Word 27

You might also like

You are on page 1of 11

บทที่ 1

บทนำ

1. ความเป็ นมาและความสำคัญ

นอกจากการแบ่งแยกสีผิวในด้านต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เท่า
เทียมกันแล้ว คนผิวดำในรัฐทางใต้ยังตกเป็ นเหยื่อของความรุนแรงจากคน
ผิวขาวอีกด้วย ความรุนแรงนี้ไม่ใช่แค่ความรุนแรงที่เกิดจากความไม่พอใจ
ของคนผิวขาวบางคน แต่เป็ นความรุนแรงที่ถูกสร้างและธำรงไว้อย่างเป็ น
ระบบเพื่อให้คนผิวดำตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคนผิวขาวแม้กลุ่มที่
สนับสนุนแนวคิดคนผิวขาวเป็ นใหญ่ (White Supremacy) มีอยู่หลายกลุ่ม
แต่ที่คนทั่วไปรู้จักมากที่สุดและมีสมาชิกมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มคูคลักซ์
แคลน (Ku Klux Klan) การเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้จะมีอยู่ 2 ช่วงหลัก คือ
ช่วงแรก หลังสงครามกลางเมืองระหว่างกลางทศวรรษที่ 1860 – 1870
และช่วงที่สอง คือ ช่วงกลางทศวรรษที่ 1910 – 1940 กลุ่มคูคลักซ์แคลนมี
จุดกำเนิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มอดีตทหารของฝ่ ายใต้ที่แพ้สงคราม เป้ า
หมายในช่วงแรกคือ การพยายามต่อต้านนโยบายฟื้ นฟูที่พยายามผลักดัน
โดยรัฐบาลกลาง แต่ในช่วงหลังเป้ าหมายของกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่กดขี่คนผิวดำ แต่
รวมถึงการกอบกู้ศักดิ์ศรีของคนผิวขาวที่พวกเขาเชื่อว่าเป็ นชาวอเมริกันที่แท้
จริง (nativist)
เครื่องมือที่สำคัญที่กลุ่มคูคลักซ์แคลนใช้ในการเคลื่อนไหว คือ ความ
รุนแรง สมาชิกคูคลักซ์แคลนจะใช้กำลังในการข่มขู่ ทำร้าย หรือฆ่าคนผิวดำ
ที่เคลื่อนไหวปกป้ องสิทธิของตนเอง คนผิวขาวที่สนับสนุนการเคลื่อนไหว
ของคนผิวดำเองก็อาจจะตกเป็ นเหยื่อได้ สมาชิกของกลุ่มคูคลักซ์แคลนจะมี
อยู่ทั่วไป แต่มากสุดจะอยู่ในรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐฯ สมาชิกกลุ่มมีตั้งแต่
อาชีพเกษตรกร แรงงาน ทนาย พ่อค้าแพทย์และผู้นำทางศาสนา แม้แต่
ตำรวจจำนวนมากก็เป็ นสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งทำให้หลายคดีที่คนผิวดำเป็ น
เหยื่อของคนผิวขาวไม่ได้รับความสนใจจากตำรวจ ในบางกรณีแม้ตำรวจเอง
อาจจะไม่ได้เป็ นสมาชิกของกลุ่มคูคลักซ์แคลน แต่พวกเขาก็ไม่ค่อยกล้า
เข้าไปยุ่งกับคดีแบบนี้ หรือในหลายคดีที่เหยื่อผิวดำแจ้งความกับคนผิวขาว
แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถดำเนินคดีได้ เพราะไม่มีคนกล้ามาเป็ นพยาน นั่น
ทำให้กลุ่มคูคลักซ์แคลนสามารถใช้ความรุนแรงกับคนผิวดำได้โดยไม่ต้อง
เกรงกลัวว่าจะถูกจับหรือลงโทษตามกฎหมาย

การรุมประชาทัณฑ์ (lynching) ก็เป็ นอีกวิธีการหนึ่งที่มักถูกใช้ใน


การจัดการกับคนผิวดำ ในสหรัฐฯ การรุมประชาทัณฑ์เป็ นการลงโทษผู้ที่ถูก
เชื่อว่าเป็ นผู้กระทำผิดโดยการใช้ ‘ศาลเตี้ย’ นั่นคือ การตัดสินลงโทษโดย
กลุ่มคนที่รุมประชาทัณฑ์ (lynching mob) ด้วยความรุนแรงโดยไม่ผ่าน
กระบวนการทางกฎหมาย การรุมประชาทัณฑ์มักจะทำเป็ นหมู่คณะจำนวน
มากและทำในพื้นที่สาธารณะ ในบางกรณีมีคนเข้าร่วมมากถึงหลักหมื่น แม้
การรุมประชาทัณฑ์นี้จะถูกใช้กับคนทุกสีผิว แต่เหยื่อส่วนใหญ่มักเป็ นคนผิว
ดำ จากข้อมูลที่ถูกรวบรวมโดย NAACP (National Association for the
Advancement of Colored People) ในช่วงปี ค.ศ. 1882 ถึง 1968 มี
การรุมประชาทัณฑ์ถึง 4,743 ครั้ง ในจำนวนนี้ 3,446 ครั้ง เหยื่อเป็ นคนผิว
ดำ หรือ 72.7% ของจำนวนทั้งหมด เหยื่อจากการรุมประชาทัณฑ์ที่เป็ นคน
ผิวขาวมีทั้งหมดเพียง 1,297 คน หรือ 27.3% โดยคนผิวขาวที่ถูกรุม
ประชาทัณฑ์ หลายครั้งเป็ นเพราะพวกเขาได้ช่วยเหลือคนผิวดำหรือมีท่าที
ต่อต้านการรุมประชาทัณฑ์

การรุมประชาทัณฑ์เป็ นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้กดขี่คนผิวดำอย่าง
เป็ นระบบ การรุมประชาทัณฑ์มักมีสาเหตุจากข้อกล่าวหาว่าคนผิวดำข่มขืน
หรือล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิงผิวขาว ข้อกล่าวหานี้หลาย ๆ ครั้งเกิดขึ้นโดย
ไม่มีพยานหรือหลักฐาน หลังจากนั้นก็จะมีการพยายามแพร่กระจายข่าวไป
ด้วยข้อมูลที่บิดเบือนหรือไม่ครบถ้วนเพื่อทำให้เกิดความรู้สึกโกรธและ
ต้องการล้างแค้น บางครั้งสื่อท้องถิ่นก็มีบทบาทในการช่วยแพร่กระจาย
ข่าวสารที่บิดเบือนนี้ด้วย บางครั้งหากผู้ต้องสงสัยถูกตำรวจจับกุม ก็จะมีการ
รวมตัวเรียกร้องให้มีการรุมประชาทัณฑ์คนผิวดำที่กระทำผิด บางครั้งตำรวจ
ก็พยายามห้ามปรามผู้ชุมนุม แต่หลายครั้งตำรวจก็ปล่อยให้การรุม
ประชาทัณฑ์เกิดขึ้นโดยไม่ห้ามปรามแต่อย่างใด วิธีที่มักใช้บ่อยครั้งที่สุดใน
การรุมประชาทัณฑ์คือ การแขวนคอ โดยก่อนแขวนคอก็จะมีการรุมทุบตี
ทรมานเสียก่อน เมื่อแขวนคอเสร็จก็อาจจะมีการเผาตามด้วย การเผาเหยื่อมี
ทั้งแบบเผาทั้งเป็ นและแบบเผาหลังจากที่ชีวิตแล้ว หลังจากนั้นก็จะมีการ
ถ่ายรูปเป็ นที่ระลึกคู่กับศพที่เต็มไปด้วยบาดแผลหรือรอยไหม้เกรียม บาง
ครั้งมีการนำรูปเหล่านี้มาทำเป็ นโพสต์การ์ดและวางขายในร้านขายของที่
ระลึกด้วย ไม่เพียงแต่ภาพเท่านั้น บางครั้งมีการหั่นเอาชิ้นส่วนอวัยวะต่าง ๆ
ของเหยื่อผิวดำมาแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมเพื่อนำไปเป็ นของที่ระลึกอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมเป็ นส่วนหนึ่งของการใช้ความรุนแรงต่อคนผิวดำไม่
ได้มีแต่ผู้ชายผิวขาวเท่านั้น แต่ยังมีผู้หญิงและเด็กที่เข้าร่วมการร
ประชาทัณฑ์ด้วย ผู้ที่เข้าร่วมในการรุมประชาทัณฑ์จะมีการแต่งตัวดีและจะ
มีท่าทางยิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนได้ไปร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนฝูง
ขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิพลเมือง (Civil Rights Movement)
อย่างไรก็ตาม มีคนผิวดำจำนวนไม่น้อยที่ไม่ยอมจำนนและพยายาม
ต่อสู้เรียกร้องสิทธิของตนเอง กลุ่มนักเคลื่อนไหวนี้มักจะใช้การต่อสู้ใน 2 รูป
แบบหลัก คือ การต่อสู้ผ่านช่องทางกฎหมาย (legal challenge) และการ
ต่อสู้ผ่านขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (social movements) โดยใช้ 2
แนวทางเคลื่อนไหวนี้ไปพร้อม ๆ กัน พวกเขาเชื่อว่าการเคลื่อนไปพร้อม ๆ
กันนี้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากกว่า เพราะหากจะเน้นการ
เคลื่อนไหวทางสังคมอย่างเดียว แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย การ
เปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวได้ แต่
หากจะเคลื่อนไหวทางกฎหมายอย่างเดียวโดยไม่กดดันสังคม การแก้ไข
กฎหมายก็อาจจะไม่เกิดขึ้น
เพื่อให้บรรลุถึงเป้ าหมายจึงได้มีการก่อตั้งกลุ่มและองค์กรในการ
เคลื่อนไหวหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีสมาชิก เป้ าหมาย และวิธีการเคลื่อนไหว
ที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวเช่น
สมาคมส่งเสริมความก้าวหน้าของคนผิวสีแห่งชาติ (National Association
for the Advancement of Colored People, NAACP) ที่ก่อตั้งมาตั้งปี
ค.ศ. 1909 เพื่อเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิคนผิวดำในด้านต่าง ๆ กลุ่มผู้นำชาว
คริสต์ทางตอนใต้ Southern Christian Leadership Conference, SCLC)
ที่เคลื่อนไหวเรื่องสิทธิการเลือกตั้งร่วมกับ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง (Dr.
Martin Luther King) และกลุ่มแบล็คแพนเธอร์ (The Black Panthers) ที่
มีเป้ าหมายในการช่วยเหลือและปกป้ องคนผิวดำ แต่กลุ่มนี้มักจะถูกมองว่า
ใช้วิธีการที่รุนแรง
การเคลื่อนไหวเพื่อท้าทายนโยบายการแบ่งแยกในรัฐทางใต้เริ่มได้รับ
ความสนใจจากสังคมในช่วงทศวรรษที่ 1950 คนผิวดำเริ่มได้รับการยอมรับ
มากขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ 1939 – 1945) ในช่วงนี้รัฐบาลออก
กฎหมายรับรองความเท่าเทียมของค่าแรงคนผิวดำและยอมให้คนผิวดำเข้า
ร่วมกองทัพเพื่อสู้รบในสงครามโลก ในช่วงทศวรรษที่ 1950 การต่อสู้เรียก
ร้องความเท่าเทียมของคนผิวดำได้ถูกยกระดับขึ้น กรณีที่รู้จักกันดี คือ การ
ต่อต้านการแบ่งแยกที่นั่งบนรถประจำทาง

ในเย็นวันหนึ่งในปี ค.ศ. 1955 ในขณะที่โรซ่า พาร์คส กำลังนั่งรถ


ประจำทางเพื่อจะกลับบ้าน ที่นั่งของพาร์คส อยู่ด้านหน้าของรถ ต่อมามี
ผู้ชายผิวขาวขึ้นมาบนรถ แต่ปรากฎว่าไม่มีที่นั่งด้านหน้าว่างเหลืออยู่เลย คน
ขับเลยบอกให้พาร์คสซึ่งเป็ นคนผิวดำย้ายที่ไปนั่งด้านหลังตามกฎหมายของ
รัฐอลาบาม่า (Alabama) ที่จะสงวนที่นั่งด้านหน้าไว้ให้คนผิวขาว แต่พาร์คส
ไม่ยอมลุก ด้วยเหตุนี้คนขับจึงแจ้งตำรวจ พาร์คสถูกนำไปดำเนินคดีและเสีย
ค่าปรับ ข่าวการจับกุมผู้หญิงผิวดำเพียงแค่ไม่ยอมลุกให้ชายผิวขาวนั่งกลาย
เป็ นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ความไม่พอใจถึงความอ
ยุติธรรมนี้ได้นำไปสู่การประท้วงโดยการบอยคอท (boycott) ระบบรถ
ประจำทางของเมืองมอนโกโมรี่ (Montgomery) รวมเวลา 381 วัน จน
กระทั่งศาลสูงมีคำตัดสินในปี ค.ศ. 1956 ว่ากฎหมายการแบ่งแยกที่นั่งบน
รถประจำทางไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
การต่อสู้ระหว่างคนผิวสีการต่อสู้เรื่องแบ่งแยกโรงเรียนคนผิวขาวและ
ผิวดำเป็ นอีกประเด็นที่สำคัญในการเคลื่อนไหวสิทธิพลเมือง ตัวอย่างการ
ต่อสู้ที่คนรู้จักกันมากที่สุดในเรื่องนี้ คือ คำตัดสินของศาลสูงในคดี Brown
v. Board of Education of Topeka ในปี ค.ศ. 1954 สาเหตุของการฟ้ อง
ร้องนี้เกิดจากพ่อแม่ของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ ลินดา บราวน์ (Linda Brown) อายุ
11 ขวบ ต้องการให้ลูกตัวเองเข้าเรียนโรงเรียนคนผิวขาวที่อยู่ใกล้บ้าน แต่
เนื่องจากโรงเรียนไม่อนุญาตให้เข้าเรียน จึงจำเป็ นต้องไปเรียนโรงเรียนคน
ผิวดำที่อยู่ไกลออกไปมาก พ่อแม่นักเรียนผู้นี้จึงยื่นฟ้ องศาล สุดท้ายศาลสูง
สหรัฐฯ ได้มีคำตัดสินที่ถือว่าเป็ นหมุดหมายสำคัญในการต่อสู้สิทธิคนผิวดำ
ศาลตัดสินด้วยเสียงเอกฉันท์ (9-0) ให้กฎหมายแบ่งแยกสีผิวไม่ถูกต้องตาม
รัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาเธอร์กู๊ด มาร์แชล (Thurgood Marshall) ได้ระบุใน
คำพิพากษานี้ไว้อย่างชัดเจนว่ากฎหมายการแบ่งแยกโรงเรียนคนผิวดำและ
ผิวขาวนี้เป็ นสิ่งที่ไม่เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ (inherently unequal) ดัง
นั้น จึงผิดรัฐธรรมนูญตามบัญญัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 (14th
Amendment) คำตัดสินนี้ถือว่าได้กลับคำตัดสินในคดี Plessy v.
Ferguson (1896) ที่ระบุว่าการแบ่งแยกนั้นทำได้ แต่ต้องทำให้เท่าเทียม ใน
ขณะที่ในคำตัดสินนี้ศาลได้ระบุไว้ชัดเจนว่าการแบ่งแยกในตัวมันเองคือ
ความไม่เท่าเทียม

เพื่อแก้ไขปั ญหาการแบ่งแยกสีผิว ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์น


สัน (Lyndon B. Johnson) ได้พยายามผลักดันกฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil
Rights Act) ที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี (John
F. Kennedy) แต่ถูกสังหารไปเสียก่อน ในสมัยประธานาธิบดีจอห์นสันได้มี
ความพยายามจากกลุ่มวุฒิสมาชิกจากรัฐทางใต้ที่พยายามขัดขวางกฎหมาย
ฉบับนี้ แต่สุดท้ายมีการต่อรองกันจนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้สามารถผ่านใน
สภาคองเกรสได้ในปี ค.ศ. 1964 กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้การกีดกันคนผิว
ดำในพื้นที่สาธารณะเป็ นสิ่งที่ผิดกฎหมาย พื้นที่สาธารณะนี้รวมถึงธุรกิจ
เอกชนที่ต้องให้บริการกับคนทั่วไป เช่น ร้านอาหาร โรงแรม หรือโรง
ภาพยนตร์ด้วย นอกจากนี้ ยังมีการตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อสอบสวนและ
ลงโทษการกีดกันการจ้างงานด้วย และ กฎหมายฉบับนี้ยังมีการกำหนดว่า
รัฐบาลกลางจะไม่ให้เงินสนับสนุนนโยบายกีดกันคนผิวดำของรัฐต่าง ๆ อีก
ด้วย

แม้ในทางกฎหมายศาลสูงสหรัฐฯ จะตัดสินมาแล้วว่าการแบ่งแยก
เท่ากับความไม่เท่าเทียม แต่ในความเป็ นจริงรัฐต่าง ๆ ทางใต้ก็ยังพยายาม
คงนโยบายแบ่งแยกสีผิวไว้ โดยรัฐต่าง ๆ ไม่ยอมแก้ไขระเบียบ กฎหมาย
หรือนโยบายให้สอดคล้องกับคำตัดสินของศาลสูง โรงเรียนคนผิวขาวในรัฐ
ทางใต้ก็ยังไม่เปิ ดให้คนผิวดำเข้ามาเรียน ในปี ค.ศ. 1965 มีความพยายามที่
เปิ ดโอกาสให้คนผิวดำสามารถเรียนโรงเรียนคนผิวขาวได้ โดยการส่งอาสา
สมัครผิวดำ 9 คนเข้าไปเรียนในโรงเรียน Central High ซึ่งเป็ นโรงเรียนคน
ผิวขาวในเมืองลิตเทิลร็อก รัฐอาร์คันซอ (Little Rock, Arkansas)
เหตุการณ์นี้คนทั่วไปรู้จักกันในนาม ‘Little Rock Nine’ ในการเข้าไปเรียน
ในวันแรก ผู้ว่าการรัฐในตอนนั้นได้สั่งให้กองกำลังรักษาดินแดนของรัฐ
(National Guard) มายืนขวางทางเข้าโรงเรียน เขายังขู่อีกว่าอาจมีการนอง
เลือดขึ้นถ้านักเรียนผิวดำได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนคนผิวขาว ในวันนั้นยังมี
คนผิวขาวจำนวนมากมายืนปิ ดล้อมและตะโกนด่าเพื่อจะไม่ให้นักเรียนผิวดำ
ทั้ง 9 คนสามารถเข้าไปเรียนได้ สุดท้ายรัฐบาลกลางโดยประธานาธิบดี ไอ
เซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ได้สั่งให้ทหาร 1,200 นายอารักขา
นักเรียนทั้ง 9 คนให้สามารถเข้าไปเรียนหนังสือได้ อย่างไรก็ตาม นักเรียนทั้ง
9 คนต้องพบกับการข่มขู่คุกคามตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียนแห่งนี้
ในช่วงทศวรรษที่ 1960 คนผิวดำหลายกลุ่มเน้นการเคลื่อนไหวใน
ประเด็นเรื่องสิทธิในการเลือกตั้ง หนึ่งในผู้นำคนสำคัญในการเคลื่อนไหว
ประเด็นนี้คือ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr.) ใน
สหรัฐฯ ก่อนจะลงคะแนนเลือกตั้งผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกคนจำเป็ นต้องลง
ทะเบียนก่อน ในหลายรัฐทางใต้ยังมีกฎหมายที่กีดกันคนผิวดำไม่ให้ลง
ทะเบียนใช้สิทธิ์ได้ สิทธิ์การเลือกตั้งมีความหลายประการต่อคนผิวดำ การที่
คนผิวดำได้ใช้สิทธิแปลว่านักการเมืองและพรรคการเมืองจำเป็ นต้องมีนโย
บายที่เอาใจคนผิวดำหรือเพิ่มสิทธิ์อื่น ๆ ให้ นอกจากนี้ การที่คนผิวดำใช้
สิทธิ์เลือกตั้งก็ทำให้พวกเขามีคุณสมบัติในการถูกเลือกเป็ นคณะลูกขุนในการ
ตัดสินในศาลได้ ที่ผ่านมาในการพิจารณาคดีต่าง ๆ ส่วนใหญ่คณะลูกขุนเป็ น
คนผิวขาว ซึ่งส่งผลให้คนผิวดำมักจะแพ้ในคดีความระหว่างคนผิวขาวและ
คนผิวดำ การเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิการเลือกตั้งนี้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ แต่ที่มี
การพูดถึงมากที่สุดคือ การเคลื่อนไหวในเมืองมอนโกโมรี่ รัฐอลาบาม่า ซึ่งมี
การเดินขบวนครั้งใหญ่ข้ามสะพาน Edmund Pettus Bridge และมีการใช้
กำลังกับผู้เดินขบวนในเหตุการณ์ ‘วันอาทิตย์เลือด’ (Bloody Sunday)
ในปี ค.ศ. 1965 ซึ่งกลายเป็ นข่าวดังไปทั่วประเทศ การเคลื่อนไหวในครั้งนี้
นำไปสู่การกล่าวสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีจอห์นสัน ในสภาคองเกรส
เพื่อกดดันให้สภาออกกฎหมายรับประกันสิทธิในการเลือกตั้งของคนผิวดำ
จากนั้นไม่นาน สภาคองเกรสก็ผ่านกฎหมาย Voting Rights Act (1965) ที่
มีคณะกรรมการในการเข้าไปตรวจสอบและลงโทษรัฐต่าง ๆ ที่กีดกันสิทธิ
การเลือกตั้งของคนผิวดำ
กฎหมายฉบับสุดท้ายที่ผ่านสภาคองเกรสในยุคเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิ
พลเมือง คือ กฎหมายที่ป้ องกันการกีดกันเรื่องที่อยู่อาศัย (Fair Housing
Act) ในปี ค.ศ.1968 กฎหมายฉบับนี้ได้ถูกต่อต้านอย่างมากในสภาคองเกรส
แต่ไม่กี่วันก่อนหน้านั้นแกนนำคนสำคัญของขบวนการเคลื่อนไหวคนผิวดำ
มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ถูกสังหารโดยมือปื นคนผิวขาว เหตุการณ์นี้นำไป
สู่การประท้วงและจลาจลทั่วสหรัฐฯ ประธานาธิบดีจอห์นสันได้ถือโอกาสนี้
กดดันให้คองเกรสผ่าน Fair Housing Act อย่างรวดเร็ว
แม้ในช่วงการเคลื่อนไหวสิทธิพลเมืองจะมีคำตัดสินของศาลสูงที่สำคัญใน
หลายเรื่องและมีการออกกฎหมายที่สำคัญต่อสิทธิคนผิวดำหลายฉบับ แต่ใช่
ว่าคนผิวดำในปั จจุบันจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็ นธรรมและเท่าเทียม คนผิว
ดำยังคงต้องต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมที่แฝงอยู่ในโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
สังคม การเมือง และกฎหมาย ในทางเศรษฐกิจ ทุกวันนี้คนผิวดำยังประสบ
กับปั ญหาการจ้างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งสูง ๆ ในองค์กร รายได้
เฉลี่ยของคนผิวดำยังน้อยกว่าคนผิวขาว แม้จะเป็ นงานตำแหน่งเดียวกัน คน
ผิวดำยังมีโอกาสทางการศึกษาน้อยกว่าคนผิวขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเรา
ไปดูในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ในสหรัฐฯ ที่ยังมีสัดส่วนคนผิวดำอยู่น้อยมาก
ภาพตัวแทนคนผิวดำที่ปรากฏในสื่อยังคงเป็ นภาพในแนวลบ เช่น ภาพของ
อาชญากรและพวกชอบความรุนแรง ในทางการเมืองยังมีความพยายามจาก
นักการเมืองฝ่ ายขวาที่จะกีดกันคนผิวดำให้ได้ใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้งผ่านวิธี
การต่าง ๆ และในทางกฎหมาย อย่างที่เราเห็นในกรณี จอร์จ ฟลอยด์ คนผิว
ดำมักตกเห็นเหยื่อความรุนแรงโดยตำรวจ คนผิวดำไม่ได้รับการปฏิบัติอย่าง
เท่าเทียมในกระบวนการยุติธรรม คนผิวดำมักได้รับการลงโทษที่หนักกว่าคน
ผิวขาว เป็ นต้น

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อศึกษาสาเหตุการเหยียดสีผิว

2.2 เพื่อการแก้ปั ญหาการเหยียดสีผิว

3. ขอบเขตการศึกษา

ศึกษาสาเหตุการเหยียดสีผิวและศึกษาการแก้ปั ญหาของการเหยียด
สีผิวในสังคม

4. สมมุติฐาน

1. การเหยียดสีผิวทำให้คนที่ด่ารวยหรือไม่

2. การเลิกเหยียดสีผิวทำให้โลกน่าอยู่ขึ้นหรือไม่

3. คนสีผิวผิดหรือไม่ที่เกิดมาแล้วมีสีผิวแตกต่างจากคนทั่วไป

5. นิยามศัพท์

1. เหยียด คือ เหยียดหยาม,ดูหมิ่นเหยียดหยาม,เหยียด,ดูถูก

2. ชนชั้น คือ บุคคลที่มีโอกาสชีวิตเท่าเทียมกัน บุคคลในชั้น


เดียวกันจะมีชีวประวัติในเรื่องการได้มาซึ่งสิ่งต่าง ๆ ในสังคมคล้ายคลึงกัน
ซึ่งต่างก็มีสิ่งของที่หายากจำนวนพอ ๆ กัน

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้เข้าใจความรู้สึกของคนสีผิวและสาเหตุของการเหยียดสีผิว
2. ได้รู้แนวทางการแก้ไขปั ญหาการเหยียดสีผิว

You might also like