You are on page 1of 38

รายงาน

เรื่อง ความโดดเด่นของ 5 ประเทศในแต่ละทวีป


โดย
นางสาว นวรัตน แสนเถิน รหัสนิสิต 65242030
นางสาว นิภาภรณ์ แจงชู รหัสนิสติ 65242191
นางสาว ประภัสสร ทัพพุ่ม รหัสนิสิต 65242436
นางสาว ประภาพร อุฤทธิ์ รหัสนิสติ 65242443
นางสาว รัชพรพรรณ ม่วงขำ รหัสนิสิต 65245413
เสนอ
ดร. จุฑามณี สามัคคีนิชย์
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (833102)
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปีการศึกษา 2/256
1

บทนำ

โลกก่อกำเนิดขึ้นประมาณ 4,600 ล้านปี องค์ประกอบของโลกประกอบด้วยพื้นมหาสมุทร และพื้น


ทวีป แต่ก่อนพื้นทวีปถูกสันนิฐานจากนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นพื้นดินที่ชิดติดกันขนาดใหญ่เป็นมหาทวีป ที่เรียก
กันว่า พันเจีย ดินแดนทางตอนเหนือเรียกว่า ลอเรเซีย ดินแดนทางตอนใต้เรียกว่า กอนด์วานา เมื่อกาลเวลา
ผ่านพื้นเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนที่ทำให้พื้นทวีปแยกออกจากกัน และได้มีการแบ่งพื้นทวีปออกเป็น 7 ทวีป
ได้แก่ แอฟริกา แอนตาร์กติกา เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ เกิดการแบ่งเชื้อชาติ
ตามพื้นที่ทวีปที่อาศัยเกิดเป็นสังคมมนุษย์ตามวิวัฒนาการ เกิดการแข่งขันแย่งชิงการเป็นผู้นำของโลกตาม
สัญชาตญาณสัตว์ เพื่อสร้างความก้าวหน้าและความอยู่รอดตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ดีการแข่งขันเพื่อเป็นผู้นำหรือผู้ที่แข็งแกร่ง ก็เป็นพฤติกรรมของสัตว์แบบหนึ่งซึ่งมนุษย์ถือว่า
เป็นสัตว์ประเภทหนึ่งเช่นกัน จึงไม่แปลกสำหรับพฤติกรรมการแย่งชิงนี้ แต่เนื่องจากวิวัฒนาการของโลกส่งผล
ให้มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสำนึกคิด มีพัฒนาการสมองมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น การแย่งชิงที่เป็นผลจากทำสงครามจึง
ลดหลั่น และค่อย ๆ เบาบางลงและได้เปลี่ยนแปลงเป็นการแข่งขันด้านอื่น ๆ แทน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ
ด้านการเมืองการปกครอง ด้านความมั่นคง ด้านการท่องเที่ยว ด้านการค้าคมนาคม เป็นต้น ที่เป็นการกระทำ
อันส่งผลประโยชน์ให้แก่ประเทศของตนในแต่ละทวีป จึงทำให้ประเทศที่มีความโดดเด่นและมีการพัฒนามาก
ทีส่ ุด กลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการกระทำ หรือการเคลื่อนไหวใด ๆ ต่อ
ทวีปนั้น ๆ หรือส่งผลกระทบต่อระบบของโลก
ด้วยประเด็นความโดดเด่น ความสำคัญและเหตุผลที่น่าสนใจของประเทศสำคัญในแต่ละทวีปนั้น เป็น
ประเด็นที่ควรศึกษาค้นคว้า ฉะนั้นบทความฉบับนี้จึงได้ทำการแยกหัวข้อทวีปออกเป็น 7 หัวข้อ โดยมีประเทศ
สำคัญในด้านต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบ หัวข้อที่ 1 ทวีปเอเชีย หัวข้อที่ 2 ทวีปแอฟริกา หัวข้อที่ 3 ทวีป
ออสเตรเลีย หัวข้อที่ 4 ทวีปยุโรป หัวข้อที่ 5 ทวีปอเมริกาตอนเหนือ และหัวข้อสุดท้าย ทวีปอเมริกาตอนใต้
ทวีปเอเชีย(Asia)

สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อระบบโลกใน
หลายการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นเหตุมาจากปัจจัยองค์ประกอบของจีน ทั้งด้านขนาดดินแดน ที่ตั้ง ด้านประชากร
ด้านทรัพยากร และด้านเศรษฐกิจ
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีขนาดพื้นที่มากติดอันดับ 3 ของโลก อีกทั้งยังได้เปรียบในเรื่องพื้นที่ที่ตั้งทั้ง
ตอนล่างและตอนบนติดอยู่กับประเทศหลากหลายทำให้ทุกการขยายการค้า เศรษฐกิจได้หลากหลายประเทศ
ทั ้ ง ยั ง พื ้ น ที ่ ท างตะวั น ออกและทิ ศ ใต้ ต ิ ด กั บ ทะเลจี น ตะวั น ออก ทะเลจี น ใต้ และทะเลเหลื อ ง(สถาน
เอกอัครราชทูต, 2562) กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ
ทางด้านประชากรสาธารณะรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่มีจำนวนมากที่สุดติดอันดับ 2 ของโลก
โดยประมาณ 1.4 พันล้านคน ด้วยความได้เปรียบของจำนวนประชากรที่มีมากที่สุดทำให้จีนมีการเจริญเติบโต
และมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ เรียกลักษณะนี้ว่า “ทุนมนุษย์” (Phatphicha Lerksirinukul, 2562) ได้ผลิตจำ
นานแรงงานและทำให้เกิดค่าแรงมีราคาถูกเป็นผลมีการจัดตั้งโรงผลิตจากต่างประเทศที่เข้ามาผลิตสินค้าที่มี
ต้นทุนถูกลง ส่งผลให้ประชากรและเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้ในฐานะ “โรงงานโลก”
ทางด้านทรัพยากรเนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมีพื้นที่ดินแดมมากส่งผลให้มีทรั พยากรมากตาม
โดยเริ่มจาก ทรัพยากรแร่ธาตุ จีนมีทรัพยากร 157 ชนิด ถ่านหินมีปริมาณการผลิตเป็น 30 เปอร์เซ็นของโลก
ทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติปริมาณรวมทรัพยากรแร่ธาตุเป็นอันดับ 3 ของโลก ทรั พ ยากร
น้ำของจีนอยู่ในอันแรกของโลก ทรัพยากรสัตว์ของประเทศจีนมีสัตว์ต่าง ๆ มากมายคิดเป็น 10 เปอร์เซ็น
ทั ่ ว โลก และทรั พ ยากรพฤกษชาติ ป ระเทศจี น มี ล ั ก ษณะภู ม ิ ป ระเทศที ่ ส ลั บ ซั บ ซ้ อ นทำให้ ม ี พ ื ช พั น ธ์ ที่
อุดมสมบูรณ์และหลากหลาย(Thai educator, 2565)
ทางด้านเศรษฐกิจเนื่องด้วยประเทศจีนมีขนาดพื้นที่ ประชากร และทรัพยากรมาก ส่งผลให้เกิดการ
ก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานการผลิตและบรรษัทข้ามชาติ อีกทั้งภาครัฐบาลผลักดันให้สาธารณรัฐ
ประชานชนจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก(WTO)ตลอดจนการมีบทบาทสำคัญในรัฐวิส าหกิจหรื อ
บรรษัทที่เป็นของรัฐ ทำให้เศรษฐกิจของจีนเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีอิทธิพลในการส่งผลกระทบกับ
ระบบเศรษฐกิจโลก เนื่องจากการเป็นมหาอำนาจที่แข่งขันกับสหรัฐอเมริกา(Sukhothai, 2557)
โดยสรุป ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นเป็นผลทำให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจของโลกที่มีความสำคัญประเทศ
และมีอิทธิพลต่อหลาย ๆ ด้านของระบบโลก และมีความโดดเด่นมาก ๆ สำหรับประเทศในทวีปเอเชีย
ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวบ่อยครั้งเนื่องโดยอยู่ในพื้นที่วงแหวนแห่งไฟ
(Ring of Fire)มีการสร้างแนวป้องกันในหลาย ๆ ด้านเพื่อเตรียมการป้องกัน มหัตภัยธรรมชาติทั้ งแผ่นดินไหว
สึนามิ เป็นตันซึ่งเป็นผลให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และยังมีผลทางด้านเศรษฐกิจประเทศ
ด้วย
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีญี่ปุ่นเป็นแนวหน้าด้านการวิจัย ทั้งยังมีจำนวนการขอสิทธิบัตรในการ
ออกหนังสือสำคัญเพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นอันดับที่ 3 ของโลก เช่น รถยนต์
สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และญี่ปุ่นเป็นในผู้นำใน
การพัฒนาเทคโนโลยีมี่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่ประหยัดพลังงานมากที่สุด
และปล่อยควันเสียได้น้อย ทั้งยังมีจำนวนสิทธิบัตรในด้านเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอันดับหนึ่งของโลก และยังมี
หน่วยงานวิจัยและพัฒนางานด้านอวกาศ “องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ” ที่ใช้สังเกตทางดาราศาสตร์และ
จักรวาลวิทยาของญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในสมาชิกของโครงการความร่วมมือการสร้างอวกาศนานาชาติและ
โมดูลคิโบ
ในทางด้านเศรษฐกิจปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกถือเป็นประเทศ
ที่พัฒนาแล้ว โดยประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเป็นผล
มาจากการเร่งการผลิตและการส่งออกสินค้าประเภทเทคโนโลยีและสินค้ามูลค่าเพิ่มไปยั งประเทศต่าง ๆ
รวมถึงการที่ประเทศเข้าไปร่วมลงทุนกับประเทศอื่น ๆ ส่งผลให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการ
พัฒนาเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(พีรเดช และนลิตรา, 2557, น. 23)
โดยสรุปประเทศญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจที่มีอิทธิพลต่อระบบโลก ทั้งยังเป็นมหาอำนาจที่มีอิทธิพลใน
ทวีปเอเชียโดยตรง ด้วยเหตุนี้ประเทศญี่ปุ่นจึงมีความโดดเด่น และถูกจับตามองจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

สาธารณรัฐสิงคโปร์
สาธารณรัฐสิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่มีการศึกษาและเทคโนโลยีล้ำหน้าหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย แม้
จะเป็นประเทศขนาดเล็กที่สุดในเอเชีย แต่ก็เป็นประเทศที่พัฒนาได้ดีที่สุด ในด้านที่โดดเด่นจนเป็นที่น่าจับตา
มอง ได้แก่ ด้านการศึกษา และด้านเทคโนโลยี
ด้านการศึกษาสิงคโปร์ ถือว่าเป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีและมีคุณภาพเป็นอันดับต้น ๆ ของ
โลกซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1. การวางโครงสร้างของระบบการศึกษาที่ดี
2. มีจุดเด่นด้านการใช้ระบบการเรียนสองภาษา
3. รัฐช่วยเหลือเด็กนักเรียนจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ
4. รัฐสนับสนุนหลักสูตร Special Education School
5. หลักสูตรการเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษาของสิงคโปร์
เป็นที่ยอมรับในระดับนานชาติ(Niratchaphorn, 2561)
ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยยกระดับการศึกษาของสิงคโปร์ให้มีคุณภาพและได้รับการยอมรับแม้จะ
เป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ

“การศึกษาที่ทำให้ประชากรมีคุณภาพ ทำให้สิงคโปร์
สามารถมีรัฐบาลที่มีความสามารถ ในอันที่จะรับมือกับ
ปัญหาท้าทายที่ใหญ่หลวงในอนาคตข้างหน้า”(ปรีดี, 2565)

ด้านเทคโนโลยีสิงคโปร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากต้องนำมาปรับใช้กับการค้าเพื่อเพิ่ม
โอกาสและผลักดันธุรกิจและนวัตกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ของหุ่นยนตร์ ตลอด
จนถึงระบบประมวณผลอัตโนมัติ หรือด้านสมองกล(ปัทมา, 2566)
โดยสรุปสาธารณรัฐสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่ล้ำหน้าในด้านการศึกษาอีกทั้งยังได้รับการจัดอันดับ
การศึกษาดีติดอันดับ 1 ของโลกในด้านการศึกษาที่ดี มีความเจริญทั้งด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจจนเป็นที่น่า
จับตามองในระบบอาเซียนและของเอเชีย

สหพันธรัฐรัสเซีย
สหพันธรัฐรัสเซียเป็นประเทศมหาอำนาจมาตั้งแต่อดีตมีคามเจริญมากทั้งด้านความมั่นคง ทรัพยากร
และด้านวิทยาศาสตร์ แม้ในปัจจุบันจะมีความขัดแย้งระหว่างประเทศเกิดขึ้นแต่รัสเซียยังคงเป็นที่โดดเด่นใน
เอเชีย
สหพันธรัสเซียเป็นดินแดนที่มีอาณาเขตมากที่สุดในโลก โดยประมาณ 17 ล้านตารางกิโลเมตร และมี
ประชากรประมาณ 143.4 ล้านคนซึ่งเป็นจำนวนที่มากสำหรับการผลิตแรงงานและบุคลากรทั้งทางด้านทหาร
และทางด้านอื่น ๆ ด้านความมั่นคง รัสเซียเป็นมหาอำนาจทางด้านการทหารและคลังอาวุธนิวเคลียร์ (กนกพร,
2562)
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัสเซียให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง มี
อง์กรวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่า 4000 แห่ง โดยองค์กรหลัก คือ สถาบันวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยอื่น ๆ ใน
สังกัด อีกหลาย 100 แห่ง แยกตามสาขา เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี เป็นตัน ให้การส่งเสริมศักยภาพ
อัจฉริยะภาะของทัพยากรบุคคลเพื่อหวังเพิ่มรายได้จากการส่งออกเทคโนโลยีระดับสูง นอกเหนือจากการ
พึ่งพารายได้หลัก จาการส่งออกด้านพลังงาน(จักรกฤษณ์ ,2565)
ด้านทรัพยากรเนื่องจากรัสเซียมีขนาดพื้นที่ที่ใหญ่วมากทำให้มีทรัพยากรมาก ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ
มากที่สุดในโลก มีถ่านหินมากเป็นอันดับ 2 ของโลก มีน้ำมันดิบเป็นอันดับ 8 ของโลก เป็นผู้ผลิตน้ำมันราย
ใหญ่อันดับ 3 ของโลก
โดยสรุปจากข้อความข้างต้น ปัจจัยสำคัญเหล่านี้เป็นผลให้รัสเซียเป็นที่น่าจับตามองและกลายเป็น
มหาอำนาจของโลก ส่งผลกระทบกั บระบบของโลกทุกการเคลื่อนไหว และมีอิทธิพลมากเป็นอันดับต้น ๆ ใน
ทวีปเอเชีย

ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย
ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ามีทรัพยากรในการส่งออกน้ำมันเป็นอันดับหนึ่ง
ของโลก เป็น ประเทศที่มี ความสำคัญต่อตลาดน้ำมันโลกเป็นอย่างมาก ปัจจัยที่ส ่งผลให้ราชอาณาจักร
ซาอุดิอาระเบียมีความสำคัญได้แก่ ขนาดดินแดน ด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ
ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียมีพื้นขนาดดินแดนที่ได้เปรียบทางด้านคมนาคมเนื่องด้วยพื้นที่ชายแดน
ติดกับหลายประเทศมีทั้งภาคพื้น ดิน และทางน้ำ มีขนาดพื้นที่ประมาณ 2 ล้านตารางกิโลเมตร ประเทศ
ซาอุดิอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอาหรับ ใหญ่เป็นอันดับห้าของทวีปเอเชีย
ด้านการเมืองการปกครองรัฐบาลซาอุดิอาระเบียเน้นนโยบายในการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ
ภายในประเทศ พยายามเสริมสร้างบทบาทความเป็นผู้นำในโลกมุสลิมและกลุ่มอาหรับในความสำคัญในการ
ร่วมในกรอบคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ(GCC) เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นและความมั่นคงของกลุ่ม
อาหรับและกลุ่มประเทศGCC นอกจากนั้นกษัตริย์อับดุลลาห์ยังเร่งนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายโดยเสนอให้
จัดตั้งศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายสากลและการเพิ่มพูนความสัมพันธ์และความร่วมมือในประเทศเอเชีย
(กระทรวงการต่างประเทศ, 2565)
ด้านเศรษฐกิจซาอุดิอาระเบียมี ระบบเศรษฐกิจแบบมีรัฐเป็นผู้นำมีทรัพยากรน้ำมันเป็นพื้นฐานและ
เป็นตัวนำในการพัฒนาประเทศ เป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันของโลก มี บทบาทสำคัญใน OPEC และในการ
รักษาเสถียรภาพราคาและระดับอุปทานน้ำมันในตลาดโลกในแต่ละปี ผลผลิตภาคน้ำมันของซาอุดิอาระเบียคิด
เป็นร้อยละ 40 ของGDP เศรษฐกิจของซาอุดิอาระเบียจึงมีลักษณะพึ่งพาภาคน้ำมันสูง ภาวะเศรษฐกิจที่ดีใน
ระยะปัจจุบ ัน และราคาน้ำมัน ในตลาดโลกที่สูงขึ้นทำให้รัฐบาลซาอุดิอาระเบียมุ่งผลักดันการปฏิรูป ทาง
เศรษฐกิจ การเพิ่มงบประมาณด้านการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสวัสดิ การสังคม(กระทรวงการ
ต่างประเทศ, 2565) แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลซาอุดิอาระเบียก็พยายามส่งเสริมการสร้างความหลากหลายทาง
เศรษฐกิจในประเทศให้มากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาทรัพยากรน้ำมันที่อาจหมดลงและลดความเสี่ยงกับการต้อง
เผชิญกับความผันผวนของราคาน้ำมันดิบของตลาดในอนาคต
ฉะนั้นแล้วด้วยปัจจัยไม่ว่าจะทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ทรัพยากร และความได้เปรียบ
ทางด้านดินแดน ส่งผลให้ซาอุดิอาระเบียมีความโดดเด่นและมีความสำคัญต่อตลาดโลก ซาอุดิอาระเบียจึงเป็น
ประเทศสำคัญประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย
ทวีปแอฟริกา(Africa)

สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์
สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์เป็นประเทศที่มีกว่าครึ่งของประเทศเป็นทะเลทราย แต่ยังคงมีพื้นที่ติดกับ
แม่น้ำ ความโดดเด่นของสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์มาจากปัจจัยพื้นที่ จำนวนประชากร การท่องเที่ยว
สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุดประมาณ
101ล้านคน มีขนาดพื้นที่ประมาณประมาณ 1 ล้านตารางกิโลเมตร(ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ, 2565)
เนื่องจากขนาดพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทะเลทรายสะฮาราส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติเกี่ ยวกับการเกษตรไม่
สามารถทำการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการส่งออก จึงส่งผลให้ ภาคเศรษฐกิจ
สำคัญที่ทำรายได้ให้แก่อียิปต์ ได้แก่ภาคบริการโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว
ด้านการท่องเที่ยวเป็นประเทศที่มีความล้ำค่าในเชิงประวัติศาสตร์มากที่สุดแห่ งหนึ่งของโลก เป็น
แหล่งอารายธรรมซึ่งมีประวัติศาสตร์ความเจริญรุ่งเรืองมาเป็นเวลา 7 พันปี ได้แก่ พีระมิดแห่งกีซาหรือ
พีระมิดคีออปส์ เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณและเป็นพีระมิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างขึ้นเมื่อ
ประมาณ 4600 ปีที่แล้ว มหาสฟิงซ์ทำมาจากการสลักรูปจากก้อนหินเพียงก้อนเดียว ทำให้มหาสฟิงซ์
กลายเป็นรูปแกะสลักจากก้อนเพียงก้อนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก มาหาวิหารอาบูซิมเบล วิหารแห่งนี้สร้างขึ้น
จากการเจาะสกัดภูเขาสองลูกมีความสูงถึง 20 เมตร เป็นวิหารหินขนาดมหึมาที่ได้รับมอบให้เป็นมรดกโลกของ
องค์การยูเนสโก หุบเขากษัตริย์และสุสานฟาโรห์ เป็นสถานที่ค้นพบมัมมี่พระศพของฟาโรห์ที่ถูกบรรจุไว้ในตู้
ทองคำ 4 ชั้น ในสภาพที่สมบูรณ์ มีมหาสมบัติที่ถูกบรรจุไว้มากมายมหาศาลถูกเก็บไว้ในห้องของสุสาน เป็นอีก
สถานที่มีความเก่าแก่และโบราณมากติดอันดับโลก(gtt-admin, 2562)
โดยสรุปสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์การหารายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจาการท่องเที่ยว เป็นประเทศ
ที่มีความสำคัญในด้านอารยธรรม มรดกโลก จึงเป็ นผลให้อียิปต์ถูกจับตามองในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวมรดก
โลกและมีความโดดเด่นประเทศหนึ่งในแอฟริกา

สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นประเทศถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญมากเป็นประเทศหนึ่งในทวีป
แอฟริกาด้วยความเจริญ ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งเสริมให้ประเทศมีความโดดเด่น ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการ
ท่องเที่ยวที่มีลักษณะเอื้ออำนวยต่อการเกิดแหล่งท่องเที่ยว
ด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีร ะบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา ควบคู่ไปกับการส่งออก
เหล็ก ถ่านหิน และอัญมณีรายใหญ่ของโลก โดยมีอุตสาหกรรมแร่ธาตุและการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้หลัก
ของประเทศ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะอัญมณีและทองคำ ทั้งยังเป็นผู้
ส่งออกรายใหญ่ของโลก สาขาด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีถ่านหินสำรอง
เป็น อัน ดับ ที่ 6 ของโลก สาขาด้ า นการเกษตร สาธารณรัฐ แอฟริ กาใต้ผ ลิ ต ได้ม ากที ่ส ุ ด คือ ข้า วโพด
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นผู้ผลิตหลักในกลุ่ม SADC นอกจากนี้ยังมีผลผลิตที่สำคัญ เช่น ข้าวสาลี อ้อย
ทานตะวัน เป็นอันดับที่ 12 ของโลก(กระทรวงการต่างประเทศ, 2554)
ทางด้านการท่องเที่ยวเนื่องด้วยลักษณะพื้นที่หลากหลายแบบ ไม่ว่าจะลักษณะพื้นที่แบบทะเลทราย
หรือพื้นที่ราบลุ่ม สถานที่ท่องเที่ยวอันดับแรก คือ ภูเขารูปโต๊ะ เป็นภูเขาที่เกิดจาการยกตัวของเปลือกโลก
ขึ้นมาและถูกกัดกร่อนโดยลมและฝนจนกาลยเป็นภูเขารูปทรงสี่เหลี่ยมเหมือนโต๊ะ เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์
ที่เกิดเองตามธรรมชาติของโลก และองค์การยูเนสโกให้การรับรองว่ าเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ( ท่องเที่ยว
ตามlysty, 2562) อุทยานแห่งชาติครูเกอร์เป็นหนึ่งในเขตสวนที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีพื้นที่รวม
20000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมี ขนาดใหญ่กว่าประเทศอิสราเอล อุทยานแห่งนี้ถูกยกในเป็นสัญลักษณ์ ข อง
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เพราะเป็นอุทยานที่ชาติที่ก่อตั้งมายาวนานที่สุด ตั้งแต่ปี ค.ศ 1898 เพื่อใช้อนุรักษ์สัตว์
ป่าในเขตโลว์เวลด์มีจำนวนสัตว์ป่าที่หนาแน่นได้แก่ ช้าง สิ งโต แรด เสือดาว และควายป่า เป็นต้น(วิลาวัลย์,
2563)
ดังบทความข้างต้น แสดงให้เห็นว่าสาธารณรัฐ แอฟริกาใต้มีทรัพยากรที่เป็นแหล่งหารายได้ ข อง
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แล้ว ยังมีการท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้อีกแบบหนึ่งซึ่ งเป็นผลมาจากลักษณะภูมิ
ประเทศของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ดังนั้นแล้วสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จึงมีความโดดเด่นอีกประเทศหนึ่งในทวีป
แอฟริกา

สาธารณรัฐกานา
สาธารณรัฐกานาเป็นประเทศที่มีขนาดค่อนข้างเล็กและมีประชากรประมาณ 24.8 ล้านแต่มีความโดด
เด่นในเรื่องของ การเมือง และด้านเศรษฐกิจ
ด้านการเมืองสาธารณรัฐกานาเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองสูงนับตั้งแต่ปีค.ศ 1992เป็นต้น
มา เสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กานาสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยที่
ทำให้กานาฟื้นฟูและพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว คือ การยึดมั่นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิ จ
แบบเสรีนิยมปล่อยให้กลไกตลาดทำงานอย่างเต็มที่ รัฐมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด สร้างและพัฒนาสาธารณูปโภค
ขั้นพื้นฐานโดนเฉพาะการสร้างถนนในช่วงกลางทศวรรษที่ 90 การลงทุนด้านศึกษา การดึงดูดเม็ดเงินลงทุน
จากต่างประเทศ ความมีเสถียรภาพทางการเมือง ในอนาคตกานาจะให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือ
กันภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายการพัฒ นาที่ยั้งยืน
(SDGs) (สุทธิ, 2564)
ด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐกานามีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ที่สำคัญได้แก่ ทองคำ บ็อกไซต์
แมงกานีส ป่าไม้ เพชร และโกโก้ กานาเป็นผู้ผลิตทองคำและโกโก้รายใหญ่ของโลก รายได้หลักมาจากการส่ง
สินค้าดังกล่าว ปัจจัยที่สำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คือ รายได้จากการส่งออกทองคำ และส่งออกโกโก้
(กระทรวงการต่างประเทศ, 2565)
โดยสรุปสาธารณรัฐกานามีความโดดเด่นและมีความสำคัญในด้านการเมือง และด้านเศรษฐกิจที่เป็น
ผลให้สาธารณรัฐกานาโดดเด่นอีกประเทศหนึ่งทวีปแอฟริกา

สาธารณรัฐเซเนกัล
สาธารณรัฐเซเนกัลเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก โดยภาคเศรษฐกิจ
ประกอบไปด้วยการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และเกษตร
ด้านการท่องเที่ยวสาธารณรัฐเซเนกัลเป็นหนึ่งในรายได้ที่นำพาเม็ดเงินจากชาวต่างชาติเข้าสู่ประเทศ
มากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ เมืองดาการ์เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน
สาธารณรัฐเซเนกัลสาธารณรัฐเซเนกัล มีแหล่งท่องเที่ยวที่ทันสมัย แหล่งท่องเที่ยวบรรยากาศธรรมชาติ รวมถึง
อาคารบ้านเรือน สถาปัตยกรรม หอศิลป์ ต่อมาเกาะกอเร่ เป็นเกาะขนาดเล็กอยู่ทางใต้ คาบสมุทรเคปเวิร์ทบน
เกาะแห่งนี้เป็นสิ่งปลูกสร้างทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาติยุโรปสมัยเข้ามายึด
ครองในยุคล่าจักรวรรดิ์มีฐานะเป็นเมืองทาสที่สำคัญ ปัจจุบัน เกาะกอเร่เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งใน
สาธารณรัฐเซเนกัลที่ได้รับการรับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากยูเนสโกเมื่อปี ค.ศ 1978 อุทยาน
แห่งชาตินียอกอโล-กอบาเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดและเป็นหนึ่งในมรดกโลกทางธรรมชาติปีค.ศ
1981 ของสาธารณรัฐเซเนกัลซึ่งเป็ นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลากหลายสายพันธุ์(cheaptickets,2566)
ด้านการเกษตรรายได้หลักมาจากการส่งออกถั่วลิสง การประมง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ฟอตเฟต และ
ฝ้าย
ด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ การแปรรูปสินค้าเกษตรและปลา เหมืองแร่ ฟอตเฟต ปุ๋ย การกลั่น
ปิโตรเลียม แร่เหล็ก เหมืองทอง วัสดุก่อสร้าง การต่อเรือและซ่อมแซม(Toi.Boi, 2565)
ดังนั้นสาธารณรัฐเซเนกัลจึงมีความโดดเด่นอีกประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกาเนื่องด้วยปัจจัยหลายๆ
ด้านจากบทความข้างต้น และการเป็นที่น่าจับตามองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

สาธารณรัฐเคนยา
สาธารณรัฐเคนยาเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่ไม่กว้างขวางมากแต่กลับมีบทบาทสำคัญอีกประเทศหนึ่ง
ในแอฟริกา ปัจจัยที่ทำให้มีความโดดเด่นได้แก่ ด้านการเมืองการปกครอง และด้านเศรษฐกิจ
ด้านการเมืองการปกครองปัจจุ บันรัฐ บาลเคนยาได้ใช้นโยบาย วิสัยทัศน์ 2030 เป็นแผนพัฒ นา
ประเทศไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมที่ มีรายได้ระดับกลางแห่งใหม่และสามารถประกันคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่
ประชาชนได้ สร้างสังคมที่ เป็นธรรม มีความสามัคคีและความเสมอภาค ภายใต้สภาพแวดล้อมที่สะอาดและ
ปลอดภัยและธำรง ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยซึ่งมี ประชาชนเป็นเป็นศูนย์กลางภายในปีค.ศ 2030
เน้นการเพิ่มอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น การแบ่งสรรอำนาจทางฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการให้ชัดเจน
และเพื่อระบบการตรวจสอบความโปร่งใส ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน โดยมี
รูปแบบการบริหารประเทศ คล้ายสหรัฐอเมริกา คือ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่ งรัฐและผู้นำรัฐ (กระทรวง
การต่างประเทศ, 2565)
ด้านเศรษฐกิจ สาธารณรัฐเคนยา มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภูมิภ าคแอฟริกาตะวันออกเป็น
ศูนย์กลางการคมนาคมในภูมิภาคทั้งทางเรือและทางอากาศ มีรายได้สำคัญมาจากการท่องเที่ยวร้อยละ 68 มี
บทบาทนำในภูมิภาคทางด้านเศรษฐกิจความมั่นคงเป็นสมาชิกในสมาคมในแอฟริกาตะวันออก(EAC)และตลาด
ร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้( COMESA)ทำให้เคนยาสามารถเป็นประตูสู่แอฟริกา
(กลุ่มความร่มมือกับต่างประเทศ3, 2561)
ดังบทความข้างต้นปัจจัยต่าง ๆที่ทำให้สาธารณรัฐเคนยากลายเป็นประเทศสำคัญในทวีปแอฟริกา
กลายเป็นประตูทางเข้าสู่แอฟริกาที่ต้องผ่านสาธารณรัฐเคนยา
ทวีปออสเตรเลีย(Australia)

ออสเตรเลีย หรือ เครือรัฐออสเตรเลีย


ออสเตรเลีย หรือ เครือรัฐ ออสเตรเลียเป็นประเทศเกาะขนาดใหญ่มีความได้เปรียบในด้านการ
คมนาคม ส่งผลต่อให้ด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวในเกาะที่เก่าแก่
ออสเตรเลีย หรือ เครือรัฐออสเตรเลียเป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย ,
เกาะแทสเมเนียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ เจ็ดของโลกขนาดพื้นที่ 7,692,000 ตารางกิโลเมตรมีประชากร
ราว 25.69 ล้านคน(บันทึกเมื่อปี พ.ศ 2564)ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่เก่าแก่ที่สุด(charistudyabroad,
2565)
ด้านเศรษฐกิจออสเตรเลีย หรือ เครือรัฐออสเตรเลีย เศรษฐกิจในภาพรวมมีความยืดหยุ่นและมีพลวัต
ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีมีข้อจำกัดที่ไม่มากนักในการนำเข้าสินค้าและบริการ ออสเตรเลียยังมีบทบาท
ที ่ ส ำคั ญ ใน WTO APEC กลุ ่ ม G20มี เ สรี ภ าพทางเศรษฐกิ จติ ด อั นดั บ 3 ของโลกเมื ่ อ ปี 2564 (Index of
Economic Freedom) รองจากสิงคโปร์ และนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 13 ของ
โลก สำหรับตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (Australian Securities Exchange) มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 18 ของ
โลกปัจจุบัน เศรษฐกิจภาคบริการ ได้แก่ การท่องเที่ยว การศึกษา และการบริการทางการเงิน ทำรายได้คิด
เป็น 72.9% ของ GDP
การขนส่งและการคมนาคม ออสเตรเลียมีท่าเรือพาณิชย์ที่สำคัญประมาณ 70 แห่ง ที่ใช้ติดต่อการค้า
กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 200 ประเทศ การคมนาคมทางรถไฟคิดเป็น 30% ของการคมนาคมในออสเตรเลีย
สายหลักคือเส้นทางที่เชื่อมระหว่างทิศตะวันตกกับทิศตะวัน ออกของรัฐแถบภาคใต้ การขนส่งทางทะเลมี
ความสำคัญ เพราะเมืองหลวงของทุกรัฐตั้งอยู่ติดชายฝั่ง(ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ, 2565)
โดยสรุปออสเตรเลีย หรือ เครือรัฐออสเตรเลียเป็นประเทศที่น่าสนใจจากเป็นประเทศที่เป็นเกาะและ
มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งยังได้เปรียบในทางการคมนาคมการขนส่งเนื่องลักษณะภูมิประเทศติดกับทะเลทั้ง
ยังมีรถไฟในการขนส่ง ด้านเศรษฐกิจก่อความเจริญเติบโต และเรื่องการท่องเที่ยว เหตุนี้ทำให้ออสเตรเลีย หรือ
เครือรัฐออสเตรเลียเป็นที่น่าสนใจ
ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์
ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์เป็นประเทศขนาดเล็กที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลกในหลาย
ๆ ด้าน แต่ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์มีความโดดเด่นมากที่สุด ได้แก่ ด้านการท่องเที่ ยว
และด้านการศึกษา
ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ประเทศเล็ก ๆ ประเทศนี้สิ่งโดดเด่นสำคัญ ก็คือ การสร้างทัศนียภาพและภูมิ
ประเทศให้เกิดความสวยงามเนื่องโดยลักษณะภูมิ ประเทศทั้งภูเขาหิมะตั้งตระหง่านอยู่เหนือทะเลสีฟ้าใส มี
หาดทรายขาวทอดตัวยาวหลายกิโลเมตรจึงส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว
ด้านการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดในด้านแหล่งเงินของราชอาณาจักรนิวซีแลนด์
ธุรกิจท่องเที่ยวมีมูลค่าประมาณ 9.8 ล้านเหรียญนิวซีแลนด์ มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเยือนประมาณ
2,670,000 คน(กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, 2557) ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์เป็นเมืองแห่งธรรมชาติที่
สงบและเรีย บง่ าย เช่น ทะเลสาบปู ค ากิ ที่เป็นถนนโค้ งโอบล้ อ มด้ว ยทะเลสาบใหญ่เ ป็ น อั นดับ 3 ของ
ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ ส่วนไฮไลท์เป็นยอดเขาเมาท์คุกที่ปลกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็ง และถ้ำไวโตโมโกลว์
วอร์ม(suchaya.t, 2561)
ด้านการศึกษาด้วยชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพระดับดีเยี่ยม ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์จึง
มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับโลกเรื่องการศึกษา 1. คุณภาพระบบการศึกษาได้รับการยอมรับจากนานา
ประเทศเทียบได้เท่ากับสหราชอาณาจักรและแคนาดา 2. ทุกวุฒิการศึกษาจากราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ได้รับ
การยอมรับและเป็นประตูสู่อาชีพที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก 3. ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์มีสันติภาพและ
ความสงบสุขเป็นอันดับ 2 ของโลกมีความเสถียรภาพทางการเมืองลดอัตราการทุจริตต่ำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ช่วย
พัฒนาคุณภาพการศึกษาของราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ (เดอะเบสแนะแนวต่อเรียนต่อต่างประเทศครบวงจร,
2563) โดยสรุปราชอาณาจักรนิวซีแลนด์มีความโดดเด่นในด้านการท่องเที่ยวที่เอื้ออำนวยมาจากลักษณะภูมิ
ประเทศกลายเป็นรายได้ที่สำคัญของประเทศ และด้านการศึกษาที่สร้างชื่อเสียงให้กับราชอาณาจักรนิวซีแลนด์
นี้เป็นเหตุผลที่ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์เป็นที่น่าสนใจ

รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี
รัฐเอกราชปาปัวนิวกินีเป็นประเทศขนาดเล็กแต่มีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจเป็น อย่างมาก ปัจจัย
สำคัญได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ จากด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหมืองแร่ ปิโตรเลียม ด้านการประมง และด้าน
การลงทุนจากต่างชาติ
ด้านทรัพยากรรัฐเอกราชปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ทองแดง ทอง
และน้ำมันเป็นสัดส่วนสองในสามของรายได้ของการส่งออก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของรัฐเอกราชปาปัว
นิวกินี เติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี เนื่องจากรัฐเอกราชปาปัวนิวกินีมีทรัพยากรธรรมชาติและธาตุ
มากมาย สามารถดึ ง ดู ดเงิน ทุน จากต่ างประเทศได้อ ย่ างต่อ เนื่ อ ง โดยเฉพาะการลงทุน ของต่ า งชาติ ใน
อุตสาหกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม นอกจากนี้มูลค่าสินค้าส่งออกที่สำคัญรัฐเอกราชปาปัวนิวกินียังมี
มูลค่าเพิ่มขึ้นในตลาดโลกอาทิ เช่น แร่ทอง น้ำมันดิบ ทองคำแท่ง เป็นผลให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต
และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ด้านการประมงรัฐเอกราชปาปัวนิวกินีได้ลงนามร่วมกันกับ IEPA กับสหภาพยุโรปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้
ผู้ประกอบการที่ตั้งโรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแปรรูปสุก ให้สามารถส่งสินค้าไปยังสหภาพยุ โรปโดยปราศจาก
ภาษี รัฐเอกราชปาปัวนิวกินีมีความสามรถในการผลิตปลาทูน่าได้ 300,000 ตันต่อปีเนื่องจากมีโรงงานทูน่า
เพียง 3 แห่ง แต่การมีIEPA กับสหภาพยุโรปจะกระตุ้นให้เกิดการตั้งโรงงานปลาทูน่าในรัฐเอกราชปาปัวนิวกินี
เพิ่มขึ้นเพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป(กระทรวงการต่างประเทศ, 2565)
ทั้งนี้เศรษฐกิจรัฐเอกราชปาปัวนิวกินีพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่ องจากมีทรัพยากรธรรมชาติ
และแร่ธาตุมากมายสามารถดึงดูดเงินทุ นจากต่างประเทศได้โดยเฉพาะการลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรม
เหมืองแร่และปิโตรเลียมฉะนั้นแล้วรัฐเอกราชปาปัวนิวกินีมีความโดดเด่นในด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้รัฐเอกราช
ปาปัวนิวกินีเป็นที่น่าสนใจ

สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ
สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิเป็นประเทศที่น่าจับตามองอีกประเทศหนึ่งในทวีปออสเตรเลีย ปัจจัยสำคัญ
ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร และด้านการท่องเที่ยว
ด้านเศรษฐกิจฟิจิเป็นประเทศทรัพยากรธรรมชาติด้านการประมง ป่าไม้และแร่ธาตุ เช่น ทอง ทองแดง
รวมทั้งตลาดสิน ค้า อุป โภคและบริโ ภค ฟิจิเคยเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่ส ุดในแถบ
มหาสมุทรแปซิฟิก
ด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดคือ น้ำตาล เสื้อผ้าสำเร็จรูป ทองคำ และการท่องเที่ยว
ด้านการเกษตรพืชพันธุ์ของฟิจิที่ส่งออกคือ อ้อย เผือก มันสับปะหลัง สินค้าและอุตสาหกรรมเพื่อการ
ส่งออก ได้แก่ การท่องเที่ยว น้ำตาล เสื้อผ้าสำเร็จรูป ทอง ไม้ น้ำมันมะพร้าว ปลา กากน้ำตาล และสาเก
(กลุ่มงานความร่วมมือกับต่างประเทศ 3, 2651)
ด้านการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับฟิจิมากถึง 40% จากรายได้ทั้งหมด ซึ่ง
รัฐบาลมองว่าการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นเรื่องสำคัญที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของฟิจิได้ สถานที่
สำคัญคือ Pacific Harbour แนวปะการังGreat Astrolabe Reef, Kadavu และ Sawa-i-Lau(กรุงเทพธุรกิจ,
2564)
ดังนั้นจากปัจจัยไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร และด้านการท่องเที่ยว
เหล่านี้ส่งผลให้สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิเป็นประเทศที่น่าสนใจ

สาธารณรัฐปาเลา
สาธารณรัฐปาเลาเป็นประเทศที่น่าสนใจอีกประเทศหนึ่งในทวีปออสเตรเลียโดยมีปัจจัยหลักมาจาก
การท่องเที่ยวที่น่าสนใจของสาธารณรัฐปาเลา
สาธารณรัฐปาเลาเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและมาตราฐานชีวิตที่ค่อนข้างสูงเมื่อ
เทียบกับประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกโดยมีรายได้ต่อหัว ถึง 8730 ดอลล่าร์สหรัฐเนื่องจากรายได้หลักของ
ประเทศส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยวสาธารณรัฐปาเลามีแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียง(กระทรวงการต่างประเทศ,
2565)
ด้านการท่องเที่ยวสาธารณรัฐปาเลามี เกาะร็อคเป็นแหล่งมรดกโลกของ UNESCO ได้รับสถานะมรดก
โลกในปี ค.ศ .2012 เกาะร็อคเป็นหมู่เกาะปะการังหินปูน ลักษณะเหมือนร่มที่โค้งงอ มีชื่อเสียงโด่ งดังในฐานะ
จุดดำน้ำที่มีความหลากหลายของระบบนิเวศทางทะเลกับปะการัง ชายหาดที่สวยงามรวมไปถึงทะเลสาบ
แมงกะพรุน โดนแมงกะพรุนในทะเลสาบเป็นพันธุ์ที่ไม่มีพิษที่เป็นอั นตรายแก่มนุษย์สามารถลงไปว่ายน้ำดูใน
ระยะประชิดได้(มิ่งเมือง, 2563) สาเหตุที่แมงกะพรุนเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายแก่มนุษย์เพราะว่าภายในทะเลสาบ
มีระบบนิเวศที่เป็นระบบปิด สภาพแวดล้อมจึงแตกต่างจากทะเลที่อยู่โดยรอบทำให้สัตว์น้ำหลาย ๆ สายพันธุ์
ในที่นี่มีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไปจากสายพันธุ์เดิมที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบใกล้เคียงกัน(เอิงเอย, 2564)
โดยสรุปปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้สาธารณรัฐ ปาเลาเป็นประเทศที่น่าสนใจอีกประเทศหนึ่งในทวีป
ออสเตรเลียโดยได้ปัจจัยมาจากด้านการท่องเที่ยวเป็นหลัก จึงเป็นเหตุที่ทำให้สาธารณรัฐปาเลาน่าสนใจ
ทวีปยุโรป(Europe)

สมาพันธรัฐสวิส
สมาพันธรัฐสวิสเป็นประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็ นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกเนื่องด้วยปัจจัยเหล่านี้
ได้ แ ก่ การดำรงชี ว ิ ต ของชาวเมือ ง การท่ อ งเที ่ ย ว การดู แ ลของรั ฐ บาลที ่ ด ี สวั ส ดิ ก ารการใช้ ช ี ว ิต และ
แนวความคิดของประชาชน
สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศร่ำรวยเงินเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชากรสวิสมีความสุข จากการจัดอันดับ
ประเทศที่มีความสุขที่สุดนั้น ประเทศที่ติด Top 10 ก็ต่างเป็นประเทศร่ำรวย สวิตเซอร์แลนด์นั้นเป็นประเทศที่
เศรษฐกิจผกผันน้อยทั้งยังเติบโตต่อเนื่องในทุก ๆ ปีนอกจากนี้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ยังได้รับการจัดอันดับ
ให้เป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจมีอัตราการแข่งขันและความก้าวหน้าสูงที่สุดโดยวัดจากการขยายตัวของ
บริษัทสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ขนาดใหญ่ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่เข้าสู่ภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ
สวิตเซอร์แลนด์มีวิวที่สวยงามเนื่องโดยลักษณะประเทศที่อยู่ตอนเหนือมีทั้งแสงแดด ทั้งหิมะ ภาพ
ขุนเขาแอล์ปที่เรียงตัวจนสุดสายตา ทุ่งหญ้าเขียวชอุ่ม ทะเลสาปสีฟ้าคราม และหิมะสีขาวโพลนที่ปกคลุม
หลังคาบ้านแบบสวิสดั้งเดิมทัศนียภาพที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากในแต่ละปีรัฐบาลสวิสมีนโยบายการ
ควบคุมมลพิษอย่างรัดกุม ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดจำนวนรถ การจำกัดจำนวนโรงงาน และการจำกัดจำนวนแก๊ส
ที่ปล่อยออกจากการเดินทางด้วยระบบรถไฟอันเป็นระบบขนส่งทำให้ทรัพยากรธรรมชาติของสวิตเซอร์แลนด์
ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์และมีอัตราการปนเปื้อนของสารพิษต่ำ(ปาจรีย์, 2560)
ด้านการท่องเที่ยวสมาพันธรัฐสวิสเนื่องโดยเป็นประเทศที่ได้ขึ้ นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดใน
โลก ไม่ว่าจะเหตุผลต่าง ๆ ทางการดำรงชีวิต ลักษณะภูมิประเทศ การจัดการระบบของรัฐ บาลส่งผลให้
ประเทศนี้เป็นที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมากและเป็นรายได้อีกแบบหนึ่งให้กับประเทศ
โดยสรุปสาเหตุที่ส่งผลให้สมาพันธรัฐสวิสเป็นประเทศที่น่าสนใจและน่าจับตานองในทวีปยุโรปคือ การ
ดำรงชีวิตของชาวเมือง การท่องเที่ยว การดูแลของรัฐบาลที่ดี สวั สดิการการใช้ชีวิต และแนวความคิดของ
ประชาชน

สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นประเทศในทวีปยุโรปที่น่าสนใจมากประเทศหนึ่งโดยปัจจัยสำคัญที่ทำ
ให้สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีน่าสนใจ ได้แก่ การท่องเที่ยวที่มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์มากมายและด้าน
การศึกษา
ด้านการท่องเที่ยวสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทั้งสวยงาม
และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถานที่เด่น ๆ ได้แก่ เมืองไลพ์ซิก เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐซัคเซิ นประเทศ
เยอรมนีค่ะ แถมยังเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของรัฐนอกจากจะเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่าพันปีแล้ว ไลพ์
ซิกยังมีชื่อทางด้านความเป็นเมืองดนตรีและเสียงเพลงโดยมีทั้ง นักกวี นักดนตรี รวมถึงนักแต่งเพลงของไลพ์
ซิกที่มีชื่อก้องโลกก็ได้แก่ วากเนอร์ ชูมานน์ และโยฮันน์ เป็นต้น หุบเขาโรแมนติกไรน์ เส้นทางหุบเขาที่ยาว
เหยียดระหว่างเมือง Bingen และเมือง Bonn โดยที่ตรงกลางมีแม่น้ำไรน์ไหลผ่าน ซึ่งทางธรณีวิทยานั้นเรียก
พื้นที่ตรงนี้ว่า ไรน์ฟยอร์ดและปราสาทยุคกลางกว่า 40 แห่ง รวมทั้งหมู่บ้านงดงามประกอบไปด้วยระเบียงไร่
องุ่นเมืองเดรสเดนก่อนที่จะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากเหตุระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เดรส
เดน รู้จักกันในนามของกล่องอัญมณีแห่งเยอรมนีด้วยความฟุ่มเฟือยของศิลปะและสถาปัตยกรรมที่สวยงาม
ปัจจุบันเมืองเดรสเดนได้รับการฟื้นฟูอย่างมากมาย กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของ
เยอรมัน(กิน เที่ยว, 2561)
ด้านการศึกษาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีความโดดเด่นเป็นอย่างมากเนื่องจาก สหพันธ์สาธารณรัฐ
เยอรมนีมีมหาลัยและโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและได้รับมาตราฐานจากทั่วโลกหลายสถาบันและเหตุผลเหล่านี้ทำให้
นักเรียนจากต่างประเทศสนใจในการเข้าเรียนที่ประเทศเยอรมนี 1. มาตรฐานการศึกษาสูง & มหาวิทยาลัย
เยอะ 2. เรียน (เกือบ) ฟรี 3. คุณภาพสูง 4. ค่าครองชีพถูก 5. ทุนเรียนฟรีมีมากมาย 6. หลักสูตรภาษาอังกฤษ
7. ทำงานพิเศษได้ 8. ขอวีซ่าหางานหลังจบได้ 9. ศิลปะวัฒนธรรมโดดเด่น(succeed-Germany, 2560)
ฉะนั้นแล้วจากบทความข้างต้นเป็นเหตุผลที่ทำให้เยอรมันเป็นประเทศที่น่าสนใจและน่าจับตามองอีก
ประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป โดยปัจจัยที่ทำให้สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมีความโดดเด่น คือ การท่องเที่ยว และ
การศึกษา

สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในประเทศที่เคยเป็นมหาอำนาจของโลกมาก่อนแต่เมื่อลงจากบัลลังค์ก็ยังคง
ความน่าสนใจไว้มาก ปัจจัยที่ส่งผลให้สหราชอาณาจักรเป็นที่น่าจับตามองมอง ได้แก่ ด้านรัฐและดินแดน
ระบบเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และด้านการท่องเที่ยว
รัฐและดินแดนของสหราชอาณาจักรในสหราชอาณาจักรบนแผนที่ประเทศอังกฤษ จะแบ่งออกเป็น 4
พื้นที่หลักใหญ่ๆ ได้แก่ เกาะอังกฤษหรือประเทศอังกฤษ, สก็อตแลนด์ ,เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ
ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศอังกฤษในประเทศอังกฤษจะมีระบบเศรษฐกิจแบบ ตลาดเสรีนิยม
(Capitalism) โดยที่สามารถเสนอช่องทางให้บุคคลต่าง ๆ สามารถทำธุรกิจได้อย่างเสรี โดยที่ไม่ต้องมีทาง
รัฐบาลมาทำการตรวจสอบการใช้ทรัพยากรใด ๆ เกินความจำเป็น(วัตพล, 2565)
ด้านการท่องเที่ยวสหราชอาณาจักรเป็นอีกประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยว
โบราณมากมายอีกประเทศหนึ่งในทวีปยุโรปสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ หอคอยแห่งลอนดอนอดีต
พระราชวังหลวงและป้อมปราการเมื่อปี 1078 เพื่อเป็นสถานที่พำนักของราชวงศ์อังกฤษ คลังอาวุธ หอเก็บ
เอกสาร หอดูดาว โรงกษาปณ์และคลังสมบัติ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1303 จึงได้เปลี่ยนมาเป็นที่เก็บรักษาทรัพย์สิน
มีค่าแห่งราชวงศ์อังกฤษ และของกำนัลที่ได้จากประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ในสมัยกลาง
จนถึงปี 1914 สะพานทาวเวอร์บริดจ์ แลนด์มาร์คสำคัญใจกลางกรุงลอนดอนมีลักษณะเป็นสะพานยกและ
สะพานแขวนอยู่รวมกัน และมีหอคอยสะพานถึง 2 หอ อันเป็นที่มาของชื่อ “สะพานหอคอย”เป็นจุดชมความ
งดงามชองกรุงลอนดอนแต่ยังเป็นจุดถ่ายภาพห้ามพลาด โดยเฉพาะการถ่ายภาพในช่วงของสะพานยกตัวขึ้น
เพื่อให้เรือแล่นผ่าน(Traveloka, 2564) เป็นต้น
โดยสรุปแล้วจากข้อความข้างต้น สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่เคยเป็นมหาอำนาจของโลกแต่เมื่อ
หลังจากสหรัฐขึ้นแทน สหราชอาณาจักรก็ยังคงความน่าสนในไว้อยู่มากมายไม่ว่าจะด้านรัฐและดินแดน ระบบ
เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และด้านการท่องเที่ยวปัจจัยเหล่านี้เป็นผลให้สหราชอาณาจักรเป็นที่น่าจับตา
มอง

สาธารณรัฐฝรั่งเศส
สาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ต้องพูดถึงเมื่อกล่าวถึงทวีปยุโรป และความน่าสนใจและควา มโดด
เด่นของสาธารณรัฐฝรั่งเศสเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ เศรษฐกิจของสาธารณรัฐฝรั่งเศส แฟชั่น และการท่องเที่ยว
ฝรั่งเศสเป็น ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในสหภาพยุโ รป และอันดับ 5 ของโลก มี
อุตสาหกรรมอวกาศและการบิน และนิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีอุตสาหกรรมเคมีใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรป
มีอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรใหญ่เป็นอันดับสามในยุโรปฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมาก
เป็ น อั น ดั บ 2 ของโลก ปั จ จุ บ ั น มี บ ริ ษ ั ท ต่ า งชาติ 20 ,000 บริ ษ ั ท โดยจุ ด แข็ ง คื อ คุ ณ ภาพของแรงงาน
ความก้าวหน้าในเรื่องการค้นคว้าและวิจัย และเทคโนโลยีชั้นสูง(กระทรวงการต่างประเทศ, 2565)
ด้านเศรษฐกิจทางด้านผู้นำแฟชั่นกรุงปารีสในด้านเศรษฐกิจได้ขึ้นชื่อเป็น เมืองแห่งแฟชั่นอันดับหนึ่ง
ของโลกและเป็นรายได้หลักในการส่งออกและนำเข้าของสินค้าตามเทรนด์นิยมที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่
ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รองเท้า ของใช้ต่าง ๆ แฟชั่น เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับมนุษย์อย่างยาวนาน สีสัน
ลวดลาย รูปแบบของการออกแบบ ทำให้เกิดเป็นความลงตัวในแบบต่าง ๆ ถึงแม้เวลาจะเปลี่ยนไปแต่แฟชั่นก็
ยังคงมีบทบาทสำคัญ และยังคงยืด หยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เข้ากับแต่ละยุคสมัย(มนุษย์ไฟฟ้า,
2563)
ด้านการท่องเที่ยวประเทศฝรั่งเศสมีสถานที่ 37 แห่งที่ได้รับการจารึกไว้ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกของ
ยูเนสโกและมีเมืองที่น่าสนใจทางวัฒนธรรมสูง สถานที่ที่น่าสนใจ ได้แก่ หอไอเฟลสัญลักษณ์อันดับหนึ่งของ
ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญ ตัวอาคารก่อสร้างโดยโครงเหล็กทั้ง หมด มีความสูงประมาณ 300 เมตร
พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวังที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามอลังการมากจนติดหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของ
โลกได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ดิสนีย์แลนด์ ปารีสรวมจินตนาการที่สุดแสนจะวิเศษโลก
แห่งเทพนิยาย เป็นสวนสนุกแห่งที่สองที่เปิดนอกประเทศอเมริกา USA และเป็นดิสนีย์แลนด์แห่งแรกและแห่ง
เดียวของยุโรป(TalonTiew, 2565)
โดยสรุปสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงมากในทวีปยุโรป เมื่ อพูดถึงทวีปยุโรปต้องนึกถึง
สาธารณรัฐฝรั่งเศส ความน่าสนใจเหล่านี้เกิดจากเศรษฐกิจของสาธารณรัฐฝรั่งเศส แฟชั่น และการท่องเที่ยวที่
ดึงดูดทั้งนักลงทุนและนักท่องเที่ยวมากมายจากทั่วโลก

สาธารณรัฐเฮลเลนิกหรือกรีก
สาธารณรัฐเฮลเลนิกหรือกรีกเป็นประเทศเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์อารยธรรมที่เป็นต้นกำเนิดหลาย ๆ
อย่าง และเป็นปัจจัยที่ทำให้กรีกเป็นประเทศที่น่าสนใจ ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การท่องเที่ยว อารยธรรมที่รุ่งเรือง
ขนาดดินแดนและประชากร
สาธารณรัฐ เฮลเลนิ กเป็ น ประเทศที่ ตั้ ง อยู่ ทางตะวัน ออกเฉี ยงใต้ ข องทวี ปยุโ รป ตอนใต้ส ุ ด ของ
คาบสมุทรบอล มีประชากรราว 10.7 ล้านคนมีพื้นที่ประมาณ 131,957 ตร.กม.
ด้านความรุ่งเรืองอารยธรรมของกรีกชาวกรีกได้สร้างสรรค์ความเจริญให้เป็นมรดกแก่ชาวโลกจำนวน
มาก ที่สำคัญได้แก่ ความเจริญ ด้านศิลปกรรม ปรัชญา การศึกษา วรรณกรรมและวิทยาการต่าง ๆ -
ศิลปกรรมความเจริญด้านศิลปกรรมได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบของงานศิลปกรรมของโลกผลงานที่ สำคัญ
ได้แก่ ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และศิลปะการแสดง
-ด้านสถาปัตยกรรมชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลกจำนวน
มาก ส่วนใหญ่ เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร
-ด้านประติมากรรมงานศิลปกรรมของกรีก ชาวกรีกสร้างงาน ประติมากรรมจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็น
รูปปั้นเทพเจ้าของกรีก ลักษณะของสรีระกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคล้ายมนุษย์ที่มีชีวิต ผลงานชิ้นเยี่ยมได้แก่ รูป
ปั้นเทพเจ้าอะทีนา ที่วิหารพาร์เทนอน และเทพเจ้าซุส ที่วิหารแห่งโอลิมเปีย
- ด้านจิตรกรรม ที่ปรากฏอยู่ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่เขียนบนเครื่องปั้นดินเผา เช่น แจกัน คนโท ฯลฯ
และจิตรกรรมฝา ผนังที่พบในวิหารและกำแพง
- ศิลปะการแสดงการจัดแสดงเพื่อเฉลิมฉลองพิธีบวงสรวงเทพเจ้าของตน เช่น ละครกลางแจ้งซึ่งเป็น
ต้นแบบของการแสดงละครในปัจจุบัน ดนตรีและการละเล่นอื่น ๆ (ไม่ระบุชื่อผู้แต่ง, 2565)
ด้านการท่องเที่ยวสาธารณรัฐเฮลเลนิกมีสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานมากมายที่เป็นมรดกโลก เช่น
เอเธนส์เมืองหลวงประเทศกรีซที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อายุยาวนานกว่า 3 ,400 ปีเลยทีเดียว ใน
อดีตเคยเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม การเมือง และปรัชญาอันทรงคุณค่าของตะวันตก และเป็น
ต้นกำเนิดของระบบประชาธิปไตย เดลฟีเป็นที่ตั้งของวิหารศักดิ์สิทธิ์เทพอพอลโล ที่สร้างขึ้นเมื่อ 510 ปีก่อน
คริสตกาล นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ โรงละครหิน ที่จุคนได้ 5 ,000 คน และ Amphitryonic League ซึ่ง
เปรียบเสมือนเป็นสหประชาชาติที่คอยดูแลเมืองต่าง ๆ ของกรีซในอดีตเป็นต้น(SummerB, 2565)
จากบทความข้างต้นได้ระบุว่าสาธารณรัฐเฮลเลนิก หรือกรีกได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นกำเนิดของ
อารยธรรมหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างตึก อารยธรรม คณิตศาสตร์ นักวิชาการมากมาย การ
ท่องเที่ยว อารยธรรมที่รุ่งเรือง ขนาดดินแดนและประชากร เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้สาธารณรัฐเฮลเลนิกหรือกรีก
มีความโดดเด่นอีกประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป
ทวีปอเมริกา-ตอนเหนือ(North America)

สหรัฐอเมริกา
หลังจากประกาศเอกราชและข้ามพ้นวิกฤตสงครามกลางเมือง สหรัฐอเมริกาได้กลายมาเป็นประเทศ
อภิมหาอำนาจอันดับ1ของโลก ที่สามารถควบคุมการเงิน การค้า อัตราแลกเปลี่ยน รวมไปถึงเป็นผู้วางกติกา
โลก โดยปัจ จัย ที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลายมาเป็นประเทศอภิมหาอำนาจนั้น ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการเงิน ด้านการทหาร ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ
ด้านเศรษฐกิจ สหรัฐ อเมริกามีร ะบบเศรษฐกิจที่ ใหญ่ ที่ส ุด และมีอำนาจทางเศรษฐกิจในด้ า น
เทคโนโลยีมากที่สุดในโลก เป็นตลาดที่มีกำลังซื้อ มากที่สุด สหรัฐอเมริกามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ดี
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วยลักษณะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ มีการบุกเบิกที่ดินทำกินทางด้านการเกษตร และ
พัฒนาการคมนาคมและการขนส่งมาโดยตลอด รวมถึงพัฒนาการใช้เครื่องจักรของสหรัฐฯได้เติบโตขึ้นอย่าง
รวดเร็ว ทำให้สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ(การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางเศรษฐกิจของ
โลก, 2557)นับตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯเป็นผู้นำและมีข้อได้เปรียบทางธุรกิจในเวทีเศรษฐกิจ
โลกเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ เวชภัณฑ์ อวกาศ และยุทโธปกร ณ์(สถาน
เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน , 2564) ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกามีนโยบาย America First เน้นการฟื้นฟู
เศรษฐกิจ สร้างรายได้และเพิ่มการจ้างงานประเทศ
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สหรัฐ ฯมุ่งรักษาความเป็นผู้นำโลกทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี การเพิ่มพูนศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาทางการแพทย์ พลังงาน โทรคมนาคมและการ
สื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ เพื่อกระตุ้นการลงทุนใหม่ และ
สร้างงานที่ดี รวมทั้งรักษาฐานการผลิตและการลงทุนให้อยู่ในสหรัฐ อเมริกา นอกจากนี้ส หรัฐฯประส บ
ความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีขุดเจาะน้ำมันและก๊าซจากหินดินดาน(ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ ,
2565)
ด้านสังคมและวัฒนธรรม สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เปิดรับผู้คนหลากหลายประเทศ ไม่ว่าคนนั้นจะ
มาจากประเทศไหนสหรัฐ ก็จ ะเปิดรับและให้โ อกาสจึงทำให้ผู้คนทั่วโลกหลั่งไหล่เข้ามาทำงานที่ประเทศ
สหรัฐอเมริกามากขึ้น(scholarship, 2558)
ด้านการเงิน เงินดอลลาร์ของสหรัฐฯได้กลายมาเป็นเงินตราที่ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน และเป็น
ทุนสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่าง ๆ ทำให้เงินดอลล่าร์เป็นสกุลเงินที่ประชาชนให้ความเชื่อถื อ
แลกเปลี่ยนมากที่สุด รวมทั้งเป็นสกุลเงินตราที่มีค่าเงินค่อนข้างจะมีเสถียรภาพมากที่สุด(การเปลี่ยนแปลง
อำนาจทางเศรษฐกิจของโลก, 2557)
ด้านการทหาร สหรัฐอเมริกามีศักยภาพด้านการทหารเป็นอันดับ1ของโลกระบบความมั่ นคงที่
แข็งแกร่ง ทั้งยังเป็นผู้ผลิตอาวุธ ยุทโธปกรณ์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย(ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ, 2565)
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- องค์การสหประชาชาติ หรือ UN เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับโลกถือเป็นเครื่องมือที่สหรัฐฯ
สามารถใช้สอดส่องประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ดีที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติ และความมั่นคง
ระหว่างประเทศ 2. เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ
แห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน 3. เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่าง
ประเทศทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมหรือมนุษยธรรมและการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
และ เสรีภาพขั้นมูลพื้นฐานสำหรับทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือ ศาสนา 4.เพื่อ
เป็นศูนย์กลางสำหรับ การประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกันในอันที่จะบรรลุจุดหมาย
ปลายทางร่วมกันกล่าวได้ว่าองค์การสหประชาชาติก่อตั้งขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์ที่จะขจัดภัยพิบัติอันเกิดจาก
สงคราม ประกันสิทธิมนุษยชน ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมของมวลมนุษยชาติ
(องค์การสหประชาชาติ, 2565)
- องค์การสำนักข่าวกรองกลาง หรือ CIA ถือเป็นองค์การที่มีบทบาทในการแทรกซึมกิจการภายใน
ของแต่ละประเทศเป็นองค์การสำคัญที่ทำให้ สหรัฐอมริการักษาความเป็นมหาอำนาจได้ เป็นหน่วยงานข่าว
กรองฝ่ายพลเรือนของรัฐบาลกลางสหรัฐ หน้าที่อย่างเป็นทางการ คือ การรวบรวม ประมวล และวิเคราะห์
ข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงแห่งชาติจากทั่วโลก โดยใช้วิธีสืบข่าวกรองด้วยมนุษย์เป็นหลัก (อิสริยา เลาหตีรา
นนท์, 2551)
โดยสรุปปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้าน
การเงิ น ด้ า นการทหาร ด้ า นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ ส่ ง ผลให้ ส หรั ฐ อมริ ก ากลายเป็ น ประเทศ
อภิมหาอำนาจอันดับ1ของโลก

ประเทศแคนาดา
ประเทศแคนาดาถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญมากประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ มีขนาดใหญ่
อันดับ 2 ของโลก โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ประเทศแคนาดามีความโดดเด่น ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ และด้าน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้านเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเสรีใช้กลไกตลาดสนั บสนุนการลดภาษีและปกป้องผลประโยชน์ของ
ชาวแคนาดา เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง ระบบเศรษฐกิจมีความคล้ายคลึงกับ
สหรัฐฯ ทั้งรูปแบบการผลิต และมาตรฐานการครองชีพสูง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ภาคอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมเหมืองแร่และภาคบริการของแคนาดาเติบโตอย่างรวดเร็ว แคนาดาเป็นประเทศที่มีมาตรการ
การค้าที่เสรีและโปร่งใสมากที่ส ุดประเทศหนึ่งในโลก เศรษฐกิจพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศเป็นหลัก
โดยเฉพาะสหรัฐฯ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมน้ำมันเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็น
อันดับ 3 ของโลก ผลผลิตการเกษตรสำคัญ ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์พืช ที่ใช้เลี้ยงสัตว์และทำน้ำ มัน
อุตสาหกรรมหลักได้แก่อุปกรณ์การขนส่ง แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์จากปลา ปิโตรเลียมและก๊าซ
ธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ แร่เหล็ก นิกเกิล สังกะสี ทองแดง ทองคำ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมช าติ
ไฟฟ้าพลังน้ำ ป่าไม้และสัตว์ป่า นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การสร้างความ
แข็งแกร่งภาคการเงิน และการคลังการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้พลังงานสะอาด ขยายการค้ากับต่างประเทศ
โดยเฉพาะประเทศตลาดเกิดใหม่ ในเอเชียมากขึ้น เพื่อกระจายการส่งออก กระตุ้นการสร้างงาน เพิ่มการ
เติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างความมั่งคั่งในระยะยาวของประเทศที่มั่นคง ทั้งนี้แคนาดาให้ความสำคัญลำดับแรก
กับสหรัฐฯ และ ประเทศในลาตินอเมริกาในฐานะประเทศเพื่อนบ้านและประเทศคู่ค้าหลัก
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐบาลและภาคเอกชนแคนาดามีนโยบายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรอุตสาหกรรมการผลิตและบริการป่าไม้
ประมง พลังงาน การก่อสร้าง สุขภาพและทรัพย์สินทางปัญญา แคนาดายังมีความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรม
การบินและอวกาศโดยมีการวิจัยด้านการบินการพัฒนาจรวดและดาวเทียม แคนาดาเป็นประเทศที่ 3 ที่ปล่อย
ดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศต่อจากสหภาพโซเวียต (รัสเซีย) และสหรัฐฯ รัฐบาลแคนาดาใช้จ่ายเงินในด้านการวิจัย
และการพัฒนา ในประเทศประมาณ 562,036 ล้านบาท(ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ, 2565)
โดยสรุปปัจจัยดังกล่าวข้างต้นทางทางด้านเศรษฐกิจ และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้
ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นประเทศหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ

สหรัฐเม็กซิโก
สหรัฐเม็กซิโกเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญในด้านการเมือง และด้านเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายในด้าน
ต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้ประเทศมีการพัฒนา และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหัวใจสำคัญ
ด้านการเมือง รัฐบาลเม็กซิโกชุดปัจจุบันเน้นเสริมสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและอยู่บน
พื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกันกับทุกประเทศซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี
ขึ้น การพัฒนา และการสร้างงานที่มีรายได้ดี โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. นโยบายต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ต้องการดำเนินความสัมพันธ์เชิงลึกในลักษณะการเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ กับประเทศในทวีปเอเชียและ
ยุโรป และขยายความร่วมมือทางการค้าและส่งเสริมการลงทุน 2. นโยบายต่อสหรัฐฯ เน้นความร่วมมือด้าน
ความมั่นคงกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะในเรื่องการปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติดและกลุ่มอาชญากรรมต่าง ๆ
3. นโยบายต่อภูมิภาคลาตินอเมริกา มุ่งหวังให้เม็กซิโกเป็นประเทศผู้นำในภูมิภาคลาตินอเมริกาและต้องการ
เป็ น สะพานเชื่ อ มระหว่ า งประเทศในภู ม ิ ภ าคอเมริ ก าเหนื อ กั บ อเมริ ก าใต้ โดยจะเสริ ม สร้ า งและรั ก ษา
ความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศในลาตินอเมริกา ส่วนในเวทีระหว่างประเทศ เม็กซิโกเน้นการเข้าไปมีบทบาท
เชิงรุกในทุกเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ได้แก่ การเปลี่ ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ขจัดความยากจน และกระบวนการ
ส่งเสริมสันติภาพ(กระทรวงการต่างประเทศ, 2565)
ด้ า นเศรษฐกิ จ หลั ง การลงนามข้ อ ตกลง North American Free Trade Agreement (NAFTA)
เศรษฐกิจเม็กซิโกเติบโตเป็นอย่างมาก สหรัฐฯ กลายเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของเม็กซิโก โดยเป็นตลาดส่งออก
และแหล่งนำเข้าสินค้าอันดับที่ 1 การค้าและบริการมูลค่ามากกว่า 582,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านกระทรวง
เศรษฐกิจเม็กซิโกประกาศแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 มาตรการที่
สำคัญได้แก่ การส่งเสริมการจ้างงานและดำเนินธุรกิจ อำนวยความสะดวกด้านการลงทุน การส่งเสริมการค้า
ระหว่างประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค นอกจากนี้เม็กซิโกเตรียมพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทาง
การค้าเศรษฐกิจดิจิทัลและนวัตกรรม ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก นอกจากนี้ รัฐบา ลชุดปัจจุบัน ยังให้
ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ การขยายความร่วมมือด้านการค้ากับประเทศในยุโรป
และจีน เพื่อลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ(ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ, 2565)
จากนโยบายของเม็กซิโกที่กล่าวมาข้างต้นร่วมถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลายทาง
เศรษฐกิจ ทำให้ประเทศเม็กซิโกจัดเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจในอนาคต

เครือรัฐบาฮามาส
เครือรัฐบาฮามาสเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในด้านเศรษฐกิจ และด้านการท่องเที่ยวเป็นหลักและ
เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการเงินของบาฮามาส
ด้านเศรษฐกิจ เครือรัฐบาฮามาสเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศูนย์กลางทางธุรกิจการเงินที่สำคั ญใน
แคริบเบียน โดยรายได้จากการท่องเที่ยวมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 60 ของ GDP ก่อให้เกิดการจ้างงานทั้งทางตรง
และทางอ้อมถึง ร้อยละ 50 ของแรงงานของประเทศ และแม้ว่าบาฮามาสจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้สูง
ที่สุดในโลก โดยรัฐบาลมีนโยบายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการลงทุนในสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ได้แก่ การ
พัฒนาสนามบินนานาชาติประจำกรุงแนสซอและท่าเทียบเรือต่าง ๆ โครงการพัฒนาการเคหะ ไฟฟ้าและน้ำ
ปะปา รวมถึงการลงทุนพัฒนากองทัพและกองกำลังตำรวจของประเทศด้วย การค้ากับต่างประเทศ รัฐบาล
บาฮามาสมีนโยบายส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีการจัดคณะผู้แทน
เยือนต่างประเทศ โดยเฉพาะทวีปเอเชีย ลาตินอเมริกา ประเทศอินเดียและแคนาดา เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์
ด้านการค้าและการลงทุน(กระทรวงการต่างประเทศ, 2565)
ด้านการท่องเที่ยว เครือรัฐบาฮามาส มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่มีความสวยงาม เเละน่ามาเที่ยวชม
จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมในด้านเศรษฐกิจของเครือรัฐบาฮามาส โดยมีสถานที่ ท่องเที่ยวที่มีความเก่าเเก่
เเละเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์หลายจุดด้วยกัน เช่น อาคารรัฐสภาบาฮามาส เป็นสถานที่สำคัญในเมือง
แนสซอ โดยเป็นอาคารในรูปเเบบสถาปัตยกรรมเเบบโรมันที่มีขนาด 2 ชั้น เเต่ที่โดดเด่นเเละเป็นที่ต้องตาของ
บรรดาผู้มาเยือนก็คือการทาสีชมพู โดยตัดกับสีเขียวที่กรอบหน้าต่าง พิพิธภัณฑ์โจรสลัดแนสซอ เรื่องราวของ
เหล่าโจรสลัดได้ถูกจัดเเสดง เเละนำเสนอไว้ในพิพิธภัณฑ์เเห่งนี้โดยมีข้าวของเครื่องใช้ อาวุธ เเละเสื้อผ้า รวม
ทั้งเเบบจำลองวิถีชีวิตของบรรดาโจรสลัดเอาไว้ ฟอร์ตลอตต์ สร้างมาตั้งเเต่ปี ค.ศ.1780 เป็นป้อมปราการที่มี
ความสวยงาม เเละเก่าเเก่อย่างมากสร้างโดยราชนาวีอังกฤษ(cheap tickets, 2565)
ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและด้านการท่องเที่ยวของเครือรัฐบาฮามาสถือว่ามีความสำคัญในการพัฒนา
ประเทศเป็นอย่างมาก เพราะเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศนี้

ประเทศเกรเนดา
ประเทศเกรเนดาตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน ประกอบด้วยเกาะภูเขาไฟขนาดใหญ่ 3 เกาะได้แก่ เกาะ
Grenada, Carriacouan และ Petit Martinique มีพื้นที่ 344 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ปก
คลุมด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และมีชายฝั่งทะเลแคบ ๆ ล้อมรอบเกาะ ความยาวประมาณ 121 กิโลเมตร มี
จำนวนประชากรเพียง 104,300 คน แต่เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญและส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว และ
เกษตรกรรมเป็นหลัก
ภาคเศรษฐกิจที่ส ำคัญของเกรเนดาในปัจจุบันได้แก่ ภาคการบริการ (โดยเฉพาะด้านการศึ ก ษา
(offshore medical school) และการท่องเที่ยว และภาคเกษตรกรรม(โดยเฉพาะการผลิตจันทน์หอมและ
โกโก้) ได้รับการขนานนามว่าเป็น “Spice Island” เนื่องจากปลูกเครื่องเทศได้เป็นจำนวนมาก เมื่อปี 2550
เกรเนดาเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคริกเก็ตชิงแชมป์โลก ซึ่งนอกจากจะเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้รัฐบาลเกรเนดา
ได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่และสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการแข่งขันแล้ว ยังมีผล
ในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวของเกรเนดาให้กลับมาคึกคักอีกครั้งด้วย(กระทรวงการต่างประเทศ, 2565)
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเศรษฐกิจของประเทศเกรเนดาเป็นส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว และภาค
การเกษตรกรรมได้แก่การผลิตจันทน์หอมและโกโก้ ซึ่งเป็นความโดดเด่นของประเทศนี้
ทวีปอเมริกา-ตอนใต้(South America)

สาธารณรัฐบราซิล
สาธารณรัฐบราซิล เป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดทั้งในทวีปอเมริกาใต้และภูมิภาคลาตินอเมริกา ขนาดพื้นที่
ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกประมาณ 8.5 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรมากเป็นอันดับ 6 ของโลกประมาณ
211 ล้านคน โดยเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลกโดยเฉพาะกาแฟ
และมีความโดดเด่นในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ด้านเศรษฐกิจ บราซิลเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ8ของโลก เป็นผู้ส่งออกสินค้า
เกษตรรายใหญ่ของโลก ได้แก่ ถั่วเหลือง น้ำตาลเนื้อวัว ไก่สดแช่แข็ง และกาแฟที่ มีการส่งออกมาที่ สุ ด
สาธารณรัฐบราซิลเป็นแหล่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญของทวีปอเมริกา มีแนวโน้มผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามาก
ขึ้น (ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ, 2565) นครรีโอเดจาเนโร สาธารณรัฐบราซิลเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน
ฟุตบอลโลกเมื่อ ค.ศ. 1950 และ 2014 เป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของบราซิล มีรูปปั้นพระเยซูขนาดใหญ่
ตั้งอยู่บนยอดเขาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาในประเทศจำนวนมาก นอกจากนี้ฟุตบอล
บราซิลเป็นแชมป์การแข่งขันฟุตบอลโลกมากที่สุดถึง 5 สมัย แชมป์ในปี ค.ศ. 1958 , 1962 , 1970 , 1994
และ 2002) โดยในปี ค.ศ. 2014 ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก มีจำนวนผู้ชมการถ่ายทอดสด
มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก จำนวน 3.2 พันล้านคน (กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้, 2565)
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บราซิลมีศักยภาพในการผลิตวัคซีน COVID-19บราซิลผลิตวัคซีน
จำนวน 100 ล้านโดสปี 2565 โดยบริษัท Pfizer และ BionTech สาธารณรัฐบราซิลมีความก้าวหน้าในการ
วิจัยด้านเทคโนโลยี ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยโดยทุนสนับสนุนส่วนใหญ่ มาจากหน่วยงานของ
รั ฐ บาล เป็ น หน่ ว ยงานวิ จ ั ย ด้ า นอวกาศชั ้ น นำของกลุ ่ ม ประเทศในลาติ น อเมริ ก า มี ท รั พ ยากรและขี ด
ความสามารถในการสร้างจรวดและดาวเทียม พัฒนาเรือดำน้ำ เครื่องบินรวมถึงอวกาศ นอกจอกนี้ยังเป็นผู้
บุกเบิกการสำรวจน้ำมันในทะเลลึก(ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ, 2565)
โดยสรุปสาธารณรัฐบราซิล รายได้ส่วนใหญ่มาจากด้านการส่งออกสินค้าได้แก่ ถั่วเหลือง น้ำตาลเนื้อ
วัว ไก่สดแช่แข็ง และกาแฟ รวมทั้งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญขิงทวีป สาธารณรัฐบราซิลมีชื่อเสียงเป็นที่
รู้จักจากการชนะฟุตบอลโลก5สมัย และเป็นสถานที่จัดฟุตบอลโลก 2 สมัย สิ่งนี้ทำรายได้ให้กับประเทศเป็น
จำนวนมาก อีกทั้งทำให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ มากขึ้น อีกทั้งสาธารณรัฐบราซิล ยังมีความโดดเด่นในการ
พัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาธารณรัฐเปรู
สาธารณรัฐเปรู มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของทวีปอเมริกาใต้ มีพื้นที่ 1,285,200 ตารางกิโลเมตร
มีประชากร 29.15 ล้านคน สาธารณรัฐเปรู มีความหลากทางด้านเศรษฐกิจ เป็นผู้ผลิตแร่ธาตุรายใหญ่ของโลก
ส่งออกสินค้าประมง และมีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยว
ด้านเศรษฐกิจ และการค้า สาธารณรัฐ เปรู เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านเศรษฐกิจ
เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ เขตภูเขาอุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด สาธารณรัฐเปรูจึงเป็นผู้ผลิต
แร่ธาตุรายใหญ่ของโลก เช่น ทองแดง เป็นอันดับ 3 ของโลก ตะกั่วเป็นอันดับ 4 ของโลก เงินเป็นอันดับ 1 ของ
โลก สังกะสีเป็นอันดับ 3 ของโลก ดีบุกเป็นอันดับ 3 ของโลก น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ชายฝั่งมหาสมุทร
แปซิฟิกมีสภาพเอื้ออำนวยต่อการประมงผลิตภัณฑ์การเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ มันฝรั่ง ข้าวโพด ผลไม้ ต้นโคคา
ปศุสัตว์ และการส่งออกสินค้าประมง โดยรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 9,162 ดอลลาร์สหรัฐ (กระทรวงการ
ต่างประเทศ, 2565)
ด้านการท่องเที่ยวของสาธารณรัฐเปรู เช่น มาชู ปิกชู ในเมืองกุสโกเป็นมรดกโลกที่สวยงามดึงดูดให้
นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกไปเยือนปีละกว่า 1.5 ล้านคน แล้วมีเสน่ห์ที่ชวนให้หลงใหลอีกอย่างหนึ่งก็คือปริศนา
เรื่องความเป็น มาอันลึกลับ ซับซ้อน(trueID, 2563) และป่าดิบชื้นบริเวณแม่น้ำแอมะซอนสามารถดึ ง ดูด
นักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นแม่น้ำที่กว้างที่สุดในโลก มีปริมาณมากที่สุดในฤดูผล อีกทั้งยัง
เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก และมีปลามากที่สุดในโลก(ไทยโพสต์ 2565)
โดยสรุปสาธารณรัฐเปรูในด้านเศรษฐกิจถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยเฉพาะส่งออกประมงและแร่ธาตุ
ที่เป็นรายใหญ่ของโลก สาธารณรัฐเปรูเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุ เช่น ทองแดง
ตะกั่ว เงิน สังกะสีและดีบุก สิ่งเหล่านี้ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก และทำให้ ปัญหาความยากจน
ลดลงอย่างต่อเนื่อง สาธารณรัฐเปรู เป็นประเทศที่มีความสวยงามมากโดยเฉพาะ มาชู ปิกชู เมืองกุส โก
สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเยือนกว่า 1.5 ล้านคนต่อปี

สาธารณรัฐซิลี
สาธารณรัฐซิลี มีพื้นที่ 56,102 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 18,255,800 ล้านคน รายได้หลั กมาจาก
ด้านเศรษฐกิจการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะทองแดง ทำรายได้กว่าร้อยละ 55 และมีด้านคมนาคมขนส่งและ
การสื่อสาร โทรคมนาคม
ด้านเศรษฐกิจการค้า สาธารณรัฐซิลีพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความเป็นสากล โดยมุ่งเน้นการ
เปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนกับนานาประเทศ โดยความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองมากที่ สุดใน
ลาตินอเมริกา รายได้หลักของประเทศมาจากการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ซึ่งสินค้าหลักที่สำคัญในการ
ส่งออกมากที่สุดคือ ทองแดงทำรายได้สู่ประเทศกว่าร้อยละ 55 นอกจากนี้ยังมีผลไม้เยื่อกระดาษ อาหารทะเล
ไวน์ และเคมีภัณฑ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ เช่น ทองแดง ไม้ สินแร่
เหล็ก ไนเตรท โลหะที่มีค่า โมลิบนัม และพลังน้ำ โดยผลิตทองแดงอันดับ 1 ส่งออกปลาแซลมอนอันดับ 2 ของ
โลก สินค้าส่งออกด้านทรัพยากรธรรมชาติ คือ ทองแดง สินแร่ ผลไม้และถั่ว ผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเล
เยื่อไม้ และไม้(กระทรงการต่างประเทศ 2559)
ด้านคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร โทรคมนาคม สิ่งอำนวยสะดวกพื้นฐานสามารถเชื่อมโยงได้ทั่วโลก
1. ทางบก มีถนนชั้นดีเป็นระยะทางกว่า 80,000 กิโลเมตร โดยมีทางหลวงที่สำคัญคือ ทางหลวงหมายเลข 5
ซึ่งเป็นทางหลวงเส้นที่ยาวที่สุดเชื่อมโยงตั้งแต่พรมแดนติดกับประเทศเปรูทางทิศเหนือจนถึงเมืองปวยร์โต
มอนท์ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ 2. ทางอากาศ ชิล ีมีท่าอากาศยานทั้งหมด 16 แห่ง แบ่งออกเป็นท่าอากาศยาน
นานาชาติจำนวน 7 แห่งและท่าอากาศยานภายในประเทศอีก 9 แห่ง โดยมีกรุงซันติอาโกเป็นจุดศูนย์กลาง
คมนาคมทางอากาศ 3. ทางน้ำการขนส่งสินค้ากับเอเชียตะวันออกใช้เส้นทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก โดย
ท่าเรือหลักของชิลีคือ ท่าเรือบัลปาไรโซและท่าเรือซันอันโตนิโอ ขนส่งสินค้ามากกว่า 16 ล้านตันต่อปีนี้
ประเทศชิลีได้รับการจัดอันดับจากธนาคารโลกด้านสมรรถนะทางด้านโลจิสติกส์ประจำปี 2559 ซึ่งเป็นอันดับ1
ของภูมิภาคลาตินอเมริกา 4. ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ชิลีจัดเป็นหนึ่งในประเทศอันดับต้น ๆ ในภูมิภาคที่
มีระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยมากที่สุดการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารพบว่าอยู่ในอันดับ3ของภูมิภาค(สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ2560)
ทั้งนี้สาธารณรัฐซิลี ด้านเศรษฐกิจและการเมืองมีความมั่นคงมากที่สุดในลาตินอเมริกา รายได้หลักมา
จากด้านเศรษฐกิจการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะทองแดง ทำรายได้กว่าร้อยละ 55 มีการผลิตทองแดงอันดับ 1
ส่งออกปลาแซลมอนอันดับ 2 ของโลก ด้านคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร โทรคมนาคม สิ่งอำนวยสะดวก
พื้นฐานสามารถเชื่อมโยงได้ทั่วโลก ชิลีจัดเป็นหนึ่งในประเทศอันดับต้น ๆ ในภูมิภาคที่มีระบบการสื่อสาร
โทรคมนาคมที่ทันสมัยมากที่สุดการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพบว่าอยู่ใน
อันดับ 3 ของภูมิภาค

สาธารณรัฐอาร์เจนตินา
สาธารณรัฐอาร์เจนตินา มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก มีพื้นที่ 2,766,890 ตารางกิโลเมตร
ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ติดกับมหามสมุทรแอตแลนติกใต้ ทิศเหนือติดต่อกับโบลิเวีย ปารากวัย
ทิศตะวันออกติดต่อกับบราซิลและอุรุกวัย ทิศตะวันตกและทิศใต้ติดต่อกับประเทศชิลี ประชากร ประมาณ
40.1 ล้านคน รายได้หลักมาจากการส่งออกสินค้าเกษตร
สาธารณรัฐ อาร์เจนติน ามีเศรษฐกิ จใหญ่เป็น อัน ดับ 3 ในภูมิภ าคลาตินอเมริก า อาร์เจนติน ามี
ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นประเทศที่เน้นการส่งออกสินค้าเกษตร มีอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
การทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะวัวและแกะ และการปลูกธัญพืช สร้างรายได้หลักให้ประเทศ(ศูนย์บริกา ร
ข้อมูลธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา, 2557) มีฐานด้านอุตสาหกรรมที่หลากหลาย และเป็นประเทศผู้ผลิตและ
ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลก สินค้าเกษตรที่สำคัญของอาร์เจนตินา เช่น ถั่วเหลือง (อันดับ 3 ของโลก)
น้ำมันถั่วเหลือง (อันดับ 1) ข้าวโพด(อันดับ 2 โลก) สินค้าเกษตรกลุ่มส้มมะนาวและน้ำผึ้ง (อันดับ 1 โลก) ข้าว
ฟ่าง ข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน น้ำาตาล เกษตรคิดเป็นร้อยละ 11 สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาร์เจนตินา ได้แก่
น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 24 สินค้าธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด และเมล็ด
ทานตะวัน มีปริมาณการส่ งออกร้อยละ 8 (กระทรวงการต่างประเทศ, 2565) สาธารณรัฐอาร์เจนตินาคว้า
แชมป์ฟุตบอลโลก 3 สมัย ในปีคริสศักราช 1978, 1986 และ 2022 ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้สาธารณรัฐอาร์เจนตินา
เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีความชื่นชอบด้านฟุตบอลมาเยือนประเทศแล้วนำรายได้ม าเข้าสู่
ประเทศ (PPTV36, 2565)และอาร์เจนตินาอยู่ในกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจกลุ่ม G-20 โดยเป็น
ประเทศสำคัญที่สุดอันดับต้นๆ ในลาตินอเมริกา
โดยสรุปสาธารณรัฐอาร์เจนตินา มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคลาตินอเมริกา สินค้าเกษตรที่
สำคัญของอาร์เจนตินา เช่น ถั่วเหลือง (อันดับ 3 ของโลก)น้ำมันถั่วเหลือง (อันดับ 1) ข้าวโพด(อันดับ 2 โลก)
สินค้าเกษตรกลุ่มส้มมะนาวและน้ำผึ้ง (อันดับ 1 ของโลก) ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน น้ำาตาล เกษตร
คิดเป็นร้อยละ 11 สินค้าส่งออกที่สำคัญของอาร์เจนตินา ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ คิด
เป็นร้อยละ 24 สินค้าธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด และเมล็ดทานตะวัน มีปริมาณการส่งออกร้อยละ 8

สาธารณรัฐเวเนซุเอลา
สาธารณรัฐเวเนซุเอลา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้มีขนาดพื้นที่ 912,050 ตารางกิโลเมตร
ประชากร 29,069,153 คน เป็นรัฐที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอย่างยิ่ง โดยถิ่นที่อยู่มีตั้งแต่เทือกเขา
แอนดีสทางตะวันตกไปถึงป่าฝนแอ่งแอมะซอนทางใต้ ผ่านที่ราบยาโนสอันกว้างใหญ่และชายฝั่งแคริ บเบียนใน
ตอนกลางและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอรีโนโกทางตะวันออก
ด้านเศรษฐกิจ ปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกน้ำมันและมีปริมาณ
ก๊าซธรรมชาติสำรองมากที่สุดอันดับที่ 8 ของโลก เศรษฐกิจพึ่งพิงการผลิตและส่งออกปิโตรเลียม รายได้จาก
การส่งออกน้ำมันคิดเป็นกว่าร้อยละ 80 ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมด รายได้หลักของการส่งออกและ
ประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ของรัฐ เวเนซุเอลาเป็น 1 ใน 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง OPEC สำหรับภาคอุตสาหกรรม
การผลิต คิดเป็นร้อยละ 17 ของ GDP ของเวเนซุเอลา ผลิตผลที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กกล้ า อลูมิเนียม สิ่งทอ
เสื้อผ้า เครื่องดื่ม และอาหาร สำหรับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 5 ของ GDP และร้อยละ 10
ของการจ้างงาน โดยผลิตผลทางการเกษตรที่ส ำคัญได้แก่ ข้าว ยาสูบ ปลา ผลไม้เมืองร้อน กาแฟ โกโก้
(กระทรวงการต่างประเทศ, 2565)
โดยสรุปสาธารณรัฐเวเนซุเอลา เป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองมากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก และ
เป็นผู้ส่งออกน้ำมันและมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองมากที่สุดอันดับที่ 8 ของโลก รายได้หลักของประเทศมา
จากการส่งออกน้ำมัน ด้านอุตสาหกรรมการผลิต คิดเป็นร้อยละ 17 ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวร้ อยละ5
และการจ้างงานร้อยละ10
บทสรุป
จากข้อมูลประกอบแผนที่ ด้านความโดดเด่นของ 5 ประเทศในแต่ละทวีป ที่คณะผู้จัดทำเห็นตรงกัน
ว่ามีความโดดเด่นและมีความสำคัญโดยได้คัดสรรประเทศ 5 ประเทศในแต่ละทวีปดังนี้ หัวข้อที่ 1 ทวีปเอเชีย
ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหพันธรัฐรัสเซีย ราชอาณาจักร
ซาอุดิอาระเบีย หัวข้อที่ 2 ทวีปแอฟริกา ได้แก่ สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สาธารณรัฐ
กานา สาธารณรัฐเซเนกัล สาธารณรัฐเคนยา หัวข้อที่ 3 ทวีปออสเตรเลีย ได้แก่ ออสเตรเลียหรือเครือรัฐ
ออสเตรเลีย ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ สาธารณรัฐปาเลา หัวข้อ
ที่ 4 ทวีปยุโรป สมาพันธรัฐสวิส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส สาธารณรัฐ
เฮลเลนิกหรือกรีก หัวข้อที่ 5.1 ทวีปอเมริกา-ตอนเหนือ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหรัฐเม็กซิโก
เครือรัฐบาฮามาส ประเทศเกรเนดา หัวข้อที่ 5.2 ทวีปอเมริกา-ตอนใต้ ได้แก่ สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐ
เปรู สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐอาร์เจนตินา สาธารณรัฐเวเนซุเอลา
จากบทความข้างต้น เป็นการอธิบายและบอกความโดดเด่นของแต่ละประเทศ 5 ประเทศที่สำคัญใน
แต่ละทวีป ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง ด้านการท่องเที่ยว
ด้านความมั่นคง และด้านการค้า คมนาคม ที่เป็นปัจจัยหลักให้แก่คณะผู้จัดทำในการคัดสรรประเทศเหล่านี้
ขึ้นมาเป็นประเทศตัวแทนของทวีป
บรรณานุกรม
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). เกรเนดา. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2115e39c3060a161?cate=5d5bcb4e15e3c0
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). เครือรัฐบาฮามาส. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2115e39c306000a17c?cate=5d5bcb4e15e3
9c060006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). ปาปัวนิวกินี. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2315e39c306000a2a1?cate=5d5bcb4e1539c
3060006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1c15e39c3060009fd4?cate=5d5bcb4e15e3c
3060006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สหรัฐเม็กซิโก. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2015e39c306000a152?cate=5d5bcb4e15e3
c3060006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐกานา. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1e15e39c306000a0e6?cate=5d5bcb4e5e39
c3060006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐเคนยา. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1e15e39c306000a0d7
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐชิลี. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566,จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc215e39c306000a19d?cate=5d5bcb4e15e39
c3060006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐปาเลา. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/cntent5d5bcc2315e39c306000a2a5?cate=5d5bcb4e15e39c
3060006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐเปรู. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/coent/5d5bcc2115e39c306000a18d?cate=5d5bcb4e15e39c
3060006870

กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐฝรั่งเศส. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก


https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2215e39c306000a251?cate=5d5bcb4e15e3
9c306006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐเวเนซุเอลา. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2115e39c306000a185?cate=5d5bcb4e15e3
9c306006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐอาร์เจนตินา. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2115e39c306000a1af?cate=5d5bcb4e15e39
c306006870
กระทรวงการต่างประเทศ. (2554). สาธารณรัฐแอฟริกาใต้. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก
https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc1e15e39c306000a07b?cate=5d5bcb4e15e3
9c306006870
กนกพร. (2562). สหพันธรัฐรัสเซีย. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จาก
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/ac/ewt_dl_link.php?nid=3866&file///
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2557). ภาพรวมเศรษฐกิจและการเงินของประเทศนิวซีแลนด์. สืบค้นเมื่อ
22 มกราคม 2566, จาก
https://api.dtn.go.th/files/v3/5cff75621ac9ee073b7be72c/download
กรมอเมริกาและแปซิฟิก. (2565). สาธารณรัฐแปซิฟิก. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://aspa.mfa.go.th/th/search
กิน เที่ยว. (2561). 10 สุดยอดที่ท่องเที่ยวเยอรมันเส้นทางในฝันวิวสวยหลักล้าน. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม
2566, จาก https://www.thaiticketmajor.com/variety/travel/9364/
กรุงเทพธุรกิจ. (2561). ฟิจิเปิดประเทศ 1 ธ.ค ตามแผนเมินโอไมคอนระบาด. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566,
จาก https://www.bangkokbiznews.com/world/974935
กลุ่มงานความร่วมมือกับต่างประเทศ. (2561). สาธารณรัฐเคนยา. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก
https://www.moac.go.th/foreignagri-article-files-392791791825
กลุ่มงานความร่วมมือกับต่างประเทศ. (2561). สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566,จาก
https://www.opsmoac.go.th/pattani-article-files-392791791830
ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ. (2565). เครือรัฐออสเตรเลีย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก chrome-
extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.nia.go.th/media/almanac
ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ. (2565). ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก
https://www.nia.go.th/media/almanac/2022/01
ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ. (2565). สหพันสาธารณรัฐบราซิล. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.nia.go.th/media/almanac/2022/01
ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ. (2565). สหรัฐอเมริกา. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.nia.go.th/media/almanac/
ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐแคนาดา. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.nia.go.th/media/almanac/2022/01
ข้อมูลพื้นฐานของต่างประเทศ. (2565). สาธารณรัฐเม็กซิโก. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.nia.go.th/media/almanac/2022/
จักรฤษณ์ สิธิริน. (2565). “นวัตกรรมรัสเซียไม่แพ้ชาติใดในโลก/บทความพิเศษ”. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม
2566, จากhttps://www.matichonweekly.com/column/article_555515
เดอะเบสแนะแนวเรียนต่อต่างประเทศครบวงจร. (2563). สรุป 10 เหตุผลที่จะช่วยให้คุณเลือกเรียนต่อ
นิวซีแลนด์. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก https://thebestedu.blog/2020/03/05/10-
reasons-why-you-should-study-in-new-zealand/
ท่องเที่ยวตาม lysty. (2562). พาไปทำความรู้จักกับสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศแอฟริกา. สืบค้นเมื่อ 15
มกราคม 2566, จาก https://www.tourandservice.com/
ไทยโพส. (2565). ล่องไปในแอมะซอน. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.thaipost.net/columnist-people/177897/
ปัทมา เจริญกรกิจ. (2565). “สิงคโปร์ดิจิทัล”มุ่งสู่สังคมใหม่ที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม
2566, จาก https://www.thekommon.co/sg-digital/
ปาจรีย์ ไตรสุวรรณ. (2560). 7 เหตุผลที่ทำให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก. สืบค้น
เมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก https://www.swisseducation.ac
ปรีดี บุญซื่อ. (2564). สิงคโปร “ประเทศแห่งการศึกษา”จากอดีตไม่มีแม้แต่การศึกษาภาคบังคับสู่
มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จาก
https://thaipublica.org/2022/06/pridi309/
พีรเดช ชูเกียรติขจร และนลิตรา ไทยประเสริฐ. (2557). ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจากประเทศญี่ปุ่นและ
เอเชียที่มีต่อการเคลื่อนตัวการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นสู่ 4 ประเทศในอาเซียนและ 3 ประเทศ
อุตสาหกรรมใหม่. Journal of Economics, 18(1), 21-43. สืบค้นจากhttps://so01.tci-
thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/61002/50254
มนุษย์ไฟฟ้า. (2563). Paris Fashion แฟชั่นขั้นสูงแห่งปารีส. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.bareo-isyss.com/2019/art-culture/paris-fashion/
มิ่งเมือง วัฒนะศุกร์. (2563). สาระน่ารู้กับปาเลา. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://aspa.mfa.go.th/th/content
ไม่ระบุชื่อผู้แต่ง. (2565). กรีก. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
http://www.digitalschool.club/digitalschool/social2_1_1/m6_1/content/lesson1/1_9.p
ไม่ระบุชื่อผู้แต่ง. (2565). องค์การสหประชาชาติ. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
http://www.digitalschool.club/digitalschool/social2_1_1/m6_2/content/lesson4/more
4/item4.2.1
วัตพล. (2565). ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร รวมข้อมูลประเทศสำหรับคนที่ต้องการไปศึกษา. สืบค้น
เมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=6427
วิลาวัลย์ แก้วเขียวบริสุทธิ. (2563). 6 สุดยอดสถานที่ท่องเที่ยวในแอฟริกา. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566,
จากhttps://www.yingpook.com/blogs/world/6-best-in-south-africa
ศูนย์บริการข้อมูลธุรกิจไทยในอาร์เจนตินา. (2557). สาธารณรัฐอาร์เจนตินา. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566,
จาก http://www.thaibizargen.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539327852
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน. (2564). เศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://thaiembdc.org
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2562). ภาพรวมประเทศจีน. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จาก
https://thaiembbeij.org/th/republic-of-china/investment/
สุทธิ สุนทรานุรักษ์. (2564). กานาม้ามืดแห่งแอฟริกาหลุดพ้นจากความยากจนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้น
เมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก https://thaipublica.org/2021/01/sutti-15/
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ. (2560). ชิลี. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.ditp.go.th/contents_attach/164688/164688.pdf
อิสริยา เลาหตีรานนท์. (2557). CIA. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
http://legacy.orst.go.th/?knowledges
เอิงเอย. (2564). ทะเลสาบแมงกะพรุน Jellyfish Lake ปาเลาสุด Unseen. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566,
จาก https://travel.trueid.net/detail/6kJ3ZBl4g2z
Charis study Abroad. (2565). studyinAustralia. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566, จาก
https://www.charisstudyabroad.com/australia-info/
Cheap tickets. (2566). สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเซเนกัล. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก
https://toi.boi.go.th/information/worldwide/21
Cheap tickets. (2566). สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบาฮามาส. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.cheaptickets.co.th/flights/bahamas/what-to-do
Gtl-admin. (2562). อียิปต์ ประเทศแห่งอารยธรรมโบราณที่มีกลิ่นอายประวัติศาสตร์ลึกลับ. สืบค้นเมื่อ 15
มกราคม 2566, จากhttp://www.gotogethertravel.com
Niratchaphorn Duangmoon. (2561). เจาะลึก “การศึกษาของประเทศสิงคโปร์”อะไรทำให้ที่นี่มีระบ
การศึกษาดีอันดับต้น ๆ ของโลก. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จาก
Phatphicha Lerksirinukul. (2562). ชวนดู Data ประชากรจีนแต่ละมณฑลมำนวนคนเทียบกับประเทศต่าง
ทั่วโลก!. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จากhttps://www.salika.co/2019/12/24/chinas-
provinces-rival-countries-in-population-size-data/
PPTV 36. (2565). ทำเนียบแชมป์ฟุตบอลโลกชาติไหนคว้าเยอะสุด. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.pptvhd36.com/sport/news/184144
Scholarship. (2558). 10 ปัจจัยหลักนี้ส่งเสริมให้ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจของโลก. สืบค้น
เมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก . https://www.scholarship.in.th
Succeed-Germany. (2560). เหตุผลดี ๆ ที่น่าไปเรียนต่อเยอรมัน. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จาก
https://www.succeed-germany.com/
Sucnaya.t. (2561). 7 ที่ท่องเที่ยวนิวซีแลนด์ สวรรค์แห่งธรรมชาติ ชาร์จพลังให้ชีวิต. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม
2566, จากhttps://travel.mthai.com/world-travel/188531.html
Sukhothai Thammathirat. (2557). การเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก. สืบค้นเมื่อ 22
มกราคม 2566, จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/01-01-
02.htm
Sukhothai Thammathirat. (2557). การเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก. สืบค้นเมื่อ 14
มกราคม 2566, จากhttps://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/01-01-
03.html
SummerB. (2565). 10 เมืองสวยที่เที่ยวกรีซอารยธรรมเก่าแก่ธรรมชาติสวนไปกี่ที่ก็หลงรัก. สืบค้นเมื่อ 22
มกราคม 2566, จาก https://travel.mthai.com/world-travel/188531.html
Talon Tiew. (2565). 25 ที่เที่ยว สายเด็ดของฝรั่งเศสที่ต้องไปสักครั้งในชีวิต. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566,
จาก. https://www.talontiew.com/25-best-destination-in-france/
Thai Educator. (2565). ทรัพยากรสภาพแวดล้อมจีน. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566, จาก
https://www.thaieducator.com/chinese/
Toi.Boi. (2565). ข้อมูลประเทศเป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก
https://toi.boi.go.th/information/worldwide/21
Traveloka. (2564). 20 แลนด์มาร์คน่าสนใจในอังกฤษ(UK)ไปแล้วต้องเช็คอิน. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566,
จากhttps://www.traveloka.com/th-th/explore/destination/uk-landmark-20-
places/109872
TrueID. (2563). มาซู ปิดซูอารยธรรมที่ล่มสลายด้วยโรคระบาดเมืองสาบสูญแห่งอินคา. สืบค้นเมื่อ 22
มกราคม 2566, จากhttps://travel.trueid.net/detail/JDzVpo0WBVpD

You might also like