You are on page 1of 9

Updated on 11 October 2022

การฝึกอบรม
หลักสูตรความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ ประจำปี 2566

กำหนดการฝึกอบรมประจำปี 2566

Biosafety หลักสูตร วันที่ สถานที่ฝึกอบรม ระยะเวลาการลงทะเบียน


Level
BSL-2 ความปลอดภัยทาง วันที่ 29 – 30 อาคารสราญวิทย์ อุทยาน วันที่ 15 ตุลาคม –
ชีวภาพ (Biosafety) พฤศจิกายน 2565 วิทยาศาสตร์ประเทศไทย 15 พฤศจิกายน 2565 หรือ
และการรักษาความ จ.ปทุมธานี ปิดรับสมัครเมื่อมีผู้สมัคร
ปลอดภัยทางชีวภาพ ครบตามจำนวนแล้ว
(Biosecurity) วันที่ 23 – 24 อุทยานวิทยาศาสตร์ เดือนธันวาคม 2565 –
กุมภาพันธ์ 2566 ประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2566
จ.ปทุมธานี
วันที่ 16 – 17 อุทยานวิทยาศาสตร์ เดือนมิถุนายน – สิงหาคม
สิงหาคม 2566 ประเทศไทย 2566
จ.ปทุมธานี
BSL-3 การปฏิบัติงานใน วันที่ 16 – 18 อุทยานวิทยาศาสตร์ เดือนมีนาคม - เมษายน
สถานปฏิบัติการ พฤษภาคม 2566 ประเทศไทย 2566
ระดับ 3 จ.ปทุมธานี

จัดโดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

1
Updated on 11 October 2022

หลักสูตรความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) (BSL-2)

หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 กำหนดให้หน่วยงานที่มีการนำเข้า ส่งออก ขาย นำผ่าน ผลิตหรือมีไว้
ในครอบครองเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องจัดให้มีผู้ดำเนินการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจกรรม และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเพื่อ
ทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ทั้งนี้ ผู้ดำเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
ดังกล่าว ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผู้ดำเนินการและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ
เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งกำหนดให้ต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการ
รักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ตามหลักสูตรของหน่วยงานหรือองค์กรที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ประกาศ
รับรอง ทั้งนี้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้รับการรับรองให้เป็นหน่วยงานที่มีหลักสูตรอบรมด้านความ
ปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งหลักสูตรประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมี
สาระสำคัญ ได้แก่ กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัย
ทางชีวภาพ (Biosecurity) หลักการประเมินและการจัดการความเสี่ยง การจัดการโครงสร้างของห้องปฏิบัติการ การปฏิบัติที่ดี
ทางจุลชีววิทยา อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย การทำลายและการขนส่งเชื้อโรค การจัดการขยะติด
เชื้อ และการจัดการกรณีสารชีวภาพหกรั่วไหล

วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาทักษะการดำเนินการตามหลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความ
ปลอดภัยทางชีวภาพให้กับผู้ดำเนินงานและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติเชื้อ
โรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558

กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ดำเนินงานและผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่มีการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษ
จากสัตว์ พ.ศ. 2558 จำนวนครั้งละ 100 คน

ค่าลงทะเบียน
▪ 4,000 บาท (สำหรับหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)
▪ 4,280 บาท (สำหรับบริษัทเอกชนและหน่วยงานที่ต้องชำระภาษีมลู ค่าเพิ่ม)
(ค่าลงทะเบียนรวมอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม แบบฝึกปฏิบัติการและอุปกรณ์สำหรับภาคปฏิบัติการ)

คณะวิทยากรจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
▪ ดร. บุญเฮียง พรมดอนกอย ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ
▪ ดร. ชาลินี คงสวัสดิ์ งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
▪ นางสาวจินตนา จันทร์เจริญฤทธิ์ งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
▪ นางสาวสิรสั สุลัญชุปกร งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
▪ นางสาวรุ่งรัตน์ ลาภเจริญวงศ์ งานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

2
Updated on 11 October 2022

รายละเอียดบทเรียน
ภาคทฤษฎี
บทเรียน วิทยากร จำนวนชั่วโมงเรียน
10 ชั่วโมง 15 นาที
กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ดร. ชาลินี คงสวัสดิ์ 1 ชั่วโมง
ทางชีวภาพ (Biosafety) และการรักษาความปลอดภัย
ทางชีวภาพ (Biosecurity)
หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความ ดร. ชาลินี คงสวัสดิ์ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ปลอดภัยทางชีวภาพ
การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ ดร. บุญเฮียง พรมดอนกอย 1 ชั่วโมง
การปฏิบัตเิ พื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ ดร. บุญเฮียง พรมดอนกอย 45 นาที
อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล นางสาวจินตนา จันทร์เจริญฤทธิ์ 1 ชั่วโมง
อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย นางสาวจินตนา จันทร์เจริญฤทธิ์ 1 ชั่วโมง
การทำลายเชื้อโรค นางสาวสิรสั สุลัญชุปกร 1 ชั่วโมง
การขนส่งเชื้อโรค ดร. บุญเฮียง พรมดอนกอย 1 ชั่วโมง
การจัดการขยะติดเชื้อ นางสาวรุ่งรัตน์ ลาภเจริญวงศ์ 1 ชั่วโมง
การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล นางสาวสิรสั สุลัญชุปกร 1 ชั่วโมง

ภาคปฏิบัติการ
บทเรียน จำนวนชั่วโมงเรียน
การออกแบบสถานที่ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ 1 ชั่วโมง
การสวมใส่และการถอดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล 1 ชั่วโมง
การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล 1 ชั่วโมง

กำหนดการฝึกอบรม
การฝึกอบรมวันที่ 1
08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 – 09.00 น. แนะนำหลักสูตร และ Pre-test (ผ่านระบบ Online)
09.00 – 10.00 น. บรรยาย เรื่อง กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพ
(Biosafety) และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)
โดย ดร. ชาลินี คงสวัสดิ์
งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
10.00 – 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.15 – 11.45 น. บรรยาย เรื่อง หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
โดย ดร. ชาลินี คงสวัสดิ์
งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

3
Updated on 11 October 2022

11.45 – 12.45 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน


12.45 – 13.45 น. บรรยาย เรื่อง การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ
โดย ดร. บุญเฮียง พรมดอนกอย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
13.45 – 14.30 น. บรรยาย เรื่อง การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ
โดย ดร. บุญเฮียง พรมดอนกอย
ทีมวิจัยเทคโนโลยีการควบคุมทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.45 – 15.45 น. บรรยาย เรื่อง อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล
โดย นางสาวจินตนา จันทร์เจริญฤทธิ์
งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
15.45 – 16.45 น. บรรยาย เรื่อง อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
โดย นางสาวจินตนา จันทร์เจริญฤทธิ์
งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
การฝึกอบรมวันที่ 2
08.30 – 09.30 น. บรรยาย เรื่อง การทำลายเชื้อโรค
โดย นางสาวสิรัส สุลญั ชุปกร
งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
09.30 – 09.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
09.45 – 10.45 น. บรรยาย เรื่อง การขนส่งเชื้อโรค
โดย ดร. บุญเฮียง พรมดอนกลอย
งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
10.45 – 11.45 น. บรรยาย เรื่อง การจัดการขยะติดเชื้อ
โดย นางสาวรุ่งรัตน์ ลาภเจริญวงศ์
งานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
11.45 – 12.45 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

4
Updated on 11 October 2022

12.45 – 13.45 น. การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล


โดย นางสาวสิรัส สุลญั ชุปกร
งานความปลอดภัยทางชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
13.45 – 17.00 น. ฝึกปฏิบัติการ 3 ฐาน
▪ การออกแบบสถานที่ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ
▪ การสวมใส่และการถอดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล
▪ การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล
(15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง)
17.00 – 17.30 น. Post-test (ผ่านระบบ Online)
17.30 น. ปิดการฝึกอบรม และรับประกาศนียบัตร

การลงทะเบียน (เปิดรับเฉพาะรอบวันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน 2565 เท่านั้น)


▪ ลงทะเบียน online โดย Scan QR code หรือที่ https://bit.ly/3yo6u2M โดยโปรดกรอกข้อมูลและตรวจสอบ
ให้ถูกต้อง ครบถ้วนก่อนส่ง
▪ หลังจากลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อย ท่านจะได้รับ e-mail ยืนยันการลงทะเบียน พร้อมทั้งรายละเอียดแจ้งการชำระเงิน
โปรดดำเนินการตามรายละเอียดที่ระบุใน e-mail
▪ กรณีชำระค่าลงทะเบียนแล้ว แต่ผสู้ มัครไม่สามารถเข้าร่วมการฝึกอบรมได้ สามารถส่งผู้แทน หรือแจ้งยกเลิกเป็น
ลายลักษณ์อักษรก่อนวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565
▪ QR Code สำหรับการลงทะเบียน

ปิดรับสมัคร วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 หรือเมื่อมีผู้สมัครเต็มจำนวน

ประกาศนียบัตร ผู้ได้รับประกาศนียบัตรต้องเข้าร่วมการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และต้องมีผล


การทดสอบหลังการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
หมายเหตุ: ประกาศนียบัตรมีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้าอบรม

ข้อมูลทั่วไป
โรงแรมที่พัก บริเวณใกล้เคียงอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
▪ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร (ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย)
โทร. 0 2529 7100 Website: http://www.nstda.or.th/ssh
▪ ห้องพัก DLUXX THAMMASAT สำนักงานจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
โทร. 0 2151 4000 (เวลา 08.30 – 16.30 น.) Email: dluxx@psm.tu.ac.th
Website: http://www.psm.tu.ac.th/main.php?page_name=dormitory.m3.p01
แผนที่ อาคารสราญวิทย์ (อาคารหมายเลข 12) : https://goo.gl/maps/MzRLut4YKuqXdZU47

5
Updated on 11 October 2022

หลักสูตรอบรมการปฏิบัติงานในสถานปฏิบัติการระดับ 3 (BSL-3)

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ สารชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในหลายหน่วยงาน
อาทิ การวินิจฉัยโรคในสถานพยาบาล การเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา การวิจัยทั้งในเชิงการแพทย์ เกษตร และ
อุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงภาคการผลิตทั้งในอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่
โดยจุลินทรีย์ สารชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่ดำเนินงานด้วยนั้น มีศักยภาพในการก่อให้เกิดอันตรายต่อ
ผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ในระดับต่างๆ กัน เช่น เป็นเชื้อก่อโรคอันตรายที่อาจติดต่อสู่ผู้ปฏิบั ติงานแต่ไม่สามารถ
แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก หรือเป็นเชื้อก่อโรคที่แ พร่กระจายได้ง่ายและไม่มี วิธ ีในการป้ อ งกัน หรือรั กษาที ่ มี
ประสิทธิภาพ การดำเนินงานกับสารดังกล่าวจึงควรเป็นไปตามหลักการความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยมีวิธีปฏิบัติงาน
โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล ที่เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของสารที่
ดำเนินงาน อีกทั้งควรมีมาตรการในการป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดี ที่จะนำสารดังกล่าวไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม อาทิ การก่อการ
ร้ายด้วยอาวุธชีวภาพ เป็นต้น

หลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติงานในสถานปฏิ บัติการระดับ 3 พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในการอบรมบุคลากรที่มีการดำเนินงาน


เกี่ยวกับจุลินทรีย์ สารชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ในกลุ่มที่ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสูง โดยมีเนื้อหาครอบคลุม
ทั้งในส่วนของหลักการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ อาทิ การประเมิน
และการจัดการความเสี่ยง การออกแบบสถานที่ การจัดวางเครื่องมือ และอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการระดับ 3 การตรวจสอบ
และบำรุงรักษาสถานปฏิบัติการระดับ 3 มาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานปฏิบัติการระดับ 3 อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล และ
การตอบโต้กรณีเหตุฉุกเฉิน

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการ และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทาง
ชีวภาพแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีการดำเนินงานกับจุลินทรีย์ สารชีวภาพ และเทคโนโลยีชีว ภาพสมัยใหม่ ในกลุ่มที่ประเมินแล้วว่ามี
ความเสี่ยงสูง

กลุ่มเป้าหมายและจำนวนผู้เข้าอบรม
นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ และบุคลากรที่เ กี่ย วข้ อ งกั บ การดำเนิ น งานกั บจุลิน ทรีย์ สารชีวภาพ แล ะ
เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในกลุ่มที่ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสูง จำนวน 50 คน โดยผู้ที่จะเข้าอบรมต้องมีประกาศนียบัตร
รับรองการผ่านการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (BSL-2) ที่ยังไม่
หมดอายุ

ค่าลงทะเบียน
▪ 4,500 บาท (สำหรับหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม)
▪ 4,815 บาท (สำหรับบริษัทเอกชนและหน่วยงานที่ต้องชำระภาษีมลู ค่าเพิ่ม)
(ค่าลงทะเบียนรวมอาหารว่าง อาหารกลางวัน เอกสารประกอบการอบรม แบบฝึกปฏิบัติการและอุปกรณ์สำหรับภาคปฏิบัติการ)

6
Updated on 11 October 2022

รายละเอียดบทเรียน
ภาคทฤษฎี
ลำดับ หัวข้อ วัตถุประสงค์ เนื้อหาหลักสูตร ระยะเวลา
1 หลักการด้านความ เพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจ 1) หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ 1 ชั่วโมง
ปลอดภัยทางชีวภาพ เกี่ยวกับหลักการด้านความ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
(biosafety) และการ ปลอดภัยทางชีวภาพและการ 2) การจำแนกเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ตาม
รักษาความปลอดภัย รักษาความปลอดภัยทาง ระดับความเสี่ยง
ทางชีวภาพ ชีวภาพ 3) ระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ
(biosecurity) (Biosafety level: BSL) ของ
ห้องปฏิบัติการ
4) การสัมผัสเชื้อโรค และช่องทางการติดเชื้อ
ที่อาจเกิดขึ้นในสถานปฏิบตั ิการระดับ 3
2 การออกแบบสถานที่ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการ 1) หลักการออกแบบสถานที่ การจัดวาง 2 ชั่วโมง
การจัดวางเครื่องมือ ออกแบบสถานที่ การจัดวาง เครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ
และอุปกรณ์ (facility เครื่องมือและอุปกรณ์ในสถาน ระดับ 3
design) ในสถาน ปฏิบัติการระดับ 3 2) อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (safety
ปฏิบัติการระดับ 3 equipment)
3) การจัดการพื้นที่ห้องปฏิบัติการ
4) การจัดการพื้นที่เพื่อรักษาความปลอดภัย
ทางชีวภาพ
5) การตรวจสอบความพร้อมและความ
ปลอดภัยของห้องปฏิบตั ิการ เครื่องมือและ
อุปกรณ์
3 การตรวจสอบและ เพื่อให้ความรู้และความ 1) การทำลายเชื้อโรคในสถานปฏิบัตกิ าร 1 ชั่วโมง
การบำรุงรักษาสถาน ตระหนักถึงความสำคัญในการ ระดับ 3
ปฏิบัติการระดับ 3 ตรวจสอบและการบำรุงรักษา 2) การตรวจสอบระบบทางกายภาพ และการ
ระบบการทำงานของสถาน ตรวจสอบเครื่องมือและอุปกรณ์ใน
ปฏิบัติการระดับ 3 ห้องปฏิบัติการ
3) การตรวจสอบการรั่วของ HEPA filter
4) การตรวจสอบแรงดันและทิศทางการไหล
ของอากาศ
5) การตรวจสอบสภาพผนัง
6) การตรวจสอบระบบแจ้งเตือนความ
ปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย

7
Updated on 11 October 2022

ลำดับ หัวข้อ วัตถุประสงค์ เนื้อหาหลักสูตร ระยะเวลา


4 มาตรฐานการ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ มาตรฐานการปฏิ บ ั ติ งานในสถานปฏิ บ ั ติการ 2 ชั่วโมง
ปฏิบัติงานในสถาน มาตรฐานการปฏิบตั ิงานใน ระดับ 3
ปฏิบัติการระดับ 3 สถานปฏิบัติการระดับ 3 1) การใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยทาง
ชีวภาพ เช่น ตู้ชีวนิรภัย (biological
safety cabinet: BSC) เครื่องหมุนเหวี่ยง
(centrifuge) ปิเปต เป็นต้น
2) ระเบียบปฏิบัติที่จำเป็น
2.1 การบริหารจัดการบุคลากร
2.2 การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์
2.3 การจัดการตัวอย่าง
2.4 การจัดการขยะติดเชื้อ
2.5 การกำหนดเส้นทางการเข้า -ออกของ
คน ตัวอย่าง สิ่งของ และขยะ
2.6 การกำหนดมาตรการเพื ่ อ ความ
ปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน เช่น การใช้
buddy system การเฝ้าระวังโดยใช้
กล้องวงจรปิด
5 อุปกรณ์ปกป้องส่วน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ 1) ประเภทของ PPE 1 ชั่วโมง
บุคคล (personal ปกป้องส่วนบุคคลแต่ละ 2) การเลือกประเภท PPE
protective ประเภท การเลือกประเภทใน 3) การใช้งาน PPE
equipment: PPE) การใช้งาน การใช้งาน และการ 4) การจัดการ PPE หลังใช้งาน
จัดการหลังใช้งาน
6 การตอบโต้กรณีเหตุ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ 1) ขั้นตอนการปฏิบตั ิเมื่อเกิดเหตุสารชีวภาพ 1 ชั่วโมง
ฉุกเฉิน และการแก้ปญ ั หาเมื่อเกิดเหตุ รั่วไหลในห้องปฏิบัติการ ในตู้ชีวนิรภัย และ
ฉุกเฉินขณะปฏิบัติงานในสถาน ในเครื่อง centrifuge
ปฏิบัติการระดับ 3 2) การอพยพหรือโยกย้าย (evacuation)
กรณีตา่ ง ๆ ได้แก่
2.1 กรณีเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหล
2.2 เกิดอุบัติเหตุของมีคมบาด
2.3 ผู้ร่วมงานหมดสติ
2.4 ระบบปรับสภาวะอากาศล้มเหลว
2.5 กรณีเกิดเหตุไฟไหม้
7 การประเมินผล เพื่อวัดผลการอบรม สอบภาคทฤษฎี

8
Updated on 11 October 2022

ภาคปฏิบัติ
ลำดับ หัวข้อ วัตถุประสงค์ เนื้อหาหลักสูตร ระยะเวลา
1 ฝึกปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักการ ฝึกปฏิบัติการวางแผนผังในสถานปฏิบัติการ 2 ชั่วโมง
ออกแบบสถานที่ การ ออกแบบสถานที่ การจัดวาง ระดับ 3 การแยกพื้นทีส่ ะอาดและพื้นที่ปนเปื้อน
จัดวางเครื่องมือและ เครื่องมือและอุปกรณ์ในสถาน การพิจารณาทิศทางการไหลเวียนของอากาศ
อุปกรณ์ (facility ปฏิบัติการระดับ 3 การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ทมี่ ีผลต่อความ
design) ในสถาน ปลอดภัยทางชีวภาพ การกำหนดเส้นทางการ
ปฏิบัติการระดับ 3 เข้า-ออกของคน ตัวอย่าง สิ่งของ และขยะ การ
จัดการพื้นที่เพื่อรักษาความปลอดภัยทาง
ชีวภาพ
2 ฝึกปฏิบัติการสวมใส่ เพื่อให้สามารถสวมใส่และถอด 1) สาธิตการทดสอบความแนบสนิทของการใส่ 1 ชั่วโมง
และการถอดอุปกรณ์ PPE ในสถานปฏิบัติการระดับ หน้ากากนิรภัย (fit testing)
ปกป้องส่วนบุคคล 3 ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 2) สาธิตวิธีตรวจสอบความพร้อมของเครื่อง
(personal power air purifying respirator (PAPR)
protective 3) ฝึกปฏิบัติการสวมใส่ชุด PPE
equipment: PPE) 4) ฝึกปฏิบัติการถอดชุด PPE
3 ฝึกปฏิบัติการเข้า-ออก เพื่อให้สามารถเข้า-ออกสถาน 1) การเตรียมความพร้อมและการตรวจสอบ 2 ชั่วโมง
สถานปฏิบัติการระดับ ปฏิบัติการระดับ 3 ได้อย่าง ความปลอดภัยก่อนเข้าห้องปฏิบตั กิ าร
3 ถูกต้องและปลอดภัย 2) การสวมใส่ PPE
3) การถอด PPE
4) การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนออกจาก
ห้องปฏิบัติการ
4 ฝึกปฏิบัติการตอบโต้ เพื่อให้ทราบวิธีปฏิบัติกรณีเกิด จำลองเหตุการณ์ฉุกเฉินและฝึกซ้อมการปฏิบตั ิ 3 ชั่วโมง
เหตุฉุกเฉิน เหตุฉุกเฉินในสถานปฏิบัติการ 1) การปฏิบัติกรณีสารชีวภาพรั่วไหลในสถาน
ระดับ 3 ปฏิบัติการ ในตู้ชีวนิรภัย และในเครื่อง
centrifuge
2) การปฏิบัติกรณีเกิดอุบัตเิ หตุของมีคมบาด
3) การปฏิบัติกรณีผู้ร่วมงานหมดสติ
4) การปฏิบัติกรณีระบบปรับอากาศล้มเหลว
5) การปฏิบัติกรณีเกิดเหตุไฟไหม้
5 การประเมินผล เพื่อวัดผลการอบรม สอบภาคปฏิบัติ

กำหนดการ ระเบียบและข้อกำหนดในการเข้าฝึกอบรมจะประกาศให้ทราบต่อไป
*************************************************
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
งานพัฒนากำลังคนเทคโนโลยีชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
โทร.: 0 2564 6700 ต่อ 3379 – 3382
Email: rmd-bms@biotec.or.th

You might also like