You are on page 1of 13

ความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่ :

วิเคราะห์เชิงสังคมวิทยาของความรู้ 3
บทนำา
ในการศึกษาความคิดทางการเมือง (Political thought) ของสังคมใดๆ ในช่วงเวลาใดก็ตาม จุดสำาคัญ
ของการศึกษาในระดับมหภาคโดยทั่วไป นักวิชาการจะเน้นเกี่ยวกับเรื่องของ “รัฐ” (State) โดยจะศึกษาถึง
โครงสร้าง ธรรมชาติ และวัตถุประสงค์ ของรัฐที่ปรากฏในทางการเมือง ดังนั้น การศึกษาความคิดทางการเมือง
จึงมักเป็นการศึกษาความคิดเกี่ยวกับว่ารัฐมี หรือควรมีโครงสร้างอย่างไร บทบาท หน้าที่และการใช้อำานาจของ
รัฐมีหรือควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง
ภายหลังที่มีการแบ่งแยกองค์ความรู้ (body of Knowledge) ของมนุษย์ออกเป็นศาสตร์ 3 สาขาใหญ่
ๆ คือ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ การศึกษาความคิดทางการเมืองของนักวิชาการได้รับการจัด
อยู่ในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในกรณีที่มีการศึกษาความคิดทางการเมืองของสังคมใด ๆ ในระดับ
มหภาคแล้ว การศึกษาความคิดทางการเมืองก็จะมีจัดให้อยู่ในสาขาสังคมศาสตร์ เช่น ในวิชารัฐศาสตร์ ซึ่ง
ศึกษาเกี่ยวกับรัฐและการใช้อำานาจของรัฐ โดยจะเน้นความคิดที่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของรัฐ โครงสร้าง และ
บทบาทของรัฐในด้านการเมืองการปกครอง ส่วนในกรณีที่มีการศึกษาความคิดทางการเมืองในระดับจุลภาค
กล่าวคือ เป็นการศึกษาความคิดทางการเมืองในระดับปัจเจกบุคลแล้ว เช่น การศึกษาความคิดของนักปราชญ์
นักคิดแต่ละยุคสมัยที่มีต่อรัฐและการเมืองการปกครองแล้ว การศึกษาความคิดทางการเมืองในลักษณะนี้จะได้
รับการจัดอยู่ในสาขามนุษยศาสตร์ เช่น ในวิชาปรัชญาทั่วไปและปรัชญาทางการเมือง
ดังนั้น จะเห็นได้วา่ การแบ่งแยกองค์ความรู้ของมนุษย์ออกเป็นสาขาต่าง ๆ ข้างต้น ทำาให้การศึกษา
ความคิดทางการเมืองของนักวิชาการขาดความสัมพันธ์กับองค์ความรู้ในบางสาขาไป กล่าวคือ ความรู้ในทาง
วิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในแง่หนึ่งนั้น จัดได้วา่ เป็นแรงขับดันทางวัฒนธรรม
(Cultural force) ทีส่ ำาคัญ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อตัวมนุษย์และสังคม ทั้งนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความคิดเชิงเหตุผล ตลอดจนตรรกวิทยาของมนุษย์อย่างมาก
ซึ่งจะเห็นได้จากตั้งแต่หลังยุคสมัยกลางในยุโรปเป็นต้นมา
ถ้าหากเราย้อนกลังกลับไปศึกษาเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวิทยาศษสตร์ ตลอดจน
เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เราจะเห็นได้วา่ การเปลี่ยนแปลงในทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีครั้งสำาคัญ ๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของสังคมมนุษย์ด้วยเช่นกัน อาทิ การ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทางสังคมทั่วไป การค้นคว้าและพบความรู้ใหม่ ๆ ใมนทาง
วิทยาศาสตร์ของมนุษย์ในสมัยกรีกโบราณก่อให้เกิดความคิดที่มีเหตุมีผล การอภิปรายโต้แย้ง และการใช้
ตรรกวิทยาในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นเศรษฐกิจและการเมืองของสังคมสมัยกรีกโบราณ
และสิง่ นี้เป็นสาเหตุสำาคัญของการเกิดขึ้นของความคิดทางการเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic thought)
ของนครรัฐเอเธนส์ในสมัยดังกล่าว
ในยุคสมัยกลางที่ความรู้ของมนุษย์ถอยหลังกลับไปสู่ความคิดที่ขาดหลักเหตุผลและตรรกวิทยา
เนื่องจากอิทธิพลของลัทธิศาสนาต่าง ๆ ที่ห้ามเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ขัดกับคำาสอนทางศาสนา
ลักษณะเช่นนี้ทำาให้เกิดผลกระทบต่อสังคมมนุษย์ในด้านเศรษฐกิจและการเมืองอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการ
มีระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาด และความคิดทางการเมืองแบบอำานาจเด็ดขาด (Absolutism) อันเป็นที่มีของ
ระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งได้แก่ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (Absolute monarchy) ที่มี
การยอมรับอำานาจความชอบธรรมของกษัตริย์หรือผู้ปกครองเพียงคนเดียวอย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ตั้งแต่ ค.ศ. 1500 เป็นต้นมา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้รับการ
รื้อฟื้นขึ้นมาอีก โดยเฉพาะในช่วงฟื้นฟูศิลปวิทยาการแบบกรีกโบราณขึ้นมาใหม่ ระหว่าง ค.ศ. 1440-1540 ใน
ช่วงเวลานี้อาจกล่าวได้วา่ เป็นช่วงของ “การเตรียมเข้าสู่ยุคใหม่” ในระยะนี้อิทธิพลของสถาบันศาสนาลดลง (แต่
ยังไม่หมดไป) การใช้หลักเหตุผลและตรรกวิทยามีมากขึ้น จนทำาให้มนุษย์มีความมั่นใจว่าจะสามารถตอบปัญหา
ต่าง ๆ ทั้งหมดได้ และในช่วงศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์มีผลกระทบต่อระบบ
เศรษฐกิจและการเมืองอย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การเกิดขึ้นของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และ
ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย (รื้อฟื้นจากระบอบประชาธิปไตยสมัยกรีกโบราณ) ดังจะเห็นได้จากตัวอย่าง
ในประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศสที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างชัดเจน และกลายเป็นตัวแบบของระบอบ
การปกครองของประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา
แต่กระนั้นก็ตาม ความคิดทางการเมืองของมนุษย์ก็มิได้หมายความว่า จะมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
อย่างเด็ดขาด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพียงแต่ว่าจะมีลักษณะเด่นของ
ความคิดทางการเมืองแบบหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง และมีความคิดทางการเมืองแบบอื่น ๆ เป็นลักษณะด้านรองใน
ช่วงเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ในขณะที่มีความคิดทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเป็นกระแสหลัก (ลักษณะ
เด่น) ของสังคม ก็จะมีความคิดทางการเมืองแบบอำานาจเด็ดขาด (ลักษณะรอง) ควบคู่กันไปด้วยในสังคมมนุษย์
สมัยใหม่
ดังนั้นในบทความนี้ จะเป็นการนำาเสนอกรอบการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองของสังคมไทย ภายใต้
แนวทางการวิเคราะห์ (approach) เชิงสังคมวิทยาภายใต้จุดเน้นในเรื่อง “สังคมวิทยาของความรู้” (Sociology
of knowledge) ที่จะอธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางความรู้ของสังคมมนุษย์ในช่วงสมัยต่าง ๆ จะมีผลกระทบ
หรืออิทธิพลต่อความคิดทางสังคมในด้านเศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะในทางการเมืองนั้น ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะมีผลกระทบหรืออิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองอย่างมาก ดังที่จะได้กล่าวถึงใน
ลำาดับต่อไป ในส่วนที่ 2 ของบทความนี้จะเป็นการอธิบายถึงกรอบความคิดที่นำามาใช้วิเคราะห์ความคิดทางการ
เมืองในลักษณะทั่วไป จัดได้ว่าเป็นตัวแบบ (model) หนึ่งเท่านั้นในการวิเคราะห์ในเชิงสังคมวิทยา ว่าด้วยความ
สัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับความคิดทางการเมืองในแต่ละยุคสมัย สำาหรับในส่วน
ที่ 3 จะเป็นการกล่าวถึง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของสังคมไทย อันเป็นผลมาจากความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ที่เข้ามาโดยเฉพาะ ในช่วงสมัยปลายรัตนโกสินทร์ตอนต้น และในส่วนสุดท้ายของบทความนี้
จะเป็นการสรุปประเมินผลของการนำาแนวการวิเคราะห์ดังกล่าวมาใช้ในสังคมไทย

ก ร อ บ ใ น ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ค ว า ม คิ ด ท า ง ก า ร เ มื อ ง
แนวทางในการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองที่จะนำามาใช้ก็คือ แนวคิดในทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับ “
สังคมวิทยาของความรู้” (Sociology of knowledge) ซึ่งจะเป็นการให้ความสนใจเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ก่อให้
เกิดความรู้ในสังคม โดยแนวทางนี้จะให้ความสำาคัญกับความรู้ในสังคมว่า เป็นแหล่งที่มาของโลกทรรศน์ของ
มนุษย์ในสังคมนั้น โลกทรรศน์ในที่นี้จะมีความหมายที่ครอบคลุมถึงทัศนะ (ideas) ความคิด (thought) ค่านิยม
(values) จิตสำานึก (consciousness) ซึ่งในที่สุดจะนำาไปสู่การสร้างความเป็นจริงทางสังคม (Social
Construction of reality) ในสังคมดังกล่าว
จึงอาจกล่าวได้ว่า ภายใต้แนวคิดสังคมวิทยาของความรู้ บรรดาความรู้ประเภทต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้รับ
จากสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ใด ๆ คำาสอนทางศาสนา ประสบการณ์ คำาบอกเล่าจากผู้อื่น และ ฯลฯ จะเป็น
ตัวกำาหนดโลกทรรศน์ของมนุษย์ในสังคม ดังนั้น
ความคิดทางการเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความคิดทางสังคมและโลกทรรศน์ของมนุษย์จึงเกิดขึ้นและ
เปลี่ยนแปลงไปตามความรู้ที่มนุษย์ได้รับเข้ามาและยึดถือไว้วา่ เป็น ความจริงทางสังคม (Social Reality)
ภายใต้แนวคิดข้างต้น เราอาจสร้างตัวแบบในการวิเคราะห์ความคิดทางการเมือง ในแง่ของที่มาของ
ความคิดทางการเมืองแบบต่าง ๆ ได้ ดังแผนภาพดังต่อไปนี้ (แผนภาพที่ 1)

ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ : ศาสตร์สาขาต่าง ๆ , ศาสนา , ประสบการณ์ , คำาบอกเล่า

โลกทรรศน์

ทัศนะ / ค่านิยม จิตสำานึก ความคิดทางสังคม / การเมือง

แผนภาพที่ 1 ตัวแบบการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองภายใต้แนวคิดสังคมวิทยาของความรู้

จากตัวแบบข้างต้น เราจึงวิเคราะห์ได้ว่า การที่จะเข้าใจความคิดทางการเมืองของสังคมใดสังคมหนึ่ง


นั้น ในขั้นตอนแรกสุดที่จะต้องวิเคราะห์ก็คือ ความรู้ที่คนในสังคม นั้นได้มีอยู่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งนั้นเป็น
อย่างไร กล่าวคือ มีเนื้อหาสาระ (Content) อย่างไรบ้าง และอะไรเป็นแหล่งที่มาของความรู้ดังกล่าวเหล่านั้น
ในขั้นตอนต่อมา เมื่อเกิดความรู้ขั้นต้นแล้ว เราจะต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า ความรู้ดังกล่าวก่อให้เกิดโลก
ทรรศน์แบบใดบ้างแก่คนในสังคมดังกล่าว จะต้องมีการจัดประเภทของโลกทรรศน์ที่เกิดขึ้นภายในสังคมว่า โลก
ทรรศน์แบบใดเป็นลักษณะเด่นหรือสำาคัญและโลกทรรศน์แบบใดเป็นลักษณะรองที่ปรากฎอยู่ร่วมกันในสังคม
นั้น
หลังจากนั้น จึงมาสู่ขั้นตอนที่จะวิเคราะห์ว่า โลกทรรศน์ต่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่ในสังคม ได้ส่งผลกระทบ
หรือมีอิทธิพลต่อการสร้างความคิดทางการเมืองอย่างไรบ้าง โดยการวิเคราะห์เนื้อหาสาระของความคิดทางการ
เมืองเป็นสำาคัญ
ด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้น เราจะสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่เกิดขึ้นในสังคมภายใต้
แหล่งความรู้ต่าง ๆ กับเนื้อหาสาระของความคิดทางการเมืองได้ โดยการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่าง
สังคมต่าง ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือในสังคมหนึ่งเดียวกัน แต่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันได้ โดยอาศัยข้อมูลและ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่าที่ปรากฎในสังคมนั้น ๆ เป็นสำาคัญ
ในการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองของไทย นักวิชาการส่วนใหญ่เท่าที่ผ่านมา จะพบว่า นักวิชาการ
ไทยจะให้ความสำาคัญกับความรู้ที่มีที่มาจากศาสนาเป็นส่วนใหญ่ โดยพยายามอธิบายอิทธิพลของคำาสอนทาง
ศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธที่มีต่อความคิดทางการเมืองของไทย ทั้งนี้เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่กำาลัง
พัฒนาและเปลี่ยนแปลงจากสังคมดั้งเดิมไปสู่สังคมสมัยใหม่ และมีระยะเวลาเริ่มต้นพัฒนาด้วยความรู้สมัยใหม่
เพียง 100 กว่าปีเท่านั้น ดังนั้น ความรู้แบบดั้งเดิมซึ่งเน้นความรู้ที่มีมาจากคำาสอนทางศาสนาและลัทธิความเชื่อ
ต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่นักวิชาการเชื่อว่า เป็นความรู้กระแสหลักในสังคมไทยที่มีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองไทย
ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ตลอดระยะเวลา 700 กว่าปีของประวัติศาสตร์ของสังคมไทย
เมื่อศึกษางานเขียนทางวิชาการเกี่ยวกับความคิดทางการเมืองไทยของ ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์ ซึ่ง
เน้นในเรื่องฐานที่มาของอำานาจตามความคิดของคนไทย ก็พบว่า ความรู้ในทางศาสนาพุทธและพราหมณ์หลาย
ๆ อย่างได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างแนวคิดเรื่องอำานาจของไทย เช่น ในเรื่องบุญบารมี การทำาดี สิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ อภินิหาร ฤทธิ์เดช ตลอดจนวาสนาของผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีอำานาจในสังคมไทย ดังนั้นจึง
พอสรุปได้ ความคิดทางการเมืองของไทยในเรื่องของฐานที่มาของอำานาจแล้ว จะต้องนำาความรู้ทางศาสนาเข้า
มาร่วมวิเคราะห์ด้วยเสมอ ถ้าเป็นการวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองของไทยโบราณ และในช่วงที่มีการ
เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันที่มีการผสมผสานความคิดทางการเมืองของไทยสมัยโบราณเข้ากับความคิดทางการ
เมืองสมัยใหม่ของไทย (ความคิดเรื่องประชาธิปไตยเสรีนิยม)
เช่นเดียวกับงานเขียนของ ดร.สมเกียรติ วันทะนะ ในการเสนอกรอบการวิเคราะห์อำานาจดั้งเดิมใน
สังคมไทย ได้พยายามขยายความรู้ในเรื่องอำานาจในสังคมไทยให้กว้างขวางออกไป นอกเหนือจากเรื่องคำาสอน
ทางศาสนาพุทธและพราหมณ์ โดยสมเกียรติได้นำาความรู้เรื่องภูติผีปีศาจเข้ามาร่วมวิเคราะห์ด้วย อย่างไรก็ตาม
จุดเน้นในงานเขียนของเขาก็ยังคงถือว่า ความรู้ที่มาจากคำาสอนทางศาสนา (พุทธและพราหมณ์) เป็นแหล่งที่มา
ของความคิดทางการเมืองของไทยในเรื่องอำานาจ
ในทำานองเดียวกันในงานเขียนเกี่ยวกับอำานาจในสังคมไทยของ ดร.สุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ ก็ได้ยำ้าถึง
ความสัมพันธ์ของความรู้ทางศาสนาพุทธในเรื่อง “บุญ” กับแนวคิดทางการเมืองในเรื่อง “อำานาจ” ในความเชื่อ
ของคนไทย โดยได้อธิบายสรุปว่าบุญตามคำาสอนทางพุทธศาสนาได้เป็นสิ่งกำาหนดสถานภาพดของบุคคลใน
สังคมไทยให้มีระดับแตกต่างกัน ซึ่งหมายถึงการมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน และรวมถึงการมีอำานาจที่แตกต่าง
กันด้วย อย่างไรก็ตาม บุญและอำานาจในคำาสอนทางศาสนาก็มิได้ดำารงอยู่ถาวร แต่มีการเปลี่ยนแปลงเสมอทั้งใน
แง่ของการได้มาและเสื่อมถอยไปตามหลักไตรลักษณ์ (ทุกข์ อนิจจัง และอนัตตา)
งานเขียนที่อาจกล่าวได้ว่า ได้นำาความรู้ทางศาสนาพุทธ โดยเฉพาะคำาสอนที่ปรากฎในพระสูต
รสำาคัญๆ เข้ามาอธิบายโลกทรรศน์ของคนในสังคมที่นับถือพุทธศาสนาก็คือ งานเขียนของ ดร.วีระ สมบูรณ์ โดย
เขาได้วิเคราะห์ถึงความรู้ในเรื่องพระธรรมวินัยที้ปรกกฎในพระสูตรสำาคัญ ๆ ได้แก่ อัคคัญญสูตร จักกวัตติสูตร
และสิงคาลสูตร โดยชี้ว่าพระสูตรเหล่านี้เป็นที่มาของความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์และการเมือง ลักษณะของรัฐที่
ดี (ธรรมรัฐ) ความสามัคคีของคนในรัฐ ตลอดจนสถานภาพ และหน้าที่คนในสังคม
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากกรอบความคิดในเรื่องสังคมวิทยาของความรู้ ตลอดจนงานเขียนเกี่ยวกับ
ความคิดทางการเมืองของไทย โดยเฉพาะในเรื่องอำานาจ ซึ่งเป็นแก่นใจกลางของเรื่องราวทางการเมืองแล้ว เรา
อาจสรุปได้ว่า สังคมวิทยาของความรู้อันเป็นที่มาของความคิดทางการเมืองไทยในสมัยโบราณจนถึงปั จจุบัน
ล้วนแต่ได้รับความรู้มาจากแหล่งคำาสอนทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธเป็นด้านหลัก โดยมีความรู้ที่มาจาก
แหล่งอื่น ๆ เป็นด้านรอง เช่น ความรู้ในเรื่องผีสาง เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เองโลกทรรศน์ทางการเมืองของไทยจึงได้รับ
อิทธิพลอย่างมากจากคำาสอนทางศาสนาและเป็นสาเหตุสำาคัญให้ทัศนะ / ค่านิยม จิตสำานึก และความคิดทาง
สังคมการเมืองของไทยได้รับอิทธิพลดังกล่าวด้วยเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองของไทย : มิติของสังคมวิทยาของความรู้
ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าภายใต้กรอบความคิดทางสังคมวิทยาของความรู้โลกทรรศน์ทางการ
เมืองเปลี่ยนแปลงไปตามความรู้ของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นความคิดทางการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
โลกทรรศน์ทางการเมืองจึงผันแปรไปตามความรู้ของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
กล่าวสำาหรับสังคมไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ความรู้ต่าง ๆ แทบทุกเรื่อง
ล้วนผูกพันกับหลักธรรมของพุทธศาสนา สถาบันทางสังคมที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่สังคมไทยมานานนับพันปี ก็
คือ “วัด” ซึ่งมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อโลกทรรศน์ของคนไทย วัดจึงเปรียบเสมือนโรงเรียนที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ให้
กับคนไทยมาโดยตลอด
สำาหรับชนชั้นผู้ปกครองของไทย ตั้งแต่อดีตก็เช่นเดียวกัน พระมหากษัตริย์และขุนนาง นอกเหนือจะได้
รับการสั่งสอนความรู้ต่าง ๆ ในการปกครอง เช่น ตำาราพิชัยสงคราม และการใช้อาวุธภายในวังแล้ว ยังต้องผ่าน
การศึกษาในวัดเช่นเดียวกัน เพื่อรับเอาความรู้ต่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่ในพระธรรมคำาสั่งสอนตามพุทธศาสนาและ
ลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ที่ยอมรับกันว่าเป็นศิลปวิทยาการในสมัยก่อน ระบบการศึกษาของไทยลักษณะที่มีวัดและ
วังเป็นจุดศูนย์กลางเช่นนี้ ทำาให้ความคิดทางการเมืองของไทยได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธอย่างมาก โลกทร
รศน์ทางสังคมและการเมืองจึงเป็นโลกทรรศน์แบบพุทธศาสนาที่ยอมรับเรื่องบุญกรรมและบารมีของผู้ปกครองที่
ดำารงตนเป็นธรรมราชา ก่อให้เกิดการยอมรรับอำานาจของผู้ปกครองโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เนื่องจากมีความเชื่อว่าผู้
ปกครองเป็นคนดี มีคุณธรรม หรือมีบุญบารมีสูงมาก จึงสมควรได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ปกครอง เพราะจะนำารัฐ
ไปสู่การปกครองที่มีธรรมะเป็นเครื่องชี้นำา แม้ว่าจะเป็นการปกครองโดยผู้ปกครองเพียงคนเดียว คือพระมหา
กษัตริย์ก็ตาม ลักษณะความคิดทางการเมืองดังกล่าวนี้สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งเน้นการมีอำานาจทางการเมืองเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์
เพียงพระองค์ดียว เพราะทรงเป็นผู้ปกครองที่มีธรรมะ หรือธรรมราชา สอดคล้องกับความรู้ ความเชื่อตามคำาสอน
ของพุทธศาสนาที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมากจากวัด
การถ่ายทอดความรู้ที่มีอิทธิ พลของศาสนาเป็นแกนหลักในสังคมไทยดำาเนินมาเป็นเวลานานตั้งแต่
สมัยสุโขทัยจนถึงช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อมีการับเอาอารยธรรม ตะวันตกเข้ามาในสังคมไทยสมัยรัชกาลที่
3 เมื่อมีการเปิดประตูการค้าเสรีกับชาติตะวันตก ในปี พ.ศ. 2398 ความรูส้ มัยใหม่ที่ปราศจากอิทธิพลศาสนาได้
แพร่เข้ามาสู่สังคมไทยมีมากขึ้นตามลำาดับ โดยเฉพาะความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของตะวันตกในด้าน
ดาราศาสตร์และการแพทย์ ซึ่งจัดได้ว่ามีส่วนโต้แย้งคำาสอนทางศาสนาในหลายเรื่อง เช่น ในเรื่อง นรก-สวรรค์
และภูติผี-เทวดา เป็นต้น แม้ว่าเรื่องเหล่านี้จะไม่ใช่แก่นแท้ของศาสนาพุทธก็ตาม แต่ความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ก็
ทำาให้ความรู้เดิมของสังคมไทยในบางเรื่องเริ่มสั่นคลอน
การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ในสังคมไทยที่เกิดขึ้นในปลายรัตนโกสินทร์ตอนต้นทำาให้รัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดความสับสนในความรู้ที่พระองค์มีอยู่แต่เดิม ซึ่งไม่สอดคล้องกับคว
มรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่งเข้ามาและในที่สุดพระองค์ก็ทรงยอมรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ หลักฐานที่
เห็นได้อย่างเด่นชัดก็คือ พระองค์ทรงปรับปรุงคำาสอนในพุทธศาสนาให้มีเหตุมีผลไม่ขัดแยังกับความรู้ในทาง
วิทยาศาสตร์ โดยทรงตั้งนิกายใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “ธรรมยุตินิกาย” เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้ทางพุทธศาสนาที่
ปฏิเสธคำาสอนหลาย ๆ อย่างตามนิกายเดิม หรือที่เรียกว่า “มหานิกาย” ของพุทธศาสนาในประเทศไทย ที่เคยมี
มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตัวอย่างเช่น การปฏิเสธความเชื่อในเรื่อง โชคลาง ภูติผีปีศาจ เป็นต้น
จึงกล่าวได้วา่ เมื่อพิจารณาจากประวัติศาสตร์จะเห็นได้วา่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
เป็นนักปกครองหรือผู้ปกครองที่ใช้ความคิดแบบวิทยาศาสตร์เป็นหลัก แม้คำาสอนในทางศาสนาก็ทรงปรับปรุงให้
สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ พร้อม ๆ กับการที่พระองค์ทรงยอมรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
พระองค์ก็ทรงต้องการให้เจ้านายและข้าราชการใกล้ชิดพระองค์มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวด้วย โดยพระองค์ทรง
คิดว่า จะเป็นบันไดขั้นแรกที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดทางสังคม ซึ่งก็คือประชาชนหรือราษฎรทัว่ ไป
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ 4 หน่ออ่อนของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มก่อตัวในสังคม
ไทย โดยผ่านการเปิดประตูการค้าในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ลักษณะดังกล่าวนี้ส่งผลให้ความรู้ที่มีรากฐานบนคำา
สอนทางศาสนาเริ่มสั่นคลอน และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสมัยรัชกาลต่อมา
เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในช่วงต้นรัชกาลระหว่าง
พ.ศ. 2411-2434 เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์ และอยู่ระหว่างการศึกษา ทำาให้อำานาจหน้าที่ในการ
ปกครองตกอยู่กับผูส้ ำาเร็จราชการแทนพระองค์ คือเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่หัวเก่า การ
เปลี่ยนแปลงในเรื่องความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการสมัยใหม่จึงเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่ก่อผลให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในโลกทรรศน์ทางการเมืองแต่อย่างใด ในสังคมไทยขณะนั้น
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ พ.ศ. 2435 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราช
อำานาจในการปกครองอย่างเด็ดขาด เนื่องจากการสิ้นชีวิตลงของเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ อดีตผู้สำาเร็จราชการ
แทนพระองค์ ทำาให้พระองค์สามารถบริหารราชการแผ่นดินโดยอิสระตามพระราโชบายของพระองค์เอง
ประกอบกับการที่พระองค์ได้รับการศึกษาสมัยใหม่ ตามที่พระราชบิดาได้กำาหนดไว้ ทำาให้ความรู้ของพระองค์ได้
รับอิทธิพลจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมาก นอกจากนี้แล้วบรรดาพระอนุชาของพระองค์ทั้งหลายก็ได้รับ
การศึกษาสมัยใหม่เช่นกันอีกด้วย จึงเป็นสาเหตุสำาคัญ ให้พระองค์สามารถปฏิรูปสังคมไทยในด้านต่าง ๆ ให้ทัน
สมัยขึ้นได้ เช่น การเลิกทาส การจัดตั้งกระทรวง และการสร้างระบบการศึกษาสมัยใหม่ให้กับราษฎร
จากจุดนี้เองที่มีการสร้างระบบการศึกษาสมัยใหม่ขึ้นในสังคมไทย ทำาให้ความรู้ทางวิทยาการสมัยใหม่
โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ได้เผยแพร่ไปในบรรดาราษฎรชาวไทยกว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะในหมู่ข้าราชการก่อนเป็น
อันดับแรก การสร้างระบบการศึกษาสมัยใหม่ของพระองค์ กระทำาโดยการสร้างโรงเรียนขึ้นเป็นสถาบันการศึกษา
โดยตรงแทนวัดที่เคยใช้มาแต่เดิม ดังนั้นบทบาทของสถาบันศาสนาที่มีต่อความรู้ต่าง ๆ แต่เดิมจึงลดน้อยลง
อย่างมาก
นับตั้งแต่ช่วงก่อนรัชกาลที่ 5 ถึงช่วงต้นรัชกาลที่ 6 เล็กน้อย คือระหว่าง พ.ศ. 2410-2455 บรรยากาศ
ของการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานในสังบคมไทยได้มีอย่างต่อเนื่องจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ได้
สรุปไว้ว่า
1. เจ้านายชั้นสูงบางท่านเห็นความสำาคัญของวิทยาการสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
ได้พิมพ์หนังสือ “กิจจานุกิจ” ในปี พ,ศ. 2410 ถือได้วา่ เป็นตำาราพิมพ์ทางวิชาวิทยาศาสตร์เล่มที่หนึ่งของไทย จุด
ประสงค์ในการเขียนและพิมพ์ก็เพื่อต้องการให้คนไทยได้เข้าใจปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่ถ่ายทอดโดยชาว
ตะวันตกให้ถูกต้องและหมาะสม กล่าวคือ อธิบายปรากฎการณ์ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฝนตก ฯลฯ ตามแบบตะวันตก แต่
ปฏิเสธความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าตามหลักคริสตศาสนา
2. สาส์นสมเด็จ ซึ่งเป็นลายพระหัตถ์สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์และกรมสมเด็จพระยาดำารง
ราชานุภาพ ปรากฎมีเนื้อหาวิทยาศาสตร์อยู่ประมาณ 5 %
3. ยุทธโกษ อันเป็นวารสารรายเดือนของทหารบก ได้ตีพิมพ์เรื่องของวิทยาศาสตร์ในคอลัมน์ที่เรียกว่า
“ข่าวต่างประเทศ” และธรรมดาวิทยา” ปรากฎว่ามีเนื้อหาวิทยาศาสตร์อยู่ประมาณ 5%
4. เริ่มมีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อยู่ในโรงเรียนในรูปของวิชาเลือกตั้งแต่เริ่มตั้งกระทรวงธรรมการ
ใน พ.ศ. 2435 เป็นต้นมา และพอเริ่มเข้าปี พ.ศ. 2455 จึงเริ่มใช้วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาบังคับที่ต้องสอนให้กับ
นักเรียนทุกชั้น
ผลจากการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมวิทยาของความรู้ในสับงคมไทยในช่วงรักาลที่ 4-5 ข้างต้นอาจกล่าว
ได้วา่ มีผลกระทบต่อโลกทรรศน์ทางการเมืองของบรรดาขุนนางและข้าราชการ ตลอดจนประชาชนสามัญทั่วไป
กล่าวคือ มีการนำาหลักการใช้เหตุผลมาประกอบในการพิจารณา ระบอบการปกครองที่ดำารงอยู่ในขณะนั้นซึ่งเน้น
อำานาจเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว ในราว พ.ศ. 2427 (หรือตรงกับ ร.ศ. 103) คณะเจ้านาย
และข้าราชการจำานวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังเรียกกันทั่วไปว่า “กลุม่ เจ้านายและข้าราชการ ร.ศ. 103” ซึ่งล้วนแต่ได้รับ
การศึกษาวิทยาการสมัยใหม่จากต่างประเทศทั้งสิ้น ได้กราบบังคมทูลให้ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนแปลง
การปกครองจากระบอบเดิม โดยนำาหลักการและเหตุผลมาเป็นข้ออ้างเพื่อปรับปรุงระบอบการปกครองและการ
บริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมชาติตะวันตกที่กำาลังล่าอาณานิคมในขณะนั้น
ความคิดทางการเมืองของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการ ร.ศ. 103 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความรู้จาก
วิทยาการสมัยใหม่ รวมทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในแง่ของการใช้เหตุผล พอสรุปเนื้อหาสาระได้ดังนี้
1. จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งมี
พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขในการบริหารบ้านเมืองในการสั่งการและการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ซึ่งได้ทรงมอบ
หมายให้ขุนนางผู้ใหญ่รับพระราชโองการนั้น ๆ ไปปฏิบัติโดยที่พระองค์มิต้องทราบรายการนั้น ๆ ทุกอย่างด้วย
พระองค์เอง
2. พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ให้ดำารงตำาแหน่งคณะเสนาบดี ดูแลบริหารงานใน
กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ภายใต้พระบรมราชานุญาตโดยมิต้อง ให้เป็นพระราชภาระของพระมหากษัตริย์อีก
ต่อไป และจะต้องมีพระราชประเพณีในการสืบสันตติวงศ์ที่แน่นอน โดยมิต้องให้พระสงฆ์หรือข้าราชการชั้น
ผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งหลายเป็นผู้เลือกอีก เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง
3. ต้องขจัดการทุจริตในวงราชการให้หมดไป และจะต้องตั้งเงินเดือนให้ข้าราชการตามสมควรแก่ฐานะ
ของตน
4. ต้องทำาการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมและกฎหมายต่างๆ ซึ่งชาวยุโรปลงความเห็นว่าเป็นอุปสรรค
ต่อความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองให้หมดสิ้นไป
5. ต้องให้ราษฎรทุกคนมีความสุขเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน การเก็บภาษี การสักเลข ต้อง
ให้ความยุติธรรมต่อทุกคน
6. ราษฎรทั่วราชอาณาจักร สามารถแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในที่สาธารณะในหนังสือพิมพ์
ได้ แต่ถา้ เป็นเรื่องเท็จจะต้องมีการลงโทษ
7. ผู้ที่จะเป็นข้าราชการ จะต้องมีความรู้ทางด้านภาษาไทย คิดเลขเป็น มีชื่อเสียวง มีความประพฤติดี
และมีอายุพ้น 20 ปีขึ้นไป ผูใ้ ดประพฤติชั่วจนถึงกับถอดยศจะรับราชการต่อไปมิได้
กล่าวโดยสรุป ความคิดทางการเมืองของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการ รศ. 103 เป็นความคิดทางการ
เมืองสมัยใหม่ของไทย ที่ได้รับอิทธิพลจากองค์ความรู้จากวิทยการสมัยใหม่ ซึ่งรวมถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ในแง่ของหลักเหตุผลที่มิได้มีการนำาเรื่องราวคำาสอนทางศาสนามาอ้างดังแต่ก่อน
แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จะมีความคิดเห็นสอดคล้องกับกลุ่มเจ้า
นายและข้าราชการ ศ. 103 ก็ตาม โดยเฉพาะในเรื่องระบอบการปกครองนั้น ทรงเห็นด้วยกับการมีรัฐธรรมนูญ
รัฐสภา และพรรคการเมือง แต่ไม่ทรางเห็นด้วยกับการมีสิ่งเหล่านี้ในขณะนี้หรือในสมัยของพระองค์ เพราะทรงมี
ความคิดว่าประชาชนยังไม่พร้อม เนื่องจากพระองค์ทรงพิจารณาว่า ประชาชนยังขาดการศึกษาในความรู้สมัย
ใหม่ในวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งทำาให้ประชาชนอาจขาดความรู้ความเข้าใจ และหลักเหตุผลต่าง ๆ ที่จะนำามาใช้ใน
การปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตย ทรงเห็นว่า มีเพียงกลุ่มเจ้านายและข้าราชการบางส่วนเท่านั้นที่มี
ความพร้อม เช่นนั้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เสนอข้างต้น จึงไม่สอดคล้องกับความพร้อมของประชาชนในขณะ
นั้น
ความจริงแล้ว กระแสความคิดเห็นทางการเมืองสมัยใหม่ของไทย มิได้มีเพียงมาจากกลุ่มเจ้านายและ
ข้าราชการบางส่วนเท่านั้นในช่วงรัชกาลที่ 5 แต่มีปัญญาชนบางคน ในช่วงนั้นก็ได้มีความคิดทางการเมืองใน
ทำานองเดียวกัน ได้แก่ ความคิดทางการเมืองของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยรับราชการมาก่อน และได้รับ
การศึกษาสมัยใหม่ เนื้อหาความคิดทางการเมืองของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เป็นการเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหาร
บ้านเมืองอย่างกว้าง ๆ โดยอาศัยเรื่องหลักการบริหารงานบุคคลในระบบราชการสมัยใหม่ การเน้นเรื่องความ
ยุติธรรมการวางแผนและการแก้ไขปัญหาในการบริหาร กล่าวโดยสรุป ความคิดทางการเมืองของเขามีหลักการ
มีหลักเกณฑ์ มีเหตุผลตามวิทยาการสมัยใหม่ อนึ่ง การนำาเสนอความคิดของเขากระทำาใน พ.ศ. 2441 โดยการ
ออกหนังสือชื่อ “สยามประเภท” ออกพิมพ์จำาหน่าย
นอกจากนี้ ยังมีปัญญาชนอีกท่านหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เสนอความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ใน
ทำานองเดียวกัน แต่เน้นในเรื่องระบอบการปกครองแบบจำากัดอำานาจตของพระมหากษัตริย์โดยตรง ท่านผู้นี้คือ “
เทียนวรรณ” ซึ่งได้มีโอกาสได้รับความรู้สมัยใหม่จากการทำางานกับฝรั่ง และได้เดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศ
เป็นเวลาหลายปี ใน พ.ศ. 2451 เทียนวรรณได้ทำาหนังสือชื่อ “ศิริพจภาค” ออกเป็นรายเดือน ข้อเขียนของเขา
แสดงถึงความคิดทางการเมืองที่เป็นปฏิกิริยาต่อสภาพสังคมไทยในขณะนั้น โดยการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง
เช่น ในเรื่องการมีทาส สิทธิเสรีภาพ และความยุติธรรมในสังคม เขาเห็นด้วยกับการมีผู้แทนราษฎร การมีรัฐสภา
ซึ่งเป็นกลไกสำาคัญในการบริหารประเทศ โดยที่รัฐสภาจะช่วยแก้ไขปัญหาของราษฎร ป้องกันการฉ้อราษฎ์บัง
หลวง และกระตุ้นให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตเพื่อประชาชน การมีรัฐสภาจะแสดงถึงการมีสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชน
จากที่กล่าวมาข้างต้นเราจะเห็นได้วา่ ความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ ในเรื่องระบอบการปกครองที่
จำากัดอำานาจของพระมหากษัตริย์ และเน้นการให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนนั้นเกิดขึ้นภายใต้บริบททางสังคมที่
กำาลังมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการรับเอาวิทยาการสมัย
ใหม่เข้ามา โดยเฉพาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจำาเป็นต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ ก็ไม่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการ
เมืองอย่างเป็นรูปธรรม ดังที่มีการเสนอความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ไว้ในช่วงดังกล่าวข้างต้น เมื่อสิ้นสมัย
รัชกาลที่ 5 ระบอบการปกครองของไทยก็ยังคงเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่เหมือนเดิม จวบจนเข้าสู่
ช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ก็ยังดำารงอยู่เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ใน
ช่วงรัชกาลที่ 6 นี้ กระแสความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการได้แพร่กระจายไปสู่สว่ นต่างๆ ของสังคมไทยมากขึ้น
เนื่องจากพระองค์ทรงปรับปรุงระบบการศึกษาให้ทันสมัยเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นครั้งแรก
ในประเทศไทย ใน พ.ศ. 2460 คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษาระดับสูงอีกหลาย
แห่งเกิดขึ้น
ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมต่อความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงรัชกาลนี้ที่สำาคัญได้แก่
ความคิดทางการเมืองของกลุ่มนายทหาร ร.ศ.130 ซึ่งได้ร่วมกันคบคิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลัก หรือระบอบที่จำากัดพระราชอำานาจ
ของพระมหากษัตริย์นั่นเองแต่ความลับของการดำาเนินการของนายทหารกลุ่มนี้รั่วไหลเสียก่อน จึงถูกจับกุมก่อน
ดำาเนินการจริง ๆ ใน พ.ศ. 2454 คณะนายทหารกลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า “กบฎ ร.ศ.103”
โดยความจริงแล้วแนวพระราชดำาริทางการเมือง หรือความคิดทางการเมืองของพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงแตกต่างจากพระราชบิดา คือ รัชกาลที่ 5 แต่อย่างใด กล่าวคือ พระองค์ทรงเห็น
ด้วยกับหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยูภ่ ายใต้รัฐธรรมนูญ เหมือน
ประเทศตะวันตกที่เจริญก้าวหน้าแล้ว เช่น อังกฤษ เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ หากแต่พระองค์ทรงพิจารณาว่า
ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ยังจำากัดแคบในหมู่ชนชั้นนำาที่เป็นเชื้อพระวงศ์และข้าราชการบางส่วนเท่านั้น ดังจะ
เห็นได้จากการที่พระองค์ทรงทดลองตั้งเมืองประชาธิปไตยจำาลอง คือ “ดุสิตธานี” ขึ้นในพระราชวังดุสิต เพื่อใช้
เป็นสถานที่ฝึกหัดเชื้อพระวงศ์และข้าราชการ ได้เรียนรู้การปกครองแบบประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ ในพ.ศ.
2455 เพราะ โดยความจริงแล้ว พระองค์เองก็เป็นผู้ได้รับการศึกษาวิทยาการสมัยใหม่จากประเทศตะวันตก เช่น
กัน ทำาให้พระองค์ทรงยอมรับระบอบการปกครองดังกล่าวไม่แตกต่างจากบรรดาผู้ต้องการการเปลี่ยนแแปลงใน
กลุ่มกบฎ ร.ศ. 130 แต่อย่างใด เพียงแต่ทรงเห็นว่า ราษฎรยังไม่พร้อมเท่านั้น ถ้านำามาใช้ก็จะเกิดผลเสียมากกว่า
ผลดีต่อชาติบ้านเมือง สิ่งที่พิสูจน์ในเรื่องนี้ก็คือ การที่พระองค์ไม่ทรงลงพระอาญาอย่างรุนแรงต่อคณะนายทหาร
ที่ร่วมก่อการกบฎ
กล่าวโดยสรุปในช่วงรัชกาลที่ 6 แม้วา่ ระบบการศึกษาสมัยใหม่และการศึกษาระดับสูงจะเพิ่มมากขึ้น
ในสังคมไทยก็ตามความรู้เหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อความคิดทางการเมืองของชนชั้นนำาบางส่วนที่เป็น
ข้าราชการเท่านั้น ทำาให้เกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นในหมู่นายทหารบางส่วนเท่านั้น ประชาชน
ส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่ขาดความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่จึงไม่สนนใจในการเรียกร้องระบอบการ
ปกครองสมัยใหม่แต่อย่างใด
เมื่อเข้าสู่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 ความคิด
ทางการเมืองของบรรดาข้าราชการบางส่วนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ก็ยัง
คงมีอยู่ กล่าวคือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2470 ได้มีคณะบุคคลคณะหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร” ประกอบด้วย
ข้าราชการทหารเป็นส่วนใหญ่และมีพลเรือนจำานวนหนึ่งซึ่งเป็นปัญญาชนที่ผ่านการศึกษาจากต่างประเทศได้เริ่ม
ประชุมเพื่อวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส และมีการประชุมวางแผนติดต่อกันมา
อีกหลายครั้ง รวมทั้งในประเทศไทย ตลอดช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2470-2474 คณะบุคคลดังกล่วมีความคิด
ทางการเมืองที่สนับสนุนระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งเหมือนกับลักษณะของประเทศ
อังกฤษและเบลเยี่ยม
ความพยายามของกลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร” นี้ได้รับการนำามาปฏิบัติการทางการเมือง
จนประสบความสำาเร็จ ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งทำาให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ
ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขจนตราบเท่าถึงทุกวันนี้
โดยแท้จริงแล้ว เมื่อวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองของคณะราษฎรแล้วก็ไม่แตกต่าง จากกระแสความ
คิดทางการเมืองของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ที่เริ่มเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 5 เช่น กลุ่มเจ้านายและ
ข้าราชการ ร.ศ. 103 กลุ่มกบฎ ร.ศ. 130 และปัญญาชนบางส่วนที่เรียกร้องในเรื่องนี้ เพราะโดยหลักการแล้ว
เหมือนกันคือต้องการจำากัดพระราชอำานาจของพระมหากษัตริย์ลง ต้องการให้มีรัฐธรรมนูญ รัฐสภา และตัวแทน
ของราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครอง
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตัวบุคคลระดับผู้นำาของคณะราษฎร อันได้แก่ นายปรีดี พนมยงค์ พ.อ. พระยาพหล
พลพยุหเสนา ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี ร.ท. แปลก ปัตตะสังคะ และ นายแนบ พหลโยธิน เป็นต้น จะพบว่าบุคคล
เหล่านี้เป็นผู้ที่มีความรู้และได้รับการศึกษาจากระบบการศึกษาสมัยใหม่ในระดับสูงทั้งสิ้น ดังนั้น องค์ความรู้ที่
ทุกคนมีร่วมกันจึงมีลักษณะเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพลเรือน ความรู้ที่ทุกคนมีร่วมกันเป็นความคิด
ตามแบบวิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งมีหลักคิดในเชิงเหตุเชิงผลตามแบบวิทยาศาสตร์เป็นหลักเหมือน ๆ กัน ดังนั้นโลก
ทรรศน์ทางการเมืองของ “คณะราษฎร” จึงมีร่วมกันในลักษณะที่เรียกว่า “โลกทรรศน์ประชาธิปไตย” ซึ่งเน้น
ความมีเหตุมีผลในการปกครอง การยอมรับอำานาจของคนหมู่มาก และหลักการสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค
เท่าเทียมกัน ตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ถือว่ามนุษย์เกิดมาเหมือนกันและเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ไม่มีเรื่องบุญ
บารมีเข้ามาเกี่ยวข้อง
จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของความรู้ทางวิทยาการสมัยใหม่ โดยเฉพาะความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ที่เริ่มเข้าสู่สังคมไทย พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ของไทยในช่วงเวลา
เดียวกัน เราอาจได้ข้อสรุปได้วา่ ความรู้สมัยใหม่ โดยเฉพาะวิทยาการต่าง ๆ ที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์และตัว
วิชาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง ซึ่งเข้าสู่สังคมไทยในช่วงรัชกาลที่ 4 ทำาให้โลกทรรศน์ทางการเมืองของ
ชนชั้นนำาทางการเมืองบางส่วนที่ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ในวิทยาการดังกล่าวเปลี่ยนไปจากโลกทรรศน์
ทางการเมืองแบบราชาธิปไตย เปลี่ยนมาสู่โลกทรรศน์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ซึ่งส่งผลให้ความคิด
ทางการเมืองของคนเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปด้วย
ความคิดทางการเมืองของชนชั้นนำาของไทย ในช่วงรัชกาลที่ 5-7 มีลักษณะร่วมกันคือ การจำากัดพระ
ราชอำานาจของพระมหากษัตริย์ลง โดยให้เป็นเพียงพระประมุขอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันก็ให้
สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น โดยการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองในรูปของสภาผู้แทนราษฎร
เราสามารถสร้างตัวแบบในการอธิบายเกิดขึ้นของความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่ข้างต้น โดย
สัมพันธ์กับการเข้ามาของความรู้สมัยใหม่ในทางวิทยาศาสตร์ได้ดังนี้
ความรูส้ มัยใหม่ในเชิงวิทยาศาสตร์
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรง

โลกทรรศน์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย

ความคิดทางการเมืองแบบจำากัดอำานาจพระมหากษัตริย์ของ
กลุ่มชนชั้นนำาของสังคมไทยกลุ่มต่าง ๆ

แผนภาพที่ 2 การก่อตัวของความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่

จากแผนภาพที่ 2 ความรู้สมัยใหม่ในวิชาการต่าง ๆ ที่มีการสร้างองค์ความรู้ภายใต้วิธีการทาง


วิทยาศาสตร์ ตลอดจนความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรง เช่น ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ช่วยให้เกิดความรู้
บนหลักการของเหตุผล การใช้หลักตรรกวิทยามากขึ้นในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ความรู้ในลักษณะดังกล่าวส่งผล
ต่อโลกทรรศน์ ทางสังคมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโลกทรรศน์ทางการเมือง ซึ่งยอมรับหลักการเสมอภาค
ยุติธรรม ความสามารถของมนุษย์ที่มีอยู่เหมือน ๆ กัน ในการมองปัญหาในการเมืองการปกครอง จากโลกทร
รศน์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยส่งผลให้ชนชั้นนำาของไทยที่ได้รับการศึกษาสมัยใหม่และมีความรู้ใน
ลักษณะข้างต้น ในช่วงรัชกาลที่ 5-7 มีความคิดทางการเมืองที่จะจำากัดอำานาจของพระมหากษัตริย์ ดังเหตุการณ์
ในประวัติศาสตร์การปกครองของไทยในช่วงดังกล่าว
อนึ่ง สำาหรับประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รับการศึกษาสมัยใหม่ ก็จะขาดความรู้และวิธีคิดที่เป็น
วิทยาศาสตร์ไป ทำาให้ประชาชนส่วนใหญ่ในช่วงเวลาดังกล่าวมิได้มีโลกทรรศน์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
แต่อย่างใด ความคิดทางการเมืองในหมู่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ จึงไม่ใช่ความคิดของการจำากัดพระราช
อำานาจของพระมหากษัตริย์ ดังที่กลุ่มชนชั้นนำาบางกลุ่ม เช่น คณะราษฎร หรือคณะทหารกบฎ ร.ศ. 130 มีอยู่
ร่วมกันแม้ในปัจจุบันก็ตาม ประชาชนชาวไทยบางส่วนก็ยังไม่ได้รับการศึกษาสมัยใหม่ เนื่องจากความยากจน
และระบบการศึกษาที่เป็นปัญหาในตัวเอง ทำาให้คนไทยบางส่วนเหล่านี้ยังไม่มีโลกทรรศน์แบบประชาธิปไตย
แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วก็ตาม ตัวอย่างเช่น การเชื่อในเรื่องบุญบารมีตามคำา
สอนทางศาสนา ทำาให้ประชาชนบางส่วนเหล่านี้คิดว่านักการเมืองคนใดที่มีตำาแหน่งมีฐานะรำ่ารวย และทำาบุญให้
กับสาธารณกุศลมากแล้ว จัดได้ว่าเป็นคนมีบุญบารมีมาก ต้องให้การสนับสนุน เป็นต้น โดยมิได้พิจารณาในเรื่อง
ความรู้ความสามารถ และพฤติกรรมในการประกอบอาชีพที่ผ่านมา
ดังนั้น ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวกับทัศนคติทางการเมือง ค่านิยมทางการเมืองและ
ความคิดทางการเมืองของประชาชนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น สาเหตุสำาคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ประชาชน
ขาดการศึกษา โดยเฉพาะความรู้ที่มีเนื้อหา สาระบนหลักการการใช้เหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์และความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์โดยตรง อย่างไรก็ตาม ความรู้ในสังคมนั้นมิได้มีเพียงความรู้ในลักษณะดังกล่าวเท่านั้น แต่มีความรู้
ในลักษณะอื่น ๆ ปนอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะสอดคล้องกันหรือขัดแย้งกันก็ได้ ดังนั้น ความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์และ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เอง จึงไม่อาจแสดงการผลักดันที่เพียงพอได้ในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกทร
รศน์และความคิดทางการเมือง ถ้าในสังคมนั้นมีความรู้ที่ขัดแย้งกับความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ดำารงอยู่เป็น
จำานวนมาก การพัฒนาโลกทรรศน์ทางการเมืองและความคิดทางการเมืองโดยเฉพาะความคิดทางการเมืองแบบ
ประชาธิปไตย จึงจะต้องจัดระเบียบให้องค์ความรู้ต่าง ๆ ในสังคมมีความสอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ
สอดคล้องกับความรู้เชิงวิทยาศาสตร์และความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรง

บ ท ส รุ ป แ ล ะ ข้ อ เ ส น อ แ น ะ
บทความนี้เป็นความพยายามเบื้องต้น ในการที่จะวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองของไทยภายใต้
แนวทางสังคมวิทยา โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ในเรื่องสังคมวิทยาของความรู้ ซึ่งพยายามอธิบายการก่อตัว
ของความคิดทางการเมืองว่า มีสาเหตุมาจากองค์ความรู้ที่ปรากฏอยู่ในบริบทของสังคมนั้น ๆ
ภายใต้สมมติฐานที่ว่าสำาหรับสังคมไทยแล้ว การเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองแบบดั้งเดิม ซึ่ง
สนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ซึ่งสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย
นั้น เกิดขึ้นในช่วงรัตนโกสินทร์ระหว่างรัชกาล ที่ 5-7 ทั้งนี้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า การเกิด
ขึ้นของความคิดทางการเมืองสมัยใหม่นั้นเป็นไป พร้อม ๆ กับการที่สังคมไทยได้รับความรู้สมัยใหม่ในเชิง
วิทยาศาสตร์ และความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรงเข้ามาจากการเปิดประตูการค้าอย่างเสรีกับชาติตะวันตก จึง
อาจกล่าวได้วา่ องค์ความรู้สมัยใหม่บนรากฐานของวิทยาศาสตร์ เป็นพลังขับดันที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ขึ้นใน
สังคมไทยซึ่งเราอาจเรียกได้วา่ โลกทรรศน์ ประชาธิปไตยในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ใหม่ที่เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทยในช่วงดังกล่าวยังคงจำากัดวงแคบในหมู่
ชนชั้นนำาของไทยที่เป็นข้าราชการและปัญญาชนบางส่วนเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองเป็นประชาธิปไตยก็ตาม แต่ในแง่ของประชาชนส่วนใหญ่แล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน การได้รับ
องค์ความรู้สมัยใหม่ยังเป็นไปไม่ได้อย่างทั่วถึง แม้ว่าจะเพิ่มมากขึ้นก็ตาม ดังนั้นปัญหาประชาธิปไตยในปัจจุบัน
ของไทย ในส่วนของประชาชนที่ขาดความคิดทางการเมืองแบบประชาธิปไตยนั้น ในส่วนหนึ่งนั้นเป็นสาเหตุดัง
กล่าวข้างต้น
แนวทางในการแก้ไขปัญหาข้างต้น จึงอาจกระทำาได้โดยการเร่งปรับปรุงระบบการศึกษาของไทยให้มี
ความสมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพที่จะสามารถช่วยให้ประชาชน มีความรูส้ มัยใหม่บนรากฐานความรู้ในเชิง
วิทยาศาสตร์ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากขึ้น ในขณะเดียวกัน บรรดาองค์ความรู้ที่มาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่
ความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ จะต้องปรับปรุงไม่ให้ขัดแย้งกับความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ หรือในกรณีที่เป็นองค์ความ
รู้ที่ขัดแย้ง ก็จะต้องพยายามลดลงไปเพื่อมิให้เป็นองค์ความรู้กระแสหลักของสังคมไทย ตัวอย่างเช่น ความรู้ที่มา
จากแหล่งคำาสอนทางศาสนา จะต้องเลือกสรรมาเผยแพร่สั่งสอน ในส่วนที่ไม่ขัดกับหลักการทางวิทยาศาสตร์
และวิทยาการสมัยใหม่ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือพยายามทำาให้คำาสอนทางศาสนามีการอธิบายได้ในเชิงหลักเหตุผล
และตรรกวิทยา สอดคล้องกับความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์และความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรงมากยิ่งขึ้น
กล่าวโดยสรุปก็คือ ความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์และความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรงเป็นสิ่งจำาเป็น แต่ยัง
ไม่เพียงพอในการที่จะทำาให้คนไทยมีความคิดทางการเมืองสมัยใหม่แบบประชาธิปไตย องค์ความรู้ที่มาจากแห
ล่งอื่นๆ ต้องเข้ามาช่วยในการเปลี่ยนแปลงด้วย ไม่ว่าจะเป็นความรู้เชิงศาสนา ความรู้จากวรรณกรรมต่าง ๆ
ตลอดจนการอบรมสั่งสอนให้เกิดความรู้ภายในครอบครัว ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ เหล่านี้ต้องสอดคล้องกับ
ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์และความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยตรง ขณะนี้สังคมไทยของเราพร้อมแล้วหรือยังในการที่
จะปรับองค์ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำาไปสู่การมีความคิดทางการเมืองสมัยใหม่แบบประชาธิปไตย

บรรณานุกรม

ภ า ษ า ไ ท ย
1. จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี วิวัฒนาการแห่งความคิด : มนุษย์และโลก กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, 2527.
2. ณรงค์ พ่วงพิศ “ความคิดทางการเมืองไทย” เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาปรัชญาการเมือง
หน่วยที่ 15 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2533.
3. ไพเราะ ทิพยรัตน์ “วิวัฒนาการถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์ในสังคมไทย” วิทยาศาสตร์ 200 ปี
รัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ : สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2525.
4. วีระ สมบูรณ์ รัฐธรรมในอดีต กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2532.
5. สมเกียรติ วันทะนะ สังคมศาสตร์วิภาษวิธี กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์วลี, 2524.
6. สมเกียรติ วันทะนะ “พุทธปริทรรศน์ : กรอการวิเคราะห์อำานาจดั้งเดิมในสังคมสยาม” เอกสารทางวิชาการ
เล่มที่ 4 ประกอบการประชุมวิชาการ สังคมศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์เปรียบเทียบกับสังคม
ศาสตร์ตามแนวตะวันตก กรุงเทพฯ : สำานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2523.
7. สุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ “บุญกับอำานาจ : ไตรลักษณ์กับลักษณะสังคมไทย” ใน อยู่เมืองไทย :
รวมบทความทางสังคมการเมืองเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาสอายุ
ครบ 60 ปี รวบรวมโดย สมบัติ จันทรวงศ์ และชัยวัฒน์ สถาอานันท์ กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2430 : 1-24.

ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ
1. Berger, Peter L. and Luckman, Thomas “The Social Construction of Reality.” In
Modern Sociology. ed. By Worsley et al.(ed.) Aylesburry : Penguin Education, 1975.
2. Duncan, Graeme.(ed.). Democracy and the Capitalist State. Cambridge University Press, 1989.
3. Scruton, Roger A Dictionary of Political Thought. London : Pan Book, 1982.
4. Suchariththanarugse, Withaya “The Thai Concept of Power.” In Thai Cultural Report on
the Second Thai-European Research Seminar 1982. By boesch, E.E.(ed.) Saarbruecker,
FRG : University of The sear, 1983 : 491-537.
5. Wayper, C.L. Political Thought. London : English University Press, 1964.
6. Woof, Harry (ed.) Science as a Culture Force. Baltimore, Maryland : John Hopkins Press, 1964.

You might also like