You are on page 1of 8

มนุษย-ตอง-(ถูก)หาม // มุกหอม วงษเทศ

ในที่นี้จะถือ “มนุษยศาสตร” ในความหมายที่กวางที่สุดวาคือ ความรู และอะไรอื่นๆ ที่เกี่ยวๆ


ถากๆ กับการแสวงหาความรูความจริง หรือแมแตการผลิตเรื่องเลา และ “ตองหาม” คือ การถูกหาม, ถูก
เซ็นเซอร, ถูกปดบังกดทับ, หรือถูกปฏิบัตติ อดวยทาทีที่เปนศัตรูเปนปฏิปกษ ดังนัน้ พรมแดนของ
“ตองหาม” Forbidden ก็จะไดขยายไปอีกเรื่อยๆ รวมทั้งการถือวา ไมมี “มนุษยศาสตร” ที่ปราศจาก
“มนุษย” ดวย
มนุษยศาสตรตองหาม อาจมองไดหลายระดับ จะขอลองมองเปนสามแบบซึ่งเกี่ยวพันกันคือ
1. ระดับสังคมที่ความรูด ํารงอยู หรือการปะทะกับสังคมภายนอก
2. อีกระดับหนึ่งคือในเชิงสาขาวิชาของมนุษยศาสตรเอง
3. และอีกระดับที่อาจจะเรียกหยาบๆ ก็ไดวาระดับปรัชญา

----- (1)
ถาเริ่มจากระดับสังคมแลว ในทุกๆ วัฒนธรรม และตลอดประวัติศาสตรมนุษยชาติ “ความรู”
หรือ “การแสวงหาความรู” ไมเคยมีเสรีภาพ เพราะ “ความรุ” เปนเรื่องของ “อํานาจ” การเมือง และ
อํานาจจะบอกวาอะไรคือสิ่งที่ “รูได” และอะไรคือสิ่งที่ “รูไมได” รวมทั้งอะไรที่ถือเปน “ความรูทชี่ อบ
ธรรม” และอะไรถือเปน “ความรูนอกรีต” นั่นก็คือ มีบางสิ่งบางอยางที่เรา “ไมควรรู”
อันที่จริง พระพุทธเจาก็ดจู ะไมสนับสนุนการแสวงหาความรูเ พื่อความรูนนั้ เอง อยางที่เรารูกนั
วา ความรูที่ไมนําไปสูการหลุดพนเปนความรูที่ไมมีประโยชน และไมพึงตองรู
ในวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมอืน่ ๆ ความรูหรือ “วิชา” ยังมี “ครู” หรือ มี “เจาของ” อีกดวย
ความรูไ มไดเปนสิ่งที่ลองลอยอยูในอากาศที่ใครๆ ก็เขาถึงได ขนบของการถายทอดวิชาความรูกเ็ ปน
“ความลับ” ไมวาจะวิชาชางตางๆ หรือดนตรีนาฏศิลปก็มี “ครู” ที่นากลัวขนหัวลุกทั้งนัน้ ดังนั้น ความรู
สัมบูรณสูงสุดจึงดํารงอยูแ ลวในโลกมาตั้งแตโบราณกาล คนรุนหลังเพียงแตพยายามเขาถึงความรูนั้นๆ
ตามแตบญ ุ กรรม และตองไมใชหรือแสดงความรูน ั้นอยางผิดบิดเบือนไปจากความรูส ัมบูรณนนั้ ๆ ดวย
งานอยางเชน การ “คัดลอก” คัมภีรจ ึงถือเปนงานศักดิ์สิทธิ์ ความรูจึงไมใชสิ่งที่ ขยาย หรือ เปลีย่ นแปลง
ได
นอกจากนี้ยังมีการเห็นวาคนเรียนวิชาความรูตองมีคุณธรรม มีศลี ธรรม ความรูถ าอยูในมือคน
ชั่วก็เปนอันตราย แตในขณะเดียวกันการครอบครองความรูก็เปนเรื่องของสถานภาพและอํานาจดวย

1
ถาถือตามความหมายอยางแคบและเครงครัด มนุษยศาสตรตองหาม คือ การแสวงหาความรู
หรือความจริงทางมนุษยศาสตรทถี่ ูก “หาม”? สําหรับในเมืองไทยแลว การ “หาม” หรือ “เซ็นเซอร” ก็
เปนกิจกรรมปกติ มนุษยศาสตรทถี่ ูกหามก็คือ การหาความจริงทีถ่ ูกหาม พูดงายๆ ก็คอื การเสนอขอ
ถกเถียงขอโตแยงใดๆ ทีต่ ั้งคําถามหรือสั่นคลอนเสาความเชื่อหลักของสังคมไทย ยิง่ ความเชื่อนั้นถูกยก
ให ศักดิ์สิทธิ์เพียงใด การตอตานก็รุนแรงขึน้ เทานั้น
การแสวงหาความรูความจริง ซึ่งรวมทั้งวัฒนธรรมการวิจารณในเมืองไทยที่ “ถูกหาม” มีอยู
หลายระดับของการถูกหาม บางเรื่องหามอยางเด็ดขาด บางเรื่องพูดไดในบางพื้นที่ จะวาไปแลวเรื่อง
ตองหามที่สุด หามเด็ดขาด ในเมืองไทยก็หนีไมพนเรื่องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย เรื่องหามที่สุด
ลับสุดยอด คือกรณีสวรรคต ประเด็นรองๆ ลงมาก็เปนประเด็นที่สั่นคลอน ทาทาย สถาบันความเชื่อ
ความศรัทธาของสังคมไทยโดยรวม หรือของคนจํานวนมาก เชน เรื่องศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง, บทบาท
และจุดยืนของกษัตริย/ราชสํานักในเหตุการณนองเลือด หรือประเด็นอนุสาวรียทาวสุรนารี
การเปนสิ่งตองหาม คือการที่ประเด็นเหลานั้นไมสามารถถูกพูดถึงหรือเขียนถึงในทีส่ าธารณะ
กลายเปนเรื่องที่ตอง “เลี่ยง” ดวยการ “ไมพูดถึงไปเลย”, “พูดเปนนัย”, “ละไวในฐานทีเ่ ขาใจ” เปนตน
แตที่แนๆ ก็คอื เปนเรื่องที่อยูในปริมณฑลของการซุบซิบนินทา การพูดคุยกันในทีร่ โหฐานกับบรรดาผูที่
ไวใจได และไมทรยศหักหลังกันงายๆ หากไมจําเปน
ดังนั้น สําหรับสังคมไทยและความคิดเกี่ยวกับความรูความจริงของไทย ในระดับหนึง่ ความ
จริง (Truth) จึงเปนสิ่งที่ดํารงอยูแลวอยางสมบูรณ และในอีกระดับหนึง่ การแสวงหาความจริง หรือการ
ตั้งคําถามไมเคยเปนสิ่งที่สําคัญที่สุด “ความจริง” ตองรองรับ รับใช และไมขัดแยงกับสิ่งอื่นๆ ที่สําคัญ
กวา เชน ชาตินิยม, ความเปนไทย, สถาบันฯ, ความเชื่อความศรัทธาของคนหมูมาก, ขนบธรรมเนียม
ประเพณีอนั ดีงาม
ทั้งนี้ทั้งนั้นการทําลาย “ความจริง” หรือ “คําอธิบายชุดหนึ่งๆ” เปนเรื่องปกติในประวัติศาสตร
การเก็บรักษาหลักฐานขอมูลทางประวัติศาสตรเปนกิจกรรมสมัยใหม เพราะในอดีตที่ไหนๆ ก็คงจะ
ทําลายสิ่งทีถ่ ูกถือวาเปน “อันตราย” กับความคิดจิตใจของผูคน และระเบียบสังคม และจึงตองมีการ
สรางหรือเขียนอะไรตอมิอะไรขึ้นใหมใหสอดคลองกับอุดมการณทางอํานาจในสังคม ไมมีที่ไหนใน
อดีตยอมปลอยใหมี “ความจริง” อันไมพึงประสงคดํารงอยูในสังคม
แตเมื่อเรื่องตองหามขึ้นอยูกบั สังคม เมื่อสังคมเปลี่ยน บางทีเรื่องตองหามก็เปลี่ยนไปดวย สิ่งที่
เคย “ตองหาม” ในสมัยหนึ่งก็อาจจะไมไดเปนสิ่งตองหามในอีกสมัยหนึ่ง เชน งานเขียนคอมมิวนิสต
เคยเปนหนังสือ “ตองหาม” ในยุคหนึ่ง แตเดี๋ยวนี้กไ็ มมีใครสนใจแลว เพราะ “คอมมิวนิสต” ไมไดเปน
ภัยคุกคามสังคมไทยอีกแลว หรือหนังสืออานเลน หนังสือประโลมโลกย เรื่องจักรๆ วงศๆ เคยถูกหาม

2
ในพวกวรรณคดีสโมสร เดีย๋ วนีก้ ฎเกณฑความคิดเกีย่ วกับหนังสือก็เปลี่ยนไป หรือการที่หนังสือโปก็
มักจะเปนหนังสือตองหามในหลายๆ สังคม
ดังนั้น สิ่งที่เปน “ภัย” เปน “อันตราย” ในสังคมจึงเปลี่ยนไปไดตามยุคสมัย แตกอนชวงรัชกาล
ที่ 6 ที่ 7 ซึ่งเปนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยมีการเขียนวิพากษวิจารณ ลอเลียนสถาบันฯ ในที่
สาธารณะไดบา ง เดี๋ยวนี้ระบอบประชาธิปไตย แคคิดก็ไมมีใครกลาคิดแลว
การหาความจริงเปนเรื่องตองหาม และไมใชวาการหามแสวงหาความจริงเปนเพียงเรื่องในอดีต
หรือเฉพาะในสังคมที่ไมใหอิสระทางความคิดมนุษย ปญหาทางจริยศาสตรในปจจุบันสวนหนึ่งยังคง
อยูบนฐานของสิทธิเสรีภาพในการหาความจริงดวย เชน การโคลนนิ่งมนุษย การแสวงหาทดลองความรู
จึงไมไดมไี ดอยางไรขอบเขต

----- (2)
เรื่องตองหามไมไดมีแตที่สงั คมถือวาเปนสิ่งตองหาม แตภายในชุมชนวิชาการเองก็มีเรื่อง
ตองหามดวยเหมือนกัน เรื่องตองหามในวงวิชาการกระแสหลักในตะวันตก หรือสวนใหญแลวอาจจะ
ในอเมริกา คือสิ่งที่ถือวาเปน Political Incorrectness ซึ่งดูจะเปนสิ่งทีว่ งวิชาการสรางขึ้นมาเองดวย
เทรนดและบรรยากาศของมนุษยศาสตรปจ จุบันผูกติดอยูกับ “การเมืองของความถูกตอง”
(political correctness) ไมวาจะออกมาในรูปของ multiculturalism หรือ relativism
นาสนใจวา เมือ่ พรมแดนทางทฤษฎีและอาณาบริเวณของมนุษยศาสตรขยายออกไปเรื่อยๆ ก็
กลับเกิดการกระทบกระทั่งกับ “วิทยาศาสตร” และ “ศิลปะ” ซึ่งลวนเปนศาสตรที่มฐี านอยูบนความ
ภาคภูมิทางสติปญญาและจินตนาการอันสูงสงของมนุษย แตมนุษยศาสตรกําลังบั่นทอนหรือเปดโปง
มายาคติเกีย่ วกับสิ่งเหลานี้
สิ่งสําคัญอยางหนึ่งที่มนุษยศาสตรแนววิพากษพยายามรื้อ คือ สิ่งที่เรียกวา “intrinsic value”
หรือ คุณคาภายใน จากการทําใหทุกอยางทีแ่ ตเดิมมีแต คุณคาทางศิลปะ ทางสุนทรียศาสตร หรือคุณคา
ทางเหตุผลแบบวิทยาศาสตร กลายเปนสิ่งที่ถูกประกอบสรางจากวัฒนธรรม การเมือง และอคติทางเพศ
ชนชั้น และชาติพันธุไ ปจนหมด นี่คือขอวิพากษที่มีตอมนุษยศาสตรแนวนี้ทกี่ ลายเปนกระแสหลักใน
ตะวันตกเอง
การที่ Political Correctness มีความออนไหวอยางยิ่งกับประเด็นทางเพศสภาพ เชื้อชาติ ชาติ
พันธุ ทําใหหลายสิ่งหลายอยางที่เคยอยูดีกนิ ดีมีสถานะสูงสงมากอนไมเพียงแตถกู บั่นทอน เซาะแซะคุณ
งามความดี แตยังถูกจัดการ กําจัด ประเมินคาใหม ถูกแบน เซ็นเซอรดว ย เชน นิยายเรื่อง Huckleberry
Finn ซึ่งเคยเปนงานคลาสสิกของวรรณกรรมอเมริกนั แตหลายสิบปทผี่ านมาก็เคยถูกแบนตามทีต่ า งๆ

3
ในอเมริกา เชน หองสมุดสาธารณะ หรือถูกเอาออกจากลิสตที่นักเรียนตองอาน ดวยประเด็นทางเชื้อ
ชาติ เหยียดคนผิวดํา บทละคร The Merchant of Venice ของเชกสเปยร ก็เคยถูกมองวาเขาขายตอตานยิว
อะไรทํานองนี้
อาจารยมหาวิทยาลัยในอเมริกาในบางรัฐถูกหามไมใหสอนอะไรที่มวี ัตถุประสงคที่ชี้นํา
ทางการเมือง อุดมการณ ศาสนา หรือตอตานศาสนา หรือดึงดันที่จะนําประเด็นทีเ่ ปนที่โตแยงมาพูดใน
ชั้นเรียน โดยไมเกี่ยวกับการเรียนการสอน หามการกีดกันทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ แตบางทีมันก็นาํ ไปสู
อะไรแปลกๆ ไดเชน เคยมีกรณีทนี่ ักศึกษาอเมริกนั บอกวาตัวเองถูกกีดกัน (discriminated) จากบรรดา
คณาจารยและนักศึกษาที่สวนใหญเปนพวกซาย พวกเดโมแครต เพราะเธอสนับสนุนบุช
มีกรณีที่นาสนใจเกิดขึ้นเชน การตอตานประนามการเหยียดผิว (racism) ไดนําไปสูกระแสหรือ
ขบวนการ Afro-centrism หรือ การเอาแอฟริกาเปนศูนยกลาง (ในทํานองเดียวกันกับ Euro-centrism เอา
ยุโรปเปนศูนยกลาง) ที่ทําใหมีงานเขียนที่บอกวาโสกราตีสและคลีโอพัตรามีเชื้อสายแอฟริกัน หรือ
ปรัชญากรีกขโมยความคิดมาจากอียิปต บรรดาอาจารยมหาวิทยาลัยที่เปน “คนขาว” ที่ศึกษาอารยธรรม
กรีก (Classicist) ที่ไมเห็นดวยกับขอโตแยงเหลานี้กร็ ูสึกวาการวิพากษวิจารณพวก Afro-centrism อาจ
ถูกกลาวหาวา “เหยียดผิว” ได
หรือการทีเ่ ทรนดกระแสหลักของการศึกษาประวัติศาสตรศิลปะก็ถกู มองวาเปนการเมืองของ
ทฤษฎี และเปนการโจมตีตวั งานศิลปะขึ้นเรื่อยๆ เชน ภาพวาดไมไดถูก “มอง” ดวยสายตาทาง
สุนทรียศาสตรอีกตอไป แตถูก “อาน” ประเด็นทางประวัติศาสตรการเมืองทั้ง gender, race, sexuality
ตางๆ นานาทีแ่ ฝงเรนอยูในภาพ
กรณีเหลานี้นําไปสูคําถามวา มนุษยศาสตรจะพูดถึงหัวขอประเด็นที่ “ไมถูกตองทางการเมือง”
ไดอยางไร? มนุษยศาสตรสามารถนําไปสูเสรีภาพทางความคิดโดยไมมกี ารเซ็นเซอร กดทับความคิด
บางอยางจริงหรือ? และถาหากมนุษยศาสตรที่ตองการรื้อความคิดทีส่ ถาปนาอยูใ นสังคม มันก็เลีย่ ง
ไมไดที่จะตองมีการพยายามทําลายความชอบธรรมของวิธีคิดแบบนั้นใหเปนเรื่องตองหาม ดวยใชไหม?
มนุษยศาสตรกระทําการ “หาม” เสียเองดวยรึเปลา?

4
หรือจริงๆ แลว มนุษยศาสตรอาจเปนเรื่องของการเมืองของการตอสูทางความคิดมากกวาเรื่อง
ของการแสวงหาอิสรภาพหรือการปลดปลอยอยางสมบูรณแบบ หรือแสวงหายูโทเปย ความดี ความงาม
ความจริงก็ได ที่สําคัญก็คือ มนุษยศาสตรไมไดเปน “กลุม กอน” ที่เปนเนื้อเดียวกันทีม่ องทุกอยางไปใน
ทิศทางเดียวกัน แตมนุษยศาสตรอาจมีความขัดแยงภายในมากมหาศาลก็ได และบางครั้งก็อาจจะมีความ
เปนปฏิปก ษกนั ภายในเสียยิง่ กวาเปนปฏิปก ษกับศาสตรสาขาอื่นๆ ภายนอกก็ได
มนุษยศาสตรอาจเปนพื้นทีข่ อง “สมรภูม”ิ มากกวา “สันติภาพ” เพราะแมแตจะพูดถึงเรื่องอยาง
สันติภาพและความดีงาม ก็ตองพูดกันในพื้นที่สูรบอยูดี

------ (3)
ประเด็น “ตองหาม” แบบสุดทายที่จะขอกลาวถึงคือ การหัวเราะ-อารมณขันตองหาม
(Forbidden Laughter and Humor)
กลาวอยางรวบรัดแลว ศาสนา ปรัชญา สถาบันทางอํานาจทุกชนิดลวน มีทาทีระแวดระวัง และ
กระทั่งเปนศัตรูกับการหัวเราะและอารมณขัน เพราะการหัวเราะและอารมณขนั บั่นทอน ทาทาย และตั้ง
คําถามกับการอางและผูกขาดอํานาจและความจริง
เปนที่ทราบกันวา คริสตศาสนาโดยเฉพาะในสมัยกลางหวั่นเกรงและเกลียดชังการหัวเราะ
เพราะการหัวเราะคือการ “ลืม” ทุกอยางทีท่ รงมหิทธานุภาพ ขณะที่หัวเราะ มนุษยลมื ความตาย พระเจา
บาป และลืมกลัวสิ่งเหลานี้ ลืมความซีเรียสและความศักดิ์สิทธิ์ของทุกอยาง
ประเด็นนี้เปนธีมที่นาสนใจและสนุกมากในนวนิยายเรื่อง The Name of the Rose ของอุมแบร
โต เอโก ซึ่งเปนเรื่องของการฆาตกรรมตอเนื่องหลายศพในโบสถวิหารอารามสมัยกลาง อันเปนสมัยที่
คริสตศาสนามีอํานาจครอบคลุมทุกมิติของชีวิต มีอุดมการณเนนการบําเพ็ญเพียร เรื่องเจตจํานงพระเจา
เรื่องบาป ความทุกข Suffering
การฆาตกรรมตอเนื่องนี้ก็มีตน เหตุมาจากพระบรรณารักษคนหนึ่งที่พยายามปกปกษพทิ ักษ
หนังสือตองหามเลมหนึ่งในหอสมุด หนังสือเลมนั้นคือ หนังสือที่วาดวยเรื่อง Comedy ของ Aristotle
ซึ่งยอมตองเกีย่ วกับอารมณขัน การหัวเราะ วากันวาหนังสือเลมนี้เปนหนังสือของอริสโตเติลที่หาย
สาบสูญไปนานแลว และไมมีใครเคยอาน แตกลับมาปรากฏอยูกอปปหนึ่งในหอสมุดแหงนี้ พระที่เปน
บรรณารักษนี้ (Jorge) จึงไมตองการใหบรรดาพระทั้งหลายในอารามไดอานเรื่องที่วา ดวยการหัวเราะ
เพราะการหัวเราะเปนการจาบจวงบั่นทอนความจริงของพระเจา เปนอันตรายตอคริสตศาสนา โดยให
เหตุผลวา Comedy ทําใหการหัวเราะถูกยกขึ้นเปน “ศิลปะ” เปน “ปรัชญา” และถึงขั้นเปนหนทางไปสู
ปญญา นักปรัชญากําลังใหความชอบธรรมกับการหัวเราะซึ่งเปนศัตรูกบั ความซีเรียสจริงจัง พระ

5
บรรณารักษผไู มมีอารมณขนั รูปนี้เลยวางยาพิษไวที่หนากระดาษ คนที่มาแอบอานจึงถูกยาพิษตาย การ
หัวเราะจึงเปนเรื่องคอขาดบาดตายตามตัวอักษรจริงๆ
พิธีกรรมศักดิส์ ิทธิ์แบบทางการหรือรัฐพิธที ี่เครงครัดเอาจริงเอาจังจึงไมอาจยอมใหมมี ิติของ
อารมณขนั ในนั้นไดเด็ดขาด เพราะทันทีทผี่ ูรว มพิธีหัวเราะในพระราชพิธี หัวเราะในพิธีที่เครงขรึม,
หัวเราะขณะเคารพธงชาติ, หัวเราะขณะพระสวด นั่นคือการทาทาย หรือลบหลูกับอํานาจที่กําลังสําแดง
อิทธิฤทธิ์อยู ณ ขณะนั้น บางทีเราจึงตองมีการ “กลัน้ ” หัวเราะ เพราะเรารูวาการหัวเราะในบางเวลาจะ
สรางปญหาไดอยางเลวรายมาก
แตเราจะเห็นอารมณขนั ในพิธีกรรมชาวบานที่มีมิติของการทาทายอํานาจ ลอเลนกับ
ขนบประเพณี ความศักดิ์สิทธิ์ ลําดับชั้นสูงต่ําในสังคม ฉะนั้นการหัวเราะอาจเปนสัญลักษณหรือมีมติ ิ
ของ อิสรภาพ ก็ได อิสรภาพที่จะไมถูกจองจําอยูในกฎเกณฑใดๆ เลย แตถึงกระนั้นมันก็มักจะอยูใน
บริบทของพิธกี รรม ไมใชในเวลาปกติ
ความศรัทธาอาจไมสามารถไปดวยกันไดกับการหัวเราะ เพราะการหัวเราะทําใหเราหยุดชะงัก
ชั่วคราวกับสิ่งหรือคนที่เราศรัทธา คนที่ศรัทธาซีเรียสจริงจังกับอะไรมากๆ จึงรูสึกวาสิ่งหรือคนที่เขา
ศรัทธา แตะตองไมได ลอเลียนไมได
อารมณขนั ยังดูจะเปนเรื่องตองหามในเรื่องของขนบการแสวงหาความรูความจริงใน
มนุษยศาสตร เพราะการแสวงหาความรูความจริงเปนเรื่อง “ซีเรียส” ไมใชเรื่อง “ตลก” การมีอารมณขัน
ในงานวิชาการหรือการเสนอเปเปอร จึงอาจถือเปนเรื่องตองหามที่ไมมีใครพูดถึง เพราะมันเหมือนเปน
สิ่งที่ละไวในฐานที่เขาใจอยูแลว การมีอารมณขันยังอาจทําใหงานเขียนไมนาเชื่อถือ เพราะอานแลวขํา
เราจะเชื่อถือเฉพาะเรื่องที่ไมขํา ขําแปลวา “เลนๆ” ไมจริงจัง แมวา จริงๆ แลวเรื่องจริงและความจริงจะ
เปนเรื่องตลกก็ตาม แตการแสวงหาความจริงตองไมใชเรื่องตลก ดังนัน้ แมวามนุษยศาสตรจะมีอุดมคติ
อยูที่เสรีภาพในการหาความรูความจริง แตตองไมหาแบบตลก
คําถามคือ เราสามารถจะหัวเราะความจริงไดหรือไม (Laugh at the truth) การหัวเราะความจริง
เปนเรื่องนาสะพรึงกลัวมากใชไหม

เรื่องตลกตองหาม (Forbidden Jokes)

ทามกลางบรรยากาศของ Political Correctness เรื่องตลกจํานวนมากก็เขาขายเปนเรื่องตองหาม


หรือตองถูกเซ็นเซอร ความถูกตองทางการเมืองไมสามารถทนทานตอเรือ่ งตลกบางเรือ่ งได เพราะ
ธรรมชาติของเรื่องตลกอาจจะในทุกวัฒนธรรมทั่วโลกจะตองมีความเปน Sexist และ Racist หรือการ

6
สรางภาพแบบฉบับที่แฝงนัยของการดูหมิน่ เหยียดหยาม การมีอคติที่มนี ัยทางลบอยูม ากมายเต็มไปหมด
เรื่องตลกเกี่ยวกับชนชาติ หรือประเทศเพื่อนบาน เปนเรื่องสามัญที่มีอยูด าษดืน่ ที่สุด โจกของฝรั่งจะมี
โจกที่ใหภาพ Stereo-type เกี่ยวกับคนอังกฤษ คนฝรั่งเศส อิตาเลียน ไอริช เยอรมัน ดัทช อเมริกัน
รัสเซีย เต็มไปหมด
ตัวอยางงายๆ ของเราเองคือ เรื่องตลกเกี่ยวกับชาวเขา หรือการพูดลอเลียนสําเนียงชาวเขา ซึ่งมี
มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคนกรุงเทพฯ มีปฏิสัมพันธกับชาวเขามากขึ้นๆ เชน การมาเปน maid ตามบาน หรือ
การทีภ่ าพลักษณชาวเขากลายเปนสินคา หากพูดตรงๆ แลว สําหรับคนกรุงเทพฯ ตลกพวกนี้ก็ตลกมาก
ตลกชัว่ ราย โคตรตลกจริงๆ เสียดวย ตลกแบบชาวเขานี้คอื เรื่องตลกที่คนกรุงเทพฯ ใชทาทีสถานภาพที่
เหนือกวา Make Fun กับความบกพรองทางภาษาเปนหลัก รวมทั้งเรื่องเพศดวย การใชทาทีมุมมองที่
เหนือกวาจึงเปนธรรมชาติอยางหนึ่งของเรือ่ งตลกแบบนี้ แตในอีกแงหนึ่ง การเห็นขันกับอะไรก็ตามที่
“ตาง” ไปจากตัวเอง ก็อาจเปนความปกติที่มีอยูในความเปนมนุษยทวั่ ไป เพราะความเปนมนุษยยอ ม
ไมใชความเปนเทพ ความเปนมนุษยคือความไมสมบูรณแบบ
ถึงกระนั้น บางครั้งเรามักจะมองกันวา เรื่องตลกที่ชอบธรรมคือเรื่องตลกทีล่ อเลียน เยาะเยย
ถากถาง ผูที่เหนือกวา ผูมีอํานาจ ไมใชเรื่องตลกทีก่ ระทําตอผูที่มีสถานะต่ํากวา ตลกที่ชอบธรรมจึงคือ
ตลกตอ “ขางบน” ไมใชตอ “ขางลาง” ตลกตอนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี ไมใชตลกกับคนเรรอนไร
บาน หรือตลกกับเหยื่อที่ถกู ขมขืน ซึ่งจะถูกถือวาเปนตลกที่ไรจริยธรรม
แตถาหากเรา “หาม” เรื่องตลกที่ไมถูกตองทางการเมือง (politically incorrect jokes) ซึ่ง
หมายถึงตลกที่มีนัยยะกดขีท่ างเพศหรือชาติพันธุ การ “หาม” นี้ก็อาจเทากับเปนการ “กดขี”่ ซอนสอง
ตลบ ชั้นแรกคือ ตัว Joke นั้น มีนัยกดขี่อะไรบางอยาง แลวเราก็ไป “กดขี่” ใชอํานาจกับการเลาเรื่องขํา
ขันเหลานั้นอีกทีหนึ่ง แตทั้งนี้ทั้งนั้นก็แนนอนวา เราก็มีทงั้ good joke กับ bad joke และการตัดสินวา
อะไรคือ good joke หรือ bad joke ก็คงเปนอีกเรื่องหนึ่ง
ประเด็นสําคัญอยูที่วา ปรัชญาของอารมณขนั หรือตลก คือ การทําใหทุกอยาง “คลุมเครือ” และ
คือการ “แขวน” การตัดสินทางศีลธรรม ฉะนั้นจะวาไปแลว อารมณขันยอมตองอยูก้ํากึ่ง ลอแหลม ทา
ทายกฎเกณฑแบบแผนทางอํานาจ ความถูกตอง และศีลธรรมเสมอ ดังนั้น ศาสนาซึ่งสรางโลกและ
กฎเกณฑทางศีลธรรมที่ชัดเจนจึงตองมีปญ  หากับอารมณขันแนๆ ทําใหมักมีประเด็นคําถามกันวา พระ
เยซูเคยหัวเราะรึเปลา พระพุทธเจาเคยหัวเราะรึเปลา
และอาจจะเพราะความก้ํากึ่ง ลอแหลม ทาทายอยางนีด้ วย บางทีการคิดอะไรไดเรียบรอยอยูใน
แบบแผนมากๆ จึง “ตลก” หรือเห็น “อารมณขัน” ไดยาก และตามจารีตแลว คนที่จะทํา “ตลก” มี
อารมณขนั ไดก็มักจะเปน “ผูชาย” แทบจะทั้งนั้น เพราะแนนอนวาผูชายไดรับอนุญาตจากสังคมให

7
สามารถลอเลน ทาทาย พลิกแพลง ทะลึ่ง หยาบคาย ใชไหวพริบปฏิภาณไดมากกวา “ผูหญิง” ที่ถูกจํากัด
ใหอยูในกรอบจารีตทีก่ ดทับกวา
เราจึงอาจมองการหัวเราะและอารมณขันโดยเฉพาะในที่ “สาธารณะ” วาเปนเรื่องตองหามของ
“ผูหญิง” ไดอีกชั้นหนึ่งดวย

หัวเราะตัวเอง

สุดทายนี้ อารมณขันและการหัวเราะที่สําคัญที่สุดกลับคือ การหัวเราะตัวเอง (Laugh at


Oneself) มนุษยศาสตรก็ตองรูจกั หัวเราะตัวเอง การหัวเราะคนอื่นเปนเรือ่ งงายที่สุด เปนธรรมชาติทสี่ ุด
และเราก็ทํากันตลอดเวลา แตเราควรจะรูจักและเรียนรูทจี่ ะหัวเราะตัวเอง การไมสามารถหัวเราะตัวเอง
ได คือการใหความสําคัญ ซีเรียสกับความคิดตัวเอง ตัวตนตัวเอง มากเกินไป คิดวาเราผูกขาดการตีความ
การอาน การวิเคราะห หรือเปนผูคนพบหรือถายทอด “ความจริง” แลวเปดโปงอยางอื่นที่ “ไมจริง”
ยิ่งพวก Fundamentalist, Ultra-conservative, หรือพวกคลัง่ ชาติ พวกสาวกบูชาลัทธิใดๆ ยิ่งตอง
รูจกั หัวเราะตัวเอง วาตัวเองกําลังทําอะไรกันอยู
การหัวเราะตัวเอง คือ การลดอัตตา ละลายตัวตน บาง
มันคือการกระโดดออกจากตัวเอง แลวหันกลับมามองตัวเอง แลวหัวเราะ
และจริงๆ แลว ไมมีใครในโลกนี้ ไมมีใครเลยสักคนเดียว ไมวาที่ไหนและเมื่อไหร ที่สําคัญ
และยิ่งใหญเสียจนไมสามารถหัวเราะตัวเองได

-----------------------------

You might also like