You are on page 1of 58

วัสดุกันกระแทกที่มีหน้าที่จำเพาะสำหรับบรรจุภัณฑ์ผลิตผลสด

Functional Cushion for Fresh Produce Packaging

จัดทำโดย
นายสุระธาดาพงศ์ จำเริญเพิ่มกิจ B6215330
นายภาณุวิชญ์ ชุมจันทร์ B6215668
นางสาวปาณิสรา เป็นซอ B6221447
นางสาวศศิธร ดาวสี B6224387

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตติยา ตรงสถิตกุล

รายวิชา 528415 โครงงานวิศวกรรมพอลิเมอร์ ภาคการศึกษา 1/2565


สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี

กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงลงได้ เนื่องจากได้รับความช่วยเหลืออย่างดียิ่ง ทั้งด้านวิชาการ เเละด้านการ
ดำเนินงานวิจัย จากบุคคล เเละกลุ่มต่างๆได้เเก่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ตติยา ตรงสถิตกุล อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ
เป็นอย่างดีมาโดยตลอดรวม ทั้งช่วยตรวจทานให้คำแนะนำในการแก้ไขข้อบกพร่อง ระหว่างการดำเนินงานให้
คำปรึกษาด้านวิชาการอันเป็นประโยชน์ ข้อคิดต่างๆให้แก่คณะผู้จัดทำโครงงาน จนโครงงานฉบับนี้เสร็จ
สมบูรณ์ คณะผู้จัดทำโครงงานจึงขอ กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ คุณเกวลิน จิตรโคกกรวด ที่ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ ช่วยแก้ปัญหาข้อบกพร่องใน
การทดลอง ให้คำแนะนำและให้กำลังใจ ผู้จัดทำโครงงานมาโดยตลอด และช่วยเหลือการทดลอง ชี้แนวทางการ
ดำเนินงาน
ขอขอบพระคุณ คุณนุชจรี เวชวิริยะกุล เจ้าหน้าที่ห้องปฎิบัติการที่สอนการใช้งานเครื่องมือและ
อุปกรณ์ในห้องปฎิบัติการ และคอยช่วยเหลือข้อมูลและผลวิจัย ที่มีประโยชน์ต่อโครงงานฉบับนี้
ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ให้ทุนการสนับสนุนโครงงาน ท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณ
ครูบาอาจารย์ที่เคารพรักทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ที่ดี ให้แก่คณะผู้จัดทำโครงงาน รวมถึงเจ้าหน้า-
ที่ประจำห้องปฏิบัติการต่างๆที่เกี่ยวข้อง และทางคณะผู้จัดทำโครงงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงงานนี้ จะเป็น
ประโยชน์ต่อผู้มีความสนใจ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ทางคณะผู้จัดทำขออภัยมา ณ โอกาสนี้

(คณะผู้จัดทำโครงงาน)
สุระธาดาพงศ์ จำเริญเพิ่มกิจ
ภาณุวิชญ์ ชุมจันทร์
ปาณิสรา เป็นซอ
ศศิธร ดาวสี

บทคัดย่อ
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ มาเสริมคุณสมบัติการต้านทานเชื้ อ
แบคทีเรีย โดยการทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโนเคลือบลงบนผิวของตาข่ายโฟมยาง ซึ่งทาด้วยแปรงพู่กัน
ทาสี จำนวน 2 ชุด ในการแบ่งแยกสำหรับทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน สำหรับปกป้องผลไม้จากการเกิด
เชื้อแบคทีเรีย ทำการศึกษาโดยใช้ผลฝรั่งเป็นวัสดุตัวทดสอบ ห่อหุ้มกับตาข่ายโฟมยาง 8 รูปแบบ คือ แบบไม่มี
ตาข่ายโฟมยางห่อหุ้ม แบบห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางธรรมชาติปกติ ที่ไม่มีการทาเคลือบสาร แบบห่อหุ้มด้วย
ตาข่ายโฟมยาง ที่ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านที่สัมผัสกั บผลฝรั่ง แบบห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์
นาโน ด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับผลฝรั่ง แบบห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโน ด้านที่สารสัมผัสกับ
ผลฝรั่งและด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง แบบห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโน ด้านที่สัมผัสกับผลฝรั่ง
แบบห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโน ด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง และ แบบห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟม
ยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านที่ สารสัมผัสกับผลฝรั่งและด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง โดยสารซิลเวอร์นาโนและ
ซิงค์นาโนที่ทาเคลือบบนตาข่ายโฟมยางจะทาด้วยปริมาณ 2.67phr และ 6.96 phr ตามลำดับ ผลการทดสอบ
พบว่าสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน ที่มีฤทธิ์ในการต้านทานเชื้อแบคทีเรีย จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นแปรผัน
ตามระดับปริมาตรของสารที่ทาใส่ เคลือบลงบนผิวของตาข่ายโฟมยาง จากการทดสอบใส่สารซิลเวอร์นาโน
และซิงค์นาโน มีความสามารถในการป้องกั น และต้านทานเชื้อแบคทีเรียได้ ไม่เพียงพอ จึงทำให้ฝรั่งที่ไม่มีการ
ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางสามารถป้องกัน และต้านทานเชื้อแบคทีเรียกับผลฝรั่งได้ดีที่สุด จึงสรุปได้ว่าในการ
เติมสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน โดยวิธีการทาเคลือบลงบนผิวของตาข่ายโฟมยาง จากการทดสอบ ยังมี
ประสิทธิภาพในการต้านทานเชื้อแบคทีเรีย แต่เห็นได้ชัดว่า สารซิลเวอร์นาโนจะมีประสิทธิภาพ ในการ
ต้านทานเชื้อแบคทีเรียที่น้อย เนื่องจากใส่สารดังกล่าวน้อยเกินไป และสารซิงค์นาโน มีประสิทธิภาพในการ
ต้านทานเชื้อแบคทีเรียได้ดี แต่จะมีประสิทธิภาพในการต้านทานเชื้อแบคทีเรียที่มีขีดจำกัด ประสิทธิภาพจะ
ลดลงเรื่อยๆ จนเทียบเท่ากับ ตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ ที่ไม่ได้ทาสารในการต้านทานเชื้อแบคทีเรีย จึงต้องทำ
การมองหาเป็นวิธีใหม่ ได้แก่ การเเช่ตาข่ายโฟมยางลงไปในซิงค์และซิลเวอร์นาโน ให้ สารซึมเข้าไปในเนื้อของ
ตาข่ายโฟมยาง หรือการผสมสารลงไปในเนื้อโฟมยาง ระหว่างผสมในการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยาง จึงเป็นเเนวทาง
ใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ สารซิลเวอร์และซิงค์นา เข้าไปสัมผัสกับผิวเนื้อของ ผลไม้ หรือ ผลิตผลสด โดยตรง

สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ.............................................................................................................. ................................ก
บทคัดย่อ............................................................................................................................................................ข
สารบัญ...............................................................................................................................................................ค
สารบัญตาราง/สารบัญรูปภาพ...........................................................................................................................ฉ
บทที่ 1 บทนำ.....................................................................................................................................................1
1.1 ที่มาของโจทย์ปัญหาวิศวกรรมและแรงจูงใจในการดำเนินโครงงาน...............................................1
1.2 การศึกษางานที่มีผู้ศึกษามาก่อน………………………………………………………………………….................2
1.2.1 ผลของอนุภาคซิลเวอร์นาโนต่อคุณสมบัติทางกายภาพและต้านแบคทีเรีย
ของตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ…………………………………………………………………………...............2
1.2.2 ผลของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในฐานะตัวเร่งปฏิกิริยา
ต่อคุณสมบัติของยางธรรมชาติ………………………………………………………………………...............3
1.3 สรุปแนวทางการแก้ปัญหา……………………………………………………………………………………..............4
1.4 วัตถุประสงค์ของโครงงาน..............................................................................................................5
1.5 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา.........................................................................................................5
1.6 ผลกระทบด้านกฎหมาย จรรยาบรรณและแนวปฏิบัติ…………………………………………….................5
1.7 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม..............................................................................................................6
1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ............................................................................................................6
บทที่ 2 ทฤษฎีและพื้นฐานความรู้ที่เกี่ยวข้อง……………………………………………………………………………..............7
2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยางธรรมชาติ…………………………………………………………………………..............7
2.1.1สมบัติทั่วไปของน้ำยางธรรมชาติ............................................................................................7
2.1.2 โครงสร้างเคมียางของน้ำยางธรรมชาติ.................................................................................9
2.1.3 การรักษาสภาพน้ำยางธรรมชาติ.......................................................................................10
2.1.4 น้ำยางข้น............................................................................................................................11
2.2 การผลิตตาข่ายโฟมยางจากน้ำยางธรรมชาติ...............................................................................11
2.2.1 การผลิตตาข่ายโฟมยางแบบดันลอป (Dunlop process)..................................................11
2.2.2 การผลิตยางแบบทาลาเลย์ (Talalay process)..................................................................12
2.3 โฟมพลาสติก (Plastic foam).......................................................................................................13
2.3.1 ประเภทของโฟมจำแนกตามลักษณะของเซลล์..................................................................13
2.3.2 ประเภทของโฟมจำแนกตามลักษณะทางกายภาพ.............................................................13

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
2.4 ลักษณะความรุนแรงทางกายภาพที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง ผัก ผลไม้..................................................14
2.4.1 การกดทับ (compression)………………………………………………………………….....................15
2.4.2 การกระแทก (Impact)……………………………………………………………………….......................16
2.4.3 การสั่นสะเทือน (Vibration)………………………………………………………………........................16
บทที่ 3 เครื่องมือและวิธีการดำเนินโครงงาน...................................................................................................17
3.1 บทนำ............................................................................................................................................17
3.2 วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ดำเนินงานวิจัย..............................................................................17
3.3 สารเคมีและสูตรการผสม..............................................................................................................18
3.4 ขั้นตอนการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยางตาข่าย......................................................................................19
3.5 การเคลือบสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโบนผิวตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ.....................................21
3.5.1 ขั้นตอนการซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน..............................................................................22
3.6 การทดสอบคุณสมัติทางกายภาพ.................................................................................................24
3.6.1 ทดสอบความหนาน่นรวม (Bulk Density).........................................................................24
3.6.2 การทดสอบความแข็ง (Hardness Test)............................................................................24
3.6.3 การทดสอบวิเคราะห์ความเสถียรของวัสดุ (Material stability analysis test).................25
3.6.4 ทดสอบดูรายละเอียดโครงสร้างภายนอกและผิวของตาข่ายโฟมยาง..................................26
3.7 ทดสอบคุณสมบัติต้านทานเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial properties).......................................26
3.7.1 การหาคุณสมบัติทางกายภาพและการจำแนกผลฝรั่ง.........................................................27
3.7.2 วิธีการทำบรรจุภัณฑ์ในการทดสอบการต้านทานเชื้อแบคทีเรีย..........................................27
3.8 การประเมินประสิทธิภาพในการต้านทานแบคทีเรียทั้งหมด........................................................28
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน .................................................................................................................... ............29
4.1 บทนำ ...........................................................................................................................................29
4.2 ตาข่ายโฟมยางที่ผลิตได้................................................................................................................29
4.3 ลักษณะทางกายภาพของตาข่ายโฟมยาง......................................................................................29
4.4 การทดสอบ TGA (Thermogravimetric Analysis)....................................................................31
4.5 ภาพเปรียบเทียบการต้านทานแบคทีเรียที่มีตาข่ายโฟมยางต่างกัน..............................................33
บทที่ 5 ผลลัพธ์และอภิปราย............................................................................................................................44
5.1 สรุปผลของความหนาแน่น(Bulk Density)...................................................................................44

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
5.2 สรุปผลความแข็ง......................................................................................................................... 44
5.3 สรุปผลทางสัญฐานวิทยา............................................................................................................44
5.4 สรุปผลของอุณหภูมิที่ส่งผลต่อคุณสมบัติทางความร้อน..............................................................45
5.5 ผลของคุณสมบัติการต้านทานต่อแบคทีเรีย................................................................................45
อ้างอิง............................................................................................................................................................46
ภาคผนวก......................................................................................................................................................47
ภาคผนวก ก ตัวอย่างการคำนวณ.....................................................................................................47
ภาคผนวก ข กราฟของผลการทดลอง...............................................................................................48

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
ตารางที่ 1. แสดงผลปริมาณอนุภาคซิลเวอร์นาโนที่เพิ่มขึ้นต่อการต้านทานแบคทีเรีย E.coli และ S.aureus..2
ตารางที่ 1.2. แสดงการเติบโตของ E.coli ต่อโฟมยางธรรมชาติที่เวลาต่างๆ……………………………………………..4
ตารางที่ 1.3. แสดงการเติบโตของ S.aureus ต่อโฟมยางธรรมชาติที่เวลาต่างๆ………………………………………..4
ตารางที่ 2.1 แสดงองค์ประกอบของน้ำยางธรรมชาติ [3]........................................….......................................8
ตารางที่ 2.2 แสดงชนิดของน้ำยางและระบบการรักษาสภาพน้ำยางข้นที่ผลิตโดยวิธีการปั่น [5]....................10
ตารางที่ 3.1 สารเคมีและสูตรการผสมในการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ..................................................19
ตารางที่ 3.2 ตารางเเสดงวิธีการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ........................................................................................19
ตารางที่ 3.3 ตารางแสดงขั้นตอนการทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน.........................................................23
ตารางที่ 3.4 ตารางแสดงขั้นตอนการทำบรรจุภัณฑ์ในการทดสอบการต้านทานเชื้อแบคทีเรีย.......................27
ตารางที่ 4.1 แสดงค่าความหนาแน่นและความแข็งของชิ้นงาน.......................................................................30
ตารางที่ 4.2 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของผลฝรั่งที่ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยาง 8 แบบ...................................33

สารบัญรูปภาพ
รูปภาพที่ หน้า
รูปที่ 1.1 (A) ภาพแสดงผลการต้านทานแบคทีเรียของโฟมยางธรรมชาติต่อ S.aureus (B) ภาพแสดงผลการ
ต้ า นทานแบคทีเ รี ย ของโฟมยางธรรมชาติ ก ับ ซิ ล เวิ อ ร์ นาโน0.2 phr ต่ อ S.aureus (C) ภาพแสดงผลการ
ต้านทานแบคทีเรียของโฟมยางธรรมชาติต่อ E.coli (D) ภาพแสดงผลการต้านทานแบคทีเรียของโฟมยาง
ธรรมชาติกับซิลเวิอร์นาโน0.2 phr ต่อ E.coli…………………………………………………………………………………………2
รูปที1่ .2 (a) ภาพการวิเคราะห์ธาตุภายในตาข่ายยางธรรมชาติด้วย EDS (b) การแสดงการกระจายตัวของ
อนุภาคซิลเวอร์นาโนภายในตาข่ายยางธรรมชาติ…………………………………………………………………………………….3
รูปที่ 1.3 (B) ปริมาณซิงค์นาโนที่ 2 phr, (C) ปริมาณซิงค์ไมโครที่ 4 phr, (D) ปริมาณซิงค์นาโนที่ 4phr..…….4
รูปที่ 2.1 สูตรโครงสร้างของน้ำยางธรรมชาติ.....................................................................................................9
รูปที่ 2.2 ขั้นตอนกระบวนการผลิตโฟมยางแบบดันลอป.................................................................................12
รูปที่ 2.3 ขั้นตอนกระบวนการผลิตโฟมยางแบบทาลาเลย์...............................................................................12
รูปที่ 2.4 สัณฐานโครงสร้างของโฟม (ก) เซลล์เปิด (ข) เซลล์ปิด…………………………………................……………13
รูปที่ 2.5 ตัวอย่างสัณฐานของโฟมบางชนิด (ก) ชนิดยืดหยุ่น (ข) ชนิดแข็ง………………………………..................14
รูปที่ 2.6 การทดสอบการตอบสนองของวัสดุเมื่อมีแรงกด (compression force) มากระทำ........................15
รูปที่ 2.7 Modulus of Toughness ของวัสดุเหนียว (a) และวัสดุเปราะ (b).................................................16
รูปที่ 2.8 ความสั่นสะเทือน Vibration.............................................................................................................16
รูปที่ 3.1 การทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโนเคลือบผิวตาข่ายโฟมยางตามลำดับ......................................22
รูปที่ 3.2 ทดสอบวิเคราะห์ความเสถียรของวัสดุ (TGA)...................................................................................25
รูปที่ 3.3 แสดงรูปแบบต่างๆของตาข่ายโฟมยางธรรมชาติและตาข่ายโฟมยางที่เคลือบสาร............................27
รูปที่ 4.1 ผิวหน้าของตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน.......................................................30
รูปที่ 4.2 กราฟการเปรียบเทียบการเปลื่ยนแปลงน้ำหนักและอุณหภูมิ............................................................32
รูปที่ 4.3 กราฟการเปรียบเทียบอัตราการสูญเสียมวลเทียบกับอุณหภูมิ..........................................................32

คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ
NRLF Silver In = ตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านที่สัมผัสกับผลฝรั่ง
NRLF Silver Out = ตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับผลฝรั่ง
NRLF Silver In-Out = ตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านที่สารสัมผัสกับผลฝรั่งและด้านอกที่
ไม่สัมผัส
NRLF Zinc In = ตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านที่สัมผัสกับผลฝรั่ง
NRLF Zinc Out = ตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง
NRLF Zinc In-Out = ตาข่ายโฟมยางที่มีการทาซิงค์นาโนด้านที่สารสัมผัสกับผลฝรั่งและด้านนอกที่
ไม่สัมผัส
NRLF - Control = ตาข่ายโฟมยาง
NRLF - None = แบบไม่มีตาข่ายโฟมยางห่อหุ้ม
NR = ยางธรรมชาติ
ZnO = นาโนซิงค์ออกไซด์
ZMBT = ซิงก์เมอร์แคพโตเบนโซไทเอโซล
ZDEM = ซิงค์ไดเอทธิลไดไธโอคาร์บาเมต
DPG = ไดโพรไพลีนไกล
SSF = โซเดียมซิลิโคฟลูออไรด์
TEM = กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบทรานสมิสชัน
SEM = เทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิง
EDS = เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยสเปกโทรเมตรีรังสีเอกซ์
แบบกระจายพลังงาน
TGA = เทคนิคการวิเคราะห์ทางความร้อน
RPM = จำนวนรอบในหนึ่งนาทีเป็นหน่วยของความเร็วในการหมุน
Phr = หน่วยการผสมยางโดยคิดสัดส่วนปริมาณสารต่างๆ เมื่อเทียบกับยาง 100 ส่วน
(โดยน้ำหนัก
1

บทที่ 1
บทนำ
1.1 ที่มาของโจทย์ปัญหาวิศวกรรมและแรงจูงใจในการดำเนินโครงงาน (Motivation)
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งของโลก ในเเต่ล่ะปีมีผลผลิตมากมายหลาย
ประเภท ซึ่งปัจจุบันสินค้าเกษตรไม่ได้มุ่งเพื่อบริโภคภายในประเทศเพียงอย่างเดียว ยังมีการส่งออกไปตล าด
ต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพของ
ผลผลิตให้ได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาดส่งออกมากขึ้น ในทางด้านการขนส่งจะต้องมีตัววัสดุกัน
กระเเทกเพื่อไม่ให้ผลผลิตเกิดความเสีย หาย ในปัจจุบันได้มีการผลิตโฟมกันกระแทกมาจากพอลิสไตรีน
(Polystyrene) ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการเพื่อผลิตเป็นโฟมที่มีรูปร่างเป็นตาข่าย เพื่อใช้ในการเป็นวัสดุกัน
กระแทกเพื่อนำมากห่อหุ้มผลไม้ โฟมตาข่ายเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ช่วยป้องกันแรงกระแทกต่างๆ ที่
เกิดขึ้นกับผลไม้ตาข่ายโฟมยางจะสามารถป้องกันแรงกระแทกได้ดีกว่า การใช้กระดาษและฟาง เนื่องจากตา
ข่ายโฟมยางสามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดี และตาข่ายโฟมยางยังเป็นตัวช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค
เนื่องจากผู้บริโภคมีทัศนคติว่าผลไม้ที่ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยาง ต้องเป็นผลไม้ทไี่ ด้มีการคัดเลือกมาอย่างดี
ในปัจจุบันกลุ่มประเทศยุโรปได้มีการประกาศออกมาว่า จะยกเลิกการใช้วัสดุกันกระเเทกจากพอลิเมอร์
เหล่านี้ ทำให้ส่งผลต่อประเทศไทยเกษตรกรที่ต้องการจะส่งผลไม้ออก ในการที่จะต้องหาวัสดุใหม่เพื่อที่จะมา
ทดแทน ในกรณีที่ไม่สามารถหาวัสดุใหม่มาทดแทนผลลัพธ์ที่ตามมาคือการที่ไม่สามารถส่งออกได้ ซึ่งส่งผล
เสียหายต่อเกษตรกรผู้ส่งออกโดยตรง ดังนั้นต้องการปรับปรุงการขนส่งสินค้าให้ มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น พร้อม
กับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยใช้ ซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน ในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำยางธรรมชาติที่ใช้ใน
การซับแรงกระแทกของผลไม้ โดยต้องการปรับปรุงในด้านการป้องกันเชื่อรา ในปัจจุบันสินค้าจำพวกของผล
สดมีโอกาสการเกิดเชื่อราได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดความเสียหายได้
โดยการศึกษานี้จะมุ่งเน้นการศึกษาปัจจัยต่างๆที่จะมีผลต่อประสิทธิภาพ เมื่อทำการใส่สารต้านจุลินทรีย์
คือซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน ด้วยการทาเพื่อให้ได้คุณสมบัติของโฟมตามที่ต้องการ การศึกษาครั้งนี้จะทำให้
วัสดุกันกระแทกที่มีหน้าที่จำเพาะสำหรับบรรจุภัณฑ์ผลิตผลสด ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ดีขึ้น
2

1.2 การศึกษางานที่มีผู้ศึกษามาก่อน (Previous Work)


1.2.1 ผลของอนุภาคซิลเวอร์นาโนต่อคุณสมบัติทางกายภาพและต้านแบคทีเรียของโฟมยางธรรมชาติ
Khemara Mama และ Rapeephun Dangtungeeb ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตโฟมน้ำ
ยางธรรมชาติที่มีและไม่มีอนุภาคซิลเวอร์นาโน ที่ความเข้มข้น 200,000 ppm ในปริมาณ 0.05, 0.1, 0.15 และ
0.2 phr ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา กายภาพ และต้านแบคทีเรีย ผลจาก SEM EDS ยังแสดงให้เห็นว่ามี
อนุภาคซิลเวอร์ปรากฏ และกระจายตัวได้ดีในโฟมยางพาราธรรมชาติ สมบัติทางกายภาพด้านความหนาแน่น
และค่าการอัดตัวได้ตามค่าที่ต้องการและผลการทดสอบคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย

A B C D

รูปที่ 1.1 (A) ภาพแสดงผลการต้านทานแบคทีเรียของโฟมยางธรรมชาติต่อ S.aureus (B) ภาพแสดงผลการ


ต้ า นทานแบคทีเ รี ย ของโฟมยางธรรมชาติ ก ับ ซิ ล เวิ อ ร์ นาโน0.2 phr ต่ อ S.aureus (C) ภาพแสดงผลการ
ต้านทานแบคทีเรียของโฟมยางธรรมชาติต่อ E.coli (D) ภาพแสดงผลการต้านทานแบคทีเรียของโฟมยาง
ธรรมชาติกับซิลเวิอร์นาโน0.2 phr ต่อ E.coli

ตารางที่ 1. แสดงผลปริมาณอนุภาคซิลเวอร์นาโนที่เพิ่มขึ้นต่อการต้านทานแบคทีเรีย E.coli และ S.aureus


3

ตารางที่ 1 อธิบายภาพของการต้านทานแบคทีเรียด้วยขนาดวงรอบชิ้นโฟมยางธรรมชาติที่ไม่เคลือบอนุภาคซิล
เวอร์นาโน และ เคลือบอนุภาคซิลเวอร์นาโน 0.2 phr พบว่าโฟมยางธรรมชาติที่เคลือบด้วยอนุภาคซิลเวอร์นา
โน 0.2 phr เพิ่มความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย 48.3 % ต่อเชื้อ E. coli และ 25 %
ต่อเชื้อ S. aureus เมื่อเทียบกับโฟมยางธรรมชาติที่ไม่เคลือบอนุภาคซิลเวอร์นาโน

รูปที1่ .2 (a) ภาพการวิเคราะห์ธาตุภายในตาข่ายยางธรรมชาติด้วย EDS (b) การแสดงการกระจายตัวของ


อนุภาคซิลเวอร์นาโนภายในตาข่ายยางธรรมชาติ
รูปที่ 1.2 (a) อธิบายการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของโฟมยางพาราธรรมชาติโดยใช้ EDS ภาพนี้แสดง
จุดสูงสุดของซิลเวอร์นาโน จึงสรุปได้ว่าอนุภาคนาโนของซิลเวอร์แสดงอยู่ในโฟมยางธรรมชาติ จุดพีคสั้นเมื่อ
เทียบกับจุดอื่นๆ
รูปที่ 1.2 (b) แสดงการวิเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนที่กระจายอยู่ ในโฟมน้ำยางธรรมชาติโดยการตรวจสอบ
EDS จากภาพนี้ เห็นได้ชัดว่าไม่มีการรวมตัว ของซิลเวอร์นาโน ณ ตำแหน่งเฉพาะของโฟมยางธรรมชาติ
อนุภาคซิลเวอร์นาโนกระจายตัวได้ดีทั่วทั้งเมทริกซ์

1.2.2 ผลของอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ในฐานะตัวเร่งปฏิกิริยาต่อคุณสมบัติของยางธรรมชาติ
Ph.D. Indrajith Rathnayake และคณะได้ศึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิกาพการต้านเชื้อแบคทีเรียของโฟม
ยางธรรมชาติด้วยอนุภาคซิงค์นาโนออกไซด์ ที่ปริมาณ 2 และ 4 phr กับอนุภาคซิงค์ไมโครออกไซค์ที่ปริมาณ
4 phr โดยศึกษากับเชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (E.coli) และสแตฟิโลค็อกคัสออเรียส (S.aureus)
4

E.coli S.aureus
รูปที่ 1.3 (B) ปริมาณซิงค์นาโนที่ 2 phr, (C) ปริมาณซิงค์ไมโครที่ 4 phr, (D) ปริมาณซิงค์นาโนที่ 4 phr

ตารางที่ 1.2. แสดงการเติบโตของ E.coli ต่อโฟมยางธรรมชาติที่เวลาต่างๆ

ตารางที่ 1.3. แสดงการเติบโตของ S.aureus ต่อโฟมยางธรรมชาติที่เวลาต่างๆ


5

รูปที่ 1.3 แสดงผลการต้านทานแบคทีเรียที่สังเกตุได้จากวงรอบชิ้นยางทดลองเห็นได้ชัดว่าการเติมอนุภาคซิงค์


ช่วยต้านทานแบคทีเรีย
ตารางที่ 2.แสดงให้เห็นว่าจำนวนเชื้อแบคทีเรีย E.coli ลดลงเมื่อเทียบกับโฟมยางที่มีอนุภาคซิงค์ผสมอยู่เมื่อ
เวลาเพิม่ ขึ้น
ตารางที่ 3. ในชิ้นงานโฟมยางควบคุมพบว่าจำนวนเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้นตามเวลาต่างจากโฟมยางที่ที่อนุภาค
ซิงค์นาโนและซิงค์ไมโครที่สามารถลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียลงได้เวลาเพิ่มขึ้น แต่ซิงค์ไมโครเมื่อเวลาผ่านไป 3
ชั่วโมงกลับพบว่าปริมาณเชื้อแบคเทียเรียกลับเพิ่มขึ้น

สรุปแนวทางการแก้ปัญหา (Summary of Solutions to the Problem)


จากการศึกษางานที่ผู้อื่นทำมาก่อนและความรู้ที่ได้รับจากการเรียน โครงงานนี้จะเป็นการศึกษาปัญหา
เรื่องวัสดุกันกระแทกที่มีหน้าที่จำเพาะสำหรับบรรจุภัณฑ์ผลิตผลไม้สด โดยข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาและการ
ปรับปรุงในการศึกษาวิจัยโครงงาน โดยต้องวิเคราะห์อนุภาคการใส่สารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน ให้เข้ากับ
ตัวผลิตภัณฑ์ตาข่ายโฟมยาง ของการวิจัยของกลุ่มตนเองเพื่อให้มีประสิทธิภาพ เพราะจากการศึกษางานของผู้
ที่ศึกษามาก่อนทำให้ทราบว่า ต้องคำนวณความเข้มข้นที่ใส่ไป ปรับความเข้มข้นให้เข้ากับคุณสมบัติที่ต้องการ
ศึกษา ให้เหมาะสม แต่ละผลิตภัณฑ์ของผู้ศึกษามาก่อน จะใช้ความเข้มข้น ของสารที่มีความแตกต่างกัน
จนกระทั่งกระบวนการในการทดลอง ความแข็งแรง ความหนาแน่นของตาข่ายโฟมยางธรรมชาติที่ผสมกับ
สารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับผลิตภัณฑ์นั้นของผู้วิจัย
โดยคณะผู้วิจัยต้องสามารถใช้สมบัติของซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน เข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุกัน
กระแทก เพื่อในการปรับปรุงคุณภาพของยางธรรมชาติที่ใช้ในการซับแรงกระแทก ในสิ่งที่ต้องการปรับปรุงใน
ด้านการ ป้องกันเชื้อรา ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ แบคทีเรีย แก่ผลไม้สดเป็นต้น
1.4 เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.4.1 เพื่อศึกษาผลของซิล เวอร์น าโนและซิงค์นาโนที่เติม เข้าไปในโฟมกันกระแทกที่ทำจากน้ำยาง
ธรรมชาติต่อสมบัติการยับยั้งแบคทีเรีย
1.5 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
โครงงานนี้เป็นการศึกษาวัสดุกันกระแทกที่มีหน้าที่จำเพาะสำหรับบรรจุภัณฑ์ผลิตผลสด ที่เพิ่มซิล
เวอร์นาโนและซิงค์นาโนเพื่อป้องกันแบคทีเรีย โดยเริ่มทำตาข่ายโฟมยางที่มีส่วนผสมของ น้ำยางข้นชนิด
6

แอมโมเนียสูง(High Ammonia Latex) ,ซิงค์ไดเอทธิลไดไธโอคาร์บาเมต (ZDEC),ซิงก์เมอร์แคพโตเบนโซไทเอ


โซล (ZMBT) , ไดโพรไพลีน ไกลคอล(DPG) กำมะถัน (Sulfur) ที่มีสมบัติทำให้ยางคงรูป , K-oleate ,วิงสเตย์
แอล (Wingstay L), ซิงค์ออกไซด์(ZnO) และโซเดียมซิลิโคฟลูออไรด์(SSF) เมื่อได้ตาข่ายโฟมยางทำการทาซิล
เวอร์นาโน 3 แบบคือ 1.)ทาด้านหน้า2.67phr, 2.)ทาด้านหลัง2.67phr 3.)ทาด้านหน้าหลังข้างละ1.335 phr
และทาซิงค์นาโน 3แบบคือ 1.)ทาด้านหน้า6.96 phr, 2.)ทาด้านหลัง6.69phr 3.)ทาด้านหน้าหลัง ข้างละ
3.345phr
1.6 ผลกระทบด้านกฎหมาย จรรยาบรรณและแนวปฏิบัติ
ซิ ล เวอร์ น าโน สารกำจั ด ศั ต รู พ ื ช ทั ้ ง หมดจะต้ อ งลงทะเบี ย นกั บ EPA ตามกฎหมาย Federal
Insecticide Fungicide and Rodenticide Act (FIFRA) ภายใต้ FIFRA อนุภาคซิลเวอร์นาโนเป็นไปตามคำ
จำกัดความของสารกำจัดศัตรูพืช นั่นคือเป็นสารที่มีจุดประสงค์เพื่อฆ่าเชื้อ ฆ่าเชื้อ ลด หรือบรรเทาการ
เจริญเติบโตหรือการพัฒนาของสิ่งมีชีวิตทางจุลชีววิทยา ด้วยเหตุ นี้อนุภาคซิลเวอร์นาโนที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ
และต้องได้รับการควบคุมโดย EPA ให้เป็นสารกำจัดศัตรูพืช
ซิงค์นาโนสามารถใช้เป็นสารเติมแต่งอาหารได้ในปริมาณที่ต่ำหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่ง
ยุโรป (EFSA)ระบุว่าระดับรวม150ppm เป็นไปตามความต้องการทางสรีรวิทยาของสั ตว์สำหรับซิงค์นาโน
ทสามารถใช้อยู่ในทะเบียนสารปรุงแต่งอาหารอย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรปสหภาพ

1.7 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
1) อนุภาคซิลเวอร์นาโน (Silver nano) ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและจุลินทรีย์อื่นๆ ซึ่ง
จำเป็นต่อกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ในขณะเดียวกัน อนุภาคเหล่านี้ยังมีผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในน้ำและบนบก
ที่เป็นรากฐานที่สำคัญของระบบนิเวศในหลายๆแห่ง
2) อนุภาคซิงค์นาโน ZnO มีผลที่เป็นพิษต่อพืชที่เด่นชัดมากที่สุด ซึ่งช่วยลดมวลชีวภาพของรากและ
ยอดได้มากถึง 80% และ ZnO ไอออนิกทำให้เกิดการลดลง 25% ต้องใช้การปรับปรุงดินด้วย ZnO จำนวนมาก
ทำให้มวลชีวภาพของหน่อและรากเพิ่มขึ้น 225% และ 10% ตามลำดับ
ยางธรรมชาติ (Natural Rubber) เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติและเป็นวัสดุที่มีแหล่งที่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้
ปกติผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางธรรมชาติจะสามารถย่อยสลายไปเองได้ ยางธรรมชาติจัดว่ามิตรต่อสิ่งแวดล้อม
1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ลดการเกิดแบคทีเรียจากผลิตผลสด ป้องกันการช้ำของผลิตผลสด และป้องกันการกระแทกขณะการขนส่ง
7

บทที่ 2
ทฤษฎีและพื้นฐานความรู้ที่เกี่ยวข้อง
2.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับน้ำยางธรรมชาติ
ยางพารา (Hevea Brasiliensis) วัตถุดิบที่เริ่มแรกรู้จักกันในชื่อ“ Caouchouc” ซึ่งเป็นคำที่เรียก
ตามที่ Charles de la Condamine ใช้ (มาจากภาษาอินเดียหมายถึง ต้นไม้ร้องไห้) เป็นสารไอโซพรีน
(Isoprene) ที่ได้จากน้ำเลี้ยงของต้นยาง Hevea Brasiliensis ปัจจุบันรู้จักวัตถุดิบนี้ในนาม Natural rubber
(NR) และเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าต้นยางพารา นับเป็นแหล่งวัตถุดิบยางธรรมชาติที่ สำคัญที่สุดในปั จจุบัน
อาจนับเป็นพืชชนิดเดียวที่ให้ยางธรรมชาติซึ่งนำมาใช้ เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมผลิตวัตถุ
สำเร็จรูป
2.1.1 สมบัติทั่วไปของน้ำยางธรรมชาติ
เมื่อกรีดยางผ่านเปลือกของต้นยาง จะมีน้ ำยางซึมออกมาเป็นของเหลวสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนมหรือครีม
กลิ่นหอมเล็กน้อย มีความหนาแน่นระหว่าง 0.975 ถึง 0.980 กรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าความเป็นกรด-ด่างตั้งแต่
6.5 ถึง 7.0 ความหนืดและส่วนประกอบต่างๆ ของน้ ำยางจะ เปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น พันธุ์
ยาง อายุของต้นยาง และฤดูการกรีด เป็นต้น เมื่อนํา น้ำยางที่กรีดได้ไปตรวจสอบจะพบว่ามีอนุภาคขนาด
ต่างๆกันแขวนลอย (Dispersion) อยู่ใน ตัวกลางที่เป็นของเหลว อนุภาคเหล่านี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็ก
กว่า 5 ไมโครเมตร และมีประจุ เป็นลบซึ่งผลักกันตลอดเวลา จึงทําให้อนุภาคเหล่านี้สามารถแขวนลอย และคง
สภาพเป็นของเหลว อยู่ได้นานจนกว่าจะมีปัจจัยต่างๆ มารบกวนทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สําหรับส่วนของ
สารที่เป็น ตัวกลางนั้น โดยทั่วไปเรียกว่า เซรุ่ม (Serum)
น้ำยางมีลักษณะเป็นสารละลายคอลลอยด์ (Colloid) ชนิดไฮโดร โซล (Hydrosol) หรือสารละลายที่มีน้ํา
เป็นตัวทําละลาย แต่มีลักษณะพิเศษกว่าไฮโดรโซลทั่วไป คือ น้ำยางมีลักษณะ ถึงชอบน้ำ (Hydrophilic) คือ
ลักษณะที่เป็นสารละลายได้ง่ายเมื่อมีน้ ำเป็นตัวทําละลาย และ ไม่ชอบน้ำ (Hydrophobic) คือ ลักษณะที่ไม่
ยอมรวมกับน้ำ แต่ลักษณะที่ไม่ชอบน้ำจะเด่นกว่า นอกจากนี้น้ำยางยังประกอบด้วยส่วนที่ไม่ใช่ยาง ได้แก่ สาร
พวกโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และ อนุมูลของโลหะ เป็นต้น องค์ประกอบของน้ ำยางจะแบ่งออกเป็น 2
ส่วนใหญ่ๆ ดังตารางที่ 2.1
8

ตารางที่ 2.1 แสดงองค์ประกอบของน้ำยางธรรมชาติ


องค์ประกอบของน้ำยาง ปริมาณ(%โดยน้ำหนัก)
ส่วนที่เป็นเนื้อยาง 35
ส่วนที่ไม่ใช่เนื้อยาง
-ส่วนที่เป็นน้ำหรือเซรุ่ม 55
-ส่วนที่เป็นลูทอยด์ และสารอื่นๆ 10

1. ส่วนที่เป็นเนื้อยาง
เป็นอนุภาคที่ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนได้จากหน่วยไอโซพรีน (Isoprene) มาเชื่อมต่อกัน
แขวนลอยอยู่ในเซรุ่ม อนุภาคยางมีทั้งทรงกลมและรีคล้ายลูกแพร์ และมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.02-0.03
ไมครอน โมเลกุลมีขนาดใหญ่ไม่ละลายน้ ำและเมื่ออยู่ในสภาพ น้ำยางสดผิวรอบอนุภาคจะถูกห่อหุ้มด้วยชั้น
ของสารจําพวกไขมันและโปรตีน นอกจากนี้ยังมีโลหะ บางชนิด เช่น แมกนีเซียม โปแตสเซียม และทองแดง
ปนอยู่ในส่วนของยางประมาณ 0.05% โดย นํ้าหนัก
2. ส่วนที่เป็นน้ำยาง
ส่วนที่เป็นน้ำหรือที่เรียกว่าเซรุ่มของยาง มีความหนาแน่นประมาณ 1.02 กรัมต่อมิลลิลิตรประกอบด้วยสาร
ต่างๆ ดังนี้
1) คาร์โบไฮเดรต เป็นสารพวกแป้งและน้ำตาล สารเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนแปลงเป็น กรดไขมันได้โดยแบคทีเรีย
หรือจุลินทรีย์ทําให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน
2) โปรตีนและกรดอะมิโนที่สําคัญ ได้แก่ แอลฟากโบลิน และชีวิน ซึ่งแอลฟา- กลูโบลินพบมากในน้ำยางสดมี
สมบัติไม่ละลายน้ำแต่ละลายในสารละลายของเกลือ กรดและด่าง สําหรับชีวินมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำประมาณ
10,000 และสามารถละลายน้ำได้ ประมาณครึ่งหนึ่งละลายอยู่ในส่วนที่เป็นน้ ำ อีกหนึ่งในสี่ถูกดูดซับอยู่รอบๆ
ผิวนอกของอนุภาคยาง และที่เหลือปะปนอยู่ในส่วนของลูทอยด์
3) ลูทอยด์ (Lutoid) หรือวิสคอยด์ (Viscoid) ในน้ำยางมีลักษณะเป็นอนุภาคทรง กลมมีเยื่อหุ้มห่ออยู่ภายใน
เยื่ อ ประกอบด้ ว ยสารละลายพวกกรด เกลื อ แร่ โปรตี น น้ ำ ตาล และโพลี ฟ ี น อลอกซิ เ ดส (Polyphenol
oxidase) มีผลต่อความหนืด และความเสถียรของน้ำยางสดลูทอยด์มี สมบัติการเกิดปฏิกิริยาออสโมติกได้ง่าย
ดังนั้นการเติมน้ ำลงในน้ำยางมีผลทําให้ลูทอยด์เกิดการบวมตัวและแตกออกซึ่งเป็นผลให้ของเหลวภายในลู
ทอยด์ออกมาอยู่ในส่วนของเซรุ่ม ทําให้น้ำยาง มีความหนืดเพิ่มขึ้น นอกจากจะมีสารพวกลูทอยด์แล้วยังมีสาร
อีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า อนุภาคเฟรย์-วิสลิง (Frey wyssling) ซึ่งมีลักษณะกลม สีเหลืองเข้ม และมีอนุภาค
9

ใหญ่กว่าอนุภาคยางมีสารคาโรตินอยด์ (Carotinoid) ซึ่งเป็นตัวทําให้เกิดสีเหลือง น้ำยางข้นที่ได้จากการหมุน


เหวี่ยงโดยการ เติมแอมโมเนียจะไม่พบอนุภาคเฟรย์ วิสลิงอยู่ด้วย อาจเป็นเพราะอนุภาคเหล่านี้ถูกแยกออก
จากยาง และละลายอยู่ในส่วนของเซรุ่ม

2.1.2 โครงสร้างเคมีของน้ำยางธรรมชาติ
น้ำยางธรรมชาติเป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มีชื่อทางเคมีว่า โพลีไอโซพรีน (Polyisoprene) ซึง่
ได้จากหน่วยของไอโซพรีนต่อกันแบบหัวต่อหางแต่ละหน่วย ไอโซพรีนประกอบด้วยธาตุคาร์บอน 5 อะตอม
แลไฮโดรเจน 8 อะตอม มีสูตรเคมี คือ (CH), การเชื่อมต่อกันเป็นโมเลกุลนั้นอาจเชื่อมได้ 2 แบบ คือ แบบซิส
(cis-form) และ แบบทรานส์ (trans-form) ซึ่งมีสูตรโครงสร้าง ดังรูป 2.1

รูปที่ 2.1 สูตรโครงสร้างของน้ำยางยางธรรมชาติ


ยางพาราประกอบด้วยสายโซ่โมเลกุลของพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างเกือบทั้งหมด (ประมาณ 97%) เป็น cis-
14 ดังนั้นชื่อทางเคมีที่แท้จริงของยางพารา คือ cis-14 Polyisoprene สําหรับยางกัตตาเปอร์ชา (Gutta-
percha) หรือยางบาลาต้า (Balata) มีโครงสร้างเป็น trans-1,4 Polyisoprene ยางกัตตาเปอร์ชามีปลูก
อยู่ในประเทศมาเลเซีย ส่วนยางบาลาต้ามีปลูกอยู่ตามชายฝั่ง ตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้และ
ประเทศอินโดเน-เซีย ในทางการค้าไม่ค่อยมี ความสําคัญมีการใช้งานน้อยซึ่งแต่เดิมใช้ทําสายเคเบิลใต้น้ ำ
ในปัจจุบันใช้หุ้มลูกกอล์ฟและทําการพิเศษบางชนิดเท่านั้น ทั้งนี้เพราะน้ำยางแข็งตัวเร็วมากในอากาศ [3]
10

2.1.3 การรักษาสภาพน้ำยางธรรมชาติ
การเก็บรักษาสภาพน้ำยาง มี 2 ประการ คือ
1. เก็บรักษาในระยะสั้น (Short-term preservation) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อรักษา สภาพน้ำยาง
ให้คงเป็นของเหลวในช่วง 2-3 วัน ก่อนที่จะนําไปทํายางแห้งชนิดต่างๆ หรือก่อนที่จะ ทําเป็นน้ำยางข้น
สารที่ใช้ เรียกว่า สารป้องกันน้ำยางจับตัว (Anticoagulant)
2. เก็บรักษาในระยะยาว (Long-term preservation) ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อคงสภาพ
น้ำยางให้อยู่ในสภาพของน้ำยางข้น ในช่วงที่เก็บอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ ยางสําเร็จรูปหรือรอ
การส่งน้ำยางข้นไปจําหน่ายต่างประเทศ ซึ่งควรเก็บไว้ได้อย่างน้อย 1 เดือน สารเคมีที่ใช้รักษาสภาพน้ ำ
ยางข้นให้เป็นของเหลวอยู่ได้นานๆ เรียกว่า สารรักษาสภาพน้ ำยาง (Preservatives) สําหรับน้ำยางข้นที่
ใช้แอมโมเนียเพียงอย่างเดียวเพื่อรักษาสภาพน้ำยางจะต้องใช้ ปริมาณแอมโมเนียสูงถึง 0.7% โดยน้ำหนัก
น้ำยางชนิดนี้ เรียกว่า HA latex (High Ammonia latex) ส่วนน้ำยางที่ใช้แอมโมเนียเล็กน้อยประมาณ
0.2% โดยน้ำหนัก รวมกับสารช่วยอื่นๆ เรียกว่า LA latex (Low Ammonia latex) ตัวอย่างชนิดของน้ำา
ยางและระบบการรักษาสภาพน้ำยางข้นที่ผลิตโดย วิธีการปั่นแสดงดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2.2 แสดงชนิดของน้ำยางและระบบการรักษาสภาพน้ำยางข้นที่ผลิตโดยวิธีการปั่น

ชนิดของน้ำยาง ระบบการรักษาสภาพน้ำยางข้น
HA 0.7% โดยน้ำหนักของแอมโมเนีย
LA-SPP 0.2% โดยน้ ำ หนั ก ของแอมโมเนี ย + 0.2% โดย
น้ำหนักของโซเดียมเพนตะคลอโรฟีเนต
LA-BA 0.2% โดยน้ ำ หนั ก ของแอมโมเนี ย + 0.2% โดย
น้ำหนักของกรดบอริค + 0.05% โดยน้ำหนักของกร
ดลอริค
LA-ZDC 0.2% โดยน้ ำ หนั ก ของแอมโมเนี ย + 0.1% โดย
น้ำหนักของซิงค์ไดเอทิล + 0.05% โดยน้ำหนักของ
กรดลอริค
LA-TZ 0.2% โดยน้ำหนักของแอมโมเนีย + 0.013% โดย
น้ำหนักของเตตระเมทิลไธยูแรมไดซัลไฟด์(TMTD) +
0.13% โดยน้ำหนักของซิงค์ออกไซด์ + 0.05% โดย
น้ำหนักของกรดลอริค
**หมายเหตุ สารเคมีที่เติมคิดโดยสัดส่วนน้ำหนัก/น้ำหนักยางทั้งหมด
11

2.1.4 น้ำยางข้น (Concentrated latex)


น้ำยางสดจากต้นยังไม่เหมาะที่จะนําไปใช้ในงานอุตสาหกรรม เนื่องจากมีปริมาณเนื้อยางต่ำ ดังนั้นจึงมีการ
ผลิตน้ำยางข้นเพื่อแยกส่วนที่ไม่ใช่ยางออกไป ทําให้มีเนื้อยางเพิ่มสูงขึ้นและง่ายต่อการเก็บรักษา
น้ำยางข้น หมายถึง น้ำยางที่ผ่านการกําจัดน้ำออกไปบางส่วน เพื่อให้มีเนื้อยางแห้งเพิ่มขึ้นเป็น 60% โดย
น้ำหนัก ซึ่งจากเดิมมีเนื้อยางแห้งอยู่เพียง 30-40% โดยน้ำหนัก ปัจจุบันความต้องการน้ำยางข้นเพิ่มมากขึ้น จึง
ได้ปรับปรุงวิธีการผลิตน้ำยางข้นให้มีสมบัติที่ดีขึ้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แบบจุ่ม
(Dipping) แบบหล่อ (Casting) แบบพ่น (Spraying) และแบบใช้แม่แบบ (Molding) เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก
น้ำยางข้น ได้แก่ ถุงมือ ลูกโป่ง และ กาว เป็นต้น
การผลิตน้ำยางข้นแบ่งออกเป็น 4 วิธี คือ
1. วิธีทําให้เกิดครีม (Creaming) 2. วิธีการปั่นโดยเครื่องหมุนเหวี่ยง (Centrifuging machine)
3. วิธีทําให้น้ำระเหย (Evaporation) 4. วิธีการแยกด้วยไฟฟ้า (Electrodecantation)
2.2 การผลิตโฟมยางจากน้ำยางธรรมชาติ
หลักกการสำคัญของการผลิตโฟมยาง คือ การทำให้น้ำยางธรรมชาติเกิดฟองของอากาศหรือแก๊สแล้วคง
รูปหรือวัคไนซ์ฟองยางด้วยสารเคมีและความร้อน เทคโนโลยีการผลิตโฟมยางจากน้ำยางธรรมชาติมีหลายวิธี
แต่ละวิธีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมมี 2 วิธีหลักๆได้แก่
2.2.1) เทคโนโลยีการผลิตแบบดันลอป (Dunlop process)
2.2.2) เทคโนโลยีการผลิตแบบทาลาเลย์ (Talalay process)
2.2.1 เทคโนโลยีการผลิตโฟมยางแบบดันลอป (Dunlop process)
กระบวนการดันลอป หรือกระบวนการ ซิลิโคฟลูออไรด์ เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในการผลิตโฟมยาง
ประกอบด้วยการอาศัยหลักการตีน้ำยางให้เกิดฟองอากาศ ด้วยการใช้เครื่องมือกลตีหรือปั่นอากาศเข้าไปในน้ำ
12

ยางที่ทีส่วนผสมของสารเคมีต่างๆ เมื่อได้ฟองดีแล้วจะมีการเติมสารเคมีที่ช่วยให้เกิดเจลอย่างช้า (Delayed-


action gelling agent) เพื่อให้ฟองเหลวได้มีเวลาขึ้นรูปตามแบบแม่พิมพ์ ก่อนที่จะเกิดลักษณะเป็นเจล
จากนั้นจึง วัลคาไนซ์ฟองเจลที่เปียก แล้วนำโฟมยางที่ได้มาล้างอบแห้ง และ ตกแต่งในขั้นตอนสุดท้ายต่อไป
(Morton,1995)

รูปที่ 2.2 ขั้นตอนกระบวนการผลิตโฟมยางแบบดันลอป


2.2.2 เทคโนโลยีการผลิตโฟมยางแบบทาลาเลย์ (Talalay process)
การผลิตโฟมยางธรรมชาติแบบทาลาเลย์มีการพัฒนามาจากกระบวนการดันลอป เริ่มด้วยน้ำยางที่
ปั่นเป็นฟองโดยเครื่องมือทางกลแล้ว ทำให้เกิดการฟูหรือพองตัวโดยใช้ระบบสุญญากาศ จากนั้นใช้ความเย็น
ทำให้ฟองยางเกิดลักษณะเป็นเจล ซึ่งเทคนิคการใช้ความเย็นนี้จะใช้ส่วนผสมของเอทิลีนไกลคอล และน้ำให้ได้
อุณหภูมิประมาณ -30 องศาเซลเซียส หล่อระบบแม่พิมพ์ที่บรรจุฟองน้ำยางที่เกิดการฟูหรือพองตัวแล้ว
เพื่อให้ฟองยางที่ได้มีอุณหภูมิต่ำ จากนั้นจึงจะมีการเติมแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในฟองน้ำยาง เพื่อทำให้
โฟมยางเกิดการเจลและคงที่ ต่อมานำไปอบเพื่อวัคนาไนซ์ เมื่ออบเสร็จนำโฟมยางออกจากแม่พิมพ์ไปล้าง ต่อ
ด้วยการอบแห้ง นำโฟมยางที่แห้งไปตัดตามขนาดที่ต้องการ

รูปที่ 2.3 ขั้นตอนกระบวนการผลิตโฟมยางแบบทาลาเลย์

2.3 โฟมพลาสติก (plastic foam)


เรียกกันสั้นๆ ว่า โฟม ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เซลลูลาร์โพลิเมอร์ (cellular polymer) และเอกซ์-
13

แพนเด็ดพลาสติก (expanded plastic) หมายถึง พลาสติกที่มีโพรงก๊าซเล็กๆ จำนวนมากกระจายอยู่ในเนื้อ


ในการผลิตจะใช้สารฟู (blowing agent) ทำให้พลาสติกเกิดการขยายตัวและลดความหนาแน่นโดยรวมลง
โฟมจึงมีน้ำหนักเบา และมีลักษณะคล้ายกับฟองน้ำธรรมชาติ โดยมีได้ตั้งแต่โฟมชนิดแข็งไปจนถึงชนิดยืดหยุ่น
2.3.1 ประเภทของโฟมจำแนกตามลักษณะของเซลล์
1) โฟมเซลล์เปิด (Open-Cell Foam) เป็นโครงสร้างที่เกิดจากการเชื่อมต่อกัน ระหว่างเซลล์ซึ่งก๊าซสามารถ
ผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่นๆ ได้ภายใต้การกระทำของแรงขับ (รูปที่2.4 ก) โดยทั่วไปโฟมเซลล์เปิดจะ
เตรียมจากเทคนิคความดันต่ำ (low-pressure technique) ภายใต้ภาวะบรรยากาศ โฟมที่มีสัณฐานโครงสร้าง
แบบนี้มีสมบัติยืดหยุ่น ทำให้เหมาะในการใช้ทำเบาะนั่งในรถยนต์ ที่นอน บรรจุภัณฑ์ และวัสดุกันกระแทก เป็น
ต้น
2) โฟมเซลล์ปิด (Closed-Cell Foam) สัณฐาน โครงสร้างของเซลล์จะประกอบด้วยเยื่อบางเรียกว่า หน้าต่าง
เซลล์ทําให้ก๊าซไม่สามารถผ่านไปมาระหว่างเซลล์ได้แต่การเคลื่อนที่ของก๊าซจะกระทำโดยการแพร่ผ่านผนัง
เซลล์ (รูปที่ 2.4 ข) โดยปกติโฟมเซลล์ปิดจะเตรียมโดยใช้เทคนิค ความดันสูง (high-pressure technique)
และโฟมแบบนี้จะแข็งเหมาะในการนำไปใช้งานเป็นฉนวนความร้อน ทุ่นลอย ซับแรงกระแทก ทนต่อแรง
กระแทก

รูปที่ 2.4 สัณฐานโครงสร้างของโฟม (ก) เซลล์เปิด (ข) เซลล์ปิด


2.3.2) ประเภทของโฟมจำแนกตามลักษณะทางกายภาพ
3) โฟมยืดหยุ่น (Flexible Foam) โฟมชนิดนี้พอลิเมอร์เมทริกซ์จะมีอุณหภูมิสภาพแก้ว (glass
transition temperature : Tg ) ที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น และคืนตัวเมื่อถูกกดได้ง่าย เช่น โฟมยาง
(elastomeric foam) ,โฟมพอลิไวนิลคลอไรด์ชนิดมีสารเสริมสภาพพลาสติก (Plasticized Polyvinyl
Chloride, PPVC) และโฟมโพลิยูริเทนยืดหยุ่น (Polyurethane Elastomer) เป็นต้น
14

4) โฟมชนิดแข็ง (Rigid Foam) โฟมชนิดนี้พอลิเมอร์เมทริกซ์จะอยู่ในสถานะผลึก (crystalline state)


หรือ ถ้าอยู่ในสถานะอสัณฐาน (amorphous state) จะมีอุณหภูมิ สภาพแก้วที่สูง มีลักษณะที่แข็ง ไม่คืน ตัว
เมื่อถูกกด หรือบีบ เช่น โฟมโพลิโอเลฟิน (polyolefin foam) โฟมโพลิสไตรีน (polystyrene foam) โฟมโพลิ
คาร์บอเนต (polycarbonate foam) โฟมฟีนอลิก (phenolic foam) และโฟมโพลียูรีเทนชนิดแข็ง (rigid
polyurethane foam) เป็นต้น
5) โฟมชนิดกึ่งแข็ง (Semi-Rigid Foam) มี ลักษณะอยู่ระหว่างโฟมชนิดแข็งและชนิดยืดหยุ่น กล่าวคือ
โฟมชนิดนี้จะมีมอดุลัสยืดหยุ่น (elastic modulus) ที่สูง กว่าโฟมชนิดยืดหยุ่น แต่มีพฤติกรรมทางความ เค้น
ความเครียด (stress-strain behavior) คล้ายกับโฟมชนิด ยืดหยุ่นมากกว่าโฟมชนิดแข็ง

รูปที่ 2.5 ตัวอย่างสัณฐานของโฟมบางชนิด (ก) ชนิดยืดหยุ่น (ข) ชนิดแข็ง


2.4 ลักษณะความรุนแรงทางกายภาพที่เกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง ผัก ผลไม้
ลักษณะเฉพาะของผักผลไม้แต่ละชนิด เช่น รูปร่าง ขนาด ที่ไม่เหมือนกัน มีผลกับการเน่าเสียของผักใน
ระหว่างการขนส่ง เช่น ขนาดของผลิตผล ถ้าผลิตผลขนาดใหญ่จะต้องการบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงกว่าผลิตผล
ขนาดเล็ก นอกจากนี้ผลิตผลที่มีน้ำหนักมากควรใช้ความพิถีพิถันในการจัดวาง เพื่อไม่ให้น้ำหนักของตัวผลิตผล
เองทำให้ผลิตผลบอบช้ำ เพราะฉะนั้นการเลือกบรรจุภัณฑ์จึงต้องคำนึงถึง ชนิด ขนาดและรูปร่างของผลิตผล
และอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงด้วย คือ การจัดวางของผลิตผลที่ช่วยประหยัดพื้ นที่ในการบรรจุและง่ายต่อการ
ขนส่ง ซึ่งมีผลกับคุณภาพของผัก ผลไม้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

2.4.1การกดทับ (compression)
15

การกดทับที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ซึ่งไม่แข็งแรงพอ จะทำให้ผักผลไม้บอบช้ำได้ง่าย การกดทับเกิดเนื่องจาก


การบรรจุผักผลไม้มากเกินไป และการจัดวางไม่เหมาะสม มีการเรียงซ้อนกันหลายชั้นทำให้ สินค้าที่อยู่ข้างล่าง
ได้ร ับ ความเสีย หายโดย แรงกด(compression force) หรือ แรงอัดในแนวตรงทำให้ว ัส ดุเปลี ่ยนรูป ร่ า ง
(deformation) มีความสูงหรือความยาวหดสั้นเข้าตามทิศทางของแรงที่กระทำ เนื้อสัมผัสด้วยการกดเกิดได้
จากการวางไม่เหมาะสม หรือจากการขนส่งที่จัดวางไม่ถูกต้องตามมาตรฐานในการขนส่ง ในลักษณะบรรจุ
ภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ กับอาหารได้หลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ เนยแข็ง เนื้อสัตว์ ไส้กรอก ความรุนแรงจาก
แรงที ่ ก ดทั บ (force, N) หรื อ ความเค้ น กดอย่ า งช้ า ๆและสม่ ำ เสมอ จะเกิ ด การเปลี ่ ย นแปลงรู ป ร่ า ง
(deformation, mm) ของวัสดุที่เกิดกดจากลักษณะแรงทางกายภาพ หากเป็นวัสดุที่มีความเหนียวจะโป่งพอง
ออกด้านข้าง วัสดุที่มีความอ่อนจะถูกอัดแบนโดยไม่แตกหัก แต่หากวัสดุมีความเปราะจะแตกหัก

รูปที่ 2.6 การทดสอบการตอบสนองของวัสดุเมื่อมีแรงกด (compression force) มากระทำ


(https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0525/compression-test)
กราฟที่ได้จ ะบอกลั กษณะเนื ้ อสั มผั ส (texture properties) โดยปกติบันทึ ก ค่า การเปลี ่ย นแปลงรูป ร่ า ง
(deformation) พร้อมแรงต้าน (force, N) ของตัวอย่างของอาหาร ซึ่งค่าตัวแปรสำคัญที่ได้จากกราฟได้แก่
1.แรงกดสูงสุด (maximum force, N) แสดงความแข็ง (hardness) ของวัสดุ
2.ความชัน (N/mm) บอกค่าความแน่น (firmness)
3. พื ้ น ที ่ ใ ต้ ก ราฟ คื อ การดู ด ซั บ พลั ง งาน (energy absorption) ที ่ ท ำให้ ว ั ส ดุ แ ตก บอกความเหนี ย ว
(toughness) ของวัสดุ

2.4.2 การกระแทก (Impact)


16

ระหว่างการขนส่งกล่อง ผัก ผลไม้ อาจถูกโยนหรือกระแทกกับกล่องผลไม้กล่องอื่น หรือตกกระแทก


พื้น สาเหตุเหล่านี้จะส่งผลให้ผักและผลไม้เกิดการเน่าเสียได้ ดังนั้นในการเลือกใช้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่นำมา
ป้องการการกระแทกต้องทราบ คุณสมบัติความเหนียว (Toughness) ของวัสดุเพื่อประเมินโอกาสการแตกหัก
เสียหาย และความแข็งแรงขณะใช้งานในสภาวะต่างๆ เช่นการใช้งานบรรจุภัณฑ์ขนส่งกล่องผักผลไม้สดที่
ออกแบบมาให้มีการดูดซับแรงกระแทก และป้องกันการกระแทกกระทบกระเทือนกัน ของผลิตภัณฑ์ภายใน
กล่องและข้างนอก เมื่อเกิดแรงที่มากระทบกันขณะขนส่งหรือมีแรงออกมากระทำกัน

รูปที่2.7 Modulus of Toughness ของวัสดุเหนียว (a) และวัสดุเปราะ (b)


2.4.3 การสั่นสะเทือน (Vibration)
เกิดจากการสั่นสะเทือนของพาหนะที่ใช้ขนถ่าย ระหว่างการขนส่ง การสั่นสะเทือนจะทำให้เกิด การ
เสียดสีระหว่างผัก ผลไม้ด้วยกัน หรือ การเสียดสีระหว่างผัก ผลไม้กับบรรจุภัณฑ์ ก่อให้เกิดรอยช้ำและเน่าเสีย
ได้ การสั่นสะเทือนดเกิดได้หลายกรณี เช่น การเคลื่อนทีข่ ณะขนส่งสินคหรือขณะการรับสินค้าจากผลิตภัณฑ์ที่
หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ของมวลทุกทิศทุกทางในตำเเหน่งอยู่กับที่ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนสาเหตุที่ทำให้เกิดการ
สั่นสะเทือน เช่น ชิ้นส่วนหรือตัวผลิตภัณฑ์การจัดเก็บไม่สมดุล การเยื้องของศูนย์กลางของขนาด (Dimension)
การกลิ้งหรือการบิดตัว, บิดเอียงไม่เรียบของผลิตภัณฑ์หรือตัวข้างในภาชนะสินค้าที่บรรจุ การยึดที่ไม่แน่นของ
โครงสร้างหลวมคลายหรือเกิดการสึกหรอ

รูปที่ 2.8 ความสั่นสะเทือน Vibration ( https://www.aballtechno.com/article

บทที่ 3
17

เครื่องมือและวิธีการดำเนินโครงงาน
3.1 บทนำ
ในบทนี ้ จ ะกล่ า วถึ ง กระบวนการขึ ้ น รู ป ตาข่ า ยโฟมยางธรรมชาติ (natural rubber foam) และ
การศึกษาผลของการทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน โดยการทาสารเคลือบลงบนผิวของบรรจุภัณฑ์ ตาข่าย
โฟมยางที่ห่อหุ้มผลฝรั่ง เมื่อตาข่ายโฟมยางธรรมชาติที่เคลือบสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน ห่อหุ้มผลฝรั่งจะ
มีผลการเปลี่ยนแปลงต่อลักษณะกายภาพทั้ง ภายนอก-ภายใน ของตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและ
ซิงค์นาโนอย่างไร สามารถมีผลของสมบัติการต้านทานแบคทีเรียได้หรือไม่ รายละเอียดของตัวอย่างที่ใช้
อุปกรณ์และเครื่องมือในการทดลอง ประกอบไปด้วย ชื่อ ขนาด รุ่น และ มาตรฐาน รวมถึงขั้นตอนในการ
ดำเนินงานวิจัย ได้แก่ วิธีการขึ้นรูปโฟมยางธรรมชาติ ขั้นตอนการทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน การ
ทดสอบตาข่ายโฟมยางที่ได้ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน โดยการทดสอบความหนาแน่นรวม (Bulk
Density) การทดสอบน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปของตาข่ายโฟมยาง ก่อนทา-หลังทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์
นาโน ทดสอบความแข็ง (Hardness) ทดสอบโครงสร้างภายนอกของผิว ตาข่ายโฟมยาง และทดสอบการ
ต้านทานแบคทีเรีย
3.2 วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ดำเนินงานวิจัย
3.2.1 ผลฝรั่ง ใช้เป็นวัสดุทดสอบความสามารถ ในการป้องกันแบคทีเรียจากการทาสาร ซิลเวอร์นาโนและซิงค์
นาโนลงบนผิวตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ
3.2.2 ตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ ใช้เป็นวัสดุตัวทดสอบความแตกต่าง จากการที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นา
โนเคลือบบนผิวตาข่ายโฟมยางเปรียบเทียบกับ ตาข่ายโฟมยางธรรมชาติที่ไม่ได้ทาสารเคลือบ
3.3.3 สารเคมี ในการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ
3.3.4 สารเคมีซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน ทีใ่ ช้ในการทาเคลือบบนตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ
3.2.5 วัสดุและเครื่องมือที่ใช้ชั่งและทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน มีดังนี้
1. เครื่องอบแห้ง 2. สารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 3. กระจกนาฬิกา
4. อะซิโตน (Acetone) 5. บีกเกอร์ขนาดเล็ก 6. หลอดหยด (Dropper)
7. ถุงมือแพทย์ 8. ทิชชู่ 9. ถุงซิบล็อค

3.2.6 วัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ มีดังนี้


18

1. เครื่องกวนสาร ยี่ห้อ IKA WORKS รุ่น Eurostar20digital (Blender)


2. ไมโครเวฟ (Microwave)
3.ตู้เครื่องอบแห้ง (Memert / UF1100 Heating and drying Oven)
4. เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล 4 ตำแหน่ง (Mettler Toledo
5. แม่พิมพ์ซิลิโคน (Silicone mold)
6. หลอดหยด (Dropper)
7. ถ้วยซิลิโคน, ถ้วยใส่ยาง , ถ้วยกวนสาร , ถ้วยใส่หยอดหยด
8.ถุงมือแพทย์ (medical gloves) , ถุงมือยาง (rubber gloves)
9. นาฬิกาจับเวลา 10. ช้อนพลาสติก
11. ทิชชู , ถุงซิบล็อค 12. มีดปาดเค้ก
13. ผ้าแห้ง
3.2.7 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน มีดังนี้
1. กล่องซ้อนได้ STACKO DT – 31 M ขนาด 39x28x13.3 ซม.
2. กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 3. กะละมัง
4. กล่องพื้นหลังพร้อมไฟLED สำหรับถ่ายภาพ 5. ฉลาก ,ป้าย (label)
6. แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด 7. แผ่นกระดาษสี
8. เทปกาวและกาว 9. แอลกอฮอล์
10. ตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ 11. ตาข่ายโฟมยางที่เคลือบสารซิลเวอร์นาโน
12. ตาข่ายโฟมยางที่เคลือบสารซิงค์นาโน 13. พู่กันชนิดหัวแบน เบอร์ 24
19

3.3สารเคมีและสูตรการผสม
ตารางที่ 3.1 สารเคมีและสูตรการผสมในการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ

สารเคมี ปริมาณ(phr) หน้าที่


1) 50% กำมะถัน (Sulfur) 2.0 สารทำให้ยางคงรูป
2) 50% ซิงค์ไดเอทธิลไดไธโอคาร์บาเมต (ZDEC) 2.0 สารตัวเร่งให้ยางสุก
3) 50% ซิงก์เมอร์แคพโตเบนโซไทเอโซล (ZMBT) 2.0 สารตัวเร่งให้ยางสุก
4) 10% K-oleate 4.5 สารเพิ่มความเสถียรของน้ำยาง
5) 50% วิงสเตย์แอล (Wingstay L) 2.0 สารกันยางเสื่อม
6) 50% ซิงค์ออกไซด์ (ZnO) 5.0 สารกระตุ้นตัวเร่ง
7) 50% ไดโพรไพลีน ไกลคอล (DPG) 1.4 สารตัวเร่งให้ยางสุก
8) 12.5% โซเดียมซิลิโคฟลูออไรด์ (SSF) 1.0 สารช่วยให้ฟองจับตัว
9) ซิลเวอร์นาโน (Silver Nano) 2.67 สารต้านทานการเกิดแบคที่เรีย
10) ซิงค์นาโน (Zine Nano) 6.96 สารต้านทานการเกิดแบคที่เรีย
60% น้ำยางข้นชนิดแอมโมเนียสูง(High Ammonia 100
Latex)

3.4ขั้นตอนการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยาง
ตารางที่ 3.2 ตารางเเสดงวิธีการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ

ขั้นตอนที่ รายละเอียดการดำเนินงาน
1.) เตรียมน้ำยางธรรมชาติเข้มข้น 60% ชั่งน้ำยางปริมาณ 150 กรัม บนเครื่อง
ชั่งดิจิตอล
2.)นำน้ำยางที่ผ่านการตวง ไปปั่นโดยใช้เครื่องกวนสาร (IKA WORKS
1.) การเตรียมน้ำยาง Eurostar20digital Blender) โดยใช้ใบพัดในการกวนสารทำภายใต้ตู้ดูดควัน
(Fume Hood)
3.)ด้วยความเร็วรอบ 300 RPM เป็นเวลา 30 นาที
20

ตารางที่ 3.2 ตารางเเสดงวิธีการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ (ต่อ)

ขั้นตอนที่ รายละเอียดการดำเนินการ
1.) เตรียมสารที่จะผสมกับน้ำยางธรรมชาติโดยนำถ้วยซิลิโคนชัง่ บนเครื่องชั่ง
สารดูด สารโดยใช้หลอดหยด (Dropper)
2.) เตรียมปริมาณของสารเรียงตามลำดับดังนี้ ถ้วยที่หนึ่งประกอบด้วย 50%
กำมะถัน (Sulfur) ปริมาณ 3 กรัม
3.) 50% ซิงค์ไดเอทธิลไดไธโอคาร์บาเมต (ZDEC) ปริมาณ 3 กรัม
4.) 50% ซิงก์เมอร์แคพโตเบนโซไทเอโซล (ZMBT) จำนวน 3 กรัม
2.) การชั่งสาร 10% K-oleate ปริมาณ 6.75 กรัม ,
50% วิงสเตย์แอล (Wingstay L) ปริมาณ 3 กรัม
5.) ถ้วยที่สองประกอบด้วย 50% ZnO ปริมาณ 7.5 กรัม
6.) ถ้วยที่สามประกอบด้วย 50% DPG ปริมาณ 2.1 กรัม
7.) ถ้วยที่สี่ประกอบด้วย 12.5% SSF ปริมาณ 1.5 กรัม

1.) เมื่อน้ำยางปั่นจนครบเวลา 30 นาที ทำการเปลี่ยนจากใบพัดเป็นตะกร้อ


เพื่อใช้กวนสารแทน
3.) กระบวนการเกิด 2.) ปรับความเร็วรอบไปที่ 1250 RPM
โฟม 3.) นำสารที่เราตวง ถ้วยที่หนึ่ง มาทำการเทลงไปในเครื่องกวนสาร ขณะกด
เริ่มการทำงานของเครื่อง จับเวลา 6 นาที

1.) เมื่อครบเวลาได้ทำการปรับความเร็วรอบไปที่ 700 RPM


2.) นำถ้วยตวงที่สองและถ้วยตวงที่สามมาเทลงไปในเนื้อโฟม จากนั้นกดเริ่ม
4) กระบวนการเกิด การทำงานของเครื่อง
เจล 3.) เมื่อเวลาผ่านไป 15 วินาทีจึงจะมีการเติมสารที่อยู่ในถ้วยตวงที่สี่ จากนั้น
ปล่อยให้เครื่องกวนสารกวนสารไปจนครบเวลา 1 นาที

1.) ปั่นโฟมยางธรรมชาติจนครบเวลาที่กำหนดสุดท้ายที่ 700 ความเร็วรอบต่อ


5) การเทโฟมยางลง นาทีจากนั้นหยุดเครื่องกวนสาร
บนแม่พิมพ์ 2.) เทโฟมยางใส่ลงบนแม่พิมพ์ปาดโฟมยางให้เนื้อโฟมเข้าให้ครบเต็มแบบของ
แม่พิมพ์เทปาดจนครบนำมาเคาะเพื่อไล่อากาศ ปล่อยให้โฟมยางที่เทเเห้งเเละเซ็ต
ตัวเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
21

ตารางที่ 3.2 ตารางเเสดงวิธีการขึ้นรูปตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ (ต่อ)

ขั้นตอนที่ รายละเอียดการดำเนินงาน
6 ) การอบตา 1.) นำตาข่ายโฟมยางที่เซ็ตตัวบนแม่พิมพ์เข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 600 องศา
ข่ายโฟมยาง เป็นเวลา 6นาที โดยโฟมยางที่นำเข้าอบในเตาไมโครเวฟจะทำการอบรอบ
ด้วย ละ 3 นาที
ไมโครเวฟ 2.) เป็นจำนวน 2 รอบ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทความร้อนในเนื้อตาข่ายโฟมยาง
บนเเม่พิมพ์ ป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสะสมมากจนเกินไป
3.) โดยทำการใช้ไมโครเวฟ 2 เครื่องอบตาข่ายโฟมยางสลับกันครั้งละ 3 นาที
ทำการสลับระหว่างตัวตาข่ายโฟมยางและไมโครเวฟที่นำเข้าอบเมื่ออบจน
ครบจำวนวนเรียบร้อยแล้ว ทำการลอกเนื้อโฟมยางออกจากแผ่นของตัว
ตาข่ายโฟมยางบนแม่พิมพ์ช้าๆ

7.)การอบตาข่ายโฟม 1.) นำตาข่ายโฟมยางใส่เข้าไปในตู้อบลมร้อน (Memert / UF1100


ยางด้วยตู้อบลมร้อน Heating and drying Oven)
2.) ตั้งค่าตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70 เซลเซียส ตู้อบจะอุ่นล่วงหน้าก่อนเป็น
ระยะเวลา 10 นาที (Pre-heat 10 minutes) ให้ตู้อบลมร้อนอุณหภูมิ
ค่อยๆขึ้นไปที่ 70องศาเซลเซียสตามที่กำหนด อบเป็นเวลาที่ 4 ชั่วโมง
3.) นำแผ่นตาข่ายโฟมยางออกจากตู้อบลมร้อน ใส่ในถุงซิปล็อคนำไปล้างน้ำ
ให้สะอาด รอจนตาข่ายโฟมยางแห้ง เเละ นำไปตกเเต่งชิ้นงาน

3.5 การเคลือบสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโนบนผิวตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ
กระบวนการทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน ในการทาเคลือบลงบนผิวของตาข่ายโฟมยาธรรมชาติ
ที่ผ่านกระบวนขึ้นรูปด้วยการผสมน้ำยางและสารเคมีเข้าด้วยกัน ในการทำวิจัยครั้งนี้จะใช้วิธีการทาสารซิล-
เวอร์นาโนและซิงค์นาโน ด้วยพู่กันเคลือบลงบนผิวชิ้นงานในแต่ละด้านของตาข่ายโฟมยาง เพราะสามารถควบ-
คุมน้ำหนักและค่าความหนาของปริมาณในการทาได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
22

3.5.1 ขั้นตอนการทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน
เปรียบเทียบความสามารถในการต้านทานแบคทีเรีย และการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของตา-
ข่ายโฟมยาง ทั้งลักษณะภายนอก-ภายในของชิ้นงาน ผิวสัมผัส สี และน้ำหนัก ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแตกต่าง
จากตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ โดยในงานวิจัยนี้ได้ทำการนำตาข่ายโฟมยางทาและกำหนดรูปแบบการทดสอบ 7
แบบ ดังนี้
1. ตาข่ายโฟมยางธรรมชาติที่ไม่มีการทาเคลือบสารเพิ่มเติมใดๆ
2. ตาข่ายโฟมยางทีท่ าสารซิลเวอร์นาโนด้านหน้าบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 4 กรัม
3. ตาข่ายโฟมยางทีท่ าสารซิลเวอร์นาโนด้านหลังบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 4 กรัม
4. ตาข่ายโฟมยางทีท่ าสารซิลเวอร์นาโนด้านหน้า-หลังบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 4 กรัม (ด้านละ 2 กรัม)
5. ตาข่ายโฟมยางทีท่ าสารซิงค์นาโนด้านหน้าบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 10.44 กรัม
6. ตาข่ายโฟมยางทีท่ าสารซิงค์นาโนด้านหน้าบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 10.44 กรัม
7. ตาข่ายโฟมยางทีท่ าสารซิงค์นาโนด้านหน้า-หลังบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 10.44 กรัม (ด้านละ 5.22
กรัม)

รูปที่ 3.1 การทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโนเคลือบผิวตาข่ายโฟมยางตามลำดับ


23

ตารางที่ 3.3 แสดงขั้นตอนการทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน


ขั้นตอนที่ รายละเอียดการดำเนินงาน
1) เตรียมพู่กันชนิดหัวแบน เบอร์ 24 จำนวน 2 ชุด ไว้สำหรับทาแยกระหว่างสารซิล
1) เตรียมสาร เวอร์นาโนและซิงค์นาโน บนผิวของตาข่ายโฟมยาง
และทำการชั่งน้ำหนัก 2) ทำการชั่งน้ำหนักตาข่ายโฟมยางก่อนทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน
3) ทำการชั่งสารซิลเวอร์นาโนปริมาณ 4 กรัม และชั่งซิงค์นาโนปริมาณ 10.44 กรัม

1) กำหนดด้านของผิวชิ้นงานที่จะทาสารซิลเวอร์นาโน และซิงค์นาโน
2) โดยทาสารซิลเวอร์นาโนด้านหน้าบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 4 กรัม
ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านหลังบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 4 กรัม
2) การทาสารเคลือบลงบน ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านหน้า-หลังบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 4 กรัม
ผิวตาข่ายโฟมยาง ทาสารซิงค์นาโนด้านหน้าบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 10.44 กรัม
ทาสารซิงค์นาโนด้านหน้าบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 10.44 กรัม
ทาสารซิงค์นาโนด้านหน้า-หลังบนผิวตาข่ายโฟมยางปริมาณ 10.44 กรัม
(ด้านละ 5.22 กรัม)
3) ใช้พู่กันทาในแต่ละรอบทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที ให้พอแห้งแล้วทาต่อจนสารหมด

3) ช่างน้ำหนักตาข่ายโฟมยาง 1) ทำการชั่งน้ำหนักก่อนอบ เมื่อทาสารสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน โดยใช้


ก่อนอบและหลังทาสาร กระจกนาฬิกาวางรองที่เครื่องชั่ง แล้วค่อยชั่งน้ำหนักตาข่ายโฟมยางที่ทาจนเสร็จ

1) นำตาข่ายโฟมยางที่ชั่งน้ำหนักเสร็จไปอบในเครื่องอบแห้ง กำหนดเซ็ตการตั้งค่า
เครื่องอุณหภูมิในการใส่ชิ้นงานทดสอบเข้าไปอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียส
4) อบตาข่ายโฟมยางที่ทาสาร 2) ชิ้นงานที่ทาซิลเวอร์นาโน นำไปอบเป็นเวลา 4 วัน
ซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน และชิ้นงานที่ทาด้วยซิงค์นาโนนำไปอบเป็นเวลา 4 ชั่วโมง
(กรณีที่สารทั้งสองทาด้านเดียว)
3) ชิ้นงานที่ทาซิลเวอร์นาโนนำไปอบเป็นเวลา 2 วัน
ชิ้นงานที่ทาซิงค์นาโนอบเป็นเวลา 3 ชั่วโมง (กรณีที่สารทั้งสองทาทั้งสองด้าน)
4) หลังจากนั้นนำตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโน และซิงค์นาโน
นำมาชั่งน้ำหนักหลังอบ
24

3.6 การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ
3.6.1 ทดสอบความหนาแน่นรวม (Bulk Density)
โดยหาความหนาแน่นรวมของตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ (natural rubber latex)
และตาข่ายโฟมยางที่ทาเคลือบสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน (Sliver nano and Zinc nano)
การทดสอบดัดแปลงจากมาตรฐาน ASTM D 3574-95 โดยนำชิ้นงานรูปสี่เหลี่ยมมาชั่งน้ำหนัก และคำนวณหา
ความหนาแน่นของตัวชิ้นงาน โดยใช้สูตรดังสมการที่ 1
𝑀
ความหนาแน่นรวม = (1)
𝑉

D = ความหนาแน่นของชิ้นงานทดสอบ (𝑘𝑔/𝑚3 )
M = น้ำหนักมวลของชิ้นงานทดสอบ (kg)

V = ปริมาตรของชิ้นทดสอบ (𝑚3 )
3.6.2 การทดสอบความแข็ง (Hardness Test)
ในการทดสอบค่าความแข็ง ของวัสดุผสมตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ ถูกกำหนดโดยใช้ดูโรมิเตอร์ความ
แข็ง (Durometer LX-OO Shore OO, X.F, Graigar , Guangdong , China) ตามข้อกำหนดมาตรฐาน
ASTM D2240 โดยวัดความแข็งของตาข่ายโฟมยาง บนตัวอย่างพื้นผิวทีจ่ ะทำการวัด 10 ครั้ง ใน 10 ตำแหน่ง
ที่แตกต่างกันของชิ้นงานแต่ละชิ้นค่าที่รายงานเป็นค่าเฉลี่ยจากการทำซ้ำอย่างน้อย 5 รายการ เพื่อวัดและ
ทดสอบความสามารถในการต้านทานต่อการเปลี่ยนรูปแบบถาวร รวมทั้งดูการเปลี่ยนรูปมากน้อยแค่ไหน เมื่อ
เปรียบเทียบกับวัสดุผสมตาข่ายโฟมยางธรรมชาติและรูปแบบต่างๆ ที่มีการทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน
ที่แตกต่างกัน 7 แบบ คือ
1. หุ้มผลฝรั่งด้วยตาข่ายโฟมยางธรรมชาติทไี่ ม่มีการทาเคลือบสารเพิ่มเติมใดๆ
2. หุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางทีท่ าสารซิลเวอร์นาโนด้านทีส่ ัมผัสกับผิวของฝรั่ง
3. หุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง
4. หุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนทาด้านที่สารสัมผัสกับผิวฝรั่งและด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง
5. ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านทีส่ ัมผัสกับผิวของฝรั่ง
6. ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง
25

7. ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านที่สารสัมผัสกับผลฝรั่งและด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง
3.6.3 การทดสอบวิเคราะห์ความเสถียรของวัสดุ (Material stability analysis test)
ทดสอบโดยใช้เครื่องอบเตาเผา TGA (Thermogravimetric Analysis) ข้อกำหนดมาตรฐาน ASTM E1131
ทดสอบด้วยการเผาไหม้เนื้อยางจนหมดเพื่อเปรียบเทียบวัสดุตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นา-
โน เคลือบลงบนผิวของชิ้นงาน เมื่อเผาไหม้จะยังคงมีเนื้อสารของซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโนคงเหลืออยู่หรือไม่
หรือจะเหลือปริมาณของสารเท่าไหร่ หลังจากทดสอบด้วยการเผาไหม้เนื้อยางจนหมด ใช้เวลาเท่ากับ 56.30
นาที /1 แบบทดสอบ ทดสอบ 5 แบบ ดังนี้ คือ
1.ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านทีส่ ัมผัสกับผิวของฝรั่ง
2.ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง
3.ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนทาด้านที่สารสัมผัสกับผลฝรั่งและด้านนอกที่ไม่
สัมผัสกับฝรั่ง
4.ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านที่สัมผัสกับผิวของฝรั่ง
5.ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง
6.ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านที่สารสัมผัสกับผลฝรั่งและด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับ
ฝรั่ง

รูปที่ 3.2 ทดสอบวิเคราะห์ความเสถียรของวัสดุ (TGA)


26

ขั้นตอนการทดลอง TGA
1. ตัดชิ้นงานให้ได้ขนาด 0.5 x 0.5 ซม.
2. ปรับสภาวะของเครื่องมือ เซนเซอร์ตรวจจับความร้อนของอากาศที่ปรับอุณหภูมิได้อย่างต่อเนื่อง
(Thermobalance) โดยให้ ความร้อนจากอุณหภูมิเริ่มต้นที่ 35 – 600 องศาเซลเซียส ด้วย
อัตราเร็ว 10 องศาเซลเซียสต่อนาที ภายใต้บรรยากาศไนโตรเจน (Nitrogen gas)
3. ใส่ชิ้นงานตัวอย่างในถ้วยตัวอย่าง
4. น้ำหนักที่แน่นอนของชิ้นงานตัวอย่างจะถูกชั่ง โดยตาชั่งใน เซนเซอร์ตรวจจับความร้อนของอากาศ
ทีป่ รับอุณหภูมิได้อย่างต่อเนื่อง และ เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์
5. ปิดเตาเผา (Furnace) ทิ้งชิ้นงานตัวอย่างไว้ในบรรยากาศก๊าซไนโตรเจน 10 – 15 นาที ก่อนเริ่ม
การทดลอง
6. เมื่อเผาจนถึงอุณหภูมิสิ้นสุดก็ปล่อยให้เตาเผาเย็นตัวที่อุณหภูมิห้อง แล้วจึงค่อยเก็บข้อมูลผลการ
ทดสอบ
3.6.4 ทดสอบดูรายละเอียดโครงสร้างภายนอกและผิวของตาข่ายโฟมยาง
เพื่อศึกษารายละเอียดของโครงสร้างภายนอกและระบุลักษณะผิวตัวอย่าง ของตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ
และตัวตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโนเคลือบลงบนผิวของชิ้นงาน โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้
กล้องดิจิทลั DSLR ถ่ายแบบระยะใกล้ด้วยการซูม บนผิวหน้าของโฟมยางตาข่าย ลักษณะทางกายภาพของผล
ฝรั่ง จะมีการจำแนกผลฝรั่งไซส์ขนาดกลาง คัดเลือกตามน้ำหนักเฉลี่ยของฝรั่ง น้ำหนักฝรั่งที่ได้ เท่ากับ 240
กรัม ± 20 ที่มีขนาดน้ำหนักเฉลี่ยและเท่ากับที่ต้องการ นำมาใช้เป็นวัสดุในการทดสอบต้านทานแบคทีเรียโดย
ใช้ตาข่ายโฟมยางห่อหุ้มฝรั่งเปรียบเทียบผล ที่รูปแบบละ 3 ผล จำนวน 8 รูปแบบ รวมทั้งหมด 24 ผล
3.7 ทดสอบคุณสมบัติต้านทานเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial properties)
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการต้านทานแบคทีเรียของตาข่ายโฟมยาง โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้ผลฝรั่ง
เป็นวัสดุในการทดสอบ ทำการทดสอบโดยการนำตาข่ายโฟมยางห่อหุ้มผลฝรั่ง สภาวะที่ใช้ศึกษาในห้องปิดที่
อุณหภูมิ 25 องศา นำผลฝรั่งใส่กล่องแบบซ้อนได้กล่องละ 3 ผล จำนวน 8 กล่อง ในแต่ละกล่องจะทดสอบ 8
แบบ คือ
1. ไม่มีการห่อหุ้มผลฝรั่งด้วยตาข่ายโฟมยาง
2. ห่อหุ้มผลฝรั่งด้วยตาข่ายโฟมยางธรรมชาติที่ไม่มีการทาเคลือบสารเพิ่มเติมใด 3. ห่อหุ้มด้วยตาข่าย
โฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านทีส่ ัมผัสกับผิวของฝรั่ง
4. ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง
27

5. ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนทาด้านที่สารสัมผัสกับผลฝรั่งและด้านนอกที่ไม่
สัมผัสกับฝรั่ง
6. ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านที่สัมผัสกับผิวของฝรั่ง
7. ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับฝรั่ง
8. ห่อหุ้มด้วยตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิงค์นาโนด้านที่สารสัมผัสกับผลฝรั่งและด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับ
ฝรั่ง

รูปที่ 3.3 แสดงรูปแบบต่างๆของตาข่ายโฟมยางธรรมชาติและตาข่ายโฟมยางที่เคลือบสาร


3.7.1 การหาคุณสมบัติทางกายภาพและการจำแนกผลฝรั่ง
การทดลองครั้งนี้ใช้ผลฝรั่งพันธุ์กิมจู ขนาดไซส์กลาง จากตลาดเทิดไท จังหวัดนครราชสีมา โดย
เบื้องต้นทำการคัดเลือกผลฝรั่งที่ไม่มีรอยตำหนิ รอยช้ำ จำนวนทั้งสิ้น 25 กิโลกรัม หรือเท่ากับจำนวน 75 ผล
ถ้าผลฝรั่งมีรอยตำหนิ หรือรอยช้ำ จะใช้ปากกาสีมาร์คจุดไว้เพื่อทำสัญลักษณ์ บ่งบอกว่ารอยที่มีเกิดขึ้นจากผล
ฝรั่งที่มีมาอยู่แล้วชั่งน้ำหนักด้วยเครื่องชั่งความละเอียด ±0.01 จำแนกผลฝรั่ง วัดขนาดเปรียบเทียบน้ำหนักของ
ผลฝรั่ง
3.7.2 วิธีการทำบรรจุภัณฑ์ในการทดสอบการต้านทานเชื้อแบคทีเรีย
ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์กล่องซ้อนได้ ที่มีความแข็งแรง ทนทาน และมีน้ำหนักเบา สามารถทำในบรรยากาศ
ที่ควบคุมสภาวอุณหภูมิได้ โดยไม่มีมุมอับของช่องวางในกล่อง สะดวกต่อการยกและเคลื่อนย้ายด้วยมือจับใน
ตัว นำมาบรรจุใส่ลงกับตัวของวัสดุตาข่ายโฟมยาง ที่ห่อหุ้มผลฝรั่งกั้นด้วยแผ่นฟิวเจอร์ วิธีการทำแสดงดัง
ตาราง 3.4
28

ตารางที่ 3.4 ตารางแสดงขั้นตอนการทำบรรจุภัณฑ์ในการทดสอบการต้านทานเชื้อแบคทีเรีย


ขั้นตอนที่ รายละเอียดการดำเนินงาน
1) เตรียมกล่องซ้อนได้ ขนาด 39x28x13.3 ซม. สำหรับบรรจุวัสดุตาข่ายโฟม
1) เตรียมกล่องสำหรับ ยาง จำนวน 8 กล่อง
บรรจุตาข่ายโฟมยาง 2) ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดกล่อง และเช็ดให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
3) ตัดแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด เป็นด้านแนวยาวขนาดกับแนวของกล่องทรงสี่เหลี่ยม
จำนวน 2 แผ่น ตัดวางตามช่องว่างของกล่องสำหรับกั้นระหว่างตัวผลฝรั่งที่
ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยาง ในแต่ละผล จำนวน 3 ผล ต่อ 1 กล่อง เป็นจำนวน 8
กล่อง

2) เตรียมตาข่ายโฟมยาง 1) นำแผ่นตาข่ายโฟมยางมาม้วนให้เป็นรูปทรงกระบอก
2) จากนั้นนำกาวยางมาทาระหว่าง จุดต้นและจุดปลายของตาข่ายโฟมยาง ทา
กาว บีบเนื้อโฟมยางให้ยึดติดกัน ทิ้งไว้สักพักรอให้แห้ง

3) เตรียมผลฝรั่ง 1) น้ำผลฝรั่งห่อหุ้มในตาข่ายโฟมยาง จำนวน 8 แบบ ดังหัวข้อที่ 3.7


นำวางข้างในกล่องซ้อนได้ จำนวน 3 ผล/ต่อกล่อง รวมทั้งหมดเท่ากับ 24 ผล

4.) ติดตามผลการ 1.) ใช้กล้องถ่ายรูปถ่ายผลฝรั่ง 6ด้าน โดยการใช้กล้องกับกล่องพื้นหลังพร้อมไฟ


ต้านทานแบคทีเรีย LED เพื่อดูลักษณะการเปลี่ยนแปลงของผลฝรั่ง เทียบกับวันก่อนๆ เป็น
ระยะเวลา 7 วัน

3.8 การประเมินประสิทธิภาพในการต้านทานแบคทีเรียทั้งหมด
จากการทดสอบทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน บนผิวตาข่ายโฟมยางที่ห่อหุ้มผลฝรั่ง ที่ทาสารแตกต่าง
กัน จำนวน 8 แบบ ทำการประเมินประสิทธิภาพในการต้านทานแบคทีเรียทั้งหมด โดยสังเกตลักษณะการ
เปลี่ยนแปลง ไปของผลฝรั่งที่เป็นวัสดุในการทดสอบ โดยนำภาพที่ได้มาสังเกตผิวก่อนและหลังศึกษาผล เป็น
เวลา 1 3 5 7 วัน โดยผิวที่สังเกตรอบๆ ผลของฝรั่งจะสังเกตจากด้านทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ ด้านซ้าย , ด้านขวา
, ด้านหน้า , ด้านหลัง , ด้านบน , และ ด้านล่าง เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการป้องกันแบคทีเรีย โดย
สังเกตจาก รอยช้ำ , การขึ้นรา , ลักษณะการเหี่ยวเฉา ของตาข่ายโฟมยางที่ใช้ทดสอบแต่ละแบบ ที่ส่งผลต่อฝรั่ง
ลักษณะที่แตกต่างกัน
29

บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
4.1 บทนำ
การทำโครงงานครั้งนี้เป็นการนำเอาวัสดุทางธรรมชาติ คือ น้ำยางธรรมชาติโดยใช้กระบวนการผลิต
ด้วยกระบวนดันลอป นำมาผลิตเป็นตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ และนำตาข่ายโฟมยางที่ได้มาทาสารซิลเวอร์ -
นาโนและซิงค์นาโนในรูปแบบที่ 1.) ด้านที่ทาสัมผัสกับผลฝรั่ง 2.) ด้านที่ทาไม่สัมผัสกับผลฝรั่ง 3.) ด้านที่ทา
ทั้งสองด้าน 4.) แบบที่ไม่ทาและไม่ได้หุ้มตาข่าย 5.) ตาข่ายโฟมยางธรรมชาติโฟมยาง เพื่อทดสอบการป้องกัน
แบคทีเรียของผลิตผลสดทางการเกษตร โดยในโครงงานนี้ได้ใช้ฝรั่งเป็นวัสดุในการทดสอบ การศึกษาการป้อง
กันแบคทีเรียของผลิตผลสด โดยใช้ตาข่ายโฟมยางธรรมชาติและตาข่ายโฟมยางที่ทา สารซิลเวอร์นาโนและ
ซิงค์นาโนในการทดสอบเปรียบเทียบ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
1) ทดสอบความหนาแน่นรวม (Bulk Density) มาตรฐาน ASTM D 3574-95
2) การทดสอบความแข็ง (Hardness Test) มาตรฐาน ASTM D2240
3) ทดสอบวิเคราะห์ความเสถียรของวัสดุ Thermo Gravimetric Analysis (TGA) มาตรฐาน ASTM E1131
4) ทดสอบคุณสมบัติต้านทานเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial properties)

4.2 ลักษณะทางกายภาพของตาข่ายโฟมยาง
ตาข่ายโฟมยางที่ผลิตได้จะใช้ กระบวนการผลิตด้วยกระบวนดันลอปวิธีนี้จะได้ ตาข่ายโฟมยางโดยมี
ความแข็งของตาข่ายโฟมยาง ได้ด้วยการควบคุมระดับการตีฟอง โดยการตีฟองให้ฟูเป็นระยะเวลาสั้นๆ จะได้
โฟมยางที่แข็งมีความหนาแน่นทีส่ ูงเพราะ ตาข่ายโฟมยางที่มีความแข็งสูงจะทนทานได้ดี เพื่อจะสามารถห่อหุ้ม
ผลฝรั่งได้พอดี กับขนาดของตาข่ายโฟม โดยขนาดของแผ่นตาข่ายโฟมยางขนาด กว้าง x ยาว อยู่ที่ 10.5 x 21
ซม. ± 1
4.3 ลักษณะทางกายภาพของโฟมยางตาข่าย
4.3.1ความหนาแน่น (Bulk Density)
ในการแพ็คสินค้าวัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำจะได้รับนิยม เนื่องจากน้ำหนักที่เบาทำให้ช่วยลดค่าขนส่ง
สินค้าลงได้ ซึ่งจะทำการแสดงค่าความหนาแน่น ที่มีการเเปรผันตามมวลของชิ้นงาน เมื่อเปรียบเทียบผลการ
ทดสอบระหว่าง ตาข่ายโฟมยางธรรมชาติเปรียบเทียบเทียบกับการทาสารซิลเวอร์และซิงค์นาโน เเสดงดัง
ตารางที่ 4.1
4.3.2ความแข็ง (Hardness)
แสดงถึงความต้านทานในการเสียรูป, การขีดข่วน หรือการเสียดสีของวัตถุ โดยใช้มาตราฐาน ASTM
30

D2240 ด้วยShore OO จากตารางที่ 4.1 แสดงค่าความแข็งของตาข่ายโฟมยางธรรมชาติเทียบกับ


การทาสารซิลเวอร์และซิงค์นาโน
ตารางที่ 4.1 แสดงค่าความหนาแน่นและความแข็งของชิ้นงาน
ตาข่ายโฟมยาง ความหนาแน่น ความแข็ง
ตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ 234.92±0.13 kg/m3 21.6 mm
(NRLF)
ตาข่ายโฟมยาง– ทาซิลเวอร์นาโน 297.39±0.20 kg/m3 29.2 mm
(Silver-In)
ตาข่ายโฟมยาง– ทาซิลเวอร์นาโน 268.49±0.12 kg/m3 29.4 mm
(Silver-out)
ตาข่ายโฟมยาง– ทาซิลเวอร์นาโน 278.72±0.14 kg/m3 30.0 mm
(Silver In-out)
ตาข่ายโฟมยาง– ทาซิงค์นาโน 328.87±0.15 kg/m3 30.0 mm
(Zine-In)
ตาข่ายโฟมยาง– ทาซิงค์นาโน 293.59±0.20 kg/m3 28.6 mm
(Zine-out)
ตาข่ายโฟมยาง – ทาซิงค์นาโน 281.76±0.19 kg/m3 29.0 mm
(Zine In-out)
out คือ ด้านที่มีการทาสารตรงบริเวณที่สัมผัสกับผิวของฝรั่ง
In คือ ด้านที่มีการทาสารบริเวณผิวด้านนอกที่ไม่สัมผัสกับผลฝรั่ง
In – out คือ ด้านที่ทาสารบริเวณทั้งสองฝั่งของตาข่ายโฟมยาง
4.2.3 ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของชิ้นงานตัวอย่าง
รูปถ่ายที่ผิวของชิ้นงานด้วยวิธีใช้กล้องดิจิทัล DSLR ถ่ายแบบระยะใกล้ด้วยการซูมในรูป 4.1 บนผิวหน้า
ของตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน พบว่าพื้นผิวที่ถูกทาด้วยซิลเวอร์มีความเรียบเนียนมัน
วาวมากกว่าพื้นผิวที่ทาด้วยซิงค์นาโน พบผิวที่ถูกทาด้วยซิงค์นาโนพบว่ามีความแห้งที่มากกว่าและมีการ
แตกร้าวดังรูป (f.2)
(a) (b) (c.1)
31

(c.2) (d) (e)

(f.1) (f.2)

รูป 4.1 ผิวบนหน้าของตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน (a) NRLF Silver-In (b) NRLF


Silver-Out (c.1) NRLF-Silver In-Out (In) (c.2) NRLF-Silver In-Out (Out) (d) NRLF-Zinc In (e)
NRLF Zinc-Out (f.1) NRLF Zinc In-Out (In) (f.2) NRLF Silver In-Out (Out)
4.4 ผลการทดสอบ TGA (Thermogravimetric Analysis)
จากกราฟ 4.2แสดงกราฟระหว่างน้ำหนักที่สูญเสียไปกับอุณหภูมิ กระบวนการย่อยสลายแบบขั้นตอน
เดียวสำหรับตัวอย่าง
1) NRLF ซึ่งมีน้ำหนักสูญเสียน้อยในช่วงที่อุณหภูมิต่ำกว่า135 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่เกิดจากการ
สลายตัวของความชื้นสำหรับน้ำหนักที่สูญเสียไปในระหว่างช่วงอุณหภูมิประมาณ 330-480 องศาเซลเซียสคิด
เป็น 91.47% ของน้ำหนักทั้งหมด
2) NRLF Zinc-Out มีน้ำหนักสูญเสียน้อยในช่วงที่อุณหภูมิต่ำกว่า 135 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่เกิด
จากการสลายตัวของความชื้นสำหรับน้ำหนักที่สูญเสียไปในระหว่างช่วงอุณหภูมิประมาณ 330-480 องศา
เซลเซียสคิดเป็น 84.92% ของน้ำหนักทั้งหมด
3) NRLF Zinc In-Out น้ำหนักสูญเสียน้อยในช่วงที่อุณหภูมิต่ำกว่า 135 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่เกิด
จากการสลายตัวของความชื้นสำหรับน้ำหนักที่สูญเสียไปในระหว่างช่วงอุณหภูมิประมาณ 330-480 องศา
เซลเซียสคิดเป็น 62.65% ของน้ำหนักทั้งหมด
32

กระบวนการย่อยสลายแบบหลายขั้นตอนสำหรับตัวอย่าง
4) NRLF Silver-Out ที่อุณหภูมิ 47.70-112.58 องศาเซลเซียส เกิดจากการสลายตัวของสารประกอบ
ที่เติมเข้าไป เพื่อให้ชิ้นงานทดสอบมีคุณสมบัติ ที่ต้องการคิดเป็นน้ำหนักที่สูญเสียไป5.5% ช่วงที่2 ที่อุณหภูมิ
155-240 องศาเซลเซียสคิดเป็นน้ำหนักที่สูญเสียไป16.63% ส่วนใหญ่เกิดการย่อยสลายตัวที่อุณหภูมิ 330-
480 องศาเซลเซียส คิดเป็นน้ำหนักที่สูญสียไป 73.26%
5) NRLF Silver In-Out ที่ อ ุ ณ หภู ม ิ 36.02-147.80 องศาเซลเซี ย ส เกิ ด จากการสลายตั ว ของ
สารประกอบที่เติมเข้าไป เพื่อให้ชิ้นงานทดสอบมีคุณสมบัติที่ต้องการคิดเป็นน้ำหนักที่สูญเสียไป7.07% ช่วงที่2
ที่อุณหภูมิ 147.80-290.70 องศาเซลเซียสคิดเป็นน้ำหนักที่สูญเสียไป16.63% ส่วนใหญ่เกิดการย่อยสลายตัวที่
อุณหภูมิ 330-480 องศาเซลเซียส คิดเป็นน้ำหนักที่สูญสียไป 65.62%
100

80 NRLF
NRLF-Silver out
NRLF-Silver in-out
Weight loss (%)

60
NRLF-Zinc out
NRLF-Zinc in-out
40

20

0
35 135 235 335 435 535
Temperature (oC)

รูปที่ 4.2 แสดงกราฟการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักกับอุณหภูมิ

รูปที่ 4.3 แสดงกราฟการเปรียบเทียบอัตราการสูญเสียมวลเทียบกับอุณหภูมิ


33

4.5 ภาพเปรียบเทียบการต้านทานแบคทีเรียที่มตี าข่ายโฟมยางต่างกัน

ตารางที่ 4.2 การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ


ตาข่ายโฟมยาง ลักษณะของฝรั่ง
วันที่1 วันที่3 วันที่5 วันที่7
1. NRLF
Silver - In
(ด้านล่าง)

(ด้านหน้า)

(ด้านซาย)

(ด้านหลัง)

(ด้านขวา)
34

ตาราง 4.2การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ (ต่อ)

(ด้านบน)

2.NRLF
Silver - Out
(ด้านล่าง)

(ด้านหน้า)

(ด้านซ้าย)

(ด้านหลัง)

(ด้านขวา)
35

ตาราง 4.2การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ (ต่อ)

(ด้านบน)

3.NRLF
Silver In - Out
(ด้านล่าง)

(ด้านหน้า)

(ด้านซ้าย)

(ด้านหลัง)

(ด้านขวา)
36

ตาราง 4.2การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ (ต่อ)

(ด้านบน)

4. NRLF
Zinc - In
(ด้านล่าง)

(ด้านหน้า)

(ด้านซ้าย)

(ด้านหลัง)
37

ตาราง 4.2การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ (ต่อ)

(ด้านขวา)

(ด้านบน)

5. NRLF
Zinc - Out
(ด้านล่าง)

(ด้านหน้า)

(ด้านซ้าย)
38

ตาราง 4.2การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ (ต่อ)

(ด้านหลัง)

(ด้านขวา)

(ด้านบน)

6.NRLF
Zinc In - Out
(ด้านล่าง)

(ด้านหน้า)
39

ตาราง 4.2การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ (ต่อ)

(ด้านซ้าย)

(ด้านหลัง)

(ด้านขวา)

(ด้านบน)

7.NRLF
Control
(ด้านล่าง)
40

ตาราง 4.2การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ (ต่อ)

(ด้านหน้า)

(ด้านซ้าย)

(ด้านหลัง)

(ด้านขวา)

(ด้านบน)
41

ตาราง 4.2การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ (ต่อ)

8.NRLF - None
(ด้านล่าง)

(ด้านหน้า)

(ด้านซ้าย)

(ด้านหลัง)

(ด้านขวา)
42

ตาราง 4.2การเปลี่ยนแปลงของฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยางที่ทาซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน 8 รูปเเบบ (ต่อ)

(ด้านบน)

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงผลฝรั่งที่ห่อหุ้มตาข่ายโฟมยาง8รูปแบบโดยการทดสอบใส่ ตาข่ายโฟมยางทั้ง
8รูปเเบบเปรียบเทียบความสามารถในการต้านทานเชื้อเเบคทีเรียโดยการสังเกตจากลักษณะผิวกายภาพของ
ผลฝรั่งที่มีการ เปลี่ยนเเปลง ในแต่ละวันโดยสังเกตทุก 1 ,3 ,5 ,7 วัน ตามตาราง 4.2

NRLF Silver-In และ NRLF Silver-Out จะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ใกล้เคียงกัน สังเกตเปรียบเทียบจาก


วันที่1 เมื่อเวลาผ่านไปถึงวันที่ 3 จะมีการเจอจุดสีน้ำตาลเล็กรอบๆผิวฝรั่งเป็นวงกว้างตามแนวผิวของฝรั่ง
ขนาดจะมีการลดลงเล็กน้อย วันที่ 5 รอยช้ำจะมีการขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นจากบริเวณที่เกิดการช้ำอยู่ก่อน
หน้านี้ NRLF Silver-Out จะมีรอยช้ำมากเมื่อเทียบกับ NRLF Silver-In และเริ่มส่งกลิ่นเหม็น วันที่ 7 ฝรั่งมี
ความช้ำที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อสัมผัสที่ฝรั่ง ฝรั่งจะมีความนิ่มและบริเวณโดยรอบฝรั่งจะมีการคายน้ำออกจากผิวฝรั่ง
มีการเกิดเชื้อราขึ้นบริเวณรอบๆ
NRLF Silver In-Out สังเกตเปรียบเทียบจากวันที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไปถึงวันที่ 3 จะเกิดรอยช้ำสีน้ำตาล
เพียงเล็กน้อยบนผิวผลฝรั่งเมื่อเทียบกับ NRLF Silver-In และ NRLF Silver-Out วันที่ 5 จะเกิดการเหี่ยวย่น
ของผลฝรั่ง รอยช้ำพบมากขึ้นและมีสีเข้มมากขึ้น และเริ่มส่งกลิ่น วันที่ 7 ขนาดของผลฝรั่งมีขนาดลดลง เกิด
การเหี่ยวถึงเน่าพบเชื้อรามากว่า NRLF Silver-In และ NRLF Silver-Out
NRLF Zinc-In และ NRLF Zinc In-Out จะมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่ใกล้เคียงกัน โดยสังเกต
เปรียบเทียบจากวันที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไปถึงวันที่ 3 ผลฝรั่งเกิดรอยช้ำที่น้อยมากหรือไม่เกิด แต่เริ่มการเหยี่ยว
ของผลฝรั่ง วันที่ 5 เริ่มเกิดรอยช้ำสีน้ำตาลเล็กน้อยบนผิวฝรั่ง วันที่ 7 เกิดการเหี่ยวย่นอย่างเห็นได้ชัด ขนาด
ลดลงจากวันที่1 มาก เริ่มส่งกลิ่น แต่ไม่เกิดเชื้อรา
NRLF Zinc-Out โดยสังเกตเปรียบเทียบจากวันที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไปถึงวันที่ 3 เกิดรอยช้ำสีน้ำตาลที่บน
ผิวฝรั่งเพียงเล็กน้อย วันที่ 5 รอยช้ำมีสีเข้มขึ้นและมากขึ้นจากวันที่แล้ว ขนาดผลฝรั่งลดลง เกิดการเหี่ยวย่น
และส่งกลิ่น วันที่ 7 มีเชื้อราเกิดขึ้นบริเวณที่เป็นรอยช้ำขนาดใหญ่ เมื่อสัมผัส ผลฝรั่งจะมีความนิ่ม
NRLF Control สังเกตเปรียบเทียบจากวันที่1 เมื่อเวลาผ่านไปถึงวันที่ 3 ไม่พบรอยช้ำที่เกิดขึ้น วันที่5-7
เกิดการเหี่ยวย่น และเกิดรอยช้ำเพียงเล็กน้อย ไม่เกิดเชื้อรา
43

NRLF None สังเกตเปรียบเทียบจากวันที่1 เมื่อเวลาผ่านไปถึงวันที่ 3 เกิดการเหี่ยวย่นของผลฝรั่งอย่างเห็น


ได้ชัด และผลฝรั่งมีขาดลดลง วันที่ 5 เริ่มมีรอยช้ำสีน้ำตาลบริเวณรอบๆผลฝรั่งเล็กน้อย วันที่ 7 รอยช้ำมีสีเข้ม
มากขึ้น เริ่มส่งกลิ่น
44

บทที่ 5
ผลลัพธ์และการอภิปราย
จากการพัฒนาวัสดุกันกระแทกที่มีหน้าที่จำเพาะสำหรับบรรจุภัณฑ์ผลิตผลสด วิเคราะห์ปัจจัยทาง
ความร้อนที่มีผลต่อตาข่ายโฟมยางที่ผสมซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน และทดสอบเพื่อประเมินความสามารถ
ในการป้องกันการเสียหายทางกายภาพ ซึง่ ผลการทดลองนั้นมีผลออกมาสามารถสรุปผลได้ดังนี้
5.1 สรุปผลของความหนาแน่น (Bulk Density)
5.2 สรุปผลความแข็ง (Hardnees)
5.3 สรุปผลทางสัญฐานวิทยา
5.4 สรุปผลของอุณหภูมิที่ส่งผลต่อคุณสมบัติทางความร้อน
5.5 ผลของคุณสมบัติการต้านทานแบคทีเรีย
5.1 สรุปผลของความหนาแน่น (Bulk Density)
ในการแพ็คสินค้าวัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำจะได้รับนิยม เนื่องจากน้ำหนักที่เบาทำให้ช่วยลดค่าขนส่ง
สินค้าลงได้ จากตารางที่ 4.3 แสดงค่าความหนาแน่นของตาข่ายโฟมยางธรรมชาติเทียบกับการทาซิลเวอร์และ
ซิงค์นาโน พบว่าตาข่ายโฟมยางธรรมชาติมีความหนาแน่นต่ำที่สุด เนื่องจากซิลเวอร์และซิงค์นาโนเป็นของแข็ง
เมื่อถูกทำให้แห้งจากการอบจึงทำให้ตาข่ายโฟมยางมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
5.2 สรุปผลความแข็ง (Hardnees)
เนื่องจากตาข่ายโฟมยางกันกระแทกเป็นยางที่มีความนุ่มมากคล้ายฟองน้ำ ถ้าหากมีความแข็งที่มาก
เกินไปอาจทำให้พื้นผิวของผลไม้เกิดรอยได้ จากตารางที่ 4.3 แสดงค่าความแข็งของตาข่ายโฟมยางธรรมชาติ
เทียบกับการทาซิลเวอร์และซิงค์ พบว่าตาข่ายโฟมยางธรรมชาติมีความแข็งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับตาข่ายโฟม
ยางที่ทาซิล-เวอร์และซิงค์นาโน แต่ผลหลังจากการห่อกับผลฝรั่งไม่เกิดรอยจากตาข่ายโฟมยางในทุกการ
ทดลอง

5.3 สรุปผลทางสัณฐานวิทยา
ผิวของตาข่ายโฟมยางที่ทาสารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโน พบว่าพื้นผิวที่ทาด้วยซิลเวอร์มีความเรียบ
เนียนมันวาวมากกว่าพื้นผิวที่ทาด้วยซิงค์นาโนและชิ้นงานที่ทาด้วยซิงค์นาโนจะซึมเข้าสู่เนื้อของตาข่ายโฟมยาง
ได้มากกว่าซิลเวอร์นาโนหลังผ่านการอบ
45

5.4 สรุปผลของอุณหภูมิที่ส่งผลต่อคุณสมบัติทางความร้อน
ผลการวิเคราะห์ TGA
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักของสารตัวอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงอุณหภูมิต่างๆ
พบว่าชิ้นตัวอย่างที่ทาซิงค์นาโนและยางพื้นฐาน มีช่วงการสลายตัวช่วงเดียว ส่วนชิ้นงานที่ทาซิลเวอร์นาโน มี
ช่วงการสลายตัว 3 ช่วง ที่อุณหภูมิต่างกัน ซึ่งสามารถระบุถึงตัวอย่างที่นำทดสอบนั้นมีองค์ประกอบหลักที่ถูก
เผา 1 ชนิด ถูกเผาที่อุณหภูมิต่างกัน 3 ช่วง สามารถสรุปได้ว่าช่วงการสลายตัวส่วนใหญ่เกิดที่ 330 - 480
องศาเซสเซียส แต่น้ำหนักที่หายไปจะต่างกัน และสารที่ใช้ทาต่างกันไม่มีผลต่ออุณหภูมิการสลายตัวส่วนใหญ่
5.5 สรุปเเละวิเคราะห์ผลของคุณสมบัติการต้านทานเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial properties)
จากผลการทดลองพบว่า ฝรั่งที่ไม่มีการห่อด้วยตาข่ายโฟมยางให้ประสิทธิภาพในการป้องกันแบคทีเรีย
ได้ดีที่สุดเมื่อผ่านไป 7 วัน โดยในวันที่ 5 ทุกตัวอย่างจะมีความใกล้เคียงกันในด้านของความช้ำและความสดที่
ลดลง แต่เมื่อเข้าสู่วันที่ 7 ตัวอย่างที่มีการห่อด้วยตาข่ายโฟมยางพบการเกิดเชื้อราขึ้นมา ยกเว้นตัวอย่าง NRLF-
None และ NRLF-Control ที่ไม่พบเชื้อรามีเพียงแค่ความสดที่ลดลง เมื่อเทียบความสดกันของ 2 ตัวอย่าง
ตัวอย่าง NRLF-None จะให้ความสดที่ดีกว่า NRLF-Control ทั้งนี้อาจเป็นจากการทีฝ่ รั่งสัมผัสกับซิลเวอร์นาโน
และซิงค์นาโนโดยตรงจึงทำให้เกิดปฎิกริยาบางอย่างกับตัวผลไม้ทำให้ไม่สามารถต้านทานการเกิดแบคทีเรียได้
โดยอาจจะเปลี่ยนวิธีการผสมสารลงไปในขั้นตอนเตรียมน้ำยางเพื่อให้สารซิลเวอร์นาโนและซิงค์นาโนอยู่ในเนื้อ
ยางเพื่อปล่อยความสามารถในการต้านทานแบคทีเรียออกมาแทนการสัมผัสโดยตรง
46

รายการอ้างอิง
1. Rathnayake, W. G. I. U., et al. (2014). "Enhancement of the antibacterial activity of
natural rubber latex foam by the incorporation of zinc oxide nanoparticles." Journal
of Applied Polymer Science 131(1): n/a-n/a.
2. Phomrak, S., et al. (2020). "Natural Rubber Latex Foam Reinforced with Micro- and
Nanofibrillated Cellulose via Dunlop Method." Polymers (Basel) 12(9).
3. Mam, K. and R. Dangtungee (2019). "Effects of silver nanoparticles on physical and
antibacterial properties of natural rubber latex foam." Materials Today: Proceedings
17: 1914-1920.
4. Jitkokkruad, K., et al. (2023). "Effects of Bamboo Leaf Fiber Content on Cushion
Performance and Biodegradability of Natural Rubber Latex Foam Composites."
Polymers (Basel) 15(3)
5. Ramli, R.; Chai, A.B.; Ho, J.H.; Kamaruddin, S.; Rasdi, F.R.M.; De Focatiis, D.S. Specialty
natural rubber latex foam: Foamability study and fabrication process.
RubberChem.Technol.2022, 95, 492–513. [CrossRef]
6. Hui Mei, E.L.; Singh, M. The Dunlop Process in Natural Rubber Latex Foam. Malays.
Rubber Dev. Technol 2010, 10, 23–26 [CrossRef] Effect of Blowing Agent on Cell
Morphology and Acoustic Absorption of Natural Rubber Foam | Scientific.Net
7. Zhang, N.; Cao, H. Enhancement of the antibacterial activity of natural rubber latex
foam by blending it with chitin. J. Mater. 2020, 13, 1039 [CrossRef] Materials | Free
Full-Text | Enhancement of the Antibacterial Activity of Natural Rubber Latex Foam
by Blending It with Chitin (mdpi.com)
8. Bashir, A.S.; Manusamy, Y.; Chew, T.L.; Ismail, H.; Ramasamy, S. Mechanical, thermal,
and morphological properties of (eggshell powder)-filled natural rubber latex foam. J.
Vinyl Addit. Technol. 2015, 23, 3–.12
9. ASTM D 2240-15; Standard Test Method for Rubber Property—Durometer Hardness.
ASTM International: West Conshohocken, PA, USA, 2021.
47

ภาคผนวก
ตัวอย่างการคำนวณ
ก. การคำนวณหาปริมาณของสาร
1.) จากงานวิจัยที่มีผู้ศึกษามาก่อน [3] ซิลเวอร์นาโนที่ความเข้มข้น 200,000ppm ต้องใช้ปริมาณ
เท่ากับ0.2phr แต่โครงงานเรามีซิลเวอร์นาโนความเข้มข้น 15,000ppm ดังนั้นทำการเปรียบเทียบหาค่า
ปริมาณที่ต้องใส่
200,000ppm x 0.2phr
จะได้ =2.67phr
15,000𝑝𝑝𝑚

และจากงานวิจัยที่มีผู้ศึกษามาก่อน [1] ซิงค์นาโนที่มีความเข้มข้น40% ต้องใช้ปริมาณเท่ากับ 4phr ใน


โครงงานเรามีซิงค์นาโนความเข้มข้น 23% ดังนั้นทำการเปรียบเทียบหาค่าปริมาตรที่ต้องใส่
40% 𝑥 4𝑝ℎ𝑟
จะได้ = 6.96phr
23%

สรุปปริมาณสารที่ต้องใช้ ซิลเวอร์นาโนเท่ากับ2.67phr ซิงค์นาโนเท่ากับ6.69phr


48

ข.กราฟของผลการทดลอง
2.) กราฟTGA

กราฟ (2.a) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักด้วยความร้อน NRLF Silver Out

กราฟ (2.b) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักด้วยความร้อน NRLF Silver In-out


49

กราฟ(2.c) การเปลื่ยนแปลงน้ำหนักด้วยความร้อน NRLF Zinc out

กราฟ (2.d) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักด้วยความร้อน NRLF Zinc In-out

กราฟ (2.e) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักด้วยความร้อน NRLF Zinc In-out

You might also like