You are on page 1of 147

ชื่อหนังสือ

: รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ผู้แต่ง : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ปีที่พิมพ์ : ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2557 จำนวน 5,000 เล่ม
จำนวนหน้า : 144 หน้า
ISBN : 978-616-7722-25-2

หนังสือเล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
คำนำ

ภายใต้กระแสการค้าโลกในยุค
โลกาภิวัฒน์ที่เทคโนโลยีและนวัตกรรม
เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของภาคธุรกิจ
การสื่อสารและการค้าระหว่างประเทศ
ทวีความสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยง
ไม่ ได้อีกต่อไป โดยเฉพาะประเทศที่มี
ขนาดเล็กและต้องพึ่งพาการค้าระหว่าง
ประเทศ เพื่อพัฒนาความเจริญและสร้าง
ความกินดีอยูด่ แี ละความผาสุขของประเทศ
ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจขนาดเล็ก
การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อ
ระบบเศรษฐกิจไทยอย่างยิง่ ยวด การจัดทำ
เขตการค้าเสรีจึงเป็นนโยบายเศรษฐกิจ
ที่สำคัญของประเทศเสมอมา
สำหรับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งได้มี
การรวมกลุ่มกันมานานกว่า 40 ปี โดย
อาเซียนได้มีการรวมตัวกันตั้งแต่ปี 2510
แต่พฒ
ั นาการของอาเซียนในช่วง 25 ปีแรก
เป็นการให้ความสำคัญในเรือ่ งของการเมือง สังคมและวัฒนธรรม มากกว่าด้านการค้า
แต่นับจากปี 2536 อาเซียนหันมาให้ความสนใจในด้านเศรษฐกิจ โดยการเจรจา
ลดภาษีสินค้าระหว่างกันภายใต้ความตกลงการเปิดเสรีด้านการค้า หรือ AFTA
(ASEAN Free Trade Area) และต่อมาได้ร่วมกันจัดทำความตกลงเขตการลงทุน
อาเซียน (Framework Agreement of the ASEAN Investment Area : AIA)
เพื่อส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น ปัจจุบันอาเซียนมีความตกลงว่าด้วย
การลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement : ACIA)
ซึ่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามความตกลงฯ เมื่อปี 2552 และมีผลบังคับใช้
เมื่อต้นปี 2555
นับจากนี้ ไป ผู้ประกอบการไทยที่เคยผลิตสินค้าและบริการเพื่อขายเฉพาะ
ในประเทศไทย ควรเปลี่ยนแนวความคิดที่จะขยายการค้าและการลงทุนไปในตลาด
อาเซียนที่มีประชากรเกือบ 600 ล้านคน โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงฯ ฉบับนี้
เป็นกุญแจสำคัญที่จะขยายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัตถุดิบการผลิต
และแรงงานราคาถูก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
อีกทางหนึ่ง
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดทำหนังสือ รอบรู้เรื่องการลงทุน
ในอาเซียน : สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ
แก่ประชาชนสร้างความตระหนักรู้ และกระตุน้ ให้ผปู้ ระกอบการทีม่ ศี กั ยภาพในการแข่งขัน
แสวงหาโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรี ในอาเซียนจากความตกลงด้าน
การลงทุนอาเซียนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้มกี ารประมวลข้อมูลจากสำนักเลขาธิการ
อาเซียน (ASEAN Investment Guidebook) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (Board of Investment : BOI) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในเรื่องการลงทุน
รวมทั้งข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี การเข้าถึงข้อมูลของประเทศ
สมาชิกอาเซียนยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ทำให้ข้อมูลที่ ได้รับบางส่วนไม่มีความเป็นปัจจุบัน
เท่าที่ควร กรมฯ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์และใช้เป็นพื้นฐาน
สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตข้างหน้าต่อไป

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
พฤษภาคม 2557
สารบัญ
บทสรุปผูบ้ ริหารรอบรูเ้ รือ่ งการลงทุนในอาเซียน : สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ 6
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ความเป็นมา 16
ก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 18
โอกาสและผลกระทบที่จะได้รับจากการ 27
เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
นโยบายเชิงรุก/เชิงรับ 30
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)
สาระสำคัญของ ACIA 37
หลักการของความตกลง ACIA 41
รายการข้อสงวนภายใต้ความตกลง ACIA 44
ข้อดีของความตกลง ACIA 46
การเปรียบเทียบ ACIA กับนโยบายส่งเสริมการลงทุน 48
ของประเทศสมาชิกอาเซียน
ผลกระทบด้านการลงทุนจากความตกลง ACIA 50
และโอกาสการลงทุนในประเทศสมาชิก
บรรยากาศการลงทุนโลก 51
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
กฎหมายการลงทุนของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 56
กฎหมายและนโยบายรายสาขา 62
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ขั้นตอนการเข้ามาลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 64
การคุ้มครองการลงทุน 69
การกำหนดเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ 74
นโยบายการถือหุ้นของต่างชาติ 74
สิทธิประโยชน์การลงทุน 79
สาขาที่ ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 84
ระบบการเก็บภาษี 85
กฎระเบียบทางการเงิน 91
การทำงานของแรงงานต่างชาติ 93
การเป็นเจ้าของที่ดินและอาคาร 101
หน่วยงานส่งเสริมการลงทุน 104
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผูป้ ระกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์
ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม 106
การประเมินโอกาสและอุปสรรคด้านการลงทุน 115
อุตสาหกรรมและธุรกิจทีน่ า่ สนใจลงทุนในสาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ 120
ข้อเสนอแนะและมุมมองเชิงประสบการณ์ 130
จากภาครัฐและภาคเอกชน
References 134
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

บทสรุป
ผู้บริหาร
รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

หนังสือ “รอบรูเ้ รือ่ งการลงทุนในอาเซียน :


สาธารณรัฐฟิลิปปินส์์” มีวัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ แก่ประชาชน
ทั่วไป และสร้างความตระหนักรู้เพื่อการ
เตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทย
เพือ่ ให้เร่งพัฒนาศักยภาพรองรับการแข่งขัน
และแสวงหาโอกาสและประโยชน์ภายใต้
การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเหมาะสม
เนื้อหาแบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย
1. อาเซียนและประชาคมอาเซียน
2. ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน
3. กฎระเบียบด้านการลงทุน
ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
4. โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการ
ไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

อาเซียน
และประชาคมอาเซียน
อาเซียนก่อตัง้ ขึน้ ตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมือ่ ปี
2510 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ มีประชากรรวมกันประมาณ
608 ล้านคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติรวมกัน 2.3 พันล้าน
เหรียญสหรัฐ (ปี 2555) และเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา
อาเซียนกำลังเตรียมการเพือ่ ก้าวสูก่ ารเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN
Economic Community : AEC) อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลให้
ประเทศไทยและสมาชิกอื่นๆ มี โอกาสแสวงหาประโยชน์จากการเปิดเสรีด้าน
การค้าการลงทุนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการบางประเภทกิจการต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่
รุนแรงขึ้นจากการเปิดเสรีการค้าสินค้าและการลงทุน ผู้ประกอบการไทยจึงควร
ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อธุรกิจตนเองอย่างรอบด้านและครบถ้วน รวมทั้ง
ควรกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจและมาตรการทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ครอบคลุมทั้งด้าน
การตลาดและการลงทุนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมทาง
เศรษฐกิจที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้ประกอบการควรศึกษาข้อตกลง
และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนในภูมิภาค โดยเฉพาะความ
ตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA) กฎหมายและระเบียบการค้าการลงทุน
ของสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศอย่างรอบคอบและต่อเนื่อง

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ความตกลง
ว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive


Investment Agreement : ACIA) เป็นความตกลงระหว่าง 10 ประเทศสมาชิก
อาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีกฎระเบียบด้านการลงทุน
(Investment Regime) ในลักษณะที่เปิดกว้างและเสรี (Open & Free)
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการ (Integration) ด้านการลงทุนระหว่างประเทศ
สมาชิกอาเซียน สาระสำคัญของความตกลง ACIA มีขอบเขตครอบคลุมมิติ
การลงทุน 4 ด้าน ได้แก่
1. การเปิดเสรี (Liberalization)
2. การคุ้มครอง (Protection)
3. การส่งเสริม (Promotion)
4. การอำนวยความสะดวก (Facilitation)
โดยครอบคลุมทัง้ การลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment : FDI)
และการลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับ
การขยายตัวของกระแสการลงทุนในหลักทรัพย์ ความตกลง ACIA ครอบคลุม

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
บทสรุปผู้บริหาร : รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

การลงทุนในธุรกิจ 5 สาขา ได้แก่ เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ การผลิต


รวมถึงบริการทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง และการลงทุนในธุรกิจบริการภายใต้กรอบความตกลง
การค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services :
AFAS) เช่นกัน ความตกลง ACIA เป็นข้อตกลงที่เปิดโอกาสให้นักลงทุน
สามารถเข้าไปลงทุนในอาเซียนได้ โดยปราศจากอุปสรรคและข้อกีดกันทาง
การลงทุน จากรายงานการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ปี 2555 พบว่า การลงทุน
จากต่างประเทศในอาเซียนในปี 2554 มีมลู ค่าประมาณ 114,110.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยการลงทุนระหว่างกันในอาเซียนมีมูลค่าสูงถึง 26,270.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
หรือคิดเป็นร้อยละ 23.02 ของการลงทุนในอาเซียนทัง้ หมด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนือ่ ง ประเทศทีม่ บี ทบาทในฐานะผูล้ งทุนในภูมภิ าคอาเซียน คือ สิงคโปร์
มาเลเซีย และไทย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

กฎระเบียบ
ด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
การลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติในประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ภายใต้
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงทุนของชาวต่างชาติ ปี 2534
(Foreign Investment Act of 1991) ซึ่งได้ระบุข้อกำหนดและข้อห้าม
การประกอบธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติในฟิลิปปินส์ ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว
อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นในธุรกิจการส่งออกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
โดยไม่มีข้อกำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ และได้กำหนดข้อจำกัด
การถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การป้องกัน
ประเทศ สุขภาพอนามัย วัฒนธรรม รวมทั้งได้จำกัดสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจ
บางสาขาที่มีผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฟิลิปปินส์ ได้ตรา
กฎหมายเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการลงทุนธุรกิจรายสาขาเป็นการเฉพาะ
ประกอบด้วย สาขาการสือ่ สารโทรคมนาคม เหมืองแร่ ยานยนต์ พลังงานทดแทน
และการท่องเที่ยว รวมทั้งได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิประโยชน์
ของบริษัทที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ (Base Conversion and
Development Act 1992) รวมทั้งได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับการเปิดโอกาส
ให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาจัดการดูแลโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน
ของประเทศ (Build Operate Transfer 1992) เช่นกัน

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
10 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
บทสรุปผู้บริหาร : รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

นอกจากนี ้ สาธารณรั ฐ ฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ย ั ง มี น โยบายสนั บ สนุ น ให้ บ ริ ษ ั ท


ต่างชาติเข้าดำเนินกิจการในรูปแบบการตัง้ สาขา สำนักงานผูแ้ ทน และสำนักงาน
ใหญ่ส่วนภูมิภาคในฟิลิปปินส์ โดยได้กำหนดมาตรการสนับสนุนทั้งด้านภาษี
และค่าธรรมเนียมภายใต้เงื่อนไขกำหนดให้บริษัทต่างชาติส่งเงินทุนมาใช้จ่าย
เพื่อการบริหารจัดการในประเทศฟิลิปปินส์

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ให้การปฏิบัติด้านการลงทุนต่อนักลงทุนต่างชาติ
ไม่แตกต่างกับนักลงทุนชาวฟิลิปปินส์ โดยมีขั้นตอนสำคัญ คือ นักลงทุนต้องยื่น
จดทะเบียนจัดตัง้ องค์กรธุรกิจตามกฎหมายการจัดตัง้ ธุรกิจ (Corporation Code)
และยืน่ ขอลงทุน โดยใช้เวลาดำเนินการประมาณ 34 วัน ด้านการคุม้ ครองการลงทุน
นักลงทุนต่างชาติมีอิสระในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายใต้ระเบียบ
และข้อกำหนดของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ โดยปกติแล้วรัฐบาลฟิลิปปินส์ ไม่มี
การเวนคื น ที ่ ด ิ น หรื อ กิ จ การภาคเอกชน เว้ น แต่ เ พื ่ อ กิ จ การสาธารณะและ
ความมั่นคง โดยต้องมีการชดเชยอย่างเหมาะสม ด้านการรับประกันการลงทุน
ฟิลิปปินส์ ได้ลงนามสนธิสัญญาคุ้มครองและสนับสนุนการลงทุนกับ 41 ประเทศ
รวมประเทศไทย ด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ฟิลิปปินส์เป็นภาคี
สมาชิกของอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา
ระดับโลก 10 ข้อตกลง จึงส่งผลให้มีการตรากฎหมายที่มีสาระสำคัญครอบคลุม
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งด้านสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า
ชื่อทางการค้า การประดิษฐ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ และการออกแบบอุตสาหกรรม

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 11
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

สิทธิประโยชน์การลงทุนที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ให้แก่นักลงทุนแตกต่าง
กันตามสถานที่ลงทุนและรูปแบบการจดทะเบียนธุรกิจ กิจการลงทุนภายใต้
แผนลำดับความสำคัญของการลงทุน (Investment Priorities Plan : IPP)
ประกอบด้วย สาขาการลงทุนด้านเกษตรกรรมหรือธุรกิจการเกษตรและประมง
เทคโนโลยีสารสนเทศ อู่ต่อเรือ หมู่บ้านจัดสรร เหล็กและโลหะ พลังงาน
สาธารณูปโภค วิจัยและพัฒนา การผลิตหรือการประกอบสินค้าที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม ยานยนต์ โรงพยาบาลและบริการทางการแพทย์ รวมถึง
โครงการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งนี้ ธุรกิจที่ลงทุนในกิจการ
ตาม IPP หรือธุรกิจที่ผลิตเพื่อการส่งออกอย่างน้อยร้อยละ 50 จะได้รับ
การยกเว้นภาษีเงินได้ การยกเว้นภาษีนำเข้า การยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือ
สิทธิการพำนักถาวร การจ้างแรงงานต่างชาติ และการผ่อนคลายพิธกี ารศุลกากร

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
12 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
บทสรุปผู้บริหาร : รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

สาธารณรั ฐ ฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ จั ด เก็ บ ภาษี เ งิ น ได้ น ิ ต ิ บ ุ ค คลทั ่ ว ไปในอั ต รา


ร้อยละ 30 กิจการที่ตั้งอยู่ ในเขตพื้นที่พิเศษที่ ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี
อาจเลือกชำระภาษีเงินได้ ในอัตราพิเศษได้ ไทยกับฟิลิปปินส์ได้ลงนามอนุสัญญา
เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เก็บ
จากภาษีเงินได้ ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฟิลิปปินส์จัดเก็บอัตราก้าวหน้า
ตัง้ แต่รอ้ ยละ 5 - 32 จัดเก็บภาษีมลู ค่าเพิม่ อัตราร้อยละ 12 ด้านการจ้างงานต่างชาติ
กฎหมายฟิลิปปินส์อนุญาตให้ผู้ประกอบการที่ดำเนินโครงการที่รับการส่งเสริม
การลงทุนสามารถจ้างลูกจ้างต่างชาติ ในตำแหน่งผู้อำนวยการ ช่างเทคนิค
และที่ปรึกษาได้ 5 ปี ด้านการถือครองที่ดิน ฟิลิปปินส์อนุญาตให้บริษัทที่มี
ชาวฟิลปิ ปินส์ถอื หุน้ มากกว่าร้อยละ 60 สามารถถือครองที่ดินได้ บริษัทหรือ
หุน้ ส่วนทีม่ ชี าวต่างชาติถอื หุน้ ไม่เกินร้อยละ 40 สามารถเช่าทีด่ นิ ได้ ในระยะเวลา
25 ปี และสามารถขยายเวลาได้อีก 25 ปี

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 13
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

โอกาสการลงทุน
ของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ปี 2555 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ


ภาคบริการในสัดส่วนร้อยละ 57 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ภาค
อุตสาหกรรมและภาคการเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 31 และร้อยละ 11 ตามลำดับ
การขยายตัวของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากการบริ โภค
ภายในประเทศที่มีสัดส่วนร้อยละ 74 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ปี 2556 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปี 2555
และคาดว่าช่วงปี 2557 - 2561 อัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5.5
โดยได้รับแรงกระตุ้นจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่น่าสนใจเข้าไปลงทุน เนื่องจาก
ตลาดภายในประเทศมีประชากรมากถึง 100 ล้านคน ทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลาง
การเชื่อมต่อระหว่างอาเซียนกับตะวันออกกลาง แรงงานสามารถสื่อสาร
ภาษาอังกฤษได้ดี อัตราค่าจ้างแรงงานไม่สูง มีทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุ
อุดมสมบูรณ์กำลังซื้อในประเทศโดยรวมสูง เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ไปทำงานต่างประเทศและส่งเงินรายได้กลับประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลฟิลปิ ปินส์
ยังได้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวก
ด้านการลงทุนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดอ่อนด้านบริการสาธารณูปโภค
พื้นฐานที่ ไม่เพียงพอและมีภัยพิบัติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
14 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
บทสรุปผู้บริหาร : รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ ให้ความนิยมสินค้าไทยค่อนข้างดี อุตสาหกรรม


และธุรกิจที่น่าสนใจลงทุนสำหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร
และเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบ อุตสาหกรรม
เครื ่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ า และอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ อุ ต สาหกรรมก่ อ สร้ า ง ธุ ร กิ จ บริ ก าร
ด้านการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การลงทุนควรตั้งโรงงานในเขต
นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนกรณีการผลิตเพื่อจำหน่าย
ในประเทศฟิลิปปินส์ นักลงทุนไทยควรมุ่งขยายตลาดระดับกลางถึงระดับล่าง
เนื ่ อ งจากประชากรส่ ว นใหญ่ ย ั ง มี ร ายได้ ต ่ อ หั ว ต่ ำ รวมทั ้ ง ควรศึ ก ษาและ
ทำความเข้าใจวัฒนธรรมและวิถชี วี ติ ชาวฟิลปิ ปินส์ทม่ี คี วามผูกพันธ์กบั วัฒนธรรม
ตะวันตกและนับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 15
ASEAN Investment Guidebook / Philippines
Chapter 1 : บทที่ 1
อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ความเป็นมา
อาเซี ย นหรื อ สมาคมประชาชาติ แ ห่ ง เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้
(The Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตาม
ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อปี 2510 โดยมีประเทศผู้ร่วม
ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ต่อมาได้รับประเทศสมาชิกเพิ่ม ได้แก่
บรูไนดารุสซาลาม (เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2527)
เวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2538)
เมียนมาร์ (เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2540)
สปป.ลาว (เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2540)
และกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี 2542)
ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ โดยวัตถุประสงค์เริ่มแรก
ของการจัดตั้งอาเซียนนั้นมุ่งไปที่การสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
เป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อป้องกันภัยคอมมิวนิสต์ ในระยะต่อมาจึงได้

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
16 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

หั น มาให้ ค วามสำคั ญ กั บ ความร่ ว มมื อ ในด้ า นเศรษฐกิ จ ระหว่ า งกั น มากขึ ้ น


เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน และยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน
ในภูมิภาค

อย่างไรก็ดี ความร่วมมือด้าน
เศรษฐกิจในระยะเริม่ ต้นไม่เป็นรูปธรรม
มากนัก จนกระทั่งการประกาศจัดตั้ง
เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free
Trade Area : AFTA) ในปี 2535
ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความ
ร่ ว มมื อ ทางเศรษฐกิ จ ของอาเซี ย นที ่
ชัดเจนและเป็นรูปธรรมสืบเนือ่ งมาจนถึง
ปัจจุบัน และส่งผลต่อเนื่องให้อาเซียน
สามารถดำเนินการขยายความร่วมมือ
ทางด้านเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ทั้ง
เชิ ง ลึ ก และเชิ ง กว้ า งเพิ ่ ม เติ ม หลาย
ข้อตกลงที่สำคัญ คือ กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการค้าบริการ (ASEAN
Framework Agreement on Services : AFAS) เมื่อปี 2538 และกรอบความ
ตกลงว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (Framework Agreement on ASEAN
Investment Area : AIA) เมื่อปี 2541 ตามลำดับ1 ซึ่งความก้าวหน้าของ
การดำเนินงานตามความร่วมมือทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียนส่งผลให้
อาเซียนกลายเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลกด้วย
1 ปัจจุบันความตกลง AIA ถูกผนวกเข้ากับความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment
Guarantee Agreement : AIGA) และมีชื่อใหม่ว่า ความตกลงการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Comprehensive
Investment Agreement : ACIA)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 17
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ขนาดประชากรที่มีรวมกันกว่า 608.8 ล้านคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม


ประชาชาติรวมกันถึง 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
เขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นกรอบข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าสินค้า
ระดับภูมภิ าคทีม่ คี วามใกล้ชดิ กับไทยมากทีส่ ดุ เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับแรก
ของไทยและยังเป็นตลาดที่ผู้ส่งออกได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีจาก
ข้อตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) สูงที่สุดอีกด้วย
(สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, 2555) โดยการค้าระหว่างไทยกับอาเซียน
ปี 2556 มีมลู ค่า 101,055.47 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 21.09 ของมูลค่า
การค้ารวมของไทย จำแนกเป็นการส่งออกมูลค่า 59,317.72 ล้านเหรียญสหรัฐ
(คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.96 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) และนำเข้า
41,737.75 ล้านเหรียญสหรัฐ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.65 ของมูลค่า
การนำเข้ า ทั ้ ง หมด) โดยไทยเป็ น ฝ่ า ยเกิ น ดุ ล การค้ า กั บ อาเซี ย นประมาณ
17,579.97 ล้านเหรียญสหรัฐ

ก้าวสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อาเซียนให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ปี 2546 ณ เกาะบาหลี
ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์เห็นชอบให้มีการรวมตัว
ไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community
: AEC) ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) เพื่อเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว
ร่วมกัน (Single Market and Single Production Base) ให้มีการเคลื่อนย้าย
สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี
ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบู เพื่อเร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้ง

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
18 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี ให้ดำเนินการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซี ย นให้ เ สร็ จ สิ ้ น ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) เนื ่ อ งจากตระหนั ก ถึ ง
ความสำคั ญ ของการรวมตั ว ทางเศรษฐกิ จ เพื ่ อ เสริ ม สร้ า งความแข็ ง แกร่ ง
ให้สามารถรับมือกับเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นหนึ่งในสามเสาหลัก2 เพื่อให้อาเซียน
บรรลุสู่การเป็น “ประชาคมอาเซียน” อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2558 ประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขยายปริมาณการค้า
และการลงทุนภายในภูมภิ าค สร้างอำนาจการต่อรองและเพิม่ ศักยภาพการแข่งขัน
ของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพิ่มสวัสดิการและยกระดับความเป็นอยู่ของ
ประชาชนของประเทศสมาชิ ก อาเซี ย น ลดช่ อ งว่ า งของระดั บ การพั ฒ นา
ของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับ
ประชาคมโลกได้ อ ย่ า งเหมาะสมภายในหลั ก การของการจั ด ตั ้ ง ประชาคม
เศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย การประหยัดจากขนาด การแบ่งงานกันทำ และ
การพัฒนาความชำนาญในการผลิตของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อไป
(กรมอาเซียน, 2552)

2 ประชาคมอาเซียนตามแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2 (Bali Concord II) ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคม


การเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN
Economic Community) และ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 19
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

อาเซียนได้จดั ทำพิมพ์เขียวเพือ่ จัดตัง้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC


Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยแผนงาน
เศรษฐกิจในด้านต่างๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการ
ต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่
ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้าเพือ่ สร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิก
อาเซียน โดยอาเซียนได้กำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียนที่สำคัญ 4 ประการ ซึ่งอ้างอิงมาจากเป้าหมายการรวมกลุ่มทาง
เศรษฐกิจของอาเซียนตามแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2 (Bali Concord II)
ประกอบด้วย
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2. การพัฒนาไปสู่ภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
(กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, 2550)

อย่างไรก็ตาม ในการประชุม
ผู้นำอาเซียนครั้งที่ 21 ที่จัดขึ้นระหว่าง
วันที่ 18 - 20 พฤศจิกายน 2556
ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผู้นำ
อาเซียนได้มีมติเลื่อนการเข้าสู่ AEC
จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นวันที่
31 ธันวาคม 2558 เนื่องจากประเทศสมาชิกต้องการเวลาเพื่อการปรับตัว
แตกต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างด้านพื้นฐานเศรษฐกิจและระดับการพัฒนา

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
20 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียวกัน
Single Market & Production Base
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ
การจัดตัง้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพือ่ ให้อาเซียนมีความสามารถในการแข่งขัน
สูงขึน้ โดยอาเซียนได้กำหนดกลไกและมาตรการใหม่ๆ เพือ่ ช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพ
การดำเนินมาตรการด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว และเร่งรัดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ
ในสาขาที่มีความสำคัญลำดับแรก อำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคคล
แรงงานฝีมือและผู้เชี่ยวชาญ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกเชิงสถาบัน
ในอาเซี ย น ทั ้ ง นี ้ การเป็ น ตลาดและฐานการผลิ ต เดี ย วกั น ของอาเซี ย นมี
5 องค์ประกอบหลัก คือ
• การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
• การเคลื่อนย้ายบริการเสรี
• การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี
• การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรียิ่งขึ้น
• การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี
ประเทศสมาชิกได้ร่วมมือกันดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความ
สามารถแข่งขันของอาเซียน โดยมาตรการทีส่ ำคัญ ได้แก่ การยกเลิกภาษีศลุ กากร
การยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิ ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs)
กำหนดมาตรฐานอาเซียน การปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of
Origin : ROO) การอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation)
การปรับประสานพิธกี ารศุลกากรเพือ่ ลดต้นทุนทางธุรกรรม การจัดตัง้ ASEAN
Single Window การปรับประสานมาตรฐานและลดอุปสรรคทางเทคนิค
ด้านการค้า และการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม
และบริการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเปิดให้ เป็นต้น

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 21
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ทั้งนี้ อาเซียนได้กำหนด 12 สาขาอุตสาหกรรมสำคัญลำดับแรก


ที่อยู่ภายใต้ตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน ได้แก่
∝ เกษตร ∝ ยานยนต์
∝ ประมง ∝ การขนส่งทางอากาศ
∝ ผลิตภัณฑ์ยาง ∝ สุขภาพ
∝ ผลิตภัณฑ์ ไม้ ∝ พาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN)
∝ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ∝ การท่องเที่ยว
∝ อิเล็กทรอนิกส์ ∝ การขนส่งและโลจิสติกส์

รวมทั้งความร่วมมือในสาขาอาหาร เกษตรและป่าไม้ ยุทธศาสตร์


การเป็นตลาดสินค้าและบริการเดียวจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเครือข่าย
การผลิตในภูมิภาค และเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลาง
การผลิ ต ของโลกและเป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของห่ ว งโซ่ อ ุ ป ทานโลกอย่ า งเข้ ม แข็ ง
เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนต่อไป

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
22 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การพัฒนาไปสู่ภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
Highly Competitive Economies Region
เป้ า หมายสำคั ญ ของการรวมกลุ ่ ม ทางเศรษฐกิ จ ของอาเซี ย น คื อ
การสร้างภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง มีความเจริญรุ่งเรือง และ
มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายส่งเสริมการ
รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 6 ประการ ได้แก่
∝ นโยบายการแข่งขัน
∝ การคุ้มครองผู้บริโภค
∝ สทิ ธิในทรัพย์สนิ ทางปัญญา (Intellectual Property Rights : IPR)
∝ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
∝ มาตรการด้านภาษี
∝ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อผูกพันที่จะนำกฎหมายและนโยบาย
การแข่งขันมาบังคับใช้ภายในประเทศ เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน
และสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันของภาคธุรกิจที่เป็นธรรมนำไปสู่การเสริมสร้าง
การขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคในระยะยาว

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 23
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
Equitable Economic Development
การพัฒนาเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันมี
2 องค์ประกอบ คือ
∝ การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(Small and Medium Enterprises : SMEs)
∝ ความริเริ่มการรวมกลุ่มของอาเซียน
(Initiatives for ASEAN Integration : IAI)
ความริเริ่มดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทั้งในระดับ
SMEs และเสริมสร้างการรวมกลุ่มของประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์
และเวียดนาม ให้สามารถดำเนินการตามพันธกรณีและเสริมสร้างความสามารถ
ในการแข่งขันของอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ
ได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจร่วมกัน

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
24 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
Integration Into Global Economy
การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกของอาเซียน
มีเป้าหมายเพื่อให้ภาคธุรกิจของอาเซียนสามารถแข่งขันได้ ในตลาดระหว่าง
ประเทศ เพื่อให้อาเซียนมีพลวัตเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้ตลาดภายในภูมิภาคอาเซียน
ยังคงรักษาแรงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ การพัฒนาไปสู่การเป็น
ภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกของอาเซียนเน้นการปรับประสาน
นโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค ได้แก่
∝ การให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนภายใต้เขตการลงทุนอาเซียน (IAI)
กับนักลงทุนภายนอกอาเซียน เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA)
และความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด
(Closer Economic Partnership : CEP)
∝ การมีส่วนร่วมในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานโลก การสร้างเครือข่าย
การผลิตและจำหน่าย

สำหรับองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ การปรับปรุงกลไกเชิงสถาบัน โดยการ


จัดตั้งกลไกการหารือระดับสูง ประกอบด้วย ผู้แทนระดับรัฐมนตรีทุกสาขา
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชนอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาระบบกลไกการ
ตรวจสอบติดตามผลการดำเนินงาน (Peer Review) และการจัดหาแหล่ง
ทรัพยากรสำหรับการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ในการดำเนินงานตามพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน (AEC Blueprint) นั้น สามารถกำหนดให้มีความยืดหยุ่นในแต่ละเรื่อง
ไว้ล่วงหน้าได้ (Pre-agreed flexibilities) อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความตกลงกันได้
แล้ว ประเทศสมาชิกจะต้องยึดถือและปฏิบัติตามพันธกรณีที่ ได้ตกลงกันอย่าง
เคร่งครัด

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 25
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ตารางสรุปรายละเอียด AEC Blueprint


การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน
• การเปิดเสรีทางการค้าสินค้า (AFTA)
• การเปิดเสรีการค้าบริการ (AFAS)
• การเปิดเสรีการลงทุน (AIA)
• การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างกัน
• การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ
• การรวมกลุ่มสาขาอุตสาหกรรมสำคัญให้เป็นห่วงโซ่อุปทาน
การพัฒนาไปสู่ภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
การส่งเสริมการสร้างความสามารถในการแข่งขันในด้านต่างๆ ได้แก่
• นโยบายการแข่งขัน
• การคุ้มครองผู้บริโภค
• ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights : IPR)
• กฎระเบียบภาษีอากร
• การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การเงินการขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
• การส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิก และการลดช่องว่าง
ของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ เช่น การพัฒนา SMEs
• แผนงานการริเริม่ การรวมตัวอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI)

การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
• การส่งเสริมการรวมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก โดยเน้นการปรับประสาน
นโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำ
เขตการค้าเสรี (FTA) และความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
อย่างใกล้ชิด (CEP)
• การสร้างเครือข่ายในด้านการผลิตและจำหน่าย เป็นต้น

ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ3
3 รวบรวมและสรุปจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, (2554), AEC Fact Book, [ออนไลน์], สืบค้นจาก
http://www.dtn.go.th/filesupload/aec/images/inside_aec_factbook.pdf [25 ตุลาคม 2556]
รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
26 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

โอกาสและผลกระทบที่จะได้รับ
จากการเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ผลกระทบเชิงบวก
∝ ผู้ประกอบการมี โอกาสได้ประโยชน์จาก
ตลาดที ่ ม ี ข นาดใหญ่ ข ึ ้ น สามารถขยาย
ช่ อ งทางและเพิ ่ ม โอกาสของสิ น ค้ า ไทย
ในการเข้ า ถึ ง ตลาดอาเซี ย นซึ ่ ง ประกอบ
ด้วย ประชากรกว่า 600 ล้านคน รวมถึง
การใช้อาเซียนเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยัง
ตลาด ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ใต้) และ ASEAN+6 (ASEAN+3
และออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ซึง่ จะทำให้ผปู้ ระกอบการได้รบั ประโยชน์
จากการประหยัดต่อขนาดในการผลิต (Economies of Scale) ซึ่งส่งผลให้
ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ และนำไปสู่การยกระดับ
ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
∝ ขยายโอกาสด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
เนื่องจากการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีและที่มิ ใช่ภาษี
(Non-tariff Measures : NTMs) ระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถ
ใช้ประโยชน์จาก AFTA ได้อย่างเต็มที่ และเพิ่มโอกาสในการสร้างเครือข่าย
ทางธุรกิจในอาเซียน อันนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคต่อไป
∝ เพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการในการใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทาน
(Supply Chain) ในอาเซียนเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยการนำเข้าวัตถุดิบและ
สินค้าขั้นกลางที่ ใช้ ในการผลิตที่มีราคาถูกลงจากหลายแหล่งมากขึ้น ซึ่งถือเป็น
การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการตามหลักการได้เปรียบ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 27
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

โดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) อันจะนำมาซึ่งสวัสดิการทาง


เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศสมาชิกที่สูงขึ้น
∝ ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการลดภาษีสินค้านำเข้าซึ่งทำให้ราคา
สินค้านำเข้ า ถู ก ลง และช่วยผลักดันให้ราคาสินค้าที่ผลิตในประเทศลดลง
อันเป็นผลมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น
∝ ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าไปจัดตั้งกิจการให้บริการในประเทศ
สมาชิกอาเซียนสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการที่ ไทยมีศักยภาพ ได้แก่
การท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง และบริการด้านสุขภาพ
∝ เป็นปัจจัยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในภาค
บริ ก ารของไทย โดยเฉพาะสาขาที ่ ไทยไม่ ม ี ค วามชำนาญหรื อ ขาดแคลน
เช่น สาขาการขนส่งและโลจิสติกส์ สาขาบริการโทรคมนาคม เป็นต้น
∝ ผูบ้ ริโภคได้ประโยชน์จากการมีทางเลือกในการใช้บริการมากขึน้ จาก
การเปิดเสรีภาคบริการในสาขาที่มีการแข่งขันน้อย เช่น บริการโทรคมนาคม
∝ การผ่อนคลายกฎระเบียบอันเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนจะช่วยดึงดูด
นักลงทุนต่างชาติจากทั้งภายในและภายนอกอาเซียนให้เข้ามาลงทุนในไทย
เพื่อผลิตและส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนโดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ภายใต้ AFTA ส่งผลให้การค้า การบริการ และการลงทุนของไทยมี โอกาส
ขยายตัวมากขึ้น
∝ เอือ้ ประโยชน์ ให้นกั ลงทุนไทยย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศสมาชิก
อาเซียนอื่นที่มีแรงงาน ทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิตที่สมบูรณ์กว่า เนื่องจาก
มี ห ลั ก ประกั น การลงทุ น ที ่ ม ั ่ น คงขึ ้ น จากความตกลงด้ า นการลงทุ น อาเซี ย น
ซึ่งจะทำให้นักลงทุนไทยสามารถลดต้นทุนการผลิตและรักษาความได้เปรียบ
ด้านการแข่งขัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ ใช้แรงงานและแรงงานกึ่งฝีมือเข้มข้น

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
28 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผลกระทบเชิงลบ
∝ จำนวนคู่แข่งและสภาพ
การแข่งขันในตลาดเพิม่ สูงขึน้ เนือ่ งจาก
ประเทศอาเซียนทีม่ ีโครงสร้างการส่งออก
สินค้าคล้ายคลึงกันอาจเป็นคู่แข่งกับ
ไทย ผู้ประกอบการและอุตสาหกรรม
บางสาขาจึงได้รบั ผลกระทบอย่างไม่อาจ
หลีกเลีย่ งได้ ทำให้ตอ้ งปรับตัวรองรับการแข่งขันทีเ่ ข้มข้นขึน้
∝ หากไม่มีมาตรการป้องกันสินค้าที่ ไม่ ได้มาตรฐาน/สินค้าคุณภาพต่ำ
อาจเข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทยมากขึ้น ผู้บริโภคอาจได้รับอันตรายจาก
สินค้าที่ ไม่ ได้มาตรฐาน
∝ การเปิดเสรีบางสาขาบริการซึ่งเป็นสาขาที่มีความอ่อนไหวเนื่องจาก
เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพและความมั่นคงภายในประเทศ ทำให้ต้องระมัดระวัง
เป็นพิเศษ เช่น ภาคการเงิน ซึ่งไทยยังไม่เคยเปิดเสรีมาก่อน
∝ แรงงานมี ฝ ี ม ื อ ของไทยอาจมี ก ารเคลื ่ อ นย้ า ยไปประเทศที ่ ให้
ค่าตอบแทนสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไนฯ โดยเฉพาะสาขาการแพทย์
และวิศวกร ในอนาคตไทยอาจขาดแคลนแรงงานวิชาชีพที่มีส่วนสำคัญในการ
พัฒนาประเทศ
∝ การเปิดเสรีดา้ นการลงทุนบางสาขาทีเ่ ป็นสาขาอ่อนไหวอาจกระทบ
ต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ (เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ และ
การทำประมง เป็นต้น)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 29
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ อาจส่งผลให้เกิดการแย่งชิงเงินลงทุนระหว่างอาเซียนด้วยกันเอง
โดยประเทศที่มีความได้เปรียบกว่าทั้งด้านทรัพยากร ค่าจ้างแรงงาน มาตรการ
ส่งเสริมการลงทุน เช่น สิงคโปร์ (แหล่งรองรับการลงทุนอันดับ 1 ในอาเซียน)
เวียดนาม (แหล่งรองรับการลงทุนอันดับ 2 ในอาเซียน) อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
เป็นคู่แข่งไทยในการดึงดูดการลงทุนของต่างชาติ

นโยบายเชิงรุก/เชิงรับ
การปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็น
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ประกอบการต้องมีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์
ให้เป็นเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ โดยเร่งแสวงหาโอกาสเพื่อใช้สิทธิประโยชน์จาก
ความตกลง AFTA อย่างเต็มที่ และมีการปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน โดยมีแนวทางดังนี้ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, 2556
และสำนักวิชาการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, 2553)
นโยบายเชิงรุก
∝ ผูป้ ระกอบการต้องเรียนรูถ้ งึ โอกาสและความท้าทายทีก่ ำลังจะเกิดขึน้
ทั้งในด้านการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน
ในอาเซียน โดยควรศึกษาโอกาสการค้าการลงทุนโดยอาศัยสิทธิประโยชน์
ด้านภาษี ในการนำเข้าแหล่งวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและทรัพยากรราคาถูก
จากประเทศสมาชิกอาเซียน หรืออาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศ
เพือ่ นบ้าน เช่น กลุม่ ประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม)
ซึ่งมีวัตถุดิบอุดมสมบูรณ์ มีแรงงานจำนวนมาก และอัตราค่าจ้างยังอยู่ ในระดับ
ที่ ไม่สูง การใช้ประโยชน์จากกลุ่มประเทศ CLMV เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก
ไปนอกอาเซียนเพื่อใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากสถานะประเทศ
ด้อยพัฒนา (Least Developed Countries : LDCs) ที่ ได้รับจากประเทศ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
30 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

พัฒนาแล้ว เช่น สิทธิพเิ ศษทางภาษีศลุ กากรเป็นการทัว่ ไป (Generalized System


of Preferences : GSP) จากประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
เป็นต้น

∝ ผูป้ ระกอบการควรเพิม่ ขีดความสามารถในการแข่งขันโดยใช้ความคิด


สร้างสรรค์ (Creative Thinking) ในการพัฒนาและแปรรูปสินค้าและบริการ
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเน้นการสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
ในระดับสากลทั้งด้านคุณภาพ การใช้งานและการออกแบบ และสร้างความ
แตกต่างของสินค้าไทยเพื่อรักษาตำแหน่งทางการแข่งขันในตลาดอาเซียนและ
ตลาดโลก

∝ ผูป้ ระกอบการควรดำเนินกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกโดยการใช้ประโยชน์
จากการลดภาษีนำเข้า โดยขยายช่องทางการตลาดให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภค
ในต่างประเทศโดยตรงมากขึ้น และควรกำหนดกลยุทธ์เพื่อเจาะตลาดคู่ค้า
ของอาเซียนภายใต้ความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนลงนามกับประเทศคู่เจรจา
เพื ่ อ เพิ ่ ม โอกาสในการขยายตลาดระหว่ า งประเทศทั ้ ง ตลาดในภู ม ิ ภ าคและ
นอกภูมภิ าค รวมถึงการใช้อาเซียนเป็นฐานการผลิตเพือ่ ในการส่งออกไปยังตลาด
ASEAN+3 (จีน ญีป่ นุ่ และเกาหลี ใต้) และ ASEAN+6 (ASEAN+3 ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ และอินเดีย) เป็นต้น

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 31
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ ผูป้ ระกอบการควรให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าทีร่ กั ษาสิง่ แวดล้อม


และลดภาวะโลกร้อน รวมถึงการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social
Responsibility : CSR) เนื่องจากประเด็นเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เป็นเงื่อนไข
ในการนำเข้ า สิ น ค้ า ของประเทศสมาชิ ก มากขึ ้ น ในอนาคต หลั ง จากยกเลิ ก
มาตรการภาษีระหว่างกัน

∝ ผู้ประกอบการควรศึกษากฎระเบียบและเงื่อนไขด้านการนำเข้า
ของประเทศคู่ค้า และเร่งปรับปรุงโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับกฎ
แหล่งกำเนิดสินค้าและมาตรฐานอาเซียน (ASEAN Standard) ของสินค้า
บางประเภท เช่น เครื่องใช้ ไฟฟ้า เครื่องสำอาง ยา อาหาร โดยเฉพาะมาตรฐาน
ด้านเทคนิค มาตรฐานด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานด้านแรงงาน
ของประเทศที่เป็นตลาดส่งออก ทั้งนี้ ภาครัฐและภาคเอกชนควรผลักดัน
ความร่วมมือระหว่างกันในการสร้างเครือข่ายการผลิตที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่
อุตสาหกรรมต้นน้ำจนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำซึ่งเป็นภาคการส่งออก เพื่อให้
สินค้ามีตน้ ทุนการผลิตต่ำลง สอดคล้องกับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าจากประเทศไทย
มากขึน้ และสามารถผ่านเกณฑ์การตรวจสอบแบบย้อนกลับในตลาดต่างประเทศ
ได้ ควรมีการสร้างเครือข่าย/รวมกลุ่มธุรกิจระหว่างภาคเอกชนที่ผลิตสินค้า
ชนิดเดียวกัน เพื่อลดการแข่งขันกันเองและกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจที่สอดคล้องและ
สนับสนุนซึ่งกันและกัน

∝ ผู้ประกอบการควรศึกษาแนวทางการสร้างพันธมิตร หรือหุ้นส่วน
และสร้างเครือข่ายธุรกิจในประเทศอาเซียนอื่นๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากความ
ได้เปรียบในการแข่งขันของพันธมิตร หรือหุ้นส่วนทางธุรกิจในประเทศนั้นๆ
และลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจกฎหมาย กฎระเบียบ วัฒนธรรม
พฤติกรรมผู้บริ โภคและคู่แข่งในตลาดประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญ
อย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
32 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

∝ ก่อนการตัดสินใจลงทุน ผูป้ ระกอบการควรศึกษาพฤติกรรม รสนิยม


และความต้องการในตลาดอาเซียนอย่างรอบด้าน ควรเดินทางไปสำรวจและ
ศึกษาตลาดด้วยตนเอง เพื่อให้ ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนประกอบการตัดสินใจหรือ
วางแผนการดำเนินธุรกิจต่อไป

นโยบายเชิงรับ
∝ ผูป้ ระกอบการควรเตรียมพร้อมรองรับการเข้าสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน โดยการศึกษาและเรียนรู้คู่แข่งทั้งในประเทศและในอาเซียนอย่าง
รอบด้าน เพื่อให้ทราบถึงสถานะการแข่งขัน นโยบาย และเตรียมพร้อมรองรับ
การแข่งขันทีจ่ ะเพิม่ ขึน้ โดยเฉพาะสาขาธุรกิจทีม่ คี วามอ่อนไหวสูง เช่น สาขาบริการ
ทางการเงิน และการขนส่งโลจิสติกส์

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 33
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ ผู้ประกอบการควรปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และ


พัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจ ควรเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้าน
ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ควรพิจารณาปรับเปลี่ยน
เครื่องจักรและพัฒนาเทคโนโลยีที่ ใช้ ในการผลิตให้สูงขึ้นเพื่อยกระดับความ
สามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีดา้ นสารสนเทศทีจ่ ะช่วยอำนวยความ
สะดวกในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) และพัฒนา
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อย่างเป็นระบบ โดยเน้น
การเชื่อมโยงระบบงานและการบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้
ข้อมูลเชิงสถิติและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการ
เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ในกรณีเกิดปัญหากับสินค้าส่งออก

∝ ผูป้ ระกอบการต้องมีการพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของ
บุคลากรโดยเฉพาะแรงงานฝีมือและช่างเทคนิค เพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านสอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชนและระดับเทคโนโลยี
ที่เปลี่ยนไป เพื่อรองรับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น

∝ ผูป้ ระกอบการควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร
โดยเฉพาะความรู้และทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ และภาษาท้องถิ่นอาเซียน
เพื่อการติดต่อสื่อสาร รวมถึงทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถ
ติดต่อประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงตลาด
ท้องถิ่นอาเซียนต่างๆ ได้ โดยสะดวก

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
34 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 1 : อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Chapter 2 : บทที่ 2
ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN
Comprehensive Investment Agreement : ACIA)
เป็นความตกลงระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่ง
ประกอบด้วย
1. บรูไนดารุสซาลาม
2. กัมพูชา
3. ฟิลิปปินส์
4. อินโดนีเซีย
5. สปป.ลาว
6. มาเลเซีย
7. เมียนมาร์
8. สิงคโปร์
9. ไทย
10. เวียดนาม
โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามความตกลง ACIA เมื่อวันที่
26 กุมภาพันธ์ 2552 ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit)
ครั้งที่ 14 อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ประเทศไทย และมีผลใช้บงั คับเมือ่
วันที่ 29 มีนาคม 2555
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 35
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ความตกลง ACIA เป็นผลมาจากการรวมและทบทวนความตกลง


ด้านการลงทุนของอาเซียน 2 ฉบับ ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยเขตการลงทุน
อาเซียน (Framework on the ASEAN Investment Area : AIA) ปี 2541
และความตกลงอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ASEAN
Investment Guarantee Agreement : IGA) ปี 2530 รวมทั้งพิธีสารต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการรวมความตกลงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เป็นการตอบสนองต่อ
สภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงในการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นของโลก รวมทั้ง
ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นฐานการผลิตและการลงทุน

วัตถุประสงค์หลักของความตกลง ACIA คือ ต้องการสร้างให้ภูมิภาค


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีกฎระเบียบด้านการลงทุน (Investment
Regime) ที่เปิดกว้างและเสรี (Open & Free) และในขณะเดียวกันเพื่อส่งเสริม
ให้เกิดการบูรณาการ (Integration) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในด้าน
การลงทุน ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญประการหนึ่งในการรวมกลุ่มเข้าสู่ประชาคม
เศรษฐกิจของอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558
ต่อไป

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
36 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

สาระสำคัญของ ACIA
ความตกลง ACIA มีขอบเขตครอบคลุมมิตกิ ารลงทุนทัง้ 4 ด้าน ได้แก่
1. การเปิดเสรี (Liberalization)
2. การคุ้มครอง (Protection)
3. การส่งเสริม (Promotion)
4. การอำนวยความสะดวก (Facilitation)

โดยครอบคลุ ม ทั ้ ง การลงทุ น ทางตรง


(Foreign Direct Investment : FDI) และการลงทุนในหลักทรัพย์
(Portfolio Investment) เพือ่ รองรับการขยายตัวของกระแสการลงทุนในหลักทรัพย์
ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ผู้ที่ ได้รับประโยชน์จากความตกลง ACIA นั้น รวมถึงนักลงทุน
ของอาเซียนด้วยกันเอง (ASEAN Investors) และนักลงทุนต่างชาติที่มีกิจการ
ในอาเซียน (Foreign - Owned ASEAN based Investors)
ในส่วนของการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ความตกลง ACIA ครอบคลุม
ธุรกิจ 5 สาขา ได้แก่ เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และการผลิต รวมถึง
บริการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับ 5 สาขาทีก่ ล่าวมา (และอาจรวมสาขาอืน่ ๆ ทีป่ ระเทศสมาชิก
อาเซียนตกลงกันในอนาคต) เพื่อรองรับการรับช่วงการผลิต (Sub-contract)
สำหรับการให้ความคุ้มครองการลงทุน รวมถึงการลงทุนในธุรกิจบริการภายใต้
กรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement
on Services : AFAS) ด้วย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 37
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

การเปิดเสรีการลงทุน
Liberalization
เป็นการปฏิบตั แิ ละให้สทิ ธินกั ลงทุนอาเซียนเท่ากับนักลงทุนไทย รวมไปถึง
การผ่ อ นปรนหรื อ ยกเลิกข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน
โดยในส่วนของการเปิดเสรี ประเทศสมาชิกสามารถเลือกที่จะเปิดเสรี ในสาขา
ต่างๆ ได้ตามความสมัครใจ โดยความตกลง ACIA มีแนวทางการเปิดเสรีแบบ
Negative List ซึ่งแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องจัดทำรายการข้อสงวน
ที่ระบุมาตรการหรือกฎหมายภายในที่ ไม่เป็นไปตามพันธกรณีภายใต้ความตกลง
ACIA ซึ ่ ง หากไม่ ไ ด้ ร ะบุ ใ นรายการข้ อ สงวนจะถื อ ว่ า เป็ น การเปิ ด เสรี ต าม
พันธกรณีภายใต้ความตกลง ACIA

ความคุ้มครองการลงทุน
Protection
ประกอบด้วย พันธกรณีวา่ ด้วย
การให้การปฏิบัติของรัฐต่อการลงทุน
เช่น การชดเชยค่าเสียหาย การยึด
ทรัพย์ การเวนคืน หรือเกิดเหตุการณ์
ไม่สงบ การเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรี
รวมถึงการที่รัฐอนุญาตให้นักลงทุน
สามารถฟ้องร้องรัฐได้ เมื่อรัฐกระทำ
การใดๆ ขัดกับพันธกรณีที่กำหนดไว้
และก่อให้เกิดความเสียหายต่อการลงทุน
โดยนักลงทุนสามารถนำข้อพิพาทนั้น
เข้ า สู ่ ก ระบวนการระงั บ ข้ อ พิ พ าท
ในระดับสากลได้
รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
38 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

การส่งเสริมการลงทุน
Promotion
เพื่อสร้างความตระหนักรู้ของอาเซียนในฐานะที่เป็นศูนย์รวมการลงทุน
เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในอาเซียนและระหว่างอาเซียน
ด้วยกันเอง โดยสนับสนุนการพัฒนาของผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหญ่
ของอาเซียน ขยายเครือข่ายการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมระหว่างผู้ประกอบการ
อาเซียน จัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนที่มุ่งเน้นการพัฒนาเครือข่ายการผลิต
ระดับภูมิภาค จัดกิจกรรมสัมมนาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโอกาสในการลงทุน
และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน
Facilitation
เพื่อสร้างความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกของการลงทุนไปสู่
อาเซียนและภายในอาเซียนเอง โดยปรับปรุงกระบวนการยื่นขอลงทุนและ
การขออนุญาตให้งา่ ยขึน้ เผยแพร่ขอ้ มูลทีเ่ กีย่ วกับกฎหมาย กฎระเบียบ ตลอดจน
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน จัดตั้งศูนย์ One-stop พัฒนาฐานข้อมูล
ด้านการลงทุน จัดประชุมกับภาคเอกชน รวมทั้งให้คำแนะนำด้านการลงทุน
แก่นักลงทุนของประเทศสมาชิก

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 39
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

การเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ ACIA ครอบคลุม สิ่งที่ความตกลง ACIA ไม่ครอบคลุม


1. ประเภทของการลงทุน 1. มาตรการทางภาษี ยกเว้นมาตรการภาษี
- การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับข้อบทการโอนเงินและ
(FDI) การเวนคืน
- การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือ 2. การอุดหนุนโดยรัฐ (Subsidies)
การถือหุ้นน้อยกว่า 10% (Portfolio) 3. การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ
4. การบริการโดยรัฐ
2. สาขาการลงทุน 5. การเปิดเสรีกิจการบริการเนื่องจาก
- อุตสาหกรรมการผลิต มาตรการทางภาษี การอุดหนุนโดยรัฐ
- เกษตร การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐและการบริการ
- ประมง โดยรัฐ เป็นประเด็นที่ควรให้แต่ละ
- ป่าไม้ ประเทศสามารถกำหนดนโยบาย
- เหมืองแร่ ได้ โดยเสรี ไม่ผูกพันภายใต้ความตกลง
และบริการที่เกี่ยวข้องกับทั้ง 5 ภาค และอาเซียนมีความตกลงการค้าบริการ
ดังกล่าว เพื่อรองรับแนวโน้มการ ของอาเซียนอยู่แล้ว (AFAS)
ขยายตัวของกิจการรับช่วงต่อ
(Sub-contract)

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
40 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

หลักการของความตกลง ACIA
ความตกลง ACIA ถูกจัดทำขึ้นโดยยึดหลักการสำคัญ (Guiding
Principles) ที่ ได้รับความเห็นชอบจากคณะมนตรีความตกลงเขตการลงทุน
อาเซียน (AIA Council) และจากรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
Ministers : AEM) โดยหลักการสำคัญมีดังนี้

∝ ความตกลง ACIA จะต้ อ งเป็ น ความตกลงด้ า นการลงทุ น ที ่


“มองไปข้างหน้า” โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการพัฒนาของความตกลง AIA
และความตกลง IGA ตัวอย่างพันธกรณีที่มีความก้าวหน้า (ไม่มี ใน AIA และ
IGA) อาทิ ข้อห้ามการตั้งเงื่อนไขการลงทุน (Prohibition of Performance
Requirement : PPR) และข้อผูกพันที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้จัดการอาวุโสและ
ผู้บริหาร (Senior Management and Board of Directors : SMBD)
∝ ความตกลง ACIA ยืนยัน (Reaffirm) ข้อผูกพันทีม่ อี ยู่ ใน AIA และ
IGA อาทิ การประติบตั เิ ยีย่ งคนชาติ (National Treatment) และการประติบตั ิ
เยีย่ งชาติท่ี ได้รบั การอนุเคราะห์ยง่ิ (Most-Favoured Nation (MFN) Treatment)
และมีการพัฒนาในหลายข้อผูกพัน อาทิ การระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุน
กับรัฐ (Investor-State Dispute Settlement : ISDS) การโอนโดยเสรี
(Transfers) และมาตรฐานการปฏิบตั ติ อ่ การลงทุน (Treatment of Investment)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 41
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องไม่ ใช้ความตกลง ACIA เป็นช่องทาง


ในการลดหรือเลิกข้อผูกพันภายใต้ AIA และ IGA ยกเว้นแต่ ในกรณีที่มี
การชดเชยความเสียหายให้กับการลดหรือเลิกข้อผูกพันภายใต้ AIA และ IGA
เท่านั้น ทั้งนี้ ACIA มีข้อบทที่ ใช้กำกับกรณีเป็นการเฉพาะ
∝ ความตกลง ACIA จะต้องมีความสมดุลระหว่างการเปิดเสรี
การส่งเสริม การอำนวยความสะดวก และการคุม้ ครอง และการลงทุนระหว่าง
ประเทศสมาชิกอาเซียน

∝ การเปิดเสรีด้านการลงทุนภายใต้ความตกลง ACIA จะต้องเป็นไป


อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมสำหรับการลงทุนที่เปิดกว้าง
และเสรี และพร้อมต่อการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

∝ ความตกลง ACIA ต้องเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนและบริษัทของ


อาเซียนเอง และนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในอาเซียน (หรือใช้อาเซียนเป็น
ฐานการลงทุน)

∝ การพิจารณาให้มี “การปฏิบตั ทิ พ
่ี เิ ศษและแตกต่าง” กับประเทศ
กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ภายใต้ความตกลง ACIA อาทิ
การช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical Assistance) การเสริมสร้างศักยภาพ
(Capacity Building) การอำนวยความสะดวก (Facilitation) ตลอดจน
ระยะเวลาการปฏิบัติตามพันธกรณีที่นานกว่าประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
42 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

∝ ความตกลง ACIA จะต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อน/ข้อห่วง


กังวลของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ

∝ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องได้รบั ประโยชน์จากหลักต่างตอบแทน
สำหรับการเปิดเสรีการลงทุนเช่นเดียวกับใน AIA

∝ ความตกลง ACIA จะต้องคงหลักการที่ว่าประเทศสมาชิกอาเซียน


ต้องให้ผลประโยชน์ระหว่างกันมากกว่าที่แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนให้กับ
ประเทศที่สาม (อาทิ ในความตกลงการค้าเสรีอื่นๆ) ซึ่งจะบรรลุได้ โดยการให้
การประติบัติเยี่ยงชาติที่ ได้รับอนุเคราะห์ยิ่งโดยอัตโนมัติ (Automatic MFN
Treatment) นอกจากนี้ ความตกลง ACIA ยังมีข้อบทที่ส่งเสริมให้เกิดการ
บูรณาการในภูมิภาคอีกด้วย

∝ ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถเจรจาและขยายข้อผูกพันภายใต้
ความตกลง ACIA ให้ครอบคลุมในสาขาต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 43
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

รายการข้อสงวนภายใต้ความตกลง ACIA
ความตกลง ACIA ใช้แนวทางการเจรจาแบบ Negative List Approach
กล่าวคือ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องจัดทำรายการข้อสงวน (Reservation
List) ของแต่ละประเทศ ซึ่งจะถือเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง ACIA โดยต้อง
ระบุสาขาการลงทุนใดที่ตนไม่ต้องการเปิดเสรีและระบุมาตรการหรือกฎหมาย
ภายในของสาขานั้นๆ ที่ ไม่เป็นไปตามพันธกรณีภายใต้ความตกลง ACIA สาขา
ที่ ไม่ ได้ทำการระบุไว้ ในรายการข้อสงวนจะถือว่าต้องเปิดเสรีและเป็นไปตาม
พันธกรณีภายใต้ความตกลง ACIA ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้อง
ไม่กำหนดรายการเข้มงวดกว่ารายการข้อสงวนเดิมที่ผูกพันไว้ภายใต้ความตกลง
AIA อีกทั้งให้มีการสงวนเฉพาะมาตรการที่เลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติกับ
ต่างชาติ (National Treatment : NT) และมาตรการที่กำหนดเงื่อนไขการดำรง
ตำแหน่งผู้บริหารอาวุโสและคณะกรรมการ (Senior Management and Board
of Directors : SMBD) เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความตกลง ACIA ระบุให้
ประเทศสมาชิกสามารถปรับปรุงข้อสงวนได้ภายใน 12 เดือน นับจากความตกลง
มีผลใช้บังคับแล้ว เพื่อเป็นการสร้างความยืดหยุ่นให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
44 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

ตารางตัวอย่างการเขียนข้อสงวนภายใต้ความตกลง ACIA
Sector [ชื่อของสาขาหลัก] : ทุกสาขา
Sub-Sector [ชื่อของสาขาย่อย] : -
Industry Classification
[ประเภทของอุตสาหกรรม] : -
Level of Government
[ระดับของรัฐบาลทีร่ บั ผิดชอบหรือทีเ่ กีย่ วข้อง] : ระดับรัฐบาลกลางและภูมิภาค
Type of Obligation
[พันธกรณีที่ถูกสงวน] : National Treatment
Description of Measure สงวน National Treatment กับมาตรการที่มี
[ลักษณะของมาตรการที่สงวน] ผลต่อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวข้องกับ
ที่ดิน ซึ่งรวมถึงการครอบครองที่ดิน การเป็น
เจ้าของ การเช่าซื้อ การพัฒนา การใช้ประโยชน์
การอนุรักษ์และการป้องกัน

Source of Measure - 1987 Constitution of the Republic of the


[ที่มาของมาตรการที่สงวน] Philippines
- Civil Code of the Philippines (Republic Act
(R.A.) No. 386)
- Public Land Act (Commonwealth Act (C.A.)
No. 141)
- Indigenous Peoples Rights Act of 1997
(R.A. No. 8371)
- Foreign Investments Act of 1991 (R.A. No.
7042, as amended by R.A. No. 8179)
- Agriculture and Fisheries Modernization
Act of 1997 (R.A. No. 8435)
- Special Purpose Vehicle Act of 2002
(R.A. No. 9182)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 45
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

Source of Measure - Investors’ Lease Act (R.A. No. 7652)


[ที่มาของมาตรการที่สงวน] - Comprehensive Agrarian Reform Law
of 1988 (R.A. No. 6657, as amended by
R.A. No. 9700)
- Philippine Mining Act of 1995 (R.A.
No. 7942)
- Philippine Fisheries Code of 1998 (R.A.
No. 8550)
- Water Code of the Philippines
(Presidential Decree (P.D.) No. 1067)
- Condominium Act (R.A. No. 4726)
- Local Government Code of 1991
(R.A. No. 160)
- Organic Act for the Autonomous Region
in Muslim Mindanao (R.A. No. 6734)
- Creating the Cordillera Administrative
Region (Executive Order (E.O.) No. 220)
- Presidential and Administrative Issuances

ข้อดีของความตกลง ACIA
∝ ความตกลง ACIA เป็นความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียนที่มี
ขอบเขตครอบคลุมกว้างขวาง มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุนให้มี
ความเสรี การอำนวยความสะดวก โปร่งใส และมีการแข่งขันกันมากขึน้ ตามแนวทาง
ปฏิบตั ทิ ด่ี ขี องสากล เป็นการสร้างความมัน่ ใจให้กบั นักลงทุนต่างชาติในการเข้ามา
ลงทุนในอาเซียน และส่งเสริมการพัฒนาการลงทุนระหว่างกันในอาเซียนด้วย
การลงทุนที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีการจ้างงานมากขึ้น แรงงานมีการพัฒนามาตรฐาน
ด้านคุณภาพมากขึ้น มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการพัฒนาโครงข่าย
สาธารณูปโภค ซึ่งจะเสริมสร้างให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นฐานรองรับการลงทุน
ที่ครบวงจรมากขึ้น

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
46 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

∝ ความตกลง ACIA เป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถเข้าไป


ลงทุ น ในอาเซี ย นได้ โ ดยปราศจากอุ ป สรรคและข้ อ กี ด กั น ทางการลงทุ น
โดยเฉพาะการลงทุนใน 5 สาขา ได้แก่ เกษตร เหมืองแร่ ป่าไม้ ประมง
และการผลิต ทำให้สามารถเข้าไปแสวงหาวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ
ที่อุดมสมบูรณ์ ในอาเซียนได้อย่างเต็มที่ เช่น เหมืองแร่และประมงในอินโดนีเซีย
การเกษตรในกัมพูชา การเกษตรและเหมืองแร่ ในเมียนมาร์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็น
ช่องทางในการขยาย/ย้ายฐานการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตและรักษาระดับ
ความได้เปรียบด้านการแข่งขันอีกด้วย

∝ การปรับปรุงข้อบทในความตกลง AIA และ IGA ที่มีอยู่ ให้ดีขึ้น


เช่น ครอบคลุมการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือการถือหุ้น (Portfolio) การ
ระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนกับประเทศสมาชิกอาเซียนการโอนเงินลงทุน
อย่างเสรี การกำหนดขั้นตอน กระบวนการและเงื่อนไขในการปรับเปลี่ยนหรือ
แก้ ไขรายการข้อสงวนของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการปรับเปลี่ยนหรือ
แก้ ไขจะต้องมีการชดเชยให้กับประเทศสมาชิกที่ ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้
ประเด็นที่ ไทยผลักดัน คือ การที่รัฐสามารถดำเนินมาตรการเพื่อปกป้อง
เสถียรภาพทางการเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นการรับประกันความเสี่ยง
ทางการเงินและวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้ ในอนาคต เพื่อให้ความตกลง
ACIA มีความสมบูรณ์และชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นหลักประกันที่มั่นคง
ว่าการลงทุนจะได้รับความคุ้มครองและการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและพอเพียง
สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่ดีของสากล

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 47
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

การเปรียบเทียบ ACIA กับนโยบาย


ส่งเสริมการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีนโยบาย
ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำหนด
นโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย
มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment : BOI)
เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ทั้งนี้ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง ACIA กับ
การสนับสนุนภายใต้นโยบายส่งเสริมการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียน คือ
ACIA เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมาย
ระหว่างประเทศ ส่วนการสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนของแต่ละประเทศนั้น
เป็นการกระทำฝ่ายเดียวภายใต้กฎหมายภายในของแต่ละประเทศ

นโยบายส่งเสริมการลงทุนซึ่งเป็นการกระทำฝ่ายเดียวทำให้รัฐบาล
ของแต่ละประเทศมีอิสระในการตั้งเงื่อนไขต่างๆ ในการรับสิทธิประโยชน์ของ
นักลงทุนต่างชาติ อาทิ การลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำหนด เงินทุนขั้นต่ำที่ต้อง
นำเข้ามาลงทุน การว่าจ้างคนชาติ ในสัดส่วนที่รัฐบาลกำหนด รวมทั้งการ
ถ่ายทอดเทคโนโลยี เงื่อนไขเหล่านี้มักถูกกำหนดขึ้นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ตามยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลกำหนด และรัฐบาลยังมีอิสระที่จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข
เหล่านี้ภายหลังเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ ใหม่หรือเหมาะสมกับสถานการณ์
ที่เปลี่ยนแปลงไป ต่างจากพันธกรณีภายใต้ ACIA ที่เป็นความตกลงระหว่าง
ประเทศซึ่งการแก้ ไขเปลี่ยนแปลงจะกระทำได้ โดยการเจรจาระหว่างประเทศ
สมาชิกเท่านั้น ดังนั้น พันธกรณีภายใต้ ACIA จึงมีความแน่นอนมากกว่า
การสนับสนุนการลงทุนภายใต้นโยบายส่งเสริมการลงทุนของประเทศสมาชิก
อาเซียน

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
48 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

นอกจากนั้น กรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีภายใต้ ACIA นักลงทุนยัง


สามารถฟ้องร้องรัฐบาลของรัฐผูล้ ะเมิดภายใต้อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
ได้ แต่หากเกิดการละเมิดเงื่อนไขหรือสัญญาภายใต้นโยบายส่งเสริมการลงทุน
ของประเทศสมาชิก นักลงทุนต้องฟ้องร้องตามช่องทางที่กำหนดไว้ ในกฎหมาย
ของแต่ละประเทศเท่านั้น ซึ่งอาจเกิดความไม่เป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย
โดยศาลภายในประเทศกรณีนักลงทุนต่างชาติเป็นโจทย์และรัฐบาลของรัฐนั้น
เป็นจำเลย

อย่างไรก็ดี การสนับสนุนภายใต้นโยบายส่งเสริมการลงทุนของประเทศ
สมาชิกอาจให้ประโยชน์ต่อนักลงทุนต่างชาติมากกว่า ACIA อาทิ การให้สิทธิ
ประโยชน์ทางภาษีต่างๆ (Tax Incentives) ด้วยเหตุนี้นักลงทุนไทยควรใช้
ประโยชน์ทั้งจาก ACIA และการสนับสนุนภายใต้นโยบายส่งเสริมการลงทุน
ของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าไปลงทุนเพื่อประโยชน์สูงสุดของนักลงทุนเอง

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 49
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ผลกระทบด้านการลงทุนจากความตกลง ACIA
และโอกาสการลงทุนในประเทศสมาชิก
การเปิดเสรีด้านการลงทุนภายใต้ความตกลง ACIA จะส่งผลกระทบ
โดยตรงกับภาคเอกชน รวมทั้ง SMEs เนื่องจากทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น
ทั้งภายในประเทศและในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง โดยเฉพาะ
การแข่งขันเพื่อแย่งชิงการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อดึงดูดการลงทุน
จากนานาประเทศท่ า มกลางวิ ก ฤติ เ ศรษฐกิ จ โลกและภาวะการแข่ ง ขั น ที ่
ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องใช้ความพยายามอย่าง
มาก ในการดำเนินการเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการลงทุนที่เสรีและโปร่งใส
มากขึ้น เพื่อเอื้อประโยชน์และสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนจากต่างประเทศ
รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศอื่นได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่
การขยายตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป

การขยายการผลิตไปฟิลิปปินส์อาจเป็นทางเลือกหนึ่งของนักลงทุนไทย
เนื ่ อ งจากฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ม ี ข ้ อ ได้ เ ปรี ย บด้ า นทรั พ ยากรบุ ค คลที ่ ส ามารถสื ่ อ สาร
ภาษาอังกฤษได้ มีทักษะ สามารถเรียนรู้ ได้เร็ว และเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ
นอกจากนั้น ฟิลิปปินส์มีประชากรถึง 93 ล้านคน ซึ่งหมายถึงตลาดภายใน
ประเทศที่มีขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่ยังมิ ได้ ใช้ประโยชน์
เต็มที่ อาทิ ทองคำ ทองแดง โครเมียม นิกเกิล รวมถึงสัตว์น้ำ  และพืชผล
การเกษตรต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมที่ ไทยมีศักยภาพลงทุนในฟิลิปปินส์ ได้แก่
การแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง กิจการที่ ใช้วตั ถุดบิ จากทรัพยากรธรรมชาติ
ในประเทศ อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นส่วน สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การก่อสร้าง
ธุรกิจโรงพยาบาล เป็นต้น

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
50 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

รัฐบาลฟิลิปปินส์ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศภายใต้กฎหมาย
Foreign Investment Act 1991 ที่ ได้กำหนดสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อจูงใจนักลงทุน
ทั้งจากภายในและต่างประเทศ ต่อมาในปี 2539 มีการแก้ ไขกฎหมายการลงทุน
โดยผ่อนปรนเงือ่ นไขการลงทุนขัน้ ต่ำเพือ่ ชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศมากขึน้
ตาม Foreign Investment Act 1991 นักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของ
กิจการโดยไม่ตอ้ งมีคนท้องถิน่ ร่วมทุน ยกเว้นธุรกิจทีอ่ ยู่ ในรายการธุรกิจต้องห้าม
(The Foreign Investment Negative List) เช่น ธุรกิจบริการ  ร้านอาหาร
เป็นต้น โดยสัดส่วนการถือหุ้นที่อนุญาตให้คนต่างชาติถือครองแตกต่างกัน
ตามประเภทของธุรกิจ

บรรยากาศการลงทุนโลก

ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยและปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2554
โดยเศรษฐกิจโลกขยายตัวเพียงร้อยละ 3.9 ในปี 2554 และร้อยละ 3.1 ในปี
2555 ส่งผลให้ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกนั้นจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ
3.1 ในปี 2556 และร้อยละ 3.8 ในปี 2557 เท่านัน้ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี
2556 เศรษฐกิจของโลกนั้นมีอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 2.75 ต่ำกว่าระดับ
การคาดการณ์ เนื ่ อ งมาจากปั ญ หาความต้ อ งการบริ โ ภคภายในประเทศ
ของแต่ละประเทศที่ลดลง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยยืดเยื้อของกลุ่ม
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 51
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ปั จ จั ย เสี ่ ย งที ่ จ ะส่ ง ผลกระทบต่ อ การขยายตั ว ของเศรษฐกิ จ โลก


ประกอบด้วย 2 ปัจจัย
ปัจจัยแรก คือ ผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา
ที่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการไหลเวียนของกระแสเงินทุน (Capital Flow)
ได้อย่างยั่งยืน
ปัจจัยที่ 2 คือ ประสิทธิภาพของการจัดการกับปัญหาการขาดสภาพ
คล่องทางการเงิน และการลดการก่อหนี้ของธนาคารในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
เช่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ

เศรษฐกิจของกลุม่ ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2555 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.2


และคาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ในปี 2556 และร้อยละ 2.1 ในปี 2557
เท่านั้น ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศตลาดใหม่ โดยเฉพาะ
จีนและอินเดียนั้นจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า โดยมีอัตรา
ขยายตัวประมาณร้อยละ 7.8 ในปี 2554 และร้อยละ 6.5 ในปี 2555 และ
คาดการณ์ว่าอัตราขยายตัวนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.9 ในปี 2556 และ
ร้อยละ 7.0 ในปี 2557 ตามลำดับ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
52 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

รายงานการลงทุนโลกประจำปี 2556 (World Investment Report 2013)


ของ UNCTAD พบว่า การลงทุนทั่วโลกในปี 2555 มีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ
1.35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 18 เนื่องจากการฟื้นตัว
จากปัญหาเศรษฐกิจโลกใช้ระยะเวลายาวนานมากกว่าทีค่ าดการณ์ไว้ โดยเฉพาะ
การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งส่งผลต่อความ
เปราะบางของเศรษฐกิจโลก และเกิดความไม่แน่นอนเชิงนโยบายที่ส่งผลต่อ
ความเชื่อมั่นของนักลงทุน

ทั้งนี้ UNCTAD คาดการณ์ว่าแนวโน้มกระแสเงินลงทุนโดยตรงจาก


ต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI) ในปี 2556 นั้นจะมีมูลค่า
ทั้งสิ้นประมาณ 1.45 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากภาวะเศรษฐกิจ
ของโลกมีแนวโน้มทีด่ ขี น้ึ ยอดการลงทุนโลกก็อาจขยายตัวเพิม่ ขึน้ ได้เป็น 1.6 ล้าน
ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2557 และเพิม่ เป็น 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2558
ได้ตามลำดับ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 53
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

หากเทียบกับการลงทุนทั่วโลกในช่วงเวลาก่อนหน้า พบว่ากระแส
การลงทุนของโลกในปี 2555 นั้นถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญครั้งแรกที่กลุ่ม
ประเทศกำลังพัฒนามีกระแสเงินลงทุนไหลเข้ามากกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
โดยประเทศกำลังพัฒนาสามารถดึงดูดกระแสเงินลงทุนได้ถึงประมาณ 703
พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 52 ของมูลค่าการลงทุน
ของโลกทั้งหมด ซึ่งกระแสเงินลงทุนส่วนใหญ่นั้นไหลเข้าสู่กลุ่มประเทศในเอเชีย
และลาตินอเมริกามากที่สุด

สำหรับการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนในปี 2555 พบว่า สิงคโปร์กับ


อินโดนีเซียติด 20 อันดับแรกของประเทศที่มีกระแสเงินลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศมากที่สุด โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนโดยตรงจาก
ต่างประเทศมากที่สุด เป็นอันดับที่ 8 และอินโดนีเซียเป็นอันดับที่ 17

จากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารบริษัทข้ามชาติ พบว่า 6
ประเทศในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเปลี่ยนผ่าน
(Transition Economies) ติดอยู่ ใน 10 อันดับแรก ที่น่าเข้าไปลงทุนมากที่สุด
ในช่วงปี 2555 - 2557 ซึ่งได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย อินโดนีเซีย บราซิล
ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร เยอรมัน รัสเซีย และไทย

รายงานการลงทุนของอาเซียนประจำปี 2555 (ASEAN Investment


Report 2012) พบว่า การลงทุนจากต่างประเทศในอาเซียนในปี 2554
นั้นมีมูลค่าประมาณ 114,110.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสิงคโปร์เป็นประเทศ
ที่สามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้มากที่สุดเป็นอันดับแรกในอาเซียน
มาโดยตลอด ตัง้ แต่ปี 2549 - 2554 ในปี 2554 สิงคโปร์ มีมลู ค่าการลงทุน

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
54 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 2 : ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA)

จากต่างประเทศ 63,997.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.27) รองลงมา


คือ อินโดนีเซีย 19,241.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.73) มาเลเซีย
12,000.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 31.07) ไทย 7,778.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
(ลดลงร้อยละ 14.64) เวียดนาม 7,430 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงร้อยละ 7.13)
ฟิลิปปินส์ 1,262 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงร้อยละ 2.77) บรูไนฯ 1,208.3
ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.2) กัมพูชา 891.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
(เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 13.94) และ สปป.ลาว 300.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (ลดลงร้อยละ 9.59)
ตามลำดับ ขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมาร์ ในปี 2554 นั้น
ยังไม่มีข้อมูลของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากปีงบประมาณ
ของเมียนมาร์จะเริ่มต้นวันที่ 1 เมษายน และสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ทำให้
รายงานการลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมาร์ ในปี 2554 นั้นยังจัดทำ
ไม่แล้วเสร็จ โดยในปี 2553 การลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมาร์มีมูลค่า
ประมาณ 450.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเทศทีเ่ ข้ามาลงทุนในภูมภิ าคอาเซียนสูงทีส่ ดุ 3 อันดับแรกในปี 2554


นั้น ประกอบด้วย สหภาพยุโรป 18,240.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 15.98)
ญีป่ นุ่ 15,015.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ร้อยละ 13.16) และจีน 6,034.4 ล้านเหรียญสหรัฐ
(ร้อยละ 5.29) ตามลำดับ นอกจากแหล่งเงินทุนจากนอกภูมิภาคอาเซียน
ดังกล่าวแล้ว ในปัจจุบันการลงทุนระหว่างกันของสมาชิกอาเซียนเองก็ ได้มี
บทบาทความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน ซึ่งพบว่า ในปี 2554 การลงทุน
ระหว่างกันในอาเซียนนั้นมีมูลค่าสูงถึง 26,270.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
คิดเป็นร้อยละ 23.02 ของการลงทุนในอาเซียนทั้งหมด และทำให้อาเซียนเอง
เป็นแหล่งเงินทุนใหญ่อันดับที่ 1 ของอาเซียน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 55
ASEAN Investment Guidebook / Philippines
Chapter 3 : บทที่ 3
กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

กฎหมายการลงทุนของ
สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงทุนของชาวต่างชาติ ปี 2534
Foreign Investments Act of 1991
บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการเข้ามาของการลงทุนต่างชาติและการประกอบ
ธุรกิจในประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงข้อจำกัดและข้อห้ามการประกอบธุรกิจ
บางประเภทของนักลงทุนต่างชาติ (Foreign Investment Negative List)
ซึ่งกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้คนต่างชาติที่มิ ใช่คนฟิลิปปินส์อาจลงทุนในธุรกิจ
การค้าภายในประเทศหรือธุรกิจการส่งออกในฟิลิปปินส์ สามารถเป็นเจ้าของ
กิจการโดยถือหุ้น 100% ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

∝ ไม่เป็นการลงทุนที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดและข้อห้าม
∝ ประเทศของนักลงทุนต่างชาตินั้นต้องอนุญาตให้คนชาติฟิลิปปินส์
ประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันภายในประเทศนั้นได้

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
56 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

∝ หากเป็นการลงทุนในธุรกิจการค้าภายในประเทศต้องมีเงินทุนชำระ
แล้วเป็นสกุลเปโซฟิลิปปินส์อย่างน้อย 200,000 เหรียญสหรัฐ
ในขณะทีก่ ารลงทุนในธุรกิจการส่งออกไม่มเี งือ่ นไขขัน้ ต่ำ อย่างไรก็ตาม
เงื่อนไขเงินทุนขั้นต่ำนั้นอาจลดลงเป็นเงินสกุลเปโซฟิลิปปินส์เหลือ
100,000 เหรียญสหรัฐ หากเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
ชั้นสูงซึ่งกำหนดและรับรองโดยกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Department of Science and Technology) หรือมีการจ้างแรงงาน
อย่างน้อย 50 คนขึ้นไป ซึ่งรับรองโดยสำนักงานท้องถิ่นของ
กรมแรงงานและการจ้างแรงงาน (Department of Labor and
Employment)

นอกจากนี้ ความหมายของคำว่า “คนชาติฟิลิปปินส์” (Philippine


National) ในกรณีนิติบุคคล คือ นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ
ฟิลิปปินส์ซึ่งมีคนสัญชาติฟิลิปปินส์ถือหุ้นอย่างน้อย 60% ทั้งนี้ ต้องพิจารณา

(1) Omnibus Investments Code of 1987


กำหนดกฎระเบียบคุณสมบัติของการลงทุนภายในประเทศ
และต่างชาติที่จะได้รับผลประโยชน์ ในการลงทุน
(2) Bases Conversion and Development Act of 1992
กำหนดเรื่องสิทธิประโยชน์ของบรรดาบริษัทที่ตั้งอยู่ ในเขต
พิเศษต่างๆ
(3) Build Operate Transfer Law
เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาจัดการดูแลโครงการ
ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 57
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจ
Corporation Code
กำหนดเรื่องหลักเกณฑ์การจดทะเบียน การอนุญาต และการควบคุมบ
รรดาบริษัทห้างหุ้นส่วนที่จัดตั้งขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ สามารถจำแนกป
ระเภทของการจัดตั้งธุรกิจในประเทศฟิลิปปินส์ได้ ดังนี้
∝ ห้างซึ่งมีเจ้าของแต่เพียงรายเดียว (Sole Proprietorship)
เป็นกิจการที่มีบุคคลธรรมดาเพียงรายเดียวเป็นเจ้าของและดำเนินการ
ซึ่งรับผิดโดยไม่จำกัด ความเป็นบุคคลของห้างฯ มิได้แยกออกต่างหาก
จากเจ้าของกิจการ

∝ ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
เกิดขึ้นตามสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ตกลงเข้าผูกพันตน
ในทรัพย์สิน เงิน ธุรกิจต่างๆ ร่วมกัน และมีวัตถุประสงค์ ในการแบ่ง
กำไรร่วมกัน ห้างหุ้นส่วนมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจาก
หุ้นส่วนแต่ละราย หุ้นส่วนแต่ละรายรับผิดตามส่วน

∝ บริษัทร่วมทุน (Joint Venture)


เป็นบริษทั ทีร่ ว่ มทุนระหว่างคนต่างชาติกบั คนชาติฟลิ ปิ ปินส์ หากสัดส่วน
ของผู้ถือหุ้นต่างชาติมากกว่าร้อยละ 40 จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
เรื่องการชำระเงินทุนที่ ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

∝ บริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดโดยบริษัทต่างชาติ
(Wholly Owned Subsidiary)

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
58 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

∝ สาขา (Branch)

∝ สำนักงานผู้แทน (Representative Office)
สามารถจัดตั้งขึ้นเพื่อติดต่อกับลูกค้าของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ ในประเทศ
ฟิลิปปินส์ โดยตรง และรับผิดชอบเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและสนับสนุน
การขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งรวมถึงการควบคุมคุณภาพสินค้าด้วย
แต่สำนักงานผู้แทนไม่อาจมีรายได้หรือก่อให้เกิดรายได้ ได้ ในประเทศ
ฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ จะต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินทั้งหมด
จากสำนักงานใหญ่เท่านั้น และต้องมีการส่งเงินทุนเบื้องต้นเข้ามาลงทุน
ในการดำเนินงานของสำนักงานจำนวน 30,000 เหรียญสหรัฐ

∝ สำนักงานใหญ่สว่ นภูมภิ าค (Regional or Area Headquarters)
สามารถถูกจัดตั้งขึ้นให้ดำเนินงานในฐานะสาขาของบริษัทข้ามชาติ
และเป็นศูนย์กลางในการบริหารงาน ติดต่อสื่อสารและประสานงาน
แก่บรรดาบริษัทในเครือ สาขา หรือบริษัทลูกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
และตลาดต่างประเทศอื่นๆ สำนักงานใหญ่ส่วนภูมิภาคนี้ ไม่อาจมีหรือ
ก่อให้เกิดรายได้ ได้ ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยที่บริษัทแม่จะเป็นผู้ ให้
ความช่วยเหลือทางการเงิน และจะต้องมีการส่งเงินเข้ามาบริหารงาน
ในเบื้องต้นอย่างน้อย 50,000 เหรียญสหรัฐ และหลังจากนั้นจำนวน
50,000 เหรียญสหรัฐ ต่อปี ดังนัน้ สำนักงานใหญ่สว่ นภูมภิ าคจึงไม่ตอ้ ง
รั บ ผิ ด ชอบต่ อ ภาษี เ งิ น ได้ ภาษี ม ู ล ค่ า เพิ ่ ม และค่ า ธรรมเนี ย มใดๆ
ยกเว้นภาษีทรัพย์สิน (Real Property Tax) นอกจากนี้ ยังได้รับยกเว้น
ภาษีนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการฝึกอบรมและการประชุม

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 59
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ สำนักงานใหญ่ปฏิบัติการส่วนภูมิภาค
(Regional Operating Headquarters : ROHQ)
อาจถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่บริษัทในเครือ บริษัทลูก หรือสาขา
ที ่ อ ยู ่ ใ นประเทศฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ห รื อ ในภู ม ิ ภ าคเอเชี ย แปซิ ฟ ิ ก และตลาด
ต่างประเทศอื่นๆ ตามที่ ได้แจ้งจดทะเบียนไว้ สำนักงานใหญ่ปฏิบัติการ
ส่วนภูมิภาคได้รับอนุญาตให้มีรายได้ ได้ ในประเทศฟิลิปปินส์จากการให้
บริการ ดังต่อไปนี้
(ก) การวางแผนและจัดการทั่วไป
(ข) การประสานงานและการวางแผนทางธุรกิจ
(ค) การจัดหาวัตถุดิบ
(ง) ให้คำปรึกษาด้านการเงินของบริษัท
(จ) การสนับสนุนการขายและบริหารทางการตลาด
(ฉ) การบริหารจัดการบุคคลและฝึกอบรม
(ช) บริการโลจิสติกส์
(ซ) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
(ญ) การบำรุงรักษาและบริการทางเทคนิค
(ฌ) การติดต่อสื่อสารและประมวลผลข้อมูล
(ฎ) การพัฒนาธุรกิจ
สำนักงานใหญ่ปฏิบัติการส่วนภูมิภาคจะต้องได้รับเงินทุนส่งเข้ามา
ในประเทศเพื่อดำเนินงานในเบื้องต้นอย่างน้อย 200,000 เหรียญสหรัฐ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
60 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

พระราชบัญญัติชื่อทางธุรกิจ
Business Names Act No. 3883
กำหนดเรื่องการจดทะเบียนชื่อทางธุรกิจขององค์กรต่างๆ

ระดับการลงทุนขั้นต่ำ
Minimum Investment Level)
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่ถือหุ้นโดยต่างชาติทั้งหมด โดยมี
วัตถุประสงค์ของการผลิตหรือให้บริการภายในประเทศจะต้องมีเงินทุนชำระแล้ว
ขัน้ ต่ำ 200,000 เหรียญสหรัฐ แต่ถา้ หากเป็นธุรกิจทีเ่ กีย่ วกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
หรือมีการจ้างแรงงานขั้นต่ำ 50 คน สามารถมีเงินทุนชำระแล้วขั้นต่ำ 100,000
เหรียญสหรัฐ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 61
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

กฎหมายและนโยบายรายสาขา
การสื่อสารโทรคมนาคม
The Policy to Improve the Provision of Local Exchange
Carriers Service (EO No.109, s.1993)
เปิดโอกาสให้ผู้ค้าใหม่เข้ามาร่วมในการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ

เหมืองแร่
Philippine Mining Act of 1995 (R.A. No.7942)
อนุญาตการสำรวจ การพัฒนา และการใช้ทรัพยากรแร่ธาตุแก่บริษัท
ที่มีหุ้นส่วนเป็นต่างชาติ ไม่เกิน 40% อย่างไรก็ตาม ได้อนุญาตให้บริษัทที่มี
ผู้ถือหุ้นต่างชาติ 100% ได้รับใบอนุญาตการสำรวจ เข้าทำข้อตกลงให้ความ
ช่วยเหลือทางเทคนิคหรือทางการเงิน หรือดำเนินการทำเหมืองแร่

ยานยนต์
Motor Vehicle Development Program (EO No.156, s.2002)
อนุญาตให้บริษทั ต่างชาติมสี ทิ ธิผ์ ลิตหรือประกอบยานยนต์ เพือ่ วัตถุประสงค์
หลักในการจัดให้มี และ/หรือ ขยายสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิต เพื่อเพิ่ม
ปริมาณการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
62 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

พลังงานทดแทน
Act Promoting the Development, Utilization and
Commercialization of Renewable Energy Resources
(R.A. No. 9513)
เพื ่ อ ให้ ม ี ก ารพั ฒ นาและปรั บ ปรุ ง แหล่ ง พลั ง งานทดแทนที ่ ส ามารถ
นำกลับมาใช้ ใหม่ ได้ และการดำเนินการเพื่อเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนดังกล่าว
อย่างมีประสิทธิภาพ

ท่องเที่ยว
Tourism Act of 2009 (R.A. No. 9593)
เพื่อการพัฒนาประเทศให้กลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเอเชีย
ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชน
มากขึ้น

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 63
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ขั้นตอนการเข้ามาลงทุน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
∝ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Department of Science and
Technology) ดำเนินการควบคุมและรับรองธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ
เทคโนโลยี
∝ กรมแรงงานและการจ้างแรงงาน (Department of Labor and
Employment) ดำเนินการเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนลูกจ้าง
∝ Board of Investments (BOI)
∝ Department of Trade and Industry - National Capital Region
(DTI-NCR)
∝ Securities and Exchange Commission (SEC)
∝ Philippine Economic Zone Authority (PEZA)
∝ Subic Bay Metropolitan Authority (SBMA)
∝ Clark Development Corporation (CDC)
∝ Bases Conversion Development Authority (BCDA)
∝ Cagayan Economic Zone Authority (CEZA)

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
64 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

∝ Philippine Veterans Investment Development Corporation


(PHIVIDEC)
∝ Philippine Retirement Authority (PRA)
∝ Zamboanga Economic Zone
∝ Aurora Special Economic Zone (ASEZA)
∝ Export Development Council (EDC)
∝ Housing and Land Use Regulatory Board (HLURB)
∝ Department of Agrarian Reform (DAR)
∝ Department of Environment and Natural Resources
(DENR)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 65
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

เงื่อนไขและระยะเวลาของขั้นตอนการลงทุน

องค์กร ขั้นตอนปกติ ขั้นตอนเร่งรัด


Securities and Exchange Commission (SEC) 2 วันทำการ 1 วันทำการ
1 วันทำการ
Department of Trade and Industry (DTI)
(สำหรับห้างที่มีหุ้นส่วนเพียงรายเดียว)

1 วันทำการ
Board of Investment (BOI) 20 วันทำการ (สำหรับธุรกิจขนาดกลาง
และขนาดเล็ก)

Philippine Economic Zone Authority (PEZA) 1-14 วัน

บริการพิเศษสำหรับเร่งรัดการยื่นขอลงทุน
บริการพิเศษมีขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการขนาดเล็กมาก ขนาดเล็ก
และขนาดกลาง กล่าวคือ คณะกรรมการการลงทุนได้จัดให้มีคำขออย่างง่าย
ในการยื่นขอจดทะเบียน BOI เป็นแหล่งให้การสนับสนุนทางด้านการเงินและ
กำหนดบริษทั ที่ ให้ความช่วยเหลือในบางกรณี นอกจากนี้ ยังมีการให้ความช่วยเหลือ
เพิ่มเติมสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดเล็กมาก อาทิ การยกเว้นค่าธรรมเนียม
การยื่นคำขอและการจดทะเบียนสำหรับธุรกิจขนาดเล็กมาก การให้ส่วนลด
ร้อยละ 75 สำหรับค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอและการจดทะเบียนแก่ธุรกิจ
ขนาดเล็ก การยกเว้นข้อบังคับเรือ่ งของเงินทุนร้อยละ 25 ข้อบังคับ เรือ่ งการรายงาน
อย่างง่าย คำขอแบบง่ายสำหรับการขอสิทธิประโยชน์ ระยะเวลาการยืน่ คำขอเพียง
1 วัน การลดค่าธรรมเนียมต่างๆ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
66 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

กระบวนการยื่นขอลงทุน
รูปแบบขององค์กร

องค์กรที่จัดตั้งขึ้นตาม องค์กรที่จัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายฟิลิปปินส์ กฎหมายต่างชาติ

สำนักงาน สำนักงาน สำนักงานใหญ่


ห้างที่มี บริษัท และ สาขา ผู้แทน ส่วนภูมิภาค
หุ้นส่วนเพียง ห้างหุ้นส่วน (RHQ) และ
รายเดียว
สำนักงานใหญ่
ปฏิบัติการส่วน
ภูมิภาค
(ROHQ)

- เงินทุนโอนมาจาก - นำเงินเข้ามาอย่างน้อย
30,000 เหรียญสหรัฐ
สำนักงานใหญ่ไม่น้อยกว่า เป็นค่าใช้จ่าย
จดทะเบียน 200,000 เหรียญสหรัฐ ในการปฏิบัติการ
ชื่อทางธุรกิจ ทั้งนี้ สามารถลดเหลือ - เป็นการสร้างเครือข่ายให้แก่
ไม่ว่าจะเป็น 100,000 เหรียญสหรัฐ บริษัทแม่
ได้หาก - ดำเนินการประสานระหว่าง
ภาษาฟิลิปปินส์ บริษัทแม่และลูกค้าเท่านั้น
หรือ 1. เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- ไม่มีเงินได้
ภาษา กับเทคโนโลยีขั้นสูง หรือ
ต่างประเทศ 2. จ้างแรงงานไม่นอ้ ยกว่า
50 ราย
- ดำเนินธุรกิจของ RHQ ROHQ
บริษัทแม่ นำเงินเข้ามา นำเงินเข้ามา
แต่ละปีไม่น้อย ไม่น้อยกว่า 200,000
- จดทะเบียนไว้กับ SEC
กว่า 50,000 เหรียญสหรัฐ
ในฐานะสาขา (ครั้งเดียว)
เหรียญสหรัฐ
- เพื่อให้บริการแก่
- เพื่อดำเนินการ
บริษัทลูก บริษัทในเครือ
ติดต่อสื่อสาร และสาขา
ประสานงาน - มีรายได้จากการ
และควบคุม ให้บริการ
- ไม่มีเงินได้ ดังกล่าว

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 67
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

การลงทุนต่างชาติ สิทธิประโยชน์
ในฟิลิปปินส์ แก่นักลงทุน

สำนักงานใหญ่
พรบ.การลงทุน พรบ.ว่าด้วย คณะกรรมการ ตัวแทนส่งเสริม ส่วนภูมิภาค (RHQ) และ

ของต่างชาติ เสรีภาพ การลงทุน การลงทุนอื่นๆ สำนักงานใหญ่ปฏิบัติการ


ส่วนภูมิภาค (ROHQ)
ในการค้าปลีก

- ส่งออก 100% สิทธิประโยชน์


- ประเภท A : สงวนไว้ ธุรกิจส่งออก ไม่คำนึงถึงสัดส่วน แก่ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับธุรกิจค้าปลีก - คนชาติ การถือหุ้นและ - วีซ่าขาเข้าไม่จำกัด
สัดส่วน สัดส่วนการถือหุ้น ถือหุ้น 50% สถานะ
ที่เป็นคนชาติ 100% - ภาษีหัก ณ
คนชาติ 60% : ของต่างชาติ และส่งออก - อยู่ในโซน
ซึ่งมีทุนชำระแล้วต่ำกว่า ที่จ่าย 15% สำหรับ
คนต่างชาติ 40% มากกว่า 40% 50% ขึ้นไป ที่ได้รับอนุญาต
2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินได้
- เงินทุน - ธุรกิจสำหรับ - คนต่างชาติ และขายสินค้า
- ประเภท B : - นำเข้าสินค้า
ชำระแล้ว ตลาดภายในประเทศ ถือหุ้น 40% 30% ในตลาด
ทุนชำระแล้ว ใช้แล้วแบบปลอดภาษี
อาจต่ำกว่า : เงินทุน 200,000 และส่งออก ในประเทศ
2.5-7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ - ยกเว้นภาษีท่องเที่ยว
200,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 70% ขึ้นไป
อาจถือหุ้นโดย สิทธิแก่ RHQ/ROHQ
เหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าหากเป็นธุรกิจ
ต่างชาติ 100% ได้ - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ได้ ที่เกี่ยวข้องกับ สำหรับตลาด
- ประเภท C : RHQ ได้รับยกเว้น
- เป็นธุรกิจ เทคโนโลยีชั้นสูง ภายในประเทศ
(ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว) ROHQ 10%
ที่ดำเนินการ หรือมีการจ้าง - เป็นธุรกิจที่อยู่
- ประเภท D : - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อยู่ในตลาด แรงงานมากกว่า ในแผนการลงทุน
ธุรกิจค้าปลีกที่ขาย RHQ ได้รับยกเว้น
ภายใน 50 ราย - หากมีสถานะเป็น
สินค้าหรูหราฟุ่มเฟือย ROHQ 12%
ประเทศ - ธุรกิจส่งออก : ผู้บุกเบิก ต่างชาติ
อาจถือหุ้นโดยต่างชาติ - ได้รับยกเว้นภาษี
มีการส่งออก สามารถถือหุ้น
100% แต่ต้องมีเงินทุน และอากรนำเข้าสำหรับ
มากกว่า 60% ได้ 100%
ขั้นต่ำ 250,000 อุปกรณ์การฝึกอบรม
ของสินค้าที่ผลิตได้ - หากไม่มีสถานะ
เหรียญสหรัฐ และการประชุม
ไม่มีข้อบังคับ เป็นผู้บุกเบิก
ในเรื่องเงินทุนขั้นต่ำ ต่างชาติสามารถ
ถือหุ้นได้ไม่เกิน 40%

อยู่ในแผนการลงทุน
เท่านั้น

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
68 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

กระบวนการและข้อบังคับ
ทางธุรกิจทั่วไป

จดทะเบียน คำขอสำหรับ
ใบอนุญาต
ต่างๆ
จดทะเบียนห้าง
บริษัทและ การนำเงินทุน
ที่มีหุ้นส่วน
เพียงรายเดียว/ ห้างหุ้นส่วน เข้ามา
ชื่อทางธุรกิจ (DTI) (SEC) (BSP)

ใบอนุญาต ใบรับรอง ใบอนุญาต วีซ่า หมายเลข


ทางธุรกิจต่างๆ ทางสิ่งแวดล้อม ทำงานต่างด้าว (สำนักงาน ประจำตัวภาษี
(LGUS) (DENR) (DOLE) ตรวจคนเข้าเมือง) (BIR)

การคุ้มครองการลงทุน
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
Foreign Exchange
โดยหลักแล้ว การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสามารถทำได้อย่าง
อิสระในฟิลิปปินส์ แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับที่ออกโดย Bangko
Sentral ng Pilipinas (BSP) กล่าวคือ การลงทุนของต่างชาติต้องขึ้นทะเบียน
ไว้กับ BSP เพื่อวัตถุประสงค์ ในการส่งคืนเงินลงทุน ผลกำไรและเงินปันผล
กลับประเทศ หากมิได้ขน้ึ ทะเบียนไว้ จะไม่ ได้รบั อนุญาตให้ดำเนินการดังกล่าวได้
ในบางกรณี ฟิลิปปินส์ ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Rate
System) และ BSP อาจมีการเข้ามาแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา
ต่ า งประเทศในบางครั ้ ง โดยการซื ้ อ ขายเงิ นสกุ ลเหรี ยญสหรั ฐ เพื ่ อ ให้ เ กิ ด
เสถียรภาพในตลาด
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 69
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

การเวนคืนและการชดเชย
Expropriation and Compensation
โดยปกติแล้ว จะไม่มกี ารเวนคืนกิจการ ทรัพย์สนิ หรือทีด่ นิ ของการลงทุน
จากต่างชาติโดยรัฐ เว้นแต่เพือ่ ประโยชน์ของสาธารณะ สวัสดิการของประชาชน
หรือการปกป้องประเทศชาติ ซึง่ ในกรณีดงั กล่าวจะมีการชดเชยให้อย่างเหมาะสม
และนักลงทุนต่างชาติก็จะได้รับเงินชดเชยเป็นเงินสกุลที่ ได้นำเข้ามาลงทุนตั้งแต่
ครั้งแรกด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาที่มีการส่งคืนเงินกลับไป

การรับประกันการลงทุน
Investment Guarantee
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้ลงนามสนธิสัญญาคุ้มครองและสนับสนุน
การลงทุนไว้กับ 41 ประเทศด้วยกัน คือ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ออสเตรีย
บาห์เรน บังคลาเทศ เบลเยี่ยม/ลักเซมเบิร์ก กัมพูชา แคนาดา ชิลี จีน ไต้หวัน
สาธารณรัฐเชค เดนมาร์ก กินี ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย
อิหร่าน อิตาลี ญี่ปุ่น ซาอุดิอาระเบีย เกาหลี คูเวต สาธารณรัฐประชาธิปไตย-
ประชาชนลาว มองโกเลีย เมียนมาร์ เนเธอร์แลนด์ ปากีสถาน โปรตุเกส โรมาเนีย
รัสเซีย สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ตุรกี สหราชอาณาจักรและ
ไอร์แลนด์เหนือ เวเนซูเอลา และเวียดนาม

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
70 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (IPRs)
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาระหว่างประเทศ
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้
∝ Paris Convention for the Protection of Industrial Property
∝ Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic
Works,
∝ Convention Establishing the Intellectual Property Organization
∝ Budapest Treaty on the International Recognition of the
Deposit of Microorganisms for Purposes of Patent Procedure
∝ Rome Convention (Performers, Producers of Phonographs
and Broadcasting Organizations
∝ TRIPs
∝ Patent Cooperation Treaty
∝ WIPO Copyright Treaty
∝ WIPO Performances and Phonograms Treaty

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 71
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

โดยมีสำนักทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Office)


ให้บริการรับคำขอสิทธิบตั ร เครือ่ งหมายการค้า เครือ่ งหมายบริการ ชือ่ ทางการค้า
และออกใบรับรองการจดทะเบียน ภายใต้ IP Code ZRA No. 8293) ทั้งนี้
การให้ความคุ้มครองสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาในฟิลิปปินส์มีรายละเอียด
คร่าวๆ ดังนี้

∝ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะได้รับความคุ้มครองเป็นเวลา
10 ปี และเจ้าของเครื่องหมายการจะต้องยื่นถ้อยแถลงต่อสำนัก
ทรัพย์สินทางปัญญาว่ามีการใช้เครื่องหมายการค้าในเชิงพาณิชย์
หรือไม่ ภายใน 1 ปี นับจากปีท่หี ้าของวันรับจดทะเบียน เครื่องหมาย
การค้ า ที ่ ได้ ร ั บ การจดทะเบี ย นสามารถต่ อ อายุ ไ ด้ ท ุ ก ๆ 10 ปี
ก่อนวันหมดอายุ ตราบเท่าที่ยังมีการใช้อยู่ ในเชิงพาณิชย์จริง

∝ สิ ท ธิ บ ั ต รการประดิ ษ ฐ์ จ ะได้ ร ั บ ความคุ ้ ม ครองเป็ น เวลา 20 ปี


นับแต่วันยื่นคำขอ สิทธิบัตรแบบอรรถประโยชน์จะได้รับความ
คุ้มครองเป็นเวลา 7 ปี นับแต่วันยื่นคำขอ สิทธิบัตรการออกแบบ
ทางอุตสาหกรรมจะได้รับความคุ้มครองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วัน
ยื่นคำขอแต่อาจขอต่ออายุได้อีก 2 คราว คราวละ 5 ปี

∝ งานอันมีลิขสิทธิ์ (อาทิ งานวรรณกรรม งานศิลปกรรม โปรแกรม-


คอมพิวเตอร์ งานมัลติมีเดีย เป็นต้น) จะได้รับความคุ้มครองตลอด
อายุของผู้สร้างสรรค์งานและอีก 50 ปี หลังจากเสียชีวิต

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
72 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายภายในอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับทรัพย์สนิ ทางปัญญา


ได้แก่ Electronic Commerce Act, June 2000 (R.A. No. 8792), Act
Providing for the Protection of Layout Designs on Topographies of
Integrated Circuits, August 2001 (R.A. No. 9150), Act to Provide
Protection to New Plant Varieties and Establishing the National Plat
Variety Protection Board, June 2002 (R.A. No. 9168), Act Regulating
Optical Media, Reorganizing for this Purpose the Videogram Regulating
Board, Providing Penalties Therefor and for Other Purposes, February
2004 (R.A. No. 9239)

การระงับข้อพิพาท
Dispute Settlement
สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ เป็นภาคีสมาชิกของ New York Convention on the
Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards นอกจากนี้
สามารถแบ่งแยกประเภทการระงับข้อพิพาทตามประเภทของคู่กรณี ได้ ดังนี้

∝ ข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ฟิลิปปินส์ ใช้กระบวนการระงับ


ข้อพิพาทของ WTO

∝ ข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับรัฐบาล จะเป็นไปตามสนธิสญ ั ญาสองฝ่าย


เกีย่ วกับการคุม้ ครองและการส่งเสริมการลงทุนทีล่ งนามไว้กบั ประเทศ
ต่างๆ ซึง่ อาจดำเนินคดี ได้ตอ่ ศาลทีม่ เี ขตอำนาจของประเทศคูส่ ญ
ั ญา
หรือต่อ International Center for the Settlement of Investment
Disputes (ICSID)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 73
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ ข้อพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกันเอง เป็นไปตามกฎหมายภายใน
ที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง ดังต่อไปนี้
- Alternative Dispute Resolution Act of 2004 (R.A. No. 9285)
- Arbitration Law (R.A. No. 876)
- PD No.1746 เกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง
- Construction Industry Arbitration Law (EO No. 1008)
- Intellectual Property Code (R.A. No. 8293)

การกำหนดเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ไม่มีกระบวนการอนุมัติการลงทุนจากต่างชาติ
นักลงทุนเพียงแค่จดทะเบียนธุรกิจกับ Securities and Exchange Commission
(SEC) หรือกรมการค้าและอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ (Department of
Trade and Industry) นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังไม่มีการกำหนดสัดส่วนการใช้
วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content)

นโยบายการถือหุ้นของต่างชาติ
กฎหมายการลงทุนของต่างชาติ ปี 2534 (Foreign Investment
Act 1991) อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ในเกือบทุกกิจการ ยกเว้นแต่
ที่ระบุไว้ ใน Foreign Investment Negative Lists (FINL) ซึ่งแบ่งออกเป็น
2 กลุ่มใหญ่ คือ List A ที่จำกัดการถือหุ้นของต่างชาติตามกฎหมายหรือ
บทบัญญัติเฉพาะ และ List B ที่จำกัดการถือหุ้นของต่างชาติ ด้วยเหตุผล
ด้านความมั่นคง การป้องกันประเทศ สุขอนามัย วัฒนธรรม หรือเพื่อปกป้อง
อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม รายละเอียดปรากฏ ดังต่อไปนี้

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
74 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ตาราง List A : กิจการที่มีข้อจำกัดการลงทุนของต่างชาติตามบทบัญญัติ


แห่งกฎหมาย

1. สื่อทุกประเภท ยกเว้นการบันทึก
2. วิชาชีพดังต่อไปนี้ : วิศวกร แพทย์ พยาบาล
นั ก บั ญ ชี สถาปนิ ก นั ก อาชญาวิ ท ยา
นักป่าไม้ นักวางแผนสิ่งแวดล้อม
นักภูมศิ าสตร์ ครู บรรณารักษ์ ช่างประปา
เจ้าหน้าที่คุมเครื่องยนต์เรือเดินทะเล
เกษตรกร ชาวประมง (อย่างไรก็ดี ฟิลปิ ปินส์
กำลังแก้ ไขกฎหมายเพื่อให้ต่างชาติที่มา
จากประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถ
ประกอบวิชาชีพวิศวกร แพทย์ พยาบาล
กิจการที่ห้ามต่างชาติลงทุน สถาปนิก นักบัญชี ตามทีร่ ะบุไว้ ในข้อตกลง
ยอมรับร่วมวิชาชีพ (MRAs))
3. กิจการค้าปลีกทีม่ ที นุ จดทะเบียนชำระแล้ว
ต่ำกว่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
4. สหกรณ์
5. ตัวแทนนายหน้าค้าหุ้นเอกชน
6. การทำเหมืองแร่ขนาดเล็ก
7. กิจการที่ ใช้ทรัพยากรในไหล่ทวีป
ทะเลอาณาเขต และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
รวมถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในแม่นำ้
อ่าว หรือแหลม

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 75
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

8. การบริหารจัดการกลยุทธ์ทางธุรกิจ
(Management of Cockpit)
กิจการที่ห้ามต่างชาติลงทุน 9. การผลิต ซ่อมแซม สะสมอาวุธนิวเคลียร์
10. การผลิต ซ่อมแซม สะสมอาวุธเคมี
11. การผลิตดอกไม้ ไฟ ประทัด

กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติ เครือข่ายวิทยุสื่อสารเอกชน
ลงทุนได้ไม่เกิน 20%

1. บริษัทจัดหางาน
2. กิจการก่อสร้างหรือซ่อมแซมสถานที่
ราชการ ยกเว้น
(1) การก่อสร้างทีร่ ะบุใน R.A. No. 7718
กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติ
(2) กิจการที่ ได้รับเงินสนับสนุนจาก
ลงทุนได้ไม่เกิน 20%
ต่างชาติและเป็นไปตามการแข่งขัน
ราคาระหว่างประเทศ (International
Competitive Bidding)
3. กิจการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน
ประเทศและความมั่นคง

กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติ
การโฆษณา
ลงทุนได้ไม่เกิน 30%

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
76 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

1. การแสวงหา พัฒนา และใช้ประโยชน์จาก


ทรัพยากรธรรมชาติ
2. อสังหาริมทรัพย์
3. บริการสาธารณะของรัฐ
กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติ 4. สถาบันการศึกษา
ลงทุนได้ไม่เกิน 40% 5. การผลิต แปรรูป ข้าว ข้าวโพด
6. ผู้จัดหาวัตถุดิบให้กับกิจการที่รัฐบาล
เป็นเจ้าของ
7. เรือดำน้ำ
8. คอนโดมีเนียม
1. สถาบันทางการเงินที่ควบคุม
กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติ โดยคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์
ลงทุนได้ไม่เกิน 60% 2. สถาบันการลงทุนที่ควบควบ
โดยคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 77
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ตาราง List B : กิจการที่มีข้อจำกัดการลงทุนของต่างชาติด้วยเหตุผลด้าน


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ สุขอนามัย วัฒนธรรม
หรือเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม

1. การผลิต ซ่อมแซม สะสมผลิตภัณฑ์ หรือ


ส่วนประกอบตามที่กำหนดใน Philippine
National Police (PNP) clearance
2. การผลิตซ่อมแซม สะสมผลิตภัณฑ์ หรือ
ส่วนประกอบตามทีก่ ำหนดโดย Department
of National Defense
3. การผลิตและจำหน่ายยาอันตราย
4. ซาวน่า โรงนวด หรือกิจการอืน่ ทีม่ ลี กั ษณะ
กิจการที่อนุญาตให้ต่างชาติ
ใกล้เคียง ที่กฎหมายกำหนดว่าจะมีผล
ลงทุนได้ไม่เกิน 40%
กระทบต่อการสาธารณสุขและศีลธรรม
5. การพนันขันต่อทุกชนิด
6. บริษทั สัญชาติฟลิ ปิ ปินส์ทม่ี ที นุ จดทะเบียน
ชำระแล้วน้อยกว่า 2 แสนเหรียญสหรัฐ
7. บริษัทสัญชาติฟิลิปปินส์ที่ ใช้เทคโนโลยี
ระดับสูงหรือมีการจ้างแรงงานตัง้ แต่ 50 คน
เป็นต้นไป และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
น้อยกว่า 1 แสนเหรียญสหรัฐ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
78 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

สิทธิประโยชน์การลงทุน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีการให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งและการจดทะเบียนธุรกิจ ดังนี้

กิจการที่จดทะเบียนกับ BOI
กิจการท้องถิ่นและต่างชาติที่จดทะเบียนกับ Board of Investments
(BOI) จะได้รับสิทธิประโยชน์ ในการลงทุน หากอยู่ ในเงื่อนไข ดังนี้
∝ เป็นกิจการที่ระบุใน IPP
∝ หากเป็นกิจการที่ ไม่อยู่ใน IPP ต้องเป็นการผลิตเพือ่ ส่งออกอย่างน้อย
ร้อยละ 50 หรืออย่างน้อยร้อยละ 70
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ได้แก่
∝ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล นับจากปีที่เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์
ในระยะเวลาแตกต่างกัน ดังนี้
- โครงการใหม่ที่เป็นโครงการบุกเบิก (Pioneer Status) 6 ปี
- โครงการใหม่ที่มิได้เป็นโครงการบุกเบิก (Non-pioneer) 4 ปี
- โครงการขยาย 3 ปี และโดยทั ่ ว ไปจะจำกั ด เฉพาะรายได้
ส่วนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
- โครงการใหม่หรือโครงการขยายที่อยู่ ในเขตห่างไกลความเจริญ
(Less Developed Areas : LDAs) 6 ปี ไม่ว่าจะเป็นโครงการ
บุกเบิกหรือไม่
- โครงการปรับปรุงกิจการ 3 ปี และโดยทั่วไปจะจำกัดเฉพาะ
รายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 79
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

- โครงการใหม่และโครงการทีต่ ง้ั อยู่ ในเขต LDAs อาจได้รบั ยกเว้น


ภาษีเงินได้เพิม่ ขึน้ อีก 1 ปี ถ้ากิจการนัน้ มีการใช้วตั ถุดบิ ในประเทศ
อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของต้นทุนวัตถุดิบในปีก่อนหน้า หรือสัดส่วนทุน
ต่อแรงงานไม่เกิน 10,000 เหรียญสหรัฐ ต่อคน หรือมีรายได้
เงินตราต่างประเทศสุทธิอย่างน้อย 500,000 เหรียญสหรัฐ ต่อปี
∝ การยกเว้นภาษีนำเข้า กิจการที่มีคลังสินค้าทัณฑ์บนจะได้รับยกเว้น
ภาษีนำเข้าสินค้าและชิ้นส่วน
∝ การยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือ ภาษีส่งออก และค่าธรรมเนียม
ในการนำเข้าเป็นเวลา 10 ปีนับจากวันที่จดทะเบียน
∝ ได้รบั สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล กิจการทีส่ ามารถนำรายจ่าย
มาหักลดหย่อนรายได้ก่อนนำมาคำนวณภาษีเงินได้ มีดังนี้
- ค่าจ้างแรงงานสามารถนำมาหักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่ง หากกิจการ
นั้นมีสัดส่วนทุนต่อแรงงานตามที่กำหนด และไม่ ได้รับยกเว้น
ภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
- ค่าใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็นสามารถนำมาหัก
ค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด หากกิจการนั้นตั้งอยู่ ในเขตท้องถิ่นห่างไกล
ความเจริญที่ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและ
สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งนี้ ยกเว้นกิจการเหมืองแร่และ
ป่าไม้
∝ การจ้างแรงงานต่างชาติ กิจการทีจ่ ดทะเบียนกับ BOI สามารถจ้างแรงงาน
ต่างชาติในตำแหน่งผู้อำนวยการ ช่างเทคนิค และที่ปรึกษาได้ 5 ปี
นับจากวันทีจ่ ดทะเบียน ทัง้ นี้ ยกเว้นประธานบริษทั กรรมการผูจ้ ดั การ
และผู้อำนวยการด้านการเงิน ที่ ไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดนี้

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
80 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

∝ กิจการที่ ได้รับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จะได้รับสิทธิประโยชน์


ในการนำเข้าอุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ วัตถุดิบ และสินค้า โดยการ
ผ่อนคลายระบบพิธกี ารศุลกากร เพือ่ อำนวยความสะดวกแก่นกั ลงทุน

กิจการที่จดทะเบียนกับ PEZA
Philippine Economic Zone Authority หรือ PEZA เป็นหน่วยงาน
ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการที่อยู่ภายใน
เขตเศรษฐกิจพิเศษตาม Special Economic Zone Act 1995 สำหรับกิจการ
ที่ตั้งอยู่ ในเขตส่งเสริมการลงทุนภายใต้การกำกับดูแลของ PEZA และมี
การส่งออกอย่างน้อยร้อยละ 70 จะได้รับสิทธิประโยชน์ ในการลงทุนที่สำคัญ
ดังนี้
∝ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้ประกอบการจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 4 ปี
และขยายได้อกี ไม่เกิน 4 ปี หลังจากนัน้ สามารถเลือกเสียภาษีเงินได้
ในอัตราพิเศษ (Special Income Tax) ร้อยละ 5 ของรายได้รวม
(Gross Income) แทนการเสียภาษีเงินได้และภาษีท้องถิ่นในอัตรา
ทั่วไป
∝ การยกเว้นภาษีนำเข้า
ผู้ประกอบการได้รับยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ ชิ้นส่วน
อะไหล่ และวัตถุดิบทั้งหมด
∝ การยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือ ภาษีส่งออกและค่าธรรมเนียม
การนำเข้า
ผูป้ ระกอบการจะได้รบั ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ทา่ เรือ ภาษีสง่ ออก
และค่าธรรมเนียมในการนำเข้าสินค้าต่างๆ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 81
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ สิทธิการพำนักถาวร
ผู้ประกอบการต่างชาติและครอบครัวจะได้สิทธิการพำนักถาวร
หากมีการลงทุนเริ่มต้นไม่น้อยกว่า 1.5 แสนเหรียญสหรัฐ
∝ การจ้างแรงงานต่างชาติ
กิจการที่จดทะเบียนกับ PEZA สามารถจ้างแรงงานต่างชาติ
ในตำแหน่ ง ผู ้ อ ำนวยการ ช่ า งเทคนิ ค และที ่ ป รึ ก ษาได้ 5 ปี
นับจากวันทีจ่ ดทะเบียน ทัง้ นี้ ยกเว้นประธานบริษทั กรรมการผูจ้ ดั การ
และผู้อำนวยการด้านการเงิน ที่ ไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดนี้
∝ การผ่อนคลายพิธีการศุลกากร
ผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกสินค้า
โดยการผ่อนคลายระบบพิธีการศุลกากรให้คล่องตัวขึ้น

กิจการที่จดทะเบียนกับ CDC
Clark Development Corporation หรือ CDC เป็นหน่วยงานของรัฐบาล
ทำหน้าที่ควบคุมกิจการใน Clark Freeport และ Clark Special Economic
Zone ที่ตั้งอยู่ ในเขต Pampanga และ Tarlac กิจการที่ตั้งอยู่ ในเขต Pampanga
และ Tarlac ที่จดทะเบียนกับ CDC จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
∝ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีแฟรนไชน์
∝ การได้รบั สิทธิเสียภาษีเงินได้ ในอัตราพิเศษร้อยละ 5 ของรายได้รวม
โดยผู้ประกอบการจะต้องมีการส่งออกเป็นมูลค่ารวมร้อยละ 70
ของรายได้รวมทั้งหมด

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
82 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

∝ การยกเว้ น ภาษี น ำเข้ า ผู ้ ป ระกอบการได้ ร ั บ ยกเว้ น ภาษี น ำเข้ า


เครื่องจักร อุปกรณ์ ชิ้นส่วนอะไหล่ และวัตถุดิบทั้งหมด
∝ การยกเว้นค่าธรรมเนียมท่าเรือ ภาษีส่งออกและค่าธรรมเนียม
การนำเข้า ผู้ประกอบการจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ท่าเรือ
ภาษีส่งออก และค่าธรรมเนียมในการนำเข้าสินค้าต่างๆ
∝ สิทธิการพำนักถาวร ผู้ประกอบการต่างชาติและครอบครัวจะได้
สิทธิการพำนักถาวร
∝ การผ่อนคลายพิธีการศุลกากร ผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวก
ในการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยการผ่อนคลายระบบพิธีการ
ศุลกากรให้คล่องตัวขึ้น
∝ การจ้างแรงงานต่างชาติ กิจการทีจ่ ดทะเบียนกับ CDC สามารถจ้าง
แรงงานต่างชาติในตำแหน่งผูอ้ ำนวยการ ช่างเทคนิค และทีป่ รึกษาได้
5 ปี นั บ จากวั น ที ่ จ ดทะเบี ย น ทั ้ ง นี ้ ยกเว้ น ประธานบริ ษ ั ท
กรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการด้านการเงิน ที่ ไม่อยู่ภายใต้
ข้อจำกัดนี้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 83
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

สาขาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จัดทำแผนลำดับความสำคัญของการลงทุน
(Investment Priorities Plan : IPP) เผยแพร่ ให้นักลงทุนทราบถึงสาขาของ
กิจการทีร่ ฐั บาลฟิลปิ ปินส์ ให้การสนับสนุน ฉบับล่าสุดคือ ปี 2555 ซึง่ มีสาขาที่ ได้รบั
การส่งเสริมการลงทุน ดังต่อไปนี้
∝ เกษตรกรรม หรือธุรกิจการเกษตร และประมง
∝ เทคโนโลยีสารสนเทศ
∝ อู่ต่อเรือ
∝ หมู่บ้านจัดสรร ที่มีราคาไม่สูง (Mass Housing)
∝ เหล็กและโลหะ
∝ พลังงาน
∝ สาธารณูปโภค
∝ วิจัยและพัฒนา (R&D)
∝ การผลิตหรือการประกอบสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
∝ ยานยนต์
∝ Strategic Projects
∝ โรงพยาบาลและบริการทางการแพทย์
∝ โครงการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
84 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ระบบการเก็บภาษี
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
Corporate Income Tax
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) จัดเก็บในอัตรา
ร้อยละ 30 โดยอัตราดังกล่าวคำนวณจากฐานเงินได้แตกต่างกันตามประเภท
การจดทะเบียน ดังนี้
∝ นิติบุคคลในประเทศ (Domestic Corporation)
หมายถึง กิจการทีจ่ ดทะเบียนตามกฎหมายของฟิลปิ ปินส์ คำนวณภาษี
เงินได้จากฐานเงินได้สุทธิ (Net Income) ที่เกิดขึ้นจากทั่วโลก
∝ นิติบุคคลต่างประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ในฟิลิปปินส์
(Resident Foreign Corporation)
หมายถึ ง กิ จ การที ่ จ ดทะเบี ย นในต่ า งประเทศภายใต้ ก ฎหมาย
ของต่างประเทศ และเข้ามาดำเนินกิจการในฟิลิปปินส์ (เช่น สาขา
ของสำนักงานใหญ่ ในต่างประเทศ) คำนวณภาษีเงินได้จากฐาน
เงินได้สุทธิ (Net Income) ที่เกิดขึ้นเฉพาะในฟิลิปปินส์
∝ นิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้มีถิ่นที่อยู่ในฟิลิปปินส์
(Non-Resident Foreign Corporation)
หมายถึ ง กิ จ การที ่ จ ดทะเบี ย นในต่ า งประเทศภายใต้ ก ฎหมาย
ของต่างประเทศ และมิได้เข้ามาดำเนินกิจการในฟิลิปปินส์ คำนวณ
ภาษีจากฐานเงินได้รวม (Gross Income) ทีเ่ กิดขึน้ เฉพาะในฟิลปิ ปินส์
เช่น เงินปันผล ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม ค่าชดเชย หรือค่าบริการต่างๆ
โดยหักภาษี ณ ทีจ่ า่ ย (Withholding Tax rates) แต่ทง้ั นีบ้ างรายการ
อาจมีอัตราเฉพาะ เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมต่างประเทศ อัตราภาษี
ร้อยละ 20 เป็นต้น
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 85
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ภาษีเงินได้พิเศษ
Special Income Tax
หมายถึง กิจการที่ตั้งอยู่ ในเขต Ecozones, Subic Bay Freeport and
Special Economic Zone และ Clark Special and Economic Zone ที่ ได้
สิทธิประโยชน์ดา้ นภาษี อาจเลือกชำระภาษี ในอัตราพิเศษร้อยละ 5 ของรายได้รวม
(Gross Income) แทนการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีการโอนกำไรออกนอกประเทศ
Profit Remittance Tax
∝ ร้อยละ 15 ของเงินโอน โดยไม่หักค่าลดหย่อนใดๆ
∝ ยกเว้นกิจการภายใต้การดูแลของ Philippine Economic Zone
Authority : PEZA ไม่ต้องเสียภาษี

อนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
กับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากร
ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการเรียกเก็บ
ภาษีระหว่างไทยและฟิลิปปินส์

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
86 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Personal Income Tax
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับชาวฟิลิปปินส์ ชาวต่างชาติ
ที่พำนักในฟิลิปปินส์ และชาวต่างชาติที่มิได้พำนักในฟิลิปปินส์แต่ดำเนินธุรกิจ
ในฟิลิปปินส์ ต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 5 - 32
โดยชาวฟิลิปปินส์ คำนวณจากฐานเงินได้ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ขณะที่ชาวต่างชาติ
คำนวณจากฐานเงินได้เฉพาะที่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์เท่านั้น สำหรับชาวต่างชาติ
ที่มิได้พำนักในฟิลิปปินส์และมิได้ดำเนินกิจการในฟิลิปปินส์ หากมีเงินได้ที่เกิดขึ้น
ในฟิลปิ ปินส์ตอ้ งชำระภาษี ในอัตราร้อยละ 25 ของรายได้รวม (Gross Income)
ตารางอัตราขั้นเงินได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ขั้นเงินได้ อัตราภาษี (ร้อยละ) เงินได้

ไม่เกิน 10,000 เปโซฟิลิปปินส์ 5


10,001 – 30,000 เปโซฟิลิปปินส์ 10
30,001 – 70,000 เปโซฟิลิปปินส์ 15
70,001 – 140,000 เปโซฟิลิปปินส์ 20
140,001 – 250,000 เปโซฟิลิปปินส์ 25
250,001 – 500,000 เปโซฟิลิปปินส์ 30
เกิน 500,000 เปโซฟิลิปปินส์ 32

หมายเหตุ : ชาวต่างชาติที่มิ ได้พำนักในฟิลิปปินส์ และมิ ได้ดำเนินกิจการ


ในฟิลิปปินส์ชำระภาษีอัตราเดียวคือ ร้อยละ 25 ของรายได้รวมที่เกิดขึ้น
ในฟิลิปปินส์
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 87
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

เงินประกันสังคม
Social Security
นายจ้างทุกคนจะต้องหักเงินจากเงินเดือนของพนักงาน ให้กับกองทุน
ประกันสังคมและระบบประกันสุขภาพ เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเกษียณอายุ
เจ็บป่วย พิการสุขภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางสังคมอื่น

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
Value Added Tax : VAT
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 12
ซึง่ จะถูกกำหนดไว้ ในการขายสินค้า ทางการค้า/ธุรกิจสินค้าบริการ และสถานที่ ให้
บริการในฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับการนำเข้าสินค้าไปยังฟิลิปปินส์ นอกจากนี้
การขายสินค้าหรือบริการบางอย่างอาจมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 0

ภาษีสรรพสามิต
Excise Tax
ภาษีสรรพสามิตเรียกเก็บจากสินค้าบางรายการที่ผลิตในฟิลิปปินส์
สำหรับการขายในประเทศหรือการบริ โภค และสินค้าที่นำเข้ามาในฟิลิปปินส์
(นอกเหนือจากภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากร) โดยทั่วไปภาษีสรรพสามิต
มีการจัดเก็บจากแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์จากแร่
ดอกไม้ ไฟ ภาพยนตร์ และยานยนต์ เป็นต้น

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
88 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ภาษีศุลกากร
Customs Duty
ภาษี ศ ุ ล กากรเรี ย กเก็ บ สิ น ค้ า ที ่ น ำเข้ า มาในฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ อั ต ราภาษี
จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการจัดหมวดหมู่และประเทศแหล่งกำเนิดของสินค้าที่
นำเข้ า ถ้ า สิ น ค้ าที่มาจากประเทศที่เป็นสมาชิกของแกตต์ (GATT) หรือ
สมาชิกอาเซียน จะมีการจัดเก็บภาษีภายใต้ความร่วมมือของประเทศสมาชิก
ด้วยกัน

อากรแสตมป์
Stamp Duty
อากรแสตมป์ ถือเป็นภาษีสรรพสามิตและมีการกำหนดไว้ ในเอกสาร
ตราสารสัญญาเงินกู้ และการรับรองการกำหนดยอดขายหรือการโอน ภาระ
หน้าที่ของสิทธิหรือทรัพย์สินและเครื่องมือทางธุรกิจอื่นๆ อัตราภาษีขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของเอกสารและการดำเนินการ

ภาษีทรัพย์สิน
Property Taxes
ภาษีทรัพย์สิน กำหนดโดยหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ ได้แก่ ภาษีการโอน
ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงและภาษีทรัพย์สินที่แท้จริงจะถูกเรียกเก็บ
จากการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินและการปรับปรุง หน่วยในพื้นที่อาจมีอัตรา
ภาษีที่แตกต่างกัน แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 2 ของการประเมินมูลค่าของ
ทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ ในเมืองหรือเทศบาลภายในกรุงมะนิลา หรืออัตราร้อยละ 1
สำหรับเมืองที่ตั้งอยู่ ในจังหวัดหรือนอกเขตเทศบาลกรุงมะนิลา นอกจากนี้
มีการเก็บภาษีขั้นพื้นฐานที่อัตราร้อยละ 1 ซึ่งขึ้นอยู่กับการประเมินมูลค่า
ของทรัพย์สินที่เรียกเก็บให้กับกองทุนการศึกษาพิเศษ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 89
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ภาษีมรดก
Inheritance Tax
ภาษีมรดก เรียกเก็บจากการโอนอสังหาริมทรัพย์สทุ ธิของเจ้าของมรดก
สู่ทายาท โดยฐานของภาษีมรดกจะเรียกเก็บเป็นอัตราก้าวหน้าร้อยละ 5 - 20
โดยมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ 200,000 เปโซฟิลปิ ปินส์แรก จะได้รบั การยกเว้นจากภาษี
และมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เกิน 10 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ จะเรียกเก็บภาษี
ในอัตราร้อยละ 20

ภาษีธุรกรรมหุ้น
Stock Transaction Tax
ภาษีธุรกรรมหุ้นคิดอัตราร้อยละ 0.5 สำหรับราคาขายขั้นต้นที่กำหนด
ไว้ ในการขายการแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายอื่นๆ ของหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์
และเก็บภาษีสำหรับการขายการแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายอื่นๆ ของหุ้นในบริษัท
ที่จัดตั้งขึ้นผ่านการเสนอขายหุ้น

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
90 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

กฎระเบียบทางการเงิน
กฎระเบียบการกู้ยืมเงิน
∝ ปัจจุบัน ระบบสถาบันทางการเงินของฟิลิปปินส์มีการให้บริการ
ทางการเงินเต็มรูปแบบ ให้กับนักลงทุนทั้งภายในและภายนอก
ประเทศ เช่น การให้บริการทางการเงิน และการประกันภัย เป็นต้น
∝ ระบบสถาบันการเงินในฟิลิปปินส์สามารถแบ่งออกได้ 3 กลุ่มหลัก
คือ ธนาคาร สถาบันการเงินที่มิ ใช่ธนาคารแต่ ให้บริการคล้าย
ธนาคาร และสถาบันการเงินอื่นๆ ทั้งนี้ ธนาคารชาติของฟิลิปปินส์
(Bangko Sentral ng Pilipinas : BSP) กำกับดูแลเฉพาะธนาคาร
และสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารแต่ ให้บริการคล้ายธนาคาร
∝ ระบบธนาคารฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ส ามารถจำแนกย่ อ ยตามลั ก ษณะและ
ขอบเขตการให้บริการได้หลายรูปแบบ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์
(Commercial Banks) จำนวน 21 แห่ง สถาบันการเงินครบวงจร
(Universal Banks) จำนวน 17 แห่ ง สถาบั น รั บ ฝากเงิ น
(Thrift Banks) จำนวน 82 แห่ง และสหกรณ์ (Rural and
Cooperative Banks) จำนวน 723 แห่ง เป็นต้น โดยเป็นธนาคาร
พาณิชย์ของท้องถิ่น (Local Commercial Banks) จำนวน 7 ราย
ได้แก่

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 91
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

(1) Asia United Bank Corporation


(2) Bank of Commerce
(3) BDO Private Bank, Inc.
(4) East West Banking Corporation
(5) Export and Industry Bank
(6) Philippine Bank of Communications
(7) Philippine Veterans Bank

สำหรับธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ ไปดำเนินการที่ฟิลิปปินส์ ได้แก่


Australia and New Zealand Banking Group, Bangkok Bank, Bank of
America, Bank of China, Citibank และ Deutsche Bank AG เป็นต้น
∝ ธนาคารชาติของฟิลิปปินส์ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินนโยบาย
อั ต ราแลกเปลี ่ ย น รั ก ษาเสถี ย รภาพและส่ ง เสริ ม โครงสร้ า ง
ทางการเงินให้เข้มแข็ง รวมทั้งเป็นนายธนาคารให้กับรัฐบาล

การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ปัจจุบัน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใช้หน่วยเงินตราเปโซฟิลิปปินส์ (PHP)
โดยอัตราแลกเปลี่ยนของไทยเทียบกับฟิลิปปินส์เฉลี่ยในปี 2556 เท่ากับ
0.73 บาท ต่อ 1 เปโซฟิลิปปินส์

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
92 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

แหล่งเงินทุน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเต็มรูปแบบ
ทัง้ จากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารอิสลาม การประกันภัย การจัดการสินทรัพย์
ทางการเงิน และการจัดหาเงินทุนจากตราสารหนี้ ซึ่งจะเป็นแหล่งทางเลือกของ
การจัดหาเงินทุนสำหรับธุรกิจ และนักลงทุนทัง้ จากในและต่างประเทศ นอกจากนี้
มาเลเซียได้มีตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ (PSE) เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือก
ในการระดมของนักลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศ

การส่งเงินทุน/กำไรกลับประเทศ
นักลงทุนต่างชาติ ไม่สามารถนำเงินกลับประเทศได้ทั้งหมด เนื่องจาก
กฎหมายฟิลิปปินส์ระบุไว้ ให้นักลงทุนต่างชาติต้องเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคล
ในอัตราร้อยละ 30

การทำงานของแรงงานต่างชาติ
เงื่อนไขการขออนุญาตลูกจ้างต่างชาติ
(ระดับผู้จัดการ หัวหน้า แรงงานไร้ฝีมือ)
ชาวต่างชาติทุกคนที่ต้องการเข้ามาทำงานในฟิลิปปินส์ต้องติดต่อ
หน่วยงานของฟิลิปปินส์ คือ กระทรวงแรงงานและการจ้างงาน (Department
of Labor and Employment หรือ DOLE) เพื่อขออนุญาตเข้าทำงาน
(Alien Employment Permit หรือ AEP) โดยสามารถขอสมัครได้ที่สถานทูต
ฟิลิปปินส์หรือสถานกงสุล ส่วนนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างชาติสามารถ
ยื่นขออนุญาตได้ที่ DOLE เช่นกัน สำหรับแรงงานต่างชาติที่พำนักอยู่ ใน
ฟิลปิ ปินส์แล้ว จะต้องขออนุญาตผ่านนายจ้างที่ DOLE เช่นเดียวกัน โดยระยะเวลา

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 93
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ในการขออนุญาตทำงานแตกต่างกันตามลักษณะงาน หากทางการตรวจพบว่า
ชาวต่างชาติทำงานในฟิลิปปินส์ โดยไม่มี ใบอนุญาตตามกฎหมายจะต้องถูกปรับ
1,000-10,000 เปโซฟิลิปปินส์ หรือโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี หรือ ทั้งจำ
ทั้งปรับ

สำหรับนโยบายด้านการลงทุนของชาวต่างชาติทเ่ี ข้าไปลงทุนในฟิลปิ ปินส์


ทีจ่ ดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investments
หรือ BOI) จะได้รับสิทธิประโยชน์ ในการจ้างแรงงานต่างชาติซึ่งสามารถ
จ้างแรงงานต่างชาติในตำแหน่งผู้อำนวยการช่างเทคนิคและที่ปรึกษาได้ 5 ปี
นับจากวันที่จดทะเบียน ยกเว้น ประธานบริษัท กรรมการ ผู้จัดการ และ
ผู้อำนวยการด้านการเงิน ไม่มีข้อจำกัดนี้

ส่วนคุณสมบัติของผู้เดินทางเพื่อเข้าไปทำงานในฟิลิปปินส์ ยกตัวอย่าง
อาชีพพ่อครัว ต้องมีประสบการณ์การทำงานด้านการประกอบอาหารอย่างน้อย
5 ปี มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับพอสื่อสารได้ รวมทั้งมีสุขภาพสมบูรณ์
ไม่ทุพลภาพ ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคสังคมรังเกียจ เป็นต้น

ทั้งนี้ ชาวต่างชาติสามารถเข้าฟิลิปปินส์ ในฐานะนักท่องเที่ยวได้ โดย


ไม่ต้องทำวีซ่าภายใต้ Executive Order (EO) 408 หรือวีซ่าสำหรับผู้ต้องการ
เข้าประเทศเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 9(a) ของกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง
ฟิลิปปินส์ (Philippines Immigration Act) ซึ่งวีซ่าประเภทนี้อนุญาตให้
ชาวต่างชาติเข้าประเทศได้ทั้งเพื่อธุรกิจ เพื่อการพักผ่อน หรือเพื่อสุขภาพ
โดยสามารถอยู่ ในประเทศได้ถึง 59 วัน และอาจจะขยายได้ถึง 1 ปี

ในขณะที่อยู่ ในฟิลิปปินส์ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (Bureau of


Immigration หรือ BI) จะอนุญาตให้ชาวต่างชาติเปลี่ยนสถานภาพการเข้าเมือง
จากนักท่องเที่ยวไปเป็นวีซ่าประเภทอื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องออกนอกประเทศ
รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
94 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

เงื่อนไขการอนุญาตเข้ามาทำงาน
(ระดับผู้จัดการ หัวหน้า แรงงานไร้ฝีมือ)
∝ Alien Employment Permit (AEP)
ตามประมวลกฎหมายแรงงาน (Labor Code) มาตรา 40
ชาวต่ า งชาติ ต ้ อ งขอใบอนุ ญ าตทำงานของคนต่ า งชาติ (Alien
Employment Permit หรือ AEP) จากกระทรวงแรงงานและ
การจ้ า งงาน (DOLE) โดยการขอวี ซ ่ า เพื ่ อ เข้ า มาทำงานของ
ชาวต่างชาตินั้น ผู้ขอจะต้องส่งแบบฟอร์ม AEP พร้อมทั้งเอกสาร
ตามที่กำหนดให้กับ DOLE ทั้งนี้ ระยะเวลาในการออกใบอนุญาต
ทำงานจะใช้เวลาประมาณ 5 - 10 วันทำการ
∝ ผู้ที่ต้องขอ AEP ได้แก่
• ชาวต่างชาติที่มีสถานะไม่เป็นผู้พักอยู่ประจำ (Non-resident
aliens) หรือผู้ลี้ภัย (Refugees)
• ชาวต่างชาติที่เป็นผู้บริการวิชาชีพที่ ได้รับอนุญาตภายใต้
ข้อตกลงระหว่างประเทศให้เข้ามาทำงานในฟิลิปปินส์และ
ผู้ที่ทำงานด้านการบริการให้คำปรึกษาตามมาตรา 7(j)
ของ Modernization Act 2000
• ผูท้ ถ่ี อื วีซา่ ประเภท Special Investor Resident Visa (SIRV),
Special Retirees Resident Visa (SRRV), Treaty
Traders Visa หรือ Special Non-immigrant Visa

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 95
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ ผู้ที่ได้รับการยกเว้นการขอ AEP ได้แก่


• ลูกจ้างชาวต่างชาติทม่ี ถี น่ิ พำนักในฟิลปิ ปินส์ หรือกำลังหางานทำ
(Department Order (DO) 41-03)
• คณะทูตและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่ ได้รับการรับรอง
จากรัฐบาลฟิลิปปินส์
• เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศที่รัฐบาล
ฟิลิปปินส์ ให้ความร่วมมือ และคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้อง
ตามกฎหมายที่ประสงค์จะทำงานในฟิลิปปินส์
• ชาวต่ า งชาติ ผ ู ้ ท ี ่ ได้ ร ั บ การคั ด เลื อ กให้ เ ป็ น คณะกรรมการ
ของหน่วยงานภาครัฐโดยไม่ ได้บรรจุในตำแหน่งใด แต่มีสิทธิ์
ในการออกเสียงเท่านั้น
• ชาวต่างชาติทั้งหมดที่ ได้รับการยกเว้นโดยกฎหมายพิเศษและ
กฎหมายอื่นซึ่งประกาศโดยรัฐสภา
• ชาวต่างชาติทเ่ี ข้ามาในฟิลปิ ปินส์ เพือ่ ทำการสอน นำเสนอ และ/หรือ
ทำการศึกษาวิจัยในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว
หรือแลกเปลีย่ น หรือเป็นศาสตราจารย์วฒ ุ คิ ณ
ุ (Adjunct Professor)
ภายใต้ข้อตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของฟิลิปปินส์
กับมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของต่างชาติ หรือระหว่างรัฐบาล
ฟิลิปปินส์กับรัฐบาลต่างชาติ โดยข้อยกเว้นนี้เป็นไปในลักษณะ
ต่างตอบแทน (DO 41-03)

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
96 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

• เจ้าของหรือผู้แทนจากบริษัทต่างชาติที่ ได้รับการรับรองจาก
Philippines Overseas Administration (POEA) ให้เข้ามา
ในฟิลิปปินส์ ในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อสัมภาษณ์ชาวฟิลิปปินส์
ที่ต้องการไปทำงานในต่างประเทศ
∝ Multiple Entry Visa Holder Requirements
แรงงานต่างชาติ (Expatriate) ที่มีหน่วยงานรับรองให้ ได้สถานะ
Special Non-Immigrant Visa ตามมาตรา 47(a)(2) ของกฎหมาย
ตรวจคนเข้าเมืองฟิลิปปินส์ (Philippines Immigration Act) สามารถขอ
Multiple Entry Visa ได้ โดยการขอหนังสือรับรอง 2 ฉบับ จากสำนักงาน
ตรวจคนเข้าเมืองฟิลิปปินส์ คือ Emigration Clearance Certificate (ECC)
และ Special Return Certificate (SRC) ก่อนเดินทางออกจากฟิลิปปินส์
ทัง้ นี้ ชาวต่างชาติทม่ี คี ณ
ุ สมบัตดิ งั ต่อไปนี้ ให้ทำการขอวีซา่ ชนิดต่างๆ ดังนี้
∝ Special Investors Resident Visa (SIRV)
• ผู้ที่มีเงินลงทุนน้อยกว่า 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
• ผู้ที่ถือวีซ่าชนิดพิเศษ ซึ่งมีสิทธิในการพำนักในฟิลิปปินส์ ได้นาน
เท่าที่ยังลงทุนอยู่
• คูส่ มรสของผูล้ งทุน และบุตรทีม่ อี ายุตำ่ กว่า 21 ปี และยังไม่ ได้สมรส
สามารถขอวีซ่าประเภทเดียวกับผู้ลงทุนได้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 97
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ Pre-arranged employment Visa ตามมาตรา 9(g)


ของกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองฟิลิปปินส์
• ผู้ที่ ได้รับการจ้างงานในตำแหน่งทางเทคนิค ผู้บริหาร หรือ
ผู้จัดการ
∝ International Treaty Investors Visa ตามมาตรา 9(d)
ของกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองฟิลิปปินส์
• ผู้ที่มีเงินลงทุนน้อยกว่า 300,000 เปโซฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ประเทศ
ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับฟิลิปปินส์ ในสนธิสัญญานี้ คือ เยอรมัน
ญีป่ ุ่น และสหรัฐอเมริกา เท่านั้น
∝ Special Non-Immigrant Visa ตามกฤษฎีกาประธานาธิบดี 1034
(Presidential Decree (PD) No.1034)
• ชาวต่างชาติที่ทำงานในธนาคารต่างชาติ (Offshore Bank)
ซึ ่ ง เป็ น ธนาคารที ่ ได้ ร ั บ การอนุ ญ าตจาก Bangko Sentral
ng Pilipinas (http://www.bsq.gov.ph) ให้ดำเนินการในฟิลปิ ปินส์
ในฐานะหน่วยงานธนาคารต่างชาติ (Offshore Banking Unit
หรือ OBU)
• ผู้ที่มีอภิสิทธิ์ ในการเข้าฟิลิปปินส์ ได้หลายครั้ง และได้รับการ
ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเข้าเมือง การพิมพ์ลายนิ้วมือ และ
การขึน้ ทะเบียนกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
98 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

∝ Special Non-Immigrant Visa ตามมาตรา 47(a)(2)


• บริษัทที่จดทะเบียนภายใต้ EO No. 226 และ R.A. No.7916
จะได้รับอนุญาตให้จ้างชาวต่างชาติ ในตำแหน่งเกี่ยวกับการ
จัดการ (Supervisory) เทคนิค (Technical) หรือที่ปรึกษา
(Advisory) ภายใต้ ม าตรา 47(a)(2) ของกฎหมาย
ตรวจคนเข้าเมืองฟิลิปปินส์ (Philippines Immigration Act)
ได้ ในช่วง 5 ปี แรกของการจดทะเบียน
• บริษัทที่จดทะเบียนโดยมีผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติเป็นส่วนใหญ่
อาจจะจ้างชาวต่างชาติ ให้เป็นประธานบริษัท (President)
เหรัญญิก (Treasurer) และผู้จัดการทั่วไป (General Manager)
เกินกว่าช่วง 5 ปี ได้
∝ Special Non-Immigrant Visa ตาม R.A. No.8756
• สามารถออกวีซ่าประเภท Special Non-immigration Multiple
Entry Visa ให้กับผู้บริหารชาวต่างชาติประจำสำนักงานภูมิภาค
(Regional Headquarter) หรือสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
(Regional Operating Headquarter) ของบริษัทข้ามชาติ
(Multinational Company) ได้
∝ Special Subic Work Visa
• ในเขตเศรษฐกิจพิเศษปลอดภาษีอ่าวซูบิก (Subic Bay Freeport
Zone หรือ SBFZ) สามารถจ้างชาวต่างชาติ ในตำแหน่ง
ผู้บริหารของบริษัทและในตำแหน่งที่มีทักษะทางเทคนิคขั้นสูงได้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 99
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตามกฎหมาย Wage Rationalization Act (R.A. No. 6727 บังคับใช้
เมื่อ เดื อ นกรกฎาคม 2532 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการด้านค่าจ้างและ
ผลิตภาพไตรภาคีระดับภูมิภาค เพื่อพิจารณาและแก้ ไขอัตราแรงงานขั้นต่ำ
ในระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด และระดับอุตสาหกรรม
ตามประมวลกฎหมายแรงงานของฟิลิปปินส์ (Labor Code of the
Philippines) ได้กำหนดคุณสมบัติขั้นต่ำสำหรับการจ้างงานในประมวลฉบับที่ 3
และเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัย และผลประโยชน์จากสวัสดิการสังคม
ในประมวลฉบับที่ 4
สำหรับความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ (Occupational Safety)
และมาตรฐานสุขภาพ (Health Standard) ซึง่ ปรากฏในมาตรา 162 ของประมวล
กฎหมายแรงงาน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่แตกต่างเพื่อปกป้องแรงงานที่ทำงาน
ในสถานที่อันตราย
หมายเหตุ : สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานในฟิลิปปินส์ สามารถสืบค้นเพิ่มเติม
ได้จาก
∝ Department of Labor and Employment
(http://www.dole.gov.ph)
∝ Bureau of Immigration
(http://www.immigration.gov.ph)
∝ Bangko Sentral ng Pilipinas
(http://www.bsq.gov.ph)
∝ Subic Bay Metropolitan Authority
(http://www.mysubicbay.com.ph)

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
100 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

การเป็นเจ้าของที่ดินและอาคาร
การถือครองที่ดิน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อนุญาตให้เฉพาะชาวฟิลิปปินส์และบริษัทที่มี
ชาวฟิลิปปินส์ถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 60 สามารถถือครองที่ดินได้ ชาวต่างชาติ
จะไม่มีสิทธิ์ ในการถือครองทีด่ นิ ทัง้ ของรัฐและเอกชน ยกเว้น ผูท้ ส่ี บื เชือ้ สายจาก
ชาวฟิลปิ ปินส์ และในกรณีของผู้ที่เกิดในฟิลิปปินส์แต่สูญเสียสัญชาติฟิลิปปินส์
ไปแล้ว

ทั้งนี้ บริษัท (Corporations) หรือห้างหุ้นส่วน (Partnerships) ที่มี


ผูถ้ อื หุน้ ชาวต่างชาติถอื หุน้ ไม่เกินร้อยละ 40 สามารถถือครองทีด่ นิ ของเอกชนได้

อย่ า งไรก็ ต าม ชาวต่ า งชาติ ส ามารถถื อ ครองอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ไ ด้


ในกรณี ดังต่อไปนี้
∝ ถือครองอสังหาริมทรัพย์ก่อนปี 2478
∝ ได้รับมรดกจากครอบครัวหรือคู่สมรสที่เป็นชาวฟิลิปปินส์
∝ สามารถถือครองคอนโดมีเนียมได้ หากโครงการคอนโดมีเนียมนั้น
มีต่างชาติถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 40

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 101
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

การเช่าที่ดิน
∝ การเช่าที่ดินของรัฐ
บริษัท (Corporations) หรือห้างหุ้นส่วน (Partnerships) ที่มี
ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 40 สามารถเช่าที่ดินของรัฐ
ได้ ในระยะเวลา 25 ปี และสามารถเช่าต่อได้อีก 25 ปี ตามที่
กฎหมายกำหนด และจะต้องมีสว่ นร่วมในข้อตกลงอย่างใดอย่างหนึง่
กับรัฐบาล เช่น
• ที่ดินเพื่อการเกษตรและชายฝั่ง
• ที่ดินเพื่อการทำป่าไม้
• ที่ดินชายฝั่งภายใต้ข้อตกลงการเช่าบ่อปลา
(Fishpond Lease Agreement)
ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติจะไม่ ได้รับอนุญาตให้เช่าที่ดินของรัฐที่อยู่
ภายใต้แผนการปฏิรูปที่ดิน (Comprehensive Agrarian Reform Program :
CARP)
∝ การเช่าที่ดินของเอกชน
ชาวต่างชาติสามารถเช่าที่ดินเอกชนในระยะยาวได้ตามกฎหมาย
2 ฉบับ คือ กฤษฎีกาประธานาธิบดี 471 (Presidential Decree (PD) No. 471)
และรัฐบัญญัติ 7652 (Republic Act 7652) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Investors’
Lease Act”
ทั้งนี้ PD 471 กำหนดว่า นักลงทุนชาวต่างชาติที่ต้องการมาลงทุน
ในฟิลิปปินส์จะได้รับอนุญาตให้เช่าที่ดินของเอกชนได้ ในระยะเวลา 25 ปี
และสามารถเช่าต่อได้อีก 25 ปี ตามที่ตกลงกันไว้กับคู่สัญญา

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
102 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ส่วน Investors’ Lease Act กำหนดว่า หากต้องการเช่าที่ดินเอกชน


เกินกว่า 50 ปี (หลังจากเช่าต่ออีก 25 ปี ไปแล้ว) ผู้เช่าจะต้องจดทะเบียน
กับ BOI ภายใต้ Investors’ Lease Act โดยการเช่าระยะยาวนี้ จะต้องเป็นไป
ตามเงื่อนไข ดังนี้
• พื ้ นที่เช่าจะต้องถูกใช้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนตาม
ข้อตกลงร่วมกับคู่สัญญา
• บริเวณพื้นที่เช่าจะต้องรวมถึงพื้นที่ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน
ภายใต้ข้อบังคับแห่งกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน (Comprehensive
Agrarian Reform Law) และประมวลกฎหมายองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (Local Government Code)
• ข้อตกลงการเช่าจะต้องมีผลบังคับใช้แล้วโดยผู้มีอำนาจ
หมายเหตุ : สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินของฟิลิปปินส์ สามารถสืบค้น
เพิ่มเติมได้จาก
∝ Department of Agrarian Reform
(http://www.lis.dar.gov.ph)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 103
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

หน่วยงานส่งเสริมการลงทุน
Department of Trade and Industry   
4th  Floor, Industry  and  Investments Building, 385 Gil Puyat
Avenue, Makati City, Philippines
โทรศัพท์ : 8904901-05
โทรสาร : 8953993
อีเมล์ : TGAquino@boi.gov.ph

Bureau of Import Services, Department of Trade and


Industry
3rd Floor, Oppen Building, 349 Sen. Gil Puyat Avenue,
Makati City, Philippines
โทรศัพท์ : 8964430; 8905418
โทรสาร : 8957466
อีเมล์ : bis@dti.gov.ph

Bureau of Export Trade Promotion, Department of Trade


and Industry
6 th Floor, New Solid, 357 Sen. Gil Puyat Avenue,
Makati City, Philippines
โทรศัพท์ : 8904683; 8990133
โทรสาร : 8904716; 8904707
อีเมล์ : betp@dti.gov.ph
เว็บไซต์ : www.dti.gov.ph/betp

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
104 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

Philippine Chamber of Commerce and Industry  (PCCI)  


19th Floor, Salcedo Towers, 169 Dela Costa Street, 
Salcedo Village 1227, Makati City, Philippines
โทรศัพท์ : 8445713;  8433158
โทรสาร : 8434102
อีเมล์ : mis@philippinechamber.com
เว็บไซต์ : www.philippinechamber.com

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 105
ASEAN Investment Guidebook / Philippines
Chapter 4 : บทที่ 4
โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทย
ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม
โครงสร้างเศรษฐกิจของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
โครงสร้างเศรษฐกิจของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในปี 2555 พบว่า
ภาคบริการเป็นสาขาการผลิตหลักของเศรษฐกิจ โดยคิดเป็นร้อยละ 57.1
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยภาคการบริการที่สำคัญ ได้แก่
กิจการค้าปลีกและค้าส่ง บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การขนส่ง การท่องเที่ยว
และโรงแรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ (Business
Process Outsourcing : BPO) ซึ่งครอบคลุมหลากหลายบริการ เช่น
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บัญชี การบุคคล ลูกค้าสัมพันธ์ และด้านอื่นๆ
รวมไปถึงธุรกิจเว็บไซต์ นายหน้าและการพนันฟุตบอลออนไลน์ เนื่องจาก
ฟิลิปปินส์มีจุดแข็งจากทักษะแรงงานที่ ใช้ภาษาอังกฤษได้ดีมาช่วยผลักดันธุรกิจ
BPO ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงานในประเทศแล้ว ยังเป็นการ
สร้างจุดเด่นให้กับประเทศในฐานะเป็นแหล่ง Outsourcer ในอาเซียนอีกด้วย
โดยในปี 2555 ธุรกิจ BPO สร้างรายได้ ให้ประเทศ 1.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มจาก 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าธุรกิจ BPO จะสร้างงานให้กับ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
106 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

คนฟิลิปปินส์กว่า 9.5 แสนคน สร้างรายได้กว่า 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ


ในปี 2556 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของ GDP และคาดว่าธุรกิจ
BPO จะเติบโต โดยสร้างงานเพิ่มขึ้นร้อยะ 37 เป็น 1.3 ล้านคน ในปี 2559
คิดเป็นการเติบโตของรายได้ประมาณร้อยละ 56 หรือ 2.5 หมืน่ ล้านเหรียญสหรัฐ
ต่อปี

ขณะทีภ่ าคอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 31.1 ของ GDP โดยอุตสาหกรรม


ที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า
อาหารแปรรูป

สำหรับภาคเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 11.1 ของ GDP โดยมีเกษตรกรรม


ที่สำคัญ ได้แก่ การประมง การเพาะปลูก มะพร้าว ข้าว ข้าวโพด กล้วยหอม
สับปะรด และมะม่วง

โครงสร้างเศรษฐกิจของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ด้านการผลิต ในปี 2555

Agriculture
11.8%
Sevices Industry
57.1% 31.1%

ที่มา : World Bank (WDI)


กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 107
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

สำหรั บ โครงสร้ า งเศรษฐกิ จ ด้ า นการใช้ จ ่ า ยในปี 2555 พบว่ า


เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ พึ่งพาการบริ โภคในประเทศค่อนข้างสูง โดยมีสัดส่วน
การบริ โภคภาคเอกชนอยู่ที่ร้อยละ 74.2 ของ GDP โดยส่วนใหญ่มาจาก
เงินโอนจากแรงงานในต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐานต่อการจับจ่าย
ใช้ ส อยและการบริ โ ภคในประเทศ สำหรั บ การลงทุ น ภาคเอกชนมี ส ั ด ส่ ว น
เป็นอันดับที่ 2 อยู่ที่ร้อยละ 18.5 ต่อ GDP ขณะที่มีการส่งออกสุทธิ -3.2 ของ
GDP สะท้อนให้เห็นว่าฟิลปิ ปินส์ขาดดุลการค้า หรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
มากกว่าการส่งออก

โครงสร้างเศรษฐกิจของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ด้านการใช้จ่าย ในปี 2555

Net Export,
Investment, -3.2
18.5 Private Consumption,
74.2

Government
Consumption,
10.5

ที่มา : World Bank (WDI)

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
108 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ภาวะเศรษฐกิจสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ล่าสุด
ในปี 2556 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(GDP) มูลค่าเท่ากับ 11,546,104 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ คิดเป็นอัตราการขยายตัว
ที่แท้จริงร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับปี 2555 โดยมีแรงขับสำคัญจากการผลิต
ภาคอุตสาหกรรม การค้า อสังหาริมทรัพย์ และภาคการเงิน โดยภาคธุรกิจ
บริการขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี ส่วนภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.5 ต่อปี
ในปี 2556

อัตราการขยายตัวที่แท้จริงของเศรษฐกิจสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
(Real GDP) ตั้งแต่ปี 2551 - 2556

10.0

8.0

6.0

4.0

2.0

0.0
2551 2552 2553 2554 2555 2556
Real GDP 4.2 1.1 7.6 3.6 6.8 7.2

ที่มา : Philippines National Statistical Coordination Board

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 109
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

การค้าการลงทุนจากต่างประเทศ
ด้านการค้าระหว่างประเทศข้อมูลล่าสุด 11 เดือนแรกของปี 2556
ฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ม ี ม ู ล ค่ า การส่ ง ออกสิ น ค้ า ทั ้ ง สิ ้ น 49,376.4 ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ
คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 56,417.7
ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นการหดตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ด้วยมูลค่า
การส่งออกสินค้าที่น้อยกว่าการนำเข้าส่งผลให้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2556
มีการขาดดุลการค้าอยู่ที่ 7,041.33 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์


สารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์การขนส่ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์
ทองแดง ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม น้ำมันมะพร้าว ผลไม้ ขณะที่สินค้านำเข้า
ที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ ไฟฟ้า แร่เชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์
การขนส่ง เหล็กและเหล็กกล้า สิง่ ทอ ธัญพืช เคมีภณั ฑ์ พลาสติก โดยมีประเทศคูค่ า้
ที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน

ด้านการท่องเที่ยว ข้อมูลล่าสุด 9 เดือนแรกของปี 2556 พบว่า


มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศฟิลิปปินส์ทั้งสิ้น 3.5 ล้านคน
ขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี ทั้งนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์มีนโยบายเร่งพัฒนาระบบ
สาธารณู ปโภคพื ้ น ฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
โดยข้อมูลจาก The Travel & Tourism Competitiveness Report 2013 ของ
World Economic Forum ระบุว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของฟิลิปปินส์
มีพัฒนาการมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีสัดส่วนรายจ่ายของรัฐบาล
ในอุ ต สาหกรรมท่ อ งเที ่ ย วต่ อ GDP สู ง ที ่ ส ุ ด ในโลก สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง
การให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังขาดแคลน
โดยเฉพาะการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมเพือ่ เชือ่ มโยงการเดินทางภายในประเทศ

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
110 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

นอกจากนี ้ ในปี 2556 รั ฐ บาลฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ไ ด้ จ ั ด สรรงบประมาณ


295 ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ เพื ่ อ ปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาถนน รวมทั ้ ง ได้ จ ั ด สรร
งบประมาณอีกราว 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จนถึงปี 2559 เพื่อเพิ่มจำนวน
ห้องพักสำหรับรองรับนักท่องเทีย่ วทีเ่ พิม่ มากขึน้ รวมทัง้ เชือ่ มโยงเส้นทางการบิน
ทัง้ ภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทัง้ ยังได้ดำเนินการส่งเสริมอุตสาหกรรม
ท่องเทีย่ วภายใต้นโยบาย “It’s More Fun in the Philippines” เพือ่ ประชาสัมพันธ์
แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้นให้จำนวนนักท่องเที่ยว
ในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 44.1 ล้านคน ในปี 2556 และ 56.1 ล้านคน ในปี 2559
นอกจากนั้น รัฐบาลฟิลิปปินส์ก็ยังตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทาง
มาฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคน ภายในปี 2559 โดยธุรกิจท่องเที่ยวและ
บริการที่เกี่ยวเนื่องในฟิลิปปินส์สร้างการจ้างงานมากถึง 3.8 ล้านคน หรือ
ร้อยละ 10 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ และคาดว่าจะสร้างการจ้างงาน
เพิ่มขึ้นเป็น 7.4 ล้านคน หรือร้อยละ 18.8 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ
ภายในปี 2559 และคาดว่าจะส่งผลให้กำลังซื้อของชาวฟิลิปปินส์มีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพของตลาดฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่
ด้วยจำนวนประชากรราว 104 ล้านคน (มากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจาก
อินโดนีเซีย) ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

(ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, พฤษภาคม 2556)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 111
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ด้านการลงทุน ข้อมูลล่าสุด 10 เดือนแรกของปี 2556 มีมูลค่า


การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 3,360 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2555 ที่มีจำนวน 2,485 ล้านเหรียญสหรัฐ
คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่นักลงทุน
ต่างชาติ มีความเชื่อมั่นต่อบรรยากาศการดำเนินธุรกิจในฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รายงานการศึกษาวิจัยขององค์การการค้าต่างประเทศ
ของญี่ปุ่น (JETRO) ปี 2555 ได้จัดอันดับฟิลิปปินส์เป็นประเทศน่าลงทุนมาก
ที่สุดเมื่อเทียบกับจีน มาเลเซีย ไทย เวียดนาม อินเดีย และอินโดนีเซีย โดยมี
ปัจจัยเกื้อหนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมาจาก

∝ ปัจจัยด้านต้นทุนการเงิน ผลการศึกษาพบว่า ฟิลิปปินส์มีต้นทุน


ทางการเงินต่ำที่สุดในกลุ่ม 7 ประเทศดังกล่าว โดยมีจีนและ
มาเลเซีย เป็นประเทศที่มีต้นทุนทางการเงินสูงที่สุด

∝ ปัจจัยด้านค่าเช่าสำนักงานและที่ดิน เพื่อใช้ ในการสร้างโรงงาน


ผลการศึกษาพบว่า ฟิลิปปินส์มีอัตราค่าเช่าต่ำที่สุดและหาสถานที่
ได้ง่ายที่สุดในภูมิภาคนี้ ขณะที่อินเดียและเวียดนามมีปัญหาในเรื่อง
สถานที่สำหรับใช้เป็นสำนักงานและพื้นที่ก่อสร้างโรงงานมากที่สุด

∝ ปัจจัยด้านต้นทุนแรงงาน ผลการศึกษาพบว่า ฟิลิปปินส์มีต้นทุน


ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในภูมิภาค ทั้งยังเป็นประเทศที่สามารถ
หาแรงงานทั่วไปได้ง่ายที่สุด นอกจากนั้น ฟิลิปปินส์ยังมีแรงงาน
ระดั บ บริ ห ารมากที ่ ส ุ ด เป็ น อั น ดั บ สองรองจากมาเลเซี ย เพี ย ง
ประเทศเดียว

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
112 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

∝ ปัจจัยด้านฝีมือแรงงาน ผลการศึกษาพบว่า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศ


ที่มีแรงงานฝีมือมากที่สุดในภูมิภาค และยังมีอัตราการลาออก
หรือย้ายที่ทำงานต่ำที่สุดในภูมิภาคอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปัญหาท้าทายสำหรับนักลงทุนในฟิลิปปินส์
ผลการศึกษาของสถาบัน JETRO พบว่า ปัญหาความไร้เสถียรภาพของอัตรา
แลกเปลี ่ ย นเงิ น เปโซฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ก ั บ เงิ น เหรี ย ญสหรั ฐ เป็ น ปั ญ หาที ่ ส ร้ า ง
ความยุ่งยากให้แก่นักลงทุนมากที่สุด ขณะที่ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในท้องถิ่น
ปัญหาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่เพียงพอ และปัญหาความไม่กระตือรือร้น
ของผู้ ใช้แรงงานในท้องถิ่น ยังเป็นปัญหาที่พบได้ โดยทั่วไปในฟิลิปปินส์และ
ในภูมิภาคเอเชีย

แนวโน้มเศรษฐกิจสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ปี 2557
และระยะปานกลาง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจ
ระยะปานกลางของฟิลิปปินส์ว่า เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในปี 2557 จะขยายตัว
ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี และขยายตัวได้ที่ร้อยละ 5.5 ในระยะปานกลาง โดยได้รับ
แรงสนับสนุนจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเป็นสำคัญ รวมทั้ง
ภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ ในระดับร้อยละ 3.1 - 3.5 ต่อปี นอกจากนี้ IMF คาดการณ์ว่า
ภาคการส่ ง ออกและการลงทุ น ของฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ จ ะได้ ร ั บ ปั จ จั ย บวกตามภาวะ
เศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 113
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

แนวโน้มเศรษฐกิจสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในปี 2557 และระยะปานกลาง


(พ.ศ. 2558 – 2563)

เครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญ 2557 2558 2559 2560 2561


2554 2555 2556 (f) (f) (f) (f) (f)
ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

Real GDP (ร้อยละต่อปี) 3.6 6.8 7.2 6.0 5.5 5.5 5.5 5.5
การลงทุนรวม (ร้อยละของ GDP) 20.5 18.5 18.6 18.2 20.2 20.3 20.4 20.4
ปริมาณการส่งออก (ร้อยละต่อปี) -14.0 10.5 6.1 7.1 7.9 7.3 7.0 7.6
ปริมาการนำเข้า (ร้อยละต่อปี) -9.4 6.6 8.9 9.4 11.1 9.2 9.1 10.6
ดุลการค้า (พันล้านเหรียญสหรัฐ) 48.4 41.1 38.4 39.5 39.7 40.5 41.3 -
ดุลบัญชีเดินสะพัด
3.2 2.9 2.5 2.2 1.7 1.6 1.5 0.9
(ร้อยละของ GDP)
ดุลการคลัง (ร้อยละของ GDP) -1.9 -2.4 -2.1 -2.1 -2.0 -1.9 -1.9 -1.9
อัตราเงินเฟ้อ (ร้อยละต่อปี) 4.7 3.2 2.8 3.5 3.6 3.2 3.3 3.1
อัตราการว่างงาน
7.0 7.0 7.0 7.0 7.0 7.0 7.0 7.0
(ร้อยละของกำลังแรงงานรวม)
เงินสำรองทางการ
133.6 139.7 140.4 145.1 150.6 160.8 172.6 -
(พันล้านเหรียญสหรัฐ)

ที่มา : กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ณ เดือนตุลาคม 2556

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
114 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

การประเมินโอกาสและอุปสรรคด้านการลงทุน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีความน่าสนใจในการลงทุน
จากต่างประเทศ เนือ่ งจากตลาดในประเทศทีม่ จี ำนวนประชากรเกือบ 100 ล้านคน
และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ในกลุ่มอาเซียน (รองจากอินโดนีเซีย
ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์) โดยชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่สามารถสื่อสาร
ภาษาอังกฤษได้ดีและมีค่าจ้างแรงงานไม่สูงมากนัก อีกทั้งยังมีทรัพยากร
ธรรมชาติและสินแร่อยูเ่ ป็นจำนวนมาก รวมถึงสัตว์นำ้ และพืชผลการเกษตรต่างๆ
นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้มีการจัดทำแผนส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
ในช่วงปี 2553 - 2557 (Philippines Investments Promotional Plan : PIPP)
กำหนดภาคอุตสาหกรรมที่ ได้รบั ส่งเสริมการลงทุน 8 ประเภท ได้แก่ การเกษตร
บริการธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจและบริการโทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์
พลั ง งานและการผลิ ต กระแสไฟฟ้ า โลจิ ส ติ ก ส์ เหมื อ งแร่ การต่ อ เรื อ
และการท่องเที่ยว สำหรับอุตสาหกรรมของไทยที่มีศักยภาพในการลงทุน
ในฟิลปิ ปินส์ ได้แก่ การแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง เหมืองแร่และอุตสาหกรรม
ต่อเนื่อง อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน การก่อสร้าง และธุรกิจโรงพยาบาล
เป็นต้น

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 115
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT)
ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
จุดแข็ง (Strengths)
∝ เป็นตลาดที่มีศักยภาพในเชิงปริมาณ เนื่องจากมีจำนวนประชากร
มากเกือบ 100 ล้านคน ซึ่งมากเป็นลำดับที่ 2 ของอาเซียนรองจาก
อินโดนีเซีย และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของอาเซียน

∝ ที่ตั้งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระหว่างอาเซียนกับเอเชียตะวันออก
(จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ใต้) และออสเตรเลีย อีกทั้ง
ยังเป็นเส้นทางผ่านของเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ

∝ แรงงานทั่วไปมีความสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี และยังมี
ค่าจ้างแรงงานที่ ไม่สูงนัก

∝ มี ก ารเคลื ่ อ นย้ า ยแรงงานไปทำงานต่ า งประเทศและนำรายได้


เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยกระตุ้นกำลังซื้อและการบริโภค
ภายในประเทศ

∝ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสินแร่ มีปริมาณแร่ทองแดง
ทองคำ และโครเมียม มากติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก และมีสายแร่อน่ื ๆ
เช่น นิกเกิล เงิน ถ่านหิน ยิปซัม หินปูน หินอ่อน ดินขาว และฟอสเฟต
เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างอุดมสมบูรณ์
และมีพืชผลการเกษตรต่างๆ อีกมากมาย

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
116 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

จุดอ่อน (Weaknesses)
∝ บริ ก ารสาธารณู ปโภคขั ้ น พื ้ น ฐานยั ง มี ไ ม่ เ พี ย งพอเพื ่ อ รองรั บ
การเติบโตทางเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์ยังขาดความพร้อมโครงสร้าง
พืน้ ฐานเศรษฐกิจหลายด้าน อาทิ เส้นทางคมนาคม ท่าเรือ สนามบิน
ระบบโลจิสติกส์ และระบบไฟฟ้า เป็นต้น

∝ ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรง
และเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนได้

∝ ยังคงมีปัญหาการก่อการร้ายและการแบ่งแยกดินแดน โดยเฉพาะ
ในเขตพื้นที่เกาะมินดาเนา ทางตอนใต้ของประเทศ

โอกาส (Opportunities)
∝ สินค้าไทยค่อนข้างเป็นที่ยอมรับในตลาดฟิลิปปินส์ ซึ่งมี โอกาส
สำหรับการสร้างเครือข่ายกระจายสินค้าได้ และเนือ่ งจากฟิลปิ ปินส์
มีจำนวนประชากรมาก โดยผู้มีรายได้ระดับปานกลางเริ่มมีมากขึ้น
จึงเป็นโอกาสสำหรับสินค้าของไทยทีม่ คี ณ
ุ ภาพดีและราคาปานกลาง

∝ มี ก ารจั ด ตั ้ ง เขตนิ ค มอุ ต สาหกรรมและเขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษ


เพื ่ อ อำนวยความสะดวกสำหรั บ การลงทุ น โดยมี ก ารพั ฒ นา
โครงสร้างพื้นฐานและให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนในเขตพื้นที่
ดังกล่าว

∝ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีผลผลิตการเกษตรและประมงอุดมสมบูรณ์
แต่ยังขาดแคลนทักษะและเทคโนโลยี ในการแปรรูปอาหารที่มี
ประสิทธิภาพ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 117
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

∝ สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ เป็นประเทศทีม่ สี ถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทางธรรมชาติ


ที่สวยงามและมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่แตกต่างจาก
ประเทศอื่นในภูมภิ าคเดียวกัน นอกจากนี้ การท่องเทีย่ วยังเป็นกลุม่
อุตสาหกรรมทีร่ ฐั บาลให้การสนับสนุน ปัจจุบนั นักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทาง
มาฟิลปิ ปินส์มากที่สุด ได้แก่ เกาหลี ใต้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน
ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวจากอาเซียนยังมี ไม่มากนัก

อุปสรรค (Threats)
∝ ระบบราชการของฟิลปิ ปินส์ยงั ขาดประสิทธิภาพ มีการเปลีย่ นแปลง
กฎระเบียบอยูเ่ สมอ การติดต่อราชการมีความยุง่ ยาก มีกฎระเบียบ
และขั้นตอนดำเนินงานที่เข้มงวด อีกทั้งยังมีปัญหาการคอรัปชั่น
ในทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชนขนาดใหญ่

∝ การดำเนินธุรกิจในฟิลิปปินส์มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางและขนส่ง
ในประเทศค่อนข้างสูง เนื่องจากการเดินทางและการขนส่งสินค้า
ข้ามเมืองไม่สะดวก อาจต้องใช้เวลานาน และยังต้องระวังปัญหา
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

∝ สหภาพแรงงานของฟิลิปปินส์มีความแข็งแกร่งและมีบทบาทมาก
ทำให้ น ั ก ลงทุ น อาจต้ อ งเผชิ ญ กั บ การเรี ย กร้ อ งค่ า จ้ า งแรงงาน
และสวัสดิการเพิ่มขึ้นได้ ในอนาคต

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
118 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

∝ มีการใช้มาตรการกีดกันการค้าทีม่ ิใช่ภาษีหลายประการในฟิลปิ ปินส์


อาทิ กำหนดให้สินค้าประมงแช่เย็นและแช่แข็งต้องมีฉลากกำกับ
และต้องได้รับประทับเครื่องหมายผ่านการตรวจของสำนักงาน
ประมงและทรัพยากรทางน้ำ สินค้าไก่สดและไก่แช่แข็ง เนื้อวัวสด
และแช่แข็ง เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ต้องผ่านการตรวจรับรองและ
มี ใบอนุญาตนำเข้า และกำหนดรายการสินค้าที่อนุญาตให้นำเข้า
ได้เพียงไม่กี่ชนิดในหมวดผลไม้สด เป็นต้น

การจัดอันดับความสะดวกสำหรับการทำธุรกิจ
ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ปี 2556
การเริ่มตนธุรกิจ
1
การแกปญหาลมละลาย การขออนุญาตกอสราง
51

101
การบังคับใชสัญญา การขอใช ไฟฟา
151

การคาระหวางประเทศ การจดทะเบียนสินทรัพย

การขอสินเชื่อ
การชำระภาษี
การปองกันนักลงทุน

ที่มา : International Finance Corporation, (2014), “Doing Business :


Measuring Business Regulations”.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 119
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

International Finance Corporation (IFC) กลุ่ม World Bank


ได้วิเคราะห์และประเมินสภาพแวดล้อม เพื่อการลงทุนและประกอบธุรกิจ
ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยปี 2556 ฟิลิปปินส์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็น
ประเทศที่มีความสะดวกในการทำธุรกิจลำดับที่ 108 จาก 189 ประเทศทั่วโลก
และเป็นลำดับที่ 6 ในอาเซียน โดยพิจารณาจาก 10 ตัวชีว้ ดั ได้แก่ การเริม่ ต้นธุรกิจ
(ได้ลำดับที่ 170) การขออนุญาตก่อสร้าง (ได้ลำดับที่ 99) การขอใช้ ไฟฟ้า
(ได้ลำดับที่ 33) การจดทะเบียนสินทรัพย์ (ได้ลำดับที่ 121) การขอสินเชื่อ
(ได้ลำดับที่ 86) การปกป้องนักลงทุน (ได้ลำดับที่ 128) การชำระภาษี
(ได้ลำดับที่ 131) การค้าระหว่างประเทศ (ได้ลำดับที่ 42) การบังคับใช้สัญญา
(ได้ลำดับที่ 114) และการแก้ปัญหาล้มละลาย (ได้ลำดับ 100)5

อุตสาหกรรมและธุรกิจที่น่าสนใจลงทุน
สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ ถือเป็นอีกประเทศหนึง่ ของกลุม่ อาเซียนทีน่ า่ สนใจ
สำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปลงทุน อันเนื่องมาจากปัจจัยสนับสนุน
หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง
โดยในช่วงปี 2551 - 2555 มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 5 ต่อปี
การมีตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรประมาณ 100 ล้านคน ทำให้มีอัตรา
การบริ โภคภายในประเทศที่สูง เศรษฐกิจของประเทศอาศัยการบริ โภคและ
การลงทุนภายในประเทศเป็นตัวจักรขับเคลื่อนหลัก ขณะที่พึ่งพาการส่งออก
เพียงร้อยละ 30 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ แรงงานส่วนใหญ่
มีความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี

5 International Finance Corporation, (2014), “Doing Business: Measuring Business Regulations 2014“
[online], Retrieved from http://www.doingbusiness.org/rankings [December 1, 2013]

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
120 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

รวมทัง้ มีความรูด้ า้ นเทคโนโลยี ในระดับสูง แต่มตี น้ ทุนค่าจ้างค่อนข้างต่ำ


นอกจากนี้ ประเทศยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เอื้อประโยชน์ต่อ
อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องอาศัยทรัพยากรดังกล่าวเป็นวัตถุดิบ เช่น ทองแดง
ทองคำ เงิน โครเมียม และนิกเกิล รวมทั้งเป็นทางผ่านของท่าเรือขนส่งสินค้า
ระหว่างประเทศที่สำคัญอีกด้วย

ขณะเดียวกัน สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ยงั ดำเนินนโยบายทีเ่ ปิดรับการลงทุน


จากต่างประเทศ โดยรัฐบาลได้จดั ทำแผนการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้ชื่อ Philippines Investments Promotional Plan
(PIPP) และใช้ เ ป็ น แผนการพั ฒ นาการตลาดในระยะกลางของประเทศ
โดยในช่วงปี 2553 - 2557 เน้นส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมทั้งหมด
8 ประเภท ประกอบด้วย อุตสาหกรรมการเกษตร (Agro Industry) บริการ
ธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจและบริการด้านโทรคมนาคม (Business Process
Outsourcing Industry : BPO/IT Services) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
(Electronics) อุ ต สาหกรรมพลั ง งานและการผลิ ต กระแสไฟฟ้ า
(Energy/Electricity Generation) อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics)
อุ ต สาหกรรมเหมื อ งแร่ (Mining) อุ ต สาหกรรมต่ อ เรื อ (Shipbuilding)
และบริ ก ารท่ อ งเที ่ ย ว (Tourism) อุ ต สาหกรรมเหล่ า นี ้ บ ่ ง บอกถึ ง ทิ ศ ทาง
การเติ บ โตของอุ ต สาหกรรมและโอกาสที ่ น ั ก ลงทุ น จะเข้ า ไปประกอบธุ ร กิ จ
ในฟิลิปปินส์

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 121
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ดังนั้น ปัจจัยสนับสนุนข้างต้นย่อมเปิดโอกาสทางธุรกิจในการลงทุน
ของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้

อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป
จำนวนของประชากรชาวฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยคาดการณ์ว่าในปี 2563 ประชากรฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้นเป็น 113 ล้านคน
รวมถึ ง การนำเข้ า สิ น ค้ า อาหารแปรรู ป ไม่ ม ี ข ้ อ จำกั ด มาก เนื ่ อ งจากสิ น ค้ า
เป็ น ที ่ ต ้ อ งการของประเทศ เพื ่ อ ตอบสนองความต้ อ งการบริ โ ภคอาหาร
ของประชากรที ่ ย ่ อ มจะเพิ ่ ม ขึ ้ น ตามแนวโน้ ม การขยายตั ว ของประชากร
ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์ยังมีพืชผลทางการเกษตรและสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์
แต่กระบวนการผลิตยังมีประสิทธิภาพไม่มากนัก ทำให้ยังต้องพึ่งพาการนำเข้า
สินค้าประเภทดังกล่าวบางส่วน นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยควรพิจารณา
โอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งยังมีช่องทางที่จะดำเนินการได้ ทั้งนี้
ประเภทของอาหารและเกษตรแปรรู ป ที ่ ไทยมี ศ ั ก ยภาพสู ง ประกอบด้ ว ย
อาหารทะเลแปรรูป (เช่น แปรรูปกุ้ง ผลิตปลาทูน่า) ข้าว ผลิตภัณฑ์นม
เครื่องปรุงรส อาหารปรุงแต่งสำเร็จรูป ผลไม้อบแห้ง ผักผลไม้แปรรูป บะหมี่
ขนมปังกรอบ เครือ่ งดืม่ เพือ่ สุขภาพ (เช่น น้ำผักผลไม้ นมพร้อมดืม่ ) และน้ำมันพืช
เป็นต้น

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
122 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

อุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบ
ปัจจุบัน สินค้าในหมวดยานยนต์และส่วนประกอบ ถือเป็นสินค้าส่งออก
หลักของไทยไปยังฟิลิปปินส์ เนื่องจากการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในประเทศ
ฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ยั ง ไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ จึงยังต้องพึ่ งพา
การนำเข้าจากต่างประเทศ โดยในปี 2555 ไทยส่งออกสินค้าประเภทรถยนต์
อุปกรณ์ และส่วนประกอบไปฟิลิปปินส์ รวมมูลค่า 997 ล้านเหรียญสหรัฐ
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยไปฟิลิปปินส์
ทั ้ ง นี ้ ปั จ จั ย เกื ้ อ หนุ น การส่ ง ออกของไทยดั ง กล่ า ว ได้ แ ก่ พฤติ ก รรมของ
ชาวฟิลิปปินส์ ที่ยังต้องการใช้รถยนต์ส่วนตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบขนส่ง
มวลชนของประเทศยังพัฒนาไม่ทั่วถึง อีกทั้งถนนในประเทศโดยรวมยังอยู่
ในสภาพไม่ดีนัก ทำให้รถยนต์ต้องได้รับการซ่อมแซมอยู่เสมอ ขณะที่อะไหล่
รถยนต์ของไทย ยังมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาดฟิลิปปินส์ นอกจากนี้
ฟิลิปปินส์มีสายสัมพันธ์กับญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด ดังจะเห็นได้จากการที่ญี่ปุ่น
เป็ น ทั ้ ง ตลาดส่ ง ออก แหล่ ง นำเข้ า และเม็ ด เงิ น ลงทุ น หลั ก ของฟิ ล ิ ป ปิ น ส์
ซึ ่ ง ก็ น ่ า จะเป็ น โอกาสที ่ ไทยจะสร้ า งเครื อ ข่ า ยการผลิ ต ยานยนต์ ข องญี ่ ป ุ ่ น
ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมนี้ยังไม่ค่อยได้รับ
ความนิยมจากนักลงทุนไทย จึงเป็นโอกาสที่นักลงทุนไทยจะได้พิจารณาข้อมูล
ข้างต้น เพื่อตัดสินใจเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้นในอนาคต

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 123
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การขยายตัวของจำนวนประชากรยังนำมาซึ่งการเติบโตของธุรกิจที่
อยู่อาศัย ร้านค้าปลีกต่างๆ และร้านอาหาร รวมถึงสภาพภูมิอากาศของ
ประเทศที่ร้อนชื้น ทำให้ชาวฟิลิปปินส์ต้องการสินค้าประเภทเครื่องใช้ ไฟฟ้า
ทีท่ ำความเย็นสำหรับเก็บรักษาอาหารและเครือ่ งดืม่ เพิม่ ขึน้ ดังนัน้ ตูเ้ ย็น ตูแ้ ช่แข็ง
และส่วนประกอบ จึงเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด ทั้งนี้ ไทยส่งออกสินค้า
ดังกล่าวไปฟิลิปปินส์มูลค่า 61.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.3
ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทยไปฟิลิปปินส์ ซึ่งยังอยู่ ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับ
ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมนี้ยังมีปัจจัย
สนับสนุนด้านความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านบุคลากรและกายภาพ
รวมทั้งรัฐบาลฟิลิปปินส์ ยังให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก
โดยได้ดำเนินการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์และไอที ไซเบอร์หลายแห่ง โดยเฉพาะ
ในพื้นที่สำคัญที่จะรองรับการลงทุนได้เป็นอย่างดี ได้แก่ มะนิลา และจังหวัด
ใกล้เคียง เช่น ลูซอนตอนกลาง และทากาล็อกตอนใต้

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
124 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

อุตสาหกรรมด้านการอุปโภคบริโภค
ประชากรจำนวนมากของฟิลปิ ปินส์มรี ายได้ระดับปานกลาง จึงค่อนข้าง
ให้ความสำคัญกับระดับราคาและคุณภาพของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าประเภท
เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ในปัจจุบัน เครื่องสำอางที่มีส่วนผสม
ของสมุนไพรและน้ำหอมระเหย รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวขาวเพิ่มขึ้น
อย่างเห็นได้ชัดและกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ฟิลิปปินส์กลับ
มีข้อจำกัดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้มีความหลากหลาย โดยในปี 2555
ไทยส่งออกสินค้าดังกล่าวไปฟิลิปปินส์มูลค่า 161 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น
ร้อยละ 3.3 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทยไปฟิลิปปินส์ ซึ่งถือว่ายังค่อนข้าง
น้อย จึงเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรม
นี้ด้วยเช่นกัน โดยข้อควรคำนึงด้านการผลิตของอุตสาหกรรม คือ ควรให้
ความสำคัญกับการบรรจุหีบห่อ และการติดฉลากภาษาอังกฤษบนผลิตภัณฑ์

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 125
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ
อาทิ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ด้วยเหตุที่ประเทศมีปริมาณสำรอง
ของทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุมากมาย เช่น ทองแดง ทองคำ และโครเมียม
ที่มีปริมาณมากติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก รวมถึงแร่อื่นๆ ได้แก่ ถ่านหิน ยิปซั่ม
หินปูน หินอ่อน ดินขาว และฟอสเฟต เป็นต้น แต่ฟิลิปปินส์ยังมีต้นทุนการผลิต
ของอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง รวมถึงขาดแคลนเงินทุนและสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ที่จำเป็น รัฐบาลฟิลิปปินส์จึงอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติที่สนใจสามารถเข้ามา
ลงทุนในธุรกิจดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ แต่ตอ้ งปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยสิง่ แวดล้อม
อย่างเคร่งครัด ขณะทีอ่ ตุ สาหกรรมต่อเนือ่ งทีส่ ามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
เหล่านี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยมุ่งใช้ประโยชน์
จากสินแร่ทม่ี มี ากมายในเขตภูเขาไฟของประเทศ เช่น ทองคำ พลอย เงิน และหยก
และอุตสาหกรรมวัสดุกอ่ สร้างยังสามารถพึง่ พาวัตถุดบิ จากทรัพยากรธรรมชาติ
ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นทราย หินปูน และหินอ่อน เป็นต้น

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
126 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

อุตสาหกรรมก่อสร้าง
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ยังขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น อาทิ
ถนน ท่าเรือ สะพาน และชลประทาน และโรงไฟฟ้า จึงยังต้องดำเนินการ
ก่อสร้างอีกมาก รวมถึงการก่อสร้างที่พักอาศัยราคาถูก รวมทั้งรัฐบาลเล็งเห็น
ความสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) จึงได้จัดสรร
งบประมาณในช่วงปี 2549-2553 ที่ผ่านมา เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 38,000
ล้านเหรียญสหรัฐดำเนินการดังกล่าวใน 4 พืน้ ทีส่ ำคัญ ได้แก่ เขตเมืองของลูซอน
(Luzon Urban) ลูซอนตอนเหนือ (North Luzon) ภาคกลางของประเทศ
และมินดาเนา โดยครอบคลุมทั้งระบบคมนาคมขนส่ง พลังงาน น้ำประปา และ
โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จาก
วัตถุดบิ ทีม่ อี ย่างเหลือเฟือภายในประเทศสำหรับนำมาใช้เป็นวัสดุกอ่ สร้าง รวมทัง้
สามารถตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลข้างต้นได้บนพืน้ ฐานของความต้องการ
ของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 127
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ธุรกิจบริการด้านการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
เศรษฐกิ จ ของสาธารณรั ฐ ฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ ขั บ เคลื ่ อ นด้ ว ยภาคบริ ก าร
กว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ได้แก่ ค้าปลีก รับจ้างบริหารระบบธุรกิจ (Business
Process Outsourcing) การเงิน ร้านอาหาร และอสังหาริมทรัพย์ ฟิลิปปินส์
ได้ดำเนินการเปิดเสรีภาคบริการในเกือบทุกสาขาแล้วตามกรอบความตกลง
ว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on
Services : AFAS) โดยเหลือเพียงบริการทางการเงินและบริการด้านการศึกษา
เท่านั้นที่ยังไม่ ได้เปิดเสรี แต่อย่างไรก็ตาม ไทยมีศักยภาพโดดเด่นในการลงทุน
ในธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ธุรกิจโรงพยาบาล โดยคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุนของฟิลิปปินส์ร่วมมือกับกรมการท่องเที่ยว พยายามดึงดูด
เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ โดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การยกเว้นภาษี
เงินได้นติ บิ คุ คล และภาษีนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์สำหรับใช้ ในกิจการโรงพยาบาล
เป็ น ต้ น ขณะที ่ ในฟิ ล ิ ป ปิ น ส์ เ องก็ ม ี บ ุ ค ลากรด้ า นการแพทย์ แ ละพยาบาล
เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ของไทยได้เข้าไปลงทุน
ในฟิลิปปินส์แล้ว ในนามของ Asian Hospital ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา
ขณะที่ธุรกิจสปาก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องด้วยกระแส
ของการรักสุขภาพและความงามของชาวฟิลปิ ปินส์ ส่งผลให้ธรุ กิจสปาในฟิลปิ ปินส์
มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายรูปแบบ เช่น Day Spa หรือสปาที่ ให้บริการ
ระยะสั้น ตั้งอยู่ ในทำเลที่สะดวกต่อการเดินทางสำรหรับลูกค้าที่มาใช้บริการ
Destination Spa หรือสปาที่มีกิจกรรมเพื่อสุขภาพครบวงจร อาทิ บริการ
อาหารเพื่อสุขภาพและฟิตเนส Hotel/Resort Spa หรือสปาที่ตั้งอยู่ภายใน
หรือบริเวณเดียวกับโรงแรมและรีสอร์ต Club Spa หรือสปาที่มุ่งให้บริการ
เฉพาะสมาชิก และ Medical Spa หรือสปาทีจ่ ดั ตัง้ ภายใต้พระราชบัญญัตสิ ถาน
พยาบาล โดยมีแพทย์และพยาบาลคอยกำกับดูแล ทั้งหมดนี้ล้วนสอดคล้อง
กับการที่ฟิลิปปินส์ต้องการมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
128 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ซึง่ จะสร้างรายได้ ให้แก่ประเทศหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ ต่อปี ในอนาคตอันใกล้


ขณะที่ ไทยเอง ก็มีศักยภาพในด้านประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจ
สปาทีม่ มี ายาวนาน ทำให้ธรุ กิจสปาของไทยมีชอ่ื เสียงและมาตรฐานเป็นทีย่ อมรับ
ในระดับสากล จึงถือเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจของนักลงทุนไทย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโอกาสสำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการไทย
จะมีอยู่มาก แต่ก็จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ และเตรียมความพร้อมในการ
บุกตลาดอย่างรอบคอบ โดยประเด็นที่เป็นข้อควรระวังและข้อสังเกตที่สำคัญ
มีหลายประการ เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุน
ธรรมเนียมในการติดต่อธุรกิจ และการวางแผนเดินทางไปสำรวจตลาดเพื่อ
จะเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง สินค้าไทยส่วนใหญ่ค่อนข้าง
เป็นที่ยอมรับในตลาดฟิลิปปินส์เป็นอย่างดี แต่การจำหน่ายสินค้าควรมุ่งตลาด
กลางถึงระดับล่างให้มากขึ้น สินค้าจึงควรมีคุณภาพดี แต่ราคาต่อหน่วยต่ำ
เนื่องจากประชากรกว่าร้อยละ 90 ยังมีฐานะยากจน โดยมีรายได้ต่อประชากร
ต่ำกว่าไทยเกือบเท่าตัว ขณะทีล่ กั ษณะภูมปิ ระเทศทีเ่ ป็นหมูเ่ กาะ ทำให้ โครงสร้าง
พื้นฐานไม่พร้อมและไม่สะดวกเท่าที่ควร ผนวกกับการเกิดภัยธรรมชาติและ
พายุฟา้ คะนอง บ่อยครัง้ อาจเป็นอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนได้ โดยเฉพาะ
ในส่วนที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงาน การลงทุนในฟิลิปปินส์จึงควร
ดำเนิ น การภายในเขตนิ ค มอุ ต สาหกรรมหรื อ เขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษ เพราะมี
สาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดีกว่าในการรองรับกิจกรรมการผลิตของธุรกิจ รวมถึง
จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ ด้วย นักลงทุนไทยจึงอาจพิจารณาขอรับคำ
ปรึกษาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เชื่อมั่นว่าการลงทุนในฟิลิปปินส์
จะเป็นไปอย่างราบรื่น

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 129
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ข้อเสนอแนะและมุมมองเชิงประสบการณ์
จากภาครัฐและภาคเอกชน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ อาจเป็นทางเลือกหนึ่งของนักลงทุนไทยเนื่องจาก
ฟิลิปปินส์มีข้อได้เปรียบด้านการลงทุนหลายประการ เช่น ทรัพยากรบุคคล
ทีส่ ามารถสือ่ สารภาษาอังกฤษได้ แรงงานมีทกั ษะในการทำงานสูง ความเป็นมิตร
กั บ ชาวต่ า งชาติ และจำนวนประชากรที ่ ม ี ม ากเป็ น อั น ดั บ 2 ในอาเซี ย น
รองจากอินโดนีเซีย ซึ่งหมายถึงตลาดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ทั้งยังมี
ทรัพยากรธรรมชาติที่ยังมิได้ ใช้ประโยชน์เต็มที่ อาทิ ทองคำ ทองแดง โครเมียม
นิกเกิล รวมถึงสัตว์นำ้ และพืชผลการเกษตรต่างๆ ในปี 2554 ผูป้ ระกอบการไทย
ลงทุนในฟิลิปปินส์เป็นอันดับที่ 18 (อันดับที่ 3 ในอาเซียน) ตัวอย่างภาคเอกชน
ไทยที่ลงทุนในฟิลิปปินส์ ในช่วงเวลาที่ผ่านที่สำคัญ ได้แก่ เครือโรงแรมดุสิตธานี
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เครืออิตัลไทย
เครือซีเมนต์ ไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ และธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น

ข้อเสนอแนะที่ ได้จากประสบการณ์ของผูล้ งทุนในฟิลปิ ปินส์และเจ้าหน้าที่


ภาครัฐที่เกี่ยวข้องที่นักลงทุนควรทราบก่อนตัดสินใจเข้าไปลงทุนในฟิลิปปินส์
สรุปได้ ดังนี้

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
130 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

รูปแบบการลงทุนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ
การลงทุนในฟิลิปปินส์ควรตั้งโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากฟิลิปปินส์ยังมีปัญหาความไม่พร้อมของโครงสร้าง
พืน้ ฐานทั้งเส้นทางคมนาคม ท่าเรือ สนามบิน และไฟฟ้าอยูม่ าก ทัง้ ยังขาดแคลน
อุตสาหกรรมสนับสนุนด้วย นอกจากนี้ การลงทุนในเขตดังกล่าวยังได้สิทธิ
ประโยชน์ที่ค่อนข้างสูง เช่น นอกจากจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
เป็นเวลา 4 - 8 ปีแล้ว หลังจากนั้นยังมีสิทธิเลือกเสียภาษี ในอัตราพิเศษ
ร้อยละ 5 ของรายได้รวมแทนการเสียภาษีเงินได้และภาษีท้องถิ่นในอัตราทั่วไป
ได้ด้วย

ทั้งนี้ บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจมีช่องทาง
และหลายวิธี เช่น สำนักงานผู้แทน การร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่น และบริษัท
ที่ต่างชาติเป็นเจ้าของ ซึ่งแต่ละวิธีการนั้นมีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกันไป
โดยทั่วไปแล้วสินค้าไทยค่อนข้างเป็นที่ยอมรับในตลาดฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม
การผลิตเพือ่ จำหน่ายในฟิลปิ ปินส์นน้ั ควรมุง่ ตลาดกลางถึงล่าง เนือ่ งจากประชากร
ส่วนใหญ่ยังมีระดับรายได้ค่อนข้างต่ำ และควรเน้นสินค้าคุณภาพดีแต่ราคา
ต่อหน่วยต่ำ ซึง่ อาจทำได้หลายวิธี เช่น การลดขนาดบรรจุตอ่ หน่วย เพือ่ ผูบ้ ริโภค
สามารถซื้อครั้งละเล็กน้อยได้ เป็นต้น สำหรับการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว
ในฟิลิปปินส์ นั้นต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ค่อนข้างสูง เนื่องจาก
การเดินทางข้ามเมืองไม่สะดวกและอาจต้องใช้เวลานาน รวมทัง้ ต้องระวังปัญหา
ด้านความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ และความไม่พร้อมของโครงสร้างพืน้ ฐาน
รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นรุนแรงบ่อยครั้ง และความวุ่นวาย
ทางการเมืองนั้นก็เป็นปัจจัยที่พึงตระหนักสำหรับนักลงทุนไทยด้วย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 131
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

กฎหมาย กฎ และระเบียบ
นโยบายของรั ฐ บาลให้ ก ารสนั บ สนุ น การลงทุ น จากต่ า งประเทศ
ในเกือบทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ และให้สิทธิพิเศษเพื่อส่งเสริม
กิจกรรมการลงทุนในการพัฒนาประเทศ โดยมี Foreign Investment Act 1991
เป็นกฎหมายหลัก ซึ่งมีการให้สิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อจูงใจนักลงทุนทั้งจากภายใน
และต่างประเทศ นักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกิจการโดยไม่ต้องมี
คนท้องถิ่นร่วมทุน ยกเว้นธุรกิจที่อยู่ ในรายการธุรกิจต้องห้าม (The Foreign
Investment Negative List) โดยสัดส่วนการถือหุ้นที่อนุญาตให้คนต่างชาติ
ถือครองแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ

วัฒนธรรม
ชาวฟิลิปปินส์ มีความผูกพันกับวัฒนธรรมตะวันตกที่ ได้รับถ่ายทอด
มาจากสเปนและสหรัฐอเมริกาอย่างมาก ศาสนาถือเป็นจุดศูนย์กลางสำคัญ
ในการดำเนินชีวิตของประชากรส่วนใหญ่ ในฟิลิปปินส์ ศาสนาหลักในฟิลิปปินส์
คือ โรมันคาทอลิก ซึง่ มีผนู้ บั ถือมากกว่า 80% ของประชากรทัง้ หมด โดยฟิลปิ ปินส์
นับเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่ยอมรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนา
ประจำชาติ โบสถ์กลายเป็นสถานที่สำคัญในการดำเนินชีวิต ใช้ภาษาอังกฤษ
เป็นภาษาราชการและในชีวิตประจำวันมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะที่
ชาวฟิลปิ ปินส์มคี วามเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ ปรับตัวเก่ง และมีความเป็นกันเองสูง

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
132 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ต้นทุนการดำเนินธุรกิจ
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นั้นมีต้นทุนในการดำเนินธุรกิจที่ต่ำที่สุดประเทศ
หนึ่งในอาเซียน ทั้งอัตราค่าเช่าสำนักงานและที่ดินเพื่อใช้ ในการสร้างโรงงาน
รวมถึงต้นทุนแรงงาน ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์มีต้นทุนค่าแรงโดยทั่วไปต่ำกว่า 1 ใน 5
ของค่าแรงในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนอัตราค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเช่าในประเทศ
ฟิลิปปินส์ โดยเฉลี่ยแล้วต่ำกว่าอัตราดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณ
ร้อยละ 50 ดังนั้น บริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในฟิลิปปินส์จึงสามารถ
ประหยัดต้นทุนการดำเนินธุรกิจประมาณร้อยละ 15 ถึง 30 และยังเป็นประเทศ
ทีส่ ามารถหาแรงงานทัว่ ไปได้งา่ ย และมีแรงงานระดับบริหารจำนวนมากอีกด้วย
ส่วนช่องทางการว่าจ้างงานบุคลากรในฟิลิปปินส์มีมากมาย เช่น การสืบค้น
จากคลังข้อมูล เทศกาลการหางาน และการโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ นักลงทุน
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการจ้างงานได้ที่ Department of Labor &
Employment

แม้วา่ การดำเนินธุรกิจในสาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์ ของภาคเอกชนไทยทีผ่ า่ นมา


จะประสบอุปสรรคหลายด้าน ทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่เพียงพอและไม่มี
ประสิทธิภาพ แต่ฟิลิปปินส์นั้นก็มีปัจจัยบวกที่ดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนไทย
และต่างชาติที่สำคัญหลายประการ เช่น แรงงานที่มีทักษะสูงใช้ภาษาอังกฤษ
ได้ดี มีค่าจ้างแรงงานต่ำ ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และตลาดภายใน
ประเทศที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ นักลงทุนไทยที่สนใจขยายฐานการค้าการลงทุน
ของตนสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงควรมองโอกาสขยายธุรกิจในฟิลิปปินส์
อย่างรอบด้าน ทั้งนี้ นักลงทุนที่สนใจลงทุนในฟิลิปปินส์ควรศึกษาประเภทธุรกิจ
ทีส่ นใจจากเอกสารและเดินทางไปสำรวจลูท่ างการลงทุนในฟิลปิ ปินส์ดว้ ยตนเอง
พร้อมทั้งควรขอรับคำปรึกษาจากหน่วยงานไทยที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
เพื่อให้การลงทุนในฟิลิปปินส์เป็นไปอย่างราบรื่น และหากจะร่วมทุนกับท้องถิ่น
ก็ควรศึกษาผู้ร่วมทุนอย่างรอบคอบ ย่อมจะประสบความสำเร็จในการลงทุน
ในฟิลิปปินส์ ได้อย่างแน่นอน
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 133
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

References
ภาษาไทย

การคลัง, กระทรวง. กรมสรรพากร. (2556). Philippines. [ออนไลน์].


สืบค้นจาก http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/
AEC/AseanTax-philippines.pdf [3 พฤศจิกายน 2556]

การต่างประเทศ, กระทรวง. กรมอาเซียน. (2555). ข้อมูลพืน้ ฐานอาเซียน.


[ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/
other-20121228-150233-310833.pdf [5 พฤศจิกายน 2556]

การต่างประเทศ, กระทรวง. กรมอาเซียน. (ม.ป.ป.).


ความเป็นมาของอาเซียน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/
asean/contents/files/other-20121128-163749-350622.pdf
[5 พฤศจิกายน 2556]

การต่างประเทศ, กระทรวง. กรมอาเซียน. (ม.ป.ป.). แผนงานการจัดตัง้


ประชาคมอาเซียน (3 เสา). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/
asean/contents/files/asean-media-center-20121204-141001-
878680.pdf [5 พฤศจิกายน 2556]

การต่างประเทศ, กระทรวง. กรมอาเซียน. (ม.ป.ป.).


ASEAN IN BREIF. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/
asean/contents/files/asean-media-center-20131030-094255-
608814.pdf [5 พฤศจิกายน 2556]

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
134 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 4 : โอกาสการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

การต่างประเทศ, กระทรวง. ทวีปเอเชีย. (ม.ป.ป.). สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์.


[ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/main/th/world/70/
10253-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8 %98%E0%B8%
B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E
0%B8%90%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8
%B4%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99
%E0%B8%AA%E0%B9%8C.html [29 มกราคม 2557]

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด, ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555).


ฟิลิปปินส์ : AEC Plus Handbook. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://www.askkbank.com/WhatsHot/Documents/Phillipines.pdf
[29 มกราคม 2557]

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ.


(2556). Insight : เจาะลึกโอกาสธุรกิจบริการใน AEC. [ออนไลน์].
สื บ ค้ น จาก http://www.scbeic.com/stocks/extra/3053_
20120614142931.pdf [20 กุมภาพันธ์ 2557]

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ.


(2556). Insight : ธุรกิจไทยจะก้าวอย่างไรในยุค AEC. [ออนไลน์].
สื บ ค้ น จาก http://www.scbeic.com/stocks/extra/1954_
20110211132802.pdf [20 กุมภาพันธ์ 2557]

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ.


 (2556). ฟิลิปปินส์ : ได้เปรียบเรื่องภาษาเด่นภาคบริการ. [ออนไลน์].
สืบค้นจาก http://www.scbeic.com/THA/document/topic_mb_
phillipines/ [29 มกราคม 2557]

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 135
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ฝ่ายวิจัยธุรกิจ.
(2556). AEC In Focus: ส่องสินค้าและธุรกิจที่น่าสนใจในฟิลิปปินส์
(เมษายน 2556). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.exim.go.th/
doc/newsCenter/42151.pdf [29 มกราคม 2557]

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ฝ่ายวิจัยธุรกิจ.
(2556). วิเคราะห์ตน้ ทุนรอบคอบ…ลงทุนในมาเลเซียราบรืน่ . [ออนไลน์].
สืบค้นจาก http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/43652.pdf
[25 มกราคม 2557]

พาณิชย์, กระทรวง. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.).


[ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.dtn. go.th/index.php?option=com_
content&view=article&id=6804%3Aacia&catid=310%3Aasean--
afas--acia&Itemid=789&lang=th [25 ตุลาคม 2556]

พาณิชย์, กระทรวง. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.).


บทนำก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://www.thaifta.com/trade/aec/aec_intro1.pdf [25 ตุลาคม 2556]

พาณิชย์, กระทรวง. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.).


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://www.thaifta.com/trade/corner/aec_about.pdf
[25 ตุลาคม 2556]

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
136 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

พาณิชย์, กระทรวง. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.).


ประวัตคิ วามเป็นมา AEC. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.dtn.go.th/
index.php?option=com_content&view=article&id= 7063%3A-aec
&catid=304%3Aaecasean&Itemid=792&lang=th
[25 ตุลาคม 2556]

พาณิชย์, กระทรวง. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.).


ประวัติความเป็นมา ASEAN. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://www.dtn.go.th/index.php?option=com_content&view
=article&id= 7064%3A-asean&catid=304%3Aaecasean&Itemid=
792&lang=th [25 ตุลาคม 2556]

พาณิชย์, กระทรวง. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.).


อาเซียนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://www.thaifta.com/trade/corner/as_about.pdf
[25 ตุลาคม 2556]

พาณิชย์, กระทรวง. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.).


AEC Fact Book. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.dtn.go.th/
filesupload/aec/images/inside_aec_factbook.pdf
[25 ตุลาคม 2556]

พาณิชย์, กระทรวง. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (ม.ป.ป.).


[ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.ditp.go.th [25 ตุลาคม 2556]

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 137
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

พาณิชย์, กระทรวง. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2556).


Fact sheet : ประเทศฟิลิปปินส์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://aec.ditp.go.th/index.php?option=com_content&view=article
&id=1078 %3AFACT-SHEET-ฟิลิปปินส์-%28มค-กย-2556%29
&catid=162%3Afact-sheet&Itemid=90 [30 ธันวาคม 2556]

พาณิชย์, กระทรวง. กรมส่งเสริมการส่งออก. (2555). คู่มือการค้า


และการลงทุนสหพันธรัฐมาเลเซีย (มกราคม 2555). [ออนไลน์].
สืบค้นจาก http://112.121.130.150/aec/attachments/article/318/
Malaysia%20Trade%20and%20Investment%20Handbook.pdf
[25 มกราคม 2557]

ฟิลิปปินส์ - Country Profile 2008. (2551). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก


http://ww.boi.go.th/thai/asean/ Philippines/capt7_n.html
[2 กุมภาพันธ์ 2557]

ศึกษาธิการ, กระทรวง. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและ
การพัฒนา (องค์การมหาชน). (2556). โอกาสและอุปสรรคการลงทุน
ภายใต้ ค วามตกลงด้ า นการลงทุ น อาเซี ย น (ACIA - ASEAN
Comprehensive Investment Agreement) เพื่อรองรับการเข้าสู่
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). (รายงานผลการวิจยั ). กรุงเทพฯ :
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน).

สถานเอกอัคราชฑูต ณ กรุงมะนิลา. (ม.ป.ป.). กฎระเบียบด้านการค้า


และการลงทุนในฟิลิปปินส์, [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.thai
embassymnl.ph/th/republic-of-the-philippines/economic-trade-
and-investment-of-the-philippines/regulations-regarding-trade-
and-investment-in-the-philippines.html [29 มกราคม 2557]

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
138 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

อุตสาหกรรม. กระทรวง. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.).


โครงการเตรียมความพร้อมและสร้างเครือข่ายภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://strategy .dip.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=Jm8aIqmB5
%2B8%3D&tabid=38 [30 ธันวาคม 2556]

อุตสาหกรรม, กระทรวง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.


[ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.boi.go.th/index.php?page=acia
&language=th [25 ตุลาคม 2556]

อุตสาหกรรม, กระทรวง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน.


(2556). Philippines. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.boi.go.th/
thai/asean/Philippines/capt6_n.html [29 มกราคม 2557]

อุตสาหกรรม, กระทรวง. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ


ขนาดย่อม. (ม.ป.ป.). การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและมาตรการ
การรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับผู้ประกอบการ SMEs
ในกลุม่ ประเทศอาเซียน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/
Lists/EditorInput/DispF.aspx?List=15dca7fb%2Dbf2e%2D464e
%2D97e5%2D440321040570&ID=1356 [20 กุมภาพันธ์ 2557]

อุตสาหกรรม, กระทรวง. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ


ขนาดย่อม. (2554). ถนนสู่ AEC เพื่อSMEs ไทย. [ออนไลน์].
สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/Documents/internationalization/
ถนนสู%่ 20AEC%20เพือ่ %20SMEs%20ไทย.pdf [2 พฤศจิกายน 2556]

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 139
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

อุตสาหกรรม, กระทรวง. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ


ขนาดย่อม. (2554). แผนยุทธศาสตร์ SMEs ภาคการผลิตในการ
เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :
AEC) ภายใต้ โครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ SMEs ภาค
การผลิ ต เพื ่ อ รองรั บ การเข้ า สู ่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น
(ฉบับปรับปรุงข้อมูล ณ กันยายน 2554). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://ipc3.dip.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=I8EIkUeuLoY%3D
&tabid=157 [2 พฤศจิกายน 2556]

อุตสาหกรรม, กระทรวง. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ


ขนาดย่อม. (ม.ป.ป.). ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ต่อผู้ประกอบการ SMEs ในสาขาที่มีความสาคัญต่อระบบเศรษฐกิจ
ไทย (High Impact Sectors). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://www.sme.go.th/Documents/ internationalization/ผลกระทบ
ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อผู้ประกอบการ%20SMEs%20
ในสาขาที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย%20(High%20Impact%
20Sector).pdf [20 กุมภาพันธ์ 2557]

อุตสาหกรรม, กระทรวง. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง


และขนาดย่อม. (ม.ป.ป.). ASEAN SME Investment. [ออนไลน์].
สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/Documents/internationalization/
ASEAN%20SME%20Investment.pdf [20 กุมภาพันธ์ 2557]

อุตสาหกรรม, กระทรวง. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ


ขนาดย่อม. (2556). โครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม, ข้อมูลรายประเทศ : ฟิลิปปินส์. [ออนไลน์].
สืบค้นจาก http://www.smeasean.com/country_info.php?id=3&group=2
[30 ธันวาคม 2556]

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
140 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

อุตสาหกรรม, กระทรวง. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ


ขนาดย่อม. (2556). โครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม (ASEAN SME Regional Gateway),
สาธารณรัฐฟิลปิ ปินส์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.smeasean.com/
country_info. php?id=4&group=2 [30 ธันวาคม 2556]

AEC Thailand. (2556). ประเทศใน AEC : ฟิลิปปินส์. [ออนไลน์].


สืบค้นจาก http://www.thai-aec.com/tag/ฟิลปิ ปินส์ [30 ธันวาคม 2556]

ภาษาอังกฤษ

ASEAN Investment Guidebook. (2009). [online]. Retrieved from


www.asean.org/asean/asean-secretariat [March 3, 2014]

Association of Southeast Asian Nations. (2013). ASEAN


Comprehensive Investment Agreement Reservation List. [online].
Retrieved from http://www.asean.org/communities/asean-
economic-community/item/asean-compehensive-investment-
agreement-reservation-list [October 25, 2013]

Association of Southeast Asian Nations. (2012). ASEAN


Investment Report 2012 : The Changing FDI Landscape. [online].
Retrieved from www.asean.org [October 25, 2013]

Department of Labor and Employment. (2009). Labor Codes of


the Philippines. [online]. Retrieved from http://www.dole.gov.ph/
labor_codes [January 29, 2014]

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 141
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

Incentive and Economic Zones. [online]. Retrieved from


http://investph.org/en [February 1, 2014]

International Finance Corporation. (2014) Doing Business :


Measuring Business Regulations, 2014. [online]. Retrieved from
http://www.doingbusiness.org/rankings [December 1, 2013]

International Monetary Fund. (2013). World Economic Outlook


Database, October 2013. [online]. Retrieved from
http://www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2013/02/weodata/
index.aspx [January 15, 2014]

KPMG Asia Pacific Tax Center. (2013). Philippines Tax Profile


(Updated : September 2013). [online]. Retrieved from
http://www.kpmg.com/Global/en/services/Tax/regional-tax-
centers/asia-pacific-tax-centre/Documents/CountryProfiles/
Philippines.pdf [January 24, 2014]

Navarro Amper & Co. (2012). Doing Business in the Philippines:


Paving the Way to Success.

The ASEAN Secretariat. (2012). ASEAN Economic Community


Handbook for Business 2012. [online]. Retrieved from
http://www.sme.go.th/Documents/aec/AEC_02Nov_Rev% 20
final2.pdf [November 10, 2013]

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
142 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Chapter 3 : กฎ ระเบียบด้านการลงทุนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

Torres, Quisumbing. (2005). Primer on Immigration to the


Philippines. [online]. Retrieved from http://www.bakermckenzie.
com/files/Uploads/Documents/Global%20Employment/
Immigration%20Manuals/mm_philippines_immigration_primer_
manual_2005.pdf [January 29, 2014]

Torres, Quisumbing. (2012). Doing Business in the Philippines


2012. Baker & McKenzie (eds.).

Torres, Quisumbing. (2012). Doing Business in the Philippines


2013. [online]. Retrieved from http://www.bakermckenzie.com/
files/Publication/ce375853-c930-4fdf-ab4a-427ba8238287/
Presentation/PublicationAttachment/c193d108-90a2-47ce-95ea-
4644fe20c006/bk_dbi_philippines_13.pdf [January 29, 2014]

UNCTAD. (2013). World Investment Report 2013 : Global Value


Chains: Investment and Trade for Development. [online]. Retrieved
from www.unctad.org/wir [November 22, 2013]

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ 143
ASEAN Investment Guidebook / Philippines

รอบรู้เรื่องการลงทุนในอาเซียน
144 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

You might also like