You are on page 1of 31

หนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรมความมีวินัย

ชั้นอนุบาลปีที่ ๒

ภาพ/เนื้อหา : นางสาววรรณา ทองทวี


โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
หนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรมความมีวินัย
ชั้นอนุบาลปีที่ ๒

เรื่องที่ ๑ ต้นกล้าเอาแต่ใจ
นางสาววรรณา ทองทวี
ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการ

โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
สังกัดเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
คารับรอง

หน้าที่ของครูที่สาคัญประการหนึ่ง ก็คือการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กโดยใช้เทคโนโลยี และ


วิธีการต่างๆ เข้าช่วย ให้เกิดการเรียนรู้มากที่สุด หนังสือนิทานที่จัดทาขึ้นเล่มนี้เหมาะสาหรับเด็กอายุ
๕-๖ ปี ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๖๐ อีกประการหนึ่งคือ
การสร้างหนังสือนิทานเป็นการส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
ข้าพเจ้าขอรับรองว่า นางสาววรรณา ทองทวี ได้จัดทาหนังสือนิทานเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน
ส่งเสริมคุณธรรมความมีวินัยแก่เด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๒ ทาให้เด็กสนใจเรียน มีวินัยในตนเอง สามารถ
นาความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และสอดคล้องตามวิสัยทัศน์ ปรัชญา
การศึกษาปฐมวัยอย่างแท้จริง
นายพงค์ทิพย์ มะโนเรศ
ผู้อานวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์


คานา

หนังสือนิทานส่งเสริมคุณธรรมความมีวินัย ชั้นอนุบาลปีที่ ๒ จัดทาขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอน


สาหรับเด็กระดับชั้นอนุบาล (อายุ ๕-๖ ปี) เล่มนี้ ให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรมความมีวินัยในตนเอง
ในการจัดทาหนังสือนิทานเล่มนี้ เกิดจากความสนใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อภาพที่หลากหลาย ข้าพเจ้าจึงจัดทา
ให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการ และที่สาคัญเพื่อส่งเสริมคุณธรรมความมีวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่มุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง
หนังสือนิทานเล่มนี้ สามารถจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะ และการเรียนรู้
ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดี และทักษะการใช้ชีวิตประจาวันตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจน
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้าพเจ้า
ขอกราบขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านไว้เป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้

วรรณา ทองทวี


สารบัญ
เรื่อง หน้า
คารับรอง ก
คานา ข
สารบัญ ค
ต้นกล้าเอาแต่ใจ ๑
หนูๆ มาตอบคาถามกันดีกว่านะคะ ๒๒
บรรณานุกรม ๒๓


ต้นกล้าและหนูดี สองคนนี้เป็นพี่น้อง
หนูดีเริงร่าน่ามอง ต้นกล้าชอบร้องเอาแต่ใจ



เที่ยวห้างสรรพสินค้า พ่อจ๋าอยากได้ของเล่นใหม่
พ่อบอกว่าแพงเกินไป ซื้อสิ่งใหม่ที่จาเป็น


“จะเอา จะเอา”เขาไม่หยุด ต้นกล้าฉุดให้พ่อเห็น
นอนกระทืบเท้าไม่ใจเย็น น้าตากระเซ็น “หนูจะเอา”


ศีรษะเริ่มมีเขางอก ใบหูลอกเขาเริ่มเศร้า
เขาโวยวายเพราะเห็นเงา หูใหม่เขาน่าเกลียดจริง


กลับถึงบ้านอาละวาดต่อ ต้นกล้าขอไม่กินทุกสิ่ง
ผักสีเขียวไม่ชอบจริงๆ อย่าโยนทิ้งหนูดีกล่าว


ช่วยด้วย ช่วยฉันด้วย!! มือสุดสวยเล็บงอกยาว
เป็นสีม่วงเขาเริ่มหนาว ใจปวดร้าวมือเปลี่ยนไป



แม่บอกว่าให้ต้นกล้า รีบเข้ามากวาดห้องใหม่
เป็นระเบียบเรียบร้อยไว้ “หนูไม่เก็บ” ไม่อยากทา


๑๐
สิ้นเสียง ปาก ฟัน จมูก เมื่อจับถูกดูน่าขา
มองเห็นแล้วไม่อยากจา หน้าตาคล้าเริ่มเปลี่ยนไป

๑๑
พอรุ่งเช้าเขาตื่นมา เริ่มหนีหน้าไม่อยากไปไหน
เขาไม่อยากเล่นกับใคร กระทืบเท้าใหญ่เพราะโกรธเคือง

๑๒
ทันใดนั้นเท้าเปลี่ยนไป มันเริ่มใหญ่ยิ่งเป็นเรื่อง
คนมองเห็นทั่วทั้งเมือง น้าตาเนืองนองทั่วตา

๑๓
๑๔
เพื่อนๆ เห็น ต่างหัวเราะ ไม่พอเหมาะเดินกังขา
เขาโกรธมากไล่ตามมา แต่วิ่งช้าไล่ไม่ทัน

๑๕
แล้วอยู่ๆ หางเริ่มงอก มันออกจากกางเกงนั่น
เขาร้องไห้ทรุดตัวพลัน นี่เรานั้นเป็นอะไร

๑๖
หนูดีปลอบสงสารพี่ ให้เขานีต้ ั้งสติใหม่
เมื่อคิดได้หางหดไว เริ่มหายไปกลับเหมือนเดิม

๑๗
ต้นกล้ารีบเข้าห้องเรียน เขาจึงเปลี่ยนขยันเพิ่ม
เท้าเขากลับเป็นเหมือนเดิม ต้นกล้าเติมความสุขใจ

๑๘
มีสติไม่โมโห เขาเริ่มโชว์เป็นคนใหม่
ปาก ฟัน จมูก กลับสดใส เปลี่ยนที่ใจเริ่มดูดี

๑๙
ต้นกล้ากลับมาเริงร่า หน้าตาเขาเริ่มสดศรี
กลับกลายเป็นเหมือนเด็กดี รู้หน้าที่มีวินัย

๒๐
นิทาน เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
เด็กๆ ควรมีวนิ ัยในตนเอง
รู้จักควบคุมตนเอง
อย่าเอาแต่ใจตนเองมากเกินไป

๒๑
หนูๆ มาตอบคาถามกันดีกว่านะคะ
เด็กๆ ในนิทานเรือ่ งนี้ใครนิสัยไม่ดี และนิสัยไม่ดใี นเรือ่ งใด

เด็กๆ จะเลือกปฏิบัติตามใครในนิทาน เพราะเหตุใด

เด็กๆ คิดว่านิทานเรื่องนี้สอนคุณธรรมความมีวินัยด้านใด

๒๒
บรรณานุกรม
จินตนา ใบกาซูยี. (๒๕๔๒). เทคนิคการเขียนหนังสือสาหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
พิมพ์จิต ตปนียะ. (๒๕๕๕). นักวาดภาพหนังสือนิทานสาหรับเด็กต้องรู้อะไรบ้าง ?. ศิลปกรรมสาร, ๗(๑), ๔๕-๖๐.
มาลินี ป้อมเขตร. (๒๕๕๙). ผลการจัดประสบการณ์ที่เสริมสร้างจิตพิสัยโดยใช้การเล่านิทานประกอบ
หนังสือภาพที่มีต่อความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการจัดการหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
รัชนี หลงขาว. (๒๕๕๔). ผลของการใช้นิทานที่มีต่อความรับรู้ความมีระเบียบวินัยของเด็กปฐมวัย.
วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
(๒๕๔๘). นิทานคุณธรรมสัตว์ประหลาดของอารีย์. นนทบุรี : บริษัท เอส อาร์ ปริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จากัด.
สิริวรรณ ศรีพหล. (๒๕๕๐). วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๖๐). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช ๒๕๖๐. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด.
อุทุมพร อนุภักดิ.์ (๒๕๕๖). หนังสือนิทานประกอบการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ชั้นอนุบาล
ปีที่ ๒ เรื่อง หนูแพรวเด็กดี. สุราษฏร์ธานี : โรงเรียนเทศบาล ๕ วสุนธราภิวัฒก์. (เอกสารอัดสาเนา).

๒๓

You might also like