You are on page 1of 35

สมดุลเคมี

สมดุลเคมี (Chemical Equilibrium)


ปฏิกิร ิยาเคมีส่ ว นใหญ่ เ ป็ นปฏิกิรยิ าที่ดาเนิน ไปทิศ ทาง
เดียวคือจากสารตัง้ ต้นเปลี่ยนแปลงไปเป็ นผลิตภัณฑ์และเกิดขึ้น
อย่างสมบูรณ์ เช่น การเผาไหม้น้ามันเชือ้ เพลิง เป็ นต้น ปฏิกริ ยิ านี้
จัดเป็นปฏิกริ ยิ าทีผ่ นั กลับไม่ได้ (Irreversible reaction) แต่เราก็จะ
มักพบเสมอว่าบางปฏิกริ ยิ าไม่ดาเนินไปจนเสร็จสมบูรณ์ หมายความว่าตัวทาปฏิกริ ยิ าทัง้ หมด
ไม่ได้เปลีย่ นไปเป็ นผลปฏิกริ ยิ า ยังคงเหลือตัวทาปฏิกริ ยิ าอยู่ ปฏิกริ ยิ าเช่นนี้เรียกว่าปฏิกริ ยิ าที่
ผันกลับได้ (Reversible reaction)
1. การเปลีย่ นแปลงทีผ่ นั กลับได้
การเปลี่ยนแปลงที่ผนั กลับได้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เ มื่อ เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อีก หรือ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่มที งั ้ การเปลี่ยนแปลงไป
ข้างหน้าและการเปลีย่ นแปลงย้อนกลับ เช่น
ตัวอย่างของปฏิกริ ยิ าเคมีทผ่ี นั กลับได้
เมือ่ หยดสารละลาย HCl ลงในสารละลาย [Co(H2O)6]2+ จะได้สนี ้าเงินของ [CoCl4]2-
ดังสมการ [Co(H2O)6]2+ + 4Cl-  [CoCl4]2- + 6H2O
สีชมพู สีน้าเงิน
และเมือ่ เติมน้ าลงในสารละลายสีน้ าเงินของ [CoCl4]2- จะได้สารละลายสีชมพูของ [Co(H2O)6]2+
กลับคืนมาดังสมการ
[Co(H2O)6]2+ + 4Cl-  [CoCl4]2- + 6H2O
สีชมพู สีน้าเงิน
แสดงปฏิกริ ยิ านี้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผนั กลับได้ หรือเกิดปฏิกริ ยิ าผันกลับได้ เขียน
แทนด้วยลูกศรไป-กลับ ( )

รูปก. รูป ข.

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 1


สมดุลเคมี

รูปก. [Co(H2O)6]2+ + 4Cl- [CoCl4]2- + 6H2O


สีชมพู สีน้าเงิน
รูป ข. NO2 (g) N2O4 (g)
น้าตาล ไม่มสี ี

2. ภาวะสมดุล
เมื่อสารทาปฏิกิรยิ ากัน ที่ภาวะสมดุลจะมีทงั ้ สารที่เข้าทาปฏิกิรยิ า (reactant) และ
ผลผลิต (product) ภาวะสมดุล (equilibrium state) เกิดขึน้ เมื่ออัตราการเกิดปฏิกิรยิ าไป
ข้างหน้า (forward reaction ) เท่ากับอัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าย้อนกลับ (reverse reaction ) ถ้าใน
ระบบที่พจิ ารณาถ้าปฏิกริ ยิ าเปลี่ยนไปข้างหน้าและย้อนกลับเกิดขึน้ ตลอดเวลา เรียกว่า สมดุล
พลวัต หรือ สมดุ ล ไดนามิก (dynamic equilibrium) เขีย นแทนด้ ว ยลู ก ศรไป-กลับ
( ) แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

2.1 ภาวะสมดุลระหว่างสถานะ
สารต่างๆสามารถเปลีย่ นสถานะได้ โดยมีการเปลีย่ นแปลงพลังงานควบคู่ไปด้วย
ดังแผนภาพนี้
ดูดพลังงาน ดูดพลังงาน
ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ
คายพลังงาน คายพลังงาน
จากแผนภาพด้านบน ระบบจะเป็ นสภาวะสมดุ ล ได้ก็ต่ อ เมื่อ จะต้อ งอยู่ใ นระบบปิ ด
เท่านัน้ ตัวอย่าง
solid gas ; เช่น I2(s) I2(g) การระเหิดของเกล็ดไอโอดีน
C10H16O(s) C10H16O(g) การระเหิดของการบูร
solid liquid; เช่น H2O(s) H2O(l)
liquid gas; เช่น H2O(l) H2O(g)
เราสามารถสัง เกตจากสี ท่ี ค งที่ หรือ สถานะของสารคงที่ดู เ สมือ นไม่ เ กิ ด การ
เปลีย่ นแปลง แต่ความจริงแล้วระบบมิได้หยุดนิ่งและมีการเปลีย่ นแปลงตลอดเวลาเรียกการเกิด
สภาวะแบบนี้ว่า “สมดุลไดนามิก” ดังนัน้ ภาวะสมดุลระหว่างสถานะ ก็เป็นสมดุลไดนามิก
2.2 ภาวะสมดุลในสารละลายอิ่ มตัว
เมื่อให้ตวั ถูกละลาย ละลายในตัวทาละลาย ตัวถูกละลายก็จะละลายได้เร็วในตอนแรก
แล้วละลายได้ชา้ ลงและเมื่อเกิดสารละลายอิม่ ตัว เราจะพบว่าตัวถูกละลายไม่ละลายต่อไปอีกไม่

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 2


สมดุลเคมี

ว่าจะคนสารละลายเป็นเวลานานเท่าใดถ้าอุณหภูมคิ งที่ เช่น การนาเกลือแกง (NaCl) มาละลาย


น้า จนได้สารละลาย และละลายต่อจนได้สารละลายอิม่ ตัว เมื่อตัง้ สารละลายอิม่ ตัวไว้จะเกิดผลึก
ของ NaCl เกิดขึน้ แล้วจะมีปริมาณเพิม่ ขึน้ เรื่อยๆจนในทีส่ ุดผลึกคงที่ เรายังดูเหมือนว่าไม่เกิด
ผลึกอีก แต่ ในระบบผลึกยังคงเกิดขึ้นเรื่อยๆแล้ว ก็ละลายในสารละลายอีกด้วย ดังนัน้ ภาวะ
สมดุลในสารละลายอิม่ ตัวก็เป็นสมดุลไดนามิก
2.3 ภาวะสมดุลในปฏิ กิริยาเคมี
ภาวะสมดุลในปฏิกริ ยิ าเคมีเกิดขึน้ ได้กต็ ่อเมื่อเป็ นปฏิกริ ยิ าผันกลับได้ และเกิดปฏิกริ ยิ า
ในระบบปิด โดยระบบ แบ่งออกเป็น
1) ระบบเปิ ด (Opened system) คือระบบทีม่ กี ารถ่ายเทได้ทงั ้ มวลสารและพลังงานกับ
สิง่ แวดล้อม
2) ระบบปิ ด (Closed system) คือระบบทีม่ กี ารถ่ายเทเฉพาะพลังงานอย่างเดียว แต่
ไม่มกี ารถ่ายเทมวลสาร
3) ระบบโดดเดี่ยว (Isolated system) คือระบบทีไ่ ม่มกี ารถ่ายเททัง้ พลังงานและมวล
สารแก่สงิ่ แวดล้อม
CO(g) + 3H2(g) CH4(g) + H2O(g)
ถ้าเริม่ ต้นเราใส่ CO จานวน 1.0 โมล และ H2 จานวน 3.0 โมล ลงในภาชนะขนาด 10.0
ลิตร ที่ 1200 K อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าระหว่าง CO กับ H2 ขึน้ กับความเข้มข้นของ CO และ H2
คือ ตอนแรกๆ สารทัง้ สองชนิดมีความเข้มข้นมาก แต่เมื่อสารทาปฏิกิรยิ ากัน ความเข้มข้นจะ
ลดลงเรือ่ ยๆ นันคื ่ อ อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าจะสูงในช่วงแรกๆ แล้วจะค่อยๆลดลง ในขณะทีค่ วาม
เข้มข้นของผลผลิต (ทีม่ คี ่าเท่ากับศูนย์ในตอนแรก) จะค่อยๆเพิม่ ขึน้ และมีค่าคงทีเ่ มื่อถึงภาวะ
สมดุล หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ตอนแรกๆอัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าย้อนกลับมีค่าเป็ นศูนย์
แล้วค่อยๆเพิม่ ขึน้ จนเท่ากับอัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าไปข้างหน้า เมือ่ ถึงสมดุล ทีภ่ าวะสมดุล ความ
เข้มข้นของสารต่างๆ มีค่าคงที่ และเราจะไม่เห็นการเปลีย่ นแปลงใดๆ อีกถึงแม้ว่าปฏิกริ ยิ ายังคง
ดาเนินไป
ดังนัน้ ในปฏิกริ ยิ าใดจะเกิดสมดุลได้จะต้อง
1. เกิดในระบบปิด
2. มีสมดุลไดนามิก
3. ยังมีสารตัง้ ต้นเหลืออยู่
4. ระบบสามารถเข้าสู่สมดุลได้ไม่ว่าจะเริม่ ต้นจากไปข้างหน้าหรือย้อนกลับ
5. เกิดการเปลีย่ นแปลงทีผ่ นั กลับได้
6. ความเข้มข้น, ความดัน และ อุณหภูมมิ ผี ลต่อภาวะสมดุล

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 3


สมดุลเคมี

3. การดาเนิ นเข้าสู่ภาวะสมดุลของระบบ
การด าเนิ น เข้า สู่ ส ภาวะสมดุ ล ของระบบไม่ ข้ึน อยู่กับ ทิศ ทาง ไม่ ว่ า จะเริ่ม จากการ
เปลี่ยนแปลงไปข้างหน้ าหรือ เริม่ จากการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับ เมื่อ ระบบเข้าสู่สมดุล ภาวะ
สมดุลทีเ่ กิดขึน้ จะมีลกั ษณะเหมือนกันทุกประการ
การเขียนกราฟแสดงการเกิ ดภาวะสมดุล เขียนได้สองลักษณะ คือ
1. กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิ ดปฏิ กิริยากับเวลา

อัตรา
การเกิด
อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าไปข้างหน้า
ปฏิกริ ยิ า
2Fe3+(aq) + 2I-(aq) 2Fe2+(aq) + I2(aq)

อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าย้อนกลับ
2Fe2+(aq) + I2(aq) 2Fe3+(aq) + 2I-(aq)

เวลา

2. เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารกับเวลา
ก. ทีภ่ าวะสมดุลทีเ่ วลา t1 ความเข้มข้นของสาร A มากกว่าความเข้มข้นของสาร B
(ความเข้มข้นของสารตัง้ ต้นมากกว่าความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์)

ความ
เข้มข้น [A]
[B]

t1

เวลา

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 4


สมดุลเคมี

ข.ทีภ่ าวะสมดุลที่เวลา t1 ความเข้มข้นของสาร A น้อยกว่าความเข้มข้นของสาร B


(ความเข้มข้นของสารตัง้ ต้นน้อยกว่าความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์)

ความ [B]
เข้มข้น
[A]
t1

เวลา

ค. ที่ภาวะสมดุลที่เวลา t1 ความเข้มข้นของสาร A เท่ากับความเข้มข้นของสาร B


(ความเข้มข้นของสารตัง้ ต้นเท่ากับความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์)

ความ
เข้มข้น [A] = [B]

t1

เวลา

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 5


สมดุลเคมี

4. สมดุลในปฏิ กิริยาเคมี
4.1 ค่าคงทีส่ มดุล
กฎของภาวะสมดุลทางเคมี (Law of Chemical Equilibrium) กล่าวว่า “ สาหรับ
ปฏิ กิริยาที่ ผนั กลับได้ ที่ ภาวะสมดุล ผลคูณของความเข้มข้นของสารผลิ ตภัณฑ์ เมื่อหาร
ด้วยผลคูณของความเข้มข้นของสารตัง้ ต้นที่เหลือ โดยที่ความเข้มข้นของสารแต่ ละชนิ ด
ยกกาลังด้ วยเลขสัมประสิ ทธิ์ บอกจานวนโมลของสารในสมการที่ ดุลแล้ วจะมี ค่าคงที่
เสมอเมื่ออุณหภูมิคงที่”

เมื่อให้ปฏิกริ ยิ าทัวไปเป็
่ นดังนี้ คือ สาร A จานวน a โมล ทาปฏิกริ ยิ ากับสาร B จานวน
b โมล ได้สาร C จานวน c โมล และ สาร D จานวน d โมล ตามลาดับ ดังสมการ
aA (aq) + bB (aq) cC (aq) + dD (aq)

อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าไปข้างหน้า (The rate of forward of the reaction, rf) คือ


rf = kf[A]a[B]b
อัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าย้อนกลับ (The rate of reverse of the reaction, rr) คือ
rr = kr[C]c[D]d
ที่สมดุล อัตราการเกิ ดปฏิ กิริยาไปข้างหน้ าเท่ากับอัตราการเกิ ดปฏิ กิริยาย้อนกลับ
kf[A]a[B]b = kr[C]c[D]d
k f [C]c [D]d
  Kc
k r [A]a [B]b

“The equilibrium constant Kc, is defined as the product of the equilibrium


concentrations (in moles per liter) of the products, each raised to the power that
corresponds to its coefficient in the balanced equation, divided by the product of the
equilibrium concentrations of reactants, each raised to the power that corresponds to its
coefficient in the balanced equation”

[C]c [D]d
ที่ภาวะสมดุล จะได้ K c  a b ; K = ค่าคงทีข่ องสมดุล
[A] [B]
*** ความเข้มข้นของสารทีจ่ ะมาแทนในสมการต้องเป็ นความเข้มข้นทีภ่ าวะสมดุล
เช่น 2Fe3+(aq) + 2I-(aq) 2Fe2+(aq) + I2(aq)

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 6


สมดุลเคมี

[Fe 2 ] 2 [I ] 2
จะเขียนได้ว่า K c  3 2  2
[Fe ] [I ]
หากภาวะสมดุลที่เกิดขึ้นในปฏิกิรยิ าที่มสี ารอยู่ในวัฏภาคเดียวกันทัง้ หมดจะเรียกว่า
สมดุลเอกพันธ์ (Homogeneous reaction) สาหรับปฏิกิรยิ าที่เกิดขึ้นที่สารตัง้ ต้นและสาร
ผลิตภัณฑ์มวี ฏั ภาคแตกต่างกัน เรียกว่าสมดุลวิวธิ ภัณฑ์ (Heterogeneous reaction)
ถ้าสารทีเ่ กีย่ วข้องในปฏิกริ ยิ า มีของแข็งหรือของเหลวทีบ่ ริสุทธิร์ วมอยู่ด้วย ไม่ต้องนา
ความเข้มข้นของสารทีเ่ ป็นของแข็งหรือของเหลวบริสุท ธิ์ มาเขียนไว้ในอัตราส่วนทีแ่ สดงค่าคงที ่
ของสมดุล เพราะสารทีเ่ ป็นของแข็งและของเหลวบริสุทธิจ์ ะมีความเข้มข้นคงที ่ เช่น

[CuCl4]2- (aq) + 4H2O (l) [Cu(H2O)4]2+ (aq) + 4Cl- (aq)


[[Cu(H2 O) 4 ] 2 ][Cl ]
Kc 
[[CuCl4 ] 2 ]

- ข้อสังเกตเกีย่ วกับค่าคงทีข่ องสมดุล (K)


1. ค่า K ขึน้ อยู่กบั อุณหภูม ิ คือ เมื่ออุณหภูมคิ งที่ ค่า K ก็จะคงที่ แต่ถ้าอุณหภูมเิ ปลีย่ น ค่า K
ก็จะเปลีย่ นด้วย ดังนัน้ เมือ่ กล่าวถึงค่า K ต้องอ้างอุณหภูมเิ สมอ
2. ค่า K ในปฏิกิรยิ าต่างชนิดกันส่วนใหญ่จะมีหน่ วยต่างกัน และบางปฏิกิรยิ าไม่มหี น่ วย
ขึน้ กับสถานะของสาร
3. ค่า K ขึน้ อยู่กบั ลักษณะของสมการทีเ่ ขียน คือ ถ้าเขียนสัดส่วนของจานวนโมลของสารตัง้
ต้นและสารผลิตภัณฑ์ในสมการต่างกัน ค่า K ไม่เท่ากัน ดังนัน้ เมื่อกล่าวถึงค่า K จะต้องอ้างอิง
ถึงสมการด้วยเสมอ
เช่น ½ N2O4(g) NO2 (g)

[NO2]
K1 =
1/2
= 0.60 (ที่ 100 oC)
[N2O4]

ถ้า N2O4(g) 2NO2(g)


[NO2]2
K2 = = 0.36 (ที่ 100 oC)
[N2O4]

K2 = (K1)2

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 7


สมดุลเคมี

4. ถ้าเขียนสมการกลับกัน ค่า K ก็จะกลับกันด้วย


เช่น N2O4(g) 2NO2(g)
[NO2]2
K1 = = 0.36 (ที่ 100 oC)
[N2O4]

และ 2NO2 (g) N2O4 (g)


[N2O4]
K2 =
[NO2]2 = 2.8 (ที่ 100 oC)

1
K2 
K1

5. ในกรณีเกิดขึน้ หลายขัน้ ตอน ถ้าปฏิกริ ยิ าย่อยๆบวกกันแล้วเป็ นปฏิกริ ยิ ารวม ค่า K ของ


ปฏิกริ ยิ ารวมจะเท่ากับผลคูณของปฏิกริ ยิ าย่อยๆ เช่น
1 [SO 3 ]
SO 2 (g)  O 2 (g) SO 3 (g) ; K 1  1 = 20 (ที่ 700 oC)
2 [SO ][O ] 22 2
1
1 [NO][O 2 ] 2
NO2 (g) NO(g)  O 2 (g); K2  = 0.012 (ที่ 700 oC)
2 [NO2 ]
ดังนัน้ เมือ่ (1) + (2) จะได้
[SO 3 ][NO]
SO 2 (g)  NO2 (g) SO 3 (g)  NO(g); K 3  = 0.24 (ที่ 700 oC)
[SO 2 ][NO2 ]
ดังนัน้ K 3  K1 x K 2 = 20 x 0.012

K3 = K 1 x K 2

6. ถ้าปฏิกริ ยิ ารวมได้จากปฏิกริ ยิ าย่อยลบกัน ค่า K รวมก็เท่ากับค่า K ย่อยหารกัน


1 [SO 3 ]
SO 2 (g)  O 2 (g) SO 3 (g) ; K1  1 = 20 (ที่ 700 oC)……(1)
2 [SO 2 ][O 2 ] 2

1 [NO2 ]
NO(g)  O 2 (g) NO2 (g) ; K2  1  83.33 (ที่ 700 oC) ...(2)
2 [NO][O 2 ] 2

(1) – (2) = (3)

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 8


สมดุลเคมี

[ SO 3 ][NO]
SO2 (g) + NO2 (g) SO3 (g) + NO (g) ; K3 
[NO2 ][ SO 2 ]
= 0.24 (ที่ 700 oC)
K1 20
K3    0.24
K 2 83.33
K1
K3 
K2

7. ถ้านาค่าคงทีม่ าคูณทัง้ สมการ ค่า K ใหม่ทไ่ี ด้จะนามายกกาลัง K เดิม


[ NO2 ]
NO (g) + ½ O2(g) NO2(g) ; K1  1
…(1)
[ NO][O2 ] 2

[ NO2 ]2
2 x (1) ; 2NO (g) + O2 (g) 2NO2 (g) ; K2  …(2)
[ NO]2 [O2 ]

K 2  K12

ดังนัน้ สรุปได้ว่า
1) ถ้ากลับสมการ ค่า K จะกลับเศษเป็นส่วน
2) ถ้านาสมการมารวมกัน ค่า K จะนามาคูณกัน
3) ถ้าเอาเลขคูณทัง้ สมการ ค่า K นามายกกาลังเลขนัน้
4) ถ้านาสมการมาลบกัน ค่า K จะนามาหารกัน

หลักการคานวณหาค่า K เพื่อทราบความเข้มข้นของสาร
1.เขียนสมการของปฏิกริ ยิ าพร้อมดุลสมการนัน้
2.หาจานวนโมลหรือ โมล/ลิตร เมือ่ เริม่ ต้นปฏิกริ ยิ า (Initial) หรือ t = 0
3.หาจานวนโมลหรือ โมล/ลิตร ที่เปลีย่ นแปลงไป เนื่องจากเกิดปฏิกริ ยิ าโดยกาหนดให้
จานวนโมลทีห่ ายไปเป็นลบ (สารตัง้ ต้น) จานวนโมลทีเ่ พิม่ ขึน้ เป็นบวก (สารผลิตภัณฑ์)
4.หาจานวนโมล หรือ โมล/ลิตร ณ จุดสมดุล (Final) หรือ t = te โดยนา ข้อ 2 + ข้อ 3
ตามเครือ่ งหมายบวกลบนัน้ ๆ แล้วเปลีย่ นจานวนโมล ณ จุดสมดุลให้เป็ นโมล/ลิตร แล้วจึงแทน
ค่าความเข้มข้นในสมการค่า Kc

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 9


สมดุลเคมี

ลักษณะโจทย์ในการคานวณค่าคงทีส่ มดุล
มีทงั ้ หมด 4 แนวทาง
1. ให้หา ค่าคงทีส่ มดุล โดยกาหนดความเข้มข้นให้ทุกค่า
2. ให้หาค่าคงที่สมดุล โดยกาหนดความเข้มข้นให้บางค่า ส่วนค่าที่เหลือหา
จากสมการเคมี
3. กาหนดค่าคงทีส่ มดุลให้ และหาความเข้มข้นของสารแต่ละตัว
4. การหาค่า K เมือ่ มีการรบกวนสมดุล

แนวทางที ่ 1 ให้หา ค่าคงทีส่ มดุล โดยกาหนดความเข้มข้นให้ทุกค่า

ตัวอย่างที่ 1 ระบบหนึ่งประกอบด้วยสาร PCl5, PCl3, Cl2 เมื่อทาการทดลองทีอ่ ุณหภูม ิ 250


องศาเซลเซียส มีสมการดังนี้ PCl5 (g) PCl3 (g) + Cl2 (g)
ที่ภาวะสมดุล
พบ PCl5 = 1.5 M PCl3 = 0.20 M และ Cl2 เข้มข้น 0.30 M จงหาค่า Kc
วิธที า
ขัน้ ที่ 1 เขียนสมการ พร้อมทัง้ ดุลสมการ
PCl5 (g) PCl3 (g) + Cl2 (g)

ขัน้ ที่ 2 หาความเข้มข้น ณ ภาวะสมดุล


PCl5 (g) PCl3 (g) + Cl2 (g)
ภาวะสมดุล (eq) 1.5 M 0.20 M 0.30 M

ขัน้ ที่ 3 หาค่าคงทีส่ มดุล โดยนาค่าความเข้มข้นทีภ่ าวะสมดุลมาแทนในสมการ Kc

Kc 
Cl PCl 
2 3

PCl  5

 0.30  0.20 

 1.5 
 0.040 M

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 10


สมดุลเคมี

ตัวอย่างที่ 2. ปฏิกริ ยิ า 2A (aq) + B (s) + C (g) 2D (g) ทีภ่ าวะสมดุลใน


3
ภาชนะขนาด 2.0 dm มี A 4.0 mol, B 4.0 mol, C 2.0 mol, and D 6.0 mol จงคานวณหา
ค่าคงทีส่ มดุลของปฏิกริ ยิ านี้
วิธที า
ขัน้ ที่ 1 เขียนสมการ
2A (aq) + B (s) + C (g) 2D (g)
ขัน้ ที่ 2 หาจานวนโมล ณ ภาวะสมดุล โดยไม่คดิ โมลของของแข็ง
2A (aq) + B (s) + C (g) 2D (g)
ภาวะสมดุล (eq) =4.0 mol =2.0 mol =6.0 mol
ขัน้ ที่ 3 หาความเข้มข้น ณ ภาวะสมดุล
2A (aq) + B (s) + C (g) 2D (g)
= 2.0 M =1.0 M =3.0 M

ขัน้ ที่ 4 หาค่าคงทีส่ มดุล โดยนาค่าความเข้มข้นทีภ่ าวะสมดุลมาแทนในสมการ Kc


D 2
Kc  2
 A  C
 3.0 
2


 2.0   1.0 
2

 2.3 M 1

แนวทางที ่ 2 ให้ค่า K โดยกาหนดความเข้มข้นให้ บางค่า ส่วนค่าทีเ่ หลือหาจากสมการ

ตัวอย่าง ทีอ่ ุณหภูม ิ 700 องศาเซลเซียส เมื่อนา N2 จานวน 2.00 mol มาทาปฏิกริ ยิ ากับ H2
จานวน 2.00 mol ในภาชนะปิ ด 2.00 ลิตร ภาวะสมดุลมีก๊าซแอมโมเนีย เกิดขึ้น จานวน 1.00
mol จงหาค่า Kc
วิธที า
ขัน้ ที่ 1 เขียนสมการ พร้อมดุลสมการ
N2 (g) + 3H2 (g) 2NH3 (g)
ขัน้ ที่ 2 หาจานวนโมล ณ ภาวะเริม่ ต้น
N2 (g) + 3H2 (g) 2NH3 (g)
จานวนโมลเริม่ ต้น (in) = 2.0 = 2.0 = 0.0 mol

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 11


สมดุลเคมี

ขัน้ ที่ 3 หาความเข้มข้น ณ ภาวะเริม่ ต้น


N2 (g) + 3H2 (g) 2NH3 (g)
ความเข้มข้นเริม่ ต้น (in) = 1.0 = 1.0 = 0.00 M
ขัน้ ที่ 4 หาความเข้มข้น ณ ภาวะเปลี่ยนแปลง โดยให้ดูจากจานวนสัมประสิทธิ ์ของ
สมการทีด่ ุลแล้ว จากโจทย์พบว่าทีภ่ าวะสมดุลเกิด NH3 ขึน้ 0.5 M ดังนัน้ ความเข้มข้น ณ ภาวะ
เปลีย่ นแปลงจะเป็น
N2 (g) + 3H2 (g) 2NH3 (g)
ภาวะเปลีย่ นแปลง (ex) = -0.25 = -0.75 = + 0.50 M
ขัน้ ที่ 5 หาความเข้มข้น ณ ภาวะสมดุล โดยนาขัน้ ที่ 3 และ ขัน้ ที่ 4 มาบวกกัน
N2 (g) + 3H2 (g) 2NH3 (g)
ภาวะสมดุล (eq) = (1.0 - 0.25) = (1.0 - 0.75) = (0.00+ 0.50) M
= 0.75 = 0.25 = 0.50 M
ขัน้ ที่ 6 หาค่าคงทีส่ มดุล โดยนาค่าความเข้มข้นทีภ่ าวะสมดุลมาแทนในสมการ Kc

Kc 
NH3 2
N2 H2 3
 0.50 
2


 0.75  0.25 
3

 14 M 2

แนวทางที ่ 3 กาหนดค่า K มาให้ และให้หาความเข้มข้นของสารแต่ละตัว


ตัวอย่าง นา H2 มาจานวน 44.8 dm3 ที่ STP ทาปฏิกริ ยิ ากับ I2 จานวน 44.8 cm3 ที่ STP ใน
ภาชนะ 2.0 ลิตร ทีภ่ าวะสมดุลมีค่า Kc เท่ากับ 4.0 จงหาความเข้มข้นของ H2, I2 และ HI ณ
ภาวะสมดุล
วิธที า
ขัน้ ที่ 1 เขียนสมการ
H2 (g) + I2 (g) 2 HI (g)
ขัน้ ที่ 2 หาโมลเริ่ มต้น
H2 (g) + I2 (g) 2 HI (g)
44.8 44.8
(in)  2.00  2.00 0.00 mol
22.4 22.4

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 12


สมดุลเคมี

ขัน้ ที่ 3 เปลี่ยนเป็ นความเข้มข้น


H2 (g) + I2 (g) 2 HI (g)
2.00 2.00
(in)  1.00  1.00 0.00 M
2.00 2.00

ขัน้ ที่ 4 หาโมลที่ภาวะสมดุล


H2 (g) + I2 (g) 2 HI (g)
(eq) 1.00 – a 1.00 – a 2a M
ขัน้ ที่ 5 หาค่าคงทีส่ มดุล โดยนาค่าความเข้มข้นทีภ่ าวะสมดุลมาแทนในสมการ Kc
[HI] 2
Kc 
[H 2 ][I2 ]
a2
4.0 
1.00  a 
2

a
2.0 
1.00  a 
2.0 (1.00-a) = 2a
 a = .50 mol/dm3
แทนค่า [H2] = [I2] = (1.00-a) = 1.00 – 0.50
= 0.50 mol / dm3
[HI] = a
= 0.50 mol / dm3

แนวทางที ่ 4 การหาค่า Kc หรือหาความเข้มข้น เมือ่ มีการรบกวนสมดุล

ใช้หลักการทีว่ ่า ค่าคงที่ใหม่ เท่ากับค่าคงที่เดิ ม หรือ Kc ใหม่ = Kc เดิ ม

ตัวอย่าง ที่ 500 องศาเซลเซียส ณ ภาวะสมดุลของปฏิกริ ยิ าในภาชนะขนาด 1.0 ลิตร มี ก๊าซ


A, B, C และ D เท่ากับ 4.0, 3.0, 2.0 และ 1.0 mol ตามลาดับ ถ้าเติม A 1.0 mol จงหาความ
เข้มข้นของสารต่าง ๆ ทีภ่ าวะสมดุลใหม่
A(g) + B (g) C (g) + D (g)

วิธที า

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 13


สมดุลเคมี

A(g) + B (g) C (g) + D (g)

(eq เดิม) 4.0 3.0 2.0 1.0 M


(in ใหม่) 4.0+1.0 3.0 2.0 1.0 M
(ex ใหม่) -x -x +x +x M
(eq ใหม่) (5.0-x) (3.0-x) (2.0+x) (1.0+x) M
K ใหม่ = K เดิ ม

1.0  X 2.0  X   2.01.0


5.0  X 3.0  X  4.03.0
1.0  X 2.0  X   1
5.0  X 3.0  X  6
X  0.11

ความเข้มข้น ณ ภาวะสมดุลใหม่ ของA = 4.89 M, B = 2.89 M


C = 3.11 M, D = 2.10 M

4.2 ค่าคงทีส่ มดุลของปฏิ กิริยาของแก๊ส


ถ้าสารอยูใ่ นสถานะก๊าซการหาความเข้มข้นจะยุ่งยากกว่า ดังนัน้ เพื่อความสะดวกจะทา
การวัดความดันมากกว่าความเข้มข้น ดังนัน้ ค่าคงทีส่ มดุลทีว่ ดั จากความดัน คือ Kp

aA (g) + bB (g) cC (g) + dD (g)


( PC ) c ( PD ) d
Kp 
( PA ) a ( PB ) b

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า Kc และ Kp
จาก PV = nRT
สาหรับสาร A
PAV  nA RT
n
PA  A RT  [ A]RT
V
ในทานองเดียวกันสาหรับสาร B, C, D
PB  [ B]RT , PC  [C ]RT , PD  [ D]RT ,
แทนค่า

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 14


สมดุลเคมี

( Pc )c ( PD )d ([C ]RT )c ([ D]RT ) d


Kp  
( PA )a ( PB )b ([ A]RT ) a ([ B]RT )b

([C ])c ([ D]) d


Kp  a b
 ( RT )( c  d )( a b )
([ A]) ([ B])

K p  K c ( RT )n
โดยที่ n คือ จานวนโมลของก๊าซในปฏิกริ ยิ า หาจาก

ตัวอย่าง
N 2O4 ( g ) 2 NO2 ( g )
K p  Kc ( RT )

4.3 ค่าคงทีส่ มดุลของปฏิ กิริยาวิ วิธพันธ์


จากสมดุลทีไ่ ด้ศกึ ษามาแล้ว ได้แก่ สมดุลในสารละลาย สมดุลของแก๊ส พบว่าสารตัง้ ต้น
และสารผลิตภัณฑ์ทุกชนิดมีสถานะเหมือนกัน สมดุลของปฏิกิรยิ านี้เรียกว่า สมดุลเอกพันธ์
(Homogeneous equilibrium) แต่อย่างไรก็ตามถ้าในบางสมดุลสารตัง้ ต้น และสารผลิตภัณฑ์
ไม่ ไ ด้ ม ีส ถานะเดีย วกัน สมดุ ล ของปฏิกิร ิย านี้ เ รีย กว่ า สมดุ ล วิว ิธ ภัณ ฑ์ (Heterogeneous
equilibrium) เช่นปฏิกริ ยิ าการสลายตัวด้วยความร้อนของหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) ไปเป็ น
ปูนดิบ (แคลเซียมออกไซต์)

ค่าคงทีส่ มดุลของปฏิกริ ยิ านี้เขียนได้เป็น

โดยส่วนใหญ่ ความเข้มข้นของสารบริสุทธิ ์ทีเ่ ป็ นของแข็งจะคงที่ ดังนัน้

จะได้ว่า KC = [CO2]
โดยที่ KC = KC” [CaCO3] / [CaO]

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 15


สมดุลเคมี

รูป แสดงการสลายตัวของแคลเซียมคาร์บอเนตในช่วงต่างๆแต่มอี ุณหภูมเิ ดียวกัน และวัดความ


ดันของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทเ่ี กิดขึน้ พบว่าทีส่ มดุลความดันมีค่าคงทีท่ งั ้ ในภาพ a และ b
(McMURRY, Chemistry 4th edition)

5. ประโยชน์ ของค่าคงทีส่ มดุล


ค่ า คงที่ส มดุ ล บอกให้ทราบทิศ ทางการเกิด ปฏิกิรยิ า การด าเนิ น ไปของปฏิกิร ิยาว่ า
เกิดปฏิกริ ยิ าได้มากน้อยเท่าใด และสามารถใช้คานวณความเข้มข้นของสารตัง้ ต้นและผลิตภัณฑ์
ทีภ่ าวะสมดุลได้ดว้ ย
5.1 ใช้ทานายว่าปฏิ กิริยาเกิ ดมากน้ อยเพียงใด
ตัวอย่างเช่นปฏิกริ ยิ า

มีค่าคงทีส่ มดุลทีอ่ ุณหภูม ิ 500C เป็น

จะเห็นได้ว่าค่าคงที่สมดุลของปฏิกิรยิ านี้มคี ่าสูงมาก นัน่ คือที่ภาวะสมดุลมีผลิตภัณฑ์


เกิดขึน้ มากและเหลือสารตัง้ ต้นอยู่น้อย แสดงว่าปฏิกริ ยิ าดาเนินไปข้างหน้ากลายเป็ นผลิตภัณฑ์
ได้เกือบหมด
ในทางตรงกันข้าม เช่น ปฏิกริ ยิ าย้อนกลับของการสลายตัวของน้า

มีค่าคงทีส่ มดุลทีอ่ ุณหภูม ิ 500C เป็น

จะเห็นได้ว่าค่าคงทีส่ มดุลของปฏิกริ ยิ านี้มคี ่าน้อยมาก นัน่ คือทีภ่ าวะสมดุลมีผลิตภัณฑ์


เกิดขึ้นน้ อ ยมากและเหลือ สารตัง้ ต้นอยู่มาก แสดงว่ าปฏิกิรยิ าดาเนินไปข้างหน้ า กลายเป็ น
ผลิตภัณฑ์ได้น้อย

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 16


สมดุลเคมี

แต่ จากตัว อย่า งข้างต้นจะเห็นได้ว่ า ค่ า คงที่ส มดุล ที่ก าหนดให้มคี ่ าค่ อ นข้างชัดเจน
สามารถพิจารณาได้งา่ ย แต่สาหรับบางปฏิกริ ยิ าทีค่ ่าคงทีส่ มดุลไม่มคี ่าทีช่ ดั เจนมาก
มีหลักเกณฑ์พจิ ารณาดังนี้

(McMURRY, Chemistry 4th edition)

1) ถ้า Kc >103 ถ้าเกิดผลิตภัณฑ์มากกว่าสารตัง้ ต้น ปฏิกริ ยิ าจะดาเนินไปข้างหน้าได้มาก


2) ถ้า Kc <10-3 เกิดผลิตภัณฑ์น้อยกว่าสารตัง้ ต้น ปฏิกริ ยิ าจะดาเนินไปข้างหน้าได้น้อย
3) ถ้า 10-3 < Kc <103 ความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์กบั สารตัง้ ต้นมีค่าใกล้เคียงกัน

5.2 ใช้ทานายทิ ศทางของปฏิ กิริยา


ถ้า ในปฏิกิรยิ าที่เ ราพิจ ารณาไม่ไ ด้อ ยู่ใ นภาวะสมดุล แต่ ต้อ งการท านายว่ า ปฏิกิร ิย า
เกิดขึน้ ในทิศทางใด มีแนวโน้มเป็ นเช่นไร จะพิจารณาจากค่า Reaction quotient (Qc) ซึ่ง
ค่าคงที่สมดุล Qc หาได้จาก “ค่ าที่ได้จากผลคูณความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ยกกาลังด้ว ย
สัมประสิทธิ ์แสดงจานวนโมลของสารในสมการที่ดุลแล้วหารด้วยผลคูณความเข้มข้นของตัวทา
ปฏิกริ ยิ ายกกาลังด้วยสัมประสิทธิ ์แสดงจานวนโมล ของสารในสมการทีด่ ุลแล้ว”

ตัวอย่าง จากปฏิกริ ยิ าทีอ่ ุณภูม7ิ 00 K H2 ( g)  I2 ( g) 2HI ( g ), Kc  57.0 กาหนดให้


ความเข้มข้นของสารต่างๆเป็นดังนี้
แทนค่า

จะเห็นได้ว่าค่า Qc น้อยกว่าค่า Kc แสดงว่าปฏิกริ ยิ านี้ยงั ไม่ถงึ สมดุล ดังนัน้ ปฏิกริ ยิ านี้


จะเกิดขึน้ ในทิศทางทีจ่ ะต้องเพิม่ ค่า Qc ให้เข้าใกล้ค่า Kc นัน่ คือ ปฏิกริ ยิ าจะต้องเกิดในทิศทาง
จากซ้ายไปขวาเพื่อ ให้เ ข้าสู่ภาวะสมดุล ดังนัน้ สามารถทานายทิศ ทางของปฏิกิรยิ าได้ จาก
ความสัมพันธ์ระหว่าง Qc และ Kc ดังต่อไปนี้
ถ้า Qc < Kc จะเกิดปฏิกริ ยิ าไปข้างหน้า (จากซ้ายไปขวา)
ถ้า Qc > Kc จะกิดปฏิกริ ยิ าย้อนกลับ (จากขวาไปซ้าย)
ถ้า Qc = Kc จะไม่เกิดปฏิกริ ยิ าเนื่องจากระบบอยู่ทร่ี ะบบภาวะสมดุล

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 17


สมดุลเคมี

สามารถแสดงได้ดงั แผนภาพต่อไปนี้

(McMURRY, Chemistry 4th edition)

6. หลักของเลอชาเตอริ เอ (Le Chatelier’s principle)


“If system at equilibrium is disturbed by changing its conditions (applying
a stress), the system shifts in the direction that reduces the stress. If given
sufficient time, a new state of equilibrium is established.”
หรือมีใจความดังนี้ “เมื่อระบบที่อยู่ในภาวะสมดุลถูกรบกวนโดยการเปลี่ยนแปลงปจั จัยที่มผี ล
ต่ อ ภาวะสมดุล ของระบบ ระบบจะเกิดการเปลี่ย นแปลงไปในทิศ ทางที่จะลดผลรบกวน นัน้
เพื่อให้ระบบเข้าสู่ภาวะสมดุลใหม่อกี ครัง้ หนึ่ง”
หลักของเลอชาเตอริเอ สามารถให้อธิบายการเปลีย่ นภาวะสมดุลเมือ่ ระบบถูก
รบกวนโดยปจั จัยทีม่ ผี ลต่อภาวะสมดุล ทาให้ทราบว่าเมือ่ ระบบถูกรบกวนระบบจะเปลีย่ นแปลง
ไปในทิศทางใด (ไปข้างหน้า หรือ ย้อนกลับ) และทีส่ มดุลใหม่ปริมาณสารแต่ละชนิดเป็นอย่างไร
เมือ่ เทียบกับภาวะสมดุลเดิม
ปัจจัย (Factor) ที่สามารถเปลี่ยนภาวะสมดุลได้ ได้แก่
1) ความเข้มข้น
2) ความดัน
3) อุณหภูมิ
1) ความเข้มข้นกับการเปลี่ยนภาวะสมดุล จะส่งผลให้สมดุลเกิดการเปลี่ยนแปลง
แล้วเกิดสมดุลใหม่เกิดขึน้
เช่น ปฏิกริ ยิ าระหว่าง Fe(NO3)3 กับสารละลาย NH4SCN เมื่ออยู่ในระบบสมดุลเขียน
สมการได้ดงั นี้
Fe3+(aq) + SCN-(aq) FeSCN2+(aq)
สีเหลืองอ่อน ไม่มสี ี สีแดง

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 18


สมดุลเคมี

เมือ่ เติมสารละลาย Fe(NO3)3 ลงไปในระบบทีส่ มดุลแล้วความเข้มข้นของ Fe3+ ในระบบ


เพิม่ ขึน้ จะพบว่าสารละลายผสมมีสแี ดงเข้มขึน้ และในที่สุดสีคงทีอกี ครัง้ แสดงว่าระบบปรับตัว
โดยลดความเข้มข้นของ Fe3+ โดยการเปลี่ยนไปเป็ น FeSCN2+ ให้มากขึน้ และ เข้าสู่สมดุลอีก
ครัง้
เมื่อเติมสารละลาย NH4SCN จะทาให้ความเข้มข้นของ SCN- ไอออนในระบบเพิม่ ขึน้
สารละลายผสมจะมีสแี ดงเข้มขึน้ แสดงว่ามี FeSCN2+ เพิม่ ขึน้ ไอออนเกิดเพิม่ ขึน้ ต่อมาสีจะคงที่
แสดงว่าระบบเข้าสู่สมดุลอีกครัง้

2) ความดันกับการเปลี่ยนภาวะสมดุล จะมีผลเฉพาะก๊าซหรือไอเท่านัน้ ระบบจะเข้า


สู่สมดุลเมื่อถูกรบกวนตามหลักของเลอชาเตอลิเ อ โดยอาศัยกฎของบอยล์ (Boyle’s law):
1
V และกฎของอาโวกาโดร: V  n
P
ถ้ารบกวนสภาวะสมดุลโดยการเพิม่ ความดันของระบบ ระบบจะปรับตัวไปในทางที่จะ
ลดความดันของตัวเอง โดยการลดจานวนโมลของแก๊ส คือเกิดปฏิกริ ยิ าจากด้านทีม่ แี ก๊สมากไป
ยังด้านทีม่ แี ก๊สน้อย แล้วเข้าสู่สมดุลใหม่
แต่ถ้ารบกวนภาวะสมดุลโดยการลดความดันของระบบ ระบบจะปรับตัวไปในทางที่จะ
เพิม่ ความดันของตัวเอง โดยการเพิม่ จานวนโมลของแก๊ส คือเกิดปฏิกริ ยิ าจากด้านทีม่ แี ก๊สน้อย
ไปยังด้านทีม่ แี ก๊สมาก แล้วเข้าสู่ภาวะสมดุลใหม่
ถ้าเพิม่ ความดันสมดุลจะเลื่อนไปทางโมลน้อย และ ถ้าลดความดันสมดุลจะเลื่อนไปทาง
โมลมาก
แต่ถ้าจานวนโมลเท่ากันเมื่อเปลีย่ นความดันระบบจะเข้าสู่ภาวะสมดุลใหม่โดยไม่มกี าร
ปรับตัว
เช่น 2SO2(g) + O2(g) 2SO3(g)
3 mol 2 mol
ถ้าเพิ่ มความดัน ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สมดุลโดยเลื่อนไปทางโมลน้ อย นัน้ คือเลื่อน
จากซ้ายไปขวา
ถ้าลดความดัน ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สมดุลโดยเลื่อนไปทางโมลมาก นัน้ คือเลื่อน
จากขวาไปซ้าย
3) อุ ณ หภูมิ ก บั การเปลี่ ย นภาวะสมดุ ล อุ ณ หภูม ิม ีผ ลต่ อ สมดุ ล เคมีว่ า ด าเนิ น ไป
ข้างหน้ าหรือ ย้อ นกลับต้อ งพิจารณาก่อ นว่าปฏิกิรยิ าเคมีนัน้ เป็ นดูดหรือ คายความร้อ น หาก
ปฏิกริ ยิ าเป็นปฏิกริ ยิ าดูดความร้อน เมื่อเพิม่ อุณหภูมจิ ะส่งผลให้ระบบดาเนินไปข้างหน้ามากขึน้
แต่หากลดอุณหภูมจิ ะส่งผลให้ปฏิกริ ยิ าเกิดย้อนกลับ ในทางกลับกันหากเป็ นปฏิกริ ยิ าคายความ
ร้อนหากลดอุณหภูมจิ ะส่งผลให้ปฏิกริ ยิ าดาเนินไปข้างหน้า แต่เมื่อเพิม่ อุณหภูมปิ ฏิกริ ยิ าจะเกิด
ย้อนกลับ

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 19


สมดุลเคมี

ตารางพิจารณาปฏิกริ ยิ าว่าดูดหรือคายความร้อน

ปฏิกริ ยิ าดูดความร้อน (Endothermic reaction) ปฏิกริ ยิ าคายความร้อน (Exothermic reaction)


A + B + 100 kJ C+D A + B - 100 kJ C+D
A+B C + D - 100 kJ A+B C + D + 100 kJ
A+B C+D H เป็นบวก A+B C+D H เป็นลบ
A+B C + D - heat A+B C + D + heat
A + B + heat C+D A + B - heat C+D
A C+D A+B C

ตารางสรุปผลของการเปลีย่ นอุณหภูมติ ่อภาวะสมดุล

ชนิดของ การเปลีย่ น ทิศทางของการ ความเข้มข้น ความเข้มข้นของ


ปฏิกริ ยิ า อุณหภูม ิ เกิดปฏิกริ ยิ า ของสารตัง้ ต้น สารผลิตภัณฑ์
ปฏิกริ ยิ าดูด เพิม่ อุณหภูม ิ  ขวา ลดลง เพิม่ ขึน้
ความร้อน ลดอุณหภูม ิ
ปฏิกริ ยิ าคาย เพิม่ อุณหภูม ิ
ความร้อน ลดอุณหภูม ิ

ค่าคงที่สมดุล เมื่อเปลี่ยนอุณหภูมิ - สมการวันต์โฮฟฟ์


ดังที่กล่าวมาแล้วว่าค่าคงที่สมดุลของปฏิกิรยิ าหนึ่งๆ จะมีค่าคงที่ท่อี ุณหภูมคิ งที่ เมื่อ
อุณหภูมเิ ปลีย่ นไป ค่า K ของปฏิกริ ยิ านัน้ จะเปลีย่ นไปด้วย เราสามารถหาค่า K ของปฏิกริ ยิ า
ต่างๆ เมือ่ อุณหภูมเิ ปลีย่ นไปได้ ถ้าทราบการเปลีย่ นแปลงเอนทัลปี (H๐) ของปฏิกริ ยิ านัน้ โดย
ใช้สมการวันต์โฮฟฟ์ (Vant Hoff equation)

K 2 ΔH ο (T2  T1 )
ln 
K1 RT1T2
เมือ่ K2 และ K1 คือค่าคงทีส่ มดุล ทีอ่ ุณหภูม ิ T2 และ T1 ตามลาดับ
H๐ คือ การเปลีย่ นแปลงเอนทัลปีของปฏิกริยา
R คือ ค่าคงทีข่ องแก๊ส (มักใช้ 8.314 JK-1mol-1 ตามหน่วย H๐)
จะเห็นว่าสมการวันต์โฮฟฟ์ใช้หาค่า K2 ได้เมื่อทราบ K1,T2 ,T1 และH๐ นอกจากนัน้
ยังใช้หาค่า H๐ ถ้าทราบ K1,T2 ,T1 และ T2 ซึง่ เป็ นการนาค่าคงทีส่ มดุลไปหาค่าทางอุณหพล
ศาสตร์

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 20


สมดุลเคมี

7. การใช้หลักของเลอชาเตอริ เอ
7.1 ในการอุตสาหกรรม
ในการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมผูล้ งทุนจะต้องทาการผลิตและเลือกใช้วธิ ผี ลิตในการ
เปลีย่ นวัตถุดบิ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์มากทีส่ ุด ตัวอย่างเช่น การผลิตก๊าซแอมโมเนียมีปฏิกริ ยิ า
ดังนี้ N2(g) + 3H2(g) 2NH3(g) + 92 kJ

รูปแสดงปริมาณของแอมโมเนียในก๊าซผสม รูป ก. แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจานวนโมลของ


แอมโมเนียกับความดัน รูป ข. แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจานวนโมลของแอมโมเนียกับ
อุณหภูม ิ (http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem18/7.5.htm)

จากปฏิกริ ยิ าถ้าอาศัยหลักของเลอชาเตอลิเอเพื่อให้ได้ก๊าซมาก ๆ ทาได้ดงั นี้


1) ลดอุณหภูม ิ
2) เพิม่ ความดัน
3) เพิม่ ความเข้มข้นของสารตัง้ ต้นและลดความเข้มข้นของสารใหม่
แต่ในทางปฏิบตั จิ ะใช้หลักของเลอชาเตอริเอ เพียงอย่างเดียวไม่ได้ในทางอุตสาหกรรม
จะต้องคานึงถึงเวลาและเงินทุนด้วย
จากการทดลองพบว่าภาวะทีพ่ อเหมาะคืออุณหภูมทิ เ่ี หมาะสมประมาณ 500๐C และใช้
ตัวเร่งปฏิกริ ยิ าด้วย ซึง่ ตัวเร่งปฏิกริ ยิ าทีเ่ หมาะสมคือเหล็ก

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 21


สมดุลเคมี

แผนภาพแสดงกระบวนการผลิตแก๊สแอมโมเนียในโรงงานอุตสาหกรรม
(McMURRY, Chemistry 4th edition)
ปฏิ กิริยาการเติ ม N2

(McMURRY, Chemistry 4th edition)

ปฏิ กิริยาการเติ ม H2 และการดึง NH3

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 22


สมดุลเคมี

กระบวนการเตรีย มก๊ า ซแอมโมเนี ย ในทางอุ ต สาหกรรมดัง ที่ก ล่ า วมาแล้ ว เป็ น


กระบวนการที่นักเคมีชาวเยอรมันชื่อ ฟริตซ์ ฮาเบอร์ เป็ นผู้ค้นคว้า จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า
กระบวนการฮาเบอร์ (The Haber Process)
7.2 ในสิ่ งมีชีวิต
เช่นในกระบวนการหายใจและแลกเปลีย่ นก๊าซในระบบหมุนเวียนเลือด ออกซิเจน (O2)
จะถูกลาเลียงไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดยรวมไปกับโมเลกุลของฮีโมโกลบิน (Hb) ซึ่งเป็ น
โปรตีนในเม็ดเลือดแดง เรียกว่า ออกซีฮโี มโกลบิน แสดงดังสมการ
Hb + O2 HbO2
ฮีโมโกลบิน ออกซีฮโี มโกลบิน
จากการศึกษาพบว่าในเลือดของคนทีอ่ าศัยอยู่ในพื้นทีท่ ่อี ยู่สูงกว่าระดับน้ าทะเลมากๆ
จะมีความเข้มข้นของฮีโมโกลบินสูง เป็นเพราะ...................................................................
...............................................................................................................................................
จะทาให้เกิดโรค ไฮพอกเซีย (hypoxia) เกิดเนื่องจากทีม่ อี อกซิเจนไปเลีย้ งเนื้อเยื่อของ
ร่างกายไม่พอ ทาให้มอี าการปวดศีรษะ คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย ในรายทีเ่ ป็นรุนแรงอาจถึงตายได้

8. สมดุลของการละลาย (Solubility equilibrium)


สมดุ ล ของการละลายเป็ น อีก ประเภทหนึ่ ง ของสมดุ ล เคมีซ่ึง เป็ น ความสัม พัน ธ์ข อง
ของแข็งและสถานะของของแข็งนัน้ ทีเ่ กิดการละลาย (ในน้า) จนมีสภาพอิม่ ตัว ในหัวข้อนี้สนใจที่
ศึกษาการละลายหรือตกตะกอนของสารที่ละลายน้ าได้น้อย เนื่องมาจาก ในกระบวนการทาง
ชีวภาพหรือสิง่ แวดล้อมเกีย่ วข้องกับสารประกอบทีเ่ กิดการละลายน้าได้น้อย เช่น กระดูกและฟนั
ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารแคลเซียมฟอสเฟต (Ca3(PO4)) ซึง่ เป็ นสารประกอบทีล่ ะลายได้น้อย
นิ่วในไตเกิดจากแคลเซียมออกซาเลต (CaC2O4) ที่ละลายได้ปานกลาง ตกตะกอนอย่างช้าๆ
เป็นต้น

สภาพการละลาย (Solubility) ของสาร หมายถึงความสามารถของสารทีจ่ ะละลายในสารอื่น


จนเป็นสารละลายอิม่ ตัว

รูป แสดงการละลายน้ าของซิลเวอร์คลอไรด์ รูป แสดงนิ่วในไต


th
(McMURRY, Chemistry 4 edition)

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 23


สมดุลเคมี

ตัวอย่าง ภาวะสารละลายอิม่ ตัวของเกลือ AgCl


เขียนสมการได้เป็ น AgCl (s) Ag+ (aq) + Cl- (aq)
เราทราบมาจากการศึ ก ษาเนื้ อ หาในบทนี้ แ ล้ ว ว่ า เมื่อ ถึ ง ภาวะสมดุ ล อัต ราการ
เกิดปฏิกริ ยิ าไปข้างหน้า เท่ากับอัตราการเกิดปฏิกริ ยิ าย้อนกลับ ในกรณีน้ีหมายถึงเมื่อถึงภาวะ
สมดุล หรือในภาวะทีส่ ารละลายอิม่ ตัวแล้วอัตราการละลายจะเท่ากับอัตราการตกผลึก ทีภ่ าวะนี้
ระบบไม่ได้หยุดอยู่นิ่ง ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ท่เี รียกว่าเป็ นภาวะไดนามิกนัน่ เอง ส่วนที่
ละลายน้าได้จะอยู่ในรูปของไอออนบวกและไอออนลบในสารละลาย (Ag+ and Cl- ion) และจาก
การศึกษาเรือ่ งการแสดงค่าคงทีส่ มดุลในปฏิกริ ยิ าวิวธิ พันธุ์ จะเขียนค่าคงทีส่ มดุลของปฏิกริ ยิ านี้
ได้ว่า
K SP  [ Ag ][ Cl ]
ค่า K ในกรณีน้ีจะเขียนว่า Ksp (Solubility product constant) และ
ความสามารถในการละลายจะเขียนในรูปของความเข้มข้นของไอออนในหน่ วยความเข้มข้นเป็ น
โมลต่ อ ลิต ร ยกก าลัง ด้ว ยเลขสัม ประสิทธิจ์ านวนโมลของแต่ ล ะไอออนในสมการแสดงการ
เกิดปฏิกริ ยิ าทีด่ ุลแล้ว
ตัวอย่าง
Ag2CO3
Ag2CO3(s) 2Ag+ (aq) + CO32- Ksp = [Ag+]2[CO32-]
CaF2
CaF2 (s) Ca2+ (aq) + 2F-(aq) Ksp = [Ca2+] [F-]2

เมือ่ วัดความเข้มข้นของ Ca2+ พบว่า [Ca2+] = 3.3 x 10-4 M ดังนัน้ [F-] = 6.7 x 10-4 M ด้วย
ดังนัน้ Ksp = [Ca2+] [F-]2 = (3.3 x 10-4) (6.7 x 10-4)2
= 1.5 x 10-10
ในทางตรงกันข้าม ทาการผสม CaCl2 และ NaF
เข้มข้น 1.5 x 10-4 M และ 1.0 x 10-3 M ตามลาดับ พบว่าเกิด
ตะกอนเกิดขึน้ และสารละลายเป็นสารละลายอิม่ ตัวของ CaF2
ดังนัน้ Ksp = [Ca2+] [F-]2 = (1.5 x 10-4) (1.0 x 10-3)2
= 1.5 x 10-10
รูป แสดงสารละลายอิม่ ตัวของ CaF2
(McMURRY, Chemistry 4th edition)

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 24


สมดุลเคมี

จากสองกรณีขา้ งต้นจะเห็นว่า ค่า Ksp ไม่มผี ลกระทบจากไอออนโซเดียม หรือ คลอไรด์


ในกรณีทส่ี ารละลายเจือจางมากๆ
เราจะเขียนค่า Ksp ของสมการทัวไปได้
่ ว่า
Ax By (s) x Aa+ (aq) + y Bb- (aq)
Ksp = [Aa+]x [Bb-]y

ค่า Ksp จะทาให้เราทราบถึง ความสามารถในการละลายของสารประกอบ ว่าละลายได้


เท่าใดแค่ไหนทีอ่ ุณหภูมคิ งที่ (25 C) เปรียบเทียบการละลายน้ าของสารประกอบต่าง ๆ ว่าสาร
ใดละลายน้ าได้ดมี ากกว่ากัน โดยปกติสารทีม่ คี ่า Ksp มากจะละลายน้ าได้ดกี ว่าสารที่มคี ่า Ksp
น้อย ในบางกรณีการละลายของสารประกอบเกิดไอออนมากกว่าสองไอออน เช่น

MgNH4PO4 (s) Mg2+ (aq) + NH4+(aq) + PO43-(aq)


Ksp = [Mg2+] [NH4+] [PO43-] = 2.5 x 10-12

โดยทัวไปแบ่
่ งเกลือออกเป็น 3 ประเภทตามสภาพการละลายได้ในน้ าทีอ่ ุณหภูมหิ อ้ ง ดังนี้
1) เกลือทีล่ ะลายน้ าได้ (soluble salt) เป็ นเกลือทีล่ ะลายในน้ า แล้วความเข้มข้นมากกว่า
0.1 M
2) เกลือทีล่ ะลายไม่ละลายน้ า (insoluble salt) เป็ นเกลือทีล่ ะลายในน้ า แล้วความเข้มข้น
น้อยกว่า 0.001 M
3) เกลือที่ละลายน้ าได้น้อย (slightly soluble salt) เป็ นเกลือทีล่ ะลายในน้ า แล้วความ
เข้มข้น 0.001-0.1 M

ตาราง แสดงค่า Ksp ของสารประกอบต่างๆ ทีอ่ ุณหภูม ิ 25oC

(McMURRY, Chemistry 4th edition)

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 25


สมดุลเคมี

ตัวอย่างการคานวณเกี่ยวกับค่า Ksp
ตัวอย่าง การละลายของซิลเวอร์ซลั เฟต Ag2SO4 ละลายได้ 1.5 x 10-2 โมลต่อลิตร ทีอ่ ุณหภูม ิ
25 C จงคานวณหาค่า Ksp ของซิลเวอร์ซลั เฟต
วิธที า
เขียนสมการการเกิดปฏิกริ ยิ า
Ag2SO4 (s) 2 Ag+ (aq) + SO42- (aq)
จากสมการจะเห็นได้ว่า 1 โมลของ Ag2SO4 จะให้ Ag+ 2 โมล และ SO42- 1 โมล ใน
สารละลาย ดังนัน้ ถ้า Ag2SO4 1.5x10-2 โมล ละลายเป็ น 1.0 ลิตร จะมีความเข้มข้นของแต่ละ
ไอออนเป็น
[Ag+] = 2 (1.5 x 10-2 ) = 3.0 x 10-2 โมลต่อลิตร
2- -2
[SO4 ] = 1.5 x 10 โมลต่อลิตร
ดังนัน้ จึงหาค่า Ksp ได้ว่า
Ksp = [Ag+]2 [ SO42-]
= (3.0 x 10-2)2 (1.5 x 10-2)
= 1.4 x 10-5
ตัวอย่าง Cu(OH)2 มีค่า Ksp เท่ากับ 2.2 x 10-20 เมื่อให้ Cu(OH)2 ละลายในน้ า จะ
ละลายได้กก่ี รัมทีอ่ ุณหภูม ิ 25 C
วิธที า
เขียนสมการการเกิดปฏิกริ ยิ า
Cu (OH)2 (s) Cu2+ (aq) + 2 OH- (aq)
โมลเริม่ ต้น 0 0
โมลทีเ่ ปลีย่ น +a +a
โมลทีภ่ าวะสมดุล a a
2+ -2
Ksp = [Cu ] [ OH ]
-20
2.20 x 10 = ( a ) ( 2a )2
a3 = (2.20 x 10-20) / 4 = 5.50 x 10-21
a3 = 5.50 x 10-21
a = 1.8 x 10-7 mol / dm3
เราทราบน้ าหนักโมเลกุลของ Cu (OH)2 เท่ากับ 97.57 g/mol
ดังนัน้ Cu (OH)2 จะละลายได้
1 . 8 x 10 7 mol Cu (OH ) 2 97 . 57 g Cu (OH ) 2
 x
1 L sol n 1mol Cu (OH ) 2

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 26


สมดุลเคมี

= 1.8 x 10-5 g/L


ตาราง แสดงการละลายน้าของสารประกอบต่างๆ

สารประกอบทีล่ ะลายน้าได้ สารประกอบทีไ่ ม่ละลายน้า


(soluble salt) (insoluble salt)

• เกลือของ Na+, K+, NH4+ • เกลือซัลไฟด์ (S2-) ยกเว้น เกลือของ


• เกลือไนเตรต (NO3-) Na+, K+, NH4+, Mg2+, Ca2+, Sr2+,
• เกลือของ Cl-, Br-, I- ยกเว้น เกลือ Ba2+
ของ Pb+, Hg2+, Ag+, Cu+ • ออกไซด์ (O2-) ยกเว้น Na2O, K2O,
• เกลือซัลเฟต (SO42-) ยกเว้น SrO, BaO ละลายน้าได้ CaO ละลาย
BaSO4, SrSO4, PbSO4 ไม่ละลาย น้าได้น้อย
น้า และ Ag2SO4, CaSO4, Hg2SO4 • ไฮดรอกไซด์ (OH-) ยกเว้น NaOH,
ละลายน้าได้น้อย KOH, Sr(OH)2, Ba(OH)2 ละลายน้า
ได้ Ca(OH)2 ละลายน้าได้น้อย
• เกลือโครเมต (CrO42-) ยกเว้น เกลือ
ของ Na+, K+, NH4+, Mg2+
• เกลือฟอสเฟต (PO43-) และ
คาร์บอเนต (CO32-) ยกเว้น เกลือ
ของ Na+, K+, NH4+

การพิ จารณาการตกตะกอนของสารประกอบ

เราสามารถพิจารณาสภาวะของสารนัน้ ๆ ว่า ขณะนัน้ เป็ น สารละลายอิ่มตัว หรือ ยัง


สามารถละลายได้อกี หรือ สารละลายนัน้ จะตกตะกอนเมื่อใด เราจะใช้ reaction quotient (Q)
ซึง่ Q แทนค่าผลคูณของการละลายทีส่ ภาวะต่างๆ เปรียบเทียบกับ Ksp

ถ้า Qsp  Ksp Unsaturated solution


Qsp = Ksp Saturated solution
Qsp  Ksp Supersaturated solution; Compound will
precipitate out until the product of the ionic concentrations is
equal to Ksp

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 27


สมดุลเคมี

ตัวอย่าง ผสมสารละลาย Na2SO4 0.00075 M ปริมาณ 100 ml กับสารละลาย BaCl2 0.015


M ปริมาณ 50 ml อยากทราบว่าจะมีตะกอนเกิดขึน้ หรือไม่? กาหนด Ksp (BaSO4) ที่ 25oC
เท่ากับ 1.1 x 10-10
วิธที า
เขียนสมการการเกิดปฏิกริ ยิ า และหาความเข้มข้นของแต่ละสารละลาย
Na2SO4 (s) 2Na+ (aq) + SO42- (aq)
0.00050 M 0.0010 M 0.00050 M
2+
BaCl2 (s) Ba (aq) + 2Cl- (aq)
0.0050 M 0.0050 M 0.010 M
จะเห็นได้ว่า ไอออนต่างๆ ในระบบสามารถรวมตัวกันได้เป็น NaCl และ BaSO4 ซึง่ NaCl
สามารถละลายน้ าได้ และ BaSO4 ละลายน้ าได้น้อย ดังนัน้
Qsp = [Ba2+] [SO42-] = (5.0 x 10-3)(5.0 x 10-4)
= 2.5 x 10-6
Qsp > Ksp ดังนัน้ BaSO4 จะตกตะกอนออกมา

ปัจจัยที่มีผลต่อค่าการละลาย
1. ผลของไอออนร่วม (The common ion effect)
เมื่อเกลือที่ละลายได้น้อย ละลายอยู่ในสารละลายที่มไี ออนที่เหมือนกันอย่างน้อยหนึ่ง
ไอออน (ไอออนร่วม) จะทาให้เกลือนัน้ ละลายได้น้อยลง ตามหลักของเลอชาเตอลิเอร์
เช่น สภาพการละลายได้ของ MgF2 ในน้ าบริสุทธิ ์ ที่ 25oC เท่ากับ 2.6 x 10-4 M
ดังนัน้ Ksp = [Mg2+] [F-]2 = 7.0 x 10-11
เมือ่ นา MgF2 มาละลายใน NaF เข้มข้น 0.10 M ที่ 25oC

MgF2 (s) Mg2+ (aq) + 2 F- (aq)


เริม่ ต้น 0 0.10 M
โมลทีเ่ ปลีย่ น +a + 2a
โมลทีภ่ าวะสมดุล a 0.10 + 2a
Ksp = [Mg2+] [F-]2 = (a) (0.10 + 2a)2
7.0 x 10-11 = (a) (0.10 + 2a)2
ค่า Ksp น้อยมากๆๆ ดังนัน้ (0.10 + 2a) ~ 0.10 M
ดังนัน้ 7.0 x 10-11 = (a) (0.10)2
a = 7.0 x 10-9 M
จะเห็นได้ว่า MgF2 ในสารละลาย NaF น้อยกว่า ละลายในน้ าบริสุทธิ ์ ประมาณ 37000 เท่า

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 28


สมดุลเคมี

ดังนัน้ เกลือที่ละลายได้น้อย ละลายอยู่ในสารละลายที่มไี อออนร่วม จะทาให้เกลือนัน้


ละลายได้น้อยลง ดังแสดงในกราฟด้านล่าง

กราฟ แสดงผลของไอออนร่วมทีม่ ผี ลต่อการละลายของ MgF2 ที่ 25oC


(McMURRY, Chemistry 4th edition)
2. ผลของ pH ของสารละลาย (The pH of the solution)
สารประกอบไอออนิกที่มไี อออนลบที่มสี มบัติเป็ นเบสจะสามารถละลายได้มากขึ้นใน
สารละลายทีเ่ ป็ นกรดมากขึน้ เช่น CaCO3 จะละลายได้มากขึน้ เมื่อ pH ต่ าลง แสดงดังกราฟ
ด้านล่าง เป็นเพราะว่า CO32- สามารถทาปฏิกริ ยิ ากับโปรตอน (H3O+) ของสารละลายกรด ทาให้
ปริมาณของ CO32- ลดลง หลังจากนัน้ ระบบก็จะปรับให้เกิดสมดุลใหม่ เกิดการเลื่อนสมดุลมา
ด้านขวาคือเพิม่ ปริมาณของไอออนของผลิตภัณฑ์มากขึน้ นัน่ คือ CaCO3 จะละลายมากขึน้ ดัง
สมการ
CaCO3 (s) Ca2+ (aq) + CO32-(aq)
CO32- (aq) + H3O+ (aq) HCO3- (aq) + H2O (l)

ปฏิกริ ยิ าสุทธิ: CaCO3 (s) + H3O+ (aq) Ca2+ (aq) + HCO3- (aq) + H2O (l)

กราฟ แสดงค่าการละลายของ CaCO3 ที่ 25oC


(McMURRY, Chemistry 4th edition)

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 29


สมดุลเคมี

3. ผลของการเกิ ดสารเชิ งซ้อน (Formation of Complex Ions)


สารประกอบไอออนิกจะสามารถละลายได้มากขึน้ ในสารละลายทีม่ ลี วิ อิสเบสที่สามารถ
สร้างพันธะโคออร์ดเิ นตโควาเลนท์ได้กบั โลหะไอออนบวกได้ ซึ่งไอออนเชิ งซ้ อน (Complex
ion) คือ ไอออนทีม่ โี ลหะไอออนบวกสร้างพันธะกับโมเลกุล หรือ ไอออนเล็กๆ (NH3, CN-, OH-)
เช่น AgCl ละลายได้ในน้ าได้น้อยและไม่ละลายในกรด แต่จะละลายได้ในสารละลายแอมโมเนีย
มากเกินพอ เนื่องจาก Ag+ ทาปฏิกริ ยิ ากับ NH3 ได้กลายเป็ นไอออนเชิงซ้อนเกิดขึน้ หลังจาก
นัน้ ระบบก็จะปรับให้เกิดสมดุลใหม่ เกิดการเลื่อนสมดุลมาด้านขวาคือเพิม่ ปริมาณของไอออน
ของผลิตภัณฑ์มากขึน้ นันคื่ อ AgCl จะละลายมากขึน้ ดังสมการ
AgCl (s) Ag+ (aq) + Cl-(aq)
+
Ag (aq) + 2NH3 (aq) Ag(NH3)2+ (aq)
ปฏิกริ ยิ าสุทธิ: AgCl (s) + 2NH3 (aq) Ag(NH3)2+ (aq) + Cl-(aq)

รูป แสดงการละลายของ AgCl ในน้าและ กราฟ แสดงแสดงค่าการละลายของ AgCl


ในสารละลายแอมโมเนีย ที่ 25oC
(McMURRY, Chemistry 4th edition)

การเกิดไอออนเชิงซ้อนของ Ag(NH3)2+ จะเกิดขึน้ ทีละขัน้ ตอน (stepwise) ดังต่อไปนี้


Ag+ (aq) + NH3 (aq) Ag(NH3)+ (aq) K1 = 2.1 x 103
Ag(NH3)+ (aq) Ag(NH3)2+ (aq) K2 = 8.1 x 103
ปฏิกริ ยิ าสุทธิ Ag+ (aq) + 2NH3 (aq) Ag(NH3)2+ (aq) Kf = 1.7 x 107
 
[Ag(NH 3 ) 2 ] [Ag(NH 3 ) 2 ]
K1  
 2.1x10 3 , K2  
 8.1 x 10 3
[Ag ][NH 3 ] [Ag(NH 3 ) ][NH 3 ]


[Ag(NH 3 ) 2 ]
K f  K1 x K 2   2
 (2.1 x 10 3 ) (8.1 x 10 3 )
[Ag ][NH 3 ]
 1.7 x 10 7

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 30


สมดุลเคมี

ซึง่ ค่า Kf (formation constant หรือ stability constant) คือ ค่าคงทีส่ มดุลของการเกิด
ไอออนเชิงซ้อนของโลหะไอออนบวก ถ้าค่า Kf มาก แสดงว่าโลหะไอออนบวกนัน้ ชอบทีจ่ ะเกิด
เป็นไอออนเชิงซ้อนมาก
สาหรับการละลาย AgCl ด้วยสารละลายแอมโมเนีย จะเป็ นการรวมสมการของการละลาย AgCl
ในน้า และ สมการการทาปฏิกริ ยิ าของ Ag+ (aq) กับ NH3 (aq) ดังสมการ
AgCl (s) Ag+ (aq) + Cl-(aq) Ksp = 1.8 x 10-10
Ag+ (aq) + 2NH3 (aq) Ag(NH3)2+ (aq) Kf = 1.7 x 107
ปฏิกริ ยิ าสุทธิ: AgCl (s) + 2NH3 (aq) Ag(NH3)2+ (aq) + Cl-(aq) Kc = ?

[Ag(NH 3 ) 2 ][Cl  ]
Kc  2
 K sp x K f  (1.8x10 10 )(1.7x10 7 )  3.1x10 3
[NH3 ]
่ อ Ag(NH3)2+ เกิดได้มากขึน้ ดังนัน้ AgCl จะสามารถ
จะเห็นว่าค่า Kc มากกว่า Ksp มาก นันคื
ละลายได้มากขึน้

แบบฝึ กหัดเพิ่ มเติ ม


1. การเปลีย่ นแปลงต่อไปนี้จดั ว่าเป็นระบบแบบใด (ระบบเปิด, ระบบปิด หรือระบบโดดเดีย่ ว)
ก. เกล็ดไอโอดีนทีอ่ ยูใ่ นบีกเกอร์ คาตอบ............................................................
ข. ลูกเหม็นทีอ่ ยูใ่ นจานกระเบือ้ ง คาตอบ……………………………………………
ค. 2KI (aq) + Pb(NO3)3 (aq)  PbI2 (aq) (s) + 2KNO3 (aq) คาตอบ
..................
ง. NaCl (aq) + AgNO3 (aq)  NaNO3 (aq) + AgCl (s) คาตอบ..................
2. จงเขียนค่า Kc ของปฏิกริ ยิ าต่อไปนี้
2.1 Fe2+ (aq) + Ag+ (aq) Fe3+ (aq) + Ag(s) คาตอบ Kc =
2.2 CO2 (g) + H2 (g) CO (g) + H2O (g) คาตอบ Kc =
2.3 Fe (s) + 4H2O (l) Fe3O4 (s) + 4H2 (g) คาตอบ Kc =
3. กาหนดปฏิกริ ยิ าทีอ่ ยูใ่ นภาวะสมดุลดังนี้
A (g) + 3B (g) C (g) ; K1
2C (g) 3D (g) + 2E (g) ; K2
จงหาค่าคงทีส่ มดุลของปฏิกริ ยิ า 2A (g) + 6B (g) 3D (g) + 2E (g)
4 ค่าคงทีส่ มดุลของปฏิกริ ยิ า 2NO (g) + O2 (g) 2NO2 (g) เท่ากับ 1 x 1012
ค่าคงทีส่ มดุลของปฏิกริ ยิ า NO (g) + ½ O2 (g) NO2 (g) เท่ากับเท่าใด

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 31


สมดุลเคมี

5. ก๊าซ H2 ทาปฏิกริ ยิ ากับ F2 ได้ผลิตภัณฑ์เป็น HF อย่างเดียว และมีค่าคงทีส่ มดุลเท่ากับ


1.15 x 102 เมือ่ เริม่ ต้นปฏิกริ ยิ าในภาชนะขนาด 1.5 dm3 มีก๊าซทัง้ สามชนิดอยูอ่ ย่างละ 3.0
mol จงคานวณหาความเข้มข้นของก๊าซทัง้ 3 ชนิดทีภ่ าวะสมดุล
6. นาเหล็กและน้ าใส่ในภาชนะขนาด 5.0 dm3 แล้วปิดฝา เมื่อเผาภาชนะทีอ่ ุณหภูม ิ 1000 C
เกิดปฏิกริ ยิ าดังนี้ 3Fe (s) + 4H2O (g) Fe3O4 (s) + 4H2 (g) เมื่อปฏิกริ ยิ าเข้าสู่
สมดุล จากการวิเคราะห์พบว่า ภายในภาชนะประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจน 1.10 กรัม และ
ไอน้า 42.50 กรัม จงคานวณหาค่าคงทีข่ องสมดุลสาหรับปฏิกริ ยิ านี้ทอ่ี ุณหภูม ิ 1000 C
7. เมื่อเติม H2 (g) และ I2 (g) อย่างละ 0.50 โมล ลงในภาชนะขนาด 5.0 dm3 ทีอ่ ุณหภูม ิ
520 C เมื่อระบบเข้าสู่สมดุลจากการวิเคราะห์พบว่า ภายในภาชนะประกอบด้วย HI (g)
0.060 โมล จงคานวณหาค่าคงทีข่ องสมดุลทีอ่ ุณหภูม ิ 520 C
8. เมื่อใส่แอมโมเนีย (NH3) 4.0 โมล ในภาชนะขนาด 2.0 ลิตร ทีอ่ ุณหภูม ิ 650 C เมื่อระบบ
เข้าสู่ภาวะสมดุลพบว่ามีก๊าซแอมโมเนียอยู่เพียง 71% ของเริม่ ต้น จงคานวณหาค่าคงที่
สมดุลของปฏิกริ ยิ านี้ 2NH3 (g) N2 (g) + 3H2 (g)
9. ถ้าค่าคงทีข่ องสมดุลที่ 1000 K สาหรับปฏิกริ ยิ า N2 (g) + 3H2 (g) 2NH3 (g)
-3 6 2
เท่ากับ 2.37 x 10 dm /mol จงคานวณหาความเข้มข้นของ N2 ภายในระบบที่
ประกอบด้วย H2 8.80 M และ NH3 1.05 M
10. ปฏิกริ ยิ า H2 (g) + CO2 (g) H2O(g) + CO (g) มีค่าคงทีส่ มดุล เท่ากับ
4.40 ที่ 2000 เคลวิน จงคานวณหาความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดที่ภาวะสมดุลซึง่ เกิดขึน้
หลังจากการเติมก๊าซไฮโดรเจน 1.0 โมล และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1.0 โมลในภาชนะ
ขนาด 4.68 ลิตร ที่ 2000 เคลวิน
11. ค่าคงทีข่ องสมดุลสาหรับปฏิกริ ยิ า 2SO2 (g) + O2 (g) 2SO3 (g) เท่ากับ 4.5
3
dm /mol ที่ 600C ใส่แก๊ส SO3 ในภาชนะขนาด 1.0 ลิตร ให้เกิดปฏิกริ ยิ าที่ 600C เมื่อ
ระบบเข้าสู่ภาวะสมดุล พบว่ามีแก๊ สออกซิเจนเกิดขึ้น 2.0 โมล จงค านวณหาจานวนโมล
เริม่ ต้นของก๊าซ SO3 ในภาชนะ
12. จากสมการ CH 4 ( g )  2H 2 S ( g ) CS2 ( g )  4H 2 ( g ) จงเขียนความสัมพันธ์ระหว่าง Kc
กับ Kp
13. ทีภ่ าวะสมดุลอุณหภูม ิ 500C พบว่า ความของก๊าซแอมโมเนียเท่ากับ 0.147 atm, ความ
ดันของก๊าซไนโตรเจน เท่ากับ 6.00 atm และความดันของก๊าซไฮโดรเจนเท่ากับ 3.70 atm
จงหาค่าคงทีส่ มดุล (Kp) ของปฏิกริ ยิ าต่อไปนี้ N2 (g) + 3H2 (g) 2NH3 (g)
14.กาหนดให้ค่าคงทีส่ มดุล (Kc) ของปฏิกริ ยิ า N2 (g) + 3H2 (g) 2NH3 (g) เท่ากับ
0.286 จงหาค่าคงทีส่ มดุลในเทอมความดัน (Kp)

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 32


สมดุลเคมี

15. เมือ่ ใส่ SbCl5 10.0 g ในภาชนะขนาด 5.0 ลิตร ทีอ่ ุณหภูม ิ 448 C จากนัน้ ปล่อยให้ระบบ
เข้าสู่สมดุล อยากทราบว่ามีปริมาณ SbCl5 เท่าไหร่ทส่ี มดุล? ปฏิกริ ยิ าเป็นดังนี้
SbCl5 (g) SbCl3 (g) + Cl2 (g) ทีอ่ ุณหภูม ิ 448C มีค่า Kc = 2.51 x 10-2
16. จงหาค่าคงทีส่ มดุลจากปฏิกริ ยิ าทีก่ าหนดให้ต่อไปนี้
1) Zn(s) + 2Ag+(aq) Zn2+(aq) + 2Ag(s) คาตอบ Kc =
2) CCl4(l) CCl4(g) คาตอบ Kc =
2+ 2+
3) Hg (l) + Hg (l) Hg2 (aq) คาตอบ Kc =
17. จงทานายการดาเนินไปของปฏิกริ ยิ าเมือ่ รบกวนสมดุลว่าทิศทางไปทางไหนเพื่อปรับเข้าสู่
สมดุลใหม่
2Fe3+ + 2I- 2Fe2+ + I2
เติม Fe(NO3)3 สมดุลเลื่อนไปทาง ……เติม Pb(NO3)3 สมดุลเลื่อนไปทาง ……
เติม KI สมดุลเลื่อนไปทาง …….เติม AgNO3 สมดุลเลื่อนไปทาง…….
เติม LiI สมดุลเลื่อนไปทาง ……………………
18. ทีภ่ าวะสมดุลของปฏิกริ ยิ า H2 (g) + I2 (g) 2HI (g) เมือ่ มีการระบกวน
ภาวะสมดุลโดยการเปลีย่ นแปลงความเข้มข้นของสารจะมีการเปลีย่ นแปลง ดังตาราง

รบกวนสมดุล ทิศทางการ ความเข้มข้นของสารทีส่ มดุลใหม่เมือ่ เปรียบเทียบสมดุลเดิม


ปรับตัวของ (mol.dm-3)
สมดุล H2 I2 HI
I. เติม H2  ขวา เพิม่ ขึน้ ลดลง เพิม่ ขึน้
II. เติม I2
III. เติม HI
IV. แยก H2 ออก
V. แยก HI ออก

การเปลีย่ นแปลงภาวะสมดุลของปฏิกริ ยิ านี้สามารถเขียนกราฟแสดงได้ดงั รูป


กรณีท่ี I. ระบบกวนระบบโดยการเติม H2

HI
ความเข้มข้น

I2

H2

เวลา

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 33


สมดุลเคมี

กรณีท่ี II. ระบบกวนระบบโดยการเติม HI


HI

ความเข้ มข้ น I2

H2

เวลา
กรณีท่ี III. ระบบกวนระบบโดยการแยก I2
HI
ความเข้ มข้ น

I2

H2

เวลา
กรณีท่ี IV. ระบบกวนระบบโดยการแยก HI

HI
ความเข้ มข้ น

I2

H2

เวลา
19. 2CO(g) + O2(g) 2CO2(g)
 เพิม่ ความดันสมดุลเลื่อนไปทาง………………………..
 ลดความดันสมดุลเลื่อนไปทาง…………………………
 ถ้าต้องการให้สมดุลเลื่อนจากซ้ายไปขวา ต้องลดหรือเพิม่ ความดัน………………..
ถ้าเพิม่ ความดันให้ระบบจะได้กราฟทีส่ มดุลใหม่เป็นเช่นไร

CO
ความเข้มข้น

O2
CO2

เวลา

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 34


สมดุลเคมี

ถ้าลดความดันให้ระบบจะได้กราฟทีส่ มดุลใหม่เป็นเช่นไร
CO
ความเข้ มข้ น

O2
CO2

เวลา

เอกสารอ้างอิ ง

กฤษณา ชุตมิ า, หลักเคมีทวไป


ั ่ เล่ม 1, สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 242-251
สาราญ พฤกษ์สุนทร, เคมี 3 ว 037, สานักพิมพ์พฒ
ั นาศึกษา, 101-796.
Raymon Chang. (2008). Chemistry. Graw-Hill Higher Education. New York.
Silberberg M. S. (2003). Chemistry. Mc Graw-Hill Higher Education. New York.
KW. Whitten, R.E. Davis, M.L. Peck, G.G. Stanley, General Chemistry, Thomson
Brooks/Cole, 700-734.
Brady, J.E. (1990)., Genneral Chemistry. John Wiley and Sons, New York
Brady J.E. and Holum J.R., (1993). Chemistry : The Study of Matter and Its Changes,
John Wiley and Sons, New York
Goldberg D.E.., (1989). Schaum’ s 3000 Solved Problems in Chemistry, Mc
Graw-Hill
McMURRY, Chemistry, 4th edition
Petrucci R.H. and Harwood W.S.., (1993). General Chemistry. Priciples and
Modern Applications, 6th ed., Macmillan, New York
Russel, J.B., (1992). Genneral Chemistry. McGraw-Hill, Inc
Shoemaker D.P., Garland C.W., Steinfeld J.I. and Nibler J. W., (1998). Experiments
in Physical Chemistry, 4th ed., McGraw-Hill, Inc.

สาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) หน้า 35

You might also like