You are on page 1of 76

ภาคผนวก

ภาคผนวก
คณะกรรมการเทววิทยาระหว่างประเทศ*
ปัญหาบางประการในปัจจุบันเกี่ยวกับเทววิทยาเรื่องอนันตกาล

สารบัญ
บทนำ
มนุษย์ในปัจจุบันมีความสับสนเรื่องความตายและชีวิตหลังความตาย 294
ความหวังของคริสตชนในการกลับคืนชีพ
บทที่ 1 การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าและการกลับคืนชีพของเรา 302
บทที่ 2 การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้าและการกลับคืนชีพของเรา 310

*
วันที่ 11 เมษายน 1969 สมเด็จพระสันตะปาปา ปอลที่ 6 ทรงแต่งตั้ง “คณะกรรมการเทววิทยาระหว่างประเทศ”
(International Theological Commission) ให้เป็นองค์กรหนึ่งในสมณกระทรวงพระสัจธรรม (Sacred Con-
gregation for the Doctrine of Faith) เพื่อช่วยสันตะสำนักตรวจสอบปัญหาสำคัญในด้านคำสอนเรื่องความเชื่อ
คณะกรรมการนี้ประกอบด้วยนักเทววิทยาทั่วโลก จำนวน 30 ท่าน มีวาระการทำงานครั้งละ 5 ปี และจัดประชุม
พร้อมกันทุกคนปีละ 1 ครั้ง
พระคาร์ดินัล โยเซฟ รัตซิงเกอร์ (Joseph Ratzinger) เคยเป็นสมาชิกของคณะกรรมการนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม และใน
ปี 1982 ท่านได้รับตำแหน่งเป็นประธานของสมณกระทรวงพระสัจธรรม จึงได้เป็นประธานของคณะกรรมการฯ
โดยตำแหน่ง และดำรงตำแหน่งทั้งสองนี้ จนได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน คือ “สมเด็จ-
พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16”
คณะอนุกรรมการที่ได้ร่างเอกสารฉบับนี้มีคุณพ่อคณะเยซูอิต Candido Pozo เป็นประธานและประกอบด้วย
สมาชิกอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ คือ บรรดาศาสตราจารย์ J. Ambaum, J. Gnilka, J. Ibanez Langois, S. Nagy, C. Peter
และบรรดาพระสังฆราช B. Kloppenburg, J. Medina Estevez และ C. Schoenborn ต่อมาสมาชิกฯ ทุกคนต่าง
ลงมติรับรองเอกสารนี้เป็นลายลักษณ์อักษร และจัดพิมพ์ในปี ค.ศ. 1991

292
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บทที่ 3 ความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าทันทีหลังความตายตามพระคัมภีร์
ภาคพันธสัญญาใหม่ 316
บทที่ 4 ความเป็นจริงของการกลับคืนชีพในบริบทของเทววิทยาปัจจุบัน 322
บทที่ 5 มนุษย์ถูกเรียกให้กลับคืนชีพ 329
บทที่ 6 ความตายของคริสตชน 335
บทที่ 7 สมาชิกทุกคนในพระศาสนจักรมี “ความสนิทสัมพันธ์ทางชีวิต”
กับพระคริสตเจ้า 342
บทที่ 8 การชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์เพื่อจะพบพระคริสตเจ้าผู้ทรงพระสิริรุ่งโรจน์ 348
บทที่ 9 มนุษย์แต่ละคนมีชีวิตครั้งเดียวและไม่เหมือนใคร
ปัญหาเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด 353
บทที่ 10 แผนการยิ่งใหญ่ของพระเจ้า มนุษย์ต้องดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง 357
บทที่ 11 กฎการภาวนาแสดงกฎความเชื่อ (lex orandi – lex credendi) 363
บทสรุป 366

293
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บทนำ
มนุษย์ในปัจจุบันมีความสับสนเรื่องความตายและชีวิตหลังความตาย

1. ถ้าคริสตชนไม่ประกาศยืนยันว่าพระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ ความเชื่อของเขา
ก็ไร้ความหมาย ดังที่นักบุญเปาโลเขียนไว้ว่า “ถ้าพระคริสตเจ้ามิได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ การ
เทศน์สอนของเราก็ไร้ประโยชน์ และความเชื่อของท่านก็ไร้ประโยชน์เช่นเดียวกัน” (1 คร 15:14)
การที่พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจึงมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับความหวังที่เราจะกลับ
คืนชีพในอนาคตอีกด้วย “ถ้าเราประกาศว่า พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย
แล้ว เพราะเหตุใด บางท่านจึงพูดว่า บรรดาผู้ตายจะไม่กลับคืนชีพเล่า” (1 คร 15:12) การกลับคืน
พระชนมชีพของพระคริสตเจ้า จึงเป็นพื้นฐานของความหวังของเรา เป็นการเปิดขอบฟ้าใหม่เหนือ
ข้อจำกัดแห่งชีวิตในโลกนี้ “ถ้าเรามีความหวังในพระคริสตเจ้าเพียงเพื่อชีวิตนี้เท่านั้น เราก็เป็น
มนุษย์ที่น่าสงสารที่สุด” (1 คร 15:19) ถ้าผู้ใดไม่มีความหวังนี้ เขาก็จะดำเนินชีวิตคริสตชนที่แท้จริง
ไม่ได้
พระศาสนจักรตัง้ แต่สมัยแรกเห็นชัดแจ้งว่า ความหวังแน่วแน่ในชีวติ หน้ามีความสัมพันธ์อย่าง
แน่นแฟ้นกับสมรรถภาพที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องของชีวิตคริสตชน พระศาสนจักรในสมัยนั้นระลึก
ว่า บรรดาอัครสาวกได้ผ่านความทุกข์ทรมานจนบรรลุถึงความรุ่งโรจน์1 ฉันใด บรรดามรณสักขีก็ได้รับ
กำลังใจจากความหวังที่จะพบพระคริสตเจ้าโดยอาศัยความตาย และความหวังที่จะกลับคืนชีพใน
อนาคต2 ฉันนั้น
บรรดานักบุญทุกสมัยมีความหวังนีเ้ ป็นแรงบันดาลใจและพืน้ ฐาน มอบชีวติ ของตนเป็นมรณ-
สักขีหรืออุทิศตนในการรับใช้พระคริสตเจ้าและเพื่อนมนุษย์ เขาเป็นพยานที่ให้กำลังใจแก่คริสตชน
1
เทียบ St. Clement of Rome, Ad Corinthios 5: Funk, 1, 104-6.
2
เทียบ St. Ignatius of Anthioch, Ad Romanos 4: Funk 1:256-8.

294
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

อื่นๆ ที่จับตามองเขาขณะที่กำลังเดินทางไปสู่พระคริสตเจ้า ความหวังนี้ยกจิตใจของคริสตชนไปสู่สิ่ง


ในสวรรค์ โดยไม่เบนความสนใจของเขาให้ละเลยการปฏิบัติตามหน้าที่ของตนในโลกนี้ เพราะ
“ความหวังที่จะได้แผ่นดินใหม่ไม่ควรจะดับสิ้นไป แต่ควรจะปลุกความห่วงใยของเราที่จะพัฒนา
แผ่นดินปัจจุบันนี้”3
โลกปัจจุบันเป็นศัตรูกับความหวังของคริสตชนในหลายรูปแบบ เพราะได้รับอิทธิพลอย่าง
รุนแรงจากคติโลกวิสัย (Secularism) ซึ่ง “มีวิสัยทัศน์ว่า มนุษย์และโลกเป็นอิสระจากพระเจ้า ต่าง
ปกครองตนเอง วิสัยทัศน์นี้ไม่คำนึงถึงมิติที่เป็นธรรมล้ำลึกและยังปฏิเสธมิตินี้อีกด้วย ความคิดที่ว่า
ทุกอย่างทีเ่ ป็นจริงอยูภ่ ายในโลกนี้ทำให้ทรรศนะของมนุษย์ขาดความสมบูรณ์”4 คติโลกวิสยั เป็นเหมือน
บรรยากาศที่คริสตชนจำนวนมากในปัจจุบันดำเนินชีวิตอยู่ เขาจะพ้นจากอิทธิพลนี้ได้ยาก จึงไม่น่า
แปลกใจที่คริสตชนบางคนมีความสับสนเรื่องความหวังในอนันตกาล บ่อยครั้ง เขามองความตายใน
อนาคตด้วยความกลัว มีความทุกข์ใจ “เพราะเขาคิดว่าจะต้องรับทรมานและร่างกายจะต้องสูญสลาย
ไป และเขายังกลัวว่า ตนจะต้องดับสูญไปทั้งกายและวิญญาณตลอดไป”5 คริสตชนทุกยุคทุกสมัยถูก
ประจญให้มีความสงสัยเช่นนี้ตลอดมา ความกังวลใจของคริสตชนจำนวนมากในปัจจุบัน แสดงให้
เห็นว่า ความหวังของเขาอ่อนกำลังลงยิ่งกว่าในสมัยก่อนเสียอีก
“ความเชื่อคือ ความมั่นใจในสิ่งที่เราหวังไว้ เป็นข้อพิสูจน์ถึงสิ่งที่มองไม่เห็น” (ฮบ 11:1)
เราจึงควรมุ่งมั่นจับตามองความจริงที่เราเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหน้า เราจะพยายามวิเคราะห์ความจริง
เหล่านี้ โดยเน้นประเด็นที่ช่วยตอบคำถามของมนุษย์ในปัจจุบันนี้ โดยตรงความเชื่อจะช่วยค้ำจุน
ความหวัง

3
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 39
4
Synod 1985, Relatio Finalis II, A, 1 (E. Civitate Vaticana 1985) p. 6.
5
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 18

295
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ก่อนที่เราจะลงมือปฏิบัติ จำเป็นต้องพิจารณาสาเหตุสำคัญของความสับสนในปัจจุบัน เรา


ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้ความเชื่อของคริสตชนสั่นคลอน เพราะได้รับอิทธิพลทั้งจากภายนอกและ
ภายในพระศาสนจักร ปัจจุบันเราพบว่ามี “ความเลือนรางทางเทววิทยา” คือ นักเทววิทยาบางคนตี
ความพระสัจธรรมบางข้อแบบใหม่ ทำให้สัตบุรุษสับสน ไม่แน่ใจว่าพระคริสตเจ้าเป็นพระเจ้าและ
ทรงกลับคืนพระชนมชีพจริงหรือไม่ ความคิดเห็นของนักเทววิทยาเหล่านี้จึงไม่ช่วยสนับสนุนความเชื่อ
ของสัตบุรุษ แต่กลับทำให้เกิดความสงสัยในความจริงต่างๆ ที่เขาเคยเชื่อ ภาพลักษณ์ของพระ-
คริสตเจ้า ที่มาจากการตีความใหม่เช่นนี้ช่วยประคับประคองความหวังของสัตบุรุษไม่ได้ “นัก
เทววิทยาควรคำนึงถึงการโต้แย้งเรื่องอนันตกาลที่แผ่ขยายไปในกระแสสังคมอย่างกว้างขวางว่า
สัตบุรุษส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกแยะข้อเท็จจริงและความหมายของข้อโต้แย้งเหล่านี้ เช่น สัตบุรุษได้
ยินนักเทววิทยาถกเถียงกันว่า วิญญาณมนุษย์มีอยู่จริงหรือไม่ วิญญาณมนุษย์ยังคงอยู่หลังความตาย
จริงหรือไม่ นักเทววิทยาตัง้ คำถามว่า จะเกิดอะไรขึน้ กับมนุษย์ในช่วงเวลาระหว่างความตายของแต่ละ
คนและการกลับคืนชีพประมวลพร้อม คริสตชนรู้สึกสับสนจากการโต้แย้งของนักเทววิทยา เพราะเขา
ไม่คุ้นเคยกับสำนวนและความคิดที่นักเทววิทยาใช้กันอยู่”6 ข้อสงสัยทางเทววิทยาเหล่านี้มีอิทธิพล
อย่างมากต่อผู้สอนคำสอนและนักเทศน์ เพราะคนเหล่านี้อาจเผยแผ่ข้อโต้แย้งดังกล่าว หรืออาจนิ่ง
เงียบไม่กล้าสอนความจริงเกี่ยวกับสิ่งสุดท้ายอีกต่อไป (Last Things)
คติโลกนิยมเป็นปรากฏการณ์ซึ่งสอดคล้องกับกระแสสังคม ที่ ได้รับการสนับสนุนจาก
สื่อมวลชนจนมั่นใจว่ามนุษย์และสิ่งอื่นๆ ทั้งหมดที่อยู่ในสถานที่และในกาลเวลาล้วนเป็นเพียงวัตถุ ซึ่ง
จะต้องสูญสลายโดยสิ้นเชิงเมื่อความตายมาถึง ยิ่งกว่านั้น ค่านิยมทางวัฒนธรรมปัจจุบันที่กำลัง
พัฒนาอยู่นี้ พยายามทุกวิถีทางที่จะชักชวนมนุษย์ไม่ให้คิดถึงความตายและให้ลืมคำถามเรื่องที่
เกี่ยวกับความตาย ความหวังถูกทำลายจากการมองธรรมชาติมนุษย์ในแง่ร้ายแทนที่จะมองในแง่ดี
การมองในแง่ร้ายนี้ก่อให้เกิดความเศร้าและความทุกข์เพิ่มมากขึ้น เมื่อมนุษย์แสดงความทารุณ
6
สมณกระทรวงพระสัจธรรม จดหมาย Recentiores episcoporum synodi, Introduction: AAS
71 (1979) 940.

296
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

เหี้ยมโหดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในศตวรรษนี้ ต่างก็มีความหวังว่า มนุษย์ที่ได้บทเรียนจาก


ประสบการณ์น่าสะพรึงกลัวนี้ คงจะสร้างระบบสังคมที่ดีกว่า มีเสรีภาพและความยุติธรรมกว่า แต่
ไม่นานเขาก็เกิดความผิดหวังและขมขื่น “อันเนื่องมาจากความอดอยาก การกดขี่ข่มเหง ความ
อยุติธรรม สงคราม ความทุกข์ทรมาน การก่อการร้าย และการใช้ความรุนแรงด้วยวิธีการต่างๆ
ที่ทวีขึ้นทั่วไปในโลกปัจจุบัน”7 คนจำนวนมากในประเทศที่ร่ำรวยถูกชักนำให้มา “ยึดว่าทรัพย์สมบัติ
คือพระเจ้า ซึ่งก็คือการบริโภคนิยม”8 การไม่สนใจเพื่อนมนุษย์ จึงเป็นการง่ายที่จะคิดว่ามนุษย์ปัจจุบัน
เป็นทาสของกิเลสและความตระหนี่ เพราะเขาปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้เพียงทรัพย์สมบัติของ
โลกเท่านั้น ไม่มีจุดมุ่งหมายชีวิตที่สูงกว่านี้
คนจำนวนมากไม่แน่ใจว่าความตายจะนำเขาไปสู่ความว่างเปล่า หรือจะนำไปสู่ชีวิตใหม่ แม้
ในหมู่บรรดาผู้ที่คิดว่ามีชีวิตหลังความตาย หลายคนคาดว่าเขาจะเกิดใหม่ในโลกนี้ เพราะชีวิตใน
โลกนี้ไม่มเี พียงครัง้ เดียว แต่มกี ารเวียนว่ายตายเกิด ผูท้ ี่ไม่สนใจศาสนาก็มคี วามสงสัยเกีย่ วกับพืน้ ฐาน
ของความหวังในชีวิตนิรันดร สำหรับบุคคลเหล่านี้ความสำคัญไม่อยู่ที่ว่า ความหวังมีพื้นฐานอยู่บน
พระสัญญาที่พระเจ้าประทานให้ทางพระคริสตเจ้า หรืออยู่ที่ผู้ช่วยให้รอดพ้นอีกคนหนึ่งที่เราจะต้อง
รอคอย “ความเลือนรางทางเทววิทยา” ทำให้คนเฉยเมยต่อศาสนามากยิ่งขึ้น เพราะก่อให้เกิดความ
สงสัยเกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่แท้จริงของพระคริสตเจ้า ทำให้คริสตชนจำนวนมากรู้สึกลำบากใจมากขึ้น
ที่จะมีความหวังในพระองค์

2. มีเหตุผลหลายประการทีเ่ ราไม่คอ่ ยพูดถึงเทววิทยาเรือ่ งอนันตกาลในปัจจุบนั แต่ในทีน่ เี้ รา


จะพูดถึงเพียงประการเดียว คือ การรื้อฟื้นแนวโน้มในการสร้างเทววิทยาเรื่องอนันตกาลที่มีเนื้อหา


7
Synod 1985, Relatio Finalis II, D, 1 (E. Civitate Vaticana 1985) p. 17
8
Synod 1985, Relatio Finalis I, 4 (E. Civitate Vaticana 1985) p. 4.

297
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

เพียงการกระทำของมนุษย์ในโลกนี้เท่านั้น แนวโน้มดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดี ในประวัติศาสตร์ของ


เทววิทยา ซึ่งในสมัยกลางได้เรียกชื่อว่า “มรดกทางจิตของ โยอากิม เดอ ฟีโอเร”9
นักเทววิทยาบางคนมีแนวโน้มที่ศึกษาเรื่องการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ เขาเน้นถึงความ
สำคัญของการสร้างพระอาณาจักรพระเจ้าในประวัติศาสตร์มนุษย์ของคนในโลกนี้มากเกินไป จนไม่
สนใจความรอดพ้นเหนือธรรมชาติที่จะสมบูรณ์ในโลกหน้า นักเทววิทยาเหล่านี้ไม่ปฏิเสธความจริง
เกีย่ วกับชีวติ หน้าต่อจากชีวติ มนุษย์และประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์ในโลกนี้ แต่เขาคิดว่า พระอาณาจักร
ของพระเจ้าจะเป็นจริงในรูปแบบใหม่ คือแบบโลกวิสัย เมื่อสังคมมนุษย์ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ และ
“ยุคที่สามของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น” จะมาถึง เมื่อ “ข่าวดีนิรันดร” (วว 14:6-7) และ
พระอาณาจักรของพระจิตเจ้าเป็นความจริง10
ความคิดเช่นนี้ทำให้ “เหตุการณ์ในอนันตกาล” เป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มนุษย์ใน
กาลเวลา แม้นักเทววิทยาเหล่านี้ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เป็นเหตุการณ์สุดท้ายที่สัมบูรณ์ แต่
เป็นเพียงเหตุการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์สุดท้ายเท่านั้น ถึงกระนั้น เขาก็ยังเน้นการปฏิบัติ
ของคริสตชนเพียงในเรื่องการพัฒนาสังคมในโลกนี้เท่านั้น พวกเขาตีความหมายพระวรสารในวงแคบ
มองข้ามและแทบจะไม่กล่าวถึงทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สุดท้ายที่สัมบูรณ์ ซึ่งทรรศนะทาง
เทววิทยาเช่นนี้ “มองว่ามนุษย์เป็นผู้รอคอยยุคของพระแมสสิยาห์ที่จะนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่
โลกนี้ แนวความคิดนี้แสดงพระอาณาจักรของพระเจ้าเชิงโลกวิสัยมากที่สุด ทำให้พระอาณาจักร
ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษย์อย่างสมบูรณ์”11
ความหวังซึ่งเป็นคุณธรรมเหนือธรรมชาติลดลง เมื่อถูกแทนที่ด้วยกระบวนการทางการเมือง
ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อมิติทางการเมืองกลายเป็น “มิติหลักและมิติเดียว ทำให้เรา
9
เทียบ H. de Lubac, La posterite’ spirituelle de Joachim de Fiore, 2 vols. (Paris 1978 and 1981).
10
สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างคาร์ล มากซ์ กับ เฮเกล ดู ibid., vol. 2, 256-360.
11
สมณกระทรวงพระสัจธรรม, Instruction Libertatis nuntius (Instruction on Certain Aspects of the
‘Theology of Liberation’) 10, 6: AAS 76 (1984) 901.

298
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ตีความหมายพระคัมภีร์แคบลง”12 แต่เทววิทยาเรื่องอนันตกาลที่เลือกตีความหมายพระคัมภีร์เพียง
บางแง่บางมุมของเรื่องอนันตกาลเท่านั้นเป็นเทววิทยาที่เรารับไม่ได้ แม้วิธีการนี้จะหลีกเลี่ยงแนว
ความคิดตามลัทธิมาร์กซิสต์ก็ไม่อาจเข้ากับคริสต์ศาสนาได้เลย
เป็นที่รู้กันว่า ลัทธิมาร์กซิสต์ดั้งเดิมมองศาสนาว่าเป็น “ฝิ่น” ที่มอมเมาประชาชน เพราะ
ศาสนา “หลอกมนุษย์ให้หวังจะได้ชีวิตหน้า เบนความสนใจไม่คิดที่จะสร้างความเจริญในโลก” 13
คำกล่าวหานี้ไม่มีเหตุผลทางวัตถุวิสัยแม้แต่น้อย แต่กลับเป็นลัทธิวัตถุนิยมที่ทำให้มนุษย์ไม่มีแรงจูงใจ
ในการสร้างความเจริญในโลก มนุษย์เราจึงต้องดิ้นรนไปทำไม ถ้าไม่มีความหวังในชีวิตหลังความตาย
“เราจงกินและดื่มเถิด เพราะพรุ่งนี้เราก็จะตายแล้ว” (อสย 22:13) ตรงกันข้าม “ความหวังของเรา
ในโลกหน้าไม่ทำให้กิจการต่างๆ ในโลกนี้มีความสำคัญน้อยลง แต่กลับช่วยให้การงานนั้นลุล่วง
สำเร็จไปด้วยดี”14
เราไม่ปฏิเสธว่ามีคริสตชนจำนวนไม่น้อยที่คิดถึงโลกหน้ามากเกินไป จนเขาเลือกวิถีชีวิตที่
เน้นความศรัทธา แต่ละเลยหน้าที่ทางสังคม เราไม่ควรยอมรับวิถีชีวิตเช่นนี้ แต่เราก็ต้องไม่ลืมชีวิต
ในโลกหน้าเพื่อทำให้คริสต์ศาสนามีบทบาทในการสร้างสังคมใหม่ในโลกนี้ ทั้งในด้านชีวิตส่วนบุคคล
และในด้านการทำหน้าที่อภิบาล อำนาจการสอนของพระศาสนจักรเสนอความคิดเรื่อง “การปลด
ปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระแบบบูรณาการ”15 ซึง่ รักษาความสมดุลและการเพิม่ พูนขององค์ประกอบ

12
สมณกระทรวง AAS 76 (1984) 900.
13
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 20
14
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 21
15
สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6, Apostolic Exhortation Evangelii Nuntiandi, 31: AAS 68
(1976) 28.

299
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ต่างๆ ของพระวรสาร16 ความคิดนี้จึงสอนเราให้มีทัศนคติที่แท้จริงของคริสต์ศาสนาและมีวิธีที่ถูกต้อง


ในการทำงานด้านการอภิบาล เราต้องแสดงอย่างชัดเจนว่า เราต้องไม่คิดที่จะแยกภาระหน้าที่ในการ
สร้างความเจริญของโลกออกจากภารกิจส่งเสริมชีวิตจิต ราวกับว่าเราต้องเลือกทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง
เท่านั้น แต่เราต้องทำสองภารกิจไปด้วยกัน17
ความคิดเรื่องการปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระแบบบูรณาการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึง
ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ ความพยายามช่วยเขาให้เป็นอิสระพ้นจากการเป็นทาสในรูปแบบต่างๆ
โดยเฉพาะยิ่งจากการเป็นทาสของใจตนเอง คริสตชนใดเอาใจใส่ช่วยผู้อื่นให้เป็นอิสระแบบบูรณาการ
คริสตชนผู้นั้นย่อมจะไม่ปิดขังในตนเอง

3. คำตอบของคริสตชนต่อความสับสนของมนุษย์ในปัจจุบันยังคงเป็นคำตอบของคริสตชน
ในทุกยุคทุกสมัย คือ มีพื้นฐานอยู่ที่พระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ และมีความหวังว่าเรา
ทุกคนที่เป็นของพระคริสตเจ้าจะได้กลับคืนชีพอย่างรุ่งเรืองในอนาคต18 การกลับคืนชีพของบรรดา
ผู้ตายจะเป็นเหมือนการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า “เราเกิดมามีลักษณะเหมือนคนฝ่ายโลก
ฉันใด เราก็จะมีลักษณะเหมือนคนจากสวรรค์ฉันนั้น” (1 คร 15:49) ซึ่งหมายถึง มีลักษณะเหมือ
นพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ การกลับคืนชีพของเราจะเป็นเหตุการณ์ของพระศาสนจักร
ทั้งหมด ซึ่งมีความผูกพันกับการเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้า เมื่อจำนวนของบรรดาพี่น้อง
จะครบถ้วน (เทียบ วว 6:11) แม้ก่อนบรรดาผู้ตายจะกลับคืนชีพในวันสุดท้าย ผู้ตายในศีลในพรของ

16
เทียบ คณะกรรมการนานาชาติด้านเทววิทยา, Human Development and Christian Salvation (1976), in
International Theological Commission, Texts and Documents, 1969-1985 (San Francisco 1989)
145-62.
17
Synod 1985, Relatio Finalis II, D, 6 (E. Civitate Vaticana 1985) p. 19.
18
ไม่จำเป็นที่จะต้องอธิบายว่ามนุษย์อาจ “เป็นของพระคริสตเจ้า” ทั้ง ๆ ที่ไม่เป็นสมาชิกของพระศาสนจักรอย่าง
ปรากฏชัดเจน เทียบ สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 55.

300
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

พระเจ้าและผ่านการชำระตนให้บริสุทธิ์แล้วถ้าจำเป็น ก็มีความสนิทสัมพันธ์ทันทีหลังความตายกับ
พระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับ
คืนพระชนมชีพก่อนการกลับคืนชีพนี้ เรียกร้องทรรศนะ 2 ประการ คือมานุษยวิทยาและความคิด
เรื่องความตายแบบคริสตชนโดยเฉพาะ ความเชื่อที่พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพช่วยเราให้
เข้าใจว่า สมาชิกทุกคนในพระศาสนจักร “มีส่วนร่วมกันทางทรัพยากรฝ่ายจิต”19 โดยอาศัยพระ-
คริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพและทรงเป็นประมุขของพระศาสนจักร พระคริสตเจ้าทรงเป็น
จุดมุ่งหมายของชีวิตเรา ในชีวิตสั้นๆ ของเราในโลกนี้ เราต้องเดินทางไปสู่พระองค์ อาศัยความ
ช่วยเหลือจากพระหรรษทานของพระองค์ เราต้องเดินทางด้วยความรับผิดชอบ เพราะเรากำลังมุ่ง
ไปสู่ผู้ที่ยิ่งใหญ่ไร้ขอบเขต เราไม่รอคอยชีวิตอีกชีวิตหนึ่งเหมือนชีวิตปัจจุบันในโลกนี้ แต่เรารอคอย
พระคริสตเจ้า ผู้ทรงบันดาลให้ความปรารถนาทั้งหมดของเราได้รับการตอบสนองอย่างสมบูรณ์

19
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 49.

301
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ความหวังของคริสตชนในการกลับคืนชีพ
บ ท ที่ 1
การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าและการกลับคืนชีพของเรา

1. นักบุญเปาโลเขียนถึงชาวโครินทธ์ว่า “ข้าพเจ้ามอบธรรมประเพณีสำคัญที่สุดให้กับท่าน
เป็นธรรมประเพณีที่ข้าพเจ้าได้รับมาอีกทอดหนึ่ง คือ พระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์เพราะบาปของเรา
ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ และทรงถูกฝังไว้ พระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพในวันที่สามตาม
ความในพระคัมภีร์” (1 คร 15:3-4) โดยแท้จริงแล้ว พระคริตสเจ้าไม่เพียงทรงกลับคืนพระชนมชีพ
เท่านั้น “แต่ทรงเป็นการกลับคืนชีพและชีวิต“ (ยน 11:25) และทรงเป็นความหวังที่เราจะกลับคืนชีพ
ด้วย คริสตชนทุกวันนี้ จึงยืนยันความเชื่อเช่นเดียวกันกับคริสตชนในสมัยก่อน ดังบท “ข้าพเจ้าเชื่อ”
ที่กำหนดไว้ในสภาสังคายนาที่เมืองนิเชอา - คอนสแตนติโนเปิลว่า พระคริสตเจ้า “ทรงกลับคืนพระ-
ชนมชีพในวันที่สาม ตามความในพระคัมภีร์”
คำยืนยันความเชื่อดังกล่าวเป็น ”ธรรมประเพณีอมตะแห่งพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ของ
พระเจ้า”20 เมื่อเรายืนยันความเชื่อในพระคริสตเจ้า “ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพในวันที่สาม ตาม
ความในพระคัมภีร์” เรายังเสริมอีกว่า “ข้าพเจ้ารอวันที่ผู้ตายจะกลับคืนชีพ”21 ความเชื่อที่เรายืนยัน
เช่นนีส้ อดคล้องกับข้อความในหนังสือพระคัมภีรภ์ าคพันธสัญญาใหม่วา่ “บรรดาผูต้ ายในพระคริสตเจ้า
จะกลับคืนชีพ” (1ธส 4:16)
“ความจริง พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย เป็นผลแรกของบรรดา
ผู้ล่วงหลับไปแล้ว” (1 คร 15:20) การพูดเช่นนี้มีนัยว่า การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า
ไม่ เ ป็ น เหตุ การณ์ ที่ สิ้ น สุ ดในพระองค์ แต่ สั ก วั น หนึ่ ง จะมี ผ ลถึ ง ทุ ก คนที่ เ ป็ น ของพระคริ ส ตเจ้ า

20
สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 “บทแสดงความเชื่อของประชากรพระเจ้า” 3: AAS 60 (1968) 434.
21
Denz.-Schoenm. 150

302
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

“การกลับคืนชีพของเราในอนาคต เป็นการสืบเนือ่ งจากการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้ามาสู่


มนุษย์ทุกคน”22 การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าจึงเป็นรูปแบบและสาเหตุของการกลับคืน
ชีพของเราในอนาคต เพราะ “ความตายมาจากมนุษย์คนหนึ่งฉันใด การกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย
ก็มาจากมนุษย์คนหนึ่งฉันนั้น” (1 คร 15:21)
เมือ่ เรารับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรเราเกิดใหม่ดว้ ยเดชะพระจิตเจ้า เรากลับคืนชีพพร้อม
กับพระคริสตเจ้าตามเครื่องหมายแห่งศีลล้างบาป ดังที่นักบุญเปาโลเขียนไว้ว่า “เมื่อรับศีลล้างบาป
ท่านทั้งหลายถูกฝังพร้อมกับพระคริสตเจ้า และกลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์ด้วยความเชื่อในพระ-
เดชานุภาพของพระเจ้า ผู้ทรงบันดาลให้พระคริสตเจ้ากลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย“ (คส
2:21) เราต้องคิดว่า การกลับคืนชีพของเราทุกคนที่เป็นของพระคริสตเจ้า ทำให้ธรรมล้ำลึกที่เริ่มต้น
ด้วยศีลล้างบาปสมบูรณ์ การกลับคืนชีพจึงก่อให้เกิดความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าและกับผู้อื่น
อย่างแน่นแฟ้นที่สุด เป็นจุดหมายสูงสุดแห่งความหวังของเรา “พวกเราจะได้อยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้า
ตลอดไป” (1 ธส 4:17) การกลับคืนชีพอย่างรุ่งเรืองในวันสุดท้ายจึงทำให้ทุกคนที่เป็นของพระคริสต-
เจ้า มีความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์ แม้กระทั่งฝ่ายกาย และมีความสัมพันธ์กับ
พระคริสตเจ้าผูท้ รงรุง่ เรือง ความจริงนีแ้ สดงให้เห็นว่า การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าเป็น
เหมือน ”พื้นที่” ของการกลับคืนชีพอันรุ่งเรืองของเราในอนาคต และยังแสดงให้เห็นว่า การกลับคืน
ชีพของเราจะเป็นเหตุการณ์ส่วนรวมของพระศาสนจักร
เมื่อนักบุญเปาโลกล่าวปราศัยเรื่องการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายต่อหน้าอภิรัฐสภา เขาถูก
ชาวเอเธนส์หัวเราะเยาะฉันใด (เทียบ กจ 17:32) คริสตชนที่ยืนยันความเชื่อนี้ในสมัยของเราอาจจะ
ถูกผูอ้ น่ื หัวเราะเยาะฉันนัน้ สถานการณ์เกีย่ วกับประเด็นนี้ในปัจจุบนั ไม่ตา่ งจากสถานการณ์ทป่ี ติ าจารย์
ออรีเจนบรรยายในสมัยของตนว่า “ผู้ไม่มีความเชื่อ ไม่เข้าใจธรรมล้ำลึกของการกลับคืนชีพ จึงกล่าว
เยาะเย้ยผู้มีความเชื่อนี้”23
22
สมณกระทรวงพระสัจธรรม Recentiores episcoporum Synodi, n.2 (1979)
23
Origenes, Contra Celsum 1, 7.

303
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

คำกล่าวโจมตีและคำเยาะเย้ยดังกล่าวไม่สามารถทำให้คริสตชนในศตวรรษแรกๆ เลิก
ประกาศความเชื่อในการกลับคืนชีพ และไม่ทำให้นักเทววิทยาในสมัยแรกหยุดอธิบายข้อความเชื่อ
นี้ได้ บทข้าพเจ้าเชื่อทุกสำนวน ดังเช่น บทข้าพเจ้าเชื่อที่กำหนดไว้ในสภาสังคายนานิเชอา-คอน-
สแตนติโนเปิล ต่างลงท้ายความเชื่อเรื่องการกลับคืนชีพ “เทววิทยาก่อนสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน
กล่าวถึงข้อความเชื่อเรื่องการกลับคืนชีพอยู่เสมอ”24 ดังนั้น เราจึงไม่ต้องกลัวการต่อต้านข้อความ
เชื่อนี้ในสมัยของเรา
บรรดาปิตาจารย์ยืนยันถึงความเชื่อในการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายด้วยสำนวนตรงไป
ตรงมา เช่น “การกลับคืนชีพของเนื้อหนัง” เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ และปรากฏในบท “ข้าพเจ้า
เชื่อ...” ดั้งเดิมที่ใช้ในกรุงโรมเมื่อโปรดศีลล้างบาป ต่อจากนั้น สำนวนนี้ก็นำมาใช้ในบทแสดงความ
เชื่ออื่นๆ ที่พระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ ได้กำหนดขึ้น โดยมีจุดประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงความเข้าใจ
ผิดที่ว่า การกลับคืนชีพเป็นเพียงเรื่องของจิต ดังที่คริสตชนบางคนที่ยึดลัทธิจินไตยนิยมเชื่อ สำนวน
“การกลับคืนชีพของเนื้อหนัง” จึงเน้นว่าเป็นการกลับคืนชีพของร่างกายด้วย25
สภาสังฆราชที่มาชุมนุมกันที่เมืองโทเลโด ครั้งที่ 11 ในปี ค.ศ. 675 อธิบายคำสอนนี้อย่าง
ชัดเจนว่า พระศาสนจักรไม่ยอมรับความคิดเห็นทีว่ า่ การกลับคืนชีพเกิดขึน้ ในเนือ้ หนังทีเ่ ป็น ”อากาศ
ธาตุหรือเป็นเนื้อหนังต่างจากมนุษย์ปุถุชนเช่นเรา” แต่เชื่อว่าการกลับคืนชีพจะเกิดขึ้นในรูปแบบของ
“เนื้อหนังเดิมที่เราเคยมีชีวิตอยู่ ดำรงอยู่และเคลื่อนไหวอยู่” คำยืนยันความเชื่อนี้คำนึงถึง “รูปแบบ
การกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นพระเศียรของพระศาสนจักรและประมุขของ
เรา”26

24
A. Stuiber, Refrigerium interim. Die Vorstellungen vom Zwischenzustand und die fruechristliche
Grabeskunst, Bonn 1957, p.101
25
เทียบ. J.N. Kelly, Early Christian Creeds, London, 1952, p. 163-165.
26
Denz.- Schoenm. 540

304
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

การอ้างถึงพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพแสดงว่า การกลับคืนชีพเกี่ยวข้องกับ
ร่างกายมนุษย์อย่างแท้จริง แต่ไม่ปฏิเสธว่า ร่างกายเดิมของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้จะต้องเปลี่ยน
แปลงเป็นร่างกายที่รุ่งโรจน์ ร่างกายที่เป็นอากาศธาตุอาจจะเป็นการสร้างใหม่ก็จริง แต่จะไม่สอด-
คล้องกับความจริงของการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า เพราะจะเป็นเพียงร่างในจินตนิยาย
เท่านัน้ บรรดาพระสังฆราชทีเ่ ข้าประชุม เข้าใจการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าอย่างสมเหตุ
สมผล สอดคล้องกับคำยืนยันในพระคัมภีร์ถึงพระคูหาว่างเปล่า และการที่พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืน
พระชนมชีพสำแดงพระองค์แก่บรรดาอัครสาวก พระวรสารเน้นว่า พระคริสตเจ้าทรงสำแดงพระองค์
และบรรดาอัครสาวกเห็นพระองค์และจำได้ว่าเป็นพระองค์ ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงไป
บ้าง พระวรกายที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนก็เป็นพระวรกายเดียวกันที่ทรงกลับคืนพระชนมชีพ และที่
บรรดาอัครสาวกเห็น ทว่าอยู่ในสภาพที่รุ่งโรจน์เพราะได้เปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม
นักบุญลูกาเล่าว่า เมื่อพระคริสตเจ้าได้สำแดงพระองค์แก่บรรดาอัครสาวก พระองค์ตรัสว่า
“สันติสุขจงดำรงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด’ เขาต่างตกใจกลัว คิดว่าได้เห็นผี แต่พระองค์ตรัสว่า ‘ท่าน
วุ่นวายใจทำไม เพราะเหตุใดท่านจึงมีความสงสัยในใจ จงดูมือและเท้าของเราซิ เป็นเราเองจริงๆ
จงคลำตัวเราดูเถิด ผีไม่มีเนื้อ ไม่มีกระดูกอย่างที่ท่านเห็นว่าเรามี’” (ลก 24:36-39)
เมื่อพระคริสตเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ไม่ทรงดำเนินชีวิตเหมือนเดิมและพระวรกาย
ของพระองค์ไม่รู้จักตายอีกต่อไป ดังนั้น เมื่อเรากลับคืนชีพ เราจะมีร่างกายที่ละม้ายคล้ายกับพระ-
วรกายที่รุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้า ดังที่นักบุญเปาโลเขียนไว้ว่า “บ้านเมืองของเรานั้นอยู่ในสวรรค์
เราเฝ้าคอยพระผู้ไถ่จากแดนนี้ คือ พระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์จะทรงเปลี่ยนรูปร่าง
อันต่ำต้อยของเราให้เหมือนพระกายอันรุ่งโรจน์ของพระองค์ ด้วยพระฤทธานุภาพที่ทำให้พระองค์
ทรงบังคับจักรวาลทั้งหมดให้อยู่ใต้อำนาจของพระองค์ได้” (ฟป 3:20-21) ร่างกายของเราในโลกนี้ม ี
วิญญาณที่เป็นหลักของชีวิต แต่ร่างกายที่กลับคืนชีพแล้วมีพระจิตเจ้าทรงเป็นหลักของชีวิต “สิ่งที่
หว่านลงไปเป็นร่างกายตามธรรมชาติ แต่สิ่งที่กลับคืนชีพเป็นร่างกายที่มีพระจิตเจ้าเป็นชีวิต ถ้ามี
ร่างกายตามธรรมชาติ ก็มีร่างกายที่มีพระจิตเจ้าเป็นชีวิตด้วย” (1 คร 15:44)

305
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

2. ประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรแสดงว่า คริสตชนในศตวรรษที่ 2 ได้รับอิทธิพลจาก


ลัทธิจินไตยนิยม จึงมีบางคนเชื่อว่า การกลับคืนชีพไม่ใช่เรื่องของร่างกายแต่เป็นการเปลี่ยนแปลง
ของวิญญาณเท่านั้น แต่คำสอนของบรรดาปิตาจารย์ขจัดความคิดนี้อย่างสิ้นเชิง ในสมัยของเรานัก
เทววิทยาบางคนเริ่มตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการกลับคืนชีพของร่างกาย เขาคิดว่าคำสอนของธรรม-
ประเพณีเรื่องการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย เป็นเรื่องผิวเผินไม่ละเอียด เพราะพยายามบรรยาย
การกลับคืนชีพในด้านกายภาพมากเกินไป นักเทววิทยาสมัยนี้จึงพยายามอธิบายการกลับคืนชีพโดย
เน้นเรื่องของจิตวิญญาณ จึงตีความหมายคำสอนของพระศาสนจักรเรื่องการกลับคืนชีพแบบใหม่
การยืนยันความจริงเกี่ยวกับอนันตกาลมักใช้ภาษาเปรียบเทียบ จึงมีการเรียกร้องให้ตีความ
อย่างถูกต้อง27 มิฉะนั้นจะเข้าใจชีวิตหน้าก็เหมือนชีวิตทั่วไปในโลกนี้ หรือไม่ก็ยอมรับว่าเราไม่รู้เรื่อง
เกีย่ วกับชีวติ หน้าเลย จึงจำเป็นทีจ่ ะต้องมีหลักการในการตีความคำยืนยันต่างๆ เรือ่ งอนันตกาล ซึง่ อ้าง
ถึงเหตุการณ์ในอนาคตและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในพระคริสตเจ้า เหตุการณ์ในอนันตกาล
แตกต่างจากเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบนั ก็จริง แต่เกิดขึน้ แล้วในพระคริสตเจ้า สำหรับเราเหตุการณ์
ยังไม่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องในอนาคต แต่สำหรับพระคริสตเจ้าเป็นความจริงแล้ว ดังนั้นเราต้องหลีกเลี่ยง
ที่จะอธิบายการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย โดยเน้นความแปลกใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่มี
ความต่อเนื่องกับชีวิตในโลกนี้ และต้องหลีกเลี่ยงที่จะเน้นการกลับคืนชีพในด้านกายภาพหรือในด้าน
จิตวิญญาณด้านใดด้านหนึ่งจนมากเกินไป เราควรคำนึงถึงแนวทางพื้นฐานบางประการดังต่อไปนี้
2.1 เทววิทยาเป็นวิชาเดียวที่ช่วยให้เข้าใจความจริงที่พระเจ้าทรงเปิดเผยแก่มนุษย์อย่าง
ชัดเจนที่สุดเท่าที่ทำได้ เทววิทยาสอนว่าพระเจ้าทรงมีความรู้ถึงอนาคตอย่างสมบูรณ์ พระองค์อาจ
ทรงเปิดเผยความรู้นี้แก่มนุษย์ในแง่ที่เป็นความจริงที่น่าเชื่อถือ

27
On hermeneutics, cf. คณะกรรมการเทววิทยาระหว่างประเทศ, “The Interpretation of Dogma”
(1998) in Irish Theological Quarterly 56 (1990) p. 251-77

306
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

2.2 พระเจ้าทรงสำแดงความจริงเกี่ยวกับอนาคตของมนุษย์ในการกลับคืนพระชนมชีพ
ของพระคริสตเจ้า ดังที่บรรดาปิตาจารย์เคยอธิบายอย่างชัดเจนในข้อเขียนต่างๆ ของท่านว่า บรรดา
ผู้ตายจะกลับคืนชีพเช่นเดียวกับที่พระเยซูเจ้าได้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ สิ่งที่ประชากรอิสราเอล
ในอดีตตั้งความหวังไว้เกี่ยวกับการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้าก็เป็นความจริง เราเชื่อว่าการ
กลับคืนชีพไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะพระคริสตเจ้าเท่านั้น แต่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนด้วย
2.3 ทรรศนะของเราเกี่ยวกับมนุษย์และโลกต้องมีพื้นฐานมาจากการเปิดเผยของพระเจ้า
ทางพระคัมภีร์และเหตุผลทางปรัชญา เราต้องยอมรับว่ามนุษย์และโลกมีกระแสเรียกสูงส่งเพราะ
เป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้าง ยิ่งกว่านั้นเราต้องเน้นว่า “พระเจ้าทรงเป็นอนันตกาลของเรา คือ ทรงเป็น
เหตุการณ์สุดท้ายของสิ่งสร้างทั้งหลาย ดังนั้น สวรรค์จึงหมายถึงการเข้าถึงพระเจ้า นรกหมายถึง
การสูญเสียพระเจ้า การพิพากษาหมายถึง พระเจ้าผู้ทรงวินิจฉัย ไฟชำระหมายถึงพระเจ้าผู้ทรงชำระ
เราให้บริสุทธิ์หมดจด สิ่งสร้างทุกสิ่งตายในพระเจ้าและกลับคืนชีพโดยอาศัยพระองค์ ในพระองค์
และเพื่อพระองค์ พระเจ้าทรงใส่พระทัยต่อโลกทางพระบุตรของพระองค์ คือ พระคริสตเจ้าผู้ทรง
เปิดเผยพระเจ้าและทรงรวมอนันตกาล หรือเหตุการณ์สุดท้ายของทุกสิ่งไว้ในพระองค์”28 เมื่อเรา
ยึดถือคำสอนเรื่องร่างกายจะกลับคืนชีพจริง เราไม่ควรลืมลักษณะสำคัญข้อแรกในการกลับคืนชีพ
นั้น คือ ความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าในพระคริสตเจ้า ความสนิทสัมพันธ์เช่นนี้ จะสมบูรณ์เมื่อเรา
กลับคืนชีพทางกายด้วย ความสนิทสัมพันธ์นี้เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของมนุษย์ ของพระศาสนจักร
และของโลก
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 อธิบายถึงพระประสงค์ของพระเจ้าที่ให้มนุษย์มีความสนิทสัมพันธ์
กับพระองค์อย่างชัดเจนว่า “พระเจ้าทรงมีพระทัยดีและปรีชาญาณ ทรงมีพระประสงค์ที่จะแสดง
พระองค์แก่มนุษย์ ให้มนุษย์รู้ถึงแผนการอันลุ่มลึกของพระองค์ (เทียบ อฟ 1:9) คือ โดยการที่พระ-
คริสตเจ้าองค์พระวจนาตถ์ผู้ทรงรับเอาร่างกาย มนุษย์สามารถเข้าถึงพระบิดาเจ้าในองค์พระจิตเจ้า

28
H.U. von Balthasar, “Eschatologie” , in Fragen der Thelogie Heute (Zuerich – Koeln 1957) p. 407-8

307
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

และมีส่วนในพระธรรมชาติพระเจ้าได้ (เทียบ อฟ 2:18, 2 ปต 1:4) ดังนั้น อาศัยการเผยนี้พระเจ้า


ซึ่งมนุษย์ไม่อาจมองเห็นได้ (เทียบ คส 1:15 , 1ทธ 1: 17) ตรัสกับมนุษย์อย่างเพื่อนด้วยความรักอัน
ล้นเหลือของพระองค์ได้ (เทียบ อพย 33: 11, ยน 15:14 – 15) และประทับอยู่ท่ามกลางพวกเขา (เทียบ
บรค 3: 38) เพื่อจะได้ทรงเชิญและรับเขาเข้ามาสนิทกับพระองค์”29
2.4 ความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าในอนันตกาล เป็นความสัมพันธ์ทั้งทางจิตวิญญาณทาง
กายและทางวัตถุ เพราะพระเจ้าเป็นผู้ทรงเปิดเผยว่ามีพระประสงค์ให้เรามีความสนิทสัมพันธ์อย่าง
สมบูรณ์กับพระองค์นั้น เป็นพระเจ้าพระองค์เดียวผู้ทรงสร้างโลกนี้ โลกแรกเริ่มนั้นจะได้รับความ
รุ่งเรืองจากพระองค์ในอนันตกาล สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ยืนยันว่า “เราไม่รู้ว่าเมื่อไรจะถึงเวลา
สิ้นสุดของโลกและของมนุษยชาติ เราไม่รู้ว่าจักรวาลจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร โลกแบบที่เรารู้จักนี้
ซึ่งเสื่อมเสียไป เพราะบาปจะล่วงพ้นไปแน่ แต่เรารู้ว่าพระเจ้าทรงเตรียมที่อยู่ใหม่และแผ่นดินใหม่
ให้เรา ในแผ่นดินใหม่นั้นจะมีความยุติธรรมและมีความสุขเกินกว่าที่มนุษย์ปรารถนา เวลานั้น ความ
ตายจะพ่ายแพ้ ผู้ที่เป็นบุตรของพระเจ้าจะกลับคืนชีพขึ้นมาในพระคริสตเจ้า และสิ่งที่หว่านลงไปซึ่ง
ดูอ่อนแอและเน่าเปื่อย กลับจะไม่รู้จักเน่าเปื่อย ความรักและกิจการของความรักจะดำรงอยู่และสรรพ
สิ่งที่พระเจ้าได้ทรงสร้างมาสำหรับมนุษย์จะหลุดพ้นไป”30
2.5 ควรสังเกตว่า บทสัญลักษณ์ของอัครสาวกและบทข้าพเจ้าเชื่อถึงพระเจ้าบทอื่นๆ ยืนยัน
ความเชื่อที่ว่า ร่างกายของเราจะกลับคืนชีพจริง จากบทแสดงความเชื่อของสมเด็จพระสันตะปาปา
ดามาซุส กล่าวว่า “การกลับคืนชีพจะเกิดขึน้ ในเนือ้ หนังทีเ่ รามีชวี ติ อยูใ่ นโลกนี”้ 31 ดังนัน้ ร่างกายที ่
เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบันเป็นร่างกายเดียวกันที่จะกลับคืนชีพ ความเชื่อดังกล่าวนี้ปรากฏชัดในเทววิทยา
ของคริสตชนสมัยแรกๆ เช่น นักบุญอีเรเนโอ ผู้ยอมรับว่า “เนื้อหนังของเราที่รู้ตายและเสื่อมสลาย
ได้ จะเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อหนังที่รุ่งโรจน์ที่ ไม่รู้ตาย และไม่เสื่อมสลายเมื่อจะกลับคืนชีพในวัน
29
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญ “การเผยความจริงของพระเจ้า” ข้อ 2
30
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 39
31
Fides Damasi: Denz.- Schoenm. 72

308
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

สุดท้าย”32 ท่านยังเสริมว่า “มนุษย์จะกลับคืนชีพในกายเดียวกับที่เขาตาย เพราะถ้าเขาไม่กลับคืนชีพ


ในกายเดิม ผู้ที่กลับคืนชีพก็จะไม่เป็นคนเดิมที่ตายไป”33 บรรดาปิตาจารย์จึงสอนว่า ถ้ามนุษย์ไม่กลับ
คืนชีพโดยมีร่างกายเดิมของตน ก็จะไม่เป็นคนเดียวกัน
พระศาสนจักรไม่เคยสอนว่าร่างกายเดิมที่กลับคืนชีพนั้น ต้องมีสสารเดียวกับที่เคยคงอยู่
ก่อน คริสตชนแสดงคาราวะกิจต่อพระธาตุของบรรดานักบุญ และบุญราศรี เพราะเขายืนยันว่า
ร่างกายของผู้ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น “เคยเป็นส่วนของอวัยวะที่มีชีวิตในพระวรกายของพระคริสตเจ้าและ
พระวิหารของพระจิตเจ้า พระเจ้าจึงจะทรงบันดาลให้ร่างกายนั้นกลับคืนชีพ เพื่อจะได้รับชีวิตนิรันดร
และความรุ่งโรจน์”34 การแสดงความเคารพต่ออัฐิ และพระธาตุของบรรดานักบุญและบุญราศรีจึง
แสดงว่า เราจำเป็นต้องอธิบายการกลับคืนชีพโดยอ้างถึงร่างกายเดิมที่ท่านเคยมีชีวิตอยู่

32
Adversus haereses 5, 13, 3: SC 153, 172
33
Ibid, 5, 13,1: SC 153, 162 and 164
34
เทียบ สภาสังคายนาเมืองเตรนต์, Sess. 25 , Decretum de reliquiis: Denz.- Schoenm. 1822

309
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 2
การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระคริสตเจ้าและการกลับคืนชีพของเรา

1. หนังสือพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่สอนว่า การกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายจะเกิดขึ้น
ในเวลาที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ นักบุญเปาโลประกาศเรื่องการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายว่า จะเกิด
ขึ้นผ่านทางพระคริสตเจ้าและในพระคริสตเจ้า แล้วท่านยังเสริมว่า “แต่จะเป็นไปตาม ลำดับของ
แต่ละคน พระคริสตเจ้าทรงเป็นผลแรก ต่อไปก็คือ ผู้ที่เป็นของพระคริสตเจ้า เมื่อพระองค์จะเสด็จ
มา” (1 คร 15:23) ข้อความนี้บอกชัดเจนว่าการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ตามกาลเวลา
ภาษากรีกที่นักบุญเปาโลใช้เพื่อบอกว่า “พระองค์จะเสด็จมา” คือ “parousia” ซึ่งหมายถึง
การเสด็จมาครั้งที่สองในอนาคต ในพระสิริรุ่งโรจน์เมื่อพระองค์จะสำแดงองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้า
แตกต่างจากการเสด็จมาครั้งแรกในสภาพที่ต่ำต้อย35 ดังนั้น “การสำแดงพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์”
(ทต 2:13) และ “การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์” ของพระคริสตเจ้า หมายถึง เหตุการณ์เดียวกันกับพระ-
วรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์นเล่าถึงเหตุการณ์นี้โดยใช้คำว่า “ในวันสุดท้าย” เช่น “ผู้ที่กิน
เนื้อของเรา และดื่มโลหิตของเรา ก็มีชีวิตนิรันดร เราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย” (ยน
6:54) “พระประสงค์ของผู้ทรงส่งเรามา ก็คือ เราจะไม่สูญเสียผู้ใดที่พระองค์ทรงมอบให้แก่เรา แต่
จะให้ผู้นั้นกลับคืนชีพในวันสุดท้าย พระประสงค์ของพระบิดาของเรา ก็คือ ทุกคนที่เห็นพระบุตร แล้ว
เชื่อในพระบุตร จะมีชีวิตนิรันดร และเราจะให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย” (ยน 6:39-40)

35
เทียบ “บทข้าพเจ้าเชื่อจากสภาสังคายนานีเชอา-คอนสแตนติโนเปิล” in Denz.-Schoenm. 150 “พระองค์จะเสด็จ
มาอีกด้วยพระสิริรุ่งโรจน์”
ถึงตรงนี้

310
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

นักบุญเปาโลบรรยายถึงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวาระสุดท้ายของโลก
อย่างตื่นเต้นว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ตามพระบัญชา เมื่อมีเสียงหัวหน้าทูต
สวรรค์และเสียงแตรของพระเจ้า บรรดาผู้ตายในพระคริสตเจ้าจะกลับคืนชีพก่อน ต่อจากนั้น เราผู้
ยังมีชีวิตอยู่ จะถูกรับขึ้นไปในกลุ่มเมฆพร้อมกับพวกเขา ไปพบองค์พระผู้เป็นเจ้าในท้องฟ้า เราจะ
ได้อยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้าตลอดไป” (1 ธส4:16-17) รายละเอียดของการเสด็จมาของพระคริสตเจ้า
ในวาระสุดท้ายมีหลายประการ คือ ผู้ตายจะกลับคืนชีพตามพระบัญชา เขาและผู้ยังมีชีวิตอยู่จะถูก
นำไปพบกับองค์พระผู้เป็นเจ้า และจะติดตามพระองค์ไปยังการพิพากษา อันเป็นจุดเริ่มต้นของพระ-
อาณาจักรนิรันดร รายละเอียดที่สำคัญที่สุดคือชีวิตนิรันดรกับพระคริสตเจ้า ซึ่งอาจจะเรียกได้อีกว่า
“ความรอดพ้น” “สิริรุ่งโรจน์” และ “อาณาจักร” พระเยซูเจ้าทรงเรียกบรรดาศิษย์ที่ทรงเลือกสรร
ให้มีส่วนร่วมด้วย ส่วนรายละเอียด “แตร เสียงและเมฆ” เป็นเครื่องหมายที่เคยใช้บรรยายการสำแดง
องค์ของพระเจ้า รายละเอียดเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในวรรณกรรม (ประเภท) วิวรณ์ บรรดาปิตาจารย์
ของพระศาสนจักรจึงเคยสอนอย่างชัดเจนว่า “เมื่อพระคริสตเจ้าเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ มนุษย์ทุกคน
จะกลับคืนชีพ”36
ทฤษฎีที่ว่า“การกลับคืนชีพจะเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังความตาย” จึงค้านกับคำยืนยันใน
พระคัมภีร์ ผู้ยึดทฤษฎีดังกล่าวนี้มักจะสอนว่าการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายไม่เกี่ยวข้องกับร่างกาย
ที่เขาเคยมีเมื่อยังมีชีวิตอยู่ คำสอนนี้ค่อนข้างแพร่หลายในหมู่คริสตชน แต่เป็นคำสอนที่ทำลายความ
เป็นจริงเรื่องการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย นักเทววิทยาผู้สนับสนุน “การกลับคืนชีพจะเกิดขึ้นทันที
ทันใดหลังความตาย” ต้องการลบล้างความคิดที่ว่า หลังความตาย “วิญญาณยังคงอยู่แต่แยกตัวออก
จากร่างกาย” เพราะเขาคิดว่า ความเชื่อดังกล่าวนี้มีอิทธิพลมาจากลัทธิเพลโตที่นอกเหนือจากคำสอน
ของบรรดาปิตาจารย์และนักเทววิทยา

36
บทข้าพเจ้าเชื่อ Symbolum “Quicumque”, in Denz.-Schoenm. 76.

311
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

เราเข้าใจดีถึงความกลัวของนักเทววิทยาผู้สนับสนุน “การกลับคืนชีพจะเกิดขึ้นทันทีทันใด
หลังความตาย” เขากลัวว่าลัทธิเพลโตจะสร้างความสับสนและเบี่ยงเบนความเชื่อของคริสตชน เพราะ
เพลโตสอนว่า ร่างกายของมนุษย์เป็นเหมือนคุกของวิญญาณและจำเป็นต้องช่วยวิญญาณให้เป็นอิสระ
พ้นจากร่างกาย แต่ความเชือ่ ของคริสตชนไม่ได้สอนเช่นนัน้ เราเข้าใจเจตนาดีของนักเทววิทยาเหล่านี้
แต่ไม่เข้าใจว่า เหตุใดพวกเขาผู้หลีกเลี่ยงลัทธิเพลโตอย่างสิ้นเชิงยังยืนยันว่าร่างกายใหม่ของผู้กลับ
คืนชีพจะไม่เกี่ยวข้องกับร่างกายที่เขาเคยมีเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ทำให้เรามองไม่เห็นว่า ร่างกายใหม่เป็น“
เนื้อหนังเดียวกันกับที่เรามีชีวิตอยู่ในเวลานี้”37 อย่างแท้จริง ข้อความโบราณต่างๆ ที่ใช้ในบทข้าพเจ้า
เชื่อ ต้องการเน้นเป็นพิเศษว่า มนุษย์เราจะต้องกลับคืนชีพในร่างกายเดียวกันกับที่เรามีชีวิตอยู่ใน
ปัจจุบัน
นักเทววิทยาผู้สนับสนุน “การกลับคืนชีพจะเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังความตาย” นั้น แยกความ
คิดของร่างกายออกเป็น 2 มโนทัศน์ เหมือนกับว่า “ร่างกายของมนุษย์” แยกจาก “ศพ” ภาษา
เยอรมันมี 2 คำที่หมายถึงร่างกายคือ Leib และ Koerper แต่ในภาษาอื่นๆ มีคำเดียว จึงทำให้
การแยกแยะนี้เข้าใจยาก และไม่มีใครเข้าใจนอกจากปัญญาชน ประสบการณ์ในงานอภิบาลสัตบุรุษ
สอนว่า คริสตชนทั่วไปเกิดความสับสนเมื่อได้ยินพระสงฆ์เทศน์ในพิธีปลงศพว่าผู้ตายคนนั้นได้กลับ
คืนชีพแล้ว บทเทศน์เช่นนี้ทำให้สัตบุรุษเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย
ยิ่งกว่านั้น สัตบุรุษที่มีชีวิตอยู่ในสังคมที่มีความคิดแบบโลกนิยมและวัตถุนิยม อาจจะหลงคล้อยตาม
กระแสความคิดที่ว่า มนุษย์ไม่มีอะไรคงอยู่หลังความตาย แต่ตรงกันข้าม พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญา
ใหม่สอนชัดเจนว่า การที่พระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง
ในวาระสุดท้ายของประวัติศาสตร์มนุษย์ ผู้ใดพยายามอธิบายว่า การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระ-
คริสตเจ้าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่มนุษย์แต่ละคนพบกับพระองค์เมื่อเขาตาย ผู้นั้นก็บิดเบือน
ความหมายของข้อความในพระคัมภีร์อย่างแน่นอน

37
Fides Damasi, in Denz.-Schoenm. 72.

312
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

2. “ผู้ที่กินเนื้อของเรา และดื่มโลหิตของเรา ก็มีชีวิตนิรันดร เราจะทำให้เขากลับคืนชีพใน


วันสุดท้าย” (ยน 6:54) “ในวันสุดท้าย” เมื่อมนุษย์จะกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ เขาจะบรรลุถึงความ
สนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์กับพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นที่ปรากฏ
ชัดเจนว่า มนุษย์จะมีความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวอย่างสมบูรณ์กับพระคริสตเจ้า ก็เพราะมนุษย์
ที่กลับคืนชีพอยู่ในสภาพสมบูรณ์เช่นเดียวกับพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ยิ่งกว่านั้น เมื่อ
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์สิ้นสุดลง และบรรดาผู้รับใช้ที่เป็นพี่น้องของพระองค์ได้กลับคืนชีพแล้ว
พระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้าจะสมบูรณ์ (เทียบ วว 6:11) ออจิเรนจึงกล่าวถึงมวลมนุษย์ที่รอดพ้น
คือ พระศาสนจักร ว่า “มีเพียงร่างกายเดียว คือร่างกายที่จะกลับคืนชีพเพื่อรับการพิพากษา”38
สภาสังคายนาที่เมืองโทเลโดครั้งที่ 11 ประกาศว่า การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ของบรรดา
ผู้ตายจะเป็นไป “ตามพระแบบฉบับที่พระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นศีรษะของเรา ทรงมอบแก่เรา”39 การ
กลับคืนชีพอย่างรุง่ โรจน์ของบรรดาผูต้ ายเมือ่ สิน้ พิภพ จึงเกิดขึน้ กับมนุษย์โดยส่วนรวม แต่คำประกาศ
นี้สูญหายไปในทฤษฎีที่ว่า “การกลับคืนชีพจะเกิดขึ้นทันทีทันใดเมื่อคนเราตาย” เพราะการกลับคืน
ชีพเช่นนี้จะเกิดขึ้นกับปัจเจกบุคคลต่างเวลากัน ดังนั้น นักเทววิทยาบางคนผู้สนับสนุน “การกลับ
คืนชีพจะเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังความตาย” จึงพยายามหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งนี้ โดยยืนยันว่า หลังความ
ตายจะไม่มีเรื่องของกาลเวลาอีกต่อไป เขายอมรับว่า ถ้าพิจารณาจากมุมมองของโลกนี้ จะเห็นว่า
มนุษย์ตายไม่พร้อมกัน แต่ตายทีละคนอย่างต่อเนื่อง แต่เขายังคิดว่า การกลับคืนชีพหลังความตาย
ของบุคคลเหล่านั้น เกิดขึ้นพร้อมกัน เพราะหลังความตายจะไม่มีกาลเวลาอีกแล้ว ความพยายามที่
จะอธิบาย”ชีวิตหน้า” ในลักษณะที่ไม่มีกาลเวลา รวมทั้งความตายของปัจเจกบุคคลที่เกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องเป็นเหตุการณ์เดียวกันกับการกลับคืนชีพของมวลมนุษย์ ก่อให้เกิดความคิดทางปรัชญาที่
ต่างกันมากจากแนวความคิดของพระคัมภีร์

38
Origen, In Leviticum homilia, 7, 2 (GCS 29,378).
39
Denz.-Schoenm. 540.

313
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

วิธีพูดในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เรื่องความตายของบรรดามรณสักขีทำให้เราเข้าใจ
ว่า ความตายเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน แต่เกิดขึ้นก่อนและหลังกันในกาลเวลา ”เมื่อลูกแกะทรงเปิดตรา
ผนึกดวงที่ห้า ข้าพเจ้าเห็นวิญญาณที่ใต้แท่นบูชา วิญญาณเหล่านั้นเป็นวิญญาณของผู้ที่ถูกประหาร
เพราะพระวาจาของพระเจ้า และเพราะคำพยานที่เขาให้ เขาเหล่านั้นร้องเสียงดังว่า ‘ข้าแต่องค์
พระผู้เป็นเจ้า ผู้ศักดิ์สิทธิ์และทรงสัตย์ พระองค์จะทรงรีรออีกนานเท่าใดเล่า ที่จะทรงตัดสินลงโทษ
ผู้อาศัยบนแผ่นดินเป็นการแก้แค้นแทนโลหิตของเรา’ แล้วแต่ละคนได้รับเสื้อขาว และได้รับพระวาจา
ให้อดทนต่อไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าเพื่อนผู้รับใช้และพี่น้องของเขาที่จะต้องถูกประหารเหมือนเขาจะ
มีจำนวนครบถ้วน” (วว 6:9-11)
เช่นเดียวกัน ถ้าหลังจากความตายไม่มีกาลเวลาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเลย แม้ในความ
หมายที่เป็นเวลาใกล้เคียงกับเวลาในโลกนี้ ก็จะเป็นการยากที่จะเข้าใจความคิดของนักบุญเปาโล
เช่นเมื่อชาวเมืองเธสะโลนิกาถามถึงชะตากรรมของบรรดาผู้ตาย ท่านก็ตอบอ้างถึงการกลับคืนชีพ
ของบรรดาผู้ตายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต “พี่น้องทั้งหลาย เราไม่อยากให้ท่านขาดความรู้ความเข้าใจถึง
เรื่องผู้ล่วงหลับคือผู้ที่ตายไปแล้ว เพื่อท่านจะได้ไม่โศกเศร้าเหมือนคนอื่นที่ไม่มีความหวัง เราเชื่อว่า
พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพ เราจึงเชื่อว่าพระเจ้าจะทรงนำบรรดาผู้หลับอยู่
มากับพระองค์โดยทางพระเยซูเจ้าเช่นเดียวกัน ตามพระวาจาขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้า เราขอบอกท่านว่า
เราผูย้ งั มีชวี ติ และรออยูจ่ นถึงวันทีอ่ งค์พระผูเ้ ป็นเจ้าเสด็จมา จะไม่ได้เปรียบบรรดาผูท้ ลี่ ว่ งหลับไปแล้ว
เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จลงมาจากสวรรค์ตามพระบัญชา เมื่อมีเสียงหัวหน้าทูตสวรรค์และ
เสียงแตรของพระเจ้า บรรดาผู้ตายในพระคริสตเจ้าจะกลับคืนชีพก่อน ต่อจากนั้น เราผู้ยังมีชีวิตอยู่
จะถูกรับขึ้นไปในกลุ่มเมฆพร้อมกับพวกเขา ไปพบองค์พระผู้เป็นเจ้าในท้องฟ้าเราจะได้อยู่กับองค์
พระผู้เป็นเจ้าตลอดไป จงใช้ถ้อยคำเช่นนี้ปลอบใจกันเถิด” (1 ธส 4:13-18)
นอกจากนั้น การปฏิเสธว่าหลังความตายมีกาลเวลาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อสอนว่า
การกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายเกิดขึ้นทั้งพร้อมกันและต่างกันอย่างต่อเนื่อง ถ้าพิจารณาเวลาที่ตาย
นั้น ดูเหมือนไม่ค่อยจะคำนึงถึงการกลับคืนชีพของร่างกายอย่างแท้จริง เพราะร่างกายที่ไม่มีความ

314
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

สัมพันธ์กับกาลเวลาเลย ก็ไม่เป็นร่างกายที่แท้จริง วิญญาณของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นหนึ่งเดียวกับ


พระคริสตเจ้า ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพและมีพระวรกายอย่างแท้จริง เราจึงต้องคิดว่า วิญญาณ
เหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับกาลเวลาอีกด้วย

315
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 3
ความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าทันทีหลังความตาย
ตามพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่

1. บรรดาคริสตชนสมัยแรกๆ คิดว่า “การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์” ของพระคริสตเจ้า จะ


เกิดขึ้นในไม่ช้า หรือจะเกิดขึ้นในอนาคตที่ห่างไกล พวกเขาเรียนรู้จากประสบการณ์ว่าบางคนตาย
ก่อนที่ “พระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์” คริสตชนชาวเธสะโลนิกาเป็นห่วงถึงชะตากรรมของ
ผู้ตายเหล่านั้น (เทียบ 1 ธส 4:13) นักบุญเปาโลจึงให้กำลังใจเขาโดยเตือนความทรงจำถึงคำสอน
เรื่องการกลับคืนชีพในอนาคตของสัตบุรุษที่ตายแล้วว่า “บรรดาผู้ตายในพระคริสตเจ้าจะกลับคืนชีพ
ก่อน” (1 ธส 4:16) อย่างไรก็ตาม ความมั่นใจในความเชื่อข้อนี้ก็ยังก่อให้เกิดคำถามอื่นๆ ขึ้นมา เช่น
คริสตชนถามว่า ขณะที่ผู้ตายรอคอยให้พระคริสตเจ้าเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ เขาจะอยู่ในสภาพใด
เพื่อตอบคำถามนี้ไม่จำเป็นจะต้องหาคำอธิบายใหม่ เพราะในพระคัมภีร์มีบันทึกไว้เกี่ยวกับคำสอน
เรื่องความเชื่อโบราณของชาวอิสราแอล นำมาใช้เป็นคำตอบได้นั่นคือ เขาเชื่อว่ามนุษย์ที่ตายแล้ว
ยังคงอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งซึ่งเรียกว่า “แดนมรณะ” หรือเรียกเป็นภาษาฮีบรูว่า เชโอล (sheol)

2. ความคิดดั้งเดิมของชาวอิสราเอลเรื่อง “แดนมรณะ” (sheol) เป็นความคิดพื้นๆ ที่ยังไม่


พัฒนา ชาวยิวคิดว่า นอกจากท้องฟ้าที่อยู่เบื้องบนก็ต้องมี ใต้บาดาลที่อยู่ข้างล่าง จากความคิดนี้
นำไปสู่ สำนวนที่ว่า “ลงไปใต้บาดาล” (sheol) เช่น เมื่อยาโคบเสียใจต่อข่าวการเสียชีวิตของ
ยอแซฟ เขากล่าวว่า ‘ฉันจะไว้ทุกข์จนกว่าจะตายไปอยู่กับลูกของฉัน’ (ปฐก 37:35) หรือ “ขอให้
ความตายลงมาจู่โจมเขา ให้เขาลงไปในแดนมรณะทั้งเป็น เพราะความชั่วร้ายอยู่ทั้งในบ้านและในใจ
ของเขา” (สดด 55:15) ผู้ที่อยู่ในแดนมรณะได้ชื่อเป็นภาษาฮีบรูว่า “เรฟาอิม” (refaim) น่าสังเกตว่า
คำนี้เป็นพหูพจน์ และไม่มีคำที่เป็นเอกพจน์ในภาษาฮีบรู หมายความว่าชาวยิวไม่เคยคิดว่า ผู้ตาย
อยู่ตามลำพังเพียงผู้เดียว บรรดาผู้ตายไม่สรรเสริญพระเจ้าและแยกตัวอยู่ห่างจากพระองค์ ผู้ตาย

316
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

รวมตัวเป็นหมู่ชนเดียวกัน ไม่แยกตัวออกเป็นปัจเจกบุคคล ทุกคนมีชะตากรรมเดียวกัน ความคิด


ดั้งเดิมนี้มีเพียงความเชื่อว่า มนุษย์ยังคงอยู่หลังความตาย แต่ชาวยิวโบราณไม่คิดว่า ผู้ตายแต่ละคน
ได้รับการตอบแทนตามการกระทำของตน

3. พร้อมกับความคิดเช่นนี้ ชาวยิวเริ่มเข้าใจความเชื่อของตนอีกแง่หนึ่ง คือ เชื่อว่าพระเจ้า


ทรงพระอานุภาพช่วยมนุษย์บางคนให้พ้นจากแดนผู้ตายได้ (เทียบ 1 ซมอ 2:6 ; อมส 9:2) ความ
เชื่อนี้ช่วยเตรียมความคิดที่ว่า บรรดาผู้ตายจะกลับคืนชีพดังที่หนังสือดาเนียลและอิสยาห์กล่าวไว้
“คนเป็นจำนวนมากที่หลับในผงคลีแห่งแผ่นดินจะตื่นขึ้น บ้างจะได้เข้าสู่ชีวิตนิรันดร บ้างก็เข้าสู่ความ
อับอายและความขายหน้านิรันดร” (ดลน 12:2) และ “คนตายของพระองค์จะมีชีวิต ศพของเขาจะ
ลุกขึ้น โอ้ ผู้อาศัยในผงคลีจงตื่นเถิดและร้องเพลงด้วยความชื่นบาน...แผ่นดินจะให้ผู้อาศัยในดินแดน
มรณะกลับคืนชีพ”(อสย 26:19)
ในสมัยของพระเยซูเจ้าชาวยิวส่วนมากมีความเชื่อในการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย ยกเว้น
กลุ่มของชาวสะดูสี ดังที่นักบุญมาร์โกเขียนไว้ว่า ”ชาวสะดูสีบางคนมาพบพระเยซูเจ้า คนเหล่านี ้
สอนว่าไม่มีการกลับคืนชีพ” (มก 12:18)
ความเชื่อในการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายนำไปสู่วิวัฒนาการความคิดเรื่องแดนมรณะ
(sheol) ซึ่งก่อนหน้านี้ ชาวยิวเข้าใจว่า “แดนมรณะ” ไม่เป็นสถานที่เดียวที่ผู้ตายทุกคนพำนักอยู่
พร้อมกัน แต่เป็นสถานที่ที่แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่พำนักของผู้ชอบธรรม อีกส่วนหนึ่งเป็นที่
พำนักของคนอธรรม บรรดาผู้ตายจะอยู่ในสถานที่ทั้ง 2 นี้ จนกว่าจะถึงวันพิพากษาประมวลพร้อม
ที่มีการประกาศคำตัดสินเด็ดขาดชั่วนิรันดร แต่ขณะที่บรรดาผู้ตายรอคอยการพิพากษาอยู่ในสถานที่
ทั้ง 2 ที่ต่างกันนี้ เขาทั้งหลายก็เริ่มรับผลตอบแทนจากการกระทำของตนแล้ว ความคิดเช่นนี้ปรากฏ
อยู่ในหนังสือ “เอโนก” ฉบับภาษาเอธิโอเปีย40

40
บทที่ 22 GCS, 5:51-55

317
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

จากอุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัสในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา มีความคิด
เช่นนี้เป็นนัยๆ อยู่ “เศรษฐีผู้หนึ่ง แต่งกายหรูหราด้วยเสื้อผ้าเนื้อดีราคาแพง จัดงานเลี้ยงใหญ่ทุกวัน
คนยากจนผู้หนึ่งชื่อลาซารัส นอนอยู่ที่ประตูบ้านของเศรษฐีผู้นั้น เขามีบาดแผลเต็มตัว อยากจะกิน
เศษอาหารที่ตกจากโต๊ะของเศรษฐี มีแต่สุนัขมาเลียแผลของเขา วันหนึ่ง คนยากจนผู้นี้ตาย ทูตสวรรค์
นำเขาไปอยู่ในอ้อมอกของอับราฮัม เศรษฐีคนนั้นก็ตายเช่นเดียวกัน และถูกฝังไว้เศรษฐีซึ่งกำลังถูก
ทรมานอยู่ในแดนผู้ตาย แหงนหน้าขึ้น มองเห็นอับราฮัมแต่ไกล และเห็นลาซารัสอยู่ในอ้อมอก จึง
ร้องตะโกนว่า ท่านพ่ออับราฮัม จงสงสารลูกด้วยกรุณาส่งลาซารัสให้ใช้ปลายนิ้วจุ่มน้ำมาแตะลิ้นให้
ลูกสดชื่นขึ้นบ้าง เพราะลูกกำลังทุกข์ทรมานอย่างสาหัสในเปลวไฟนี้ แต่อับราฮัมตอบว่า ลูกเอ๋ยจง
จำไว้ว่าเมื่อยังมีชีวิตลูกได้รับแต่สิ่งดีๆ ส่วนลาซารัสได้รับแต่สิ่งเลวๆ บัดนี้เขาได้รับการบรรเทาใจที่นี่
ส่วนลูกต้องรับทรมาน ยิ่งกว่านั้นยังมีเหวใหญ่ขวางอยู่ระหว่างเราทั้งสอง จนใครที่ต้องการจะข้าม
จากที่นี่ไปหาลูกก็ข้ามไปไม่ได้ และผู้ที่ต้องการจะข้ามจากด้านโน้นมาหาเรา ก็ข้ามมาไม่ได้เช่นกัน
ด้วย เศรษฐีจึงพูดว่า ท่านพ่อ ลูกอ้อนวอนให้ท่านส่งลาซารัสไปยังบ้านบิดาของลูก เพราะลูกยังมีพี่
น้องอีกห้าคน ขอให้ลาซารัสเตือนเขาอย่าให้มายังสถานที่ทรมานแห่งนี้เลย อับราฮัมตอบว่า พี่น้อง
ของลูกมีโมเสส และบรรดาประกาศกอยู่แล้ว ให้เขาเชื่อฟังท่านเหล่านั้นเถิด แต่เศรษฐีพูดว่า มิใช่
เช่นนั้น ท่านพ่ออับราฮัม ถ้าใครคนหนึ่งจากบรรดาผู้ตายไปหาเขา เขาจึงจะกลับใจ อับราฮัมตอบว่า
ถ้าเขาไม่เชื่อฟังโมเสสและบรรดาประกาศก แม้ใครที่กลับคืนชีวิตจากบรรดาผู้ตายเตือนเขา เขาก็จะ
ไม่เชื่อ” (ลก 16:19-31)

4. หนังสือพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ยืนยันว่า ในช่วงเวลาระหว่างความตายกับการ
พิพากษาประมวลพร้อม บรรดาผูต้ ายก็เริม่ ได้รบั ผลตอบแทนจากการกระทำของตนแล้ว เพราะหนังสือ
เหล่านั้นสอนว่าวิญญาณของบรรดาผู้ตายยังคงอยู่ต่อไปหลังความตาย คำสอนนี้ต่างจากคำสอนเรื่อง
การกลับคืนชีพ เพราะพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ไม่เคยเล่าเรื่องการกลับคืนชีพควบคู่กับเรื่อง
ความตาย พระคัมภีรภ์ าคพันธสัญญาใหม่เน้นเพียงว่า วิญญาณคงอยูต่ อ่ จากความตายก็คอื วิญญาณ
มนุษย์มีความสนิมสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า

318
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ขณะที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงบนไม้กางเขน ทรงสัญญากับโจรคนหนึ่งที่ถูกตรึงข้างพระองค์
ว่า เขาจะมีความสนิมสัมพันธ์กับพระองค์ “เราบอกความจริงกับท่านว่า วันนี้ ท่านจะอยู่กับเราใน
สวรรค์” (ลก 23:43) คำว่า “สวรรค์” ในต้นฉบับภาษากรีกใช้คำเฉพาะ ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า
“ปาราไดซ์” (Paradise) ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ในภาษาเปอร์เซีย ตรงกับศัพท์ในภาษาฮีบรูที่หมายถึง
“สวนเอเดน” พระองค์ไม่ทรงอธิบายรายละเอียดของสวนเอเดน นอกจากทรงสัญญาว่า พระองค์
จะทรงต้อนรับโจรคนนั้นให้ไปอยู่สนิทสัมพันธ์กับพระองค์ทันทีหลังความตาย เช่นเดียวกัน ขณะที่
สเทเฟนถูกขว้างด้วยก้อนหิน เขาก็แสดงความหวัง ดังที่พระเยซูเจ้าทรงสัญญาแก่โจรคนนั้น เขา
กล่าวว่า “ดูซิ ข้าพเจ้าเห็นท้องฟ้าเปิดออก และเห็นบุตรแห่งมนุษย์ทรงยืนอยู่เบื้องขวาของพระเจ้า”
(กจ 7:56) แล้วสเทเฟนก็อธิษฐานภาวนาเป็นครั้งสุดท้ายว่า “ข้าแต่พระเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรด
รับวิญญาณของข้าพเจ้าด้วย” (กจ 7:59) เขาจึงยืนยันความหวังที่ว่า พระเยซูเจ้าจะทรงต้อนรับเขา
ให้อยู่ชิดสนิทกับพระองค์ทันทีหลังความตาย
ในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์นพระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์วา่ ในบ้านของ
พระบิดามีที่มากมาย “ใจของท่านทั้งหลายจงอย่าหวั่นไหวเลย จงเชื่อในพระเจ้า และเชื่อในเราด้วย
ในบ้านพระบิดาของเรา มีที่พำนักมากมาย ถ้าไม่มี เราคงบอกท่านแล้ว เรากำลังไปเตรียมที่ให้ท่าน
และเมื่อเราไป และเตรียมที่ให้ท่านแล้ว เราจะกลับมารับท่านไปอยู่กับเราด้วย เพื่อว่าเราอยู่ที่ใด
ท่านทั้งหลายจะอยู่ที่นั่นด้วย“ (ยน 14:1-3) แน่นอนว่าพระวาจานี้อ้างถึงเวลาแห่งความตายของ
บรรดาศิษย์ ไม่ใช่เวลาแห่งการเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระเยซูเจ้า นักบุญยอห์นไม่ค่อยกล่าวถึง
การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระเยซูเจ้าในพระวรสาร แต่มักจะกล่าวถึง ในจดหมายฉบับแรกของตน
ข้อความ ยน 14:1-3 จึงต้องการสอนว่า สถานการณ์สำคัญของชีวิตหลังความตายคือ ความ
สนิทสัมพันธ์กับพระเยซูเจ้า ผู้ทรง “เป็นหนทางความจริง และชีวิต” (ยน 14:6) น่าสังเกตว่า วิธี
พูดของนักบุญยอห์น คำว่า ”พำนัก” และคำว่า”ดำรงอยู่” ในภาษากรีกเป็นคำที่ออกเสียงคล้ายกัน
พระเยซูเจ้าตรัสถึงชีวิตบนแผ่นดินนี้เมื่อทรงเตือนใจว่า “ท่านทั้งหลายจงดำรงอยู่ในเราเถิด ดังที่เรา
ดำรงอยู่ในท่าน” (ยน 15:4) และ “จงดำรงอยู่ในความรักของเราเถิด” (ยน 15:9) บนแผ่นดินนี้

319
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

“ผู้ใดรักเรา ผู้นั้นจะปฏิบัติตามวาจาของเรา พระบิดาของเราจะทรงรักเขา พระบิดาจะเสด็จพร้อมกับ


เรามาหาเขา และจะทรงพำนักอยู่กับเขา” (ยน 14:23) การที่พระเจ้า ”ทรงพำนักอยู่” กับเรามนุษย์
เป็นความจริงในโลกนี้ แต่ความสนิทสัมพันธ์กับพระองค์จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นหลังความตาย

5. นักบุญเปาโลมีคำสอนที่ส มควรเรียนรู้ด้วยความตั้งใจ เราพบข้อความสำคัญเรื่องช่วง


ระยะเวลาระหว่างความตายกับการกลับคืนชีพ ในจดหมายถึงชาวฟิลิปปีว่า “ข้าพเจ้าคิดว่าการมีชีวิต
อยู่ก็คือพระคริสตเจ้า และการตายก็เป็นกำไร หากการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้เป็นโอกาสให้ข้าพเจ้าทำงาน
ได้ผลแล้ว ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่าจะเลือกสิ่งใดดี ข้าพเจ้ารู้สึกลังเล คือ ปรารถนาจะพ้นจากชีวิตนี้ไป เพื่อ
อยู่กับพระคริสตเจ้า ซึ่งจะเป็นการดีกว่ามาก แต่การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ต่อไปก็จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ
ท่านทั้งหลาย” (ฟป 1:21-24)
สำนวนที่ว่า “การมีชีวิตอยู่ก็คือพระคริสตเจ้า” (ฟป 1:21) เน้นเป็นพิเศษว่า ความสนิท
สัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า “อยู่กับพระคริสตเจ้า” (ฟป 1:23) เริ่มต้นบนแผ่นดินนี้และเป็นความหวัง
เดียวที่มนุษย์มีสำหรับชีวิตหลังความตาย ความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าหลังความตายจะแน่น
แฟ้นมากกว่าในโลกนี้ สภาพหลังความตายจึงน่าปรารถนายิ่งนัก
นักบุญเปาโลไม่ดูถูกชีวิตบนแผ่นดินนี้ ตรงกันข้ามเขาตัดสินใจว่า “เมื่อข้าพเจ้ามั่นใจเช่นนี้
แล้ว ข้าพเจ้าก็รู้ว่าข้าพเจ้าจะอยู่ต่อไปและอยู่เคียงข้างท่านทุกคน” (ฟป 1:25) แน่นอนนักบุญเปาโล
ไม่ปรารถนาที่จะตาย “ตราบใดที่เราอยู่ตามสภาพปัจจุบัน เราก็คร่ำครวญปรารถนาอย่างยิ่งที่จะสวม
ใส่ร่างกายที่มาจากสวรรค์ ขณะที่ยังสวมร่างกายนี้อยู่ เราไม่เปลือยเปล่า โดยแท้จริงแล้ว ขณะที่
เรายังอยู่ในร่างกายนี้ เรากำลังคร่ำครวญเพราะต้องแบกภาระหนัก เราไม่ปรารถนาจะถูกปลดเปลื้อง
จากร่างกายปัจจุบันนี้ แต่ต้องการสวมใส่ร่างกายจากสวรรค์ เพื่อสิ่งที่ตายได้จะถูกชีวิตกลืนเข้าไป” (2
คร 5:2-4)
ความตาย คือ การที่วิญญาณแยกจากร่างกายเป็นความทุกข์ มีการเปรียบเทียบอยู่เสมอ
เกี่ยวกับท่าทีของโสกราตีสกับท่าทีของพระเยซูเจ้าต่อหน้าความตาย โสกราตีสคิดว่าการตายเป็นการ

320
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ปลดปล่อยวิญญาณให้พ้นจากคุกของร่างกาย ส่วนพระเยซูเจ้าทรงมอบชีวิตของพระองค์เพื่อไถ่บาป
ของเรามนุษย์ “เรายอมสละชีวิตเพื่อแกะของเรา” (ยน 10:15) ในสวนเกทเสมนี “พระองค์ทรงเริ่ม
รู้สึกหวาดกลัวและเศร้าพระทัยอย่างยิ่ง” (มก 14:34) ท่าทีของนักบุญเปาโลต่อความตายก็คล้ายกับ
ท่าทีของพระเยซูเจ้า สภาพชีวิตหลังความตายเป็นสิ่งที่น่าปรารถนาเพียงเพราะเป็นชีวิตที่มีความสนิท
สัมพันธ์กับพระคริสตเจ้าเท่านั้น
บางคนคิดว่านักบุญเปาโลได้พฒ ั นาความคิดของตน โดยเมือ่ แรกเริม่ เขาคิดว่าเขามีความเชือ่
ในการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายเท่านั้น ต่อมาเขาเกิดความหวังว่าวิญญาณเป็นอมตะ ซึ่งแท้ที่จริง
แล้วนักบุญเปาโลคิดถึงความจริงทั้ง 2 นี้ตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว ในจดหมายถึงชาวฟิลิปปี นักบุญเปาโล
อธิบายเหตุผลที่เขาปรารถนาช่วงเวลาหลังความตายก่อนที่จะกลับคืนชีพ และในเวลาเดียวกัน เขามี
ความหวังว่าพระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอย่างรุง่ โรจน์ “พระองค์จะทรงเปลีย่ นรูปร่างอันต่ำต้อยของเราให้
เหมือนพระกายอันรุ่งโรจน์ของพระองค์ ด้วยพระฤทธานุภาพที่ทำให้พระองค์ทรงบังคับจักรวาล
ทั้งหมดให้อยู่ใต้อำนาจของพระองค์ได้” (ฟป 3:21) เพราะฉะนั้น ช่วงเวลาหลังความตายก่อนที่จะ
กลับคืนชีพเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา เพราะเราจะมีความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า แต่ความหวัง
สูงสุดยังคงอยูท่ จี่ ะกลับคืนชีพฝ่ายกายอีกด้วย “เพราะธรรมชาติทเี่ น่าเปือ่ ยได้ของเรานี้ จะต้องสวมใส่
ความไม่เน่าเปื่อย และธรรมชาติที่ต้องตายนี้ จะต้องสวมใส่ความไม่รู้จักตาย”
(1 คร 15:53)

321
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 4
ความเป็นจริงของการกลับคืนชีพในบริบทของเทววิทยาปัจจุบัน

1. เราเข้าใจได้ง่ายว่า ธรรมประเพณีทั้งหมดของคริสตชน ยกเว้นบางกรณี ให้ความสำคัญ


เป็นพิเศษแก่หลักการ 2 ประการ ซึ่งเราพบในคำสอนของพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ และ
อธิบายเนื้อหาของความหวังในอนันตกาลตลอดมาจนถึงปัจจุบันว่ามี 2 ช่วงเวลา ธรรมประเพณีจึง
รักษาความเชื่อที่ว่า มนุษย์มีองค์ประกอบองค์หนึ่งที่คงอยู่หลังความตายจนถึงอวสานของโลก องค์-
ประกอบนี้มีความสำนึก เราเรียกกันว่า ”วิญญาณ” (psyche) พระคัมภีร์ใช้คำว่า “วิญญาณ” อยู่แล้ว
เมื่อพูดถึงสภาวะมนุษย์ที่จะได้รับการตอบแทนในวันสุดท้าย เช่น “วิญญาณของคนดีมีธรรม อยู่ใน
พระหัตถ์ของพระเจ้า ความทุกข์ร้อนใดเล่า จะกล้ำกราย“(ปชญ 3:1) “อย่ากลัวผู้ที่ฆ่าได้แต่กาย แต่
ไม่อาจฆ่าวิญญาณได้ จงกลัวผู้ที่ทำลายทั้งกายและวิญญาณให้พินาศไปในนรก” (มธ 10 :28)
เรามีความหวังว่า เมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ในวันสิ้นสุดของประวัติศาสตร์
มนุษย์ ”ผู้ที่เป็นของพระคริสตเจ้า” (1 คร 15:23) จะกลับมีชีวิตอย่างมีความสุข ตั้งแต่เวลานั้น
เป็นต้นไป มนุษย์ที่กลับคืนชีพแล้วจะเริ่มมีชีวิตอย่างรุ่งโรจน์ทั้งกายและวิญญาณตลอดไป การที่
วิญญาณซึ่งมีความสำนึกคงอยู่หลังความตายของมนุษย์ก่อนที่จะกลับคืนชีพ ทำให้บุคคลที่มีชีวิตอยู ่
ในโลกนี้ยังคงต่อเนื่องและเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ที่จะกลับคืนชีพ โดยแท้จริงแล้ว มนุษย์ไม่สูญเสีย
ชีวิตของตนอย่างสิ้นเชิง เพราะวิญญาณของเขายังคงอยู่ต่อไป

2. ข้อยกเว้นบางกรณีจากธรรมประเพณีของคริสตชนที่น่าสังเกตุ คือ ในศตวรรษที่ 2 ของ


คริสตกาล คริสตชนบางคนที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลัทธิจินไตยนิยม (Gnostics) ปฏิเสธเรื่อง

322
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

“ความรอดพ้นของเนือ้ หนัง” และเรียกการคงอยูข่ องวิญญาณทีย่ งั มีลกั ษณะเป็นวัตถุอยูบ่ า้ ง41 ว่า “การ


กลับคืนชีพ” เทชัน (Tatian) ปิตาจารย์คนหนึ่งของพระศาสนจักร และพวกเฮเรติ๊กชาวอาหรับบางคน
คัดค้านคำสอนของธรรมประเพณี เขาเชื่อว่าวิญญาณของมนุษย์ไม่เป็นอมตะ จึงคิดว่ามนุษย์ตาย
ทั้งหมด คือ ทั้งกายและวิญญาณ สำหรับเขาวิญญาณไม่คงอยู่หลังความตาย และการกลับคืนชีพ
ในวันสุดท้ายหมายความว่า พระเจ้าจะทรงสร้างผู้ตายขึ้นใหม่จากความว่างเปล่า42
ตราบจนถึงปัจจุบัน คริสตชนล้วนยอมรับว่าอนันตกาลมี 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงเวลาที่วิญญาณ
ดำรงอยู่โดยไม่ร่วมอยู่กับกาย และช่วงเวลาที่วิญญาณจะร่วมกับร่างกายซึ่งได้กลับคืนชีพเมื่อพระ-
คริสตเจ้าจะสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ มาร์ติน ลูเธอร์ ก็มีความคิดเช่นนี้ เขายอมรับว่าอนันตกาลมีอยู่ 2
ช่วงเวลา และความตาย คือ “การแยกของวิญญาณจากกาย”43 เขาเชื่อว่าวิญญาณของผู้ตายยังคง
อยู่หลังความตายจนถึงการกลับคืนชีพในวันสุดท้าย เขาสงสัยวิธีอธิบายสภาพของวิญญาณที่คงอยู่
หลังความตายจนถึงการกลับคืนชีพเท่านั้น บางครั้งลูเธอร์ยอมรับว่า วิญญาณของผู้ศักดิ์สิทธิ์ในสวรรค์

41
เตร์ตุลเลียน (Tertullian) ต่อสู้กับพวกจินไตยนิยมและเรียกเขาว่าเป็นชาวสะดูสีคนใหม่ (De resurrectione
mortuorum 2,2) นักบุญอีเรเนโอ (Irenaeus) แย้งคนเหล่านี้ที่ไม่ยอมเข้าใจว่า “ถ้าคำสอนของคนเหล่านี้เป็น
ความจริง พระคริสตเจ้าไม่ทรงกลับคืนพระชนมชีพในวันที่ 3 ดังที่เขาอ้างว่ามีความเชื่อ แต่เมื่อสิ้นพระชนม์
บนไม้กางเขนแล้ว คงจะต้องเสด็จสู่สวรรค์ทันทีโดยละทิ้งพระวรกายไว้บนแผ่นดิน” (Adversus haereses 5,31,1)
สำหรับนักบุญอีเรเนโอ แผนการทัง้ หมดทีพ่ ระเจ้าทรงช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นรวมเป็นหนึง่ เดียวใน “เนือ้ หนัง” พระเจ้า
ทรงสร้างมนุษย์เป็น “เนื้อหนัง” และทรงส่งพระบุตรมาเป็น “เนื้อหนัง” เพื่อช่วย “เนื้อหนัง” ของมนุษย์ให้รอดพ้น
(Adversus haereses 5,14,1) ควรระลึกได้ว่าวลี “ การกลับคืนชีพของเนื้อหนัง” เข้าในบทสัญลักษณ์แห่งความเชื่อ
เพื่อขจัดอิทธิพลของพวกจินไตยนิยมนั่นเอง ดูเชิงอรรถ 25 อีกด้วย
42
ตามความคิดของยูเซบีอุส (Eusebius of Caesarea) ออริเจน (Origen) ทำให้พวกเฮเรติ๊กชาวอาหรับนี้ยอมรับ
ว่าเขาคิดผิดต่อความเชื่อ (Historia ecclesiastica 6,37)
43
M. Luther, Vorlesungen ueber 1. Mose 22,11 (WA 43, 218)

323
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

สวดภาวนาเพื่อเราได้44 แต่บางครั้งเขาคิดว่าวิญญาณของผู้ตายอยู่ในสภาวะที่หลับอยู45่ ลูเธอร์จึง


ไม่เคยปฏิเสธเรื่องความเป็นอยู่ของวิญญาณในสภาวะที่อยู่ระหว่างความตายและการกลับคืนชีพ เขา
เพียงอธิบายสภาวะนี้ในลักษณะที่แตกต่างจากความเชื่อของคาทอลิก46 คริสตชนนิกายลูเธอรันที่ยึด
มั่นอยู่กับความคิดดั้งเดิมยังคงเชื่อคำสอนของลูเธอร์เรื่อง 2 ช่วงเวลาของอนันตกาล แต่ไม่เชื่อว่า
วิญญาณอยู่ในสภาวะที่หลับอยู่

3. ในศตวรรษที่ 20 ความคิดที่ปฏิเสธเรื่อง 2 ช่วงเวลาของอนันตกาลเริ่มแพร่หลายเป็น


ครั้งแรก กระแสความคิดใหม่ปรากฏในหมู่นักเทววิทยาโปรเตสแตนต์ผู้ประกาศข่าวดีอย่างกระตือ
รือร้น (Evangelical) ว่าเขามีความคิดคล้ายกับเทเทียน (Tatian) ในสมัยก่อนที่เชื่อว่ามนุษย์ตายอย่าง
สิ้นเชิงและจะกลับคืนชีพในวันสุดท้าย เพราะพระเจ้าจะทรงสร้างมนุษย์ใหม่จากความว่างเปล่า นัก
เทววิทยาเหล่านี้อ้างเหตุผลจากหลักคำสอนนิกายของตน ดังนี้
• มนุษย์ไม่มีสิ่งใดเป็นของตนอย่างแท้จริงที่จะนำมาถวายแด่พระเจ้าได้เลย
ไม่ว่าจะเป็นกิจการหรือความเป็นอมตะโดยธรรมชาติของวิญญาณ
44
M. Luther, Articuli Schmalkaldenses 2,2, in Die Bekenntnisschriften der evangelish-luterischen Kirche,
Goettingen 1956, 425
45
M. Luther Brief an Amsdorf (Wartburg, 13. Januar 1522: WA, Briefwechsel 2, 422)
46
เทียบ พระธรรมนูญของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิ๊กต์ ที่ 12 Benedictus Deus (Denz.-
Schoenm. 1000) ยืนยันว่า วิญญาณของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ชำระตนให้บริสุทธิ์อย่างเต็มเปี่ยมแล้ว
“ทันทีหลังความตาย” และ “ก่อนที่จะรับกายใหม่ และก่อนการพิพากษาประมวลพร้อม…ได้เห็นและ
กำลังเห็นสารัตถะของพระเจ้าอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนโดยตรง หน้าต่อหน้า โดยไม่มีสิ่งสร้างใดเป็นตัว
กลางที่ช่วยให้เห็น แต่สารัตถะของพระเจ้าปรากฏอย่างชัดแจ้งและเปิดเผยดังที่เป็น เมื่อวิญญาณ
ของผู้ที่ออกจากโลกนี้เห็นสารัตถะก็มีความสุขที่มาจากสารัตถะนั้น วิญญาณเหล่านั้นจึงย่อมเป็นสุข
มีทั้งชีวิตและการพักผ่อนนิรันดร เพราะการเห็นและการมีความสุข”

324
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

• ความตายจะไม่เป็นเรื่องที่จริงจัง ถ้าไม่มีผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งหมด คือ


ทั้งกายและวิญญาณ
• ความตายเป็นโทษของบาปและมนุษย์ทุกคนเป็นคนบาป จึงต้องได้รับผล
กระทบจากความตาย เราไม่ควรคิดว่าวิญญาณจะรอดพ้นจากความตาย
เพราะบ่อเกิดของบาปอยู่ในวิญญาณนั้นเอง
นักเทววิทยาค่อยๆ เริ่มนโยบายใหม่ที่จะสอนเกี่ยวกับอนันตกาล คือ การกลับคืนชีพของ
บรรดาผู้ตายเพียงเรื่องเดียว แทนที่จะสอนทั้ง 2 เรื่อง คือความเป็นอมตะของวิญญาณและการกลับ
คืนชีพของบรรดาผู้ตาย
กระแสความคิดรูปแบบนี้ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น ถ้ามนุษย์ทั้งหมดสูญสลายไป
พร้อมกับความตาย พระเจ้าอาจจะทรงสร้างมนุษย์อีกคนหนึ่งที่เหมือนกับคนเดิมทุกประการขึ้นมา
ใหม่ แต่ถ้าไม่มีสิ่งใดของคนเดิมที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง มนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นคนเดียว
กันกับคนเดิมที่มีอยู่ก่อนตายไม่ได้
เมื่อพบปัญหาดังกล่าว นักเทววิทยาที่มีแนวความคิดนี้จึงสร้างทฤษฎีใหม่ ยืนยันว่าการกลับคืน
ชีพเกิดขึ้นพร้อมกับความตาย เพื่อจะได้ไม่มีช่องว่างระหว่างความตายและการเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์
ของพระคริสตเจ้า ความคิดนี้เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยปรากฏในหนังสือพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่
เลย เพราะพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่กล่าวอยู่เสมอถึงการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายว่า จะเกิด
ขึ้นเมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ แต่ไม่เคยกล่าวว่า ผู้ตายจะกลับคืนชีพทันทีที่เขาตาย
ไป47
เมื่อกระแสความคิดใหม่นี้เริ่มขยายไปสู่นักเทววิทยาคาทอลิกบางคน พระสันตะสำนักจึงมี
จดหมายถึงบรรดาพระสังฆราช48 ให้เอาใจใส่และระมัดระวังกระแสความคิดนี้ ซึ่งอาจไม่สอดคล้อง
47
ในบทที่ 2 ได้อ้างถึงทฤษฎีสำคัญที่เสนอว่า การกลับคืนชีพเกิดขึ้นพร้อมกับความตาย และข้อที่ 2 ของบทนี้ได้
กล่าวถึงผู้ที่มีแนวความคิดนี้ในสมัยของบรรดาปิตาจารย์แล้ว
48
สมณกระทรวงพระสัจธรรม, Letter Recentiores episcoporum Synodi (17 May 1979): AAS (1979) 939-
943.

325
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

กับคำสอนของพระศาสนจักร แนวความคิดนี้เป็นทรรศนะที่ไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นทรรศนะที่พหุนิยมทาง


เทววิทยายึดถือได้

4. เราต้องตรวจสอบทฤษฎีเหล่านี้ทั้งหมดอย่างไม่มีอคติโดยพิจารณาดูว่า เนื้อหาเรื่อง
อนันตกาล และสมมุติฐานด้านมานุษยวิทยาของทฤษฎีเหล่านี้ สอดคล้องกับคำสอนของพระคัมภีร ์
และประวัตศิ าสตร์ของธรรมประเพณีหรือไม่ เราควรตัง้ คำถามอย่างมีเหตุผลว่า เราสามารถแยกแยะ
ทฤษฎี ใดทฤษฎีหนึ่งออกจากแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดทฤษฎีนั้นได้หรือไม่ เราต้องคำนึงถึงปัญหานี้เป็น
พิเศษ เพราะกระแสความคิดทางเทววิทยาดังกล่าว เกิดขึ้นจากหลักเกณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของ
เทววิทยาโปรเตสแตนต์ ไม่ใช่จากหลักเกณฑ์ของเทววิทยาคาทอลิก นอกจากนั้น เราต้องคำนึงถึง
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากแนวความคิดใหม่นี้ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการเสวนาระหว่างคริสตชนนิกาย
ต่างๆ
กระแสความคิดนี้เริ่มต้นในหมู่ของนักเทววิทยาโปรเตสแตนต์บางคน แต่ไม่สอดคล้องกับ
ธรรมประเพณีของคริสตชนลูเธอรัน เพราะสัตบุรุษนิกายลูเธอรันส่วนใหญ่ยังมีความคิดดั้งเดิมอยู่
ส่วนคริสตชนออร์ธอดอกซ์มีความมั่นใจอย่างยิ่งว่า วิญญาณของผู้ตายต้องดำรงอยู่โดยปราศจากกาย
จนถึงวันกลับคืนชีพ คริสตชนทั้งปวงจึงคิดว่า จำเป็นต้องมี ”อนันตกาลของวิญญาณ” คือต้องมี
ช่วงเวลาแรกของอนันตกาล เมื่อวิญญาณคงอยู่หลังจากมนุษย์ตายไป เพราะการกลับคืนชีพของ
บรรดาผู้ตายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์เท่านั้น49 ยิ่งกว่านั้น ถ้าเรามอง
ศาสนาอื่นๆ ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนานิกายใดๆ เราจะพบว่า “อนันตกาลของวิญญาณ” เป็นความคิด
สากลที่ประเสริฐของศาสนาเหล่านั้น
“อนันตกาลของวิญญาณ” ตามความคิดของธรรมประเพณีคริสตชน เป็นสถานภาพของ
บรรดาพี่น้องที่มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า วิญญาณของแต่ละคนจะเข้า สู่สถานภาพนี้ตามลำดับ เมื่อ
ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์และโดยอาศัยพระองค์ ความคิดที่ว่าวิญญาณของผู้ตายมารวมเป็นหนึ่ง
49
Cf. Confessio Augustana,17: Die Bekenntnisschriften der evangelish-luterischen Kirche, p. 73.

326
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

เดียวในครอบครัว เป็นความคิดของศาสนาพื้นเมืองหลายศาสนาในทวีปแอฟริกา และเป็นความคิดที่


ให้โอกาสแก่เราได้เสวนากับคนต่างศาสนาเหล่านั้น แต่คริสตชนต้องเสริมความคิดนี้อีกว่า การที่
วิญญาณร่วมเป็นหนึ่งเดียวในครอบครัวจะสมบูรณ์เพียงในปั้นปลายของประวัติศาสตร์ เมื่อมนุษย์
ทุกคนจะกลับคืนชีพและจะได้รับความสุขอย่างบริบูรณ์ คือมีความสุขทางกายอีกด้วย

5. ประวัติความเป็นมาของปัญหานี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้สนับสนุนทฤษฎีเรื่องอนันตกาลว่ามีช่วงเวลา
เดียวด้วยการอ้างเหตุผลต่างๆ ต่อมาเขายังคัดค้านความคิดเรื่องอนันตกาลที่มี 2 ช่วงเวลา ว่าเป็น
ความคิดบิดเบือนที่ ได้รับอิทธิพลจากลัทธิกรีก แต่พระคัมภีร์มีความคิดว่า อนันตกาลมีเพียงช่วง
เดียว คือ การกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายเท่านั้น เขายังอธิบายว่าความคิดที่วิญญาณเป็นอมตะนั้น
มาจากปรัชญากรีก ไม่ได้มาจากพระคัมภีร์ นักเทวววิทยาเหล่านั้นจึงเสนอให้ขจัดความคิดที่มาจาก
ลัทธิกรีกออกจากความเชื่อของคริสตชนเรื่องอนันตกาล
เราต้องยอมรับว่า ความคิดเรื่องการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายปรากฏในพระคัมภีร์ก็ เพียง
ในหนังสือที่เขียนขึ้นก่อนคริสตกาลไม่นานนัก เช่น เราพบข้อความแรกที่กล่าวถึงการกลับคืนชีพใน
หนังสือประกาศกดาเนียลว่า ”เวลานั้น มีคาแอล เจ้านายยิ่งใหญ่ของทูตสวรรค์ ผู้พิทักษ์ประชากร
ของท่านจะลุกขึ้น จะมีเวลาแห่งความทุกข์ยากอย่างที่ ไม่เคยมีมาตั้งแต่แรกเริ่มประชาชาติจนถึง
เวลานั้น ในเวลานั้น ประชากรของท่านจะได้รับความรอดพ้น คือ ทุกคนที่มีชื่อเขียนไว้ในหนังสือ คน
จำนวนมากที่หลับอยู่ในผงคลีดินจะตื่นขึ้น บางคนจะเข้าสู่ชีวิตนิรันดร บางคนจะได้รับความอับอาย
และความอัปยศอดสูตลอดนิรันดร บรรดาผู้มีปัญญาจะส่องแสงเหมือนแสงสว่างบนท้องฟ้า และ
บรรดาผู้ที่ช่วยคนจำนวนมากให้มีความชอบธรรม จะส่องแสงเหมือนดวงดาวตลอดไปเป็นนิตย์” (ดนล
12:1-3)
ความคิดโบราณที่สุดของชาวยิวในเรื่องชีวิตหลังความตายอยู่ที่ว่า เงาของมนุษย์ที่เคยมีชีวิต
อยู่ (refaim) ยังคงอยู่ในสถานที่เดียวกัน คือ แดนมรณะ (sheol) ซึ่งแตกต่างจากหลุมศพ แนว
ความคิดเช่นนี้ คล้ายกับแนวความคิดของโฮเมอร์ (Homer) ผู้พูดถึงวิญญาณ (psychai) ในแดน

327
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

มรณะ (Hades) ความคิดนี้ คล้ายคลึงกันระหว่างวัฒนธรรมยิวและวัฒนธรรมกรีกในสมัยอื่นๆ


อีกด้วย ดังนั้น ความคิดที่ว่าวัฒนธรรมทั้งสองนี้ขัดแย้งกันจึงไม่น่าจะเป็นจริง ในอดีต ชนชาติต่างๆ
ที่อยู่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน และมีอิทธิพลต่อกันและกันมากกว่าที่เรา
คิด ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีผู้เขียนพระคัมภีร์ จึงไม่น่าที่จะคิดว่า คำสอนของพระคัมภีร์ได้
รับการบิดเบือนจากวัฒนธรรมกรีก
เราไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่า พระเจ้าทรงเปิดเผยความจริง โดยใช้เพียงมโนคติแบบยิว
เท่านั้น จดหมายถึงชาวฮีบรูกล่าวว่า “ในอดีต พระเจ้าตรัสกับบรรพบุรุษของเราโดยทางประกาศก
หลายวาระและหลายวิธี” (ฮบ 1:1) เราต้องไม่คิดว่า หนังสือต่างๆ ของพระคัมภีร์ที่พระจิตเจ้าทรงดล
ใจให้เขียนโดยใช้คำศัพท์และมโนคติที่มาจากวัฒนธรรมกรีก มีอำนาจสั่งสอนน้อยกว่าหนังสือที่เขียน
เป็นภาษาฮีบรูหรืออาราเมอิค และเราพูดไม่ได้ว่า แนวความคิดเกี่ยวกับอนันตกาลมีเพียงแบบยิวหรือ
แบบกรีกเท่านั้น เพราะยังมีความคิดอื่นๆ อีก เช่น แนวความคิดของบรรดาบรรพบุรุษที่มีข้อบกพร่อง
มาก แต่ต่อมาก็ได้รับการปรับปรุงโดยการเปิดเผยของพระเจ้าอย่างต่อเนื่อง ส่วนแนวคิดปรัชญา
กรีกก็มีทั้งลัทธิเพลโต (Platonism) หรือลัทธิเพลโตใหม่ (Neo-Platonism) เราต้องไม่ลืมความจริงว่า
เพราะบรรดาปิตาจารย์เคยมีความสัมพันธ์กับลัทธิเพลโตกลาง (Middle Platonism) และกับลัทธิ
สโตอิก50 (Stoicism) อีกด้วย ดังนั้น เราต้องเอาใจใส่อธิบายประวัติความเป็นมาของการเปิดเผยของ
พระเจ้าและเรื่องของธรรมประเพณี รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมยิวและวัฒนธรรมกรีก
โดยต้องคำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องของความหมายด้วย

50
Cf. M. Spanneut, Le stoicisme des Peres de l’Eglise. De Clement de Rome a la Clemant d’Alexandrie,
Paris 1957.

328
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 5
มนุษย์ถูกเรียกให้กลับคืนชีพ

1. สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สอนว่า “มนุษย์ประกอบด้วยกายและวิญญาณ รวมเป็นบุคคล


เดียว ในสภาพที่เป็นกายนั้นเองมนุษย์ก็รวมเอาส่วนประกอบของโลกวัตถุต่างๆ ไว้ในตัว จนถือได้
ว่ามนุษย์เป็นสิ่งประเสริฐกว่าสิ่งใดในโลกวัตถุ และโลกวัตถุอาจส่งเสียงสรรเสริญพระผู้สร้างได้อย่าง
อิสระโดยอาศัยมนุษย์... โดยแท้จริงแล้ว มนุษย์คิดไม่ผิด เมื่อยอมรับว่าตนประเสริฐกว่าสิ่งที่เป็น
วัตถุใดๆ และถือว่าตนเป็นเพียงเป็นเศษเล็กๆ ชิ้นหนึ่งในธรรมชาติหรือเป็นเพียงองค์ประกอบที่ไม่ม ี
ชื่อในเมืองของมนุษย์ แต่ที่มนุษย์ประเสริฐกว่าจักรวาลที่เป็นวัตถุก็เพราะมีจิตภายใน มนุษย์เข้าถึง
ส่วนลึกภายในของตน เมื่อเขาเข้าถึงใจของตน พระเจ้าผู้ทรงสำรวจใจของมนุษย์ ก็ทรงรอคอยเขา
อยู่ที่นั่น และเขาตัดสินชะตากรรมของตนเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ที่นั่นด้วย เมื่อมนุษย์ยอม
รับว่ามีวิญญาณที่เป็นจิตและไม่รู้จักตาย เขาก็ไม่ถูกหลอกให้หลงไปตามเรื่องคิดประดิษฐ์ที่เกิดจาก
สภาพกายและสังคมเท่านั้น แต่ตรงกันข้ามเขาจะบรรลุความจริงของสิ่งต่างๆ ได้ อย่างลึกซึ้ง”51
โดยถ้อยคำเหล่านี้ สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 จึงยอมรับคุณค่าของประสบการณ์พื้นฐาน
ที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งทำให้มนุษย์รับรู้ตนว่าอยู่เหนือสิ่งสร้างอื่นๆ ทั้งมวล เพราะมนุษย์สามารถรับ
พระเจ้ามาในตน โดยอาศัยการรู้และการรัก ความแตกต่างพื้นฐานระหว่างมนุษย์กับสิ่งสร้างอื่นๆ
ปรากฏชัดขึ้นในความปรารถนาที่จะมีความสุขมาตั้งแต่เกิด ความปรารถนานี้ทำให้มนุษย์รังเกียจและ
ไม่ยอมรับความคิดที่ว่า ตนจะถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงตลอดไป วิญญาณที่เป็น “เชื้อนิรันดรภาพซึ่งมี
อยู่ในมนุษย์และจะคิดว่าเป็นเพียงวัตถุอย่างเดียวไม่ได้นั้น ทำให้มนุษย์แข็งข้อต่อสู้กับความตาย”52
วิญญาณอมตะนีเ้ ป็นจิต พระศาสนจักรจึงสอนว่า พระเจ้าเป็นพระผูส้ ร้างวิญญาณในมนุษย์แต่ละคน53
51
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนาจักรในโลกปัจจุบัน ข้อ 14
52
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนาจักรในโลกปัจจุบัน ข้อ 18
53
สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 “บทแสดงความเชื่อของประชากรพระเจ้า” 8: AAS 60 (1968) 436.

329
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ความคิดทางมานุษยวิทยาเช่นนี้ก่อให้เกิดแนวความคิดที่ว่าอนันตกาลต้องมี 2 ช่วงเวลา
ดังที่อธิบายมาแล้ว บางคนกล่าวว่ามานุษยวิทยาของคริสตชน ที่สอนว่าองค์ประกอบทั้ง 2 ของ
มนุษย์ คือ กายและวิญญาณ สามารถแยกจากกันได้ และวิญญาณที่เป็นจิตและอมตะยังคงอยู่และ
ดำรงอยู่ในสภาพที่แยกออกจากกายนั้น เป็น “ลัทธิทวินิยมของเพลโต” (Platonic dualism) คำว่า
“ลัทธิทวินิยม“ มีความหมายหลายอย่าง เมื่อเราพูดถึงมานุษยวิทยาของคริสตชนเราน่าจะใช้คำว่า
“ทวิภาค” (duality) มากกว่า “ทวินิยม” เพราะในธรรมประเพณีของคริสตชนสภาพของวิญญาณที ่
คงอยู่หลังความตายไม่เป็นสภาพถาวรตลอดไป และไม่ใช่สภาพความเป็นอยู่ที่สูงสุด แต่เป็นเพียง
สภาพระหว่างกลางชั่วคราว และที่มุ่งไปสู่การกลับคืนชีพในวันสิ้นพิภพ มานุษยวิทยาของคริสตชนจึง
มีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากมานุษยวิทยาของลัทธิเพลโตต่างๆ54

2. เราต้องแยกมานุษยวิทยาของคริสตชนออกจาก “ลัทธิทวินิยมของเพลโต” เพราะตาม


ความคิดของคริสตชน มนุษย์ไม่เป็นเพียงวิญญาณเท่านั้น และกายไม่ได้เป็นที่จองจำน่ารังเกียจของ
วิญญาณดังที่เพลโตคิด คริสตชนจึงไม่อับอายที่มีกายดังที่โปลตีนุส55 (Plotinus) รู้สึก ผู้นิยมลัทธิ
เพลโตคิดว่า ความหวังในการกลับคืนชีพของบรรดาผูต้ ายเป็นความคิดทีเ่ ฉาโฉด เพราะมนุษย์ไม่หวัง
ทีจ่ ะกลับไปถูกจองจำในคุกของกายอีก แต่สำหรับคริสตชน ความหวังในการกลับคืนชีพเป็นศูนย์กลาง
ของพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ เทววิทยาของคริสตชนในสมัยแรกๆ จึงมีความหวังในการกลับ
คืนชีพและคิดว่าวิญญาณที่แยกออกจากกายก็เป็น “มนุษย์ครึ่งหนึ่ง” จากความจริงนี้ นักเทววิทยาจึง
สรุปได้ว่าเป็นการเหมาะสมที่บรรดาผู้ตายจะต้องกลับคืนชีพ “การที่พระเจ้าจะทรงช่วยมนุษย์เพียง

54
ชาวยิวหลายคนถึงวันนี้ เมื่อเขาตื่นนอน ก็อธิษฐานภาวนาถวายพระพรแด่พระเจ้า (berekhah) บทภาวนานี้
กล่าวถึง “วิญญาณ” ที่แยกออกจาก “ร่างกายที่รู้ตาย” และพาดพิงถึง “การกลับคืนชีพ” บทภาวนานี้มาจากพระ-
คัมภีร์ภาษาอาราเมอิคของกรุงบาบิโลน (Babylonian Talmud)
55
Cf. Porphyry, De Plotini vita, 1.

330
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ครึ่งเดียวให้รอดพ้นคงจะไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง”56 นักบุญออกัสติน อธิบายความคิดที่เห็นพ้องต้องกัน


ของบรรดาปิตาจารย์ เมือ่ เขาเขียนเกีย่ วกับวิญญาณทีแ่ ยกจากกายว่า “วิญญาณโดยธรรมชาติมคี วาม
ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะปกครองกาย... ความปรารถนาที่จะปกครองกายจะไม่ได้รับการตอบสนอง
จนกว่าวิญญาณจะร่วมกับกายแล้ว”57

3. มานุษยวิทยาแบบทวิภาคในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวกล่าวว่า “อย่า
กลัวผู้ที่ฆ่าได้แต่กาย แต่ไม่อาจฆ่าวิญญาณได้ จงกลัวผู้ที่ทำลายทั้งกายและวิญญาณให้พินาศไปใน
นรก (Gehenna)” (มธ 10:28) เมื่อเราเข้าใจพระวาจานี้โดยคำนึงถึงมานุษยวิทยาและอนันตกาลใน
สมัยของพระเยซูเจ้า พระวาจานี้สอนเราว่า เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่วิญญาณมนุษย์ยังคงอยู่
หลังความตายจนถึงวันกลับคืนชีพเพื่อจะได้ร่วมกับกายอีกครั้งหนึ่ง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พระเยซูเจ้า
ตรัสพระวาจาเหล่านี้ ในบริบทที่ทรงสั่งสอนเรื่องการเป็นมรณะสักขี โดยแท้จริงแล้ว พระคัมภีร์
แสดงให้เห็นว่าการเป็นมรณะสักขีเป็นโอกาสดีที่สุดที่ความเชื่อจะเป็นแสงสว่างนำเราให้ เข้าใจความ
หมายของโลกที่พระเจ้าทรงสร้าง ความหมายของการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายเมื่อถึงวันสิ้นพิภพ
และความหมายของพระสัญญาที่พระองค์ จะประทานชีวิตนิรันดร (เทียบ 2 มคบ 7:9, 11, 14, 22-
23, และ 36)
การเปิดเผยเรื่อง “อนันตกาลของวิญญาณ” ยังปรากฏในหนังสือปรีชาญาณอีกด้วย ข้อ
ความนี้อยู่ในบริบทที่กล่าวถึงผู้ที่ “ในสายตาของมนุษย์ เขาคล้ายกับว่าต้องได้รับโทษทัณฑ์” (ปชญ
3:4) แม้ “ในสายตาของคนโฉดเขลา เขาก็ ดูเหมือนว่าสิ้นชีวิต และการลาโลกของเขาดูคล้ายกับ
เป็นความทุกข์” (ปชญ 3:2) อย่างไรก็ตาม “วิญญาณของคนดีมีศีลธรรมจะอยู่ในพระหัตถ์ของ
พระเจ้า” (ปชญ 3:1) ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้นอกจากเรื่อง “อนันตกาลของวิญญาณ” แล้ว ยังมี

56
Tertullian, De resurrectione mortuorum 34,3.
57
St. Augustine, De Genesi ad litteram 12,35.

331
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

คำสอนที่ชัดเจนเรื่องอำนาจของพระเจ้าที่จะประทานการกลับคืนชีพแก่มวลมนุษย์อีกด้วย (เทียบ
ปชญ 16:13–14)

4. พระศาสนจักรยอมรับพระวาจาของพระเยซูเจ้าใน มธ 10:28 ด้วยความซื่อตรง และ


“ประกาศยืนยันว่า มนุษย์หลังความตายมีองค์ประกอบที่เป็นจิตซึ่งยังคงอยู่และดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง
จิตนี้มีความสำนึกและเจตจำนง ทำให้ ‘อัตตา’ ของมนุษย์คนเดิมยังคงอยู่ต่อไป แม้จะขาดองค์
ประกอบของกาย”58 คำยืนยันนี้มีพื้นฐานในทวิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ของมานุษยวิทยาที่คริสตชนยึดถือ
คำยืนยันดังกล่าวถูกต่อต้านโดยผู้ที่อ้างคำพูดประโยคหนึ่งของนักบุญโทมัส อาไควนาสที่ว่า
“วิญญาณ ของฉันไม่ใช่ ‘อัตตา’ ของฉัน”59 เราต้องตีความหมายคำพูดของนักบุญโทมัสในบริบทของ
ข้อเขียน ซึ่งจะเห็นได้ว่า เขาสอนไว้อย่างชัดเจนว่า วิญญาณเป็นเพียงส่วนหนึ่งของมนุษย์ คำสอนนี้
คงมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงในหนังสือ “Summa theologiae” ของนักบุญโทมัส บางคนค้านข้อความที่ว่า
“วิญญาณที่แยกออกจากกาย เป็นสาระหน่วยหนึ่งซึ่งมีธรรมชาติกอปรด้วยเหตุผล แต่ไม่เป็นบุคคล”
นักบุญโทมัสอธิบายว่า “วิญญาณเป็นเพียงส่วนหนึ่งของมนุษย์” แม้วิญญาณที่ออกจากกายแล้วก็ยัง
สามารถที่จะร่วมกับกายได้อีก ดังนั้นจะเรียกวิญญาณเป็นสาระหน่วยหนึ่งที่เป็นบุคคล (hypostasis)
หรือสารปฐมภูมิ (primary substance) ไม่ได้ เช่นเดียวกับมือหรือส่วนอื่นๆ ของกายมนุษย์ก็ไม่เป็น
บุคคลหรือสารปฐมภูมิ ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรเรียกหรือนิยามวิญญาณว่าเป็นบุคคล”60
ในแง่หนึ่ง เรากล่าวได้ว่าวิญญาณไม่เป็น “อัตตา“ เพราะวิญญาณมนุษย์ไม่เป็นมนุษย์
ทั้งหมด ยิ่งกว่านั้น เราจำเป็นต้องรักษาความจริงนี้ เพื่อมานุษยวิทยาของคริสตชนจะคงอยู่ตามแนว
58
สมณกระทรวงพระสัจธรรม, Letter Recentiores episcoporum Synodi 3: AAS 71 (1979) 941.
59
S. Thomae, Supra prima epistolam ad Corinthios c.15, lectio 2, n. 924.
60
Summa theologica, 1, q.29, a.1,5 and ad 5. นักบุญโทมัส คิดว่าประโยค “พระคริสตเจ้าทรงเป็นมนุษย์ตลอด
เวลา 3 วันหลังจากสิ้นพระชนม์” เป็นคำสอนที่ผิด เพราะเอกลักษณ์ของสารัตถะมนุษย์เรียกร้องให้วิญญาณร่วม
เป็นหนึ่งเดียวกับกาย

332
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ของธรรมประเพณีสืบต่อไป จากความจริงนี้ นักบุญโทมัสจึงสรุปได้ว่า วิญญาณที่แยกออกจากกาย


มีแนวโน้มที่จะร่วมกับกายอีก ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อกลับคืนชีพ61 แนวความคิดนี้ของนักบุญโทมัสแสดง
มานุษยวิทยาของคริสตชนตามแนวธรรมประเพณี เหมือนกับที่นักบุญออกัสตินเคยอธิบาย62
แต่ในอีกแง่หนึ่ง เรากล่าวได้และต้องกล่าวอีกว่า วิญญาณที่แยกออกจากกายยังคงอยู่เป็น
“‘อัตตา’ เดียวกันของมนุษย์”63 เพราะวิญญาณเป็นองค์ประกอบที่มีความสำนึกและดำรงอยู่ต่อไป
เราจึงอ้างได้ว่า วิญญาณทำให้มีความต่อเนื่องอย่างแท้จริงระหว่างมนุษย์ที่เคยมีชีวิตบนแผ่นดินกับ
มนุษย์ที่จะกลับคืนชีพ ถ้าไม่มีองค์ประกอบของมนุษย์ที่คงอยู่อย่างต่อเนื่อง มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่บนแผ่น
ดินและมนุษย์ที่จะกลับคืนชีพ ก็จะไม่เป็นอัตตาเดียวกัน
เพราะความต่อเนื่องของวิญญาณเช่นนี้ กิจการของสติปัญญาและเจตจำนงที่เคยกระทำ
บนแผ่นดินยังคงอยู่หลังความตาย แม้วิญญาณแยกออกจากกายแล้วก็ยังกระทำกิจการของสติ
ปัญญาและเจตจำนงเป็นการส่วนตัวได้ ยิ่งกว่านั้น ความจริงที่วิญญาณแยกออกจากกายยังคงเป็น
ความจริงที่ปรากฏชัดจากการปฏิบัติของพระศาสนจักร ซึ่งอธิษฐานภาวนาต่อวิญญาณของบรรดาผู้
ศักดิ์สิทธิ์
จากความคิดดังกล่าว ปรากฏชัดว่า วิญญาณที่แยกออกจากกาย เป็นภาวะที่มีอยู่จริงแม้ไม่
สมบูรณ์ในแง่หนึ่ง และมีความสำนึกในอีกแง่หนึ่ง ยิ่งกว่านั้น ตามคำนิยามของสมเด็จพระสันตะปาปา

61
S. Thomae, Supra prima epistolam ad Corinthios c.15, lectio 2, n. 924. S. นักบุญโทมัสเขียนไว้ว่า
“เป็นความจริงที่ชัดเจนอยู่ว่า วิญญาณร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับกายโดยธรรมชาติ และแยกออกจากกายอย่างผิด
ธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นโดยบังเอิญ เพราะฉะนั้น วิญญาณที่คงอยู่ปราศจากกายอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าวิญญาณ
คงอยูป่ ราศจากกายตลอดไปก็หมายความว่า สภาพโดยธรรมชาติและโดยตัวเองจะจำกัดอยูจ่ นไม่เป็นอะไรเลย ส่วน
สภาพผิดธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นโดยบังเอิญจะไม่มีขอบเขต ซึ่งเป็นไปไม่ได้”
62
“วิญญาณโดยธรรมชาติมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะปกครองกาย... ความปรารถนาที่จะปกครองกายจะ
ไม่ได้รับการตอบสนอง จนกว่าวิญญาณจะร่วมกับกายแล้ว” St. Augustine, De Genesi ad litteram 12,35.
63
สมณกระทรวงพระสัจธรรม, Letter Recentiores episcoporum Synodi, 3.

333
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

เบเนดิ๊กต์ ที่ 12 วิญญาณของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ชำระตนให้บริสุทธิ์อย่างบริบูรณ์แล้ว “ทันทีหลัง


ความตาย” และ “ก่อนที่กายของเขาจะกลับคืนชีพ” คือขณะที่วิญญาณยังแยกออกจากกาย ก็มี
ความสุขอย่างเต็มเปี่ยมในการเห็นพระเจ้าอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนโดยตรง64 ความสุขนี้สมบูรณ์ในตัว
และไม่มสี ง่ิ ใดจะเปรียบได้ การทีก่ ายจะเปลีย่ นเป็นสภาพทีร่ งุ่ เรืองเมือ่ กลับคืนชีพ ก็เป็นผลต่อร่างกาย
ของการเห็นพระเจ้าเช่นนี้ นักบุญเปาโลจึงกล่าวถึง “ร่างกายที่มีพระจิตเจ้าเป็นชีวิต” (เทียบ 1 คร
15:44) คือ ร่างกายที่ละม้ายคล้ายกับจิตวิญญาณที่รุ่งเรือง เพราะได้รับอิทธิพลของพระจิตเจ้า
ไม่เป็นเพียง “กายตามธรรมชาติ” ที่มีวิญญาณที่เป็นหลักชีวิตเท่านั้น
ถ้าเราเปรียบเทียบการกลับคืนชีพในวันสุดท้ายกับความสุขของวิญญาณส่วนตัว จะเห็นได้ว่า
การกลับคืนชีพจะเป็นการรวมลักษณะส่วนรวมของพระศาสนจักรอีกด้วย เพราะเวลานั้นบรรดาพี่น้อง
ทุกคนทั้งชายหญิงที่เป็นของพระคริสตเจ้าจะบรรลุถึงความสมบูรณ์ (เทียบ วว 6:11) แล้วสิ่งสร้างทั้ง
มวลจะถูกปราบอยู่ใต้อำนาจของพระคริสตเจ้า (เทียบ 1 คร 15:27–28) และ “สรรพสิ่งจะได้รับการ
ปลดปล่อยจากการเป็นทาสของความเสื่อมสลาย” (รม 8:21)

64
พระธรรมนูญของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิ๊ก ที่ 12 Benedictus Deus (Denz.-Schoenm. 1000).

334
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 6
ความตายของคริสตชน

1. แนวความคิดทางมานุษยวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์ของคริสตชน ช่วยเราให้เข้าใจความหมาย
ของความตายอย่างเฉพาะเจาะจง มานุษยวิทยาของคริสตชนไม่ได้สอนว่า ร่างกายมนุษย์เป็นคุกที ่
จองจำวิญญาณ ซึ่งปรารถนาที่จะหนี ให้พ้น หรือกายเป็นเพียงเครื่องนุ่งห่มที่วิญญาณถอดออกได้
อย่างง่ายดาย แต่มานุษยวิทยาของคริสตชนมองธรรมชาติความตายของมนุษย์ว่า เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่
พึงปรารถนาหรือเป็นเหตุการณ์ที่ยอมรับด้วยใจสงบไม่ได้ เพราะเขาต้องชนะความน่ารังเกียจและ
ความหวาดกลัวที่มาจากธรรมชาติเสียก่อน การที่มนุษย์มีความรังเกียจและหวาดกลัวตามธรรมชาติ
เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความตาย ไม่ใช่เรื่องที่น่าอับอาย เมื่อพระเยซูเจ้าทรงคิดถึงเหตุการณ์ซึ่งจะ
ต้องทรงเผชิญกับความตาย พระองค์ทรงยอมรับว่ามีความทุกข์ใจเช่นกัน นักบุญเปาโลยอมรับว่า
เขาเคยมีความรู้สึกรังเกียจเช่นนี้ ดังที่เขียนไว้ว่า “โดยแท้จริงแล้ว ขณะที่เรายังอยู่ในร่างกายนี้ เรา
กำลังคร่ำครวญเพราะต้องแบกภาระหนัก เราไม่ปรารถนาจะถูกปลดเปลื้องจากร่างกายปัจจุบันนี้”
(2 คร 5:4) ความตายทำให้มนุษย์ต้องแยกออกจากตัวของตน ความเป็นบุคคลของมนุษย์จึงไม่อยู่
เพียงในจิตวิญญาณเท่านั้น แต่อยู่ทั้งในวิญญาณและในร่างกายซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยธรรมชาติ
แต่ความตายทำลายความเป็นบุคคลเช่นนี้
ความตายดูเหมือนเป็นเรื่องที่ขัดแย้งในตัวเอง ซึ่งก็เป็นเป็นเช่นนั้นจริงและจะชัดเจนมากขึ้น
ถ้าเราพิจารณาว่าการทีค่ วามตายเข้ามาในประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์นน้ั ขัดกับพระประสงค์ของพระเจ้า
(เทียบ ปชญ 1:13 -14, 2:23 -24) เพราะว่า “มนุษย์คงจะได้พ้นจากความตายฝ่ายกาย ถ้าเขาไม่
ทำบาป”65 คริสตชนจึงต้องยอมรับความตายโดยมีจิตสำนึกว่าเป็นการใช้โทษบาปวิธีหนึ่ง คริสตชน
ควรระลึกถึงถ้อยคำของนักบุญเปาโลอยู่เสมอว่า “ค่าตอบแทนที่ได้จากบาปคือความตาย” (รม 6:23)

65
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 18

335
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่คริสตชนต้องรับความทุกข์ใจเมื่อบุคคลที่เขารักตายไป ”พระ-


เยซูเจ้าทรงกรรแสง” (ยน 11:35) เมื่อทรงเห็นว่าลาซารัสเพื่อนของพระองค์ตายแล้ว เราก็เช่นกัน
เราสามารถร้องไห้และต้องร้องไห้เมื่อเพื่อนของเราตาย

2. ท่าทีของมนุษย์ที่ประสบความน่ารังเกียจเมื่อต้องเผชิญกับความตาย และความเป็นไปได้
ที่เขาจะมีชัยชนะเหนือความน่ารังเกียจนี้ ทำให้มนุษย์มีท่าทีต่อความตายแตกต่างจากท่าทีของสัตว์
ทุกชนิดโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ ความตายจึงเปิดโอกาสให้มนุษย์สามารถแสดงตนและต้องแสดงตน
เป็นมนุษย์ ยิง่ กว่านัน้ คริสตชนอาจมีชยั ชนะเหนือความกลัวทีจ่ ะต้องตายได้ เพราะเขามีแรงจูงใจต่าง ๆ
ความเชื่อและความหวัง ก่อให้เกิดแนวคิดเรื่องความตายอีกแง่หนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงยอม
เผชิญหน้ากับความกลัวตายตามแสงสว่างที่มาจากพระประสงค์ของพระบิดาเจ้า พระองค์ทูลว่า
“อับบา พระบิดาเจ้าข้า พระองค์ทรงทำทุกสิ่งได้ โปรดทรงเอาถ้วยนี้ไปจากข้าพเจ้าเถิด อย่าให้เป็น
ไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์เถิด” (มก 14:36) พระองค์ทรงยอมรับ
ความตาย “เพื่อทรงปลดปล่อยผู้ตกเป็นทาสอยู่ตลอดชีวิตเพราะความกลัวตายให้เป็นอิสระได้” (ฮบ
2:15) ด้วยเหตุนี้เอง นักบุญเปาโลจึงปรารถนาที่จะพ้นจากชีวิตนี้ไปเพื่ออยู่กับพระคริสตเจ้า ท่าน
ไตร่ตรองว่าหลังความตายเราจะมีความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพ
ชีวิตในโลกนี้ก็ “จะเป็นการดีกว่ามาก” (เทียบ ฟบ 1:23) ผลประโยชน์ของการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้คือ
“เรามีชีวิตอยู่ในร่างกาย” และดังนี้เราจึงมีความเป็นอยู่อย่างแท้จริง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับความสนิท
สัมพันธ์อย่างเต็มเปี่ยมกับพระคริสตเจ้าหลังความตาย ก็เท่ากับว่า ”เราถูกเนรเทศห่างจากองค์พระ-
ผู้เป็นเจ้า” (เทียบ 2 คร 5:6) แม้ความตายทำให้เราต้องออกจากร่างกายที่เรามีอยู่ในเวลานี้ และ
ความเป็นอยู่ของเราจะไม่เต็มเปี่ยมแต่เราก็ยอมรับความตายด้วยใจสงบ ยิ่งกว่านั้น เมื่อความตาย
มาถึงเราอาจปรารถนาที่จะ “ไปอยู่กับองค์พระผู้เป็นเจ้า” (2 คร 5:8) พระจิตเจ้าทรงดลใจเราให้ม ี
ความปรารถนาเช่นนี้

336
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ความคิดทีว่ า่ ความปรารถนาทีจ่ ะมีความสนิทสัมพันธ์กบั พระคริสตเจ้าหลังจากทีเ่ ราตายแล้ว


อยูใ่ นใจรวมกับความกลัวตายทีม่ อี ยูต่ ามธรรมชาติ เราพบความคิดนีอ้ ยูเ่ สมอในธรรมประเพณีชวี ติ จิต
ของพระศาสนจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำสอนของบรรดานักบุญ แต่เราต้องทำความเข้าใจถึง
ความหมายที่แท้จริง เมื่อความปรารถนานี้แรงกล้ามากขึ้น เราก็จะสรรเสริญพระเจ้าสำหรับความ
ตาย คำสรรเสริญนี้ ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานคุณค่าของสภาพวิญญาณที่ปราศจากกาย แต่ตั้งอยู่บน
พื้นฐานความหวังที่จะได้พระเจ้าเป็นกรรมสิทธิ์หลังความตาย66 คริสตชนจึงตระหนักว่า ความตายเป็น
ประตูที่นำเราเข้าสู่ความสนิทสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า แต่ไม่ใช่เป็นการปลดปล่อยวิญญาณให้เป็น
อิสระจากร่างกายซึ่งถ่วงวิญญาณไว้
ธรรมประเพณีของศาสนาทางตะวันออกมักจะมีความคิดว่า ความตายเป็นสิ่งที่ดีเพราะเป็น
เงื่อนไขและหนทางที่นำเราไปสู่การกลับคืนชีพในอนาคต “เพราะฉะนั้น ถ้าปราศจากการกลับคืนชีพ
ก็เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะบรรลุถึงสภาพที่ดีกว่า และการกลับคืนชีพก็จะเกิดขึ้นไม่ได้หากเราไม่ตาย
เสียก่อน ความตายจึงเป็นสิ่งที่ดี เพราะความตายเป็นจุดเริ่มต้นและหนทางของการเปลี่ยนแปลงที่
นำเราไปสู่สภาพที่ดีกว่า”67 พระคริสตเจ้าผู้สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพทรงบันดาลให้
ความตายเป็นสิ่งที่ดี “พระเจ้าทรงก้มลงเหนือศพของเรา ทรงประคองผู้ที่นอนอยู่ ทรงเข้าใกล้ความ
ตายจนกระทั่งทรงรับสภาพที่เป็นศพ และอาศัยพระวรกาย พระองค์ทรงมอบหลักการกลับคืนชีพแก่
ธรรมชาติมนุษย์”68 ในแง่นี้ พระคริสตเจ้า “ทรงเปลี่ยนทิศตะวันตกให้เป็นทิศตะวันออก”69

66
Cf. Canticum fratis Solis, 12-13, in Opuscula Sancti Patris Francisci Assiniensis, ed. C. Esser (Grot-
taferrata 1978)
67
St. Gregory of Nyssa, Oratio Consolatoria in Pulcheriam, ed. A. Spira, in Gregorii Nysseni opera,
472.
68
St. Gregory of Nyssa, Oratio catechetica magna 32, ed. J.H.Srawley, Cambridge 1903, 116.
69
St. Clement of Alexandria, Protrepticus, 11 (GCS 12, 80).

337
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

คริสตชนต้องยอมรับความทุกข์และความเจ็บป่วย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความตายในความ
หมายใหม่ เราต้องทนรับความทุกข์และความเจ็บปวดด้วยความยากลำบากอยู่แล้ว แต่เราต้องทน
มากยิ่งขึ้นอีกเมื่อคำนึงว่า ความทุกข์และความเจ็บปวดนั้นเป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าร่างกายของเรา
กำลังเสื่อมสลายทีละเล็กทีละน้อย70 อันที่จริงแล้ว เมื่อเรายอมรับความทุกข์และความเจ็บป่วย ซึ่ง
พระเจ้าทรงอนุญาตให้เกิดขึ้น เราก็จะมีส่วนร่วมในพระทรมานของพระคริสตเจ้า และโดยอาศัยการ
ถวายตนแด่พระเจ้า เราก็เป็นหนึ่งเดียวกับการกระทำของพระคริสตเจ้าผู้ทรงถวายพระชนมชีพแด่
พระบิดาเจ้าเพื่อความรอดพ้นของโลก
เราต้องยืนยันเช่นเดียวกับนักบุญเปาโลว่า “ข้าพเจ้ายินดีที่ได้รบั ทุกข์ทรมานเพือ่ ท่านทัง้ หลาย
ความทรมานของพระคริสตเจ้ายังขาดสิ่งใด ข้าพเจ้าก็เสริมให้สมบูรณ์ด้วยการทรมานในกายของ
ข้าพเจ้า เพื่อพระกายของพระองค์ คือพระศาสนจักร“ (คส 1:24) ถ้าเรามีส่วนร่วมในพระทรมาน
ของพระคริสตเจ้า เราก็จะได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ นั่นคือ “เรา
แบกความตายของพระเยซูเจ้าไว้ในร่างกายของเราอยู่เสมอ เพื่อว่าชีวิตของพระเยซูเจ้าจะปรากฏอยู่
ในร่างกายของเราด้วย“ (2 คร 4:10)71
เช่นเดียวกัน เมื่อพี่น้องของเราตาย เราไม่ต้องโศกเศร้า “เหมือนคนอื่นที่ไม่มีความหวัง“
(1 ธส 4:13) ผู้ไม่มีความหวัง “มักจะร้องไห้น้ำตานองหน้าและคร่ำครวญ...สงสารผู้ตายที่เคราะห์
ร้ายและต้องสูญสลายเกือบทั้งหมด” แต่เราได้รับการบรรเทาใจจากความคิดของนักบุญออกัสตินมี
เมื่อเขาต้องประสบกับความตายของนักบุญมอนิกา ผู้เป็นมารดาว่า “ความตายของแม่ไม่ใช่เรื่อง
เคราะห์ร้ายและไม่เป็นความเสื่อมสลายอย่างสิ้นเชิงเลย”72


70
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 18
71
Cf. John Paul II, Apostolic Letter Salvifici doloris in AAS 76 (1984) 201-250
72
St. Augustine, Confessiones 9, 12, 29 (CCL 27, 150)

338
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

3. การมองความตายในเชิงบวกเช่นนี้ เป็นเพียงความเข้าใจที่มาจากคำสอนในพระคัมภีร ์
ภาคพันธสัญญาใหม่เท่านั้น พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เรียกความตายของคริสตชนว่าเป็นการ
ตายในองค์พระผู้เป็นเจ้า “บรรดาผู้ตายที่สิ้นใจในองค์พระผู้เป็นเจ้า ย่อมเป็นสุขตั้งแต่บัดนี้” (วว
14:13) ความตายในองค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา เพราะจะนำเราไปสู่ความสุขแท้จริงและ
เตรียมเราไว้สำหรับชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ “พระจิตเจ้าตรัสว่า ‘ถูกแล้ว เขาจะได้พักผ่อนจากความเหน็ด
เหนื่อย เพราะผลงานของเขาติดตามเขาไป’” (วว 14:13) ชีวิตในโลกนี้จึงมุ่งไปสู่ความสนิทสัมพันธ์
กับพระคริสตเจ้า ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังความตาย มนุษย์จะมีความสนิทสัมพันธ์นี้ได้ เมื่อวิญญาณของ
เขาอยูใ่ นสภาพทีแ่ ยกออกจากกาย73 แม้ในเวลานัน้ มนุษย์ยงั ไม่บริบรู ณ์และมีความเป็นอยูต่ ามธรรมชาติ
ที่ ไม่สมบูรณ์ ความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า จึงมีคุณค่ามากกว่าความเป็นอยู่ที่
สมบูรณ์ตามธรรมชาติ ดังนั้น เราต้องคิดว่าชีวิตบนโลกนี้ ไม่ใช่สิ่งมีค่าสูงสุด นักบุญหลายองค์จึง
ปรารถนาที่จะตายเพื่ออยู่กับพระเจ้า ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
พระเจ้าประทานพระหรรษทานแก่เรา เพือ่ ทรงเรียกและช่วยเหลือเราให้ดำเนินชีวติ ทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ ์
ซึ่งทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างบาปกับความตายตั้งแต่แรกเริ่มเกือบขาดสะบั้นไป ทั้งนี้ เพราะความ
ตายฝ่ายกายถูกลบล้าง แต่เพราะว่าความตายของผู้ดำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ นำไปสู่ชีวิตนิรันดร การ
ตายแบบใหม่เป็นการมีสว่ นร่วมในธรรมล้ำลึกปัสกาของพระคริสตเจ้า ศีลศักดิส์ ทิ ธิเ์ ตรียมเราไว้สำหรับ
ความตาย ศีลล้างบาปทำให้เราตายต่อบาปอย่างเร้นลับ และเรารับการเจิมเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์โดยการ
มีส่วนร่วมในการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า “ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่า เราทุกคนที่ได้รับ
ศีลล้างบาปเดชะพระคริสตเยซู ก็ได้รับศีลล้างบาปเข้าร่วมกับการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ด้วย
ดังนั้น เราถูกฝังไว้ในความตายพร้อมกับพระองค์อาศัยศีลล้างบาป เพื่อว่าพระคริสตเจ้าทรงกลับคืน
พระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายเดชะพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาฉันใด เราก็จะดำเนินชีวิตแบบใหม่ด้วย
ฉันนั้น ถ้าเรารวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในการสิ้นพระชนม์ เราก็จะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์

73
สังฆธรรมนูญ Benedictus Deus in DS 1000.

339
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ในการกลับคืนพระชนมชีพด้วยเช่นกัน เรารู้ว่า สภาพเดิมของความเป็นมนุษย์ของเราถูกตรึงกางเขน


ไว้กับพระองค์แล้ว เพื่อว่าร่างกายที่ใช้ทำบาปของเราจะถูกทำลาย และเราจะไม่เป็นทาสของบาป
อีกต่อไป เพราะคนที่ตายแล้ว ก็ย่อมพ้นจากบาป” (รม 6:3-7) คริสตชนที่รับศีลมหาสนิท ซึ่งเป็น
“โอสถรักษาชีวิตอมตะ”74 ก็ได้รับหลักประกันว่าจะมีส่วนร่วมในการกลับคืนพระชนมชีพของพระ-
คริสตเจ้า
สำนวนที่ว่า “ความตายในองค์พระผู้เป็นเจ้า” ยังสื่อความหมายอีกว่า มนุษย์อาจจะเลือก
ความตายอีกวิธีหนึ่งได้ คือ ความตายที่ปราศจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ความตายนี้นำไปสู่ความตาย
ครั้งที่สอง คือ ความพินาศ “ทุกคนถูกพิพากษาตามกิจการของตน ความตายและแดนผู้ตายถูกโยน
ลงไปในทะเลไฟ ทะเลไฟนี้คือ ความตายครั้งที่สอง” (วว 20:14) “บาปเข้ามาในโลกเพราะมนุษย์
คนเดียว และความตายเข้ามาเพราะบาปฉันใด ความตายก็แพร่กระจายไปถึงมนุษย์ทุกคน เพราะ
ทุกคนทำบาปฉันนั้น” (รม 5:12) พละกำลังของบาปสามารถแยกมนุษย์ออกจากพระเจ้ามากที่สุดใน
ความตายครั้งที่สองนี้

4. ธรรมประเพณีของคริสตชนในการฝังศพบรรดาผู้ตาย ก็เริ่มปฏิบัติในเวลาต่อมา เพราะ


ได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเรื่องการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย คำว่า “ป่าช้าหรือสุสาน” ที่คริสตชน
นำมาใช้แสดงความเชื่อเรื่องการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย คำภาษากรีก Koimeterion (cemetery
ในภาษาอังกฤษ) แปลตามตัวอักษรว่า “สถานที่นอนหลับ” และคริสตชนที่พูดภาษาลาตินยังใช้คำว่า
depositum (deposit ในภาษาอังกฤษ) ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ฝากไว้ในที่ปลอดภัย” หมายถึงสิทธิของ
พระคริสตเจ้าที่จะรับร่างกายของคริสตชนคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ ตรงกันข้ามกับ “การให้เป็นของ
กำนัล” donation (donatio ในภาษาลาติน) การที่คริสตชนต้องเอาใจใส่ดูแลเก็บศพไว้ถือว่าเป็น
“หน้าที่ทางมนุษยสัมพันธ์” แม้แต่ ”ผู้ที่ ไม่มีความเชื่อในการกลับคืนชีพของร่างกายก็ยังทำเช่นนี้”

74
St. Ignatius of Antioch, Ad Ephesios 20, 2 (Funk 1, 230)

340
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

คริสตชนก็จะต้องปฏิบัติมากยิ่งกว่านั้นอีก เพราะเขาเชื่อว่าต้องปฏิบัติหน้าที่นี้ไม่ใช่ต่อร่างกายที่ตาย
แล้ว แต่ต่อร่างกายที่จะต้องกลับคืนชีพและจะมีชีวิตตลอดไป การกระทำเช่นนี้ยังเป็นพยานถึงความ
เชื่อนี้อีกวิธีหนึ่งด้วย”75
คริสตชนถูกห้ามไม่ให้เผาศพมาเป็นเวลานานมาก76 เพราะในสมัยก่อนคิดว่า การเผาศพผูกพัน
กับแนวความคิดของลัทธิเพลโตใหม่ ซึ่งสนับสนุนการเผาศพเพื่อทำลายร่างกายโดยสิ้นเชิง ทำให้
วิญญาณเป็นอิสระพ้นจากร่างกายที่จองจำไว้77 ในสมัยหลังๆ นี้การเผาศพแสดงท่าทีของผู้ที่ถือลัทธิ
สสารนิยมหรือลัทธิอไญยนิยม ปัจจุบันพระศาสนจักรอนุญาตให้เผาศพ “เว้นแต่ในกรณีที่ผู้เลือก
เผาศพมีเหตุผลที่ขัดแย้งกับคำสอนคริสตชน”78 เราต้องระมัดระวังมิให้ประเพณีการเผาศพที่แผ่ขยาย
กว้างขวางในสมัยนี้ แม้ในหมู่ของชาวคาทอลิก บิดเบือนความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการกลับคืนชีพ
ของร่างกายมนุษย์

75
St Augustine, De Cura pro mortuis gerenda 18, 22 (CSEL 41, 658-659)
76
Cf. Holy Office, Decretum, 15 December 1886, in DS 3195-3196.
77
Cf. F. Cumont, Lux perpetua (Paris 1949), 290.
78
ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร 1176 วรรค 3

341
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 7
สมาชิกทุกคนในพระศาสนจักรมี “ความสนิทสัมพันธ์ทางชีวิต”79 กับพระคริสตเจ้า

1. สภาสังคายนาวาติกนั ที่ 2 มีทรรศนะทางเทววิทยาเรือ่ งพระศาสนจักรอย่างเป็นเอกลักษณ์


ที่เน้นความสนิทสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวในทุกระดับ คือสอนว่า การที่บรรดาพี่น้องมีความสัมพันธ์เป็น
หนึ่งเดียวในพระคริสตเจ้าซึ่งเรียกกันว่า “สหพันธ์นักบุญ” เป็นเอกภาพในความรัก ซึ่งความตายก็ตัด
ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้ “แต่ตามความเชื่อที่พระศาสนจักรยึดมั่นอยู่เสมอ ทำให้ความสัมพันธ์นั้นกลับ
แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้วยการมีส่วนร่วมกันทางทรัพยากรฝ่ายจิต80 และทำให้ความเชื่อช่วยให้คริสตชนที ่
ดำเนินชีวิตบนแผ่นดินนี้ร่วมชิดสนิทกับพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว”81 ความสนิทสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นโดยอาศัย
การอธิษฐานภาวนาในรูปแบบต่างๆ
ประเด็นสำคัญจากหนังสือวิวรณ์ของนักบุญยอห์นเล่าถึงพิธีกรรมของชาวสวรรค์ว่า เมื่อเรา
ประกอบพิธีกรรมบนแผ่นดิน วิญญาณของบรรดาชาวสวรรค์ก็เข้าร่วมพิธีกรรมนี้ด้วย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ”เมื่อเราประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ เรารวมเป็นหนึ่งเดียวอย่างแน่นแฟ้นมากที่สุดกับ
คารวกิจของพระศาสนจักรในสวรรค์ เราสื่อสัมพันธ์กับคารวกิจนี้ และระลึกถึงพระนางมารีย์พรหม-
จารี ผู้ทรงศรี รวมทั้งนักบุญยอแซฟ บรรดาอัครสาวก บรรดามรณสักขี และนักบุญทั้งหลาย“82
โดยแท้จริงแล้ว เมื่อเราประกอบพิธีกรรมในแผ่นดิน เราแสดงเจตนาที่จะเข้าร่วมพิธีกรรมบนสวรรค์
เช่น ในพิธบี ชู าขอบพระคุณตามจารีตโรมัน เจตนานีป้ รากฏชัดในบทนำขอบพระคุณทีว่ า่ “พระศาสน-
จักรทั่วโลกร่วมกันชื่นชมโสมนัสฉลองปัสกาทั่วหน้ากัน อีกทั้งทวยเทพเทวาก็พร้อมกันถวายพระ-

79
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 51
80
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 49
81
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 18
82
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 50

342
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

เกียรติสดุดีเป็นนิจกาล” และยังยังปรากฏชัดในบทขอบพระคุณที่ว่า “ข้าแต่พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ


ข้าพเจ้าทั้งหลายกราบวอนขอโปรดบัญชาให้ทูตสวรรค์นำเครื่องบูชาเหล่านี้ขึ้นถวายพระเดชานุภาพ
ณ แท่นบูชาในสวรรค์”
พิธีกรรมในสวรรค์นี้เป็นการสรรเสริญพระเจ้า ศูนย์กลางของพิธีกรรม คือ ลูกแกะของ
พระเจ้า ซึ่ง ”ทรงยืนอยู่ประหนึ่งถูกประหารแล้ว” (วว 5:6) คือ “พระคริสตเยซูสิ้นพระชนม์ทั้งยัง
ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ประทับอยู่เบื้องขวาของพระเจ้า ทรงวอนขอแทนเราอีกด้วย” (รม 8:34)
“พระเยซูเจ้าจึงทรงช่วยคนทั้งปวง ซึ่งเข้ามาหาพระเจ้าโดยทางพระองค์ ให้ได้รับความรอดพ้นได้
อย่างดียิ่ง เพราะพระองค์ทรงพระชนม์อยู่เป็นนิจ เพื่อทูลขอพระกรุณาให้คนเหล่านั้น” (ฮบ 7:25)
เมื่อวิญญาณของชาวสวรรค์มีส่วนร่วมในพิธีกรรม วอนขอพระเจ้าแทนผู้ที่ยังอยู่ในโลกการ
อธิษฐานภาวนาวอนขอนี้ แสดงว่า ชาวสวรรค์เอาใจใส่ดูแลเราและชีวิตของเราซึ่งเปรียบกับการเดิน
ทางจาริกแสวงบุญ “เพราะเขาเหล่านั้นวอนขอพระพรเพื่อเรา และช่วยเหลือความอ่อนแอของเรา
อย่างมากด้วยความเป็นห่วงฉันท์พี่น้อง”83 เมื่อเราคำนึงถึงการเป็นหนึ่งเดียวกันของพิธีกรรมในสวรรค์
และบนแผ่นดินเช่นนี้ เราก็สำนึกว่าชาวสวรรค์อธิษฐานภาวนาเพื่อเรา “ดังนั้นเป็นการสมควรอย่างยิ่ง
ที่ชาวเราจะรักผู้เป็นทั้งสหายและทายาทของพระคริสตเจ้าเหล่านี้ ซึ่งยังเป็นทั้งพี่น้องและผู้มีพระคุณ
ต่อเราเป็นอย่างยิ่ง เราจึงต้องขอบพระคุณพระเจ้าสำหรับเขา”84
พระศาสนจักรยังเตือนเราให้มงุ่ มัน่ “วอนขอความช่วยเหลือจากชาวสวรรค์ทงั้ หลาย และขอ
ให้เขาอธิษฐานภาวนาเพื่อเรา พึ่งพาอาศัยอำนาจและความช่วยเหลือของเขา เพื่อเราจะได้รับพระพร
จากพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ผู้ทรงเป็นพระผู ้
ไถ่และผู้ช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นแต่พระองค์เดียว”85 การวอนขอต่อบรรดานักบุญเช่นนี้เป็นการกระทำที ่
83
Paul VI, Confessio Fidei, 29, in AAS 60 (1968) 444.
84
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 50
85
สภาสังคายนาเมืองเตรนต์ Sess.25 Decretum de invocatione […] Sanctorum in DS 1821; สภาสังคายนา-
วาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 50

343
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ผูม้ คี วามเชือ่ มอบความไว้ใจในความรักของบรรดานักบุญ พระเจ้าทรงเป็นบ่อเกิดของความรักทัง้ หมด


ที่แผ่ขยายสู่มนุษย์ทุกคน ความหวังนี้ไม่ทำให้เราผิดหวัง “เพราะพระจิตเจ้าซึ่งพระเจ้าประทานให้เรา
ได้หลั่งความรักของพระเจ้าลงในดวงใจของเรา” (รม 5:5) คำวอนขอความช่วยเหลือจากบรรดา
นักบุญ จึงเป็นการยอมรับว่า พระเจ้าทรงเป็นบ่อเกิดสูงสุดของความรักของบรรดานักบุญ และคำ
วอนขอต่างๆ มุ่งไปยังพระเจ้า ผู้ทรงเป็นจุดหมายสุดท้าย

2. ความคิดเรื่องการทรงเจ้าเข้าผี (evoking of spirits) เป็นความคิดที่แตกต่างกับความคิด
เรื่องการวอนขอความช่วยเหลือจากวิญญาณของบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ (invocation) สภาสังคายนา-
วาติกันที่ 2 เชิญชวนให้เราวอนขอวิญญาณของบรรดาชาวสวรรค์ และเตือนให้ระลึกถึงเอกสาร
สำคัญที่อำนาจสั่งสอนของพระศาสนจักรประกาศใช้ “เพื่อต่อต้านการทรงเจ้าเข้าผีในทุกรูปแบบ”86
พระคัมภีร์ทั้งหมด แม้ภาคพันธสัญญาเดิม ก็ห้ามการปลุกผีเช่นนี้มาโดยตลอด เช่น “ท่านต้องไม่
เผาบุตรชายหรือบุตรหญิงของตนเป็นบูชายัญ ต้องไม่เป็นหมอดู ทำนายอนาคต ถือโชคลาง ทำ
เวทมนตร์คาถา ทำเสน่ห์ ใช้เครื่องรางของขลัง ทรงเจ้าเข้าผี เพราะผู้ที่กระทำเช่นนี้เป็นที่น่า
รังเกียจของพระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่านกำลังจะทรงขับไล่ชนชาติเหล่านี้ออกไป
ต่อหน้าท่านก็เพราะการกระทำน่ารังเกียจของเขา“ (ฉธบ 18:10-14) “ท่านจะต้องไม่ไปหาคนทรง
หรือไปปรึกษาหมอผี มิฉะนั้น เขาจะทำให้ท่านมีมลทิน เราคือพระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่าน”
(ลนต 19:31) “ผู้ใดไปหาคนทรงหรือไปปรึกษาหมอผี ละทิ้งพระยาห์เวห์ไปกราบไหว้พระอื่นผู้นั้น
เป็นผู้ขายตัวอย่างหญิงแพศยา เราจะเมินหน้าไปจากผู้นั้นและขับไล่เขาออกจากประชากรของเขา”
(ลนต 20:6) “ชายหรือหญิงคนใดในกลุ่มของท่านเป็นคนทรงหรือหมอผี จะต้องถูกประหารชีวิต
เขาจะต้องถูกหินทุ่มให้ตาย และรับผิดชอบต่อความตายของตน” (ลนต 20:27)

86 สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 49

344
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 เล่าเรื่องที่รู้จักกันดี คือ เรื่องกษัตริย์ซาอูลทรงปรึกษาหญิง


คนทรง เพื่อเรียกวิญญาณของประกาศกซามูแอล (1 ซมอ 28:3-25) พระคัมภีร์สอนว่า เพราะ
การกระทำเช่นนี้ทำให้พระเจ้าจึงทรงละทิ้งกษัตริย์ซาอูล และยังเป็นเหตุให้กษัตริย์ต้องสิ้นพระชนม์
”กษัตริย์จึงสิ้นพระชนม์ เพราะความไม่ซื่อสัตย์ต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าในเรื่องที่พระองค์ไม่ทรงฟังพระ-
วาจาของพระเจ้า และทรงปรึกษาคนทรง แสวงหาคำปรึกษาจากการทรงเจ้าเข้าผี ไม่ทรงแสวงหา
คำปรึกษาจากพระเจ้า พระเจ้าจึงทรงบันดาลให้กษัตริย์สิ้นพระชนม์ และทรงมอบราชอาณาจักรให้
แก่ดาวิด บุตรของเจสซี” (1 พศด 10:13-14)
บรรดาอัครสาวกยังรักษาข้อห้ามนี้ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ เขาปฏิเสธเวทมนตร์
คาถาทุกชนิด เช่น เรื่องของเอลีมัสผู้วิเศษ นักบุญเปาโลได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม จ้องหน้าเอลีมัส
และพูดว่า ”เจ้าลูกปีศาจ เจ้าเป็นศัตรูของความชอบธรรมทุกประการ เจ้ามีแต่เล่ห์กลและความหลอก
ลวงเต็มตัว เมื่อไรเจ้าจะเลิกบิดเบือนวิถีทางที่ถูกต้องขององค์พระผู้เป็นเจ้าเล่า บัดนี้ พระหัตถ์ของ
องค์พระผู้เป็นเจ้าลงโทษเจ้าแล้ว เจ้าจะตาบอด มองไม่เห็นแสงอาทิตย์ระยะหนึ่ง” (กจ 13:10-11)
เรื่องของนักบุญเปาโลที่เมืองฟิลิปปี ตามที่นักบุญลูกาเล่ามีอยู่ว่า “วันหนึ่ง ขณะที่เรากำลังเดินไปยัง
สถานที่อธิษฐานภาวนา ทาสหญิงคนหนึ่งมาพบเรา นางเป็นคนทรง ทำนายอนาคตได้ ทำให้นายของ
นางมีรายได้มากมายจากการทำนาย ทาสหญิงคนนี้ติดตามเปาโลและพวกเราพลางตะโกนว่า “คน
เหล่านี้เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าผู้สูงสุด กำลังประกาศหนทางแห่งความรอดพ้นให้ท่านทั้งหลาย” นาง
ทำเช่นนี้หลายวัน จนเปาโลรำคาญ จึงหันมาสั่งจิตที่เข้าทรงนั้นว่า “เดชะพระนามของพระเยซู-
คริสตเจ้า ข้าพเจ้าสั่งเจ้าให้ออกไปจากนาง” ทันใดนั้น จิตก็ออกไป” (กจ 16:16-18) และเรื่อง
ชาวยิวบางคนผู้มีอาชีพเดินทางขับไล่ปีศาจ เขาพยายามเรียกขานพระนามของพระเยซู แต่ปีศาจ
ทำร้ายเขาอย่างสาหัส “ผู้มีความเชื่อหลายคนมาสารภาพอย่างเปิดเผยถึงการกระทำชั่วร้ายที่ตนเคย
กระทำ หลายคนที่ใช้เวทมนตร์คาถานำหนังสือของตนมากองไว้แล้วเผาต่อหน้าทุกคน” (กจ 19:18-20)
คณะกรรมการด้านคำสอนของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้อธิบายความหมายของคำว่า
“evoking of spirits” การทรงเจ้าเข้าผีหมายถึง “วิธีการต่างๆ ของมนุษย์ที่พยายามติดต่อสิ่งที่ร่างกาย

345
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

สัมผัสได้กับจิตหรือวิญญาณที่แยกออกจากกาย เพื่อจะได้ข้อมูลและความช่วยเหลือต่างๆ”87 วิธีการ


เหล่านี้โดยทั่วไปเรียกว่า ลัทธิจิตนิยม (spiritism) การอธิบายของคณะกรรมการด้านคำสอนยังระบุ
ว่า บ่อยครั้ง “การทรงเจ้าเข้าผี” อ้างว่าเป็นวิธีที่จะได้ข้อมูลลึกลับที่รู้ไม่ได้ด้วยวิธีอื่นๆ แต่คริสตชน
จะรูค้ วามจริงทีล่ กึ ลับได้ เพียงอาศัยการเปิดเผยทีพ่ ระเจ้าประทานให้ ในอุปมาเรือ่ งเศรษฐีกบั ลาซารัส
พระเยซูเจ้าตรัสเล่าว่าเศรษฐีซึ่งกำลังถูกทรมานอยู่ในแดนผู้ตาย ขอให้อับราฮัมส่งลาซารัสไปยังบ้าน
บิดาของตน แต่อับราฮัมตอบว่า “พี่น้องของลูกมีโมเสสและบรรดาประกาศกอยู่แล้ว ให้เขาเชื่อฟัง
ท่านเหล่านั้นเถิด” (ลก 16 :29) ความอยากรู้อยากเห็นถึงสภาพความเป็นจริงของมนุษย์หลังความ
ตายเป็นสิ่งที่ ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นความอยากรู้อยากเห็นที่เกินจากความจริงที่พระเจ้าทรงเปิดเผย
คริสตชนจึงต้องขจัดความอยากรู้อยากเห็นนี้
ปัจจุบัน มีกลุ่มคริสตชนบางกลุ่มที่ปฏิเสธการวอนขอความช่วยเหลือจากชาวสวรรค์ดังที่
ชาวคาทอลิกปฏิบัติกัน เขาอ้างว่า พระคัมภีร์ห้ามการวอนขอต่อวิญญาณของชาวสวรรค์ เพราะคำ
วิงวอนนี้ขัดแย้งกับพระคัมภีร์ โดยแท้จริงแล้ว คริสตชนเหล่านี้ไม่รู้จักแยกแยะการวอนขอบรรดาชาว
สวรรค์กับการทรงเจ้าเข้าผี ดังนั้น เราควรเชิญชวนสัตบุรุษให้อธิษฐานภาวนาวอนขอบรรดาชาว
สวรรค์ต่อไป และเรายังต้องสอนเขาให้เข้าใจถึงธรรมชาติของการวอนขอความช่วยเหลืออย่าง
ถูกต้องด้วย เพื่อช่วยคริสตชนกลุ่มอื่นๆ ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง

3. สำหรับเรื่องวิญญาณของบรรดาผู้ตายที่ยังต้องการชำระให้บริสุทธิ์ “นับตั้งแต่แรกเริ่ม
ของคริสต์ศาสนาพระศาสนจักรของผู้ที่กำลังดำเนินชีวิตในโลกนี้ ได้อธิษฐานภาวนาและทำบุญ
อุทิศแก่พวกเขา”88 พระศาสนจักรเชื่อว่าวิญญาณที่กำลังชำระตนให้บริสุทธิ์ “จะได้รับความสดชื่น
จากคำภาวนาและการทำบุญของสัตบุรุษที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น จากการถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ การ

87
Chapter VII de Ecclesia, response to modus 35 in Acta Sinodalia 3/8, p. 144.
88
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 50

346
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

อธิษฐานภาวนา การให้ทาน และการกระทำกิจศรัทธาอื่นๆ ตามธรรมเนียมที่สัตบุรุษต้องถวายเพื่อ


สัตบุรุษคนอื่น ตามข้อกำหนดของพระศาสนจักร”89

4. กฎทั่วไปสำหรับมิสซาตามจารีตโรมัน ที่ประกาศใช้หลังการปฏิรูปพิธีกรรมตามคำสั่งของ
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 อธิบายความหมายความสนิทสัมพันธ์ของสมาชิกทุกคนในพระศาสนจักรไว้
อย่างชัดเจน ความสนิทสัมพันธ์ทห่ี ลากหลายนีบ้ รรลุถงึ วัตถุประสงค์ทส่ี งู สุด เมือ่ เข้าร่วมพิธบี ชู าขอบ-
พระคุณ การอธิษฐานภาวนาวอนขอต่างๆ ในมิสซา “แสดงว่าผู้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณมีความสนิท
สัมพันธ์กับพระศาสนจักรทั้งหมด ทั้งบนสวรรค์และในแผ่นดิน และยังแสดงว่า การถวายมิสซามีไว้
สำหรับสมาชิกทุกคนของพระศาสนจักร ทั้งผู้เป็นและผู้ตาย ซึ่งถูกเรียกให้มามีส่วนร่วมในการไถ่กู้
และความรอดพ้น ที่พระคริสตเจ้าทรงได้มาโดยพระวรกายและพระโลหิตของพระองค์”90

89
Council of Florence, Decretum pro graecis in DS 1304.
90
กฎทั่วไปสำหรับมิสซาตามจารีตโรมัน, Missale Romanum (editio typica 1970 ) , 55.

347
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 8
การชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์เพื่อจะพบพระคริสตเจ้าผู้ทรงพระสิริรุ่งโรจน์

1. พระศาสนจักรที่มีอำนาจสั่งสอนยืนยันอยู่เสมอว่า ทันทีหลังความตาย วิญญาณของ


บรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์จะได้ชมพระพักตร์ของพระเจ้าด้วยความสุขอย่างแท้จริง และมีความสนิทสัมพันธ์
กับพระคริสตเจ้าอย่างสมบูรณ์ พระศาสนจักรสันนิษฐานอยูเ่ สมอว่า วิญญาณทีก่ ล่าวมานีเ้ ป็นวิญญาณ
ที่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์แล้ว91 ดังนั้น ข้อความในเพลงสดุดีที่ว่า “ข้าแต่พระยาห์เวห์ ผู้ใดเล่า จะ
เข้าอาศัยในกระโจมของพระองค์ได้ ผู้ใดเล่าจะพำนักบนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ ผู้นั้นคือ ผู้ที่
ดำเนินชีวิตอย่างไม่มีที่ติ ปฏิบัติความชอบธรรม พูดความจริงจากใจของตน” (สดด 15:1-2) เพลง
สดุดีบทนี้กล่าวถึงเงื่อนไขการเข้าในพระวิหารศักดิ์สิทธิ์บนแผ่นดิน แต่ยังมีความหมายลึกซึ้งสำหรับผู้
มีชีวิตหลังความตายอีกด้วย ดังที่ ออริเจนอธิบายว่า ”กระโจมของพระองค์” หมายถึง พระวิหารใน
สวรรค์92 สิ่งใดที่เป็นมลทินจะเข้าชมพระพักตร์ของพระเจ้าไม่ได้เลย
ถ้อยคำเหล่านี้แสดงว่า มนุษย์ทั่วไปมีจิตสำนึกถึงความเป็นจริงพื้นฐานของเรื่องนี้ ดังที่ มี
หลักฐานในทุกศาสนาที่สอนว่า มนุษย์จำเป็นจะต้องรับการชำระให้บริสุทธิ์ไม่มากก็น้อยด้วยวิธีใดวิธี
หนึ่ง
พระศาสนจักรยืนยันว่า มลทินต่างๆ เป็นอุปสรรคสำหรับมนุษย์ที่จะพบกับพระเจ้าและกับ
พระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชิด ข้อยืนยันนี้หมายความว่า มีมลทินที่ทำให้มนุษย์แตกแยกและทำลาย
มิตรภาพกับพระเจ้า ถ้ามลทินนี้ยังคงติดอยู่เมื่อเขาตาย เขาจะไม่ได้พบกับพระเจ้าอีกตลอดไป (นี่คือ
บาปหนัก) และยังมีอีกมลทินหนึ่งที่ทำให้มิตรภาพดังกล่าวจืดจางลงและทำให้มนุษย์พบกับพระเจ้า

91
สังฆธรรมนูญ Benedictus Deus in DS 1000.
92
Origen, In Exodum homilia, 9, 2: SC 321, 282-286, คิดว่า “กระโจมของพระองค์” หมายถึงพระวิหารในสวรรค์
ส่วน St. Augustine, Enarrat. In Psalmum 14, I: CCL 38, 88 ไม่แน่ใจว่ามีความหมายนี้หรือไม่

348
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ไม่ได้ ถ้าเขาไม่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์เสียก่อน มลทินดังกล่าวนี้รวมทั้ง “สิ่งที่ยังเหลืออยู่ของบาป”


เรียกว่า “บาปประจำวัน” หรือ “บาปเบา”93 “สิ่งที่ยังเหลืออยู่ของบาป” อาจจะติดอยู่กับมนุษย์ที่ได้
รับการอภัยบาปกลับเป็นผู้ชอบธรรมแล้ว เขาจึงได้พ้นจากการถูกลงโทษนิรันดร94
ศีลเจิมคนไข้มจี ดุ ประสงค์ทจ่ี ะชำระ “สิง่ ทีย่ งั เหลืออยูข่ องบาป” ก่อนทีเ่ ขาจะตาย95 ซึง่ กระทำ
ได้โดยผู้ที่ละม้ายคล้ายกับพระคริสตเจ้าเท่านั้น ผู้ตายก็จะมีความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าได้ ดังที่
นักบุญเปาโลเขียนไว้ว่า “ผู้ที่พระองค์ทรงทราบล่วงหน้านั้น พระองค์ทรงกำหนดจะให้เป็นภาพลักษณ์
พระบุตรของพระองค์ด้วย เพื่อพระบุตรจะได้เป็นบุตรคนแรกในบรรดาพี่น้องจำนวนมาก” (รม 8:29)
เราทุกคนได้รับเชิญให้แสวงหาการชำระให้บริสุทธิ์ตั้งแต่ในโลกนี้ แม้ผู้ที่อาบน้ำแล้วก็จำเป็น
ต้องล้างเท้าอีก (เทียบ ยน 13:10) สำหรับผู้ที่ ไม่ได้ใช้โทษบาปเท่าที่ควรเมื่อเขามีชีวิตอยู่บน
แผ่นดินนี้ พระศาสนจักรเชื่อว่ามีสถานภาพการชำระให้บริสุทธิ์หลังความตายอีกด้วย96 นั่นคือ “การ
ชำระให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะได้ชมพระพักตร์พระเจ้า”97 การชำระเช่นนี้เกิดขึ้นหลังจากมนุษย์ตาย และ
ก่อนที่จะกลับคืนชีพในวันสุดท้าย สถานภาพนี้จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งในอนันตกาลที่เรียกว่า “อนันตกาล
ขั้นกลาง” (intermediate eschatology) คือ ขั้นกลางระหว่างอนันตกาลทันทีหลังความตายกับ
อนันตกาลสุดท้ายเมื่อมวลมนุษย์จะกลับคืนชีพ โดยแท้จริงแล้ว การชำระหลังความตายเป็นข้อพิสูจน์
ว่า จะต้องมีอนันตกาลขั้นกลาง

93
สำหรับความแตกต่างระหว่างบาปเบาและบาปหนัก ดู คณะกรรมการเทววิทยาระหว่างประเทศ De reconcili-
atione et paenitentia (C, III, in Documenta (1967-1985)ม 408-14).
94
สภาสังคายนาเมืองเตรนต์ Sess.6 Decretum de justificatione, canon 30: DS 1580.
95
สภาสังคายนาเมืองเตรนต์ Sess.14 Doctrina de Sacramento extremae unctionis, c.2: DS 1696.
96
สภาสังคายนาเมืองเตรนต์ Sess.6 Decretum de justificatione, canon 30: DS 1580. ดู สภาสังคายนาเมือง
ฟรอเรนซ์ Decretum pro graecis: DS 1304 อีกด้วย.
97
สมณกระทรวงพระสัจธรรม, Letter Recentiores episcoporum Synodi, 7: AAS 71 (1979) 942.

349
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

พระศาสนจักรแสดงความเชื่อเกี่ยวกับสถานภาพนี้เป็นนัยๆ อยู่แล้วในคำภาวนาอุทิศแด่
บรรดาผู้ตาย ตั้งแต่สมัยโบราณเราพบหลักฐานเป็นจำนวนมากในป่าช้าใต้ดิน98 (catacombs) ว่า
คริสตชนเคยอธิฐานภาวนาอุทิศแด่บรรดาผู้ตาย ขนบประเพณีนี้ มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ตอนที่ว่า
“ยูดาสให้ถวายเครื่องบูชาชดเชยบาปของคนตาย เพื่อเขาจะได้พ้นจากบาป” (2 มคบ 12:46)99 บท
ภาวนาดังกล่าวสันนิษฐานว่า บรรดาผู้ตายรับความช่วยเหลือจากคำอธิษฐานภาวนาของคริสตชนได้
เพื่อเขาจะได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 นักเทววิทยาเริ่มไตร่ตรองถึงสถานภาพนี้เพื่อ
อธิบายว่า คนบาปที่ได้คนื ดีกบั พระศาสนจักรแต่ยงั ไม่ได้ใช้โทษบาปอย่างสมบูรณ์กอ่ นทีเ่ ขาจะตายนัน้
ยังมีโอกาสที่จะชำระตนให้บริสุทธิ์หลังความตาย100
จำเป็นอย่างยิ่งที่คริสตชนต้องรักษาขนบประเพณี การสวดภาวนาอุทิศแด่บรรดาผู้ตาย
การปฏิ บั ติ เ ช่ น นี้ เ ป็ น การประกาศยื น ยั น ความเชื่ อ เกี่ ย วกั บ สถานภาพการชำระให้ บ ริ สุ ท ธิ์
ดังกล่าว นี่คือความหมายที่ต้องปรากฏชัดเจนในพิธีกรรมการปลงศพ คือ มนุษย์ที่ ได้รับความ
ชอบธรรมจากการอภัยบาปนั้นอาจจะต้องการชำระตนให้บริสุทธิ์มากกว่านั้น พิธีกรรมการปลงศพ
ตามจารี ต ของอาณาจั ก รโรมั น ภาคตะวั น ออกมี ต อนหนึ่ ง ที่ พ รรณนาถึ ง วิ ญ ญาณของผู้ ต ายว่ า
กำลังร้องวิงวอนพระเจ้าว่า “แม้ข้าพเจ้ามีบาดแผลเพราะบาป ข้าพเจ้ายังเป็นภาพลักษณ์ของพระสิริ-
รุ่งโรจน์ที่มิอาจบรรยายได้ของพระองค์”101

98
เทียบ Tertullian, De corona, 3, 3:CCL 2, 1043.
99
เทียบ สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 50.
100
เทียบ St. Cyprian, Epistula, 55, 20, 3: ed. L. Bayard, 2nd ed., vol. 2 (Paris 1961) 144.
101
Euloghitaria ในพิธีกรรมปลงศพก่อนอ่านพระวรสาร.

350
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

2. พระศาสนจักรเชื่อว่า มีสถานภาพการรับโทษตลอดไปสำหรับผู้ตายที่มีบาปหนักติดตัว102
เราจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดที่ว่า สถานภาพการชำระตนเพื่อพบกับพระเจ้าเหมือนกับ
สถานภาพการรับโทษตลอดไปของผู้พินาศ และคิดว่าความแตกต่างระหว่างสถานภาพทั้งสองนี้เป็น
เพียงเรื่องกาลเวลา คือ สถานภาพของผู้พินาศเป็นสภาพถาวรนิรันดร ส่วนสภาพของผู้ที่ชำระตน
ให้บริสุทธิ์เป็นสภาพเพียงชั่วคราว จริงๆ แล้วการชำระให้บริสุทธิ์หลังความตาย “เป็นสิ่งต่างกันกับ
สภาพของผู้พินาศโดยสิ้นเชิง”103 เพราะว่า สถานภาพของผู้ที่มีความรักเป็นศูนย์กลางจะเทียบกับ
สถานภาพของผู้ที่มีความเกลียดชังเป็นศูนย์กลางไม่ได้ ผู้ที่ ได้รับความชอบธรรมจากพระเจ้า โดย
อาศัยการอภัยบาปดำเนินชีวติ ในความรักของพระคริสตเจ้าได้ ความตายทำให้ผทู้ ี่ได้รบั ความชอบธรรม
มีจิตสำนึกถึงความรักนี้มากยิ่งขึ้น เมื่อผู้ที่มีความรักพบอุปสรรคทำให้เขาไม่สามารถครอบครอง
บุคคลที่เขารัก เขาก็มีความทุกข์ทรมาน ความทุกข์ทรมานนี้จะชำระเขาให้บริสุทธิ104 ์ นักบุญยอห์น
แห่งไม้กางเขนอธิบายว่า พระจิตเจ้าในฐานะที่ทรงเป็น “เปลวไฟแห่งความรักที่มีชีวิต” ทรงชำระ
วิญญาณของมนุษย์ให้บริสทุ ธิ์ เพือ่ เขาจะได้บรรลุความรักสมบูรณ์ของพระเจ้า ทัง้ เมือ่ มนุษย์ยงั มีชวี ติ
อยู่บนแผ่นดินนี้ และถ้าจำเป็น ในชีวิตหลังความตาย ดังนั้น นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขนคิดว่า
การชำระให้บริสุทธิ์ที่ท่านเรียกว่า “คืนมืดมิด” ซึ่งเป็นประสบการณ์ของมนุษย์บนแผ่นดินนี้ มีความ
ละม้ายคล้ายกับการชำระให้บริสุทธิ์ที่มนุษย์จะได้รับหลังความตาย ซึ่งเรียกกันว่า “ไฟชำระ”105 เรา
ต้องยอมรับว่า เป็นเวลาหลายศตวรรษที่พระศาสนจักรเคยละเลยในการสอนข้อความเชื่อข้อนี้อย่าง



102
เทียบ สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 48.
103
สมณกระทรวงพระสัจธรรม, Letter Recentiores episcoporum Synodi, 7: AAS 71 (1979) 942.
104
เทียบ St. Catherine of Genoa, Treatise on Purgatory.
105
เทียบ St. John of the Cross, The Living Cry of Love, 1, 24; The Dark Night, 2, 6, 6 and 2, 20, 5.

351
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ชัดเจนว่า สถานภาพการชำระให้บริสุทธิ์หลังความตายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจากสถานภาพของผู้
พินาศ การละเลยนี้ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ในการเสวนากับคริสตชนของพระศาสนจักรตะวันออก106

106
เมื่อพระศาสนจักรตะวันตกที่พูดภาษาลาตินพูดถึง “ไฟ” ในไฟชำระ คริสตชนของพระศาสนจักร
ตะวันออกที่พูดภาษากรีกคิดว่า คริสตชนตะวันตกถือทรรศนะของออริเจน ซึ่งคิดว่าการลงโทษทั้งใน
ไฟชำระและในนรกก็มีไว้เพื่อชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์เช่นเดียวกัน แต่สภาสังคายนาที่เมืองฟรอเรนซ์
(Decretum pro graecis: DS 1304) ได้อธิบายความแตกต่างกันระหว่างไฟชำระและนรกอย่าง
ถูกต้อง ในศตวรรษที่ 16 บรรดาผู้ปฏิรูปได้ปฏิเสธไม่ยอมรับความคิดเกี่ยวกับไฟชำระ เพราะเขาคิดว่า
ความชอบธรรมของมนุษย์มาจากภายนอกอาศัยความเชื่อ และปราศจากการเปลี่ยนแปลงในมนุษย์
เอง Apologia Confessionis Augustanae, 12; in Die Bekenntnisschriften der evangelisch-
lutherischen Kirche, p. 255. สภาสังคายนาเมืองเตรนท์ให้คำสอนที่เป็นทางการในเรื่องนี้ (Sess.6
Decretum de justificatione, canon 30: DS 1580).

352
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 9
มนุษย์แต่ละคนมีชีวิตครั้งเดียวและไม่เหมือนใคร ปัญหาเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด

1. คำว่า “การเวียนว่ายตายเกิด” หมายถึงคำสอนที่ถือว่า วิญญาณของมนุษย์จะรับเอากาย


อีกร่างหนึ่งหลังจากที่ตายไปแล้ว เหมือนกับว่าวิญญาณเข้าไปอยู่ในร่างกายใหม่ ความคิดนี้เกิดใน
ศาสนาอื่นที่ไม่รู้จักเรื่องพระคัมภีร์ของชาวยิวและชาวคริสต์ เพราะป็นความคิดที่ขัดแย้งกับคำสอน
ของพระคัมภีร์และธรรมประเพณีของพระศาสนจักรโดยสิ้นเชิง ความเชื่อและเทววิทยาของคริสตชน
ไม่ยอมรับคำสอนนี้มาตลอด107
สมัยนี้ คำสอนเรื่อง “การเวียนว่ายตายเกิด” แผ่ขยายทั่วไป แม้ในโลกตะวันตก รวมทั้งใน
หมู่คนที่เรียกตนเองว่าเป็นคริสตชน สื่อมวลชนจำนวนมากประกาศความคิดนี้ ยิ่งกว่านั้น ศาสนา
และปรัชญาตะวันออกที่สอนเรื่อง “การเวียนว่ายตายเกิด” มีอิทธิพลต่อชาวตะวันตกอย่างกว้างขวาง
มากยิ่งขึ้น และอิทธิพลดังกล่าวทำให้ชาวตะวันตกมีแนวความคิดแบบการผสมผสาน (syncretism)
มากยิ่งขึ้น สาเหตุที่ทำให้คนทั่วไปยอมรับความคิดเรื่อง “การเวียนว่ายตายเกิด” อย่างง่ายดาย ก็คือ
ปฏิกิริยาที่เกิดในมนุษย์ตามธรรมชาติและโดยสัญชาตญาณต่อลัทธิวัตถุนิยม ในสมัยนี้ คนหลายคน
มีมมุ มองว่า ชีวติ บนโลกนีด้ เู หมือนสัน้ เกินไปกว่าทีม่ นุษย์แต่ละคนจะพัฒนาศักยภาพของตนได้ทงั้ หมด
หรือสั้นเกินไปกว่าที่มนุษย์จะเอาชนะหรือแก้ไขความผิดพลาดต่างๆ ในชีวิตของตน
ความเชื่อคาทอลิกเสนอคำสอนที่โต้ตอบความคิดเช่นนี้อย่างเต็มที่ เป็นความจริงที่ว่า ชีวิต
ของมนุษย์สั้นเกินไปกว่าที่เขาจะเอาชนะหรือแก้ไขความผิดพลาดต่างๆ ที่เขาได้กระทำ แต่การชำระ
ให้บริสุทธิ์ในอนันตกาลจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ในทำนองเดียวกัน ชีวิตบนโลกนี้ดูเหมือนสั้นเกินไป
กว่าทีม่ นุษย์แต่ละคนจะพัฒนาศักยภาพของตนได้ทงั้ หมดในชีวติ เดียว แต่การกลับคืนชีพอย่างรุง่ โรจน์
ในวันสุดท้ายจะทำให้เขาบรรลุถึงสถานภาพที่ดีเกินกว่าสิ่งอื่นใดที่เขาปรารถนาได้

107
เทียบ L. Scheffczyk, Der Reinkarnationsgedanke in der altchristlichen Literatur (Muenchen 1985).

353
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

2. เราไม่สามารถอธิบายรายละเอียดทั้งหมดของแนวความคิดต่างๆ ที่สอนเรื่อง “การเวียน


ว่ายตายเกิด” อย่างเป็นระบบได้ในที่นี้ อย่างไรก็ตาม ในโลกตะวันตกปัจจุบันนี้ หลักใหญ่ของผู้ม ี
แนวโน้มยึดถือลัทธิ “การเวียนว่ายตายเกิด” สรุปได้เป็น 4 ประเด็น108 ดังนี้
• มีความเป็นอยู่ต่างๆ มากมายในโลก ความเป็นอยู่ในปัจจุบันของเรามิใช่
ความเป็นอยู่ทางร่างกายอันดับแรกหรืออันดับสุดท้ายของเรา เราเคยดำรง
ชีวิตอยู่ก่อนหน้านั้นมาแล้ว และจะมีชีวิตในร่างกายใหม่อีกครั้งแล้วครั้งเล่า
• มีกฎธรรมชาติที่ผลักดันทุกสิ่งให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องจนกว่าสิ่งนั้น
จะบรรลุถึงความสมบูรณ์ กฎนี้เองนำวิญญาณของเราสู่ชีวิตใหม่ครั้งแล้ว
ครั้งเล่า โดยไม่มีการถอยหลังกลับ ไม่มีการหยุดนิ่งอยู่ตลอดไป และเป็นไป
ไม่ได้ที่วิญญาณจะเข้าสู่สถานภาพถาวรเพื่อรับโทษตลอดไป ไม่ว่าจะเป็น
เวลาหลายศตวรรษหรือเพียงไม่กี่ศตวรรษก็ตาม ในที่สุด มนุษย์ทุกคนจะ
บรรลุถึงความสมบูรณ์ในจิตบริสุทธิ์ของตน (ปฏิเสธการมีนรก)
• มนุ ษ ย์ บ รรลุ ถึ ง เป้ า หมายที่ ส มบู ร ณ์ นี้ ด้ ว ยบุ ญ กุ ศ ลของตน ทุ ก ครั้ ง ที่
วิญญาณมีความเป็นอยู่ใหม่ และจะดำเนินต่อไปอย่างไรนั้นขึ้นการกระทำ
ของตน ความชั่วร้ายที่ ได้กระทำจะต้องชดเชยด้วยตนเอง จิตของตนจะ
รับทรมานในการเกิดใหม่ที่มีความทุกข์ยาก (ปฏิเสธการไถ่กู้)

108
ในวัฒนธรรมของชนชาติตะวันออกส่วนใหญ่ ทฤษฎีการเวียนว่ายตายเกิดเน้นความจำเป็นของมนุษย์ที่จะต้อง
ชำระตนให้บริสุทธิ์ และบางครั้งก็เน้นความจำเป็นที่จะต้องรับโทษ เพาะความผิดที่มนุษย์ได้กระทำในชีวิตก่อน ที่
เรียกว่าชาติที่แล้ว แต่ชาวตะวันตกไม่ได้เน้นการชำระเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ชาวตะวันออกที่ถือทฤษฎีการเวียนว่าย
ตายเกิด ปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดใหม่ วัฒนธรรมบางแห่งมองการหลุดพ้นจากวัฏจักรนี้เป็นชัยชนะด้วย
ตนเอง ส่วนวัฒนธรรมอื่นๆคิดว่า การหลุดพ้นเป็นของประทานจากพระเจ้า

354
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

• วิญญาณจะก้าวไปสู่ความสมบูรณ์มากเพียงใด ในการเวียนว่ายตายเกิดก็จะ
รับกายทีเ่ ป็นวัตถุนอ้ ยลงเท่านัน้ ซึง่ หมายความว่า วิญญาณมีความโน้มเอียง
ที่จะเป็นอิสระพ้นจากกายตลอดไป อาศัยขบวนการนี้ วิญญาณจะเข้าสู่
สถานภาพถาวร ในที่สุดวิญญาณจะดำเนินชีวิตเป็นอิสระจากกายตลอดไป
และจะไม่ขึ้นกับวัตถุใดๆ อีก (ปฏิเสธการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย)

3. หลักการพื้นฐานทั้ง 4 ประการนี้ เป็นหลักสำคัญด้านมานุษยวิทยาของผู้ที่ถือเรื่อง “การ


เวียนว่ายตายเกิด” ซึ่งขัดแย้งกับหลักคำสอนที่พระเจ้าทรงเปิดเผยแก่คริสตชน จึงไม่จำเป็นที่จะชี้ให้
เห็นมากกว่านี้ว่า มานุษยวิทยาของผู้ที่ถือเรื่อง “การเวียนว่ายตายเกิด” แตกต่างจากมานุษยวิทยา
ของคริสตชนเพียงใด คริสต์ศาสนาถือความคิดแบบทวิภาพ (Duality) คือ สอนว่า วิญญาณและ
กายเป็นองค์ประกอบซึ่งขึ้นต่อกัน แต่ลัทธิ “การเวียนว่ายตายเกิด” ถือความคิดแบบทวินิยม (Dual-
ism) คือสอนว่ากายและวิญญาณเป็น 2 สิ่ง ที่ไม่ขึ้นต่อกัน และไม่อาจทอนลงมาเป็นสิ่งเดียวกันได้
เพราะกายเป็นเพียงเครื่องมือของวิญญาณ ทุกครั้งที่วิญญาณมีความเป็นอยู่ใหม่ ก็จะวางกายเดิม
เพื่อจะได้รับกายใหม่ ซึ่งต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง ในเรื่องอนันตกาล ผู้ที่ถือเรื่อง “การเวียนว่ายตาย
เกิด” จึงปฏิเสธความเป็นไปได้ของการลงโทษนิรันดร และความคิดเกี่ยวกับการกลับคืนชีพของ
ร่างกาย
การที่ลัทธิ “การเวียนว่ายตายเกิด” ปฏิเสธคำสอนของคริสต์ศาสนาเรื่องความรอดพ้นของ
มนุษย์ ว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ถูกต้องอย่างยิ่งเพราะถือว่าวิญญาณจะรอดพ้นด้วยการกระทำของตนเอง
เท่านั้น ลัทธิ “การเวียนว่ายตายเกิด” จึงสอนว่ามนุษย์บรรลุความรอดพ้นได้ด้วยตนเอง เป็นคำสอน
ตรงกันข้ามกับคำสอนของคริสตชน ซึ่งถือว่าความรอดพ้นมาจากภายนอกมนุษย์ คือ มาจากพระเจ้า
โดยแท้จริงแล้ว ถ้าเราไม่ถือว่าความรอดพ้นมาจากภายนอกมนุษย์ เราก็ต้องเลิกพูดอย่างเด็ดขาดว่า
พระคริสตเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่มนุษย์ หลักสำคัญของข้อความเชื่อในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่
เรื่องความรอดพ้นของมนุษย์สรุป ได้ในถ้อยคำเหล่านี้คือ “เพื่อสรรเสริญพระสิริรุ่งโรจน์แห่งพระ-

355
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

หรรษทานของพระองค์ ซึ่งโปรดประทานให้เราเดชะพระบุตรผู้ทรงเป็นที่รัก ในองค์พระคริสตเจ้า


เราได้รับการไถ่กู้ เดชะพระโลหิต คือได้รับการอภัยบาป นี่คือพระหรรษทานอันอุดม” (อฟ 1:6-8)
คำสอนทั้งหมดเรื่องพระศาสนจักร เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ และเรื่องพระหรรษทานต่างก็ขึ้นกับความจริง
ของข้อนี้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่า ปัญหาเกี่ยวกับการเวียนว่าย
ตายเกิดมีผลสำคัญต่อคำสอนของคริสตชน และเป็นที่เข้าใจว่า เหตุใดพระศาสนจักรจึงปฏิเสธลัทธินี้
และเรียกลัทธินี้ว่าเป็น “เทวปรัชญา” (theosophy)109
ส่วนประเด็นเรื่อง “การเวียนว่ายตายเกิด” ที่ว่า ชีวิตมนุษย์มีการเกิดหลายครั้ง ตายหลาย
ครั้งนั้น จดหมายถึงชาวฮีบรูยืนยันอย่างชัดเจนว่า “มนุษย์ถูกกำหนดให้ตายเพียงครั้งเดียว หลังจาก
นั้น จะมีการพิพากษา” (ฮบ 9:27) สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้อ้างข้อความนี้ เพื่อสอนว่าวิถีชีวิต
ของเราบนโลกนี้มีเพียงครั้งเดียว110
การที่ลัทธิ “การเวียนว่ายตายเกิด” แผ่ขยายทั่วไปจนเป็นที่นิยมของคนจำนวนมาก อาจจะ
เป็นเพราะมนุษย์ตอ้ งการหลุดพ้นจากลัทธิวตั ถุนยิ มนัน่ เอง แต่กเ็ ห็นได้ชดั ว่า ความเคลือ่ นไหวของลัทธิ
จิตวิญญาณเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดนี้ขัดแย้งกับข่าวดีของพระคริสตเจ้าอย่างมาก

109
Holy Office, Reply July 1919 on Theosophical Doctrines: DS 3648.
110
เทียบ สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 48 เป็นที่รู้กันดีว่า พระสังฆราช
ที่เข้าประชุมทั้ง 123 องค์ได้เสนอให้เพิ่มเติมประโยคที่ว่า ”วิถีชีวิตของมนุษย์บนโลกนี้มีเพียงรอบเดียว” เข้าไปใน
เอกสารฉบับสุดท้าย เพื่อเน้นชีวิตเดียวบนแผ่นดินและต่อต้านทรรศนะของลัทธิการเวียนว่ายตายเกิด Ad caput
VII de Ecclesia, modus 30: Acta Synodalis 3/8, p.143.

356
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 10
แผนการยิ่งใหญ่ของพระเจ้า มนุษย์ต้องดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง

1. เรามีชีวิตในโลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึงเป็นที่ชัดเจนว่าเราต้องดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง
เพราะมนุษย์จะมีชีวิตซ้ำอีกไม่ได้ ชีวิตในโลกนี้เป็นหนทางไปสู่ความจริงในอนันตกาล การดำเนินชีวิต
ของเราจึงมีผลลัพธ์ที่ไม่อาจลบล้างได้ ชีวิตในร่างกายของเรานำเราไปสู่ชะตากรรมนิรันดร
มนุษย์จะเริ่มเรียนรู้ถึงความหมายของชะตากรรมสุดท้ายของตนได้ ก็ต่อเมื่อเขายอมรับว่า
ธรรมชาติของตนมาจากพระเจ้า พระองค์ทรงเนรมิตสร้างมนุษย์ “ตามภาพลักษณ์ให้มีความคล้าย
คลึงกับพระองค์” (ปฐม 1:26) วลีนี้หมายความว่า พระเจ้าประทานความสามารถแก่มนุษย์ให้รู้จัก
พระองค์ และรักพระองค์อย่างเสรี ส่วนมนุษย์เป็นเจ้านายปกครองสิ่งสร้างอื่นๆ และใช้สิ่งเหล่านั้น
ให้เกิดประโยชน์แก่ตน111 ความสามารถนี้มีพื้นฐานในวิญญาณมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติจิต วิญญาณของ
มนุษย์แต่ละคนถูกสร้างจากพระเจ้าโดยตรง112 มนุษย์แต่ละคนจึงเป็นผลของการกระทำที่เป็นรูปธรรม
จากความรักที่สร้างสรรค์ของพระเจ้า

2. พระเจ้าทรงเนรมิตสร้างมนุษย์และทรงนำมนุษย์มาไว้ในสวนเอเดน (เทียบ ปฐม 2:15)


พระคัมภีร์ใช้ภาพนี้เพื่อสอนว่า พระเจ้าทรงแต่งตั้งมนุษย์คนแรกให้อยู่ใกล้ชิด และเป็น มิตรกับ
พระองค์113 เราจึงเข้าใจได้ว่ามนุษย์สูญเสียสวนเอเดนไป เมื่อเขาทำบาปผิดต่อบทบัญญัติที่สำคัญ
ของพระเจ้า (เทียบ ปฐม 3:23-34) เพราะบาปทำลายมิตรภาพของมนุษย์กับพระเจ้า

111
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 12.
112
Paul VI, Credo of the People of God, 8: AAS 60 (1968) 436.
113
สภาสังคายนาเมืองเตรนต์ Sess.5 Decretum de iustificatione, c.1 in DS 1511.

357
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

หลังจากมนุษย์คนแรกทำบาปแล้ว พระเจ้าทรงสัญญาที่จะช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น (เทียบ


ปฐม 3:15) ทั้งชาวยิวและคริสตชนตีความหมายพระสัญญานี้ว่า พระองค์จะทรงช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น
โดยอาศัยพระแมสสิยาห์
โดยแท้จริงแล้ว ในเวลาทีก่ ำหนด พระเจ้า “ทรงทำให้เราคืนดีกบั พระองค์เดชะพระคริสตเจ้า”
(2 คร 5:18) ข้อความนี้มีความหมายว่า “เพราะเห็นแก่เรา พระเจ้าทรงทำให้พระองค์ผู้ไม่รู้จักบาป
เป็นผู้รับบาป เพื่อว่าในพระองค์เราจะได้กลายเป็นผู้ชอบธรรมของพระเจ้า” (2 คร 5:21) พระเจ้า
ทรงมีพระเมตตา “ทรงรักโลกอย่างมาก จึงประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์ เพื่อ
ทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศ แต่จะมีชีวิตนิรันดร” (ยน 3:16) การไถ่กู้ทำให้เรา “เข้าใจ
อย่างลึกซึ้งถึงความรักที่มั่นคง แม้ทรงต้องเผชิญกับการถวายบูชาพิเศษสุดของพระบุตร เพื่อ
ตอบแทนความรักแท้จริงที่พระผู้สร้างและพระบิดาเจ้ามีต่อมนุษย์ ซึ่งพระองค์ทรงเนรมิตสร้างมา
ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ และได้รับการเลือกสรร ‘ตั้งแต่แรกเริ่ม’ ให้บรรลุถึงพระหรรษทาน
และความรุ่งโรจน์ในพระบุตร”114
พระเยซูเจ้าทรงเป็น ”ลูกแกะของพระเจ้า ผู้ทรงลบล้างบาปของโลก” (ยน 1:29) การสิ้น
พระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าทำให้มนุษย์ได้รับการอภัยบาป (เทียบ รม
4:25) การให้อภัยบาปนี้เป็นทั้งการอภัยโทษตามกฎหมายและการฟื้นฟูมนุษย์ทั้งหมด115 และยังเป็น
การยกสภาพมนุษย์ขนึ้ สูงกว่าระดับธรรมชาติ พระบิดาเจ้าทรงส่งพระคริสตเจ้ามาสูโ่ ลก “เพือ่ ทำให้เรา
ได้เป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์” (กท 4:5) ผู้ใดมีความเชื่ออย่างมั่นคงในพระนามของพระองค์
พระองค์จะประทานพระพรให้ผู้นั้นกลายเป็นบุตรของพระเจ้า (เทียบ ยน 1:12)
ด้วยวิธีนี้ เราจึงเข้าเป็นสมาชิกในครอบครัวของพระเจ้า แผนการของพระบิดาเจ้า คือ ทรง
กำหนดให้เรา “เป็นภาพลักษณ์ของพระบุตรของพระองค์ด้วย เพื่อพระบุตรจะได้เป็นบุตรคนแรกใน

114
John Paul II, Encyclical Dives in misericordia, 7. in AAS 72 (1980) 1200.
115
สภาสังคายนาเมืองเตรนต์ Sess.6 Decretum de iustificatione, c.7 in DS 1528.

358
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บรรดาพีน่ อ้ งจำนวนมาก” (รม 8:29) ผลทีต่ ามมาคือพระบิดาของพระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นบิดาของ


เราทั้งหลายอีกด้วย (เทียบ ยน 20:17) เมื่อเราเป็นบุตรของพระบิดาเจ้าในพระบุตร “เราก็เป็น
ทายาทด้วย เป็นทายาทของพระเจ้าและเป็นทายาทร่วมกับพระคริสตเจ้า” (รม 8:17) ดังนั้น ความ
หมายของชีวิตนิรันดรที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้แก่เรา จึงเป็นการมีส่วนร่วมในมรดกของพระคริสตเจ้า
“บ้านเมืองของเรานั้นอยู่ในสวรรค์” (ฟป 3:20) เมื่อเปรียบเรากับชาวสวรรค์ เรา “ไม่เป็นคนต่างด้าว
หรือผู้อาศัยอีกต่อไป แต่เป็นเพื่อนร่วมชาติกับบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสมาชิกในครอบครัวของพระเจ้า”
(อฟ 2:19)

3. พระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยความลับของพระบิดาแก่เรา ทรงปรารถนาที่จะให้เรากลายเป็น
เพื่อนกับพระองค์ (เทียบ ยน 15:15) แต่ไม่มีใครบังคับใครให้เป็นเพื่อนกับตนได้ ถ้าผู้ที่ประสงค์
ให้ผู้อื่นเป็นมิตรกับตน หรือประสงค์ที่จะรับผู้อื่นเป็นบุตรบุญธรรม จะได้รับการตอบสนองหรือไม่
ขึ้นอยู่กับว่า ผู้รับเชิญสมัครใจยอมรับหรือปฏิเสธข้อเสนอนั้น ความสุขในสวรรค์คือมิตรภาพในขั้น
บริบูรณ์ เป็นมิตรภาพที่พระคริสตเจ้าทรงเสนอให้ ซึ่งไม่ใช่การตอบแทนมนุษย์ มนุษย์มีเสรีภาพใน
การยอมรับหรือปฏิเสธ การ “อยู่กับพระคริสตเจ้า” (ฟป 1:23) ในฐานะเพื่อนเป็นสาระสำคัญของ
ความสุขนิรันดรในสวรรค์ (2 คร 5:6-8 / 1 ทส 4:17) เราจึงต้องเข้าใจว่าความคิดหลักเรื่องการเห็น
พระเจ้า “เหมือนพระองค์ทรงอยู่ต่อหน้าเรา” (1 คร 13:12 / 1 ยน 3:2) แสดงถึงมิตรภาพที่แน่นแฟ้น
หนังสืออพยพเขียนถึงความคิดนี้ว่า “พระยาห์เวห์ทรงสนทนากับโมเสสตามลำพังเหมือนเพื่อนคุยกัน”
(อพย 33:11)
มิตรภาพระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ เป็นความจริงเมื่อมนุษย์ยอมรับมิตรภาพนี้ด้วยใจอิสระ
มนุษย์อาจจะปฏิเสธไม่ยอมรับมิตรภาพนี้ในภายหลังก็เป็นไปได้ ทุกสิ่งที่มนุษย์ยอมรับอย่างอิสระ เขา
ก็อาจปฏิเสธได้อย่างอิสระเช่นกัน ดังนั้น ผู้เลือกที่จะปฏิเสธก็ “ไม่มีสิทธิรับมรดกในพระอาณาจักร

359
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ของพระคริสตเจ้าและของพระเจ้าเลย” (อฟ 5:5) การลงโทษนิรันดรจึงมีต้นเหตุมาจากการที่มนุษย์


เลือกอย่างอิสระที่จะปฏิเสธความรักและพระเมตตาของพระเจ้า116
พระศาสนจักรมีความเชื่อว่า สาระสำคัญของสภาพการรับโทษนิรันดร คือ มนุษย์จะสูญเสีย
ความสามารถที่จะเห็นพระเจ้า และผลที่ตามมาของการรับโทษนี้สะท้อนไปสู่การดำเนินชีวิตทั้งหมด
ของเขา117 ข้อความเชื่อข้อนี้สอนว่า การที่มนุษย์ปฏิเสธพระเจ้าด้วยใจอิสระนั้นมีความสำคัญมาก
และยังสอนอีกว่า การปฏิเสธพระเจ้าอย่างอิสระมีผลนำไปสูค่ วามเสียหายอย่างมาก ตราบใดทีค่ ริสตชน
มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ก็ต้องตระหนักว่าเขาอยู่ภายใต้การตัดสินของพระคริสตเจ้าในอนาคต “เพราะเรา
ทุกคนจะต้องปรากฏเฉพาะพระบัลลังก์ของพระคริสตเจ้า เพื่อแต่ละคนจะได้รับสิ่งตอบแทนสมกับที่
ได้กระทำเมื่อยังมีชีวิตอยู่ในร่างกาย ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นว่าจะดีหรือชั่ว” (2 คร 5:10) เราจะ
เข้าใจถึงธรรมล้ำลึกเรื่องความชั่วร้ายที่เกิดจาการทำบาปได้ ก็ต่อเมื่อเราอยู่เฉพาะพระพักตร์ของ
พระคริสตเจ้าและโดยอาศัยแสงสว่างที่พระองค์ประทานเท่านั้น เมื่อมนุษย์ทำบาปหนัก เขาอาจจะถึง
กับคิดว่า “พระเจ้าทรงเป็นศัตรูของสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา พระองค์ทรงเป็นศัตรูของมนุษย์
ทรงเป็นบ่อเกิดแห่งอันตรายและการคุกคามต่อมนุษย์”118
มนุษย์ดำเนินชีวติ เพียงครัง้ เดียวในโลกนี้ (เทียบ ฮบ 9:27)119 ส่วนพระเจ้าทรงมีพระทัย
อิสระ ทรงเสนอมิตรภาพให้กับมนุษย์ และทรงยอมรับมนุษย์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์ใน
ชีวิตครั้งเดียวของเขา จึงเป็นที่แน่ชัดว่า มนุษย์ต้องจริงจังกับชีวิตของตน เพราะถ้าเขาทำบาปก็จะ
สูญเสียมิตรภาพและสถานภาพการเป็นบุตรบุญธรรมไป มนุษย์จะตัดสินใจอย่างไรก็มีผลตามมา
ตลอดไปอย่างนั้น พระเจ้าทรง “ตั้งวิถีแห่งชีวิตและทางแห่งความตายไว้ต่อหน้าเรา” (ยรม 21:8)

116
สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 “บทแสดงความเชื่อของประชากรพระเจ้า” 8: AAS 60 (1968) 438.
117
สมณกระทรวงพระสัจธรรม, Letter Recentiores episcoporum Synodi, 7: AAS 71 (1979) 941-942.
118
John Paul II, Encyclical Dominum et vivificantem, 38. in AAS 78 (1986) 851.
119
สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักร ข้อ 48.

360
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

แม้พระองค์ประทานพระหรรษทานให้เราทั้งก่อนและตลอดการกระทำของเรา และทรงเชื้อ
เชิญเราให้เดินตามวิถีแห่งชีวิต แต่เรามีสิทธิ์เลือกวิถีใดวิถีหนึ่งใน 2 วิถีนี้120 เมื่อเราเลือกวิถีใดแล้ว
พระเจ้าก็ทรงเคารพอิสรภาพของเราอย่างแท้จริง กระนั้นก็ดี ตราบใดที่เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้
พระองค์ไม่ทรงหยุดที่จะประทานพระหรรษทานที่ช่วยให้รอดแก่ผู้ที่พรากจากพระองค์
เราต้องยอมรับว่า เราเลือกทำกับตนเองด้วยใจอิสระอย่างไร พระเจ้าก็ทรงเคารพสิ่งที่เรา
เลือกทำอย่างนั้น ไม่ว่าเราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับพระหรรษทานก็ตาม ดังนั้น เราจึงเข้าใจได้ว่า
ทั้งความรอดพ้นและการถูกลงโทษของมนุษย์เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เขาอยู่ในโลกนี้แล้ว เพราะเมื่อมนุษย์
ตัดสินใจทำความดีหรือทำความชั่ว ก็เท่ากับว่ามนุษย์เปิดใจรับหรือปิดตนเองต่อพระเจ้าอย่างอิสระ
พูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เราเห็นทั้งความยิ่งใหญ่ของเสรีภาพของมนุษย์และความรับผิดชอบที่เป็นผลตาม
มาของเสรีภาพ
นักเทววิทยาทุกคนตระหนักดีว่า มนุษย์ปัจจุบันมีความลำบากใจที่จะต้องยอมรับคำสอนของ
พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เรื่องนรก แท้ที่จริงแล้ว มนุษย์ทุกสมัยในประวัติศาสตร์เคยประสบ
ปัญหานี้มาแล้ว ดังนั้น เราจึงต้องเปิดใจรับคำสอนเพียงเล็กน้อยของพระวรสารเรื่องนรกอย่างตรงไป
ตรงมา เพื่อจะได้มีความเชื่อในความจริงนี้และสามารถจะอธิบายแก่คนอื่นได้ เราต้องพอใจในคำสอน
เพียงเล็กน้อยเช่นนี้ และควรหลีกเลี่ยงที่จะพยายามค้นหาในรายละเอียดเพื่อพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า พระ
ทัยดีอันไร้ขอบเขตของพระเจ้าจะผสมผสานกับเสรีภาพของมนุษย์ได้อย่างไรกัน
พระศาสนจักรเชื่อมั่นความจริงทั้ง 2 ประการ คือ มนุษย์มีเสรีภาพและพระเจ้าทรงพระ
เมตตาประทานเสรีภาพแก่มนุษย์ เพราะเสรีภาพเป็นเงื่อนไขสำคัญเพื่อมนุษย์จะได้รับความรอดพ้น
เมื่อพระศาสนจักรอธิษฐานภาวนาสำหรับความรอดของมนุษย์ทุกคน คือ พระศาสนจักรภาวนาเพื่อ
การกลับใจของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ พระเจ้า “มีพระประสงค์ให้ทุกคนได้รับความรอดพ้นและรู้จักความ
จริงที่สมบูรณ์” (1 ทธ 2:4) พระศาสนจักรเชื่อเสมอว่า พระประสงค์ของพระเจ้าที่ทรงช่วยมนุษย์

120
สภาสังคายนาเมืองเตรนต์ Sess.6 Decretum de iustificatione, c.5 in DS 1525.

361
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

ทุกคนให้รอดพ้นมีประสิทธิผลอย่างมาก พระศาสนจักรไม่เคยประกาศอย่างเจาะจงว่าผู้ใดได้พินาศ
และไปสู่นรกแล้ว กระนั้นก็ดี นรกอาจเป็นไปได้สำหรับมนุษย์ทุกคน บางคนในสมัยนี้ดูเหมือนลืม
ความจริงข้อนี้ไป เช่น เมื่อพระสงฆ์เทศน์ในพิธีปลงศพก็ดูเหมือนไม่อธิบายว่านรกมีอยู่จริง และเป็น
สิ่งที่ไม่ถูกต้องที่จะคิดว่า มนุษย์ทุกคนจะได้รับความรอดพ้นโดยอัตโนมัติ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้อง
นำถ้อยคำของนักบุญเปาโลที่สอนเกี่ยวกับเรื่องนี้มาพูดเป็นคำพูดของเราด้วย “พระเจ้าทรงพระปรีชา
และทรงรอบรู้ลึกล้ำเพียงใด คำตัดสินของพระองค์สุดที่จะหยั่งรู้ได้ และมรรคาของพระองค์สุดที่จะ
เข้าใจได้” (รม 11:33)

4. ผู้ยึดทฤษฎีการเวียนว่ายตายเกิดเชื่อว่า ชีวิตมนุษย์ในโลกนี้จะสั้นเกินไป ถ้ามีการเกิด


เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เขาจึงคิดว่ามนุษย์มีชีวิตหลายครั้ง คริสตชนต้องตระหนักเช่นเดียวกันว่า ชีวิต
ในโลกนี้สั้นจริง และมีเพียงชีวิตเดียวเท่านั้น และยังต้องตระหนักอีกว่า “เราทุกคนต่างก็ผิดพลาด
ได้หลายเรื่อง” (ยก 3:2) และเคยทำบาปอยู่เสมอในอดีต เราจึงต้อง “ใช้เวลาปัจจุบันให้ดีที่สุด” (อฟ
5:16) และ “ละทิ้งทุกสิ่งที่ถ่วงอยู่และบาปที่เกาะแน่น เราจงมีมานะวิ่งต่อไปในการแข่งขันซึ่งกำหนด
ไว้สำหรับเรา จงเพ่งมองไปยังพระเยซูเจ้าผู้ทรงบุกเบิกความเชื่อและทรงทำให้ความเชื่อนั้นสมบูรณ์”
(ฮบ 12:1-2) “เราไม่มีนครถาวรอยู่ที่นี่ แต่กำลังแสวงหานครที่จะมาถึง” (ฮบ 13:14) ดังนั้น คริสตชน
“ผู้เป็นเสมือนคนต่างด้าวและพลัดถิ่น” (1ปต 2:11) ต้องรีบดำเนินชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์ เพี่อบรรลุถึงบ้าน
เกิดเมืองนอนแท้จริงของตน (เทียบ ฮบ 11:14) ณ ที่นั่น เขาจะได้อยู่กับองค์พระเป็นเจ้าตลอดไป
(เทียบ 1ทส 4:17)

362
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ที่ 11
กฎการภาวนาแสดงกฎความเชื่อ (lex orandi – lex credendi)

1. หลักเกณฑ์ประการหนึง่ ของเทววิทยาคือ “กฎการภาวนาแสดงกฎความเชือ่ ”121 เราสามารถ


ค้นหาความเชื่อของพระศาสนจักรและแสวงหาจนพบได้ในพิธีกรรม แต่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะศึกษา
พิธีกรรมอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อจะค้นหาคำสอนเรื่องอวสานกาลอย่างสมบูรณ์ เราอธิบายได้
เพียงข้อคิดหลักที่พบได้ในพิธีกรรมตามจารีตโรมันฉบับปรับปรุงหลังจากสภาสังคายนาวาติกันที่ 2
โดยสังเขปเท่านั้น

2. ก่อนอื่น เราต้องสังเกตว่าในพิธีกรรมอุทิศแก่บรรดาผู้ตาย122 พระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืน


พระชนมชีพ ทรงเป็นความจริงสูงสุดที่ส่องสว่างความจริงอื่นๆ เรื่องอนันตกาลทั้งมวล ดังนั้นความ
หวังสูงสุดของมนุษย์อยู่ที่การกลับคืนชีพทางร่างกาย “พระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพเป็นคน
แรกในบรรดาผู้ตาย พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงร่างกายต่ำต้อยของเราให้เป็นเหมือนพระวรกาย
รุ่งโรจน์ของพระองค์ เราจงมอบพี่น้องของเราไว้กับพระองค์ เพื่อทรงรับวิญญาณของเขาเข้าร่วมสุข
นิรันดร และทรงบันดาลให้ร่างกายของเขากลับคืนชีพในวันสุดท้ายด้วยเถิด”123
ในข้อความนี้ เราพบคำยืนยันอย่างชัดเจนว่า การกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายจะเกิดขึ้นใน
อนาคต คือ ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่จะต้องเกิดขึ้นในวันสิ้นพิภพ

121
Indiculus, 8, DS 246.
122
“ผู้ตาย” แปลคำภาษาลาตินว่า defunctus ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ที่ได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จแล้ว” จึงชวนให้
คิดว่า ผู้ใดปฏิบัติภารกิจของตนบนแผ่นดินนี้สำเร็จแล้ว จะมีสิทธิเข้าสู่อาณาจักรของพระเจ้าทันทีหลังความตาย
หรือหลังการชำระตนให้บริสุทธิ์ ถ้าจำเป็น
123
Ordo exsequiarum, (editio typica 1969), n. 55, p. 25. Cf. n.72, p. 32; n. 184, p. 73.

363
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

3. ถ้าเราต้องรอคอยการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายจนถึงวันสิ้นพิภพ หมายความว่า ต้องมี


คำสอนเรื่องอนันตกาลของวิญญาณที่กำลังรอคอยการกลับคืนชีพ เพราะเหตุนี้ พระสงฆ์ที่เสกหลุม
ฝังศพจึงภาวนาว่า “ขณะที่เรากำลังฝากร่างกายของพี่น้องของเราผู้นี้ไว้ในดิน ขอพระองค์ทรงโปรด
รับวิญญาณของเขาเข้าอยู่ในสวรรค์ด้วยเถิด”124 ถ้อยคำจากพระคัมภีร์ที่ว่า ”วันนี้ท่านจะอยู่กับเราใน
สวรรค์” (ลก 23:43) เตือนเราให้ระลึกว่า “พระเจ้าทรงตอบแทนวิญญาณของมนุษย์ทันทีหลังจาก
ที่เขาตาย” ยังมีบทภาวนาอื่นๆ ที่ยืนยันคำสอนทางอนันตกาลของวิญญาณอีก เช่น บทประจำพิธี
ปลงศพมีคำภาวนาที่พระสงฆ์สวดขณะที่วางศพบนแคร่หามว่า “ข้าแต่พระเจ้า โปรดรับวิญญาณ
น...ข้ารับใช้ ซึ่งพระองค์ทรงเรียกจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบารมี ขอให้เขาได้พ้นจากพันธะทั้งมวลของ
บาป มีบุญได้รับการพักผ่อนและความสว่างตลอดนิรันดร สมจะได้กลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ร่วมกับ
บรรดานักบุญและผู้เลือกสรรของพระองค์ด้วยเถิด”125 พระสงฆ์ยังภาวนาเพื่อ ”วิญญาณ” ของผู้ตาย
ถึง 3 ครั้ง126 บทภาวนาที่ต้องใช้สำหรับผู้ที่ใกล้จะตายเป็นบทภาวนาที่โบราณมากตามธรรมประเพณี
ของพระศาสนจักร เมื่อเวลาแห่งความตายใกล้จะมาถึง จะต้องอธิฐานภาวนาว่า “วิญญาณคริสตชน
เอ๋ย จงออกจากโลกนี้ไป เดชะพระนามของพระเจ้าพระบิดา ผู้ทรงสรรพานุภาพ ทรงเนรมิตสร้าง
ท่านมา เดชะพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงรับทรมานเพื่อท่าน และ
เดชะพระนามของพระจิตเจ้าผู้สถิตอยู่ในท่าน วันนี้ขอให้ท่านได้อยู่ในสันติสุข ได้พักอยู่กับองค์พระ-
ผู้เป็นเจ้าในศิโยน นครศักดิ์สิทธิ์”127
บทภาวนาดังกล่าววอนขอพระพรที่เรียกร้องการชำระวิญญาณหลังความตาย มิฉะนั้นเรา
จะไม่เข้าใจคำวอนขอที่ว่า “ขอวิญญาณของพี่น้องของเราจะไม่ต้องรับการทรมานใดๆ ขอพระองค์

124
Ibid., n. 195, p. 77.
125
Cf. ibid., n. 30, p. 16.
126
Cf. ibid., n. 33, p. 18; n.36-48, p. 22; n.65, p. 29, etc.
127
Ordo unctionis infirmorum eorumque pastoralis cura (editio typica 1972), n. 146, p.60.

364
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

โปรดประทานอภัย ความผิดและบาปทั้งสิ้นของเขา”128 เราต้องเข้าใจว่าความผิดและบาปเหล่านี ้


หมายถึง บาปประจำวัน และโทษทีย่ งั ต้องชดเชยจากบาปหนัก เพราะพระศาสนจักรไม่เคยอธิษฐาน
ภาวนาสำหรับบรรดาผู้พินาศในนรก
บทภาวนาอีกบทหนึ่งที่เน้นคำสอนเรื่องอนันตกาลของวิญญาณอย่างเหมาะสมในแง่ที่
วิญญาณรอคอยการกลับคืนชีพฝ่ายกาย คือ “ข้าแต่พระบิดาผู้ทรงเมตตายิ่ง ข้าพเจ้าทั้งหลายขอ
มอบวิญญาณของพี่น้อง น... ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความหวังแน่วแน่ว่า
เขาจะกลับคืนชีพในวันสุดท้ายพร้อมกับบรรดาผู้ล่วงหลับในพระคริสตเจ้าทุกคน”129 เราต้องเข้าใจว่า
การกลับคืนชีพในที่นี้ หมายถึง การกลับคืนชีพฝ่ายกายอย่างแท้จริง เพราะการกลับคืนชีพนี้ละม้าย
คล้ายกับการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า และมีความสัมพันธ์กับศพที่อยู่ในหลุมเมื่อ
พระสงฆ์อธิษฐานภาวนาว่า “ข้าแต่พระเยซูคริสตเจ้า เมื่อพระองค์ทรงพักผ่อนอยู่ในพระคูหาเป็นเวลา
3 วันนั้น ทรงทำให้การปลงศพของผู้มีความเชื่อในพระองค์ได้รับแสงสว่างและประทานความหวังว่า
เขาเหล่านั้นจะกลับคืนชีพ ขอทรงพระกรุณาให้ น... พี่น้องของข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้พักผ่อนอย่าง
สงบจนถึงวันที่พระองค์ผู้ทรงเป็นการกลับคืนชีพและเป็นชีวิต จะทรงส่องแสงสว่างของพระพักตร์ให้
เขาเห็น และทรงเรียกเขาให้ชมพระสิริรุ่งโรจน์ในสวรรค์”130 บทขอบพระคุณแบบที่ 3 ในพิธีมิสซา
เน้นทั้งการกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตายและความคิดที่ว่า เขาเหล่านั้นจะได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รุ่งโรจน์ เน้นความสัมพันธ์ของการกลับคืนชีพนี้กับการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า และยัง
เน้นว่าการกลับคืนชีพนีจ้ ะเกิดขึน้ ในอนาคตเท่านัน้ “เมือ่ รับศีลล้างบาป เขาได้ตายเหมือนพระคริสตเจ้า
แล้ว โปรดให้เขากลับคืนชีพพร้อมกับพระองค์ท่านด้วย เมื่อพระองค์ท่านจะเสด็จมาปลุกบรรดาผู้ตาย
ให้กลับคืนชีพ บันดาลให้ร่างกายอันเสื่อมสลายได้นี้ ละม้ายคล้ายกับพระวรกายอันรุ่งโรจน์ของ
พระองค์ท่าน”131
128
Ordo exsequiarum, (editio typica 1969), n. 167, p. 68.
129
Ibid., n. 48, p. 22.
130
Ibid., n. 53, p. 24.
131
Missale Romanum, p. 456.

365
อ นั น ต วิ ท ย า
ภาคผนวก

บ ท ส รุ ป
เราได้เลือกจบการอธิบายปัญหาบางประการในปัจจุบันเกี่ยวกับเทววิทยาเรื่องอนันตกาล
โดยอ้างหลักฐานที่เป็นคำยืนยันในพิธีกรรม เพราะพระศาสนจักร แสดงความเชื่อของตนในพิธีกรรม
และพิธกี รรมเป็นแหล่งดีทสี่ ดุ สำหรับประกาศความเชือ่ จากหลักฐานดังกล่าวแสดงชัดเจนว่า พิธกี รรม
รักษาสมดุลที่ต้องมีระหว่างคำสอนทางอนันตกาลของปัจเจกบุคคลและของมนุษย์โดยรวม พิธีกรรม
ยังเน้นว่าความจริงสุดท้ายได้รับความหมายจากพระคริสตเจ้า เพราะปราศจากพระองค์คำสอนเรื่อง
อนันตกาลจะเป็นเพียงการคาดคะเนของมนุษย์เท่านั้น
ขอสรุปการอธิบายนี้ โดยอ้างข้อความตอนหนึ่งจากอารัมภบทของหนังสือ “บทประจำพิธี
ปลงศพ” เป็นคำสอนสุดท้ายอย่างย่อ เพราะข้อความตอนนี้สรุปถึงเจตนารมณ์ของพิธีกรรมโรมันฉบับ
ปรับปรุงใหม่ไว้อย่างดี
“พิธีกรรมของคริสตชนในการปลงศพเป็นการเฉลิมฉลองธรรมล้ำลึกปัสกาของ
พระคริสตเจ้า ในพิธีปลงศพพระศาสนจักรอธิษฐานภาวนาเพื่อบรรดาบุตร ที่ได้รับ
ศีลล้างบาปเข้าร่วมเป็นกายเดียวกับพระคริสตเจ้า ผู้สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืน
พระชนมชีพ ขอให้เขาผ่านจากความตายไปสู่ชีวิตพร้อมกับพระองค์ และเมื่อ
วิญญาณได้รับการชำระอย่างเหมาะสม วอนขอพระองค์ให้ทรงรับเขาอยู่ร่วมกับ
บรรดานักบุญและผูเ้ ลือกสรรในสวรรค์ ขณะทีร่ า่ งกายของเขาหวังจะได้รบั ความสุข
เมื่อพระคริสตเจ้าเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์และทรงบันดาลให้บรรดาผู้ตายกลับคืนชีพ
เพราะเหตุนี้ พระศาสนจักร มารดาผู้มีใจสงสาร ถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ ซึ่งเป็น
อนุสรณ์ปัสกาของพระคริสตเจ้าสำหรับบรรดาผู้ตาย รวมทั้งอธิษฐานภาวนาและ
ประกอบกิจใช้โทษบาปให้เขา ผูม้ คี วามเชือ่ ทุกคนร่วมเป็นหนึง่ เดียวในพระคริสตเจ้า
เขาทั้งหลายจึงได้รับผลประโยชน์ คือ วิญญาณของบรรดาผู้ตายได้รับความช่วย-
เหลือ ส่วนผูท้ เ่ี ศร้าโศกเพราะการจากไป ก็ได้รบั การปลอบโยนและมีความหวัง”132
132
Ordo exsequiarum, (editio typica 1969), Praenotanda, n. 1, p. 7

366
อ นั น ต วิ ท ย า

You might also like