You are on page 1of 11

รถบรรทุกลักษณะ ๖ รถพ่วง

รถที่ไม่มีแรงขับเคลื่อนในตัวเอง จำเป็นต้องใช้รถอื่นลากจูง และน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดลงบนเพลาล้อ


สมบูรณ์ในตัวเอง

การขนส่งด้วยรถบรรทุกมี ๓ ประเภท
๑. การขนส่งประจำทาง หมายถึง การขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกําหนด
๒. การขนส่งไม่ประจำทาง หมายถึง การขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเพื่อสินจ้างโดยไม่จํากัดเส้นทาง
๓. การขนส่งส่วนบุคคล หมายถึง การขนส่งสัตว์หรือสิ่งของเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเองด้วยรถที่มีน้ำหนัก
เกินสองพันสองร้อยกิโลกรัม
สภาพ เครื่องอุปกรณ์ และส่วนควบของรถบรรทุกลักษณะ ๖

๑. คัสซี ตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ
ลำดับที่ รายการ รายละเอียด
๑ โครงคัสซี ทำด้วยโลหะแข็งแรงตลอดความยาวของตัวถังรถ
เมื่อต่อตัวถังแล้วสามารถรับน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้ทุกสภาพการใช้งานของรถ
๒ เพลาล้อ มีขนาดสามารถรับน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุกได้โดยปลอดภัย
๓ กงล้อและยาง กงล้อทำด้วยโลหะ และยางชนิดกลวงสูบลม ที่มีขนาดสามารถรับน้ำหนักเต็มอัตรา
บรรทุกได้โดยปลอดภัย
สปริง (อุปกรณ์รองรับ มีขนาดสามารถรับน้ำหนักและการสั่นสะเทือนของตัวรถเต็มอัตราบรรทุกได้

น้ำหนัก) โดยปลอดภัย
๕ แผ่นบังโคลน มีแผ่นบังโคลนทุกล้อ มีขนาดอย่างน้อยเต็มความกว้างของยางล้อทำด้วยโลหะ ยาง
หรือวัส ดุอื่นใด สำหรับล้อหลังสุดของรถ ส่ ว นล่ างสุดของแผ่นบังโคลนต้ อ งสู ง
จากพื้นราบไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร
๖ ห้ามล้อฉุกเฉิน (เบรกฉุกเฉิน) สามารถทำให้รถหยุดได้โดยอัตโนมัติในกรณีที่หลุดจากรถลากจูง
๗ ห้ามล้อเท้า (เบรกเท้า) ควบคุมจากระบบห้ามล้อของรถลากจูง ผลรวมของแรงห้ามล้อทั้งหมดจะต้อง
ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของน้ำหนักรถ ผลต่างระหว่างแรงห้ามล้อด้านขวาและ
ด้านซ้ายต้องไม่เกินร้อยละ ๒๕ ของแรงห้ามล้อสูงสุดในเพลานั้น
๘ ระบบไฟฟ้า ประกอบด้วยสายไฟฟ้า ฉนวน สวิตซ์ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์อื่น จำนวน ขนาด
คุณลักษณะ ระบบการทำงาน สมรรถนะ และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ของระบบ
ไฟฟ้า รวมทั้งการติดตั้งและการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้ามีความเหมาะสมและปลอดภัย
ในการใช้งาน
๙ อุปกรณ์ต่อพ่วง ห่วงลากพ่วง สามารถลากจูงได้ในขณะบรรทุกเต็มอัตรา มีคุณลักษณะ ระบบการ
ทำงาน และสมรรถนะ ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
๑๐ ตัวอักษร ภาพ หรือ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องมีชื่อผู้ได้รับใบอนุ ญาต
เครื่องหมาย ประกอบการขนส่ง เป็นอักษรภาษาไทย (หากจะมีตัวอักษรภาษาอื่นควบคู่ด้วยก็ได้)
มีขนาดสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร ไว้ที่ด้านนอกตัวรถทั้งสองข้าง
- เป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีข้อความภาษาไทย “รถพ่วง” หรือ “รถพ่วงยาว”
ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
- รูปภาพเพื่อการโฆษณาต้องมี ขนาด ตำแหน่ง และเงื่อนไขของรูปภาพให้เป็นไป
ตามที่ทางราชการกำหนด
1. ตัวถัง
ลำดับที่ รายการ รายละเอียด
๑ ตัวถัง ยึดติดกับโครงคัสซีอย่างมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักเต็มอัตราบรรทุก
ได้ทุกสภาพการใช้งานของรถ รูปร่างภายนอกต้องไม่มีส่วนยื่นที่แหลมหรือคม
อันอาจก่อให้เกิดอันตราย
๒ ส่วนประกอบตัวถังที่เป็น กระจกต้องเป็นกระจกนิรภัย
กระจก
๓ ตัวถังส่วนที่บรรทุก ตัวถังส่วนที่บรรทุกของรถมี ๖ แบบ ดังนี้
แบบที่ ๑
• ตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นกระบะโปร่ง
โดยเว้ น ระยะให้ ม ี ส ่ ว นโปร่ ง และทึ บ
สลับกัน
• ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า
๕ เซนติเมตร และส่วนทึบมีขนาดความ
กว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดความยาวของกระบะ
• มีหลังคาหรือไม่ก็ได้
• มีประตูปิดเปิดด้านซ้ายหรือด้านท้ายของตัวรถด้วยก็ได้
• ระหว่างช่องโปร่งจะมีวัสดุปิดกั้นอีกไม่ได้
• สําหรับใช้บรรทุกของทั่วไป เช่ น ของที่มีรูปทรงเป็นท่อน รูปทรงยาว หรือ
รูปทรงอื่นที่มีขนาดไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร พืชผลเกษตรกรรม สัตว์มีชีวิต เป็น
ต้น
แบบที่ ๒
• ตั ว ถั งส่ วนที่ บ รรทุกเป็ น กระบะโปร่ง
ทําด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะขนาด
ของช่องตาข่ายหรื อตะแกรงโลหะต้ อ ง
มี ค วามยาววั ด ตามแนวราบไม่ น้ อยกว่า
๔ เซนติเมตร และความสูงวัดตามแนวดิ่ง
ไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร
• ส่วนทึบทั้งหมดของตาข่ายหรือตะแกรงโลหะคํานวณเป็นพื้นที่ จะต้องไม่
มากกว่าพื้นที่ทั้งหมดของช่องโปร่ง ลักษณะของช่องโปร่งและส่วนทึบต้องกลมกลืน
กันโดยทั่วไป
• มีหลังคาหรือไม่ก็ได้
• ระหว่างช่องโปร่งจะมีวัสดุปิดกั้นอีกไม่ได้
• มีประตูปิดเปิดด้านซ้ายหรือด้านท้ายของตัวรถด้วยก็ได้
• สําหรับใช้บรรทุกของที่มีลักษณะพรุน มีน้ำหนักเบา พืชผลเกษตรกรรม
สัตว์มชี ีวิต เป็นต้น
แบบที่ ๓
• ตั ว ถั ง ส่ ว นที่ บ รรทุ ก เป็ น กระบะทึ บ
กระบะที่ เ ป็ น ส่ ว นทึ บ ด้ า นข้ า งและ
ด้านท้ายต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะ
ไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร สําหรับ รถที่ มี
น้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกัน
เกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโ ลกรัม และต้องมี ความสู ง วั ด
จากพื้น กระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สําหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก
รวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม ขึ้นไป
• มีหลังคาหรือไม่ก็ได้
• สําหรับใช้บรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก (กรวด หิน ดิน ทราย สินแร่ หรือ
วัสดุอื่นใดที่มีน้ำหนักจําเพาะ (Specific Weight) ตั้งแต่ ๑.๕๕ ขึ้นไป)
แบบที่ ๔
• ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะ
ทึบ ส่วนบนเป็นกระบะโปร่ง โดยกระบะ
ที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมี
ความสู ง วั ด จากพื ้น กระบะไม่เ กิ น ๖๐
เซนติเมตร สําหรับรถที่มีน้ำหนักรถและ
น้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมและ
ต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สําหรับรถที่มีน้ำหนักรถและ
น้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป
• กระบะโปร่ ง ต่ อ จากส่ ว นทึ บ ให้ เ ว้ น ระยะโดยมี ส ่ ว นโปร่ ง และส่ ว นทึ บ
สลับ กัน ส่ว นโปร่งมี ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และส่วนทึบมี
ขนาดความกว้างไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดแนวความยาวของ
กระบะ ทั้งนี้ จะมีส่วนกระบะโปร่งได้อีกไม่เกิน ๒ ช่อง
• มีความสูงจากพื้นกระบะ ส่วนที่ต่ำสุดถึงส่วนที่สูงที่สุดของกระบะโปร่งไม่
เกิน ๙๐ หรือ ๑๑๐ เซนติเมตร แล้วแต่กรณี
• ระหว่างช่องโปร่งจะมีวัสดุปิดกั้นอีกไม่ได้
• สําหรับใช้บรรทุกของที่มีน้ำหนักมาก (กรวด หิน ดิน ทราย สินแร่ หรือ
วัสดุอื่นใดที่มีน้ำหนักจําเพาะ (Specific Weight) ตั้งแต่ ๑.๕๕ ขึ้นไป)
แบบที่ ๕
• ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะ
ทึบ ส่วนบนเป็นกระบะโปร่ง โดยกระบะ
ที่เป็นส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมี
ความสู ง วั ด จากพื ้น กระบะไม่เ กิ น ๖๐
เซนติเมตร สําหรับรถที่มีน้ำหนักรถและ
น้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่เกิน ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม และ
ต้องมีความสูงวัดจากพื้นกระบะไม่เกิน ๘๐ เซนติเมตร สําหรับรถ ที่มีน้ำหนักรถและ
น้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๑๘,๐๐๐ กิโลกรัม ขึ้นไป
• กระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบให้เว้นระยะโดยมีส่วนโปร่งและส่วนทึบสลับกัน
ส่วนโปร่งมีขนาดความกว้างไม่ น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และส่วนทึบมีขนาดความกว้าง
ไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร วัดตามแนวดิ่งตลอดแนวความยาวของกระบะ
• มีประตูปิดเปิดด้านซ้ายหรือด้านท้ายของตัวรถด้วยก็ได้
• สําหรับใช้บรรทุกของทั่วไป เช่น ของที่มีรูปทรงเป็นท่อน รูปทรงยาว หรือ
รูปทรงอื่นที่มีขนาดไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร พืชผลเกษตรกรรม สัตว์มีชีวิต เป็น
ต้น
แบบที่ ๖
• ตัวถังส่วนที่บรรทุกส่วนล่างเป็นกระบะ
ทึบ ส่วนบนเป็นกระบะโปร่งทําด้วยตา
ข่าย หรือตะแกรงโลหะ โดยกระบะที่เป็น
ส่วนทึบด้านข้างและด้านท้ายต้องมีความสูง
๔วัดจาก พื้นกระบะไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร
สําหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่า ๘,๐๐๐ กิโลกรัม แต่ไม่
เกิ น ๑๘,๐๐๐ กิ โ ลกรั ม และต้ อ งมี ค วามสู ง วั ด จากพื ้ น กระบะไม่ เ กิ น ๘๐
เซนติเมตร สําหรับรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกัน เกินกว่า ๑๘,๐๐๐
กิโลกรัมขึ้นไป
• กระบะโปร่งต่อจากส่วนทึบทําด้วยตาข่ายหรือตะแกรงโลหะ ขนาดของช่อง
ตาข่ า ยหรื อ ตะแกรงโลหะต้ อ งมี ค วามยาววั ด ตามแนวราบไม่ น ้ อ ยกว่ า ๔
เซนติเมตร และความสูงวัดตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า ๔ เซนติเมตร ส่วนทึบทั้งหมด
ของตาข่ายหรือตะแกรงโลหะคํานวณเป็นพื้นที่จะต้องไม่มากกว่าพื้นที่ทั้งหมด
ของช่องโปร่งและส่วนทึบต้องกลมกลืนกันโดยทั่วไป
• มีหลังคาหรือไม่ก็ได้
• ระหว่างช่องโปร่งจะมีวัสดุปิดกั้นอีกไม่ได้
• มีประตูปิดเปิดด้านซ้ายหรือด้านท้ายของตัวรถด้วยก็ได้
• สําหรับใช้บรรทุกของที่มีลักษณะพรุน มีน้ำหนักเบา พืชผลเกษตรกรรม
สัตว์มีชีวิต เป็นต้น
๔ สีภายนอก สีภายนอกซึ่งมีลักษณะเรียบร้อย
๕ อุปกรณ์สะท้อนแสง
อุปกรณ์สะท้อนแสง มีคุณลักษณะและขนาด ดังนี้
• สามารถสะท้อนแสงเห็นได้ในเวลากลางคืนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร
• มีรูปทรงเป็น รูปวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยมด้านเท่า ที่มี
ยอดแหลมตั้งขึ้นหรือรูปทรงอื่นที่เรียบง่ายโดยหากเป็นรูปวงกลมต้องมี ขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางยาวไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร หากเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือ
สี่เหลี่ยมผืนผ้าต้องมีขนาดความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร และหากเป็น
รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ต้องมีขนาดความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร
แต่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร
• ให้ติดตั้งสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๙๐ เซนติเมตร
กรณีรถรูปทรงที่ไม่สามารถติดตั้งตามความสูงดังกล่าวได้ให้ติดตั้งสูงจากผิวทาง ไม่
เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร หรือไม่เกิน ๑๒๐ เซนติเมตร หากเป็นชิ้นอุปกรณ์อยู่รวมกับ
โคมไฟรถ
อุปกรณ์สะท้อนแสงด้านท้ายรถ
• สีแดง จำนวน ๒ ชิ้น มีลักษณะเป็นชิ้นอุปกรณ์ หรือรวมอยู่กับโคมไฟของรถ
รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่มียอดแหลมตั้งขึ้น
• ติดตั้งที่ด้านท้ายรถข้างซ้ายและข้างขวา ในตำแหน่งที่สมมาตรกันทั้งสองข้าง
อุป กรณ์ ช ิ้นริมสุดของท้ายรถไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร โดยมีระยะห่างระหว่ า ง
อุปกรณ์แต่ละชิ้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร

อุปกรณ์สะท้อนแสงด้านข้างรถ
• ติ ด ตั ้ ง อุ ป กรณ์ ส ะท้ อ นแสงข้ า งของรถทั ้ ง สองข้ า ง กั บ รถที ่ ม ี ค วามยาว
เกิ น ๖ เมตร (การวั ด ความยาวรถลั ก ษณะ ๖ ให้ ว ั ด ความยาวรวมความยาว
แขนพ่วงด้วย)
• สี เ หลื อ งอำพั น ลั ก ษณะเป็ น ชิ้ น อุ ป กรณ์ ร ู ป วงกลม สี่ เ หลี่ ย มจั ตุ จั ก รหรื อ
สี่เหลี่ยมผืนผ้า อย่างใดอย่างหนึ่ง อุปกรณ์ชิ้นหน้าสุดห่างจากด้านหน้าสุดของรถ
ไม่เกิน ๓ เมตร และอุปกรณ์ชิ้นท้ายสุดห่างจากด้านท้ายสุดของรถไม่เกิน ๑ เมตร
โดยระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ล ะชิ้นตามความยาวไม่เกิน ๓ เมตร กรณีรถ
รูปทรงหรือโครงสร้างตัวถัง ที่ไม่สามารถติดตั้งตามตำแหน่งดังกล่าวได้ ให้ติดตั้ง
โดยระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แต่ละชิ้นตามความยาวไม่เกิน ๔ เมตร

๖ แผ่นสะท้องแสง แผ่นสะท้อนแสงต้องมีคุณลักษณะและขนาด ดังนี้


๑. ได้รับการรับรองแบบตามระดับ C (Class C) ของข้อกําหนดทางเทคนิค
ที่แนบท้ายความตกลงว่าด้ว ยการรับ รองข้ อ กําหนดทางเทคนิ คของยานยนต์
อุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้งหรือใช้ในยานยนต์ และเงื่อนไขรับการยอมรับร่วมกัน
ของการให้ ค วามเห็ น ชอบในข้ อ กํ า หนดทางเทคนิ ค ค.ศ. ๑๙๕๘ ของ
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติ ข้อกําหนดสหประชาชาติที่
๑๐๔ ว่าด้วยแผ่นสะท้อนแสง อนุกรมที่ ๐๐ (UN Regulation No. ๑๐๔.๐๐) ขึ้น
ไป
๒. มีเครื่องหมายแสดงการรับรองแบบตามข้อ ๑ ซึ่งแสดงไว้บนแผ่นสะท้อน
แสงทุกชิ้น
๓. มีความกว้างอย่างน้อย ๕๐ มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน ๖๐ มิลลิเมตร
แผ่นสะท้อนแสงด้านท้ายรถ
• สีแดงหรือเหลือง อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ด้านท้ายรถ
• รถลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ ลักษณะ ๘ ที่มีความกว้างเกิน ๒.๑๐ เมตร ต้อง
ติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง เป็นแนวยาวรอบขอบพื้นผิวด้านท้ายรถหรือ อาจติดตั้งเป็น
แนวยาวตามแนวนอนข้างล่ าง ต้องมีระยะห่างจากโคมไฟหยุดของรถอย่ างน้อย
๒๐ เซนติเมตร โดยแนวข้างซ้ายและข้างขวาต้องอยู่ใกล้กับด้านข้างริมสุดของท้าย
รถให้มากที่สุดเท่าที่ จะเป็นไปได้แนว ข้างล่างต้องสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๒๕
เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร แนวข้างบนต้องห่างจากด้านบนสุดของรถ
ไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร โดยความยาวตามแนวนอนของแผ่นสะท้อนแสง ไม่รวม
ส่วนที่เหลื่อมกันต้องมีความยาวอย่างน้อยร้อยละ ๗๐ ของความกว้างรถ

แผ่นสะท้อนแสงด้านข้างรถ
• รถลักษณะ ๖ ลักษณะ ๗ ลักษณะ ๘ ที่มีความยาวหรือความยาวรวมความ
ยาวแขนพ่วง กรณีรถลักษณะ ๖ เกิน ๖ เมตร ต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง สีขาว
หรือสีเหลือง อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ด้านข้างของรถทั้งสองข้าง
• ติดตั้งเป็นแนวยาวตามแนวนอนข้างล่างอยู่ใกล้กับด้านหน้า และด้านท้ายให้
มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งต้องไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร กรณีรถลักษณะ ๖ ไม่
ต้องติดตั้งที่แขนพ่วง โดยต้องสูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน
๑๕๐ เซนติเมตร หรือไม่เกิน ๒๕๐ เซนติเมตร หากรถมีรูปทรงหรือโครงสร้าง
ตัวถังที่ไม่สามารถติดตั้งตามความสูงดังกล่าวได้ โดยความยาวตามแนวนอนของ
แผ่นสะท้อนแสงไม่รวมส่วนที่เหลื่อมกันต้องมีความยาวอย่า งน้อยร้อยละ ๗๐ ของ
ความยาวรถ ซึ่งไม่วัดรวมความยาวแขนพ่วง
• ติดตั้งตามแนวนอนและแนวตั้งทำมุม ๙๐ องศาที่มุมข้างหน้าและข้างท้ายของ
รถมีความยาวด้านละไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร โดยต้องอยู่ใกล้กับมุมบนข้างหน้า
และข้างท้ายของรถให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งต้องไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร
เมื่อวัดจากด้านบนของรถ
• การวัดความยาวของแผ่นสะท้อนแสง ให้วัดความยาวรวมช่องว่างระหว่างแผ่น
สะท้อนแสงด้วย โดยให้ถือว่าแผ่นสะท้อนแสงนั้นมีความยาวต่อเนื่องกันแต่ช่องว่าง
ระหว่างแผ่นสะท้อนแสงต้องมีความยาวไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของความยาวของแผ่น
สะท้อนแสงชิ้นที่เล็กที่สุดที่อยู่ชิดติดกัน

๗ ขนาดสัดส่วน ความยาว วัดจากส่วนหน้าสุดไม่รวมแขนพ่วงถึงส่วนท้ายสุดของรถต้องไม่เกิน ๘


เมตร

• รถพ่วง ๓ เพลา ๖ ล้อ ยาง ๑๒ เส้น ต้องมีระยะห่างระหว่างกึ่งกลางเพลาล้อ


หรือเพลาคู่ท้ายของรถที่ใช้ลากจูงกับกึ่งกลางเพลาล้อคู่ท้ายของรถพ่วงไม่น้อยกว่า
๙.๗๕ เมตร
ความกว้าง จากส่วนที่กว้างสุดของตัวถังรวมส่วนประกอบที่ยื่นออกจากตัวถัง
ต้องไม่เกิน ๒.๕๕ เมตร ตัวถังจะยื่นเกินขอบยางด้านนอกของเพลาล้อท้ายหรื อ
กลุ่มเพลาล้อท้ายได้ไม่เกินด้านละ ๑๕ เซนติเมตร
ความสูง จากพื้นราบถึงส่วนที่สูงที่สุดของรถต้องไม่เกิน ๔ เมตร เว้นแต่รถที่มี
ความกว้างไม่เกิน ๒.๓๐ เมตร ต้องมีความสูงได้ไม่เกิน ๓ เมตร
ส่วนยื่นหน้า เมื่อวัดจากส่วนหน้าสุดของรถไม่รวมกันชนถึงศูนย์กลางเพลา
ล้อหน้า ต้องมีความยาวของส่วนยื่นหน้าไม่เกินกึ่งหนึ่งของช่วงล้อ
ส่วนยื่นท้าย เมื่อวัดจากส่วนท้ายสุดของตัวถังส่วนที่บรรทุกแต่ไม่รวมกันชนท้าย
และอุปกรณ์อื่นถึงศูนย์กลางเพลาล้อท้ายหรือศูนย์กลางของกลุ่มเพลาล้อท้ายใน
กรณีที่มีเพลาล้อท้ายมากกว่าหนึ่งเพลาล้อ ต้องมีความยาวของส่วนยื่นท้ายไม่เกิน
สองในสามของช่วงล้อ
รถดังต่อไปนี้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ อุปกรณ์สำหรับ
๘ อุปกรณ์ยึดตู้บรรทุกสินค้า
ยึดตู้บรรทุกสินค้าที่นำมาติดตั้งต้องได้รับความเห็นชอบจาก
กรมการขนส่งทางบก
๑. รถที่จดทะเบียนใหม่
๒. รถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่มีการเปลี่ยนตัวถังหรือเปลี่ยน
ลักษณะรถ
๓. รถที่จดทะเบียนไว้แล้วแต่ได้แจ้งเลิกใช้รถตามมาตร ๗๙ (พรบ.การขนส่งทาง
บก ๒๕๒๒) แล้วนำมาจดทะเบียนใหม่และมีการเปลี่ยนตัวถังหรือเปลี่ยนลักษณะ
รถ
- รถที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ให้ใช้อุปกรณ์สำหรับยึดตู้
บรรทุกสินค้าที่ได้ติดตั้งไว้เดิม แต่อาจแก้ไขให้เป็นไปตามที่ประกาศ
- อุปกรณ์สำหรับยึดตู้บรรทุกสินค้าที่ติดตั้งกับรถ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก
กรมการขนส่งทางบก รวมทั้งต้องมีการติดตั้งกับรถ และมีสัญลักษณ์สีแสดงการ
ล็อคหรือไม่ล็อกเมื่อมีการบรรทุกตู้สินค้า
โคมไฟ ดังต่อไปนี้ที่ทํางานได้ร่วมกับรถที่ใช้ลากจูง

ลำดับที่ รายการ รายละเอียด


๑ โคมไฟเลี้ยว (ด้านท้าย) ชนิดใช้ไฟกระพริบแสงเหลือง ติดที่ด้านท้ายจํานวน ๒ ดวง หรือ ๔ ดวง ในกรณี
ที่รถมีความกว้างเกิน ๒.๑๐ เมตร โคมไฟเลี้ยวด้านท้ายจะมีจํานวน ๖ ดวงก็ได้
โดยให้ติดไว้ที่ข้างซ้ายและข้างขวา มีจํานวนเท่ากันทั้งสองข้างโคมไฟทุกดวงที่ติด
ที่ด้านท้ายต้องให้แสงสีเดียวกัน โคมไฟดวงริมสุดห่างจากด้านข้างริมสุดของหน้ า
รถหรือท้ายรถไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร และดวงล่างสุดอยู่สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า
๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร โคมไฟเลี้ยวทุกดวงที่ อยู่ข้างเดียวกันต้อง
กะพริบพร้อมกันในขณะที่รถให้สัญญาณเลี้ยว
๒ โคมไฟท้าย แสงแดงจํานวน ๒ ดวง หรือ ๔ ดวง ในกรณีที่รถมีความกว้างเกิน ๒.๑๐ เมตร
จะมี จ ํ า นวน ๖ ดวงก็ ไ ด้ ต ิ ด อยู ่ ใ นระดั บ เดี ย วกั น ที ่ ด ้ า นท้ า ยรถข้ า งซ้ า ยและ
ข้างขวามีจํานวนเท่ากันทั้งสองข้าง สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร
แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร โคมไฟดวงริมสุดห่างจากด้านข้างริมสุดของท้ายรถไม่เกิน
๔๐ เซนติเมตร
๓ โคมไฟหยุด แสงแดงจํานวน ๒ ดวง หรือ ๔ ดวง ติดอยู่ในระดับเดียวกันที่ด้านท้ายรถ ข้าง
ซ้ า ยและข้ า งขวา มี จ ํ า นวนเท่ า กั น ทั้ ง สองข้ า งสู ง จากผิ ว ทางไม่ น ้ อ ยกว่ า
๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร โคมไฟดวงริมสุดห่างจากด้านข้างริมสุด
ของท้ายรถไม่เกิน ๔๐ เซนติเมตร โคมไฟหยุดจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่ใช้
ห้ามล้อเท่านั้น และแสงต้องสม่ำเสมอคงที่ไม่กะพริบ โคมไฟหยุดถ้ารวมอยู่ในโคม
ไฟท้ายจะต้องมีความสว่างมากกว่าความสว่างของโคมไฟท้ายนั้น
๔ โคมไฟหยุด (ถ้ามีเพิ่มเติม) แสงแดงจํานวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ในตําแหน่งที่ให้แสงสว่างออกไปทางท้ายรถ
สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร ถ้ามี ๑ ดวง ต้องอยู่ในแนวกึ่งกลางท้าย
รถ แต่ถ้ามี ๒ ดวง ต้องอยู่ในระดับเดียวกัน และห่างจากแนวกึ่งกลางท้ ายรถ
เท่ากันทั้งสองข้าง โคมไฟหยุดจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่ใช้ห้ามล้อเท่านั้น
และแสงต้องสม่ำเสมอคงที่ไม่กระพริบ
๕ โคมไฟถอยหลัง แสงขาวจํานวนไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ท้ายรถ สูงจากผิวทางไม่น้อยกว่า ๒๕
เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐ เมตร ในกรณีที่มี ๒ ดวง ต้องติดอยู่ในระดับเดียวกัน
และห่างจากแนวกึ่งกลางท้ายรถเท่ากันทั้งสองข้าง โคมไฟถอยหลังจะให้แสงสว่าง
ได้เฉพาะในขณะที่เข้าเกียร์ถอยหลังเท่านั้น
๖ โคมไฟส่องป้ายทะเบียน แสงขาวอย่างน้อย ๑ ดวง แต่ไม่เกิน ๒ ดวง ติดอยู่ด้านบน ด้านล่าง หรือด้านข้าง
ของแผ่นป้ายทะเบียนท้ายรถ มีความสว่างสามารถอ่านป้ายทะเบียนรถ ได้ชัดเจน
ในระยะไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร จากท้ายรถ และต้องมีที่บังมิให้แสงพุ่งออกไปทาง
ท้ายรถ โคมไฟส่องป้ายทะเบียนต้องให้แสงสว่างพร้อมกับโคมไฟท้าย
๗ โคมไฟแสดงส่วนสูงท้ายรถ แสงแดงจํ า นวน ๒ ดวง สํ า หรั บ รถที ่ ม ี ต ั ว ถั ง ส่ ว นที ่ บ รรทุ ก เป็ น ตู ้ ท ึ บ หรื อ
เป็นกระบะที่มีหลังคาถาวร ติดอยู่ระดับเดียวกันที่ด้านหลังคา แต่ละดวงห่างจาก
ข้างริมสุดไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร
๘ โคมไฟข้างรถ (ถ้ามี) แสงเหลือง แต่ถ้าแสงสว่างส่องออกไปทางท้ายรถหรือเป็นโคมไฟดวงท้ายจะให้
แสงแดงก็ได้ ติดอยู่สูงจากผิวทางระยะไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๒.๑๐
เมตร ที่ข้างซ้ายและข้างขวารถในระดับเดียวกันตอนหน้าห่างจากหน้าสุดรถไม่เกิน
๘๐ เซนติเมตร (ไม่รวมแขนพ่วง) แห่งละ ๑ ดวง ตอนท้ายห่างจากท้าย สุดรถไม่
เกิน ๓๐ เซนติเมตร แห่งละ ๑ ดวง กรณีรถที่มีความยาวเกิน ๖ เมตร ให้มีโคมไฟ
ข้างรถที่กึ่งกลางระหว่างโคมไฟข้างรถดวงหน้าและดวงท้ายอีกแห่งละ ๑ ดวง ถ้ามี
มากกว่า ๑ ดวง ระยะห่างระหว่างโคมไฟแต่ละดวงในข้างเดียวกัน ต้องเท่ากัน
และห่างไม่น้อยกว่า ๓ เมตร โคมไฟข้างรถจะให้แสงสว่างได้เฉพาะในขณะที่โคมไฟ
ท้ายให้แสงสว่างด้วยเท่านั้น

สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมที่
๑. กรณีค้นหาข้อมูลโดยเบราว์เซอร์ (Browser)
• http://www.dlt-inspection.info/dlt/indexn/
(การบริการข้อมูลการตรวจสภาพรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก)

• สแกน QR Code

๒. กรณีค้นหาข้อมูลโดยแอปพลิเคชัน (Application) รองรับระบบ Android

You might also like