You are on page 1of 5

รายการละเอียดด้านวิศวกรรม บทที่ 4 : งานหินเรียง หินเรียงยาแนว และหินก่อ

บทที่ 4
งานหินเรียง หินเรียงยาแนว และหินก่อ
4.1 ขอบเขตของงานโดยทั่วไป
ผู้รับจ้างต้องท้าการก่อสร้างหินเรียง หินเรียงยาแนวหรือหินก่อ ให้ได้ขนาด ความหนา และขอบเขต
ตามที่แสดงไว้ในแบบ ซึ่งเป็นการป้องกันการกัดเซาะของน้้า เช่น บริเวณคลองดิน หน้าท่อ-ท้ายท่อ ของท่อลอด
ถนนหรือคลอง อาคารประตูระบายน้้า และอาคารอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดความมั่นคงและ
ป้องกันการพังทลายของดินผิวหน้า หินเรียงส่วนใหญ่จะอยู่บนพื้นกรวดและทรายรองพื้น (Bedding) ซึ่งจะมี
ความหนาประมาณ 10-15 ซม. หรือตามที่ก้าหนดไว้ในแบบ
4.2 วิธีการทางาน
ผู้รับจ้างจะต้องเตรียมพื้นชั้นล่าง (Foundation) ให้มีความแข็งแรงมั่นคง และต้องปรับให้เรียบให้ได้
ระดับ และขอบเขตตามที่ก้าหนดในแบบ หินที่ใช้จะต้องเป็นหินแข็งตามธรรมชาติ มีรูปร่างเกือบเป็นเหลี่ยม
เป็นก้อน มีส่วนแบนเรียวน้อย ไม่มีรอยแตกร้าว การเรียงจะต้องปักหลัก แล้วขึงเชือกให้ได้ความหนาตาม
ก้าหนด แล้วเริ่มเรียงจากด้านล่างขึ้นไปสู่ด้านบนโดยใช้แรงคน และใช้หินก้อนเล็กอัดเข้าไปในช่องว่างให้มาก
ที่สุดเท่าที่จะท้าได้
4.3 วัสดุที่ใช้ (Materials)
ผู้รับจ้างต้องจัดหาหินที่มีความแข็ง ทนทาน และต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ความถ่วงจ้าเพาะ ต้องไม่ต่้ากว่า 2.6 (ที่จุดอิ่มตัวผิวหน้าแห้ง)
(2) ความต้านทานต่อการขัดสี เมื่อทดลองโดยใช้เครื่อง Los Angeles Abrasion Test ส่วนสูญ
หายต้องไม่เกิน 50%
(3) ขนาดของหินต้องเป็นไปตามตารางที่ 4.3-1

ตารางที่ 4.3-1 ขนาดของหินที่ใช้ทาหินเรียง


ความหนาของหินเรียงที่ระบุในแบบ
ขนาดก้อน
0.20 ม. 0.30 ม. 0.50 ม. 0.70 ม.
ใหญ่กว่า 50 ซม. - - - เกิน 30%
ใหญ่กว่า 30 ซม. - ไม่เกิน 20% เกิน 50% เกิน 50%
ใหญ่กว่า 15 ซม. เกิน 20% เกิน 60% เกิน 70% เกิน 70%
ใหญ่กว่า 7 ซม. เกิน 60% เกิน 80% เกิน 90% เกิน 90%
ใหญ่กว่า 3 ซม. น้อยกว่า 5% น้อยกว่า 5% น้อยกว่า 5% -

งานปรับปรุงคลองระบายน้้า ร.1 พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 4


โครงการบรรเทาอุทกภัยอ้าเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา 4 -1
รายการละเอียดด้านวิศวกรรม บทที่ 4 : งานหินเรียง หินเรียงยาแนว และหินก่อ

4.4 งานหินเรียง (Riprap)


(1) หินเรียงจะต้องก่อสร้างบนชั้นกรวด ทรายรองพื้น หินที่ใช้จะต้องแข็งแรงทนทานตามข้อ 4.3
ซึ่งได้มาจากแหล่งที่ผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้างรับรอง ขนาดของหินที่จะน้ามาเรียงจะต้องมีด้านยาวสุดไม่เกิน
กว่า 3 เท่าของด้านที่แคบที่สุด
(2) การเรียงหิน
หินจะต้องวางเรียงกันในลักษณะที่จะให้ก้อนเล็กก้อนใหญ่คละกันไป เพื่อให้มีช่องว่างน้อยที่สุด
เท่าที่จะท้าได้ และจะต้องก่อสร้างให้ได้แนวและระดับตามแบบ มีความคลาดเคลื่อนอยู่ในเกณฑ์ที่ก้าหนด ก่อน
เรียงหินต้องตอกหลักไม้ทั้งสองแนวทุกช่วง 10 ม. และที่จุดเปลี่ยนระดับ หินจะต้องวางเรียงในครั้งเดียวให้ได้
ความหนาเต็ม และการวางเรียงจะต้องไม่ท้าให้ชั้นหินและกรวดทรายรองพื้นขยับตัว หินก้อนใหญ่จะต้องอยู่
กระจายกันและได้ระดับทั่วไป เมื่อปรับระดับครั้งสุดท้ายแล้วจะต้องไม่มีหินก้อนเล็กรวมกันอยู่เป็นหย่อม หรือ
ก้อนใหญ่หลายๆ ก้อน เกาะกลุ่มกัน การเตรียมพื้นชั้นล่างให้ปฏิบัติตามความในข้อ 4.2 และไม่อนุญาตให้เท
หินลงในราง หรือวิธีการซึ่งคล้ายคลึงกันอันจะท้าให้หินเกิดส่วนคละแยกตัวออกจากกัน ขนาดคละของหินที่
ก้าหนดไว้ ต้องได้มาจากการคัดเลือกหินขนาดต่างๆ กันที่แหล่ง โดยการตั กหินขนาดต่างๆ สลับกันอย่างมี
หลักเกณฑ์ หรือวิธีการอื่นที่จะท้าให้ได้มวลคละตามที่ก้าหนด ในการเรียงหินอาจจะต้องจัดขนาดหินใหม่โดยใช้
เครื่องจักร หรือแรงคนเท่าที่จ้าเป็นเพื่อให้ได้ขนาดคละที่ดี ความหนาของชั้นหินเรียงยอมให้เกินจากแบบได้
15 ซม. บริเวณที่มีความหนาเกิน จากที่ก้าหนดนี้ให้เกลี่ยออกไป หรือขนออกไป และต้องได้ความหนาไม่น้อย
กว่าที่ก้าหนด
4.5 หินเรียงยาแนว (Grouted Pitching)
ผู้รับจ้างต้องก่อสร้างหินเรียงยาแนวตามที่ก้าหนดไว้ในแบบ หรือตามที่ผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้างหรือ
คณะกรรมการตรวจการจ้างจะก้าหนด โดยการปฏิบัติตามขั้นตอนตามข้อ 4.4 แล้วอุดช่องว่างระหว่างก้อนหิน
ด้วยมอร์ต้า (Mortar) ที่มีส่วนผสมระหว่างปูน -ทรายในอัตราส่วน 1:3 แล้วใช้เกรียงเหล็กตบแต่งให้เรียบร้อย
ให้ท้าระดับระหว่างช่องหินต่้ากว่าผิวหน้าของหินใหญ่
4.6 หินก่อ (Stone Masonry)
ผู้รับจ้างจะต้องก่อสร้างหินก่อตามที่ก้าหน ดไว้ในแบบ หรือตามที่ผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้างหรือ
คณะกรรมการตรวจการจ้างจะสั่งการ โดยหินใหญ่แต่ละก้อนจะต้องวางอย่างประณีต แล้วก่อยึดด้วยปูน -ทราย
ในอัตราส่วน 1:3 ส่วนของปูนทรายทับพื้นชั้นล่างให้หนาอย่างน้อย 5 ซม. และส่วนรอยต่อทั้งในแนวดิ่งและ
แนวราบให้หนาอย่างน้อย 3/8 รอยต่อโดยรอบจะต้องเคาะให้ติดกันแน่น ปาดเอาปูนทรายส่วนเกินออกแล้ว
แต่งให้เรียบด้วยเกรียงเหล็ก หรือเครื่องมืออื่นที่เหมาะสม ก่อนจะก่อจะต้องท้าให้หินก้อนใหญ่ชุ่มน้้า และท้า
ความสะอาดก่อน ก้อนหินก่อยอมให้ยื่นโผล่จากผิวโดยทั่วไปได้ไม่เกิน 4 ซม. และแต่งปูน-ทราย ระหว่างก้อนที่
ก่อสูงขึ้นมานั้น อาจยกหน้าเป็นร่องรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า หรือรูปอื่นๆ ตามความสวยงาม หรือตามที่ผู้ควบคุม
งานของผู้ว่าจ้างสั่งการ

งานปรับปรุงคลองระบายน้้า ร.1 พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 4


โครงการบรรเทาอุทกภัยอ้าเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา 4 -2
รายการละเอียดด้านวิศวกรรม บทที่ 4 : งานหินเรียง หินเรียงยาแนว และหินก่อ

4.7 งานกรวดทรายรองพื้น (Bedding Material)


(1) ชั้นของวัสดุกรองใต้หินเรียง
จะต้องเป็นชั้นที่ต่อเนื่องของทรายและกร วด หรือหินย่อย และจะต้องแยกเป็นคนละชั้นกัน
กรวดและทรายจะต้องมีความแข็ง ทนทาน ปราศจากอินทรีย์วัตถุและสิ่งไม่พึงประสงค์ หรืออนุภาคที่อ่อนแตก
ง่ายปะปนอยู่ กรวดหรือหินย่อยและทรายต้องมีขนาดคละตามที่ก้าหนดในตารางที่ 4.7-1

ตารางที่ 4.7-1 ขนาดคละของวัสดุกรองใต้หินเรียง

เปอร์เซ็นต์โดยน้าหนักร่อนผ่านตะแกรงมาตรฐาน
วัสดุกรอง
เบอร์ เบอร์ เบอร์ เบอร์ เบอร์ เบอร์ เบอร์ เบอร์ เบอร์ เบอร์
200 100 40 10 4 3/8” ¾” 1” 2” 3”
ทราย กรวด
หรือหินย่อย 0-5 0-18 8-35 30-54 40-67 48-80 57-100 62-100 85-100 100

(2) การเตรียมพื้นที่ก่อนเกลี่ยวัสดุกรอง
ผู้รับจ้างจะต้องถากแต่งพื้นที่ให้ได้แนวและระดับตามแบบ โดยยอมให้คลาดเคลื่อนได้ +5 ซม.
จากแนวที่ได้จากการค้านวณ พื้นที่ที่ต่้ากว่าห้ามท้าการทดแทนด้วยวัสดุอื่นใด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้
ควบคุมงานของผู้ว่าจ้าง
(3) การเกลี่ยวัสดุกรอง
ผู้รับจ้างจะต้องปูวัสดุกรองประเภททรายลงไปก่อน ให้มีความหนาสม่้าเสมอตามแนวและระดับ
ที่แสดงในแบบ หรือตามที่ผู้ควบคุมงานของผู้ว่าจ้างก้าหนด การเกลี่ยจะต้องพยายามมิให้ส่วนคละเกิดการ
แยกตัว เมื่อปูทรายได้ความหนาแล้วจะต้องปูเกลี่ย กรวด หรือหินย่อยลงไปให้ได้ความหนาตามที่ก้าหนดไว้ใน
แบบ แล้วกระทุ้งให้แน่นด้วยแรงคน โดยให้ความชื้นให้พอเหมาะ แล้วตบแต่งให้เรียบร้อยก่อนที่จะวางหินใหญ่
ลงไป
4.8 แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile)
4.8.1 ลักษณะและคุณสมบัติ
(1) แผ่นใยสังเคราะห์จะต้องผลิตจากวัสดุ Polypropylene แบบ Non-woven โดยใช้กรรมวิธีการ
ผลิตแบบ Needle punch มีความหนาฟู เพื่อรองรับแรงกระแทกของสิ่งมีคมได้อย่างดี
(2) เส้นใยสังเคราะห์จะต้องอัดกันเป็นแผ่น ไม่หลุดจากกันง่าย
(3) แผ่นใยสังเคราะห์จะต้องไม่มีรอยต่อในทุกทิศทาง
(4) แผ่นใยสังเคราะห์จะต้องมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร และความยาว ของม้วนไม่น้อย
กว่า 200 เมตร
(5) แผ่นใยสังเคราะห์จะต้องมีคุณสมบัติไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่ก้าหนด ดังนี้
- น้้าหนักต่อพื้นที่ (Mass/Unit area)  240 กรัมต่อตารางเมตร ตามมาตรฐาน ASTM
D5261
- Wide Width Tensile Strength  15 กิโลนิวตันต่อเมตร ตามมาตรฐาน ASTM D4595
- ความต้านทานแรงดึง (Grab Tensile)  900 นิวตัน ตามมาตรฐาน ASTM D4632

งานปรับปรุงคลองระบายน้้า ร.1 พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 4


โครงการบรรเทาอุทกภัยอ้าเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา 4 -3
รายการละเอียดด้านวิศวกรรม บทที่ 4 : งานหินเรียง หินเรียงยาแนว และหินก่อ

- Extension at peak  50% ตามมาตรฐาน ASTM D4595


- ความต้านทานแรงฉีกขาด (Tear Strength)  275 นิวตัน ตามมาตรฐาน ASTM D4533
- อัตราการซึมผ่าน (Flow Rate)  100 ลิตรต่อวินาทีต่อตารางเมตรที่ Head 0.10 เมตร
ตามมาตรฐาน BS6906 (PART3)
(6) ผู้รับจ้างจะต้องจัดเตรียมเอกสาร แคตตาล็อคจากโรงงานผู้ผลิต และตัวอย่างผลิตภัณฑ์ขนาด
1.50 x 1.50 เมตร จ้านวนอย่างน้อย 1 ชิ้น เพื่อการตรวจสอบและพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนน้าไปใช้

4.8.2 วิธีก่อสร้าง
การตัดแผ่นใยสังเคราะห์เป็นผืนให้ต่อด้วยการเย็บหรือทาบ ดังนี้
(1) การเย็บ ให้เย็บด้วยฝีเข็มเดี่ยว โดยมีระยะฝีเข็มไม่เกิน 1 เซนติเมตร และค่า Tensile
strength ของตะเข็บรอยต่อต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อเมตร โดยใช้เส้นเอ็นที่มีคุณสมบัติดังนี้ใน
การเย็บคือ
- น้้าหนัก  220 TEX
- เส้นผ่าศูนย์กลาง  4 ไมครอน
- Tensile strength  140 นิวตัน
- Elongation เมื่อขาด  20%
(2) การทาบ ให้ทาบโดยมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร ในแนวราบและ 0.50 เมตร ใน
แนวเอียง และมีลักษณะการทาบตามที่ก้าหนดในแบบหรือตามวิธีการของผู้ผลิต ก่อนการปูแผ่นใยสังเคราะห์
ผู้รับจ้างจะต้องปรับผิวพื้นให้เรียบสม่้าเสมอกัน ผิวพื้ นที่จะปูต้องปราศจากวัสดุหรือหินที่แหลมคมโผล่ยื่น
ออกมา เพื่อป้องกันมิให้แผ่นใยสังเคราะห์ฉีกขาดในระหว่างก่อสร้าง ผู้รับจ้างจะต้องปูให้แผ่นใยสังเคราะห์ทาบ
กันในระยะไม่น้อยกว่าที่ก้าหนดที่บริเวณรอยต่อ นอกจากจะใช้วิธีการต่อแบบอื่นซึ่งได้รับการพิจารณาเห็นชอบ
จากคณะกรรมการตรวจการจ้าง
4.9 การทดสอบ
ผู้รับจ้างจะท้าการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุในการก่อสร้าง ตามรายการดังต่อไปนี้ หรือตามที่
คณะกรรมการตรวจการจ้างสั่งการ ดังนี้

งานปรับปรุงคลองระบายน้้า ร.1 พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 4


โครงการบรรเทาอุทกภัยอ้าเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา 4 -4
รายการละเอียดด้านวิศวกรรม บทที่ 4 : งานหินเรียง หินเรียงยาแนว และหินก่อ

ตารางที่ 4.2-1 แสดงความถี่ลามาตรฐานต่างๆ ที่ใช้ในการทดสอบ

งาน ชนิดของการทดสอบ ความถี่ อ้างถึง


1. วัสดุกรองหรือหินทรายคละ 1.1 Absorption Test ทุก 30,000 ลบ.ม. ASTM C-535
ที่แหล่ง 1.2 Soundness Test ทุก 30,000 ลบ.ม. ASTM C-88
1.3 Field Density ทุก 3,000 ลบ.ม. Earth Manual E-24
Test
1.4 Relative Desity ทุก 10,000 ลบ.ม. ASTM D-2049
1.5 Gradation ทุก 5,000 ลบ.ม. ASTM D-422

2. หินเรียง,หินทิ้ง 2.1 Gravity ทุก 10,000 ลบ.ม. ASTM C-127


2.2 Absorption Test ทุก 10,000 ลบ.ม. ASTM C-127
2.3 Gradation ทุก 10,000 ลบ.ม. ASTM C-422

4.10 การวัดปริมาณงานและการจ่ายเงิน
4.10.1 งานหินเรียง งานหินเรียงยาแนว งานหินก่อ และงานวัสดุรองพื้น
การวัดปริมาณงาน คณะกรรมการตรวจการจ้างจะท้าการตรวจวัดปริมาณ งานหินเรียง งานหินเรียง
ยาแนว งานหินก่อ และงานวัสดุรองพื้น ตามที่ได้แสดงไว้ในรายการใบแจ้งปริมาณงานและราคาสัญญานี้ เมื่อผู้
รับจ้างได้ท้างานแล้วเสร็จตา มขอบเขตของแบบ หรือตามปริมาณงานที่ท้าได้จริงภายในขอบเขตที่
คณะกรรมการตรวจการจ้างสั่งการ โดยคณะกรรมการตรวจการจ้างจะท้าการตรวจวัดปริมาณงานมีหน่วยเป็น
ลูกบาศก์เมตร และให้ยึดถือการวัดปริมาณงานของคณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นเกณฑ์
การจ่ายเงิน ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้ใน อัตราราคาต่อลูกบาศก์เมตร ตามที่แสดงไว้ในรายการใบแจ้ง
ปริมาณงานและราคาของสัญญานี้ ซึ่งประกอบด้วยค่าเครื่องจักร ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรง ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่าย
อื่นๆ เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์
4.10.2 แผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile)
การวัดปริมาณงาน คณะกรรมการตร วจการจ้างจะท้าการตรวจวัดปริมาณ งานแผ่นใยสังเคราะห์
(Geotextile) ตามที่ได้แสดงไว้ในรายการใบแจ้งปริมาณงานและราคาสัญญานี้ เมื่อผู้รับจ้างได้ท้างานแล้วเสร็จ
ตามขอบเขตของแบบ หรือตามปริมาณงานที่ท้าได้จริงภายในขอบเขตที่คณะกรรมการตรวจการจ้างสั่งการ
โดยคณะกรรมการตรวจการ จ้างจะท้าการตรวจวัดปริมาณงานมีหน่วยเป็นตารางเมตร และให้ยึดถือการวัด
ปริมาณงานของคณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นเกณฑ์
การจ่ายเงิน ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้ในอัตราราคาต่อตารางเมตรตามที่แสดงไว้ในรายการใบแจ้งปริมาณ
งานและราคาของสัญญานี้ ซึ่งประกอบด้วยค่าเครื่องจักร ค่ าวัสดุอุปกรณ์ ค่าแรง ค่าขน ส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์

งานปรับปรุงคลองระบายน้้า ร.1 พร้อมอาคารประกอบ สัญญาที่ 4


โครงการบรรเทาอุทกภัยอ้าเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา 4 -5

You might also like