You are on page 1of 8

สัญญาแลกเปลี่ยน-ให้ 1 Copyrights: POL_US

เอกเทศสัญญา ๑
เอกเทศสัญญา ๑ เป็นวิชาที่ว่าด้วย สัญญา ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ
เนื้อหาที่สําคัญ คือ สัญญาซื้อขาย เป็นหลักสําหรับการศึกษา เนื่องจาก สัญญาซื้อขายจะถูกนําไปใช้
ประกอบกับสัญญาอื่น เช่น สัญญาแลกเปลี่ยน วัตถุประสงค์ คือ ต่างฝ่ายต่างโอนกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนกัน แต่ก็ยังให้นําบทบัญญัติของเรื่องซื้อขายมาใช้ ตาม ม.๕๑๙ และ ม.๕๒๐
สัญญาซื้อขาย สําคัญ คือ การโอนกรรมสิทธิ์ กับการชําระราคา ในขณะที่สัญญาให้โดยเสน่หานั้น
ต้องไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ แต่สําคัญอยู่ที่การส่งมอบ ถ้าไม่ส่งมอบ สัญญาให้ไม่บริบูรณ์ ต่างกับ
เรื่องสัญญาซื้อขาย แม้จะยังไม่ได้ส่งมอบ กรรมสิทธิ์ก็ได้โอนไปแล้ว เมื่อขายแล้วก็ไม่สามารถ
เรียกคืนฐานเนรคุณได้ นอกจากนี้ สัญญาเช่าทรัพย์ นั้น ยังได้ให้นําบทบัญญัติว่าด้วยความชํารุด
บกพร่อง และการรอนสิทธิ ในเรื่องซื้อขายมาใช้โดยอนุโลม เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินที่ให้เช่ากันด้วย
เนื่องจากสัญญาเช่าทรัพย์สิน ไม่มีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ผู้ให้เช่าจึงไม่
จําเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่ขอให้เป็นผู้มีอํานาจในการให้เช่าเท่านั้นก็เพียงพอ
ในขณะที่สัญญาซื้อขาย ผู้ขายต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จึงจะทําสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดได้
ถ้าเป็นผู้ไม่มีสิทธิขาย ก็จะต้องไปใช้หลักทั่วไป คือ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีไปกว่าผู้โอน ( nemo dat
quod non habet ) แต่สัญญาทั้งสองชนิดก็มีค่าตอบแทนเช่นกัน ค่าตอบแทนจากการซื้อขาย คือ เงิน
แลกกรรมสิทธิ์ แต่ ค่าตอบแทนในสัญญาเช่า คือ อะไรก็ได้ แลกกับการได้รับประโยชน์ใช้สอย
ทรัพย์สินที่เช่า ในเวลาอันจํากัดด้วย ข้อสังเกต สัญญาซื้อขายกับสัญญาเช่าซื้อ นั้น สัญญาเช่าซื้อ
ตาม ม.๕๗๒ เป็นสัญญาเช่า ผนวก กับคํามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือ ว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตก
เป็นสิทธิแก่ผู้เช่า ในขณะที่สัญญาซื้อขาย กรรมสิทธิ์โอนไปทันทีที่สัญญาเกิด ( เว้นแต่จะมี
ข้อกําหนดเป็นอย่างอื่น ) ส่วนสัญญาเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์จะโอนไปหรือไม่ สุดแต่ความประสงค์ของ
ผู้เช่าเป็นสําคัญ การชําระเงินค่าเช่าซื้อ ได้กําหนดลงแน่นอน ไปเป็นเท่านั้นคราว เท่านี้คราว คํามั่น
ว่าจะขายฯ นี้ ไม่อาจถอนได้ เป็นเงื่อนไขที่ผู้นําทรัพย์สินออกให้เช่าเมื่อผู้เช่าประสงค์จะได้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น
ฉะนั้น จึงต้องทําความเข้าใจหลักของสัญญาซื้อขาย ซึ่งจะประกอบด้วย สัญญาซื้อขายเสร็จ
เด็ดขาด สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือ คํามั่นจะขาย และ สัญญา
อื่น ๆ ให้ถ่องแท้ แล้วจึง สามารถนําหลักดังกล่าวไปวินิจฉัยประเภทของสัญญา และสามารถนํา
หลักกฎหมายที่สําคัญปรับเข้ากับข้อเท็จจริงถูกต้อง
ข้อจดจํา สาระสําคัญของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
๑) ทรัพย์สินที่ขายมีตัวตนอยู่แล้วแน่นอน ว่าเป็นทรัพย์สินใด ไม่ใช่ทรัพย์สินในอนาคต
โดยดูจากธรรมประเพณี ( เช่นซื้อขายลําใยขณะยังเป็นดอกอยู่ก็ได้ )

POL_US: http://jurisprudence.bloggang.com
สัญญาแลกเปลี่ยน-ให้ 2 Copyrights: POL_US

๒) ผู้ขายมีสิทธิ์จะโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อได้ทันที ที่มีการตกลงทําสัญญากันโดยถูกต้อง
ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ส่วนที่ว่าจะต้องปฏิบัติตามแบบที่กฎหมายต้องการนั้น เป็นคนละ
เรื่องกับสิทธิที่จะขายหรือโอนกรรมสิทธิ์
๓) ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงทําสัญญาซื้อขายจนเป็นการแน่นอนแล้ว
๔) สัญญาซื้อขายนั้น ไม่มีเงื่อนไข เงื่อนเวลา เพื่อประวิงเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์
๕) แม้ผู้ซื้อจะยังไม่ได้ชําระราคาทรัพย์สิน หรือชําระแต่ยังไม่ครบถ้วนและแม้ผู้ขายจะยัง
ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้ซื้อ ก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด เพราะในที่สุดก็ต้องมีการปฏิบัติการ
ชําระหนี้อยู่นั้นเอง
โดยสรุป สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด จึงเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งคู่สัญญาได้แสดงเจตนากัน
เสร็จสิ้นในทุกเรื่องแล้ว และคู่สัญญาตกลงกันว่าไม่ต้องมีการทําอะไรเพิ่มเติมต่อไปอีก แม้แต่ใน
เรื่องการทําตามแบบของกฎหมาย เช่น ตาม ม.๔๕๖ ต้องทําหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ แต่ คู่สัญญาก็ไม่สนใจที่จะไปดําเนินการกันอีกแต่อย่างใด ก็ถือเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จ
เด็ดขาด ( แต่ผลเป็นโมฆะ เพราะไม่ทําตามแบบ ) ซึ่งอาจจะยังเหลือที่ไม่ได้ทํา ก็คือการชําระหนี้
ตามสัญญาซื้อขายเท่านั้น ******** ต้องดูที่เจตนาของคู่ สัญญาเป็นสําคัญ
**********************
การชําระราคาเป็นคนละประเด็นกับการซื้อขายที่เสร็จเด็ดขาดหรือไม่ เพราะแม้จะยังไม่ได้
ชําระราคา ก็อาจจะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดได้ เช่น รับสินค้าไปจําหน่ายโดยให้เครดิตชําระราคา
ภายหลังได้
การโอนกรรมสิทธิ์หรือไม่ ก็เป็นคนละประเด็นว่าจะเป็นสัญญา ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
หรือไม่ เพราะการโอนกรรมสิทธิ์ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงอื่นด้วย เช่น ทรัพย์ตาม ม.๔๕๖ ต้องจด
ทะเบียนจึงโอนกรรมสิทธิ์ได้ ( นักกฎหมายมีความคิด ๒ ทาง คือ สัญญาซื้อขายต้องโอนกรรมสิทธิ์
เด็ดขาดบริบูรณ์ สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ยังไม่โอน อีกฝ่ายหนึ่งก็เห็นตรงกันข้าม ) หรือ
กําหนดให้กรรมสิทธิ์โอนเมื่อชําระราคากันเรียบร้อยแล้ว ( ก็เป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไข ซึ่งก็
เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดประเภทหนึ่งนั่นเอง )
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด *** มีได้กับทรัพย์สินทุกประเภท ทั้งอสังหาฯ สังหาริมทรัพย์
ทั่วไป แต่สัญญาจะซื้อจะขาย มีได้เฉพาะ อสังหาริมทรัพย์ และ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ตาม
ม.๔๕๖ ว.๒ เท่านั้น
คามั่นว่าจะซื้อ หรือจะขาย
คํามั่นจะซื้อหรือจะขายฯ มีหลายความเห็น คือ
๑) เป็นนิติกรรม ๒ ฝ่ายผูกพันอย่างสัญญา
๒) เป็นนิติกรรม ๒ ฝ่ายผูกพันผู้ให้คํามั่นฝ่ายเดียว

POL_US: http://jurisprudence.bloggang.com
สัญญาแลกเปลี่ยน-ให้ 3 Copyrights: POL_US

๓) เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว ผูกพันผู้ให้คํามั่นเท่านั้น ถ้าไม่มีคําสนอง ก็ไม่มีสัญญา ตาม หลัก


ม.๔๕๔
คํามั่นก่อให้เกิดหนี้ แก่ผู้ให้คํามั่นฝ่ายเดียว ต้องผูกพันผู้ให้คํามั่นนั้นตลอดไป ( ภายใน
กําหนดเวลา ) ตลอดจนถึงทายาทหรือผู้รับโอนสิทธิของผู้ให้คํามั่น ( ดู มาตรา ๔๕๔ ว.๒ และ
มาตรา ๓๖๐ )
********************************************
สัญญาแลกเปลี่ยน
ป.พ.พ. ม.๕๑๘ อันว่าแลกเปลี่ยน คือ สัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน
ให้กันและกัน
สัญญาแลกเปลี่ยนคล้ายกับสัญญาซื้อขายอย่างยิ่ง ( วิษณุ เครืองาม : ๓๐๘ ) กล่าวคือ เป็น
เรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แต่ไม่ต้องชําระราคา คู่กรณีต่างฝ่ายต้องโอนกรรมสิทธิ์ใน
ตัวทรัพย์ซึ่งกันและกันแทน
และที่สังเกต สัญญาบางอย่าง เช่น ก. ตกลงจะแหวนเพชรแก่ ข.วงหนึ่ง ส่วน ข. ตกลงจะให้
สร้อยคอ แก่ ก. เจตนารมย์คือ ต่างฝ่ายต่างให้ ไม่ใช่แลกเปลี่ยน ก็ต้องบังคับกันด้วยสัญญาให้
( คล้ายกับแลกเปลี่ยนมาก ) หรือ กรณี ครั้งแรกเป็นสัญญาซื้อขาย แต่ต่อมาคู่สัญญาไม่มีเงินชําระ
จึงนําสิ่งของอื่นมาชําระหนี้แทน ก็ไม่ใช่ซื้อขาย และไม่ใช่สัญญาแลกเปลี่ยน แต่เป็นการชําระหนี้
เป็นอย่างอื่น ตาม ม.๓๒๑ ทําให้หนี้ระงับไปเช่นกัน
ลักษณะทั่วไป ของสัญญาแลกเปลี่ยน
๑) เป็นสัญญาต่างตอบแทน คือ โอนกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ซึ่งกันและกันทันทีที่เกิด
สัญญา
๒) มีลักษณะคล้ายสัญญาซื้อขาย กฎหมายกําหนดให้นําบทบัญญัติในเรื่องซื้อขายมาใช้
เช่น ม.๕๑๙ “ …. โดยให้ถือว่าคู่สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นผู้ขายในส่วนทรัพย์สินที่ตนได้ส่งมอบ
และเป็นผู้ซื้อในทรัพย์สินที่ตนได้รับในการแลกเปลี่ยน “
ดังนั้น จึงต้องนําบทบัญญัติตาม ม.๔๗๕ ถึง ม.๔๘๒ เรื่องการรอนสิทธิ์มาใช้กับเรื่อง
แลกเปลี่ยนด้วย ( วิษณุ เครืองาม : ๒๒๘ )
๓) การแลกเปลี่ยนไม่มีแบบ แต่ทรัพย์ที่ต้องทําตามแบบ เช่น ทรัพย์ ตาม ม.๔๕๖ ก็ต้อง
ทําตามแบบเช่นเดียวกัน
๔) การแลกเปลี่ยน กรณีที่ต้องเพิ่มเงินเข้ากับทรัพย์ที่แลกเปลี่ยน คู่กรณีก็ตกลงกันได้
ตาม ม.๕๒๐ คือ
ม.๕๒๐ “ ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในสัญญาแลกเปลี่ยนตกลงจะโอนเงินเพิ่มเข้ากับทรัพย์สินสิ่ง
อื่นให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งไซร้ บททั้งหลายอันว่าด้วยราคาในลักษณะซื้อขายนั้น ให้ใช้ถึงเงินเช่นว่านั้น
ด้วย “
POL_US: http://jurisprudence.bloggang.com
สัญญาแลกเปลี่ยน-ให้ 4 Copyrights: POL_US

กรณี นี้ เป็นการแลกเปลี่ยนโดยต้องเพิ่มเงินเข้าไปกับทรัพย์สินที่แลกเปลี่ยน กม. จึงให้


บทบัญญัติทั้งหลายเรื่องราคา ตาม มาตรา ๔๖๘-๔๖๙ เรื่องสิทธิยึดหน่วงของผู้ซื้อ มาใช่ เช่น มี
สิทธิยึดหน่วงราคา กรณีทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนมีความชํารุดบกพร่อง แต่ไม่นํา ม.๑๓๓๒ หลัก
คุ้มครองบุคคลภายนอกมาใช้ด้วย
ปัญหาที่ตามมา จะวิเคราะห์อย่างไร ว่ า เป็นสัญญาซื้อขาย หรือ สัญญาแลกเปลี่ยน การ
วินิจฉัย จึงต้องดูจากเจตนาของคู่สัญญา ซึ่งเจตนาเช่นว่านี้ก็ต้องดูจากพฤติกรรมของคู่สัญญานั่นเอง
ถ้าราคาของทรัพย์สินที่แลกเปลี่ยนใกล้เคียงกันมาก ส่วนที่ผิดกันมีราคาเพียงเล็กน้อยก็ถือว่าเป็น
เรื่องแลกเปลี่ยน แต่ถ้าราคาผิดกันมาก ก็ถือว่าเป็นเรื่องซื้อขาย
ตัวอย่าง ม.๕๑๙ ฎีกา ๒๔๙๗
คู่กรณีส่งมอบที่ดินแลกเปลี่ยน ตาม ม.๕๑๙ ให้นําบทบัญญัติทั้งหลายเรื่องซื้อขายมาใช้
การส่งมอบที่ดินให้ครอบครอง แม้ไม่ได้ทําเป็นหนังสือจดทะเบียน ก็ถือว่าเป็นการชําระหนี้
บางส่วนแล้ว ตาม ม.๔๕๖ ว.๒ จึงฟ้องร้องให้โอนที่ดินตามสัญญาได้

สัญญาให้
ลักษณะ ตาม ม.๕๒๑
สัญญาให้ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่
บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ ผู้รับ” และ ผู้รับ ยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น “
หลักคือ
๑) สัญญาให้ ไม่ใช่ สัญญาต่างตอบแทน และผู้รับไม่มีหน้าที่ต้องทําอะไรตอบแทนแก่
ผู้ให้แต่อย่างใด ( ถ้าต้องทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งตอบแทน ก็ไม่ใช่สัญญาให้ )
๒) ผู้ให้ผู้ต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จะให้ ( มิฉะนั้น ผู้รับก็ไม่มีสิทธิ์ดีกว่าไปกว่าผู้ให้
และ ไม่มีทางจะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นแต่อย่างใด )
๓) การให้กระทําโดยหลายวิธี
- การส่งมอบ ตาม ม.๑๓๗๘-๑๓๘๐
- การปลดหนี้ ให้ผู้รับ
- ชําระหนี้ซึ่งผู้รับค้างชําระอยู่
เพียงแต่ว่า ให้ทรัพย์สินไปอยู่เงื้อมมือของผู้รับ ตาม ม.๔๖๑ และ ม.๔๖๒
๔) ผู้รับ จะต้องยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นด้วย จึงเกิดสัญญาให้
๕) ความสมบูรณ์ของสัญญาให้ ตาม ม.๕๒๓ นี้ ผู้ให้ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้แก่ผู้รับ
ถ้าไม่ส่งมอบ ก็ไม่สมบูรณ์ และมีผลเป็นโมฆะ ฟ้องร้องบังคับให้ส่งมอบไม่ได้ ( ความเห็นของ
ดร.จําปี )

POL_US: http://jurisprudence.bloggang.com
สัญญาแลกเปลี่ยน-ให้ 5 Copyrights: POL_US

๖) การให้ไม่มีแบบ ทําอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าเป็นเป็นทรัพย์ตาม ม.๔๕๖ ซึ่งถ้าจะขายกันต้อง


ทําตามแบบ ก็ต้องทําตามแบบนั้นด้วย แม้ไม่ได้ส่งมอบ ก็สมบูรณ์แล้ว ตาม ม.๕๒๕ ฟ้องร้อง
บังคับให้ส่งมอบได้
๗) ถ้าผู้ให้ไม่ส่งมอบ ก็ไม่อาจฟ้องร้องให้ส่งมอบได้ เพราะจะขัดกับหลักเสรีภาพ และ
เจตนารมย์การให้โดยเสน่หา ไป
๘) การให้ “ สิทธิอันมีหนังสือตราสารเป็นสําคัญ “ ต้องส่งมอบตราสารแก่ผู้รับ และทํา
หนังสือบอกกล่าวแก่ลูกหนี้ การให้จึงสมบูรณ์ ตาม ม.๕๒๔ เช่น สิทธิตามใบตราส่ง การให้สิทธิ
ตามใบหุ้นของ ห้างหุ้นส่วนบริษัท การให้สิทธิ์ในเรื่องตั๋วเงิน
๙) การให้ ทรัพย์สิน คํามั่นจะให้ทรัพย์สินนั้น ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ถ้าผู้ให้ไม่ส่งมอบ ต้องปฏิบัติตาม ม.๕๒๖ คือ ผู้รับมีสิทธิ์เรียกร้องให้ส่ง
มอบ หรือให้ชดใช้ราคาแทน แต่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่ได้

๑๐) การให้ที่มีภารติดพัน ตาม ม.๕๒๘ ( สุจินตนา ชุมวิสูตร : ๑๓๘ )


ทรัพย์สินมีภาระติดพัน เช่น การให้ที่ดินที่ติดจํานอง , หรือ การให้ที่ดิน ที่ผู้รับจะต้อง
เก็บดอกผลส่วนหนึ่งแบ่งให้กับผู้ให้ ก็ถือว่าเป็นการให้ทรัพย์สินที่มีภารติดพัน แต่ถ้าเป็นการให้
ที่ดินแก่ผู้รับ แล้วกําหนดให้ผู้รับต้องจ่ายเงินให้ทุกเดือน เป็นค่าเลี้ยงดู ดังนี้ ไม่ใช่การให้ที่มีภารติด
พัน เพราะไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ เป็นหนี้ของผู้รับที่จะต้องปฏิบัติการต่อผู้ให้ภายหลัง
การให้ที่มีภารติดพัน ผู้รับ มีภาระต้องปลดเปลื้องภารติดพันซึ่งติดอยู่กับตัวทรัพย์นั้น ถ้า
ผู้รับละเลยฯ ผู้ให้ก็มีสิทธิ์ที่จะเลิกการให้ และเรียกเอาทรัพย์สินนั้นคืนได้ ตามหลักลาภมิควรได้
แต่การเรียกเอาทรัพย์สินนั้น เรียกได้เพียงเท่าจํานวนที่จะเอาไปชําระค่าภารติดพันนั้น **
แต่ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิ์จะเรียกให้ชําระค่าภารติดพันอันนั้น ผู้ให้ก็หมดสิทธิ์ที่จะเรียกให้
ผู้รับส่งคืนทรัพย์นั้น ตาม ม.๕๒๘ *****
ข้อสังเกต คําว่า ภารติดพัน ต้องติดพันกับตัวทรัพย์เท่านั้น เช่น ต้องเก็บดอกผลจากทรัพย์
ที่ยกให้มอบให้แก่ผู้ให้บางส่วน หรือที่ดินที่ติดจํานอง เป็นต้น
๑๑) ถ้าผู้ให้ผูกพันไว้ว่าจะชําระหนี้เป็นคราว ๆ หนี้นั้นย่อมระงับสิ้นไปเมื่อผู้ให้ หรือ ผู้รับ
ตาย เว้นแต่เจตนาอันปรากฎแต่มูลหนี้และแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น
คามั่นว่าจะให้ทรัพย์สิน
คํามั่นว่าจะให้ ย่อมมีได้ ตาม ม.๕๒๖ แต่มาตรานี้ บัญญัติว่า “ ถ้าการให้ทรัพย์สิน หรือให้
คํามั่นว่าจะให้ทรัพย์สิน ได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว และผู้ให้ไม่ส่ง
มอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับไซร้ ท่านว่าผู้รับชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบตัวทรัพย์สินหรือราคาแทน
ทรัพย์สินนั้นได้ แต่ไม่ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยอีกได้ “

POL_US: http://jurisprudence.bloggang.com
สัญญาแลกเปลี่ยน-ให้ 6 Copyrights: POL_US

ข้อนี้หมายความว่าคํามั่นจะให้ทรัพย์สินนั้น จะบังคับได้ก็ต่อเมื่อได้ทําเป็นหนังสือและจด
ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ถ้าไม่ได้จดทะเบียนฯ ก็เรียกร้องไม่ได้ ( ฎีกา ๙๙๙/๒๕๐๘)
สัญญาว่าจะให้
สัญญาว่าจะให้ ย่อมมีได้เช่นเดียวกับคํามั่นว่าจะให้ แต่ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียน
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มิฉะนั้นแล้ว ถ้ามีการผิดสัญญา ผู้รับจะเรียกร้องให้ส่งมอบตัวทรัพย์สิน
หรือเรียกราคาแทนทรัพย์สินนั้น ไม่ได้ ( วิษณุ เครืองาม : ๓๑๖ )
การถอนคืนการให้
การถอนคืนการให้ แบ่งเป็น ๒ กรณี คือ
ก. ) ผู้ให้ถอนคืนการให้ด้วยตนเอง ( ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่ )
ผู้ให้ สามารถถอนคืนการให้ได้ จะมีกรณีที่ผู้รับประพฤติเนรคุณ แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์
ตาม ม.๕๓๑ เท่านั้น คือ
๑.๑ ) ผู้รับประทุษร้ายผู้ให้ ,( กระทําผิดอาญาร้ายแรง ) หรือ
๑.๒) ผู้รับทําให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ
๑.๓) ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจําเป็นเลี้ยงชีพแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และ
ผู้รับยังให้ได้
หลัก ตาม ม.๕๓๑ คือ
๑) กรณีตาม ม.๕๓๑ นั้น จะเป็นกรณีที่ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่ และสามารถถอนคืนการให้ด้วย
ตนเองได้
๒) ผู้ประพฤติเนรคุณต้องเป็นผู้รับเท่านั้น ถ้าเป็นคนอื่น เช่นญาติของผู้รับ ภรรยาของผู้รับ
หรือบุคคลภายนอกอื่น กระทําต่อผู้ให้ ก็ไม่สามารถถอนคืนการให้ได้
๓) การที่ผู้รับไม่อยู่บ้าน ไม่ได้เลี้ยงดู ยังไม่ถือว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ
๔) การพูดจาดูหมิ่น พูดมาตว่าจะทําร้าย หรือ ขับไล่ไสส่ง ไม่ต้องการเลี้ยงดู ต่อบุพการี ถือ
ว่าเป็นการประพฤติเนรคุณแล้ว ตาม ม.๕๓๑ ( ๒) ไม่ต้องถึงขนาดหมิ่นประมาทก็ผิดแล้ว
๕) การถอนคืนการให้ กรณีที่ผู้รับบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจําเป็นแก่การเลี้ยงชีพแก่ผู้ให้
นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ให้ตกเป็นผู้ยากไร้ และ ผู้รับอยู่ในฐานะที่จะให้ได้ แต่ไม่ยอมให้ ดังนี้จึงเข้า
หลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่ถ้าผู้รับเอง ก็ยากจนไม่สามารถให้ได้เช่นกัน ดังนี้ก็ถอนคืนไม่ได้
๖) การกระทําผิดอาญาร้ายแรง ต้องดูที่ข้อเท็จจริงประกอบ เพราะ การชกต่อยธรรมดา ไม่
ถึงบาดเจ็บ แต่ถ้าผู้รับเป็นบุตร และผู้ให้เป็นบิดามารดา ดังนี้ ก็ถือว่ากระทําอาญาร้ายแรงเช่นกัน
แต่ถ้าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ และผู้ให้ไม่ถึงแก่ความตาย ก็ไม่เป็นเหตุเนรคุณ และการ
กระทําผิดอาญานั้น ไม่ต้องถึงขนาดที่ศาลจะต้องพิพากษาลงโทษจําคุก ก็สามารถถอนคืนการให้ได้
๗) การถอนคืนการให้ ต้องไม่เป็นกรณีการให้ทรัพย์สิน ตาม ม.๕๓๕

POL_US: http://jurisprudence.bloggang.com
สัญญาแลกเปลี่ยน-ให้ 7 Copyrights: POL_US

๘) ทรัพย์สินที่ถอนคืนการให้ ต้องเป็นทรัพย์สินอันเดียวกับที่ให้ เพราะกฎหมาย


กําหนดให้เรียกคืนตามหลัก ลาภมิควรได้ คือเหลือเท่าใดก็คืนเท่านั้น ถ้าผู้รับขายให้กับผู้อื่นไปก่อน
แล้ว ดังนี้ จะเรียกคืนจากบุคคลภายนอกไม่ได้
ข. ) การถอนคืนการให้โดยทายาท
๑) ทายาท หมายถึง ทายาทของผู้ให้
๒) ต้องเป็นกรณีที่ผู้ให้ตายไปแล้ว
ตาม ม.๕๓๒ “ ทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ถอนคืนการให้ได้ แต่เฉพาะในเหตุที่ผู้รับได้ฆ่า
ผู้ให้ ตายโดยเจตนา และไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ ได้กีดกันผู้ให้ไว้มิให้ถอนคืนการให้ได้
แต่ว่าผู้ให้ได้ฟ้องคดีไว้แล้ว อย่างใด โดยชอบ ทายาทของผู้ให้จะว่าคดีอันนั้นต่อไปก็ได้“

กรณีที่ไม่อาจถอนคืนการให้ได้
มี ๓ กรณีที่ไม่อาจถอนคืนการให้ได้ คือ
๑) กรณี ตาม ม.๕๓๓
๒) กรณี ตาม ม.๕๓๕
๓) ผู้ให้ตายไปก่อน โดยไม่เข้าเหตุ ตาม ม.๕๓๑ หรือ ม. ๕๓๒
๑) ถอนคืนการให้ไม่ได้ ตาม ม.๕๓๓
ม.๕๓๓ “ .. ผู้ให้ได้ให้อภัยผู้รับแล้ว หลังจากผู้รับได้ประพฤติเนรคุณแล้ว หรือเวลาได้ล่วง
ไปแล้ว ๖ เดือน นับแต่เหตุเช่นว่านั้นได้ทราบถึงบุคคล ผู้ชอบจะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่าน
ว่าหาอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่ “
๒) การถอนคืนการให้ไม่ได้ ตาม ม.๕๓๕
ม.๕๓๕ การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ
๑) การให้บําเหน็จสินจ้างโดยแท้ เช่น ค่าจ้างแรงงาน
๒) ให้สิ่งของที่มีค่าภารติดพัน ตาม ม.๕๒๘
๓) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา เช่น ชําระหนี้ที่ขาอายุความไปแล้ว หรือ ในกรณี มารดายก
ที่ดินให้ ก. และสั่ง ก.ว่าให้แบ่งส่วนหนึ่งให้ ข.ด้วย ดังนี้ แม้ว่า ข.จะประพฤติเนรคุณ ก็ถอนคืนการ
ให้ไม่ได้ เพราะเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ( ฎีกา ๑๐๔/๒๕๐๒ )
๔) ให้ในการสมรส ( สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ) เช่น ของรับไหว้ ในวันสมร ถ้าให้
แล้ว ก็จะเรียกคืนไม่ได้
๓) ถอนคืนไม่ได้ เมื่อผู้ให้ตายไปก่อนแล้ว โดยไม่ได้ฟ้องคดี และไม่เข้าเหตุตาม ม.๕๓๒ แม้ว่าจะมี
เหตุการประพฤติเนรคุณภายหลัง ทายาทก็ถอนคืนการให้ไม่ได้

POL_US: http://jurisprudence.bloggang.com
สัญญาแลกเปลี่ยน-ให้ 8 Copyrights: POL_US

ผลของการถอนคืนการให้
ผลการถอนคืนการให้ เมื่อถอนคืนการให้ ผู้รับต้องส่งทรัพย์สินที่ให้นั้น ( ทรัพย์สินเดิม)
คืน แก่ผู้ให้ ตามบทบัญญัติเรื่องลาภมิควรได้ ตาม หลัก ใน มาตรา ๕๓๔ (เหลือเท่าใดก็คืนให้
เท่านั้น )
การให้ที่จะมีผลเมื่อผู้ให้ตาย ต้องไปตาม ม.๕๓๖ คือ ให้บังคับด้วยเรื่องมรดก และ
พินัยกรรม
ปัญหาจะมีอยู่เสมอว่า ****การกระทําของบุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับ เป็นการ
ประพฤติเนรคุณต่อผู้ให้หรือไม่ จะถอนคืนการให้ได้หรือไม่อย่างไร และผู้รับก็มักยก มาตรา ๕๓๓
หรือ ม.๕๓๕ เพื่อจะไม่ต้องถอนคืนการให้ *************

POL_US: http://jurisprudence.bloggang.com

You might also like