You are on page 1of 3

ความร่วมมือด้านการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว

ความเป็นมา
ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนน
ระหว่างไทย-ลาว เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๒ ณ กรุงเทพฯ ความตกลงนี้ครอบคลุมทั้งการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร
ทั้งข้ามแดนและผ่านแดน โดยมีผลให้รถบรรทุกและรถโดยสารของไทยและลาวเดินทางเข้าไปในดินแดนของอีกประเทศ
หนึ่งได้ หรือผ่านดินแดนไปยังประเทศที่สามที่มีความตกลงกับภาคีคู่สัญญาได้ และข้อตกลงเพื่อกาหนดรายละเอียดการ
ขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๔ ณ กรุงเทพฯ ข้อตกลงฯ นี้ เป็นการกาหนดรายละเอียด
เกี่ยวกับรถที่ใช้ในการขนส่งฯ และกาหนดจุดผ่านแดน ๑๐ แห่ง ที่พรมแดนของทั้งสองฝ่าย โดยกาหนดเส้นทางการขนส่ง
ทางถนนระหว่างประเทศใน สปป.ลาว ๗ เส้นทาง และในประเทศไทย ๑๐ เส้นทาง
การดาเนินการที่ผ่านมา มีการเปิดเสรีจานวนผู้ประกอบการขนส่งสินค้าไทย-ลาว การอานวยความสะดวกในการ
สัญจรของบุคคลและพาหนะระหว่างไทย-ลาว และการเดินรถโดยสารประจาทางระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีจานวน
๑๒ เส้นทางได้แก่ ๑) หนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ ๒) อุดรธานี-นครหลวงเวียงจันทน์ ๓) อุบลราชธานี-ปากเซ
๔) มุกดาหาร-สะหวันนะเขต ๕) ขอนแก่น-นครหลวงเวียงจันทน์ ๖) กรุงเทพฯ-นครหลวงเวียงจันทน์ ๗) นครพนม-ท่าแขก
๘) เชียงใหม่-หลวงพระบาง ๙) อุดรธานี-หนองคาย-วังเวียง ๑๐) กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี-ปากเซ ๑๑) เชียงราย-บ่อแก้ว
และ ๑๒) เลย-หลวงพระบาง
นอกจากนี้ จากความตกลงดังกล่าวไทยและ สปป.ลาว ได้จัดให้มีการประชุมหารือด้านการขนส่งทางถนนระหว่าง
ประเทศ โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพในแต่ละปี ซึ่งมีอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และกรมขนส่งของ สปป. ลาว เป็น
หัวหน้าคณะ
สถานะปัจจุบัน
กรมการขนส่งทางบกได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือประจาปี ระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม ๒๕๕9 ณ
อาเภอชะอา จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้
1. ให้มีการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว พ.ศ. 2542 และข้อตกลง
กาหนดรายละเอียดการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว พ.ศ. 2544 โดยให้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงฯ
ในประเด็นที่จาเป็นเร่งด่วนควบคู่ไปกับการพิจารณาร่าง Agreement between the Government of
Kingdom of Thailand and Lao People’s Democratic Republic on Road Transport
2. ให้รถขนส่งสินค้าผ่านแดนที่ท่าเรือของไทยจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่าง
ประเทศจากกรมการขนส่งทางบก และได้ทาสัญญาประกันทัณฑ์บนกับกรมศุลกากรไทย จึงสามารถทาการ
ขนส่งสินค้าผ่านแดนที่ท่าเรือของไทยได้
3. ให้กรมการขนส่งทางบกไทยและกรมขนส่ง สปป.ลาว แจ้งให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องอานวย
ความสะดวกและให้ภาคเอกชนดาเนินการร่วมมือกันในการเปลี่ยนหัวลาก-หางลาก ให้มีประสิทธิผลต่อไป
4. ให้ ทั้งสองฝ่ายเปิดเดินรถโดยสารระหว่างไทย-ลาว เส้นทางสายน่าน-ด่านห้ ว ยโก๋น -ด่านน้าเงิน -
ไซยะบุลี-หลวงพระบาง ภายในปี 2559 โดยใช้รถโดยสารขนาด 17 ที่นั่งขึ้นไป ทั้งนี้ ในอนาคตโครงการ
ปรับปรุงขยายถนนบางช่วงใน สปป.ลาว แล้วเสร็จ จึงให้ใช้รถโดยสารขนาด 45 ที่นั่งเข้าวิ่งแทน
5. ให้มีการเปิ ดเดินรถโดยสารระหว่างไทย-ลาว เส้นทางสายพิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ด่านภูดู่-ไซยะบุลี -
หลวงพระบาง โดยให้ทั้งสองฝ่ายพิจารณาดาเนินการเกี่ยวกับการจัดทาร่างบทบันทึกเพิ่มเติม (Addendum)
เพื่อเพิ่มด่านภูดู่และเส้นทางเชื่อมต่อภายในประเทศของทั้งสองฝ่ายเข้าไว้ในความตกลงว่าด้วยการขนส่งทาง
ถนนระหว่างไทย-ลาว ตามขั้นตอนเพื่อให้มีการเปิดเดินรถดังกล่าวต่อไป
6. ให้ผู้ประกอบการของทั้งสามประเทศหารือเกี่ยวกับรูปแบบทางธุรกิจการเดินรถ และนาเสนอผลการ
หารือดังกล่าวในที่ประชุมภาครัฐสามฝ่ายในการเปิดเดินรถโดยสารประจาทางไทย-ลาว-เวียดนาม พิจารณา
ต่อไป
2

7. ฝ่ายลาวเสนอให้มีการสารวจเส้ นทางรถโดยสารประจาทางระหว่างประเทศเส้นทางน่าน-ไซยะบุลี,
พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-ไซยะบุลี, เลย-ไซยะบุลี, เชียงใหม่-เชียงราย-ห้วยทราย-หลวงน้าทา, เชียงราย-อุดมไซ,
กรุงเทพฯ-ท่าแขก, กรุงเทพฯ-สะหวันนะเขต, ขอนแก่น-อุดรธานี-สกลนคร-คาม่วน และพัทยา-ปากเซ และ
ที่ประชุมมีมติให้ทั้งสองฝ่ายศึกษาความต้องการปริมาณผู้โดยสารในทุกเส้นทางที่เสนออย่างรอบคอบแล้ ว
ดาเนินการตามขั้นตอนต่อไป สาหรับเส้นทางที่สารวจแล้วให้มีการทบทวนความเหมาะสม ปริมาณผู้โดยสาร
และจุดจอดแล้วนาเสนอฝ่ายนโยบายของแต่ละประเทศพิจารณา
8. ให้ทั้งสองฝ่ายสารวจความเหมาะสมในการปรับปรุงเส้นทางและเพิ่มจุดจอดที่ลาวไอเทค (Lao ITEC)
ของเส้นทางหนองคาย-นครหลวงเวียงจันทน์ เส้นทางอุดรธานี -นครหลวงเวียงจันทน์ และเส้นทางขอนแก่น -
นครหลวงเวียงจันทน์ ตามที่ฝ่ายลาวเสนอ หากสองฝ่ายเห็นชอบด้วยให้ดาเนินการตามกระบวนการขั้นตอน
ภายในของแต่ละฝ่ายต่อไป
9. ให้ผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายหารือร่วมกันในการขอเพิ่มเที่ยวการเดินรถของเส้นทางเลย-ไซยะบุลี–
หลวงพระบาง จาก 1 เที่ยวต่อวัน เป็น 2 เที่ยวต่อวัน หากเห็นชอบร่วมกันให้แต่ละฝ่ายดาเนินการเพิ่มเที่ยว
การเดินรถที่ไม่เกินเงื่อนไขการเดินรถที่กาหนดไว้ต่อไป
10. ฝ่ายลาวรับที่จะแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเก็บค่าธรรมเนียมการนารถโดยสารเข้าเมืองฝั่งลาว
ที่ด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับด่านอื่นและรับเป็นเงินกีบต่อไป
11. ให้ทั้งสองฝ่ายแจ้งผู้ประกอบการขนส่งให้ดาเนินการติดป้ายสัมภาระ (TAG) และกล้องวงจรปิด
CCTV บนรถโดยสารประจาทางบางเส้นทางยังไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวตามหลักการที่ได้ตกลงกัน
12. การน ารถโดยสารไม่ป ระจ าทางของไทยที่นานักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวใน สปป.ลาว ต้องมี
เอกสาร ดังนี้ 1) เอกสารประจารถตามความตกลงไทย-ลาว 2) รายการนาเที่ยวโดยมีคู่สัญญาการนาเที่ยว
ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจนาเที่ยวไทย-ลาว 3) ต้องมีเอกสารนาเข้านักท่องเที่ยว เช่น ใบรับรองจากกรมตารวจ
ท่องเที่ยวลาว และแผนกแถลงข่าว วัฒนธรรมและท่องเที่ยวนครหลวง/แขวง และ 4) กรณีนักท่องเที่ยวถือ
พาสปอร์ตสามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ
13. ให้ ทั้ ง สองฝ่ ายแจ้ ง หน่ ว ยงานที่ด่า นพรมแดนของตนห้ า มอนุ ญาตให้ รถโดยสารเปล่ า เข้า มารั บ
ผู้โดยสารเว้นแต่มีเอกสารครบถ้วนตามความตกลง
14. ให้ทั้งสองฝ่ายแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการให้เป็นไปตามความตกลงที่กาหนดให้มีการแจ้งให้
ทราบล่วงหน้าทุกครั้งกรณีมีการจัดเก็บหรือเปลี่ย นแปลงค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง
ทางถนนระหว่างไทย-ลาว ซึ่งฝ่ายลาวแจ้งว่าหากรถบรรทุกที่ไม่ได้เข้าใช้บริการลานขนถ่ายสินค้าจะไม่มีการ
จัดเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการ โดยให้กรมการขนส่งทางบกไทยและกรมขนส่งของ สปป.ลาว เป็นหน่วย
ประสานงานในการแจ้งข้อมูลดังกล่าว
15. ปั ญหาการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าผ่านถนนสาย R3A ซึ่งจัดเก็บทั้งแขวง
บ่อแก้ว แขวงหลวงน้าทา และนครหลวงเวียงจันทน์ อันเป็นการจัดเก็บที่ซ้าซ้อน ซึ่ง ฝ่ายลาวรับจะแจ้งหน่วยงาน
เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าวและแจ้งฝ่ายไทยทราบต่อไป
16. ปัญหาการเรียกร้องค่าสิน ไหมทดแทนกรณีรถเกิดอุบัติเหตุในการเดินรถเส้นทาง R3A สปป.ลาว
ซึ่งผู้แทนหน่วยงานด้านการประกันภัยของ สปป.ลาว ได้แจ้งว่าในการซื้อประกันภัยใน สปป.ลาว ควรซื้อกับ
บริษัทประกันภัยที่มีความน่าเชื่อถือ หรือในกรณีที่ซื้อประกันภัยจากบริษัทประกันภัยของไทยที่มีการขยาย
ความคุ้มครองการประกันภัยใน สปป.ลาว ควรจะซื้อจากบริษัทประกันภัยที่มีความตกลงด้านการจัดการความ
เสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัยแห่งชาติลาว
17. ให้ทั้งสองฝ่ายกาชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้มงวดตรวจสอบหนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ
ณ ด่านพรมแดนของทั้งสองฝ่าย
3

18. ปัญหาการนารถเปล่าไทยเข้าไปรับสินค้าในลาวไม่ได้ ซึ่งฝ่ายลาวได้ชี้แจงว่ารถเปล่าจะไม่มีเอกสาร


เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าตามที่กาหนดไว้ในข้อตกลงกาหนดรายละเอียดการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว
จึงไม่สามารถเข้าไปรับสินค้าได้ แต่หากผู้ประกอบการขนส่งของทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือหรือเป็นคู่สัญญากัน
ก็สามารถดาเนินการได้ทั้งนี้ ฝ่ายไทยจะได้กาหนดเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันและแจ้งผู้ประกอบการขนส่งทราบ
ต่อไป
19. ฝ่ายไทยได้เสนอปัญหาในการลงทุนสร้างจุดขนถ่ายสินค้าที่ลังคัง แขวงคาม่วน และยังไม่ได้รับความ
สะดวกในการตรวจปล่อยสินค้า ฝ่ายลาวแจ้งว่าผู้ลงทุนที่ เข้าไปลงทุนดาเนินธุรกิจด้านโลจิสติกส์ใน สปป.ลาว
ต้องผ่านหน่วยงานด้านส่งเสริมการลงทุนก่อน จากนั้นต้องได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง สปป.ลาว ทั้งนี้ ฝ่ายลาว
ยินดีรับที่จะนาประเด็นดังกล่าวไปพิจารณา โดยขอให้ผู้ลงทุนดังกล่าวได้ประสานงานกับกรมขนส่ง สปป.ลาว
เพื่อจะได้นาประเด็นดังกล่าวไปพิจารณาก่อนแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการต่อไป
20. ความร่วมมือด้านการประกันภัยรถระหว่างไทย-ลาว 1) การลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวง
การเงินของ สปป.ลาว กับสานักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ใน
การสนับสนุนกิจกรรมในด้านการส่งเสริมความรู้ระหว่างกัน 2) การดูแลเกี่ยวกับการจัดการความเสียหายหรือ
ค่าสินไหมทดแทนระหว่างรถที่ขยายความคุม้ ครองการประกันภัยระหว่างบริษัทสมาชิกสมาคมประกันวินาศภัย
ไทยกับบริษัทประกันภัยแห่งชาติลาว และ 3) การกาหนดที่จะมีการประชุมคณะทางานเกี่ยวกับการประกันภัย
รถภาคบังคับของอาเซียน ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
21. ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทย-ลาว 1) การจัดทาแผนแม่บ ทการพัฒนาการเชื่อมโยง
ด้านการท่องเที่ยวข้ามแดนไทย-ลาว บริเวณภูชี้ฟ้าและภูชี้ดาว จังหวัดเชียงราย และบริเวณช่องทางบ้าน ฮวก-
กิ่วหก จังหวัดพะเยา และ 2) การจัดทาบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่าง
ราชอาณาจักรไทยกับ สปป.ลาว เป็นต้น
จากผลการประชุมดังกล่าว ขบ. ได้ดาเนินการดังนี้
1. จั ดส่ งบันทึกการประชุมหารื อด้านการขนส่ งทางถนนระหว่างไทย-ลาว วั นที่ 1๗-1๘ สิ งหาคม ๒๕๕9
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกพิจารณาดาเนินการในเรื่องต่างๆ ตามมติที่ประชุมต่อไป
2. มีหนังสือแจ้งไปยังจังหวัดอุตรดิตถ์ และกรมศุลกากรเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการกาหนดเส้นทางภายในประเทศ
ที่เชื่ อมระหว่ างพิ ษณุ โลก-อุ ตรดิ ตถ์ -ด่ านภู ดู่ เข้ าไว้ ในบทบั นทึ กเพิ่มเติ ม (Addendum) ของข้ อ ตกลงก าหนด
รายละเอียดการขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว พ.ศ. 2544
3. ส่งร่าง Agreement between the Government of Kingdom of Thailand and Lao
People’s Democratic Republic on Road Transport ให้ สปป.ลาว พิจารณา
การดาเนินการต่อไป
1. ดาเนินการในเรื่องต่างๆ ตามมติที่ประชุมฯ
2. พิจารณาการจัดทาร่างบทบันทึกเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มด่านภูดู่และเส้นทางต่อเนื่องเข้าไว้ในความตกลงฯ และ
ประสานงานหารือกับฝ่าย สปป.ลาว เพื่อให้ได้ข้อยุติในร่างบทบันทึกเพิ่มเติม ก่อนดาเนินการตามกระบวนการภายใน
ของไทยในการนาเสนอขอความเห็นชอบในการลงนามบทบันทึกเพิ่มเติมฯ ต่อไป
3. พิจารณาการจัดทา Agreement between the Government of Kingdom of Thailand and
Lao People’s Democratic Republic on Road Transport

..................................
กองแผนงาน
กลุ่มกิจการขนส่งระหว่างประทศ
27 ตุลาคม ๒๕๕๙

You might also like