You are on page 1of 21

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการศึกษาเรียนรู้และสำรวจ เรื่องพื้นผิวถนนจราจร ในวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
(Research & Knowledge Information: IS1) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทำให้ทราบว่าถนนบริเวณตำบลบางม่วง
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พื้นผิวจราจรที่มีความขรุขระ เป็นหลุมบ่อ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิด
อุบัติเหตุทางถนนบ่อยครั้ง ทำให้ผู้ขับขี่สัญจรไปมาเกิดความไม่สบายใจ ทำให้การสัญจรติดขัด ใช้เวลานาน
เดินทางไม่สะดวก ผู้จัดทำโครงงานได้สังเกตเห็นว่า พื้นผิวถนนจราจรที่ขรุขระ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งใน
ชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงไม่ควรปล่อยปะละเลยให้ถนนชำรุดทรุดโทรมไปมากกว่านี้ และป้องกันปัญหารถที่สัญจร
ไปมาเกิดสภาพเครื่องยนตร์สึกหรอและยางรถเสื่อมสภาพไว ควรแจ้งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาทำการตรวจสอบ
และดำเนินการซ่อมแซม และตรวจสอบเพิ่มเติมว่ามีเส้นทางใดอีกบ้างที่พื้นผิวถนนเกิดการชำรุด เพือ่ ที่จะได้
แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้นผู้จัดทําโครงงานจึงอยากที่จะศึกษา สำรวจ และตรวจสอบสภาพพื้นผิวจราจรที่เกิดการชำรุดทรุด


โทรมในชุมชนว่ามีมากกว่า 1 จุดหรือไม่ แต่ละจุดมีสภาพเป็นอย่างไร คนในชุมชนและผู้ใช้รถใช้ถนนได้ประโยชน์
จากการซ่อมแซมสภาพพื้นผิวถนนจราจรอย่างไร วิธีการซ่อมแซมพื้นผิวถนนจราจรต้องใช้ทรัพยากรมากน้อย
เพียงใด จึงจะพอดีกับหลุมบ่อที่เกิดขึ้นบนท้องถนน โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เพื่อเป็นการป้องกันให้แก่ทั้งคนใน
ชุมชนและผู้ที่ใช้รถสัญจรไปมาในบริเวณนั้นและคนในชุมชน เป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันรักษาสภาพพื้นผิว
ถนนให้คงอยู่สภาพเดิม ผู้จัดทำโครงงานจึงได้สำรวจและจัดทําโครงงานนี้ขึ้น
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาเรียนรู้และสำรวจว่าพื้นผิวถนนในชุมชนมีสภาพอย่างไร
2. เพื่อให้คนในชุมชนเกิดความสะดวกสบายในการสัญจรไปมาระหว่างกัน
3. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันรักษาสภาพพื้นผิวถนนให้อยู่ในสภาพดี

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
สำรวจและศึกษาค้นคว้าปัญหาถนนเป็นหลุมบ่อในท้องถิ่น

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.. ถนน หมายถึง ทางที่ทำขึ้นทางบกหรือสะพานที่ประชาชนใช้จราจรและสัญจร ลักษณะนามว่า สาย รวมถึงทาง
เดินทางเท้า ขอบทางไหล่ทางด้วย

สถานที่ทำการศึกษา
บริเวณชุมชนตำบลบางม่วง อ.เมืองนครสวรรค์จังหวัดนครสวรรค์

ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้า
6มิถุนายน-31สิงหาคม2566
บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้องในการค้นคว้า

2.1 ปัญหาผิวจราจรที่พบเห็นในจังหวัดนครสวรรค์เขตบางม่วง
เป็นปัญหาที่สำคัญและพบเจอบ่อยๆโดยทั่วไป เกิดจากการที่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่และบรรทุกน้ำหนัก
เกินมาตรฐานสัญจร เลยทำให้ถนนรับน้ำหนักไม่ไหวเกิดการเคลื่อนที่ของถนนจึงทำให้รถเล็กที่สัญจรไปมาเกิด
ความลำบากในการใช้ถนนอย่างมาก ซึ่งอาจมีหลายลักษณะ โดยในการศึกษานี้ได้เลือกใช้ความเสียหายที่มักจะพบ
เห็นและเกิดขึ้นได้มาจากการสำรวจ
มี 4 ประเภท
1. รอยแตกร้าว (Crack)
2. หลุมบ่อ (Rutting)
3. รอยปะซ่อม (Patching)
4. ผิวหน้าหลุดร่อน (Raveling)

การสัญจรและสภาพธรรมชาติอย่างไรก็ตามถนนทีเ่ กิดความเสียหายอาจมีการป้องกันให้เกิดความเสียหาย
น้อยลงได้และยืดอายุการใช้งานโดยการศึกษาและรวบรวม้อมูลสภาพความเสียหายของถนนอย่าเป็นระบบ เพื่อ
วางแผนจัดสรรงบประมาณในการแก้ไขปรับปรุง ซ่อมแซม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 สภาพความเสียหายของผิวจราจร
ถนนที่ชำรุดเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการเดินทาง ความปลอดภัย ของผู้ใช้เส้นทาง และเป็นอุปสรรคที่
สำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่น ข้อมูลสภาพของผิวถนนและชำรุดเสียหายของผิวถนนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน
กระบวนการวางแผน บำรุงรักษา ปรับปรุง ซ่อมแซม และจัดสรรงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทที่ 1 รอยแตกร้าว (Crack)
เกิดจากการที่รถเคลื่อนที่ ทางแนวดิ่งของผิวภายใต้การเสริมสร้างผิวทางใหม่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการ
แตกร้าวบนถนนสัญจร ดังรูปต่อไปนี้

ประเภทที่ 2 หลุมบ่อ (Rutting)


มีลักษณะเป็นหลุมลึกลงไปถึงผิวและพื้นทาง คาดว่าน่าจะเกิดจากทางที่ไม่แข็งแรง อาจเกิดจากมี
วัสดุละเอียดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ดังรูปต่อไปนี้
ประเภทที่ 3 รอยปะซ่อม (Patching)
เกิดจากการซ่อมแซมผิวทางตามแนววางท่อหรือระบบสาธารณูปโภค การซ่อมแซมความเสียหาย
บนทางผิวทางแล้วบดอัดวัสดุถมหลุดที่ขุดไม่ได้คุณภาพ ทำให้ไม่ได้คุณภาพและปรากฏเป็นความเสียหายส่ง
ผลกระทบต่อผู้ใช้ทาง ดังรูปต่อไปนี้

ประเภทที่ 4 ผิวหน้าหลุดร่อน (Raveling)


เกิดจากวัสดุมวลรวมในผิวทางแยกตัวออกจากกัน จากผิวชั้นบนถึงชั้นล่าง เมื่อการแยกตัวกัน
หรือการหลุดร่อนนี้ดำเนินไปต่อไปวัสดุมวลรวมขนาดใหญ่ค่อยๆ หลุดออกมตามมา ผิวทางหลุดร่อนเกิดขึ้นจากที่
ไม่ได้รับการบดอัดแน่นพอ หรือการสร้างในขณะทีอ่ อกมา ดังรูปต่อไปนี้

2.3 การซ่อมแซมและบำรุงรักษาถนน
การซ่อมบำรุงรักษาทางนับได้ว่าป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินการกิจกรรมงานทางเพราะ
การเอาใจใส่ดูแลรักษาอย่างถูกวิธีตามหลักวิชาการนั้นจะทำให้อายุการใช้งานของทางยืดยาวออกไป อีกทั้งยังเป็น
การใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่าและทให้ผู้ใช้ทางได้รับความสะดวกปลอดภัย และยังเป็นการป้องกันความ
เสียหายไม่ให้เกิดการลุกลามแผ่ขยายออกไป ซึ่งแบ่งผิวทางออกเป็น 3 ประเภทคือ ผิวทางลาดยาว ผิวทาง
คอนกรีต และผิวทางลูกรัง วิธีการซ่อมบำรุงรักษาความชำรุดเสียหายในแต่ละลักษณะที่แตกต่างกันจำเป็นต้อง
เลือกวิธีการซ่อมแซมให้ถูกต้องกับลักษณะความเสียหายและลักษณะของผิวทางเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผิว
ทางแต่ละประเภทล้วนมีลักษณะการบำรุงรักษาที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆตามการซ่อมแซมได้
ดังนี้

2.3.1 ผิวทางลาดยาง
โดยทั่วไปวิธีการซ่อมบำรุงควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อให้การ
ซ่อมบำรุงตรงกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ตรงตามวัตถุประสงค์ของการซ่อมบำรุง และเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยัง
เป็นการประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุง วิธีการซ่อมแซมบำรุงผิวทางลาดยาง
1. วิธีการอุดรอยแตก (Crack Filling) คือการซ่อมแซมถนนที่เกิดความเสียหายในลักษณะการเกิด
รอยแตกทีไ่ ม่ต่อเนือ่ งกัน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านรอยแตก และอุดรอยแตกของช่องว่าง อาจไปถึงขั้นโครงสร้าง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านรอยแตกที่เกิดขึ้นในชั้นผิวทางลงไปสร้างความเสียหายแก่โครงสร้างทางด้านล่าง
2. เพื่ออุดช่องว่างระหว่างรอยแตกที่เกิดลึกลงไปถึงชั้นโครงสร้างทาง
3. เพื่อใช้ในรูปแบบของการซ่อมชั่วคราว (Temporary Repair) ของถนนที่น้ำซึมผ่านชั้น ทางลงไปทำลาย
ความแข็งแรงของวัสดุโครงสร้างทางไปบ้างแล้วแต่ยังไม่สามารถดำเนินการซ่อมอย่าง เต็มรูปแบบในขณะนั้นได้เป็น
การป้องกันไม่ให้ความเสียหายเพิ่มมากขึ้น

วัสดุ
วัสดุที่ใช้สำหรับการชุดรอยแตกประกอบด้วย
1. วัสดุแอสฟัลต์สามารถใช้แอสฟัลต์ชนิดใดก็ได้ที่สามารถทำให้เหลวพอที่จะไหลลงรอยแตกได้ นอกจากนี้ยัง
ต้องคงความเป็นของเหลวได้นานพอที่จะไหลลงไปถึงส่วนที่ลึกที่สุดของรอยแตก แอสฟัลต์ที่แนะนำสำหรับงานอุด
รอยแตก คือ
• คัดแบบแอสฟัลต์ประเภทระเหยเร็วหรือปานกลาง (PC หรือ MG)
• แอสฟัลต์อิมัลชัน ประเภทเซตตัวช้า (CSS)
2. แอสฟัลต์ผสมกับวัสดุละเอียด ในกรณีที่รอยแตกมีความกว้างมากกว่า 3 มิลลิเมตร ให้ใช้แอสฟัลต์ผสมกับ
วัสดุละเอียด เช่น ทราย เป็นต้น ทั้งนี้ให้คัดเลือกขนาดเม็ดวัสดุละเอียดให้เหมาะสมกับความกว้างของรอยแตกด้วย
โดยพิจารณาว่าวัสดุละเอียดสามารถอุดแทรกรอยแตกนั้นได้
3. หินฝุ่นหรือทราย ในกรณีทรี่ อยแตกมีความลึกมากให้ใช้หินฝุ่นหรือทราย ผสมปูนซีเมนต์หรือปูนขาวกรถกลง
รอยแตกก่อนอุดด้วยแอสฟัลต์

เครื่องจักรและเครื่อง
เครื่องจักรและเครื่องมือทุกชนิดที่จะนำมาใช้งานต้องมีสภาพดี การเลือกใช้ต้องให้เหมาะสมกับ การทำงาน
และอยู่ในดุลยพินิจของนายช่างผู้ควบคุมงาน ดังนี้
1. เครื่องจักรและเครือ่ งมือสำหรับการเตรียมและทำความสะอาดพื้นที่ ได้แก่ เครื่องกวาดฝุ่น(Rotary Broom)
เครื่องเป่าลม (Blower) ไม้กวาด อุปกรณ์สำหรับและเศษวัสดุที่อุดอยู่ในรอยแตก เป็นต้น
2. เครื่องจักรและเครือ่ งมือสำหรับเทแอสฟัล องรอยแตก ได้แก่ เครื่องพ่นแอสฟัลต์(Aphelitt Distributor)
เป็นต้น
3. เครื่องมือประกอบ ได้แก่ แปรง ไม้กวาด กรวยยาง เชือก เป็นต้น

วิธีการอุดรอยแตก
1. การเตรียมพื้นก่อนเนินการจุดรอยแตกต้องใช้อุปกรณ์และหรือพ่นลม เพื่อใส่เศษวัสดุที่ อุดอยู่ในรอยแตก
ออกให้หมด และทำให้แอสฟัลต์ หรือแอสฟัลต์ผสมวัสดุละเอียดสามารถแทรกลงไป ที่ช่องว่างระหว่าง
รอยแตกที่เกิดขึ้นได้สะดวกและเต็มช่องว่างระหว่างรอยตกนั้น
2. การสาดทรายหรือหินฝุ่นปิดทับเมื่อดำเนินการอุดรอยแตกเรียบร้อยแล้วให้สากทรายหรือหินฝุ่นปิดทับ
ทันทีเพือ่ ป้องกันแอสฟัลต์ไหลเยิ้มออกมานอกรอยแตก และป้องกันมิให้ยานพาหนะที่ใช้ถนน วิ่งทับ
แอสฟัลต์ใช้อุดไหลเยิ้มออกมาทำให้รอยปะซ่อมเกิดความเสียหายอีกครั้ง

ข้อแนะนํา
รอยแตกที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเสื่อมสภาพของแอสฟัลต์ หากดำเนินการดูดรอยแตกได้ทันก่อนที่น้ำซึมผ่าน
รอยแตกนั้น จะช่วยยืดอายุการใช้งานของถนนและประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงไปได้มาก

2.3.2 ผิวทางคอนกรีต
ถนนผิวทางคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยทั่วไปจะมีความแข็งแรงและรับกำลังได้ดีกว่าถนนผิวทางลาดยาง
ดังนั้นค่าก่อสร้างถนนผิวทางคอนกรีตเสริมเหล็กสูงกว่าเช่นกัน ดังนั้นการบำรุงรักษาที่ดีถูกต้องตามหลักวิชาและ
เวลาที่เหมาะสมเป็นวิธีการที่ช่วยให้ถนนที่ต้นทุนสูงได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่ากับการลงทุนการซ่อมแซมจึงอาจจะ
ต้องเลือกวิธีการซ่อมให้ถูกต้องกับสภาพความเสียหาย สำหรับงานบำรุงปกติผิวทางคอนกรีตประกอบไปด้วยการ
เปลี่ยนวัสดุรอยต่อ และการอุดซ่อมรอยแตก ซึ่งรายละเอียดวิธีการซ่อมบำรุงดังต่อไปนี้
1. วิธีการเปลี่ยนวัสดุยารอยต่อ (Joint Resealing) การเปลี่ยนวัสดุยารอยต่อชนิดเทร้อน หมายถึง
การขุดเอาวัสดุยารอยต่อเดิมที่หมดสภาพ ตามแนวรอยต่อในผิวทางคอนกรีตออกทิ้ง พร้อมกับดำเนินการยาแนว
รอยต่อด้วยวัสดุยารอยต่อ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันการแทรกซึมของน้ำในบริเวณรอยต่อ
2. เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุไม่พึงประสงค์ไปแทรกในรอยต่อ ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย เช่น การแตก
กะเทาะทีร่ อยต่อ (Joint spiraling) และการแตกหักของพื้นถนนคอนกรีตเนื่องจากการ โก่งตัว (Blow up)

วัสดุ
วัสดุที่ใช้สำหรับการเปลี่ยนวัสดุยารอยต่อประกอบด้วย
1. วัสดุทารอยต่อ (Joint Primmer) ต้องเป็นวัสดุที่มีความสามารถในการไหลแทรกซึมเข้าไปในรูพรุนของ
คอนกรีตได้สูงและมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม "วัสดุยารอยต่อคอนกรีตแบบยืดหยุ่น
ชนิดเทร้อน” มาตรฐานเลข มอก.479
2. วัสดุยารอยต่อชนิดเทร้อน(Concrete Joint Sealer, Pat Poured Elastic Type) ต้องมี คุณสมบัติทน
ต่อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันเครื่อง เมื่อหยอดลงไปในรอยต่อจะต้องไม่เกิดช่องอากาศ ระหว่างคอนกรีตกับวัสดุยา
รอยต่และต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม “วัสดุยารอยต่อคอนกรีตแบบยืดหยุ่นชนิเเทร้อน"
มาตรฐานเลขที่ มอก.479

เครื่องจักรและเครื่องมือ
เครือ่ งจักรและเครื่องมือทุกชนิดที่จะนำมาใช้งานต้องมีสภาพดีการเลือกใช้ต้องให้เหมาะสมกับการทำงานและ
อยู่ในดุลยพินิจของนายช่างผู้ควบคุมงาน เครื่องจักรและเครื่องมืออาจมีดังนี้
1. เครื่องมือสำหรับขุดและทำความสะอาดรอยต่อ ได้แก่ เครื่องขุดรอยต่อ (Joint Sealant Remover)
เครื่องขัดรอยต่อ (Joint Grinder) เครือ่ งเป่าลม (Air Compressor) เครื่องทำความ สะอาดผิวด้วยทราย
(Sandblast) เครื่องกวาด (Sweeper) แปรงลวด (Wire Brush) เครื่องฉีดน้ำ แรงดันสูง (High Pressure Water
Jet) เครื่องเป่าแห้ง (Dryer) เครื่องเผาแบบเปลวเพลิง (Flame Burner) เป็นต้น
2. เครื่องมือสำหรับหยอดวัสดุใหม่ ได้แก่ ถังต้มวัสดุยารอยต่อ (Melting Kettle) เครื่องหยอด วัสดุยา
รอยต่อ (Joint Filling Machine) ถังหยอดวัสดุยารอยต่อแบบมือถือ (Hand Pouring Bucket) เครื่องพ่นวัสดุทา
รอยต่อ (Primer Spray) แปรง (Brush) เป็นต้น

วิธีการเปลี่ยนวัสดุยารอยต่อ
1. การเตรียมรอยต่อ
1.1 ใช้เครื่องขุดรอยต่อขุดวัสดุยารอยต่อจนหมด หากที่กน้ ของร่องรอยต่อมีแถบกาวหรือวัสดุอื่นใดปิดทับอยู่
ให้เอาออกให้หมดเช่นเดียวกัน
1.2 ทําความสะอาดรอยต่อ ให้ผิวเก่ของรอยต่อหลุดออกจนกระทัง่ ปรากฏผิวใหม่
1.3 ใช้เครื่องเป่าลมและเครื่องเป่าแห้ง เป่าไล่ฝุ่นและความชื้นที่ยังหลงเหลืออยู่ตามแนวรอยต่อให้หมด ฝุ่น
และความชื้นที่มีอยู่ตามแนวรอยต่อจะทำให้การเกาะยึดระหว่างวัสดุยารอยต่อกับคอนกรีตแข็งแรงเท่าที่ควร
2. การเตรียมวัสดุยารอยต่อ
2.1 ตัดวัสดุยารอยต่อที่อยู่ในสภาพแข็งให้เป็นชิ้นเล็กๆก่อน
2.2 นำวัสดุยารอยต่อที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ บางส่วนใส่ลงไปหลอมละลายในถังต้ม พร้อมทัง้ กวนอยู่ตลอดเวลาและ
ในขณะเดียวกันก็ค่อยๆ ใส่วัสดุยารอยต่อส่วนที่เหลือที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ลงไป ถังต้มทีละน้อยๆพร้อมกับกวนไป
เรื่อยๆ จนวัสดุยารอยต่อหลอมละลายทั้งหมด และมีอุณหภูมิสูงจนถึงอุณหภูมิที่จะหยอดได้ (ตามที่บริษทั ผู้ผลิต
แนะนำ) ต้องระมัดระวังอย่าให้อุณหภูมิของวัสดุยารอยต่อสูงเกินกว่าที่กำหนดไว้เพราะจะทำให้วัสดุยารอยต่อ
เสื่อมคุณภาพ
2.3 วัสดุยารอยต่อที่นำไปหลอมละลายแล้วให้นำไปใช้งานทันทีถ้าใช้งานไม่หมดและปล่อยให้เย็นจนแข็งตัว
ห้ามนำเอามาหลอมละลายใหม่เพื่อใช้งานอีก
3. การยาแนวรอยต่อ
3.1 ให้ทาหรือพ่นวัสดุทนต่อลงบนผิวหน้ารอยต่อที่สะอาดและแห้ง ปริมาณของวัสดุทารอยต่อต้องไม่มาก
เกินไป จากนั้นทิ้งวัสดุทารอยต่อให้แห้ง
3.2 หยอดวัสดุยารอยต่อไปในรอยต่อ โดยให้ระดับของวัสดุยารอยต่อต่ำกว่าขอบของรอยต่อประมาณ 3
มิลลิเมตร
3.3 ภายหลังจากหยอดวัสดุยารอยต่อเสร็จเรียบร้อย ให้ป้องกันไม่ให้รถวิ่งผ่านจนกว่าวัสดุยารอยต่อแข็งตัวไม่
ติด ล้อรถในขณะแล่นผ่าน ทั้งนี้ระยะเวลาที่ป้องกันให้เป็นไปตามที่ระบุในคุณสมบัติของวัดรอบต่อชนิดนั้นๆ
3.4 สำหรับวัสดุยารอยต่อชนิดที่ไม่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุทารอยต่อ ไม่ตอ้ งดำเนินการใน 3.1 ทั้งนี้ให้เป็นไปตาม
คุณสมบัติของวัสดุยารอยต่อชนิดนั้น

ข้อแนะนำ
1. ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องเผาแบบเปลวเพลิงเผาวัสดุยารอยต่อให้อ่อนตัวลง ห้ามเผาถูก เนื้อคอนกรีต
นานจนเป็นเหตุให้คุณภาพคอนกรีตเสื่อม
2. การหยอดวัสดุจะต้องระวังไม่ให้ล้นรอยต่อ ควรหยอดแล้วเว้นช่วงเวลา
3. กรณีทรี่ อยต่อมีความลึก ควรใช้เชือกป่านหรือวัสดุที่มีความยืดหยุ่น อุดรอยต่อก่อนที่จะยาแนวรอยต่อ
เพื่อประหยัดวัสดุยาแนวและให้ขนาดของการยาแนว (Shape factor - ความกว้าง : ความลึก) มีความเหมาะสม
ตามคุณสมบัติของวัสดุ

2.3.3 ผิวทางลูกรัง
ถนนผิวลูกรังจะชำรุดเสียหายง่ายและรวดเร็วว่าถนนประเภทอื่น ความเสียหายของถนนประเภทนี้
นอกจากจะเกิดจากปริมาณการจารจรแล้ว ยังเกิดจากภัยธรรมชาติอีกทางหนึ่งด้วย ได้แก่ การกัดเซาะของน้ำฝน
และการพัดพาของลม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาอยู่ประจำเพื่อป้องกันไม่ให้ความเสียหายแผ่วงกว้าง
ออกไป
1. วิธีการปะซ่อมผิวทางลูกรัง (Patching) การบำรุงรักษาผิวทางลูกรังโดยใช้ แรงงานคนใช้ในการ
แก้ไขลักษณะความเสียหาย ได้แก่ ผิวทางลูกรังที่เป็นหลุมบ่อ ร่องล้อ หรือผิวทาง ที่อ่อนตัว (Soft spot) โดยการ
เสริมลูกรังลงบนจุดที่เป็นหลุมบ่อและร่องล้อ หรือชุดซ่อมบริเวณผิว ทางที่อ่อนตัว แล้วลงลูกรังใหม่เสริมลงไป
บางครั้งเรียกว่า Spot resurfacing

วัสดุ
ใช้วัสดุลูกรัง ทีม่ ีคุณสมบัติตามข้อกำหนดวัสดุผิวทางหรือชั้นรองพื้นทาง
เครื่องจักรและเครื่องมือ
1. เครื่องมือบดอัดเฉพาะจุด จำนวน 1 เครื่อง
2. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดและตักดิน ได้แก่ อีเตอร์ พลั่ว จอบ ไม้กวาด เป็นต้น

วิธีการปะซ่มผิวทางลูกรัง
1. ขุดบริเวณที่ชำรุดเสียหายเป็นหลุมสี่เหลี่ยม แล้วบดอัดหลุมให้แน่น
2. เสริมลูกรังใหม่ลงไป โดยมีลำดับขั้นตอนการทำงาย ดังนี้
2.1 เสริมลูกรังลงไปหลุมให้มีความสูงของชั้นลูกรังที่เสริมประมาณ 10 เซนติเมตร เติมน้ำเพือ่ ให้เกิด
ความชื้นและบดอัดหลุดให้แน่น
2.2 เสริมลูกรังจนกระทั่งเต็มหลุมที่ขุด โดยในขั้นสุดท้ายให้เสริมลูกรังสูงกว่าระดับผิวทางเดิม 10
เซนติเมตร และดำเนินการบดอัดจนำได้ระดับเดียวกับผิวทางเดิม

บทที่ 3

วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการศึกษา

วัสดุ อุปกรณ์

1.สมุด

2.ตลับเมตร

3.ปากกาเมจิก
4.ดินสอ

5.โทรศัพท์มอื ถือ

วิธีดำเนินการศึกษา

1.สำรวจพื้นผิวจราจรในชุมชนที่เราจะสำรวจ

2.สอบถามคนในระแวกชุนชนว่าพื้นที่ที่พื้นผิวจราจรขรุขระหรือชำรุดทรุดโทรม ตรงใดบ้าง

3.นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์

4.สรุปผลการสำรวจ

5.นำเสนอ
บทที่ 4

ผลการศึกษา

จากการสำรวจพื้นที่ ที่มีผิวจราจรขรุขระที่พบในบริเวณตำบลบางม่วง พบทั้งหมด 4 รูปแบบ โดยแบ่งพื้นผิวตาม


ลักษณะของพื้นผิวจราจร รอยแตกร้าว หลุมบ่อ รอยปะซ่อม และผิวหน้าหลุดร่อน ซึ่งแต่ละพื้นที่ของถนนในตำบล
บางม่วงนั้นแตกต่างกัน ดังนี้
1.รอยแตกร้าว

ภาพที่ 1.1 รอยแตกร้าวของถนน

ชื่อ รอยแตกร้าว (Crack)


การแตกร้าวเนื่องจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน เช่น การผสม การขนส่ง การเทลงแบบ การหล่อไม่พอดี ขาดการ
บ่มที่พอดี

• Non Structural Crack


อาจมาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1) การหดตัวของคอนกรีต
2) การทรุดตัวของคอนกรีต
3) ความร้อน
ซึ่งการแตกร้าวพวกนี้สามารถจำแนกตามเวลาที่เกิดได้เป็นการแตกร้าวก่อนคอนกรีตแข็งตัว และการ
แตกร้าวหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว สรุปได้ดังรูปที่ 1.1

ลักษณะเป็นรอยแตกยาวลึกลงไปซึ่ง มีความยาวไม่น้อยกว่า 45 ซม. มีความสูงต่ำไม่เท่ากัน อาจจะเกิดจากรถที่


ใช้เส้นทางนั้นบ่อยๆทำให้ถนนทรุดตัวลง

สาเหตุหลักมาจากคอนกรีตหดตัวอย่างเฉียบพลันในช่วงที่ยังอยู่ในสภาพที่ยังไม่แข็งตัว ซึ่งเป็นช่วงที่คอนกรีตไม่
สามารถรับแรงเค้นที่เกิดจากแรงดึง โดยแรงเค้นมักจะเกิดขึ้นในขณะที่คอนกรีตหดตัว เมื่อแรงเค้นเกิดมากเกินกว่า
ที่คอนกรีตสามารถรับได้ก็จะเกิดรอยแตกร้าว
2.หลุมบ่อ

ภาพที่ 2.1 ถนนหลุมบ่อ

ชื่อ หลุมบ่อ (Rutting)

ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อเกิดจากแรงกระแทกของรถยนต์ ฝนฟ้าอากาศ และกาลเวลา พบเห็นบริเวณบนถนนยางมะ


ตอยที่รถขับขี่หรือขับผ่าน ดังรูปภาพที่ 2.1

ลักษณะมีความกว้างและลึกประมานไม่เกิน 1 เมตร เกิดจากการทรุดตัวของชั้นดินใต้ถนน

สาเหตุหลักเกิดจากสภาพอากาศที่เปียกชื้นรวมเข้ากับความร้อนจัด จึงทำให้พื้นผิวถนนเริ่มผุพัง เกิดการยุบตัว


3.รอยปะซ่อม

ภาพที่ 3.1 รอยปะซ่อมบนถนน

ชื่อ รอยปะซ่อม (Patching)

ถนนที่เกิดความเสียหายเฉพาะชั้นผิวทาง นำเอาผิวทางเดิมที่เสียหายออกและนําส่วนผสมใหม่มาปรับให้เรียบ
ลักษณะความเสีย หายที่เกิดขึ้น เช่น รอยแตก (Cracks) ผิวหลุดร่อน (Disintegration) ผิวชํารุดเป็นหลุมบ่อ (Pot
Hole) ผิวทางเกิดการเคลื่อนตัว (Slippage Cracks) ดังรูปที่3.1

ลักษณะเป็นยางมะตอยที่เทลงไปบริเวณตรงที่ถนนมีรอยแตกหรือเกิดความเสียหายหนัก

สาเหตุที่ถนนมีรอยปะซ่อมคือเกิดจากการทรุดตัวของถนน ถนนมีรอยแตกร้าว ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ


4.ผิวหน้าหลุดร่อน

ภาพที่ 4.1 ถนนทีม่ ีผิวหน้าหลุดร่อน

ชื่อ ผิวหน้าหลุดร่อน (Raveling)

การกร่อนหรือหลุดร่อนของคอนกรีตเป็นเรื่องที่พบเห็นกันบ่อย สามารถเกิดขึ้นได้กับคอนกรีตที่พึ่งเทใหม่หรือ
คอนกรีตทีไ่ ด้มีการใช้งานมาระยะหนึ่ง ดังรูปที่4.1

ลักษณะความเสียหายผิวนั้นคล้ายข้าวตังเนื่องจากการ หลุดร่อนของวัสดุ Cement mortar ตรงส่วนบนของ


ผิวหน้า

สาเหตุที่ทำให้พื้นถนนมีการหลุดร่อนคือการเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มี


กำลังอัดต่ำเกินไปและมีความสามารถรับการขัดสีได้น้อย
รายชื่อสมาชิก

นาย ธนดนย์ บุญมา เลขที่4


นาย อัครเดช ขำคม เลขที่10
นางสาว สุกัญญา อำพันทอง เลขที่25
นางสาว จันทิมา จันทา เลขที่32
นางสาว ธิดารัตน์ อุดเรือน เลขที่33
นางสาว บุรัสกร ขุนอาจ เลขที่34
นางสาว รัฐติกาล รักกลิ่น เลขที่36
นางสาว ลลิตวดี เอี่ยมสอาด เลขที่38
นางสาว สุธานันทร์ ทองยา เลขที่40
นางสาว สุรีรัตน์ อู่คงคา เลขที่41

You might also like