You are on page 1of 6

โครงการ CSR สนับสนุนผลผลิตจากเกษตรกรและชาวบ้านโดยตรง

คาเฟ่ Aquafelong

จัดทำโดย
นายฮาฟีซู ยูโซะ 651101050

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
วิชาเอกการจัดการท่องเที่ยวและไมซ์
สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
ปีการศึกษา 2565
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการกิจกรรมธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมและธุรกิจ
เพื่อสังคม ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษา
ความรู้ที่ได้จากเรื่องโครงการธุรกิจที่น่าสนใจและการทำCSRของธุรกิจ ซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนแผนธุรกิจเบื้องต้น
ผู ้ จ ั ด ทำได้ เลื อ กหั ว ข้ อ นี ้ ในการทำรายงาน เนื ่ อ งมาจากเป็ น เรื ่ อ งที ่ น ่ า สนใจและน่ าจะก็
ผลประโยชน์ได้ในอนาคต ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ
ท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

จัดทำโดย

นายฮาฟีซู ยูโซะ
สารบัญ

หลักการและเหตุผล .............................................................................................................................. 1
วัตถุประสงค์ ........................................................................................................................................... 1
ผู้รับผิดชอบโครงงาน .............................................................................................................................. 1
สถานที่จัดโครงการ................................................................................................................................. 2
ระยะเวลาดำเนินโครงการ ...................................................................................................................... 2
การดำเนินงาน PPDCA and PAR ..................................................................................................... 2-3
งบประมาณ………………………………………………………………………………..................................................3
ผลที่คาดว่าจะได้รับ…………………………………………………………………………............................................3
หลักและเหตุผล
เนื ่ อ งด้ วยในปั จจุบ ั นประเทศไทยได้ร ั บผลกระทบจากสถานการณ์ โควิ ด 19 ส่ ง ผลทำให้
เศรษฐกิจตกต่ำและทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสถานกาณ์ โควิด19 โดยเฉพาะธุรกิจ
โรงแรม ร้านอาหาร คาเฟ่ และยังส่งผลต่อเศรษฐกิจในด้านการท่องเที่ยวทำให้ผู้คนเดินทางไปเที่ยว
น้อยลง
ซึ่งจากสถานการณ์โควิด19ที่ผ่านมานี้ส่งผลทำให้คนในชุมชน เกษตรกรขาดแคลนรายได้ ผม
จึงได้มีแนวคิดที่จะทำให้คนในชุมชนและเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสินค้าของของชุมชนภายในตัว โดยรูปแบบโครงการจะเป็นการสนับสนุน
การใช้วัตถุดิบจากการเกษตรกรอย่าง ลองกอง เนื่องจากลองกองนั้นเป็นผลไม้ที่เน่าเสียได้ง่าย ขายส่ง
ไม่ออก ทำให้เกษตรกรขาดทุน โดยทางเราจะรับซื้อลองกองในราคาที่สูงกว่า ตลาดทั่วไป เพื่อสร้าง
รายได้แก่เกษตรกรและชาวบ้าน เพราะร้านเราต้อ งการวัตถุดิบและผลิตผลมาใช้ในการประกอบ
อาหารและเครื่องดื่ม โดยหลังจากรับซื้ อทางเราจะนำผลผลิตที่ได้มานั้นมาแปรรูปเพื่อเพิ่ มมูลค่าของ
วัตถุดิบอย่าง ลองกอง เป็นรูแปบต่างๆ อาทิเช่น เค้ากลองกอง ลองกองเชื่อมกระป๋อง และนำมาวาง
จัดจำหน่ายที่ร้านและตามสหกรณ์ของชุมชน โดยที่เราจะนำเงิน ที่ได้จากการขายนั้น นำไปบริจาคเข้า
กองทุนหมู่บ้าน คิดเป็นรายได้จาก 15 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ทั้งหมดที่ขายได้ เพื่อที่จะให้เกษตรกร
ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรเห็นถึ งคุณค่าของผลผลิตได้อย่างสูงสุดธุร อีกทั้งยังเป็นการ
สนับสนุนให้ผู้คนที่ว่างงานหันมาทำการเกษตร และเป็ นการดึงดูดนักท่องเที่ยว ลูกค้า ทั้งในและนอก
เข้ามาเยี่ยมชม

วัตถุประสงค์
-เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ
-เพื่อลดการเน่าเสียของวัตถุดิบ เนื่องจากลองกองเป็นผลไม้ที่เสียได้ง่าย
-เพื่อเพิ่มรายได้ภายในชุมชน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายฮาฟีซู ยูโซะ 651101050

สถานที่จัดโครงการ
ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส 96000 / สวนของเกษตรกรภายในชุมชน จ.นราธิวาส

ระยะเวลาดำเนินโครงการ
คาดว่าจะใช้เวลาตั้งแต่กรกฎาคม-ตุลาคม

การดำเนินงาน PDCA and PAR


Plan
- ตั้งเป้าหมายและวางแผนการทำงานในการสร้างสรรค์วัตถุดิบขึ้นมาใหม่จากลองกองว่าเราจะมี
แผนการดำเนินงานอย่างไรจะผลิตสินค้าออกมาในรูปแบบไหนเพื่อต่อยอดอายุของลองกอง
Do
- ลงพื้นที่สำรวจภายในชุมชนและรับซื้อลองกองจากชาวบ้าน เกษตรกร เพื่อนำมาทำเป็นสินค้า
แบบใหม่
Check
- ทดลองทำครั้งแรก และจดบันทึกผลการปฏิบัติว่ามีอะไรผิดพลาดตรงไหนและควรปรับปรุง
ตรงไหน จนทำให้เกิดกระบวนการผลิตใหม่จนได้สินค้าตามความต้องการและเป็นที่ยอมรับ
ของตลาด
Act
- ดำเนินการซ้ำรอบต่อไปจากกระบวนการใหม่ที่ปรับปรุงขึ้นมารอบที่สองเพื่อให้สินค้ามี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
Participation
- เกษตรกร ชาวบ้าน และผู้คนในชุมชน
งบประมาณ
1.งบการเดินทางไปดูงานประมาณ 1500 บาท
2.ค่าซื้อผลผลิตจากเกษตรและชาวบ้านโดยประมาณ 21 บาทต่อกิโล รับสวนละไม่เกิน 150 โล
จำนวน 7 สวน เป็นเงินโดยประมาณ 22050 บาท
3.ค่าขนส่งผลผลิต 8000 บาท
4.ค่าเดินทางสำหรับไปประเมินดูแลสวน 2500 บาท
รวมเป็น 34050 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- วัตถุดิบมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากการนำมาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
- วัตถุดิบเน่าเสียน้อยลง เนื่องจากการแปรรูปของผลไม้
- ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

You might also like