You are on page 1of 88

วิ ปั ส สนาญาณ ๑๖

ญาณ ในคั ม ภี ร์ ป ฏิ สั ม ภิ ท ามรรค


๑. ปัญญาในการเงี่ยโสต (สดับ) ชื่อว่าญาณอันสำเร็จด้วยการฟัง
๒. ครั้นฟังแล้ว (เกิด) ปัญญาในการสำรวม ชื่อว่าญาณอันสำเร็จด้วยศีล
๓. ครั้นสำรวมแล้ว (เกิด) ปัญญาในการตั้งจิตมั่น ชื่อว่าญาณอันสำเร็จด้วยการเจริญสมาธิ
๔. ปัญญาในการกำหนดรู้ปัจจัย ชื่อว่าญาณในความตั้งอยู่แห่งธรรม (ธัมมัฏฐิติญาณ)
๕. ปัญญาในการรวบรวมธรรมที่เป็นอดีต, อนาคต, ปัจจุบัน แล้วกำหนดรู้ ชื่อว่าญาณในการพิจารณา (สัมมสเนญาณ)
๖. ปัญญาในการพิจารณาเห็นความปรวนแปรแห่งธรรมอันเป็นปัจจุบัน ชื่อว่าญาณในการพิจารณาความเกิด ความเสื่อม
(อุทยัพพยานุปัสสเนญาณ)
๗. ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกดับ ชื่อว่าญาณในการเห็นแจ้ง (วิปัสสเนญาณ)
๘. ปัญญาในความปรากฏเป็นของน่ากลัว (แห่งสังขาร) ชื่อว่าญาณ คือความรู้ในโทษ (อาทีนเวญาณ)
๙. ปัญญาที่ทำให้เกิดการพิจารณาด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย ชื่อว่าญาณในความวางเฉยในสังขาร (สังขารุเปกขาสุญาณ)
๑๐. ปัญญาในการออกจากการหมุนกลับของเครื่องหมายแห่งสังขารภายนอก ชื่อว่าโคตรภูญาณ
๑๑. ปัญญาในการออกและหลีกทั้งจากกิเลสขันธ์และนิมิตภายนอก ชื่อว่ามัคคญาณ
๑๒. ปัญญาที่หยุดความพยายาม ชื่อว่า ผลญาณ
๑๓. ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสที่อริยมรรคตัดขาดแล้ว ชื่อว่าวิมุตติญาณ
๑๔. ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่า ปัจจเวกขณญาณ
• [๑๕] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายใน ชื่อว่าวัตถุนานัตตญาณ (ญาณในวัตถุต่าง ๆ)
• [๑๖] ปัญญาในการกำหนดธรรมต่าง ๆ ที่เป็นภายนอก ชื่อว่าโคจรนานัตตญาณ (ญาณในอารมณ์ต่าง ๆ)
• [๑๗] ปัญญาในการกำหนดจริยา ชื่อว่าจริยานานัตตญาณ (ญาณในจริยาต่างๆ)
• [๑๘] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าภูมินานัตตญาณ (ญาณใน ภูมิต่าง ๆ)
• [๑๙] ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ ชื่อว่าธัมมนานัตตญาณ (ญาณ ในธรรมต่าง ๆ)
• [๒๐] ปัญญาเครื่องรู้ยิ่ง ชื่อว่าญาตัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะรู้)
• [๒๑] ปัญญาเครื่องกำหนดรู้ ชื่อว่าตีรณัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะพิจารณา)
• [๒๒] ปัญญาเครื่องละ ชื่อว่าปริจจาคัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะสละ)
• [๒๓] ปัญญาเครื่องเจริญ ชื่อว่าเอกรสัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะเป็นรสเดียว)
• [๒๔] ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง ชื่อว่าผัสสนัฏฐญาณ (ญาณที่มีสภาวะถูกต้อง)
• [๒๕] ปัญญาในอรรถต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน อรรถ)
• [๒๖] ปัญญาในธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
• [๒๗] ปัญญาในนิรุตติต่าง ๆ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานใน นิรุตติ)
• [๒๘] ปัญญาในปฏิภาณต่าง ๆ ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉาน ในปฏิภาณ)
• [๒๙] ปัญญาในวิหารธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง วิหารธรรม)
• [๓๐] ปัญญาในสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณในสภาวะแห่ง สมาบัติ)
• [๓๑] ปัญญาในวิหารสมาบัติต่าง ๆ ชื่อว่าวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ (ญาณใน สภาวะแห่งวิหารสมาบัติ)
• [๓๒] ปัญญาในการตัดขาดอาสวะ เพราะความบริสุทธิ์แห่งจิตที่ไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอานันตริกสมาธิญาณ (ญาณในสมาธิ
ตามลำดับ)
• [๓๓] ทัสสนาธิปไตย วิหาราธิคมที่สงบ และปณีตาธิมุตตตาปัญญา ชื่อว่า อรณวิหารญาณ (ญาณในอรณวิหาร)
• [๓๔] ปัญญาที่มีความชำนาญ ในการระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖ และด้วยสมาธิจริยา ๙ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยพละ
๒ อย่าง ชื่อว่า นิโรธสมาปัตติญาณ (ญาณในนิโรธสมาบัติ)
• [๓๕] ปัญญาในการทำความเป็นไปแห่งกิเลสให้สิ้นไปของผู้มีสัมปชัญญะ ชื่อ ว่าปรินิพพานญาณ (ญาณใน
ปรินิพพาน)
• [๓๖] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง เพราะตัดขาดโดยชอบและ ดับไป ชื่อว่าสมสีสัฏฐญาณ
(ญาณในอรรถแห่งธรรมที่สงบและเป็นประธาน)
• [๓๗] ปัญญาในสภาวะแต่ละอย่าง สภาวะต่าง ๆ สภาวะเดียวและเดช ชื่อว่า สัลเลขัฏฐญาณ (ญาณในอรรถ
แห่งธรรมเป็นเครื่องขัดเกลา)
• [๓๘] ปัญญาในการประคองจิตที่ไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป ชื่อว่าวิริยารัมภญาณ (ญาณในการปรารภความ
เพียร)
• [๓๙] ปัญญาในการประกาศธรรมต่าง ๆ ชื่อว่าอัตถสันทัสสนญาณ (ญาณใน การเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งธรรม)
• [๔๐] ปัญญาในการรวมธรรมทั้งปวงเข้าเป็นหมวดเดียวกัน ในการรู้แจ้งสภาวะ ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อ
ว่าทัสสนวิสทุ ธิญาณ (ญาณในความหมดจด แห่งทัสสนะ)
• [๔๑] ปัญญาที่รู้ชัด ชื่อว่าขันติญาณ (ญาณในธรรมที่พอใจ)
• [๔๒] ปัญญาที่ถูกต้องธรรม ชื่อว่าปริโยคาหนญาณ (ญาณในการหยั่งลงสู่ธรรม)
• [๔๓] ปัญญาในการรวมปัจจัย ชื่อว่าปเทสวิหารญาณ (ญาณในวิหารธรรมส่วน หนึ่ง)
• [๔๔] ปัญญาที่มีกุศลธรรมเป็นใหญ่ ชื่อว่าสัญญาวิวัฏฏญาณ (ญาณในการ หลีกออกจากอกุศลด้วยสัญญา)
• [๔๕] ปัญญาในธรรมเป็นเหตุหลีกออกจากสภาวะต่าง ๆ ชื่อว่าเจโตวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก
อกุศลด้วยการคิดถึงกุศล)
• [๔๖] ปัญญาในการอธิษฐาน ชื่อว่าจิตตวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออก จากอกุศลด้วยกุศลที่อธิษฐาน)
• [๔๗] ปัญญาในธรรมที่ว่าง ชื่อว่าญาณวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก อกุศลด้วยความรู้)
• [๔๘] ปัญญาในความสละ ชื่อว่าวิโมกขวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก อกุศลด้วยการสละ)
• [๔๙] ปัญญาในสภาวะแท้ ชื่อว่าสัจจวิวัฏฏญาณ (ญาณในการหลีกออกจาก ภาวะที่ไม่แท้ด้วยภาวะที่แท้)
• [๕๐] ปัญญาในสภาวะที่สำเร็จ ด้วยการกำหนดกายและจิตเข้าด้วยกัน ด้วย อำนาจการตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา
และลหุสัญญา ชื่อว่าอิทธิวิธญาณ (ญาณที่ ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้)
• [๕๑] ปัญญาในการหยั่งลงสู่สทั ทนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจการแผ่วิตกไป ชื่อว่า
โสตธาตุวสิ ุทธิญาณ (ญาณในความ หมดจดแห่งโสตธาตุ)
• [๕๒] ปัญญาในการหยั่งลงสู่วิญญาณจริยาที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียว ด้วยอำนาจความผ่องใสแห่ง
อินทรีย์ทั้งหลาย เพราะการแผ่ไปแห่งจิต ๓ ประเภท ชื่อว่าเจโตปริยญาณ (ญาณที่ทำให้กำหนดใจผู้อื่นได้)
• [๕๓] ปัญญาในการหยั่งลงสู่ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามปัจจัย ด้วยอำนาจการ แผ่ไปแห่งกรรมที่มีสภาวะ
ต่าง ๆ และสภาวะเดียว ชื่อว่าปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้)
• [๕๔] ปัญญาในการเห็นรูปนิมิตที่มีสภาวะต่าง ๆ และสภาวะเดียวด้วยอำนาจ แสงสว่าง ชื่อว่าทิพพจักขุ
ญาณ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์)
• [๕๕] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่า อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้
สิ้นอาสวะ)
• [๕๖] ปัญญาในสภาวะที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
• [๕๗] ปัญญาในสภาวะที่ควรละ ชื่อว่าสมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย)
• [๕๘] ปัญญาในสภาวะที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่านิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ)
• [๕๙] ปัญญาในสภาวะที่ควรเจริญ ชื่อว่ามัคคญาณ (ญาณในมรรค)
• [๖๐] ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์)
• [๖๑] ทุกขสมุทยญาณ (ญาณในเหตุเกิดทุกข์)
• [๖๒] ทุกขนิโรธญาณ (ญาณในความดับทุกข์)
• [๖๓] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ (ญาณในข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับทุกข์)
• [๖๔] อัตถปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในอรรถ)
• [๖๕] ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในธรรม)
• [๖๖] นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในนิรุตติ)
• [๖๗] ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณแตกฉานในปฏิภาณ)
• [๖๘] อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ ของสัตว์
ทั้งหลาย)
• [๖๙] อาสยานุสยญาณ (ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย)
• [๗๐] ยมกปฏิหาริยญาณ (ญาณในยมกปาฏิหาริย์)
• [๗๑] มหากรุณาสมาปัตติญาณ (ญาณในมหากรุณาสมาบัติ)
• [๗๒] สัพพัญญุตญาณ (ญาณความรู้ในธรรมทั้งปวง)
• [๗๓] อนาวรณญาณ (ญาณที่ไม่มีเครื่องกั้น)
ญาณ ในคั ม ภี ร์
วิ สุ ท ธิ ม รรค
นามรู ป เฉทญาณ
ปจจยปริ ค หญาณ
• ๑ บางครั้ง รูปเป็นเหตุ นามเป็นผล เช่น ท้องพองขึ้นก่อนแล้ว จิต จึงวิ่งไป
กำหนดทีหลัง
• ๒ บางครั้งนามเป็นเหตุ รูปเป็นผล เช่นจิตวิ่งไปอยู่ก่อนแล้วท้องจึงพองขึ้นทีหลัง
• ๓ อยากยืนเป็นเหตุ รูปที่ยืนเป็นผล อยากนั่งเป็นเหตุ รูปที่นั่งเป็นผล
• ๔ พองค้างอยู่ลงไปไม่สุดก็มี
• ๕ ยุบลงไปลึกๆ แล้วค้างอยู่ก็มี
• ๖ พอง ยุบ หายไปเอามือไปคลำดูก็มี
• ๗ เวทนามีมากบาง น้อยบ้าง ตัวเองเข้าใจว่า เคราะห์ร้ายก็มี
• ๘ มีนิมิตรรบกวนมากเช่น รูปสัตว์ ป่า ภูเขา เป็นต้น
• ๙ พอง ยุบ กับจิตที่กำหนดไปพร้อมๆกัน
• ๑๐ บางทีสดุ้งฟุบไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง
• ๑๑ มีความเห็นว่า ภพนี้ ภพหน้า ภพต่อๆไป ก็มีเพียง เหตุ ผล มีเพียงรูปนาม เท่านี้
• ๑๒ พองครั้งหนึ่งมี ๒ ระยะ คือต้นพอง กับสุดพอง
• ความสงสัยปรารภส่วนเบื้องต้น ในอดีต ๕ ประการ คือ
• ๑. ในอดีตกาล เราได้มีได้เป็นมาแล้วหรือหนอ
• ๒. ในอดีตกาล เรามิได้มีมิได้เป็นมาแล้วหรือหนอ
• ๓. ในอดีตกาล เราได้เป็นอะไรหนอ
• ๔. ในอดีตกาล เราได้เป็นอย่างไรหนอ
• ๕. ในอดีตกาล เราได้เป็นอะไรแล้วเป็นอะไรหนอ

• ความสงสัยปรารภส่วนเบื้องปลาย ในอนาคต ๕ ประการ คือ


• ๑. ในอนาคตกาล เราจักมีจักเป็นหรือหนอ
• ๒.ในอนาคตกาล เราจักไม่มีจักไม่เป็นหรือหนอ
• ๓. ในอนาคตกาล เราจักเป็นอะไรหนอ
• ๔. ในอนาคตกาล เราจักเป็นอย่างไรหนอ
• ๕. ในอนาคตกาล เราจักเป็นอะไรแล้วเป็นอะไรหนอ

• ความสงสัยปรารภ ในปัจจุบัน ๖ ประการ สงสัยในตนของตน ปรารภปัจจุบันกาล


• ๑.เรามีอยูเ่ ป็นอยู่หรือหนอ
• ๒.เราไม่มีอยู่ไม่เป็นอยู่หรือหนอ
• ๓.เราเป็นอะไรอยู่หนอ
• ๔.เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ
• ๕.สัตว์ผู้นี้มาแต่ไหนหนอ
สั ม มสนญาณ
• ปั ญ ญารู ้ ร ู ป นามโดยลั ก ษณะไม่
เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน การ
กำหนดพองยุบ
• รู้ชัดระยะกลางเป็นนามรูปริจเฉท
ญาณ
• รู้ชัดระยะแรก กับระยะกลาง
เป็นปัจจยปริคคหญาณ
• รู้ชัดระยะแรก ระยะกลาง ระยะ
สุดท้ายเป็นสัมมสนญาณ
• นิมิตค่อยๆ เกิดค่อยๆ หาย
เห็นชัดทั้ง ๓ ระยะ ทุกขเวทนามาก
กำหนดจนหายไป รูปนามชัดเจน
เป็นวิปัสสนาญาณที่ ๑ ในวิปสั สนา
ญาณ ๑๐ (สัมมสนญาณ)
• ๑ พิจารณาเห็นรูปนามทางทวารทั้ง ๕ เป็นไตรลักษณ์ คือ นิจจัง
ทุกขัง อนัตตา
• ๒ พอง ครั้งหนึ่งเห็นเป็น ๓ ระยะ คือ ต้นพอง กลางพอง สุดพอง
• ๓ ยุบครั้งหนึ่งก็เห็นเป็น ๓ ระยะ คือ ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ
• ๔ มีเวทนามากก็หายช้าๆ กำหนดตั้ง ๗-๘ครั้ง จึงหาย
• ๕ มีนิมิตรมาก และกำหนดหายช้าๆ ค่อยๆ จางๆ หายไป
• ๖ พองยุบหายไป บางคนหายไปนาน บางคนไม่นาน
• ๗ พองยุบไวบ้าง สม่ำเสมอบ้าง แน่นอึดอัดบ้าง
• ๘ ใจฟุ้งซ่านบาง นั่นแสดงให้เห็นว่าจิตเป็นพระไตรลักษณ์
• ๙ สบัดมือสบัดเท้าบ้าง
• ๑๐ เกิดอุปกิเลสทั้ง ๑๐ ขึ้นในญาณนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ตรุณอุทัพพยญาณ
๑.โอภาส แปลว่า แสงสว่าง มีลักษณะดังนี้
(๑)มีแสงสว่างเท่าหิ่งห้อย เท่าไฟฉาย เท่าตารถยนต์ เท่าตารถไฟ
(๒)สว่างทั้งห้อง สว่างจนมองเห็นตัว
(๓)สว่างคล้ายกับห้องไม่มีฝากั้น
(๔)สว่างคล้ายกับเห็นสถานที่ต่างๆ มาปรากฏเฉพาะหน้า
(๕)สว่างจนเห็นประตูเปิด เอามือไปปิดบ้าง ลืมตาดูบ้าง ยกมือขึ้นดูบ้าง
(๖)สว่างจนเห็นดอกไม้สีต่างๆ มาปรากฏอยู่ใกล้ๆ
(๗)เห็นทะเลตั้ง ๑ โยชน์ ยกตัวอย่าง พระเถระ ๒ รูป คือ รูปหนึ่งพอแสง
สว่างเกิดขึ้นมองเห็นดอกไม้ที่ลานพระเจดีย์แล้วบอกเพื่อนมาดู อีกรูป
หนึ่งพอแสงสว่างเกิดขึ้นมองเห็นทะเลตั้งโยชน์หนึ่งแล้บอกเพื่อนมาดู
(๘)มีแสงสว่างพุ่งออกจากร่างกาย และจากหัวใจของตัวเอง
(๙)สว่างจนนิรมิตรเป็นรูปช้างได้
๑. ขุททกาปีติ มีลักษณะดังนี้ คือ
โอกกันติกาปีติ มีลักษณะดังนี้ คือ
(๑)มีสีขาวต่างๆ
(๑)ไหว เอน โยค โคลง
(๒)เยือกเย็น ขนลุก มึนตึง หนัก
(๒)สบัดหน้า, มือ, เท้า
(๓)น้ำตาไหล หนังหัวพองสยองเกล้า
(๓)สั่น สูงๆ ต่ำๆ คล้ายเตียงจะคว่ำ
(๔)ปฐวีธาตุ ๒๐
(๔)คลื่นไส้ดุจอาเจียร อาเจียรออกมาจริงๆ
๒. ขณิกาปีติ มีลักษณะดังนี้ คือ
ก็มี
(๑)เกิดในจักขุทวารดุจสายฟ้าแลบ
(๕)ดุจลูกคลื่นกระทบฝั่ง
(๒)เป็นประกายดังตีเหล็กไฟ (๖)ดุจถูกละลอกซัด
(๓)เป็นดังปลาตอด ดังเส้นเอ็นชัก (๗)สั่นระรัวดุจไม้ปักในน้ำไหล
(๔)แสบทั่วกาย กายแข็ง (๘)สีเหลืองอ่อน สีดอกผักตบ
(๕)ดังแมลงเม่าจับ ไต่ตามตัว (๙)กายโยคไป โยคมา
(๖) ร้อนตามตัว
(๗)หัวใจสั่น ไหว
(๘)สีแดงๆ ด่างๆ
(๙)ขนลุกขนชันบ่อยๆ แต่ไม่มากนัก
(๑๐)คันยุบยิบคล้ายมดไต่คลานตามตัว ตามหน้า
(๑๑)เตโชธาตุ ๔
อุพเพงคาปีติ มีลักษณะดังนี้คือ ผรณาปีติ มีลักษณะดังนี้คือ
(๑)กายสูงขึ้น ตัวเบา ตัวลอย (๑)แผ่สร้านเยือกเย็นไปทั่วร่างกาย
(๒)คันยุบยิบดุจไรไต่ตามหน้า ตามตัว (๒)สงบเป็นพักๆ
(๓)ลงท้อง ท้องเดิน เป็นบิด (๓)คันยุบๆ ตามตัว
(๔)สัปหงกไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง (๔)ซึมๆ ไม่อยากลืมตา
(๕)คล้ายคนผลัก (๕)ไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกาย
(๖)คล้ายคนจับศีรษะหมุนไป หมุนมา (๖)ซู่จากปลายเท้าถึงศีรษะ จากศีรษะถึง
(๗)ปากงับๆ บ้าง อ้าปากบ้าง หุบปากบ้าง ปลายเท้า
(๘)ไหว โยคโคลง โอนไปมาดุจลมพัดต้นไม้ (๗)กายเย็นดุจอาบน้ำ ดุจถูกน้ำแข็ง
(๙)กายหกคะเมนถลำไป (๘)สีคราม สีเขียว ใบตองอ่อน สีแก้ว
(๑๐)กายกระโดดขึ้น ปลิวไป มรกต
(๑๑)กายกระดุกกระดิก ยกแขน ยกขา (๙)มีอาการยิบๆ แยบ เหมือนไรไต่หน้า
(๑๒)กายเงื้อมไปมาข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง (๑๐)อากาศธาตุ ๑๐
(๑๓)มีสีไข่มุก สีขี้รม สีนุ่น
(๑๔)วาโยธาตุ ๖
• ๓. ปัสสัทธิ แปลว่า จิต เจตสิกสงบ มีลักษณะดังนี้
• (๑.) สงบเงียบดุจเข้าผลสมาบัติ
• (๒.) ไม่ฟุ้งซ่าน รำคาญ
• (๓.) กำหนดได้ดี
• (๔.) เยือกเย็นสบาย ไม่กระวนกระวายใจ
• (๕.) พอใจในการกำหนด
• (๖.) ความรู้สึกเงียบไป คล้ายๆกับหลับไป
• (๗.) เบาแคล่วคล่องดี
• (๘.) สมาธิดี ไม่เผลอ ไม่ลืม
• (๙.) ความคิดปลอดโปร่งดี
• (๑๐.)คนที่มีนิสัยดุร้าย โหดเหี้ยม ทารุณ จะเกิดความรู้สึกว่า ธรรมเป็นของละเอียดมาก
ต่อไปเราจะละความชั่ว ทำแต่ความดี
• (๑๑.)คนพาลเกเร ติดเหล้า เมาสุราก็จะเลิกนิสัยเดิมได้ เปลี่ยนแปลงไปเป็นคนละคนทีเดียว
ดุจหน้ามือเป็นหลังมือฉะนั้น
๑.สุข แปลว่า ความสบาย มีลักษณะดังนี้
(๑)สุขสบายดี
(๒)มีความยินดีมาก เพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่อยากออก
อยากจะอยู่นานๆ
(๓)อยากพูด อยากบอกผลที่ตนได้แก่ผู้อื่น
(๔)ภูมิใจ ดีใจ คล้ายกับว่าจะระงับไว้ไม่ได้
(๕)บางคนจะพูดว่า ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคย
พบความสุขเช่นนี้เลย
(๑)นึกถึงบุญคุณของครูบาอาจารย์มาก
(๒)เห็นหน้าอาจารย์มาอยู่ใกล้ๆ คล้ายกับว่าท่านจะมาช่วย
ฉะนั้น
๑.ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อมีลักษณะดังนี้
(๑)เชื่อและเลื่อมใสมากเกินไป
(๒)อยากจะให้ทุกคนมาปฏิบัติ
(๓)อยากชวนผู้อยู่ใกล้ชิดให้มาปฏิบัติ
(๔)อยากจะสนองบุญคุณของสำนัก
(๕)อยากให้การปฏิบัติเจริญก้าวหน้าไปไกลและรวดเร็วมากกว่านี้
(๖)อยากทำบุญทำทาน อยากสร้างและปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่างๆ
(๗)นึกถึงบุญคุณของผู้ที่ชวนตนมาเข้าปฏิบัติ
(๘)อยากนำของไปถวายอาจารย์
(๙)อยากออกบวช
(๑๐)อยากจะอยู่นานๆ ไม่อยากออกง่าย
(๑๑)อยากจะไปอยู่ในที่เงียบสงัด
(๑๒)ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติเต็มที่
ปัคคาหะ แปลว่า ความเพียร มีลักษณะดังนี้
(๑)ขยันมากเกินควร อาจารย์จะยุไม่ได้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้ผู้นั้นเสียสติ
(๒)ตั้งใจจริง ปฏิบัติจริง ยอมสู้ตาย ไม่ถอยหลัง
(๓)มีแต่ความเพียรมากถ่ายเดียว แต่สติสัมปชัญญะอ่อนไป ทำให้ฟุ้ง ไม่เป็นสมาธิ

อุปัฏฐานะ แปลว่า สติ คือความระลึกได้ มีลักษณะดังนี้
(๑)สติมากเกินไป เป็นเหตุให้คิดถึงอดีต อนาคต ทิ้งอารมณ์ปัจจุบัน
(๒)ระลึกถึงแต่เรื่องอดีต คือเรื่องที่ผ่านมาแล้วตั้งแต่นานๆ โน้น
(๓)คล้ายๆ กับว่าตนเองจะระลึกชาติได้

ญาณ คือ ความรู้ มีลักษณะดังนี้


(๑)ความรู้ปริยัติผสมกับปฏิบัติ ทำให้เข้าใจผิด แต่ตนคิดว่าถูก ชอบอวดดี สู้ครู
(๒)วิพากษ์วิจารณ์ อารมณ์ต่างๆ เช่น พอง เป็นเกิด ยุบ เป็นดับ เป็นต้น
(๓)นึกถึงหลักฐานต่างๆ ที่ตนได้รู้ ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
(๔)ไม่ได้ปัจจุบัน ส่วนมากเป็น “วิปัสสนึก” คือ นึกเอาเองเป็นจินตาญาณ
อุเบกขา คือความวางเฉย มีลักษณะดังนี้
(๑)ใจเฉยๆ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ใจหลงๆ ลืมๆ พอง ยุบ มัวๆและบางครั้งไม่เห็น
(๒)ใจลอยๆ เลือนๆ คล้ายกับว่าไม่ได้นึกคิดอะไร
(๓)บางครั้งเห็นพองยุบ บางครั้งไม่เห็น
(๔)ไม่กระวนกระวายใจ ใจสงบดี
(๕)ไม่อยากได้ดิบดีอะไรทั้งสิ้น
(๖)อารมณ์ดีชั่วกระทบก็รู้สึกเฉยๆ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย แต่ไม่ได้กำหนด ปล่อยใจให้ลอย
ไปตามอารมณ์ภายนอกมาก

นิกันติ คือความใคร่ มีลักษณะดังนี้


(๑)พอใจในอารมณ์ต่างๆ
(๒)พอใจแสงสว่าง ปีติ สุข ศรัทธา ความเพียร ความรู้ ความเฉย
(๓)พอใจในนิมิตรต่างๆ
อุ ท ยั พ พยญาณ
ปัญญารู้ความเกิด และความดับ
ของรูปของนามชัดเจนแบ่งเป็น ๒
คือ ตรุณอุทยัพพยญาณ มีกำลัง
ญาณอ่อนเป็นวิปัสสนูปกิเลส และ
พลวอุทยัพพยญาณ กำลังญาณ
แก่กล้าสามารถละความเห็นผิดใน
วิ ป ั ส สนู ป กิ เ ลสได้ เ ป็ น วิ ป ั ส สนา
ญาณที่ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙
และเป็นญาณที่ ๔ ในญาณ ๑๖
• ๑. เห็นพอง ยุบ เป็น ๒-๓-๔-๕-๖ ระยะ
• ๒. พอง ยุบ ขาดๆ หายๆ เป็นลำดับไป
• ๓. เวทนาต่างๆ หายไปรวดเร็ว คือ กำหนดเพียงครั้งสองครั้งก็หาย
• ๔. กำหนดได้ชัดเจนและสะดวกดี
• ๕. นิมิตรต่างๆหายไปเร็ว กำหนดว่า เห็นหนอๆ สัก ๒-๓ ครั้งก็หายไป
• ๖. แสงสว่างแจ่มใสคล้ายไฟฟ้า
• ๗. ต้นพอง สุดพอง ต้นยุบ สุดยุบ ปรากฏชัดดี
• ๘. มีอาการงุบ สัปงกไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ เบาบ้าง แรงบ้างแล้วแต่สมาธิ
คล้ายๆง่วงนอนแต่ไม่ใช่ง่วงนอน เรียกว่า สันตติขาดพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ปรากฏ เช่น
• ก. อาการพอง ยุบ เร็วเข้า แล้วสัปงกไปอย่างนี้เรียกว่า อนิจจัง
• ข. อาการพอง ยุบ แผ่วเบา หรือสม่ำเสมอกันแล้วสัปงกไป อย่างนี้เรียกว่า อนัตตา
• ค. พองยุบ แน่นอึดอัด หายใจฝืดๆแล้วสัปงกไป อย่างนี้เรียกว่า ทุกขัง
• ๙. ผู้ที่มีสมาธิดี จะปรากฏดับวูบลงไปบ่อยๆ คล้ายตกเหว หรือตกหลุมอากาศ แต่ตัวอยู่
เฉยๆ ไม่สัปหงกลงไป
ภังคญาณ

ปัญญารู้แต่ความดับไปของรูปนาม หรือเห็นความแตกไป หรือตั้งสติ


ไว้ในความดับ ญาณละความเกิดรู้เฉพาะความเสื่อม หรือเห็นแต่
ความย่อยยับ การกำหนดรู้ขันธ์ ๕ รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ไม่ใช่ตัวตนอยู่เสมอๆ จะเห็นสภาวะปรากฏเร็วมากกำหนดไม่ทัน
ความเกิด กำหนดได้เฉพาะความสิ้นไป
• ๑. สุดพอง สุดยุบ ปรากฏชัดดี
• ๒. อารมณ์ที่กำหนดไม่ชัดแจ้ง เช่น พอง ยุบ มัวๆ หรือ ลางๆไม่ชัดเจนแจ่มแจ้ง
• ๓. พอง ยุบ นั่ง ถูก หายไป เช่น เวลากำหนดว่า พองหนอ ยุบหนอ พอง ยุบ หายไป กำหนดว่า นั่งหนอ ถูกหนอ นั่ง ถูกหายไป กำหนดรู้หนอๆ เป็นต้น
• ๔. คล้ายกับไม่ได้กำหนดอะไรเลย
• ๕. พอง ยุบ กับจิตผู้รู้หายไปๆ แต่ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่ารูปหายไปก่อน จิตหายไปทีหลัง อันที่แท้จริงนั้นหายไปพร้อมกัน การที่เป็นเช่นนัน้ เพราะจิตก่อน
หายไป จิตหลังตามรู้
• ๖. พอง ยุบ ห่างๆ จางๆ ไม่ชัดเจนดี
• ๗. ไม่เห็นรูปร่างสันฐานท้อง มีแต่อาการตึงๆ
• ๘. กำหนดไม่ค่อยได้ดี เพราะล่วงบัญญัติ มีแต่อารมณ์ปรมัตถ์
• ๙. บางครั้งมีแต่พอง ยุบ ตัวตนหายไปคล้ายกับไม่มี
• ๑๐. มีอาการวูบๆ ไปตามตัว
• ๑๑. มีอาการชาๆ มึนๆ เหมือนเอาร่างแหมาครอบ
• ๑๒. อารมณ์กับจิตหายไปพร้อมกัน
• ๑๓. ครั้งแรกรูปหายไป ใจยังรู้อยู่ ครั้นต่อมาอารมณ์ก็หายไป ใจที่รู้ก็หายไปพร้อมกัน
• ๑๔. บางคนพองยุบหายไปไม่นาน บางคนนานตั้ง ๒-๓-๔ วันจนเบื่อก็มี ต้องเดินจงกรมมากๆ
• ๑๕. อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ คือ ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีอยู่แต่ไม่สนใจดู ไปสนใจดูเฉพาะความดับไปของรูปนามเท่านั้น
• ๑๖. อารมณ์ภายในเช่น พอง ยุบ ไม่ชัด อารมณ์ภายนอกก็เช่นเดียวกัน ยืน นั่ง ก็สั่นๆ ต้นไม้กุฏิก็ปรากฏสั่นๆ
• ๑๗. ดูอะไร คล้ายๆ กับดูสนามหญ้าในฤดูหมอกลง ปรากฏสลัวๆ มัวๆ ไม่ชัดเจนดี
• ๑๘. ดูท้องฟ้า อากาศก็ปรากฏเช่นกัน
• ๑๙. พองยุบ ประเดี๋ยวหายไป ประเดี๋ยวเห็น
ภยตู ปั ฏ ฐานญาณ
ปัญ ญารู้รูป นามปรากฏเป็น
ของน่ากลัว คือ เห็นความ
แตกสลาย ไม่ว่าภพใดภูมิใด
ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น เป็นความ
กลัวที่เกิดขึ้นจากการกำหนด
รู ป นามในอดี ต ดั บ ไปแล้ ว
ปัจจุบันกำลังดับอยู่ อนาคต
ก็จะต้องดับไป เห็นจริงๆ
จึงเกิดอาการใจหาย สภาวะ
ปรากฏเร็วมาก
ไม่ ป รารถนา ภพ ๓ กำเนิ ด ๔ คติ ๕ วิ ญ ญาณฐิ ติ ๗ สั ต ตาวาส
• ๑. อารมณ์ที่กำหนดกับจิตที่รู้นั้นทันกัน ติดกันหายไปพร้อมกัน
• ๒. มีความกลัวแต่ไม่ใช่กลัวผี
• ๓. เห็นรูปนามหายไป สูญไปจึงน่ากลัว
• ๔. รู้สึกเสียวๆ คล้ายกับจะเป็นโรคเส้นประสาท ยืน เดิน ก็เช่นกัน
• ๕. บางคนนึกถึงหมู่เพื่อน ญาติมิตรแล้วร้องไห้
• ๖. บางคนกลัวมากเห็นอะไรๆ ก็กลัว จนชั้นที่สุดเห็นตุ่มน้ำและเสา
เตียงก็กลัว
• ๗. เมื่อก่อนเห็นว่า รูปนามนี้ดี แต่บัดนี้เห็นว่ารูปนามนี้ไม่มีสาระแก่น
สารอะไรเลย
• ๘. ไม่ยินดี ไม่เพลิดเพลิน ไม่สนุกสนาน
• ๙. เป็นเพียงพิจารณาว่า รู้สึกน่ากลัวแต่ไม่ใช่กลัวจริงๆก็มี
อาที น วานุ ปั ส สนาญาณ

• ปัญญารู้เห็นทุกข์โทษของ
รูปนามโดยถ่ายเดียว ไม่มี
ที่พึ่ง ไม่มีที่หลบหลีก ไม่มี
ส่ ว นใดน่ า ปรารถนาเลย
เป็นเหมือนฝี เหมือนโรค
เหมื อ นอาศั ย อยู ่ ใ นป่ า ชั ฏ
อันตรายจากสัตว์ร้าย เป็น
ของน่ า กลั ว ไม่ ป ลอดภั ย
เป็ น สิ ่ ง ที ่ ม ี ค วามบกพร่ อ ง
ระคนอยู่ด ้วยทุกข์ ไม่ว่า
กำหนดครั้งใดพบแต่ของไม่
ดีเป็นโทษทั้งสิ้น
• ๑. พอง ยุบ หายไปทีละนิดๆ ปรากฏมัวๆ ลางๆ ไม่
ชัดเจน
• ๒. ไม่ดี น่าเกลียด น่าเบื่อ
• ๓. รูปนามปรากฏเร็ว แต่กำหนดได้ดีอยู่
• ๔. มีแต่สภาพการณ์ที่มีโทษ คือเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์
และโทษ เพราะความเกิดขึ้นแห่งรูปนาม ความสลาย
แห่งรูปนาม รูปนามเป็นไตรลักษณ์
• ๕. กำหนดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่ได้ดี สู้วัน
ก่อนๆไม่ได้
นิ พ พิ ท าญาณ
• ปัญญารู้รูปนามโดยอาการเบื่อ
หน่าย เพราะมีแต่ความแตก
สลายไป ไม่ น ่ า อภิ ร มย์ ย ิ น ดี
เลย เห็ น รู ป นามเป็ น โทษ ไม่
เพลิดเพลินติดใจไม่อยากไปสู่
ภพใดๆ ไม่ อ ยากกำหนดแต่
ยินดีพิจารณาเป็นอนิจจัง ทุก
ขั ง อนั ต ตาหรื อ กำหนดได้
ญาณที ่ เ ป็ น อย่ า งเดี ย วกั น
อย่างอ่อนเป็นภยญาณ อย่าง
กลางเป็นอาทีนวญาณ อย่าง
แก่เป็นนิพพิทาญาณ
• ๑. น่าเบื่อหน่ายขยะแขยงในอารมณ์นั้นๆ
• ๒. รู้สึกแห้งแล้งคล้ายกับขี้เกียจ แต่ยังกำหนดได้ดีอยู่
• ๓. ไม่เบิกบาน เบื่อๆ เศร้าๆ โศกๆ ดุจพลัดพรากจากของรักของชอบใจฉะนั้น
• ๔. เมื่อก่อนได้ยินเขาพูดกันว่า เบื่อ เดี๋ยวนี้รู้แล้วว่าเบื่อจริงๆ
• ๕. เมื่อก่อนเห็นว่าอบายภูมิเท่านั้นที่ไม่ดี ส่วนมนุษย์ สวรรค์ ยังเห็นว่าดีอยู่ แต่บัดนี้รู้สึกว่านิพพาน
เท่านั้นที่ดี นอกนั้นไม่เห็นมีอะไรดีเลย ใจน้อมเอียงไปสู่พระนิพพาน
• ๖. กำหนดรูปนามไม่เพลิดเพลินเลย
• ๗. ทุกสิ่งทุกอย่างรู้สึกว่าเป็นของไม่ดีทั้งสิ้น และไม่เห็นว่าจะสนุกสนานที่ตรงไหน
• ๘. ไม่อยากพูดกับใคร ไม่อยากเห็นใคร อยากอยู่ในห้องเท่านั้น
• ๙. รู้สึกแห้งแล้งคล้ายกับอยู่ในสนามหญ้ากว้างๆ ซึ่งมีแดดเผามาให้หญ้าเหี่ยวแห้งฉะนั้น
• ๑๐. รู้สึกหงอย เศร้าๆ ไม่เบิกบาน
• ๑๑. บางคนเห็นว่าลาภยศที่ตนต้องการเมื่อก่อนๆโน้นไม่มีอะไรที่น่ายินดีเลยแล้วก็เกิดเบื่อหน่าย เห็น
ว่า คำว่าคนก็เกิดเสื่อมอย่างนี้ ทุกชาติ ทุกภาษา แม้เทวดา พรหมก็เป็นอย่างนี้ ที่ได้ลาภยศเป็นเศรษฐี
เจ้านาย คุณหญิง คุณนายก็ไม่เห็นแปลกอะไรเลย มีเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นเดียวกัน จึงไม่รู้สึก
เพลิดเพลิน ไม่ทะเยอทะยาน เกิดความเบื่อหน่าย เห็นว่าถ้าถึงนิพพานได้เป็นสุขแน่ ใจก็โน้มโอนไปสู่
นิพพาน
มุ ญ จิ ตุ กั ม มยตาญาณ

• ปัญญารู้อยากจะพ้นไปจากรูป-
นาม อันน่าเบื่อหน่ายเต็มทน
นั้นเสีย อาการเวทนาไม่รุนแรง
มีคันหน้าคันตา ซู่ซ่าตามกาย
เจ็บคันใบหู หรือ แมลงไต่

• พระธรรมปิฎก, พจนานุกรมพุทธศาสน์
ศัพท์, หน้า ๒๓๕.
• ๑. คันตามตัวเหมือนมดกัน เหมือนมีสัตว์ไต่ตามใบหน้า
ตามร่างกาย
• ๒. ลุกลี้ลุกลนผุดลุกผุดนั่ง ยืนกำหนดไม่ได้ดี นั่งกำหนด
ไม่ได้ดี นอนกำหนดไม่ได้ดี เดินกำหนดไม่ได้ดี
• ๓. กำหนดอิริยาบทน้อยใหญ่ไม่ได้ดี
• ๔. ใจคอหงุดหงิดเอือมๆ เบื่อๆ
• ๕. อยากออก อยากหนี อยากหลุด อยากพ้น
• ๖. บางคนคิดกลับบ้าน นึกว่าตนหมดบุญวาสนาบารมีเสีย
แล้ว เตรียมเก็บเสื่อ เก็บหมอนกลับบ้าน โบราณเรียกว่า
“ญาณม้วนเสื่อ” อย่างนี้เป็นลักษณะของปฏิจจสมุปบาท
มุ ญ จิ ตุ กั ม มยตาญาณ
เหมื อ นปลาติ ด ข่ า ย ไก่ ป่ า ถู ก
ขั ง ในกรงอยากจะพ้ น ไปจาก
ข่ า ยจากกรงขั ง
ปฏิ สั ง ขาญาณ
• ปั ญ ญารู ้ ท างพ้ น ไป หรื อ
ญาณที่คำนึง หาทางจะพ้น
จึงหันกลับไปพิจารณาไตร
ลักษณ์ ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น
อีกครั้งหนึ่ง ทุกขเวทนามี
น้อยแต่รุนแรง การกำหนด
ไม่ ส ะดวก ไม่ ค ่ อ ยทั น
ปั จ จุ บ ั น ต้ อ งพยายาม
มากกว่าที่ญาณผ่านมา
• ฝ่ายวิชาการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย,
วิปัสสนากรรมฐาน, หน้า ๑๕๗.
๑. ปรากฏดุจเข็มแทง ดุจเอาไม้เล็กๆมาจี้ตามร่างกาย
๒. เวทนามีมากแต่หายเร็ว กำหนด ๒-๓ ครั้งก็หาย
๓. มีอาการซึมๆ
๔. ตัวแข็งดุจเข้าผลสมาบัติ แต่ใจรู้อยู่ หูยังได้ยินเสียงอยู่
๕. ตึงๆ หนักๆ เหมือนเอาหินหรือท่อนไม้มาทับลง
๖. รู้สึกร้อนทั่วสรรพางค์กาย
๗. รู้สึกอึดอัดแน่นๆ
สั ง ขารุ เ ปกขาญาณ
• ปั ญ ญารู ้ ร ู ป นามโดยอาการวาง
เฉย เป็ น กลาง รู ้ เ ห็ น รู ป นาม
ตามเป็นจริงจนเบื่อหน่าย และ
ปรารถนาจะหนีไปเสียให้พ้นแต่
ไปไม่ได้ จึงเกิดความรู้สึกพะอึด
พะอม แต่ ส ติ ก ำหนดรู ้ เ ฉยอยู่
ไม่ยินดียินร้าย ไม่มีข้อขัดข้อง
กำหนดได้ง่ายที่สุดไม่หวาดกลัว
ไม่ เ บื ่ อ หน่ า ย เห็ น รู ป นามว่ า ง
เปล่า ละวางรูปนามลงได้จิตนิ่ง
เฉยไม่ ฟ ุ ้ ง ซ่ า นกระวนกระวาย
สมาธิ ต ั ้ ง อยู ่ น าน กำหนดรู ้ ร ู ป
นามสุ ข ุ ม ละเอี ย ดลออ ญาณ
แล่นสู่นิพพาน
• ฝ่ า ยวิ ช าการอภิ ธ รรมโชติ ก ะวิ ท ยาลั ย ,
วิปัสสนากรรมฐาน , หน้า ๑๖๕.
• ๑. ฉฬังคุเปกขา ในอุเบกขา ๑๐ ประการนั้น อุเบกขาของพระขีณาสพอันใด คืออาการที่ไม่ละปกติ ภาวะอันบริสุทธิ์ ในคลองแห่งอารมณ์
๖ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ในทวารทั้ง ๖ ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ย่อมไม่ดีใจ ย่อมไม่เสียใจ เป็นผู้มีสติมีสัมปชัญญะเห็นเสมอกันอยู่ อุเบกขานี้ชื่อว่า ฉฬังคุเปกขา
• ๒. พรหมวิหารุเปกขา อุเบกขาอันใด คืออาการอันเป็นกลาง ๆ ในสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ภิกษุมีจิตประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไป
ทางทิศหนึ่งอยู่ อุเบกขานี้ชื่อว่า พรหมวิหารุเปกขา
• ๓. โพชฌังคุเปกขา อุเบกขาอันใด คืออาการอันเป็นกลาง ๆ ในสหชาตธรรมทั้งหลาย ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมยังอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยนิพพานให้เกิดขึ้น อุเบกขานี้ชื่อว่า โพชฌังคุเปกขา
• ๔. วีริยุเปกขา อุเบกขาอันใด กล่าวคือความเพียรที่ไม่ตึงเครียดเกินไป และที่ไม่หย่อนยานเกินไป ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้โยคีบุคคล
ย่อมมนสิการถึงอุเบกขานิมิตตลอดกาลโดยกาล อุเบกขานี้ชื่อว่า วีริยุเปกขา
• ๕. สังขารุเปกขา อุเบกขาอันใด ที่พิจารณาข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้นโดยสภาวะแล้วจึงลงความเห็น ซึ่งมีอาการเป็นกลาง ๆ ในการยึดถือ
สังขาร อันมาแล้วอย่างนี้ว่า สังขารุเปกขา ทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยอํานาจแห่งสมถะมีเท่าไร? สังขารุเปกขาทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยอํานาจมี
วิปัสสนามีเท่าไร? สังขารุเปกขาเกิดขึน้ ด้วยอํานาจสมถะมี ๘ สังขารุเปกขาเกิดขึน้ ด้วยอํานาจวิปัสสนามี ๑๐ อุเบกขานี้ชื่อว่า สังขารุเปกขา
• ๖. เวทนุเปกขา อุเบกขาอันใด ที่รู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข (คือเฉย ๆ) ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า สมัยใดกามาวจรกุสลจิตอันประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา
เกิดขึ้น อุเบกขานี้ชื่อว่า เวทนุเปกขา
• ๗. วิปสั สนุเปกขา อุเบกขาอันใด คือความเป็นกลาง ๆ ในการพิจารณา ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า ขันธ์ ๕ ใดมีอยู่ ขันธ์ ๕ ใดปรากฏชัด โยคี
บุคคลย่อมละขันธ์ ๕ นั้น ย่อมได้ อุเบกขาในขันธ์ ๕ นั้น อุเบกขานี่ชื่อว่า วิปสั สนุเปกขา
• ๘. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา อุเบกขาอันใด ที่ยังสหชาตธรรมทั้งหลายให้เป็นไปเสมอกัน ซึ่งมาแล้วในเยวาปนกธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น
อุเบกขานี้ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา
• ๙. ฌานุเปกขา อุเบกขาอันใด ที่ไม่ให้เกิดความเอนเอียงไปในฝ่าย แม้ในฝ่ายสุขอันเลิศนั้นก็ตาม ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า และเป็นผู้มี
สัมปชัญญะเห็นเสมอกันอยู่ อุเบกขานี้ ชื่อว่า ฌานุเปกขา
• ๑๐. ปาริสุทธุเปกขา แหละอุเบกขาอันใดที่บริสุทธิ์จากข้าศึกทั้งปวงมีนิวรณ์และวิตกวิจารเป็นต้น มีอันไม่ขวนขวายแม้ในการสงบแห่งธรรม
อันเป็นข้าศึก เพราะธรรมอันเป็นข้าศึกเหล่านั้นสงบไปแล้ว ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า จตุตถฌาน อันมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อุเบกขานีช้ อื่ ว่า
ปาริสุทธุเปกขา
องค์ ป ระกอบของ
สั ง ขารุ เ ปกขาญาณ
• ไม่มีความกลัว ไม่มีความยินดี ยินร้าย กำหนดได้
สม่ำเสมอ (วิสุทธิมรรค)
• ดีใจ เสียใจก็ไม่มี (วิภังคบาลี)
• วางเฉยในสังขารทั้งปวงเหมือนคนขับรถใหม่บนถนน
เรียบ (วิสุทธิมรรค)
• สมาธิตั้งได้อยู่นาน เพราะใจสงบ (ปฏิสัมภิทามรรค)
• กำหนดรู้รปูนามสังขารได้ละเอียดสุขุม (วิสุทธิมรรค)
• จิตกำหนดอารมณ์กรรมฐานแคบเข้ามา (วิสุทธิ
มรรค)
อุปมา
สภาวะที่ป รากฏ
• วางเฉย
• พองยุบเปลี่ยน
• หมุนวนตามร่างกาย
• ทุกขเวทนามาก
• ฤษีดัดตน
• เป็นซ้ำ ๆ เดิม ๆ วนไปวนมา
• สาเหตุเพราะจิตดิ้นรน
ผู้ ไ ม่ ส ามารถผ่ า น
สั ง ขารุ เ ปกขาญาณได้
ปรารถนาพุทธภูมิ
อริยูปวาท
ล่วงเกินบุพพการี ครูบา
อาจารย์
อนันตริยกรรม
ศีลไม่บริสุทธิ
สัจจานุโลมิก ญาณ
• อนุโลมญาณ ปัญญารู้รูปนามครั้งสุดท้ายโดย
อนุโลมไปตามลำดับ เมื่อสำเร็จกิจในวิปัสสนา
ญาณ ๘ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณถึงสังขารุเปกขา
ญาณ หรือ กำหนดไปตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗
หรือญาณอันเป็นไปต่อการตรัสรู้อริยสัจ เมื่อใจ
เป็ น กลางต่ อ รู ป นาม การตรั ส รู ้ อ ริ ย สั จ ย่ อ ม
เกิดขึ้น ถึงจุดหมายปลายทางสู่ความดับ ปล่อย
ความเป็ น ไปของรู ป นามตรงสู ่ พ ระนิ พ พาน
เป็นสังขารุเปกขาญาณชั้นสุดยอด ท่านพระอนุ
รุทธาจารย์ เรียกยอดของสังขารุเปกขาญาณ
และ อนุโลมญาณ ว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา
ญาณวิปัสสนาญาณตั้งแต่อทุ ยัพพยญาณถึงสัจจา
นุ โ ลมิ ก ญาณ เรี ย กว่ า ปฏิ ป ทาญาณทั ส สน
วิสุทธิ คือความบริสุทธิ์หมดจดจากข้อปฏิบัติจะ
นำไปสู่มรรคผลนิพพาน ข้อที่ ๖ ในวิสุทธิ ๗
• พระธรรมปิฎก, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ศัพท์, หน้า ๓๑๘.
บริก รรม อุป จาร อนุโลม
ทบทวนญาณ
• อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและ
ความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณ
อย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึง
ดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
• ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่น
ขึ้นมาอย่างเดียว
• ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็น
ของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
• อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่ง
ทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
• นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อ
หน่าย
• มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
• ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อ
จะหาทางหนี
• สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลาง
วางเฉยต่อสังขาร
อุป มาอนุโลมญาณ
ความดั บ
๕ ประการ

• ดับด้วย ปีติ
• ดับด้วย ปัสสัทธิ
• ดับด้วย สมาธิ
• ดับด้วย ถีนมิทธะ
• ดับด้วย อุเปกขา
ดับ โดยมรรค
โคตรภู ญ าณ
• ความหยั ่ ง รู ้ ท ี ่ เป็ น ภาวะแห่ ง การข้ า มพ้ น จาก
ปุ ถ ุ ช นเข้ า สู ่ อ ริ ย บุ ค คล โดยโคตรภู จ ิ ต หน่ ว ง
นิพพานเป็นอารมณ์ ละปุถุชนโคตรทันที เป็น
จิตทำลายชาติเชื้อปุถุชน การกำหนดรู้อนุโลม
ญาณ เข้าโคตรภูญาณ ตัดอารมณ์โลกีย์ ตัด
โคตรปุถุชนไม่มีเหลือ เป็นโลกียญาณ ปล่อยวาง
ขันธ์ ๕ ก่อนที่อริยมรรค ได้นิพพานเป็นอารมณ์
ครั้งแรก คำว่า โคตรภู แยกได้ ๒ บท คือ
โคตร แปลว่าชาติหรือเชื้อสาย บทหนึ่ง ภู มา
จากบาลี ว ่ า อภิ ภ ุ ย ฺ ย แปลว่ า ทำลาย เพราะ
โคตรภู มี ๒ อย่า ง คือมหัคคตโคตรภู การ
ทำลายชาติ กาม และโลกุ ต ตรโคตรภู การ
ทำลายเชื้อสายของปุถุชน
• วิ ส ุ ท ธิ ม ั ค คอรรถกถา ว่ า ปริ ก รรม อุ ป จาร
อนุโลม ทั้ง ๓ นี้ มีหน้าที่ขจัดความมืด คือ
โมหะ แต่ยังไม่เห็นนิพพาน โคตรภูสามารถเห็น
พระนิพพานได้ แต่ประหาณโมหะไม่ได้
ครอบงำความเกิ ด
เห็ น ความดั บ เห็ น ฝั่ ง คื อ พระนิ พ พาน

ความมื ด คื อ อวิ ช ชา
เมฆหมอก คื อ กิ เ ลส
อนุ โ ลมจิ ต ๓ ดวง เปรี ย บลม ๓ ระลอก
พระจั น ทร์ คื อ พระนิ พ พาน
มรรคญาณ
• ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคล
เมื่อโคตรภูจิตดับ อริยมรรคจิตเสวย
นิพพานต่อชั่วขณะจิตหนึ่ง ญาณปัญญา
ที่เกิดร่วมกับมรรคจิต เรียกว่า มรรค
ญาณ เห็นนิโรธสัจ ส่วนทุกข์ สมุทัย
มรรค เกิดพร้อมกัน
• พระธรรมปิฎก, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, หน้า
๒๒๗.
เข้าสู่มรรคทางอนิจจัง
อนิมิตตวิโมกข์
ลักษณะที่ ๑ สังขารสุขุมละเอียดอย่างยิ่ง ดับไป เรียกว่า ดับทางอนิจจัง
ยทิ วุฏฺฐานคามินี วิปสฺสนา ทุกฺขโต วิปสฺสติ อปฺปณิหิโต วิโมกฺโข
นาม โหติฯ
เข้ า สู่ ม รรค
ทางทุ ก ขั ง
อัปปณิหิตตวิโมกข์
• ทุ ก ขเวทนาเกิ ด ขึ ้ น อย่
ลักษณะที่ ๒ างแรง ใน
ที่ส ุดดับ ไป เรียกว่า ดับ
ทางทุกขัง
• ย ท ิ ว ุ ฏ ฐ า น ค า ม ิ นี
วิ ป สฺ ส นา อนิ จ ฺ จ าโต
วิปสฺสติ อนิมิตฺโต วิโมกฺ
โข นาม โหติฯ
• ลักษณะที่ ๓ สังขารละเอียดอย่างยิ่ง ค่อยๆ หายดับไป เรียกว่า ดับทางอนัตตา
• ยทิ วุฏฐานคามินี วิปสฺสนา อนตฺตโต วิปสฺสติ สุญญ ฺ โต วิโมกฺโข นาม โหติ
อุป มามรรคญาณ

• กำหนดรู้ทุกข์ เปรียบเหมือน ไหม้ไส้


• ละสมุทัย “ ” กำจัดความมืด
• ทำมรรคให้เกิด“ ” ให้แสงสว่าง
• ทำนิโรธให้แจ้ง “ ” ทำน้ำมันให้สิ้นไป
ผลญาณ
• ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จปัญญาญาณใน
อริ ย ผล เมื ่ อ มรรคจิ ต ดั บ ผลจิ ต เสวย
นิพพานทันที ๒ ขณะญาณที่เกิดร่วมผล
จิต เรียกว่า ผลญาณ เป็นญาณโลกุต
ตระ มรรคญาณไม่ว่าชั้นใดเกิดขณะ
จิ ต เดี ย วเท่ า นั ้ น ผลญาณปรากฏ ๒-๓
ขณะจิต การกำหนดรู้ดำเนินต่อไป พระ
ธรรมปิ ฎ ก, พจนานุ ก รมพุ ท ธศาสน์
ประมวลศัพท์, หน้า ๑๗๗.
• ฝ่ า ยวิ ช าการอภิ ธ รรมโชติ ก ะวิ ท ยาลั ย , วิ ป ั ส สนา
กรรมฐาน, หน้า ๒๓๑.
วิถีจิตในมรรคญาณ

อุ. อนุ. ค. ม. ผ. ผ. ผ.
ผลญาณ
๒ ประการ
• มัณฑบุคคล ปัญญาไม่แก่กล้า ผล
ญาณปรากฏ ๒ ครั้ง จึงมีภวังค์มาคั่น
• ติกขบุคคล ปัญญาแก่กล้า ผลญาณ
ปรากฏ ๓ ครั้ง จึงมีภวังค์มาคั่น

• ดับเงียบตอนแรกเป็นโคตรภูญาณ
• ดับเงียบตอนกลางเป็นมรรคญาณ
• ดับเงียบตอนสุดท้ายเป็นผลญาณ
ปหาน ๒ การ

• สมุจเฉทปหาน
การประหาณกิเลสในมรรคญาณ
• ปฏิสปัสสัมภนปหาน
การประหาณกิเลสในผลญาณ
กิ เ ลสที่ ล ะ
ในปฐมมรรค หรือโสดาปัตติมรรค ได้ประหารกิเลส ๕ อย่าง
วิสุทธิมัคคอรรถกถา ว่า สํโยชเนสุ ตาว สกฺกายทิฏฺฐิวิจิกิจฺ
ฉาสีลพฺพตปรามาโส อปายคมนียา จ กามราคปฏิฆาติ เอ
เต ปญฺจ ธมฺมา ปฐมญาณวชฺฌาฯ
๑) ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒) ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ
๓) ความยึดถือว่าบุคคลบริสุทธิ์ด้วยศีล และวัตรเท่านั้น
๔) การนำไปสู่อบายภพโดยกามราคะ
๕) การนำไปสู่อบายภพโดยปฏิฆะ
• สักกายทิฏฐิคือความเห็นว่าเป็นตัวของตนเป็นเหตุถือตัวตน
เช่นเห็นรูปเป็นตนเห็นนามเป็นตน
• วิจิกิจฉา คือความลังเลไม่ตกลงได้,ความไม่แน่ใจ, ความ
สงสัย เป็นต้น
• สีลัพพตปรามาส คือความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์ได้ด้วย
ศีลและวัตรเท่านั้น
• อปายคมนียกามราคะ คือการนำไปสู่อบายภพได้โดยกาม
ราคะ
• อปายคมนียปฏิฆะ คือการนำไปสู่อบายภพได้โดยปฏิฆะ
ปั จ จเวกขณญาณ
• ญาณหยั ่ ง รู ้ ก ารพิ จ ารณาทบทวน
กิเลสที่ละ หรือที่เหลือ และนิพพาน
เว้นแต่พระอรหันต์ไม่มีกิเลสที่เหลือ
ลักษณะญาณครั้นผลจิตดับ ภวังคจิต
เกิ ด สื บ ต่ อ แล้ ว กามาวจรกุ ศ ลจิ ต
ญาณสัมปยุต เกิดขึ้นพิจารณามรรค
ผลเป็ น ต้ น หรื อ กลั บ ไปพิ จ ารณา
สภาวะที่เข้าสู่ความดับ ว่าเป็นอะไรไป
ในอรรถกถา ว่ า อริ ย บุ ค คลที ่ ไ ม่ ไ ด้
พิจารณาก็มี ในอภิธัมมัตถสังคหอรรถ
กถา ว่ า อริ ย บั ณ ฑิ ต พหุ ส ู ต ย่ อ ม
พิจารณากิเลสที่ละ และกิเลสที่เหลือ
บุคคลไม่มีปริยัติไม่ได้พิจารณา แต่ก็
กำหนดต่อไป
• พระธรรมปิฎก, พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, หน้า ๑๖๑.
ย้ อ นกลั บ มาดู

มรรค
ผล
นิพพาน
กิเลสที่ละ
กิเลสที่เหลือ
• ๑. การปรับอินทรีย์โดยการกำหนดให้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นภายในกาย ใจ ณ ปัจจุบันขณะนั้น
ดังเมื่อสันตติอำมาตย์ฟังธรรมพร้อมทั้งเจริญสติปัฏฐานโดยกำหนดรูปนามปัจจุบันที่ปรากฏชัด จึงไม่เกิดกิเลสที่หวน
คิดถึงอดีต หรือใฝ่ฝันอนาคต และหยั่งเห็นสภาวธรรมรูปนามที่เกิดดับตามความเป็นจริง จนกระทั่งบรรลุมรรค
ญาณทั้ง ๔ ตามลำดับ ในที่สุดได้บรรลุอรหัตตผล ไม่ยึดมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัส
ข้อความว่า “อุปสนฺโต จริสฺสสิ (ก็จักเป็นผู้สงบไปได้)”
• ๒. การปรับอินทรีย์โดยการกำหนดเวลา ในการเดินจงกรม และการนั่งสมาธิ เช่น การเพิ่มเวลาในการ
เดินจงกรม และการนั่งสมาธิ จาก ๑๕ นาที เป็น ๒๐ นาที ๒๕ นาที ๓๐ นาที ไปจนถึง ๖๐ นาที เป็นต้น
• ๓. การปรับอินทรีย์โดยการเพิ่มระยะในการเดินจงกรม และการกำหนดจุดในขณะนั่งสมาธิ เช่น การ
เดินจงกรมตั้งแต่ระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ ระยะที่ ๓ ไปจนถึงระยะที่ ๖ หรือการเพิ่มการกำหนดถี่ ๆ ๆ ในการก้าว
แต่ละระยะ เป็นต้น
• ๔. การปรับอินทรีย์โดยการเพิ่มการกำหนดอิริยาบถย่อย เช่น การคู้ กำหนดว่า คู้หนอ ๆ ๆ การเหยียด
กำหนดว่า เหยียดหนอ ๆ ๆ การเหลียวหน้า แลหลัง กำหนดว่า เหลียวหนอ ๆ ๆ เป็นต้น
• ๕. การปรับอินทรีย์โดยการเพิ่มการกำหนดต้นจิต หมายถึง การกำหนดอารมณ์ต่างที่เกิดขึ้นที่ใจ เช่น
ก่อนเดินจงกรมกำหนดว่า อยากเดินหนอ ๆ ๆ ถ้าฟุ้งซ่าน กำหนดว่า ฟุ้งหนอ ๆ ๆ ถ้าง่วงกำหนดว่า ง่วงหนอ
ๆ ๆ เป็นต้น
• ๖. การปรับอินทรีย์โดยการสำรวมอินทรีย์ ๖ หมายถึง การกำหนดอารมณ์ต่าง ๆ ที่กระทบทางทวารทั้ง
๖ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ เช่น ถ้าเห็น กำหนดว่า “เห็นหนอ” ถ้าได้ยิน กำหนดว่า “ได้ยิน
หนอ” ถ้าได้กลิ่น กำหนดว่า “กลิ่นหนอ” ถ้ารู้รส กำหนดว่า “รสหนอ” ถ้าถูกต้องสัมผัส กำหนดว่า “ถูก
หนอ” ถ้ารับสิ่งต่าง ๆ กำหนดว่า “รู้หนอ” เป็นต้น
• ๗ เพิ่มความถี่ในการกำหนดสภาวะรูป สภาวะนามให้มากขึ้น
- วิธีเพิ่มปัญญา - รู้รูปนาม รู้ปัจจุบัน รู้ไตรลักษณ์
รู้วิปัสสนา ปัญญา รู้มรรค ผล นิพพาน
• - วิธีเพิ่มวิริยะ - เพียรตั้งใจทำจริง กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย
• - วิธีเพิ่มสมาธิ - ผูกจิตไว้กับองค์คุณ ๓ จิตจับในอารมณ์ใด
ให้กำหนดมั่นในอารมณ์นั้น จิตหลุดในอาการใด
ให้กำหนดรู้ในอาการนั้น
• - วิธีเพิ่มสติ - ระลึกรู้อยู่ที่รูปนามและการกำหนดตลอดเวลา
• - วิธีเพิ่มศรัทธา - ทรงใจให้อยู่กับรูปนาม ศีล สมาธิ ปัญญา

You might also like