You are on page 1of 32

การแก้ ไขปัญหายาเสพติด

คํานํา
รั ฐ บาลได้ ป ระกาศให้ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หายาเสพติ ด เป็ น วาระแห่ ง ชาติ เนื่ อ งจากเป็ น ปั ญ หาที่ ส่ ง
ผลกระทบที่รุนแรงทั้งด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านความมั่นคงของประเทศ จึงได้กําหนดยุทธศาสตร์
“พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด” เป็นยุทธศาสตร์หลักในการดําเนินงาน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ
นําไปปฏิบัติ ซึ่งสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมดําเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด
ตามนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว
โดยมีกรมเสมียนตราเป็นหน่วยรับผิดชอบผลผลิตการแก้ไขปัญหายาเสพติด ของสํานักงานปลัด
กระทรวงกลาโหม ในฐานะฝ่ายเลขานุการศูนย์อํานวยการพลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติด สํานักงานปลัด
กระทรวงกลาโหม ผู้ปฏิบัติงานจําเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดําเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งใน
ภาพรวมและการดําเนินงานเฉพาะด้านพอสมควร เพื่อการประสานการปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้าน
ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กําหนดองค์ความรู้ เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นองค์ความรู้ของ
หน่วย ทั้งนี้ การดําเนินงานจะมีคําสั่ง นโยบายของผู้บังคับบัญชา และแผนการปฏิบัติงานเป็นแนวทางดําเนินการ
เพื่อให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สารบัญ
บทสรุปการดําเนินงาน การแก้ไขปัญหายาเสพติดของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ๑

บทที่ 1 งานด้านการข่าวและปราบปรามยาเสพ ๗
การจัดตั้งแหล่งข่าว/สายลับ (Source Of Informant Operation ๗
- แหล่งข่าว ๗
- ประเภทของแหล่งข่าว ๗
- การจัดหาสายลับ ๑๐
- การเลิกใช้สายลับ ๑๔
การกําหนดหัวข้อข่าวสาร ๑๖
- กําหนดตามวัตถุประสงค์ หรือกรอบการทํางาน ๑๖
- กําหนดตามแนวทาง หรือนโยบายผู้บังคับบัญชา ๑๖
- หัวข้อข่าวสารที่กําหนด ๑๖

บทที่ 2 งานด้านบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ๑๗
งานค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ๑๗
เทคนิคการสุ่มตรวจหาสารเสพติด ๑๗
- การประเมินคัดกรองกําลังพลที่เสพยาเสพติด ๑๗
- การตรวจการใช้สารเสพติด ๑๗
- เทคนิคการสุ่มตรวจหาสารเสพติด ๑๗
- การตรวจสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ ๑๙
- การอ่านผลและแปลผล ๒๐
งานส่งต่อเพื่อบําบัดรักษาในส่วนของโรงพยาบาลทหาร ๒๒
การบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ๒๒
- ระบบการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ๒๒
- แนวทางการดําเนินการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ๒๔
ผู้ติดยาเสพติดสําหรับผู้ปฏิบัติงาน
แผนงานปฏิบัติงานการแก้ไขปัญหายาเสพติด ๒๕
บทสรุปการดําเนินงาน

การแก้ไขปัญหายาเสพติดของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ปัญหายาเสพติ ด เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ สร้างความเสียหายแก่
เศรษฐกิจ สังคม และความปลอดภัยในวิถีชีวิตของประชาชน สมควรที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือแก้ไข เพื่อลด
ระดับความรุนแรง จนกระทั่งหมดสิ้นไปด้วยมาตรการดําเนินการทั้งด้านรณรงค์ป้องกัน และประชาสัมพันธ์
ปราบปรามและบําบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่หน่วยทหารและชุมชนทหารของสํานักงาน
ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อให้การดําเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผล สมความมุ่งหมายของทางราชการ สํานักงาน
ปลัดกระทรวงกลาโหม จึงได้มีคําสั่ง ที่ ๔/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ และคําสั่ง ที่ ๔๖/๒๕๕๕
ลงวั น ที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ กํ า หนดให้ มี ก ารจั ด ตั้ ง ศู น ย์ อํ า นวยการพลั ง แผ่ น ดิ น เอาชนะยาเสพติ ด
สํ า นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม เรี ย กชื่ อ ย่ อ ว่ า “ศพส.สป. ” โดยมี ค ณะกรรมการประกอบด้ ว ย
รองปลัดกระทรวงกลาโหม (สายงานกําลังพล) เป็นผู้อํานวยการศูนย์, เจ้ากรมเสมียนตรา เป็นรองผู้อํานวยการ
ศูนย์, หัวหน้าหน่วยขึ้นตรงสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ, ผู้อํานวยการสํานักงานกําลังพล
กรมเสมียนตรา เป็นกรรมการและเลขานุการ, ผู้อํานวยการกองการปกครอง สํานักงานกําลังพล กรมเสมียนตรา
และ หัวหน้าสํานักงานงบประมาณ กรมเสมียนตรา เป็นผู้ช่วยเลขานุการ มีหน้าที่กําหนดแนวทางแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดของ สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กํากับดูแล และติดตามประเมินผลการปฏิบัติการแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดของ หน่วยขึ้นตรงสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการ
จัดทําโครงการ และเสนอขอตั้งงบประมาณสนับสนุนการดําเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขและป้องกันปัญหา
ยาเสพติดของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีคณะอนุกรรมการดําเนินงานด้านต่าง ๆ ทั้งด้านรณรงค์
ป้องกันและประชาสัม พันธ์ รับผิ ดชอบโดยสํานักงานเลขานุ การ สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, ด้ าน
ปราบปรามรับผิดชอบโดยสํานักนโยบายและแผนกลาโหม และบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ รับผิดชอบ
โดยสํานักงานแพทย์ สํานักงานสนับสนุน สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
สําหรับการปฏิบัติงาน ได้ยึดถือนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของกระทรวงกลาโหม
ตามคําสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๑๐๙๒/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ซึ่งกําหนดให้การดําเนินการ
ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นและทหารทุกคน ที่จะต้อง
ดํ า เนิ น การทํ า ให้ พื้ น ที่ ห น่ ว ยทหาร และชุ ม ชนทหารเป็ น เขตปลอดยาเสพติ ด พร้ อ มกั บ ให้ ก ารสนั บ สนุ น
หน่ ว ยงานของรั ฐ ภาคเอกชน และองค์ ก รที่ เ กี่ ย วข้ อ งในการดํ า เนิ น งานป้ อ งกั น สกั ด กั้ น ปราบปราม
บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สําหรับกําลังพลที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หน่วยต้นสังกัด
ต้องดําเนินการตามกฎหมาย และระเบียบที่ทางราชการกําหนดโดยเคร่งครัด และนโยบายของสํานักงาน
ปลั ด กระทรวงกลาโหม เกี่ ย วกั บ การดํ า เนิ น การป้ อ งกั น และปราบปรามยาเสพติ ด ตามคํ า สั่ ง สํ า นั ก งาน
ปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ ๔/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๓ มุ่งเน้นที่จะดําเนินการต่อกําลังพลและ
ครอบครัว ในพื้นที่หน่วยทหาร และชุมชนทหารเป็นหลัก โดยให้ครอบคลุมงาน ทุกด้านอย่างจริงจัง และ
ต่อเนื่อง โดยมีลักษณะหรือวิธีการดําเนินการ โดยมุ่งพัฒนากําลังพลและครอบครัวให้มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด
กํ า หนดพื้ น ที่ แ ละกลุ่ ม เป้ า หมายที่ ชั ด เจน ผสมผสานมาตรการในการดํ า เนิ น การ กํ า หนดหน่ ว ยงาน
รั บ ผิ ด ชอบดํ า เนิ น การ และดํ า เนิ น งานลั ก ษณะองค์ ร วมแบบบู ร ณาการ ด้ ว ยมาตรการต่ า ง ๆ ดั ง นี้

/๑. ...
-๒-

๑. ด้านการป้องกัน กําหนดให้มีการรณรงค์ป้องกันและประชาสัมพันธ์ เพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพ


ติด
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พื้นที่หน่วยทหาร และชุมชนทหาร เป็นเขตปลอดยาเสพติด กําลังพลและครอบครัว
ไม่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด มีความรู้เกี่ยวกับชนิด โทษ และพิษภัยของยาเสพติด พร้อมทั้ง
ส่ ง เสริ ม การมีส่ว นร่ วมของกํ าลัง พลและครอบครั ว และประชาชนในพื้ นที่ใ กล้ เคี ยง กั บหน่ ว ยทหารของ
สํ า นั ก งานปลั ด กระทรวงกลาโหม เพื่ อ ให้ เ ข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการป้ อ งกั น และเฝ้ า ระวั ง ปั ญ หายาเสพติ ด
สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันครอบครัว และชุมชนทหารของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในการ
ส่งเสริมการใช้เวลาว่างของเด็กและเยาวชนให้เป็นประโยชน์ เช่น จัดลานกีฬาต้านภัยยาเสพติด
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน (ดนตรี, ศิลปะ) หรือ
กิ จกรรมครอบครั ว
อบอุ่นต้านภัยยาเสพติด
เพื่ อสร้ างภู มิ คุ้ มกั นยา
เสพติด นอกจากนี้ยังได้
มีก ารประสานงานกั บ
หน่ ว ยงานอื่ น ๆ ทั้ ง
ภายในและภายนอกระทรวงกลาโหม ในการรณรงค์ป้องกันการ
แพร่ระบาดของยาเสพติด และประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ในการดําเนินการ
ได้มีการจัดประชุมมอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการพิจารณา
รูปแบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด มีการจัดอบรม สัมมนา ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพ
ติดให้กับกําลังพลและครอบครัว รวมทั้งการจัดทําสื่อเผยแพร่การรณรงค์ป้องกันปัญหายาเสพติด
๒. ด้านการปราบปราม กําหนดให้มีมาตรการในการปราบปรามยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมาย
เพื่อควบคุม และป้องกันการขยายตัว และเร่งขจัดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในพื้นที่หน่วยงานและ
อาคารที่พักอาศัยของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้กําลังพลและ
ครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งการเป็นผู้เสพ หรือผู้ค้ายาเสพติด หรือเป็นแหล่งซุกซ่อนยาเสพติด
เพื่อพัฒนาบุคลากร และขีดความสามารถในการดําเนินงานปราบปรามยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อ
พัฒนาระบบงานด้านการข่าว และการมีส่วนร่วมในการปราบปรามยาเสพติดของผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ในการ
ดําเนินการ ได้มีการจัดตั้งองค์กรปฏิบัติงานด้านการข่าว (จัดตั้งแหล่งข่าว) กําหนดความรุนแรงของปัญหา และ
จําแนกกลุ่มเป้าหมาย มีการสํารวจ จัดทําข้อมูล และรายงาน ผู้ติดยาเสพติด
และผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยา
เสพติดการศึกษา และแลกเปลี่ยน
ข่าวสารการปราบปรามยาเสพติด
กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้ ง ฝ่ า ยทหาร พลเรื อ น และ
ตํารวจ มีการจัดชุดปราบปราม
ยาเสพติ ด ออกตรวจ สื บ สวน และ/หรื อ ร่ ว มกั บ เจ้ า หน้ า ที่ ที่
รับผิดชอบ จับกุมผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในพื้นที่หน่วยทหาร และชุมชนทหารของสํานักงาน
ปลัดกระทรวงกลาโหม ตลอดจนพื้นที่โดยรอบ
-๓-

๓. ด้านบําบัดรักษา กําหนดให้มีการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เพื่อค้นหา


ผู้ เสพ/ผู้ ติ ดยาเสพติ ด ในส่ วนกํ าลั งพลของสํ านั กงานปลั ดกระทรวงกลาโหม บํ าบั ดรั กษาผู้ ที่ ติ ดยาเสพติ ด
ให้สามารถเลิกยาเสพติด ติดตามผลการบําบัดรักษาเพื่อพัฒนาระบบการบําบัดรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพแก่
บุคลากรในหน่วยแพทย์ที่รับผิดชอบงานด้านการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยมีการกําหนดแผนงาน
และการดําเนินการด้านการบําบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ ตลอดจนติดตามผลการบําบัดรักษา
ให้เป็นไปตามมาตรการที่ ศพส.สป. กําหนด มีการพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการบําบัดรักษาและฟื้นฟู
สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอย่างเป็นระบบทั้งแบบสมัครใจและบังคับบําบัด เพื่อมิให้ผู้ที่ผ่านการบําบัดรักษาและ
ฟื้นฟูสมรรถภาพแล้วหวนกลับไปติดยาเสพติดอีก นอกจากนี้ยังจัดให้มีการตรวจสุขภาพ และตรวจหายาเสพติด
ในกําลังพลกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มว่าจะมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง

จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ด้วยการ
ให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการทางการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เสริมสร้างเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สําหรับแก้ไข
ปัญหาผู้ติดยาเสพติดตามทรัพยากรที่ได้รับ ให้คําปรึกษาด้านการบําบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและติดตาม
ผลการบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด มีการประสานงานกับกองบัญชาการกองทัพไทย เหล่าทัพ และส่วนราชการ
อื่น ในด้านการบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติด

ทั้งนี้ จะมีการประเมินผลการดําเนินงานดังกล่าวและรายงานให้ ศพส.สป. ทราบ


-๔ -

หน่วยขึ้นตรงสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมที่ร่วมดําเนินงาน
การดํ า เนิ น งานแก้ ไ ขปั ญ หายาเสพติ ดของสํ านั ก งานปลัด กระทรวงกลาโหมได้ มี ก ารจั ด ตั้ง ศูน ย์
อํานวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม โดยได้รับความ
ร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม สามารถแบ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
หลัก และหน่วยงานร่วมดําเนินการตามภารกิจและฟื้นที่รับผิดชอบ โดยมีหน่วยงาน โครงการ/กิจกรรมและ
พื้นที่ดําเนินการ ทั้งการรณรงค์ป้องกัน การปราบปรามและบําบัดรักษา ดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย/
ลําดับ หน่วยงาน โครงการ/กิจกรรม
พื้นที่ดําเนินงาน
การดําเนินงานด้านรณรงค์
ป้องกันและประชาสัมพันธ์
1. สํานักงานเลขานุการ สํานักงาน - โครงการจัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ป้องกัน - หน่วยงาน และอาคารที่พักอาศัยของ
ปลัดกระทรวงกลาโหม ยาเสพติด สํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ทุกพื้นที่
- โครงการครอบครัวอบอุ่นต้านภัยยาเสพติด - ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ
พร้อมครอบครัวของหน่วยงานในเขต
กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล
- โครงการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด - ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ
ของหน่วยงานในเขตกรุงเทพ ฯ และ
ปริมณฑล

2. กรมเสมียนตรา - กิจกรรมกีฬาต้านภัยยาเสพติด ห้วงปิด - เยาวชน บุตรหลาน ข้าราชการ ลูกจ้าง


ภาคเรียน (ต.ค.และ เม.ย.) และพนักงานราชการในอาคารที่พักอาศัย
ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล

3. กรมการพลังงานทหาร - กิจกรรมกีฬาต้านภัยยาเสพติด - เยาวชน บุตรหลาน ข้าราชการ ลูกจ้าง


ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน และพนักงานราชการในพื้นที่อําเภอฝาง
ประเทศ และพลังงานทหาร จังหวัดเชียงใหม่

4. ศูนย์อํานวยการสร้างอาวุธ - กิจกรรมกีฬาต้านภัยยาเสพติด - เยาวชน บุตรหลาน ข้าราชการ ลูกจ้าง


ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน และพนักงานราชการในพื้นที่จังหวัดลพบุรี
ประเทศ และพลังงานทหาร

5. กรมการการอุตสาหกรรมทหาร - ค่ายอบรมเยาวชนต้านภัยยาเสพติด - เยาวชน บุตรหลาน ข้าราชการ ลูกจ้าง


ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน พ นั ก ง า น ร า ช ก า ร ใ น พื้ น ที่ จั ง ห วั ด
ประเทศและพลังงานทหาร นครสวรรค์

6. กรมเทคโนโลยีสารสนเทศ - การอบรมคอมพิวเตอร์ - เยาวชน บุตรหลาน ข้าราชการ ลูกจ้าง


และอวกาศกลาโหม พนักงานราชการ ในพื้นที่กรุงเทพ ฯ
และปริมณฑล
/ การดําเนินงาน ...
-๕-

กลุ่มเป้าหมาย/
ลําดับ หน่วยงาน โครงการ/กิจกรรม
พื้นที่ดําเนินงาน
การดําเนินงานด้านปราบปราม
1. สํานักนโยบายและแผนกลาโหม - งานด้านการข่าว และปราบปรามยาเสพติด - ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ
และครอบครัว ในพื้นที่หน่วยงาน
และอาคารที่พักอาศัยของสํานักงาน
ปลัดกระทรวงกลาโหม ในเขตกรุงเทพ ฯ
และปริมณฑล
- งานสํารวจและจัดทําข้อมูลยาเสพติด - ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ
และติดตามประเมินผล และครอบครัว สังกัดสํานักงาน
ปลัดกระทรวงกลาโหม

2. กรมการพลังงานทหาร - งานด้านการข่าว และปราบปรามยาเสพติด - ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ


ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน และครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ประเทศ และพลังงานทหาร

3. ศูนย์อํานวยการสร้างอาวุธ - งานด้านการข่าวและปราบปรามยาเสพติด - ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ


ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน และครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี
ประเทศ และพลังงานทหาร
4. กรมการอุตสาหกรรมทหาร - งานด้านการข่าวและปราบปรามยาเสพติด - ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ
ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน และครอบครัว ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ประเทศและพลังงานทหาร
การดําเนินงานด้านบําบัดรักษา
และฟื้นฟูสมรรถภาพ
1. สํานักงานแพทย์ สํานักงาน - งานค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด - ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ
สนับสนุน สํานักงานปลัด ในส่วนกําลังพลของสํานักงานปลัดกระทรวง ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
กระทรวงกลาโหม กลาโหม
- งานแรกรับผู้ป่วย (ผู้ติดยาเสพติด) - ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ
เพื่อส่งต่อบําบัดรักษาในส่วนของ ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
โรงพยาบาลทหาร และติดตามผล
การบําบัดรักษา
- งานตรวจเฝ้าระวังการใช้สารเสพติด - ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ
เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

2. โรงงานเภสัชกรรมทหาร - งานค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในส่วน - ข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานราชการ


ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน กํ า ลั ง พลของสํ า นั ก งานปลั ด กระทรวง ของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ประเทศและพลังงานทหาร กลาโหม (ร่วมตรวจกับสํานักงานแพทย์)

/ ซึ่งการดําเนิน ...
-๖-

ซึ่งการดํ าเนิ นงานดัง กล่ า ว เจ้ าหน้ าที่ จํา เป็ นต้ องมี ค วามรู้ค วามสามารถในการปฏิบัติ งาน โดย
เฉพาะงานด้านปราบปรามและด้านบําบัดรักษาฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งเป็นงานด้านวิชาการ
เจ้าหน้าที่จําเป็นต้องมีความรู้ในเทคนิคเฉพาะด้านในการปฏิบัติงาน จึงกําหนดองค์ความรู้ในการดําเนินการ
แก้ไขปัญหายาเสพติด มีหัวข้อดังนี้
1. งานด้านปราบปราม (งานด้านการข่าวและปราบปรามยาเสพติด)
- การจัดตั้งแหล่งข่าว
- การกําหนดหัวข้อข่าวสาร
2. งานด้านบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
- งานค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
- งานส่งต่อเพื่อบําบัดรักษาในส่วนของโรงพยาบาลทหาร
- งานติดตามผลการบําบัดรักษา

พบเห็นเบาะแสยาเสพติดในพื้นที่ สป. และพื้นที่พักอาศัยข้าราชการ สป. แจ้งได้ที่ : โทร. 0-2221-6042


-๗-

บทที่ ๑
งานด้านการข่าวและปราบปรามยาเสพติด

การจัดตั้งแหล่งข่าว/สายลับ (Source Or Informant Operation)


แหล่งข่าว (Source) หมายถึง บุคคล หรือ คณะบุคคล หรือองค์กรใดๆ ที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่
เจ้าหน้าที่ จะด้วยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก้อได้
ผู้ให้ข่าวสาร ที่ไม่ตั้งใจ อาจจะสืบเนื่องมาจากการให้ข่าวสารจากการถูกลวงถาม หรือจากการ
สําคัญผิด หรือจากนิสัยของบุคคลผู้ให้ข่าวที่ชอบคุยโตโอ้อวดว่าตนเองได้ล่วงรู้อะไรมาบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องลับของ
บุคคลอื่น หรือโดยได้จากการสอดรู้สอดเห็นของนิสัยคนไทยทั่วไป
ส่วนผู้ให้ข่าวสาร ที่ให้ข่าวสารด้วยความตั้งใจอาจให้ข่าวสารแก่เจ้าหน้าที่ด้วยมูลเหตุจูงใจ ดังนี้
๑. ช่วยเหลือทางราชการ
๒. เพื่อต้องการสร้างบุญคุณกับเจ้าหน้าที่
๓. เพื่อตอบแทนบุญคุณกับเจ้าหน้าที่
๔. เพื่อหวังผลตอบแทน (เงิน, อํานาจบางอย่าง, บารมี ฯลฯ)
๕. เพราะความอิจฉาริษยา
๖. เพราะต้องการแก้แค้น
๗. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ตนเอง
๘. สร้างความสําคัญให้กับตนเอง
๙. เพราะความกลัวอํานาจบางอย่าง
๑๐. ต้องการให้เจ้าหน้าที่เห็นความสําคัญ และดึงเข้าร่วมทํางานในองค์กร
การให้ข่าวสารของบุคคลดังกล่าว ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละบุคคล หรือองค์กร มิได้อยู่ภายใต้
การควบคุมของเจ้าหน้าที่ ส่วนข่าวสารที่ได้รับบางครั้งอาจจะเป็นข่าวที่ได้รับรู้มาอีกทอดหนึ่ง (Supsource)
จึงทําให้ข่าวสารไม่ละเอียด และไม่สมบูรณ์ เพียงพอ
การทํางานของเจ้าหน้าที่จําเป็นต้องอาศัยการข่าวนํา และเป็นข่าวสารที่สามารถนําไปปฏิบัติ หรือ
วางแผนดําเนินการได้ และเป็นข่ าวสารที่สามารถตรวจสอบที่ ม าได้ เชื่อถือได้ ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่ง
ที่เจ้าหน้าที่จะต้องจัดหาแหล่งข่าวที่สามารถควบคุมหรือสั่งการให้ปฏิบัติงานตามความต้องการของเจ้าหน้าที่
ได้บุคคลประเภทนี้เรียกว่า “สายลับ” (Cooperating Individual หรือ C.I., Informants, Source, Agent)
ประเภทของแหล่งข่าว
๑. แหล่งข่าวเปิด
๑.๑ บุคคลทั่วไป - ที่ให้ข่าวสารตามที่ได้รับรู้โดยทั่วไป เป็นลักษณะการเล่าเรื่อง บอกต่อ ซึ่ง
สามารถให้ข้อมูลข่าวสารด้าน บุคคล เครือญาติ ที่อยู่/ที่พัก ยานพาหนะ ตลอดจน เพื่อนบ้าน หรือบุคคล
ใกล้ชิด ซึ่งข่าวสารเป็นแบบเปิดเผย หรืออาจจะให้ข่าวสารที่เป็นเรื่องปกปิด แต่ไม่สามารถล่วงรู้ถึงข้อเท็จจริง
ที่มาของเรื่องนั้น ๆ โดยละเอียด
๑.๑.๑ ผู้ประกอบอาชีพ รถจักรยานยนต์รับจ้าง
๑.๑.๒ ผู้ประกอบอาชีพ รถยนต์สาธารณะ และส่วนบุคคล
๑.๑.๓ ผู้ประกอบอาชีพ ค้าขาย หรืออาชีพ อิสระ
๑.๑.๔ ผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ
/ ๑.๒ ...

-๘-

๑.๒ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ลูกจ้างส่วนราชการ หรือ


นักการเมืองท้องถิ่น ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ ของรัฐ ฯ - จะให้ข่าวสารด้านหน้าที่ที่รับผิดชอบ โดยให้ข้อมูลที่
ถูกต้องเป็นจริง และพฤติการณ์ของบุคคลเป้าหมายได้บางส่วน แต่จะให้ข้อมูลข่าวสาร ที่ปกปิด หรือปกป้อง
ถ้าเป้าหมายเป็นบุคคลในองค์กร ของหน่วยงานนั้น ๆ ข้าราชการดังกล่าวสังกัดทุก กระทรวง ทบวง กรม ของ
ทางการไทย ส่วนใหญ่ ที่เจ้าหน้าที่ทํางานด้านการสืบสวนมักใช้ข้อมูล หรือ สรรหาข้อมูลบุคคล สถานที่ จาก
ข้าราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
๑.๒.๑ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. หรือข้าราชการการเมืองท้องถิ่น
เจ้าหน้าที่สามารถหาข้อมูลบุคคลเป้าหมายจากบุคคลดังกล่าวได้โดยเปิดเผย หรือ
เรื่องลับ ซึ่ งบุคคลดั งกล่าวจะให้ข้อมู ล ตัวบุคคลเป้าหมาย เครือญาติ ที่พักอาศัย ยานพาหนะ ตลอดจน
เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และประวัติเบื้องต้นของเป้าหมายนั้น ๆ และเจ้าหน้าที่ไม่ต้องเสียเวลาในการหาข้อมูล
ด้วยตนเอง หรือใช้สายลับเข้าไปหาข่าว โดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ส่วนข้อเสีย หากเป็นความลับที่ไม่สามารถ
เปิดเผยได้ การหาข่าวสารจากกลุ่มบุคคลดังกล่าว อาจจะเป็นผลเสีย เนื่องมาจากการปกป้องคนในปกครอง
ของตน หรือเครือญาติกันกับเป้าหมาย หรือหากเป้าหมายเป็นคนที่เกี่ยวพันกันกับข้าราชการท้องถิ่นนั้น ๆ
อาจจะไม่ได้ข้อเท็จจริง ซึ่งอาจจะมีผลเสียตามมา ทั้งทางด้านการข่าว และการดําเนินการในขั้นตอนถัดไป
ส่วนใหญ่ที่เราต้องการข้อมูลจากบุคคลดังกล่าว มักจะหาข้อมูลแวดล้อมเบื้องต้นไว้แล้ว และเป็นข้อมูลที่
เจ้าหน้าที่เชื่อว่าไม่สําคัญมากนัก
๑.๒.๒ พนักงานไปรษณีย์ หรือบุรุษไปรษณีย์
ข้อมูลที่เจ้าหน้าที่จะได้จากพนักงาน หรือบุรุษไปรษณีย์ส่วนใหญ่จะเป็นบ้าน
พักอาศัย ห้องเช่า ที่พักอาศัยชั่วคราว หรือ สถานที่ที่ไม่ระบุใน จดหมาย หรือพัสดุเท่านั้น แต่ยังทราบที่พัก
ปัจจุบันของเป้าหมาย หรือคนรับจดหมาย คนรับแทน คนที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย และยังเป็นข้อมูลที่เป็น
ปัจจุบันมากที่สุด นอกจากนี้ บุรุษไปรษณีย์ยังล่วงรู้ถึงพฤติการณ์บางอย่างที่ผิดปกติของเป้าหมาย และรูปร่าง
หน้าตาเป้าหมาย ตลอดจนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย โดยทั่วไปหากบุรุษไปรษณีย์ คลุกคลีกับพื้นที่
มานาน จะล่วงรู้ถึงความผิดปกติ พฤติกรรมบุคคลเป้าหมายและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าว จะถูก
ปกปิดเป็นความลับ เนื่องมาจากภยันตรายที่บุรุษไปรษณีย์มองเห็นหากเปิดเผยความลับนั้น แต่ข้อเสียก็คือ
หากบุ รุษ ไปรษณี ย์มี ส่ ว นเกี่ยวข้ อ งหรื อเป็ น เครือข่ ายกั บ บุค คลเป้ า หมายเราจะไม่ได้ ข้อมู ล ข่า วสารที่เป็ น
ประโยชน์และอาจจะถูกเปิดเผยสถานะของเจ้าหน้าที่ การหาข่าวกับบุรุษไปรษณีย์อาจจะต้องปกปิดสถานะ
ที่แท้จริง หรืออําพรางเรื่องไปหาข่าวแทน
๑.๒.๓ ส่วนราชการ ทหาร ตํารวจ
เจ้าหน้าที่สามารถหาข้อมูลหรือตรวจสอบประวัติการขึ้นทะเบียน ทหารกองเกิน
การขึ้นทะเบียนการเข้ารับราชการทหาร จาก กระทรวงกลาโหม หรือตรวจสอบประวัติอาชญากรรม จาก
สํ า นั ก งานตํ า รวจแห่ ง ชาติ ซึ่ ง เป็ น การตรวจสอบตามขั้ น ตอนและต้ อ งมี ห นั ง สื อ จากหน่ ว ยงานไปยื่ น
ขอตรวจสอบเท่านั้น ข้อเสีย หากเป็นการเปิดเผยตัวเพื่อไปหาข่าวเกี่ยวกับบุคคลเป้าหมายที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
ของหน่วยงานนั้น จะมีผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจาก ทหาร ตํารวจ เป็นหน่วยงานที่ได้รับการฝึกอบรมด้าน
การข่าวและการต่อต้านการข่าวมาก่อน และเป็นหน่วยงานที่พบการทุจริตค่อนข้าง จะมาก ทําให้การข่าว โดย
เปิดเผยทําได้ค่อนข้างจะยาก แต่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวสามารถทําได้
๑.๒.๔ ส่วนราชการ สังกัด กระทรวง ทบวง กรม อื่น ๆ
ข้อมูลข่าวสารที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นเอกสารของทางราชการที่เจ้าหน้าที่ร้องขอ
ตรวจสอบ เช่น โฉนดที่ดิน จากกรมที่ดิน เอกสารยานพาหนะ จากกรมขนส่ง เอกสาร ทร.๑๔ จากกรมการ
ปกครอง เป็นต้น
/ ๑.๓ ...

-๙-

๑.๓ หน่วยงานเอกชน - เจ้าหน้าที่สามารถหาข่าวกับภาคเอกชน ได้ทั้งโดยเปิดเผย และทางลับ


ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่มีอํานาจในการเข้าไปหาข่าวได้โดยเปิดเผย หรือปกปิด ซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อหาของข้อมูลที่จะ
ดําเนินการ ว่าจะเป็นด้านลับ หรือเปิดเผย หรือแค่ปกปิด หากเป็นกรณี ต้องการข้อมูลที่สามารถเปิดเผยได้
ต้องเข้าไปแสดงตน และอํานาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเอกชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือด้วยดี แต่ถ้าเป็น
ข้อมูลที่สําคัญและเป็นเรื่องลับ นั้น เจ้าหน้าที่จะทําหนังสือมอบอํานาจจากต้นสังกัด และประสานงานกับผู้มี
อํานาจในการตัดสินใจของบริษัทนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ หากไม่กระทบกับชื่อเสียง หรือด้านธุรกิจมากจนเกินไป
เอกชนมักจะให้ข้อเท็จจริงที่สุด หากเป็นเรื่องผลกระทบกับธุรกิจโดยตรงเอกชนมักจะให้ข้อมูลที่ไม่ตรงและ
ปกปิด
๑.๔ แหล่งข่าวทางการสื่อสารมวลชน
๑.๔.๑ หนังสือพิมพ์
๑.๔.๒ วิทยุ
๑.๔.๓ โทรทัศน์
๑.๔.๔ อินเทอร์เน็ต ออนไลน์ (ถ้าคิดอะไรไม่ออก “ถาม” “google”)
๑.๔.๕ โทรศัพท์ไร้สายอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ฯลฯ

๒. แหล่งข่าวปิด
๒.๑ แหล่งข่าวบุคคล หมายถึง บุคคลที่เข้าถึงเป้าหมาย หรือข่าวสารทางลับ ที่เจ้าหน้าที่ใช้
ทํางาน โดยมีทั้งจ่ายค่าตอบแทน และแลกเปลี่ยนกับบางสิ่ง บางอย่าง
๒.๑.๑ ผู้ให้ข่าว (Source of Information)
๒.๑.๑.๑ บุคคลทั่วไป หรือ พลเมืองดี - หมายถึง บุคคลทั่วไปให้ข่าวสารโดย
สุจริตใจ ไม่มีสิ่งใดแอบแฝง ข่าวสารที่ได้ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าหน้าที่และผู้ให้ข่าวสารว่าเข้าถึง
ข้อมูลมากน้อยเพียงใด
๒.๑.๑.๒ พวกผิดปกติทางจิต หมายถึง คนที่ต้องการชื่อเสียง หรือผิดปกติทางจิต
ต้องการเงิน ต้องการสร้างเรื่อง โดยให้ข่าวสารที่เป็นจริงบางส่วน หรือหลอกลวงเจ้าหน้าที่ โดยสร้างเรื่อง
ผูกโยง ให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อว่ามีเหตุการณ์เช่นนั้นจริง
๒.๑.๑.๓ หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน - หน่วยงานที่ให้ข้อมูลข่าวสาร ด้านใด
ด้านหนึ่ง ซึ่งความสามารถด้านการให้ข่าวขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปรับข่าวสารและความสามารถขององค์กร
นั้น ๆ
๒.๑.๒ สายลับ (Informants, Cooperating Individuan) หมายถึง บุคคลที่มี
ความสามารถเข้าถึงเป้าหมายและข่าวสารที่เจ้าหน้าที่ต้องการและมีจุดอ่อนที่เจ้าหน้าที่สามารถชักจูงเข้ามา
ร่วมงานหรือให้ข่าวสารแก่เจ้าหน้าที่ได้ทั้งโดยการสมัครใจ ชักชวน โน้มน้าว โดยเจ้าหน้าที่บางสถานการณ์
อาจถูกบีบบังคับโดยภาวะจํายอม เพื่อให้เป็นสายลับ และเปลี่ยนกับบางสิ่งบางอย่าง
วัตถุประสงค์ ของการใช้สายลับ
๑. เพื่อแสวงหาข่าวสาร
๒. เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่อําพราง
/ ประเภท ...

- ๑๐ -

ประเภท สายลับ
๑. สายลับหลัก หรือ สายลับที่จัดตั้งโดยขึ้นทะเบียนสายลับ ซึ่งเจ้าหน้าที่จัดหาสายลับ
ประเภทนี้ เพื่อใช้ในภารกิจใด ภารกิจหนึ่ง โดยมีแผนการรองรับ เพื่อให้สําเร็จลุล่วง ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่ง
อาจจะต้องทําหน้าที่เป็นหัวหน้าควบคุมสั่งการต่อสายลับคนอื่น ๆ แทนเจ้าหน้าที่ได้ด้วย เป็นเสมือนตัวแทน
ของเจ้าหน้าที่ (Case Officers หรือ C/O) โดยมีเจ้าหน้าที่เป็น CEO สายลับที่ทําหน้าที่ C/O อาจจะใช้
เจ้าหน้าที่ (ระดับล่าง) ดําเนินการ หรือสั่งการแทน โดยมีสายลับ (บุคคลที่เข้าถึงเป้าหมาย) เป็นคนทําตาม
คําสั่งที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ โดยปกติการจัดหาสายลับหลักเพื่อควบคุมสายลับรอง มักจะใช้บุคคลที่
มีอิท ธิพล หรื อมีบริวารที่ สามารถเข้าถึงเป้าหมายและปฏิบัติงานได้ โดยเจ้ าหน้ าที่มีขีดจํากัด ด้านภาษา
ความหมาย ทักษะ หรือด้านความปลอดภัย จะใช้สายลับหลัก โดยมีการจ่ายค่าตอบแทนของทางการเป็นรายเดือน
หรือเป็นผลงาน
๒. สายลับปฏิบัติการ คือ สายลับที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ เช่น สายลับที่ทํา
การล่อซื้อยาเสพติด หรือร่วมขบวนการลําเลียงยาเสพติด คอยทําหน้าที่แจ้งข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เจ้าหน้าที่
ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เช่น วางแผนจับกุม บันทึกภาพ พิสูจน์ทราบตัวบุคคลเป้าหมาย
๓. สายลับสนับสนุน หมายถึง สายลับที่ไม่ได้ทําหน้าที่ปฏิบัติการต่อเป้าหมายโดยตรง
แต่ทําหน้าที่สนับสนุนด้านอื่นในการปฏิบัติการข่าว เช่นสายลับที่ทําหน้าที่แนะนําตัว เจ้าหน้าที่อําพรางให้กับ
เป้าหมาย เพื่อดําเนินการสืบสวนหาข่าว อําพรางสร้างเรื่องเพื่อเข้าไปหาข่าวกับกลุ่มนักค้า ตลอดจนการเจรจา
ต่อรอง เพื่อดําเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
การจัดหาสายลับ (C.I. Acquisition)
สายลับที่นํามาใช้ในการสืบสวนหาข่าวด้านยาเสพติด โดยส่วนใหญ่จัดหามาโดย 2 วิธี
๑. จากบุ ค คลที่ เ ข้ า หาเจ้ า หน้ า ที่ โดยสมั ค รใจมาเป็ น สายลั บ โดยมี มู ล เหตุ จู ง ใจ
ในสภาพการณ์โดยบีบทางด้านจิตใจ หรือเหตุผลจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด ได้แก่ บุคคลที่เคยเข้าร่วมขบวนการ
ค้ายาเสพติดมาก่อน และแสดงความจํานงจะมาปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งโดยปกติจะมีสายลับประเภทนี้
อยู่มาก ซึ่งสายลับประเภทนี้จะมีเจตนาทั้งสุจริตและไม่สุจริต ส่วนใหญ่เข้าหาเจ้าหน้าที่โดยเจ้าหน้าที่ไม่ทราบ
ประวัติหรือที่มาดีเจ้าหน้าที่ไม่ได้เตรียมการมาก่อน สายลับ บางรายควบคุมยาก และขีดความสามารถเข้าถึง
เป้าหมายอาจจะไม่ตรงกับภารกิจซึ่งการควบคุมของเจ้าหน้าที่จะช่วยให้การสําเร็จลุล่วง
๒. จากบุคคลโดยการชักจูง หรือบีบบังคับ หรือต่อรอง หรือโน้มน้าวให้มาทํางานให้ ส่วนใหญ่
สายลับดังกล่าว เจ้าหน้าที่เป็นคนคัดเลือกจากเป้าหมายที่เคยเข้าร่วมขบวนการค้ายาเสพติด ซึ่งเจ้าหน้าที่
รู้จุ ด อ่อ นของสายลั บ ดั งกล่า วเป็ น อย่า งดี สามารถควบคุม ให้ ทําภารกิ จ ใด ภารกิ จหนึ่ งให้ไ ด้ โดยสายลั บ
ไม่สามารถหนี หรือละเว้นการปฏิบัติได้ สายลับเหล่านี้สามารถปฏิบัติการตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้ตาม
ต้องการ สายลับประเภทนี้จึงมีคุณค่ามากกว่าประเภทแรก
ขบวนการจัดหาสายลับ
เป็นขั้นตอนหนึ่งในการคัดเลือกสายลับที่เข้ามาทํางานให้กับหน่วยงานด้านการสืบสวนราชการลับ
ซึ่งจะมีข้อยุ่งยากแตกต่างกันไป ทั้งพฤติการณ์ส่วนตัวสายลับวัตถุประสงค์ขององค์กร เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม
สายลับ การว่าจ้าง และการเลิกจ่างแต่ละขั้นตอน ล้วนมีความสําคัญต่อการคัดเลือกสายลับ ทั้งสิ้น
/ กรรมวิธี ...

- ๑๑ -

กรรมวิธีในการจัดหาสายลับ นั้น มีขั้นตอนและหลักเกณฑ์ โดยทั่วไปมีอยู่ ๕ ขั้นตอน ดังนี้


๑. การเก็งตัวสายลับ (C.I. Spotting) การตรวจสอบเป้าหมายว่าใครเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ
เป้าหมายบ้าง และบ่งชี้ตัวบุคคลว่าใครเป็นผู้ที่มีความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้หรือเป็นสายลับให้ได้ การเก็ง
ตัวมักจะเก็งไว้หลาย ๆ คน ผู้ที่ถูกเก็งตัวเรียกว่า “CANDIDATES”
ขอบเขตของการเก็งตัว
๑) ทราบตัวบุคคลที่จะมาเป็นสายลับ พร้อมทั้งคุณลักษณะตามที่ต้องการ
๒) เพื่อพิสูจน์ทราบว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณลักษณะและความสามารถจริง
๓) เพื่อรายงานข่าวสารต่าง ๆ ที่ทราบเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าว รายงานให้กับหน่วยเหนือ
หรือ บก.
การจัดทําประวัติสายลับ
๑. รายงานข่าวสารที่รับจากสายลับ
๒. แฟ้มการเก็งตัวสายลับ - ประกอบด้วย
- วัตถุประสงค์ในการปฏิบัติการ รายละเอียดภารกิจที่จะใช้สายลับคนดังกล่าวด้านใด
และขอบเขตที่กําหนดไว้ รวมทั้งวิธีการความสามารถที่จะชักจูงบุคคลผู้นั้น
- ประวัติย่อของบุคคล (สายลับ) ที่ถูกเก็งตัว รวมทั้งอุปนิสัยต่าง ๆ
- มูลเหตุจูงใจ ความซื่อสัตย์ และจุดอ่อนต่าง ๆ ของบุคคลที่ถูกเก็งตัว เพื่อสามารถชัก
จูงให้ทํางานให้กับเจ้าหน้าที่ได้
๒. การสืบสวนสายลับ (C.I. Investigation) การสืบสวนสายลับ กระทําไปเพื่อสาเหตุ
ต่าง ๆ ดังนี้
/- บุคคลดังกล่าวมีความเหมาะสม หรือไม่ เพียงใด
/- เพื่อจะให้ทราบว่า จะสามารถชักจูงบุคคลดังกล่าวได้ หรือไม่ อย่างไร
/- เพื่อพิจารณาว่า บุค คลดั งกล่าวจะก่ อ ให้ เกิ ดอั นตรายต่ อการปฏิบัติ งานหรือ ไม่
อย่างไร
๓. การคัดเลือกสายลับ (C.I. Selection) การคัดเลือกสายลับ - เพื่อจะพิจารณาว่า
บุคคลผู้นั้นมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด เข้าถึงข้อมูลข่าวสารหรือไม่ หรือจะยอมรับโอกาสในการชักชวน
หรือไม่ ทั้งนี้ควรคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมากที่สุด
ข้อพิจารณา ตัวบุคคลที่จะคัดเลือกเข้ามาเป็นสายลับ พิจารณาจากเหตุผลดังต่อไปนี้
๑) การเข้าถึงเป้าหมาย (Access to target)
- เข้าถึงโดยตรง (Direct)
- เข้าถึงโดยอ้อม (Indirect)
๒) มูลเหตุจูงใจ (Motivation) สิ่งสําคัญในการคัดเลือกสายลับต้องนํามาพิจารณารวม
กับมูลเหตุจูงใจ หรือหามูลเหตุจูงใจที่แท้จริงว่าบุคคลผู้นั้นมีมูลเหตุจูงใจอะไรที่มาทํางานให้กับเรา หรืออะไร
คือสาเหตุที่แท้จริง หากทราบมูลเหตุจูงใจที่แท้จริงของบุคคลผู้นั้น จะทําให้สามารถวางแผนการชักชวน หรือ
มองหาสิ่งชักนํา (Induce) ให้บุคคลนั้นทํางานให้กับเราได้ มูลเหตุจูงใจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
/ - มูลเหตุจูงใจ ...

- ๑๒ -

/- มูลเหตุจูงใจทางอุดมคติ (Idealogical Motivation) ได้แก่ ความเชื่อมั่นทางอุดมคติ


ที่เป็นชีวิตจิตใจของบุคคลผู้นั้น และเป็นสิ่งที่ทําให้บุคคลนั้น ๆ ปฏิบัติอย่างนั้น อย่างนี้ได้ เช่น เชื่อมั่นว่า
ยาเสพติดเป็นภัยต่อสังคม เชื่อมั่นว่ายาเสพติดเป็นสิ่งต้องห้ามตามศาสนา
/- มูลเหตุจูงใจทางอารมณ์ (Emotional Motivation) ได้แก่ ความรู้สึก ที่ผลักดันให้
บุคคลกระทําสิ่งหนึ่งสิ่งใด อันเกิดจากความรัก ความเกลียดชัง ความกลัว ฯลฯ
/- มูลเหตุจูงใจทางด้านวัตถุ (Material Motivation) ได้แก่ ความต้องการหรือ
ความหวังที่ต้องการได้ เงิน ทอง สิ่งของ และยศ บรรดาศักดิ์ จนผลักดันให้บุคคลกระทําการสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป
๔. การชักชวนสายลับ (C.I. Recruitment) การชักชวนสายลับ คือการชักชวนผู้ที่ถูก
เก็งตัวไว้แล้ว ได้ผ่านการคัดเลือกให้เป็นสายลับในการหาข่าวสาร หรือปฏิบัติการให้กับเจ้าหน้าที่
การชักชวน ต้องบอกบุคคลดังกล่าว อย่างเจาะจง ตรงไป ตรงมา หากอ้อมค้อม หรือใช้
วิธีการให้เข้าร่วมทีละน้อย ไม่บอกวัตถุประสงค์ที่แท้จริง อาจจะทําให้เกิดผลเสียหายตามมา คือ
- สายลับอาจจะคิดว่าตนเองเป็นเพียงผู้ให้ข่าว โดยสมัครใจ และอาจจะไม่ปฏิบัติตามได้
- อาจจะไม่สํานึกว่าเขาต้องอยู่ในกฎระเบียบวินัย การอํานวยการควบคุมของเรา อาจจะ
เกิดผลเสียตามมา
- สายลับ จะคิดเอาเองว่า เขาจะเลิกปฏิบัติการให้เราเมื่อไหร่ก็ได้ตามอําเภอใจ ซึ่งจะ
เกิดผลเสียหายตามมา
การชักชวนสายลับ (Approach to Recruitment) ทําได้ 3 วิธี
๑) การพัฒนาสัมพันธ์ (Developmental Approach) สร้างมิตรภาพทีละน้อย และ
พัฒนาไปจนกระชับแน่นแฟ้น
๒) โดยฉับพลัน (Cold Approach) - การชักชวนวิธีการนี้มีข้อจํากัดเรื่องการคัดเลือก
สายลับ และเวลาจะทําให้ผู้ที่ถูกเก็งตัว ตัวเก็งและจะมีผลเสียต่อการทํางานหากผู้ที่ถูกเก็งตัวไม่รับชักชวน หรือ
ทํางานได้ไม่เต็มความสามารถ การเลือกช่วงเวลา และสถานที่ในการชักชวน จะทําให้การดําเนินการชักชวน
บรรลุวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น
๓) วิธีการร่วม (Combined Approach) – หมายถึงบุคคลหนึ่งเป็นคนเสริมสร้าง
ความสัมพันธ์กับสายลับตัวเก็ง จนถึงระยะเวลาหนึ่งพอที่จะชักชวนได้ แล้วอีกบุคคลหนึ่งเป็นผู้ชักชวนโดย
ฉับพลัน วิธีการนี้ต่างจากวิธีการโดยฉับพลัน คือ ผู้ชักชวน สามารถซักไซ้ (debrief) ข่าวสารเกี่ยวกับสายลับ
ตัวเก็งได้ หรือสามารถชักชวน สายลับตัวเก็งไปสู่สถานที่และเวลาที่เหมาะสม สําหรับจังหวะที่จะชักชวน นั้น
ทําได้ง่ายขึ้น เพราะทราบล่วงหน้า
การใช้สิ่งชักนํา (Inducement)
คือการใช้ปัจจัย ในการจูงใจ ให้บุคคลที่จะมาปฏิบัติการให้เรา หรือเป็นเครื่องมือในการ
จูงใจ ให้กับผู้ที่จะมาทํางาน โดยยื่นข้อเสนอมากกว่าคําพูด หรือสิ่งที่บุคคลดังกล่าวปรารถนาที่อยากจะได้ การ
ชักนํา เปรียบเสมือน ประกายไฟจากหัวเทียนที่จะจุดให้เครื่องจักรทํางาน ส่วนมูลเหตุจูงใจ เปรียบเสมือน
เชื้อเพลิงที่จะทําให้เครื่องจักรทํางาน การชักนํา แบ่งเป็น
/ ๑) การเปิด ...

- ๑๓ –

๑) การเปิดโอกาส - เรื่องการงาน ความมีชื่อเสียง อนาคตข้างหน้า ซึ่งจะต้องพิจารณาว่า


เราสามารถหรือเปิดโอกาสให้เขาได้มากน้อย เพียงใด อย่างไร
๒) ด้วยเงิน - การใช้เงินเป็นสิ่งจูงใจ
๓) ด้วยการให้คํามั่นสัญญา - ต้องอยู่ในดุลยพินิจว่าสามารถทําตามที่ให้ไว้ได้หรือไม่ ถ้า
ไม่ได้ห้ามรับปากหรือสัญญา
๔) ด้วยการให้สิ่งที่ต้องการ - ภายในวิสัยที่ทําได้
๕) ด้วยการชี้แจงเหตุผล - การชี้แจงหตุผลที่กระตุ้นมากพอที่จะให้สายลับทํางานได้
๖) ด้วยก่อให้เกิดด้านอารมณ์ร่วม - ทําให้เกิดอารมณ์ โกรธ เกลียด เคียดแค้น ชิงชัง
หรือรัก ซึ่งอาจพอที่จะกระตุ้นให้สายลับทํางานได้
การควบคุม (Control) สามารถทําได้ดังนี้
๑) การบีบบังคับ (Coercion) ถือว่าเป็นการกระทําในทางที่ผิด อาจจะก่อให้เกิดผลเสีย
มากกว่าผลดี
๒) การสร้างความสัมพันธ์ไมตรี - เป็นการควบคุมที่ดีที่สุด
๓) การก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ - เป็นวิธีการที่ดี ถ้าผู้ที่ได้รับการควบคุมเกิดความ
ภาคภูมิใจ จะก่อให้เกิดขวัญ และกําลังใจ รวมทั้งระเบียบวินัย
๕. การดําเนินการต่อสายลับ (C.I. Management) หลังการรับให้สายลับเข้ามา
ทํ า งานในหน่ ว ย สิ่ ง จํ า เป็ น คื อ มาตรการที่ ก ระทํ า ต่ อ สายลั บ เพื่ อ ติ ด ตามว่ า สายลั บ สามารถทํ า งานตาม
วัตถุประสงค์ที่ต้องการได้หรือไม่ ความมีขั้นตอนดําเนินการ ดังนี้
จัดทําประวัติ / ระเบียบการใช้ สายลับ
๑. ขึ้นทะเบียนสายลับ
๒. นัดพบปะสายลับ เพื่อรับข้อมูลข่าวสารบ่อย ๆ
๓. ต้องแน่ใจว่าสายลับไม่ได้ไปยั่วยุให้บุคคลอื่นกระทําผิด
๔. ตรวจสอบสายลั บว่ ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด หรือมี อะไรผิ ดปกติ หรืออาจจะให้
สายลับอีกคนตรวจสอบพฤติกรรม
๕. เมื่อสายลับไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามวัตถุประสงค์ เจ้าหน้าที่ไม่ต้องดําเนินการแทน
๖. ต้องแจ้งให้กับสายลับทราบว่าไม่มีอภิสิทธิ์ใดที่จะกระทําผิดแต่อย่างใด หากทําผิดเอง
เมื่อไหร่ก็จะถูกจับเช่นเดียวกัน หากพบความผิดต้องรายงานหน่วยเหนือทราบ
การปฏิบัติการต่อสายลับ
๑. อย่าวางตัวสนิทกับสายลับมากเกินไป อาจจะทําให้สายลับตีเสมอได้
๒. ต้องแสดงความยุติธรรมและจริงใจต่อสายลับ สิ่งใดที่สัญญากับสายลับว่าจะให้ก็ควร
ปฏิบัติตามสัญญา
๓. ควบคุมความประพฤติสายลับอย่าให้สายลับทําตัวดุจเป็นเจ้าหน้าที่
๔. รักษาความลับของสายลับ และให้ความปลอดภัยแก่สายลับ
๕. กําหนดรหัสให้แก่สายลับ ควรกําหนดเป็นเป้าหมายเลขแทนชื่อที่อยู่จริง
๖. การพบสายลับ ควรพบกันสถานที่อื่น ซึ่งไม่ใช้สถานที่ทํางาน
๗. ไม่ควรตําหนิสายลับเมื่อสายลับทํางานพลาด และควรให้กําลังใจแก่สายลับ
๘. ตอบแทนสายลับคุ้มค่าและรวดเร็ว กรณีเงินค่าสายลับที่ได้ไม่ควรหักค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
เพราะจะทําให้สายลับไม่เชื่อใจ

/ การเลิกใช้ ...

- ๑๔ –

การเลิกใช้สายลับ
การเลิกใช้สายลับ - เป็นสิ่งจําเป็นเมื่อหมดภารกิจ และไม่ดําเนินการต่อ แต่จะทําใน
ขั้นตอนของการชั กชวนและการใช้สายลับ ซึ่งจะแจ้งให้ทราบช่วงนั้นว่า ได้ตกลงเงื่อนไขไว้ เป็นช่วงไหน
อย่างไร กําหนดระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุด โดยกําหนดแผนดังนี้
- การวางแผนเลิกใช้ล่วงหน้า ว่าหากต้องเลิกใช้สายลับจะดําเนินการอย่างไรบ้าง หรือจะ
ให้อะไรแก่สายลับ
- ข้อตกลง หรือสัญญาใด ๆ ที่ให้กับสายลับ ต้องแน่ใจว่าจะสามารถทําได้หรือไม่ มีอะไร
เลวร้ายเท่ากับสัญญาสายลับแล้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา เนื่องจากสายลับคนอื่น ๆ ที่อยู่ในข่ายอาจจะทราบเรื่อง
และเอาใจออกห่างได้
- วิธีการเลิกใช้สายลับ อาจจะทําได้ด้วยวิธีการหนึ่ง วิธีการใด ดังนี้
๑) ด้วยความยินยอมร่วมกัน โดยชี้แจ้งให้เข้าใจในสถานการณ์ที่แท้จริง และบอกเลิก
จ้างโดยที่เขายินยอมแบบไม่บาดหมางใจกัน
๒) ด้วยการให้เงินก้อนหนึ่ง บอกเลิกจ้างโดยตรงและมอบเงินให้เขาไปก้อนหนึ่ง ตาม
ข้อตกลงหรือสัญญาที่ทํากันไว้
๒.๒ แหล่งข่าวเครื่องมือเทคนิค
การใช้เครื่องมืออีเลคโทรนิค ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานสืบสวนทางลับ ปัจจุบันนิยม
ใช้กันมาก และยังสามารถช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่ในทางลับได้สําเร็จผลตามวัตถุประสงค์ ซึ่งอาจจะใช้ควบคู่
กันกับ แหล่งข่าวบุคคล หรือใช้เฉพาะเครื่องมือเทคนิคสนับสนุนเจ้าหน้าที่โดยตรง
ข้อดี - สามารถชี้เป้าหมายได้ถูกต้องแม่นยํา และตรงไปตรงมา โดยมีหลักฐานประกอบ
ทําให้เป้าหมายไม่สามารถปฏิเสธการกระทําของตนได้ เนื่องจากหลักฐานเกิดจากการกระทําของตนโดยตรง
ไม่ผ่านบุคคลอื่น
ข้อเสีย - คือไม่สามารถใช้ได้ในสถานการณ์บางสถานการณ์ เช่น เป้าหมายนัดพบปะ
เจรจาในที่เฉพาะ ที่เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นเข้าไปได้ และไม่ใช้เครื่องมือสื่อสารติดต่อกัน
เครื่องมืออิเลคโทรนิค ที่ใช้สนับสนุนการสืบสวน ได้แก่
2.2.1 เครื่องมือดักฟังเสียง
2.2.2 เครื่องมือบันทึกภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
2.2.3 เครื่องมือดักการติดตาม (GPRS)
2.2.4 เครื่องมือดักฟัง เสียง และภาพ
2.2.5 เครื่องมือดักฟังโทรศัพท์มือถือ
/ สรุปการว่าจ้าง ...

- ๑๕ -

สรุปการว่าจ้างแหล่งข่าวบุคคลสามารถทําได้ดังนี้
1. จัดทําโครงการสืบสวนด้านยาเสพติด (งานด้านการข่าวและปราบปรามยาเสพติด)
๑.๑ ชื่อโครงการ
๑.๒ วัตถุประสงค์
๑.๓ ระบุเป้าหมาย
๑.๔ กําหนดวิธีการ
๑.๕ ระยะเวลาดําเนินการ
๑.๖ กําหนดงบประมาณ
๑.๖.๑ ตอบแทนชุดปฏิบัติการ
๑.๖.๒ ค่าน้ํามันเชื้อเพลิง
๑.๖.๓ ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์สืบสวน / อุปกรณ์สํานักงาน
๑.๗ กําหนดชุดปฏิบัติการ
๑.๘ กําหนดแหล่งข่าว
๑.๙ กําหนดค่าตอบแทนแหล่งข่าว
๒. ขั้นตอน การจัดตั้งแหล่งข่าว (ตามที่ระบุมาข้างต้น)
๓. ขั้นตอนการดําเนินการ และการรับข่าวสาร ระบุ ผู้รับผิดชอบโครงการ
๔. ขั้นตอน สรุปผลการดําเนินงาน ทุก 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 10 เดือน
๕. รายงานผล สรุป ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

/ การกําหนด ...
- ๑๖ -

การกําหนดหัวข้อข่าวสาร
เบื้องต้นสามารถดําเนินการได้ 2 แนวทาง

๑. กําหนดตามวัตถุประสงค์ หรือกรอบการทํางาน
๑.๑ เพื่อต้องการข่าวสาร และทราบสถานการณ์ โดยภาพรวมไม่มุ่งเน้นเฉพาะเจาะจง พื้นที่ใด
พื้นที่หนึ่ง หรือเป้าหมายใด เป้าหมายหนึ่ง เป็นการรวบรวมข่าวสาร ตามแหล่งข่ าวเปิดทั่วไปและหัวข้อ
ข่าวสาร จะกําหนดตามเหตุการณ์ นั้น ๆ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาบ้า ทั่วประเทศ แนวทางนี้
ใช้กําหนดเป็นนโยบายภาพรวม แผนเฝ้าระวัง หรือป้องกัน แทนการดําเนินการในเชิงลึก หรือเจาะข่าวเชิงลึก
ในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง
๑.๒ เพื่อใช้ในการกําหนดแผนปฏิบัติการ - เป็นการมุ่งเน้นพื้นที่เฉพาะเจาะจง ในพื้นที่ใด
พื้นที่หนึ่ง โดยกําหนดแผนงบประมาณรองรับ และมีการว่าจ้างแหล่งข่าว ในการสืบสวนหาข่าวเชิงลึก เช่น
แผนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในกลุ่มข้าราชการบรรจุใหม่ การเขียนหัวข้อ ชื่อเรื่อง ข่าวสาร จะระบุ
ชี้ชัด เช่น การสืบสวนหาข่าว การเสพและค้ายาเสพติดในพื้นที่อาคารที่พักอาศัยของสํานักงานปลัดกระทรวง
กลาโหม............................(กําหนดเป้าหมายชัดเจน)
๑.๓ เพื่อใช้ป้องกันและแก้ไข ปัญหา เป็นการเฉพาะ หรือเป็นกรณี เช่น แผนการสุ่มตรวจ
ปัสสาวะในนายทหารประทวน ลูกจ้าง พนักงานราชการ สังกัด..................หรือ รายนามผู้มีประวัติเกี่ยวข้อง
กับยาเสพติด ในพื้นที่อาคารที่พักอาศัยของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม.................... ดังนี้.................ซึ่งจะ
กระทําให้แล้วเสร็จภายในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ตั้งงบประมาณ ซ้ําซ้อน โดยใช้งบเพียงครั้งเดียว หรือ
ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 1-2 ครั้ง หัวข้อข่าวสารจะรายงานตามภารกิจที่ได้กระทําลงไป
๒. กําหนดตามแนวทาง หรือนโยบายผู้บังคับบัญชา
๒.๑ การเตรียมการตามนโยบาย รัฐบาล นโยบาย ผู้บริหาร ให้ดําเนินกิจกรรมด้านการข่าว
หรือการปฏิบัติการ เป็นภารกิจ โดยไม่สามารถกําหนดการณ์ล่วงหน้าได้
๒.๒ การยื่นเสนอหรือขอจัดทําแผนการข่าว โดยหน่วยงานต้นสังกัดเสนอผ่านผู้บังคับบัญชา
ตามลําดับชั้น เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณมาดําเนินการ ควรกําหนดหัวข้อเรื่อง หรือแผนการ นั้น ๆ พร้อม
แนบวัตถุประสงค์ เมื่อได้รับอนุมัติ จึงได้ดําเนินการและเขียนรายงานข่าว ตามแผนการที่ระบุในแผน ซึ่ง
รายละเอียดข่าวสารจะสอดคล้องกับแนวทางที่ยื่นของบประมาณ
๓. หัวข้อข่าวสารที่กําหนดส่วนใหญ่ จะใช้ตามวิธีการที่ได้มา หรือ กําหนดไว้ในแผน เช่น
๓.๑ สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่รับผิดชอบของสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
๓.๒ การแพร่ระบาดของยาเสพติด ในประเทศไทย
๓.๓ การสืบสวนของพฤติการณ์ ของ (ชื่อ เป้าหมาย..................)
๓.๔ พฤติการณ์ ของ....................(ชื่อเป้าหมาย........) ร่วมกับ..............
๓.๕ รายชื่อบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ใน หน่วยงาน...............
๓.๖ เครือข่ายค้ายาเสพติดของ................(ชื่อเป้าหมาย...........)
๓.๗ แผนการลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดใน หน่วยงาน สังกัด...................
๓.๘ ผลการดําเนินการ ลดปัญหายาเสพติดในสํานักงานกระทรวงกลาโหม..................เป็นต้น
/ บทที่ ๒ …

- ๑๗ -

บทที่ ๒
งานด้านบําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

- งานค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดโดยใช้เทคนิคการสุ่มตรวจหาสารเสพติด
การสุ่มตรวจหาสารเสพติดในกําลังพล สป. มีหลักการที่สําคัญ ๓ ประการ คือ
๑. การประเมินคัดกรองกําลังพลที่เสพยาเสพติด
๒. การตรวจการใช้สารเสพติด
๓. เทคนิคการสุ่มตรวจหาสารเสพติด
๑. การประเมินคัดกรองกําลังพลที่เสพยาเสพติด สามารถแบ่งเป็น
๑.๑ ผู้เสพ หมายถึงผู้ใช้สารเสพติดเป็นครั้งคราว ไม่ต่อเนื่องร่วมกับข้อใดข้อหนึ่งคือ พฤติกรรม
เริ่มเปลี่ยนแต่ยังสามารถดํารงชีวิตได้ตามปกติ ใช้แล้วมีปัญหาแต่ยังคงใช้ยา หยุดยาแล้วไม่มีอาการถอน/
อยากยา
๑.๒ ผู้ติด หมายถึงผู้ใช้สารเสพติดเป็นประจําและต่อเนื่องตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป ร่วมกับข้อใด
ข้อหนึ่งคือ ดํารงชีวิตผิดปกติและไม่สามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้ และมีผลกระทบต่อตนเองและบุคคลอื่น
หยุดยาแล้วมีอาการถอน/อยากยา
๑.๓ กลุ่มเสี่ยง คือกลุ่มที่ยังไม่มีการใช้สารเสพติดที่ผิดกฎหมายและมีพฤติกรรมข้อใดข้อหนึ่ง
กล่าวคือ อาจเคยลองใช้เพียงบุหรี่/สุราบางครั้ง หรือ มีเพื่อนใช้สารเสพติด หรือ มีพ่อแม่หรือญาติใช้หรือ
เกี่ยวข้องกับสารเสพติด หรือ มีพฤติกรรมเที่ยวกลางคืน คบเพื่อนเกเร ขาดเรียน ขาดงาน
๑.๔ กลุ่มติดยาเสพติดรุนแรง หมายถึงผู้ติดยา/สารเสพติดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
กว่า ๓ ปี ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทางการแพทย์หรือจากประวัติทางสังคม ไม่สามารถเลิกเสพได้แม้ผ่านการ
บําบัดหลายครั้งหรือหลายวิธี ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่ง กล่าวคือ เคยรักษาแบบบําบัดด้วยยามากกว่า ๓ ครั้งใน
๑ ปีหรือบําบัดด้วยยาและบําบัดฟื้นฟูรวมกันเกินกว่า ๓ ครั้ง หรือ ไม่ตั้งใจหรือไม่ต้องการเลิกยาเสพติดอย่าง
จริงจัง หรือเคยถูกจับหรืออยู่ระหว่างดําเนินคดีเกี่ยวกับสารเสพติดมากกว่า ๓ ครั้ง
๒. การตรวจการใช้สารเสพติด สามารถตรวจวิเคราะห์ได้จากเลือด ปัสสาวะ เส้นผม น้ําลาย
และเล็บ ปัสสาวะเป็นตัวอย่างที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ เนื่องจากเป็นตัวอย่างที่เก็บได้ง่าย
ปริมาณของสารเสพติดและสารย่อยสลายของสารเสพติดในปัสสาวะมีปริมาณมาก และระยะเวลาการตรวจ
พบจะนานกว่าในเลือด ในปัจจุบัน สป.และเหล่าทัพดําเนินการสุ่มตรวจหาสารเสพติดในกําลังพลโดยการ
ตรวจปัสสาวะเป็นหลัก
๓. เทคนิคการสุ่มตรวจหาสารเสพติด
๓.๑ กระบวนการเข้าสุ่มตรวจสารเสพติด เป็นงานที่ปฏิบัติร่วมกันของหลายหน่วยงานที่ต้อง
อาศัยความร่วมมือประสานสอดคล้อง เพื่อให้คณะผู้ตรวจและผู้รับการตรวจได้รับความสะดวกและความ
ร่วมมือ ในการปฏิบัติขั้นตอนดังกล่าว เริ่มตั้งแต่การประสานกับหน่วยรับตรวจเพื่อกําหนดวันที่ชุดตรวจจะเข้า
ดําเนินการสุ่มตรวจ การกําหนดจํานวนบุคคลที่มีความเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมที่จะเสพยาเสพติด กําหนด
สถานที่ที่มีความเหมาะสมสําหรับการปฏิบัติของชุดตรวจ โดยมีหลักการคือ
๓.๑.๑ ควรกระทําโดยแจ้งกับหน่วยและผู้ประสานงานของหน่วยในทางลับโดยไม่แจ้งให้
เจ้าตัวทราบล่วงหน้า
๓.๑.๒ สําหรับหน่วยรับตรวจควรจัดทําบัญชีรายชื่อของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ที่มี
ความจําเป็นต้องเข้ารับการตรวจเนื่องจากภารกิจที่รับผิดชอบ
/ ๓.๑.๓...

- ๑๘ -

๓.๑.๓ ความถี่ในการสุ่มตรวจ กรณีที่เป็นการสุ่มตรวจวงรอบปกติ ทุก ๖ เดือน ส่วนใน


กรณีที่เป็นผู้มีประวัติได้รับการบําบัดแล้วจะต้องได้รับการสุ่มตรวจซ้ําทุกเดือน ๖ ครั้ง และรายงานให้ผู้บังคับ
หน่วยทราบทุกครั้ง
๓.๒ ขั้นตอนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ชุดสุ่มตรวจยาเสพติด
หน้าที่ที่สําคัญที่สุดของเจ้าหน้าที่ชุดสุ่มฯ คือ การเก็บตัวอย่างปัสสาวะและการนําส่ง
ตัวอย่างปัสสาวะมีความสําคัญต่อผลการตรวจพิสูจน์เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการดําเนินงานในขั้นตอนต่างๆ จึง
จําเป็นต้องทําด้วยความถูกต้องระมัดระวังและรัดกุม รวมทั้งถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้ได้ผลวิเคราะห์ที่
ถูกต้องเป็นธรรมเป็นประโยชน์ต่อการบําบัดรักษาอย่างแท้จริง ชุดทดสอบนี้เป็นชุดทดสอบสําเร็จรูป
ใช้ทดสอบเบื้องต้นในการหาสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งผลที่ได้จะเป็นเครื่องคัดกรองบุคคล (Screening) เพื่อส่ง
ตัวอย่างนั้นๆ ไปยืนยันผล (Confirm)
๓.๓ การเก็บปัสสาวะสําหรับส่งตรวจวิเคราะห์หาสารเสพติด
๓.๓.๑ ขั้นตอนการเตรียมการ มี ๔ ส่วน คือ
๓.๓.๑.๑ เตรียมบุคลากร ผู้เก็บตัวอย่างปัสสาวะต้องได้รับการอบรม ชี้แจง
ให้เข้าใจถึงความสําคัญของการเก็บการรักษา การส่งตัวอย่าง และขั้นตอนการดําเนินงานที่ถูกต้อง รวมทั้ง
กํากับดูแล ไม่ให้ผู้ต้องสงสัย ทําการสับเปลี่ยน ปน หรือนําสิ่งอื่นมาแทนปัสสาวะ
๓.๓.๑.๒ เตรียมสถานที่ ในการปฏิบัติภารกิจตรวจค้น ส่วนมากจะใช้ห้องน้ําของ
สถานที่นั้น ๆ ซึ่งจะต้องไม่ให้มีน้ํายาล้างห้องน้ํา น้ํายาดับกลิ่น ผงซักฟอก หรือสารอื่นใดที่จะใช้ปนลงใน
ปัสสาวะได้ รวมทั้งต้องปิดวาล์วก๊อกน้ําให้หมด ถ้าเป็นห้องน้ําแบบชักโครก ให้ใส่สีฟ้าลงไปในโถชักโครก หรือ
น้ําที่กักเก็บไว้
๓.๓.๑.๓ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย
- ขวดพลาสติกที่สะอาดและแห้งพร้อมฝาปิด ขนาดบรรจุประมาณ ๖๐ มิลลิลิตร
สําหรับบรรจุตัวอย่างปัสสาวะ
- อุปกรณ์สําหรับผนึกขวด (หากเป็นไปได้ควรจะมีเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์
ของหน่วยงานเก็บตัวอย่างติดอยู่เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนตัวอย่าง)
- ฉลากปิดขวดเก็บปัสสาวะ สําหรับบันทึกรายละเอียด
- ปากกากันน้ําสําหรับเขียนฉลาก
- แบบฟอร์มสําหรับบันทึกประวัติผู้เข้ารับการตรวจ บันทึกลักษณะปัสสาวะ
รับรองรายละเอียดของตัวอย่าง และผลการตรวจเบื้องต้น
๓.๓.๒ ช่วงเวลาการเก็บปัสสาวะ เก็บปัสสาวะภายในเวลา ๒๔ ชั่วโมง หลังจากเสพยา
วันที่เก็บตัวอย่าง .............................................. ลําดับที่ ........................
ชื่อ ................................... นามสกุล ............................. เพศ ..............
หน่วยงานที่เก็บตัวอย่าง ........................................................................
ลายมือชื่อผู้เก็บตัวอย่าง ........................................................................
ลายมือชื่อเจ้าของปัสสาวะ .....................................................................

รูปฉลากปิดขวดเก็บปัสสาวะ

/ ๓.๓.๓ ...

- ๑๙ -

๓.๓.๓ ขั้นตอนการเก็บปัสสาวะ
- ควบคุ ม ดู แ ลให้ ผู้ เ ข้ า รั บ การตรวจ ปั ส สาวะลงในขวดเก็ บ ตั ว อย่ า ง ประมาณ ๓๐
มิลลิลิตร มีการควบคุมไม่ให้มีการสับเปลี่ยนหรือปนปลอมสารอื่นใดลงในปัสสาวะ
- ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะทั่วไปของตัวอย่างปัสสาวะ
* อุณหภูมิประมาณ ๓๗ ºC
* มีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองแก่ กลิ่นเฉพาะตัว
* ความเป็นกรด - ด่าง ประมาณ ๔ – ๘
- ปิดฉลากและผนึกขวด
- เขียนฉลากและนํามาปิดบนขวดปัสสาวะ โดยมีเจ้าหน้าที่และเจ้าของปัสสาวะลงลายมือ
ชื่อไว้เป็นหลักฐาน ( ห้ามปิดฉลากบนฝาขวด )

รูปแสดงภาชนะใส่ปัสสาวะและการปิดฉลาก

๓.๔ การตรวจสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ
การตรวจสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ สามารถแบ่งได้เป็น ๒ วิธี คือ
๓.๔.๑ การตรวจสอบแบบคัดกรอง ( screening test )
เป็นการตรวจพิสูจน์เพื่อคัดแยกตัวอย่างปัสสาวะที่ให้ผลบวก คือ มีความเป็นไปได้ว่าจะมี
สารเสพติดผสมอยู่ ผลการตรวจในขั้นนี้สามารถยืนยันได้ในระดับหนึ่ง ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องว่ามีการ
เสพยาหรือไม่ จนกว่าจะผ่านการตรวจในขั้นยืนยันผล
** การตรวจสอบแบบคัดกรอง ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจ ณ จุดตรวจ โดยใช้ชุดทดสอบ
สําเร็จรูป **
ขั้นตอนการทดสอบ
สําหรับชุดทดสอบแบบตลับ หากเก็บชุดทดสอบในตู้เย็น ให้นํา
ออกจากตู้ เ ย็ น แล้ ว รอให้ ชุ ด ทดสอบหายเย็ น คื อ มี อุ ณ หภู มิ เ ท่ า กั บ
อุณหภูมิห้ องหรื อสภาพแวดล้อมก่อน จากนั้ นฉีกซองชุดทดสอบออก
ห้ามฉีกซองชุดทดสอบในขณะที่ซองเย็นอยู่ เพราะจะเกิดการจับตัวของ
หยดน้ํา ทําให้ผลการทดสอบผิดพลาดได้ ให้วางตลับทดสอบบนพื้นราบ เช่นโต๊ะ จากนั้นใช้หลอดทดสอบที่ให้
มาในชุดทดสอบ ดูดตัวอย่างปัสสาวะตามปริมาณที่กําหนด แล้วหยดลงในหลุมตัวอย่างในแนวตั้งฉาก

/ ๓.๕ ...

- ๒๐ -

๓.๕ การอ่านผลและการแปลผล
หากให้ผลลบ จะเกิดแถบสีม่วงแดง ทั้งที่ตําแหน่งควบคุม และตําแหน่ง
ทดสอบ หรือหากให้ผลเป็นบวก คือจะเกิดแถบสีม่วงแดง เฉพาะที่ตําแหน่งควบคุมเท่านั้น
ถ้าไม่มีสีม่วงแดงเกิดขึ้นที่ตําแหน่งควบคุม C แสดงว่าชุดทดสอบนั้นเสื่อมคุณภาพ ไม่
สามารถนํามาใช้ทดสอบได้ กรณีชุดทดสอบที่ตรวจหายาเสพติดได้ทีละชนิด เช่น ชุดทดสอบ
เมทแอมเฟตามีน ๑,๐๐๐ นาโนกรัม/มิลลิลิตร ถ้าผลการทดสอบพบว่าเกิดสีม่วงแดง ทั้งที่
ตําแหน่งควบคุมและตําแหน่งทดสอบ คือให้ผลลบแสดงว่า ในตัวอย่างปัสสาวะนั้นไม่มีเมท
แอมเฟตามีน หรือมีอยู่ในปริมาณน้อยกว่า ๑,๐๐๐ นาโนกรัม/มิลลิลิตร
ถ้าผลการทดสอบพบว่าเกิดสีม่วงแดงเฉพาะที่ตําแหน่งควบคุมเท่านั้น คือให้ผลบวก แสดง
ว่าตัวอย่างปัสสาวะนั้นอาจจะมีเมทแอมเฟตามีน การใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นอาจจะใช้แบบใดแบบหนึ่ง หรือใช้
ทั้ง ๒ แบบเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของสารเสพติดและความมั่นใจของการตรวจสอบเบื้องต้น
ถึงแม้ว่าปัสสาวะจะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อการตรวจวิเคราะห์หาสารเสพติด การปลอมปน
ตัวอย่างการเจือจางปัสสาวะ ตลอดจนการเติมสารแปลกปลอมลงไปในปัสสาวะ ซึ่งอาจจะมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้ผลการตรวจเป็น Negative นั้นหมายถึงไม่พบสารเสพติดในปัสสาวะ เมื่อได้รับปัสสาวะที่จะนํามา
วิเคราะห์ ต้องบันทึกลักษณะ สี และอุณหภูมิของปัสสาวะ การเจือจางปัสสาวะมักจะทําให้อุณหภูมิของ
ปัสสาวะเย็นลงจนสามารถสัมผัสได้ ปกติแล้วภายในเวลา ๑๕ นาที ปัสสาวะจะยังคงอุ่นอยู่ (ประมาณ ๓๓oC)
ถ้าเย็นเท่าอุณหภูมิห้องแสดงว่ามีการเจือปนน้ํา หรือนําปัสสาวะของผู้อื่นมาส่งแทน
นอกจากอุ ณ หภู มิ แ ล้ ว การตรวจวั ด ความถ่ ว งจํ า เพาะ ความเป็ น กรด-ด่ า ง และค่ า
creatinine จะช่วยบอกถึงการเจือปนน้ํา ปกติปัสสาวะจะมีสีชาจนถึงสีเหลืองอ่อนมาก แต่สีอาจมีสีอื่นๆได้ทั้ง
จากอาหารที่รับประทาน ยาที่ใช้ในการรักษา หรือโรคของผู้ป่วยเอง ค่าความเป็นกรด-ด่างปกติอยู่ในช่วง ๔.๕
– ๘.๐ ถ้าค่าความเป็นกรด-ด่างมีค่าน้อยกว่า ๓ หรือมากกว่า ๑๑ หรือค่าความถ่วงจําเพาะต่ํากว่า ๑.๐๐๒
หรือสูงกว่า ๑.๐๒๐ แสดงว่ามีการเจือปนในปัสสาวะ ค่า creatinine ในปัสสาวะปกติจะมากกว่า ๒๐ mg/dl
ถ้าค่าน้อยกว่า ๒๐ mg/dl แสดงว่ามีการเจือจางปัสสาวะ แต่ถ้าน้อยกว่า ๕ mg/dl แสดงว่าปัสสาวะที่ส่งมา
นั้นไม่ใช่ปัสสาวะของคน
แต่การตรวจสารเสพติดที่มีคุณภาพและมีจรรณยาบรรณต่อผู้เข้ารับการตรวจนั้น
จะต้องตรวจปัสสาวะทั้งหมด ๒ ขั้นตอน คือ
๑. การตรวจเบื้องต้น เนื่องจากไม่สามารถตรวจจํานวนมากโดยวิธีตรวจยืนยันทุก
รายเพราะค่ า ใช้ จ่ า ยสู ง มากและเสี ย เวลาในการตรวจนาน การตรวจเบื้ อ งต้ น
ค่ าใช้จ่ า ยถู ก กว่ า สามารถตรวจได้ ค ราวละมาก ๆ แต่ผ ลเสีย ก็คื อ มีผ ลบวกลวง
(False positive) สูง ซึ่งเกิดจากการกินยาที่มีสูตรทางเคมีบางส่วนคล้ายสารแอมเฟ
ตามีน (Amphetamine) ทําให้เกิดผลบวกลวงขึ้นได้ ยาในกลุ่มดังกล่าวได้แก่ ๑) ยา
แก้แพ้-ยาแก้หวัดคัดจมูก เช่น ซูโดเอฟรีดีน คลอร์เฟนิรามีน และเฟนิลโพรพานอรา
มีน ๒) ยาแก้ไอ เช่น เดกซ์โตรเมโทรแฟน และโคดีอีน ๓) ยาที่รักษามาเลเรีย เช่น
ควินีน และควินิดีน ๔) ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ได้แก่ อิมิปรามีน อะมิทริปทัยลีน และคลอโปรมาซีน และ
๕) และยาลดความอ้วน เป็นต้น นอกจากกลุ่มยาดังกล่าวแล้ว ผลบวกลวงอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นๆที่ไม่
สามารถบอกได้ ดังนั้นต้องนําเอาตัวอย่างปัสสาวะนั้น ไปทําการตรวจยืนยันผลอีกครั้งก่อนจึงจะสรุปผลได้

/ ๒. การ ...

- ๒๑ -

๒. การตรวจสอบแบบยืนยัน ( confirmation test ) เป็นการตรวจเพื่อยืนยันว่าใน


ตัวอย่างปัสสาวะที่ให้ผลบวก ในขั้นตอนการตรวจสอบแบบคัดกรองนั้น มีสารเสพติดผสมอยู่จริงหรือไม่ โดย
การตรวจปัสสาวะอีกครั้งอย่างละเอียดในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เครื่องมือที่ เรียกว่า GC/MS หรือ Gas
Chromatrography/ Mass Spectrometry
ตัวอย่างวิธีการตรวจสอบแบบยืนยัน( confirmed test )

รูปแสดงภาพเครื่อง Gas Chromatrography/


Mass Spectrometry (GC/MS)

เมื่อมีการตรวจพิสูจน์สารเสพติดในปัสสาวะโดยแน่ชัดว่า เป็นผู้เสพยาเสพติด ชุดปฏิบัติงานฯ จะ


เสนอรายชื่อไปยั งหน่ วยต้ นสังกัดเพื่อรับทราบ และขั้นเตรียมการก่อนบําบัดรั กษา ประกอบไปด้ วยการ
สัมภาษณ์ประวัติผู้ติดยาและการลงทะเบียนประวัติ

……………………………………………………
/ บทที่ ๓ ...

- ๒๒ -

- การบําบัดรักษาและฟืน้ ฟูผู้ติดยาเสพติด
ระบบการบําบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
การบําบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดําเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพ
ร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ
การบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น ๓ ระบบ คือ
๑. ระบบสมัครใจ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบําบัดรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ
ทั้งของภาครัฐและเอกชน
๒. ระบบบังคับบําบัด หมายถึง ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับ
บําบัดตาม พรบ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ในสถานพยาบาลที่จัดขึ้นตาม พรบ.ดังกล่าว
เป็นระยะเวลา ๖ เดือน และขยายได้จนถึงไม่เกิน ๓ ปี แต่ระบบนี้ที่ขยายระยะเวลาบําบัดไม่เกิน ๓ ปียังไม่
เปิดใช้ในขณะนี้ ในส่วนของกระทรวงกลาโหมการส่งกําลังพลเข้ารับการบําบัดรักษายาเสพติดจะส่งเข้าใน
โรงพยาบาลของเหล่าทัพนั้นๆ เป็นหลัก ในส่วนของข้าราชการสํานักงานปลัดกระทรวงกลาโหมส่งเข้ารับการ
บําบัด ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
๓. ระบบต้องโทษ หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดที่กระทําความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการบําบัดรักษา
ในสถานพยาบาลที่กําหนด ได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบําบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย
สํานักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม หรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กระทรวงยุติธรรม
การบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด มี ๔ ขั้นตอน คือ
๑ ขั้นเตรียมการก่อนการบําบัดรักษา (Pre-Admission) เพื่อศึกษาประวัติ ภูมิหลังของผู้ติดยาเสพ
ติดทั้งจากผู้ขอรับการรักษา และครอบครัว
๒. ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) เป็นการบําบัดรักษา อาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด
โดยผู้ขอรับการรักษาสามารถเลือกใช้บริการแบบผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยในก็ได้ตามสะดวก และอาศัยเกณฑ์
การพิจารณาให้เป็นผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน ไม่ใช่ให้ผู้ป่วยเลือกใช้บริการเพียงอย่างเดียว
๓. ขั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) เป็นการบําบัดรักษาเพื่อปรับเปลี่ยนลักษณะนิสัย
บุคลิกภาพ พฤติกรรม เพื่อให้รู้จักตนเอง และมีความเข้มแข็งในจิตใจ เพื่อให้ผู้รับการบําบัดมีความเชื่อมั่นใน
การกลับไปดําเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยไม่หวนกลับไปเสพซ้ําอีก
๔. ขั้นติดตามการรักษา (After- Care) เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกยาเสพติดที่ได้ผ่านการบําบัดครบ
ทั้ง ๓ ขั้นตอนข้างต้นแล้ว เพื่อให้คําแนะนํา แก้ไขปัญหาและให้กําลังใจผู้เลิกยาเสพติด ให้ดําเนินชีวิตอย่าง
ปกติสุขในสังคมได้ดียิ่งขึ้น
/ การฟืน้ ฟู ...

- ๒๓ -

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
๑. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัวเข้มงวด หมายถึง การฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติด ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องอยู่ในสถานที่ควบคุมมิให้หลบหนีได้ง่าย หรือ
กําหนดเงื่อนไขให้ต้องอยู่ภายในเขตที่กําหนดในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด วิธีการดําเนินการ
มี ๒ วิธี คือ วิธีการชุมชนบําบัด (Therapeutic Community) โดยศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
(ลาดหลุมแก้ว) และวิธีการจิราสา โดยศูนย์ฟื้นฟูฯ กองทัพอากาศ ทําการบําบัดเป็นระยะเวลา ๔ เดือน
จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการปรับตัวเข้าสู่สังคม ซึ่งดําเนินการโดยสํานักงานคุมประพฤติ เป็นระยะเวลา ๒ เดือน
(เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อความมั่นคงในการดําเนินชีวิต การส่งเสริมอาชีพ การทํางานบริการสังคม และการสุ่ม
เก็บปัสสาวะ) เมื่อผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามผลการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุขหรืออาสาสมัครคุมประพฤติเป็น
ระยะเวลา ๑ ปี
๒. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวด หมายถึง การฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาเสพติดซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องอยู่ในสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ตามความเหมาะสม และมีการกําหนดเงื่อนไขให้ต้องอยู่ภายในเขตที่กําหนดระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติด
ยาเสพติด โดยใช้วิธีการ FAST MODEL ซึ่งหมายถึงการบําบัดฟื้นฟูสมรรถผู้ติดยาเสพติดแบบเข้มข้นทางสายใหม่
ใช้ในผู้ป่วยใน โดยการนําองค์ประกอบ ๔ ด้านมาดําเนินการ ซึ่งได้แก่ ครอบครัว (family) กิจกรรมทางเลือก
(alternative treatment activity) การช่วยเหลือตนเอง (self-help) และชุมชนบําบัด (therapeutic
community)
F มาจาก Family หรือครอบครัว เพราะเป็นปัจจัยที่สําคัญ โปรแกรมบําบัดแบบใหม่นี้จะให้
ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาเยียวยาจิตใจผู้ป่วย เมื่อปรับความสมดุลในครอบครัวให้เกิดความเข้าใจ
ความไว้ใจซึ่งกันได้ ก็จะเกิดที่ยึดเหนี่ยวในจิตใจขึ้น
A มาจาก Alternative หรือทางเลือก พบว่าผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดเกิดจากการไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง
เกิดปมด้อย หากสามารถกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้ป่วยค้นหาความสามารถ ความเก่งในตัวเอง ทําให้เห็นคุณค่า
ในตัวเองได้ ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยภูมิใจและรู้สึกว่าชีวิตมีทางเลือก
S มาจาก Self หรือตัวเอง เพราะสิ่งสําคัญในการเลิกยาเสพติดผู้ป่วยต้องมีกําลังใจ และทักษะในการ
ปฏิเสธเมื่อมีคนมาชวนให้ทดลองยาเสพติด หรือเมื่อกลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ ต้องมีกําลังใจที่จะ
อดทน
T มาจาก Treatment หรือการรักษา หรือกระบวนการบําบัดฟื้นฟู ซึ่งจะใช้นักจิตวิทยา นักสังคม
สงเคราะห์
(Fast Model) ประกอบด้วย ๔ วิธีการ คือ
วิธีการที่ ๑ การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการบําบัดรักษา
วิธีการที่ ๒ การใช้กิจกรรมทางเลือกในการบําบัดฟื้นฟูที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของผู้ป่วย
เช่น การเข้าร่วมชมรมที่สนใจ, กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต และกลุ่มการฝึกอาชีพ
/ วิธีการที่ ๓ ...

- ๒๔ -

วิธีการที่ ๓ กระบวนการเรียนรู้เพื่อช่วยเหลือตนเอง เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟู


มีการปรับสภาพตัวทางพฤติกรรม เจตคติ ความรู้สึก และสร้างสัมพันธภาพอันดีในสังคม ทําให้มีจิตใจที่
เข้มแข็งสามารถอยู่ในสังคมที่ปกติสุข เช่น ทักษะการแก้ปัญหา การตั้งเป้าหมายในชีวิต การสร้างวินัยใน
ตนเอง เป็นต้น
วิธีการที่ ๔ ชุมชนบําบัดโดยการให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพได้รับการช่วยเหลือ เพื่อให้มีการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี โดยกระบวน การช่วยเหลือของชุมชน เช่น กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่ม
ประชุมเช้า กลุ่มปรับความเข้าในนันทนาการ เป็นต้น
รูปแบบการดําเนินการจะแตกต่างกันตามศักยภาพของหน่วยงานที่ดําเนินการ ได้แก่ ค่ายกองทัพบก
ค่ายกองทัพเรือ กองร้อย อส. และกรมการแพทย์ เป็นเวลา ๔ เดือน จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการปรับตัวเข้าสู่
สังคม ซึ่งดําเนินการโดยสํานักงานคุมประพฤติ เป็นระยะเวลา ๒ เดือน (เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อความมั่นคงใน
การดํ าเนิ นชีวิต การส่ งเสริมอาชีพ การทํางานบริการสังคม และการสุ่มเก็บปัสสาวะ) เมื่ อผ่านการฟื้นฟู
สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
โดยผู้ประสานพลังแผ่นดิน สาธารณสุขหรืออาสาสมัครคุมประพฤติเป็นระยะเวลา ๑ ปี เช่นกัน
๓. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัว การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
แบบไม่ควบคุมตัว หมายถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่ไม่จําเป็นต้องควบคุมตัว แต่อาจกําหนดให้
ผู้ เ ข้ า รั บ การฟื้ น ฟู ส มรรถภาพผู้ ติ ด ยาเสพติ ด ต้ อ งปฏิ บั ติ ด้ ว ยวิ ธี ก ารอื่ น ใดภายใต้ ก ารดู แ ลของพนั ก งาน
คุมประพฤติ แบ่งออกเป็น ๒ วิธี คือ
๓.๑ วิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัว (กรณีผู้ติด) จะแบ่งออกเป็น ๒
รูปแบบ คือ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ซึ่งวิธีการฟื้นฟูจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ
หน่วยงานที่ดําเนินการคือสถานพยาบาลของรัฐ เป็นระยะเวลา ๔-๖ เดือน จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนปรับตัวกลับ
สู่สังคม ระยะเวลา ๒ เดือน และติดตามผลการฟื้นฟูฯ เป็นเวลา ๑ ปี
๓.๒ วิธีการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบไม่ควบคุมตัว (กรณีผู้เสพ) วิธีดําเนินการโดย
ใช้ โ ปรแกรมของสํ า นั ก งานคุ ม ประพฤติ เ ป็ น ระยะเวลา ๖ เดื อ น ประกอบด้ ว ย การเข้ า ค่ า ยปรั บ เปลี่ ย น
พฤติกรรม การฟื้นฟูในชุมชน จัดกิจกรรมความมั่นคงในการดําเนินชีวิต และการทํางานบริการสังคม ฯลฯ
จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนปรับตัวกลับสู่สังคม ระยะเวลา ๒ เดือน และติดตามผลการฟื้นฟูฯ เป็นเวลา ๑ ปี เช่นกัน

แนวทางการดําเนินการบําบัด รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดสําหรับผู้ปฏิบัติงาน
การสํารวจสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่
เพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การมีข้อมูลที่ถูกต้องสําหรับป้องกัน เฝ้าระวังและ
แก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ จึงต้องดําเนินการดังนี้
สํารวจข้อมูล กลุ่ม เสี่ยงและสถานที่ที่เป็นพื้นที่ เสี่ยงต่อปัญหายาเสพติ ดในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อ
รวบรวมเป็นฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงในภาพรวม
/ แผนผังการ ...

- ๒๕ -

แผนผังการดําเนินงานด้านข้อมูลพื้นที่เสี่ยงและกลุ่มเสี่ยง

เจ้าหน้าที่ประสานงานประจําหน่วย รวรวบรวบรวมข้อมูลพื้นที่เสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ร่วมกับ


หัวหน้ าชุมชน จนเกิดเป็นฐานข้อมูล เพื่ อเฝ้าระวังกลุ่ม
เสี่ยงในหน่วย
คณะอนุกรรมการบําบัด รักษาและ
ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของ สป.
ส่งข้อมูลพื้นที่เสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงในแต่ละหน่วย

คณะกรรมการยาเสพติดของ สป.

เกิดเป็นฐานข้อมูลของ สป.
๑. การค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด และติดตามช่วยเหลือผู้ผ่านการบําบัดรักษายาเสพติด
ทีมผู้ประสานงานของหน่วยและชุดสุ่มตรวจสารเสพติดของ สป. มีบทบาทช่วยเหลืองานด้าน
บําบัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของ สป. ตั้งแต่ขั้นตอนการค้นหาผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับ
ยาเสพติด อาทิ การตรวจสอบพิสูจน์ทราบสถานะของหน่วย ชุมชนเพื่อค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด การนําส่ง
เข้าสู่การบําบัดรักษา จนถึงการติดตามดูแลช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ผ่านการบําบัดรักษาสามารถปรับตัวเข้ากับสังคม
ได้อย่างปกติสุข และเพื่อให้บทบาทการช่วยเหลือด้านการบําบัดรักษามีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อมีการค้นหาผู้มี
พฤติการณ์ ฯ คัดกรองผู้มีปัญหายาเสพติด จะต้องแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
- กลุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด
- กลุ่มผู้เสพยาเสพติด
- กลุ่มผู้ติดยาเสพติด
ผู้เสพ หมายถึงกลุ่มผู้ที่
๑) ใช้ยาเสพติดเป็นครั้งคราวไม่ต่อเนื่อง
๒) พฤติกรรมเริ่มเปลี่ยนแปลง แต่ยังสามารถดําเนินชีวิตตามปกติได้และ
๓) มีการใช้ยาแม้รู้ว่าจะก่อให้เกิดปัญหา
ผู้ติด หมายถึง กลุ่มผู้ที่
๑) มีประวัติการใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง คือ ตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไป
๒) มีการเพิ่มปริมาณการใช้ยาเสพติด และมีอาการผิดปกติเมื่อขาดยาเสพติด รวมทั้งมีความ
ต้องการใช้อยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถหยุดหรือควบคุมการใช้ได้ และ
๓) พฤติกรรมการดําเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถดําเนินชีวิตได้ตามปกติ
/ ๓. การสังเกต...

- ๒๖ -

๓. การสังเกตผู้ติดยาเสพติด
ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจ ซึ่งทําให้ลักษณะและ
ความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไป จากเดิมที่อาจสังเกตพบได้ คือ
๓.๑ ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม
๓.๒ อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติ จึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทําร้ายผู้อื่น
หรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัว อยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
๓.๓ ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทํางาน มักพบว่าประสิทธิภาพ
ในการทํางานลดลงหรือไม่ยอมทํางานเลย
๓.๔ ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรง
ต้นแขนด้านใน ในกรณีที่ติดยาเสพติดชนิดฉีด
๓.๕ ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
๓.๖ ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนําไปซื้อยาเสพติด
๓.๗ ขโมย ปล้น ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
๓.๘ ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้น
ลงแดงอย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวข้างต้น ไม่จําเป็นต้องเป็นผลมาจากการติดยาเสพติดเสมอไป อาจเกิดจาก
ความผิดปกติในเรื่องอื่นก็ได้ เมื่อสงสัยว่าผู้ใดติดยาเสพติดจึงควรใช้การซักถามอย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่
เป็นมิตร พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมี
ความคิดที่จะเลิกแต่ทําไม่สําเร็จ การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึงเป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูดตามความจริง คําถาม
ที่ใช้ไม่ควรถามว่าติดหรือไม่ แต่ควรถามพฤติกรรมการใช้ อาทิถามว่าเคยใช้หรือไม่ ครั้งสุดท้ายที่ใช้เมื่อไหร่
ฯลฯ เมื่อคัดกรองแล้วให้ส่งต่อผู้เสพ/ผู้ติดได้รับการบําบัดฟื้นฟูอย่างถูกต้องตามกลุ่ม โดยผู้เสพแยกส่งต่อ
เข้าค่ายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๙ วัน ส่วนผู้ติดถือว่าเป็นผู้ป่วยที่จําเป็นต้องได้รับการบําบัดรักษาต้องส่งต่อ
ไปยั ง โรงพยาบาล สํ า หรั บ การติ ด ตามภายหลั ง การบํ า บั ด ต้ อ งทํ า ความเข้ า ใจกั บ ผู้ ผ่ า นการบํ า บั ด ฟื้ น ฟู
ครอบครัวและชุมชนเกี่ยวกับขั้นตอนการติดตามดูแลช่วยเหลือและประโยชน์ที่จะเกิดแก่ทั้ง ๓ ฝ่ายให้สามารถ
ผ่านวิกฤติของตนได้

...................................................
- ๒๗ -
- ๒๘ -

You might also like