You are on page 1of 12

บ ท ที่ ๑๐ ...

การพิพากษาของพระเจ้า

๑๐
เราต้องพยายามหลีกเลี่ยงการพรรณนาถึงภาพจินตนาการต่างๆ ของการพิพากษาส่วน
บุคคล ซึ่งเป็นเหมือนการพิจารณาคดีในศาล โดยมีทนายความฝ่ายโจทก์และฝ่ายเชลยที่ถกเถียงกัน
คือซาตานและพรรคพวกอยู่ข้างหนึ่ง บรรดาทูตสวรรค์และนักบุญอยู่อีกข้างหนึ่ง ยืนอยู่ต่อหน้าผู้
พิพากษาที่ยุติธรรม คือ พระเจ้า เพื่อถกเถียงคดีของผู้ตาย โดยพิจารณาความคิดและการกระทำ
ทั้งหมดของเขาตามที่ถูกบันทึกไว้ในหนังสือแห่งชีวิต ในภาพเขียนบางภาพ การกระทำความดีและ
ความชั่วของวิญญาณได้ปรากฎบนตราชั่ง เพื่อพิสูจน์ว่าด้านใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน ถ้าด้านของการ
กระทำที่ชั่วร้ายมีน้ำหนักมากกว่า ซาตานก็จะลากวิญญาณของผู้ตายลงสู่เตาเพลิงด้วยใจยินดี
การพิพากษาของพระเจ้า หมายถึง การยึดพระคริสตเจ้าเป็นมาตรฐาน เพือ่ ยืนยันว่ามนุษย์
มีความสอดคล้องกับพระองค์หรือไม่ การยืนยันนี้เกิดขึ้นทุกเวลา แต่จะสำคัญเป็นพิเศษใน 2 ช่วง
เวลา คือ เวลาที่แต่ละคนตาย ซึ่งเรียกว่าการพิพากษาส่วนบุคคล และในเวลาเมื่อพระคริสตเจ้า
เสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ ซึ่งเรียกว่าการพิพากษาประมวลพร้อม ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
พระเจ้ากับมนุษย์อย่างสมบูรณ์ถาวรหรือขาดความสัมพันธ์อย่างสิ้นเชิง

204
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

พระเจ้าไม่ทรงบังคับให้มนุษย์ต้องทำความดี แต่ผู้ที่ทำตามพระประสงค์ของพระองค์ย่อมมี
ความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังที่ดานเต อาลีกีเอรี (Dante Alighieri, 1265-1321) ได้เขียนไว้
ในหนังสือ Divine Comedy (สุขนาฏกรรมที่อาศัยพระเจ้า) ว่า “ผู้ปฏิบัติตามพระประสงค์ของ
พระเจ้าย่อมเป็นสุข” อย่างไรก็ดี มนุษย์มอี สิ รภาพ มีอำเภอใจทีจ่ ะเลือกทำหรือไม่ทำตามพระประสงค์
ของพระเจ้าก็ได้” พูดอีกนัยหนึ่ง มนุษย์จะได้รับการพิพากษาว่า เขาปฏิบัติตามพระประสงค์ของ
พระเจ้าหรือไม่
นักบุญออกัสตินเขียนไว้ว่า “พระเจ้าประทานบทบัญญัติแก่มนุษย์เพื่อเขาจะแสวงหาพระ-
หรรษทาน และประทานพระหรรษทานเพื่อเขาปฏิบัติตามบทบัญญัติ” สมมติว่า มนุษย์เลือกที่จะไม่
แสวงหาพระหรรษทานจนพบ หรือสมมติว่าเขาเลือกที่จะไม่สนใจทั้งพระหรรษทานและบทบัญญัติ
พระเจ้าจะทรงบันดาลให้เขาตายหรือ แผ่นดินที่รังเกียจการกระทำชั่วของเขาจะกลืนเขาทั้งเป็นหรือ
ไม่เป็นเช่นนี้อย่างแน่นอน เพราะพระเจ้าประทานอิสรภาพแก่มนุษย์อย่างแท้จริง มนุษย์จึงอาจถ่ม
น้ำลายรดพระพักตร์ของพระเจ้า ถ้าเขาเลือกทำเช่นนั้น
ลูอิส (C.S. Lewis, 1898-1963) เขียนว่า “พระเจ้าทรงเคารพอำเภอใจของมนุษย์มากที่สุด
จนไม่มีวันจะทรงเรียกอำเภอใจที่ประทานนั้นคืนมา และพระองค์จะไม่ทรงเสียดายที่ได้ประทานให้”
ชาร์ลส์ เพกี (Charles Peguy, 1873-1914) เขียนบทประพันธ์ว่า “พระเจ้าทรงมีความหวัง
ในมนุษย์ พระองค์ทรงหวังว่า คนบาปยอมทำสิ่งเล็กน้อยที่จำเป็น เพื่อจะร่วมงานกับพระองค์ผู้ทรง
ช่วยเขาให้รอดพ้น”
ลูอิสเปรียบเทียบชีวิตมนุษย์เหมือนกับการพนัน มนุษย์เราอาจจะเป็นได้ทั้งผู้แพ้หรือผู้ชนะ
มนุษย์จะมีความสุขเพียงในการมอบตนเองโดยนอบน้อมพระประสงค์ของพระเจ้า ไม่มีผู้ใดจะทำ
แทนเขาได้ หรือเขาอาจปฏิเสธไม่ยอมรับที่จะนอบน้อมก็ได้ ผู้อื่นอาจจะช่วยเขาได้แต่ทำแทนไม่ได้
มนุษย์เป็นเหมือนผ้าใบที่ยอมจำนนต่อการวาดระบายสีของศิลปิน
ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าจะทรงเคารพการกระทำของเขา ดูเหมือนว่าพระองค์
ไม่ทรงใช้พระอานุภาพของพระองค์เลย แต่เมื่อมนุษย์จบชีวิตลง พระเจ้าจะประทานแสงสว่างให้

205
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

มนุษย์เข้าใจว่าตนได้ประพฤติอย่างไร และจะเห็นว่าสภาพที่ตนเองได้รับนั้น เหมาะสมและยุติธรรม


พระศาสนจักรพูดถึงการพิพากษาไว้สองกรณี คือ การพิพากษาส่วนบุคคล และการพิพากษาประมวล
พร้อม

1. คำสอนของพระคัมภีร์
1.1 พันธสัญญาเดิม
คำภาษาฮีบรูที่เรามักจะแปลว่า “พิพากษา” มีความหมายคล้ายกับ “ปกครอง หรือ
พิทักษ์รักษา” เช่น “พระยาห์เวห์ทรงพิพากษาที่สุดปลายแผ่นดิน” (1 ซมอ 2:10) หมายความว่า
พระเจ้าจะทรงปกครองโลกทัง้ หมด ทรงมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง จึงทรงมีอำนาจพิพากษาอย่าง
สูงสุดด้วย “พระเจ้าทรงลุกขึ้นในที่ประชุมของผู้ทรงอำนาจ ทรงพิพากษาตัดสินบรรดาผู้ปกครอง
“ท่านทั้งหลายจะพิพากษาตัดสินอย่างอยุติธรรม และเข้าข้างคนชั่วร้ายไปอีกนานสักเพียงใด” (สดด
82:1-2) “ข้าแต่พระยาห์เวห์จอมจักรวาล พระองค์ทรงพิพากษาอย่างเที่ยงธรรม ทรงทดสอบทั้ง
ความรู้สึกและจิตใจของมนุษย์” (ยรม 11:20)
การพิพากษาของพระเจ้า หรือการปกครองของพระองค์นั้นจะนำความรอดพ้นแก่คนดี
และการลงโทษแก่คนเลว ในหนังสือโบราณมักจะคิดว่า ความรอดพ้นหรือการลงโทษเกี่ยวข้องกับ
ชีวิตบนแผ่นดินนี้เท่านั้น (เทียบ ฉธบ 27:9-28:68) และเป็นความรอดพ้นหรือการลงโทษส่วนรวม
ทั้งชาติมากกว่าสำหรับปัจเจกบุคคล เช่น ภัยพิบัติที่อียิปต์ การปลดปล่อยชาวอิสราเอลจากการเป็น
ทาส การลงโทษชาวอิสราเอลขณะที่เดินทางในถิ่นทุรกันดาร ฯลฯ ความคิดทั่วไปของชาวยิวเวลา
นั้นคือ ประชากรอิสราเอลเป็น “ผู้ชอบธรรม” ซึ่งพระเจ้าจะทรงปกป้องอยู่เสมอ ส่วนชนชาติอื่นๆ
ที่เป็นศัตรูของเขาเป็น “คนอธรรม” ซึ่งพระเจ้าจะทรงลงโทษอยู่เสมอ
ต่อมา การเทศน์ของบรรดาประกาศกช่วยให้เข้าใจว่า ทั้งรางวัลและโทษที่พระเจ้า
ประทานนั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตหน้า (เทียบ ดนล 12 ; 2 มคบ 7 ; 12:43-46 ; ปชญ 3:1-10 ; 4:20-
5:23) มากกว่าชีวิตในโลกนี้ และเป็นการตอบแทนส่วนบุคคล (เทียบ ยรม 3:14 ; 31:29-30 ;

206
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

อสค 18 ; ปชญ 4:20-5:23) ไม่ว่าเขาเป็นคนชาวยิวหรือต่างชาติ (เทียบ อมส 9:8-12 ; ยรม


12:14-17) บทเทศน์ของบรรดาประกาศกมักจะเน้นความรอดพ้น เพื่อให้กำลังใจและความหวัง
แก่ประชากรที่ถูกเบียดเบียน (เทียบ ยรม 30 ; อสค 368-15) และเน้นถึงการลงโทษเพื่อเตือน
ประชากรที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าให้กลับใจ (เทียบ อมส 5:18-24 ; ศฟย 1:14-2:3)
จากคำตักเตือนดังกล่าวนี้ เกิดความคิดชัดเจนว่า สักวันหนึ่งพระเจ้าจะทรงตัดสินเป็น
ครั้งสุดท้ายอย่างเด็ดขาดถาวร (เทียบ ดนล 12; ปชญ 4:20-5:23) ภาพการทำลายโลกที่ประกาศก
ใช้ ไม่ได้มีเจตนาบรรยายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในรายละเอียด เพียงแต่ใช้เพื่อเน้นความสำคัญของ
การพิพากษา ประกาศกโยเอลกล่าวว่า การพิพากษานั้นจะเกิดขึ้นที่ “หุบเขาเยโฮซาฟัท” (ยอล 4:2,
12) แต่ชื่อนี้เป็นเพียงสัญลักษณ์ เพราะคำเยโฮซาฟัทหมายความว่า “พระยาห์เวห์ทรงพิพากษา”
1.2 พันธสัญญาใหม่
หนังสือพันธสัญญาใหม่ย้ำความคิดที่ว่า อำนาจสูงสุดในการพิพากษาเป็นของพระเจ้า
เท่านั้น เพราะพระองค์เป็นผู้ทรงปกครองทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น
• “อย่ากลัวผูท้ ฆ่ี า่ ได้แต่กาย แต่ไม่อาจฆ่าวิญญาณได้ จงกลัวผูท้ ท่ี ำลายทัง้
กายและวิญญาณให้พินาศไปในนรก” (มธ 10:28)
• “ส่วนข้าพเจ้าการที่ท่านหรือมนุษย์คนใดจะตัดสินข้าพเจ้านั้น เป็นเรื่อง
ไม่สำคัญ แม้ข้าพเจ้าก็ยังไม่ตัดสินตนเอง จริงอยู่ มโนธรรม ไม่ได้
ตำหนิอะไรข้าพเจ้าเลย แต่นี่ไม่หมายความว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ชอบธรรม
ผูต้ ดั สินข้าพเจ้าคือองค์พระผูเ้ ป็นเจ้า ดังนัน้ จงอย่าตัดสินเรือ่ งใดๆ ก่อน
จะถึงเวลา จงคอยจนกว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมา พระองค์จะทรง
ฉายแสงให้ความลับที่ซ่อนอยู่ในความมืดแจ่มแจ้ง และจะทรงเปิดเผย
ความในใจของทุกคนให้ปรากฏ เมื่อนั้นทุกคนจะได้รับคำชมเชยจาก
พระเจ้าตามสมควร” (1คร 4:3-5)

207
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

• “เขาเหล่านั้นร้องเสียงดังว่า ‘ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์และ
ทรงสัตย์ พระองค์จะทรงรีรออีกนานเท่าไรเล่า ที่จะทรงตัดสินลงโทษผู้
อาศัยบนแผ่นดิน เป็นการแก้แค้นแทนโลหิตของเรา” (วว 6:10)
พระเจ้าทรงพิพากษามนุษย์อยู่เสมอ (เทียบ ยน 3:18-21, 36 ; 5:24-25 ; 12:31-32 ;
กจ 13:46 ; ทต 3:11) โดยเฉพาะยังทรงพิพากษามนุษย์ในช่วงเวลาพิเศษ 3 กรณีคือ
• การทีพ่ ระคริสตเจ้าทรงรับธรรมชาติมนุษย์ “พระเจ้าทรงกำหนดให้กมุ าร
นี้เป็นเหตุให้คนจำนวนมากในอิสราเอลต้องล้มลง หรือลุกขึ้น และเป็น
เครื่องหมายแห่งการต่อต้าน” (ลก 2:34) ตลอดพระชนมชีพของพระ-
เยซูเจ้าบนแผ่นดินนี้ (เทียบ มธ 12:28-29 ; ลก 8:28-31 ; 10:17-18)
“บัดนี้ ถึงเวลาที่จะพิพากษาโลกแล้ว บัดนี้ เจ้านายแห่งโลกนี้กำลังจะ
ถูกขับไล่ออกไป ”(ยน 12:31) และโดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ พระคริสตเจ้า
สิ้นพระชนม์ (เทียบ มธ 27:15-54) นักบุญเปาโลเขียนไว้ว่า “ดังนั้น
ไม่มกี ารตัดสินลงโทษผูท้ อ่ี ยูใ่ นพระคริสตเยซูอกี ต่อไป กฎของพระจิตเจ้า
ซึง่ ประทานชีวติ ในพระคริสตเยซูนน้ั ช่วยท่านให้พน้ จากกฎของบาปและ
กฎของความตาย เนื่องจากสิ่งที่ธรรมบัญญัติทำไม่ได้เพราะธรรมชาติ
มนุษย์เป็นเหตุให้อ่อนกำลังไปนั้น พระเจ้าทรงกระทำแล้ว โดยทรงส่ง
พระบุตรของพระองค์มาให้มีธรรมชาติเหมือนกับธรรมชาติมนุษย์ที่มี
บาป เพื่อขจัดบาป พระเจ้าทรงตัดสินลงโทษบาปในธรรมชาติมนุษย์”
(รม 8:1-3)
• การพิพากษาส่วนบุคคลในเวลาแห่งความตาย เราไม่พบข้อความทีพ่ ดู ถึง
เรือ่ งนี้โดยตรง แต่มคี ำสอนทางอ้อมอยูบ่ า้ ง เช่น อุปมาเรือ่ งเศรษฐีกบั
ลาซารัส (เทียบ ลก 16:19-31) พระวาจาทีพ่ ระเยซูเจ้าตรัสกับนักโทษ
ที่ถูกตรึงพร้อมกับพระองค์บนไม้กางเขน “เราบอกความจริงกับท่านว่า

208
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

วันนี้ ท่านจะอยู่กับเราในสวรรค์” (ลก 23:43) ในข้อเขียนของนักบุญ


เปาโลเราพบข้อความดังต่อไปนี้ “ข้าพเจ้ารู้สึกลังเล คือ ปรารถนาจะ
พ้นจากชีวิตนี้ ไป เพื่ออยู่กับพระคริสตเจ้า ซึ่งจะเป็นการดีกว่ามาก”
(ฟป 1:23) “เรามีความมัน่ ใจอยูเ่ สมอและรูว้ า่ เมือ่ เรามีชวี ติ อยูใ่ นร่างกาย
เราก็ถูกเนรเทศห่างจากองค์พระผู้เป็นเจ้า เราดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อ
มิใช่ตามที่มองเห็น เรามีความมั่นใจและปรารถนาที่จะถูกเนรเทศจาก
ร่างกายมากกว่า เพื่อไปอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้า” (2 คร 5:6-8) การ
ตักเตือนให้เฝ้าระวัง เพราะความตายจะมาเหมือนขโมย ก็มจี ดุ ประสงค์
เพื่อเราจะได้เตรียมตัวสำหรับการพิพากษา
• การพิพากษาประมวลพร้อม “เมือ่ บุตรแห่งมนุษย์จะเสด็จมาในพระสิร-ิ
รุ่งโรจน์พร้อมกับบรรดาทูตสวรรค์ทั้งหลาย พระองค์จะประทับนั่งเหนือ
พระบัลลังก์อันรุ่งโรจน์ บรรดาประชาชาติจะมาชุมนุมกันเฉพาะพระ-
พักตร์ พระองค์จะทรงแยกเขาออกเป็นสองพวก ดังคนเลี้ยงแกะแยก
แกะออกจากแพะ ให้แกะอยู่เบื้องขวา ส่วนแพะอยู่เบื้องซ้าย” (มธ 25:
31-33) ดูคำปราศรัยทั้งหมดนี้ใน มธ 25:31-46 และคำเทศน์สอน
ของนักบุญเปาโลต่อหน้าอภิรฐั สภาว่า “บัดนี้ พระเจ้าทรงมองข้ามเวลา
ในอดีตเมื่อมนุษย์ไม่มีความรู้ พระองค์ทรงบัญชาให้มนุษย์ทุกคนทั่ว
ทุกแห่งกลับใจ เพราะพระองค์ทรงกำหนดวันหนึง่ ไว้เมือ่ จะทรงพิพากษา
โลกด้วยความยุตธิ รรม โดยผ่านมนุษย์ผหู้ นึง่ ทีพ่ ระองค์ทรงแต่งตัง้ และ
ทรงรับรองต่อมนุษย์ทุกคน โดยทรงทำให้ผู้นี้กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้
ตาย” (กจ 17:30-31)
ผู้พิพากษาโลกคือพระบิดาเจ้า “ถ้าท่านเรียกพระองค์ผู้ทรงพิพากษาตามการกระทำ
ของแต่ละคนโดยไม่ลำเอียงว่า ‘พระบิดา’ ก็จงดำเนินชีวิตขณะที่อยู่ต่างแดนนี้ด้วยความเคารพ

209
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

ยำเกรงพระองค์” (1 ปต 1:17) พระองค์จะทรงพิพากษาผ่านทางพระคริสตเจ้าในฐานะที่ทรงเป็น


มนุษย์ (เทียบ กจ 17:31; มธ 25:31-46) พร้อมกับบรรดาอัครสาวก (เทียบ มธ 19:27-28; ลก
22:30) และบรรดาผู้ได้รับเลือกสรร (เทียบ 1 คร 6:2-3) พระเจ้าจะพิพากษาเช่นนี้ต่อหน้ามนุษย์
ทุกคนที่มาชุมนุมกัน ทั้งผู้ที่ตายไปแล้วและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทั้งคริสตชนและคนต่างศาสนา

2. คำสอนธรรมประเพณีของพระศาสนจักร
2.1 บรรดาปิตาจารย์
บรรดาปิตาจารย์สอนเป็นเอกฉันท์ว่าจะมีการพิพากษาประมวลพร้อม เขาต่อต้านความ
คิดของลัทธิสโตอิก (Stoicism) ที่สอนว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ความสงบของจิตใจ ซึ่งจะเกิดได้ เมื่อ
มนุษย์ไม่เอาตัวเองไปผูกพันกับความพึงพอใจที่เกิดจากวัตถุนอกกาย เขาจึงปฏิเสธการตอบแทนของ
พระเจ้านอกเหนือจากชีวิตในโลกนี้ บรรดาปิตาจารย์สอนว่า ความเที่ยงธรรมของพระเจ้าเรียกร้อง
ให้มีการตอบแทน เพราะมนุษย์มีอิสระที่จะทำความดีหรือความชั่วจนถึงวาระสุดท้าย พระองค์จะ
ทรงพิพากษาโดยไม่มีความลำเอียง นักบุญออกัสติน กล่าวว่า พระเจ้าทรงเป็นความเที่ยงธรรม เงิน
ไม่อาจซื้อพระเจ้าได้ นักบุญยอห์น ครีโซสตมสอนว่า ในโลกนี้เราอาจจะไม่เห็นการตอบแทนของ
พระเจ้าอย่างชัดเจน เราจึงต้องรอการตอบแทน ตามที่ควรในโลกหน้า เพื่อความยุติธรรมของพระเจ้า
จะปรากฏชัด
ปิตาจารย์บางคนยังสอนโดยตรงเรื่องการพิพากษาส่วนบุคคลอีกด้วย เช่น นักบุญบาซิล
นักบุญออกัสติน และนักบุญเยโรมซึ่งเขียนไว้ว่า “วันของพระยาห์เวห์หมายถึงวันพิพากษาเมื่อเรา
แต่ละคนสิ้นใจ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นสำหรับทุกคนในวันพิพากษาประมวลพร้อม ก็จะเป็นความจริง
สำหรับแต่ละคนในวันที่เขาสิ้นใจ”
2.2 พิธีกรรม
พิธีกรรมมักจะใช้คำศัพท์จากพระคัมภีร์กล่าวถึงการพิพากษาประมวลพร้อม เช่น วัน
ของพระเจ้า วันแห่งพระพิโรธ การทดสอบ ผู้พิพากษาคือพระบุตรเมื่อจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ ก่อน

210
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

ศตวรรษที่ 8 เราไม่พบความคิดเรื่องการพิพากษาส่วนบุคคลในหนังสือพิธีกรรมเลย ต่อมามีคำภาวนา


วอนขอให้พระเจ้าทรงช่วยผู้ที่เข้าตรีทูตให้พ้นการทดลองสุดท้ายคือให้วิญญาณผ่านจากโลกนี้ไปถึง
พระเจ้าอย่างปลอดภัย จากการแย่งชิงของปีศาจ ในสมัยกลางคริสตชนเริ่มมองการพิพากษาส่วนตัว
ด้วยความหวาดกลัว ดังที่เห็นชัดในบทเพลงภาษาลาติน Dies Irae “วันของพระพิโรธ” ในมิสซาผู้ตาย
2.3 อำนาจการสอนของพระศาสนจักร
ข้อความเชื่อที่ว่าพระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์เพื่อพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย คือ
มนุษย์ทุกคนเป็นคำสอนที่พระศาสนจักรยืนยันอย่างมั่นคงที่ผิดพลาดไม่ได้ เราพบคำสอนเรื่องการ
พิพากษาในเอกสารของพระศาสนจักรดังต่อไปนี้
• บทแสดงความเชื่อต่างๆ เช่น สัญลักษณ์ของบรรดาอัครสาวก
• สภาสังคายนาลาเตรันที่ 4 (Lateran IV) สภาสังคายนาลีอองส์ที่ 2 (Lions II)
พระสังฆธรรมนูญ Benedictus Deus
ดังนั้น การพิพากษาประมวลพร้อมเป็นข้อความเชื่อที่พระเจ้าทรงเปิดเผย และพระ-
ศาสนจักรสากลสั่งสอนเป็นทางการโดยให้คำนิยาม (De Fide Divina et Catholica Definita)
หนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกยืนยันว่า “การพิพากษาครั้งสุดท้ายจะมาถึง
เมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ โดยอาศัยพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระองค์
พระบิดาจะทรงประกาศพระวาจาขั้นเด็ดขาดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมนุษย์ เราจะได้รู้ถึง
ความหมายสมบูรณ์ของกิจการสร้างโลกทั้งหมด และแผนการณ์ความรอดพ้นทั้งหมด เราจะเข้าใจ
ถึงหนทางน่าพิศวง ซึ่งพยานเอื้ออาทรของพระเจ้านำทุกสิ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง” (CCC 1040)

3. การไตร่ตรองทางเทววิทยา
3.1 ความหมายของการพิพากษาของพระเจ้า
ความหมายแรกและเป็นพื้นฐานของการพิพากษา คือ การประกาศกิจการของพระเจ้า
ที่ทรงช่วยให้รอดพ้น เพราะพระคัมภีร์สอนอย่างชัดเจนว่า พระเจ้าทรงปกครองโลกด้วยความรักเพื่อ

211
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

ให้มนุษย์ได้รับความรอดพ้น ในแง่นี้ การพิพากษาหมายถึงกิจการของพระเจ้าที่ทรงช่วยให้รอดพ้น


เปรียบกับบทบาทของเลือดในร่างกายมนุษย์หรือของน้ำเลี้ยงในต้นไม้ การพิพากษาของพระเจ้าจึง
เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาและจะนำความชื่นชมยินดี
แน่นอน เมือ่ มนุษย์ตอ่ ต้านการกระทำของพระเจ้าทีท่ รงช่วยให้รอดพ้นนัน้ การพิพากษา
จึงจะหมายถึงการลงโทษ การที่มนุษย์ต่อต้านพระเจ้าเปรียบกับโรคภัยไข้เจ็บ และการลงโทษเป็น
เหมือนกับยาซึ่งมีจุดประสงค์จะรักษามนุษย์ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และในกรณีที่มนุษย์ตัดสินใจ
เลือกที่จะแยกตนจากพระเจ้าโดยสิ้นเชิง การลงโทษนั้นก็หมดคุณภาพที่จะรักษาให้หายและจะคงอยู่
ตลอดไป นี่คือความพินาศของมนุษย์
นอกจากความหมายแรกนี้ การพิพากษาของพระเจ้ายังมีความหมายอีก 3 ประการที่
ขึ้นต่อเนื่องจากความหมายแรก คือ
• การพิพากษาของพระเจ้า หมายถึง การตัดสินอย่างยุตธิ รรมของพระเจ้า
พระบิดาเจ้าประทานความเป็นธรรมแก่มนุษย์แต่ละคนตามการกระทำ
ของเขา พระองค์ทรงพิพากษาโดยพระคริสตเจ้าและเดชะพระจิตเจ้า
แต่ละคนจะได้รับความสุขตามที่เขาสามารถจะรับได้ ภาพต่างๆ ใน
พระคัมภีร์ที่บรรยายการพิพากษาของพระเจ้าเหมือนเป็นการขึ้นศาล
เพื่อตัดสินคดีความ โดยมีการสอบสวน การพิจารณาและตัดสิน เป็น
เพียงภาพเปรียบเทียบเท่านั้น แต่ไม่ต้องตีความหมายตามตัวอักษรเลย
• คำภาษากรีกที่ใช้แปลการพิพากษาคือ Crisis หมายถึง การแยก ความ
แตกต่าง หรือเป็นการเปิดเผยว่า ผู้ใดอยู่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน 2 กลุ่ม
การพิพากษาของพระเจ้าจึงหมายถึง การที่พระองค์ทรงแยกลักษณะ
หรือพลังแห่งความดีของมนุษย์และของโลก ออกจากลักษณะหรือพลัง
แห่งความชั่วร้าย คือ พระเจ้าทรงบันดาลให้เกิดความดีและทรงแสดง
ความดีนน้ั ให้ปรากฏ และพระองค์ทรงต่อสูก้ บั ความชัว่ ร้าย ทำให้ความ

212
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

ชั่วนั้นปรากฏขึ้นและไม่สามารถปิดบังได้ ภาพที่เห็นในพระคัมภีร์คือ
การทดสอบด้วยไฟ หรือภาพสะท้อนจากกระจกเงา
• การพิพากษาของพระเจ้าจะเปิดเผยว่า มนุษย์ตอบสนองการเชิญชวน
ของพระเจ้าอย่างไร มนุษย์จะรู้ว่าตนเป็นอย่างไรเฉพาะพระพักตร์ของ
พระเจ้า
3.2 การประกาศความรอดพ้นหรือการตัดสินลงโทษ
แม้พระเจ้าทรงพระประสงค์ที่จะช่วยมนุษย์ทุกคนให้รอดพ้น ถ้ามนุษย์ต่อต้านการ
กระทำของพระองค์ ผลที่ตามมาจะไม่เป็นความรอดพ้น แต่จะเป็นการลงโทษ
3.3 ความสัมพันธ์ระหว่างการพิพากษาประมวลพร้อมและการพิพากษาส่วนบุคคล
การพิพากษาส่วนบุคคล คือ การพบกับพระเจ้าผู้ทรงชีวิต ผู้ทรงชำระมลทินของบาป
ให้เหลือเพียงแต่สิ่งดีที่จะคงอยู่ตลอดไป มนุษย์แต่ละคนจะรู้จักตนเองตามที่พระเจ้าทรงรู้จักเขา
โดยไม่มีทางที่จะตัดสินตนเองอย่างผิดๆ วิญญาณจะเห็นว่าพระเจ้าทรงตัดสินอย่างไร และมโนธรรม
ยอมรับการตัดสินนั้นว่าถูกต้อง อะไรคือหลักการพื้นฐานของการพิพากษา ถ้าไม่ใช่อิสรภาพของ
มนุษย์ มนุษย์ตอ้ งรับผิดชอบต่อหน้าพระเจ้าผูป้ ระทานชีวติ และอิสรภาพแก่เขา พระองค์จะทรงตัดสิน
ว่ามนุษย์ได้ใช้อิสรภาพอย่างถูกต้องหรือไม่ เราได้ยอมนอบน้อมพระเจ้าผู้ประทานพระเมตตาแก่เรา
หรือไม่
คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกสอนว่า “มนุษย์ที่ปฏิเสธไม่ยอมรับพระหรรษทานใน
ชีวิตนี้ย่อมพิพากษาตนเองและได้รับผลตอบแทนกิจการของตน เขาลงโทษตนเองตลอดไป เพราะ
ตนปฏิเสธไม่ยอมรับพระจิตผู้ประทานความรัก” (CCC 1022)
หนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกยืนยันว่า “มนุษย์แต่ละคนได้รับค่าตอบแทน
นิรันดร ในวิญญาณอมตะของตน ในทันทีที่ตาย ในการพิพากษาส่วนบุคคลซึ่งอ้างถึงชีวิตของตนใน
ส่วนที่เกี่ยวกับพระคริสตเจ้า คือ เขาจะเข้าสู่ความสุขแท้จริงโดยผ่านการชำระตนให้บริสุทธิ์ หรือใน
ทันที มิฉะนั้นจะได้รับความพินาศในทันใดตลอดกาล นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขนกล่าวว่า” ‘เมื่อ
เราสิ้นชีวิต เราจะถูกพิพากษาจากแง่ของความรัก’

213
อ นั น ต วิ ท ย า
บ ท ที่ ๑๐ ... การพิพากษาของพระเจ้า

การพิพากษาประมวลพร้อมรอคอยเราทุกคนอยู่ เมื่อพระคริสตเจ้าเสด็จกลับมาอย่าง
รุ่งโรจน์ พระบิดาทรงทราบวันและเวลา พระบิดาเท่านั้นจะทรงเป็นผู้ตัดสินว่าจะมาถึงเมื่อไร เมื่อ
เวลานั้นจะมาถึง สิ่งที่อยู่ในใจจะถูกเปิดเผย และผู้มีความผิดเพราะไม่ยอมเชื่อและไม่สนใจในพระ-
หรรษทานที่พระเจ้าประทานให้จะถูกตัดสินลงโทษ
พระบุตรจะทรงเปิดเผยให้มนุษย์รู้ “ความจริงสูงสุดและความหมายของประวัติศาสตร์
แห่งความรอดพ้น มนุษย์จะเข้าใจหนทางน่าชื่นชมยินดี ที่พระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้าทรงใช้
เพื่อนำทุกสิ่งไปสู่จุดหมายปลายทางสูงสุด การพิพากษาประมวลพร้อมจะเผยให้เห็นว่าความเที่ยง-
ธรรมของพระเจ้านั้น จะมีชัยเหนือความอยุติธรรมทั้งปวงที่สิ่งสร้างของพระองค์ได้กระทำไว้ และ
ความรักของพระองค์นั้นทรงพลังยิ่งกว่าความตาย”
การพิพากษาประมวลพร้อมจะแสดงอย่างชัดเจนว่า พระเจ้าทรงเที่ยงธรรมและทรง
เมตตากรุณา จะแสดงความเที่ยงธรรมในการตัดสินลงโทษคนบาปพร้อมกับความเมตตากรุณา ทรง
ช่วยผู้ยอมนอบน้อมพระองค์ให้รอดพ้น การพิพากษาประมวลพร้อมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะ
พระพักตร์พระคริสตเจ้าในหมู่ผู้กลับคืนชีพ พระคริสตเจ้าทรงเป็นความจริง ทรงรับอำนาจพิพากษา
จากพระบิดา เพราะเห็นแก่งานกอบกู้บนไม้กางเขน มนุษย์จะแสดงความสัมพันธ์ที่มีกับพระเจ้า
อย่างแท้จริงต่อหน้ามนุษย์ทุกคน การพิพากษาประมวลพร้อมจะเผยให้เห็นผลที่ตามมาของความดีที่
แต่ละคนได้กระทำ เมื่อมีชีวิตอยู่บนแผ่นดินนี้ ที่สุดความจริงจะมีชัยชนะเหนือทุกอย่างที่เคยขัดขวาง
แผนการของพระเจ้า โดยประกาศอย่างชัดเจนว่า “ถ้าพระเจ้ามีอยู่จริง ความจริงจะต้องมีชัยชนะ
อย่างเด็ดขาด”
สรุปแล้ว ในการพิพากษาส่วนบุคคล มนุษย์แต่ละคนจะได้รับแสงสว่างเพื่อเข้าใจว่า
กิจการที่ตนได้กระทำนั้นสอดคล้องกับพระฉบับของพระคริสตเจ้าหรือไม่ ส่วนการพิพากษาประมวล
พร้อมมนุษย์ก็จะรับแสงสว่างเพื่อเข้าใจแผนการของพระเจ้าที่สำเร็จลุล่วงไปในมนุษยชาติ และเข้าใจ
การกระทำตนว่าเกิดผลดีหรือผลร้ายต่อผู้อื่น
ผู้พิพากษา คือ พระบิดาเจ้า พระคริสตเจ้า บรรดาอัครสาวกและผู้ได้รับการเลือกสรร

214
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like