You are on page 1of 7

แบบทดสอบการแข่งขันอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์

ข้อสอบมีทั้งหมด ๒๐ ข้อ แบ่งออกเป็น


๑. แบบปรนัย ๑๐ ข้อ (ข้อละ ๑ คะแนน)
๒. ความสามารถด้านทักษะวิทยาศาสตร์ ๑๐ ข้อ (ข้อละ ๑ คะแนน)
๓. โจทย์สถานการณ์ตามแนวทาง PISA ๒ ข้อ (ข้อละ ๑๐ คะแนน)

๑. นักเรียนควรปลูกพืชไว้ในห้องนอนหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ควร เพราะพืชมีการคายน้ำทำให้ห้องนอนชุ่มชื้น
ข. ไม่ควร เพราะพืชจะดูดความชื้นในอากาศ ท้าให้อากาศแห้ง
ค. ไม่ควร เพราะพืชดูดแก๊สออกซิเจนและเปลี่ยนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ง. ควร เพราะพืชช่วยดูดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และเปลี่ยนเป็นแก๊สออกซิเจน

๒. จากภาพวัตถุมวล ๑๐ กิโลกรัม วางบนพื้นขรุขระ ถ้ามีแรงกระทำต่อวัตถุดังรูป จงหาว่าแรงเสียดทานเป็น


เท่าไร และมีทิศทางตามแนวแรงใด ถ้าทำให้วัตถุเคลื่อนที่
8N 25 N

ก. 33 N มีทิศทางตามแนวแรง 25 N
ข. 17 N มีทิศทางตามแนวแรง 25 N
ค. 25 N มีทิศทางตามแนวแรง 25 N
ง. 8 N มีทิศทางตามแนวแรง 8 N

๓. จากการทดสอบหาปริมาณไอโอดีนในเกลืออนามัย ๔ ชนิด ได้ผลดังตาราง


ชนิดของเกลือ เมื่อหยดน้ำยาทีม่ ีน้ำแป้งจะ
ปรากฏสี
ก น้ำเงิน
ข น้ำเงินเข้ม
ค ไม่ปรากฏสี
ง สีฟ้า
คนที่แพ้อาหารทะเลควรเลือกเกลือชนิดใดมาปรุงอาหารเพื่อให้ร่างกายได้รับไอโอดีนมากที่สุด
ก. ก และ ข ข. ข และ ค ค. ค และ ง ง. ก และ ง
๔. ดาวเคราะห์ดวงใดเป็นดาวเคราะห์หินทั้งหมด
ก. ดาวศุกร์ ดาวอังคาร โลก
ข. ดาวพุธ ดาวเสาร์ ดาวอังคาร
ค. ดาวพฤหัส ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
ง. ดาวอังคาร โลก ดาวพฤหัส

๕. พืชสองชนิด A และ B ขึ้นในพื้นที่แห้งแล้งกึ่งทะเลทราย พืช A พบขึ้นทั่วไป แต่มีการเจริญเติบโตของ


ล้าต้นช้าและมีจำนวนใบน้อย ส่วนพืช B มีการเจริญเติบโตของลำต้นเร็วและมีจำนวนใบดกมาก แต่พบน้อย
มาก สมมติฐานใดต่อไปนี้ที่อธิบายปรากฏการณ์ข้างต้นได้ดีที่สุด
ก. รูปร่างของใบพืช B มีส่วนช่วยให้อยู่รอดได้ดีกว่าพืช A
ข. ขนาดและสีดอกของพืช B ทำให้มีโอกาสอยู่รอดได้มากกว่าพืช A
ค. ลำต้นที่เจริญช้าของพืช A ทำให้มีโอกาสอยู่รอดได้มากกว่าพืช B
ง. การเจริญของรากน้อยมากทำให้พืช A มีโอกาสอยู่รอดได้มากกว่าพืช B

๖. จากตารางต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ข้อ ตัวแปลงพลังงาน พลังงานที่เปลี่ยนแปลง
1 พัดลมไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน
2 ไดนาโม พลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า
3 เครื่องเป่าผม พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเสียง
4 ตะเกียงน้ำมัน พลังงานเคมีเป็นพลังงานความร้อน

ก. ข้อ 1 ข. ข้อ 2 ค. ข้อ 3 ง. ข้อ 4

๗. ข้อใดต่อไปนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ก. การเกิดสนิมเหล็ก
ข. การระเหิดของน้ำแข็งแห้ง
ค. การละลายของโซดาไฟในน้ำ
ง. การเกิดผลึกของน้ำตาลในสารละลายน้ำตาลอิ่มตัว

๘. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของโลก มีคุณค่าสำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง ดาวเทียมดังกล่าวอยู่ใน


ข้อใด
ก. แลนด์แซต ข. ไทรอส ค. ปาลาปา ง. ไทยคม
๙. ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการอาศัยอยู่รวมกันของอะไร
ก. ต้นไม้และวัชพืช ข. เชื้อราและต้นไม้
ค. สาหร่ายและเชื้อรา ง. วัชพืชและสาหร่าย

๑๐. ข้อใดควรทำจากวัสดุที่เป็นฉนวนความร้อน
ก. ก๊อกน้ำ ข. ฝ้าเพดาน
ค. หม้อหุงข้าว ง. โป๊ะครอบหลอดไฟ

๑๑. นักเรียนทำการทดลองศึกษาการไหลของของเหลว ๔ ชนิด คือ น้ำ น้ำเกลือ น้ำมันเบนซินและน้ำมันพืช


ซึ่งมีปริมาตรเท่ากัน นำมาเทใส่กรวยแก้วขนาดเท่ากัน โดยอุดปลายกรวยไว้จากนั้นปล่อยของเหลวให้ไหล
พร้อมกัน เริ่มจับเวลาการไหลของของเหลวแต่ละชนิดจนหมดกรวย แล้วบันทึกผลการทดลอง อยากทราบว่า
นิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปรตาม คือข้อใด
ก. ชนิดของของเหลว
ข. น้ำ น้ำเกลือ น้ำมันเชนซิน น้ำมันพืช
ค. การไหลของของเหลวตั้งแต่เริ่มไหลจนหมดกรวยแก้ว
ง. ระยะเวลาที่ของเหลวเริ่มไหลจากกรวยแก้วจนหมดในหน่วยวินาที

๑๒. จากการทดลองดึงกระดาษขึ้นจากพื้นโต๊ะ เมื่อใช้กระดาษแผ่นใหญ่เปรียบเทียบกับกระดาษแผ่นเล็ก


พบว่าต้องออกแรงดึงกระดาษแผ่นใหญ่มากกว่าแผ่นเหล็ก จะสรุปผลการทดลองได้อย่างไร
ก. อากาศมีแรงดัน
ข. ขนาดของแรงดันเพิ่มขึ้นเมื่อพื้นที่เพิ่มขึ้น
ค. แรงดันของอากาศกระทำทุก ๆ จุดและทุกทิศทาง
ง. อากาศเป็นสสาร ต้องการที่อยู่ มีน้ำหนัก และมีแรงดัน

๑๓. เด็กชายชูศักดิ์ต้องการศึกษาว่า “ชนิดของน้ำมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลากัดหรือไม่” เขาทำการ


ทดลองโดยนำน้ำประปาในบ้านและน้ำจากสระน้ำ ปริมาณเท่ากัน มาเลี้ยงปลากัด ข้อใดเป็นตัวแปรควบคุม
ตัวแปรตาม และตัวแปรต้น ตามลำดับ
ก. พันธุ์ปลากัด การเจริญเติบโตของปลากัด และอายุปลากัด
ข. อายุปลากัด ชนิดของปลากัด และชนิดของน้ำ
ค. พันธุ์ปลากัด การเจริญเติบโตของปลากัด และชนิดของน้ำ
ง. ชนิดของน้ำ การเจริญเติบโตของปลากัด และอายุปลากัด
๑๔. ในการต้มน้ำให้ร้อนขึ้น ผิวหน้าของน้ำจะกลายเป็นไอ ข้อใดอธิบายเหตุผลของการเปลี่ยนสถานะได้
ถูกต้อง
ก. โมเลกุลของน้ำเกิดการสั่นสะเทือนลดลง
ข. โมเลกุลของน้ำได้รับความร้อนจนมีพลังงานสูงพอที่จะหลุดออกไป
ค. โมเลกุลของน้ำถูกทำให้สลายตัวเป็นแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน
ง. โมเลกุลของน้ำที่ก้นภาชนะซึ่งร้อนกว่าจะดันให้น้ำที่ผิวหน้าหลุดออกไป

๑๕. เด็กหญิงทิพวรรณ นำดินและน้ำใส่บีกเกอร์ขนาด ๒๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตรสองใบ อย่างละครึ่งบีกเกอร์


และใช้เทอร์โมมิเตอร์เสียบลงในบีกเกอร์ในระดับเดียวกัน บันทึกอุณหภูมิของดินและน้ำ แล้วนำบีกเกอร์ทั้ง
สองไปวางกลางแดด ทิ้งไว้ ๑๕ นาที และบันทึกอุณหภูมิของดินและน้ำในบีกเกอร์ ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลที่ได้จาก
การสังเกต
ก. อุณหภูมิของน้ำก่อนวางไว้กลางแดดต่ำกว่าหลังวางไว้กลางแด
ข. อุณหภูมิของดินหลังวางไว้กลางแดดสูงกว่าก่อนวางไว้กลางแดด
ค. อุณหภูมิของดินหลังวางไว้กลางแดด ๑๕ นาที อ่านได้ ๔๐ องศาเซลเซียส
ง. อุณหภูมิของดินและน้ำก่อนวางไว้กลางแดดต่างกันประมาณ ๒๐ องศาเซลเซียส

๑๖. สมมติฐานทีว่ ่า สึนามิจะมีโอกาสเกิดขึ้นที่บริเวณอ่าวไทย เนื่องด้วยสาเหตุใด


ก. แผ่นแปซิฟิกทับซ้อนกับแผ่นยูเรเซีย
ข. แผ่นแอฟริกามุดซ้อนเข้าไปใต้แผ่นอเมริกา
ค. แผ่นออสเตรเลียทับซ้อนกับแผ่นยูเรเซีย
ง. แผ่นยุโรปมุดเข้าไปให้แผ่นอเมริกา

๑๗. การปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลอดหยดของเหลวในข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ดูดของเหลวให้เต็มหลอดทุกครั้งที่ต้องการใช้
ข. เมื่อจะหยดของเหลวให้จับหลอดหยดในแนวดิ่ง
ค. บีบจุกยางให้ของเหลวไหลออกครั้งละ ๑ หยด อย่างสม่ำเสมอ
ง. นำของเหลวที่เหลือในหลอดไปทิ้ง ไม่นำไปใส่คืนในขวดเดิม
๑๘. กำหนดสถานการณ์ดังนี้

เด็กหญิงมานีทดลองเลี้ยงกระต่ายไว้ในกรงจำนวน ๒ ตัว วันหนึ่งเด็กหญิงมานีซื้อแครอทจากตลาด แล้วให้


กระต่ายทั้งสองตัวกิน ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นกระต่ายสองตัว นอนตายอยู่ในกรง โดยที่ไม่มีบาดแผล

ถ้าระบุว่า “เพราะเหตุใดกระต่ายจึงตาย” ข้อใดเป็นสมมติฐานของปัญหาที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์


ดังกล่าว
ก. กระต่ายเป็นโรคติดต่อ ข. กระต่ายขาดอากาศหายใจ
ค. กระต่ายถูกสัตว์ชนิดอื่นตาย ง. กระต่ายได้รับสารพิษจากแครอท

๑๙. เด็กหญิงปานวาดต้องการศึกษาว่า “ปริมาณแคลเซียมที่หนูได้รับมีผลต่อน้ำหนักของหนูหรือไม่” จึงได้ทำ


การทดลองเลี้ยงหนู โดยแบ่งหนูออกเป็น ๒ กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับสารอาหารเหมือนกัน แต่ได้รับปริมาณ
แคลเซียมต่างกัน เมื่อเลี้ยงหนูเป็นเวลา ๔ สัปดาห์ ชั่งน้ำหนักหนูแต่ละตัว ข้อใดไม่ใช่ตัวแปรควบคุม
ก. ปริมาณแคลเซียม และระยะเวลาที่ใช้เลี้ยงหนู
ข. ปริมาณแคลเซียม และน้ำหนักหนู
ค. ระยะเวลาที่ใช้เลี้ยงหนู และน้ำหนักหนู
ง. อาหารที่ใช้เลี้ยงหนู และระยะเวลาที่ใช้เลี้ยงหนู

๒๐. กำหนดข้อความต่อไปนี้
1. ชนิดของกล้วย 2. ระยะเวลาที่เก็บกล้วยตากไว้ได้
3. อุณหภูมิของบริเวณที่เก็บกล้วยตาก 4. ความเข้มข้นของสารละลายน้ำตาลทราย
จากข้อความดังกล่าว ถ้านักเรียนต้องการทดสอบสมมติฐานว่า “กล้วยตากสามารถเก็บไว้ได้หลายวันถ้าเติม
สารละลายน้ำตาลทรายที่มีความเข้มข้นสูง” ข้อความใดเป็นตัวแปรควบคุม
ก. ข้อ 1 และ 2
ข. ข้อ 1 และ 3
ค. ข้อ 2 และ 3
ง. ข้อ 2 และ 4
ข้อสอบสถานการณ์ ข้อละ ๑๐ คะแนน
๑. การผลิตพลังงานจากลม
การผลิตพลังงานจากลมเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปวาเป็นแหล่งของพลังงานที่สามารถใชทดแทนเครื่อง
ผลิตกระแสไฟฟาจากการเผาไหม น้ำมันและถ่านหิน โครงสร้างในรูปเป็นกังหันลมที่ใบพัดหมุนโดยใชลม
การหมุนนี้ทำใหมีพลังงานไฟฟาถูกผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟาที่ถูกหมุนด้วยกังหันลม

กราฟข้างล่างนี้ แสดงความเร็วลมเฉลี่ยตลอดทั้งปในสี่บริเวณที่แตกต่างกัน
คำถามที่ ๑ กราฟใดที่ชี้บอกบริเวณที่เหมาะสมในการตั้งเครื่องผลิตกระแสไฟฟาจากพลังลม ( 5 คะแนน)

คำถามที่ ๒
ยิ่งระดับความสูงเพิ่มขึ้น กังหันลมจะยิ่งหมุนชาลง สำหรับความเร็วลมเท่ากันขอใดตอไปนี้เป็นเหตุผลดีที่สดุ ที่
อธิบายวา ทำไมใบพัดของกังหันลมจึงหมุนได้ชาลงเมื่ออยู่ในที่สูงขึ้นสำหรับความเร็วลมเทากัน (5 คะแนน)
1. อากาศหนาแน่นน้อยลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น 3. แรงโน้มถ่วงลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น
2. อุณหภูมิลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น 4. ฝนตกบ่อยขึ้นเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น
๒. ฝนกรด
รูปถ่ายข้างล่างนี้เป็นรูปแกะสลักที่เรียกวา แคริยาทิด ซึ่งถูกสร้ างไวที่มหาวิหารอโครโพลิสในกรุง
เอเธนส์เมื่อกว่า 2,500 ปมาแลว รูปแกะสลักนี้ท ำด้วยหินชนิดหนึ่งที่เรียกว่ าหินอ่อน หินอ่อนประกอบด้วย
แคลเซียมคาร์บอเนตในป ค.ศ.1980 รูปแกะสลักเดิมถูกย้ายมาอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ของอโครโพลิส และเอารูป
สลักจำลองวางไวแทนที่ เนื่องจากรูปแกะสลักเดิมถูกกัดกร่อนจากฝนกรด

ผลของฝนกรดที่มีต อหินอ่อน สามารถจำลองได้โดยใสเศษหินออนลงในน้ำสมสายชูทิ้งไวค้างคืนน้ำสมสายชู


และฝนกรดมีร ะดับ ความเป็ น กรดใกลเคีย งกัน เมื่อใสเศษหินออนลงในน้ ำสมสายชูจะมีฟองก๊ าซเกิดขึ้น
เราสามารถชั่งน้ำหนักของหินอ่อนแห้งก่อนและหลังการทดลองได้

คำถามที่ ๑ หินอ่อนนชิ้นเล็ก ๆ ก่อนใสลงในน้ำสมสายชูมีมวล 2.0 กรัม เมื่อใสลงในน้ำสมสายชูทิ้งไวค้างคืน


วันรุงขึ้นนำเศษหินขึ้นมาและทำใหแหง มวลของหินอ่อนที่แหงแลวควรเป็นเทาใด (5 คะแนน)
1. นอยกวา 2.0 กรัม
2. 2.0 กรัมเทาเดิม
3. ระหว่าง 2.0 – 2.4 กรัม
4. มากกวา 2.4 กรัม

คำถามที่ ๒ นักเรียนที่ทำการทดลองข้างตน ได้ทดลองใสหินอ่อนชิ้นเล็ก ๆ ลงในน้ำบริสุทธิ์ (น้ำกลั่น)


และทิ้งค้างคืนไวเช่นกันจงอธิบายเหตุผลวา ทำไมนักเรียนผู้นี้จึงทำการทดลองขั้นตอนนี้ด้วย (5 คะแนน)
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................

You might also like