You are on page 1of 6

น.ส.

ญาณิศา เล็กประเสริฐ 1208


สนธิสัญญาเบาว์ริง

ตลอดประวัติศาสตร์ไทย มีสนธิสัญญามากมายที่ประเทศไทยได้ทำไว้กับต่างชาติ ไม่ว่าจะเกี่ยวเนื่อง


กับด้านใดใด เช่น การเมือง สังคม หรือเศรษฐกิจ โดยสนธิสัญญาเบาว์ริงก็เป็นหนึ่งในสนธิสัญญาที่สำคัญที่สุด
ฉบับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ประเทศไทยทำกับประเทศอังกฤษที่ถูกส่งมาโดยเซอร์จอห์น
เบาว์ริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 4) ได้เป็นคนทรงเซ็น
สัญญานั้นด้วยตัวพระองค์เอง เมื่อปี พ.ศ. 2398 ที่ทำให้ไทยเปิดเป็นการค้าแบบเสรีเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นสนธิ
สัญญาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นหลัก ทำให้ประเทศไทยมีความผูกพันกับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น สนธิ
สัญญาดังกล่าวถือเป็นการสิ้นสุดการผูกขาดการค้าต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม รัชกาลที่ 4 มิได้ทรงทำสัญญา
ด้วยความเต็มใจเสียทีเดียว แต่ทว่าพระองค์เกรงว่าจะเสียเอกราชหากไม่ทำ เนื่องจากในสมัยนั้นภัยจากลัทธิ
จักรวรรดินิยมอย่างอังกฤษถือว่าอันตรายเป็นอย่างมาก พระองค์ท่านจึงทรงยอมทำ สนธิสัญญาดังกล่าว
พร้อมยอมแลกความเป็นเอกราชกับการสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล และสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ใน
ส่วนของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางสังคมที่สำคัญคือ การเสื่อมสลายของระบบไพร่และทาส อย่างไร
ก็ตาม ถึงแม้สนธิสัญญาเบาว์ริงจะดูเหมือนส่งผลดีให้แก่ประเทศไทยเป็นส่วนมากนั้น ดังที่กล่าวไว้ว่ารัชกาลที่
4 มิได้ทรงยินยอมเซ็นลงนามทำสนธิสัญญานี้ จึงทำให้ประเทศไทยต้องพบเจอกับปัญหาต่างๆตามมาหลังจาก
นั้นเช่นกัน เช่น การเกิดชนชั้นขึ้นในสังคมเนื่องจากการผลิตและการค้าที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความ
ขัดแย้งระหว่างขุนนางและพระมหากษัตริย์ ปัญหานี้เกิดขึ้นจากสาเหตุคล้ายๆกับการเกิดชนชั้นแต่จะเน้นไปที่
การค้าขายของขุนนางมากกว่า
สภาพสังคมในช่วงที่มีการทำสนธิสัญญาเกิดขึ้นนั้น ในช่วงก่อนทำ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่เป็น
เอกราชมิเคยโดนชาติใดล่าอาณานิคมได้สำเร็จ แต่การค้าขายหรือเศรษฐกิจโดยรวมนั้น ถือว่ายังไม่ดีมากนัก
เนื่องจากมีการค้าแบบผูกขาดการค้ามาก ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจได้ถูกแก้ไขไปหลังจากสนธิสัญญาเบาว์ริงได้รับ
การเซ็นยินยอม ระบบเศรษฐกิจของไทยได้เปลี่ยนมาเป็นประเทศที่มีการค้าแบบเสรี หมายถึงการที่
ประเทศไทยสามารถค้าขายกับต่างชาติได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาล แต่ในช่วงก่อนมีสัญญานี้ จะค้าขายอะไรใน
ประเทศไทยหรือค้าขายกับต่างชาติก็ไม่สะดวกเท่าที่ควรซึ่งอาจเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เศรษฐกิจไทย ณ ตอน
นั้นเติบโตยังไม่มากนัก ดังนั้นการเปลี่ยนมาเป็นการค้าแบบเสรี จึงถือเป็นการทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได
อย่างรวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม มีสินค้าอย่างหน่ึงที่ได้รับการยกเว้น คือ ฝิ่น นอกจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
แล้ว ระบบการขนส่งสินค้าในประเทศไทยก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย โดยเรือขนส่งสินค้าได้ถูกเปลี่ยนจากเรือ
สำเภาที่ต้องรอเพียงจังหวะลมในการขับเคลื่อนเท่านั้น ไปเป็นเรื่อกลไฟซึ่งใช้เครื่องจักรไอน้ำในการขับเคลื่อน
แทน การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบเศรษฐกิจของไทยนั้นมีส่วนมาจากมีการค้าขายกับต่างประเทศบางขึ้น
โดยเฉพาะกับชาวตะวันตกและชาวจีน การเปลี่ยนแปลงนี้ก่อให้เกิดผลเสียบางอย่างให้กับประเทศไทย ซึ่งนั่นก็
คือการที่มีแรงงานต่างชาติจากประเทศจีนอพยพเข้ามามาก ทำให้สภาพสังคมเกิดปัญหาต่างๆ เช่น มีความ
แออัดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ภายในสังคมมีความต้องการในหลายๆด้านเพิ่มมากขึ้นตามมา เช่น ทางการบริโภค
และการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม กล่าวโดยรวมแล้วสนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้เศรษฐกิจเงินตราของไทยเติบโต
อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการที่รายได้จากภาษีอากรที่ชนชั้นนำเป็นผู้จัดการก็สูงขึ้นมากอีกด้วย ซึ่งทำให้
ประเทศไทยมีสถานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นนั่นเอง แต่ในทางกลับกันผลเสียที่ได้รับก็มีอยู่มากเช่นกัน หลังจากที่
เศรษฐกิจได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเน้นไปที่การค้าขายกับประเทศอังกฤษทำให้สังคมเศรษฐกิจไทยเป็น
แบบทุนนิยมมากขึ้น ช่วยให้ชาวไทยเข้าสู่เศรษฐกิจเงินตราได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ประเทศไทยหรือประเทศ
สยามในเวลานั้นผันตัวมาเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมโลก ซึ่งหนึ่งในเหตุผลของปรากฏการณ์ดัง
กล่าว อาจจะเป็นราคาของวัตถุิบที่ถูกกว่าประเทศอื่นๆที่ประเทศสยามขายให้แก่ต่างชาติ อีกทั้งยังทำให้สยาม
เป็นตลาดสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศมหาอำนาจ อีกด้วย ลักษณะการส่งออกสินค้าได้เปลี่ยนไปใน
ลักษณะที่ว่าชนิดของสินค้าที่ถูกส่งออกนั้นลดลง แต่ส่งออกในปริมาณที่มากขึ้น โดยสินค้าเหล่านั้นก็คือ ข้าว
ไม้สัก ดีบุก ยางพารา ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเหล่านี้มากขึ้น อีกทั้งยังส่ง
ผลให้ธุรกิจการค้าปลีกส่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งธุรกิจประเภทนี้ได้รับการสนับสนุนจากนายทุนจีน
และอังกฤษเป็นหลัก แต่เมื่อปี พ.ศ.2396 ความสัมพันธ์ของสยามกับประเทศจีนก็ได้ถูกลดลง โดยพระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงได้ยุติการส่งคณะราชทูตไปถวายบรรณาการจักรพรรดิจีน ซึ่งตลาดต่าง
ชาติที่เข้ามาแทนที่ประเทศจีนก็คือ สิงคโปร์ เนื่องจากสิงคโปร์ถือเป็นเมืองท่าที่สำคัญจากเอเชียเพื่อขายให้กับ
ชาวตะวันตก โดยชาวตะวันตกนั้นต้องการข้าวและดีบุกจำนวนมาก ส่งผลให้สินค้าทั้งสองชนิดดังกล่าวเป็น
สินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีอาชีพที่เกิดใหม่อีกด้วยนั่นก็คือ “คนกลาง”
เนื่องจากการค้าขายมีการขยายตัวขึ้นทำให้้ต้องมี “คนกลาง” เป็นผู้นำสินค้าไปแลกเปลี่ยนกับชาวบ้านนั่นเอง
เนื่องจากสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นสนธิสัญญาที่สำคัญอันหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ปัจจุบันยังมีหลัก
ฐานทางราชการลงเหลืออยู่ให้เห็น เช่น การพูดถึงสนธิสัญญาดังกล่าวในหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี ของ
ประเทศอังกฤษและสยาม ในหนังสือได้ถูกกล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการค้าขาย
และารเสียภาษีต่างๆ ตามใน ข้อ ๘ ความว่า “ค่าธรรมเนียมปากเรือที่เคยเรียกแต่ลูกค้าอังกฤษตามสัญญา
เก่าซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปีนั้น จะยอมเลิกเสียตั้งแต่หนังสือสัญญานี้ใช้ได้ พ้นนั้นไปจะต้องเสียแต่
ภาษีสิ่งของขาเข้าขาออก สินค้าเข้าจะต้องเสียภาษี ๑๐๐ ละสาม จะเสียเปนของฤจะเสียเปนเงินคิดราคาตาม
ราคาท้องน้ำสุดแต่ใจเจ้าของจะเสีย ถ้าของเสียภาษี ๑๐๐ ละสามแล้ว ของจำหน่ายไม่ได้ จะเหลือกลับออกไป
มากน้อยเท่าใด ต้องคิดภาษีสิ่งของที่เหลือคืนให้แก่เจ้าของให้ครบ ถ้าราคาสิ่งของไม่ตกลงกัน ต้องไปบอก
กงสุล ๆ จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤสองคน เจ้าพนักงานฝ่ายไทยก็จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤสองคน ช่วยตีราคาภอ
สมคววร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะบันทุกเอาฝิ่นเข้ามา ณ กรุงเทพฯ ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายฝิ่นให้แก่
เจ้าภาษี ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อฝิ่นไว้ ให้บันทุกกลับออกไปไม่ต้องเสียอะไร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษเอาฝิ่นไป
ลักลอบขายทำผิดสัญญาข้อนี้ ให้ริบเอาฝิ่นไปเสียให้สิ้น...” โดยสรุปก็คือหลักฐานจากหนังสือสัญญาทางพระ
ราชไมตรีนี้เป็นหลักฐานที่ำสนับสนุนการบรรยายลักษณะทางสังคมในย่อหน้าที่ 2 ว่า สนธิสัญญาเบาว์ริงได้มี
ผลกระทบต่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจไทยจริง ตัวอย่างเช่นตามที่ในหนังสือเขียนไว้ว่า “ค่าธรรมเนียมปากเรือ
ที่เคยเรียกแต่ลูกค้าอังกฤษตามสัญญาเก่าซึ่งทำไว้ในคฤษตศักราช ๑๘๒๖ ปีนั้น จะยอมเลิกเสียตั้งแต่หนังสือ
สัญญานี้ใช้ได้” จากข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าสนธิสัญญานี้ให้ผลประโยชน์แก่ชาวอังกฤษ ซึ่งคือผู้นำสัญญา
มาให้สยามเซ็นเป็นหลัก โดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมปากเรือ จากข้อความดังกล่าวยัง
สามารถตีความได้อีกว่า ผลประโยชน์ในการไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมนั้นตกเป็นของประเทศอังกฤษเพียง
ประเทศเดียว นอกจากนี้ยังมีอีกข้อความหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการได้รับผลประโยชน์อย่างชัดเจนของชาว
อังกฤษ นั่นก็คือ “ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะบันทุกเอาฝิ่นเข้ามา ณ กรุงเทพฯ ไม่ต้องเสียภาษี” จาก
ข้อความนี้นั้นหมายความว่าประเทศที่เป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ โดยกล่าวง่ายๆก็คือ “ยอม” ให้
ประเทศอังกฤษยึดครอง ประเทศเหล่านั้นจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีฝิ่น ข้อตกลงเหล่านี้ถือเป็นหลัก
ฐานที่ชัดเจนว่า สนธิสัญญาเบาว์ริงนั้น ถึงแม้จะดูเหมือนว่าส่งผลดีให้แก่สยาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่ได้
รับผลประโยชน์มากกว่าก็คือ ผู้ที่นำสนธิสัญญาเข้ามาให้รัชกาลที่ 4 เซ็น ซึ่งก็คือประเทศังกฤษนั่นเอง
สาเหตุที่สยามตัดสินใจยอมทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษทั่้งๆที่ทราบดีว่าอาจมีผลเสียเกิด
ขึ้นกับประเทศคาดว่าจะเป็นการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเล็งเห็นว่าหากไม่ยอมทำ
สัญญาแล้วนั้นผลเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาอาจมีมากกว่าการยอมด้วยซ้ำ โดยผลกระทบเหล่านั้นคือ การเสีย
อำนาจอธิปไตยและการเสียเอกราช รวมไปถึงแรงกดดันจากปัจัยภายนอกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แล้ว ที่ท่าน
โดนแรงกดดันจากต่างชาติบีบคั้นให้ทำสัญญาจากโลกตะวันตกตอนที่ ประเทศอังกฤษเข้ามายึดพม่า ซึ่งแรง
กดดันในครั้งนั้นได้มีผลกระทบไปจนถึงในช่วงที่รัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นครองราชย์ในตอนต้น
ในความคิดเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้านั้นคิดว่า การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรง
ยินยอมเซ็นสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นสิ่งที่ควรทำที่สุดแล้วในสถานการณ์เช่นนั้น เนื่องจากผลเสียที่จะได้รับหลัง
จากสัญญาได้รับการยินยอมเป็นสิ่งที่คาดหวังได้และสามารถให้ประชาชนชาวสยามเตรียมพร้อมรับมือกับการ
เปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าหากในวันนั้นพระองค์ท่านตัดสินใจไม่ตกลงยินยอมกับสนธิสัญญาเบาว์ริงผลกระทบที่
ตามมานั้นยากที่จะคาดการณ์ เนื่องจากว่าการไม่ยอมตกลงกับประเทศอังกฤษอาจทำให้ชาวอังกฤษไม่พอใจ
และคิดใช้ความรุนแรงมากขึ้นเพื่อจัดการกับสถานการณ์ อีกทั้งการไม่ตกลงยินยอมอาจดูเหมือนการทำให้
ความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยกับชาวอังกฤษเสียไปอีกด้วย อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นตัวเลือกใดสยาม ณ
เวลานั้น ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน เพียงแต่อาจจะความรุนแรงไม่เท่ากัน ผลกระทบที่ทำให้สยามมีสภาพ
สังคมที่แย่ลงดังที่กล่าวไปในย่อหน้าก่อน ในส่วนตัวแล้วคิดว่าการจะแก้ปัญหาเหล่านั้นอาจเป็นสิ่งที่ต้องใช้
เวลา อย่างไรก็ตามคิดว่าสามารถเป็นไปได้โดยอาจจะเริ่มจากกระจายข่าวให้ประชาชนเข้าใจว่าการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะอะไร ซึ่งในที่นี้คือการที่สยามถูกบีบคั้นให้ทำข้อตกลงโดยไม่ได้ยินยอม
ใจเสียทีเดียว การกระทำเช่นนี้จะทำให้ประชาชนบางคนที่อาจะยังไม่เข้าใจว่าทำไมจึงยอมทำข้อตกลงในตอน
แรกซึ่งพวกเขาอาจะกำลังหงุดหงิดกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ถือได้ว่าสยามเสียเปรียบทางการเงินและ
สังคมต่อประเทศอังกฤษมากพอสมควร ประชาชนเหล่านี้จะได้เข้าใจและยอมรับความจริง ซึ่งจะทำให้พวกเขา
พร้อมที่จะร่วมกันพัฒนาประเทศและแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากประชาชน
ส่วนมากจะมีความเ็นหนึ่งเดียว ทำเพื่อจุดประสงค์สุดท้ายเดียวกันคือทำให้สยามหลุดพ้นจากการถูกเอาเปรียบ
จากชาวตะวันตกให้ได้ หลังจากที่ประชาชนเข้าใจปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ควรให้ความรู้เกี่ยวกับ
ประชาชนว่าปัญหาดังกล่าวควรแก้อย่างไร โดยควรเน้นไปด้วยว่าควรทำอย่างไรให้สถานการณ์ดีขึ้น และไม่
ควรทำอะไรที่อาจจะทำให้สถานการณ์แย่ลงไปจากเดิมอีก สุดท้ายน้ีสิ่งที่ข้าพเจ้าคิดว่าสำคัญไปไม่น้อยกว่า
ปัจจัยใดๆในการแก้ปัญหาคือทัศนคติที่ชาวสยามควรมี นั่นก็คือ การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นกันและกันด้วย
ความใจเย็น และไม่ใช้ความรุนแรง ข้าพเจ้าเชื่อว่าทัศนคติเช่นนี้จะช่วยให้มีความคิดที่หลากหลายเกิดขึ้น ซึ่ง
ความหลากหลายนี้นั้นที่จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธภาพมากที่สุด ตามความเชื่อของ
ข้าพเจ้าที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสำนวนไทยที่ว่า “สองคนหัวหาย สองคนเพื่อนตาย” “รวมกันเราอยู่ แยกหมู่
เราตาย” และ “สองหัวดีกว่าหัวเดียว” ทั้งสามสำนวนนี้ล้วนแสดงให้เห็นว่าความสามัคคี และการฟังความคิด
เห็นของกันและกันนั้นมักนำมาซึ่งความสำเร็จนั่นเอง
กล่าวโดยสรุปคือ สนธิสัญญาเบาว์ริงคือสนธิสัญญาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาล
ที่ 4) ได้ทำกับประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจอยู่ ณ ขณะนั้น โดยสัญญาดังกล่าวถูกนำมาที่สยาม
โดย เซอร์ จอห์น เบาว์ริง สนธิสัญญานี้เมื่อได้ทำข้อตกลงกันแล้วได้ทำให้ประเทศอังกฤษได้รับผลประโยชน์
มากกว่าสยามมากพอสมควร เช่น ได้รับการยกเว้นทางด้านภาษี รวมไปถึง ได้เป็นประเทศที่มาตั้งศาลใน
ประเทศไทยซึ่งทำให้อังกฤษได้รับผลปประโยชน์ทางกฎหมายมากกว่าประเทศอื่นๆ ในขณะเดียวกันการ
เปลี่ยนแปลงหลักที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยคือ ประเทศไทยได้เปลี่ยนเป็นประเทศที่มีการค้าเสรีจากการค้าแบบ
ผูกขาดโดยเน้นเป็นระบบทุนนิยม ทำให้ประเทศไทยมีการค้าขายกับต่างชาติที่กว้างขวางมากขึ้น แต่ผลเสีย
อื่นๆ ถือเป็นผลกระทบส่วนมากที่ประเทศไทยได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการถูกกดขี่ในด้านกฎหมาย หรือการที่แรงงาน
ต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้นทำให้รายได้ของประชาชนโดยรวมลดลง รวมไปถึงสังคมมีปัญหาความ
แออัดมากขึ้น อย่างไรก็ตามการทำสนธิสัญญาทั่วไปล้วนให้ทั้งข้อดีและข้อเสียแก่ผู้นำมาและผู้ยินยอมต่อข้อ
ตกลงทั้งนั้น ประเทศไทยยังถือว่าโชคดีและเข้มแข็งมากที่ถึงแม้จะพบเจอปัญหามากมาย แต่ก็สามารถอยู่มา
เป็นประเทศที่ไม่เคยเสียเอกราชให้แก่ชาติใดจนถึงมาถึงทุกวันนี้
บรรณานุกรม

จากเว็บไซต์
บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด. การลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty). 26 พ.ย. 56
05.25 น., http://guru.sanook.com/26061/
พัชรี วิไล. สนธิสัญญาเบาว์ริง. วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556, http://
jamsai987.blogspot.com/2013/09/blog-post_3722.html
(ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง). สนธิสัญญาเบาว์ริง. 12 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 16:08, https://
th.wikisource.org/wiki/สนธิสัญญาเบาว์ริง
บางเบา ธีม. สนธิสัญญาเบาว์ริง (สาระสำคัญ). ไม่ปรากฏวันที่เขียน, http://what998.blogspot.com/
2014/03/Bowring-Treaty.html

จากเอกสารอื่นๆ
นิธิ เอียวศรีวงศ์, “วัฒนธรรมกระฎมุ พีกบั วรรณกรรมต้นรัตนโกสนิทร์” ใน ปากไก่ใบเรือ ว่าด้วย
การศึกษา ประวัติศาสตร์-วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: แพรวสานกั พิมพ์,
2538, หน้า 111-112.

สาวิตรี สวุ รรณสถิต, แปล, เอกสารเฮนร่ี เบอร์น่ี เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551, หน้า 68.
นนัทนนชัชีวรติธรรรม,“ผลกระทบของสนธิสญัญาเบอร์นีพ.ศ.2369ต่อเศรษฐกิจไทยสมยัรัตนโกสินทร์
ตอนต้น” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,
2540, หน้า 7.
สุภาภรณ์ จรัลพัฒน์, “ภาษีฝิ่นกับนโยบายด้านการคลังของรัฐบาลไทย” วิทยานิพนธ์อักษร
ศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชา ประวตัิศาสตร์จฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลยั,2523,หน้า9,18.

สมภพ มานะรังสรรค์, แนวโน้มพัฒนาการเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนและหลังการปฏิรูปการปกครองในรัช
สมยั พระบาทสมเดจ็พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2544,หน้า2.
สุทธิพันธ์ุขุทรานนท์,“การเก็บภาษีอากรและผลกระทบตอ่สงัคมไทยพ.ศ.2416-2475”วิทยา
นพินธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2425, หน้า 71.
สภุาภรณ์ จรัลพัฒน์, “ภาษีฝิ่นกับนโยบายด้านการคลงั ของรัฐบาลไทย พ.ศ.2367-2468”, หน้า
24-40.
อภิชาชตุิพงศ์พิสฏิฐ์.“ลักษณะทางเศรษฐกิจและการเมืองของความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับ
สิงคโปร์พ.ศ.2398- 2461 ”วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบณัฑิตภาควิชาประวตัิศาสตร์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย,2547,หน้า68.
เรื่องเดียวกัน,หน้า70-72. หจช.,ร.5เอกสารเย็บเล่ม กรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 5 ชุดสารตราเล่ม
1 ปีรกา สปัตศก 1247และเอกสารเย็บเล่ม กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 ชุดสารตรา เล่ม 6 ปีรกา สปัต
ศก 1248.

You might also like