You are on page 1of 80

โดย พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)

ที่ระลึกงานทอดกฐิน
๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๓
ณ วัดใหม่ปลายห้วย
ต�ำบลเนินปอ อ�ำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
ค�ำอนุญาต
หนังสือเล่มนี้หลวงปู่ท่านประสงค์แจกให้เป็นธรรม
ทานแก่พทุ ธบริษทั และผูส้ นใจอย่างแท้จริงทุกท่าน ฉะนัน้ หาก
ท่านใดหรือคณะใดมีความประสงค์จะน�ำไปพิมพ์เผยแพร่เป็น
ธรรมทาน โดยไม่มกี ารเรียกร้องหรือรับค่าตอบแทน ไม่วา่ ใน
รูปแบบใดทั้งสิ้น จะกระท�ำได้ต้องได้รับอนุญาตจากหลวงปู่
ท่านก่อน เช่นเดียวกับหนังสือเล่มอื่นๆ ทุกๆ เล่ม ที่ได้เคย
พิมพ์แจกจ่ายไปแล้ว
แต่หากเป็นการพิมพ์เพื่อจ�ำหน่าย หรือมีค่าตอบแทน
ใดๆ หลวงปู่ท่านขอสงวนสิทธิ์ทุกๆ เล่ม
ค�ำน�ำ
หนังสือ “ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒” นี้ เป็นการรวบรวมธรรม
เทศนาของพระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปูท่ องดี อนีโฆ) ทีไ่ ด้เทศนา
สอนลูกศิษย์หลังจากร่วมกันสวดมนต์ตอนเทีย่ งและ ๖ โมงเย็นของ
ทุกวันทางไลน์ในกลุม่ บ้านปันสุข เพือ่ แจกเป็นธรรมทานในงานทอด
กฐิน ณ วัดใหม่ปลายห้วย
หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าผูท้ อี่ า่ นหนังสือเล่มนีจ้ ะได้รบั ประโยชน์
บ้าง มากน้อยตามภูมริ ภู้ มู ธิ รรมของแต่ละบุคคล และยังด�ำรงตน
ให้อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ละชั่วสร้างแต่กรรมดี
หากหนังสือเล่มนีม้ ขี อ้ ผิดพลาดในการรวบรวมประการใด
โปรดอโหสิกรรมและขออย่าได้เป็นกรรมติดตัวข้าพเจ้าต่อไป
ความส�ำเร็จและคุณค่าของหนังสือเล่มนี้มีข้ึนได้ ด้วย
การได้รับความเมตตาจากพระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี
อนีโฆ) พระครูวิวัฒน์วรสถิตย์ (พระอุดร ฐานุตฺตโร) และขอ
อนุโมทนาบุญกับคุณบวรลักษณ์ ประดิษฐาวรานนท์ คุณศรัญญา
พวงจ�ำปา ที่ได้รวบรวมธรรมะจากไลน์กลุ่มบ้านปันสุขและถอด
เป็นบทความเพื่อลงพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ พร้อมด้วยญาติธรรม
ทุกท่านที่เป็นเจ้าภาพร่วมพิมพ์และให้ความร่วมมือแบ่งเบา
ภาระในทุกๆ ด้าน
นางอัมพร ตระกูลทิวากร
๑๕ กันยายน ๒๕๖๓
ค�ำอุทิศ
อานิสงส์ทเี่ กิดจากการสร้างและแจกหนังสือ “ ธรรมะบ้าน
ปันสุข เล่ม ๒” เป็นธรรมทานในครั้งนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศถวาย
เป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจก
พุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ บูชาคุณของพระธรรม บูชาคุณของพระ
อริยสงฆ์เจ้าทัง้ หลาย บูชาคุณของพระพิศาลญาณวงศ์ บูชาคุณ
บิดา-มารดา คุณครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่านที่มีมาใน
ทุกภพทุกชาติ และอุทิศให้กับสามี บุตรธิดา ญาติสนิทมิตร
สหาย เทพบุตร เทพธิดา ผู้ปกป้องคุ้มครอง เปรต สัมภเวสี
เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า และสรรพสัตว์ทั้งปวง
จงอยู ่ เ ป็ น สุ ข มี จิ ต วิ ญ ญาณเป็ น อิ ส ระจากความพยาบาท
เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
ข้าพเจ้าอธิษฐานเอาอานิสงส์จากทานนี้ เป็นพลวปัจจัยให้
ข้าพเจ้ามีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงโลกุตตรธรรม ส�ำเร็จมรรค ผล
นิพพานในชาติปัจจุบัน หากยังต้องเวียนตาย – เกิด ด้วยเหตุ-
ปัจจัยยังไม่ถึงพร้อม ขอให้ข้าพเจ้าได้เกิดเฉพาะในสุคติภูมิ ได้
พบพระพุทธศาสนา ได้พบกัลยาณมิตร มีสัมมาทิฏฐิ มีดวงตา
เห็นธรรมตราบจนเข้าสู่พระนิพพานเทอญ

นางอัมพร ตระกูลทิวากร
สารบัญ
ความเพียรเพื่อสร้างสะสมบุญบารมี ๑
ใจว่างจิตก็สงบ ๔
เจริญทางธรรมเพื่อความหลุดพ้น ๗
ความตายคือธรรมะอันยิ่งใหญ่ ๘
เจริญสติ..สงบใจ ๑๒
อริยบุคคล ๑๔
มองให้รู้ ดูให้เห็น วางให้เป็น ใจเป็นสุข ๑๗
ปลูกศรัทธา เชื่อมั่นในการท�ำความดี ๑๙
ใช้สติและปัญญาสู้กับพญามารในตัวเรา ๒๑
ธรรมะในวันอาสาฬหบูชา ๒๓
ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ๒๗
คิดให้เป็นเมื่อเห็นทุกข์ ๓๑
อยู่เพื่อรอตาย ๓๔
อภิณหปัจจเวกขณ์ทั้ง ๕ ๓๘
ยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ๔๒
ตั้งสติก�ำหนดภาวนาด้วยสุญญตา ๔๕
ใจสู้ก็อยู่เหนือกิเลส ๔๗
ความสุขที่แท้จริงคืออะไร ๕๐
ตื่นพร้อมสติ หลับอย่างมีสติ ๕๓
วาระจิตสุดท้าย ๕๕
ทุกข์เพราะอยาก อยู่ไม่ยากเพราะฝึกท�ำใจ ๕๘
ผู้เดินทางที่ไม่สูญเปล่า ๖๑
รายชื่อเจ้าภาพร่วมพิมพ์หนังสือ ๖๔
ความเพียรเพือ่ สร้างสะสมบุญบารมี
ต่อไปให้พวกเราก�ำหนดอารมณ์กรรมฐาน ให้พวก
เราภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ
ธัมโม สังโฆ ให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของพวกเรา โดยจะใช้
ระยะเวลาประมาณ ๒ นาที
พวกเราทั้ ง หลายที่ ไ ด้ พ ร้ อ มใจกั น มาสวดมนต์ นั้ น
ได้ชอื่ ว่า พวกเรานัน้ ไม่ดหู มิน่ แม้แต่บญ
ุ น้อยนิด ใช้ระยะเวลา
๓๐-๔๐ นาทีในการสวด ถ้าเราท�ำทุกวันอย่างนี้ เรียกว่า พวก
เราไม่ขาดความเพียร เมือ่ พวกเราไม่ขาดความเพียรแล้ว เรา
ไม่ทงิ้ เราไม่ละ เราไม่เลย คือเราไม่ปล่อยซึง่ ความดีทงั้ หลาย
เมือ่ เราไม่ปล่อยซึง่ ความดีทงั้ หลาย “ดี” นัน้ จะสถิตติดตัวเรา
ไปยังสัมปรายภพภายภาคหน้า เพราะสิง่ อืน่ อันใดนัน้ ไม่วา่ จะ
เป็นบ้านช่องห้องหอ เงินทอง ทรัพย์สมบัติ ลูก เมีย ผัว หรือ
อะไรก็แล้วแต่ ไม่สามารถที่จะไปกับเราได้
ที่ให้เราพยายามแยกแยะว่า กายก็คือกาย ใจก็คือใจ
เพราะเมื่อเราตายไปแล้ว “ใจ” นี่แหละ เรียกว่า “ตัวเรา”
อันเป็นธรรมธาตุท่แี ท้จริง 
“ใจ” เป็นธรรมธาตุ คือตัวเราทีแ่ ท้จริง เราทุกคนไม่วา่
หลวงปูห่ รือใครก็แล้วแต่ในโลกนี้ ก็ตอ้ งทิง้ ร่างกายนีไ้ ว้ ไปแต่
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 1
ธรรมธาตุคอื ตัวเราจริงๆ มันอยูว่ า่ พวกเราทุกคนนัน้ ได้สะสม
กุศลบุญบารมีกนั ไว้มากน้อยเพียงใด ถ้าเราสะสมบุญบารมี
ไว้มาก เราจะไปเกิดในภพภูมใิ หม่ทดี่ ี หรือว่าพวกเราถ้ากลับ
มาเกิดเป็นมนุษย์ พวกเราก็เจริญด้วย ๓ อย่างด้วยกัน คือ 
ประการที่หนึ่ง จะมีฐานะเป็นเศรษฐี เป็นลูกเศรษฐี
อยู่ในตระกูลที่พ่อแม่มีศีล ๕ อยู่ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา
แลตัวเองก็จะมีฐานะอันมั่นคง
ประการที่สอง ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
เมื่อเราฝึกเข้าหาธรรมะ โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายจะไม่พึง
บังเกิดขึ้นกับพวกเรา จะท�ำให้พวกเรานัน้ มีอายุยืนยาวนาน
ประการทีส่ าม จะท�ำให้เราทัง้ หลายนัน้ เป็นผูเ้ จริญ
ด้วยปัญญา จะมีปัญญาต่อสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง จะชนะทุก
สิ่งทุกอย่างด้วยปัญญา
“ปัญญาวุโธ” ปัญญาเป็นอาวุธอย่างหนึ่ง เมื่อเรามี
ปัญญาแล้ว เราก็จะแลเห็นสรรพสิง่ ทัง้ หลายด้วยปัญญา เรา
อาจจะได้ความรู้ จิตของพวกเราอาจจะหลุดพ้นจากเครื่อง
พันธนาการทั้งหลาย คือไม่หลงยึดติดในทรัพย์สินเงินทอง
ข้าวของ ตลอดจนลูก เมีย ผัว อะไรก็แล้วแต่ทมี่ นั อยูใ่ นโลกนี้
ถ้าเราปลดเครื่องพันธนาการเหล่านี้ได้ เราอาจจะได้เข้าถึง
กระแสธรรมอันที่แท้จริง ที่พวกเราทุกคนปรารถนา ที่เรียก
2 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
กันว่า “พระนิพพาน”
เพราะฉะนั้นแล้ว ขอให้เราอย่าทิ้งความเพียร และ
อย่าดูหมิ่นเงินน้อย หรือว่าบุญน้อยนิด ถามพวกเราทุกคน
ว่าถ้าเงินหนึ่งล้าน ขาดหนึ่งสลึง เขาก็ไม่ได้เรียกเงินหนึ่ง
ล้าน เพราะมันยังขาดสลึงหนึ่ง เหมือนพวกเราก็เหมือนกัน
ถ้าพวกเราทัง้ หลายได้บ�ำเพ็ญกุศล ได้บ�ำเพ็ญบารมีตดิ ตาม
ตัวเราไปแล้วนัน้ บุญกุศลนีแ่ หละจะพาให้พวกเราได้พบพระ
นิพพาน คือความสุขที่แท้จริง
หลวงปู่ก็พูดมาประมาณ ๓ นาที ก็ขอพูดแค่น้ี ขอให้
พวกเราทุกคนจงเจริญ จงเจริญทัง้ ทางโลกและทางธรรม

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 3
ใจว่างจิตก็สงบ
ต่อไปจะขอนอบน้อมในพระสัจธรรมแห่งองค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอธิบายธรรมะให้พวกเราได้ฟังพอ
เป็นเครื่องสังเขป ใช้ระยะเวลาประมาณสัก ๒ นาที เพื่อให้
เราได้เข้าใจธรรมะบางสิ่งบางอย่างที่เราอาจจะเคยฟังมา
แล้ว หรือยังไม่เคยฟัง เราจะได้ฟังต่อ
การที่พวกเรานั้นจะได้บุญมหาศาล ถ้าเราเข้าใจว่า
“เมื่อใจว่าง จิตมันก็สงบ” แต่ท�ำอย่างไรกว่าจิตของเรา
นั้นจะสงบลงได้ ครูบาอาจารย์หลายรูปหลายองค์ท่านเคย
สอนไว้ว่า ถ้าเรายังมีความคิด คือเรายังคิดไปโน่นคิดไปนี่
หรือคิดอะไรอยู่ต่างๆ นานา นั่นแสดงว่า ให้เราเข้าใจว่าจิต
ของเรานั้นเป็นจิตที่ไม่สงบ ขาดสติสัมปชัญญะ คือตัวรู้และ
ความระลึกได้
เพราะฉะนัน้ แล้ว ถ้าพวกเราทัง้ หลายทีจ่ ะฝึกจิตฝึกใจ
ของพวกเราให้สงบได้นนั้ ขอให้เราต้อง “ฝึกท�ำใจ” ถ้าเรา
ฝึกท�ำใจของเราให้วา่ ง ให้ได้แล้ว ใจจึงจะสงบลงได้ เพราะว่า
บุญกุศลนั้น ถ้าใครท�ำกรรมฐานแล้วเกิดเป็นอารมณ์สมาธิ
เบื้องต้นก็ดี ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิ
หนึ่งในสามข้อนี้ ข้อหนึ่งข้อใดก็แล้วแต่ ถ้าสมาธิเกิดขึ้นกับ
4 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
เราแล้ว นั่นแหละได้ชื่อว่า “ความสุขที่สุดในชีวิต คือสงบ
จากการที่ไม่คดิ อะไรเลย”
ถ้าจิตของเราไม่สงบ เราก็จะพบกับความทุกข์อยูเ่ รือ่ ยไป
ถ้าสงบจิตสงบใจเราได้ ถ้าเราสามารถท�ำให้มันสงบได้ เรา
ก็จะไม่ยึดติดกับอะไร สภาวะของจิตของเรานั้น มันก็จะนิ่ง
อยู่เฉยๆ ไม่มคี วามเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ไม่มีอาการเมื่อยล้า
ใดๆ ทัง้ สิน้ แต่วา่ พวกเรานัน้ ต้องพยายามฝึกประพฤติปฏิบตั ิ
แล้วก็ท�ำให้ได้ทุกวัน เพราะเอาแค่ง่ายๆ หลวงปู่ขอพูดถึง
เรื่องแค่ “ขณิกสมาธิ คือสมาธิเพียงเล็กน้อย” สมาธิ
เพียงเล็กน้อยนี้ บางทีเราดูหนังสือสวดมนต์ ใจของเรา
ไปเกาะอยู่กับตัวหนังสือ จิตของเราสงบอยู่กับตัวหนังสือ
อันนั้นเรียกว่า “ขณิกสมาธิ”
ขณิกสมาธิ คือสมาธิเพียงเล็กน้อย ทีม่ นั เกิดขึน้ กับเรา
ถ้าเรานัน้ พยายามควบคุมอารมณ์ของพวกเราเอาไว้ เพราะ
อารมณ์ของคนเรานัน้ ไม่มีอะไรแน่นอน ถ้ายังไม่ถงึ อรหันต์
เพราะฉะนัน้ แล้วอยากให้พวกเรานัน้ จงใฝ่พยายามท�ำ
กุศล ท�ำความดี ท�ำความสงบขึ้นให้บ่อยๆ แม้แต่ขณิกสมาธิ
นัน้ ถ้าเราท�ำให้มนั เกิดขึน้ บ่อยๆ มันก็จะอาจขึน้ ไปถึงอุปจาร
สมาธิได้ ขอให้เราท�ำทุกวันโดยไม่เห็นแก่วา่ เสียเวลา เราเสีย
เวลาอย่างอื่นอย่างใด เรายังเสียไปได้ แต่ท�ำไมเวลาเราเสีย
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 5
มากับบุญ มากับกุศลนี่ ท�ำไมเราจึงเสียกันไม่ได้
ให้เราลองติเตียนตัวเราเอง ลองดูเอาง่ายๆ อุปมา
อุปไมยว่า อย่างหลวงปู่จัดให้สวดมนต์ตอนเที่ยง แล้วก็หก
โมงเย็น บางคนก็ทำ� บางคนก็ไม่ทำ� นีถ่ า้ จะเปรียบเทียบแล้ว
คือความดีนั้น ถ้าพวกเราพยายามท�ำให้กับตัวของเราเอง
สร้างกุศลให้เกิดขึ้นภายในใจให้ได้ เพียงแค่ตอนเที่ยงและ
ตอนเย็น ถ้าพวกเราใฝ่พยายามทีจ่ ะสร้างกุศลทีจ่ ะสร้างบุญ
ให้เกิดขึ้น ท�ำสมาธิให้เกิดขึ้นในระหว่างสวดมนต์ การที่เรา
จะท�ำสมาธิเกิดขึ้นได้นั้น ก็อยู่ที่ใจของเรานั้นต้องจดจ่ออยู่
กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่เรียกว่า “สมถกรรมฐาน”
วันนีก้ ข็ ออธิบายธรรมะเล็กๆ น้อยๆ ให้พวกเราฟัง พอ
เป็นเครื่องสติ เป็นเครื่องตัวรู้ เป็นเครื่องเสริมปัญญาให้แก่
พวกเราทุกคน
หลวงปู่ก็ขออนุโมทนาในกุศลบุญบารมีกับพวกเรา
ที่ได้เข้ามาสวดมนต์ในวันนี้ ขอบุญกุศลใดที่หลวงปู่ได้ท�ำ
ดีแล้ว ขอให้พวกเราทุกคนจงมีส่วนได้ในกุศลนั้นร่วมกับ
หลวงปู่ และถ้าบุญใดกุศลใดเกิดขึ้นกับพวกเราทุกคนแล้ว
หลวงปูข่ ออนุโมทนาสาธุการขึน้ กับพวกเราทุกคนด้วยเทอญ

6 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


เจริญทางธรรมเพือ่ ความหลุดพ้น
ก็ขออนุโมทนาบุญ วันนี้เป็นวันพระ พวกเราทั้งหลาย
ได้มาสวดมนต์ในวันพระ ได้ชื่อว่า เรานัน้ พยายามหาความ
สุขใส่ไว้ภายในจิตภายในใจของเรา เพราะเราทุกคนนั้น ให้
เราพยายาม ทุกคนอยากได้ความสุขด้วยกันหมดทุกคน 
ความสุขที่แท้จริงนั้น คือการที่เราท�ำอะไรก็แล้วแต่
เราท�ำแล้วมันเกิดเป็นความสุขที่ถูกต้อง ไม่ผิด ไม่ใช่ถูกใจ
ตัวเราเองแต่อาจไม่ถูกใจคนอื่น 
ก็ขอให้เราจงใคร่ครวญพิจารณาตามหลักว่า การ
ที่พวกเราทั้งหลายได้มาสวดมนต์ภาวนากันอยู่นี้ ได้ชื่อว่า
ท�ำความดีใส่ไว้ภายในจิตภายในใจของพวกเรา เมื่อพวกเรา
ทุกคนรูว้ า่ ตัวเองนัน้ มีกเิ ลส เมือ่ เรารูว้ า่ ตัวเราเองมีกเิ ลส เรา
ก็ตอ้ งเอา ศีล ทาน ภาวนา ไปช�ำระล้างกิเลส ให้มนั มลายหาย
สิ้นสูญไป เราพยายามที่จะท�ำลายกิเลสทัง้ หลายทั้งปวงนั้น
ให้มนั ออกไปให้หมด ถึงแม้วา่ เราจะท�ำวันละนิดวันละหน่อย
แต่เราหมั่นท�ำอยู่เป็นประจ�ำ ที่เรียกว่า “วิริยะบารมี” คือ
เรามีความเพียร เพียรที่มาสวดมนต์ตอนเที่ยง และมาสวด
มนต์ตอนเย็นเป็นหมู่คณะ 
เมือ่ เราได้มาสวดมนต์กนั ทุกวัน ได้ชอื่ ว่าเรามีความเพียร
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 7
เพียรที่จะละออกจากโลภ โกรธ หลง กามตัณหา ภวตัณหา
วิภวตัณหาทั้งหลายทั้งปวง เมื่อเราเพียรพยายามที่จะละ
ออกจากความโลภทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นโลภ โกรธ
หลง อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นกิเลส เรียกว่า เราเดินมาในทาง
“สัมมาปฏิบัติ” คือมาอยู่ในหนทางที่ถูกต้อง ตามที่องค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงตรัสให้พวกเรา
เดิน ถ้าเรามีศลี ..เราก็มคี วามสุข เราให้ทาน..เราก็มคี วามสุข
เราสวดมนต์เจริญภาวนา..เราก็มคี วามสุข อันนี้สุขในทาง
ธรรม
ส่วนสุขในทางโลกนัน้ แต่ละคนอาจชอบไม่เหมือนกัน
สุดแท้แต่วา่ ใครชอบอะไร แต่สงิ่ ทีต่ อ้ งชอบเหมือนกันนัน้ คือ
ให้เราเดินตามทางธรรมเพือ่ ความหลุดพ้นจากการเวียนว่าย
ตายเกิดในสังสารวัฏนี้ 
สุดท้ายหลวงปูก่ พ็ ดู พอสมควรแก่เวลา ก็ขออนุโมทนา
กุศลผลบุญกับพวกเรา ทุกคน

8 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


ความตายคือธรรมะอันยิง่ ใหญ่
วันนี้ก็เป็นวันพระ เป็นวันธรรมสวนะ ขอให้พวกเราที่
อยู่ในบ้านปันสุขนี้ จงเจริญสติ
ค�ำว่า “เจริญสติ” นั้นก็คือการที่มีสติ รู้ลมเข้า-
ออก ภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโธ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ
ธัมโม สังโฆ
เมื่อวานนี้รู้สึกว่าร่างกายของตัวเองแย่ ก็เลยไม่ได้
ปาฐกถาธรรมตอนเย็นให้พวกเราฟัง วันนี้มันดีขึ้นมาหน่อย
ก็เลยที่จะพูดธรรมะเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้พวกเราฟัง
เมื่อวานนี้นึกขึ้นได้ว่า เพราะเราเจ็บ ความเจ็บนั้น
ความป่วยมันคู่อยู่กับความตายก็มานึกถึง “มรณานุสติ
กรรมฐาน” เป็นเครือ่ งเตือนใจตัวเองว่า วันหนึง่ ชีวติ ของเรา
ร่างกายของเรานีม้ นั ต้องมีความตาย เพราะมันหนีความตาย
ไปไม่พ้น ถ้าเรานึกถึงความตายไว้บ่อยๆ มันก็จะเป็นเครื่อง
เตือนสติของตัวเราเองด้วย เป็นเครือ่ งเตือนสติว่า “หลงตัว
ก็ลืมตาย หลงกายก็ลมื แก่”
เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าเราเตือนตัวเราเองได้บ่อยๆ ว่า
เราต้องตาย เราจะได้ไม่ประมาททีจ่ ะนึกถึงแต่สงิ่ ทีเ่ ป็นมงคล
นึกถึงแต่สิ่งที่ดีๆ เพราะว่าคนเราเกิดมาทุกคน เมื่อโตเป็น
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 9
หนุ่มเป็นสาว บางคนมีลาภยศสรรเสริญ ผลสุดท้ายแล้วก็
มีความแก่ แล้วก็ต้องตาย ไม่ว่าจะเป็นคนรวย คนจน หรือ
เป็นใครก็แล้วแต่ มันหนีตายไม่พน้ เพราะอะไร เพราะความ
ตายคือธรรมะอันยิ่งใหญ่ ถ้าเข้าใจถึง
ถ้าใครเข้าใจถึงสภาวะของความตายได้ ถ้าเราเข้าใจ
ได้นั้น เราจะเห็นว่า ความตายคือธรรมะอันยิ่งใหญ่ สมควร
ที่พวกเราทั้งหลายจะได้เข้าใจและน้อมมาพิจารณา 
เมื่อเราน้อมมาพิจารณาแล้ว ขอให้เราพิจารณาอยู่
ตลอดเวลา ให้เราสังเกตว่าคนทีน่ อนอยูใ่ นโลง เมือ่ ก่อนเขาก็
เป็นคนมีลมหายใจเหมือนกับเรา พอหมดลมหายใจ ร่างกาย
มันก็ตาย ไม่สามารถท�ำอะไรได้
เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเราต้องตาย เราจะได้เร่งท�ำแต่
ความดี ถ้าถามทุกคนว่า ไม่มใี ครอยากจะมีบาปติดตัวเราไป
ในชาติหน้าหรือในภพหน้า ทุกคนอยากจะได้บญ ุ อยากจะได้
แต่ความดีติดตัวไปในภพหน้าด้วยกันทัง้ หมดทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นแล้ว พวกเราเข้ามาสวดมนต์ มาปฏิบัติ
ธรรมะสัก ๓-๔ นาทีนั้น ได้ชื่อว่าพวกเรานั้นได้เข้ามาละ
ความชั่วทั้งหลาย และท�ำความดีให้เกิดขึ้น
เพราะฉะนัน้ แล้ว เราจึงควรพิจารณาถึงความตาย ให้
มันเป็นเครื่องเตือนสติเราให้ได้ ถ้าเราท�ำได้แล้ว มันจะตาย
10 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
วันนี้ ตายพรุ่งนี้ หรือตายวันไหนๆ มันก็เรื่องของร่างกาย
ไม่ใช่เรื่องของตัวเราจริงๆ เรื่องของตัวเราจริงๆ นั้นคือ
ต้องหาภพภูมทิ สี่ งู อย่าลงไปในทีต่ ำ�่ มีอบายภูมเิ ป็นแดนเกิด
วันนี้ก็พูดธรรมะมาพอสมควรแก่เวลา ต่อไปให้พวก
เราน้อมจิตน้อมใจทีจ่ ะอุทศิ บุญกุศล ให้แก่ผมู้ พี ระคุณแก่เรา
ตลอดจนผู้ทตี่ ้องการบุญจากเรา สรรพสัตว์ทงั้ หลาย ให้เขา
เหล่านัน้ ได้รบั บุญจากพวกเรา พวกเขาเหล่านัน้ จะได้พน้ จาก
ห้วงแห่งความทุกข์ทงั้ หลายทั้งปวง

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 11
เจริญสติ..สงบใจ
ต่อไปให้พวกเราจงส�ำรวมกาย วาจา ใจ ให้เราทุกคน
ภาวนาเข้า พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ให้เราภาวนา
ไปเรือ่ ยๆ ภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ เพราะจะเป็นการทีใ่ ห้
เรามีสติ ถ้าเราจับอยูก่ บั ค�ำบริกรรมภาวนา สติของเรานัน้ ก็
จะอยูก่ บั ค�ำบริกรรมภาวนาของพวกเราได้ตลอด 
การที่พวกเรามีสติ มันสามารถท�ำให้พวกเรานั้น ได้
พิจารณาอย่างต่อเนือ่ ง เมือ่ สติของเรากล้าแข็งแกร่งพอ มัน
จะค่อยๆ สะสมจิต ค่อยๆ สะสมความรู้ ค่อยๆ สะสมความดี
เอาไว้ภายในดวงจิตในดวงใจของเรา
เมื่อเรามีสติ ใจของเราสงบ อารมณ์ทงั้ หลายที่มันจะ
เกิดขึน้ มันจะเป็นอารมณ์แห่งความเยือกเย็น เมือ่ มันมีความ
เยือกเย็น คืออยู่อย่างคนมีสติ เมื่อมันมีสติแล้ว มันจะท�ำให้
ใจของเรานัน้ มันก็จะสงบ เมือ่ ใจของเราสงบลงแล้ว เราก็จะ
เป็นผู้ไม่หวั่นไหวไปกับกิเลสทั้งหลายได้ง่ายๆ 
เพราะเรามีสติสัมปชัญญะ เป็นตัวก�ำหนดรู้ เป็นตัว
ก�ำหนดดูอย่างนี้ตลอดเวลา เราไม่ต้องไปจับอารมณ์อื่น ขอ
ให้เราท�ำกรรมฐานภายใน ๒ นาทีนี้ ก็ขอให้เราจงจับอยู่แต่
ค�ำภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ
12 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
ธัมโม สังโฆ อย่าปล่อยให้มันมีช่องว่าง พยายามภาวนาให้
มันเป็นลูกโซ่ คือภาวนาติดต่อกันไปเรือ่ ยๆ โดยไม่ให้จติ ของ
เราส่งออกนอก 
ถ้าจิตของเราส่งออกนอกแล้ว มันจะเกิดเป็นอารมณ์
สมุทยั คือความทุกข์อาจจะเกิดขึน้ ได้ แต่ถา้ เราภาวนา พุทโธ
ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ นั้น จะ
ท�ำให้เราเป็นผู้มีสติอยู่ตลอดเวลา ขณะที่เราปฏิบัติและฟัง
หลวงปู่เทศน์น้ี เราก�ำหนดเวลา ๒ นาทีในการท�ำกรรมฐาน 
วันนีห้ ลวงปู่ก็พูดมาเป็นเวลา ๒ นาทีแล้ว ขอความสุข
สวัสดีจงพึงบังเกิดมีกับพวกเราทุกคน

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 13
อริยบุคคล
วันนี้ก็จะขอพูดธรรมะเล็กๆ น้อยๆ ให้พวกเราได้ฟัง
วันนั้นพูดถึงว่าอารมณ์มรณานุสติกรรมฐาน คือให้
พวกเรานึกถึงความตายไว้เป็นอารมณ์ ถึงเราไม่อยากตาย
มันก็ต้องตาย เพราะไม่มใี ครทีไ่ หนทีจ่ ะหลีกหนีไปไหนก็แล้ว
แต่ จะหนีความตายนัน้ ไปไม่ได้สกั คนเดียว อันความตายนัน้
ถึงอย่างไร ความตายย่อมมาเยือนพวกเราอย่างแน่นอน
เพราะฉะนั้นแล้ว พวกเราแม้ว่าเราจะไปหลบลี้หนีไป
อยู่ ณ สถานทีแ่ ห่งหนต�ำบลใด หนีไปอยูบ่ นฟากฟ้านภากาศ
หนีไปบังก้อนเมฆ หนีไปบังหิน บังอะไรก็แล้วแต่ พวกเรา
ทั้งหลายก็หนีความตายกันไปไม่พ้นสักคนเดียว แม้แต่ตัว
หลวงปู่เอง
แล้วเมือ่ เราตายไปแล้วนีแ่ หละส�ำคัญ ค�ำว่า “เมือ่ เรา
ตายไปแล้วส�ำคัญ” นัน้ คือเราทัง้ หลายเราก็หนีหนีก้ รรมกัน
ไปไม่พน้ เหมือนกัน อย่างทีเ่ ราได้สวดกันทุกวัน จะเป็นกรรมดี
หรือกรรมชั่วก็ตาม ที่พวกเราได้สร้างสะสมไว้ภายในจิตใน
ใจของตัวเราเอง ถึงอย่างไรเราก็หนีสิ่งเหล่านัน้ กันไปไม่พ้น
สักคนเดียว
นักปราชญ์ทั้งหลายท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า “เราคิด
14 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
อย่างไร เราก็จะได้อย่างนั้น” คือถ้าเราคิดชั่วๆ เราก็จะ
ได้ชั่วๆ ถ้าแม้นว่าพวกเรานั้นมีจิตใจที่คิดแต่สิ่งดีๆ เราก็จะ
ได้แต่ในสิ่งที่ดีๆ เพราะว่าเวลาเราตายไปแล้ว จิตใจของเรา
นี่แหละจะพาเราไปสู่อบายภูมิ หรือจะพาไปสู่สวรรค์ หรือ
จะไปวิมานแห่งพรหม หรือไปนิพพาน ก็สุดแท้แต่ก�ำลังใจ
ก�ำลังบารมีของพวกเราทัง้ หลายที่ได้สะสม ที่ได้สร้างความ
ดีเอาไว้ภายในจิตภายในใจของพวกเราทัง้ หลาย
เราทั้งหลายนั้นได้สะสมกันไว้มาก เราท�ำกันไว้มาก
ก็ชื่อว่าพวกเราทั้งหลายนั้นมีต้นทุนที่ดี เมื่อเรามีต้นทุนที่
ดีแล้ว ในภายเบื้องหน้าโน้นถ้าก�ำลังใจของเรานั้น สามารถ
ตัดสังโยชน์ ๓ ได้ ตัดสังโยชน์ ๕ ได้ ตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้
ถ้าเราตัดสังโยชน์ ๓ ได้ ก็แสดงว่าเราเข้าถึงเป็น
“อริยบุคคล” แล้วในพระศาสนา คือเป็นพระโสดาบัน
ถ้าเราตัดสังโยชน์ ๕ ได้ เราก็สามารถเป็น “พระ
อนาคามี”
ถ้าเราตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้ เราก็เป็น “พระอรหันต์”
เพราะฉะนั้นแล้ว บุคคลที่ไม่ตายที่เป็นอมตะ คือ
บุคคลที่ตดั สังโยชน์ ละสังโยชน์ ๑๐ ได้ เป็นพระอรหันต์
เท่านัน้ จึงจะไม่ตอ้ งตาย คือไม่ตอ้ งมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่
อย่างนี้ ไม่มีท่สี ิ้นสุด ตายแล้วตายอีก ตายแล้วตายอีก ตาย
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 15
แล้วตายอีก มันก็ตายกันอยูอ่ ย่างนีแ้ หละ ถ้ายังไม่ถงึ นิพพาน
วันนีก้ ข็ อพูดธรรมะ เพือ่ เป็นเครือ่ งเสริมสติปญ
ั ญาให้
พวกเราทุกคนได้ฟัง
ต่อไปพวกเราก็กรวดน�้ำ อุทิศกุศลผลบุญทั้งหลาย
ไปให้แก่ผู้มีพระคุณกับเรา ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพเทวา
เหล่าพรหมทัง้ หลาย ทั่วหมื่นโลกธาตุอนันตจักรวาล เพื่อน
มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ในอบายภูมิทั้งหลาย ขอให้เขาเหล่านั้น
จงมีสว่ นได้ในกุศลผลบุญร่วมกับพวกเราทุกคน ขอความสุข
สวัสดีจงบังเกิดขึ้นมีกับพวกเรา

16 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


มองให้ร้ ู ดูให้เห็น วางให้เป็น ใจเป็นสุข
ต่อไปก็จะขอพูดธรรมะเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นเครื่อง
เสริมสติปัญญาให้กับพวกเรา
อะไรในโลกนี้ที่เรียกว่า..ความสุข
อะไรในโลกนี้ที่เรียกว่า..ความทุกข์
อะไร..ท�ำให้จติ ใจของเราเศร้าหมอง
อะไรกันเล่า..เป็นเหตุให้มนั เกิดทุกข์ทงั้ หลายเหล่านัน้
ก็เพราะว่าพวกเราทุกคนแม้แต่ตัวหลวงปู่เอง เพราะ
ว่าทุกสิ่งทุกอย่างนัน้ ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปกระทบรูป
รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันเลยท�ำให้ใจของ
พวกเรานัน้ หวั่นไหวอยู่กับสิ่งยั่วยุ อยู่กับสิ่งที่ติดอยู่ในกิเลส
เพราะว่าเรานัน้ ยังไม่รู้จักค�ำว่า “พอ”
เมื่อเรายังไม่รู้จักค�ำว่า “พอ” ก็เลยท�ำให้ใจของเรา
นั้นเป็นทุกข์ด้วยกันหมดทุกคน
ถ้าเรารูจ้ กั ค�ำว่า “พอ” เมือ่ ไหร่ เราก็จะมีแต่ความสุข
การที่เราจะพิจารณาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงได้นนั้ เราจะ
ต้องมีปญ ั ญา ถ้าเรายังไม่มปี ญ ั ญาได้นนั้ เราก็ยงั ไม่สามารถ
พินิจพิจารณาสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้น ขอให้พวกเราทั้งหลาย
ลองพิจารณาด้วยปัญญา ว่าอะไรก็แล้วแต่ อารมณ์ทงั้ หลาย
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 17
เราจะรูไ้ ด้กแ็ ล้วแต่ มันต้องเกิดจากการพิจารณา พิจารณาถึง
ความนึกคิดภายในจิตภายในใจ ภายในร่างกายของพวกเรา
ถ้าพวกเราพิจารณาเห็นแล้ว ว่าภายในใจของเรานัน้ มี
โลภ มีโกรธ มีหลง ถ้าเรารูอ้ ย่างนี้ ถ้าทุกคนรู้ ว่าเออเราโลภนะ
เรายังโกรธนะ เรายังหลงนะ ถ้าเรารูอ้ ารมณ์สามอย่างทีเ่ กิด
ขึ้นนี้แล้ว ก็ขอให้พวกเรานั้นค่อยๆ ละ ค่อยๆ วาง ถึงแม้ว่า
เราจะละ เราจะวาง ด้วยฉับพลันไม่ได้
แต่ถ้าเรามี “สติสัมปชัญญะ” เราจะค่อยๆ วางสิ่ง
ที่มันหนัก เพราะถ้าเราเอามาถือไว้ สิ่งเหล่านี้มันก็คือความ
ทุกข์ดีๆ นี่เอง
เมื่อเรารู้ว่าเราถือของหนัก ถือความทุกข์เอาไว้
เราก็ค่อย ๆ ทิ้งมันไป ค่อย ๆ ปล่อยมันไป โดยไม่เอามา
ยึดติดอยู่ภายในจิต อยู่ภายในใจของพวกเรา ค่อยๆ ท�ำ
กันไป แล้วเราก็จะละทิ้งจากสิ่งเหล่านี้ได้ทั้งหมดทั้งปวง ขอ
ให้เรามี “สติสัมปชัญญะ” รู้เท่าทันสิ่งเหล่านี้
วันนี้ก็พูดมาพอเวลาสมควรแล้ว ก็ขอความสุขสวัสดี
จงบังเกิดมีกบั พวกเราทุกคน ขอให้พวกเราทุกคนจงเจริญทัง้
ทางโลกและทางธรรม ขอให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปทุกคนเทอญ

18 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


ปลูกศรัทธา เชือ่ มัน่ ในการท�ำความดี
ก็ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่พวกเราทุกคน ที่ได้
มาร่วมกันท�ำความดี คือได้มาเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าพร้อมกัน โดยได้มกี ารสวดมนต์ ก่อนอืน่ นัน้ ก่อน
ทีพ่ วกเราจะท�ำอะไรก็แล้วแต่ สิง่ แรกนัน้ ขอให้เราจงมีศรัทธา
ถ้าพวกเรามีศรัทธา มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่เราท�ำ
เหมื อ นองค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ของเรา
พระองค์ก็มศี รัทธาและมีความเชื่อมั่นว่า เกิด แก่ เจ็บ
ตาย เป็นทุกข์ พระองค์ก็มีความเชื่อมั่นว่า เมื่อมันมีทุกข์
ได้ มันก็ต้องมีหนทางออกจากทุกข์ได้เหมือนกัน
เหมือนกับพวกเรานัน้ ถ้าเรามีศรัทธาเชือ่ ว่า การให้
ทาน รักษาศีล การภาวนา เป็นกุศลเป็นบุญทีพ ่ วกเราท�ำ
แล้ว จะมีแต่ความเจริญ จะมีแต่ความสุข เพราะอาศัย
ก�ำลังศรัทธา คือมีความเชื่ออย่างเดียวว่า ท�ำกรรมดี
ย่อมได้ดี ท�ำกรรมชั่วย่อมได้ชั่ว ถึงว่าผลแห่งกรรมดีนั้น
มันจะส่งผลช้าหรือเร็ว ก็เหมือนกับกรรมชัว่ ก็เหมือนกัน มัน
จะส่งผลเร็วหรือส่งผลช้า ก็อยู่ท่อี �ำนาจของกรรม 
แต่ถ้าพวกเราทุกคนเชื่อมั่น มีศรัทธา ว่าท�ำดีต้องได้
ดีอย่างแน่นอน ท�ำชั่วต้องได้ชั่วอย่างแน่นอน ถ้าพวกเราทัง้
หลายนั้นมีศรัทธา มีความเชื่อมั่นอย่างนี้แล้ว หลวงปู่เชื่อว่า
ความดีนั้นย่อมส่งผลให้กับพวกเราก่อน เพราะอย่างน้อย
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 19
ที่พวกเราทุกคนนั้นได้เข้ามาสวดมนต์ ได้ชื่อว่าเรามีศรัทธา
คือมีความเชื่อว่าการที่พวกเราได้มาสวดมนต์นั้นมันจะได้
บุญ ถ้าเราไม่มีศรัทธาไม่มีความเชื่อมั่นว่าสวดมนต์แล้วจะ
ได้บุญ พวกเราก็คงไม่เข้ามาสวดมนต์ร่วมกับหลวงปู่ หรือ
ร่วมกับพวกเราทุกคนที่เข้ามาสร้างท�ำความดีอยู่ในกลุ่มนี้ 
ด้วยอ�ำนาจบุญกุศลที่พวกเราท�ำนัน้ ไม่ว่าจะเป็นการ
ให้ทานก็ดี รักษาศีลก็ดี เจริญภาวนาก็ดี ถ้าสิ่งเหล่านี้พวก
เราทัง้ หลายประพฤติปฏิบตั ดิ ้วยก�ำลังใจทีส่ งู หรือด้วยก�ำลัง
ใจที่เต็มเปี่ยม ขอให้เราท�ำอะไรขอให้เราท�ำจริงจัง ถ้าพวก
เราท�ำจริงจังในสิ่งที่เราท�ำแล้ว ผลที่มันจะออกมานั้น ย่อม
พบแต่ความส�ำเร็จอย่างแน่นอนด้วยกันหมดทุกคน เพราะ
ว่าเราเกิดเป็นคนนัน้ เราต้องรู้จักค�ำว่า “ให้”
ให้ทานหนึ่ง ให้ทานนัน้ เราให้ได้ด้วยความเต็มใจ ให้
แล้วเกิดความสุข บุญเกิดขึ้นกับพวกเรา ศีลก็เหมือนกัน
ภาวนาก็เหมือนกัน ถ้าเราท�ำแล้วมันเกิดความสุข นัน่ แหละ
ชื่อว่าบุญได้เกิดขึ้นกับพวกเราทุกคนแล้ว
สุดท้ายนีก้ ข็ อให้พวกเราจงเจริญทัง้ ทางธรรม จงเจริญ
ทั้งทางโลก มีความปรารถนานึกคิดสิ่งใด ไม่เหลือวิสัยของ
กรรมแล้วไซร้ ขอสิ่งนั้นจงบันดาลดลให้พวกเราประสบแต่
ความส�ำเร็จและสมหวังทุกคน ก็ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิด
ขึ้นมีกับพวกเราทุกคน
20 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
ใช้สติและปัญญาสูก้ บั พญามารในตัวเรา
ก็ขอความสุขสวัสดีจงพึงบังเกิดขึน้ มีกบั พวกเราทุกคน
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้พวก
เราทั้งหลายพ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ คือให้พวกเรานัน้ ไม่
หลงเพลิดเพลินไปตามตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ ทีว่ ญ ิ ญาณทัง้
หลายที่เราเอาไปสัมผัสกับอารมณ์ภายนอก คือตา หู จมูก
ลิ้น กาย ใจ 
อารมณ์ทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นเป็นกิเลสก็ดี ไม่ใช่กิเลส
ก็ด ี ถ้าเป็นทีก่ เิ ลสนัน้ แสดงว่าสติสมั ปชัญญะของพวกเรานัน้
ยังอ่อนแอ ยังไม่ตั้งมั่นอยู่ได้ เพราะว่าเราปล่อยให้พญามาร
ทัง้ หลายนัน้ เข้ามาสิงสถิต หรือเข้ามาอยูภ่ ายในจิตภายในใจ
ของพวกเราได้
แต่ถา้ พวกเราทัง้ หลายมีสติอยูต่ ลอดเวลา เราจะรูเ้ ท่าทัน
พญามารทีจ่ ะเข้ามาอยู่ในจิตในใจของพวกเรา เพราะฉะนัน้
แล้ว หลวงปูเ่ คยบอกพวกเรา เคยพูดให้พวกเราฟังอยูเ่ สมอว่า 
“พวกเราทุกคนนัน้ เป็นขีข้ า้ ของพญามาร ตายแล้วเกิด
ตายแล้วเกิดอีกกีภ่ พอีกกีช่ าติ เราก็ยงั ไม่หลุดพ้นจากบ่วง
แห่งพญามารทัง้ หลาย เพราะการตายนัน้ เป็นผลทีน่ ำ� ไป
สูก่ ารเกิดใหม่ ตราบใดทีพ ่ วกเรานัน้ ยังมีชวี ติ ยังมีกเิ ลส
อยูใ่ นใจ เราไม่สามารถหลุดออกจากวงจรนีไ้ ด้”

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 21
แต่ถ้าเรารู้จกั การฝึกปฏิบตั ิ แม้แต่บญ
ุ นิดบุญน้อยเรา
ก็อย่าประมาท อย่างเช่นพวกเราทัง้ หลายได้เข้ามาสวดมนต์
ในกลุ่มบ้านปันสุขนี้ ก็ได้ชื่อว่าเรามาเก็บบุญน้อย เก็บบุญนี้
เพื่อไปช�ำระล้างกิเลสทั้งหลายที่มันอยู่ในใจ
กิเลสทั้งหลายมันจะตายได้นั้น ก็ต้องอาศัยหลัก
แห่งปัญญา ถ้าพวกเรามีหลักแห่งปัญญา รูแ้ จ้งเห็นจริง 
รู้เท่าทันกฎแห่งพระไตรลักษณ์ คือทุกขัง อนิจจังและ
อนัตตา พวกเราก็สามารถทีจ่ ะก�ำจัดกิเลสและพญามาร
ออกจากจิตออกจากใจของพวกเราไปได้
เพราะฉะนัน้ แล้ว กิเลสทัง้ หลาย ตัณหาทัง้ หลาย ไม่วา่
จะเป็นโลภก็ดี โกรธก็ดี หลงก็ด ี กิเลสทัง้ หลายทัง้ ปวงนัน้ สิง่
ที่เป็นกิเลสเราก็ต้องเอาสติและปัญญาไปช�ำระล้างให้จิตใจ
ของเรานั้นได้ใสสะอาด เพราะว่าอะไร เพราะเราจะได้พบ
กับความสุขที่แท้จริง 
ความสุขที่แท้จริง นั้นคืออะไร
ความสุขที่แท้จริง คือรู้จักค�ำว่า “ปล่อยวาง” ได้
ถ้าเรารู้จักค�ำว่า “ปล่อยวาง” ได้บ้าง เราก็จะพบแต่
ความสุข ความเจริญในชีวิตของพวกเราทุกคน
วันนีห้ ลวงปู่กข็ อพูดธรรมะเล็กๆ น้อยๆ เป็นเครือ่ งสติ
เตือนสติ สอนใจพวกเราทุกคน
ขออนุโมทนาในกุศลผลบุญทั้งหลายที่พวกเราได้ท�ำ
กันมาตั้งแต่ต้นจนถึงตอนนี้ 
22 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
ธรรมะในวันอาสาฬหบูชา
ก็ขอเจริญธรรม ขอเจริญศรัทธาแก่พวกเราทุกคน ที่
ได้เข้ามาสวดมนต์ในวันนี ้ ถ้าเราย้อนกลับไปในสมัยพุทธกาล
นัน้ วันนีว้ นั อาสาฬหบูชา จะตรงกับวันทีพ่ ระพุทธเจ้าของเรา
นัน้ พระองค์ทรงได้แสดงพระธรรมเป็นครัง้ แรก พระธรรมที่
พระองค์ทรงแสดงเป็นครัง้ แรกนัน้ เหมือนทีพ่ วกเราทัง้ หลาย
ได้สาธยายกันนัน้ ที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็น
พระธรรมบทแรกในโลก 
พระพุ ท ธเจ้ า ทุ ก ๆ พระองค์ นั บ ตั้ ง แต่ ส มเด็ จ องค์
พระปฐมบรมครู ผู้เป็นต้นธรรมต้นธาตุ พระพุทธเจ้าทุกๆ
พระองค์นนั้ เมือ่ พระองค์ทรงบรรลุสนิ้ อาสวักขยญาณ คือสิน้
กิเลสแล้ว พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ต้องแสดง
เหมือนกันนัน้ คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร และมีพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เ กิ ด ขึ้น เป็ น ครั้ง แรกในโลก คือ เมื่อ
พระพุทธองค์นั้นทรงเสด็จไปโปรดพระอัญญาโกณฑัญญะ
หรือปัญจวัคคียท์ งั้ ๕ ทีป่ า่ อิสปิ ตนมฤคทายวัน พระองค์ทรง
แสดงธัมมจักฯ และได้เกิดมีพระสงฆ์องค์แรกในโลก คือพระ
อัญญาโกณฑัญญะ ตอนนั้นท่านยังไม่ได้ช่อื ว่า อัญญาโกณ
ฑัญญะ ท่านชือ่ ว่าพระโกณฑัญญะ แต่เมือ่ พระพุทธองค์ทรง
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 23
แสดงธรรมให้พระโกณฑัญญะได้ฟังธรรม ปรากฏว่าพระ
โกณฑัญญะนัน้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อัญญาโกณฑัญญะ
โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”
“รู”้ ในสิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงแสดงธรรม พระอัญญาโกณ
ฑัญญะนั้นรู้ด้วยปัญญา ว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงนั้น
เป็นเครื่องออกจากความทุกข์ทงั้ หลายทัง้ ปวง เมื่อพระอัญ
ญาโกณฑัญญะได้สดับรับฟังแล้ว มีดวงตาเห็นธรรม บรรลุ
เป็นพระโสดาบันทันที 
อุปมาอุปไมยว่า เหมือนพวกเราทุกคนที่ได้มาถือศีล
อุโบสถกันในวันนี้ เปรียบเหมือนว่าเราจะมาเป็นผู้สดับรับ
ฟังพระธรรม และปฏิบตั ธิ รรมเพือ่ ให้บรรลุมรรคผล เหมือน
กับพระอัญญาโกณฑัญญะ เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดง
เครื่องออกจากทุกข์ ที่เราสวดกันตั้งแต่สัมมาทิฏฐิจนถึง
สัมมาสมาธิ ถ้าพูดง่ายๆ เลยก็คอื เรือ่ ง ศีล สมาธิและปัญญา
๓ อย่างด้วยกัน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเทศน์ พระอัญญาโกณฑัญญะ
มีสติรู้เท่าทัน เพราะว่าพระอัญญาโกณฑัญญะนั้นได้สร้าง
สะสมบารมีมามากพอสมควร และได้เคยอธิษฐานว่า “ถ้า
มีพระพุทธเจ้าองค์ใดมาตรัสรู้ในโลกนี้ ขอให้ตัวเองนั้น
ได้บรรลุเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก ในพระพุทธเจ้า
24 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
องค์หนึง่ องค์ใด” พอมาถึงองค์สมเด็จพระสมณโคดมของ
พวกเรา ที่พวกเรากราบไหว้บูชากันอยู่ขณะนี้ พระอัญญา
โกณฑัญญะนั้นได้สร้างบารมีมาพอสมควร คือจะได้มา
เป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระตถาคตเจ้า จึงได้บรรลุเป็น
พระโสดาบันเป็นองค์แรกในโลกนี ้
เหมือนพวกเราทุกคนนั้น ถ้าเราไม่ทิ้งการประพฤติ
ไม่ทิ้งการปฏิบัติ ความดีทั้งหลายที่พวกเราทั้งหลายค่อยๆ
สะสมกันนี้ก็จะเป็นเสบียง 
แม้ว่าบุญเราก็ท�ำ กรรมเราก็สร้าง มันคนละเรื่อง ถ้า
เราพูดตรงๆ กรรมดีก็คือกรรมดี กรรมชั่วก็คือกรรมชั่ว
ปล่อยมัน เราอย่าไปสนใจมันกับความชั่ว ให้เราคอยนึกถึง
แต่ความดี ความดีที่เราท�ำแม้นิดหน่อย ได้ชื่อว่าเราท�ำ
แล้ว ให้เราจับอารมณ์ความดีไว้ เพราะถ้าเราจับอารมณ์
ความดีไว้ เราจะมีแต่ความสุข ถ้าจิตใจของเราเร่าร้อน เรา
ก็จะมีแต่ความทุกข์ 
ถ้าเราจับอารมณ์ไหนไว้ เราก็จะเป็นไปตามอารมณ์
นั้น ถ้าเราจับอารมณ์แห่งการมีความสุข เราก็มีความสุข
ถ้าเราจับอารมณ์มคี วามทุกข์ เราก็จะมีแต่ความทุกข์ ให้เรา
เลือกเอาเองว่า เราจะจับเอาอารมณ์ไหนมาเป็นที่ตั้ง 
จริงอยูพ่ วกเรานัน้ ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ยังไม่หมดกิเลส
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 25
ยังมีโลภ โกรธ หลงเป็นเรือ่ งธรรมดา แต่ถา้ เราไม่ได้ประพฤติ
ปฏิบัติกันเลย แล้วจะมีวันไหนที่เราจะได้เป็นพระอรหันต์ ที่
ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้อกี ต่อไป
หลวงปู่ก็ขอพูดธรรมะเล็กๆ น้อยๆ พอสมควร ก็ขอ
อนุโมทนาสาธุการในกุศลผลบุญกับพวกเราทุกคนที่ได้มา
ถือศีลอุโบสถที่วัดนี้ และญาติโยมทั้งหลายที่อยู่ในไลน์ ก็
ขอโมทนาบุญกับพวกเราทุกคนด้วย ขอบุญกุศลทั้งหลาย
ที่ทุกคนบ�ำเพ็ญดีแล้ว ขอบุญกุศลนี้จงต่อเนื่องให้พวกเรา
มีหนทางดับทุกข์ เข้าถึงความดับทุกข์เพื่อเป็นไปคือพระ
นิพพานด้วยกันหมดทัง้ บุคคลทีม่ าอยู่ทวี่ ดั และทุกคนทีส่ วด
มนต์ออนไลน์ในโทรศัพท์ ขอให้มคี วามสุขสวัสดีทกุ คนเทอญ

26 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
ก็ขอเจริญธรรม ขอความสุขสวัสดีจงพึงบังเกิดขึ้นมี
กับพวกเราทุกคน ทีพ่ วกเรานัน้ ได้เข้ามาขวนขวายหาบุญหา
กุศลใส่ตัวของเรา
การที่เรามาหาบุญ หากุศลใส่ตัวของเรานั้น เหมือน
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงตรัสรู้ใน
อริยสัจ ๔
อริยสัจ ๔ นัน้ คือมีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด
นิโรธ คือความดับทุกข์
มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ได้ชื่อว่า “ทุกข์”
เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของที่ทนได้ยาก 
ตั ณ หา คื อ ความทะยานอยากได้ ตั ณ หานั้ น ก็ คื อ
“สมุทยั ” เพราะสมุทยั นีแ่ หละเป็นเหตุให้ทกุ ข์ทงั้ หลายเกิดขึน้  
ตัณหานัน้ มีหลายประเภทด้วยกัน แต่จะพูดให้พวกเราฟังคือ
ตัณหา คือความทะยานอยากในอารมณ์ทั้งหลาย
ที่น่ารัก น่าเอ็นดู น่ารักใคร่ เรียกว่า กามตัณหา
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 27
ตัณหา คือความอยากเป็นโน่น อยากเป็นนี่ อันนีเ้ รียกว่า
ภวตัณหา
ตั ณ หา คื อ ความไม่ อ ยากเป็ น โน่ น เป็ น นี่ เรี ย กว่ า
วิภวตัณหา
ทีเ่ ราสวดอยูใ่ นธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนัน้ ก็คอื ตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา ๓ อย่างด้วยกัน
ความดับตัณหาทั้งหลายได้นั้น เราจะดับตัณหาได้
อย่างสิ้นเชิง ทุกข์ดับไปหมด ได้แก่ นิโรธ เพราะนิโรธได้ชื่อ
ว่าเป็นตัวที่น�ำพาให้เราพวกเราทั้งหลาย เป็นความดับทุกข์
ทั้งหลายทั้งปวง 
ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิง่ นีค้ อื ทุกข์ สิง่ นีเ้ ป็นเหตุให้ทกุ ข์
เกิด สิ่งนี้คือความดับทุกข์ สิ่งนี้เป็นหนทางให้ถึงความดับ
ทุกข์ ได้ชื่อว่า มรรค เพราะเป็นข้อที่ประพฤติ ข้อที่ปฏิบัติ
ให้ถึงความดับทุกข์
มรรคมีองค์ ๘ นั้น เหมือนที่เราสวดกันในธัมมจักกัป
ปวัตตนสูตร คือ 
๑. มีปัญญาเห็นชอบ 
๒. ด�ำริเห็นชอบ 
๓. เจรจาชอบ 
๔. ท�ำการงานชอบ 
28 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
๕. เลี้ยงชีวติ ชอบ 
๖. ท�ำความเพียรชอบ 
๗. ตั้งสติชอบ 
๘. ตั้งใจชอบ
อันนี้ย้อนมาพูดถึงเรื่องทุกข์
ทุกข์ คือสภาวะหรือสภาพทีม่ นั ทนได้ยาก จึงท�ำให้ไม่
สบายกาย ท�ำให้เราไม่สบายใจ 
สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ กิเลสพันห้า ตัณหา
ร้อยแปดทั้งหลายทัง้ ปวง
นิโรธ คือความดับทุกข์ ได้แก่ตัณหาทัง้ หลายทั้งปวง
มรรคทั้งหลายนัน้ เป็นหนทางดับทุกข์
อริยสัจที่พระพุทธเจ้าของเราตรัสรู้ดีแล้วที่เรียกว่า
อริยสัจ ๔ แปลว่าความจริงอันประเสริฐ อันเป็นหลัก
ธรรมชั้นสูงที่แม้แต่องค์พระบรมศาสดาที่พระองค์ทรงค้น
พบ จึงได้มาซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ คือสิ่งที่พระองค์นั้นทรง
ตรัสรู้เองได้ด้วยพระองค์เอง 
ก็ขอให้เราฟังแล้วจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ไม่รู้ ก็ขอให้
เราท�ำความเข้าใจว่า ทุกข์มันเกิดจากสมุทัย สมุทัยคือตัว
ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา คือกิเลสทัง้ หลาย มรรคมีองค์
๘ คือหนทางที่เดินไปสู่ความดับทุกข์ท่เี รียก นิโรธ
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 29
วันนีก้ ข็ ออธิบายธรรมะให้พวกเราทัง้ หลายฟังพอเป็น
สังเขป พอเป็นคร่าว ๆ
ก็ขออนุโมทนาสาธุการกับพวกเราทุกคน ที่ได้มาเข้า
มาสวดมนต์ และได้มาบ�ำเพ็ญบุญ ฟังเทศน์ฟังธรรมกันใน
วันนี้ ก็ขออนุโมทนากุศลผลบุญกับพวกเราทุกคน

30 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


คิดให้เป็นเมือ่ เห็นทุกข์
ขอเจริญธรรมแก่บรรดาพวกเราทุกคน วันนี้พวกเรา
ทั้งหลายได้น้อมเอากาย วาจา ใจ เข้ามาสวดมนต์ในบ้าน
ปันสุขนี้
ข้อแรกนัน้ ขอให้เราเห็น คิดให้เป็น ถ้าเราเห็นและคิด
เป็นว่า การเห็นนัน้ เห็นว่าการเกิด การคิดปรุงแต่งอะไรก็แล้ว
แต่ มีเกิดทีไ่ หนก็มที กุ ข์ทน่ี นั่  เมือ่ พวกเราเกิดมาแล้ว เราต้อง
พบกับความทุกข์ ถ้ามันไม่มคี วามทุกข์ เราก็ไม่อยากจะดิ้น
ออกจากตัวทุกข์น้ไี ปได้
แต่ถ้าเรารู้จักค�ำว่า “ทุกข์” ทุกข์คืออะไร เราก็ไม่
อยากที่จะจมอยู่กับความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้ เราก็อยาก
จะพบแต่ความสุข เพราะในโลกนี้เชื่อได้เลยว่า ไม่มีใครเลย
ที่อยากจะเจอแต่ความทุกข์ ทุกคนอยากจะพบแต่ความสุข
ไปเหมือนกัน โดยถ้าไม่มีความทุกข์ องค์สมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าพระองค์ก็ไม่ต้องหาหนทางออกจากความทุกข์
ไว้ให้พวกเรา 
แต่เมือ่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เห็น
ทุกข์แล้ว พระองค์จึงหาทางออกจากความทุกข์ไว้ให้พวก
เรา อยู่ที่พวกเราทุกคนนี่แหละ ว่าเราจะยอมเดินออกจาก
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 31
กองทุกข์เหล่านี้หรือเปล่า หรือเราอยากจะจมอยู่กับความ
ทุกข์ไม่มีที่สิ้นภพสิ้นชาติ อยากจะอยู่กับความทุกข์บ้าง
สุขบ้าง สารพัด เพราะว่าถ้ามันได้ตามใจ เราก็มีความสุข
เราไม่ได้ตามใจ เราก็มคี วามทุกข์
สุขกับทุกข์มันก็อยู่คู่กันนี่แหละ เว้นไว้เสียแต่ว่า เรา
หนีทุกข์ไปไม่ได้ เราก็แสวงหาความสุขใส่ตัวของเราให้เป็น
การที่เราจะหาความสุขให้แก่ตัวของเรานัน้ คือ “การเห็น”
การเห็นนั้นเป็นเหตุแห่งการคิด เมื่อมันจะคิด ก็
พยายามคิดปรุงแต่งให้มันอยู่กับความดี หรืออยู่กับ
ความสุข ถ้าเราคิดเป็น เพราะการคิดนั้นเป็นเหตุแห่ง
การเห็น ถ้าคิดดีก็เป็นทางดี ถ้าคิดไม่ดีก็เป็นทางไม่ดี
เพราะฉะนั้นแล้ว สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อยู่ที่พวกเรา
คิด ว่าพวกเราจะคิดนัน้ เราจะเอาอารมณ์ของเราไปตัง้
อยู่ฝ่ายไหน มันก็อยู่ท่คี วามคิดของพวกเรา 
เพราะฉะนั้นแล้ว ขอให้เราถือว่าในโลกนี้เป็นของ
ธรรมดา เพราะว่าพระพุทธเจ้าของเรานั้นพระองค์ตรัสว่า 
“บุ ค คลใดที่ เ กิ ด มาในโลกนี้ ไม่ มี ใ ครเลยที่ จ ะไม่ ถู ก
นินทา” ทุกคนต้องถูกนินทาหมด แม้แต่องค์สมเด็จพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้ายังถูกคนต�ำหนิติเตียน ถูกคนนินทา อะไร
กับพวกเราชาวบ้านธรรมดาธรรมดาจะไม่ถูกคนนินทา
32 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
ถ้าเราวางเรื่องอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ได้ เราก็ย่อม
จะมีความสุข สุขใครจะได้ ก็คอื ตัวของเราเองนีแ่ หละจะเป็น
ผู้ได้ความสุข
หลวงปู ่ ก็ พู ด พอสมควรแก่ เ วลา ก็ ข ออนุ โ มทนา
สาธุการกับพวกเราทุกคน ที่เข้ามาสวดมนต์ในห้องปันสุข
ขอให้พวกเราจ�ำเริญจ�ำเริญในธรรม มีความสุขกายสุขใจ
ขอให้มีความสุขด้วยกันหมดทุกคนเทอญ..

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 33
อยูเ่ พือ่ รอตาย
ขอเจริญธรรมและขอเจริญศรัทธาแก่บรรดาพวกเรา
ทุกคน
เราเคยถามตัวเราเองกันบ้างรึเปล่า ว่าทุกวันนี้พวก
เรานั้นอยู่รออะไร ขอให้ทุกคนลองตัง้ ค�ำถามภายในใจของ
ตัวเราเองว่า ทุกวันนี้เรานั่งรออะไร
เราทุกคนนัน้ ท�ำมาหากินกันอยูท่ กุ วีท่ กุ วัน อยูก่ นั ไปวัน
หนึง่ ๆ บางครัง้ วันหนึง่ ๆ นัน้ เราอาจจะไม่ได้คดิ ถึงความตาย
เลยก็ได้ เพราะว่าครั้งหนึ่งนั้นองค์สมเด็จพระบรมศาสดา
พระองค์ทรงตรัสถามพระอานนท์ว่า “อานนท์เธอนึกถึง
ความตายวันละกี่ครั้ง” พระอานนท์ทูลตอบองค์สมเด็จ
พระบรมศาสดาว่า “วันละ ๗ ครัง้ พระพุทธเจ้าข้า” องค์
สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรัสตอบพระอานนท์วา่  “อานนท์
เธอจงระลึกนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้า-ออก”
เหมือนพวกเรานี้ ถ้าพวกเราเป็นผูไ้ ม่ประมาท วันหนึง่ ๆ
ก็ขอให้พวกเรานัน้ จงหมัน่ ระลึกว่า “ทุกวันนีท้ เี่ รารออยูท่ กุ
วัน ก็เพือ่ รอความตาย” แต่ระหว่างทีพ่ วกเรานัน้ นัง่ รอความ
ตาย พวกเรานึกถึงอะไรกัน พวกเรานึกถึงรึเปล่าว่า ความตาย
อาจจะมาเยือนเราในวันนี้ อาจจะไม่มพี รุง่ นีส้ ำ� หรับเรา 
34 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
เพราะฉะนัน้ แล้ว ถ้าพวกเราทุกคนนึกถึงความตาย แม้
จะไม่ได้ทุกลมหายใจเข้า-ออก แต่วันหนึ่งๆ นั้นขอให้เราจง
เตือนสติ เตือนใจของเราให้ได้ เท่าทีจ่ ติ หรือเท่าทีส่ ติของเรา
จะก�ำหนดรู้ วันหนึง่ นัน้ เราจะระลึกนึกถึงความตายกีค่ รัง้ ก็ได้
แต่ขอให้เรานั้นจงพยายามนึกถึงความตายไว้ให้ได้ทุกวัน
แม้ไม่ได้ทุกลมหายใจเข้า-ออก
เพราะฉะนั้นแล้ว ระหว่างที่พวกเรานั่งรอความตาย
กันนี้ ไม่มใี ครในโลกนีท้ จี่ ะหนีความตายไปได้สกั คนเดียว ขอ
ให้พวกเราจงมอง มองคนทีเ่ รารู้จกั คนทีเ่ ขาพลัดพรากตาย
จากเราไปนั้น บางคนก็ใช้ชีวิตโดยประมาท บางคนก็ใช้ชวี ิต
อย่างคุ้มค่าที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ คือพยายามขวนขวายเอา
สิ่งที่จะติดตามตัวเราเหมือนเงาตามตัวเราไปได้ คือบุญ คือ
กุศลเท่านัน้  บุคคลเหล่านีไ้ ม่ได้นงั่ รอความตายเปล่าๆ บุคคล
เหล่านี้พยายามที่จะลด ละ เลิก กามคุณ กามกิเลส ตัณหา
ร้อยแปด กิเลสพันห้าทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นตัณหา
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา กิเลสน้อยใหญ่ทั้งหลาย
ทั้งปวง บุคคลเหล่านี้พยายามที่จะขัดเกลาโลภ โกรธ หลง
ให้ออกไปจากจิตจากใจของตัวเราเอง ขอให้เราทุกคนจงมี
เมตตา
ค�ำว่า “ให้เรามีเมตตา” เหมือนที่เราแผ่เมตตานั่น
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 35
แหละว่า สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดเป็นเพื่อนทุกข์ มีเกิด แก่
เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้นทุกคนเทอญ ใครอยากเกลียด
เรา ใครอยากโกรธเรา เราอย่าไปเกลียด อย่าไปโกรธเขา
ตอบก็แล้วกัน เพราะชีวิตเราจะได้มคี วามสุข
ถ้าบุคคลทีต่ งั้ อยูด่ ว้ ยความประมาท คือนัง่ รอวันหนึง่ ๆ
มัวหลงระเริงไปกับทางโลก ทางโลกียะ โดยไม่ได้ขวนขวาย
เอาบุญเอากุศลใส่ตวั เมือ่ เวลาเขาตายไปแล้ว บุคคลเหล่านี้
ก็จะไปนัง่ ร้องไห้ เพราะว่ามีอบายภูมเิ ป็นแดนเกิด เพราะคน
เหล่านี้ไม่เชื่อว่า บุญ-บาปมีจริง กรรมมีจริง
แต่ถ้าใครมีสติสัมปชัญญะ มีจิตที่รู้เท่าทันว่าเราถูก
โลกนี้มันหลอกลวงเอา ให้เรานั้นพยายามที่จะตกไปอยู่กับ
ทาส ทาสแห่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้เราหลงระเริงไปกับ
กามคุณกิเลสทั้งหลาย โดยให้เราไม่รู้ตัว พญามารเหล่านี้
พยายามจะหยอกล้อให้พวกเราไปติดกับ แล้วพญามารก็จะ
พาเราลงอบายภูม ิ ส่วนบุคคลทีไ่ ม่ตกเป็นขีข้ ้าของพญามาร
บุคคลเหล่านั้นก็จะมีสวรรค์เป็นที่เกิด
เพราะฉะนัน้ แล้ว ขอให้พวกเราอย่าลืมหมัน่ ให้ทาน
ทานคือการให้ หมัน่ รักษาศีล ศีลคือการส�ำรวมระวังกาย
วาจา ใจ ให้เป็นปกติ ภาวนาคือความตัง้ ใจมัน่ อย่างเรา
สวดมนต์ ถ้าเราตั้งใจมั่นก็ได้ช่อื ว่าเป็นภาวนา
36 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
คนมีบุญ คนที่จะท�ำบุญนั้นจะไม่ละจากทาน จะไม่ละ
จากศีล จะไม่ละจากการภาวนา แม้วา่ วันหนึง่ ๆ จะท�ำได้มาก
น้อยเท่าไรก็ไม่ส�ำคัญ ส�ำคัญว่าวันหนึ่งๆ เราอย่านั่งรอตาย
อยู่เฉย ๆ ขอให้เราจงสร้างกุศลผลบุญให้เกิดขึ้นมีภายในใจ
ของเรา โดยยึดมั่นในทาน ศีล ภาวนา
วั น นี้ ห ลวงปู ่ ก็ ข อพู ด ธรรมะเป็ น เวลาพอสมควร
ก็ขอน้อมจิตโมทนาบุญกับพวกเราทุกคน และขอน้อมจิต
อนุโมทนากับทุกคน ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ที่ได้บ�ำเพ็ญ
ความดี ขึ้ น แล้ ว ในโลกนี้ ข้ า พเจ้ า จะรู ้ ก็ ต าม ไม่ รู ้ ก็ ต าม
ขอน้อมจิตอนุโมทนากับท่านทั้งหลาย ขอให้ข้าพเจ้าจงมี
ส่วนได้ในกุศลผลบุญนั้นกับท่านทั้งหลาย และบุญกุศลอัน
ใดที่ข้าพเจ้าบ�ำเพ็ญดีแล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้ในกุศล
ผลบุญนี้ด้วยกับข้าพเจ้าด้วยเทอญ

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 37
อภิณหปัจจเวกขณ์ทงั้ ๕
ขอเจริญธรรม ขอความสุขสวัสดีจงพึงบังเกิดขึน้ มีกบั
พวกเราทุกคน ที่ได้เข้ามาสวดมนต์อยู่ในบ้านปันสุขหลังนี้
วันนี้วันพระ วันพระนั้นญาติโยมที่มีเวลาก็ได้น้อมน�ำ
เอากาย วาจา ใจ เข้ามารักษาอุโบสถศีล หรือที่เรียกกันว่า
ศีล ๘ นั้น แต่ละวัดตามบ้านนอก เขาก็จะนิยมมาถือศีล
อุโบสถช่วงเข้าพรรษา ตลอดพรรษาหนึ่ง ถึงวันพระทีหนึ่ง
เขาก็จะมาถือศีลอุโบสถคือศีล ๘ นั่นเอง และเป็นการได้
มาปฏิบัติธรรม และได้มาสวดมนต์ และได้มาฟังพระธรรม
ที่เหล่าพระสงฆ์นนั้ ได้เทศน์โปรดญาติโยมทั้งหลาย
องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสสอนพวกเราไว้ว่า ให้
เรานั้นจงพิจารณาถึง อภิณหปัจจเวกขณ์ ทั้ง ๕ คือให้เรา
พิจารณาทุกๆ วันว่า
๑. เรามี “ความแก่” เป็นธรรมดา เราไม่ลว่ งพ้นความ
แก่นี้ไปได้สักอย่างเดียว
๒. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เรามี “ความเจ็บ” เป็น
ธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เรามี “ความตาย” เป็น
ธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
38 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
๔. เราควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เราจะต้อง “พลัดพราก”
จากสิ่งที่รักที่ชอบใจทัง้ หลายทั้งสิ้น
๕. เราควรพิจารณาทุกๆ วันว่า เรามี “กรรมเป็นของ
ตัว” เราท�ำดีจักได้ดี เราท�ำชั่วจักได้ชั่ว
อภิณหปัจจเวกขณ์ทงั้ ๕ นัน้ คือสิง่ ทีพ่ ระพุทธเจ้าตรัส
สอน และน้อมให้พวกเรานัน้ เอามาพิจารณาอยู่เนืองๆ หรือ
ถ้าพวกเราพิจารณาอยู่ทุกๆ วัน เพื่อเป็นความไม่ประมาท
เพราะสังขารทั้งหลายทัง้ ปวงนั้น ย่อมมีแก่ มีเจ็บ มีตาย มี
ความพลัดพรากจากทรัพย์สินศฤงคาร ญาติพ่นี ้อง พ่อแม่
ผัวเมีย ลูกเต้า ลูกหลานทั้งหลาย และของที่รักใคร่ที่เรา
ชอบใจ เมื่อเราตายไปแล้ว เราก็จะเอาอะไรติดตัวไปด้วยไม่
ได้เลย สิ่งที่จะติดตัวไปได้นั้นก็คอื กรรมดี
ถ้าเราสามารถสร้างกรรมดีให้ได้ตลอด กรรมชั่วที่
ท�ำไว้ในชาติก่อนๆ นั้น ถ้าเราท�ำดีอยู่เหนือกรรมชั่ว เราก็
สามารถทีจ่ ะอยูเ่ หนือความชัว่ ในภพในชาติทแี่ ล้วๆ มา เพราะ
ชาตินเี้ ราทุกคนนัน้ มีความดีตดิ ตัวมาด้วยกันหมดทุกคน แต่
ความดีทตี่ ดิ ตัวมานัน้ เราทุกคนอาจจะยังไม่เห็นว่าความดีที่
ติดตัวเรามานัน้ อยู่ตรงไหน
เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กว่าจะตรัสรูเ้ ป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปศึกษาหลาย
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 39
ส�ำนัก หลายครูบา หลายอาจารย์ ไปทรมานพระวรกาย ท�ำ
ทุกสิง่ ทุกอย่างเพือ่ จะให้หนีทางพ้นทุกข์ แต่พระองค์นนั้ ก็ยงั
ไม่พน้ จากความทุกข์ จวบจนวันหนึง่ พระองค์นกึ ถึงความดีที่
พระองค์เคยท�ำเอาไว้ ความดีทพี่ ระองค์เคยท�ำเอาไว้นนั้ ก็คอื
เมื่อพระองค์ทรงติดตามพระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จไปแรกนา
ขวัญหรือท�ำพิธแี รกนาขวัญ แล้วพระองค์นนั้ ได้ปลีกออกไป
นัง่ ใต้ตน้ ไม้ แล้วก็ดลู มหายใจเข้า-ออก ทีเ่ รียกว่ากรรมฐาน
อานาปานสติกรรมฐาน เมือ่ พระองค์ไปนัง่ แล้วดูลมหายใจ เกิด
ความสงบ ความนิง่ เกิดจนถึงปฐมฌานขึน้ มา เมือ่ ถึงปฐมฌาน
แล้ว พระองค์กร็ สู้ กึ ว่าช่างมีความสุขเหลือเกิน เมือ่ พระองค์นนั้
นึกถึงความดี นีใ่ ห้เราเข้าใจเป็นอย่างนีน้ ะว่า พระองค์นนั้ กว่าจะ
นึกถึงความดีตรงนีไ้ ด้ ใช้ระยะเวลาตัง้ ๖ ปี หลังทรงออกผนวช
กว่าพระองค์จะระลึกถึงความดีตรงนีไ้ ด้ ว่าพระองค์นนั้ เคยได้
ปฐมฌาน เคยได้ความสงบตัง้ แต่อายุ ๙ ขวบ ความดีสง่ ผลให้
พระพุทธเจ้านึกถึงตอนพระองค์อายุ ๙ ขวบ 
อุปมาอุปไมย เหมือนพวกเราก็เหมือนกัน ความดีของ
พวกเรานั้น มีอยู่ด้วยกันหมดทุกคน แต่ความดีนั้นเราจะ
ระลึกนึกถึงได้ตอนไหนเท่านัน้ เอง อย่างน้อยพวกเราทุกคนมี
ศีล ๕ มาเกิดด้วยกันหมดทุกคน เพราะองค์สมเด็จพระบรม
ศาสดาทรงตรัสว่า “บุคคลทีจ่ ะเกิดเป็นมนุษย์ได้นนั้ ต้อง
40 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
อาศัยศีล ๕ ที่ตัวเองเคยประพฤติ เคยรักษามาแล้ว จึง
จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เหมือนพวกเราทั้งหลาย ก็ต้อง
เคยท�ำความดีมาแล้ว จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์”
วันนี้ก็ขออนุโมทนาในกุศลผลบุญกับพวกเราทุกคน
และวันพระนี้ ขอให้เป็นวันพระแห่งความสุขแก่พวกเราทุกคน 

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 41
ยึดพระรัตนตรัยเป็นทีพ่ งึ่
ก็ขอเจริญศรัทธา เจริญธรรมแก่พวกเราทุกคนที่ได้
เข้ามาสวดมนต์ในกลุ่มบ้านปันสุขในวันนี้
เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราทุกคนเกิดเป็นคนได้ทุก
วันนี้ ที่เราทุกคนต้องมีสรณะ 
สรณะ แปลว่า ต้องมีที่พึ่ง ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ เรา
จะท�ำกิจการงานหรือท�ำสิง่ ใดก็แล้วแต่ เราต้องมีทพี่ งึ่ อย่าง
ที่เราก่อนสวดธัมมจักฯ ว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้า 
พระธรรมเจ้าเป็นสรณะ เป็นทีพ่ งึ่ ของพวกข้าพเจ้า พระสงฆ์
เป็นสรณะ เป็นทีพ่ งึ่ ของข้าพเจ้า การทีเ่ รามีหลักหรือมีทพี่ งึ่ นัน้
เปรียบประดุจว่าเรามีเชือกที่มัดไว้กับธงชัย ธงชัยที่พวก
เราทุกคนอยากจะก้าวไปถึงคือพระนิพพาน เมื่อเรายึดเอา
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นสรณะเป็นทีพ่ งึ่ ของพวก
เราแล้ว เมือ่ เรายึดเอาสิง่ นีม้ า เราก็ตอ้ งหาว่า หนทางการไป
สู่ความสว่างนัน้ เราจะท�ำอย่างไรให้เราไปสู่ความสว่างได้ 
42 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
ความสว่ า งนั้ น จะต้ อ งเกิ ด ขึ้ น มี กั บ ใจของพวกเรา
เอง ถ้าใจของเราเบิกบาน ใจของเรามีปตี ใิ นธรรมะ ใจของเรา
มีปตี ทิ เี่ รายึดมัน่ ในคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
การที่เราจะเดินเข้าไปสู่หนทางแห่งความสว่างไสวได้นั้น
เมื่อเรายึดเอาสิ่งนี้มาเป็นที่พึ่งของพวกเราแล้ว ก็ขอให้เรา
จงเดินตามทางที่องค์สมเด็จพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่พระองค์นนั้ ได้สั่งสอนให้พวกเราเดินตาม เมื่อพวกเราเดิน
ตาม เราก็จะพบกับแสงสว่างกันด้วยหมดทุกคน
แสงสว่าง คือประทีป อุปมาอุปไมยว่าเราอยูใ่ นความมืด
มีบคุ คลหนึง่ ก่อขีไ้ ต้หรือก่อไฟให้เห็น เราก็จะเห็นว่ามีกองไฟ
มีคนจุดไฟขึน้ เราก็สามารถทีจ่ ะเดินไปหากองไฟเหล่านัน้ ได้
เหมือนองค์สมเด็จพระบรมครูเจ้าพระองค์ทรงจุดไฟให้เรา
เดินไปหาเส้นทางแห่งความสว่างไสวแล้ว ถ้าพวกเราทุกคน
พยายามก้าวเดินที่จะไปหาความสว่างไสว แล้วเราจะมีแต่
ความสุขใจ ความสุขที่เกิดขึ้นภายในใจคือความอิ่ม ความ
อิ่มที่เกิดขึ้นจากบุญนัน้ ที่เรียกว่าผัสสะ
ผัสสะนั้นเป็นอารมณ์ที่มันสัมผัสได้เฉพาะอารมณ์
ผัสสะอย่างเดียว ไม่ใช่อารมณ์ที่จับต้องกายกันได้ แต่รับรู้
อารมณ์วา่ เมือ่ เราท�ำบุญไปแล้ว เราสวดมนต์ไปแล้ว มันเกิด
ความอิม่ อยูใ่ นใจ มันเกิดความสุขอยูใ่ นใจ เมือ่ เราให้ทานก็ดี
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 43
รักษาศีลก็ดี เจริญภาวนาก็ดี ท�ำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นมี เราก็จะมี
แต่ความสุข เมื่อเรามีความสุขแล้ว สุขใจมันก็พลอยให้กาย
นั้นมีความสุขด้วย
เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าพวกเราทั้งหลายยึดมั่นถือมั่นใน
คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่
พึง่ แล้ว พวกเราทุกคนนัน้ ย่อมจะพบกับความสุขตลอดชาตินี้
จนกว่าเราจะถึงความตาย เพราะเรามีความสุขกับการทีเ่ รา
ได้สร้างกรรมดี หนีกรรมชั่วทัง้ หลาย
วันนี้หลวงปู่ก็ขอพูดธรรมะเล็กๆ น้อยๆ แค่นี้ให้พวก
เราได้ฟัง บุญใดกุศลใดที่เกิดขึ้นกับพวกเราทุกคน หลวงปู่
ขอน้อมจิตอนุโมทนาในกุศลผลบุญเหล่านัน้ แก่พวกเราทุกคน
และบุญกุศลใดทีเ่ กิดขึน้ กับหลวงปูแ่ ล้ว ขอให้พวกเราทุกคน
จงได้ในกุศลผลบุญนัน้ ร่วมกัน

44 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


ตัง้ สติกำ� หนดภาวนาด้วยสุญญตา
ก็ขอเจริญธรรม ขอความสุขสวัสดีจงพึงบังเกิดขึ้นมี
กับพวกเราทุกคน ทีไ่ ด้เข้ามาสวดมนต์ในบ้านปันสุขของเรานี้
การทีพ่ วกเราทัง้ หลายได้นอ้ มเอากาย วาจา ใจ มาสร้าง
ความดี มาสร้างบารมีให้ตัวเราเองนั้น ขณะที่เราก�ำลังฟัง
ธรรมนัน้ ขอให้พวกเราก�ำหนดสติรบั รู้ ภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม
สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรืออารมณ์บทหนึ่งบทใดก็ได้
แล้วแต่ว่าเมื่อเราภาวนาแล้ว สิ่งนั้นมันจะถูกกับจิต ถูกกับ
อารมณ์ของเรา เมือ่ จิตถูกกับอารมณ์ของเราแล้ว ได้ชอื่ ว่านัน่
แหละ มันถูกกับจริตของตัวเรา เมือ่ เราภาวนาบทหนึง่ บทใด
ก็ตามแต่ จะถูกกับอารมณ์ใด ก็ขอให้เราตั้ง สติ ก�ำหนด
ภาวนาด้วยสุญญตา
ค�ำว่า “สุญญตา” นัน้ คือให้เราใช้ความว่าง คือเราไม่มี
อะไรทัง้ สิน้ ไม่มอี ารมณ์ตวั หนึง่ ตัวใดเข้ามาในขณะจิตของเรา
จิตของเราที่ก�ำลังปฏิบัติ ขอให้เราทัง้ หลายนั้นจงพยายามมี
สติรเู้ ท่าทันอารมณ์ทงั้ หลายเหล่านัน้ แล้วให้พวกเราก�ำหนดรู้
ว่าอารมณ์ที่มันมาเกิดขึ้นภายในจิต ภายในใจของเรานัน้ คือ
อารมณ์อะไร
เมื่อพวกเรา “รู้” แล้ว ก็ให้เรา “วาง” เสีย เมื่อเรา
“วาง” แล้ว มันก็ “ไม่ม”ี อะไร
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 45
เพราะทุกสิง่ ทุกอย่างทีม่ นั เข้ามาในอารมณ์ในจิตใจเรา
นั้น จะเป็นอารมณ์ฝ่ายดีก็ตาม หรือจะเป็นอารมณ์ฝ่ายชั่ว
ก็ตาม สิง่ เหล่านีล้ ว้ นแล้วแต่เป็น “อนัตตา” คือความไม่มตี วั
ไม่มีตน ไม่มีอะไรทั้งหมดทั้งสิ้น สักแต่ว่ามี ขอให้เราก�ำหนด
จิตยึดมัน่ ในองค์ภาวนาอย่างเดียว เมือ่ เรามีจติ ยึดมัน่ อยู่กบั
องค์ภาวนา เมือ่ จิตของพวกเรายึดมัน่ แล้ว จิตของพวกเรานัน้
จะค่อยๆ สงบลง เมื่อจิตของพวกเราสงบลงแล้ว นั่นแหละ
จะเกิดเป็นสมาธิขึ้นมา คือมีใจตั้งมั่น
เมือ่ สมาธิเกิดกับพวกเราทุกคนแล้ว จิตใจของพวกเรา
ก็จะตั้งมั่นแล้ว เราก็จะมีสติที่พร้อมเพรียงแล้ว 
เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเรามีสติ มีสมาธิ ก็ย่อมก่อให้
เกิดปัญญาได้ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไปจนกระทั่งถึงเวลา
อันสมควร เมื่อพวกเรามีจิตตั้งมั่นอยู่ได้ระยะหนึ่ง จนเมื่อ
พวกเรานั้นถอนออกจากองค์ภาวนา หรือออกจากสมาธิ
กรรมฐานแล้ว ให้เราค่อย ๆ พิจารณาดูว่า สิ่งที่มันเกิดขึ้น
กับใจกับอารมณ์ของเรานัน้ มีอารมณ์ใดบ้างเข้ามาอยูภ่ ายใน
จิตใจของเรา เมือ่ พวกเรารู้เท่าทันอารมณ์ทงั้ หลายเหล่านัน้
แล้ว พวกเราก็จะได้รวู้ า่ อารมณ์ใดดี อารมณ์ไหนชัว่ ก็ให้เรา
ปล่อยวาง ไม่ควรเข้าไปยึดติดกับอารมณ์ทงั้ หลายเหล่านัน้
วันนีห้ ลวงปูก่ ข็ อพูดธรรมะเล็กๆ น้อยๆ ให้พวกเราได้ฟงั
ขอกุศลผลบุญอันใดทีไ่ ด้บงั เกิดขึน้ มีกบั พวกเราทุกคน
46 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
ใจสูก้ อ็ ยูเ่ หนือกิเลส
ขอเจริญธรรม เจริญศรัทธากับพวกเราทุกคน ที่พวก
เราได้เข้ามาสวดมนต์อยู่ในบ้านปันสุข 
ก่อนอื่นก็จะขอพูดถึงว่า “กิเลส” ค�ำว่า “กิเลส” นี้
พวกเราทุกคนรูว้ า่ กิเลสนัน้ มันเป็นของไม่ด ี แล้วเราลองถาม
ใจตัวเราเองว่า “ท�ำไมเรายังมีกเิ ลส ท�ำไมเราไม่ตดั กิเลส
อันมีกามฉันทะ ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาทั้งหลาย
ทั้งปวงนั้นให้ออกไปจากจิตจากใจของพวกเราทุกคน”
ที่เราไม่สามารถอยู่เหนือกิเลสได้ เพราะเรารู้ไม่เท่า
ทันกิเลส เราปล่อยให้กเิ ลสนัน้ เข้ามาครอบง�ำ มาสิง มาสูอ่ ยู่
ภายในจิตใจของพวกเรา เราถึงไม่มดี วงจิตแห่งความสว่างไสว
กันสักที เพราะเราพอหลงไปตาม เพลิดเพลินไปตามกามราคะ
ทัง้ หลาย คือเพลิดเพลินไปในกามคุณ ทีต่ า หู จมูก ลิน้ กาย
ใจ มันสัมผัสเอารูป รส กลิน่ เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
เมือ่ เราไปพลอยยินดีกบั สิง่ เหล่านัน้ ทีเ่ ป็นกิเลส เพราะ
ว่าอะไร เพราะว่าการฝึกสติของพวกเรานั้นยังไม่แข็งแกร่ง
สติของเรานัน้ ยังอ่อนแอ พอเห็นกิเลสมายัว่ ยุอารมณ์ภายใน
เราก็ปล่อยให้จติ ใจของเรานั้นคล้อยตามกิเลสเหล่านัน้ ไป
กิเลสนัน้ มันจะน�ำความสุขมาให้ตอนต้น พอตอนปลาย

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 47
และท่ามกลางนัน้ มันจะน้อมเอาความทุกข์เข้ามาให้เรา ถ้า
พวกเราไปหลงอยูก่ บั กิเลส อยูก่ บั ความสุขทีก่ เิ ลสมันมายัว่ ยุ
ไม่ว่าจะเป็น ตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ ถ้าเราหลงเพลิดเพลิน
ไปแล้ว เรียกว่าเราตกเป็นขีข้ า้ ของพญามาร ตกเป็นขีข้ า้
ของกิเลสไม่มวี ันที่สิ้นสุด
แต่ถา้ พวกเราพยายามมีสติ รูเ้ ท่าทัน รูป รส กลิน่ เสียง
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถ้าพวกเรามีความรูเ้ ท่าทันกับอารมณ์
ทั้งหลายเหล่านั้น อารมณ์อะไรขึ้นมา เราก็พยายามตัด
พยายามตัดมันให้ได้ ไม่เอามาติด ผูกติดไว้ในจิต ไว้ในใจ
ของเรา
ขอให้เราจงตั้งมั่นว่า “เราจะเป็นผู้ชนะ เราจะเป็น
ผู้อยู่เหนือกิเลสให้ได้” แม้ว่าชาตินี้มันจะอยู่เหนือกิเลสได้
หรือไม่ได้ไม่ส�ำคัญ ส�ำคัญขอให้เราอย่าทิ้งธรรมะ เราอย่า
ทิ้งความดี อย่าทิ้งบุญทิ้งกุศลทั้งหลาย ถ้าเราไม่ทิ้งธรรมะ
ไม่ทงิ้ บุญ ไม่ทงิ้ กุศลทัง้ หลายแล้ว พวกเรานัน้ ก็สามารถ
ที่จะเกาะโดยใช้ก�ำลังใจ 
ก�ำลังใจนี่ส�ำคัญที่สุด เพราะว่าถ้าก�ำลังใจของเราดี
เราก็ ส ามารถใช้ ก� ำ ลั ง ใจของเรานี่ แ หละเป็ น แนวทาง
เป็ น หนทางแห่ ง การต่ อ สู ้ กั บ กามตั ณ หา ภวตั ณ หา
วิภวตัณหา กิเลสน้อยใหญ่ทั้งหลายทั้งปวง
48 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
ขอให้เราจงเอาก�ำลังใจต่อสู้กับมันว่า เราก็รู้ว่าสิ่งนี้
เป็นกิเลส ถ้าเราสักแต่ว่า “รู้” ไม่เผลอปล่อยจิตปล่อยใจ
ไปสนุกตามอารมณ์กิเลสทั้งหลาย เราก็จะอยู่เหนือความ
ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง
วันนี้หลวงปู่ก็ขอพูดธรรมะให้พวกเราฟังเพียงเล็กๆ
น้อยๆ พอเป็นเครื่องสังเขป ก็ขอน้อมจิตอนุโมทนากุศลผล
บุญกับพวกเราทุกคน พวกเราทุกคนนั้นบุญใดเกิดขึ้นแล้ว
กับพวกเรา หลวงปู่ก็ขอน้อมจิตนี้โมทนาบุญกับพวกเราทุก
คนและบุญกุศลใดทีเ่ กิดขึน้ กับหลวงปูแ่ ล้ว ขอกุศลนัน้ ให้พวก
เธอทั้งหลายจงได้ในกุศลนี้ร่วมกับหลวงปู่ด้วยเทอญ

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 49
ความสุขทีแ่ ท้จริงคืออะไร
วันนี้จะขอกล่าวธรรมะเล็กๆ น้อยๆ ให้พวกเราได้ฟัง
จะขอพูดว่า “ความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ตรงไหน”
ความสุขที่แท้จริงนั้นไม่ใช่อยู่กับการที่เราจะท�ำธุรกิจ
หรือท�ำอะไรประสบความส�ำเร็จ มีเงินทองมหาศาล อันนั้น
เรียกว่าเป็น “ความสุขของทางโลก”
ส่วนความสุขที่แท้จริงนั้น เราต้องเข้าใจว่า “เราเกิด
มาท�ำไม” ถ้าเรารู้ว่าเราเกิดมาท�ำไมนั้น เราก็จะแสวงหา
หนทางแห่งความสุขทีแ่ ท้จริงให้กบั จิตใจของตัวเราเอง จิตใจ
ของเรานั้นมันร้อน มันว้าวุ่น เพราะว่าเรานั้นยังไม่รู้หรือยัง
ค้นหาความสุขที่แท้จริงนั้นเรายังหาไม่พบ
“ความสุขที่แท้จริง” ตามที่องค์สมเด็จพระบรม
ศาสดาพระองค์ทรงตรัสสั่งสอนให้พวกเราทั้งหลายนั้น ได้
เป็นผู้ประพฤติ ได้เป็นผู้ปฏิบัติตาม คือการท�ำสมาธิ
การท�ำสมาธิภาวนา หรือท�ำกรรมฐานนั้น เมื่อเรา
ท�ำแล้วจิตใจของเราสงบตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว เราจะ
พิจารณาดูลมหายใจเข้า-ออกเป็นอารมณ์อานาปานสติ หรือ
ว่าเราจะพิจารณาบริกรรมภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆ อย่าง
หนึง่ อย่างใดก็ได้ หรือดูลมหายใจเข้า-ออก ช้าๆ เข้าก็รู้ ออก
50 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
ก็รู้ ท�ำใจให้สงบตามนัน้
เมือ่ เราพยายามมีสติสมั ปชัญญะ รูล้ มหายใจเข้า รูล้ ม
หายใจออก หรือจะภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัม
โม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ได้ เมื่อจิตของเรามันตัง้ มั่น
เรียกว่าสมาธิเกิดขึ้นแล้ว เมื่อสมาธิเกิดขึ้นกับพวกเรา เราก็
จะรู้ว่าความสุขทีแ่ ท้จริงนัน้ มันอยูต่ รงทีใ่ จของเรา ไม่สง่
ออกนอก เป็นสมุทยั คือไม่คดิ ให้มนั ทุกข์ หาเรือ่ งอะไรเข้า
มาใส่จติ ใส่ใจของเรา เราจะไม่พะวงในเรือ่ งทีย่ งั มาไม่ถงึ และ
ไม่หวนไปคิดถึงอดีตที่ผ่านมา
ขอให้เราอยู่กับปัจจุบันตรงนี้ ขณะนี้ ว่าเราก�ำลังนั่ง
สวดมนต์ เราก�ำลังนัง่ ภาวนา ให้เรารู้อยู่เป็นสภาวะอยู่ตรงนี้
เมือ่ เรารูอ้ ยูต่ รงนีแ้ ล้ว จิตของเราสงบแม้เพียงแค่ชา้ งสะบัดหู
งูแลบลิน้ เป็นขณิกสมาธิ พระพุทธเจ้ายังทรงตรัสสรรเสริญว่า
บุคคลใดก็แล้วแต่ ทีไ่ ด้ทำ� กรรมฐานเป็นอารมณ์เกิดเป็น
ความตั้งใจมั่นที่เรียกว่าสมาธิ นั่นแหละเป็นผู้ประเสริฐ
แล้ว
ในวันหนึ่งๆนั้น ถ้าพวกเราทุกคนพยายามที่จะน้อม
จิตน้อมใจของเรา ให้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน ให้อยู่กับความ
สุขที่แท้จริง แล้วเราก็จะเป็นผู้ที่เรียกว่า “มนุษย์” เพราะ
ว่ามนุษย์นั้นแปลว่า “สัตว์ผู้ประเสริฐ” เมื่อเราเป็นสัตว์
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 51
ผู้ประเสริฐแล้ว เราก็จะเป็นกัลยาณชน แล้วก็จะเข้าสู่ความ
เป็นอริยบุคคล
ขอให้เราตัง้ ใจว่าวันนี้ พรุง่ นีเ้ ราไม่รวู้ า่ มันจะมาถึงเรารึ
เปล่า ขอให้เราท�ำวันนีใ้ ห้ดที สี่ ดุ เท่าทีเ่ ราจะท�ำได้ หาความ
สุขทีแ่ ท้จริงให้ตวั เองบ่อยๆ แล้วเราก็จะเป็นผูช้ นะกิเลส
ชนะมาร ทีม่ นั อยูใ่ นใจของเรา เราต้องใช้กำ� ลังใจ ใช้กำ� ลัง
ใจของเรานีแ่ หละต่อสูก้ บั ขันธมารก็ดี กิเลสมารก็ดี ทีม่ นั
อยู่ในใจของเรา เราไม่ต้องไปสู้กับใคร ไม่ต้องไปดูใคร
พยายามดูตวั เราเองให้มากทีส่ ดุ ถ้าเรารูต้ วั เราเองว่าจริต
นิสยั เรานัน้ เป็นอย่างไร แล้วเราก็เริม่ แก้ไข เมื่อเราแก้ไขแล้ว
เราก็จะอยู่ที่ไหนก็จะมีแต่ความสุข
วันนี้ก็ขอพูดธรรมะเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้พวกเราได้ฟังพอ
เป็นสังเขปต่อไปเตรียมกรวดน�้ำอุทิศกุศลผลบุญให้กับผู้มี
พระคุณของเราทัง้ หลาย

52 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


ตืน่ พร้อมสติ หลับอย่างมีสติ
ขอเจริญสุข ขอความสวัสดี จงมีแก่พวกเราทุกคนที่
ได้เข้ามาสวดมนต์ในบ้านปันสุขในวันนี้
วันนี้ก็จะขอพูดธรรมะเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นเครื่อง
จรรโลงเสริมสติปัญญาให้แก่พวกเราทุกคน
ท�ำอย่างไรตืน่ นอนปุบ๊ จะได้บญ ุ ปับ๊ เมือ่ เราตืน่ นอน
แล้ว เมื่อตื่นปุ๊บขอให้เราตัง้ สติไว้ตลอดเวลาทุกเช้าที่เราตื่น
พอตืน่ ปุบ๊ อย่างหลวงปูน่ ี้ เวลาลุกก็จะภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม
สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ให้ได้ ๙ จบ
เมื่อได้ ๙ จบแล้ว นับว่าเราตื่นมาเพื่อจะมารับเอา น้อมเอา
กระแสบุญที่เราตื่นขึ้นมายังมีลมหายใจอยู่ เราจงขอบคุณ
ว่าเราตืน่ ขึน้ มานัน้ เรายังมีลมหายใจทีจ่ ะท�ำความดีต่อไปใน
วันที่เราตื่นแล้ว
เมื่อเราตื่นด้วย พุทโธ ธัมโม สังโฆ ถ้าเราท�ำอย่างนี้
เป็นประจ�ำมันก็จะเป็นความเคยชิน พอตื่นปุ๊บมันจะ พุทโธ
ธัมโม สังโฆ ของมันเองโดยอัตโนมัติ โดยเราไม่ต้องไปคอย
บอกมัน สติมันจะเป็นตัวเตือนเราเอง
เมื่อเรามีบุญนั้นแต่เช้าแล้ว วันนั้นนับว่าเราจะท�ำ
กิจการงานสิ่งใด หรือท�ำอะไรก็แล้วแต่ การงานของเรานัน้
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 53
อาจจะส�ำเร็จ อาจจะมีคนมาอุปถัมภ์ค�้ำชู ท�ำอะไรก็ส�ำเร็จ
ลุล่วงไปได้ด้วยดี เพราะว่าพวกเรานัน้ มีบุญ มีใจเกาะอยู่กับ
กระแสบุญ
เมือ่ เรามีใจเกาะอยูก่ บั กระแสบุญ บุญก็อยูก่ บั เรา เมือ่
เรามีบุญ เราจะท�ำอะไรก็ส�ำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
หลวงปูก่ ข็ อฝากให้พวกเราทุกคนตืน่ นอนปุบ๊ พยายาม
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ให้ได้ ๙ ครั้ง แล้วท�ำอย่างนี้ทุกวัน ก่อน
จะนอนก็ให้ท�ำ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ตื่นก็ท�ำ นอนก็ท�ำ ให้
ท�ำเป็นนิจศีล ให้ท�ำมันจนชิน จนสติมันสามารถเตือนบอก
ตัวเราเองได้
วันนีห้ ลวงปูก่ ข็ อพูดธรรมะให้พวกเราฟังเพียงแค่นี้ วัน
นี้ก็ขออนุโมทนากับพวกเราทุกคนที่ได้เข้ามาสวดมนต์

54 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


วาระจิตสุดท้าย
ขอเจริญธรรม ขอความสุขสวัสดีจงพึงบังเกิดขึน้ มีกบั
พวกเราทุกคน
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัส
สัง่ สอนไว้วา่ “เมือ่ วาระจิตสุดท้ายของเรานัน้ ทีจ่ ะเคลือ่ น
ออกจากธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น�้ำ ลม ไฟ ที่เรียกว่าขันธ์ ๕
นั้น จิตตรงนั้น นึกถึงอะไร ก็จะไปจุติเกิดขึ้นตรงนั้น”
ในสมัยพุทธกาล มีเศรษฐีผู้หนึ่งเป็นเศรษฐีที่ร�่ำรวย
มาก มีเงินทองมากมายมหาศาล แต่เศรษฐีคนนี้เป็นคน
ขีต้ ระหนี่ เป็นคนขีเ้ หนียว เป็นคนขีง้ ก เงินทองทีต่ วั เองหามา
ได้นนั้ ไม่ยอมเอาไปซือ้ อาหารกับข้าว ปลูกบ้านสร้างเรือนดีๆ
ไม่ยอม เพราะว่าเสียดายเงินที่ตัวเองหามาได้ ตกกลางคืน
เวลาคนในบ้านหลับสนิทกันหมด แกก็จะเอาเงินเอาทองนัน้
ไปฝัง แอบซ่อนไม่ให้ใครเห็น แม้แต่เมีย แม้แต่ลูก ก็ไม่ยอม
แบ่งทรัพย์สมบัตใิ ห้เพราะความตระหนี่ คนทีไ่ ม่รจู้ กั ทาน ศีล
ภาวนา ก็เป็นคนโง่แบบนีแ้ หละ คือเป็นคนทีห่ าเงินได้แต่เก็บ
อย่างเดียว ไม่รู้จักเอาออกมาใช้จ่าย
จวบจนวันหนึ่งเศรษฐีผู้น้ไี ด้ตายลง ในขณะที่ก�ำลังจะ
ตายนั้น ที่บ้านของเศรษฐีมีแม่หมาตัวหนึ่งก�ำลังตั้งท้องอยู่
เศรษฐีผู้นี้ก็ไปเกิดเป็นลูกหมา และก็ห่วงสมบัติ วันหนึ่งๆ
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 55
นั้นก็จะไปนั่งเฝ้าอยู่ที่ตัวเองเคยฝังสมบัติเอาไว้ จนวันหนึ่ง
พระพุทธเจ้าของเราท่านได้เดินออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ลูก
เศรษฐีมาใส่บาตร พระพุทธเจ้าก็ตรัสกับลูกเศรษฐีวา่ “นีเ่ ธอ
ลูกหมาตัวนั้น อดีตชาติคือพ่อของเธอนะ เธอจงดูแลหมา
ตัวนี้ให้ดี ถ้าเธอดูแลหมาตัวนี้ดีแล้ว หมาตัวนี้จะพาเธอไป
น�ำทรัพย์สมบัติที่พ่อของเธอนั้นได้ฝังเอาไว้ตอนที่มีชีวิตมี
ร่างกายเป็นมนุษย์” ลูกเศรษฐีก็ดูแลหมาตัวนัน้ อย่างดี หมา
ตัวนัน้ ห่วงสมบัตกิ เ็ ลยเอาเท้าไปตะกุยดู ว่าสมบัตขิ องตัวเอง
นัน้ ยังอยูร่ เึ ปล่า พอสุนขั คุย้ ดินออกแล้ว ก็ยงั รูว้ า่ ทรัพย์สมบัติ
ของตัวเองยังอยู่ พอดีลูกชายของเศรษฐีนั้นมาเห็นเข้าพอดี
ก็เลยรู้ว่าที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้นเป็นเรื่องจริง คือหมาตัว
นีค้ อื พ่อของตัวเอง ทีจ่ ะน�ำสมบัตมิ าให้แก่เขา ลูกชายเศรษฐี
นั้นเมื่อได้น�ำทรัพย์สมบัติของพ่อที่ฝังเอาไว้ก็เก็บขึ้นเอาไว้
บนบ้านบนเรือน แล้วก็แบ่งส่วนหนึ่งนั้นท�ำทาน แล้วอุทิศ
ให้พ่อของตัวเอง
เราอย่าสับสนนะ ค�ำว่า “แม้แต่พ่อตัวเองนัน้ เป็นสัตว์
เดรัจฉาน” คือเกิดเป็นหมา ค�ำว่า “เกิดเป็นหมา” นัน้ ถ้า
พูดตามตรงเราจะรู้ว่าหมานั้นยังไม่สามารถรับส่วนบุญได้
แต่ว่า “ความกตัญญู” ที่ลูกมีต่อพ่อนั้นก็เลยท�ำทานอุทิศ
ให้พ่อของตัวเอง เพราะเมือ่ เขาละจากอัตภาพ การเป็นสุนัข
หรือการเป็นหมาแล้ว เขาจะได้ไปเสวยวิบากบุญ เหมือนกับ
56 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
ว่าลูกชายนัน้ ท�ำบุญรอไว้ให้แล้ว ท�ำบุญสะสมไว้ให้แล้ว รอ
แต่วา่ พ่อของตัวเองจะละจากการเป็นหมา จิตวิญญาณก็จะ
ได้ไปเสวยบุญที่ลูกชายท�ำไว้ให้
อันนี้ก็สอนให้พวกเราทุกคนเข้าใจว่า ในวาระจิต
สุดท้ายของพวกเรานั้นส�ำคัญที่สุด เพราะว่าการที่เราไป
หวงหรือเราไปยึดติดกับอะไรไว้ เราก็ต้องไปอยู่ตรงนัน้
ถ้าเรายึดติดกับสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล อย่างน้อยก็มี
การเกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดา
ถ้าเราไปยึดกับสิ่งที่มันเป็นกิเลส กามคุณทั้งหลาย
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาทั้งหลาย เราก็จะต้องไป
รับสภาพภพภูมทิ ี่เราส่งจิตส่งใจของเรานัน้ ไปนึกถึง
เพราะฉะนัน้ แล้ว ขอให้เราจงฝึกจิตของเราให้นกึ ถึง
แต่ความดี ให้นึกถึงแต่อ�ำนาจของบุญกุศล แล้วเราจะ
ได้ไปสู่ภพภูมดิ ีๆ
วันนี้หลวงปู่ก็ขอพูดธรรมะให้พวกเราฟังเล็กๆ น้อยๆ
พอเป็นสังเขป ก็ขอน้อมจิตนี้อนุโมทนาในกุศลผลบุญกับ
พวกเราทุกคน บุญใดกุศลใดทีเ่ กิดขึน้ กับพวกเราทุกคนแล้ว
หลวงปู่ก็ขอน้อมจิตนี้อนุโมทนาบุญด้วย และบุญใดกุศลใด
ที่เกิดขึ้นกับหลวงปู่แล้ว ขอให้พวกเราทุกคน จงมีส่วนได้ใน
กุศลนี้ร่วมกับหลวงปู่ด้วยเทอญ

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 57
ทุกข์เพราะอยาก อยูไ่ ม่ยากเพราะฝึกท�ำใจ
ก็ขอเจริญธรรม ขอความสุขสวัสดีจงพึงบังเกิดขึ้นมี
กับพวกเราทุกคน ที่ได้เข้ามาสวดมนต์กันในวันนี้
ชีวิตของพวกเรานั้นที่ตกอยู่ในความทุกข์เพราะอะไร
การทีเ่ ราตกอยูใ่ นความทุกข์นนั้ ก็เพราะว่าความอยาก ความ
อยากไม่มที ี่สนิ้ สุดของพวกเรานี่แหละ เป็นต้นเหตุก่อให้เกิด
เป็นตัวทุกข์ข้นึ มา
บางครั้งเราไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ไม่
อยากที่จะพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่แสนหวงของพวกเรา แต่
เราทุกคนนั้นก็ไม่สามารถจะหนีสิ่งเหล่านี้ไปได้ ความทุกข์
หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่มันไม่ได้ดังใจของเรานัน้ มันก็เกิดเป็น
ความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์ในใจ ทุกข์ในกาย สภาวะทั้งหลายนั้น
ที่มันเกิดจากความทุกข์ข้นึ มา
ทุกข์ก็แปลว่า ความไม่สบาย ความไม่สบายใจ ความ
ไม่สบายกาย สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ทงั้ สิ้น ถึงเราไม่
อยาก เมือ่ เราเกิดมาแล้ว เราก็หนีความแก่ ความเจ็บ ความ
ตาย ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจ พวกเราทุกคนนั้น
ก็ไม่สามารถหนีสิ่งเหล่านี้ไปได้
เมื่อเราหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้ ถ้าพวกเรานัน้ ยอมท�ำใจ
58 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
รับสภาวะสิง่ ทีม่ นั จะเกิดขึน้ กับพวกเรา ถ้าเราสามารถท�ำใจ
ยอมรับสิง่ เหล่านีไ้ ด้ ความทุกข์ทงั้ หลายนัน้ มันก็จะไม่เกิดขึน้
มีภายในจิตใจของพวกเรา เพราะว่าเราสามารถยอมรับทุกสิง่
ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ได้ เพราะว่าเรานัน้ ยังได้เกิดมา
ทันพระธรรมค�ำสั่งค�ำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรสัมมา
สัมพุทธเจ้า เมือ่ เราเกิดมาทันค�ำสัง่ ค�ำสอน และเราได้ศกึ ษา
ในพระสัจธรรมเหล่านั้น ถ้าเรารู้จักการให้ทาน รักษาศีล
เจริญภาวนา เพื่อละออกจากความทุกข์ในวัฏสงสารที่มัน
เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้นในโลกใบนี้
เมื่อโลกใบนี้ที่เราได้ใช้ชีวิตอยู่ ขอให้พวกเรานั้นจงใช้
ชีวิตอยู่ให้คุ้มค่า เพราะว่าเราไม่รู้ว่า เราจะละจากโลกนี้ไป
ในวันหนึ่งคืนใด เราไม่สามารถผลัดวันประกันพรุ่งได้ เมื่อ
มันถึงเวลาของพวกเรา เราก็หนีมันไม่พ้น ถ้าเราสามารถ
ท�ำใจไว้เสียตั้งแต่ตอนนี้ เมื่อถึงเวลาความตายมาเยือนเรา
จริงๆ เราจะได้ไปสบาย เพราะเรานัน้ สามารถท�ำใจไว้ได้แล้ว
อย่างทีท่ า่ นพุทธทาส ท่านกล่าวว่า “การฝึกตายก่อน
ตาย” คือให้เห็นร่างกายของเรานี้ เกิดมาก็ตอ้ งตาย เพราะ
ไม่มีใครหนีพ้นสักคนเดียว เมื่อเราหนีความตายไปไม่พ้น
เหมือนทีห่ ลวงปูบ่ อกนัน่ แหละว่า เราต้องฝึกตายก่อนตาย และ
พยายามศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 59
ฐาตุ จิรงั สะตัง ธัมโม..ขอพระสัจธรรมแห่งองค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงตัง้ อยูช่ วั่ นิรนั ดร์กาล และขอให้พวก
เราทุกคนนัน้ จงมีปญ ั ญามองเห็นโทษ มองเห็นโทษของการเกิด
การแก่ การเจ็บ การตาย ความพลัดพรากจากสิง่ ทีร่ กั ทีพ่ อใจ
ถ้าเราเห็นโทษเหล่านีไ้ ด้ และยอมใช้ปญ ั ญารับสภาวะสิง่ ทัง้
หลายทัง้ ปวงเหล่านีไ้ ด้ เรานอนก็เป็นสุข ยืนก็เป็นสุข เดินก็
เป็นสุข นั่งก็เป็นสุข
ก็ขออนุโมทนากุศลบารมีทงั้ หลายร่วมกับพวกเราทุก
คน วันนีห้ ลวงปูก่ ข็ อพูดธรรมะให้พวกเราเข้าใจกันเพียงเล็ก ๆ
น้อย ๆ ก็ขออนุโมทนากุศลผลบุญกับทุกคน

60 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


ผูเ้ ดินทางทีไ่ ม่สญ
ู เปล่า
ก็ขอเจริญสุข ขอความสุขสวัสดีจงพึงบังเกิดขึ้นมีกับ
พวกเราทุกคน
ชีวิตของพวกเรานั้นเปรียบเหมือนว่า ขณะนี้ ตอนนี้
พวกเราทุกคนได้เข้ามาสวดมนต์และก�ำลังที่จะฟังธรรมะที่
หลวงปูจ่ ะพูด ขอให้เรานัน้ ขณะนีจ้ งอย่าเอาอะไรมาแบกไว้ให้
หนัก จงสลัดทิง้ ทุกสิง่ ทุกอย่าง ท�ำใจให้ผอ่ งแผ้วและเบิกบาน
พร้อมที่จะรับฟังธรรม
เพราะถ้าเรานั้นเอาอะไรก็แล้วแต่มาแบกเข้าไว้ เรา
ก็จะมีแต่ความหนัก เมื่อเราหนักแล้วเราไม่สลัดมันทิ้ง เราก็
ต้องแบกของหนัก เป็นทุกข์อยู่อย่างนี้อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้า
เรารู้แล้ว เราสลัดทิ้งของหนักทั้งหลายเหล่านั้นไปได้ เราก็
จะเป็นผู้อยู่อย่างสบาย เป็นผู้อยู่อย่างมีความสุข
เพราะชีวติ ของพวกเรานัน้ เปรียบเหมือนการเดินทาง
ขณะนีเ้ ราได้เดินทางกันอยูท่ กุ วัน จนกว่าชีวติ ร่างกายสังขาร
ของเรานัน้ จะแตกสลายไปในทีส่ ดุ เราก็หยุดเดินทางในภพใน
ชาตินี้ แต่เราจะเดินต่อในภพภูมใิ หม่อกี นัน้ หรือเปล่า ก็ขนึ้ อยู่
ที่ว่าการประพฤติการปฏิบัติของพวกเรา
อัตตา หิ อัตตโน นาโถ..ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 61
ดูอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่าพระ-
อรหันต์ทงั้ หลาย เมือ่ พระองค์นนั้ พึง่ ตัวเองก่อน เมือ่ พึง่ ตัวเอง
แล้ว ได้สำ� เร็จกิจ ท�ำให้กเิ ลสน้อยใหญ่ ตัดสังโยชน์ ๑๐ ไปได้
บรรลุเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพระอรหันต์
พระองค์และเหล่าพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น ทรงยืนด้วยขา
ของตัวเอง จนส�ำเร็จมรรคผล
เมื่อส�ำเร็จมรรคผลแล้ว พระองค์ก็เอาพระธรรมที่
พระองค์เห็นแล้ว หรือเหล่าพระอรหันต์ทงั้ หลายทีเ่ ห็นธรรมะ
ทัง้ หลายแล้ว ก็เอาออกมาสัง่ สอนให้แก่เวไนยสัตว์ทงั้ หลาย ก็
คือพวกเรานีแ่ หละ ได้เข้าถึงซึง่ รสแห่งพระสัทธรรม เพราะว่า
..สั พ พะระสั ง ธั ม มะระโส ชิ น าติ . .รสใดใดในโลกนี้
จะสู้แห่งรสของพระธรรมนั้นไม่ได้อกี แล้ว
ถ้าพวกเราทั้งหลาย ได้เข้ามาศึกษาในพระสัจธรรม
แล้วน้อมเอาไปประพฤติ เอาไปปฏิบตั ิ เพือ่ ให้เห็นความรูแ้ จ้ง
เห็นจริงในสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์
นั้นได้ทรงตรัสรู้ดีแล้ว เราก็จะเกิดความแจ้งเห็นจริง หรือ
เห็นประจักษ์เกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา
ในขณะทีช่ วี ติ ของเราก�ำลังเดินทางอยูน่ ี้ เราอย่าปล่อย
ให้การเดินทางของเรานัน้ เป็นไปได้อย่างเปล่าประโยชน์ โดย
หาสาระแก่นสารอะไรให้กบั ตัวเราเองไม่ได้เลย ปล่อยมันไป
62 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)
วันหนึ่ง วันหนึ่ง รอความตายอยู่เท่านั้นเอง เราอย่าปล่อย
เวลาอันมีค่ามหาศาล ทุกลมหายใจเข้า-ออก เมื่อเราไม่
ปล่อยสิ่งที่มีสาระ มีแก่นสาร ทุกลมหายใจเข้า-ออกของ
พวกเรานัน้ ย่อมมีคุณค่า ย่อมมีประโยชน์
วันนีห้ ลวงปูก่ ข็ อพูดธรรมะเพียงเล็กน้อยให้พวกเราได้
ฟัง พอเป็นเครื่องเตือนสติปัญญาแก่พวกเราทุกคน..

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 63
รายชือ่ เจ้าภาพร่วมพิมพ์หนังสือ
1. คุณนริศรา-เอกรินทร์ อินก�ำแหง และครอบครัว ๙,๙๐๐
2. คุณเพ็ญพร พงษ์พรรณเจริญ และครอบครัว
คุณติณณ์ อินทพิเชฎฐ์ ๕,๐๐๐
3. คุณสุนัย-สุจรรยา สานตะพงษ์ และครอบครัว ๔,๐๐๐
4. คณะผู้ถือศีลอุโบสถวัดใหม่ปลายห้วย ๓,๔๔๐
5. คุณมิญช์ อินทพิเชฎฐ์ ๓,๐๐๐
6. คุณเทพชัย สนธยานนท์ ๓,๐๐๐
7. คุณรัศมี-นรุตม์ ธันยธร ๓,๐๐๐
8. คุณแม่เหนียม หรุ่นโพธิ์ พร้อมลูกหลาน ๒,๕๐๐
9. คุณปรีชา ศรีอัศวกุล ๒,๐๐๐
10. คุณอรุณวดี ธนวลีกุล และครอบครัว ๒,๐๐๐
11. คุณเพ็ชรรัตน์ พงษ์สุรพิพัฒน์และครอบครัว ๒,๐๐๐
12. พระบวร ฐิตเมโธ (ดิษฐ์บ�ำรุง)-แม่ชพี รทิพย์ ชมชื่น -
ลีน่า เจียรธนะกานนท -นิรมล เกียรติสมทรัพย์ ๒,๐๐๐
13. คุณอรรถพล ฉัตรตระการ ๒,๐๐๐
14. คุณกัญชริญา เนียมประเสริฐพร ๑,๒๐๐
15. คุณธนู เนียมประเสริฐพร ๑,๒๐๐
16. คุณธนวัฒน์ ฉันทจิตปรีชา ๑,๒๐๐
17. ด.ช.ธนากฤต ฉันทจิตปรีชา ๑,๒๐๐
18. คุณนันทรัตน์ เนียมประเสริฐพร ๑,๒๐๐
19. คุณโอภาส-สุกัญรัตน์ น่วมบาง และครอบครัว ๑,๒๐๐
20. คุณสุรพงษ์-มาลี-ยุพา-ธนัชชา บูรณะบุญวงศ์
และครอบครัวลูกหลาน ๑,๑๐๐
21. พระครูววิ ัฒน์วรสถิตย์ ๑,๐๐๐
22. เด็กท้ายกุฏิ ๑,๐๐๐
23. คุณสุรศักดิ์–บุญ ผ่อง–กนกกร ทิมะณี ๑,๐๐๐
24. คุณรุ่งพันธุ์–พรรณทิพา กลมดวง ๑,๐๐๐
25. คุณเอกประภู ศรีม่วง และครอบครัว ๑,๐๐๐
26. คุณวิทยา-พิชฎา และครอบครัว ๑,๐๐๐
27. คุณธีษิณ-เขมปภาสร ทรงอุดมวัฒนา และครอบครัว ๑,๐๐๐
28. คุณศราวุธ-รุ่งทิพย์ โภชนะสมบัติ ๑,๐๐๐
29. คุณโกเมศ -ธนาภรณ์ แก้วผลึก ๑,๐๐๐
30. นายแพทย์ศราวุธ ศรีดี ๑,๐๐๐
31. คุณศิวัช เหมือนฤทธิ์ ๑,๐๐๐
32. คุณพัฒนา-ชูใจ พิศกนก ๑,๐๐๐

64 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


33. คุณติณณารัตน์ ชลสุข ๑,๐๐๐
34. คุณจิโรตต์ บูรณะบุญวงศ์ และครอบครัว ๑,๐๐๐
35. คุณนพดล เลื่อมนรินทร์ และครอบครัว ๑,๐๐๐
36. คุณบัญชา ใช่ยั่งยืน และครอบครัว ๑,๐๐๐
37. คุณปนัดดา จันทร์ศรี และครอบครัว ๑,๐๐๐
38. คุณสรวัชร์ ยืนยงค์ และครอบครัว ๑,๐๐๐
39. คุณแม่ไน้-สุภัค และครอบครัวศรีสง่ากุล ๑,๐๐๐
40. คุณจิรายุฑธ มหวานิช–ณิชาภา ศิวะมนตรี ๑,๐๐๐
41. ผอ.อดิศร–นภากร-ภูวดล ทิพย์ท�ำ ๑,๐๐๐
42. คุณภิเษก โพพิศ และครอบครัว ๑,๐๐๐
43. คุณจอม และครอบครัว ๑,๐๐๐
44. คุณนงลักษณ์ จารุณัฐเกียรติ พร้อมบุตร ๑,๐๐๐
45. คุณเพ็ญบุญ-วิชาญ ศิริวัฒนาสุนทร ๑,๐๐๐
46. คุณปริชาติ ฟิชเชอร์ และครอบครัว ๑,๐๐๐
47. คุณวราภรณ์ เข็มทอง ๑,๐๐๐
48. คุณวิฑูรย์ พวงจันทร์ และครอบครัว ๑,๐๐๐
49. คุณอุดมจิต ลิ้มปิติ ๑,๐๐๐
50. คุณสิภาลักษณ์ ธรรมพีรสิงห์ ๑,๐๐๐
51. ป๋าจือ-แม่สิวกี้ แซ่หลี-อ้ามฮั่น-แม่ลัดดา ก่อผล-แม่เนย ๑,๐๐๐
52. คุณพีรพงศ์ เพชรจิราวุฒิ และครอบครัว ๑,๐๐๐
53. คุณทวีชัย โชติชินศรี ๑,๐๐๐
54. นพ.พีรพงศ์ เจียมจิรชาติ-คุณแม่อชิรญา ประภากรทธา ๑,๐๐๐
55. คุณมัทฑนา กันน�้ำอ่าง ๑,๐๐๐
56. คุณการะเกต ดาราเรือง และครอบครัว ๑,๐๐๐
57. คุณรัชกฤช สุทธาชีพ ๑,๐๐๐
58. คุณกันต์กนิษฐ์ สิริวรเกษม และเพื่อนๆ ๑,๐๐๐
59. คุณอ�ำนวย-ประภาพรรณ ตัณฑ์ศุภศิริ ๑,๐๐๐
60. ดร.เกศศิณี ตระกูลทิวากร ๑,๐๐๐
61. คุณแม่กิ้มจันทร์ ทองสงค์ ๑,๐๐๐
62. คุณแถม ข�ำชัย ๑,๐๐๐
63. คุณพงษ์พิสุทธิ์-รมณียา ศิริแตง ๑,๐๐๐
64. คุณประภาพร จันท�ำ ๑,๐๐๐
65. คุณพรหมสร-พชร อมรสิทธิพิพัฒน์-วรนุช เล้าอรุณ ๑,๐๐๐
66. คุณสุนทรี-ญาณิศา-ภัทรภร จิรภาวสุทธิ์ ๑,๐๐๐
67. คุณพนิดา อินจันทร์ ๑,๐๐๐
68. คุณกฤษฎา-กนกวรรณ-กรพัฒน์ อินจันทร์ ๑,๐๐๐
69. คุณภูมินทร์-อัมพร-กัญจน์ฉัตร-ปวริศา ตระกูลทิวากร ๑,๐๐๐
70. คุณอรพินท์-อรมาศ-อภิชญา ประภาพัน์ ๘๐๐
71. คุณทวี-มะปราง-กนกวรรณ อ�ำนวยศิลป์ ๖๐๐

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 65
72. พระธนากร จิรวฑฺฒโน ๕๐๐
73. คุณสุวรรณี ทวีเพิ่มทรัพย์ ๕๐๐
74. คุณสุรางค์ ลิมป์ปีติวรกุล และครอบครัว ๕๐๐
75. คุณณัฐฐารักษ์ เจริญจิตเกษม ๕๐๐
76. แม่ชีธนัท กฤษกรธนา ๕๐๐
77. พ.ญ.สุทธาทิพย์ สระพรม และครอบครัว ๕๐๐
78. คุณณัฐธิดา อุ่นแก้ว ๕๐๐
79. คุณฉันท์ชนก ดุรงค์ฤทธิ์ชัย ๕๐๐
80. คุณสุพรรณี คล�้ำมณี และครอบครัว ๕๐๐
81. คุณวรรณาพร หวานล�ำ้ และครอบครัว ๕๐๐
82. คุณนิรันดร์ เพชรพงษ์- เนตรนภา แพทอง ๕๐๐
83. คุณจุฑาพร ทรัพย์ส�ำราญ ๕๐๐
84. คุณวณิชย์ หลายประสิทธิ์ และครอบครัว ๕๐๐
85. คุณผกาภรณ์ พลายสังข์ และครอบครัว ๕๐๐
86. คุณชิต-คุณนายแดง ห่านพงษ์ศักดิ์ ๕๐๐
87. คุณสิรินรินทร์ สุขหร่อง และครอบครัว ๕๐๐
88. คุณวิสุทธิ์ แสงดอกไม้ ๕๐๐
89. คุณเตียง แซ่ตงั้ ๕๐๐
90. คุณประไพ ทิพย์โกศัย ๕๐๐
91. แม่ชีสาธิตา รัศมีข่วงโชติ ๕๐๐
92. คุณสุณีย์ เจิดเมธาวุฒิ ๕๐๐
93. คุณอรวรรณ โอสถานนท์-คุณมนัส-ปรมะ-
วัชรวิชย์ คุณธนังกุล ๕๐๐
94. คุณนพวีท์ สุพรรณสมบูรณ์ และครอบครัว ๕๐๐
95. คุณธงชัย-สมหมาย เทียนหล�ำ ๕๐๐
96. คุณสหวัฒน์ วรวุฒจิ งสถิต และครอบครัว ๕๐๐
97. ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ๕๐๐
98. คุณสุนันทา อัมพรพฤติ และลูกหลาน ๕๐๐
99. ดร.จงดี ว่องพินัยรัตน์ ๕๐๐
100. คุณบุญเรือน-วัชระ นาควิโรจน์ ๕๐๐
101. คุณนิกร-จ�ำเรียง อินจันทร์ ๕๐๐
102. คุณกิตติพงศ์ อินจันทร์ ๕๐๐
103. คุณณรินทร์-นพรัตน์ เพชรพงษ์ และครอบครัว ๕๐๐
104. คุณอนันต์-รัตนา ครองสกุล บาท ๕๐๐
105. คุณเดชณรงค์ ครองสกุล ๕๐๐
106. คุณวิชุตา-ภาณุ สุวเิ ชียร และครอบครัว ๕๐๐
107. คุณเสริม-สมหวัง กองเต๊ก และครอบครัว ๕๐๐
108. คุณฐิติศักดิ์ วงศ์สว่างและครอบครัว ๕๐๐
109. คุณแมนฤทธิ์-แป้งร�่ำ ยงเจริญ ๔๐๐

66 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


110. คุณกชกร-หิรัณยา-ภัคพร แสงอุ่น ๔๐๐
111. คุณศรัญญา พวงจ�ำปี และครอบครัว ๔๐๐
112. คุณเรณู-ปณิธิ-ปิยณัฐ องคนิกูล ๔๐๐
113. คุณเอก-ปุ้ม-ปุ้ย-เป้ ๔๐๐
114. คุณหมอแจง และญาติธรรม ๔๐๐
115. พระวณัฐพงศ์ จารุณัฐเกียรติ ๓๐๐
116. ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ๓๐๐
117. คุณศุภมาศ ลีลือสาย ๓๐๐
118. ครอบครัววงศ์เกียรติ์ขจร-แซ่หลิม
และครอบครัวรอดเสถียร ๓๐๐
119. คุณศิริวรรณ-หนูส้ม และครอบครัวลิขิตวรวรรณ ๓๐๐
120. คุณนรภร กิตติจิระกุล ๓๐๐
121. คุณอ�ำไพ ทองตัน ๓๐๐
122. คุณเฉิดโฉม ชัยอาภา ๓๐๐
123. คุณอมรรัตน์ อินทรวัลทิพย์ ๓๐๐
124. คุณวิภาภรณ์ อมรฉัตร ๓๐๐
125. คุณสุดใจ ป้านพลู และครอบครัว ๓๐๐
126. คุณวันเพ็ญ-ประภาพร บ�ำรุงเดช-พิมพ์พิกา ผิวพรรณ ๓๐๐
127. คุณสุรชาติ-ช่อฟ้า ฉัตรสุทธิพงษ์ ๓๐๐
128. รท.นราธิป-ขนิษฐา อินจันทร์ และครอบครัว ๓๐๐
129. คุณปานรัตน อินทริต ๓๐๐
130. คุณธิดาวรรณ วงศ์สว่าง ๓๐๐
131. คุณธนภูมิ มูลสัน ๒๐๐
132. คุณส�ำเนียง บุญตา ๒๐๐
133. ด.ญ.สุภาวิตา ปะสุตะ และบิดามารดา ๒๐๐
134. ครอบครัวเอี่ยมศิริธ�ำรง ๒๐๐
135. คุณอมรรัตน์-ธนกฤต-อาทิมา อภัยเทศพานิช ๒๐๐
136. คุณชุลีพร มากกุญชร และครอบครัว ๒๐๐
137. คุณดาราวรรณ อาษารบ และครอบครัว ๒๐๐
138. คุณวราภรณ์ วรางกูร ๒๐๐
139. คุณพวงทิพย์ พงศิษย์ ๒๐๐
140. คุณพนัญญา บวรนันทกุล และครอบครัว ๒๐๐
141. คุณฐิติรัตน์ สิริวรโชติโภคิน ๒๐๐
142. คุณกมลทิพย์ สหัสรังสินี และครอบครัว ๒๐๐
143. คุณธีรนันท์ เทพมาศ พร้อมบุตร ๒๐๐
144. คุณแม่บุญชู เทพมาศ ๒๐๐
145. คุณพัชรี ลู่วโิ รจน์ ๒๐๐
146. คุณป้าสมพงค์ บัวดี ๒๐๐
147. คุณกนกพร อยู่บ้านคลอง และครอบครัว ๒๐๐

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 67
148. คุณประวิน แก้งโผงเผง และครอบครัว ๒๐๐
149. คุณยายบุญเนือง เบี้ยจั่น ๒๐๐
150. คุณภัทรภร ซื่อตรง ๒๐๐
151. คุณเอื้องฟ้า ปิ่นทอง ๒๐๐
152. แม่ชีเจียน มณีโชติ ๒๐๐
153. คุณธวัฒน์-บุญรอด-เจนจิรา พวงทอง ๒๐๐
154. คุณสมควร เชิงห้วย ๒๐๐
155. ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ๒๐๐
156. คุณแม่สะอาด กัวหา ๒๐๐
157. คุณอภิชิต เข็มทอง ๒๐๐
158. คุณจิตรลัดดา สุทธินันท์ ๒๐๐
159. คุณเจนวิทย์ อภิชัยนันท์ ๒๐๐
160. คุณพรทิพย์ พงษ์พรรณเจริญ ๒๐๐
161. คุณสมพงษ์ พงษ์พรรณเจริญ ๒๐๐
162. คุณกอบกุล นิมิตรบรรณสาร ๒๐๐
163. คุณผ่องศรี เอี่ยมสุวรรณ ๒๐๐
164. คุณจีรุส อินทิศ ๒๐๐
165. คุณสมใจ ศิริแตง ๒๐๐
166. คุณพัชรีภรณ์ ไชยสงค์ ๒๐๐
167. คุณจิรัชยา ยอดนิล ๒๐๐
168. คุณสุนันทา คุ้มจุ้ย ๒๐๐
169. คุณสุนีย์ วรทรัพย์ไพศาล ๒๐๐
170. คุณทัศนีย์ กุดาสา ๒๐๐
171. คุณนุกูล อินจันทร์ ๒๐๐
172. คุณมนัสวี เนียมประเสริฐพร ๒๐๐
173. คุณสุวรรณา แซ่ล้(ี เล้า) ๒๐๐
174. คุณโศภิษฐ์ ทวิวรดิลก ๒๐๐
175. คุณสุธิดา ประศาสตรานุวัตรและครอบครัว ๒๐๐
176. คุณไพลิน แจ้งโม้ ๑๙๙
177. คุณสุพัตรา ชื่นวิทยา ๑๙๙
178. คุณศักรพล ทองอร่าม และครอบครัว ๑๕๐
179. คุณชญาณัศฐ์ เหลืองพิทักษ์ และครอบครัว ๑๕๐
180. คุณจิรภัทร์ เหมือนแก้ว ๑๐๙
181. คุณนงเยาว์-สมพงษ์-รัตนาภรณ์ ปานพิม ๑๐๐
182. คุณนิชาภา จูเจี่ย ๑๐๐
183. คุณวรพจน์ สินทิพย์เทวัญ ๑๐๐
184. คุณตุ๊กตา มณียา ๑๐๐
185. คุณกิรณาพร อัคคไพบูลย์ ๑๐๐
186. คุณธรรมรัตน์ วนะโพธิ์ ๑๐๐

68 พระพิศาลญาณวงศ์ (หลวงปู่ทองดี อนีโฆ)


187. คุณชฎิล เอมซ์บุตร ๑๐๐
188. คุณปาริชาต ประฉิมมะ และครอบครัว ๑๐๐
189. คุณธีรพงษ์ แพทอง และครอบครัว ๑๐๐
190. คุณทนง-เลื่อน แพทอง ๑๐๐
191. คุณบันเทิง เหล่าภักดี ๑๐๐
192. มล.จีรวัฒน์ เกษมสันต์ ๑๐๐
193. คุณเลไล โสฬสรัตนพร ๑๐๐
194. ดร.ปนัดดา ชิลวา ๑๐๐
195. คุณเพ็ญจันทร์ แซ่เตีย ๑๐๐
196. คุณพรเทพ ศันสนียานนท์ ๑๐๐
197. คุณนันทิชา พัฒนานุสรณ์ ๑๐๐
198. คุณวรากร เหล่าภักดี ๑๐๐
199. คุณคมข�ำ ฉัตราคม ๑๐๐
200. คุณอดิศยา ใจกล้า ๑๐๐
201. คุณล�ำพึง-ดา สงค์ประเสริฐ ๑๐๐
202. คุณทอง-ล�ำเจียก บุญเหลือ ๑๐๐
203. คุณสมชาย-ประนอม กลิ่นแก้ว ๑๐๐
204. คุณตี๋ -ถุงเงิน สงค์ประเสริฐ ๑๐๐
205. คุณบุญเกิด ศิริ ๑๐๐
206. คุณญาณี รอดเกิด ๑๐๐
207. คุณทิม-แจ๋ว ฉิมสุด ๑๐๐
208. คุณประจวบ ม่วงอยู่ ๑๐๐
209. คุณบุญรอด โตทุ้ย ๑๐๐
210. คุณศิริเนช ม่วงอยู่ ๑๐๐
211. คุณละออง สงค์ประเสริฐ ๑๐๐
212. คุณสงบและครอบครัว ๑๐๐
213. ป้าเยาว์และครอบครัว ๑๐๐
214. คุณล�ำยองและครอบครัว ๑๐๐
215. คุณรัตนาภรณ์ เดชฟุ้ง ๑๐๐
216. คุณพ่อนัย-แม่บุญเรือน เพ็งลาภ ๑๐๐
217. คุณอัครวงค์ ยอดทอง ๑๐๐
218. คุณสุวิทย์ นาควิโรจน์ ๑๐๐
219. คุณจิ๋มและครอบครัว ๕๐
220. คุณหนิงและครอบครัว ๕๐

ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒ 69
อนุโมทนาบุญ

ขอบุญบารมีกศุ ลความดี
และความเป็นมหามงคลอันสูงสุดทัง้ ทางโลกและทางธรรม
จงบังเกิดมีแก่ผบ้ ู ริจาคทรัพย์ เพือ่ จัดพิมพ์หนังสือ
“ธรรมะบ้านปันสุข เล่ม ๒”
และผูท้ กี่ ำ� ลังเดินทางไปสูค่ วามพ้นทุกข์ทกุ ๆ ท่าน

ออกแบบและจัดพิมพ์ที่ : บริษัท โฟกัส พริ้นติ้ง จ�ำกัด จ.พิษณุโลก


โทร. 055-225037, 081-6742377

You might also like