เด็กจะติดอ่างก็ตาม ควรให้เด็กร่ ว ม
กิจกรรมตามปกติ การพูดติดอ่างนั้นไม่ใช่เรื่องสาหัส สามารถแก้ไขได้ บางทีขึ้นอยู่กับอวัยวะของเด็ ก บางครั้ ง
เมื่อเด็กโตขึ้นการแก้ไขต่างๆก็ง่ายขึ้นและหายไปได้ในทีส่ ุด
๓. เด็กที่มีความบกพร่องเสียงพูดผิดปกติ สอนฝึกเด็กผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และการหายใจให้ถูกต้อง การฝึก
ระดับเสียงควรใช้เครื่องดนตรีเข้าช่วย ให้เด็กฝึกเสียง ๓ ระดับคือ สูง กลาง ต่ำ ก่อนแล้วฝึกความดังของเสียง
โดยการฝึกออกเสียงกระซิบ ฝึกเสียงเบา ฝึกเสียงดังด้วยการตะโกน แต่ถ้าคุณภาพของเสียงไม่ดเี พราะเส้นเสียง
ผิดปกติ ก็เป็นหน้าที่ของแพทย์ที่จะช่วยผ่าตัด
๔. เด็กที่มีความบกพร่องด้านพูดอันเนื่องมาจากปากแหว่งเพดานโหว่ ควรแก้ไขข้อบกพร่องทาง
ร่างกายก่อน โดยการผ่าตัดใช้เพดานเทียม เมื่อเด็กยังมีอายุน้อย หลังจากผ่าตัดแล้วสิ่งที่ควรกระทำคือ ฝึ กการ
เป่าลมซึ่งจะช่วยให้เด็กควบคุมลมที่ผ่านออกมาได้ ฝึกการหายใจการเปล่งเสียงสระ พยัญชนะ และการฝึกพูด
เป็นคำ
๕. เด็กที่มีความบกพร่องด้านการพูดช้า ควรหาสาเหตุก่อนว่าการพูดช้าเนื่องมาจากความ
บกพร่องทางด้านใดหรือไม่เช่น การได้ยิน การมองเห็น เป็นต้น โดยเด็กที่มีความบกพร่องด้านการพูดช้าควรฝึก
ดังนี้

๗๕
- การฟัง ให้เด็กฟังให้มาก
- จัดประสบการณ์ให้เด็กมีโอกาสพูด
- ใช้รูปภาพ หุ่น และอุปกรณ์อื่นๆที่เด็กสนใจ กระตุ้นให้เด็กพูด และ สอนให้เด็กเขาใจใน
ความหมาย
- ให้เด็กเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้สึกหรือสิ่งที่ได้พบเห็นมา
- หลักการจัดการเรียน จัดโปรแกรมการแก้ไขการพูดขึ้นในโรงเรียน สำรวจเด็ก ว่าเด็กคนไหนมี
ปัญหาด้านการพูดทีค่ วรได้รับการแก้ไขบ้างและมีปัญหาทางด้านใด ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการแก้ไขการ
พูด ทำประวัติและระเบียนการแก้ไขปัญหาการพูด ทดสอบและวิเคราะห์ปญั หาด้านการพูดของเด็ ก ให้ ค วาม
ร่วมมือในการแก้ไขการพูดกับบุคลากรอื่น ให้ความร่วมมือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองของเด็ก ส่ ง เด็ กไปยั ง
สถาบันที่เกี่ยวข้องเมื่อจำเป็น ประเมินผลหลักการจัดการเรียนการแก้ไขการพูด
- สื่อการสอน เกมส์ต่างๆที่มีความเหมาะสมกับวัย เด็ก เครื่องดนตรี ฝึกการพูด หนังสือการ์ตูน
นิทาน บทเรียนง่ายๆ รูปภาพ หุ่น และอุปกรณ์อื่นๆที่เด็กสนใจเพื่อกระตุ้นให้เด็กพูด เครื่องมือช่วยในการฝึก
พูด เครื่องมือสื่อสารด้วยเสียง
อ้างอิง : (ดารณี อุทัยรัตนกิจ.2538:2)
สรุป: การบกพร่องในการพูดซึ่งจะเกิดจาการพูดผิดปกติ พูดไม่ชัด ความบกพร่องในการปรุงเสียง เสียง
บางส่วนของคำขาดหายไป หรือ ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง หรืออาจจะมีลักษณะการพูดติดอ่าง
หรือพูดตะกุกตะกัก และไม่สามารถพูดเป็นประโยชน์ได้

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เมื่อบุคคลไม่สามารถเปล่งเสียงพูดได้อย่างถูกต้อง ไม่สามารถพูดได้อย่างราบรื่น หรือมีปัญหา
เกี่ยวกับเสียงของตนเอง ถือว่าบุคคลนั้นมีความบกพร่องทางการพูด ซึ่งครอบคลุมลักษณะตั้งแต่ปัญหาความ
ยากลำบากในการออกเสียง หรือความผิดปกติในการออกเสียง รวมถึงการพูดติดต่าง ในขณะเดียวกัน เมื่อ
บุคคลมีปัญหาในการรับรู้และเข้าใจภาษา หรือมีทักษะในการใช้ภาษาบกพร่อง ถือว่าบุคคลนั้นมีความบกพร่อง
ทางภาษา ทั้งนี้ ผู้ใหญ่และเด็กต่างสามารถประสบปัญหาความบกพร่องทางการพูดและภาษาได้ โดยสาเหตุ
ของความบกพร่องอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย หรืออาจเป็นสาเหตุทไี่ ม่สามารถระบุแน่ชัดได้
สำหรับความบกพร่องทางการพูดและภาษาที่ส่งผลกระทบต่อเด็กนั้นมีหลายรูปแบบ อย่างไรก็
ตาม อาจจำแนกได้เป็น ๔ ประเภทหลัก ตามลักษณะของความผิดปกติ ได้ แก่
- การออกเสียง โดยเด็กจะมีปัญหาในการออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือพูดไม่ชัด
- ความคล่อง เด็กมักจะมีพฤติกรรมการพูดซ้ำ พูดลากเสียงยาว หรือการละเสียง พยางค์ หรือคำบางคำ
นอกจากนี้ปัญหาอาจเกิดจากการหยุดชะงักของการออกเสียง การหายใจเข้า -ออกที่ผิดวิธี หรือหลักการออก
เสียงที่ไม่ถูกต้อง
- เสียงพูด โดยเด็กจะมีคุณภาพเสียงที่ผิดปกติ เช่น ระดับสูงต่ำของเสียง ความก้อง และความดังของเสียง

๗๖
- ภาษา โดยเด็กจะมีปัญหาในการใช้ภาษาเพื่ออธิบายถึงสิ่งที่ต้องการ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงไม่
สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า “ความบกพร่องทางการพูดและภาษา” แตกต่างไปจาก “การ
พัฒนาภาษาล่าช้า ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจเป็นเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของปั ญ หา
วิธีการรักษา และความเร่งด่วนในการรักษา ทั้งนี้เพราะการพัฒนาภาษาล่าช้า ซึ่ งส่งผละกระทบต่อเด็กก่ อนวั ย
เรียนจำนวนประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 ถือเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในกระบวนการเจริญเติบโตและเรียนรู้ ของ
เด็ก กล่าวคือ เด็กยังคงมีพัฒนาการไปตามลำดับ เพียงแต่ช้ากว่าปกติเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน
ปัญหาความบกพร่องทางการพูดและภาษา ถือเป็นลักษณะความพิการอันเกิดจากพัฒนาการทางการพูดและ
ภาษาที่ผิดปกติ โดยหากเด็กได้รบั การยืนยันว่ามีความบกพร่องทางการพูดและภาษา การเข้ารับการรักษาอย่ า
เร่งด่วนและครบวงจรด้วยความร่วมมือระหว่างแพทย์ นักโสตสัมผัสวิทยา นักพยาธิวิทยาด้านการพูดแลภาษา
รวมไปถึงการดูแลอย่างใกล้ชิดจากครู และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครอง ย่อม หมายถึงประสิ ท ธิภาพใน
การรักษาที่มากขึ้น และความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาที่สูงขึ้น อันจะส่งผลให้เด็กสามารถเอาชนะความ
บกพร่องทางการพูดและภาษาของตนเอง รวมทั้งสามารถมีพัฒนาการทีเ่ หมาะสม และใช้ชีวิตได้อย่า งเป็นปกติ
สุขในระยะยาว
ลักษณะของความบกพรร่องทาการพูดและภาษาจะแตกต่างกันไปตามประเภทของความผิดที่
เกี่ยวข้อง ซึ่งเด็กอาจมีความผิดปกติหลายลักษณะร่วมกันก็เป็นได้ โดยเมื่อเด็กมีความผิดปกติทางการออก
เสียง เด็กอาจมีความยากลำบากในการออกเสียง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาอาจหายไป เปลี่ ย นไป
หรือแปลกไปจากปกติ เป็นเหตุให้ผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่เด็กต้องการจะสื่อได้ ลักษณะเสียงที่หายไป
หรือเปลี่ยนไปมักเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในเด็กส่วนใหญ่ที่เพิ่งเรียนรู้วธิ ีในการพูด อย่างไรก็ตาม การออกเสี ย ง
ที่ไม่ถูกต้องนั้น ไม่ถือว่าเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด เว้นเสียแต่ว่าปัญหาดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ ทั้งที่
เด็กเติบโตเลยช่วงวัยที่ควรออกเสียงดังกล่าวได้ชัดเจนแล้ว
สำหรับเด็กที่มีความผิดปกติทางความคล่องของการพูด นั้น มักมีลักษณะการพูดติดอ่างหรือพู
ตะกุกตะกัก เพราะฉะนั้นการพูดของเด็กจึงมักเต็มไปด้วยการซ้ำ ความลังเล ความยืดยาว หรือ ความยุ่ ง เหยิ ง
ยิ่งไปกว่านั้น เด็กอาจมีอาการตึงของกล้ามเนื้อ ซึ่งสังเกตได้บนใบหน้า คอ ไหล่หรือหลังมือ เพราะเสียงพูด
เกิดจากการเคลื่อนที่ของลมจากปอดผ่านกล่องเสียง จนทำให้เส้นเสียง สั่น และเกิด เสียง โดยเสียงที่เกิดขึ้นจะ
เดินทางผ่านคอหอย จมูก และปาก จนเกิดเป็น เสียงพูด ดังนั้น ความผิดปกติทางเสียงพูด จึงได้แก่ปัญหา
เกี่ยวกับระดับสูงต่ำของเสียง ความก้อง ความดัง และคุณภาพของเสียง เด็กอาจมีเสียงแหบ ต่ำ หรือแหลม
ผิดปกติ เด็กบางคนอาจมีเสียงพูดคล้ายเสียงนาสิก (เสียงขึ้นจมูก) หรืออาจมีลักษณะเหมือนเสียงถูกปิดกั้น
ทั้งนี้เด็กอาจเสียงหาย หรือไม่สามารถใช้เสียงได้มาก อีกทั้งยังอาจรู้สึกเจ็บคอเมื่อออกเสียง ส่วนภาษา มี ค วาม
เกี่ยวข้องความหมาย มากกว่าเสียง ความผิดปกติทางภาษา จึงเป็นลักษณะความบกพร่องทางการเข้ า ใจ หรื อ
ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ซึ่งได้แก่ ความผิดปกติในการรับรู้และเข้าใจภาษา ความผิดปกติในการใช้ภาษา รวมถึง
ความผิดปกติร่วมกันระหว่าง 2 ลักษณะ ทั้งนี้ เมื่อเด็กมีความผิดปกติทางภาษา มักจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ใช้คำไม่ถูกบริบทหรือไม่สอดคล้องกับความหมาย

๗๗
- ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นออกมาเป็นคำพูดได้
- มีปัญหาในการจัดเรียงประโยค
- ย่อคำให้สั้นลง ไม่สามารถปฏิบัตติ ามคำสั่งได้
ความบกพร่องทางการพูดและภาษามีเหตุมาจาก
- ความผิดปกติของพัฒนาการทางด้านการพูดและภาษา คือ สาเหตุหลักของปัญหาความ
บกพร่องทางการพูดและภาษาในเด็ก ซึ่งถือเป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้ประเภทหนึ่งอันเกิดจากการ
ทำงานของสมองที่ผิดไปจากปกติ หากเด็กมีความผิดปกติของพัฒนาการในลักษณะนี้ จะส่งผลให้ เด็ กมี ปั ญหา
ในการออกเสียง มีข้อจำกัดในการสื่อสารด้วยเสียงพูด หรือมีความยากลำบากในการรับและเข้าใจสารจากผู้ อื่น
โดยปัญหาความบกพร่องทางการพูดและภาษาถือได้ว่าเป็นสัญญาณแรกของความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่จ ะ
ตามมา
-การสูญเสียการได้ยิน ซึ่งมักถูกมองข้าม แม้จะเป็นสาเหตุหนึ่งของความบกพร่องทางการพูด
และภาษาในระยะยาว ดังนั้นเด็กที่มีการพัฒนาภาษาล่าช้า จึงควรได้รับการทดสอบการได้ยินโดยแพทย์หรือ
ผู้เชี่ยวชาญ
-ความบกพร่องทางสติปัญญา
-การได้รับการเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยหากเด็กถูกละเลย ถูกใช้ความรุนแรง หรื อ
มีโอกาสได้ฟังเสียงพูดน้อย ย่อมส่งผลให้เด็กมีการพัฒนาภาษาล่าช้า
-ภาวะการคลอดก่อนกำหนด ถือเป็นสาเหตุของปัญหาพัฒนาการล่าช้าหลากหลายรูปแบบในเด็ก
รวมถึงการพัฒนาการทางการพูดและภาษาด้วยเช่นกัน
-ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการฟัง โดยเด็กจะไม่สามารถเข้าใจหรือจดจำสิ่งที่ได้ยินได้
-ปัญหาทางระบบประสาท เช่น ภาวะสมองพิการ กล้ามเนื้อเสื่อม และการบาดเจ็บที่สมอง ซึ่ง
อาจก่อให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่จำเป็นสำหรับการพูด
-ออทิซึม ส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม ความบกพร่องทางการพูดและภาษาก็อาจ
เป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคออทิซึมได้เช่นกัน
-ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย เช่น โรคปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพูด
-การพูดไม่ชัดแบบมีความบกพร่องของสมองที่ควบคุมโปรแกรมการพูด โดยเด็กจะมีปัญหาใน
การเรียบเรียงประโยค การลำดับคำ และพูดไม่ชัด
-ภาวะไม่พูดบางสถานการณ์ หรือลักษณะที่เด็กจะไม่ยอมพูดอย่างเด็ดขาดเมื่ออยู่ใน
สถานการณ์เฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นที่โรงเรียน

ปัญหาความบกพร่องทางการพูดและภาษามีความสำคัญอย่างไร?
ในปี ค.ศ.2006 กระทรวงการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า เด็กมากกว่า 1.4
ล้านคนเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรพิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ตัวเลขดังกล่าวยัง
ไม่รวมเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาซึ่งเป็นอาการอันสืบเนื่องมาจากความผิดปกติอื่น เช่น ภาวะ

๗๘
สูญเสียการได้ยินหรือหูหนวก (Deafness) ซึ่งหมายความว่า หากนำเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและ
ภาษาไม่ว่าในกรณีใดก็ตามมารวมกัน จะถือได้ว่าความบกพร่องลักษณะดังกล่าวนี้เป็นความบกพร่องที่พบได้
มากที่สุด ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาความบกพร่องทางการพูดและภาษาถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งทั้งผู้ปกครอง
และครูไม่ควรนิ่งนอนใจหากความสามารถในการพูดและการใช้ภาษาของเด็กแตกต่างหรือด้อยกว่าเพื่อนในวั ย
เดียวกัน หรือมีพัฒนาการที่ไม่สอดคล้องกับอายุแม้ในช่วงแรกเริ่มของชีวิตก็ตาม โดยผู้ปกครองควรพาลูกไป
พบแพทย์เพื่อตรวจสอบการได้ยินเป็นลำดับแรก ถึงแม้เด็กจะสามารถตอบโต้หรือแสดงอาการเสมือนสามารถ
ได้ยินปกติก็ตาม ทั้งนี้เพราะความผิดปกติทางการพูดและภาษาของเด็ก อาจไม่ได้มี สาเหตุมาจากความ
บกพร่องทางการพูดและภาษา แต่เกิดจากความบกพร่องทางการได้ยินซึ่งขัดขวางพัฒนาการในการสื่อสารของ
เด็ก
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสาเหตุของความบกพร่องทางการพูดและภาษาของเด็กจะเกิดจากความ
บกพร่องทางการได้ยิน หรือเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม หากสามารถตรวจพบได้ยิ่งเร็วและเด็กได้รับการรักษา
ในทันที โอกาสที่เด็กจะสามารถพัฒนาได้อย่างเหมาะสม หรือหายเป็นปกติย่อมมากขึ้นเท่านั้น ทั้ ง นี้ การรั กษา
ปัญหาความบกพร่องทางการพูดและภาษาอาจดำเนินไปตลอดช่วงชีวิตการศึกษาของเด็ก โดยอาจเป็นการ
รักษาโดยตรง หรือการปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก (Assistive
Technology) ก็อาจเป็นตัวช่วยหนึ่งที่สำคัญสำหรับเด็ก โดยเฉพาะในรายที่ความผิดปกติของร่า งกายเป็น
อุปสรรคต่อการสื่อสาร โดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกทีเ่ หมาะสม
แก่เด็ก ทั้งนี้ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก คือ ความสามารถในการใช้ชีวิตที่
ใกล้เคียงปกติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การทำกิจ กรรมร่วมกับเพื่อน การทำงานที่ได้รับ
มอบหมายได้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งล้วนนำไปสู่พัฒนาการทางการเรียนรู้ และการเพิ่มพูนทักษะชีวิตทีส่ ำคัญ สำหรั บ
อนาคต พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาลูกที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาได้อย่างไร?
-ศึกษาเกี่ยวกับความบกพร่องทางการพูดและภาษาของลูก เพราะยิ่งผู้ปกครองเข้าใจปัญหา ก็จ ะ
รู้วิธีการปฏิบัติ และสามารถช่วยลูกได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น
-อดทน เพราะถึงแม้ว่าลูกจะมีความบกพร่องทางการพูดและภาษา แต่ลูกก็มีโอกาสเรียนรู้และ
พัฒนาไปได้ตลอดชีวิต ไม่ต่างจากเด็กปกติทวั่ ไป
-ติดต่อกับโรงเรียนเพื่อแจ้งความต้องการพิเศษของลูก พ่อแม่คือบุคคลที่รู้จักลูกมากที่สุด ดังนั้น
จึงควรแจ้งโรงเรียนเกี่ยวกับปัญหาของลูก โรงเรียนจะได้ร่วมมือกับผู้ปกครองและสามารถช่วยเหลือเด็กได้
อย่างเหมาะสม
-รอบรู้เรื่องการบำบัดเกี่ยวกับความบกพร่องทางการพูดและภาษาที่ลูกกำลั งได้รับการรักษา
นอกจากนี้ยังควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีที่จะสามารถช่วยบำบัดลูกเมื่ออยู่ที่บ้านและในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
รวมทั้งควรรับคำแนะนำในสิ่งที่ไม่ควรทำต่อลูกด้วย
-มอบหมายให้ลูกทำงานบ้าน เพราะการทำงานบ้านจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและ
ความสามารถของลูก โดยคำนึงถึงอายุ ระยะเวลาที่เด็กสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และความสามารถใน
การทำงานของลูกเป็นหลัก ทั้งนี้พ่อแม่มีหน้าที่อธิบายวิธีการทำงานบ้านอย่างเป็นลำดับในแต่ละขั้นตอน

๗๙
จนกว่างานจะเสร็จ รวมทั้งสาธิตหรือให้ความช่วยเหลือเมื่อลูกต้องการ และให้การชมเชยเมื่อลูกสามารถปฏิบตั ิ
ตามได้ในแต่ละขั้นตอนหรือเมื่อลูกสามารถทำงานได้สำเร็จในท้ายทีส่ ุด
-เป็นผู้รับฟังที่ดี โดยไม่พูดแทรกหรือแก้ไขคำ หรือประโยคในทันทีที่ลูกพูดผิด ในทางกลับกัน พ่ อ
แม่ก็ไม่ควรบังคับให้ลูกพูดเช่นกัน
-แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ปกครองที่ลูกมีความบกพร่องทางการพูดและภาษาเหมือนกัน
เพราะอาจได้เรียนรู้วิธีการที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งได้รับกำลังใจจากผู้ปกครองที่ตา่ งก็มีประสบการณ์ในลักษณะ
เดียวกัน
-ติดต่อกับครูของลูก โดยให้คำแนะนำและความช่วยเหลือแก่ครู สาธิตวิธีการใช้เทคโนโลยีอำนวย
ความสะดวกที่ลูกใช้ รวมทั้งให้ข้อมูลที่ครูควรทราบ และหาวิธีส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนโดยเริ่มจากที่บา้ น
อ้างอิง : (ปัณณ์พัฒน์ จันสว่าง. ม.ป.ป. :1 )
สรุป : เด็กอาจมีความบกพร่องในการพูด มักมีลักษณะการพูดติดอ่างหรือพูดแบบตะกุกตะกัก ฉะนั้นการพูด
ของเด็กมักเต็มไปด้วยการซ้ำ

ชนิดของการพูด
การพูดในที่ประชุมชน โดนทั่วไปจะแบ่งเป็น ๒ ชนิด แบ่งตามจุดมุ่งหมายของการพูดและแบ่งตาม
วิธีการพูด ดังนี้
๑.การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย
สมจิต ชีวปรีชา กล่าวถึงการพูดที่แบ่งตามทีม่ ุ่งหมายว่า มี ๓ แบบ สรุปได้ดังนี้
๑.๑ การพูดเพื่อให้ความรู้
การพูดเพื่อให้ความรู้เป็นการพูดอธิบาย ชี้แจง แสดงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยมี
จุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ฟังได้รบั ความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาสาระอย่างครบถ้วน ผู้พูดจึงต้องมี ค วามรู้ เรื่ องที่จ ะดูด
เป็นอย่างดีต้องศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงให้เป็นลำดับถูกต้อง ในกรณีที่ผ฿ฟังมีปัญหาซักถาม จะต้องตอล
คำถาม หรืออธิบายซ้ำให้ชัดเจน การพูดแบบนี้มกั ใช้ในโอกาสที่มีอบรม ปฐมนิเทส บรรยายสรูป รวมไปถึงการ
สอนในชั้นเรียนด้วย
๑.๒ การพูดเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจ
การพูดเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจเป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังเชื่อถือ มีความคิดเห็นคล้อยตามและ
ปฏิบัติ ผู้พูดจะต้องใช้อารมณ์ ความรู้สึกที่จริงใจประกอบการพูด เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้พูดมีความเชื่อเช่ นนั้ น
รวมทั้งปฏิบัติอย่างนั้นมาแล้ว การพูดแบบนี้มักจะพบในโอกาสต่าง ๆ เช่น การปลุกเร่ให้เกิดปฏิกิริ ย ามวลชน
การชักชวนให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การโน้มน้าวใจใช้สินค้าไทย การเชิญชวนให้บริจาคเงิน
สมทบกองทุนต่าง ๆ เป็นต้น

๘๐
๑.๓ การพูดเพื่อจรรโลงใจ
การพูดเพื่อจรรโลงใจเป็นการพูดถึงคุณงามความดี ความปะณีตงดงาม คุณค่าอันน่านิยม
ตลอดจนการเรื่องราวที่สนุกสนานบันเทิงใจ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลิน รู้สึกสบายใจ การพูด แบบนี้ ใ ช้
ในโอกาสที่มีการแสดงความยินดี การกล่าวสดุดียกย่องบุคคล การกล่าวในงานรื่นเริ งที่จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ
๒. การพูดที่แบ่งตามวิธีการพูด
สุริวงศ์ เกิดพันธุ์ กล่าวถึงการพูดที่แบ่งตามวิธีการพูดว่า มี ๔ แบบ สรุปได้ดังนี้
๒.๑ การพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า
การพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้ามักเกิดจากการได้รับเชิญให้พูดโดยกะทันหันเมื่ออยู่ใน
สถานการณ์ที่จำเป็นบางอย่าง เช่น กล่าวอวยพรคู่บ่าวสาวในงานมงคลสมรสหรือแสดงความคิดเห็นในขณะทีม่ ี
การอภิปรายสัมมนา การพูดแบบนี้มักจะได้ผลน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามหาก
จำเป็นต้องพูดก็ควรยึดหลักบางประการเพื่อใช้เป็นข้อปฏิบัตดิ ังนี้
๑) ในกรณีที่เป้นผู้อาวุโสหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานเป็นพิเศษ
ก่อนไปงานควรเตรียมข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น ตลอดจนคำพูดไว้ล่วงหน้า
๒) เมื่อได้รับเชิญให้พูด ผู้พูดจะมีเวลาเล็กน้อยก่อนเริ่มพูด จึงควรต้องพยายาม
ระงับความตืน่ เต้นและคิดหาคำเริ่มต้น ตลอดจนหัวข้อของเนื้อหาอย่างคร่าว ๆ
๓) เริ่มต้นกล่าวทักทายผู้ฟังและพูดไปตามลำดับอย่างช้า ๆ ชัดเจน โดยไม่ใช้เวลา
มากนัก เพราะอาจทำให้พูดวกวนได้ง่าย นอกจากนี้ผู้พูดจะต้องไม่กล่าวออกตัวหรือตำหนิผู้เชิญเป็นอันขาด
๔) พยายามสังเกตปฏิกิริยาผู้ฟังระหว่างที่พูด ถ้าผู้ฟังมีปฏิกิริยาในทางลบ คือไม่สน
ใจฟังมีทีท่าอึดอัด พูดคุยกัน ผู้พูดต้องรีบสรุปจบโดยเร็ว แต่ถ้าผู้ฟังมีปฏิกิริยาในทางบวก คื อ พอใจ ยิ้ ม แย้ ม
พยักหน้าคล้ายตาม ผู้พูดควรต่ออีกเล็กน้อย แล้วหาทางสรุปจบให้ประทับใจ
๒.๒ การพูดโดยการอ่านต้นฉบับทีเ่ ตรียมมา
การพูดโดยการอ่านต้นฉบับ โดยปกติจะใช้กับการพูดบางประเทที่จำเป็นต้องใช้วิธีอ่านเพื่อ
หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น การพูดแบบน้ได้แก่ การพูดเป็นทางการ เช่น พระราชดำรัสเปิดการ
ประชุมรัฐสภา การแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี การกล่าวเปิดและปิดการประชุมสัมมนา แม้ว่ า การพู ด
แบบนี้จะมุ่งความถูกต้องครบถ้วนของเนื้อหาสาระ การใช้ภาษาทีป่ ระณีต และบรรยากาศที่เป็นพิ ธี การ แต่
น้ำเสียงการพูด การใช้สายตา และการเคลื่อนไหวของร่างกายก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง หากจำเป็นต้อง
พูดโดยการอ่านต้อฉบับ ผู้พูดควรเตรียมตัวดังนี้
๑) เขียนต้นฉบับโดยคำนึงถึงการใช้ระดับภาษาให้ถูกต้องเหมาะสม
๒) ต้นฉบับจะใช้วิธีพิมพ์หรือเขียนก็ได้แต่ควรเว้นระยะห่างระหว่างบรรทัดมากกว่าปกติและควร
ทำเครื่องหมายวรรคตอนสำหรับการอ่านไว้ด้วย
๓) ผู้พูดต้องเข้าใจเนื้อความที่จะอ่านและซ้อมล่วงหน้าหลาย ๆ ครั้ง อาจทดลองบันทึกเสี ย งไว้
เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดก็ได้
๔) ในขณะที่อ่านต้องถือต้นฉบับในระยะทีพ่ อเหมาะ ไม่ยกขึ้นสูงหรือต่ำจนเกินไป

๘๑
๕) ไม่ควรก้มหน้าอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ควรสื่อความหมายประกอบด้วยสายตาในจังหวะที่เว้น
วรรคการอ่าน
๒.๓ การพูดโดยการท่องจำเนื้อหา
การพูดโดยการท่องจำเนื้อหาคล้ายคลึงกับการพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับ คือจะต้องเตรียม
เขียนต้นฉบับ แล้วท่องจำทั้งหมด จากนั้นจึงต้องพูดจากที่ท่องจำไว้ วิธีพูดแบบนี้มีข้อดีคือผู้พูดสามารถ
ถ่ายทอดเนื้อหาได้ทั้งหมดและสามารถภาษาให้ราบรื่นประณีตเท่าทีเ่ ตรียมไว้ในต้นฉบับ อี กทั้ ง ยั ง สามารถใช้
อากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ ประกอบได้อย่างเหมาะสมซึ่งจะเป็นธรรมชาติมากกว่าการอ่านจากต้นฉบับ ส่วน
ข้อบกพริองของการพูดแบบนี้ก็คือ หากผู้พูดไม่เตรียมตัวล่วงหน้าอย่างดี จะลืมเนื้อหาที่ท่องจำไว้ ผู้ที่ฝึกพูด
ใหม่ ๆ จะกังวลกับเนื้อหาจนทำให้ไม่มองผู้ฟัง เหม่อลอยเพื่อนึกเนื้อหาหรือพูดซ้ำข้อความเดิมเพราะนึก
ประโยคติอไปไม่ออก นอกจากนี้ผู้พูดต้องใช้เวลามากสำหรับการเตรียม เริ่มตั้งแต่การเขียนต้นฉบับและ
ท่องจำเนื้อหาทั้งหมด
การพูดโดยการท่องจำเนื้อหาควรเตรียมตัวดังนี้
๑) ผู้พูดควรสนใจเรื่องการใช้ภาษา ฝึกฝนการใช้ท่าทางประกอบการพูด ตลอดจนจังหวะและน้ำเสียง
นอกเหนือจากการอ่องจำเนื้อหาให้แม่นยำ
๒) ผู้พูดควรคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติในการพูดให้มากที่สุด อย่าให้มีลักษณะการยืนตัวตรง
แข็งทื่อ
๓) ผู้พูดไม่แน่ใจว่าจะจำเนื้อหาได้ทั้งหมด ควรเขียนประโยคหลักหรือประโยคเริ่มต้นไว้เผื่อจำ
เป็นได้
๒.๔ การพูดโดยการจำโครงเรื่อง
การพูดโดยการจำโครงเรื่องเป็นวิธีการพูดทีถ่ ือว่าดีที่สุดในการพูดแบต่าง ๆ เพราะจะเป็นการพู ด
อย่างแท้จริง มีความเป็นธรรมชาติ ผู้พูดสามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระ และแสดงท่าทางประกอบการพู ด ได้
โดยไม่ต้องกังวลวาสจะต้องพูดให้เหมือนต้นฉบับทุกคำพูด ผู้พูดอาจปรับหัวข้อการพูดได้ตลอดเวลา เพื่อให้
สอดคล้องกับสถานการณ์และปฏิกิริยาของผู้ฟัง การพูดแบบนี้ต้องอาศัยการเตรียมตัวล่วงหน้า ผู้พูด ต้ องรู้ ว่ า
จะพูดหัวข้อเรื่องอะไร ใช้เวลาเท่าใด พูดในโอการใด ผู้พูดอาจเตรียมตัวดังนี้
๑) ศึกษาหัวข้อเรื่องอย่างละเอียดและทำความเข้าใจเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
๒) วิเคราะห์ผู้ฟัง ในด้าน เพศ วัย การศึกษา ฐานะทางสังคม ความสนใจเฉพาะกลุ่ม
๓) วางโครงเรื่อง โดยเขียนหัวข้อเรื่องให้ต่อเนื่องตามลำดับความสำคัญ
๔) ขยายหัวเรื่อง โดยใช้ตัวอย่างหรืออุปกรณ์ประกอบ
๕) เรียบเรียงเนื้อเรื่อง โดยกำหนดส่วนนำ ส่วนเนื้อหาและส่วนสรุป
๖) เขียนฉพาะโครงเรื่องที่ประกอบด้วยหัวข้อของส่วนต่าง ๆ และทดลองฝึกซ้อมพูด หาก
ติดขัดอาจเขียนขยายความสั้น ๆ ไว้ในหัวข้อนั้น ๆ

๘๒
อ้างอิง : หนังสือภาษากับการสื่อสาร:คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร:ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๙:สถานที่พิมพ์
นครปฐม โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
สรุป : ชนิดของการพูดนั้นแบ่งได้ 2 วิธี
๑.การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย อาจจะเป็นการพูดเพื่อให้ความรู้ หรือการพูดโดยการโน้มน้าวใจ
๒.การพูดที่แบ่งตามวิธีการพูด อาจเป็นการพูดทีไ่ ม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า การพูดทีอ่ ่ า นต้ นฉบับ ที่
เตรียมมาหรือ การพูดที่ท่องจำเนื้อหา

๘๓
บทที่ 3

วิธีการดำเนินการวิจัย

การวิจัยนี้ผู้วิจัยมุ่งที่จะศึกษาหลักการพูดไทยกลางมาตรฐานซึ่งในบทนีจ้ ะได้กล่าวถึงสาระเกี่ยวกับการพูด
เป็นรูปแบบการศึกษาโดยรวมของการใช้ภาษาของผู้พูด หลักเกณฑ์ปฏิบัติในการพูด มารยาทในการพูด การพูดใน
สถานการณ์ต่างๆ โดยการพูดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยูก่ ับสถานการณ์ต่างๆ สถานที่และยุคสมัยที่ใช้เช่น การพูดเป็น
ทางการ การพูดไม่เป็นทางการ การพูดในแต่ละช่วงยุคสมัย เป็นต้น ซึ่งในบทนี้จะได้กล่าวถึงสาระสำคัญเกี่ยวกับ
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
วิธีการศึกษา
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดย การศึกษาข้อมูลเอกสาร รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆทัง้ ที่เป็นทฤษฎี
แนวคิดและผลงานวิจัยทีเ่ กี่ยวข้อง
ดังนั้น ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยจะศึกษาเกี่ยวกับหลักการพูดไทยกลางมาตรฐาน โดยศึกษาตั้งแต่ความหมายของ
การพูด หลักเกณฑ์การเป็นผู้พูดในสถานการณ์ต่างๆทำให้มมี นุษยสัมพันธ์ที่ดีรวมไปถึงการมีบุคลิกภาพที่ดี
นอกจากนีจ้ ะศึกษาวิเคราะห์รปู แบบโดยรวมของใช้ภาษาของผู้พูดโดยจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่และยุค
สมัย

1.ขอบเขตด้านเวลา

หัวข้อ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ


1. คัดเลือกชื่อเรื่องและหัวข้อ 9 กันยายน 2565 สมาชิกในกลุ่ม

2. แต่งตั้งและแบ่งหัวข้อ 11 - 15 กันยายน 2565 สมาชิกในกลุ่ม


ผู้รบั ผิดชอบ
สมัชญา สุขยูง
3. สถานที่ศึกษาข้อมูล 11 กันยายน 2565 – 8 ตุลาคม 2565 ภัทรวดี สิงห์ทอง

4. ศึกษาค้นคว้าเอกสารจาก วรดา วิหกฤทธิ์


แหล่งข้อมูล 11 - 17 กันยายน 2565 ปิยธิดา บัวขาว

๘๔
5. เค้าโครงฉบับร่างกำหนด อาแอเสาะ หะมะ
หัวข้อ 11 กันยายน 2565 โรฟานี กูตงดือราแม

6. เรียบเรียงเนื้อหา 20 กันยายน 2565 – 1 ตุลาคม 2565 อริสษา รักสุข


ยศธนกร ขุนทน
7. เขียนวิเคราะห์งาน 2 - 4 ตุลาคม 2565 ภานุวัฒน์ ช่วยแท่น

8. สรุปผลข้อมูลการทำงาน 5 ตุลาคม 2565 พงศ์ภัค ลุ่งกี่

9. ตรวจทานข้อมูลข้อเท็จจริง 5 ตุลาคม 2565 พงศ์ภัค ลุ่งกี่


พิสูจน์อักษร สมัชญา สุขยูง
10. เข้ารูปเล่มพร้อมนำเสนอ 7 ตุลาคม 2565 สมาชิกในกลุ่ม

2.ขอบเขตด้านเนื้อหาและสถานที่

เนื้อหา สถานที่
1. ความหมายของการพูด หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2.ความสำคัญของการพูด หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
3. ประเภทของการพูด หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
4. องค์ประกอบของการพูด หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
5. การเตรียมตัวเพื่อการพูด หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
6. ลักษณะผู้พูดที่ดี หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
7. หลักเบื้องต้นของการพูด สื่ออินเทอร์เน็ตออนไลน์
8. หลักเกณฑ์ในการพูด หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
9. ข้อบกพร่องในการพูด สื่ออินเทอร์เน็ตออนไลน์
10. ชนิดของการพูด หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

๘๕
บทที่ 4

ผลวิเคราะห์ข้อมูลทางวิจัย

ในการนำเสนอวิเคราะห์ข้อมูล และการแปรผลการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้คณะผู้วจิ ัยได้


วิเคราะห์และนาเสนอในรูปแบบของตารางประกอบคำอธิบายเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. เพื่อศึกษาข้อมูลการพูดไทยกลางมาตรฐาน และเปรียบเทียบแนวโน้มการใช้คำของคนในแต่ละโอกาส
2. เพื่อนำหลักเกณฑ์ กลวิธี และประโยชน์ด้านการพูดไปใช้ในการเสนอด้านต่างๆในรูปแบบต่างๆ
3. เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และเป็นการเรียนรู้หลักการพูดเพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี

1. เพื่อศึกษาข้อมูลการพูดไทยกลางมาตรฐาน และเปรียบเทียบแนวโน้มการใช้คำของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย
ภาษาไทยกลางเดิม ภาษาในวัยรุ่น
อะไร อัลไล
เกินไป เกินปุยมุ้ย
น่ารัก ตั้ลล้าก
อะไรวะ ไรแว๊
สุดๆ ฝุดๆ
จังเลย จุงเบย
บอกตรง บ่องตง
ตารางที่ 4.1 การเปรียบเทียบแต่ละยุคสมัย
จากตารางข้างต้น : เปรียบเทียบให้เห็นว่าการใช้ภาษาในแต่ละยุคสมัยมีความแตกต่างโดยสิ้นเชิง ซึ่งภาษามี
การเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

๘๖
2. เพื่อนำหลักเกณฑ์ กลวิธี และประโยชน์ด้านการพูดไปใช้ในการเสนอด้านต่างๆในรูปแบบต่างๆ
หลักเกณฑ์ด้านการพูด กลวิธีด้านการพูด ประโยชน์ด้านการพูด
1. ก่อนพูดควรคิดก่อนเสมอ 1. กลวิธีทางศัพท์ ได้แก่ การใช้คำ 1. สร้างความเข้าใจให้กบั ผูฟ้ ังได้
รุนแรง การเล่นคำ การสร้างคำใหม่ อย่างรวดเร็ว
การตัดคำ เป้นต้น
2. ควรใช้คำพูดที่สุภาพเหมาะสม 2. กลวิธีทางปริเฉทและวัจนปฏิบัติ 2. ทำให้ทราบว่าสิ่งที่พูดออกไปนั้น
กับกาลเทศะและบุคคล ศาสตร์ ได้แก่ เสียดสีประชด ได้ผลหรือไม่
ประชัน การสร้างเรื่องให้เกินจริง
ความไม่เข้ากัน เป็นต้น
3. มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสในการ 3. เป็นเครื่องมือสร้างมนุษยสัมพันธ์
พูด ที่ได้ผลดีทสี่ ุด
4. ไม่ควรใช้ภาษาที่ผิดแบบแผน 4. สามารถดัดแปลงแก้ไขคำ พูด
หรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุม่ หรือยืดหยุ่นให้เหมาะกับเวลา
5. ไม่พูดตำหนิ นินทาผู้อื่นต่อหน้า 5. สะดวกรวดเร็วในการ
คนฟังมากๆ ติดต่อสื่อสาร
ตารางที่ 4.2 หลักเกณฑ์การพูด
จากตารางข้างต้น : การพูดมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์ กลวิธี หรือประโยชน์การพูด ต่างก็มี
ความสำคัญที่แตกต่างกัน เพราะภาษาไปส่งเสริมในด้านต่างๆ เช่น บุคลิกภาพ มนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น

3. เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเป็นการเรียนรู้หลักการพูดเพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี
เพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพ
1. พูดจาไพเราะ ทักทายด้วยไมตรี 1. ความเป็นคนช่างสังเกต
2. จริงใจต่อกัน ไม่นินทาว่าร้าย 2. มีความคิดริเริม่ สร้างสรรค์
3. ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือซึง่ กันและกัน 3. แสดงออกตามกาลเทศะอันควร
4. กล่าวคำชมเชยเมื่อสำเร็จ ปลอบประโลมเมื่อ 4. มีการปรับตัวให้เข้ากับภาวะแวดล้อม
ล้มเหลว
5. รับฟังความคิดเห็น 5. มีความใส่ใจต่อสิ่งทีร่ ับผิดชอบ
ตารางที่ 4.3 เครื่องมือในการส่งเสริมและสร้างมนุษยสัมพันธ์

๘๗
จากตารางข้างต้น : เมื่อมนุษย์มสี ัมพันธภาพที่ดี จะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพไปในทางที่เหมาะสม ทัง้ ในด้านภาษา
ด้านสังคม หรือ ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

การวิจัยครัง้ นี้มีวัตุประสงค์เพือ่ ศึกษาหลักการพูดไทยกลางมาตรฐาน โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้


ความหมายของการพูด
การพูดเป็นการสื่อสารความหมายโดยใช้เสียง ภาษา อากัปกิริยา ท่าทาง เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
อารมณ์ ความคิดเห็น ความต้องการ เพื่อให้เกิดผลตามที่ผู้พดู มีเจตนา โดยอาศัยถ้อยคำ น้ำเสียง ทีท่ ำให้ผู้ฟังได้ยิน
รับรู้และเข้าใจเรื่องรวมของผู้พูด และเกิดการตอบสนองได้และเป็นพฤติกรรมทางภาษาที่ควบคู่ไปกับการฟังเพือ่
การสือ่ ความหมายระหว่างมนุษย์ การพูดจึงเป็นการสื่อสารสองทาง คือ มีทั้งผู้พูดและผู้ฟงั การพูดเป็นทั้งศาสตร์
และศิลป์

ความสำคัญของการพูด
การพูดมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ถือเป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวจิตใจบุคคลให้คิดและ
เห็นคล้อยตาม ต้องอาศัยปิยวาจา เป็นเครื่องมือนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ทุกคนต้องอาศัยการพูดในการถ่ายทอด
ความรู้สึกนึกคิด สร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างคนในสังคม นอกจากนีก้ ารพูดยังช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า
ให้กับชีวิต และเป็นพื้นฐานช่วยสร้างความศรัทธา และความเชื่อมั่นในบุคลิกภาพให้แก่บุคคลนั้นๆอีกด้วย เป็นการ
สื่อความเข้าใจระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง มนุษย์เป็นสัตว์สังคมทีต่ ้องอยู่ร่วมกัน ดังนั้น ในการสร้างความเข้าใจเพื่อให้มี
แนวทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับรูค้ วามหมายของสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน รวมไปถึงการกระทำ
และคำพูดด้วย

ประเภทของการพูด
ประเภทของการพูดนั้นอาจแบ่งได้ตามรูปแบบของการพูด โอกาสในการพูดวัตถุประสงค์ในการพูด และ
ลักษณะของการพูด การพูดทุกประเภทจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ ให้ผู้ฟังเกิดความรู้ ความเข้าใจ และคล้อยตาม
สิ่งทีผ่ ู้พูดต้องการ เช่น การพูดฉับพลัน การพูดแบบเตรียมตัวล่วงหน้า การพูดแบบท่องจำ การพูดแบบอ่านจาก
ต้นฉบับ การพูดอย่างเป็นทางการ การพูดในโอกาสทั่วๆไป และการพูดอย่างไม่เป็นทางการ การพูดที่มีแบบแผน
การพูดเหล่านี้เป็นการพูดเพื่อให้ความรู้ เป็นการพูดอธิบาย ชี้แจง แสดงเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึง่ โดยมี
จุดมุ่งหมายทีจ่ ะให้ผู้ฟงั ได้รับความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาสาระอย่างครบถ้วน

องค์ประกอบของการพูด
ผู้พูดจะต้องแสดงพฤติกรรมเกี่ยวกับเสียงและภาษา สีหน้า ท่าทาง เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้ฟังและสามารถ
ถ่ายทอดความรู้สึกไปสูผ่ ู้ฟังได้เป็นอย่างดี ต้องรูจ้ ักเก็บสะสมความคิดที่มีประโยชน์นำมาถ่ายทอดให้ผู้ฟังทราบ และ

๘๘
เข้าใจง่ายขึ้น ต้องพูดให้มีสาระและเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง การพูดทุกครั้งต้องมีจุดมุ่งหมายและหลักการพูด ซึ่งผู้พูด
ทำหน้าทีส่ ่งสารผ่านสือ่ ไปยังผู้ฟัง โดยการอาศัยเสียงและภาษา ขณะที่ผู้ฟังรับสารหรือตอบโต้เมื่อพูดถูกใจหรือไม่
พอใจจะมีการปรบมือ หัวเราะ การพูดจึงถือเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล
หรือบุคคลต่อกลุ่มโดยการใช้พฤติกรรม หรือสัญลักษณ์ทเี่ ข้าใจกันได้

การเตรียมตัวในการพูด
การเตรียมตัว ควรมีการเตรียมตัวของผูพ้ ูดและการเตรียมเรื่อง ควรตรงต่อเวลา ไม่ตื่นเวที ส่วนการแต่ง
กาย ควรแต่งสุภาพเรียบร้อย รวมถึงการใช้มือประกอบการพูด ต้องเคลื่อนไหวให้พอดีกบั การเปล่งคำ ไม่ช้าหรือไม่
เร็วกว่าคำที่พูด ควรย้ำจุดสำคัญหรือจุดเด่นของเรื่องให้เด่นชัด ควรใช้ถ้อยคำที่สละสลวย ถ้าสรุปได้เป็นข้อๆ โดย
จำแนกหัวข้อสำคัญได้จะช่วยย้ำความเข้าใจให้แก่ผู้ฟังได้มากขึ้น และไม่พูดนอกเรื่อง พยายามจำเนื้อเรื่องทีจ่ ะพูด
ให้ได้มากทีส่ ุดเท่าที่จะมากได้ หรือไม่ก็พยายามจำจดสำคัญ ๆ ของเรื่องให้ได้ อาจใช้วิธีบันทึกย่อหัวข้อทีส่ ำคัญไว้
เพื่อที่ว่าเมื่อมองปราดเดียวก็สามารถเข้าใจ และขยายเรื่องต่อเองได้ทันที

ลักษณะของผู้พูดที่ดี
การเป็นผูพ้ ูดที่ดีควรมีความคิดที่เหมาะสม มีการเตรียมความพร้อมในการพูด มีจุดประสงค์ที่แน่นอน รูจ้ ัก
การใช้ภาษาที่ดีให้เหมาะสม เช่น เรื่องทีจ่ ะพูด การตอบคำถามจากผูฟ้ ัง มีการสร้างอารมณ์ ถ้อยคำในการพูด การ
ใช้น้ำเสียง ภาษา ท่าทาง จะต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ผู้พูดจะต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผูฟ้ ัง เช่น การ
ซื่อสัตย์ จริงใจ มีความรับผิดชอบ ระเบียบวินัยและคำนึงถึงผลประโยชน์ผู้ฟงั การพูดในแต่ละครั้ง จะต้องมี
เนื้อหาที่ดีตรงตามจุดมุง่ หมาย ต้องมีวิธีการถ่ายทอดความรูค้ วามคิดที่ทำให้ผู้ฟงั เกิดความเข้าใจได้ง่าย ผู้พูดจะต้อง
แสดงออกทางกายและทางใจได้เหมาะสมกับโอกาสที่จะพูด การพูดที่ประสบความสำเร็จนั้นผู้พูดจะต้องสร้างความ
เชื่อมั่นในตัวเอง มีความรูจ้ ริงในเรื่องที่พูด มีความมุ่งหมายในการพูดว่าจะพูดเพื่ออะไร

มารยาทในการพูด
การมีมารยาทที่ดีผู้พูดจะต้องกล่าวคำทักทายผู้ฟงั ถือเป็นการให้เกียรติผู้ฟงั ผู้พูดจะต้องพูดอธิบาย ให้
ความรู้ด้วยถ้อยคำที่สุภาพ อ่อนโยนต่อผู้ฟัง รวมถึงการให้เกียรติผฟู้ ังโดยไม่แสดงอาการที่ไม่เหมาะสมทางสีหน้า
หรืออารมณ์ มีกิริยาท่าทางทีส่ ุภาพเรียบร้อย แต่งกายสะอาด เหมาะสมและถูกกาลเทศะ รวมถึงไม่พูดโอ้อวด
ก้าวร้าวหรือนำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเปิดเผย ไม่พูดจาดูถูกหรือข่มขูผ่ ู้ฟงั และไม่ควรพาดพิงถึงบุคคลอื่น ไม่พูด
ออกนอกเรื่อง หรือนอกประเด็น และควรพูดให้พอดีกบั เวลาที่กำหนด หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดทีร่ ุนแรง รวมถึงควร
พูดด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส

๘๙
การปฏิบัติตนในการพูด
ควรศึกษาว่าผู้ฟังอยู่วัยไหน เพศใด อาชีพอะไร เพื่อทีจ่ ะได้เตรียมเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ฟัง และควรฝึก
พูดบ่อยๆเพื่อจะได้มีความมั่นใจในการพูดมากขึ้น ควรตรงต่อเวลาหรือไปก่อนเวลาเพื่อเตรียมตัวในการพูด ถือเป็น
การให้เกียรติผู้ฟงั คือ ไม่ต้องให้ผู้ฟงั ต้องรอ ก่อนพูดควรคิดหรือไตร่ตรองให้ดีก่อน และควรระมัดระวัง คำพูดที่จะทำ
ให้ผู้ฟงั ไม่พอใจ ใช้ถ้อยคำที่สุภาพเหมาะสมและถูกกาลเทศะเมือ่ พูดจบควรทิง้ ท้ายให้ผู้ฟังเก็บเอาไปคิดด้วย
หลักการการพูดที่ดที ี่ทำให้เกิดสิ่งที่ดๆี ตามมาอย่างมากมาย ซึ่งจะทำให้ผู้พูดมีเสน่ห์ ประสบความสำเร็จตามที่ผพู้ ูด
ต้องการ

หลักเบื้องต้นของการพูด
ในการดำเนินชีวิตประจำวันเราจำเป็นต้องมีการพูดจาตอบโต้ การพูดเป็นเครื่องมือของการติดต่อสื่อสาร
เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ การวิเคราะห์ การพูดเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ต้องเรียนรูเ้ พราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ทฤษฎี การเลือกเรื่องที่พูดควรเลือกเรื่องทีผ่ ู้ฟงั และผู้พูดสนใจ เป็นเรือ่ งทีพ่ ูดถนัด การทีผ่ ู้พูดจะพูดเรื่องอะไรก็ตาม
ควรตั้งจุดมุง่ หมายของเรื่องที่ตนเองจะพูด ส่วนการจะพูดให้คล่องแคล่วหรือพูดให้คนอื่นเชื่อและเข้าใจจึงเป็นสิง่ ที่
เกิดจากการศึกษาและฝึกฝนโดยเริม่ จากการเข้าใจคำศัพท์ประเภทต่างๆ เพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้คำศัพท์ที่
รวดเร็วมากขึ้นการฝึกพูดจึงเป็นการเรียนรู้การเข้าใจคำพูดของผู้อื่น ถือว่าเป็นความสำเร็จในชีวิตและมีความสำคัญ
ต่อมนุษย์

จุดมุ่งหมายในการพูด
ผู้พูดจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ทจี่ ะพูดในแต่ละครั้งให้ชัดเจนและพูดให้ตรงตาม
จุดมุ่งหมายที่วางไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมพูดเพื่อให้การพูดนั้นมีความหมายชัดเจน การพูดแต่ละครัง้ มี
จุดมุ่งหมายต่างกัน เช่น การพูดเพื่อให้ความรูห้ รือข้อเท็จจริง การพูดให้เกิดความเพลิดเพลิน การพูดเพื่อหาทาง
แก้ไขปัญหา การพูดเพือ่ แนะนำ การพูดเพื่อให้ความรู้ พูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจ และเพื่อจรรโลงใจ ความมุง่ หมายของ
การพูดเป็นการแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผูฟ้ ังและผูฟ้ ังรับรู้และเข้าใจเรือ่ งราวได้ตรงกับจุดมุง่ หมายของผูพ้ ูด
ต้องการจะให้ผู้ฟงั ได้รับสิ่งใด จะพูดเรือ่ งอะไร เพื่ออะไร เช่น เพื่อแจ้งให้ทราบ เพื่อค้นหาคำตอบ แสดงความคิดเห็น
เพื่อความบันเทิง เพื่อให้ผู้ฟังได้รับความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้เกิดความคิดและทัศนะอย่างใดอย่างหนึ่ง

๙๐
หลักเกณฑ์ในการพูด
การพูดนั้นเป็นสิง่ สำคัญ ผู้พูดควรวิเคราะห์ผู้ฟังในเรื่องของวัย ระดับการศึกษา อาชีพ และจัดเตรียมเนื้อหา
การพูดทีเ่ ล่าเรื่องหรือพูดอธิบาย ก่อนการพูดนั้นควรสำรวจเครือ่ งแต่งกายของตน ความสะอาดเรียบร้อยและใน
ขณะที่พูดนั้นผู้พูดไม่ควรก้มหน้าหรือหลบสายตาผู้ฟงั เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและไม่น่าเบื่อจนเกินไป

ข้อบกพร่องในการพูด
การบกพร่องในการพูดซึ่งจะเกิดจาการพูดผิดปกติ พูดไม่ชัด ความบกพร่องในการปรุงเสียง เสียงบางส่วน
ของคำขาดหายไป หรือ ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถกู ต้อง หรืออาจจะมีลักษณะการพูดติดอ่างหรือพูด
ตะกุกตะกัก และไม่สามารถพูดเป็นประโยชน์ได้

ชนิดของการพูด
ชนิดของการพูดนั้นแบ่งได้ 2 วิธี
๑. การพูดที่แบ่งตามจุดมุ่งหมาย อาจจะเป็นการพูดเพื่อให้ความรู้ หรือการพูดโดยการโน้มน้าวใจ
๒. การพูดที่แบ่งตามวิธีการพูด อาจเป็นการพูดที่ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า การพูดที่อ่านต้นฉบับทีเ่ ตรียมมาหรือ การ
พูดที่ท่องจำเนือ้ หา

๙๑
บทที่ 5

สรุปผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลงานวิจัย
การพูดมีหลายวิธีซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในการใช้ภาษาในแต่ละช่วงยุคสมัย ไม่ว่า
จะเป็นหลักเกณฑ์การพูด กลวิธีการพูด น้ำเสียงและจังหวะทำนองในการพูดล้วนแล้วก็แตกต่างกันไปตามกาลเวลา
ทั้งที่คำเดียวกัน ความหมายของคำเหมือนกัน แต่กลับพูดออกเสียงต่างกันซึง่ แสดงให้เห็นถึงภาษาการพูดมีความ
เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลายุคสมัยของมนุษย์ แต่ไม่ว่าจะยังไงการพูดก็ยงั คงมีความสำคัญในการสร้างมนุษย์
สัมพันธ์ที่ดี เมือ่ มนุษย์มสี ัมพันธภาพที่ดี ก็จะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพไปในทางทีเ่ หมาะสมทัง้ ในด้านภาษา ด้าน
การศึกษา ด้านสังคม หรือรวมถึงด้านสิง่ แวดล้อมด้วย
1. เพื่อศึกษาข้อมูลการพูดไทยกลางมาตรฐาน และเปรียบเทียบแนวโน้มการใช้คำของมนุษย์ในแต่ละ
ยุคสมัย พบว่าภาษาไทยกลางมาตรฐานถือเป็นภาษาพื้นฐานที่มนุษย์ใช้สื่อสารและสร้างมนุษย์
สัมพันธ์เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และภาษามีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็น
ภาษาในอดีต ภาษาปัจจุบัน ภาษาวัยรุ่น ภาษาเด็ก ภาษาใบ้ เป็นต้น
2. เพื่อนำหลักเกณฑ์ กลวิธี และประโยชน์ด้านการพูดไปใช้ในการเสนอด้านต่างๆในรูปแบบต่างๆ
พบว่า การพูดมีหลายรูปแบบ หลายโอกาส ที่ใช้ในการสื่อสารทัง้ วัจนภาษาหรืออวัจนภาษารวมถึง
กลวิธีการพูดต่างๆ เช่น พูดเพื่อให้ความรู้ โน้มน้าวใจ จรรโลงใจ ความเพลิดเพลิน เป็นต้น
3. เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และเป็นการเรียนรูห้ ลักการพูดเพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี
พบว่า การพูดจาไพเราะ ทักทายกันด้วยไมตรี มีความจริงใจต่อกันและใส่ใจต่อสิง่ ที่รบั ผิดชอบเป็น
พื้นฐานการสร้างมนุษย์สมั พันธ์ที่ดีเมื่อมนุษย์มสี ัมพันธภาพทีด่ ี ก็จะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพไปในทาง
ที่เหมาะสมในด้านต่างๆด้วย

๙๒
บรรณานุกรม

กันทิมา วัฒนะประเสริฐ และคณะ. (2540). ภาษากับการสื่อสาร. ม.ป.ป. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร


วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
การพูด หลักการพูด การใช้เสียง. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 จาก :
https://www.kroobannok.com/blog/22146
การเตรียมตัวในการพูด. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์) สืบค้นเมือ่ วันที่ 15 กันยายน 2565 จาก :
https://gened.siam.edu/wp-content/uploads/2018/07/thaic-handout-06.pdf
กิติศักดิ์ ก้อนกลีบ. ลักษณะของผู้พูดที่ดี. (2545). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 จาก :
https://agecon-extens.agri.cmu.ac.th/Course_online/Course/352331
เกรียงศักดิ์ พลอยแสง. หลักปฏิบัติ. (2560). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 จาก :
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/1110
ขวัญชัย กิตติปาโล. หลักและศิลปะการพูด. (2561). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 จาก :
https://agecon-extens.agri.cmu.ac.th/Course_online/Course/352331
ความหมายการพูด. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์) สืบค้นเมือ่ วันที่ 15กันยายน 2565 จาก : https://vatakarn-
ipeyala.blogspot.com/p/blog-page_69.html
จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ. หลักในการพูด. (2538). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 จาก :
https://www.baanjomyut.com/library_3/extension5/speaking_for_communication
จิระภพ สุคันธ์กาญจน์ และคณะ. (ม.ป.ป.). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุ
ราษฎร์ธานี.
จีรรัตน์ เพชรรัตนโมรา และคณะ. (2551). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. (2540). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 จาก :
https://gened.siam.edu/wp-content/uploads/2018/07/thaic-handout-06.pdf
ธนู ทดแทนคุณ และ กุลวดี ทดแทนคุณ. (2549). ภาษาไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : โอเดียนสโตร์.
นิพนธ์ ศศิธร และคณะ. หลักการเตรียมตัวก่อนพูด. (๒๕๓๓). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน
2565 จาก : https://www.baanjomyut.com/library_3/extension5/speaking_forcommunication
เบญญาพัชร์ วันทอง. หลักการพูด. (2560). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 จาก :
https://www.kroobannok.com/blog/22146

๙๓
ประเสริฐ บุญเสริม. ศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสาร. (2560). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565
จาก : https://fewapidechblog.wordpress.com/2016/02/21
ปัณณ์พัฒน์ จันสว่าง. (ม.ป.ป. ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 จาก :
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/1110
พะนอม แก้วกำเนิด. มารยาทในการพูดที่ดี. (2560). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 จาก :
http://korat.nfe.go.th/th_m2/chap2/chap2_1.pdf
มิสฐาปนี จันทร์แว่น. มารยาทการพูด. (2559). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 จาก :
http://16th.myreadyweb.com/article/category-64514.html
ลักษณะการพูดที่ดี. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 จาก :
https://fewapidechblog.wordpress.com/2016/02/21
ลักษณะที่ดีของผู้พูด. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 จาก :
https://www.gotoknow.org/posts/207358
วารุณี เรืองมี. ภาษาไทยเพื่องานอาชีพ. (2559). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 จาก :
https://fewapidechblog.wordpress.com/2016/02/21
วินิจ วรรรถนอม. หลักการพูด. (2522 ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 จาก :
https://sites.google.com/site/thaicommunication83/bth-thi-3-kar-phud
วิเศษ ชาญประโคน. (2550). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. พิมพ์ครังที่ 2. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ศิริรัตน์ กลยะณี. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพูด. (2554 ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565
จาก : http://korat.nfe.go.th/th_m2/chap2/chap2_1.pdf
ศุภรัตน์ เทพบุรี. หลักของการพูด. (2561 ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 256.5 จาก :
https://www.gotoknow.org/posts/207358
สถาพร พันธุ์มณี. หลักการพูด. (2523 ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 จาก :
https://gened.siam.edu/wp-content/uploads/2018/07/thaic-handout-06.pdf
สวนิต ยมาภัย. มารยาทในการพูด. (2528 ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 จาก :
http://oservice.skru.ac.th/ebookft/332/chapter1.pdf
สบาย ไสยรินทร์ และคณะ. (2525). การใช้ภาษา. ม.ป.ป. สุราษฎร์ธานี : วิทยาลัยครูสรุ าษฎร์ธานี.
สบาย ไสยรินทร์ , ชวน เพชรแก้ว และ ศุภวรรณ สอนสังข์. (2533). การใช้ภาษา. สุราษฎร์ธานี : วิทยาลัย
ครูสุราษฎร์ธานี.
สายใจ ทองเนียม. (2560). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

๙๔
สุกัญญา ตีระวนิช. หลักของการพูด. (2528 ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 จาก :
http://16th.myreadyweb.com/article/category-64514.html
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. การเตรียมพูดและการฝึกซ้อมการพูด. (2556 ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 15
กันยายน 2565 จาก : https://vatakarn-ipeyala.blogspot.com/p/blog-page_69.html
อรุณีประภา หอมเศรษฐี. อวัจนภาษา. (2528 ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 จาก :
http://oservice.skru.ac.th/ebookft/332/chapter1.pdf
อรอุมา บุตรมิมสุ า. องค์ประกอบของการพูด. (2555 ). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565
จาก : https://sites.google.com/site/thaicommunication83/bth-thi-3-kar-phud

๙๕
ภาคผนวก
ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี ้ : รูปแบบมารยาทในการพูด

ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี ้ : จุดมุ่งหมายในการพูด
ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี ้ : รูปแบบการพูดเชิงวิชาการ

ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี ้ : สถานการณ์ในการพูด
ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี ้ : รูปแบบมารยาทในการพูด

ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี ้ : การพุดแสดงทรรศนะ
ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี ้ : ทักษะการฝึ กเป็ นนักพูดมืออาชีพ

ดังตัวอย่างภาพต่อไปนี ้ : เทคนิคการเป็ นผูพ้ ูดที่ดี


ประวัติผู้ทำวิจัย

ชื่อ นางสาว ปิยธิดา บัวขาว


รหัสนักศึกษา 6313601001162

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ชื่อ นาย พงศ์ภัค ลุ่งกี่


รหัสนักศึกษา 6313601001166

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อ นางสาว ภัทรวดี สิงห์ทอง
รหัสนักศึกษา 6313601001191

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ชื่อ นาย ภานุวัฒน์ ช่วยแท่น


รหัสนักศึกษา 6313601001196

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อ นาย ยศธนกร ขุนทน
รหัสนักศึกษา 6313601001205

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ชื่อ นางสาว อริสษา รักสุข


รหัสนักศึกษา 6313601001206

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อ นางสาว โรฟานี กูตงดือราแม
รหัสนักศึกษา 6313601001212

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ชื่อ นางสาว วรดา วิหกฤทธิ์


รหัสนักศึกษา 6313601001217

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ชื่อ นางสาว อาแอเสาะ หะมะ
รหัสนักศึกษา 6313601001218

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ชื่อ นางสาว สมัชญา สุขยูง


รหัสนักศึกษา 6313601001250

การศึกษา ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์


มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

You might also like