You are on page 1of 8

One Belt One Road กับโอกาสและอุปสรรคต่อการพัฒนา

ประเทศไทย
เป็ นกลุ่มโครงการทางพื้นที่ที่ถูกเสนอโดยประธานาธิบดีจีนเสนอ
แนวคิดในการสร้างทางขนส่งและสายสื่อสารทางการคมนาคมรวมถึงการ
พัฒนาโครงข่ายพื้นฐานทางโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศในทวีป
เอเชีย,ยุโรป และ แอฟริกา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และ
การพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างประเทศ
จากที่ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับนโยบาย Belt One Road มีโอกาส
ต่อการพัฒนาแก่ประเทศไทยในหลายด้าน เพราะนโยบาย One Belt
One Road ถือเป็ นนโยบายสู่ความมั่นคงมีความสอดคล้องกับนโยบาย
และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ในด้านการ
เชื่อมโยงภูมิภาคนโยบาย One Belt One Road ของจีนที่ดำเนินการอยู่
ในขณะนี้เป็ นโอกาสของไทยที่จะขยายการค้า กาารลง ทุนไปยังประเทศ
เพื่อนบ้านเชื่อมโยงสู่ตลาดโลก แม้ว่าไทยจะไม่ได้อยู่บนเส้นทาง One
Belt One Road โดยตรง แต่ไทยต้องใช้ยุทธศาสตร์หุ้นส่วนเศรษฐกิจ
เจรจาต่อรองกับประเทศคู่ค้าให้เข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาค
ตะวันออก หรือ EEC โดยให้เห็นว่า การมาลงทุนใน EEC สามารถใช้
ประโยชน์จากนโยบาย One Belt One Road ได้เพราะไทยเป็ น
ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ในภูมิภาคทำให้เกิด
ประโยชน์และความต้องการของคนไทยด้วยนอกจากนี้นโยบาย One
Belt One Road ถือเป็ นโอกาสให้ประเทศไทยสามารถสร้างความร่วมมือ
เชิงยุทธศาสตร์กับจีนและผลักดันการเปลี่ยนแปลงระบบขับเคลื่อนและ
พัฒนาประเทศไทยให้สำเร็จเป็ นแรงกระตุ้นการพัฒนาและโอกาสทองใน
ด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1)เป็ นการเชื่อมโยงทางนโยบายซึ่งกันและกันทำให้เกิดความเห็นตรง
กันในความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีน-ไทยมากขึ้น และการ
ประสานนโยบายระหว่างจีน-ไทยผ่าน One Belt One Road หรือกรอบ
ที่เกี่ยวข้องกันอย่าง AIIB ยังช่วยขยายกรอบความร่วมมือจีน-ไทยจาก
ทวิภาคีให้เปิ ดกว้างถึงระดับพหุภาคีด้วยซึ่งผลที่ทำให้ประเทศไทยเสมือน
ได้ขึ้นขบวนรถไฟแห่งเศรษฐกิจของจีนไปพร้อมด้วย
2)เป็ นการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานจะมีส่วนช่วยอย่างสำคัญใน
การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและภูมิภาคของไทยให้ดีขึ้น ส่งเสริมการกระ
จายทรัพยากรให้สมดุลมากยิ่งขึ้นเพื่อลดปั ญหาการพัฒนาที่ไม่สมดุล
3)เป็ นการเชื่อมโยงด้านการค้าระหว่างประเทศผ่าน OBOR จะมีส่วน
ช่วยในการแก้ไขปั ญหาคอขวดความตีบตันทางการค้าระหว่างจีน-ไทยใน
ระยะกลางและระยะยาวรวมส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนระหว่างจีน-
ไทย
ให้ดีขึ้น จะเป็ นแรงกระตุ้นที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ
ประเทศไทย
4)เป็ นการเชื่อมโยงด้านการเงินกับจีนที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มความ
สามารถในการควบคุมและป้ องกันปั ญหาวิกฤตการเงิน เพิ่มศักยภาพการ
บริการด้านการเงินระหว่างประเทศให้ดีขึ้นเป็ นอีกหนึ่งแรงกระตุ้นในการ
ยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
5)เป็ นการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนและประชาชนมีส่วนช่วยในการ
เพิ่มความเข้าอกเข้าใจระหว่างประชาชนจีน-ไทย ส่งเสริมอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวของไทยให้เติบโตในตลาดจีน และเป็ นแรงสำคัญใหม่ที่ช่วย
พัฒนาเศรษฐกิจของไทย
สำหรับประเทศไทย การเข้าร่วมในโครงการ OBOR สามารถมอบ
โอกาสในการขยายตัวของฐานพลังงาน
และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง รวมถึงการเชื่อมโยงเส้นทางการค้า
ระหว่างประเทศและยังมีศักยภาพในการ
สร้างโอกาสต่างๆสำหรับการพัฒนาประเทศไทย จากการขยายตัวของพื้น
ฐานโครงสร้าง OBOR สามารถช่วยใน
การพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ทางด่วน รถไฟ ท่าเรือ
สมารถเพิ่มความเชื่อมโยงในการค้า
และการลงทุนระหว่างประเทศได้ การที่ประเทศไทยเข้า
โครงการ OBOR อาจเป็ นโอกาสที่ดีในการเพิ่มการลงทุนและการพัฒนา
ทางเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างงานและเสริมสร้างโอกาสในด้านธุรกิจต่างๆ
ในประเทศไทย
ส่วนด้านอุปสรรค จากการตัดสินใจในการเข้าร่วมในโครงการ One Belt
One Road นั้นควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีความเป็ นไปได้ที่
จะเกิดผลกระทบที่ซับซ้อนต่อการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไทยใน
ระยะยาวได้อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมโครงการ One Belt One Road
การมีส่วนร่วมในโครงการนี้ยังมีความสำคัญในการดูแลและรักษาความคุ้ม
ค่าของผู้ที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบต่อผลกระทบที่อาจเกิด
ขึ้นในด้านต่างๆของการร่วมมือกับโครงการนี้ในระยะยาวและความเสี่ยงที่
อาจเกิดขึ้นได้ และนโยบาย One Belt One Road มีบางอย่างที่อาจเป็ น
อุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศไทย ก็คือความขัดแย้งทางการเมือง อาจ
ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางการเมืองกับประ
เทศอื่นๆที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความเสถียรภาพภูมิภาคและ
อุปสรรคต่อจากนี้ก็คือความเป็ นไปได้ของการกำหนดนโยบายการเชื่อม
โยงกับ OBOR ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเสียสิทธิ์ในการกำหนดนโยบาย
ต่างๆของตนเองเนื่องจากต้องปฏิบัติตามนโยบายของจีนและคู่ค้าที่
เกี่ยวข้องและนอกนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับหนี้ การรับสินเชื่อหรือการ
ลงทุนจากจีนอาจทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเงิน
และเกิดภาระหนี้ที่อาจมีผลต่อความเสี่ยงในการจัดเศรษฐกิจของ
ประเทศไทย ในอนาคตได้
ทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังได้รับอุปสรรคในอีกหลายๆด้าน เพราะ ความ
สำเร็จของโครงการ OBOR ทำให้เกิดความเชื่อมโยงผู้ผลิตและตลาดผู้
บริโภคขนาดใหญ่จะทำ ให้ไทยมีโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่เพิ่ม
มากขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารและภาค
บริการของไทยขณะที่ด้านการท่องเที่ยวขยายตัวมากขึ้นโดยนักท่องเที่ยว
จีนเข้ามาไทยเป็ นจำนวนมากและ
ครองอันดับหนึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาทำให้เกิดการเคลื่อนย้าย
แรงงานและการเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบ
การณ์ด้านเทคโนโลยี สังคม และวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเกิด
ผลกระทบในด้านต่างๆ ดังนี้
1.โครงการ OBOR ทำให้เกิดการพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทาง OBOR
ซึ่งจะทำให้เกิดตลาดใหม่ขึ้นมารองรับการส่งออกของไทยเป็ นจำนวนมาก
เนื่องจากการขนส่งจะง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้นซึ่งควรเร่งให้มีการศึกษา
ศักยภาพและโอกาสของเมืองตามแนวเส้นทาง OBOR เพื่อส่งเสริมให้ภาค
เอกชนหรือการร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาตลาดที่เกิดขึ้นใหม่ต่อ
ไปขณะเดียวกันควรระมัดระวังการเข้ามาของสินค้าบางประเภทจากจีนที่
มีราคาถูก เนื่องจากสินค้ามีต้นทุนที่ถูกกว่าไทย ทั้งด้านการผลิต แรงงาน
และทุนที่มีอยู่เป็ นจำนวนมากอาจทำให้ฃผู้บริโภคหันไปใช้สินค้าจีนแทน
การใช้สินค้าจากไทยได้
2.ด้านการท่องเที่ยวจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะคนจีนมาเที่ยวไทยได้
ง่ายและมีจำนวนมาก ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว
ตามแนวเส้นทางที่เชื่อมโยงกับโครงการ OBOR ให้มากขึ้นทั้งในรูปแบบ
ประชาสัมพันธ์ การจัดการด้านการตลาดเชิงรุก และที่สำคัญการพัฒนา
ด้านการบริการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวให้เพียงพอและ
ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจในการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
นโยบาย One Belt One Road ได้ส่งผลต่ออุปสรรคต่อประเทศไทย
อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงแต่หากพิจารณาตาม เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่
21 จะพบว่าตลอดเส้นทางการค้าสายนี้ทั้งทางบกและทางน้ำไม่ผ่าน
ประเทศไทยเลยหากเชื่อมโยงกับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งในทางภูมิศาสตร์
ไทยถือเป็ นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ จึงกล่าวได้ว่าผลกระทบต่อไทยที่
เกิดจากนโยบาย One Belt One Road เป็ นผลกระทบทางอ้อม แต่ก็ก่อ
ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม
วัฒนธรรม
ดังนั้นนโยบาย OneBeltOneRoad ประเทศไทยควรจะเตรียม
ความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 มิติ ที่ส่งผลกระทบต่อ
ประเทศไทย รวมไปถึงความขัดแย้ง การอพยพ และปั ญหาการบริหาร
จัดการรถไฟ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีความรับผิดชอบในด้านนี้
จึงต้องคิดทบทวนพิจารณาโดยละเอียด ตลอดจนคำนึงถึงด้าน Soft
Infrastructure ควบคู่ไปด้วย เช่น กฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่ง
ประเทศไทยเองก็ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เท่าที่ควร ซึ่งหากมีการเตรียม
ความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวก็น่าจะได้ประโยชน์กันทุก
ฝ่ าย ซึ่งเป็ นการสร้างความเชื่อมโยง การค้า และโอกาสอย่างมหาศาล ที่
ได้จากโครงการ OBOR รวมไปถึงเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีของรัฐบาล
จีนที่มีต่อประเทศไทยซึ่งส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาประเทศไทยใน
อนาคตได้อย่างแท้จริง ซึ่งคุณค่าของนโยบาย “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”
ของจีน ไม่ได้อยู่ที่เรื่องวัตถุ หรือแค่มีโครงสร้างพื้นฐานแต่อยู่ที่การใช้
โครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นเชื่อมโยงนักธุรกิจ ประชาชนของแต่ละประเทศ
เป็ นพลังที่แท้จริง และประเทศไทยกำลังเร่งพัฒนาโครงการระเบียง
เศรษฐกิจภาคตะวันออก EEC อย่างเต็มที่เพื่อเชื่อมกับนโยบาย One Belt
One Road ของจีนอย่างเป็ นเนื้อเดียวกัน

เอกสารอ้างอิง
https://www.gsbresearch.or.th
https://www.cuti.chula.ac.th
https://www.parliament.go.th
นางสาว ทิพประภา จงฉิม 65127321004 sec803

You might also like