You are on page 1of 9

เส้นทางชีวิตบนถนนการเมือง

หากมองย้อนกลับไปในวัยเยาว์ของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชีวิตของเขาเข้าไปข้องแวะกับ
การเมืองแบบไม่ตั้งใจตั้งแต่ครั้งยังเด็ก
เนื่องจากบิดาคือ "คุณพ่อเลิศ" เป็นผู้สนใจ
การเมือง ชอบทางานการเมืองและพาเขาไป
สัมผัสงานการเมืองมาโดยตลอด

โดยที่ คุณพ่อ เลิ ศเริ่มเข้าสู่แวดวง


การเมืองท้องถิ่นตั้งแต่ปี พ .ศ. 2510 ประสบ
ความสาเร็จในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น
สมาชิกสภาจังหวัด และต่อมาได้เป็น
ประธานสภาจังหวัดเชียงใหม่ในปี 2511 ปี
ถัดมามีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ
คุณ พ่อ เลิศจึงกระโดดลงสู่เวทีการเมือง
ระดับชาติ และได้รับเลือกตั้งในปีนั้นเป็น
ส.ส.รุ่นเดียวกันกับ นายอุทัย พิมพ์ใจชน ,
นายชวน หลีกภัย , นายปรีดา พัฒนถาบุตร ฯลฯ ระหว่างที่เป็นส .ส. คุณพ่อ เลิศมักจะพานาย
ทักษิณ บุตรชาย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักเรียนเตรียมทหารไปพร้อมกับตนเอง เข้าร่วมการประชุม ทั้ง
ประชุมพรรคและประชุมสภาฯ อยู่เสมอ

คุณพ่อเลิศเป็น ส.ส. ทางานการเมืองอยู่จนกระทั่ง พ.ศ. 2519 จึงวางมือและสนับสนุนให้


น้องชาย คือ นายสุรพันธ์ ชินวัตร ผู้มีศักดิ์เป็นอาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ลงสมัคร ส.ส.แทน

ตลอดระยะเวลาที่ติดตามคุณพ่อเลิศเข้าไปรับรู้เรื่องราวทางการเมือง ความชอบ ความ


สนใจก็เริ่มติดอยู่ในใจของ พ.ต.ท.ทักษิณเรื่อยมา

จนเมื่อพลิกผันเส้นทางชีวิตไปเป็นตารวจแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณก็ยังมีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับ
การเมืองอีกครั้ง โดยในราวปี พ .ศ. 2518 เขาได้เข้าไปเป็นนายตารวจติดตามนายปรีดา พัฒนถา
บุตร ซึ่งดารงตาแหน่งรัฐมนตรีประจาสานักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ระยะหนึ่ง
การได้เข้าไปสัมผัสสัมพันธ์กับแวดวงการเมือง นักการเมือง กอปรกับทัศนะ มุมมองของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ต่อความเป็นไปทางสังคม การเมืองในประเทศไทย ล้วนมีส่วนทาให้เกิด "ความคิด
ทางการเมือง" และพัฒนาความคิดดังกล่าวมาเป็นลาดับ

แล้ววันหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ตัดสินใจหักมุมชีวิตจากความสาเร็จทางธุรกิจอันรุ่งโรจน์


ก้าวเข้ามาสัมผัสวิถีการเมืองไทย

"ผมคิดว่า ผมสามารถสร้างฐานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับครอบครัวเพียงพอแล้ว
และกิจการธุรกิจของผมที่มีอยู่ก็มีผู้ที่จะคอยดูแลให้ โดยที่ผมไม่ต้องเป็นห่วง ฉะนั้นผมคิดว่าถึง
เวลาแล้วที่ผมควรจะ "ตอบแทน" บ้านเกิดเมืองนอน ด้วยการ "เสียสละ" และ"อุทิศ" กาลังกาย
กาลังสติปัญญา ในทิศทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ"

ปรากฏการณ์การเข้าสู่ถนนการเมืองของ พ .ต.ท.ทักษิณ ในคราวนั้น ถือเป็นการสร้าง


วัฒนธรรมใหม่ทางการเ มือง นั่นคือนักธุรกิจที่สนใจทางานการเมือง จะต้องทาอย่างเปิดเผย
โปร่งใส พร้อมให้ประชาชนและสื่อมวลชนตรวจสอบ ก่อนเข้ารับตาแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ต่างประเทศ พ.ต.ท.ทักษิณได้วางมือจากการบริหารธุรกิจในกลุ่มชินวัตรโดยสิ้นเชิง เพื่อแสดง
เจตนาบริสุทธิ์ในการอาสาเข้ามาทางานการเมือง

โจทย์ข้อสาคัญที่ พ.ต.ท.ทักษิณใช้เป็นตัวตั้ง และเป็นหลักในการเข้ามาทางานการเมืองใน


เบื้องแรก คือ

ประการหนึ่ง เขาชัดเจนในเจตนาของการเข้ามาเพื่อทา "ผลงานการเมือง" ทาประโยชน์


เพื่อส่วนรวม มิใช่เข้ามาเพื่อหวังประโยชน์ทางธุรกิจส่วนตัว หรือพวกพ้อง

อีกประการหนึ่ง เขาเชื่อมั่นว่าระบบวิธีคิด วิสัยทัศน์ของเขาที่ผลักดันกลุ่มบริษัทในเครือชิน


วัตรประสบความสาเร็จมาแล้ว น่าจะนามาประยุกต์ใช้เพื่อให้การทางานทางการเมืองสร้าง
ประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้มากยิ่งขึ้น

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 พ.ต.ท.ทักษิณ จึงตัดสินใจเข้ารับตาแหน่งหัวหน้าพรรคพลัง


ธรรม และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 กรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการ
เลือกตั้งปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นเป็นอันดับ 1 ในเขตนั้น

หลังการเลือกตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ารับตาแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรั ฐบาลนายบรรหาร


ศิลปอาชา รับผิดชอบงานจราจรและระบบขนส่งมวลชน มีความพยายามผลักดันการแก้ปัญหา
จราจรอย่างเป็นระบบ รวมถึงประสานโครงการระบบขนส่งมวลชนให้เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
เดียวกันอย่างสมบูรณ์มากขึ้น

การเข้าร่วมบริหารประเทศ ในครั้งนั้น พ.ต.ท.ทักษิณในฐานะหัวหน้าพร รคพลังธรรม ได้


สร้างวัฒนธรรมใหม่ทางการเมือง โดยการให้ ส.ส.ทุกคนของพรรคเปิดเผยรายได้และทรัพย์สินของ
ตนเองต่อสาธารณะ เพื่อให้สามารถมีการตรวจสอบได้ว่า สมาชิกทุกคนในพรรคเข้ามาทางานเพื่อ
ประเทศชาติและประชาชนมิใช่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน

อย่างไรก็ตาม ด้วยเงื่อนไ ขซับซ้อนทางการเมือง ความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล


และแนวทางการทางานที่แตกต่างกัน รวมไปถึงความขัดแย้งทางแนวคิดภายในพรรคพลังธรรม ทา
ให้ในที่สุด พ .ต.ท. ทักษิณ ตัดสินใจลาออกจากการร่วมรัฐบาล และลาออกจากพรรคพลังธรรม
ตามลาดับ

และแม้จะถูกทาบทามให้กลับมารับตาแหน่งร องนายกรัฐม นตรีในรัฐบาลพล .อ.ชวลิต


ยงใจยุทธ อีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 แต่ก็เป็นเพียงการทางานการเมืองในระยะเวลาสั้นๆ
ภายหลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ถือโอกาสพักยกทางการเมืองครั้งใหญ่

“ช่วงเวลาของการพัก ผมได้ศึกษาเพิ่มพูนความรู้ทางด้านสังคม การเมือง ให้กับตัวเอง


มากที่สุด... ยิ่งเดินทางทางความคิด จิตใจผมยิ่งนิ่งสงบ ยิ่งอารมณ์ปลอดโปร่ง ภาพการเมืองแบบ
ใหม่ตามความใฝ่ฝันก็คมชัดขึ้น”

ดังนั้น ความมุ่งหวังทางการเมืองของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงเวลานั้นมีเพียงอย่าง


เดียว คือ การเข้าร่วมในกระบวนการปฏิรูปการเมือง

และความมุ่งหวังนั้ นเริ่มมีเค้าลางชัดเจนขึ้น เมื่อ รัฐบาลภายใต้การนาของนายบรรหาร


ศิลปอาชา ได้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ซึ่งเป็นกุญแจสาคัญสู่
การปฏิรูปการเมือง

เมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 211 เป็นผลสาเร็จ จึงเกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ


ที่เรียกว่า สสร. มาทาหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สสร.จานวน 99 คนคัดสรรมาจาก 2 ทาง คือ

ทางที่หนึ่ง จานวน 76 คนมาจากแต่ละจังหวัด โดยมีการคัดเลือกจากผู้ที่สมัครให้เหลือ


จังหวัดละ 10 คน ก่อนที่จะให้รัฐสภาลงมติเลือกเหลือจังหวัดละ 1 คน
ทางที่สอง จานวน 23 คนจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์
และผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารราชการแผ่นดินที่สถาบันอุดมศึกษาส่งมาให้รัฐสภาคัดเลือก
อีกทีหนึ่ง

พ.ต.ท.ทักษิณลงสมัครคัดเลือก สสร. ที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับเลือกเป็นอันดับ 1 ใน


ฐานะตัวแทนจากจังหวัด แต่พลิกล็อคแพ้โหวตในรัฐสภา ทาให้ไม่มีโอกาสทาหน้าที่อย่างที่เคย
มุ่งหวังไว้

ทว่า การพลาดโอกาสในครั้งนี้กลับเป็นการสร้างโอกาสใหม่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั่นคือ


โอกาสในการตรึกตรอง และ “คิดใหม่” กับการเมืองอย่างลึกซึ้ง

เป็นการ “คิดใหม่” ที่มีรัฐธรรมนูญใหม่อันเป็นผลิตผลจากการปฏิรูปการเมืองเป็น


แสงสว่างนาทางไปสู่การก่อกาเนิดพรรคการเมืองใหม่ ในนาม “ไทยรักไทย”

พ.ต.ท.ทักษิณเริ่ม “คิดใหม่” ต่อการเมืองที่ผ่านกระบวนการศึกษา เพิ่มพูนความรู้ทางด้าน


สังคม การเมือง ด้วยการตระเวนพบปะนักวิชาการ นักคิด ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวนาชาวไร่ เ กือบทั่ว
ประเทศ เพื่อรับทราบปัญหารับรู้ความเป็นจริง ไปจนถึงการแลกเปลี่ยนทัศนคติต่อสิ่งที่ควรจะเป็น
เมื่อปรั ชญาความคิดทางการเมืองของตกผลึก และชัดเจน กล่าวคือ เป็นปรัชญา
การเมืองใหม่ที่มีแบบฉบับของตัวเอง เป็นปรัชญาการเมืองใหม่ที่กล้านาพาประเทศไทยเผชิญกับ
ทศวรรษหน้าด้วยความเข้มแข็ง และ เป็นปรัชญาการเมืองใหม่ที่ทาได้จริง

พรรคไทยรักไทย คิดใหม่ ทาใหม่ เพื่อไทยทุกคน

พรรคการเมืองใหม่ภายใต้ปรัชญาการเมืองใหม่จึงกาเนิดขึ้น ในนาม “พรรคไทยรักไทย ”


เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2541 โดยมีผู้ร่ว มก่อตั้งรวมทั้ง พ .ต.ท.ทักษิณ จานวน
23 คน

“พวกเราที่อยู่ที่นี้ทั้ง 22 ชีวิต ได้พร้อมใจกันมาด้วยเจตนารมณ์ ความรู้สึกและ


อุดมการณ์เดียวกัน ที่จะขออาสาเข้ามารับใช้พี่น้องประชาชน ขออาสาเข้ามาแก้ปัญหาของชาติ
ซึ่งนับวันจะมากขึ้น
พวกเราตระหนักถึงปัญหาของชาติบ้านเมืองและตระหนักถึงปัญหาที่ทุกคน ทุกอาชีพ ทุก
ระดับการศึกษากาลังประสบอยู่
ความเดือดร้อนอันนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ขาดวิสัยทัศน์ ส่วนหนึ่งก็
คงเกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งไม่มีใครหรือชาติใดในโลกนี้ที่จะหลีกเลี่ยง ไปพ้นได้ เว้นแต่จะ
สามารถนาพาประเทศด้วยวิสัยทัศน์และความรู้ความสามารถเท่านั้น
กอปรกับรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของพี่น้องประชาชนทั้ง ประเทศ ที่อยากเห็น
การปฏิรูปการเมือง ที่ให้คนดี มีความรู้ความ ได้มีโอกาสเข้าสู่การเมืองมากขึ้น
รัฐธรรมนูญใหม่แสดงเจตนารมณ์ของพี่น้องประชาชนชัดเจน ที่ต้องการลดอานาจภาครัฐ
และเพิ่มอานาจให้ภาคประชาชน เน้นการบริหารบ้านเมืองที่โปร่งใส สาคัญที่สุดคือ ต้องให้
ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ ถ่วงดุล รวมทั้งยังให้ความสนใจในเรื่องคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน อย่างที่ไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อน
พวกผมเห็นว่าเมื่อโอกาสเปิดให้เช่นนี้ เมื่อพวกเรามีความพร้อมที่จะเสียสละแล้ว พวกเรา
จึงได้พร้อมใจกัน เพราะทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบเราก็ควรจะ
เข้ามาอาสารับใช้พี่น้องประชาชนด้วยเจตนารมณ์ดังกล่าวทาให้พวกเราได้พร้อมใจกันจัดตั้งพรรค
การเมืองขึ้นในวันนี้
พรรคการเมืองที่พวกเราจะนาเสนอนั้นคือ พรรคไทยรักไทย ซึ่งหมายความถึงการรวม
พลังความรักของคนไทยทั้งประเทศ เพื่อเสียสละและมอบคืนให้แผ่นดิน เพื่อที่พวกเราจะพร้อม
ใจกันแก้ไขปัญหาของชาติ ด้วย สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา
แล้วทาการเมืองด้วยความซื่อสัตย์ เสียสละ มอบให้แก่แผ่นดิน ด้วยความสานึกในแผ่นดินเกิด
ของพวกเรา และด้วยสานึกความห่วงใยต่อพี่น้องร่วมชาติ ที่กาลังประสบปัญหา
ผมมั่นใจว่าทีมงานของพวกเรา และการรวมพลังของทุกฝ่าย จะสามารถแก้ ไขปัญหาของ
ชาติได้
การก่อตั้งพรรคของเราอาจจะต่างจากการตั้งพรรคอื่นพอสมควร เราเริ่มต้นด้วยการ
ประกาศเจตนารมณ์ว่าเราจะตั้งพรรคโดยมีแนวนโยบายทางการเมืองที่ชัดเจน และเชิญชวนพี่น้อง
เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การตั้งชื่อพรรค และวันนี้เราได้ยื่นจดทะเบียนพรรคการเมือง ตามกฎหมาย
พรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่
นโยบายหลักของพรรคเราเน้นการปรับแนวคิดด้านเป้าหมาย กระบวนการ และวิธีการ
ในการพัฒนาประเทศใหม่ โดยใช้ภูมิปัญญาไทยที่สั่งสมมา เน้นการสร้างรายได้เพื่อใช้หนี้ เน้นการ
สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางซึ่งขณะนี้กาลังประสบภาวะลาบาก ทั้ง ๆ ที่ธุรกิจเหล่านี้ควร
จะเป็นฐานสาคัญของประเทศ แต่วันนี้กาลังล้มหายตายจากกันไปจานวนมาก เราพร้อมที่จะนา
ภูมิปัญญาซึ่งสั่งสมกันมานานตั้งแต่บรรพบุรุษ มาพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้แนวคิดตรงนี้ได้รับการ
พัฒนา เพื่อให้ทันกับการแข่งขันในโลกาภิวัตน์
วันนี้ สังคมไทยเรา ไม่ว่าจะเป็นสังคมเกษตร สังคมอุตสาหกรรม สังคมข่าวสาร เรา
ไม่ได้รับความสมดุลในการพัฒนาเท่าที่ควร ผมเห็นว่าเราจะต้องใช้นโยบาย 3 ประสาน เพื่อนา
สิ่งที่ดีงามทั้ง 3 สังคมนี้มาเป็นกาลังสาคัญของบ้านเมืองในการที่จะฟื้นฟูประเทศ
สังคมเกษตรก็มีความดี ความสามารถในตัวเองที่เป็นรากฐานของสังคมเกษตรกรรมอยู่
ส่วนสังคมอุตสาหกรรมนั้นประเทศเราได้ลงทุนกับสังคมนี้ไปมาก ส่วนสังคมข่าวสารนั้นเราเพิ่ง
เริ่มต้น เราต้องนาแนวคิดทั้งหมดเข้ามาเพื่อสร้างความเชื่อมโยงให้กับ 3 สังคมนี้
ผมขอยืนยันเจตนารมณ์ว่าพวกเราทั้งห มดพร้อมที่จะเข้าไปบริหารบ้านเมืองด้วยการ
บริหารอย่างมีกลยุทธ์ โดยเราจะใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์และความรู้สึก เรา
จะทางานด้วยความฉับไวและซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อสร้างให้พรรคไทยรักไทยเป็นศูนย์รวมพลัง
ความคิด ศูนย์รับทราบปัญหาของพี่น้องประชาชน และจะนามากลั่นกรองหาแนวทางแก้ไขอย่าง
เป็นธรรม ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ปัญหาของประเทศเราวันนี้คงเปรียบเสมือนสิ่งที่มีชีวิต ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนที่ดีขึ้น หรือเลวลง หากพรรคได้รับมอบหน้าที่แก้ไขปัญหาของบ้านเมือง
พรรคจะใช้ แนว ทางหลักของนโยบายมาปรับปรุงแก้ไขให้ใช้กับสถานการณ์ได้ทันที เพื่อสร้าง
ความมั่นใจว่านโยบายของพรรคสามารถรองรับได้ทุกปัญหา
เราขอปวารณาตนที่จะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของสังคมไทย ที่จะรวมกันสร้างอนาคต
ใหม่เพื่อความวัฒนาถาวรของประเทศชาติต่อไป พวกเราจะร่วมกันส ร้างพรรคไทยรักไทยให้เป็น
พรรคที่ดีตามเจตนารมณ์ที่พี่น้องประชาชนอยากเห็น และจะประพฤติตนให้สมกับพรรคการเมือง
ที่ดีของประชาชน เพื่อให้พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคของประชาชนคนไทยตลอดไป “

สุนทรพจน์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในวันเปิด


พรรคไทยรักไทย 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541

ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้าง
การเมืองใหม่ที่สร้างสรรค์ภายใต้กรอบ
รัฐธรรมนูญใหม่ พรรคไทยรัก ไทย ซึ่งมี
พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค การ
ดาเนินกิจกรรมทางการเมืองจึงเริ่มต้นด้วย
การออกตระเวนรับฟังความคิดเห็นของ
ผู้คนทุกกลุ่ม ทุก สาขาอาชีพ เพื่อนา
ประเด็นปัญหามาประม วลและร่วมกันคิดเพื่อเสนอแนวทางการ
แก้ไขปัญหา โดยยกประเด็นปัญหาสาคัญในช่วงเวลานั้นที่ประเทศ
ต้องประสบปัญหาอย่างหนักมาเป็นโจทย์ใหญ่ ได้แก่ ปัญหาความ
ยากจน ปัญหายาเสพติดและปัญหาคอร์รัปชั่น
พรรคไทยรักไทยได้นาแนวนโยบายสาคัญ เสนอเป็น
วาระแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนไทยที่มีสิทธิ์เลือกตั้งได้พิจารณา ซึ่ง
นับเป็นการเปิดมิติใหม่ของการเมืองไทยที่พรรคการเมืองใช้
แนวนโยบายเป็นเครื่องมือหลักในการหาเสีย งเลือกตั้ง แทนการใช้
คารมโวหารใส่ร้ายป้ายสีกัน
ถือว่าไม่เคยมีครั้งใดในประวัติศาสตร์ ที่พรรคการเมืองจะมีกระบวนการจัดทานโยบายที่
ให้ความสาคัญกับการมีส่วน ร่วมของประชาชนอย่างสูงเช่นนี้ ช่วงเวลา 1 ปี 8 เดือนนับจากการ
ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ได้ร่างนโยบายของพรรค โดยกรรมการบริหารพรรค นักวิชาการและ
ผู้ทรงคุณวุฒิ ของพรรค เดินทางไปพบปะกับพี่น้องประชาชนที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบาย อาทิ
เกษตรกร ผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย โดยเข้าไปทาประชาพิจารณ์และรับฟังความคิดเห็น
สาธารณะจากพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ชัยชนะครั้งแรกของประชาชนและพรรคไทยรักไทย

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2544 เปรียบเสมือนศึกที่แต่ละพรรคจะต้อง


ช่วงชิงกันเพื่อยึด เก้าอี้ ส.ส. ใน
แต่ละเขตให้ได้มากที่ สุด
เหมือนกับการเลือกตั้งที่ผ่าน มา
ทุกครั้ง แต่ในครั้งนี้เป็นการ
เลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายใต้
รัฐธรรมนูญใหม่ที่ได้รับการ
ขนานนามว่าเป็นรัฐธรรมนูญ
ฉบับประชาชน ซึ่งมีกติกาใหม่ที่
ทาให้การเลือกตั้ง แตก ต่าง
ออกไป นั่นคือ มี ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งคะแนนทุกคะแนนที่แต่ละพรรคได้ จะมีความหมาย
มาก เพราะ นาไปคานวณสัดส่วนจานวน ส .ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ ได้เพิ่มขึ้นถึง 100 คน
นอกเหนือไปจาก ส .ส. เขตจานวน 400 คน ซึ่ง ได้มาจากกติกาใหม่ที่เป็น ระบบเขตเดียว ส.ส.คน
เดียว
การต่อสู้แบบเดิมภายใต้กติกาเดิม ตัวบุคคลมีความสาคัญมาก ถ้าเป็นบุคคล ดี เด่น ดัง
ในเขตนั้นแล้วไม่ว่าจะอยู่ที่พรรคไหนก็มักได้รับการเลือกตั้ง พรรคการเมืองจึงไม่มีความสาคัญ
ยกเว้นในเขตเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพมหานครเท่านั้นที่อิทธิพลของพรรคมีความสาคัญอย่างสูง
แต่การต่อสู้ในรูปแบบกติกาใหม่ได้แยกระบบ การเลือกตั้งออกเป็น 2 ระดับ คือ ในระดับ
เขตเพื่อให้ได้ ส.ส.เขต ในขณะที่การต่อสู้ในระดับประเทศเพื่อ ให้ได้ ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่ง
แต่ละพรรคจะต้องนาเสนอนโยบายที่โดดเด่นให้โดนใจประชาชนมากที่สุด และพรรคไทยรักไทยได้
มีการนาเสน อแนวนโยบายที่เป็นรูปธรรม เช่น นโยบายพักหนี้เกษตรก ร 3 ปี นโยบาย สุขภาพดี
ถ้วนหน้ าด้วยโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการ 1 ตาบล 1 ผลิตภัณฑ์ โครงการ กองทุน
หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท
นโยบายของพรรคไทยรักไทยจึงถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ในทางการเมืองที่ชูนโยบายที่เป็น
รูปธรรมจับต้องได้ ในขณะที่พรรคการเมืองอื่นยังคงขาดความพร้อมในเชิงนโยบายที่จะนาเสนอสู่
ประชาชน นอกจากนี้แต่ละพรรคยังยึดมั่นกับความสาคัญของตัวบุคคลและความเป็นท้องถิ่นนิยม
ผลการเลือกตั้ง วันที่ 6 มกราคม
พ.ศ.2544 พรรคไทยรักไทยจึงสามารถกวาด
คะแนน ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภา
ผู้แทนราษฎร จานวนถึง 248 คนและคะแนน
เสียงสนับสนุนพรรคอีกกว่า 11 ล้านเสียง ได้
เป็นพรรคการเมืองใหญ่ที่เป็นแกนนาหลักใน
การจัดตั้งรัฐบาล ถือเป็นปรากฏการณ์สาคัญ
บนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีพรรค
การเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
เลือก ส .ส.ให้เป็นตัวแทนของพวกเขามาก
อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

“ผลจากที่พวกเราร่วมทางานอย่าง
หนักด้วยความรักชาติและมีสติ วันนี้ขอพร้อมใจประกาศชัยชนะหน้าแรกของไทยรักไทย ชัยชนะ
จากการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่ชัยชนะของพรรคเท่านั้น แต่เป็นชัยชนะของประเทศไทย เพราะเป็นครั้ง
แรกที่ประชาชนพร้อมใจมอบหมายให้พรรคการเมื องเพียงพรรคเดียว มีเสียงเกินกึ่งหนึ่งเพื่อให้ไป
แก้ปัญหาสาคัญของประเทศที่รอการแก้มานานถึงสิบ ๆ ปี”

You might also like