You are on page 1of 37

1

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม

นางสนธิกาญจน์ เพื่อนสงคราม
วิทยากรชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานกฎหมาย ๒ สำนักกฎหมาย

บทความใช้เพื่อการนำออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจาย
เสียงรัฐสภา
รายการเจตนารมณ์กฎหมาย
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
1

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม

เรียบเรียงโดย
สนธิกาญจน์ เพื่อนสงคราม
วิทยากรชำนาญการพิเศษ

บทนำ

ประเทศไทยเป็ นประเทศที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
อย่างรวดเร็ว เห็นได้จากการลงทุนนับแสนล้านบาททางด้าน
อุตสาหกรรม ในระยะเวลาที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทาง
เศรษฐกิจจากประเทศเกษตรกรรมไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งภาครัฐ
มีการสนับสนุนและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนเกิดการเจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็ว มีการส่งเสริมการส่งออก การนำเข้า มีนโยบายและมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจหลายด้าน ทำให้ที่ผ่านมามีโรงงานอุตสาหกรรมเกิด
ขึ้นจำนวนมากจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ และผลจากการที่
โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มจำนวนขึ้น ส่งผลให้ของเสียในอุตสาหกรรมเกิด
ขึ้นตามมาเช่นกัน ทั้งจากสารเคมีอันตรายที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในประเทศ สาร
เคมีอันตรายที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งการใช้สารเคมีอย่างแพร่หลาย
และขาดการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการปนเปื้ อนของสารเคมี
อันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ และ
จากการที่ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกิดปั ญหาของเสีย
อุตสาหกรรมหรือกากอุตสาหกรรม ปั ญหาสิ่งแวดล้อมจากของเสีย
อุตสาหกรรมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของ
ประชาชนหากมีการจัดการไม่ถูกต้องเหมาะสม ของเสียอุตสาหกรรมจึง
เป็ นมลพิษที่ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการกำจัด เช่น การคัดแยก
แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ การฝั งกลบอย่างปลอดภัย การเผาทำลายโดยเตา
เผาในอุณหภูมิสูง เป็ นต้น ในขณะที่ของเสียอุตสาหกรรมประเภทที่ไม่
อันตราย ส่วนมากสามารถนำไปผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมแปรรูป
เป็ นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ เช่น เศษกระดาษ เศษพลาสติก เศษไม้ เป็ นต้น ใน
แต่ละปี ภาคอุตสาหกรรมของไทยสร้างขยะหรือกากอุตสาหกรรมเป็ น
ปริมาณมหาศาล เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่เป็ นจำนวนมาก จาก
2

ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นข้างต้น จึงเป็ นที่มาของการลักลอบนำกาก


อุตสาหกรรมไปทิ้งและก่อให้เกิดอันตรายในชุมชนต่าง ๆ ตามที่มีข่าวเกิด
ขึ้นให้เห็นอยู่เสมอ เห็นได้จากสถิติการลักลอบทิ้งกากของเสีย
อุตสาหกรรมพบว่ามีอยู่เป็ นจำนวนไม่น้อย ทั้งการลักลอบทิ้งกากของเสีย
จำพวกสารเคมี กากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียปนเปื้ อนสาร
เคมี กากตะกอนและน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดการลักลอบ
ทิ้งกากสารเคมีและของเสียอุตสาหกรรมอย่างผิดกฎหมาย ส่วนหนึ่งมาจาก
ค่าใช้จ่ายในการบำบัดและกำจัดกากของเสียที่ค่อนข้างสูง ปั ญหาสถานที่
รับกำจัดกากของเสียที่ถูกต้องตามกฎหมายมีไม่เพียงพอ ทำให้มีการ
หลีกเลี่ยงและส่งกากของเสียอุตสาหกรรมไปกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่ง
การลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมทำให้เกิดผลกระทบตามมาในหลาย
ด้าน เช่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่มีการลักลอบทิ้ง เช่น
กรณีที่ทิ้งไปบนดินจะก่อให้เกิดมลพิษทางดิน ทำให้พื้นดินปนเปื้ อนด้วย
สารอันตราย ไม่สามารถใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกหรือเข้าไปทำประโยชน์
ในบริเวณดังกล่าวได้ แต่ถ้ามีการทิ้งลงน้ำนอกจากทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำ
พืชน้ำหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้แล้ว ยังอาจเกิดการรั่วไหล
ของสารอันตราย
ไปยังผิวดินหรือซึมผ่านดินลงไปแหล่งน้ำใต้ดินซึ่งจะเป็ นอันตรายต่อผู้ใช้
น้ำได้ นอกจากนี้หากมีการจัดการที่ไม่ถูกต้องยังทำให้สารที่ระเหยได้ง่าย
มีการระเหยไปในอากาศและเป็ นอันตรายต่อผู้สูดดมเข้าไป และอาจส่งผล
ต่อระบบทางเดินหายใจได้ เป็ นต้น ขณะเดียวกันกากอุตสาหกรรมที่ถูก
นำมาทิ้งยังส่งผลทำลายระบบนิเวศ เพราะสามารถส่งผลกระทบต่อห่วง
โซ่สิ่งมีชีวิตในพื้นที่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็ น สัตว์ พืช และมนุษย์ และทำให้
เกิดปั ญหาตามมาได้อีก นั่นคือ ผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันในชุมชน
ทำให้เกิดความขัดแย้ง เกิดการคัดค้านและต่อต้านสถานประกอบการที่
เป็ นแหล่งของปั ญหา เพื่อชุมนุมขับไล่ให้ออกไปจากชุมชน ซึ่งปั ญหา
ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมเป็ นปั ญหาที่มีเรื้อรังมานาน มีการลักลอบนำ
ไปทิ้งให้เห็นอยู่โดยตลอด แสดงให้เห็นได้ว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ยัง
ไม่ได้เข้าสู่ระบบจัดการกากอุตสาหกรรมยังมีอยู่เป็ นจำนวนมาก และยัง
พบว่ามีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมอยู่เป็ นระยะ ทั้งการทิ้งในพื้นที่ของ
เอกชน บ่อดินเก่า ที่รกร้างว่างเปล่า ที่สาธารณะ หรือที่ดินส่วนบุคคล ทำให้
เกิดความเดือดร้อนและเกิดปั ญหาหลายด้าน ทั้งจากปั ญหาฝุ่นละออง
ปั ญหาถนนชำรุด ปั ญหาน้ำเน่าเสีย และมีปั ญหาร้องเรียนตามมา
3

ประกอบกับการที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้น ทำให้คาด
การณ์ว่าจะทำให้เกิดกากอุตสาหกรรมเพิ่มตามมาอีก ปั จจุบัน
ประเทศไทยมีโรงงานรวม ๗๐,๐๐๐ กว่าโรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็ นโรงงาน
ที่ดี มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังมีโรงงาน
ส่วนน้อยที่ไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมาย จนส่งผลกระทบต่อประชาชน
สภาพแวดล้อม รวมถึงภาพลักษณ์ของภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ
กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรมมีอยู่ ๒
ฉบับ คือ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติวัตถุ
อันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ และยังรวมถึงกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงและ
ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ คือ
1. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม
ความหมาย
มาตรา ๕ ได้ให้คำนิยาม
“โรงงาน” หมายความว่า อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่
ใช้เครื่องจักร มีกำลังรวมตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้า
สิบแรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือ
ไม่ก็ตามเพื่อประกอบกิจการโรงงาน ทั้งนี้ ตามประเภทหรือชนิดของ
โรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง
“ตั้งโรงงาน” หมายความว่า การนำเครื่องจักรสำหรับประกอบ
กิจการโรงงานมาติดตั้งในอาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่จะประกอบ
กิจการโรงงาน หรือนำคนงานมาประกอบกิจการโรงงานในกรณีที่ไม่มีการ
ใช้เครื่องจักร
“ประกอบกิจการโรงงาน” หมายความว่า การทำ ผลิต
ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง
เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ ตามลักษณะกิจการของโรงงานแต่ไม่รวม
ถึงการทดลองเดินเครื่องจักร

การประกอบกิจการโรงงาน
มาตรา ๗ กฎหมายโรงงานกำหนดให้โรงงานตามประเภท
ชนิดหรือขนาดใดเป็ นโรงงาน จำพวกที่ ๑ โรงงานจำพวกที่ ๒ หรือโรงงาน
จำพวกที่ ๓ แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงความจำเป็ นในการควบคุมดูแล การ
4

ป้ องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ การป้ องกันความเสียหายและการป้ องกัน


อันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนหรือสิ่ง
แวดล้อม โดยแบ่งเป็ น
โรงงานจำพวกที่ ๑ ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่
สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบ
กิจการโรงงาน
โรงงานจำพวกที่ ๒ ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่
เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน
โรงงานจำพวกที่ ๓ ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่การ
ตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้
มาตรา ๘ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกอบกิจการ
โรงงาน ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อให้โรงงานจำพวกใด
จำพวกหนึ่งหรือทุกจำพวกตามมาตรา ๗ ต้องปฏิบัติตามในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้งของโรงงาน สภาพ
แวดล้อมของโรงงาน ลักษณะอาคารของโรงงานหรือลักษณะภายในของ
โรงงาน
(๒) กำหนดลักษณะ ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักร เครื่อง
อุปกรณ์หรือสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน
(๓) กำหนดให้มีคนงานซึ่งมีความรู้เฉพาะ ตามประเภท ชนิด
หรือขนาดของโรงงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่หนึ่งหน้าที่ใดประจำโรงงาน
(๔) กำหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ กรรมวิธีการผลิตและการ
จัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใด เพื่อป้ องกันหรือระงับหรือบรรเทา
อันตรายความเสียหายหรือความเดือดร้อนที่อาจเกิดแก่บุคคลหรือ
ทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน
(๕) กำหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย
มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นจากการ
ประกอบกิจการโรงงาน
(๖) กำหนดการจัดให้มีเอกสารที่จำเป็นประจำโรงงาน เพื่อ
ประโยชน์ในการควบคุมหรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย
(๗) กำหนดข้อมูลที่จำเป็ นเกี่ยวกับการประกอบกิจการ
โรงงานที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ทราบเป็ นครั้งคราวหรือ
ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
5

(๘) กำหนดการอื่นใดเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการ
ดำเนินงาน เพื่อป้ องกันหรือระงับหรือบรรเทาอันตรายหรือความเสียหาย
ที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน
มาตรา ๑๐ ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๑ ต้อง
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ และ
ประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว
มาตรา ๑๑ ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๒ ต้อง
ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ และ
ประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว และเมื่อจะเริ่ม
ประกอบกิจการโรงงานให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน แบบและ
รายละเอียดที่ต้องแจ้งและแบบใบรับแจ้งให้เป็ นไปตามที่กำหนดในกฎ
กระทรวง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้า
หน้าที่ออกใบรับแจ้ง เพื่อเป็ นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้แจ้งในวันที่ได้รับ
แจ้ง และให้ผู้แจ้งประกอบกิจการโรงงานได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบรับแจ้ง ใน
กรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบในภายหลังว่าการแจ้งตามวรรคหนึ่งไม่
ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้แจ้งแก้ไขให้ถูก
ต้องหรือครบถ้วนภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งดังกล่าว การเลิก
ประกอบกิจการ การโอน การให้เช่าหรือการให้เช่าซื้อโรงงานจำพวก
ที่ ๒ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งเป็ นหนังสือให้พนักงานเจ้า
หน้าที่ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการดังกล่าว
มาตรา ๑๒ ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๓ ต้องได้รับ
ใบอนุญาตจากผู้อนุญาต และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎ
กระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ ประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎ
กระทรวงดังกล่าวและประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา ๓๒ ห้ามมิให้ผู้
ใดตั้งโรงงานก่อนได้รับใบอนุญาต
มาตรา ๑๘ ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตขยายโรงงาน เว้นแต่ได้รับ
อนุญาตจากผู้อนุญาต
การขอขยายโรงงานและการให้ขยายโรงงานตลอดจนการ
อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ขยายโรงงาน ให้นำ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และ
มาตรา ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การขยายโรงงานได้แก่
(๑) การเพิ่มจำนวน เปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรทำให้
มีกำลังรวมเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไปในกรณีเครื่องจักรเดิมมีกำลัง
6

รวมไม่เกินหนึ่งร้อยแรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าไม่เกินหนึ่งร้อยแรงม้า
หรือเพิ่มขึ้นตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าขึ้นไปในกรณีเครื่องจักรเดิมมีกำลังรวมเกิน
กว่าหนึ่งร้อยแรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าเกินกว่าหนึ่งร้อยแรงม้า
(๒) การเพิ่มหรือแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารโรงงานทำให้
ฐานรากเดิมของอาคารโรงงานฐานใดฐานหนึ่งต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นตั้งแต่
ห้าร้อยกิโลกรัมขึ้นไป
ใบอนุญาตในส่วนที่ขยายให้มีอายุเท่ากับใบอนุญาตตามมาตรา
๑๔
การเลิกประกอบกิจการโรงงาน
มาตรา ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดเลิกประกอบกิจการโรงงาน
ให้แจ้งเป็ นหนังสือต่อผู้อนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันเลิกประกอบ
กิจการโรงงาน
ถ้าผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงโรงงานจำพวกที่
๓ เป็ นโรงงานจำพวกที่ ๑ หรือโรงงานจำพวกที่ ๒ แล้วแต่กรณี ให้แจ้ง
การเลิกประกอบกิจการโรงงานตามวรรคหนึ่ง และเมื่อจะประกอบกิจการ
โรงงานต่อไปให้ดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ สำหรับการ
ประกอบกิจการโรงงานจำพวกดังกล่าว

การกำกับและดูแลโรงงาน
มาตรา ๓๒ เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อม ความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศหรือของสาธารณชน ให้
รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุ
เบกษาในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดจำนวนและขนาดของโรงงานแต่ละประเภท
หรือชนิดที่จะให้ตั้งหรือขยาย หรือที่จะไม่ให้ตั้งหรือขยายในท้องที่ใด
ท้องที่หนึ่ง
(๒) กำหนดชนิด คุณภาพ อัตราส่วนของวัตถุดิบ แหล่ง
กำเนิดของวัตถุดิบและหรือปั จจัยหรือชนิดของพลังงานที่จะนำมาใช้หรือ
ผลิตในโรงงาน
(๓) กำหนดชนิดหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในโรงงานที่
จะให้ตั้งหรือขยาย
7

(๔) กำหนดให้นำผลผลิตของโรงงานที่จะให้ตั้งหรือขยายไป
ใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภท หรือให้ส่งผลผลิตออกนอกราชอาณาจักร
ทั้งหมดหรือบางส่วน
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ประกอบ
กิจการโรงงานผู้ใดฝ่ าฝื นหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือการ
ประกอบกิจการโรงงาน มีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายความเสียหาย
หรือความเดือดร้อนแก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้
เคียงกับโรงงาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำ
ที่ฝ่ าฝื น หรือแก้ไข หรือปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสม
ภายในระยะเวลาที่กำหนดได้
มาตรา ๓๙ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานใดจงใจไม่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๓๗ โดยไม่มีเหตุอันควรหรือ
ในกรณีที่ปรากฏว่าการประกอบกิจการของโรงงานใดอาจจะก่อให้เกิด
อันตรายความเสียหายหรือความเดือดร้อนอย่างร้ายแรงแก่บุคคล หรือ
ทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานให้ปลัดกระทรวง
หรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจการโรงงาน
นั้นหยุดประกอบกิจการโรงงานทั้งหมดหรือบางส่วนเป็ นการชั่วคราว และ
ปรับปรุงแก้ไขโรงงานนั้นเสียใหม่หรือปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่
กำหนด ถ้าผู้ประกอบกิจการโรงงานได้ปรับปรุงแก้ไขโรงงานหรือปฏิบัติให้
ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัด
กระทรวงมอบหมายสั่งให้ประกอบกิจการโรงงานต่อไปได้ ถ้าผู้ประกอบ
กิจการโรงงานไม่ปรับปรุงแก้ไขโรงงานหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายใน
เวลาที่กำหนด ให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายมีอำนาจ
สั่งปิ ดโรงงานได้ และในกรณีที่เป็ นโรงงานจำพวกที่ ๓ ให้คำสั่งปิ ดโรงงาน
ดังกล่าวมีผลเป็ นการเพิกถอนใบอนุญาตด้วย
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานไม่ปฏิบัติตาม
คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๓๗ ถ้ามีเหตุที่ทางราชการสมควร
เข้าไปดำเนินการแทน ให้ปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมาย มี
อำนาจสั่งการให้พนักงานเจาหน้าที่หรือมอบหมายให้บุคคลใด ๆ เข้า
จัดการแก้ไขเพื่อให้เป็ นไปตามคำสั่งนั้นได้ในกรณีเช่นนี้ผู้ประกอบกิจการ
โรงงานต้องเป็ นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าจัดการนั้นตามจำนวนที่จ่ายจริง
รวมกับเบี้ยปรับในอัตราร้อยละสามสิบต่อปี ของเงินจำนวนดังกล่าว
8

มาตรา ๔๓ ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๒ และโรงงาน


จำพวกที่ ๓ ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ
อัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงตลอดเวลาที่ยังประกอบกิจการ ถ้ามิได้
เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน
และถ้ายังไม่ยินยอมเสียค่าธรรมเนียมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการประกอบกิจการไว้จนกว่าจะได้เสีย
ค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่มครบจำนวน และให้นำมาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐
และมาตรา ๔๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
บทกําหนดโทษ
มาตรา ๔๕ ผู้ใดฝ่ าฝื นหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออก
ตามมาตรา ๘ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) หรือ (๘) หรือประกาศของรัฐมนตรีที่
ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
มาตรา ๔๖ ผู้ใดฝ่ าฝื นหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออก
ตามมาตรา ๘ (๖) หรือ (๗) หรือประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎ
กระทรวงดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๔๘ ผูใดประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๒ โดย
ไมแจงใหพนักงานเจ้าหนาที่ทราบตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง ตองระวาง
โทษจําคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหาหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๔๙ ผูประกอบกิจการโรงงานจําพวกที่ ๒ ผูใดแจงการ
ประกอบกิจการไมถูกตองครบถวน ตามที่กําหนดในกฎกระทรวงตาม
มาตรา ๑๑ วรรคสอง หรือไมปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคหา หรือมาตรา
๓๓ ตองระวางโทษปรับไมเกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๐ ผูใดประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ ๓ โดยไมไดรับ
อนุญาตตามมาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง หรือตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม
มาตรา ๑๒ วรรคสอง ตองระวางโทษจําคุกไมเกินสองป หรือปรับไมเกิน
สองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
ในกรณีที่โรงงานตามวรรคหนึ่ง เปนโรงงานประเภทหรือ
ชนิดที่กําหนดจํานวนหรือขนาดที่จะใหตั้งหรือไมให้ตั้งในทองที่ใด ตาม
ประกาศที่ออกตามมาตรา ๓๒ (๑) ผูกระทําตองระวางโทษทั้งจําคุก
ไมเกินสี่ปหรือปรับไมเกินสี่แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๕๕ ผู้ใดประกอบกิจการโรงงานในระหว่างที่ได้มีคำสั่ง
ให้หยุดประกอบกิจการโรงงานหรือภายหลังที่มีคำสั่งให้ปิ ดโรงงาน ต้อง
9

ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้ง


ปรับ และให้ปรับอีกวันละห้าพันบาทจนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ
มาตรา ๕๖ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่พนักงาน
เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๓๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง
สั่งตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ
ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกินห้าพัน
บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่ าฝื นหรือยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง

กากอุตสาหกรรม
“กากอุตสาหกรรม” ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม คือ
“สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” นั้น หมายถึง ของเสียหรือสิ่งที่ไม่ใช้แล้วที่
เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ตั้งแต่กระบวนการรับวัตถุดิบ การผลิต
การตรวจสอบคุณภาพ การบำบัดมลพิษ การซ่อมบำรุง
เครื่องจักร/อุปกรณ์ การรื้อถอน/ก่อสร้างอาคารภายในบริเวณโรงงาน
รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ทั้งที่อยู่ในสภาวะ
ของแข็ง ของเหลว กึ่งแข็ง กึ่งเหลวหรือก๊าซ ทั้งนี้ รวมถึงของเสียอันตราย
ที่เกิดจากอาคารสำนักงานและที่พักคนงานที่อยู่ภายในบริเวณโรงงาน
ประเภทของกากอุตสาหกรรม
กากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม
หรือสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว แบ่งเป็ น ๒ ประเภท คือ
1) กากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็ นอันตราย (Non - Hazardous
waste)
“กากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็ นอันตราย” หมายถึง ของเสียหรือ
กากอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ชานอ้อย เศษ
ทองแดง ขี้เลื่อย กล่องกระดาษ เศษกระดาษ เป็ นต้น กากอุตสาหกรรม
ประเภทนี้จะไม่เป็ นอันตราย แต่หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง จะ
ส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้ โรงงานอุตสาหกรรม
ส่วนใหญ่จะส่งกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็ นอันตรายไปรีไซเคิล โดยวิธีการคัด
10

แยกเพื่อจำหน่ายต่อหรือการปรับปรุงคุณภาพของวัสดุที่ใช้แล้วให้กลับ
มามีคุณภาพดังเดิมและนำไปใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง
2) กากอุตสาหกรรมที่เป็ นอันตราย (Hazardous waste)
“กากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย” หมายถึง กากอุตสาหกรรม
ที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้ อนสารอันตราย หรือมีคุณสมบัติที่เป็ นอันตราย
ตามที่กำหนดในภาคผนวกที่ ๒ ท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง
การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๔๘ ยกเว้นสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ
ที่ไม่ใช้แล้วหรือกากอุตสาหกรรม ที่ไม่เป็ นอันตรายจากสำนักงาน บ้านพัก
อาศัย และโรงอาหารในบริเวณโรงงาน กากกัมมันตรังสี และมูลฝอย
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และน้ำเสียที่ส่งไป
บำบัดนอกโรงงานทางท่อส่งน้ำ หรือหมายถึงสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้
แล้วหรือกากอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ดังนี้
(๑) ประเภทสารไวไฟ (Ignitable substances)
(๒) ประเภทสารกัดกร่อน (Corrosive substances)
(๓) ประเภทสารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactive
substances)
(๔) ประเภทสารพิษ (Toxic substances)
(๕) สารที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปน ตามที่กำหนดไว้ใน
กฎหมาย
กากอุตสาหกรรมที่เป็ นอันตราย ได้แก่ กากตะกอนจาก
ระบบบำบัดน้ำเสีย เศษสายไฟฟ้ า น้ำมันหล่อลื่นที่ไม่ใช้แล้ว เศษใยหิน
เป็ นต้น

เส้นทางกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม
การกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมนั้นจะมีสามฝ่ ายเข้ามา
เกี่ยวข้อง
๑. โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม หรือ WG เมื่อมี
กากเกิดขึ้น โรงงานก็มีหน้าที่ในการจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดย
ตรวจสอบปริมาณ ประเภท และวิธีการกำจัดหรือบำบัด และต้องรายงาน
การจัดการกากเหล่านั้นด้วย โดยต้องไปขออนุญาตบำบัดหรือกำจัดจาก
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
๒. ผู้ขนส่งกาก หรือ Waste Transporter - WT ในการบำบัด
หรือกำจัดนั้น โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรมจะดำเนินการเองหรือส่ง
11

ให้ผู้อื่นจัดการแทนก็ได้ หากส่งให้ผู้อื่นบำบัดหรือกำจัดก็จะต้องมีการ
ขนส่งกากอุตสาหกรรมจาก WG ซึ่งตัวแทนจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียน
อย่างถูกต้องและได้มาตรฐาน เพื่อให้แน่ใจว่าการขนส่งกากอุตสาหกรรม
อันตรายจะไม่เกิดการรั่วไหลในระหว่างขนส่ง
๓. โรงงานผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรม หรือ Waste
Processor - WP โดยใช้เทคโนโลยี กำจัดกากอุตสาหกรรม/รับซื้อกาก
อุตสาหกรรม
ประเภทของโรงงาน
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้มีการกำหนดการแบ่ง
โรงงานออกเป็น ๓ ประเภท ขึ้นอยู่กับความจำเป็ นในการควบคุมการ
ป้ องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ การป้ องกันความเสียหาย และการป้ องกัน
อันตรายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะมีต่อประชาชนหรือสิ่ง
แวดล้อม คือ
โรงงานจำพวกที่ ๑ ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่
สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบ
กิจการโรงงาน
โรงงานจำพวกที่ ๒ ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่
เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน
โรงงานจำพวกที่ ๓ ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่
การตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้
การตั้งโรงงาน
การตั้งโรงงานต้องมีการขออนุญาตตั้งโรงงาน เพราะว่าการ
ใช้สถานที่เพื่อตั้งเป็ นโรงงาน ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การ
ดำเนินงานอยู่ภายใต้การควบคุมไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็ น
ด้านสิ่งแวดล้อมและด้านอื่น ๆ ซึ่งการขออนุญาตตั้งโรงงานเป็ นเรื่องสำคัญที่
ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
โดยประเภทโรงงานที่ต้องทำการแจ้งประกอบกิจการหรือขอ
อนุญาตประกอบกิจการโรงงาน คือ “โรงงานที่มีเครื่องจักรขนาดตั้งแต่
๕๐ แรงม้า หรือคนงาน ๕๐ คนขึ้นไป ซึ่งต้องดำเนินการตามขั้นตอน
และเงื่อนไขที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้เท่านั้น
ประเภทโรงงานที่ต้องขออนุญาตตั้ง
โรงงานจำพวกที่ ๑
จะไม่ขึ้นอยู่กับขนาดแรงม้าของเครื่องจักรหรือจำนวนคน
12

งาน แต่จะขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงาน เช่น โรงงานการฟั กไข่โดยใช้ตู้


อบทุกขนาด โรงงานทำน้ำตาลจากมะพร้าว โรงงานซ่อมรองเท้า
โรงงานจำพวกที่ ๒
ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ที่มีเครื่องจักรขนาด
มากกว่า ๕๐ แรงม้า แต่ไม่เกิน ๗๕ แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า
๕๐ คน แต่ไม่เกิน ๗๕ คน เช่น โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการบ่มใบ
ชาหรือใบยาสูบ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการลำเลียงหิน กรวด
ทราย หรือดิน ด้วยระบบสายพานลำเลียง เป็ นต้น
โรงงานจำพวกที่ ๓
ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่ที่มีเครื่องจักรขนาด
มากกว่า ๗๕ แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า ๗๕ คน โดยใบอนุญาต
ประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับจะเรียกว่าใบ ร.ง. ๔ แต่ตามกฎกระทรวง
ฉบับนี้มีโรงงานหลายประเภทด้วยกันที่ถูกจำแนกเป็ นโรงงานจำพวกที่ ๓
โดยไม่ขึ้นอยู่กับแรงม้า หรือจำนวนคนงาน เช่น โรงงานเกี่ยวกับน้ำมันจาก
พืชและสัตว์ โรงงานผลิตแอลกอฮอล์ โรงงานฟอกย้อมสี เป็ นต้น
เงื่อนไขการขออนุญาตตั้งโรงงานและใบอนุญาตประกอบ
กิจการโรงงาน
สำหรับโรงงานจำพวกที่ ๒ ก่อนดำเนินกิจการไม่ต้องขอ
อนุญาต แต่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเริ่มดำเนินงานประกอบกิจการ
เมื่อจะเริ่มประกอบกิจการโรงงานให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเสีย
ก่อน
13

สำหรับโรงงานจำพวกที่ ๓ จะต้องดำเนินการขออนุญาต
ประกอบกิจการโรงงานก่อนประกอบกิจการ ตามพระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่ได้รับเรียกว่า “ร.ง.
๔”
ซึ่งใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.๔) คือ ใบอนุญาตที่ทางกรม
โรงงานอุตสาหกรรมออกให้สำหรับโรงงานประเภทที่ ๓ ที่ได้รับอนุญาต
ให้ตั้งโรงงานได้ โดยเป็ นโรงงานที่มีเครื่องจักรมากกว่า ๗๕ แรงม้า
และมีจำนวนคนงานมากกว่า ๗๕ คน โดยที่ใบอนุญาตประกอบกิจการ
โรงงาน ร.ง. ๔ นั้นไม่มีหมดอายุ ดังนั้น จึงไม่ต้องมีการต่ออายุของใบ ร.ง.
๔ แต่ยังคงต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมโรงงานรายปี ตามกำลังแรงม้าที่ใช้
สถานที่ห้ามตั้งโรงงาน
โรงงานจำพวกที่ ๑ โรงงานจำพวกที่ ๒ และโรงงานจำพวกที่
๓ หามตั้งโรงงานในสถานที่ ตอไปนี้
๑. บานจัดสรรเพื่อการพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย และบาน
แถวเพื่อการพักอาศัย
๒. ภายในระยะ ๕๐ เมตร จากเขตติดตอสาธารณสถาน
ได้แก่ โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา วัดหรือศาสนสถาน โรงพยาบาล
โบราณสถาน สถานที่ทําการหนวยงานของรัฐ และให้รวมถึงแหลงอนุรัก
ษ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ลักษณะของโรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมที่ประกอบกิจการรับจัดการกาก
อุตสาหกรรม คือ โรงงานอุตสาหกรรมที่ขึ้นทะเบียนโรงงานลําดับประเภท
ที่ ๑๐๑ ๑๐๕ และ ๑๐๖ ตามบัญชีประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่
จําแนกตามกฎกระทรวงตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน ซึ่งมีลักษณะ
กิจการจำแนกตามลําดับประเภทดังนี้
1.ประเภทหรือชนิดโรงงานลักษณะที่ ๑๐๑ โรงงานปรับ
คุณภาพของเสียโดยรวม (Central Waste Treatment) ลักษณะกิจการ
ที่ดำเนินการ คือ
โรงงานบำบัดน้ำเสียรวมสำหรับน้ำเสียจากโรงงาน
อุตสาหกรรม : เป็ นการบำบัดมวลสารที่มีอยู่ในน้ำเสียและนำกากตะกอน
ไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป
โรงงานเผากากของเสียรวม (เตาเผาของเสียที่ไม่เป็นของเสีย
อันตราย/เตาเผาเฉพาะ/เตาเผาร่วม) : เป็ นการบำบัดของเสียโดยการใช้
14

ความร้อนเพื่อทำลายมลพิษ และลดความเป็ นอันตรายของสารบางอย่าง


โดยมีระบบบำบัดมลพิษอากาศและจัดการเถ้าที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง
โรงงานปรับเสถียรกากของเสียที่เป็ นอันตรายจากโรงงาน
อุตสาหกรรม : เป็ นการเปลี่ยนสภาพกากของเสียอันตรายให้มีความเป็ น
อันตรายหรือเป็ นพิษน้อยลงด้วยวิธีปรับสภาพความเป็ นกรดด่างของกาก
ของเสีย ให้มีค่าเป็ นกลาง และทำให้เป็ นของแข็งโดยผสมกับปูนซีเมนต์ เพื่อ
ห่อหุ้มกากของเสีย ป้ องกันการชะล้าง เพื่อให้กากของเสียอยู่ในสภาพ
คงตัวก่อนนำไปฝั งกลบอย่างปลอดภัย
2.ประเภทหรือชนิดโรงงานลักษณะที่ ๑๐๕ เป็ นโรงงาน
ประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝั งกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้
แล้ว ลักษณะกิจการที่ดำเนินการ คือ
โรงงานคัดแยกกากของเสีย : เป็ นการแบ่งแยกกากของเสียโดย
กากของเสียที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกจะถูกส่งไปยังโรงงานต่างๆ เพื่อ
นำกลับมาใช้ประโยชน์อีก และจัดการส่วนที่เหลือจากการคัดแยกอย่าง
ถูกต้องต่อไป
โรงงานฝั งกลบกากของเสีย : เป็ นการนำกากของเสียไปฝั งกลบ
ในหลุมฝั งกลบ ซึ่งแบ่งออกเป็ น ๒ ประเภท ได้แก่
- หลุมฝั งกลบตามหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill)
- หลุมฝั งกลบอย่างปลอดภัย (Secure Landfill)
3.ประเภทหรือชนิดโรงงาน ลักษณะกิจการที่ ๑๐๖ เป็ นกา
รนําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช้งานแล้ว หรือของเสียจากโรงงานมา
ผลิตเป็ นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทาง
อุตสาหกรรม ลักษณะของโรงงานเป็ นการนําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่
ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็ นวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดย
ผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม ลักษณะกิจการที่ดำเนินการ คือ
เป็ นการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสีย
จากโรงงาน มาผลิตเป็ นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการ
ผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น
๑) การตาก การอบ หรือการขจัดความชื้นจากของเสีย
อุตสาหกรรมการเกษตร
๒) การบดหรือการล้างผลิตภัณฑ์แก้ว
15

๓) การบดย่อยคอนกรีต อิฐ กระเบื้อง และเซรามิกส์


(Demolition Waste) ให้เป็ นมวลหยาบหรือมวลละเอียด (Coarse and
Fine Aggregates)
๔) การบดย่อยตะกรันจากการหลอมหล่อโลหะ
๕) การทำสารปรับปรุงคุณภาพดินจากกากตะกอนระบบ
บำบัดน้ำเสียแบบ)
๖) การทำสารปรับปรุงคุณภาพดินจากสารอนินทรีย์ที่ไม่เป็ น
ของเสียอันตราย
๗) การกรองหรือการแยกสิ่งปนเปื้ อนจากน้ำมันพืชที่ไม่ใช้
แล้ว เพื่อใช้เป็ นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอื่น
๘) การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซล) จากน้ำมันพืชหรือ
น้ำมันสัตว์ที่ไม่ใช้แล้วหรือจากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร
๙) การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอเอทานอล) จากของเสีย
อุตสาหกรรมการเกษตร
๑๐) การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอก๊าซ) จากการย่อย
สลายกากตะกอนชีวภาพหรือจากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตรในถัง
ปฏิกิริยา (Sludge Digester)
ในภาพรวมของโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้บริการจัดการกาก
อุตสาหกรรมของประเทศไทย มีทั้งที่เป็ นการจัดการกากของเสียในขั้นต้น
ขั้นกลาง และขั้นปลายหรือขั้นสุดท้าย (รูปที่ ๑) โดยโรงงานอุตสาหกรรม
ที่มีการจัดการกากของเสียในขั้นต้น คือ โรงงานคัดแยกกากของเสียซึ่งจะใช้
คนงานหรือเครื่องจักรในการคัดแยก กากของเสียออกเป็ นวัสดุชนิดต่าง ๆ
โดยวัสดุที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกจะถูกส่งไปยังโรงงานที่ต้องการ นำ
ไปใช้ประโยชน์ เช่น โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานหลอมพลาสติก โรงงาน
ถลุงหลอมเศษโลหะหรืออโลหะ รวมถึงโรงงานรีไซเคิลที่เป็ นการจัดการ
กากของเสียขั้นกลาง ส่วนเศษที่เหลือจากการคัดแยกจะถูกส่งไปบำบัด
หรือกำจัดต่อไปโดยโรงงานจัดการกากของเสียขั้นปลาย สำหรับโรงงาน
จัดการกากของเสียขั้นกลาง จะเป็ นโรงงานที่นำของเสียจากโรงงานผู้ก่อ
กำเนิดมาใช้เป็ นวัตถุดิบหรือนำมาผ่านกรรมวิธีการผลิตทาง
อุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดเป็ นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ ส่วนโรงงานจัดการ
ของเสียขั้นปลาย ได้แก่ โรงงานที่บำบัดของเสียหรือน้ำเสียด้วยวิธีทาง
กายภาพ ชีวภาพ หรือเคมีรวมถึงการกำจัดของเสียด้วยวิธีฝั งกลบ
16

แหล่งกำเนิดของกากอุตสาหกรรม
การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของ
ประเทศไทย เกิดจากการลงทุนทั้งภายในและจากภายนอกประเทศ ได้ส่ง
ผลให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดกากอุตสาหกรรมมากขึ้น กาก
อุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจการอุตสาหกรรม
ในประเทศและจากต่างประเทศ
1)กากอุตสาหกรรมที่เกิดจากกิจการอุตสาหกรรมใน
ประเทศ กาอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็ นกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจาก
โรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ มีทั้งกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็ นอันตราย
17

และที่เป็นอันตราย ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากกิจกรรมหรือขั้นตอนต่าง ๆ ใน
กระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งกากอุตสาหกรรมทั้งสอง
ประเภทล้วนต้องมีการจัดการด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ถ้า
ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น มีการลักลอบทิ้งกาก
อุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมตามสถานที่รกร้างหรือ
ถูกทิ้งปะปนไปกับขยะมูลฝอยชุมชน อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อ
สุขภาพโดยตรง หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญและเกิดความเดือดร้อนต่อ
ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งเกิดการปนเปื้ อนสู่สิ่งแวดล้อม ส่ง
ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของ
ประชาชน ดังปรากฏเรื่องร้องเรียนเป็ นข่าวตามสื่อต่าง ๆ ตลอดว่ามีการ
ลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมที่เป็ นอันตรายในพื้นที่รกร้างว่างเปล่าในบาง
พื้นที่ของประเทศ เช่น ในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเกิดการร้องเรียนมาก
ที่สุด โดยเฉพาะในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง และจังหวัด
ชลบุรี นอกจากนั้น ยังมีกรณีที่โรงงานรับกำจัดกากอุตสาหกรรม ที่เป็ น
อันตรายไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เป็ นเหตุให้เกิดการรั่ว
ไหลของกากอุตสาหกรรม ที่เป็ นอันตรายต่าง ๆ ออกจากโรงงาน
อุตสาหกรรม ก่อปั ญหารบกวนและส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัย
ใกล้เคียง รวมทั้งมีการปนเปื้ อนของสารพิษจากกากอุตสาหกรรมต่อแหล่ง
น้ำสาธารณะจนเป็ นเหตุให้ประชาชนไม่สามารถใช้น้ำในแหล่งน้ำนั้นได้
นอกจากนั้น การแก้ไขปัญหากากอุตสาหกรรมที่ถูกนำมาลักลอบทิ้งในพื้นที่
ต่าง ๆ ก็มีความล่าช้าจนก่อความเดือดร้อนต่อประชาชน ซึ่งบ่งชี้ถึงการ
พัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่สมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อัน
จะนำไปสู่การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน
กากอุตสาหกรรมจากกิจกรรมทั้งหมดภายในบริเวณโรงงาน
และกิจกรรมสนับสนุนการผลิตซึ่งอาจมีคุณสมบัติที่ไม่เป็ นอันตรายหรือที่
เป็ นอันตราย และต้องกำจัดหรือจำหน่ายเป็ นผลพลอยได้ หรือเป็ นวัสดุ
รีไซเคิลไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นได้ เช่น กากชานอ้อยถูก
จำหน่ายเพื่อนำไปเป็ นเชื้อเพลิงทดแทนหรือตะกรันหลอมทองแดง ถูก
จำหน่ายเพื่อนำไปเป็ นวัตถุดิบทดแทน เป็ นต้น ทั้งนี้ กากอุตสาหกรรม
เป็ นสิ่งที่ต้องเกิดจากกระบวนการผลิตแต่สามารถควบคุมหรือดำเนิน
การลดไม่ให้มีปริมาณมากได้ด้วยการบริหารจัดการที่ดี เช่นเดียวกับกาก
อุตสาหกรรมที่เป็ นอันตราย ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกที่จะใช้วัตถุดิบ
18

หรือสารตั้งต้นในการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายมาทดแทนสารที่เป็ น
อันตรายในกระบวนการผลิตได้
2) กากอุตสาหกรรมที่มีการนำเข้าและการลักลอบนำเข้าจาก
ต่างประเทศ
กากอุตสาหกรรมในประเทศไทยส่วนหนึ่งมีการนำเข้าและการ
ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ
เพื่อนำมาใช้เป็ นวัตถุดิบในธุรกิจอุตสาหกรรม เช่น เศษเหล็ก เศษทองแดง
เศษทองเหลืองและเศษอลูมิเนียม ในส่วนของกากอุตสาหกรรมที่เป็ น
อันตรายที่มีการนำเข้าและการลักลอบนำเข้า ได้แก่ เศษพลาสติกบางชนิด
และซากอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้ว ซึ่งกาก
อุตสาหกรรมเหล่านี้ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ในกระบวนการผลิตของโรงงาน
อุตสาหกรรมบางประเภทอันจะก่อให้เกิดกากอุตสาหกรรมขึ้นอีกส่วน
หนึ่ง ทั้งกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็ นอันตรายและที่เป็ นอันตราย
ปั จจุบันมีกฎหมายระหว่างประเทศ (อนุสัญญาบาเซล)
ควบคุมการนำเข้าและส่งออกสำหรับประเทศที่เป็ นภาคี โดยหลักการ
จัดการกากอุตสาหกรรมที่เป็ นอันตราย ควรถูกจัดการหรือกำจัดอย่างถูก
หลักวิชาการภายในประเทศที่เป็ นแหล่งกำเนิดเท่านั้น ยกเว้นแต่ประเทศ
ที่เป็ นแหล่งกำเนิดไม่มีขีดความสามารถหรืออุปกรณ์ที่จะกำจัดอย่างถูก
ต้อง ก็สามารถส่งไปยังประเทศที่เป็ นภาคีด้วยกันเพื่อการกำจัดอย่างถูก
หลักวิชาการได้ ในการส่งออกของกากอุตสาหกรรมที่เป็ นอันตรายรัฐ
ภาคีผู้ส่งออกต้องแจ้งและขอความยินยอมจากรัฐภาคีผู้นำเข้า และต้อง
มั่นใจว่าจะไม่มีอันตรายเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายและการกำจัดกาก
อุตสาหกรรมนั้น กากอุตสาหกรรมที่เคลื่อนย้ายต้องได้รับการบรรจุ
หีบห่อติดฉลากและขนส่งตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ รัฐภาคีมีหน้าที่ต้องออกกฎหมายเพื่อป้ องกันและลงโทษการเคลื่อน
ย้ายกากอุตสาหกรรมข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย และต้องรับกาก
อุตสาหกรรมกลับคืนเมื่อมีการเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรมข้ามแดนโดย
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หลักเกณฑ์และกำจัดกากอุตสาหกรรม
1. ผู้ประกอบกิจการกำจัดกากอุตสาหกรรมเองภายในโรงงาน
สามารถดำเนินการโดย
- การฝั งกลบ ให้ดําเนินการฝั งกลบ โดยจัดให้มีระบบกันซึม
ระบบการตรวจสอบการรั่วไหล ระบบระบายก๊าซ และระบบบําบัดน้ำเสีย
19

ตามความเหมาะสมของชนิดหรือประเภทของเสียนั้น ๆ ทั้งนี้ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจาก กรอ.
- การเผาของเสีย
- การเผาของเสียที่ไม่เป็ นอันตราย ให้เผาโดยควบคุมค่า
มาตรฐานของมลสารที่ระบายออกจากปล่องให้เป็ นไปตามประกาศ
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดมาตรฐาน
ควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน
๒๕๔๐
- ห้ามเผาของเสียที่เป็ นอันตราย เว้นแต่จะได้รับความเห็น
ชอบจาก กรอ.
- การจัดการวิธีอื่นๆ เช่น การหมักทําปุ๋ย การถมที่ การนํา
กลับไปใช้ประโยชน์อีก เป็ นต้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก กรอ.
2.ผู้ประกอบกิจการโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมโดยส่งไป
โรงงานรับกำจัดดำเนินการโรงงานต้องขออนุญาตนําของเสียออกนอก
บริเวณโรงงาน โดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับของเสีย วิธีการจัดการ และผู้
รับดําเนินการที่ได้รับอนุญาตจัดการกับของเสียนั้น ๆ โดยใช้แบบฟอร์ม
ของกรมโรงงาน เพื่อจําแนกวิธีการจัดการ และต้องได้รับอนุญาตจาก
กรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน จึงจะสามารถเคลื่อนย้ายของเสียออกไป
จัดการตามวิธีการที่ได้รับอนุญาต ในขั้นตอนการขนส่งกากของเสียมายัง
โรงงานจัดการกากอุตสาหกรรมนั้น หากเป็ นกากของเสียที่เป็ นอันตราย ผู้ที่
ได้รับมอบหมายให้เป็ นผู้ขนส่งกากของเสียอันตราย จะต้องได้รับอนุญาต
จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และต้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็ นตัวแทนขนส่ง
กากของเสียจากโรงงานผู้ก่อกำเนิดหรือโรงงานผู้ให้บริการจัดการกาก
อุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง และจะต้องใช้ใบกำกับการขนส่ง (Manifest)
กากของเสียอันตรายทุกครั้งด้วย
ปั จจัยที่ก่อให้เกิดการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม มีดังต่อไป
นี้
(๑) มีการผลิต การนำเข้าวัตถุดิบและสารเคมีเพื่อใช้ในภาค
อุตสาหกรรมมากขึ้นทุกปี
(๒) มีการย้ายฐานของโรงงานในกลุ่มเสี่ยงจากประเทศจีนมา
ตั้งยังประเทศไทยเป็ นจำนวนมาก
(๓) การเพิ่มขึ้นของโรงงานประเภท ๑๐๑, ๑๐๕ และ ๑๐๖
ทำให้ปริมาณกากอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น จึงมีความเสี่ยงต่อการจัดการที่ไม่ถูก
20

ต้องและอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่าง

(๔) ปริมาณกากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็ นอันตรายของประเทศ
เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า ๒ ล้านตัน/ปี
(๕) มีการลักลอบนำเข้ากากอุตสาหกรรมและขยะพลาสติก
(๖) เจ้าหน้าที่ไม่สามารถกำกับดูแล ตรวจสอบ สั่งการและ
ดำเนินคดีอย่างเคร่งครัดกับโรงงานอุตสาหกรรมและผู้นำเข้ากาก
อุตสาหกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม
การจัดการของเสียหรือกากอุตสาหกรรม ต้องเป็ นไปตามพ
ระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และกฎหมายต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้อง และกฎหมายเหล่านั้นถูกบังคับใช้โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการกากอุตสาหกรรมหลายหน่วยงาน
หน่วยงานหลัก คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวง
อุตสาหกรรม และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีขอบเขตและความ
รับผิดชอบ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม
1. กรุงเทพมหานคร - หน่วยงานท้องถิ่น
ควบคุมกิจการที่เป็ นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติ
การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
- กำกับการประกอบการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ตรวจสอบสถานประกอบการและการจัดการสิ่งปฏิกูล
และวัสดุที่ไม่ใช้แล้วให้เป็ นไป ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับโรงงานที่ก่อให้เกิด
กากของเสีย
- ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการกากของเสีย
- ลดอุปสรรคการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
กากของเสียและสร้างเครือข่ายการเฝ้ าระวังการลักลอบทิ้งกากของเสีย
2. กรมโรงงานอุตสาหกรรม - สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูลหรือ
วัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่ง
ปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๔๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และผู้
21

ประกอบการที่มีของเสียเคมีตามบัญชี ข ท้ายประกาศกระทรวง
อุตสาหกรรมเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ดังนี้
- กำกับดูแลการจัดการกากอุตสาหกรรมของสถาน
ประกอบการให้เป็ นไปตามกฎหมาย
- การให้อนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอก
บริเวณโรงงาน
- การแต่งตั้งตัวแทนผู้รวบรวมและขนส่งกาก
อุตสาหกรรม และออกเลขประจำตัวผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการ
กากอุตสาหกรรม การตรวจสอบกำกับดูแล และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ตามกฎหมายวัตถุอันตรายและตามอนุสัญญาบาเซลและพิธีสารต่าง ๆที่
เกี่ยวข้องกับของเสียอันตราย
- การตรวจสอบวิธีการและผู้รับจัดการกากอุตสาหกรรม
- ตรวจสอบผู้รับดำเนินการขนส่ง และใบกำกับการขนส่ง
กากอุตสาหกรรม
- การลดอุปสรรคการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวกับ
กากอุตสาหกรรม
- การสร้างเครือข่ายการเฝ้ าระวังการลักลอบทิ้งกาก
อุตสาหกรรม
- การตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับโรงงานที่ก่อให้
เกิดกากอุตสาหกรรม

3. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - สำนักงานการนิคม
อุตสาหกรรม
กำกับดูแลการจัดการกากอุตสาหกรรมของสถานประกอบ
การอุตสาหกรรมของโรงงานที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
- ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และวิธีการที่
กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและวัสดุที่ไม่
ใช้แล้ว
- ให้ผู้ประกอบการจัดให้มีระบบและการจัดการด้านสิ่ง
แวดล้อม การป้ องกัน และบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม
- ให้ผู้ประกอบการรายงานประจำปี เกี่ยวกับสิ่งปฏิกูลและ
วัสดุที่ไม่ใช้แล้วให้แก่สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมที่โรงงานนั้นตั้งอยู่
ภายในวันที่ ๑ เมษายนของปี ถัดไป
22

กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรม
1.กฎและข้อบังคับที่ออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.
๒๕๓๕ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม ประกอบ
ด้วย
กฎกระทรวง
กฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕) และฉบับที่ ๒๒
(พ.ศ. ๒๕๕๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
๑. เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการ
ควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ หรือสิ่งใดที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กำหนดคุณสมบัติของผู้ควบคุมดูแล ผู้ปฏิบัติงานประจำและหลักเกณฑ์
การขอขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแล สำหรับระบบป้ องกันสิ่งแวดล้อมเป็ น
พิษ พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔
๒. เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ.
๒๕๔๘
๓. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การแจ้งรายละเอียดเกี่ยว
กับสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว ออกนอกโรงงานโดยทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Internet) พ.ศ. ๒๕๔๗
๔. เรื่อง ยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่
ใช้แล้วที่ไม่เป็ นของเสียอันตรายออกนอกบริเวณโรงงาน พ.ศ.๒๕๖๑
ประกาศ/ระเบียบ กรมโรงงานอุตสาหกรรม
๕. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการแต่งตั้งตัวแทน เพื่อ
เป็ นผู้รวบรวมและขนส่งของเสียอันตราย ตามประกาศกระทรวง
อุตสาหกรรมเรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๔๘
๖. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการ
สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของผู้ประกอบกิจการบำบัดและกำจัดสิ่ง
ปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๕๐
๗. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสิ่ง
ปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๕๑
๘. เรื่อง การรับรองผู้รับบำบัดและกำจัดฯ เพื่อการขอ
อนุญาตและอนุญาตแบบอัตโนมัติผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๑
23

๙. เรื่อง กำหนดรหัสของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
สำหรับการขออนุญาตและอนุญาตแบบอัตโนมัติผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๑
๑๐. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาตและ
อนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และแบบอัตโนมัติผ่านระบบฯ พ.ศ.
๒๕๖๑
นอกจากพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วยังมี
กฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องอีก เช่น
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้
แล้ว พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้มีการกำหนดว่า
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
“สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” หมายความว่า สิ่งของที่ไม่ใช้
แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น จากการประกอบกิจการโรงงาน รวมถึง
ของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็ น
ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และน้ำทิ้งที่มีองค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่
เป็ นอันตราย
“ของเสียอันตราย” หมายความว่า สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้
แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้ อน สารอันตราย หรือมีคุณสมบัติที่เป็ น
อันตราย ตามที่กําหนดในภาคผนวกที่ ๒ ท้ายประกาศนี้
“การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” หมายความว่า กา
รบําบัด ทําลายฤทธิ์ ทิ้ง กําจัด จําหน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยน หรือนํากลับ
ไปใช้ประโยชน์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการกักเก็บไว้ เพื่อทําการดัง
กล่าว
“ผู้ก่อกําเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” หมายความว่า ผู้
ประกอบกิจการโรงงานที่ก่อให้เกิดและมีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไว้ใน
ครอบครอง
“ผู้รวบรวมและขนส่ง” หมายความว่า ผู้มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุ
ที่ไม่ใช้แล้วไว้ในครอบครอง เพื่อการขนส่ง และผู้มีไว้ในครอบครองสิ่ง
ปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในสถานที่เก็บรวบรวม หรือขนถ่ายสิ่งปฏิกูลหรือ
วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
“ผู้บําบัดและกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว”
หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
ไว้ในครอบครอง ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสา
24

รกํากับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. ๒๕๔๗ และโรงงานประกอบ


กิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝั งกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตาม
ประเภทหรือชนิดของโรงงาน
2. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕
กรณีพบปั ญหาที่เกิดจากการการลักลอบทิ้งกากของเสีย
อันตรายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว
ซึ่งเข้าข่ายเป็ นกากอุตสาหกรรมที่ทิ้งอยู่เป็ นของเสีย จะดำเนินการ
ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมีสาระสำคัญ คือ วัตถุ
อันตรายบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงแก่บุคคล สัตว์พืช
ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมได้ แม้ว่าจะมีกฎหมายของหน่วยงานต่าง ๆ
มีการบังคับใช้ควบคุมอยู่บ้างก็ตามแต่ก็ไม่ครอบคลุมเพียงพอ จึงได้
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมวัตถุอันตรายให้เหมาะสมยิ่ง
ขึ้น พร้อมกับจัดระบบบริหารให้มีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงาน
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ความหมาย
มาตรา ๔ “วัตถุอันตราย” หมายความว่า วัตถุดังต่อไปนี้
(๑) วัตถุระเบิดได้
(๒) วัตถุไวไฟ
(๓) วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซด์
(๔) วัตถุมีพิษ
(๕) วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
(๖) วัตถุกัมมันตรังสี
(๗) วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
(๘) วัตถุกัดกร่อน
(๙) วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
(๑๐) วัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็ นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใด ที่อาจ
ทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม
ผลิต หมายความว่า ทำ เพาะ ปรุง ผสม แปรสภาพ ปรุงแต่ง
แบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุ
นำเข้า หมายความว่า นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่ง
วัตถุอันตราย
ส่งออก หมายความว่า ส่งหรือดำเนินการเพื่อส่งออกไปนอก
ราชอาณาจักรซึ่งวัตถุอันตราย
25

นำผ่าน หมายความว่า นำหรือส่งวัตถุอันตรายผ่านราช


อาณาจักรโดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการขนส่งอยู่นอกราช
อาณาจักร ไม่ว่าจะมีการขนถ่ายหรือเปลี่ยนพาหนะหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้
จะต้องไม่มีการใช้ประโยชน์ใด ๆ หรือมีพฤติกรรมใด ๆ เพื่อประโยชน์
ทางการค้าเกี่ยวกับวัตถุอันตรายดังกล่าวในราชอาณาจักร
นำกลับเข้ามา หมายความว่า นำวัตถุอันตรายที่ส่งออกไป
นอกราชอาณาจักรกลับเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สภาพวัตถุอันตราย
ส่งกลับออกไป หมายความว่า ส่งวัตถุอันตรายที่นำเข้ามา
ในราชอาณาจักรออกไปนอกราชอาณาจักร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
สภาพวัตถุอันตราย
การควบคุมวัตถุอันตราย
มาตรา ๑๘ วัตถุอันตรายแบ่งออกตามความจำเป็ นแก่การ
ควบคุม เป็ น ๔ ชนิด คือ
๑. วัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต
การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องปฏิบัติตามหลัก
เกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
๒. วัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต
การนำเข้า การส่งออก หรือ การมีไว้ในครอบครอง ต้องแจ้งให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ทราบก่อน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
๓. วัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต
การนำเข้า การส่งออก หรือ การมีไว้ในครอบครองต้องได้รับใบอนุญาต
๔. วัตถุอันตรายชนิดที่ ๔ ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการ
ผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่านหรือการมีไว้ในครอบครอง
มาตรา ๒๑ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบ
ครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ ต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับ
ผิดชอบที่ออกตามมาตรา ๒๐ (๑) (๑/๑) (๒) และ (๓)
มาตรา ๒๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๓๖ ห้ามผู้ใดผลิต นำ
เข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ เว้นแต่จะได้
แจ้งความประสงค์จะดำเนินการดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน
เมื่อได้มีประกาศระบุวัตถุใดเป็ นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า
ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง แจ้งการดำเนินการของตนที่กระทำอยู่
ในขณะนั้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในเวลาที่กำหนดในประกาศดัง
26

กล่าว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้


พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับแจ้งเพื่อเป็ นหลักฐานการแจ้งให้แก่ผู้แจ้ง
โดยใบรับแจ้งให้ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบรับแจ้งระยะเวลาที่
กำหนดต้องไม่เกินสามปี นับแต่วันที่ออกใบรับแจ้ง การแจ้ง การออกใบรับ
แจ้ง การขอต่ออายุ และการต่ออายุใบรับแจ้ง ให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุ
เบกษา ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย
ชนิดที่ ๒ ต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบที่ออกตาม
มาตรา ๒๐ (๑) (๑/๑) (๒) และ (๓) ด้วย
มาตรา ๒๓ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๓๖ ห้ามมิให้ผู้ใด
ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือ มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ เว้น
แต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
การขออนุญาต และการอนุญาตให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยในกฎกระทรวงดังกล่าวให้กำหนดกรณี
ที่พึงอนุญาตได้ และกรณีที่จะอนุญาตไม่ได้ไว้ให้ชัดเจนเท่าที่จะกระทำได้ เว้น
แต่กรณีจำเป็นที่ไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้าและให้กำหนดระยะเวลาสำหรับ
การพิจารณาอนุญาตให้ชัดเจนด้วย
ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุ
อันตรายชนิดที่ ๓ ต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบที่
ออกตามมาตรา ๒๐ (๑) (๒) และ (๓) นั้นด้วย
มาตรา ๓๘ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับขึ้นทะเบียนวัตถุ
อันตรายเมื่อคณะกรรมการเห็นว่า (๑) วัตถุอันตรายที่ขอขึ้นทะเบียนไม่เป็ น
ที่เชื่อถือได้ว่ามีคุณประโยชน์ตามที่ขอขึ้นทะเบียนไว้ หรือหากนำมาใช้แล้ว
อาจเกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อม โดยไม่มีวิธีปกติ
ตามควรที่จะป้องกันได้ (๒) วัตถุอันตราย ที่ขอขึ้นทะเบียนใช้ชื่อในทำนอง
โอ้อวด ไม่สุภาพ หรืออาจทำให้เข้าใจผิดจากความเป็ นจริง หรือ (๓) วัตถุ
อันตราย ที่ขอขึ้นทะเบียนเป็ นวัตถุอันตรายปลอม หรือเป็ นวัตถุอันตรายที่
พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนทะเบียนแล้ว
มาตรา ๔๓ ห้ามผู้ใดผลิต นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่ง
วัตถุอันตรายชนิดที่ ๔ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากหน่วยงานผู้รับ
ผิดชอบเฉพาะกรณีเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติ
การ การขออนุญาต การอนุญาต ให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ
เงื่อนไขที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกำหนดโดยความเห็นของคณะกรรมการ
27

โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรมได้ประกาศระบุวัตถุใดเป็ นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๔ ให้ผู้ผลิต
ผู้นำเข้า หรือผู้มีไว้ในครอบครองปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่
และให้นำมาตรา ๔๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๕ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบ
ครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ วัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ หรือวัตถุอันตราย
ชนิดที่ ๓ ดังต่อไปนี้
(๑) วัตถุอันตรายปลอม
(๒) วัตถุอันตรายผิดมาตรฐาน
(๓) วัตถุอันตรายเสื่อมคุณภาพ
(๔) วัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้
(๕) วัตถุอันตรายที่ถูกสั่งเพิกถอนทะเบียน
มาตรา ๕๒ เมื่อปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้ผลิต ผู้นำเข้า
ผู้ส่งออก ผู้นำผ่าน ผู้นำกลับเข้ามา ผู้ส่งกลับออกไป หรือผู้มีไว้ในครอบ
ครองซึ่งวัตถุอันตรายผู้ใดฝ่ าฝื นหรือไม่ปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัตินี้ให้
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการกระทำที่ฝ่ าฝื น หรือแก้ไข
หรือปรับปรุง หรือปฏิบัติให้ถูกต้องได้ในการนี้ หากเป็ นกรณีมีเหตุอัน
สมควร พนักงานเจ้าหน้าที่ จะสั่งให้ผู้นั้นส่งออกไปซึ่งวัตถุอันตรายนั้น
เพื่อคืนให้แก่ผู้ผลิตหรือผู้จัดส่งวัตถุอันตรายนั้น หรือเพื่อการอื่นตาม
ความเหมาะสมก็ได้ โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่
หน่วยงานผู้รับผิดชอบกำหนดโดยความเห็นของคณะกรรมการ
เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าปรากฏว่าผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่ง
ออก ผู้นำผ่าน ผู้นำกลับเข้ามา ผู้ส่งกลับออกไป หรือผู้มีไว้ในครอบครอง
ซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติให้ถูกต้องได้ไม่ว่าเพราะไม่มี
ความสามารถหรือเพราะเหตุอื่นใด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้
บุคคลดังกล่าวส่งมอบวัตถุอันตรายนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่
ที่กำหนด เพื่อทำลายหรือจัดการตามควรแก่กรณี โดยคำนึงถึงอันตราย
ที่อาจเกิดขึ้นจากวัตถุอันตรายดังกล่าวด้วย
มาตรา ๕๒/๑ เมื่อปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้ผลิต
ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ประกอบกิจการ
อันมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อนแก่
บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในสถานประกอบการหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับสถาน
ประกอบการ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นดำเนินการแก้ไข
28

การกระทำดังกล่าว โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่
พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด
หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง
มาตรา ๖๓ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขนส่ง ผู้นำผ่าน ผู้นำกลับเข้ามา
ผู้ส่งกลับออกไป หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายต้องรับผิดชอบ
เพื่อการเสียหายอันเกิดแต่วัตถุอันตรายที่อยู่ในความครอบครองของตน
เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะ
ความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง
มาตรา ๖๔ ผู้ขายหรือผู้ส่งมอบวัตถุอันตรายให้กับบุคคลใด
ต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายของบุคคลดังกล่าวอันเกิดแต่วัตถุอันตราย
นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิด
เพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง

มาตรา ๖๗ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่วัตถุอันตราย
ตามพระราชบัญญัตินี้ เป็ นอันขาดอายุความเมื่อพ้นสามปี นับแต่วันที่ผู้
ต้องเสียหายรู้ถึงการเสียหายความเป็ นวัตถุอันตราย และผู้พึงต้องใช้ค่า
สินไหมทดแทน ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนที่พึงจ่าย
ระหว่างผู้ที่เข้าใจกันว่าต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนและผู้มีสิทธิได้ค่า
สินไหมทดแทน ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่จนกว่าจะปรากฏว่าการเจรจา
นั้นไม่อาจตกลงกันได้
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่วัตถุอันตรายก่อให้เกิดความเสียหายแก่
บุคคล สัตว์ พืช หรือ สิ่งแวดล้อม ถ้ารัฐได้รับความเสียหายเพราะต้อง
เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าช่วยเหลือ เคลื่อนย้าย บำบัด บรรเทา หรือขจัด
ความเสียหายให้เกิดการคืนสู่สภาพเดิมหรือสภาพที่ใกล้เคียงกับสภาพ
เดิม หรือเป็ นความเสียหายต่อทรัพย์ไม่มีเจ้าของ หรือ
ทรัพยากรธรรมชาติ หรือเป็ นความเสียหายต่อทรัพย์สินของแผ่นดิน เมื่อ
ได้รับคำร้องขอจากหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบวัตถุอันตราย
ดังกล่าวให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้ องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความ
เสียหายของรัฐดังกล่าวได้
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๗๐/๒ ผู้ใดนำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑ โดยไม่ปฏิบัติ
ตามมาตรา ๒๐/๒ วรรคหนึ่งหรือวรรคหก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหก
29

เดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ผู้ใดนำผ่านวัตถุ


อันตรายชนิดที่ ๒ โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐/๒ วรรคหนึ่งหรือวรรคหก
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ ผู้ใดนำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐/๒
วรรคสองหรือวรรคหก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่
เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดนำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ ๔
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ
มาตรา ๗๒ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติ
ตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง หรือตามมาตรา ๒๓ วรรคสาม ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗๓ ผู้ใดฝ่ าฝื นมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้ง
จำทั้งปรับ
มาตรา ๘๙ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับ
สถานเดียว หรือเป็ นความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี เว้นแต่ความผิด
ตามมาตรา ๗๔ วรรคสอง ให้คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบได้และ
เมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายใน
สามสิบวันนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดได้รับแจ้งให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรจะแต่งตั้งคณะ
อนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจเปรียบเทียบก็ได้ ทั้งนี้
การเปรียบเทียบให้เป็ นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ
กำหนด
ในกรณีที่มีการยึดหรืออายัดของกลางที่เกี่ยวข้องกับการกระ
ทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง
หรือวรรคสองจะเปรียบเทียบได้

ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อผู้กระทำความผิด
ยินยอมและได้แก้ไขของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ให้ถูกต้อง
30

(๒) ในกรณีที่ไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อผู้กระทำความ


ผิดยินยอมให้ของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ตกเป็ นของหน่วยงานที่รับผิด
ชอบควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้ยินยอมให้เปรียบเทียบได้แก้ไขของกลางให้ถูกต้อง
แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถอนการอายัดของกลางนั้นเสีย บรรดาสิ่งของ
ที่ตกเป็ นของหน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าวให้
จัดการตามระเบียบที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกำหนด
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรมที่ออก
ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกอบด้วย
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
๑. การขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายที่
กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
๒. การขนส่งวัตถุอันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิด
ชอบ พ.ศ. ๒๕๕๘
๓. การขึ้นทะเบียนภาชนะบรรจุที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายที่กรม
โรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๕๘
๔. การกำหนดให้สถานประกอบการวัตถุอันตรายมีบุคลากร
เฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัย การเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่กรมโรงงาน
อุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๕๑
๕. ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสีย พ.ศ. ๒๕๔๗
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม
หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะการจดทะเบียน
บุคลากรเฉพาะรับผิดชอบ ความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่
กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบและการรายงานความปลอดภัยการเก็บ
รักษาวัตถุอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๒
นอกจากพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ. ๒๕๓๕ แล้วยังมี
กฎหมายฉบับอื่นที่เกี่ยวข้องอีก เช่น
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุ
อันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖
ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้เป็ นหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการ
ควบคุมวัตถุอันตราย ให้เป็ นไปตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.
๒๕๓๕
31

(๑) กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตราย
ตามบัญชี ๑ ท้ายประกาศนี้
(๒) กรมประมงรับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายตาม
บัญชี ๒ ท้ายประกาศนี้
(๓) กรมปศุสัตว์รับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตรายตาม
บัญชี ๓ ท้ายประกาศนี้
(๔) สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบในการ
ควบคุมวัตถุอันตรายตามบัญชี ๔ ท้ายประกาศนี้

(๕) กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบในการควบคุมวัตถุ
อันตรายตามบัญชี ๕ ท้ายประกาศนี้
(๖) กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบในการควบคุมวัตถุอันตราย
ตามบัญชี ๖ ท้ายประกาศนี้
ข้อ ๕ ให้ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุ
อันตรายตามข้อ ๒ ที่ได้ดําเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อนวันที่
ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ แจ้งการดําเนินการสําหรับวัตถุอันตรายชนิดที่
๒ หรือยื่นคําขออนุญาตสําหรับวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ภายในกําหนดสามสิบ
วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ และถ้าวัตถุอันตรายใดจะต้อง
ขึ้นทะเบียน ก็ให้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนภายในกําหนดเวลาดังกล่าวด้วย
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การเก็บรักษาวัตถุ
อันตรายที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๑
“วัตถุอันตราย” หมายความวา วัตถุอันตรายที่กรมโรงงาน
อุตสาหกรรมเปนผูรับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ออก
ตามความในมาตรา ๑๘ วรรคสอง แหงพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.
๒๕๓๕
“ผูประกอบการวัตถุอันตราย” หมายความวา ผูผลิต ผูนําเข้า
ผูสงออก หรือผูมีไวในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย
“สถานที่เก็บรักษา” หมายความวา อาคารคลังสินค้าที่ใชสําห
รับเก็บรักษาวัตถุอันตราย
“การเก็บรักษา” หมายความวา การเก็บรักษาวัตถุอันตรายทั้ง
ในและนอกสถานที่เก็บรักษา ทั้งนี้ไมรวมถึงการเก็บรักษาในแท็งก (Tank)
32

ไซโล (Silo) และภาชนะบรรจุกาซเหลวเย็นจัด (Portable/Bulk


Container Cryogenic liquefied gas or refrigerated liquefied gas)
“การจําแนกประเภทวัตถุอันตรายสําหรับการเก็บรักษา”
หมายความวา การจัดประเภทวัตถุอันตรายตามลักษณะทางกายภาพ
เคมี หรืออันตรายอื่นที่อาจเกิดขึ้น เพื่อใชในการจัดเก็บวัตถุอันตราย
อยางปลอดภัย
“มาตรการการปองกัน” หมายความวา การดําเนินการเพื่อ
ปองกันอันตรายที่อาจเกิดจากการเก็บ รักษา ประกอบดวยการดําเนินกา
รด้านตาง ๆ เชน การจัดการด้านสุขศาสตร คําแนะนําวิธีการปฏิบัติงาน
การฝกอบรม และการจัดการเมื่อเกิดการหกรั่วไหล เปนต้น
ข้อ ๒ ใหผูประกอบการวัตถุอันตรายดําเนินการด้านความ
ปลอดภัยเกี่ยวกับการเก็บรักษาวัตถุอันตรายในเรื่องสถานที่เก็บรักษา
การจําแนกประเภทวัตถุอันตรายสําหรับการเก็บรักษามาตรการ
การปองกัน ข้อกําหนดพิเศษ และการเก็บรักษาวัตถุอันตราย
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจวัตถุอันตราย
๑. ผู้ประกอบการ เมื่อได้มีการประกาศในราชกิจจานุ
เบกษาระบุชื่อวัตถุอันตรายเป็ นชนิดที่ ๒ และชนิดที่ ๓ แล้ว ผู้ประกอบการ
ผลิต นำเข้า ส่งออกและมีไว้ในครอบครอง ต้องมาขอรับใบสำคัญการขึ้น
ทะเบียนวัตถุอันตราย ถ้าเป็ นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๒ ต้องมาแจ้งและถ้าเป็ น
วัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ต้องมาขอรับใบอนุญาต โดยใบสำคัญการขึ้น
ทะเบียนสามารถใช้ได้ตลอดไป ไม่มีการกำหนดระยะเวลาอายุเอาไว้
สำหรับใบอนุญาตมีระยะเวลา ๓ ปีโดยสามารถต่อใบอนุญาตได้ครั้งละ ๓ ปี
และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี (มาตรา ๒๑ ๒๒ , ๒๓ , ๒๔)
๒. ผู้ผลิตวัตถุอันตราย ต้องระมัดระวังในการจัดหาวัตถุที่ใช้
ในการผลิต การกำหนดวิธีการและขั้นตอนที่วางใจได้ของการผลิต การจัด
ให้มีภาชนะบรรจุที่มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยต่อการใช้ การเคลื่อนย้าย
และการขนส่ง การจัดให้มีฉลากที่แสดงภาพอันตรายของสิ่งนั้นที่ชัดเจนเพียง
พอความเหมาะสมของการเก็บรักษาและการตรวจสอบความเหมาะสมของ
ผู้ที่รับมอบวัตถุอันตรายไปจากตน หรือผู้ที่อาจคาดหมายได้ว่าอาจจะได้
รับมอบวัตถุอันตรายดังกล่าว (มาตรา ๕๙)
๓. ผู้นำเข้าวัตถุอันตราย ต้องระมัดระวังในการเลือกหาผู้
ผลิต การตรวจสอบคุณภาพของวัตถุอันตรายการตรวจสอบความถูก
ต้องของภาชนะบรรจุและฉลาก การเลือกวิธีการขนส่งและผู้ขนส่ง ความ
33

เหมาะสมของการเก็บรักษาและการตรวจสอบความเหมาะสมของผู้ที่รับ
มอบวัตถุอันตรายไปจากตนหรือผู้ที่อาจคาดหมายได้ว่าอาจจะได้รับมอบ
วัตถุอันตรายดังกล่าว (มาตรา ๖๐)
๔. ผู้ขนส่ง ต้องระมัดระวังในการตรวจสอบความถูกต้องของสิ่ง
ที่ใช้ในการขนส่งหรือยานพาหนะ และอุปกรณ์ความถูกต้องของภาชนะ
บรรจุฉลากความเหมาะสมของวิธีการขนส่งความถูกต้องของ การจัดวาง
ขนยานพาหนะและความไว้วางใจได้ของลูกจ้างหรือผู้จัดทำการงานให้แก่
ตนหรือร่วมกับตน (มาตรา ๖๑)
การพิจารณาจัดชนิดวัตถุอันตราย
มีอนุสัญญาและพิธีสารหลายฉบับที่เกี่ยวข้องในการติดตาม
และกำกับดูแลการใช้สารเคมีวัตถุอันตรายในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่
- อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีและความมั่นคงด้านสารเคมี และ
พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์
พ.ศ. ๒๕๓๐
- อนุสัญญาบาเซล (การเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามแดน)
- พิธีสารเกียวโต (Climate change)
- พิธีสารมอนทรีออล (สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน)
- อนุสัญญารอตเตอร์ดัม (PICs: สารเคมีป้ องกันและกำจัดศัตรู
พืชป้ องกันและกำจัดศัตรูพืช)
- อนุสัญญาสตอกโฮล์ม (POPs: สารพิษตกค้างยาวนาน)
- อนุสัญญาต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด
บทสรุป
ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ
ประเทศ การที่ภาคอุตสาหกรรมเกิดการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงส่ง
ผลให้เกิดกากอุตสาหกรรมที่เป็นผลพลอยได้ของการผลิตอุตสาหกรรม ฉะนั้น
จึงจำเป็ นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง เพื่อ
ให้สามารถจัดการและแก้ไขปั ญหากากอุตสาหกรรมอย่างรอบด้าน ซึ่งทั้ง
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.๒๕๓๕ และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.
๒๕๓๕ มีส่วนสำคัญในการดูแลเรื่องการจัดการกากอุตสาหกรรม ดังนั้น
จึงต้องมีการกำหนดแนวทาง การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่ภาครัฐต้องมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน
ผลักดันหรือปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกาก
อุตสาหกรรมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปั จจุบัน ซึ่งจะ
34

ช่วยให้สามารถกำกับ ติดตาม ตั้งแต่ผู้กำเนิดกากอุตสาหกรรม ผู้ขนส่ง


และผู้บำบัด/กำจัดกากอุตสาหกรรมได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่ง
ปั ญหาการจัดการกากอุตสาหกรรมจำเป็ นต้องได้รับการจัดการที่เข้มงวด
ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทและข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย
เฉพาะกากอุตสาหกรรมที่เป็ นอันตรายที่มีเงื่อนไขในการติดตามตั้งแต่
แหล่งกำเนิด ระบบเอกสารกำกับ การขนส่งของเสียอันตราย รวมถึงการ
บำบัด ซึ่งไม่เพียงกำหนดคุณสมบัติในการรับเข้าบำบัดแล้ว ยังต้องมี
การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการกำจัดอย่างเหมาะสมด้วย สำหรับกาก
อุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย แม้จะไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับในการดำเนิน
การมากเท่ากากอุตสาหกรรมที่เป็ นอันตราย แต่ก็มีความจำเป็ นที่จะต้อง
ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เหมาะสม รวมถึงมีการบริหารจัดการพื้นที่กำจัดอย่าง
รัดกุมและปลอดภัย เพราะมีโอกาสที่จะเกิดการปนเปื้ อนในสิ่งแวดล้อม
หรือเป็ นสาเหตุให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน โรงงานหลายแห่งใน
ประเทศไทยมีการกักเก็บของเสียอุตสาหกรรมปริมาณมากไว้ในโรงงาน
โดยผิดรูปแบบ ผิดกรรมวิธีและไม่เหมาะสม เช่น มีการเก็บไว้ในบรรจุ
ภัณฑ์ที่ไม่ปิ ดมิดชิด ทำให้ของเสียเกิดการรั่วกระจายบนพื้นโรงงาน หรือ
การกักเก็บของเสียโดยขาดซึ่งมาตรการความปลอดภัยที่รัดกุม ประมาท
เลินเล่อจนทำให้เกิดอุบัติภัย เช่น เพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมี หรือสารเคมี
เกิดการรั่วไหล เป็ นต้น นอกจากนั้น โรงงานบางแห่งยังมีการฝั งหรือถม
ของเสียลงใต้พื้นดินของโรงงานเอง ทุกวันนี้มีโรงงานคัดแยก ฝั งกลบ
กำจัด และรีไซเคิลของเสียหลายแห่งที่ประกอบกิจการโดยไม่ได้มี
มาตรการป้ องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่รัดกุมปลอดภัย เช่น มีการ
ฝั งกลบของเสียอุตสาหกรรมโดยไม่ปรับเสถียร ทำให้ไม่สามารถป้ องกัน
การการรั่วซึมจากหลุมฝั งกลบสู่ชั้นน้ำใต้ดิน การเผาของเสียอันตรายในที่
โล่งแจ้ง เป็ นต้น ซึ่งทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องก็ได้มีการปรับปรุงหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่าง
จริงจังกับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเป็ นขั้น
ตอน และให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสงค์จะปฏิบัติตาม
กฎหมายอย่างถูกต้อง การสร้างความร่วมมือและแรงจูงใจกับผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย เพื่อให้มีความตระหนักมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการ
จัดการกากอุตสาหกรรม และมีระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถ
รองรับปริมาณงานและใช้งานได้โดยสะดวก รวมทั้งเพิ่มรางวัลสินบนนำจับ
สำหรับประชาชนผู้แจ้งเบาะแส การสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐและ
35

เอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการ


เทคโนโลยี การจัดหาพื้นที่รองรับการจัดการกากอุตสาหกรรมใน
อนาคต และตรวจสอบการขนส่งกากอุตสาหกรรม และมีการแก้ไข
ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อเพิ่มบทลงโทษและหาตัวผู้กระทำผิด
มาลงโทษ เพราะการกระทำผิดในเรื่องของจัดการกากอุตสาหกรรมมี
ความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับซึ่งอาจจะถูกดำเนินคดีทั้งทาง
อาญาและทางแพ่ง และยังมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

บรรณานุกรม

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. คู่มือการดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐาน
การให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย.
กรุงเทพฯ : กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม, ๒๕๖๔.
คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “รายงานการ
พิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดการกาก
อุตสาหกรรม.”
https://www.senate.go.th/document/Ext ๒๗๑๔๒/๒๗๑๔๒๗๙๙_
๐๐๐๒.PDF
(สืบค้นเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๖).
ราชพฤกษ์วิศวกรรม. “ผู้ประกอบการต้องรู้ การขอใบอนุญาตประกอบ
กิจการโรงงาน.”
https://www.recndt.com/Article/Detail/๑๔๒๓๙๘ (สืบค้น
เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖).
อรพรรณ ปางแก้ว. “บทที่ ๓ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจ
วัตถุอันตราย.”
http://dspace.spu.ac.th/bitstream/
๑๒๓๔๕๖๗๘๙/๓๓๗๐/๗/๗ chap ๓.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่
๘พฤษภาคม ๒๕๖๖).
36

You might also like