You are on page 1of 38

data analytics

¢ŒÍÁÙżٌÊÓàÃ稡ÒÃÈÖ¡ÉÒ»‚ 2565
áÅлÃÐÁÒ³¡ÒüٌࢌÒÊÙ‹µÅÒ´áç§Ò¹
»‚ 2567 - 2568

¡Í§ºÃÔËÒâŒÍÁÙŵÅÒ´áç§Ò¹
¡ÃÁ¡ÒèѴËÒ§Ò¹ ¡ÃзÃǧáç§Ò¹ www.doe.go.th/lmia
คำ�นำ�
กรมการจัดหางาน โดยกองบริหารข้อมูลตลาดแรงงานได้จดั ทำ�หนังสือ “ข้อมูลผู้ส�ำ เร็จการศึกษาปี 2565
และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงาน
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 (ปีการศึกษา 2564)
และผู้เข้าศึกษาใหม่ปี 2565 - 2566 (ปีการศึกษา 2565) ของสถาบันการศึกษาภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งส่วนกลาง
และส่วนภูมิภาค และข้อมูลการประมาณการผู้สำ�เร็จการศึกษาและผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 ซึ่งนายจ้าง/
สถานประกอบการสามารถใช้เป็นข้อมูลกำ�ลังแรงงานในการวางแผนประกอบธุรกิจ/ขยายกิจการ นักเรียน/นักศึกษา
หรือผู้สนใจสามารถใช้อ้างอิง หรือเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาในการศึกษาต่อ และสถาบัน
การศึกษาต่าง ๆ สามารถใช้เป็นข้อมูล ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมต่อการพัฒนากำ�ลังคนของประเทศ
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ www.doe.go.th/lmia

กรมการจัดหางานขอขอบคุณผูบ้ ริหารและเจ้าหน้าทีส่ ถาบันการศึกษาทุกสังกัดและหน่วยงานการศึกษา


ในสั ง กั ด กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารและกรุ ง เทพมหานครที่ ไ ด้ ก รุ ณ าให้ ค วามอนุ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ด้ า นการศึ ก ษา
ซึ่งทำ�ให้การจัดทำ�หนังสือฉบับนี้สำ�เร็จตามวัตถุประสงค์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ “ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษา
ปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568” จะเป็นประโยชน์ ในการศึกษาค้นคว้าและเป็น
ข้อมูลอ้างอิงแก่หน่วยงานและผูส้ นใจทัว่ ไป ทัง้ นี้ หากมีขอ้ คิดเห็นประการใด ขอได้โปรดแจ้งกรมการจัดหางานทราบ
เพื่อจะได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ประโยชน์ต่อไป

(นายไพโรจน์ โชติกเสถียร)
อธิบดีกรมการจัดหางาน

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 (1)


บทสรุปผู้บริหาร
การสำ�รวจ “ข้อมูลผูส้ �ำ เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผูเ้ ข้าสูต่ ลาดแรงงานปี 2567 - 2568”
เป็นการรวบรวมข้อมูลจากสำ�นักการศึกษากรุงเทพมหานคร สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการพลศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของรัฐและเอกชนทัว่ ประเทศ
ซึ่งดำ�เนินการสำ�รวจในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมีนาคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำ�รวจจำ�นวน
ผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 (ปีการศึกษา 2564) และผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 - 2566 2) จัดกลุ่มข้อมูลผู้สำ�เร็จ
การศึกษาปี 2565 และผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 - 2566 ในระดับอาชีวศึกษาและระดับปริญญาตรี สาขาที่เกี่ยวข้องกับ
อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3) เพื่อประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานในปี 2567 และ 2568 ซึ่งสามารถใช้เป็น
ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์วางแผนการผลิตและพัฒนากำ�ลังคนในระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนา
อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลประกอบการแนะแนวการศึกษาต่อของนักเรียน นักศึกษาที่สนใจศึกษา
ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย สรุปผลการสำ�รวจ ดังนี้
ภาพรวมผู้สำ�เร็จการศึกษาในปี 2565 มีจำ�นวน 2,132,955 คน โดยเป็นผู้สำ�เร็จการศึกษา ในระดับ
ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6) มากที่สุด มีจำ�นวน 676,038 คน คิดเป็นร้อยละ 31.70 เมื่อพิจารณาผู้สำ�เร็จการศึกษา
ตามกลุ่มสาขาวิชา เฉพาะผู้สำ�เร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับปริญญาตรี พบว่า ผู้สำ�เร็จการศึกษา
ทั้งระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีสำ�เร็จการศึกษามากที่สุดอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มีจำ�นวน 156,805 คน และ 136,753 คน คิดเป็นร้อยละ 75.24 และร้อยละ 46.38 ตามลำ�ดับ สำ�หรับผู้ที่กำ�ลัง
ศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรี ปี 2565 - 2566 มีจำ�นวนรวม 2,460,570 คน เป็นผู้กำ�ลังศึกษาในระดับ
ปริญญาตรี จำ�นวน 1,452,722 คน คิดเป็นร้อยละ 59.04 รองลงมาคือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
จำ�นวน 657,456 คน คิดเป็นร้อยละ 26.72 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำ�นวน 350,392 คน
คิดเป็นร้อยละ 14.24 โดยทัง้ ระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรี ส่วนใหญ่ก�ำ ลังศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มีจำ�นวน 788,224 คน และ 678,697 คน คิดเป็นร้อยละ 78.21 และร้อยละ 46.72 ตามลำ�ดับ เมื่อพิจารณา
ผู้กำ�ลังศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พบว่าระดับอาชีวศึกษาที่กำ�ลังศึกษาในสาขา
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีจำ�นวน 431,286 คน คิดเป็น ร้อยละ 42.79 โดยอยู่ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ
กลุ่มอุตสาหกรรม First S-curve มีจำ�นวนมากถึง 285,460 คน ส่วนกำ�ลังแรงงานระดับปริญญาตรี กำ�ลังศึกษา
ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีจำ�นวน 298,335 คน คิดเป็นร้อยละ 20.54 และอยู่ในสาขา
ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรม New S-curve จำ�นวน 188,658 คน
ทั้งนี้ ในปี 2567 ประมาณการว่าจะมีผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน จำ�นวน 397,537 คน โดยเป็นผู้สำ�เร็จ
การศึกษาในระดับอาชีวศึกษา จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน จำ�นวน 112,248 คน และส่วนใหญ่เป็นระดับ ปวส. จำ�นวน
80,527 คน คิดเป็นร้อยละ 20.26 สำ�หรับระดับปริญญาตรี คาดว่าจะมีจ�ำ นวน 185,901 คน คิดเป็นร้อยละ 46.76
ส่วนในปี 2568 ประมาณการว่าจะมีผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน จำ�นวน 434,620 คน โดยเป็นผู้สำ�เร็จการศึกษาในระดับ
อาชีวศึกษา จำ�นวน 115,842 คน ส่วนใหญ่เป็นระดับ ปวส. จำ�นวน 79,892 คน คิดเป็นร้อยละ 18.38 สำ�หรับ
ระดับปริญญาตรี คาดว่าจะมี จำ�นวน 215,044 คน คิดเป็นร้อยละ 49.48 ตามลำ�ดับ

(2) ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


ข้ อ มู ล ผู้ สํา เร็จ การศึ ก ษาป� 2565
และประมาณการผู้ เ ข้ า สู่ ต ลาดแรงงานป� 2567-2568
แหล่งรวบรวมข้อมูล
1 สพฐ. 29,556 แห่ง 5 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 1 แห่ง 17 วิทยาเขต

2 สก. 437 แห่ง 6 ม.เทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง 39 วิทยาเขต

3 สช. 4,051 แห่ง 7 มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง

4 สอศ. 871 แห่ง 8 มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน 97 แห่ง

แหล่ ง รวบรวมข้ อ มู ล ทั� ง หมด


35,106
แห่ ง
หน่วย : คน
ประมาณการ ประมาณการ
ผลการสํารวจ ระดั บ
การศึ ก ษา
ผูก ้ ําลังศึกษา
ป� 2565 - 2566
ผู้ สํา เร็ จ
การศึ ก ษา
ผู้ เ ข้ า สู่ ต ลาด
แรงงาน
ผู้ เ ข้ า สู่ ต ลาด
แรงงาน
ป� 2565
ป� 2567 ป� 2568
รวม 7,543,538 2,132,955 397,537 434,620
ประถมศึกษา 1,744,456 676,038 - -
มัธยมต้น 2,036,330 595,025 38,193 38,792
มัธยมปลาย 1,226,005 340,352 61,195 64,942
ปวช. 657,456 109,280 31,721 35,950
ปวส. 350,392 99,133 80,527 79,892
ปริญญาตรี 1,452,722 294,864 185,901 215,044
สูงกว่าปริญญาตรี 76,177 18,263 - -

SCIENCE NON-SCIENCE
หน่วย : คน อาชีวศึกษา ปริญญาตรี หน่วย : คน อาชีวศึกษา ปริญญาตรี

167,396 127,758
ป� 2564 ป� 2564
133,259 132,417

50,524
156,805
ป� 2565 ป� 2565
155,816
136,753

ข้อมูลผู้สําเร็จการศึกษาในกลุ่มอุตสาหกรรมเป�าหมายป� 2565
เปรียบเทียบ ป� 2564 ระดับปริญญาตรี
หน่วย : คน หน่วย : คน
FIRST S-CURVE NEW S-CURVE
20,000 40,000

15,000 30,000
11,398
6,683 7,707
10,000 20,000
1,529
3,994
5,356
8,144
5,000 10,000

1,434 3,220 14,675 22,154


1,340 8,204 9,024 6,333 9,110
2,122 4,960 4,350
0
1,200 0
ยานยนต์สสมัมัยยใหม่
ยานยนต์ ใหม่ อิเล็อิกเล็
ทรอนิ กกส์ส์ออจ
กทรอนิ ั จั ฉริ
ฉริยยะะ ท่อ
ท่องเที
งเทีย
� �ยวกลุ
วกลุ่มม
่ รายได้
รายได้ดี เกษตรและเทคโนโลยี ี ภาพ แปรรู
ดี เกษตรและเทคโนโลยี
ชว แปรรูปอาหาร
ปอาหาร หุหุน
่ ่นยนต์
ยนต์ การบิ
การบินและโลจิ
นและโลจิ สกติส์กส์ เชืเชือ
สติ � อ� เพลิ
เพลิงชีววภาพ
งชี ภาพ ดิดิจจท
ิ ิ ัลล
ท ั การแพทย์
การแพทย์ ครบ
ครบวงจร
ชีวภาพ วงจร
สําเร็จการศึกษาป� 2564 สําเร็จการศึกษาป� 2565 สําเร็จการศึกษาป� 2564 สําเร็จการศึกษาป� 2565

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษา ปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 (3)


สารบัญ หน้า
■ คำ�นำ� (1)
■ บทสรุปผู้บริหาร (2)
Infographic ข้อมูลผูส้ �ำ เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผูเ้ ข้าสูต่ ลาดแรงงานปี 2567 - 2568 (3)
■ สารบัญ (4)
■ สารบัญตาราง (5)
■ สารบัญแผนภูมิ (6)
■ บทที่ 1 บทนำ� 1
1.1 ที่มาและความสำ�คัญของการสำ�รวจ 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการสำ�รวจ 2
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
■ บทที่ 2 ระเบียบวิธีทางสถิติ 3
2.1 ประชากรเป้าหมาย 3
2.2 เวลาอ้างอิง 3
2.3 แผนแบบการสุ่มตัวอย่าง 3
2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 4
2.5 การประมวลผลและนำ�เสนอข้อมูล 4
2.5.1 การจัดกลุ่มสาขาวิชา 4
2.5.2 การประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน 5
2.5.3 การสรุปข้อมูลในตารางผลการสำ�รวจ 7
■ บทที่ 3 ผลการสำ�รวจ 8
3.1 ผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 8
3.1.1 ภาพรวมผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 8
3.1.2 ผู้สำ�เร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9
3.1.3 ผู้สำ�เร็จการศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10
3.2 ผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 - 2566 12
3.2.1 ภาพรวมผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 - 2566 12
3.2.2 ผู้กำ�ลังศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทียบกับด้านสังคมศาสตร์ 12
และมนุษยศาสตร์
3.2.3 ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 14
3.3 ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 และปี 2568 27

(4) ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


สารบัญตาราง
หน้า
■ ตารางที่ 1 จำ�นวนสถานศึกษา จำ�นวนสถานศึกษาตัวอย่าง และจำ�นวนสถานศึกษาตัวอย่าง 4
ที่ได้จากการเก็บข้อมูล
■ ตารางที่ 2 จำ�นวนผู้จบการศึกษา เรียนต่อ และอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา 5
■ ตารางที่ 3 สถานะของผู้สำ�เร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่ติดตามได้ 6
■ ตารางที่ 4 ข้อมูลจำ�นวนผู้สำ�เร็จการศึกษา และอัตราการเรียนต่อของระดับปริญญาตรี 7
■ ตารางที่ 5 จำ�นวนผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 จำ�แนกตามอุตสาหกรรมเป้าหมายและระดับการศึกษา 11
■ ตารางที่ 6 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 17
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 7 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 18
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 8 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 19
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากที่สุด
ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 9 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 20
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 10 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 21
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 11 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 22
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 12 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 23
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 13 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 24
อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 14 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 25
อุตสาหกรรมดิจิทัล ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 15 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ 26
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ระดับปริญญาตรี
■ ตารางที่ 16 ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 และปี 2568 จำ�แนกตามระดับการศึกษา 27

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 (5)


สารบัญแผนภูมิ
หน้า
■ แผนภูมิที่ 1 จำ�นวนและร้อยละของผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 จำ�แนกตามระดับการศึกษา 8
■ แผนภูมิที่ 2 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับอาชีวศึกษา 9
จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา
■ แผนภูมิที่ 3 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 9
และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา
■ แผนภูมิที่ 4 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับปริญญาตรี 10
จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา
■ แผนภูมิที่ 5 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับอาชีวศึกษา 10
จำ�แนกตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
■ แผนภูมิที่ 6 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับปริญญาตรี 11
จำ�แนกตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
■ แผนภูมิที่ 7 ร้อยละผู้เข้าศึกษาใหม่ปี 2565 - 2566 จำ�แนกตามระดับการศึกษา 12
■ แผนภูมิที่ 8 ร้อยละผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับอาชีวศึกษา 13
จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา
■ แผนภูมิที่ 9 ร้อยละผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับปริญญาตรี 13
จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา
■ แผนภูมิที่ 10 ร้อยละผู้เข้าศึกษาใหม่ปี 2565 จำ�แนกตามระดับการศึกษาและกลุ่มสาขาวิชา 14
■ แผนภูมิที่ 11 จำ�นวนและร้อยละผู้กำ�ลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษาปี 2565 จำ�แนกตามระดับชั้น 15
และอุตสาหกรรมเป้าหมาย
■ แผนภูมิที่ 12 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษาปี 2565 จำ�แนกตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย 15
■ แผนภูมิที่ 13 จำ�นวนร้อยละผู้กำ�ลังศึกษาในระดับปริญญาตรีปี 2564 - 2565 จำ�แนกตามระดับชั้น 16
และอุตสาหกรรมเป้าหมาย
■ แผนภูมิที่ 14 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษาในระดับปริญญาตรีปี 2565 จำ�แนกตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย 16
■ แผนภูมิที่ 15 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 17
ยานยนต์สมัยใหม่ ระดับอาชีวศึกษา

(6) ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


สารบัญแผนภูมิ
(ต่อ) หน้า
■ แผนภูมิที่ 16 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 17
ยานยนต์สมัยใหม่ ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 17 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 18
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระดับอาชีวศึกษา
■ แผนภูมิท 18 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 18
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 19 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 3 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 19
การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ระดับอาชีวศึกษา
■ แผนภูมิที่ 20 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 19
การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 21 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 20
การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ระดับอาชีวศึกษา
■ แผนภูมิที่ 22 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 20
การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 23 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 21
การแปรรูปอาหาร ระดับอาชีวศึกษา
■ แผนภูมิที่ 24 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 21
การแปรรูปอาหาร ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 25 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 3 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 22
การบินและโลจิสติกส์ ระดับอาชีวศึกษา
■ แผนภูมิที่ 26 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 22
การบินและโลจิสติกส์ ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 27 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 2 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 23
การแพทย์ครบวงจร ระดับอาชีวศึกษา
■ แผนภูมิที่ 28 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 23
การแพทย์ครบวงจร ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 29 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 24
เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ระดับอาชีวศึกษา

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 (7)


สารบัญแผนภูมิ
(ต่อ) หน้า
■ แผนภูมิที่ 30 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 24
เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 31 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 25
ดิจิทัล ระดับอาชีวศึกษา
■ แผนภูมิที่ 32 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 25
ดิจิทัล ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 33 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 26
หุ่นยนต์ ระดับอาชีวศึกษา
■ แผนภูมิที่ 34 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 26
หุ่นยนต์ ระดับปริญญาตรี
■ แผนภูมิที่ 35 แสดงประมาณการจำ�นวนและร้อยละผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 และปี 2568 27
จำ�แนกตามระดับการศึกษา

(8) ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


บทที่ 1
บทนำ�
1.1 ที่มาและความสำ�คัญของการสำ�รวจ
กรมการจัดหางานมีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำ� และคุ้มครองคนหางาน โดยการศึกษา
วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงานและแนวโน้มตลาดแรงงาน เป็นศูนย์กลางข้อมูลตลาดแรงงาน รวมทัง้ พัฒนาและส่งเสริม
ระบบการบริการด้านการส่งเสริมการมีงานทำ� เพื่อให้ประชากรมีงานทำ�ที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และ
ความถนัด และไม่ถกู หลอกลวง ตลอดจนได้รบั สิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและเป็นธรรม นอกจากนีก้ รมฯ ยังมีภารกิจ
ในการจัดระบบการทำ�งานของคนต่างด้าวเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศ ซึ่งจากภารกิจ
ที่กล่าวมานั้น การส่งเสริมการมีงานทำ�เป็นภารกิจสำ�คัญของกรมการจัดหางาน ที่จะช่วยสนับสนุนให้ประชาชน
ทุกช่วงวัยมีงานทำ� และมีรายได้เพียงพอต่อการดำ�รงชีพ
การวิเคราะห์สถานการณ์ และแนวโน้มของตลาดแรงงานจำ�เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลง
แนวนโยบายด้านต่างๆ ซึง่ ในปัจจุบนั การส่งเสริมและพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นโมเดลในการขับเคลือ่ น
เศรษฐกิจของประเทศไทย ให้เป็นไทยแลนด์ 4.0 เพื่อก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางของประเทศ (Middle Income Trap)
กับ ดั ก ความเหลื่อ มล้ำ� (Inequality Trap) และกับ ดั ก ความไม่ส มดุล ของการพัฒ นา (Imbalance Trap)
ซึ่งเป็นอุปสรรคสำ�คัญในการพัฒนาประเทศ ที่จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีรายได้สูง มีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ด้วยนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาในส่วนของภาคอุตสาหกรรม
ต้องมีการปรับเปลีย่ นโครงสร้างอุตสาหกรรม ทีม่ งุ่ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมทีม่ กี ารใช้เทคโนโลยีขน้ั สูงในการผลิต
เป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาในด้านความคิดสร้างสรรค์แ ละนวัตกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ แรงงานที่มีความรู้
ความชี่ยวชาญและทักษะสูง นอกจากนั้น ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ได้กำ�หนดยุทธศาสตร์ชาติ
ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย คือ อุตสาหกรรมและบริการ
แห่งอนาคตต้องเป็นอุตสาหกรรมและบริการที่พร้อมรับมือและสร้างโอกาสจากความท้าทายที่จะเกิดขึ้นจากการ
ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เป็นผลของการหล่อหลอมเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีทาง
กายภาพเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงอุตสาหกรรม
ได้กำ �หนดอุตสาหกรรมที่จะมีการพัฒนา เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ป ระเทศไทยสามารถแข่งขันได้มีศักยภาพ
ในการดำ�เนินการ ประกอบด้วย 10 อุตสาหกรรม โดยแบ่ง 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 อุตสาหกรรมต่อยอดอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) คือ อุตสาหกรรม
ที่ประเทศไทยมีศกั ยภาพความเชี่ยวชาญในการผลิต และเป็นอุตสาหกรรมที่มศี กั ยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
สร้างมูลค่าการค้าเป็นจำ�นวนมาก แต่หากขาดการพัฒนาต่อยอดด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ อุตสาหกรรมกลุ่มนี้
จะถึงจุดอิ่มตัว และมีความสามารถในการเติบโตต่ำ� จึงจำ�เป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยพัฒนา
ให้กลุม่ อุตสาหกรรมนีเ้ ติบโตต่อไปได้ ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
อัจฉริยะ 3) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 4) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 5) อุตสาหกรรม
การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 1


กลุ่มที่ 2 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) คือ กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีการใช้เทคโนโลยี
และนวัตกรรมอย่างเข้มข้น กลุ่มนีม้ คี วามสามารถในการเติบโตต่อไปในอนาคตสูง แต่เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมใหม่
ยังมีผู้ประกอบการน้อย กลุ่มอุตสาหกรรมยังไม่เข้มแข็ง มูลค่าทางเศรษฐกิจยังไม่มากนักเมื่อเทียบกับกลุ่มแรก
ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรมดิจิทัล
2) อุตสาหกรรมหุน่ ยนต์ 3) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 4) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 5) อุตสาหกรรม
เชื้อเพลิง ชีวภาพและเคมีชีวภาพ
จากการที่ภาครัฐได้มีแนวนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ประเทศไทย
มีศักยภาพ ซึ่งนอกจากปัจจัยด้านทุนแล้วภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จำ�เป็นต้องมีปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อใช้
ในการดำ�เนินการผลิต จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการผลิตบุคลากร โดยเฉพาะบุคลากรที่มีความรู้และทักษะ
เพื่อให้สามารถทำ�งานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีขั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น
กรมการจัดหางานโดยกองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน จึงดำ�เนินการสำ�รวจข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และ
ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 และปี 2568 เพื่อให้มีข้อมูลสนับสนุนการวางแผนพัฒนาบุคลากร
ให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายต่อไป

1.2 วัตถุประสงค์ของการสำ�รวจ
1.2.1 เพื่อสำ�รวจจำ�นวนผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565-2566
1.2.2 เพื่อจัดกลุ่มข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และผู้ก�ำ ลังศึกษาปี 2565 -2566 ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1.2.3 เพื่อประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานในปี 2567 และปี 2568

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.3.1 มีข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ วางแผนการผลิตและพั ฒ นากำ�ลังคนในระบบการศึกษา
ให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1.3.2 มีข้อมูลประกอบการแนะแนวการศึกษาต่อของนักเรียน นักศึกษา ที่สนใจศึกษาในสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1.3.3 มีข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการด้านตลาดแรงงาน
1.3.4 ลดปัญหาความไม่สอดคล้องในตลาดแรงงาน

2 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


บทที่ 2
ระเบียบวิธที างสถิติ
2.1 ประชากรเป้าหมาย
การสำ�รวจ “ข้อมูลผูส้ �ำ เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสูต่ ลาดแรงงานปี 2567 - 2568”
ประชากรเป้าหมายคือ สถาบันการศึกษาทีเ่ ปิดสอนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และปริญญาตรี
ในสังกัดหน่วยงานด้านการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วยสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำ�นักการศึกษากรุงเทพมหานคร สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำ�นักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ สถาบันการบินพลเรือน มหาวิทยาลัย/วิทยาลัยภาครัฐและเอกชน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยราชภัฏ

2.2 เวลาอ้างอิง
หมายถึง ช่วงเวลาของการสำ�รวจระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมีนาคม 2566

2.3 แผนแบบการสุ่มตัวอย่าง
แผนแบบการสุ่มตัวอย่างใช้แผนการสุม่ ตัวอย่างแบบ Stratified One-Stage Sampling โดยแบ่งกลุ่ม
สถาบันการศึกษาเป็น 9 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สำ�นักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร 3) สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 4) สถาบันการศึกษาในสังกัดสำ�นักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา 5) มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 6) สถาบันการบินพลเรือน 7) มหาวิทยาลัย/
วิทยาลัยภาครัฐและเอกชน 8) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9) มหาวิทยาลัยราชภัฎ แล้วทำ�การเลือกสถาบัน
การศึกษาตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มสถาบันการศึกษา ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic random
sampling) โดยกำ�หนดขนาดตัวอย่างจากสูตรกำ�หนดขนาดตัวอย่าง ดังนี้

Nk V
2 2

n= ,2
kV E
2 2
+ N

โดยที่ n คือขนาดของตัวอย่างที่ควรสุ่มจากที่มีอยู่ทั้งหมด N หน่วย


N = ขนาดประชากร = 35,268 แห่ง
K = ค่าจากตาราง z ที่ระดับความเชื่อมั่น ในการสำ�รวจครั้งนี้ใช้ระดับความเชื่อมั่น 95% k = 1.96
V = CV = ค่าสัมประสิทธิ์ความผันแปร ในการวิจัยครั้งนี้ใช้สัมประสิทธิ์ความผันแปรเท่ากับ 1
E’ = % ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ความคลาดเคลื่อน ร้อยละ 5

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 3


จากสูตรกำ�หนดขนาดตัวอย่างดังกล่าวได้ขนาดตัวอย่างจำ�นวน 3,668 แห่ง เมื่อดำ�เนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลได้ตัวอย่างทั่วประเทศ จำ�นวน 35,106 แห่ง รายละเอียดตาม ตารางที่ 1
ตารางที่ 1 จำ�นวนสถานศึกษา จำ�นวนสถานศึกษาตัวอย่าง และจำ�นวนสถานศึกษาตัวอย่างที่ได้จากการเก็บข้อมูล
จำ�นวน จำ�นวน จำ�นวน
สถานศึกษา สถานศึกษา สถานศึกษา
กลุ่มสถาบันการศึกษา (แห่ง) ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ได้จาก
(N) (แห่ง) การเก็บข้อมูล
(n)
1 สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา 29,642 1,461 29,556
ขั้นพื้นฐาน
2 สำ�นักการศึกษากรุงเทพมหานคร 437 340 437
3 สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริม 4,112 1,119 4,051
การศึกษาเอกชน
4 สถาบันการศึกษาในสังกัดสำ�นักงาน 880 560 871
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
5 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ* 17 17 17
6 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล* 39 38 39
7 มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 37 38
8 มหาวิทยาลัย/วิทยาลัย ภาครัฐและ 103 97 97
เอกชน
รวม 35,268 3,668 35,106
หมายเหตุ : * มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ มี 1 แห่ง (17 วิทยาเขต) / มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มี 9 แห่ง (39 วิทยาเขต)

2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
การสำ�รวจได้ดำ�เนินการพร้อมกันทั่วประเทศระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมีนาคม 2566
สำ�หรับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการส่งแบบสำ�รวจทางไปรษณีย์ถึงสถาบันการศึกษาและหน่วยงานการศึกษา
ทุกสังกัด และติดตามผลการตอบแบบสำ�รวจโดยการโทรศัพท์ติดตามเพื่อให้ได้จำ�นวนสถาบันการศึกษาครบ
ตามขนาดตัวอย่างที่กำ�หนดไว้

2.5 การประมวลผลและนำ�เสนอข้อมูล
2.5.1 การจัดกลุ่มสาขาวิชา
การประมวลผลการสำ�รวจครั้งนี้เป็นการประมวลผลให้ได้ภาพของกำ�ลังแรงงานในระบบการศึกษาไทย
โดยการจัดกลุ่มกำ�ลังแรงงานที่สำ�เร็จการศึกษาและกำ�ลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรม
เป้ า หมาย อ้ า งอิงจากเอกสารประกอบการประชุ ม คณะอนุก รรมการเพื่อ พิ จ ารณากำ � หนดสาขาวิ ช าที่เป็ น
ความต้องการหลัก ซึ่งมีความชัดเจนของการผลิตกำ�ลังคนและมีความจำ�เป็นต่อการพัฒนาประเทศในสาขาวิชาที่ขาดแคลน
หรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ โดยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้จัดกลุ่มสาขาวิชา/หลักสูตร
ที่ตอบสนอง 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve)

4 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


ประกอบด้วย 1) อุ ตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3) อุตสาหกรรม
การท่องเที่ ยวกลุ่ มรายได้ดีและการท่องเที่ ยวเชิงสุขภาพ 4) อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และ
5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) ประกอบด้วย 1) อุตสาหกรรม
หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
4) อุตสาหกรรมดิจิทัล และ 5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
2.5.2 การประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน
การประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานในปี 2567 และปี 2568 คำ�นวณจากส่วนต่างของอัตราการเรียนต่อ
ในแต่ละระดับการศึกษา โดยใช้อัตราการเรียนต่อเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2559 - 2564) โดยข้อมูลอัตราการเรียนต่อ
ในแต่ละระดับการศึกษาสืบค้นจากเว็บไซต์สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประกอบด้วย
1) ข้อมูลอัตราการเรียนต่อระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 จากตารางที่ 2 อัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษา
และอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2559 - 2564 โดยสถิติการศึกษา สำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ตารางที่ 2 จำ�นวนผู้จบการศึกษา เรียนต่อ และอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
ระดับการศึกษา 2559 2560 2561 2562 2563 2564
จำ�นวนผู้จบชั้น ป.6 (คน) 803,315 812,934 797,031 793,613 788,350 774,635
- เรียนต่อชั้น ม.1 797,370 809,520 793,310 790,042 783,188 771,500
จำ�นวนผู้จบชั้น ม.3 (คน) 769,301 739,738 739,674 731,569 741,904 733,721
- เรียนต่อชั้น ม.4 / ปวช.1 696,833 674,127 679,130 679,933 708,606 707,595
- เรียนต่อชั้น ม.4 448,460 429,937 431,366 434,143 455,611 471,939
- เรียนต่อชั้น ปวช.1 248,373 244,190 247,764 245,790 252,995 235,656
จำ�นวนผู้จบชั้น ม.ตอนปลาย (คน) 666,637 597,315 596,303 580,416 565,099 577,578
- เรียนต่อชัน้ อุดมศึกษาปีท่ี 1 541,720 498,557 511,751 498,575 549,983 492,811
- เรียนต่อชั้น ปวส.1 167,975 165,869 179,143 180,582 183,788 172,415
- เรียนต่อชั้นปริญญาตรีปีที่ 1 373,745 332,688 332,608 317,993 366,195 320,396

อัตราการเรียนต่อ (ร้อยละ)
- ป.6 เรียนต่อชั้น ม.1 99.26 99.58 99.53 99.55 99.35 99.60
- ม.3 เรียนต่อชั้น ม.4 / ปวช.1 90.58 91.13 91.81 92.94 95.51 96.44
- ม.3 เรียนต่อชั้น ม.4 58.29 58.12 58.32 59.34 61.41 64.32
- ม.3 เรียนต่อ ปวช.1 32.29 33.01 33.50 33.60 34.10 32.12
- ม.ปลาย เรียนต่อชั้นอุดมศึกษาปีที่ 1 81.26 83.47 85.82 85.90 97.33 85.32
- ม.ปลาย เรียนต่อ ปวส. 1 25.20 27.77 30.04 31.11 32.52 29.85
- ม.ปลาย เรียนต่อปริญญาตรีปีที่ 1 56.06 55.70 55.78 54.79 64.80 55.47

ที่มา : สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx
ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 5
2) ข้อมูลอัต ราการเรียนต่อและการเข้ า สู่ ต ลาดแรงงานของระดับอาชี วศึ ก ษา จากตารางที่ 3
แสดงสถานะของผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่ติดตามได้ ปีการศึกษา 2558 - 2562 จากระบบติดตามภาวะ
ผู้มีงานทำ� ผู้สำ�เร็จการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ตารางที่ 3 สถานะของผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่ติดตามได้
จำ�นวนผู้จบการศึกษา และเรียนต่อ (คน)
ระดับการศึกษา 2558 2559 2560 2561 2562
จำ�นวนผู้จบชั้น ปวช. 28,384 55,124 56,701 51,341 77,992
จำ�นวนผู้เรียนต่อ 23,356 43,855 46,188 41,422 61,357

จำ�นวนผู้จบชั้น ปวส. 35,274 56,742 53,532 48,337 71,776


จำ�นวนผู้เรียนต่อ 11,864 16,182 14,120 17,064 20,549
อัตราการเรียนต่อ (ร้อยละ)
ระดับการศึกษา 2558 2559 2560 2561 2562
ปวช. 82.29 79.56 81.46 80.68 78.67
ปวส. 33.63 28.52 26.38 35.30 28.63

จำ�นวนผูู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน (คน)
ระดับการศึกษา 2558 2559 2560 2561 2562
จำ�นวนผู้จบชั้น ปวช. 28,384 55,124 56,701 51,341 77,992
จำ�นวนผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน 3,856 11,269 10,513 9,919 16,635

จำ�นวนผู้จบชั้น ปวส. 35,274 56,742 53,532 48,337 71,776


จำ�นวนผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน 19,124 40,560 39,412 31,273 51,227
อัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงาน (ร้อยละ)
ระดับการศึกษา 2558 2559 2560 2561 2562
ปวช. 13.59 20.44 18.54 19.32 21.33
ปวส. 54.22 71.48 73.62 64.70 71.37

ที่มา : สำ�นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=social

6 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


3) ตารางที่ 4 ข้อมูลจำ�นวนผู้ส�ำ เร็จการศึกษา และอัตราการเรียนต่อของระดับปริญญาตรี คำ�นวณจาก
ระบบภาวะการมีงานทำ�ของบัณฑิต สำ�นักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ตารางที่ 4 ข้อมูลจำ�นวนผู้สำ�เร็จการศึกษา และอัตราการเรียนต่อของระดับปริญญาตรี
จำ�นวนผู้สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (คน)
ปีการศึกษา รวม ทำ�งานแล้ว ทำ�งานแล้ว ยังไม่ได้ทำ�งาน กำ�ลังเรียนต่อ
และกำ�ลังเรียนต่อ และไม่ได้เรียนต่อ
2561 200,662 130,011 2,896 59,523 8,232
2562 166,359 103,405 1,995 54,168 6,791
2563 120,047 75,856 1,942 37,749 4,500
2564 124,388 84,178 1,385 34,708 4,117
2565 3,533 2,628 39 769 97
อัตราการเรียนต่อของระดับปริญญาตรี (ร้อยละ)
ปีการศึกษา ทำ�งานแล้ว ทำ�งานแล้ว ยังไม่ได้ทำ�งาน กำ�ลังเรียนต่อ
และกำ�ลังเรียนต่อ และไม่ได้เรียนต่อ
2561 64.79 1.44 29.66 4.10
2562 62.16 1.20 32.56 4.08
2563 63.19 1.62 31.45 3.75
2564 67.67 1.11 27.90 3.31
2565 74.38 1.10 21.77 2.75
ที่มา : สำ�นักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
https://employ.mhesi.go.th/index.php/MDV8fG1haW4vZGV0YWlsc3ViMmxldmVsMi8yNTYxLzI1NjU

ก่อนจัดทำ�การประมาณการผู้ส�ำ เร็จการศึกษา ได้มีการปรับค่าความคลาดเคลือ่ นโดยนำ�ผลประมาณการ


ของปีก่อนมาเทียบกับข้อมูลจริงที่สำ�นักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เผยแพร่ ในเว็บไซต์
และนำ�ไปประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานต่อไป
การประมาณการผูเ้ ข้าสูต่ ลาดแรงงานเป็นการประมาณในภาพรวมของแต่ละระดับการศึกษา ซึ่งไม่ได้
ประมาณการการเข้าสู่ตลาดแรงงานรายสาขา เนื่องจากมีขอ้ จำ�กัดเรื่องข้อมูลอัตราการเรียนต่อในแต่ละรายสาขาวิชา
ดังนัน้ ในการประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานจำ�แนกตามกลุม่ อุตสาหกรรม จึงใช้วธิ กี ารกระจายสัดส่วนจากภาพรวม
ของแต่ละระดับการศึกษา ซึ่งผลการประมาณการดังกล่าวอาจมีความคลาดเคลื่อนผู้ใช้ข้อมูลจึงควรระมัดระวัง
ในการนำ�ข้อมูลไปใช้อ้างอิง
2.5.3 การสรุปข้อมูลในตารางผลการสำ�รวจ
1) การประมวลผลข้อมูลผูก้ �ำ ลังศึกษาระดับอาชีวศึกษา จะประมวลผลรวมระหว่างผูส้ �ำ เร็จการศึกษา
และหรือ ผู้กำ�ลังศึกษาในระดับ ปวช. และ ปวส.
2) การประมวลผลข้อมูลระดับปริญญาตรี จะประมวลผลรวมระหว่างผู้กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปีที่ 1
ถึงชั้นปีที่ 4 ยกเว้นในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรที่ประมวลผลรวมระหว่างผู้กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปีที่ 1
ถึงชัน้ ปีที่ 6 เนื่องจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้หลายสาขาวิชากำ�หนดให้มีการเรียนการสอน 5 ปี หรือ 6 ปี
ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 7
บทที่ 3
ผลการสำ�รวจ
การสำ�รวจ “ข้อมูลผู้ส�ำ เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568”
เป็นการรวบรวมข้อมูลจากสำ�นักการศึกษากรุงเทพมหานคร สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยการกีฬา
แห่งชาติ สถาบันการบินพลเรือน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และมหาวิทยาลัยของรัฐ
และเอกชนทัว่ ประเทศ ซึง่ ดำ�เนินการสำ�รวจในช่วงเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมีนาคม 2566 ปรากฏผลการสำ�รวจ
ดังนี้

3.1 ผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565


3.1.1 ภาพรวมผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565
ในปี 2565 มีผู้ส�ำ เร็จการศึกษาจำ�นวน 2,132,955 คน (ปีการศึกษา 2564) ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6)
มากที่สุด จำ�นวน 676,038 คน คิดเป็นร้อยละ 31.70 รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) จำ�นวน 595,025 คน
คิดเป็นร้อยละ 27.90 และระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) จำ�นวน 340,352 คน คิดเป็นร้อยละ 15.96 ตามลำ�ดับ
ปรากฏตามแผนภูมิที่ 1
แผนภูมิที่ 1 จำ�นวนและร้อยละของผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 จำ�แนกตามระดับการศึกษา
676,038
595,025

340,352
294,864

109,280 99,133
15,885 2,378

ป.6 ม.3 ม.6 ปวช. ปวส. ป.ตรี ป.โท ป.เอก

ป.โท 0.74 % ป.เอก 0.11 %


ป.ตรี 13.82 %
ป.6 31.70 %
ปวส. 4.65 %
ปวช. 5.12 %

ม.6 15.96 %

ม.3 27.90 %

8 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


3.1.2 ผู้สำ�เร็จการศึกษาด้านวิท ยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เทียบกับด้านสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์
เมื่อพิจารณาผู้สำ�เร็จการศึกษาตามกลุ่มสาขาวิชาที่สำ�เร็จการศึกษาเฉพาะผู้สำ�เร็จการศึกษาระดับ
อาชีวศึกษาและระดับปริญญาตรี พบว่า ผู้สำ�เร็จการศึกษาในปี 2565 ระดับอาชีวศึกษาเป็นผู้สำ�เร็จการศึกษา
ในกลุ่มสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (science) มากที่สุด จำ�นวน 156,805 คน คิดเป็นร้อยละ 75.24
และสำ�เร็จการศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (non-science) จำ�นวน 50,524 คน
คิดเป็นร้อยละ 24.24 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2564 สามารถจำ�แนกได้ ปรากฏตามแผนภูมิที่ 2
และแผนภูมิที่ 3
แผนภูมิที่ 2 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับอาชีวศึกษา จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา

วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำ�แนกไม่ได้

0.35 0.52
43.13 24.24

75.24
56.52

ปี 2564 ปี 2565

แผนภูมิที่ 3 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)


และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา

วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำ�แนกไม่ได้

0.69 0.99
25.28 23.10
42.88 43.40

73.73 76.90
56.44 56.60

ปี 2564 ปี 2565 ปี 2564 ปี 2565

ระดับ ปวช. ระดับ ปวส.

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 9


ระดับปริญญาตรี สำ�เร็จการศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำ�นวน 136,753 คน
คิดเป็นร้อยละ 46.38 สำ�เร็จการศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำ�นวน 155,816 คน
คิดเป็นร้อยละ 52.84 และจำ�แนกไม่ได้ จำ�นวน 2,295 คน คิดเป็นร้อยละ 0.78 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สำ�เร็จ
การศึกษาปี 2565 กับปี 2564 สามารถจำ�แนกได้ ปรากฏตามแผนภูมิที่ 4
แผนภูมิที่ 4 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับปริญญาตรี จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา
วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำ�แนกไม่ได้
2.07 0.78

48.81 52.84

46.38
49.12

ปี 2564 ปี 2565
3.1.3 ผู้สำ�เร็จการศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
เมือ่ พิจารณาผูส้ �ำ เร็จการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและระดับปริญญาตรีทศ่ี กึ ษาในสาขาวิชาทีเ่ กีย่ วข้อง
กับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่วนใหญ่ระดับอาชีวศึกษาสำ�เร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
เป้าหมาย มีจำ�นวน 117,913 คน คิดเป็นร้อยละ 56.58 และระดับปริญญาตรีสำ�เร็จการศึกษาในสาขาวิชา
ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีจำ�นวน 240,593 คน คิดเป็นร้อยละ 81.59 สำ�หรับผู้สำ�เร็จการศึกษา
ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายในแต่ละระดับการศึกษา พบว่า ระดับอาชีวศึกษา มีจำ�นวน 90,500 คน
และระดับปริญญาตรี มีจำ�นวน 54,271 คน โดยกลุ่มที่สำ�เร็จการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา สำ�เร็จการศึกษา
ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) จำ�นวน 58,065 คน คิดเป็นร้อยละ
27.86 (ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำ�นวน 31,902 คน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำ�นวน
26,163 คน) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve) จำ�นวน 32,435 คน คิดเป็นร้อยละ 15.56 (ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำ�นวน 12,414 คน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำ�นวน 20,021 คน)
แผนภูมิที่ 5 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับอาชีวศึกษา จำ�แนกตามสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
First S-curve New S-curve Other

58.73 56.58

21.45 15.56

19.82 27.86

ปี 2564 ปี 2565

10 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


ระดับปริญญาตรี สำ�เร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอนาคต New S-curve
จำ�นวน 35,825 คน คิดเป็นร้อยละ 12.15 และกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มศี กั ยภาพ First S-curve จำ�นวน 18,446 คน
คิดเป็นร้อยละ 6.26
แผนภูมิที่ 6 ร้อยละผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับปริญญาตรี จำ�แนกตามสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
First S-curve New S-curve Other

69.73 81.59

20.36
12.15
9.91 6.26
ปี 2564 ปี 2565

ตารางที่ 5 จำ�นวนผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 จำ�แนกตามอุตสาหกรรมเป้าหมายและระดับการศึกษา

อุตสาหกรรมเป้าหมาย ระดับการศึกษา
ปวช. ปวส. ปริญญาตรี
หน่วย : คน
รวมอุตสาหกรรมเป้าหมาย 44,316 46,142 54,082
First S-curve 31,902 26,163 18,446
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 3,221 3,619 6,683
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร 3,843 5,065 3,994
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 1,145 531 1,529
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 16,812 12,228 1,340
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 6,881 4,720 1,434
New S-curve 12,414 20,021 35,825
อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ 42 368 5,356
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร 0 16 11,398
อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ 66 1,636 8,144
อุตสาหกรรมดิจิทัล 3,144 9,618 7,707
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 9,162 8,383 3,220
อุตสาหกรรมอื่นๆ 64,964 52,949 240,593
รวมทั้งหมด 109,280 99,133 294,864

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 11


3.2 ผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 – 2566
3.2.1 ภาพรวมผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 - 2566
ในปี 2565 – 2566 มีผู้กำ�ลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาถึงระดับปริญญาเอก จำ�นวน 5,799,082 คน
โดยจำ�แนกเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3) จำ�นวน 2,036,330 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
(ม.4 – ม.6) จำ�นวน 1,226,005 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.1 - ปวช.3) จำ�นวน 657,456 คน ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.1 - ปวส.2) จำ�นวน 350,392 คน ระดับปริญญาตรี จำ�นวน 1,452,722 คน
ระดับปริญญาโท จำ�นวน 58,054 คน และระดับปริญญาเอก จำ�นวน 18,123 คน
เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้เข้าศึกษาใหม่ในระดับมัธยมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี มีจ�ำ นวน 1,897,275 คน
โดยจำ�แนกเป็นผู้เข้าศึกษาใหม่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1) จำ�นวน 687,424 คน (ร้อยละ 36.23) ระดับ
มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย (ม.4) จำ�นวน 433,317 คน (ร้อยละ 22.84) ระดั บประกาศนี ย บั ตรวิ ช าชี พ (ปวช.ปี1)
จำ�นวน 221,739 คน (ร้อยละ 11.69) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.ปี1) จำ�นวน 164,045 คน
(ร้อยละ 8.64) และระดับปริญญาตรี (ปริญญาตรีปี 1) จำ�นวน 390,750 คน (ร้อยละ 20.60) ตามลำ�ดับ ปรากฏตาม
แผนภูมิที่ 7

แผนภูมิที่ 7 ร้อยละผู้เข้าศึกษาใหม่ปี 2565 - 2566 จำ�แนกตามระดับการศึกษา


ม.1
ม.4
390,750 คน
20.60 (%) ปวช.1
687,424 คน
36.23 (%)
164,045 คน ปวส.1
8.64 (%)
ป.ตรี1
221,739 คน
11.69 (%) 433,317 คน
22.84 (%)

3.2.2 ผูก้ �ำ ลังศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทียบกับด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์


เมื่อพิจารณาผู้กำ�ลังศึกษาตามกลุ่มสาขาวิชาที่กำ�ลังศึกษา พบว่า ผู้กำ�ลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษา
เป็นผู้กำ�ลังศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำ�นวน 788,224 คน คิดเป็นร้อยละ 78.21
กำ�ลังศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำ�นวน 215,813 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 21.41
และไม่สามารถจำ�แนกได้อีกจำ�นวน 3,811 คน คิดเป็นร้อยละ 0.38 ปรากฏตามแผนภูมิที่ 8

12 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


แผนภูมิที่ 8 ร้อยละผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับอาชีวศึกษา จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา
วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำ�แนกไม่ได้
0.14 0.38
21.41
34.84

78.21
65.02

ปี 2564 ปี 2565

ระดับปริญญาตรี ผู้กำ�ลังศึกษาในระดับปริญญาตรี กำ�ลังศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์


และเทคโนโลยีมากที่สุด จำ�นวน 678,697 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 46.72 และกำ�ลังศึกษาในกลุ่มสาขาวิชา
ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำ�นวน 757,089 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 52.11 และไม่สามารถจำ�แนกได้อีก
จำ�นวน 16,936 คน คิดเป็น ร้อยละ 1.17 ปรากฏตามแผนภูมิที่ 9

แผนภูมิที่ 9 ร้อยละผู้กำ�ลังศึกษาปี 2565 เทียบกับปี 2564 ระดับปริญญาตรี จำ�แนกตามกลุ่มสาขาวิชา


วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำ�แนกไม่ได้

1.18 1.17

52.11
46.72

46.72
52.10

ปี 2564 ปี 2565

เมื่อพิจารณาเฉพาะผูเ้ ข้าศึกษาใหม่พบว่าในระดับ ปวช. ชัน้ ปีท่ี 1 มีผเู้ ข้าศึกษาใหม่ จำ�นวน 221,739 คน


เข้าศึกษาในสาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากที่สุด จำ�นวน 176,042 คิดเป็นร้อยละ 79.39 ส่วนสาขา
ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มีจ�ำ นวน 44,389 คน คิดเป็นร้อยละ 20.02 และจำ�แนกไม่ได้อกี จำ�นวน 1,308 คน
คิดเป็นร้อยละ 0.59 สำ�หรับระดับ ปวส. ชั้นปีที่ 1 มีผู้เข้าศึกษาใหม่ จำ�นวน 164,045 คน เข้าศึกษาในสาขา
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากทีส่ ดุ จำ�นวน 126,353 คน คิดเป็นร้อยละ 77.02 ส่วนสาขาด้านสังคมศาสตร์และ

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 13


มนุษยศาสตร์ มีจำ�นวน 37,692 คน คิดเป็นร้อยละ 22.98 สำ�หรับระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มีผู้เข้าศึกษาใหม่
จำ�นวน 390,750 คน ศึกษาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มากที่สุด มีจำ�นวน 202,369 คน คิดเป็นร้อยละ
51.79 ส่วนสาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำ�นวน 181,617 คน คิดเป็นร้อยละ 46.48 และจำ�แนกไม่ได้
อีกจำ�นวน 6,764 คน คิดเป็นร้อยละ 1.73 ปรากฏตามแผนภูมิที่ 10

แผนภูมิที่ 10 ร้อยละผู้เข้าศึกษาใหม่ปี 2564 จำ�แนกตามระดับการศึกษาและกลุ่มสาขาวิชา

วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำ�แนกไม่ได้

ป.ตรี 1 46.48 51.79 1.73

ปวส.1 77.02 22.98

ปวช.1 79.39 20.02 0.59

3.2.3 ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ผู้ก�ำ ลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษาในปี 2565 - 2566 มีจ�ำ นวน 1,007,848 คน โดยกำ�ลังศึกษาในสาขา
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำ�นวน 431,286 คน คิดเป็นร้อยละ 42.79 อยู่ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ
กลุ่มอุตสาหกรรม First S-curve จำ�นวน 285,460 คน คิดเป็นร้อยละ 28.32 และกลุ่มอุตสาหกรรม New S-curve
จำ�นวน 145,826 คน คิดเป็นร้อยละ 14.47 ทั้งนี้พบว่าผู้กำ�ลังศึกษาในกลุ่มอุตสาหกรรม First S-curve กำ�ลังศึกษา
ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่มากที่สุด จำ�นวน 173,853 คน คิดเป็นร้อยละ 60.90
รองลงมาคือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ จำ�นวน 45,652 คน คิดเป็นร้อยละ 15.99 และอุตสาหกรรม
การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ จำ�นวน 32,572 คน คิดเป็นร้อยละ 11.41 ตามลำ�ดับ ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรม
New S-curve เป็นผูก้ �ำ ลังศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุน่ ยนต์มากที่สุด จำ�นวน 69,035 คน คิดเป็น
ร้อยละ 47.34 รองลงมาคือ อุตสาหกรรมดิจิทัล จำ�นวน 59,646 คน คิดเป็นร้อยละ 40.90 และอุตสาหกรรม
การบิ น และโลจิ ส ติ ก ส์ จำ �นวน 13,964 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 9.58 ตามลำ �ดับ ปรากฏตามแผนภูมิที่ 11
และแผนภูมิที่ 12

14 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


แผนภูมิที่ 11 จำ�นวนและร้อยละผู้กำ�ลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษาปี 2565 จำ�แนกตามระดับชั้น
และอุตสาหกรรมเป้าหมาย

Other
First S-curve New S-curve Other
New S-curve

First S-curve
14.47
28.32 57.21
ปวช.1 ปวช.2 ปวช.3 ปวส.1 ปวส.2
Other 129,115 114,747 140,863 89,241 102,596
New S-curve 25,604 21,206 22,903 36,465 39,648
First S-curve 67,020 59,706 76,292 38,339 44,103

แผนภูมิที่ 12 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษาปี 2565 จำ�แนกตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย

First S-curve 285,460 คน New S-curve 145,826 คน

ยานยนต์สมัยใหม่ 173,853 หุ่นยนต์ 69,035


อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 45,654 ดิจิทัล 59,646
การเกษตรและ 32,572 การบินและโลจิสติกส์ 13,964
เทคโนโลยีชีวภาพ
การแปรรูปอาหาร 25,685 การแพทย์ครบวงจร 2,082
การท่องเทีย่ วกลุม่ รายได้ดี 7,698 เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ 1,099

ผู้กำ�ลังศึกษาในระดับปริญญาตรีในปี 2565 - 2566 มีจ�ำ นวนรวม 1,452,722 คน โดยเป็นผูก้ �ำ ลังศึกษา


ในสาขาวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำ�นวน 1,154,387 คน คิดเป็นร้อยละ 79.46 และกำ�ลังศึกษา
ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำ�นวน 298,335 คน คิดเป็นร้อยละ 20.54 โดยกำ�ลังศึกษา
อยู่ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรม New S-curve จำ�นวน 188,658 คน คิดเป็นร้อยละ 12.99
และกลุ่มอุตสาหกรรม First S-curve จำ�นวน 109,677 คน คิดเป็นร้อยละ 7.55 ผูท้ ก่ี �ำ ลังศึกษาในกลุม่ อุตสาหกรรม
First S -curve กำ�ลังศึกษาในสาขาวิชาทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชวี ภาพมากทีส่ ดุ จำ�นวน
51,082 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร จำ�นวน 27,121 คน และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุม่
รายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จำ�นวน 17,201 คน สำ�หรับกลุ่มอุตสาหกรรม New S-curve กำ�ลังศึกษา
ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรมากที่สดุ จำ�นวน 59,772 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม
ดิจิทัล จำ�นวน 54,215 คน และอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ จำ�นวน 34,560 คน ตามลำ�ดับ ปรากฏตาม
แผนภูมิที่ 13 และแผนภูมิที่ 14

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 15


แผนภูมิที่ 13 จำ�นวนร้อยละผู้กำ�ลังศึกษาในระดับปริญญาตรีปี 2565 - 2566 จำ�แนกตามระดับชั้น
และอุตสาหกรรมเป้าหมาย
Other

New S-curve

First S-curve

ป.ตรี1 ป.ตรี2 ป.ตรี3 ป.ตรี4 ป.ตรี5 ป.ตรี6 ป.ตรี7 ป.ตรี8


Other 311,029 278,190 238,727 218,724 51,292 20,962 9,074 26,389
New S-curve 51,111 44,494 40,318 38,994 6,598 3,009 403 3,731
First S-curve 28,610 27,059 23,299 22,491 2,734 343 108 5,024

7.55
12.99

79.46

First S-curve New S-curve Other

แผนภูมิที่ 14 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษาในระดับปริญญาตรีปี 2565 จำ�แนกตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย


First S-curve 109,677 คน New S-curve 188,658 คน

เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 51,082 การแพทย์ครบวงจร 59,772


การแปรรูปอาหาร 27,121 ดิจิทัล 54,215

การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี 17,201 การบินและโลจิสติกส์ 34,560


อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 8,053 เชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ 22,729
ยานยนต์สมัยใหม่ 6,220 หุ่นยนต์ 17,382

16 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


3.2.3.1 ผูก้ �ำ ลังศึกษาสาขาวิชาทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมเดิมที่มีศกั ยภาพ (First S-curve)
1) ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
มีผู้ก ำ � ลั ง ศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
จำ�นวนรวม 173,853 คน โดยเป็นผู้ที่กำ�ลังศึกษาในระดับ ปวช. จำ�นวน 127,666 คน และระดับ ปวส. จำ�นวน
46,187 คน โดย 5 อันดับแรกที่กำ�ลังศึกษามากที่สุด ได้แก่ สาขายานยนต์ จำ�นวน 124,135 คน สาขาเทคนิค
ยานยนต์ จำ�นวน 42,782 คน สาขาจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เล็ก จำ�นวน 2,964 คน สาขาเทคนิคยานยนต์
ไฟฟ้า จำ�นวน 2,099 คน และสาขาผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จำ�นวน 1,144 คน ตามแผนภูมิที่ 15

แผนภูมิที่ 15 จำ�นวนผูก้ �ำ ลังศึกษามากทีส่ ดุ 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่


ระดับอาชีวศึกษา

ยานยนต์ 124,135

เทคนิคยานยนต์ 42,782

จักรยานยนต์และเครือ่ งยนต์เล็ก 2,964

เทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า 2,099

ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 1,144

ผู้กำ�ลังศึกษาในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ มีจำ�นวน
รวม 6,220 คน โดยกำ�ลังศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์มากที่สุด จำ�นวน 2,040 คน (แผนภูมิที่ 16) โดย
สถาบันการศึกษาที่มนี กั ศึกษาระดับปริญญาตรีก�ำ ลังศึกษาในปี 2565 - 2566 ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
ยานยนต์สมัยใหม่มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปรากฏตามตารางที่ 6

แผนภูมิที่ 16 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 6 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกทีม่ ผี กู้ �ำ ลังศึกษา


ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ มากที่ สุ ด ในสาขาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ อุ ต สาหกรรมยานยนต์
ระดับปริญญาตรี สมัยใหม่ ระดับปริญญาตรี

เทคโนโลยียานยนต์ 2,040 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า


พระนครเหนือ
วิศวกรรมเครื่องกล 1,145
2 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
เทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์ 760 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ 649 4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
วิทยาเขตขอนแก่น
วิศวกรรมยานยนต์ 524 5 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 17


2) ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ผู้กำ�ลังศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุต สาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
จำ�นวนรวม 45,652 คน โดยเป็นผู้ที่กำ�ลังศึกษาในระดับ ปวช. จำ�นวน 32,559 คน และระดั บ ปวส. จำ�นวน
13,093 คน โดย 5 อันดับแรกที่กำ�ลังศึกษามากที่สุด ได้แก่ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ จำ�นวน 32,310 คน สาขา
อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม จำ�นวน 12,772 คน สาขาเครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ จำ�นวน 283 คน สาขา
อิเล็กทรอนิกส์การแพทย์ จำ�นวน 258 คน และสาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ จำ�นวน 27 คน ตามแผนภูมิที่ 17

แผนภูมิที่ 17 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์


อัจฉริยะ ระดับอาชีวศึกษา

อิเล็กทรอนิกส์ 32,310

อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม 12,772

เครื่องทำ�ความเย็นและปรับอากาศ 283

อิเล็กทรอนิกส์การแพทย์ 258

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ 27

ผู้กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุต สาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
มีจ�ำ นวนรวม 8,053 คน โดยกำ�ลังศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์มากทีส่ ดุ จำ�นวน 1,555 คน (แผนภูมทิ ี่ 18)
โดยสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีกำ�ลังศึกษาในปี 2565 - 2566 ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปรากฏตามตารางที่ 7

แผนภูมิที่ 18 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 7 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลัง


ในสาขาทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อจั ฉริยะ ศึ ก ษามากที่ สุ ด ในสาขาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ อุ ต สาหกรรม
ระดับปริญญาตรี อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระดับปริญญาตรี

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 1,555
1 มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิศวกรรมไฟฟ้าและ 1,535 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 1,027 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
และระบบคอมพิวเตอร์
4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
เทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกส์ 993
5 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 331
และโทรคมนาคม

18 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


3) ผูก้ �ำ ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุม่ รายได้ดแี ละการท่องเที่ยว
เชิงสุขภาพ
ผู้กำ�ลังศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี
และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีจำ�นวนรวม 7,698 คน โดยเป็นผู้ที่กำ�ลังศึกษาในระดับ ปวช. จำ�นวน 5,574 คน
และระดับ ปวส. จำ�นวน 2,124 คน โดย 3 อันดับแรกที่กำ�ลังศึกษามากที่สุด ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
จำ�นวน 7,505 คน สาขาเทคโนโลยีการท่องเที่ยว จำ�นวน 146 คน และสาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเกษตร
เชิงนิเวศ จำ�นวน 47 คน ตามแผนภูมิที่ 19

แผนภูมิที่ 19 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 3 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


กลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ระดับอาชีวศึกษา

การท่องเที่ยว 7,505

เทคโนโลยีการท่องเที่ยว 146

การจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเกษตรเชิงนิเวศ 47

ผู้กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี
และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีจำ�นวนรวม 17,201 คน โดยกำ�ลังศึกษาในสาขาการท่องเที่ยวมากที่สุด จำ�นวน
3,945 คน (แผนภูมิที่ 20) โดยสถาบันการศึกษาที่มนี กั ศึกษาระดับปริญญาตรีก�ำ ลังศึกษาในปี 2565 - 2566 ในสาขา
วิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ ปรากฏตามตารางที่ 8
แผนภูมิที่ 20 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 8 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลัง
ในสาขาที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่ม ศึกษามากที่ สุ ดในสาขาที่ เกี่ ยวข้องกับอุตสาหกรรม
รายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ระดับปริญญาตรีี การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ระดับปริญญาตรี
การท่องเที่ยว 3,945
1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การจัดการท่องเที่ยว 3,481 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
การจัดการโรงแรมและ 3,271
3 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การท่องเที่ยว
4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การท่องเที่ยวและ 1,659
การโรงแรม 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
การบริการธุรกิจ 726
ท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 19


4) ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
ผู้กำ�ลังศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี
ชีวภาพมีจำ�นวนรวม 32,572 คน โดยเป็นผู้ที่กำ�ลังศึกษาในระดับ ปวช. จำ�นวน 22,789 คน และระดับ ปวส.
จำ�นวน 9,783 คน โดย 5 อันดับแรกที่กำ�ลังศึกษามากที่สุด ได้แก่ สาขาการเกษตร จำ�นวน 16,724 คน สาขา
การผลิตสัตว์ จำ�นวน 4,938 คน สาขาการผลิตพืช จำ�นวน 2,283 คน สาขาพืชสวน จำ�นวน 2,031 คน และสาขา
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ� จำ�นวน 1,388 คน ตามแผนภูมิที่ 21

แผนภูมิที่ 21 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึ ก ษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตร


และเทคโนโลยีชีวภาพ ระดับอาชีวศึกษา
การเกษตร 16,724

การผลิตสัตว์ 4,938

การผลิตพืช 2,283

พืชสวน 2,031

เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ� 1,388

ผู้กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี
ชี ว ภาพ มี จ ำ � นวนรวม 51,082 คน โดยกำ� ลั ง ศึ ก ษาในสาขาเกษตรศาสตร์ ม ากที่สุด จำ � นวน 11,876 คน
(แผนภูมิที่ 22) โดยสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีกำ�ลังศึกษาในปี 2565 - 2566 ในสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ปรากฏตามตารางที่ 9

แผนภูมิที่ 22 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 9 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลังศึกษา


ในสาขาที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยี มากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตร
ชีวภาพ ระดับปริญญาตรี และเทคโนโลยีชีวภาพ ระดับปริญญาตรี

เกษตรศาสตร์ 11,876
1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
สัตวศาสตร์ 9,621 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
8,452 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เทคโนโลยีชีวภาพ
4 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
พืชสวน 3,096
5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประมง 1,897

20 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


5) ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
ผู้กำ�ลังศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มีจำ�นวน
รวม 25,685 คน โดยเป็นผู้ที่กำ�ลังศึกษาในระดับ ปวช. จำ�นวน 14,430 และระดับ ปวส. จำ�นวน 11,255 คน
โดย 5 อันดับแรกที่กำ�ลังศึกษา ได้แก่ สาขาอาหารและโภชนาการ จำ�นวน 17,225 คน สาขาบริการอาหาร
และเครื่องดื่ม จำ�นวน 4,752 คน สาขาธุรกิจอาหารและบริการ จำ�นวน 2,230 คน สาขาการจัดการเกษตร
อาหารปลอดภัย จำ�นวน 800 คน และสาขาธุรกิจอาหาร จำ�นวน 186 คน ตามแผนภูมิที่ 23

แผนภูมิที่ 23 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาทีเ่ กี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูป


อาหาร ระดับอาชีวศึกษา

อาหารและโภชนาการ 17,225

บริการอาหารและเครื่องดื่ม 4,752

ธุรกิจอาหารและบริการ 2,230

การจัดการเกษตรอาหารปลอดภัย 800

ธุรกิจอาหาร 186

ผกู้ �ำ ลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร มีจ�ำ นวน


รวม 27,121 คน โดยกำ�ลังศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมากทีส่ ุด จำ�นวน 12,394 คน
(แผนภูมิที่ 24) โดยสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีกำ�ลังศึกษาในปี 2565 - 2566 ในสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารมากที่สุด คือ วิทยาลัยดุสิตธานี ปรากฏตามตารางที่ 10

แผนภูมิที่ 24 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 10 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผกู้ �ำ ลังศึกษา


ในสาขาที่ เกี่ ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร มากที่สุดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแปรรูป
ระดับปริญญาตรี อาหาร ระดับปริญญาตรี

วิทยาศาสตร์และ 12,394
เทคโนโลยีการอาหาร 1 วิทยาลัยดุสิตธานี
อาหารและโภชนาการ 4,043 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
การจัดการครัวและศิลปะ 3,498
3 สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
การประกอบอาหาร
4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
การจัดการธุรกิจอาหาร 1,610
5 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คหกรรมศาสตร์ 750

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 21


3.2.3.2 ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอนาคต (New S-curve)
1) ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
ผู้กำ�ลังศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
มีจำ�นวนรวม 13,964 คน โดยเป็นผู้ที่กำ�ลังศึกษาในระดับ ปวช. จำ�นวน 5,012 คน และระดั บ ปวส. จำ�นวน
8,952 คน โดยสาขา 3 อันดับแรกที่กำ�ลังศึกษามากที่สุด ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน จำ�นวน 8,653 คน
สาขาการจัดการโลจิสติกส์ จำ�นวน 5,012 คน และการจัดการโลจิสติกส์ จำ�นวน 299 คน ตามแผนภูมิที่ 25

แผนภูมิที่ 25 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 3 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินและ


โลจิสติกส์ ระดับอาชีวศึกษา

โลจิสติกส์และซัพพลายเชน 8,653

โลจิสติกส์ 5,012

การจัดการโลจิสติกส์ 299

ผู้ก�ำ ลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ มีจ�ำ นวน


รวม 34,560 คน โดยกำ�ลังศึกษาในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมากที่สุด จำ�นวน 11,187 คน
(แผนภูมิที่ 26) โดยสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีกำ�ลังศึกษาในปี 2565 – 2566 ในสาขาวิชา
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปรากฏตามตารางที่ 11

แผนภูมิที่ 26 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 11 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลัง


ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ศึกษามากที่ สุดในสาขาที่ เกี่ ยวข้องกับอุตสาหกรรม
ระดับปริญญาตรีี การบินและโลจิสติกส์ ระดับปริญญาตรี

การจัดการโลจิสติกส์ 11,187
และโซ่อุปทาน 1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
การจัดการโลจิสติกส์ 9,540 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2,597
3 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
ธุรกิจการบิน
4 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
การจัดการธุรกิจการบิน 2,261
พระนครเหนือ
บริหารธุรกิจอุตสาหกรรม 1,788 5 มหาวิทยาลัยบูรพา
และโลจิสติกส์

22 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


2) ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
ผู้กำ�ลังศึก ษาระดับอาชีวศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
มีจำ�นวนรวม 2,082 คน โดยเป็นผู้ที่กำ�ลังศึกษาในระดับ ปวช. จำ�นวน 1,345 คน และระดับ ปวส. จำ�นวน 737 คน
โดยสาขา 2 อันดับแรกที่กำ�ลังศึกษามากที่สุด ได้แก่ สาขาธุรกิจสถานพยาบาล จำ�นวน 2,039 คน สาขาการดูแล
เด็กและผู้สูงอายุ จำ�นวน 43 คน ตามแผนภูมิที่ 27

แผนภูมิที่ 27 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากทีส่ ุด 2 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์


ครบวงจร ระดับอาชีวศึกษา

ธุรกิจสถานพยาบาล 2,039

การดูแลเด็กและผู้สูงอายุ 43

ผู้กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร มีจำ�นวน
รวม 59,772 คน โดยกำ�ลังศึกษาในสาขาพยาบาลศาสตร์มากที่สุด จำ�นวน 8,918 คน (แผนภูมทิ ี่ 28) โดยสถาบัน
การศึกษาที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีกำ�ลังศึกษาในปี 2565 - 2566 ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
การแพทย์ครบวงจรมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปรากฏตามตารางที่ 12

แผนภูมิที่ 28 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 12 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลัง


ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ศึ ก ษามากที่ สุ ด ในสาขาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ อุ ต สาหกรรม
ระดับปริญญาตรี การแพทย์ครบวงจร ระดับปริญญาตรี

พยาบาลศาสตร์ 8,918
1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เภสัชศาสตร์ 7,697 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
7,109
3 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สาธารณสุขศาสตร์
4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แพทยศาสตร์ 4,858
5 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ 4,479

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 23


3) ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
ผู้ก ำ � ลั ง ศึก ษาระดั บ อาชี ว ศึ ก ษาในสาขาที่เกี่ย วข้ อ งกั บ อุ ต สาหกรรมเชื้อ เพลิ ง ชี ว ภาพ
และเคมีชวี ภาพมีจ�ำ นวนรวม 1,099 คน โดยเป็นผูท้ ี่ก�ำ ลังศึกษาในระดับ ปวช. จำ�นวน 126 คน และเป็นผูท้ ี่ก�ำ ลังศึกษา
ในระดับ ปวส. จำ�นวน 973 คน โดยสาขา 5 อันดับแรกที่กำ�ลังศึกษามากที่สุด ได้แก่ สาขาปิโตรเคมี จำ�นวน
367 คน สาขาเคมีอุตสาหกรรม จำ�นวน 215 คน สาขาเทคโนโลยีปิโตรเลียม จำ�นวน 117 คน สาขาเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมยาง จำ�นวน 88 คน และสาขาเคมีสิ่งทอ จำ�นวน 84 คน ตามแผนภูมิที่ 29

แผนภูมิที่ 29 จำ�นวนผูก้ �ำ ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชือ้ เพลิงชีวภาพ


และเคมีชีวภาพ ระดับอาชีวศึกษา

ปิโตรเคมี 367

เคมีอุตสาหกรรม 215

เทคโนโลยีปิโตรเลียม 117

เทคโนโลยีอุตสาหกรรมยาง 88

เคมีสิ่งทอ 84

ผูก้ �ำ ลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชือ้ เพลิงชีวภาพและเคมีชวี ภาพ


พบว่า มีจำ�นวนรวม 22,729 คน โดยส่วนใหญ่กำ�ลังศึกษาในสาขาวิชาเคมี จำ�นวน 11,320 คน (แผนภูมิที่ 30)
โดยสถาบั น การศึก ษาที่มีนัก ศึก ษาระดับปริ ญ ญาตรี ก ำ � ลั ง ศึ ก ษาในปี 2565 - 2566 ในสาขาวิ ช าที่เกี่ ย วข้ อ ง
กับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปรากฏตามตารางที่ 13

แผนภูมิที่ 30 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 13 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลัง


ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและ ศึ ก ษามากที่ สุ ด ในสาขาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ อุ ต สาหกรรม
เคมีชีวภาพ ระดับปริญญาตรี เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ระดับปริญญาตรี

เคมี 11,320
1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิศวกรรมเคมี 4,942 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชีวเคมี 2,055
3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
4 มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปิโตรเคมีและ 1,462
วัสดุพอลิเมอร์ 5 มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิศวกรรมพลังงาน 1,313

24 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


4) ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล
ผู้กำ�ลังศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล มีจำ�นวนรวม
59,464 คน โดยมีผู้กำ�ลังศึกษาระดับ ปวช. มีจำ�นวน 17,440 คน ระดับ ปวส. จำ�นวน 42,206 คน โดย 5 อันดับแรก
ที่กำ�ลังศึกษา ได้แก่ สาขาธุรกิจดิจิทัล จำ�นวน 33,031 คน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ จำ�นวน 9,524 คน สาขา
เทคนิคคอมพิวเตอร์ จำ�นวน 5,975 คน สาขาดิจิทัลมีเดีย จำ�นวน 3,817 คน และสาขาคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
จำ�นวน 2,082 คน ตามแผนภูมิที่ 31

แผนภูมิที่ 31 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึ ก ษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล


ระดับอาชีวศึกษา
ธุรกิจดิจิทัล 33,031

เทคโนโลยีสารสนเทศ 9,542

เทคนิคคอมพิวเตอร์ 5,975

ดิจิทัลมีเดีย 3,817

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ 2,082

ผู้กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจิทัล พบว่า มีจำ�นวนรวม


54,215 คน โดยกำ�ลังศึกษาในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์มากที่สุด จำ�นวน 14,067 คน (แผนภูมิที่ 32) โดย
สถาบันการศึกษาทีม่ นี กั ศึกษาระดับปริญญาตรีก�ำ ลังศึกษาในปี 2565 - 2566 ในสาขาวิชาทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรม
ดิจิทัลมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปรากฏตามตารางที่ 14

แผนภูมิที่ 32 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 14 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่มีผู้กำ�ลัง


ในสาขาทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรมดิจทิ ลั ระดับปริญญาตรี ศึกษามากที่สดุ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดิจทิ ลั
ระดับปริญญาตรี

วิทยาการคอมพิวเตอร์ 14,067
1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เทคโนโลยีดิจิทัล 11,381 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เทคโนโลยีสารสนเทศ 8,572
3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 7,894
5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย 3,394

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 25


5) ผู้กำ�ลังศึกษาสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์
ผู้กำ�ลังศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสาขางานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ จำ�นวนรวม
69,035 คน โดยมีผู้กำ�ลังศึกษาระดับ ปวช. มีจำ�นวน 45,790 คน ระดับ ปวส. จำ�นวน 23,245 คน โดย 5 อันดับแรก
ที่กำ�ลังศึกษา ได้แก่ สาขาเครื่องมือกล จำ�นวน 57,209 คน สาขาเมคคาทรอนิกส์ จำ�นวน 4,150 คน สาขา
เมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ จำ�นวน 3,160 คน สาขาเทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม จำ�นวน 1,027 คน และสาขา
เขียนแบบเครื่องกล จำ�นวน 622 คน ตามแผนภูมิที่ 33

แผนภูมิที่ 33 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรกในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์


ระดับอาชีวศึกษา

เครื่องมือกล 57,209

เมคคาทรอนิกส์ 4,150

เมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ 3,160

เทคนิคเครื่องกลอุตสาหกรรม 1,027

เขียนแบบเครื่องกล 622

ผู้กำ�ลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ พบว่า มีจำ�นวน


รวม 17,382 คน โดยกำ�ลังศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลมากที่สุด จำ�นวน 9,380 คน (แผนภูมิที่ 34)
โดยสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีกำ�ลังศึกษาในปี 2565 - 2566 ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ
อุตสาหกรรมหุ่นยนต์มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปรากฏตามตารางที่ 15

แผนภูมิที่ 34 จำ�นวนผู้กำ�ลังศึกษามากที่สุด 5 อันดับแรก ตารางที่ 15 สถาบันการศึกษา 5 อันดับแรกที่ มีผู้กำ�ลัง


ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุน่ ยนต์ ระดับปริญญาตรี ศึกษามากที่ สุดในสาขาที่ เ กี่ ยวข้องกับอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์ ระดับปริญญาตรี

วิศวกรรมเครื่องกล 9,380
1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิศวกรรมหุ่นยนต์และ 3,173 2 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
ทหารลาดกระบัง
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ 1,839
3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เทคโนโลยีวิศวกรรม 680
เครื่องจักรกล 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เทคโนโลยีเครื่องกล 528 5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

26 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


3.3 ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 และปี 2568
จากการประมาณการคาดว่าในปี 2567 จะมีผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน จำ�นวน 397,537 คน จำ�แนกเป็น
ผู้สำ�เร็จการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน จำ�นวน 112,248 คน และระดับปริญญาตรี คาดว่า
จะมีผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน จำ�นวน 185,901 คน
และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2568 จะมีผู้เข้าสูต่ ลาดแรงงาน จำ�นวน 434,620 คน โดยคาดว่า
เป็นผู้สำ�เร็จการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา จำ�นวน 115,842 คน และระดับปริญญาตรี คาดว่าจะมีผู้เข้าสู่ตลาด
แรงงาน จำ�นวน 215,044 คน ปรากฏตามตารางที่ 16
ตารางที่ 16 ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 และปี 2568 จำ�แนกตามระดับการศึกษา

ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน
ระดับการศึกษา ปี 2567 ปี 2568
จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
รวมทั้งหมด 397,537 100 434,620 100
มัธยมศึกษาปีที่ 3 38,193 9.61 38,792 8.93
มัธยมศึกษาปีที่ 6 61,195 15.39 64,942 14.94
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 31,721 7.98 35,950 8.27
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 80,527 20.26 79,892 18.38
ปริญญาตรี 185,901 46.76 215,044 49.48

แผนภูมิที่ 35 แสดงประมาณการจำ�นวนผู้เข้าสูต่ ลาดแรงงานปี 2567 และปี 2568 จำ�แนกตามระดับการศึกษา

250,000 ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ปี 2567


ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ปี 2568 215,044

185,901
200,000

150,000

100,000 80,527 79,892


61,195 64,942

50,000 38,193 38,792 31,721


35,950

-
ม.3 ม.6 ปวช. ปวส. ป.ตรี

ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568 27


คณะผู้จัดทำ�
ที่ปรึกษา
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน
นางสาวบุณยวีร์ ไขว้พันธุ์ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน
นายสันติ นันตสุวรรณ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน
นายสิบหมื่นชัย โพธิสินธุ์ รองอธิบดีกรมการจัดหางาน

หัวหน้าคณะผู้จัดทำ�
นางสาวสุวกุล ไตรรัตน์ผลาดล ผู้อำ�นวยการกองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน

คณะผู้จัดทำ�
นางสาวสลีลา สวัสดิ์คุ้ม หัวหน้ากลุม่ งานยุทธศาสตร์และข้อมูลตลาดแรงงาน
นายฐิติกร บุญทอง นักวิชาการแรงงานชำ�นาญการ
นางสาวจริยา มณีรัตน์ นักวิชาการแรงงานชำ�นาญการ
นายวสุธร ภูริเอกสุวรรณ นักวิชาการแรงงานปฏิบัติการ
นายณัฐพงศ์ วิชัยศรี นักสถิติ
นางสาวศุภาพิชญ์ ศรีสา นักวิชาการแรงงาน
นางสาวชาริยา กิตติ์หิรัญชัย นักวิชาการแรงงาน (ด้านภาษาอังกฤษ)
นางสาววิรัญชนา สันทัด นักวิชาการคอมพิวเตอร์
นางสาวธัญชนก รัตนกุล เจ้าพนักงานแรงงาน
นางสาวนิภาพร คำ�มณี เจ้าพนักงานแรงงาน

หน่วยงานผู้จัดทำ�/ผู้แต่ง
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลตลาดแรงงาน กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ / โทรสาร 0 2245 0960 lmiskill0960@gmail.com
ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568
ISBN : 978-616-555-250-9
กกจ. 22/2566 กบต.1

28 ข้อมูลผู้สำ�เร็จการศึกษาปี 2565 และประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2567 - 2568


¡Í§ºÃÔËÒâŒÍÁÙŵÅÒ´áç§Ò¹
¡ÃÁ¡ÒèѴËÒ§Ò¹ ¡ÃзÃǧáç§Ò¹

0 2245 0960 www.doe.go.th/lmia

You might also like