You are on page 1of 9

บทที่ 1

บทนำ

1.1 ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา

จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยในปั จจุบัน

สะท้อนถึงพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยที่นิยมในการบริโภคอาหาร

เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็ นส่วนผสมในอัตราที่สูง ซึ่งก่อให้เกิดปั ญหาด้าน

สุขภาพตามมา ปั จจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของคนไทยจากพฤติกรรมการ

บริโภค พบว่า มีความรุนแรงของโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรควิถีชีวิต

จากพฤติกรรมบริโภค ทวีความรุนแรงขึ้น ขาดการควบคุมป้ องกัน

ปั จจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมจากการบริโภค

หวานมากเกินไป หากไม่หาทางแก้ไขปั ญหาเช่นนี้จะทำให้สังคมเกิด

การเจ็บป่ วย มีภาวะแทรกซ้อนและแนวโน้มที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอัน

สมควร ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ รวม

ทั้งสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมากมาย โดยพบข้อมูลเชิง

ประจักษ์ของคนไทยที่มีอายุ15 ปี ขึ้นไป มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน

อ้วนลงพุง และเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งถ้า

หากว่าประเทศไทยปล่อยให้สภาพการณ์ เช่นนี้มีต่อไปเรื่อยๆหรือไม่
หาทางหยุดยั้ง จะทำให้สังคมเกิดการเจ็บป่ วยมีภาวะแทรกซ้อนและ

แนวโน้มที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาระ

ค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพรวมทั้งสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่าง

มากมาย จึงจำเป็ นอย่างยิ่งที่คนในสังคมไทยจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและ

พฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสมไม่บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบ

ของสารให้ความหวานมากเกินพอดี

จากการศึกษาพบว่าในประเทศไทยนั้นมีพระราชบัญญัติคุ้มครอง

ผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็ นการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก เพื่อให้

ผู้บริโภคมีข้อมูลสำหรับตัดสินใจในการเลือกสินค้าและบริการตาม

ความประสงค์เพราะการได้รับข่าวสารที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอ อาจ

ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจผิดพลาดในการเลือกสินค้าและบริการ

ผู้ศึกษาเห็นว่า ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มไม่ได้ให้ความสำคัญอีก

ทั้งข้อแนะนำในการบริโภคก็ไม่มีและไม่ระบุถึงผลเสียต่อสุขภาพใน

ระยะยาว รวมทั้งการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณานับวันยิ่งจะ

เข้าถึงกลุ่มเป้ าหมายที่เป็ นเด็กได้ง่ายและสุ่มเสี่ยงต่อการชักจูงด้วย

ข้อมูลโฆษณาที่เป็ นผลลบต่อกลุ่มเป้ า หมายที่เป็ นเด็กในระยะยาว อีก

ทั้งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พบว่าบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้

ควบคุมปริมาณสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มในปริมาณที่
เหมาะสม ซึ่งมีความปลอดภัยด้านอาหารต่อผู้บริโภคประเทศไทยแม้

จะมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค แต่ยังมีปั ญหาอีกหลายประการที่ไม่

สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็ นช่องว่างทางกฎหมาย

มีข้อบกพร่อง และไม่ครอบคลุมในด้านสินค้าที่เป็ นอาหารและเครื่อง

ดื่มที่จะป้ องกันคนในสังคมที่เป็ นผู้บริโภคได้อย่างเป็ นรูปธรรม เพื่อ

เป็ นการยับยั้งปั ญหาดังกล่าว

ผู้ศึกษาจึงมุ่งศึกษาถึง สภาพปั ญหาของกฎหมายการคุ้มครองผู้

บริโภค ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ปั ญหาจากรูปแบบของ

ฉลาก ที่บังคับใช้ มีความชัดเจนทำให้ผู้บริโภคเข้าใจเพียงไร อีกทั้ง

วิเคราะห์ถึงปั ญหาด้านหลักเกณฑ์หรือบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ

อาหารว่า กฎหมายมีหลักเกณฑ์หรือบทบัญญัติ ที่กำหนดปริมาณ

น้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์โภชนาการหรือไม่ ตลอดจนศึกษาถึงปั ญหาด้าน

บทลงโทษว่ามีความเหมาะสมเพียงไร และบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการ

คุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณาอาหาร ว่ามีการปกป้ องคุ้มครองผู้บริโภค

กลุ่มเด็กไว้โดยเฉพาะอย่างไร ตลอดจนศึกษาถึงมาตรการอื่นที่ใช้ผลัก

ดันให้มีการควบคุมปริมาณสารให้ความหวานในอาหาร ทั้งนี้เพื่อหา

แนวทางแก้ไขและวางข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อมุ่งปกป้ อง คุ้มครอง
ความปลอดภัยหรือสิทธิประโยชน์ต่อผู้บริโภค ให้มีความปลอดภัยจาก

การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม

1. ปั ญหาเกี่ยวกับสีและขนาดของฉลากโภชนาการ

ปั ญหาจากรูปแบบสีของฉลากโภชนาการ ประเทศไทยนั้นมี

กฎหมายบังคับให้ต้องแสดงกาติดฉลาก ซึ่งของไทยเองเป็ นรูปแบบที่

เมื่อนำมาติดบนบรรจุภัณฑ์อาหารซึ่งมี ข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ผิวของบรรจุ

ภัณฑ์มีขนาดเล็ก มีความซับซ้อน ผู้บริโภคไม่เข้าใจความหมายของ

ข้อมูล ไม่สามารถ ประเมินความเหมาะสมของคุณค่าทางโภชนาการ

เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณสูงสุดที่บริโภค ซึ่งผู้บริโภคเองจะต้องมี

ความรู้ด้านโภชนาการพอสมควรจึงจะสามารถเข้าใจได้ถูกต้อง เมื่อนำ

มาติดบนบรรจุภัณฑ์อาหารซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ผิวของบรรจุภัณฑ์มี

ขนาดเล็ก มองเห็นไม่สะดุดสายตา มีความซับซ้อนและยากต่อการ

ทำความเข้าใจตัวเลขของฉลาก และหากอาหารนั้นมีค่า ปริมาณสาร

อาหารที่มีอยู่จริง แล้วหากค่าเกินเกณฑ์โภชนาการ ก็ไม่มีสัญลักษณ์

อื่นใดมาบ่งชี้ว่าค่าสารอาหารหรือ ปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์ซึ่งก็ส่งผล

เสียต่อผู้บริโภคได้โดยตรง

ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ารูปแบบของฉลากและสีโภชนาการที่เข้าใจยาก

นั้น เนื่องจากเป็ นการให้ข้อมูลปริมาณ สารอาหาร แต่ไม่ได้ช่วยในการ


ตีความ ซึ่งผู้บริโภคจะต้องมีความรู้ ด้านโภชนาการพอสมควรจึงจะ

สามารถเข้าใจได้ถูกต้องและใช้ประโยชน์จากฉลากโภชนาการได้ดี ถึง

แม้การให้ความรู้ จะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจเพิ่มขึ้น แต่ประเทศไทยเรา

ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญคือไม่สามารถให้ความรู้แก่ผู้บริโภคได้อย่าง เพียง

พอและทั่วถึง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าในปั จจุบันรูปแบบของฉลาก

โภชนาการ และฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ ยังมีผู้ที่รู้สึกว่า ซับซ้อน

เกินที่จะเข้าใจได้ ถึงแม้ผู้บริโภคจะอ่านฉลาก อ่านข้อความที่ระบุบน

ฉลากได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถ เข้าใจความหมายของข้อมูลอีกทั้งไม่

สามารถประเมินความเหมาะสมของคุณค่าทางโภชนาการ เมื่อเปรียบ

เทียบกับ ปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ รวมถึงไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ใน

การเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้อย่าง ถูกต้อง ตาม

วัตถุประสงค์ของมาตรการฉลากโภชนาการและฉลากจีดีเอ

ผู้เขียนเห็นว่า รูปแบบฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ สามารถที่จะ

จดจำได้ง่าย เพราะมีการแยก สีอย่างชัดเจนซึ่งสัญลักษณ์หรือภาพ

ทำให้สมองจำและนึกได้ไว ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกอาหารที่

เหมาะสมแก่ การบริโภคได้ทันที โดยไม่ต้องใช้เวลาคิดเพื่อประเมิน

คุณค่าทางโภชนาการด้วยตนเอง ซึ่งจะต้องใช้ความรู้ด้าน โภชนาการ

และทักษะการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้องอีก ซึ่งรูปแบบฉลากโภชนาการ
แบบจีดีเอ แยกเป็ นสี เขียว เหลือง ส้ม แดง ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน

จนจำได้อย่างชัดเจน

2. ปั ญหาเกี่ยวกับการควบคุมความเค็มของอาหาร

3. ปั ญหาเกี่ยวกับการควบคุมความหวานของอาหาร

ประเทศไทยใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพตาม

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกาพแสดงสัญลักษณ์โภชนาการบน

ฉลากอาหาร เป็ นเครื่องหมายแสดงทางเลือกสุขภาพที่ช่วยให้ผู้บริโภค

สามารถตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร และเป็ นส่วนหนึ่งของการมีภาวะ

โภชนาการที่เหมาะสม ทั้งนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นและค่านิยม

ของประชาชนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ ซึ่งมองได้ว่า

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพไม่แพร่

หลาย

การใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกเพื่อสุขภาพ เป็ นมาตรการ

เริ่มต้นไปสู่การควบคุมปริมาณสารให้ความหวานในอาหารและเครื่อง

ดื่ม ไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานทางโภชนาการโดยสมัครใจกันทั้งสอง

ฝ่ าย คือฝ่ ายผู้ผลิตก็ผลิตอาหารและเครื่องดื่มออกมาโดยความเต็มใจที่

จะควบคุมปริมาณน้ำตาลในอาหาร เพื่อเป้ าหมายคือยอดขายให้ผู้


บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารของตน เป็ นข้อดีต่อภาครัฐที่ไม่ต้องใช้

มาตรการทางกฎหมายมาบังคับให้ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลใน

อาหารและเครื่องดื่ม ในขณะที่ฝ่ ายผู้บริโภคก็มีช่องทางได้เลือกบริโภค

อาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณภาพเหมาะสมแม้จะจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น

เล็กน้อยในการเลือกซื้ออาหารที่มีการควบคุมปริมาณสารให้ความ

หวานที่ไม่เกินมาตรฐานทางด้านโภชนาการแต่ก็คุ้มค่าเพื่อได้มาซึ่ง

สุขภาพที่ดี

ปั ญหาด้านหลักเกณฑ์หรือบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติอาหาร

พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติที่กำหนด ปริมาณน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์

โภชนาการหรือการจำกัดปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมในการผลิตอาหาร

และเครื่องดื่ม ที่การจำกัดปริมาณน้ำตาลหรือสารให้ความหวานที่

เหมาะสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม

1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1.2.1 เพื่อศึกษา ความหมาย ประวัติความเป็ นมา แนวคิดและ


ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการติดฉลากโภชนาการ

1.2.2 เพื่อศึกษาหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการติดฉลาก
โภชนาการ
1.2.3 เพื่อวิเคราะห์ปั ญหาเกี่ยวกับการติดฉลากโภชนาการ

1.2.4 เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ไขปั ญหากฎหมายเกี่ยวกับ


การติดฉลากโภชนาการ

1.3 สมมติฐานของการศึกษา

1.4 ขอบเขตการศึกษา

ขอบเขตด้านเนื้อหา เป็ นการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจาก

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค

จากอาหารและเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือสารให้ความ

หวาน ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522, พระราชบัญญัติ

คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ

ระเบียบต่าง ๆ จากหนังสือ บทความวิจัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่

เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ

1.5 วิธีการดำเนินการศึกษา

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6.1 ทำให้ทราบความหมาย ประวัติความเป็ นมา แนวคิดและ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการติดฉลากโภชนาการ

1.6.2 ทำให้ทราบหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการติด

ฉลากโภชนาการ

1.6.3 ทำให้ทราบการวิเคราะห์ปั ญหาเกี่ยวกับการติดฉลาก

โภชนาการ

1.6.4 ทำให้ทราบแนวทางในการแก้ไขปั ญหา เกี่ยวกับการติด

ฉลากโภชนาการ เพื่อให้หน่วยงานได้นำไปปรับปรุงแก้ไข้ เพื่อให้เกิด

ความเป็ นธรรมต่อไป

You might also like