You are on page 1of 22

ศาสนากับเพศสภาพ: มุมมองของศาสนาคริสต์

นางสาวอมลวรรณ ยิ้มย่อง

นางสาวกชนันท์ สุขพัฒน์

นางสาวปวันรัตน์ อินทร์โท

นางสาววีรสตรี สายบัณฑิต

นางสาวกนกวรรณ ดิษฐเเก้ว

นางสาวกัลยกร บัวจันทร์

นางสาวธนัชพร ชูขาว

นางสาวธารารัตน์ อาพันธ์พงศ์

นางสาวบัณฑิตา ขนานใต้

นางสาววนิดา เเคว้นดอนสิม

นางสาวเบญจรัตน์ จันทร์ค้อม

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาปรัชญา ศาสนาและพุทธทาสศึกษา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ศาสนากับเพศสภาพ: มุมมองของศาสนาคริสต์

นางสาวอมลวรรณ ยิ้มย่อง รหัสนักศึกษา 6401103001033

นางสาวกชนันท์ สุขพัฒน์ รหัสนักศึกษา 6401103001001

นางสาวปวันรัตน์ อินทร์โท รหัสนักศึกษา 6401103001009

นางสาววีรสตรี สายบัณฑิต รหัสนักศึกษา 6401103001014

นางสาวกนกวรรณ ดิษฐเเก้ว รหัสนักศึกษา 6401103001201

นางสาวกัลยกร บัวจันทร์ รหัสนักศึกษา 6401103001202

นางสาวธนัชพร ชูขาว รหัสนักศึกษา 6401103001205

นางสาวธารารัตน์ อาพันธ์พงศ์ รหัสนักศึกษา 6401103001206

นางสาวบัณฑิตา ขนานใต้ รหัสนักศึกษา 6401103001207

นางสาววนิดา เเคว้นดอนสิม รหัสนักศึกษา 6401103001211

นางสาวเบญจรัตน์ จันทร์ค้อม รหัสนักศึกษา 6401103001225

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาปรัชญา ศาสนาและพุทธทาสศึกษา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คานา
รายงานเล่มนี้ จัดทาขึ้นสาหรับใช้ประกอบการศึกษารายวิชา GEHU102 ปรัชญาศาสนาและ
พุทธทาสศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เพื่อศึกษาความหลากหลายทาง
เพศในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน จริยศาสตร์ศาสนา ความหลากหลายทางเพศในจริยศาสตร์ศาสนา
คริสต์ รวมทั้งมุมมองคน LGBT สาหรับพระคัมภีร์คริสเตียน

เอกสารเล่มนี้ให้ความรู้ภาคทฤษฎี เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า แต่ในทางปฏิบัติผู้สอนต้อง


เน้นการเชื่อมโยงทฤษฎีกับชีวิต และสามารถนาไปถ่ายทอดให้นักศึกษาเข้าใจได้อย่างดี เพื่อเป็นแนว
ทางการดารงชีวิตในอนาคต

ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ ดวงจันทร์ ที่กรุณาให้คาแนะนาและตรวจสอบ


เพื่อปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ จนทาให้เอกสารเล่มนี้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ท้ายที่สุดขอขอบพระคุณตาราทุกเล่ม รวมถึงแหล่งเว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ตที่ใช้อ้างอิง ที่มีส่วนให้
ความรู้ ความคิดอันเป็นประโยชน์ จนเรียบเรียงเป็นรายงานที่สมบูรณ์ได้ด้วยดี

คณะผู้จัดทา

กันยายน 2565
สารบัญ

เรื่อง…………………………………………………………………………………………………………………………… หน้า

บทนา 1
ความหมายของเพศสภาพ 1
ศาสนาคริสต์และความหมายของศาสนา 3
ความเป็นมาของศาสนาคริสต์ 3
ความเป็นมาของศาสนาคริสต์ในประเทศไทย 3
นิกายในศาสนาคริสต์ 4
นิกายโรมันคาทอลิก 5
นิกายออร์ธอดอกซ์ 5
นิกายโปรเตสแตนต์ 6
ความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน 8
จริยศาสตร์ศาสนาคืออะไร 10

ความหลากหลายทางเพศในจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์ 10
มุมมองคน LGBT สาหรับพระคัมภีร์คริสเตียน 14
ศาสนาคริสต์และกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ 16
บรรณานุกรม 17
1

ศาสนากับเพศสภาพ: มุมมองของศาสนาคริสต์

บทนา
สังคมมนุษย์ในปัจจุบันในความหลากหลายในพฤติกรรมทางเพศมากขึ้น ซึ่งเรียกบุคคลที่มีเพศ
สภาพ (Gender) ที่ตรงตามเพศสรีระ (Sex, Biological Sex) หรือผู้ที่เรียกว่า “ชายจริง-หญิงแท้”
ว่า “เพศปกติ ” หรื อ “LGBT” (Lesbian, Gay, Bisexual and Transgender) และเรียกบุคคลที่มี
เพศสภาพที่แปลกแยกจากเพศสรีระว่า “กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ” จึงมีความหมาย
ครอบคลุมไปถึง กลุ่มรักร่วมเพศ (Homosexuality) กลุ่มต่าง ๆ เช่น ชายรักชาย (Gay), หญิงรักหญิง
(Lesbian), คนที่แปลงเพศ (Transgender), ชายที่แต่งตัวเป็นหญิง (Transvestites), กระเทย และมี
ความหมายครอบคลุมไปถึงกลุ่ม Bisexuality ด้วย
(หริณวิทย์ กนกศิลปธรรม, 2556, หน้า 103)
ความหมายของเพศสภาพ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายไว้ว่าความเป็นหญิงหรือเป็น
ชาย เช่น เขามีเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกาเนิด
Art & Culture (2558) กล่า วว่า สถานะเพศ หรือ เพศสภาพ คือ ลัก ษณะต่า ง ๆ ที่บ่ง บอก
ความเป็นชาย และความเป็นหญิง ซึ่งอาจหมายถึง เพศทางชีววิทยา โครงสร้างทางสังคมที่อาศัย
ความเป็นเพศ หรืออัตลักษณ์ทางเพศแล้วแต่บริบทผู้ที่ไม่มองว่าตนเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิงมัก
เรีย กรวม ๆ ว่า เป็น เพศทางเลือ ก มีคาเรีย กหลายอย่า ง เช่น non-binary, genderqueer บาง
วัฒนธรรมจะมีบทบาทโดยเฉพาะของเพศที่ สาม เช่น กลุ่มฮิจราในเอเชียใต้ เป็นต้น

BBC THAI (2015) เขียนเล่าว่า คริสตจักรมักมีปัญหาเกี่ยวกับเพศสภาพของพระเจ้า ทว่าความ


จริงแล้วพระองค์ไม่ทรงมีข้อจากัดในลักษณะเพศหญิงหรือชายแบบมนุษย์ อย่างไรก็ตามเขาเห็นว่า
เป็นเรื่องยากที่จะพูดถึงพระเจ้าโดยไม่ระบุเพศชัดเจน เพราะการพยายามหลีกเลี่ยงใช้คาสรรพนาม
ระบุเพศอย่างสิ้นเชิงนั้น เป็นเรื่องยุ่งยาก ดังนั้นจึงต้องใช้คาสรรพนามแทนพระเจ้าว่า "He" หรือ
"She" โดยเฉพาะในสังคมที่มีเพศชายเป็นผู้นา คนส่วนใหญ่จึงใช้คาแทนพระเจ้าว่า "He" ดังเช่นในการ
ถาม-ตอบเกี่ยวกับศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ที่ระบุว่า "God is neither man nor woman:
he is God" (พระเจ้าไม่ใช่ทั้งผู้หญิงหรือผู้ชาย: เขาคือพระเจ้า)
2

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (2558) ให้ความหมายของสถานะเพศ เอาไว้ว่า "คุณลักษณะ


ของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้
สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง" ในขณะที่คาว่า เพศ มีความหมายในลักษณะทางชีววิทยา
ของบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศหญิงและเพศชาย เพศภาวะมิใช่เป็นเพียงการแบ่งเพศชาย เพศหญิง ทาง
กายวิภาคและสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการถูกกาหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมที่กาหนด
ความเป็นหญิง -ชาย ความความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหญิงชาย ลักษณะเฉพาะประจาเพศ และ
ความเป็นตัวตนของหญิงชายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ส่วนภาษาไทย อาจมีคนแปลความหมาย
ของคาว่า gender ว่า “เพศภาวะ” “ความเป็นชาย ความ เป็นหญิง” “บทบาทหญิงชาย” “มิติ
หญิงชาย” หรือ “เพศทางสังคม”

จากข้อความข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า เพศสภาพ เป็นบทบาทที่ถูกสังคมคาดหวังว่าชายและ


หญิงควรมีพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างไรและเป็นบทบาททางสังคมวัฒนธรรมของผู้ชายและผู้หญิงที่
ได้รับการเรียนรู้มาตั้งแต่เกิด โดยรวมถึงภาระหน้าที่ ความคาดหวังจากผู้อื่น และความหวังที่บุคคล
ผู้นั้นมีต่อผู้อื่น
3

ศาสนาคริสต์

ความหมายของศาสนา

ค าว่ า “ศาสนา” ตรงกั บ ค าในภาษาอั ง กฤษที่ ม าจากภาษาลาติ น อี ก ที ห นึ่ ง ซึ่ ง แปลว่ า


“ความสัมพันธ์” หรือ “ผูกพัน” หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ตรงกับคาภาษา
บาลี “สาสนา” แปลว่าค าสั่งสอน “คาสั่ง” หมายถึง ข้อห้ามทาความชั่ว ที่เรียกว่าวินัย และเป็น “คา
สอน” หมายถึง คาแนะนาให้ทาความดี ที่เรียกธรรมะ รวมเรียกว่า ศีลธรรม

ความเป็นมาของศาสนาคริสต์

ศาสนาคริสต์มีต้นกาเนิดในเอเชียตะวันตก (อิสราเอลในปัจจุบัน) และแผ่ขยายไปตามทวีปต่าง ๆ


ทั่ ว โลกในเอเชี ย ตะวั น ออกไกลนั้ น คริ ส ต์ ศ าสนาได้ ถู ก น ามาเผยแพร่ โ ดยคณะผู้ ส อนศาสนา
(Missionary) ที่ติดตามมา พร้อมกับการค้าขายการล่าอาณานิคม เพื่อเหตุผลบางประการในทาง
การเมืองและการปกครองในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ โปรตุเกส สเปน และเนเธอร์แลนด์
โปรตุเกสและสเปนได้นาเอาคริสต์ศาสนามาเผยแผ่ บริเวณลานโบสถ์ของอาสนวิหารแม่พระปฏิสนธิ
นิรมล จังหวัดจันทบุรี - ๒ - ให้กับดินแดนที่เข้าครอบครองมากที่สุด ทาให้ประเทศที่เดิมเคยถูกสเปน
และโปรตุเกสปกครองมานั้น มีผู้นั บถือ คริส ต์ศาสนามาก และมีวัตถุก่อสร้างโบราณซึ่งเป็นโบสถ์
และศาสนสถานหลวงเหลือเป็นร่องรอย ของประวัติศาสตร์เหล่านั้นมากมาย เช่น ในฟิลิปปินส์ มาเก๊า
ติมอร์ ฯลฯ นอกจากนั้นในสมัยต่อมา ฝรั่งเศสก็ได้เดินทางมาหาอาณานิคมในดินแดนแถบนี้ด้วยจนได้
เวียดนาม กัมพูชา และลาวเป็นเมืองขึ้น นอกจากนี้ฝรั่งเศสยังได้นาคริสต์ศาสนา (นิกายโรมันคาทอลิก)
ไปเผยแพร่ในโปรตุเกสและสเปน แต่ไม่ได้รับ การต้อนรับเท่าไรนัก มีผู้นับถือไม่มากเหมือนดินแดนที่
เคยอยู่ในการปกครองของโปรตุเกสและสเปน

ความเป็นมาของศาสนาคริสต์ในประเทศไทย

ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ เริ่มแรกคือศาสนาคริสต์ นิกาย


โรมันคาทอลิก การเข้ามาของศาสนาคริสต์ไม่ได้เข้ามาในรูปแบบของเหล่าอาณานิคม แต่เข้ามา ใน
รูปแบบของการเผยแพร่ศาสนาแก่คนทั่ว ๆ ไป และในรูปของผู้สอนศาสนาให้กับบรรดาชาวต่างชาติ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโปรตุเกสที่มาค้าขายและตั้งหลักแหล่งอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเสียส่วนใหญ่ ซึ่งในสมัย
นั้น เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงทาสัญญาทางพระราชไมตรีกับโปรตุเกสที่เข้ามายึดครองเกาะ
4

มะละกา ชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาประกอบกิจการต่าง ๆ ในกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระ


มหาจั กรพรรดิที่ทางสร้ างความสัมพันธ์อันดีกับชาวโปรตุเกส คณะมิช ชันนารี มายังสยามในช่วง
ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๐๗ – ๒๑๑๐ คณะนักบวชที่ตอบรับและเดินทางเข้ามายังสยามประเทศ รุ่นแรก
พ.ศ. ๒๑๑๐ ได้แก่ คณะนักบวชโดมินิกันโดยบาทหลวงเฟอร์นันโด เอด ซังตา มารีอา อธิการเจ้าคณะ
แห่งเมืองมะละกา ได้ส่งบาทหลวงเยโรมินา ดา ครู้ส และบาทหลวงเซบาสติดอ โด กันโต มาจากมะ
ละกานั้น ได้รับพระราชทานบ้านพักและเริ่มงานเผยแผ่ศาสนา ถือเป็นครั้งแรกของการเผยแผ่คริสต์
ศาสนา อย่างเป็นทางการในกรุงสยาม คณะมิชชันนารีชาวตะวันตกที่เข้ารุ่นแรกคือ ชาวโปรตุเกสและ
สเปนมากกว่ า ชาติ อื่ น ๆ ต่ อ มา ในแผ่ น ดิ น สมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราช กรุ ง วาติ กั น ได้ ตั้ ง สมณ
กระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ เนื่องจากแต่เดิม อาศัยพระราชอานาจของกษัตริย์โปรตุเกสและสเปนที่
บัญชาให้ออกไปค้นหาดินแดนใหม่และถือโอกาส นาเอาคาสอนศาสนาคริสต์ไปเผยแผ่ด้วย ซึ่งต่อมามี
ความขัดแย้งในแนวทางปฏิบัติที่ต้องอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ ของโปรตุเกสและสเปน จึงเป็นเหตุให้ศา
สนจักรโดยพระสันตะปาปาต้องหาทางเผยแผ่ศาสนาตามแนวทางของศาสนจักรเอง และเมื่อถึงสมัย
กรุงรัตนโกสินทร์ คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ก็ได้เข้ามามีบทบาท ในประเทศไทย นอกจากจะได้
เผยแพร่ศาสนาแล้ว ยังได้ทาคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยเป็นอันมาก เช่น การศึกษา การแพทย์และ
การสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยรับรองฐานะองค์การทางศาสนาคริสต์ ๒ นิกาย คือ
โรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนท์

นิกายในศาสนาคริสต์

ความแตกแยกของคริสต์ศาสนาได้ค่อยๆ เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4-5 เพราะเหตุผลทางการ


เมือง สังคม และวัฒนธรรม ในยุคนั้นจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชได้ทรงย้ายราชธานีไปอยู่ในภาค
ตะวั น ออกของอาณาจั ก ร ทรงตั้ ง ชื่ อ ราชธานีนี้ ว่า คอนสแตน ดิ โ นเปิ ล หรื อ กรุ ง โรมตะวั น ออก
อาณาจักรโรมันจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เขต คือ

(1) โรมันตะวันตกซึ่งมีศูนย์กลางที่กรุงโรม

(2) โรมันตะวันออกซึ่งมีศูนย์กลางที่ กรุงคอนสแตนดิโนเปิล ทั้ง 2 เขตต่างก็มีความสาคัญมากเท่ากัน


จึงมีความเป็นตัวของตัวเองในทางความคิด ประเพณีและวัฒนธรรม โดยโรมันตะวันตกใช้ภาษาละติน
ส่วนโรมันตะวันออกใช้ภาษากรีก ดังนั้น จึงเกิดการการแข่งขันกันทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรม ทา
5

ให้มีผลกระทบต่อศาสนจักรด้วย เมื่ออาณาจักรโรมันตะวันตกได้เริ่มสลายตัวลงไปในคริสต์ศตวรรษที่
4-5 นั้น อาณาจักรโรมันตะวันออกซึ่งเรียกว่า ไบแซนไทน์หรือ ไบแซนทีน ก็ได้เข้มแข็งและเป็นอิสระ
ในทุกด้าน และเริ่มแยกอานาจการปกครองของสมเด็จพระสันตะปาปาซึ่งเป็นประมุขสูงสุดของทั้ง 2
ฝ่าย จนกระทั่งการแตกแยกออกเป็น 2 นิกายใหญ่ครั้งแรกคือ นิกายโรมันคาทอลิกฝ่ายตะวันตกมี
ศูนย์กลางที่กรุงโรมและนิกายออร์ธอดอกซ์ฝ่ายตะวันออก มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล และ
ในเวลาต่อมามีการแตกแยกเป็นนิกายต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนาครั้งสาคัญครั้งที่ 2 ทาให้คริสต์ศาสนา
เกิดมีนิกายที่สาคัญ 3 นิกาย ดังนี้

นิกายโรมันคาทอลิก

คาว่า "คาทอลิก" แปลว่า "สากล" นิกายนี้มีความเชื่อดั้งเดิมว่า คริสต์ศาสนาเป็นศาสนาสากล


เพราะผู้นับถือนิกายนี้มีความเชื่อ ปฏิบัติตามค าสอนและประเพณีดั้งเดิมคริสต์ศาสนา โดยเคร่งครัด
ไม่นิยมเปลี่ยนแปลงคาสอนที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยมก็ได้นิกายถือ
ว่า สมเด็จพระสันตะปาปาเป็นประมุขปกครองชาวคาทอลิกทั่วโลก โดยมีศูนย์กลางการปกครองที่
นครรัฐวาติกันซึ่งเป็นรัฐอิสระตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม ประเทศสาธารณรัฐอิตาลีสมเด็จพระสันตะปาปา
ทรงบริหารงานโดยแบ่งหน่วยงานเป็นกระทรวงเหมือนรัฐทั่วไป และปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในกิจการ
เกี่ยวกับคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก โดยกระทรวงเหล่านั้น มีกระทรวงการปกครอง
กระทรวงเผยแผ่กระทรวงอบรมนักบวช กระทรวงค าสอน และกระทรวงอื่นๆ

นิกายออร์ธอดอกซ์

นิกายนี้แยกออกจากนิกายโรมันคาทอลิกด้วยเหตุผลทางการเมืองและวัฒนธรรมพระสังฆราช
เป็นประมุขสูงสุดของศาสนจักร ประจาอยู่ ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ส่วนหลักธรรมที่สาคัญของนิกาย
นี้แทบไม่แตกต่างจากนิกายโรมันคาทอลิก แต่นิกายนี้ไม่ยอมรับอานาจของสมเด็จพระสันตะปาปาที่
นครรัฐวาติกัน แต่ละประเทศมีประมุขทางศาสนาของตน รูปแบบพิธีกรรม ภาษาการปกครอง และ
ระเบียบที่เกี่ยวกับนักบวชเปลี่ยนแปลงไป เช่น นักบวชมีสิทธิ์แต่งงานได้ เป็นต้น ปัจจุบันผู้นับถือ
นิกายออร์ธอดอกซ์มีอยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก เช่น กรีซบัลแกเรีย โรมาเนีย แอลเบเนีย
สหภาพโซเวียต และแอฟริกาเหนือในประเทศเอธิโอเปีย
6

นิกายออร์ธอดอกซ์มีหลักความเชื่อและหลักคาสอน สรุปโดยย่อ ดังต่อไปนี้


1) ยอมรับศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประเภท
2) การรับศีลล้างบาป (Baptism) ให้ใช้วิธีจุ่มลงไปในน้าและมักกระทาขณะที่ผู้รับศีลยังเป็นทารก
3) เด็กทารกมักถูกนาไปร่วมพิธีศีลมหาสนิท (Communion)
4) พิธีกรรมสาคัญในโบสถ์ใช้ภาษาท้องถิ่น
5) การเคารพบูชารูปเคารพของพระเยซูแม่พระและนักบุญต่าง ๆ มีอยู่อย่างแพร่หลายโดยทารูป
เคารพบนแผ่นไม้หรือกระเบื้องขัดที่มีลักษณะแบนไว้สักกระบูชา ทั้งในบ้านและในโบสถ์เรียกว่า รูป
ไอคอน (Icon)
6) นักบวชตามโบสถ์ประจาท้องถิ่นแต่งงานมีครอบครัวได้แต่บาทหลวงแต่งงานไม่ได้
7) มีความเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าในร่างกาย
8) ไม่ยอมรับอานาจสูงสุดของพระสันตะปาปาที่กรุงโรม

นิกายโปรเตสแตนต์

นิ กายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2063 โดย มาร์ติน ลู เธอร์ช าวเยอรมัน ซึ่งไม่ยอมรับ


พฤติกรรมของผู้นาทางศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะการที่พระสังฆราชโลภเห็นแก่เงิน
จนถึงมีการเปลี่ยนแปลงพิธีล้างบาปด้วยการเอาเงินไปให้แก่วัดแทนการสารภาพ จึงคัดค้านแล้วตั้ง
นิกายขึ้นใหม่ เพราะการกล้าคัดค้านข้อปฏิบัติของสมเด็จพระสันตะปาปาที่กรุงโรม จึงทาให้นิกายมี
ชื่อเรียกว่า "โปรแตสแตนต์" แปลว่า "นิกายคัดค้าน"นิกายโปรเตสแตนต์แพร่หลายอยู่ในทวีปอเมริกา
เหนือและบางส่วนของทวีปยุโรป เช่น เยอรมนีอังกฤษ และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เป็นต้น

มีหลักความเชื่อและหลักคาสอนโดยสังเขป คือ
1) มีความเชื่อในเรื่องตรีเอกานุภาพ
2) เชื่อว่าพระเยซูทรงมีธรรมชาติ 2 ประการ คือ เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์
3) เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีบาปกาเนิด (Original sin) อันนาไปสู่ความพินาศ ทาให้มนุษย์แตกต่างและ
เหินห่างจากพระเจ้า
4) เชื่อว่าบาปกาเนิดและความผิดบาปต่างๆ ในภายหลังและลบล้างได้โดยการไถ่บาปของพระเยซู
5) เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์และเสด็จกลับสู่สวรรค์
6) ไม่ยกย่องแม่พระมารีย์และนักบุญต่าง ๆ ที่ว่ามีความสาคัญเทียบเท่าพระเยซูไม่มีการสักการะบูชา
7

แม่พระและนักบุญ
7) ปฏิเสธอานาจสิทธิ์ขาดของศาสนาจักรที่กรุงโรมในการตีความพระคัมภีร์
8) ปฏิเสธอานาจการปกครองของศาสนจักรที่กรุงโรม
9) ถือว่าพระบัญญัติของพระเจ้าเท่านั้นที่มีอานาจบังคับสูงสุด แม้คนแต่ละคนจะเข้าใจพระคัมภีร์
แตกต่างกัน แต่ก็มีความศรัทธาต่อคาสอนพื้นฐานของศาสนาคริสต์เช่นเดียวกัน
10) ในด้านเกี่ยวกับพิธีกรรม นิกายโปรเตสแตนต์ให้ความสาคัญต่อศีล ล้างบาป (Baptism) และศีล
มหาสนิท (Mass) มากกว่าพิธีกรรมอื่นๆนอกจากนิกายใหญ่ 3 นิกายนั้นแล้ว ยังมีนิกายอื่นๆ ที
คริสต์ศาสนิกชนนับถือกันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้นิกายเหล่านี้จะไม่ขอกล่าวโดยรายละเอียด ประมาณ
16 นิกาย ดังต่อไปนี้
1) นิกายเอปิสโคปัล (Church of England) เป็นนิกายของประเทศอังกฤษ
2) นิกายคาทอลิกฝรั่งเศส เรียกว่า คณะเยซูอิต (Jesuit)
3) นิกายเควกเกอร์(Ouaker)
4) นิกายดีอิสม์(Deism)
5) นิกายมอร์มอน (Mormonism)
6) นิกายคริสเตียนไซแอนส์(Christian Science)
7) นิกายยูนิเตเรียน (Unitarianism)
8) นิกายพยานพระเยโฮวาห์(Jehovah’s Witnesses)
9) นิกายเซเวนต์ตี้เดย์แอดเวนทิสต์(Seventy-day Adventists)
10) นิกายอัสสัมชัญ (Assumption)
11) นิกายเซนต์คาเบรียล (Gabriel)
12) นิกายแบปทิสต์(Baptist) แบ่งแยกออกเป็นแบปทิสต์ย่อยๆ อีกกว่า 10 นิกาย
13) นิกายคาลวิน
14) นิกายเพรสไบทีเรียน (Presbyterian)
15) นิกายเมธอดิสต์(Methodist)
16) นิกายฟรานซิสกันส์(Franciscans)
8

ความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทยปัจจุบัน
ในสังคมไทยมีการกีดกันพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมาเป็นเวลานาน
โดยชูประเด็นว่าสถาบันทางศาสนาปฏิเสธพฤติกรรมดังกล่าว ทาให้คนรักเพศเดียวกันถูกปฏิเสธจาก
ศาสนาโดยสิ้นเชิง แต่มองว่าคาสอนที่เป็นหลักการนิรันดร์ (eternal principle) ซึ่งเป็นเนื้อแท้ของคา
สอนทางศาสนาแล้วไม่ได้ปฏิเสธหรือประณามพฤติกรรมรักร่วมเพศแต่ประการใด ทัศนะเชิงลบต่อ
ความหลากหลายทางเพศเกิดจากมุมมองของสังคมที่ว่า กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็น
กลุ่มผิดปกติ พฤติกรรมเหล่านี้ขัดติอโลกทัศน์ที่ล้าสมัยของตนเองหรือขัดต่อมโนทัศน์ที่ตนเองอยากให้
เป็น แล้วนาหลักคาสอนทางศาสนามาตีความหรืออธิบายความเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางที่ตนเอง
ต้องการในลักษณะเบ็ดเสร็จ และในเบื้องลึกแล้วบางกรณีจะมีประเด็นทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง
อยู่เบื้องหลังแต่คนในสังคมกลับชูประเด็นเรื่อง “เพศ” มาเป็นประเด็นในการกดขี่ขูดรีดในเชิงลึกจนมี
ผลให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่สามารถเข้าถึงอานาจและผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง
ๆ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาควรจะได้รับ (จรีย์วรรณ จันทร์แดง, ณรัตน์ สมสวัสดิ์ และสุขพาพร ผาณิต , 2546,
หน้า 370)
อานาจ มงคลสืบสกุล (2561, หน้า 71 ) กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันถึงแม้ว่าจะมีการส่งเสริ มและ
สนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ผลักดันให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รั บสิทธิเสรีภาพ
เช่นเดียวกับกลุ่มคนทั่วไปก็ตาม แต่สิ่งเราที่เห็นยังพบว่าสิทธิดังกล่าวเต็มไปด้วยข้อจากัด เกิดการ
ต่อต้านจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย เกิดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผลของอัตลักษณ์ทางเพศ
เพราะสังคมยังเชื่อว่ามนุษย์มีเพียงเพศชายและหญิงเท่านั้น จนทาให้คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญหน้ากับการ
ถูกกระทาและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งยังถูกการตีตราจากทางสังคมโดย
สิ้นเชิง การกระทาดังกล่าวถือได้ว่า ขัดต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่วางหลักไว้ว่า “ทุกคน
ย่อมมีสิทธิและอิสรภาพทั้งปวงตามที่กาหนดไว้ในปฏิญญานี้โดยปราศจากการแบ่งแยกไม่ว่าชนิดใด
อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (2564) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ความ


หลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทยไว้ว่า ในยุคสมัยที่แปรเปลี่ยนและความคิดผันแปรไป ทาให้
กลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQ) ได้มีบทบาทมากขึ้น และสามารถเปิดเผยตัวตนได้อย่างเสรีในสังคมไทย
แต่อีกมุมมองหนึ่งของสังคมกลับมีการปิดกั้นและไม่ได้เปิดยอมรับอย่างเต็มที่ ในขณะที่ประเทศไทย
ได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นดินแดนที่ยอมรับความแตกต่างและความหลากหลาย แต่จาก
การสารวจแสดงให้เห็นว่า ชีวิตของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) ในประเทศไทย
นั้นยังคงถูกจากัดสิทธิในการแสดงออกทางเพศด้วยการเลือกปฏิบัติ โดยมีการควบคุมการแสดงออก
9

ทางเพศอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ การควบคุมอย่างเป็นทางการและการควบคุมอย่างไม่เป็นทางการ การ


ควบคุมอย่างเป็นทางการ คือการควบคุมที่มีกฎหมายเข้ามารองรับ ซึ่งจะเห็นได้จากที่กลุ่ม LGBTQ
ได้ออกมาเรียกร้องสิทธิสมรสอย่างเท่าเทียม โดยเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายสมรส เพราะเป็นส่ วนหนึ่ง
ของการแบ่งแยกความไม่เสมอภาคของคนรักต่างเพศกับกลุ่ม LGBTQ ออกจากกัน รวมถึงสิทธิที่คู่
สมรสควรจะได้รับอย่างคู่สมรสตามเพศสถานะที่สังคมยอมรับการควบคุมอย่างไม่เป็นทางการ คือการ
ที่คนในสังคมเป็นผู้ควบคุม โดยวิธีการควบคุมอย่างไม่เป็นทางการนั้นมีหลากหลายวิธี ตั้งแต่การนินทา
ว่าร้าย การถูกระรานและการกลั่นแกล้ง ซึ่งการกระทาเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคม
นั้น ๆ นอกจากนี้ผลการสารวจยังแสดงให้เห็นว่าในสังคมไทยยังมีความเชื่อและทัศนคติในด้านลบต่อ
กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ทาให้เกิดเป็นอุปสรรคอันสาคัญที่ทาให้กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลาย
ทางเพศไม่สามารถแสดงและพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจัยของความเชื่อและทัศนคติด้านลบ
ที่กล่าวมานั้นก็มาจากทั้งสถาบันครอบครัว เพื่อน สถาบันการศึกษา และสถานที่ทางาน ด้วยเหตุดังนี้
ครอบครัวและเพื่อน

- การถูกเลือกปฏิบัติจากคนในครอบครัวและเพื่อนทั้งทางวาจาคาพูด การถูกครอบครัวกาหนด
กฎเกณฑ์ ใ ห้ แ ต่ ง งานกั บ เพศตรงข้ า ม และการไม่ ก ล้ า เปิ ด เผยตั ว ตนที่ แ ท้ จ ริ ง ต่ อ ครอบครั ว
สถาบันการศึกษา - การถูกเลือกปฏิบัติให้ระมัดระวังการแสดงออกทางเพศ การโจมตีด้วยคาพูด และ
การโดนคุกคามทางเพศสถานที่ทางาน

- การถูกเลือกปฏิบัติให้ถูกจากัดโอกาสทางการจ้างงาน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการถูกกาจัดสิทธิในทาง
เพศด้ว ยเหตุผ ลใดก็ตาม คนในสั งคมไทยควรจะเคารพในเรื่องของสิ ทธิมนุษยชนของกันและกั น
เนื่องจากว่าไม่ว่าจะเป็นเพศใด ทุกคนล้วนมีสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน

จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ความหลากหลายทางเพศในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการ


ส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ผลักดันให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับสิทธิ
เสรีภาพเช่นเดียวกับกลุ่มคนทั่วไปก็ตาม แต่สิ่งเราที่เห็นยังพบว่าสิทธิดังกล่าวเต็มไปด้วยข้อ จากัด เกิด
การต่อต้านจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยเกิดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผลของอัตลักษณ์ทางเพศ
เพราะสังคมยังเชื่อว่ามนุษย์มีเพียงเพศชายและหญิงเท่านั้นจนทาให้คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญหน้ากับการถูก
กระทาและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งยังถูกการตีตราจากทางสังคมโดยสิ้นเชิง
10

จริยศาสตร์ศาสนาคืออะไร

ก่อนที่จะกล่าวถึงความหลากหลายทางเพศในมุมมองจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์ ผู้เขียนขออธิบาย
ความหมายของคาว่า “จริยศาสตร์” ก่อน ซึ่งในที่นี้ จะขออธิบายความหมายของ จริยศาสตร์ในเชิง
บรรทัดฐาน (normative ethics) ดังนี้

จริยศาสตร์ (ethics) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา (philosophy) ที่มุ่งใช้เหตุผล ไตร่ตรองเกี่ยวแก่คุณค่า


ของบุ คคลและการกระทาของมนุ ษย์ โดยทั่ว ไปมุ่งพิจารณาพฤติ กรรมมนุ ษย์ ในสภาวการณ์ ท าง
จริยธรรม (moral situation) อันเป็นสภาวการณ์ที่ทาให้เกิดคาถามว่าพฤติกรรมหนึ่ง ๆ ถูกหรือผิด ดี
หรือชั่ว จริยศาสตร์มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ ประเมินค่า และพัฒนาหลักเกณฑ์ศีลธรรมในเชิงบรรทัด
ฐาน (normative moral criteria) เพื่ อ น ามาใช้ ใ นการจั ด การกั บ ปั ญ หาทางจริ ย ธรรม (moral
problem)(Britannica 1980 1976) ในการวิเคราะห์ตัดสินเพื่อให้คาตอบต่อประเด็นทางจริยศาสตร์
ดังกล่าว ต้องอาศัยชุดเหตุผลและทฤษฎีทางจริยศาสตร์มาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์และตัดสิน

ความหลากหลายทางเพศในจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์

งานวิจัยของ Prasong Kittinanthacha ประสงค์ กิตตินันทชัย) (2001) ที่ศึกษาสังกัปเรื่องเพศ


ของมนุษย์โดยมองในเชิงอภิปรัชญาและญาณวิทยาทางศาสนาทาให้ได้ความรู้ว่า “พลังในจักรวาลมี
ลักษณะเป็นทวิภาคที่ต้องประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน เพศของมนุษย์ที่มีลักษณะเป็นทวิภาค
เช่นกัน คือ ความเป็นชายและความเป็นหญิง"ความเป็นทวิภาคในเรื่องเพศนี้ถูกกล่าวไว้อย่างชัดเจนใน
พระคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ว่า พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระเจ้า และได้ทรงสร้าง
ให้เป็นชายและหญิง (ปฐมกาล 1 : 27 และปฐมกาล 5 : 9) ในเบื้องต้นเมื่อพิจารณาจากข้อความใน
พระคัมภีร์ปฐมกาลบทที่ 1 ข้อที่ 27 และปฐมกาล บทที่ 5 ข้อที่ 1 ที่ผู้เขียนนามาแสดงให้ดูแล้ว ดู
เหมือนว่าทัศนะจากศาสนาคริสต์ได้ปฏิเสธพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
เพราะพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์เป็น “ชาย” กับ “หญิง” เท่านั้น เหมือนกับที่เจอร์รี่ ฟอร์ เวลล์(Jerry
Falwell) กล่ าวว่า “พระเจ้ าสร้ างอะคัม (Adam) กับอีฟ (Eve) ไม่ได้ส ร้างระดับ(Adam) กับสตีฟ
(Steve)” ประกอบกับศาสนจักรได้ทัศนะของนักบุญออกัสติน (Staugustine) ที่ได้แสดงทัศนะเกี่ยว
แก่เรื่องเพศว่า วัตถุประสงค์ของการร่วมเพศอย่างเดียวเท่านั้น คือ “การให้กาเนิด” จากการตีความ
ดังกล่าวทาให้กลุ่มบุคคลที่มีควรหลากหลายทางเพศถูกมองว่าเป็นผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ กลายเป็นชน
11

ชายขอบในสังคม เป็นเหยื่อแห่งความเดียดฉันท์ (the victims of prejudice) และเป็นกลุ่มชนที่ถูก


ข่มขี่(the oppressed) มาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีข้อมูลว่า ในประวัติศาสตร์พระศาสนจักรมีชายรัก
ชายบางรายถึงกับถูกจับเผาทั้งเป็นด้วย (Boswell 1980 : 7)

สมั ย หนึ่ ง นั ก วิ ท ยาศาสตร์ รวมถึ ง แพทย์ ร่ า งกายบุ ค คลที่ มี พ ฤติ ก รรมรั ก ร่ ว มเพศ
(Homosexuality) เกิดขึ้นจากธรรมชาติ (nature) หรือโดยการอบรมเลี้ยงดู (nurture) หรือทั้งสอง
อย่าง แต่ข้อค้นพบจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ทาให้ได้ข้อสรุปว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเพราะ มา
จากธรรมชาติ อบรมเลี้ยงดู (nurture) (Beach 1988 : 61)นั่นหมายความว่า ถ้าการที่บุคคลหนึ่งจะมี
ภาวะที่เพศสภาพ (gender) ไม่ตรงตามเพศสรีระ (biological sex) ได้เริ่มต้นเมื่อตั้งแต่เกิด หรือเกิด
จากความผิดปกติของโครโมโซมที่ไม่มีใครจงใจให้เป็นพฤติกรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะถู กกาหนดมา
หรือหากจะอธิบายในอีกทางหนึ่งเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการทางเทววิทยาว่า เกิดจากพระประสงค์
ของพระเจ้า หรือพระเจ้ากาหนดมาให้พวกเขามีพฤติกรรมเช่นนั้น ข้อค้นพบของนักวิทยาศาสตร์
สอดคล้ อ งกั บ ข้ อ ประกาศของสมาคมจิ ต เวชศาสตร์ แ ห่ ง อเมริ ก า (The American Psychiatric
Association) ว่า “พฤติกรรมรักร่วมเพศ ไม่ได้เป็นความผิดปกติไปมากกว่าการที่คนถนัดข้างซ้าย”
อีกทั้งยังกล่าวต่อว่า “พฤติกรรมดังกล่าวก็ไม่ได้ มีสานึกของการกระทาผิดทางศีลธรรมแต่ประการใด
เลย” (Beach 1988: 61-62)

ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในมุมมองจริยศาสตร์
ศาสนาคริสต์ ผู้เขียนขอแยกวิเคราะห์เป็น 2 ประเด็น คือ (ก) การที่บุคคลหนึ่งมีจิตใจไม่ตรงกับเพศ
สรีระในตัวมันเอง เป็นเฉย ๆ กับ (ข) การที่บุคคลหนึ่งมีจิตใจไม่ตรงกับเพศสรีระแล้วแสดงพฤติกรรม
เช่นนั้นด้วย

(ก) การมี จิ ต ใจไม่ ต รงกั บ เพศสรี ร ะในตั ว มั น เอง ดั ง ที่ ไ ด้ ก ล่ า วแล้ ว ว่ า “จากข้ อ ค้ น พบทาง
วิทยาศาสตร์ที่กล่าวว่า ผู้ที่มีเพศสภาพ(gender) ที่ไม่ตรงตามเพศสรีระ (biological sex) เกิดขึ้นจาก
ธรรมชาติ หรื อ เป็ น เพราะความผิ ด ปกติ ข องโครโมโซมตั้ ง แต่ แ รกเกิ ด หากจะน าข้ อ ค้ น พบทาง
วิทยาศาสตร์มาอธิบายตามแนวทางของเทววิทยาศาสนาคริสต์ จะกล่าวได้ว่า เป็นการกาหนดโดยพระ
ประสงค์ของพระเจ้าตั้งแต่แรกแล้ว ”ในปัจจุบันได้มีนักเทววิทยาคริสต์แนวเสรีนิยม นาข้อความจาก
พระคัมภีร์ในบท ปฐมกาลบทที่ 1 ข้อที่ 26 ที่กล่าวว่า แล้วพระเจ้าตรัสว่า “ให้เราสร้างมนุษย์ตาม
ฉายาตามอย่างของเราให้ครอบครองฝูงปลาในทะเล ฝู งนกในอากาศและฝูงสัตว์ ให้ปกครองแผ่นดิน
12

ทั่วไป และสัตว์ต่าง ๆ ที่เลื้อยคลานบนแผ่นดิน ” มาตีความใหม่เกี่ยวแก่กรณีของการมีจิตใจไม่ตรงกับ


เพศสรีระนักเทววิทยาแนวเสรีนิยมชูประเด็นว่า ในเมื่อมนุษย์เป็นสิ่งทรงสร้างของพระเจ้าและถูกสร้าง
ขึ้นในพระฉายาของพระเจ้า (Image of God) ดังนั้นมนุษย์แต่ละคนจึงมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจาก
สิ่งทรงสร้างอื่น ๆ ของพระเจ้ามนุษย์ทุกคนมีเสรีภาพและมิติทางศีลธรรม (มีวิญญาณหรือ spirit) ที่
เท่าเทียมกัน มีความพิเศษที่ว่านั้นก็คือความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์เฉพาะตน
(identity and autonomy) สามารถมีอานาจปกครองตนเองได้ และในความเป็นปัจเจกของแต่ละ
บุคคลนั้นย่อมที่จะมีผลกระทบต่อความเป็นชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่เสมอ การตีความว่ามนุษย์ถูกสร้าง
ในพระฉายาของพระเจ้าลักษณะดังกล่าว นาไปสู่การอธิบายความว่าชีวิตของมนุษย์ทุกคนมีคุณค่าใน
ตัวเองอย่างเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีคุณค่าของมนุษย์ (Human dignity) มนุษย์จึงปกครองดูแลตนเอง
ได้เสมอกัน โดยไม่แบ่งแยกว่ามนุษย์คนนั้นจะเป็นเพศปกติหรือเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลาย
ทางเพศ ดังนั้นในมุมมองจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์แล้ว การมีจิตใจไม่ตรงกับเพศสรีระในตัวมันเอง
ไม่ได้มีสานึกของการผิดทางศีลธรรมแต่ประการใด ความหลากหลายทางเพศในตัวของมันเองจึงมี
ศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกับความเป็นเพศปกติ

(ข) การมีจิตใจไม่ตรงกับเพศสรีระแล้วมีพฤติก รรมด้วยในเบื้องต้นกรอบเกณฑ์ของจูโด-คริส


เตียน (Judeo-Christian)อยู่ในโลกได้รับการวางแผนและจุดหมายจากพระเจ้าไว้แล้ว และพระองค์ได้
กาหนดกฎเชื่อว่า "ทุกสิ่งที่มีทางธรรมชาติให้มนุษย์ปฏิบัติตาม การรักร่วมเพศถือเป็นพฤติกรรมที่เบี้ยง
เบนไปจากกฎธรรมชาติ ซึ่งกฎธรรมชาติ ในบริบทนี้ก็คือการใช้อวัยวะเพศเพื่อการสืบพันธุ์"ย่อมเป็นที่
ทราบกันดีว่า ความรู้ไม่ได้เป็นสิ่งที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ย่อมได้รับการพัฒนาชื่อ "On Humanตามมิติแห่ง
เวลา มีงานเขียนของเอ็ดเวิร์ด วิลสัน (Edward Wilson)Nature " เสนอว่า "เพศมิได้มีเพื่อการสืบพันธุ์
เป็นสาคัญ จุดหมายของเพศคือสิ่งจูงใจที่ให้เกิดความสัมพันธ์ทางเพศ" (Wison 1978 : 121 อ้างถึงใน
เนื่องน้อย 2529 : 142) ตามความเห็นของเอ็ดเวิร์ด วิลสัน สามารถตีความว่า การมีจิตใจไม่ตรงกับ
เพศสรีระแล้วมีพฤติกรรมด้วย ก็สามารถกระทาได้ หรือผู้ที่มีวิถีทางเพศ (Sexual Orientation) เป็น
รูปแบบใดก็ตาม (ทั้ง Heterosexual, Homosexual และ Bisexual ขอเพียงแต่มีความซื่อสัตย์ต่อคน
รักของตนแล้ว สามารถกระทาได้ อย่างไรก็ตามการตีความในแนวทางนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับและยังเป็น
ที่ถกเถียงในหมู่ศาสนิกชน กล่าวโดยสรุป จริยศาสตร์ศาสนาคริสต์ไม่ ได้ตัดสินตัวบุคคลว่าจะอยู่ใน
สถานภาพของเพศใดว่าเป็นคนดีหรือเลว หากแต่ไม่สนับสนุนกิจกรรมสามีภรรยา เพราะอาจส่งผล
กระทบต่อสถาบันครอบครัวสู่ปัญหาอื่นซึ่งประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ศาสนิกชนประเด็นที่จะ
13

วิเคราะห์ ต่อ คือ ในมุม มองจริ ย ศาสตร์ศ าสนาคริส ต์ จะสามารถแปลงเพศกระทาได้ห รื อ ไม่ ใน


เนื้อความของพระคัมภีร์ปฐมกาลตอนหนึ่งกล่าวว่า "พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระ
เจ้า และได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง" (ปฐมกาล 1 : 27 และปฐมกาล 51)จากเนื้อความของพระ
คัมภีร์ที่ยกมาดังกล่าว สามารถตีความได้ว่าการผ่าตัดแปลงเพศไม่สามารถกระทาได้ เนื่องจากชีวิต
ของมนุษย์ถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้า พระเจ้ากาหนดมาแล้วให้มนุษย์มีสภาพร่างกายเป็นชายและหญิง
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในมุมมองจากจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์จะมีความเห็นว่า การผ่าตัดแปลงเพศจะไม่
สามารถกระทาได้ แต่บุ คคลข้ามเพศ (transgender) ก็คงมี ศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุ ษ ย์ ที่
สมบูรณ์เพราะว่าในพระคัมภีร์กล่าวว่าพวกเขาถูกสร้างขึ้นในพระฉายาของพระเจ้า (ปฐมกาล 1 : 26)
ดังนั้นจึงสามารถมีอานาจปกครองตนเองได้

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า จริยศาสตร์ศาสนาเป็นการวิเคราะห์และตัดสินพฤติกรรมของมนุษย์ โดยใช้


ชุดเหตุผลจากคาสอนทางศาสนามาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ประเมินค่า และตัดสิน พฤติกรรมของ
มนุษย์ ดังนั้นหากพูดถึงความดีและความถูกต้องในมุมมองของจริยศาสตร์คาสนาคริ สต์แล้ว จาเป็น
จะต้องใช้ชุดเหตุผลจากคาสอนทางศาสนาคริสต์มาเป็นกรอบเกณฑ์ในการพิจารณาเนื่องจากศาสนา
คริ ส ต์ เ ป็ น ศาสนาที่ มี พ ระเจ้ า เป็ น ศู น ย์ ก ลาง (Theocentric)นั้ น บุ ค คลใดก็ ต ามที่ ป ฏิ บั ติ ต ามพระ
ประสงค์ของพระเจ้า หรือปฏิบัติตามคาสอนของพระเยซู บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนดีในสายตาของ
ศาสนาคาสอนของพระเยซูแล้ว สามารถสรุปได้เป็น 2 ประการ คือ รักพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจ (love
the Lord your God with all your heart และรั ก เพื่ อ นบ้ า นเหมื อ นรั ก ตนเอง (love your
neighbor as yourself) (มัทธิว 22 : 37-391) หลักคาสอนที่เป็นเสมือนหัวใจสาคัญของคาสอนของ
พระเยซูดังกล่าวนาไปสู่ภาคปฏิบัติของคริสต์ศาสนิกชนโดยทั่ วไป การรักพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจ
สามารถแสดงออกได้ด้วยการตอบสนอง (Response) ต่อสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างทุกอย่าง โดยการดูแล
รั กษา ไม่ทาลาย หรื อไม่ทาการลดเกียรติในสิ่ งทรงสร้างเหล่ านั้น ไม่ว่าจะเป็นตนเอง เพื่อนบ้าน
รวมทั้งสิ่งแวดล้อม ดังนั้นบรรทัดฐาน ในมุมมองของจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์ ว่าพฤติกรรมใดเป็น
ความดีในสายตาของศาสนาคริสต์หรือไม่ ประการหนึ่ง คือ จริยธรรมแห่งการเป็นหุ้นส่วนกับพระเจ้า
ในการดูแลสิ่งทรงสร้างของพระองค์

(Ethic of Stewardship) ด้วยความเต็มใจ ซึ่งชาวคริสตชนทุกคนพึงระลึกว่าสิ่งนี้เป็นหน้าที่ที่จะต้อง


ปฏิบัติ ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า การที่บุคคลหนึ่งมีเพศสภาพที่ขัดต่อเพศสรีระเกิดจากพระเจ้าทรงกาหนด
14

มาผู้ที่มีพฤติกรรมแบบความหลากหลายทางเพศจึงเป็นสิ่งทรงสร้างของพระเจ้าด้วย ดังนั้นคริสตชนที่
ดีจะต้องตอบสนองต่อสิ่งทรงสร้างนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นการลดเกียรติหรือศักดิ์ ศรีของความเป็นมนุษย์
ของพวกเขาลงศาสนาคริสต์มีหลักคาสอนที่โดดเด่นข้อหนึ่ง คือ ความรักสากล ที่เรียกว่า อะกาเป
(Agape) อะกาเปเป็ น การรั กคนอื่นโดยนาพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง (Theocentric neighbor-love)
(Beach 1988 : 34) เป็นความรักแบบไม่มีเงื่อนไขและไม่สนใจสิ่งตอบแทน เป็นความรักในลักษณะที่
ก้าวข้ามพ้นความแตกต่างทุกรูปแบบ โดยคริสตชนที่ดีจะมอบความรักสากลนี้แก่สิ่งทรงสร้างของพระ
เจ้าทุกอย่าง (ทั้งตนเอง เพื่อนบ้าน และสิ่งแวดล้อม)โดยไม่มีการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างกัน
เปรียบดังพระอาทิตย์ที่ส่องแสงให้กับสิ่งต่าง ๆ บนโลกในลัก ษณะที่ไม่แบ่งแยก ผู้เขียนมีความเห็นว่า
ความรักแบบอะกาเป มีความคล้ายคลึงกับอัปปมัญญาในพระพุทธศาสนา) ดังนั้นคาสอนของศาสนา
คริสต์จึงมุ่งเชิดชูมนุษย์แต่ละคน (personhood) โดยไม่แยกแยะว่ามนุษย์ผู้นั้นจะมีเพศ สีผิวเชื้อชาติ
หรือองค์ประกอบใดก็ตามที่สังคมกาหนดขึ้นสวนคาสอนข้อที่ว่า "รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง" ก็
เป็นคาสอนที่มีความสัมพันธ์กับคาสอนข้อแรก คาว่า "เพื่อนบ้าน" ในที่นี้มีความหมายถึงคนทุกคนโดย
ไม่นา ปัจจัยเรื่องเพศ สีผิว เชื้อชาติ หรือองค์ประกอบใดที่สังคมกาหนดขึ้นมาเป็นสิ่งที่แบ่งแยก คา
กล่าวหนึ่งที่เป็นที่รับรู้เป็นอย่างดีของคริสตชน คือ "Loves the other in God" ซึ่งหมายถึง การเห็น
พระเจ้าในบุคคลอื่น รักบุคคลอื่นเหมือนกับที่รักพระเจ้า และถ้าต้องการปฏิบัติกับพระเจ้าอย่างไรก็
ปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างนั้น จะเห็นว่า หากคริสตชนปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวแล้ว กลุ่มบุคคลที่มีความ
หลากหลายทางเพศจะไม่ถูกกดขี่จากสังคม

มุมมองคน LGBT สาหรับพระคัมภีร์คริสเตียน

ศจ.ดร. สตีฟ เทย์เลอร์ กล่าวว่าสาหรับความเชื่อในพระคัมภีร์เป็นมาตรฐานความเชื่อและ


การกระทาให้เริ่มต้นมีมุมมองต่อคนที่เป็น LGBT อย่างถูกต้องตามพระคัมภีร์ ควรมีมุมมองดังต่อไปนี้

1. มองด้วยสายตาของพระเยซู

สิ่งแรกคือควรมองด้วยสายตาของพระเยซูคริสต์ กล่าวคือพระเยซูมีความรักและมีพระคุณ
ต่อทุกคนในพระกิตติซึ่งพระเยซูเป็นเพื่อนของคนที่สังคมถือว่าในเวลานั้นเป็นคนบาปหรือที่สังคม
ยอมรับไม่ได้ แต่พระเยซูเข้าหาคนอย่างนี้จนกระทั่งในลูกาบทที่ 15: 2 ซึ่งอ่านว่า“ พวกฟาริสีและ
15

พวกธรรมาจารย์ก็บ่นว่าคนนี้ต้อนรับคนบาปและกินด้วยกันกับเขาคือพระเยซูมองทุกคนว่าถูกสร้าง
ตามพระฉายาของพระองค์จึงให้เกียรติทุกคนมีความรักมีพระคุณต่อทุกคน

John Stott กล่าวว่า “คริสตจักรควรจะกลับใจโฮโมโฟเบีย ” โฮโมโฟเบีย (Homophobia) คือ


การผูกการเกลียดชัง หรือการเลือกปฏิบัติต่อพวกรักร่วมเพศ ทาไมจะต้องกลับใจ? ก็เพราะว่าสวนทาง
กับท่าทีที่พระเยซูมี หรือมุมมองที่พระเยซูได้มีต่อคนเหล่านั้น เป็นสิ่งที่น่าทึ่งมากที่คนที่สังคมปฏิเสธ
ไป อย่างเช่น พวกโสเภณีหรือคนเก็บภาษีคนเหล่านี้รู้สึกสบายใจมากที่จะมาหาพระเยซูถึงแม้ว่าพระ
เยซูเป็นผู้บริสุทธิ์ที่สุด แต่เขาไม่ได้รู้สึกถูกตัดสินน่าเสียดายถ้าบางคนมาที่คริสตจักรแล้วรู้สึกถูกตัดสิน
เราก็กาลังสวนทางกับสิ่งที่พระเยซูได้กระทา

2. แยกแยะระหว่าง“ แนวโน้ม” (รสนิยม) และ “ พฤติกรรม”

อันที่สอง ถ้าจะมองคนถูกต้องตามที่พระคัมภีร์จะให้ มองควรจะแยกแยะอย่างชัด เจน


ระหว่างแนวโน้ม (รสนิยมทางเพศ) และพฤติกรรมถ้าไม่ได้แยกแยะอย่างถูกต้องคนหนึ่งที่มี รสนิยม
ชอบเพศเดียวกัน แต่ไม่มีการกระทาออกมา อาจจะสรุปเขากาลังทาบาปอยู่ แต่เราควรคิดดี ๆ ในสิ่ง
เหล่านี้

3. ให้โอกาสและอดทน

อัน ที่ส าม ถ้าจะปฏิบั ติอย่างถูกต้องตามพระคัมภีร์ควรจะให้ โอกาสและอดทนเสมอมี


พระคุณอย่ างต่อเนื่ องกับ ทุ กคนยอมรับ ควรจะสารภาพสิ่ งเหล่ านั้ นกับ พระเจ้าและมี ท่าที ก ลั บ ใจ
สาหรับคนที่มาถึงพระเยซูคริสต์แล้วการเติบโตในชีวิตคริสเตียนที่บริสุทธิ์เป็นกระบวนการต้องใช้เวลา
ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะเปลี่ยนได้ทันทีทั้งหมด หลายครั้งก็ยังมีความสับสนในทางเพศมีการทดลองและอาจ
ยังล้มลงในการทดลองด้วยขอบคุณพระเจ้าที่พระเจ้าอดทนกับทุกคนขอบคุณพระเจ้าที่พระเจ้าให้
โอกาสที่สองให้โอกาสที่สามให้โอกาสที่สี่ถ้าไม่อย่างนั้นไม่มีใครจะอยู่ที่นี่ได้ในวันนี้

แต่เมื่อการผิดพลาดเกิดขึ้นควรมีการเพื่อจะขอการช่วยเหลือจากพระองค์ต่อไปในการดาเนิน
ชีวิตควรได้รับการให้อภัยทั้งจากพระเจ้าและจากพี่น้องด้วยเพราะฉะนั้นเราต้องพร้อมที่จะให้อภัยและ
ช่วยคนนั้นสามารถเริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนี้ด้วยจุดประสงค์ นาไปสู่การคืนดีกันคือช่วยคนนั้นคืนดีกับพระ
เจ้าช่วยคนนั้นคืนดีกับพี่น้องเป้าหมายไม่ใช่ขจัดบาปออกจากคริสตจักร ถ้าเป้าหมาย คือจัดมาบ่อย
16

จากคริสตจักร ทุกคนจะต้องออกจากคริส ตจักรเป้าหมาย คือนาไปสู่การคืนดีกันและเรียนรู้ ที่จ ะ


ดาเนินชีวิตภายใต้พระคุณของพระองค์ด้วยกันต่อไปขอพระเจ้าอวยพระพรพี่น้องทุกท่าน

ศาสนาคริสต์และกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ

นิกายคริสเตียน มีความเชื่อที่หลากหลายเกี่ยวกับ ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและสถานะ


ทางศีลธรรมของการปฏิบัติทางเพศของเพศเดียวกันและความแปรปรวนทางเพศ คน LGBT อาจถูก
กันออกจากการเป็นสมาชิกยอมรับว่าเป็นฆราวาสหรือบวชเป็นพระขึ้นอยู่กับนิกาย
นิกายโรมันคาทอลิกยินดีต้อนรับคนดึงดูดให้เพศเดียวกันขณะที่ยังคงการเรียนการสอนของ
ตนว่ามีความสัมพันธ์รักร่วมเพศและการกระทาที่เป็นบาป
Roman Curia ถือว่าบุคคลข้ามเพศเป็น เพศทางชีววิทยาของตนและยอมรับว่าไม่มีความ
แตกต่างระหว่าง "เพศ" และ "เพศสภาพ" คริสตจักรออร์ โธดอก ถือสถานการณ์ที่คล้ายกันในสถานที่
น่าสนใจเพศเดียวกันและความสัมพันธ์กับการสมรส
นิ ก ายโปรเตสแตนต์ มี มุ ม มองที่ ห ลากหลาย บางนิ ก ายหลั ก การมุ ม มองคล้ า ยกั บ นิ ก าย
โรมันคาทอลิกและดั้งเดิมและสอนว่าทุกเพศสัมพันธ์นอกสมรสแบบดั้งเดิมระหว่างชายและหญิงเป็น
คนบาป เช่น กลับเนื้อกลับตัวโบสถ์ในอเมริกา , ภาคใต้พิธีประชุม , คริสตจักร พระเยซูคริสต์แห่งวิ
สุทธิชนยุคสุดท้ายและพระเจ้าเป็นพยาน
โบสถ์คริสต์อื่น ๆ เช่น คริสตจักรแห่งอังกฤษ , สหคริสตจักรของประเทศแคนาดาที่โบสถ์
คริสต์ทคี่ ริสตจักรเพรสไบที (USA)ทีศ่ าสนานิกายลูเธอรันในแคนาดาทีศ่ าสนานิกายลูเธอรันในอเมริกา
,คริสตจักรลูเธอรันแห่งสวีเดน,นิกายลูเธอรันแห่งเดนมาร์ก,นิกายลูเธอรันในนอร์เวย์ ,คริสตจักรลูเธอ
รั น แห่ ง ไอซ์ แ ลนด์ ,คริ ส ตจั ก รโปรเตสแตนต์ ข องเนเธอร์ แ ลนด์ ,คริ ส ตจั ก รโปรเตสแตนต์ ส หใน
เบลเยียม , คริสตจักรโปรเตสแตนต์ของฝรั่งเศส , ลูเธอรันเยอรมัน, ปฏิรูปและ สหคริสตจักรในพระ
เยซูโบสถ์ในเยอรมนี ที่คริสตจักรคาทอลิกเก่าแก่ ที่คริสตจักรชาวอังกฤษในแคนาดาที่บาทหลวงใน
โบสถ์ในสหรัฐอเมริกาหรือคริสตจักรสก็อตบาทหลวงไม่ได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน
ผิดศีลธรรมและจะบวชLGBT พระสงฆ์และทาพรของเท่ากัน การแต่งงานเพศ Liberal Quakers ซึ่ง
เป็นสมาชิกของการประชุมประจาปีของสหราชอาณาจักรและการประชุมใหญ่เพื่อนในสหรัฐอเมริกา
อนุมัติการแต่งงานเพศเดียวกันและการรวมตัวกันและดาเนินพิธีการแต่งงานของเพศเดียวกันในส
หราชอาณาจักร
17

บรรณานุกรม

จรีย์วรรณ จันทร์แดง, ณรัตน์ สมสวัสดิ์ และ สุขพาพร ผาณิต. (2546) ). ความหลากหลายทางเพศใน


บริบทสังคมไทยปัจจุบัน. อักษรศาสตร์, 35(2), 370-374.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การ
ยอมรับ LGBTQ ในสังคมไทย. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
http://human.msu.ac.th/lmcnews/.
สตีฟ เทย์เลอร์. พระคัมภีร์ให้คริสเตียนมองคน LGBT อย่างไร. [วิดีโอ]. สืบค้นจาก
https://bbsthai.org/bbs.
สานักงานราชบัณฑิตยสภา. คาเกี่ยวกับ “เพศ”. [กฤตภาคออนไลน์]. สืบค้นจาก
http://legacy.orst.go.th.
หริณวิทย์ กนกศิลปธรรม. (2556). ความหลากหลายทางเพศในมุมมองของจริยศาสตร์ศาสนาคริสต์
และพุทธศาสนา. อักษรศาสตร์, 35(2), 103-105.
องค์การอนามัยโลก. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564, จากวิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/.
อานาจ มงคลสืบสกุล. (2561). สิทธิมนุษยชนของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในบริบท
สังคมไทย. สังคมศาสตร์, 1(1), 69-81.
Art & Culture. สถานะเพศ. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
https://artsandculture.google.com/entity/m09hcb.
BBC THAI. เหตุใดพระเจ้าถึงไม่ใช่ผู้หญิง. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก
https://www.bbc.com/.

You might also like