You are on page 1of 208

จดหมายฉบับที่ ๑ บ้านกาญจนรัชต์
นครราชสีมา

พิชญา ศิษย์รกั
นี้ เป็ นจดหมายฉบับแรก ที่ อาจารย์เขียนถึ งเธอตามที่ อาจารย์ได้สัญญาไว้
ก่อนอื่น อาจารย์ขอแสดงความชื่นชมยินดี กับเธอที่ สามารถสอบเข้าเรียนที่ คณะ
พุ ทธศาสตร์ ที่ มหาวิทยาลัยมหาจุ ฬาลงกรณราชวิทยาลั ยได้ โดยตั้งใจจะเรี ยน
วิชาเอกภาษาบาลีพุทธศาสตร์ ซึ่งน้อยคนที่จะเลือกเรียนทางด้านนี้ ยิ่งเป็ นหญิงสาว
ด้วยแล้ว หายากมาก ที่เป็ นเช่นนี้ ก็อย่าเข้าใจว่าเราไม่เหมือนคนอื่น หรือคนอื่นไม่
เหมือนเรา เพราะทุ กคนมีทางเลือกเฉพาะตน การที่จะเลือกทางใดก็แล้วแต่ว่าคน
คนนั้นมีพื้นฐานชีวิต มีความโน้มเอียง ความสนใจในทางใด การที่เธอตัดสินใจเลือก
เรียนทางด้านนี้ ก็ เป็ นความสมัครใจ ความสนใจ ประกอบกับพื้ นฐานครอบครัวก็
เป็ นผู ้สนใจในพระพุ ทธศาสนา นอกจากนี้ ชี วิตครอบครัวของเธอเองก็ ไม่ ต ้อง
เดือดร้อนอะไรมาก เพราะมีธุรกิจที่ จะต้องดูแลมากมาย ชีวิตไม่ตอ้ งขวนขวายเพื่อ
หางานที่มนั ่ คงทา เมื่อไม่ตอ้ งกังวลเรื่องงานที่จะต้องไปหาหลังจากเรียนจบแล้ว การ
มาเรียนก็เพื่อหาความรูใ้ นสิ่งที่เราอยากรู ้ ซึ่งอาจารย์ทราบมาว่า ทางครอบครัวของ
เธอก็ ไม่ว่าอะไร จะเรียนอะไร ที่ ไหน ก็ ตามสะดวก ไม่คัดค้าน ขอเพียงให้อยู่กับ
ครอบครัว ไม่ตอ้ งไปอยูท่ ี่ไกลหู ไกลตาให้เป็ นห่วง
การเรียนที่ มหาจุ ฬา ฯ ในชั้นปี ที่ ๑-๒ ทุ กคณะจะต้องเรียนวิชาพื้ นฐาน
ทัว่ ไป และวิชาแกนพระพุทธศาสนา เมื่อเรียนจบ ๒ ปี แล้ว ปี ๓ กับ ๔ จึงเรียนใน
ส่วนของวิชาเอก นิ สิตบางคนพอขึ้ นปี ๓ ก็ขอเปลี่ยนเอกก็มี กรณีของเธอ หากเรียน
ไป ๒ ปี แล้ว อยากจะเปลี่ยนเอกก็สามารถทาได้ ยกเว้นคณะครุศาสตร์ ในฐานะที่
อาจารย์สอนอยูท่ ี่ มหาจุฬา ฯ ก็ขอกล่าวต้อนรับเธอในฐานะนิ สิตใหม่ดว้ ยคนหนึ่ ง
อาจารย์เคยสัญญากับเธอไว้วา่ จะเขียนเรื่องพระพุทธศาสนาให้เธอได้อ่าน
นั บว่าเป็ นโอกาสเหมาะเมื่ อเธอได้มาเรี ยนที่ มหาจุ ฬา ฯ ซึ่ งจะต้องเรี ยนเรื่ อง
พระพุทธศาสนา เนื่ องจากอาจารย์สอนที่มหาจุฬา ฯ ในส่วนวิทยาเขต จึงไม่มีโอกาส
ได้พบกับเธอ อาจารย์จึงเขียนแล้วก็ ส่ งให้อ่านในรูปของจดหมายไฟฟ้ า (E-mail)

โดยจะเขียนให้ได้สปั ดาห์ละฉบับ เรื่องราวที่เขียนก็จะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หาก


มีเวลาก็จะเขียนเรื่องภาษาอังกฤษ ภาษาบาลีต่อไป
การศึกษาพระพุทธศาสนา สามารถศึกษาได้หลายแง่มุมหรือหลายประเด็น
ตามความสนใจของผู ศ้ ึ กษา เช่น ศึ กษาในส่ วนหลักธรรม ประวัติ ความเป็ นมา
ประวัติบุคคลสาคัญที่ เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รวมถึ งศาสนสถานต่าง ๆ ใน
จดหมายฉบับนี้ จะไม่แยกประเด็นดังกล่าว แต่จะกล่าวรวม ๆ ไป ทั้งในส่วนประวัติ
รวมไปถึงหลักธรรม
เมื่อกล่าวถึงภาพรวมโดยสรุปของพระพุทธศาสนา จะเห็นได้วา่ ศาสนาพุทธ
หรือที่ราชบัณฑิตยสถานและราชการไทยเรียกว่าพระพุทธศาสนา เป็ นศาสนาที่ มี
พระพุทธเจ้าเป็ นศาสดา มีพระธรรมที่ พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เป็ นหลักคาสอน
สาคัญ มีพุทธบริษัทเป็ นชุ มชนของผูน้ ั บถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคาสัง่
สอนของพระศาสดา และเพื่อสืบทอดพระธรรมแห่งพุทธศาสนา ศาสนาพุทธเป็ น
ศาสนาอเทวนิ ยม และเชื่อในศักยภาพของมนุ ษย์วา่ ทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่
ความเป็ นมนุ ษย์ที่สมบูรณ์ได้ดว้ ยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธสอนให้
มนุ ษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทาของตน มิได้มาจากการอ้อน
วอนขอจากพระเป็ นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายคือ ให้พึ่งตนเอง เพื่อพาตัวเองออก
จากกองทุ กข์ มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุ ษย์หลุดพ้นจากความทุ กข์ท้ังปวงใน
โลกด้วยวิธีการสร้าง "ปั ญญา" ในการอยู่กบั ความทุกข์อย่างรูเ้ ท่าทันตามความเป็ น
จริ ง วัต ถุ ป ระสงค์ สู งสุ ด ของศาสนา คื อ การหลุ ด พ้น จากความทุ ก ข์ ท้ั งปวง
เช่นเดียวกับที่ พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ดว้ ยกาลังสติ ปัญญาและความเพียรของ
พระองค์เอง ในฐานะที่ พระองค์ก็ทรงเป็ นมนุ ษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทู ตของพระเจ้า
องค์ใด
ศาสดาของศาสนาพุ ท ธคื อพระโคตมพุ ทธเจ้า พระนามเดิ มว่า เจ้าชาย
สิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คาสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลัง
ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสัง่ สอน ได้ถูกรวบรวมเป็ น
หมวดหมู่ ด ้วยการสั งคายนาพระธรรมวิ นั ยครั้งแรก จนมี ก ารรวบรวมขึ้ นเป็ น
พระไตรปิ ฎก ซึ่ งเป็ นหลักการส าคัญ ที่ ไม่ มี การเปลี่ ยนแปลงมาตลอดของนิ กาย
เถรวาท ที่ ยึ ดหลั กไม่ ยอมเปลี่ ยนแปลงค าสั ง่ สอนของพระพุ ทธเจ้า แต่ ในการ

สังคายนาพระธรรมวินั ยครั้งที่ สอง ได้เกิดแนวคิดที่ เห็นต่างออกไป ว่าธรรมวินั ย


สามารถปรับปรุงเปลี่ ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์ เพื่อความอยู่รอดของ
พุทธศาสนา แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็ นนิ กายใหม่ในชื่อ
ของ นิ กายมหายาน ทั้งสองนิ กายได้แตกนิ กายย่อยไปอี กและเผยแพร่ออกไปทัว่
ดินแดนเอเชียและใกล้เคียง
ปั จจุบนั ศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทัว่ โลก โดยมีจานวนผูน้ ั บถือส่วนใหญ่อยูใ่ น
ทวี ป เอเชี ย ทั้ งในเอเชี ยกลาง เอเชี ย ตะวัน ออก และเอเชี ยตะวัน ออกเฉี ย งใต้
โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็ นพุทธศาสนิ กชน ปั จจุบนั ศาสนา
พุทธได้มีผูน้ ั บถื อกระจายไปทัว่ โลก หากนั บจานวนรวมกันแล้วอาจมากกว่า ๕๐๐
ล้านคน การแพร่ ก ระจายของพุ ท ธศาสนาเถรวาทลั ท ธิ ลั งกาวงศ์ เข้าสู่ เอเชี ย
ตะวันออกเฉี ยงใต้หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ ๓ เดือน พระ
สาวกผูไ้ ด้เคยสดับสัง่ สอนของพระองค์จานวน ๕๐๐ รูป ก็ประชุมทาสังคายนาครั้ง
แรก ณ ถ้ าสัตบรรณคู หา ใกล้เมือง ราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ ๗
เดือน จึงประมวลคาสอนของพระพุทธเจ้าได้สาเร็จเป็ นครั้งแรก นั บเป็ นบ่อเกิดของ
คัมภีรพ์ ระไตรปิ ฎก คาสอนที่ลงมติกนั ไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบ
มา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คาสอนที่ วางไว้เป็ นหลักการโดยพระเถระ คาว่า เถระ
ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผูป้ ระชุ มทาสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือ
ตามหลักที่ ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิ กายเถรวาท อันหมายถึง คณะ
สงฆ์กลุ่มที่ยึดคาสัง่ สอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคา และเนื้ อความที่ท่านสังคายนา
ไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตวั ภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี
ลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา
เมื่ อกล่ า วถึ งลั ก ษณ ะเด่ น ของพระพุ ทธศาสนาแล้ ว จะเห็ นได้ ว่ า
พระพุทธศาสนามีลักษณะเด่นหลายประการ ไม่ว่าจะมองโดยมุมไหนก็แล้วแต่ก็จะ
พบลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา แต่เพื่อให้มองเห็นลักษณะเด่น ๆ ที่ชดั เจน จึง
จะกล่าวถึงโดยลาดับ ลักษณะเด่นของพุทธศาสนาที่สาคัญคือ

๑. ไม่มีเรื่องการอ้อนวอน
พระพุทธศาสนาไม่มีพระผูเ้ ป็ นเจ้าและไม่มี การบังคับศรัทธา บางคนไม่
เข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ เอาแต่ออ้ นวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ศาสนาพุทธ เป็ น
ศาสนาที่ เกิ ดในยุคที่ สังคมอิ นเดี ยมีสภาพการณ์หลายอย่างที่ วุ่นวาย เช่น มีการ
แบ่งแยกกดขี่ทางชนชั้นวรรณะของศาสนาพราหมณ์ -ฮินดู มีความเหลื่อมล้าทาง
สังคมที่ ชัดเจน ถื อชั้น วรรณะอย่างเข้มงวด มี ความแตกต่ างกันทางฐานะอย่าง
มากมาย (มีท้ังเศรษฐีมหาศาลและคนยากขาดแคลน) และลัทธิ ความเชื่อ ศาสดา
อาจารย์เกิ ดขึ้ นมากมาย ที่ สอนหลักการยึดถื อปฏิบัติอย่างผิดพลาด หรือสุ ดโต่ง
เช่น การใช้สัตว์เป็ นจานวนมากเพื่อบวงสรวงบูชายัญ การบาเพ็ญทุ กรกิ ริยาของ
นักบวชบางพวก การปล่อยชีวติ ให้เป็ นไปโดยไม่แก้ไขถือว่าเป็ นพระประสงค์ของพระ
เจ้า รวมถึงการกีดกันไม่ให้คนบางพวก บางกลุ่มเข้าถึงหลักการ หลักคาสอนของตน
ได้ เนื่ องจากข้อจากัดของชาติกาเนิ ด ฐานะ เพศ เป็ นต้น แต่พุทธศาสนาเปิ ดโอกาส
ให้ทุกคนเข้าถึงเป้ าหมายสูงสุดได้เสมอกัน โดยไม่แบ่งแยกตามชั้นวรรณะ จึงเสมือน
น้ าทิ พย์ชโลมสังคมอิ นเดี ยโบราณให้ขาวสะอาดมากกว่าเดิ ม ค าสอนของพุ ทธ
ศาสนาทาให้สงั คมโดยทัว่ ไปสงบร่มเย็น
๒. เป็ นศาสนาแห่งเหตุผล
พุ ท ธศาสนาเป็ นศาสนาแห่ งความรู ้ เพราะเป็ นศาสนาที่ เกิ ดจากพระ
อัจฉริ ยะภาพของพระพุ ทธองค์เอง จากปั ญ ญาของพระองค์ ให้เสรี ภาพในการ
พิจารณา ให้ใช้ปัญญาเหนื อศรัทธา ในขณะที่ บางศาสนาสอนว่าศาสนิ กชนต้องมี
ศรัทธามาก่อนปั ญญาเสมอ และต้องมีความภักดีต่อพระผูเ้ ป็ นเจ้าสูงสุด ผูน้ ั บถือจะ
สงสัยในพระเจ้าไม่ได้ ศาสนาพุทธเป็ นศาสนาแห่งการศึกษา และการแสวงหาความ
จริง และส่งเสริมท้าทายให้ศาสนิ ก พิสูจน์ หลักธรรมนั้ นด้วยปั ญญาของตนเอง ไม่
สอนให้เชื่อง่ายโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน เช่น หลักกาลามสูตร
๓. เป็ นศาสนาแห่งอิสรภาพและเสรีภาพ
พระพุทธศาสนาเป็ นศาสนาแห่งอิสรภาพและเสรีภาพไม่มีการบังคับ ให้คน
ศรัทธา หรือเชื่ อ แต่ ท ้าทายให้เข้ามาเรี ยนรู ้ และพิ สู จน์ หลักธรรม ด้วยตนเอง
ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคาสอน ซึ่งทรงสอนให้ผูฟ้ ั งใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่อง

แท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ ไม่ใช่เทวโองการ (Gospel) จากพระเจ้าซึ่งแย้งไม่ได้ พระสงฆ์


หรือพุทธสาวกก็มิใช่มิชชันนารี ซึ่งมีภารกิจหลักคือจาริกไปชี้ ชวนให้ใครต่อใครมา
นั บ ถื อพระศาสนา พระสงฆ์ ห รื อพุ ท ธสาวกมี ห น้ าที่ เพี ยงอธิ บ ายค าสอนของ
พระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟั งเท่านั้ น ใครไม่สนใจฟั ง ชาวพุทธก็ไม่เคยใช้กฎหมาย
หรือรัฐธรรมนู ญบังคับให้นั บถื อ ไม่เคยตั้ งกฎให้คู่รักศาสนิ กของตนต้องเปลี่ ยน
ศาสนาย้ายมานั บถือก่อนจึงจะให้แต่งงานได้ ไม่เคยตั้งกองทุนให้การศึกษาฟรี แล้ว
สร้างเงื่อนไขให้ผูร้ บั ทุนเปลี่ยนมาเป็ นชาวพุทธ ไม่เคยสร้างที่พกั อาศัยให้หรือแจก
ทานให้อาหารฟรีๆ แล้ววางเงื่อนไขให้คนมาขออาศัยตนต้องหันมานั บถือศาสนาใน
ภาวะจายอม ความใจกว้างและมีหลักคาสอนที่เป็ นสัจธรรม เชิญชวนให้มาพิสูจน์
ด้วยการปฏิ บัติ เองและเน้ นให้ใช้ปั ญญาไตร่ตรองให้รอบคอบก่ อนนั บถื อ ท าให้
ศาสนาพุทธได้รบั การยอมรับจากวิญญูชนไปทัว่ โลก นั กปราชญ์ท้งั หลายทั้งในอดีต
และปั จจุบันจึงกล่าวยกย่องว่าเป็ นศาสนาที่ ประกาศความเป็ นอิสระของมนุ ษย์ให้
ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆที่ มีมา ทั้งจุดมุ่งหมายเป็ นอิสระจากกิเลสตัณหา
และมายาสิ่งสมมุติท้งั ปวง
อีกนั ยหนึ่ ง พุทธศาสนา สอนว่าทุกคนมีอิสระ และเสรีที่จะเลือกทา เลือก
เป็ น เลือกสร้าง โลก ได้อย่างเต็มที่ดว้ ยตนเอง โดยการสร้างเหตุ และเตรี ยมปั จจัย
ให้พร้อม ที่ จะท าให้เกิ ดผลอย่างที่ ต ้องการ (เมื่ อเหตุ และปั จจัยพร้อม ผลก็ จะ
เกิดขึ้ น) ซึ่งไม่ขึ้นอยูก่ บั การดลบันดาลของใคร หรือกรรมเก่า (ที่เป็ นเพียงแค่ปัจจัย
หนึ่ ง หรือเงื่อนไขหนึ่ งเท่านั้น)
๔. เป็ นศาสนาอเทวนิยม
พระพุทธศาสนาเป็ นศาสนาอเทวนิ ยม เพราะเหตุว่าศาสนาพุทธไม่เชื่อว่ามี
พระเจ้า ไม่ยอมรับในอานาจการดลบันดาลของพระเจ้า จึงจัดอยู่ในศาสนาประเภท
อเทวนิ ยม ในความหมายที่ ว่าไม่เชื่อว่า พระเจ้าบันดาลทุ กสรรพสิ่ง ไม่เชื่อว่าพระ
เจ้าสร้างโลก พุทธศาสนาเป็ นศาสนาที่ ไม่ผูกติดกับพระผูด้ ลบันดาล หรือพระเจ้า
ไม่ ได้ผู ก มั ด ตนเองไว้กั บ พระเจ้า ไม่ พึ่ งพาอ านาจของพระผู ้เป็ นเจ้า เชื่ อ ใน
ความสามารถของมนุ ษย์วา่ มีศักยภาพเพียงพอ โดยไม่ตอ้ งพึ่งอานาจใดๆภายนอก
เชื่อว่ามนุ ษย์เองสามารถปลดเปลื้ องความทุ กข์ได้โดยไม่รอการดลบันดาล และ

พระพุทธเจ้าทรงตรัสรูโ้ ดยไม่มีใครสัง่ สอน และไม่อา้ งว่าเป็ นทูตของพระเจ้า แต่หาก


จะเปรียบเที ยบกับศาสนาอื่ นที่ มี พระเจ้า ชาวพุ ทธทุ กคนคื อพระเจ้าของตัวเอง
เนื่ องจากตัวเองเป็ นคนกาหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองใน
ชีวิตหรือมีความตกตา่ ในชีวิต จากการประพฤติปฏิบัติของตัวเอง ดังคาพุทธพจน์
ที่ว่า ตนแลเป็ นที่ พึ่งแห่งตน ซึ่ง ต่างกับศาสนาที่ มีพระเจ้าผูเ้ ป็ นใหญ่ ที่ ชะตาชีวิต
ทั้งหมดล้วนเป็ นสิ่งที่ พระเจ้ากาหนดมาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าจะเจอเรื่องดี
หรือร้ายก็ตอ้ งทนรับชะตากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
๕. เป็ นศาสนาแห่งสันติภาพ
พระพุทธศาสนาเป็ นศาสนาแห่งสันติ ภาพในกระบวนการนั กคิ ดของโลก
ศาสนาพุทธได้รบั การยกย่องจากทัว่ โลกว่า เป็ นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง
เพราะไม่ปรากฏว่ามี สงครามศาสนาเกิ ดขึ้ นในนามของพุ ทธศาสนา หรือเผยแผ่
ศาสนาโดยการบังคับผูอ้ ื่นให้มานั บถื อ สอนให้มีความรักต่อสรรพชีวิตใดๆไม่ใช่
เพียงแค่มนุ ษย์รวมถึ งสรรพสัตว์ท้ังหมด ที่ ร่ วม เกิ ด แก่ เจ็บ ตาย รักสุ ข-เกลียด
ทุกข์เช่นเดียวกับเรา สอนให้เมตตาทั้งผูอ้ ื่นและตัวเอง สอนให้รกั ษาปกป้ องสิทธิของ
ตนเองและไม่ให้ละเมิดสิทธิ ของผูอ้ ื่น สหประชาชาติจึงยกย่องให้วนั วิสาขบูชาเป็ น
วันสันติภาพโลก
นิกายในพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาแบ่งนิ กายออกเป็ นนิ กายใหญ่ได้ ๒ นิ กายคือ เถรวาท และ
มหายาน นอกจากนี้ แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปแบ่งเป็ น ๓ นิ กาย เนื่ องจาก
วัชรยานไม่ยอมรับว่าตนคือมหายาน เนื่ องจาก มหายานมีตน้ เค้ามาจากท่านโพธิ
ธรรม (ปรมาจารย์ต๊กั ม้อ) ส่วนวชิรยานมีตน้ เค้ามาจากท่านคุรุปัทสัมภวะ
เถรวาท (เดิมเรียกอีกชื่อว่า 'หินยาน' แปลว่า ยานเล็ก) หมายถึง คาสัง่ สอน
ของพระพุ ท ธเจ้า ซึ่ งค าสั ง่ สอน และ หลั ก ปฏิ บั ติ จะเป็ นไปตามพระไตรปิ ฎก
แพร่หลายอยูใ่ นประเทศไทย ศรีลงั กา พม่า ลาว กัมพูชา และ บางส่วนของประเทศ
เวียดนามส่วนมากเป็ นชาวเขมร บังกลาเทศ และ มาเลเซียส่วนมากเป็ นชาวไทย
มหายาน (ยานใหญ่) หรือ อาจาริยวาท แพร่หลายใน จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย
ภู ฏาน ไต้หวัน เกาหลี เหนื อ เกาหลี ใต้และ สิ งคโปร์ และบางส่ วนของ อิ นเดี ย

อิ น โดนี เซี ย มาเลเซี ยส่ วนมากเป็ นชาวจี น เนปาล บรู ไนส่ วนมากเป็ นชาวจี น
ฟิ ลิ ปปิ นส์ส่ วนมากเป็ นชาวจี น อุ ซเบกิ สถาน และ ทาจิ กิ ส ถาน วัชรยาน หรื อ
มหายานพิเศษ ปั จจุบันมีใน อินเดี ยบริเวณลาดักในรัฐชัมมูและกัษมีร์ และในรัฐ
สิกขิม ประเทศเนปาล ภูฏาน ปากีสถาน มองโกเลีย
ในจดหมายนี้ จะกล่าวประเด็นเฉพาะพระพุทธศาสนานิ กายเถรวาทเท่านั้ น
ซึ่งประเด็ นสาคัญของพระพุ ทธศาสนาเถรวาทก็ คือสภาพสังคมของอิ นเดี ยในยุค
ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะอุบตั ิขึ้น ช่วงพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้น หลังพุทธกาล รวม
ไปถึงการที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งทางซีกโลกตะวันตกและซี ก
โลกตะวันออก ซึ่งจะกล่าวถึงในฉบับต่อ ๆ ไป ฉบับนี้ ขอจบเพียงเท่านี้

ขอให้พระรัตนตรัยคุม้ ครอง
อาจารย์

จดหมายฉบับที่ ๒ บ้านกาญจนรัชต์
นครราชสีมา

พิชญา ศิษย์รกั
ฉบับนี้ อาจารย์จะได้กล่าวถึงสภาพสังคมอินเดียยุคก่อนที่พระพุทธศาสนา
จะอุ บั ติ ขึ้ น โดยมี ป ระเด็ น ส าคั ญ ใหญ่ ๆ ๒ ประเด็ น คื อ ๑) ภู มิ ห ลั ง ทาง
ประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์อินเดีย และ ๒) กาเนิ ดและพัฒนาการทางความ
เชื่อของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งอาจารย์จะได้กล่าวโดยลาดับ ดังนี้
๑. ภูมิหลังทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์อินเดีย
อินเดียเป็ นประเทศสาคัญในภูมิภาคเอเชีย ที่ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
หลายพันปี ที่สาคัญอินเดียเป็ นแหล่งกาเนิ ดอารยธรรมที่เก่าแก่และเจริญรุง่ เรืองมา
แต่ครั้งโบราณกาล เมื่ อกล่ าวถึ งอิ นเดี ย มิ ใช่เฉพาะประเทศในซีกโลกตะวันออก
เท่านั้ นที่รูจ้ กั โดยทัว่ กัน แม้แต่ประเทศในซีกโลกตะวันตก ต่างก็รูจ้ กั ดินแดนแห่งนี้
เป็ นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (๓๕๖-
๓๒๓ B.C.) แห่งมาซิโดเนี ย ครั้งหนึ่ งพระองค์ได้เคยยาตราทัพมายังดินแดนแถบนี้
โดยมุ่งหมายจะยึดครองอินเดียให้จงได้ ตามข้อสันนิ ษฐานของนั กโบราณคดี ส่วน
ใหญ่ลงความเห็นว่า ภาคเหนื อของอินเดียได้เคยมีการติดต่อกับอารยธรรมเมโสโป
เตเมียในลุ่มแม่น้ าไทกริสและยูเฟรติสมาก่อนแล้ว
๑.๑ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอินเดีย
อินเดียในยุคโบราณมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ครอบคลุม ๕ ประเทศ
ในปั จจุบัน คือ ประเทศอินเดี ย ปากีสถาน เนปาล บังกลาเทศ และอัฟกานิ สถาน
อิ นเดี ยเป็ นอนุ ทวีป (Subcontinent) ที่ อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชี ย เป็ นดิ นเเดนรูป
สามเหลี่ยมหัวกลับขนาดใหญ่ มีเนื้ อที่ใหญ่พอๆ กับทวีปยุโรปและมีพรมแดนที่ถูก
ปิ ดทุ กด้าน โดยปลายยอดอยู่ทางด้านใต้ยื่นไปในมหาสมุทรอินเดีย แผ่นดินส่วน
ใหญ่จึงแวดล้อมด้วยทะเล ส่วนแผ่นดินที่เหลือทั้งหมดจะแวดล้อมไปด้วยเทื อกเขา
สูงทั้งสิ้ น โดยฝั ่งตะวันออกติ ดเทื อกเขาของพม่ า ฝั ่งตะวันตกติดเทื อกเขาฮินดูกู ช

ส่ วนตอนเหนื อซึ่ งเป็ นเหมื อนฐานของสามเหลี่ ยม ตลอดอาณาเขตมี เทื อกเขา


หิมาลัยพาดเป็ นแนวยาวสูงตระหง่าน
อาณาบริเวณของอินเดียโบราณนั้ น แบ่งได้เป็ น ๓ เขต ได้แก่ เขตเทื อกเขา
หิมาลัย เขตลุ่มแม่น้ าสายใหญ่ และเขตที่ ราบสูงทางตอนใต้ ด้านเหนื อสุ ดของดิน
เเดน สลับสล้างไปด้วยพืดเขาสูงลิบลิ่วซึ่งปกคลุมขาวโพลนด้วยหิมะตลอดปี เป็ น
แนวกาแพงภูเขามหึมาที่ทอดตัวโค้งเหมือนกับดาบโง้ง แบ่งอนุ ทวีปอินเดียออกจาก
ส่วนอื่นของทวีปเอเชีย ยอดเขาหิ มาลัยและทิ วเขาการาโกรัม (Karakoram) ด้านที่
ประชิดกันเป็ นส่วนสูงที่สุดในโลกและยาวเรื่อยมาจนถึงปลายด้านทิศตะวันตกเฉียง
เหนื อด้านแนวเทือกเขาฮินดูกูช (Hindukush) ยามที่ตอ้ งแสงพระอาทิตย์แลประดุจ
เอาทองมาทาบทา บางเวลากลับแลดู สลัวด้วยเมฆหมอกที่ สลับซับซ้อนไปจนสุ ด
สายตา
ถัดมาเป็ นที่ราบลุ่มแม่น้ าอันกว้างใหญ่ไพศาล มีทุ่งโล่ งสาลีเกษตรที่ได้รบั
ความสมบูรณ์จากแม่น้ าทั้งหลาย อันมีแม่น้ าสายสาคัญ ๓ สาย เรียงจากตะวันตก
ไปหาตะวันออก คือ แม่น้ าสินธุ แม่น้ าคงคาและแม่น้ าพรหมบุตร ซึ่งรับน้ าที่ เกิด
จากการละลายลงของหิ มะที่ ปกคลุ มยอดเขาหิ มาลั ยในฤดู ร อ้ น น าความอุ ดม
สมบูรณ์มาให้อินเดีย จนกระทัง่ ก่อกาเนิ ดเป็ นแหล่งอารยธรรมที่สาคัญของอินเดีย
มาแต่สมัยโบราณ
ต่ อจากเทื อกเขาวิ น ธั ย (Vindhyas) ลงมา เป็ นที่ ราบสู งทางตอนใต้คื อ
บริเวณที่ เป็ นคาบสมุ ทรของอิ นเดี ยซึ่ งเรียกว่า ที่ ราบสู งเดคคาน (Deccan) และ
ทะเลทรายธาร์ (Thar) ที่ท้ังร้อนและแห้งแล้ง บางคราวดินแดนแห่งนี้ ก็หนาวเหน็ บ
จนหิมะจับขาวโพลน บางคราวแผ่นดินก็รอ้ นระอุดูเวิ้ งว้างปราศจากพืชพันธุ์เพราะ
แทบจะไม่มีฝนตกเลย ส่วนที่ราบตา่ สาหรับปลูกพืชผลตามลุ่มน้ า บางปี ก็มีน้ าเอ่อ
ล้น ฝั ่ งจนเกิ ดอุ ท กภั ยคร่ าชี วิ ตมนุ ษย์ไปครั้งละนั บร้อยนั บพั นคน แต่ บางปี ใน
หน้าแล้งแม่น้ าสายใหญ่ๆ ก็กลับกลายเป็ นดุจทะเลทรายที่แห้งผาก
ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ถูกแบ่งด้วยภูเขา แม่น้ า และทะเลทรายออกเป็ น
เขตๆ จึงกลายเป็ นอุปสรรคต่อการเดินทางไปมาติดต่อระหว่างกัน ทาให้อินเดียแบ่ง
ออกเป็ นหลากหลายเผ่าพันธุ์ จานวนภาษาที่ ใช้ก็มีมากกว่าร้อยภาษา ยิ่งอิน เดี ย
ภาคเหนื อกับอิ นเดี ยภาคใต้ด ว้ ยแล้วจะแตกต่างกันโดยสิ้ นเชิงราวกับเป็ นคนละ
๑๐

ประเทศ ไม่ว่าจะเป็ นสีผิว ภาษา หรือพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ลว้ นต่างกัน จนยากที่ จะ


กล่าวว่าเป็ นผืนดินเดียวกัน ดังนั้ นความมีเอกภาพของดินแดนแห่งนี้ จึงเกิดขึ้ นได้
ยาก จะมีก็แต่สมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชเท่านั้ น ที่ทรงแผ่พระราชอานาจเหนื อ
อาณาจักรอันไพศาล กว้างไกลไปจนครอบคลุมอนุ ทวีปเกือบทั้งหมด
๑.๒ แหล่งกาเนิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ าสินธุ
แต่เดิมนั กโบราณคดีสนั นิ ษฐานว่าประวัติศาสตร์ของอินเดียเริ่มต้นก่อนยุค
พุทธกาลประมาณพันปี แต่เมื่อมีการขุดพบเมืองหลายเมืองบริเวณลุ่มแม่น้ าสินธุซึ่ง
เป็ นต้นกาเนิ ดอารยธรรมของอินเดียในกาลต่อมาประวัติศาสตร์ความเป็ นมาของ
อินเดียจึงต้องย้อนไปอีกนั บพันปี จนสันนิ ษฐานว่าชุมชนแห่งแรกที่มีขีดความเจริญ
ของความเป็ นอารยธรรม เริ่มต้นขึ้ นในราว ๒,๘๐๐ ปี ก่ อนพุ ทธกาลในยุคสาริด
(Bronze Age) และชุ มชนแห่งนี้ เองที่ เรียกว่า "อารยธรรมลุ่ มแม่น้ าสิ นธุ " (Indus
Civilization) ซึ่งคาดว่าเป็ นอารยธรรมยุคเดียวกันกับอารยธรรมเมโสโปเตเมียในลุ่ม
แม่น้ าไทกริสและยูเฟรติส และอารยธรรมอียปิ ต์ในลุ่มแม่น้ าไนล์
คาว่า "สินธุ" หรือ "สินธู" ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สายน้ าหรือแม่น้ า ชื่อ
ของแม่น้ าสิ นธุ ถ ้าเขี ยนเป็ นตัวอักษรโรมันคื อ Sindhu ส่ วนชาวเปอร์เซียซึ่ งเป็ น
เพื่อนบ้านทางตะวันตก ของอินเดียออกเสียง S ไม่ได้ จึงแทนเสียง S ด้วยเสียง H
ชื่อของแม่น้ านี้ จึงกลายเป็ น ฮินดู (Hindu) ต่อมาชาวอังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย
จึงเรียกว่า Indus เป็ นการเรียกตามชาวกรีกโบราณ ซึ่งยืมรูปภาษาที่มีพื้นฐานการ
ใช้มาจากชาวเปอร์เซีย โดยมีการตัดตัว H ในคาว่า ฮินดู (Hindu) ทิ้ ง แล้วสร้างคา
ขึ้ นมาเป็ นคาว่า "อินดุ ส" (Indus) และ "อินเดีย" (India) โดยคาแรกใช้เรียกชื่อของ
แม่น้ า ส่วนคาหลังใช้เรียกชื่อประเทศ ทั้งที่แต่เดิมประเทศอินเดียมีชื่อที่เรียกกันจน
คุ ้น เคยว่า "ภารตวรรษ" (Bharatavarsa) ซึ่ งเป็ นพระนามของปฐมกษั ตริ ย์แห่ ง
อิ นเดี ยตามคัมภี ร์มหาภารตะ (Mahabharata) ที่ ชาวอิ นเดี ยนั บถื อ นอกจากจะ
เรียกว่าภารตวรรษแล้ว อินเดียยังมีอีกชื่อหนึ่ งว่า "ฮินดูสถาน" (Hindustan) มาจาก
ภาษาที่ชาวเปอร์เซียเรียกขานดินแดนแห่งนี้
อารยธรรมลุ่มแม่น้ าสินธุหรือที่รจู ้ กั กันในแวดวงของนักโบราณคดีวา่ "อารย
ธรรมฮารัปปา" (Harappa Civilization) ถู กค้นพบโดยบั งเอิ ญ เมื่ อปี คศ.๑๘๕๖
ระหว่างการส ารวจเส้นทางเพื่ อสร้างทางรถไฟสายละฮอร์-มุ ลตานในปากี สถาน
๑๑

จากนั้ นเซอร์จอห์น มาร์แชลล์ (Sir John Marshall) นั กโบราณคดีชาวอังกฤษจึงเข้า


มาทาการสารวจอย่างจริงจัง จนกระทัง่ ขุดพบซากเมืองโบราณสองแห่งที่ซ่อนตัวอยู่
ในเนิ นดิ น มหึ ม าริ ม แม่ น้ าสิ น ธุ คื อ เมื อ งฮารั ป ปา (Harappa) ในรัฐ ปั ญจาบ
(Panjap) และเมืองโมเฮนโจ ดาโร (Mohenjo Daro) ในรัฐสินธ์ (Sind) สันนิ ษฐาน
ว่าเมืองทั้งสองเป็ นเมืองศูนย์กลาง หรือเป็ นอู่อารยธรรมลุ่มแม่น้ าสินธุ แม้วา่ ต่อมา
ยังมีการค้นพบที่ต้งั ของเมืองต่างๆ อีกกว่า ๒,๕๐๐ แห่ง
จากการขุดสารวจเมืองที่ทากันซ้าแล้วซ้าอีกลึกถึงสิบเมตร เป็ นที่น่าแปลก
ใจว่าบริ เวณเมื องดังกล่ าวเป็ นนครโบราณอันรุ่ งเรื อง เป็ นอารยธรรมเมื องที่ มี
ลักษณะเฉพาะตั ว คื อมี การวางผั งเมื องเหมื อนกั น การตัดถนนที่ เป็ นรู ปแบบ
เดียวกัน บ้านเรือนก่ออิฐที่ มีขนาดและรูปร่างของก้อนอิฐเหมือนกัน กาแพงเมือง
และป้ อมปราการที่แข็งแรง มียุง้ ฉาง อ่างน้ า ระบบท่อระบายน้ า ถนนน้อยใหญ่ลว้ น
ปูอิฐเชื่อมต่อกันอย่างดีประดุจตาข่าย
นั กโบราณคดีจึงลงความเห็นว่า เมืองแรกสุ ดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ าสินธุ
สร้างขึ้ นเมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปี มาแล้ว และเชื่อว่าเมืองเหล่านั้ น คงมีรฐั บาลกลางที่
รวมอานาจอยู่ที่ศูนย์กลาง และมีศิลปวิทยาการที่เจริ ญก้าวหน้าในระดับหนึ่ งแล้ว
แต่ไม่พบหลักฐานที่ เป็ นตัวเขียนหรือ ตัวอักษรจารึกใดๆ ทาให้การกาหนดอายุ
ของอารยธรรมลุ่มแม่น้ าสินธุทาได้ยากยิ่ง แต่ก็พอจะอนุ มานเทียบเคียงได้จากซาก
สิ่งก่อสร้างและวัตถุที่ขุดค้นพบตามวิธีการของนักโบราณคดีเท่านั้น
อารยธรรมลุ่มแม่น้ าสินธุ จะสิ้ นสุ ดลงเมื่อไรไม่ปรากฏหลักฐานแน่ ชัด นั ก
โบราณคดี จึงอนุ มานว่า อารยธรรมลุ่มแม่น้ าสิ นธุ แห่งนี้ คงเจริญรุ่งเรืองอยู่นาน
ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี ก่อนที่จะเสื่อมสลายลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ บ้างก็
สันนิ ษฐานว่าอาจมีสาเหตุมาจากแม่น้ าสรัสวดีทางตอนเหนื อที่แห้งเหือดไปจนกลาย
สภาพเป็ นทะเลทรายที่แห้งแล้ง ทาให้ผูค้ นจาต้องละทิ้ งถิ่นฐานเดิมแล้วอพยพไปหา
แหล่งทากินแห่งใหม่
๑.๓ การเข้ามาของชนเผ่าอารยัน
นั กประวัติ ศาสตร์เชื่ อกั น ว่า ชนพื้ นเมื องเผ่ าพันธุ์ ด้ังเดิ มที่ อาศัยอยู่ ณ
ดินแดนลุ่มแม่น้ าสินธุ และที่กระจายอยู่ทวั ่ อินเดียตั้งแต่ก่อนยุคอารยธรรม คือพวก
เงาะเชื้ อสาย นี กรอยด์ (Nigroid) หรือนิ โกร มีลักษณะผิ วด า ผมหยิก ล่าสัตว์
๑๒

เลี้ ยงชีวิต มีลูกดอกชุบยางน่ องเป็ นอาวุธ ต่อมาพวกเงาะซึ่งเป็ นชนพื้ นเมืองเหล่านี้


ได้ ผ สมกลมกลื น กั บ ชนเชื้ อสายมองโกลอยด์ (Mongoloid) ที่ อ พยพมาจาก
ตะวันออกเฉี ยงเหนื อ จนในที่ สุดกลายเป็ นชนเผ่าพันธุ์ผสม เรียกว่า พวกนิ ษาท
(Proto-Australoid)
ในเวลาต่อมา มีอีกเผ่าพันธุ์หนึ่ ง มีผิวสีคล้า ผมหยิก นั ยน์ ตาพอง ร่างกาย
ไม่สูงนั ก พากันอพยพมาจากแถบทะเลเมดิ เตอร์เรเนี ยน เข้ามาอยู่แถบเปอร์เซีย
จากนั้ นจึงเข้ามาตั้งรกรากและเริ่มสร้างอารยธรรมขึ้ นตรงบริเวณลุ่มแม่น้ าสินธุ ชน
เหล่ านี้ รูจ้ ักกันโดยทั ว่ ไปว่า "ดราวิเดี ยน" (Dravidian) หรื อที่ ในภาษาสันสกฤต
เรียกว่า "ทราวิฑ"
ปั จจุบนั นั กประวัติศาสตร์ทวั ่ โลกยอมรับกันว่า ชนชาติดราวิเดียนถือว่าเป็ น
เจ้าของอารยธรรมโบราณ เป็ นชนชาติแรกที่ต้งั รกรากสร้างรัฐและบ้านเมืองอยูต่ าม
ลุ่มแม่น้ าสาคัญของโลก เช่น ลุ่มแม่น้ าไนล์ ลุ่มแม่น้ าไทกริส -ยูเฟรตีส ลุ่มแม่น้ า
สินธุ และรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนี ยน เป็ นต้น ด้วยเหตุนี้ อารยธรรมอียปิ ต์ก็ดี อารย
ธรรมเมโสโปเตเมียก็ดี อารยธรรมลุ่มน้ าสินธุก็ดี ล้วนเป็ นอารยธรรมของชนผิวดาที่
เรียกว่าดราวิเดียนทั้งสิ้ น
เมื่อชาวดราวิเดียนหรือทราวิฑทวีจานวนมากขึ้ น จึงเข้าไปปะปนอยูก่ บั พวก
นิ ษาทซึ่งอาศัยอยู่ก่อนหน้านั้ นและเพราะเหตุที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ผิวดา
คล้า ผมหยิก จมูกกว้าง ริมฝี ปากหนา จึงผสมปนเปกันจนกลายเป็ นพวกเดียวกัน
และเรียกกันเองในหมูช่ นพื้ นเมืองว่า "มิลกั ขะ"
ต่อมาราว ๑,๐๐๐-๑,๕๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช การเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญ
ในประวัติศาสตร์ก็ได้เกิดขึ้ น เมื่อชาวทราวิฑหรือมิลักขะพ่ายแพ้แก่ชาว "อารยัน"
(Aryans) ที่รุกมาจากตะวันตกเฉียงเหนื อของอนุ ทวีป ข้ามเขาฮินดูกูช ผ่านช่องแคบ
ไคเบอร์ (Khyber) เข้าสู่อินเดียทางแคว้นอัฟกานิ สถาน แล้วเข้าแย่งชิงดินแดนของ
พวกทราวิฑ จนสามารถครอบครองอินเดียตอนเหนื อ ทิศตะวันออกเฉียงเหนื อส่วน
ใหญ่ และตอนกลางไว้ได้ท้ังหมด ขณะเดียวกันก็ผลักดันชาวทราวิฑซึ่งไม่ชา่ ชองใน
การสูร้ บ ให้ถอยร่นหนี ไปหลายทิศทาง คือ ทางตะวันออกไปสู่ลุ่มแม่น้ าคงคาและ
ถูกขับเลยไปทางดินแดนอัสสัม ทราวิฑอีกพวกหนึ่ งหนี ลงมาทางตอนใต้ของอินเดีย
ปั จจุบัน กระทัง่ ข้ามไปสู่ลังกา หลังจากมีชัยชนะเหนื อชาวทราวิฑหรือมิลักขะแล้ว
๑๓

ชาวอารยันจึงเรียกผูพ้ ่ายแพ้อย่างเหยียดหยามว่า "ทาสะ" หรือ "ทัสยุ" (Dasyus) ซึ่ง


เป็ นภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า ทาส คนใช้ หรือคนชั้นตา่
พวกอารยันเป็ นชนสายพันธุ์คอเคซอยด์ (Caucasoid) มีถิ่นเดิมอยู่บริเวณ
ทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของรัสเซีย มีลักษณะผิวขาว ร่างกายสูงโปร่ง มีรูปหน้ายาวและ
จมู กโด่ ง ชนเผ่ าอารยันเรี ยกชื่ อเผ่ าของตนว่า อารยัน มี ความหมายว่า ผู ้เจริ ญ
เพราะถื อว่าเป็ นชนชาติที่มีอารยธรรมแล้ว ความเจริญที่ สาคัญของชาวอารยันคือ
สามารถจับม้าป่ าที่ มีอยู่มากมายในทุ่ งหญ้ามาฝึ กหัดจนเชื่องเพื่อเที ยมรถสองล้อ
และนอกจากจะมีมา้ ที่ช่วยให้เคลื่อนที่เร็วแล้ว ยังสามารถประดิษฐ์รถรบเที ยมด้วย
ม้าสองตัวที่ มี น้ าหนั กเบาเคลื่ อนไหวได้คล่องตัว ล้อรถทั้งสองท าจากไม้ดัดเป็ น
วงกลม ติ ดกับเพลา มีดุมตรงกลางและมีซี่ลอ้ โดยรอบ ซึ่งนั บว่าเป็ นเทคโนโลยีที่
ก้าวหน้ากว่าอารยธรรมสุเมเรียนที่ยงั ใช้ขอนไม้ตนั ทาเป็ นล้อและลากด้วยลา
ชาวอารยันเป็ นพวกโนแมด (Nomads) ที่ ชอบเคลื่ อนย้ายที่ ไม่ ถึ งกับจะ
เรียกว่าเป็ นพวกเร่ร่อน แต่ก็อยูไ่ ม่ติดที่ โดยจะท่องเที่ยวตามฝูงสัตว์ที่ตนเลี้ ยงไว้ไป
บนที่ ราบอัน กว้างใหญ่ ไม่ ช านาญในการเพาะปลู ก การท ากสิ กรรมจึ งมี เพี ยง
เล็กน้อยและค่อนข้างจากัด แต่มีหวั ในการต่อสูร้ ุกรบอยูเ่ สมอ และยกย่องชายผูเ้ ป็ น
นักรบ
การอพยพเคลื่อนย้ายของชาวอารยัน แบ่งออกเป็ นสองสาย คือสายหนึ่ งมุ่ง
ไปทางตะวันตกตอนใต้ ซึ่งต่อมากลายเป็ นบรรพบุรุษของชาวยุโรป และอีกสายหนึ่ ง
อพยพไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้ นจึงเข้าสู่เปอร์เซียและอินเดียตามที่กล่าว
มาข้างต้น ทั้ งนี้ พวกอารยั นที่ เข้ามาใหม่ น้ั นค่ อยๆ ทยอยเข้ามาในอิ นเดี ยเป็ น
ระลอกๆ อยูน่ านเป็ นร้อยปี จนกระทัง่ หยุดการอพยพเมื่อราว ๘๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล
หลังจากที่ ชาวอารยันตั้งหลักแหล่งในอิ นเดี ยแล้ว ก็ มิได้สร้างอารยธรรม
เมื องซ้อนทับอารยธรรมลุ่มแม่น้ าสิ นธุ ที่ ถูกท าลายลงไปแต่ อย่างใด กลับยึดป่ า
แม่น้ าและทะเลเป็ นของตัวเอง เลี้ ยงชีพด้วยการเลี้ ยงสัตว์โดยไม่จาเป็ นต้องย้ายถิ่น
อีกต่อไป จากนั้ นก็เริ่มต้นตั้งหลักปั กฐานสร้างสังคมที่ผสมผสานความเป็ นอารยัน
ของพวกตนและสังคมเกษตรกรรมของชาวพื้ นถิ่ นเดิมคือพวกทราวิฑ รวมทั้งผสม
กลมกลืนเอาวัฒนธรรมดั้งเดิมของพวกทราวิฑไว้ และสร้างอารยธรรมใหม่ของตน
ขึ้ นอย่างแข็งแกร่งสืบต่อมา ในที่สุดจึงเกิดเป็ นอารยธรรม ๓ สาย คือ
๑๔

๑) อารยธรรมดราวิเดียนแท้
๒) อารยธรรมอารยัน
๓) อารยธรรมผสมระหว่างดราวิเดียนกับอารยัน
นั กประวัติศาสตร์ศาสนาชี้ ว่า อารยธรรมที่ เจริญรุ่งเรืองและคงอยู่ต่อมาก็
คืออารยธรรมสายที่ ๓ ที่ มีการผสมผสานกันระหว่างอารยธรรมดราวิเวียนแท้กับ
อารยธรรมใหม่ในอัตราส่วนที่เหมาะสม
๒. กาเนิดและพัฒนาการทางความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
ในประวัติศาสตร์ของอินเดีย ถือว่าศาสนาพราหมณ์เป็ นแหล่งกาเนิ ดลัทธิ
ประเพณี ของตน วัฒนธรรมพราหมณ์รวมทั้งขนบธรรมเนี ยมประเพณี และปรัชญา
พราหมณ์ น้ั น เชื่อว่าเกิ ดจากการผสมผสานวัฒนธรรมอารยันเข้ากับวัฒนธรรม
ทราวิฑที่สูงกว่า การผสมผสานนี้ เกิดขึ้ นเป็ นระยะๆ ตามการบุกรุกของพวกอารยัน
ดังจะกล่าวต่อไปนี้
๒.๑ ยุคพระเวท (Vedic Period)
ประมาณ ๘๐๐ - ๓๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ที่มาของการแบ่งวรรณะในระบบ
สังคมดั้งเดิม เมื่อชาวอารยันเข้ามาสู่อินเดียแล้ว ก็ได้มาตั้งถิ่นฐานอยูท่ างตะวันตก
เฉียงเหนื อบริเวณเหนื อแม่น้ าสินธุขึ้นไป ชาวอารยันนั้ นไม่ใช่พวกป่ าเถื่อน แต่จดั ว่า
มีวฒ
ั นธรรมในระดับหนึ่ งแล้ว แม้ความเจริญยังไม่ถึงขนาดสามารถสร้างบ้านสร้าง
เมือง และยังไม่มีการรวมตัวกันภายใต้ระบอบกษัตริยเ์ ป็ นใหญ่เหมือนอย่างพวกทรา
วิฑที่เป็ นเจ้าของอารยธรรมลุ่มแม่น้ าสินธุ แต่ถึงกระนั้ นก็มีการรวมตัวกันเป็ นกลุ่ม
และปกครองกันในระดับเผ่า (tribe) โดยมีหัวหน้าควบคุมดูแลเรียกว่าราชา (raja)
และมักสืบต่อกันตามตระกูล แต่ราชาของเผ่าอารยันมิใช่กษัตริยท์ ี่มีอานาจสิทธิ์ขาด
เพราะอานาจการปกครองส่วนใหญ่ขึ้นอยูก่ บั สภาของเผ่า
ก่อนที่พวกอารยันจะเข้ามาในอินเดีย พวกอารยันคงมีการแบ่งระดับชั้นของ
คนในเผ่าด้วยกันเองอยู่แล้ว อย่างน้อยที่ สุดก็ระหว่างคนชั้นสูงที่เป็ นผูป้ กครองกับ
คนธรรมดาสามัญซึ่งอยู่ภายใต้การปกครอง และที่ ขาดมิ ได้คื อกลุ่มนั กบวชที่ ท า
หน้าที่ ประกอบพิธีกรรมบูชา เพราะชาวอารยันนั บถือธรรมชาติบูชาเทพเจ้าลมฟ้ า
อากาศมากมาย
๑๕

ครั้นพวกอารยันมาถึงอินเดียแล้ว พบว่าคนพื้ นเมืองมีสีผิวคล้ากว่าพวกตน


มาก จึงหวัน่ เกรงว่าจะมี การผสมปนเปกันจนแยกสายเลื อดไม่ ออก จึ งเกิ ดการ
เหยียดสีผิวขึ้ น โดยเฉพาะ การที่ ชาวอารยันไปสมสู่กับคนต่างเผ่า เท่ากับเป็ นการ
ลดเกียรติภูมิของชาวอารยันอย่างยิ่ง
จากปั ญหาทางเชื้ อชาติและการปฏิบตั ิต่อกันระหว่างชนทั้งสองกลุ่มดังกล่าว
การแบ่งวรรณะจึงเริ่มปรากฏขึ้ น โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดระบบระเบียบของคนใน
สังคมเสียใหม่ตามฐานะและหน้าที่ของบุคคล คือ
๑) พราหมณ์ (ฺBrahmana) เป็ นผูน้ าประกอบพิธีบูชาเทพเจ้า
๒) กษัตริย์ (Kshatriya) เป็ นนักรบ นักปกครอง และเป็ นเจ้าของที่ดิน
๓) แพศย์ (Vaishya) เป็ นชาวบ้านชาวเมื อ งที่ ท าไร่ ไถนา ค้าขาย และ
ช่างฝี มือ
๔) ศูทร (Sudra) เป็ นทาสหรือกรรมกร
จะเห็นว่า พวกศูทรเป็ นชนกลุ่มใหม่ที่ถูกแบ่งแยกออกไปอย่างชัดเจน และ
พวกศูทรก็มิใช่ใครอื่น คือพวกทราวิฑและนิ ษาทที่เป็ นเจ้าถิ่นนัน่ เอง แต่หลังจาก
พ่ายแพ้ต่อพวกอารยันแล้ว ก็ถูกชาวอารยันลดทอนฐานะให้เป็ นเพียงทาสรับใช้ และ
ยังเรียกอย่างดูหมิ่นว่าพวกทาส ทัสยุ หรือคนชั้นตา่
การจัดระบบทางสังคมในขั้นแรก ถือว่ายังไม่รุนแรงเท่าใดและหากมองในแง่
ของการปกครองก็ ยังนั บว่าเป็ นประโยชน์ มาก แต่ต่อมาเมื่อระบบวรรณะถูกแปร
ความหมายไปในทางอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อผลประโยชน์ ของพราหมณ์ซึ่งถื อ
เป็ นวรรณะสู งสุ ด การแบ่ งชั้นวรรณะจึ งทวีความรุ นแรงขึ้ น จนกลายเป็ นความ
เหยียดหยามและลิดรอนสิทธิของผูม้ ีวรรณะตา่ กว่า ซึ่งรายละเอียดนั้ นจะได้ศึกษา
กันต่อไปในหัวข้อยุคพราหมณะ
คัมภีรพ์ ระเวท
ก่อนที่ชาวอารยันจะเข้ามาครอบครองอินเดีย ชาวอารยันมีความเชื่อดั้งเดิม
ในทางศาสนาเกี่ยวโยงกับเทพเจ้าแห่งดินฟ้ าอากาศอยูก่ ่อนแล้ว เช่น เทพเจ้าผูส้ ร้าง
โลกคือ พระอินทร์ (Indra) ซึ่งชาวอารยันนั บถือว่าเป็ นเทพที่ มีอานาจสูงสุด เพราะ
เชื่อว่าพระอินทร์เป็ นเทพเจ้าแห่งสงครามซึ่งนาทัพของอารยันเข้าห้าหัน่ ที่ มนั ่ ของ
พวกทาส นอกจากพระอินทร์แล้ว ยังมีเทพเจ้าองค์สาคัญอี กมากมาย ได้แก่ เทพ
๑๖

แห่งไฟคื ออัคนี (Agni) เทพแห่งดวงอาทิ ตย์คือสุ ริยะ (Surya) เทพแห่งพระจันทร์


คือโสมา (Soma) เทพแห่งน้ าและฝนคือวรุณ (Varuna) และเทพแห่งความตายและ
การทาลายคือยม (Yama) เป็ นต้น
เหตุที่ชาวอารยันยกเอาธรรมชาติขึ้นเป็ นเทพเจ้า หรือเทวะ (Devas) เพราะ
มีความเชื่อ ว่าธรรมชาติเหล่านี้ ทรงไว้ซึ่งมหิทธานุ ภาพ ที่สามารถจะบันดาลให้เกิด
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งนาความฉิบหายและคุณประโยชน์ มาให้แก่มนุ ษย์ได้
ฉะนั้ นจึงพากันยึดถือธรรมชาติเหล่านั้ นเป็ นที่ พึ่ง และยังเชื่อต่อไปอีกว่า เทวะและ
วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วนั้ น มีภพอยูเ่ บื้ องบน การที่จะส่งเครื่องบูชาให้
ไปถึงวิญญาณเหล่านั้ นได้ ก็ดว้ ยการเผาไฟเพื่อบวงสรวงบูชา โดยเชื่อว่าควันไฟจะ
ลอยขึ้ นไปและนาคาขอพรต่างๆ ไปถึ งเทพเจ้าให้ได้รับทราบ ในที่ สุดจึงทาให้เกิด
พิธีกรรมที่ จะสื่อสารกับเทพเจ้าคือการบูชาเทพเจ้าด้วยไฟ หรือที่เรียกว่า การบูชา
ยัญเพื่อให้เทพเจ้าพอใจ จะได้ประทานความสุขความสาเร็จให้ตามความปรารถนา
ต่อมาเมื่อชาวอารยันเข้ามาสู่อินเดียแล้ว จึงได้นาเอาความนึ กคิดทางด้าน
ศาสนาของพวกตน ซึ่งประกอบด้วยลัทธิพิธีที่เกี่ยวกับการใช้ไฟในการประกอบพิธี
พลีกรรม รวมถึงวิหารหรือเทวาลัยสาหรับเป็ นที่สิงสถิตของเทพเจ้า เข้าผสมผสาน
กับความเชื่อทางศาสนาของชาวทราวิฑพื้ นเมืองที่นับถือธรรมชาติเช่นเดียวกัน แต่
มุง่ เน้นธรรมชาติท้งั ๔ คือดิน น้ า ลม และไฟที่มอบความอุดมสมบูรณ์ให้กบั มนุ ษย์
มากกว่า ในที่ สุดลัทธิ ประเพณี ทางศาสนาของอารยันก็ได้ผสมกลมกลืนกับความ
เชื่อของชนพื้ นเมืองเดิมจนแยกกันไม่ออก ก่อตัวเป็ นลัทธิ ศาสนาใหม่ที่พัฒนาจน
กลายมาเป็ นศาสนาพราหมณ์ (Brahmana) ที่ แพร่หลายไปทัว่ แผ่นดิ นอินเดี ยมา
จนถึงปั จจุบนั
เหตุ ที่ เรียกกันว่า "ศาสนาพราหมณ์ " เนื่ องจากมี วรรณะพราหมณ์ เป็ นผู ้
ศึกษาและสืบทอดความรูเ้ หล่านั้ น ฉะนั้ นพราหมณ์จึงเป็ นกลุ่มผูร้ ูท้ ี่วรรณะอื่นต้อง
นั บถือ ไม่เว้นแม้แต่วรรณะกษัตริยท์ ี่ตอ้ งเชื่อฟั ง เนื่ องจากพราหมณ์สามารถติดต่อ
กับเทพเจ้าได้โดยตรงและยังมีความรูค้ วามสามารถในการประกอบพิธีกรรมเพื่ อ
บูชาเทพเจ้าเหล่านั้นอีกด้วย
การบูชายัญจึงเป็ นสิ่งที่ถือปฏิบัติกนั เรื่อยมาโดยมีพราหมณ์เป็ นผูป้ ระกอบ
พิธีกรรม ซึ่งแต่เดิมนั้ น การบูชายัญในยุคแรกๆ จะใช้เนยใส เนยข้น น้ ามัน น้ าผึ้ ง
๑๗

น้ าอ้อยเท่านั้ น ยังไม่ปรากฏว่ามีการฆ่าชีวิตเพื่อบูชายัญแต่อย่างใด แต่ต่อมาเมื่อ


พิธีกรรมเปลี่ยนแปลงไป มีการนาเอาสัตว์และมนุ ษย์มาฆ่าเพื่อบูชายัญ เพราะคน
อิ นเดี ยในสมัยนั้ นเชื่ อว่าการประกอบพิ ธี บู ชายัญดังกล่ าวจะช่วยให้ชี วิตยืนยาว
มัน่ คงด้วยธนสารสมบัติ เพียบพร้อมด้วยทายาทและเกียรติยศชื่อเสียง
ศาสนาพราหมณ์ ที่ พ วกอารยัน ได้พั ฒ นาขึ้ นนั้ น เต็ ม ไปด้วยบทโศลก
สรรเสริญบูชาเทพเจ้า รวมถึงตาราเกี่ยวกับพิธีกรรมและเรื่องราวทางด้านปรัชญา
อื่นๆ ที่เชื่อกันว่าเป็ นคาทิพย์ที่ได้ยนิ มาจากเทพเจ้า โดยมีพราหมณ์เป็ นผูร้ บั มาจาก
พระโอษฐ์ของพระพรหม (ฺBrahma) ซึ่งเป็ นพระผูส้ ร้างโลกและสรรพสัตว์โดยตรง
ต่อมาได้มีการจัดรวบรวมบทสวดเหล่านั้ นขึ้ นเป็ นหมวดหมู่ และบันทึกไว้ดว้ ยภาษา
สันสกฤตโบราณซึ่งเป็ นภาษาเก่าแก่ช้นั สูง เรียกว่า คัมภีรพ์ ระเวท (Veda)
นั บแต่น้ั นมาศาสนาพราหมณ์ ถือว่า พระเวทเป็ นตัวคัมภี ร์ที่ เป็ นนิ รันดร
เกิดจากการดลใจของเทพเจ้า จึงพากันยอมรับนั บถือไว้ในฐานะสัจธรรมที่เป็ นแก่น
แท้ของศาสนาพราหมณ์ แม้แต่ตัวหนั งสือที่ จดคัมภีรพ์ ระเวทก็ยงั ได้รบั การนั บถื อ
อย่างยิ่งราวกับเป็ นเทพเจ้าองค์หนึ่ ง โดยเฉพาะพยางค์ตอนขึ้ นต้นโศลกที่ ออกเสียง
ว่าโอม (Om) ถือว่าเป็ นสิ่งที่ประจุพลังอานาจและความลึกลับของคัมภีรพ์ ระเวทไว้
อย่างเหลือเชื่อ
ที่มาของพระเวทเริ่มต้นด้วย ฤคเวท (Rigveda) ซึ่งเป็ นบทสวดสรรเสริญและ
อ้อนวอนเทพเจ้า จานวน ๑,๐๒๘ บท และคาดว่ามีอายุอยูร่ าว ๕๐๐ ปี ก่อน
พุทธศักราช เล่าถึงเรื่องราวของเทพเจ้าของเผ่าอารยัน คือ พระอินทร์ซึ่งช่วยให้พวก
อารยันได้รบพุง่ มีชยั ต่อพวกทัสยุ และกล่าวเหยียดหยามพวกทัสยุวา่ เป็ นพวกอสูรที่
เป็ นอริกบั เทพเจ้า คัมภีรฤ์ คเวทนี้ ถือว่าเป็ นคัมภีรท์ ี่สาคัญและเก่าแก่ที่สุดในโลกที่
ทาให้ทราบความคิดความเชื่อของชาวอารยันในสมัยนั้ น
ต่อมาในหมู่พวกพราหมณ์ที่ ประกอบพิธีทางศาสนา ได้พยายามคัดเลือก
เฉพาะบทสวดขับบางบทในคัมภีรพ์ ระเวทมาเรียงใหม่และใช้ขับสาธยายมนตร์บูชา
เทวดา (โสมเทพ) ด้วยน้ าโสมที่ค้นั มาจากต้นโสมบนเขามูชวัตในเทือกเขาหิมาลัย
คัมภีรท์ ี่ใช้ในการบรรยายการบูชาเทวดาด้วยน้ าโสมนี้ เรียกว่า สามเวท (Samveda)
เป็ นคัมภีรท์ ี่แตกออกมาจากฤคเวท แต่ภายหลัง มีเนื้ อหามากขึ้ นก็เลยกลายเป็ นอีก
คัมภีรห์ นึ่ ง แยกไว้เป็ นเพลงขับสาธยายมนตร์โดยเฉพาะ
๑๘

ต่อเมื่อพวกอารยันแผ่อานาจไปทางตะวันออกเฉียงใต้แถบเเคว้นอัมพาล กุรุ
เกษตร ตลอดจนแคว้น ปั ญจาบในลุ่ มน้ าคงคาและยมุ น าตอนบน ระหว่างนั้ น
พราหมณ์ก็ได้คดั เอามนตร์โศลกในคัมภีรฤ์ คเวทมาดัดแปลงเรียบเรียงด้วยร้อยแก้ว
และจัดเข้าคู่ไว้เป็ นชุดๆ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา จึงเกิดเป็ น
คัมภีรย์ ชุรเวท (Yajurveda) ใช้อธิบายการประกอบพิธีบวงสรวงบูชา
คัมภีรพ์ ระเวททั้ง ๓ คัมภีรค์ ือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท รวมเรียกว่า "ไตร
เวท" หรือไตรเพท ในยุคที่ พราหมณ์เรืองอานาจอยู่ คัมภีรไ์ ตรเพทถื อเป็ นเสมือน
อาญาสิทธิ์ของพราหมณ์ที่ทุกคนต้องเคารพ ใครจะได้ชื่อว่าเป็ นนั กปราชญ์ก็จะต้อง
เจนจบไตรเพททั้งสิ้ น ดังนั้ นไตรเพทจึงเป็ นทั้งคัมภีรอ์ นั ศักดิ์สิทธิ์และเป็ นหลักสูตร
การศึกษาของเหล่า พราหมณาจารย์ท้งั หลายอีกด้วย
ครั้นมาถึ งสมัยมหาภารตยุทธ์ในปลายยุ คพระเวท ศาสนาพราหมณ์ ถู ก
สัน่ คลอนด้วยลัทธิ ความเชื่ ออื่ นที่ เริ่มต้นเกิ ดขึ้ นติ ดตามมา พวกพราหมณ์ จึงได้
รวบรวมไสยศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ เพื่อเรียกศรัทธาให้ศาสนาพราหมณ์กลับมาเป็ นที่
ยึดเหนี่ ยวเหมือนเดิม กลายเป็ นพระเวทที่ ๔ ของพราหมณ์ที่เรียกว่า อาถรรพเวท
(Atharveda) ประกอบด้วยมนตร์โศลกของเก่ าซึ่ งโดยมากเป็ นมนตร์เสกเป่ าเพื่ อ
ทาลายสิ่งอัปมงคลต่างๆ แก้ความเจ็บป่ วย อยู่ยงคงกระพัน ไล่ผี สักยันต์ ฝั งรูปฝั ง
รอย ท าเสน่ ห์ ยาแฝด สะเดาะเคราะห์ แก้เสนี ยดจัญ ไร และภยัน ตรายต่ างๆ
นอกจากนี้ ยังมีความรูท้ ี่เกี่ยวข้องกับเมถุนศาสตร์อีกด้วย
คัมภีรพ์ ระเวทเป็ นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ และสาคัญสูงสุด ที่ เป็ นทั้งหลักศาสนา
และหลักการดาเนิ นชีวิตที่ เคร่งครัดของชาวอารยัน แม้ว่าในสมัยนั้ นจะมีการขี ด
เขี ยนตั วหนั งสื อเป็ นลายลั ก ษณ์ อั ก ษรแล้วก็ ต าม แต่ พ วกพราหมณ์ ก็ ยังนิ ยม
การศึกษาและท่องจาด้วยวิธีที่เรียกว่ามุขปาฐะอยูด่ ี ทั้งนี้ เพื่อให้ความเคารพนั บถือ
ในความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีรพ์ ระเวท และในการสวดสาธยายพระเวทนั้น จะต้องสวด
ให้ถูกต้องอักขระ พยัญชนะ ให้ถูกวรรคตอนและชัดเจน เพราะหากสวดผิดพลาด
คลาดเคลื่ อนไป ก็ ถือว่าเป็ นข้อเสี ยหายที่ จะมี ผลต่อผูท้ าพิธีกรรมหรืออาจท าให้
ไม่ได้รบั ผลตามที่ปรารถนา
๑๙

๒.๒ ยุคพราหมณะ (Brahmana Period)


ประมาณ ๓๐๐-๑๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช กาเนิ ดพระพรหมและความเชื่อ
เรื่องตรีมูรติ เมื่อสารวจวรรณคดีเก่าแก่ ของอินเดีย เช่น คัมภีร์ฤคเวทหรือคัมภี ร์
พระเวทอื่ นๆ นั กศึ กษาจะไม่มี ทางได้พบเรื่องราวของเทพเจ้าที่ เรียกว่า "พระ
พรหม" นี้ เลย นั น่ แสดงว่าในสมัยพระเวทยุคต้น ยังไม่มีการกล่าวถึงพระพรหมแต่
อย่างใด
เท่ าที่ ทราบคาว่า "พรหมา" หรือ "พระพรหม" ปรากฏในวรรณคดีอินเดี ย
เป็ นครั้งแรก เมื่อปลายสมัยพระเวท ในคัมภีรศ์ ตปถพราหมณะ ซึ่งเป็ นคัมภีรเ์ ก่าแก่
ในยุค พราหมณะ (ประมาณ ๒,๖๐๐ ถึง ๒,๘๐๐ ปี มาแล้ว) ได้กล่าวถึงพระพรหมว่า
เป็ นพระผูส้ ร้างไฟและสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็ นเทวะในอุดมคติที่เป็ นนามธรรมที่ ไม่มี
ตัวตนและไม่มีเพศ และที่ สาคัญคือยกฐานะให้สูงส่งยิ่งกว่าพระอินทร์ ที่พราหมณ์
เคยนั บถื อกันว่าเป็ นเทพสู งสุ ด แต่ ภายหลังพระอิ นทร์กลับเริ่มเสื่ อมความนิ ยม
เพราะเมาน้ าโสมบ้าง เจ้าชูบ้ า้ ง รบแพ้อสูรบ้าง พวกพราหมณ์จึงต้องสร้างพระพรหม
ที่ไม่มีแม้ตวั ตนและอยูเ่ หนื อโลกขึ้ นมาทดแทนและเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
เมื่อสร้างพระพรหมขึ้ นเป็ นเทพสูงสุดแทนพระอินทร์แล้ว พวกพราหมณ์ก็ยงั
ได้สร้างนิ ยายเรื่องพระเจ้าสร้างโลกไว้ดว้ ยว่า ก่อนนั้ นโลกยังเป็ นสภาวะที่วา่ งเปล่า
เมื่อกาลผ่านไปก็มีสภาวะอย่างหนึ่ งมารวมประชุ มกันเข้าเป็ นก้อนกลมเหมือนไข่
และพระพรหมก็ถืออุบัติขึ้นในไข่ฟองนั้ น บันดาลให้ไข่แตกออกเป็ นสองซีก ซีกบน
เป็ นสวรรค์ ซีกล่างเป็ นโลกมนุ ษย์ พระพรหม สถิ ตอยู่ในโลกสวรรค์ จากนั้ นพระ
พรหมจึงได้สร้างพระอาทิ ตย์ พระจันทร์ ดาว ฝน พายุ ไฟและสรรพสัตว์ต่างๆ จน
เต็ มโลก แล้วบันดาลให้สัตว์เหล่านั้ น เป็ นไปตามอานาจของพระพรหม เรียกว่า
พรหมลิขิต ดังนั้ นชะตาชีวิตของคนเราจะเป็ นเช่นไรนั้ น พระพรหมได้ขีดเส้นชะตา
ชีวิตไว้เสร็จสรรพแล้วนั บแต่เกิดมาทีเดียว กล่าวกันว่าแต่ละคนมีพรหมลิขิตปรากฏ
อยู่บนหน้ าผาก ตั้งแต่เกิ ดได้ ๖ วัน ซึ่งรอยนั้ นพระพรหมเป็ นผูเ้ ขี ยนขึ้ นด้วยพระ
หัตถ์ของพระองค์เอง ฉะนั้ นจึงไม่มีใครอยู่นอกเหนื ออานาจของพระพรหมไปได้
ฐานะของพระพรหมจึงยิ่งใหญ่ คื อ เป็ นทั้งองค์ธาดาหรือผูส้ ร้างโลกและสรรพสิ่ ง
และเป็ นเทพบิดรคือบิดาของทวยเทพทั้งหลาย
๒๐

ในตอนแรก ผูค้ นต่างเห็นด้วยที่พระพรหมไม่มีตวั ตน แต่ต่อมาจึงเกิดความ


ไม่แน่ ใจว่าเราจะรับรูว้ า่ มีพระพรหมจริงๆ ได้อย่างไร ในเมื่อมองก็ไม่เห็น จะกราบ
ไหว้ก็กราบไม่ได้ ดังนั้ นพราหมณ์จึงมีความจาเป็ นที่ จะต้องแก้ไขหลักการเสียใหม่
โดยสร้างให้พระพรหมมีตัวตน แต่ว่าอยู่เหนื อโลก มี ๔ หน้า นั ่งอยู่ตลอดกาล หัน
หน้ าออก ๔ ทิ ศ เพื่ อดู แลโลก ๔ ด้าน แต่ ก็ เป็ นผู บ้ ริสุ ทธิ์ คื อไม่ มี เพศ ไม่มี เรื่อง
กามารมณ์ จึงเป็ นผูส้ งบและมีความสุขอันเป็ นยอด จึงเกิดมีพรหมสี่หน้าขึ้ น
ครั้นต่อมาไม่นานนัก พระพรหมก็ถูกเสริมเติมแต่งให้มีลกั ษณะใกล้เคียงคน
ธรรมดามากขึ้ นอีก แม้วา่ ยังทรงไว้ซึ่งอานาจแห่งเทวะที่อยู่เหนื อมนุ ษย์ แต่ก็เริ่มมี
ตัวตน มี รู ปร่ างลัก ษณะ มี ห น้ า ๗ หน้ า เป็ นชาย มี ความรู ส้ ึ ก มี ความรักและ
ความชอบเหมือนมนุ ษย์ท้งั หลาย พระพรหมจึงไม่เป็ นที่พอใจของบรรดาผูเ้ คารพอีก
เช่นเดียวกับกรณี ของพระอิ นทร์ ดังนั้ นพวกพราหมณ์จึงได้สร้างเทพเจ้าผูย้ ิ่งใหญ่
ขึ้ นมาให้เสมอกั บ พระพรหมอี ก ๒ องค์ รวมเป็ น ๓ องค์ เรี ย กว่ า "ตรี มู ร ติ "
(Trimurati) ซึ่ งถื อกั น ว่าเทพเจ้าทั้ งสามเป็ นเทพเจ้าผู ้ศั กดิ์ สิ ท ธิ์ เป็ นมหาเทพผู ้
ยิ่งใหญ่ ที่ สุ ดและเป็ นนิ รันดร์ พร้อมกันนั้ นก็ ได้ก าหนดหน้ าที่ ของพระเป็ นเจ้า
เหล่านั้นไว้ต่างๆ กัน คือ
๑) พระพรหม เป็ นผูส้ ร้าง (Creator) สถิตอยูช่ ้นั บนเหนื อพื้ นพิภพ
๒) พระวิษณุ หรือนารายณ์ เป็ นผูร้ กั ษา (Preserver) สถิตอยูท่ างทิศใต้
ประจาอยูท่ างทะเล
๓) พระศิวะ หรืออิศวร เป็ นผูท้ าลาย (Destroyer) สถิตอยูท่ างเหนื อของ
ภูเขาหิมาลัย
ทั้งพระวิษณุ และพระศิวะ ก็ลว้ นอวตารมาจากพระเจ้าองค์เดิมคือพระพรหม
การที่มีเทพเคารพถึงสามองค์ภายใต้ความเชื่อที่ ว่า "สรรพสิ่งเกิดจากหนึ่ ง
เดี ยวหรือธาตุ เดี ยวคื อพรหมันที่ สามารถเจริญเติ บโตและขยายตัวได้ แต่ทว่าสิ่ ง
สูงสุ ดหรือเทพสูงสุ ดมีเพียงหนึ่ งเดียวเท่านั้ น" ความเชื่อนี้ ได้ก่อให้เกิดปั ญหาการ
แตกแยกนิ กายในยุคต่อๆ มา คือ กลุ่มที่บูชาพระวิษณุ ก็มุ่งมัน่ ภักดีในองค์พระวิษณุ
จนเกิดเป็ นไวษณพนิ กาย (Vaishnavism) ส่วนกลุ่มที่ บูชาพระศิวะก็มุ่งมัน่ ภักดีต่อ
พระศิวะเกิดเป็ นไศวนิ กาย (Saivism)
๒๑

การเกิ ดขึ้ นของทั้ งสองนิ ก ายนี้ ท าให้พ ระเป็ นเจ้าทั้ งสองโดดเด่ นและมี
ความหมายในฐานะเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว และในขณะเดียวกันฐานะของพระ
พรหมก็ค่อยๆ เสื่อมความนิ ยมลง ในปั จจุบนั เทวาลัยในอินเดียที่ประดิษฐานรูปปั้ น
พระพรหมนั้ นแทบจะหาไม่ได้เลย บางเทวาลัยมีแต่รูปปั้ นของพระศิวะและพระวิษณุ
ประดิษฐานโดดเด่นเป็ นสง่า แต่ในคูหาหรือช่องเล็กๆ ของผนั งเทวาลัยกลับมีรูปปั้ น
พระพรหมองค์เล็กๆ ประดิษฐานรวมอยูด่ ว้ ยเท่านั้นเอง
เราจะเห็ น ว่า การสร้างเทพเจ้าขึ้ นมาเรื่ อยๆ ไม่ หยุ ดหย่ อนเช่ นนี้ เป็ น
ลักษณะสาคัญของศาสนาพราหมณ์ที่ต่างจากศาสนาอื่นๆ สมัยพราหมณะจึงเป็ น
สมัยที่มนุ ษย์สร้างพระเจ้า มิใช่พระเจ้าสร้างมนุ ษย์อย่างที่เคยเชื่อถือมาแต่เดิม ใน
ยุคนี้ ทั้งผูน้ าทางศาสนาพราหมณ์และผูเ้ คารพบูชาต่างก็มุ่งเน้นไปที่ความฉาบฉวย
ของเปลือกนอกแห่งศาสนา จนละเลยคาสอนในคัมภีรไ์ ตรเพท กลับเน้นหนั กไปกับ
เรื่องราวอิ ทธิ ปาฏิ หาริย์และเวทมนตร์มายาคุ ณไสยต่างๆ ที่ เก็ บไว้ในคัมภี ร์ที่ ๔
หรืออาถรรพเวทเป็ นหลัก
แม้แต่แนวคิดเรื่องตรีมูรติก็เป็ นเช่นนั้ น คือเกิดขึ้ นด้วยความต้องการให้เกิด
การรวมปาฏิหาริยอ์ ันยิ่งใหญ่แห่งองค์เทพทั้งสามเข้าไว้ดว้ ยกัน ซึ่งเท่ากับองค์เทพ
องค์เดียวกันนี้ มีพลังอานาจ ทั้งการสร้างโลกโดยพระพรหม บารุงรักษาโลกโดยพระ
วิ ษ ณุ และท าลายโลกโดยพระศิ วะ จะเห็ นว่ า แนวทางนี้ ก็ ยั ง มุ่ ง เน้ นไปที่
อิทธิปาฏิหาริยแ์ ห่งองค์เทพเป็ นหลัก แทนที่จะมุ่งศึกษา คาสอนดั้งเดิมในคัมภีร์
พระเวท สิ่งเหล่านี้ ก็คือสัญญาณแห่งความเสื่อมของศาสนาพราหมณ์ ในช่วงเวลา
ต่อมาและเป็ นเหตุให้ตอ้ งมีการปรับเปลี่ยนคาสอนเสียใหม่ กระทัง่ กลายเป็ นศาสนา
ฮินดูที่พยายามในทุกวิถีทางที่จะเรียกศรัทธากลับคืนมาให้ได้มากที่สุด
พัฒนาการของระบบวรรณะ ๔ สู่ระบบชนชั้น
ในยุคพระเวท แม้จะมีการแบ่งเป็ นวรรณะแล้ว แต่ยงั ไม่เด่นชัดนั ก ระบบ
วรรณะเริ่มก่อตัวเป็ นรูปร่างขึ้ นเมื่อสงครามระหว่างอารยันกับดราวิเดียนสิ้ นสุดลง
การตีความความหมายของวรรณะตามคัมภีรพ์ ระเวทเป็ นสิ่งที่เกิดจากความจาเป็ น
ทางสังคมหรือความต้องการของผูม้ ีอานาจในสังคมเป็ นหลัก เช่นในระยะแรกของ
การมีระบบวรรณะ วรรณะจะถูกตีความไปตามความต้องการของผูช้ นะสงครามคือ
อารยัน ซึ่งเป็ นกลุ่มผูม้ ีอานาจในสังคมที่ ตอ้ งการจะแบ่งแยกกลุ่มชนที่ มีชาติพันธุ์
๒๒

ต่างกันออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างอารยันกับดราวิเดียน เพื่อความบริสุทธิ์ของ
เชื้ อชาติ และเผ่ าพันธุ์ของตน กล่ าวคื อ พราหมณ์ กษั ตริย์ ไวศยะ ถื อเป็ นอารย
วรรณะซึ่งมีผิวขาว เป็ นนายเหนื อชนพื้ นเมืองเดิมซึ่งผิวคล้ากว่า เรียกว่า ทาสวรรณะ
หรือศูทร มีหน้าที่รบั ใช้ผเู ้ ป็ นนายคือพวกอารยัน
สมัยต่อมาวรรณะได้ถูกตี ความไปตามความจาเป็ นทางสังคม ที่ ต อ้ งการ
แรงงานและความเชี่ยวชาญในวิชาชีพต่างๆ ซึ่งเป็ นแต่เพียงการแบ่งหน้าที่และอาชีพ
ให้แก่คนในสังคมเท่านั้ น ได้แก่ พราหมณ์มีหน้าที่สงั ่ สอนเยีย่ งครูอาจารย์ กษัตริยม์ ี
หน้ าที่ เป็ นนั กรบป้ องกัน ชาติ บ ้านเมื อง แพศย์หรื อไวศยะมี อาชี พค้าขายสร้าง
เศรษฐกิจให้สงั คม และศูทรมีหน้าที่ทาไร่ไถนาและใช้แรงงาน
ต่อมาภายหลัง เมื่อมีความเจริญทางสังคมและเศรษฐกิจอันเป็ นมูลเหตุให้
สังคมมีความสลับซับซ้อนและแสวงหาความเชี่ยวชาญในวิชาชีพแขนงต่างๆ มากขึ้ น
จึ งมี ก ารแบ่ งแยกออกเป็ นชนชั้น ใหม่ ๆ ซึ่ งเป็ นกลุ่ มชนที่ มี อาชี พ การงานและ
กฎเกณฑ์ทางวรรณะคล้ายกัน กลายเป็ นวรรณะย่อยๆ ไป โดยวรรณะที่ สู งกว่า
เหยียดหยามและเอาเปรียบวรรณะตา่ ด้วยเหตุทางผลประโยชน์ เป็ นสาคัญ กล่าวคือ
ในยุคแรกทาสซึ่งเป็ นวรรณะตา่ ที่ยงั มีฐานะดีและเป็ นที่ยอมรับของสังคม สามารถ
แต่งงานกับวรรณะอื่นได้ แต่ภายหลังเมื่อระบบวรรณะขมวดเกลียวแน่ นขึ้ น ฐานะ
ของทาสก็ ลดตา่ ลงตามลาดับ กลายเป็ นพวกเลวทราม (Untouchable) และห้าม
พวกทาสทาพิธีต่างๆ เช่น การเผาศพอย่างที่ พวกอารยันทา ห้ามอ่านห้ามจับพระ
เวท ถ้าฝ่ าฝื นจะถูกตัดมือตัดหู
ความรุนแรงของการแบ่งชั้นวรรณะดังกล่าวปรากฏชัดในช่วงปลายยุคพระ
เวท โดยพวกพราหมณ์ได้อา้ งคัมภีรศ์ กั ดิ์สิทธิ์คือบทสวดฤคเวทตอนท้ายที่มีใจความ
ว่า พระพรหมสร้างมนุ ษย์ให้เกิดขึ้ นมาบนโลกด้วยฐานะที่ ต่างกัน และมนุ ษย์ก็ถือ
กาเนิ ดมาจากอวัยวะที่ต่างกันของพระพรหมด้วย คนในวรรณะพราหมณ์ถือกาเนิ ด
มาจากพระเศียรของพระพรหม คนวรรณะกษัตริยถ์ ือกาเนิ ดมาจากพระอังสา (บ่า)
คนในวรรณะแพศย์ถือก าเนิ ดมาจากพระอุ ทร (ท้อง) ส่วนคนในวรรณะศู ทรถื อ
กาเนิ ดมาจากพระบาท (เท้า) บางแห่ งกล่าวต่างไปจากนี้ ว่า วรรณะพราหมณ์มา
จากปากของพระพรหม วรรณะกษัตริยม์ าจากแขน วรรณะแพศย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่อง
๒๓

ของการทามาหาเลี้ ยงชีพหรือเป็ นหน่ วยเศรษฐกิจของชุมชนมาจากท้อง และวรรณะ


ศูทรซึ่งเป็ นพวกใช้แรงงานมาจากเท้าของพระพรหม
การที่มนุ ษย์ถือกาเนิ ดมาจากอวัยวะที่ ต่างกันดังนี้ จึงไม่มีความเสมอภาค
กันตั้งแต่เกิดแต่เพราะนั น่ เป็ นพระประสงค์ของพระผูเ้ ป็ นเจ้าที่ได้กาหนดไว้แล้ว จึง
ต้องถือปฏิบตั ิตามอย่างเคร่งครัด ดังนั้ นผูท้ ี่เกิดในวรรณะใดก็ตอ้ งดารงอยูใ่ นวรรณะ
นั้ นตลอดไปและการประกอบอาชีพก็ตอ้ งให้เป็ นไปตามหน้าที่ของตนๆ จะก้าวก่าย
กันไม่ได้ และห้ามมิให้คนต่างชั้นวรรณะกันทาการสมรสข้ามวรรณะ ต้องสมรสกับ
คนภายในวรรณะเดียวกันเท่านั้ น หากมีการสมรสข้ามวรรณะกัน บุตรที่เกิดมาก็จะ
ไม่อาจเข้าชั้นวรรณะใดได้อีก และจะถูกเรียกว่าจัณฑาล กลายเป็ นบุคคลที่ถูกสังคม
เหยียดหยามดูถูก ทั้งนี้ ก็เพราะต้องการปกป้ องสายเลือดและชนชั้นของเผ่าอารยัน
เป็ นหลัก หากใครฝ่ าฝื นนอกจากจะถือว่าเป็ นการทรยศต่อวรรณะตนเองแล้ว ยังถือ
ว่า เป็ นการขัดบัญชาของพระผูเ้ ป็ นเจ้าย่อมจะถูกพระเจ้าลงโทษ เรียกว่า "เทวทัณฑ์"
บ้าง หรือ "พรหมทัณฑ์" บ้าง ผูท้ ี่เกิดในวรรณะตา่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกศูทรและ
จัณฑาล ต้องยอมรับปฏิบัติตามคาสัง่ ของพราหมณ์โดยไม่มีขอ้ แม้ใดๆ พวกศูทรจึง
เป็ นพวกที่ ได้รับชะตากรรมมาก ที่ สุดและน่ าสงสารมากที่ สุด แม้ทุ กวันนี้ ก็ยงั มี
ความเชื่อเช่นนี้ หลงเหลืออยูใ่ นอินเดียอีกมาก
๒.๓ ยุคอุปนิษัท (Upanishad Period)
ประมาณ ๑๕๐-๑๐๐ ปี ก่ อนพุ ทธศักราช "พรหมัน" ในคัมภี ร์อุ ปนิ ษั ท
ศาสนาพราหมณ์ได้วิวฒ ั นาการจากยุคพราหมณะเข้าสู่ยุคที่ ๓ คือยุคอุปนิ ษัท ซึ่ง
เป็ นช่วงที่ชาวอินเดียสร้างรากฐานทางสังคมที่มนั ่ คงแข็งแกร่งแล้ว แต่ในทางศาสนา
ผูค้ นกลับเริ่มฉุ กคิดว่า "ลาพังการบูชายัญอย่างที่เคยประพฤติมานั้ น ไม่สูจ้ ะได้ผล
อะไรเลย ยังไม่เห็ นเลยว่าจะสามารถเอาชนะทุ กข์ได้อย่างแท้จริง นอกจากจะเป็ น
การปลอบใจชัว่ ครั้งชัว่ คราวเท่านั้น ดังนั้ นต่อมาจึงเกิดมีนักปรัชญาที่พยายามค้นหา
เหตุผลในเรื่องความจริงของชีวิตว่า "ชีวิตคืออะไร เราเกิ ดมาทาไม ตายแล้วจะไป
ไหน"
ความสงสัยและความขัดแย้งดังกล่าวเริ่มรุนแรงมากขึ้ น จนถึงขนาดที่ว่ามี
การรวมกลุ่มอภิปรายปั ญหาต่างๆ เพื่อคัดค้านพราหมณ์เลยที เดียว โดยมีวรรณะ
กษัตริยเ์ ป็ นแกนนาสร้างปรัชญาใหม่ๆ วันดีคืนดีก็ต้งั ปั ญหาถามพวกพราหมณ์ว่า
๒๔

"อะไรคือปฐมเหตุของโลกและชีวิต พรหมคืออะไร เราเกิดมาจากไหน เราอยูไ่ ด้ดว้ ย


อะไร เราถูกสร้างขึ้ นมาบนพื้ นฐานแห่งอะไร"
เมื่อต่างคนต่างพยายามใช้ปัญญาของตนขบคิดหาเหตุผล จึงพบข้อสรุปบาง
ประการที่ น่ าสนใจ ซึ่ งได้รวบรวมขึ้ นมาใหม่เป็ นอี กคัมภี ร์หนึ่ ง ให้ชื่อว่า "คัมภี ร์
อุ ป นิ ษั ท " (Upanishads) ซึ่ งเป็ นบทสรุ ป ของคั ม ภี ร์ พ ระเวท ถื อ เป็ นตั ว แทน
พัฒนาการด้านความคิดตามคัมภีรพ์ ระเวทขั้นสุดท้าย และเป็ นลักษณะสุดท้ายของ
ศาสนาพราหมณ์ ดังนั้นคัมภีรอ์ ุปนิ ษัทจึงเป็ นอวสานของพระเวท และสานั กปรัชญา
ลัทธิฮินดูในสมัยต่อมา ก็ลว้ นวางหลักคาสอนของตนไว้กับคัมภีร์ อุปนิ ษัทที่ ขยาย
ความออกไปที่เรียกว่า "เวทานตะ" (Vedanta) นัน่ เอง
คัมภี ร์อุ ปนิ ษั ทเกิ ดขึ้ นครั้งแรกเมื่ อใดนั้ นยังหาข้อสรุ ปได้ยา ทั้งนี้ เพราะ
คัมภีรอ์ ุปนิ ษัท มีอยู่นับร้อยเล่ม และแต่ละเล่มก็ไม่ตรงกันหรือที่ขดั แย้งกันเองก็มี
นั กปราชญ์ฝ่ายฮินดูกล่าวว่าอุปนิ ษัทต้องเกิดก่อนพุทธศาสนาอย่างแน่ นอน ส่วน
บางท่ านมี ความเห็ นแย้งกันว่าคัมภี ร์อุปนิ ษั ทอาจเกิ ดขึ้ นหลังพุ ทธกาล คื อเป็ น
ผลงานของพวกฮินดูซึ่งหาทางจะดารงไว้ซึ่งศาสนาพราหมณ์ในยุคที่พุทธศาสนาและ
ศาสนาเชนกาลังรุง่ เรือง
คาสอนในคัมภีรอ์ ุปนิ ษัทเป็ นปรัชญาที่ลึกซึ้ งและเป็ นเรื่องยากที่จะเข้าใจได้
ที่เห็นได้ชดั คือคาสอนเรื่องความจริงสูงสุดที่เรียกว่า "พรหมัน" (Brahman) ซึ่งเป็ น
คาสอนใหม่ที่ไม่มีปรากฏอยูใ่ นคัมภีรพ์ ระเวท
คัมภีรอ์ ุปนิ ษัทกล่าวว่า แม้พระเวทจะถือกันว่าเป็ นพระวจนะของพระผูเ้ ป็ น
เจ้าโดยตรง (ศรุติ) แต่ที่แท้จริงก็เป็ นสิ่งที่เกิดมาจากพรหมัน ออกมากับลมหายใจ
ของพรหมันนั น่ เอง ดังนั้ น พรหมันในคัมภีรอ์ ุปนิ ษัทจึงมีความสาคัญเหนื อกว่าพระ
เวทมากนั ก ดังจะเห็นได้จากประโยคที่วา่ "ผูท้ ี่รจู ้ กั พระเวทที่ดีที่สุด ก็ยงั ไม่อาจหลุด
พ้นจากทุกข์ได้ ถ้าเขายังไม่รูจ้ กั พรหมัน ตรงข้ามถ้ารูจ้ กั พรหมันแต่ไม่รูพ้ ระเวทเลย
กลับสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้"
ในคัมภีร์อุปนิ ษัทกล่าวถึ งพรหมันว่า "มีพระผูเ้ ป็ นเจ้าสู งสุ ดอยู่เพียงหนึ่ ง
เดียวคือพรหมัน (Brahman) ทุกสิ่งแยกตัวมาจากพรหมัน และจะกลับไปรวมกับพร
มันอีก บุคคลคือชีวาตมันหรืออาตมัน (Atman) ซึ่งมีธรรมชาติเหมือนพรหมันแต่
แยกมาอยู่ในตัวบุคคล บุคคลจะต้องพยายามด้วยการประกอบพิธีกรรมจนถึ งขั้น
๒๕

บรรลุโมกษะ (Moksha) หรือความหลุดพ้น ก็จะกลับไปรวมกับพรหมัน ขณะเมื่อยัง


รวมกับพรหมันไม่ได้ ก็จะเวียนว่ายตายเกิดไปจนกว่าจะกลับไปรวมกับพรหมันได้ ชี
วาตมันที่จะกลับไปสู่พรหมันได้น้ันจึงต้องเลือกกระทาแต่กรรมที่ไม่ผูกพันกับโลก
คาสอนเรื่อง "พรหมัน" นี้ ถือเป็ นหลักการสาคัญของคัมภีรอ์ ุปนิ ษัทที่เชื่อม
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุ ษย์กบั พรหมัน มนุ ษย์กบั เทพเจ้า และมนุ ษย์กบั มนุ ษย์
ด้วยกัน ตลอดจนมนุ ษย์กบั สรรพสิ่งในจักรวาล โดยยืนยันว่า "เป็ นไปไม่ได้เลยที่
ชีวติ มนุ ษย์จะอยูแ่ ยกไปอย่างเด็ดขาดจากความเป็ นไปของจักรวาล เพราะมนุ ษย์ก็
คือส่วนหนึ่ งของจักรวาลนัน่ เอง"
ปรัชญาการดาเนินชีวิตตามหลักอาศรม ๔
ย้อนไปในยุคพราหมณะซึ่งพิธีบูชายัญได้รบั ความนิ ยมกันอย่างแพร่หลาย
ในยุคนั้ นพราหมณ์ซึ่งเป็ นผูม้ ีอานาจในการประกอบพิธีกรรม จึงได้รบั การยกย่องว่า
เป็ นที่ พึ่งทางจิตใจของประชาชน เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนก็ พากันไปหา
พราหมณ์ เพื่ อให้ช่ วยเปลื้ องทุ ก ข์ และไถ่ บ าปให้ เพราะถื อว่ าพราหมณ์ เป็ นผู ้
ศักดิ์ สิทธิ์ ที่ เป็ นเสมือนตัวแทนของพระผูเ้ ป็ นเจ้าหน้ าที่ ของพราหมณ์จึงอยู่ที่ การ
ประพฤติ เคร่ งครัดอยู่ ใ นพิ ธี กรรมและกระท าตนให้เป็ นที่ พึ่ งของประชาชนใน
ทางด้านจิตใจเท่านั้น
คัมภี ร์พระเวทในส่ วนที่ เรียกว่า อรัณยกะ (บทเรียนในป่ า) ได้กล่ าวถึ ง
หลั ก การด าเนิ นชี วิ ต ของพราหมณ์ ผู ้บ าเพ็ ญ ตนเพื่ อ ให้บ รรลุ ป ระโยชน์ ห รื อ
จุ ดมุ่งหมายของชี วิตมนุ ษย์ ซึ่งเป็ นขั้นเป็ นตอนไปตามล าดั บ เรียกว่าอาศรม ๔
(Four Ashrams) ดังนี้
๑) พรหมจารี (Brahmacharya :Student) แปลว่า ผูป้ ระพฤติพรหมจรรย์
เป็ นวัยที่ ตอ้ งศึกษาเล่าเรียน จะเริ่มทาพิธีเล่าเรียนเรียกว่า "อุปานยัน" แปลว่านา
ชีวิตเข้าสู่ความรูต้ ้ังแต่อายุ ๘ ขวบ เบื้ องแรกจะต้องให้พราหมณ์ ผูเ้ ป็ นครูอาจารย์
เป็ นผูส้ วมคล้องด้ายสายศักดิ์สิทธิ์เรียกว่ายัชโญปวีต เท่ากับเป็ นการประกาศและ
ปฏิญาณตนว่าเป็ นพรหมจารีที่ จะต้องเชื่อฟั งครูบาอาจารย์ ต้องมีความประพฤติ
เรียบร้อย ต้องเคารพต่ออาจารย์ทุกโอกาส และต้องเรียนอยู่ในสานั กของอาจารย์
อย่างน้อย ๑๒ ปี จึงสาเร็จการศึกษา
๒๖

๒) คฤหัสถ์ (Grihastha : Householder) แปลว่า ผูค้ รองเรือน เป็ นวัยที่


แสวงหาความสุขทางโลกตามฆราวาสวิสัย ต้องแต่งงานและมีบุตรอย่างน้อย ๑ คน
เพื่อใช้หนี้ บรรพบุรุษและเป็ นการป้ องกันมิให้บิดามารดาตกนรกขุม "ปุตตะ" จะต้อง
ประกอบอาชี พให้มี ฐานะมั น่ คงในทางฆราวาส ปฏิ บัติ ตามกฎของผู ค้ รองเรือน
ตลอดจนเอาใจใส่ในการประกอบยัญพิธี
๓) วนปรัสถ์ (Vanaprastha : Hermit) แปลว่า ผู ้อยู่ป่ า หลังจากสร้าง
ฐานะในเพศคฤหัสถ์ได้แล้ว มีบุตรธิ ดาสืบสกุ ลแล้ว ก็ยกทรัพย์สมบัติให้บุตรธิ ดา
แล้วออกไปอยู่ในป่ าเพื่อแสวงหาความสุขสงบจากวิเวก บาเพ็ญเพียรทางใจและข้อ
ปฏิบัติอื่นๆทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ยังมีภรรยาเหมือนกับบุ คคลทัว่ ไป แต่มุ่ง
บาเพ็ญความดีเพื่อสัมปรายภพให้มากยิ่งขึ้ น
๔) สันยาสี (Sannyasa : Ascetic) แปลว่า ผูแ้ สวงหาธรรม พิธีบวชเป็ นสัน
ยาสี คุรุ (ครู) จะทาพิธีสวดมนต์บูชาพระเจ้า แล้วสอนให้ผูบ้ วชว่าตาม เสร็จแล้วคุรุ
จะอบรมให้ผูถ้ ือบวชทราบทางปฏิบตั ิ การถือบวชเป็ นสันยาสีนับเป็ นช่วงสุดท้ายของ
ชีวิตของผูท้ ี่หวังประโยชน์ สูงสุด ฉะนั้ นจึงต้องสละโลกและบุตรภรรยา ความวุน่ วาย
ออกบาเพ็ญพรตอยูใ่ นป่ าตลอดชีวติ เพื่อจุดหมายปลายทางของชีวติ คือโมกษะ
อาศรม ๔ จึงเป็ นลาดับขั้นแห่งวิถีชีวิต (Stages of Life) เป็ นแนวทางปฏิบตั ิ
ของผูบ้ าเพ็ญตนไปสู่ธรรมขั้นสูงสุดในศาสนาพราหมณ์คือโมกษะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อ
ชีวิตสังคมของประชาชนและเป็ นพื้ นฐานที่ น าไปสู่การพัฒนาทางศี ลธรรมขั้นสู ง
ต่อไป แต่บุคคลที่จะปฏิบตั ิตามอาศรม ๔ ได้ จะต้องอยูใ่ นวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์
แพศย์เท่านั้น
ระบบอาศรม ๔ ที่ พั ฒ นาขึ้ นยุ คพราหมณะนี้ นั บว่ายังไม่ เข้ม งวดหรื อ
เคร่งครัดเท่าใดนั ก เพราะยุคพราหมณะยังคงเน้นในเรื่องการบูชายัญ มีบุตรและ
บ าเพ็ ญ ทานของพราหมณ์ ผู น้ ั บถื อพระเวท ดังนั้ นช่ วงคฤหัสถ์จึ งเป็ นช่วงชี วิตที่
พราหมณ์ ยกย่องและให้ความส าคัญ ทั้งนี้ เพราะพราหมณ์ส่วนใหญ่ เป็ นคฤหบดี
พราหมณ์ ซึ่งยังคงมีบุ ตรภรรยาและสามารถประกอบอาชีพอยู่เป็ นครอบครัวได้
ตามปกติ ส่วนช่วงสันยาสี (ผูแ้ สวงหาโมกษะ) นั้ น เป็ นช่วงชีวิตที่ ใครจะเลือกจะ
เลือกหรือไม่เลือกก็ไม่มีผลต่อความพ้นทุกข์เพราะความพ้นทุกข์ขึ้นอยู่กับการบูชา
ยัญเป็ นหลัก
๒๗

แต่ครั้นมาถึงยุคอุปนิ ษัท ระบบโครงสร้างทางศาสนาอันได้แก่คาสอนและ


การปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ เคยมุ่งเน้นการเข้าถึ ง
เป้ าหมายสูงสุดจากภายนอกโดยอาศัยการประกอบพิธีบูชายัญเป็ นหลัก ก็เปลี่ยน
มาเป็ นการเข้าถึงพรหมันตามหลักปรัชญาในคัมภีรอ์ ุปนิ ษัท อาศัยการบาเพ็ญตบะ
หรือบาเพ็ญโยคะอย่างยิ่งยวด ละทิ้ งทุ กอย่างเพื่อให้เข้าถึ งพรหมัน เพราะเห็นว่า
การบูชายัญนั้ นเพียงช่วยให้ไปสวรรค์ได้ แต่ก็ยงั ไม่อาจช่วยให้บรรลุโมกษะเข้าถึ ง
พรหมมันได้เลย
ดังนั้น ในยุคอุปนิ ษัท ความสาคัญของพราหมณ์ในฐานะผูป้ ระกอบพิธีกรรม
เริ่มลดลง ช่วงสันยาสีหรือช่วงชีวิตสุดท้ายที่มุ่งแสวงหาโมกษะกลับได้รบั การยกย่อง
มากเป็ นพิเศษ และยังเชื่ออีกว่าการเข้าสู่ช่วงสันยาสีน้ั นจะเริ่มต้นเมื่อใดก็ได้ โดยไม่
จาเป็ นต้องรอให้มี อายุมากหรือมีลูกหลานก่อนตามแบบเดิ ม แนวคิ ดดังกล่าวนี้
ก่อให้เกิดการเติบโตและแผ่ขยายของลัทธิถือพรตอยู่ป่า ปลีกตัวจากโลกภายนอก
ไม่มีชนชั้นวรรณะและมุง่ ความสันโดษและแสวงหาความสุขทางจิตวิญญาณ
แนวคิดและระบบปรัชญาอินเดีย ๒ สาย
สมัยที่ปรัชญาอุปนิ ษัทเกิดขึ้ น เป็ นยุคที่ใกล้กบั พุทธกาลมากแล้ว เป็ นยุคที่
นักคิดชาวอินเดียเริ่มเป็ นตัวของตัวเองมากขึ้ น ไม่ผูกพันกับระบบประเพณีด้งั เดิมซึ่ง
ถ่ายทอดกันมาแต่สมัยพระเวท เพราะฉะนั้ นจึงมีนักคิดอิสระที่มีความคิดแหวกแนว
ออกไปจากระบบประเพณีด้งั เดิมของพระเวทออกไป
พวกนั กคิ ด อิ ส ระที่ พ ากั น ปฏิ เสธคั ม ภี ร์ พ ระเวทมี อ ยู่ ห ลายกลุ่ ม ใน
พระไตรปิ ฎกได้กล่าวถึงชื่อ อาชีวก ปริพาชก นิ ครนถ์ ลัทธิครูท้งั ๖ ท่านเหล่านี้ ล้วน
แต่เป็ นนักคิดอิสระที่แยกตัวออกมาจากพราหมณ์ผนู ้ ับถือพระเวททั้งสิ้ น
ดังนั้ น ยุคนี้ จึงเป็ นเสมือนจุ ดเชื่อมต่อระหว่างลัทธิ ความเชื่อสองสาย คื อ
ลัทธิ ศาสนาพราหมณ์ที่ ยงั คงยึดมัน่ อยู่ในคัมภีรพ์ ระเวท กับลัทธิ ศาสนาใหม่ๆ ที่
ปฏิเสธคัมภีรพ์ ระเวท
ฉะนั้น ลัทธิศาสนาของอินเดียในยุคนี้ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็ น ๒ พวก คือ
๑. พวกอไวทิ ก วาทะ (Avaidika) หรื อ นาสติ ก ะ (Nastika) คื อ พวกที่
ปฏิเสธความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท ปฏิเสธความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และไม่ยอมรับ
๒๘

ประเพณี ของพราหมณ์ ซึ่ งหลักๆ ก็ ได้แก่ ลั ทธิ ของครู ท้ั ง ๖ ศาสนาเชน และ
พระพุทธศาสนา ซึ่งหากจะแยกให้ชดั เจน ก็แบ่งได้เป็ น ๒ กลุ่มคือ
๑) กลุ่มเหตุผลนิ ยม (Rationalist) ที่ เน้นการแสวงหาความรู ้ โดยการใช้
เหตุผลและการตั้งข้อสมมุติฐาน ซึ่งถือว่าเป็ นการเก็งความจริง นั กคิดกลุ่มนี้ ยืนยัน
ว่าความรูท้ ี่ ได้มานั้ นเกิ ดจากการใช้เหตุ ผลของมนุ ษย์ลว้ นๆ ไม่อ า้ งอานาจวิเศษ
เหนื อธรรมชาติใดๆ ทั้งมิได้อา้ งว่าเป็ นความรูท้ ี่เกิดจากญาณหยัง่ รูพ้ ิเศษอันเกิดมา
จากการบ าเพ็ ญ เพี ยงทางจิ ตจนบรรลุ แต่ เป็ นความคิ ดความเห็ นที่ เกิ ดจากการ
คาดคะเนและทานายตามหลักเหตุผลล้วนๆ นั กคิดกลุ่มนี้ ประกอบด้วยนั กปรัชญา
อุปนิ ษัทยุคแรก นักปรัชญาสายอาชีวกะ และปริพาชกะ
๒) กลุ่มประสบการณ์นิยมหรือปฏิ บัตินิยม (Experientialist) ที่ ยืนยัน
ว่าความรูท้ ี่ แท้จริง ย่อมเป็ นผลที่ เกิดมาจากการปฏิบัติ การทดลองพิสูจน์ จนได้รู ้
แจ้งเองด้วยประสบการณ์ของตน นั กคิดกลุ่มนี้ ประกอบด้วย นั กปรัชญาอุปนิ ษัทยุค
ปลาย นั กปรัชญาเชน เป็ นต้น ในแง่มุ มการแสวงหาความรู ้ นั กปฏิ บัติ กลุ่ มนี้ มี
แนวทางใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนา
๒.พวกไวทิกวาทะ (Vaidika) หรืออาสติกะ (Astika) คือพวกที่ยงั คงนั บถือ
พระเวทเป็ นปทั ฏ ฐาน คื อยอมรับ ประเพณี ของพราหมณ์ และไม่ ปฏิ เสธความ
ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ของพระเวท พวกไวทิ กวาทะนี้ จึ ง จั ด อยู่ ใ นประเภทจารี ต นิ ยม
(Traditionalist) เพราะเชื่ อว่าความรู ท้ ุ กชนิ ดเกิ ดมาจากแหล่ งเดี ยวกัน โดยการ
เปิ ดเผยของเทพเจ้า เรียกว่า "พระเวท" (Vedas) ซึ่งพราหมณ์ยึดถือกันว่าเป็ นคัมภีร์
หลักที่สาคัญและศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็ นโองการของสวรรค์ เป็ นขุมทรัพย์ทางปั ญญา
อันยิ่งใหญ่และสูงส่งของมวลมนุ ษย์ ดังนั้นเมื่อมีการศึกษาและสืบทอดก็ตอ้ งยึดตาม
แบบแผนและปฏิบตั ิตามประเพณี ธรรมเนี ยมเก่า ต้องอนุ รกั ษ์และอนุ วตั รตามสิ่งที่
กล่าวในคัมภีรพ์ ระเวท โดยไม่มีขอ้ โต้แย้ง วิจารณ์ หรือแสวงหาเหตุผลใดๆ
พวกไวทิ กวาทะนี้ ต่ อมาภายหลังก่ อเกิ ดเป็ น ๖ ลัทธิ ใหญ่ เรียกว่า หลัก
ทรรศนะ ๖ (Six Darshanas) ประกอบด้วยลัทธิเวทานตะ นยายะ ไวเศษิ กะ สางขยะ
โยคะ และ มิมางสา ทรรศนะเหล่านี้ มีรายละเอียดคาสอนต่างกันดังนี้
๑) ลัทธิเวทานตะ (Vedanta) ก่อตั้งโดยฤาษีพาทรายณะ
๒๙

ลัทธินี้สืบทอดมาจากการแตกยอดบทอุปนิ ษัทบทสุดท้ายของคัมภีรพ์ ระเวท


ที่กล่าวถึ งจุดสูงสุ ดแห่งการศึกษาหรือที่ เรียกว่า เวทานตะ ตั้งปรัชญาความเชื่อว่า
ความจริ งแท้ (สั จธรรม) หรื อความจริ งอั นสู งสุ ด หรื ออั นติ มสัจจะ (Ultimate
Reality) ของโลกและจักรวาล มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้ น คือ พรหมัน หรือปรมาตมัน
และชีวาตมัน หรืออาตมัน แต่เพราะเหตุที่เราไม่รูเ้ ท่าทันความจริงที่ว่า จิตของเรา
แต่ ละคนเป็ นอาตมัน เป็ นอย่างเดี ยวกับจิตของพรหม คื อ ปรมาตมัน คนเราจึง
กระทากรรมและถือกรรมต่างๆ เป็ นตัวตนของเขา ดังนั้ นจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน
โลกนี้ เมื่ อใดก าจัดอวิชชาหรือความไม่ รูไ้ ด้แล้ว อาตมันก็ จะเข้าร่วมสถิ ตอยู่กับ
ปรมาตมัน คนที่สาเร็จถึงขั้นนั้นก็จะกลายเป็ นพรหม
๒) ลัทธินยายะ (Nyaya) ก่อตั้งโดยท่านฤาษีโคตมะ
ลัทธิ นี้เน้ นหนั กไปในเรื่องการพิจารณาหาความจริงแบบตรรกะ (Logical
Realism) ใช้ความคิดวิพากษ์วจิ ารณ์และวิเคราะห์ความจริงในรูปแบบต่างๆ โดยเชื่อ
ว่าความจริงที่ ยอมรับได้จะต้องอธิบายได้ดว้ ยหลักของเหตุผล สอนให้พิจารณาถึ ง
ความทุกข์ ความเกิด ความเคลื่อนไหวในระหว่างมีชีวิตอยูแ่ ละความสานึ กผิด สอน
ให้บุคคลเลิกละอกุศล ให้มีเมตตาต่อกัน มีสัจจะบาเพ็ญประโยชน์ ต่อกัน ในที่สุดก็
จะบรรลุ ความหลุ ดพ้นจากความทุ กข์และเครื่ องผู กพันอันเกิ ดจากการสมาคม
ระหว่างชีวาตมันกับสสาร เพราะการสมาคมกันของชีวาตมันกับสสารทาให้ชีวาตมัน
หลงลืมภาวะดั้งเดิมของตัวเอง แล้วไปทากรรมดีกรรมชัว่ ผลของการทากรรมดีและ
ชัว่ จึงทาให้ชีวาตมันเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏไม่รจู ้ บ เมื่อคลี่คลายชีวาตมันอ
อกจากสสารได้ ก็จะเป็ นอิสระอย่างแท้จริง เป็ นอิสรภาพสูงสุด เพราะหลุดพ้นจาก
การเกิดการตาย และพ้นไปจากความทุกข์และความสุขตลอดกาล
๓) ลัทธิไวเศษิกะ (Vaisesika) ก่อตั้งโดยฤาษีกณาท
ลัทธินี้สอนว่า โลกเกิดจากพลังอันมองไม่เห็นที่สืบมาจากกรรมในภพก่อน
แต่ก็มีจิตอันยิ่งใหญ่ที่สุดคือปรมาตมันเป็ นใหญ่อยูใ่ นสากลโลก เป็ นอมตะ ไม่มีตน้
ไม่มีปลาย ไม่มี การท าลายแตกดับ แผ่ซ่านทัว่ ไปโดยปราศจากรูปร่าง และเป็ น
ผูส้ ร้างสากลโลกขึ้ น จิตอันยิ่งใหญ่นี้ได้แยกส่วนเป็ นวิญญาณส่วนบุคคลที่ เรียกว่า
ชีวาตมัน โมกษะหรือความหลุดพ้นจากทุกข์ของชีวาตมัน จึงสามารถเข้าถึงได้ดว้ ย
การขจัดอวิชชา (อวิทยา) ให้หมดไปและทาความรูแ้ จ้งในสัจธรรมให้เกิดขึ้ น เมื่อนั้ น
๓๐

ชีวาตมันก็ จะไม่ยึดมัน่ ในใจและกาย ท าให้มองเห็นธรรมชาติ ที่ แท้จริงของตนว่า


เป็ นวิญญาณบริสุทธิ์หรือจิตสสารบริสุทธิ์ที่ดารงอยู่โดยปราศจากสัมปชัญญะ ไม่มี
ความรู ้ ไม่มีความสุข ไม่มีความทุกข์ เป็ นภาวะนิ รนั ดร์
๔) ลัทธิสางขยะ (Sankhya) ก่อตั้งโดยกบิลมหามุนี
ลัทธินี้มุ่งแสวงหาความรูท้ ี่ถูกต้องเกี่ยวกับสัจภาพโดยการจาแนกวัตถุแห่ง
การรับรูอ้ อกเป็ น "ตัตตวะ" หรือความจริงแท้ ๒๕ ประการ ซึ่งอาจย่อลงเป็ น ๒ คือ
ปุรุษะ และประกฤติ ปุรุษะ ได้แก่ อาตมันหรือวิญญาณสากล ส่วนประกฤติ คือ สิ่งที่
เป็ นต้นเหตุหรือต้นกาเนิ ดของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ลัทธินี้จึงจัดอยูใ่ นประเภทสัจนิ ยม
เชิงทวิ (Dualistic Realism) เพราะมี ความเห็นว่าปุ รุษะและประกฤติ ท้ังสองส่วน
เป็ นสัจภาพและเป็ นมู ลการณะของสรรพสิ่ ง โดยชี้ ให้เห็ นว่าปุ รุ ษะถู กขังอยู่ใน
ประกฤติ จึงได้ประกอบกรรมอันน ามาซึ่งความทุ กข์ เมื่ อทราบดังนี้ แล้วจึ งต้อง
พยายามหาทางถอนวิญญาณของตนออกจากวัตถุธาตุท้ังมวล ดังนั้ นการหลุดพ้นก็
คื อการกลับไปสู่ภาวะเดิ มของปุ รุษะ กล่าวคื อกลับคื นสู่วิญญาณบริสุ ทธิ์ เหมื อน
ก่อนที่ จะมาสัมพันธ์กับประกฤติ เมื่อหลุดพ้นแล้วก็จะได้เข้าร่วมเป็ นอันหนึ่ งอัน
เดียวกับวิญญาณสากล หรือปรมาตมันต่อไป
๕) ลัทธิโยคะ (Yoga) ก่อตั้งโดยปตัญชลีมหาฤาษี
เชื่ อว่ามี เทพเจ้าผู ท้ รงอ านาจเหนื อมนุ ษย์ คื อพระพรหมผู ย้ ิ่ งใหญ่ หรื อ
ปรมาตมัน อันเป็ นปฐมวิญญาณของสัตว์ท้งั หลาย ในยุคต้นฝึ กบาเพ็ญตบะโดยหวัง
ไปทางโลกิยสุ ข ต่อมาฝึ กเน้นหนั กไปในทางทาจิตให้สะอาดเพื่อจะได้รวมกับพระ
พรหม โดยก าหนดให้ต้ังสมาธิ คื อการเพ่ งจิ ตให้มี อารมณ์ เดี ยวเป็ นเอกัคคตา
เพื่อให้วญิ ญาณเล็กน้อยทั้งหลายเข้าร่วมอยูใ่ นวิญญาณอันเป็ นปฐม (คือ ให้อาตมัน
เข้าไปอยู่ในปรมาตมัน) วิธีการของโยคะ คือ บังคับการระบายและตั้งลมหายใจเข้า
ออก เพ่งบางส่วนของร่างกายให้เกิดสมาธิ ต้องมีความข่มการดิ้ นรนให้หมดไป โดย
ตั้งใจเพ่งพระอิ ศวรเป็ นใหญ่ ซึ่งเป็ นบุ รุษหรืออาตมัน อันพ้นแล้วจากกรรมหรือ
ความเสื่อมเสียทั้งปวง มีทางเข้าถึ งโยคะ ๘ สาย การปฏิบัติโยคะนี้ ต้องปฏิบัติเป็ น
ขั้นๆ ไป และจะเกิดความสาเร็จเป็ นขั้น ๆ เช่นกัน บางครั้งอาจเกิดอิทธิปาฏิหาริย์
ขึ้ นมาเป็ นผลพลอยได้ แต่เป้ าหมายที่แท้จริงก็เพื่อดับพฤติกรรมของจิต
๖) ลัทธิมิมางสา (Mimamsa) ก่อตั้งโดยฤาษีไชมินิ
๓๑

เชื่อว่าวิญญาณเป็ นสิ่งที่ มีอยู่จริง เชื่อว่าโลกนี้ และวิญญาณต่างๆ ล้วนเป็ น


อมตะ และเชื่อความศักดิ์ สิ ทธิ์ ของคัมภี ร์พระเวท แต่มิ ได้กล่าวถึ งเทพเจ้าว่าเป็ น
ผูส้ ร้างโลก โดยถือว่าพระเจ้าสูงสุดไม่มี โลกนี้ ไม่มีใครสร้าง และจะไม่มีวนั สูญสลาย
โลกจะดารงอยู่อย่างนี้ ตลอดไปทั้งสากลโลกและจักรวาล ไม่มีกาลไหนๆ ที่ สากล
จักรวาลจะมีลักษณะผิดแผกแตกต่างไปจากที่มนั เป็ นอยู่ในเวลานี้ ถึงอย่างไรสากล
จักรวาลก็จะยังคงสถานะและสภาวะที่เป็ นอยูเ่ ช่นนี้ ตลอดไป
จากรายละเอียดข้างต้น เราจะเห็นว่าชาวอินเดียเป็ นนั กคิดนั กแสวงหาที่ มี
แนวคิดในเชิงศาสนาและปรัชญาที่ ละเอียดซับซ้อน มีหลากหลายระบบ ซึ่งแต่ละ
ระบบก็มีคาสอนที่มีรายละเอียดต่างกันไป ทั้งนี้ ส่วนหนึ่ งเป็ นผลจากสภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติ อีกส่วนหนึ่ งเกิดจากความหลากหลาย และเหลื่อมล้าตา่ สูงแห่งวิถี
ชีวติ ของผูค้ น
อย่างไรก็ตาม คาสอนที่ เป็ นศาสนาหรือปรัชญาเหล่านั้ น แม้จะต่างกันใน
รายละเอียด แต่ท้งั หมดล้วนมีลักษณะร่วมอย่างเดียวกัน คือการแสวงหาความเป็ น
จริงสูงสุดที่เป็ นฐานรองรับความมีอยูข่ องชีวติ โลกและจักรวาล และพยายามอธิบาย
แนวความคิ ดเกี่ ยวกับความเป็ นจริงนั้ นๆ สะท้อนออกมาเป็ นปรัชญาชี วิต เพื่ อ
ประโยชน์ แก่ การบรรลุ โมกษะหรือการหลุดพ้น ซึ่งถื อว่าเป็ นเป้ าหมายสูงสุ ดของ
ทุกๆ ชีวติ
จากจดหมายฉบั บ ที่ ๒ ที่ อาจารย์ เขี ย นถึ งเธออย่ างยาวนี้ พอจะสรุ ป
สาระส าคัญได้ว่า อิ นเดี ยเป็ นแหล่ งก าเนิ ดอารยธรรมลุ่ มแม่น้ าสิ นธุ ที่ เก่าแก่ มี
ประวัติศาสตร์ยาวนานกว่าห้าพันปี อินเดียในยุคโบราณเป็ นอนุ ทวีปรูปสามเหลี่ยม
หัวกลับอยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เพราะเหตุที่อินเดียมีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่
แตกต่างหลากหลาย อินเดียจึงกลายเป็ นดินแดนแห่งความแตกต่าง ทั้งในด้านวิถี
ชีวติ ผูค้ น แบบแผนทางสังคม รวมถึงมิติในทางศาสนา
ประวัติศาสตร์อินเดียเริ่มต้นในยุคอารยธรรมลุ่มแม่น้ าสินธุ เมื่อราว ๒-๓
พันปี ก่อนพุทธศักราช โดยมีเมืองฮารัปปาและโมเฮนโจ ดาโร เป็ นแหล่งศูนย์กลาง
อารยธรรมที่สาคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญของสังคมเมืองในยุคนั้ น ก่อนที่
จะล่ ม สลายลงเมื่ อ ชนเผ่ าอารยัน เข้ามา โดยชาวอารยัน ได้ผสมกลมกลื น เอา
วัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ แล้วสร้างอารยธรรมใหม่ของตนขึ้ นมาอย่างแข็งแกร่ง
๓๒

หลังจากชาวอารยันเข้ามาสู่อินเดียแล้ว ได้จดั ระบบระเบียบของคนในสังคม


เสียใหม่ดว้ ยระบบวรรณะ ๔ ตามฐานะและหน้าที่ เพราะเกรงว่าจะผสมปนเปกับชน
พื้ นเมืองซึ่งถือเป็ นชนชั้นตา่ ซึ่งเป็ นจุดเริ่มต้นของการแบ่งชนชั้นวรรณะอย่างรุนแรง
ในเวลาต่อมา โดยมีพราหมณ์เป็ นกลุ่มวรรณะสูงสุดที่เชื่อว่าสามารถติดต่อกับเทพ
เจ้าได้โดยตรง และยังป็ นผู น้ าประกอบพิ ธี บู ชายัญเทพเจ้าซึ่งล้วนเกี่ ยวเนื่ องกับ
ธรรมชาติ ภายหลังต่อมาจึงพัฒนาไปเป็ นศาสนาพราหมณ์ ยึดมัน่ อยู่ในคัมภีรพ์ ระ
เวท และนั บถือพระพรหมว่าเป็ นเทพเจ้าสูงสุด รวมทั้งดาเนิ นชีวิตตามหลักอาศรม
๔ เพื่อให้บรรลุโมกษะ (ความหลุดพ้น)
อาจารย์ขอจบจดหมายฉบับนี้ ไว้เพียงเท่านี้

ขอให้พระรัตนตรัยคุม้ ครอง
อาจารย์
๓๓

จดหมายฉบับที่ ๓ บ้านกาญจนรัชต์
นครราชสีมา

พิชญา ศิษย์รกั
จดหมายฉบับที่ แล้ว อาจารย์ได้กล่าวถึ งสังคมอินเดียยุคก่อนพุทธกาล ซึ่ง
เป็ นยุคก่อนที่ พระพุทธศาสนาจะอุ บัติขึ้ น จดหมายฉบับนี้ จะได้กล่าวต่อเนื่ องถึ ง
สังคมอิ นเดี ยยุ คพุ ทธกาล ซึ่ งมี ประเด็ นส าคัญในเรื่ องสภาพเศรษฐกิ จและการ
ปกครอง ลัทธิของครูท้ัง ๖ ร่วมสมัยยุคพุทธกาล เรื่องราวของพระพุทธเจ้า รวมถึง
การเกิ ดขึ้ นของพระพุ ทธศาสนากับการเปลี่ ยนแปลงความเชื่อและวัฒนธรรมใน
สังคมอินเดีย ซึ่งจะกล่าวไปโดยลาดับ ดังนี้
๑. สภาพเศรษฐกิจและการปกครอง
การที่เราจะเข้าใจประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาได้อย่างลึกซึ้ ง จาเป็ นอย่าง
ยิ่งที่จะต้องศึกษาสิ่งแวดล้อมในถิ่นกาเนิ ดของพระพุทธศาสนาเสียก่อน ทั้งนี้ เพราะ
สิ่งแวดล้อมมีความสาคัญอย่างยิง่ ต่อการกาหนดท่าที บทบาท ลักษณะ รูปแบบของ
องค์กรพระพุทธศาสนาจะทาให้เราทราบที่มาที่ไปว่า เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ที่
เรียงร้อยกันเป็ นประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนานั้ น เกิดขึ้ นเพราะอะไร สิ่งแวดล้อม
ที่ สาคัญที่ จะต้องศึ กษานอกจากพื้ นฐานความเชื่อในสังคมอิ นเดี ยแล้ว ในที่ นี้ จะ
กล่ าวถึ งสภาพเศรษฐกิ จและการเมื องการปกครองในสมัยพุ ทธกาลด้วย เพราะ
สิ่งแวดล้อมทั้งสองนี้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผูค้ นโดยตรง ซึ่งต้องคานึ งถึงอยูท่ ุกวัน
๑.๑ การเมืองการปกครอง
ประเทศอิ น เดี ยในยุ คพุ ท ธกาลสามารถแบ่ งพื้ นที่ ออกเป็ น ๒ ส่ วน คื อ
ส่วนกลางหรือเขตชั้นใน เรียกว่า "มัชฌิ มประเทศ" และส่วนรอบนอกหรือหัวเมือง
ชายแดน เรียกว่า "ปั จจันตประเทศ" มัชฌิมประเทศเป็ นเขตที่มีประชาชนอาศัยอยู่
มาก มี ความเจริญ เป็ นศู นย์กลางธุ รกิ จการค้าและการศึ กษา มี นั กปราชญ์ ราช
บัณฑิตมาก แบ่งการปกครองออกเป็ น ๑๖ แคว้นใหญ่ๆ ดังที่ปรากฏในอุโปสถสูตร
ฉบับบาลี คื อ "อังคะ มคธ กาสี โกสล วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุ รุ ปั ญจาละ มัจฉะ
๓๔

สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ" และมีแคว้นเล็กอีก ๕ แคว้นรวมเป็ น


๒๑ แคว้น คือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ
รูปแบบการปกครองของแต่ละแคว้นแตกต่างกันอยู่บา้ ง พอจะแบ่งรูปแบบ
การปกครองในสมัยพุทธกาลไว้ ๓ รูปแบบ คือ
๑) แบบจักรวรรดิ นิ ยม คื อแคว้นที่ มี แสนยานุ ภาพมาก มี อ านาจเหนื อ
แคว้นอื่น ใช้อานาจยึดครองแคว้นอื่นมาเป็ นเมืองขึ้ นของตน ประมุขของแคว้นแบบ
นี้ เรียกว่า "มหาราชา" เช่น แคว้นมคธยึดครองแคว้นอังคะ แคว้นโกศลยึดครอง
แคว้นสักกะและแคว้นกาสี เป็ นต้น
๒) แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้แก่ แคว้นที่ ให้อานาจสิทธิ์ขาดในการ
ปกครองบ้านเมืองขึ้ นอยูก่ ับพระมหากษัตริยโ์ ดยตรง แต่อาจทรงมอบหมายอานาจ
นั้ นให้พระบรมวงศานุ วงศ์หรือปุโรหิต ข้าราชบริพารไปปฏิบัติแทนได้ ประมุขของ
แคว้นเรียกว่า "ราชา" แคว้นต่างๆโดยมากในสมัยนั้นปกครองด้วยรูปแบบนี้
๓) แบบประชาธิปไตย ได้แก่ แคว้นที่อานาจสิทธิ์ขาดในการปกครองมิได้
ขึ้ นอยูก่ บั ประมุขแห่งแคว้นแต่เพียงผูเ้ ดียว แต่จะมี "สภา" เป็ นผูก้ าหนดนโยบายและ
มีอานาจตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง สภาจะทาหน้าที่เลือกสมาชิกขึ้ นมาคน
หนึ่ งทาหน้าที่เป็ นหัวหน้าฝ่ ายบริหารเรียกว่า "ราชา" ในสมัยโน้นเรียกการปกครอง
แบบนี้ ว่า สามัคคีธรรม เช่น แคว้นมัลละและแคว้นวัชชี
การปกครองโดยแบ่งเป็ นแคว้นและมีพระราชาเป็ นผูป้ กครอง ได้สืบต่อกัน
มาจนกระทัง่ อินเดียได้รบั เอกราชในปี พ.ศ.๒๔๙๐ เมื่อร่างรัฐธรรมนู ญเสร็จแล้ว จึง
ยกเลิกระบบการปกครองแบบเดิมและรวมทุกแคว้นเข้าด้วยกันเป็ นประเทศอินเดีย
แคว้นเหล่านี้ ต่างก็เป็ นอิสระมีอธิ ปไตยเป็ นของตนเอง บางครั้งบางคราว
แคว้นที่มีความอ่อนแออาจถูกแคว้นที่มีความเข้มแข็งกว่าเข้ายึดครองทาให้สูญเสีย
อธิ ปไตยไปดังได้กล่ าวแล้วข้างต้น แคว้นที่ มี ความเข้มแข็ งทั้ งในด้านเศรษฐกิ จ
การเมืองและการทหาร จัดอยูใ่ นประเภทมหาอานาจ มีอยู่ ๕ แคว้น คือ มคธ โกศล
อวันตี วัชชี และวังสะ โดยแคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสารเป็ นมหาอานาจสูงสุด
๓๕

๑.๒ สภาพเศรษฐกิจในสมัยพุทธกาล
สภาพเศรษฐกิ จ ในอิ น เดี ย สมั ย พุ ท ธกาลตามที่ ป รากฏหลั ก ฐานใน
พระไตรปิ ฎกและอรรถกถานั้ น กล่ าวว่า มี เศรษฐกิ จดี มาก การผลิ ตและการค้า
เจริญรุ่งเรือง มีกองเกวียนเดินทางขนสินค้าไปขายระหว่างเมืองจานวนมาก มีมหา
เศรษฐี ที่ มีสมบัติมากมหาศาลหลายท่ าน เช่น โชติ กเศรษฐี ชฎิลเศรษฐี เมณฑก
เศรษฐี อนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา เป็ นต้น
การประกอบอาชีพ
อาชีพของคนอินเดียในสมัยพุทธกาลขึ้ นอยู่กับวรรณะที่ ตนเกิด ผูท้ ี่ เกิดใน
วรรณะใดก็จะมีอาชีพประจาวรรณะนั้นดังนี้
๑) วรรณะกษั ต ริ ย์ เป็ นชนชั้ น สู งมี ห น้ าที่ ในการปกครองบ้ านเมื อ ง
ปราบปรามโจรผูร้ า้ ยและทาการรบพุ่งกับข้าศึ กภายนอก ประกอบด้วยพระราชา
มหากษัตริย์ เชื้ อพระวงศ์ต่างๆ รวมถึ งพวกที่ รับราชการในระดับสูง เช่น ปุโรหิต
เสนาบดี เป็ นต้น
๒) วรรณะพราหมณ์ เป็ นผูท้ ี่มีอาชีพสัง่ สอนคนในสังคมและทาพิธีตามลัทธิ
ศาสนา มีท้งั ที่เป็ นนักบวชและคฤหัสถ์ เช่น ครูท้งั ๖ ก็จดั เป็ นชนชั้นสูงเช่นกัน
๓) วรรณะแพทย์ เป็ นพลเมื องทั ่วไป มี อาชี พ ท าการเกษตร เลี้ ยงสั ต ว์
ช่างฝี มือ ค้าขาย ซึ่งจัดเป็ นชนชั้นสามัญ
๔) วรรณะศูทร เป็ นพวกกรรมกรหรือคนใช้ซึ่งทางานหนัก ได้แก่พวกทาส ๔
จาพวก คือ ทาสที่เกิดภายในเรือน ทาสที่ซอมาด้ ื้ วยทรัพย์ ผูท้ ี่สมัครเข้ามาเป็ นทาส
เชลยที่ เข้าถึ งความเป็ นทาส พวกนี้ จัดเป็ นชนชั้นตา่ มีอาชีพในการรับจ้างด้วยแรง
ตลอดถึงทาการงานอื่นๆ ที่ชนชั้นสูง รังเกียจว่าเป็ นการงานชั้นตา่
๒. ครูท้งั ๖ ลัทธิร่วมสมัยยุคพุทธกาล
ในสมัยพุทธกาลมีสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่างๆ จานวนมาก แต่ที่มีชื่อเสียง
เป็ นที่ ยอมรับของมหาชนมีอยู่ ๖ ท่ าน คื อ ปูรณกัสสปะ มักขลิ โคสาล อชิตเกส-
กัมพล ปกุ ธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุ ตร และนิ ครนถนาฏบุ ตร เจ้าลัทธิ เหล่านี้
แม้แต่พระราชามหากษัตริย์ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าปเสนทิ โกศล ก็ยงั หา
โอกาสไปสนทนาสอบถามปั ญหาทางปรัชญาด้วย ครูแต่ละท่านมีบริษัทบริวารคน
๓๖

ละหลายร้อยและทั้ ง ๖ ท่ านนี้ ต่ างก็ กล่ าวว่าตนเป็ นพระอรหันต์ผู ม้ ี ฤทธิ์ แต่ ถึ ง


กระนั้ นเมื่อถูกถามปั ญหายากๆ และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครูท้งั ๖ ท่านก็ยงั แสดง
ความโกรธ ความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏอยู่ สาหรับประวัติและคาสอน
ของครูท้งั ๖ มีดงั ต่อไปนี้
๒.๑ ปูรณกัสสปะ
พระพุทธโฆษาจารย์กล่าวว่า ปูรณกัสสปะเกิดในวรรณะพราหมณ์ วัยเด็กได้
เป็ นคนรับใช้ในตระกูลหนึ่ งซึ่งมีคนรับใช้อยู่ ๙๙ คน รวมปูรณกัสสปะอีกคนหนึ่ ง
เป็ น ๑๐๐ คน ด้วยเหตุนี้จึงทาให้เขาได้ชื่อว่า ปูรโณ เพราะทาให้ทาสในเรือนครบ
๑๐๐ คน วันหนึ่ งเขาหนี ออกจากเรือน ระหว่างทางพวกโจรชิงเอาผ้าของเขาไป เขา
เดินเข้าไปในบ้านตาบลหนึ่ งทั้งๆ ที่เปลือยกาย พวกมนุ ษย์เห็นเขาแล้วคิดว่า สมณะ
นี้ เป็ นพระอรหันต์ ผูม้ กั น้อย ผูท้ ี่จะเสมอเหมือนกับสมณะนี้ ไม่มี จึงนาของหวานและ
ของคาวเข้าไปสักการะ ปูรณกัสสปะคิดว่า เรื่องนี้ เกิดขึ้ นเพราะเราไม่นุ่งผ้า ตั้งแต่
นั้ นมาแม้ได้ผ า้ มาก็ ไม่นุ่ง เขาถื อเอาการไม่นุ่ งผ้านั ่นแหละเป็ นบรรพชา ต่อมามี
กุลบุตรมาเป็ นศิษย์จานวนมาก
ลัทธิของปูรณกัสสปะจัดอยูใ่ นประเภท "อกิริยวาทะ" หมายถึง ลัทธิที่ถือว่า
ทาแล้วไม่เป็ นอันทา ดังที่ครูปูรณกัสสปะกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผล
สู ตรว่า บุ คคลทาบาปเอง หรือใช้ให้ผูอ้ ื่ นทาบาป เบี ยดเบี ยนเอง หรือใช้ให้ผูอ้ ื่ น
เบียดเบียน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ทาชูก้ ับภริยาเขา พูดเท็จ ผูท้ าไม่ชื่อว่าทาบาป การ
ทาเช่นนั้ นเป็ นเหตุย่อมไม่มีบาปมาถึงเขา แม้การทาบุญก็เหมือนกัน การให้ทาน
การฝึ กอินทรีย์ การสารวมศีล การกล่าวคาสัตย์ การทาเช่นนั้ นเป็ นเหตุย่อมไม่มี
บุญมาถึงเขา คาสอนในลัทธินี้จึงต่างกับหลักกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา
๒.๒ มักขลิโคสาล
มัก ขลิ โคสาลเป็ นบุ ตรพราหมณ์ ชื่ อ มักขลิ มารดาชื่ อ ภั ททา อาศั ยอยู่
หมู่ บ ้านสาลวัน ใกล้เมื องสาวัตถี พระพุ ทธโฆษาจารย์กล่ าวว่า ค าว่า โคสาละ
แปลว่าผูเ้ กิดในโรงโค วัยเด็กเป็ น คนรับใช้ในตระกูลหนึ่ ง วันหนึ่ งเขาถือหม้อน้ ามัน
เดินไปบนพื้ นดินที่มีโคลน นายบอกว่า อย่าลื่นนะพ่อ เขาลื่นล้มลงด้วยความเผอเรอ
แล้ววิ่งหนี ไปเพราะกลัวนาย แต่นายวิ่งไปจับชายผ้าไว้ทันเขาจึงสลัดผ้าทิ้ งแล้วหนี ไป
๓๗

ขณะเดินเข้าไปในบ้านตาบลหนึ่ งทั้งๆ ที่เปลื อยกาย พวกมนุ ษย์เห็นเขาแล้วก็มีจิต


ศรัทธาเช่นเดียวกับกรณี ของท่านปูรณกัสสปะ ภายหลังมักขลิโคสาลจึงตั้งลัทธิขึ้น
และมีลูกศิษย์จานวนมากเช่นกัน
ลัทธินี้ไม่ยอมรับอาหารที่เขาเจาะจงถวาย ไม่รบั อาหารขณะมีสุนัขอยู่ขา้ งๆ
หรือแมลงวันตอมอยู่ เพราะถือว่าเป็ นการแย่งความสุขของผูอ้ ื่น ไม่รบั ประทานปลา
เนื้ อ ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา ไม่สะสมข้าวปลาอาหารยามข้าวยากหมากแพง ลัทธิ
ของมักขลิ โคสาลจัดอยู่ในประเภท "นั ตถิ กวาทะ" คื อ ลัทธิ ที่ ถือว่าไม่มีเหตุ ไม่มี
ปั จจัย ดังที่ ครูมักขลิโคสาลกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่า ไม่มี
เหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ท้ังหลาย สัตว์ท้ังหลายหาเหตุมิได้หา
ปั จจัยมิได้ยอ่ มเศร้าหมอง ย่อมไม่มีเหตุย่อมไม่มีปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์
ทั้งหลาย สัตว์ท้ังหลายหาเหตุมิได้หาปั จจัยมิได้ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทาของ
ตนเองไม่มีการกระทาของผูอ้ ื่ น สัตว์ท้ังปวง ปาณะทั้งปวง ภู ตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง
ล้วนไม่ มี อ านาจ ไม่ มี ก าลัง ไม่ มี ความเพี ยร แปรไปตามเคราะห์ดี เคราะห์ร า้ ย
เร่ร่อน ท่องเที่ ยวไป แล้วจักทาที่สุดทุ กข์ได้ ความสมหวังว่าเราจักอบรมกรรมที่ยงั
ไม่อานวยผลให้อานวยผลหรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อานวยผลแล้วจักทาให้สุดสิ้ น
ด้วยศีล ด้วยพรตด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ไม่มีในที่น้ั น สุขทุกข์ทาให้สิ้นสุด
ได้เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนานย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้ เลย ไม่มี
ความเสื่อมความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้ นเลื่อนลง พาลและบัณฑิต เร่ร่อน ท่องเที่ยว
ไป จักทาที่ สุดทุ กข์ได้เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไปย่อมคลี่ขยายไปเอง แนวคา
สอนนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่าไร้ประโยชน์ ที่สุดในบรรดาลัทธิท้ังหลาย ลัทธินี้สืบต่อ
กันมาไม่นานก็ขาดหายไป
๒.๓ อชิตเกสกัมพล
อชิ ตเกสกัมพลเป็ นผู ม้ ี ชื่ อเสี ยงก่ อนพุ ทธกาลเล็ กน้ อย ค าว่า เกสกัมพล
แปลว่า ผูม้ ีผา้ นุ่ งผ้าห่มที่ ทาด้วยผม เป็ นผ้าที่ หยาบและน่ าเกลียด มีแนวความคิด
หนั กไปในวัตถุ นิยมยิ่งกว่าลัทธิใด มีแนวคิดรุนแรงคัดค้านคาสอนทุกลัทธิรวมทั้ง
พระพุทธศาสนาด้วย
ลัทธิ ของอชิตเกสกัมพลจัดอยู่ในประเภท "อุ จเฉทวาทะ" คือ ลัทธิ ที่ ถือว่า
ตายแล้วขาดสูญ ดังที่ครูอชิตเกสกัมพลกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผล-
๓๘

สูตรว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทาดี


ทาชัว่ ไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาบิดาไม่มีคุณ สัตว์ผูเ้ กิดแบบโอปปาติกะไม่
มี สมณพราหมณ์ผูป้ ฏิบัติชอบซึ่งกระทาโลกนี้ และโลกอื่นให้แจ้งด้วยปั ญญาอันยิ่ง
เองแล้วสอนผูอ้ ื่นให้รูแ้ จ้งไม่มีในโลก คนเรานี้ เป็ นแต่ประชุม มหาภูตทั้ง ๔ เมื่อตาย
ธาตุดินก็จะไปตามธาตุ ดิน ธาตุน้ าก็จะไปตามธาตุ น้ า ธาตุไฟก็จะไปตามธาตุ ไฟ
ธาตุลมก็จะไปตามธาตุลม อินทรียท์ ้งั หลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ คนทั้งหลาย
จะหามเขาไปยังป่ าช้า กลายเป็ นกระดูกมีสีดุจสีนกพิราบ สิ่งที่ได้จากการเซ่นสรวง
คือขี้ เถ้าเท่านั้ น ทานนี้ คนเขลาบัญญัติไว้ คาของคนบางพวกพูดว่ามีผล ล้วนเป็ นคา
เปล่า คาเท็จ คาเพ้อ เพราะเมื่อกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศสิ้ น
ตายแล้วเป็ นอันดับสนิ ทไม่มีการเกิดอีก
๒.๔. ปกุธกัจจายนะ
เล่ากันว่าปกุธกัจจายนะเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในวัยเด็กมีความสนใจทาง
ศาสนาเป็ นอย่างยิ่ง เมื่อโตขึ้ นจึงออกบวชแสวงหาโมกขธรรม เมื่อคิ ดว่าตนบรรลุ
ธรรมแล้ว ก็ต้งั ตัวเป็ นอาจารย์สงั ่ สอนประชาชน
ปกุธกัจจายนะเป็ นผูห้ า้ มน้ าเย็น แม้จะถ่ายอุจจาระก็ไม่ใช้น้ าเย็นล้าง เขาใช้
เฉพาะน้ าร้อน หรือน้ าข้าวเท่านั้น การเดินผ่านแม่น้ าหรือเดินลุยแอ่งน้ าบนถนนถือ
ว่าศีลขาด เมื่อศีลขาด เขาจะก่อทรายทาเป็ นสถูปแล้วอธิษฐานศีล จากนั้ นจึงค่อย
เดินต่อไป
ลัทธิของปกุธกัจจายนะจัดอยู่ในประเภท "นั ตถิกวาทะ" หมายถึง ลัทธิที่ถือ
ว่าไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยเช่นเดียวกับลัทธิของมักขลิโคสาล ดังที่ปกุธกัจจายนะกล่าว
กับพระเจ้าอชาตศัตรูในสามัญญผลสูตรว่า สภาวะ ๗ กอง คือ กองดิน กองน้ า กอง
ไฟ กองลม สุข ทุ กข์ และชีวะ สภาวะเหล่านี้ ไม่มีใครทา ไม่มีแบบอย่างอันใครทา
ไม่ มี ใครเนรมิ ต เป็ นสภาพยัง่ ยืน ตั้งมัน่ ดุ จยอดภู เขา ตั้งมัน่ ดุ จเสาระเนี ยด ไม่
หวัน่ ไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้ง
สุขและทุกข์แก่กนั และกัน ผูฆ้ ่าเองก็ดี ผูใ้ ช้ให้ฆ่าก็ดี ผูไ้ ด้ยินก็ดี ผูก้ ล่าวให้ได้ยินก็ดี
ผู เ้ ข้าใจความก็ ดี ผู ท้ าให้เข้าใจความก็ ดี ไม่ มี ในสภาวะ ๗ กองนั้ น บุ คคลจะเอา
ศาสตราอย่างคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครๆ ปลงชีวิตใครๆ เป็ นแต่ศาสตราสอดเข้า
ไปตามช่องแห่งสภาวะ ๗ กองเหล่านี้ เท่ านั้ น คาสอนของปกุ ธกัจจายนะเรียกอี ก
๓๙

อย่างหนึ่ งว่าสัสสตทิฏฐิ คือ เห็นว่าโลกเที่ยงซึ่งเป็ นคาสอนที่ตรงข้ามกับ "อุจเฉทวา


ทะ" คือ ลัทธิที่ถือว่าตายแล้วขาดสูญของอชิตเกสกัมพล และตรงข้ามกับคาสอนใน
พระพุทธศาสนาด้วย
๒.๕ สัญชัยเวลัฏฐบุตร
สัญชัยเวลัฏฐบุตรเป็ นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ งในสมัยพุทธกาล พระ
มหาโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเมื่อครั้งยังเป็ นอุปติสสะและโกลิตมานพก็ เคย
ศึกษาอยู่กับท่าน ซึ่งเป็ นเจ้าลัทธิของพวกปริพาชก ตั้งสานั กเผยแพร่อยู่ที่เมืองรา
ชคฤห์ แคว้นมคธ ชาวมคธเป็ นจานวนมากต่างนั บถือในเจ้าลัทธินี้ แต่เมื่ออุปติสสะ
และโกลิตมานพพร้อมบริวารจานวนมากออกจากสานั กไปขอบวชกับพระพุทธเจ้า
สัญชัยเวลัฏฐบุตรจึงกระอักเลือดจนถึงแก่มรณกรรม
ลัทธิของสัญชัยเวลัฏฐบุตรจัดอยู่ในประเภท "อมราวิกเขปวาทะ" คือ เป็ น
ลัทธิ ที่ หลบเลี่ยงไม่แน่ นอน ดังที่ สัญชัยเวลัฏฐบุ ตรกล่าวกับพระเจ้าอชาตศัตรูใน
สามัญญผลสูตรว่า ถ้ามหาบพิตรตรัสถามอาตมภาพว่า โลกอื่นมีอยู่หรือ ถ้าอาตม
ภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ ก็มิใช่
อย่างนั้ นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้ามหาบพิตรตรัสถาม
อาตมภาพว่า ผลวิบากแห่งกรรมที่ทาดีทาชัว่ มีอยูห่ รือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่า
มี ก็จะพึงทูลตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ ก็มิใช่อย่างนั้ นก็มิใช่ อย่าง
อื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า สัตว์เบื้ องหน้า แต่
ตายเกิ ดอี กหรื อ ถ้าอาตมภาพมี ความเห็ นว่า เกิ ดอี ก ก็ จะพึ งทู ลตอบว่าเกิ ดอี ก
ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ ก็มิใช่ อย่างนั้ นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่
มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่...
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงดาริวา่ บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านี้ สัญชัยเวลัฏฐ-
บุตรนี้ โง่กว่าเขาทั้งหมด งมงายกว่าเขาทั้งหมด เพราะแนวคาสอนกลับกลอก เอา
แน่ นอนไม่ได้ ไม่สามารถบัญญัติอะไรตายตัวได้ เพราะกลัวผิดบ้าง ไม่รูบ้ า้ ง พูดซัด
ส่ ายเหมื อนปลาไหลในกรตั งคสู ตร กล่ าวประณามว่า เป็ นลัทธิ คนตาบอด ไม่
สามารถนาตนและผูอ้ ื่นให้เข้าถึงความจริงได้ มีปัญญาทราม โง่เขลาไม่กล้าตัดสินใจ
ใดๆ ได้อย่างเด็ดขาด เนื่ องจากไม่รจู ้ ริงอย่างถ่องแท้
๔๐

๒.๖ นิครนถนาฏบุตร
นิ ครนถนาฏบุตร หรือศาสดามหาวีระ เกิดที่กุณฑคาม เมืองไวสาลี แคว้น
วัชชีของพวกเจ้าลิจฉวี มหาวีระเป็ นศิษย์ของท่านปาร์ศวา ซึ่งเป็ นศาสดาองค์ที่ ๒๓
ในศาสนาเชนผูม้ ีอายุห่างจากท่านมหาวีระถึง ๒๕๐ ปี ท่านมหาวีระเป็ นศาสดาองค์
ที่ ๒๔ ได้สงั ่ สอนอยู่ ๓๐ ปี จึงมรณภาพ ภายหลังเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
สาวกของนิ ครนถนาฏบุตรจานวนมากได้เปลี่ยนมาเป็ นพุทธสาวก
ลัทธิ ของนิ ครนถนาฏบุ ตรปั จจุ บันเรี ยกว่า ศาสนาเชน ลัทธิ นี้ จัดอยู่ใน
ประเภท "อัตตกิ ลมถานุ โยค" คื อ เป็ นลัทธิ ที่ถือว่าการทรมานตนเองเป็ นการเผา
กิ เลส เป็ นทางน าไปสู่ การบรรลุ ธรรมที่ เรียกว่า โมกษะ ผูท้ ี่ ฝึ กฝนดี แล้ว ย่อมไม่
หวัน่ ไหวต่อทุ กสิ่งทุ กอย่างที่ เกิดทางกาย วาจา ใจ ศาสนาเชนสอนว่า แก้ว ๓ ดวง
คือ มีความเห็นชอบ มีความรูช้ อบ มีความประพฤติชอบ จะนาไปสู่โมกษะได้ พระ
เจ้าเป็ นเรื่องเหลวไหล พระเจ้าไม่สามารถบันดาลทุกข์สุขให้ใครได้ ทุกข์สุขเป็ นผล
มาจากกรรม การอ้อนวอนเป็ นสิ่งไร้ประโยชน์ไม่มีสาระ
นั กบวชเชนต้องรักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด คือ เว้นจากการฆ่าสิ่งที่ มีชีวิต
รวมทั้งพืชด้วย เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เว้น
จากการประพฤติ ผิดในกาม และไม่ยินดีในกามวัตถุ ส่วนศาสนิ กชนเชนต้องรักษา
ศีล ๑๒ อย่างเคร่งครัดคือ เว้นจากการทาลายสิ่งที่มีชีวิต เว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี เว้น
จากอารมณ์ ที่ ก่ อให้เกิ ดความชัว่ เช่น การเที่ ยวเตร่ รูจ้ ักประมาณในการใช้สอย
เครื่องอุปโภคบริโภค เว้นจากทางที่ก่อให้เกิดอาชญาให้รา้ ย ไม่ออกพ้นเขตไม่วา่ ทิศ
ใดทิศหนึ่ งยามบาเพ็ญพรต บาเพ็ญพรตทุกเทศกาล อยูจ่ าอุโบสถศีล ให้ทานแก่พระ
และต้อนรับแขกผูม้ าเยือน
เชนนั บเป็ นศาสนาที่ถือหลักการไม่เบียดเบียนหรืออหิงสาอย่างเอกอุ เป็ น
ศาสนาที่มีแนวคิดใกล้เคียงกันกับพระพุทธศาสนา แม้แต่การสร้างพระพุทธรูป ถ้า
ดู อ ย่ างผิ วเผิ น ก็ ไม่ เห็ น ความแตกต่ างกั น มากนั ก ยกเว้น จะเปลื อยกายและมี
ดอกจันทน์ ที่หน้าอกเท่านั้น ปั จจุบนั มีเชนศาสนิ กชนประมาณ ๖ ล้านคนทัว่ อินเดีย
โดยมากจะมีฐานะดี เพราะเป็ นพ่อค้าเสียส่วนใหญ่ เนื่ องจากทาการเกษตรไม่ได้จะ
เป็ นการผิ ดศี ล เพราะเชนถื อว่าพื ชก็ มีชีวิต การเกี่ ยวข้าวตัดหญ้าเป็ นบาปทั้งสิ้ น
๔๑

ต่อมาหลังพุทธปรินิพพาน ๒๔๐ ปี ศาสนาเชนก็แตกออกเป็ น ๒ นิ กายคือ นิ กาย


ทิฆมั พร ซึ่งเป็ นนิ กายดั้งเดิมที่เคร่งครัดไม่นุ่งห่มผ้า และนิ กายเสวตัมพร จะนุ่ งขาว
ห่มขาว ไว้ผมยาว แต่งตัวสะอาดและคบหากับผูค้ นมากกว่านิ กายเดิ มที่ เน้ นการ
ปลีกตัวอยูต่ ่างหาก
๓. พุทธประวัติ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็ นพระราชโอรสแห่งกรุ งกบิ ลพัสดุ์ พระบิ ดาพระ
นามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า พระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็ นเจ้า
หญิ งแห่งโกลิยวงศ์ จากกรุงเทวทหะ เมื่อพระนางสิ ริมหามายาทรงครรภ์ครบทศ
มาส ทรงขอลาพระสวามีเพื่อกลับไปมีพระประสูติกาลที่ กรุงเทวทหะเมืองประสู ติ
ของพระองค์ตามธรรมเนี ยมในครั้งนั้ น ครั้นเดินทางมาได้ครึ่งทางถึงสวนสาธารณะ
ใหญ่ชื่อ "ลุมพินี" พระนางเกิดประชวรพระครรภ์และประสูติพระโอรส ณ ใต้ตน้ รัง
ใหญ่ ในวันเพ็ญเดือน ๖ เวลาใกล้เที่ยง ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี หลังจากประสูติได้
๕ วัน พระเจ้าสุ ทโธทนราชาเชิญพราหมณาจารย์ผูเ้ ชี่ ยวชาญในไตรเวท จานวน
๑๐๘ ท่าน มาฉันโภชนาหารและให้เลือกเหลือเพียง ๘ ท่านเฉพาะผูเ้ ชี่ยวชาญ ใน
วิชาลักษณะพยากรณ์เพื่อทาหน้าที่พิจารณาทานายลักษณ์ของพระโอรสและขนาน
พระนาม พราหมณ์ท้ัง ๘ ท่ านที่ ได้รับเลื อก คื อ รามพราหมณ์ ลักษณพราหมณ์
ยัญญพราหมณ์ ธุ ชพราหมณ์ โภชพราหมณ์ สุทัตตพราหมณ์ สุยามพราหมณ์และ
โกญทัญญพราหมณ์ พราหมณ์ ๗ ท่านแรก เห็นลักษณะของพระโอรสแล้วได้ทานาย
เป็ น ๒ นั ย คื อ ถ้าพระโอรสอยู่เรือนจะได้เป็ นพระจักรพรรดิ ผูย้ ิ่งใหญ่ หากออก
ผนวชจะได้ตรัสรูเ้ ป็ นพระสัมมาสัมพุ ทธเจ้าศาสดาเอกของโลก ส่ วนโกญทั ญญ
พราหมณ์ซึ่งมีอายุน้อยที่สุดในพราหมณ์ ๘ ท่านนั้ น ทานายชี้ ชัดลงไปว่า พระโอรส
นี้ จะออกผนวชและตรัสรูเ้ ป็ นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่ นอน จากนั้ นพราหมณ์
ทั้ งหมดก็ มี ความเห็ น ตรงกัน ที่ จะขนานพระนามพระโอรสว่า "สิ ทธั ตถะ" หรื อ
"สิทธารถ" ซึ่งแปลว่า สาเร็จดังปรารถนา
หลังจากวันขนานพระนาม ๒ วัน เมื่อพระโอรสมีพระชนมายุได้ ๗ วัน พระ
นางสิริมหามายาก็สิ้นพระชนม์ เจ้าชายสิ ทธัตถะจึงอยู่ ในการเลี้ ยงดู ของพระนาง
มหาปชาบดี ซึ่งเป็ นพระน้ านางของพระองค์และเป็ นมเหสี องค์ที่ ๒ ของพระเจ้าสุ
ทโธทนะ เจ้าชายสิทธัตถะมีพระอนุ ชาและพระขนิ ษฐาร่วมพระชนกที่ ประสูติจาก
๔๒

พระนางมหาปชาบดี ๒ พระองค์คือ พระนั นทะ และพระนางรูปนั นทา และยังมี


ลูกพี่ลูกน้องในศากยวงศ์รุ่นราวคราวเดียวกันอีกหลายพระองค์ คือ เจ้ามหานามะ
เจ้าอนุ รุทธะ ซึ่งเป็ นโอรสของพระเจ้าอาสุกโกทนะ เจ้าอานนท์ โอรสพระเจ้าอมิโตท
นะและเจ้าเทวทัต โอรสของอาหญิ งอมิ ตาศากยะ กุ มารที่ มี อายุ มากกว่าเจ้าชาย
สิทธัตถะมีเพียงองค์เดียว คือ เจ้ามหานามะ
ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชันษาได้ ๗ พรรษา ก็ได้รบั การศึกษาวิชา
ศิ ลปศาสตร์จากพราหมณ์ ในราชส านั กจนจบสิ้ นวิชาการ พระชนกเห็ นว่ากุ มาร
ฉลาดปราดเปรื่องจึงส่งไปศึกษาต่อยังสานั กของอาจารย์วิศวามิตร ผูม้ ีชื่อเสียงว่า
เป็ นปราชญ์ที่ ไม่มีใครทัดเที ยมในสมัยนั้ น เจ้าชายสิทธัตถะได้ศึกษาวิชาพระเวท
เวทางคศาสตร์ จิตศาสตร์ และคัมภีรอ์ ุปนิ ษัท จนแตกฉานเชี่ยวชาญในวิชาต่างๆ
อย่างรวดเร็วกระทัง่ สิ้ นความรูข้ องอาจารย์ มีความรูพ้ รัง่ พร้อมที่ จะได้รบั ตาแหน่ ง
เป็ นราชาและเป็ นจักรพรรดิปกครองชมพูทวีปในอนาคต
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชันษาได้ ๑๖ พรรษา พระชนกเห็นว่าสมควรจะมี
ชายาได้แล้ว จึงไปสู่ขอเจ้าหญิงยโสธรา หรือพิมพา พระธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ
ที่ ประสูติจากพระนางอมิตา มาอภิเษกเป็ นชายา และต่อมาได้มีพระโอรสด้วยกัน
พระองค์หนึ่ งนามว่า ราหุ ล ชี วิตการครองเรือนของเจ้าชายสิ ทธั ตถะได้รับการ
ปรนเปรอจากพระชนกและพระประยู รญาติ อย่างดี ที่ สุ ด สิ่ งใดที่ คิ ดว่าจะท าให้
เจ้าชายพอใจ พระชนกจะต้องรีบจัดหามาให้โดยหวังว่าจะให้เจ้าชายอยู่ครองเรือน
ไปตลอดชีวติ และหมายมัน่ จะให้ได้เป็ นพระราชาและพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคต
จะเห็นได้ว่า ในวัยหนุ่ มเจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาวิชาการแขนงต่างๆ จน
เจนจบและออกบวชเมื่อทรงพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงมีประสบการณ์ทางการ
ปกครองอย่างดี แต่ดว้ ยบุญบารมีที่ทรงสัง่ สมมาอย่างดีแล้วบันดาลให้ทรงพบเทว
ทู ตทั้ง ๔ คื อ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและบรรพชิต เป็ นเหตุ ให้พระองค์มองเห็ น
ความทุ กข์ของการอยู่ครองเรื อนและปรารถนาจะหาทางพ้นทุ กข์ด ้วยการออก
บรรพชา โดยเสด็จออกในเวลากลางคืน ทรงม้ากัณฐกะและมีมหาดเล็กชื่อฉันนะ
ตามเสด็ จ เมื่ อไปถึ งฝั ่ งแม่น้ าอโนมาทรงตัดพระเกศาสละเพศฆราวาสผนวชเป็ น
บรรพชิตแล้วให้นายฉันนะกลับไปแจ้งให้พระชนกและประยูรญาติทราบ
๔๓

จากนั้นพระองค์เสด็จไปยังสานักอาฬารดาบสและอุทกดาบส ทรงศึกษาวิชา
ความรูจ้ นเจนจบทุกอย่างเท่าที่อาจารย์ท้งั สองสามารถสอนได้ แต่พระองค์ทรงเห็น
ว่าความรูเ้ ท่านี้ ไม่สามารถตรัสรูไ้ ด้ จึงปลีกตัวไปบาเพ็ญเพียรตามลาพังด้วยวิธีการ
ต่างๆ ที่ เชื่อกันในยุคนั้ นว่าจะเป็ นทางแห่งการตรัสรู ้ เช่น การทรมานพระวรกาย
เป็ นต้น แม้ปฏิบตั ิอยูถ่ ึง ๖ ปี ด้วยความวิริยอุตสาหะอย่างยิ่งยวด เมื่อทาจนถึงที่สุด
แล้วแต่ก็ไม่นาไปสู่การตรัสรูธ้ รรม พระองค์จึงหันมาบาเพ็ญเพียรด้วยการทาสมาธิ
ดาเนิ นจิตไปตามหนทางสายกลาง ในที่สุดก็ได้บรรลุพระธรรมกาย ตรัสรูเ้ ป็ นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
เมื่ อตรัสรู แ้ ล้ว พระสัมมาสัมพุ ทธเจ้าทรงสัง่ สอนเวไนยสัตว์ท้ั งกษั ตริ ย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ตลอดจนพวกนอกวรรณะให้ตรัสรูธ้ รรมตามพระองค์และเข้า
มาขออุปสมบทเป็ นพุทธสาวกมากมาย บางพวกก็ประกาศตนเป็ นพุทธมามกะขอถึง
พระรัตนตรัยว่าเป็ นที่พึ่งกันจานวนมาก พุทธวิธีการสอนของพระองค์มีหลากหลาย
ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับฐานะและอุปนิ สัยของแต่ละบุคคล จึงทาให้ผูฟ้ ั งมีความรู ้
ความเข้าใจและตรัสรูต้ ามได้โดยง่าย พระองค์ทรงใช้เวลา ๔๕ ปี เผยแผ่พุทธธรรม
ปั กหลักพระศาสนาในชมพูทวีป ละเสด็จขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดื อน ๖ เมื่อ
พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา
๔. การเกิ ดขึ้ นของพระพุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงความเชื่ อ
และวัฒนธรรมในสังคมอินเดีย
การบั งเกิ ดขึ้ นของพระสัมมาสั มพุ ทธเจ้าเป็ นเหตุ การณ์ อันยิ่ งใหญ่ ซึ่ ง
เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ ความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวอินเดียในยุคนั้ นอย่าง
ใหญ่หลวง จากที่กล่าวแล้วในบทที่ ๒ ว่า สังคมอินเดียก่อนยุคพุทธกาลและในยุค
พุทธกาลตกอยูใ่ นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งหยัง่ รากฝั งลึกลงในสังคมและสืบ
ทอดกั น มากหลายพั น ปี โดยเฉพาะการแบ่ งคนออกเป็ น ๔ วรรณะนั้ น เป็ น
วัฒนธรรมที่เหนี ยวแน่ นมาก พราหมณ์ท้งั หลายเชื่อว่า วรรณะพราหมณ์เท่านั้นเป็ น
วรรณะที่ ประเสริฐที่ สุด วรรณะอื่นเลวทรามและทุ กๆ คนจะต้องเคารพพราหมณ์
ดังที่ปรากฏในอัคคัญสูตร พราหมณ์ท้งั หลายได้ด่าบริภาษวาเสฏฐะและภารทวาชะ
ผูอ้ อกจากตระกูลพราหมณ์ไปบวชเป็ นสามเณรในพระพุทธศาสนาว่า
๔๔

"พราหมณ์เท่านั้ นเป็ นวรรณะประเสริฐที่สุด วรรณะอื่นเลวทราม พราหมณ์


เท่านั้ นเป็ นวรรณะขาว วรรณะอื่นดา พวกพราหมณ์ท้ังหลายเท่านั้ นบริสุทธิ์ คนที่
ไม่ใช่พราหมณ์หาบริสุทธิ์ไม่ พวกพราหมณ์ท้ังหลายเป็ นบุตรเกิดจากอุระ เกิดจาก
ปากของพระพรหม พวกท่ านมาละเสี ยจากวรรณะที่ ประเสริ ฐที่ สุด เข้าไปอยู่ใน
วรรณะที่เลวทรามคือพวกสมณะโล้น เป็ นพวกคหบดี เป็ นพวกดา เกิดจากเท้าของ
พระพรหม การที่พวกท่านมาละเสียจากวรรณะประเสริฐสุดเช่นนี้ ไม่เป็ นการดี ไม่
เป็ นการสมควรเลย"
แม้แต่ผทู ้ ี่เกิดในวรรณะกษัตริยก์ ็ยงั ต้องเคารพพราหมณ์ เช่น เมื่อครั้งที่พระ
เจ้าสุทโธทนะทรงประสงค์จะขนานพระนามพระโพธิสัตว์ พระประยูรญาติท้ังหลาย
ได้เชิญพราหมณ์มาในวันนั้ นถึ ง ๑๐๘ ท่ าน โดยคัดเลือกเหลือ ๘ ท่ านเพื่อให้ท า
หน้าที่ขนานพระนามพระโพธิสัตว์ เมื่อพระโพธิสัตว์ออกบวชและได้ตรัสรูเ้ ป็ นพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จจาริกไปเผยแผ่น้ั น มีปรากฏอยู่
บ่อยครั้งที่ได้รบั การต่อต้าน ถูกลบหลู่ดูหมิ่น เช่น ในอุทปานสูตร "สมัยหนึ่ ง พระผู ้
มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในมัลลชนบทพร้อมด้วยภิกษุ สงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็ จถึ งพ
ราหมณคามหรือหมู่บา้ นพราหมณ์ชื่อถูนะของมัลลกษัตริย์ ครั้งนั้ นพราหมณ์และ
คฤหบดีท้ังหลายเอาหญ้าและแกลบถมบ่อน้ าจนเต็มถึงปากบ่อ ด้วยตั้งใจว่าสมณะ
โล้นทั้งหลายอย่าได้ดื่มน้ า"
หรือดังที่ปรากฏในธนั ญชานี สูตร นางพราหมณีชื่อธนั ญชานี แห่งพราหมณ์
ผูภ้ ารทวาชโคตรคนหนึ่ ง เป็ นผูเ้ ลื่อมใสยิ่งในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมและ
พระสงฆ์ วันหนึ่ งขณะที่ นางก าลังน าภัตเข้าไปเพื่ อพราหมณ์ ผูส้ ามี นางก้าวเท้า
พลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่พระผูม้ ีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัม
พุทธเจ้าพระองค์น้ั น เมื่อนางพราหมณีกล่าวอย่างนี้ แล้ว พราหมณ์ผูส้ ามีได้กล่าวกะ
นางว่า "ก็หญิงถ่อยนี้ กล่าวคุณของสมณะโล้นอย่างนี้ อย่างนี้ ไม่วา่ ที่ไหนๆ แน่ ะหญิง
ถ่อย บัดนี้ เราจักยกวาทะต่อพระศาสดานั้นของเจ้า"
ในอรรถกถากล่าวถึ งธนั ญชานี สูตรเพิ่มเติมว่า วันหนึ่ งพราหมณ์ผูส้ ามีได้
ปรึกษากับพราหมณีวา่ แน่ ะแม่จาเริญ พรุ่งนี้ พราหมณ์ ๕๐๐ คน จักบริโภคในเรือน
ของเรานะ นางถามว่า ฉันจะช่วยอะไรได้บา้ งละพราหมณ์ พราหมณ์กล่าวว่า ไม่มีกิจ
อะไรอื่นที่ เจ้าจะต้องช่วยดอก คนเหล่าอื่นจักกระทาการหุงต้มและอังคาสทั้งหมด
๔๕

ข้อที่ เจ้ายืนก็ ดี นั ่งก็ ดี จามก็ ดี ไอก็ ดี ท าการนอบน้ อมแก่สมณะโล้นนั้ นว่า นโม


พุทธสส นั้ น พรุ่งนี้ เจ้าอย่าทาสิ่งนั้ นสักวันหนึ่ งเถิด ด้วยว่าพราหมณ์ท้งั หลายได้ยิน
ดังนั้นแล้วจะไม่พอใจ เจ้าอย่าทาเราให้แตกจากพราหมณ์ท้งั หลายเลย
นางพราหมณีกล่าวว่า ท่านจะแตกจากพราหมณ์ก็ดี จากเทวดาก็ดี ส่วนฉัน
ระลึกถึงพระศาสดา ไม่นอบน้อม ไม่สามารถที่ จะอดกลั้นอยู่ได้ พราหมณ์กล่าวว่า
แน่ ะแม่มหาจาเริญ ก่อนอื่นเจ้าต้องพยายามปิ ดประตูบา้ นในบ้าน ๑๐๐ ตระกูล เมื่อ
ไม่ สามารถจะปิ ดปากที่ จะพึ งปิ ดด้วยนิ้ วทั้ ง ๒ ชัว่ เวลาที่ พวกพราหมณ์ บริ โภค
พราหมณ์น้ันแม้พดู ซ้าซากอย่างนี้ ก็ไม่อาจห้ามได้ดว้ ยความรัก จึงถือเอาพระขรรค์ที่
วางไว้บนหัวนอนกล่าวว่า "แม่มหาจาเริญ เมื่อพราหมณ์นัง่ ประชุมกันพรุ่งนี้ ถ้าเจ้า
นมัสการสมณะโล้นนั้ นไซร้ เราจะเอาพระขรรค์เล่มนี้ สับเจ้า ตั้งแต่ พื้นเท้าจนถึ ง
ปลายผมทาให้เป็ นกองเหมือนหน่ อไม้"
แม้ศาสนาพราหมณ์จะหยัง่ รากฝั งลึ กในสังคมอิ นเดี ยมานานหลายพันปี
ดังกล่าวแล้ว แต่ดว้ ยระยะเวลาเพี ยง ๔๕ ปี แห่งการบังเกิ ดขึ้ นของพระสัมมาสัม
พุทธเจ้า พระองค์เสด็จออกเผยแผ่พระธรรมคาสอนนาพามหาชนให้เปลี่ยนความ
เชื่อและวัฒนธรรมดั้งเดิม มานั บถือพระรัตนตรัยเป็ นที่พึ่งที่ระลึกได้จานวนมาก ชน
ทุกชั้นทุกวรรณะหันมานั บถือพระพุทธศาสนา ตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ เศรษฐี
มหาเศรษฐี พ่ อค้าประชาชนทั ว่ ไป และแม้แต่ พราหมณ์ ผู ้เป็ นเจ้าลั ทธิ เองและ
พราหมณ์ชาวบ้านทัว่ ไปก็ละทิ้ งคาสอนเดิมมานั บถือพระพุทธศาสนาจานวนมาก
เมื่ อพระพุ ทธองค์ทรงจาริกไปเทศน์ สอนในพราหมณคามหรือหมู่บา้ นพราหมณ์
เช่น สาละ ศาลา โอปาสาทะ เวฬุ ทวาร เวนาคปุ ระ อิ จฉานั งคละ และขานุ มัตตะ
เป็ นต้น พราหมณ์และคฤหบดีในหมูบ่ า้ นเหล่านั้นได้สดับว่า
พระสมณโคดมศากยบุตร... เสด็จถึงบ้านขานุ มตั ตะประทับอยู่ในสวนอัมพ
ลัฏฐิกา... เกียรติศพั ท์อนั งามของพระสมณโคดมพระองค์น้ั นขจรไปแล้วอย่างนี้ ว่า...
พระผูม้ ี พระภาคเจ้าพระองค์น้ั น เป็ นพระอรหันต์ตรัสรูช้ อบด้วยพระองค์เอง ถึ ง
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรูแ้ จ้งโลก เป็ นสารถีฝึกคนที่ควรฝึ ก ไม่
มีผูอ้ ื่นยิ่งกว่า... ก็การเห็นพระอรหันต์ท้ังหลาย เห็นปานนั้ นย่อมเป็ นการดีแลดังนี้ .
ครั้งนั้ นพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านขานุ มตั ตะออกจากบ้านขานุ มตั ตะเป็ นหมู่ๆ
พากันไปยังสวนอัมพลัฏฐิกา
๔๖

เมื่อไปถึงแล้วก็ได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางพวกก็บรรลุธรรม
และได้ขอถึ ง พระรัตนตรัยเป็ นที่ พึ่งที่ ระลึกกันจานวนมาก ในการแสดงธรรมของ
พระสัมมาสัมพุ ทธเจ้าแต่ ละครั้งจะมี ผู ต้ รัสรูธ้ รรมกันมากมาย ซึ่งจะยกตัวอย่าง
กษั ตริย์ พราหมณ์ผูป้ กครองเมืองและพราหมณ์เจ้าลัทธิ ต่างๆ ในยุคนั้ นที่ หันมา
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
นอกจากนี้ ยังมีเศรษฐีมหาเศรษฐีจานวนมากที่เลื่อมใสและเป็ นกาลังสาคัญ
ในพระพุทธศาสนา เช่น โชติกเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี ชฎิลเศรษฐี อนาถบิณฑิก -
เศรษฐี มหาอุบาสิกาวิสาขา เป็ นต้น และยังมีประชาชนพลเมืองทัว่ ไปอีกมากมาย
เฉพาะในแคว้นมคธเพียงแคว้นเดียวก็มีราษฎรจานวนมากใน ๘๐,๐๐๐ ตาบล ที่
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยครั้งหนึ่ งพระเจ้าพิมพิสารเรียกประชุ มราษฎรทั้ง
๘๐,๐๐๐ ตาบล ซึ่งอยูภ่ ายใต้การปกครองของพระองค์ จากนั้ นก็ให้ราษฎรทั้งหมด
ไปฟั งธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนั้นมีผไู ้ ด้ตรัสรูธ้ รรมกันจานวนมาก
จากตั วอย่ างที่ ยกมานี้ จึ งกล่ าวได้ว่าเวลาเพี ยง ๔๕ ปี แห่ งการประกาศ
พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเชื่อและวัฒนธรรมในสังคมอินเดีย
ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ศาสนาพราหมณ์ได้เสื่อมความนั บถือลงและต้อง
ปรับตัวขนานใหญ่จนกลายเป็ นศาสนาฮินดูในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ เพราะแคว้นใหญ่ๆ ในอินเดียสมัยพุทธกาลมีท้งั หมด ๑๖ แคว้น ตามที่
ปรากฏในพระไตรปิ ฎก ดังตารางที่ กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า มีกษั ตริย์พราหมณ์
ผูป้ กครองและพราหมณ์เจ้าลัทธิ รวมทั้งมหาเศรษฐี ในแคว้นต่างๆ จานวนมากที่
เลื่ อมใสในพระพุ ทธศาสนา เมื่อชนชั้นผูป้ กครองศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้ว
ประชาชนทัว่ ไปก็จะศรัทธาตามด้วย
สาเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงความเชื่อและวัฒนธรรมในสังคมอินเดียอย่าง
รวดเร็วใน ครั้งนั้ นมีสาเหตุหลายประการที่สาคัญที่สุดคือ คาสอนของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเป็ นสัจธรรมอันจริงแท้แน่ นอนที่ผูป้ ฏิบัติสามารถพิสูจน์ ได้ดว้ ยตนเอง
และมีผปู ้ ฏิบตั ิจนเข้าถึงธรรม บรรลุธรรมเป็ นพระอรหันต์ พระอริยบุคคลเป็ นพยาน
ให้พระพุ ทธศาสนามากมาย เขาเหล่านั้ นมีท้ังพระราชามหากษั ตริย์ มหาเศรษฐี
เสนาบดี มหาอามาตย์ แม้แต่เจ้าลัทธิใหญ่ที่มีศิษย์จานวนมากก็หันมานั บถือและ
เป็ นพยานให้พระพุทธศาสนาด้วย
๔๗

นอกจากนี้ พราหมณ์โดยทัว่ ไปให้การยอมรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก


เพราะพระองค์ ท รงได้ลักษณะกายมหาบุ รุ ษ ทั้ งนี้ เพราะมี กล่ าวไว้ในมนต์ของ
พราหมณ์มาตั้งแต่ยุคโบราณว่า ผูท้ ี่ได้กายมหาบุรุษหากอยู่เป็ นฆราวาสจะได้เป็ น
พระเจ้าจักรพรรดิ แต่ถา้ ออกบวชจะได้ตรัสรูธ้ รรมเป็ นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็ น
ศาสดาเอกในโลก แม้อสิตดาบสผูเ้ ป็ นอาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะยังประนมหัตถ์
ก้มกราบแทบเท้าของพระโพธิ สัตว์ซึ่ งประสู ติได้ไม่กี่ วนั เพราะตนทราบดี ถึ งค า
ทานายในตารามหาปุริสลักษณะของพราหมณ์ดงั กล่าวแล้ว
อีกประการหนึ่ งคาสอนของพราหมณ์ก็มีความขัดแย้งกันเอง ผูท้ ี่มีปัญญาจึง
พยายามหาค าตอบที่ ถู ก ต้อง เมื่ อเหล่ าพราหมณ์ ตอบไม่ ได้จึ งมาทู ลถามพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงเทศน์ สอนชี้ หนทางสว่างให้ เขาเหล่านั้ นจึง
ออกบวชตามบ้าง ขอถึ งพระรัตนตรัยเป็ นที่ พึ่งที่ ระลึกบ้าง เช่น กรณี ของวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ เป็ นต้น โดยครั้งหนึ่ งวาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้พูดกัน
ถึงเรื่องทางและมิใช่ทาง วาเสฏฐมาณพพูดอย่างนี้ ว่า
ทางที่ ท่านโปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้ นเป็ นทางตรง เป็ นเส้นทาง
เดิ น เป็ นทางน าออก ย่อมน าผูด้ าเนิ นไปตามทางนั้ นเพื่อความอยู่ร่ว มกับพรหม
ฝ่ ายภารทวาชมาณพพูดอย่างนี้ ว่า ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้ นเป็ น
ทางตรง เป็ นเส้นทางเดิ น เป็ นทางน าออก ย่อมน าผูด้ าเนิ นไปตามทางนั้ น เพื่ อ
ความอยูร่ ่วมกับพรหมได้ วาเสฏฐมาณพไม่อาจให้ภารทวาชมาณพยินยอมได้ ฝ่ าย
ภารทวาชมาณพก็ไม่อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้
เมื่อมานพทั้งสองคนไม่อาจจะยังอีกฝ่ ายหนึ่ งให้ยินยอมได้ จึงไปกราบทู ล
ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งนั้ นพระพุทธองค์ตรัสถามว่า วาเสฏฐะ บรรดา
พราหมณ์ผูจ้ บไตรเพท พราหมณ์แม้คนหนึ่ ง ที่ เห็นพรหมมีเป็ นพยานอยู่หรือ วา
เสฏฐะตอบว่า ข้าแต่พระโคดมผูเ้ จริญ ไม่มีพระเจ้าข้า วาเสฏฐะ อาจารย์ที่สืบเนื่ อง
มาเจ็ดชัว่ อาจารย์ของพราหมณ์ผูจ้ บไตรเพทที่เห็นพรหมเป็ นพยานไม่มีเลยหรือ วา
เสฏฐะตอบว่า ไม่มีเลยพระเจ้าข้า จากนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
วาเสฏฐะ ดีละ พวกพราหมณ์ผูจ้ บไตรเพท ไม่รูจ้ กั พรหม ไม่เห็นพรหม แต่
แสดงหนทางเพื่ อความอยู่ร่วมกับพรหมว่าหนทางนี้ แหละเป็ นทางตรง เป็ นสาย
ทางเดิน เป็ นทางนาออก นาผูด้ าเนิ นไปตามทางนั้ นเพื่อความอยู่ร่วมกับพรหมได้
๔๘

ข้อนี้ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ วาเสฏฐะ เหมือนแถวคนตาบอดเกาะหลังกันและกัน คน


ต้นก็ไม่เห็น คนกลางก็ไม่เห็น แม้คนหลังก็ไม่เห็น ภาษิ ตของพราหมณ์ผูจ้ บไตรเพท
เหล่านั้น จึงเป็ นคาน่ าหัวเราะทีเดียว เป็ นคาตา่ ช้า เป็ นคาว่าง เป็ นคาเปล่า...
เมื่อวาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพฟั งพระธรรมเทศนาจบแล้ว ได้กราบ
ทู ลว่า ข้าแต่ พระโคดมผู เ้ จริ ญ ภาษิ ตของพระองค์ไพเราะยิ่งนั ก เปรียบเหมื อน
บุคคลหงายของที่ควา่ เปิ ดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยคิ ดว่า ผู ม้ ี จักษุ จักเห็ นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผูม้ ี พระภาคเจ้าทรงประกาศพระ
ธรรมโดยอเนกปริยายก็ฉันนั้ นเหมือนกัน ข้าพระองค์ท้งั สองนี้ ขอถึงพระองค์กบั ทั้ง
พระธรรมและพระสงฆ์วา่ เป็ นสรณะ ขอพระองค์จง ทรงจาข้าพระองค์ท้งั สองว่าเป็ น
อุบาสกผูถ้ ึงสรณะอย่างมอบกายถวายชีวิตตั้งแต่วนั นี้ เป็ นต้นไป
นอกจากพราหมณ์ท้ังหลายจะให้การยอมรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ
พระองค์ทรงมีกายมหาบุรุษและเพราะคาสอนพราหมณ์ขัดแย้งกันเอง เป็ นคาสอน
ไม่เป็ นเหตุเป็ นผลแล้ว พุทธวิธีการสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีส่วนเป็ นอย่าง
มาก ทรงเทศน์สอนโดยยึดตามจริตผูฟ้ ั ง ทรงยึดผูเ้ รียนเป็ นสาคัญ หรือในปั จจุบนั ใช้
ศัพท์ ว่า Child Center จึ งเป็ นเหตุ ให้พราหมณ์ ท้ั งหลาย มี ความรู ค้ วามเข้าใจ มี
ความเลื่อมใส จนกระทัง่ ยอมละทิ้ งความเชื่อดั้งเดิมที่นับถือกันมาหลายพันปี มาขอ
ถึงพระรัตนตรัยเป็ นที่พึ่งที่ระลึกและยอมละทิ้ งวัฒนธรรมเก่าๆ ทุกอย่าง โดยเฉพาะ
ระบบวรรณะ ทั้งนี้ เพราะผูท้ ี่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา จะมีความเสมอภาคกัน
ไม่ว่าจะมาจากวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือศูทรก็ตาม ดังที่พระพุทธองค์
ตรัสไว้ในปหาราทสูตรว่า
ดูก่อนปหาราทะ แม่น้ าสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ าคงคา ยมุนา อจิรวดี
สรภูมหี แม่น้ าเหล่านั้ นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้วย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึง
ความนั บว่ามหาสมุ ทรนั ่นเอง ฉันใด...วรรณะ ๔ เหล่ านี้ คื อกษั ตริ ย์ พราหมณ์
แพศย์ และศูทร ออกบวชเป็ นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละ
นามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าศากยบุตรทั้งนั้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดในจดหมายฉบับนี้ พอจะสรุปความได้วา่ การปกครอง
ในสมัยพุทธกาล แบ่งออกเป็ นแคว้นใหญ่ได้ ๑๖ แคว้นและแคว้นเล็กอีก ๕ แคว้น
รวมเป็ น ๒๑ แคว้น โดยรูปแบบการปกครองมี ๓ แบบคือ แบบจักรวรรดินิยมแบบ
๔๙

สมบู รณาญาสิ ท ธิ ราชย์และแบบประชาธิ ปไตย ส่ วนเศรษฐกิ จโดยรวมในสมัย


พุทธกาลมีสภาพดีมาก เพราะมีมหาเศรษฐีที่มีทรัพย์สมบัติมหาศาลมากมายหลาย
ท่าน
ในสมัยพุทธกาลมีสมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่างๆ จานวนมาก แต่ที่มีชื่อเสียง
เป็ นที่ ยอมรับของมหาชนมี อยู่ ๖ ท่ าน คื อ ปู รณกัสสปะ มักขลิ โคสาล อชิตเกส
กัมพล ปกุ ธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุ ตร และนิ ครนถนาฏบุ ตร ในเจ้าลัทธิ ท้ัง ๖
ท่ า นนี้ มี เพี ย งนิ ครนถนาฎบุ ต รเท่ า นั้ นที่ มี ค าสอนบางอย่ า งใกล้เคี ย งกั บ
พระพุทธศาสนา ส่วนอีก ๕ ท่าน มีคาสอนต่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสิ้ นเชิง
โดยเฉพาะสัญ ชัยเวลัฏฐบุ ตร มี ค าสอนกลับกลอกเอาแน่ นอนไม่ ได้ ไม่สามารถ
บัญญัติอะไรตายตัวได้ พูดซัดส่ายเหมือนปลาไหล
ก่อนเจ้าชายสิ ทธัตถโพธิ สัตว์จะเสด็ จออกผนวช ทรงมี ความรูใ้ นศาสตร์
ต่างๆ มากมายซึ่งเป็ นประโยชน์ มากต่อการนามาประยุกต์กับธรรมะที่พระองค์ตรัส
รู ้ เพื่ อการปกครองคณะสงฆ์และสัง่ สอนเวไนยสัตว์ สาเหตุ ส าคัญ ที่ พราหมณ์
ทั้งหลายในสมัยพุทธกาลละทิ้ งความเชื่อเดิมที่สืบทอดกันมาหลายพันปี แล้วหันมา
นั บถือพระพุทธศาสนามีหลายประการที่ สาคัญที่ สุดคือ คาสอนของพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าเป็ นสัจธรรมอันจริงแท้แน่ นอนที่ผปู ้ ฏิบตั ิสามารถพิสูจน์ได้ดว้ ยตนเองในยุค
นั้ นมี ผู ป้ ฏิ บัติ จนเข้าถึ งธรรมเป็ นพระอริยบุ คคลมากมาย ซึ่งสามารถเป็ นพยาน
ยืนยันคาสอนได้เป็ นอย่างดี นอกจากนี้ เหล่าพราหมณ์ให้การยอมรับในบุคลิกของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะที่ทรงมีกายมหาบุรุษจึงตั้งใจฟั งคาสอนของพระองค์
พุทธวิธีสอนธรรมก็มีส่วนอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคนในสังคม
อินเดีย พระองค์ทรงสอนโดยยึดตามจริตผูเ้ รียนหรือในปั จจุบันเรียกว่าสอนโดยยึด
ผูเ้ รียนเป็ นศูนย์กลาง (Child Center) อีกประการหนึ่ ง คาสอนของเหล่าพราหมณ์
อาจารย์มีความขัดแย้งกันเอง จึงทาให้พราหมณ์จานวนไม่น้อยเสื่อมศรัทธาหันมา
นับถือพระพุทธศาสนา
อาจารย์ขอจบจดหมายฉบับนี้ ไว้เพียงเท่านี้

ขอให้พระรัตนตรัยคุม้ ครอง
อาจารย์
๕๐

จดหมายฉบับที่ ๔ บ้านกาญจนรัชต์
นครราชสีมา

พิชญา ศิษย์รกั
ฉบับที่แล้ว อาจารย์ได้กล่าวถึงประวัติพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล ซึ่ง
เป็ นสมั ย ที่ พระพุ ท ธเจ้า ยั ง ทรงพระชนม์ อ ยู่ ในฉบั บ นี้ จะได้ ก ล่ า วประวั ติ
พระพุ ทธศาสนามนช่วงหลังพุทธปรินิ พพาน ๕๐๐ ปี ซึ่งจะมี เรื่องการสังคายนา
หรือร้อยกรองพระธรรมวนั ยไว้จดั ไว้เป็ นหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
ในยุ ค ๕๐๐ ถึ ง ๑,๐๐๐ ปี รวมถึ งยุคสมัยที่ พระพุ ทธศาสนาเสื่ อมไปจากอิ นเดี ย
รายละเอียดทั้ง ๓ ประเด็น อาจารย์จะได้กล่าวเป็ นลาดับไป
๑. พระพุทธศาสนาหลังพุทธปรินิพพาน ๕๐๐ ปี
ในมหาปรินิพพานสูตร มีขอ้ ความตอนหนึ่ งกล่าวถึ งโอวาทที่ พระพุทธเจ้า
ตรัสกับพระอานนท์ว่า "อานนท์บางที พวกเธออาจจะคิ ดว่า ปาพจน์ มีพระศาสดา
ล่วงลับไปแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้ น ธรรมและ
วินั ยที่ เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป ก็ จะเป็ น
ศาสดาของเธอทั้งหลาย"
พระพุ ท ธด ารัส นี้ เป็ นสิ่ งยื น ยัน อย่ างชั ด เจนว่ า พระผู ้มี พ ระภาคทรงให้
ความส าคัญกับธรรมและวินั ยที่ พระองค์ได้ทรงแสดงไว้ดีแล้วอย่างสู งยิ่ง ทรงยก
ธรรมและวินัยนั้ นไว้ในฐานะศาสดาแทนพระองค์เอง นั น่ หมายความว่า เมื่อพระผูม้ ี
พระภาคเจ้าเสด็ จดับขันธปรินิ พพานไปแล้ว ธรรมและวินั ยถื อเป็ นสิ่ งแทนพระ
ศาสดาและเป็ นตัวพระศาสนาที่แท้จริงที่พุทธบริษัทจะต้องช่วยกันรักษาให้ดารงคง
อยูส่ ืบไป
การปรารภที่ จะสั งคายนาพระธรรมวิ นั ย นั้ น เริ่ ม มี ม าแล้วตั้ งแต่ ส มั ย
พุทธกาล ในปาสาทิ กสูตร กล่าวว่า ภายหลังจากที่ นิครนถนาฏบุตรผูเ้ ป็ นศาสดา
ของศาสนาเชนได้สิ้นชีวิต สานุ ศิษย์ได้ทะเลาะกันขนานใหญ่จนแตกแยกนิ กายกัน
พระพุทธองค์ทรงปรารภเหตุนี้ ตรัสแนะนาให้พระสงฆ์ท้งั ปวงร่วมกันสังคายนาพระ
๕๑

ธรรมวินัยไว้เพื่อให้พรหมจรรย์คือพระศาสนานี้ ดารงอยูไ่ ด้นาน และเพื่อประโยชน์


และความสุขแก่มหาชน ทั้งนี้ เพราะไม่ทรงปรารถนาให้สาวก ทั้งหลายต้องแตกแยก
ทะเลาะวิวาทกันเหมื อนอย่างสาวกของศาสนาเชนที่ ต่ างทุ่ มเถี ยงกันว่า ก่ อ นนี้
ศาสดาของตนได้สอนไว้อย่างไร
ฉะนั้ น ในเวลาต่อมา พระสารีบุตรจึงได้แสดงวิธีการสังคายนาร้อยกรองพระ
ธรรมวินัยไว้เป็ นแบบแผน โดยท่านได้รวบรวมคาสอนที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
แสดงไว้เป็ นข้อธรรมต่างๆ มาแสดงตามลาดับหมวด ตั้งแต่หมวดหนึ่ งถึงหมวดสิบ
มีตวั อย่างดังปรากฏในสังคีติสูตร
สังคายนา (ฺBuddhist Council) หรือสังคีติ มาจากคาว่า ส (พร้อมกัน) +
คีติ (การสวด) ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า การสวดพร้อมกัน แปลตามรูปศัพท์วา่ ร้อย
กรอง คือประชุ มสงฆ์จัดระเบียบหมวดหมู่พระพุทธวจนะ แล้วรับทราบทัว่ กันในที่
ประชุมนั้นว่าตกลงกันอย่างนี้ แล้วก็มีการท่องจาสืบต่อกันมา
แต่เดิมนั้ นการสังคายนาปรารภเหตุความมัน่ คงแห่งพระพุทธศาสนา จึงจัด
ระเบี ย บหมวดหมู่ พ ระพุ ท ธวจนะไว้ ในครั้ งต่ อ ๆ มา ปรากฏว่ า มี ก ารถื อ ผิ ด
ตีความหมายผิด ก็มีการชาระวินิจฉัยข้อที่ถือผิดหรือตีความหมายผิดนั้ น ชี้ ขาดว่าที่
ถู ก ควรเป็ นอย่ างไร แล้วก็ ท าการสังคายนา โดยการทบทวนระเบี ยบเดิ มบ้าง
เพิ่มเติมของใหม่อนั เป็ นทานองบันทึกเหตุการณ์บา้ ง จัดระเบียบใหม่ในบางข้อบ้าง
ในชั้นหลังๆ เพียงการจารึกลงในใบลาน การสอบทานข้อผิดในใบลาน ก็เรียกกันว่า
สังคายนา ไม่จาเป็ นต้องมีเหตุการณ์ถือผิดหรือเข้าใจผิดเกิดขึ้ น
สาหรับการสังคายนาที่เกิดขึ้ นในประเทศอินเดียนั้ น มีดว้ ยกัน ๔ ครั้ง การ
สังคายนาที่เป็ นที่ยอมรับกันของทุกนิ กาย คือ การสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
ส่วนการสังคายนาครั้งที่ ๓ ยอมรับกันเฉพาะฝ่ ายเถรวาท ส่วนมหายานและหินยาน
นิ กายอื่นไม่มีการกล่าวถึงการสังคายนาครั้งนี้ สาหรับการสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่ทา
กันในอินเดียภาคเหนื อโดยมีพระเจ้ากนิ ษกะทรงอุปถัมภ์น้ั น ฝ่ ายเถรวาทไม่ยอมรับ
เพราะถือว่าเป็ นส่วนของฝ่ ายมหายานที่สืบสายแยกกันไป ตลอดจนภาษาที่รองรับ
คัมภีรก์ ็ใช้ต่างกัน คือฝ่ ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ส่วนฝ่ ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต
ในที่นี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะการสังคายนาครั้งที่ ๑-๓ ซึ่งเป็ นที่ยอมรับกันในฝ่ ายเถร
วาทเท่านั้น
๕๒

๑.๑ การสังคายนาครั้งที่ ๑
ปฐมสังคายนา : หลังจากพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน
ประธานสงฆ์ : พระมหากัสสปเถระ มีพระอุบาลีเป็ นผู ้
เรียบเรียงสวดพระวินัย พระอานนท์เป็ นผู ้
เรียบเรียงสวดพระสูตร
ผูเ้ ข้าร่วมประชุมสังคายนา : พระอรหันตขีณาสพจานวน ๕๐๐ รูป
องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าอชาตศัตรู
เหตุในการทาสังคายนา : พระสุภทั ทะกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย
สถานที่ประชุมทาสังคายนา : ถ้าสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภาร
บรรพต เมืองราชคฤห์
ระยะเวลาในการประชุม : กระทาอยู่ ๗ เดือนจึงสาเร็จ
บันทึกเหตุการณ์สาคัญ :
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้เพียง ๗ วัน
เหล่าพระสาวกที่ ยงั ไม่ได้บรรลุพระอรหันต์ ต่างมีความเศร้าโศกเสียใจเป็ นอันมาก
แต่มีพระภิกษุ รูปหนึ่ งชื่อว่า สุภทั ทะ กลับดีใจพูดว่า "พระพุทธเจ้านิ พพานเสียแล้วก็
ดี ต่อไปจะได้ไม่มีใครมาคอยกล่าวว่า สิ่งนี้ ควรทา สิ่งนี้ ไม่ควรทา"
พระมหากั ส สปะได้ฟั งดั งนั้ น ก็ บั งเกิ ด ความสลดใจว่ า "พระพุ ท ธเจ้า
ปรินิพพานเพียงไม่กี่วนั ยังมีผูก้ ล่าวถ้อยคาที่ไม่สมควรเช่นนี้ ถ้าไม่จดั การอะไรลง
ไป ปล่อยไว้ให้เนิ่ นนานเสียก็จะนาความเสื่อมเสียมาสู่พระพุทธศาสนา สิ่งที่ ไม่ใช่
ธรรมไม่ใช่วินัยจักเจริญ สิ่งที่ เป็ นธรรมเป็ นวินัยจะเสื่อมกาลัง พวกอธรรมวาที จัก
เจริญ พวกธรรมวาทีจกั เสื่อมถอย" ดังนั้ นเมื่อถวาย พระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จ
แล้ว ท่านจึงชักชวนภิกษุ ท้งั หลายให้มาร่วมทาสังคายนา
ในระหว่างสังคายนา พระอานนท์ ได้แจ้งให้ที่ ประชุ มสงฆ์ทราบว่า พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุ ญาตว่า ถ้าสงฆ์เห็นสมควรก็สามารถเพิกถอนสิกขาบท
เล็กน้อยได้ แต่ที่ประชุ มมีความเห็ นไม่ตรงกันว่าสิกขาบทเล็กน้อยหมายความถึ ง
สิกขาบทใดบ้าง พระมหากัสสปะจึงสรุปว่าจะไม่เพิกถอนสิกขาบทที่ พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว และจะไม่บญ ั ญัติสิกขาบทที่พระองค์ไม่ได้บญั ญัติไว้ ซึ่งที่
๕๓

ประชุ มสงฆ์ก็รับรองเป็ นเอกฉันท์ จึงเป็ นหลักปฏิบัติต่อพระวินัยของคณะสงฆ์มา


จนถึงปั จจุบนั โดยเฉพาะคณะสงฆ์เถรวาท
หลั งจากการท าสั งคายนาผ่ านไปไม่ นานนั ก มี พ ระเถระรู ป หนึ่ งชื่ อว่า
ปุราณะ พร้อมด้วยบริวารประมาณ ๕๐๐ รูป อยู่จาพรรษาที่ทักขิณาคีรีชนบท เมื่อ
ท่านทราบว่า การสังคายนาเสร็จสิ้ นแล้ว ท่ านและบริวารจึงได้เข้าสู่กรุงราชคฤห์
พระสังคีติกาจารย์ที่ร่วมในการทาสังคายนาได้เข้าไปแจ้งให้ท่านทราบว่า พระสงฆ์
ได้ทาสังคายนากันแล้ว ขอให้ท่านยอมรับมติดว้ ย
พระปุ ราณะกลับกล่าวว่า "ท่ านทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายได้ทาสังคายนา
พระธรรมวิ นั ยกั น เรี ยบร้อยก็ ดี แล้ว แต่ ข ้าพเจ้าได้ฟั งมาเฉพาะพระพั กตร์ของ
พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่าอย่างไร ข้าพเจ้าก็จกั ถือปฏิบัติตามนั้ น" เมื่อได้ชี้แจง
กันพอสมควรแล้ว ปรากฏว่าพระปุ ราณะมี ความเห็ นตรงกับพระสังคี ติ กาจารย์
ส่วนมาก แต่ก็มีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องวัตถุ ๘ ประการ ซึ่งเป็ นพุทธานุ ญาต
พิเศษที่ทรงอนุ ญาตให้ภิกษุ ทาได้ในคราวเกิดทุพภิกขภัย แต่เมื่อภัยเหล่านั้ น ระงับ
ก็ทรงบัญญัติหา้ มมิให้กระทาอีก
สาหรับวัตถุ ๘ ประการนั้น คือ
๑. อันโตวุฏฐะ เก็บของที่เป็ นยาวกาลิก คือ อาหารไว้ในที่อยูข่ องตน
๒. อันโตปั กกะ ให้มีการหุงต้มอาหารในที่อยูข่ องตน
๓. สามปั กกะ พระลงมือหุงปรุงอาหารด้วยตนเอง
๔. อุคคหิตะ คือการหยิบเอาเองซึ่งของเคี้ ยวของฉันที่ยงั มิได้ประเคน
๕. ตโตนี หตะ ของที่นามาจากที่นิมนต์ ซึ่งเป็ นพวกอาหาร
๖. ปุเรภัตตะ การฉันอาหารก่อนเวลาภัตตาหาร ในกรณี ที่ตนรับนิ มนต์ไว้
ในที่อื่น แต่ฉนั อาหารอื่นก่อนอาหารที่ตนจะต้องฉันในที่นิมนต์
๗. วนัฏฐะ ของที่เกิดหรือตกอยูใ่ นป่ า ซึ่งไม่มีใครเป็ นเจ้าของ
๘. โปกขรณัฏฐะ ของที่เกิดในสระ เช่น ดอกบัว เหง้าบัว
วัตถุท้ัง ๘ ประการ เป็ นพุทธานุ ญาตพิเศษในคราวเกิดทุพภิกขภัย ๒ คราว
คือ ที่เมืองเวสาลีและที่เมืองราชคฤห์ แต่เมื่อทุพภิกขภัยผ่านพ้นไปแล้ว ทรงห้ามมิ
ให้ภิ กษุ กระท า พระปุ ราณะและบริวารของท่ านคงจะได้ทราบเฉพาะเวลาที่ ทรง
อนุ ญาต จึงปฏิบัติไปอย่างนั้ น เนื่ องจากการอยู่กันกระจัดกระจายคนละทิ ศละทาง
๕๔

การติดต่อบอกกล่าวอาจไม่ถึงกัน ซึ่งจะว่าท่านดื้ อรั้นก็คงไม่ใช่ เพราะท่านถือตามที่


ท่านได้สดับมาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน เมื่อพระสังคีติกาจารย์ชี้แจง
ให้ท่ านฟั ง ท่ านปุ ราณะก็ มี ค วามเห็ น ว่ า "พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้าทรง มี พ ระ
สัพพัญญุตญาณไม่สมควรที่ จะบัญญัติหา้ มแล้วอนุ ญาต อนุ ญาตแล้วกลับบัญญัติ
ห้ามมิใช่หรือ"
เมื่ อเป็ นดังนี้ ความแตกต่ างในทางข้อปฏิ บัติ (สี ลสามัญญตา) จึงเกิ ดขึ้ น
ตั้งแต่ครั้งนั้น แต่ก็ไม่ถึงขนาดทาให้เกิดการแตกแยกเป็ นนิ กาย
๑.๒ การสังคายนาครั้งที่ ๒
ทุติยสังคายนา : ประมาณ พ.ศ.๑๐๐
ประธานสงฆ์ : พระยสกากัณฑกบุตรเถระ
ผูถ้ าม : พระเรวตะ
ผูต้ อบ : พระสัพพกามี
ผูเ้ ข้าร่วมประชุมสังคายนา : พระอรหันตขีณาสพจานวน ๗๐๐ รูป
องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้ากาฬาโศกราช
เหตุในการทาสังคายนา : วัตถุ ๑๐ ประการ
สถานที่ประชุมทาสังคายนา : วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
ระยะเวลาในการประชุม : กระทาอยู่ ๘ เดือนจึงสาเร็จ
บันทึกเหตุการณ์สาคัญ :
การทาสังคายนาครั้งที่ ๒ ปรารภเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการที่ ภิกษุ ชาววัชชีนา
ประพฤติปฏิบตั ิ โดยถือว่าไม่ผิดธรรมไม่ผิดวินัย ซึ่งมีใจความดังนี้
๑. ภิกษุ ชาววัชชี: ภิกษุ เก็บเกลือไว้ในเขนงแล้วนาไปฉันปนกับอาหารได้ ไม่
เป็ นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า : การเก็บเกลือไว้ในเขนง โดยตั้งใจว่าจะใส่ลง
ในอาหารฉันนั้ นเป็ นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะเป็ นการสะสมอาหารตามโภชนสิกขา
บท)
๒. ภิ กษุ ชาววัชชี : ภิ กษุ จะฉั นอาหารหลังจากตะวันบ่ ายผ่ านไปเพี ยง ๒
องคุ ลีก็ได้ไม่เป็ นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า : ภิกษุ ฉันโภชนะในเวลาวิกาล
เมื่อตะวันบ่ายคล้อยไปแล้ว ๒ องคุลี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในเวลา
วิกาล)
๕๕

๓. ภิกษุ ชาววัชชี : ภิกษุ ฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ฉันเสร็จแล้วเข้าไปสู่


บ้าน จะฉันอาหารที่ ไม่เป็ นเดนและไม่ได้ ทาวินัยกรรมได้ ไม่เป็ นอาบัติ (พระสัพ
พกามีโต้ตอบว่า: ภิกษุ ฉันอาหารเสร็จแล้วคิดว่าจักฉันอาหาร เข้าไปในบ้านแล้ว ฉัน
โภชนะที่เป็ นอนติริตตะ (ไม่เป็ นเดน) ผิด เป็ นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่ไม่
เป็ นเดนภิกษุ ไข้)
๔. ภิกษุ ชาววัชชี: ในอาวาสเดียวกันมีสีมาใหญ่ ภิกษุ จะแยกทาอุโบสถได้ ไม่
เป็ นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: ภิกษุ จะแยกกันทาอุโบสถสังฆกรรมไม่ได้ ผิด
หลักที่ทรงบัญญัติไว้ในอุโบสถขันธกะ ใครขืนทาต้องอาบัติทุกกฎ)
๕. ภิกษุ ชาววัชชี: ในเวลาทาอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกัน
จะทาอุโบสถไปก่อนก็ได้ โดยให้ผูม้ าที หลังขออนุ มัติเอาเองได้ ไม่เป็ นอาบัติ (พระ
สัพพกามีโต้ตอบว่า: สงฆ์ทาสังฆกรรมด้วยคิดว่า ให้พวกมาทีหลังอนุ มตั ิ ทั้งที่สงฆ์
ยังประชุมไม่พร้อมหน้ากัน ผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในจัมเปยยขันธกะ ต้องอาบัติทุก
กฎ)
๖. ภิกษุ ชาววัชชี: การประพฤติปฏิบตั ิตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ไม่วา่ จะผิด
หรือถูกพระวินัยก็ตาม ย่อมเป็ นการกระทาที่สมควรเสมอ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า:
การประพฤติปฏิบัติ ด้วยเข้าใจว่าอุปัชฌาย์อาจารย์ของเราเคยประพฤติมาอย่างนี้
ไม่เป็ นสิ่งที่ ถูกต้อง เพราะท่านเหล่านั้ นอาจประพฤติผิดหรือถูกก็ได้ ต้องยึดหลัก
พระวินัยจึงจะเป็ นสิ่งสมควร)
๗. ภิกษุ ชาววัชชี: นมส้มที่แปรมาจากนมสดแต่ยงั ไม่กลายเป็ นทธิ (เนยใส)
ภิกษุ ฉันอาหารเสร็จแล้ว จะฉันนมนั้ นทั้งที่ยงั ไม่ได้ทาวินัยกรรมหรือทาให้เป็ นเดน
ตาม พระวินัยก็ได้ ไม่เป็ นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: นมส้มที่ ละความเป็ น
นมสดไปแล้ว แต่ยงั ไม่กลายเป็ นทธิ ภิกษุ ฉันภัตตาหารแล้ว ห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนม
นั้ นอันไม่เป็ นเดนภิ กษุ ไข้ หรือยังไม่ได้ทาวินั ยกรรม ไม่ควร ต้องอาบัติปาจิตตี ย์
เพราะฉันอาหารที่เป็ นอนติริตตะ)
๘. ภิ กษุ ชาววัชชี: สุ ราที่ ทาใหม่ๆ ยังมีสีแดงเหมือนสี เท้านกพิ ราบ ยังไม่
เป็ นสุราเต็มที่ ภิกษุ จะฉันก็ได้ ไม่เป็ นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: การดื่มสุรา
อย่างอ่อนที่มีสีเหมือนสีเท้านกพิราบ ซึ่งยังไม่ถึงความเป็ นน้ าเมา ไม่ควร เป็ นอาบัติ
ปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย)
๕๖

๙. ภิกษุ ชาววัชชี: ผ้าปูนัง่ นิ สีทนะอันไม่มีชาย ภิกษุ จะบริโภคใช้สอยก็ได้ ไม่


เป็ นอาบัติ (พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: ผ้านิ สีทนะที่ ไม่มีชาย ภิกษุ จะใช้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตียซ์ ึ่งจะต้องตัดเสียจึงจะแสดงอาบัติตก)
๑๐. ภิ กษุ ชาววัชชี: ภิ กษุ รับและยินดี ในเงินทองที่ เขาถวาย ไม่เป็ นอาบัติ
(พระสัพพกามีโต้ตอบว่า: การรับเงินหรือยินดีซึ่งเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตนเอง
ไม่สมควรเป็ นอาบัติ นิ สสัคคียปาจิตตีย)์
ฝ่ ายพระวัชชีบุตรเมื่อไม่ได้การยอมรับจากสงฆ์จึงเสียใจ แล้วพร้อมใจกันไป
ทาสังคายนา ต่างหากที่เมืองปาฏลีบุตร มีผูเ้ ข้าร่วมถึง ๑๐,๐๐๐ รูป เรียกตนเองว่า
มหาสังคีติหรือมหาสังฆิกะ เพราะเหตุที่มีพวกมาก ในที่สุดสงฆ์จึงได้แตกออกเป็ น ๒
ฝ่ าย คือ ฝ่ ายพระสัพพกามีเถระ และภิกษุ ชาววัชชีที่เรียกตนเองว่ามหาสังคีติ และ
ในกาลต่อมา จึงแตกออกเป็ น ๑๘ นิ กาย โดย ๗ นิ กายที่ แตกจากมหาสังฆิกะ เกิด
เมื่อปี พ.ศ.๑๐๐-๒๐๐ ส่วน ๑๑ นิ กายที่แตกจากเถรวาท เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๐๐ เป็ น
ต้นมา
การสังคายนาในครั้งนี้ หลักฐานฝ่ ายเถรวาทระบุวา่ เป็ นการปรารภเหตุเพื่อ
ระงับความแตกแยกทางการปฏิบตั ิสีลสามัญญตา (ความเสมอกันด้วยศีล) ในกรณี
ของพระภิกษุ ชาววัชชีที่ประพฤตินอกพระธรรมวินัยดังกล่าว แต่ในปกรณ์สนั สกฤต
ของฝ่ ายมหายานที่ มีชื่อว่า เภทธรรมติ จักรศาสตร์ กลับชี้ ประเด็ นไปที่ เรื่องความ
วิบัติแห่งทิ ฏฐิ สามัญญตาแห่งคณะสงฆ์ มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่ งเป็ นวันอุโบสถ พระ
มหาเทวะเป็ นผูส้ วดปาฏิโมกข์ แต่ท่านผูน้ ี้ เป็ นฝ่ ายอธรรมวาที ได้เสนอมติ ๕ ข้อต่อ
ที่ประชุมสงฆ์ ซึ่งมีใจความดังนี้
๑. พระอรหันต์อาจถูกมารยัว่ ยวนจนอสุจิเคลื่อนในเวลาหลับได้
๒. พระอรหันต์อาจมีอญ ั ญาณคือความไม่รใู ้ นบางสิ่งได้
๓. พระอรหันต์อาจมีกงั ขาคือความลังเลสงสัยในบางสิ่งได้
๔. ผูจ้ ะรูว้ า่ ตนได้บรรลุมรรคผลชั้นใด จาต้องอาศัยการพยากรณ์จากคนอื่น
๕. บุคคลจะบรรลุพระอรหันต์ได้ดว้ ยการเปล่งวาจาว่า ทุกข์หนอๆ
ฝ่ ายธรรมวาที จึ งคั ด ค้านประกาศทั้ ง ๕ ข้อของพระมหาเทวะว่ า เป็ น
มิจฉาทิ ฐิ มิจฉาวาจา แต่ฝ่ายธรรมวาที มีจานวนน้อย ฝ่ ายเข้าข้างพระมหาเทวะมี
จานวนมากกว่าและเมื่อหาข้อยุติไม่ได้ พระเจ้ากาฬาโศกจึงต้องเสด็จมาห้ามด้วย
๕๗

พระองค์เอง แต่พระองค์ก็ไม่รจู ้ ะทาอย่างไร จึงตรัสถามพระมหาเทวะ พระมหาเทวะ


ถวายความเห็ นให้ตัดสิ นด้วยวิธี เสี ยงข้างมาก หรื อเยภุ ยยสิ กาอธิ กรณสมถวิธี
ปรากฏว่าชัยชนะตกเป็ นของฝ่ ายพระมหาเทวะ พระเจ้ากาฬาโศกจึงประกาศให้สงฆ์
ปฏิบัติตามคติของพระมหาเทวะ สงฆ์ฝ่ายธรรมวาทีซึ่งมีจานวนน้อยกว่า จึงพากัน
จาริกไปสู่แว่นแคว้นอื่น
๑.๓ การสังคายนาครั้งที่ ๓
ตติยสังคายนา : ประมาณ พ.ศ.๒๓๖
ประธานสงฆ์ : พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
ผูเ้ ข้าร่วมประชุมสังคายนา : พระอรหันตขีณาสพจานวน ๑,๐๐๐ รูป
องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าอโศกมหาราช
เหตุในการทาสังคายนา : เดียรถียป์ ลอมเข้ามาบวชในพุทธศาสนา
สถานที่ประชุมทาสังคายนา : อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
ระยะเวลาในการประชุม : กระทาอยู่ ๙ เดือนจึงสาเร็
บันทึกเหตุการณ์สาคัญ :
การทาสังคายนาครั้งที่ ๓ นี้ เกิดขึ้ นโดยปรารภที่มีพวกเดียรถียป์ ลอมเข้ามา
บวชในพระพุทธศาสนาเป็ นจานวนมาก เนื่ องจากพระพุทธศาสนารุง่ เรืองขึ้ น มีลาภ
สักการะเกิ ดขึ้ นมาก จึงมี เดี ยรถี ย์ที่ มุ่งแสวงหาลาภสักการะปลอมมาบวช แต่ ไม่
ปฏิบตั ิตามพระธรรมวินัย ทาให้สงฆ์ที่ปฏิบตั ิชอบเกิดความรังเกียจแยกพระจริงพระ
ปลอมไม่ออกพระสงฆ์จึงไม่ทาสังฆกรรมร่วมกันเป็ นเวลาถึง ๗ ปี
ต่อมา ความทราบไปถึงพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้รบั สัง่ ให้อามาตย์
คนหนึ่ งไปอาราธนาให้พระท าสั งฆกรรมร่วมกั น เมื่ อพระเหล่ านั้ นไม่ ยิ นยอม
อามาตย์ถือว่าพระสงฆ์ขัดพระบรมราชโองการ จึงตัดคอพระมรณภาพไปหลายรูป
พระติสสเถระซึ่งเป็ นพระอนุ ชาของพระเจ้าอโศกเห็นไม่ได้การจึงรีบเข้าไปขัดขวางไว้
พวกอามาตย์ไม่กล้าฆ่าพระอนุ ชา จึงนาความไปกราบทูลให้พระเจ้าอโศกมหาราช
ทรงทราบ พระเจ้าอโศกทรงตกพระทัยมาก กลัวว่าบาปกรรมจะตกมาถึ งพระองค์
ด้วย แม้ว่าอามาตย์จะทาไปโดยพลการก็ตามที พระองค์จึ งไปเรียนถามพระเถระ
ทั้งหลาย ปรากฏว่าท่ านเหล่ านั้ นตอบไม่ ตรงกัน ในที่ สุ ดได้รับค าแนะน าให้ไป
อาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาวินิจฉัยให้ พระเถระได้ถวายวินิจฉัยข้อข้อง
๕๘

พระทัยว่า เมื่อพระองค์ไม่มีความประสงค์จะให้อามาตย์ไปฆ่าภิกษุ บาปนั้ นจึงไม่มี


แก่พระองค์ และให้พระราชาทรงมัน่ พระทัยในพุทธภาษิตที่วา่ "ดูก่อนภิกษุ ท้งั หลาย
เรากล่าวเจตนาว่าเป็ นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทากรรมด้วยกาย วาจา ใจ"
หลังจากพระเจ้าอโศกทรงสบายพระทัยเพราะได้ฟังคาวินิจฉัยของพระเถระ
แล้ว พระเถระจึ งให้พระเจ้าอโศกทรงศึ กษาสัจธรรมทางพระพุ ทธศาสนา จน
สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรเป็ นคาสอนของพระพุทธศาสนา และอะไรเป็ นคาสอน
ของเจ้าลัทธินอกพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชจึงตรัสเรียกภิกษุ ท้ังหลาย
มาสอบถามด้วยพระองค์เองว่า
กึ สมมาสมพุทโธ = พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร
ถ้าพระรูปใดตอบว่า วิภชชวาที = มีปกติจาแนก ก็ถือว่าเป็ นพระที่ แท้จริง
ท่านที่ตอบเป็ นอย่างอื่นถือว่าเป็ นพวกเดียรถียป์ ลอมเข้ามาบวช รับสัง่ ให้แจกผ้าขาว
ให้กบั พวกเหล่านั้ นให้สึกออกไปเสียเป็ นจานวนมาก ในสมันตปาสาทิกาบอกว่ามีถึง
๖๐,๐๐๐ รูป เมื่อชาระสังฆมณฑลให้หมดจดบริสุทธิ์ได้แล้ว พระเจ้าอโศกมหาราช
จึงได้อาราธนาให้พระสงฆ์ทาสังฆกรรมกันตามปกติ
มีขอ้ น่ าสังเกตในเรื่องนี้ ๒ ประการคือ
๑. การแยกระหว่างพระจริงและพระปลอมโดยการตั้งคาถาม ใครตอบถูกถือ
ว่าเป็ น พระจริง ใครตอบไม่ถูกถือว่าเป็ นพระปลอม แล้วให้จบั สึก น่ าจะมิใช่วธิ ีการ
ที่ดี เพราะสมมุติถา้ ใช้วธิ ีการอย่างนี้ กับพระสงฆ์ในปั จจุบนั พระจริงที่ไม่ได้ศึกษามา
มาก อาจตอบผิด ถูกจับสึก แต่พระไม่ดีแต่ฉลาด อาจตอบถูก เป็ นประเภทถึงรูแ้ ต่ก็
ไม่ปฏิบัติ เพราะคนมีความรู ้ ไม่ใช่หมายความว่า จะต้องเป็ นคนดีเสมอไป ในทาง
กลับกัน คนมีความรูน้ ้อย แต่อาจเป็ นผูป้ ฏิบัติดีก็ได้ หรือเหมือนการหาคนผิดโดย
การถามข้อกฎหมาย ถ้าตอบถูกก็ถือว่าเป็ นคนดี ถ้าตอบผิดก็ถือว่าเป็ นคนร้าย ก็
น่ าจะไม่ใช่วธิ ีการที่ถูกต้อง
๒. คัมภีรข์ องพระพุทธศาสนานิ กายอื่นทั้งหมดทั้งหินยานและมหายาน ไม่มี
กล่าวถึงการสังคายนาครั้งที่ ๓ นี้ เลย มีกล่าวถึงแต่เฉพาะคัมภีรข์ องเถรวาทเท่านั้ น
จึงทาให้นักวิชาการพระพุทธศาสนาจานวนไม่น้อย ตั้งข้อสงสัยถึงการสังคายนาครั้ง
ที่ ๓ นี้ ว่าอาจเป็ นการสังคายนาย่อยภายในของนิ กายเถรวาท ไม่เกี่ยวกับนิ กายอื่น
ซึ่งก็คงต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าหาความจริงกันต่อไป
๕๙

ในการทาสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุตรได้แต่งคัมภีรก์ ถาวัตถุ ซึ่งเป็ น


คัมภีรใ์ นอภิธัมมปิ ฎกเพิ่มขึ้ นด้วย เป็ นเรื่องคาถามคาตอบเกี่ยวกับหลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนา มีคาถาม ๕๐๐ คาตอบ ๕๐๐ และเมื่อทาสังคายนาเสร็จแล้ว พระ
เจ้าอโศกก็ได้ส่งคณะทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในแคว้นและประเทศต่างๆ รวม
ทั้งหมดมี ๙ สายด้วยกันคือ
๑. พระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นกัศมีรแ์ ละคันธาระ อยูท่ างทิศตะวันตกเฉียง
เหนื อของอินเดีย ซึ่งได้แก่แคว้นแคชเมียร์ในปั จจุบนั นี้
๒. พระมหาเทวเถระ ไปมหิสสกมณฑล อยู่ทางทิศใต้ของแม่น้ าโคธาวารี ซึ่ง
ได้แก่ไมซอร์ ในปั จจุบนั (อยูท่ างทิศใต้ของอินเดียติดกับเมืองมัทราส)
๓. พระรักขิตเถระ ไปวนวาสี ประเทศ อยู่ในเขตกนราเหนื อ ภาคตะวันตก
เฉียงใต้
๔. พระโยนกธัมมรักขิตเถระ ไปปรันตชนบทอยู่ริมฝั ่งทะเลอาระเบี ยนทิ ศ
เหนื อของ บอมเบย์
๕. พระมหาธัมมรักขิตเถระ ไปที่แคว้นมหาราษฎร์ ภาคตะวันตกไม่ห่างจาก
บอมเบย์ในปั จจุบนั
๖. พระมหารักขิตเถระ ไปโยนกประเทศได้แก่ เขตแดนแบคเทียในเปอร์เซีย
ปั จจุบนั
๗. พระมัชฌิ มเถระ ไปหิ มวันประเทศได้แก่ เนปาล ซึ่ งอยู่ตอนเหนื อของ
อินเดีย
๘. พระโสณเถระ และพระอุ ตตรเถระ ไปสุ วรรณภู มิ ได้แก่ ไทย พม่า และ
มอญทุกวันนี้
๙. พระมหินทเถระผูเ้ ป็ นโอรสพระเจ้าอโศกมหาราชได้นาพระพุทธศาสนาไป
ประดิษฐานที่เกาะสิงหลหรือประเทศศรีลงั กาเป็ นครั้งแรก
๒. พระพุทธศาสนาในยุค พ.ศ.๕๐๐-๑๐๐๐
ในขณะที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่ หรือแม้แต่หลังจาก
เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วใหม่ๆ รูปแบบของนิ กายมหายานยังไม่ได้เกิดขึ้ น ถึงแม้
ในต้นพุ ทธศตวรรษที่ ๒ พระพุ ทธศาสนาจะเริ่มแยกเป็ น ๒ นิ กาย คื อ เถรวาท
(หรือสถวีรวาทิน) และอาจาริยวาท (หรือมหาสังฆิกะ) หรือแม้แต่ในพุทธศตวรรษ
๖๐

ที่ ๓ พระพุทธศาสนาจะได้แตกออกเป็ น ๑๘ นิ กาย แล้วก็ตาม แต่ก็ยงั ไม่ถือว่าเป็ น


นิ กายมหายานแต่อย่างใด เพียงแต่ถือว่าเป็ นความคิดของคณาจารย์ที่ไม่ตรงกัน แต่
ก็ ยอมรับว่าคงมี การก่ อตั วที่ เป็ นมหายานในช่ วงนี้ จนเมื่ อพุ ทธศตวรรษ ที่ ๖
(ประมาณพ.ศ.๕๐๐ เศษๆ) พระอัศวโฆษ (Ashvagosa) ภิ กษุ ชาวเมืองสาเกต ใน
สมัยพระเจ้ากนิ ษกะแต่งคัมภีรศ์ รัทโธตปาทศาสตร์ขึ้น นิ กายมหายานซึ่งเป็ นกระแส
ที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้ นเป็ นเวลานานจึงปรากฏรูปร่างชัดเจนขึ้ นในพุทธศตวรรษนี้ และมี
พัฒนาการต่อไปอย่างรวดเร็ว ดังหัวข้อที่จะได้ศึกษากันต่อไป
๒.๑ ร่องรอยและบ่อเกิดของนิกายมหายาน
เมื่อพิจารณาถึงบ่อเกิดของพุทธศาสนามหายานแล้ว พบว่ามีสาเหตุหลักอยู่
๒ ประการได้แก่ สาเหตุภายในพระพุทธศาสนา คือ การแตกเป็ นนิ กายต่างๆ และ
สาเหตุภายนอกพระพุทธศาสนา คือ การรุกรานของศาสนาพราหมณ์
๒.๑.๑ สาเหตุภายในพระพุทธศาสนา
การแตกเป็ นนิ กายต่างๆ มีจุดเริ่มต้นมาจากการแตกความสามัคคีกนั ในหมู่
สงฆ์ดว้ ยเหตุ ๒ ประการ คือ
๑) แตกกันด้วยทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องธรรม
๒) แตกกันด้วยสี ลสามัญญตา มีความเคร่งครัดในการรักษาพระวินั ยไม่
เท่ากัน
ซึ่ งแม้เมื่ อพระผู ้มี พระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์ อยู่ ก็ เคยเกิ ดขึ้ นมาแล้ว
หากแต่ระงับลงได้ในที่ สุด ดังเช่นกรณี การทะเลาะวิวาทของภิกษุ เมืองโกสัมพี ซึ่ง
แยกเป็ นสองฝั กสองฝ่ าย คือ ฝ่ ายพระวินัยธร ๕๐๐ รูป และฝ่ ายพระธรรมกถึก ๕๐๐
รูป เกิดการขัดแย้งกันเกี่ยวกับเรื่องที่เป็ นอาบัติและไม่เป็ นอาบัติ เรื่องมีอยูว่ ่า พระ
ธรรมกถึ กเหลื อน้ าชาระไว้ในวัจจกุ ฎี พระวินั ยธรเห็นเข้าจึงบอกว่า "เป็ นอาบัติ "
ครั้นพระธรรมกถึ กจะปลงอาบัติ พระวินัยธรกลับบอกว่า "ถ้าไม่มีเจตนาก็ ไม่เป็ น
อาบัติ" แต่พอลับหลัง พระวินัยธรกลับบอกพวกศิษย์ของตนว่า "พระธรรมกถึ กต้อง
อาบัติ ก็ไม่รูว้ า่ เป็ นอาบัติ" พระธรรมกถึกทราบเรื่องจึงเกิดการทะเลาะวิวาทกัน จะ
เห็นว่า แม้ประเด็นเล็กๆ แต่ต่างฝ่ ายต่างถือทิฏฐิวา่ ตนเองถูก อีกฝ่ ายผิด และโจมตี
กัน ก็อาจนาไปสู่การแตกแยก เป็ นผลเสียต่อพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวงได้
๖๑

หรืออย่างกรณี ของพระเทวทัต ที่ มีความคิดแปลกแยก คิดตั้งตนเป็ นใหญ่


ด้วยการปกครองคณะสงฆ์เสียเอง จึงได้ต้งั กฎที่ภิกษุ จะต้องประพฤติ ๕ ข้อ เรียก
ว่าปั ญ จวัตถุ ประกาศให้บริ ษั ท ของตนประพฤติ แล้วน าเหล่ าสานุ ศิ ษ ย์เข้าเฝ้ า
พระพุทธเจ้าทูลขอให้ออกพระพุทธบัญชา เป็ นกฎสาหรับพระภิกษุ ทุกๆ รูป คือ
๑. ภิกษุ พึงเป็ นผูอ้ ยู่ป่าเป็ นวัตรตลอดชีวิต รูปใดไปสู่ละแวกบ้าน รูปนั้ นมี
โทษ
๒. ภิกษุ พึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็ นวัตรตลอดชีวิต รูปใดรับนิ มนต์ รูปนั้ นมี
โทษ
๓. ภิกษุ พึงถือการนุ่ งห่มผ้าบังสุกุลเป็ นวัตรตลอดชีวติ รูปใดรับผ้าจาก
คฤหบดี รูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุ พึงถือการอยูโ่ คนไม้เป็ นวัตรตลอดชีวติ รูปใดเข้าสู่ที่มุงที่บงั รูปนั้น
มีโทษ
๕. ภิกษุ ไม่พึงฉันของสดคาว มีปลา เนื้ อ เป็ นต้นตลอดชีวติ รูปใดฉัน รูปนั้น
มีโทษ
แต่ พ ระบรมศาสดาทรงเห็ น ว่าเป็ นการประพฤติ เคร่ งเกิ น ไป จึ งไม่ ท รง
อนุ ญาตตามที่ขอทรงประสงค์ให้ภิกษุ ปฏิบัติไดัตามอัธยาศัย ภิกษุ ปฏิบัติได้ก็เป็ น
การดี ถ้าไม่ประสงค์ก็สามารถปฏิบตั ิตามที่เห็นสมควรแก่สมณะ นั บแต่น้ั นมา พระ
เทวทั ตกับบริวารก็ แยกท าสังฆกรรมอี กส่ วนหนึ่ ง ไม่ร่วมกับใครๆ ภายหลังเมื่ อ
สานึ กผิ ด จึงได้กลับมาขอขมาต่ อพระบรมศาสดา แต่ มายังไม่ทันถึ งก็ มรณภาพ
เสียก่อน
เมื่อพิจารณาสภาพความเป็ นอยูข่ องภิกษุ สงฆ์ ซึ่งมีการจัดแบ่งเป็ นกลุ่มเป็ น
สานักอาจารย์ต่างๆ ตามอัธยาศัยของตน ดังนั้นโอกาสที่จะแตกแยกกัน ก็ยอ่ มจะมี
มากเป็ นธรรมดา แต่ทว่าในยุคสมัยพุทธกาลนั้ น นอกจากจะมีพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าเป็ นผูป้ กครองดูแลสงฆ์ท้ังหมดแล้ว ยังมีพระอัครสาวกทั้งสองคือพระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะ รวมทั้งเหล่าสาวกองค์สาคัญ เช่น พระอานนท์ พระอนุ รุทธะ
พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ เป็ นต้น คอยกากับดูแลเหล่าลูกศิษย์ของตน
(สัทธิ วิหาริกและอันเตวาสิก) และประการสาคัญคือ เหล่าพระสาวกสาวิกาในยุค
นั้นมีผูท้ ี่บรรลุธรรมเป็ นพระอรหันต์กนั เป็ นจานวนมาก ดังนั้ นแม้วา่ จะเกิดการแตก
๖๒

ความสามัคคีขึ้นบ้าง เหตุการณ์เหล่านั้ นก็สามารถสงบลงได้โดยเร็ว และจะไม่บาน


ปลายใหญ่โตถึงขึ้ นที่จะต้องแบ่งแยกเป็ นนิ กายแต่อย่างใด
แต่ ภายหลังจากที่ พระพุ ทธองค์ทรงเสด็ จดับขันธปรินิ พพานแล้ว ความ
สมัครสมานสามัคคี ในหมู่สงฆ์ก็ มีอันเปลี่ ยนแปลงไป ทั้งนี้ เป็ นเพราะภิ กษุ สงฆ์มี
ระดับสภาวธรรมที่ ต่างกัน มีพื้นฐานครอบครัว สังคม ภาษา การศึกษาที่ แตกต่าง
กัน รวมถึงอาศัยอยูใ่ นสถานที่อนั ต่างภูมิประเทศและต่างวัฒนธรรมกัน
ด้วยพื้ นฐานที่ ต่ างกันดังกล่ าว จึงท าให้คณะสงฆ์มี ความแตกต่ างกันใน
หลายๆ ด้าน ทั้ งในทางความเห็ น (ทิ ฏฐิ สามัญญตา) และข้อวัตรปฏิ บัติ (สี ล
สามัญญตา) ความแตกต่างกันนี้ เกิดขึ้ นตั้งแต่ครั้งที่ เหล่าภิกษุ สงฆ์ได้กระทาการ
สังคายนาพระธรรมวินั ยครั้งแรก โดยมี พระมหากัสสปะเป็ นประธาน และพระ
ปุราณะไม่ยอมรับในสิกขาบท ๘ ข้อที่ เกี่ยวกับการขบฉันดังได้กล่าวมาแล้ว แม้ว่า
พระมหากัสสปะจะทักท้วงอย่างไร แต่พระปุราณะและเหล่าบริวารก็ไม่ยอมรับ ยังคง
ประพฤติตามที่ตนได้รไู ้ ด้รบั ฟั งมาจากพระพุทธองค์เท่านั้น
เมื่อกาลล่วงไป ๑๐๐ ปี หลังพุทธปรินิพพาน การขัดแย้งก็เริ่มปรากฏให้เห็น
ชัดเจนเป็ นรูปธรรม จากกรณีภิกษุ แตกกันออกเป็ น ๒ ฝ่ าย อันเนื่ องจากความเห็น
ขัดแย้งกันในเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ โดยพวกหนึ่ งเห็นว่า วัตถุ ๑๐ ประการนี้ ชอบ
ด้วยพระธรรมวินั ย ส่วนอีกพวกหนึ่ งเห็ นว่าไม่ชอบด้วยพระธรรมวินั ย จึงเกิดการ
โต้เถียงกันอย่างรุนแรง อันเป็ นมูลเหตุให้เกิดการสังคายนาครั้งที่ ๒ ขณะที่อีกฝ่ ายที่
ไม่ ยอมรับการท าสังคายนา ได้แยกตัวเป็ นอิ สระไปท าสังคายนาในที่ แห่ งหนึ่ ง
ต่างหาก เหตุการณ์นี้ส่งผลต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง เพราะทาให้พระพุทธศาสนา
แตกแยกออกเป็ น ๒ นิ กายอย่างเป็ นทางการเป็ นครั้งแรก คือ เถรวาท (หรือ สถวีร
วาทิน) และอาจาริยวาท (หรือมหาสังฆิกะ)
การแตกแยกในครั้ ง นี้ ได้ ต อกย้ า ให้ เห็ นถึ งเค้ า โครงของการแบ่ ง
พระพุทธศาสนาเป็ นเถรวาทและมหายานชัดเจนขึ้ น โดยหลังจากนั้ นไม่นาน ในช่วง
สังคายนาครั้งที่ ๓ พระพุ ทธศาสนาก็ แบ่ งออกเป็ น ๑๘ นิ กายอย่างชัดเจน และ
ต่อมาได้พัฒนามาเป็ นนิ กาย ๓ สายหลัก คือ สายหินยาน สายมหายาน และสาย
วัชรยาน
๖๓

๒.๑.๒ สาเหตุภายนอกพระพุทธศาสนา
ในสมัยพุทธกาลนั้ น การประกาศศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับ
การต่อต้านจากพวกคณาจารย์เจ้าลัทธิ ต่างๆ เช่น ลัทธิ ครูท้ัง ๖ เป็ นต้น มีหลาย
ครั้งที่เกิดการประวาทะของพระพุทธองค์กบั เจ้าลัทธิหรือเหล่าสานุ ศิษย์ลัทธิต่างๆ
โดยเฉพาะจากศาสนาพราหมณ์ เพราะในสมัยนั้ นประชาชนนั บถือศาสนาพราหมณ์
กันเป็ นส่วนใหญ่ ทาให้พระพุทธศาสนากลายเป็ นที่สนใจของประชาชน และมีผูห้ นั
มายอมรับนั บถื อพระพุทธศาสนากันมากมายและขยายศรัทธาออกไปในวงกว้าง
สร้างความสัน่ สะเทือนจนถึงขั้นรากฐานกับศาสนาพราหมณ์และเจ้าลัทธิท้ังหลาย
พระพุ ทธศาสนาจึ งถู กต่ อต้านโจมตี และบ่ อนท าลายอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุ ผล
สาคัญที่เป็ นแรงจูงใจ ดังนี้
๑. พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับคัมภีรพ์ ระเวท (อไวทิกวาทะ)
๒. พระพุทธศาสนามีคาสอนและแนวทางปฎิบตั ิที่เน้นศีล สมาธิ ปั ญญา ทา
ให้ผูป้ ฏิบัติสามารถเข้าถึ งสัจธรรมความจริงได้ดว้ ยตนเอง แตกต่างไปจากที่ พวก
พราหมณ์และคณาจารย์ท้งั หลายสอนกันอยูใ่ นสมัยนั้น
๓. พระพุทธเจ้าปฏิเสธระบบวรรณะที่ พวกพราหมณ์บัญญัติขึ้น ไม่ยอมรับ
ฐานะของพวกพราหมณ์ที่ใครๆ ต่างยกย่องว่าสูงส่ง
๔. การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพระพุทธศาสนา
ดั ง นั้ น พวกพราหมณ์ ได้ พ ยายามทุ กวิ ถี ทางในการบ่ อนท าลาย
พระพุ ท ธศาสนาเพื่ อ หาทางดึ งศาสนิ กกลั บ คื น แต่ ผ ลปรากฏว่ าไม่ ป ระสบ
ความสาเร็จ เนื่ องจากพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปอย่างกว้างขวางเป็ นที่ยอมรับของ
ประชาชน และได้รบั การอุปถัมภ์จากกษัตริยอ์ ย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของ
พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะหรือโมริยะ
แต่ครั้นเมื่อราชวงศ์เมารยะดับสูญ อามาตย์ปุษยมิตรแห่งราชวงศ์ศุงคะก็ได้
ปกครองอินเดียสืบต่อมา กษัตริยพ์ ระองค์นี้ทรงเลื่อมใสในศาสนาฮินดูมากเพราะ
ทรงเป็ นพราหมณ์มาก่อน ดังนั้ นคนในวรรณะพราหมณ์จึงมีโอกาสได้ขึ้นเป็ นใหญ่
ศาสนาพราหมณ์ซึ่งรอจังหวะที่จะทาลายพระพุทธศาสนาอยูแ่ ล้ว จึงถือโอกาสอาศัย
อานาจทางการเมืองทาลายพระพุทธศาสนาและฟื้ นฟูลัทธิ ศาสนาของตนเป็ นการ
ใหญ่ แม้แต่พระเจ้าปุษยมิตรเองก็แสดงพระองค์วา่ เป็ นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนา
๖๔

อย่างเต็มที่ ถึงกับมีการกวาดล้างพระพุทธศาสนา ทาร้ายคณะสงฆ์และทาลายวัดวา


อารามของพระพุทธศาสนา โดยตั้งรางวัลให้แก่ผูต้ ัดศีรษะพระภิกษุ ฟื้ นฟูการบูชา
ยัญโดยโปรดให้ทาพิธีอศั วเมธ (การฆ่าม้าบูชายัญ) เพื่อจูงใจให้ประชาชนมานั บถือ
ศาสนาพราหมณ์เพิ่มมากขึ้ น
การพยายามกวาดล้างพระพุ ทธศาสนาของพระเจ้าปุ ษยมิ ตร แม้ไม่อาจ
ทาลายพระพุทธศาสนาให้หมดไป แต่ก็ทาให้พระพุทธศาสนามิอาจรุ่งโรจน์ อยู่ ณ
ศู นย์กลางเดิ ม แต่ ไปรุ่งเรืองอยู่ บริ เวณทางตอนเหนื อของอิ นเดี ย ในแคว้นสวัส
(Swat Valley) แคว้นมถุรา (Mathura) และแคว้นคันธาระ (Candara) เป็ นต้น
ศาสนาพราหมณ์จึงใช้วิธีการใหม่ คือ การกลืนพระพุทธศาสนาไว้ภายใต้
ระบบศาสน าฮิ น ดู (Assimilation) หรื อ กล่ าวง่ า ยๆ ว่ า พยายามเปลี่ ยน
พระพุทธศาสนาทั้งหมดให้เป็ นศาสนาฮินดูนั่นเอง ตัวอย่างที่ เห็นเด่นชัดคือ การ
แต่งมหากาพย์ขึ้น ๒ เรื่อง คือ มหาภารตะและรามายณะ จนเป็ นที่แพร่หลายและ
ได้รบั ความนิ ยมของประชาชนเป็ นอันมาก โดยเฉพาะเรื่องราวจากคัมภีรภ์ ควัทคีตา
มหากาพย์ท้ังสองนี้ สามารถดึงดูดผูค้ นให้มาศรัทธาเลื่อมใสใน พระผูเ้ ป็ นเจ้า และ
ทาให้ศาสนาพราหมณ์เผยแพร่เข้าสู่มวลชนได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ พวกพราหมณ์ยงั ได้พัฒนาความเชื่อด้านต่างๆ อีกหลายอย่าง
เช่น การสร้างตรีมูรติให้เป็ นที่พึ่งสูงสุดตามอย่างพระรัตนตรัย การสร้างวิหาร การ
สร้างเทวาลัยสาคัญ เป็ นต้น เป็ นเหตุให้ศาสนาพราหมณ์ยุคใหม่หรือศาสนาฮินดู
ยิง่ ขยายวงกว้างออกไปเป็ นศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวติ ของชาวอินเดียอย่างยิ่ง
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้ น ทาให้คณาจารย์คนสาคัญในสมัยนั้นมิอาจนิ่ งดูดาย
อยู่ได้ต่างเห็ นความจาเป็ นที่ ตอ้ งทาการปฏิรูปวิธีการเผยแผ่พระพุ ทธศาสนาเสี ย
ใหม่ เพื่อให้คาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็ นสิ่งทันสมัยทันเหตุการณ์ สามารถ
ที่จะแข่งกับศาสนาพราหมณ์ใหม่ที่กาลังเฟื่ องฟูอยูใ่ นขณะนั้นได้
พระพุทธศาสนามหายานจึงได้ก่อตัวขึ้ น โดยมีกลุ่มสาคัญที่เป็ นต้นกาเนิ ด
ของมหายาน คือ นิ กายมหาสังฆิกะและกิ่งของกลุ่มของนิ กายมหาสังฆิกะ ซึ่งเรียก
รวมว่าคณะอันธกะ มีศูนย์กลางใหญ่อยูต่ อนใต้ของอินเดียในแว่นแคว้นอันธระ
การก่อกาเนิ ดเป็ นนิ กายมหายานดังกล่าว เป็ นการเกิดแบบค่อยเป็ นค่อยไป
โดยการเห็นพ้องกันจากคณะสงฆ์นิกายมหาสังฆิกะ ผสมกับชาวพุทธหนุ่ มสาวใน
๖๕

ขณะนั้ น ที่มีความเห็นว่าจะต้องปรับปรุงวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเสียใหม่ โดย


การปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขคติ ธ รรมในพระพุ ท ธศาสนาขึ้ นหลายประการเพื่ อ ให้
พระพุทธศาสนาเข้าถึงหมูช่ นสามัญโดยทัว่ ไป
ดังนั้น นิ กายมหายานจึงได้รบั การทานุ บารุงอยูภ่ ายใต้อาณาจักรของกษัตริย์
ราชวงศ์ ศาตวาหนะแห่ งอั น ธระ กษั ตริ ย์ทุ ก พระองค์ ในราชวงศ์ นี้ เป็ นมิ ตรกั บ
พระพุ ทธศาสนาและหลายพระองค์ทรงท านุ บ ารุ งพระพุ ทธศาสนาอย่างจริงจัง
เรื่อยมา จนในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ นิ กายมหายานก็ได้ปรากฏให้เห็นเด่นชัด เป็ น
นิ กายใหญ่ ๆ ๒ นิ กาย คือ นิ กายมาธยมิกะและโยคาจาร
๒.๑.๓ แนวคิดและความเชื่อพื้ นฐานของนิกายมหายาน
แนวคิดและความเชื่อพื้ นฐานในพุทธศาสนาฝ่ ายมหายาน ประกอบด้วย
เรื่องที่เป็ นหลักสาคัญดังต่อไปนี้
๑. แนวคิดเรื่อง "ตรียาน"
ตามหลักคาสอนของมหายาน กล่าวถึงยาน ๓ ประการ ซึ่งเป็ นทางหรือวิธีสู่
ความหลุดพ้น ได้แก่ สาวกยาน ปั จเจกยาน และโพธิสตั วยาน
๑) สาวกยาน หมายถึง ทางของพระสาวกที่ หวังเพียงบรรลุอรหัตภูมิ ด้วย
การรูแ้ จ้งอริยสัจ ๔ เพื่ อข้ามพ้นวัฏสงสารเท่ านั้ น ไม่ได้หวังพุ ทธภู มิ แต่ อย่างใด
มหายานจึงถือว่าสาวก-ยานเป็ นการทาประโยชน์ เฉพาะตนในวงแคบและช่วยเหลือ
สรรพสัตว์ไปได้น้อย และที่สาคัญพระสาวกที่จะหลุดพ้นได้จะต้องอาศัยคาชี้ แนะสัง่
สอนจากพระพุทธเจ้าก่อน เพราะไม่อาจหลุดพ้นได้ดว้ ยความสามารถของตนเพียง
ลาพัง
๒) ปั จเจกยาน หมายถึง ทางของพระปั จเจกพุทธเจ้า ผูส้ ามารถรูแ้ จ้งด้วย
ตนเอง แต่เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็ไม่อาจแสดงธรรมสัง่ สอนผูอ้ ื่นให้รูแ้ จ้งเห็นจริงตาม
ตนเองได้ เพราะมิได้สงั ่ สมจริตในการโปรดสรรพสัตว์อื่น
๓) โพธิสัตวยาน หมายถึง ทางของพระโพธิสัตว์ผูม้ ีจิตใจกว้างขวาง กอปร
ด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ท้ังหลาย ตั้งจิตบาเพ็ญบารมีเพื่อมุ่งหมายพุทธภูมิซึ่ ง
ก้าวล่วงอรหัตภูมิโพธิสัตวยานจึงเป็ นการสร้างเหตุอนั มีพุทธภูมิเป็ นผล หรือกล่าว
ได้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝ่ ายมหายานนั้ นคือเหล่าพระโพธิ สัตว์ที่ได้สร้างบารมี
มาด้วยการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พน้ จากความทุกข์นัน่ เอง
๖๖

ในบรรดายานทั้งสามอย่างนี้ แม้ว่าจะมีเป้ าหมายอันเดียวกันคือการหลุด


พ้นจากกิเลสอาสวะ แต่อย่างไรตาม สาหรับพุทธศาสนิ กชนฝ่ ายมหายานยังคงถือว่า
โพธิสัตวยานเป็ นทางที่สาคัญที่สุด และควรยกย่องไว้ในฐานะ "มหายาน" หรือยาน
ที่ยิ่งใหญ่กว้างขวาง และควรยกย่องว่าเป็ น "อนุ ตตรยาน" หรือยานที่ประเสริฐสูงสุด
โดยมีขอ้ อุปมาที่น่าฟั งว่า เหมือนสัตว์ ๓ ตัวคือกระต่าย ม้า และช้าง ที่กาลังว่ายข้าม
แม่น้ าคงคา กระต่ายไม่อาจหยัง่ ถึงพื้ นดินได้จึงลอยน้ าข้ามไป ส่วนม้าบางขณะก็หยัง่
ถึ งบางขณะก็ ห ยัง่ ไม่ ถึ ง ส่ วนช้างนั้ น ย่ อมหยัง่ ถึ งพื้ นดิ น แม่ น้ าคงคาเปรี ยบได้
กับปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็ นธรรมอันลึกซึ้ ง วิธีขา้ มไปของกระต่ายเปรียบได้กับสาวก
ยาน ม้าข้ามเปรียบได้กบั ปั จเจกยาน ส่วนช้างข้ามเปรียบได้กบั โพธิสตั วยาน ซึ่งเป็ น
ยานของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
แนวคิดเรื่องตรียาน สะท้อนให้เห็นรากฐานความเชื่อของมหายานที่มองว่า
ทางหลุดพ้น สายเดิมหรือสายเถรวาทนั้ นเป็ นทางแคบที่ มุ่งเน้นเฉพาะคนบางกลุ่ม
กล่ าวคื อผู ้ที่ จะหลุ ดพ้นด้วยสาวกยานได้จะต้องเป็ นพระอรหันต์ผู ม้ ี ปั ญญาและ
ประกอบความเพียรมาแล้วอย่างยิ่งยวดเท่านั้ น อีกทั้งผลสาเร็จที่เกิดจากความหลุด
พ้น ดั งกล่ าว ก็ เป็ นไปเพื่ อประโยชน์ แก่ บุ คคลผู ้น้ั น เพี ยงผู ้เดี ยว ฉะนั้ นจึ งดู
เหมือนว่าได้ละเลยคนส่วนใหญ่ที่ยงั ดิ้ นรนอยูใ่ นโลกไปเสีย ในขณะที่โพธิสตั วยานข
องฝ่ ายมหายานกลับเป็ นเหมือนพาหนะใหญ่ที่สามารถรับคนทุกประเภท ทุกชนชั้น
วรรณะ ทุ กเพศทุ กวัย ทุ กสาขาอาชี พ โดยไม่ เคยปฏิ เสธ หรื อจ ากัดว่าเป็ นผู ใ้ ด
ดังนั้ น จึงควรยกย่องว่าเป็ นยานอันสูงสุ ดเพราะสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ไป
ได้มากที่สุดนัน่ เอง
๒. แนวคิดเรื่อง "พระพุทธเจ้า ๓ ประเภท"
พระพุทธศาสนาในฝ่ ายมหายานได้แบ่งพระพุทธเจ้าออกเป็ น ๓ ประเภท คือ
๑) พระอาทิพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เรียกว่าพระอาทิพุทธะนี้ เป็ น
ผูเ้ กิดขึ้ นมาเองก่อนสิ่งใดทั้งหมด (พระสยัมภูพุทธเจ้า) อันจะหาเบื้ องต้นและเบื้ อง
ปลายมิได้ เป็ นผูใ้ ห้กาเนิ ดพระพุทธเจ้าประเภทอื่นๆ ทั้งหมด เป็ นผูใ้ ห้กาเนิ ดพระ
โพธิสัตว์ท้ังหลายและให้กาเนิ ดสรรพสิ่งต่างๆ ทั้งมวลที่มีอยู่ในสกลจักรวาลนี้ หรือ
อาจกล่าวอีกนั ยหนึ่ งว่า ทุ กสิ่งทุ กอย่างในอนั นตจักรวาลนี้ ล้วนถื อกาเนิ ดมาจาก
องค์พระอาทิพุทธะนี้ ทั้งสิ้ น
๖๗

๒) พระธยานิ พุทธเจ้า เป็ นผูท้ ี่ เกิ ดมาจากอานาจแห่งฌานของพระอาทิ


พุทธะเพื่อปกครองอาณาจักรและอาณาจักรย่อยๆ ที่เรียกว่าพุทธเกษตร ดังนั้ นใน
แต่ละพุทธเกษตรจะมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคอยทาหน้าที่โปรดเวไนยสัตว์อยูห่ นึ่ ง
พระองค์ และสภาพแต่ละพุทธเกษตร อาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้างตามความ
เหมาะสมของการโปรดสัตว์ในพุทธเกษตรนั้นๆ
๓) พระมานุ ษิพุทธเจ้า เป็ นผูท้ ี่ ถือกาเนิ ดมาจากพระธยานิ พุ ทธเจ้า โดย
แสดงตนออกมาในรูปของมนุ ษย์ธรรมดาและอุบตั ิขึ้นมาในโลกมนุ ษย์ ทั้งนี้ เพื่อเป็ น
อุ บายแห่ งการสัง่ สอนสรรพสัตว์ท้ั งหลาย เพื่ อให้เร่ งปฏิ บั ติ ธรรมด้วยความไม่
ประมาท
การแบ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกเป็ น ๓ ประเภทนั้ น เนื่ องมาจากความ
เชื่อที่วา่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมมีตรีกาย หรือพระกาย ๓ กาย กายที่หนึ่ งเรียกว่า
ธรรมกาย เป็ นภาวะแห่งการรูแ้ จ้งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็ นกายที่เกิดขึ้ น
เอง อันหาเบื้ องต้นและเบื้ องปลายมิได้ ธรรมกายนี้ ก็คือ องค์พระอาทิ พุทธะ ส่วน
กายที่สองเรียกว่า สัมโภคกาย คือกายที่เป็ นทิพย์ มีรศั มีรุง่ เรือง เกิดขึ้ นมาในรูปของ
โอปปาติกะ ซึ่งกายนี้ ก็คือ พระธยานิ พุทธะ และกายที่สามเรียกว่า นิ รมาณกาย เป็ น
กายที่เนรมิตบิดเบือนขึ้ นให้อยูใ่ นรูปของร่างกายมนุ ษย์ ซึ่งก็ได้แก่พระมานุ ษิพุทธะ
หรืออาจจะกล่าวอีกนั ยหนึ่ งว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสามประเภทนี้ ความจริง
แล้วถื อว่าเป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกัน เพียงแต่แสดงตนออกมาในภาวะที่ แตกต่างกัน
ออกไป เพื่อความเหมาะสมต่อการสัง่ สอนเวไนยสัตว์ในแต่ละสถานการณ์
ดังนั้ น พระมานุ ษิพุทธเจ้าในฝ่ ายมหายาน อันได้แก่ พระที ปังกรพุทธเจ้า
พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า พระเมตไตรยพุทธเจ้า และพระไภสัชชคุ รุ
พุทธเจ้า ทุ กพระองค์จึงล้วนมี พระกายเป็ น ๓ หรือมี ภาวะแตกต่างกันเป็ น ๓ ใน
พระองค์เดี ยว ซึ่ งจะเห็ นได้จากพระประธานในโบสถ์ของมหายาน ที่ จะต้องมี ๓
พระองค์เสมอ ทั้งนี้ มิได้หมายความว่าพระพุทธเจ้า มี ๓ องค์ แต่หมายถึงพระมานุ ษิ
พุทธะหรือพระศากยมุนีพุทธะพระองค์เดียว แต่มีพระกายเป็ น ๓ นี้ เป็ นลักษณะพระ
รัตนตรัยของมหายาน
๖๘

๓. แนวคิดเรื่อง "ตรีกาย"
หลักตรีกายเป็ นหลักสาคัญของมหายานที่อธิบายว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี
๓ กายเป็ นหลักร่วมกันของทุ กนิ กาย พระสู ตรต่ างๆ ก็ จะพูดถึ งตรีกายอยู่เสมอ
ก่อนอื่นควรทาความเข้าใจว่า แรกเริ่มพุทธศาสนามหายานดั้งเดิมมีหลักคาสอน
เรื่ องกายของพระสัมมาสัมพุ ทธเจ้าไม่ ต่ างจากเถรวาท กล่ าวคื อ ถื อกันว่าพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้ามีเพียง ๒ กาย คือ
๑) นิ รมาณกาย หรื อที่ ฝ่ ายเถรวาท เรี ยกอี กอย่างหนึ่ งว่า รู ปกาย อั น
หมายถึงทั้งกายหยาบและละเอียดเหมือนสัตวโลกทัว่ ไป
๒) ธรรมกาย คาว่า ธรรมกายในวรรณกรรมมหายานดั้งเดิม มีความหมาย
๒ ประการ คือ ประการแรก ธรรมกายเป็ นกายแห่งธรรม ประมวลข้อปฏิบัติ คาสัง่
สอน ซึ่งช่วยเสริมพระบารมี อยู่ในฐานะพุ ทธคุ ณอย่างหนึ่ ง และอี กประการหนึ่ ง
ธรรมกายเป็ นตถาคตกาย ความเป็ นอย่างนั้ น หลักความจริงอันเป็ นรากฐานแห่ง
จักรวาล
ต่อมาในยุคของท่านอสังคะและวสุพนั ธุ คณาจารย์ของนิ กายโยคาจาร จึงมี
การเพิ่มกายเข้ามาอีกหนึ่ งกาย คือ สัมโภคกาย ทาให้เกิดเป็ นแนวคิดตรีกายขึ้ นมา
และธรรมกายก็ มี ความหมายค่อนข้างไปทางเทวนิ ยม ดังนั้ นพระกายทั้ง ๓ จึงมี
ความหมายดังนี้
๑) ธรรมกาย หมายถึง สภาวะอันเป็ นอมตะ เป็ นสิ่งที่ไร้รูป ไม่อาจรับรูไ้ ด้
ด้วยประสาทสัมผัส ไม่มีเบื้ องต้นและที่สุด ทั้งไม่มีจุดกาเนิ ดและผูส้ ร้าง ดารงอยู่ได้
ด้วยตนเอง แม้จักรวาลจะว่างเปล่าปราศจากทุ กสิ่ง แต่ธรรมกายจะยังคงดารงอยู่
โดยไม่มี ที่ สิ้นสุ ด และมหายาน ยังมี ความเชื่อว่า พระธรรมกายนี้ เอง ที่ แสดงตน
ออกมาในรูปของสัมโภคกายบนภาคพื้ นสวรรค์ และจากสัมโภคกายนี้ ก็จะเเสดงตน
ออกมาในรูปนิ รมาณกาย ทาหน้าที่สงั ่ สอนสรรพสัตว์ในโลกมนุ ษย์
๒) สัมโภคกาย หมายถึง พระกายที่แท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กาย
นี้ จะไม่ มี ก ารแตกดั บ อยู่ในสภาวะอั น เป็ นทิ พย์อยู่ชัว่ นิ รัน ดร์ และนอกจากนี้
มหายานยังมี ความเชื่ อว่า สัมโภคกายสามารถที่ จะแสดงตนให้ปรากฏแก่ พระ
โพธิสัตว์ได้ สามารถที่จะรับทราบคาสวดสรรเสริญและอ้อนวอนจากผูท้ ี่เลื่อมใสได้
และสัมโภคกายนี้ เองที่เนรมิตตนลงมาเป็ นนิ รมาณกาย คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน
๖๙

โลกมนุ ษย์ เพื่อเป็ นการสัง่ สอนสัตวโลก เพราะฉะนั้ นแม้ในบัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธ


เจ้าทั้งหลายที่เคยอุบตั ิขึ้นในมนุ ษย์โลกก็ยงั สถิตอยูใ่ นสภาวะแห่งสัมโภคกายนี้ มิได้
แตกดับสูญสิ้ นไปเลย และพระโพธิสตั ว์ท้งั หลายก็ยงั สามารถเห็นและรับคาสอนจาก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ ได้
๓) นิ รมาณกาย หมายถึง กายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยงั ตกอยู่ในไตร
ลักษณ์ คือยังมีการเกิด แก่ เจ็บ และตาย เหมือนมนุ ษย์ธรรมดาทัว่ ไป มหายานมี
ความเชื่อว่า นิ รมาณกายนี้ แท้จริงแล้วเป็ นการเนรมิตมาจากสัมโภคกาย เพื่อเป็ น
อุบายในการสัง่ สอนสัตวโลก เพื่อสรรพสัตว์ท้งั หลายจะได้ไม่ตกอยูใ่ นความประมาท
และเร่งปฏิบตั ิธรรมเพื่อมุ่งสู่ความพ้นทุกข์โดยเร็ว
กายแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๓ นี้ ถือว่าเป็ นแนวความคิดและทัศนะ
ในพระพุทธศาสนามหายานโดยเฉพาะ และแท้ที่ จริงแล้วกายเหล่านี้ ย่อมมีความ
เป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกันทั้งสิ้ น แตกต่างกันเพียงสภาวะแห่งการแสดงออกเท่านั้ น
โดยที่นิรมาณกายเป็ นการเนรมิตตน มาจากสัมโภคกาย และสัมโภคกายก็เป็ นการ
เนรมิตตนมาจากธรรมกายซึ่งเป็ นสิ่งที่ไร้รูป อันเป็ นปรมัตถภาวะ ถือว่าเป็ นสภาวะ
ที่เป็ นอมตะ และอยูเ่ หนื อการอธิบายใดๆ ในทางโลกิยวิสยั
จะเห็นได้วา่ การอธิบายภาวะของพุทธเจ้าในรูปตรีกายเช่นนี้ มีวตั ถุประสงค์
เพื่อที่ จะบอกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ เป็ นกายมนุ ษย์น้ั นเป็ นเพียงภาคหนึ่ งของ
ธรรมกายอันเป็ นอมตะ ฉะนั้ นการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ไป จึงเป็ นเพียงการนิ รมาณกายย้อนกลับคืนสู่สภาวะดั้งเดิมที่ เรียกว่าสัมโภคกาย
เท่ านั้ น ซึ่งสัมโภคกายก็ หาใช่อะไร หากแต่หมายถึ งภาคที่ เป็ นเทพของธรรมกาย
นัน่ เอง ดังนั้นในทัศนะของมหายาน เวลานี้ พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยงั ไม่ได้สูญ
หายไปไหน แต่ทรงอยูใ่ นรูปสัมโภคกาย ณ ที่ใดที่หนึ่ งในจักรวาลนี้
๔. แนวคิดเรื่องพุทธเกษตร
พุทธศาสนาฝ่ ายเถรวาทเชื่อว่า ในจักรวาลหนึ่ งๆ จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อุบตั ิขึ้นมากกว่าหนึ่ งพระองค์ในเวลาเดียวกันไม่ได้ แต่ฝ่ายมหายานเชื่อต่างไปจาก
นี้ ว่า ในจักรวาลอันเวิ้ งว้างนี้ สามารถแบ่งเนื้ อที่ออกเป็ นส่วนย่อยลงไปอีกนับจานวน
ไม่ถว้ น อาณาเขตย่อยๆ ของจักรวาลแต่ละอาณาเขตนี้ เรียกว่าพุทธเกษตร (Pure
Land) ในหนึ่ งพุทธเกษตรจะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยูห่ นึ่ งพระองค์ ดังนั้ น
๗๐

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในความเชื่อของมหายานจึงสามารถอุบตั ิขึ้นในจักรวาลพร้อม
กันได้มากกว่าหนึ่ งพระองค์ เมื่อเป็ นดังนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ อุบัติขึ้นเพื่อทา
หน้ าที่ โปรดเวไนยสัตว์ในแต่ ละจักรวาลทั้งในอดี ต ปั จจุ บัน อนาคตจึงมี จานวน
มากมายมหาศาลนับประมาณมิได้ดุจเมล็ดทรายในคงคานที
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ในแต่ละพุทธเกษตร ไม่วา่ จะอยูใ่ นภาค
สัมโภคกายหรื อนิ รมาณกาย ทั้ งหมดล้วนแตกขยายออกมาจากธรรมกายอั น
เดียวกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในแต่ละพุทธเกษตรอาจมีลกั ษณะและคุณสมบัติที่
ผิดแผกกันตามความเหมาะสม ในการโปรดสัตว์ในพุทธเกษตรนั้ นๆ แต่นั่นเป็ น
เพียงความแตกต่างภายนอกเท่านั้ น โดยเนื้ อแท้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าล้วนมาจาก
ธรรมกายเดียวกัน ดุจน้ าแม้จะอยู่คนละสถานที่ก็ลว้ นเป็ นน้ า ที่ มีเนื้ อแท้เป็ นชนิ ด
เดียวฉันนั้น
พุ ทธเกษตรแต่ ละแห่ง แตกต่ างกันตามบารมี ของพระสัมมาสัมพุ ทธเจ้า
ประจาพุทธเกษตรนั้ น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดสมัยที่เป็ นพระโพธิสัตว์ได้
บ าเพ็ ญ บารมี ไว้มาก อ านาจพระบารมี น้ั นจะส่ งผลให้พุ ทธเกษตรของพระองค์
รุ่งเรืองมากกว่าพุทธเกษตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บาเพ็ญบารมีธรรมมาน้อย
กว่าและพุทธเกษตรที่กล่าวกันว่าเป็ นพุทธเกษตรที่รุ่งเรืองที่สุด และเป็ นที่นิยมมาก
ที่สุดในบรรดาพุทธเกษตรทั้งหมด ก็คือสุขาวดีพุทธเกษตรอันเป็ นที่อยู่ของพระอมิ
ตาภะ
คนทั ่ว ไปมั ก จะเข้า ใจว่ า สุ ข าวดี เป็ นชื่ อ หนึ่ งของพระนิ พพาน แต่ ใน
ความหมายของมหายาน สุ ขาวดี น้ั นยังไม่ใช่นิ พพาน เป็ นเพี ยงพุ ทธเกษตรหนึ่ ง
เท่ านั้ น แต่ สุ ขาวดี พุ ทธเกษตรต่ างจากพุ ทธเกษตรที่ เราอาศัยอยู่นี้ เพราะเป็ น
สถานที่ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ไม่มีแม้แต่อบายภูมิ จึงสมบูรณ์ดว้ ยสิ่งอานวยความสุข
นานาประการ อีกทั้งอายุของผูท้ ี่เกิดในดินแดนแห่งนี้ ก็ยาวนานมาก ฉะนั้ นจึงคล้าย
กับว่าเป็ นสถานที่อยูอ่ นั ถาวรไป
แนวคิดเรื่องพุทธเกษตรนี้ เชื่อว่ามาจากทัศนะของฝ่ ายมหายานที่ มองว่า
นิ พพานไม่ใช่สิ่งที่คนเราจะบรรลุได้งา่ ยๆ เป็ นสิ่งที่อยูไ่ กลเกินกว่าคนธรรมดาทัว่ ไป
จะเอื้ อมถึ ง นิ พพานที่ ตอ้ งบรรลุ ถึงด้วยการปฏิบัติศีล สมาธิ ปั ญญาอย่างยิ่งยวด
และต้องใช้เวลานาน จึงถูกปรับมาให้กลายเป็ นสิ่งที่สามารถเข้าถึงได้ดว้ ยการทาบุญ
๗๑

ความศรัทธาเชื่อมัน่ ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพุทธเกษตรนั้ นๆ แล้วส่งผลให้ไป


เกิดในดินแดนแห่งหนึ่ ง เรียกว่าพุทธเกษตร ซึ่งมีเงื่อนไขเอื้ ออานวยแก่การเข้าถึ ง
นิ พพานต่อไปโดยไม่ยากนัก
โดยเฉพาะผูท้ ี่ไปเกิดในสุขาวดีพุทธเกษตร ก็ย่อมจะมีโอกาสเข้าถึงนิ พพาน
ได้ง่ายกว่าผูท้ ี่เกิดในพุทธเกษตรอื่น ซึ่งยังไม่แน่ ว่าจะเข้าถึงนิ พพานได้ภายในชาติ
นั้ น แต่สาหรับผูท้ ี่ เกิ ดใน สุ ขาวดี พุ ทธเกษตรแล้ว ทุ กคนย่อมเป็ นผูเ้ ที่ ยงแท้ต่ อ
นิ พพาน คือจะต้องเข้าถึงนิ พพานภายในชาติน้ันทุกคน
๕. แนวคิดเรื่องพระโพธิสตั ว์
แนวคิ ดเรื่ องพระโพธิ สั ตว์ (Bodhisattva) ถื อเป็ นแกนกลางของค าสอน
ทั้งหมดในคัมภีรม์ หายาน และเป็ นอุดมคติอนั สูงส่งที่มหายานมุง่ เน้น โดยแนวคิดนี้
ได้แยกเป็ นเอกเทศจากความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าอย่างชัดเจน กลายเป็ นการบรรลุ
สภาพอย่างหนึ่ งที่ ทาให้ผูบ้ รรลุ เป็ นผูป้ ระเสริฐ ที่ มีหน้าที่ สาคัญในการช่วยเหลื อ
ดูแลชาวโลก และกลายเป็ นเหล่าเทพเจ้าที่สถิตในสรวงสวรรค์
ในความเชื่อของมหายาน พระโพธิสตั ว์จะมีความใกล้ชิดสรรพสัตว์มากกว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้อย่างมากมาย จึงเป็ นผู ้
ควรกราบไหว้บูชาและเป็ นที่ยึดเหนี่ ยวทางจิตใจ พระโพธิสัตว์จึงมีลักษณะเป็ นสื่อ
ระหว่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในนิ พพานกับบรรดามวลมนุ ษย์ เป็ นผูท้ ี่ ทาหน้าที่
ช่วยเหลือมนุ ษย์ มีอานาจพิเศษที่สามารถจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้มากๆ
ถึงแม้วา่ พระโพธิสัตว์ท้งั หลายล้วนตั้งความปรารถนาที่จะบรรลุพุทธภูมิให้
จงได้แต่ท่านเหล่านั้ นก็ ยงั ไม่ขอเข้านิ พพานในทันที จะต้องประพฤติตามหลักคา
สอนที่เรียกว่าโพธิสตั วมรรค ไปจนกว่าจะบรรลุพุทธภูมิ คือ
๑) บารมี ๖ หมายถึ ง คุ ณธรรมเป็ นเหตุให้ถึงฝั ่ง คือความสาเร็จต่างๆ ที่
บุคคลได้ต้งั จุดมุง่ หมายเอาไว้ ซึ่งต้องบาเพ็ญให้ยิ่งยวดตราบเท่ าที่ยงั มิได้บรรลุพุทธ
ภูมิ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ ดังนั้ นทางฝ่ ายมหายานจึงย่อบารมี ๑๐ หรือทศบารมี
ในฝ่ ายเถรวาท ลงเหลือเพียงบารมี ๖ คือ
- ทานปารมิตา หรือทานบารมี พระโพธิสัตว์จะต้องสละทรัพย์ อวัยวะและ
ชีวติ เพื่อสัตว์โลกได้โดยไม่อาลัย
๗๒

- ศี ลปารมิตา หรือศี ลบารมี พระโพธิ สัตว์ตอ้ งรักษาศี ลอันประกอบด้วย


อินทรียส์ ังวรศีล กุ ศลสังคหศี ล ข้อนี้ ได้แก่การทาความดี สงเคราะห์สรรพสัตว์ทุ ก
กรณี สัตวสังคหศีลคือการช่วยสรรพสัตว์ให้พน้ ทุกข์
- กษานติปารมิตา หรือขันติบารมี พระโพธิสัตว์ตอ้ งสามารถอดทนต่อสิ่ง
กดดัน เพื่อโปรดสัตว์ได้
- วิริยปารมิตา หรือวิริยบารมี พระโพธิ สัตว์ไม่ย่อท้อต่อพุทธภูมิ ไม่รูส้ ึ ก
เหนื่ อย-หน่ ายระอาในการช่วยสัตว์
- ธยานปารมิ ตา หรื อฌานบารมี พระโพธิ สั ตว์จะต้องส าเร็ จในฌาน
สมาบัติทุกชั้น มีจิตไม่คลอนแคลนเพราะเหตุแห่งอารมณ์
- ปรัชญาปารมิ ตา หรือปั ญ ญาบารมี พระโพธิ สัตว์จะต้องท าให้แจ้งใน
ปุคคลศูนยตา และธรรมศูนยตา
๒) อัปปมัญญา ๔ คือ การอบรมจิตให้มีคุณสมบัติอันประกอบด้วยเมตตา
กรุณา มุทิ ตา และอุเบกขา ทาให้คุณสมบัติเหล่านี้ แผ่ไปในสรรพสัตว์ท้ังปวงไม่มี
ประมาณ
๓) มหาปณิธาน ๔ คือ ความตั้งใจอันแน่ วแน่ มนั ่ คงซึ่งพระโพธิสตั ว์จะต้อง
มี คือ
- จะละกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้ น
- จะศึกษาธรรมทั้งหลายให้ถ่องถ้วน (คือศึกษาให้หมดและแตกฉาน)
- จักโปรดสัตว์ท้งั หลายให้หมด
- จะต้องบรรลุอนุ ตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (บรรลุพุทธภูมิ)
๔) อุดมคติ ๓ คือ
- หลักมหาปั ญญา เป็ นผูร้ ูแ้ จ้งในสุ ญญตาทั้ง ๒ คื อ ปุ คคลสุ ญญตา และ
ธรรมสุญญตา พิจารณาเห็นความว่างในบุคคลและธรรม ไม่ตกอยูใ่ นอานาจกิเลส
- หลักมหากรุณา คือ มีจิตใจกรุณาต่อสัตว์ไม่มีขอบเขต พร้อมที่จะเสียสละ
ตนเองทนทุกข์แทนสรรพสัตว์ เพื่อช่วยสรรพสัตว์ให้พน้ ทุกข์
- หลักมหาอุบาย คือ ต้องมีกุศโลบายอันชาญฉลาด ในการแนะนาอบรมสัง่
สอนผูอ้ ื่นให้พน้ จากทุกข์ให้เข้าถึงธรรม
๗๓

อุดมคติของพระโพธิสตั ว์ท้งั สามข้อนี้ นั บเป็ นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ าย


มหายาน ข้อแรกหมายถึงการบาเพ็ญประโยชน์ ของตนให้เพียบพร้อมสมบูรณ์ ส่วน
สองข้อหลัง เป็ นการบาเพ็ญประโยชน์ เพื่อผูอ้ ื่น เมตตาช่วยผูอ้ ื่นให้พน้ ทุกข์ และเป็ น
การสืบอายุพระศาสนาพร้อมทั้งเผยแผ่คาสัง่ สอนของพระพุทธเจ้าให้แพร่หลาย
ในพระพุทธศาสนามหายาน ความเป็ นพระอรหันต์ก็ยงั นั บว่าด้อยกว่าพระ
โพธิสตั ว์ เพราะเป็ นการเอาตัวรอดแต่เพียงผูเ้ ดียว มิได้ชว่ ยเหลือผูอ้ ื่นในระหว่างการ
บาเพ็ ญเพียรของตน แต่พระโพธิ สัตว์ผูม้ ุ่งอนุ ตตรสัมมาสัมโพธิ เป็ นผูท้ ี่ เสี ยสละ
อย่างยิง่ ไม่ยอมบรรลุโพธิในทันทีเพราะอาศัยความกรุณาเป็ นที่ต้งั จึงปรารถนาที่จะ
ช่วยเหลือผูอ้ ื่ นก่อน ความคิ ดที่ เน้ นการเสียสละช่วยเหลือแก่ผูอ้ ื่ นโดยไม่คานึ งถึ ง
ความทุ กข์ยากล าบากของตัวเอง จึ งท าให้อุ ดมคติ พระโพธิ สัตว์มี ความโดดเด่ น
เหนื อกว่าอุดมคติ พระอรหันต์ และได้รับความนิ ยมมากขึ้ นเรื่อยๆ จนกลายเป็ น
แกนกลางคาสอนทั้งหมดของฝ่ ายมหายานในที่สุด
เมื่ อพิ จารณาจากหลักการและความเชื่ อของมหายานที่ กล่ าวมาข้างต้น
ทั้งหมด เราจะเห็นภาพรวมของคาสอนที่มีลกั ษณะพิเศษอันเป็ นเอกลักษณ์ของฝ่ าย
มหายานโดยเฉพาะ หลักคาสอนเหล่านี้ สาหรับพุทธศาสนิ กชนฝ่ ายเถรวาทอาจมอง
ว่าเป็ นเรื่องที่ เข้าใจได้ยากเพราะห่างไกลจากคาสอนดั้งเดิมในฝ่ ายเถรวาท ทั้งๆ ที่
จริงแล้วก็เป็ นเรื่องที่เกี่ยวเนื่ องสัมพันธ์กบั คาสอนของเถรวาททั้งหมด
การปรั บ ปรุ งค าสอนให้เข้า กั บ สั งคมและกาลสมั ย ตามแนวทางของ
คณาจารย์ ฝ่ ายมหายาน ถื อ ว่ า เป็ นข้อ เด่ น ที่ เป็ นประโยชน์ ในการเผยแพร่
พระพุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ดี ในประเด็นนี้ มีขอ้ ที่ควรพิจารณาคือ
๑) การปรับพุทธพจน์
มหายานได้ใช้หลักจิตวิทยาที่เหนื อกว่าการจูงใจคนคือปรับพุทธพจน์ ให้เข้า
กับบุคคล ให้คนทัว่ ไปมีความรูส้ ึกว่า พุทธภาวะนั้ นอยูแ่ ค่เอื้ อม บุคคลทุกเพศทุกวัย
ก็อาจบรรลุพุทธภาวะนั้ นได้ โดยไม่ตอ้ งอาศัยพิธีรีตองหรือการปฏิบตั ิมาก เป็ นการ
ดึ งพุ ทธธรรมเข้าหาบุ คคลอย่างเหมาะเจาะ และเกิ ดความรูส้ ึ กว่าเป็ นกันเอง คื อ
พุทธธรรมอยูใ่ นวิสยั อยูใ่ นความสามารถของสามัญชนที่หยัง่ ถึงได้ โดยไม่ตอ้ งอาศัย
พิธีการอะไรให้ยงุ่ ยากนัก
๗๔

เมื่อเปรียบเที ยบกัน อาจดู เหมือนว่า ฝ่ ายเถรวาทจะตั้งเป้ าหมายและวิธี


บรรลุเป้ าหมาย ไว้สูงส่งและยากเกินไป และอาศัยผูม้ ีศรัทธาจริงๆ จึงจะกล้าดาเนิ น
ตามเป้ าหมายและบรรลุ ตามเป้ าหมาย ท าให้ ส ามั ญ ชนโดยทั ่ ว ไปมอง
พระพุทธศาสนาในแง่สูงสุดเอื้ อม จะเห็นได้ง่ายๆ ว่าแม้แต่พุทธศาสนิ กชนชาวไทย
ส่วนใหญ่ ก็ยงั มีความเห็นว่า เรื่องการปฏิบตั ิธรรมนั้ นเป็ นเรื่องของพระภิกษุ เท่านั้ น
ยิ่งเมื่อพูดถึงการบรรลุมรรคผลด้วยแล้ว ดูจะเป็ นสิ่งที่เกินวิสัย และเป็ นไปไม่ได้เลย
สาหรับฆราวาสผูท้ ี่ยงั ครองเรือนจะบรรลุธรรมได้ ดังนั้นจึงมักคิดว่าทางโลกและทาง
ธรรมเป็ นสิ่งที่ตอ้ งแยกออกจากกันและยากที่จะไปด้วยกันได้
เมื่อมองในอีกแง่หนึ่ ง พระพุทธศาสนาเถรวาทมุ่งที่ปัจเจกภาพเฉพาะบุคคล
คือเริ่มที่ ตนก่อนแล้วจึงไปหาผูอ้ ื่ น แต่มหายานมุ่งที่ ผูอ้ ื่น แล้วดึ งเข้ามาหาตนเอง
กล่าวง่ายๆ คื อ มหายานเอาปริมาณไว้ก่อน เพราะถื อว่าเมื่อคนที่ สนใจธรรมะมี
มากขึ้ น คนที่ รู แ้ จ้งธรรมก็ ย่อมจะมี มากตามไปด้วยเป็ นเงาตามตัว ด้วยเหตุ นี้
พระพุทธศาสนาแบบมหายานจึงได้รับความนิ ยมและแพร่หลายอย่างรวดเร็วและ
สามารถดึงดูดความสนใจของผูค้ นได้มากกว่า
๒) ปั ญหาที่เกิดจากการปรับพุทธพจน์
อย่างไรก็ตาม แม้วา่ การปรับพุทธพจน์ จะทาให้มหายานประสบความสาเร็จ
ในการเผยแผ่ แต่ถึงกระนั้น ก็ยงั ก่อให้เกิดผลเสียที่เห็นได้ชดั เจนในแง่ที่วา่
เมื่อมีการมองคาสอนหรือพระพุทธวจนะในแง่ปรัชญา คือมุ่งพิจารณาในแง่
เหตุผลมิใช่ในแง่ศรัทธา จึงปรากฏมีคณาจารย์มหายานตี ความพระธรรมวินั ยไป
ตามหลักเหตุผลที่แตกต่างกัน
และเนื่ องจากเหตุผลก็ยอ่ มขึ้ นอยูก่ บั ขอบเขตแห่งแนวความคิดของบุคคลแต่
ละคนไม่จาเป็ นที่ บุคคลอื่ นๆ จะต้องยอมรับ ดังนั้ นนิ กายย่อยๆ ของมหายานจึง
เกิดขึ้ นเรื่อยมา เมื่ออยู่ที่ใด สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป ความคิดที่จะปรับปรุงก็มีอยู่
อย่างไรก็ ตาม ถ้าบุ คคลมีจิตใจสู ง พุทธพจน์ ก็ ไม่แปดเปื้ อนมลทิ นมากนั ก แต่ถา้
บุคคลมีจิตใจตา่ พุทธพจน์ก็พลอยมัวหมองไปด้วย
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาฝ่ ายเถรวาทจึงมีท่าทีในการรักษาพระธรรมวินัย
อย่างเคร่งครัด ซึ่ งมี ประโยชน์ ต่ อความมัน่ คงของพระพุ ทธศาสนาในระยะยาว
ในขณะที่ ฝ่ ายมหายาน สนองความต้องการที่ เหมาะในขณะนั้ นเท่ านั้ น และเมื่ อ
๗๕

กาลเวลาผ่านไป มหายานก็ตอ้ งเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่เรื่อยไปอย่างหลีกเลี่ยงมิได้


จึงปรากฏว่ามีนิกายของมหายานมากมายเหลือเกินในปั จจุบนั
๒.๑.๔ มหายานสองสายที่มีตน้ กาเนิดในอินเดีย
พระพุ ทธศาสนามหายานในอิ นเดี ย สามารถแบ่งเป็ นนิ กายใหญ่ ๆ ได้ ๒
นิ กาย คือ นิ กายมาธยมิกะ และนิ กายโยคาจาร ทั้งสองนิ กายเป็ นที่ยอมรับกันทัว่ ไป
ในวงวิชาการว่า เป็ นนิ กายของฝ่ ายมหายานที่ มีตน้ กาเนิ ดในอิ นเดี ย และต่างก็ มี
ปรัชญาคาสอนอันลึกซึ้ งที่ชวนให้นักวิชาการชาวตะวันตกทั้งหลายทุ่ มเทศึกษากัน
อย่างจริงจัง
๑. นิกายมาธยมิกะ (Madhyamika)
คาว่า มาธยมิกะ แปลว่า ทางสายกลาง ที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะมุ่งเน้นคาสอน
เรื่องทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) เป็ นหลักสาคัญ แต่ทางสายกลางตามแนวคิด
ของนิ กายมาธยมิกะ อาจห่างไกลจากสิ่ งที่ เราเข้าใจ นิ กายมาธยมิ กะถื อทางสาย
กลางระหว่างความมีกบั ความไม่มี ความเที่ยงกับความไม่เที่ยง เป็ นต้น กล่าวสั้นๆ
นิ กายนี้ แสดงว่ าโลกนี้ มี จริ งก็ ไม่ ใช่ ไม่ มี จริ งก็ ไม่ ใช่ แต่ เป็ นสิ่ งที่ สื บ เนื่ องกั น
เป็ นปฏิจจสมุปบาท (สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้ นและดาเนิ นไปตามเหตุปัจจัย)
น่ าสั งเกตว่าทางสายกลางตามค าสอนดั้ งเดิ ม มี ค วามหมายไปในเชิ ง
จริ ยธรรมหรื อเป็ นแนวทางเพื่ อการปฏิ บั ติ ในขณะที่ ทางสายกลางของนิ กาย
มาธยมิ กะกลับมี ความหมายในเชิงอภิ ปรัชญา ซึ่งเป็ นแนวคิ ดอันลึ กซึ้ งที่ ดูจะไม่
เกี่ยวกับการปฏิบตั ิเท่าใดนัก
กล่าวกันว่า นิ กายมาธยมิกะเป็ นนิ กายแรกสุดที่แยกตัวออกมาจากมหายาน
กลุ่มดั้งเดิมที่มีมาก่อนหน้านั้ น โดยมีท่านนาคารชุน (Nagarajuna) เป็ นผูก้ ่อตั้งขึ้ น
ในพุ ทธศตวรรษที่ ๗ ท่ านนาคารชุ นได้อรรถาธิ บายพุ ทธมติ ดว้ ยระบบวิภาษวิธี
(Dialectic) หรือวิธีโต้แย้งกันทาง ความคิดเพื่อให้เข้าถึงความจริงในปรัชญานั้ น จน
สามารถกาจัดปรวาทีฝ่ายตรงข้ามให้พา่ ยแพ้ไปทุกแห่งหน วิภาษวิธีของท่านนาคาร
ชุน ได้ก่อให้เกิดการตื่นตัวในวงการนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ทาให้มีนักคิดที่
ตามมาในภายหลังยึดถือวิธีการของท่านเป็ นแบบอย่างอีกมากมาย
ท่ านนาคารชุ นได้เขี ยนคัมภี ร์ไว้หลายเล่ ม ผลงานชิ้ นส าคัญของท่ านคื อ
คัมภีรม์ ัธยมกการิกา (Madhyamakakrika) ซึ่งได้รวบรวมปรัชญามาธยมิกไว้อย่าง
๗๖

เป็ นระเบี ยบ สอนเรื่องศูนยตา (Sunyata) ว่าเป็ นความแท้จริงขั้นสุ ดท้าย (อันติ ม


สัจจะ) และเพราะเหตุที่นิกายนี้ ยึดถือศูนยตาว่าเป็ นหลักสาคัญของตนด้วย ดังนั้ น
จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ งว่า นิ กายศูนยวาท
คัมภี ร์มัธยมกการิกายังได้กล่าวอี กว่า สัจจะหรือความจริงมี ๒ ชนิ ด คื อ
สมมติ สัจจะ และปรมัตถสัจจะ ในสัจจะทั้ง ๒ นี้ สมมติสัจจะ หมายถึ งอวิชชาหรือ
โมหะซึ่งปิ ดบังความเป็ นจริงจนทาให้เราเข้าใจผิดไปว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้ นมีแก่นสาร
ส่ วนปรมัตถสัจจะ หมายถึ ง การหยัง่ เห็นปรากฏการณ์ท้ังหลายว่าเป็ นสิ่ งสมมติ
สังขารทั้งหลายไม่มีอยู่จริง เปรียบเหมือนภาพมายา แม้แต่ความหลุดพ้นก็เป็ นสิ่ง
สมมติ เมื่อยังละสมมติสจั จะไม่ได้ก็ยงั บรรลุปรมัตถสัจจะไม่ได้ จากคาอธิบายตรงนี้
เราจึงตีความได้วา่ ความจริงแท้ที่มาธยมิกะกล่าวถึงนั้ น ไม่มีแก่นสารสาระใดๆ แต่
เป็ นอิสรภาพหรือความหลุดพ้นจากแก่นสารทั้งปวง
หลักการของมาธยมิกะข้างต้น ดูจะเป็ นเรื่องยากต่อการเข้าใจของคนทัว่ ไป
เพราะเต็มไปด้วยการโต้แย้งเชิงเหตุผลที่ซบั ซ้อนและลึกซึ้ ง แต่อย่างไรก็ตามบรรดา
นักปราชญ์ชาวตะวันตก ยุคหลังที่ได้อ่านคัมภีรข์ องนาคารชุนแล้ว ต่างก็ตอ้ งยอมรับ
ว่า ท่านนาคารชุนเป็ นนั กตรรกวิทยา ที่ ยิ่งใหญ่ของโลกที่ไม่มีปราชญ์ชาวตะวันตก
ผูใ้ ดจะเทียบได้ แม้แต่พุทธศาสนิ กชนฝ่ ายมหายานเองต่างก็ยอมรับในอัจฉริยภาพ
ด้านพุทธปรัชญาของท่าน และยกย่องท่านไว้อย่างสูงสุดในฐานะ "พระพุทธเจ้าองค์
ที่ สอง" ในบั้นปลายชีวิต ท่ านนาคารชุ นดับขันธ์ลง ณ มหาวิหารแห่งหนึ่ งที่ เมือง
อมราวดี ในแคว้นอันธระ ทักษิ ณาบถ ปั จจุบนั นี้ ในอินเดียทางใต้ยงั มีโบราณสถาน
แห่งหนึ่ ง ซึ่งมีซากพระสถูปเจดียช์ ื่อว่า "นาคารชุนโกณฑะ"
๒. นิกายโยคาจาร (Yogacara)
นิ กายโยคาจารเป็ นนิ กายสาคัญที่เป็ นคู่ปรับของนิ กายมาธยมิกะ โดยมีท่าน
ไมเตรยนาถ (Maitreya-natha) เป็ นคณาจารย์ผูเ้ ป็ นต้นกาเนิ ดนิ กายในปลายพุทธ
ศตวรรษที่ ๘ และได้เขียนคัมภีรไ์ ว้หลายเล่ม เช่น อภิสมยาลังการะ มหายานสูตรา
ลังการะ เป็ นต้น แต่บางตานานบอกว่า โยคาจารเริ่มพัฒนาขึ้ นอย่างช้าๆ ตั้งแต่ปี
พ.ศ.๗๐๐ เป็ นต้นมา และพัฒนาถึงขีดสูงสุดประมาณปี พ.ศ.๙๐๐ มีพื้นฐานทฤษฎี
อยู่บนระบบการตีความเนื้ อหาคัมภี รท์ ี่ สาคัญ เช่น สันธิ นิรโมจนสูตร และลังกาว
ตารสูตร เป็ นต้น
๗๗

นิ กายโยคาจารเจริญถึงขีดสุดในสมัยของท่านอสังคะ (Asanga) และท่านวสุ


พันธุ (Vasubandhu) สองพี่ น้ องผูแ้ ต่ งตาราออกเผยแผ่มากมาย โดยท่ านอสังคะ
พี่ชายเป็ นศิษย์คนสาคัญของท่านไมเตรยนาถ เป็ นผูอ้ ธิบายปรัชญาโยคาจารอย่าง
เป็ นระบบต่อจากท่านไมเตรยนาถ ส่วนน้องชายคือวสุพนั ธุแต่เดิมบวชเรียนอยูใ่ น
นิ กายสรวาสติวาท หรือไวภาษิ กะ มาภายหลังจึงหันมานั บถือมหายานนิ กายโยคา
จารตามพี่ชาย
อสังคะเรียกชื่อนิ กายฝ่ ายตนว่า นิ กายโยคาจาร (Yogacara) ส่วนวสุ พันธุ
เรียกว่านิ กายวิชญาณวาท (Vijananavada) ที่ ได้ชื่อว่าโยคาจารนั้ นก็ เพราะใช้วิธี
บาเพ็ญโยคะหรือการฝึ กจิตเพื่อบรรลุโพธิ (การรูแ้ จ้งความจริง) แต่ที่ชื่อว่า วิชญาณ
วาท ก็เพราะยึดถือจิตตมาตระหรือวิชญาปติมาตร (Vijaaptimatra) หมายถึงความ
ไม่มีอะไรนอกจากวิญญาณ (Thought-Only, or Mind-Only) ว่าเป็ นความจริงแท้ข้นั
สูงสุด พูดง่ายๆ ว่า ยอมรับเฉพาะจิตหรือวิญญาณเพียงประการเดียวว่าเป็ นจริง สิ่ง
ต่ างๆ นอกนั้ นเป็ นเพี ยงความคิ ดหรืออาการกิ ริยาของจิต ดังนั้ นโยคาจารจึงใช้
ปรัชญาไปในทางปฏิบตั ิ ส่วนวิชญาณวาทใช้ปรัชญาไปในทางเก็งความจริง
นอกจากนี้ โยคาจารยังมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า ธรรมลักษณะ ซึ่งหมายถึง
การให้ความสาคัญที่ลักษณะของธรรม แต่ไม่ว่าจะอย่างไร โยคาจารก็ยงั มีหลักการ
สาคัญอยูท่ ี่การยอมรับจิตว่าเป็ นความจริงเดียวที่มีอยู่ ไม่มีความจริงอื่นนอกจากจิต
นิ กายมาธยมิ กะกับนิ กายโยคาจารต่ างเป็ นคู่ ปรับกันมาทุ กยุ คทุ กสมัย
เหมือนอย่างขมิ้ นกับปูน ถึงขนาดห้ามสานุ ศิษย์ไม่ให้คบค้าสมาคมกัน มิให้ร่วมสังฆ
กรรม ข้อสาคัญที่ขดั แย้ง กันก็คือเรื่องสวลักษณะหรือสวภาวะ คือลักษณะหรือภาวะ
ของตนเอง นิ กายมาธยมิกะถื อว่าโดยสมมติ สัจจะแล้ว สิ่ งทั้งหลายทั้งปวงไม่มีสว
ลักษณะหรือสวภาวะในตัวของมันเอง เป็ นมายาทั้งหมด และโดยปรมัตถสัจจะแล้ว
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็ นศูนยตา
ฝ่ ายนิ กายโยคาจารถื อว่า โดยสมมติ สัจจะแล้ว สิ่ งทั้งหลายทั้งปวงจะเป็ น
มายาไปทั้งหมดไม่ได้ แม้มองจากภายนอกจะไม่ใช่ของจริง แต่พีชะที่ มาจากอาลย
วิญญาณจนเป็ นบ่อเกิด ของภาพเหล่านั้ นมีสวลักษณะอยูด่ ว้ ย และโดยปรมัตถสัจจะ
ก็ไม่ได้สูญเสียไปทั้งหมด ยกตัวอย่าง ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสวลักษณะอยูภ่ ายในตัว
ของมันเองแล้ว คนเราทาความชัว่ วันนี้ พรุ่งนี้ ก็ไม่ตอ้ งรับความชัว่ ที่ตวั เองได้กระทา
๗๘

ไว้ ถ้าไม่มีสวลักษณะหรือสวภาวะอยูแ่ ล้วใครเล่าจะเป็ นคนคอยรับบุญรับบาป นาย


ปอทาความชัว่ วันนี้ พรุ่งนี้ ก็กลายเป็ นคนละคนไปแล้วไม่ตอ้ งรับความชัว่ ที่ตวั ก่อไว้
เหมือนกับปลูกมะละกอ ถ้าไม่มีสวลักษณะอยูจ่ ริงก็กลายเป็ นมะม่วงมะพร้าวไป
สรุปแล้ว นิ กายทั้ง ๒ ตีความหมายให้คานิ ยามสวลักษณะแตกต่างกันและดู
เหมือนจะแย้งกันแบบสุ ดโต่ง ทั้งที่ จริงแล้วจุดประสงค์ของทั้ง ๒ นิ กายเหมือนกัน
คื อ เพื่ อความหลุ ดพ้น แต่ สิ่ งที่ ดู เหมื อนจะแตกต่ างกั นเป็ นเพี ยงแนวทางการ
น าเสนอเท่ านั้ น โดยโยคาจารถื อว่ามีจิตอยู่จริงและเป็ นความจริงเพียงหนึ่ งเดี ยว
สวลักษณะนั้ นเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถึงจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ ยงั รักษาคุ ณสมบัติ
เดิมเอาไว้ได้ ดังนั้ นจึงต้องพยายามทาให้ตวั เองหลุดพ้นจากความยุง่ ยากซับซ้อนใน
โลก โดยหันมาดูที่กระแสจิตของตนและบังคับควบคุม
ส่วนมาธยมิกะถือว่าโดยที่สุดแล้วไม่มีอะไรอยูเ่ ลย จึงยืนยันว่า ขึ้ นชื่อว่าสว
ลักษณะแล้วจะต้องเที่ยงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทั้งยังเสนอว่า ต้องพยายามทาตัวเองให้
หลุดพ้นโดยไม่ยึดถืออะไรเลย และจุดเน้นของมาธยมิกะไม่ได้เพียงว่าไม่ยึดถืออะไร
เลยเท่ านั้ น แต่ ก ้า วไปไกลถึ งขนาดกล่ าวว่ า "โดยที่ สุ ด แล้ว ความว่ างก็ ไม่ มี
(Emptiness of Emptiness)" ฝ่ ายมาธยมิกะจึงประณามพวกโยคาจารว่าเป็ นพวกสัส
สตวาท (ความมีอยู่อย่างเที่ ยงแท้ถาวร) ฝ่ ายโยคาจารก็ประณามพวกมาธยมิกะว่า
เป็ นพวกนั ตถิ กวาท (ความไม่มีอะไรอยู่เลย ไม่มีสภาวะที่ จะกาหนดเป็ นสาระได้)
ต่างฝ่ ายต่างกล่าวหากันว่า เป็ นพวกมิจฉาทิ ฏฐิทาลายพระพุทธศาสนา ทาให้เกิด
ความขัดแย้งจนหาจุดจบไม่ได้ ทั้งสองนิ กายนี้ ก็เลยเข้าข่ายเป็ นมิจฉาทิฏฐิ ไปทั้งคู่
ตามหลักคาสอนฝ่ ายเถรวาท
อันที่ จริง โยคาจารเห็นด้วยกับมาธยมิกะเฉพาะเรื่องความไม่มีอยู่จริงของ
วัตถุหรืออารมณ์ภายนอก แต่เรื่องที่เห็นว่าจิตไม่มีจริงหรือไม่มีอยูจ่ ริงนั้ น โยคาจาร
ไม่ เห็ นด้วยอย่างยิ่ง เพราะถื อว่าทรรศนะของมาธยมิ กะที่ ปฏิ เสธว่าสู ญทั้งหมด
เท่ากับเป็ นความเห็นผิดอย่างไม่น่าให้อภัย เพราะโยคาจารเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดเรา
ต้องยอมรับว่าจิตเป็ นสิ่งที่มีอยูจ่ ริง ทั้งนี้ เพื่อให้ความคิดที่ถูกต้องเป็ นสิ่งที่เป็ นไปได้
จิตซึ่งประกอบด้วยกระแสแห่งความคิ ดชนิ ดต่างๆ (เจตสิ ก) เป็ นสิ่ งแท้จ ริงเพี ยง
ประการเดี ยว ดังนั้ นหากจะกล่าวไปแล้ว ก็ คงถื อได้ว่านิ กายโยคาจาร จัดว่าเป็ น
ปรัชญาคาสอนฝ่ ายอภิ ธรรมของมหายานที่ ดูจะใกล้เคี ยงกับหลักคาสอนในการ
๗๙

ปฏิบตั ิของฝ่ ายเถรวาทมากที่สุด โดยเฉพาะข้อความในคัมภีรฝ์ ่ ายเถรวาทที่วา่ "โลก


อันจิตนาไป อันจิตย่อมเสื อกไสไป โลกทั้ งหมดเป็ นไปตามอานาจของธรรมอย่าง
เดียว คือจิต"
๓. พระพุทธศาสนาในยุคเสื่อมจากอินเดีย
๓.๑ การเผยแพร่ของลัทธิพทุ ธตันตรยาน
นิ กายพุทธตันตระ (Tantric Buddhism) เชื่อว่าแนวทางของตนถือกาเนิ ดมา
ตั้งแต่สมัยพุทธกาลโดยคาสัง่ สอนของพระพุทธเจ้า กล่าวกันว่า พระศากยมุนีพุทธ
ได้จดั ให้มีการประชุมขึ้ นที่เมืองศรีธานยกฏกะและทรงสัง่ สอนเกี่ยวกับทางลี้ ลับหรือ
ทางลั ด (Esoteric path) ที่ เป็ นธรรมละเอี ยดลึ ก ซึ้ งซึ่ งไม่ ท รงเปิ ดเผยทั ่วไปแก่
สาธารณชน แต่จะทรงแสดงให้ฟังเฉพาะคนที่สติปัญญาเฉลียวฉลาดเท่านั้ น ดังนั้ น
คาสอนนี้ จึงเรียกว่ารหัสยานหรือคุยหยาน ซึ่งแปลว่า ลึกลับ เช่นเดียวกับที่พระองค์
เคยทรงสัง่ สอนวิถี ทางให้แก่ นิ กายมหายานมาก่ อนที่ เขาคิ ชฌกู ฏ คติ ความเชื่ อ
ดังกล่าวนี้ ได้รับการสนั บสนุ นโดยนั กประวัติศาสตร์ชาวทิ เบตและนั กปราชญ์ชาว
อินเดี ยบางท่ านก็ เห็ นคล้อยตามว่า พระพุทธเจ้าได้สอนหลักปฏิบัติแบบตันตระ
มนตร์ มุทรา และธารณี ให้แก่พุทธศาสนิ กชนด้วย โดยอ้างว่าผูท้ ี่ ฉลาดอย่างพระ
พุทธองค์คงจะไม่ทรงละเว้น ที่จะนาเอาหลักปฏิบัติเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถา มารวม
ไว้ใ นพระพุ ทธศาสนา เพื่ อดึ งดู ดพุ ทธศาสนิ กชนให้ มี ความศรั ท ธาใน
พระพุทธศาสนามากขึ้ น
จากร่องรอยทางประวัติศาสตร์ นั กปราชญ์ชาวอินเดียได้สืบอายุของนิ กาย
พุทธตันตระไปจนถึงสมัยของท่านเมไตรยนาถและอสังคะแห่งสานั กโยคาจาร ซึ่งอยู่
ในช่ วงพุ ท ธศตวรรษที่ ๘ อั น เป็ นช่ วงที่ ศ าสนาฮิ น ดู ก าลั งเฟื่ องฟู อ ย่ างมาก
พระพุทธศาสนาในขณะนั้ นจึงอยู่ในภาวะที่ ตอ้ งแข่งขันต่อสูก้ ับศาสนาฮินดู ดังนั้ น
เพื่อความอยูร่ อดของพระพุทธศาสนา คณาจารย์ฝ่ายมหายานจึงตัดสินใจที่จะใช้วิธี
ประนี ประนอมระหว่างกลุ่มชน ๒ ฝ่ าย คือ กลุ่มชาวพุทธยุคใหม่ และกลุ่มชาวฮินดู
ที่นับถื อพระศิวะ (ไศวนิ กาย) เพื่อให้ประชาชนหันกลับมานั บถื อพระพุทธศาสนา
ดังเดิม
คณาจารย์ฝ่ายมหายานทั้งหลายเห็นว่า ลาพังพระธรรมแท้ๆ ยากที่จะทาให้
ชาวบ้านเข้าถึ งได้ จึงคิ ดแก้ไขให้เหมื อนศาสนาฮิ นดู คื อกลับไปยกย่องเรื่องเวท
๘๐

มนตร์ อาคมขลัง พิธีหาลาภ พิธีเสกเป่ า ลงเลขยันต์ต่างๆ จนในที่ สุดนิ กายพุทธ


ตันตระจึงระคนปนเประหว่างมหายานนิ กายโยคาจารกับศาสนาฮินดูจนแทบแยกไม่
ออก พระสงฆ์เองก็ตอ้ งทาหน้าที่เหมือนพราหมณ์ทุกอย่าง ลัทธินี้จึงเรียกว่า มนตร
ยาน (Mantrayana) หรือตันตรยาน (Tantrayana) เพราะนั บถื อพิธีกรรมและการ
ท่องบ่นสาธยายเวทมนตร์อาคมเป็ นสาคัญ โดยที่เวทมนตร์แต่ละบทเรียกว่า ธารณี
(Dharani) มี อานิ สงส์ ความขลังความศักดิ์ สิ ทธิ์ พ รรณนาไว้วิจิ ตรลึ กล้ านั กหนา
ธารณีมนต์เหล่านี้ มีท้งั ประเภทยาวขนาดหน้าสมุด และประเภทสั้นเพียงคาสองคา
ซึ่งเรียกว่าหัวใจคาถาหรือหัวใจธารณี สามารถทาให้ผสู ้ าธยายพ้นจากทุกข์ภยั นานา
ชนิ ด และให้ได้รบั ความสุขสวัสดิมงคลและโชคลาภตามความปรารถนา ฉะนั้ นเป็ น
ธรรมดาอยู่ ที่ลทั ธินี้จะได้รบั การต้อนรับจากพุทธศาสนิ กชนผูย้ งั เป็ นปุถุชนอยู่ ด้วย
สามัญปุถุชนย่อมแสวงหาที่พึ่งไว้ป้องกันภัย ศาสนาพราหมณ์อา้ งเอาอานุ ภาพของ
พระเป็ นเจ้าปกป้ อง ลัทธิพุทธมนตรยานจึงแต่งมนตร์อา้ งอานุ ภาพของพระรัตนตรัย
และอ้างอานุ ภาพของพระโพธิสัตว์ตลอดจนอานุ ภาพของเทพเจ้าทั้งหลายซึ่งนั บถือ
กันว่าเป็ นธรรมบาล รวมเอาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์เข้าไว้ดว้ ยก็มี แล้วสัง่ สอน
แพร่หลายในหมูพ่ ุทธศาสนิ กชน
นิ กายพุ ทธตันตระมี วิธี สอนแตกต่ างจากมหายานยุ คต้นๆ อย่างชัดเจน
มหายานสอนหลักธรรมในพระสูตรและศาสตร์ต่างๆ ที่ ใครๆ ก็สามารถหาอ่านได้
และเป็ นหนั งสือที่คนทัว่ ไป พอจะทาความเข้าใจได้ แต่ตรงกันข้าม คัมภีรเ์ ล่มใหม่
อันยืดยาวของนิ กายตันตระสงวนไว้สาหรับบุคคลที่ได้รบั การคัดเลือกแล้วเพียงไม่กี่
คน และบุคคลเหล่านั้ นจะต้องได้รบั การสอนจากครูโดยตรง นอกจากนั้ นคัมภีรย์ งั
เขียนไว้ดว้ ยภาษาที่ลึกลับ เข้าใจยาก และคลุมเครือชวนให้สงสัยอีกด้วย ทั้งไม่ยอม
อ้างว่าคัมภีรเ์ หล่านั้ นเป็ นคาสอนของพระศากยมุนีพุทธเจ้า แต่กลับบอกว่าเป็ นของ
พระพุทธเจ้าองค์อื่น ซึ่งกล่าวกันว่าพระองค์ได้ทรงสอนคัมภีร์เหล่านั้ นตั้งแต่อดีต
กาลอันไกลโพ้น แม้ว่าจุดมุ่งหมายของนิ กายตันตระยังเป็ นพุทธภาวะเช่นเดียวกับ
นิ กายมหายาน แต่มิใช่เป็ นสิ่งที่จะได้บรรลุในอนาคตอันไกลแสนไกลนานแสนนาน
อย่างแต่ก่อน หากแต่พุทธภาวะนั้ นมีอยู่ในร่างกายของเรานี่ เอง และในชัว่ ขณะจิต
ตุปบาทที่เกิดขึ้ นเดี๋ยวนี้ เอง ซึ่งเราบรรลุได้ดว้ ยวิธีการที่ใหม่เอี่ยม รวดเร็วทันใจและ
ง่ายๆ อย่างน่ าอัศจรรย์ทีเดียว
๘๑

การเกิดขึ้ นของนิ กายตันตระดารงอยูน่ านถึง ๓ สมัยด้วยกัน คือ สมัยแรกมี


ชื่อเรียกว่า มนตรยาน (Mantrayana) ซึ่งได้เริ่มต้นในพุทธศตวรรษที่ ๘ แต่เพิ่งจะมี
การเผยแพร่คาสอน อย่างจริงจังหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๑๐ นิ กายนี้ ได้ก่อให้เกิด
เวทมนตร์คาถาต่ างๆ ขึ้ นมากมาย โดยมี ความมุ่ งหมายที่ จะให้เวทมนตร์คาถา
เหล่านั้ นเข้าช่วยให้การแสวงหาพระโพธิญาณทาได้งา่ ยยิ่งขึ้ น ดังนั้ นในพุทธศาสนา
จึงมีมนตร์ มีมุทระ มีมณ ั ฑละ และเทพเจ้าองค์ใหม่เกิดขึ้ นทั้งที่มีในตาราและนอก
ตารามากมาย
และพอหลังจาก พ.ศ.๑๒๙๓ นิ กายตันตระนี้ ก็ได้รบั การจัดระบบใหม่ขึ้นมา
มีชื่อเรียกว่า วัชรยาน ซึ่งก็ยงั มีส่วนเกี่ยวข้องกับคาสอนดั้งเดิมอยูใ่ นเรื่องพระเจ้า ๕
พระองค์ (Five Tathagatas) นิ กายย่อยที่ได้รบั ความสนใจเป็ นพิเศษในช่วงนั้ นคือ นิ
กายสหชยาน ซึ่งเน้นหนั กไปในทางการทาสมาธิและเจริญวิปัสสนา อีกทั้งสอนโดย
ใช้ปริศนาปั ญหาธรรมและภาพปริศนาต่าง ๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ระบบการเรียน
การสอนที่ ก าหนดตายตัว เมื่ อถึ งพุ ทธวรรษที่ ๑๕ นิ กายกาลจักรก็ เกิ ดขึ้ น ซึ่ ง
กาลจักรนี้ เป็ นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า นิ กายนี้ ได้ขยายขอบเขตแห่งคาสอน
กว้างขวางยิง่ ขึ้ น และเน้นหนักไปทางโหราศาสตร์ดว้ ย
นิ กายดังกล่าวนี้ เองได้เจริญขึ้ นในอินเดียตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ เป็ นต้น
มา นั กบวชในนิ กายนี้ ไม่เรียกว่าภิกษุ แต่เรียกว่า สิทธะ (Siddha) หรือผูว้ ิเศษ ซึ่งก็
ไม่แตกต่างอะไรนั กจากพระโพธิสตั ว์ แต่กล่าวกันว่าหลังจากที่สิทธะได้บรรลุถึงภูมิ
ที่ ๘ แล้ว ก็จะมีฤทธานุ ภาพต่างๆ ครบถ้วน สิทธะเป็ นบุคคลที่เป็ นแบบฉบับซึ่งจัด
ว่าเป็ นอริยะ
ต่อมานิ กายพุทธตันตระได้แตกแยกสาขาออกไปอีก แบ่งเป็ น ๒ พวกใหญ่
คื อ พวกวามจารี หรือพุ ทธตันตระฝ่ ายซ้าย พวกนี้ ประพฤติ เลื่ อนเปื้ อนไม่รักษา
พรหมจรรย์ มีลกั ษณะเป็ นหมอผีมากขึ้ น คือ อยูใ่ นป่ าช้า ใช้กะโหลกหัวผีเป็ นบาตร
และมีภาษาลับพูดกันเฉพาะพวกเรียกว่า "สนธยาภาษา" ถื อการเสพกามคุณเป็ น
การบรรลุ วิโมกข์ เกณฑ์ให้พระพุ ทธเจ้าและพระโพธิ สัตว์มี "ศักติ " (Shakti) คื อ
ชายาคู่บารมี พระพุทธปฏิมาก็มีรูปอุม้ กอดศักติ การบรรลุนิ พพานต้องทาให้ธาตุ
ชายธาตุหญิงมาสมานกัน ธาตุชายเป็ นอุบาย ธาตุหญิงเป็ นปรัชญา เมื่ออุบายรวม
กับปรัชญาจึงได้ผลคือนิ พพาน
๘๒

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าพระพุทธองค์มีพระกายที่ ๔ เรียกว่า วัชรสัตว์


ซึ่งทาเป็ นรูป พระพุทธนิ รนั ดรกาลังสวมกอดนางตารามเหสีของพระองค์ในท่าร่วม
สังวาส (ยับยุม) พระพุทธ-รูปแบบนี้ และปฏิมากรรมที่คล้ายกันนี้ มีในพิพิธภัณฑ์
ของประเทศเนปาลมาก และพระในลัทธิ นี้ต้องทาพิธีเสพเมถุ นกับหญิ งอยู่เรื่อยๆ
เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธองค์กับนางตารา และยังมีความเชื่อกันอีกด้วย
ว่า ความเป็ นพุทธะตั้งอยูใ่ นอวัยวะสืบพันธุข์ องหญิงหรือโยนี
ในขณะที่ อีกพวกหนึ่ งเรียกว่า พวกทักษิ ณจารี หรือพุทธตันตระฝ่ ายขวา
พวกนี้ ยังประพฤติธรรมวินัย ถ้าเป็ นพระยังรักษาพรหมจรรย์ เข้าใจตีความให้เป็ น
ธรรมโดยกล่าวว่าสัญลักษณ์เหล่านั้ น จะถื อเอาตรงตัวไม่ได้ เช่น ในคัมภี ร์สาธน
มาลาของท่านอนั งควัชระ ซึ่งเป็ นสิทธาจารย์คนหนึ่ งในนิ กายนี้ ได้กล่าวว่า "สาธุ "
(Sadhu) หมายถึง นั กบวชควรได้รบั การบาเรอจากสตรีเพศ เพื่อให้ได้เสวยมหามธุ
รา ข้อความเช่นนี้ เป็ นสนธยาภาษา จะต้องไขความว่า สตรีเพศในที่นี้ท่านให้หมาย
เอาปั ญญา สาธุเป็ นเพศชาย จะต้องสร้างอุบายเพื่ อรวมเป็ นหนึ่ ง (เอกีภาพ) เมื่อ
เป็ นเช่นนี้ ก็ได้พระนิ พพาน แต่พวกวามจารีน้ั นหาคิดเช่นนั้ นไม่ พวกเขาได้ถือเอา
ตามตัวอักษรเลยทีเดียว ถึงกับสอนว่า ผูใ้ ดมอบสตรีให้สิทธะจะได้กุศล
จะเห็นว่า พุทธตันตระสอนให้คนกลับไปสู่กิเลส สอนให้คนเชื่อของขลังและ
อาคม และสอนให้บาเพ็ญตบะแต่ไม่ตอ้ งทาอย่างลาบากยากเย็นอะไร คือธรรมชาติ
ประสงค์ให้มนุ ษย์ทาอย่างไรก็ให้อนุ โลมทาไปตามนั้ น พวกตันตระมีพิธีกรรมเรียก
จักรบูชา และทากันอย่างในลัทธิศักติ คือ ผูช้ ายกับผูห้ ญิงจานวนเท่าๆ กัน ไปพบ
กันในที่ ลับตาเวลามื ดค า่ แล้วนั ่งล้อมเป็ นวงเข้า เอาเทพี ที่ เคารพบู ชาตั้งกลาง
หรือไม่ก็ใช้เครื่องหมายโยนี ของหญิงตั้งไว้บูชา บางทีก็ให้หญิงเปลือยกาย หญิงพวก
นี้ โดยมากเป็ นภรรยาของพระ จุดหมายในการทาพิธีนี้ อยูท่ ี่การบูชาโยนี เป็ นสาคัญ
ในพิ ธี มี การเสพสุ รา กิ นปลา กิ นเนื้ อ ข้าวตากกัน แล้วเสพเมถุ น การกระท า ๕
อย่างนี้ คือ ดื่มสุรา (มัทยะ) กินเนื้ อ (มังสา) กินปลา (มัตสะ) กินข้าว (มุทระ) และ
เสพเมถุ น (เมถุ นะ) เรียกว่า ตัตตวะทั้ ง ๕ (Pancha Tattva) แต่ พวกทักษิ ณจารี
ตี ความ "ม" ทั้ ง ๕ ว่า ได้แก่ ปั ญ จขัน ธ์ ๕ คื อ รู ป เวทนา สัญ ญา สังขาร และ
วิญญาณ
๘๓

ถ้าว่ากันโดยต้นก าเนิ ดแล้ว นิ กายตันตรยานนี้ ได้มี วิวัฒ นาการมาจาก


ปฏิ กิ ริ ยาเพื่ อ ต่ อต้านภยัน ตรายที่ คุ ก คามพุ ท ธศาสนาในอิ น เดี ยสมั ยนั้ น ซึ่ ง
กาลังขยายตัวอย่างเพิ่มขึ้ นเรื่อย ในระยะแรกปรากฏว่าคณาจารย์ชาวพุทธประสบ
ความสาเร็จในการพัฒนาตันตระล้าหน้าพวกฮินดูมาก เพราะมนตรยานมีอิทธิพล
ในทางเข้าเร้าอารมณ์ให้เลื่อมใสง่าย และมีพิธีกรรมอันสวยสดงดงาม ส่วนสหัชยาน
มีอิทธิพลในด้านการปฏิบตั ิสมาธิอย่างลึกซึ้ ง
แต่เมื่อเริ่มมี เรื่องเลอะเทอะผิ ดธรรมวินั ยเข้ามาปะปนมากขึ้ น และมี การ
แก้ไขละทิ้ งธรรมวินัยดั้งเดิมมากขึ้ น พระพุทธศาสนาที่แท้จริงจึงค่อยๆ เสื่อมไป โดย
ถูกอิทธิพลศาสนาพราหมณ์กลืนไปทีละเล็กละน้อยในรูปของลัทธิตันตรยานนี้ เอง
หลังจากนั้ นมา คณะสงฆ์บางกลุ่ม ก็ถูกเบี่ยงเบนความคิดด้วยลัทธิตนั ตระที่พฒ ั นา
ถึงขีดสุด จนเชื่อว่าชีวิตทางเพศไปกันได้กับภิกษุ ภาวะ ทั้งๆ ที่ ก่อนนั้ นทัศนะเรื่อง
ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ขอ้ งเกี่ยวด้วยกามารมณ์ยงั ดารงอยู่อย่างมัน่ คงในหมู่คณะ
สงฆ์ จนเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ จึงมีหลักฐานว่าในแคว้น กัษมิระ มี
ภิกษุ แต่งงาน และตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็ นต้นมา นิ กายตันตระก็ยอมรับรอง
การแต่ งงานของภิ ก ษุ ตามหมู่ บ ้ า นที่ นิ กายนี้ ขยายออกไป นี่ คื อ สภาพการ
พระพุทธศาสนาในอินเดียยุคปลายที่เข้าสู่ภาวะเสื่อม กระทัง่ สูญสิ้ นไปในเวลาต่อมา
๓.๒ พระพุทธศาสนาภายใต้การอุปถัมภ์ของฝ่ ายอาณาจักร
ในบรรดาลัทธิศาสนานิ กายต่างๆ ของอินเดียโบราณซึ่งมีอยูด่ าษดื่น จะเห็น
ว่ามีแต่เพียงสาวกของเชนเท่านั้ น ที่ยงั หลงเหลือในปั จจุบนั ทั้งที่หลักคาสอนไม่ใคร่
สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมนั ก ทั้งนี้ เป็ นเพราะว่า บรรดาสาวกของเชน
เหล่ านั้ น มี พวกพ่ อค้าที่ มี ฐานะมัง่ คัง่ รวมอยู่ด ้วยเป็ นอันมาก และคอยให้ความ
อุปถัมภ์แก่นักบวชนั้ นอย่างเต็มที่ จึงทาให้อยูร่ อดมาได้ เพราะชุมนุ มชนของศาสนา
เชนตั้งอยูท่ ่ามกลางนักบวชกับคฤหัสถ์
แต่สาหรับพระพุทธศาสนาโดยทัว่ ไปอาศัยพระเจ้าแผ่นดินทรงอุปถัมภ์ และ
ที่ใดที่ขาดการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ ที่นัน่ พระพุทธศาสนาก็จะประสบความ
ลาบากเสมอ เมื่อผูป้ กครองเฉยเมยต่อดินแดนที่มีพระสงฆ์อยู่ประจา ไม่ได้ให้การ
สนั บสนุ นกันเท่าที่ควร พระสงฆ์ ก็ไม่อาจอยูใ่ นถิ่นนั้ นๆ ตามปกติได้ จาต้องละทิ้ งที่
นั้ นไป เพราะไม่อาจปฏิบัติตามวินัยและศาสนกิจตามที่ควรได้ ในขณะที่ศาสนาเชน
๘๔

ยืนหยัดอยู่กับถิ่ นที่ อยู่ของตน ในบั้นปลายทั้งฮิ นดู และเชนต่ างก็ ยังรอดมาได้ใน


ดินแดนดั้งเดิมของตน
ในสมัยพุทธกาล พระพุทธศาสนาได้รบั การอุปถัมภ์จากกษัตริยผ์ ูป้ กครอง
รัฐต่างๆ เช่น พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าจัณฑปั ชโชต และพระ
เจ้าอุ เทน ทรงยอมรับพระพุ ทธศาสนา หลังจากพุ ทธกาลพระพุ ทธศาสนาก็ ได้
ขยายตัวไปตามลาดับ และ ๒๐๐ ปี เศษหลังพุทธกาล พระพุทธศาสนาได้หยัง่ รากลึก
ลงไปในอินเดียในยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์โมริยะ พระเจ้ากนิ ษกะ
แห่งราชวงศ์กุษาณะ และพระเจ้าหรรษวรรธนะ เป็ นต้น กษัตริยเ์ หล่านี้ ทรงส่งเสริม
ความก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาทั้งในอินเดียและในต่างประเทศ
โดยเฉพาะพระเจ้ า อโศกมห าราช พระองค์ เ ป็ น ค น แรกที่ ท าให้
พระพุทธศาสนากลายเป็ นศาสนาของโลก ทรงแผ่ขยายพระศาสนาไปจนทัว่ ทุกทิ ศ
ของอินเดีย และนาไปยังลังกา กัษมิระ และคันธาระ ทั้งยังส่งสมณทูตไปยังกษัตริย
กรีกในสมัยของพระองค์อีกด้วย
ภายหลังจากที่ พระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคตไปแล้ว ๕๐ ปี ราชวงศ์โมรยะ
ของพระองค์ก็ล่มสลาย พระพุทธศาสนาจึงตกอยู่ในสภาพไร้กษัตริยอ์ ุปถัมภ์ และ
กลับมาสู่ยุคทองอีกครั้งในปี พ.ศ.๖๒๑ ซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้ากนิ ษกะ ต่อมา
ประมาณปี พ.ศ.๗๐๐ ราชวงศ์ กุ ษาณะของพระเจ้ากนิ ษกะหมดอ านาจในการ
ปกครองอินเดีย กงล้อแห่งพระพุทธศาสนาจึงหมุนกลับมาสู่สภาพไร้ราชูปถัมภ์อีก
ครั้ง เมื่อราชวงศ์คุปตะมีอานาจปกครองแคว้นมคธ กษัตริยร์ าชวงศ์นี้นั บถือศาสนา
พราหมณ์ กระทั ่งมาถึ งยุ ค ของกษั ต ริ ย์ผู ้จงรัก ภั ก ดี และเปี่ ยมด้วยศรัท ธาต่ อ
พระพุทธศาสนาองค์สุดท้ายคือ พระเจ้าหรรษวรรธนะ ทรงครองราชสมบัติเมื่อราว
ปี พ.ศ.๑๑๐๐ พระเจ้าหรรษวรรธนะแผ่ อ านาจครองแผ่ นดิ นภาคเหนื อทั้ งหมด
พระองค์เสด็จสวรรคตในราวปี พ.ศ.๑๑๙๐ จากนั้ นเป็ นต้นมา พระพุทธศาสนาจึง
โดดเดี่ยวอยูท่ ่ามกลางศัตรูคู่แค้น คือศาสนาฮินดู ตกอยูใ่ นภาวะไร้ราชูปถัมภ์ ไม่มีผู ้
ปกป้ องผองภัย เมื่ อพระพุ ทธศาสนาสู ญสิ้ นราชู ปถัมภ์ กษั ตริย์ต่ างศาสนาจึงใช้
อานาจมหาศาลที่ตนมีอยูเ่ ข้าทาลายล้างผลาญโดยไม่ย้งั มือ
ความรุง่ เรืองและอับเฉาของพระพุทธศาสนาในอินเดีย ขึ้ นอยูก่ บั ว่าในยุคใด
สมัยใด กษั ตริย์ให้ความอุ ปถัมภ์สนั บสนุ น ยุคนั้ นสมัยนั้ นพระพุ ทธศาสนาก็ จะ
๘๕

เจริญรุ่งเรือง แต่ยุคใดเป็ นไปในทานองตรงกันข้าม คือหากขาดความอุปการะจากผู ้


ทรงอานาจในแผ่นดิน ยุคนั้นพระพุทธศาสนาก็จะประสบกับภาวะซบเซา
๓.๓ สาเหตุที่ทาให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย
ทั้ งที่ พ ระพุ ท ธศาสนาถื อก าเนิ ดในประเทศอิ น เดี ย แต่ ต่ อมาในขณะที่
พระพุ ทธศาสนาแผ่ ข ยายและเจริ ญ รุ่ ง เรื อ งไปในดิ นแดนต่ า งๆ ทั ่ ว โลก
พระพุทธศาสนาในอินเดียเองกลับเสื่อมลง จนในยุคหนึ่ งกล่าวได้ว่าแทบไม่มีชาว
พุทธหลงเหลืออยูเ่ ลย ที่เป็ นเช่นนี้ น่ าจะมาจาก ๒ สาเหตุหลักดังต่อไปนี้
๑) สาเหตุภายใน
พระพุ ท ธศาสนาเป็ นศาสนาซึ่ งมี พ ระภิ ก ษุ สงฆ์เป็ นผู ้น า โดยมี วัดเป็ น
ศูนย์กลาง ในแง่การปฏิบตั ิเพื่อมุ่งสู่นิพพานนั้ น พระภิกษุ สงฆ์คือผูท้ ี่สละโลก ตั้งใจ
ปฏิบตั ิธรรมขัดเกลากิเลส ถือเป็ นแบบอย่างของชาวพุทธโดยทัว่ ไป และในแง่การ
เผยแผ่ศาสนา พระภิกษุ สงฆ์ก็อยูใ่ นฐานะของครูผสู ้ อน โดยสาธุชนทัว่ ไปเป็ นผูร้ บั ฟั ง
คาสอนแล้วนาไปปฏิบตั ิ และทาบุญให้การสนั บสนุ นในการดารงชีพและการปฏิบัติ
ศาสนกิจของพระภิกษุ สงฆ์
ในระยะแรกพระภิ กษุ สงฆ์ที่ บรรลุ ธรรมเป็ นพระอรหันต์มี อยู่เป็ นจานวน
มาก ปฏิ บัติ ตนเป็ นผู ้น า เป็ นแบบอย่างแก่ พระภิ กษุ สงฆ์อื่ นในการเผยแผ่ พระ
ศาสนา พระภิกษุ สงฆ์ส่ วนใหญ่ ต่างมีความศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่ าง
แน่ นแฟ้ น เป้ าหมายการบวชในสมัยนั้ นคื อบวชเพื่ อมุ่งพระนิ พพานกันจริงๆ ให้
ความส าคั ญ ทั้ งการศึ ก ษาพระปริ ยัติ ธ รรมและการปฏิ บั ติ ธ รรมควบคู่ กั น ไป
นอกจากนี้ ยังทาหน้าที่เผยแผ่สงั ่ สอนประชาชนให้ปฏิบตั ิตามต่อไป พระพุทธศาสนา
จึงเจริญรุง่ เรืองขึ้ นอย่างรวดเร็ว
ต่อมาผูบ้ รรลุธรรมเป็ นพระอรหันต์มีจานวนน้อยลง ในหมู่พระภิกษุ สงฆ์ก็มี
ทั้งผูท้ ี่ มีใจรัก มีความเชี่ยวชาญทางด้านพระปริยตั ิ ธรรมและผูท้ ี่ เชี่ยวชาญในด้าน
ธรรมปฏิบัติ แต่เนื่ องจากการศึกษาพระปริยตั ิธรรมเป็ นสิ่งที่สามารถวัดความรูไ้ ด้
สามารถจัดการศึกษาเป็ นระบบและให้วุฒิการศึกษาได้ ในขณะที่ธรรมปฏิบัติเป็ น
สิ่งที่รูเ้ ฉพาะตน เป็ นของละเอียด วัดได้ยาก และเนื่ องจากพระภิกษุ สงฆ์ผูเ้ ชี่ยวชาญ
ด้านธรรมปฏิบัติ มักมีใจโน้มเอียงไปในทางแสวงหาความสงบสงัด มักไม่ชอบการ
๘๖

คลุกคลี ดว้ ยหมู่คณะ เมื่อเป็ นเช่นนี้ หลังจากเวลาผ่านไป พระภิกษุ สงฆ์ผูม้ ีความ


เชี่ยวชาญด้านพระปริยตั ิธรรมจึงขึ้ นมาเป็ นผูบ้ ริหารคณะสงฆ์ไปโดยปริยาย
เมื่ อผู ้บริ ห ารการคณะสงฆ์ เป็ นผู ้เชี่ ยวชาญทางด้านปริ ยัติ ธรรม ก็ เป็ น
ธรรมดาอยูเ่ องที่การส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์จะเน้นหนั กในด้านพระปริยตั ิธรรม
เป็ นหลัก เพราะเป็ นสิ่งที่คุน้ เคย และชานาญ แม้จะเห็นความสาคัญของธรรมปฏิบตั ิ
แต่เมื่อตนไม่คุน้ เคย ไม่มีความชานาญการสนั บสนุ นก็ทาได้ในขอบเขตหนึ่ งเท่านั้ น
พระภิกษุ สงฆ์รุ่นใหม่ๆ จึงมักได้รบั การฝึ กอบรมในด้านพระปริยตั ิธรรมเป็ นหลัก
ส่วนธรรมปฏิบตั ิก็ค่อยๆ ลดน้อยถอยลง
การศึกษาพระปริยตั ิธรรมในยุคแรกๆ ก็ศึกษาเพื่อเน้นให้เข้าใจในพุทธพจน์
คาสัง่ สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนามาใช้ในการประพฤติปฏิบัติ แต่ต่อมา
เมื่อศึกษามากเข้าๆ ก็มีพระภิกษุ สงฆ์ที่เป็ นนักคิด นักทฤษฎีจานวนหนึ่ ง ทนการท้า
ทายจากนั กคิ ดนั กปรัชญาของศาสนาอื่นๆ ไม่ได้ เมื่อถูกตั้งคาถามเกี่ ยวกับเรื่ อง
อภิปรัชญา เช่น โลกนี้ โลกหน้าว่ามีจริงหรือไม่ จิตมีการรับรูไ้ ด้อย่างไร โลกเป็ นอยู่
อย่างไร มีจริงหรือไม่ เป็ นต้น จึงพยายามหาเหตุผลทางทฤษฎีตามแนวคิดในทาง
พระพุทธศาสนาและใช้การให้เหตุผลทางตรรกศาสตร์มาอธิบายปั ญหาเหล่านี้ ทั้งๆ
ที่คาถามเหล่านี้ เป็ นคาถามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เพราะถือว่าไม่
เกิดประโยชน์มีแต่จะเป็ นเหตุให้ถกเถียงทะเลาะเบาะแว้งกัน ทรงอบรมสัง่ สอนแต่ใน
สิ่ งที่ น าไปสู่ การขัดเกลากิ เลส มุ่งสู่ พระนิ พพาน ซึ่ งเมื่ อถึ งจุ ดนั้ นแล้วผู ป้ ฏิ บัติ ก็
ย่อมจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ ได้เอง
หลักธรรมในพระพุทธศาสนา เมื่อปฏิบัติจนเข้าถึงแล้ว ผูป้ ฏิบัติย่อมเห็น
ตรงกั น เป็ นภาวนามยปั ญ ญา (ความรู แ้ จ้งที่ เกิ ดจากความเห็ นแจ้ง) แต่ เมื่ อ
พยายามพิ สูจน์ ดว้ ยความคิ ดทางตรรกศาสตร์ ด้วยจินตมยปั ญญา (ความรูค้ ิ ด)
ไม่ได้รูแ้ จ้งด้วยตนเองเพราะไม่เห็นแจ้งย่อมมีความคิดแตกต่างหลากหลาย ผลก็ คือ
นักทฤษฎีของพระพุทธศาสนาเองก็มีความเห็น ไม่ตรงกัน ทะเลาะถกเถียงกันเอง
เกิดเป็ นแนวคิดของสานักต่างๆ และแตกตัวเป็ นนิ กายต่างๆ ในที่สุด มีนักทฤษฎีใน
พระพุ ทธศาสนาที่ มี ชื่อเสี ยงเกิ ดขึ้ นจานวนมาก เช่น นาคารชุ น อสังคะ วสุ พันธุ
ทินนาคะ ภาววิเวก ธรรมกีรติ ศานตรักษิตะ เป็ นต้น
๘๗

แนวคิดของพระนั กทฤษฎีเหล่านี้ มีความลึกซึ้ งมาก จนแม้นักวิชาการทาง


ตะวันตกปั จจุบนั มาเห็นเข้ายังตื่นตะลึง แต่ผลที่เกิดก็คือ เกิดความขัดแย้งแตกแยก
ในหมู่ ช าวพุ ท ธ และพระพุ ท ธศาสนาได้ก ลายเป็ นศาสนาที่ มี ห ลั ก ค าสอน
สลับซับซ้อน จนชาวบ้านฟั งไม่เข้าใจ ประหนึ่ งว่าพระพุทธศาสนากลายเป็ นศาสนา
ของพระภิกษุ สงฆ์เท่ านั้ น แต่ก็มีพระภิกษุ สงฆ์เพียงจานวนน้อยที่ รูเ้ รื่อง และก็ยัง
คิดเห็นไม่ตรงกันอีก ส่วนชาวพุทธทัว่ ไปกลายเป็ นชาวพุทธแต่ในนามไปวัดทาบุญ
ตามเทศกาลตามประเพณีเท่านั้น
ขณะเดียวกัน ก็มีพระภิกษุ สงฆ์อีกกลุ่มหนึ่ ง ซึ่งมีจานวนมากกว่า ได้หนั ไป
ปฏิบตั ิตามใจชาวบ้าน ซึ่งต้องการพึ่งพาอานาจลึกลับและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการเล่น
เครื่องรางของขลังเวทมนตร์คาถาต่างๆ วัตรปฏิบัติย่อหย่อนลง จนถึ งจุดหนึ่ งเกิด
เป็ นนิ กายตันตระ ซึ่งเลยเถิดไปถึงขนาดถือว่า การเสพกามเป็ นหนทางสู่การตรัสรู ้
ธรรม การดื่มสุราเป็ นสิ่งดี เป็ นต้น
เมื่อเกิดความแตกแยกภายในพระพุทธศาสนา ทั้งในเรื่องของแนวคิดทฤษฎี
ที่ ท ะเลาะเบาะแว้งกั น ไม่ จบสิ้ น จนถึ งการแตกเป็ นกลุ่ มเวทมนตร์คาถาซึ่ งฉี ก
แนวทางไปอย่างสุดโต่ง ในขณะที่ธรรมปฏิบตั ิอนั เป็ นหัวใจของพระพุทธศาสนากลับ
ถูกละเลยไป พระพุทธศาสนาในอินเดียจึงอ่อนแอลง
๒) สาเหตุภายนอก
ในอิ นเดีย นอกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ยังมีศาสนาอื่ นๆ อีกมาก โดย
ศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลมากที่สุด เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้ น คนหันมา
นั บถื อมาก ศาสนาพราหมณ์ก็ลดบทบาทลง ผูน้ าของศาสนาพราหมณ์ก็พยายาม
หาทางดึงศาสนิ กกลับคืนอยูต่ ลอดเวลา โดยการโจมตีพระพุทธศาสนาบ้าง พยายาม
หยิ บ ยกเอาค าสอนของพระพุ ท ธศาสนาไปดั ด แปลงเป็ นค าสอนของตนบ้าง
ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติ มเทพเจ้าที่ นั บถื ออยู่บา้ ง จนที่ สุดได้กลายเป็ นศาสนาฮินดู ดัง
ตาราเรียนเรื่องศาสนา เมื่อกล่าวถึงศาสนาฮินดู ก็มกั จะมีคาว่าพราหมณ์ควบคู่กัน
ไปเสมอ
เมื่อถึงเวลาที่พระพุทธศาสนาเสื่อมลงเนื่ องจากความแตกแยกภายในแล้ว ก็
ได้มีการเปลี่ ยนวิธีการ จากการโจมตี พระพุทธศาสนา มาเป็ นการผสมกลมกลื น
โดยมี ปราชญ์ ใหญ่ ชื่ อ ศังกระ (ประมาณปี พ.ศ.๑๒๘๐) เป็ นผู น้ าในการปฏิ รู ป
๘๘

ศาสนาฮิ นดู มีการเลียนแบบวัดในพระพุทธศาสนา สร้างที่ พักนั กบวชในศาสนา


ฮินดูเรียกว่า มถะ เป็ นศูนย์กลางในการเผยแผ่ศาสนาฮินดูขึ้นเป็ นครั้งแรก ทั้งยังมี
การปรับเปลี่ยนเนื องๆ อีกมากมาย ถึงขนาดมีการปรับคาสอนบอกว่าพระสัมมาสัม
พุ ทธเจ้าคื อองค์อวตารปางที่ ๙ ของพระวิษณุ แล้วนั บเอาผู ท้ ี่ เคารพนั บถื อพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าเป็ นชาวฮินดูท้งั หมด
ทางด้านของพระพุ ท ธศาสนาเอง เมื่ อมี ปั ญหาความแตกแยกภายใน
ประกอบกับชาวพุ ทธโดยทัว่ ไปไม่มี ความรูใ้ นพระธรรมอย่างถ่ องแท้ เมื่ อพบกับ
ยุ ท ธวิ ธี ข องศาสนาฮิ น ดู เข้าเช่ น นี้ ชาวพุ ท ธก็ ยิ่ งสั บ สน แยกไม่ อ อกระหว่ าง
พระพุ ทธศาสนากับศาสนาอื่ น ทั้งที่ เป็ นชาวพุ ทธ ก็ เคารพนั บถื อกราบไหว้พระ
พรหม เทพเจ้า เจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ ด้วย พระภิกษุ สงฆ์เอง บางส่วนก็หันไปเอาใจ
ชาวบ้าน เห็นเขานั บถือเทพเจ้า เจ้าแม่ต่างๆ ก็เอารูปปั้ นของเทพเหล่านั้ น มาไว้ใน
วัด ให้ชาวบ้านกราบไหว้บูชา ที่สุดชาวบ้านจึงแยกไม่ออก คิดว่าพระพุทธศาสนากับ
ศาสนาฮินดูคือสิ่งเดียวกัน ชาวพุทธแต่เดิมก็กลายเป็ นชาวฮินดูไปค่อนตัว
และต่ อมาเมื่ อเจอเหตุ กระทบครั้งใหญ่ คื อ ตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ.๑๖๐๐
กองทั พ มุ ส ลิ ม บุ ก เข้ายึ ดอิ น เดี ยไล่ ม าจากทางตอนเหนื อและประกาศท าลาย
พระพุ ทธศาสนา พวกมุ สลิ มภายใต้การน าของกุ ทบุ ดดิ น นายพลของสุ ลต่ าน
โมฮัมเหม็ดโมฆี เข้ามารุกรานอินเดียจากทิศเหนื อลงมาทิศใต้ เมื่อพบปูชนี ยสถาน
โบราณวัตถุของศาสนาอื่นในที่ ใด ก็ใช้อาวุธเป็ นเครื่องทาลายล้างวัตถุน้ั นๆ โบสถ์
วิหาร ศาลาการเปรียญ สังฆารามของพระพุทธศาสนาและไม่เว้นแม้เทวาลัยของ
พราหมณ์ก็ถูกทาลายลงในคราวนั้นเป็ นอันมาก
กองทั พ มุ ส ลิ มมี อคติ เป็ นพิ เศษต่ อพระภิ ก ษุ ผู ้เผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนา
กองทัพมุ สลิ มจึง พากันเผาวัดทุ กวัดในพระพุทธศาสนาราบเป็ นหน้ ากลอง ฆ่า
พระภิกษุ ทุกรูปที่อยูใ่ นวัดนั้ นๆ จนเลือดแดงฉานนองแผ่นดิน ทั้งมีการให้รางวัลแก่
ผูท้ ี่ ตัดศีรษะพระภิกษุ สงฆ์มาส่งให้ พระภิ กษุ สงฆ์จึงต้องสึก มิฉะนั้ นก็ตอ้ งอพยพ
หลบหนี ไป
สถูปเจดียจ์ านวนมหาศาลถูกทาลาย ถูกปล้นสดมภ์ และปล่อยให้รกร้างไป
บ้างก็ถูกขโมยอิฐไปสร้างบ้าน ไปทาถนน กองเถ้าถ่าน ซากพระพุทธปฏิมาที่ถูกไฟ
เผา โครงกระดู กนั บไม่ ถ ้วน เหล็ ก ไม้ หิ น สุ มเป็ นกองใหญ่ สิ่ งเหล่ านี้ ทั้ งหมด
๘๙

หลงเหลือให้นักโบราณคดีเห็นเป็ นประจักษ์พยาน มิใช่การเผาทาลายครั้งเดียว แต่


เกิดขึ้ นนั บครั้งไม่ถว้ น ไม่ใช่แต่เพียงมุสลิมเท่านั้ นที่ทาลายล้างพระพุทธศาสนา ใน
เวลาเดียวกัน ศาสนิ กและพวกโยคีของฮินดู ก็ฉวยโอกาสนี้ ซ้าเติมให้หนั กขึ้ นไปอีก
ทั้งนี้ เห็นจะเป็ นเพราะว่าพระพุทธศาสนาได้เคยเป็ นคู่แข่งสาคัญที่ต่อสูข้ ับเคี่ยวกับ
ศาสนาฮินดูมาแต่ตน้ การทาลายล้างยังไม่หยุดยั้ง บริเวณที่ถูกทาลายมากที่สุดคือ
แคว้นอุตตรประเทศ และแคว้นพิหารอันเป็ นแหล่งใหญ่ของพุทธศาสนา พวกมุ สลิม
พากันเข้าใจผิดว่า มหาวิทยาลัยนาลันทาคือป้ อมปราการของชาวพุทธจึงได้เข่นฆ่า
พระภิ กษุ ทุ กรูปในวัด โดยการคิ ดว่าพระภิ กษุ เหล่ านั้ นคื อทหาร มี พระภิ กษุ
จานวนน้ อยมากที่ รอดพ้นจากกองทัพมุ สลิ ม พระพุทธศาสนาซึ่งขณะนั้ นมี เพียง
พระภิกษุ สงฆ์จานวนน้อยที่รูจ้ ริงในคาสอนของพระพุทธศาสนา ส่วนชาวพุทธทัว่ ไป
นั้ นขาดความรู ้ค วามเข้ า ใจอย่ า งถู กต้ อ ง ดั ง นั้ นเมื่ อพระภิ กษุ สงฆ์ ห มด
พระพุทธศาสนาก็หมดจากประเทศอินเดียในที่สุด
ไม่น่าเชื่อว่าพระพุทธศาสนาที่เคยรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด เมื่อกาลผ่านพ้นไป ก็
ค่อยๆ ริบหรี่ลงด้วยแรงปะทะของศาสนาฮินดู ท้ายสุดเมื่อเข้าสู่ยุคมืด ก็ตอ้ งมีอัน
ปิ ดฉากลงด้วยกองทัพมุสลิมคลัง่ ศาสนา เหตุการณ์นี้นั บเป็ นปรากฏการณ์ที่ทาให้
พุทธศาสนิ กชนเจ็บปวดมากที่สุด
จากบทเรียนที่เกิดขึ้ นในอินเดียดังกล่าว เราอาจสรุปได้วา่ ความมัน่ คงของ
พระพุทธศาสนาจะต้องประกอบด้วยปั จจัยที่สาคัญคือ ชาวพุทธต้องเป็ นชาวพุทธที่
แท้จริง มีความรูค้ วามเข้าใจในคาสอนของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง โดยต้อง
ศึกษาทั้งปริยตั ิและปฏิบัติเพื่อให้เกิดปฏิเวธ คือผลของการปฏิบตั ิ นาหลักธรรมมา
ใช้ในการดาเนิ นชีวิตจริง และปั จจัยที่สาคัญยิ่งอีกประการหนึ่ งก็คือ ชาวพุทธจะต้อง
มีความสามัคคี กัน เว้นจากการให้รา้ ยกันพระพุทธศาสนาจึงจะมัน่ คงอยู่ได้อย่าง
แท้จริง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดในจดหมายฉบับนี้ สรุปใจความสาคัญได้วา่
การสังคายนาพระธรรมวินัยในอินเดียซึ่งยอมรับกันในฝ่ ายเถรวาทมี ๓ ครั้ง
คือภายหลังจากพุทธปรินิพพานได้ ๓ เดือน พระมหากัสสปะก็ปรารภเหตุที่มีภิกษุ
กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย จึงชักชวนภิกษุ สงฆ์ให้ทาการสังคายนาพระธรรมวินัย
ครั้งแรก ซึ่งนั บเป็ นครั้งที่สาคัญที่สุด เพราะได้รวบรวมพุทธวจนะมาทรงจารักษาไว้
๙๐

เป็ นแบบแผนและสืบทอดด้วยมุขปาฐะ ต่อมาในการสังคายนาครั้งที่ ๒ ซึ่งปรารภ


เหตุภิกษุ ชาววัชชีประพฤตินอกพระธรรมวินัย ภิกษุ วชั ชีบุตรไม่ยอมรับมติ จึงแยก
ไปทาสังคายนาต่างหากและเรียกตัวเองว่า มหาสังฆิกะ จึงทาให้สงฆ์แตกออกเป็ น ๒
ฝ่ ายและในการสังคายนาครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกซึ่งปรารภเหตุเดียรถี ยป์ ลอม
บวชในพระศาสนา จึงปรากฎว่าคณะสงฆ์ได้แยกเป็ น ๑๘ นิ กายแล้วอย่างชัดเจน
การเกิ ดขึ้ นของนิ กายมหายานในอินเดี ย ดาเนิ นไปอย่างค่อยเป็ นค่อยไป
โดยเน้นการปรับปรุงวิธีเผยแผ่พระพุทธศาสนาเสียใหม่ ทั้งยังปฏิรูปเปลี่ยนแปลงคา
สอนดั้งเดิ มเพื่อให้ สามารถแข่งกับศาสนาพราหมณ์ -ฮิ นดู ที่ กาลังเฟื่ องฟู อยู่ใน
ขณะนั้ นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมุ่งเน้นอุดมคติพระโพธิสัตว์โดยการอุทิศตนเพื่อ
ช่วยเหลือผูอ้ ื่น ถือว่าเป็ นแกนกลางของคาสอน ทั้งหมดในฝ่ ายมหายาน และยกย่อง
ว่าโพธิสัตวยานเป็ นหนทางอันสูงสุดเพราะสามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ ไปได้มาก
ที่สุด ภายหลังมหายานยังได้แตกเป็ นนิ กายย่อยๆ อีก ได้แก่ นิ กายมาธยมิกะ และ
นิ กายโยคาจาร
พระพุ ท ธศาสนาได้ ผ่ า นการเปลี่ ย นแปลงอย่ า งต่ อ เนื่ อง นั บตั้ ง แต่
พระพุทธศาสนาดั้งเดิมในยุคพุทธกาล ซึ่งต่อมาได้แบ่งออกเป็ น ๒ สาย คือ เถรวาท
อันเป็ นนิ กายที่ยึดมัน่ รักษาสืบทอดแก่นคาสอนดั้งเดิมไว้อย่างเหนี ยวแน่ น อีกสาย
หนึ่ งคือ มหายานที่ ปรับเปลี่ยนคาสอนไปตามความจาเป็ นของยุคสมัย และต่อมา
เกิดเป็ นพุทธตันตระหรือวัชรยานที่ผสมผสานลัทธิฮินดูมีการข้องแวะเรื่องเพศ จน
แทบจะไม่เหลือต้นเค้าของพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมไว้เลย
สาเหตุที่ทาให้พระพุทธศาสนาต้องสูญสิ้ นไปจากอินเดีย สรุปได้ ๒ ประการ
คือ ประการแรกเกิดจากสาเหตุภายใน คือความอ่อนแอของพุทธบริษัทเอง เริ่มต้น
จากความประพฤติ ย่อหย่อนต่ อพระธรรมวินั ยของพระภิ กษุ สงฆ์ จนละเลยการ
ปฏิบัติธรรมอันเป็ นหัวใจของพระพุทธศาสนา ความขัดแย้งแตกแยกทางความคิด
ของหมู่สงฆ์ที่เน้นการโต้แย้งกันในเชิงทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ ได้ก่อให้เกิดการ
แตกความสามัคคีกันในหมู่ชาวพุทธ ซึ่งถือว่าเป็ นสาเหตุที่สาคัญเสียยิ่งกว่าสาเหตุ
ภายนอก คื อ ภัยจากการผสมกลมกลื นของศาสนาฮิ นดู ซึ่ งเป็ นคู่ แข่งส าคัญของ
พระพุ ท ธศาสนาตลอดมา รวมถึ ง ภั ย จากศาสนาอิ ส ลามที่ เข้า ท าลายล้ า ง
พระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน
๙๑

ความมัน่ คงของพระพุทธศาสนาจะต้องประกอบด้วยปั จจัยที่สาคัญคือ ชาว


พุทธต้องเป็ นชาวพุทธที่แท้จริง มีความรูค้ วามเข้าใจในคาสอนของพระพุทธศาสนา
อย่างถูกต้องจึงจะนาหลักธรรมมาใช้ในการดาเนิ นชีวติ จริง และที่สาคัญคือชาวพุทธ
จะต้องมีความสามัคคีกนั เว้นจากการให้รา้ ยกัน พระพุทธศาสนาจึงจะมัน่ คงอยู่ได้
อย่างแท้จริง
อาจารย์ขอจบจดหมายฉบับนี้ ไว้เพียงเท่านี้

ขอให้พระรัตนตรัยคุม้ ครอง
อาจารย์
๙๒

จดหมายฉบับที่ ๕ บ้านกาญจนรัชต์
นครราชสีมา

พิชญา ศิษย์รกั
จดหมายฉบับนี้ อาจารย์จะได้กล่าวถึ งประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาใน
ทวีปเอเชี ย ซึ่ งถื อว่าเป็ นทวี ปที่ ใหญ่ มาก เมื่ อศึ ก ษาโดยละเอี ยดแล้ว จะท าให้
มองเห็นภาพของพระพุทธศาสนาที่เข้าสู่ทวีปเอเชีย ที่แบ่งออกเป็ นเอเชียใต้ เอเชีย
ตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และเอเชียกลาง
เมื่อมองโดยภาพรวมของพระพุทธศาสนาในเอเชียแล้ว จะเห็นได้ว่า ทวีป
เอเชียเป็ นถิ่ นก าเนิ ดของศาสนาใหญ่ ทุ กศาสนา ไม่ว่าจะเป็ นศาสนาพุ ทธ คริสต์
อิสลามและฮินดู ปั จจุบนั ศาสนาคริสต์มีศาสนิ กมากที่สุดคือ ๒,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คน
ทัว่ โลก อันดับสองคือ ศาสนาอิสลาม มี ๑,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คน อันดับสามคือ กลุ่ม
ที่ไม่มีศาสนาบ้าง ผูไ้ ม่เชื่อในพระเจ้าบ้าง (Atheist) หรือผูท้ ี่คิดว่าเป็ นไปไม่ได้ที่จะรู ้
เรื่องพระเจ้าบ้าง (Agnostic) ในกลุ่มนี้ มีประมาณ ๑,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คน ศาสนา
ฮินดูเป็ นลาดับที่ สี่ มีศาสนิ ก ๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ในประเทศ
อินเดีย อันดับที่หา้ เป็ นศาสนาในประเทศจีน ได้แก่ เต๋า ขงจื้ อ และศาสนาพื้ นเมือง
มี ป ระมาณ ๓๙๔,๐๐๐,๐๐๐ คน ส่ ว นพระพุ ท ธศาสนาอยู่ ในล าดั บ ที่ ห ก มี
พุทธศาสนิ กชนประมาณ ๓๗๖,๐๐๐,๐๐๐ คนทัว่ โลก
พระพุ ทธศาสนายังแบ่งออกเป็ นนิ กายเถรวาทประมาณ ๑๒๔,๐๐๐,๐๐๐
คน มหายานประมาณ ๒๐๕,๐๐๐,๐๐๐ คน และอื่นๆ อีกประมาณ ๔๗,๐๐๐,๐๐๐
คน ในนิ กายมหายานเฉพาะพระพุ ทธศาสนาแบบทิ เบตหรือวัชรยาน มี ศาสนิ ก
ประมาณ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ คนทัว่ โลก
สาหรับพระพุทธศาสนาในเอเชียปั จจุบนั เจริญรุ่งเรืองอยูใ่ นเอเชียตะวันออก
เฉี ยงใต้และเอเชียตะวันออก ซึ่งเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ประกอบด้วยประเทศไทย
พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม เป็ นต้น ส่วนเอเชียตะวันออกประกอบด้วยประเทศจีน
มาเก๊า เกาหลีใต้ ไต้หวัน ทิเบต เป็ นต้น ในเอเชียใต้ก็ยงั มีอยูพ่ อสมควรโดยเฉพาะ
ในศรีลังกา และภูฏาน ส่วนในอินเดียมีพุทธศาสนิ กชนอยู่ ๗,๐๐๐,๐๐๐ คน ถือว่า
น้อยมากเมื่อเทียบกับศาสนาฮินดูซึ่งมีถึง ๙๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คน
๙๓

หากพิจารณาสัดส่วนของประชากรทั้งหมดกับผูน้ ั บถือพระพุทธศาสนาแล้ว
ประเทศไทยมีสัดส่วนของประชากรนั บถือพระพุทธศาสนาสูงที่สุดในโลกคือ ๙๕%
รองลงมาคือ กัมพูชา ๙๐% พม่า ๘๘% ภูฏาน ๗๕% ศรีลังกา ๗๐% ทิเบต ๖๕%
เป็ นต้น แต่ถ า้ ถื อเอาจานวนผูท้ ี่ นั บถื อพระพุ ทธศาสนามากที่ สุดโดยไม่คานึ งถึ ง
สั ด ส่ ว นประชากรแล้ ว ประเทศจี น มี พุ ท ธศาสนิ กชนมากที่ สุ ด ในโลกคื อ
๑๐๒,๐๐๐,๐๐๐ คน รองลงมาคือญี่ ปุ่น ๘๙,๖๕๐,๐๐๐ คน ส่วนประเทศไทย เป็ น
อันดับที่สามคือ ๕๕,๔๘๐,๐๐๐ คน
หากกล่ า วถึ งประวั ติ ศาสตร์ พ ระพุ ทธศาสนาในเอเชี ย จะพบว่ า
พระพุทธศาสนามีจุดกาเนิ ดที่ประเทศอินเดียทางตอนเหนื อและเผยแผ่ไปยังนานา
ประเทศโดยรอบ บางประเทศนั้ นพระพุทธศาสนาเผยแผ่ไปถึงตั้งแต่สมัยพุทธกาล
โดยเฉพาะประเทศที่ มี พรมแดนติ ดกับอิ นเดี ย เช่น ประเทศเนปาล เป็ นต้ น แต่
ส่วนมากได้รบั พระพุทธศาสนา ครั้งแรกในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช จากสมณทูต ๙
สาย ดังกล่าวแล้วในบทที่ ๒ ประเทศต่างๆ ในเอเชียเปิ ดรับเอาพระพุทธศาสนาเข้า
มาประสมประสานกับอารยธรรมเดิมของตน จนกลายเป็ นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์
เฉพาะของดินแดนนั้นๆ
ทวีปเอเชียมีประชากรราว ๖๐% ของประชากรโลก มีเขตแดนติดต่อกับ ๒
ทวีป คือ ทวีปแอฟริกา และทวีปยุโรป นอกจากนี้ ทวีปเอเชียยังรวมถึ งเกาะต่างๆ
ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย แบ่งภูมิภาคออกเป็ นส่วนตามทิ ศ
ต่างๆ ดังนี้ คือ เอเชียเหนื อ เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงเหนื อ
เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (หรือตะวันออกกลาง)
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคก่อนนั้ น พระภิ กษุ ผูเ้ ป็ นธรรมทู ตมักจะ
เดิ นทางไปบนเส้นทางการค้าขายที่ เรียกว่า เส้นทางสายไหม (Silk Road) ซึ่งเป็ น
เส้นทางของขบวนคาราวานในภูมิภาคเอเชียใต้ที่เชื่อมเมืองต่างๆ ระหว่างเอเชียไม
เนอร์ไปถึ งประเทศจีนเป็ นเส้นทางขนส่งสิ นค้าสาคัญ อันได้แก่ เส้นไหม ผ้าไหม
และเครื่องเทศ เป็ นต้น
ในช่วง ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ปี มาแล้ว เส้นทางสายไหมเป็ นปั จจัยสาคัญในการ
เติบโตของแหล่งอารยธรรมโบราณหลายแห่ง คือ อียิปต์โบราณ เมโสโปเตเมีย จีน
๙๔

โรมัน เปอร์เซียและอินเดีย เส้นทางสายไหมมีท้ังทางบกและทางทะเล สาหรับทาง


บกมีอยู่ ๒ สาย คือ
๑. เริ่มต้นที่ประเทศจีน จากเมืองฉางอัน (Chang'an) ปั จจุบนั เรียกชื่อซีอาน
(Xi'an) ซึ่ งเป็ นเมื อ งหลวงตั้ งอยู่ ในมณฑลชานสี (Shaanxi) ผ่ านมณฑลกั น สู
(Kansu) มณฑลซิ น เจี ย ง (Xinjiang) ข้ า มเทื อกเขาพามี ร์ (Pamir) สู่ ป ระเทศ
อัฟกานิ สถานและอิหร่าน
๒. อี กเส้นทางหนึ่ งจากตอนใต้ของประเทศรัสเซี ยเข้าสู่เอเชี ยกลางไปยัง
ประเทศแถบชายฝั ่ งทะเลเมดิ เตอร์เรเนี ยน เส้น ทางนี้ ยาวมากกว่า ๑๐,๐๐๐
กิโลเมตร เป็ นเส้นทางแลกเปลี่ ยนวัฒนธรรมและการค้าระหว่างประเทศจีน และ
ประเทศในเอเชียกลาง
สาหรับการเดินทางทางทะเล เส้นทางสายไหมยังขยายไปยังเกาหลี ญี่ ปุ่น
และประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีนได้แก่ ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชาและ
อิ น โดนี เซี ย เป็ นต้น นอกจากนี้ ยังมี การเดิ นทางไปยัง คาบสมุ ทรเปอร์เซี ยและ
ประเทศแถบชายฝั ่ งทะเลอาหรับ (Arabian Sea) หลังจากนั้ นจึงต่ อไปยังประเทศ
อื่นๆ
จดหมายฉบับนี้ จะได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียส่วน
ต่าง ๆ ตามลาดับ ดังนี้
๑. พระพุทธศาสนาในเอเชียใต้
เอเชียใต้ประกอบด้วยประเทศบนเทือกเขาหิมาลัย ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน
เนปาล ภูฏานและบังกลาเทศ รวมทั้งประเทศในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ ศรีลังกา
และมั ล ดี ฟ ส์ ประเทศเหล่ านี้ เป็ นต้น แหล่ งแห่ งพระพุ ท ธศาสนาในยุ ค แรก
โดยเฉพาะประเทศอินเดี ย พระพุทธศาสนาบังเกิ ดขึ้ นท่ ามกลางสังคมอินเดียที่ มี
ความหลากหลายทางด้านความเชื่อ แต่ดว้ ยเวลาเพียงไม่นานก็สยบความเชื่อและ
วัฒนธรรมดั้งเดิมลงได้ จนกลายเป็ นศาสนาที่ สูงเด่นในครั้งพุทธกาล ยุคต่อมาก็
ค่อยๆ แผ่ขยายผ่านเส้นทางสายไหมไปยังนานาประเทศโดยรอบ ดังจะได้บรรยาย
ในแต่ละประเทศ ดังนี้
๙๕

๑) ประเทศเนปาล
ประเทศเนปาลมี ชื่อเป็ นทางการว่า ราชอาณาจักรเนปาล (Kingdom of
Nepal) ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนติดกับทิเบต และอินเดีย มีเมืองหลวง
ชื่อ กาฐมาณฑุ และเป็ นเมืองที่ ใหญ่ ที่สุดของประเทศ เนปาลมีประชากรประมาณ
๒๗,๑๓๓,๐๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๔๘) The ๒๐๐๑ census (พ.ศ.๒๕๔๔) ระบุ ว่า ชาว
เนปาล ๘๐.๖% นั บถือศาสนาฮินดู ๑๐.๗% (ประมาณ ๒,๙๐๓,๒๓๑ คน) นั บถื อ
ศาสนาพุทธ ๔.๒% เป็ นมุ สลิม ๓.๖% นั บถื อคิ รทั (Kirat) ซึ่งเป็ นศาสนาพื้ นเมือง
๐.๕% นับถือศาสนาคริสต์ และ ๐.๔% นับถือศาสนาอื่นๆ
พระพุทธศาสนาเข้าสู่เนปาลตั้งแต่สมัยพุทธกาล ทั้งนี้ เพราะกรุงกบิลพัสดุ์
อันเป็ นเมืองประสูติของพระโพธิสตั ว์ ซึ่งในอดีตอยูใ่ นรัฐอุตตระของอินเดีย ปั จจุบัน
อยูใ่ นเขตเนปาลขณะที่องั กฤษปกครองอินเดีย ได้แบ่งกรุงกบิลพัสดุใ์ ห้เป็ นส่วนของ
เนปาล ในสมัยพุทธกาลพระพุทธองค์เคยเสด็ จไปโปรดพระญาติ ที่ กรุงกบิ ลพัสดุ์
นอกจากนี้ หลังพุทธปรินิพพานแล้วพระอานนท์ก็ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปใน
บริเวณนี้ ชาวเนปาลส่วนหนึ่ งจึงนับถือพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ยุคพุทธกาล
ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงพระราชทานพระราชธิ ดาพระ
นามว่า จารุมตี แก่ขุนนางใหญ่ชาวเนปาล พระเจ้าอโศกมหาราชและเจ้าหญิงจารุม
ตีทรงสร้างวัดและเจดียห์ ลายแห่งในเนปาล ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่กรุงกาฐมาณฑุใน
ปั จจุบนั
พระพุทธศาสนาในยุคแรกเป็ นนิ กายเถรวาท ต่อมาเมื่อเสื่อมสูญไป เนปาล
กลายเป็ นศูนย์กลางของมหายานนิ กายตันตระ ซึ่งใช้คาถาอาคมและพิธีกรรมทาง
ไสยศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีพุทธปรัชญาสานักใหญ่ๆ เกิดขึ้ นอีก ๔ นิ กาย คือ สวาภา
วิภะ ไอศวริกะ การมิกะและยาตริกะ ซึ่งแต่ละนิ กายยังแยกย่อยออกไปอี ก นิ กาย
ต่างๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็ นถึ งการผสมผสานเข้าด้วยกันของความคิ ดทางปรัชญา
หลายๆ อย่าง ชาวเนปาลได้รกั ษาสืบทอดพุทธปรัชญาเหล่านี้ มาจนถึง ปั จจุบนั ใน
แต่ละนิ กายมีคาสอน ดังนี้
๑. นิ กายสวาภาวิภะ นิ กายนี้ สอนว่า สิ่งทั้งหลายในโลกมีลกั ษณะแท้จริงใน
ตัวของมันเอง ซึ่งแสดงออกเป็ น ๒ ทาง คือ ความเจริญ (ปรวฤตติ) และความเสื่อม
(นิ วฤตติ)
๙๖

๒. นิ กายไอศวริกะ นิ กายนี้ สอนให้เชื่ อในเทพเจ้าผู ส้ มบู รณ์ ที่ สุ ด และมี


อานาจที่สุด
๓. นิ กายการมิกะ นิ กายนี้ สอนการอบรมจิตใจ เพราะเป็ นวิธีกาจัดอวิชชาให้
หมดสิ้ นได้
๔. นิ กายยาตริ กะ นิ กายนี้ สอนให้เชื่ อในความมี อยู่ของวุ ฒิ ปั ญ ญาและ
เจตจานงอิ สระ ซึ่งเป็ นการผสมผสานระหว่างปรัชญาต่างๆ ของอิ นเดียและทิ เบต
ภายใต้อิทธิพลของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา
ในสมัยที่ชาวมุสลิมเข้ารุกรานแคว้นพิหารและเบงกอลของอินเดีย พระภิกษุ
จากอินเดียต้องหลบหนี ภยั เข้าไปอาศัยในเนปาล และได้นาคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนา
เข้าไปด้วย ซึ่งมีการเก็บรักษาไว้เป็ นอย่างดีจนถึงทุ กวันนี้ แต่เมื่อมหาวิทยาลัยนา
ลันทาในอินเดียถูกทาลาย ก็ส่งผลให้พระพุทธศาสนาในเนปาลพลอยเสื่อมลงด้วย
ปั จจุบนั เนปาลมีการฟื้ นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทขึ้ นใหม่ โดยส่งพระภิกษุ
สามเณรไปศึกษาในประเทศต่างๆ เช่น ศรีลังกา พม่า และไทย เมื่อกลับมาเนปาล
แล้วก็ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะพระภิกษุ ที่เดินทางไปศรี
ลังกาได้อาราธนาท่านธรรโทรยะสุภะ ภิกษุ ชาวศรีลังกามาฟื้ นฟู พระพุทธศาสนา
ด้วย มีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็ นภาษาท้องถิ่นแล้วจัดพิมพ์ออกเผยแพร่
๒) ประเทศภูฏาน
ประเทศภู ฏานมี ชื่ อเป็ นทางการว่า ราชอาณาจักรภู ฏาน (Kingdom of
Bhutan) เป็ นประเทศเล็กๆ มีพื้นที่เพียง ๔๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ตั้งอยูบ่ นเชิงเขา
หิมาลัย อยูท่ างตอนใต้ของจีนและทิเบต เหนื อบังกลาเทศและอินเดีย ติดกับเนปาล
มีเมืองหลวงชื่อ ทิ มพู ลักษณะการปกครองเป็ นแบบกึ่งศาสนากึ่งอาณาจักรคล้าย
กับทิเบต แต่มีความต่างกันบ้าง คือทิเบตมีองค์ทะไล ลามะเป็ นผูน้ าทั้งทางศาสนา
และอาณาจักร ส่วนภูฏานมีกษัตริยป์ กครองประเทศ และมีพระสงฆ์ผูม้ ีสมณศักดิ์
สู งสุ ด เรียกว่า เจ เคนโป (Je Khenpo) เป็ นประมุ ขสงฆ์และช่วยบริหารราชการ
แผ่นดินด้วย เจ เคนโป มีฐานะเที ยบเท่ ากษั ตริย์ ในอดี ตการปกครองของทั้งสอง
ประเทศเหมือนกัน ประชากรในภู ฏานมีประมาณ ๗๕๒,๗๐๐ คน (พ.ศ. ๒๕๔๘)
โดย ๗๔% นั บถื อพระพุ ทธศาสนา นิ กายตันตรยาน ๒๕% นั บถื อศาสนาฮิ นดู
๐.๗% เป็ นมุสลิมและ ๐.๓% นับถือศาสนาคริสต์
๙๗

พระพุทธศาสนาในภู ฏานมีลักษณะแบบเดียวกับทิ เบต โดยท่ านคุ รุปัทม


สัมภวะเป็ นผูน้ าพระพุทธศาสนาตันตระมาเผยแผ่ครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่
๑๔ ต่ อมาในปี พ.ศ.๑๗๖๓ ลามะทิ เบตชื่ อ ปาโช ดรุ กอมชิ โป (Phajo Drugom
Shigpo) เดิ นทางมาเผยแผ่ นิ กายดรุ กปะกาจู (Drukpa Kagyupa) ซึ่ งพระลามะใน
นิ กายนี้ สามารถมีภรรยาได้ ในระหว่างที่ ลามะปาโชเดินทางไปเมืองทิ มพู ท่านได้
แต่งงานกับนางโซนั ม พอลดอน มีบุตรสาว ๑ คน บุตรชาย ๔ คน ลามะปาโชเป็ นที่
เคารพนั บถือของชาวภูฏานมาก เป็ นผูน้ าทั้งศาสนจักรและอาณาจักร เช่นเดียวกับ
ทิเบต ต่อมาบุตรชายทั้ง ๔ คน ได้ครองเมืองคนละเมือง นิ กายดรุกปะกาจูได้เป็ น
นิ กายที่สาคัญของประเทศภูฏานจนถึงปั จจุบนั
ในช่วงแรกๆ ภูฏานรับแบบอย่างการปกครองมาจากทิเบต คือ ผูน้ าประเทศ
จะเป็ นผูน้ าทางศาสนาด้วย ต่อมาภายหลังได้เปลี่ ยนแปลงคือ กษัตริยท์ าหน้าที่
ปกครองฝ่ ายบ้านเมือง ส่วนพระสังฆราชหรือ เจ เคนโป ปกครองสงฆ์เป็ นหลัก แต่ก็
มีส่วนในการปกครองประเทศด้วย โดยพระสงฆ์มี ๑๐ ที่ นั่งในสภา ผูว้ างรากฐาน
การปกครองนี้ คื อ ลามะชับดรุ ง งาวัง นั มเยล (Shabdrung Ngawang Namgyel;
พ.ศ.๒๑๓๗ - ๒๑๙๔) การปกครองระบอบนี้ ใช้กฎหมาย ๒ ฉบับ คือ โล ทริม มิ ลุ
ทริม คือกฎหมายทางใจ และซา ลุง มิ ลุ ลุง คือกฎหมายทางโลก
ต่อมาวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๘ พระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรง
ประกาศเปลี่ ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิ ทธิ ราชย์ไปสู่ระบอบ
ประชาธิ ปไตย โดยมี พระมหากษั ตริย์เป็ นประมุ ขภายใต้รัฐธรรมนู ญและมี คณะ
องคมนตรีเป็ นที่ปรึกษา สภาแห่งชาติ ของภูฏานเรียกว่า Tsongdu ทาหน้าที่ในการ
ออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก ๑๕๑ คน จานวน ๑๐๖ คน มาจากการเลือกตั้ง
ของประชาชน และอีก ๕๕ คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์
ชาวภู ฏานมี เทศกาลที่ ส าคั ญ และศั กดิ์ สิ ท ธิ์ อย่างหนึ่ งคื อ เทศกาลเตชู
(Tsechu) ซึ่งจัดขึ้ นอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อระลึกถึงการกาเนิ ดของท่านคุรุปัทมสัมภวะ ผู ้
ได้รับการกล่าวขานว่าถื อกาเนิ ดมาจากดอกบัวตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา
นิ กายวัชรยาน เทศกาลนี้ จะจัดขึ้ นทุ กปี หมุ นเวียนไปตามปฏิทิ นทางจันทรคติ ใน
เทศกาลจะมีการแสดงระบาหน้ากาก โดยพระลามะ ผูแ้ ตกฉานในตาราวัชรยาน จะ
๙๘

สวมใส่เสื้ อผ้าที่สวยงามหลากหลายด้วยหน้ากากแห่งทวยเทพ ปี ศาจและเหล่าสรรพ


สัตว์
๓) ประเทศบังกลาเทศ
บังกลาเทศมีชื่อเป็ นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (Peoples
Republic of Bangladesh) ค าว่ า "บั งกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่ า "ประเทศ
แห่งเบงกอล" ตั้งอยูท่ าง ทิศเหนื อของอ่าวเบงกอล มีพรมแดนติดกับอินเดียเกือบทุก
ด้าน เมื องหลวงชื่ อ ธากา เป็ นเมื องใหญ่ สุ ด บั งกลาเทศมี ประชากรประมาณ
๑๔๑,๘๒๒,๐๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๔๘) นั บถื อศาสนา อิสลาม ๘๘.๓% ศาสนาฮินดู
๑๐.๕% ศาสนาคริสต์ ๐.๗% ศาสนาพุทธ ๐.๕% ส่วนมากอยูใ่ นเขตจิตตะกอง ซึ่งมี
ตระกูลชาวพุทธที่สืบเนื่ องมายาวนานคือตระกูลบารัว
บังกลาเทศในปั จจุบันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า ๑,๐๐๐ ปี เดิมเป็ น
ส่ วนหนึ่ งของ อิ นเดี ย เคยเป็ นดิ นแดนที่ ศาสนาพราหมณ์ และพระพุ ทธศาสนา
เจริญรุง่ เรืองมาก่อน ต่อมาพ่อค้าชาวอาหรับนาศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ จนชาว
บังกลาเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มาถึงทุกวันนี้
ปี พ.ศ.๒๓๐๐ อังกฤษเข้ายึดครองอินเดียและปกครองอยู่เกือบ ๒๐๐ ปี ได้
คืนเอกราชให้อินเดียในปี พ.ศ.๒๔๙๐ แต่แบ่งดินแดนออกเป็ น ๒ ส่วน คือ อินเดีย
และปากีสถาน เบงกอลตะวันออก (East Bengal) หรือส่วนที่เป็ นบังกลาเทศปั จจุบนั
เป็ นจังหวัดหนึ่ งของปากีสถานเรียกกันว่าปากีสถานตะวันออก ต่อมาชาวปากีสถาน
ตะวันออกไม่ พอใจการบริหารงานของรัฐบาลกลาง เมื่ อวันที่ ๒๖ มี นาคม พ.ศ.
๒๕๑๔ จึ งประกาศแยกตั วออกมา และได้รับเอกราชโดยสมบู รณ์ ในวัน ที่ ๑๖
ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๔
พระพุ ท ธศาสนาเข้าสู่ บั งกลาเทศหลายยุ ค หลายสมั ย เริ่ ม ตั้ งแต่ ส มั ย
พุทธกาล ทั้งนี้ สังเกตได้จากวัฒนธรรมของชาวเบงกอลคล้ายคลึงกับชาวมคธ ในปี
พ.ศ.๒๔๓ พระเจ้าอโศกมหาราชเผยแผ่พระพุทธศาสนามายังดิ นแดนแห่งนี้ ด้วย
และในปี พ.ศ.๖๐๐ สมัยพระเจ้ากนิ ษกมหาราช ทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนานิ กาย
สรวาสติวาทิ นและเผยแผ่เข้ามาสู่บังกลาเทศเช่นกัน หลังจากนั้ นพระพุทธศาสนา
มหายานก็เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา จนกระทัง่ ในปี พ.ศ.๑๖๔๓-๑๘๔๓ พระพุทธศาสนา
ก็เสื่อมลง ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีบทบาทแทน
๙๙

ต่อมาในสมัยยะไข่ (มอญ) พระพุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุ่งเรืองมาก สมัย


นั้ นจิตตะกองอยูภ่ ายใต้การดูแลคุม้ ครองของยะไข่ มีพระภิกษุ สงฆ์จานวนมากจาริก
ไปยังจิตตะกองและได้เผยแผ่สืบต่อกันมาเป็ นเวลายาวนานถึง ๑๐๐ ปี ทาให้ชาวจิต
ตะกองนั บถื อพระพุ ทธศาสนาฝ่ ายเถรวาทมาจนถึ งทุ กวันนี้ พระพุ ทธศาสนาใน
บังกลาเทศแบ่งนิ กายออก เป็ น ๒ นิ กาย คือ
๑. นิ กายมาเถ หรือมหาเถรนิ กาย เป็ นนิ กายเก่าแก่ ยึดหลักคาสอนดั้งเดิ ม
หรือเถรวาท มีพระภิกษุ อยูป่ ระมาณ ๔๐-๕๕ รูป อยูท่ ี่ตาบลราอุชาน รางคุนิยา โบ
วาลคลี และปาจาลาอิศ
๒. นิ กายสังฆราช นิ กายนี้ เกิดภายหลังนิ กายมาเถ คือ นั บย้อนไปประมาณ
๑๐๐ กว่าปี ที่ผ่านมานี้ เอง มีพระสังฆราชเมธมหาเถระ เป็ นผูใ้ ห้กาเนิ ด มีพระภิกษุ
ประมาณ ๘๐๐ กว่ารูป อาศัยอยูท่ วั ่ ประเทศ
๔) ประเทศศรีลงั กา
ประเทศศรี ลังกา (Sri Lanka) หรือชื่ อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิ ยม
ประชาธิ ปไตยศรี ลั ง กา (Democratic Socialist Republic of Sri Lanka) ได้ รั บ
ผลกระทบจากการสู ้รบระหว่างรัฐบาล และกบฏทมิ ฬอี แลมมายาวนาน เพิ่ งมี
ข้อตกลงหยุดยิง เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๔๕ ศรีลังกามีเมืองหลวงชื่อ ศรีชเยวรเทเนปุระ
คอตเต เมืองที่ ใหญ่ ที่ สุดคื อ โคลัมโบ มีประชากรประมาณ ๒๐,๗๔๓,๐๐๐ คน
(พ.ศ.๒๕๔๘) นับถือศาสนาพุทธประมาณ ๖๘% ฮินดู ๑๘% และคริสต์ศาสนา ๗-
๘% โดยส่วนใหญ่ผูท้ ี่นับถือฮินดูน้ั นเป็ นชาวทมิฬ ส่วนคริสเตียนเป็ นชาวโปรตุเกส
และฮอลแลนด์
ศรีลงั กามีวฒ
ั นธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะวัฒนธรรม
การบวช พระภิกษุ จะนิ ยมบวชตลอดชีวิต แต่ละปี บวชได้เพียงครั้งเดียว และแต่ละ
วันบวชได้เพียง ๑ รูปเท่านั้ น ด้วยเหตุนี้พระภิกษุ ศรีลังกาจึงมีคุณภาพ ไม่ได้บวช
โดยหวังพึ่งพระศาสนาเพียงชัว่ ครั้งชัว่ คราวแล้วลาสิกขาออกไป ปั จจุบนั พระภิกษุ ที่
จาริกเผยแผ่ในประเทศต่างๆ ทัว่ โลกเป็ นพระจากศรีลังกาจานวนมาก ทั้งนี้ เพราะ
ท่ า นมี ค วามสามารถด้ า นภาษาอั งกฤษเป็ นอย่ า งดี แ ละมี ศ รั ท ธามั ่น คงใน
พระพุทธศาสนา
๑๐๐

ศรี ลั งกาเป็ นศู น ย์ ก ลางพระพุ ท ธศาสนาเถรวาทมาตั้ งแต่ ยุ ค โบราณ


พระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้าสู่ลังกาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๖ โดยพระเจ้าอโศก
มหาราชทรงส่งพระมหินทเถระและคณะไปประกาศพระศาสนาในสมัยพระเจ้าเท
วานั มปิ ยติสสะ มีคนออกบวชหลายพันคน พระราชาทรงอุทิศมหาเมฆวันอุทยาน
เป็ นวัด เรียกว่า วัดมหาวิหาร พระมหินทเถระได้นา พระไตรปิ ฎกพร้อมทั้งอรรถ
กถามาสู่ลงั กา และยังได้นาอารยธรรม ศิลปกรรม สถาปั ตยกรรม เข้าไปด้วย
ต่ อมาพระนางอนุ ฬาเทวีมเหสี และสตรี บริ วารจ านวนมากปรารถนาจะ
อุปสมบทบ้าง พระเจ้าเทวานั มปิ ยติสสะจึงทรงส่งคณะทูตไปสู่ราชสานั กของพระเจ้า
อโศก ทูลขอพระสังฆมิต-ตาเถรี และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ดา้ นทักษิ ณมาสู่ลงั กาทวีป
จึงทาให้มีสตรีออกบวชเป็ นภิกษุ ณีกนั จานวนมาก
ในปี พ.ศ.๔๓๓๑ รัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย พวกทมิฬเข้ายึดครอง
อนุ ราธปุระเป็ นเวลา ๑๔ ปี จนพระองค์ตอ้ งเสียราชบัลลังก์และเสด็จลี้ ภัยไปซ่องสุ ม
กาลัง ระหว่างนั้ นทรงได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหาติ สสะ ต่อมาเมื่อปราบพวก
ทมิฬได้แล้วจึงเสด็ จกลับมา ครองราชย์อีกครั้ง ทรงให้ทาการสังคายนาและจารึก
พระพุ ทธพจน์ ลงใบลานเป็ นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังทรงอุ ปถัมภ์พระมหาติ สสะ
พร้อมทั้งสร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวายด้วย เป็ นเหตุ ให้พระภิ กษุ มหาวิหารไม่พอใจ
สงฆ์จึงแตกออกเป็ น ๒ คณะ คือ มหาวิหาร กับอภัยคีรีวหิ าร
คณะมหาวิหารเป็ นฝ่ ายอนุ รกั ษ์นิยม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระธรรม
วินัยใดๆ และยังตาหนิ รงั เกียจภิกษุ ต่างนิ กายว่าเป็ นอลัชชี ส่วนคณะอภัยคีรีวิหาร
เป็ นคณะที่เปิ ดกว้าง ยอมรับเอาความคิดเห็นต่างนิ กาย ไม่รงั เกียจภิกษุ ต่างนิ กาย
พระพุทธโฆษาจารย์ กาลต่อมามีปราชญ์พระพุทธศาสนาผูม้ ีชื่อเสียงท่าน
หนึ่ งชื่อพระพุทธโฆษาจารย์ (เกิดปี พ.ศ.๙๔๕) เดินทางจากอินเดียมาที่สานั กมหา
วิ ห ารเพื่ อ ศึ ก ษา พระพุ ท ธศาสนาและแปลคั ม ภี ร์ ต่ า งๆ ท่ า นรจนาคั ม ภี ร์
พระพุทธศาสนาที่สาคัญๆ ประมาณ ๑๓ คัมภีรซ์ ึ่งพุทธศาสนิ กชนได้ใช้ศึกษากันมา
จนถึงปั จจุบนั เช่น คัมภีรญ ์ าโณทัยปกรณ์ วิสุทธิมรรค และคัมภีรอ์ รรถกถาอธิบาย
ความพระไตรปิ ฎกต่างๆ เช่น อรรถกถาธรรมบท อรรถกถาชาดก อรรถกถาพระ
วินัย อรรถกถาพระสูตรต่างๆ เป็ นต้น
๑๐๑

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึง ๑๗ เป็ นยุคที่ลังกาเดือดร้อนวุ่นวายเพราะ


การรุกรานจากอินเดียบ้าง ความไม่สงบภายในบ้าง ในช่วงนี้ เองพระภิกษุ ณีสงฆ์ได้
สูญสิ้ นไป และพระภิกษุ ก็ลดน้อยลงไปมาก จนกระทัง่ พ.ศ.๑๖๐๙ เมื่อพระเจ้าวิชยั
พาหุ ที่ ๑ มีพระราชประสงค์ จะฟื้ นฟูพระศาสนา แต่ทรงหาพระภิ กษุ ที่ อุปสมบท
ถู กต้องแทบไม่ ครบ ๕ รูป จึ งต้องอาราธนาพระสงฆ์จากพม่าตอนใต้มากระท า
อุปสมบทกรรมในลังกา
ในรัชสมัยของพระเจ้าปรากรมพาหุ ที่ ๑ (พ.ศ.๑๖๙๗-๑๗๓๐) ซึ่ งเป็ น
พระโอรสของพระเจ้าวิชยั พาหุที่ ๑ พระพุทธศาสนาในศรีลังการุ่งเรืองมาก มีการ
รวมคณะสงฆ์ให้เป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกัน ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชปกครอง
สงฆ์ท้ังประเทศเป็ นครั้งแรก ทรงสร้างวัดวาอารามด้วยศิลปกรรมที่ งดงาม ทาให้
ลังกากลายเป็ นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธ-ศาสนา มีพระสงฆ์และนั กปราชญ์
จากหลายประเทศมาศึกษาจานวนมาก
ภายหลังรัชกาลนี้ พวกทมิ ฬจากอิ นเดี ยก็ มารุ กรานอี ก ได้เข้าตั้งถิ่ นฐาน
มัน่ คงและขยายอาณาเขตออกไปเรื่อยๆ อาณาจักรสิงหลต้องถอยร่นลงใต้และต้อง
ย้ายเมืองหลวงอยู่บ่อยๆ ทาให้พระพุ ทธศาสนาเจริญได้ยาก เพียงแต่ธารงรักษา
ความมัน่ คงเข้มแข็งไว้เท่านั้ น ในปี พ.ศ. ๒๐๑๙ พระภิกษุ คณะหนึ่ งจากพม่ามารับ
การอุปสมบทที่ลงั กาและนาคัมภีรภ์ าษาบาลีกลับไปด้วย
ประมาณปี พ.ศ.๒๐๕๐ ชนชาติโปรตุเกสได้เข้ามาค้าขาย และใช้กาลังยึด
ครองดิ นแดนบางส่ วนไว้ พยายามบังคับชาวลังกาให้นั บถื อศาสนาคริสต์นิ กาย
โรมันคาทอลิก ทาให้พระพุทธศาสนากลับเสื่อมถอยลง จนต้องนิ มนต์พระสงฆ์จาก
ประเทศพม่ามาให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวศรีลงั กาอีก
ในปี พ.ศ.๒๒๐๐ ชาวฮอลันดาได้เข้ามาค้าขายในลังกาและช่วยขับไล่พวก
โปรตุเกสออกไปได้ เมื่อฮอลันดายึดครองพื้ นที่ได้จึงนาเอาคริสต์ศาสนามาเผยแพร่
อีก และพยายามกีดกันพระพุทธศาสนา สถานการณ์พระพุทธศาสนาในขณะนั้ น
ยา่ แย่ลงมาก ชาวพุทธเองก็มวั แต่รบราฆ่าฟั นกัน อีกทั้งยังเกิดวิกฤตการณ์ขา้ วยาก
หมากแพงอย่างรุนแรง พระภิกษุ สงฆ์อดรนทนไม่ไหวได้ทิ้งวัดวาอารามไปจนหมด
แต่มีสามเณรเหลืออยูบ่ า้ งโดยมีสามเณรสรณังกรเป็ นหัวหน้าคณะ
๑๐๒

ในปี พ.ศ.๒๒๙๔ สามเณรสรณั งกรทู ลขอให้ พระเจ้ากิ รติ ศรี ราชสิ งหะ
กษั ต ริ ย์ ลั ง กาในขณะนั้ น ส่ ง ทู ต มานิ มนต์ พ ระสงฆ์ จ ากเมื อ งไทยไปฟื้ นฟู
พระพุ ทธศาสนา สมัยนั้ นตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุ งศรีอยุธยา
พระองค์ทรงส่งพระสมณทูตไทยไปจานวน ๑๐ รูป มีพระอุบาลีเป็ นหัวหน้า ทาการ
บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกาถึง ๓,๐๐๐ คน ณ เมืองแคนดี สามเณรสรณัง
กรซึ่งได้รับการอุ ปสมบทในครั้งนี้ ได้รับการสถาปนาให้เป็ นสมเด็ จพระสังฆราช
ตั้งแต่ น้ั นมาจึงเกิ ดนิ กายสยามวงศ์หรืออุ บาลี วงศ์ขึ้ น ต่ อมาพระอุ บาลี เถระเกิ ด
อาพาธและได้มรณภาพในลังกานัน่ เอง
ในสมัยเดียวกันนี้ มีสามเณรลังกาคณะหนึ่ งเดินทางไปขอรับการอุปสมบท
ในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้งนิ กายอมรปุรนิ กายขึ้ น อีกคณะหนึ่ งเดินทางไปขอ
อุปสมบทจากคณะสงฆ์มอญแล้วกลับมาตั้งนิ กายรามัญนิ กายขึ้ น ในสมัยนั้ นจึงมี
นิ กายเกิดขึ้ น ๓ นิ กาย คือ นิ กายสยามวงศ์ นิ กายอมรปุรนิ กาย และนิ กายรามัญ ซึ่ง
ยังคงสืบทอดมาจนถึงปั จจุบนั
ในปี พ.ศ.๒๓๔๕ อังกฤษเข้าครองอานาจแทนฮอลันดา ได้ทาสนธิ สัญญา
กับกษัตริยล์ งั กาเพื่อรับประกันสิทธิของฝ่ ายลังกาและเพื่อคุม้ ครองพระศาสนา ครั้น
ต่อมาเกิดกบฏขึ้ นเมื่ออังกฤษปราบกบฏได้สาเร็จจึงดัดแปลงสนธิ สัญญาเสียใหม่
ทาให้ระบบกษัตริยล์ งั กาสูญสิ้ นตั้งแต่บดั นั้น
ในช่วงแรกของการปกครองโดยรัฐบาลอังกฤษ พระพุทธศาสนาได้รบั ความ
เป็ นอิสระมากขึ้ น ด้วยสนธิ สัญญาดังกล่าว แต่ภายหลังถูกกีดกันและต่อต้านจาก
ศาสนาคริสต์อีก รัฐบาลถูกบีบให้ยกเลิกสัญญาที่คุม้ ครองพระพุทธศาสนา องค์การ
คริสต์เตียนผูกขาดการศึกษาทัว่ ประเทศ โรงเรียนชาวพุทธเหลืออยู่เพียงแห่งเดียว
คื อ ที ทโดดันดุ วา นอกจากนี้ บาทหลวงยังโจมตี คาสอนในพระพุทธศาสนาอย่าง
รุ น แรงและต่ อเนื่ อง แต่ ไม่ มี ใครสามารถแก้ไขสถานการณ์ ได้ จนกระทั ่งท่ าน
คุณานั นทเถระได้ถือกาเนิ ดขึ้ นใน พ.ศ.๒๓๖๖ ต่อมาได้ออกบวชและศึกษาพระธรรม
วินัยจนแตกฉาน ท่านได้อาสาเป็ นทนายแก้ต่างให้พระศาสนา ด้วยการโต้วาทะกับ
นั กบวชที่ มาจาบจ้วงศาสนาพุทธจนได้รบั ชัยชนะ ฟื้ นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง
อีกครั้ง
๑๐๓

การโต้วาทะจัดขึ้ น ๕ ครั้งด้วยกันในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๐๘ -


เดื อนสิ งหาคม พ.ศ.๒๔๑๖ ศาสนิ กอื่ นที่ มาร่วมฟั งหรือได้อ่ านบทโต้วาทะจาก
หนั งสือพิมพ์ในแต่ละครั้งนั้ น หลายคนเสื่อมศรัทธาจากศาสนาเดิมของตนแล้วหัน
มานั บถื อพระพุ ทธศาสนา หนึ่ งในนั้ นคื อ เฮนรี่ สตี ล โอลคอตต์ (Henry Steele
Olcott) เขาและมาดามเอช.พี .บลาวัตสกี ตัดสิ นใจเดิ นทางมาศรีลังกาในปี พ.ศ.
๒๔๒๓ พอเหยียบแผ่นดินศรีลังกาที่ท่าเมืองกัลเล ทั้งสองได้ประกอบพิธีปฏิญาณ
ตนเป็ นพุทธมามกะทันที ณ วัดวิชยั นั นทะ จากนั้ นได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่าง
จริ งจัง จัด ตั้ งโรงเรี ยนชาวพุ ท ธขึ้ น ๔๐๐ โรงเรี ยนทั ่วประเทศเพื่ อแข่ งขั น กั บ
โรงเรียนคริสเตียน
นอกจากนี้ ยั ง มี ชาวตะวั น ตกอี ก ห ลายท่ าน มาศึ กษ าและฟื้ น ฟู
พระพุทธศาสนาในลังกา เช่น เอฟ.แอล.วูดวาร์ด (F.L.Woodward) บุตรของนั กบวช
นิ กายโปรเตสแตนต์แห่งซาแฮมประเทศอังกฤษ เดิ นทางมาถึ งศรีลังกาในวันที่ ๑
สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ได้ชว่ ยสอนหนังสือที่วทิ ยาลัยพระพุทธศาสนามหินทะ
ขณะนั้ นวิทยาลัยมหินทะมีนักเรียนอยู่ ๖๐ คน ศึกษากันอยูใ่ นอาคารเรียน
เก่ าๆ ของชาวฮอลันดา เอฟ.แอล.วูดวาร์ด บริ จาคเงินกว่า ๒,๐๐๐ ปอนด์ เพื่ อ
ก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ เขาออกแบบอาคารเรียนเอง ควบคุมการก่อสร้างเอง และ
ด้วยความทุ่ มเทในการท างานต่ อมาไม่ น านนั ก เรี ยนจึ งเพิ่ มขึ้ นเป็ น ๓๐๐ คน
วูดวาร์ดสอนนั กเรียนวันละหลายๆ ชั้น รูจ้ ักชื่อศิ ษย์ทุ กคนทั้งชื่อจริงและชื่อเล่น
นิ สยั ส่วนตัวของเขาเป็ นคนเคร่งครัดในวินัยมาก เขาจึงปั้ นศิษย์ดว้ ยวินัย เป็ นเหตุให้
วิทยาลัยเติ บโตรวดเร็ วมาก เขาท าหน้ าที่ เป็ นอาจารย์ใหญ่ อยู่ ๑๖ ปี โดยไม่ รับ
เงินเดือน วูดวาร์ดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนั ก จะถืออุโบสถศีลและสวมชุดขาว
ในวันพระจันทร์เพ็ญ จะนิ มนต์พระมารับภัตตาหารที่วิทยาลัยปี ละหลายๆ ครั้ง โดย
เขาจะทาหน้าที่ลา้ งเท้าพระสงฆ์ทีละรูปด้วยกิริยานอบน้อมอย่างยิ่ง
ด้วยการช่ วยกั นฟื้ นฟู พระพุ ทธศาสนาอย่างจริ งจังของพุ ทธศาสนิ กชน
เหล่านี้ จึงทาให้ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง และที่สาคัญปั จจุบันศรีลังกาเป็ น
ประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็ นศาสนาประจาชาติ
๑๐๔

๒. พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก
ประเทศในเอเชี ยตะวันออก ได้แก่ จีน ไต้หวัน มองโกเลี ย เกาหลี เหนื อ
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเป็ นนิ กายมหายาน โดยเริ่มต้น
เผยแผ่จากอินเดียสู่จีน จากจีนสู่เกาหลีและจากเกาหลีสู่ญี่ปุ่น เป็ นต้น ส่วนประเทศ
ทิเบตนั้ นบางตารากล่าวว่า ได้รบั พระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งจะได้ขยาย
ความในรายละเอียดดังต่อไปนี้

๑) ประเทศจีน
สาธารณรัฐประชาชนจีน (Peoples Republic of China ) มี เมื องหลวงชื่ อ
ปั กกิ่ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ เซี่ยงไฮ้ ปั จจุบันจีนปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิ สต์ มี
ประชากรมากที่ สุดในโลก คื อ ประมาณ ๑,๓๑๕,๘๔๔,๐๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๔๘)
จานวนพุ ทธศาสนิ กชนในจีนนั้ นยากที่ จะประเมินว่ามี อยู่เท่ าไร จากข้อมูลในวิกิ
พี เดี ยระบุ ว่ า มี อยู่ ป ระม าณ ๒ ๘ ๐ -๓ ๕ ๐ ล้ า น ค น ใน ขณ ะที่ เว็ บ ไซต์
www.adherents.com ระบุ ว่ามี ๑๐๒ ล้านคน อย่างไรก็ตามจีนก็ เป็ นประเทศที่ มี
พุ ทธศาสนิ กชนมากที่ สุ ดในโลก จี นมี ประวัติ ศาสตร์ยาวนานกว่า ๔,๐๐๐ ปี มี
ราชวงศ์ต่างๆ ผลัดเปลี่ยนกันปกครองสืบต่อกันมาหลายราชวงศ์ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์
เซี่ย ซาง โจว จิ๋น ฮัน่ จิ้ น เหลียง ซุย ถัง สมัย ๕ ราชวงศ์ ได้แก่ ซ้อง เหลียว หยวน
หมิง และราชวงศ์ชิง นอกจากนี้ ยังมีราชวงศ์ย่อยๆ อี กมากในที่ นี้ จะกล่าวเฉพาะ
ราชวงศ์ที่มีความสาคัญต่อพระพุทธศาสนาเท่านั้น
พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีนประมาณพุทธศักราช ๖๐๘ ในสมัยของ
พระเจ้าฮัน่ มิ่งตี่แห่งราชวงศ์ฮนั ่ ตานานกล่าวว่าคืนหนึ่ งพระจักรพรรดิทรงพระสุบิน
ไปว่ามีบุรุษทองคาเหาะไปทางทิศตะวันตก พระองค์จึงสอบถามขุนนางว่า ฝั นเช่นนี้
มี ความหมายว่าอย่างไร ขุ นนางผู ห้ นึ่ งตอบว่าทางทิ ศตะวันตกมี ย อดคน (พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า) ถือกาเนิ ดขึ้ น เมื่อได้ยินเช่นนั้ นพระองค์จึงรับสัง่ ให้ขุนนาง ๑๘
คน ออกเดินทางเพื่อเสาะหายอดคนผูน้ ้ั น ในที่สุดก็เดินทางมาถึงเมืองโขตาน ได้พบ
พระภิ กษุ ๒ รูป คือ พระกาศยปะมาตังคะกับพระธรรมรักษ์ ขุนนางจีนจึงนิ มนต์
พระทั้งสองรูปนี้ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศจีน
๑๐๕

เมื่ อพระเถระทั้ งสองรับนิ มนต์แล้ว จึ งใช้ม ้าขาวบรรทุ กพระคั มภี ร์และ


พระพุทธรูปไปยังเมืองโลยางนครหลวงของจีนในขณะนั้ น พระเจ้าฮัน่ มิ่งตี่ทรงพอ
พระทัยอย่างมากและรับสัง่ ให้สร้างวัดขึ้ นที่ดา้ นนอกของประตูเมืองหย่งเหมิน โดย
ให้ชื่อว่า วัดแปะเบ้ยี่ แปลว่า วัดม้าขาว เพื่อเป็ นอนุ สรณ์แก่มา้ ที่บรรทุกพระคัมภีร์
พระพุทธศาสนามา ถือว่าวัดม้าขาวเป็ นปฐมสังฆาราม ในประเทศจีน และพระเจ้า
ฮัน่ มิ่งตี่เป็ นปฐมกษัตริยจ์ ีนที่นับถือพระพุทธศาสนา การอุปสมบทเกิดขึ้ นครั้งแรก
ในปี พ.ศ.๗๙๓ โดยพระภิ กษุ อิ นเดี ยชื่ อ พระธรรมกาละ เดิ นทางไปจีนเหนื อถึ ง
เมืองโลยาง ทาพิธีผูกพัทธสีมาขึ้ นและให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรจีน
ในยุคราชวงศ์จนิ้ พวกมองโกลได้แผ่อิทธิพลมาทางภาคเหนื อของจีน เข้ายึด
ลุ่มแม่น้ าเหลื องไว้หมด ท าให้จีนแบ่ งเป็ นภาคเหนื อและใต้ เรียกว่า ยุคน่าปั ก
(พุทธศตวรรษที่ ๘ - ๑๑) ภาคเหนื อเป็ นมองโกล ส่วนภาคใต้เป็ นจีนแท้ มีแม่น้ า
แยงซีเกียงเป็ นพรมแดน ในยุคนา่ ปั กนี้ สมณะเสิงเจียนนาคัมภีรม์ หาสังฆิกะ-ภิกษุ ณี
กรรมันและภิกษุ ณีปาฏิโมกข์ มายังเมืองโลยางและได้อุปสมบทภิกษุ ณีรูปแรกขึ้ นใน
ระหว่างปี พ.ศ.๙๐๐ - ๙๐๔ คือ ภิกษุ ณีจิงเจียน ณ ภิกษุ ณีอารามจูหลิน ณ เมือง
โลยาง
ในสมั ยพระเจ้างุ่ ยบู เต้แห่ งจี น เหนื อทรงหลงเชื่ อลั ท ธิ เต๋ าว่า จะท ายา
อายุ วัฒ นะให้เสวยแล้วจะมี พระชนม์ ๑๐,๐๐๐ ปี แต่ นั กบวชเต๋ าขอให้พระองค์
ทาลายพระพุทธศาสนาเสีย พระเจ้างุย่ บูเต้จึงตรัสสัง่ ทาลายวัดและประหารพระสงฆ์
ในครั้งนั้ นพระราชโอรสซึ่งเป็ นพุทธมามกะได้ส่งสายลับไปเตือนพระสงฆ์ให้หนี ไป
ก่อน พระภิกษุ ส่วนใหญ่จึงรอดตาย แต่วดั ถูกทาลายไป ๓๐,๐๐๐ กว่าวัด
หลังจากการสรรคตของพระเจ้างุ่ยบูเต้ พระราชนั ดดาของพระองค์เสด็จขึ้ น
ครองราชย์สืบต่อไป กษัตริยพ์ ระองค์นี้ทรงฟื้ นฟูพระพุทธศาสนาขึ้ นใหม่ ในปี พ.ศ.
๙๒๙ - พ.ศ.๑๐๗๗ ทรงสร้างถ้ าตุ นหวงขึ้ นเพื่อเป็ นสถานที่ ปฏิบัติธรรมของพระ
กัมมัฏฐาน ยุคต่อมามีการสร้างเพิ่มขึ้ นเรื่อยๆ หลายร้อยปี จนกลายเป็ นสถานที่
มหัศจรรย์ มีถ้าน้อยใหญ่กว่า ๔๐๐ ถ้า ถ้าทั้งหมดขุดด้วยแรงงานคน ไม่ได้เกิดขึ้ น
เองตามธรรมชาติ ชาวพุทธในอดีตหาวิธีป้องกันไม่ให้พระสัทธรรม อันตรธาน จึง
จารึกพระไตรปิ ฎกลงบนแผ่นผาภายในถ้าต่างๆ แล้วปิ ดประตูถ้าด้วยก้อนศิลา โดย
๑๐๖

หวังให้คนยุคหลังได้ศึกษา ปั จจุบันถ้ านี้ ตั้งอยู่กลางทะเลทรายโกบี เมืองตุ นหวง


มณฑลกานสู
พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลาดับจนถึ งสมัยพระเจ้าเหลี ยงบู เต้
ทรงครองราชย์ พ.ศ.๑๐๒๒ ณ เมืองนานกิง ภาคใต้ของจีน พระองค์ได้รบั ฉายาว่า
เป็ นอโศกแห่งแผ่นดินจีนยุคสมัยของพระองค์มีนักบวชจานวนมาก เฉพาะเมืองโล
ยาง มีภิกษุ และภิกษุ ณีถึง ๒,๐๐๐,๐๐๐ รูป พระต่างชาติอีก ๓,๐๐๐ รูป พระเจ้าเหลี
ยงบูเต้ทรงถือมังสวิรตั ิ ทรงออกกฎหมายห้ามฆ่าสัตว์ทัว่ ประเทศ พระภิกษุ จึงหัน
มาฉันเจหรือมังสวิรัติตามพระราชาจนเป็ นประเพณี มาถึ งปั จจุ บัน พระองค์ทรง
ศึ กษาธรรมะและแสดงธรรมด้วยพระองค์เองอยู่เนื องๆ ทรงอุ ทิ ศพระองค์เป็ น
อุ ปั ฎฐากพระถึ ง ๓ ครั้ง ญาติ วงศ์ และข้าราชการต้องใช้เงิ นถึ ง ๑ โกฏิ เพื่ อไถ่
พระองค์ออกมา
ปรมาจารย์ต๊กั ม้อ หรือพระโพธิธรรม (Bodhidharma) ชาวอินเดียใต้ เข้าไป
เผยแผ่พุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเหลียงบูเต้ ท่านเดินทางไปที่ จีนภาคเหนื อในปี
พ.ศ.๑๐๖๙ สร้าง วัดเสี่ ยวลิ่ มยี่ หรือวัดเส้าหลิ นขึ้ นบนภู เขาซงซัว มณฑลเห
อหนั น จากนั้ นก่อตั้งนิ กายฉานขึ้ น ฉาน หมายถึ ง ฌาน ในภาษาบาลี หรือ ธยาน
ในภาษาสันสกฤต หรือ เซน ในภาษาญี่ ปุ่ น ต านานเล่ าว่า ขณะอยู่วัดเส้าหลิ น
ปรมาจารย์ต๊กั ม้อนัง่ สมาธิผินหน้าเข้าฝาอยู่ ๙ ปี ไม่ลุกขึ้ น
นิ กายเซนเน้นการปฏิบตั ิสมาธิและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงฌานที่เรียกว่า ซา
เซน โดยไม่อาศัยตัวหนั งสือหรือปริยตั ิธรรมใดๆ จึงมีคาขวัญประจานิ กายว่า "ปุก
ลิบบุน้ ยี่ ติกจี้ นั้ งซิม เกียงแส่ เซ่งฮุ ด" แปลว่า ไม่ตอ้ งอาศัยหนั งสือแต่ชี้ตรงไปยังจิต
ของมนุ ษย์ ให้เห็ นแจ้งในภาวะที่ แท้จริงแล้วบรรลุ เป็ นพุ ทธะ ต่ อมานิ กายเซนได้
ขยายไปยังประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม และปั จจุบนั เป็ นที่นิยมมากในตะวันตก
ปรมาจารย์ต๊กั ม้อยังเป็ นผูใ้ ห้กาเนิ ดวิชากังฟูวดั เส้าหลินซึ่งโด่งดังไปทัว่ โลก
อีกด้วย ในตอนนั้ นท่านเห็นว่า พระมีสุขภาพอ่อนแอ ไม่สามารถเจริญกรรมฐานได้
อย่างเคร่งครัด จึงหาวิธีให้พระภิกษุ ฝึกฝนร่างกายควบคู่กับปฏิบตั ิธรรม เริ่มแรก
กังฟูจึงไม่ได้ฝึกเพื่อการต่อสูแ้ ต่เป็ นหนทางเข้าสู่แก่นธรรมะ ภายหลังถูกดัดแปลง
เป็ นวรยุทธสาหรับการสูร้ บ ในสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.๑๑๖๑-๑๔๕๐) การฝึ กวิทยา
ยุทธของวัดเส้าหลินได้รบั การสนั บสนุ นจากราชสานั กอย่างเต็มที่ถึงขนาดมีกองทัพ
๑๐๗

พระ ยามศึ กสงครามจะให้พระภิ กษุ ลาสิ กขาไปป้ องกันประเทศ พอเสร็จศึ กจึ ง


กลับมาบวชใหม่
มหันตภัยคุกคามพระพุทธศาสนา ในช่วง พ.ศ.๑๑๑๗ - ๑๑๒๐ มหันตภัย
ใหญ่ หลวงได้ เกิ ดขึ้ นกั บ พระพุ ทธศาสนาในแคว้น จิ ว คื อ มี การยกเลิ ก
พระพุทธศาสนาและลัทธิเต๋า บังคับให้พระสงฆ์ลาสิกขา ๒,๐๐๐,๐๐๐ รูป ยึดวัดและ
หลอมพระพุทธรูปเพื่อเอาทองคาและทองแดงไปทาทองแท่งและเหรียญกษาปณ์ ใน
ยุคพระเจ้าเฮียนตง ห้ามมีการสร้างวัด หล่อพระพุทธรูปและพิมพ์พระสูตรโดยไม่ได้
รับอนุ ญาต ผูท้ ี่จะบวชต้องสวดพระสูตรได้ ๑,๐๐๐ หน้า หรือเสีย ค่าบวชให้หลวง
๑๐๐,๐๐๐ อีแปะ
ต่อมาปี พ.ศ.๑๓๘๘ รัชสมัยจักรพรรดิบู่จง ทรงเลื่อมใสลัทธิเต๋า ทรงแต่งตั้ง
นั กบวชเต๋ า เป็ นเสนาบดี มี การโต้วาที กันระหว่างพระภิ กษุ กับนั กบวชเต๋ า ฝ่ าย
พระภิกษุ ได้รบั ชัยชนะ พระเจ้าบู่จงไม่พอพระทัย ทรงสัง่ ทาลายวัดกว่า ๔,๖๐๐ วัด
ทาลายเจดี ย์และวิหารกว่า ๔๐,๐๐๐ แห่ง บังคับให้ภิ กษุ และภิ กษุ ณี สึกมากกว่า
๒๖๐,๐๐๐ รู ป สมั ยพระเจ้าซี จงทรงบั งคั บ ให้ภิ ก ษุ ครองจี วรแบบเต๋ า บางยุ ค
หน่ วยงานราชการขายบัตรอุปสมบท คนมีศรัทธาแต่ไม่มีเงินก็ไม่ได้บวช พระภิกษุ
ต้องเสียภาษี ยกเว้นผูพ้ ิการหรือมีอายุ ๖๐ ปี เช่น รัชกาลพระเจ้ายินจงในปี พ.ศ.
๑๕๗๘
ราชวงศ์ถังยุคทองของพุทธจักร หลังจากที่ พระพุทธศาสนาในแคว้นจิวถูก
ทาลายไป ต่อมาได้รบั การฟื้ นฟูขึ้นใหม่ในสมัยราชวงศ์ซุย (พ.ศ.๑๑๓๒ - ๑๑๖๑)
และได้รบั การพัฒนาให้เจริญรุง่ เรืองสูงสุดในสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.๑๑๖๑ - ๑๔๕๐)
โดยเฉพาะยุคถังไท่จงฮ่องเต้ สมัยนี้ มีความเจริญทั้งฝ่ ายอาณาจักรและพุทธจักร มี
การสร้างวัดขึ้ นหลายแห่ง มีการแปลพระสูตรจากภาษาบาลีเป็ นภาษาจีนมากมาย
และที่สาคัญมีนักปราชญ์คนสาคัญเกิดขึ้ นคือ พระถังซัมจัง๋ และ สมณะอี้ จิง
พระถังซัมจัง๋ เป็ นนั กปราชญ์ชาวพุทธคนสาคัญ คาว่า ถังซัมจัง๋ แปลว่า ผู ้
ทรงพระไตรปิ ฎกแห่งราชวงศ์ถัง ท่านถือกาเนิ ดในตระกูลเฉิน ในปี พ.ศ.๑๑๔๓ ณ
เมื องโลยาง ปั จจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนั น มีนามเดิ มว่า เฉิ นฮุ ย เข้าสู่ร่มกาสาว
พัสตร์เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี มีฉายาว่า ฮวนฉาง หรือหยวนฉ่าง หรือเฮี่ยนจัง เมื่อบวช
แล้วก็ต้ังใจศึ กษาพระพุทธศาสนาจนแตกฉาน แต่เมื่อศึกษาไปมากเข้าท่ านเกิ ด
๑๐๘

ความสงสัยและขัดแย้งในใจ คัมภีรป์ ระกอบการค้นคว้าก็มีน้อย ท่านจึงมีความคิด


ที่จะไปศึกษาให้ถึงต้นแหล่งคือ ประเทศอินเดีย
ในปี พ.ศ.๑๑๗๓ ท่านจึงตัดสินใจออกเดินทาง เส้นทางไปนั้ นอันตรายมาก
ต้องผ่านทะเลทรายร้อนระอุและเทื อกเขาอันหนาวเหน็ บ ก่อนหน้านั้ นมีภิกษุ นั บ
ร้อยๆ รูปเดินทางไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่สิ้นชีวิตในระหว่างทาง กวีจีนจึงเขียนโคลงไว้
ว่า "ขื่อเจี่ยเซ่งแปะ กุยบ่อจั๊บ เอ๋าเจี่ย อังใจ จุย้ เจี่ยลั้ง" แปลว่า ในยามไปสิ มีจานวน
นั บร้อย ครั้นยามกลับเล่าก็เหลือไม่ถึงสิบ บุคคลผูอ้ ยู่ภายหลังไฉนเลยจะทราบถึ ง
ความยากลาบากของผูท้ ี่ไปก่อน
ก่อนเดินทาง มีผูห้ วังดีเตือนถึงอันตรายดังกล่าว แต่พระถังซัมจัง๋ ยืนยันว่า
อาตมาตั้งใจจะไปเยือนดิ นแดนศักดิ์สิ ทธ์และศึกษาธรรม อาตมาจะไม่เสียใจเลย
หากต้องตายระหว่างเดิ นทาง ในที่ สุดท่ านจึงออกเดิ นทาง เส้นทางที่ ใช้ตอ้ งผ่าน
ทะเลทรายตะกลามากัน (Taklamakan) ซึ่งแปลว่า เข้าได้แต่ออกไม่ได้ เป็ นหนึ่ งใน
ทะเลทรายที่ อันตรายที่ สุดในโลก ชาวจีนเรียกว่า ทะเลทรายมรณะ กระบอกน้ า
ของท่านตกลงบนพื้ นระหว่างเดินทาง น้ าที่มีอยู่ก็ไหลออกจมหายไปในผืนทรายจน
หมดสิ้ น ท่านต้องอดน้ าอยู่ ๔ วันครึ่งกว่าจะเจอแหล่งน้ า
หลังจากเดินทางมาได้ ๑ ปี ก็ถึงอินเดีย และพักอยู่ ๑๙ ปี ระหว่างนั้ นได้ไป
ศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทาอยู่ ๕ ปี โดยเป็ นศิษย์ของอธิการบดีศีลภัทร หลังจาก
ศึ กษาพระไตรปิ ฎก จนแตกฉานแล้ว จึ งเดิ นทางกลับประเทศจี นโดยน าคัมภี ร์
กลับไปกว่าพันเล่ม เมื่อพระเจ้าถังไถ่จงมหาราชทรงทราบว่าท่านมาถึงพรมแดนจีน
แล้ว ทรงปี ติโสมนั สมาก ให้จดั ขบวนเกียรติยศไปรับในฐานะเป็ นบุรุษอาชาไนยของ
ชาติ ในวันที่เข้าสู่นครเชียงอาน ทรงรับสัง่ ให้ราษฎรทุกบ้านที่ขบวนผ่านตั้งโต๊ะบูชา
หน้าบ้าน
พระถั งซัมจัง๋ ทุ่ ม เทแปลคั ม ภี ร์ที่ เอาชี วิ ตเป็ นเดิ ม พั น อั ญ เชิ ญ มาออกสู่
ภาษาจีน แปลทั้งหมด ๗๔ คัมภี ร์ นั บเป็ นจานวนลานได้พันกว่าผูก ในปี พ.ศ.
๑๑๘๓ ท่ านยังเขียนบันทึ กการ เดิ นทางตามหาพระไตรปิ ฎกไว้ดว้ ย โดยให้ชื่อว่า
"ต้าถังซียู่จี้" หมายถึ ง จดหมายเหตุการณ์เดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราช
วงศ์ถัง บันทึกนี้ เป็ นประโยชน์ อย่างมากต่อนั กการศึกษา ในยุคหลัง สาหรับใช้เป็ น
คู่มือในการสารวจวัดโบราณในอินเดีย เพราะเป็ นบันทึ กที่ แม่นยามากจนได้ชื่อว่า
๑๐๙

เป็ นผูน้ าทางที่ ไม่เคยพลาดเลยในอิ นเดี ย เมื่อท่ านอายุได้ ๖๔ ปี เกิ ดอาพาธและ


มรณภาพลงท่ามกลางความเศร้าเสียใจของชาวจีนทั้งชาติ พระเจ้าถังเกาจงทรงให้
ข้าราชการทั้ งประเทศหยุ ดงาน ๓ วัน เพื่ อไว้ทุ กข์ ในวันฝั งศพมี คนมาร่ วมพิ ธี
๒,๐๐๐,๐๐๐ คน
พระไตรปิ ฎกฉบับแรกของโลก เมื่อราชวงศ์ซอ้ งได้รับการสถาปนาขึ้ นโดย
พระเจ้าไทโจ้วอ่องเต้ในปี พ.ศ.๑๕๐๓ พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยการ
พิมพ์พระไตรปิ ฎก พร้อมอรรถกถาและฎีกา เป็ นฉบับแรกของโลก เนื่ องจากจีนเป็ น
ชาติแรกที่พิมพ์หนั งสือได้ ชาวยุโรปได้รบั รูเ้ รื่องกระดาษและการพิมพ์หลังจากจีน
เกือบ ๔๐๐ ปี พระไตรปิ ฎกฉบับนี้ จัดพิมพ์ลงบนแผ่ นไม้ท้ังหมด ๑๓๐,๐๐๐ แผ่น
หอสมุดแห่งชาติประเทศไทยได้จดั เก็บตัวอย่างจาลองของพระไตรปิ ฎกฉบับนี้ ไว้ดว้ ย
หลังจากราชวงศ์ซอ้ งแล้ว พระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมลงอีก ลัทธิขงจื้ อมีอิทธิพลสูง
กว่า เนื่ องจากยุคหลังพระสงฆ์ไม่ค่อยศึกษาหาความรูจ้ ึงไม่มีความองอาจในการ
เทศน์สอน ปั ญญาชนจึงหันไปนับถือขงจื้ อที่ส่งเสริมการศึกษา
กบฏไท้เผง ในสมัยราชวงศ์ชิงหรือแมนจู (พ.ศ.๒๑๘๗-๒๔๕๕) เริ่มมีนักล่า
อาณานิ คมตะวันตกเข้ามาและนาคริสต์ศาสนามาเผยแผ่ดว้ ย มีชาวจีนคนหนึ่ งชื่อ
ซิวฉวน เข้ารีตนั บถือคริสต์ หาพรรคพวกได้มากจึงตั้งกลุ่มกบฏขึ้ นชื่อ ไท้เผง แปลว่า
มหาสันติ พวกกบฏโฆษณาว่า พระยะโฮวาสัง่ ให้ทาลายพระพุทธศาสนา ลัทธิขงจื้ อ
เต๋า และราชวงศ์แมนจู ให้หมด สร้างโลกคริสเตียนใหม่ในเมืองจีน กบฏไท้เผง ใช้
เวลารบ ๑๖ ปี ยึดจีนได้ ๑ ใน ๓ ตั้งเมื องหลวงขึ้ นที่ นานกิ ง บังคับให้ประชาชน
เข้ารีต แล้วทาลายวัดและศาลเจ้า ฆ่าคน ๒๐ ล้านคน วัดในเขตของกบฏจานวน
พันๆ ร้างโดยไม่มีทางบูรณะใหม่ขึ้นเลย
สมัยสาธารณรัฐ ดร.ซุ น ยัดเซ็ น ก่ อการปฏิ วัติ เปลี่ ยนการปกครองจาก
ระบอบกษัตริยเ์ ป็ นสาธารณรัฐในปี พ.ศ.๒๔๕๔ เนื่ องจากไม่พอใจการปกครองของ
กษัตริยซ์ ึ่งเห็นแก่ประโยชน์ ตนมากกว่าประเทศชาติ สถานการณ์พระพุทธศาสนาใน
ยุคสาธารณรัฐนั้ นค่ อนข้างตกต า่ ศาสนาพุ ทธเป็ นเหมื อนวัตถุ โบราณที่ ถู กลื ม
ปั ญญาชนรุ่นใหม่หนั ไปนั บถือคริสต์ศาสนาซึ่งมาควบคู่กบั ระบอบการปกครองใหม่
อัน เป็ นสิ่ งทั น สมัยส าหรับชาวจี น แต่ ยุ คนี้ ก็ ยังมี พ ระภิ กษุ และภิ กษุ ณี อยู่มาก
พอสมควรคือ ๗๓๘,๐๐๐ รูป มีวดั ประมาณ ๒๖๗,๐๐๐ วัด
๑๑๐

ยุ ค สาธารณรัฐประชาชนจี น ยุ คสาธารณรัฐอยู่ ได้เพี ยง ๓๘ ปี เท่ านั้ น


ประเทศจีนก็มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกครั้งใน พ.ศ.๒๔๙๒ เหมาเจ๋อตุงผูน้ า
พรรคคอมมิวนิ สต์จีนมีชยั ต่อเจียงไคเช็กผูน้ าพรรคก๊กมินตัง๋ ในสงครามกลางเมือง
เจี ยงไคเช็ กจึ งหนี ไปอยู่เกาะไต้หวันพร้อมประชาชนจ านวนหนึ่ ง เหมาเจ๋ อตุ ง
ปกครองด้วยลัทธิมาร์กซิส ซึ่งขัดแย้งกับพระพุทธศาสนา โดยถือว่า พระเป็ นกาฝาก
สังคม มีการบีบคั้นให้พระลาสิกขา ผูไ้ ม่สึกก็ให้ทานาและปลูกชา วัดเกือบทุกแห่ง
ถู ก สั ่ง ปิ ด พระภิ ก ษุ หลายรู ป หลบหนี ไปเกาะไต้ ห วั น และปั กหลั ก เผยแผ่
พระพุ ทธศาสนาที่ นั่น จนปั จจุ บั น ไต้หวันเป็ นประเทศหนึ่ งที่ พระพุ ทธศาสนา
แข็งแกร่งมีชื่อเสียงระดับโลก เช่น วัดฝอกวงซัน ซึ่งมีท่านซิงหวินต้าซือเป็ นผูน้ า วัด
นี้ ได้ขยายสาขาออกไปกว่า ๒๕๐ ประเทศทัว่ โลก
หลังจากเหมาเจ๋อตุ งถึ งแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.๒๕๑๙ เติ้ งเสี่ ยวผิงเข้ารับ
ต าแหน่ งในฐานะผู ้ น ารั ฐ บาลแทน ยุ ค นี้ ได้ ผ่ อ นความเข้ ม งวดลง ท าให้
พระพุทธศาสนาฟื้ นตัวขึ้ นอีกครั้ง ในวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๖ หนั งสือพิมพ์ลง
ข่าวว่ามีการค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ ๒๑ องค์ ที่วดั หวาหลิน เขตลี่วาน นครกวาง
โจว สื่อจีนระบุว่า พระบรมสารีริกธาตุมักปรากฏ เมื่อบ้านเมืองมีสันติสุขและสูญ
หายเมื่อบ้านเมืองเดือดร้อน นั บตั้งแต่ยุคเติ้ งเสี่ยวผิงเป็ นต้นมาพระพุทธศาสนาใน
จีนจึงค่อยๆ ฟื้ นตัวขึ้ นตามลาดับ จนปั จจุบนั จีนเป็ นประเทศที่มีพุทธศาสนิ กชนมาก
ที่สุดในโลก
นิ กายในประเทศจีน จีนเป็ นต้นแหล่งของพระพุทธศาสนามหายานหลาย
นิ กายซึ่งต่อมาได้เผยแผ่ไปยังประเทศต่างๆ ทัว่ โลก โดยนิ กายที่ สาคัญๆมีดังนี้ คือ
นิ กายสัทธรรมปุณฑริกหรือเทียนไท้ นิ กายสุขาวดี หรือเจ้งโท้วจง และนิ กายธยาน
หรือเซน เป็ นต้น สาหรับนิ กายเซนได้กล่าวไว้แล้วในประวัติของพระโพธิ ธรรม ใน
ที่นี้จะกล่าวถึงอีก ๒ นิ กายดังนี้
๑. นิ กายสัทธรรมปุณฑริก เป็ นนิ กายที่ยึดพระสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็ น
แม่บท ซึ่งพระสูตรนี้ ยังไม่มีขอ้ มูลแน่ ชดั ว่าแต่งขึ้ นที่ไหน เมื่อใด และด้วยภาษาอะไร
ตัวพระสู ตรได้รับการแปลจากภาษาสันสกฤตเป็ นภาษาจีน ๖ ครั้ง ครั้งแรกในปี
พ.ศ.๗๙๘ ฉบับที่ ได้รับการยอมรับและนิ ยมศึ กษากันมากที่ สุดคื อ ฉบับของพระ
กุมารชีวะซึ่งแปลในปี พ.ศ.๙๔๙ สัทธรรมปุณฑริกสูตร มีชื่อเสียงเด่นขึ้ นมาเมื่อพระ
๑๑๑

ตีเจี้ ย (พ.ศ.๑๐๘๑ - ๑๑๔๐) แห่งภูเขาเทียนไท้ ได้รูแ้ จ้งสารัตถธรรมของสัทธรรม


ปุณฑริกสูตรแล้วก่อตั้งเป็ นนิ กายสัทธรรมปุณฑริก (ฮวบฮัว่ จง) ขึ้ น หรือเรียกว่า
นิ กายเทียนไท้ ตามชื่อสานัก
นิ กายนี้ สอนว่า ด้วยหลักแห่งสัทธรรมปุณฑริกสูตรเท่านั้ นที่จะทาให้ทุกคน
สามารถบรรลุพุทธภาวะได้อย่างเสมอภาคกัน พระสูตรนี้ เป็ นการเปิ ดเผยความลี้ ลับ
สุดยอดแก่พระสาวกทั้งปวงก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน
สัทธรรมปุณฑริกสูตร แปลเป็ นภาษาจีนว่า เมียวโฮเร็งเงเคียว คาว่า เมียว
โฮ คื อ พระสัทธรรม คาว่า เร็งเง แปลว่า ดอกบัวขาว หรือ ปุ ณฑริก คาว่า เคี ยว
แปลว่า สู ตร ส่วนในภาษาอังกฤษ สัทธรรมปุ ณฑริกสู ตร แทนด้วยค าว่า Lotus
Sutra
ต่อมาเมื่ อพระพุ ทธศาสนาเผยแผ่จากจีนไปสู่ เกาหลี และจากเกาหลี ไปสู่
ญี่ปุ่น นิ กายสัทธรรมปุณฑริกสูตรก็ถูกนาไปเผยแผ่ดว้ ย ผูท้ ี่มีบทบาทสาคัญในการ
เผยแผ่นิกายนี้ ในญี่ปุ่นคือ พระไซโจ แห่งสานักสงฆ์บนภูเขาฮิเออิ และพระนิ ชิเร็น
๒. นิกายสุขาวดี นิ กายสุขาวดีก่อตั้งขึ้ นในปี พ.ศ.๙๔๕ สมัยราชวงศ์จิ้นโดย
พระฮุ ยเอี้ ยง ท่านพานั กอยูท่ ี่วดั ตังนิ่ มยี่ บนภูเขาลูซ้ วั มณฑลกังไส บนภูเขาขุดสระ
ใหญ่ ปลูกดอกบัวขาวเต็ มสระ ท่ านฮุ ยเอี้ ยงพร้อมสาวกหลายพันคนนั ่งสวดมนต์
หน้าสระนี้ โดยสมมติวา่ สระน้ าแห่งนี้ เป็ นสระทิพย์ในแดนสุขาวดี ซึ่งท่านเหล่านั้ น
ต่างตั้งจิตปรารถนาจะไปเกิด
เบื้ องต้นสานั กนี้ อาศัยข้อความในพระสูตร ชื่อ พุ ทธธยานสาครสู ตร คื อ
เพ่งจิตถึงพระอมิตาภพุทธเจ้าเป็ นอารมณ์ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบคาสอนไป
ตามลาดับ นิ กายนี้ ไม่มีหลักอภิปรัชญาที่ซบั ซ้อนให้ตอ้ งคิดมาก เหมาะกับสามัญ
ชนทัว่ ไป
พระชานเตา (Shan tao) สรุปหัวใจหลักของนิ กายนี้ ไว้ ๓ ประการคือ
๑. สิ่ง แปลว่า ความเชื่อ ต้องปลูกศรัทธาอย่างซาบซึ้ งในองค์พระอมิตาภะ
๒. ง๋วง แปลว่า ตั้งปณิธานอธิษฐานเพื่อไปเกิดในแดนสุขาวดีอย่างแน่ วแน่
๓. เหง คือ ปฏิบตั ิกาย วาจา ใจ ให้อยูใ่ นกุศลธรรม โดยเฉพาะการเปล่งคา
บูชาพระอมิตาภพุทธเจ้าว่า นโม อมิตาภาย พุทธาย ภาษาจีนว่า นั มบู ออนี ท่อฮุ ด
ภาษาญี่ปุ่นว่า นั มบู อมิดา บุตสึ ภาษาญวนว่า นามโบ อายีดา้ เผิก โดยต้องท่อง
๑๑๒

วันละหลายๆ หน ยิ่งมากยิ่งดี ภาวนาด้วยการนั บลูกประคา ประคาเม็ดหนึ่ งต่อ


ภาวนาบทหนึ่ ง
๒) ประเทศเกาหลี
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แล้ว ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ คาบสมุ ทรเกาหลี ถู ก
แบ่งเป็ นสองส่วน คือ เกาหลีเหนื อปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิ สต์ และเกาหลีใต้
ปกครองด้วยระบอบประชาธิ ปไตย เกาหลีเหนื อ (North Korea) มีชื่อเป็ นทางการ
ว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic Peoples Republic of
Korea : DPRK) มีเมืองหลวงชื่อ เปี ยงยาง และเป็ นเมืองที่ ใหญ่ที่สุด เกาหลีเหนื อมี
ประชากรประมาณ ๒๓,๑๑๓,๐๑๙ คน (พ.ศ.๒๕๔๙) ส่วนใหญ่ ไม่มี ศาสนา
เพราะระบอบคอมมิวนิ สต์ไม่สนั บสนุ นศาสนา มีพุทธศาสนิ กชนนิ กายเซนอยูเ่ พียง
๔๐๐,๐๐๐ คน (๑.๖๗%) ลดลงจากเดิ ม ๒๓.๓๓% วัด มี อยู่ ๓๐๐ วัด และมี
คริสต์ศาสนิ กชนประมาณ ๑๒,๐๐๐ คน (๐.๐๕%)
เกาหลี ใ ต้ (South Korea) มี ชื่ อ เป็ นทางการว่ า สาธารณ รั ฐ เกาหลี
(Republic of Korea) มีเมืองหลวงชื่อ โซล และเป็ นเมืองที่ ใหญ่ ที่ สุด เกาหลี ใต้มี
ประชากรประมาณ ๔๗,๘๑๗,๐๐๐ คน นั บถือศาสนาพุทธมหายานประมาณ ๒๕%
นับถือศาสนาคริสต์ ๒๕% นั บถือศาสนาขงจื้ ออีก ๒% และมีกลุ่มที่ไม่เชื่อในพระเจ้า
อี ก ๓ ๐ -๕ ๒ % (Nonbeliever in God) ห รื อป ระม าณ ๑ ๔ ,๕ ๗ ๙ ,๔ ๐ ๐ -
๒๕,๒๗๐,๙๖๐ คน เกาหลีใต้เป็ นประเทศที่มีภิกษุ ณีอยูจ่ านวนมาก ในปั จจุบนั มีอยู่
ประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูป พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศเกาหลี เมื่อปี พ.ศ.๙๑๕
โดยพระธรรมทูตซุนเตา ท่านนานิ กายมหายานจากจีนมาสู่อาณาจักรโกกุเรียวคือ
เกาหลีในปั จจุบนั
สมัยก่อนเกาหลีประกอบด้วย ๓ อาณาจักรคือ โกกุเรียว ปึ กเจ และซิลลา ซึ่ง
ปกครองคาบสมุ ทรเกาหลี และบางส่ วนของแมนจู เรีย ตั้งแต่ ศตวรรษที่ ๑ ก่ อน
คริสตกาลถึ งคริสต์ศตวรรษ ที่ ๗ ผู น้ าทั้ง ๓ อาณาจักรยกพระพุ ทธศาสนาเป็ น
ศาสนาประจาชาติ ต่ อมาอาณาจักรซิลลาสามารถรวมแคว้นทั้งสามให้เป็ นหนึ่ ง
เดียวกันได้ในปี พ.ศ.๑๒๐๐ ทาให้ประเทศเป็ นปึ กแผ่นมัน่ คง รัฐบาลให้การอุปถัมภ์
พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง มีการจัดพิมพ์พระไตรปิ ฎก ๑,๖๐๐ หน้า ด้วยตัวพิมพ์
๑๑๓

ไม้แกะ และจารึกพระคัมภีรเ์ ป็ นจานวน ๕๐,๐๐๐ กว่าเล่ม ยุคนี้ พระพุทธศาสนาจึง


เจริญรุง่ เรืองมาก
อาณาจักรซิลลาปกครองเกาหลีอยู่ได้ ๒๗๘ ปี ก็พ่ายแพ้แก่อาณาจักรโกกุ
เรียวในปี พ.ศ.๑๔๗๘ ราชวงศ์นี้ก็มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริยท์ ุก
พระองค์จะนิ มนต์พระภิ กษุ หนึ่ งรู ปเป็ นที่ ปรึ กษา ยุ คนี้ มี การสร้างวัดวาอาราม
จานวนมาก และมีวฒ ั นธรรมอย่างหนึ่ งเกิดขึ้ นคือ ครอบครัวเกาหลีที่มีลูกชาย ๔
คน ต้องให้บวชเป็ นพระ ๑ คน
เนื่ องจากพระเกาหลีบวชในนิ กายมหายานเมื่อบวชแล้วก็จะมีกิจกรรมสงฆ์ที่
แตกต่างจากนิ กายเถรวาท เช่น ต้องทานา ทากิมจิ เก็บผลไม้ เป็ นต้น การทานา
นั้ นจะทาเป็ นกลุ่มใหญ่ ในปลายเดือนมิถุนายน โดยขณะดานาพระภิกษุ จะพับขา
กางเกงถอดเสื้ อคลุมออกแล้วเข้าแถวดานา มีพระสองรูปถือเชือกยาวเพื่อจัดแถวให้
ตรง ส่วนการทากิมจิน้ั นคือการทาผักดองจากกะหลา่ และหัวไชเท้าเพื่อเตรียมไว้ฉัน
ในฤดูหนาว และยังมีการเก็บผลไม้ เช่น เกาลัด ผลต้นสน และลูกพลับสุก สาหรับ
ฉันในฤดูหนาว
พระเกาหลีจะนิ ยมบาเพ็ญทุ กรกิริยาคล้ายกับสมัยที่ พระสิทธัตถโพธิ สัตว์
ออกบวชใหม่ๆ เช่น อดอาหาร ฉันอาหารดิบ ไม่เอนหลังนอน ไม่พูด เผานิ้ วตัวเอง
และมีการปลีกวิเวกไปอยูใ่ นหุบเขาโดยไม่ปลงผม หนวด และเครา
การห้ามภั ตรหรื อการอดอาหาร เป็ นที่ นิ ยมกันมากในเกาหลี ใช้เวลา
ประมาณ ๓ วัน ถึง ๒ อาทิตย์ เพราะเชื่อว่าเป็ นการรักษาโรคเรื้ อรังได้ทุกชนิ ด ส่วน
การเผานิ้ วมือตัวเอง ทาเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางรูปก็ทาเพื่อความมัน่ คง
ในการบวช บ้างก็ ท าเพื่ อเลี่ ยงการเกณฑ์ทหาร แต่บางรูปท าเพื่ อความมีชื่อเสี ยง
ต้องการให้ฆราวาสเคารพนับถือยิง่ ขึ้ น
ในปี พ.ศ.๑๙๓๕ - ๒๔๕๓ พระพุ ท ธศาสนาในเกาหลี เข้าถึ งยุ คเสื่ อม
เนื่ องจากราชวงศ์โซซอนขึ้ นมามีอานาจ และเชิดชูลัทธิขงจื้ อให้เป็ นศาสนาประจา
ชาติ มีคาสัง่ ห้ามบวชพระ พระสงฆ์จึงหนี ออกไปอยูอ่ ย่างสงบตามชนบทและป่ าเขา
เกาหลีตกอยูภ่ ายใต้การปกครองของญี่ปุ่นในปี พ.ศ.๒๔๕๓ ญี่ปุ่นส่งเสริมให้
พระสงฆ์มีครอบครัวได้ และสนั บสนุ นให้ดารงชีวิตเหมือนฆราวาส ทั้งนี้ เพราะญี่ปุ่น
ต้องการทาลายวัฒนธรรมของเกาหลี ซึ่งถู กหล่อหลอมขึ้ นจากคาสอนดั้งเดิ มของ
๑๑๔

พระพุ ทธศาสนา หากสามารถเปลี่ ยนแปลงวิถี ชีวิตของพระภิ กษุ ได้ ก็ จะท าลาย


วัฒนธรรมดั้งเดิมได้ดว้ ย
พระเกาหลีมีครอบครัว เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุ นการมีครอบครัว พระสงฆ์
เกาหลี จ านวนมากจึ งเริ่ มมี ครอบครัวอย่างเงียบๆ เพราะช่วงแรกๆ ยังไม่ เป็ นที่
ยอมรับในวงกว้าง และก่อนหน้ านี้ เคยมีผูน้ าเสนอขอให้พระมีครอบครัวมาก่ อน
แล้วแต่ไม่ได้รบั การอนุ มัติ ในปี พ.ศ.๒๔๒๒ พระชาวเกาหลีชื่อ ฮันยองกัน ได้ยื่น
ฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีญี่ ปุ่นและคณะผูบ้ ริหารฝ่ ายสงฆ์ เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิ กข้อ
ห้ามภิกษุ ภิกษุ ณีมีครอบครัว โดยมีเหตุผลดังนี้
๑) ถ้าไม่อนุ ญาตให้พระภิกษุ มีครอบครัว ก็ จะมีพระลาสิกขาเพิ่มมากขึ้ น
เรื่ อยๆ แต่ ถ ้าอนุ ญาต พระก็ จะอยู่ ในสมณเพศต่ อไปได้ สามารถมี ทายาทสื บ
พระพุทธศาสนาเพื่อแข่งขันกับศาสนาอื่นได้ และในปั จจุบนั พระที่มีครอบครัวโดยไม่
เปิ ดเผยก็มีอยูแ่ ล้ว จึงก่อให้เกิดความละอายโดยไม่จาเป็ น
๒) พระฮันยองกันอ้างว่า หลักค าสอนในศาสนาพุ ทธถื อว่า การถื อเพศ
พรหมจรรย์ หรือไม่ถือพรหมจรรย์ไม่ได้แตกต่างกันเลย การไม่ถือพรหมจรรย์น้ันจะ
ทาให้พระภิกษุ มีประสบการณ์ชีวติ ในทางโลกเพิ่มขึ้ น
ข้อเสนอนี้ รัฐบาลไม่ได้อนุ มตั ิ ทั้งนี้ อาจเป็ นเพราะกระแสต่อต้านมีมากกว่า
แต่ในที่ สุดเดื อนตุ ลาคม พ.ศ.๒๔๖๙ สภาสงฆ์แห่งเกาหลี ภายใต้การควบคุ มของ
ญี่ปุ่นมีมติ เห็นชอบให้พระเกาหลีมีครอบครัวได้ ผลการตัดสินใจครั้งสาคัญนี้ เป็ น
จุดเริ่มต้นแห่งความแตกแยกระหว่างพระภิ กษุ ที่ ถือพรหมจรรย์กับพระภิ กษุ ที่ มี
ครอบครัว
อย่างไรก็ตามพระที่มีครอบครัวต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตอย่าง
มาก เนื่ องจากต้องมีรายได้มาเลี้ ยงครอบครัว ต้องทางานแบบฆราวาส จึงไม่มีเวลา
ศึ กษาพระธรรมวินั ย ไม่ มี เวลาฝึ กสมาธิ และเผยแผ่ ค าสอนพระพุ ทธศาสนา ที่
สาคัญที่สุดอันเป็ นความประสงค์ของญี่ปุ่นคือ ไม่มีเวลาปลุกระดมมวลชนต่อต้าน
ญี่ปุ่น จึงทาให้ปกครองง่าย
ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพสหภาพโซเวียต
และสหรัฐอเมริกาเข้ายึดเกาหลี จากญี่ ปุ่น และแบ่ งประเทศออกเป็ น ๒ ส่วน คื อ
เกาหลีเหนื อ(North Korea) และเกาหลีใต้ (South Korea)
๑๑๕

เมื่อเกาหลีพน้ จากการปกครองของญี่ปุ่นแล้ว ชาวพุทธโดยเฉพาะพระสงฆ์


ในเกาหลีใต้ได้เคลื่อนไหว มีการประชุมใหญ่แล้วลงมติให้รัฐบาลยกเลิกข้อบังคับ
ต่างๆ ที่ขดั แย้งกับหลักพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งให้คณะสงฆ์ปกครองตนเอง โดยมี
สานั กงานอยูใ่ นนครหลวงและจังหวัดต่างๆ มีการประชุมเพื่อตราธรรมนู ญปกครอง
คณะสงฆ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ส่วนเกาหลีเหนื อนั้ นปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิ สต์
ซึ่งไม่สนับสนุ นศาสนาใดๆ จึงไม่มีความเคลื่อนไหวทางศาสนามากนัก
ผลจากการเคลื่อนไหวให้มีการยกเลิกกฎต่างๆ เช่น การอนุ ญาตให้พระมี
ครอบครัว เป็ นต้น ทาให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างพระที่ ประพฤติ
พรหมจรรย์กับพระที่มีครอบครัว ในที่สุดในปี พ.ศ.๒๕๐๕ คณะสงฆ์เกาหลีจึงแตก
ออกเป็ น ๒ นิ กาย คือ นิ กายโชกาย และนิ กายแตโก ซึ่งนิ กายโชกายคือพระที่ ถือ
พรหมจรรย์ ส่ วนนิ กายแตโกคื อพระที่ มี ครอบครัว นิ กายโชกายนั้ นได้รับการ
สนั บสนุ นจากรัฐบาลและศาลสูงตัดสินให้มีสิทธิ ปกครองทุ กวัดในประเทศรวมทั้ง
นิ กายแตโกด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถยังข้อขัดแย้งให้สงบลงได้
ปั จจุบนั พระพุทธศาสนาในเกาหลีเป็ นนิ กายเซนผสมกับความเชื่อในพระอมิ
ตาภพุทธเจ้าและพระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระสงฆ์มีความคิดก้าวหน้าทันเหตุการณ์
ตื่นตัวที่จะปรับปรุงตนให้ทันโลกอยูเ่ สมอ การพัฒนาพระสงฆ์เน้นไปที่การศึกษาซึ่ง
สอดคล้องกับทิศทางของรัฐบาล ชาวเกาหลีมีสถิติอ่านออกเขียนได้ถึง ๙๕% ข้อมูล
ในปี พ.ศ.๒๕๒๖ ระบุ ว่ ามี พุ ท ธศาสนิ กชนอยู่ ๑๑,๑๓๐,๒๘๘ คน ฝ่ ายหญิ ง
๗,๑๖๐,๗๐๔ คน ฝ่ ายชาย ๓,๙๖๙,๕๘๔ คน มีวดั ที่ลงทะเบียน ๓,๑๖๓ วัด และไม่
ลงทะเบียนอีก ๔,๐๙๐ วัด มีพระภิกษุ จานวน ๑๔,๒๐๖ รูป และภิกษุ ณี ๖,๕๔๙ รูป
ส่วนมากเป็ นนิ กายโชกาย คือนักบวชที่ประพฤติพรหมจรรย์
เกาหลี ใต้มี มหาวิทยาลัยพระพุ ทธศาสนาอันเก่าแก่คื อ ดงกุ ก สร้างในปี
พ.ศ.๒๔๔๙ ประกอบด้วยวิทยาลัย ๙ แห่ง และบัณฑิตวิทยาลัย ๔ แห่ง มีนักศึกษา
ชายหญิ งประมาณ ๑๕,๐๐๐ คน มีหลักสู ตรอบรมพิเศษสาหรับภิ กษุ และภิ กษุ ณี
มหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีโครงการแปลและ จัดพิมพ์พระไตรปิ ฎกฉบับเกาหลีในปี พ.ศ.
๒๕๐๗ โดยการนาของคณะสงฆ์ มีคณะกรรมการแปล ๖๕ คน ออกตีพิมพ์เดือนละ
๑ เล่ม จนกว่าจะครบ ๒๔๐ เล่ม ระยะเวลาดาเนิ นโครงการ ๔๕ ปี นอกจากนี้ ยังมี
๑๑๖

โรงเรียนพระปริยตั ิธรรมสาหรับภิกษุ ภิกษุ ณี สามเณรและสามเณรีดว้ ย โดยเปิ ด


โอกาสให้ฆราวาสเข้าเรียนร่วมกับนักบวชได้
คณะสงฆ์เกาหลี ใต้ยังมี สถานศึ กษาฝ่ ายสามัญระดับต่ างๆ ด้วย เปิ ดรับ
นั ก เรี ย นชายหญิ งทั ่วไป มี ค ฤหั ส ถ์ เป็ นผู ้บ ริ ห าร แต่ อ ยู่ ในความควบคุ ม ของ
คณะกรรมาธิการฝ่ ายการศึกษาของคณะสงฆ์ โดยแบ่งประเภทของสถาบันได้ ดังนี้
มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ๓ แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑๑ แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ๑๖ แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษา ๓ แห่ง
โรงเรียนอนุ บาล ๗ แห่ง
สาหรับภิกษุ ณีในเกาหลีใต้น้ัน เป็ นผูม้ ีความรูค้ วามสามารถปฏิบตั ิศาสนกิจ
เคียงบ่า เคียงไหล่กับพระภิกษุ ได้เป็ นอย่างดี ผูห้ ญิ งเกาหลีนิยมบวชเป็ นภิกษุ ณี
ตั้งแต่ อายุ ๒๐ - ๔๐ ปี โดยบวชเป็ นสามเณรี ถื อศี ล ๑๐ อยู่ ๒ ปี แล้วเรี ยนใน
มหาวิทยาลัยหลักสู ตร ๓-๕ ปี จากนั้ นจึงบวชเป็ นภิ กษุ ณี ถื อศี ล ๓๖๘ ข้อ การ
ปกครองภิกษุ ณีน้ั นขึ้ นต่อองค์การการปกครองคณะสงฆ์ท้ังหมด จึงทาให้สงฆ์สอง
ฝ่ ายเป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกัน ในแต่ละวัดจะมีภิกษุ ณีเป็ นเจ้าอาวาส
๓. ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ ปุ่น (Japan) มีเมืองหลวงชื่อ โตเกียว และเป็ นเมืองที่ ใหญ่ที่สุด
ประชากรญี่ ปุ่นมีประมาณ ๑๒๘,๐๘๕,๐๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๔๘) พุทธศาสนิ กชนมี
ประมาณ ๘๙,๖๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งมากเป็ นอันดับ ๒ ของโลก รองจากประเทศจีน
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น แบ่งออกเป็ น ๖ ยุค คือ ยุคแรก ยุคนารา
ยุคโชกุนตระกูลแรก ยุคสงครามกลางเมือง ยุคปิ ดประเทศ และยุคเมจิถึงปั จจุบนั
ยุคแรก พระพุทธศาสนาจากจีนเผยแผ่เข้าสู่ญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลีในปี พ.ศ.
๑๐๙๕ ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้ากิมเมจิ ในครั้งนั้ นพระเจ้าเซมาโวกษัตริยแ์ คว้น
กทุ ระแห่งเกาหลีทรงส่งพระพุทธรูปทองเหลืองหุม้ ทองคา และพระคัมภีรไ์ ปถวาย
พระเจ้ากิมเมเจิพร้อมทั้งพระราชสาส์นมีใจความว่า นี่ เป็ นศาสนาที่ดีที่สุดที่หม่อม
ฉันเห็น หม่อมฉันไม่ตอ้ งการให้ศาสนานี้ จากัดแพร่หลาย เฉพาะเพียงเกาหลีแห่ง
เดียว ขอให้พระองค์โปรดรับศาสนานี้ ไว้ พระจักรพรรดิญี่ปุ่นทรงพอพระทัยเพราะ
๑๑๗

ไม่ เคยได้สดับค าสอนอัน วิเศษเช่ นนี้ มาก่ อน ตั้ งแต่ น้ั นชาวญี่ ปุ่ นจึ งเริ่ มนั บถื อ
พระพุทธศาสนา แต่ยงั ไม่แพร่หลาย เพราะศาสนาเดิมคือชินโต ยังมีอิทธิพลอยูม่ าก
จนกระทัง่ ถึงสมัยที่จกั รพรรดินีซูอิโกะ (Suiko) ครองราชย์ ประมาณปี พ.ศ.
๑๑๓๕-๑๑๗๑ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พระนางทรงสละราชสมบัติออก
ผนวชเป็ นภิ ก ษุ ณี โดยมอบภาระให้พ ระราชนั ดดาพระนามว่ า อุ ม ายาโดะ
(Umayado) ทาหน้ าที่ สาเร็จราชการแทน เจ้าชายอุ มายาโดะนี้ ต่อมาได้รับการ
ขนานพระนามว่า โชโตกุ ไทชิ
เจ้าชายโชโตกุทรงยกพระพุทธศาสนาเป็ นศาสนาประจาชาติ ทรงสร้างวัด
ประมาณ ๔๐๐ วัด ทรงรอบรูพ้ ระไตรปิ ฎก ทรงนิ พนธ์อรรกถาพระสูตรสาคัญของ
มหายาน ๓ สูตร คือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร วิมลเกียรตินิเทศสูตร ศรีมาลาเทวีสิง
หนาทสูตร ต้นฉบับลายพระหัตถ์ยงั คงรักษาอยูจ่ นถึงปั จจุบนั ทรงบัญญัติกฎหมาย
แห่งรัฐโดยยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะผลงานทางพระพุทธศาสนาที่
ทรงทาไว้มากมาย เจ้าชายโชโตกุจึงได้รบั ฉายาว่า เป็ นพระเจ้าอโศกแห่งญี่ปุ่น
พระพุทธศาสนาที่เจ้าชายโชโตกุทรงศรัทธาชื่อว่า เอกยาน มีธรรมกายเป็ น
จุดหมายมีคาสอนประสานกันระหว่างมหายานและเถรวาท ไม่แบ่งแยกกันระหว่าง
พระสงฆ์กบั คฤหัสถ์ ทุกคนสามารถปฏิบตั ิธรรมในชีวิตประจาวันได้โดยไม่ตอ้ งออก
บวชหรือปลีกวิเวก เมื่อเจ้าชายโชโตกุ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๑๑๖๕ พสกนิ กรต่าง
เศร้าโศกเสี ยใจอย่างสุ ดซึ้ ง เหล่ าพุ ทธบริษั ทจึงสร้างพระพุ ทธรูปขนาดเท่ าพระ
วรกายพระองค์ขึ้น เพื่อเป็ นอนุ สรณ์แห่งคุณความดีของพระองค์
ยุคนารา ตั้งแต่ยุคเจ้าชายโชโตกุเป็ นต้นมา พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรือง
มาตามลาดับ กลายเป็ นส่ วนหนึ่ งของวัฒนธรรมญี่ ปุ่ นสื บมา เมื่อถึ งสมัยนารา
(Nara) ประมาณปี พ.ศ.๑๒๕๓ - ๑๓๒๗ พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองยิง่ ขึ้ น นารา
อันเป็ นราชธานี ของญี่ปุ่นยุคนั้นถึงกับได้ ชื่อว่า นครแห่งอารามหนึ่ งพัน เพราะถนน
ทุ ก สายในเมื อ งนี้ มี วัด พระพุ ท ธศาสนา ยุ ค นั้ นมี นั กปราชญ์ ญี่ ปุ่ นไปศึ ก ษา
พระพุทธศาสนาที่ ประเทศจีนเพิ่มมากขึ้ นและได้นานิ กายต่างๆ มาเผยแผ่ในญี่ปุ่น
ซึ่งสมัยนั้นมี ๖ นิ กายด้วยกัน
ในปี พ.ศ.๑๒๘๔ พระเจ้าจักรพรรดิโชมุทรงประกาศจักรพรรดิราชโองการ
ให้สร้างวัดของราชการประจาจังหวัดทัว่ ประเทศ ยุคนี้ ลาภสักการะเกิดขึ้ นกับคณะ
๑๑๘

สงฆ์มาก เพราะกษัตริย์ และพสกนิ กรให้การอุปถัมภ์ จึงทาให้มีผูเ้ ข้ามาบวชเพื่อ


หวังลาภสักการะจานวนมาก อีกทั้งคณะสงฆ์ เข้าครอบงาราชการแผ่นดิน ทาให้หา่ ง
เหินการปฏิบัติธรรม ศาสนาจึงเสื่อมลง พระจักรพรรดิ ต้องการจะลิดรอนอานาจ
ทางการเมื อ งของพระสงฆ์ จึ ง ย้า ยเมื อ งหลวงจากนาราไปเกี ย วโต (เฮอั น )
พระพุทธศาสนา ๖ นิ กายนี้ จึงไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสานั กอีก เป็ นเหตุให้
เสื่อมลงในที่สุด
ในยุคเกียวโตหรือเฮอัน (พ.ศ.๑๓๓๗ - ๑๗๒๘) พระไซโจ และพระคูไค ซึ่ง
เดินทางไปศึกษายังประเทศจีนได้กลับมาเผยแผ่ที่ญี่ปุ่น ท่านไซโจตั้งสานั กสงฆ์ขึ้นที่
ภู เขาฮิ เออิ ในปี พ.ศ.๑๓๒๘ เพื่ อเผยแผ่ นิ กายเทนได หรื อเที ยนไท้ หรื อนิ กาย
สัทธรรมปุณฑริก พระสงฆ์สานั กนี้ มีอาวุธไว้ป้องกันตัวในยามศึกสงครามด้วย ส่วน
ท่านคูไคได้กลับมาเผยแผ่นิกายชินงอน หรือ ตันตระ ยุคนี้ ราชการให้การสนั บสนุ น
พระพุทธศาสนาอย่างมากเช่นกัน พระจักรพรรดิเกือบทุกพระองค์เสด็จออกผนวช
แต่ช่วงปลายยุคมีสงครามเกิ ดขึ้ น โดยขุนพลชื่อ โยริโมโต แห่งตระกูล มินาโมโต
บุกโจมตีกรุงเกียวโตและนารา ยึดอานาจการปกครองจากพระจักรพรรดิ และได้เผา
วัดวาอารามไปจานวนมาก ยุคนั้ นพระสงฆ์บางวัดจึงมีกองทัพไว้ป้องกันวัด และมี
พระบางพวกออกรบเพื่ อช่วงชิ งอานาจทางการเมื องด้วย แต่ โยริโมโตก็ สามารถ
ปราบปรามได้อย่างราบคาบ
ยุ คโชกุ น ตระกู ลแรก โชกุ น หมายถึ ง ผู ้บั ญ ชาการกองก าลั งทหารของ
ประเทศ หากเปรียบกับตาแหน่ งทางทหารในปั จจุบนั แล้ว อาจเทียบได้กบั ตาแหน่ ง
ผูบ้ ญ
ั ชาการทหารสูงสุด ผูท้ ี่ได้รบั ตาแหน่ งโชกุนคนแรกคือ โยริโมโต หลังจากที่โยริ
โมโตตีเมืองเฮอันและนาราได้แล้ว ในปี พ.ศ.๑๗๒๘ เขาสถาปนาเมืองกามากุระขึ้ น
เพื่อเป็ นศูนย์การปกครองระบบโชกุ นหรือรัฐบาลทหาร และได้รบั การแต่งตั้งจาก
สมเด็ จพระจัก รพรรดิ ในปี พ.ศ. ๑๗๓๕ ให้ด ารงต าแหน่ ง เซอิ ไทโชกุ น ยุ ค นี้
พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมโทรมเพราะไฟสงคราม แต่พุทธศาสนิ กชนก็พยายามฟื้ นฟู
ขึ้ นใหม่จนกลับรุ่งเรืองอีก โดยครั้งนั้ นมีนิกายที่ สาคัญอยู่ ๓ นิ กายคือ นิ กายโจโด
นิ กายเซน และนิ กายนิ จิเร็น
๑. นิกายโจโด หรือสุขาวดี ท่านโฮเน็ นได้ก่อตั้งนิ กายนี้ ขึ้ นในยุคกามากุระ
วันหนึ่ งท่านได้อ่านอรรถกถาอมิตายุรธยานสูตรพบข้อความตอนหนึ่ งกล่าวว่า หาก
๑๑๙

บุคคลนึ กถึงและออกพระนามพระอามิตาภพุทธเจ้า โดยมิตอ้ งคานึ งถึงอากัปกิริยา


และกาลเวลาแล้ว ถ้าปฏิ บัติ ได้สม า่ เสมอก็ ย่อมเรียกได้ว่า เป็ นสัมมากัมมันตะ
เพราะต้องด้วยปฏิญญาแห่งพระอมิตาภพุทธเจ้า ท่านรูส้ ึกประทับใจข้อความนี้ มาก
และได้เลิกข้อปฏิบตั ิอย่างอื่นหมด เปล่งแต่คาว่า นั มบู อมิดา บุตสึ อย่างเดียว โดย
เชื่อว่าเพียงแค่นี้ก็สามารถไปเกิดยังแดนสุขาวดีซึ่งเป็ นที่อยู่พระอมิตาภพุทธเจ้าได้
จากนั้ นท่านจึงออกเผยแผ่คาสอนและได้รบั ความนิ ยมอย่างรวดเร็วทั้งนี้ เพราะหลัก
ปฏิบตั ิไม่ยงุ่ ยากซับซ้อน
๒. นิ กายเซน ท่านโยไซ และท่านโดเกน ได้เดินทางไปศึกษาที่ภูเขาฮิเออิ
จากนั้ นก็เดินทางไปยังประเทศจีน ศึกษาพระพุทธศาสนานิ กายเซนแล้วนากลับมา
เผยแผ่ที่ญี่ปุ่น ท่านโยไซสร้างวัดชื่อ โชฟูกูจิ ขึ้ นในปี พ.ศ.๑๗๓๔ ที่เกาะกิวชิว เมือง
กามากุระ เพื่อเป็ นศูนย์กลางในการเผยแผ่นิกายรินไซเซน ส่วนท่านโดเกนสร้างวัด
เออิเฮอิจิขึ้นเป็ นศูนย์กลางการเผยแผ่ โซโตะเซน
จากที่ กล่ าวแล้วว่า นิ กายเซนเน้ นการปฏิ บัติ สมาธิ และวิปั สสนาเพื่ อให้
เข้าถึงฌานที่ เรียกว่า ซาเซน โดยไม่อาศัยตัวหนั งสือหรือปริยตั ิธรรมใดๆ จึงมีคา
ขวัญประจานิ กายว่า ปุกลิบ-บุน้ ยี่ ติกจี้ นั้ งซิม เกียงแส่ เซ่งฮุ ด แปลว่า ไม่ตอ้ งอาศัย
หนังสือแต่ชตรงไปยั
ี้ งจิตของมนุ ษย์ ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริงแล้วบรรลุเป็ นพุทธะ
ความแตกต่างกันระหว่างรินไซเซน กับโซโตะเซน คือ รินไซเซน อาจารย์ผูส้ อนจะใช้
วิธีรุนแรงต่างๆ ปลุกลูกศิษย์ให้ตื่นเพื่อความรูแ้ จ้ง เช่น ถ่ายทอดธรรมด้วยการ
ตะโกนใส่ลูกศิษย์บา้ ง ใช้ไม้เท้าตีขณะนั ง่ วิปัสสนาบ้าง ส่วนโซโตะเซนอาจารย์จะฝึ ก
ให้ลูกศิษย์มองความจริงจากแง่มุมต่างๆ ให้เห็นว่าแต่ละมุมล้วนมีเอกภาพเดียวกัน
ไม่อาจแยกขาดจากกัน
๓. นิ กายนิ ชิเร็น เป็ นนิ กายที่ ยึดพระสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็ นแม่บทโดย
พระนิ ชิเร็นเป็ นผูก้ ่อตั้งขึ้ น ท่านเกิดวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๗๖๕ และอุปสมบท
เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี หลังจากศึกษาพระธรรมมาเป็ นเวลา ๑๐ ปี แล้ว ท่านได้ขอ้ สรุปว่า
คาสอนของพระสัทธรรมปุณฑริกสูตรนี้ เท่านั้นถูกต้องแท้จริง
จากนั้ นจึงเริ่มเผยแผ่คาสอน หลักปฏิบัติของนิ กายนี้ ไม่ซบั ซ้อน เพียงแต่มี
ศรัทธามัน่ คงแล้วกล่าวนมัสการว่า นะมุ เมียวโฮ เรงเง เคี ยว ซึ่งแปลว่า ขอนอบ
๑๒๐

น้อมแด่สทั ธรรมปุณฑริกสูตร โดยขณะกล่าวต้องตระหนั กว่าตนเองมีพุทธภาวะอยู่


ในตัว แล้วจะสามารถกาจัดสักกายทิฏฐิและบรรลุธรรมได้
นิ ชิเร็นเป็ นคนหัวรุนแรง เผยแผ่คาสอนโดยวิธีโจมตีต่างนิ กาย เขาด่าโฮเน็ น
ผู ก้ ่ อตั้ง นิ กายสุ ขาวดี ว่าเป็ นสัตว์นรก การกล่ าว นั มบู อมิ ดา บุ ตสึ ของนิ กาย
สุขาวดีก็เป็ นทางไปสู่นรก อีกทั้งชอบวิพากษ์วิจารณ์รฐั บาล เขาเขียนเสนอโครงการ
ปกครองประเทศให้รฐั บาล และพยากรณ์วา่ ถ้ารัฐบาลไม่ทาตามเขาจะมีมหันตภัย
มาสู่ประเทศ นิ ชิเร็นจึงมีคนเกลียดชังมาก เขาถูกเนรเทศ ๒ ครั้ง ถูกทาร้ายถึง ๒
ครั้ง แต่ก็รอดตายมาได้ทุกคราว
ยุคสงครามกลางเมือง หลังจากที่ โชกุ นตระกู ลแรกคื อมิ นาโมโตปกครอง
ประเทศมาได้ ๒๘ ปี อานาจจึงเริ่มเปลี่ยนมือ คือในปี พ.ศ.๑๗๕๖ อานาจที่แท้จริง
เปลี่ยนไปยังตระกูลโฮโจ ซึ่งเป็ นตระกูลทางภรรยาของโยริโมโต
การฟื้ นฟู อานาจการปกครองโดยจักรพรรดิ มี ขึ้ นในช่วงสั้นๆ คื อตั้งแต่ ปี
พ.ศ.๑๘๗๖ - ๑๘๘๑ หลั งจากนั้ นรัฐบาลโชกุ นหรื อรัฐบาลทหารชุ ดใหม่ ก็ ได้
สถาปนาขึ้ นอีก โดยตระกูลอาชิคางะ ที่ มุโรมาจิ ในกรุงเกียวโต หลังจากปกครอง
ประเทศมาได้ ๒๐๐ กว่าปี ก็ เกิ ดสงครามกลางเมื องขึ้ นระหว่างผูน้ าทหารแต่ ละ
ตระกู ล ในครั้งนั้ นมี นั กรบผู ห้ นึ่ งชื่ อ โอดะ โนบุ นากะ (Oda Nobunaga) ฝึ กให้
ทหารของเขาใช้อาวุธปื นที่พ่อค้าโปรตุเกสนามาขายในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ จึง
ทาให้กองทัพแข็งแกร่งและสามารถปราบหัวเมืองต่างๆ ลงได้
ช่วงสงครามกลางเมืองนี้ ส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรงมาก
พระภิกษุ ถึงกับต้องจับอาวุธขึ้ นต่อสูก้ ับเหล่าทหาร โดยมีสานั กสงฆ์นิกายเทนได
แห่งภูเขาฮิเออิเป็ นศูนย์กลางของกองทัพ โอดะ โนบุนากะ สัง่ การให้กองทหารกว่า
๓๐,๐๐๐ นาย เข้าโอบล้อมเทือกเขาฮิเออิแล้วตีโอบตะลุยขึ้ นไปยังวัดซากาโมโตะ สัง่
ให้ฆ่าพระทุกรูปและชาวบ้านทุ กคนบนเทื อกเขาไม่เว้นแม้แต่ผูห้ ญิงและเด็กทารก
ให้เผาวัดและบ้านเรือนทุ กหลังจนวอดวาย จากนั้ น ให้ทหารบุ กเผาวัดอื่ นๆ อี ก
ประมาณ ๓,๐๐๐ วัดที่มีทีท่าว่าจะก่อการกบฏต่อเขา
หลังจากปราบกองทัพพระสงฆ์ลงได้ราบคาบแล้ว โอดะ โนบุนากะสนั บสนุ น
ให้มิชชันนารีชาวโปรตุเกสนาศาสนาคริสต์นิกายเยซูอิทมาเผยแผ่ จนได้รับความ
นิ ยมอย่างรวดเร็ว แม้ตวั เขาเองก็เปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาด้วย โนบุนากะครอง
๑๒๑

อานาจอยู่ได้กว่า ๔๘ ปี ก็ ถูกอะเคจิ มิ ตสึ ฮิเดะ แม่ทัพคนสนิ ทสังหารในปี พ.ศ.


๒๑๒๕ เนื่ องจากแค้น ใจที่ ถู ก โนบุ น ากะท าให้เขาได้รับ ความอั บ อายต่ อหน้ า
นายทหาร แต่อะเคจิ มิตสึฮิเดะก็ถูกลอบสังหารเช่นเดียวกันจากโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ
นายทหารคนสนิ ทอีกคนหนึ่ งของโอดะ โนบุนากะ
จากนั้ น โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ก็ได้สืบทอดอานาจต่อจากโนบุนากะ รวมญี่ปุ่น
ให้เป็ นหนึ่ งเดียวได้สาเร็จในปี พ.ศ.๒๑๓๓ ช่วงแรกเขาสนั บสนุ นนั กสอนศาสนา
ชาวตะวันตกเป็ นอย่างดี จนกระทัง่ วันหนึ่ งกะลาสีฝรัง่ พูดในร้านเหล้าว่า รัฐบาลของ
เขาอาศัยพวกบาทหลวงเป็ นแนวหน้า ในการล่าอาณานิ คม ที่ใดชาวพื้ นเมืองนั บถือ
คริสต์ศาสนามาก ก็ชื่อว่าเป็ นเมืองขึ้ นทางจิตใจ ถ้าเกิดสงครามขึ้ นแล้ว พวกเหล่านี้
จะเป็ นสายลับช่วยกองทัพให้เข้ามาโจมตีบา้ นเมืองของตน เมื่อฮิเดโยชิทราบเรื่องนี้
จึงออกคาสัง่ กวาดล้างคริสต์ศาสนาให้สิ้นซาก
ยุคปิ ดประเทศ หลังจากฮิเดโยชิเสียชีวิตแล้ว โทะคุงะวะ อิเอะยะสุ ได้ครอง
อ านาจต่ อโดยย้ายศู นย์กลางการบริ หารแผ่ นดิ นไปที่ เมื องเอะโดะ (ปั จจุ บันคื อ
โตเกียว) และได้ต้งั รัฐบาลโชกุนขึ้ นในปี พ.ศ.๒๑๔๖ รัฐบาลโทะคุงะวะปกครองญี่ปุ่น
อยู่ ๒๖๐ ปี ยุคนี้ ยังมีการติดต่อกับตะวันตกทางด้านการค้า แต่ได้กาจัดนั กบวช
และคริสต์ศาสนิ กชนอย่างรุนแรง เช่น ประหารชีวิต กาหนดโทษเผาทั้งเป็ นและริบ
ทรัพย์ผูน้ ั บถื อศาสนาคริสต์ ต่อมาได้ขับไล่ชาวตะวันตกออกจากประเทศ สัง่ ห้าม
ชาวต่างชาติทุกคนเข้าประเทศ ยกเว้นกลุ่มที่ได้รบั อนุ ญาตบางกลุ่ม ตั้งแต่น้ั นญี่ปุ่น
จึงเข้าสู่ยุคปิ ดประเทศ สถานการณ์พระพุทธศาสนายุคนี้ ก็ซบเซา เพราะถูกรัฐบาล
แทรกแซง และให้การสนับสนุ นศาสนาขงจื้ อแทน
ยุคเมจิถึงปั จจุบัน ญี่ ปุ่นปิ ดประเทศอยู่ประมาณ ๒๕๐ ปี เปิ ดประเทศอี ก
ครั้งหลังจาก การมาเยือนของสหรัฐอเมริ กาในปี พ.ศ.๒๓๙๖ ยุ คนี้ ระบบโชกุ น
อ่อนแอลงมากและสิ้ นอานาจลงในสมัยพระจักรพรรดิเมจิ (พ.ศ.๒๔๑๑ - ๒๔๕๕)
สมัยนี้ ญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้ามาก ด้วยระยะเวลาเพียง ๓๐ ปี แห่งการพัฒนาประเทศ
ตามตะวันตก ญี่ปุ่นได้กลายเป็ นยุโรปแห่งตะวันออก มีกาลังทางเศรษฐกิจและทาง
ทหารพรัง่ พร้อม จนสามารถจมกองทัพเรือรัสเซียในทะเลญี่ปุ่นได้ท้งั กองทัพ
ยุคนี้ ลัทธิชินโตได้รบั ความนิ ยม เพราะคาสอนยกย่องพระจักรพรรดิให้เป็ น
อวตารของเทพเจ้า ส่วนพระพุทธศาสนากลับเสื่อมโทรม มีการห้ามตั้งนิ กายใหม่
๑๒๒

ห้ามสร้างวัดเพิ่ม พิธีกรรม ความเชื่อและวัตถุที่เคารพในพระพุทธศาสนาถูกยกเลิก


จากพระราชสานั กทั้งหมด ประกาศให้ ยึดวัดมาสร้างเป็ นโรงเรียน โรงงาน บังคับให้
ชี ไ ปมี สามี ด้ ว ยแรงกดดั น นี้ ท าให้ พุ ทธบริ ษั ท มี ค วามตื่ นตั ว และปฏิ รู ป
พระพุทธศาสนาเพื่อความอยูร่ อดดังนี้
๑.สร้างโรงเรียนขึ้ นในวัดใหญ่ๆ บางวัด และสร้างวิทยาลัยอาชีวะชั้นสูงด้วย
๒.สร้างมหาวิทยาลัยพระพุ ทธศาสนาขึ้ น โดยรวบรวมทุ นจากวัดใหญ่ ๆ
หลายวั ด หรื อ รวบรวมทุ นระหว่ า งนิ กาย เช่ น นิ กายเท็ นไดกั บ นิ กายชิ น
มหาวิทยาลัยของญี่ ปุ่นที่ สร้างโดยทุ นของพระพุทธศาสนายุคนั้ นมี ๑๓ แห่ง เช่น
มหาวิทยาลัยโอตานิ
๓.บาเพ็ญงานด้านสาธารณกุศล ด้วยการสร้างโรงพยาบาล สถานสงเคราะห์
คนทุพพลภาพ สถานสงเคราะห์เยาวชน องค์กรจัดหางานให้แก่คนตกงาน วัดใหญ่ๆ
หลายวัดรวมทุ นกันสร้างบริษัทการค้า โรงงานอุตสาหกรรม เมื่อได้กาไรมาแล้วก็
นามาใช้จา่ ยเพื่อประโยชน์ของพระพุทธศาสนา
๔.ส่ งเสริ มการค้น คว้าทางพระพุ ท ธศาสนาอย่ างกว้างขวาง จัดพิ ม พ์
พระไตรปิ ฎกฉบั บ ที่ มี ชื่ อ เสี ย งที่ สุ ด ในโลก คื อ ฉบั บ ไทโช ตี พิ ม พ์ ห นั งสื อ
พระพุทธศาสนาจานวนมาก ปี ละหลายล้านเล่ม ความรูท้ างพระพุทธศาสนาของ
ญี่ปุ่นจึงก้าวหน้ามาก
เมื่อมีการปฏิรูปเช่นนี้ ทาให้ฐานะพระพุทธศาสนาฟื้ นตัวอย่างรวดเร็ว จน
รัฐบาลไม่กล้า แตะต้องกิจการภายใน ในที่สุดการคุกคามพระพุทธศาสนาจึงยุติไป
โดยปริยาย และหลังจากญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ นายพลแมคอาเธอร์ สัง่ ยุบ
ศาสนาชินโต เพราะถือเป็ นศาสนาเพาะวิญญาณสงคราม จึงทาให้พระพุทธศาสนา
หมดคู่แข่งอย่างเป็ นทางการไปหนึ่ งศาสนา ซึ่งได้ต่อสูท้ างอุดมการณ์กนั มายาวนาน
นับพันปี ถึงแม้จะไม่อาจลบเลือนไปจากจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นได้เสียทีเดียว
ทุกวันนี้ คู่แข่งใหม่ที่น่ากลัวกว่าชินโตมากคือ วัฒนธรรมตะวันตก ที่นับวัน
จะหลัง่ ไหลเข้าไปยังญี่ปุ่นมากขึ้ นเรื่อยๆ วัฒนธรรมเหล่านี้ ส่งเสริมให้คนติดในวัตถุ
ความสะดวกสบายและสนุ กสนานเพลิดเพลินจนละทิ้ งศาสนา เยาวชนทัว่ โลกไม่ใช่
เฉพาะญี่ ปุ่ นให้ เวลากั บ การคุ ย โทรศั พ ท์ มื อถื อ เล่ น อิ น เทอร์ เน็ ต เล่ ม เกม
คอมพิวเตอร์ เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า มากกว่าเวลาอ่านหนั งสือ หลายต่อหลาย
๑๒๓

คนเล่นเกมจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนมีข่าวเด็กช็อกตายหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ได้
ยินอยู่บ่ อยๆ แล้วเยาวชนยุ คนี้ จะเอาเวลาที่ ไหนมาสนใจพระพุ ทธศาสนาเพราะ
แม้แต่เวลานอนยังไม่มี
ปั จจุ บันชาวญี่ ปุ่ นยังนั บถื อพระพุ ทธศาสนาควบคู่ กับศาสนาชิ นโต โดย
พระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็ นหลายนิ กาย นิ กายที่สาคัญมี ๕ นิ กาย คือ
๑. นิกายเทนได หรือเทียนไท้ หรือสัทธรรมปุณฑริก พระไซโจเป็ นผูต้ ้งั โดย
ตั้งชื่อนิ กายตามชื่อภูเขาเทียนไท้ในประเทศจีน ซึ่งเป็ นสานักที่ท่านไปศึกษา
๒. นิ กายชินงอน หรือตันตระ พระคูไคเป็ นผูต้ ้งั ในเวลาใกล้เคียงกับนิ กาย
เทนได นิ กายนี้ ยึดคัมภี ร์มหาไวโรจนสูตรเป็ นหลัก ถื อว่าพระไวโรจนพุทธเจ้า
เป็ นที่เคารพสูงสุด นอกจากนี้ นิ กายนี้ ยังประสานคาสอนเข้ากับลัทธิชินโต สามารถ
ยุบวัดชินโตเป็ นวัดชินงอนได้หลายวัด
๓. นิกายโจโด หรือสุขาวดี โฮเน็ นเป็ นผูต้ ้งั นิ กายนี้ สอนว่าสุขาวดีเป็ นแดน
อมตสุข จะไปถึงได้ดว้ ยการออกพระนามพระอมิตาภพุทธะ โจโดยังมีนิกายย่อยอีก
มาก เช่น โจโดชิน หมายถึง สุขาวดีแท้ ตั้งโดยชินแรน มีคติวา่ "ฮิ โชฮิโชกุ ไม่มีพระ
ไม่ มี ฆราวาส" ท าให้พระในนิ กายนี้ มี ภรรยาได้ ฉันเนื้ อได้ มี ความเป็ นอยู่คล้าย
ฆราวาส
๔. นิกายเซน หรือฌาน นิ กายเซนเน้นการปฏิบตั ิสมาธิและวิปัสสนาเพื่อให้
เข้าถึ งฌานที่ เรี ยกว่า ซาเซน นิ กายนี้ คนชั้นสู งและพวกนั กรบนิ ยมมาก เซนมี
นั กวิชาการคนสาคัญคือ ดร.ดี ที ซูสุกิ (พ.ศ.๒๔๓๓-๒๕๐๙) เป็ นผูบ้ ุกเบิกเผยแผ่
เซนให้เป็ นที่รจู ้ กั ในตะวันตก ด้วยการแต่งตาราและแปลคัมภีรเ์ ป็ นภาษาอังกฤษ
๕. นิ กายนิ ชิเร็น พระนิ ชิเร็นเป็ นผูต้ ้งั นิ กายนี้ นั บถือสัทธรรมปุณฑริกสูตร
อย่างเดียว โดยภาวนาว่า นะมุ เมียวโฮ เรงเง เคียว (นโม สทธมมปุณฑริก สุตตสส
แปลว่า ขอนอบน้อมแด่ สัทธรรมปุณฑริกสูตร) เมื่อเปล่งคานี้ ออกมาด้วยความรูส้ ึก
ว่ามีธาตุพุทธะอยูใ่ นใจ ก็บรรลุ โพธิญาณได้
โซกะ กัคไค (Soka Gakkai) เป็ นนิ กายที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดใน
สายนิ ชิเร็น ปั จจุบันมีสมาชิกกว่า ๑๒ ล้านคนใน ๑๙๐ ประเทศทัว่ โลก โดยมี ได
ซาขุ อิเคดะ เป็ นผูน้ าองค์กร โซกะ กัคไค แปลว่า สมาคมสร้างสรรค์คุณค่า
๑๒๔

การเผยแผ่ของนิ กายนี้ ใช้ยุทธวิธี ชากุ บุกุ แปลว่า ทาลายแล้วครอบครอง


หมายความว่าท าให้มองเห็ นข้อผิ ดพลาดในหลักค าสอนเก่าจนไม่เชื่อถื อ แล้วให้
เปลี่ยนมานั บถื อนิ กายนิ ชิเร็น วิธีเข้านิ กายนี้ คือ ทาลายรูปเคารพในศาสนาหรือ
นิ กายเดิ มของตนแล้วไปเข้าวัดที่ อยู่ใกล้ เพื่อทาพิธีประมาณ ๒๕ นาที พร้อมรับ
มอบโงฮอนวอน มาตั้งบูชาที่บา้ นตน และสวด นะมุ เมียวโฮ เรงเง เคียว ทุกวัน ตอน
เช้า ๕ ครั้ง ตอนคา่ ๓ ครั้ง
การบริหารของสมาคมเน้นความเป็ นทีม สมาชิกต้องเป็ นหนึ่ งเดียวไม่มีการ
โต้แย้ง หมู่ คณะจะเข้มแข็ งมัน่ คงได้ด ้วยศรัทธาเป็ นฐานและเป็ นจุ ดศู นย์รวม
บุ คคลเป็ นเพี ยงส่ วนประกอบและมี ความหมายเพี ยงช่วยให้เกิ ดการกระท าของ
ส่วนรวม
นิ กายนี้ จะสร้างรัฐซ้อนขึ้ นในรัฐ โดยสมาชิกประมาณ ๒๐-๓๐ ครอบครัว
รวมกันเป็ น กลุ่มเรียกว่า Squad ถ้ารวมได้ ๖ Squad เรียกว่า Company ถ้ารวมได้
๑๐ Company เรี ยกว่า District ถ้ารวมหลายๆ District เรี ยกว่า Religion Chapter
หรื อ ภาค แต่ ล ะหน่ วยเหล่ า นี้ มี ก ารประชุ ม กั น เป็ นประจ าเพื่ อ แลกเปลี่ ย น
ประสบการณ์ทางศาสนาซึ่งกันและกัน
ในด้านเยาวชนมีการสอนธรรมภาคฤดูรอ้ น แจกตาราเกี่ยวกับหลักธรรม
ของนิ กาย และจัดสอบประจาปี เมื่อสอบได้ก็รบั คุณวุฒิตามลาดับชั้น
ปั จจุบัน โซกะ กัคไค มีบทบาทสาคัญในการเมืองญี่ปุ่น เพราะมีบุคคลชั้น
นาของนิ กายนี้ เป็ นเลขาธิการพรรคการเมืองชื่อ พรรคโกเมอิโต โดยมีนโยบายที่เป็ น
ประชาธิปไตยแบบพระพุทธศาสนา พรรคนี้ ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนมีอิทธิพลเป็ น
อันดับสามของประเทศ
๓) ประเทศทิเบต
ทิ เบต (Tibet) ตั้งอยู่บนเทื อกเขาหิมาลัยเป็ นที่ ราบสูงที่ สูงที่ สุดในโลกจน
ได้รบั ฉายาว่า หลังคาโลก ปั จจุบันทิเบตเป็ นเขตปกครองพิเศษของจีน หลังจากถูก
ยึดครองในปี พ.ศ.๒๔๙๔ องค์ทะไล ลามะ เท็นซิน กยัตโซ ผูน้ าทิเบตจึงเสด็จลี้ ภัย
ไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ ณ ธรรมศาลา ทางตอนเหนื อของประเทศอินเดีย ในปี พ.ศ.
๒๕๐๒ โดยมีชาวทิเบตประมาณ ๘๐,๐๐๐ คนติดตามไปด้วย
๑๒๕

ในอดีตก่อนการยึดครองของจีน ทิ เบตได้รบั ฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม"


(Land of Dharma) ปั จจุบันก็ยงั หลงเหลือภาพนี้ อยู่ แม้จะมัวหมองไปมากหลังจาก
เป็ นเมืองขึ้ นของจีน ชาวทิเบตนิ ยมบวชเป็ นพระภิกษุ เฉพาะในลาซา เมืองหลวง
ของทิ เบต มีพระอยู่ถึงครึ่งหนึ่ งของพลเมืองทั้งหมด นอกเมืองหลวงก็มีอยู่จานวน
มาก แต่ละวัดมีพระอยูห่ ลายพันรูป เช่น วัดเซรา มี ๗,๐๐๐ รูป วัดไคปุงมี ๕,๐๐๐
รูป วัดกันดันมี ๓,๐๐๐ รูป เป็ นต้น ชาวทิเบตถือว่า ๓ วัดนี้ เป็ นประดุจเสาค้าชาติ ๓
ต้น เหตุที่กุลบุตรออกบวชกันจานวนมาก เพราะทิเบตมีวฒ ั นธรรมอย่างหนึ่ งคือ แต่
ละครอบครัวจะต้องอุทิศบุตรชายอย่างน้อย ๑ คน ให้บวชเป็ นพระตลอดชีวติ
ศาสนาในทัศนะของชาวทิเบต ไม่ใช่เป็ นเพียงกฎเกณฑ์ที่ให้คนคอยปฏิบัติ
ตาม แต่ศาสนาเป็ นส่วนหนึ่ งของวิถีชีวิต ผสมผสานอยูใ่ นชีวิตประจาวันของพวกเขา
ดังที่ ท่านสังฆรักขิตะกล่าวว่า พระพุทธศาสนาในทิ เบตคือวิถีชีวิต ทั้งชีวิตของชาว
ทิ เบตคื อพระพุ ทธศาสนา สภาพแวดล้อมคื อพระพุ ทธศาสนา ทุ กอณู ของพื้ น
แผ่นดินทิเบต เราจะเห็นเฉพาะภาพพระพุทธศาสนา
ชาวทิเบตให้ความสาคัญกับการสวดมนต์มาก โดยเฉพาะบทสวดที่ชาวโลก
คุน้ เคยกันดี คือ โอม มณี ปั ทเท หุม อันเป็ นมนต์ หรือมันตระแห่งความกรุณา พวก
เขาเชื่ อว่าถ้าสวดได้ถึ ง ๖๐๐,๐๐๐ จบ จะท าให้บรรลุ พระนิ พพาน แต่ ละคนจะมี
ลูกประคา ๑๐๘ ลูกประจาตัว เพื่อเป็ นอุปกรณ์ช่วยในการสวดมนต์ อิทธิ พลของ
พระพุทธศาสนาทาให้ชาวทิเบตมีนิสัยอ่อนน้อม ฉายภาพแห่งความเมตตากรุณา
ออกมาตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ในอดีตชาวทิเบตมีนิสยั โหดร้าย บางครั้งถึงกับกินเนื้ อคน
เลยทีเดียว
ในสมัยพุทธกาล ทิ เบตเป็ นดิ นแดนส่วนหนึ่ งของอิ นเดี ย อยู่ในอาณาเขต
แคว้นโกศล ป่ ามหาวัน ที่ อยู่ใกล้กรุงกบิ ลพัสดุ์ มีบริเวณด้านเหนื อครอบคลุมถึ ง
ภูเขาหิมาลัย ซึ่งเป็ นที่ต้งั ของทิเบตในปั จจุบนั พระพุทธองค์ทรงแสดงมหาสมยสูตร
และมธุ ปิณฑิกสูตร ณ ป่ ามหาวัน ดังนั้ นพระพุทธศาสนาจึงเข้าสู่ทิเบตตั้งแต่สมัย
พุทธกาลแล้ว ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณทูต ๙ สายไปประกาศ
พระศาสนา โดยสายของพระมั ช ฌิ มเถระและคณะได้ เดิ น ทางมาประกาศ
พระพุทธศาสนา ณ บริเวณเทือกเขาหิมาลัยนี้
๑๒๖

ต่อมาปี พ.ศ.๙๗๖ กษั ตริย์ลาโธ โธรี เย็นเซ (พ.ศ.๙๐๐ - ๑๑๐๐) ได้รับ


เครื่องบรรณาการจากตัวแทนอินเดีย อันมีคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนาและพระพุทธรูป
ด้วย พระองค์จึงเป็ นกษั ตริย์ทิ เบตพระองค์แรกที่ นั บถื อพระพุ ทธศาสนา ช่วงนี้
พระพุทธศาสนายังไม่แพร่หลายเพราะลัทธิบอน อันเป็ นความเชื่อดั้งเดิมของชาว
ทิเบตยังมีอิทธิพลอยูม่ าก
เมื่อพระเจ้าซองเซน กัมโป ขึ้ นครองราชย์ (พ.ศ.๑๑๖๐ - ๑๒๔๑) ทรงทา
สงครามกับจีนและตีเมืองเสฉวนได้ พระเจ้าถังไท่จงฮ่องเต้จึงปรารถนาจะผูกมิตร
กับทิ เบตด้วยการยกเจ้าหญิ งในราชสกุ ลองค์หนึ่ งพระนามว่า บุ น้ เซ้งกงจู ้ ให้เป็ น
มเหสีของพระเจ้าซองเซน กัมโป ต่อมาเมื่อทิเบตรุกรานเนปาล กษัตริยเ์ นปาลจึงขอ
ผูกไมตรีดว้ ยการยกพระธิดาชื่อ กฤกุ ฏีเทวี ให้เป็ นมเหสีของพระองค์เช่นกัน ราช
ธิดาทั้งสองได้อญั เชิญพระพุทธรูปและคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนาเข้าไปในทิเบตด้วย ทั้ง
สองพระองค์ได้ชกั จูงให้พระสวามีนับถือพระพุทธศาสนา
พระเจ้าซองเซน กัมโปทรงส่งที่ปรึกษาราชสานั กคนสาคัญชื่อ ทอนมี สัมโภ
ตะ พร้อมคณะอี ก ๑๒ คน ไปศึ กษาพระพุ ทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา
ประเทศอินเดีย ทอนมี สัมโภตะและคณะได้นาอักษรสันสฤตมาเป็ นต้นแบบในการ
ประดิษฐ์อกั ษรและไวยากรณ์ภาษาทิเบตขึ้ น และได้แปลคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนาจาก
ภาษาสั น สกฤตเป็ นภาษาทิ เบตด้ ว ย หลั ง จากนั้ นชาวทิ เบตจึ ง ได้ ศึ ก ษา
พระพุ ท ธศาสนากั น อย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ.๑๑๗๓ พระเจ้าซองเซน กั ม โป
ประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็ นศาสนาประจาชาติ และทรงสร้างพุทธสถานที่สาคัญ
หลายแห่ง เช่น พระราชวังโปตาลา และวัดโจคัง เป็ นต้น
หลังจากรัชสมัยพระเจ้าซองเซน กัมโปแล้ว ลัทธิ บอนกลับมามีอิทธิพลอีก
ครั้ง ได้ข่มพระพุทธศาสนาโดยอ้างฤทธิ์เดชต่างๆ ของลัทธิตน จนกระทัง่ พระเจ้าธริ
ซอง เดทเซน ขึ้ นครองราชย์ (พ.ศ.๑๓๓๓ - ๑๔๐๑) พระองค์ทรงอาราธนาพระคุรุ
ปั ทมสัมภวะ แห่งลัทธิ มนตรยาน ผูร้ ูเ้ วทมนตร์มากให้มาปราบลัทธิบอน ท่านคุ รุ
ปั ทมสัมภวะใช้เวลา ๑ ปี กว่า จึงปราบได้หมดแล้วตั้งนิ กายเนี ยงม่า (Nyiangma)
หรื อ นิ กายหมวกแดง และสร้า งวั ด สั ม เยขึ้ นเป็ นศู น ย์ ก ลางในการเผยแผ่
พระพุทธศาสนา
๑๒๗

นอกจากนี้ พระเจ้าธริซอง เดทเซนยังนิ มนต์พระนิ กายสรวาสติวาทมา ๑๒


รูป แล้วคัดเลือกชาวทิเบตให้มาบรรพชาอุปสมบท ๕ คน ต่อมามีชาวทิเบตอีก ๓๐๐
คน ทั้ งชายและหญิ งมาบรรพชาอุ ปสมบทด้วย พระเจ้าธริซอง เดทเซนทรงตรา
กฎหมายให้มีการสนั บสนุ นด้านต่างๆ แก่พระภิกษุ สามเณร จึงเป็ นการวางรากฐาน
อันมัน่ คงให้แก่พระพุทธศาสนา
พระเจ้าธริ รัลปาเชน (พ.ศ.๑๔๐๙ - ๑๔๔๔) ครองราชย์เป็ นกษัตริยท์ ิเบต
พระองค์ต่อมา ทรงมีพระราชศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ถึ งกับสยายพระ
เกศารองเป็ นอาสนะให้พระสงฆ์นั่งล้อมแสดงธรรมถวายพระองค์ ทรงแต่งตั้งชาว
พุทธให้ดารงตาแหน่ งทางราชการเป็ นจานวนมาก และมีการลงโทษผูท้ ี่ไม่มีเคารพ
พระสงฆ์ดว้ ย ทาให้พวกลัทธิบอนหรือผูท้ ี่ เสียผลประโยชน์ ไม่พอใจมาก ด้วยเหตุนี้
พวกนี้ จึงลอบปลงพระชนม์พระองค์เสีย
พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมายาวนานเพราะได้รบั การสนั บสนุ นจากกษั ตริย์
ทุ ก พระองค์ ที่ ผ่ านมา แต่ เมื่ อพระเจ้าลั ง ดาร์ม่ า (พ.ศ.๑๔๔๔ - ๑๔๔๙) ขึ้ น
ครองราชย์ พระองค์นับถือลัทธิบอน จึงพยายามทาลายพระพุทธศาสนา บังคับให้
พระสงฆ์ลาสิกขา พระภิกษุ ตอ้ งหลบออกไปอยู่ในชนบท ภิกษุ รูปหนึ่ งอดรนทนไม่
ไหวจากการกระทาของพระองค์ จึงแต่งตัวด้วยชุดดา สวมหมวกสีดาเข้าไปปะปนกับ
ชาวเมือง แล้วลอบปลงพระชนม์พระเจ้าลัง ดาร์มา่ เสีย
ต่อมาในปี พ.ศ.๑๕๗๗ - ๑๕๘๑ ทิ เบตได้อาราธนาพระที ปังกรศรีชญาณ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยวิกรมศิลาแห่งอินเดีย ให้มาช่วยปฏิรูปพระพุทธศาสนาและ
ก่อตั้งนิ กายลามะ (Lamaism) ในทิเบต พุทธศตวรรษที่ ๑๖ นี้ มีการส่งคนไปศึกษา
พระพุ ทธศาสนาที่ มหาวิทยาลัยนาลันทามาก มี การแปลคัมภี ร์เป็ นภาษาทิ เบต
สร้างวัด และนิ มนต์นั กปราชญ์อินเดียไปทิ เบตหลายท่าน ทาให้พระพุทธศาสนา
รุง่ เรืองขึ้ นมาอีกครั้ง
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ท่านตสองขะปะได้สร้างวัดกันดัน ใกล้กับลาซา
และตั้งนิ กายเกลุกหรือนิ กายหมวกเหลื องขึ้ น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิบัติวินัยให้
เคร่งครัดยิ่งขึ้ น เพราะลามะในนิ กายเนี ยงม่าส่วนมากเลอะเทอะมีลูกมีเมียในวัด
แต่นิกายเกลุกห้ามเด็ดขาด นอกจากนี้ ท่านยังรวบรวมคัมภีรท์ ี่ ได้แปลเป็ นภาษา
ทิเบตขึ้ น โดยแบ่งเป็ น ๒ หมวด คือ พุทธพจน์ ๑๐๐ เล่ม และอรรถกถา ๒๒๕ เล่ม
๑๒๘

คัมภีรเ์ หล่านี้ เรียกว่า พระไตรปิ ฎก หรือคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนาฉบับทิเบต ซึ่งได้ตก


ทอดมาจนถึงปั จจุบัน ลูกศิษย์ของท่านตสองขะปะได้สร้างวัดใหญ่ขึ้น คือ วัดเซรา
วัดไคปุงและวัดตชิลุมโป และที่สาคัญ ท่านตสองขะปะยังเป็ นผูร้ ิเริ่มแนวคิดการสืบ
ทอดอานาจโดยการกลับชาติมาเกิดด้วย
กาเนิ ดองค์ทะไล ลามะ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ต้นพุทธศตวรรษที่
๒๒ อัลตันข่านแห่งมองโกลบุกยึดทิเบต และมีโอกาสได้พบกับโซนั ม กยัตโซ ประมุข
สงฆ์นิกายเกลุก องค์ที่ ๓ อัลตันข่านเกิดความเลื่อมใสยิ่งนั กจึงถวายตาแหน่ ง ทะเล
ให้แก่ ท่ าน ชาวทิ เบตออกเสี ยงว่า ทะไล (Dailai) โซนั ม กยัตโซได้ถวายต าแหน่ ง
ทะไล ลามะ ย้อนหลังขึ้ นไปในสองชาติแรกของท่านด้วย ซึ่งก็คือประมุขสงฆ์นิกายเก
ลุกองค์ที่ ๑ และ ๒ นั น่ เอง ยุคของทะไล ลามะ องค์ที่ ๔ นิ กายเกลุกก็เจริญรุ่งเรือง
เหมือนเดิม เพราะกองทหารมองโกลหนุ นหลังอยู่
สมัยทะไล ลามะ องค์ที่ ๕ โลซัง กยัตโซ (พ.ศ.๒๑๕๘ - ๒๒๒๓) การเมือง
ในทิเบตปั ่นป่ วน เกิดการแย่งชิงบัลลังก์กนั ในนครลาซา กุชรีข่าน ผูน้ ามองโกลจึง
เข้ามาช่วยปราบปราม จากนั้ นจึงมอบอานาจการปกครองทั้งฝ่ ายอาณาจักรและศา
สนจักรให้แก่ท่านโลซัง กยัตโซ ทะไล ลามะ องค์ที่ ๕ จึงเป็ นจุดเริ่มต้นระบอบการ
ปกครองที่ มีพระเป็ นผูน้ าสู งสุ ดของประเทศ ท่านโลซัง กยัตโซ ทรงทาให้ชาวมอง
โกลเป็ นพุ ทธศาสนิ กชนทั้ งประเทศ และทรงสร้างต่ อเติ มพระราชวังโปตาลาให้
ใหญ่โตกว่าเดิม
องค์ทะไล ลามะในปั จจุ บัน เป็ นองค์ที่ ๑๔ พระนามว่า เท็ นซิ น กยัตโซ
พระองค์ทรงจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ ณ ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย เนื่ องจากทิเบต
ถูกกองทัพจีนยึดครองในปี พ.ศ.๒๔๙๔ พระองค์จึงเสด็จลี้ ภัยมาอยูป่ ระเทศอินเดีย
ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ เหตุการณ์นี้ทาให้ทิเบตและพระพุทธศาสนาแบบทิเบตเป็ นที่รูจ้ กั
ไปทัว่ โลก โดยเฉพาะชาวตะวันตก ในสหรัฐอเมริกามีชาวพุทธทิ เบตอยู่ประมาณ
๕,๐๐๐,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็ นนิ กายหมวกเหลืองหรือเกลุก
องค์ทะไล ลามะ องค์ปัจจุบันได้มาเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๕๓๖ เพื่อ
รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ซึ่งจัดขึ้ นที่ประเทศไทย ในการนี้ รัฐบาลจีนได้เตือน
ประเทศไทยว่า ไม่ควรออกวีซ่าให้องค์ทะไล ลามะ เพราะว่าพระองค์เกี่ยวข้องกับ
กิจกรรมแบ่งแยกดินแดนจีนตลอดมา แต่รฐั บาลไทยก็ออกวีซ่าให้ โดยมีเหตุผลว่า
๑๒๙

เป็ นเมืองพุทธ ไม่มีเหตุอนั ควรที่จะสกัดกั้นพระที่จะเข้าประเทศ นอกเสียจากมาก่อ


เหตุรา้ ยเท่านั้ น แต่ดว้ ยกระแสกดดันจากจีนเมื่อองค์ทะไล ลามะเข้ามาในประเทศ
ไทยแล้ว ปรากฏว่า ไม่มีวดั ไหนกล้าให้ที่พกั แก่ท่าน ในครั้งนั้ น หลวงพ่อปั ญญานั น
ทะ วัดชลประทาน ได้อาสาให้พระองค์พกั ที่วดั ท่าน แต่สุดท้าย วัดบวรนิ เวศวิหารก็
ได้นิมนต์ให้ท่านไปพักที่ นั่นในฐานะเป็ นที่ ประทับของสมเด็จพระสังฆราชประมุ ข
สงฆ์ไทย
ปั จจุบันพระพุทธศาสนามหายานในทิ เบตเป็ นแบบวัชรยานหรือตันตระ
โดยมีนิกายสาคัญมี ๔ นิ กาย คือ เนี ยงม่า กาจู สักยะ และเกลุก
๑. นิ กายเนี ยงม่ า ผู ้ก่ อ ตั้ ง คื อ คุ รุ ปั ทมสั ม ภวะ ท่ า นแบ่ งค าสอนใน
พระพุทธศาสนาเป็ น นวยาน พระในนิ กายนี้ นิ ยมสวมหมวกสีแดง
๒. นิ กายกาจู อาจารย์ทุงโป ญาลจอร์ และมาร์ปะโชคี โลโด เป็ นผูก้ ่อตั้งโดย
ยึดหลักคาสอนสายทั้ง ๔ ของตันตระคือ กายมายา การสืบทอดวิญญาณ ความฝั น
และแสงสว่าง บางครั้งนิ กายนี้ เรียกว่า นิ กายหมวกดา เพราะเวลาประกอบพิธีพระ
นิ กายนี้ นิ ยมสวมหมวกสีดา
๓. นิ กายศากยะ ก่อตั้งโดยท่านคอนจ็อก เจลโป มีคาสอนสาคัญคือ ธรรม
ทอง ๑๓ ข้อ และค าสอนลั มเดร (Lamdre) หลั กแห่ งมรรคและผล ซึ่ งเป็ นการ
รวมกั น ระหว่างบริ สุ ท ธิ์ และศู น ยตา โดยสาระคื อความแยกกั น ไม่ ได้ระหว่าง
สังสารวัฏและนิ พพาน พระในนิ กายนี้ นิ ยมสวมหมวกหลายสี
๔. นิ กายเกลุก ผูก้ ่อตั้งนิ กายนี้ คือ อาจารย์ตสองขะปะ นิ กายนี้ มุ่งในด้าน
ความเคร่งครัดทางวินัย การศึกษาพระสูตรและตันตระจะใช้วิธีการวิเคราะห์โดย
ผ่านทางตรรกวิภาษ พระในนิ กายนี้ นิ ยมสวมหมวกสีเหลือง
พระราชวังโปตาลา ตอนเริ่มต้นสร้างเป็ นเพียงวังเล็กๆ ต่อมามีการก่อสร้าง
ต่อเติมขึ้ นเรื่อยๆ นั บร้อยปี จนเป็ นพระราชวังที่ใหญ่โตมโหฬารมีพื้นที่ครอบภูเขาไว้
ทั้งลูก พระราชวังโปตาลาเป็ นศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณชาวทิ เบต หลังคาประดับ
ด้วยกระเบื้ องทองค า และมีพระเจดี ย์หุ ม้ ทองคาเรียงรายกันอยู่ช้ันบนสุ ด มีห อ้ ง
ต่างๆ กว่า ๑,๐๐๐ ห้อง เช่น ห้องประชุมรัฐสภา มีโซนมหาวิทยาลัยสงฆ์ วิทยาลัย
การแพทย์ ชาวทิ เบตทุ กคนที่ เดิ นทางมาเยือนในวินาที แรกที่ เห็นยอดพุทธวิหาร
ทองคาทุกคนจะคุกเข่าลงสวดมนต์
๑๓๐

วัดโจคัง เป็ นวัดแรกในทิ เบต เป็ นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวทิ เบตใฝ่ ฝั นที่ จะ
จาริกไปแสวงบุญให้ได้สักครั้งในชีวิต พระเจ้าซองเซน กัมโปทรงสร้างวัดโจคังขึ้ น
เพื่อเป็ นที่ประดิษฐานองค์พระประธานโจโวศากยมุนี พระพุทธรูปที่สาคัญที่สุดใน
ทิ เบต ได้รับการอัญ เชิ ญ มาโดยมเหสี ชาวเนปาลของพระองค์ ปั จจุ บั นวัดโจคั ง
เจริญรุ่งเรืองมาก จะมีนักแสวงบุญนั บ ๑,๐๐๐ คนกระทาประทักษิ ณและสวดมนต์
ทุกวันทุกเวลา
ผูจ้ าริกแสวงบุญ แต่ละปี มีผูแ้ สวงบุญจานวนมากไปเยือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ต่างๆ ในทิเบตโดยเฉพาะพระราชวังโปตาลา และวัดโจคัง สาหรับชาวทิเบตแล้วการ
จาริกแสวงบุ ญไปยังวัดโจคังถื อเป็ นความปรารถนาสูงสุ ดและต้องเดิมพันกันด้วย
ชีวิตที เดียว เพราะชาวทิเบตจานวนมากใช้วิธีเดินทางไปด้วยเท้า และมีจานวนไม่
น้อยที่ตอ้ งจบชีวิตลงก่อนจะถึงวัดโจคัง เพราะไม่อาจทนต่อสภาพอากาศที่โหดร้าย
ได้ โดยเฉพาะอากาศอันหนาวเย็นตา่ กว่าจุดเยือกแข็ง บางครั้งติดลบถึง ๔๐ องศา
เส้นทางแห่งการหยัง่ รู ้ ดันจู เป็ นหนึ่ งในนั กเดินทางแสวงบุญนี้ จุดมุ่งหมาย
ของเขานอกจากสร้างบุ ญให้กับตนเองแล้ว ดันจูออกจาริกเพื่ อไถ่บาปให้พ่อที่ ทิ้ ง
ครอบครัวไปตั้งแต่เขายังเด็ก เส้นทางกว่า ๒,๐๐๐ กิโลเมตร ระหว่างชิงไฮ (Qinghai)
บ้านของเขาและวัดโจคังคือ สิ่งท้าทายอันยิง่ ใหญ่ โจมาและใบมา คือแม่กบั น้องสาว
ผูค้ อยดูแลเขาตลอดการเดินทาง ดันจูท่องบทสวดมนต์ยา่ งเท้าไปข้างหน้าและนอน
กราบเหยียดยาวบนหิน กรวด น้ าแข็ง และหิมะตลอดการเดินทาง มีเพียงศรัทธา
เท่ านั้ นที่ ผ ลั ก ดั น เขาไปข้างหน้ า ดั งจู ไม่ ได้คิ ด ถึ งจุ ด หมายเลย เขานึ กถึ งแต่
วัตถุประสงค์และความหมายของแต่ละครั้งที่กม้ กราบลงบนถนน อันเปรียบประดุจ
เส้นทางแห่งการหยัง่ รู ้ ระดับความสูงกว่า ๔,๐๐๐ เมตร และอุณหภูมิที่ตา่ กว่าจุด
เยือกแข็งได้ทาให้ทุกคนอ่อนล้า แต่ในที่สุดพวกเขาก็ทาสาเร็จหลังจากเดินทางมาก
ว่า ๒ ปี โจมาได้แต่นั่งน้ าตาไหลด้วยความปี ติเมื่อเห็นยอดพระราชวังโปตาลาแห่ง
นครลาซา ดันจูใช้เวลาทั้งวัน สวดมนต์และกราบพระพุทธรูปทุ กองค์ในวัดโจคัง
การกราบแต่ละครั้งหมายถึงจุดสิ้ นสุดแห่งการเดินทางอันยิ่งใหญ่ หลังจากพวกเขา
กลับไปถึงหมู่บา้ นแล้ว คนทั้งหมู่บา้ นออกมาต้อนรับด้วยความปี ติ พระผูใ้ หญ่แห่ง
วิหารซีในชิงไฮรับดันจูเป็ นลามะ ซึ่งสิ่งนี้ เป็ นความหวังอันสูงสุดในชีวติ เขา
๑๓๑

๓. พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ได้แก่ประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา
เวียดนาม มาเลเซีย รวมทั้งประเทศที่ เป็ นเกาะในทะเล ได้แก่ ฟิ ลิปปิ นส์ สิงคโปร์
อินโดนี เซีย บรูไนและติมอร์ตะวันออก ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา
พุทธในปั จจุบันคื อ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชาและพม่า ส่วนประเทศมาเลเซี ย
อินโดนี เซียและบรูไน จะนับถือศาสนาอิสลามเป็ นหลัก ประเทศฟิ ลิปปิ นส์และติมอร์
ตะวันออก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
ในเอเชี ยตะวัน ออกเฉี ยงใต้จะกล่ าวถึ งประเทศที่ ส าคั ญ ๆ ๖ ประเทศ คื อ ไทย
กัมพูชา อินโดนี เซีย ลาว พม่า และเวียดนาม ดังต่อไปนี้
๑. ประเทศไทย
ประเทศไทยมี ชื่ อ เป็ นทางการว่ า ราชอาณาจั ก รไทย (Kingdom of
Thailand) ปกครองในระบอบประชาธิ ปไตย อันมี พระมหากษั ตริย์ทรงเป็ นพระ
ประมุข ไทยมีประชากรประมาณ ๖๒,๔๑๘,๐๕๔ คน (พ.ศ.๒๕๔๘) โดย ๙๕% นั บ
ถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ๓% นั บถือศาสนาอิสลาม และอีก ๒% นั บถือศาสนา
คริสต์
พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ไทยในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชประมาณปี พ.ศ.
๒๓๖ โดยพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็ นผูน้ ามาเผยแผ่ยงั สุ วรรณภูมิ ซึ่งใน
ขณะนั้ นอาณาจัก รไทยรวมอยู่ ในดิ น แดนสุ วรรณภู มิ ด ้วย สุ วรรณภู มิ แปลว่า
แผ่นดินทองคา ปั จจุบนั ยังชี้ ชัดไม่ได้วา่ สุวรรณภูมิอยูต่ รงไหน นั กโบราณคดีมีทัศนะ
แตกต่างกัน ๔ กลุ่มใหญ่ดงั นี้
๑. นั กโบราณคดี กลุ่มอิ นเดี ย ๙๐% เชื่อว่า สุ วรรณภู มิ คื อ แหลมมลายู
ประกอบด้วยดิ น แดนส่ วนใต้สุ ด ของพม่ า ภาคใต้ของไทยทั้ งหมด คาบสมุ ท ร
มาเลเซี ย และประเทศสิ งคโปร์ ประวัติ พื้ นเมื องกล่ าวไว้ว่า สมัยโบราณย่านนี้ มี
ทองคามาก เล่นพนั นกันโดยเอาทองออกประกัน เวลาชนไก่ก็เอาทองเท่าตัวไก่เป็ น
เดิมพัน
๒. กลุ่มอิ นเดี ย ๑๐% เชื่อว่า สุ วรรณภู มิ คื อ ริมทะเลด้านตะวันออกของ
อินเดียใต้
๓. กลุ่มพม่าเชื่อว่า สุวรรณภูมิ ได้แก่ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศพม่า
๑๓๒

๔. กลุ่มไทยเชื่อว่า ศูนย์กลางสุวรรณภูมิอยูท่ ี่จงั หวัดนครปฐม


อย่างไรก็ตาม สุวรรณภูมิมีขอบเขตกว้างขวาง สิริวฒ ั น์ คาวันสา กล่าวไว้วา่
มีชนเผ่า ต่างๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เช่น มอญ พม่า ละว้า มลายู
และขอม เป็ นต้น
อาณาจักรทวารวดี หลักจากที่บรรพบุรุษของไทยได้รบั พระพุทธศาสนาเถร
วาทมาตั้ งแต่ ยุ คของพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว ก็ ได้รัก ษาสื บทอดกัน เรื่ อยมา
จนกระทัง่ ถึ งยุคของ อาณาจักรทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๓ ซึ่งมี
ศูนย์กลางอยูท่ ี่จงั หวัดนครปฐมในปั จจุบนั ในยุคนี้ พระพุทธศาสนาเจริญรุง่ เรือง พบ
โบราณวัตถุ และโบราณสถานต่ างๆ มากมาย เช่ น พระพุ ทธรู ปศิ ลาขาว พบที่
นครปฐม ๓ องค์ อยุธยา ๑ องค์ และพบพุทธสถานโบราณหลายแห่งในนครปฐม
โดยเฉพาะองค์พระปฐมเจดีย์
อาณาจักรศรีวิชยั อาณาจักรที่อยู่ในช่วงเดียวกันกับทวารวดีคือ อาณาจักร
ศรีวิชยั ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๙ ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างครอบคลุมปลาย
แหลมมลายู และเกาะชวา ยังไม่ พ บหลั ก ฐานระบุ ได้ชั ด เจนว่าศู น ย์ก ลางของ
อาณาจักรนี้ อยู่ที่ใด ดร.เวลล์ กล่าวว่า เมืองปาเลมบัง บนเกาะสุมาตราในประเทศ
อิ น โดนี เซี ย เป็ นเมื องหลวงของอาณาจัก รศรี วิ ชัย ในขณะที่ ท่ านพุ ท ธทาสมี
ความเห็นว่า เมืองหลวงของศรีวชิ ยั อยูท่ ี่ไชยา สุราษฎร์ธานี
มีการค้นพบศิลาจารึกที่วดั เสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งบ่งบอกว่า
พระเจ้ากรุงศรีวิชยั เป็ นผูศ้ รัทธาในพระพุทธศาสนามหายาน และพบหลักฐานในที่
อื่นๆ อีกมากมายในปี พ.ศ.๑๒๑๔ สมณะอี้ จิงเดินทางจากจีนมาเรียนหนั งสืออยู่ที่
ศรีวิชยั ๖ เดือน จึงเดินทางต่อไปอินเดีย ท่านได้แนะนาเพื่อนภิกษุ ชาวจีนว่า ก่อน
จะไปชมพู ท วี ปควรจะไปศึ ก ษาเบื้ องต้นที่ ศรี วิ ชัยก่ อน เพราะเป็ นแหล่ งศึ ก ษา
พระพุทธศาสนามหายานที่สาคัญและโด่งดังเกือบจะทัดเทียมกับอินเดีย
อาณาจักรลพบุรี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ ราชวงศ์สุริยวรมันแห่ง
กัมพูชาเจริญรุง่ เรือง ได้แผ่อาณาจักรครอบคลุมมายังลุ่มแม่น้ าเจ้าพระยาและลุ่มน้ า
มูล ได้มีชยั ชนะเหนื ออาณาจักรทวารวดีและตั้งราชธานี เพื่ออานวยการปกครองขึ้ น
ในเมืองต่างๆ เช่น เมืองลพบุรี สุโขทัย ศรีเทพ (เพชรบูรณ์) พิมาย และสกลนคร
ในเมื องต่ างๆ เหล่ านี้ ลพบุ รี ห รื อละโว้เป็ นเมื องส าคั ญ ที่ สุ ด ลพบุ รี ได้รับ เอา
๑๓๓

พระพุทธศาสนามหายานจากกัมพูชามาผสมผสานกับเถรวาทดั้งเดิ มที่ สืบต่อมา


ตั้งแต่สมัยทวารวดี ในสมัยนี้ มีการสร้างศาสนสถานมากมาย เช่น พระปรางค์สาม
ยอด ปราสาทหินพิมาย และปราสาทหินเขาพนมรุง้ เป็ นต้น
อาณาจักรสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๐ หัวหน้าคนไทยกลุ่มหนึ่ ง คือ พ่อ
ขุนบางกลางหาว ได้ประกาศอิสรภาพขับไล่พวกขอมหรือกัมพูชาออกไป แล้วตั้งราช
ธานี ขึ้นที่กรุงสุโขทัย และได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็ นกษัตริยท์ รงพระนามว่า พ่อขุน
ศรีอินทราทิ ตย์ เป็ นปฐมกษัตริยข์ องสยามประเทศ ทางด้านศาสนานั้ นยุคนี้ มีท้ัง
ศาสนาพราหมณ์ พระพุทธศาสนามหายานและเถรวาทซึ่งตกทอดมาจากอดีต แต่
พ่อขุนศรีอินทราทิ ตย์ทรงเคารพนั บถื อนิ กายเถรวาทมากที่ สุด ต่อมาประมาณปี
พ.ศ.๑๘๒๒ พ่อขุนรามคาแหงเสด็จขึ้ นครองราชย์ เป็ นกษั ตริย์องค์ ที่ ๓ แห่งกรุง
สุโขทัย ยุคนี้ มีความเจริญรุง่ เรืองมากทั้งอาณาจักรและพุทธจักร
พ่อขุนรามคาแหงมหาราช ทรงอาราธนาพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชซึ่ง
ไปรา่ เรียนมาจากลังกาให้มาเผยแผ่ ที่ กรุ งสุ โขทัย ซึ่งต่ อมาได้รับความนิ ยมมาก
คณะสงฆ์สมัยนั้ นแบ่งเป็ น ๒ คณะ คือ คณะคามวาสี คื อฝ่ ายคันถธุ ระหรือศึกษา
ด้านปริยตั ิ และคณะอรัญวาสี คือ ฝ่ ายวิปัสสนาธุ ระหรือฝ่ ายที่ เน้นบาเพ็ญสมาธิ
ภาวนา ชาวสุโขทัยมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ดังข้อความในศิลาจารึก
หลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ ตอนหนึ่ งว่า
"...คนในสุ โขทัยนี้ มักทาน มักทรงศี ล มักโอยทาน พ่อขุ นรามคาแหงเจ้า
เมืองสุ โขทัย ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่ วยปั ่วท่ วยนาง ลูกเจ้าลูกขุ นทั้งสิ้ นทั้งหลาย ทั้ง
ผูห้ ญิงผูช้ าย ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออก
พรรษากรานกฐินเดือนหนึ่ งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ ย พนมหมาก มีพนม
ดอกไม้ มีหมอนนัง่ หมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแลญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐินถึง
อรัญญิกพูน้ ..."
พระพุทธศาสนายุคสุโขทัยนั้ นรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพระนั ดดา (หลาน)
ของพ่อขุนรามคาแหงคือ พระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จขึ้ นครองราชย์ประมาณปี
พ.ศ.๑๘๙๐ ทรงเป็ นกษัตริยอ์ งค์แรกที่รอบรูพ้ ระไตรปิ ฎกและภาษามคธ ทรงพระ
ราชนิ พนธ์วรรณคดีพระพุทธศาสนา เรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็ นวรรณคดีชิ้นแรก
ของไทยในปี พ.ศ.๑๘๘๘ โดยอ้างอิงจากคัมภีรต์ ่างๆ ถึง ๓๔ เรื่อง ทรงสร้างเจดียท์ ี่
๑๓๔

นครชุม (เมืองกาแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราชที่พิษณุ โลก และ


ในปี พ.ศ.๑๙๐๕ พระองค์เสด็จออกผนวช นอกจากนี้ ศิลาจารึก หลักที่ ๕ กล่าวไว้วา่
พระเจ้าลิไททรงปรารถนาพุทธภูมิดว้ ยดังข้อความว่า "จุงเป็ นพระพุทธ จุงจักเอาฝูง
สัตว์ท้ังหลาย(ข้าม)สงสารทุ กข์นี้ " เมื่ อกษั ตริย์ทรงมี ศรัทธาในพระพุทธศาสนา
เช่นนี้ จึงเป็ นเหตุ ให้ประชาชนถื อเป็ นแบบอย่างและเป็ นเหตุ ให้พระพุ ทธศาสนา
เจริญรุง่ เรืองมาก
อาณาจักรล้านนา ได้รบั การสถาปนาขึ้ นในปี พ.ศ.๑๘๔๐ โดยพระยามังราย
ทรงเป็ นพระสหายสามเส้าระหว่างพ่อขุนรามค าแหงกับพระยางาเมืองแห่งเมื อง
พะเยา ทรงสร้างเมืองขึ้ นที่ เชิงเขาเทวบรรพต (ดอยสุเทพ) ให้ชื่อว่า นวปุรีศรีนคร
พิ งค์เชี ยงใหม่ พระพุ ทธศาสนาสมัยนั้ นเป็ นนิ กายเถรวาทเป็ นหลัก ซึ่ งมี ความ
แพร่หลายเป็ นศาสนาประจาท้องถิ่ น ต่อมาเมื่อพระเจ้าติ โลกราชเสวยราชสมบัติ
ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๘๕ - ๒๐๒๐ ยุคนี้ พระพุทธศาสนาเจริญที่สุดถือเป็ นยุคทองของ
ล้านนา ในปี พ.ศ.๑๙๘๕ ทรงบวชพระชาวเชี ยงใหม่ ๕๐๐ รู ป ทรงสังคายนา
พระไตรปิ ฎกที่ลา้ นนา ซึ่งถือเป็ นการสังคายนาครั้งที่ ๘ ผลการสังคายนาครั้งนี้ ทา
ให้ศาสนาเข้มแข็งและบ้านเมืองเป็ นปึ กแผ่นขึ้ น
ต่ อมาเมื่ อพระเมื องแก้ว ซึ่ งเป็ นพระเจ้าหลานของพระเจ้าติ โลกราชขึ้ น
ครองราชย์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๓๘ - ๒๐๖๘ มีพิธีบวชนาคหลวงครั้งใหญ่ครั้งแรกใน
ล้านนาถึ ง ๑,๒๐๐ กว่ารูป สมัยล้านนาพระสงฆ์แตกฉานในคัมภี ร์บาลีและแต่ง
ต าราเป็ นภาษาบาลี ไว้มากกว่าสมั ยใดๆ จ านวนคัมภี ร์ที่ แต่ งไว้ไม่ ต า่ กว่า ๓๒
คั ม ภี ร์ ต าราบางเล่ ม ยั ง ใช้เป็ นหลั ก สู ต รของคณะสงฆ์ ม าถึ ง ปั จจุ บั น เช่ น
มังคลัตถที ปนี ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็ นต้น แม้แต่บทสวดพาหุง ที่ ใช้อยู่ทุกวันนี้ ก็
แต่งในยุคนี้ พระลังกาก็นาไปใช้สวดจนถึงปั จจุบนั เช่นกัน
อาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุ งศรีอยุธยาเป็ นราชธานี
เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ.๑๘๙๓ ซึ่งขณะนั้ นอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอานาจลง
และในที่สุดได้เป็ นเมืองขึ้ นของอยุธยาในปี พ.ศ.๑๙๒๑ กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรือง
ยาวนานถึ ง ๔๑๗ ปี มีกษั ตริยป์ กครองสื บต่อกันมาถึ ง ๓๓ พระองค์ อยุธยาเป็ น
เมืองที่ อุดมสมบูรณ์ดว้ ยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ดังคากล่าวว่า "ในน้ ามีปลา ในนามี
๑๓๕

ข้าว" ทัว่ ทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวดั วาอาราม ปราสาท พระราชวัง ปูชนี ย


สถาน และปูชนี ยวัตถุมากมาย
พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างวัดขึ้ น ๒ วัด คื อ วัดพุทธไธศวรรย์ และวัดใหญ่ชัย
มงคล พระพุ ทธศาสนาเจริญสู งสุ ดในสมัยสมเด็ จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่ งเป็ น
พระมหากษั ตริย์พระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.
๑๙๙๑-๒๐๓๑ ทรงสร้างวัดและบูรณะวัดต่างๆมากมาย ในปี พ.ศ.๒๐๐๘ พระองค์
เสด็จออกผนวช มีขา้ ราชการและบรมวงศานุ วงศ์ออกบวชตามมากถึ ง ๒,๓๘๘ คน
ซึ่งเป็ นประดุจดัง่ การออกบวชของพระบรมโพธิสตั ว์ท้งั หลายในอดีต
ครั้นถึงรัชกาลพระรามาธิ บดีที่ ๒ ทรงหล่อพระพุทธรูปสูงใหญ่ชื่อ พระศรี
สรรเพชญ์ ด้วยทองค าหนั ก ๕๓,๐๐๐ ชัง่ แล้วหุ ม้ ด้วยทองค าอี ก ๒๘๖ ชัง่ หรื อ
๒๒,๘๘๐ บาท หลังจากสมัยพระรามาธิบดีที่ ๒ พระพุทธศาสนาก็ได้รบั การอุปถัมภ์
จากพระมหากษัตริยเ์ รื่อยมาจนกระทัง่ ถึงรัชกาลของพระเจ้าทรงธรรม กษัตริยอ์ งค์
ที่ ๒๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๑๕๓ ก่อนเสวยราชสมบัติพระองค์
เคยออกผนวช เป็ นผูร้ อบรูใ้ นพระไตรปิ ฎก ต่อมาเมื่อเป็ นพระเจ้าแผ่นดิ นแล้วได้
เสด็จลงพระที่นัง่ จอมทอง ๓ หลัง เพื่อสอนพระบาลีแก่ภิกษุ สามเณร ทุกวัน มีภิกษุ
สามเณรไปเรียนกันจานวนมาก ในสมัยของพระองค์มีการส่งพระภิ กษุ ไปเรียนที่
ลังกาด้วย
สมเด็ จพระนารายณ์ มหาราช ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๙๙ -
๒๒๓๑ พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่กิจทางศาสนา เสด็จทรงบาตรทุ กวัน ในสมัยนั้ น
ชาติ ตะวันตกเข้ามาล่ าอาณานิ คมในแถบเอเชีย ประเทศต่ างๆ ตกเป็ นเมื องขึ้ น
โดยมาก แต่ ไทยรอดพ้น มาได้ท้ั งด้านอาณาจักรและศาสนจักรด้วยพระปรี ชา
สามารถของกษั ตริยใ์ นแต่ละสมัย ครั้งหนึ่ งพระเจ้า หลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรัง่ เศส ส่ง
พระราชสาส์นมาถึ งพระนารายณ์ มหาราช มี ใจความว่า พระเจ้ากรุ งฝรัง่ เศสขอ
ชักชวนพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาให้มาร่วมแผ่นดินเดียวกัน โดยขอให้พระองค์เปลี่ยน
ศาสนามานับถือศาสนาเดียวกับฝรัง่ เศส...
พระนารายณ์มหาราชทรงขอบพระทัยพระเจ้าฝรัง่ เศสหนั กหนาที่ มีความ
สนิ ทเสน่ หาในพระองค์ แต่ทรงประหลาดใจว่า เหตุใดพระเจ้ากรุงฝรัง่ เศสจึงมาก้าว
ก่ายกับฤทธิ์อานาจของพระผูเ้ ป็ นเจ้า เพราะการที่มีศาสนาต่างๆ ในโลกนี้ ไม่ใช่เป็ น
๑๓๖

ความประสงค์ของพระผูเ้ ป็ นเจ้าหรอกหรือ พระองค์จึงปล่อยให้มี ไปดัง่ นั้ น มิ ได้


บันดาลให้มีเพียงศาสนาเดียว เมื่อพระผู เ้ ป็ นเจ้ามีฤทธิ์ มากในเวลานี้ พระองค์คง
ปรารถนาให้ตัวเรานั บถื อพุ ทธศาสนาไปก่ อน เพราะฉะนั้ น เราจึงจะรอคอยพระ
กรุณาของพระองค์ บันดาลให้เราเลื่อมใสในคริสต์ศาสนาในวันใด เราก็จะเข้ารีตใน
วันนั้น จึงขอฝากชะตากรรมของเราและกรุงศรีอยุธยาสุดแต่พระเจ้าจะบันดาลเถิด
พระนารายณ์มหาราชทรงโปรดให้มีพระราชโองการประกาศว่า ให้คนไทย
นั บถือศาสนา ได้ตามชอบใจ แล้วพระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์คริสตังใหม่ ทั้งนี้
เพื่ อไม่ ให้ทู ตฝรัง่ เศสผิ ดหวัง มากเกิ นไป มี คนไทยบางส่ วนหันมานั บถื อคริสต์
ศาสนาแต่ก็เพียงน้อยนิ ด แม้ผ่านมา ๓๐๐ กว่าปี จนถึงปั จจุบนั คริสต์ศาสนิ กชนใน
ไทยมีเพียง ๒% เท่านั้ น กุศโลบายของพระนารายณ์มหาราชนี้ เป็ นการเสียน้อยเพื่อ
รักษาส่วนใหญ่เอาไว้ แต่ถา้ พระองค์ทรงเปลี่ยนศาสนาเสียแล้ว เป็ นไปได้วา่ ในยุค
นั้นและยุคต่อมาชาวไทยโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปนั บถือคริสต์ศาสนาตามพระองค์
ปั จจุบนั ชาวพุทธอาจจะเป็ นชนกลุ่มน้อยในท่ามกลางคริสต์ศาสนิ กชนก็เป็ นไปได้
สมัยกรุงธนบุรี หลักจากที่กรุงศรีอยุธยาสูญเสียเอกราชให้แก่พม่าในปี พ.ศ.
๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกูเ้ อกราชได้ในปลายปี เดียวกัน แล้ว
ทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็ นราชธานี แห่งใหม่ ทรงสนั บสนุ นปั จจัย ๔ แก่พระภิกษุ
สามเณรที่ต้งั ใจเล่าเรียนพระไตรปิ ฎก และทรงขอร้องให้ภิกษุ ต้งั มัน่ อยูใ่ นพระธรรม
วินัย หากขัดข้องสิ่งใดพระองค์จะจัดการอนุ เคราะห์ ทรงมีพระราชดารัสว่า "ถ้าพระ
ผูเ้ ป็ นเจ้าทั้งปวงมีศีลคุณบริบูรณ์ในพระศาสนาแล้ว แม้จะปรารถนามังสะรุธิระของ
โยม โยมก็อาจจะเชือดเนื้ อแลโลหิตออกมาบาเพ็ญทานได้" เพราะสมัยนั้ นมีภิกษุ
ประพฤตินอกรีตตั้งตนเป็ นแม่ทพั พระเจ้าตากสินจึงจับสึกไปจานวนมาก
สมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากสิ้ นยุคธนบุรีแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด
ฟ้ าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จขึ้ นครองราชสมบัติในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ ทรง
ย้ายเมืองหลวงมาที่ กรุงเทพมหานคร หรือกรุงรัตนโกสินทร์ พระพุทธศาสนาใน
กรุ งรั ต นโกสิ น ทร์ น้ั นมี ค วามเจริ ญ รุ่ งเรื อ งไม่ แ พ้ยุ ค ใดที่ แ ล้วมา ทั้ งนี้ เพราะ
พระมหากษัตริยท์ ุ กพระองค์ทรงเป็ นหลักชัยในการส่งเสริมบารุงพระพุทธศาสนา
เป็ นอย่างดี
๑๓๗

รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๓๕๒) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าจุฬา


โลกมหาราชทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เสด็จออกทรงบาตรเวลาเช้า ตอนเพล
ถวายภัตตาหาร เวลาเย็นเสด็ จออกท้องพระโรงเพื่ อสดับพระธรรมเทศนาเป็ น
ประจา ทรงโปรดให้ทาสังคายนาพระไตรปิ ฎกในปลายปี พ.ศ.๒๓๓๑ ณ พระอุโบสถ
วัดพระศรีสรรเพชญ์ (วัดมหาธาตุในปั จจุบนั ) โดยมีพระภิกษุ ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิต
๓๒ คน
พระองค์เสด็ จไปที่ ประชุ มสังคายนาวันละ ๒ ครั้ง เช้าและเย็น เพื่ อถวาย
ภัตตาหารและน้ าปานะ สังคายนาอยู่ ๕ เดือนจึงเสร็จ แล้วโปรดให้คดั ลอกสร้างเป็ น
ฉบับหลวงขึ้ น เรียกว่า ฉบับทองใหญ่ นอกจากนี้ ทรงออกกฎหมายเกี่ยวกับคณะสงฆ์
เป็ นครั้งแรกและออกต่อๆ กันมา รวม ๑๐ ฉบับ ฉบับที่ ๑ ออกในปี พ.ศ.๒๓๒๕
ฉบับที่ ๑๐ ออกในปี พ.ศ.๒๓๔๔ และทรงโปรดให้สร้างวัดพระศรีรตั นศาสดาราม
หรือวัดพระแก้ว ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ เพื่อเป็ นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
รัชกาลที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๕๒ - ๒๓๖๗) ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเลิศหล้า
นภาลัย มีการปรับหลักสูตรการศึกษาภาษาบาลีใหม่จาก "บาเรียนตรี บาเรียนโท
บาเรียนเอก" เป็ นแบบ ๙ ประโยค ดังที่ใช้กนั อยูใ่ นปั จจุบนั ในการสอบวัดผลนั้น ใช้
วิธีสอบปากเปล่าคื อให้แปลพระบาลี ต่อหน้ากรรมการ ๓- ๔ รูป และมีครูเข้าฟั ง
เป็ นพยาน ๒๐ - ๓๐ รูป ถ้านั กเรียนแปลเก่ง อาจจะสอบผ่าน ๙ ประโยคภายในวัน
เดียวก็ได้
ในปี พ.ศ.๒๓๖๓ มีอหิวาตกโรคระบาดผูค้ นล้มตายมาก พระองค์จึงบาเพ็ญ
กุศลหลายอย่างเพื่อขจัดปั ดเป่ าภัยพิบัติ โปรดให้แปลพระปริตรเป็ นภาษาไทย ให้
เจ้านายและข้าราชการฝ่ ายในฝึ กหัดสวดพระปริตรทุกวัน โดยพระองค์เสด็จขึ้ นทรง
ฟั งสวดถวาย ณ พระที่ นั่งไพศาลทักษิ ณทุ กคื น ธรรมเนี ยมการสวดพระปริตรนี้
ปฏิ บั ติ กัน มาตั้ งแต่ สมัยพุ ทธกาล เมื่ อ ครั้งที่ เมื องไพศาลี เกิ ดภั ยพิ บั ติ ด ้วย
อหิวาตกโรคเป็ นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสัง่ ให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตรว่า
ด้วย "ยงกิญจิ ฯลฯ" แล้วทาพระปริตรสวดขจัดปั ดเป่ าภัยต่างๆ ในเมืองไพศาลีให้
มลายหายไป
รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗ - ๒๓๙๔) พระบาทสมเด็จพระนั ง่ เกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็ นอย่างยิ่ง มีคากล่าวว่า ไม่วา่ พระองค์จะประทับ
๑๓๘

อยู่ ณ ที่ใด ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อนั ใดเกิดขึ้ น พระองค์จะทรงระลึกถึงการบารุงพระ


ศาสนาไว้ก่ อน พระองค์เสด็ จทรงบาตรทุ กวัน ทรงอาราธนาพระมาถวายธรรม
เทศนาและบอกคัมภีรใ์ นวังเป็ นประจา พระองค์ไม่โปรดละครในคือละครที่มีผูห้ ญิง
แสดง แต่โปรดการทรงธรรม ในรัชกาลนี้ มีการสร้างพระไตรปิ ฎกมากกว่ารัชกาลอื่น
ที่แล้วมาคือ มีถึง ๕ ฉบับ ได้แก่ ฉบับรดน้ าเอก รดน้ าโท ทองน้อย ชุบย่อ และฉบับ
อักษรรามัญ ด้วยความที่พระองค์เอาใจใส่ต่อกิจการทางศาสนาเช่นนี้ จึงมีกุลบุตร
ออกบวชกันจานวนมาก ตามบันทึกของชาวยุโรประบุวา่ ในกรุงเทพมหานครมีภิกษุ
สามเณร ๑๐,๐๐๐ รูป และทัว่ พระราชอาณาจักรมี ๑๐๐,๐๐๐ รูป
กาเนิ ดธรรมยุต ในสมัยนี้ ได้เกิดนิ กายธรรมยุตขึ้ น โดยพระวชิรญาณเถระ
ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญชื่อ ชาย พุทธวโส จึงทรงอุปสมบทใหม่
กับคณะสงฆ์มอญในปี พ.ศ.๒๓๗๒ แล้วตั้งคณะธรรมยุตขึ้ นในปี พ.ศ.๒๓๗๖ จากนั้ น
เสด็จมาประทับที่วดั บวรนิ เวศวิหารซึ่งเป็ นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติกนิ กาย คณะ
สงฆ์เดิมนั้นถูกเรียกว่า มหานิ กาย
ก่อนสวรรคต พระองค์ตรัสสัง่ เหล่าข้าราชบริพารเรื่องกิจการบ้านเมืองและ
ศาสนาไว้วา่ "สงครามข้างญวนข้างพม่าเห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยูก่ ็แต่ชาวฝรัง่ ให้ระวัง
ให้จงดีอย่าให้เสียที เขา การงานสิ่งใดของเขาที่ คิดว่าดี ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอา
อย่างเขา แต่อย่านั บถื อเลื่อมใสไปที เดียว ทุกวันนี้ คิดจะสละห่วงใยให้หมด อาลัย
อยู่แต่วดั สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัดที่ยงั ค้างอยู่ก็มี ถ้าชารุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผูช้ ่วย
บารุง... (เงินพระคลัง ๔ หมื่นชัง่ ) ขอสัก ๑ หมื่นชัง่ เถิด ถ้าผูใ้ ดเป็ นเจ้าของแผ่นดิน
ช่วยบอกแก่เขา ขอเงินรายนี้ ช่วยทะนุ บารุงวัดที่ชารุดและการวัดที่ยงั ค้างอยู่น้ั นให้
แล้วด้วย"
รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๑๑) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อทรงเป็ นเจ้าฟ้ ามงกุ ฎได้ผนวชอยู่ ๒๗ พรรษา ทรงลาสิกขาแล้วขึ้ นครองราชย์
เมื่อพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ พระองค์ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด
เช่น วัดปทุ มวนาราม วัดโสมนั สวิหาร วัดมกุ ฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐสถิ ต
มหาสีมาราม และวัดราชบพิตร เป็ นต้น ตลอดจนบูรณะวัดต่างๆ อีกมาก โปรดให้
มีพระราชพิ ธี "มาฆบูชา" ขึ้ นเป็ นครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ ณ ที่ วดั พระศรีรัตน
ศาสดาราม ปวงชนชาวไทยได้ถือปฏิบตั ิเป็ นประเพณีสืบกันมาจนถึงทุกวันนี้
๑๓๙

รัช กาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) พระบาทสมเด็ จพระจุ ลจอมเกล้า


เจ้าอยู่หัวมหาราชทรงเป็ นกษั ตริยท์ ี่ มีวิ สัยทัศน์ กว้างไกล ทรงนาพาชาติ ไทยไปสู่
ความเจริญก้าวหน้าทั้งทางกิจการบ้านเมืองและทางศาสนา ทรงเริ่มต้นการศึกษา
สมัยใหม่ในประเทศไทย โดยให้วดั เป็ นศูนย์กลางและให้พระสงฆ์เป็ นครูสอนหนั งสือ
แก่เยาวชน ในปี พ.ศ.๒๔๒๗ ได้จัดตั้งโรงเรียนสาหรับราษฎรขึ้ นเป็ นแห่งแรก ณ
วัดมหรรณพาราม
ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ทรงโปรดให้ยา้ ยที่ ราชบัณฑิ ตบอกพระปริยัติธรรมแก่
พระภิ กษุ สามเณร จากในวัดพระศรีรัตนศาสดารามออกมาเป็ นบาลี วิทยาลัยชื่อ
มหาธาตุวิทยาลัย ที่ วดั มหาธาตุ และต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ประกาศเปลี่ยนนาม
มหาธาตุ วิทยาลัย เป็ นมหาจุ ฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็ นที่ ศึ กษาพระปริยัติ
ธรรมและวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุ สามเณร โดยทรงมุ่งหมายจะให้จดั การศึกษา
แบบตะวันตก
ทรงโปรดให้จัดพิ มพ์พระไตรปิ ฎกด้วยอักษรไทยชุ ดละ ๓๙ เล่ ม จ านวน
๑,๐๐๐ ชุด ในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๓๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ
ยาวชิ รญาณวโรรสทรงจัดตั้ง "มหามกุ ฏราชวิทยาลัย" ขึ้ น เพื่ อเป็ นแหล่ งศึ กษา
พระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุ สามเณรฝ่ ายธรรมยุตินิกาย
เพื่ อให้ก ารปกครองสงฆ์ มี ค วามรัด กุ ม ยิ่ งขึ้ น พระองค์ จึ งโปรดให้ต รา
พระราชบั ญ ญั ติ ลั ก ษณะปกครองสงฆ์ ขึ้ นใน พ.ศ.๒๔๔๕ ตรงกั บ ร.ศ.๑๒๑
(รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๑) นอกจากนี้ พระองค์ยงั ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่น วัด
วัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางนิ มิตร วัดจุฑาทิ ศ
ราชธรรมสภา และวัดนิ เวศน์ ธรรมประวัติทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่นๆ อีก
ทรงนิ พนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจานวนมาก
รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๕๓ - ๒๔๖๘) พระบาทสมเด็ จพระมงกุ ฎ เกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาปราดเปรื่ องในทางพระศาสนามาก ทรงนิ พนธ์ หนั งสื อ
พระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสื อป่ า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรูอ้ ะไร
เป็ นต้น ทรงอบรมสัง่ สอนธรรมะข้าราชการด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ.๒๔๕๕
สมเด็ จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลี
สนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็ นข้อเขียนเป็ นครั้งแรก
๑๔๐

ต่อมาอีกหนึ่ งปี คือใน พ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั


ทรงโปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ. และในปี พ.ศ.๒๔๖๒ - ๒๔๖๓ ทรง
โปรดให้พิมพ์คัมภีรอ์ รรถกถาพระไตรปิ ฎก อรรถกถาชาดกและคัมภีรอ์ ื่นๆ เช่น วิ
สุทธิมรรค มิลินทปั ญหา เป็ นต้น หลักสูตรนั กธรรมที่เรียนกันอยูใ่ นปั จจุบนั นี้ ทรง
โปรดให้จดั การศึกษาขึ้ นในปี พ.ศ.๒๔๖๙ ก่อนหน้านั้ นเรียกว่า "องค์ของสามเณรรู ้
ธรรม" ซึ่งมีการสอบครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๔
รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๔๗๗) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั
ทรงโปรดให้มีการทาสังคายนาพระไตรปิ ฎกครั้งที่ ๓ ของประเทศไทยขึ้ นในระหว่าง
พ.ศ.๒๔๖๘ - ๒๔๗๓เพื่อถวายเป็ นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอยู่หัว แล้วทรงให้จัดพิมพ์ พระไตรปิ ฎกฉบับสยามรัฐชุ ดละ ๔๕ เล่ม จานวน
๑,๕๐๐ ชุ ด พระราชทานแก่ ประเทศต่างๆ ประมาณ ๔๕๐ ชุ ด ซึ่งนั บเป็ นเกียรติ
ประวัติ ของประเทศสยาม เพราะประเทศพุ ทธศาสนาอื่ นๆ ในครั้งนั้ นยังไม่ มี
ประเทศใดท าได้ ปี พ.ศ.๒๔๗๑ กระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึ กษาธิ การใน
ปั จจุบันได้จัดหลักสู ตร "ธรรมศึ กษา" เพื่อเปิ ดโอกาสให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติ
ธรรมอย่างเป็ นทางการเป็ นครั้งแรก
รัชกาลที่ ๘ (พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๘๙) ในสมัยพระบาทสมเด็ จพระเจ้าอยู่หัว
อานันทมหิดลมีการแปลพระไตรปิ ฎกเป็ นภาษาไทย ๒ ประเภท คือ
๑. พระไตรปิ ฎก แปลโดยอรรถ พิ ม พ์ เป็ นเล่ ม สมุ ด ๘๐ เล่ ม เรี ยกว่ า
พระไตรปิ ฎกภาษาไทย แต่เสร็จสมบูรณ์หลังจากสิ้ นรัชกาลพระองค์ไปแล้วคือในปี
พ.ศ.๒๕๐๐ เพื่อฉลองในโอกาส ๒๕ พุทธศตวรรษ
๒. พระไตรปิ ฎก แปลโดยสานวนเทศนา พิมพ์ลงใบลาน แบ่งเป็ น ๑,๒๕๐
กัณฑ์ เรียกว่า พระไตรปิ ฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒
ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ รัฐบาลออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ เพื่ อให้การ
ปกครอง คณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่ ถัดมาอีก ๔
ปี คือในปี พ.ศ.๒๔๘๘ มหามกุฏราชวิทยาลัยซึ่งตั้งขึ้ นในปี พ.ศ.๒๔๓๖ ได้ประกาศ
ตั้งเป็ นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ชื่อ "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย"
รัชกาลที่ ๙ (พ.ศ.๒๔๘๙ - ปั จจุ บั น ) ในรัช กาลพระบาทสมเด็ จพระ
เจ้าอยู่หัวภู มิพลอดุ ลยเดชมหาราช มีการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญ
๑๔๑

ระดับประถมปลาย และมัธยมศึ กษาปี ที่ ๑ - ๖ ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ต่ อมาปี พ.ศ.


๒๕๐๑ มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ขึ้นเป็ นแห่งแรก ณ มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย เพื่อเปิ ดการสอนพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชน ต่อมาได้ขยาย
ไปทัว่ ประเทศ กระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดให้วิชาพระพุทธ-ศาสนาเป็ นวิชาภาค
บังคับแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ปี ที่ ๑-๖
ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ได้มีการจัดตั้งสานั กงานองค์การพุทธศาสนิ กสัมพันธ์แห่ง
โลกขึ้ น ณ ประเทศไทย (พ.ส.ล.) เพื่อเป็ นศูนย์กลางของชาวพุทธทัว่ โลก นอกจากนี้
ปั จจุบนั มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมมากขึ้ น เพราะเข้าถึงประชาชน
ได้ง่ายและรวดเร็ว หากผูแ้ ต่งเขียนได้ดีจะได้รบั ความนิ ยมจากผูอ้ ่านไม่แพ้นวนิ ยาย
เช่น หนั งสือ "เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน" เป็ นต้น ซึ่งจัดพิมพ์ ๓๐ กว่าครั้งแล้ว ขาย
ดีมากเข้าถึงผูอ้ ่านกว่าแสนคน
ในด้านพิธีกรรมมีการเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีของพระมหากษัตริยเ์ ป็ นพิธี
ของรัฐบาล เรียกว่า "รัฐพิธี" โดยให้กระทรวงต่างๆ เป็ นผูจ้ ัด มีการจัดงานส่งเสริม
พระพุทธศาสนาช่วงวันวิสาขบูชาของทุ กปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุ วงศ์เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเวียนเที ยนในวัน
สาคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา ณ พุทธมณฑล
ซึ่งสร้างขึ้ นเมื่อครั้งฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
๒) ประเทศกัมพูชา
กัมพู ชา (Cambodia) หรื อเขมรมี ชื่ อทางการว่า ราชอาณาจัก รกั มพู ชา
(Kingdom of Cambodia) ปกครองแบบราชาธิ ปไตยภายใต้รัฐธรรมนู ญ มี เมือง
หลวงชื่อพนมเปญ และเป็ นเมืองที่ ใหญ่ที่สุด เคยตกเป็ นเมืองขึ้ นของฝรัง่ เศสเกือบ
ร้อยปี ได้รับ เอกราชอย่ างเป็ นทางการในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ กั มพู ชามี ป ระชากร
ประมาณ ๑๔,๐๗๑,๐๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๔๘) ประชากร ๙๓% นับถือพระพุทธศาสนา
นิ กายเถรวาท ส่วนอีก ๗% นับถือภูตผีและอื่นๆ
กัมพูชาเป็ นประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็ นศาสนาประจาชาติมายาวนาน
กว่า ๒,๐๐๐ ปี หลักฐานหลายแหล่งยืนยันตรงกันว่า พระพุ ทธศาสนาตั้งอยู่ใน
ดินแดนแห่งนี้ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ เช่น หลักฐานจากศิลาจารึกที่คน้ พบ ณ เมือง
โวกัญ อันเป็ นศิลาจารึกที่เก่าแก่ ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีตกัมพูชาคือ
๑๔๒

ดิ นแดนส่ วนหนึ่ งของสุ วรรณภู มิ อันเป็ นถิ่ นที่ พระโสณเถระและพระอุ ตตรเถระ


เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่บดั นั้ นพระพุทธศาสนาในกัมพูชาจึงค่อยๆ
เจริญรุง่ เรืองขึ้ นตามลาดับ จนกระทัง่ ถึงยุคประวัติศาสตร์กมั พูชา๔ ยุค คือ ยุคฟูนัน
เจนละ พระนคร และยุคปั จจุบนั ดังต่อไปนี้
ยุ คฟู นั น (พ.ศ.๖๐๐-๑๑๐๐) ค าว่า ฟู นั น (Funan) เป็ นค าที่ เรี ยกตาม
หลักฐานที่ปรากฏในจดหมายเหตุของจีน ซึ่งเพี้ ยนมาจากภาษาเขมรว่า พนม หรือ
วนม ในภาษาสันสกฤต ซึ่งแปลว่า ภูเขา ในอดีตชาวฟูนันเคยนั บถือลัทธิ โลกธาตุ
ดิน น้ า ลม ไฟ และผีสางนางไม้ แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่สุวรรณภู มิแล้วชาว
ฟูนันจึงหันมานั บถือพระพุทธศาสนา จนกระทัง่ พ.ศ.๕๔๓ พราหมณ์ชาวอินเดียชื่อ
เกาณฑินยะรบชนะเผ่าฟูนันและได้รบั สถาปนาขึ้ นเป็ นพระราชาปกครองพระนคร
ในราชส านั ก จะนั บ ถื อศาสนาพราหมณ์ นิ กายไศวะ ซึ่ งเป็ นศาสนาดั้ งเดิ มของ
พระราชาเกาณฑิ นยะ แต่ ประชาชนทั ว่ ไปบ้างก็ นั บถื อศาสนาพุ ทธบ้างก็ นั บถื อ
ศาสนาพราหมณ์
ในรัชสมัยของพระเจ้าศรีมาระ พระองค์ทรงนั บถือพระพุทธศาสนาและทรง
ประกาศยกย่องให้เป็ นศาสนาประจาชาติ มีศิลาจารึกเก่าแก่อายุราวพุทธศตวรรษที่
๗-๘ บันทึ กไว้ว่า พระองค์ทรงสัง่ ให้พระราชาผูเ้ สวยราชย์ต่อไปในอนาคตนั บถื อ
และสนั บสนุ นพระพุทธศาสนาด้วย ในยุคต่อมาพงศาวดารจีนบันทึกไว้วา่ พระราชา
ยุคต่อมาก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาตามคาสัง่ ของพระเจ้าศรีมาระ นอกจากนี้ ยัง
กล่าวถึ งพระนาคเสนภิ กษุ ชาวอิ นเดี ยซึ่งเดิ นทางไปอาณาจักรฟู นั นและเดิ นทาง
ต่อไปเมืองจีนในปี พ.ศ.๑๐๒๗ ในครั้งนั้ นพระนาคเสนกล่าวถวายพระพรต่อพระเจ้า
กรุ งจีนว่า "ในประเทศฟู นั นบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมาก ประชาชนนั บถื อศาสนา
พราหมณ์ก็มี พระพุทธศาสนาก็มี พระพุทธศาสนานั้ นรุ่งเรืองมาก มีพระภิกษุ สงฆ์
จานวนมากและฝึ กปฏิบตั ิตามวินัยอย่างเคร่งครัด"
หลั งจากนั้ นไม่ น านคื อในปี พ.ศ.๑๐๔๖ กษั ต ริ ย์ฟู นั น ส่ งราชทู ต และ
พระภิกษุ ไปกรุงจีนอีก คือ พระสังฆปาละ และพระมันโตโล โดยพระพระสังฆปาละ
เป็ นผูร้ ูภ้ าษาศาสตร์หลายภาษา และทรงพระไตรปิ ฎก มีจริยวัตรงดงาม กิตติศัพท์
เลื่องลือไปถึงพระเจ้ากรุงจีนคือ จักรพรรดิบู่ตี่แห่งราชวงศ์เหลียง จึงนิ มนต์ท่านไป
๑๔๓

สอนธรรมะและแปลพระไตรปิ ฎกเป็ นภาษาจีน ท่านแปล พระไตรปิ ฎกอยู่นานถึ ง


๑๖ ปี ชื่อทั้งสองท่านยังปรากฏอยูใ่ นพระไตรปิ ฎกจีนมาจนถึงปั จจุบนั
ต่อมาปี พ.ศ.๑๐๕๗ พระเจ้าอนุ รุทธวรมันเสด็ จขึ้ นครองราชย์ ทรงมีพระ
ราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ทรงประกาศถวายพระองค์เป็ นอุบาสก
ทรงมีพระเกศธาตุเส้นหนึ่ งไว้เป็ นที่ สักการบูชา พระเจ้าอนุ รุทธวรมันเป็ นกษัตริย์
องค์สุดท้ายที่ปรากฏนามในยุคฟูนัน ในปี พ.ศ.๑๑๗๐ อาณาจักรเจนละยกทัพมาตี
และรวมฟูนันเข้าเป็ นส่วนหนึ่ งของเจนละ
ยุคเจนละ (พ.ศ.๑๑๐๐ - ๑๓๔๔) เจนละ เป็ นคาจีนที่ เรียกเมืองกัมพูชาที่
อยูท่ างภาคเหนื อของนครฟูนัน คานี้ เพี้ ยนมาจากภาษาเขมรว่า เจือน-เลอ หมายถึง
ชั้นบน ที่ สูง หรือทางเหนื อ พระเจ้าวรมันเสด็จขึ้ นครองราชย์เป็ นกษัตริยอ์ งค์แรก
ประมาณปี พ.ศ.๑๐๙๓ กษัตริยใ์ นยุคต้นนี้ ยังคงนั บถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะเป็ น
หลั ก ต่ อมาในรัชกาลของพระเจ้าอี ศานวรมัน ที่ ๑ (พ.ศ.๑๑๕๙ - ๑๑๖๙)
พงศาวดารจี น ยุ คราชวงศ์ สุ ย บั น ทึ ก ไว้ว่า "ในรัชกาลของพระองค์ นี้ (พระเจ้า
อีศานวรมันที่ ๑) มีภิกษุ ภิกษุ ณี หลายรูป..."
ในรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ (พ.ศ.๑๒๐๐ - ๑๒๒๔) มีหลักฐานจาก
บันทึกของ หลวงจีนอี้ จิงที่เดินทางไปอินเดียและผ่านดินแดนแถบนี้ ระบุวา่ สมัยนั้ น
พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก มีวดั ทัว่ ไปทุ กแห่ง ประชาชนทัว่ ไปนิ ยมบวชใน
พระพุ ทธศาสนา แม้พวกเจ้านายก็ นิ ยมบวชเช่นเดี ยวกัน ในพุ ทธศตวรรษที่ ๑๔
พระพุทธศาสนามหายานได้เข้ามาเผยแผ่ในเอเชียอาคเนย์แล้ว และกัมพูชาก็ได้รบั
เอาพระพุทธศาสนามหายานไว้เช่นกัน แต่ก็ไม่มีอิทธิพลมากเหมือนเถรวาท หลัง
รัชกาลพระเจ้าชัยวรมันได้ไม่นานอาณาจักรเจนละก็สิ้นสุดลง
ยุคพระนคร (พ.ศ.๑๓๔๕ - ๑๙๗๕) ยุคพระนครหมายถึ ง ยุคนครวัดและ
นครธม เป็ นยุคที่อารยธรรมเขมรเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เป็ นมหาอาณาจักรใหญ่มี
ศิลปะและสถาปั ตยกรรมที่โดดเด่นกว่ายุคใดๆ โดยเฉพาะปราสาทนครวัด (Angkor
Wat) และนครธม (Angkor Thom) ยุคนี้ เริ่มนั บตั้งแต่รชั กาลของพระเจ้าชัยวรมันที่
๒ (พ.ศ.๑๓๔๕ - ๑๔๒๐) จนถึงรัชกาลของพระเจ้าพญายาต (พ.ศ.๑๙๗๕) ซึ่งทรง
สละพระนครไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ พนมเปญอันเป็ นเมืองหลวงของกัมพูชาใน
ปั จจุบนั
๑๔๔

หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ ครองราชย์ในปี พ.ศ.๑๓๔๕ แล้ว ทรงย้าย


พระนครจากเจนละมาตั้ งที่ พนมเหนทรบรรพตหรื อเขาพนมคู เลนในปั จจุ บั น
พระองค์ทรงนั บถือศาสนาพราหมณ์ แต่พระพุทธศาสนาก็ยงั เป็ นที่เป็ นที่เคารพนั บ
ถือกันอยู่ในหมู่ประชาชน หลังจากยุคของพระองค์แล้วกษัตริยแ์ ต่ละพระองค์ก็นับ
ถื อพราหมณ์ บ า้ งนั บถื อพระพุ ทธศาสนาบ้างสลับกันไป แต่ท้ั งสองศาสนาก็ อยู่
ร่วมกันอย่างเป็ นสุข
ครั้นมาถึ งรัชกาลของพระเจ้าสุ ริยวรมันที่ ๑ ทรงขึ้ นครองราชย์ในปี พ.ศ.
๑๕๔๕ - ๑๕๙๓ พระองค์เป็ นปฐมกษั ตริ ย์ที่ ยกพระพุ ทธศาสนามหายานเป็ น
ศาสนาของรัฐอย่างเป็ นทางการ พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ครองราชย์ในช่วงปี พ.ศ.
๑๖๕๖ - ๑๖๙๓ ทรงนั บถือศาสนาพราหมณ์และสร้างปราสาทนครวัดขึ้ นเพื่อบูชา
พระวิษณุ ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้เปลี่ยนให้เป็ นวัดในศาสนาพุทธ
นครวัด ตั้ งอยู่ ที่ เมื อ งเสี ย มราฐหรื อเสี ย มเรี ยบ จัด เป็ นหนึ่ งในเจ็ ด สิ่ ง
มหัศจรรย์ของโลกมีขนาดใหญ่ มากถึ ง ๒๐๐,๐๐๐ ตารางเมตร มีกาแพงด้านนอก
ยาวด้านละ ๑.๕ กิ โลเมตร ใช้หิ นทั้ งหมด ๖๐๐,๐๐๐ ลู กบาศก์เมตร ใช้ช า้ งกว่า
๔๐,๐๐๐ เชือกและแรงงานคนนั บ ๑๐๐,๐๐๐ คน ในการขนหินและชักลากหิน นคร
วัดมีเสา ๑,๘๐๐ ต้น หนั กต้นละกว่า ๑๐ ตัน เวลาในการสร้างร่วม ๑๐๐ ปี ใช้ช่าง
แกะสลัก ๕,๐๐๐ คน และใช้เวลาถึง ๔๐ ปี ในการแกะสลัก
พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ครองราชย์ในปี พ.ศ.๑๗๒๔ พระองค์มีชื่อเสียงโด่งดัง
ที่สุดในประวัติศาสตร์กัมพูชา ทรงสร้างนครธมขึ้ นเป็ นราชธานี ทรงเจริญจริยวัตร
ตามพระเจ้าอโศกมหาราชและพระโพธิ สั ตว์ท้ั งหลาย ทรงสร้างปราสาทและ
พระพุทธรูป ๗๙๘ องค์ เพื่อประดิษฐานทัว่ ราชอาณาจักร
ทรงสถาปนาปราสาทตาพรหมหรือวัดบุรีราชมหาวิหารเป็ นมหาวิทยาลัย
สงฆ์ มีพระมหาเถระเป็ นศาตราจารย์ใหญ่ อยู่ ๑๘ องค์ และอาจารย์รองลงมาถึ ง
๒,๗๔๐ องค์ มีอุบาสกช่วยงาน ๒,๒๓๒ คน อุบาสิกา ๖๑๕ คน ราษฎรผูม้ าจาศีล
หรือมาศึกษาธรรมระยะสั้นและระยะยาว ๑๒,๖๔๐ คน และกลุ่มอื่นๆ อีก ๖๖,๖๒๕
คน รวมทั้งหมดเป็ น ๗๙,๒๖๕ คน ซึ่งนั บรวมชาวพม่าและจาปาที่ มาพักศึกษาใน
ที่ นี้ด้วย ภายในวัดมีบา้ นพัก(กุ ฏิ)ที่ สร้างด้วยหินจานวน ๕๖๖ แห่ง สร้างด้วยอิฐ
๒๘๘ แห่ง มีพระภิกษุ จานวน ๔๓๙ รูป มารับภัตตาหารทุกวันในพระราชวัง
๑๔๕

นอกจากนี้ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงให้พระราชกุมารคือพระตามลินทะไป


ศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา และผนวชที่วดั มหาวิหารแห่งเกาะลังกา ซึ่งขณะนั้ น
พระพุทธศาสนาเถรวาทในศรีลังกากาลังเจริญรุ่งเรืองเป็ นศูนย์กลางของการศึกษา
สงฆ์ ต่อมาเมื่อพระกุมารกลับมากัมพูชาแล้ว ทรงทาให้นิกายเถรวาทเจริญรุ่งเรือง
เป็ นศาสนาประจาชาติของกัมพูชามากระทัง่ ปั จจุบนั ส่วนพระพุทธศาสนามหายาน
และศาสนาพราหมณ์ค่อยๆซบเซาลงไปตั้งแต่บดั นั้น
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรกัมพูชาอ่อนแอลงมาก ขณะเดียวกันช่วง
นั้นอาณาจักรอยุธยาของไทยซึ่งสถาปนาในปี พ.ศ.๑๘๙๔ มีความเข้มแข็งขึ้ น ได้เข้า
โจมตี เมื องพระนครของกัมพู ชาและยึดได้ส าเร็จในปี พ.ศ.๑๘๙๕ ต่ อมาปี พ.ศ.
๑๙๗๔ ได้เข้ามาปล้นทาลายอีกครั้ง พระเจ้าพญายาตจึงสละพระนครในปี พ.ศ.
๑๙๗๕ แล้วเสด็จไปประทับที่ พนมเปญ ยุคพระนครที่เจริญรุ่งเรืองมากว่า ๖๐๐ ปี
(พ.ศ.๑๓๔๕ - ๑๙๗๕) จึงสิ้ นสุดลง
ยุคปั จจุบนั (พ.ศ.๑๙๗๕ - ปั จจุบนั ) เมื่อยุคพระนครสิ้ นลงแล้ว กัมพูชาได้
เมืองหลวงใหม่ อยู่ใกล้ทะเลสาบให้ชื่อว่า กรุงละแวก ยุคนี้ พระพุทธศาสนายังคง
รุ่งเรืองอยู่ ประชาชนมีความ เคารพศรัทธาต่อพระสงฆ์ แม้จะมีมิชชันนารีต่างชาติ
มาเผยแผ่แต่ก็ ไม่ได้ผล เช่น ในปี พ.ศ. ๒๑๐๙ ชาวโปรตุ เกสชื่อ กาสปาร์ ดากรูซ
เดินทางมากรุงละแวกแต่ตอ้ งเดินทางกลับเพราะไม่อาจเปลี่ยนศาสนาชาวพื้ นเมือง
ได้ เนื่ องจากประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระสงฆ์อย่างสุดหัวใจ
กาสปาร์ ดากรูซ บอกว่า พระสงฆ์ประกอบขึ้ นด้วยคนที่มีความสามารถใน
กัมพูชา กว่า ๑ ใน ๓ หรือตามที่เขาประมาณก็นับจานวนแสนรูป พระภิกษุ เหล่านี้
ได้รบั ความเคารพอย่างสูงจากประชาชนราวกับเป็ นเทพเจ้าเป็ นๆ ผูท้ ี่ อ่อนอาวุโส
กว่าในหมู่ภิกษุ ดว้ ยกัน ก็บูชา ผูอ้ าวุโสกว่า เสมือนเทพเจ้า ไม่มีใครคัดค้านพระใน
เรื่องใดๆ บางครั้งขณะที่ขา้ พเจ้ากาลังนั ง่ เทศน์ อยู่ ทันที ที่พระเหล่านั้ นเดินผ่านมา
(ชาวบ้าน) ก็พูดเปรยขึ้ นว่า "นั น่ ก็ดีอยู่หรอก แต่ของเราดีกว่า" แล้วพวกเขาก็เดิน
หนี ไปหมดทิ้ งข้าพเจ้าไว้แต่ลาพัง
ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ กัมพู ชาตกเป็ นเมื องขึ้ นของฝรัง่ เศส ได้รับเอกราชในปี
พ.ศ.๒๔๙๖ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้านโรดมสีหนุ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๘ พระองค์ทรง
สละราชสมบัติถวายแด่พระราชบิดาคือ พระเจ้าสุรามฤต ส่วนพระองค์เองก้าวลงสู่
๑๔๖

วิถีชีวิตนั กการเมือง ทรงตั้งพรรคสังคมราษฎร์นิยมขึ้ น และมีชยั ชนะในการเลือกตั้ง


ได้เป็ นนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา
พระเจ้านโรดมสีหนุ ทรงนาหลักธรรมมาประยุกต์ใช้กับการเมืองโดยให้ชื่อ
ว่า ทฤษฎี พุ ทธสังคมนิ ยม (Buddhist Socialism) เพื่ อต่ อสู ก้ ับคอมมิ วนิ สต์ที่ เริ่ ม
ขยายเข้ามาในกัมพูชา แต่ดว้ ยแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาและความขัดแย้งจาก
ภายใน จึ งท าให้เกิ ดการรัฐประหารขึ้ นโดยนายพลลอน นอล ในปี พ.ศ.๒๕๑๓
สงครามกลางเมืองจึงปะทุขึ้นตั้งแต่บดั นั้ น ชาวกัมพูชาต้องสูญเสียเลือดเนื้ อและชีวิต
ไปนับล้านคน กว่าสงครามนี้ จะยุติลงในปี พ.ศ.๒๕๓๔
พระพุทธศาสนาในช่วงรัฐบาลของนายพลลอน นอล ยังได้รบั การสนั บสนุ น
อยู่เช่นเดิม รัฐบาลประกาศว่า พระพุทธศาสนายังเป็ นศาสนาประจาชาติ แต่ขอให้
คณะสงฆ์ ช่ วยต่ อ ต้านคอมมิ วนิ สต์ คื อ กลุ่ ม เขมรแดง มี ก ารโฆษณาว่ า ถ้ า
คอมมิ วนิ สต์เข้ามาจะไม่มีศาสนา พระพุ ทธ-ศาสนาและพระสงฆ์จะหมดไปจาก
ประเทศกัมพูชา
นายพลลอน นอลปกครองประเทศอยู่เพี ยง ๕ ปี ก็ ถูกปฏิวัติอีกครั้งในปี
พ.ศ.๒๕๑๘ โดยกลุ่มเขมรแดง ซึ่งมีนายพล พต (Pol Pot) เป็ นผูน้ า เขมรแดงนา
ระบอบคอมมิวนิ สต์มา ปกครองประเทศ ประกาศนโยบายบริหาร ๘ ประการ เช่น
ให้พระสงฆ์ในพระพุ ทธศาสนา ลาสิกขาทั้งหมด แล้วไปทานาแทน ประหารชีวิต
ผูน้ ารัฐบาลเดิมทั้งหมด
มหันตภัยคุกคามพระพุทธศาสนา สถานการณ์พระพุทธศาสนายุคนี้ ตกตา่
ที่ สุ ด พระสังฆราชถู กน าไปสังหาร ประชาชนและภิ กษุ สามเณรถู กฆ่ าประมาณ
๒,๐๐๐,๐๐๐ คน พระที่เหลือถูกเขมรแดงสัง่ ให้ทางาน ถ้าไม่ทางานจะไม่มีขา้ วฉัน
บ้างก็ถูกบังคับให้ลาสิกขา วัดถูกปิ ดหรือรื้ อทิ้ ง บ้างก็ถูกทาเป็ นฟาร์มไก่หรือเล้าหมู
คอมมิวนิ สต์ถือว่าศาสนาคือยาฝิ่ นของประชาชน ภิกษุ ไม่ทาอะไรจึงทาให้สงั คมเป็ น
อัมพาต ห้ามตักบาตรทาบุญ ผูอ้ ยู่ในเหตุการณ์สมัยนั้ น กล่าวว่า "ยุคนั้ น ไม่มีวดั
ไม่มีพระสงฆ์ ไม่มีประชาชนไปสวดมนต์ ไม่มีการบูชาพระรัตนตรัย"
เมื่ อผ่ านยุ คสงครามกลางเมื องมาแล้ว องค์การสหประชาชาติ ได้เข้ามา
ช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น ให้เงินช่วยเหลือ ๓,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อจัดการ
เลื อกตั้งในปี พ.ศ.๒๕๓๖ และได้เปลี่ ยนชื่ อประเทศเป็ น ราชอาณาจักรกัมพู ชา
๑๔๗

(Kingdom of Cambodia) สถานการณ์ พระพุ ทธศาสนาจึงค่ อยๆ ดี ขึ้นตามลาดับ


แม้การเมืองจะไม่ค่อยนิ่ งคือยังมีการปฏิวตั ิอยู่บา้ งใน ปี พ.ศ.๒๕๔๐ แต่ก็ไม่ส่งผล
กระทบต่อพระพุทธศาสนามากนักเหมือนช่วงสงครามกลางเมือง
๓) ประเทศพม่า
ประเทศพม่ ามี ชื่ อเป็ นทางการว่า สหภาพพม่ า (Union of Myanmar) มี
เมื องหลวงชื่ อเนปี ดอ เมื องใหญ่ สุ ดคื อ ย่ างกุ ้ง ปกครองด้วยรัฐบาลทหาร มี
ประชากรประมาณ ๕๐,๕๑๙,๐๐๐ คน (พ.ศ. ๒๕๔๘) นั บถือศาสนาพุทธ ๙๐%
นั บถื อศาสนาคริสต์ ๔% ศาสนาอิ สลาม ๓% ศาสนาฮิ นดู ๐.๗% นั บถื อผี ไสย
ศาสตร์ ๒.๓%
ประวัติศาสตร์ของพม่านั้ นมีความยาวนานและซับซ้อน มีคนหลายเผ่าพันธุ์
เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เช่น เผ่ากัปปะลี มอญ พยู ไทยใหญ่ พม่า เป็ นต้น
ชาวพม่าได้อพยพมาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ โดยมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีน
และทิ เบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ าอิรวดี และได้กลายเป็ นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ ปกครอง
ประเทศในเวลาต่อมา
มนุ ษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในพม่าราว ๑๑,๐๐๐ ปี มาแล้ว ชนชาติแรกคือเผ่า
กัปปะลีหรือนิ กริโต แต่เผ่าแรกที่ สร้างอารยธรรมขึ้ นเป็ นเอกลักษณ์ของตนได้คือ
มอญ ชาวมอญอพยพเข้ามาราว ๒,๔๐๐ ปี ก่ อนพุ ทธกาล ได้สถาปนาอาณาจักร
สุวรรณภูมิขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒ มีเมืองหลวงชื่อ "สะเทิม" ส่วนชนเผ่าเดิมคือ
กัปปะลี ก็เคลื่ อนย้ายไปอยู่ตามเกาะบะลู ซึ่งเป็ นเกาะใหญ่ต้ังอยู่ตรงข้ามกับเมือง
เมาะลาไย ชนเผ่านี้ มีหน้าตาน่ ากลัว ผมหยิก ผิวดา มีนิสัยกระด้าง จึงถูกมองว่า
เป็ นพวกยักษ์ และคาว่า บะลู ก็แปลว่า ยักษ์
ศิลาจารึกเจดียช์ เวดากองบันทึกไว้วา่ พระพุทธศาสนาเข้าสู่พม่าตั้งแต่สมัย
พุทธกาล กล่าวคือพ่อค้าชาวมอญชื่อ ตปุสสะ และภัลลิกะ ได้รบั พระเกศธาตุจาก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐาน ณ เจดียช์ เวดากอง ส่วนในอรรถกถาบันทึกไว้
ว่า พ่อค้าตปุสสะ และภัลลิกะ เดินทางจากอุกกลชนบท ไปยังมัชฌิ มประเทศด้วย
เกวียน ๕๐๐ เล่ม ระหว่างทางได้ถวายสัตตุผงและสัตตุกอ้ นแด่พระสัมมาสัมพุทธ
เจ้า ก่อนกลับพระศาสดาทรงประทานเส้นพระเกศธาตุ ๘ เส้น ชนทั้งสองได้นาไปสู่
๑๔๘

นครของตนแล้วบรรจุ พ ระเกศธาตุ ไว้ที่ ป ระตู อสิ ตั ญ ชนนคร แต่ ท้ั งนี้ ยังไม่ พ บ
หลักฐานว่า อุกกลชนบทและอสิตญ ั ชนนคร อยูใ่ นพม่าหรือไม่
พงศาวดารมอญบันทึ กไว้ว่า เมื่อปี ๒๕๐ ก่อนคริสต์ศักราช (พ.ศ.๒๙๓)
พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเดินทางมาประกาศพระศาสนา ณ ดินแดนสะเทิม
แห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิแล้วสวดพระปริตรเพื่อขับไล่เหล่ายักษ์น้ าหรือผีเสื้ อสมุทร
มิให้มาเป็ นอันตรายแก่ชาวมอญ จึงสันนิ ษฐานได้ว่าพวกยักษ์ในตานานมอญนั้ น
น่ าจะหมายถึงชนเผ่ากัปปะลีนัน่ เอง ในอรรถกถาก็กล่าวไว้วา่ เมื่อพระโสณเถระและ
พระอุตตรเถระไปถึงสุวรรณภูมิ นางรากษสหรือยักษ์ตนหนึ่ งพร้อมด้วยบริวารขึ้ นมา
จากสมุ ทร มนุ ษย์เห็ นนางรากษสตนนั้ นแล้วก็ กลัวร้องเสี ยงดัง พระเถระนิ รมิ ต
อัตภาพให้มากกว่าพวกรากษสแล้วขับให้หนี ไป
ชาวพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๔
และได้สถาปนานครรัฐขึ้ นหลายแห่ง เช่น ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เป็ นต้น ในช่วง
เวลาดังกล่าว ดินแดน พม่าเป็ นส่วนหนึ่ งในเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย
จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อานาจปกครองของชาวพยู ๑๘ เมือง
ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิ กายเถรวาทเด็กๆ ได้รบั การศึกษาที่วดั ตั้งแต่อายุ ๗
ขวบจนถึง ๒๐ ปี
พระพุทธศาสนาเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพม่าในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ ต่อมา
มีพระสงฆ์ ฝ่ ายมหายานซึ่งเป็ นศิษย์ของพระวสุ พันธุ ได้นาลัทธิ ตันตระไปเผยแผ่
จนพระพุทธศาสนาทั้งสองนิ กายเจริญรุ่งเรืองเป็ นเวลาหลายร้อยปี และรุ่งเรืองมาก
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑
ชาวพม่าเป็ นชนเผ่าอพยพมาจากทางตอนเหนื อทีละน้อย ได้ขยายอานาจลง
มาทางใต้เข้ารุกรานพวกมอญ มอญจึงต้องถอยไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่หงสาวดี ใน
ปี พ.ศ.๑๓๖๘ พม่าได้ต้ังอาณาจักรขึ้ น มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพุกาม(Pagan) ในปี
พ.ศ.๑๓๙๒ ซึ่งเป็ นช่วงที่ อาณาจักรพยูเสื่อมสลายแล้ว อาณาจักรพุกามแต่แรกนั้ น
มิได้เป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกัน กระทัง่ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ.๑๕๘๗ -
๑๖๒๐) พระองค์สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็ นอันหนึ่ งอันเดียวกันสาเร็จ
ในปี พ.ศ.๑๖๐๐ พระเจ้าอโนรธายกทั พตี เมื องสะเทิ มของมอญ น าเอา
พระไตรปิ ฎกและประเพณี พระพุทธศาสนามา ทรงทาให้นิกายเถรวาทแพร่หลาย
๑๔๙

ด้วยความช่วยเหลือจากพระภิกษุ มอญชื่อ ชินอรหันต์ ทรงสร้างเจดียท์ ี่สาคัญหลาย


แห่งโดยเฉพาะมหาเจดียช์ เวดากอง โดยสร้างเสริมเจดียอ์ งค์เดิม ซึ่งเป็ นประเพณี ที่
สืบต่อมายาวนานว่า พระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์จะต้องทรงทานุ บารุงพระเจดีย์ ใน
สมัยพระนางฉิ่ น ซอปู้ ท รงพระราชทานทองค าเท่ าน้ าหนั กพระองค์ เองคื อ ๔๐
กิโลกรัม เพื่อน าไปตี แผ่หุ ม้ พระเจดี ย์ สมัยพระเจ้าธรรมเซดี ก็ ทรงบริจาคทองค า
หนั กเป็ นสี่เท่าของน้ าหนั กพระองค์เอง ในสมัยพระเจ้ามินดงทรงส่งฉัตรฝั งเพชรอัน
ใหม่มาถวายเป็ นพุทธบูชา ตั้งแต่น้ันมาจึงเป็ นธรรมเนี ยมมาถึงปั จจุบนั ที่กษัตริยท์ ุก
พระองค์จะต้องพระราชทานทองคาเท่ าน้ าหนั กพระองค์เองไปตีเป็ นแผ่นหุม้ องค์
พระมหาเจดีย์
เจดี ย์ชเวดากอง (Shwedagon Pagoda) เป็ นภาษาพม่า ชเว แปลว่า ทอง
ดากอง แปลว่า เมื องตะเกิ ง ซึ่ งเป็ นชื่ อเดิ มของเมื องย่างกุ ง้ เจดี ย์ชเวดากอง จึ ง
แปลว่า พระเจดียท์ องเมืองตะเกิง ซึ่งเป็ นมหาเจดียท์ องคาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่
บริเวณเนิ นเขาเชียงกุ ตระ เมืองย่างกุ ง้ ตานานกล่าวว่าสร้างเมื่อ ๒,๕๐๐ ปี ที่ แล้ว
โดยพ่อค้าทั้งสอง แต่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๖ ถึง ๑๐
แรกเริ่มสร้างมี ความสู งเพี ยง ๒๗ ฟุ ต แต่ด ว้ ยแรงศรัทธาของชาวพม่าได้ร่วมกัน
บริจาคทรัพย์สิ น เงินทอง แล้วก่ อสร้างเสริมองค์พระเจดี ย์ให้สู งใหญ่ ขึ้ นเรื่อยๆ
จนกระทัง่ ปั จจุบันมีความสูงถึง ๓๒๖ ฟุต กว้าง ๑,๓๕๕ ฟุต ทองคาที่โอบหุม้ เจดีย์
ชเวดากองอยู่ มีน้ าหนั กถึง ๑,๑๐๐ กิโลกรัม ช่างพม่าจะใช้ทองคาแท้ๆ นามาตีเป็ น
แผ่นเรียงปิ ดองค์เจดียไ์ ว้ บนยอดของพระเจดี ย์ มีเพชรอยู่ ๕,๔๔๘ เม็ด โดยเฉพาะ
ยอดสุดมีเพชรเม็ดใหญ่ อยู่ ๗๒ กระรัต และทับทิม ๒,๓๑๗ เม็ด
นอกจากเจดี ย์ชเวดากองแล้ว ในอาณาจัก รพุ ก ามมี ก ารสร้างเจดี ย์อี ก
มากมาย เพราะชาวพุกามเชื่อว่า การสร้างเจดียจ์ ะได้อานิ สงส์สูงสุด ตลอดที่ราบริม
ฝั ่งอิรวดีพื้นที่กว้างไกลสุดสายตา ล้วนประดับประดาไปด้วยเจดียม์ ากมาย กล่าวกัน
ว่ามีถึง ๔,๐๐๐ องค์ทีเดียว เมืองพุกามจึงได้ชื่อว่า ทะเลเจดีย์ ด้วยเหตุนี้พุกามจึง
ได้รับยกย่องให้เป็ นมรดกโลก (World Heritage) จาก UNESCO แต่ทุ กวันนี้ เหลื อ
เจดียอ์ ยู่เพียง ๒,๐๐๐ กว่าองค์เท่านั้ น ส่วนมากเป็ นเจดียร์ า้ ง แต่ดว้ ยแรงศรัทธา
และความเกรงกลัวบาปที่ฝังลึกในจิตใจของชาวพม่า เจดียจ์ ึงยังยืนหยัดอยูไ่ ด้โดยไม่
๑๕๐

ถูกทาลาย พระพุทธรูปยังคงประดิษฐานงดงามอยูท่ ุกซุม้ เจดีย์ แม้แต่อุณาโลมเพชร


ทับทิม หรือมรกต ก็ยงั ไม่มีชาวพม่าคนใดกล้าลักขโมย
หลังจากสมัยพระเจ้าอโนรธาแล้ว พระพุทธศาสนาก็ได้รบั การอุปถัมภ์จาก
กษั ต ริ ย์ เรื่ อ ยมา จนกระทั ่งสมั ย พระเจ้านรปฏิ สิ ท ธุ ท รงส่ งสมณทู ต ไปฟื้ นฟู
พระพุทธศาสนาที่ลงั กา ในปี พ.ศ.๑๗๓๓ โดยมีพระอุตราชีวะเป็ นประธาน ครั้งนั้นมี
เด็กชาวมอญคนหนึ่ งชื่อ ฉะบัฏ ได้บวชเป็ นสามเณรติดตามไปยังลังกาด้วย และได้
อุปสมบทในลัทธิลังกาวงศ์ ภายหลังเดินทางกลับพม่าพร้อมกับพระภิกษุ อีก ๔ รูป
ได้ต้ังนิ กายใหม่ในพม่าคือนิ กายสิงหล พระภิกษุ นิกายนี้ ไม่ยอมรับว่า พระนิ กาย
เดิ มคื อ มะระแหม่ง ได้รับการอุ ปสมบทอย่างถู กต้อง จึงเกิ ดการขัดแย้งกันเป็ น
เวลานานถึง ๓ ศตวรรษและในที่สุดนิ กายสิงหลก็เป็ นฝ่ ายชนะ
อาณาจักรพุกามเจริญรุ่งเรืองมาโดยลาดับ จนกระทัง่ รัชสมัยของพระเจ้านร
สี หปติ ในปี พ.ศ.๑๗๙๙-๑๘๓๐ กองทัพมองโกลบุ กเข้าตี พุ กามจนแตก ผลของ
สงครามทาให้พุกามอ่อนแอลงมาก มะกะโทจึงประกาศเอกราชปลดแอกอาณาจักร
มอญ หลังจากเป็ นเมืองขึ้ นของพุกามตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๖๐๐ และสถาปนาราชวงค์ชาน
ขึ้ น มีศูนย์กลางอยูท่ ี่เมืองเมาะตะมะ
เมาะตะมะเป็ นเมืองหลวงของมอญจนถึงปี พ.ศ.๑๙๑๒ จึงย้ายไปยังหงสาวดี
ในสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ (พ.ศ.๒๐๑๕ - ๒๐๓๕) อาณาจักรมอญเจริญสูงสุด ทรง
รวมสงฆ์ให้เป็ นหนึ่ งเดียวกัน ซึ่งแต่เดิ มแตกแยกเป็ น ๖ คณะ ทรงให้คณาจารย์ ๖
สานั กมาประชุ มกัน ทรงขอร้องให้ไปอุปสมบทใหม่ในลังกาเพื่อให้เกิดความเสมอ
ภาค คณะสงฆ์ ก็ เห็ น ชอบด้วยจึ งเดิ น ทางไปอุ ป สมบทใหม่ ที่ ลั งกา โดยมี พ ระ
คณาจารย์ ๒๒ รูป พระอนุ จรอีก ๒๒ รูป
เมื่อกลับมาสู่เมืองหงสาวดีแล้วพระเจ้าธรรมเจดียก์ ็ประกาศราชโองการให้
พระสงฆ์ทวั ่ แผ่นดินสึกให้หมด แล้วบวชใหม่กบั คณะสงฆ์ที่บวชจากลังกา โดยเรียก
คณะใหม่ว่า คณะกัลยาณี ในครั้งนั้ นมี พระบวชในคณะกัลยาณี ถึง ๑๕,๖๖๖ รูป
คณะสงฆ์เมืองหงสาวดีจึงเป็ นปึ กแผ่นอีกครั้ง แต่หลังจากพระองค์สวรรคตแล้วสงฆ์
ก็แตกแยกกันอีก
ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ นี้ (พ.ศ.๒๐๐๑ - ๒๑๐๐) ชนชาติ โปรตุเกสเข้ามา
ติดต่อกับประเทศพม่า มีชาวโปรตุเกสคนหนึ่ งได้ช่วยพระเจ้ายะไข่ปราบกบฏ จนมี
๑๕๑

ความดี ความชอบได้รับแต่ งตั้ งเป็ นเจ้าเมื องสี เรี ยม จึ งถื อโอกาสเผยแพร่ ลัท ธิ
โรมันคาทอลิก และเบียดเบียนพระพุทธศาสนา เช่น ริบทรัพย์สมบัติของวัด ห้าม
ประชาชนใส่บาตร พระสงฆ์ตอ้ งลี้ ภัยไปกรุง อังวะเพื่อร้องทุ กข์ ในที่ สุดพม่ากับ
มอญได้รว่ มมือกันกาจัดพวกโปรตุเกส จับตรึงไม้กางเขนตายหลายคน
หลังยุคพระเจ้าธรรมเจดียแ์ ล้ว ในปี พ.ศ.๒๐๙๔ หงสาวดีก็เสียแก่พระเจ้า
ตะเบงชเวตี้ กษัตริยพ์ ม่า อาณาจักรพม่ารุง่ เรืองถึงขีดสุดในสมัยบุเรงนอง ทรงขยาย
อาณาจักรออกไปกว้างขวางจนได้ชื่อว่าผูช้ นะสิบทิศ มีประเทศราชทัว่ สุวรรณภูมิ คือ
อังวะ แปร เชี ยงใหม่ อยุ ธยา ยะไข่ ล้านช้าง และหัวเมื องไทยใหญ่ ท้ั งปวง ทรง
ครองราชย์อยูไ่ ด้ ๓๐ ปี สวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๔
เมื่ อพระเจ้าบุ เรงนองสวรรคตแล้ว พระโอรสขึ้ นเสวยราชย์แทน แต่ ไม่ มี
อานาจเหมือนพระบิดา เมืองขึ้ นต่างๆ จึงประกาศตัวเป็ นอิสรภาพรวมทั้งไทยด้วย
พวกมอญได้นิมนต์ พระภิ กษุ ชาวกะเหรี่ยงรูปหนึ่ งชื่อว่า พระสะล่า เป็ นผูม้ ีความ
เชี่ยวชาญทางเวทมนตร์คาถา เชิญให้สึกออกมาคิดแผนการไล่พม่าจนสาเร็จ และได้
ทาพิธีราชาภิเษกเป็ นกษัตริยค์ รองนครหงสาวดีในปี พ.ศ. ๒๒๘๓ มีพระนามว่า พระ
เจ้าสทิ งทอพุทธเกติ ทรงแผ่อิทธิ พลตี เมืองตองอูและเมืองแปรได้สาเร็จ แต่เรือง
อานาจอยู่เพียง ๗ ปี เท่านั้ น ในปี พ.ศ.๒๓๐๐ ก็ได้สูญสิ้ นอานาจให้แก่พม่าอีก และ
ตั้งแต่น้ันมอญก็ไม่มีโอกาสกอบกูเ้ อกราชอีกเลยตราบกระทัง่ ปั จจุบนั
ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ อังกฤษทาสงครามกับพม่าและได้ชัยชนะ จากนั้ น
พยายามตักตวงทรัพยากรต่างๆ โดยที่กษัตริยพ์ ม่าไม่อาจจะแก้ปัญหาได้ พระเจ้ามิ
นดงจึงก่อการปฏิวตั ิยึดอานาจจากพระเจ้าปะกันในปี พ.ศ.๒๓๙๖ ในสมัยพระองค์มี
การสังคายนาพระไตรปิ ฎกนิ กายเถรวาทครั้งที่ ๕ ขึ้ น ณ เมืองมัณฑะเลย์ในปี พ.ศ.
๒๔๑๔ ได้จารึกพระไตรปิ ฎกลงในหินอ่อน ๗๒๙ แผ่น โดยได้รบั การสนั บสนุ นจาก
คณะสงฆ์หลายชาติ คือ ศรีลงั กา ไทย กัมพูชา และลาว
ต่ อมาพระเจ้าธี บอว์พระโอรสของพระเจ้ามิ น ดงขึ้ นครองราชย์ใน พ.ศ.
๒๔๒๑ พระองค์ถู กอังกฤษเนรเทศไปอยู่อิ นเดี ย ในช่วงนี้ ศาสนาคริ สต์ได้โจมตี
พระพุทธศาสนา พระสงฆ์แสดงธรรมต่อต้านอังกฤษและเดินขบวนอย่างเปิ ดเผย
พระบางรูปถูกจับไปขังคุกก็มี
๑๕๒

พม่ า ได้ รั บ อิ ส รภาพจากอั ง กฤษเมื่ อ วั น ที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๒


พระพุทธศาสนาจึงได้รบั การฟื้ นฟูอีกครั้ง มีการสังคายนาครั้งที่ ๖ ขึ้ นที่กรุงย่างกุง้
เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๗ และเสร็จสิ้ นเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.
๒๔๙๙ การท าสังคายนานี้ ท าขึ้ นในโอกาสฉลอง ๒๕ พุ ทธศตวรรษ เพื่ อพิ มพ์
พระไตรปิ ฎก อรรถกถา และคาแปลเป็ นภาษาพม่า โดยเชิญพุทธศาสนิ กชนจาก
หลายประเทศเข้าร่วมพิธี เช่น พม่า ศรีลงั กา ไทย ลาว และกัมพูชา
๔) ประเทศลาว
ประเทศลาวมีชื่อเป็ นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาว
(Lao Peoples Democratic Republic) ปั จจุบันปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิ สต์ มี
เมื อ งหลวงชื่ อ เวี ย งจั น ทน์ และเป็ นเมื อ งที่ ใหญ่ ที่ สุ ด มี ป ระชากรประมาณ
๕,๙๒๔,๐๐๐ คน (พ.ศ. ๒๕๔๘) ๖๐% นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ๔๐% นั บถือ
ภูตผี (Animism) และอื่นๆ ดินแดนลาวมีมนุ ษย์เข้ามาอาศัยอยูเ่ ป็ นเวลาช้านานแล้ว
แต่ประวัติศาสตร์ที่ ชัดเจนเพิ่ งปรากฏขึ้ นในราวพุ ทธศตวรรษที่ ๑๙ ในนามของ
อาณาจักรล้านช้าง สถาปนาขึ้ นโดยพระยาฟ้ างุม้ เมื่อปี พุทธศักราช ๑๘๙๖
พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่อาณาจักรล้านช้างโดยพระนางแก้วยอดฟ้ า พระ
มเหสีของพระยาฟ้ างุม้ ทรงทูลขอให้พระราชาส่งทูตไปนิ มนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาท
จากกัมพูชาเข้ามาเผยแผ่ในล้านช้าง ครั้งนั้นพระมหาปาสามานเจ้าเป็ นหัวหน้าคณะ
เดินทางมาประกาศพระศาสนา ตามคานิ มนต์ของพระยาฟ้ างุม้
พระมหาปาสามานเถระและคณะเดินทางออกจากกัมพูชาในปี พ.ศ.๑๙๐๒
ได้นาพระพุทธรูปปางห้ามญาติชื่อ พระบาง และพระไตรปิ ฎกมาถวายแก่พระเจ้าฟ้ า
งุ ม้ ด้วย เมื่ อคณะสงฆ์ เดิ น ทางมาถึ งเวี ย งจันทน์ เจ้าเมื องจันทน์ ได้นิ มนต์ พั ก
สมโภชน์ พระบางอยู่ ๓ คื น ๓ วัน แล้วเดิ นทางต่ อไปยังเวียงค า ประชาชนได้มา
สมโภชน์ พระบางกัน ๓ คื น ๓ วันเช่นกัน ครั้นจะเดิ นทางต่อไปกลับปรากฏเหตุ
อั ศจรรย์คื อไม่ ส ามารถยกพระพุ ท ธรู ป ไปได้ จึ งเสี่ ยงทายว่าเทวดาอารัก ษ์ ค ง
ปรารถนาจะให้พระบางอยู่ที่เวียงคา คณะสงฆ์จึงเดิ นทางไปยังเมืองเชียงทองโดย
ไม่ ได้น าพระพุ ท ธรู ปไปด้วย ได้เข้าเฝ้ าพระเจ้าฟ้ างุ ม้ กั บพระมเหสี และเผยแผ่
พระพุทธศาสนา จนเจริญรุง่ เรือง
๑๕๓

สมัยพระเจ้าวิชุลราชาธิปัต (พ.ศ.๒๐๔๔ - ๒๐๖๓) พระองค์ทรงเอาพระทัย


ใส่พระพุทธศาสนา เช่นกัน ทรงสร้างวัดบรมมหาราชวังเวียงทอง วัดวิชุลราช และ
อัญเชิญพระบางจากเวียงคามาประดิ ษฐานที่ วดั นี้ ในรัชสมัยพระเจ้าโพธิ สารราช
(พ.ศ.๒๐๖๓ - ๒๐๙๐) ทรงสร้าง วัดสุ วรรณเทวโลก และมี พระราชโองการให้
พลเมืองเลิกนั บถือผีสางเทวดา ให้รื้อศาลหลวง ศาลเจ้าต่างๆ แล้วให้ประชาชนหัน
มานับถือพระพุทธศาสนาแทน
หลังจากพระเจ้าโพธิสารราชสวรรคตแล้ว พระโอรสต่างแย่งชิงราชสมบัติกนั
อาณาจักรล้านช้างจึงแตกเป็ น ๒ ฝ่ าย คือ ฝ่ ายเหนื อ ฝ่ ายใต้ พระเจ้าไชยเชษโฐแห่ง
ล้านนาจึ งยกทั พ มาตี ก รุ งล้านช้างและยึ ด ได้ท้ั งสองอาณาจั ก ร แล้วเสด็ จขึ้ น
ครองราชย์โดยสถาปนา กรุงศรีสัตนาคณหุต เป็ นเมืองหลวง และทรงเปลี่ยนพระ
นามเป็ น พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
พระพุทธศาสนาในยุคของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมีความเจริญสูงสุด ทรง
สร้างวัดสาคัญมากมาย เฉพาะในกาแพงเมืองมีวดั อยู่ประมาณ ๑๒๐ วัด ทรงสร้าง
วัดพระแก้วขึ้ นเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกตซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่ ยุคนี้
ราชอาณาจักรไทยก็มีความสัมพันธ์กบั ลาวอย่างแน่ นแฟ้ นเพราะได้ร่วมมือกันต่อสู ้
กับพม่า มีการสร้างเจดียพ์ ระธาตุศรีสองรัก ขึ้ นในอาเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เพื่อ
เป็ นอนุ สรณ์แห่งความเป็ นพี่เป็ นน้องกัน
พระเจ้าไชยเชษฐาธิ ราชทรงย้ายเมืองหลวงจากเชียงคามาอยู่ที่เวียงจันทน์
ทรงประดิ ษฐานพระแก้วมรกตและพระพุ ทธสิ หิ งค์ไว้ที่ เวียงจันทน์ ส่ วนพระบาง
ประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงทอง จึงได้ชื่อว่าหลวงพระบางมาจนถึงบัดนี้ ทรงสร้างพระ
ธาตุหลวงขึ้ น นั บเป็ นสถาปั ตยกรรมชิ้ นยอดเยีย่ มของลาวในปี พ.ศ.๒๑๐๙ ทรงสร้าง
พระธาตุอื่นๆ และพระพุทธรูปอีกมากมาย เช่น พระเจ้าองค์ตื้อ ที่ เวียงจันทน์ ที่
อาเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พระเสริม พระสุก พระใส พระอินทร์แปลง พระองค์
แสน ทรงสร้างพุทธสถานที่หนองคายหลายแห่ง เช่น วัดพระธาตุ พระธาตุบังพวน
วัดศรีเมือง พระประธานในโบสถ์ที่วดั นี้ มีนามว่า พระไชยเชษฐา
หลังจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิ ราชสวรรคตแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๑๑๗-๒๑๑๘
พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีลาวและได้รบั ชัยชนะ ทรงนาโอรสของพระเจ้า
ไชยเชษฐาธิราชไปเป็ นประกัน ต่อมาปี พ.ศ.๒๑๓๔ พระเถระเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ได้
๑๕๔

ประชุมกันและลงมติให้ส่งทูตไปเชิญเจ้าชายหน่ อแก้วโกเมน ซึ่งเป็ นตัวประกันอยูใ่ น


พม่ามาครองราชย์ ในเวลานั้ นพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตแล้ว พม่าจึงอ่อนแอลง เจ้า
หน่ อแก้วโกเมนขึ้ นครองราชย์สมบัติ ในปี พ.ศ.๒๑๓๕ มี พระนามว่า พระเจ้าสุ ริ
ยวงศา และประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าอีกต่อไป
หลังจากสิ้ นรัชกาลของพระเจ้าสุริยวงศาแล้ว ในปี พ.ศ.๒๒๓๕ ลาวแตกเป็ น
๒ อาณาจักร คือ หลวงพระบางกับเวียงจันทน์ ในที่สุดพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้
ยกทัพมาตีเวียงจันทน์ และยึดได้สาเร็จในปี พ.ศ.๒๓๒๑ ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกต
ไปยังอาณาจักรไทยด้วย ต่ อมาปี พ.ศ.๒๔๓๖ อาณาจักรลาวก็ ตกเป็ นเมื องขึ้ น
ฝรัง่ เศส ถูกครอบครองอยู่ ๔๕ ปี ได้รบั เอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม
พ.ศ.๒๔๙๒
พระพุทธศาสนาเป็ นรากฐานของวัฒนธรรมประเพณี ความคิด ความเชื่อ
ของประชาชนลาว ประเพณี ทาบุญธาตุหลวง เป็ นประเพณี ประจาชาติที่เชิดหน้าชู
ตาของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีศิลปกรรม ประติมากรรม สถาปั ตยกรรมทางพุทธ
ศาสนามากมาย พระพุทธศาสนายังมีบทบาทในการสงเคราะห์ประชาชนในด้าน
ต่างๆ เช่น พระสงฆ์เป็ นที่พึ่งของชุมชนในด้านให้คาปรึกษา สงเคราะห์ปัจจัยสี่แก่
ประชาชน วัดได้เป็ นศูนย์กลางการพบปะของชาวบ้าน เป็ นต้น ในปั จจุบนั ลาวอยู่ใน
ภาวะสงบ พระพุ ทธศาสนาก็ ได้รับการอุ ปถั มภ์ จากรัฐเป็ นอย่างดี มี การก่ อตั้ ง
สถาบันการศึกษาสงฆ์ขึ้น เช่น วิทยาลัยสงฆ์ประจากรุงเวียงจันทน์ เป็ นต้น
๕) ประเทศเวียดนาม
เวี ย ดนาม (Vietnam) แปลว่ า อาณาจัก รฝ่ ายทั ก ษิ ณ มี ชื่ อ ทางการว่ า
สาธารณรัฐสังคมนิ ยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) มีเมืองหลวงชื่อ
ฮานอย เมื อ งใหญ่ ที่ สุ ดคื อ โฮจิ มิ น ห์ ซิ ตี้ เวี ย ดนามมี ป ระชากรประมาณ
๘๔,๒๓๘,๐๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๔๘) โดย ๕๐% นั บถือพระพุทธศาสนามหายาน และ
อีก ๕๐% นับถือศาสนาขงจื๊อและคริสต์ศาสนา
เวียดนามในอดีตแบ่งเป็ น ๓ อาณาเขต คือ ตังเกี๋ย (Tong king) ได้แก่ แถบ
ลุ่มแม่น้ าแดง อานั ม (Annam) ได้แก่ แผ่นดิ นส่วนแคบยาวตามชายฝั ่งทะเล อยู่
ตอนกลางระหว่างตังเกี๋ยกับโคชินจีน และโคชินจีน (Cochin China) ได้แก่ แผ่นดิน
๑๕๕

ส่ วนล่ างทั้ งหมด อาณาจักรอานั มมี อายุ เกื อบ ๓ พันปี แต่ ไม่ มี หลักฐานชัดเจน
จนกระทัง่ ปี พ.ศ.๔๓๓ ได้ตกเป็ นเมืองขึ้ นของจีนและถูกปกครองอยูน่ านกว่า ๑,๐๐๐
ปี จึงทาให้ได้รบั อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนมาก ในระยะนี้ เองเวียดนามมีชื่อว่า
อานัม
พระพุทธศาสนาเข้าสู่อาณาจักรอานั มประมาณพุทธศตวรรษที่ ๗ ซึ่งอยู่
ระหว่างที่อานัมยังตกเป็ นเมืองขึ้ นของจีน สันนิ ษฐานว่าท่านเมียวโป (Meou-Po) ได้
นานิ กายมหายานจากจีนเข้ามาเผยแผ่ และยังสันนิ ษฐานว่า พระชาวอินเดีย ๓ รูป
คือ พระมหาชีวก พระกัลยาณรุจิ และพระถังเซงโฮย เดินทางมาเผยแผ่ในยุคนี้ ด้วย
แต่ ไม่ เจริ ญ รุ่งเรื องเท่ าที่ ควร เพราะกษั ตริ ย์จี น นั บถื อศาสนาขงจื๊ อ ทรงไม่ พอ
พระทัยที่มีคนนับถือพระพุทธศาสนา
ต่อมาปี พ.ศ.๑๔๘๒ ชาวเวียดนามกอบกูเ้ อกราชได้สาเร็จ พระพุทธศาสนา
ได้รับการฟื้ นฟู อย่างจริงจัง ครั้งนั้ นพระภิ กษุ ชาวอิ นเดี ยชื่อ วินี ตรุ จิ เดิ นทางมา
ศึกษาพระพุทธศาสนานิ กายเซนในจีน แล้วเดินทางต่อเพื่อมาเผยแผ่ในเวียดนาม
ต่ อมาในปี พ.ศ.๑๕๑๑ - ๑๕๒๒ รัฐบาลจัด ตั้ งองค์ ก ารปกครองคณะสงฆ์ ขึ้ น
โดยรวมเอานั ก บวชเต๋ ากั บ พระสงฆ์ เข้าในระบบฐานั น ดรศั ก ดิ์ เดี ย วกั น พระ
จักรพรรดิทรงสถาปนาพระภิกษุ งอ่ ฉัน่ หลู เป็ นประมุขสงฆ์และแต่งตั้งเป็ นที่ปรึกษา
ของพระองค์ดว้ ย
พระพุ ทธศาสนามีความเจริญรุ่ งเรืองสู งสุ ดในสมัยราชวงศ์ไล เพราะเป็ น
ศาสนาเดียวที่ได้รบั การอุปถัมภ์จากกษัตริย์ รัชสมัยพระเจ้าไลไทต๋อง (พ.ศ.๑๕๗๑
- ๑๕๘๘) โปรดให้สร้างวิหาร ๙๕ แห่ง รัชสมัยพระเจ้าไลทันต๋อง (พ.ศ.๑๕๙๗ -
๑๖๑๕) ทรงเป็ นพระมหากษั ตริย์ที่ ทรงเอาใจใส่ กิจการบ้านเมืองและทะนุ บารุ ง
พระพุทธศาสนา โดยเจริญรอยตามพระเจ้าอโศกมหาราช
เวียดนามตกเป็ นเมืองขึ้ นของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ.๑๙๕๗ - ๑๙๗๔ จึงทาให้
พระพุทธศาสนาเสื่ อมโทรมไปมาก เพราะกษั ตริยร์ าชวงศ์หมิงของจีนส่งเสริมแต่
ลัทธิขงจื๊อและเต๋า จีนได้ทาลายวัดเก็บเอาทรัพย์สินและคัมภีรพ์ ุทธศาสนาไปหมด
หลังจากได้รบั เอกราชแล้วสถานการณ์พระพุทธศาสนายังไม่ดีขึ้น เพราะกษัตริย์
ราชวงศ์ใหม่ก็ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
๑๕๖

ต่ อมาปี พ.ศ.๒๐๑๔ พระเจ้าเลทั นต๋ องรวบรวมอาณาจักรจัมปาเข้าเป็ น


ดินแดนส่วนหนึ่ ง ของเวียดนามได้สาเร็จ แต่หลังจากนั้ นไม่นานคือในปี พ.ศ.๒๐๗๖
เวียดนามได้แตกแยกเป็ น ๒ อาณาจักร คื อ ฝ่ ายเหนื อ ได้แก่ ตังเกี๋ ยของตระกู ล
ตริ น ห์ (Trinh) และฝ่ ายใต้ ได้แ ก่ อานั ม ของราชวงศ์ เหงี ย น (Nguyen) ทั้ ง ๒
อาณาจักรท าสงครามกันมาเป็ นเวลา ๒๗๐ ปี ในช่ วงนี้ ต่ างฝ่ ายต่ างท านุ บ ารุ ง
พระพุทธศาสนา มีการสร้างวัดและปฏิสงั ขรณ์วดั วาอารามมากมาย
ประมาณพุ ทธศตวรรษที่ ๒๒ ชาวตะวันตกหลายประเทศ เช่น โปรตุ เกส
ฮอลันดา ฝรัง่ เศส สเปน และอังกฤษ เดิ นทางเข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนา
คริ สต์ในเวียดนาม เผยแพร่ ค าสอนอยู่ได้ ๒๐๐ ปี จนกระทั ง่ ปี พ.ศ. ๒๓๗๐ -
๒๔๐๑ ชาวเวียดนามปราบปรามพวกคริสต์อย่าง เด็ ดขาด นั กสอนศาสนาถูกฆ่า
ตายจานวนมาก และยังฆ่าชาวคริสต์ญวนอีกนั บ ๑๐๐,๐๐๐ คนด้วยเหตุการณ์นี้ทา
ให้เวียดนามกับอังกฤษขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ในที่สุด ปี พ.ศ.๒๔๐๒ อังกฤษก็เข้า
ยึดเวียดนามเป็ นเมืองขึ้ น
หลังพ้นจากการเป็ นอาณานิ คมของอังกฤษแล้ว ในปี พ.ศ.๒๔๒๖ เวียดนาม
ก็ตกเป็ นเมืองขึ้ นของฝรัง่ เศสอีก สมัยนี้ พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรมลงมาก เพราะถูก
เบี ยดเบี ยนจากพวกฝรัง่ เศส มี การห้ามสร้างวัดเว้นแต่ ได้รับอนุ ญาต จากัดสิ ทธิ
พระสงฆ์ในการรับไทยธรรม และจากัดจานวนพระภิกษุ ดว้ ย ชาวพุทธถูกกีดกัน
จากตาแหน่ งบริหารระดับสูงในหน่ วยงานราชการ ส่วนผูท้ ี่เปลี่ยนไปนั บถือศาสนา
คริสต์และโอนสัญชาติเป็ นฝรัง่ เศสจะได้รบั สิทธิ พิเศษ ยุคนี้ พระพุทธศาสนาจึงมี
ท่าทีวา่ จะสูญสิ้ นไปจากเวียดนาม
ในท่ามกลางความทุกข์ยากอันเกิดจากการตกเป็ นเมืองขึ้ นของฝรัง่ เศสนี้ เอง
ได้มีบุคคลผูห้ นึ่ งถือกาเนิ ดขึ้ นที่เวียดนามตอนกลางในปี พ.ศ.๒๔๖๙ ซึ่งต่อมาเป็ นที่
รูจ้ ักกันอย่างกว้างขวางของชาวตะวันตกในนาม ติช นั ท ฮันห์ ผูอ้ ุทิศชีวิตต่อต้าน
สงครามเพื่อสันติภาพจนได้รบั การเสนอชื่อโดยดร.มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนี ยร์ ให้เข้า
รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี พ.ศ.๒๕๑๐
ท่ านติ ช นั ท ฮันห์ ออกบวชเมื่ ออายุ ได้ ๑๖ ปี ในช่วงสงครามเวียดนาม
(พ.ศ.๒๕๐๓ - ๒๕๑๘) ท่ านออกจากวัดเพื่ อช่วยเหลื อผู ป้ ระสบภัยและรณรงค์
ต่อต้านสงคราม ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ท่ านเดิ นทางไปสหรัฐอเมริกาตามคาเชิญของ
๑๕๗

สมาพันธ์เพื่ อการสมานไมตรี ในครั้งนั้ นท่ านได้กล่ าวถึ งความเจ็ บปวดของชาว


เวียดนามอันเกิดจากผลของสงคราม การเคลื่อนไหวของท่านทาให้รฐั บาลเวียดนาม
ประกาศขู่ว่าจะจับกุ ม ด้วยเหตุ นี้ ท่ านติ ช นั ท ฮันห์ จึงไม่อาจจะกลับบ้านเกิ ดได้
ตั้งแต่บัดนั้ น ต่อมาไปปั กหลักอยู่ที่ ประเทศฝรัง่ เศส สร้างสถานที่ ปฏิบัติธรรมคื อ
หมูบ่ า้ นพลัมขึ้ นในปี พ.ศ.๒๕๒๕ และพานักอยูท่ ี่นัน่ ตราบกระทัง่ ปั จจุบนั
หลังจากที่พระพุทธศาสนาได้รบั ผลกระทบจากการยึดครองของฝรัง่ เศส จน
มีท่าทีวา่ จะสูญสิ้ นไป ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ก็ได้รบั การฟื้ นฟูขึ้นใหม่ มีการจัดตั้งสมาคม
พระพุ ทธศาสนาศึ กษา ขึ้ นหลายแห่ งที่ เมื องไซง่อน เมื องเว้ (อานั ม) และเมื อง
ฮานอย โดยมุ่งเน้ นด้านการศึกษาและสังคมสงเคราะห์ มีการปฏิรูปพระวินัยของ
สงฆ์และส่งเสริมให้พระภิกษุ ศึกษาพระพุทธศาสนาแบบใหม่ ได้จดั พิมพ์วารสารและ
แปลคัมภี ร์ต่างๆ ทั้งฝ่ ายมหายานและเถรวาท การฟื้ นฟู พระพุทธศาสนาครั้งนั้ น
ประสบความสาเร็จมาก สามารถเปลี่ยนความคิดของปั ญญาชนผูผ้ ิดหวังจากวัตถุ
นิ ยมตะวันตก ให้หนั มาสนับสนุ นพระพุทธศาสนาได้มากมาย
ในปั จจุบนั ชาวเวียดนามนั บถือพระพุทธศาสนา ลัทธิเต๋า และขงจื๊อ เป็ นการ
นั บถือแบบผสมผสาน มีการเปิ ดสอนพระพุทธศาสนาขึ้ น ณ มหาวิทยาลัยวันฮันห์
จัดตั้งขึ้ นโดยสหพุทธจักรเวียดนาม ปั จจุบนั เปิ ดสอน ๔ คณะ คือ คณะพุทธศาสตร์
และบูรพาวิทยา คณะอักษรศาสตร์และมนุ ษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และคณะ
ภาษาศาสตร์ โดยคณะพุ ทธศาสตร์ และบูรพาวิทยา มี ๙ ภาควิชา คื อ ภาควิชา
พุ ท ธปรั ช ญา วรรณคดี พ ระพุ ท ธศาสนา ประวั ติ ศ าสตร์ พ ระพุ ท ธศาสนา
พระพุทธศาสนาทัว่ ไป พระพุ ทธศาสนาในเวียดนาม ปรัชญาตะวันออก ปรัชญา
อินเดีย ปรัชญาจีน และปรัชญาตะวันตก
๖. ประเทศอินโดนีเซีย
อิ น โดนี เซี ย (Indonesia) มี ชื่ อ เป็ นทางการว่ า สาธารณรัฐอิ น โดนี เซี ย
(Republic of Indonesia) เป็ นประเทศหมู่เกาะที่ ใหญ่ ที่ สุดในโลก มีเมืองหลวงชื่อ
จาการ์ตา และเป็ นเมื องที่ ใหญ่ ที่ สุ ด มี ประชากรประมาณ ๒๒๒,๗๘๑,๐๐๐ คน
(พ.ศ.๒๕๔๘) นั บถือศาสนาอิสลาม ๘๗% ศาสนาคริสต์ ๙.๕% ศาสนาพราหมณ์-
ฮินดู ๑.๘% ศาสนาพุทธ ๑.๓% ประเทศอินโดนี เซียเป็ นประเทศที่มีมุสลิมมากที่สุด
ในโลกคื อประมาณ ๑๙๓,๘๑๙,๔๗๐ คน ชาวมุ สลิ มเหล่ านี้ มี ความเคร่งครัดต่ อ
๑๕๘

ศาสนามาก ในวันฮารีรายอ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ที่ผ่านมา มีผูเ้ ข้าร่วมประกอบ


ศาสนกิจที่มสั ยิดหลายล้านคน
แม้ในปั จจุบันอินโดนี เซียจะเป็ นประเทศมุสลิม แต่ในอดีตพระพุทธศาสนา
มหายานเคยเจริ ญมาก่ อน มี อนุ สรณ์ สถานส าคัญที่ บ่ งบอกถึ งความรุ่งเรืองของ
พระพุ ท ธศาสนา คื อ โบโรบุ ดุ ร์ (Borobudur) หรื อบรมพุ ท โธ ซึ่ งเป็ นสถานที่
ศักดิ์สิทธิ์ และเป็ นสิ่งมหัศจรรย์แห่งหนึ่ งของโลก ตั้งอยู่ในที่ ราบเกตุ (Kedu) ภาค
กลางของเกาะชวา มีรูปทรงคล้ายกับพุทธวิหารที่ พุทธคยา แต่กดให้แบนลง ฐาน
เป็ นรูปสี่ เหลี่ ยมจัตุรัสสู ง ๔๒ เมตร มีขนาดรวม ๑๒๓ ตารางเมตร ภายหลังถู ก
ฟ้ าผ่ าและภู เขาไฟระเบิ ดจึงท าให้ความสู งลดลงเหลื อเพี ยง ๓๑.๕ เมตร หิ นที่ ใช้
ก่อสร้างและสลัก เป็ นหินที่ได้จากลาวาภูเขาไฟประมาณ ๕๕,๐๐๐ ตารางเมตร
ดร.กรอม (Krom) กล่าวว่า "โบโรบุ ดุร์" มาจากคาว่า "ปะระ + พุทธ" ดร.
สตัทเตอ-ไฮม์ (Statterheim) สันนิ ษฐานว่า "บุดุร" มาจากคาว่า "บุดิว" (Budue)
ในภาษามีนังกะบัว (Minangebau) แปลว่า "เด่น ยื่นออกมา" ฉะนั้ น "โบโรบุดุร"์ จึง
ควรแปลว่า "วิหารที่เด่นอยูบ่ นยอดเขา" จานงค์ ทองประเสริฐ กล่าวว่า คาว่า "โบโร
บุ ดุร์" น่ าจะเพี้ ยนมาจากคาว่า "ปรมะ + พุ ทธ" ซึ่ งหมายถึ ง "พุทธ (วิหาร) ที่
ยิง่ ใหญ่"
พระพุทธศาสนาเข้าสู่อินโดนี เซียในตอนต้นศตวรรษที่ ๑ (ค.ศ.๑-๑๐๐ /
พ.ศ.๕๔๔-๖๔๓) ผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลระหว่างอินเดียและอินโดนี เซีย โดย
คณะพ่อค้าชาวพุทธนาเข้ามาเผยแผ่ ตั้งแต่บัดนั้ นพระพุทธศาสนาจึงค่อยๆ เจริญ
ขึ้ นและเจริญสูงสุดในช่วงราชวงศ์ไสเล็นทรา (Sailendra) ในปี พ.ศ.๑๒๙๓ - ๑๓๙๓
เหล่ากษัตริยใ์ นราชวงศ์นี้นั บถื อพระพุทธศาสนา มหายานนิ กายวัชรยาน ได้สร้าง
มหาสถูปบรมพุทโธขึ้ นในช่วงปี พ.ศ.๑๓๒๓-๑๓๗๖ มหาสถูปนี้ เป็ นอนุ สรณ์สถาน
ทางพระพุทธศาสนาอันยิง่ ใหญ่สิ่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอิทธิพลและเป็ น
แบบอย่างต่อการก่ อสร้างพุ ทธสถานในยุคต่ อมา เช่น นครวัด (Angkor Wat) ใน
ประเทศกัมพูชา เป็ นต้น
ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๒ พ่อค้าอาหรับนาศาสนาอิสลามเข้ามาเผย
แผ่ และได้ขยายไปทั ว่ ประเทศประมาณศตวรรษที่ ๑๔ ยุ คนี้ เป็ นยุ คเสื่ อมของ
พระพุทธศาสนา บรมพุทโธถูกปล่อยปละละเลยให้ถูกห้อมล้อมอยู่กลางป่ ารกชัฏ
๑๕๙

จนกระทัง่ ปี พ.ศ.๒๓๕๗ เซอร์ โทมัส แรฟึ ล (Sir Thomas Raffles) ได้คน้ พบบรมพุท
โธอี กครั้งและท าการปฏิ สังขรณ์ จนอยู่ในสภาพดี ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๕ - ๒๕๒๕
รัฐบาลอินโดนี เซียร่วมกับองค์การยูเนสโกได้ปฏิสงั ขรณ์บรมพุทโธครั้งใหญ่ และจัด
ให้เป็ นหนึ่ งในมรดกโลกอีกด้วย
ตั้ ง แต่ ศ ตวรรษที่ ๑๔ เป็ นต้ น มาซึ่ ง เป็ นช่ ว งที่ อิ ส ลามเจริ ญ รุ่ ง เรื อ ง
พุทธศาสนิ กชนชาวอินโดนี เซียอันน้อยนิ ดได้พิทักษ์รกั ษาพระพุทธศาสนาไว้มิให้
สูญสิ้ นไป มีชาวพุทธจากประเทศต่างๆเข้าไปฟื้ นฟูพระพุทธศาสนาอยู่เป็ นระยะๆ
ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ คณะสงฆ์ไทยจัดส่งพระธรรมทูตเข้าไป ได้ต้ังสานั กงานพระพุทธ
เมตตาขึ้ นที่กรุงจาการ์ตา เพื่อเป็ นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ปั จจุบนั
อินโดนี เซียมีวดั พระพุทธศาสนาอยู่ประมาณ ๑๕๐ วัด เป็ นวัดฝ่ ายมหายาน ๑๐๐
วัด วัดนิ กายเถรวาท ๕๐ วัด วัดเหล่ านี้ ส่ วนใหญ่ อยู่ในความดู แลของฆราวาส
เนื่ องจากพระภิกษุ มีอยูน่ ้อย
๔. พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
เอเชี ยตะวันตกเฉี ยงใต้ หรื อตะวันออกกลาง ประกอบด้วยอะนาโตเลี ย
(Anatolia) หมายถึ ง เอเชียไมเนอร์ (Asia Minor) เป็ นพื้ นที่ ส่วนที่ เป็ นเอเชียของ
ประเทศตุรกี ประเทศที่ เป็ นเกาะคือ ไซปรัส ในทะเลเมดิเตอร์เรเนี ยน ดินแดนใน
ตะวันออกใกล้ ได้แก่ ประเทศซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน เลบานอน และอิรกั ดินแดน
ในคาบสมุทรอาหรับ ได้แก่ ประเทศซาอุดิอารเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน
กาตาร์ โอมาน เยเมน อาจรวมถึ งคู เวต อิ ห ร่ านและอั ฟ กานิ สถาน ปั จจุ บั น
ตะวันออกกลางเป็ นถิ่ นมุ สลิม สาหรับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ในดิ นแดน
แห่งนี้ จะกล่าวถึงประเทศอัฟกานิ สถานเพียงประเทศเดียว เพราะมีหลักฐานเด่นชัด
ว่าพระพุทธศาสนาเคยรุง่ เรืองมาก่อน
ประเทศอัฟกานิสถาน
ประเทศอั ฟ กานิ สถานมี ชื่ อ อย่ างเป็ นทางการว่ า สาธารณรัฐอิ ส ลาม
อัฟกานิ สถาน (Islamic Republic of Afghanistan) มีเมืองหลวงชื่อ คาบูล และเป็ น
เมื องที่ ใหญ่ ที่ สุ ด มี ประชากรประมาณ ๓๑,๐๕๖,๙๙๗ คน (พ.ศ.๒๕๔๙) ชาว
อัฟกานิ สถานในปั จจุบันส่วนมากนั บถื อศาสนาอิสลามคือ ๙๘% เป็ นนิ กายสุ หนี่
๑๖๐

๘๓.๒% นิ กายชีอะห์ ๑๔.๙% นั บถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ๑.๔% ศาสนาพราหมณ์


หรือฮินดู ๐.๔% และศาสนาคริสต์ ๐.๑%
อัฟกานิ สถานเป็ นที่ รู จ้ ักของชาวพุ ทธไปทั ว่ โลก เมื่ อครั้งที่ กลุ่ มตาลิ บั น
(Taliban) ซึ่งเป็ นมุ สลิ มนิ กายสุ หนี่ ได้ท าลายพระพุ ทธรูปยืนโบราณสององค์ใน
เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ท่ามกลางการประณามของยูเนสโก และพุทธศาสนิ กชน
ทัว่ โลก พระพุทธรูปองค์ใหญ่ สูง ๕๓ เมตร และองค์เล็ กกว่าสู ง ๓๘ เมตร มีอายุ
ประมาณ ๒,๐๐๐ ปี แกะสลักอยู่บนหน้ าผาในเมื องบามิ ยัน ทางภาคกลางของ
อัฟกานิ สถาน
แม้อัฟกานิ สถานในปั จจุบันจะมีประชากรส่วนใหญ่ นั บถื อศาสนาอิสลาม
แต่ ในอดี ตที่ แห่ งนี้ เคยเป็ นฐานที่ มัน่ ของพระพุ ทธศาสนามาเป็ นเวลานานกว่า
๒,๐๐๐ ปี และยังเป็ นเส้นทาง ผ่านของพระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้าไปสู่เอเชีย
กลาง จีน เกาหลี ญี่ ปุ่น มองโกเลียอี กด้วย พระสงฆ์จากเอเชียกลาง จีน เกาหลี
ญี่ปุ่น และมองโกเลีย ใช้เส้นทางนี้ ผ่านเข้ามาแสวงบุญในอินเดีย ซึ่งเรียกเส้นทาง
สายนี้ ว่า เส้นทางสายไหม นอกจากนี้ อัฟกานิ สถานยังเป็ นทางผ่านของหลายอารย
ธรรม เช่น กรีก อิหร่าน เปอร์เซียอีกด้วย
พระพุ ท ธศาสนาเคยเจริ ญ รุ่ งเรื อ งอย่ างมากในอั ฟ กานิ สถาน เพราะ
โบราณสถานจานวนมากทัว่ ประเทศเป็ นของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะที่เมืองบามิ
ยั น จาลาลาบาด กั น ทาหาร์ แ ละกาซมี ในสมั ย พุ ท ธกาลเรี ย กดิ น แดนของ
อัฟกานิ สถานนี้ ว่า แคว้นคันธาระ และ กัมโพชะ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
เรียกว่า แคว้นโยนก หรือเยาวนะ ส่วนในสมัยพระถังซัมจัง๋ เรียกดิ นแดนแถบนี้ ว่า
แคว้นอุทยาน แคว้นคันธาระ และแคว้นกปิ ศะ เป็ นต้น
พระพุทธศาสนาเข้าไปในอัฟกานิ สถานตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือเมื่อคราวที่
สองพ่อค้า ชื่อ ตปุสสะ และภัลลิกะ ได้พบพระพุทธองค์และประกาศตนว่าเป็ นพุทธ
มามกะ ก่อนกลับพ่อค้าทั้งสองขอเส้นพระเกศาไปประดิษฐานในพระเจดียท์ ี่แคว้น
อุทยาน ซึ่งอยู่ในเขตของอัฟกานิ สถานในปั จจุบัน นอกจากนี้ พระเจ้าปุกกุสาติแห่ง
นครตักสิ ลา ก็ เป็ นพระสหายของพระเจ้าพิ มพิ สารแห่ งนครราชคฤห์ จึ งท าให้
พระองค์เป็ นพุทธมามกะด้วย และเนื่ องจากเมืองตักสิลาในอดีต ซึ่งปั จจุบันอยู่ใน
๑๖๑

เขตประเทศปากีสถาน มีพรมแดนติดกับอัฟกานิ สถาน จึงทาให้พระพุทธศาสนาเผย


แผ่เข้าสู่อฟั กานิ สถานอีกเส้นทางหนึ่ ง
พระพุทธศาสนาแถบนี้ รุ่งเรืองมากในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช (King
Ashoka) ในครั้งนั้ น พระมัชฌันติกเถระและคณะได้นาศาสนาพุทธมาเผยแผ่ โดยไป
จาพรรษาอยูท่ ี่เมืองมถุราและเมืองกิปิน (Kipin) ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนานิ กายเถร
วาทแก่ชนพื้ นเมือง
ในสมัยพระเจ้ามิลินท์ (King Milinda) หรือพระเจ้าเมนั นเดอร์ (Menander)
หรือชื่อในภาษากรีกว่า เมนั นดรอส (Menandros) ทรงเป็ นกษั ตริย์เชื้ อสายกรีก
ครองราชย์ ร าวปี พ.ศ. ๕๐๐ เศษ อาณาจั ก รของพระองค์ ค รอบคลุ ม พื้ นที่
อัฟกานิ สถาน ปากีสถาน อินเดียตอนเหนื อ ทิ ศใต้ของอุซเบกิสถาน และบางส่วน
ของอิหร่าน ทรงทาให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองใน ดินแดนแห่งนี้ และยุคนี้ มี
พระพุทธปฏิมาแทนองค์พระพุทธเจ้าเป็ นครั้งแรก โดยสกุลช่างคันธาระ (Gandhara
Style) อันเป็ นการผสมผสานของอารยธรรมกรีก โรมัน และแนวคิดพระพุทธศาสนา
ในสมัยพระเจ้ากนิ ษกมหาราช (King Kanishka : พ.ศ.๖๒๑ - ๖๔๔) อาณา
เขตของพระองค์ ครอบคลุ มแม่ น้ ากาบู ลของอั ฟกานิ สถาน คั นธาระ สิ น ธุ์ ของ
ปากีสถาน กัศมีร์ (แคชเมียร์) รัฐมัธยมประเทศของอินเดีย รวมถึงสาธารณรัฐใน
เอเชียกลางบางประเทศ พระองค์ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมัน่ คง ทรงให้
ความอุ ปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๔ แม้ว่าฝ่ ายเถรวาทจะไม่ยอมรับ แต่ก็ มีส่วน
สาคัญในการรวบรวมพระธรรมวินัยให้เป็ นหมวดหมู่ และได้เผยแผ่ไปทัว่ เอเชียกลาง
อิหร่านบางส่วน จีนและเกาหลี
พระพุทธศาสนาเป็ นศาสนาประจาชาติ ของอัฟกานิ สถานอย่างเต็ มตัวใน
สมัยพระเจ้ากนิ ษกมหาราช ทัว่ ทั้งประเทศมี การสร้างพุทธสถานขึ้ นมามากมาย
พระสงฆ์ก็ เพิ่ มจ านวนมากขึ้ นและมี หลายรู ปจาริกไปเผยแผ่ ในเอเชี ยกลางด้วย
ต่อมาที่ หุ บเขาบามิยัน (Bamiyan) มีการสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และเล็ กขึ้ นที่
หน้าผาสูงชัน แต่ละองค์ใช้เวลาสร้างไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ปี และมีการขุดเจาะถ้าขึ้ น
ตามหน้าผามากมายเพื่อเป็ นที่พกั สงฆ์
เนื่ องจากอัฟกานิ สถานเป็ นจุดศูนย์กลางระหว่างอาหรับกับอินเดีย และเป็ น
ทางผ่านไปสู่จีน จึงถูกรุกรานจากศัตรูอยู่เสมอ เช่น กรีก มองโกล ฮัน่ ขาว อาหรับ
๑๖๒

อังกฤษ และโซเวียต เป็ นต้น โดยเฉพาะกองทัพมุสลิมอาหรับ ได้ทาลายพุทธสถาน


อย่างหนั ก บังคับผูค้ นให้นับถือศาสนาอิสลาม ในปี พ.ศ.๑๒๕๒ กษัตริยแ์ ห่งหุบเขา
บามิยนั และผูป้ กครองเมืองอื่นๆจึงต้องจายอมเปลี่ยนศาสนาเพื่อความอยู่รอด เมื่อ
ผูน้ าหันไปนับถืออิสลาม จึงทาให้สถานการณ์พระพุทธศาสนายิง่ เสื่อมลงอย่างหนั ก
หลังการยึดครองของมุสลิมล่วงไปเพียง ๑๐๐ ปี อัฟกานิ สถานก็กลายเป็ นประเทศที่
ปราศจากพระสงฆ์โดยสิ้ นเชิง สังฆารามมากกว่า ๓,๐๐๐ แห่งตามรายงานของพระ
ถังซัมจัง๋ เหลื อแต่ ซากโบราณสถานเท่ านั้ น ในปั จจุ บันอัฟกานิ สถาน จึงมี ชื่อว่า
สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิ สถาน
๕. พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง
เอเชียกลางเป็ นจุดเชื่อมระหว่างเอเชียและยุโรปเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย
ประเทศต่ างๆ ดั งนี้ คื อ คาซัคสถาน (Kazakhstan) อุ ซเบกิ สถาน (Uzbekistan)
ทาจิ กิ ส ถาน (Tajikistan) เติ ร์ ก เมนิ สถาน (Turkmenistan) และคี ร์ กี ซ สถาน
(Kyrgztan) ปั จจุบนั เอเชียกลางเป็ นถิ่นอิสลาม แทบไม่มีพุทธศาสนิ กชนอยูเ่ ลย แม้
ในอดีตพระพุทธศาสนาจะเคยเจริญรุ่งเรืองในแถบนี้ มาก่อน เพราะประเทศเหล่านี้
อยู่บนเส้นทางสายไหม อันเป็ นเส้นทางการค้าระหว่างยุโรปและเอเชียและเคยเป็ น
เส้นทางการเผยแผ่ศาสนาด้วยโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา
เอเชี ยกลางรับพระพุ ทธศาสนามาตั้งแต่ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชและ
เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระเจ้ากนิ ษกมหาราช ประมาณปี พ.ศ.๖๐๐ นอกจากนี้
เอเชี ย กลางยั ง เป็ นแหล่ ง เผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนาเข้ า ไปสู่ ป ระเทศจี น ด้ ว ย
พระพุทธศาสนารุ่งเรืองอยูใ่ นแถบนี้ เป็ นเวลาพันปี จนกระทัง่ ประมาณปี พ.ศ.๑๒๐๐
เป็ นต้น ไป กองทั พ อิ สลามเข้าสู่ เอเชี ยกลาง เมื่ อตี ได้แล้วก็ บั งคั บให้คนแถบนี้
เปลี่ยนเป็ นมุสลิม
ข้อมูลประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียกลางนั้ นมีอยูค่ ่อนข้างน้อย จึง
กล่ าวถึ งโดยรวมๆ ไม่ แยกบรรยายในแต่ ละประเทศ หลั ก ฐานความเจริ ญ ของ
พระพุทธศาสนาในแถบนี้ ถูกค้นพบโดยนั กโบราณคดีรสั เซียเมื่อประมาณปี ๒๕๐๐
กว่าๆ เช่ น ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ กรมโบราณคดี รัสเซี ยได้ค ้นพบเมื องโบราณทาง
พระพุ ทธศาสนาหลายแห่ ง ณ อุ ซเบกิ สถาน ซึ่ งกระจายอยู่ตามเมื องต่ างๆ ทาง
ภาคใต้ติ ด กั บ อั ฟ กานิ สถาน เช่ น เมื อ งสมารกั น ด์ (Smarkand) เมื อ งบุ ขารา
๑๖๓

(Bukhara) เมืองเทอร์เมซ (Termez) เป็ นต้น นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบพระพุทธรูป


แกะสลัก มีพระอัครสาวกทั้งสองยืนเคียงข้างพระศาสดา ซึ่งบ่งบอกว่าเป็ นนิ กายเถร
วาท และยังค้นพบพระพุทธรูปที่มีพระโพธิสตั ว์ยืนเคียงข้าง ซึ่งบ่งบอกว่าเป็ นนิ กาย
มหายาน
ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ปี เดี ยวกั น นี้ เอง นั ก โบราณคดี ชาวรัสเซี ย ยังค้น พบ
พระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่ มีขนาดความยาว ๑๔ เมตร สูง ๒ เมตรครึ่ง ที่วดั อชินะ
เทเป (Ajina-tepe) อยู่ขา้ งเชิงเขาทางทิ ศใต้ของประเทศทาจิกิสถาน และยังได้พบ
พระพุทธรูปองค์เล็กอีกหลายร้อยองค์ บางองค์อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ชาวบ้านเรียก
ภู เขานี้ ว่ า ภู เขาบ้ า นแห่ งพระพุ ท ธเจ้า พั น องค์ (Mountain of one thousand
Buddhas Houses) นั กโบราณคดีเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้สร้างราวปี พ.ศ.๘๐๐
ในยุคที่กุสาณะปกครองเอเชียกลาง ปั จจุบันได้ต้งั แสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์กรุงดูชานเบ
(Dushanbe) ประเทศทาจิกิสถาน
นั กโบราณคดีชาวรัสเซียยังได้เข้าขุดค้นโบราณสถานสาคัญแห่งหนึ่ งชื่อว่า
เกียอูร กาลา (Giaur Kala) ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งอยูท่ างตอนใต้ของประเทศเติรก์ เมนิ
สถาน พบเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ราวเมตรเศษฝั งอยู่ใต้ดิน นอกจากนี้ ยังพบ
ชิ้ นส่วนพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์จานวนมากกระจัดกระจายกันอยู่ทัว่ บริเวณที่
ขุดโดยรอบ ปั จจุบันพระพุทธรูปได้ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ และยังพบสถูป ๒
แห่งที่เมืองเมิฟ (Merv) ด้วย
จากความเป็ นมาของพระพุทธศาสนาในเอเชีย สรุปได้ ดังนี้
พระพุทธศาสนาในเอเชียยุคปั จจุบนั เจริญรุง่ เรืองอยูใ่ นเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้และเอเชียตะวันออก ซึ่งเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย พม่า ลาว
กัมพู ชา เวียดนาม ในแถบนี้ ประชาชนส่ วนใหญ่ นั บถื อนิ กายเถรวาท ยกเว้น
ประเทศเวียดนามส่ วนใหญ่ นั บถื อนิ กายมหายาน ส่ วนเอเชี ยตะวันออก ได้แก่
ประเทศจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ทิเบต ญี่ปุ่น เป็ นต้น ในแถบนี้ ประชาชนส่วนใหญ่
นั บถื อนิ กายมหายาน ในเอเชียใต้ก็ มีบางประเทศที่ พระพุ ทธศาสนายังเจริญอยู่
เช่น ประเทศศรีลงั กา และภูฏาน เป็ นต้น
พระพุ ทธศาสนาเข้าไปสู่ ประเทศต่ างๆ ในแถบเอเชี ยไม่ พร้อมกั น บาง
ประเทศก็ เข้าไปตั้งแต่เมื่ อครั้งพุทธกาล โดยเฉพาะประเทศที่ อยู่ใกล้อินเดี ย เช่น
๑๖๔

ประเทศเนปาล บั งกลาเทศ อั ฟ กานิ สถาน เป็ นต้น แต่ ส่ วนใหญ่ แ ล้วได้รั บ


พระพุทธศาสนาครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จากการจัดส่งสมณทู ต ๙
สาย ไปประกาศพระศาสนา
หลังจากแต่ละประเทศรับพระพุ ทธศาสนาไปแล้ว ก็ มีท้ังยุคเจริญและยุค
เสื่อม ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา มีปัจจัยสาคัญมาจากทั้งภายนอกและภายใน
ซึ่งสาเหตุภายในนั้ นสาคัญที่สุด คือ หากพุทธบริษัทไม่ได้เป็ นชาวพุทธที่แท้จริง ไม่
หมัน่ ศึกษาทั้งปริยตั ิ และปฏิบัติ ก็ ไม่มีปฏิเวธ คื อการบรรลุธรรมระดับต่างๆ จึง
เป็ นเหตุให้มีศรัทธาไม่มนั ่ คง และส่งผลเป็ นความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในที่สุด
ปั จจัยภายนอกเป็ นเพียงปลายเหตุเท่ านั้ น ไม่ว่าจะเป็ นการเมือง หรือการรุกราน
จากต่างศาสนา เป็ นต้น แต่ถา้ พุทธบริษัทเป็ นชาวพุทธที่แท้จริงแล้ว ก็จะส่งผลให้
พระพุทธศาสนารุง่ เรืองยิง่ ๆ ขึ้ นไป ภัยใดๆ ก็ไม่สามารถทาลายได้
อาจารย์ขอจบจดหมายฉบับนี้ ไว้เพียงเท่านี้

ขอให้พระรัตนตรัยคุม้ ครอง
อาจารย์
๑๖๕

จดหมายฉบับที่ ๖ บ้านกาญจนรัชต์
นครราชสีมา

พิชญา ศิษย์รกั
จดหมายฉบั บ นี้ อาจารย์ ต้ั ง ใจจะให้ เป็ นฉบั บ สุ ดท้ า ย ที่ จะพู ด ถึ ง
ประวัติ ศาสตร์พระพุ ทธศาสนา จากจดหมายฉบับแรกถึ งฉบับที่ ๕ ได้กล่ าวถึ ง
ประวัติ ศาสตร์พระพุ ทธศาสนาตั้งแต่ สมัยพุ ทธกาล หลังพุ ทธกาล ซึ่ งเป็ นช่วงที่
พระพุ ทธศาสนาเข้าสู่ ประเทศต่ าง ๆ ในทวีปเอเชี ย จดหมายฉบับนี้ จะกล่ าวถึ ง
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก เมื่อมองภาพรวมพระพุทธศาสนาใน
ตะวันตก
สถานการณ์ พระพุ ท ธศาสนาในตะวันตกยุ คปั จจุ บั นมี ความตื่ นตั วและ
เจริญเติบโตรวดเร็วมาก จากการศึกษาของเฮนรี ซี.ฟิ นนี่ (Henry C. Finney) พบว่า
ในประเทศเยอรมนี มี อัตราการเพิ่ มขึ้ นของศู นย์ นั่งสมาธิ ทางพระพุ ทธศาสนา
ประมาณ ๑๐ เท่าตัวภายในระยะเวลา ๒๒ ปี โดยในปี พ.ศ.๒๕๑๘ มีศูนย์นัง่ สมาธิ
อยู่ประมาณ ๔๐ ศูนย์ แต่ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ มีจานวนเพิ่มขึ้ นมากกว่า ๔๐๐ ศูนย์
ในสหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษมีอตั ราการเติบโตประมาณ ๔.๕ เท่าภายใน
ระเวลา ๑๘ ปี กล่าวคือ ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ มีศูนย์นัง่ สมาธิอยูป่ ระมาณ ๗๔ ศูนย์ แต่
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ มีจานวนเพิ่มขึ้ นเป็ น ๓๔๐ ศูนย์
ในประเทศฝรัง่ เศสมีการสารวจความเห็นของเยาวชนใน พ.ศ.๒๕๔๐ พบว่า
มีเยาวชน ถึ ง ๕,๐๐๐,๐๐๐ คนที่ มีความพึงพอใจต่อคาสอนของพระพุ ทธศาสนา
ส่ วนประเทศสหรัฐ อเมริ ก า ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ มี พุ ท ธศาสนิ กชนอยู่ ป ระมาณ
๒๐๐,๐๐๐ คน แต่ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ มี จานวนเพิ่ มขึ้ นเป็ น ๓,๐๐๐,๐๐๐ คน หรือ
เพิ่มขึ้ น ๑๕ เท่าตัวภายในระยะเวลา ๔๔ ปี นอกจากในตะวันตกแล้ว ประเทศใน
แถบโอเชียเนี ย เช่น ออสเตรเลีย เป็ นต้น เฮนรี ซี.ฟิ นนี่ พบว่ามีอตั ราการเติบโตของ
พระพุทธศาสนาสูงเช่นกัน คือ ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีพุทธศาสนิ กชนอยู่ ๓๕,๐๐๐ คน
แต่ ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ เพิ่ มขึ้ นเป็ น ๔ เท่ าตัวคื อประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ คน และจาก
ผลการวิจยั อัตราการเติบโตของศาสนาต่างๆ ในประเทศออสเตรเลียระหว่างปี พ.ศ.
๑๖๖

๒๕๒๙ - พ.ศ.๒๕๔๔ พบว่าพระพุทธศาสนามี อัตราการเติ บโตรวดเร็วที่ สุด แม้


จานวนพุทธศาสนิ กชนในตะวันตกและโอเชียเนี ยปั จจุบนั จะยังมีน้อย เมื่อเทียบกับ
จานวนประชากรและจ านวนผู น้ ั บถื อศาสนาเทวนิ ยม ในแต่ ละประเทศ แต่ จาก
แนวโน้ มของการเติ บโตอั น รวดเร็ ว ดั ง กล่ า ว เป็ นไปได้ ว่ า ในอนาคตจะมี
พุทธศาสนิ กชนเพิ่มขึ้ นอีกมาก นอกจากนี้ โดยปกติแล้วชาวตะวันตกแม้จะมีความ
ศรัทธาในพระพุทธศาสนา หรือศรัทธาในศาสนาอื่นนอกเหนื อจากศาสนาเดิมของ
ตน ก็ มักจะไม่ เปิ ดเผยตนเอง เช่น เซอร์ เอดวิน อาร์โนลด์ ปราชญ์ ชาวอังกฤษ
ผูเ้ ขียนหนั งสือประที ปแห่งเอเชียซึ่งนิ ยมอ่านกันมากในตะวันตก เขาจะระมัดระวัง
มากในการประกาศตนต่อสาธารณชนถึ งความศรัทธาในพระพุ ทธศาสนาเพราะ
คริสต์ศาสนิ กชนโดยกาเนิ ดถือว่า ผูเ้ ปลี่ยนศาสนาเดิมของตนย่อมถูกประณามอย่าง
ร้ายแรง
ด้วยเหตุ นี้ จึ งยากที่ จะประเมิ น ว่าพุ ทธศาสนิ กชนในตะวันตกหรื อในโอ
เชียเนี ยจริงๆ แล้วมีอยู่จานวนเท่ าใด ทั้งนี้ เพราะผูท้ ี่ ไม่เปิ ดเผยตัวยังมีอยู่จานวน
มาก เจน เนทลิเออร์ (Jan Nattlier) กล่าวว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีชาวพุทธ
แบบ night-stand Buddhists กว่า ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ คนซึ่งชาวอเมริกันเหล่านี้ ชื่นชอบ
ค าสอนของพระพุ ท ธศาสนา บางคนก็ ใช้เป็ นหลั กในการด าเนิ นชี วิ ตแต่ ไม่ ได้
ประกาศตนว่าเป็ นพุทธศาสนิ กชน
พระพุ ท ธศาสนาเริ่ ม เป็ นที่ รู ้จั ก ของชาวตะวัน ตกอย่ างกว้างขวางเมื่ อ
ประมาณศตวรรษที่ ๑๙ นี้ เอง โดยเฉพาะในช่ วงครึ่ งหลั งของศตวรรษปราชญ์
ตะวันตกหลายท่านได้ผลิตตาราทางพระพุทธศาสนาออกมาเผยแพร่ เช่น อาร์เธอร์
โชเปนเฮาเออร์ ชาวเยอรมัน ผู ้แต่ งต ารายกย่ องพระพุ ทธศาสนาไว้อย่ างสู งส่ ง
หนั งสือของเขาสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาพระพุทธศาสนา แก่ชาวตะวันตก
จ านวนมาก ศ.ริ ส เดวิ ด ส์ ชาวอั งกฤษ ผู ้ก่ อ ตั้ งสมาคมบาลี ป กรณ์ ได้ แ ปล
พระไตรปิ ฎกและคัมภีรท์ างพระพุทธศาสนาเป็ นภาษาอังกฤษออกเผยแพร่มากมาย
ดร.เจมส์ มาร์ติน พีเบิ ลส์ ปราชญ์ชาวอเมริกันผู ้เผยแพร่หนั งสื อ Controversy at
Panadura, Or, Panadura Vadaya ซึ่งเป็ นบันทึกการโต้วาทีเรื่องพระพุทธศาสนากับ
คริสต์ศาสนา ระหว่างท่านคุณานันทเถระกับนักบวชคริสต์
๑๖๗

นอกจากนี้ ชาวตะวันตกจานวนมากรูจ้ ักพระพุทธศาสนาจากผลงานของ


เซอร์เอดวิน อาร์โนลด์ ผูเ้ ขี ยนหนั งสือประทีปแห่งเอเชียว่าด้วยพุทธประวัติซึ่งนิ ยม
อ่านกันมากในตะวันตกโดยมีสถิติการพิมพ์กว่า ๑๕๐ ครั้ง (นั บถึงปี พ.ศ.๒๔๗๐)
พระพุทธศาสนาในตะวันตกช่วงนี้ โดยส่วนใหญ่เป็ นนิ กายเถรวาท ซึ่งแพร่หลายอยู่
ในหมู่นั กวิชาการและผูส้ นใจศึ กษาจากการอ่านตารา โดยมากจะอยู่ในประเทศ
อังกฤษและเยอรมนี ทั้งสองประเทศนี้ มีปราชญ์เถรวาทอยูม่ ากมาย พระพุทธศาสนา
ยุคนี้ จึงไม่เป็ นที่รจู ้ กั ของพลเมืองทัว่ ไปในตะวันตกเท่าที่ควร
ต่อมาในศตวรรษที่ ๒๐ เมื่อพระพุทธศาสนานิ กายมหายานเข้าไปเผยแพร่
มากขึ้ น ด้วยความมีเสน่ ห์เรียบง่ายและหลากหลายในนิ กายต่างๆ ของมหายาน
ได้สร้างความสนใจแก่ชาวตะวันตกจานวนมากทั้งพลเมืองทัว่ ไปและนั กวิชาการ แม้
จะเข้าไปหลังแต่ กลับได้รับความนิ ยมมากกว่าเถรวาท จากการค้นหาข้อมูลด้วย
ระบบกูเกิล (Google) เฉพาะมหายานนิ กายเซนอย่างเดียวพบว่า มีคาว่า Zen อยูถ่ ึง
๗๔,๔๐๐,๐๐๐ รายการ ในขณะที่ นิ กายเถรวาทมี ค าว่ า Theravana อยู่ เพี ย ง
๑,๓๙๐,๐๐๐ รายการเท่านั้ น ต่างกันถึง ๕๐ กว่าเท่าหากรวมมหายานนิ กายอื่นด้วย
คงต่างกันนับ ๑๐๐ เท่า
ข้อมูลนี้ เป็ นเครื่องชี้ วัดได้อย่างหนึ่ งว่า พระพุทธศาสนานิ กายมหายานเป็ น
ที่สนใจของชาวโลกมาก ไม่วา่ จะเป็ นนิ กายรินไซเซนจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งดร.ดี ที ซู
สุกิ เป็ นผูบ้ ุกเบิกเผยแพร่รินไซเซน จากประเทศไต้หวันที่เผยแพร่โดยคณะสงฆ์วดั ฝ
อกวงซัน ซึ่งมีวดั สาขากว่า ๒๕๐ แห่งทัว่ โลก หรือเซนจากเวียดนามนาโดยท่านติช
นั ท ฮันห์ ผู ้ที่ ท าให้คนเรื อนแสนหัน มาสนใจพระพุ ทธศาสนา นอกจากนี้ ยัง มี
มหายานนิ กายนิ ชิ เร็ น ที่ รู ้จั ก กั น ดี ใ นนามองค์ ก รโซกะ กั ค ไค (Soka Gakkai
International = SGI) ซึ่งมีสมาชิกกว่า ๑๒ ล้านคนทัว่ โลก ก็เข้าไปเผยแผ่และได้ผล
อย่างดียงิ่
พระพุทธศาสนามหายานที่ สาคัญที่ สุดคื อแบบทิ เบต เพราะได้รับความ
สนใจมากที่ สุด ทั้งนี้ อาจจะเป็ นเพราะความโดดเด่นขององค์ทะไล ลามะ เท็ นซิน
กยัต โซ (The ๑๔th Dalai Lama, Tenzin Gyatso) ผู ้น าสงฆ์ แ ละประชาชนชาว
ทิ เบตในปั จจุบัน ท่ านเดิ นทางไปกว่า ๕๒ ประเทศทัว่ โลก เข้าพบผูน้ าของแต่ละ
ประเทศ เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับบรรดาผูน้ าเหล่านั้ น โดยเฉพาะ
๑๖๘

ประเทศที่ ไม่ ได้นั บถื อพระพุ ทธศาสนา ท่ านเขี ยนหนั งสื อเผยแพร่กว่า ๕๐ เล่ ม
ได้รบั รางวัลเกียรติยศกว่า ๕๗ รางวัล รวมทั้งรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ.
๒๕๓๒ ด้วยเหตุ นี้ พระพุ ท ธศาสนาทิ เบตจึ งได้รับความสนใจชาวชาวโลกมาก
โดยเฉพาะชาวตะวันตก
จาก จ าน วน ศู น ย์ (Center) พ ระพุ ท ธศ าสน าทั ่ ว โลก ใน เว็ บ ไซต์
www.buddhanet.net แสดงให้เห็นว่าอย่างชัดเจนว่า มหายานแบบทิเบตและเซน
ได้รบั ความนิ ยมสูงมากดังตารางที่แสดงในหน้าถัดไป จานวนศูนย์พระพุทธศาสนา
เหล่านี้ หมายถึ งวัดบ้าง ศูนย์นั่งสมาธิ บา้ ง เป็ นองค์กรทางพุทธศาสนาอื่ นๆ บ้าง
ข้อ มู ล ที่ ย กมานี้ เป็ นเพี ย งส่ ว นหนึ่ งซึ่ งผู ้จั ด ท าเว็ บ ไซต์ www.buddhanet.net
รวบรวมได้ ในความเป็ นจริงมีศูนย์พระพุทธศาสนาอีกจานวนไม่น้อยที่ ไม่ได้แจ้ง
ข้อ มู ล ไว้ นอกจากนี้ ยังมี บ างเว็ บ ไซต์ ให้ข ้อมู ล เฉพาะนิ กายได้ล่ าสุ ด กว่ า แต่
เนื่ องจากว่าเว็บไซต์เหล่านั้ นไม่ได้ให้ขอ้ มูลครอบคลุ มทุ กนิ กาย ด้วยเหตุนี้จึงใช้
ข้อมูลจากเว็บไซต์นี้เป็ นหลัก
ประวัตศิ าสตร์พระพุทธศาสนาในตะวันตก
ชาวตะวันตกมีโอกาสสัมผัสถิ่ นพระพุทธศาสนาครั้งสาคัญ ในสมัยที่ พระ
เจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรีกกรีฑาทัพบุกอินเดียในระหว่างปี ๓๒๖ - ๓๒๓
ก่อนคริสต์ศตวรรษ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๑๗ - ๒๒๐ หรือหลังพุทธปรินิพพานได้ ๒๑๗
- ๒๒๐ ปี ซึ่งในขณะนั้ นพระพุทธศาสนาดั้งเดิมคือเถรวาทกาลังเจริญรุ่งเรืองอยูใ่ น
อินเดีย ระยะเวลาประมาณ ๓ ปี แห่งการมาของกองทัพกรีกครั้งนั้ น เป็ นไปได้ว่ามี
การศึกษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันพอสมควร ทหารกรีก คงได้สมั ผัส
พระพุทธศาสนาผ่านวิถีชีวติ ของชาวพุทธในอินเดียสมัยนั้ นไม่มากก็น้อยและคงเล่า
ขานต่อๆ กันไปในยุโรปหลังจากที่ทหารเหล่านั้ นกลับไปยังอาณาจักรมาซิโดเนี ยของ
ตนแล้ว
เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ยกทัพกลับแล้ว จันทรคุ ปต์ก็ สามารถยึดเมือง
ปาฏลีบุตรจาก "พระเจ้านั นท์" แห่งกรีกได้สาเร็จและปราบดาภิเษกตนเองเป็ นปฐม
กษัตริยแ์ ห่งราชวงศ์โมริยะในเมืองปาฏลีบุตร เมื่อปี พ.ศ.๒๒๒ และได้ปกครองอยู่
นาน ๒๖ ปี ในรัชสมัยของพระองค์ เมกาสเธเนส (Megasthenes) เอกอัครราชทู ต
จากเมืองอเล็ กซานเดรียแห่งกรีก ได้เดิ นทางมายังเมืองปาฏลี บุตร และได้บันทึ ก
๑๖๙

เรื่องพราหมณ์และสมณะทั้งหลายในอินเดียไว้ นั กเขียนกรีกและละตินหลายท่าน
ใช้บนั ทึกนี้ อ้างอิงเรื่องราวในอินเดีย
เมื่ อถึ งยุ คของพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.๒๗๖ - ๓๑๒) ได้มี การจัดส่ ง
สมณทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่างๆ เสถียร โพธิ นันทะ ปราชญ์
ด้านพระพุทธศาสนา กล่าวว่า ในครั้งนั้ นพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปสู่ประเทศกรีก
ในทวีปยุโรปด้วย๑
ค าว่า พระพุ ทธเจ้า ปรากฏครั้งแรกในเอกสารของกรี ก เมื่ อกาลผ่ านไป
๕๐๐ ปี หลังจากเมกาสเธเนส คลีเมนท์ (clement) เสียชีวติ ซึ่งเขียนพรรณนาไว้เมื่อ
พ.ศ.๗๔๓ ว่า "ชาวอินเดีย ทั้งหลายได้ปฏิบัติเคร่งครัดซึ่งศีลของพระพุทธเจ้าและ
เคารพนั บถื อพระพุ ทธเจ้าดุ จเทพเจ้า..." หลังจากนั้ นชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับรู ้
พระพุ ทธศาสนาอี กจนกระทัง่ พ.ศ.๑๗๙๗ นั กบวชวิลเลม แวน ลุ ยส์โบรก และ
นั กบวชนิ กายฟรานซิสแกน ผูเ้ ดิ นทางไปอยู่ในเมืองคะราโกรัมนาน ๖ เดื อน ได้
เขี ยนหนั งสื อชื่ อ Itinerarium บรรยายเรื่ องภิ กษุ ลามะในประเทศทิ เบตได้อย่ าง
ถูกต้องพร้อมกล่าวถึงบทสวดมนต์ ...โอม มณี ปั ทเม หุม...ด้วย
อย่างไรก็ ตาม ชาวตะวันตกทราบเรื่องราวพระพุ ทธศาสนาโดยละเอี ยด
ถูกต้องสมบูรณ์จากหนั งสือ Description of the World ของมาร์โค โปโล (Marco
Polo) ซึ่งเดิ นทางไปอยู่ในประเทศจีนนานถึ ง ๑๖ ปี ระหว่าง พ.ศ.๑๘๑๘ - พ.ศ.
๑๘๓๔ ได้พบพุทธศาสนิ กชาวจีน มากมาย เขาเขียนไว้วา่ "ตาบลซาจู อยูใ่ นเมืองตัง
กุก ประชาชนทั้งหลายนั บถื อพุทธปฏิมา ยกเว้นชาวเตอร์ก และพวกซะราเซนบาง
คนที่เป็ นคริสเตียน ประชาชนที่นับถือพุทธปฏิมาเหล่านี้ มีภาษาพูดของตัวเอง ไม่
ประกอบการค้าขาย เลี้ ยงชีพด้วยการเพาะปลูกธัญพืช มีภิกษุ และวัดมากหลาย วัด
ทั้งหลายมีพุทธปฏิมาแบบต่างๆ ประชาชนเคารพนั บถือพุทธปฏิมาเหล่านั้ นอย่าง
ท่วมท้นหัวใจ..."
เมื่อ มาร์โค โปโล เดินทางกลับจากประเทศจีนมาถึ งประเทศอิตาลี เขาได้
เล่าเรื่อง ดังกล่าวแก่ชาวอิตาลีแม้ไม่ค่อยมีคนเชื่อ แต่ภายหลังพระสันตะปาปา นิ
โคลาสที่ ๔ (Nicholas) ก็ได้จดั ส่งพวกนั กบวชไปสืบพระพุทธศาสนาในประเทศจีน
โดยท่านแรกคือ นักบวชจอห์นแห่งมอนเตคอร์วโิ น เขาพานักอยูท่ ี่จีนหลายปี และได้
ส่ งจดหมายทู ลรายงานพระสันตะปาปาถึ งความเป็ นไปของพระพุ ทธศาสนาใน
๑๗๐

ประเทศจีน หลังจากนั้ นเป็ นต้นมาก็มีการจัดส่งพวกนั กบวชคริสต์ไปเป็ นระยะๆ


เรื่องราวการเดินทางของนั กบวชเหล่านี้ ก่อให้เกิดความสนใจแก่ชาวยุโรปมาก ในปี
พ.ศ.๒๐๘๕ บาทหลวงฟรานซิสคัส ซาเวริอุส (Franciscus Xaverius) แห่งประเทศ
สเปนเดินทางมาอินเดียและอีก ๑ ปี หลังจากนั้ นได้เดินทางไปถึงกัว (Gua) ครั้งนั้ น
บาทหลวงได้พบพ่อค้าชาวญี่ปุ่นชื่อ ยาจิโร (Yagiro) พ่อค้าผูน้ ี้ เล่าให้ฟังถึงเรื่องพุทธ
ประวัติและหลักคาสอนของพระพุทธศาสนา คณะนั กบวชคริสต์จึงบันทึกเรื่องราว
เหล่านี้ รายงานกลับไปยังทวีปยุโรปทั้งหมด แต่มิได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ ส่วนมาก
จะเก็บรักษาไว้ในห้องสมุด
ต่อมาเมื่อถึงยุคล่าอาณานิ คมตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ หรือตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๔๔
เป็ นต้นไป ประเทศในแถบตะวันตกหลายประเทศทยอยกันออกล่าเมื องขึ้ น เช่น
เนเธอร์ แ ลนด์ ฝรั ่ง เศส เยอรมนี โปรตุ เกส เบลเยี่ ย ม อิ ต าลี รั ส เซี ย และ
สหรัฐอเมริกา เป็ นต้น ได้เข้ายึดครองประเทศด้อยพัฒนาในทวีปเอเชีย แอฟริกา
และโอเชียเนี ยไว้ได้มากมาย ในช่วงนี้ จึงมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปสู่
กันและกัน ชาวตะวันตกจานวนไม่น้อยได้สัมผัสพระพุทธศาสนาในยุคนี้ นอกจาก
นั กล่ าเมื องขึ้ นแล้วคณะมิ ชชันนารี จากยุ โรปหลายคณะก็ ได้เดิ นทางมาเผยแพร่
คริ ส ต์ ศาสนาด้วย โดยเข้ามาในประเทศจี น ญี่ ปุ่ น ไทย ศรี ลั งกาและประเทศ
อินโดนี เซีย คริสต์ศาสนจักรหลายประเทศอาศัยฝ่ ายการเมืองเป็ นเครื่องมือบังคับ
ให้ช าวเอเชี ย ในประเทศที่ ต กเป็ นเมื อ งขึ้ นเปลี่ ยนศาสนา แต่ ถึ งกระนั้ นก็ มี
ชาวตะวันตกอยู่ไม่ น้ อยที่ เปลี่ ยนมานั บถื อพระพุ ทธศาสนา นอกจากนี้ เรื่องราว
พระพุทธศาสนาในเอเชียก็ถูกส่งกลับไปให้ชาวตะวันตกได้ศึกษากันอย่างต่อเนื่ อง
รายงานที่ คณะมิชชันนารีส่งไปกลับไปประเทศในตะวันตกนั้ น ได้จากการ
สังเกตและสนทนากับพุทธศาสนิ กชนเป็ นหลัก มิได้เป็ นความรูท้ ี่ได้จากการค้นคว้า
คัมภีร์พระพุทธศาสนา จนกระทัง่ ถึ งคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ (ค.ศ.๑๘๐๑ - ๑๙๐๐
หรือ พ.ศ.๒๓๔๔ - ๒๔๔๓) หนั งสือไวยากรณ์ภาษาบาลีเล่มแรก ที่จดั พิมพ์เผยแพร่
ในทวีปยุโรป เป็ นผลงานของเบอร์นูฟ และ แลสเซน เบอร์นูฟเป็ นคนแรกที่บอกว่า
ชาวยุโรปคนแรกที่ศึกษาภาษาบาลีคือ บาทหลวงซิมมอน เดอ ลา ลู แบร์ (Simon
de La Loubere) ซึ่งเป็ นผูร้ ่วมคณะเอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ แห่ง
ฝรัง่ เศส เดินทางมาประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ.
๑๗๑

๒๒๓๐ - ๒๒๓๑ บาทหลวงซิมมอน เดอ ลา ลู แบร์ ได้พิมพ์หนั งสือ Description du


Royaume de Siam เผยแพร่ใน พ.ศ.๒๒๓๔ โดยแทรกเรื่องประวัติพระเทวทัตและ
พระปาติโมกข์ยอ่ เอาไว้ดว้ ย ต่อมาในศตวรรษที่ ๒๐ เป็ นยุคทองของนิ กายมหายาน
ชาวพุทธนิ กายมหายานหลายนิ กายเข้าไปเผยแผ่ในตะวันตกและได้รบั การตอบรับ
เป็ นอย่างดี พุทธศาสนิ กชนในแต่ละประเทศจึงมีจานวนเพิ่มมากขึ้ นเรื่อยๆ ตราบ
กระทัง่ ปั จจุบนั
๑) ประเทศอังกฤษ
ประเทศอังกฤษมีชื่ออย่างเป็ นทางการว่า สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และ
ไอร์แลนด์เหนื อ (United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) หรื อ
นิ ยมเรียกสั้นๆ ว่า สหราชอาณาจักร (United Kingdom ย่อว่า UK) ประกอบด้วย
ดินแดน ๔ ส่วน คือ ๓ ชาติ บนเกาะบริเตนใหญ่ ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ และ
เวลส์ กับอี ก ๑ ชาติ บนเกาะไอร์แลนด์ คื อ ไอร์แลนด์เหนื อ สหราชอาณาจักรมี
ประชากรประมาณ ๖๐,๔๔๑,๔๕๗ คน (ก.ค.๒๕๔๘) ประชาชนส่วนใหญ่นั บถื อ
ศาสนาคริสต์ (ประมาณ ๗๐-๘๐ %) และจากข้อมู ลใน The ๒๐๐๑ UK census
(พ.ศ.๒๕๔๔) มี ป ระชากรจ านวนไม่ น้ อ ยที่ ไม่ มี ศ าสนา (Non-Religious) คื อ
ประมาณ ๙,๓๓๗,๕๘๐ คน หรื อประมาณ ๑๐ ล้านคน คิ ดเป็ น ๑ ใน ๖ ของ
ประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ จากการสารวจของ BBC ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ พบว่ามี
ประชากรถึง ๔๐ % คือ เกือบครึ่งหนึ่ งของประเทศ ที่ ไม่เชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระ
เจ้า (Atheists, Agnostic)
สาหรับพุทธศาสนิ กชนในประเทศอังกฤษนั้ น จากข้อมูลใน The ๒๐๐๑ UK
census (พ.ศ.๒๕๔๔) ระบุวา่ มีประมาณ ๑๕๑,๒๘๓ คน ปั จจุบนั มีองค์กรที่เกี่ยวข้อง
กับพระพุทธศาสนาประมาณ ๔๓๕ องค์กร และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้ นเรื่อยๆ
แม้ปริมาณพุ ทธศาสนิ กชน ที่ เปิ ดเผยตนเองเหล่ านี้ จะยังมี ไม่ มาก แต่ ชาวพุ ทธ
เหล่ านี้ ก็ เป็ นผู ม้ ี ศักยภาพ เพราะมี ปราชญ์ ผู เ้ ชี่ยวชาญในพระพุ ทธศาสนาอยู่
จานวนมาก โดยเฉพาะศาสตราจารย์ริส เดวิดส์ ผูก้ ่อตั้ งสมาคมบาลีปกรณ์ (The
Pali Text Society) ซึ่งทาหน้าที่ในการแปลและจัดพิมพ์คมั ภีรท์ าง พระพุทธศาสนา
คื อ พระไตรปิ ฎกและอรรถกถา เป็ นต้น โดยแปลจากภาษาบาลี เป็ นภาษาต่างๆ
๑๗๒

ออกสู่ชาวโลก ทาให้พระธรรมคาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแพร่หลายอย่าง
กว้างขวาง
ดร.ริชาร์ด มอร์ริส ประธานสมาคมนิ รุกติศาสตร์ กล่าวปราศรัยสรรเสริญ
ศ.ริส เดวิดส์ ไว้ในปี พ.ศ.๒๔๑๘ ว่า "มีปราชญ์ภาษาบาลีมากหลายในประเทศนี้
แต่ ศ.ริส เดวิดส์ เท่านั้นที่สร้างองค์กรการศึกษาภาษาบาลีขึ้นในตะวันตก ปูทางให้
พระพุทธศาสนากลายเป็ นคาพูดประจาครอบครัว แสดงคุณค่าของพระพุทธศาสนา
ให้เป็ นภาษาแห่งความรูป้ ระเภทพิเศษ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางจิตภาพ
หรือทางศาสนาต่อมนุ ษยชาติ..."
พระพุ ท ธศาสนาเริ่ มเผยแผ่ เข้าสู่ ประเทศอั งกฤษ เมื่ อประมาณปี พ.ศ.
๒๓๙๓ โดยนายสเปนเซอร์ อาร์คี ได้พิ มพ์หนั งสื อศาสนจักรแห่ งบู รพาทิ ศออก
เผยแพร่ แต่ยงั ไม่มีผูส้ นใจมากนั ก จนกระทัง่ เซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ เขียนหนั งสือ
ประทีปแห่งเอเชียขึ้ นและพิมพ์เผยแพร่ใน ปี พ.ศ. ๒๔๒๒ หนั งสือเล่มนี้ ได้รบั ความ
สนใจจากชาวอังกฤษและชาวตะวันตกอย่างกว้างขวาง มี สถิ ติ การพิ มพ์มากกว่า
๑๕๐ ครั้ง (นับถึงปี พ.ศ.๒๔๗๐)
เซอร์ เอ็ ดวิน อาร์โนลด์ เขี ยนหนั งสือเล่มนี้ ในช่วงเวลาที่ ประเทศอังกฤษ
เผชิญกับวิกฤตการณ์ในเรื่องประเทศทางตะวันออก ดินแดนที่เป็ นเมืองขึ้ น เขาเขียน
ที่ Hamlet House และในรถไฟขณะเดิ น ทาง เขาเขี ยนลงบนซองจดหมายบ้าง
ขอบกระดาษที่วา่ งของหนังสือพิมพ์บา้ ง ด้านหลังรายการอาหารบ้าง แม้หลังกระดุม
ข้อมือเสื้ อเชิ้ ตก็เคยใช้ในการเขียนบทกวี ในยามที่ไม่มีปากกาอยูใ่ นมือ ก็จะใช้ดินสอ
เขี ยน หากไม่มีดินสอ ก็ จะใช้ชิ้นเล็ กๆ ของไม้จุดไฟเตาผิง เป็ นอุ ปกรณ์การเขียน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ของไทยได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ ฺ์ สกุล
ช้างเผือกแก่เขา ในฐานะที่ ได้ประกอบคุ ณงามความดีเผยแพร่พระพุทธศาสนา ใน
พระราชสาสน์ ที่ พ ระราชทานมาพร้อ มเครื่ อ งราชอิ ส ริ ยาภรณ์ ระบุ ชั ด เจนว่ า
คาอธิบายเรื่องพระพุทธศาสนาของเขามิได้ถูกต้องสมบูรณ์ แต่ทรงแสดงความขอบ
พระทัยในฐานะที่เขาเขียนเรื่องพระพุทธศาสนาเผยแพร่ในภาษาที่ใช้กันกว้างขวาง
ที่สุดในโลก
ศ.ที ดับเบิลยู ริส เดวิดส์ ได้จดั ตั้งสมาคมบาลี ปกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๒๔
เขากล่ าว ถึ งวัตถุ ป ระสงค์ ในการจัด ตั้ งว่า "...ข้าพเจ้ามี ปณิ ธานแน่ วแน่ ที่ จะ
๑๗๓

ถ่ ายทอดคลังมหาสมบัติ ของคัมภี ร์พระพุ ทธศาสนา ซึ่ งกาลบัดนี้ ยังมิ ได้มี การ


จัดพิมพ์ และมิได้ถูกน ามาใช้ประโยชน์ ในวิถีชีวิตประจาวัน คัมภี รเ์ หล่านี้ ถูกเก็ บ
รักษาไว้กระจัดกระจายในห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้งหลาย และในห้องสมุดสาธารณะ
ทั้งหลายทัว่ ทวีปยุโรป..." พระไตรปิ ฎกภาษาอังกฤษ ๒ เล่ มแรกที่ จัดพิมพ์ในชุ ด
Scared Books of the Buddhist Series ใน ปี พ .ศ.๒ ๔ ๓ ๘ และ พ .ศ.๒ ๔ ๔ ๒
ตามลาดับ ได้รับทุ นพระราชทานจากพระบาทสมเด็ จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนพระไตรปิ ฎก เล่มที่ ๓ และ ๔ ได้รบั ทุ นพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระ
มงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั แห่งราชอาณาจักรไทย
เมื่อพระพุทธศาสนาเป็ นที่รูจ้ กั ของชาวอังกฤษมากขึ้ น จึงเป็ นผลให้เริ่มมีผู ้
ศรัทธาออกบวชเป็ นบรรพชิต โดยในปี พ.ศ.๒๔๔๒ กอร์ดอน ดักลาส (Gordon
Douglas) ได้อุปสมบทเป็ นพระภิกษุ รูปแรกของชาวอังกฤษในกรุงโคลัมโบ ประเทศ
ศรีลงั กา และเป็ นพระภิกษุ ชาวตะวันตกรูปแรกด้วย ได้รบั ฉายาว่า อโศกะ
หลังจากนั้ น ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ ชาร์ลส์ เฮนรี่ อัลเลน เบอร์เนตต์ (Charles
Henry Allen Bernett) เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพราะได้อ่านหนั งสือประที ป
แห่งเอเซีย จึงสละเพศฆราวาสอุปสมบทในโคลัมโบเช่นกัน ได้รบั ฉายาว่า อานั นท
เมตเตยยะ เมื่ อบวชได้ ๑ ปี ก็ เดิ นทางไปประเทศพม่า ได้ออกวารสารรายเดื อน
ภาษาอังกฤษในพม่าชื่อ The Buddhist ซึ่งเป็ นวารสารที่ลงข่าวความเคลื่อนไหวของ
พระพุทธศาสนาทัว่ โลก โดยมีพระศีลาจาระ ชาวสกอตแลนด์ ซึ่งอุปสมบทในพม่า
เป็ นผูช้ ่วย วารสาร The Buddhist ส่ งไปจาหน่ ายในสหราชอาณาจักรด้วย โดยมี
เป้ าหมายที่ จ ะผลั ก ดั น พระพุ ท ธศาสนาซึ่ งขณะนั้ นเพี ย งแค่ ศึ ก ษากั นในรั้ ว
มหาวิ ท ยาลั ย ให้ก ลายเป็ นศาสนาที่ มี ชี วิ ต คื อ อยู่ ในวิ ถี ชี วิ ต ประจ าวั น ของ
ชาวตะวันตก พระอานั นทเมตเตยยะยังเป็ นพระภิกษุ รูปแรกที่นาพระธรรมทูตจาก
พม่าไปเผยแผ่ในตะวันตก
พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษเริ่มออกจากรั้วมหาวิทยาลัยไปอยูใ่ นวิถี
ชีวิตของประชาชนเมื่อ อาร์.เจ.แจกสัน (R.J.Jackson) ได้ประกาศต่อสาธารณชนว่า
เขาคือชาวพุทธผูด้ ารงชีวิตตามหลักพุทธธรรมโดยไม่หวาดหวัน่ ต่อการถูกประณาม
เชื่ อกั น ว่าเขาคื อชาวพุ ท ธอังกฤษคนแรกที่ ประกาศตนอย่ างเปิ ดเผย หลังจาก
๑๗๔

ประกาศตนแล้ว ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ อาร์.เจ.แจกสัน ก็เริ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดย


ยืนบรรยายบนลังสบู่ในสวนสาธารณะ
ในช่ ว งเวลาเดี ย วกั น นี้ เจ.อาร์ .เปน (J.R.Pain) อดี ต ทหารบกซึ่ ง เคย
ประจ าการอยู่ในพม่ าได้เปิ ดร้านขายหนั งสื อพระพุ ท ธศาสนา ณ ถนนเบอร์รี่
ตาบลบูมเบอร์รี่ และได้รบั วารสาร The Buddhist จากพม่ามาขายด้วย ชาวอังกฤษ
สนใจซื้ ออ่านวารสารนี้ กันมาก อาร์.เจ.แจกสัน และเจ.อาร์.เปน ร่วมมือกันก่อตั้ง
พุทธสมาคมแห่งแรกขึ้ นในกรุงลอนดอน และในปี พ.ศ.๒๔๕๐ ด้วยความร่วมมือกับ
ศ.ริส เดวิดส์ และพระอานั นทเมตเตยยะ พุทธสมาคมแห่งนี้ ได้ขยายเครือข่ายเป็ น
พุ ทธสมาคมแห่ งบริ เตนใหญ่ และไอร์แลนด์ (Buddhist Society of Great Britain
and Ireland ) โดย ศ.ริส เดวิดส์ เป็ นประธาน ได้พิมพ์วารสารพุทธศาสตร์ปริทัศน์
เผยแพร่ดว้ ย
หลังจากนั้ นพุทธสมาคมต่างๆ ก็ได้ก่อตั้งขึ้ นตามเมืองต่างๆ ในอังกฤษ โดย
ในปี พ.ศ.๒๔๙๑ นาง เอ.เรนท์ (A.Rant) ได้จดั ตั้งสมาคมพุทธวิหารประเทศอังกฤษ
(Buddhist Vihara Society of England) และรวบรวมผูม้ ีจิตศรัทธาช่วยกันก่อสร้าง
วัดพุทธวิหารกรุงลอนดอนขึ้ นในปี พ.ศ.๒๔๙๗ โดยเริ่มแรกสร้างบนพื้ นที่เช่าในโอ
วิงตัน การ์เดน พระดร.เอช.สัทธาติ สสะ ชาวศรีลังกาเป็ นเจ้าอาวาส ต่อมาได้ซื้อ
ที่ ดินและสร้างวัดขึ้ นใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ ๕, Heathfield Gardens, London, W๔ ท่าน
สัทธาติสสะเป็ นพระภิกษุ ที่ ฉลาดในการเทศน์ สอนธรรมะด้วยภาษาง่ายๆ จึงมีผู ้
เลื่ อมใสมากมาย พุ ทธศาสนิ กชนที่ เข้าวัดเป็ นประจายุคนั้ นมีประมาณ ๒๐๐ คน
ส่วนมากเป็ นชาวอังกฤษ นอกจากนี้ เมืองใหญ่ๆ ในอังกฤษเกือบทุกเมืองสมัยนั้ นจะ
มี ชุ มนุ มศึ กษาพระพุ ทธศาสนา (Buddhist Study Circles) ท าหน้ าที่ เผยแผ่ พุ ทธ
ธรรมเพื่อเป็ นแสงสว่างนาทางชีวิตแก่ชาวอังกฤษ
นอกจากพระสงฆ์จากประเทศศรีลังกาแล้ว ยังมีพระสงฆ์ชาวเอเชียชาติอื่น
เช่น พม่า จีน ญี่ ปุ่น เป็ นต้น ได้เข้าไปเผยแผ่เช่นกัน ในวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.
๒๔๙๙ จึงมีการจัดตั้งคณะสงฆ์คณะแรกขึ้ นในอังกฤษ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้การทางานพระ
ศาสนาเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อตั้งโดยท่านกบิลวัฑโฒภิกขุ (W. A. Purfust)
ซึ่งอุปสมบทที่วดั ปากน้ า ภาษี เจริญ กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ จากนั้ นไม่
นานในปี พ.ศ.๒๕๑๐ พระภิกษุ ชาวอังกฤษชื่อพระสังฆรักษิ ตสถวีระ ซึ่งอุปสมบทใน
๑๗๕

อินเดีย ได้ก่อตั้งสหายสังฆมณฑลพระพุทธศาสนาประเทศตะวันตก [The Friends


of The Western Buddhist Order (FWBO)] ขึ้ นในประเทศอังกฤษ ปั จจุบัน FWBO
เป็ นองค์กรพระพุทธศาสนาในระดับแนวหน้ามีสาขาขยายไปมากมายทัว่ อังกฤษ
ส่วนคณะสงฆ์ไทยก็ ได้จัดส่งพระธรรมทู ตไปเผยแผ่ในอังกฤษด้วยเช่นกัน
เริ่มโดยประธานสังฆสมาคมประเทศอังกฤษ ส่งหนั งสือเชิญผูแ้ ทนสงฆ์ไทยไปเผยแผ่
พระพุ ทธศาสนา ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ในขณะนั้ นรัฐบาลไทยโดยการน าของจอมพล
ถนอม กิตติขจร อนุ มตั ิให้ดาเนิ นการ โดยมีพระธรรมทูตชุดที่ ๑ คือ พระราชสิทธิ
มุนี (โชดก ปธ.๙) พระมหาวิจิตร ติสสทตโต เป็ นพระสหจร และนายภานุ พงษ์ มุทุ
กันต์ เป็ นไวยาวัจกร มีกาหนดเวลาเผยแผ่เป็ นเวลา ๓ ปี เริ่มปฏิบตั ิศาสนกิจวันแรก
เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๗
ต่ อมา ชาวพุ ทธไทยในอังกฤษได้ช่วยกันสร้างวัดไทยวัดแรกขึ้ นในกรุ ง
ลอนดอน สร้างเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๐๘ และจัดพิ ธีเปิ ดเมื่ อวันที่ ๑ สิ งหาคม พ.ศ.
๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้า-อยู่หัวและสมเด็ จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เสด็จเป็ นประธานในพิธีเปิ ด ทรงพระราชทาน นามว่า วัดพุทธประทีป หลังจากนั้ น
มีวดั และองค์กรพุทธเกิดขึ้ นอีกหลายองค์กร เช่น ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานนานาชาติ
(พ.ศ.๒๕๑๔) วัดสังฆทาน (พ.ศ.๒๕๓๒) วัดป่ าจิตตวิเวก (พ.ศ.๒๕๓๙) วัดพุทธ
วิหารแอสตัน (พ.ศ.๒๕๓๗) เป็ นต้น
ส าหรับ พระพุ ท ธศาสนามหายานนิ กายต่ างๆ ในประเทศอั งกฤษนั้ น
เริ่มแรกนิ กาย โซกะ กัคไค (SGI) ซึ่งเป็ นสายหนึ่ งของมหายานนิ กายนิ ชิเร็นได้เข้ามา
เผยแผ่ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ โดยเริ่มจากเพียงคนเดียว จากนั้ นมีการเติบโตรวดเร็วมาก
ปั จจุบนั โซกะ กัคไค เป็ นองค์กรพุทธที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ มีมากกว่า ๔๕๐ กลุ่ม
ต่ อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เพ็ ก กี เค็ น เน็ ท (Peggy Kennett) ภิ ก ษุ ณี ชาว
อังกฤษ ได้นาพระพุทธศาสนานิ กายโซโตเซน (Soto Zen) จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามา
เผยแผ่ โดยก่อตั้งสมาคม British Zen Mission Society ขึ้ น ภายหลังเปลี่ยนชื่อใหม่
เป็ น OBC (the Order of Buddhist Contemplatives) ปั จจุ บั น OBC เป็ นองค์ ก ร
พุทธที่ใหญ่ที่สุดของนิ กายเซนในเกาะอังกฤษและมีขนาดเป็ นอันดับที่สี่เมื่อเทียบกับ
นิ กายอื่นๆ โดยโซกะ กัคไค เป็ นอันดับหนึ่ ง องค์กร FWBO ซึ่งก่อตั้งโดยท่านสังฆ
รักษิ ตสถวีระเป็ นอันดับสอง และพระพุทธศาสนาทิ เบตกลุ่ม NKT เป็ นอันดับสาม
๑๗๖

แต่เดิม เพ็กกี เค็นเน็ ท เป็ นชาวพุทธนิ กายเถรวาท ภายหลังหันมานั บถือมหายาน


นิ กายเซนโดยการชักนาของ ดร.ดี ที ซูสุกิ และได้บวชเป็ นภิกษุ ณีโดยคณะสงฆ์จีนที่
ประเทศมาเลเซีย หลังจากนั้นก็ไปศึกษาเซนที่ประเทศญี่ปุ่น
ส่วนพระพุทธศาสนาทิเบตนั้ น ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ พระภิกษุ ชาวทิเบตชื่อ เกส
เช เคนซัง กะยัทโซ (Geshe Kelsang Gyatso) ได้ก่อตั้งองค์กร The New Kadampa
Tradition (NKT) ขึ้ น ปั จจุ บั น NKT ป ระส บ ค วาม ส าเร็ จสู งสุ ด ใน บ รรด า
พระพุ ท ธศาสนาทิ เบตทุ ก นิ กายในอั งกฤษ NKT อยู่ ในนิ กายกาดั มหรื อเกลุ ก
(Kadam or Gelug) ซึ่งเป็ นนิ กายในสังกัดขององค์ทะไล ลามะ ผูน้ าสงฆ์แห่งทิเบต
๒) ประเทศเยอรมนี
ประเทศเยอรมนี มี ชื่ ออย่างเป็ นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
(Federal Republic of Germany) มีประชากรประมาณ ๘๒,๔๓๘,๐๐๐ คน (พ.ศ.
๒๕๔๘) ส่ วนใหญ่ นั บถื อศาสนาคริ สต์ (ประมาณ ๖๘%) และจากการส ารวจ
ประชากรเยอรมันมากกว่า ๑๐,๐๐๐ กลุ่ มในปี พ.ศ.๒๕๔๙ พบว่า มี คนที่ ไม่ มี
ศาสนา (Non-Religious) หรือผูท้ ี่ ไม่เชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า (Atheists) อยู่ถึง
๒๙.๖% คิ ดเป็ น ๒๔,๔๐๐,๐๐๐ คน หรือ ๑ ใน ๔ ของประชากรทั้งหมด สาหรับ
พุ ท ธศาสนิ กชนในประเทศเยอรมนี นั้ น จากส ารวจในปี พ.ศ.๒๕๔๙ พบว่ามี
ประมาณ ๒๓๐,๐๐๐ คน มีองค์กรทางพระพุทธศาสนาประมาณ ๖๖๑ องค์กร และ
มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้ นเรื่อยๆ
พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแพร่ในเยอรมนี จากงานเขียนของ ไอแซค จาคอบ
สมิท (Isaac Jacob Schmidt) ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒- ๒๓๙๐ บุ คคลผูม้ ีบทบาทสาคัญ
มากในการเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคแรกๆ คือ อาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์ (Arthur
Schopenhauer) เขาเริ่มต้นศึกษาพระพุทธศาสนาจากงานเขียนของไอแซค จาคอบ
สมิ ท ต่ อมาอาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์ เขี ยนหนั งสื อชื่ อ The World as will and
Representation พิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๓๖๒ และได้เขียนเล่มอื่นๆ อีกมากมาย
หนั งสือของเขามีคนอ่านมากที่สุดนั บแต่ ๒๕ ปี แรกแห่งคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ หลาย
ต่อหลายคนเมื่อได้อ่านหนั งสือเขาแล้วหันมาขอถึงพระรัตนตรัยเป็ นที่พึ่งที่ระลึกไป
ตลอดชีวติ
๑๗๗

อาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์ เชิ ดชู พระพุ ทธศาสนาไว้ว่า "เป็ นที่ ประจักษ์ ว่า
ภาษาเก่าแก่ ที่ สุ ดคื อความสมบู รณ์ ที่ สุ ดฉันใด ศาสนาที่ เก่ าแก่ ที่ สุ ดก็ คื อ ความ
สมบูรณ์ที่สุดฉันนั้ น ถ้าหากว่าจะถื อเอาผลแห่งปรัชญาของข้าพเจ้าเป็ นมาตรฐาน
แห่งความจริงแล้ว ข้าพเจ้าจะยกให้พระพุทธศาสนามีความโดดเด่นเหนื อแนวคิ ด
อื่ นๆ... วัตถุ ประสงค์ของพระศากยมุ นีพุ ทธเจ้าคื อ การแยกเอาเมล็ ดในออกจาก
เปลื อก เพื่ อแยกค าสอนที่ สู งเด่ นออกจากส่ วนผสมของจินตนาการและเทพเจ้า
เสริมสร้างคุ ณค่าภายในอันบริสุทธิ์ ผุดผ่องของพระพุทธศาสนาให้เป็ นที่ เข้าใจได้
โดยง่ายของประชาชน ในเรื่องนี้ พระศากยมุ นี พุทธเจ้าประสบความส าเร็จอย่าง
มหัศจรรย์ที่สุด เพราะฉะนั้ นศาสนาของพระองค์จึงเป็ นศาสนาดีที่สุดของโลก มีศา
สนิ กนับถือมากที่สุด"๔
ไฟรดริ ช ซิ ม เมอร์ ม านน์ (Friedrich Zimmermann) วิ ศ วกรโยธาชาว
เยอรมัน เป็ นผูห้ นึ่ ง ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนั งสือของอาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์ เขา
เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งนั ก ในปี พ.ศ.๒๔๒๓ ได้เปลี่ยนชื่อตัวเองเป็ น
ภิ กษุ สุภัททะ โดยมิ ได้เข้าพิ ธีอุปสมบท มิได้ปลงผมและหนวด ยังคงแต่งกายดุ จ
ฆราวาสทัว่ ไป เขาเขียนหนั งสือชื่อ Buddhistischen Katechismus ซึ่งเป็ นเรื่องการ
ปุจฉา-วิสัชนาทางพระพุทธศาสนา โดยยึดหลักฐานจากคัมภีร์พระสุ ตตันตปิ ฎก
และพระวินัยปิ ฎกเป็ นหลัก พิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ หนั งสือของเขามี ผูน้ ิ ยม
อ่านกันมากในหลายประเทศดุจหนั งสือประทีปแห่งเอเซีย ต้องจัดพิมพ์ใหม่ถึง ๑๔
ครั้ง และแปลออกเป็ นหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรัง่ เศส ญี่ปุ่น อิตาลี ฮังการี
สเปน และรัสเซีย
พระพุทธศาสนาในเยอรมนี ช่วงแรกเผยแผ่โดยผ่านหนั งสือเป็ นหลัก ยังไม่มี
การจัดตั้งองค์กรอย่างเป็ นทางการ จนกระทัง่ ปี พ.ศ.๒๔๔๖ ดร.คาร์ล โซเดนสตัก
เกอร์ (Karl Seidenstuecker) เป็ นผูน้ าชาวพุทธเยอรมันกลุ่มหนึ่ งก่อตั้งสมาคมเพื่อ
การเผยแผ่ พ ระพุ ท ธ-ศาสนาในเยอรมนี (Society For Buddhist Mission in
Germany) ขึ้ นในเมืองไลป์ ซิก (Leip-Zig) ซึ่งเป็ นสมาคมพระพุทธศาสนาแห่งแรกใน
เยอรมนี จากผลงานนี้ ทาให้ ดร.คาร์ล โซเดน-สตักเกอร์ ได้รบั การยกย่องว่าเป็ น
มหาสาวก (Apostle) ของพระพุ ท ธศาสนาแห่ งเยอรมนี เขาสร้างสายสัมพั น ธ์
๑๗๘

ขบวนการชาวพุทธตะวันออกกับชาวพุทธเยอรมันให้ประสานเป็ นเอกภาพ และได้


ริเริ่มจัดตั้งมหาโพธิสมาคม สาขาเยอรมนี ขึ้น
พระภิกษุ ชาวเยอรมันรูปแรกที่อุปสมบทในพระพุทธศาสนาสายเถรวาทชื่อ
แอนตัน วอลเตอร์ ฟลอรัส กูเอธ (Anton Walter Florus Gueth) มีฉายาว่า ญาณ
ติโลกะ อุปสมบทที่ กรุงย่างกุง้ ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗ เป็ นศิษย์ของท่าน
อานั นทเมตเตยยะ พระภิ กษุ ชาวอังกฤษ พระญาณติ โลกมหาเถระ (Nyanatiloka
Maha Thera) เป็ นพระภิ กษุ ที่ ได้รับความเคารพนั บถื อสู งยิ่ง ในบรรดาพระภิ กษุ
ชาวตะวัน ตกทั้ งหลาย เพราะท่ านเคร่ งครั ด ในพระวิ นั ย และอุ ทิ ศ ตนเผยแผ่
พระพุทธศาสนา หลังจากอุปสมบทแล้วท่านเดินทางไปประเทศศรีลงั กา และพักอยู่
ที่เกาะเล็กเกาะหนึ่ งในทะเลสาบโททันทุ วา ซึ่งไร้คนอาศัย และเป็ นแหล่งงูพิษร้าย
ท่ านถื อรุกขมู ลธุ ดงค์บ าเพ็ ญสมาธิ ท้ังกลางวันและกลางคื น ตอนรุ่งอรุ ณชาวศรี
ลังกาผูศ้ รัทธาจะนาภัตตาหาร ลงเรือไปถวายทุกเช้า ขณะนัง่ สมาธิที่โคนไม้ งูรา้ ยจะ
เลื้ อยเพ่นพ่านไปมารอบต้นไม้ บางครั้งเลื้ อยผ่านหน้ าตักแต่ ก็ ไม่ได้ท าร้ายท่ าน
ต่อมาชาวบ้านผูศ้ รัทธาได้สร้างกระท่อมให้ท่านอยู่
ในเวลาไม่นานนั กชาวตะวันตกหลายชาติ เช่น เยอรมนี อังกฤษ ฝรัง่ เศส
อเมริกา อิตาลี และยิวได้สละเพศฆราวาส อุปสมบทเป็ นพระภิ กษุ ไปอาศัยอยู่กับ
ท่ านจานวนมาก เกาะนี้ จึงมี ชื่อเสี ยงว่า เป็ นบุ ญ สถานที่ พระภิ กษุ ชาวตะวันตกผู ้
เคร่งครัดในพระวินัยมาบาเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ทุ กวันพระและวันจันทร์เพ็ญ
ชาวพุทธชาวศรีลังกานั บพัน หลัง่ ไหลมาจากทุ กภาคของประเทศเพื่อมาตักบาตร
ไหว้พระ สวดมนต์ และฟั งพระธรรมเทศนา พระญาณติโลกมหาเถระเขียนหนั งสือ
เล่มแรกชื่อ The World of the Buddha พิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๔๔๙ หนั งสือเล่ม
นี้ สร้างชื่อเสียงให้ท่านมาก จัดพิมพ์ถึง ๙ ภาษา บางภาษาพิมพ์ ๑๐,๐๐๐ เล่ม ขาย
หมดด้วยเวลาเพียงไม่นาน และได้จดั พิมพ์ซ้าแล้วซ้าอีกหลายครั้งยาวนานถึง ๖ ชัว่
อายุ คน ท่ านมรณภาพ เมื่ อวันที่ ๒๘ พฤศจิ กายน พ.ศ.๒๕๐๐ รัฐบาลศรี ลังกา
ประกอบ พิธีพระราชทานเพลิ งศพให้อย่างสมเกี ยรติ ชาวศรีลังกามาร่วมงานถึ ง
๕๐๐,๐๐๐ คน และได้บ รรจุ อั ฏ ฐิ ข องท่ า นไว้ ณ Independence Square กรุ ง
โคลัมโบ ก่อนมรณภาพท่านตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้กลับมาเกิดเป็ นบุรุษในศรีลงั กา
และได้อุปสมบทเป็ นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา
๑๗๙

เพื่อให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเยอรมนี กว้างขวางมากขึ้ น ชาวพุทธ


เยอรมันน าโดยท่ านธัมมสารี จึงจัดตั้งส านั กพิ มพ์ขึ้ นที่ เบรสเลา (Breslau) ในปี
พ.ศ.๒๔๕๒ เพื่อพิมพ์วารสารทางพระพุทธศาสนาเผยแพร่ และในปี เดียวกันนี้ ได้มี
การจัดตั้งสมาคมบาลี เยอรมันขึ้ น (German Pali Society) โดยมีภารกิจสาคัญคื อ
การสร้างวัดพุทธศาสนาในตะวันตก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ๓ ปี ก็ตอ้ งปิ ดตัวลง และมี
สมาคมใหม่เกิ ดขึ้ นชื่อ League For Buddhist Life ในปี พ.ศ.๒๔๕๖ ทาหน้าที่ เผย
แผ่พุทธศาสนาสายเถรวาท
งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมนี กว้างขวางแพร่หลายมากขึ้ น
เมื่อชาวเยอรมันผูห้ นึ่ งหันมาเลื่อมใสศรัทธาในคาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บุ คคลนั้ นคื อ ยอร์จ กริมม์ (George Grimm) บิ ดามารดาต้องการให้เขาบวชใน
ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก แต่เมื่อเขาได้อ่านหนั งสือปรัชญาของอาร์เธอร์ โชเปน
เฮาเออร์ ด้วยความยกย่องอย่างสูงของอาร์เธอร์ ที่ มีต่อพระพุทธศาสนาและการ
ประกาศตัวเป็ นชาวพุทธของเขา ทาให้ ยอร์จ กริมม์ เริ่มสนใจและเมื่อได้ศึกษามาก
เข้าทาให้เกิดความซาบซึ้ งในรสพระธรรม ตัดสินใจออกจากงานตุลาการเพื่อศึกษา
พระพุทธศาสนาและเผยแผ่พระธรรมคาสอนให้กว้างไกล เขาประกาศว่า จะปฏิบัติ
พุทธธรรมให้บรรลุโสดาบันในชีวติ นี้ ให้จงได้
ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ ยอร์จ กริ มม์ และดร.คาร์ล ไซเดนสตักเกอร์ ได้จัดตั้ง
ชุ มชนหมู่บา้ นสหายชาวพุทธเยอรมันขึ้ นใน Utting am Ammersee นอกจากชาว
เยอรมันแล้วยังมีชาวพุทธฝรัง่ เศสจานวนมากมาฟั งบรรยายและร่วมประชุมเสวนา
เรื่องพระพุทธศาสนากับเขา ยอร์จ กริมม์เขียนหนั งสือพระพุทธศาสนา ๘ เล่ม และ
เขียนบทความเผยแพร่ในวารสารมากฉบับ ดร.อันส์ มุช ผูเ้ ชี่ยวชาญด้านวัณโรคของ
โลก ได้ประกาศตนเป็ นชาวพุ ทธผูเ้ คร่งครัด เพราะได้อ่ านหนั งสื อของเขา ยอร์จ
กริมม์รูส้ ึกว่าตนเองเป็ นหนี้ บุญคุ ณทุ กคนที่ให้ความรูเ้ รื่องพระพุทธศาสนาแก่เขา
เขานาภาพขนาดใหญ่ของอาร์เธอร์ โชเปนเฮาเออร์ ประดับพวงดอกไม้สดแขวนไว้
เหนื อเตียงนอน และพรา่ พรรณนาคุณความดีของเค.อี.นู มานน์ และดร.ปอล ดุสเซน
ผูใ้ ห้ความช่วยเหลือแก่เขาในการศึกษาพระพุทธศาสนาอยูเ่ สมอไม่ขาด
พระภิ ก ษุ ชาวเยอรมั น อี ก ท่ านหนึ่ งชื่ อ ซิ ก มั น ด์ เฟนิ เกอร์ (Siegmund
Feniger) ได้อุปสมบทเป็ นพระภิกษุ ในประเทศศรีลงั กา ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ได้รบั ฉายา
๑๘๐

ว่า ญาณโปนิ กะ เป็ นศิษย์ของพระญาณสัตตมหาเถระ ซิกมันด์ เฟนิ เกอร์ศรัทธาใน


พระพุทธศาสนาจากการอ่านหนั งสือ เขาได้จดั ตั้งชมรมการศึกษาพระพุทธศาสนา
(Buddhist Study Circle) และจัดตั้งห้องสมุ ดพระพุ ทธศาสนาขึ้ นที่ โกนิ กสเบอร์ก
โดยให้ประชาชนยืมหนั งสืออ่านฟรี หลังจากอุปสมบทแล้วได้เดินทางมาร่วมกระทา
ฉัฏฐมสังคายนาที่ ประเทศพม่าในสมัยที่ อูนุเป็ นนายกรัฐมนตรี ได้รบั คัดเลือกให้
เป็ นรองประธานคนหนึ่ งขององค์การพุทธศาสนิ กสัมพันธ์แห่งโลก (The World
Fellowship of Buddhist) พระญาณโปนิ กมหาเถระ (Nyanponika Maha Thera)
จัดตั้งสมาคมการพิมพ์หนั งสือพระพุทธศาสนาในเมืองแคนดี ประเทศศรีลงั กา โดย
ดารงตาแหน่ งบรรณาธิการและประธานตรวจการพิมพ์ของสมาคม พิมพ์หนังสือ จุล
สาร แปลคั ม ภี ร์ พ ระพุ ท ธศาสนาเถรวาท และเอกสารทุ ก ประเภทเกี่ ย วกั บ
พระพุทธศาสนา จานวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ เล่ม ส่งไปเผยแพร่ ๗๐ ประเทศทัว่ โลก
ปราชญ์ชาวพุทธเยอรมันที่มีบทบาทสาคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามี
อีกหลายท่ าน เช่น เฮอร์มานน์ โอลเดนเบอร์ก (Hermann Oldenburg) บุ ตรชาย
นั กบวชคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ เป็ นคนแรกที่จดั ทาเรื่องเถรคาถาและเถรีคาถา
เผยแพร่แก่ชาวยุโรป ดร.ปอล ดาห์ลเก (Paul Dahlke) ผูท้ ี่ อนาคาริก ธรรมปาละ
กล่ าวยกย่ องว่า รัก ษาศี ล ๕ เคร่ งครัด ไม่ ยอมให้ด่ างพร้อย ปฏิ บั ติ หน้ าที่ ไม่
บกพร่อง เป็ นนั กมังสวิรตั ิ ไม่ดื่มสุราเมรัย ยากนั กหนาที่ จะหาชาวพุทธที่ ดีไปกว่า
ดร.ปอล ดาห์ลเก นอกจานี้ ก็มี วิลเฮลม์ ไกเกอร์ (Wilhelm Geiger) ผูจ้ ดั ทาคัมภีร์
และแปลคัมภี ร์มหาวงศ์ ซึ่ งถื อว่าเป็ นผลงานชั้นยอดเยี่ยมของนิ รุกติ ศาสตร์เชิ ง
วิพากษ์ โดยพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๗๓ และนางมายา เกลเลอร์
กริมม์ (Maya Keller Grimm) ผู แ้ ต่ งหนั งสื อปุ จฉา-วิสัชนาเรื่องพระพุ ทธศาสนา
นางเป็ นผูศ้ รัทธาลึกซึ้ งต่อพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เยาว์วยั น้ าตาของนางจะไหล
อาบแก้มทุ กครั้งเมื่อได้อ่านมหาปรินิพพานสู ตร เพราะอาลัยรักในพระสัมมาสัม
พุทธเจ้า
สาหรับพระพุทธศาสนามหายานในเยอรมนี เริ่มต้นจากนิ กายเซน หลังจาก
ที่ ดร.ดี ที ซูสุ กิ ท าให้เซนเป็ นที่ รูจ้ ักของชาวตะวันตกแล้ว ในประเทศเยอรมนี
ศาสตราจารย์ ยู เจ็ น เฮอริ -เก็ ล (Eugen Herrigel) ก็ ท าให้ ช าวเยอรมั น และ
ชาวตะวันตกรูจ้ กั เซนมากขึ้ นผ่านงานเขียนชิ้ นสาคัญชื่อ Zen in the Art of Archery
๑๘๑

ซึ่งเป็ นหนังสือที่ได้รบั ความนิ ยมมากติดอันดับ bestseller ติดต่อกันนานกว่า ๔๐ ปี


หนั งสื อเล่มนี้ เริ่มต้นจากเมื่อครั้งที่ ยูเจ็น เฮอริเก็ ลไปสอนวิชาปรัชญาที่ ประเทศ
ญี่ปุ่นเป็ นเวลา ๖ ปี ในปี พ.ศ.๒๔๖๗ - ๒๔๗๒ ในระหว่างนั้ นเขาได้ศึกษาและฝึ ก
ปฏิบัติพระพุ ทธศาสนานิ กายเซนไปด้วย เมื่ อเขากลับมาเยอรมนี แล้ว ในปี พ.ศ.
๒๔๗๙ ได้เขียนถ่ ายทอดความรูเ้ รื่องเซนตี พิมพ์ในวารสารฉบับหนึ่ งของเยอรมัน
ภายหลังได้จดั ทาเป็ นหนั งสือและแปลเป็ นภาษาต่างๆ ใน พ.ศ.๒๔๙๖ ตั้งแต่น้ั นมา
ชาวเยอรมันจึงรูจ้ ักเซนเพิ่มมากขึ้ น โดยเฉพาะในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๓ - ๒๕๑๓
พระพุทธศาสนาแบบเซนเป็ นที่สนใจศึกษาและฝึ กปฏิบตั ิกนั มากในเยอรมนี
ในช่วงที่ เซนกาลังได้รับความนิ ยมจากชาวเยอรมัน กลุ่มโซกะ กัคไค ของ
นิ กายนิ ชิเร็นจากญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าไปเผยแผ่ในปี พ.ศ.๒๕๐๕ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
ประมาณ ๘ ปี โดยกลุ่มชาวญี่ปุ่นที่เดินทางไปทางานที่ นัน่ ผูบ้ ุกเบิกเหล่านี้ ทางาน
อย่างเข้มแข็งต่อสูก้ ับวัฒนธรรมและศาสนาพื้ นเมือง ในปั จจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้ น
เป็ นจานวนมาก ส่วนพระพุทธศาสนาทิเบตนั้ นเป็ นที่ นิยมกันอย่างแพร่หลายของ
ชาวเยอรมันตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๓๓ มีศูนย์กระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ
มากมาย โดยเฉพาะกลุ่ม Diamond Way ของนิ กายการ์จู (Kagyu) ปั จจุบันมีอยู่ถึง
๑๒๖ ศู น ย์ / กลุ่ ม และยั งมี นิ กายอื่ น ๆ อี ก จ านวนมาก เมื่ อ วัน ที่ ๒๘ - ๓๐
พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ องค์ทะไล ลามะ ได้เดินทางไปบาเพ็ญศาสนกิจที่ ประเทศ
เยอรมนี เวลาที่พระองค์ไปเยือนแต่ละเมือง มีประชาชนในเยอรมนี มาต้อนรับและ
ฟั งปาฐกถาธรรมกันล้นหลาม เช่น เมื องเบอร์ลิน มีผูศ้ รัทธามาต้อนรับและฟั ง
ธรรมถึง ๑๘,๐๐๐ คน และเมืองมิวนิ กอีก ๑๐,๐๐๐ คน เป็ นต้น
๓) ประเทศรัสเซีย
ประเทศรัส เซี ยมี ชื่ ออย่ างเป็ นทางการว่า สหพั น ธรัฐรัสเซี ย (Russian
Federation) เป็ นหนึ่ งใน ๑๕ ประเทศที่ แยกตัวออกจากสหภาพโซเวียตเมื่อครั้งที่
การปกครองระบอบคอมมิวนิ สต์ล่มสลายในปี พ.ศ.๒๕๓๔ รัสเซียเป็ นประเทศที่
ใหญ่ที่สุดในโลก แบ่งการปกครองเป็ น ๗ เขต ประกอบด้วย เขตสหพันธ์กลาง เขต
สหพันธ์ใต้ เขตสหพันธ์ตะวันตกเฉียงเหนื อ เขตสหพันธ์ตะวันออกไกล เขตสหพันธ์
ไซบีเรีย เขตสหพันธ์อูรลั ส์และเขตสหพันธ์วอลกา ประชากรในประเทศมีประมาณ
๑๔๒,๘๙๓,๕๔๐ คน (พ.ศ.๒๕๔๙) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม
๑๘๒

ส่ วนพุ ท ธศาสนิ กชนมี ป ระมาณ ๗๐๐,๐๐๐ คน คิ ด เป็ น ๐.๕% ของ


ประชากรทั้งหมด โดยมากเป็ นนิ กายวัชรยานจากทิเบต พระพุทธศาสนาเข้าสู่เขต
ไซบีเรียครั้งแรก เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชส่งสมณทูตออกประกาศพระศาสนา ซึ่ง
อยู่ในช่ วงปี พ.ศ.๒๗๖-๓๑๒ อย่างไรก็ ตาม จากผลงานวิจัยของนั กธรณี วิทยา
สหภาพโซเวียต ได้ให้ขอ้ พิสูจน์ อย่างชัดเจนว่า ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่าง
ประชาชนในเอเชียกลางกับอินเดียมีสายสัมพันธ์สืบต่อกันมานั บจากยุคโมเฮน โจ
ดาโร และฮารัปปา วรรณกรรมรัสเซียทั้งหลายจะพรรณนาขนบธรรมเนี ยมประเพณี
วัฒนธรรมของอิ นเดี ย ภาพลักษณ์ ประเทศอิ นเดี ยในสายตาของชาวรัสเซี ยก็ คื อ
ดินแดนที่มงั ่ คัง่ ประชาชนฉลาด อัจฉริยะ มีสิ่งประหลาดอัศจรรย์เหลือคณนา...
หลังจากยุ คพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว พระพุ ทธศาสนาเข้าไปสู่ ประเทศ
รัสเซียครั้งสาคัญอีกครั้งหนึ่ งในปี พ.ศ.๑๗๖๖ ในสมัยที่รสั เซียตกอยู่ใต้อานาจการ
ปกครองของเจงกิสข่านแห่งมองโกล ปกติชาวมองโกเลียจะนั บถือศาสนาพุทธ และ
ลัทธิ "เต็งกรี" หรือลัทธิบูชาเทพ แต่เจงกิสข่านก็ให้เสรีภาพในการนั บถื อศาสนา
ในพระบรมราชวงศ์ของพระองค์มี ผูน้ ั บถื อศาสนา เกื อบทุ กศาสนา และในกลาง
ศตวรรษที่ ๑๗ หรือประมาณ พ.ศ.๒๑๙๓ ลามะจากมองโกล และทิ เบตได้เผยแผ่
พระพุทธศาสนาเข้าไปยังดินแดนชายฝั ่งตะวันออกของทะสาบไบคาล (Baikal) ตอน
ใต้ของสหพันธ์ ไซบี เรี ย ในเวลาไม่ นานประชาชนในถิ่ นใกล้ เคี ยงคื อตู วา(Tuva)
และบู เรีย-ตี ยา (Buryatia) ก็ ได้หันมานั บถื อพระพุ ทธศาสนา สมาคมและวัดถู ก
สร้างขึ้ นหลายแห่งนอกจากนี้ ชาวจีนจานวนหนึ่ งได้อพยพเข้าไปอาศัยอยู่ที่คัลมียคี
ยา (Kalmykia) ทางตอนใต้ของไซบีเรีย ชาวจีนเหล่านี้ ได้นาพระพุทธศาสนาเข้ามา
ด้วย
พระพุทธศาสนาค่อยๆ เจริญสืบเนื่ องกันมาเรื่อยๆ จนกระทัง่ ปี พ.ศ.๒๓๔๗
ได้มีการจัดตั้งคณะภาษาตะวันออกขึ้ นในมหาวิทยาลัยมอสโคว์ มหาวิทยาลัยกา
ซาน มหาวิทยาลัย-ขาร์กอฟ อธิ การบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยขาร์กอฟ คือ ไอ.
ริซสกี้ (I.Rizhsky) เขาให้ความสาคัญกับภาษาสันสกฤตมาก ซึ่งเป็ นภาษาหนึ่ งที่
บันทึกคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนาแห่งแดนตะวันออก เอส.ยูวารอฟ (S.Uvarov) ประธาน
The Academy of Science กล่าวพรรณนาความสาคัญของดินแดนตะวันออกไว้ว่า
เป็ นแหล่งกาเนิ ดวัฒนธรรมโลก ศาสนาทุ กศาสนา ศาสตร์ทุกศาสตร์ ปรัชญาทุ ก
๑๘๓

ลัทธิ ทวีปเอเชียเท่านั้ นได้พิทกั ษ์ไว้ซึ่งของขวัญมหัศจรรย์แห่งการผลิตปรากฏการณ์


ทางศีลธรรมอันยิง่ ใหญ่
การศึ กษาปรัชญาตะวันออกค่อยๆ ดาเนิ นสื บต่อมาเรื่อยๆ จนถึ งปี พ.ศ.
๒๔๑๗ อิแวน มินาเยฟ (Ivan Minayev) ผูไ้ ด้รบั การยกย่องว่า เป็ นบิดาแห่งสถาบัน
รัสเซียตะวันออกคดีและพระพุทธศาสนาศึกษา ได้เดินทางไปศรีลงั กา อินเดีย และ
เนปาล เพื่อศึกษาศาสนาต่างๆ ทางตะวันออก อันได้แก่ พระพุทธศาสนา ศาสนา
เชน และศาสนาฮิ นดู บันทึ กการเดิ นทางของเขาได้รับการพิ มพ์เผยแพร่ให้ชาว
รัสเซียศึ กษาในหนั งสื อชื่อ Studies of Ceylon and India From the Travel Notes
of a Russian ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๒๑ อิแวน มินาเยฟ ได้เดินทางไปประเทศพม่า ซึ่ง
เป็ นดิ น แดนที่ พ ระพุ ท ธศาสนายังมี ชี วิ ต อยู่ เขาพบว่ า คั ม ภี ร์ท รงคุ ณ ค่ าของ
พระพุทธศาสนา ได้ถูกละเลยทอดทิ้ งไว้ในวัดวาอาราม ในห้องสมุด ในบ้าน... เขา
รวบรวมคัมภี ร์มากหลายกลับไปรัสเซีย เรื่องที่ ทาให้เขาตื่ นตระหนกขณะที่ อยู่ใน
พม่าคือ มิได้มีการศึกษาคัมภี ร์พระพุทธศาสนาในพม่าเลย ความฉลาดอัจฉริยะ
รอบรูใ้ นภาษาบาลีของเขา ทาให้นักปราชญ์และภิกษุ ชาวพม่ารวมทั้งชาวอังกฤษ พา
กันตื่นเต้นและประหลาดใจมาก
การศึกษาอินเดียคดีศึกษาและพระพุทธศาสนาในรัสเซียยุคอิแวน มินาเยฟ
จึงถื อว่ารุ่งโรจน์ มาก และได้รบั การพัฒนาถึงขั้นสูงสุ ดในยุคไฟโอดอร์ สเชอบาร์ท
สกอย (Fyodor Scherbatskoy) ซึ่งเป็ นศิษย์ของเขา งานของปราชญ์ผนู ้ ี้ ได้รบั การยก
ย่องว่าเป็ นยุคพุ ทธศาสตร์โลก วรรณกรรมของเขาได้รับการจัดพิ มพ์ในประเทศ
ต่างๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างต่อเนื่ อง ไฟโอดอร์ สเชอบาร์ทสกอยมีความสนใจใน
ตรรกวิทยาในพระพุทธศาสนามาก จึงเขียนหนั งสือชื่อ Theory of Knowledge and
Logic According to Later Buddhists ขึ้ นพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๔๔๖ หนั งสือเล่ม
นี้ ทาให้เขาเป็ นที่รจู ้ กั กันในระดับนานาชาติ
ไม่กี่ปีต่อมา การเมืองในรัสเซียก็เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือ ในปี พ.ศ.๒๔๖๐
พรรคบอลเชวิค นาโดย วลาดีมีร์ เลนิ น ทาการปฏิวตั ิลม้ ล้างระบบกษัตริย์ ซึ่งครั้ง
นั้ นอยู่ในยุคของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ ๒ เลนิ นได้จดั ตั้งรัฐบาลคอมมิวนิ สต์ขึ้น ผล
จากการปฏิวตั ิกระทบต่อพระพุทธศาสนาอย่างมาก วัดและสมาคมต่างๆ ต้องปิ ดตัว
ลง หน่ วยทหารได้ต้ั งที่ ท าการอยู่ในเขตวัด พุ ทธสถานต่ างๆ ช ารุ ดทรุ ดโทรม
๑๘๔

พระพุทธรูปและคัมภีรท์ างพระพุทธศาสนาถูกทาลาย เหล่าทหารคอมมิวนิ สต์ฉีก


กระดาษจากคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนา ซึ่งบันทึกคาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา
ม้วนทาเป็ นมวนบุหรี่แล้วจุดสูบ
สถานการณ์พระพุทธศาสนาในช่วงนี้ จึงระสา่ ระสายมาก แต่เมื่อพ้นจากช่วง
ปฏิวตั ิไปแล้วก็เริ่มดีขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๖๑ เซอร์จี โอลเดนเบอร์ก ปราชญ์ระดับแนว
หน้าด้านพระพุทธศาสนา ศิษย์อีกคนหนึ่ งของอิแวน มินาเยฟ ได้เข้าพบวลาดีมีร์ เล
นิ น ผลจากการเข้าพบครั้งนั้ น เลนิ น อนุ ญาตให้เขาจัดตั้งกรมประวัติศาสตร์และ
นิ รุกติศาสตร์ขึ้นอย่างเป็ นทางการ จึงทาให้การค้นคว้าพระพุทธศาสนาทาได้อย่าง
สะดวกและได้พัฒนาให้กา้ วหน้ าไปมาก ที่ สาคัญในเดื อนสิ งหาคมปี พ.ศ.๒๔๖๒
ประเทศรัสเซียได้จดั งานมหกรรมมรดกพระพุทธศาสนาที่ยงิ่ ใหญ่ที่สุดของโลกขึ้ น ณ
นครเปโตกราด ในงานมีการแสดงพุทธศิ ลป์ คัมภี ร์ทางพระพุทธศาสนา และวิถี
ชีวิตประจาวันของประชาชนในประเทศที่ นั บถื อพระพุ ทธศาสนา เช่น จีน ญี่ ปุ่ น
ทิเบต มองโกเลีย ศรีลงั กา กล่าวได้วา่ ทุกประเทศในโลกแม้ประเทศไทยเราเองก็ไม่
เคยจัดงานมหกรรมพระพุทธศาสนาเช่นนี้ มาก่อน ในงานปราชญ์คนสาคัญหลาย
ท่านได้แสดงปาฐกถาธรรมด้วย เช่น เซอร์จี โอลเดนเบอร์ก ปาฐกถาเรื่อง พระพุทธ
ประวัติพระบรมครูแห่งชีวติ เป็ นต้น
วลาดีมีร์ เลนิ น เสียชีวติ ในปี พ.ศ.๒๔๖๖ จากนั้ น โจเซฟ สตาลิน ได้สืบทอด
ต าแหน่ งประธานพรรคคอมมิ ว นิ สต์ แ ทน ในยุ ค ของสตาลิ น สถานการณ์
พระพุทธศาสนาและศาสนาต่างๆ เริ่มตึงเครียดอีกครั้ง ในปี พ.ศ.๒๔๗๓ วัดทั้งหมด
ในประเทศถู กสัง่ ปิ ด พระลามะประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ได้รับการกลัน่ แกล้งจาก
รัฐบาล สตาลินนาระบบคอมมูนมาใช้ปกครองประเทศ คือ ห้ามทุกคนมีทรัพย์สิน
ส่วนตัว ทุ กอย่างรวมทั้งตัวบุ คคลเป็ นของพรรคคอมมิวนิ สต์ ยุ คนั้ นมีคนอดตาย
หลายล้านคนโดยเฉพาะในยูเครนตายถึ ง ๕ ล้านคน ทั้งนี้ เป็ นเพราะการใช้ระบบ
รวมผลผลิ ต ที่ สตาลิ น เชื่ อว่าจะท าให้เศรษฐกิ จดี กว่าที่ เคยเป็ นมา ผู ้ที่ ต่ อต้าน
นโยบายจะถูกส่งไปค่ายกักกันและเสียชีวิตราว ๑๐ ล้านคน สตาลินแก้ปัญหาผูม้ ี
ความเห็นขัดแย้งด้วยความตาย เขากล่าวว่า "ความตายแก้ปัญหาได้หมด เมื่อไม่มี
คนก็ไม่มีปัญหา" ต่อมาเมื่อรัสเซียเข้าสู่สนามแห่งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.
๑๘๕

๒๔๘๔-๒๔๘๘ สหภาพโซเวียตชนะสงคราม โดยแลกกับชีวิตประชาชน ๒๐ ล้านคน


และชีวติ ทหารอีก ๑๐ ล้านคน ยุคนี้ จึงถือเป็ นยุคมืดของชาวโซเวียต
ช่ วงระยะเวลาประมาณ ๖๒ ปี นั บตั้ งแต่ ยุ คโจเซฟ สตาลิ น เป็ นต้นไป
ศาสนาต่างๆ ได้รบั การกดดันจากพรรคคอมมิวนิ สต์อย่างหนั ก โดยเฉพาะศาสนา
เทวนิ ยมคือคริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลามซึ่งสอนให้ศรัทธาในพระเจ้า รัฐต้องการ
แทนที่ พ ระเจ้าด้วยวิ ท ยาศาสตร์อั น เป็ นศาสตร์ที่ ว่าด้วยเหตุ ผล ถึ งแม้พ รรค
คอมมิวนิ สต์จะไม่ได้ใช้เหตุ ผลในการปกครองก็ ตาม ในช่วงนั้ นวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งสหภาพโซเวียตก าลังเจริญรุ่งเรือง โซเวียตเป็ นชาติ แรกที่ ประสบ
ความสาเร็จในการส่งดาวเทียมขึ้ นไปโคจรในอวกาศ ซึ่งก็คือดาวเทียมสปุตนิ ค ๑ ถูก
ส่งขึ้ นไปในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และแรง
กดดันจากรัฐที่มีต่อศาสนา ส่งผลให้ชาวรัสเซียกลายเป็ นผูไ้ ม่มีศาสนาและไม่เชื่อใน
เรื่องพระเจ้าเพิ่ มมากขึ้ นเรื่อยๆ และยังส่งผลมาถึ งยุคปั จจุ บัน แม้จะผ่านยุคการ
ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิ สต์มาแล้ว จากการสารวจใน พ.ศ.๒๕๔๕ พบว่ามีชาว
รัสเซียประมาณ ๓๒% ที่ไม่มีศาสนาและไม่เชื่อเรื่องการมีอยูข่ องพระเจ้า
เสรีภาพทางศาสนาหวนคื นมาอี กครั้งในยุคของมิฮาอิ ล กอร์บาชอฟ คื อ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็ นต้นไป กิจการทางพระศาสนาเริ่มกลับมาเจริญรุ่งเรืองอีก
หลังจากที่ ซบเซาไปหลายสิบปี รัฐบาลสหภาพโซเวียตประกาศใช้กฎหมายว่าด้วย
สิทธิเสรีภาพอย่างเป็ นทางการในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ กฎหมายนี้ อนุ ญาตให้ประชาชน
เลือกนั บถือศาสนาและปฏิบตั ิกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างเสรี ในยุคกอร์บาชอฟนี้
ได้เกิ ดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสาคัญขึ้ นอีกครั้งคื อในปี พ.ศ.๒๕๓๔ มิ
ฮาอิล กอร์บาชอฟได้ประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิ สต์ สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย
สาธารณรัฐต่างๆ ทั้ง ๑๕ สาธารณรัฐแยกตัวเป็ นอิสระ ศูนย์กลางของสหภาพโซ
เวี ย ตนั้ นได้เปลี่ ย นชื่ อ ใหม่ เป็ นสหพั น ธรั ฐ รั ส เซี ย ในยุ ค นี้ พระพุ ท ธศาสนา
เจริญรุ่งเรืองขึ้ นมาก จากการสารวจพุทธศาสนิ กชนในปี พ.ศ.๒๕๓๔ พบว่ามีชาว
พุทธอยูป่ ระมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน มีศูนย์พระพุทธศาสนา อยู่ ๔๓๒ ศูนย์ มีวดั อยู่ ๑๖
วัด มีลามะประมาณ ๗๐ รูป ชาวพุทธโดยส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในแถบไซบีเรียและ
เมื อ งเลนิ นกราด พุ ท ธศาสนิ กชนเหล่ านี้ ได้ช่ วยกั น เผยแผ่ สื บ ทอดอายุ ข อง
พระพุทธศาสนาให้สืบเนื่ องเรื่อยมาตราบกระทัง่ ปั จจุบนั
๑๘๖

๔) ประเทศฝรั ่งเศส
ประเทศฝรัง่ เศส (France) มี ชื่ออย่างเป็ นทางการว่า สาธารณรัฐฝรัง่ เศส
(French Republic) มีประชากรประมาณ ๖๑,๐๔๔,๖๘๔ คน (พ.ศ.๒๕๔๙) จาก
สารวจในปี พ.ศ.๒๕๔๖ พบว่า ชาวฝรัง่ เศสประมาณ ๖๒% นั บถือศาสนาคริสต์
และ ๒๖% ไม่มีศาสนา (no religion) นอกจากนี้ มีชาวฝรัง่ เศสอยูถ่ ึง ๗๔% ที่ไม่เชื่อ
เรื่ อ งพระเจ้า (atheists, unlikely) และ Gallup International รายงานว่ า มี ช าว
ฝรัง่ เศสเพียง ๑๕% เท่ านั้ น ที่ เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาเป็ นประจา การนั บถื อ
ศาสนาจึงเป็ นเพียงในนามเสียเป็ นส่วนใหญ่ขาดการปฏิบัติ ตามหลักศาสนา ส่วน
พระพุทธศาสนานั้ นปั จจุบันมีอยู่ประมาณ ๓๓๔ ศูนย์ บ้างก็เป็ นวัด บ้างเป็ นศูนย์
ปฏิบตั ิธรรม นั ง่ สมาธิ และศูนย์กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็ น
นิ กายมหายานโดยเฉพาะสายทิเบตและเซน
พระพุทธศาสนาในฝรัง่ เศสเริ่มต้นโดย ยูยิน เบอร์นู ฟ (Eugene Bernouf)
นั กเขียนวรรณกรรมตะวันออกคนสาคัญของฝรัง่ เศส ยูยิน เบอร์นูฟเขียนและพิมพ์
เผยแพร่หนั งสือพระพุทธศาสนาชื่อ Essai sur le Pali ในปี พ.ศ.๒๓๖๙ อาจกล่าวได้
ว่า ยูยิน เบอร์นูฟ เป็ นบิดาแห่งพระพุทธศาสนาคดีศึกษาในทวีปยุโรป ทั้งนี้ เพราะ
ก่อนหน้านี้ ภาษาบาลีไม่มีใครในตะวันตกรูจ้ กั และเข้าใจว่า เป็ นภาษาอะไร สาคัญ
อย่ า งไร ยู ยิ น เบอร์ นู ฟ ได้ศึ ก ษาคั ม ภี ร์ พ ระพุ ท ธศาสนาที่ บี .เอช.ฮอดสั น
(B.H.Hodgson) ขณะด ารงต าแหน่ ง British Resident-General ในประเทศเนปาล
หนั งสือพระพุทธศาสนานิ กายมหายานของยูยิน เบอร์นูฟ เล่มที่ชาวยุโรปรูจ้ กั กันดี
ที่สุดคือ หนั งสือประวัติศาสนาพระพุทธศาสนาในอินเดีย (Introduction a Historie
du Buddhisme Indien) ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๓๘๗
นอกจากฝรัง่ เศสจะมีนักปรัชญาศาสนาแล้วยังมีนักศึกษาพุทธศิลป์ ที่สาคัญ
ที่ สุ ดอยู่ท่ านหนึ่ งคื อ เอ.ฟู เชอร์( A.Foucher) บุ คคลผู ้นี้ เขี ยนหนั งสื อพุ ท ธศิ ลป์
เผยแพร่ถึ ง ๗ เล่ ม หนั งสื อเล่ มที่ ๑ พิ มพ์ ในกรุ งปารี ส ปี พ.ศ.๒๔๓๙ ชื่ อ Les
Scenes Figureers de la legende de Bouddha หลังจากนั้ นในปี พ.ศ.๒๔๔๘ เขา
เขียนหนั งสือพุทธศิลป์ สมัยคุ ปตะ ชื่อ Lart grecobouddhique du Gandhara และ
๑๘๗

ในปี พ.ศ.๒๔๖๐ เอ.ฟูเชอร์ พิมพ์หนั งสือชื่อ The Beginnings of Buddhist Art and
Other Essays ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พุ ท ธศาสนิ กชนชาวฝรัง่ เศสที่ มี ชื่ อเสี ยงมากในอดี ตคื อ อเล็ ก ซานดรา
เดวิด-นี ล (Alexandra David neel) ผูม้ ี จิ ตใจเด็ ดเดี่ ยว อดทน ไม่ย่นย่อต่ อความ
ยากล าบากใดๆ ใช้ชี วิตอยู่ในทิ เบตนานปี แต่ งกายแบบชาวทิ เบต รับประทาน
อาหารทิเบต ดารงชีวิตเรียบง่ายแบบชาวทิเบต จนเป็ นผูเ้ ชี่ยวชาญภาษาทิเบตและ
พระพุทธศาสนาทิ เบต เธอกล่าวว่า ถ้าหากว่า สตรีเพศมิใช่เพศต้องห้ามสาหรับ
สมณเพศของทิ เบตแล้ว ข้าพเจ้าคงบวชเป็ นสมณะ ปฏิ บัติ ธรรมในวัดทิ เบตได้
สมบูรณ์แบบแน่ นอน เธอเขียนหนั งสือพระพุทธศาสนาเผยแพร่ ๑๕ เล่ม เป็ นภาษา
ฝรัง่ เศส ๑๐ เล่ ม ภาษาเยอรมัน ๕ เล่ ม เช่น หนั งสื อ Buddhism, Its Doctrines
and Methods, ห นั งสื อ My Journey to Lhasa, With Mystics and Magicians,
หนั งสื อ Tibetan Journey เป็ นต้น หนั งสื อทุ กเล่มของอเล็ กซานดรา เดวิด -นี ล
ได้รบั การแปลเป็ นภาษาโปแลนด์ สวีเดน เชกโก-สโลวาเกีย และภาษาสเปน
อเล็ ก ซานดรา เดวิ ด -นี ล เขี ย นบทความเรื่ อ ง Buddhism and Social
Problems ลงพิ ม พ์ เผยแพร่ ในวารสาร Buddhist Review ที่ ก รุ งลอนดอน ฉบั บ
ประจาเดื อนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ.๒๔๕๓ มี ใจความตอนหนึ่ งว่า "จงเชื่ อใน
ความเชื่อที่ว่า ตัวท่านต้องยอมรับในสิ่งที่เป็ นจริงและมีเหตุผลถูกต้อง...จงอย่าเชื่อ
สิ่งใดที่ เป็ นอานาจของคนอื่น...การกระทาที่ มีผลคือการกระทาที่ ท่ านได้วิเคราะห์
ถูกต้องแล้ว และได้ปรากฏชัดว่า สามารถปฏิบัติได้ตามหลักเหตุผล นาไปสู่ สวัสดิ
ภาพของตนเองและคนอื่น...ท่านจงเป็ นประทีปให้แก่ตนเองเถิด (และ) พระพุทธเจ้า
ตรัสสัง่ สอนว่า ขอท่านทั้งหลาย จงท่องเที่ยวไปเพื่อประโยชน์ เกื้ อกูล เพื่อความสุขแก่
มหาชนด้วยจิตเมตตาเถิด...พระบรมครูของเราตรัสไว้ดงั นี้ ..ชัดเจนยิ่งนั ก ไม่ต อ้ งมัว
เสียเวลาอภิปรายความหมายของพระดารัสนี้ อีกต่อไป จงไปเถิ ด ไปเพื่อประโยชน์
และเพื่อความสุขของมหาชน..."
ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ นางสาวคอนสแตนท์ เลาร์เบอรี่ (Constant Lounsbery)
นางพยาบาล ชาวอเมริกนั ได้จดั ตั้งพุทธสมาคมฝรัง่ เศส (Les Amis du Buddhisme)
สมาคมนี้ เผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท พลังจูงใจสาคัญที่ ผลักดันให้เธอตั้งพุทธ
สมาคมฝรัง่ เศสขึ้ นก็คือ เธอได้ พบความทุกข์ยากของคนไข้จึงทาให้เธอสนใจศึกษา
๑๘๘

พระพุทธศาสนาจากคัมภีรภ์ าษาบาลีและปฏิบตั ิสมาธิทุกวัน วันละหลายชัว่ โมง เผย


แผ่ พระพุ ทธศาสนาด้วยการสอนในชั้นเรี ยน บรรยาย เขี ยนบทความและเขี ยน
หนั งสื อ เช่น หนั งสื อ Buddhist Meditation เป็ นหนั งสื อที่ แพร่หลายมากในยุโรป
และอเมริ ก า พุ ท ธสมาคมฝรั ่ง เศสได้ อ อกวารสารรายปั กษ์ ชื่ อ La Pensee
Buddhique แต่เป็ นที่น่าเสียใจยิ่งนั กที่พุทธสมาคมฝรัง่ เศสได้ยุติกิจการลงในเดือน
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๒
นอกจากนี้ ยังมี ปราชญ์ชาวพุ ทธฝรัง่ เศสอี กหลายท่ านที่ อุทิ ศตนในงาน
พระพุ ท ธศาสนา เช่ น ซิ ล เวี ยน เลวี (Sylvain Lavi) กล่ าวได้ว่า ในอาณาจัก ร
การศึกษาพระพุทธศาสนามหายานนั้ น เขาไม่เป็ นสองรองใคร มีความรูล้ ึกซึ้ งใน
ภาษาจีน ทิเบต และภาษา Kuchean ซิลเวียน เลวี ได้จดั ทาคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนา
ไว้หลายคัมภี ร์ เช่น คัมภี ร์ธรรมบท และคัมภี ร์ษฏปั ญ จาศติ กะสโตตระ (พ.ศ.
๒๓๕๕) หนั งสื อ Le Nepal (พ.ศ.๒๔๕๐) เป็ นต้น หลุ ยส์ เดอ ลา วัลลี ปุ สซิ น
(Louis De La Vallee Poussin) ศิษย์ของซิลเวียน เลวี เป็ นปราชญ์คนสาคัญอีกคน
หนึ่ งใน พระพุทธศาสนามหายาน ได้จดั ทาคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนามหายานหลาย
คัมภี ร์ เช่น ปั ญจกรรม (พ.ศ.๒๔๓๙) ปรสันนปทา (พ.ศ.๒๔๔๖ - ๒๔๕๖) มหา
นิ เทศ (พ.ศ.๒๔๕๙-๒๔๖๐) เป็ นต้น ในประเทศฝรัง่ เศสนั้ นไม่มี ความตายของ
หนั งสื อเกี่ ยวกั บ พระพุ ท ธศาสน า เพราะมี การค้ น คว้ า อย่ า งต่ อเนื่ อง
สถาบันการศึกษาระดับแนวหน้ าทั้งหลายของประเทศฝรัง่ เศส เช่น มหาวิทยาลัย
ซอร์บอนน์ ยอมจ่ายเงินมหาศาลในการวิจยั พระพุทธศาสนา ส่งผลให้ชาวฝรัง่ เศส
สนใจพระพุทธศาสนามากขึ้ นเรื่อยๆ
ปั จจุ บั น ผู ้ที่ มี ชื่ อเสี ยงมากในฝรัง่ เศสและในตะวันตกคื อ ติ ช นั ท ฮัน ห์
(Thich Nhat Hanh) พระภิกษุ นิกายเซนชาวเวียดนาม ซึ่งปั กหลักเผยแผ่พุทธธรรม
อยู่ ณ หมู่บา้ นพลัม (Plum Village) ทางตอนใต้ของประเทศฝรัง่ เศส ท่านอุทิศชีวิต
เพื่อส่ งเสริมแนวคิ ดความเมตตากรุ ณาและการไม่ใช้ความรุนแรง ประยุกต์พุ ทธ
ศาสนาเพื่อรับใช้สงั คมจนได้รบั การขนานนามว่าเป็ น "บิดาแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อ
สังคม" (Engaged Buddhism) ท่านเขียนหนั งสือมากกว่า ๑๐๐ เล่ม ตีพิมพ์เผยแพร่
ไปทั ่ ว โลกกว่ า ๑,๕ ๐๐,๐๐๐ เล่ ม เจมส์ ชาฮี น บรรณ าธิ การนิ ตยสาร
พระพุทธศาสนา ชื่อ ไตรไซเคิ ล (Tricycle) กล่าวว่า ในประเทศตะวันตก ท่ านคื อ
๑๘๙

สัญลักษณ์ ผมไม่คิดว่าจะมีพุทธศาสนิ กชนในโลกตะวันตกคนไหนที่ไม่รูจ้ กั ติช นั ท


ฮันห์
ท่านติช นั ท ฮันห์ สร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมคือหมู่บา้ นพลัมขึ้ นในปี พ.ศ.
๒๕๒๕ ปั จจุบนั มีพระภิกษุ อาศัยอยูป่ ระมาณ ๑๕๐ รูป นอกจากนี้ ยังมีแม่ชีและผูร้ กั
ในการปฏิบตั ิธรรมพักอยู่จานวนมาก ในช่วงภาคฤดูรอ้ นของแต่ละปี จะจัดโครงการ
ปฏิบัติธรรม มีผูเ้ ข้าร่วมโครงการประมาณ ๑,๐๐๐ คน เป็ นชาวเวียดนามประมาณ
๕๐๐ คน และชาวตะวันตกอีกประมาณ ๕๐๐ คน นอกจากนี้ ยังได้ขยายสาขาออกไป
มากมายทัว่ ตะวันตก
ความโดดเด่นในคาสอนและท่วงทานองการเขียนหนั งสือของท่านติช นั ท
ฮันห์ อยู่ที่การทาให้ประจักษ์วา่ การปฏิบตั ิธรรมสามารถกระทาได้ในทุกขณะเวลา
ไม่จาเป็ นว่าต้องไปที่วดั หรือแสวงหาสถานที่เพื่อสร้างความสงบภายใน การอธิบาย
ธรรมะของท่านเข้าใจง่ายเหมาะสม กับยุคสมัย เช่น เรื่องศีล ๕ ท่านมีความเห็นว่า
ศี ล ๕ เป็ นของเก่ าแก่ ม าก พวกเรารู ้สึ ก ว่ า มั น ควรได้รับ การพู ด เสี ยใหม่ ใน
ความหมายที่ เข้าใจได้ง่ายขึ้ นสาหรับคนในปั จจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนหนุ่ ม
สาวในตะวันตก ถ้าคุ ณบอกว่า "อย่าท าอย่างนั้ น อย่าท าอย่างนี้ " ผูค้ นก็ ไม่ชอบ
เพราะเขารูส้ ึกว่ากาลังถูกบังคับ การถื อศีลก็คือการปกปั กษ์รกั ษาตัวคุ ณเอง คนที่
คุ ณรักและสังคม นี่ คือเหตุผลว่าทาไม ความกรุณาจึงเป็ นศีลข้อแรกที่ เข้ามาแทน
การห้ามเข่นฆ่า และศีลอีก ๔ ข้อ ก็เป็ นไปในลักษณะเดียวกัน
นอกจากนี้ ท่ านยังเห็นว่าผูค้ นทั้งหลายที่ มีความทุ กข์ ก็ เพราะเขาเข้าไป
เกี่ ยวข้องกับมิติดา้ นลบ กับสิ่งที่ ผิดพลาดมากเกิ นไป พวกเขาไม่ได้สัมผัสสิ่งที่ ไม่
ผิดพลาดอย่างเพียงพอ ท่านยกตัวอย่างคนที่มีความทุกข์เพราะเจ็บป่ วยว่า ให้มอง
เข้าไปในตัวของผูป้ ่ วยและค้นหาสิ่งที่ดีๆ โดยการสัมผัสสิ่งเหล่านั้ นและทาให้มนั เบ่ง
บานขึ้ นมา ตื่นขึ้ นมาในตอนเช้า คุณสามารถระลึกรูว้ า่ ฉันมีชีวิตอยู่ และมีเวลา ๒๔
ชัว่ โมงเพื่อใช้ชีวิตเพื่อเรียนรู ้ มองสรรพชีวิตด้วยสายตาแห่งความกรุณา ถ้าหากคุณ
ระลึกว่าคุณมีชีวิตอยู่ และคุณมีเวลา ๒๔ ชัว่ โมงเพื่อที่จะสร้างความสุขใหม่ๆ ขึ้ นมา
เท่ านี้ ก็ อาจจะเพี ยงพอที่ จะท าให้คุ ณ มี ความสุ ข และผู ้คนที่ อยู่ รอบข้างคุ ณ ก็ มี
ความสุข นี่ คือการปฏิบตั ิเพื่อความสุข
๑๙๐

ท่านติช นั ท ฮันห์ เป็ นผูท้ ี่รกั การปฏิบัติธรรม แม้จะมีงานมากแต่ก็ให้เวลา


สาหรับการปฏิบัติธรรมมากที่ สุด ท่ านกล่าวว่า อาตมามีเวลามากโขให้ตัวเอง นี่
ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ธรรมชาติของอาตมาก็คือ ไม่ชอบทาให้ผคู ้ นผิดหวัง และเป็ นเรื่อง
ยากเมื่อต้องบอกปฏิเสธคาเชื้ อเชิญต่างๆ แต่อาตมาก็เรียนรูใ้ นข้อจากัดของตัวเอง
เรียนรูท้ ี่ จะปฏิเสธ และรูจ้ กั ที่ จะหลีกเร้นไปสู่อาศรมของตัวเอง เพื่อมีเวลาสาหรับ
เดิ น จงกรม นั ่งเจริ ญ ภาวนา มี เวลากั บการท าสวน อยู่กั บดอกไม้และสิ่ งต่ างๆ
เหล่านี้ อาตมาไม่ได้ใช้โทรศัพท์มาถึง ๒๕ ปี แล้ว ตารางเวลาของอาตมานั้ นอิสระ ไร้
กฎเกณฑ์เป็ นสิ ทธิ พิ เศษ บางครั้งอาตมาก็ นึ กถึ งบาทหลวงคาธอลิ กในประเทศ
เนเธอร์แลนด์ท่านหนึ่ งที่ตอ้ งเฝ้ าโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา อาตมาถามว่า ทาไมท่าน
ถึงต้องทาเช่นนั้น ท่านบอกว่า ผมไม่มีสิทธิเลิกติดต่อกับประชาชนของผม ในกรณีนี้
จาเป็ นต้องมีผูช้ ่วย นั ่นเพราะว่าคุ ณไม่สามารถช่วยเหลือผูอ้ ื่นต่อไปได้เรื่อยๆ หาก
คุณไม่ดูแลตัวเอง ความสงบมัน่ คงของคุณ อิสรภาพของคุณ ความสุขของคุณ เป็ น
เรื่องสาคัญยิง่ ต่อคนอื่นๆ การดูแลตัวเองอย่างดีจึงเป็ น เรื่องสาคัญมาก
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการปฏิบตั ิธรรมท่านมุง่ เน้นความเป็ นทีม
หรือสังฆะ ท่ านกล่ าวว่า การสร้างสังฆะนั้ นส าคัญอย่างยิ่งยวด หากคุ ณอยู่โดย
ปราศจากสังฆะ คุณจะละทิ้ งการปฏิบัติไปอย่างรวดเร็ว ธรรมเนี ยมของเรากล่าวว่า
ปราศจากสังฆะคุณก็เป็ นเหมือนเสือโคร่งที่ละทิ้ งดงดอยมาอยูพ่ ื้ นราบ ซึ่งที่สุดจะถูก
พวกมนุ ษย์จบั ฆ่า ดังนั้ นการสร้างชุมชนสังฆะ จึงเป็ นสิ่งแรกที่คุณต้องทา นี่ คือสิ่งที่
พวกเราพูดย้ากระตุน้ เตือนเสมอเวลามีการอบรมสมาธิภาวนา อย่างในวันสุดท้าย
ของการอบรม เราจะจัดให้มีช่วงของการสร้างชุมชนสังฆะ เราบอกว่าสิ่งแรกที่ควรจะ
ทาเมื่อกลับไปถึงบ้านหลังจากเสร็จการอบรม ก็คือการสร้างสังฆะขึ้ นมา เพื่อให้การ
ปฏิบตั ิต่อเนื่ องไปได้ ถ้าตัวคุณแวดล้อมไปด้วยชุมชน คุณจะมีโอกาสนั ง่ ร่วมกัน เดิน
ร่วมกัน ได้เรี ยนรู ร้ ่วมกั น คุ ณ ก็ จะไม่ ทิ้ งการปฏิ บั ติ มิ ฉะนั้ นในเวลาแค่ ๒ - ๓
สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน คุณจะทอดทิ้ งมันไป และคุณจะไม่พดู ถึงมันอีกเลย
๕) ประเทศอิตาลี
ประเทศอิตาลีมีชื่อเป็ นทางการว่า สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic) มี
ประชากรประมาณ ๕๘,๗๕๑,๗๑๑ คน (พ.ศ.๒๕๔๙) ชาวอิ ตาลี ๙๐% นั บถื อ
ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิ กายโรมันคาทอลิ กมี ถึ ง ๘๗.๘% ชาวอิ ตาลี ๓๖.๘%
๑๙๑

ปฏิบตั ิตามหลักศาสนานิ กายคาทอลิกด้วยตนเองและ ๓๐.๘% จะเข้าร่วมกิจกรรมที่


โบสถ์ทุ กวันอาทิ ตย์ จากข้อมูลนี้ ชี้ ให้เห็ นว่า คนอิ ตาลี มี ความเคร่งครัดในคริสต์
ศาสนามากกว่าชาวตะวันตกชาติอื่นๆ ทั้งนี้ อาจจะเป็ นเพราะอิตาลีเป็ นศูนย์กลาง
ของคริสต์ศาสนา มีนครรัฐวาติกนั อยู่ใจกลางประเทศจึงทาให้คนอิตาลีใกล้ชิดกับ
ศาสนา เป็ นเหตุให้เคร่งครัดมากกว่าชาติอื่นๆ ส่วนพุทธศาสนิ กชนในอิตาลีปัจจุบนั
มีประมาณ ๑๑๐,๐๐๐ คน มีองค์กรทางพระพุทธศาสนาประมาณ ๑๑๐ องค์กร โดย
ส่วนใหญ่จะเป็ นพระพุทธศาสนามหายาน โดยเฉพาะสายทิเบต (Tibetan) มีอยู่ ๔๗
องค์ ก ร รองลงมาเป็ นพระพุ ท ธศาสนาแบบเซนจากญี่ ปุ่ น มี ๓๗ องค์ ก ร
พระพุทธศาสนาเถรวาทมีอยู่ ๑๕ องค์กร นอกนั้ นก็เป็ นนิ กายอื่นๆ หรือไม่สังกัด
นิ กาย
ชาวอิตาลีได้รบั ทราบเรื่องราวพระพุทธศาสนาครั้งแรกจากคาบอกเล่าของ
มาร์โค โปโล เมื่อครั้งที่เขาเดินทางจากประเทศจีน ก่อนหน้านั้ น มาร์โค โปโลได้พกั
อยู่ในจีนนานถึ ง ๑๖ ปี ระหว่าง พ.ศ.๑๘๑๘ - ๑๘๓๔ หลังจากที่มาร์โค โปโล เล่า
เรื่องพระพุทธศาสนาให้ชาวอิตาลีฟังจบแล้วไม่มีใครเชื่อเขาและเจ้าหน้าที่ได้จบั เขา
ขังคุ กทันที มาร์โค โปโลใช้เวลาว่างขณะอยู่ในคุกเขียนหนั งสือ Description of the
World เล่าเรื่องการเดินทางของเขา รวมทั้งเรื่องพระพุทธศาสนาในประเทศจีน ซึ่ง
ภายหลังได้รบั การจัดพิมพ์ หนั งสือเล่มนี้ ทาให้ชาวตะวันตกจานวน ไม่น้อยรูจ้ กั
พระพุทธศาสนา
จากเรื่องราวพระพุทธศาสนาที่ มาร์โค โปโลเล่าให้ชาวอิตาลีฟัง แม้ในครั้ง
นั้ นจะไม่มี ใครเชื่อเรื่องที่ เขาเล่า แต่ ก็ ส่ งผลให้หลังจากนั้ นไม่นาน คื อในปี พ.ศ.
๑๘๗๗ พระสันตะปาปานิ โคลาส ที่ ๔ (Nicholas) ได้ส่งนั กบวชจอห์น แห่งมอนเต
คอร์วิโน ไปสืบพระพุทธศาสนาที่ ประเทศจีน นั กบวชจอห์นพักอยู่ในจีนเป็ นเวลา
หลายปี และส่งจดหมายทูลรายงานพระสันตะปาปาถึงเรื่องประชาชนผูน้ ั บถือพุทธ
ปฏิ มา ต่ อมาเขาได้รับแต่ งตั้งเป็ นอาร์ ชบิ ชอบแห่ งนครข่านบาลิ ก (นครปั กกิ่ ง)
ภายหลังจากนั กบวชจอห์นเสียชีวิตแล้ว นั กบวชฟรานซิสแกน ชื่อ โอดอริก เดอ ปอร์
เดโดเน ก็เดินทางไปทาหน้าที่แทนในปี พ.ศ.๑๘๗๓ และก็มีการส่งนั กบวชคริสต์ไป
เป็ นระยะๆ เรื่องราวการเดินทางของคณะนั กบวชเหล่านี้ ก่อให้เกิดความสนใจแก่
ประชาชนในยุโรปมาก ที่ได้รบั ความสนใจมากที่สุดคือ เรื่องราวในหนั งสือ Voyages
๑๙๒

ของนั กบวช จอห์น แมนเดอวิลเล (John Mandeville) ซึ่ งเขี ยนในปี พ.ศ.๑๙๐๘
หนั งสือเล่มนี้ มีตน้ ฉบับ ๓๐๐ เล่ม ถูกแปลเป็ นภาษาทุกภาษาในทวีปยุโรป พิมพ์ถึง
๒๒ ครั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๐๑๓ จนถึงสิ้ นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘
หลังจากนั้ นพระพุทธศาสนาในอิตาลีไม่มีอะไรเคลื่อนไหวมากจนกระทัง่ ถึง
ยุ ค ของกู เซปเป เดอโลเรนโซ (Giusep pe de Lorenzo) และกู เซปเป ทู ซซี่
(Giuseppe Tucci) ปราชญ์พระพุทธศาสนาชาวอิตาลี ทั้งสองท่านได้สร้างผลงานไว้
มากมาย ศ.กูเซปเป เดอโลเรนโซ เกิดที่ลาโก เนโกร ประเทศอิตาลี ในปี พ.ศ.๒๔๑๔
เป็ นผู ้มี ชื่ อเสี ย งในฐานะเป็ นนั ก ธรณี วิ ท ยาชั้ น น าของโลก เพราะความสนใจ
พระพุทธศาสนา เขาจึงแปลหนั งสือปรัชญาของอาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์ เป็ นภาษา
อิ ตาลี และร่วมมื อกับคาร์ล ยูยิน นิ วแมนน์ นั กปรัชญาพระพุ ทธศาสนาชาว
เยอรมนี แปลคัมภีรม์ ัชฌิ มนิ กายจากภาษาบาลีเป็ นภาษาอิตาลี เพื่อเผยแพร่แก่
ชาวอิตาลีและชาวตะวันตกทั้งหลาย
ศ.กู เซปเป ทู ซ ซี่ เป็ นผู ้ เชี่ ย วชาญพระพุ ท ธศาสนาแบบทิ เบตและ
ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เขาเกิดในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ที่มาเซราตา ประเทศอิตาลี
เป็ นผูม้ ีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะที่จดั ทาหนั งสือถึ ง ๒๑๐ เล่ม เป็ นนายกสมาคมนั ก
วรรณกรรมตะวัน ออกที่ ส าคัญ ของอิ ตาลี คื อ Instituto Italaino Per il Medio Ed
Estremo Oriente เป็ นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย Rome La Sapienza กูเซปเป ทู ซซี่
กล่าวถึงพระพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาคือศาสนาที่กาลังมีชีวติ เป็ นศาสนา
เดียวที่ให้เครื่องหมายแห่งพลังชีวิตและพลังขับที่ชุ่มชื่น ความสนใจพระพุทธศาสนา
ที่ อุบัติขึ้นในโลกตะวันตกมิใช่เพียงทางวิทยาศาสตร์เท่ านั้ น แต่ในทางจิตภาพอีก
ด้วย พระพุ ท ธ-ศาสนามี สิ่ งที่ จะบอกให้ทราบในยามทุ กข์ สมัยเมื่ อคุ ณ ค่ าทาง
ศีลธรรมและคุณค่าทางศาสนามากหลายกาลังเสื่อมโทรม
ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ขณะที่ ศาสตราจารย์กู เซปเป ทู ซซี่ มี อายุ ๗๗ ปี เขา
เดินทางไปประเทศทิเบตและได้สนทนากับเทนซิง ผูพ้ ิชิตขุนเขาเอเวอร์เรสต์ เทนชิง
เล่าว่า จากการสารวจดินแดนทิ เบต เขาได้พบคัมภีรพ์ ระพุทธศาสนาโบราณ อายุ
ประมาณ ๒,๐๐๐ ปี จารึกลงในเปลือกไม้ ศ.กูเซปเป ทูซซี่เชื่อว่า ภาษาที่จารึกเป็ น
ภาษาเตอร์กิสถาน ดินแดนที่พระพุทธศาสนา เคยเจริญรุ่งเรืองมาในอดีตกาล และ
เชื่ออีกว่า คัมภีรเ์ หล่านี้ คงถูกนามาสู่ประเทศทิ เบต แต่ยงั ค้นไม่พบว่าคัมภี รส์ ่วน
๑๙๓

ใหญ่เก็บเอาไว้ ณ ที่ ใด เขาพยายามสืบเสาะหาแหล่งเก็ บคัมภีรเ์ หล่านั้ นในที่ สุดก็


พบว่า เก็บไว้ที่วดั ฆันคาร์ (Ghangar) ซึ่งกองสุมอยูก่ ับคัมภีรอ์ ื่นๆ มีกองฝุ่ นจับหนา
ทึบทีเดียว ท่านขอซื้ อแต่พระลามะไม่ยอมขายให้ โดยบอกว่า ความรูม้ ิได้มีไว้เพื่อซื้ อ
ขายแต่จะ ให้เปล่าแก่คนผูต้ อ้ งการความรู ้
พระภิกษุ ชาวทิเบตเองก็ได้เข้าไปปั กหลักเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ
อิตาลี เช่นเดียวกัน เช่น ลามะเกชเช จาปะ กยัทโซ (Lama Geshe Jampa Gyatso)
ท่านเป็ นอาจารย์สอนอยู่ที่สถาบัน Institute Lama Tzong Khapa ในเมือง Pomaia
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็ นสถาบันที่สาคัญมากในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน
อิ ต าลี นอกจากนี้ ยั งมี "มู ล นิ ธิ ล ามะ กั งเชนเพื่ อ สั น ติ ภ าพโลก" (The Lama
Gangchen World Peace Foundation) ก่อตั้งโดยลามะ กังเชน (Lama Gangchen)
ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ที่ เมืองมิลาน โดยมีสโลแกนว่า "สันติ สุขภายในคื อรากฐานที่ ดี
ที่ สุดเพื่ อสันติ ภาพโลก" (Inner Peace is the Best Foundation for World Peace)
ท่านลามะกังเชนได้ขยายสาขาออกไปมากมายทัว่ โลก ปั จจุบนั มีมากกว่า ๑๐๐ สาขา
และยังได้ต้งั สานั กพิมพ์ขึ้นที่เมืองมิลาน เพื่อพิมพ์เผยแพร่หนั งสือพระพุทธศาสนา
แบบทิเบตด้วย จัดพิมพ์ตน้ ฉบับไปแล้วประมาณ ๒๓ เล่ม เป็ นภาษาต่างๆ หลาย
ภาษา บางเล่มพิมพ์ถึง ๑๑ ภาษา ทั้งนี้ เพื่อปรารถนาให้ชาวโลกหลายชาติ หลาย
ภาษาได้มีโอกาสสัมผัสขุมทรัพย์ทางปั ญญาในพระพุทธศาสนาแบบทิเบต
บุคคลสาคัญที่สุดที่ทาให้คนอิตาลีและชาวโลกสนใจพระพุทธศาสนาทิเบต
คือ องค์ทะไล ลามะ ท่านเดินทางไปประเทศอิตาลีบ่อยมาก ไม่ตา่ กว่า ๙ ครั้ง ไปแต่
ละครั้งก็ได้รบั การต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่จากทั้งผูน้ าประเทศและผูน้ าแห่งคริตสจักร
คื อ พระสันตะปาปาแห่งนครรัฐวาติ กัน ไปครั้งล่ าสุ ดเมื่ อวันที่ ๕ ตุ ลาคม พ.ศ.
๒๕๔๙ ได้สนทนากับพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ ๑๖ เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่าง
ศาสนาของกันและกัน (dialogue) นอกจากนี้ ในการไปแต่ละครั้งยังได้สนทนากับ
นักการศึกษา นักธุรกิจ นักข่าวมากมาย
ในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ท่ านเดิ นทางไปเทศน์ ที่ สถาบัน Institute Lama Tzong
Khapa ในเมื องมิลาน ครั้งนั้ นมี คนมาฟั งมากกว่า ๓,๐๐๐ คน จาก ๒๒ ประเทศ
รวมทั้งชาวทิเบต ๑๕๐ คนที่อยูใ่ นประเทศต่างๆ ของยุโรป ก็เดินทางมาฟั งเทศน์ ใน
ครั้งนั้ นด้วย ขณะเทศน์ มีล่ามแปลเป็ นภาษาต่างๆ ๔ ภาษา คื อ อิ ตาลี เยอรมัน
๑๙๔

สเปน และอังกฤษ การปรากฏขององค์ทะไล ลามะแต่ละแห่งในอิตาลีจะมีสื่อต่างๆ


มาถ่ายทาข่าวมากมาย เช่น เมื่อครั้งที่ท่านไปสนทนากับ Mr.Claudio Martini ผูน้ า
แห่งแคว้นทัสคานี (Tuscany Region) ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ มีสื่อมวลชน
ไปทาข่าวกว่า ๘๐ คนจากหลายองค์กร หรือบางครั้งก็ได้รบั เชิญจากรายการที วีใน
อิตาลี เพื่อสัมภาษณ์ทศั นะของท่านในเรื่องต่างๆ ถ่ายทอดสดไปทัว่ ประเทศ
นอกจากพระพุทธศาสนาทิ เบตแล้ว มหายานนิ กายอื่นก็เข้าไปเผยแผ่ดว้ ย
คื อ นิ กายโซกะ กัคไค โดยเริ่มต้นในปี พ.ศ.๒๕๑๙ จากนั กศึ กษาในระดับมัธยม
ปลาย ๒ ท่ าน คือ ไพไร บอร์ริ (Piero Borri) และมาร์โค มะกรินิ (Marco Magrini)
ทั้ งสองท่ านนี้ ได้สัมผัสพระพุ ท ธศาสนาครั้งแรกโดยการรับฟั งจากนั กร้องชาว
อเมริ กัน สองคนชื่ อ คาร์ล พอตเตอร์ (Karl Potter) และ มาร์วิ น สมิ ท (Marvin
Smith) ขณะที่ท้งั สองแสดงคอนเสิรท์ ในที่แห่งหนึ่ ง
ตั้ งแต่ น้ั นเป็ นต้น มา ไพไร บอร์ ริ และมาร์ โค มะกริ นิ จึ งเริ่ ม ศึ ก ษา
พระพุทธศาสนา นิ กายโซกะ กัคไค และเผยแผ่ไปสู่กลุ่มเพื่อนนั กเรียนด้วยกันในชั้น
เรียน ปรากฏว่า เพื่อนที่สนใจพระพุทธศาสนามีจานวนมากขึ้ นเรื่อยๆ จากสองเป็ น
สาม จากสามเป็ นสี่ จนกระทัง่ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๙ ในปี เดียวกันนั้ นเอง ก็
ได้มีการจัดประชุ มสมาชิกขึ้ นครั้งแรกที่ หมู่บา้ น ปอปเปี ยโน (Poppiano) ซึ่งเป็ น
หมู่ บ ้านเล็ ก ๆ ในซอกเขาใกล้เมื องฟลอเรนซ์ (Florence) ในครั้งนั้ น มี สมาชิ ก
ทั้งหมด ๖๐ คน ต่อมาก็ เพิ่ มจานวนมากขึ้ นตามลาดับ จนกระทัง่ ปี พ.ศ.๒๕๒๔
ผูน้ าองค์กรโซกะ กัคไค คือ ไดซาขุ อิเคดะ (Daisaku Ikeda) เดินทางไปอิตาลีเป็ น
เวลา ๑ สัปดาห์ เขาได้สร้างแรงบันดาลใจ ให้กาลังใจและตอบคาถามแก่นั กเรียน
กลุ่มนี้ ดยใช้เวลาหลายชัว่ โมงพาพวกเขาเดินสนทนาไปตามท้องถนน ในเมืองเรน
เนสเซน (Renaissance)
ผลจากการกระตุน้ ของไดซาขุ อิเคดะ ทาให้เยาวชนเหล่านี้ มีกาลังใจขึ้ นมาก
และได้ ส ร้า งงานพระพุ ท ธศาสนาบนพื้ นฐานแห่ งปรั ช ญาโซกะ กั ค ไค ให้
เจริญก้าวหน้าไปตามลาดับ ชาวอิตาลีท้ังผูใ้ หญ่และเยาวชนหันมาดาเนิ นชีวิตตาม
หนทางนี้ กันมากขึ้ นเรื่อยๆ พวกเขาได้ช่วยกันออกนิ ตยสารพระพุทธศาสนาราย
เดือนขึ้ น ใช้ชื่อว่าIl..Nuovo..Rinascimento (The New Renaissance) ฉบับแรกออก
ในเดือนกุ มภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕ กิจการได้ขยายใหญ่โตขึ้ นตามลาดับ ในปี พ.ศ.
๑๙๕

๒๕๔๓ สามารถจัดทานิ ตยสารได้เดือนละ ๒๑,๐๐๐ เล่ม นอกจากงานด้านนิ ตยสาร


แล้ว ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ องค์กรโซกะ กัคไค อิตาลี ได้เริ่มต้นจัดนิ ทรรศการ "Toward
a Century of Humanity" ขึ้ นเพื่ อ ให้ ค วามรู ้แ ละกระตุ ้ น ชาวโลกในเรื่ อ งสิ ท ธิ
มนุ ษยชนในปั จจุบัน (Human Rights in Todays World) โดยจัดหมุนเวียนไปตาม
เมืองต่างๆ คือ โรม มิลาน เนเปิ ล เวนิ ส เป็ นต้น ชาวอิตาลีกว่า ๘๐,๐๐๐ คน เข้า
ร่วมชมนิ ทรรศการนี้
องค์กรโซกะ กัคไค อิตาลี มีความเข้มแข็งขึ้ นตามลาดับจนสามารถทางานที่
มีขนาดใหญ่ ได้ คือ ในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ร่วมมือกับสมาคมคริสต์ศาสนารวบรวม
ลายเซ็นของผูท้ ี่ คัดค้านโทษประหารชีวิตรอบโลกเพื่อรณรงค์ให้ยกเลิ กกฎหมาย
ประหารชีวิต เฉพาะในเมืองฟลอเรนซ์สามารถรวบรวมลายเซ็นได้กว่า ๑๘๐,๐๐๐
คน และทัว่ ประเทศอิตาลีกว่า ๔๓๕,๐๐๐ คน ซึ่งการทางานชิ้ นนี้ เป็ นโอกาสสาคัญ
ในการเผยแผ่คาสอนของโซกะ กัคไคไปด้วย ทั้งนี้ เพราะสมาชิก ต้องเดินทางไปพบ
กับผูค้ นมากมายในทุกสาขาอาชีพ ด้วยเหตุนี้จึงทาให้สมาชิกขององค์กรเพิ่มมากขึ้ น
เรื่อยๆ ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ เฉพาะเมืองฟลอเรนซ์มีสมาชิกกว่า ๒,๕๐๐ คน หนึ่ งใน
สมาชิกคนสาคัญคื อนายกเทศมนตรี ลี โอนาโด โดมินิซิ (Leonardo Dominici) ผู ้
ประกาศยืนยันความศรัทธาว่า เมื องฟลอเรนซ์มี จุ ดยืนแห่ งการสร้างสันติ ภาพ
ภายใต้หลักการของไดซาขุ อิเคดะ ผูน้ าแห่งโซกะ กัคไค
พระภิกษุ ชาวอิตาลีนิกายเถรวาทก็มีอยู่พอสมควร ผูท้ ี่ มีบทบาทสาคัญคือ
พระอู .โลกนาถเถระ (U.Lokanatha Thera) อุ ป สมบทที่ ประเทศพม่ าในปี พ.ศ.
๒๔๖๘ จากนั้ นได้จาริกธุดงค์ไปในดินแดนพระพุทธศาสนาต่างๆ รวมทั้งไทย เมื่อ
ศึ กษาพระพุทธศาสนาจนมีความรูร้ ะดับหนึ่ งแล้วจึงกลับไปเผยแผ่ที่ บา้ นเกิ ดคื อ
ประเทศอิตาลี แต่ไม่ได้ผลเพราะศาสนาคริสต์มีอิทธิ พลสูงมาก ท่านจึงเดินธุดงค์
ด้วยเท้าเปล่ าข้ามทวีปยุ โรปตอนใต้และเอเชี ยไมเนอร์มุ่ งสู่ อิ นเดี ย เดิ นทางถึ ง
ประเทศพม่าในปี พ.ศ.๒๔๗๑ จากนั้ นอีก ๕ ปี เต็ มได้มุมานะศึ กษาพระไตรปิ ฎก
นั ่งสมาธิ ถื อธุ ดงควัตร ๑๓ ข้ออย่างเคร่งครัด ฉันมังสวิรัติ ไม่เอนหลังนอนเลย
ตลอด ๓๔ ปี เต็ ม นั บตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๕-๒๕๐๙ ท่ านได้น าขบวนธรรมทู ตจาก
พุ ทธคยาไปเผยแผ่ ๓ ครั้งคื อ ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ไปประเทศพม่า พ.ศ.๒๔๘๒ ไป
ประเทศไทย และพ.ศ.๒๔๘๓ ไปประเทศศรีลังกา โดยมี เป้ าหมายเพื่ อปลุ กเร้า
๑๙๖

ประชาชนพม่า ไทย และศรีลงั กา ให้สนใจพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้ น กว่าที่เป็ นอยู่


ในช่วงเวลานั้น
๖) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศสหรัฐอเมริ กา (United States of America) มี ประชากรประมาณ
๓๐๐,๐๘๐,๙๙๗ คน (พ.ศ.๒๕๔๙) ส่ วนใหญ่ นั บถื อศาสนาคริ สต์ (ประมาณ
๗๖.๗%) ส่ วนที่ เหลื อ ประมาณ ๒๔.๓% นั บถื อศาสนาอื่ นหรือไม่มีศาสนา จาก
ส ารวจของ Pew Research Center ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ พบว่ามี ประชากรที่ ไม่ มี
ศาสนา (Non-Religious) อยูถ่ ึง ๑๘.๕% (อายุ<๓๐ = ๑๒.๕%,อายุ>๓๐ = ๖%) คิด
เป็ น ๕๕,๕๑๔,๙๘๔ คน ประมาณ ๑ ใน ๖ ของประชากรทั้งหมด คนที่ ไม่นับถื อ
ศาสนาใด ๆ ๕๕,๕๑๔,๙๘๔ คน นี้ เกือบเท่ากับประชากรในประเทศไทยทั้งประเทศ
คื อ ๖๐ กว่าล้านคน และจากข้อมูลใน Wikipedia ระบุ ว่าในปี พ.ศ.๒๕๓๙ มี การ
สารวจความคิดเห็นของนั กวิทยาศาสตร์ในสหรัฐเมริกา ๑,๐๐๐ คน เรื่องเกี่ยวกับ
พระเจ้า มี นั ก วิ ท ยาศาสตร์อยู่ ถึ ง ๖๐.๗% ที่ ไม่ เชื่ อเรื่ องการมี อยู่ ของพระเจ้า
(Atheists) และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้ นเรื่อยๆ สาหรับพุทธศาสนิ กชนนั้นจากรายงาน
ของ The U.S. State Department's International Religious Freedom ในปี พ.ศ.
๒๕๔๗ ระบุว่า มีอยูป่ ระมาณ ๑% หรือประมาณ ๓,๐๐๐,๐๐๐ คน ส่วนใหญ่นับถือ
พระพุทธศาสนามหายานนิ กายเซนและทิเบต
จุดเริ่มต้นที่สาคัญของพระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา มาจากผล
แห่งชัยชนะของพระพุทธศาสนาในการโต้วาทีท่ามกลางมหาชนครั้งสาคัญ ณ ปานะ
ทุ ระ ประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ.๒๔๑๖ ระหว่างพระมิเคตตุวตั เต คุ ณานั นทเถระ
กั บ คณะบาทหลวงคริ ส ต์ ซึ่ งมี บ าทหลวงเดวิ ด เดอ ซิ ลวา เป็ นหั วหน้ าคณะ
หนั งสือพิมพ์ The Time of Ceylon พาดหัวข่าวว่า พระมิเคตตุวตั เต คุณานั นทเถระ
เพี ยงรู ปเดี ยว ได้เผชิ ญ หน้ ากับบาทหลวงชั้นน าของศาสนาคริ สต์ และมี ชัยต่ อ
ปรปั กษ์อย่างงดงาม ดร.เจมส์ มาร์ติน พีเบิลส์ นาคาโต้วาทีไปพิมพ์เผยแพร่ซ้าแล้ว
ซ้าอีกในสหรัฐอเมริกา ทาให้ชาวอเมริกนั เกิดความสนใจและหันมาเลื่อมใสศรัทธา
ในพระพุทธศาสนาจานวนมาก หนึ่ งในนั้ นคือ พันเอกเฮนรี่ สตีล โอลคอตต์ ในปี
๑๙๗

พ.ศ.๒๔๒๓ เขาและมาดามเอช.พี.บลาวัตสกี เดินทางไปประเทศศรีลังกาเพื่ออุทิศ


ชีวติ ฟื้ นฟูพระพุทธศาสนา
พั น เอกเฮนรี่ สตี ล โอลคอตต์ แต่ ง หนั งสื อ ชื่ อ ปุ จ ฉาวิ สั ช ชนาทาง
พระพุทธศาสนา (Buddhist Catechism) พิมพ์เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.
๒๔๒๔ แต่คนยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าใดนั ก จนกระทัง่ ปี พ.ศ.๒๔๓๖ ท่านอนาคา
ริ ก ธั ม มปาละ ชาวศรี ลั ง กาเดิ น ทางไปประชุ ม สภาศาสนา (Parliament of
Religions) และเผยแผ่ พ ระพุ ทธศาสนา ณ นครชิ ค าโก จึ ง เริ่ ม มี ผู ้ นั บถื อ
พระพุทธศาสนาเพิ่ มขึ้ น ส่ วนใหญ่ จะเป็ นชาวจีนและชาวญี่ ปุ่ น ในครั้งนั้ น มี ชาว
อเมริกนั คนหนึ่ งชื่อ ซี.ที.เอส.สเตราส์ (C.T.S.Strauss) ได้ปฏิญาณตนเป็ นพุทธมาม
กะ โดยรับไตรสรณคมน์ และศีล ๕ จากท่านอนาคาริกธรรมปาละ กล่าวได้วา่ ซี.
ที .เอส.สเตราส์ เป็ นชาวอเมริ กันคนแรกที่ ปฏิ ญาณตนเป็ นพุ ทธมามกะในนคร
นิ วยอร์ก นอกจากนี้ ท่านอนาคาริก ธัมมปาละ ยังได้ผอู ้ ุปถัมภ์งานพระพุทธศาสนา
คนสาคัญคื อ นางแมรี่ มิกาฮาลา ฟอสเตอร์ (mary Mikahala Foster) สุ ภาพสตรี
ชาวอเมริกนั ผูม้ งั ่ คัง่
ในปี พ.ศ.๒๔๓๔ มีการจัดตั้งชมรมวรรณกรรมตะวันออกมหาวิทยาลัยฮาร์
วาร์ดขึ้ น และในปี เดียวกันนี้ เอง ทางชมรมได้พิมพ์หนั งสือเล่มแรกขึ้ นเผยแพร่คือ
หนั งสือชาดกมาลา อันเป็ นเรื่องราวในอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจาก
นั้ น ก็ มี ก ารจัดพิ มพ์ คั มภี ร์พ ระพุ ท ธ-ศาสนาออกเผยแพร่ อี ก จ านวนมาก เช่ น
Buddhism Legends ซึ่ งเป็ นหนั งสื อ ค าแปลอรรถกถาธรรมบท หนั งสื อ The
Buddha's Teachings แ ล ะ ห นั ง สื อ Being The Sutta Nipata or Discourse-
Collection และคัมภีรว์ ิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์ เป็ นต้น ศาสตราจารย์
แลนแมน บรรณาธิ ก ารคนแรกของชมรมได้อธิ บายไว้ว่า ชมรมนี้ ตั้ งขึ้ นโดยมี
เป้ าหมายเพื่อนาเสนอ บทเรียนทั้งหลายอันหาที่เปรียบเทียบมิได้แก่ชาวตะวันตก
บทเรี ยนเหล่ านี้ ศาสดาทั้ งหลาย ผู ้อั จฉริ ยะสามารถสอนพวกเราได้ บทเรี ยน
ทั้งหลายว่าด้วยความหวังดีแก่กันและกันระหว่างบุคคลต่อบุคคล ระหว่างชาติต่อ
ชาติ ฝึ กฝนจิตโดยการเอาชนะเจตจานงชัว่ ร้าย ความวิตกกังวล ความเร่งร้อนใน
การงาน ลดความปรารถนาทั้งหลายของเราลงระดับความเหมาะสมกับตัวเรา การ
๑๙๘

ดารงชีวิตแบบเรียบง่าย และเหนื ออื่นใดก็คือ การแสวงหาพระเจ้า การรูแ้ จ้งซึ่งสัจ


ธรรม ไม่วา่ จะโดยตรรกยกรณ์ (Resoning) หรือโดยศรัทธา...
พระพุทธศาสนานิ กายรินไซเซนจากประเทศญี่ปุ่นเผยแผ่เข้าสู่สหรัฐอเมริกา
ครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๓๖ โดยโซเยน ชากุ (Soyen Shaku) ซึ่งได้รบั นิ มนต์จากจอห์น
เฮนรี่ บาร์โร (John Henry Barrows) ให้ม าร่ วมสั ม มนาที่ สภาแห่ งศาสนาโลก
(World Parliament of Religions) ในนครชิคาโก ซึ่งเป็ นการมาประชุมครั้งเดียวกัน
กับที่ท่านอนาคาริก ธรรมปาละเข้าร่วม ในครั้งนั้ นโซเยน ชากุ ได้กล่าวถึงเรื่องกฎ
แห่งกรรม การไม่ใช้ความรุนแรง และความปรองดองต่อศาสนาอื่นๆ ในกิจกรรม
สั ม มนาเขาได้ มี โอกาสสนทนากั บ ดร.ปอล คารุ ส (Dr.Paul Carus) ปราชญ์
พระพุทธศาสนาชาวอเมริกัน ดร.ปอล คารุสกล่าวกับเขาว่า ให้ช่วยส่งผูเ้ ชี่ยวชาญ
พระพุ ทธศาสนา นิ กายเซนซึ่งสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี มาที่ สหรัฐอเมริกา
เพื่อให้ช่วยสอนชาวอเมริกนั ทั้งหลายให้มีความรูค้ วามเข้าใจในเซน หลังจากที่โซเยน
ชากุกลับไปที่ญี่ปุ่นแล้ว จึงได้ไปชวนดร.ดี ที ซูสุกิ ศิษย์ของตน ซึ่งเป็ นนั กวิชาการ
ประจามหาวิทยาลัยโตเกี ยว ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๐ ดร.ดี ที ซูสุกิ ก็ ได้ไปทางาน
ร่วมกับดร.ปอล คารุส ที่ มลรัฐอิ ลลิ นอยส์ ณ ที่ นี้ เองที่ เป็ นจุ ดเริ่มต้นให้เขาแปล
คัมภีรพ์ ระพุทธศาสนานิ กายเซนและคัมภีรอ์ ื่น ๆ อีกมากมายออกสู่สงั คมตะวันตก
ชาวตะวันตกโดยมากรูจ้ กั เซนเพราะผลงานของเขา
ดร.ปอล คารุ ส แม้จะเป็ นบุ ตรของประมุ ขแห่ งคริ สต์ศาสนจักรปรัสเซี ย
ตะวันออกและตะวันตก แต่เขาก็มีความสนใจในพระพุทธศาสนาเป็ นอย่างยิ่ง ได้
เขียนหนั งสื อชื่อ The Gospel of Buddha ซึ่งเป็ นหนั งสือเล่มแรกของเขา จัดพิมพ์
เผยแพร่ในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ปรากกฎว่าขายดีมาก ในหนั งสือตอนหนึ่ งกล่าวไว้วา่ "จง
รื่นเริง ณ กระแสอันน่ ายินดี พระพุทธเจ้า พระบรมครูของเราได้ทรงค้นพบรากเหง้า
ของความชัว่ ร้ายทั้งมวล พระองค์ได้ตรัสชี้ มรรคาความหลุดพ้นจากความทุกข์ให้แก่
พวกเรา" หนั งเล่มนี้ ถูกแปลเป็ นภาษาต่างๆ หลายภาษา และนาไปสอนในโรงเรียน
ชาวพุทธที่ศรีลังกาและญี่ปุ่นด้วย กาลใดพระพุทธศาสนาถูกโจมตี กาลนั้ นดร.ปอล
คารุ ส จะถาโถมเข้าปกป้ องด้วยชี วิต เช่น ตอนที่ เซอร์ มอร์เนี ยร์ มอร์เนี ยร์ วิล
เลียมส์ (Sir Monier monier Williams) เขียนหนั งสือโจมตีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
พระพุทธเจ้านั้นไร้คุณค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประทีปของโลกคือพระเยซู
๑๙๙

ดร.ปอล คารุสได้ตอบโต้กลับไปว่า หนั งสือพระพุทธศาสนาของเซอร์ มอร์


เนี ยร์ เป็ นหนั งสื อชั้น เลว โดยความพยายามซ้ าและซ้ าอี ก ที่ จะลดคุ ณ ค่ าของ
พระพุ ทธเจ้าลงมาให้ไร้คุ ณค่ า อย่างน้ อยที่ สุ ดพระพุ ทธเจ้าก็ เป็ นพระบรมครู ผู ้
ประสบความส าเร็จสู งสุ ดของโลกพระองค์หนึ่ ง... ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างมัน่ คง
มากกว่าอดี ต กาลเสี ย แล้วว่ า ศาสนจัก รคริ สเตี ย นของพวกเรา ย่ อมสามารถ
กลายเป็ นศาสนาแท้จริงทางวิทยาศาสตร์ เป็ นศาสนาสากลตรงตามหลักตรรกวิทยา
และมีความสาคัญสากลก็โดยการเปลี่ยนแปลงรูปโฉมเป็ นอย่างพุทธศาสนาเท่านั้น
นอกจากพระนิ กายเซนจากญี่ ปุ่ นแล้ว ชาวตะวันตกก็ มี พระภิ กษุ เซนที่ มี
ความสาคัญต่องานเผยแผ่พระศาสนาด้วย เช่น พระภิกษุ ชาวอังกฤษ ชื่อ เออร์เนสท์
ชินการุ ฮันท์ (Ernest Shinkaru Hunt) ซึ่งบวชในประเทศญี่ ปุ่นปี พ.ศ.๒๔๖๗ ท่าน
ได้ต้ังสถาบันพระพุทธศาสนาขึ้ นที่ ฮาวาย ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ชื่อ The International
Buddhist Institute of Hawaii และได้ต้ั งคณะสงฆ์ พระพุ ทธศาสนาชาวตะวัน ตก
(The Western Buddhist Order) ขึ้ นด้วย เพื่ อให้การทางานพระศาสนาเป็ นไปใน
ทิศทางเดียวกันมากขึ้ น ในครั้งนั้ นท่านดารงตาแหน่ งเป็ นประธานสงฆ์ พระชินการุ
เป็ นชาวตะวันตกนิ กายเซนรูปแรกที่ได้เลื่อนตาแหน่ งสมณศักดิ์ช้นั ๑ ตาแหน่ งนี้
เรียกว่า ได-โอโช (Dai-osho) และที่สาคัญท่านเป็ นบุคคลที่ได้รบั คารวะจากพุทธ-
ศาสนิ กชนทุกนิ กาย ซึ่งมีน้อยคนที่จะได้รบั เช่นนี้
ในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ปี เดี ยวกันนี้ เอง มีผลงานวิชาการชิ้ นสาคัญเกิดขึ้ น โดย
ดร. ไดไวท์ กอดดาร์ด (Dwight Goddard) เมธีชาวพุทธผูเ้ คร่งครัด ได้จดั ทาหนั งสือ
คัมภีรพ์ ระพุทธศาสนา (The Buddhist Bible) เผยแพร่เป็ นครั้งแรก เขาคัดเลือกคา
สอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากคัมภี ร์ บาลี สันสกฤต จีน ทิ เบต มองโกเลี ย เป็ น
คัมภีรร์ วมย่อคาสอนของพระพุทธเจ้าที่ ดีเยี่ยมเล่มหนึ่ ง ดไวท์ กอดดาร์ด มีความ
เชื่ออย่างแน่ วแน่ วา่ ผลแห่งคาสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมสามารถรักษาความชัว่ ร้าย
ของโลกให้หมดไปได้ เขาปลุกเร้าชาวตะวันตกให้รับเอาพระพุทธศาสนาเพื่อเป็ น
ประทีปชีวติ
อาจารย์นิกายเซนที่ เผยแผ่พุทธธรรมในสหรัฐอเมริกานั้ น ยังมีอีกหลาย
ท่ านทั้ งชาวเอเชี ยและชาวตะวัน ตก เช่น โรเบิ ร์ต ไอเค็ น (Robert Aitken ) ชาว
อเมริกัน ผูก้ ่อตั้ง The Diamond Sangha ขึ้ นที่ฮาวาย ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ เขาได้ขยาย
๒๐๐

สาขาออกไปมากมายทั้งในสหรัฐอเมริกา อาร์เจนติ นา เยอรมนี และออสเตรเลี ย


พระชาวจี นนิ กายเซนหรื อชาน (Chan) รู ปแรกที่ มาเผยแผ่ ในสหรัฐอเมริ กาคื อ
Hsuan Hua ท่ านก่ อตั้ ง The Dharma Realm Buddhist Association (DRBA) ขึ้ นที่
มลรัฐแคลิ ฟอร์เนี ย ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ เพื่ อเป็ นศู นย์กลางในการสอนพระพุ ทธ-
ศาสนาเซนแบบจีนแก่ชาวอเมริกนั และยังได้ก่อตั้งองค์กรเซนอื่นๆ อีกมากมาย เช่น
The Gold Mountain Monastery, The City of Ten Thousand Buddhas เป็ นต้น
พระภิ กษุ นิ กายเซนชาวเกาหลี ที่ มี ชื่ อเสี ยงในอเมริ ก าคื อท่ านเชี ยงเย็ น
(Sheng-yen) ซึ่งเดิ นทางมาสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.๒๕๑๓ และได้ก่อตั้งโรงเรียน
สอนพระพุทธศาสนานิ กายเซน ชื่อ The Kwan Um School of Zen ขึ้ นในปี พ.ศ.
๒๕๑๕ ได้ขยายสาขาออกไปกว่า ๑๐๐ แห่งทั้งในอเมริกาเหนื อและอเมริกาใต้ ยุโรป
เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง หัวใจสาคัญในการฝึ กของอาจารย์เชียงเย็นคือ
การฝึ กเป็ นกลุ่มหรือเป็ นที มในทุ กกิจกรรม ผูเ้ ข้ารับการอบรมจะต้องรับประทาน
อาหารร่วมกัน ทางานร่วมกัน และฝึ กสมาธิ ร่วมกัน หากทาเป็ นที มจะทาให้การ
ปฏิบตั ิธรรมมีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กัน ชาวพุทธญี่ปุ่นนอกจากจะนานิ กายเซน
มาเผยแผ่ แล้วยังได้น านิ กายโซกะ กัคไค เข้ามาด้วย โดยจัดตั้งองค์กรอย่างเป็ น
ทางการในปี พ.ศ.๒๕๐๓ และเพียงเวลาไม่ถึง ๔๐ ปี ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีสาขา
กว่า ๗๑ แห่ง มีสมาชิก ๓๓๐,๐๐๐ คน กระจายอยูท่ วั ่ ทุกมลรัฐ
สาหรับพระพุ ทธศาสนามหายานแบบทิ เบตนั้ น เข้าสู่ สหรัฐอเมริกาหลัง
นิ กายเซน โดยลามะรูปแรกที่ เป็ นผูบ้ ุกเบิกคือ Geshe Ngawang Wangyal เป็ นลา
มะนิ กายเกลุก (Gelug) ท่านเดินทางไปอเมริกาในปี พ.ศ.๒๔๙๘ และจัดตั้งสมาคม
ลามะแห่ งอเมริ ก า "Lamaist Buddhist Monastery of America" ขึ้ น ที่ มลรั ฐ
นิ วเจอร์ซีย์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ ลูกศิ ษย์ชาวอเมริกันของท่ านที่ เป็ นนั กวิชาการผู ม้ ี
ชื่อเสียงมีหลายท่าน เช่น Robert Thurman, Jeffrey Hopkins และ Alexander
Berzin หลังจากนั้นก็มีลามะท่านอื่นๆเข้าไปเผยแผ่อีกหลายรูป
สาหรับท่านทะไล ลามะองค์ปัจจุบัน ไปอเมริกาครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒
และไปเยือนครั้งล่าสุ ดในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ผ่านมา โดยประธานาธิบดี
จอร์จ ดับเบิลยู บุ ชให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ สาเหตุที่ องค์ทะไล ลามะเป็ นที่
รูจ้ กั และเป็ นที่สนใจของคนทัว่ โลก เป็ นผลมาจากเหตุสาคัญประการหนึ่ งคือ ฮอลลี
๒๐๑

วูดสตูดิโอแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถ่ายทาชีวิตของท่านลงสู่แผ่นฟิ ล์มออกฉาย
ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ในเรื่องคุนดุน (Kundun) และเรื่องเจ็ดปี ในทิเบต (Seven Years in
Tibet) โดยเฉพาะเรื่องหลังนี้ แบรด พิตต์ ดาราชื่อดังแห่งฮอลลีวูดเป็ นนั กแสดงนา
จึงท าให้มี คนติ ดตามชมกันทัว่ โลก ภาพยนตร์ท้ัง ๒ เรื่องได้ถ่ายทอดเหตุ การณ์
สาคัญทางการเมืองของทิเบตคือ กรณีที่ประเทศจีนนาโดยเหมาเจ๋อตุง เข้ายึดครอง
ทิเบตในปี พ.ศ.๒๔๙๔ และเป็ นเหตุให้องค์ทะไล ลามะต้องเสด็จลี้ ภัยทางการเมือง
ไปอยู่ที่ธรรมศาลา ทางตอนเหนื อของประเทศอินเดีย ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ภาพยนตร์
เรื่ องนี้ สร้างความสะเทื อนใจแก่ ชาวโลกอย่างมาก และที่ ส าคัญ ได้สัน่ สะเทื อน
การเมืองจีนไม่น้อย จนรัฐบาลจีนถึงกับประกาศห้าม Martin Scorsese ผูก้ ากับชื่อ
ดัง และแบรด พิตต์ เข้าไปเหยียบแผ่นดินจีน
ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ ประเทศจากทวีปเอเชี ย ๘ ประเทศ คื อ พม่ า กัมพู ชา
ลังกา อิ นเดี ย ลาว ไทย เวียดนาม ไต้หวัน และญี่ ปุ่น ได้ร่วมกันก่อสร้างวัดพุทธ
ศาสนาแห่งชาติขึ้น โดยการประชุ มกันของเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ การ
รวมตัวกันครั้งนี้ เป็ นการแสดงพลังสามัคคีของชาวพุทธให้โลกได้ประจักษ์วา่ แม้มา
จากต่างชาติต่างเผ่าพันธุ์กนั แต่ชาวพุทธมีเลือดสีเดียวกันคือ สีกาสายะ เป็ นสมณ
ศากยบุตรเหมือนกัน
ในปี เดียวกันนี้ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินได้เปิ ดสอนหลักสูตรพุทธศาสตร์ใน
ระดับปริ ญ ญาเอกขึ้ นเป็ นแห่ งแรกในสหรัฐอเมริ กา ในแผนกวิชาภารตศึ กษา
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยพุทธธรรมขึ้ นในรัฐแคลิฟอร์เนี ย
โดยเปิ ดสอนสาขาวิชาพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึ งปริญญาเอก
และนั บจากนั้ นเป็ นต้นมา มหาวิทยาลัยจานวนมากได้เปิ ดสอนพระพุทธศาสนา
และในปี พ.ศ.๒๕๓๙ มี ม หาวิ ท ยาลั ยประมาณ ๑๕ แห่ งที่ เปิ ดสอนหลั ก สู ต ร
พระพุทธศาสนาจนถึงปริญญาเอก เช่น Harvard University, Princeton University,
University of Chicago, University of Virginia เ ป็ น ต้ น แ ต่ ใ น ปั จ จุ บั น
สถาบันการศึกษา เกือบทุกแห่งในสหรัฐอเมริกาเปิ ดสอนวิชาพระพุทธศาสนา
สาหรับพุทธศาสนิ กชนไทยในอเมริกา ได้ร่วมใจกันก่อตั้งพุทธสมาคมไทย
อเมริ กั นขึ้ นที่ น ครลอสแอนเจลิ ส รัฐแคลิ ฟอร์เนี ย ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ ได้นิ มนต์
พระสงฆ์ไทย จานวน ๓ รูป คื อ พระราชโมลี (พระเทพโสภณ วัดพระเชตุ พนฯ)
๒๐๒

พระวชิรธรรมโสภณ (วัดวชิรธรรมสาธิต) และพระมหาสิงห์ทน (วัดพระเชตุพนฯ)


เดินทางไปจาพรรษาชัว่ คราวที่นครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนี ย หลังจากนั้น ๒ ปี
คือในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๕ มีการวางศิลาฤกษ์เพื่อสร้างวัดไทยแห่งแรก
ในสหรัฐอเมริกา โดยสมเด็จพระวันรัต (ปุณณสิริมหาเถระ) เป็ นองค์ประธาน ได้
สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ พร้อมประกอบพิธีฝังลูกนิ มิตและผูกพัทธสีมา
เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ภายหลังมีการสร้างวัดไทยขึ้ นอีกหลายวัดด้วยกัน
เช่น วัดไทยลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนี ย วัดพุทธวราราม รัฐโคโลราโด วัดธรรมา
ราม รัฐอิลลินอยส์ วัดไทยกรุงวอชิงตันดี.ซี. รัฐแมรีแลนด์ เป็ นต้น
๗) ประเทศออสเตรเลีย
ประเทศออสเตรเลี ย มี ชื่ อ อย่ า งเป็ นทางการว่ า เครื อ รั ฐ ออสเตรเลี ย
(Commonwealth of Australia) ประกอบด้วย ๖ รัฐ และเขตปกครองตนเอง ๒
มณฑล มณฑลแรกคื อ ออสเตรเลี ย นแคพิ ท อลเทอร์ ริ ท อรี เมื อ งหลวงชื่ อ
แคนเบอร์รา (Canberra) เป็ นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ มณฑลที่ สองคือ
นอร์ เทิ ร์ น เทร์ ริ ท อรี มี เมื อ งดาร์ วิ น (Darwin) เป็ นเมื อ งหลวง ส่ ว นรั ฐ ทั้ ง ๖
ประกอบด้วย รัฐนิ วเซาท์เวลส์ เมื องหลวงชื่อ ซิ ดนี ย์ (Sydney) รัฐนี้ มี ประชากร
หนาแน่ นมากที่ สุด รัฐควีนส์แลนด์ มีเมืองหลวงชื่อ บริสเบน (Brisbane) รัฐเซาท์
ออสเตรเลี ย เมื องหลวงชื่ อ แอดิ เลด (Adelaide) รัฐแทสเมเนี ย เมื องหลวงชื่ อ
โฮบาร์ต (Hobart) รัฐเวสเทิ ร์น ออสเตรเลีย เมืองหลวงชื่อ เพิรท์ (Perth) และรัฐ
วิกตอเรีย เมืองหลวงชื่อ เมลเบิรน์ (Melbourne)
ประเทศออสเตรเลียมีประชากรประมาณ ๒๐,๕๕๕,๓๐๐ คน (พ.ศ.๒๕๔๙)
ส่ ว นใหญ่ นั บถื อ ศาสนาคริ ส ต์ ผู ้ที่ นั บถื อ ศาสนาอื่ น ก็ มี อ ยู่ พ อสมควร เช่ น
พระพุทธศาสนา อิสลาม ฮินดู และยิว ทั้งนี้ เพราะออสเตรเลียให้เสรีภาพในการนั บ
ถือศาสนา จากการสารวจผูน้ ั บถือศาสนา ในปี พ.ศ.๒๕๔๔ พบว่าพุทธศาสนิ กชนมี
อยู่ประมาณ ๓๕๗,๘๑๓ คน และในปี พ.ศ.๒๕๔๙ มีศูนย์ทางพระพุทธศาสนาอยู่
ประมาณ ๔๑๒ ศูนย์ แม้จานวนพุทธศาสนิ กชนในออสเตรเลี ยจะยังมีปริมาณน้อย
แต่ก็มีอัตราการเติ บโตรวดเร็วที่ สุดในทุ กศาสนา ชาวพุทธในออสเตรเลี ยยุคแรก
เป็ นชาวเอเชียที่เข้าไปทางานในรัฐต่าง ๆ โดยเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๑ กลุ่มแรงงาน
๒๐๓

ชาวจีนจึงเป็ นชาวเอเชียกลุ่มแรกที่นาพระพุทธศาสนาเข้าไป แรงงานเหล่านี้ เข้าไป


ทางานในอุตสาหกรรมขุดทองของรัฐวิกตอเรีย (Victorian gold fields) เพราะในช่วง
นั้ นเป็ นยุคที่ชาวโลกกาลังตื่นทองคา (Gold Rush) ต่อมาปี พ.ศ.๒๓๙๙ จึงได้สร้าง
วัดขึ้ นที่ทางตอนใต้ของเมืองเมลเบิรน์ วัดนี้ มีหลากหลายวัฒนธรรมคือ ทั้งลัทธิเต๋า
ขงจื้ อ รวมทั้งเทพเจ้า และโหราศาสตร์ต่าง ๆ สืบเนื่ องจากชาวจีนเหล่านี้ ไปทางาน
ชัว่ คราว ภายหลังวัดจึงต้องปิ ดตัวลง
จนกระทัง่ ในปี พ.ศ.๒๔๑๐ กลุ่มชาวพุทธจากประเทศญี่ปุ่นหลายกลุ่มได้เข้า
ไปในออสเตรเลี ย ซึ่งเป็ นกลุ่ มของนั กกายกรรมและนั กมายากล ได้เข้าไปอย่าง
ต่อเนื่ องตลอดศตวรรษ โดยรวมกลุ่มกันอยูท่ ี่ แหล่งอุตสาหกรรมแถบนอร์เทิรน์ ออส
เตรเลี ย พระพุทธศาสนาที่ น าเข้าไปจากประเทศญี่ ปุ่ น เป็ นมหายานนิ กายชินโต
จากนั้ นในปี พ.ศ.๒๔๑๓ ชาวพุทธจากศรีลังกาได้เข้าไปทางานในไร่ออ้ ยที่รฐั ควีนส์
แลนด์ และสร้างวัดนิ กายเถรวาทขึ้ นในรัฐนั้ นที่ Thursday Island ต่อมาในปี พ.ศ.
๒๕๒๕ ชาวศรีลังกาก็ได้เข้ามาสมทบอีกหนึ่ งกลุ่มประมาณ ๕๐๐ คน ชาวพุทธศรี
ลังกาเหล่านี้ ได้ช่วยกันปลูกต้นโพธิ์ขึ้น ซึ่งมีอยู่ ๒ ต้นที่ยงั คงเจริญเติบโตยัง่ ยืนควบคู่
พระพุทธศาสนามาจนกระทัง่ ถึงปั จจุบนั
แม้ชาวพุทธตะวันตกก็เข้าไปเผยแผ่ในออสเตรเลียเช่นกัน น าโดยพันเอก
เฮนรี่ สตี ล โอลคอตต์ เข้าไปในปี พ.ศ.๒๔๓๔ เขาใช้เวลาหลายเดื อนบรรยาย
พระพุทธศาสนาในที่ ต่าง ๆ ด้วยความที่ เป็ นคนตะวันตกชานาญในภาษาอังกฤษ
เข้าใจวัฒนธรรมในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์เป็ นอย่างดี จึงทาให้การบรรยาย
ของเขาน่ าสนใจเป็ นอย่างยิ่ง พันเอกเฮนรี่ สตี ล โอลคอตต์ เป็ นคนส าคัญที่ ร่วม
ก่ อตั้ งสมาคม Theosophical Society ขึ้ น สมาคมนี้ มี จุ ดมุ่ งหมาย เพื่ อเผยแพร่
ปรัชญาทางพระพุทธศาสนา หนึ่ งในสมาชิกสมาคมนี้ คือ เอ็ลเฟร็ด เดียคิน (Alfred
Deakin) ซึ่งต่อมาเขาได้เป็ นนายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรเลียถึง ๓ สมัย เอ็ล
เฟร็ด เดียคิน เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียและศรีลังกาเป็ น
ระยะเวลา ๓ เดือน ในปี พ.ศ.๒๔๓๓ เขาได้เผยแพร่หนั งสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เล่มหนึ่ ง ซึ่งเกิดขึ้ นจากประสบการณ์ที่ได้จากการเยือนถิ่นพระพุทธศาสนาในครั้ง
นั้น
๒๐๔

การเผยแผ่พระพุทธศาสนายุคแรกในออสเตรเลีย กระทาโดยฆราวาสเป็ น
หลักจนกระทัง่ ปี พ.ศ.๒๔๕๓ พระภิกษุ ชาวพม่ารูปแรกได้เดินทางไปออสเตรเลีย จึง
เป็ นจุดเริ่มต้นให้พระภิกษุ จากเอเชียประเทศต่างๆ ตามเข้าไปภายหลัง เพื่อยังความ
สว่างทางปั ญญาให้เกิ ดขึ้ นแก่ชาวออสเตรเลี ย นั บตั้งแต่บัดนั้ นได้เกิดองค์กรทาง
พระพุ ทธศาสนาขึ้ นหลายแห่ ง เช่นในปี พ.ศ.๒๔๘๑ เล็ น บู ลเล็ น (Len Bullen)
ก่อตั้งกลุ่มผูศ้ ึกษาพระพุทธศาสนาขึ้ นที่ เมืองเมลเบิ รน์ ในปี พ.ศ.๒๔๙๖ สมาคม
พระพุทธศาสนาแห่งวิกตอเรียก็ได้รบั การก่อตั้งขึ้ น และที่สาคัญในปี พ.ศ.๒๕๐๑ มี
การก่อตั้งสหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งออสเตรเลียขึ้ น ซึ่งสหพันธ์นี้เติบโตรวดเร็ว
มาก ขยายสาขาไปหลายแห่ง เช่น ออสเตรเลียตะวันตก ออสเตรเลียใต้ ควีนส์แลนด์
และรัฐวิกตอเรีย
ก่อนถึ งปี พ.ศ.๒๕๑๓ มีพระภิ กษุ จากศรีลังกาชื่อ โสมะโลกะ (Somaloka)
เดิ นทางเข้าไปประกาศพระศาสนา ท่ านได้ก่อตั้งสมาคมพระพุทธศาสนาแห่ งนิ ว
เซาท์เวลส์ขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๔ โดยสร้างขึ้ นที่ Blue Mountains ทางตะวันตกของ
เมืองซิดนี ย์ (Sydney) สมาคมนี้ ได้ขยายศูนย์สาขาเพิ่มขึ้ นอีกมากมาย สาหรับชาว
พุทธจากประเทศไทยก็ได้เข้าไปเผยแผ่เช่นกัน เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๗
ได้สร้างวัดธรรมรังษี ขึ้นด้วยความร่วมมือจากชาวพุทธนานาชาติ วัดนี้ อยู่ในความ
อุปถัมภ์ของมูลนิ ธิมหามกุ ฏราชวิทยาลัย ทาการเปิ ดสอบธรรมศึกษาเป็ นวัดแรก
ของประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังได้เปิ ดสอนภาษาไทย ศิลป-วัฒนธรรมไทย
ราไทย และอื่นๆ ให้กับชาวต่างชาติและชาวไทยอีกด้วย ภายหลังชาวพุทธไทยก็ได้
สร้างวัดขึ้ นอีกหลายแห่ง
สาหรับพระพุทธศาสนามหายานนิ ชิเร็นนิ กายโซกะ กัคไคนั้ น เริ่มต้นเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๐๗ โดยไดซาขุ อิเคดะ ผูน้ าองค์กรโซกะ กัคไคคนปั จจุบนั ได้เดินทางเข้าไป
ในประเทศออสเตรเลีย จัดตั้งกลุ่มโซกะ กัคไคขึ้ นที่เมืองเมลเบิรน์ มีสมาชิก ๖ คน
หลังจากนั้ นได้ขยายกลุ่มออกไปอย่างรวดเร็ว ปั จจุบันมีอยู่ประมาณ ๒๗๐ กลุ่มทัว่
ประเทศออสเตรเลีย แต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกประมาณ ๕-๑๐ คน
ส่ วนพระพุ ทธศาสนาทิ เบต เริ่มต้นขึ้ นเมื่ อปี พ.ศ.๒๕๑๗ โดยลามะจาก
ทิเบตรูปแรกเดินทางเข้าไปเผยแผ่ในออสเตรเลีย จากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๑๙ ลามะชื่อ
Geshe Acharya Thubten Loden ก็เข้าไปประกาศพระศาสนา ได้ตระเวนสอนชาว
๒๐๕

ออสเตรเลียประมาณ ๑,๐๐๐ คน ถึงวิธีการเข้าถึงความสุขและสันติภาพอันยิ่งใหญ่


ผ่านหลักพุทธศาสนาทิเบต นอกจากนี้ องค์ทะไล ลามะผูน้ าสงฆ์แห่งทิเบตก็ได้เข้า
ไปโปรดชาวออสเตรเลี ยด้วยเช่นกัน โดยเข้าไปถึ ง ๓ ครั้ง คือในปี พ.ศ.๒๕๒๕
พ.ศ.๒๕๓๕ และพ.ศ.๒๕๓๙ ไปแต่ละครั้งก็ ได้พบปะกับพุทธศาสนิ กชนมากมาย
และที่สาคัญในการไปครั้งที่สาม องค์ทะไล ลามะได้เข้าพบและถ่ายรูปร่วมกับจอห์น
ฮาวเวิรด์ (John Howard) นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศออสเตรเลียด้วย ปั จจุบนั ศูนย์
พระพุ ทธ-ศาสนาทิ เบตมี มากมายทัว่ ประเทศออสเตรเลี ย จากข้อมูลในเว็บไซต์
www.buddhanet.net ระบุ ว่าปั จจุบันมี อยู่ประมาณ ๑๐๗ ศูนย์ ซึ่งถื อว่ามีอัตรา
การเติบโตรวดเร็วมาก๖.๓ สาเหตุที่ชาวตะวันตกหันมานับถือพระพุทธศาสนา
การมาเอเชียของชาวตะวันตกในยุคล่าอาณานิ คม แม้โดยมากความตั้งใจ
เดิมจะมาเพื่อการค้า การเมือง และการเผยแผ่คริสต์ศาสนา แต่เมื่อเขาเหล่านั้ นได้
สัมผัสกับหลักเหตุ ผลในพระพุ ทธศาสนา ซึ่งสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ที่ ก าลัง
เจริญรุ่งเรืองอยูใ่ นตะวันตก ทาให้หลายต่อหลายคนเกิดความประทับใจทุ่มเทศึกษา
อย่างจริงจัง และยังเป็ นกาลังสาคัญในการเผยแผ่ในแดนตะวันตกด้วย ประกอบกับ
ในพุ ทธศตวรรษที่ ๒๔ และ ๒๕ ที่ ผ่ านมา มี การจัดส่ งสมณทู ตจ านวนมากจาก
เอเชียไปเผยแผ่พุทธธรรมในยุโรป อเมริกา และโอเชียเนี ย ปั จจุบันชาวตะวันตก
จานวนไม่น้อยจึงหันมาสนใจพระพุทธศาสนาและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้ นเรื่อย ๆ
โดยเฉพาะพระพุทธศาสนามหายาน ทั้งนี้ เพราะหลักคาสอนที่ให้ศรัทธาในพระเจ้า
โดยปราศจากเหตุผล ไม่เป็ นที่นิยมของชาวตะวันตกเสียแล้ว ชาวยุโรปและอเมริกา
จานวนมาก ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า หากพระเจ้าทรงมีมหิทธานุ ภาพ ทรงสร้างสรรพสิ่ง
และยิ่งด้วยความเมตตากรุณาจริง พระองค์คงไม่ปล่อยให้โศกนาฏกรรมสะเทือนโลก
วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๔ เกิ ดขึ้ นกับชาวอเมริกัน ด้วยเหตุ นี้ ชาวตะวันตก
มากมายจึ งเลิ กนั บถื อศาสนาเดิ มและกลายเป็ นคนว่างจากศาสนา แต่ เมื่ อเขา
เหล่านั้ นมาพบพระพุทธธรรม คาสอนที่ทา้ ให้พิสูจน์ โดยไม่จาเป็ นต้องเชื่อตาม จึง
ปั กใจรักพระพุทธศาสนายิง่ นัก
อัลเบิรต์ ไอสไตน์ เคยให้ทัศนะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและศาสนาที่สอน
ให้เชื่อในพระเจ้าไว้วา่ "ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็ นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่
เหนื อพระเจ้าที่ มีตัวตน และควรเว้นคาสอนแบบสาเร็จรูปที่ ให้เชื่อตามเพียงอย่าง
๒๐๖

เดียว และแบบเทววิทยา คืออ้างเอาเทวดาเป็ นหลักใหญ่ ศาสนานั้ นเมื่อครอบคลุม


ทั้ งธรรมชาติ และจิ ตใจ จึ งควรมี รากฐานอยู่บนส านึ กทางศาสนาที่ เกิ ดขึ้ นจาก
ประสบการณ์ ต่ อสิ่ งทั้ งปวง คื อทั้ งธรรมชาติ และจิ ตใจอย่างที่ เป็ นหน่ วยรวมที่ มี
ความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกาหนดนี้ ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รบั มือได้ กับ
ความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปั จจุบนั ศาสนานั้นควรเป็ นพระพุทธศาสนา"
นอกจากนี้ พระพุ ทธศาสนายังมี ค าสอนไม่ ให้ใช้ความรุ นแรงด้วย ดังที่
ปรากฏในโอวาทปาฏิโมกข์ จึงถูกใจชาวตะวันตกผูใ้ ฝ่ หาสันติภาพยิ่งขึ้ น ชาวพุทธที่
แท้จริงแม้ถูกทาร้ายจนถึ งชีวิตก็ ไม่มีปรากฏในประวัติศาสตร์ว่าได้รวมตัวกันจับ
อาวุธขึ้ นต่อสู ้ ได้แต่ใช้ความอดทนตามพระพุทธโอวาท แต่ในศาสนาเทวนิ ยมนั้ นมี
ปรากฏอยูบ่ ่อยครั้งทั้งในอดีตและปั จจุบนั ที่เกิดการนองเลือดขึ้ นระหว่างศาสนาบ้าง
ระหว่างนิ กายบ้าง เช่น สงครามครูเสด (Crusade) เป็ นต้น ชาวคริสต์และมุ สลิ ม
ต่ อสู ้กั น ยาวนานเกื อบ ๒๐๐ ปี จากปี พ.ศ.๑๖๓๙-พ.ศ.๑๘๓๔ เพื่ อแย่ งเมื อง
เยรูซาเล็ม ที่เชื่อกันว่าเป็ นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ตามหลักศาสนาของตน ด้วยหลักแห่ง
เหตุผล ไม่สอนให้เชื่อโดยไม่ได้พิสูจน์ และการไม่ใช้ความรุนแรง พระพุทธศาสนา
จึ งเป็ นที่ ยอมรับของชาวตะวัน ตกมากขึ้ นเรื่ อย ๆ ปั จจุ บั น พระพุ ท ธศาสนาใน
ตะวันตกจึงเติบโตรวดเร็วมาก
จากที่กล่าวมาทั้งหมด พอจะสรุปได้วา่
พระพุทธศาสนาในตะวันตกยุคปั จจุบันมีอัตราการเติบโตรวดเร็วมากและ
เติบโตเร็วกว่าทุ กศาสนา โดยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศอังกฤษ เยอรมนี ฝรัง่ เศส
สวิ ต เซอร์แลนด์ สหรั ฐอเมริ ก าและแคนาดา เป็ นต้น ส่ วนโซนโอเชี ยเนี ยนั้ น
พระพุทธศาสนาเจริญรุง่ เรืองอยูใ่ นประเทศออสเตรเลีย และนิ วซีแลนด์
พระพุ ท ธศาสนาเริ่ ม เป็ นที่ รู ้จั ก ของชาวตะวัน ตกอย่ างกว้างขวางเมื่ อ
ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕ โดยพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้าไปเผยแผ่ก่อน
ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหมู่นักวิชาการแต่ประชาชนทัว่ ไปยังไม่
ค่อยรูจ้ กั จนกระทัง่ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ นิ กายมหายานหลายนิ กายได้เข้าไปเผยแผ่
ซึ่งได้รบั ความนิ ยมมากทั้งในวงวิชาการและประชาชนทัว่ ไปโดยเฉพาะนิ กายเซนและ
พระพุทธศาสนาแบบทิเบต
๒๐๗

สาเหตุสาคัญที่ ชาวตะวันตกหันมานั บถือพระพุทธศาสนานั้ น ในเบื้ องต้น


เพราะเสื่อมศรัทธาในศาสนาเดิมที่สอนให้เชื่อเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากเหตุผล
ซึ่ งขัดแย้งกับหลักวิทยาศาสตร์ที่ ก าลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในตะวันตก และเมื่ อเขา
เหล่านั้ นได้ศึกษาพระพุทธศาสนาที่ทา้ ทายให้พิสูจน์ โดยไม่บังคับให้เชื่อตาม อีกทั้ง
หลักคาสอนยังยึดเหตุผลและการไม่ใช้ความรุนแรง จึงทาให้ชาวตะวันตกศรัทธา
และหันมานับถือพระพุทธศาสนา
อาจารย์ขอจบจดหมายฉบับนี้ เพียงเท่านี้

ขอให้พระรัตนตรัยคุม้ ครอง
อาจารย์

You might also like