You are on page 1of 11

ความยุติธรรม :

นานาทัศนะจากนักทฤษฎีการเมือง 2
บทนำา
ความยุติธรรม (Justice) ถือได้ว่าเป็นแนวความคิ ดหนึ่ง ที่มี ความสำา คัญ แนวความคิ ดหนึ่ง ในทาง
รัฐศาสตร์และศาสตร์สาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป ได้แก่ ศาสตร์ด้านสังคมศาสตร์ทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้จะพบว่านับ
ตั้งแต่เริ่มมีการคิดค้นและถกเถียงในเรื่องทฤษฎีทางการเมืองหรือปรัชญาทางการเมืองในยุคต้นๆ ตั้งแต่สมัยกรีก
โบราณ ก็มีการนำาแนวความคิดเรื่องความยุติธรรมมาเป็นแกนกลางในการสร้างคำาอธิบายถึงรูปแบบหรือระบอบ
การปกครอง ที่ดีที่เหมาะสมสำาหรับสังคมมนุษย์แล้ว อาทิงานเขียนของนักทฤษฎีการเมืองชาวกรีกโบราณ เช่น
เ พ ล โ ต (Plato) แ ล ะ อ ริ ส โ ต เ ติ ล (Aristotle) เ ป็ น ต้ น
การกล่าวถึงความยุติธรรมและไม่ยุติธรรม เป็นเรื่องราวเนื้อหาที่รวมศูนย์อยู่ในกระแสการโต้เถียง
ทางการเมือง กฎหมาย นโยบายทางสังคม เศรษฐกิจ ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ โอกาสการจ้างงานและ
การเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยเฉพาะในปัจจุบนั เป็นอย่างมาก ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แนวความคิดเรื่องความยุติธรรม
หรือความไม่ยุติธรรมก็ตาม จึงเป็นแนวความคิดทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่น่าจะนำามาศึกษาทำาความ
เข้าใจในความหมาย เนื้อหาสาระ ตลอดจนองค์ประกอบของแนวความคิดดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อ
ศึกษาถึงทฤษฎีทางการเมือง ซึ่งต้องการแสวงหารูปแบบการปกครองหรือระบอบการปกครองที่ดีนั้น คงจะไม่ได้
จำากัดอยู่แต่ในสมัยกรีกโบราณเท่านั้น เพราะแนวความคิดในเรื่องนี้ได้ปรากฏอย่างต่อเนื่องในงานเขียนของนัก
ทฤษฎีทางการเมือง ในช่วงสมัยกลางและสมัยใหม่ ตลอดจนในปัจจุบันอีกด้วย
บทความนี้ จึงเป็นความพยายามเบื้องต้นที่จะทำาความเข้าใจในแนวความคิดดังกล่าว โดยอาศัยงาน
เขียนจากนักทฤษฎีทางการเมืองคนสำาคัญๆ ในแต่ละสมัยมานำาเสนอไว้ เพื่อสรุปหาลักษณะสำาคัญของแนว
ความคิดดังกล่าวและเพื่อเป็นการเปรียบเทียบทัศนะของนักทฤษฎีทางการเมืองในแต่าละสมัยอีกด้วย
ในการศึกษาแนวความคิดเรื่องความยุติธรรมในบทความนี้ จะใช้วิธีการศึกษาโดยแบ่งช่วงเวลาที่นัก
ทฤษฎีทางการเมืองคนสำาคัญๆ มีชีวิตอยู่ออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นสมัยกรีกโบราณ (500 ปีก่อน ค.ศ.) ช่วง
ที่สองเป็นสมัยกลาง (ค.ศ.550 –1550) และช่วงที่สามเป็นสมัย (ค.ศ.1600 – 1900) แนวทางในการศึกษาจะ
เป็นการศึกษาทัศนะหรือความคิดของนักทฤษฎีแต่ละท่านจากตัวบท (Text) ที่แต่ละท่านได้เขียนไว้เป็นหลัก จัด
ได้ว่าเป็นแนวทางการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) เมื่อพิจารณาจากแง่มุมของระเบียบวิธีการ
ศึกษาที่มีการแบ่งประเภทกันในปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

ความยุติธรรมสมัยกรีกโบราณ (500 ปีก่อน ค.ศ.)


นักทฤษฎีการเมืองชาวกรีกโบราณให้ความสำาคัญกับแนวความคิดเรื่องความยุติธรรมเกี่ยวกับการ
แสวงหาหลักการสำาคัญๆ ที่จะนำามาใช้อธิบายถึงรัฐที่ดี หรือระบอบการปกครองที่ดี นักทฤษฎีชาวกรีกโบราณจะ
มองว่า ความยุติธรรมเป็นคุณธรรม (Virtue) หรือคุณความดี (Good) อย่างหนึ่งที่จะนำาไปสู่การสร้างรัฐที่ดี และ
พลเมืองที่ดีในรัฐเหล่านั้น นักทฤษฎีชาวกรีกโบราณจะใช้การอ้างเหตุผลเป็นหลัก ในการแสวงหาหลักการต่างๆ

ความยุติธรรม 1
อันเป็นสิ่งสากล (Universal) เช่น ความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ ความงาม ความดี ความจริง ความยุติธรรม
ความรัก ฯลฯ
แนวความคิดเรื่องความยุติธรรมในทัศนะทั่วไปของนักทฤษฎีการเมืองชาวกรีกโบราณ ก่อนหน้างาน
เขียนของเพลโตและอริสโตเติลนั้น จะเป็นทัศนะของไพธากอรัส (Pythagorus) และโปรทากอรัส (Protagorus)
และแอนติฟอน (Antiphon) โดยไพธากอรัสจะมองความยุติธรรมในฐานะนักคณิตศาสตร์ โดยมีทัศนะว่ารัฐที่
ยุติธรรมต้องเป็นรัฐที่ทุกคน / ทุกส่วนเท่ากัน (อธิบายตามหลักคณิตศาสตร์ว่าด้วยเลขยกกำาลังสอง) นั่นคือความ
ยุติธรรม ก็คือความเสมอภาคในทัศนะของไพธากอรัส ส่วนโปรทากอรัสซึ่งเป็นนักทฤษฎีกลุ่มโสฟิสต์ (Sophist)
มองว่าความยุติธรรมในทัศนะของเขาจะเป็นหลักความเป็นระเบียบ (order) ซึ่งจะทำาให้รัฐเกิดความเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันมีความผูกพันกันทางด้านจิตใจ คือมีความเคารพยำาเกรงกัน อันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติที่มีความ
ยุติธรรม อย่างไรก็ตาม เขามีทัศนะคล้ายไพธากอรัสที่ว่า ความยุติธรรมคือความเท่าเทียมกัน และความเท่า
เทียมจะเกิดขึ้นได้เพราะมีกฎหมายซึ่งเขาเห็นว่ามาจากพระเจ้าเป็นผู้กำาหนด ส่วนแอนติฟอนมีทัศนะคล้ายโปร
ทากอรัสที่ว่า ความยุติธรรมเกิดจากการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่กฎหมายได้มาจากพระเจ้า แต่มาจากมนุษย์
สร้างขึ้นไม่ใช่กฎธรรมชาติ ในทัศนะของเขาความยุติธรรมที่เป็นสากลจึงไม่มี แต่ขึ้นกับผู้ปกครองที่สร้างกฎหมาย
กำาหนดไว้ให้ประชาชนปฏิบัติตาม ความยุติธรรมของเขาจึงเป็นเรื่องผลประโยชน์ของผู้ปกครองที่จะกำาหนดว่า
อะไรคือความยุติธรรม อะไรคือความไม่ยุติธรรม
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดเรื่องความยุติธรรมข้างต้น ต่อมาไม่ได้รับการยอมรับจากบรรดานักทฤษฎี
ทางการเมืองคนสำาคัญๆ ในสมัยนั้น เช่น โสเครตีสและเพลโต โดยเฉพาะเพลโตนั้นเป็นตัวแทนของโสเครตีส
(Socrates) อาจารย์ของเขาที่จะแสดงทัศนะไม่เห็นด้วยกับทัศนะข้างต้นของไพธากอรัส โปรทากอรัส และแอนติ
ฟอน ทั้งนี้จะศึกษาได้จากงานเขียนของเพลโต เรื่อง “อุตมรัฐ” (Republic) ซึ่งเขียนขึ้นประมาณ 370 ปีก่อน ค.ศ.
ในงานเขียนเรื่องอุตมรัฐ เพลโตพยายามที่จะสร้างรัฐที่สมบูรณ์ในอุดมคติของเขาขึ้นในทางทฤษฎี โดย
เขียนเป็นบทสนทนาระหว่างโสเครตีส อาจารย์ของเขากับนักทฤษฎีการเมืองคนอื่นๆ ในหลักการต่างๆ ที่จะก่อให้
เกิดความเข้าใจถึงรัฐในอุดมคติ ซึ่งเป็นรัฐที่ดีและพลเมืองที่ดีสอดคล้องกันด้วย อย่างไรก็ตาม หลักการสำาคัญที่
เพลโตนำามาเป็นแกนกลางในการสร้างบทสนทนาถกเถียงกันก็คือเรื่อง “ความยุติธรรม” โดยพยายามหาคำาจำากัด
ความหรือความหมายของเรื่องดังกล่าว โดยนำาการอ้างเหตุผลในตัวอย่างที่ยกขึ้นมาในเรื่องต่างๆ ขึ้นมาหักล้าง
และสรุปร่วมกัน เพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงของแนวความคิดเรื่องความยุติธรรม เนื้อหาส่วนใหญ่ที่นำาเสนอจะ
เป็นการอภิปรายว่า ความยุติธรรมคืออะไร โดยการดูว่าคนที่ยุติธรรมควรประพฤติตนอย่างไรในรัฐที่ยุติธรรม
ในอุตมรัฐ เล่มที่ 1 เพลโตแสดงให้เห็นว่า โสเครตีสได้ถกเถียงกับนักทฤษฎีการเมืองคนอื่นๆ ในเรื่องการ
ให้ความหมายของความยุติธรรม โดยชี้ว่า เซฟาลุส (Cephalus) นิยามความยุติธรรมว่า คือการพูดความสัตย์
จริงและการรักษาสัญญาโดยการคืนสิ่งที่ยืมมาจากเจ้าของซึ่งโสเครตีส ได้โต้แย้ง แต่ก็ไม่ได้บอกว่าความยุติธรรม
คืออะไร ในเวลาต่อมา ธราไซมาคุส (Thrasymachus) ได้นิยามความยุติธรรมว่าคือ ผลประโยชน์ของผู้ที่แข็งแรง
กว่า (Advantage of the Stronger) นั่นคือ ความยุติธรรมขึ้นอยู่กับการกำาหนดของผู้ปกครอง (ผูแ้ ข็งแรงกว่า) ว่า
อะไรถูกต้อง อะไรไม่ถูกต้อง ที่พลเมืองจะต้องปฏิบัติตาม ความยุติธรรมจึงกลายเป็นเรื่องผลประโยชน์ของผู้
ปกครอง เพราะอาจจะกำาหนดในเรื่องอะไรให้เกิดผลประโยชน์ของตนก็ได้ ซึ่งโสเครตีสโต้แย้งในเรื่องนี้

2 ความยุติธรรม
อนึ่งก่อนหน้านี้ โพลีมาร์คุส (Polemarchus) ได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นว่า ความยุติธรรมคือการ
ทำาดีต่อมิตรและทำาชั่วต่อศัตรู พร้อมกับเสนอว่า ความยุติธรรมมีประโยชน์ต่อการรักษาเงินทอง ซึ่งโสเครตีสได้
หาเหตุผลโต้แย้งไม่เห็นด้วยอีกเช่นกัน
ในอุตมรัฐเล่มที่ 2 การถกเถียงในเรื่องความหมายของความยุติธรรมยังคงดำาเนินต่อไป โดยมีโกลคอน
(Glaucon) และอดิแมนตุส (Adeimantus) เข้ามาร่วมแสดงทัศนะ โดยโกลคอนเสนอว่า ความยุติธรรมคือการทำา
ตามกฎหมาย และการพิจารณาว่า การทำาตามกฎหมายยุติธรรมหรือไม่ ให้ดูผลของการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น
ถ้าเกิดผลดีก็เป็นความยุติธรรม ถ้าเกิดผลร้ายก็ไม่ใช่ความยุติธรรม ส่วนอดิแมนตุสได้อภิปรายสนับสนุนโกลคอน
เป็นเพิ่มเติม
เมื่อถึงจุดนี้ เพลโตไม่ได้เขียนว่าโสเครตีสจะปฏิเสธหรือโต้แย้งทัศนะของโกลคอนกับอดิแมนตุส แต่ชี้ให้
เห็นว่า โสเครตีสต้องการจะอธิบายในเรื่องนี้ เมื่อพิจารณาความยุติธรรมในระดับรัฐ (มหภาค) เสียก่อนโดยดูวา่
รัฐที่ยุติธรรมมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้างในแง่มุมต่าง ๆ กัน ซึ่งพอสรุปได้ว่า รัฐที่ยุติธรรมในทัศนะของโสเครตีสนั้น
มีลักษณะที่ว่าประชาชนจะทำางานตรงตามความสามารถและความถนัดของตน ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้ที่เฉลียว
ฉลาด รักในปัญญา (wisdom) มีการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมบุคคลในการทำาหน้าที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม
ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยให้ความสำาคัญกับความรู้ (knowledge) เป็นอย่างมากและในประการสุดท้าย
ในรัฐที่ยุติธรรมจะมีความกลมกลืน (harmony) ของส่วนต่างๆ ของรัฐ นั่นคือ คนในชนชั้นและอาชีพต่างๆ จะทำา
หน้าทีข่ องตนสอดประสานกันเป็นอย่างดี เมื่อได้กล่าวถึงรัฐที่ยุติธรรมลักษณะข้างต้นแล้ว โสเครตีสก็ได้ให้ความ
หมายหรือนิยามความยุติธรรมว่า
“แล้วก็อย่างที่เราได้ยินหลายคนพูด และพวกเราพูดถึงบ่อยๆ ว่าความยุติธรรมก็คือ การทำาตามภาระ
หน้าทีข่ องตน และไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยววุ่นวายกับคนอื่น… นี่แหละเพื่อนรัก อย่างทีฉ่ ันพูดถึงเมื่อมันเกิดขึ้นในบาง
หนทางของความยุติธรรม ก็คือ หลักที่ว่าให้ทำางานของตนเอง…”
ข้อสรุปข้างต้นของโสเครตีสนั้นเขาถือว่า ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งของพลเมืองในรัฐที่
ยุติธรรม นอกเหนือจากเรื่องความกล้าหาญและความฉลาดแล้ว เพราะจะทำาให้คนทุกกลุ่มในรัฐไม่ว่าจะเป็นผู้
ปกครอง ทหาร พ่อค้า และอาชีพ อื่นๆ ได้อยู่ร่วมกันโดยก้าวก่ายหน้าที่กันและกัน โดยทุกคนทำาตามภาระหน้าที่
ของตนเท่านั้น ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเรื่องราวของคนอื่นๆ เมื่อเป็นดังนี้ทุกส่วนของคนในรัฐก็จะก่อให้เกิดความ
กลมกลืนกัน ดังนั้นรูปแบบการปกครองของรัฐที่ยุติธรรมจึงมีสว่ นผลักดันให้คนกลุ่มต่างๆ ประพฤติปฏิบัติอย่าง
ยุติธรรมด้วย ซึ่งในทัศนะของโสเครตีส รูปแบบการปกครองแบบอภิชนาธิปไตยถือได้ว่า เป็นการปกครองของรัฐที่
มีความยุติธรรม เมื่อเขาพิจารณาลักษณะในรายละเอียดของแต่ละรูปแบบการปกครองแล้ว
จากทัศนะของเพลโต ในงานเขียนเรื่องอุตมรัฐ โดยผ่านบทสนทนาของโสเครตีสข้างต้น เราอาจสรุป
ลักษณะสำาคัญของแนวความคิดเรื่องความยุติธรรมของเพลโตได้ดังนี้
1) ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่มาอยู่ร่วมกัน
2) ความยุติธรรมเป็นความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างที่ถูกต้องระหว่างมนุษย์ที่มาอยู่ร่วมกัน
3) ความยุติธรรมเป็นการประพฤติของมนุษย์ในรัฐที่จะก่อให้เกิดความผสมผสานกลมกลืนกัน และ
ภาวะสมดุลย์
4) ความยุติธรรมเป็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของรัฐที่ยุติธรรมที่จะมอบหมายสิ่งต่างๆ แก่มนุษย์
ในรัฐตามความเหมาะสมกับตัวเขา

ความยุติธรรม 3
จากลักษณะดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นได้วา่ เพลโตใช้แนวความคิดเรื่องความยุติธรรมในการเชื่อมโยง
อธิบายความสัมพันธ์แบบต่างๆ ของมนุษย์ในรัฐหนึ่งๆ ทั้งที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ความ
สัมพันธ์ระหว่างรัฐกับมนุษย์ที่อยู่ในรัฐในการแสวงหาหลักการสำาคัญๆ ที่จะสร้างรัฐที่ดีในอุดมคติ ตลอดจน
พลเมืองที่ดี ในรัฐดังกล่าวด้วย
นอกเหนือจากงานเขียนของเพลโตแล้ว ในงานเขียนของอริสโตเติล (384 – 322 ปีก่อน ค.ศ.) ลูกศิษย์
ของเพลโต เรื่อง “การเมือง” (The Politics) และ “จริยศาสตร์” (Ethics) อริสโตเติลได้แสดงทัศนะในแนวความคิด
เรื่องความยุติธรรมไว้อย่างน่าสนใจเช่นเดียวกัน
ในงานเขียนเรื่อง “การเมือง” เล่มที่ 5 บทที่ 1 อริสโตเติลให้ความสำาคัญกับความยุติธรรมว่า ความ
ยุติธรรมหรือความไม่ยุติธรรมนั้น อาจเป็นสิ่งที่ธำารงรักษาหรือทำาลายระบอบการปกครองต่าง ๆ ลงได้ อริสโตเติล
ชี้วา่ ระบอบการปกครองต่างๆ อาจจะมีชนิดของความยุติธรรมแตกต่างกัน ซึ่งถ้าไม่มีคุณภาพที่เหมาะสมแล้วก็
เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้ และอาจนำาไปสู่การทำาลายล้างระบอบการปกครองดังกล่าวด้วย ทั้งนี้โดยการปฏิวัติ
เปลี่ยนแปลงจากระบอบหนึ่งไปสู่อีกระบอบหนึ่ง เนื่องจากความไม่ยุติธรรมและความเสมอภาค จะนำาไปสู่ความ
แตกแยกและขัดแย้งในระบอบการปกครองดังกล่าว
อริสโตเติลให้ความสำาคัญกับเรื่องความยุติธรรม ไม่แต่เฉพาะในเรื่องที่ว่า เป็นสิ่งธำารงรักษาระบอบการ
ปกครองเท่านั้น ความยุติธรรมในทัศนะของอริสโตเติลยังเป็นเกณฑ์พื้นฐานด้านคุณธรรมของผู้ปกครองใน
ระบอบการปกครองแบบต่างๆ อีกด้วย โดยเขานำาเรื่องความยุติธรรมมาเป็นเกณฑ์วัดว่า ระบอบการปกครองใด
ว่าดีหรือไม่ดี โดยดูจากระดับความยุติธรรมที่ผู้ปกครองของแต่ละระบอบการปกครองมีอยู่และสามารถจัดอันดับ
ระบอบการปกครองได้ตามลำาดับ ทั้งนี้อาศัยการพิจารณาระดับความยุติธรรม
1. ราชาธิปไตย (kingship) (ยุติธรรมมากที่สุด)
2. อภิชนาธิปไตย (Aristocracy)
3. โพลิตี้ (Polity)
4. ประชาธิปไตย (Democracy)
5. คณาธิปไตย (Oligarchy)
6. ทรราชย์ (Tyranny) (ยุติธรรมน้อยที่สุด)
การจัดระบบความยุติธรรมของระบอบการปกครองต่างๆ ข้างต้นนั้น อริสโตเติลใช้การพิจารณาว่า
ตำาแหน่งหน้าที่ในการปกครองต่างๆ นั้น ได้รับพิจารณาว่าเป็นหน้าที่ซึ่งควรได้รับการจัดสรรแบ่งปันอย่างเท่า
เ ที ย ม กั น ห รื อ เ ป็ น ไ ป เ พื่ อ ผ ล ป ร ะ โ ย ช น์ ส่ ว น ตั ว
อย่างไรก็ตาม งานเขียนที่ถือได้ว่าอริสโตเติลให้คำาอธิบายหรือสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับความยุติธรรมไว้
ชัดเจนที่สุดนั้น ไม่ใช่งานเขียนเรื่อง “การเมือง” แต่เป็นงานเขียนเรื่อง “จริยศาสตร์” โดยเขามีความเห็นว่า ความ
ยุติธรรมเป็นคุณธรรม (Virtue) ที่เฉพาะเจาะจงอย่างหนึ่ง และเป็นความจำาเป็นสูงสุดอย่างหนึ่งที่จะอำานวย
สวัสดิการของสังคม (Social welfare) ให้เกิดขึ้นได้ อริสโตเติลได้พยายามสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับความยุติธรรม
โดยแบ่งความยุติธรรมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ความยุติธรรมทางการแบ่งสรร (Distributive Justice)
2. ความยุติธรรมทางความถูกต้อง (Corrective/Commutative Justice)

4 ความยุติธรรม
ความยุติธรรมประเภทแรกนั้น ได้แก่ ความยุติธรรมที่จะให้มีการแบ่งสรรสิ่งที่มีคุณค่าที่เป็นสวัสดิการ
ทางสังคมอย่างเท่าเทียมกันหรือเหมาะสม เช่น เกียรติยศความมั่นคง และสิง่ อื่นๆ ที่เป็นสิ่งที่ดีทางสังคม (Social
goods) โดยการแบ่งสรรนั้นควรเป็นไปตามสัดส่วน (Proportion) ตามความเหมาะสมกับบุคคล/กลุ่มบุคคลต่างๆ
ในรัฐ
ความยุติธรรมประเภทที่สอง ได้แก่ ความยุติธรรมที่บุคคล หรือคณะบุคคลจะได้รับความเป็นธรรมจาก
กระบวนการตุลาการ ตัวอย่างเช่น ได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีอย่างเป็นธรรม ได้รับการลงโทษตามกฎหมาย
อย่างเหมาะสมกับความผิดที่กระทำา เป็นต้น
ความยุติธรรมประเภทแรกนั้น อาจเรียกว่า “ความยุติธรรมทางสังคม” (Social Justice) ส่วนประเภท
หลัง อาจเรียกได้ว่า “ความยุติธรรมทางกฎหมาย” (Legal Justice) ซึ่งนิยมใช้กันในยุคปัจจุบัน
จากทฤษฎีข้างต้นของอริสโตเติล อาจตีความการแบ่งประเภทของเขาได้ว่า ในกรณีของ “ความยุติธรรม
ทางสังคม” นั้น การที่เขาเสนอให้มีการแบ่งสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคมอย่างเหมาะสมได้สัดส่วนนั้น มีลักษณะ
คล้ายการให้ความหมายความยุติธรรมของเพลโตที่เสนอว่า “มอบหมายสิ่งต่างๆ แก่คนต่างๆ ตามความเหมาะ
สมกับตัวเขา” (Justice is the set and constant purpose to give everyman his due) การแบ่งสรรสิ่งต่างๆ
แก่คนในรัฐอย่างได้สัดส่วนนั้น ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้รับสิ่งต่างๆ เท่ากัน แต่จะได้รับตามสัดส่วนกับ
เงื่อนไขสภาพของแต่ละบุคคล หรือความจำาเป็นของสถานการณ์ของแต่ละบุคคลเป็นสำาคัญ ดังนั้นกฎเกณฑ์พื้น
ฐานที่ได้มาจากทฤษฎีความยุติธรรมข้างต้นได้กลายเป็นการให้ ความหมายของความยุติธรรมที่วา่ “ปฏิบัติต่อคน
ที่เท่าเทียมกันอย่างเท่าเทียมกัน และปฏิบัติต่อคนที่ไม่เท่าเทียมกันอย่างไม่เท่าเทียมกัน”
ส่วนในกรณีของความยุติธรรมทางความถูกต้องหรือความยุติธรรมกฎหมายนั้น สามารถตีความได้ว่า
อริสโตเติลต้องการให้มีความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมกับกฎหมายในแง่ที่ว่า การปกครองที่ยุติธรรมนั้นต้อง
ปกครองตามหลักกฎหมาย (Rule of Law) ซึ่งอริสโตเติลได้เคยกล่าวไว้
“ใครที่อยากคำาสั่งเป็นตัวบทกฎหมายควรที่จะปกครองภายใต้การพิจารณาว่า การออกคำาสั่งเป็นไป
ตามพระเจ้าและเหตุผลอย่างเดียวเท่านั้นที่ควรจะได้ปกครอง”
ดังนั้น จากการพิจารณาข้างต้นในทฤษฎีความยุติธรรมของอริสโตเติลและการตีความจากทฤษฎีดัง
กล่าว อาจให้ความหมายของความยุติธรรมของอริสโตเติลได้วา่ ความยุติธรรม คือ การปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ
ตามสัดส่วนความเหมาะสม และอาศัยหลักกฎหมายเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อเขาเหล่านั้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นในทัศนะเรื่องความยุติธรรมของอริสโตเติล อาจสรุปลักษณะสำาคัญของ
ความยุติธรรมในทัศนะของเขาได้ดังนี้
1) ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งในบรรดาคุณธรรมประเภทอื่นๆ
2) ความยุติธรรมเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการวัดความถูกต้องของระบอบการปกครอง
3) ความยุติธรรมเป็นสิ่งสำาคัญในการธำารงรักษาระบอบการปกครองให้ดำารงอยู่
4) ความยุติธรรมเป็นการปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ ตามสัดส่วนตามความเหมาะสม
5) ความยุติธรรมอาศัยกฎหมายหรือหลักเกณฑ์ที่เขียนไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ
อาจกล่าวได้ว่า ข้อสรุปข้างต้นในลักษณะของความยุติธรรมจากทัศนะของอริสโตเติลได้ขยายความ
เข้าใจในเรื่องดังกล่าวได้มากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ความหมาย ทฤษฎีและความสำาคัญของแนวความคิดดังกล่าว ตลอด
จนมองเห็ น ถึ ง การประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นแง่ ข องการเมื อ งการปกครองเพื่ อ ให้ เ กิ ด รั ฐ ที่ ดี ใ นการปกครอง

ความยุติธรรม 5
ความยุติธรรมสมัยกลาง (ค.ศ.550-1550)
ในช่วงสมัยกลาง อิทธิพลของคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิกได้เข้าครอบงำาและมีอิทธิพลเหนือ
สถาบันทางการเมืองและสถาบันทางสังคมอื่นๆ ไว้ทั้งหมด บรรดาศิลปวิทยาต่างๆ ได้รับการอธิบายและตีความ
ภายใต้หลักคำาสอนทางศาสนา โดยมีพระหรือนักบวชเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความคิดและศิลปวิทยาการ
ต่างๆ เป็นหลักของสังคม โดยเฉพาะในสังคมยุโรปตะวันตก
แนวความคิดเรื่องความยุติธรรมก็เช่นกัน ในช่วงสมัยกลางได้รับการอธิบายและถ่ายทอดโดยนักทฤษฎี
ทางการเมืองที่เป็นพระหรือนักบวชแทบทั้งสิ้น อาทิ เซนต์ออกัสติน (St.Augustine, ค.ศ.354-430) และเซนต์อา
ควีนัส (St.Thomas Aquinas, ค.ศ.1224-1274)
ในงานเขียนของออกกัสติน เรื่อง “นครของพระเจ้า” (City of God) ซึ่งเขียนขึ้นระหว่าง ปี ค.ศ.413-
427 เขาพยายามอธิบายว่า มนุษย์ต้องปฏิบัติตามคำาสอนทางศาสนาเพื่อที่จะได้มีโอกาสไปอยู่ในอาณาจักรหรือ
นครของพระเจ้า หากมนุษย์ไม่ปฏิบัติตามคำาสอนทางศาสนาแล้ว มนุษย์ก็อยู่เพียงในอาณาจักรหรือนครแห่งโลก
เท่านั้น และในเรื่องความยุติธรรมก็เช่นกัน ออกัสตินพยายามอธิบายว่า ความยุติธรรมที่แท้จริง (true justice) ไม่
อาจจะพบได้ในนครแห่งโลก (not of this world) เพราะจากประวัติศาสตร์ของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ต่างๆ ที่ล่ม
สลายไปนั้น ก็เกิดจากความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น อันเนื่องจากไม่เกิดการสมานฉันท์หรือการยึดถือเหตุผลในการ
ปกครอง และนำาไปสู่ความหายนะในที่สุด
จุดเน้นในข้อสังเกตของออกัสตินก็คือ ความยุติธรรมนั้นจะก่อให้เกิดความสมานฉันท์และการยึดมั่นใน
เหตุผลเป็นสำาคัญ ดังนั้นรัฐที่ดีที่อำานวยความสุขร่วมกัน จะดำารงอยู่ได้ก็แต่ในที่ซึ่งการปกครองมีความเข้มแข็ง
และยุติธรรมเท่านั้น ออกัสตินให้ความสำาคัญกับความยุติธรรมอย่างมาก โดยเขากล่าวว่า “โดยแท้จริงแล้ว ถ้า
ปราศจากความยุติธรรม อาณาจักรต่างๆ ก็ไม่แตกต่างไปจากฝูงโจรจำานวนมากที่มารวมกันเป็นอาณาจักรเล็กๆ”
ในทัศนะของออกัสตินนั้น ความยุติธรรมที่แท้จริงจึงเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งในความเชื่อของชาวคริสต์
ดังที่เขาได้เสนอว่า คุณธรรมของพระคาดินัล (Car-dinal) ประกอบด้วยการไม่เสพของมึนเมา ความรอบคอบ
สุขุม ความยุติธรรม และความอดทน
กล่าวโดยสรุปจากทัศนะของออกัสติน สามารถสรุปลักษณะและความยุติธรรมได้ดังนี้
1) ความยุติธรรมสอดคล้องกับการประพฤติปฏิบัติตามคำาสอนของคริสตศาสนา
2) ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งของนักบวชในคริสตศาสนา
3) ความยุติธรรมเป็นเครื่องธำารงรักษาอาณาจักรให้ดำารงอยู่
4) ความยุติธรรมช่วยให้เกิดความสมานฉันท์และยึดมั่นในเหตุผล
จากข้อสรุปข้างต้นจะเป็นได้ว่า ออกัสตินพยายามผูกแนวความคิดเรื่องความยุติธรรมเข้ากับศาสนาและการ
ปกครองอย่างมาก สะท้อนให้เห็นถึงการพยายามแสดงความชอบธรรมของศาสนาที่จะชี้นำาการเมืองของฝ่าย
อาณาจักร
นักทฤษฎีการเมืองอีกคนหนึ่งในสมัยกลางที่ได้รับอิทธิพลจากคริสตศาสนา ได้แก่ เซนต์อาควีนัส
(ค.ศ.1224-1274) เขาเป็นนักบวชในศาสนาดังกล่าวอีกคนหนึ่ง แต่ก็มีความสามารถทางวิชาการมาก ได้ค้นคว้า
ศึกษาปรัชญาทางการเมืองของกรีกโบราณ เพื่อนำามาประยุกต์ใช้ในการสร้างคำาสอนทางศาสนา โดยเฉพาะงาน
เขียนของอริสโตเติล เขาให้ความสนใจเป็นพิเศษ

6 ความยุติธรรม
ในแนวความคิดเรื่องความยุติธรรมก็เช่นกัน อาควีนัสได้รับอิทธิพลทางความคิดจากอริสโตเติลสูงมาก
โดยนำามาใช้อธิบายหลักกฎหมายและลัทธิศาสนาของชาวคริสต์ เพื่อผลประโยชน์ของศาสนาจักรยุคกลาง ความ
ยุติธรรมในทัศนะของอาควีนัสคือ การปฏิบัติตามกฎหมาย การปกครองที่ดีและยุติธรรม ผูป้ กครองและพลเมือง
ต้องเคารพกฎหมาย โดยเขาแบ่งกฎหมายออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) กฎหมายนิรันดร (Eternal law) เป็นสิ่งที่เกิดจากเหตุผลของพระเจ้า เพื่อสร้างระเบียบแบบแผน
ขึน้ อยู่เหนือกฎหมายประเภทอื่นๆ ทั้งหมด
2) กฎหมายธรรมชาติ (Natural law) เป็นเหตุผลของสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น ได้แก่ ธรรมชาติของสิ่ง
ต่างๆ ในสังคมมนุษย์ เช่น การทำาดี รักษาชีวิต หาความจริง และการเลี้ยงดูบุตร
3) กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ (Devine law) เป็นสิ่งที่เปิดเผยสิ่งที่พระเจ้าบัญญัติไว้ในคัมภีร์ทางศาสนา
ไม่ใช่การใช้เหตุผลตามธรรมชาติของมนุษย์ เป็นส่วนเสริมการใช้เหตุผลของมนุษย์ให้สมบูรณ์ขึ้น
4) กฎหมายมนุษย์ (Human law) เป็นสิ่งทีม่ นุษย์บัญญัติขึ้น โดยอาศัยเหตุผลของมนุษย์เองอาจมี
ข้อบกพร่องได้ เพราะมนุษย์สร้างขึ้นจากการตีความกฎธรรมชาติ ซึ่งอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง
ได้ เพราะความสามารถของมนุษย์ที่ไม่เท่ากัน ความยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรมจึงเกิดจากกฎหมาย
ประเภทนี้
อาควีนสั เห็นว่า การปกครองที่ดีมีความยุติธรรมนั้น กฎหมายของรัฐนั้นจะต้องเอื้ออำานวยต่อการมี
ความดีร่วมกัน (common good) ของมนุษย์ ถ้าผู้ปกครองใช้กฎหมายในการสร้างความดีส่วนตัว (private
good) การปกครองนั้นก็เป็นการปกครองของทรราชย์ที่ไม่มีความยุติธรรม
นอกจากนี้เขายังเห็นว่า การที่รัฐใดขาดความยุติธรรม ก็จะนำาไปสู่การใส่ร้ายติเตียนหรือการความไม่
สงบของสาธารณชน การมีกฎหมายในรัฐจึงเป็นการช่วยให้เกิดความเป็นระเบียบและสงบเรียบร้อยขึ้น การยก
ตัวอย่างว่า การให้ยืมเงินหรือทรัพย์ โดยการคิดดอกเบี้ยของนายเงิน หรือเจ้าของทรัพย์นั้นไม่ยุติธรรม เพราะ
เจ้าของทรัพย์ไม่ได้ขายอะไร แต่ได้เงินเพิ่มมากขึ้นจากดอกเบี้ย สิ่งที่เป็นสาเหตุของการฉ้อโกงระหว่างกัน เกิด
ความไม่สงบ ดังนั้น กฎหมายจึงต้องบัญญัติที่จะต้องห้ามการคิดดอกเบี้ย เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป จากทัศนะทั้งหมดของอาควีนัสข้างต้น พอสรุปได้วา่ เขามีทัศนะเกี่ยวกับความยุติธรรม
ในลักษณะสำาคัญๆ ดังต่อไปนี้
1) ความยุติธรรมสอดคล้องกับกฎหมายธรรมชาติและคำาสอนของคริสตศาสนา
2) ความยุติธรรมเกิดจากการมีกฎหมายของมนุษย์ที่ถูกต้อง ซึ่งอำานวยความดีร่วมกันของมนุษย์
3) ความยุติธรรม โดยผ่านการใช้กฎหมาย จะช่วยให้สังคมมนุษย์มีความสงบเรียบร้อย เกิดการ
ปกครองที่ดีและถูกต้อง
ข้อสรุปข้างต้นของอาควีนัสจะเห็นได้ว่า คล้ายกับของออกัสติน โดยผสมผสานทัศนะของอริสโตเติลใน
เรื่องการปกครอง โดยกฎหมายเข้าไปด้วย ซึ่งช่วยให้เกิดความชอบธรรมของคำาสอนทางศาสนาต่อการชี้นำาการ
ปกครองของมนุษย์เช่นกัน

ความยุติธรรมสมัยใหม่ (ค.ศ.1600-1900)
เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยใหม่ ประมาณ ค.ศ. 1550-1660 แนวความคิดเรื่องความยุติธรรมก็ยังคงมีการศึกษา
อยู่ โดยนักทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ โดยเฉพาะนักทฤษฎีในกลุ่มทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social contract

ความยุติธรรม 7
theory) และกลุ่มทฤษฎีเสรีนิยม ซึ่งเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในช่วงคริสศตวรรษที่ 17-18 จากการฟื้นฟูศิลปวิทยา
และเริ่มลดอิทธิพลของคริสจักรที่มีเหนือฝ่ายอาณาจักร
นักทฤษฎีกลุ่มสัญญาประชาคมที่เด่นในเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับความยุติธรรมได้แก่ โธมัส ฮอบส์
(Thomas Hobbs ค.ศ. 1588-1679) และฌอง ฌาค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau ค.ศ. 1712-1778) ส่วน
นักทฤษฎีเสรีนิยม ได้แก่ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill ค.ศ. 1806-1873)
ในทัศนะของฮอบส์ จากงานเขียนเรื่อง “Leviathan” ใน ค.ศ. 1651 เขาได้แสดงความคิดเห็นว่า ความ
ยุติธรรมเป็นกฎข้อที่ 3 กฎของธรรมชาติ โดยกฎข้อที่ 1 เป็นสิทธิทางธรรมชาติ (Right of Nature) ส่วนกฎข้อที่ 2
เป็นเสรีภาพ (Liberty)
ความยุติธรรม ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติอย่างหนึ่ง เขาให้คำาจำากัดความกับสิ่งนี้ว่า “การที่มนุษย์แสดงออก
ให้เห็นถึงการทำาตามสัญญาที่ได้ทำาไว้ ความยุติธรรมในทัศนะของเขาก็คือ การทำาตามสัญญาที่ให้ไว้ และความ
ไม่ยุติธรรมก็คือ การไม่ทำาตามสัญญาที่ให้ไว้ ความยุติธรรมและระเบียบแบบแผนที่เกิดขึ้น เมื่อมีการทำาสัญญา
จัดตั้งรัฐขึ้นโดยความไว้วางในกัน การที่มนุษย์ละเมิดสัญญาที่ทำาไว้ในการจัดตั้งรัฐจะก่อให้เกิดความไม่สงบ ไม่
อาจควบคุมบังคับมนุษย์ในสังคมได้ นอกจากนี้ความยุติธรรมจะต้องไม่ขัดแย้งกับการมีเหตุผล การักษาสัญญา
แสดงถึงการมีเหตุผลอย่างหนึ่งของมนุษย์รัฐที่มีลักษณะการรักษาสัญญาประชาคม จึงเป็นรัฐที่ปกครองด้วย
เหตุผล (Rules of Reason)
ดังนั้น จากทัศนะของฮอบส์ อาจสรุปลักษณะของความยุติธรรมได้วา่
1) ความยุติธรรมเป็นกฎธรรมชาติข้อหนึ่งที่ถูกต้อง
2) ความยุติธรรมเกิดจากการรักษาสัญญา
3) ความยุติธรรมต้องอาศัยการมีเหตุผล
จึงกล่าวได้ว่า ทัศนะของฮอบส์ ในเรื่องความยุติธรรม ได้สอดคล้องกับทฤษฎีสัญญาประชาคมของเขา
อย่างมาก ฮอบส์ไม่ได้มองความยุติธรรมในแง่ของกฎของมนุษย์หรือกฎหมายทั่วไปที่ใช้กัน แต่เป็นกฎธรรมชาติ
ที่ม นุษย์จะต้องอาศัยการมี เหตุผ ลที่ถูกต้องจึง จะเข้ า ใจได้ ข้ อสรุ ปของเขาเกี่ยวกับการปกครองโดยสั ญญา
ประชาคม จึ ง เป็ น การแสดงว่ า การทำา สั ญ ญาประชาคมก็ เ ป็ น ความยุ ติ ธ รรมในการปกครองอย่ า งหนึ่ ง
สำาหรับรุสโซ นักทฤษฎีสัญญาประชาคมอีกคนหนึ่ง เขาเชื่อว่า ในสภาวะธรรมชาติ (State of Nature)
มนุษย์มีอิสระเสรีอย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อมนุษย์มารวมกันเป็นสังคม มีการครอบครองที่ดินและทรัพย์สิน สิ่งดัง
กล่าวก็หมดไปเกิดความไม่เท่าเทียมกัน เอารัดเอาเปรียบกันและความไม่ยุติธรรม เขาจึงเห็นว่าการแบ่งสรรที่ดิน
และทรัพย์สินตามความต้องการที่จำาเป็นของแต่ละบุคคลเป็นความยุติธรรมประการแรกกล่าวคือ การให้ทุกคน
ตามความจำาเป็นของเขาถือว่าเป็นความยุติธรรม
นอกจากนี้ รุสโซยังมีทัศนะว่า การที่มนุษย์เข้าร่วมสัญญาประชาคม โดยการสละอำานาจให้แก่ทุกคน
ร่วมกันภายใต้เจตจำานงทั่วไป (general will) นั้น เท่ากับไม่ได้สูญเสียอำานาจของเขาเลย แต่กลับจะได้อำานาจเพิ่ม
มากขึ้นของคนอื่นๆ ด้วย สิ่งนี้ก็เป็นความยุติธรรมอย่างหนึ่งในทัศนะของรุสโซ
รุสโซมีความเชื่อว่า ความยุติธรรมทั้งหมดมาจากพระเจ้า เพราะความยุติธรรมเป็นความดีที่สอดคล้อง
กับการจัดระเบียบทางสังคม ดังนั้น ถ้ามนุษย์สามารถรับรู้ความยุติธรรมจากพระเจ้าได้โดยตรงแล้ว บรรดา
กฎหมายและการปกครองต่าง ๆ ก็ไม่จำาเป็นสำาหรับมนุษย์ แต่เนื่องจากมนุษย์ไม่อาจรับรู้ความยุติธรรมของ
พระเจ้าได้นี่เอง ทำาให้มนุษย์ต้องสร้างกฎหมายและการปกครองขึ้นมา เพื่อสร้างความยุติธรรมที่มาจากมนุษย์

8 ความยุติธรรม
ด้วยกันเอง ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ เพราะไม่ได้เป็นกฎที่มาจากพระเจ้า การออกกฎหมายให้ยุติธรรมจึงต้อง
อาศัยเจตจำานงทั่วไปเป็นแนวทาง จึงจะได้กฎหมายที่เป็นหลักการทั่วไปและมีความยุติธรรม
กล่าวโดยสรุปจากทัศนะทั้งหมดของรุสโซ อาจสรุปลักษณะสำาคัญของความยุติธรรมในความเห็นของ
เขาได้วา่
1) ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกันตามความเหมาะสมตามความจำาเป็นของ
แต่ละคน
2) ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เข้าทำาสัญญาประชาคมกัน ภายใต้เจตจำานงทั่วไป
3) ความยุติธรรมเป็นความดีอย่างหนึ่งซึ่งมาจากพระเจ้า
4) ความยุติธรรมต้องอาศัยกฎหมายและการปกครอง เพราะมนุษย์ไม่รู้ถึงความยุติธรรมที่มาจาก
พระเจ้าได้ทั้งหมด
จากข้อสรุปข้างต้น จึงเห็นได้ว่า รุสโซมีทัศนะคล้ายเพลโต ในแง่ความหมายของความยุติธรรมในทาง
ปฏิบัติ และคล้ายคลึงกับฮอบส์ในแง่ทฤษฎีที่ว่า ความยุติธรรมในการปกครองจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์เข้าร่วมทำา
สัญญาประชาคมกัน แต่สิ่งที่เด่นในทัศนะของรุสโซ ก็คือ เขาไม่แน่ใจในความยุติธรรมที่มาจากกฎหมายและการ
ปกครองมากนัก แต่ก็เห็นความจำาเป็นการมีสิ่งดังกล่าว เพราะมนุษย์ไม่อาจรับรู้ความยุติธรรมจากพระเจ้าได้
ทั้งหมด มนุษย์จึงต้องอาศัยความรู้และเหตุผลของตนเองในการสร้างความยุติธรรม โดยอาศัยกฎหมายและการ
ป ก ค ร อ ง ซึ่ ง แ น่ น อ น ว่ า อ า จ จ ะ ผิ ด พ ล า ด ไ ด้ แ ล ะ ไ ม่ เ กิ ด ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม
สำาหรับนักทฤษฎีเสรีนิยม คือ จอห์น สจ๊วต มิลล์ โดยที่เขามีพื้นฐานเป็นนักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ใน
กลุ่มอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) อีกด้วยทำาให้เขาพยายามเชื่อมโยง แนวความคิดเรื่องความยุติธรรมกับ
อรรถประโยชน์นิยมเข้าด้วยกันและไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่าความยุติธรรมมีความสัมพันธ์กับด้านกฎหมาย
อย่างเดียว เท่านั้น ในทัศนะของมิลล์เขาเชื่อว่า ในลัทธิอรรถประโยชน์นิยม หรือสุขนิยมนั้น เกณฑ์ในการตัดสิน
อะไรถูกหรือผิดมาจากแนวความคิดเรื่องความยุติธรรมซึ่งเขาถือว่า เป็นลักษณะทางศีลธรรมอย่างหนึ่ง เขาเห็น
ว่าการที่จะตอบ คำาถามว่าอะไรคือความยุติธรรม เราควรหาความหมายของความไม่ยุติธรรมให้ได้ก่อน ดังนั้น
เ ข า จึ ง นิ ย า ม ค ว า ม ไ ม่ ยุ ติ ธ ร ร ม ว่ า มี ลั ก ษ ณ ะ ดั ง ต่ อ ไ ป นี้
1) ค ว า ม ไ ม่ ยุ ติ ธ ร ร ม คื อ ก า ร ลิ ด ร อ น เ ส รี ภ า พ ส่ ว น บุ ค ค ล
2) ความไม่ ยุ ติ ธ รรมเกิ ด จากการใช้ ก ฎหมายที่ ลิ ด รอนสิ ท ธิ ข องบุ ค คล ซึ่ ง ก็ คื อ กฎหมายที่ เ ลว
3) ค ว า ม ไ ม่ ยุ ติ ธ ร ร ม เ กิ ด จ า ก ม นุ ษ ย์ ไ ด้ รั บ ใ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ ค ว ร ไ ด้
4) ค ว า ม ไ ม่ ยุ ติ ธ ร ร ม เ กิ ด จ า ก ไ ม่ ทำา ต า ม สั ญ ญ า ที่ ต ก ล ง กั น ไ ว้
5) ความไม่ ยุ ติ ธ รรม คื อ การเลื อ กปฏิ บั ติ เ ฉพาะส่ ว น ตามความพึ ง พอใจโดยไม่ มี เ หตุ ผ ล
ดังนั้น ถ้าจะสรุปความหมายของความยุติธรรม ในทัศนะของมิลล์แล้ว ก็น่าจะสรุปได้ว่า ความยุติธรรม
ก็ คื อ การรั ก ษาสิ ท ธิ เสรี ภ าพ และคำา มั่ น สั ญ ญา ตลอดจนการปฏิ บั ติ ต่ อ ผู้ อื่ น อย่ า งเหมาะสมมี เ หตุ ผ ล
ในทัศนะของมิลล์ต่อความสำาคัญของความยุติธรรมนั้น อาจกล่าวได้ว่า เขามองสิ่งดังกล่าวเป็นความ
ต้องการทางจิตวิทยาและอารมณ์ของมนุษย์อย่างหนึ่ง เพราะเกี่ยวข้องกับความจำาเป็นในการดำารงชีวิตที่ดี (well-
being) ข อ ง ม นุ ษ ย์ อ ย่ า ง ชั ด เ จ น
กล่าวโดยสรุปจากทัศนะทั้งหมดของมิลล์ข้างต้น เราอาจสรุปลั กษณะสำา คัญของความยุติธรรมใน
ทั ศ น ะ ข อ ง เ ข า ไ ด้ ว่ า

ความยุติธรรม 9
1) ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม เ ป็ น คุ ณ ธ ร ร ม อ ย่ า ง ห นึ่ ง
2) ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม เ ป็ น ป ร ะ โ ย ช น์ ต่ อ ม นุ ษ ย์ ใ น ก า ร ดำา ร ง ชี พ ที่ ดี
3) ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั บ สิ ท ธิ เ ส รี ภ า พ อ ย่ า ง ม า ก
4) ความยุติธรรมเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เพื่อให้เกิดพันธะและการปฏิบัติต่อกันอย่างเหมาะ
ส ม
จากข้อสรุปข้างต้น จะเห็นได้ว่ามิลล์ได้พยายามอธิบายความยุติธรรมจากทัศนะที่เป็นทั้งนักทฤษฎี
เสรีนิยมและอรรถประโยชน์นิยม ในฐานะแรกเขาจึงเน้นในเรื่องสิทธิเสรีภาพในฐานะที่สอง เขาจึงเน้นในเรื่อง
ประโยชน์ที่จะได้รับในแง่การดำารงชีพที่ดี ส่วนทัศนะที่เขาเหมือนนักทฤษฎีคนอื่น ๆ ก็คือ มองความยุติธรรมเป็น
คุ ณ ธ ร ร ม แ ล ะ ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ที่ เ ห ม า ะ ส ม ร ะ ห ว่ า ง ม นุ ษ ย์ ด้ ว ย กั น
บ ท ส รุ ป : ตั ว แ บ บ ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม ใ น อุ ด ม ค ติ
เมื่อศึกษาทัศนะของนักทฤษฎีทางการเมืองทั้ง 3 สมัย เราอาจจะสรุปได้ว่า ตัวแบบความยุติธรรมใน
แ ต่ ล ะ ส มั ย มี ลั ก ษ ณ ะ สำา คั ญ ๆ ร่ ว ม กั น ดั ง นี้
5.1 ตั ว แ บ บ ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม ส มั ย ก รี ก โ บ ร า ณ
­ เ น้ น ถึ ง ก า ร ส ร้ า ง ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ที่ เ ห ม า ะ ส ม กั บ ม นุ ษ ย์ ใ น ห ล า ย ร ะ ดั บ
­ เ ป็ น คุ ณ ธ ร ร ม อ ย่ า ง ห นึ่ ง ทั้ ง ข อ ง ม นุ ษ ย์ แ ล ะ รั ฐ ใ น ก า ร ป ก ค ร อ ง
­ อ า ศั ย ก ฎ ห ม า ย เ ป็ น เ ค รื่ อ ง มื อ ใ น ก า ร ส ร้ า ง
5.2 ตั ว แ บ บ ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม ส มั ย ก ล า ง
­ ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม เ ป็ น คุ ณ ธ ร ร ม ที่ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ห ลั ก ก า ร ท า ง ศ า ส น า
­ ความยุติธรรมเกิดจากการมีกฎหมายที่ถูกต้อง อำานวยความสุขสงบ ความดีร่วมกันของมนุษย์
­ ความยุติธรรมเป็นสิ่งจำา เป็นในการปกครอง เพื่อรักษาความมั่นคงของระบอบการปกครอง
5.3 ตั ว แ บ บ ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม ส มั ย ใ ห ม่
­ ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม เ กิ ด จ า ก ก า ร รั ก ษ า สั ญ ญ า ร่ ว ม กั น
­ ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม เ ป็ น คุ ณ ธ ร ร ม ต า ม ก ฎ ธ ร ร ม ช า ติ อ ย่ า ง ห นึ่ ง
­ ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม เ ป็ น ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ที่ เ ห ม า ะ ส ม ร ะ ห ว่ า ง ม นุ ษ ย์ ด้ ว ย กั น
จากตัวแบบความยุติธรรมทั้ง 3 สมัยจากทัศนะของนักทฤษฎีทางการเมือง เราพอจะเห็นลักษณะร่วม
กันได้ว่า เราจะต้องมองความยุติธรรมว่า เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งในสังคมมนุษย์ ที่จะทำาให้มนุษย์ประพฤติต่อกัน
ในความสัมพันธ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ โดยอาศัยเหตุผลคำาสอนทางศาสนา กฎหมาย และการทำาสัญญาตกลงกันเป็น
เครื่องมือในการอำานวยให้เกิดความยุติธรรม เพื่อให้มนุษย์ดำารงอยู่ภายใต้ความดีร่วมกันในรัฐและนี่เป็นตัวแบบ
ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม ใ น อุ ด ม ค ติ ที่ ค ว ร จ ะ เ กิ ด ขึ้ น

10 ความยุติธรรม
บรรณานุกรม

1. ปรีชา ช้างขวัญยืน “ความยุติธรรม” เอกสารการสอนชุดวิชาปรัชญาการเมือง หน่วยที่ 2 รวบรวมโดย


สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กรุงเทพฯ : ประชาชน , 2532 : น. 55-102.

2. Barry , Norman P. Introduction to Modern Political Theory. Hong Kong :


Macmillan Education Ltd., 1989.

3. Campbell , Tom. Justice : Issues in Political Theory. London : Croom Helm , 1986.

4. Jackson , Michael W, Matters of Justice. London : Croom Helm , 1986.

5. Porter , Jene M. (ed.) Classics in Political Philosophy. Scarborough , Ontario :


Prentice-Hall Canada Inc., 1989.

ความยุติธรรม 11

You might also like