You are on page 1of 130

ธรรมประยุกต์

รศ.ดร.วันชัย พลเมืองดี

มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิวิท
ทยาเขตพะเยา
ยาเขตพะเยา
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Catatoging in Publication Data
มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
ธรรมประยุกต์ พะเยา : สำนัก, ๒๕๖๓. หน้า. ๑๔๓
๑. ธรรมประยุกต์ ๑ ชื่อเรื่อง
ISBN 978-974-364-954-7

สงวนลิขสิทธิ์

ผู้จัดพิมพ์และเจ้าของ
วันชัย พลเมืองดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตพะเยา ๕๖๖ หมู่ ที่ ๒, ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา
พะเยา ๕๖๐๐๐ โทรศัพท์ : 0840403560

พิมพ์ครั้งที่ : ๒ พ.ศ. ๒๕๖๓

จำนวนพิมพ์ ๓๐๐ เล่ม

แบบปกและรูปเล่ม
วันชัย พลเมืองดี Tel : 084-0403-560
E-mail : chaibaibou@hotmail.com
พิมพ์ที่ : นครนิวส์การพิมพ์ 737/2 ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียน อำเภอเมืองพะเยา
จังหวัดพะเยา 56000 โทรศัพท์ 0-5443-1089
อีเมล์ np_prss07@yahoo.com
คำนำ

หนังสือ E book เรื่องธรรมประยุกต์ เป็นการปรับปรุงจากหนังสือ ธรรมประยุกต์


เมื่อครั้งผู้เขียนได้จัดพิมพ์ เป็นรูปเล่ม เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งใช้ในการเรียนการสอน แก่
นิสิตมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา เมื่อครั้งผู้เขียนได้รับ
หน้าที่ในการสอน และปัจจุบันได้การสอนในรายวิชาดังกล่าว อยู่เนืองๆ พร้อมทั้ง มีการ
พัฒนาเพื่อความสะดวก ประหยัดในการจัดพิมพ์และรูปเล่นในการอ่าน นิสิต หรือผู้สนใจ
สามารถดาว์โหลด หนังสือนี้ได้อย่างสะดวกสบายประหยัด พร้อมทั้ง เพื่อเป็นการเแผยแพร่
เอกสาร ดังกล่าวซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ก็จะเป็นหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อการ
ดำเนินชีวิต ดังนั้น ก็เชื่อว่าคงจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ผู้ที่สนใจศึกษาหลักพุทธธรรม
เบื้องต้นในการดำเนินชีวิต
อานิสงส์ หนังสือ หรือ E book ฉบับนี้ เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้อ่าน
ผู้เขียนจึงขออุทิศคุณความดีแห่งหนังสือ เล่มนี้ แก่ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ ผู้มีคุณ และ
แม้ได้เกิดในภพภูมิใด ก็ให้บริบูรณ์ด้วยปัญญา สมบัติ บริวาร อย่าได้พบมิตรชั่ว พร้อมทั้ง
เกิดในภพภูมิแห่งพระพุทธศาสนาในยุกพระศรีอริยเมตไตย สืบไป

วันชัย พลเมืองดี
๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๓
สารบัญ

เรืื่อง หน้า
บทที่ ๑ ความหมายธรรมประยุกต์ ๑
ความหมาย ๑
ธรรมในฐานะบิดาแห่งศาสตร์ทั้งปวง ๔
บทที่ ๒ ชีวิตคืออะไร ๑๒
ชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร ๑๒
พระพุทธศาสนามีทฤษฏีการมีชีวิตของมนุษย์อย่างไร ๑๓
ชีวิตในครรภ์ดำรงอยู่ได้อย่างอย่างไร ๑๙
ชีวิตคือ อะไรในทัศนะของพระพุทธศาสนา ๒๐
บทที่ ๓ ธรรมชาติของชีวิต ๒๘
ชีวิตคือกฎธรรมชาติแห่งไตรลักษณะ ๒๙
ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องไตรลักษณ์ ๓๐
ธรรมชาติชีวิตในปฏิจจสมุปบาท ๓๑
ธรรมชาติเหตุผลความจริงของชีวิต ๓๗
บทที่ ๔ มนุษย์ต้องการอะไรและมีเป้าหมายสูสสุดของชีวิตอย่างไร ๔๕
มนุษย์ต้องการอะไร ๔๕
เป้าหมายของชีวิต ๔๗
สารบัญ(ต่อ)

เรืื่อง หน้า
เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ๕๑
ภาวการณ์ดำเนินชีวิตที่จะบรรลุเป้าหมายสูงสุด ๖๔
บทที่ ๕ การดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธ ๖๗
การดำเนินชีวิตตามแนวสิงคาลกสูตร ๖๗
การดำเนินชีวิตชาวพุทธแบบมงคล ๓๘ ๗๑
บทที่ ๖ จริยศาสตร์ ๑๐๒
บทนำ ๑๐๒
ความหมาย ๑๐๒
จริยธรรมในพระพุทธศาสนา ๑๐๕
ระดับขั้นของจริยธรรมในพระพุทธศาสนา ๑๐๖
บทที่ ๑
ความหมาย
ความหมาย

คำว่า ธรรม หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวธรรม


, สัจจธรรม, ความจริง, เหตุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด,
คุณธรรม, ความดี ความถูกต้อง ความประพฤติชอบ, หลักการ, แบบแผน,ธรรม
เนียม, หน้าที่, ความชอบ, ความยุติธรรม, พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น ซึ่งจากความหมายดังกล่าวสามารถอธิบาย
ความหมายของความหมายและคำอธิบายคำว่า ธรรมในความหมายต่างๆ ดังนี้
ในความหมายของบุคคล ความหมายนี้ชี้ชัดลงไปว่ า ธรรมหมายถึง
พระพุทธเจ้าดังพุทธพจน์ที่ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคตผู้
นั้นเห็นธรรม ผู้ที่ไม่เห็นธรรม นั้นแม้จะจับจีวรของตถาคตอยู่แท้ๆ ก็ไม่ได้ชื่อว่า
เห็นตถาคตเลย”
ในความหมายของศาสนา ธรรมเป็นศาสนาเป็นที่พึงพิงทางใจ เป็นที่
ยึดเหนี่ยวจิ ตใจซึ่งจะแล้วแต่บุคคลที่จะนับถือพระพุทธศาสนาระดับใด ระดับ
เปลือก กระพี้ หรือแก่นของศาสนา
ในความหมายของคำสั่งคำสอน หมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งเป็นส่วนของพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมที่เรียกกันปัจจุบันว่าพระไตรปิฎก
ในความหมายแห่งธรรมชาติ สภาวะ ซึ่งในความหมายนี้พระอาจารย์
พุทธทาสภิกขุได้เขียนถึงความหมายของธรรมไว้ว่า ธรรม คือธรรมชาติ ๑ ๔
ประการ ได้แก่
ก. ตัวธรรมชาติ
ข. กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
ค. หน้าที่ที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ
ง. ผลที่เกิดจากการประพฤติถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ
คำว่า ประยุกต์ ภาษาบาลี มาจาก ปยุตฺต แปลว่า ประกอบกัน ภาษาอังกฤษ
Applied ธรรมประยุกต์ จึงหมายถึงการประกอบเข้ากันของธรรม หรือ การ
นำธรรมมาประกอบการดำเนินชีวิต โดยความรู้ ความเข้าใจนำคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับฐานะกำลัง

๑ พุทธทาส. การทำชีวิตให้มีธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิพพาน.


ธรรมประยุกต์ ๒
ปั ญ ญา กำลั ง ศรั ท ธาได้ อ ย่ า งเหมาะสม ซึ ่ ง การนำธรรมมาประกอบหรื อ
ประยุกต์ใช้ก็เพื่อสิ่งที่เกิดประโยชน์ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ตาม
แนวพระพุทธศาสนาได้ กล่าวคือประโยชน์๒ ๓ ระดับ
๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน , ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็น
กันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี ร่างกายก็อยากให้มี
สุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค อายุยืนฐานะความเป็นอยู่อยากมีเงินมีงาน มี
อาชี พ สุ จ ริ ต เพื ่ อ ที ่ จ ะดำรงวงศ์ ต ระกู ล และครอบครั ว ของตนเองให้ ม ั ่ น คง
พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจสุดท้ายก็เพื่อนให้มีสถานภาพทางสังคมเป็นที่ยอมรับ
ยกย่องของสังคมมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เป็นต้น
๒ สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็ น หรือ ประโยชน์เบื้องหน้ า
ประโยชน์ ใ นขั ้ น นี ้ เ ป็ น ความเชื ่ อ ศรั ท ธาในพระรั ต นตรั ย ซาบซึ ้ ง ในบุ ญ กุ ศ ล
ภาคภูมิใจในการประพฤติตนอย่างดีงาม มีน้ำใจเสียสละตลอดจนอิ่มใจในคุณค่า
ของชีวิตที่มีคุณค่าในการบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก และมั่นใจในการทำกรรมดี
อบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ ไม่อ้างว้ างเลื่อนลอย มีหลักยึดเหนี่ยวทางใจคือศาสนาให้
เข้มแข็ง และความโล่งจิตแกล้วกล้าในการที่จะใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตได้อย่าง
มั่นคง
"บุคคลผู้ไม่ประมาท เข้าถึงจุดหมายทั้งสอง คือจุดหมายในเรื่องที่ตาเห็น
และจุดหมายที่เลยตาเห็น ชื่อว่าเป็นบัณฑิต, บุคคลนั้นเรียกว่าเป็นบัณฑิต
เพราะบรรลุประโยชน์ที่เป็นจุดหมาย๓"
๓ ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน
เอาความดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ต่อไปอีก เป็นบรมสุข ไม่มี
ทุกข์เจือปน เป็นที่บุคคลจะได้รับประโยชน์เช่นนั้น ท่านกล่าวว่าจะต้องปฏิบัติตาม
มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่ข้องแวะในส่วนสุดโต่ง ๒
อย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค ๔ ความหมกมุ่นในกามสุข และอัตตกิลมถานุโยค
การประกอบความลำบากเดือดร้อนให้แก่ตนเอง หรือทรมารตนเอง จึงประสบ
ปรมัตถประโยชน์อย่างยอดเยี่ยมเช่นนั้นได้ โดยอาการของปรมัตถะ ได้แก่
ก) ถึ งถู ก โลกธรรม ๕กระทบ ถึ ง จะพบความผั น ผวนปรวนแปร ก็ ไ ม่
หวั่นไหว มีใจเกษมศานต์มั่นคง

๒ ขุ.จู.๓๐/๖๗๓/๓๓๓; ๗๕๕/๓๘๙.
๓ สํ.ส. ๑๕/๓๘๐/๑๒๖
๔ วินย.4/13/18; สํ.ม.๑๙/๙๔๒,๙๔๔/๒๘๐.
๕ โลกธรรม ๘ ได้แก่ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อยศ สรรเสริญ ติเตียน สุข ทุกข์.
ธรรมประยุกต์ ๓
ข) ไม่ถูกความยึดติดถือมั่นบีบคั้นจิต ให้ผิดหวังโศกเศร้า มีจิตโล่งโปร่ง
เบาเป็นอิสระ
ค) สดชื่น เบิกบานใจ ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ผ่องใส ไร้ทุกข์ มีความสุขที่แท้
ง) รู้เท่าทัน และทำการตรงตามเหตุปัจจัย ชีวิตหมดจดสดใส เป็นอยู่ด้วย
ปัญญา
"ความมี จ ิ ต ใจที ่ ห ลุ ด พ้ น จากกิ เ ลสและความทุ ก ข์ ท ั ้ ง ปวง บรรลุ ภ าวะ
ที ่ เ รี ย กสั ้ น ๆว่ า นิ พ พาน ซึ ่ ง เป็ น อิ ส รภาพ สั น ติ และความสุ ข อย่ า งสู ง สุ ด
ที ่ เ กิ ด จากความรู ้ แ จ้ ง หยั ่ ง เห็ น ความจริ ง แท้ ข องโลกและชี ว ิ ต มี จ ิ ต ใจมั ่ น คง
ไม่ ห วั ่ น ไหวไปตามโลกธรรม คื อ ความผั น ผวนปรวนแปร เปลี ่ ย นแปลง
ของสิ ่ ง ทั ้ ง หลาย ปลอดโปร่ ง ผ่ อ งใสเบิ ก บานเป็ น สุ ข และสะอาดบริ ส ุ ท ธิ์
ได้ตลอดทุกเวลา มีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง"
ถ้าบรรลุจุดหมายชีวิตถึงขั้นที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าเป็น “บัณฑิต” จุดหมาย
๓ ขั้นนี้ พึงปฏิบัติให้สำเร็จครบ ๓ ด้าน คือ
ด้านที่ ๑ อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน หรือ ประโยชน์ตน คือ ประโยชน์ ๓
ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงทำให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง หรือ พัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปให้ได้ให้ถึง
ด้านที่ ๒ ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น หรือ ประโยชน์ผู้อื่ น คือ ประโยชน์
๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้ ให้ถึงด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขา
พัฒนาชีวิตของตนขึ้นไปตามลำดับ
ด้านที่ ๓ อุภยัตถะ จุดหมายร่วมกัน หรือ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ
ประโยชน์สุขและความดีงามร่วมกันของชุมชนหรือสังคม รวมทั้งสภาพแวดล้อม
และปัจจัยต่างๆ ซึ่งพึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตน และ
ผู้อื่นก้าวไปสู่จุดหมาย ๓ ขั้นข้างต้น
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ
ทั้งเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ผู้อื่น กล่าวคือภิกษุ
๑. ทั้งเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพฤติกรรมดี (ศีล) ด้วยตนเอง และชักนำผู้อื่น
ในการทำพฤติกรรมดี (ศีล) ให้ถึงพร้อม,
๒. ทั้งเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจิตที่ฝึกดี (สมาธิ) ด้วยตนเอง และชักนำผู้อื่น
ในการทำภาวะจิตที่ฝึกดี (สมาธิ) ให้ถึงพร้อม,
๓. ทั้งเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และชักนำผู้อื่นในการทำ
ปัญญาให้ถึงพร้อม,
๔. ทั้งเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความมีจิตใจเป็นอิสระ (วิมุตติ) ด้วยตนเอง
และชักนำผู้อื่นในการทำความมีจิตใจเป็นอิสระ (วิมุตติ) ให้ถึงพร้อม,
ธรรมประยุกต์ ๔
๕. ทั้งเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความหยั่งรู้หยั่งเห็นในวิมุตติด้วยตนเอง และ
ชักนำผู้อื่นในการทำวิมุตติให้ถึงพร้อม;
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์
ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น๖"
ฉะนั้น จุดมุ่งหมายแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์เกิ ดมามีจุดมุ่งหมายที่
แตกต่างกัน ความแตกต่างจุดมุ่งหมายของแต่ละบุคคลก็จะขึ้นอยู่ปัจจัยหลายๆ
ด้านที่จะบรรลุจุดหมายที่ต้องการ
ธรรมในฐานะบิดาแห่งศาสตร์ทั้งปวง
พระพุทธศาสนามีคำสอนที่เรียกรวมว่าธรรมเป็นตัวบทที่สำคัญ และธรรม
นี้ก็ถือได้ว่าธรรมเป็นบิดาแห่งศาสตร์ทั้งปวงดังต่อไปนี้
ธรรมเป็นจริยศาสตร์ Ethics ด้วยเหตุผลของจริยศาสตร์และธรรม
เป็นเรื่องที ่ ว่ าด้วยความประพฤติอ ัน ดี งามเพื ่อที่จะนำไปสู ่ค วามสงบสุ ข เป็น
ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาถึงเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์เราว่าคืออะไร
อะไรควรทำหรือไม่ควรทำเพื่อจะได้ไปถึงเป้าหมายสูงสุดนั้น และจะใช้เกณฑ์อะไร
มาตัดสินว่า สิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี ดังนั้น เป้าหมายของชีวิต คือ ตัวที่จะกำหนดการ
กระทำของมนุษย์ว่าจะเป็นไปในแนวทางใด และเป้ าหมายชีวิตของมนุษย์แต่ละคน
นั้นก็แตกต่างกันออกไปหลายแนวคิด เมื่อปฏิบัติตามศีลธรรมแล้วก็จะก่อให้เกิด
สิ่งที่เรียกว่า คุณธรรม คือ เป็นคนดี มีความกตัญญูกตเวที มีความสามัคคี
เป็นต้น
ธรรมเป็นธรรมศาสตร์ หรือ ศีลธรรม (Moral) เป็ น ศาสตร์ ท ี ่ ว ่ า ด้ วย
ทฤษฏีข้อปฏิบัติที่ไปสู่ความเจริญ กฎระเบียบแบบแผนต่างๆที่จะนำความสงบสุข
มาให้ การวางกฎศีลเป็นแม่บทของการกำหนดกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อความสงบสุข
ของหมู่คณะ
ธรรมเป็ น สั จ ธรรม (Truth) คื อ กล่ า วถึ ง ความจริ ง ที ่ ล ึ ก ซึ ้ ง เร้ น ลั บ
นอกเหนือไปกว่าที่คนธรรมดาสามัญจะเห็นได้ ส่วนนี้ก็ได้แก่ ความรู้เรื่ องความ
ว่างเปล่าของสรรพสิ่งทั้งปวง (สุญญตา), เรื่องความไม่เที่ยง (อนิจจัง), ความ
เป็นทุกข์ (ทุกขัง), ความไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) หรือเรื่องการเปิดเผยว่าทุกข์เป็น
อย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์เป็นอย่างไร และวิธี

๖ องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๐/๑๕
ธรรมประยุกต์ ๕
ปฏิ บ ั ต ิ ใ ห้ ถ ึ ง ความดั บ ทุ ก ข์ เ ป็ น อย่ า งไร ในฐานะเป็ น ความจริ ง อั น เด็ ด ขาดที่
เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (อริยสัจจ์) ซึ่งทุกคนควรจะต้องรู้ นี้เรียกว่าพุทธศาสนาในฐานะ
เป็นสัจจธรรม.
ธรรมเป็นศาสนา (Religion) คือธรรมเป็นที่พึงทางใจของคน ครั้งเมื่อใด
ความอ่อนแอของสภาวะจิตเราเกิดขึ้ น หรือความอ่อนแอของใจเกิดเมื่อนั่นเราจะ
ต้องการที่พึงทางใจ ธรรมจึงเป็นตัวระเบียบปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
กระทั่งผลที่เกิดขึ้นคือความหลุดพ้น และปัญญาที่รู้เห็นความหลุดพ้น ว่าเมื่อใคร
ปฏิบัติแล้วจะหลุดพ้นไปจากความทุกข์ได้จริง
ธรรมเป็นจิตวิทยา (Psychology) เช่นคัมภีร์พระไตรปิฎกภาคสุดท้าย
กล่าวบรรยายถึงลักษณะของจิตไว้กว้างขวางอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุด เป็นที่งงงัน
และสนใจแก่นักศึกษาทางจิตแม้แห่งยุคปัจจุบัน เป็นความรู้ทางจิตวิทยาที่จะอวด
ได้ว่าแยบคายหรือลึกลับกว่าความรู้ทางจิตวิทยาของโลกปัจจุบันไปเสียอีก
ธรรมเป็นปรัชญา (Philosophy) คือสิ่งที่ทดลองไม่ได้ ยังต้องอาศัยการ
คำนึงคำนวณไปตามหลักแห่งการใช้เหตุผลแห่งการคำนึงคำนวณระบอบหนึ่ง แต่
ถ้าเห็นแจ้งประจักษ์ได้ด้วยตา หรือด้วยการพิสูจน์ทดลองตามทางวัตถุ หรือแม้
เห็นชัดด้วย "ตาใน" คือญาณจักษุก็ตาม เรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ (Science) ได้
ความรู้อันลึกซึ้งเช่นสุญญตาย่อมเป็นปรัชญาสำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมไป
พลางก่อน แต่จะกลายเป็นวิทยาศาสตร์ทันทีสำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว เช่น พระ
อรหันต์ เพราะท่านได้เห็นแจ้งประจักษ์แล้วด้วยจิตใจของท่านเองไม่ต้องคำนึง
คำนวณตามเหตุผล
ธรรมเป็นตรรกวิทยา (Logic) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่โยกโคลงที่สุด ก็มีมาก
ด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะในพวกพระอภิธรรมบางคัมภีร์ เช่น คัมภีร์กถาวัตถุ
เป็นต้น
ธรรมเป็นศิลปะ (Art) ซึ่งในที่นี้หมายถึงศิลปะแห่งการครองชีวิต คือ เป็น
การกระทำที่แยบคายสุขุม ในการที่จะมีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ให้น่าดูน่าชมน่าเลื่อมใส
น่าบูชาเป็นที่จับอกจับใจแก่คนทั้งหลาย จนคนอื่นพอใจทำตามเราด้วยความ
สมัครใจไม่ต้องแข่งขันกันเราจะมี ความงดงามในเบื้องต้น ด้วยศีลบริสุทธิ์ : มี
ความงดงามในท่ามกลาง ด้วยการมีจิตใจสงบเย็น เหมาะสมที่จะทำงานในด้านจิต
: มีความงดงามในเบื้องปลาย ด้วยความสมบูรณ์แห่งปัญญา คือรู้แจ้งสิ่งทั้งปวง
ว่าอะไรเป็นอะไร จนไม่มีความทุกข์เกิดขึ้นเพราะสิ่งทั้งปวงนั้น เมื่อใครมีชีวิตอยู่
ธรรมประยุกต์ ๖
ด้วยความงาม ๓ ประการ เช่นนี้แล้ว ถือว่าเป็นผู้มีศิลปะแห่งการดำรงชีวิตอย่าง
สูงสุด ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนา ในฐานะเป็นศิลปะแห่งชีวิตโดยนัยนี้
เป็นอันมาก และกล่าวขวัญกันมากกว่าแง่อื่นๆ
การเข้าถึงตัวแท้ของพระพุทธศาสนา จนถึงกับนำมาใช้เป็นแบบแห่งการ
ครองชีวิตได้นั้น ทำให้เกิด ความบันเทิงรื่น เริงตามทางของธรรม ไม่หงอยเหงาไม่
น่าเบื่อหน่าย หรือหวาดกลัวดังกล่าวกันอยู่ว่า ถ้าละกิเลสกันเสียแล้วชีวิตนี้จะแห้ง
แล้งไม่มีรสชาติอะไรเลย หรือถ้าปราศจากตัณหาต่างๆ โดยสิ้นเชิงแล้วคนเราจะ
ทำอะไรไม่ได้ หรือไม่คิดทำอะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่โดยที่แท้แล้ว ผู้ดำรงชีวิต อยู่
อย่างถูกต้อง ตามศิลปะแห่งการครองชีวิตของพระพุทธเจ้านั้น คือผู้มีชัยชนะอยู่
เหนือสิ่งทั้งปวงที่เข้ามาแวดล้อมตน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บุคคลสิ่งของหรืออะไรก็ตาม
จะเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจก็ตาม ย่อมจะเข้ามาในฐานะผู้แพ้ ไม่
อาจจะทำให้เกิดความมืดมัว สกปรก เร่าร้อนให้แก่ผู้นั้นได้ อากัปกิริยาที่เป็นฝ่าย
ชนะอารมณ์ทั้งปวงนี้ ย่อมเป็นที่บันเทิงเริงรื่นอย่างแท้จริง ; และนี่คือข้อที่ควรถือ
เป็นศิลปะในพุทธศาสนา
ธรรมเป็นวิทยาศาสตร์ (Science) โดยส่วนเดียว เพราะพิสูจน์ได้ชัดแจ้ง
ด้วยความรู้สึกภายในของผู้ที่มีสติปัญ ญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอริยสัจจ์เป็น
ต้น ถ้าผู้ใดมีสติปัญญาสนใจศึกษาค้นคว้าแล้วจะมีเหตุผลแสดงอยู่ในลักษณะที่
เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มืดมัวเป็นปรัชญาเหมือนอย่างบางเรื่อง สำหรับบุคคลผู้บชู า
วั ฒ นธรรม ก็ จ ะพบว่ า มี ค ำสอนในพระพุ ท ธศาสนาหลายข้ อ ที ่ ต รงกั บ หลั ก
วัฒนธรรมสากล และมีคำสอนอีกมาก ที่เป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธโดยเฉพาะ
ซึ่งดีกว่าสูงกว่าวัฒนธรรมสากลอย่างมากมาย ธรรมตัวแท้ ไม่ใช่หนังสือ ไม่ใช่
คัมภีร์ ไม่ใช่เสียงบอกเล่าตามพระไตรปิฎก หรือตัวพิธีรีตองต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ตัวแท้
ของพระพุทธศาสนา ตัวแท้ต้องเป็น ตัวการปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ชนิดที่จะ
ทำลายกิเลสให้ร่อยหรอหรือหมดสิ้นไปในที่สุด ไม่จำเป็นต้องเนื่องด้วยหนังสือ
ด้วยตำรา ไม่ต้องอาศัยพิธีรีตองหรือสิ่งภายนอก เช่นผีสางเทวดา แต่ต้องเนื่อง
ด้วยกายวาจาใจโดยตรง คือจะต้องบากบั่นกำจั ดกิ เ ลสให้ หมดสิ ้น ไป จนเกิ ด
ความรู้แจ่มแจ้ง สามารถทำอะไรให้ ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ไม่มีความทุกข์เกิดขึ้น
ตั้งแต่ต้นจนอวสาน นี่แหละคือตัวแท้ของพระพุทธศาสนา ในส่วนที่เราจะต้อง
เข้าถึงให้จงได้ อย่าได้ไปหลงยึดเอาเนื้องอกที่หุ้มห่อพระพุทธศาสนา มาถือว่าเป็น
ตัวพระพุทธศาสนากันเลย๗

๗ พุทธทาส.๒๕๒๕.
ธรรมประยุกต์ ๗
สิ่งที่น่าสนใจ และที่ต้องข้อน่าสังเกตก็คือ ธรรม มักจะหมายถึงคำสั่งสอน ๘
ของพระพุทธเจ้า สมัยพุทธกาลพระพุทธองค์ทรงสอนธรรมนักศาสนาเชื่อว่า
พระองค์ใช้ภาษาบาลีในการสั่ งสอน และการสั่งสอนนั้น ก็ เป็นแบบ มุขปาฐะ ๙
ต่อมาพระอัครสาวกสารีบุตรก็ได้ทูลพระพุทธเจ้ารวมรวมธรรมของพระพุทธ
องค์ให้เป็นหมวดหมู่ เป็นกลุ่ม เป็นเรื่องๆ ไป พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสสรรเสริญ
จนกระทั้ง หลังพุทธปรินิพพานคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ก็รับการสังคายนา
คือ การรวบรวมพระธรรมวินัย พระอภิธรรมเป็นกลุ่มแล้วได้มีการจารึกคำสั่ง
สอนของพระพุทธเจ้าลงในแผ่นใบลานในสมัยต่อมา ซึ่งปัจจุ บัน เรามักเรียกรวม
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่าพระไตรปิฎก ภาษาบาลี ว่า ติปิฎก (อ่านว่า ติ+
ปิ +ตะ+กะ) แปลว่ า ตะกร้ า ๓ ใบ ซึ ่ ง หมายถึ ง ตะกร้ า ที ่ บ รรจุ ค ำสั ่ ง สอนของ
พระพุทธเจ้า ๓ ส่วน ใหญ่ ได้แก่
๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติ
เกี่ยวกับความประพฤติความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ
ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม
จุ ป)เล่ม ๑ ถึง เล่ม ๘ ได้แก่
๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนัก
ของฝ่ายภิกษุสงฆ์ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต
๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่ เกี่ ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัค คิ ย
ปาจิตตีย์ถึงเสขิยะรวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะหรือ
๑๐ ตอน
๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ
๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือบรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อม
ความรู้พระวินัย พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒
ข้อในแบบต้นนั้นใหม่)คือ
๘ คำสั่ง คือ ข้อกฎระเบียบข้อบังคับที่จะต้องพึงปฏิบัติ คำสอน คือคำสอนที่ไม่ใช่ข้อบังคับเป็นการแสดงเหตุและผลของ
การประพฤติ และผลจากการปฏิบัตธิ รรมนั้นๆ
๙ การสอนปากต่อปาก คือการต่อพุทธพจน์ นัน่ หมายถึงการที่อาจารย์ผู้สอนจะสอนหัวข้อบทหนึ่งๆ ให้ลูกศิษย์ แล้วลูก
ศิษย์ก็จะนำเอาไปท่องจำให้ขึ้นใจ ครัน้ เมื่อท่องได้ขึ้นใจก็จะมาท่องให้อาจารย์ฟัง เมื่ออาจารย์ฟังแล้วเห็นว่าลูกศิษย์ท่องได้
ถูกต้องก็จะ สอนอีกบทหนึ่ง แล้วก็ให้ลูกศิษย์นำไปท่องจำอีก ได้แล้วก็มาทอดสอบ อย่างนี้ เรื่อยไป
ธรรมประยุกต์ ๘
๑. มหาวิ ภ ั งค์ หรื อ ภิ ก ขุ ว ิ ภั ง ค์ ว่ า ด้ ว ยสิ ก ขาบทในปาฏิ โ มกข์ (ศีล
๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิก ขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ ) ฝ่าย
ภิกษุณีสงฆ์
๓. มหาวรรค
๔.จุลวรรค
๕. ปริวาร
บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ
๑. วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณี
สงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน)
๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บท
ตอน (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน)
๓. ปริวาร คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)
๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรม
เทศนาคำบรรยายธรรมต่างๆที่ตรัสให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบท
ประพันธ์ เรื่องเล่าและเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น
๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) เล่มที่ ๙ ถึง เล่มที่ ๓๓ ได้แก่
๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่าสั ง
ยุตต์ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สัง
ยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
ธรรมประยุกต์ ๙
๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวด ๆ เรียกว่า
นิบาตตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรมมี
๙,๕๕๗ สูตร
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิตคำอธิบาย และเรื่องราว
เบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์
๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ
หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์
แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) เล่มที่ ๓๔ ถึง เล่มที่
๔๕ คือ
๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบาย
ทีละประเภท
๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออก
อธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์อายตนะ ธาตุ
๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตาม
คุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้ง
ที่ ๓
๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อน
กันเป็นคู่ๆ
๗. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์
เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย
ท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม
พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐
พระธรรมขันธ์แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก
๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิกฎ ๔๒, ๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ธรรมประยุกต์ ๑๐
องเสร็จแล้วเมื่อทำอัตตัตถะ(ประโยชน์ของตน) แล้วก็ไม่ต้องห่วงใยเรื่อง
ของตัวสามารถทำปรัตถะ (ประโยชน์ของผู้อื่น) ได้เต็มที่จะดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่
ด้วยปรหิต ปฏิบัติ(การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แห่งตนสืบไป ๑๐ เมื่อมีความพร้อมเป็น
ฐานอยู่อย่างนี้แล้ว พระอรหันต์จึงสามารถมีคุณลักษณะเป็นสรรพมิตร (เป็น
มิตรกับทุกคน) สรรพสขะ(เป็นเพื่อนกับทุกคน) และสัพพภูตานุกรรมปกะ(หวังดี
ต่อสรรพสัตว์)๑๑ ได้อย่างแท้จริง

๑๐ วินย. ๔/๓๒/๓๙; สํ.ส. ๑๕/๔๒๘/๑๕๓.


๑๑ ขุ.เถร. ๒๖/๓๑๘/๓๖๒.
บทที่ ๒
ชีวิตคืออะไร
ชีวิต คือ สิ่งที่ยังไม่ตาย ยังเป็นอยู่ ยังดิ้นได้ ยังเดินได้ ยังกินอาหารได้ ในแง่
ของชี ว วิ ท ยา ก็ ค ื อ ความสดอยู ่ ไ ด้ ข อง Nucleus ของ Cell เซลล์ ห นึ ่ ง คื อ
Protoplasm นั้นยังสดอยู่ยังเจริญอยู่เป็นต้น หรือถ้าจะให้ความหมายของชีวิตที่ลึก
ซึ่งหมายถึงสภาวะที่ไม่รู้จักตาย คือ สังขตธรม หรือ นิพพาน หรือ ชีวิตนิรันดร
หรือจะตอบว่าชีวิตคือสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น1
โดยปกติถ้าพูดถึงชีวิตเราก็จะมองภาพที่เหมือนกันว่า ชีวิตคือสิ่งที่มีชีวิต
มีวิญญาณ มีความรู้สึก ซึ่งรวมไปถึง คน หรือ มนุษย์และสัตว์ แต่ก็อีกนั่นแหละ ยังมี
คำถามต่อไปอีกว่า คน คืออะไร มนุษย์คืออะไร มีคนถามว่า รู้จักคนมั้ย คำตอบ ใคร
ถูกถามว่ารู้จักคนมั้ย คงตอบว่ารู้จัก ใครในโลกนี้ไม่รู้จัก คน แต่ถ้าให้อธิบายว่า คน
เป็นอย่างไร ประกอบด้วยอะไรเกิดขึ้นได้อย่างไร นั่นก็ต้องอาศัยการเรียนรู้การที่ได้
ศึกษาถึงจะตอบคำถามดังกล่าวอย่างพินิจพิเคราะห์ แยกแยะอย่างละเอียด หลายคน
สามารถที่ตอบคำถามว่าชีวิตคืออะไร แล้วรู้จักสิ่งที่ เรียกว่าชีวิต เพราะอาศัยการ
พิ จ ารณาลึ ก ก็ ต ้ อ งอาศั ย ความสนใจในการที ่ จ ะศึ ก ษา อย่ า งในพจนานุ ก รม
ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า ชีวิตไว้ว่า ชีวิต น. ความเป็นอยู่

ชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร
นักชีววิทยา ให้หลักเกี่ยวกับการกำเนิดชีวิตว่าเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยไข่
(Ovum) ของฝ่ายมารดา ได้รับการผสมกับตัวอสุจิ (Sperm) จึงจะกำเนิดชีวิตดังจัก
แสดงระบบและการเกิดชีวิตดังต่อไป
๑. วงจรการตกไข่ (The Woman's Monthly Cycle)
ก. หญิงจะต้องมีภาวะเจริญเติบโตมีอายุที่จะถึงวัยพร้อมผสมคือในแต่ละ
เดือน เมื่อถึงวันที่ ๑๔ ของรอบเดือน จะมีไข่สุก ๑ ฟองถูกปล่อยออกจากรังไข่ข้างใด
1 พุทธทาส. ภาษาคนภาษาธรรม.
ธรรมประยุกต์ ๑๒

ข้างหนึ่งและพร้อมจะรับการผสม โดยจะเดินทางผ่านปีกมดลูกเข้าสู่ท่อนำไข่ และจะมี


ชีวิตอยู่ได้ ๒๔ ชั่วโมง หลังการตกไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้น มูกบริเวณช่อง
คลอดซึ่งหลั่งจากปากมดลูกจะบางและยืดหยุ่นได้ดี เพื่อให้ สเปิร์มผ่านเข้าไปได้
สะดวก
ข. เมื่อไข่ที่พร้อมรับการผสมผ่านปีกมดลูกเข้าสู่ท่อนำไข่ และที่นี่จะเป็นที่ซึ่ง
ไข่ได้รับการผสมกับสเปิร์มของฝ่ายชายหากฝ่ายหญิงและ ฝ่ายชายมีเพศสัมพันธ์กัน
ในระหว่างนี้โดยเมื่อถึงจุดสุดยอดในขณะมีเพศสัมพันธ์ ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิซึ่งมี
สเปิร์มถึง ๒๐๐ - ๔๐๐ ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดฝ่ายหญิง และผ่านไปยังท่อนำไข่และ
ปีกมดลูก ในระยะนี้เยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้นและเตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของ
ไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว หากไข่ยังมาไม่ถึงในขณะนั้น สเปิร์มจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในท่อนำ
ไข่ได้อีกราว ๒๔ ชั่วโมง
ค. ถ้าไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกที่เตรียมพร้อมไว้นั้น จะเริ่ม
หลุดลอกออกมา เป็นเลือดประจำเดือน เพื่อเข้าสู่วงจรการตกไข่รอบต่อไป
๒. การปฏิสนธิ (Conception)
ก. เมื่อไข่ตกจากรังแล้ว ก็จะเคลื่อนตัวไปตามเยื่อบุท่อรังไข่ซึ่งมีขนช่วยพัด
โบกไปจนถึงตำแหน่งที่จะพบกับอสุจิ เมื่อถึงจุดสุดยอดในขณะมีเพศสัมพันธ์ ฝ่าย
ชายจะหลั่งน้ำอสุจิ ซึ่งมีสเปิร์มถึง ๒๐๐ -๔๐๐ ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง
ข. เมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้า สู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง แม้ว่าอาจเข้า
ไม่ได้เต็มจำนวน แต่ยังมีส่วนที่ว่ายผ่าน มูกบริเวณช่องคลอดซึ่งหลั่งจากปากมดลูก
ซึ่งช่วงนี้จะบาง และยืดหยุ่นได้ดีในช่วงไข่ตก เข้าสู่โพรงมดลูก และ ผ่านไปยังท่อนำไข่
และปีกมดลูก โดยปกติอสุจิจะเดิน ทางด้วยอัตราเร็ว ๒ - ๓ มล. ต่อนาทีแต่จะ
เคลื่อนที่ช้าลง ในช่องคลอดที่มีสภาพเป็นกรด และว่ายเร็วขึ้นเมื่อ ผ่านจากปาก
มดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกที่มีความเป็นด่าง ซึ่งกว่าอสุจิจะผ่านพ้นเข้าไปในท่อรังไข่ได้
นั้น จำนวน อสุจิ ๒๐๐ - ๔๐๐ ล้านตัวในขณะหลั่งจะเหลือรอดได้เพียง ไม่กี่ร้อยตัวที่
มีโอกาสไปผสมกับไข่ อสุจิจะปล่อยสารย่อย (Enzyme) จากส่วนหัวซึ่ง สามารถ
ละลายผนังที่ห่อหุ้มปกป้องไข่ออกได้ และจะมีอสุจิ เพียงตัวเดียวที่เจาะเข้าสู่ไข่ได้
สำเร็จ หลังจากนั้นอสุจิตัวอื่นๆ จะไม่สามารถเข้าไปได้อีก อสุจิจะสลัดหางและย่อย
ส่วนหัว เพื่อปลดปล่อยโครโมโซมทั้ง ๒๓ แท่งที่บรรจุอยู่ภายในส่วน หัวเข้าสู่ไข่ เพื่อ
จับคู่ของตัวเองกับโครโมโซมอีก ๒๓ แท่งในไข่ และหลอมรวมตัวกันกลายเป็นเซลล์
ธรรมประยุกต์ ๑๓

เซลล์เดียว เรียกว่าเกิดการปฏิสนธิขึ้น หลังไข่เกิดการปฏิสนธิ เซลล์จะมีการแบ่งตัว


ทวีคูณ ในเวลาอันรวดเร็ว จาก ๑ เป็น ๒ จาก ๒ เป็น ๔ จาก ๔ เป็น ๘ จาก ๘
เป็น ๑๖ ฯลฯ การแบ่งตัวจะเกิดอย่างต่อ เนื่องในขณะที่ไข่ที่ผสมแล้ว (Embryo - ตัว
อ่อน) เคลื่อน ตัวอย่างช้าๆ และภายในเวลา ๗ วันจะเคลื่อนไปถึง ตำแหน่งที่จะฝังตัว
ลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ตอนนี้ไข่ที่ผสม แล้วจะมีลักษณะเป็นลูกกลมประกอบด้วย
เซลล์ประมาณ ๑๐๐ เซลล์ เมื่อไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน) ฝังตัวลงในเยื่อ บุโพรงมดลูก
ซึ่งมีลักษณะนุ่มและหนา เมื่อยึดเกาะกัน มั่นคงดีแล้ว จึงถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไป
อย่างเรียบ ร้อยสมบูรณ์
ไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน - Embryo) จะยื่นส่วนอ่อนนุ่มแทรก ลึกลงไปใน
ผนังมดลูกเพื่อสร้ างทางติดต่อกับเลือดของแม่ ต่อมาส่วนนี้จะเจริญเป็นรก มีการ
สร้างสายสะดือและ ถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มต่อไป ตัวอ่อนจะมีเนื้อเยื่อพิเศษ ๗ ชั้น ซึ่งต่อไป
แต่ละชั้นจะสร้างเป็นอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทารกน้อย

พระพุทธศาสนามีทฤษฏีการมีชีวิตของมนุษย์ อย่างไร
การเริ่มต้นของชีวิตทางพุทธปรัชญาเรียกว่า โยนิ คือ กำเนิด และคำว่า
ชาติ คือการเกิดทั้ง ๒ คำมีความหมายต่างกัน คือ โยนิ หมายถึงกำเนิด แบบ หรือ
ชนิดการเกิด2 ส่วนคำว่า ชาติ ความหมายกว้างออกไปอีก คือหมายถึง การเกิด ,
ชนิด, เหล่า และปวงชนแห่งชาติเดียวกัน ในมหาสีหนาทสูตรพระพุทธองค์ทรงตรัส
แก่พระสารีบุตรถึงเรื่อง โยนิ ว่า “ ดูก่อนสารีบุตร กำเนิด ๔ เหล่านี้แล ๔ ประการ
เป็นไฉน ? คือ อัณฑชะกำเนิด ๑ ชลาพุชะกำเนิด ๑ สังเสทชะกำเนิด ๑ และ
โอปปติกะกำเนิด ๑ ก็อัณฑชะกำเนิดเป็นไฉน? สัตว์เหล่านั้นใดชำแรกเปลือกแห่ง
ฟ้องไข่เกิดนี้เราเรียกว่า อัณฑชะกำเนิด.......ชลาพุชะกำเนิดเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลาย
เหล่านั้นใดชำแรก ลำไส้ ไส้(มดลูก) เกิดนี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกำเนิด ......สังเสทชะ
กำเนิดเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใดเกิดในปาลเน่าในขนมบูด ในเถ้าไคล(ของ
สกปรก) นี้เราเรียกว่า สังเสทชะกำเนิด.....โอปปาติกะกำเนิดเป็นไฉน เทวดา สัตว์
นรก มนุษย์บางจำพวกและเปรตอสุรกายนี้เราเรียกว่า โอปปาติกะกำเนิด....”
ส่วนในอภิธรรมได้อธิบายกำเนิดไว้อย่างนี้คือ

2 พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ; อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๗.หน้า ๑๕๗.


ธรรมประยุกต์ ๑๔

๑. ชลาพุชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา เกิดในมดลูก คลอดออกมา


เป็นตัวเลย แล้วค่อย ๆ โตขึ้นตามลำดับสัตว์ที่เป็นชลาพุชกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต คือ เปรตจำพวกที่ถูกไฟเผาอยู่
เสมอ)
จ. อสุรกาย
ที่เรียกว่าเทวดาชั้นต่ำ ในที่นี้หมายถึงเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ที่เป็น
ภุมมัฏฐ เทวดา คือเทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดิน ไม่มีวิมานที่ลอยอยู่ในอากาศเป็น
ที่อยู่ ซึ่งมีชื่อว่า วินิปาติกอสุรา และ เวมานิกเปรต เฉพาะพวกที่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขา
สันตีรณกุสลวิบากเท่านั้น
๒. อั ณ ฑชกำเนิ ด คื อ เกิ ด ในฟองไข่ ต้ อ งอาศั ย เกิ ด จากท้ อ งมารดา
เหมือนกัน แต่มีฟองห่อหุ้ม คลอดออกมาเป็นไข่ก่อนแล้วจึงแตกจากไข่มาเป็นตัว และ
ค่อย ๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ สัตว์ที่เป็นอัณฑชกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์ (มีมาในธัมมบทว่า พระ ๒ องค์ที่เรียกกันว่า ทเวพาติกเถระ ซึ่ง
เป็นลูกของโกตนกินรี เมื่อเกิดมาทีแรกออกมาเป็นฟองไข่ก่อ น แล้ว จึงคลอด
ออกมาจากฟองไข่นั้นอีกทีหนึ่ง)
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสุรกาย
ชลาพุชกำเนิด และอัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ นี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกกำเนิด
เพราะต้องอาศัยเกิดในครรภ์มารดาเหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ออกมาเป็นตัว
หรือออกมาเป็นฟองไข่ก่อน แล้วจึงแตกเป็นตัวภายหลัง
ธรรมประยุกต์ ๑๕

๓. สังเสทชกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นในที่มีความเปียกชื้น เกิดขึ้นโดยไม่ต้อง


อาศัยบิดา มารดา ไม่ได้อาศัยเกิดจากท้องมารดา เกิดขึ้นโดยอาศัย ต้นไม้ ผลไม้
ดอกไม้ ดอกบัว โลหิต หรือที่เปียกชื้น เป็นต้น เกิดมาก็เล็กเป็นทารก แล้วจึง ค่อย ๆ
เติบโตขึ้นมา สัตว์ที่เป็นสังเสทชกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์ (เช่น นางจิญจมาณวิกาเกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดีเกิด
จาก ต้นไผ่ นางปทุมวดีเกิดจากดอกบัว โอรสของนางปทุมวดีร วม
๔๙๙ องค์ เกิดจากโลหิต เป็นต้น)
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสุรกาย
๔. โอปปาติกกำเนิด หมายถึงเกิดขึ้นและใหญ่โตเต็มที่ในทันทีทันใดนั้นเลย
ทีเดียว ไม่ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาไม่ได้อาศัยสิ่งใดเกิด อาศัยอดีตกรรมอย่าง
เดียว สัตว์ที่เป็นโอปปาติกกำเนิด ได้แก่
ก. มนุษย์ มีในสมัยต้นกัป
ข. เทวดาทั้ง ๖ ชั้น (เว้นเทวดาชั้นต่ำ)
ค. พรหมทั้งหมด
ง. สัตว์นรก, สัตว์ดิรัจฉาน, อสุรกาย
จ. เปรต (รวมทั้งนิชฌามตัณหิกเปรตด้วย)
หรือจะ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
ก. มนุษย์ ๑ ภูมิ
ข. เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา (เว้นเทวดาชั้นต่ำ) ๑ ภูมิ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภูมิ
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต) ๑ ภูมิ
จ. อสุรกาย ๑ ภูมิ
รวม ๕ ภูมินี้ มีกำเนิดได้ทั้ง ๔
ธรรมประยุกต์ ๑๖

อย่างไรก็ตาม การกล่าวถึงกำเนิดดังกล่าวข้างต้นก็ปรากฏในพระ
อรรถกถาและฏีกาจารย์สมัยต่อมาได้อธิบายถึงกำเนิดดังกล่ า วไว้
เหมื อ นว่ า ทั ้ ง มนุ ษ ย์ เทวดา สั ต ว์ เปตร อสุ ร กาย ฯลฯ ล้ ว นแล้ ว
สามารถเกิดในกำเนิดทั้ง ๔ แทบทั้ งสิ้น เพราะได้มีการอธิบายตัวอย่าง
การกำเนิดหรือที่มาของสัตว์ต่างๆไว้เป็นตัวอย่างบ้าง แต่ก็เป็นที่
ยอมรับกันมากในเวลานี้ก็คือ กำเนิด ๔ ได้แก่
๑. ชลาพุชกำเนิด สิ่งมีชีวิตเหล่าใดที่อาศัยมดลูกเกิด เช่น คน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นต้น
๒. อัณฑชกำเนิด คือสิ่งมีชีวิตเหล่าใดที่อาศัยฟองไข่เกิด เช่น มด
ปลา ไก่ เป็ด ฯลฯ
๓. สังเสชกำเนิด คือสิ่งมีชีวิตเหล่าใดที่อาศัยน้ำ ที่เปียกชื้นบูดเน่า
เช่น หนอน ดอกบัว เชื้อรา เห็ด เป็นต้น
๔. โอปปาติกกำเนิด คือสิ่งชีวิตเหล่าใดที่เกิดด้วยการผุดขึ้นเอง
เช่น พรหม พระเจ้า เทวดา เปตร อสุรกาย เป็นต้น
ในมหาตัณหาสังขยสูตรว่ามนุษย์เกิดขึ้นได้อาศัยปัจจัย ๓ จึงทำให้เกิดจุดกำเนิดของ
ชีวิต คือ
๑. บิดามารดาได้ร่วมหลับนอนร่วมกัน
๒. บิดามารดานั้นถึงวัยเจริญพันธ์
๓. มีวิญญาณมาปฏิสนธิ3
ดั ง พุ ท ธพจน์ ว่ า “ ดู ก ่ อ นภิ ก ษุ ท ั ้ง หลาย เพราะความประชุม พร้อ มแห่ ง ปั จจั ย ๓
ประการ ความเกิดแห่งทารกจึงมีในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดารอยู่ร่วม แต่มารดาไม่มี
ระดู และทารกที่จะเกิดยังไม่มีปรากฏ ความเกิดแห่งทารกยังไม่มีก่อน ในสัตว์โลกนี้
มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดูแต่สัตว์ที่จะเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก
ยังไม่มีก่อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดูด้วย และ
ทารกที่จะมาเกิด (ปฏิสนธิวิญญาณ) ก็มีปรากฏด้วย เพราะความประชุมพร้อมแห่ง
ปัจจัยทั้ง ๓ ประการความเกิดแห่งทารกจึงมี4........”

3 ม.มู.๑๒/๔๕๒/๒๘๗.
4 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. เล่ม ๑๒ ข้อ ๔๕๒.หน้า ๓๔๒.
ธรรมประยุกต์ ๑๗

พุทธพจน์ที่อ้างมานี้เป็นที่ยอมรับของนักชีววิทยา ในพุทธปรัชญายังได้กล่าวต่อไป
อีกว่าสิ่งที่เป็นมูลเหตุเป็นต้นเค้าเป็นแดนเกิดเป็นปัจจัยแห่งนามรูป ก็คือ “วิญญาณ”
วิญญาณนั้นก็คือ ปฏิสนธิวิญญาณที่ทำหน้าที่จุติจากร่างที่เป็นโอปปาติกะและมาถือ
ปฏิสนธิในครรภ์มารดา ในส่วนที่แคบที่สุดคือ มดลูก ฉะนั้นเมื่อพูดว่า ถือปฏิสนธิใน
ครรภ์มารดาจึงหมายถึงมาปฏิสนธิในไข่ที่ผสมเชื้อไว้แล้ว จากนั้นจึงจะมีร่องรอยของ
ความเป็นคนปรากฏ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ปัญจสาขา มีอาการครบ ๓๒
บริบูรณ์ ปฏิสนธิวิญญาณที่ทำหน้าที่ปฏิสนธินี้เอง เมื่อปฏิสนธิแล้วก็ดับไปเป็นปัจจัย
ให้เกิดภวังคจิตญาณดวงใหม่ ซึ่งค่อยทำหน้าที่สร้างและจัดระเบียบไข่ที่ผสมเชื้อมีที่มี
ร่องรอยแห่งความเป็นคนอยู่แล้วให้เจริญเติบโตต่อไป จากสาเหตุที่กล่าวมาพอสรุป
ได้ว่าในตัวเราก่อให้เกิดเป็นคน ย่อมอาศัยด้วย วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดชีวิตส่วน
หนึ่ง นั่นเอง
หลังจากที่ทราบกระบวนการเกิดเฉพาะวิญญาณ โดยละเอียดแล้ว ต่อไปก็จะเป็น
กระบวนการเติบโตของมนุษย์ที่อยู่ในครรภ์ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอินทกสูตร
มี ๕ ลำดับขั้นในแต่ละสัปดาห์5 ดังนี้
๑. กลละ เป็ น น้ ำ ใส มี ล ั ก ษณะเป็ น เมื อ ก เป็ น จุ ด เริ ่ ม ต้ น แห่ ง การ
เจริญเติบโต
๒. อัพพุทะ มีลักษณะเป็นเมือกที่ขุ่นข้น
๓. เปสิ มีลักษณะแดงบางระเรือ
๔. ฆนะ มีลักษณะเป็นก้อนค่อยๆ แข็งตัวขึ้น
๕. ปัญจสาขา มีลักษณะเป็นปุ่ม ๕ ปุ่มศีรษะ ๑ ปุ่ม ปุ่มแขน ๒ ปุ่มขา ๒
จากนั้นก็จะพัฒนาไปสู่การเป็นรูปร่างจนมีผม ขน เล็บ เป็นต้นตามลำดับดัง
พระบาลีว่า
ปฐมํ กลลํ โหติ กลลา โหติ อพฺพุทํ
อพฺพุทา ชายเต เปสิ เปสิ นิพฺพตฺตตี ฆโน
ฆนา ปสาขา ชายนฺติ เกสา โลมา นขาปิ จ6

5 กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. เล่ม ๑๕ ข้อ ๒๔๘ หน้า ๘๐๓.


6 สํ.ส.๑๕/๘๐๓/๓๐๓; อภิ.ก.๓๗/๑๕๖๐/๕๒๔.
ธรรมประยุกต์ ๑๘

ในอรรถกถาสารรั ต ถที ป นี ไ ด้ ข ยายความพุ ท ธพจน์ น ี ้ ว ่ า ระยะแรกเป็ น กลละนั้ น


หมายความว่าสัตว์ที่เกิดในครรภ์มารดา อวัยวะทุกส่วนมิใช่เกิดพร้อมกันทีเดียว
แท้จริงแล้วค่อยๆ วิวัฒนาการขึ้นที่ละน้อยตามลำดับโดยระยะแรกอยู่ในสภาพเป็น
กลละ ซึ่งมีสีคล้ายเนยใส ขนาดเท่าหยาดน้ำมันงาซึ่งติดอยู่ที่ปลายด้าย ที่ทำจากขน
แกะแรกเกิด ๑ เส้น
ส่วนในฏีกาอภิธรรมมัตถวิภาวินี อธิบายเสริมว่า กลละนั้นมีเค้าโครงของ
กายภาพอยู ่ แ ล้ ว ๓ อย่ า ง คื อ กายทสกะ (โครงสร้ า งทางร่ า งกาย) วั ต ถุ ท สกะ
(โครงสร้า งทางสมอง) และภาวะทสกะ (โครงสร้า งทางเพศ) โครงสร้ า งทั ้ง ๓ นี้
ปรากฏรวมอยู่แล้วในกลละ ส่วนกลละจะมีลักษณะเป็นหยาดน้ำกลมใส มีขนาดเท่า
หยาดน้ำมันงาซึ่งติดอยู่ที่ปลายขนแกะแรกเกิด ๑ เส้น
จากกลละก็จะกลายเป็นอัพพุทะ (จากน้ำใสเป็นน้ำขุ่นข้น) อรรถกถาอธิบาย
ว่าครั้งแรกเป็นกลละได้ ๗ วันก็วิวัฒนาการเป็นน้ ำขุ ่นข้ น มีสีคล้ายน้ำล้ า งเนื้ อ
เรียกว่า อัพพุทะ
จากอัพพุทะเป็นเปสิ (จากน้ำขุ่นข้นมาเป็นชิ้นเนื้อ ) อรรถกถาอธิบายว่า
ครั้งเป็นอัพพุทะได้ ๗ วันก็วิวัฒนาการแข็งตัวเป็นชิ้นเนื้อสีแดง มีลักษณะคล้ายเนื้อ
แตกโมที่บดแล้ว
จากเปสิ เป็น ฆนะ (จากชิ้นเนื้อมาเป็นก้อนเนื้อ ) อรรถกถาอธิบายว่า ครั้ง
เป็นชิ้นเนื้อได้ ๗ วันก็วิวัฒนาการแข็งตัวขึ้นอีกเป็นก้อนเนื้อทรงกลมคล้ายไข่ไก่ได้
๗ วัน
จากก้อนเนื้อก็เกิดสาขา อรรถกถาอธิบายว่า ในสัปดาห์ที่ ๕ ที่ก้อนเนื้อนั้น
ก็เกิดปุ่ม ๕ ปุ่มเรียกว่า ปัญจสาขา ปุ่ม ๕ ปุ่มนี้ภายใน ๗ วันนั้นก็วิวัฒนาการขึ้นเป็น
มือ ๒ ข้าง เท้า ๒ ข้าง และศีรษะและสัปดาห์ที่ ๖ เค้าโครงตา (จักขุทสกะ) ก็เกิด
จากนั ้ น สั ป ดาห์ ท ี ่ ๗ เค้ า โครงหู (โสตทสกะ) ก็ เ กิ ด สั ป ดาห์ ท ี ่ ๘ เค้ า
โครงจมู(ฆานทสกะ) ก็เกิด สัปดาห์ที่ ๙ เค้าโครงลิ้น (ชิวหาทสกะ) ก็เกิด รวมเวลา
ตั้งแต่แรกถือปฏิสนธิจนกระทั่งถึงเวลาเกิดอวัยวะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น ทั้งสิ้น ๙
สัปดาห์ จาก ๙ สัปดาห์ไปถึง ๔๒ สัปดาห์องค์คาพยพต่างๆ ก็เกิดขึ้น คือ ผม ขน
เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้ใหญ่
ไส้น้อย อาหารเก่า อาหารใหม่ ซึ่งในขณะที่องคาพยพต่างๆ เกิดขึ้นอยู่นั้นส่วนต่างๆ
ของร่างกายเกิดขึ้นด้วยพร้อมกันดังนี้ ส่วนที่เป็นของเหลว (อาโปธาตุ) ได้แก่ น้ำดี
เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น เปลว มัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ ปัสสาวะ ส่วนที่เป็น
ธรรมประยุกต์ ๑๙

พลังงาน (เตโชธาตุ) ได้แก่ ไฟธาตุทำให้ร่างกายให้อบอุ่นซึ่งต่อไปจะแปรเป็นไฟย่อย


อาหาร ไปทำร่างกายให้ทรุดโทรมไฟทำร่ากายให้กระวนกระวาย (เช่นร้อนใน) ส่วน
หนึ่งที่เป็นวาโยธาตุ (ลม) ได้แก่ลมพัดซ่านไป ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ
ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ซึ่งต่อไปจะแปรสภาพเป็นลมหายใจ
ชีวิตในครรภ์ดำรงอยู่ได้อย่างไร
ในชีวิตที่เกิดแบบชลาพุชะ จะรับอาหารเมื่ออาหารต่างๆ ที่มารดาบริโภค
เข้าไป ในสัปดาห์แรกเมื่อยังเป็นกลละอยู่นั้น อาหารยังแผ่เข้าไปไม่ได้ก่อนแต่ เมื่อ
สัปดาห์ที่ ๒ เป็นต้นไป อาหารจึงจะเริ่มสู่ร่างกายของทารกตามที่ปรากฏในอินทก
สูตรว่า “มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภคข้ าวน้ำอย่างใดสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ก็เลี้ยง
อัตภาพด้วยอาหารนั้น ” อรรถกถาจารย์อธิบายเพิ่มเติมว่า “สัตว์ที่อยู่ในครรภ์
มารดาบริโภคอาหารทางก้านสะดือ (สายรก นาภิโต อุฏฐิตนาโฬ) คือก้านสะดือจะ
ติดเป็นอันเดียวกับแผ่นท้องของมารดา ก้านสะดือนั้นมีลักษณะเป็นรูพรุนข้า งใน
คล้ายก้านบัว รสอาหารที่มารดาบริโภคเข้าไปแล้วก็จะแผ่ซ่านไปทางก้านสะดือ สัตว์
ในครรภ์ก็จะเลี้ยงตนเองด้วยอาหารนั้น”
สรุปแล้ว คนเราอยู่ท้องมารดา ๔๒ สัปดาห์ คิดเป็นเดือน ก็ ๑๐ เดือน คิดเป็นวันก็
ประมาณ ๒๙๐ วัน ซึ่งตลอดระยะเวลาเท่านี้ชีวิตคนเราจะวิวัฒนาการสมบูรณ์เต็มที่
พร้อมที่จะลืมตาออกมาดูโลกแล้ว
พระพุทธเจ้าทรงทราบทฤษฏีปฏิสนธิอย่างไร
ในทฤษฏีปฏิสนธิวิญญาณ และโดยเฉพาะพระพุทธเจ้าทรงรู้ได้อย่างไรว่ามนุษย์
กำเนิด มีชีวิตในครรภ์ เติบโต และอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
เครื่องมือในการที่จะรู้กำเนิดชีวิตมานาน นานกว่ากระบวนการ หรือความรู ้ท าง
วิทยาศาสตร์เจริญหลายพันปี ปัญหาก็คือว่าพระพุทธเจ้าทรงมีเครื่องมืออะไรในการ
ทราบว่ามนุษย์เกิดอย่างไร อยู่ในครรภ์ได้อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น พระพุทธเจ้ายังรู้ อีก
ว่าสัตว์ที่เข้ามาปฏิสนธิเป็นใคร มาจากไหน มีอะไรเป็นปัจจัยให้มาเกิด โดยปั จจัย
ดังกล่าวเป็นเรื่องของกรรม ซึ่งเครื่องมือที่พระพุทธเจ้าใช้ในการพิจารณารู้สัตว์
ธรรมประยุกต์ ๒๐

ต่างๆ ในครรภ์ได้ เรียกว่า อัชฌาสัยเตวิชโช 7 หรือวิชชา ๓ แปลว่า ความรู้แจ้ง


หรือความรู้วิเศษ8(The Threefold Knowledge) ได้แก่
๑. ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ คือ การระลึกชาติ (reminiscence of past lives)
๒. จุตูปปาตญาณ คือ เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย หรือเรียกอีก
อย่างว่าทิพย์จักขุญาณ (knowledge of the decease and rebirth of beings;
clairvoyance) ผลในญาณต่างๆ ที่เป็นบริวาร ของทิพยจักษุญาณทั้งหมด หรือ
เรียกว่า ถ้าบรรลุทิพย์จักขุญาณจะมีคุณธรรม เช่น
๑.ได้ จตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้วเกิด ณ ที่ใด ที่มาเกิดนี้มาจากไหน
๒.ได้ เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์จิตของคนและสัตว์
๓.ได้ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่เกิดมาแล้วในการก่อนได้
๔.ได้ อตีตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอดีตได้
๕. ได้ อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในกาลข้างหน้าต่อไปได้
๖.ได้ ปัจจุปันนังสญาณ รู้เหตุปัจจุบันว่า ขณะนี้อะไรเป็นอะไรได้
๗.ได้ ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลกรรมของสัตว์ บุคคลเทวดา และพรหม ได้ว่าเขามีสุข
ทุกข์เพราะผลกรรมอะไรเป็นเหตุ
มีปฏิปทาในการปฏิบัติหรือ เป็นเหตุที่ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
๑.การรักษาศีลให้สะอาดหมดจด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด
๒.ฝึกสมาธิในกรรมฐานที่มีอภิญญาเป็นบาท คือ กสินกองใดกองหนึ่งที่เป็นสมุฏฐาน
ให้เกิดทิพยจักษุญาณ กสิณที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุญาณนั้นมีอยู่ 3 กอง
ด้วยกันคือ
๑.เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๒.อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๓.โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว
ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติในหมวดกรรมฐาน ๔๐ หัวข้อกสิณ ๑๐ กสิณทั้ง ๓ ที่กล่าว
มาแล้วนี้ ถ้าท่านได้อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม จะเป็นพื้นฐานให้ได้ทิพยจักษุญาณทั้งสิ้น

7 หมายถึงท่านที่มีอุดมคติในด้านวิชชาสาม คือทรงคุณสามประการ ในส่วนแห่งการปฏิบัติ ได้แก่คุณธรรมดังต่อไปนี้


๑. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติที่แล้วๆ มาได้
๒. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้ว และเกิดมานี้ ตายแล้วไปไหน ก่อนเกิดมาจากไหน
๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป
8 ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๒; อง.ทสก.๒๔/๑๐๒/๒๒๕.
ธรรมประยุกต์ ๒๑

แต่ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า ในบรรดากสิณทั้ง ๓ อย่างนี้ อาโลกกสิณเป็น


กสิณสร้างทิพย์จักษุญาณโดยตรง
๓. อาสวักขยญาณ คือความรู้ที่ให้สิ้นอาสวะหรือ การตรัสรู้ (knowledge of the
destruction of mental intoxication)
ในปฐมสมันตปาสาทิกา9 ได้กล่าว ถึงปฐมจิตของมนุษย์ผู้เริ่มลงสู่ครรภ์ว่า ปฏิสนธิ
จิตชื่อว่าจิตดวงแรก ที่ผุดขึ้นนั้นท่านแสดงปฏิสนธิของสัตว์ผู้มี ขันธ์ ๕ แม้ทั้งสิ้น
เพราะเหตุนั้น กายมนุษย์อันเป็นทีแรกสุดนี้คือ จิตดวงแรกนั้น ๑ อรูปขันธ์ ๓ เวทนา
สัญญา สังขาร ที่เกี่ยวเกาะด้วยจิตนั้น ๑ กลละรูป ที่เกิดพร้อมกับจิต ๑

ชีวิตคือ อะไรในทัศนะของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนากล่าวว่า ชีวิต คือ หน่วยรวม ตัวสภาวะ หรือ ธาตุที่มาประชุม
ประกอบเข้าด้วยกัน ของ รูป และ นาม โดยส่วนรูปนั้นประกอบด้วยธาตุดิน ธาตุไฟ
ธาตุน้ำ ธาตุลม และส่วนนาม ประกอบด้วย เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่
เรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ เบญจขันธ์10 (The Five Aggregates) ซึ่งสามารถอธิบายได้
ว่า ชีวิตคือหน่วยรวมของขันธ์ ๕ ไม่มีชีวิตอื่นใดที่นอกเหนือไปจากขันธ์ ๕ เพราะ
อาศัยขันธ์ ๕ นี้เองจึงบัญญัติเรียกว่า “สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา” ถือได้ว่าขันธ์ ๕
เป็นโครงสร้างของสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา และองค์ประกอบของชีวิตนี้ เอง มีชื่อ
เรียกไปตามหน้าที่ที่แตกต่างกัน และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ชีวิตคือ องค์ประกอบของขันธ์11 ๕ ได้แก่
๑.รู ป (Corporeality) ได้ แ ก่ ส ่ ว นประกอบฝ่ า ยรู ป ธรรมทั ้ ง หมด ร่ า งกาย และ
พฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติและ
พฤติกรรมต่างๆ ของสสาร พลังงานเหล่านั้นหรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธาตุ ๔
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นต้น รูปขันธ์แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่
ก. มหาภูตรูป12 รูปใหญ่หรือ รูปหลัก หรือรูปต้นเดิมที่ใหญ่ๆ โตๆ รูปอาศัย
หรือรูปแฝงอยู่ในรูปใหญ่นั้น มหาภูตรูป ประกอบด้วยธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวีธาตุ
ธาตุดิน๑ อาโปธาตุ ธาตุน้ำ๑ วาโยธาตุ ธาตุลม๑ เตโชธาตุ ธาตุไฟ๑

9 ปฐมสมันตปาสาทิกา แปล เล่น ๓ พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๐๙. หน้า ๘๒.


10 พระราชวรมุน(ี ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พุทธธรรม. ๒๕๒๖.
11 สํ.ข.๑๗/๙๕/๕๘/; อภิ.วิ. ๓๕/๑/๑.
12 ที.สี.๙/๓๔๓/๒๗๗; วิสุทธิ.๓/๑๑ ; สงคห.๓๓.
ธรรมประยุกต์ ๒๒

ข. อุปาทายรูป13 มี ๒๔ อย่าง ได้แก่ ปสาทรูป ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ


กาย โคจรรูป (รูปที่เป็นอารมณ์ของอินทรีย์ ) ๔ คือ รูป เสียง กลิ่น รส
ภาวรูป (รูปที่เป็นเพศ) ๒ คือ ความเป็นหญิง (อิตถีภาวะ) และความเป็นชาย
(ปุริสภาวะ) ชีวิตรูป หมายถึง ชีวิต (รูปที่เป็นชีวิต) ๑ คือ ชีวอินทรีย์ อาหาร
รูป (รูปคืออาหาร) ๑ คือ กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าวที่เรากินเข้าไป)
ปริจเฉทรูป (รูปกำหนดสถานที่เป็นหลัก ๑ คือ อากาศธาตุ ได้แก่ ช่องว่างที่มี
อากาศในร่างกาย วิญญัติรูป (การเคลื่อนไหวเพื่อให้รู้ความหมาย) ๒ คือ
กายวิญญัติ (ความเคลื่อนไหวทางกาย)และวจีวิญญัติ (ความเคลื่อนไหวทาง
วาจา) หทัยวัตถุ (ที่ตั้งของจิต ๑) วิการรูป (อาการที่ทำให้ผิดปกติ) ๓ คือ
ลหุตา (ความอ่อน) มุทุตา (ความเบา) และกัมมัญญตา (ความควรแก่การ
งาน) ลักขณรูป (อาการที่เป็นเครื่องกำหนด) ๔ คือ อุปจย (การก่อตัวหรือ
เจริญเติบโต) สันตติ (ความสืบต่อ ) ชรตา (ความทรุดโทรม) และอนิจจตา
(ความแปรปรวน) เมื่อรวมธาตุทั้ง ๔ ซึ่งจัดเป็นมหาภูตรูป (รูปใหญ่ ) เมื่อ
นำมารวมเข้ากับอุปทายรูป (รูปอาศัย ๒๔) แล้วก็จะเป็นรูป ๒๘ อย่างรวมรูป
ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วเรียก รูปขันธ์
๒. เวทนา14 (Feeling หรือ Sensation) แปลว่าการเสวยอารมณ์ คือความรู้สึก
ต่อสิ่งที่ถูกรับรู้ซึ่งจะเกิดทุกครั้งที่มีการรับรู้ ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่ง
เกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ เวทนาอธิบายละเอียดและย่อต่างกัน ได้
๔ ประเภท ได้แก่
ก. เวทนา ๒ ได้แก่
๑) กายิกเวทนา คือการเสวยอารมณ์ทางกาย
๒) เจตสิกเวทนา คือ การเสวยอารมณ์ทางใจ
ข. เวทนา ๓ ความรู้สึกรสของอารมณ์ ได้แก่
๑) สุขเวทนา คือ ความรู้สึก สุขสบาย ทางกาย และทางใจ
๒) ทุกขเวทนา คือ ความรู้สึกทุกข์ไม่สบายกายไม่สบายใจ
๓) อทุกขมสุขเวทยา หรือ อุเบกขาเวทยา คือความรู้สึกเฉยๆสุขก็
ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่

13 อภิ..วิ.๓๕/๓๖/๑๙; วิสุทธิ.๓/๒๐; สงคห.๓๕.


14 สํ.สฬ.๑๘/๔๓๔/๒๘๗.
ธรรมประยุกต์ ๒๓

ค. เวทนา ๕ ได้แก่
๑) สุขินทรีย์ สุขสบายทางกาย
๒) ทุกขอินทรีย์ ความทุกข์กาย
๓) โสมนัสอินทรีย์ สุขใจ
๔) โทมนัสอินทรีย์ ทุกข์ใจ
๕) อุเบกขาอินทรีย์ ความรู้สึกเฉยๆ
ง. เวทนา ๖ ได้แก่
๑) จักขุสัมผัสสชา
๒) โสตสัมผัสสชา
๓) ฆานสัมผัสสชา
๔) ชิวหาสัมผัสสชา
๕) กายสัมผัสสชา
๖) มโนผัสสชา
๓. สั ญ ญา 15 (Perception) ได้ แ ก่ ก ารจำกำหนดได้ หรื อ หมายรู ้ คื อ
กำหนดรู้อาการเครื่องหมายต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ เป็นลักษณะ ทรวดทรง
สี สัณฐาน ชื่อเรียก ตลอดจน สมบัติบัญญัติต่างๆ ๖ ประการ ได้แก่
๑. รูปสัญญา ความจำรูปได้ ว่ากลม เหลี่ยม ดำแดง เขียว ขาว เล็ก โต เป็น
ต้น
๒. สัททสัญญา ความจำเสียงได้ ว่าดัง เบา แหลม ทุ้ม สูง ต่ำ เป็นต้น
๓. คันธสัญญา ความจำกลิ่นได้ว่า หอม เหม็น ฉุน เป็นต้น
๔. รสสัญญา ความจำรสได้ว่า หวานเปรี้ยว ขม เค็ม จืด เผ็ด เป็นต้น
๕. โผฐัพพสัญญา ความจำสิ่งสัมผัสกายได้ว่าอ่อนแข็ง ละเอียดหยาบ เป็นต้น
๖. ธัมมสัญญา ความจำเรื่องราวต่าง ๆ หรือมโนภาพได้ ว่าน่าเกียจ งาม
เที่ยง
ไม่เที่ยง เป็นต้น
๔. สั ง ขาร (Mental Formation หรื อ Volitional Activities) ได้ แ ก่
องค์ประกอบ หรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิตที่มีเจตนาเป็นตัวนำซึ่งแต่งจิตให้ดี หรือ
ชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึก นึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย

15 ที.ปา.๑๑/๓๐๙/๒๕๕; อง.ฉกก.๒๒/๓๓๔/๔๖๑.
ธรรมประยุกต์ ๒๔

วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เป็นศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เวทนา กรุณา


มุทิตา อุเบกขา สัญญา โมหะ โลภะ โทสะ มานะ ทิฐิ อิสสา มิจฉริยะ เป็นต้น เรียกรวม
อีกอย่างว่า เครื่องปรุงของจิตเครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม
ได้แก่ เจตสิก ๕๒ ได้แก่
ก. อัญญสมานเจตสิก ๑๓ เจตสิกที่เข้าได้ทั้งฝ่ายดีฝ่ายชั่ว แบ่งออกเป็น ๒
ฝ่ายคือ ๑) สัพจิตตสาธารณเจตสิก มี ๗ คือ
๑. ผัสสะ คือ การกระทบอารมณ์
๒. เวทนา คือ การเสวยอารมณ์
๓. สัญญา คือ ความจำหมายอารมณ์
๔. เจตนา คือ การแสวงหาอารมณ์
๕. เอกัคคตา คือ ความตั้งมั่นในอารมณ์เดียว
๖. ชีวิตทรีย์ คือ การรักษาธรรมที่เกิดร่วมกับตน
๗. มนสิการ คือ การใส่ใจในอารมณ์
๒) ปกิณณกเจตสิก หมายถึง เจตสิกที่ประกอบเรี่ยรายโดยทั่วๆ ไป
ทั้งโลกียะ โลกุตตระ โสภณะ อโสภณะ กุศล อกุศล วิบาก กริยา มี ๖ คือ
๑. วิตก ธรรมชาติที่ยกสัมปยุตตธรรมขึ้นสู่อารมณ์คือคิดอารมณ์
๒. วิจาร ธรรมชาติที่มีการเคล้าคลึงอารมณ์
๓. อธิโมกข์ ธรรมชาติที่ตัดสินอารมณ์
๔. วิริยะ ธรรมชาติที่มีความพยายามในอารมณ์
๕. ปีติ ธรรมชาติที่มีความชื่นชมยินดีในอารมณ์
๖. ฉันทะ ธรรมชาติที่ปรารถนาอารมณ์
ข. อกุศลเจตสิก ๑๔ เจตสิกที่เป็นอกุศลแบ่ง เป็น ๒ คือ
๑) อกุศลสาธารณาเจตสิก มี ๔ คือ
๑. โมหะ ความหลง
๒. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อบาป
๓. อโนตตัปปะ ความไม่สะด้งกลัวต่อบาป
๔. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๒) ปกิณณกอกุศลเจตสิก คือ อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต
๑๐ คือ
๑. โลภะ ความอยากได้อารมณ์
ธรรมประยุกต์ ๒๕

๒. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
๓. มานะ ความถือตัว
๔. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
๕. อิสสา ความริษยา
๖. มัจฉริยะ ความตระหนี่
๗. กุกกุจจะ ความเดือดร้อนใจ
๘. ถีนะ ความหดหู่
๙. มิทธะ ความง่วงเหงา
๑๐. วิจิกิจฉา ความคลางแคลงสงสัย
ค. โสภณเจตสิก ๒๕ คือ เจตสิกฝ่ายดี ซึ่งเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นกุศลและอัพ
ยากฤตแบ่งเป็น ๒ ดังนี้
๑) โสภณสาธารณเจตสิก มี ๑๙
๑. สัทธา ความเชื่อ
๒. สติ ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่
๓. หิริ ความละอายต่อบาป
๔. โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาป
๕. อโลภะ ความไม่อยากได้อารมณ์
๖. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย
๗. ตัตรมัชฌัตตตา ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ
๘. กายปัสสัทธิ ความสงบแห่งกองเจตสิก
๙. เจตตปัสสัทธิ ความสงบแห่งจิต
๑๐. กายลทุตา ความเบาแห่งกองเจตสิก
๑๑.จิตตมุทุตา ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต
๑๒. กายกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก
๑๓. จิตกัมมัญยตา ความควรแก่การงานแห่งจิต
๑๔. กายปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งกาองเจตสิก
๑๕. จิตตปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งจิต
๑๖. กายุชุกตา ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก
๑๗. จิตตุชุกตา ความซื่อตรงแห่งจิต
๒) ปกิณณกโสภณเจตสิก มี ๖ คือ
ธรรมประยุกต์ ๒๖

๑. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
๒. สัมมากัมมันตะ การทำชอบ
๓. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
๔. กรุณา ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์
๕. มุทิตา ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข
๖. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะความรู้เข้าใจ ไม่หลง16
๕. วิญญาณ (Consciousness) แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ รู้แจ้งในอารมณ์
ได้แก่ ความรู้แจ้งทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การได้ยิน ได้กลิ่น การรู้รส การรู้
สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ เรียกว่า วิญญาณ ๖ ได้แก่
๑) จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือรู้รูปด้วยตา
๒) โสตวิญญาณ ความรู้อามรณ์ทางหู คือ รู้เสียงด้วยหู
๓) ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือ รู้กลิ่นด้วยจมูก
๔) ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือ รู้รสด้วยลิ้น
๕) กายวิญญาณ ความรู้อามรณ์ทางกาย คือ รู้โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้สึก
สัมผัส
๖) มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือ ธรรมรมณ์ด้วยใจ รู้ความนึก
คิด
ในแนวอภิธรรม ถือว่า วิญญาณ คือ จิต มีทั้งหมด ๘๙ ดวง แบ่งออกเป็น
๒ คือ
๑. จำแนกตามภูมิหรือระดับของจิต จัดเป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปหาวจร
จิต ๑๕
อรูปาวจรจิต ๑๒ โลกุตรจิต ๘
๒. จำแนกตามคุณสมบัติจัดเป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ วิบากจิต ๓๖
กิริยา ๒๐ ดังนั้น องค์ประกอบของขันธ์ ๕ ที่อาศัยเกี่ยวเนื่องกันและกัน
รูปขันธ์เป็นส่วนกาย นามขันธ์ เป็นส่วนใจ หรือเรียกว่า กายกับ ใจ จึงจะ
เป็นชีวิต โดยกาย และ ใจจะทำงาสนประสานสอดคล้องสมดุลกัน ชีวิตจึง
จะอยู่ด้วยดี การไม่สมดุลของนาม และรูป เช่น มี ดวงตา แต่ไม่สามารถ
มองเห็นได้ มีหู แต่ไม่สามารถได้ยิน เป็นต้น และความไม่สอดคล้องของ

16 สังคห.๗.
ธรรมประยุกต์ ๒๗

รูป เอง ก็ได้แก่ ความผิดปกติของธาตุ ๔ ถ้าไม่สมดุล ก็จะเกิดการเป็นไข้


ไม่สบายตัวร้อน หนาวสั่น เป็นต้น และถ้าความไม่สมดุลของนาม และรูป
ก็จะทำให้อารมณ์จิตใจไม่ปกติ เช่น คนไม่สบายเป็นไข้ อารมณ์ เสีย ก็จะทำ
ให้ หงุดหงิด มองเห็นอะไรเป็นขวางหูขวางตาไปหมด อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้น
ชีวิต จึงจำเป็นต้องมีความสมดุลกันชีวิตถึงจะปกติ โดยกระบวนทางใจ
หรือกิจกรรมทางจิตจะมีผมสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และส่งเป็นปัจจัยแก่
กันดังมีกระบวนธรรมดังนี้ “เพราะผัสสะ (ตา หู ฯลฯ รูป เสียง ฯลฯ +
วิ ญ ญาณ) เป็ น ปั จ จั ย การเสวยอารมณ์ (เวทนา) จึ ง มี ; บุ ค คลเสวย
อารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา) หมายรู้อารมณ์ใดย่อมตริ
ตรึกอารมณ์นั้น (สังขาร)17.........”

17 ม.มู. ๑๒/๒๔๘/๒๒๕.
บทที่ ๓
ธรรมชาติของชีวิต
ในโลกใบนี้มีสรรพสิ่งเกิดขึ้น และดำเนินตลอดเวลา มนุษย์เราก็เฉกเช่นกันที่
กำลังดำเนินไปตามวิถีของมัน มนุษย์เองเป็นส่วนเสี้ยวหนึ่งขององค์ประกอบของ
ธรรมชาติในโลกใบนี้ ที่สำคัญก็คือสิ่งที่อยู่ในโลกใบนี้ ๑. เป็นธรรมชาติ ๒. เกิดขึ้น
ดำเนินไปสลายไปตามกฎธรรมชาติ ๓.สรรพสิ่งจะต้องดำเนินชีวิต เพื่อความดำรง
อยู่ของเผ่าพันธุ์อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ ซึ่งในบทนี้เราจะศึกษาธรรมชาติของ
ชีวิตกันต่อไป
ธรรมชาติของชีวิต
ชีวิต คือองค์ประกอบของกองขันธ์ ๕ ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อชีวิตมีก็จะเข้า
สู่กระแส แห่งธรรมชาติของชีวิต ชีวิตที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ สุดท้ายก็จะสลายเป็น
ธรรมชาติ ข องชี ว ิ ต ในทางพระพุ ท ธศาสนาถื อ ว่ า ธรรมชาติ ข องชี ว ิ ต คื อ ชี วิ ต มี
ธรรมชาติอยู่ภายใต้หลักของ ไตรลักษณ์ (The Three Characters of Existence)
ดังพุทธพจน์ที่แสดงไว้ว่า1 “ตถาคตทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตามธาตุนั้นก็ยังคงมีอยู่
เป็นธรรมฐิติเป็นธรรมนิยามว่า
๑. สังขาร2ทั้งปวง ไม่เที่ยง
๒. สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์
๓. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา
ตถาคตตรั สรู ้ เข้ า ถึ ง หลั ก นี ้ แ ล้ ว จึ ง บอกแสดงวางเป็ น แบบตั ้ง เป็นหลัก
เปิดเผยแจกแจงทำให้เข้าใจง่าย “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง....สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ....
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา3.......”

1 พระราชวรมุนี(ประยุตทธ์ ปยุตโต). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา. ๒๕๒๖.หน้า ๖๘.


2 สังขารในไตรลักษณ์นี้ มีความหมายต่างจากสังขารในขันธ์ ๕ คือ สังขารในไตรลักษณ์เป็นทั้ง รูป และนาม ส่วนสังขารในขันธ์
๕ จะเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต คือเป็นเฉพาะส่วนของ นามเท่านั้นเอง.
3 องฺ.ติก. ๒๐/๕๗๖/๓๖๘.
ธรรมประยุกต์ ๒๙

ธรรมชาติของชีวิตดังกล่าวนี้ ในขณะเดียวกันก็จะดำเนินไปตามกฎของธรรมชาติ
แห่ง ไตรลักษณ์ หรือบางครั้งมักจะใช้คำว่า สามัญญลักษณะ แปลว่า ลักษณะที่ทิ้งไป
หรือเสมอกัน เหมือนกันแก่สิ่งทั้งปวง ไตรลักษณะ ๓ ดังกล่าวอธิบายได้ดังนี้
๑. อนิจฺจตา(Impermanence) เรียกตามภาษาบาลีว่า อนิจฺจ หรือ อะ+
นิจ+จะ ภาษาไทยนิยมใช้คำว่า อนิจจัง เรียกเป็นคำศัพท์ตามภาษาบาลีว่า อนิจฺจตา
ลักษณะที่แสดงถึงความไม่เที่ยง เรียกเต็มศัพท์ว่า อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง
ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมสลายไป
๒. ทุกฺขตา (Stress and Confict) เรียกตามศัพท์บาลี ทุกฺขตา (ทุก+ขะ+
ตา) ภาษาไทยนิยมเรียกว่า ทุกขัง ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ เรียกเป็นศัพท์ว่า
ทุกข์ลักษณะ หมายถึงความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว
ภาวะที่กดดัน ฝืน และขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้น
เปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่สภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ใน
ตัวไม่มีความสมยากแท้จริงหรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยาก ตัวตัณหา และ
ก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไป อยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน
๓. อนตฺตา (Soullessness หรือ Non-Self) เป็นศัพท์บาลี อนตฺตา อ่าน
(อะ-นัด-ตา) ซึ่งลักษณะที่แสดงถึงความเป็นไม่มีตัวตน บุคคล เรา เขา สัพพสิ่งทั้ง
ปวงล้วนบัญญัติขึ้นเท่านั้น เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อนัตตลักษณะ
ชีวิตคือกฎธรรมชาติแห่งไตรลักษณะ
ชีวิตคือกฎธรรมชาติแห่งไตรลักษณะที่ว่า คือ ธรรมชาติของชีวิตดั งที่
กล่าวว่าธรรมชาติของชีวิตคือ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
...เป็นอนัตตาคือเป็นกฎธรรมชาติ เพราะไม่สามารถทำความปรารถนาต้องการให้
เป็นอย่างนั้น มิให้เป็นอย่างนี้ชีวิตหรือขันธ์ ๕ เป็นไปในความเสื่อม อาพาธ ไม่มั่นคง
ไม่เที่ยงแท้(อนิจจตา) เมื่อมันเป็นไปไม่สมความต้องการ ความปรารถนา มันจึงเป็น
ทุกข์(ทุกขตา) ความเป็นทุกข์เป็นสิ่งที่มิต้องการ ไม่ปรารถนา ห้ามมิให้เกิดมิให้เป็น
ไม่ได้ ห้ามมิให้ขันธ์ ๕ เสื่อม เช่น ไม่ให้ ตาพร่าฟาง ให้ผิวเต่งตึง ฯลฯ เมื่อมิอาจเป็น
เช่นที่ต้องการ ที่ปรารถนานั่ นก็แสดงว่า มันไม่ใช่อยู่ภายใต้อำนาจของเรา เมื่อมอง
ด้วยปัญญาจึงเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา(อนัตตา) ดังพุทธจน์ที่
ตรัสว่า4 “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ , สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ‘ยทนิจฺจํ ตํ
4 พระราชวรมุน(ี ประยุตทธ์ ปยุตโต). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา. ๒๕๒๖.หน้า๗๐/๒๗.
ธรรมประยุกต์ ๓๐

ทุกฺขํ, ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตตา’” และมักมีข้อความที่ตรัสต่อไปอีกว่า “สิ่งใดเป็นอนัตตา,


สิ่งนั้นพึงเห็นด้วยสัมมาปัญญาตามที่มันเป็นว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา, มิใช่เราเป็นนั่น, นั่น
ไม่เป็นตัวตนของเรา 5’ หรือที่ตรัสในรูปคำถามคำตอบในที่หลายแห่งว่า “รูปฯลฯ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง”เมื่อได้รับคำกราบทูลตอบว่า ไม่เที่ยง ก็ตรัสต่อไปว่า “ก็สิ่งใดไม่
เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน ไปได้เป็นธรรมดา ควรหรือที่จะมองเห็นสิ่งนั้นว่านั่น
ของเรา เราเป็นนั่น, นี่เป็นตัวตนของเรา6 ?
ลักษณะทั้ง ๓ จึงเป็นธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติเกิดจากองค์ประกอบ
ต่างๆ จึงเป็นไปตามเหตุปัจจัยดังนี้
๑. ภาวะที ่ อ งค์ ป ระกอบทั ้ ง หลายเกิ ด สลายๆ องค์ ป ระกอบทุ ก อย่ า งหรื อ
กระบวนธรรมทั้งหมดไม่คงที่ = อนิจจตา
๒. ภาวะที่องค์ประกอบทั้งหลาย หรือกระบวนธรรมทั้งหมดถูกบีบคั้นด้วยการ
เกิด สลายๆ ต้องผันแปรไป ทนอยู่ในสภาพเดิมมิได้ไม่คงตัว = ทุกขตา
๓. ภาวะที่เกิดจากองค์ประกอบทั้งหลายประมวลกันขึ้น ไม่มีตัวแกนถาวรที่จะ
บงการต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่เป็นตัว = อนัตตา
ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องไตรลักษณ์
๑. ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องอนิจจัง เมื่อได้เรียนรู้ความไม่เที่ยงของ
สิ่งทั้งปวงแล้ว จะได้ประโยชน์หลายประการ ดังนี้
ก. ความไม่ประมาท ทำให้คนไม่ประมาทมัวเมาในวัยว่ายังหนุ่มสาว ใน
ความไม่มีโรคและในชีวิต เพราะความตายอาจมาถึงเมื่อไรก็ได้ไม่แน่นอน ทำให้ไม่
ประมาทในทรัพย์สิน เพราะคนมีทรัพย์อาจกลับเป็นคนจนได้ ทำให้ไม่ดูหมิ่นผู้อื่น
เพราะผู้ที่ไร้ทรัพย์ ไร้ยศ ต่ำต้อยกว่า ภายหน้าอาจมีทรัพย์ มียศ และเจริญรุ่งเรือง
กว่าก็ได้ เมื่อคิดได้ดังนี้จะทำให้สำรวมตน อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ยโสโอหัง วางท่าใหญ่
ยกตนข่มท่าน
ข. ทำให้เกิดความพยายาม เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า เพราะรู้ว่าถ้าเรา
พยายามก้าวไปข้างหน้าแล้วชีวิตย่อมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

5 เช่น สํ.สฬ. ๑๘/๑/๑.


6 เช่น สํ.ข.๑๗/๑๒๘/๘๓.
ธรรมประยุกต์ ๓๑

ค. ความไม่เที่ยงแท้ ทำให้รู้สภาพการเปลี่ยนแปลงของชีวิต เมื่อประสบ


กับสิ่งไม่พอใจ ก็ไม่สิ้นหวังและเป็นทุกข์ ไม่ปล่อยตนไปตามเหตุการณ์นั้น ๆ จนเกินไป
พยายามหาทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ดี
๒. ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องทุกขัง เมื่อผู้ใดได้เรียนรู้เรื่องความทุกข์
แล้ว จะรู้ว่า ความทุกข์เป็นของธรรมดาประจำโลกอย่างหนึ่งซึ่งใคร ๆ จะหลีกเลี่ยงได้
ยาก ต่างกันก็แต่เพียงรูปแบบของทุกข์นั้น เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นแก่ชีวิ ต ผู้มีปัญญา
ตรองเห็นความจริงว่าความทุกข์เป็นสัจจธรรมอย่างหนึ่งของชีวิต ชีวิตย่อมระคน
ด้วยทุกข์เป็นธรรมดา เมื่อเห็นเป็นธรรมดา ความยึดมั่นก็มีน้อย ความทุกข์สามารถ
ลดลงได้หรืออาจหายไปเพราะไม่มีความยึดมั่น ความสุขที่เกิดจากการปล่อยวาง
ย่อมเป็นสุขอันบริสุทธิ์
๓. ประโยชน์ของการเรียนรู้เรื่องอนัตตา การเรียนรู้เรื่องอนัตตา ทำให้เรา
รู้ความจริงของสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องถูกหลอกลวง จะทำให้คลาย ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ทำ
ให้ไม่ยึดมั่น เบากาย เบาใจ เพราะเรื่องอนัตตาสอนให้เรารู้ว่า สังขารทั้งปวง เป็นไป
เพื่ออาพาธ ฝืนความปรารถนา บังคับบัญชาไม่ได้อย่างน้อยที่สุดเราจะต้องยอมรับ
ความจริงอย่างหนึ่งว่า ตัวเราเองจะต้องพบกับธรรมชาติแห่งความเจ็บปวด ความ
แก่ชรา และความตายละพรากจากครอบครัวและญาติพี่น้องตลอดจนทุกสิ่งทุก
อย่าง
ธรรมชาติชีวิตในปฏิจจสมุปบาท
ความหมายของปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยคำ ๓ คำ ได้แก่ ปฏิจฺจ แปลว่า อาศัยกัน สํ
แปลว่า พร้อม และ อุปฺปาท แปลว่า เกิดขึ้น ซึ่งแปลตามรูปศัพท์แปลว่า สิ่งหนึ่งสิ่ง
ใดนั้นย่อมมีปัจจัยต่างๆ ช่วยหนุนในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใด
เท่านั้น มันจะเป็นทั้งตัวเหตุและตัวผล ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่ามันจะเป็นตัวเหตุเมื่อใด หรือ
จะเป็นตัวผลเมื่อใด ดังนั้น ปัจจัยละตัวก็มีลักษณะ เช่นนี้ทำการสนับสนุน เกื้อกูล และ
ต่อเนื่องเชื่อมโยง กันเป็นวงจร เมื่อสิ่งใดที่เราเรียกว่า “เกิด” ก็หมายถึงการประชุม
พร้อมของปัจจัยต่างๆ ในทางตรงกันข้ามเมื่อสิ่งใดเราเรียกว่า “ดับ” หรือ สลาย ก็
หมายถึงการแยกจากกันของปัจจัยต่างๆ ซึ่งปัจจัยเหตุนี้มัน กลับกันสู่สภาวะเดิมของ
มัน วงจรก็จะถูกปิดช่วงไป
ธรรมประยุกต์ ๓๒

คำไวพจน์ของปฏิจจสมุปบาท
๑.อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่มีอย่างนี้ ๆ เป็นปัจจัย/specific conditionality)
๒. ธรรมนิ ย าม (ความเป็ น ไปอั น แน่ น อนแห่ ง ธรรมดา, กฎธรรมชาติ /
Orderliness of nature, National law)
๓. ภวจักร (วงล้อแห่งภพ/the Round of Existence)
๔.สังสารจักร (วงล้อแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก/the Wheel of
Rebirth)
๕.วัฏฏจักร (วงล้อแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย/Cycle of Rebirth)
๖.ไตรวัฎฎ์ (วงวน ๓) วงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบ
ทอดต่อ ๆ กันไป ทำให้เกิดวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก
องค์ประกอบของ ปฏิจสมุปบาท ๑๒ ได้แก่
๑. อวิชชา (Ignorance) คือความไม่รู้ ไม่รู้ตามความเป็นจริงการไม่ใช้
ปัญญา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงไม่รู้ในอริยสัจจ์ ๔ ไม่รู้ในความทุกข์ของจิต ไม่รู้
ในเหตุให้เกิดแห่งความทุกข์ ไม่รู้ในการดับทุกข์ ไม่รู้ในปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์
อวิชชาเป็นจิตที่ไม่รู้จิตในจิต เพราะความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร
๒.สังขาร (Karma-formations) การคิดปรุงแต่ง เจตน์จำนง จิตนิสัย
และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสม อบรมไว้ การปรุงแต่งของจิตให้เกิดหน้าที่ ทางกาย - เรียก
กายสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งร่างกายให้เกิดลมหายใจเข้าออก ทางวาจา -
เรียกวจีสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งวาจาให้เกิดวิตกวิจาร ทางใจ - เรียกจิต
สังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญญา เวทนา สุข ทุกข์ทางใจ สภาพที่
ปรุงแต่งผลแห่งการ กระทำของบุคคล, เจตนาที่เป็นตัว การในการทำกรรม มี ๓
อย่างคือ ๑. ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ ๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่
เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ คือ บาป ๓. อาเนญชาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นอเนญชา คือ
กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔; เรียกง่าย ๆ ได้แก่ บุญ บาป ฌาน เพราะการปรุงแต่ง
ของจิตหรือสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ
๓. วิญญาณ (Consciousness) คือ ความรู้ต่อโลกภายนอกการรับรู้ใน
อารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง ๖ คือ ทางตา - จักขุวิญญาณ ทางเสียง - โสต
วิญญาณ ทางจมูก - ฆานวิญญาณ ทางลิ้น - ชิวหาวิญญาณ ทางกาย - กาย
วิญญาณ ทางใจ - มโนวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
ธรรมประยุกต์ ๓๓

๔. นามรูป (Mind and Matter) คือ องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต


กาย และจิต นาม คือ จิตหรือความนึกคิด ในรูปกายนี้ เป็นของละเอียดได้แก่ เวทนา
คือ ความรู้สึกเสวยในอารมณ์ต่างๆ สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ จดจำในเรื่องที่
เกิดขึ้นมาแล้วทั้งดีและไม่ดีดังแต่อดีต เจตนา คือ ความตั้งใจ การทำทุกอย่างทั้ งดี
และชั่ว ผัสสะ คือ การกระทบทางจิต มนสิการ คือ การน้อมจิตเข้าสู่การพิจารณา
รูป คือ รูปร่างกายที่สัมผัสได้ทางตา เป็นของหยาบ ได้แก่ มหาภูตรูป 4 คือ ดิน, น้ำ,
ไฟ, ลม เพราะนามรูปเกิด จึงป็นปัจจัยให้มีสฬายตนะ คือ ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
๕. สฬาตนะ (The Six sense-bases) คือ สื่อแห่งการับรู้สิ่งที่ทำหน้าที่
เชื่อมต่อกันทางวิถีประสาทด้วยอายตนะทั้ง 6 มี ตา - จักขายตนะ หู - โสตายตนะ
จมู ก - ฆานายตนะ ลิ ้ น - ชิ ว หายตนะ กาย - กายายตนะ ใจ - มนายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
๖. ผั ส สะ (Contact) คื อ การรั บ รู ้ การติ ด ต่ อ กั บ โลภภายนอก การ
ประกอบอารมณ์การกระทบกับสิ่งที่เห็นรู้ทุกทวารทั้งดีและไม่ดี เช่น จักขุผัสสะ -
สัมผัสทางตา โสตผัสสะ - สัมผัสทางเสียง ฆานผัสสะ - สัมผัสทางจมูก ชิวหาผัสสะ
- สัมผัสทางลิ้น กายผัสสะ - สัมผัสทางกาย มโนผัสสะ–สัมผัสทางใจเพราะผัสสะเป็น
ปัจจัยจึงมีเวทนา
๗. เวทนา (Feeling) คื อ ความรู ้ ส ึ ก เสวยอารมณ์ พ อใจ, ไม่ พ อใจและ
อารมณ์ที่เป็นกลางกับสิ่งที่มากระทบพบมาได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเวทนา - ตา โสต
สัมผัสสชาเวทนา - เสียง ฆานสัมผัสสชาเวทนา - จมูก ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา - ลิ้น
กายสัมผัสสชาเวทนา - กาย มโนสัมผัสสชาเวทนา - ใจ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น
เครื่องรับของความรู้สึกต่างๆ เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
๘. ตัณหา (Craving) คือ ความทะยานอยาก พอใจ และไม่พอใจในสิ่งที่
เห็นรู้ใน รูป - รูปตัณหา เสียง - สัททตัณหา กลิ่น - คันธตัณหา รส - รสตัณหา
กาย - โผฎฐัพพตัณหา ธรรมารมณ์ - ธัมมตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี
อุปาทาน
๙. อุ ป าทาน (Attachsnent; Clinging) คื อ ความยึ ด มั ่ น ถื อ มั ่ น ใน
อารมณ์ และที่เกิดขึ้นในขันธ์ ๕ มี ๔ เหล่า คือกามุปาทาน ๑) ความยึดมั่นถือมั่น
ในวั ต ถุ ก ามทิ ฎ ฐุ ป าทาน ๒) ความยึ ด มั ่ น ถื อ มั ่ น ในการเห็ น ผิ ด สี ล ั พ พตุ ป าทาน
๓) ความยึดมั่นถือมั่นในการปฎิบัติผิดอัตตวาทุปาทาน ๔) ความยึดมั่นถือมั่นใน
ตัวตนในขันธ์ ๕ เพราะอุปทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ธรรมประยุกต์ ๓๔

๑๐. ภพ(Becoming) คื อ ภาวะชี ว ิ ต ที ่ เ ป็ น อยู ่ ใ นโลกนี ้ ก ็ จ ะหมายถึ ง


บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล จิตที่มีตัณหาปรุงแต่ง เกิดอยู่ใน
จิตปุถุชนผู้หนาแน่นในตัณหา ๓ เจตจำนงในการเกิดใหม่ ความกระหายในความเป็น
เพราะยึดติดในรูปในสิ่งที่ตนเองเคยเป็น มี ๓ ภพ คือกามภพ - ภพมนุษย์ , สัตว์
เดรัจฉาน, เทวดารูปภพ - พรหมที่มีรูปอรูปภพ – พรหมที่ไม่มีรูป เพราะภพเป็น
ปัจจัย จึงมีชาติ
๑๑. ชาติ (Birth) คือ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ได้แก่ จิตที่
ผูกพันกันมากๆจึงเกิดการสมสู่กัน อย่างสม่ำเสมอ จนปรากฎแห่งขันธ์ แห่งอายตนะ
ในหมู่สัตว์ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกปริเทวะทุกขโทมมัส อุปายาส มี
ความเศร้าโศก เสียใจ ร้องไห้อาลัย อาวรณ์
๑๒. ชรา มรณะ(Decay and Death) ชรา คือ ความแก่ ภาวะของผม
หงอก ฟันหลุด หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ของอินทรีย์ เป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยงเป็นทุกข์อยู่ในตัว มรณะ คือ ความเคลื่อน ความทำลาย
ความตาย ความแตกแห่งขันธ์ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์

ภาพแสดงวัฎฎจักร แห่งปฏิจจสมุปบาท
ธรรมประยุกต์ ๓๕

อนิสงส์การเรียนรู้ปฏิจจสมุปบาท
๑.รู้สภาวะธรรมของตนเอง สามารถวิเคราะห์หาเหตุและผลได้ตลอดจน
เข้าใจธรรมอื่นดีขึ้น สมดังพุทธพจน์ที่กล่าวว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่า
เห็นธรรม"
๒.เมื่อเข้าใจกระบวนการเกิดทุกข์แล้ว ย่อมมีความมั่นใจและรู้หนทางแก้ไข
ทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจะเกิดขึ้นอย่ างได้ผลถูกต้องที่เหตุปัจจัยตรงจุด เหมือนดั่งมี
แผนที่ในมือย่อมไม่หลงทาง หรือถ้าหลงทางก็จะตรวจสอบและ "รู้"ตัวอย่างรวดเร็ว
และเดินทางกลับไปสู่จุดหมายถูก จึงเปรียบประดุจดั่งมีแผนดังกล่าว เพราะมีแก่น
ธรรมอันสูงสุดเป็นบรรทัดฐานให้ตรวจสอบการปฏิบัติ
๓. มีความเข้าใจในมหาสติปัฏฐาน ๔ เองโดยไม่ได้พิจารณาปฏิบัติมาก(แต่
ต้องฝึกสติ และต้องให้มีสติอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติในชีวิตประจําวัน ไม่ใช่เฉพาะเวลานั่ง
สมาธิ)โดยเฉพาะเวทนานุปัสนาเพราะเข้าใจเวทนา และที่ชัดเจนอีกสิ่งคือจิตตานุปัสส
นา เกิดอาการเห็นจิตในจิตดั่งพุทธพจน์ที่กล่าวในจิตตานุปัสนาว่า"จิตมี โมหะ โทสะโล
ภะก็รู้ชัดว่าจิตมี , จิตไม่มี โมหะ โทสะโลภะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มี " ตลอดจนเห็น(เข้าใจ)ทั้ง
ภายใน(ตัวเอง)และภายนอก(บุคคลอื่น) เนื่องจากเข้าใจในสภาวธรรมต่างๆ ดีขึ้นทํา
ให้รู้ถึงสภาวะตนเองและบุคคลอื่นเพราะธรรมใดเป็นเหตุ ทําให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น
อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้น
๔. กําจัด "วิจิกิจฉา" คือความสงสัยที่มีซ่อนอยู่ลึกๆ หรือความไม่เข้าใจใน
พระธรรมคําสอนให้พ้นทุกข์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหมดสิ้น รู้ถึงพุทธ
ประสงค์ในการสั่งสอนสรรพสัตว์
๕. ได้สัมผัส นิโรธ บางส่วน มีอาการเบากายเบาใจอย่างไม่เคยประสบมา
ก่อนโดยไม่ได้ปฏิบัติใดๆเนื่องจากทุกข์หายไปและไม่พอกพูนหรือก่อกวนอาสวะกิเลส
ขึ้นมา เข้าใจคําว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตลอดจนมีความเชื่อมั่น, กําลังจิต, กําลังใจ,
มองเห็นทางสู่จุดหมายปลายทางอันคือ "นิโรธ" ว่าเป็นไปได้ ไม่ใช่สิ่งเพ้อฝันอีกต่อไป
และไม่ใช่เรื่องบุญบารมีเก่า แต่เกิดแต่ก รรมการกระทํ า ที่ มี เ จตนาในปั จ จุ บั น
๖. ไม่เอาเวทนาทั่วๆไป มาก่อเป็นทุกข์โดยไร้สาระ เพราะไม่ทราบเหตุ และ
ความไม่เข้าใจอย่างในอดีต(อวิชชา) เนื่องจากแยกแยะและเข้าใจเวทนาได้อย่างชัดเจน
ขึ้น ทุกข์เกิดจากเหตุนี้มีเป็นจํานวนมากมายจริงๆ เกิดจากความไม่เข้าใจและวาด
ภาพการพ้นทุกข์เป็นแบบเพ้อฝันหรือสีลัพพตุปาทาน คือไม่เข้าใจคํา ว่า "เหตุแห่ง
ทุกข์นั้นมีอยู่ แต่ไม่มีผู้รับผลทุกข์นั้น"
ธรรมประยุกต์ ๓๖

๗. เข้าใจใน สีลัพพตปรามาส อย่างถูกต้อง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดแต่เหตุ


ปัจจัย ไม่มีสิ่งใดดลบันดาลในทุกๆสิ่ง แม้แต่ทุกข์ เป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา ทําให้
หมดความยึดมั่นในศีลและพรตข้อปฏิบัติที่งมงาย อั นเนื่องจากไปยึดมั่นไว้เพื่อเป็น
กําลังขวัญ กําลังใจ อย่างผิดๆ
๘. ลดละสักกายทิฎฐิ จากการเห็นและเข้าใจความเห็นแก่ตัวตนของตนเอง
คื อ อุ ป าทานอั นยึ ด มั ่ นในความยิ นดีพ ึ ง พอใจของตนเองเป็น หลัก อั น ก่ อ ให้เกิด
ความเห็น ,ความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง เรานั่นแหละเห็นแก่ ตัวตนของ
ตนเองทั้งต่อกายและจิตมากที่สุด เหนือกว่าสิ่งใดๆ ตลอดจนความเข้าใจในเหตุปัจจัย
อั น ยั งให้ ท ราบถึ งสภาพอั น เป็ น ตั ว ตนล้ ว นแต่ เ กิ ด แต่ เ หตุ ป ั จ จั ยปรุ ง แต่ ง ประชุ ม
กัน ประดุจดั่งแสงแดด แว่นขยาย เชื้อไฟ ฯลฯ.
ข้ อ ควรระวั ง ในการโยนิ โ สมนสิ ก ารปฏิ จ จสมุ ป บาท เท่าที่สังเกตพบเมื่อ
มีความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทส่วนหนึ่งแล้วจะเกิดอาการเบาสบายทั้งกายและใจ
ถึ ง แม้ เป็น แก่ นธรรมแท้ แต่ ก็ บัง เกิด ได้ เ ช่ นกัน เพราะบัง เกิ ด แก่ ผู ้ ได้ว ิ ปั สสนาเป็น
ธรรมดา ทําให้เข้าใจว่าตนเองนั้นเข้าใจธรรมนี้แทงตลอดแล้ว (ดูอาการ"ญาณ"ใน
วิปัสสนูปกิเลส) เพราะอาการดังกล่าวทําให้หลงหยุดการโยนิโสมนสิการหรือการ
ปฏิบัติเสีย และเกิดอาการอื่นๆ จนพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสแย้งข้อกราบทูลนั้น ดัง
ความที่กล่าวมาแล้ว ทําให้บางท่านหยุดการพิจารณาธรรมหรือปฏิบัติ และเกิด
อาการอื่นๆ ทําให้ไม่แทงตลอดในธรรมนี้จริงๆ อย่างน่าเสียดาย แต่ก็ไม่ร้ายแรง
เท่ากับเกิดจากฌานหรือสมาธิโดยตรง เหมือนในวิปัสสนูปกิเลส อาการเบาสบายนี้
เป็นอาการปกติเริ่มแรกเพราะใจที่เป็นทุกข์ลดน้อยลงจากปัญญาที่เกิดขึ้นในการเห็น
ตามความเป็นจริงในปฏิจจสมุปบาท ทําให้รู้สึกแตกต่างจากสภาพเดิมๆมาก อาจ
ทําให้เกิดอาการญาณหรือปัสสัทธิในวิปัสสนูปกิเลสขึ้น ได้จากรู้สึกสงบกาย สงบใจ
จนเกิดความเข้าใจผิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส หรืออาจเกิด วิปัสสนูปกิเลส ตัวอื่นๆ อย่า
ไปหลง เป็นแต่แค่เวทนาหรือสังขารอันไม่เที่ยง, ทนอยู่ไม่ได้จักเป็นทุกข์ถ้าไปยึดไปยาก
และเป็นอนัตตา เท่านั้น และ อย่ า ได้ ไ ปยึ ด ติ ด ยึ ด ถื อ คอยเสพสั ม ผั ส ความเบากาย
,เบาใจ เพราะยังอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์เช่นกัน จนกว่าสภาพ "นิโรธ" จักบังเกิด
อย่างมั่นคงถาวร
ธรรมประยุกต์ ๓๗

ธรรมชาติเหตุผลความจริงของชีวิต
ชีวิตคนเราในแง่ทางพระพุทธศาสนาสอนเรื่อง ทุกข์ เป็นเรื่องแรกคือให้
รู้จักทุกข์เพราะทุกข์เป็นผลที่มีเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเรื่องราว ไม่มีมาร พระพุทธเจ้าก็
ไม่เกิด ไม่มีบาป ก็ไม่มี บุญ ไม่มีอกุศล ก็ไม่มีกุศล เป็นต้น เห็นเป็นเหตุ เป็นผลอย่างนี้
ถ้าปัญญาน้อยก็จะเห็นว่ามันเกิดความสลับซับซ้อนในการดำรงชีวิต ความเห็นแก่ตัว
เพื่อประโยชน์ของตนพวกพ้อง ความต้องการทะยานยาก ก่อให้เกิดความเดือดร้อน
ตนเอง เกิดกมาเบียดเบียนผู้อื่น เป็นอยู่ก็ไม่เป็นสุข แต่ถ้าไม่เห็นแก่ตน เสียสละความ
นี้ไม่ทำให้เกิดความทุกข์ ไม่เกิดปัญหา จึงต้องนำคุณธรรมเหล่านั้นมาใส่ใจเพื่อปฏิบัติ
ต่อกันจะได้ไม่ทุกข์ จะได้ไม่เกิดปัญหา นี่คือวิธีการที่จะดับซึ่งความทุกข์ ปัญหา ความ
วุ่นวายของชีวิต ธรรมอันเป็นเหตุเป็นผลเป็นความจริงแก้ทุกข์ได้กฎนี้เรียกว่า กฎ
แห่งธรรมอริยสัจจ์ ๔
ความสำคัญของอริยสัจจ์ ๔
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมอันนี้ที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ หรือ จตุราริยสัจ
(จตฺตาริ อริยสจฺจานิ) ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในปฐมเทศนาแก่สหายเก่าของ
พระองค์ คือ ปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนะ (ปัจจุบันเรียกว่าสารนาถ) ใกล้เมืองพารณสี
ธรรมนี้ชื่อได้ว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่
๑. ทุกขสัจ ความจริงของทุกข์ ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ
ต่างๆ พระพุทธองค์ทรงพบความจริงว่า สรรพสัตว์ทั้งหลาย ล้วนตกอยู่ในความ
ทุกข์ จะเป็นมหาเศรษฐี เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นประธานาธิบดี เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ก็มีทุกข์ทั้งนั้น ต่างแต่เพียงว่าทุกข์มากหรือทุกข์น้อย และมีปัญญาพอที่จะรู้ตัวหรือ
เปล่าเท่านั้น พระองค์ได้ทรงแยกแยะให้เราเห็นว่า ความทุกข์นี้มีถึง ๑๑ ประเภทใหญ่ๆ
ด้วยกัน แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ ได้แก่
๑. สภาวทุกข์ คือทุกข์ประจำ เป็นความทุกข์ที่ห ลีก เลี่ ยงไม่ไ ด้ เป็น
สภาพธรรมดาของสัตว์ซึ่งเมื่อเกิดแล้วต้องมี ทุกข์ชนิดนี้มี ๓ ประการได้แก่
ก.ชาติ การเกิด
ข. ชรา การแก่
ค.มรณะ การตาย
ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา อย่างมากที่สุดก็บอกได้
เพียงว่า ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ ส่วนการเกิดกลับถือว่าเป็นสุข เป็น
พรพิเศษที่พระเจ้าทรงประทานมาจากสรวงสวรรค์ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้
ธรรมประยุกต์ ๓๘

แจ้งโลกด้วยดวงปัญญาอันสว่างไสว และชี้ให้เราเห็นว่า การเกิดนั่นแหละเป็นทุกข์


ทุกข์ตั้งแต่ต้องขดอยู่ในท้อง พอจะคลอดก็ถูกมดลูกบีบรีดดันออกมา ศีรษะนี่ถูก
ผนังช่องคลอดบีบจนกะโหลกเบียดซ้อนเข้าหากัน จากหัวกลมๆ กลายเป็นรูปยาวๆ
เจ็บแทบขาดใจ เพราะฉะนั้นทันทีที่คลอดออกมาได้ สิ่งแรกที่เด็กทำคือร้องจ้าสุดเสียง
เพราะความเจ็บ และการเกิดนี่เองที่เป็นต้นเหตุ เป็นที่มาของความทุกข์อื่นๆ ทั้งปวง
ถ้าเลิกเกิดได้เมื่อไหร่ก็เลิกทุกข์เมื่อนั้น อีกอย่างหนึ่งที่คนมักเข้าใจไขว้เขวกันก็คือ คิด
ว่าชราทุกข์จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออายุ ๖๐-๗๐ ปี แต่จริงๆ แล้วทันทีที่เราเริ่มเกิด เราก็
เริ่มแก่แล้ว ชราทุกข์เริ่มเกิดตั้งแต่ตอนนั้น และค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ใน
ร่างกายเริ่มแก่ตัวไปเรื่อยๆ เรื่องนี้เท็จจริงอย่างไรเห็นด้วยหรือไม่
๒.ปกิณณกทุกข์ คือทุกข์จร เกิดกับแต่ละคนด้วยระดับที่ต่างกันไป ไม่
แน่นอน เป็นความทุกข์ที่เกิดจากจิตใจหย่อนสมรรถภาพ ไม่อาจทนต่อเหตุการณ์
ภายนอกที่มากระทบตัวเราได้ ผู้มีปัญญารู้จักฝึกควบคุมใจตนเอง ก็จะสามารถ
บรรเทาจากทุกข์ชนิดนี้ได้ ทุกข์จรนี้มีอยู่ ๘ ประการ ได้แก่
๑. โสกะ ความโศก ความแห้งใจ ความกระวนกระวาย
๒. ปริเทวะ ความคร่ำครวญรำพัน
๓. ทุกขะ ความเจ็บไข้ได้ป่วย
๔. โทมนัสสะ ความน้อยใจ ขึ้งเคียด
๕. อุปายาสะ ความท้อแท้กลุ้มใจ ความอาลัยอาวรณ์
๖. อัปปิเยหิ สัมปโยคะ ความขัดข้องหมองมัว ตรอมใจ จากการ
ประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
๗. ปิเยหิ วิปปโยคะ ความโศกเศร้าโศกาเมื่อพลัดพรากจากของรัก
๘. ยัมปิจฉัง น ลภติ ความหม่นหมองจากการปรารถนาสิ่งใดแล้ว
ไม่ได้สิ่งนั้น
นี่คือผลการวิจัยเรื่องทุกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็น
เหมือนแพทย์ผู้ชำนาญโรค สามารถแยกแยะอาการของโรคให้เราดูได้อย่าง
ละเอียดชัดเจน
“ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ อริยสัจจ์ คือทุกข์ อันเราพึงกำหนดรู้7”

7 สํ. ม. ๑๙/๑๖๖๖/๕๒๙
ธรรมประยุกต์ ๓๙

๒ สมุทัยสัจ คือเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น ผู้ที่ฝึกสมาธิ


มาน้อย หาเหตุแห่งความทุกข์ไม่เจอ จึงโทษไปต่างๆ นานา ว่าเป็นการลงโทษ ของ
พระเจ้าบ้าง ของผีป่าบ้าง ซึ่งถ้าเป็นจริงละก็ ผีป่าตนนี้คงใจร้าย เที่ยวไปรังแกคนโน้น
คนนี้ทั้งวันให้เขามีทุกข์ หน้าคงไม่พิสมัยทั้งวัน แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฝึกสมาธิ
มามาก ใจของพระองค์จึงใสสว่าง เกิดปัญญามองเห็นความจริง อย่างชัดเจนว่า ที่
เราทุกข์ๆ กันอยู่นี่ สาเหตุมาจาก ตัณหา คือความทะยานอยาก ที่มีอยู่ในใจของเรา
เอง แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
ก. กามตัณหา ความอยากได้ เช่น อยากได้เงิน อยากได้ทอง อยาก
สนุก อยากมีเมียน้อย อยากให้คนชมเชยยกย่อง อยากได้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
อารมณ์ที่น่าพอใจ แยกออกได้ ๒ อย่าง คือ
๑. วัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เครื่องนุ่งห่ม
บ้านเรือน หรือวัตถุอื่นอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด น่าใคร น่าพอใจ
๒. กิเลสกาม ได้แก่ความพอใจรัก ความปรารถนาความยึดใน
กาม ในอภิธรรมแบ่งออกเป็น ๑๐
๑)โลภกิเลส ความเศร้าหมอง เร่าร้อน อันเกิดจากความยินดีอารมณ์
๒) โทสกิเลส ความเศร้าหมองเราร้อนอันเกิดจากความไม่ชอบใจ
๓) โมหกิเลส ความเศร้าหมองเร่าร้อนเพราะมัวเมาปราศจากสติ
๔) มานกิเลส ความเศร้าหมองเร่าร้อนเพราะทะนงถือตน
๕) ทิฏฐิกิเลส ความเศร้าหมองร่าร้อนเพราะเห็นผิดจากจริง
๖) วิจิกิจฉากิเลส ความเร่าร้อนเพราะความลังเลสงสัย
๗)ถีนกิเลส ความเศร้าหมองเร่าร้อนเพราะหดหู่ท้อถอย
๘) อุทธัจจกิเลสความเศร้าหมองเร่าร้อนเพราะฟุ้งซ่าน
๙) อหิริกิเลส ความเศร้าหมองเร่าร้อนเพราะไม่ละอายต่อบาป
๑๐) อโนตตัปปกิเลส ความเศร้าหมองเร่าเพราะไม่เกรงกลัวผลบาป
ข. ภวตัณหา ความอยากเป็น เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี อยากเป็น
ใหญ่เป็นโต อยากเป็นนายพล อยากเป็นคุณหญิง ฯลฯ
ค. วิภวตัณหา ความอยากไม่เป็น เช่น อยากไม่เป็นคนจน อยากไม่เป็น
คนแก่ อยากไม่เป็นคนขี้โรค ฯลฯ มนุษย์เราเกิดมาจากตัณหา ลอยคออยู่ในตัณหา
เคยชินกับตัณหา คุ้นเคยกันกับตัณหา จนเห็นตัณหาเป็นเพื่อนสนิท กินด้วยกัน อยู่
ด้วยกัน ถ้าขาดตัณหาแล้ว เขากลัวว่าจะขาดรสของชีวิตที่เคยได้ เคยอยู่ เคยเป็น
ธรรมประยุกต์ ๔๐

แต่ตามความเป็นจริง ตัณหานั้นถ้าเป็นเพื่อนก็คือเพื่อนเทียม ที่คอยหลอกล่อนำทุกข์


มาให้เราแล้วก็ยืนหัวเราะชอบใจพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญ
ทรงแยกแยะสาเหตุของโรค สาเหตุของทุกข์ ให้เราเห็นว่ามาจากอะไร เชื้อโรคชนิด
ไหน กิเลสชนิดใด “ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ อริยสัจจ์ คือทุกขสมุทัย อันเรา
พึงละ8”
๓.นิโรธสัจ คือความดับทุกข์ หมายถึง สภาพใจที่หมดกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิง
ทำให้หมดตัณหาจึงหมดทุกข์ มีใจหยุดนิ่งสงบตั้งมั่นอยู่ที่ศูนย์กลางกาย มีความสุข
ล้วนๆผู้ที่ฝึกสมาธิมาน้อย หรือปฏิบัติไม่ถูกทาง ยังเข้าไม่ถึงนิพพาน จึงไม่รู้จักความ
หมดทุกข์ที่แท้จริง ก็มักเข้าใจกันว่า การได้เสวยสุขอยู่บนสวรรค์นั้น คือความหมด
ทุกข์ แต่แท้ที่จริงนั้น ต่อให้ได้ขึ้นสวรรค์ เป็นเทวดานางฟ้าจริงๆ ก็ยังวนเวียนอยู่แค่
ในกามภพเท่านั้น สูงกว่าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ยังมีรูปพรหมอีก ๑๖ ชั้น อรูปพรหมอีก
๔ ชั้น ซึ่งก็ยังไม่หมดทุกข์ จะหมดทุกข์จริงๆ ต้องฝึกจนกระทั่ งหมดตัณหา ดับความ
ทะยานอยากต่างๆโดยสิ้นเชิงหมดกิเลสเข้านิพพานเท่านั้น “ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺ
ฉิกาตพฺพํ อริยสัจจ์ คือทุกขนิโรธอันเราพึงทำให้แจ้ง9”
๔. มรรคสัจ มรรค แปลว่า ทาง ในที่นี้จึงหมายถึง ทาง หรือวิธีปฏิบัติ
เพื่อให้พ้นทุกข์ ศาสนาฝ่ายเทวนิยมมองเหตุแห่งทุกข์ไม่ออก จึงยกให้เป็นการลงโทษ
ของสิ่งลึกลับ ของพระเจ้า ดังนั้นจึงหาวิธีพ้นทุกข์ผิดทาง ไปอ้อนวอนบวงสรวงให้
พระเจ้าช่วย ถ้าจะเปรียบก็คล้ายกับว่า เราป่วยเป็นไข้มาเลเรีย แล้วมีคนมาบอกเรา
ว่า ที่เราเป็นอย่างนี้เพราะมีผีจากป่าจากเขามาลงโทษเรา แล้วก็แนะให้เราเซ่นไหว้อ้อน
วอนกับผีสางเหล่านั้น เพื่อให้เราหายโรค ซึ่งความจริงการทำอย่างนั้นไม่ใช่ทางดับ
ทุกข์เลย แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญ เห็นเหตุที่ทำให้
เกิดโรคเกิดทุกข์ชัดเจน แล้วก็ทรงสอนเราว่า ที่เราป่วยเราทุกข์ก็เพราะตัวตัณหาซึ่ง
เปรียบเหมือนเชื้อโรคนี่เอง ถ้าต้องการหายจากโรคก็ต้องกำจัดเจ้าเชื้อโรคนั้นให้หมด
ไป โดยพระองค์ทรงให้ยาดีไว้ให้เราใช้กำจัดเชื้อโรคนั้นด้วย ซึ่งก็คือ มรรคมีองค์ ๘
หรือจะเรียกว่า อัฎฐังคิกมรรค หรือ มัชฌิมาปฏิปทา10 ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้ใจ
หยุดใจนิ่ง ปราบทุกข์ได้ รวม ๘ ประการ ได้แก่

8 สํ. ม. ๑๙/๑๖๖๗/๕๒๙
9 สํ. ม. ๑๙/๑๖๖๘/๕๓๐
10 ทางสายกลาง.
ธรรมประยุกต์ ๔๑

๑. สัมมาทิฏฐิ (Right View; Right Understanding) มีความเห็นชอบ


เบื้องต้น คือความเห็นถูกต่างๆ เช่น เห็นว่าพ่อแม่มีพระคุณต่อเราจริง ทำดีได้ดีทำชั่ว
ได้ชั่วจริง โลกนี้โลกหน้ามีจริง ฯลฯ เบื้องสูงคือเห็นทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับ
ทุกข์และวิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ เช่นความรู้อริยสัจจ์ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรื อ รู้
อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบ
หรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ ๒ ประเภท คือ
ก. ความเข้ า ใจคื อ ความรู ้ ความเป็ น พหู ส ู ต ร ความมี ส ติ ป ั ญ ญา
สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้"
(อนุโพธิ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ ลึกซึ้ง
ข.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า "การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ)
หมายถึง มองเห็นสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อ
ยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้ง แทงตลอดนี ้ จ ะมี ข ึ ้ น ได้ เมื ่ อ จิ ต ปราศจากอาสวะ
ทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
๒. สัมมาสังกัปปะ (Right Thought) มีความคิดชอบ คือคิดออกจากกาม
คิดไม่ผูก พยาบาท คิดไม่เบียดเบียน ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ความตรึกที่เป็นกุศล
ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก ๓ ประกอบด้วย
ก. ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดใน
การปรนปรือสนองความอยากของตน
ข. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา
ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย
ค. ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่ง
ทำลาย)
๓. สัมมาวาจา (Right Speech) เจรจาชอบ คือไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียดให้
เขาแตกแยก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ อวดอ้างความดีของตัว หรือทับถมคน
อื่น เรียกว่า วจีสุจริต ๔ ประกอบด้วย
ก.ไม่พูดเท็จ
ข.ไม่พูดส่อเสียด
ค.ไม่พูดหยาบ
ง.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
ธรรมประยุกต์ ๔๒

๔.สั ม มากั ม มั น ตะ(RightAction) คื อ การกระทำชอบหรื อ เรี ยกว่ า กาย


สุจริต ๓ ประกอบด้วย
ก.ไม่ฆ่าสัตว์ มีความรักเมตตา กรุณาเอ็นดูสงสารสัตว์
ข.ไม่ลักทรัพย์ มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรง
ค.ไม่ประพฤติผิดในกาม มีความสำรวมสังวรในกาม
๕. สัมมาอาชีวะ (Right Livelihood) เลี้ยงชีพชอบ คือเลิกการประกอบ
อาชีพเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด แล้วประกอบอาชีพในทางที่ถูกคือ เลี้ยงชีวิตชอบ ได้แก่
เว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด ประกอบสัมมาอาชีพ คือ
- เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์
- เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส
- เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
- เว้นจากการค้าขายน้ำเมา
- เว้นจากการค้าขายยาพิษ
๖. สัมมาวายามะ (Right Effort) มีความเพียรชอบ คือเพียรป้องกันบาป
อกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป เพียรสร้าง
กุศลคุณความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรบำรุงกุศลคุณความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้
เจริญงอกงามยิ่งขึ้นมีความเพียรชอบ ๔ ประการ ได้แก่
ก. เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น
ข. เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว
ค. เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น
ง. เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่
๗. สัมมาสติ (Right Mindfulness) มีความระลึกชอบ คือไม่ปล่อยใจให้
ฟุ้งซ่าน มีสติรู้ตัวระลึกได้ หมั่นตามเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรม
ในธรรมอยู่เสมอได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ ประกอบด้วย
ก. การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
ข. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา
ค. การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
ง. การตั้งสติพิจารณาธรรม
๘. สัมมาสมาธิ (Right Concentration) มีใจตั้งมั่นชอบ คือมีใจตั้งมั่น
หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ตามเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมใน
ธรรมประยุกต์ ๔๓

ธรรม จนบรรลุฌานขั้นต่างๆ ไปตามลำดับ จากสมาธิที่เป็นระดับโลกียะ ไปสู่สมาธิที่


เป็นระดับโลกุตตระได้แก่ ฌาน ๔ ประกอบด้วย
ก. ปฐมฌาณ
ข. ทุติยฌาน
ค.ตติยฌาน
ง.จตุตถฌาณ
มรรคทั้ง ๘ ข้อนี้ ถ้าขยายออกไปแล้ว ก็จะได้แก่คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้ง
๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าย่อเข้าก็จะได้แก่ไตรสิกขา หัวใจพระพุทธศาสนา ดังนี้
ศีล แยกออกเป็น สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สมาธิ แยกออกเป็น สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ปัญญา แยกออกเป็น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ

มรรคทั้ง ๘ ข้อนี้ ให้ปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะเป็นไปได้ขณะใจหยุดนิ่งเป็น


สมาธิ ทำให้เห็นอริยสัจจ์ได้อย่างชัดเจนและพ้นทุกข์ได้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตตาม
วิถีของเหตุผล ไม่ต้องไปวิงวอนพระเจ้าหรือใครๆ
“ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ อริยสัจจ์
คือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ อันเราพึงบำเพ็ญ11”
ชีวิตคือธรรมชาติและกฎธรรมชาติ

11สํ. ม. ๑๙/๑๖๖๙/๕๓๐
ธรรมประยุกต์ ๔๔

จากการศึกษาเรื่องของ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท และอริยสัจจ์ ทำให้


เราได้ทราบว่าธรรมะทั้ง ๓ ดังกล่าวชีวิตคนเราเป็นไปตามกฎธรรมชาติไม่สามารถ
หลีกเว้นได้แม้แต่ผู้ใดที่มีชีวิตในโลกใบนี้ คือ
๑.ชีวิตเป็นธรรมชาติและเป็นไปตามกฎธรรมชาติที่เกิดขึ้นย่อไม่เที่ยงเปลี่ยน
แปล ถูก บีบคั้นคงสภาพนั้นไม่ได้ และไม่สามารถกำหนดและบังคับความไม่เที่ยงและ
เปลี่ยน แปลงถูกบีบคั้นแบบที่ทนไม่ได้ มันจึงเป็นอนัตตาคือมิใช่ตัว มิใช่ตนนั่นเอง
๒. ชีวิตเป็นธรรมชาติและเป็นไปตามกฎธรรมชาติที่มีเหตุปัจจัยให้เกิด และดับ
ซึ่งกัน เพราะสิ่งนั้นสิ่งนี้จึงเกิด เพราะสิ่งนี้ สิ่งนั้นจึงเกิดเป็นวัฏฏจักร
๓. ชีวิตเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพราะอุปทานขันธ์ คือความยึดมั่นถือมั่นใน
ตัวตนจึงทำให้ชีวิตธรรมชาติ คือ ทุกข์ และมนุษย์ได้ชื่อว่ามีปัญญาดีสามารถที่จะ
ศึกษาสามารถที่จะพัฒนาจิตให้พ้นความทุกข์ได้12 พุทธพจน์
เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ...

12 อริยมรรคมี องค์ ๘
บทที่ ๔
มนุษย์ต้องการอะไรและมีเป้าหมายสูงสุดของชีวิตอย่างไร
เป้าหมายของชีวิตหรือสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรแสวงหา ปัญหานี้ในทางจริย
ศาสตร์เขาคิดกัน ซึ่งในแต่ละลัทธิต่างก็มีแนวคิดในเรื่องนี้แตกต่างกันออกไป ซึ่ง
มนุ ษ ย์ จ ะบรรลุ เป้า หมายสิ่ ง หนึ ่ง ที่ ต้ องการอยากให้ เ ริ่ มต้น ก็ คื อ คำที ่ ว ่ า มนุ ษย์
ต้องการอะไร ทำไม ต้องขึ้นต้นด้วยคำถามว่า มนุษย์ต้องการอะไร ทั้งนี้เพราะว่าโดย
รากฐานลำดับแรกมนุ ษย์ มี ชี ว ิ ตขึ ้น มาไม่ม ีช ี วิ ต ไหนตั ้ ง จุด มุ ่ ง หมายของชีว ิตไม่มี
เป้าหมายของชีวิต แต่สิ่งแรกคือมนุษย์จะดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ครั้นเมื่อ มีชีวิตที่
อยู่รอดสมบูรณ์แล้วมนุษย์ถึงจะตั้งเป้าหมายถึงจะมีจุดมุ่งหมาย สัญชาตญาณของ
มนุษย์ไม่ต่างอะไรไปจากสัตว์มากนักในกรณีที่ต้องการอยู่รอดหรือมีชีวิต ดั งนั้นใจ
บทนี้จะศึกษาว่ามนุษย์ต้องการอะไร และมนุษย์มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายสูงสุดคือ
อะไรของชีวิต
มนุษย์ต้องการอะไร
จากการศึ กษาเราพบว่ ามนุษ ย์ มี ความต้ องการการอยู ่ ร อด และขยาย
เผ่ า พั น ธุ ์ เป็น ความต้ องการสูง สุด เพราะความต้อ งการอยู ่ร อดนี ้จ ึง ต้องดิ้นร้น
แสวงหาสิ่งที่เรียกว่าปัจจัยในการที่จะดำรงชีวิตเพื่อให้อยู่รอดซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า
ความต้องการปฐมภูมิ ความต้องการดังกล่าวนี้มี ๓ ทางเพื่อความอยู่รอด ได้แก่
๑. ความต้ อ งการทางชี ว วิ ท ยา (Biological Needs) หมายถึ ง ความ
ต้องการอันเกิดจากร่างกาย คนเรามีร่างกายเป็นเสมือนเครื่องจักร เครื่องยนต์ที่
ทำงานเกี่ยวข้องกันอย่างสลับซับซ้อนและต้องการมีปัจจัยต่างเข้ามาบำรุงเลี้ยงส่วน
ต่างๆ มิฉะนั้นเครื่องยนต์ หรือ ชีวิตก็จะดำเนินต่อไปไม่ได้ ความต้องการดังกล่าวนี้
ได้แก่
ก. ความต้องการอาหาร ความต้องนี้ได้รวมเหมาเอาทั้งอาหาร น้ำ
อากาศเพื่อเป็นปัจจัยอันสำคัญที่ขาดไม่ได้ที่จะเลี้ยงร่างกายคนให้ดำรงอยู่
ข. ความต้องการทางเครื่องนุ่งห่ม เพื่อใช้ในการปรับอุณหภูมิของ
ร่างกายต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และต่อมาได้กลายมาเป็นใช้เครื่องนุ่งห่มเพื่ อความ
สวยงาม
ธรรมประยุกต์ ๔๖

ค. ความต้องการที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะ ใช้ในการป้องกัน


สภาพดิ น ฟ้ า อากาศฤดู ก าลป้ อ งกั น แดด ฝน เป็ น ที ่ อ าศั ยอย่ า งมี ห ลั ก แหล่ ง
รวมถึงป้องกันสัตว์ร้ายจึงได้สร้างที่อยู่อาศัย
ง. ความต้ อ งการยารั ก ษาโรค เพื ่ อ บรรเทาความเจ็ บ ป่ ว ยมนุษ ย์มี
ร่างกายอันบอบบางจึงมักเป็นอันตรายได้ง่าย ดังพุทธพจน์ว่า โรคนิทฺธํ ร่างกายเป็น
รังของโรค1 มนุษย์จ่งได้รับอาการเจ็บป่วยต่างๆ เสมอ จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยยา
เป็นเครื่องพยุงช่วยชีวิตให้เป็นปกติ
๒. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มี
ธรรมชาติอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะทั้งนี้เพราะความเป็นเครือญาติ เพราะเพื่อการ
ป้องกันอันตราย และที่สำคัญมนุษย์ต้องการความร่วมมือในการทำกิจการใหญ่ ที่
ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการทำงานร่วมกันอีกด้วย เหตุนี้ มนุษย์เห็นว่า
การรวมกันเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ ครอบครัวเป็นสังคมหน่วยย่อย
ที่สุด และครอบครัวเกิดขึ้นเพราะการรวมกันของคนสองคนที่มีเพศต่างกัน ที่อยู่
ร่วมกันและสร้างเผ่าพันธุ์ตนเองเพิ่มเรื่อย อาจกล่าวได้ว่า ความต้องการทางสังคม
ของมนุษย์อันดับแรกคือ การมีคู่ครองจากนั้นอยากมีบุตรธิดาไว้สืบสกุล จากนั้นก็มี
ปฏิสัมพันธ์เพื่อฝูง เพื่อนบ้านตลอดถึงมิตรประเทศไว้ช่วยเหลือ แลเพื่อประโยชน์
หลายๆ ด้าน อาทิการค้าขาย การศึกษา การเมือง การทหาร เป็นต้น
เมื่ออยู่ในท่ามกลางเพื่อนฝูง ก็อยากมีความโดดเด่นด้วยการมีเกียรติ ยศ
มีอำนาจ มีชื่อเสียง มีบริวาร เพื่อให้การเป็นอยู่ในสังคมมีความหมายและมีคุณค่า
มากขึ้น
๓. ความต้องการทางใจ (Mental Needs) ถ้าพิจาณาดูความต้องการของ
มนุษย์อย่างถี่ถ้วนแล้วเห็นได้ว่ามนุษย์มีความต้องการอื่นๆ นอกจากความต้องการ
ทางกายภาพ ทางสังคมดังกล่าวเป็นพื้นฐาน ครั้นเมื่อความต้องการทั้งสองอย่าง
บรรลุอยู่ดีกินดีชีวิตสุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็จะหันมาสนใจความต้องการทางใจ
เพื่อให้ตัวเองได้มีความสุขทั้งกาย และใจ เช่นต้องการความปลอดภัย หลักประกัน
ชีวิต ความดีความสุข ที่พึงทางใจ สุดท้ายก็คือ จุดหมายของชีวิต หรือเป้าหมายของ
ชีวิต ซึ่งเป็นกระบวนการธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ ที่จะต้องมีความดิ้นรนเพื่อความ
อยู่รอดของชีวิต ความต้องการที่จะดำรงชีวิต ความเป็นที่ยอมรับของสังคม สุดท้าย
ก็ความต้องการทางใจพัฒนากลายมาเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต
1 ธมฺมปทฏบกถา ภาค ๕. พิมพ์ครั้งที่ ๒๘. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. หน้า ๑๐๐.
ธรรมประยุกต์ ๔๗

เป้าหมายของชีวิต
มนุษย์เมื่อมีความพร้อมทางร่างกาย คือสามารถสนองความต้องการทาง
ร่างกายได้สมบูรณ์ได้แล้วคือไม่อดยาก มีปัจจัย ๕ หรือมีความบริบูรณ์ในสิ่งที่ตนเอง
ต้องการบริบูรณ์แล้ว มนุษย์ก็ศึกษา และคิดสิ่งต่อไปเพื่อที่จะตอบคำถามตัวเองว่า
ชีวิตเกิดมามีค่า ประพฤติตนอย่างไรจึงจะมีค่า ชีวิตนี้เกิดมาบรรลุเป้าหมายสูง สุด
หรือไม่ และเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคืออะไร เช่นเดียวกันกับนักคิดโบราณได้กล่าวถึง
เป้าหมายสูงสุดของชีวิตมีหลายทฤษฏีดังที่เราจะศึกษาดังต่อไปนี้
๑. กลุ่มสุขนิยม ( Hedonism )คือ กลุ่มที่ถือหลักการที่ว่า ความสุขเป็น
สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิต เป็นสิ่งสุดท้าย เป็นเป้าหมายสุดท้ายที่มนุษย์เราควรไปให้ถึง
ความสุขจึงเป็นที่สุดของความต้องการ จุดหมายปลายทางของมนุษย์ คือ การได้มา
ซึ่งความสุขสบาย และสิ่งที่จะได้มาจะต้องได้มาด้วยความทุกข์น้อยที่สุด ความสุขที่
เป็นเป้าหมายของชีวิต คือ ความสุขระยะยาว คงไม่มีใครอยากที่จะมีความสุขแบบ
ชั่วคราวแน่นอน ซึ่งแนวคิดตรงนี้ เ ข้ ากัน ได้ดี กับ หลักการของประสบการณ์ แ ละ
วิ ท ยาศาสตร์ นั ่ น คื อ ยิ ่ ง วิ ท ยาศาสตร์ ท ี ่ ใ ช้ ว ิ ธ ี ก ารแบบประสบการณ์ น ิ ย ม คื อ
ตรวจสอบได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ นั้น มีความเจริญก้าวหน้าไปแค่ไหน มนุษย์เรา
ก็จะยิ่งมีความสุข สะดวกสบายมากแค่นั้น ยิ่ งในสมัยปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ก้าวล้ำ
หน้าไปมาก วิถีชีวิตของมนุษย์เรากำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่ทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่มนุษย์เคยต้อ งออกแรงทำเอง เครื่องมือดิจิทั ลสามารถทำแทนได้หมด ดังนั้ น
ทฤษฎี ส ุ ข นิ ยม จึ งถื อ ว่ า วิ ธ ี ก ารทางวิ ท ยาศาสตร์ จะเป็ น หนทางนำมนุ ษ ย์ ไ ปสู่
ความสุขที่แท้จริงได้ นักจิตวิทยาคนสำคัญอย่าง ซิคมันด์ ฟรอยด์ 2 เห็นว่าความสุข
เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิตโดยแยกออกเป็น ๒ กลุ่ม
ก. สุ ข นิ ย มส่ ว นตน (Individualistic Hedonism) ถื อ ว่ า ความสุ ข
ตัวเองมีค่ามากที่สุด ซึ่งบุคคลควรแสวงหา
ข. สุขนิยมทั่วไป (Universal Hedonism) ถือว่าความสุขของคนส่วน
ใหญ่มีค่ามาก ที่สุดมนุษย์จึงควรบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมให้มากที่สุด พวกนี้
เรียกตัวเองอีก อย่างหนึ่งว่า ประโยชน์นิยม(Utilitarianism)
๒. กลุ่มอสุขนิยม ( Non-hedonism ) ทฤษฎีนี้ตั้งขึ้นเพื่อโต้แย้งกับทฤษฎี
สุขนิยม เพราะเชื่อว่า การที่คนเราสนองความต้องการทางประสาทสัมผัสเพียงอย่าง
เดี ยว แล้ วมนุ ษ ย์ เราจะมีค วามต่า งอะไรไปจากสัต ว์โ ลกอื ่น ๆ เพราะการถื อเอา
2 Aigmund Freud. Civilisation and Its Discontents. In Approaches to Ethics. P.440.
ธรรมประยุกต์ ๔๘

ความสุขเป็นเป้ าหมายสู งสุดที่ม นุษ ย์ต ้อ งไปให้ถึ ง นั้ น ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่า ง ๆ


ตามมา คือ
- ทำให้ ค วามต้ อ งการของคนเราไม่ ม ี ท ี ่ ส ิ ้ น สุ ด คื อ ถ้ า เราถื อ ว่ า
เป้าหมายสูงสุดของคนเราคือ ความสุข ความพอใจสุขสบาย มนุษย์ก็จะไม่มีความสุข
ที่แท้จริงเพราะเราไม่สามารถบรรลุความปรารถนาหรือความต้องการทุกอย่างของ
เราได้อย่างแท้จริง ความสุขเป็นเพียงภาพมายา เมื่อเราได้แล้ว เราก็เสียมันไป หรือ
เราเกิดความต้องการใหม่อีก ดังนั้นแล้ว อุดมคติที่ว่า ความสุข คือ เป้าหมายสูงสุด
ของคนเรานั้นไม่เคยเกิดขึ้นจริง
- เมื่อคนเรามีความสุขสบาย ก็ทำให้เราไม่ต่อสู้ หรือสู้ต่อ เฉื่อย ชา
ความทุกข์ต่างหากเป็นแรงผลักดันเพื่อเป้าหมายของสิ่งใหม่ (ความทุกข์เป็นตัว
สร้างสรรค์ ไม่ใช่ ความสุข ) การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้ามนุษย์มัวแต่ห า
ความสุขส่วนตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ กลุ่มอสุขนิยมจึงเสนอว่า เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต
มนุษย์ ไม่ใช่ความสุขภายนอก แต่มันเป็นความสุขภายใน คุณค่าของชีวิตอยู่ที่จิตใจ
สงบเยือกเย็น กลุ่มอสุขนิยมมีอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน ดังนี้ อสุขนิยมแบ่งออกเป็น
๒ กลุ่มย่อย คือ
ก. กลุ่มปัญญานิยม( Rationalism )
ข. กลุ่มวิมุตินิยม ( Salvationism )
ก. กลุ่มปัญญานิยม ( Rationalism ) กลุ่มนี้ถือว่า ปัญญาหรือความรู้
เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหา ชีวิตที่ดีที่แท้จริง คือ ชีวิตที่จิตหลุดพ้นจาก
ความต้องการทางกาย ไปสู่โลกของจิตหรือปัญญาโดยเฉพาะ คือ โลกของแบบ
นั่นเอง ปัญญาเป็นสิ่งที่มีอยู่ในจิต (ซึ่งทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ ) เป็นสาระแก่น
แท้ของคน (เพลโต กล่าวว่า สาระของคน คือ วิญญาณ สาระของวิญญาณ คือ
ปัญญาหรือ ความรู้ ) การแสวงหาความรู้ ความจริง คือ ความต้องการที่จะไปสู่
ปัญญา ความรู้จริง แต่ความรู้ดังกล่าว จะต้องเป็นความรู้ที่บริสุทธิ์ เป็นสัจธรรม
และอมตะ ไม่เกี่ยวข้องกับความต้องการทางกาย มีใจที่สงบ ไม่แก่งแย่ง แข่งกัน
ความสำคัญของกลุ่มปัญญานิยม คือ การมุ่งเน้นค้นหาปัญญา ในกลุ่มปัญญานิยม
เชื่อว่า ความรู้ความสามารถช่วยให้มนุษย์มีความสุขได้เหมือนกันถ้าความรู้นั้นเป็น
ความรู้ที่ถูกต้องที่เรียกว่า “สัมมาญาณ (Right Knowledge)” แบ่งออกเป็น ๒ แบบ
คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ที่เรียกว่า โลกียปัญญา และ ความรู้ระดับสูง
ธรรมประยุกต์ ๔๙

ที่สามารถเข้ าใจความจริงของชี วิต โลก และความจริง ของจัก วาร ทำให้ม นุ ษ ย์


ประเสริฐเรียกว่า อริยบุคคล ความรู้นี้เรียกว่า โลกุตรปัญญา
ข. กลุ่มวิมุตินิยม ( Salvationism ) กลุ่มวิมุตินิยมก็จะมีแนวคิดคล้ายกับ
กลุ่มปัญญานิยม คือถือว่า ความสุขไม่ใช่สาระของชีวิต ความสงบใจมีค่ามากกว่า
กลุ่มปัญญานิยมจะมุ่งเน้นที่การแสวงหาสัจจะหรือความจริงที่เป็นสิ่งประเสริฐของ
ชีวิต แต่วิมุตินิยมจะเน้นในเรื่องการดับความต้องการทางกาย และการเอาชนะตนเอง
มากกว่า กลุ่มวิมุตินิยมไม่ได้ปฏิเสธความสุขไปเสียทีเดียว แต่ให้ความสุขเป็นทางสาย
กลาง เช่น ศาสนาโดยทั่วไปก็เป็นวิมุตินิยม ไม่ว่าจะเป็น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม
ฮินดู เป็นต้น ความพอใจของมนุษย์ คือ ความพอดีระหว่า งสิ่งที่เรามีกับสิ่งที่เรา
ต้องการ โดย สิ่งที่เรามี นั้น เราได้มาจากภายนอกซึ่งต้องเอามาด้วยวิธีการต่าง ๆ
เพราะเป็นสิ่งที่มีจำนวนจำกัด ทุกคนอยากได้อยากมีและวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เมื่อเราได้
มันมาแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะแน่นอนใจได้ว่ามันจะอยู่กับเราไปอีกนานแค่ไหน เพราะมัน
เป็นสิ่งที่ไม่คงที่ มันอาจเสื่อมสภาพ อาจหายไปหรือโดนขโมยก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ถ้าเรา
ยึดติดกับสิ่งของพวกนี้ก็จะทำให้เราเป็นทุกข์ หรือผิดหวังโดยไม่ทันตั้งตัว เหตุเพราะ
ความสุขของเราขึ้นอยู่กับสิ่งของที่ไม่แน่นอนที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ ถ้าเราลด
ความต้องการสิ่งของวัตถุพวกนี้ลง เราจะมีความสุขมากกว่าการที่เราต้องไปดิ้นรน
ขวนขวายสิ่งของวัตถุต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอนนั้น การเอาชนะใจตัวเองนั้น
เป็นการง่ายและแน่นอนกว่าการที่เราจะไปเอาชนะผู้อื่น ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นวิถีแห่ง
ความสุขอย่างแท้จริงกว่าวิธีแรก มีสำนักปรัชญาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ด้วย ที่สำคัญ เช่น
ลัทธิสโตอิค ( Stoicism ) – นักปรัชญากรีก ชื่อ เซโน ( Zeno ) เป็นผู้
ก่อตั้งลัทธินี้ขึ้นมา โดยถือว่า ความอยากเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะเราตกเป็น
ทาสของมัน หากเราปรารถนาความสุขที่แท้จริงและแน่นอน เราต้องพยายามเอาชนะ
กิเลส ตัณหา พยายามลดความต้องการส่วนเกินออกไปเสีย เหลือแต่ความต้องการ
ที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น ให้ดำรงชีวิตด้วยความสันโดษดีที่สุด ลัทธิซินนิค ( Cynicism )
– นักปรัชญากรีก ชื่อ แอนติสเธเนส ( Antisthenes ) เป็นผู้ก่อตั้งลัทธินี้ตามแนว
การดำรงชีวิตของโสคราติส คือ การมีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ เพียงเพื่อเป็นหนทางไปสู่
การแสวงหาปัญญาหรือความรู้เท่านั้น แต่ซินนิคถือว่า ชีวิตแบบง่าย ๆ เป็นสิ่งที่ดี
ที่สุด ทำนองเดียวกับชีวิตสัตว์เดรัจฉาน ไม่สนใจเรื่องร่างกาย เมื่อหิวก็ค่อยหากิน มี
ชี ว ิ ต ที ่ เป็ นไปตามธรรมชาติ มากที่ สุ ด ค่ ำ ไหน นอนนั ่ น ไม่ ส นใจแสวงหาเงินทอง
ธรรมประยุกต์ ๕๐

ทรัพย์สิน เกียรติยศ อำนาจ คนกลุ่มนี้จะพยายามมีให้น้อยที่สุด ถ้าทำได้ตามนี้ เราก็


จะพบกับความสุขที่แท้จริง
๓. กลุ ่ ม อั ต ถิ ภ าวนิ ย ม ( Existentialism ) แม้ ค วามก้ า วหน้ า ทาง
วิทยาศาสตร์จะทำให้มนุษย์เรามีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่การได้มาซึ่งสิ่ง
อำนวยความสะดวกต่าง ๆ นั้น ได้ทำให้เราต้องอดหลับอดนอน ทำงานหนักเพียง
เพื่อจะได้เงินมาซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกตรงนั้น และเมื่อเราได้มาแล้ว หากสิ่งนั้น
เกิดชำรุดเสียหายขึ้นมา เราก็เป็นทุกข์ สิ่งอำนวยความสะดวกพวกนี้ทำให้เราเหมือน
ตกเป็นทาสของผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ เรากลายเป็นคนที่ไม่ใช่ตัวเราเองจริง ๆ เรา
ขาดอิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเสรี เราขาดความเป็นตัวของตัวเอง กลุ่มอัตถิ
ภาวนิยมจึงเสนอให้มนุษย์เรากลับมาเป็นตัวของตัวเอง การกลับมาเป็นตัวของ
ตัวเอง คือ การตระหนักถึงเสรีภาพซึ่งเป็นธาตุแท้ของมนุษย์ เราเลือกที่จะทำสิ่งต่าง
ๆ ได้อย่างอิสระเสรี แม้เราจะเห็นว่า ถูกบังคับ แต่ในความเป็นจริง เราไม่เคยมีใครถูก
บังคับ เราทุกคนล้วนมีแต่การเลือก ชีวิตล้วนเต็มไปด้วยทางเลือก และการเลือก
หลาย ๆ ครั้ง เราเลือกเพราะความกลัวในใจเราเอง (เราบอกว่าเราถูกปัจจัยภายนอก
บังคับ...เราหลอกตัวเองอย่างนี้) ในสังคมปัจจุบัน เราทั้งหลายกำลังหลอกตัวเองอยู่
ทั้งนั้น ซึ่งการหลอกตัวเองว่าถูกบีบบังคับจากสิ่งอื่น นี่คือ การฝืนธรรมชาติที่แท้จริง
ของคนเรา ธรรมชาติที่แท้จริงของคนเรา คือ เสรีภาพ การบอกว่า เราถูกบังคับจาก
สิ่งอื่นนั้น ไม่เป็นความจริง ความเป็นจริงก็คือ คนเราเลือกทางเดินชีวิตต่างกัน
ออกไป ชีวิตเมื่อมีอยู่แล้ว ย่อมต้องมีการเลือกเสมอ และการเลือกทุกครั้งของเรา
ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของตัวเองด้วย นั่นคือ เมื่อเราเลือกที่จะทำอะไรลงไปใน
ชีวิตแล้ว เราต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น ๆ นั่นหมายถึง เราต้องมีความตั้งใจใน
การเลือกว่าเราจะเอาอย่างไรกับชีวิตของเราดี เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกว่า ยืนบนทาง
๒ แพร่ง ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสถานการณ์เช่นนั้น แสดงว่า เราได้เจอกับ
ตัวตนจริง ๆ ของเราแล้ว เมื่อใดก็ตามที่เราทำการเลือก ชีวิตของเราก็จะเข้ าถึง
เสรีภาพของตัวตนที่แท้จริง ที่เป็ นตัวชี้ว่า เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้จริง ๆ และเมื่อเราได้
สัมผัสการมีอยู่ของตัวเราซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะบอกเราได้ว่า เราจะเป็นอะไรต่อไป หรือ
เราจะใช้ชีวิตไปในแนวทางใด นั่นเอง
๔. กลุ่มมนุษยนิยม ( Humanism ) ทฤษฎีต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วน
มีมุมมองเกี่ยวกับชีวิตเพียงด้านเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่แคบเกินไป กลุ่มมนุษย
นิยมจึงเสนอขึ้นมาว่า มนุษย์เราควรมองชีวิตให้รอบด้าน แทนที่จะมองแค่ด้านเดียว
ธรรมประยุกต์ ๕๑

เพราะนั่นทำให้ทัศนคติของเราแคบไปด้วย ซึ่งส่งผลให้การใช้ชีวิตของเรานั้นแคบไป
ด้วย ทางที่ถูก คือ เราต้องมองชีวิตทั้ งในทัศนะทางสุขนิยม , วิมุตินิยม และปัญญา
นิยม จากแนวคิดนี้จึงสรุปได้ว่า สิ่งที่มีค่าและที่มนุษย์ควรแสวงหาเพื่อความเป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ คือ สิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน
ทั ้ ง ทางร่ า งกายและจิ ต ใจ แต่ ก ็ ต ้ อ งรู ้ จ ั ก ควบคุ ม ความต้ อ งการให้ อ ยู ่ ใ น ระดั บ ที่
พอเหมาะพอดี และเหมาะสมด้วย ไม่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง ต้องทำให้สมดุลกัน
จึงจะเป็นการใช้ชีวิตที่รอบคอบมากที่สุด เหมือนเช่น แก้วน้ำแก้วนี้ที่มีปริมานนมใน
แก้วที่พอดี ไม่ล้นและไม่น้อยเกินไป พอดี ๆ นั่นเอง

เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความคิดข้างบนดังกล่าวแต่พระพุทธศาสนามี
เป้าหมายสูงสุดของตัวเอง คือ นิพพาน แต่การอธิบายและกล่าวถึงนิพพานเป็นเรื่อง
ไม่อยากแต่ก็เป็นเรื่องที่คิดว่าคงรู้ได้เข้าใจได้ แต่สัมผัสได้ บรรลุได้เป็นเรื่องยาก ครั้น
เมื ่ อ ต้ อ งการความรู ้ ค วามเข้ า ใจกั บ คำว่ า นิ พ พาน เป้ า หมายสู ง สุ ด ของ
พระพุ ท ธศาสนาก็ ต ้ อ งอธิ บ ายกั น จากง่ า ยไปสู ่ ย าก หรื อ จากระดั บ ปุ ถ ุ ช นไปสู่
อริยบุคคล ตามวิถีทางดำเนินชีวิตให้บรรลุประโยชน์ที่เป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตที่
เรียกว่า อรรถ3 ๓ คือ
๑. ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์4 ( Virtues conducive to benefits in the
present ) คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน คือ ประโยชน์ที่จะพึงได้รับในภพชาตินี้ ถือว่าเป็น
ประโยชน์ขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต มี ๔ อย่าง
ก. อุ ฏ ฐานสั ม ปทา ( Achievement of diligence ) คื อ ความถึ ง
พร้อมด้วยความหมั่น ได้แก่ความขยันในการประกอบอาชีพการงาน “อย่านอนตื่น
สาย อย่าอายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่านอนคอยวาสนา”
ข. อารักขสัมปทา ( Achievement of protection ) คือ ความถึง
พร้อมด้วยการ รักษาทรัพย์ที่หามาได้ การเก็บรักษาและการประหยัด หลักธรรมข้อ
นี้ มีจุดมุ่งหมายให้เป็นคนมัธยัสถ์ ( พอดี )

3 ขุ.จู.๓๐/๖๗๓/๓๓๓; ๗๕๕/๓๘๙.
4 องฺ.อฉฐก. ๒๓/๑๔๔/๒๘๙.
ธรรมประยุกต์ ๕๒

ค. กั ล ยาณมิ ต ตตา ( Good company ) คื อ การมี ค นดี เ ป็ น มิ ต ร


หรือคบคนดีเป็น เพื่อน มิตรแท้ 5 ๔ จำพวก และการลีกเว้นการคบมิตรเทียม ๔
จำพวก มิตรแท้ ๔ ประเภท คือ
๑.มิตรมีอุปการะ ได้แก่ เพื่อนที่มีบุญคุณ มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่
คอยคุ้มครองป้องกันเพื่อนของตน ทั้งเป็นที่พึ่งของเพื่อนได้ มีลักษณะโดยสรุป ๔
ประการ ดังนี้คือ
ก.ป้องกันเพื่อนผู้ประมาท หมายถึง มิตรที่ช่วยป้องกันชีวิต
ชื่อเสียงและเกียรติยศของเพื่อน
ข.ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาท หมายถึง มิตรที่
คอยแนะนำห้ามปรามเพื่อนเมื่อเห็นเพื่อนใช้จ่ายทรัพย์สมบัติไปในทางอบายมุขหรือ
ลงทุนที่มีการเสี่ยงเกินไป
ค. เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ หมายถึง มิตรที่คอยอุปการะ
ช่วยเหลือเมื่อเพื่อนตกทุกข์ เมื่อเพื่อนมีภัยก็ให้การคุ้มครองป้องกัน
ง.เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก หมายถึง มิตร
ที่ช่วยเหลือเพื่อน เมื่อเพื่อนมีความจำเป็นต้องใช้เงิน ออกปากขอยืมเงิน ก็ตอบสนอง
ด้วยดี เสนอให้ยืมเกินกว่าที่ขอยืม ไม่แสดงความโลภออกมา
๒.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ เพื่อนสนิทเหมือนญาติ ไว้วางใจ
กัน คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีลักษณะโดยสรุป ๔ ประการ
ก.ขยายความลับของตนแก่เพื่อน หมายถึง ต่างฝ่ายต่างเผย
ความลับของตนแก่เพื่อน ถ้าความลับนั้นมีจุดอ่อนหรือปมด้อยก็ช่วยกันแก้ไข และ
เป็นการให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ข.ปิดความลับของเพื่อนมิให้แพร่หลาย หมายถึง มิตรที่มีความ
จริงใจต่อเพื่อนรักษาน้ำใจซึ่งกันและกันเอาไว้โดยการไม่เปิดเผยความลับของเพื่อน
ไม่ให้ผู้อื่นรู้
ค.ไม่ละทิ้งยามวิบัติ หมายถึง เมื่อเวลาที่เพื่อนตกทุกข์ได้ยากก็
คอยช่วยเหลือไม่ละทิ้ง
ง.แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้ หมายถึง เมื่อเวลาที่เพื่อนตกอยู่ใน
อันตราย ก็เข้าช่วยเหลือถึงแม้ตัวเองจะต้องเสี่ยงชีวิตก็ตาม

5 สํ.ม. ๑๙/๕-๑๒๙/๒-๓๖.
ธรรมประยุกต์ ๕๓

๓.มิตรแนะนำประโยชน์ ได้แก่ เพื่อนที่คอยแนะนำแต่ในทางที่ดี


มีลักษณะเหมือนครู ลักษณะของเพื่อนเช่นนี้มีอยู่ ๔ ประการ คือ
ก.ห้ามไม่ให้ทำชั่ว หมายถึง เห็นเพื่อนทำความชั่ว เพราะความ
ไม่รู้ หรือความประมาทคึกคะนองก็เข้าห้ามปรามแสดงถึงเหตุผล ให้เพื่อนมี หิริ คือ
ความรังเกียจต่อความชั่ว และ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความชั่ว
ข. แนะนำให้ทำแต่ความดี หมายถึง นอกจากห้ามไม่ให้เพื่อนทำ
ชั่วแล้ว ยังสอนเพื่อนให้รู้จักคุณความดีสอนให้ประพฤติดี
ค.ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยทำ หมายถึง ถ้าเพื่อนยังไม่มีความรู้
ในทางหลักธรรมคุณความดีกฎแห่งกรรมมากนักก็เล่าให้เพื่อนฟัง
ง. บอกทางสวรรค์ให้ ทางสวรรค์ หมายถึง ทางไปสู่อนาคตอัน
สดใส ด้วยการแสวงหาความรู้หรือปัญญา
๔. มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ เพื่อนประเภทสหาย มีลักษณะ
สำคัญ ๔ ประการคือ
ก.ทุกข์ ทุกข์ ด้วย หมายถึง เมื่อเห็นเพื่อนมีความทุกข์ไม่ว่าทาง
ใด ทางกายใจ ก็ให้ความช่วยเหลือในทุกด้าน ปลอบโยน แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ
ข.สุข สุข ด้วย หมายถึง มิตรที่เห็นเพื่อนมีความสุขไม่ว่าทาง
กายหรือทางใจก็พลอยยินดีกับเพื่อนด้วย เข้าไปแสดงความยินดีด้วย
ค.โต้เถียงผู้ที่ติเตียนเพื่อน หมายถึง เมื่อเห็นคนอื่นติเตียนเพื่อน
ของเรา ไม่ว่าต่อหน้าและลับหลัง ก็ช่วยพูดจาชี้แจงให้เข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อนไม่ให้
เพื่อนเสียหายง.รับรองคนพูดสรรญเสริญเพื่อน หมายถึง เมื่อเห็นคนพูดจาชมเชย
เพื่อนก็พูดจาสนับสนุน
ง.สมชี ว ิ ต า ( Balanced Livelihood ) คื อ การเลี ้ ย งชี ว ิ ต ที่
เหมาะสม ดำรงชีพตามสมควรแก่อัตภาพไม่หน้าใหญ่ใจโต ดังภาษิตว่า “นกน้อยทำ
รังแต่พอตัว ช้างขี้อย่าขี้ตามช้าง”“ความฟุ้งเฟ้อทำให้เกิดความไม่พอ คนเราฟุ้งเฟ้อ
ก็ไม่มีทางที่จะหาทรัพย์มาป้อนความฟุ้งเฟ้อได้ ความฟุ้งเฟ้อเป็นปากที่หิวไม่หยุด
เป็นปากที่อ้าตลอดเวลา ป้อนเท่าไรไม่พอ หาเท่าไรไม่พอ ฉะนั้น จะต้องหาทางป้องกัน
วิธีการที่จะนำมาป้อนความฟุ้งเฟ้อซึ่งก็คือการทุจริต6”

6 พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอดุลยเดช เรื่องความฟุ้งเฟ้อ
ธรรมประยุกต์ ๕๔

๒. สัมปรายิกัตถประโยชน์7 ( Virtues conducive to benefits in the


future ) คือ ประโยชน์ ในภพหน้า หรือชาติหน้า มี ๔ อย่าง
ก. สัทธาสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา เชื่อในกฎแห่งกรรม
ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ศรัทธามี ๔ อย่าง
๑. กัมมสัทธา คือ เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง
๔. ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ข.สีลสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยศีลหรือความเป็นคนมีศีล ได้แก่
ศีล ๕ - ๘-๑๐ ศีล แปลว่า ปกติ คือ ความเป็นปกติทางกาย วาจา ใจไปดี = สีเลน
สุคติง ยันติ ผู้รักษาศีลย่อมเข้าถึงสุคติมีทรัพย์ = สีเลน โภคสัมปทา ผู้รักษาศีลจะได้
โภคสมบัติดับทุกข์ = สีเลน นิพพุติง ยันติ ผู้มีศีลย่อมเข้าถึงความอยู่เย็นเป็นสุข
ค.จาคสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค การบริจาค คือ
การเสียสละ ทรัพย์สินอันเป็นของตนแก่บุคคลอื่น ข้อสังเกต การบริจาค หมายถึง
การให้ทาน คือ การให้สิ่งของ จาค จึงหมายถึงการเสียสละ ส่วนมากจะนิยมในเรื่อง
ส่วนที่เป็นนามธรรม เช่น การเสียสละเวลา เสียสละปัญญาความคิด ฯลฯ เป็นต้น
ง.ปัญญาสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้ ว ยปัญญาปัญญา แปลว่า
ความรู้ทั่ว หรือความรู้ชัด ได้แก่ ความเข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล ดังพระพุทธภาษิต
ว่า ปัญญา โลกัสมิง ปัชโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก ปัญญา นรานัง รตนัง
ปัญญาเป็นแก้วอันมีค่าของนรชน ปัญญา8 ๓ อย่าง
๑.สุตมยปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง การศึกษาเล่า
เรียน การมีประสบการณ์ ดังพุทธภาษิตว่า สุสสูสัง ลภเต ปัญญัง ผู้ฟังด้วยดี ย่อม
ได้ปัญญา
๒.จินตามยปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่เกิดจากการคิด ได้ผ่านการ
กรองตรวจสอบความถูก ต้อง๓.ภาวนามยปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่เกิดจากการ
พัฒนาจิต คือ การฝึ กจิตด้วยวิธีสมถะ และวิปัสสนา ภาวนามยปัญญา ถือเป็น
ความรู้สูงสุดระดับปัญญาทางพระพุทธศาสนา ๒ ระดับ

7 องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๔๔/๒๙๒.
8 ที.ปา ๑๑/๒๒๘/๒๓๑/ อภิ.วิ.๓๕/๘๐๔/๔๓๘.
ธรรมประยุกต์ ๕๕

ก.โลกิยปัญญา คือ ปัญญาที่ใช้วิชาการที่ได้ศึกษาเล่าเรียนใน


วิชาการทางโลกทุกอย่างเพื่อนำไปประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองให้มีความสุข เช่น
ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ การศึกษา สังคมศาสตร์ และอื่น ๆ
ข.โลกุตรปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการรู้แจ้ง หมดความ
สงสัย อันเป็นปัญญาของพระอริยบุคคล9
๓.ปรมัตถประโยชน์ ( Ultimate Benefits ) คือ ประโยชน์อย่างยิ่งหรือ
ประโยชน์สูงสุด ได้แก่ พระนิพพาน คือ ภาวะที่จิตสะอาด สว่าง และสงบ ความสุข
๒ อย่างก. สุขแบบโลก หรือ สุขของคฤหัสถ์10 กล่าวคือ สุขของผู้ครองเรือนที่พึง
แสวงหา ความสุขของตนเอง ๔ อย่าง๑.อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ
ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่าตนมี ทรัพย์๒ .โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ
ความภูมิใจ ว่าตนได้ใช้ ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบ๓. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
คือ ความภูมิใจว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร ดังพุทธภาษิตว่า อิณาทานัง ทุก
ขัง โลเก การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก๔. อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ
คือ ความภูมิใจว่า ตนมีความประพฤติสุจริตข. สุขแบบธรรม หรือ สุขเกิดจากความ
สันโดษ คำว่า สันโดษ แปลว่า ความยินดี คือ ความพอใจ๑.ยถาลาภสันโดษ 11 คือ
ยินดีตามที่ได้ ยินดีตามที่พึงได้๒ .ยถาพลสันโดษ คือ ยินดีตามกำลัง ยินดีแต่พอแก่
กำลังร่างกาย และวิสัยแห่ง การใช้สอยของตน๓.ยถาสารุปปสันโดษ คือ ยินดีตาม
สมควร ยินดีตามที่เหมาะสมกับตน สมควร แก่ภาวะ ฐานะของตน ตามแนวทางชีวิต
ของตน

จุดมุ่งหมายของชีวิตในระดับโลกุตระ
ระดับนี้มิใช่วิสัยของโลก เรียกว่า ระดับโลกุตรธรรม คือ สภาวะที่พ้นโลก เป็น
ภาวะที่ดับกิเลส และกองทุกข์ พ้นจากสภาวะความเป็นไปทั้งหลายในโลกเป็นเรื่องของ
พระอริยบุคคลผู้ประเสริฐผู้บรรลุธรรมพิเศษ เป็นสภาวะที่พ้นจากวิธี การรับรู้ทาง
ประสาทสัมผัสธรรมดาของปุถุชน ได้แก่ปรมัตถประโยชน์
พระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายของชีวิตคือ นิพพาน นิพพาน มาจาก นิ อุป
สรรค์(แปลว่า ออกไป หมดไป ไม่มี เลิ ก) + วาน (แปลว่า พัดไป หรือ เป็นไปบ้าง
9 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญมี แท่นแก้ว ,จริยธรรมกับชีวิต : ๘ - ๙.
10 องฺ.จตุกฺก.๒๑/๖๒/๙๐.
11 ที.อ.๑/๒๕๓; ม.อ.๒/๑๘๘;องฺ.อ.๑/๑๘๑; ขุทฺทก.อ.๑๕๙;อุ.อ.๒๘๘.
ธรรมประยุกต์ ๕๖

ร้อย รัดบ้าง) ใช้เป็นกิริยาของไฟ หรือการดับไฟ หรือของที่ร้อนเพราะไฟ แปลว่า


ดับไฟหรือดับร้อน หมายถึงหายร้อน เย็นลง หรือเย็นสนิท (แต่ไม่ใช่ดับสูญ ) แสดง
ภาวะทางจิตหมายถึงเย็นใจ สดชื่อ ชุ่มชื่นใจ ดับความร้อนใจ หายร้อนรนไม่มีความ
กระวนกระวาย หรือ แปลว่าเป็นเครื่องดับกิเลส คือ ให้ราคะ โทสะ โมหะ หมดสิ้นไป
ในคัมภีร์รุ่นรองและอรรถกถาฏีกา ส่วนมากนิยมแปลกันว่า ไม่มีตัณหาเครื่องร้อย
รัด หรือออกไปแล้วจากตัณหา ที่เป็นเครื่องร้อยติดไว้กับภพ12
ปกติการดำเนินชีวิตก็คือ ความพยายามที่จะแก้ปัญหาของชีวิต หรือการ
แก้ปัญหาของชีวิต หรือการหาทางปลดเปลื้องไถ่ถอนทุกข์ แต่ถ้าไม่รู้จักวิธีแก้ไข
หรือวิธีปลดเปลื้องไถ่ถอนที่ถูกต้อง การแก้ไขปัญหาก็กลายเป็นการเพิ่มปัญหา การ
ปลดเปลื้องทุกข์ก็กลายเป็นการสะสมทุกข์ ยิ่ง พยายามดำเนินไป ปัญหาหรือทุกข์ก็
ยิ่งเพิ่มขึ้นกลายเป็นวงจร (วัฎฎะ, ปฏิจจสมุปบาท) และเป็นวงจรที่ยิ่งหนาเข้มข้น ยิ่ง
ซับซ้อนขึ้นทุกที เรียกโดยภาพพจนน์ว่าเป็นวังวงแห่งปัญหา และการเวียนว่ายอยู่ใน
ทุกข์ สภาพเช่นนี้คือความเป็นไปแห่งกระบวนธรรมแบบ สังสารวัฎฎ์(ดังรูปประกอบ)
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในหลังปฏิจสมุปบาทโดยกระบวนธรรมฝ่ายวิวัฎฎ์คือฝ่ายดับ
ทุกข์อันเป็นเป้าหมายที่จะเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่านิพพาน
โดยความหมายของคำว่านิพพานเรามักได้ยินเสมอว่า นิพพาน คือ ความ
ดับทุกข์ นิพพานคือ ความสงบเย็น หรือ นิพพาน คือ ความหลุดพ้น เหนื อ สิ่งที่
เรียกว่า บุญ-บาป ดี-ชั่ว คือ ไม่ยึดเกาะเกี่ยวกับความสุขหรือทุกข์ หรือจะพูดว่า
เมื่ออวิชาตัณหา อุปทาน ดับ นิพพานก็เกิดปรากฏแทนที่พร้อมกัน 13 หรือการดับ
อวิชชา ตัณหา อุปทานนั่นแหละ คือ นิพพาน

12 พระราชวรมุน(ี ประยุทธ์ ปยุตโต). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รงุ่ วัฒนา. ๒๕๒๖.หน้า๒๖๑.


13 พระราชวรมุน(ี ประยุทธ์ ปยุตโต). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รงุ่ วัฒนา. ๒๕๒๖.หน้า๒๒๙ – ๒๓๐.
ธรรมประยุกต์ ๕๗

ภาพแสดงสังสารวัฎฎ์
แต่โดยปกติปุถุชนมักจะผูกกิเลส อุปทาน ตัณหาเข้ามาปิดบังจิตใจ แต่ถ้า
จิตใจถูกเปิดมิให้สิ่งใดมาปิดกั้น ครองคลุมก็จะโปร่งโล่งเป็นอิสระแจ่มใส สะอาด สว่าง
สงบ ละเอียดเอน ประณีต ลึกซึ้ง ก็เหมือนกับคุณลักษณะของคำว่ านิพ พานว่า
“นิพพาน อันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาล เรียกให้มาดูได้ ควรน้อบน้อมเอามาไว้
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน14” อย่างไรก็ตามการศึกษาคำว่า “นิพพาน” แม้จะให้ได้คำ
จำกัดความที่กว้างขวางมากแต่ก็สามารถสรุปได้ ๔ ประเภท15 ได้แก่
๑. ความหมายนิพพานแบบปฏิเสธ คือ ความหมายอันแสดงถึง การละ
การจำกัด การเพิกถอนภาวะ ไม่ดีไม่งาม ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์ต่าง ที่มีอยู่ใน
วิ ส ั ย ของฝ่ า ยวั ฏ ฏะ เช่ น ว่ า “นิ พ พาน คื อ ความสิ ้ น ราคะ สิ ้ น โทสะ สิ ้ น โมหะ 16”
“นิพพานคือความดับแห่งภพ17” “นิพพานคือ ความสิ้นตัณหา18” “จุดจบของทุกข์19”
เป็นต้น หรือใช้คำเรียกอันแสดงภาวะที่ตรงข้ามกับภาวะฝ่ายวัฎฎะโดยตรง เช่น
อสังขตะ (ไม่ถูกปรุงแต่ง) อชระ(ไม่แก่) อมตะ (ไม่ตาย) เป็นต้น
๒. แบบไวพจน์ หรือเรียกตามคุณภาพ คือ นำเอาคำพูดบางคำที่ใช้พูด
เข้าใจกันอยู่แล้วอันมีความหมายเกี่ยวกับภาวะที่สมบูรณ์หรือดีงามสูงสุดมาใช้ คำ

14 องฺ.ติก. ๒๐/๕๙๘/๒๐๒.
15 พระราชวรมุน(ี ประยุทธ์ ปยุตโต). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รงุ่ วัฒนา. ๒๕๒๖.หน้า ๒๓๒ - ๒๓๔.
16 สํ.สฬ. ๑๘/๔๙๕/๓๑๐ ; ๕๑๓/๓๒๑.
17 สํ.นิ.๑๖/๒๗๑/๑๔๒.
18 สํ.ข.๑๗/๓๖๗/๒๓๓.
19 สํ.สฬ.๑๘/๘๕/๕๓;ขุ.อุ.๒๕/๑๕๘/๒๐๗;ขุ.อิติ.๒๕/๒๓๑/๒๖๖.
ธรรมประยุกต์ ๕๘

แรกนิพพานเพื่อแสดงคุณลักษณะของนิพพาน นั้น ในบางแง่ บางด้านเช่น “สัน


ตะ”(ความสงบ) “ปณีตะ”(ประณีต) “สุทธิ” (ความบริสุทธิ์) “เขมะ” (ความเกษม) เป็น
ต้น
๓. แบบอุปมา ถ้อยคำอุปมามักใช้บรรยายภาวะและลักษณะของผู้บรรลุ
นิพพานมากกว่าจะใช้บรรยาย ภาวะของนิพพาน โดยตรง เช่น “เปรียบพระอรหันต์
เหมือนโคนำฝูงที่ว่ายตัดกระแสน้ำข้ามถึงฝั่งแล้ว 20” “เหมือนคนข้ามมหาสมุทร หรือ
ห้วงน้ำใหญ่ที่มีอันตรายมาถึงฝากขึ้นยืนบนฝั่งแล้ว 21” “ว่าจะไม่เกิดเป็นต้น ก็ไม่ถูก
ทั้งสิ้น เหมือนไฟดับไม่เหลือสิ้นเชื้อ22” อย่างไรก็ตามคำเปรียบเทียบภาวะของนิพพาน
โดยตรงก็มีอยู่บ้าง เช่น “นิพพานเป็นเหมือนภูมิภาคอันราบเรียบน่ารื่นรมย์ 23”
“เหมือนฝั่งโน้นที่เกษมไม่มีภัย24” และ “เหมือนข่าวสาสน์ที่เป็นจริง25” เป็นต้น
ที่ใช้เป็นคำเปรียบเทียบอยู่ในตัวก็มีหลายคำ เช่น “อาโรคยะ”(ความไม่มีโรค
, สุขภาพสมบูรณ์) “ทีป” (เกาะ, ที่พ้นภัย) “เลณะ” (ถ้ำ, ที่กำบังภัย) เป็นต้น ในสมัย
คัมภีร์ร่อนต่อๆ มาที่เป็นสาวกภาษิต ถึงกับเรียกเปรียบนิพพานไปถึง เมืองไปก็มี ดัง
คำว่า “อุดมบุรี26” “นิพพานคร27” ซึ่งได้กลายมาเป็นคำเทศนาโวหาร และวรรณคดี
โวหารในภาษาไทยว่า อมตมหานครนฤพานบ้าง เมืองแก้วบ้าง พระนิพพานบ้าง แต่
คำหลังนี้ไม่จัดเข้าในบรรดาถ้อยคำที่ยอมรับว่าใช้แสดงภาวะนิพพานได้
๔.แบบบรรยายภาวะโดยตรง แบบนี้มีน้อยแห่ง แต่เป็นที่น่าสนใจของ
การศึกษาน่าค้นคว้ามากโดยเฉพาะผู้ถือพุทธธรรมอย่างปรัชญา และตีความกันไป
ต่างๆทำให้เป็นที่ถกเถียงได้มาก28
ประเภทนิพพาน29การแบ่งประเภทนิพพานแบ่งในนิพพานธาตุ ๒ ตาม
คัมภีร์ อินิวุตตกะ ได้แก่

20 ม.ม.๑๒/๓๙๑/๔๒๐.
21 สํ.สฬ.๑๘/๒๘๕/๑๙๘; ขุ.อิติ.๒๕/๒๓๑/๒๖๖.
22 ม.ม.๑๓/๒๕๐/๒๔๖; สํสฬ.๑๘/๘๐๐/๔๘๕.
23 สํงข. ๑๗/๑๙๘/๑๓๒.
24 สํ.สฬ.๑๘/๓๑๖/๒๑๙.
25 สํ.สฬ. ๑๘/๓๔๒/๒๔๖.
26 ขุ.อป.๓๓/๑๕๗/๒๘๒ (อุรมุตฺตมํ).
27 มิลนิ ฺท.๓๔๙.
28 มีแสดไว้อย่างพิสดาร หากผู้สนใจ สามารถศึกษาจากหนังสือพุทธรรมของพระราชวรมุนี(ประยุตต์)
29 พระราชวรมุน(ี ประยุทธ์ ปยุตฺโต).พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา. ๒๕๒๖.หน้า ๒๖๒.
ธรรมประยุกต์ ๕๙

๑)สอุปาทิเสสนิพานธาตุ ได้แก่ นิพพานยังมีเบญจขันธ์เหลือ หรือ


นิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์หมายถึงดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่
นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ ตรงกับคำที่คิดขึ้นมาใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า
กิเลสปรินิพพาน (ดับกิเลสสิ้นเชิง)
๒) อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หรือ
นิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์ หมายถึง นิพพานของพระอรหันต์เมื่อสิ้นชีวิต
ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในอรรถกถาว่า ขันธปรินิพพาน(ดับขันธ์ ๕ สิ้นเชิง)
ประเภทของผู ้ บ รรลุ น ิ พ พาน ประเภทของผู ้ บ รรลุ น ิ พ พานในทาง
พระพุทธศาสนามีชื่อเรียก ผู้บรรลุนิพพานตามชื่อตามแต่ระดับของผู้บรรลุ เราเรียก
บุคคลอันประเสริฐ หรือ ทักขิไณยบุคคล หรือ อริยบุคคล30 ๔ ได้แก่
๑. โสดาบัน(Stream-Enterer) ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว “ผู้ถึง
กระแส” ในสมัยพุทธกาล พระโสดาบัน คือ บุคคลที่มาฟังธรรม(ศึกษาธรรม)แล้วเริ่ม
มีความรู้ในเรื่องอริยสัจ ๔ ที่ถูกต้องและครบถ้วนตามสมควร เรียกว่า ผู้มีดวงตา
เห็นธรรม แต่เนื่องจากพระโสดาบันยังมีกิเลส(โลภ โกรธ หลง)เหลืออยู่มาก ดังนั้น
พระโสดาบัน จึงเป็นเพียงผู้เริ่มดับความหลง(เริ่มดับอวิชชา)
๒. สกทาคามี (Once-returner) ท่านผู้บรรลุสกทาคามีผลแล้ว “ผู้
กลับมาอีกครั้งเดียว”ซึ่งเป็นบุคคลที่มีกิเลส(โลภ โกรธ หลง)ลดน้อยลงตามลำดับ.
๓. อนาคามี (Non-Returner) ท่ า นผู ้ บ รรลุ อนาคามิ ผลแล้ว “ผู ้ ไม่
เวียนกลังมาอีกแล้วหรือบุคคลที่ละกิเลสที่เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำได้หมด.
๔. อรหันต์ (the Worthy One) ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว “ผู้ควร”
“ผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว”หรือบุคคลที่ดับความหลง(ดับอวิชชา)ได้หมดสิ้น จึงไม่คิด
ด้วยกิเลส(ไม่มีสังขารในปฏิจจสมุปบาท) และไม่มีความทุกข์ที่เกิดจากความคิดที่เป็น
กิเลสอีกเลย คงมุ่งปฏิบัติตนตามโอวาทปาฏิโมกข์ จิตใจจึงมีความบริสุทธิ์ผ่องใส
เข้าถึงภาวะความดับทุกข์(นิโรธหรือนิพพาน)ได้อย่างต่อเนื่อง.
พระโสดาบันคือบุคคลที่เริ่มละความหลงได้
พระโสดาบันจึงเป็นผู้ที่เริ่มละความหลงเริ่มดับอวิชชา)ได้ คือ เริ่มมีความรู้
เรื่องอริยสัจ ๔ รวมทั้งมีความรู้เรื่องไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง (ไตรลักษณ์มีอยู่
ในเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ).

30 นัย.ที.สี.๙/๒๕๐-๒๕๓/๑๙๙-๒๐๐.
ธรรมประยุกต์ ๖๐

นางวิสาขา เมื่ออายุได้ ๗ ขวบ พร้อมกับเพื่อนทั้งหมด เมื่อได้ฟังธรรม


จากพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว ต่างก็มีดวงตาเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอน
จึงเป็นพระโสดาบันทั้งหมด เพราะเริ่มรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง.
ท่านอุปติสสะ(ชื่อเดิมของพระสารีบุตร)ได้ฟังธรรมเรื่องอริยสัจ ๔ จาก
พระอัสสชิ(หนึ่งในปัญจวัคคีย์)เพียงครั้งเดียว เมื่อฟังจบ ก็เริ่มมีความรู้เรื่องอริยสัจ
๔ ตามความเป็นจริง หรือมีดวงตาเห็นธรรมตามความเป็นจริง จึงเป็นพระโสดาบัน.
ในวันเดียวกัน ท่านอุปติสสะได้ไปเล่าเรื่องอริยสัจ ๔ ที่จดจำมาได้ให้กับท่านโกลิต (ชื่อ
เดิมของพระโมคคัลลานะ)ฟัง เมื่อท่านโกลิตฟังจบ ก็เริ่มมีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตาม
ความเป็นจริง หรือมีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันในวันเดียวกันนั้นเอง.
โจรองคุลิมาล ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว เมื่อฟังจบก็เริ่มมี
ความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง หรือมีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน
ทันที.
พระเจ้าสุทโธทนะ(พระราชบิดาของพระพุทธเจ้า ) ประทับยืนฟังธรรมจาก
พระพุทธเจ้าบนถนนเพียงครั้งเดียว เมื่อทรงฟังธรรมจบ ก็เริ่มมีความรู้ในอริยสัจ ๔
ตามความเป็นจริง หรือเป็นผู้ที่มีพระเนตรเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จึงเป็น
พระโสดาบัน
จะเห็นได้ว่า การเป็นพระโสดาบันนั้น ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป ขอเพียงให้
ท่านได้ศึกษาอริยสัจ ๔ ด้วยสติปัญญาอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ตามความเป็นจริง
เพื่อเริ่มดับความหลง(เริ่มดับอวิชชา)ได้ตรงประเด็น ซึ่งมีเนื้อหาไม่มากนัก (เปรียบ
เหมือนใบไม้ในกำมือเดียว) เพราะใช้เวลาสั้น ๆ ในการฟังธรรมเพียงครั้งเดียว พระ
โสดาบันยังมีกิเลสอยู่ เพราะเพิ่งเริ่มดับความหลง(เริ่มดับอวิชชา) พระโสดาบันเป็น
อริยบุคคลที่เริ่มรู้จักดับความหลง(เริ่มดับหัวหน้าของกิเลส) และเริ่มก้าวเข้าสู่กระแส
(เส้นทาง)ของความพ้นทุกข์(กระแสนิพพาน) จึงอาจมีความทุกข์มากจากความคิดที่
เป็นกิเลส.พระโสดาบันยังมีความหลง(อวิชชา) เหลืออยู่มากพอสมควร ดังนั้น พระ
โสดาบันจึงยังมีการคิดด้วยกิเลส(คิดด้วยความโลภและความโกรธ)อยู่อีก เช่น ยัง
คิดอยากรวย น้อยใจ ท้อแท้ เบื่อหน่าย ร้องไห้ คร่ำครวญ จู้ จี้ โมโห โกรธ เป็นต้น.
พระโสดาบัน เช่น นางวิสาขา เมื่อคราวที่หลานตาย ก็มีความทุกข์มาก ถึงกับร้องไห้
และคร่ำครวญเพราะคิดด้วยกิเลสจนมีความยึดมั่นถือมั่น เนื่องจากขณะนั้นยังมี
ความหลง(มีอวิชชา)อยู่ไม่น้อย จึงทำให้ไม่สามารถรู้เห็นและควบคุมความคิดได้ดีพอ.
พระโสดาบัน เช่น ท่านอนาถบิณฑิกะ ซึ่งเป็นมหาเศรษฐี เมื่อคราวที่ลูกสาวคนเล็ก
ธรรมประยุกต์ ๖๑

ตาย ก็ยังเป็นทุกข์มาก จนถึงกับร้องไห้คร่ำครวญเช่นกัน เพราะคิดด้วยกิเลสจนมี


ความยึดมั่นถือมั่น31 พระอานนท์เมื่อครั้งยังเป็นพระโสดาบันอยู่นั้น เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิด
กับพระพุทธเจ้าและติดตามฟังธรรมพร้อมทั้งจดจำธรรมไว้ได้มากมาย แต่พอทราบ
ข่าวว่า พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ก็เป็นทุกข์มาก ถึงกับร้องไห้ คร่ำครวญ และเข่า
อ่อนแรง จนต้องยืนเกาะกลอนประตูเพื่อพยุงตัวเอาไว้ ความทุกข์ดังกล่าวเกิดขึ้น
จากการคิดด้วยกิเลสจนมีความยึดมั่นถือมั่นมาก นางวิสาขา ท่านอนาถบิณฑิกะ
และพระอานนท์ ต่างก็เป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งสิ้น แต่ทุกท่านยังคิดด้วยกิเลส(มี
สังขาร)ในเรื่องของการพลัดพรากเพราะยังดับสังโยชน์ข้อที่ ๑ - ๓ ไม่หมด หรือดับ
ความหลงยังไม่หมด(มีอวิชชา) จึงทำให้มีความคิดทะยานอยาก(มีตัณหา) และมี
ความคิดยึดมั่นถือมั่น(มีอุปาทาน) เป็นผลให้มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก จนถึงขั้นร้องไห้
และคร่ำครวญ(โสกะ ปริเทวะ).การร้องไห้ของพระโสดาบันทั้ง ๓ ท่านนั้น เป็นการ
แสดงว่ า มี ก ารคิ ด ด้ วยกิ เลสอย่ า งรุ น แรงและมี ค วามทุ ก ข์ ใ นจิ ต ใจมาก. ถ้ า พระ
โสดาบันสามารถละสังโยชน์ข้อที่ ๑ - ๓ ได้หมด คงจะไม่มีการร้องไห้และคร่ำครวญ
เกิดขึ้นเป็นแน่
มีพุทธพจน์อยู่ตอนหนึ่ง 32 ที่กล่าวถึงคุณสมบัติของพระโสดาบัน พอจะ
สรุปได้ว่า “สาวกที่(เริ่ม*)มีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ และรู้จักทางออกจากความคิดที่
ยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ในขันธ์ ๕ (รู้จักวิธีดับความคิดที่เป็นกิเลส*)ตามความเป็นจริง
คือ พระโสดาบัน” ท่านควรฝึกประเมินระดับจิตใจของตนเองว่า ในปัจจุบันขณะนี้ เริ่ม
มีความรู้ในอริยสัจ ๔ (เริ่มละความหลง)ตามความเป็นจริงหรือยัง ถ้าเริ่มมีบ้างแล้ว
ก็น่าจะอยู่ในข่ายของบุคคลที่มีดวงตาเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแล้ว และ
จิตใจของท่านน่าจะอยู่ที่ระดับจิตใจของพระโสดาบันเป็นการชั่วคราว พระโสดาบัน
ควรเป็นผู้เริ่มมีความรู้ในอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(เริ่มละความหลงได้) แต่ยังไม่มี
ความสามารถที่จะดั บความโลภและความโกรธในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น คนส่วน
ใหญ่ที่ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า มักจะเป็นพระโสดาบันในทันทีที่ฟังธรรมจบ แต่ยัง
ไม่สามารถดับความทุกข์ได้ เพราะการมีดวงตาเห็นธรรมนั้น เป็นเพียงการเริ่มมี
ความรู้ในอริยสัจ ๔ ภาคทฤษฎีตามความเป็นจริ ง เพื่อป้องกันการขั ดแย้ งทาง
ความคิด ท่านไม่ควรใช้คำว่า “พระโสดาบัน” ในวงการทั่วไป แต่ควรใช้ข้อความว่า
“เริ่มมีความรู้ในอริยสัจ ๔“ จะดีกว่า
31 อนาถบิณฑิกะ เล่ม ๑ หน้า ๙๑ รังสี สุทนต์.
32 พุทธธรรม หน้า ๓๕๕ ป.อ.ปยุตโต.
ธรรมประยุกต์ ๖๒

คุณสมบัติของพระสกิทาคามี
พระสกิทาคามี คือ บุคคลที่มีคุณสมบัติของพระโสดาบัน + มีความรู้ใน
อริยสัจ ๔ มากขึ้น + สามารถปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างถูกต้องและ
ครบถ้วนตามสมควร จนสามารถละกิเลส(โลภ โกรธ หลง)และความทุกข์ให้เบาบาง
ลงได้ในระดับหนึ่ง เพราะยังมีความหลง(มีอวิชชา)อยู่. การดับกิเลส(โลภ โกรธ หลง)
ได้หมดจริง ๆ และอย่างต่อเนื่องได้ นั้น ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้นที่จะทำได้ . ใน
ชีวิตประจำวัน การฝึกรักษาจิตใจของท่านให้ตั้งอยู่ในระดับพระสกิทาคามีอย่าง
ต่อเนื่องก็อาจทำได้ โดยการตั้งเจตนา(มีดำริชอบอย่างจริงจัง)ว่า ต่อจากนี้ไป เราจะ
มีความตั้งใจ(มีสติชอบ)และความเพียร(มีความเพียรชอบ)ที่จะศึกษาอริยสัจ ๔ เพื่อ
ดับความหลง และฝึกปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อ
ดับความโลภและความโกรธให้หมดไปจากจิตใจอย่างสิ้นเชิง
ท่ า นควรฝึ ก ประเมิ น ระดั บ จิ ต ใจของตนเองวั น ละหลายครั ้ ง ว่ า ในขณะ
ปัจจุบันนี้ หรือในนาทีนี้ ในชั่วโมงนี้ ในวันนี้ กิเลส(โลภ โกรธ หลง)เบาบางลงจากเดิม
บ้างหรือไม่. ถ้ากิเลสเบาบางลงไปบ้างแล้ว จิตใจของท่านน่าจะอยู่ที่ระดับจิตใจของ
พระสกิทาคามีได้ชั่วคราว ถ้ากิเลสยังไม่เบาบางลง ก็ให้สอนหรือตักเตือนตนเองว่า
จะละกิเลสอย่างจริงจังต่อไป
การจะเป็ น พระสกิ ท าคามี ไ ด้ น ั ้ น จะต้ อ งผ่ า นการฝึ ก ปฏิ บ ั ต ิ ธ รรมใน
ชี ว ิ ต ประจำวั น ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งและครบถ้ ว นตามสมควร จึ ง จะสามารถควบคุ ม
ความคิดให้มีความโลภและความโกรธน้อยลง
คุณสมบัติของพระอนาคามี
พระอนาคามี คือ บุคคลที่มีคุณสมบัติของพระสกิทาคามี + มีความรู้ใน
อริยสัจ ๔ มากขึ้น + สามารถละความคิดกำหนัดยินดีในกามคุณ(กามราคะหรือ
สังโยชน์ข้อที่ ๔)และละความคิดขัดเคืองใจ(ปฏิฆะหรือสังโยชน์ข้อที่ ๕)ได้ หรือละ
สังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ข้อได้ รายละเอียดของสังโยชน์ ๒ ข้อที่พระอนาคามีต้องละ
เพิ่มขึ้น มีดังนี้ :-.
๑. ความคิดกำหนัดยินดีในกามคุณ (กามราคะหรือสังโยชน์ข้อที่ ๔) คือ
การมีความคิดทะยานอยากในการเสพกามคุณต่าง ๆ (มีตัณหา) ซึ่งเกิดจากการคิด
ด้วยกิเลสด้านความโลภ เช่น การอยากเสพ(อยากรับรู้) รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ทางกาย ที่เกินความพอเหมาะพอควร จึงทำให้มีความทุกข์ที่เกิดจากความโลภ แต่ไม่
รุนแรงมากนัก การละกามราคะของพระอนาคามีนั้น เป็นการละความกำหนัดยินดีใน
ธรรมประยุกต์ ๖๓

กามคุณได้หมด จึงทำให้จิตใจไม่ดิ้นรนที่จะเสพกามคุณเช่นปุถุชน ความทุกข์จึงลดลง


ไปด้วย.เมื่อพระอนาคามีได้รับรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายที่เคยชอบ ก็อาจมี
การคิดด้วยกิเลสอย่างละเอียดด้านความโลภได้บ้าง เพราะยังมีสังโยชน์เบื้องสูง
เหลืออยู่ แต่ไม่รุนแรงมากนัก และความทุกข์ก็ไม่มากมายเหมือนปุถุชน
๒. ความคิดขัดเคืองใจ(ปฏิฆะหรือสังโยชน์ข้อที่ ๕) คือ มีความไม่พอใจที่
เกิดจากการคิดด้วยกิเลสด้านความโกรธ เช่น เมื่อได้รับรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ทางกายที่เคยไม่พอใจ ก็อาจมีการคิดด้วยกิเลสด้านความโกรธบ้าง เพราะยังมีกิเลส
เหลื อ อยู ่ จึ ง ทำให้ ม ี ค วามทุ ก ข์ ท ี ่ เ กิ ด จากความโกรธ แต่ ไ ม่ ร ุ น แรงมากนั ก .พระ
สกิทาคามีจึงเป็นบุคคลที่ยังคงมีความกำหนัดยินดีในกามคุณ (กามราคะ)และมีการ
คิดขัดเคืองใจอยู่ (ปฏิฆะ) การบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามี จึงจะเป็นผู้ที่ละความ
กำหนัดยินดีในกามคุณและความขัดเคืองใจได้หมด แต่ยังคงมีกิเลสหรือยังมีสังโยชน์
เบื้องสูงอยู่ จึงยังคงมีความทุกข์อย่างละเอียด.การฝึกรักษาจิตใจของท่านให้ตั้งอยู่ใน
ระดับพระอนาคามีอย่างต่อเนื่องก็อาจทำได้ โดยการตั้งเจตนาว่า ต่อจากนี้ไป เราจะ
มีความตั้งใจและความเพียรที่จะไม่คิดกำหนัดยินดีในกามคุณ (ละกามราคะ)และไม่คิด
ขัดเคืองใจ(ละปฏิฆะ)ตลอดไป แล้วพยายามมีสติควบคุมความคิดให้เป็นไปตามที่ได้
ตั้งเจตนาอยู่ตลอดเวลา เมื่อฝึกรักษาจิตของตนเองไปนาน ๆ เข้า สมองจะมีความ
เชี่ยวชาญในการควบคุมความคิด ไม่ให้มีการคิดกำหนัดยินดีในกามคุณ (ละกาม
ราคะ) และไม่คิดขัดเคืองใจ(ละปฏิฆะ)ได้ต่อเนื่องมากขึ้น จนสมองสามารถทำหน้าที่ได้
เองคล้ายอัตโนมัติ.ควรฝึกประเมินระดับจิตใจของตนเองว่า ในปัจจุบันนี้(หรือในนาที
นี้ ทั้งชั่วโมงนี้ ทั้งวันนี้ ) มีการคิดกำหนัดยินดีในกามคุณ (มีกามราคะ) หรือคิดขัด
เคืองใจ(มีปฏิฆะ)บ้างหรือไม่. ถ้าละสังโยชน์ดังกล่าวได้ ก็แสดงว่า จิตใจของท่านน่าจะ
ตั้งอยู่ในระดับของพระอนาคามีได้ชั่วคราวแล้ว . ถ้ายังละสังโยชน์ดังกล่าวไม่ได้ ก็ให้
สอนหรือตักเตือนตนเองว่า จะตั้งใจละสังโยชน์ดังกล่าวอย่างจริงจังต่อไป
ท่านอุคคตกุมาร บุตรเศรษฐีเมาเหล้าอยู่ ๗ วัน เมื่อหายเมาแล้วฟังธรรม
จากพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว แล้วนำไปฝึกปฏิบัติจนสามารถดับสังโยชน์เบื้องต่ำ
ได้ ห มด จึ งบรรลุ ธ รรมเป็ น พระอนาคามี 33 การที ่ ท ่ า นอุ ค คตกุ มารฟัง ธรรมจาก
พระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว แล้วสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีได้นั้น ผู้เขียน
เข้าใจว่า หลังจากจบการฟังธรรมท่านก็มีดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันซึ่งเป็น

33 ประวัติอนุพุทธสังเขป ๙๙ หน้า ๘๒ พระเทพวิสุทธิญาณ – อุบล นนทโก).


ธรรมประยุกต์ ๖๔

เรื่องธรรมดาในสมัยพุทธกาล. ต่อมา ท่านผู้นี้น่าจะมีความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ มากขึ้น


และมีการฝึกปฏิบัติธ รรมอย่า งจริ งจั ง จึงบรรลุธรรมเป็ นพระอนาคามีได้อ ย่ า ง
รวดเร็ว และเป็นเศรษฐีที่ได้รับยกย่องว่า เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย เพราะเป็นผู้
อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์(เอตทัคคะหรืออัครอุบาสก)
ตามปกติ คนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังจะไม่ฟังธรรม และท่านผู้นี้เมาสุราเพราะ
ต้องการดับความทุกข์ แต่ใช้วิธีดับความทุกข์ที่ผิดทาง ครั้นมาฟังธรรมแล้วพบ
ทางออกจากความทุกข์ที่ถูกต้อง จึงสามารถบรรลุธรรมได้โดยง่าย เช่นเดียวกับ
ท่านยสะมานพ
คุณสมบัติของพระอรหันต์
พระอรหันต์ คือ บุคคลที่สามารถดับกิเลสและกองทุกข์ได้อย่างต่อเนื่อง
โดยการละสังโยชน์34เบื้องต่ำและเบื้องสูงทั้ง๑๐ ข้อได้หมด(ละกิเลสได้หมด) จึงทำให้
จิตใจมีความบริสุทธิ์ผ่องใส เป็นอิสระจากความคิดที่เป็นกิเลส ความทะยานอยากและ
ความยึดมั่นถือมั่น เป็นผลให้เข้าถึงภาวะนิพพานในชาติปัจจุบันได้อย่างต่อเนื่อง
ภาวการณ์ดำเนินชีวิตที่จะบรรลุเป้าหมายสูงสุด
ธรรมดาสิ่งที่บงบอกถึงความประพฤติของมนุษย์ คือ จริย โดยการนำเอา
ศีล หรือกฎข้อระเบียบปฏิบัติมากประพฤติ แต่ว่าพระอริยะบุคคลคือ ภาวะผู้บรรลุ
นิพพานนั้นก็คือ ผู้ที่มีศีลสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่ขึ้นโสดาบัน35 และเจโตวิมุตติ ปัญญาวิ

34 สังโยชน์ ๑๐ เรียกว่ากิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล แบ่งเป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ และ


เบื้องสูง ๕ ดังนี้
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบเป็นไปในภพอันต่ำ
๑) สักายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒) วิจิกิจฉา ความสงสัย ลังเล
๓) สีสัพพตปรามาส ความถือมัน่ ศีลพรตโดยสักว่าทำตามๆ กัน
๔) กามราคะ ความกำหนัดในกาม
๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั้งใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง
ข. อุธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สังโยชน์เบื้องสูง เป็นไปแม้ในภพอันสูง
๖) รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน
๗) อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน
๘) มานะ ความสำคัญตน ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง ความหลง
35 เช่น องฺนวก. ๒๓/๒๑๖/๓๙๘ ; อภิ.ปุ. ๓๖/๑๐๑/๑๗๘.
ธรรมประยุกต์ ๖๕

มุติ ที่เข้าถึงนิพพานบรรลุก็เป็นภาวะที่ทำให้ความทุกศีล หรือความประพฤติเสียหาย


ไม่มีเหลือต่อไป36
ดังนั้นจึงสามารถเข้าประเด็นข้อที่ว่า พระอรหันต์ดำเนินชีวิตอย่างไรทำ
กิจกรรมหรือประกอบกิจกรรมการงานอะไรในรูปลักษณะอย่างไร
ประการแรก พระอรหันต์เป็นผู้ดับกรรม หรือสิ้นกรรม การกระทำของท่าน
ไม่ เ ป็ น กรรมอี ก ต่ อ ไป ในคั ม ภี ร ์ ฝ ่ า ยอภิ ธ รรมมี ค ำเรี ย กการกระทำของทานว่า
“กิริยา37” ที่ว่าตัดกรรมนั้นหมายถึงไม่กระทำการต่างๆโดยมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน
ครอบงำหรือชักจูงใจ แต่ทำด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ มีปัญญารู้แจ้งชัดตามเหตุผล เลิก
ทำการอย่างปุถุชน เปลี่ยนเป็นทำอย่างอริยชน หรือไม่ทำการด้วยความยึดมั่นใน
ความดี ความชั่ว ที่เกี่ยวกับตัวฉันของฉัน ผลประโยชน์ของฉัน ที่จะทำให้ฉันได้เป็น
อย่างนั้น อย่างนี้ ไม่มีความปรารถนาเพื่อตัวเองเคลือบแฝงอยู่ ไม่ว่าในรูป ที่หยาบ
หรือละเอียด แม้แต่ความภูมิพองอยู่ภายในว่านั่นเป็นความดีของฉัน หรือว่าฉันได้ทำ
ความดี เป็นต้น ทำไปตามวัตถุประสงค์ของกิจนั้นๆ ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่
ควรจะเป็นของมันล้วนๆ จึงเป็นการกระทำขึ้นที่ลอดพ้นเหนือกรรมขึ้นไปอีก ส่วน
กรรมชั่วเป็นอันไม่ต้องพูดถึงเพราะหมด โลภะ โทสะ โมสะ ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้ทำ
ความชั่วแล้ว
เหตุผลขั้นสุดท้ายที่ทำให้ผู้บรรลุ นิพพานแล้วไม่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของ
ตนเองหรือห่วงใยเรื่องของตนเอง สามารถทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นหรือบำเพ็ญกิจแห่ง
กรุณาได้เต็มที่ก็เพราะเป็นผู้ทำประโยชน์ตนเสร็จสิ้นแล้ว พระอรหันต์มีคุณบท (แสดง
คุณลักษณะ) ว่า “อนุปปัตตสทัตถะ” แปลว่า ผู้บรรลุประโยชน์ตนแล้วและกตกรณียะ
แปลว่าผู้มีกิจที่จะต้องทำอันได้กระทำแล้วคื อ ทำเรื่องของตนเองเสร็จแล้วเมื่อทำ
อัตตัตถะ(ประโยชน์ของตน) แล้วก็ไม่ต้องห่วงใยเรื่อ งของตั วสามารถทำปรั ต ถะ
(ประโยชน์ของผู้อื่น) ได้เต็มที่จะดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยปรหิต ปฏิบัติ (การปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์แห่งตนสืบไป 38 เมื่อมีความพร้อมเป็นฐานอยู่อย่างนี้แล้ว พระอรหันต์
จึงสามารถมีคุณลักษณะเป็นสรรพมิตร (เป็นมิตรกับทุกคน) สรรพสขะ(เป็นเพื่อน
กับทุกคน) และสัพพภูตานุกรรมปกะ(หวังดีต่อสรรพสัตว์)39 ได้อย่างแท้จริง

36 องฺทสก. ๒๔/๗๕/๑๔๙.
37 เช่น อภิ.สํ. ๓๔/๖๖๕/๒๖๐.
38 วินย. ๔/๓๒/๓๙; สํ.ส. ๑๕/๔๒๘/๑๕๓.
39 ขุ.เถร. ๒๖/๓๑๘/๓๖๒.
บทที่ ๕
การดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธ
ในการดำเนินชีวิตแบบฆราวาสวิสัย ธรรมะของพระพุทธองค์มีจำนวน
มากมายแต่ถ้าหากว่านำตัวอย่างการดำเนินชีวิตตามตัวอย่างพระสูตรก็จะทำผู้
ศึกษาสามารถที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและดำเนินชีวิตได้อย่างมีแบบอย่าง ใน
บทนี้เราจะศึกษาการดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธ หรือวิถีพุทธ ตามพระสูตร ๒ พระ
สูตร คือ
๑) สิงคาลกสูตร
๒) มงคลสูตร
การดำเนินชีวิตตามแนวสิงคาลกสูตร
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
ในเรื่องสิงคาลกสูตรได้กล่าวถึงการดำเนินชีวิตอย่างอริย หรือ อริย พระผู้มีพระ
ภาคประทับ ณ เวฬุวัน ( ป่าไผ่ ) ใกล้กรุงราชคฤห์ เช้าวันหนึ่งเสด็จกรุงราชคฤห์เพื่อ
บิฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคลกมาณพมี ผ้าเปียก มีผมเปียก ไหว้ทิศทั้งหกอยู่
ตรัสถาม ทราบว่าเป็นการทำตามคำสั่งของบิดา จึงตรัสว่า ในอริยวินัยไม่พึงไหว้ทิศ
แบบนี้. เมื่อมาณพกราบทูลถามว่า พึงไหว้อย่างไร สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง
แสดงหลักคำสอนที่เรียกว่า “สิงคาลกะสูตร” คือก่อนที่สิงคาลกะจะไหว้ทิศ ก็ได้ไป
อาบน้ำชำระล้างร่างกาย เตรียมตัวก่อน แล้วจึงมายืนไหว้ แต่การไหว้ทิศในอริย
วินัยก็ทำในทำนองเดียวกัน แต่จะต้องทำเป็นขั้น ๆ ไป คือ ขั้นที่ ๑ จะต้องรักษาชีวิต
ให้สะอาดซึ่งไม่ใช่อยู่ที่การอาบน้ำ ชำระล้างร่างกายใช้สบู่หอมชนิดต่าง ๆ นั่นเป็น
การชำระล้างสิ่งสกปรกโสโครกซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกูลภายใน จากฝุ่นละอองภายนอก
ทำให้ผิวกาย ร่างกาย และทวารของเราสกปรก เราสามารถใช้น้ำชำระล้างได้ แต่
ความชั่วต่าง ๆ ในร่างกายมีถึง ๑๔ อย่าง มีกรรมกิเลส ๔ อย่าง คือการกระทำให้
ชีวิตมัวหมอง เป็นการกระทำที่เสียหาย คือการดำเนินชีวิตหรือความประพฤติที่
เบียดเบียนกัน ๔ ประการ; ไม่ทำกรรมชั่วโดยฐานะ ๔ ; ไม่เสพปากทางแห่งความ
เสื่อมทรัพย์ (โภคานํ อปายมุขานิ ) ๖ ประการ ; เขาปราศจากความชั่ว ๑๔
ดังกล่าวได้แล้ว เป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกทั้งสอง คือโลกนี้
และโลกหน้า, เมื่อตายไปก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ธรรมประยุกต์ ๖๗

อะไรคือกรรมกิเลส
กิ เลส คื อ เครื ่ อ งเศร้ า หมอง กรรม คื อ การกระทำ กรรมกิ เ ลส จึ ง
หมายถึง การกระทำที่เศร้าหมอง ๔ ประการ พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่สิงคาลมนพ
ว่า ให้ละเว้นกรรมกิเลสนี้ ได้แก่
๑) ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์
๒) อทินนาทาน การลักทรัพย์
๓) กาเมสุมิจฉาจรา การประพฤติผิดในกาม
๔) มุสาวาท การพูดปด
หรือความประพฤติออกนอกทางของธรรม เรียกว่า อคติ ๔ อย่าง คือ
๑) ฉันทาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะความชอบ
๒) โทสาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะความชัง
๓) โมหาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะความเขลา
๔) ภยาคติ หมายถึง ความลำเอียงเพราะความกลัว
ฉะนั้น ชีวิตของแต่ละคนที่เป็นฆราวาสเมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะต้องมี
ความรับผิดชอบของตนเอง รับผิดชอบสังคม รับผิดชอบการงาน และในที่สุดก็เป็น
หัวหน้าครอบครัว เป็นหัวหน้าหน่วยงาน เป็นหัวหน้าชุมชน ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องรักษาคือความเป็นธรรม ให้ความเป็นธรรมแก่คนอื่นที่อยู่ในความดูแลของตน
หรือว่าให้กลุ่มคนอื่นหรือหมู่ชนนั้นด้วยความสามัคคีเราจะต้องสร้างความสงบสันติ
สุข
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงให้เว้นจากความลำเอียง ๔ อย่างนี้
คือความประพฤติผิดธรรม หรือคลาดเคลื่อนเพราะความชอบ ความชัง ความเขลา
และความกลัว แต่ให้เราตั้งมั่นอยู่ในธรรม สร้างความถูกต้องดีงามและเที่ยงธรรมให้
เกิดขึ้นรวมเป็น ๘ อย่าง
อบายมุข1 ๖
อบาย แปลว่า ความเสื่อม ความฉิบหาย มุข แปลว่า ปาก, หน้าอบายมุข
จึงแปลว่า ปากทางแห่งความเสื่อม เนื่องจากมันเป็น ปากทาง ส่วนตัวความเสื่อม
จริงๆ นั้นอยู่ ปลายทาง เมื่อมองเพียงผิวเผินเราจึงมักยังมองไม่เห็นความเสื่อม แต่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านผู้รู้ทั้งหลายมองเห็น เป็นทางแห่งความเสื่อม หรือ

1 ที.ปา.๑๑/๑๗๘-๑๘๔/๑๙๖-๑๙๘.
ธรรมประยุกต์ ๖๘

ช่องทางแห่งความหมดเปลืองของทรัพย์สินเงินทองในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ชีวิต
ของฆราวาสทั้งหลายเรื่องสำคัญก็คือ ต้องสามารถเก็บเงินเก็บทองอยู่ เก็บเป็น และ
เก็บได้ แต่ถ้ามีอบายมุขแล้ว เงินทองก็จะหมดไปได้ นอกจากความเสื่อมทรัพย์สินเงิน
ทองแล้ว ความเสื่อมทางด้านจิตใจก็ทำให้จิตใจของเราไม่อยู่ในหน้าที่การงาน ถ้าอยู่
ในวัยเรียนก็เสียการเรียน ซ้ำร้ายสุ ขภาพก็เสื่อมโทรมด้วย ฉะนั้น จึงควรเว้นใน
อบายมุข คือทางเสื่อม ๖ ประการ ดังนี้
๑. การเป็นนักเลงสุรา เป็นนักดื่ม หมกหมุ่นอยู่กับสุรายาเมา และสิ่งเสพติด
ต่าง ๆ
๒. การเป็ น นั ก เที ่ ย ว เที ่ ย วไม่ เ ป็ น เวลา เที ่ ย วเสเพล เที ่ ย วเรื ่ อ ยเปื ่ อ ย
สมัยก่อนเรียกว่า นักเที่ยวกลางคืน
๓. การเป็นนักบันเทิง หมกหมุ่นอยู่แต่ในเรื่องสนุกสนาน บันเทิงอยู่กับ
สถานที่ สถานเริงรมย์ หาแต่ความสนุกสนานอย่างเดียว มัวเมา และทิ้งการเรียน
การงาน ไม่มีเวลาหาเงินทอง และผลาญทรัพย์สมบัติที่มีอยู่
๔. การเป็นนักเลงการพนัน เป็นข้อที่ผลาญทรัพย์อย่างยิ่ง ดังโบราณ
ท่านว่า ไฟไหม้ยังดีกว่าเล่นการพนัน ไฟไหม้บ้านหมด ที่ดินก็ยังอยู่ แต่ถ้าลองเล่น
การพนันแล้ว แม้แต่ที่ดินก็หมดได้โดยไม่เหลืออะไรเลย
๕. การคบคนชั่วเป็นมิตร คือ คบนักเลงสุรา คบนักเลงการพนัน นักเที่ยว
เสเพลก็พาไปในทางที่ไม่ดี คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหา
ผล
๖. การเกียจคร้านการงาน คือ ไม่เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน ดีแต่จะนอนอยู่
สบาย พอมีงานหรือมีเรื่องที่จะต้องทำยากหน่อยก็อ้างโน่นอ้างนี่ และหลบเลี่ยง
เรื่อยไป นี่คืออบายมุข ๖
สรุป กรรมกิเลส การกระทำทำให้เศร้าหมอง มี ๑๖ ประการ ได้แก่ กรรม
กิเลส ๔ อคติ ๔ อบายมุข ๖
ธรรมประยุกต์ ๖๙

ทิศ ๖2
ทิศเบื้องหน้า : ได้แก่ บิดามารดา
บุตรพึงปฏิบัติต่อท่าน ดังนี้ บิ ด ามารดา ย่ อ มอนุ เ คราะห์ ต อบบุ ต ร
๑.ท่านได้เลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่าน ดังนี้
ตอบ ๑. ห้ามมิให้ทำความชั่ว
๒.ช่วยกิจของท่าน ๒.ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓.ดำรงวงศ์ตระกูล ๓.ให้ศึกษาศิลปะวิทยา
๔. ประพฤติตนให้เป็นผู้สมควรรับ ๔.หาภรรยาสามีที่สมควรให้
ทรัพย์มรดก ๕.มอบทรัพย์ให้ในสมัย
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศ
ให้ท่าน
ทิศเบื้องขวา : ครู อาจารย์
ศิษย์พึงปฏิบัติต่อท่าน ดังนี้ ครู อาจารย์ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ตอบ ดังนี้
๑.ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑. แนะนำดี
๒.ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้ ๒. ให้เรียนดี
๓.ด้วยเชื่อฟัง ๓. บอกศิลปะให้สิ้นเชิง
๔.ด้วยอุปัฏฐาก ๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อนฝูง
๕.ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ๕. ทำความป้องกันทิศทั้งหลาย
จะไปทิศทางไหนก็ไม่อดอยาก

ทิศเบื้องหลัง : สามี ภรรยา


สามีพึงปฏิบัติต่อภรรยาดังนี้ ภรรยาย่อมอนุเคราะห์ตอบสามี ดังนี้
๑.ด้วยการยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา ๑. จัดการงานดี
๒.ด้วยไม่ดูหมิ่น ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี
๓.ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ๓. ไม่ประพฤตินอกใจสามี
๔.ด้วยมอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้ ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้
๕.ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๕. ขยันไม่เกียจคร้านกิจการทั้งปวง

2 ที.ปา ๑๑/๑๙๘-๒๐๔/๒๐๒-๒๐๖.
ธรรมประยุกต์ ๗๐

ทิศเบื้องซ้าย : มิตรสหาย
มิตรพึงปฏิบัติต่อมิตร ดังนี้ มิตรย่อมอนุเคราะห์มิตรตอบ ดังนี้
๑. ด้วยให้ปันสิ่งของ ๑. รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว
๒. ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ ๒. รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว
๓. ด้วยประพฤติประโยชน์ ๓. เมื่อมีภัยเอาเป็นที่พึ่งพำนักได้
๔. ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ (เสมอต้น ๔. ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ (ยามฉิบหาย)
เสมอปลาย) ๕. นับถือตลอดวงศ์ของมิตร
๕. ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความ
เป็นจริง
ทิศเบื้องต่ำ : บ่าว/ลูกจ้าง
นายพึ ง ปฏิ บ ั ต ิ ต ่ อ บ่ า ว/ลู ก จ้ า งดั ง นี้ บ่าว/ลูกจ้างย่อมอนุเคราะห์ตอบนายดังนี้
๑. ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควร ๑.ลุกขึ้นทำงานก่อนนาย
แก่กำลัง ๒.เลิกการงานหลังนาย
๒. ด้วยให้อาหารและรางวัล ๓.ถือเอาแต่ของที่นายให้
๓. ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้ ๔.ทำการงานให้ดีขึ้น
๔. ด้วยแจกของมีรสแปลกๆดีๆให้กิน ๕.นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่ต่างๆ
๕. ด้วยปล่อยให้สมัย(ให้สนุกรื่นเริงเป็น
ครั้งเป็นคราวตามสมควรแก่โอกาส
ทิศเบื้องบน: สมณพราหมณ์
เราพึงปฏิบัติต่อท่าน ดังนี้ สมณพราหมณ์ ย่อมอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
๑.ด้วยกายกรรม คือ ทำอะไรๆ ๑.ห้ามมิให้กระทำชั่ว
ประกอบด้วยเมตตา ๒.ให้ตั้งอยู่ในความดี
๒.ด้วยวจีกรรม คือ ทำอะไรๆ
๓.อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม
ประกอบด้วยเมตตา
๓.ด้วยมโนกรรม คือทำอะไร ๆ ๔.ให้ได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
ประกอบด้วยเมตตา ๕.ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
๔.ด้วยเป็นผู้ไม่ปิดบังเขา คือ มิได้ ๖.บอกทางสวรรค์ให้
ห้ามไม่ให้เข้าบ้านเรือน
๕.ด้วยให้อามิสทาน (สิ่งของ)
ธรรมประยุกต์ ๗๑

การดำเนินชีวิตชาวพุทธแบบมงคล ๓๘
ที่มาของมงคลสูตร
นานมาแล้วในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติบังเกิดขึ้น ได้มี
การถกเถียงกันในชมพูทวีปว่าอะไรเป็นมงคล ต่างคนต่างก็แสดงสิ่งที่เป็นมงคลตาม
ความเห็นของตน แต่ไม่อาจตกลงกันได้ว่า อะไรแน่เป็นมงคล การถกเถียงกันมิได้
เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์เท่านั้น หากได้ลุกลามไปถึงพวกเทวดาและพรหม ในสรวงสวรรค์
ด้วย ถึงกระนั้นก็ยังหาข้อยุติไม่ได้จวบจนเวลาล่วงไป ๑๒ ปี สมเด็จพระผู้ มีพระ
ภาคเจ้ า คื อ พระพุ ท ธเจ้ า ของเราพระองค์ น ี ้ เ สด็ จ อุ บ ั ต ิ ข ึ ้ น ในโลก พวกเทวดาใน
ดาวดึงส์เทวโลกจึงได้พากันเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะเทวราช(พระอินทร์)ผู้เป็นพระราชาใน
ภพดาวดึงส์ทูลถามถึงมงคล ท้าวสักกะตรัสถามว่าท่านทั้งหลายได้ทูลถามเรื่องนี้กับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหรือยัง เมื่อทรงทราบว่ายัง จึงได้ทรงตำหนิว่าพวกท่านได้
ล่วงเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสดงมงคลแล้วกลับมาถามเรา เป็นเหมือนทิ้งไฟ
เสีย แล้วมาถือเอาไฟที่ก้นหิ้งห้อย ตรัสแล้วชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเช
ตวัน ใกล้กรุงสาวัตถีในแคว้นโกศล ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรท้าวสักกะ
ทรงมอบหมายให้เทวดาองค์หนึ่งเป็นผู้ทูลถามเรื่องนี้
ในเวลานั้นเทพเจ้าในหมื่นจักรวาล เนรมิตกายให้ละเอียดมาแออัดประชุม
กัน เพื่อมงคลปัญหาในที่นั้นด้วย จนพระเชตวันสว่างไสวไปทั่วด้วยรัศมีกายของ
เทวดาเหล่านั้น ถึงกระนั้นก็มิอาจบดบังพระรัศมีซึ่ งเปล่งออกจากพระกายของ
พระพุทธเจ้าได้ เทวดาองค์ที่ได้รับมอบหมายให้ทูลถามมงคลปัญหา กับพระพุทธเจ้า
ได้ทูลถามปัญหา แก่พระองค์ พระพุทธเจ้าว่า "เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก
หวังอยู่ซึ่งความสวัสดี ได้พากันคิดสิ่งที่เป็นมงคล(แต่ไม่อาจคิดได้)ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกอุดมมงคล3" ตามลำดับดังนี้
มงคล คื อ เหตุ แ ห่ ง ความสุ ข ความก้ า วหน้ า ในการดำเนิ น ชี ว ิ ต ซึ่ ง
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่
พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความ
เจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ในปัญหาแห่งมงคลที่เหล่าเทวดาสงสัย เป็นเพราะความที่
โลกมนุษย์ได้เกิดการโต้เถียงถึงสิ่งที่เป็นมงคล เพราะสิ่งที่เป็นมงคลจะเป็นสิ่งที่จะชีวิต

3 .พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ข้อ ๕-๖


ธรรมประยุกต์ ๗๒

ให้มนุษย์ดีขึ้นเป็นมงคล เหตุนั้นมงคลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่เทวดาจึงเป็น วิถีการ


ที่มนุษย์นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอันจะก่อให้เกิดความสวัสดีมงคลแก่ตนผู้ปฏิบัติ ซึ่ง
มี ๓๘4 ประการโดยได้แบ่ง เป็น หมู่คาถา เป็น ๑๐ หมู่คาถา ดังนี้
คาถาหมู่ที่ ๑ ทำความเห็นให้ถูกต้อง มี ๓ มงคล คือ
๑) อะเสวะนา จะ พาลานัง การไม่คบคนพาล เหตุผลที่ไม่ควรคบคนพาล
คือ คบคนพลานแล้วจะนำพาไปสู่ในทางที่ชั่วร้าย ดังกล่าวโทษของการคบคนพาล
ดังนี้
โทษของการคบคนพาล
๑.ย่อมถูกชักนำไปในทางที่ผิด
๒. ย่อมเกิดความหายนะ การงานล้มเหลว
๓. ย่อมถูกมองในแง่ร้าย ไม่ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลทั่วไป
๔. ย่อมอึดอัดใจ เพราะคนพาลแม้เราพูดดีๆ ด้วยก็โกรธ
๕. หมู่คณะย่อมแตกความสามัคคี เพราะการยุยงและไม่ยอมรับรู้
ระเบียบวินัย
๖. ภัยอันตรายต่างๆ ย่อมไหลเข้ามาหาตัว๗.เมื่อละโลกแล้ว ย่อมมี
อบายภูมิเป็นที่ไป
ลักษณะของคนพาล
๑.ชอบคิ ด ชั ่ ว เป็ น ปกติ ได้ แ ก่ คิ ด ละโมบอยากได้ ใ นทางทุ จ ริ ต คิ ด
พยาบาทปองร้าย คิดเห็นผิดเป็นชอบ ฯลฯ
๒.ชอบพูดชั่วเป็นปกติ ได้แก่ พูดปด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียดยุยง
พูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ
๓.ชอบทำชั่วเป็นปกติ ได้แก่ เกะกะเกเร กินเหล้าเมายา ชอบล้างผลาญ
ชีวิตคนและสัตว์ ลักทรัพย์ ฉุดคร่าอนาจาร ฯลฯ
๒) ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา การคบบัณฑิต (คือ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย) เหตุผลที่
ควรคนที่เป็นบัณฑิตเพราะว่าทำให้ผู้คบหาได้รับอานิสงส์หรือประโยชน์ ดังนี้
๑. ทำให้มีจิตใจผ่องใส สามารถทำความดีตามไปด้วย
๒.ทำให้ได้ปัญญาเพิ่มขึ้น เป็นคนหนักแน่น มีเหตุผล
๓. ทำให้มีความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ
๔.ทำให้ไม่ต้องเศร้าโศกเดือดร้อนเพราะทำผิด
4 ขุ.ขุ.๒๕/๕/๓;ขุ.สุ.๒๕/๓๑๗/๓๗๖.
ธรรมประยุกต์ ๗๓

๕.ทำให้เป็นที่ยกย่องสรรเสริญของคนทั่วไป
๖.ทำให้มีความสุข ปลอดภัยจากอุปสรรคภัยพาลต่างๆ
๗.ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า สามารถตั้งตัวได้เร็ว
๘.ทำให้แม้ละโลกนี้ไปแล้ว ก็ไปสู่สุคติโลกสวรรค์
๙. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย
๓) ปูชา จะ ปูชะนียานัง บูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นอุดมมงคล คำว่าบูชานั้น
หมายถึงการแสดงความเคารพนับถือ ก็การบูชานั้นมี ๒ อย่างคือ
อามิสบูชา การบูชาด้วยอามิสคือ สิ่งของเครื่องล่อใจ มีเงินทอง ดอกไม้
ของหอม เป็นต้น
ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีการเข้าถึงไตรสรณคมน์
รักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีลอุโบสถ เจริญสมถะและวิปัสสนา การศึกษาพระธรรมวินัย
เป็นต้น
การบูชานั้นเราบูชาบุคคล ๑ บูชาคุณงามความดี ๑ในการบูชาบุคคลนั้น
ท่านแบ่งบุคคลออกเป็น ๓ พวก คือ บุคคลที่สูงด้วยชาติ (ชาติวุฒิ) คือมีกำเนิด
สูง เช่น พระราชา พระราชินี พระโอรส พระธิดา เป็นต้น ๑ บูชาบุคคลที่สูงด้วย
วัย (วัยวุฒ)ิ คือผู้ที่เกิดก่อนเรา เช่น ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ เป็นต้น ๑ บูชาบุคคลที่
สูงด้วยคุณ (คุณวุฒิ) มีครู อาจารย์ ภิกษุ สามเณร พระอริยเจ้าทั้งหลาย พระ
ปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในบุคคล ๓ จำพวกนี้เราสามารถจะบูชาท่าน
ได้ ท ั ้ งอามิ ส บู ช าและปฏิ บ ั ต ิ บ ู ช าส่ ว นการบู ช าคุ ณ งามความดี น ั ้ น หมายถึ งบู ช า
คุณธรรมมีศีล เป็นต้น โดยไม่คำนึงบุคคลที่ประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านั้น มีภิกษุ
สามเณร เป็นต้น ว่าเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ หรือสกุลสูง อายุน้อยหรือมาก ท่าน
เหล่านั้นสมควรที่เราจะให้ความนับถือบูชาทั้งสิ้น ผู้ที่บูชาบุคคลที่ควรบูชาจึงเป็น
อุดมมงคลประการหนึ่ง
คาถา หมู่ที่ ๒ มองปัจจัยพื้นฐาน มี ๓ มงคลคือ
๔) ปะฏิ ร ู ป ะเทสะวาโส จะ การอยู ่ ใ นประเทศ(ถิ ่ น )ที ่ ส มควร การอยู ่ ใ น
ประเทศที่สมควรเป็นอุดมมงคล คืออยู่ในถิ่นที่สมควร ประเทศที่สมควรนั้น คือ
ประเทศที่เป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อุบาสกและอุบาสิกาของ
พระพุทธเจ้า ผู้ที่อยู่ในประเทศที่สมควรเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุดมมงคล เพราะเป็นถิ่นที่
ให้ บ ุ ญ กิ ร ิ ยาวั ต ถุ ๑๐ ประการ มี ท านเป็ น ต้ น กั บ เป็ น เหตุ ใ ห้ ไ ด้ อ นุ ต ตริ ยะ ๖
ประการมีทัสสนานุตตริยะ การเห็นที่ยอดเยี่ยม เป็นต้น ผู้ที่อยู่ในประเทศที่สมควร
ธรรมประยุกต์ ๗๔

เช่นนี้ จึงเป็นอุดมมงคล เพราะสามารถที่จะบำเพ็ญบุญกุศลให้สมบูรณ์ จนถึง


มรรคผลนิพพานได้
ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่าง ได้แก่
๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไป
มาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น
๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมี
แหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น
๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีค นดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยที
ถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น
๔.ธรรมเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรม มีที่ฟังธรรมเช่น มี
วัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น
๕) ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา การได้กระทำบุญไว้แล้วในปางก่อน การได้
กระทำบุญไว้แล้วปางก่อน ก็จัดเป็นมงคลอีกประการหนึ่ง เพราะผู้ที่จะบำเพ็ญกุศล
ให้สมบูรณ์ได้นั้นต้องอาศัยความที่ตนได้เคยทำบุญไว้ในอดีตชาติ มาช่วยส่งเสริม
สนับสนุนทั้งสิ้น โดยเฉพาะผู้ที่จะได้บรรลุคุณวิ เศษเป็นพระอริยบุคคลในชาตินี้นั้น
ยิ่งต้องอาศัยบุญ คือ การอบรมเจริญภาวนาในชาติก่อนๆ มาเป็นปัจจัยสนับสนุน
ทั้งสิ้น ขาดบุญในอดีตแล้วไม่อาจสำเร็จได้เลย แม้พระพุทธเจ้ากว่าที่จะได้สำเร็จ
เป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็ต้องอาศัยบุญบารมีที่สร้างสมมานานถึง ๔ อสงไขยแสนกัป
มาเป็นเครื่องสนับสนุนจึงสำเร็จ การกระทำบุญไว้แล้วในปางก่อนจึงเป็นอุดมมงคล
ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ
๑. ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้
๒. นำมาซึ่งความสุข
๓. ติดตามไปได้ หมายถึงบุญจะติดตัวเราไปได้ตลอดจนถึงชาติหน้า
๔. เป็นของเฉพาะตน หมายถึงขอยืม หรือแบ่งกันไม่ได้ ทำเองได้
เอง
๕. เป็นที่มาของโภคทรัพย์ทั้งหลาย คือว่าผลของบุญจะบันดาลให้
เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้หวังผล
๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่เราได้
หมายถึงความ สมบูรณ์ตั้งแต่ทางโลก จนถึงนิพพานได้เลย
๗. เป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งนิพพาน ก็คือเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้
ธรรมประยุกต์ ๗๕

บรรลุถึงนิพพานได้เร็วขึ้นเมื่อปฏิบัติ
๘. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสังสาร หมายถึงในวงจรการเกิด แก่
เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิดนั้น บุญจะคุ้มครองให้
ผู้นั้นเกิดในที่ดี อยู่อย่างมีความสุข หรือตายอย่างไม่ทรมาน
ขึ้นอยู่กับกำลังบุญที่สร้างสมมา
การทำบุญนั้นมีหลายวิธีแต่พอสรุปได้สั้นๆดังนี้คือ
๑.การทำทาน5
๒.การรักษาศีล
๓.การเจริญภาวนา
๖) อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ การตั้งตนไว้ชอบ การตั้งตนไว้ชอบ ก็เป็นอุดม
มงคล ผู้ที่ปรารถนาความดีงาม และความสำเร็จในชาตินี้และชาติหน้า มีการเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์ และบรรลุมรรค ผล นิพพาน ย่อมตั้งตนไว้ชอบ ประกอบแต่
สุจริตธรรม สัมมาปฏิบัติ มีศรัทธาเลื่อมใส เจริญทาน ศีล ภาวนา อยู่เป็นนิตย์
เพราะฉะนั้นผู้ที่ตั้งตนไว้ชอบ ก็คือผู้ที่ตั้งตนอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายนั่นเอง การตั้ง
ตนไว้ชอบจึงเป็นอุดมมงคลเพราะเป็นเหตุให้พ้นอบาย และสำเร็จมรรค ผล นิพพาน
ดังเรื่องของโจรห้าร้อย ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เที่ยวโจรกรรม
ดักปล้นชาวบ้านเลี้ยงชีวิต ต่อมาชนทั้งหลายเป็นอันมากรวมตัวกันจะจับโจร พวก
โจรก็หนีเข้าป่าไป เมื่อเข้าไปในป่าได้พบภิกษุรูปหนึ่ง จึงเข้าไปนมัสการวิงวอนขอให้
ท่านช่วย ภิกษุรูปนั้นก็บอกให้รักษาศีล เพราะศีลเป็นที่พึ่งอันประเสริฐในโลกหน้า
โจรทั้งหมดก็พากันยินดีรับศีลจากภิกษุรูปนั้น แล้วพากันลาไป ชาวบ้านทั้งหลาย
ติดตามมาทัน จึงช่วยกันฆ่า โจรตายหมด ด้วยอานิสงส์แห่งศีลที่พวกโจรรักษา
ตายแล้วได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานทองงดงาม มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็น
บริวาร ได้เสร็จสุขอยู่ในวิมานนั้น นี่ก็เพราะการตั้งตนไว้ในศีล ในเวลาใกล้ตาย
การตั้งตนไว้ชอบ จึงเป็นอุดมมงคลอย่างนี้
คาถาหมู่ที่ ๓ รู้งานดีมีวินัย มี ๔ มงคลคือ
๗)พาหุสัจจัญจะ การสดับตรับฟังมาก การได้สดับตรับฟังมาก เป็นอุดม
มงคล ผู้ที่สดับตรับฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีพระสูตรเป็นต้น เล่าเรียน
ศึกษาพระธรรมวินัย ทรงจำไว้ได้ ชื่อว่าเป็น พหูสูต หรือ พาหุสัจจะ ผู้ที่มีพาหุ
สัจจะมากย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละสิ่งที่มีโทษ เจริญสิ่งที่ไม่มีโทษ ทำให้แจ้ง
5 บุญกิริยาวัตถุ ๓ ; ที.ปา ๑๑/๒๒๘/๒๓๐; องฺอฎฺฐก.๒๓/๑๒๖/๒๔๕; ข.อิติ.๒๕/๒๓๘/๒๗๐.
ธรรมประยุกต์ ๗๖

ปรมัตถสัจจะ ได้ในที่สุดด้วยปัญญา แม้การฟังเรื่องราวที่ไม่มีโทษของชาวโลก ก็


จั ด ว่ า เป็ น มงคลเช่ น กั น เพราะเป็ น ประโยชน์ เ กื ้ อ กู ล ทั ้ ง โลกนี ้ แ ละโลกหน้ า
ในสมัยพุทธกาล พระอานนท์ได้ชื่อว่าเป็นผู้สดับตรับฟังมากที่สุด ทั้งทรง
จำไว้ได้ทั้งหมด ท่านจึงเป็นกำลังสำคัญในการทำสังคายนาครั้งแรก ที่มีท่านพระ
มหากั ส สปเป็ น ประธาน หากขาดท่ า นพระอานนท์ เ สี ย แล้ ว พระธรรมวิ น ั ยที่
พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ คงจะไม่สมบูรณ์มาจนถึงปั จจุบัน ให้เราผู้เป็นอนุชนคน
รุ่นหลังได้ศึกษา และปฏิบัติตามเป็นแน่ ด้วยเหตุนี้พาหุสัจจะ การสดับตรับฟังมา
จึงเป็นอุดมมงคลอีกประการหนึ่งคือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมี
ลักษณะดังนี้คือ
๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ อย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุ
มีผลรู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ
๒.รู้รอบคือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆรอบตัวเช่นเหตุการณ์แวดล้อม
เป็นต้น
๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กัน
เป็นต้น
๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น
ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติ ดังว่านี้คือ
๑. ความตั้งใจฟังก็คือชอบฟังชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้า
เป็นต้น
๒. ความตั้งใจจำก็คือรู้จักวิธีจำโดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ
และจับใจความให้ได้
๓. ความตั้งใจท่องก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติไม่ลืมในสิ่งที่เป็น
สาระสำคัญ
๔. ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณาตรึกตรองในสิ่ง
นั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง
๕. ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่า
ถ่องแท้ด้วยปัญญา
๘) สิปปัญฺจะ การศึกษาศิลปะ การศึกษาศิลปะเป็นอุดมมงคล ผู้ที่มีศิลปะ
คือผู้ที่มีฝีมือไม่ว่าจะมีฝีมือในการเป็นช่างเงิน ช่างทอง เป็นช่างตัดเย็บจีวรเป็นต้น
ชื่อว่าอุดมมงคล ขึ้นชื่อว่าศิลปะไม่ว่าจะเป็นของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต หากเป็นศิลปะ
ธรรมประยุกต์ ๗๗

ที่ไม่มีโทษแล้ว ชื่อว่าเป็นอุดมมงคลทั้งสิ้น เพราะนำความสุขความเจริญมาให้ ทั้ง


โลกนี้และโลกหน้า ทั้งเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองและผู้อื่นด้วยศิลปะ คือสิ่งที่
แสดงออกถึงความงดงามและมีความสุนทรีย์โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ
๑.มีความปราณีตทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น
๒.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
๓.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ
๔.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท
๕.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน
ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ
๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ
๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา
๓.มีความปราณีตอารมณ์ละเอียดอ่อน
๔.เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค์
๙)วินะโย จะ สุสิกขิโต วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ความเป็นผู้มีวินัย เป็นอุดมมงคล
คำว่าวินัยนั้นแปลว่านำออก คือนำโทษทางกาย ทางวาจา ทางใจออกไป ด้วยเหตุ
นี้ผู้ที่ประพฤติสุจริตกรรม เว้นทุจริตกรรม จึงชื่อว่ามีวินัย เพราะนำโทษที่เป็น
ทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ออกไปวินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฎเกณฑ์
เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป สำหรับ
ของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี
๑๐ อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้
๑.ปาฏิโมกขสังวร6 คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิด
ศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้น
ปาราชิกสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต เป็นต้น
๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้
อยู่กับร่องกับรอย โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น
๓.อาชีวะปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นั่นก็คือ
การออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดม
สมบูรณ์ของตัวเอง

6 วิสุทธิ.๑/๘; ปฏิส.ํ อ.๑๖; วิภงฺค.อ.๔๒๙.


ธรรมประยุกต์ ๗๘

๔.ปัจจะยะปัจจะเวกขะณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึง
คุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่านั้นอย่างแท้จริง โดยใช้ เพื่อบริโภค เพื่อ
ประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น
วิ น ั ย สำหรั บ ฆราวาส หรื อ บุ ค คลทั ่ ว ไป เรี ย กว่ า อาคาริ ย วิ น ั ย มี ด ั ง นี้
(อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)
๑.ไม่ฆ่าชีวิตคนหรือสัตว์ไม่ว่าน้อยใหญ่
๒.ไม่ลักทรัพย์ยักยอกเงินสิ่งของมาเป็นของตัว
๓.ไม่ประพฤติผิดในกามผิดลูกผิดเมียข่มขืนกระทำชำเรา
๔.ไม่พูดโกหกหลอกลวงให้หลงเชื่อหรือชวนเชื่อ
๕.ไม่พูดส่อเสียดนินทาว่าร้ายยุยงให้คนแตกแยกกัน
๖.ไม่พูดจาหยาบคายให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น
๗) ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เหตุผล หรือ
ประโยชน์อันใด
๘)ไม่โลภอยากได้ของเขาคือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา
๙)ไม่คิดร้ายผูกใจเจ็บแค้นปองร้ายคนอื่น
๑๐)ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่
มีจริงเป็นต้น
๑๐. สุ ภ าสิ ต า จะ ยา วาจา วาจาสุ ภ าษิ ต วาจาสุ ภ าษิ ตเป็ นอุดมมงคล
วาจาสุภาษิตคือวาจาที่กล่าวดีแล้ว เป็นวาจาที่เป็นไม่มีโทษ ประกอบด้วยธรรม
เป็นวาจาที่เป็นที่รัก เป็นวาจาจริงไม่เท็จ ไม่ส่อเสียด ไม่เหลวไหล เพ้อเจ้อ
แม้วาจาที่แสดงธรรมแก่ผู้อื่นด้วยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง ก็ชื่อว่าเป็นวาจา
สุภาษิต เพราะเป็นปัจจัยให้ผู้ฟังได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อีกทั้งยังอาจ
ให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน อีกโสดหนึ่งด้วยคำว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตในที่นี้มิได้
หมายถึงเพียงว่าต้องเป็นคำร้อยกรอง ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้ง
เท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ซึ่งสรุปว่าประกอบด้วยลักษณะดังนี้
๑.ต้องเป็นคำจริง คือข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่ได้ปั้นแต่ง
ขึ้นมาพูด
๒.ต้องเป็นคำสุภาพ คือพูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ ไม่
มีคำ หยาบโลนหรือคำด่า
ธรรมประยุกต์ ๗๙

๓.พูดแล้วมีประโยชน์ คือมีประโยชน์ต่อผู้ฟังถ้าหากนำแนวทางไปคิด หรือ


ปฏิบัติในทางสร้างสรรค์
๔.พูดด้วยจิตที่มีเมตตา คือพูดด้วยจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง มี
ความจริงใจต่อผู้ฟัง
๕.พูดได้ถูกกาลเทศะ คือพูดในสถานที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม โดย
ความเหมาะสมจะมีมากน้อยเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่พูด
คาถาหมู่ที่ ๔ ทำให้ครอบครัวอบอุ่น มี ๔ มงคลคือ
๑๑) มาตาปิตุอุปัฏฐานัง การบำรุงมารดาบิดา ท่านว่าพ่อแม่นั้นเปรียบได้
เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก ความหมายโดย
ละเอียดมีดังต่อไปนี้คือ ที่ว่าเป็นครูของลูก เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก
เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง
คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี
ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้าน ที่ว่าเป็นพรหมของลูก เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร
๔ นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้าน ไม่มีที่
สิ้นสุด มีกรุณา หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก ให้
การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา หมายถึงความรักที่
ยอมสละได้ แ ม้ ช ี ว ิ ต ของตั ว เองเพื ่ อ ลู ก ยอมเสี ย สละได้ ท ุ ก อย่ า ง และมี อ ุ เ บกขา
หมายถึงการวางเฉย ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้
เดียงสา หรือเพราะความไม่รู้ ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก เพราะว่าท่านมีคุณธรรม ๔
ประการอันได้แก่
๑.เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก
กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
๒.เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจาก
ภยันตรายต่างๆ นานา
๓.เป็นเนื้อนาบุญของลูก คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้
และเป็นผู้รับผลบุญที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง
๔.เป็นอาหุไนยบุคคล คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับ
ของบูชา เพื่อเทอดทูลไว้เป็นแบบอย่าง
ธรรมประยุกต์ ๘๐

การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่านสามารถทำได้ดังนี้
ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็น
ธุ ร ะเรื ่ อ งการงานให้ ท ่ า น ดำรงวงศ์ ต ระกู ล ให้ ส ื บ ไปไม่ท ำเรื ่ องเสื ่ อ มเสี ย รวมทั้ ง
ประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็
ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า
ท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้
๑.ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมี
ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องการทำดี
๒.ถ้ า ท่ า นยั งไม่ ม ี ศ ี ล ให้ ท ่ า นถึ ง พร้ อ มด้ ว ยศี ล คื อ พยายามให้ ท ่ า นเป็น
ผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้
๓.ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน คือพยายามให้
ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน
๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือพยายามให้
ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้
๑๒) ปุตฺตะ สังคะโห การสงเคราะห์บุตรและภรรยาบุตร บุตรมาจากคำ
ว่า ปุตฺต แปลว่า ลูก มีความหมาย ๒ ประการคือ
๑.ผู้ทำสกุลให้บริสุทธิ์
๒.ผู้ยังหทัยของพ่อแม่ให้เต็มอิ่ม
ประเภทของบุตร ประเภทของบุตรแบ่งโดยความดีในตัว ได้เป็น ๓ ชั้น
ดังนี้
๑. อภิชาตบุตร7 คือ บุตรที่ดีมีคุณธรรมสูงกว่าบิดามารดา เป็นบุตร
ชั้นสูง สร้างความเจริญให้แก่วงศ์ตระกูล
๒. อนุชาตบุตร คือ บุตรที่มีคุณธรรมเสมอบิดามารดา เป็นบุตรชั้น
กลาง ไม่สร้างความเจริญให้แก่วงศ์ตระกูล แต่ก็ไม่ทำให้เสื่อมลง
๓. อวชาตบุตร คือ บุตรที่เลวมีคุณธรรมต่ำกว่าพ่อแม่ เป็นบุตรชั้นต่ำ
นำความเสื่อมเสียมาสู่วงศ์ตระกูล การที่เราเป็นพ่อเป็นแม่ของบุตรนั้นมีหน้าที่ที่ต้อง
ให้กับลูกของเราคือ
๑. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
๒. ปลูกฝังสนับสนุนให้ทำความดี
7 ขุ.อิติ.๒๕/๒๕๒/๒๗๘.
ธรรมประยุกต์ ๘๑

๓. ให้การศึกษาหาความรู้
๔. ให้ได้คู่ครองที่ดี(ใช้ประสบการณ์ของเราให้คำปรึกษาแก่ลูก
ช่วยดูให้)
๕. มอบทรัพย์ให้ในโอกาสอันควร (การทำพินัยกรรม ก็ถือว่า
เป็นสิ่งถูกต้อง)
๑๓ ทารัสสะ สังคะโห สงเคราะห์ สามีภรรยา ความหมายของสามี –
ภรรยา สามี แปลว่า ผู้เลี้ยง, ผัว ภรรยา แปลว่า คนควรเลี้ยง, เมีย
คำทั้งสองนี้ เป็นคำที่แฝงความหมายอยู่ ในตัว และเป็นคำคู่กัน ผู้ชายที่ได้ชื่อว่า สามี
ก็เพราะเลี้ยงดูภรรยา ผู้หญิงที่ได้ชื่อว่า ภรรยาก็เพราะทำตัวเป็นคนน่าเลี้ยงเมื่อว่า
ด้วยเรื่องคนที่จะมาเป็นคู่ครองของชาย หรือที่เรียกว่าจะมาเป็นภรรยานั้น ในโลกนี้
ท่านแบ่งลักษณะของภรรยา8 ๗ ประเภทได้แก่
๑. วธกาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพชรฆาต เป็นพวกที่มีจิตใจคิดไม่
ดี ชอบทำร้ายชอบด่าทอสาปแช่งคิดฆ่าสามีหรือมีชู้กับชายอื่น
๒.โจรีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยโจร เป็นคนล้างผลาญ สร้างหนี้สิน
หาได้เท่าไรก็ไม่พอ หรือเอาเรื่องในบ้านไปโพทนาให้คนข้างนอกรับรู้ ทำให้เสื่อมเสีย
ชื่อเสียง
๓.อัยยาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยนาย เป็นคนชอบข่มสามีให้อยู่ใน
อำนาจ ไม่ให้เกียรติสามีเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น ชอบสั่งการหรือเอาแต่ใจตัวเอง เห็นสามี
เป็นคนไร้ความสามารถแต่ตัวเองเป็นผู้นำ
๔.มาตาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยแม่ คือผู้ที่มีความรักต่อสามี อย่าง
สุดซึ้ง ไม่เคยทอดทิ้งแม้ยามทุกข์ยากป่วยไข้ไม่ทำให้มีเรื่องสะเทือนใจ
๕.ภคินีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือผู้ที่มีความเคารพต่อ
สามีในฐานะพ่อบ้าน แต่ขัดใจกันบ้างตามประสาคนใกล้ชิดกันแล้วก็ให้อภัยกัน โดยไม่
คิดพยาบาทเดินตามแนวทางของสามีต้องพึ่งพาสามี
๖.สขี ภ ริ ย า หมายถึ ง ภรรยาเสมอด้ ว ยเพื ่ อ น ต่ า งคนต่ า งก็ ม ี อ ะไรที่
เหมือนกัน ความสามารถพอกัน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากัน ไม่ค่อยยอมกัน เป็นตัวของ
ตัวเอง แต่ก็รักกันและช่วยเหลือกันโดยต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง

8 องฺสตฺตก. ๒๓/๖๐/๙๒; ชา.อ.๔/๙๒.


ธรรมประยุกต์ ๘๒

๗. ทาสีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยคนรับใช้ คือภรรยาที่อยู่ภายใต้


คำสั่งสามีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง สามีเป็นผู้เลี้ยงดู สั่งอะไรก็ทำอย่างนั้น แม้จะไม่เห็นด้วยก็
ไม่ออกความเห็น อดทนทำงานตามหน้าที่ตามแต่สามีจะสั่งการ แม้ถูกดุด่า เฆี่ยนตีก็
ยังทนอยู่ได้โดยไม่โต้ตอบ ท่านว่าคนที่จะมาเป็นสามี ภรรยาได้ดีหรือคู่สร้างคู่สมนั้น
ควรต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.สมสัทธาคือมีศรัทธาเสมอกัน
๒.สมสีลาคือมีศีลเสมอกัน
๓.สมจาคะคือมีการเสียสละเหมือนกัน
๔.สมปัญญา คือมีปัญญาเสมอกัน
เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ที่ต้องทำดังนี้ สามีมีหน้าที่ต่อ
ภรรยาคือ
๑)ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา คือการแนะนำเปิดเผยว่าเป็นภรรยา ไม่
ปิดบังกับผู้อื่นและให้เกียรติภรรยาในการตัดสินใจเรื่องต่างๆด้วย
๒)ไม่ดูหมิ่น คือไม่ดูถูกภรรยาเมื่อทำไม่เป็น ทำไม่ถูก หรือเรื่องชาติตระกูล
การศึกษาว่าต่ำต้อยกว่าตนแต่ต้องสอนให้
๓)ไมประพฤตินอกใจภรรยา คือการไปมีเมียน้อยนอกบ้าน เลี้ยงต้อย หรือ
เที่ยวเตร่หาความสำราญกับหญิงบริการ
๔)มอบความเป็ น ใหญ่ ให้ ในบ้ า น คื อ การมอบธุ ร ะทางบ้ า นให้ก ับ ภรรยา
จัดการ รับฟังและทำตามความเห็นของภรรยาเกี่ยวกับบ้าน
๕)ให้ เครื ่ องแต่ งตั ว คื อ ให้ ความสุ ขกับ ภรรยาเรื ่ องการแต่ ง ตั วให้พอดี
เพราะสตรีเป็นผู้รักสวยรักงามโดยธรรมชาติ
ฝ่ายภรรยาก็มีหน้าที่ต้องตอบแทนสามี คือ
๑.จั ด การงานดี คื อ งานบ้ า นการเรือ นต้อ งไม่ บกพร่อ ง ดู แ ลด้ า นความ
สะอาด ทำนุบำรุงรักษาด้านโภชนาการให้เรียบร้อยดี
๒.สงเคราะห์ญาติสามีดี คือให้ความเอื้อเฟื้อญาติฝ่ายสามี เท่าที่ตนมีกำลัง
พอทำได้ไม่ได้หมายถึงเรื่องทรัพย์สินเงินทองอย่างเดียว
๓.ไม่ประพฤตินอกใจสามี คือไม่คบชู้ หรือปันใจให้ชายอื่น ซื่อสัตย์ต่อสามี
คนเดียว
ธรรมประยุกต์ ๘๓

๔.รักษาทรัพย์ให้อย่างดี คือรู้จักรักษาทรัพย์สินไว้ไม่ให้หมดไปด้วยความ
สิ้นเปลือง แต่ก็ไม่ถึงกับตระหนี่
๕.ขยันทำงาน คือไม่เกียจคร้านเอาแต่ออกงาน นอน กิน หรือเที่ยวแต่อย่าง
เดียว ต้องทำงานบ้านด้วย
๑๔) อะนากุลา จะ กัมมันตา การงานไม่อากูลคั่งค้าง ว่าด้วยสาเหตุที่ทำ
ให้งานคั่งค้างนั้นสรุปสาเหตุได้เพราะว่า
๑)ทำงานไม่ถูกกาล
๒)ทำงานไม่ถูกวิธี
๓)ไม่ยอมทำงาน
หลักการทำงานให้เสร็จลุล่วงมีดังนี้.
๑)ฉันทะคือมีความพอใจในงานที่ทำ
๒)วิริยะคือมีความตั้งใจพากเพียรในงานที่ทำ
๓)จิตตะคือมีความเอาใจใส่ในงานที่ทำ
๔) วิมังสา คือมีการคิดพิจารณาทบทวนงานนั้นๆ
คาถาหมู่ที่ ๕ เกื้อหนุนต่อสังคม มี ๔ มงคลคือ
๑๕) ทานัญจะ การให้ทาน แปลว่า การให้ หมายถึงการสละสิ่งของ ของตน
เพื ่ อ ให้ ป ระโยชน์ แ ก่ ผ ู ้ อ ื ่ น ด้ ว ยความเต็ ม ใจการให้ ท าน เป็ น พื ้ น ฐานความดี ข อง
มนุษยชาติ และ เป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้ในการจรรโลงสันติสุข พ่อแม่ถ้าไม่ให้ทาน คือไม่
เลี้ยงดูเรามา เราเองก็ตายเสียตั้งแต่เกิดแล้ว สามีภรรยา หาทรัพย์มาได้ ไม่ปันกันใช้
ก็บ้านแตก ครู อาจารย์ ถ้าไม่ให้ทาน คือ ไม่สั่งสอนถ่ายทอดวิชา ความรู้แก่เรา เราก็
โง่ดักดาน คนเรา ถ้าโกรธแล้ว ไม่ให้อภัยทานกัน โลกนี้ ก็เป็นกลียุค
การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจาก
ทุกข์ แบ่งออกเป็น ๓ อย่างได้แก่
๑) อามิสทาน คือการให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน
๒) ธรรมทาน คือการสอนให้ธรรมเป็นความรู้เป็นทาน
๓) อภัยทาน คือการให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือ
พยาบาทกัน การให้ทานที่ถือว่าเป็นความดี และได้บุญมากนั้นจะประกอบด้วยปัจจัย
๓ ประการอันได้แก่
๑) วัตถุบริสุทธิ์ คือเป็นของที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ได้ไปยักยอกมา โกงมา
ธรรมประยุกต์ ๘๔

หรือได้มาด้วยวิธีแยบยล
๒) เจตนาบริสุทธิ์ คือมีจิตยินดี ผ่องใสเบิกบาน ไม่รู้สึกเสียดายสิ่งที่ให้
ตั้งแต่ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้
๓) บุคคลบริสุทธิ์ คือให้กับผู้รับที่มีศีลธรรม ตัวผู้ให้เองก็ต้องมีศีลที่
บริสุทธิ์ การให้ทานที่ถือว่าไม่ดี และยังอาจเป็นบาปกรรมถึงเรา
ทางอ้อมอีกด้วยได้แก่
๑. ให้สุรา ยาเสพย์ติด เป็นต้น (ถ้าเขาเมาแล้วขับรถชนตาย เราก็มี
ส่วนบาปด้วย)
๒. ให้อาวุธ (ถ้าอาวุธนั้นถูกเอาไปใช้ประหัตประหาร บาปก็มาถึงเรา
ด้วย)
๓. ให้มหรสพ คือการบันเทิงทุกรูปแบบ
๔. ให้สัตว์เพศตรงข้ามเพื่อผสมพันธุ์ อันนี้รวมถึงการจัดหาสาวๆ ไป
บำเรอผู้มีอำนาจหรือผู้น้อยด้วยเป็นต้น
๕. ให้ภาพลามก หรือสิ่งพิมพ์ลามก เพราะทำให้เกิดความกำหนัด เกิด
กามกำเริบ (เมื่อดูแล้วเกิดไปฉุดคร่า ข่มขืนใคร บาปก็ตกทอดมาถึง
เราด้วย)
๑๖)ธัมมะจะริยา การประพฤติธรรมการประพฤติธรรม คือ การประพฤติ
ตนให้อยู่ใน กรอบของความถูกต้องและความดีทั้งปรับ ปรุงพฤติกรรมของตนให้ดี
สมกับที่เกิดเป็นคน และ ให้มีความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียงการประพฤติธรรม ก็คือการ
ปฏิบัติให้เป็นไป แบ่งออกได้เป็น ๒ อันได้แก่
กายสุจริต คือ
๑.การไม่ฆ่าสัตว์ หมายรวมหมดตั้งแต่สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ และมนุษย์
๒.การไม่ ล ั ก ทรั พ ย์ หมายรวมถึ ง การคอรั ป ชั ่ น ไปหลอกลวง ปล้ น จี้
ชาวบ้านด้วย
๓.การไม่ประพฤติผิดในกาม หมายรวมถึงการคบชู้ นอกใจภรรยา และการ
ข่มขืนด้วย
วจีสุจริต คือ
๑. การไม่พูดเท็จคือการพูดแต่ความจริงไม่หลอกลวง
๒. การไม่พูดคำหยาบ คือคำที่ฟังแล้วไม่รื่นหู เกิดความรู้สึกไม่สบายใจรวม
หมด
ธรรมประยุกต์ ๘๕

๓. การไม่พูดจาส่อเสียดการนินทาว่าร้าย
๔. การไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล คือการพูดที่ไม่เป็นสาระ หาประโยชน์อันใด
มิได้
มโนสุจริต คือ
๑.การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น คือการนึกอยากได้ของเขามาเป็นของเรา
๒.การไม่ ค ิ ด พยาบาทปองร้ า ยผู ้ อ ื ่ น คื อ การนึ ก อยากให้ ค นอื ่ น ประสพ
เคราะห์กรรม คิดจะทำร้ายผู้อื่น
๓.การเห็นชอบ คือมีความเชื่อความเข้าใจในความเป็นจริง ความถูกต้อง
ตามหลักคำสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา
๑๗) ญาตะกานั ญ จะ สั ง คะโห การสงเคราะห์ญ าติ ญาติ แปลว่ า คน
คุ้นเคย คนใกล้ชิด หมายถึงบุคคล ที่คุ้นเคยและวางใจกันได้ มี ๒ ประเภทได้แก่
๑) ญาติทางโลก แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ
ก.ญาติโดยสายโลหิต เช่น ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พี่ น้อง
หลาน เหลน ฯลฯ (สำหรับพ่อแม่ ลูก ภรรยา สามี ถือว่าเป็นคนใกล้ชิดเรามากที่สุด
ขอให้กันไว้ต่างหาก เพราะเรามีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้ต่างกันออกไป)
ข.ญาติโดยความใกล้ชิดคุ้นเคย เช่น เป็นเพื่อนสนิทสนมกับเราโดยตรง
หรือสนิทสนมกับญาติทางสายโลหิตของเรา
๒) ญาติทางธรรม หมายถึงผู้เป็นญาติเพราะเหตุ ๔ ประการ คือ
ก. เป็นญาติเพราะบวชให้เป็นภิกษุ
ข. เป็นญาติเพราะบวชให้เป็นสามเณร
ค. เป็นญาติเพราะให้มีนิสัย
ง. เป็นญาติเพราะสอนธรรมได้
ลักษณะของญาติที่ควรให้การสงเคราะห์ เมื่ออยู่ในฐานะดังนี้คือ
๑.เมื่อยากจนหาที่พึ่งมิได้
๒.เมื่อขาดทุนทรัพย์ในการค้าขาย
๓.เมื่อขาดยานพาหนะ
๔.เมื่อขาดอุปกรณ์ทำมาหากิน
๕.เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
ธรรมประยุกต์ ๘๖

๖.เมื่อคราวมีธุระการงาน
๗.เมื่อคราวถูกใส่ความหรือมีคดี
การสงเคราะห์ญาติ ทำได้ทั้งทางธรรมและทางโลกได้แก่
ในทางธรรม ก็ช่วยแนะนำให้ทำบุญกุศล ให้รักษาศีล และทำสมาธิภาวนา
ในทางโลก ก็ได้แก่
๑. ให้ทาน คือการสงเคราะห์เป็นทรัพย์สิน หรือเงินทองเพื่อให้เขาพ้น
จากทุกข์หรือความลำบากตามแต่กำลัง
๒. ใช้ปิยวาจา คือการพูดเจรจาด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน สุภาพ และ
ประกอบไปด้วยความปรารถนาดี
๓.มี อ ั ต ถจริ ย า คื อ การประพฤติ ต นให้ เ ป็ น ประโยชน์ ก ั บ เขา อาจ
ช่วยเหลือด้วยแรงกายกำลังใจหรือด้วยความสามารถที่มี
๔. รู้จักสมานัตตตา9 คือการวางตัวให้เหมาะสม อย่างเสมอต้นเสมอ
ปลาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ถือตัว
๑๘) อะนะวัชชานิ กัมมานิ การกระทำการงานที่ไม่มีโทษ งานไม่มีโทษ
หมายถึง งานที่ไม่มีตำหนิ ดี พร้อม ยุติธรรม ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่เบียดเบียนใคร แต่
เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและผู้อื่นงานที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
๑.ไม่ผิดกฎหมาย คือทำให้ถูกต้องตามกฎหมายของบ้านเมือง
๒.ไม่ผิดประเพณี คือแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดำเนินตาม
๓.ไม่ผิดศีล คือข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล ๕
๔.ไม่ผิดธรรม คือหลักธรรมทั้งหลายอาทิเช่น การพนัน การหลอกลวง
ส่วนอาชีพต้องห้ามสำหรับพุทธศาสนิกชนได้แก่
๑.การค้าอาวุธ
๒.การค้ามนุษย์
๓.การค้ายาพิษ

9 ทั้ง ๔ ข้อ รวมเรียกว่า สังคหวัตถุ ๔.


ธรรมประยุกต์ ๘๗

๔.การค้ายาเสพย์ติด
๕.การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า
คาถาหมู่ที่ ๖ ปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐาน มี ๓ มงคลคือ
๑๙) อาระตี วีระตี ปาปา การงดการเว้นจากบาป คำ ว่าบาป จึงหมายถึง
ความเสียของจิตนั่นเอง คือการ ที่ใจมีคุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสียในแง่ไหนก็เรียกว่า
บาปทั้งสิ้นบาปคือสิ่งที่ไม่ดี เสีย ความชั่วที่ติดตัว ซึ่งไม่ควรทำ ท่านว่าสิ่งที่ทำแล้วถือ
ว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ
๑. ฆ่าสัตว์ ๒. ลักทรัพย์
๓. ประพฤติผิดในกาม ๔. พูดเท็จ
๕. พูดส่อเสียด ๖. พูดคำหยาบ
๗. พูดเพ้อเจ้อ ๘. โลภอยากได้ของเขา
๙. คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น ๑๐. เห็นผิดเป็นชอบ
๒๐) มั ช ชะปานา จะ สั ญ ญะโม การสำรวมจากน้ ำเมาน้ ำ เมา โดยทั ่ วไป
หมายถึงเหล้า แต่ในที่ นี้หมายถึง ของมึนเมาให้โทษทุกชนิด ไม่ว่า จะเป็นน้ำหรือแห้ง
รวมทั้งสิ่งเสพติดทุกชนิด
ดื่ม ในที่นี้หมายถึงการทำให้ซึม ซาบเข้าไปในร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี ดื่ม
ดม อัด นัตถุ์ สูบ ฉีด ก็ตาม
สำรวม หมายถึง ระมัดระวัง หรือ เว้น ขาด มีโทษอันได้แก่
๑. ทำให้ เสี ยทรั พ ย์ เพราะต้ อ งนำเงิ น ไปซื ้ อ หา ทั ้ ง ๆ ที ่ เ งิ น จำนวน
เดียวกันนี้ สามารถนำเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า
๒. ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึง
แก่ชีวิต และคดีความ เพราะน้ำเมาทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ
๓. ทำให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอน
สุขภาพกายจนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน
๔. ทำให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทำเรื่องไม่ดีเข้าเช่นไปลวนลามสตรี
ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทำให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสื่อมเสีย
๕. ทำให้ลืมตัวไม่รู้จักอาย คนเมาทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำสิ่งที่คนมีสติจะไม่
ทำ เช่นแก้ผ้าเดิน หรือนอนในที่สาธารณะเป็นต้น
๖. ทอนกำลังปัญญา ทานแล้วทำให้เซลล์สมองเริ่มเสื่อมลง ก็จะทำให้
สุขภาพและปัญญาเสื่อมถอย ความสามารถโดยรวมก็ด้อยลง
ธรรมประยุกต์ ๘๘

๒๑) อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ความไม่


ประมาท คือ การมีสติกำกับตัวอยู่ เสมอ ไม่ว่าจะคิดจะพูด จะทำสิ่งใด ๆ ไม่ยอมถลำ
ลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสใน การทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้อง
ทำ ถึง กรรมที่ต้องเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่าง
จริงจัง และดำเนิน รุดหน้าตลอดเวลาคนที่ประมาทในธรรมนั้นมีลักษณะที่สรุปได้
ดังนี้คือ
๑. ไม่ทำเหตุดี แต่จะเอาผลดี
๒. ทำตัวเลว แต่จะเอาผลดี
๓. ทำย่อหย่อน แต่จะเอาผลมาก
สิ่งที่ไม่ควรประมาทได้แก่
๑. การประมาทในเวลา คือการปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปโดยไม่ทำอะไร
ให้เกิดประโยชน์ หรือผลัดวันประกันพรุ่งเป็นต้น
๒. การประมาทในวัย คือคิดว่าอายุยัง น้อย ไม่ต้องทำความเพียรก็ได้
เพราะยังต้องมีชีวิตอยู่อีกนานเป็นต้น
๓. การประมาทในความไม่มีโรค คือคิดว่าตัวเองแข็งแรงไม่ตายง่ายๆ
ก็ปล่อยปละละเลยเป็นต้น
๔. การประมาทในชีวิต คือการไม่กำหนดวางแผนถึงอนาคต คิดอยู่แต่
ว่ายังมีชีวิตอยู่อีกนานเป็นต้น
๕. การประมาทในการงาน คือไม่ขยันตั้งใจทำให้สำเร็จ ปล่อยตามเรื่อง
ตามราว หรือปล่อยให้ดินพอกหางหมูเป็นต้น
๖. การประมาทในการศึกษา คือการไม่คิดศึกษาเล่าเรียนในวัยที่ควร
เรียน หรือขาดความเอาใจใส่ที่เพียงพอ
๗. การประมาทในการปฏิบัติธรรม คือการไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนา หรือ
ศึกษาหลักธรรมให้ถ่องแท้ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเป็นต้น
คาถา หมู่ที่ ๗ ปฏิบัติธรรมขั้นต้น มี ๕ มงคลคือ
๒๒) คาระโว จะ ความเคารพ หมายถึ ง ความตระหนั กซาบซึ้งถึงคุณ
ความดีที่มีอยู่จริงของบุคคลอื่น ยอมรับนับ ถือความดีของเขาด้วยใจจริง แล้วแสดง
ความนับถือต่อผู้นั้นด้วยการแสดงความอ่อนน้อม อ่อนโยน อย่างเหมาะสมทั้งต่อ
ธรรมประยุกต์ ๘๙

หน้าและลับหลัง วัตถุทั้งหลายในโลก ต่างก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัวของมัน ถ้าใครทราบ


คุ ณ สมบั ต ิ เ หล่ า นั ้ น ตามความเป็ น จริ ง ก็ ส ามารถนำไปใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ ม าก เช่ น
นักวิทยาศาสตร์ รู้คุณสมบัติของแม่เหล็ก ก็นำไปใช้ผลิตกระแส ไฟฟ้าได้ รู้คุณสมบัติ
ของแร่เรเดียม ก็นำไปใช้รักษา โรคมะเร็งได้ แต่การที่จะรู้คุณสมบัติตามความ เป็น
จริงของสิ่งต่าง ๆ นั้นทำได้ยากมาก เป็นวิสัยของ นักปราชญ์ ของผู้มีปัญญาเท่านั้น
ท่านได้กล่าวว่าสิ่งที่ควรเคารพมีอยู่ดังนี้
๑.พระพุทธเจ้า
๒.พระธรรม
๓.พระสงฆ์
๔.การศึกษา
๕.ความไม่ประมาท คือการดำเนินตามหลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนา
อื่นๆ ด้วยความเคารพ
๖.การสนทนาปราศรั ย คือการต้อนรับอาคันตุกะผู ้มาเยื อนด้ว ยความ
เคารพ
๒๓)นิวาโต จะ การอ่อนน้อมถ่อมตน ความถ่อมตนมาจากภาษาบาลีว่า "นิ
วาโต" วาโต แปลว่า ลม พองลม นิ แปลว่า ไม่ นิวาโต แปลว่า ไม่พองลม เอาลม
ออกแล้ว คือ เอามานะทิฐิออก มีความสงบเสงี่ยม เจียมตน ไม่เบ่ง ไม่ทะนงตน ไม่มี
ความมานะถือตัว ไม่อวดดื้อถือดี ไม่ยโสโอหัง ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร ไม่กระด้าง ไม่
เย่อหยิ่ง จองหอง ท่านว่าไว้ว่าโทษของการอวดดีนั้นมีอยู่ดังนี้คือ
๑.ทำให้เสียคน คือไม่สามารถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้เหมือนเดิม
เสียอนาคต
๒.ทำให้เสียมิตรคือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วยถึงจะมีก็ไม่ใช่เพื่อนแท้
๓.ทำให้เสียหมู่คณะ คือถ้าต่างคนต่างถือดี ก็ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ ในที่สุดก็ไม่
ถึงจุดหมาย หรือทำให้เป็นที่เบื่อหน่ายของคนอื่น
การทำตัวให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นมีหลักดังนี้ คือ
๑. ต้องคบกัลยาณมิตร คือเพื่อนที่ดีมีศีลมีธรรม คอยตักเตือนหรือชัก
นำไปในทางที่ดีที่ถูกที่ควร
๒.ต้องรู้จักคิดไตร่ตรอง คือ การรู้จักคิดหาเหตุผลอยู่ตลอดถึงความ
เป็นไปในธรรมชาติของมนุษย์ ต่างคนย่อมต่างจิตต่างใจ และรวมทั้งหลักธรรมอื่นๆ
ธรรมประยุกต์ ๙๐

๓.ต้องมีความสามัคคี คือการมีความสามัคคีในหมู่คณะ อลุ่มอล่วยใน


หลักการ ตักเตือน รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ท่านว่าลักษณะของคนถ่อมตนนั้นมีดังนี้
๑.มีกิริยาที่นอบน้อม
๒. มีวาจาที่อ่อนหวาน
๓. มีจิตใจที่อ่อนโยน
สรุปแล้วก็คือ สมบูรณ์พร้อมด้วยกาย วาจา และใจนั่นเอง
๒๔) สันตุฏฐี จะ ความสันโดษ สันโดษ มากจากภาษาบาลีว่า สันโตสะ สัน
แปลว่า ตน โตสะ แปลว่า ยินดี สันโดษจึงแปลว่า ยินดี ชอบใจ พอใจ อิ่ม ใจ สุขใจ
กับของของตน ความหมายโดยย่อคือ ให้รู้ จักพอ รู้จักประมาณ รู้จักพอเพียง
ความยินดี ความสุขใจ ความพอใจ ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ที่จัดว่าเป็นสันโดษ ต้องมี
ลักษณะ ๓ อย่างดังต่อไปนี้ คือ
๑) ยถาลาภสันโดษ หมายถึงความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็
พอใจเท่านั้น เป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะพอใจไม่คิดน้อยเนื้อต่ำใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่
๒) ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกำลัง เรามีกำลังแค่ไหนก็
พอใจเท่านั้น ตั้งแต่กำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังบารมี หรือกำลังความสามารถ
เป็นต้น
๓) ยถาสารูปสันโดษ หมายถึงความยินดีตามควร ซึ่งโยงใยไปถึงความ
พอเหมาะพอควรในหลายๆเรื่อง เช่นรูปลักษณ์ของตนเอง และรวมทั้งฐานะที่เรา
เป็นอยู่
๒๕) กะตั ญ ญุ ต า ความกตั ญ ญู ร ู ้ค ุ ณ ความกตั ญ ญู คื อ ความรู ้คุณ
หมายถึงความเป็นผู้ มีใจกระจ่าง มีสติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ ผู้อื่นกระทำ
แล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม น้อยก็ ตาม เช่น เลี้ยงดู
สั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึง ด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุป
การคุณนั้นเลย อีกนัยหนึ่ง ความกตัญญู หมายถึง ความรู้บุญ หรือรู้ อุปการระของ
บุญที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าตนเองพ้นจากอันตรายทั้งหลายได้ดีมีสุขอยู่ ในปัจจุบัน ก็
เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ ในอดีตส่งผลให้ จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้น เลย และ
สร้างสมบุญใหม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป รวมความ กตัญญู จึงหมายถึง การรู้จักบุญคุณ
อะไร ก็ตามที่เป็นบุญ หรือมีคุณ ต่อตนแล้วก็ตาม ระลึก นึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่
ธรรมประยุกต์ ๙๑

ลืมเลย คนมีกตัญญู ถึงแม้จะนัยน์ตาบอดมืดทั้งสองข้าง แต่ใจ ของเขาใสกระจ่างยิ่ง


กว่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวม กันเสียอีก
๑. กตัญญูต่อบุคคล บุคคลที่ควรกตัญญูก็คือ ใครก็ตามที่มีบุญคุณควร
ระลึกถึงและตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์ เป็นต้น
๒. กตัญญูต่อสัตว์ ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทำงานให้เรา เราก็ควร
เลี้ยงดูให้ดีเช่นช้าง ม้า วัว ควาย หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้าน เป็นต้น
๓. กตัญญูต่อสิ่งของ ได้แก่สิ่งของทุกอย่างที่มีคุณต่อเราเช่น หนังสือที่ให้
ความรู้แก่เรา อุปกรณ์ทำมาหากินต่างๆ เราไม่ควรทิ้งคว้าง หรือทำลายโดยไม่เห็น
คุณค่า
๒๖. กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง การฟังธรรมตามกาล ฟังธรรมตามกาล คือ
การขวนขวายหาเวลา ไปฟังธรรมคำสั่งสอนจากผู้ มีธรรม เพื่อยกระดับจิตใจและ
สติปัญญาให้สูงขึ้นโดยเมื่อ ฟังธรรมแล้ว ก็น้อมเอาคุณธรรมเหล้านั้นมาเป็น กระจก
สะท้อนดูตนเองว่า มีคุณธรรมนั้นหรือ ไม่ จะปรับปรุงคุณธรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น
ไปได้อย่างไรเมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสำคัญต่างๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้ าง
เพื่อสดับตรับฟัง สิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเรา เพื่อ
ปรับปรุงให้ดีขึ้น ท่านว่าเวลาที่ควรไปฟังธรรมนั้นมีดังนี้คือ
๑.วันธรรมสวนะ ก็คือวันพระ หรือวันที่สำคัญทางศาสนา
๒.เมื่อมีผู้มาแสดงธรรม ก็อย่างเช่น การฟังธรรมตามวิทยุ การที่มีพระมา
แสดงธรรมตามสถานที่ต่างๆ หรือการอ่านจากสื่อต่างๆ
๓.เมื่อมีโอกาสอันสมควร อาทิเช่นในวันอาทิตย์เมื่อมีเวลาว่าง หรือในงาน
มงคล งานบวช งานกฐิน งานวัดเป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดีควรต้องมีดังนี้คือ
๑. ไม่ดูแคลนในหัวข้อธรรมว่าง่ายเกินไป
๒. ไม่ดูแคลนในความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม
๓. ไม่ดูแคลนในตัวเองว่าโง่ ไม่สามารถเข้าใจได้
๔. มีความตั้งใจในการฟังธรรม และนำไปพิจารณา
๕. นำเอาธรรมนั้นๆไปปฏิบัติให้เกิดผล
คาถาหมู่ที่ ๘ ปฏิบัติธรรมขั้นกลาง มี ๔ มงคลคือ
๒๗. ขันตี จะ ความอดทน ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง
การรักษาปกติภาวะของตนไว้ ได้ ไม่ว่าจะถูก กระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที ่ พึ ง
ธรรมประยุกต์ ๙๒

ปรารถนาหรือ ไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่น เหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่


หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเท อะไรลงไป ของเสีย ของหอม ของสกปรก หรือของดีงาม ก็
ตาม ท่านว่าลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้คือ
๑.ความอดทนต่ อ ความลำบาก คื อ ความลำบากที ่ ต ้ อ งประสบตาม
ธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมเป็นต้น
๒.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง เช่น
ความไม่สบายกายเป็นต้น
๓.ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือการที่คนอื่นทำให้เราต้องผิดหวัง หรือ
พูดจาให้เจ็บช้ำใจไม่เป็นอย่างที่หวังเป็นต้น
๔.ความอดทนต่ออำนาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจ
และทางกายอาทิเช่น ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ต่ออำนาจเงิน
เป็นต้น
วิธีทำให้มีความอดทนคือ มีหิริโอตัปปะ10
๑.หิริ ได้แก่การมีความละอายต่อบาป การที่รู้ว่าเป็นบาปแล้วยังทำอีกก็ถือ
ว่าไม่มีความละอายเลย เมื่อรู้ว่าเป็นบาป แม้จะกระทับต่อหน้าลับหลังแม้สิ่งที่จะกระทำ
ลงไปจะไม่มีใครเห็น แต่ก็ละอาย อย่างน้อยก็คือการละอายต่อตนเองว่าจะทำบาป
๒.โอตัปปะ ได้แก่การมีความเกรงกลัวในผลของบาปนั้นๆ
๒๘) โสวะจัสสะตา ความเป็นผู้ว่าง่าย คนว่าง่ายสอนง่าย คือ คนที่อดทน
ต่อคำสั่ง สอนได้ เมื่อมีผู้รู้แนะนำพร่ำสอนให้ ตักเตือน ให้โดยชอบธรรมแล้ว ย่อม
ปฏิบัติตามคำสอนนั้น โดย มีความเคารพอ่อนน้อม ไม่คัดค้าน ไม่โต้ตอบ ไม่แก้ตัว
โดยประการใด ๆ ทั้งสิ้นท่านว่าผู้ว่าง่ายนั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ
๑.ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน คือการรับฟังด้วยดี
ไม่ใช่แก้ตัวแล้วปิดประตูความคิดไม่รับฟัง
๒.ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน คือการนำคำตักเตือนนั้นมาพิจารณาและ
แก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ

10 เรียกว่า ธรรมคุม้ ครองโลก ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย.


ธรรมประยุกต์ ๙๓

๓.ไม่ จ ั บ ผิด ผู้ ว่ ากล่า วสั ่ ง สอน คื อ การที่ ผ ู้ สอนอาจจะมี ความผิดพลาด


เนื่องจากความประมาท เราควรให้อภัยต่อผู้สอน เพราะการจับผิดทำให้ผู้สอนต้อง
อับอายขายหน้าได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม
๔. เคารพต่อคำสอนและผู้สอน คือการรู้จักสัมมาคารวะต่อผู้ทำให้คำสอน
และเคารพในสิ่งที่ผู้สอนได้นำมาแนะนำ
๕. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน คือไม่แสดงความยะโส ถือตัวว่าอยู่เหนือผู้อื่น
เพราะสิ่งที่ตัวเองเป็นตัวเองมี
๖. มีความยินดีต่อคำสอนนั้น คือยอมรับในคำสอนนั้นๆ ด้วยความยินดี
เช่น การไม่แสดงความเบื่อหน่ายเพราะเคยฟังมาแล้ว เป็นต้น
๗. ไม่ดื้อรั้น คือการไม่อวดดี คิดว่าของตัวเองนั้นผิดแต่ก็ยังดันทุรังทำ
ต่อไปเพราะกลัวเสียชื่อ เสียฟอร์ม
๘. ไม่ขัดแย้ง เพราะว่าการว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนนั้นก็คือ สิ่งที่ตรง
ข้ามกับที่เราทำอยู่แล้ว เราควรต้องเปิดใจให้กว้างไม่ขัดแย้งต่อคำสอน คำวิจารณ์
นั้นๆ
๙. ยินดีให้ตักเตือนได้ทุกเวลา คือการยินดีให้มีการแสดงความคิดเห็ น
ตักเตือนได้โดยไม่มีข้อยกเว้นเรื่องเวลา
๑๐.มีความอดทนต่อการเป็นผู้ถูกสั่งสอน คือการไม่เอาความขัดแย้งใน
ความเห็นเป็นอารมณ์ แต่ให้เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของผู้สอนนั้น
การทำให้เป็นคนว่าง่ายนั้นทำได้ดังนี้
๑. ลดมานะของตัว คือการไม่ถือดี ไม่ถือตัว ความไม่สำคัญตัวเองว่า
เป็นอย่างโน้นอย่างนี้ อาทิเช่นถือตัวว่าการศึกษาดีกว่าเป็นต้น
๒. ละอุปาทาน คือการไม่ยึดถือในสิ่งที่เรามี เราเป็น หรือถือมั่นใน
อำนาจกิเลสต่างๆ
๓. มีสัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาที่เห็นชอบ การเห็นถูกเห็นควรตามหลัก
อริยสัจ ๔ เชื่อเรื่องความไม่เที่ยง เชื่อในเรื่องบุญเรื่องบาปเป็นต้น
๒๙. สะมะณานั ญ จะ ทั ส สะนั ง การเห็ น สมณะสมณะ แปลว่ า คนสงบ
หมายถึงพระภิกษุที่ได้ บำเพ็ญสมณธรรม ฝึกฝนตนด้วยศีล ธรรม ปัญญามาแล้ว
อย่าง เต็มที่จนกระทั่งมีกาย วาจา ใจสงบแล้วจากบาป
๑.ต้องสงบกาย คือมีความสำรวมในการกระทำทุกอย่าง รวมถึงกิริยา
มรรยาท ตามหลักศีลธรรม
ธรรมประยุกต์ ๙๔

๒.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความ


สุภาพสงบเสงี่ยมในคำพูดและภาษาที่ใช้ เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี
๓.ต้องสงบใจ คือการทำใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ ไม่ว่าจะเป็น
โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใดๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา
การได้เห็นสมณะมีอยู่ ดังนี้คือ
๑.เห็นด้วยตา ความหมายก็ตรงตัวคือการเห็นจากการสัมผัสด้วย
สายตาของตนเอง แล้วมีความประทับใจในความสำรวมในกาย
๒.เห็นด้วยใจ เนื่องจากความสำรวมกาย วาจา ใจของสมณะจะช่วย
โน้มน้าวจิตใจของเราให้โอนอ่อนผ่อนตาม และรับฟังหลักคำสอนด้วยใจที่ยินดี ซึ่งนั่น
ก็หมายถึงการเปิดใจเราให้สมณะได้ชี้นำนั่นเอง
๓.เห็นด้วยปัญญา หมายความถึงการรู้โดยการใช้ปัญญาใคร่ครวญ
พิจารณาในการสัมผัส และเข้าถึงและรับรู้ถึงคำสอนของสมณะผู้นั้น และรู้ว่าท่านเป็น
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอย่างแท้จริง
เมื่อเห็นแล้วก็ต้องทำอย่างนี้คือ
๑.ต้องเข้าไปหา คือ เข้าไปขอคำแนะนำ ชี้แนะจากท่าน หรือให้ความ
เคารพท่าน
๒.ต้องเข้าไปบำรุงช่วยเหลือ คือการช่วยเหลือท่านในโอกาสอันควร
เพื่อแบ่งเบาภาระของท่าน
๓.ต้องเข้าไปฟัง คือการรับฟังคุณธรรม หลักคำสอนของท่านมาไว้เป็น
แนวทางในการแก้ไขปัญหาชีวิต
๔.หมั่นระลึกถึงท่าน คือการระลึกถึงความดีที่ท่านมีแ ล้ วนำมาเป็ น
ตัวอย่างกับตัวเราเอง
๕.รับฟังรับปฏิบัติ คือการรับคำแนะนำของท่านมาปฏิบัติทำตามเพื่อให้
เกิดผล ครั้นเมื่อติดขัดก็ใคร่แก้ไขเพื่อให้รู้จริงเห็นจริงตามนั้น
๓๐) กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา การสนทนาธรรมตามกาล การสนทนาธรรม
ตามกาล คื อ การพู ด คุ ยซั ก ถามธรรมซึ ่ ง กั น และกั น ระหว่ า งคน ๒ คนขึ ้ น ไป มี
วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดปัญญาโดยรู้จักเลือกและ แบ่งเวลาให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้
ได้รับความ เบิกบานใจ มีความสุขความเจริญและบุญกุ ศล ไปในตัวด้วยการได้
สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ใน
ธรรมประยุกต์ ๙๕

สิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็ นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย


ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
๑. ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
๒. ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
๓. ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
๔. ต้องพูดด้วยความเมตตา
๕. ต้องไม่พูดจาโอ้อวด ยกตนข่มท่าน
ข้อปฏิบัติเมื่อมีการสนทนาธรรม
๑. มีศีลธรรม คือการเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นนิจศีลอยู่แล้ว
การเป็นผู้ปฏิบัติถือเป็นหน้าที่ขั้นต้นในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
๒. มีสมาธิดี คือการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่วอกแวก
พร้อมทั้งเป็นผู้ที่หมั่นเจริญสมาธิภาวนาด้วย
๓. แต่งการสุภาพ คือการแต่งตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัย อยู่ในกรอบ
ประเพณีของสังคมแวดล้อม ณ ที่นั้นๆ ถูกกาลเทศะ
๔. มีกิริยาสุภาพ คือมีความสุภาพในท่วงท่าไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน หรือ
การกระทำใดๆ การที่มีกิริยางดงาม สุภาพย่อมโน้มน้าวจิตใจผู้พบเห็นให้เกิดความ
ประทับใจที่ดี
๕. ใช้วาจาสุภาพ คือการใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสนทนา ไม่ใช้คำ
หยาบคาย หรือก้าวร้าว
๖. ไม่ ก ล่ า วค้ า นพุ ท ธพจน์ คื อ การไม่ น ำเอาคำสั ่ ง สอนของ
พระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสงสัย หรือกล่าวค้าน เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในพระพุทธพจน์ย่อม
เป็นความจริงตลอดกาล
๗. ไม่ออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ คือการพูดให้อยู่ในหัวข้อที่ตั้งไว้ ไม่พูด
แบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
๘. ไม่พูดนานจนน่าเบื่อ คือการเลือกเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์
เนื่องจากเรื่องบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องขยายความมากเกินไป
คาถาหมู่ที่ ๙ ปฏิบัติธรรมขั้นสูง (ดับกิเลส) มี ๔ มงคลคือ
๓๑) ตะโป จะ ความเพียรเผากิเลส ตบะ โดยความหมายแปลว่า ทำให้ร้อน
ไม่ว่าด้วยวิธีใด การบำเพ็ญตบะหมายความถึงการทำให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่างๆ
หมดไป หรือเบาบางลง ลักษณะการบำเพ็ญตบะมีดังนี้
ธรรมประยุกต์ ๙๖

๑. การมีใจสำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ (อายตนะภายใน ๖ อย่าง) ได้แก่ ตา


หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้หลง ติดอยู่กับสัมผัสภายนอกมากเกินไป ไม่ให้กิเลส
ครอบงำใจเวลาที่รับรู้อารมณ์ผ่านอินทรีย์ทั้ง ๖ (อินทรีย์สังวร11)
๒.การประพฤติรักษาพรหมจรรย์ เว้นจากการร่วมประเวณี หรือกาม
กิจทั้งปวง
๓.การปฏิบัติธรรม คือการรู้และเข้า ใจในหลักธรรมเช่นอริยสัจ เป็นต้น
ปฏิบัติตนให้อยู่ในศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และปัญญา โดยมีจุดหมายสูงสุดที่พระ
นิพพาน กำจัดกิเลส ละวางทุกสิ่งได้หมดสิ้นด้วยปัญญา
๓๒) พฺรหมะจริยัญจะ การประพฤติพรหมจรรย์ การประพฤติพรหมจรรย์
แปลว่ า การประพฤติ ต ั ว เองอย่ า งพระพรหม หรื อ ความประพฤติ อ ั น ประเสริ ฐ
หมายถึงการประพฤติตนตามคุณธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดในศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น
เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสฟูกลับขึ้นมาอีกจนกระทั่งหมดกิเลสซึ่งต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ
ตามภูมิชั้นของจิตคำว่ าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การ
ครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ท่านว่าลักษณะของ
ธรรมที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่
ดังนี้คือ
๑.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา
๒.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย)
๓.รักษาศีล ๕ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ทำผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่
ดื่มน้ำเมา (เบญจศีล)
๔.มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขากับคนที่เราต้องพบปะด้วยทุกคน
(อัปปมัญญา)
๕.งดเว้นจากการเสพกาม12 (เมถุนวิรัติ)
๖.ยินดีในคู่ของตน คือการมีสามีหรือภรรยาคนเดียว (สทารสันโดษ)
๗.เพียรพยายามที่จะละความชั่ว ไม่ท้อถอยในความบากบั่น (วิริยะ)
๘.รักษาซึ่งศีล ๘ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ร่วมประเวณี ไม่พูดปด
ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่บริโภคอาหารตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ไม่ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลง

11 องฺปญฺจก.๒๒/๑๑๔/๑๕๖.
12 ข้อ ๕ ที่บอกว่าให้งดเว้นการเสพกาม แต่ข้อ ๖ ให้ยินดีในคู่ของตนนัน้ เพราะว่าการประพฤติพรหมจรรย์ในที่นี้หมายถึง
บุคคลทั่วไปที่อาจมีครอบครัวแล้ว ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้โดยการงดเว้นการร่วมประเวณี เช่นในวันสำคัญๆเป็นต้น..
ธรรมประยุกต์ ๙๗

ดนตรี ดูการละเล่น ใช้ของหอมหรือ เครื่อ งประดับ ไม่นอนบนที่สูงใหญ่ หรูหรา


(อุโบสถ)
๙.ใช้ปัญญาเห็นแจ้งใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อริยธรรม)
๑๐.ศึกษาปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริง (สิกขา)
๓๓)อะริยสัจจานะทัสสะนัง การเห็นอริยสัจ อริยสัจจ์ สามารถแปลได้หลาย
ความหมาย เช่น คือ ความจริงอันประเสริฐ หรือ ความจริงอันทำให้บุคคลผู้เห็น
เป็นผู้ประเสริฐ
อริยสัจ13 ๔ คือ ความจริงที่มีอยู่รู่โลกแต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ทั้งรู้และเห็นแล้วทรงชี้ให้เราดู ได้แก่
๑. ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจต่าง ๆ
๒. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ สภาพที่ทุกข์หมดไป
๔. มรรค คือ วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์
๓๔) นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ การทำนิพพานให้แจ้ง นิพพาน14 มีคำแปลได้
หลายแบบ เช่น แปลว่า ความดับ คือ ดับกิเลส ดับทุกข์ หรือ แปลว่า ความพ้น คือ
พ้นทุกข์ พ้นจากภพสาม
นิพพาน โดยความหมาย หมายได้ ๒ นัยยะใหญ่ ๆ คือ
๑) หมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสแล้ว
๒) หมายถึง สถานที่ที่ผู้หมดกิเลสแล้ว ไปเสวยสุขอันเป็นอมตะอยู่ ณ
ที่นั้น ๆ
นิพพาน เป็นที่ซึ่งความทุกข์ทั้งหลายเข้าไปไม่ถึง อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์
ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีแก่ เจ็บ ตาย ทุกอย่างเป็นสุขขัง เป็นนิจจัง เป็นอัตตา
เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น
ด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม
คาถาหมู่ที่ ๑๐ รับผลจากการปฏิบัติธรรม มี ๔ มงคลคือ
๓๕. ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะนะ กัมปะติ จิตของผู้ใดถูกโลก
ธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหวจิตหวั่น คือ ความหวั่นหวาด กังวล กลัวว่าจะประสบกับ

13 อ้าง แล้ว.
14 อธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนิพพานไว้แต่บทที่ ๔.
ธรรมประยุกต์ ๙๘

สิ่งที่ไม่ชอบใจ จิตไหว คือ ความปรารถนาอยากได้สิ่งที่รักชอบใจ โลกธรรม15 ๘ คือ


เรื่องราวที่เกิดขึ้นประจำโลก ใคร ๆ ก็ต้องพบหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้พระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าก็ทรงประสบ มีอยู่ ๘ ประการ แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
๑. ได้ลาภ คือ การได้ผลประโยชน์ เช่น ได้ทรัพย์ ได้ลูกได้เมีย ได้บ้าน
ได้ที่ดิน ได้เพชรนิลจินดาต่าง ๆ เป็นต้น
๒. ได้ยศ คือการได้รับตำแหน่ง ได้รับฐานะ ได้อำนาจ ได้เป็นใหญ่เป็นโต
๓. ได้สรรเสริญ คือ การได้ยินได้ฟังคำชมเชย คำยกย่อง คำสดุดี ที่
คนอื่นให้เรา
๔. ได้สุข คือ ได้รับความสบายกายสบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้
ความบันเทิงใจ ทั้ง ๔ อย่างนี้เป็นเรื่องที่คนทั่วไปชอบยังไม่ได้ ก็คิดแสวงหา ครั้น
หาได้แล้วก็คิดหวง หวงมาก ๆ เข้าก็หึง การที่จิตมีอาการหา หวง ห่วง หึง นี้แหล่ะ
เรียกว่า จิตไหว16
๑. เสื่อมลาภ คือ ผลประโยชน์ที่ได้มาแล้วเสียไป เช่น เสียเงิน เสียที่อยู่
ลูกรักตายเสีย เมียรักตายจาก
๒. เสื่อมยศ คือ ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดจากตำแหน่ง ถูกถอด
อำนาจ
๓. ถูกนินทา คือ ถูกตำหนิติเตียน ถูกด่าว่า ในที่ต่อหน้าหรือลับหลัง
๔. ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานทางกายหรือทางใจ
ทั้ง ๔ ประการนี้เป็นเรื่องที่คนเราไม่ชอบ ไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตัว เมื่อ
ยังมาไม่ถึง จิตก็หวั่นว่ามันจะมา เมื่อมันมาแล้วก็ภาวนาว่า เมื่อไหร่จะไปเสียที ไปแล้ว
ก็ยังหวั่นกลัวว่ามันจะกลับมาอีก17
๓๖) อะโสกํ ความไม่เศร้าโศก คำว่า โศก มาจากภาษาบาลีว่า โสกะ แปลว่า
แห้ง จิตโศก จึงหมายถึง สภาพจิตที่แห้งผาก เหมือนดินแห้ง ใบไม้แห้ง หมดความชุ่ม
ชื่น เนื่องจากไม่สมหวังในความรัก ทำให้มีอาการเหี่ยวแห้ง หม่นไหม้ โหยหาขึ้นในใจ
ใจซึมเซาไม่อยากรับรู้อารมณ์อื่นใด ไม่อยากทำการงาน ท่านว่ามีเหตุอยู่ ๒ ประการ
ที่ทำให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ

15 องฺอฏฺฐก.๒๓/๙๖/๑๕๙.
16 ท่านเรียกว่า อิฎฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา.
17 ท่านเรียกว่า อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา.
ธรรมประยุกต์ ๙๙

๑. ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก รวมถึงรักสิ่งของ ทรัพย์สิน


เงินทอง
๒. ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่
การทำให้จิตใจไม่โศกเศร้านั้น มีข้อแนะนำดังนี้
๑. ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และ
ร่างกายของเรา
๒. ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา
๓. ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่
อาศัยชั่วคราวเท่านั้น
๔. คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงด้วยกันทั้งนั้น
๓๗) วิระชัง จิตที่ปราศจากธุลี คือกิเลส ธุลี แปลว่า ฝุ่นละอองที่ละเอียด
มาก ในที่นี้หมายถึงกิเลสอย่างละเอียดที่เกาะ ซึม แทรก หุ้มใจของเราอย่างซ่อนเร้น
บาง ๆ ทำให้ความผุดผ่อ ง ความใสสะอาดเสี ยไป ถ้าไม่สังเกตจะไม่ เห็นไม่ รู้ จิต
ปราศจากธุลี หมายถึง จิตที่หมดกิเลสแล้วทั้งหยาบทั้งละเอียด อย่างถอนรากถอน
โคน ไม่มีทางที่ฟื้นกลับเข้ามาในใจได้อีก ทำให้จิตสะอาดผ่องใส นุ่มนวลควรแก่การ
งาน ได้แก่จิตของพระอรหันต์ กิเลสในใจคนมีอยู่ ๓ ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลราคะ
โทสะ และโมหะ กิเลสแต่ละตระกูลก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ที่หยาบมาก ๆ เห็นได้ชัดเจน
เหมือนขยะมูลฝอย และเล็กลงเหมือนฝุ่นผง จนถึงที่ละเอียดมาก ๆ เหมือนธุลี บาง
คนเจอแล้วยังไม่รู้ว่าเป็นกิเลสมองไม่ออก ดังนี้
๑) ตระกูลราคะหรือโลภะ คือ ความกำนัดยินดีรัก อยากได้ในคน สัตว์
สิ่งของ หรืออารมณ์ที่น่าใคร่ มีตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียดดังนี้
ก. อภิฌาวิสมโลภะ ความโลภอย่างแรงแสดงออก เช่น ปล้น จี้ ลัก
ขโมย
ข. อภิชฌา ความเพ่งเล็งทรัพย์ของผู้อื่น จ้อง ๆ จะเอาของเขาละ แต่
ยังสงวนท่าที ไม่แสดงออก
ค. โลภะ ความอยากได้ในทางทุจริต อยากได้ในทางที่ไม่ชอบ แต่ยังไม่
แสดงออก
ง. ปาปิจฉา ความอยากได้โดยวิธีสกปรก เช่น อยากได้สตางค์ เลยไป
เล่นการพนัน ไม่รักเกียรติ ไม่รักชื่อเสียงของตน
ธรรมประยุกต์ ๑๐๐

จ. มหิจฉา ความอยากใหญ่ ความมักมาก เช่น รับประทานอาหารวง


เดียวกัน ก็คว้าเอากับอร่อย ๆ ไปทานเสียคนเดียว ไม่รู้จักเกรงใจคนอื่น ไม่รู้จัก
ประมาณ
ฉ. กามราคะ ความพอใจในกาม รักเพศตรงข้าม ยังมีความรู้สึกทาง
เพศ
๑) รูปราคะ ความยินดีในอารมณ์ของรูปฌาน เป็นเรื่องของผู้
ฝึกสมาธิจนได้รูปฌานแล้ว
๒) อรูปราคะ ความยินดีในอารมณ์ของอรูปฌาน เป็นเรื่องของ
ผู้ฝึกสมาธิจนได้อรูปฌานแล้วข้อ ฉ – ซ นี่แหล่ะที่จัดเป็นกิเลสละเอียด ที่เรียกว่าธุลี
ในตระกูลราคะ
๒) ตระกูลโทสะ คือ ความไม่ชอบใจ ความคิดร้าย คิดทำลายผู้ที่ทำให้ตน
โกรธ มีตั้งแต่หยาบจนถึงละเอียดดังนี้
ก. พยาบาท ความผูกอาฆาต จองเวร อยากแก้แค้น ไม่ยอมอภัย บาง
ทีข้ามภพข้ามชาติก็ยังไม่ยอม เช่น พระเทวทัตผูกพยาบาทพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตั้งแต่ภพชาติในอดีต
ข.โทสะ ความคิดร้าย คิดทำลาย เช่น คิดจะฆ่า คิดจะเตะ คิดจะด่า คิด
จะเผาบ้าน คิดจะทำให้อาย ฯลฯ
ค.โกรธะ ความเดือดดาล คือคิดโกรธแต่ยังไม่ถึงกับคิดทำร้ายใคร
ง. ปฏิฆะ ความขัดใจ เป็นความไม่พอใจลึก ๆ ยังไม่ถึงกับโกรธ แต่มัน
ขัดใจ ข้อ ๔ ปฏิฆะ นี้แหล่ะที่จัดเป็นกิเลสละเอียดในตระกูลโทสะ
๓) ตระกูลโมหะ คือ ความหลง เป็นอาการที่จิตมืดมน ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี
ไม่รู้จักบุญบาป ส่วนความไม่รู้วิทยาการต่าง ๆ ไม่ใช่โมหะ คนที่มีความรู้วิทยาการ
มากเพียงใด มีปริญญากี่ใบก็ตาม หากยังไม่รู้จักบุญบาป ไม่รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่
ควรทำละก็ ได้ชื่อว่าตกอยู่ในโมหะทั้งนั้น กิเลสตระกูลโมหะ มีตั้งแต่หยาบถึงละเอียด
ดังนี้
โมหะความหลงผิดความไม่รู้ผิดชอบชั่วดี
ก. สักกายทิฐิ ความเห็นว่ามีตัวตน เช่น คิดว่าร่างกายนี้เป็นของเราจริง ๆ
ข. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรม เช่น ยังไม่มั่นใจ ว่าบุญ
บาปมีจริงไหม ทำสมาธิแล้วจะหมดกิเลสจริงหรือ
ธรรมประยุกต์ ๑๐๑

ค. สีลพตปรามาส ความติดอยู่ในศีลพรตอันงมงาย เช่น เชื่อหมอดู เชื่อ


ศาลพระภูมิ เชื่อพระเจ้า เหล่านี้เป็นต้น
ง. มานะ ความถือตัว ถือเขาถือเรา
จ. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
ฉ. อวิชชา ความไม่รู้พระสัทธรรม เช่น ไม่รู้ว่าตัวเรามาจากไหน ตายแล้วจะ
ไปไหน
๓๘) เขมัง จิตที่ถึงความเกษมจากโยคะ เกษม แปลว่า ปลอดภัย พ้นภัย
สิ้นกิเลส มีความสุข จิตเกษม จึงหมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสแล้ว โยคะเครื่องผูก
สัตว์ไว้ในภพ เชือกทั้ง ๔ เกลียว ได้ถูกฟันขาดสะบั้นโดยสิ้นเชิง จิตเป็นอิสระเสรี ทำ
ให้คล่องตัว ไม่ติดขัด ไม่อึดอัดอีกต่อไป ไม่มี ภัยใด ๆ มาบีบคั้นได้อีก จึงมีความสุข
อย่างแท้จริง พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ผู้ที่จะมีจิตเกษมได้อย่างแท้จริง คือผู้ที่มี
ใจจรดนิ่งแช่อิ่มอยู่ในพระนิพพานตลอดเวลา ซึ่งก็ได้แก่พระอรหันต์นั่นเอง
เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิตเกษมก็
คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็นเครื่องผูกอยู่
๔ ประการคือ
๑. การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเรียกว่า
กามคุณซึ่งประกอบด้วยรูปรสกลิ่นเสียงและสัมผัส
๒. การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ โดยให้เห็นว่าสิ่งใดๆในโลก
ล้วนไม่เที่ยงแท้หรือคงอยู่ตลอดไป
๓. การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ โดยให้
ดำเนินตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้ว
๔. การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้
ทั้งหลาย โดยให้มุ่งปฏิบัติเพื่อปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง เทวดา

เทวะมนุษย์ทั้งหลายการะทำมงคลเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ปราชัยในที่ทุก
สถาน ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวงนี้คืออุดมมงคลของเทวะมนุษย์เหล่านั้น.
บทที่ ๖
จริยศาสตร์
บทนำ
จริยศาสตร์ เป็นภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า จริย + ศาสตร์ แปลว่า ศาสตร์
ที ่ ว ่ า ด้ วยความประพฤติ ตรงกั บ ภาษาละติ น คำว่ า อี ธ อส ( Ethos ) ที ่ ห มายถึง
อุปนิสัย หรือหลักของความประพฤติ ขนบธรรมเนียมที่เป็นความเคยชินจริยศาสตร์
เป็นการศึกษาถึงเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์เรา ว่าคืออะไร อะไรควรทำหรือไม่ควรทำ
เพื่อจะได้ไปถึงเป้าหมายสูงสุดนั้น และจะใช้เกณฑ์อะไรมาตัดสินว่า สิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี
จริยศาสตร์ หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยศีลธรรม รวมทั้งกระบวน (Pattern) ข้อ
ประพฤติทางสังคมและทฤษฎีทางศีลธรรมต่าง ๆ เป็นการศึกษากระบวนการการ
กระทำของมนุษย์ในแง่ที่ว่าอะไรดี มีข้อปฏิบัติด้านศีลธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรม (
Behavior ) ในข้อที่ว่าอะไรคือ คุณค่าที่ควรบรรลุถึง พฤติกรรมเช่นไรดี อะไรมี
ความหมายต่ อ ชีวิ ต ในด้ า น ศี ล ธรรม จริ ยศาสตร์ ก ็ ว ่า ด้ ว ย สาระแก่ นสารของ
ศีลธรรมกำเนิด และพัฒนาการของศีลธรรมกฎเกณฑ์ซึ่งกำหนมาตราฐานด้าน
ศีลธรรมและลักษณะทางประวัติศาสตร์ ข้อประพฤติอันเป็นบรรทัดฐานและทฤษฎี
จริยธรรมมักแยกกันไม่ออก เพราะการกระทำของปัจเจกชนและสังคมก่อให้เกิด
ความคิดเรื่องจริยธรรม
ความหมายของ จริยศาสตร์
คำว่ า “จริ ย ศาสตร์ ” ไว้ ต ่ า ง ๆ กั น ซึ ่ ง พอจะยกตั ว อย่ า งได้ ด ั ง นี้
เจมส์ เซธ กล่าวว่า “จริยศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักแห่งความ
ประพฤติ และหลักเกณฑ์แห่งความประพฤติว่า อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ”
แมคเคนซี่ กล่าวว่า “จริยศาสตร์ คือการศึกษาถึงสิ่งที่ถูกและสิ่งดีในการ
กระทำ”
นักเทววิทยา กล่าวว่า “จริยศาสตร์คือ ศาสตร์แห่งความดี มิใช่ศาสตร์แห่ง
ความถูกต้อง กฎต่าง ๆ นั้นมิใช่มีไว้เพื่อประโยชน์ของกฎ แต่มีไว้เพื่อบรรลุถึงความ
ดีต่างหาก”
ธรรมประยุกต์ ๑๐๓

สรุปได้ว่า จริยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยอุดมคติอันสูงสุดที่มีความสัมพันธ์
อยู่กับชีวิตมนุษย์ จริยศาสตร์กล่าวถึงลักษณะที่ดีหรือเลวแห่งความประพฤติของ
มนุษย์ จริยศาสตร์ศึกษาว่า อะไรควรเว้น อะไรควรทำ อะไรผิด อะไรถูก อะไรดี อะไร
ชั่ว โดยเปรียบเทียบความประพฤตินั้นกับความดีเลิศทั้งหลาย
สรุป จริยศาสตร์ จึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษา อะไรคือสิ่งที่มนุษย์ความ
ทำความสอดคล้องกับความจริงหรือธรรมชาติ อะไรคือ ความดีสูงสุด อะไรคือ
จุดหมายปลายทางของชีวิต อะไรคือเกณฑ์ตัดสินความดี ความชั่ ว และวิธีการรับ
ผลลัพธ์อะไรสำคัญกว่ากัน..
ความหมายของจริยธรรม
คำว่า จริยธรรม มาจาก จริย + ธรรม จริยะ แปลว่า ความประพฤติ
พฤติกรรม หรือการกระทำ ส่วนคำว่า ธรรมคือสิ่งดีงาม ดังนั้น จริยธรรม จึง
หมายถึงความประพฤติที่จะให้ผู้ประพฤติไม่ตกไปในทางที่ชั่วหรือความประพฤติตาม
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นต้น
แต่ความหมายก็ยังมีอีกกลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า จริยธรรมไว้
เช่น
๑) ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมาย
ของจริยธรรมว่า จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติศีลธรรมกฎศีลธรรม
๒) ท่านศาสตราจารย์ ระวี ภาวิไล ให้ความหมายว่า “จริยธรรม” คือ แนว
ความประพฤติ ก ารปฏิ บ ั ต ิ เ พื ่ อ บรรลุ ส ภาพชี ว ิ ต อั น ทรงคุ ณ ค่ า ที ่ พ ึ ง ประสงค์
๓) ท่านศาสตรจารย์พิทยา สายหู ให้ความหมาย “จริยธรรม” คือ แนว
ความประพฤติ ก ารปฏิ บ ั ต ิ เ พื ่ อ บรรลุ ส ภาพชี ว ิ ต อั น ทรงคุ ณ ค่ า ที ่ พ ึ ง ประสงค์
๔) พระยาอนุมานราชธน ให้ความหมายว่า “จริยธรรม” เป็นเรื่องว่าด้วย
ความประพฤติของคนว่ามีลักษณะที่ควรมิควรเป็นอย่างไร
ศีลธรรม (moral) เป็นศัพท์พระพุทธศาสนา หมายถึง ความประพฤติที่ดี
ที่ชอบ หรือ ธรรมในระดับศีล คำว่าศีลธรรมถ้าพิจารณาจากรากศัพท์ภาษาละติน
Moralis ห ม า ย ถ ึ ง ห ล ั ก ค ว า ม ป ร ะ พ ฤ ต ิ ท ี ่ ด ี ส ำ ห ร ั บ บ ุ ค ค ล พ ึ ง ป ฏ ิ บ ั ติ
คุณธรรม (virtue)คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดีทางความ
พฤติและจิตใจ เช่น ความเป็ นผู้ไม่กล่าวเท็จโดยหวังประโยชน์ส่วนตนเป็นคุณธรรม
ประการหนึ่ง คำว่า คุณ ภาษาบาลีแปลว่า ประเภท, ชนิด ธรรม หมายถึง หลักความ
จริง หลักการในการปฏิบัติ ดังนั้น อาจอธิบายได้ว่า คุณธรรม คือ จริยธรรมที่แยก
ธรรมประยุกต์ ๑๐๔

เป็นรายละเอียดแต่ละประเภท เช่น เมตตา กรุณา เสียสละ ซื่อสัตย์ อดทน ฯลฯ สิ่ง


เหล่านี้หากผู้ใดประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทาง
ความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น
ข้อแตกต่างของ จริยศาสตร์ กับ ศีลธรรม
ในความหมายของคำทั้งสองคำที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความแตกต่างดังนี้คือ
ทั ้ งสองคำนี ้ ม ี ร ากศั พ ท์ เ ป็ น คนละภาษาคื อ Ethics เป็ น ภาษา กรี ก ส่ วน
Morality นั ้ น เป็ น ภาษาลาติ น แต่ ถ ้ า แปลตามรู ป ของศั พ ท์ แ ล้ ว ทั ้ ง สองคำมี
ความหมายอย่างเดียวกันคือ จารีต (Custom) หรือแนวทางประพฤติปฏิบัติที่เป็น
ปกตินิสัย ตามนัย จริยศาสตร์เป็นแนวทางแห่งการประพฤติ เช่น หน้าที่ พ่อแม่ท่พ ี ึง
มีต่อลูก ลูกแสดงออกต่อพ่อแม่ แต่การกระทำนั้นต้องทำจนเป็นปกตินิสัยสืบต่อกัน
มานาน ไม่ใช่เพิ่งเกิดใหม่ต้องเป็นที่ยอมรับกันในสังคมนั้น ๆ แต่ความหมายโดยอรรถ
ของคำทั้งสองยังมีข้อแตกต่างกันอยู่มากในด้านความกว้างแคบวิธีการที่นำไปใช้และ
จุดมุ่งหมาย
๑.โดยความกว้ า งแคบ จริ ย ศาสตร์ ( Ethics ) หมายถึ ง ความรู ้ ท ั ่ ว ไป
เกี่ยวข้องกับความประพฤติอย่างมีระบบ มีกระบวนการในการศึกษา
ศีลธรรม ( Morality ) หมายถึง แบบแผนการประพฤติปฏิบัติที่วางไว้ ไม่มี
ความสมบู ร ณ์ ขาดระบบที ่ แ น่ น อน เป็ น เพี ยงจารี ต ที ่ ส ั ง คมเห็ น ว่ า ดี แ ล้ ว
ประพฤติสืบต่อกันมา
๒.โดยวิธีการนำไปใช้
จริยศาสตร์ เปิด โอกาสให้มีการวิเคราะห์วิจารณ์อะไรควรไม่ควร ใช้ปัญญา
เข้าประกอบการพิจารณา ศีลธรรม ให้ เชื่อแล้วปฏิบัติตาม ไม่เปิดโอกาสให้
วิจารณ์ เช่น บัญญัติ ๑๐ ประการของศาสนาคริสต์เป็นต้น
๓.จุดมุ่งหมายของจริยาศาสตร์กับศีลธรรมก็ต้องต่างกัน
จริยศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายให้ เลือก ปฎิบัติในสิ่งที่เห็นว่าเหมาะสม
ศีลธรรม เป็น ข้อบังคับ ให้ยอมรับโดยศรัทธา
แต่ทั้ง จริยศาสตร์ ( Ethics ) และ ศีลธรรม ( Morality ) ต่างก็ต้องอิงอาศัยกัน
และกัน
ธรรมประยุกต์ ๑๐๕

จริยธรรมในพระพุทธศาสนา
การศึกษาจริ ยธรรม ของพระพุทธศาสนาจำเป็นที่ จะต้ อ ง ศึกษาพุ ท ธ
ประวัติพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์เดิมนามว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติจากพระนางสิริ
มหามายา ก่อนพุทธศักราช ๘๑ ปี1 ในประเทศเนปาล (ปัจจุบัน) ต่อมาได้รับพระนาม
ว่า “ผู้ตรัสรู้” คือ พุทธะ พระผู้เป็นดวงประทีปแห่งเอเชีย ความจริงพระองค์ได้ศึกษา
ในลัทธิต่างๆ หลายลัทธิเมื่อเยาว์วัย อาจจะได้ ความคิดจากลัทธิเหล่านั้นมาบ้าง จึงมี
นักปราชญ์บางท่าน เช่น Harold H. Titus แห่ง Denison University, Granville,
ohio ศาสตราจารย์อาวุโสใน วิชาปรัชญาให้ทรรศนะไว้ว่า พระสิทธัตถะโคตรมะพุทธ
เจ้าไม่ได้มีแผนที่จะตั้งศาสนาใหม่ขึ้นเป็นเพียงปฏิรูปคำสอนในศาสนาฮินดูเสียใหม่ ใน
สมั ย พระองค์ ฉะนั ้ น ในประเทศอิ น เดี ย จึ ง ไม่ ม ี พ ระพุ ท ธศาสนาเหลื อ อยู ่ แ ต่ ไ ด้
แพร่หลายออกจากอินเดียไปยังประเทศศรีลังกา พม่า ไทย ธิเบต จีน มองโกเลีย และ
ญี่ปุ่น ฯลฯ “
พระโคตรมะพุทธเจ้าแม้จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างหรูหรา มีเครื่องบำรุง
ความสุขอย่างมากมาย ยังมีความไม่สุขสบายในชีวิตปรากฏอยู่อย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแก่ ความเจ็บ และ ความตายปรากฏอยู่เนื่องๆ จนกระทั่ง
พระองค์ ม ี พ ระชนมายุ ไ ด้ ๒๙ พรรษา จึ ง ได้ ส ละปราสาทราชวั ง ศรี ภ ริ ยา และ
พระโอรส ในการแสวงหาทางหลุดพ้น ด้ ว ยการทรมานตนเอง อย่างเคร่ งครั ด ที่
เรียกว่า “มหาภิเนษกรมณ์” จนสามารถรู้แจ้งอริยสัจจ์ ๔ สำเร็จเป็นผู้รู้คือ พุทธ
ด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์ แล้วเสด็จทรงสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตามสม
นามว่า “สัมมาสัมพุทธ” โดยเริ่มตั้งแต่สอนปัจจวัคคีย์2 มี โกณฑัณญะ เป็นต้น และ
ท่านเหล่านั้นก็ได้ตรัสรู้ตามพระพุทธประสงค์
พระพุทธศาสนาก็เหมือนกับต้นไม้ที่ขยายกิ่งก้านสาขาแผ่ไปทั่วโลก ที่มี
พุทธบริษัทยอมรับนับถือไม่ว่าจะนับถือด้วยสายเลือด ที่สืบทอดกันมาเป็นไปโดย
ส่วนมากจากพ่อแม่ และการนับถือโดยใช้ปัญญาในการพิจารณาว่าหลักคำสอนของ
พระพุทธศาสนา สามารถที่จะนำมาใช้ในการดำเนินชี วิต และก่อให้เกิดความสัตติ

1 เริ่มนับพุทธศักราช หลังพุทธปรินพ
ิ พานแล้ว เป็นพุทธศักราชที่ ๑
2 โกณฑัณญะ วัปปะ มหานามะ ภัททิยะ อัสสชิ.
ธรรมประยุกต์ ๑๐๖

ภาพ ในโลกได้ ยิ่งหลักคำสอนที่เป็นส่วนแห่งข้อประพฤติปฏิบัติเป็นที่ยอมรับและเป็น


หลักจริยธรรม
ระดับขั้นของจริยธรรมในพระพุทธศาสนา
พระพุทธมีคำสั่งสอน ที่เรียกว่า ธรรม เป็นพื้นฐานสิ่งที่สำคัญที่ชี้ชัดลงไป
ในเรื่อง ของจริยธรรม โดยจริยธรรมนั้น ก็คือ การที่นำเอาสัจธรรมทั้งหมดของ
พระพุทธเจ้านำมาประยุกต์ใช้ให้ถูกต้อง ซึ่งบางครั้งเราสามารถกล่าวได้ว่า ธรรม
ของพระพุทธเจ้ามี ๓ ส่วน คือ
๑) ธรรมบริสุทธิ์ ได้แก่ธรรมที่เป็นส่วนว่าด้ วยทฤษฏี หรือคำสอนที่อยู่ใน
พระไตรปิฎก หรือคำสอนที่อยู่ตู้พระไตรปิฎก หรือธรรมที่บุคคลรู้เข้าใจ แต่ไม่นำมา
ปฏิบัติเราเรียกว่าธรรมบริสุทธิ์ เช่น จักขุ ๕ ธาตุ ๖ จิต เจตสิก ตัณหา ๓ ไตร
ลักษณะ ฯลฯ
๒) ธรรมปฏิบัติ ได้แก่ธรรมข้อที่ว่าด้วยการปฏิบัติ คือธรรมที่ พระพุทธ
องค์ทรงตรัสสอนเกี่ยวกับหลักปฏิบัติตัวปฏิบัติตนเพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด
ทางพระพุทธศาสนา เช่น คำสอน เกี่ยวกับ มงคลสูตร สิงคาลกสูตร หรือ จะเป็น
ธรรมที่เป็นหมวดหมู่ เช่น สังคหวัตถุ ๔ ธรรมโลกบาล ๒ ศีล ๕ ๘ ๑๐ ๒๒๗
จนกระทั้ง ธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นต้น
๓) ผลธรรม ได้แก่คำสอนที่พระองค์ทรงแสดงถึงผลของการปฏิบัติธรรม
จะเกิดผลเช่นไร อาทิเช่น วิสุทธิ ฌาน ๒ ๓ ๘ วิมุตติ นิโรธ ฯลฯ
จริ ย ธรรมทางพระพุ ท ธศาสนาถื อ ว่ า เป็ น ธรรมปฏิ บ ั ต ิ การปฏิ บ ั ต ิ หรื อ
จริยธรรมทางพระพุทธศาสนามี ๓ ระดับ ดังนี้
๑) จริยธรรมขั้นต้น ได้แก่ เบญจศีล เบญจธรรม หรือ กัลยาณธรรม
๒) จริยธรรมขั้นกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐
๓) จริยธรรมขั้นสูง ได้แก่มรรคมีองค์ ๘
จริยธรรมขั้นต้น
ข้อปฏิบัติในขั้นต้น ในการดำเนินชีวิตแห่งฆราวาสวิสัย ท่านเรียกว่า ศีล มี
๕ สิกขาบท ถือว่าเป็นข้อระเบียบกฎของพุทธศาสนิกชนที่พึงปฏิบัติโดยถือว่า ศีล ๕
ธรรมประยุกต์ ๑๐๗

หรือ ศีลธรรม เป็นทฤษฎี ส่วน จริยธรรม คือข้อปฏิบัติ ส่วนเบญจธรรม ถือว่า


เป็นคุณธรรมหรือผลของการปฏิบัติจากศีล ดังจะอธิบาย ดังนี้
ศีล ๕
ศีลธรรม : ข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี แปลว่า เจตนางดเว้นจากการ
ทำให้ชีวิตสัตว์ให้ตกไป ความหมาย คือ ท่านสอนไว้ว่า ให้เว้นจากการฆ่า ทรมาน
หรือเบียดเบียนสัตว์ให้ลำบากหรือพรากชีวิตสัตว์
จริยธรรม : ชาวพุทธนำศีลข้อนี้มาปฏิบัติ โดยตั้งใจ ถึงกับเจตนา งดเว้น
โดยปฏิบัติว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ ทรมาน เบียดเบียนสัตว์ให้ลำบาก หรือพรากชีวิตสัตว์ใดๆ
ให้ตาย
คุณธรรม : ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติศีลข้อนี้มีคุณธรรม คือเกิดผลจากการปฏิบัติ
ศีลข้อนี้ เป็นคนที่มีความรักเมตตา เอ็นดู กรุณาต่อสัตว์ปรารถนาอยากให้สัตว์มี
ชีวิตที่ดี
เปรียบเทียบเงื่อนไขจริยศาสตร์
จริยศาสตร์ นอกจากจะเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องความประพฤติแล้วยังเป็น
ศาสตร์ที่พูดถึงความผิดถูก ควรไม่ควร ซึ่งจะมีเงื่อนไขอะไรมาตัดสินว่าถูกหรือผิด
ควรไม่ควร ทำได้ไม่ได้ ในศีลข้อที่ ๑ พระพุทธเจ้าได้วางกฎจริยศาสตร์เอาไว้อีกว่า
เมื่อพุทธศาสนิกที่ละเมิดศีลข้อที่ ๑ ถือว่า ผิด หรือผิดศีล โดยทรงยังตรัสถึงเงื่อนไข
ของผู้ละเมิดศีลข้อนี้ไว้ดังนี้
๑) ทำด้วยตัวเอง
๒) ใช้ให้ผู้อื่นให้ไปทำ
๓) ปล่อยอาวุธ เช่น ขว้าง, ปา ยิง ฯลฯ
๔) สร้างเครื่องประหาร เช่น ทำอาวุธ ขุดหลุมพราง ดัก ฯลฯ
๕) ใช้วิชาอาคมไสยศาสตร์ต่างๆ และอิทธิฤทธิ์
ผลที่การละเมิดศีลข้อนี้จะบรรลุที่สามารถตัดสินได้ว่าผิดได้ต้องมีเงื่อนไข
ดันนี้
ธรรมประยุกต์ ๑๐๘

๑) สัตว์ที่ถูกระทำนั้นมีชีวิต (หมายถึงก่อนกระทำมีชีวิตหลังกระทำแล้ว
เสียชีวิต
๒) ผู้กระทำรู้แล้วว่าสัตว์ที่ถูกกระทำนั้นมีชีวิต
๓) จิตของผู้กระทำนั้นปรารถนาที่จะฆ่า หรือทำลายให้ตาย
๔) จิตมีความพยายามในการที่จะฆ่าบังเกิดมี (เจตนา)
๕) สัตว์ที่ถูกกระทำนั้นตายด้วยความพยายามนั้น
ศีลธรรม : ข้อที่ ๒ อทินฺนาทานา เวรมณี แปลว่า เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์
จริยธรรม : คือ ไม่ประพฤติในการกระทำอันเกี่ยวเนื่องด้วย โจรกรรม
เช่น ลัก ฉก กรรโชก ปล้น จี้ ฉ้อ หลอกลวง ตระบัด เบียดเบียดบัง สับเปลี่ยน โกง
ลักลอบ ยักยอก ฯลฯ เป็นการไม่ประพฤติในอาชีพที่อนุโลมเพื่อการโจรกรรม เช่น
อุดหนุนโจร ปอกลอกเอาทรัพย์สินผู้อื่น รับสินบนฯลฯ และสุดท้ายไม่ประพฤติใน
กิริยาฉายาโจรกรรม เช่น พลาญ หยิบฉวย เอาของ มารดา บิดา โดยไม่บอก หรือ
หยิบเอาของเพื่อซึ่งมิใช่อาการวิสาสะ เป็นต้น
คุณธรรม : ทำให้ผู้งดเว้นดังกล่าวนั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่ทำมาหาเลี้ยงชีพโดย
สุจริต ทางด้านสังคม ทำให้เกิดความสงบ ไม่เกิดการทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ของกันและกัน
เปรียบเทียบเงื่อนไขจริยศาสตร์
๑) ลักด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นลัก
๒) ของที่ลัก ขโมย หรือโกง ฯลฯ มีเจ้าของ
๓) แม้รู้ว่าของนั้นมีเจ้าของแล้วยังจะเอา
๔) มีจิตหรือเจตนาที่จะเอาหรือลัก
๕) ใช้ความพยายาม เช่น วางแผน ที่จะลักของนั้น
๖) ใช้เวทมนต์คาถา ใช้อิทธิฤทธิ์
๗) ได้ของนั้นมาโดยความพยายามนั้นๆ
ธรรมประยุกต์ ๑๐๙

ศีลธรรม : ข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี แปลว่า เจตนางดเว้นจาก


การประพฤติผิดในกามซึ่งหมายถึง กิริยาที่รักใคร่กันในทางประเวณี
จริยธรรม : เป็นผู้ที่ไม่ประพฤติ และสำรวมในกามสังวร
คุณธรรม : เคารพในของรักของหวงผู้อื่น เป็นที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้
สำรวมในกาม เป็นผู้ที่เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่ น และสร้างความเป็นปึกแผ่น
สามัคคี และป้องกันความแตกร้าวในหมู่มนุษย์ เป็นต้น
เปรียบเทียบเงื่อนไขจริยศาสตร์
๑) ชาย หรื อ หญิ ง ที ่ น อกเหนื อ สามี ภรรยาตน ชาย หรื อ หญิ งที ่ มี
ผู้ปกครองดูแล หญิงหรือชายที่เป็นนักบวชในศาสนาที่มีบทบัญญัติห้ามเสพเมถุน
๒) ผู้กระทำนั้นมีจิตที่คิดจะเสพ
๓) ผู้กระทำนั้นมีความพยายามหรือมีการวางแผน
๔) มรรคถึง มรรค คือเสพด้วยทวารใดทวารหนึ่งถึงกัน
ศีลธรรม : ข้อที่ ๔ มุสาวาทา เวรมณี แปลว่า เจตนางดเว้นจากมุสาวาทคือ
ความพูด หรือ กล่าวเท็จ
จริยธรรม : ไม่พูด หรือกล่าวเท็จ ถ้าจะพูด ก็พูดในความจริง
คุณธรรม : ทำให้เป็นผู้ที่มีความสัตย์
เปรียบเทียบเงื่อนไขจริยศาสตร์
๑) กล่าวเท็จด้วยตนเอง
๒) ใช้ให้ผู้อื่นกล่าว
๓) พูดแต่เรื่องที่ไม่จริง
๔) มีเจตนาที่จะทำให้เขาเข้าใจผิด หรือพยายามจะพูดเท็จจนคนอื่นเชื่อตาม
๕) ใส่ร้าย ทั้งพูด และเขียน
ธรรมประยุกต์ ๑๑๐

ศีลธรรม : ข้อที่ ๕ สุราเมรยมัชฺชปมาทฺฐานา เวรมณี แปลว่า เจนตางดเว้นจาก


การดื่มน้ำเมา คือ สุรา และ เมรัย
จริยธรรม : ไม่ประพฤติดื่มน้ำเมา เมรัย สุรา หรือสิ่งเสพติทุกชนิด
คุณธรรม : เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท ทำลายสติของตัวเองเป็นผู้ไม่
เสียทรัพย์โดยไม่ใช่เหตุ ไม่ไปสู่ทางแห่งการทะเละวิวาทไม่ไปสู่ทางแห่ งการเกิดโรคไม่
เสียชื่อเสียง และเป็นผู้มีบุคลิกภาพ
ที่สง่างาม เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ สมประกอบ
จริยธรรม : จริยธรรมในศีล ๕
ส่วนที่ได้ชื่อว่าเป็นจริยธรรมจากศีล ๕ คือ คำว่า วิรัติ วิรัติ แปลว่า การ
ละเว้น ซึ่งเป็นจริยธรรมในตัวของศีล ๕ คือ เมื่อบุคคลได้ละเว้น ในเรื่องของการ ฆ่า
ลัก ผิดในกาม พูดปด และ ดื่มสุราเมรัย ก็จะได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงาม
คือ มีจริยธรรม โดย วิรัติ แยกได้ ๓ ประการ คือ
๑) สัมปัตตวิรัติ คือ การละเว้นจากวัตถุที่ประสบเข้า หมายถึง บุคคลผู้ที่
มิได้ตั้งสัตย์ปฏิญญาว่าจะละเว้นตามบทบัญญัติของศีลข้องนั้นๆ เมื่อประสบกับวัตถุ
ที่ช่วยให้ละเมิด แต่ไม่ทำจัดเป็นสัมปัตตวิรัต
๒) สมทานวิ ร ั ติ คื อ การละเว้ น ด้ ว ยการสมาทาน คำว่ า “สมาทาน”
หมายถึง กิริยาที่รับข้อปฏิบัติมาโดยการถือเพศนักบวช เช่น บวชเป็นภิกษุ สามเณร
เป็นต้น ผู้ถือบวชจำเป็นต้องสมาทานสิกขาบทตามสภาวะของตน บางคนนอกจากจะ
สมาทานสิกขาบทแล้วยังตั้งสัตย์ปฏิญญาด้วยตนเองว่าจะละเว้น
๓) สมุจเฉทวิรัติ คือ การละเว้นโดยเด็ดขาด ได้แก่ การละเว้นของพระอริย
เจ้าซึ่งไม่ประพฤติล่วงข้อห้ามทั้งปวงนับตั้งแต่บรรลุเป็นพระอริยบุคคลแล้ว
คุณธรรม : คือผลที่เกิดจากการประพฤติศีล ๕ ก็มีผล หรือคุณธรรม ๕ ประการ
ดังนี้
๑) ความเมตตากรุณา
บุคคลเมื่อได้ปฏิบัติศีลข้อที่ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ก็จะทำให้มีคุณธรรมที่
ชื่อว่า เมตตาธรรม เมตตา แปลว่า ความรัก ความรักในความหมายในเมตตามิได้
ธรรมประยุกต์ ๑๑๑

หมายถึงความรักที่เจือปนไปด้วยความใคร่ แต่เป็นความรักที่มีดีโดยส่วนเดียว เช่น


ความรักอยากให้ผู้อื่น สัตว์อื่นพ้นจากทุกข์ รักอยากให้ผู้อื่นมีความสุข เป็นความรัก
ที่ปราศจากความอิจฉาริษยา หลงเมามัว
กรุณา แปลว่า ความเอ็นดูสงสาร เป็นธรรมที่เกื้อกูลในข้อ เมตตา คือ
ความรักที่จะให้เขาได้มีความสุข รักที่ยากจะให้เข้าได้พูนจากทุกข์ ซึ่งเป็นความรัก
ในทางสร้างสรรค์ ส่วนกรุณาเป็นความรักในตรงกันข้าม คือ เอ็นดู เอ็นดูเมื่อเห็นเขา
มีความทุกข์ เอ็นดูเมื่อรู้ว่าเขาขาดความสุข เอ็นดูความรักนั้น เป็นการตอกย้ำความ
รักให้เป็นรักที่มีความสงสาร เอ็นดู เช่น ทุกชีวิตที่ดำเนินมาได้จนกระทั้งอ่านหนังสือ
เล่มนี้ได้ ก็จะได้รับการฟูมฟัก มาจากอีกชีวิตหนึ่งหรือหลายชีวิต ชีวิตที่ว่านี้เขาจะให้
ความเมตตา คือ ความรักแก่ผู้อ่านคือ รักที่จะให้ศิลปะวิทยาความรู้ จนอ่านออก
เขียนได้ โตไปจะได้ไม่เป็นคนโง่ จะได้ฉลาดทัดเทียมกับคนอื่น มีความกรุณา คือ เอ็นดู
สงสาร ไม่อยากให้ผู้อื่นนี้ไม่มีความรู้ ไม่มีวิชาติดตัว กลัวใครจะดูถูกว่าโง่ อย่างนี้
หรือ ผู้นี้ไม่สามารถที่จะอ่านหนังสือได้เลย แม้จะสอนแล้ว หรือไม่ได้สอนก็ตามก็เกิด
ความเอ็นดูเขา ที่เขาไม่สามารถอ่านหนังสือ กลัวเขาจะเป็นเหยื่อคนฉลาดที่อ ่าน
หนังสือได้ เป็นต้น
ดังนั้น ในส่วนของเบญจศีลข้อที่ ๑ คือ เว้นจากการฆ่า ก็จะทำให้บุคคลนั้น
มีคุณธรรมที่เรียกว่า เมตตากรุณา ตามมาโดยปริยาย เรียกว่า เบญจธรรมบ้าง
คุณธรรมบ้าง
๒) สัมมาอาชีวะ
บุคคลเมื่อรับศีล ข้อที่ ๒ ละเว้นการลักของผู้อื่น ได้ชื่อว่ามีคุณธรรมใน
ข้ อ สั ม มาอาชี วะ สัมมาอาชีวะ แปลว่ า ความเพี ยรเลี ้ ยงชี ว ิ ตในทางที ่ ชอบ หรื อ
ประกอบอาชีพในทางที่ควร คือ การแสวงหาปัจจั ย ๔ มาด้วยความชอบธรรม คือ
ไม่ประกอบอาชีพในทางทุจริตประกอบอาชีพที่เรียกว่า “มิจฉาอาชีวะ” หรือ มิจฉา
วณิชชา” ๕ อย่างคือ
๑) ไม่ประกอบอาชีพขายศัตราวุธในการทำลายชีวิต
๒) ไม่ประกอบอาชีพในการค้าขายชีวิตมนุษย์
ธรรมประยุกต์ ๑๑๒

๓)ไม่ประกอบอาชีพเลี้ ยงสัต ว์ที ่มีค ุณ (วั ว ควายฯลฯใช้ไถนา)ไว้ฆ่ า เป็ น


อาหาร
๔) ไม่ประกอบอาชีพค้าขายน้ำเมา หรือสิ่งเสพติดให้โทษ
๕) ไม่ประกอบอาชีพค้าขายยาพิษ
๓) กามสังวร
บุคคลเมื่อละเว้นการปฏิบัติข้อที่ ๓ ไม่เล่นชู้สู่ชาย ไม่มีกามกับหญิงที่ไม่ใช่
ภรรยาตนเรียกว่ามีคุณธรรมการสังวร เพราะการสำรวมในกาม หมายถึง กิริยาที่
ระมัดระวังไม่ประพฤติมักมากในกามคุณ คุณธรรมข้อนี้ทำให้เกิดความบริสุทธิ์ผุด
ผ่องของชาย หญิง ไร้มลทิน พ้นจากการตำนิติเตือน สำหรับชาย พระพุทธศาสนา
สอนให้ควรยึดหลักแห่งสทารสันโดษ คือ ความยินดีหรือพอใจเฉพาะภรรยาของตน
ไม่ผูกสมัครรักใคร่กับหญิงอื่น ชายผู้ไม่สันโดษในภรรยาของตนเที่ยวซุกซนคบหญิง
แพศยา แม้จะไม่เป็นกาเมสุมิฉาจาร แต่ก็เป็นเหตุความเสื่อมเสีย เช่น
๑) เสียทรัพย์
๒) ได้รับเชื้อกามโรคและอื่นๆ (โรคเอดส์)
๓) เป็นสามเหตุนำมาซึ่งภัยอันตรายต่างๆ
สำหรับหญิง หญิงที่มีสามีแล้วก็ยินดีพอใจกับสามีของตน ไม่ควรผูกสมัคร
รักใคร่กับชายอื่น ส่วนหญิงที่ยังไม่มีสามีก็ควรประพฤติตนเป็นกุลสตรี ไม่ทำตนให้
เสื่อมเสียศักดิ์ศรีของผู้หญิง ประพฤติตนให้เหมาะสมแก่เพศและวัย
๔) มีสัจจะ
บุคคลเมื่อปฏิบัติตามศีลข้อที่ ๔ คือการไม่พูดปด ก็จะก่อให้เกิดคุณธรรมที่
เรียกว่า เป็นผู้ที่มีสัจจะ คือ ความจริง หมายถึงความจริงใจ ซื่อตรง ความมีสัตย์ทั้ง
การพูด และการกระทำกิริยาที่ประพฤติตนเป็นคนตรงซึ่งเห็นได้จากดังนี้.
๑. เป็นคนเที่ยงธรรม คือ ประพฤติเป็นธรรมกิจการอันเป็นหน้าที่ของตน
ไม่ทำให้ผิดเพี้ยนไปด้วยอำนาจของ อคติ ๔ คือ
ก. ฉันทาคติ คือ ลำเอียงเพราะรักใคร่
ธรรมประยุกต์ ๑๑๓

ข. โทสาคติ คือ ลำเอียงเพราะเกลียดชัง


ค. โมหาคติ คือ ลำเอียงเพราะหลงผิด, ไม่รู้เท่าทัน
ง. ภยาคติ คือ ลำเอียงเพราะความกลัว
๒. เป็นคนซื่อตรง คือประพฤติตรงต่อผู้เป็นมิตร เมื่อผูกไมตรีสนิทสนมกับ
ผู้ใดก็ไม่คิดร้ายต่อผู้นั้น
๕) มีสติ
บุคคลใดประพฤติศีลข้อที่ ๕ คือ ละเว้นจากการดื่มน้ำเมาสิ่งมึนเมา ก็จะทำ
ให้เกิดคุณธรรม คือเป็นคนมีสติ สติ แปลว่า ระลึกได้ การมีสติหมายถึง การละลึก
ก่อนพูด ก่อนทำ เพื่อป้องกันความผิดพลาด พลั้งเผลอ สติได้ชื่อว่าเป็นคุณธรรม
อุปการะมาก เพราะทำให้ไม่ให้มีความประมาทเกิดขึ้น เมื่อใดคนเราไม่มีสติ ความ
ประมาทก็จะเข้ามาแทนที่ได้ เมื่อความประมาทเข้ามาเมื่อใด คนเราก็จะตกอยู่ ใน
อันตราย เพราะความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ดังนั้น คนเราจึงควรมีสติอยู่
ตลอดเวลา สติใช้ได้ทุกกิจการงาน ได้แก่
๑) ไม่ประมาทในธรรม คือคิดว่าชีวิตนี้ยังไม่ถึงเวลาในการที่จะสร้างคุณงาม
ความดีคอยพลัดวันประกันพรุ่งว่าจะทำความดี เช่น ยังไม่ถึงวัน ไม่ถึง วัย ที่ จะทำ
ความดี เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าประมาทในธรรม ประมาทในชีวิต เพราะคนเราถ้าเกิด
มาแล้วสักแต่เกิดในโลกแล้วไม่มีคุณงามความดีอะไรประดับไว้ในโลก ก็คงไม่ต่างอะไร
กับสัตว์อื่นที่เกิดมาเพื่อที่จะยังและดำรงชีวิตเท่านั้น
๒) ประมาทในการบริโภคอุปโภคคือคิดว่ามีอะไรกิน มีอะไรทานก็ทานไป
เพื่อให้เสร็จๆซึ่งไม่ได้สนใจในเรื่องคุณค่าและประโยชน์ในอาหารที่บริโภค ว่าจะมีคุณ
หรือโทษอย่างไร
๓) ประมาทในหน้าที่การงาน คือประมาทในหน้าที่บทบาทที่ได้รับทั้งบทบาท
ทางสังคม และหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ปล่อยหรือทอดทิ้งธุระ กิจการงานทำงานอ้าง
พลัดวันประกันพรุ่ง ร้อนนัก หนาวนัก เช้านัก ฯลฯ เป็นต้นจนกระทั้งหน้าที่การงาน
เกิดปัญหาเป็นต้น.
ธรรมประยุกต์ ๑๑๔

จริยธรรมขั้นกลาง
จริยธรรมขั้นกลาง พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงจริยธรรมขั้นกลางคือขั้นที่
ละเอียดกว่าศีล และมีข้อปฏิบัติมากกว่า ศีล คือ กุศลกรรมบถ3 ๑๐ คำว่า “กุศล
กรรมบถ” ประกอบด้วย กุศล + กรรม + บถ กุศล แปลว่า ดี, ฉลาด กรรม
แปลว่า การกระทำ บถ แปลว่า ทาง รวมความเข้าด้วยกัน หมายถึง ทางแห่งการ
ทำหรือประพฤติความดี ๑๐ ประการ โดยได้แยกความประพฤติหรือจริยะ ๓ ทาง
คือ ทาง กาย เรียกว่า กายสุจริต ๓ ทางวาจา เรียกว่า วาจาสุจริต ๔ และ ใจ
เรียกว่า มโนสุจริต ๓
๑) กายสุจริต4 ๓ คือ การประพฤติดีทางกาย ๓ ได้แก่
๑. ปาณาติ ป าตา เวรมณี เจตนางดเว้ น จากการฆ่ า สั ต ว์
๒. อทิ น าทานา เวรมณี เจตนางดเว้ น จากการลั ก ทรั พ ย์
๓. กาเมสุ มิ จฉาจรารา เวรมณี เจตนางดเว้ นจากการประพฤติผิด
ประเวณี
๒) วจีสุจริต ๔ คือ การประพฤติดีงามทางวาจา ๔ ได้แก่
๔. มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา เวรมณี เจตนาเว้นจากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปวาจา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๓) มโนสุจริต ๓ คือการประพฤติดีงามทางใจ ๓ ได้แก่
๘. อนภิชฌา ไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
๙. อพยาบาท ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
๑๐.สัมมาทิฏฺฐิ เห็นความถูกต้องตามคลองธรรม
ในการอธิบายจริยธรรมขั้นต้นได้พออธิบายไปแล้วบ้างลำดับต่อไปจะอธิบาย
ศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรมที่ซ้ำกันก็ไม่อธิบายจะอธิบายหัวข้อต่อไป ดังนี้
ปิสุณาวาจา เวรมณี : เจตนาเว้นจากการพูดส่อเสียด

3 ที.่ ปา. ๑๑/๓๖๐/๒๘๔ ; ๔๗๑/๓๓๗.


4 ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๒๗; อภิ.สํ. ๓๔/๘๔๐/๓๒๗.
ธรรมประยุกต์ ๑๑๕

จริยธรรม : ไม่พูดส่อเสียดให้เกิดการแตกแยก
คุณธรรม : เป็นผู้ไม่ทำให้เกิดการแตกแยกความสามัคคี เสียดสีถาก
ถางผู้อื่น และไม่เป็นคนที่ข่มผู้อื่น เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องและ
เชื่อถือ
ผรุสวาจาย เวรมณี : เจตนางดเว้นการพูดคำหยาบ
จริยธรรม : ไม่พูดคำหยาบ ด่า แช่ง ให้กินแหนงแคลงใจผู้อื่น
คุณธรรม : เป็นที่รักแก่ผู้อื่นไม่ทำให้ผู้อื่นได้ผูกพยาบาท โกรธเคือง
และเป็นที่เคารพนับถือแก่มนุษย์และเทวดา คำที่ว่าคำ
หยาบคาย ในพระบาลีได้แสดงเอาไว้ ๑๐ ประการ
ได้แก่
๑) ด่าเกี่ยวกับชาติ เช่น ไอ้ชาติไพร่ ชาติขี้ข้า ชาติยาจก ชาติหิน ชาติ
นักเลง
๒) ด่าเกี่ยวกับนาม เช่น (ชื่อ) ไอ้เปรต ได้งั่ง ไอ้ทุย ฯลฯ
๓) ด่าเกี่ยวกับโคตร เช่น ตระกูล วณิพก พวกไพร่สกุล พวกหัวขโมย ฯลฯ
๔) ด่าเกี่ยวกับงาน (อาชีพ) เช่น คนจับกัง คนขนขยะ ไอ้กุลี ฯลฯ
๕) ด่า เกี่ยวกับศิลปะ เช่น วิชาเช็ดรถ วิชากวาดถนน วิชาขัดรองเท้า ฯลฯ
๖) ด่าเกี่ยวกับโรคภัย เช่น ไอ้โรคเรื้อน ไอ้กุฏฐัง กามโรค โรคประสาท ฯลฯ
๗) ด่าเกี่ยวกับรูปร่าง เช่น ไอ้อ้วน ไอ้ผอม ไอ้แคระ ไอ้เตี้ย ไอ้โย่ง ฯลฯ
๘) ด่าเกี่ยวกับกิเลส เช่น พวกมิจฉาทิฐิ เจ้าโทโส คนตัณหาจัด เฒ่าหัวงู
๙) ด่ า เกี ่ ย วกั บ อาบั ต ิ เช่ น สมี ปราชิ ก สั ง ฆาทิ เ สส ปาจิ ต ตี ย ์ ทุ ก กฎ
๑๐) ด่าเกี่ยวกับคำหยาบต่าง (อักโกสะ) เช่น ไอ้ มึง กู อีก สันดานดิบ ฯลฯ
สัมผัปปลาปวาจาา เวรมณี : เ จ ต น า เ ว ้ น จ า ก ก า ร พ ู ด เ พ ้ อ เ จ้ อ
จริยธรรม : การไม่พูดเพ้อเจ้อ
ธรรมประยุกต์ ๑๑๖

คุณธรรม : เป็นผู้ที่มีความสัตย์ พูดแต่ประโยชน์และ


มีสาระเป็นที่เชื่อถือแก่คนทั้งหลาย
ใน “ติรัจฉานกถา” พระบาลีได้แสดงคำที่พูดเพ้อเจ้อ ไว้ ๓๒ ประการ คือ
๑) พูดเกี่ยวกับพระราชา ๒) พูดเกี่ยวกับเรื่องโจร
๓) พูดเกี่ยวกับทหาร ตำรวจ ๔) พูดเกี่ยวกับรัฐมนตรี
๕) พูดเกี่ยวกับเรื่องภัยต่าง ๖) พูดเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์
๗) พูดเรื่องอาหารการกิน ๘) พูดเรื่องเครื่องดื่ม
๙) พูดเรื่องเสื้อผ้า ๑๐) พูดเรื่องที่นอน
๑๑) พูดเรื่องดอกไม้ ๑๒) พูดเรื่องกลิ่นหอม
๑๓) พูดเรื่องวงศาคณาญาติ ๑๔) พูดเรื่องยานพาหน
๑๕) พูดเรื่องหมู่บ้าน ๑๖) พูดเรื่องนิคม
๑๗) พูดเรื่องสตรี ๑๘) พูดเรื่องจังหวัด
๑๙) พูดเรื่องชนบท ๒๐) พูดเรื่องบุรุษ
๒๑) พูดเรื่องหญิงสาว ๒๒) พูดเรื่องชายหนุ่ม
๒๓) พูดเรื่องความกล้าหาญ ๒๔) พูดเรื่องถนนหนทาง
๒๕) พูดเรื่องท่าน้ำ ๒๖) พูดเรื่องญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
๒๗) พูดเรื่องต่างๆ นานา ๒๘) พู ด เรื ่ อ งโลกและผู้ ส ร้ างโลก
๒๙) พูดเรื่องมหาสมุทร และผู้สร้างมหาสมุทร
๓๐) พูดเรื่องความเจริญและเสื่อม ๓๑) พูดเรื่องป่า
๓๒) พูดเรื่องภูเขา
อนภิชฺฌา : ไม่คิดโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
จริยธรรม : การไม่ประพฤติโดยละโมบ โลภของคนอื่นที่มีเจ้าของดิ้น
รนที่อยากจะหาวิธีในการที่จะได้มา เช่น วางแผน
คุณธรรม : เมื่อปฏิบัติในการไม่คิดที่จะละโมบของคนอื่นไม่อยากได้
ของคนอื่นมา เป็นของตัว ก็จะได้รับการยกย่องว่าเป็น
คนที่รักษาศีล ได้รับความไว้ เนื้อเชื่อใจจากคนรอบข้าง
อพยาบาท : ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
จริยธรรม : ไม่กระทำการปองร้ายคนอื่น วางแผน ปล่อยวางละจิตที่
คิดพยาบาทอาฆาต
ธรรมประยุกต์ ๑๑๗

คุณธรรม : เป็นคนที่มีจิตใจผ่องใส ไม่ขุ่นหมองด้วยพยาบาท ไม่


อาฆาต
มิจฉาทิฏฐิ : การไม่มีความเห็นผิด คือ เห็นผิดเป็นชอบ เห็นชอบเป็นไม่
ชอบ
จริยธรรม : พยายามละความคิดเห็นที่ผิดๆ มีจิตใจเป็นกลาง แล้ว
ปฏิบัติตนให้ชอบธรรมถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
คุณธรรม : เมื่อปฏิบัติตนเช่นดังกล่าวแล้วจะกลายเป็นคนมี
ความเห็นถูกต้อง เห็นเรื่องจริงแห่งชีวิต เห็นผิด เป็นผิด
เห็นชอบเป็นชอบ
คำว่า สัมมาทิฏฐิ นี้จะตรงกันข้ามกับคำว่า มิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่าง คือ
๑) นัตถิกทิฏฐิ คือ ลัทธิที่เห็นว่าผลกำมไม่มีจริงคือ ปฏิเสธผลบุญ การ
บูชา การต้อนรับ การทำดีทำชั่ว ปฏิเสธภพนี้ ภพหน้า คุณมารดา คุณบิดา เปรต
เทวดา พรหม ปฏิเสธการบรรลุคุณธรรมของสมณพราหมณ์
๒) อเหตุกทิฏฐิ คือ ลัทธิที่เห็นว่ากรรมดี กรรมชั่วเป็นเหตุก่อให้เกิดผลได้
ผู้ปฏิเสธเหตุ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิเสธทั้งเหตุทั้งผล
๓) อกิริยทิฏฐิ คิอ ลัทธิที่เห็นว่าทำดี ทำชั่วด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำ ไม่
ชื่อว่าเป็นบาป หรือบุญ ทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ คือ สักแต่ว่าทำลัทธิอกิริยทิ ฏฐินี้
ปฏิเสธการกระทำอัน เป็น ตั ว เหตุ ก็เท่ากับปฏิ เสธผลของการกระทำด้ ว ยเช่ น กั น
(ปฏิเสธทั้งเหตุทั้งผล)
จริยธรรมขั้นสูง
จริยธรรมขั้นสูงทางพระพุทธศาสนา คือ มรรคมีองค์ ๘ หมายถึง ทาง
แห่งการดับทุกข์ บางที ก็เรียกว่า วิถี แห่งการดับทุกข์ที่ได้แสดงในอริยสัจจ์ ๔
มรรคมีองค์ ๘ ได้ชื่อว่าเป็นจริยธรรมขั้นสูง เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่จะไปสู่ความมุ่ง
หมายหรือเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า “พระนิพพาน” บางครั้ง
จะเรียกข้อปฏิบัตินี้เรียกว่า ทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา ประกอบด้วย5

5 ม.มู. ๑๒/๒๖/๒๖ ; อภิ. วิภงฺค ๓๕/๕๖๙-๕๗๗/๓๑๗-๓๑๗


ธรรมประยุกต์ ๑๑๘

๑ . ส ั ม ม า ท ิ ฏ ฐิ (Right View; Right Understanding) ป ั ญ ญ า


เห็นชอบ วิปัสสนา ญาณ คือเห็นหรือตรัสรู้อริยสัจ ๔
๒. สัมมาสังกัปปะ (Right Thought) ดำริชอบ คิดหลีกจากกามารมณ์ อภัย
ไม ่ พ ยาบ าท จ อ งร ้ า ย ไม ่ ค ิ ด ท ำใ ห้ ผ ู ้ อ ื ่ น เด ื อ ด ร้ อ น
๓. สัมมาวาจา (Right Speech) เจรจาชอบ เว้นจากวจีทุจริต ๔ พูดจริง
อ่ อ นหวาน ผสานไมตรี พอเหมาะแก่ ก าลและเวลา
๔. สัมมากัมมันตะ (Right Action) ทำการงานชอบ เว้นจากกายทุจริต ๓
เมตตาต่อสรรพสัตว์ เว้นจาก โจรกรรม สันโดษในกามประเวณี
๕. สัมมาอาชีวะ (Right Livelihood) เลี้ยงชีพชอบ เว้นมิจฉาชีพ ทุจริต ผิด
ก ฎ ห ม า ย แ ล ะ ศ ี ล ธ ร ร ม ป ร ะ เ พ ณี
๖.สั ม มาวายามะ (RightEffort) เพี ย รชอบพยายาม ละอบายอกุ ศ ล และ
บำเพ็ญบุญ เป็นต้น
๗. สั ม มาสติ (Right Mindfulness) ระลึ ก ชอบคุ ม สติ ส ำรวมอารมณ์ คื อ
ระลึกในสติปัฏฐาน ๔
๘. สัมมาสมาธิ (Right Concentration) ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌาน ๔
๑) สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ หมายถึงความเห็นที่ถูกต้องในธรรมชาติ
ของชีวิต กฎธรรมชาติ เห็นจริงในอริยสัจจ์ ๔ ในไตรลักษณ์ ๓ และปฏิจจสมุปบาท
๑๒ เป็นต้น หรือมีความเห็นที่ถูกต้องในเรื่องความดีความชั่ว ความถูก ความผิด
เป็นต้น ซึ่งความเห็นชอบมีปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฏฐิ6 ๒ ประการ คือ
ก. ปรโตโฆสะ คือ การได้รับคำสั่งสอนชี้แนะจากบุคคลอื่น ได้ศึกษา
เล่าเรียนจากผู้อื่นที่เป็นกัลยาณมิตร หรือ เรียกว่าความรู้หรือปัญญา
เกิดจากการกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก
ข. โยนิโสมนสิการ คือการใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น
คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา
รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็น
ตามสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย

6 ม.มู. ๑๒/๔๙๗/๕๓๙; องฺ.ทุก. ๒๐/๓๑๗/๑๑๐.


ธรรมประยุกต์ ๑๑๙

๒) สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การดำริหรือการครุ่นคิด ที่


ถูกต้อง ความดำริที่ถูกที่ชอบขึ้นต้น เช่น ความตั้งใจในทางที่ดี ตัวอย่าง ความตั้งใจ
ที่จะเป็นนักศึกษาที่ดี มีความตั้งใจเรียน และหน้าที่ของความเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่
เป็นต้น ส่วนความดำริที่ถูกต้องที่ชอบ ชั้นสูง ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
ได้แก่
ก. เนกขัมมสังกัปปะ คือ ดำริในการที่จะออกจากวัตถุกาม ได้แก่ รูป
เสียงกลิ่น รส สัมผัส เป็นต้น
ข. อวิหิงสาสังกัปปะ คือ ดำริในการที่จะไม่เบียดเบียน
ค. อัพยาปาทสังกัปปะ คือ ดำริในการที่จะไม่พยาบาทมีความเมตตา
๓) สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบหมายถึงการพูดแต่คำสัตย์จริ ง พูดแต่
สิ่งที่ไม่ก่อทุกข์ให้แก่ตนเองและผู้อื่น การเจรจาที่ถูกที่ชอบนั้นต้องไม่กล่าวหรือพูด
ดังต่อไปนี้
ก. มุสาวาท คือ พูดเท็จ
ข. ปิสุณาวาจา คือ พูดส่อเสียด
ค. ผรุสวาจา คือ พูดหยาบคายไม่สุภาพ
ง. สัมผัปปลาปวาจา คือ พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
๔) สัมมากัมมันตะ คือ การงานชอบ หมายถึงการกระทำทางกายกิริยา
ทางกาย เช่น การเคารพสิทธิ และเสรีภาพส่วนบุคคล คือเว้นกายทุจริต ๓ คือ
ก. ปาณาติบาต คือการฆ่าสัตว์
ข. อทินาทาน คือ เอาสิ่งของที่มีเจ้าของที่เขาไม่ได้ให้
ค. กาเมสุมิจฉาจาร คือ การประพฤติผิดในกาม
๕) สั ม มาอาชี ว ะ คื อ เลี ้ ย งชี พ ชอบ หมายถึ ง การประกอบอาชี พ โดย
แสวงหาปัจจัย ๔ หรือเครื่องบริโภค อุปโภค มาเลี้ยงตัวเอง หรือครอบครัว ความ
แสวงหาในทางที่ชอบด้วยศีลธรรม ถูกกฎหมาย และ ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดี
งาม ไม่แสวงหาโดยการเบียดเบี ยนคนเองและผู้อ ื่นทั ้งทางตรงและทางออ้ ม เช่น
การค้าขาย หรือประกอบอาชีพผิดๆ ได้แก่
ก. สัตถวณิชชา คือ ค้าขายศัตราวุธ
ข. มนุสสวณิชชา คือ ค้าขายมนุษย์
ค. มัชชวณิชชา คือ ค้าขายน้ำเมาและยาเสพติให้โทษ
ธรรมประยุกต์ ๑๒๐

ง. วิสวณิชชา คือ ค้าขายยาพิษ หรือของที่เป็นพิษ


๖) สั ม มาวายามะ คื อ ความเพี ยรพยายามชอบ หมายถึ ง ความเพี ย ร
พยายามในอันจะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นไปในทางที่ถูที่ชอบ และความเพียรพยายาม
นั้นจะต้องต่อเนื่องกันไม่ขาดตอนดำเนินไปอย่างจริงจังมั่นคง จนกว่าจะสำเร็จตาม
เป้าหมายความพยายามเหล่านั้นมีอยู่ ๔ สถาน เรียกว่า ปทาน7 ๔ คือ
ก.สั ง วรปาธาน คื อ เพี ย รพยายามละบาปอกุ ศ ลไม่ ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น
ข. ปหานปธาน คื อ เพี ย รพยายามละบาปอกุ ศ ลที ่ เ กิ ด ขึ ้ น แล้ ว
ค. ภาวนาปธาน คื อ เพี ย รพยายามให้ ก ุ ศ ลที ่ ย ั ง ไม่ เ กิ ด ให้ เ กิ ด ขึ้ น
ง. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรพยายามรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อ
และให้พอกพูนขึ้น
๗) สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ หมายถึง จิตที่ตื่นตัว ไม่หลงลืม ไม่
หลงใหล ไม่ประมาท หรือจิตที่จดจ่อกับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือความระลึกชอบ
จะหมายถึงการระลึกก่อนพูด ก่อนทำ ให้รู้สึกตัวว่าจะพูดอะไรจะทำอะไร ความระลึก
ชอบ จึงเป็นการป้องกันมิให้เกิดความผิดพลาด หรือพลั้งพลาด บกพร่อง อันเป็น
ผลสืบเนื่องไปสู่ความประมาท และยังผลให้เกิดความเสียหาย โดยการกำหนดสตินั้นมี
อยู่ ๔ ฐาน ที่เรียกว่า สติปัฏฐาน8 ๔ ได้แก่
ก. กายานุปัสสนา คือ การพิจารณากาย
ข. เวทนานุปัสสนา คือ การพิจารณาเวทนา
ค. จิตตานุปัสสนา คือ การพิจารณาจิต
ง. ธัมมานุปัสสนา คือ การพิจารณาธรรม
๘) สัมมาสมาธิ9 คือความตั้งใจชอบหมายถึง ความตั้งในแห่งจิต หรือการ
ควบคุมจิตให้มั่นไม่ปล่อยให้เป็นไปตามอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ สมาธิแบ่ง
ออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้.
ก. ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ เป็นสมาธิขั้นธรรมดาที่เราสามารถ
ปฏิบัติ ได้ในชีวิตประจำวันซึ่งถือว่าเป็นสมาธิเบื้องต้น

7 องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๖๙; ๑๔/๒๐; ๑๓/๑๙.


8 ที.ม. ๑๐/๒๗๓/-๓๐๐; องฺ.จตุกฺก.๒๑/๔๑/๕๗.
9 สงฺคณี อ. ๒๐๗ ; วิสุทธิ. ๑/๑๘๔.
ธรรมประยุกต์ ๑๒๑

ข. อุปจารสมาธิ คือ สมาธิระดับกลาง คือ สมาธิที่สูงขึ้นไปใกล้กับ


ระดับปฐมฌานคือ ความสงบใจจวนจะแน่วแน่
ค. อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิระดับสูง คือ นับตั้งแต่ขั้นปฐมฌานถึง
จตุตถฌานเป็นสมาธิแน่วแน่ ได้แก่ ภาวะ ของจิตที่แพ่งอารมณ์จวน
แน่วแน่
การปฏิ บ ั ต ิ เพื ่ อ ให้ เ กิ ด สมาธิ จ ิ ต นั ้ น ย่ อ มมี ก ลวิ ธ ี หรื อ กลอุ บ ายสำหรั บ
เหนี่ยวนำสมาธิซึ่งพรอรรถกถาจารย์ได้รวบรวมข้อปฏิบัติที่เป็นกลวิธีต่างๆ ถึง ๔๐
อย่างให้เป็นอารมณ์ของสมาธิ เรียกว่า “กรรมฐาน10 ๔๐” ได้แก่
ก. กสิณ11 ๑๐ คือวัตถุ อันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูง
จิตให้เป็นสมาธิ
ข. ข. อสุภะ12 ๑๐ คือพิจารณาสิ่งไม่งาม หรือซากศพในสภาพ
ต่างๆใช้เป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน13
ค. อนุ ส สติ 14 ๑๐ คื อ ความระลึ กถึ ง หรื อ อารมณ์อั นควร
ระลึกถึงเนื่องๆ15
ง. อัปปมาญญา ๔
จ. อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ คือ กำหนดพิจารณาความเป็น
ปฏิกูลในอาหาร
ฉ. จตุธาตุวัฏฐาน ๑ คือกำหนดพิจารณาธาตุ ๔ สักว่าเป็น
ธาตุแต่ละอย่าง

10 วิสุทธิ. ๑/๑๓๙; สังคห.๕๑.


11 กสิน ๑๐ แบ่งออกเป็น ๓ คือ ภูตกสิณ ๔ กสิณคือ ๑.มหาภูตรูป ได้แก่ เพ่งดิน น้ำ ไฟ ลม ๒. วรรณกสิณ ๔
กสิณคือสี ได้แก่ เขียว เหลือง แดง และขาว ๓. ปกิณกะกสิณ อืน่ ๆ ๒ คือ แสงสว่าง และ ช่องว่าง. เป็นต้น.
12 พิจารณา ซากศพ ๑๐ อย่าง คือ ๑.ซากศพเน่าพองขึน้ อืด ๒. ซากศพเขียวคล้ำ ๓. ซากมีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม
๔.ซาก ที่ขาดจากกัน ๕. ซากศพที่ถูกสัตว์จิกทึ้งกินแล้ว ๖. ศากที่กระจุยกระจาย ๗. ซากศพที่ถูกสับฟันบั่น
เป็นท่อนๆ ๘. ซากศพที่มีโลหิตไหลออบเรี่ยราดอยู่ ๙. ซากศพที่มีน้ำหนองคลาดล่ำ๑๐. ซากศพทีย่ ังเหลืออยู่แต่
ร่างกระดูก หรือท่อนกระดูก
13 วิสุทธิ. ๑/๒๒๖.
14 การละลึก ๑๐ อย่าง คือ ๑. พระพุทธเจ้า ๒. พระธรรม ๓. พระสงฆ์ ๔.ศีล ๕. การบริจาค ๖. เทวดา ๗. ระลึก ถึง
ความตาย ๘. ระลึกกายว่าประกอบขึ้นจากขันธ์ ๕ ๙. สติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐. ระลึกถึงธรรมที่สงบ เช่นนิพพาน.
15 องฺ.เอก.๒๐/๑๗๙-๑๘๐/๓๙-๔๐ ; ๒๒๔/๔๕; วิสุทธิ..๑/๒๕๑.
ธรรมประยุกต์ ๑๒๒

ช. อรูป16 ๔ คือ อรูปฌาน, ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ หรือ


ภพของอรูปพรม17

16 ฌานอันกำหนดอากาศ๑ ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดไม่ได้๑ ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร๑ และ ฌาน


อันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่๑
17 ที..ปา. ๑๑/๒๓๕/๓๓๕. ; สํ.สฬ.๑๘/๕๑๙/๓๒๖.

You might also like