You are on page 1of 20

บทที่ 2

สภาพการณ์โลกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2

สาเหตุพื้นฐานความขัดแย้งระหว่างประเทศ
1. การแข่งขันทางเศรษฐกิจและการแย่งชิงทรัพยากรในคริสต์ศตวรรษที่16-17 ประเทศยุโรป
ต่างแข่งขันกันแสวงหาความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจการค้าตามลักษณะของระบอบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์
นิยม จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศ
ตะวันตกต่างแข่งขันกันล่าอาณานิคม เพื่อแสวงหาวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งนำไปสู่การทำ
สงครามและความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ
2. ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมืองและศาสนา ได้แก่ ความขัดแย้งในอุดมการณ์
ทางการเมืองระหว่างฝ่ ายประชาธิปไตยกับฝ่ ายคอมมิวนิสต์ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2 และความขัด
แย้งทางศาสนาระหว่างชาวยิวที่นับถือศาสนายูดายกับอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้น
3. การแข่งขันกันขยายอิทธิพลทางการเมืองเพื่อความเป็ นใหญ่ในภูมิภาค ได้แก่ การขยาย
จักรวรรดิของฝรั่งเศสในดินแดนยุโรปในสมัยพระเจ้านโปเลียนในต้นคริสต์ศตวรรษที่19 ก่อให้เกิด
สงครามต่อต้านการรุกรานของฝรั่งเศส เป็นต้น

สงครามโลกครั้งที่ 1
สภาพการณ์ก่อนภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1
1. ความไม่สงบในแหลมบอลข่าน ชาวเซอร์เบียดิ้นรนเพื่อต้องการเอกราชของตนเอง และ
ความขัดแย้ง ผลประโยชน์และการกดขี่ อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษา และ
วัฒนธรรม กับนโยบายชาตินิยมของแต่ละประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน
2. การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับเยอรมันนี เรื่องการ
จำหน่ายสินค้าซึ่งต่างแข่งขันกันอย่างมากเพื่อครองตลาดการค้า ขณะนั้นประเทศเยอรมันได้รับความ
นิยมอย่างยิ่งจากทั่วโลกว่า ผลิตสินค้าอย่างยอดเยี่ยม ทนทานและมูลค่าไม่แพงเกินไป ประเทศต่างๆ
พากันสั่งซื้อสินค้าของเยอรมันเป็ นการใหญ่ ด้วยสาเหตุนี้ก่อให้เกิดความไม่สบายใจในชาติอื่นที่ผลิต
สินค้าไม่ดีเท่าเทียมกับเยอรมัน หมายถึง ความถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศตน ความอยากแก้
แค้น เพราะการเงินขัดสนเนื่องจากขายสินค้าไม่ออก
3. ปัญหาชาตินิยม คำว่า “ชาตินิยม” (Nationalism) เกิดจากการสำนึกรักเชื้อชาติบ้านเกิด
เมืองนอนของตน เป็ นความรู้สึกของประชาชนบางกลุ่ม ซึ่งมีวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกันอยู่ร่วมกัน
อย่างใกล้ชิด แรงกดดันทางเศรษฐกิจนำไปสู่การแสวงหาอาหารให้พอกิน และความกดดันทางการ
เมืองคือต้องการที่จะแผ่อำนาจของตนให้คนในเผ่าหรือเชื้อชาติเดียวกันร่วมมือกันในการต่อสู่กับเผ่าอื่น
ชนวนสงครามโลกครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1914(พ.ศ.2457) รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย ฮังการี ฟ
รานซิส เฟอร์ดินันด์ ถูกลอบปลงพระชนม์ ที่เมืองซาราเจโวในบอสเนีย ออสเตรีย กล่าวหาว่า เซ
อร์เบีย(สนันสนุนบอสเนีย)จะต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้หลังจากได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนีแล้ว
ออสเตรียได้ยื่นคำขาดต่อเซอร์เบีย ต่อมารัสเซียเริ่มระดมพล เยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซีย(สนัน
สนุนเซอร์เบีย) เยอรมนีประกาศสงครามกับฝรั่งเศสและยกทัพบุกเบลเยียมเพื่อโจมตีฝรั่งเศส เหตุนี้
ทำ ให้อังกฤษเข้าร่ วมสงครามเป็ นพันธมิตรกับฝรั่งเศส อิตาลีประกาศตนเป็ นกลาง แต่ใน
ค.ศ.1915(พ.ศ.2458) ได้เข้าร่วมกับมหาอำนาจ ภาคกลาง Central Powers เพื่อหวังว่าจะได้ดินแดน
บางส่วนของออสเตรีย
วิกฤติการณ์เมืองซาราเจโว สาเหตุปัจจุบันของสงครามโลกครั้งที่ 1 เชื่อว่าเกิดจากการลอบ
ปลงพระชนม์ อาชดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ แห่งออสเตรีย ด้วยฝีมือของนักศึกษาบอสเนียเชื้อสาย
เซอร์ป ชื่อ กาวริโล ปรินซิป ที่ซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย

คู่กรณี สงครามโลกครั้งที่ 1 คือ


1. ฝ่ ายมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย เยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี อิตาลี ร่วมด้วย ตุรกี
บัลแกเรีย
2. ฝ่ ายพันธมิตร ประกอบด้วย รัสเซีย เซอร์เบีย อังกฤษ ฝรั่งเศส ร่วมด้วย เบลเยี่ยม
โปรตุเกส ญี่ปุ่ น จีน ไทย ฯลฯ

สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1
1. การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือ การแข่งขันระหว่างอังกฤษกับเยอรมัน
2. การทะเลาะ เรื่องอาณานิคม ปลาย ค.ศ. ที่ 19 ยุโรปต่างแข่งขันช่วงชิงอาณานิคมเพื่อ
จักรวรรดิของตนซึ่งก่อให้เกิดความแตกร้าวระหว่างชาติขึ้นเช่น
-อังกฤษกับเยอรมัน เรื่องแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้
-อังกฤษกับฝรั่งเศส เรื่องลุ่มแม่น้ำไนล์
-อังกฤษกับรัสเซีย เรื่องเปอร์เซียและอาฟกานิสถาน
-เยอรมันกับฝรั่งเศส เรื่องมอร็อกโกและแอฟริกาตะวันตก
3. ระบบภาคีพันธมิตร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่ ายคือ
- สัญญาไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย - ฮังการี และอิตาลี
- สัญญาไตรพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย
4. ความใฝ่ ฝันทะเยอทะยานด้วยความรู้สึกทางชาตินิยม
ค.ศ. 1917 (พ.ศ.2460) เป็นช่วงที่พลิกโฉมสงครามยุโรปเป็นสงครามโลก เพราะมีเหตุการณ์สำคัญ 2
ประการคือ การปฏิวัติรัสเซีย และการเข้าร่วมสงครามของสหรัฐอเมริกา
สงครามโลกยุติลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพแวร์ซายส์ ซึ่งเป็นไปตามหลัก 14 ประการ ของ

21
ประธานาธิบดีดีวิลสัน ของสหรัฐฯ ซึ่งสนธิสัญญาแวร์ซายส์ข้อที่ 1 ทำให้เกิด "สันนิบาตแห่ง
ประชาชาติ"
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลกระทบทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
1. ผลของสงครามทางการเมือง
1. ลัทธิชาตินิยมมีชัยในการตั้งรัฐเอกราชใหม่ ๆ ขึ้นหลายแห่ง ได้แก่ ฟิ นแลนด์ ลัตเวีย เอ
สโทเนีย โปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย
2. ประชาธิปไตยแพร่หลายอังกฤษและสหรัฐฯให้สิทธิในการออกเสียเลือกตั้งประเทศใหม่ ๆ
มีการปกครองตามระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย
3. จักรวรรดิที่ปกครองเด็ดขาดแตกแยก จักรวรรดิตุรกี แฮบสเบร์กแห่งรัสเซีย และ
โฮเฮนซอลเลินในเยอรมนี
4. ปัญหาชนกลุ่มน้อยใหม่ ๆ เกิดขึ้น ชาวเยอรมนีในเชโกสโลวะเกีย ชาวฮังการีในโรมาเนีย
ชาวยูโกสลาฟในอิตาลี ทำให้เกิดการแตกแยกกันขึ้น
5. สหรัฐฯกลายเป็ นประเทศที่มีความสำคัญในโลก การที่สหรัฐฯไม่ยอมรับสิทธิสัญญาแวร์
ซายส์ และไม่เต็มใจเข้าร่วมในสันนิบาตชาติ ทำให้ความพยายามที่จะดำรงสันติภาพของ
โลกต้องอ่อนแอลง
6. ระบอบเผด็จการได้สถาปนาขึ้นในโปแลนด์ ฮังการี รัสเซีย อิตาลี และต่อมาในเยอรมนี
ซึ่งพยายามที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆหลังสงครามตามวิธีการประชาธิปไตยต้องล้มเหลวลง
7. การเคลื่อนไหวในทางสันติ ได้ดำเนินการไปโดยการก่อตั้งสันนิบาตชาติ และศาลโลก
แต่องค์การเหล่านี้ต้องล้มเหลวลง ไม่สามารถที่จะธำรงสันติภาพไว้ได้
8. ประเทศต่าง ๆหลายประเทศไม่พอใจสนธิสัญญาที่ทำขึ้น แม้แต่ฝ่ ายข้างมีชัย เช่น
ฝรั่งเศสและอิตาลี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่แพ้สงคราม เช่น เยอรมนี
2. ผลของสงครามทางเศรษฐกิจ
1. ความเสียหายในการสงครามอย่างหนัก ทำให้ประเทศต่าง ๆในยุโรปต้องเก็บภาษีอย่าง
หนัก เพื่อบูรณะประเทศ
2. การชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามของเยอรมนี ไม่เป็ นปัญหาแต่เพียงเยอรมนีเท่านั้น แต่เป็ น
ปัญหาแก่สัมพันธมิตรที่ต้องการค่าเสียหายจากเยอรมนีเพื่อชดใช้หนี้สงครามที่ยืมมาจาก
สหรัฐฯ
3. การตั้งรัฐใหม่ขึ้น ทำให้เกิดกำแพงภาษีขึ้นใหม่ ทำให้การค้าของโลกต้องล่มจม
4. เศรษฐกิจตกต่ำหลังสงคราม 1918-1920 (พ.ศ.2461- 2463) ทำให้การค้าของโลกต้องล่มจม
5. การเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในความควบคุมของรัฐบาลในระหว่างสงครามก่อ
ให้เกิดความคิดเรื่องลัทธิการรวมแบบสังคมนิยม
3. ผลของสงครามทางสังคม
1. การเสียชีวิตสูงมาก ทหารต้องเสียชีวิตเกือบ 9 ล้านคน บาตเจ็บกว่า 29 ล้านคน รวมทั้งถูก
จับและสูญหาย พลเรือนตายนับล้าน ๆ

22
2. ศัตรูและความเกลียดชังเกิดขึ้นใหม่ ที่เป็นศัตรูกันมาก่อนก็เพิ่มมากขึ้นความหิว โรคระบาด
การปฏิวัติ และการสงครามยังไม่เสร็จสิ้นลง

การเข้าร่วมสงครามครั้งที่ 1 ของไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้พระปรีชาสามารถพิจารณาอย่างละเอียด
รอบคอบ ในที่สุดได้ตัดสินพระทัยเข้าฝ่ ายสัมพันธมิตร และประกาศสงครามกับกลุ่มประเทศอักษะ
เมื่อวันที่ 22 ก.ค. พ.ศ.2460 จากนั้นได้ประกาศรับสมัครทหารอาสาเพื่อไปร่วมรบสงครามครั้งนี้
ทหารไทยไปร่วม กองทหารอาสาทั้งหมดอยู่ใต้การบังคับบัญชาของ พันเอก พระเฉลิมอากาศ
ในพ.ศ. 2461 สงครามได้ยุติลง เมื่อเยอรมันยอมแพ้และลงนามในสัญญายุติการรบ หลังจากนั้นได้มี
การลงนามในสัญญแวร์ซายศ์ เมื่อ 28 มิ.ย. พ.ศ. 2462 จึงทำให้เกิดองค์การสันนิบาตชาติ และ
ศาลโลกขึ้น
หลังจากนั้นทหารไทยได้เดินทางกลับประเทศ หลังจากนั้นได้มีพิธีฝังอัฐิทหารไทย ซึ่งเสียชีวิตจำนวน
19 นาย เมื่อ 24 ก.ย. พ.ศ. 2462 ณ อนุสาวรีย์ทหารอาสา

สงครามโลกครั้งที่ 2
สภาวการณ์ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดปัญหาในกลุ่มประเทศต่างๆ ดังนี้
- เยอรมันนีละเมิดสัญญาแวร์ซายส์ นำทหารเข้าไปในแคว้นรูห์
- สงครามอิตาลีกับเอธิโอเปี ย อิตาลีต้องการทรัพยากรธรรมชาติ และเคยมีข้อพิพาทกับ
เอธิโอเปี ย
- ปัญหาพรมแดนโซมาลีแลนด์ ซึ่งเป็นอาณานิคมของอิตาลี
- สงครามกลางเมืองในสเปน โดยนายพลฟรังโกปฏิวัติ อิตาลีและเยอรมันให้การสนับสนุน
นายฟรังโก รัฐบาลสเปนแพ้ นายฟรังโกจึงขึ้นเป็ นผู้นำ ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศสทำตัวเป็ นกลาง ผล
ทำให้เยอรมันได้ใจ
- เยอรมันบุกออสเตรีย ฮิตเล่อร์ต้องการออสเตรียเป็ นทางผ่านไปอิตาลีและเชคโก ฮิตเล่อร์
ฉวยโอกาสที่อังกฤษและฝรั่งเศสกำลังยุ่งอยู่กับการเมืองภายใน เข้ายึดครองออสเตรีย
- เยอรมันรวมเชคโกสโลวาเกีย เยอรมันต้องการแคว้นสูเดเทนของเชคโก เพราะมีชาว
เยอรมัน อาศัยอยู่มากประกอบกับต้องการทรัพยากรธรรมชาติ
- อิตาลียึดครองแอลบาเนีย อิตาลีส่งกองกำลังทหารยึดครองแอลบาเนีย เพราะต้องการมี
อิทธิพลในทะเลอาเตรียติก
- ปัญหาฉนวนโปแลนด์ เยอรมันมีข้ออ้างว่าเยอรมันอาศัยอยู่ในโปแลนด์มาก
- สัญญาอักษะสัมพันธ์ เบอร์ลิน- โรม ค.ศ. 1936(พ.ศ.2479)

คู่กรณีสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ
1. ฝ่ ายอักษะ ประกอบด้วย เยอรมันนี ญี่ปุ่ น และอิตาลี ร่วมด้วย ฮังการี โรมาเนีย

23
บัลแกเรีย
2. ฝ่ ายพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน ร่วมด้วย
อินเดีย ออสเตรีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ฯลฯ

สาเหตุของสงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2
1. การฉีกสัญญาแวร์ซายส์ของฮิตเล่อร์ ภายหลังที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติตามสนธิ
สัญญาแวร์ซายส์สมความมุ่งหมายแล้ว ฮิตเล่อร์มองไม่เห็นประโยชน์ของสนธิสัญญานั้นอีก จึง
ประกาศฉีกสัญญาด้วยการยอมรับการเปิ ดเผยว่า ประเทศเยอรมันได้ลอบสร้างกำลังทัพอันเป็นการ
ละเมิดสัญญาขึ้นความแตกต่างของลัทธิการปกครอง ระหว่างเสรีนิยม ชาตินิยม
2. ความขัดแย้งของกลุ่มมีกับกลุ่มไม่มีปัญหาดินแดนอาณานิคมเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่ว
โลกในปี ค.ศ.1929-1931 (พ.ศ.2472-2474)
3. ความอ่อนแอขององค์การสันนิบาตชาติ เพราะสหรัฐฯ และรัสเซียไม่ได้เป็นสมาชิก
ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เกิดความไม่พอใจของฝ่ ายแพ้สงครามครั้งที่ 1 ต่อข้อตกลง
สันติภาพหลังสงคราม โดยเฉพาะสนธิสัญญาแวร์ซายส์ไม่เป็นธรรม
4. ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ สร้างความผิดหวังให้แก่ประเทศอ่อนแอทั้งที่หวัง
จะพึ่งพิงทั้งสิ้น เพราะไม่ทำตัวเป็นที่พึ่งหรือหากช่วยเหลือ ชักช้าอยู่จนกระทั่งการช่วยเหลือนั้นไม่เกิด
ผล หรือช้าจนเกิดการเสียหายไปแล้ว
เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
1. ญี่ปุ่ นรุกรานแมนจูเรีย แล้วตั้งเป็นรัฐแมนจูกัว เพื่อเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งทำทุน
ใหม่สำหรับตลาดการค้าของญี่ปุ่ น
2. การเพิ่มกำลังอาวุธของเยอรมัน
3. กรณีพิพาทระหว่างอิตาลีกับอังกฤษ ในกรณีที่อิตาลีบุกเอธิโอเปี ย
4. เยอรมนีเข้าครอบครองแคว้นไรน์ ซึ่งเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และสนธิสัญญา
โลคาร์โน
5. สงครามกลางเมืองในสเปน
6. เยอรมันผนวกออสเตรีย
7. เยอรมันเข้ายึดครองเชคโกสโลวะเกีย
สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ.2482) เมื่อฮิตเล่อร์ (เยอรมัน) โจมตีโปแลนด์
อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งปกป้ องโปแลดน์อยู่จึงต้องทำสงครามกับเยอรมัน
ปี ค.ศ. 1942 (พ.ศ.2485)ฝ่ ายอักษะ (ญี่ปุ่ น เยอรมัน อิตาลี) ได้บุกยึดยุทธภูมิสำคัญคือ รัสเซีย
แอฟริกาเหนือ และแปซิฟิ ก ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเกือบทุกแห่ง โดยเฉพาะญี่ปุ่ นซึ่งได้รับชัยชนะมาก
ที่สุดในการยึดครองจักรวรรดิแปซิฟิ ก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอาณานิคมของตะวันตกไม่ต่อสู้กับญี่ปุ่ นเพื่อ
ชาวยุโรป ซึ่งผิดกับญี่ปุ่ นที่ถือประโยชน์จากคำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย"

24
สาเหตุที่ทำให้สหรัฐฯ เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะญี่ปุ่ นเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ซึ่งเป็ น
ฐานทัพเรือของสหรัฐใน ปี 1941 (พ.ศ.2484)
เยอรมันยอมแพ้ฝ่ ายสัมพันธมิตรเมื่อปี 1945 (พ.ศ.2488) ส่วนญี่ปุ่ นยอมแพ้เพราะโดนสหรัฐฯ ส่ง
เครื่องบินมาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ญี่ปุ่ นจึงประกาศยอมแพ้ใน ปี 1945
(พ.ศ.2488)
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่ นยอมแพ้สงครามคือ ปี 1945 (พ.ศ. 2488) สหรัฐ ได้ทิ้งระเบิดปรมณู ลงที่
เมืองฮิโรชิมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 66,000 คน บาดเจ็บ 69,000 คน และต่อมา สหรัฐได้ทิ้งระเบิดที่
นางาซากิ มีผู้เสียชีวิต 184,000 คน บาดเจ็บ 125,000 คน หลังจากนั้น สมเด็จจักรพรรคิฮิโรชิโต
ทรงประกาศยอมแพ้สงคราม
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
1. ผลทางการเมือง
1. โค่นและทำให้ฟาสซิสต์เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่ นสิ้นสุดลง
2. ค่าเสียหายที่เกิดจากการสงครามมหาศาล รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 พันล้านดอลลาร์ ทรัพย์สิน
เสียหายเป็น 2 เท่า ทหารและพลเรือนตาย 22 ล้านคน บาดเจ็บ 34 ล้านคน
3. จัดตั้งองค์การสหประชาชาติ สหรัฐฯเลิกล้มนโยบายอยู่โดดเดี่ยวแต่เดิม
4. สหรัฐฯและรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจ 2 ประเทศที่ยิ่งใหญ่ในโลก
5. ได้ทดลองใช้อาวุธทำลายอย่างใหม่ในสงคราม – ระเบิดปรมาณู เครื่องบิน จรวด เครื่องพ่น
ไฟ จรวดนำวิธี และอื่น ๆอีกมากมาย
6. ชัยชนะของลัทธิชาตินิยม จะเห็นได้จากการก่อตั้งประเทศใหม่ ๆ อีกหลายประเทศโดย
เฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย
7. การคุกคามของคอมมิวนิสนต์มีมากขึ้น (สงคราเย็น- สิ้นสุดลงเมื่อ 1991)
2. ผลทางเศรษฐกิจ
1. ปัญหาทางเศรษฐกิจในการปรับปรุงและฟื้ นฟูประเทศต่าง ๆในยุโรป
2. ปัญหาที่เกี่ยวกับประเทศที่แพ้สงคราม – การแบ่งเยอรมนี การยึดครองญี่ปุ่ น และการทำ
สนธิสัญญาต่าง ๆ (เยอรมนีรวมเป็นประเทศเดียวในปี 1990 )
3. การแสวงหาประเทศบริวารของรัสเซีย
4. เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
3. ผลทางสังคม
1. การวางแผนเพื่อสันติภาพ ประเทศต่าง ๆหลายประเทศประชุมกันที่ซานฟรานซิสโก ในปี
1945 เพื่อร่างกฎบัตรสหประชาชาติ
2. เกิดปัญหาพวกลี้ภัยและคนไร้ที่อยู่นับล้าน ๆ

สรุปผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2

25
1. ตามข้อตกลงปอตสดัม ทำให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต และถูกยึดครองจากกลุ่ม
ประเทศที่แบ่งเป็น 2 ฝ่ าย คือ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ ายหนึ่ง และรัสเซีย อีกฝ่ ายหนึ่ง
2. ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของรัสเซียกับสหรัฐฯ ส่งผลให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2
ส่วนคือ เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก
3. สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่ นเป็นเวลานานถึง 6 ปี

การเข้าร่วมสงครามครั้งที่ 2 ของประเทศไทย
เช้าวันที่ 8 ธ.ค. พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่ น ได้บุกเข้าประเทศไทย 8 ทิศทาง โดยการกระทำ
ดังกล่าวเพื่อขอเคลื่อนย้ายกองทัพของตนผ่านประเทศไทยเพื่อไปโจมตีและยึดครองพม่าและมลายูของ
อังกฤษต่อไป
การต่อสู้ของขบวนการเสรีไทย
เมื่อรัฐบาลยินยอมให้ญี่ปุ่ นเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทย และลงนามกติกาสัญญาพันธไมตรี
ระหว่างญี่ปุ่ น เมื่อ พ.ศ. 2484 ต่อมาไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2485 ทำให้
คนไทยที่อยู่ในอังกฤษและสหรัฐไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลไทย จึงเกิดขบวนการต่อต้านทหารญี่ปุ่ น เรียก
ว่า ขบวนการเสรีไทย โดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็ นหัวหน้าขบวนการ ซึ่งจัดตั้งในประเทศ
อังกฤษ ในไทยมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็ นหัวหน้า ได้ประสานงานกันและแทรกซึมเข้ามาปฏิบัติงาน
ในประเทศ และผนึกกำลังทหารในประเทศพร้อมที่จะผลักดันทหารญี่ปุ่ นแต่สงครามกลับยุติลงเสีย
ก่อน

สรุปสาเหตุเบื้องต้นแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1
สาเหตุ ตัวอย่าง ผล
ลัทธิชาตินิยม 1. ฝรั่งเศสต้องการแก้แค้นและต้องการแคว้นอัล ฝรั่งเศสและเยอรมนีมีความรู้สึกเป็ นศัตรู
ซาส ลอร์เรนคืน มากยิ่งขึ้น รัสเซียพยายามที่จะช่วยพวก
2. เซอร์บพยามยามที่จะครองท่าเรือ สลาฟในแหลมบอนข่าน จึงเกิดขัดแย้ง
3. ชาวโปล สโลวัคส์ อิตาเลียน และโครทาส์ กับพวกออสเตรี ย – ฮังการี ซึ่ งถูก
ในออสเตรีย-ฮังการี ต้องการเป็ นเอกราชหรือ ประเทศกลุ่มบอนข่านคุกคามลัทธิ
รวมกับเมืองแม่ ชาตินิยม ทำ ให้เกิดความต้องการมี

26
สาเหตุ ตัวอย่าง ผล
4. เยอรมนีต้องการเป็นเจ้าโลก อาณานิ คมหลายแห่ งและกองกำ ลัง
กองทัพประจำ การเข้มแข็ง เพื่อเป็ น
สัญลักษณ์ของประเทศมหาอำนาจ
ลั ท ธิ 1. ฝรั่งเศสเป็ นศัตรูกับเยอรมนีเพราะต้องการ เกิดกรณีพิพาทระหว่างชาติต่าง ๆ ที่จะ
จักรวรรดินิยม ครอบครองโมร็อกโก(1904-1911) เข้าครอบครองเขตด้อยพัฒนา เพราะ
2. ฝรั่งเศสเป็ นศัตรูกับอิตาลี่ในการแย่ง ตูนี ต้องการวัตถุดิบและที่ตั้งทางยุทธศาสตร์
เซีย(1881) ทำให้เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้นเกิดความ
3. รัสเซียเป็ นศัตรูกับออสเตรี ยในการแย่งกัน กลัวและความรู้สึกอันเลวร้าย
ครอบครองบอลข่าน
4. อังกฤษเป็ นศัตรูกับเยอรมนีในการแย่งกัน
ครอบครองตะวันออกกลาง
ลัทธิการทหาร 1. ฝรั่งเศสและเยอรมนีแข่งขันกันสร้างกำลัง พอถึง ค.ศ.1913 ประเทศต่าง ๆพยายาม
กองทัพ ที่สร้างสมกำลังอาวุธเยอรมนีเพิ่มกำลัง
2. อังกฤษและเยอรมนีแข่งขันกันสร้างนาวิกานุ แสนยานุภาพ ฝรั่งเศสขยายเวลาประจำ
ภาพ หลังจากสร้างเรือรบที่ทำด้วยเหล็กกล้า การของทหารรัสเซีย อังกฤษ สวีเดน
ทั้งลำ (1906) เดนมาร์ก และประเทศอื่น ๆ ได้เพิ่มค่า
3. การแข่งขันกันสร้างสมกำลังอาวุธในประเทศ ใช้จ่ายในการทหายมากขึ้น กลุ่มทหารมี
อื่น ๆ อำนาจมากขึ้นในรัฐบาล โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในเยอรมนี
การรวมกลุ่ ม 1. Triple Alliance (อิตาลี่ เยอรมนี ออสเตรีย – ขณะที่ยุโรปแบ่งออกเป็ นสองค่าย ที่
พันธมิตร ฮังการี)ต่อต้าน พร้อมด้วยอาวุธและเกิดการพิพาทกัน
2. Triple Entente (รัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ) หลายครั้ งจนยากที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะ
3. อังกฤษ ญี่ปุ่ น เป็นพันธมิตร ถอนตัวออกมา โดยไม่เสียเกียรติภูมิ
ความยุ่งเหยิง 1. ไม่มีองค์การระหว่างชาติที่เข็มแข็งพอที่จะ ประชาชาติต่าง ๆพยายามที่จะแสวงผล
ระหว่างชาติ ระงับกรณีพิพาทระหว่างชาติต่าง ๆได้ ประโยชน์ให้ตัวเองมากที่สุ ด และ
2. การทูตอยู่ในมือของผู้เชี่ยวชาญเพียงไม่กี่คนที่ สงครามก็เป็ นเพียงอย่างเดียวที่จะใช้แก้
ได้รับผิดชอบต่อผู้ครองประเทศและส่วนมาก ปัญหาต่าง ๆ
ก็เจรจาทำสัญญาลับกัน
3. ความไม่ไว้วางใจกันระหว่างชาติต่าง ๆ
4. อิทธิพลของผู้ผลิตอาวุธ

27
วิกฤติการณ์ที่คุกคามสันติภาพ
วิกฤติการณ์ เกี่ยวข้องกับ ผล
วิ ก ฤ ติ ก า ร ณ์ ด้ า น เยอรมนีกับ เยอรมนีคุกคามจะครอบครองโมร็อกโก ซึ่งฝรั่งเศสมี
โมร็อกโกครั้งแรก 1905 ฝรั่งเศส อำนาจอยู่ Algeciras Conference ในการประชุม อังกฤษ
สนับสนุนฝรั่งเศสทำให้ฝรั่งเศสมีชัย
วิกฤติการด้านบอนข่าน รัสเซีย กับ ถือโอกาสที่เกิดการปฏิวัติออสเตรี ยได้รวมบอสเนีย
ครั้งแรก 1908 ออสเตรีย เฮอร์เซโกวินา เข้ากับตนทั้ง ๆที่ถูกขัดขวางจากเซอร์เบีย
รัสเซียสนับสนุนเซอร์เบีย ส่วนเยอรมนีสนับสนุน
ออสเตรีย ส่วนรัสเซียจึงต้องยอมเงียบ นับว่าเป็ นชัยชนะ
ของ Triple Alliance
วิกฤติการณ์ด้าน เยอรมนี กับ เมื่อฝรั่งเศสส่งกองทัพเข้าในโมร็อกโกเพื่อสมทบกำลังให้
โมร็อกโกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศส เข้มแข็ง เยอรมนีส่งเรือรบไปยิงกาดีร์ การคุกคามนี้ทำให้
1911 อังกฤษสนับสนุนฝรั่งเศส เยอรมนีได้ดินแดนบางส่วนใน
แอฟริกายากฝรั่งเศสตอบแทนการยอมรับอำนาจของ
ฝรั่งเศส เหนือโมร็อกโกนับว่าเป็ นชัยชนะของ Triple
Entente
วิกฤติการณ์ด้าน รัสเซีย ออสเตรีย ประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน ทำสงครามกับตุรกีเรื่อง
บอลข่านครั้งที่ 2 กับ ปร ะ เ ท ศ ใ น สิทธิพรมแดน ในการประชุมระหว่างชาติเพื่อตกลง
1912 – 1913 กลุ่มบอลข่าน ปัญหานี้ การบีบบังคับของออสเตรีย ทำให้เกิดประเทศ
ใหม่ คือ อัลบาเนียซึ่งขวางกั้นเซอร์เบียไม่ให้ออกทะเลได้
เซอร์เบียกับรัสเซียสนับสนุนกันมากขึ้นตุรกีกับบัลแกเรีย
เ ข้า ร่ วม ใ น สัญ ญ า Triple Alliance ถื อ ว่า Triple
Alliance มีชัยชนะเหนือ Triple Entente ในกรณีบอล
ข่าน

สาเหตุและชนวนแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2

สาเหตุ ตัวอย่าง ผล
ลัทธิชาตนิยม 1. เยอรมนีสมัยนาซีไม่พอใจสนธิสัญญา ทฤษฎีของพวกชาตินิ ยมที่ต้องการให้
แวร์ซายส์ ประเทศของตนเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ในเยอรมนี
2. ฟาสซิสติอิตาเลี่ยนต้องการความเป็ น ความเป็ นเจ้าแถบเมดิเตอร์เรเนียนของอิตาลี
ใหญ่ และลัทธิการทหารของญี่ปุ่ นที่ว่า “สงคราม
3. ลัทธิของญี่ปุ่ นที่ว่า “เอเชียสำหรับชาว เท่านั้นที่สามารถสร้างประเทศให้ใหญ่ยิ่ง"

28
เอเชีย”
ลัทธิ 1. ชั ย ช น ะ ข อ ง ญี่ ปุ่ น ที่ ชัยชนะของประเทศจักรวรรดินิยมเหล่านี้
จักรวรรดินิย แมนจูเรีย(1931)และการโจมตีประเทศ แสดงให้เห็นความแตกสามัคคีระหว่าง
ม จีน(1937) อังกฤษและฝรั่งเศสและความที่ไม่สามารถ
2. ชัยชนะของอิตลี่ที่เอธิโอเปี ย (1936) ระงับวิกฤติการณ์ไว้ได้นอกจากนั้นยังแสดง
3. เยอรมนีรวมออสเตรีย(1936) ซูเด ถึงความอ่อนแอของสันนิบาตชาติทำ ให้
เตนแลนด์ (1938) เชโกสโลวะเกีย ประเทศเหล่านั้นกำเริบในการทำการรุกราน
(1939) ประเทศอื่น ๆอีก
4. ความปรารถนาของเยอรมนีที่จะได้
อาณานิคมที่เสียไปคืนมาและอิตาลี
ต้องการได้ที่ไม่ได้รับจากสนธิสัญญา
แวร์ซายส์

29
สาเหตุ ตัวอย่าง ผล
การรวม 1. สนธิสัญญาต่อต้าน “คอมมิวนิสต์ มหาอำนาจกลุ่มอักษะเป็ นพันธมิตรสนิท
กลุ่ม สากลระหว่างเยอรมนีและญี่ปุ่ น” แน่นกว่าประเทศพันธมิตรกลุ่มตะวันตก
พันธมิตร 1936 ความสำ เร็ จของแต่ละประเทศ ทำ ให้
ระหว่างชาติ 2. แกน โรม – เบอร์ลิน 1936 ประเทศอื่น ๆพยายามกระทำการเพื่อผล
3. สนธิ สัญญาไม่รุ กรานระหว่าง ประโยชน์ของตน
รัสเซียและเยอรมนี 1939
4. Little Entente 1921 (เชโกสโล
วะเกีย โรมาเนีย ยูโกสลาเวีย)
5. ฝรั่งเศสเป็ นพันธมิตรกับอังกฤษ
1938 และฝรั่งเศสเป็ นพันธมิตร
กับโรมาเนียและยูโกสลาเวีย
6. ฮังการีและบัลแกเรียร่วมเป็ นมิตร
กับกลุ่มอักษะ
ค ว า ม 1. สันนิบาติชาติไม่สามารถที่จะหยุด อังกฤษและฝรั่งเศสไม่สามารถตกลงกันใน
อ่อนแอของ ยั้งการรุ กรานแมนจูเลีย (1931)
เรื่องร่วมมือกันป้ องกันการรุกราน นโยบาย
สั น ติ บ า ต เ อ ธิ โ อ เ ปี ย (1936)แ ล ะแบ่งและปราบปรามของฟาสซิสต์ประสบผล
ชาติ ออสเตรีย(1938) สำเร็จสันนิบาตชาติอ่อนแอลง เนื่องจาก
สหรัฐฯและรัสเซียไม่เข้าร่วม(รัสเซียได้เข้า
ร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 1934 –1939 )
ความเป็ นก กฏหมายที่ ออกในปี 1935 – 1937 การที่สหรัฐอเมริ กาตัดสิ นใจเป็ นกลาง
ล า ง ข อ ง ถือว่าเป็ นการผิดกฏหมายที่ขายหรือ ทำให้ประเทศฝ่ ายฟาสซิสต์เชื่อว่าสหรัฐฯจะ
อเมริกา ขนส่ งอาวุธหรื อให้ประเทศ ที่ ทำ ไม่ช่วยเหลือประเทศฝ่ ายประชาธิปไตย
สงครามประเทศใดประเทศหนึ่งกู้เงิน

ตารางเปรียบเทียบสถานการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2
สภาพ 1) ยุโรปแข่งขันกันขยายอำนาจและขยาย 1)สหภาพโซเวียตและมหาอำนาจตะวัน
การณ์ อิทธิพลของประเทศออกไปทั่วทิศานุทิศ ตกมีความขัดแย้งกันในอุดมการณ์ จึง

30
ก่อนภาวะ ก็เพื่อเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ของประเทศชาติ มิได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน จน
สงคราม ของตน เพื่อความได้เปรียบทางด้านยุทธ- กระทั่งเมื่อฮิตเลอร์ได้อำนาจในเยอรมนี
ศาสตร์ การค้า และการเผยแผ่ศาสนา และสหภาพโซเวียตเริ่ มตระหนักถึง
2) มีการทำสงครามย่อยๆในยุโรปหลาย อันตรายจากการคุกคามของรัฐบาล นาซี
ครั้งหลายหน เช่น ประเทศอิตาลีได้ทำการสู้ สหภาพโซเวียต จึงเปลี่ยนท่าทีหันเข้าร่วม
รบเพื่ออิสรภาพของตน มือกับมหาอำนาจประชาธิปไตยตะวันตก
3) เยอรมนีประสบความสำเร็จในการดึง เริ่มด้วยการเข้าเป็ นภาคีสมาชิกสันนิบาต
เอา ออสเตรีย-ฮังการี เข้ามาเป็ นพันธมิตร ชาติ ซึ่งนับเป็ นการปูพื้นฐานสำหรับการ
ของตนได้สำเร็จ และ 3 ปี หลัง ประเทศ เสริมสร้างความสัมพันธ์กับมหาอำนาจ
อิตาลี ก็ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ตะวันตก
4) ปัญหาบอลข่าน การดิ้นรนเพื่อต้องการ 2) ต่อมาก็ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญา
เอกราชของชาวเซอร์เบีย ช่วยเหลือกันและกันกับฝรั่งเศส นอกจาก
5) ค.ศ. 1908 ออสเตรียฮังการี ประกาศรวม นั้ นสหภาพโซเวียตยังได้เปลี่ยนแนว
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเข้ากับดินแดน นโยบายของโคมินเทอร์ด้วย คือประกาศ
ตน เซอร์เบียจึงลุกฮือต่อต้านและนำไปสู่ นโยบายแนวร่วม ให้พรรคคอมมิวนิสต์
การปลงพระชนม์รัชทายาทของออสเตรีย- ในประเทศต่างๆ เอาใจพวกสังคมนิยม
ฮังการี และพวกเสรีประชาธิปไตย เพื่อก่อตั้ง
แนวร่วมต่อต้านฟาสซิสต์ขึ้น

31
สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2
สาเหตุของ 1) การแข่งขันทางเศรษฐกิจในยุโรป ที่ 1) ความไม่พอใจของฝ่ ายแพ้สงครามใน
สงคราม สำคัญคือระหว่างอังกฤษกับเยอรมนี ส ง ค ร า ม โ ล ก ค รั้ ง ที่ 1 ต่ อ ข้อ ต ก ล ง
2) การทะเลาะเบาะแว้งเรื่องอาณานิคม สันติภาพหลังสงคราม โดยเฉพาะสนธิ
ปลายค.ศ.ที่19 ยุโรปต่างแข่งขันกันช่วงชิง สัญญาแวร์ซายส์
อาณานิคมเพื่อจักรวรรดิของตน ซึ่งก่อให้ 2) ความอ่อนแอของสันนิบาตชาติ ที่ไม่
เกิดความแตกร้าวระหว่างชาติขึ้น สามารถยับยั้งการรุ กรารนแมนจูเรี ย
3) การรวมกลุ่มพันธมิตร ซึ่งแบ่งเป็ น 2 เอธิโอเปี ย และออสเตรีย
ฝ่ าย คือ 3) เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกใน
1. Tripple Alliance ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย ปี ค.ศ. 1929-1931
เยอรมนี อิตาลี และออสเตรีย-ฮังการี 4) นโยบายสร้างชาติภายใต้ระบอบ
2. Tripple Entente ประกอบด้วย รัสเซีย เผด็จการฟาสซิสต์ของอิตาลี เยอรมนี
อังกฤษ และฝรั่งเศส และญี่ปุ่ น
4) ลัทธิชาตินิยมในยุโรป 5) ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาต
ชาติ ความไร้ประสิทธิภาพในการสร้าง
ความสัมพันธ์นานาชาติ
จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่1 จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่2
เกิดขึ้นเมื่อรัชทายาทราชบัลลังก์ออสเตรีย เกิดขึ้นจากการที่เยอรมนียกกองทัพบุก
ถูกลอบปลงพระชนม์ในเมืองซาราเจโว โปแลนด์ ซึ่งเป็ นการละเมิดสนธิสัญญา
ของบอสเนีย ออสเตรียจึงประกาศสงคราม แวร์ซายส์ อังกฤษและฝรั่งเศสยื่นคำขาด
กับบอสเนีย ส่วนเยอรมนีประกาศสงคราม ให้เยอรมนีถอนกำ ลังทหารออกจาก
กับฝรั่งเศส และรัสเซี ยยกทัพบุกเข้า โปแลนด์ แต่ฮิตเลอร์ไม่ยอมปฏิบัติตาม
เบลเยี่ยม จากนั้นอังกฤษประกาศสงคราม ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามกับ
กับเยอรมนี เยอรมนี

32
สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2
ป ร ะ เ ท ศ คู่ แบ่งเป็น 2 ฝ่ ายคือ แบ่งเป็น 2 ฝ่ าย คือ
กรณี - ฝ่ ายมหาอำ นาจกลาง คือ เยอรมนี - ฝ่ ายอักษะ คือ เยอรมนี ญี่ปุ่ นและ
ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ร่วมด้วย ตุรกี อิ ต า ลี ร่ ว ม ด้ว ย ฮัง ก า รี โ ร ม า เ นี ย
บัลกาเรีย บัลแกเรีย ฯลฯ
- ฝ่ ายพันธมิตร คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และ - ฝ่ า ย สั ม พั น ธ มิ ต ร คื อ อั ง ก ฤ ษ
รัสเซีย ร่วมด้วย เบลเยี่ยม โปรตุเกส ญี่ปุ่ น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน
จีน ไทย ฯลฯ ร่วมด้วย อินเดีย ออสเตรเลีย แคนาดา
นิวซีแลนด์ ฯลฯ
ผ ล ข อ ง - ฝ่ ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ นำมาซึ่ง - โค่นและทำให้ลัทธิฟาสซิสต์เยอรมนี
สงคราม สนธิสัญญาสันติภาพหลายฉบับ เช่น สนธิ อิตาลี และญี่ปุ่ นสิ้นสุดลง
สัญญาแวร์ซายส์ โดยเยอรมนีต้องคืนดิน - ค่าเสียหายที่เกิดจากสงครามอย่าง
แดนต่างๆ ให้กับฝรั่งเศส และชดใช้ค่าเสีย มหาศาล รวมทั้งสิ้นกว่า 1000 พันล้าน
หายที่เกิดขึ้นจากการทำสงคราม เป็นต้น ดอลลาร์ ทรัพย์สินเสียหายเป็น 2 เท่า
1) ลัทธิชาตินิยมมีชัยในการตั้งรัฐเอกราช ทหารและพลเรือนตายกว่า 22 ล้านคน
ท า ง ก า ร ใหม่ๆ ขึ้นหลายแห่ง เช่น ฟิ นแลนด์ ลัตเวีย บาดเจ็บ 34 ล้านคน
เมือง เอสโทเนีย โปแลนด์ ฮังการี ยูดกสลาเวีย - จัดตั้งองค์กรสหประชาชาติ
เป็นต้น - เกิดปัญหาผู้ลี้ภัยและคนไร้ที่อยู่นับล้าน
2) ประชาธิปไตยแพร่หลายมากยิ่งขึ้น คน
3) จักรวรรดิที่ปกครองเด็ดขาดแตกแยก 1) สหรัฐอเมริกาและรัสเซียได้กลายเป็ น
ออก ประเทศต่างๆไม่พอใจสนธิสัญญาที่ มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในโลก ได้ทดลองใช้
ทำขึ้นหลังสงคราม แม้แต่ฝ่ ายชนะสงคราม อาวุธทำลายล้างอย่างใหม่ในสงคราม
เช่น ฝรั่งเศสและอิตาลี โดยเฉพาะเยอรมนี ระเบิดปรมาณู เครื่ องบิน จรวดนำ วิถี
ที่เป็นฝ่ ายแพ้สงคราม ฯลฯ
2) ชัยชนะของลัทธิชาตินิยม ทำให้เกิด
ประเทศใหม่ๆอีกหลายประเทศ โดย
เฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย

สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2
1) ความเสียหายอย่างหนักในสงคราม 1) ปัญหาทางเศรษฐกิจในการปรับปรุง
ทาง ทำให้ประเทศตางๆในยุโรปต้องเก็บภาษี และฟื้ นฟูประเทศต่างๆในยุโรป
เศรษฐกิจ อย่างหนักเพื่อบูรณะประเทศ 2) การคุกคามของคอมมิวนิสต์มีมากขึ้น
2) การชดใช้ค่าปฏิกรรมทางสงครามของ 3) ปัญหาที่เกี่ยวกับประเทศที่แพ้สงคราม

33
เยอรมนี เป็ นปัญหาแก่ฝ่ ายสัมพันธมิตรที่ การแบ่งเยอรมนี การยึดครองญี่ปุ่ น และ
ต้องการค่าเสียหายจากเยอรมนี เพื่อชดใช้ การทำสนธิสัญญาต่างๆ
หนี้สงครามที่ยืมมาจากสหรัฐอเมริกา 4) การแสวงหาประเทศบริวารของรัสเซีย
3) ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำครั้ งใหญ่ทั่วโลก 5) การสร้างรัฐบาลประชาธิปไตยใน
ในขณะที่สหรัฐอเมริกา กลายเป็ นเจ้าหนี้ เยอรมนีตะวันตก อิตาลี และญี่ปุ่ น
รายใหญ่ของยุโรป ตามข้อตกลงปอตสดัม ทำให้เยอรมนีถูก
4) เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลกหลังสงคราม แบ่งออกเป็ น 1 เขต และถูกยึดครองจาก
1918-1920 ทำให้การค้าของโลกล่มจม กลุ่ มประเทศ ที่ แบ่ งเป็ น 2 ฝ่ าย คือ
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศสฝ่ าย
หนึ่ง และรัสเซียอีกฝ่ ายหนึ่ง
ทางสังคม 1) การเสียชีวิตสูงมาก ทหารต้องเสียชีวิต 1) ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของ
เกือบ 9 ล้านคน บาดเจ็บกว่า 29 ล้านคน รัสเซียกับสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เยอรมนี
พลเรือนตายนับล้านๆ เกิดความขาดแคลน ถูกแบ่งออกเป็ น 2 ส่วนคือ เยอรมนีตะวัน
และโรคระบาด ออก และเยอรมนีตะวันตก
2) เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศต่างๆ 2) สหรัฐอเมริกาได้ปกครองญี่ปุ่ นเป็ น
ขึ้นใหม่ เวลานานถึง 6 ปี

สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2
ใ น ช่ ว ง ส ง ค ร า ม โ ล ก ค รั้ ง ที่ 1 สงครามโลกครั้งที่2 เกิดขึ้นในยุโรประหว่างฝ่ าย
ประเทศไทยยังยึดมั่นในความ พันธมิตร ซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศสเป็ นผู้นำ กับฝ่ าย
บ ท บ า ท เป็ นกลาง แต่พระบาทสมเด็จพระ อักษะซึ่งมีเยอรมนีเป็ นผู้นำ ประเทศไทยประกาศ
ข อ ง มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกต ตัวเป็ นกลาง และได้ลงนามในกติกาไม่รุกรานกัน
ประเทศไ ความเคลื่อนไหวของประเทศคู่ ระหว่างไทยและฝรั่งเศส แต่หลังจากที่ญี่ปุ่ นยึด
ทย สงครามอย่างใกล้ชิด เมื่อสงคราม ครองอินโดจีนของฝรั่งเศสและโจมตี Pearl
ทวีความรุนแรงขึ้น พระองค์ทรง Habour ของสหรัฐอเมริกาที่ฮาวายและวันเดียวกัน
เห็นว่าเยอรมนีเป็ นฝ่ ายรุกราน จึง นั้นญี่ปุ่ นได้ยื่นข้อเสนอให้กับประเทศไทย 3

34
สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2
ท ร ง ตัด สิ น พ ร ะ ทัย ป ร ะ ก า ศ ประการ คือ
ส ง ค ร า ม กั บ เ ย อ ร ม นี แ ล ะ - ขอเดินทัพผ่านดินแดนไทยไปยังพม่าและมลายู
ออสเตรี ย-ฮังการี เมื่อประกาศ - ขอให้ไทยทำอนุสัญญาเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่ น
สงครามแล้ว รัฐบาลไทยก็ดำเนิน - ขอให้ไทยทำอนุสัญญาร่วมรบกับญี่ปุ่ น
ก า ร จับ กุ ม ช า ว เ ย อ ร ม นี แ ล ะ แต่ไทยยังไม่ได้ให้คำตอบ ญี่ปุ่ นก็ได้ยกทัพขึ้นบก
ออสเตรีย-ฮังการีที่อพยพเข้ามาใน ที่สมุทรปราการ ประจวบฯ ชุมพร สงขลา และ
ประเทศไทย แล้วส่งตัวไปให้ ปัตตานีพร้อมกัน ทหารไทยได้ต่อต้านทหารญี่ปุ่ น
อังกฤษกักขังตัวไว้ที่อินเดีย เรือ อย่างดุเดือด ในที่สุดรัฐบาลไทยโดยจอมพลป.
สินค้า 40 ลำของเยอรมนีซึ่งหนีมา พิบูลสงครามได้ยินยอมตามข้อเสนอของญี่ปุ่ น
จอดพักอยู่ที่ท่าเรือกรุงเทพฯถูก ให้ญี่ปุ่ นเดินทัพผ่านไทย โดยญี่ปุ่ นรับรองที่จะ
ยึด นอกจากนั้นประเทศไทยยังได้ เคารพในเอกราชและอธิปไตยของไทย ต่อมาไทย
ส่งทหารอาสาสมัครประมาณ ได้ทำอนุสัญญาเป็ นพันธมิตรกับญี่ปุ่ น ร่วมมือกัน
1200 คนไปยังแนวรบในฝรั่งเศส ทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ อังกฤษได้
ผลที่ประเทศไทยได้รับจากการ ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดในประเทศไทย ต่อมา
เ ข้ า ร่ ว ม ส ง ค ร า ม กั บ ฝ่ า ย ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ
สัมพันธมิตร ญี่ปุ่ นตอบแทนไทยด้วยการมอบดินแดนต่างๆที่
- ไ ด้ ย ก เ ลิ ก เคยเป็ นของไทยมาก่อน ได้แก่ กลันตัน ตรัง ปริศ
สิ ทธิสภาพนอกอาณาเขตของ และไทรบุรี จากรัฐมลายู ในที่สุดญี่ปุ่ นยอมแพ้
ประเทศฝ่ ายมหาอำนาจกลางใน สงครามต่อฝ่ ายสัมพันธมิตร
ประเทศไทย - รัฐบาลไทยโดยนายควง อภัยวงศ์ ได้ประกาศ
- ได้รับเงินค่าปฏิกรรมสงคราม 2 สันติภาพ โดยมีสาระสำ คัญว่า การประกาศ
ล้านบาท สงครามต่อสหรัฐและอังกฤษเป็ นโมฆะและ
- ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมประชุม พร้อมที่จะมอบดินแดนที่ญี่ปุ่ นมอบให้คืนแก่
ลงนามในสนธิสัญญาสันตาภาพที่ อังกฤษ ในการนี้สหรัฐยอมรับหลักการประกาศ
กรุงปารีสและได้รับเชิญให้เป็ น สันติภาพของไทย แต่อังกฤษไม่ยอมรับในทันที
ส ม า ชิ ก ริ เ ริ่ ม ก่ อ ตั้ ง อ ง ค์ก า ร ได้มีการเรียกร้องให้หลายประเทศยกเลิกสถานะ
สันนิบาตชาติ สงครามระหว่างกัน ในที่สุดไทยได้ลงนามในข้อ
- ได้โอกาสดำเนินการขอแก่ไข ตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อเลิกสถานะสงคราม
ส น ธิ สั ญ ญ า กับ ป ร ะ เ ท ศ ฝ่ า ย ระหว่างไทยกับอังกฤษที่ประเทศสิงคโปร์ ส่งผล
สัมพันธมิตร ให้ไทยไม่ได้ตกอยู่ในสถานะประเทศแพ้สงคราม

35
สงครามเย็น
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โลกได้แบ่งเป็น 2 ขั้วตามประเทศผู้ชนะสงครามยึด
ครองนั่นคือประทศสหรัฐอเมริกายึดถือระบอบประชาธิปไตย ประเทศรัสเซียยึดถือระบอบคอมมิวนิสต์
จึงทำให้ประเทศที่ถูกยึดครองปกครองประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการปกครอง
ลักษณะ สงครามเย็น เป็นสงครามระหว่างโลก 2 ฝ่ าย คือ ฝ่ ายโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์
เป็นการต่อสู้กันโดยใช้เครื่องมือทุกอย่างด้วยการสร้างสถานการณ์ การใช้การโฆษณาชวนเชื่อ การยั่วยุ
แทรกซึม ฯลฯ ยกเว้น การประจันหน้ากันทางทหารและอาวุธปรมาณู เพื่อที่จะเอาชนะฝ่ ายตรงกันข้าม
สาเหตุ สงครามเย็นเริ่มเกิดขึ้นเมื่อใดไม่อาจกำหนดได้แน่ชัด แต่พอสังเกตได้จากภูมิหลัง
ของมหาอำนาจบางประเทศคือ ในปี ค.ศ.1947(2490) สหภาพโซเวียตได้เข้าคุกคามประเทศกรีซและ
ตุรกี ซึ่งอยู่ในความคุ้มครองของอังกฤษ อังกฤษพยายามสกัดกั้นการคุกคามนี้แต่ไม่เป็นผล จึงขอร้อง
ไปยังสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีทรูแมนแห่งสหรัฐฯ จึงประกาศหลักการของทรูแมน หรือวาทะทรู
แมน (Truman Doctrine)
เพื่อสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ สาระสำคัญของหลักการนี้คือสหรัฐฯ จะให้ความช่วย
เหลือแก่ประเทศต่างๆ เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติให้พ้นจากการคุมคามของคอมมิวนิสต์
ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยจะช่วยเหลือทั้งการเงินและการทหาร หลังจากประกาศหลักการ
ทรูแมนแล้ว สหรัฐฯ
ก็เริ่มแผนมาร์แชล (Marshall Phan) เพื่อช่วยประเทศในยุโรปเพื่อกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจหลังสงคราม
โดยให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร วัตถุดิบ เครื่องเหล็ก เครื่องจักรกลต่างๆ โดยมีเงื่อนไขว่าประเทศใน
ยุโรปตะวันตกจะต้องประสานงานกันและจะต้องร่วมมือกัน
สหภาพโซเวียตโจมตีแผนการมาร์แวลของสหรัฐอเมริกาว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยของ
ประเทศ ในยุโรป เป็นแผนที่เป็นประโยชน์แก่สหรัฐฯ เท่านั้น จะทำให้ยุโรปเป็นทาสของสหรัฐฯ ต่อ
มาในปี ค.ศ.1949 สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันออก ได้จัดตั้งองค์การโคมิคอนขึ้น
เรียกว่า Council for Mutual Economic Assistance เพื่อร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิคระหว่าง
สภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก ต่อมาสหรัฐอเมริกากับสัมพันธมิตรยุโรปตะวันตกก็ร่วมกันจัด
ตั้งองค์การขึ้น เรียกว่า “องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ” (NATO) เพื่อที่จะให้ดุลอำนาจเกิด
ขึ้น สหภาพโซเวียตและสัมพันธมิตรยุโรปตะวันออก ก็ได้จัดตั้งองค์การขึ้นมาเช่นเดียวกัน เรียกว่า “
กติกาสัญญาวอร์ซอ” (The Warsaw Pact) การแบ่งเป็นฝ่ ายโลกเสรีและฝ่ ายคอมมิวนิสต์ จึงเป็นผล
ทำให้เกิดสงครามเย็นยืดเยื้อจนปัจจุบันนี้
สงครามเย็นเริ่มก่อตัวขึ้นหลังจากเยอรมันนียอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้ง
สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างก็มีอำนาจมากขึ้น ต่างฝ่ ายต่างก็แข่งขันเพื่อครองความยิ่งใหญ่
ปัญหาหลังสงครามอันดับแรกคือ การแบ่งเยอรมนีออกเป็นส่วนๆ แล้วแบ่งกันยึดครอง ทำให้เกิด
ปัญหายุ่งยากขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับอนาคตของประเทศในยุโรปตะวันออกที่มหาอำนาจ
ทั้ง 2 จะต้องถกเถียงกันต่อไปอีก ทั้ง 2 ประเทศมีอุดมการณ์ขัดกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้ง 2 เคยตกลงกัน
เรียกร้อยแล้ว ณ ที่ประชุมยัลตา (Yalta Conference) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1945(พ.ศ. 2488) ว่า

36
จะสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศยุโรปตะวันออก เมื่อสงครามสิ้นสุดลง แต่
พอสิ้นสุดสงครามแล้วสหภาพโซเวียตมิได้รักษาคำมั่นสัญญา อาศัยความได้เปรียบที่ตนมีกองทัพอยู่
ในประเทศเหล่านั้น สถาปนาประชาธิปไตยแบบของโซเวียตที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยของประชาชน”
(People Democracy) สหรัฐฯ คัดค้านแต่ก็ไม่เป็นผล ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้สถานการณ์
ระหว่างประเทศทั้ง 2 มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงประมาณ 6
เดือน สงครามเย็นก็เริ่มอุบัติขึ้น

ผลของสงครามเย็น
ก่อให้เกิดความแตกแยกทางอุดมการความคิดทางการเมือง เป็นฝ่ ายที่นิยมโลกเสรีจะได้รับ
ความช่วยเหลือ สนับสนุนจากสหรัฐฯ กับฝ่ ายที่นิยมความเสมอภาพไม่แตกต่างด้านฐานะ จะนิยม
คอมมิวนิสต์ จะได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ดังนั้น ในช่วงเวลานี้จึงก่อให้เกิดสงคราม
กลาง เมืองในกลุ่มประเทศโลกที่สามที่กำลังพัฒนา กลุ่มหนึ่งมีอุดมการโลกเสรี อีกกลุ่มหนึ่งอุดมการ
ความเท่าเทียมกัน ดังเช่น
สงครามเกาหลี – เกาหลีเหนือ – ใต้
สงครามเวียตนาม – เวียตนามเหนือ – ใต้
สงครามกัมพูชา – กัมพูชา 3 ฝ่ าย
สงครามลาว – เจ้าอนุวงศ์

การสิ้นสุดสงครามเย็น
กล่าวกันว่าภาวะสงครามเย็นได้เดินทางมาถึงจุดเกือบที่จะสิ้นสุดลงแล้ว มื่อมหา
อำนาจ
2 ค่ายยักษ์ อเมริกันกับรัสเซีย ได้ทำการตกลงร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ให้กระชับแน่นมากขึ้น ทั้ง
ด้านการลดอาวุธนิวเคลียร์ การกำจัดขีปนาวุธในดินแดน NATO การสร้างกลุ่มร่วมมือทางเศรษฐกิจการ
ให้การช่วยเหลือเรื่องเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน การเผชิญหน้าด้วยกำลังทหารลดน้อยลง ประเทศต่างๆ
หันไปสนใจเรื่องปากและท้องมากขึ้น กล่าวได้ว่าพลังอำนาจทางเศรษฐกิจกำลังนำหน้าด้านการทหาร
เพียงแต่ว่าการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ และการซ่อนเร้นเทคโนโลยีลับสุดยอดยังคงดำเนินไปอยู่ในสภาวะ
ผ่อนคลายไม่ถึงกับเผชิญหน้าด้วยกำลังทหาร เมื่อ 2 ยักษ์ยุติบทบาทลงประเทศอื่นๆ ก็พลอยยุติ
บทบาทของตนตามไปด้วย
ตัวอย่าง เช่น
- การล่มสลายของสาธารณรัฐรุสเซีย ดินแดนต่างๆ แตกแยกเป็ น 15 รัฐ การสิ้นสุด
ของลัทธิ
คอมมิวนิสต์ โดยการประกาศนโยบายเปเรสทรอยก้า และกลาสน้อทของรุสเซียสมัยมิกคาอิล กอร์บา
ชอฟ

37
- บริเวณรุสเซียในยุโรปตะวันออก จัดตั้งรัฐบาลจากประชาชนและแตกแยกเป็น
สาธารณรัฐย่อย
เช่น เชคกับสโลวัค ฮังการี โปรแลนด์
- การทำลายกำแพงเมืองเบอร์ลิน และการรวมเยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออก
เป็น
ประเทศเดียวกัน
- การแตกแยกเป็นรัฐอิสระในยูโกสลาเวีย เช่น โครเอเทีย มอนเตรนิโก สโลวาเนีย
บอสเนีย
เชอร์เบีย

สภาวการณ์ของโลกภายหลังสงครามเย็น
หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วสภาวะทางการเมืองของโลกเริ่มมีสันติภาพขึ้นบ้าง
เนื่องจากการยุติบทบาททางการเมืองของรัสเซีย ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและ
การเกิดขึ้นของรัสเซียใหม่ จึงมีผลทำให้สหรัฐอเมริกามีบทบาทเด่นชัดแต่ผู้เดียว พร้อมกับ
การประกาศใช้ระเบียบโลกใหม่ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ประเทศต่างๆจะต้องอยู่ในกรอบของการ
เมืองระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติประเทศใดที่มีนโยบายหรือพฤติกรรมแปลก
แยก อาจถูกสหรัฐอเมริกาบังคับด้วยการใช้กำลังทหาร หรือการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ รวม
ทั้งมาตรการทางการค้า เพื่อให้ประเทศที่อยู่นอกกรอบปฏิบัติตาม
ระเบียบโลกใหม่ที่สหรัฐฯ ประกาศใช้มีจุดเน้น 4 ประการ คือ การเคารพสิทธิมนุษยชน
การปกครองแบบประชาธิปไตย การค้าเสรี และการรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งหากพิจารณาใน
ด้านหนึ่ง ก็ถือว่าระเบียบดังกล่าว เป็นสิ่งที่ถูกต้องและชาติต่าง ๆ น่าจะให้การสนับสนุนและ
ร่วมมือ แต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้ ได้นำไปสู่ความไม่พอใจและ
การวิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่ าย โดยเห็นว่าระเบียบใหม่นี้ มีเจตนาที่จะเข้าแทรกแซงกิจการ
ภายในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้การต่อต้านรัฐบาลขึ้นดังเช่นกรณีเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียน
อันเหมิน ในประเทศจีน เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1989 ( พ.ศ.2532)
จากการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจในโลกและในภูมิภาค ยังมีมหาอำนาจทางเอเชียอีกชาติ
หนึ่ง คือ ญี่ปุ่ นซึ่งมีบทบาทและอิทธิพลเพิ่มมากขึ้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าความผูกพันด้านความ
มั่นคงที่ญี่ปุ่ นมีต่อสหรัฐอเมริกาอาจจะเป็นตัวแปรหลักในการกำหนดสถานะและบทบาทด้านนี้
ของญี่ปุ่ นในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
ชวลีย์ ณ ถลาง .2548. เหตุการณ์ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
มนัส ธัญญเกษตร.2542 . วีถีโลก . กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/history/10000-5933.html

38
guru.sanook.com/history/topic/1980/สงครามโลกครั้งที่_1_(World_War_I)/ - 38k –
knowledge.eduzones.com/knowledge-2-4-44793.html - 109k
www.geocities.com/tri129/war1.htm - 7k -
www.bloggang.com/viewdiary.php?
http://human.tru.ac.th/elearning/local/global02/coldwar_05.html

39

You might also like