You are on page 1of 5

ข้อมูลกรมจัดหางาน

อธิบดีกรมแรงงาน ชื่อ ไพโรจน์ โชติเสถียร


สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ชื่อ นายสีมา สีมานันท์
วิสัยทัศน์ “กำลังแรงงานมีงานทำถ้วนหน้า ทุกช่วงวัย ภายในปี 2565”
พันธกิจ
1. ส่งเสริมการมีงานทำ โดยให้บริการจัดหางาน แนะแนวอาชีพคุ้มครองคนหางาน เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพ มี
รายได้
2. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานให้ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
ตามภารกิจของกรมการจัดหางาน
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
4. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการบริหารตลาดแรงงานสู่ความสมดุล
5. บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว

ค่านิยม STRONG
S = Sevice Mind : มีจิตบริการ มุ่งเน้นให้บริการประชาชนทุกช่วงวัยที่มารับบริการ
T = Team Work : การทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามเป้ าหมายขององค์กร
R = Response : ตอบสนองต่อทุกภารกิจที่ได้รับอย่างรวดเร็วฉับไว
O = Owner : มีจิตสำนึกในความเป็นเจ้าขององค์กร และภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
N = Network : สานสร้างเครือข่ายเพื่อการบูรณาการทั้งภายในและภายนอกองค์กร
G = Goal : เพื่อเป้ าหมายคือประชาชน
อำนาจหน้าที่
กรมการจัดหางาน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำ คุ้มครองคนหางาน ศึกษา วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงาน
และแนวโน้มตลาดแรงงานเป็นศูนย์กลางข้อมูลตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารด้านการส่ง
เสริมการมีงานทำ เพื่อให้ประชากรมีงานทำที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และความถนัด ไม่ถูกหลอกลวง ตลอด
จนได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1.ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานกฎหมายว่าด้วย การทำงานของคนต่างด้าวและ
กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงานและแนวโน้มความต้องการแรงงานและเป็นศูนย์ทะเบียนข้อมูลแรงงาน
3.พัฒนาระบบ รูปแบบ มาตราการ และวิธีการด้านการจัดหางานจัดทำและประสานแผนการปฏิบัติงานของกรมให้
สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านแรงงานของกระทรวง รวมทั้งกำหนดมาตรฐานอาชีพและอุตสาหกรรม
4.ให้คำปรึกษา ส่งเสริม และให้บริการแนะแนวอาชีพ ทดสอบความถนัดให้แก่ประชาชน
5.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ภารกิจหน่วยงาน
1. การบริการจัดหางานในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ที่เหมาะสม รับรู้ข่าวสารตลาดแรงงานที่
ทันสมัยรวดเร็ว ช่วยลดปัญหาการว่างงานและการขาดแคลนแรงงาน โดยให้บริการกับประชาชนทุกกลุ่มเป้ าหมาย
ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้พ้นโทษ ทหารก่อนปลดประจำการ แรงงานที่อยู่บนพื้นที่สูง ผู้ประสบภัย
ธรรมชาติและสาธารณภัย ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด เป็นต้น
2. การแนะแนวและการส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและผู้
กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานได้มีความรู้ความสามารถ และทราบความถนัดในการประกอบอาชีพของแต่ละคน
3. การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ เพื่อกำกับ ดูแล การพัฒนากระบวนการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่าง
ประเทศให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคนหางานและลูกจ้างที่ไปทำงานหรือฝึ กงานในต่างประเทศ
รวมทั้งส่งเสริมการขยายตลาดแรงงานไทยไปต่างประเทศ
4. การคุ้มครองคนหางาน เพื่อคุ้มครองและป้ องกันมิให้คนหางานถูกหลอกลวงจากการหางานทำ ถูกเอารัดเอาเปรียบ
จากบริษัทจัดหางาน/สำนักงานจัดหางาน และบุคคลที่มีพฤติการณ์หลอกลวงคนหางาน รวมถึงการใช้มาตราการทาง
กฎหมายเพื่อป้ องกันและลงโทษผู้หลอกลวงที่เอารัดเอาเปรียบคนหางาน
5. การจัดระบบการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อดูแล ตรวจสอบ และควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวในประเทศให้เป็น
ไปตามกฎหมายและเกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยมากที่สุด รวมถึงการคุบคุมแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งได้รับ
การผ่อนผันให้ประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว

แรงงาน หมายถึง ความพยายามของมนุษย์หรือการออกแรง ในการผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อประโยชน์


ทางเศรษฐกิจและผู้ที่ดำเนินการจะได้รับค่าตอบแทน
แรงงานมีส่วนประกอบ ๒ ส่วน คือ ส่วนแรกเป็ นการกระทำของมนุษย์ และส่วนที่ ๒ จากผลของการกระทำก่อให้เกิด
ผลทางเศรษฐกิจในรูปของค่าตอบแทนหรือรายได้

กระทรวงแรงงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น
ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล
สายด่วน ศบค.รง 1506 กด 5
วิสัยทัศน์ : แรงงานมีศักยภาพสูง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี “ Productive Manpower ”
พันธกิจ :

1. เพิ่มศักยภาพแรงงาน และผู้ประกอบการ ให้พร้อมรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และให้สอดคล้องกับ


ทิศทางการพัฒนาของประเทศ
2. คุ้มครองและส่งเสริมให้แรงงานมีความมั่นคงในการทำงาน มีหลักประกัน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3. เสริมสร้างองค์กรธรรมาภิบาล
4. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างบูรณาการ เพื่อการบริหารจัดการ และให้บริการอย่างมี
ประสิทธิภาพ
5. ส่งเสริมความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างประเทศ
แนวทางการดำเนินงาน/พัฒนา :

1. การพัฒนาศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อสร้างความ
เข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
2. การคุ้มครองและเสริมสร้างความมั่นคง หลักประกันในการทำงาน และคุณภาพชีวิตที่ดี
3. การบริหารจัดการด้านแรงงานระหว่างประเทศ
4. การพัฒนากลไกในการสร้างความสมดุลของตลาดแรงงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ภาคแรงงาน
5. การบริหารจัดการองค์กร บุคลากร ด้วยหลักธรรมาภิบาล และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในองค์กร
6. การพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อบูรณาการสารสนเทศที่ทันสมัย และมีเสถียรภาพ

กรอบนโยบายของประเทศที่สำคัญ
1. ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564)
3. นโยบายรัฐบาล
3.1 เร่งสร้างโอกาส อาชีพ
3.2 ยกระดับคุณภาพแรงงาน
3.3 เชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินการระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน
3.4 ส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบที่ถูกกฎหมายมากขึ้น
3.5 ป้ องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง การทารุณกรรมต่อแรงงาน ต่างด้าว
3.6 เตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมที่มีความหลากหลาย
4. นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2558 – 2564)
5. นโยบายไทยแลนด์ 4.0
6. กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579)
7. แผนแม่บทพัฒนาแรงงานไทยในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564)
กระทรวงแรงงานได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
1) ยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพแรงงานและผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และแข่งขันได้
อย่างยั่งยืน
2) ยุทธศาสตร์ การคุ้มครองและเสริมสร้างความมั่นคง หลักประกันในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดี
3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านแรงงานระหว่างประเทศ
4).ยุทธศาสตร์การพัฒนากลไกในการสร้างความสมดุลของตลาดแรงงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนในภาคแรงงาน
5).ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กร บุคลากร ด้วยหลักธรรมาภิบาลและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมใน
องค์กร และ
6).ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อบูรณาการสารสนเทศที่ทันสมัยมีเสถียรภาพ
8. เป้ าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

นโยบายกระทรวงแรงงาน ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2564


นโยบายเร่งด่วน 13 ข้อ ภายใต้ 4 แนวทาง
นโยบายสำคัญ 9 ข้อ และกลไกขับเคลื่อน 4 ข้อ ดังนี้
หน่วยงานในสังกัด
-สำนักงานรัฐมนตรี
-สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
-กรมการจัดหางาน
-กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
-กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
-สำนักงานประกันสังคม
-สสปท.

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10)
ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ยะลา 313 บาท

You might also like