You are on page 1of 665

สงครามโลกครั้งที่ 1, 2 (ฉบับสมบูรณ์)

ประวัติศาสตร์การเข่นฆ่าที่โลกต้องเรียนรู้
วีระชัยโชคมุกดา
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-7071-61-9
พิมพ์ครั้งแรก 2555
บรรณาธิการอำนวยการ : คธาวุฒิเกนุ้ย บรรณาธิการบริหาร : เริงวุฒิ
มิตรสุริยะ บรรณาธิการ:จรดล บารนี กองบรรณาธิการ : ชิตพล จันสด,
ชัยยง เผือกทอง,มุกรินทร์ แพรกนกแก้ว ศิลปกรรม : คีย์ริชเนสส์
พิสูจน์อักษร : ปรัศนี อักษรารูปเล่ม : ยิปซี กราฟิก ฝ่ายการตลาด :
นุชนันท์ ทักษิณาบัณฑิต ผู้จัดการทั่วไป :เวชพงษ์ รัตนมาลี จัดพิมพ์
โดย : ยิปซี กรุ๊ป จำกัด เลขที่ 37/117 รามคำแหง 98แขวง/เขต สะพาน
สูง กรุงเทพฯ 10240 โทร. 02-729-3537 โทรสาร. 02-729-4933
จัดจำหน่าย : บริษัท ยิปซี กรุ๊ป จำกัด โทร. 02-729-3537
สนใจสั่งซื้อหนังสือจำนวนมากเพื่อสนับสนุนทางการศึกษา สำนักพิมพ์ลด
ราคาพิเศษ ติดต่อ โทร. 02-729-3537
สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามการลอกเลียนไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือนอกจาก
จะได้รับอนุญาตจาก ยิปซี สำนักพิมพ์
จัดจำหน่ายในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(eBook) โดย

บริษัท ไอ.พี.เจ. อินเตอร์เนชั่นแนล(1988) จำกัด


73 หมู่ที่ 5 ตำบลหลักหก
อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
โทร. 0-2567-0759 โทรสาร 0-2567-5779
www.hytexts.com
Special Thanks for Opensource license
JS Font
CKeditor
คำนำ : สงครามโลกครั้งที่ 1,2 (ฉบับ
สมบูรณ์)
ประวัติศาสตร์การเข่นฆ่าที่โลกต้อง
เรียนรู้

หนังสือเรื่อง สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ของผู้เขียนได้รับการ


ตีพิมพ์ออกจำหน่ายมาแล้วก่อนหน้านี้ และได้รับการตอบรับจากผู้อ่าน
ด้วยดียิ่ง จนต้อง มีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง
หลังจากที่ได้ดูหนังสือที่พิมพ์ออกไปแล้วและอ่านย้อนต้นฉบับแล้ว
ผู้เขียนพบว่า ในเหตุการณ์อันสำคัญที่เกิดขึ้นมาทั้งสองครั้งนี้ ยังมี
รายละเอียดปลีกย่อย มีเนื้อหาสาระอีกมากที่น่าจะนำมาผนวกและนำเสนอ
เพิ่มขึ้น ทั้งนี้กเ็ พื่อให้ประโยชน์แก่การอ่านและการรับรู้แก่ผู้อ่านให้มาก
ที่สุด
5/665

เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้เขียนจึงเริ่มลงมือโดยการนำต้นฉบับเดิมมา
เรียบเรียง และเพิ่มเติมเนื้อหาใหม่เข้าไปให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น กระทั่ง
สุดท้ายกลายเป็นหนังสือเล่มที่มีความหนาอย่างที่ผู้อ่านได้เห็นอยู่นี้
ผู้เขียนเชื่อว่า หนังสือเล่มนี้จะให้ความรู้และความเข้าใจในปัญหา
ของสงครามครั้งยิ่งใหญ่ทั้ง 2 ครั้งนี้ได้อย่างดียิ่งและรอบด้านมากขึ้น
เมื่อ ยิปซี สำนักพิมพ์ ตัดสินใจจัดพิมพ์ออกมาใหม่ด้วยรูปเล่มที่
สวยงามแล้วทำให้ยิ่งมั่นใจว่านี่จะเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าและเหมาะควรที่
จะเก็บเอาไว้เป็นสมบัติได้อย่างดีเล่มหนึ่ง
กระนั้นดังที่ใครสักคนเคยว่าเอาไว้ ไม่มีอะไรสิ้นสุดและไม่มีอะไร
สมบูรณ์ แท้จริงในโลกนี้ หนังสือเล่มนี้กเ็ ช่นกันผู้เขียนเชื่อว่าไม่ว่าเราจะ
นำเสนอเรื่องราว เอาไว้ครอบคลุมและรอบด้านเพียงใดก็ตาม แต่กค็ งย่อม
ยังมีข้อบกพร่องอยู่ดีนั่นเอง ดังนั้นหากส่วนหนึ่งส่วนใดยังมีข้ออ่อนด้อย
ขอให้ผู้เขียนเป็นผูร้ ับความผิดพลาดนั้น เช่นกันหากแต่หนังสือเล่มนี้มี
ความดีอยู่บ้างผู้เขียนก็ขอมอบ ความดีนั่นแด่นักเขียนและ
นักประวัติศาสตร์ผู้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อคนทั้งโลกได้รู้จักอดีตของตนเอง
ผู้เขียนหวังใจเอาไว้ว่า หนังสือเล่มนีจ้ ะสามารถยังประโยชน์ต่อผู้อ่าน
ได้มากที่สุดและหวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้อรรถรสที่สมบูรณ์พร้อมใน
เรื่องราวที่นำเสนอนี้เช่นกัน
ด้วยความขอบพระคุณอย่างยิ่ง
6/665

วีระชัย โชคมุกดา
บทนำ :

สงครามโลกกับความหมายแห่งความ
พินาศ
ในประวัติศาสตร์ของโลกที่ผ่านมา มีสงครามเกิดขึ้นมากมาย
หลายครั้ง บ้างเป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศหนึ่งต่อประเทศหนึ่ง
บ้างเกิดขึ้นระหว่างประเทศหนึ่งต่ออีกหลายประเทศ และหลายครั้งเช่นกัน
ที่เกิดสงครามระหว่างประเทศหลายประเทศกับคู่สงครามหลายประเทศ
แต่ทั้งหลายทั้งปวงนี้ไม่ถูกนับว่าเป็นสงครามโลก (World War)
มีการแสดงความคิดเห็นกันว่า สงครามโลกนั้น เป็นลักษณะความ
ขัดแย้ง ทางการทหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายชาติมหาอำนาจร่วมกัน
โดยมักจะเกิด ขึ้นในหลายทวีปทั่วโลกและกินเวลานานหลายปี ซึ่งคำว่า
สงครามโลก เป็นการอธิบายถึงสงครามที่มีขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคย
ปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์
8/665

ทีผ่ ่านมาสงครามทีไ่ ด้รับการยอมรับและเรียกกันว่า สงครามโลก มี


เพียง 2 ครั้ง เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่
1 เกิดขึ้นในช่วงปี 1914 - 1918 (พ.ศ. 2457 - 2461) และ สงครามโลก
ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วง ปี 1939 - 1945 (พ.ศ. 2482 - 2488)
ถึงแม้ว่าสงครามอื่นที่เกิดขึ้นจากหลายชาติทั่วโลก เช่น สงครามเย็น
ใน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามอิรักในช่วงปี 2003 -
2005 ยังไม่ถูกเรียกว่าเป็นสงครามโลก ทั้งนี้เพราะในแง่ของความรุนแรง
การส่งผลกระทบ หรือ การลุกลามของสงครามยังไม่ถึงจุดที่ยอมรับกันได้
นั่นเอง
เรื่องราวของสงครามโลก กลายเป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องเรียนรูแ้ ละ
จารึก กันทั้งนี้เพราะนอกจาก สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้จะเป็นสงครามที่มนุษย์
ทำลายล้างมนุษย์กันเองแล้ว สิ่งที่น่าสนใจเหนือยิ่งไปกว่านั้นก็คือ
ผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นซึ่งส่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ดี
และแง่ร้ายมาจนถึงทุกวันนี้
ย้อนกลับไปดูข้อมูลความสูญเสียที่เกิดขึ้น จากสถิติทมี่ ีการรวบรวม
พบว่า ในสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น มีทหารทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายสัมพันธมิตร
และฝ่ายมหาอำนาจกลาง เสียชีวิตรวมกันถึง 9,911,000 นายแบ่งเป็น
ฝ่ายสัมพันธมิตร 5,525,000 นาน และฝ่ายมหาอำนาจกลาง 4,386,000
นาย
9/665

ไม่เพียงเท่านั้นมีผไู้ ด้รับบาดเจ็บสูงถึง 21,219,500 นาย และที่สำคัญ


คือ ยังมีนายทหารของทั้งสองฝ่ายสูญหายอีกถึง 7,750,000 นาย
กระนั้นในผลร้ายทีเ่ กิดขึ้นก็มีสิ่งดีอยูบ่ ้าง อาทิ การสิ้นสุด
สงครามโลกครั้งที่ 1 นำมาซึ่งการเริ่มต้นก่อตั้งสันนิบาตชาติ ก่อนจะ
พัฒนามาเป็นองค์การ สหประชาชาติในที่สุด หรือแม้แต่การก่อเกิด
ประเทศใหม่อย่าง สหภาพโซเวียต หรือแม้แต่เป็นที่มาของการล่มสลาย
ของลัทธิล่าอาณานิคม เป็นต้น
ขณะทีค่ วามสูญเสียที่เกิดกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ไม่น้อยหน้าและ
ดูเหมือนจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ กล่าวคือ มีทหารเสียชีวิตรวมกันระหว่าง
ฝ่ายสัมพันธมิตรกับฝ่ายอักษะสูงมากกว่า 24,000,000 นาย โดยแบ่งเป็น
ฝ่ายสัมพันธมิตรมากกว่า 16,000,000 นาย และฝ่ายอักษะมากกว่า
8,000,000 นาย ไม่เพียงเท่านั้นยังปรากฏว่ามีพลเรือนเสียชีวิตสูงมากถึง
กว่า 49,000,000 คน นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของ
มนุษยชาติ
กระนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 นำมาซึ่งการพัฒนา
เทคโนโลยีครั้งสำคัญ โดยเฉพาะการค้นพบอานุภาพของระเบิดนิวเคลียร์
หรือแม้แต่การจัดสรรอำนาจทางการเมืองในเวทีการเมืองโลกครั้งใหม่ขึ้น
เรื่องราวเหล่านี้เองจึงเป็นที่มาที่ไปที่น่าสนใจและควรบันทึก จดจำเอา
ไว้ เป็นอย่างยิ่ง
10/665

แน่นอนที่สุดว่า สิ่งทีเ่ กิดขึ้นกับสงครามโลกทั้งสองครั้ง ย่อมไม่มี


มนุษยชาติคนใดที่เป็นปกติคิดหรือหวังว่าจะให้มันเกิดขึ้นอีกครั้ง ดังนั้น
การเรียนรูใ้ นเรื่องราวทั้งต้นตอ ที่มาที่ไป รวมถึงปรากฏการณ์และผลที่
เกิดขึ้นย่อมเป็นหนทาง อันดีที่จะทำความเข้าใจและมองเห็นถึงรากเหง้า
แห่งปัญหาเพื่อที่เราๆ จะได้สามารถสกัดกั้นหรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อจะได้
รับรูอ้ ย่างถ่องแท้ว่า มันคือความหายนะเช่นไรต่อมนุษยชาติ อันจะได้ร่วม
กันป้องกันไม่ให้เกิดสงครามโลกครั้ง ที่สาม ที่ไม่มใี ครต้องการขึ้นมาอีก -
--
ภาค 1
สงครามโลกครั้งที่ 1
(World War 1)
ค.ศ. 1914-1918
ปฐมบทของสงครามโลก ครั้งที่ 1
12/665
1

ปฐมบทของสงครามโลก ครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นความขัดแย้งระดับโลกทีเ่ กิดขึ้นตั้งแต่ปี
1914 (พ.ศ. 2457) ถึงปี 1918 (พ.ศ. 2461) ระหว่างฝ่ายมหาอำนาจ
ไตรภาคี (พันธมิตร) (Triple Entente) ซึ่งประกอบไปด้วย จักรวรรดิ
รัสเซีย ฝรั่งเศส จักรวรรดิบริเทน ราชอาณาจักรอิตาลี สหรัฐอเมริกา และ
พันธมิตร กับฝ่ายที่ถูกเรียกว่ามหา อำนาจกลาง หรือไตรพันธมิตร
(Triple Alliance) ประกอบไปด้วย ออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิ
เยอรมนี จักรวรรดิออตโตมัน ราชอาณาจักรบัลแกเรีย ซึ่งไม่เคยปรากฏ
สงครามขนาดใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิเกี่ยวข้องมากขนาดนี้มาก่อน
สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นที่รู้จักกันว่า “สงครามครั้งยิ่งใหญ่”
(Great War) หรือ “สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งมวล” (War to End
All Wars) พบว่ามีทหารกว่า 70 ล้านคนมีส่วนร่วมในการรบ ผลจาก
สงครามทำให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40
ล้านคน
14/665

ประวัติศาสตร์โลกก่อนสงครามโลกจะปะทุ
โลกก่อนศตวรรษที่ 20 เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างขนาน
ใหญ่ แม้จะยอมรับกันว่ามูลเหตุแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดจากความ
ขัดแย้งกันภายในทวีปยุโรป ซึ่งในช่วงเวลานั้นถือเป็นภูมิภาคที่ครอง
อำนาจยิ่งใหญ่ของโลกอยูก่ ็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ด้วยเช่นกันว่า แท้จริง
แล้วผลของการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นมา
ตลอดระยะเวลาในช่วงศตวรรษที่ 18 - 19 ก็มีผลอย่างมากด้วยเช่นกัน
สงครามโลกทั้งสองครั้งมีที่มาที่ไปจากยุโรปอย่างที่ไม่อาจปฏิเสธ
ทั้งนี้เพราะแท้จริงแล้วยุโรปคือที่รวมของชาติที่กุมชะตากรรมของโลกเอาไว้
อันเป็นผลมาจากความเจริญและการพัฒนาในหลากหลายด้านที่มีมาอย่าง
ต่อเนื่องนั้นเอง
ดังนั้นก่อนที่เราจะก้าวเข้าไปในปริมณฑลของเรื่องราวแห่ง
สงครามโลก ครั้งที่ 1 เราจึงจำเป็นที่จะต้องมาย้อนกลับไปมองสภาพของ
ยุโรปในช่วงก่อนหน้า นั้นกันเสียก่อน
ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัตอิ ุตสาหกรรม (Industrial Revolution) เป็นการ
เปลี่ยนแปลงอย่าง ใหญ่หลวงในบริเทนใหญ่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม
และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19
โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่อง จักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง
หลัก) ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ)
15/665

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้าง
เรือ เรือกำปั่น และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้า
แผ่ขยาย ไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบ
ทั่วโลกในที่สุด
การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นวลีที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกเหตุการณ์ที่
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วมากในยุโรป สืบ
เนื่องมาจากการค้นพบแหล่งพลังงานจากถ่านหินราคาถูกที่มีเหลือเฟือกับ
นวัตกรรมทางเครื่องกล คือเครื่องจักรไอน้ำที่เริ่มด้วยการปั่นด้าย การทอ
ผ้าฝ้ายและผ้าขน สัตว์ ฯลฯ ทีผ่ ลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงาน
อย่างมหาศาล ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมายมหาศาลและ
การก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล รวมทั้งระบบโรงงานและ
ขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่ ปรากฏการณ์ต่างๆ ดังกล่าวทำ
ให้เมืองต่างๆ ในอังกฤษกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เริ่มแออัด
ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวตกอยู่ระหว่าง
ค.ศ. 1750 - 1850 โดยเริ่มขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเจ้า
อาณานิคมที่มีเมืองขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์อยู่ทั่วโลกแล้วจึงได้ขยายไปทั่ว
ยุโรป
16/665

บรรยากาศภายในงานแสดงสินค้าและอุตสาหกรรมนานาชาติครั้งแรก Great Exihbition จัดขึ้นที่


ลอนดอนเมื่อปี 1851

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาใช้
ในการปั่นและทอผ้าฝ้ายและทอผ้าขนสัตว์ในแลงแคชเชียร์ที่ตั้งอยู่ตอน
กลางของสก๊อตแลนด์และทีบ่ ริเวณภาคตะวันตกของยอร์กเชียร์ (York-
shire) โรงงานทีใ่ ช้เครื่องจักรไอน้ำเหล่านี้ เกือบทั้งหมดมักตั้งอยู่ในเมือง
ทำให้ชุมชนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากการอพยพของแรงงานจาก
ชนบทและจากการแต่งงานเร็วขึ้นของคนทำงานที่มีรายได้ประจำเพิ่ม
นอกจากอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก็เกิดขึ้น
ซึ่งแม้จะขยายตัวช้ากว่า แต่ก็ได้กลาย เป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจ
17/665

การปฏิวัตอิ ุตสาหกรรมในยุคที่ 2 ประมาณ ค.ศ. 1830 เป็นต้นมา


แต่นักประวัติศาสตร์กลับเห็นว่าบทบาทของการตลาด ความมั่นคงทางการ
เมืองและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการจัดการที่เริ่มขึ้นในสมัยนั้น
เป็นหัวใจของการขยายตัวอย่างรุนแรงที่แท้จริงของอุตสาหกรรม และใน
กระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวยังทำให้เกิดนักประดิษฐ์ที่มี
ชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน เช่น อาร์คไรท์ โบลตัน โคร์ต ครอมพ์ตัน
ฮาร์กรีฟส์ เคย์ และวัตต์ นอกจากนี้ กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมือง รวม
ทั้งการจัดสร้างสวนสาธารณะก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้
เช่นกัน
ผู้ใช้วลี “การปฏิวัตอิ ุตสาหกรรม” เป็นคนแรกคือทูตฝรั่งเศสประจำ
กรุง เบอร์ลินชื่อหลุยส์ กวิลเลาเม (Guillaume) เมื่อปี 1799 แต่ผู้ที่
นำมาใช้จนเริ่มแพร่หลายเป็นนักเขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์ชื่อ ออกุสต์ บ
ลันเกวย์ (Auguste Blanqui) เมื่อปี 1837 รวมทั้ง ฟรีดริช เองเกลส์
ในหนังสือเรื่อง “สภาพของชนชั้น กรรมกรในประเทศอังกฤษ” ปี 1845
จากนั้นมาก็ได้มีผู้นำวลีนี้มาใช้แพร่หลาย เป็นการถาวร
ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของโลกตะวันตกที่เกิดขึ้นทำให้
1. การเพิ่มของจำนวนประชากร โดยเฉพาะประเทศอังกฤษและ
เยอรมนี มีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม
18/665

เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง และความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์
และสาธารณสุข
2. การขยายตัวของสังคมเมือง เกิดเมืองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
จาก การอพยพของผู้คนในชนบทเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้เกิดปัญหา
สังคมตามมา โดยเฉพาะปัญหาชุมชนแออัดและเกิดอาชีพใหม่ๆ อย่าง
หลากหลาย ในขณะที่ ชนชั้นกลางหรือพ่อค้านายทุนเข้ามามีบทบาทใน
สังคมมากขึ้น
3. การแสวงหาอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศยุโรปที่มี
การ ปฏิวัตกิ ารผลิตด้านอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่ง
วัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรมและขยายตลาดระบายสินค้าที่ผลิตจึงเกิด
การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกาและเอเชีย
และ 4. ความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม ในคริสต์ศตวรรษที่
20 การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้โลกมีการพัฒนาการผลิตภาค
อุตสาหกรรมก้าว หน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง เช่น มีการนำวัสดุอื่นๆ มาใช้ผลิต
แทนวัสดุธรรมชาติ เช่น พลาสติก และโลหะประเภทอัลลอยที่มนี ้ำหนัก
เบา ตลอดจนเกิดการผลิตในระบบโรงงานที่ใช้เครื่องจักรหุ่นยนต์หรือ
คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานเป็นต้น
เรียกว่าทั้งหลายทั้งปวงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมนำมาสู่การเปลี่ยน
แปลงให้กับยุโรปอย่างขนานใหญ่และรวดเร็ว
ลัทธิชาตินิยมและการทหาร
19/665

กล่าวกันว่าเมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 อิทธิพลของลัทธิชาตินิยม อัน


เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมชาติเยอรมนีและอิตาลีขึ้นมาก่อนหน้า
นั้นได้เปลี่ยนให้เป็นความหลงชาติไป โดยประชากรส่วนใหญ่ของแต่ละ
ประเทศต่างคิดและมองว่าประเทศของตนเองมีความยิ่งใหญ่และประเทศ
อื่นอ่อนด้อยกว่าตน และเมื่อเป็นเช่นนี้ก็ส่งผลให้ประชากรเริ่มคิดว่าเป็น
สิทธิอันชอบธรรมที่ประเทศของตนเองจะแสวงหาและรักษาผลประโยชน์
ของชาติตนเอง โดยไม่คำนึงถึงสิทธิและผลประโยชน์ของผู้อื่น ซึ่งความคิด
เหล่านีเ้ องทีน่ ำไปสู่ความตึง เครียดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งอารมณ์
และข้อเรียกร้องของประชาชนต่อรัฐบาลตัวเองทำให้รัฐบาลของแต่ละชาติ
ต้องคล้อยตามหรือโอนอ่อนผ่อนตาม ข้อเรียกร้องของประชาชน
กล่าวกันว่าลัทธิชาตินิยมนี้ถือเป็นพลังแห่งการสร้างเสริมและทำลาย
ในประวัติศาสตร์ของยุโรป ทั้งนี้เพราะด้านหนึ่งมันช่วยรวมให้เกิดประเทศ
ในยุโรปอย่างจริงจัง ให้มีรัฐบาลกลางปกครองอาณาเขตของตนเองใน
ฐานะชาติและตั้งเข้าเป็นรัฐบาลทีม่ ศี ูนย์อำนาจที่เข้มแข็ง กระนั่นด้านหนึ่ง
มันก็ถือว่าแบ่งอำนาจและประเทศออกจากกันด้วย ค.ศ. 1914 เมื่อเกิด
สงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นมาลัทธิชาตินิยมก็เปลี่ยนชาวยุโรปให้เดินเข้าไปสู่
จุดหมายของการทำลาย ล้างด้วยเช่นกัน
สัญลักษณ์และความเข้มแข็งในสายตาของผู้นำหรือชาวยุโรปในช่วง
เวลานั้นมองว่าคือ การทหาร ประเทศที่เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ต้องมีกองทัพที่
เข้มแข็งและเกรียงไกร สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเงื่อนไขทำให้ประเทศต่างๆใน
20/665

ยุโรป ต้องแสวงหาผลประโยชน์ และผดุงความจงรักภักดีและความ


ภาคภูมิใจของประชาชนในประเทศเอาไว้ ดังนั้นช่วงนั้นทั้งประชาชนและ
ผู้ปกครองต่างแต่ให้การสนับสนุนการทหาร มีการเพิ่มงบประมาณทางการ
ทหารเพื่อเสริมสร้างฐานะของตนเอง โดยประเทศผู้นำในเรื่องนี้คือเยอรมนี
ซึ่งมาถึงต้นศตวรรษที่ 20 ก็จะพบว่ายกเว้นอังกฤษแล้วประเทศ
ชั้นนำในยุโรปต่างหันมาใช้วิธีการเกณฑ์ทหารตามแบบเยอรมนีทั้งสิ้น ซึ่ง
ส่งผลให้แต่ละประเทศมีกองทัพทีย่ ิ่งใหญ่และเข้มแข็ง ซึ่งส่งผลให้
แนวโน้มในการเจรจา หรือตัดสินข้อพิพาทต่างๆ โดยทหารเกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพราะเชื่อในพลังและความสามารถของตนเองแทบทั้งสิ้น
จักรวรรดินิยมใหม่
ในอีกด้านหนึ่งอุดมการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องราวของลัทธิ
ชาตินิยมที่ถูกปลุกกระแสและนำมาใช้ก็กำลังก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาอย่าง
ต่อเนื่องทำให้เกิดวิธีคิดและลัทธิชาตินิยมขึ้นมาอย่างมากในห้วงเวลานั้น
ดังนั้นเมื่อเป็นชาตินิยมแล้วย่อมหันหาผลประโยชน์ ซึ่งส่งผลให้แต่ละชาติ
ก่อร่างสร้างตัวเพื่อเข้าไปแสวงหาหรือกอบโกยผลประโยชน์ในชาติอื่น
ดังนั้นผลต่อเนื่องของชาตินิยมก็คือ ลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่
21/665

ยุโรปในปี 1914 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้น

กล่าวคือ ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) เป็นแนวความคิด


ของชาติมหาอำนาจในยุโรปทีจ่ ะขยายอำนาจ และอิทธิพลของตนเข้า
ครอบครองดินแดนทีล่ ้าหลังและด้อยความเจริญในทวีปต่างๆ เพื่อแสวง
ผลประโยชน์ทั้งทาง การเมืองและเศรษฐกิจ เช่น แหล่งวัตถุดิบ และ
ตลาดระบายสินค้า ชาวยุโรปเข้ายึดครองดินแดนของชนชาติต่างๆ ในรูป
ของการล่าอาณานิคม (Colonization)
จักรวรรดินิยมยุคแรก เริ่มต้นตั้งแต่การสำรวจทางทะเลเมื่อ
คริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีการค้นพบทวีป
อเมริกา และการค้นพบเส้นทางเดินเรือไปทวีปเอเชียเมื่อคริสต์ศตวรรษที่
22/665

15 สเปน และโปรตุเกส เป็นชาติผู้นำการสำรวจและค้นพบดินแดนใหม่


และได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ชาติทั้งสองเป็นอันมาก
สเปนเข้ายึดครองดินแดนในอเมริกาใต้ แล้วบรรทุกแร่เงินและ
ทองคำจากโลกใหม่จำนวนมหาศาล
ส่วนโปรตุเกสมั่งคั่งจากการผูกขาดการค้าขายกับอินเดียและหมู่เกาะ
เครื่องเทศ ต่อมาการผูกขาดเส้นทางเดินเรือของสเปนและโปรตุเกสก็ถูก
แข่งขันโดยอังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สเปนและโปรตุเกสก็สูญเสียความยิ่งใหญ่
ด้านการค้าและอาณานิคมให้แก่ อังกฤษ ฮอลันดา และฝรั่งเศส และเกิด
การขัดผลประโยชน์ระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส
จักรวรรดินิยมยุคใหม่ ในระยะแรกเมื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่ม
ขึ้นในอังกฤษตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษเป็นชาติผู้นำ
ด้านอุตสาหกรรม ผ้าและเหล็กแต่เพียงผู้เดียว ในขณะที่ประเทศใน
ภาคพื้นยุโรปและสหรัฐอเมริกา ยังมีอาชีพทางกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ จึง
จำต้องพึ่งสินค้าอุตสาหกรรมจากอังกฤษ ต่อมาเมื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม
แพร่หลายไปทั่วยุโรป ประเทศอุตสาหกรรมหนักเกิดความจำเป็นต้อง
แสวงหาตลาดสินค้าใหม่ๆ และแหล่งวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่ต้น
คริสต์ศตวรรษที่ 19 การล่าอาณานิคมในยุคนี้ ชาวยุโรปต้องการเข้าไป
ควบคุมทั้งการปกครองและเศรษฐกิจของประเทศอาณานิคมอย่างเต็มที่
จึงเกิดเป็นจักรวรรดินิยมยุคใหม่ขึ้นมา
23/665

ลัทธิจักรวรรดินิยม มีผลกระทบต่อการเมืองการปกครองของ
ประเทศต่างๆ มีดังนี้
1. ทำให้ชาติมหาอำนาจขัดแย้งในผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่งผล
ให้บรรยากาศทางการเมืองของโลกเข้าสู่ภาวะตึงเครียด และนำไปสู่
สงครามในที่สุด
2. ทำให้ชาติตะวันตกมีข้ออ้างอันชอบธรรมในการยึดครองดินแดน
ต่างๆ เป็นอาณานิคมของตน เพราะถือเป็นภาระหน้าที่ของคนผิวขาวที่จะ
นำอารยธรรมความเจริญไปเผยแพร่ยังดินแดนที่ล้าหลังและห่างไกลความ
เจริญ ส่งผลให้ประชากรในดินแดนอาณานิคมเกิดการซึมซับในวัฒนธรรม
วิถีการดำเนิน ชีวิต ความคิด และค่านิยมแบบตะวันตก
ผลที่เกิดขึ้นของจักรวรรดินิยมใหม่ในศตวรรษที่ 19 ทำให้บรรดา
ประเทศต่างๆ ในยุโรปประกาศความเป็นประเทศจักรวรรดิกันพร้อมหน้า
โดยแต่ละประเทศหรือแต่ละจักรวรรดิต่างก็แข่งขันกันสร้างเสริมอำนาจ
และบารมีของตัวเองให้ขจรขจายกันไปทั่วโลก
ขณะทีป่ ระเทศต่างๆ ในภูมิภาคอื่น คือไม่ใช่ยุโรปต่างก็ได้แค่ทำดี
ที่สุดคือพยายามทุกวิธีทางไม่ให้ตัวเองต้องตกเป็นส่วนหนึ่งของบรรดา
จักรวรรดิแห่งยุโรปในเวลานั้น ---
2

จักรวรรดิสำคัญในยุโรปก่อนสงคราม
ใหญ่จะปะทุ
เพื่อความเข้าใจและมองเห็นภาพของการเมืองการปกครองของ
ยุโรปในเวลานั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จำเป็นที่เราจะต้องมาทำความรู้จักกับ
บรรดาชาติที่ประกาศตัวเป็นจักรวรรดิในเวลานั้นของยุโรปกันเสียก่อน
จักรวรรดิอังกฤษหรือจักรวรรดิบริเทน
จักรวรรดิอังกฤษ (British Empire แปลตามตัวคือ “จักรวรรดิบริ
เทน”) นับเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และในช่วงระยะเวลา
หนึ่งเคยเป็นมหาอำนาจที่สำคัญของโลก โดยถือกำเนิดมาจากยุคแห่งการ
ค้นพบในทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่การสำรวจทางทะเลในคริสต์ศตวรรษที่
15 ทีท่ ำให้เกิดจักรวรรดิอาณานิคมของยุโรป (European colonial
empires)
25/665

ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอังกฤษนับเป็นมหาอำนาจที่น่าเกรงขาม
มากที่สุด โดยเป็นทั้งมหาอำนาจทางทะเล มีอาณานิคมโพ้นทะเลมากที่สุด
จนได้ชื่อว่า “ดินแดนพระอาทิตย์ไม่ตกดิน” เป็นประเทศอุตสาหกรรม
ชั้นนำและมั่งคั่งที่สุดด้วย
การก่อตั้งจักรวรรดิอังกฤษเกิดขึ้นในช่วงก่อนที่ประเทศอังกฤษจะ
รวมตัวกันเป็นรัฐเดี่ยวทางการเมือง เมื่ออังกฤษและสก๊อตแลนด์ยังคงเป็น
ราชอาณาจักรที่แยกจากกัน
ในบางกรณีอังกฤษในยุคจักรวรรดิศตวรรษที่ 19 นี้ ยังเรียกหรือได้
ชื่อว่ายุค “วิคตอเรียน” (Victorian Age) ซึ่งชื่อนีไ้ ด้มาจากชื่อของพระ
ราชินีนาถวิคตอเรีย (ครองราชย์ ค.ศ. 1837-1901) ยอมรับกันอย่างกว้า
งๆ ว่า หลังจากสงครามนโปเลียน 1815 เมื่อสิ้นสุดสงครามใหญ่นี้แล้ว
อังกฤษก็เริ่มหันมาสนใจเหตุการณ์ภายในหมู่เกาะของตนเอง และเริ่ม
สนใจสร้างจักรวรรดิที่แท้จริง
ราชอาณาจักรสก็อตแลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษนั้นได้ก่อตัวขึ้น
เป็นรัฐแยกกันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 โดยแต่ละรัฐมีราชวงศ์และ
ระบอบการปกครองของตัวเอง ส่วนราชรัฐเวลส์ตกมาอยู่ภายใต้การ
ปกครองของอังกฤษจากบทกฎหมายรุดดลันในปี 1384 และรวมเข้าเป็น
ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอังกฤษในปี 1535 ขณะทีป่ ระเทศอังกฤษและส
ก็อตแลนด์นั้นรวมกันอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก เมื่อครั้งที่พระเจ้าเจมส์
ที่ 6 แห่งสก๊อตแลนด์ได้ปกครองอังกฤษ เนื่องจากพระนางอลิซาเบธที่ 1
26/665

ไม่มรี ัชทายาท ทั้งสองประเทศจึงอยูภ่ ายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์


เดียวกันแต่ต่างฝ่ายต่างมีรัฐบาลอิสระของตนเอง ต่อมาภายหลังอังกฤษ
และสก็อตแลนด์ก็ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพทางการเมืองในชื่อ
ราชอาณาจักรบริเทนใหญ่
พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 ได้รวมราชอาณาจักรบริเทน
ใหญ่กับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้ค่อยๆ ตกเข้ามาอยูใ่ นการ
ควบคุมของอังกฤษ เข้าเป็นสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเทนใหญ่และ
ไอร์แลนด์
ต่อมาในปี 1922 แคว้นต่างๆ รวม 26 แคว้นจาก 32 แคว้นบนเกาะ
ไอร์แลนด์ตัดสินใจที่จะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร และตั้งเป็น
ประเทศใหม่เป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ หลังจากนั้นอีก 7 ปี 6 แคว้นที่
เหลือได้เข้ามารวมตัวกับสหราชอาณาจักรดังเดิม และตั้งชื่อแคว้นของ
ตนเองเป็น ไอร์แลนด์เหนือ
กระนั้นในศตวรรษที่ 19 สหราชอาณาจักร (ในขณะนั้นคือ
สหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์) เป็นประเทศผู้นำ
ของโลกในหลายๆด้าน เช่น การพัฒนาระบอบทุนนิยมและประชาธิปไตย
แบบรัฐสภารวมถึงการเผยแพร่ทางด้านศิลปะ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
ในฐานะเจ้าแห่งจักรวรรดิแท้จริง ในช่วงก่อนสิ้นศตวรรษที่ 19
จักรวรรดิบริเทนใหญ่สามารถครอบครองดินแดนถึงหนึ่งในสี่ของพื้นผิว
27/665

โลกและมีประชากรโลกเป็นหนึ่งในสามของโลกในช่วงที่มีการขยายตัว
สูงสุด ทำให้กลายเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ทั้งใน
ด้านดินแดนและประชากร
สหราชอาณาจักรมีรูปแบบการปกครองรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้
รัฐธรรมนูญ และมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา โดย
พระมหากษัตริยท์ รงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี ซึ่งมี
นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีนั้นเลือกโดย
รัฐสภา และมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐสภาเช่นเดียวกัน ทั้งนี้รัฐสภาแห่ง
สหราชอาณาจักรเป็นระบบสภาคู่ แบ่งเป็นสองสภา คือ สภาขุนนาง เป็น
สภาสูง จากการแต่งตั้ง และสภาสามัญชน เป็นสภาล่าง มาจากการ
เลือกตั้ง และผู้นำของรัฐสภาคือพระมหากษัตริย์ สหราชอาณาจักรเป็น
หนึ่งในไม่กปี่ ระเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่กฎหมาย
ส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักรนั้นปรากฏตัวอยู่ในรูปประเพณี
ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นี้จักรวรรดิอังกฤษมีสมเด็จ
พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งราชวงศ์วินด์เซอร์ เป็นพระมหากษัตริย์ ดังนั้น
เพื่อให้เราสามารถ มองเห็นภาพของช่วงแห่งสงครามชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอนำ
พระราชประวัติของกษัตริย์แห่งจักรวรรดิบริเทนในเวลานั้นมานำเสนอใน
ที่นี้
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 มีพระนามเดิมว่า จอร์จ เฟรเดอริค
เออร์เนส อัลเบิร์ต ทรงประสูติเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 1865
28/665

แท้จริงราชวงศ์ของพระองค์นั้นคือ ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและก็
อตธา ราชวงศ์นี้ เป็นราชวงศ์ที่เริ่มต้นในเยอรมนี เคยเป็นราชวงศ์ที่ครอง
ราชบัลลังก์ในหลายประเทศของยุโรป และปัจจุบันมีสาขาสืบทอดที่ยัง
ครองราชบัลลังก์เบลเยียม โดยผ่านทางเชื้อสายในสมเด็จพระราชาธิบดีเล
โอโพลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม และสหราชอาณาจักร รวมถึงเครือจักรภพ
โดยผ่านทางเชื้อสายในเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต ในสหราชอาณาจักร ราชวงศ์
แซ็กซ์-โคบูร์กและก็อตธา เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แซ็กซอน เชื้อสายเวต
ติน
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์จากเดิมเป็นราชวงศ์
วินด์เซอร์ ในปี 1817 กล่าวคือในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์ได้
ทรงสละพระอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ของเยอรมนีทั้งหมดในนามของ
พระประยูรญาติสัญชาติอังกฤษและเปลี่ยนชื่อราชวงศ์จากแซ็กซ์-โคบูร์ก
และก็อตธาเป็นวินด์เซอร์ ในรัชกาลของพระองค์ พระราชบัญญัติ Stat-
ute of Westminster ได้แยกสถาบันพระมหากษัตริยอ์ อกต่างหาก
พระองค์จึงทรงปกครองดินแดนต่างๆ ในปกครองของอังกฤษแบบ
ราชอาณาจักรอิสระ และการกำเนิดขึ้นของลัทธิสังคมนิยม ฟาสซิสต์ และ
ลัทธิสาธารณรัฐนิยมของไอร์แลนด์ได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดทางการเมือง
พระองค์ประสูติ ณ ตำหนักมาร์ลโบโร กรุงลอนดอน พระชนกคือ
เจ้าชายแห่งเวลส์ (หรือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7) พระราชโอรสองค์โต
ในสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย และ เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก
29/665

และก็อตธา พระชนนีคือ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (ภายหลังคือ สมเด็จพระ


ราชินีอเล็กซานดรา) พระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียน
ที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระ
ราชินีนาถวิคตอเรีย ผ่านสายพระราชโอรส พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศ
เป็น สมเด็จเจ้าฟ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ ตั้งแต่แรกประสูติ
พระองค์ทรงเข้ารับศีลจุ่มเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1865 ณ โบสถ์
ประจำราชวงศ์ ในปราสาทวินด์เซอร์ ในฐานะที่พระโอรสองค์รองใน
เจ้าชายแห่งเวลส์ จึงไม่ได้มีการคาดหวังว่าเจ้าชายจอร์จจะได้เสวย
ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เนื่องจากเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ พระ
เชษฐา ทรงอยู่ในลำดับที่ 2 ของสายการสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระชนก
พระองค์ทรงปฏิบัติราชการในราชนาวีอังกฤษตั้งแต่พระชนมายุ 12
พรรษา แต่หลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างไม่คาดฝันของเจ้าชายอัลเบิร์ต
วิกเตอร์ ดยุคแห่งคลาเรนซ์ พระเชษฐา ทำให้ทรงกลายเป็นรัชทายาทใน
ราชบัลลังก์และอภิเษกสมรสกับพระคู่หมั้นของพระเชษฐาคือ เจ้าหญิงแมรี่
แห่งเท็ค ถึงแม้ว่าทั้งสองพระองค์จะเสด็จประพาสจักรวรรดิอังกฤษเป็น
บางโอกาส แต่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงโปรดที่จะประทับที่พระ
ตำหนักพร้อมกับการสะสมดวงตราไปรษณียากร และทรงมีชีวิตที่ต่อมานัก
ชีวประวัติเห็นว่าไม่น่าสนใจเนื่องจากความเป็นธรรมดาและเรียบง่าย
เมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระบรมราชชนกเสด็จสวรรคตในปี
1910 พระองค์ทรงเถลิงราชย์เป็นสมเด็จพระมหากษัตริย์-จักรพรรดิแห่ง
30/665

สหราชอาณาจักรและจักรวรรดิบริเทน อีกทั้งพระองค์ยังทรงเป็นสมเด็จ
พระจักรพรรดิ แห่งอินเดียอีกด้วย เป็นเพียงกษัตริยอ์ ังกฤษพระองค์เดียว
ที่มีพิธีบรมราชาภิเษกที่อินเดีย
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงได้รับความทุกข์ทรมานจากการประชวร
ตลอดช่วงใหญ่ของปลายรัชกาล ในการเสด็จสวรรคตของพระองค์
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสองค์โตเสด็จขึ้นครองราชสมบัตสิ ืบ
สันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป
พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติตั้งแต่ 6 พฤษภาคม 1910 ผ่านช่วง
สงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 1914 ถึงปี 1919) จนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน
ปี 1936
จักรวรรดิรุสเซีย[1]
จักรวรรดิรุสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 (พ.ศ. 2264) โดยพระเจ้า
ซาร์ปเี ตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่ราชอาณาจักรรุสเซีย จักรวรรดิรุสเซีย
มีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก เอเชีย จนไปถึงอเมริกา นับ
ได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่
เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย
จักรวรรดิรุสเซีย สถาปนาขึ้นแทนราชอาณาจักรรุสเซีย (Tsardom
of Muskovy) เป็นจักรวรรดิหนึ่งที่โดดเดี่ยวและไม่เป็นที่รู้จักในยุโรป
จนกระทั่งพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราชทรงปฏิรูปจักรวรรดิให้ทันสมัย ถือ
31/665

เป็นการเปิดประตูต้อนรับยุโรปอย่างแท้จริง พระองค์ทรงปฏิรูปจักรวรรดิ
ใหม่หมด ทั้งการแต่งกาย การศึกษา ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้จักรวรรดิรุสเซียหลังรัชสมัยของพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช
จึงกลายเป็นจักรวรรดิมหาอำนาจชั้นแนวหน้าของโลกในสมัยนั้น
พระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราชทรงรวบรวมอำนาจในรุสเซียให้มีความ
เป็นปึกแผ่นแล้วนำพาจักรวรรดิรุสเซียในขณะนั้นไปสู่ระบบรัฐของยุโรป
พระองค์ทรงเปลี่ยนจากอาณาจักรเล็กๆ เริ่มแรกในศตวรรษที่ 14 ให้
กลายเป็นจักรวรรดิ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรัชสมัยของพระองค์
รุสเซียขยายเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ยูเรเซีย ตั้งแต่ทะเลบอลติกจรด
มหาสมุทรแปซิฟิก และขยายออกไปมากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 17
อย่างไรก็ตามแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาล นี้มีประชากร 14 ล้านคน
ส่วนใหญ่อยูต่ ามชนบทและทำกสิกรรมทางตะวันตกของประเทศ ส่วนน้อย
ที่อยู่ในเมือง ซาร์ปเี ตอร์มหาราชได้ทำการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การ
ปกครอง และการทำศึกสงครามเสียใหม่ เพื่อให้เจริญก้าวหน้าโดยรับแนว
คิดจากตะวันตกมาทั้งสิ้น พระองค์ทรงเรียนรูก้ ลยุทธ์และการป้องกัน
มากมายจากตะวันตก แล้วยังสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง ซึ่งมาจากการ
เกณฑ์ทหาร พระองค์ยังทรงเป็นพระเจ้าซาร์พระองค์แรกที่เสด็จประพาส
ยุโรปด้วย พระองค์ทรงทำสงครามกับสวีเดนเพื่อชิงแผ่นดินส่วนที่ติดกับ
ทะเลบอลติกให้มีทางออกสู่ทะเลอีกทั้งยังให้เป็นประตูสู่ยุโรป และสร้าง
เมืองหลวงใหม่ชื่อว่า เซนต์ปเี ตอร์สเบิร์ก เมื่อนโปเลียนที่ 1 บุกรุสเซีย
32/665

รุสเซียก็มีชัยเหนือนโปเลียนที่ 1 ชัยชนะในครั้งนั้นเป็น การแสดงให้โลกรู้


ว่าจักรวรรดิรุสเซียยังคงเป็นมหาอำนาจที่ไม่อาจโค่นล้มได้ง่ายๆ

ปีเตอร์มหาราช

เมื่อล่วงเข้าศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอยู่ภายใต้การนำของพระเจ้า
ซาร์นิโคลัสที่ 1 ซึ่ง ทรงทำสงครามพิชิตแหลมไครเมียร์กับจักรวรรดิออต
โตมันรัสเซียก็พิชิตแหลมไค รเมียร์ได้สำเร็จซึ่งในขณะนั้นเองจักรวรรดิก็
33/665

ก้าวเข้าสู่การปฏิรูปประเทศอีก ครั้ง ทาสเริ่มได้รับสิทธิมากขึ้น เริ่มมีการ


เผยแพร่ความรู้ และเริ่มมีแผนที่จะร่างรัฐธรรมนูญขึ้นด้วย แต่กล็ ้มเลิก
ความคิดไป
เมื่อเริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ก็เริ่มมีกระแสการปฏิวัติไปทั่วโลก ใน
ขณะนั้นเองจักรวรรดิรุสเซียก็เริ่มเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนอดยาก
ทั่วรุสเซีย ฤดูหนาวที่โหดร้าย และการพ่ายแพ้สงคราม ภายใต้อำนาจของ
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 เริ่มมีชนกลุ่มเล็กภายในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเริ่มคิด
ก่อการปฏิวัติเมื่อเหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น ในปี 1905 ประชาชนได้
รวมตัวกันชุมนุมกัน ณ จัตุรัสแดง ทีพ่ ระราชวังฤดูหนาวในเซนต์ปี
เตอร์สเบิร์ก เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อพระเจ้าซาร์ และเมื่อพระเจ้าซาร์เสด็จ
ออกมา ปืนและปืนใหญ่ของทหารม้า รุสเซียก็ระดมยิงใส่ผชู้ ุมนุมประท้วง
จนทำให้มผี ู้เสียชีวิตจำนวนมาก เหตุการณ์นี้รู้จักกันดีในชื่อว่า Bloody
Sunday หรือ อาทิตย์ทมิฬ ต่อมาเมื่อรุสเซียเมื่อแพ้สงครามรุสเซีย-
ญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 1917เกิดการ
ปฏิวัตขิ ึ้น (การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์) นำโดย วลาดิเมียร์ เลนิน ซึ่ง
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ก็ต้องทรงสละราชบัลลังก์และถูกกักกันตัวไว้
หลังจากการปฏิวัติไม่นาน ราชวงศ์ก็ทรงประทับอยู่ ณ พระราชวังอเล็ก
ซานเดอร์ และระหว่างเมษายน และ พฤษภาคมปี 1918 ก็ทรงถูกย้ายจาก
พระราชวังอเล็กซานเดอร์มาประทับ ณ เมืองเยคาเทียรินเบิร์ก เมื่อวันที่
16 กรกฎาคม เวลา 1:30 นิโคลัส อเล็กซานดร้า โอรสและธิดา ถูกหลอก
ให้ลงมาชั้นใต้ดิน แต่เมื่อทั้งหมดลงมา ก็ถูกขังไว้ในห้องพร้อมกับทหาร
34/665

กลุ่มบอลเชวิค โดยทั้งหมดสิ้นพระชนม์จากการถูกยิงเป่าหมู่ ภายหลังได้มี


การฝังพระศพทั้งหมดร่วมกัน เป็นการปิดฉากราชวงศ์โรมานอฟและ
จักรวรรดิรุสเซีย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น ในช่วงเริ่มแรกรุสเซียยังมีกษัตริย์
ปกครอง ประเทศอยู่ นั่นคือ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ซึ่งพระองค์ทรงเป็น
ผู้ประกาศเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ แม้ในเวลาต่อมาคือช่วงกลางของ
สงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นพระองค์จะถูกพรรคบอลเชวิคทีน่ ำโดยวลาดิเมียร์
เลนินโค่นลงจากอำนาจ กระนั้นในที่นเี้ ราพึงรู้จักพระราชประวัตขิ อง
พระองค์กันในที่นี้ก่อน
ซาร์นิโคลัสที่ 2 หรือ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 พระนามาภิไธยเต็ม
ของพระองค์คือ นิคาลัย อเล็กซานโดรวิช โรมานอฟ พระนามาภิไธยอย่าง
เป็นทาง การคือ นิโคลัสที่ 2 สมเด็จพระจักรพรรดิเจ้าอธิปัตย์แห่งรัสเซีย
และในบางครั้งมีผู้เรียกพระองค์ว่า “นิโคลัสผู้เป็นที่เคารพบูชา”
อันเนื่องมาจากการถูกปลงพระชนม์อย่างทารุณ กับทั้งได้รับสมัญญาว่า “นิ
โคลัสผู้กระหายเลือด”อันเนื่องมาจากเหตุการณ์นองเลือดในวันขึ้นทรง
ราชย์ อย่างไรก็ดี ผู้ถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ของรัสเชียยกย่อง
พระองค์ให้เป็น “นักบุญนิโคลัสผู้ธำรงความหฤหรรษ์”
พระองค์ทรงประสูติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1868 เป็นพระโอรส
ของสมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย แห่งราชวงศ์โร
มานอฟเสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 1894-15 มีนาคม
35/665

1916 พระองค์ได้รับการกล่าวถึงว่าทรงเป็นจักรพรรดิที่อ่อนแอ ทรงไม่


สามารถจัดการกับความไม่สงบภายในประเทศ โดยเฉพาะความพ่ายแพ้ใน
สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นเมื่อปี 1904-1905 และการที่ทรงบัญชาการรบใน
สงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ไม่ทรงสามารถควบคุมกองทัพได้ อันเป็นชนวน
ให้ประชาชนชาวรัสเซียไม่พอใจและก่อการประท้วง นอกจากนีย้ ังทรง
ปล่อยให้รัสปูตนิ นักบวชนอกรีตมีอิทธิพล เหนือราชสำนัก ต่อมา
คณะปฏิวัตบิ อลเชวิคได้บังคับให้ทรงสละราชสมบัติเมื่อปี 1917 ทรงถูกจำ
และถูกปลงพระชนม์อย่างทารุณพร้อมด้วยพระราชวงศ์หลายพระองค์
จักรวรรดิฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 อยู่ในช่วงประวัติศาสตร์
ของชาติสมัยที่เรียกว่า สมัยสาธารณรัฐที่ 3
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (ค.ศ. 1870 - 10 กรกฎาคม 1940) เป็น
ชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิ
ฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิชี เกิดขึ้นหลังจากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส
ต่อจักรวรรดิเยอรมนี ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เมื่อปี 1870 และดำรง
อยูม่ าจนล่มสลายในปี 1940 จากการรุกรานของนาซีเยอรมนี ยุคนีเ้ ป็นยุค
ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่อายุยืนที่สุด นับตั้งแต่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี
1789 เป็นต้นมา
สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ ฟรังโก-ปรัสเซียน เกิดขึ้นมา
เนื่องจากฝรั่งเศสพ่ายแพ้ปรัสเซียทางการทูตอยูเ่ สมอๆ และมีปัญหา
36/665

เกี่ยวกับการสืบราชสมบัติในสเปน ฝรั่งเศสจึงตัดสินใจประกาศสงคราม
กับปรัสเซีย สงครามครั้งนี้ ปรัสเซีย มีชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทำให้ฝรั่งเศส
ต้องเสียอัลซาซ-ลอร์เรนน์ ให้แก่เยอรมนี ทั้งต้องเสียค่าปรับให้แก่
เยอรมนีอีกถึงหนึ่งพันดอลลาร์อเมริกาซึ่งถือว่ามหาศาลในเวลานั้น
ผลของสงครามครั้งนี้ยังส่งผลสำคัญอีกสองประการคือ (1) ชาว
ฝรั่งเศส ได้ขับไล่พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ออกจากราชสมบัติ และร่วมก่อตั้ง
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ขึ้น และ (2) ทำให้ ปรัสเซียได้เป็นมหาอำนาจ
อันดับต้นๆ ในยุโรป และพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ได้ประกาศจัดตั้งจักรวรรดิ
เยอรมนีขึ้น และสถาปนา ตนเองขึ้นเป็น ไกเซอร์ (จักรพรรดิ)แห่ง
เยอรมนี และสถาปนา บิสมาร์ค ให้เป็น เจ้าชายและอัครมหาเสนาบดี ณ
พระราชวังแวร์ซายส์ ในปี 1871
ด้วยการกำเนิดของสมัยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เป็นการเกิดขึ้นมา
ในยุคของความวุ่นวายทั้งภายในและภายนอกจึงถือได้ว่าเป็นช่วงที่ฝรั่งเศส
ก้าวเข้าสู่ความอ่อนแออีกครั้งหนึ่ง
รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสของสาธารณรัฐที่ 3 ถูกร่างขึ้นและสำเร็จภายใต้
ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายคือฝ่ายราชาธิปไตยและฝ่ายรีพับลิกัน ในปี
1875 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดให้ประเทศมีประธานาธิบดี ซึ่งจะ
มาจากการเลือกตั้งในการประชุมร่วมกันของสมาชิกวุฒิสภาและ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกๆ 7 ปี
37/665

ความพ่ายแพ้ในสงครามกับปรัสเซียอย่างย่อยยับทั้งที่ก่อนหน้านี้
ฝรั่งเศสเคยมีสถานะเป็นมหาอำนาจ และมีอาณานิคมไพศาล ส่ง
ผลกระทบต่อจิตใจชาวฝรั่งเศสอย่างมาก อีกทั้งยังต้อผจญกับภัยวิบัตขิ อง
การจลาจลภายใน และสภาพการณ์คอรัปชั่นของรัฐบาลกรณีขุดคลองปา
นามาอีก เหล่านี้แทบทำให้ชาวฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้นสิ้นหวัง
กระนั้นรัฐบาลของสาธารณรัฐที่ 3 ก็ได้พยายามเต็มที่ในการ
สนับสนุนและส่งเสริมการอุตสาหกรรม เห็นได้จากการสร้างทางรถไฟ
มากมายหลายสาย อีกทั้งท่าเรือก็ได้รับการตกแต่งซ่อมแซมให้ดขี ึ้นหลาย
แห่ง อีกทั้งในปี 1878,1889 และปี 1900 ได้มีการจัดงานแสดงสินค้าที่กรุง
ปารีส ซึ่งวัตถุประสงคืก็เพื่อส่งเสริม วิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์ต่างๆ
รวมถึงการสรับสนุนธุรกิจการค้าทั้งภายใน และภายนอกประเทศ
นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้เริ่มต้นขยายอาณานิคมขึ้นมาใหม่อีก โดย
ได้เข้ายึดเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่นอกฝั่งทวีปแอฟริกาด้าน
ตะวันออกเฉียงเหนือ ไว้เป็นดินแดนในอารักขา นอกจากนั้นยังยึดเอา
ดินแดนทางตะวันออกของทวีปแอฟริกาใกล้ๆ กับปากทางเข้าทะเลแดงไว้
ได้อีกหลายแห่ง ขณะทีใ่ นทวีปเอเชียก็ยังขยายผลต่อเนื่องนับแต่ได้เริ่มต้น
มาในสมัยนโปเลียนที่ 1
สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการตั้งข้อสงสัยในอนาคตของประเทศชาติขึ้นมา
ทั้งที่เวลานั้นอังกฤษและเยอรมนีเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมแต่ฝรั่งเศส
กลับยังคงดำรงอยู่บนฐานของเกษตรกรรม มีอุตสาหกรรมหลักคือผ้าไหม
38/665

และการทำไวน์ก็ไม่ได้ส่งผลหรือประโยชน์อะไรต่อประเทศมากมายนัก อีก
ทั้งเมื่อมีการเปิดใช้คลองสุเอซก็ทำให้สินค้าราคาถูกจากจีนยิ่งหลั่งไหลเข้า
มาในยุโรป พร้อมกันอิตาลีกก็ ลับเร่งผลิตสินค้าผ้าไหมออกมาตีตลาด
ฝรั่งเศสอีก ไม่เว้นแม้แต่ราคาไวน์ทตี่ กต่ำลงเพราะมีสินค้าจากที่อื่น เช่นที่
อเมริกาที่ส่งเข้ามาจำหน่ายในยุโรปและราคาถูกกว่า ก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจ
ภายในเริ่มเกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้นในเวลานั้นฝรั่งเศสยัง
ถูกถือว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยอยู่
ดังนั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ฝรั่งเศสแม้จะเป็นหนึ่งใน
มหาอำนาจที่มคี วามสำคัญ แต่กเ็ ป็นเพียงประเทศที่ป่วยไข้จากปัญหาทั้ง
ภายนอกและภายในเท่านั้น
ในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 19 ประชาชนชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ได้มีเสียงใน
การบริหารบ้านเมืองของตน และมีสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลดังเช่นอังกฤษ
และชาวอเมริกัน และแม้จะป่วยไข้อยู่บ้างดังที่ได้กล่าวมาแต่กย็ ังได้รับการ
ยอมรับโดยทั่วไปว่าฝรั่งเศสยังเป็นประเทศประชาธิปไตยชั้นนำในยุโรป
อีกทั้งก็ยังเป็นเจ้าจักรวรรดิทางทะเลที่มีอาณาเขตครอบครองกว้างใหญ่
ไพศาลอยู่ ซึ่งจะเป็นรองก็เพียงแค่อังกฤษเท่านั้น
สิ่งที่ติดอยู่ในใจของชาวฝรั่งเศสเสมอมาก็คือ ความต้องการอยากได้
อาลซาส-ลอร์เรนน์ ซึ่งเป็นแผ่นดินที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุอันเป็นประโยชน์
ต่ออุตสาหกรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมากอยู่ แม้ฝรั่งเศสกับเยอรมนีจะ
ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพต่อกัน แต่กเ็ ป็นแต่เพียงในนามเท่านั้น ว่า
39/665

กันว่าการที่ฝรั่งเศสต้องพ่ายแพ้ต่อปรัสเซียในครั้งนั้น มีผลดีคือทำให้ชาว
ฝรั่งเศสมีพัฒนาการไปในทางรวมเป็นเอกภาพเดียวกันยิ่งขึ้น ชาวฝรั่งเศส
ต่างภาคภูมิใจและถือว่าประเทศชาติของตนใหญ่ยิ่งที่สุดในยุโรป และถือ
เสมอว่าวัฒนธรรมของตนเองดีเด่นที่สุดในโลก
จักรวรรดิเยอรมนี
จักรวรรดิเยอรมนี (German Empire) เป็นชื่อที่ใช้เรียกเพื่อ
หมายถึงรัฐเยอรมนีในช่วงตั้งแต่การประกาศเป็นจักรพรรดิเยอรมนีของ
วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย (18 มกราคม 1871) ถึงการสละราชสมบัตขิ อง
จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 (9 พฤศจิกายน 1918) รวมเวลา 47 ปี
ประวัติ ศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยอำนาจของอนารยชนเยอรมานิก
ทีล่ ุกขึ้นมาต้านทานการยึดครองโดยชาว โรมัน ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่ม
สลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผูม้ ีอำนาจใน ยุโรปเข้าแทนทีช่ าว
โรมันจนนำไปสูก่ ำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ใน
สมัยกลาง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยูก่ ว่าพันปีแต่กเ็ ป็นเพียง
จักรวรรดิทมี่ องไม่เห็น เพราะรัฐต่างๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัว
เป็นอิสระจากพระจักรพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักรวรรดินี้ กลายเป็นส
มาพันธรัฐเยอรมันเป็นกลุ่มของรัฐต่างๆ ในเวลาต่อมาราชอาณาจักรป
รัสเซียสามารถรวมประเทศ เยอรมนีได้โดยการนำของบิสมาร์ค ก็กลาย
เป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือจักรวรรดิที่ 2
กล่าวกันว่าผู้ที่มีบทบาทแท้จริงในการรวมชาติเยอรมนีได้สำเร็จคือ
40/665

บิสมาร์ค
โดยเรื่องเริ่มต้นเมื่อ พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงเสด็จขึ้น
ครองราชย์เมื่อปี 1816 พระองค์ยอมรับรองรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1850
ต่อจากนั้นรัฐสภาแห่งชาติก็ได้ทำการปฏิรูปบ้านเมืองกันขนานใหญ่ โดย
พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเห็นว่าอนาคตของปรัสเซียนั้นจำต้องอาศัยกำลัง
ทางทหารทีเ่ ข้มแข็ง ดังนั้นพระองค์จึงทรงสร้างกองทัพใหญ่ โดยอาศัยการ
เกณฑ์ทหารเข้ามาฝึกตามระยะเวลา 3 ปี แล้วจึงปลดให้เป็นทหาร
กองหนุนต่อไปอีก 4 ปีหรือมากกว่านั้น แล้วก็เกณฑ์เข้ามาใหม่สืบเนื่องกัน
แบบการเกณฑ์ทหารในปัจจุบัน
ซึ่งการดำเนินการของพระองค์ทำให้ทรงสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวน
มาก และมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายรัฐสภาแห่งชาติก็ไม่อนุมัติโครงการของ
พระองค์อีกต่อไป เพื่อให้ต้องพระราชประสงค์ของพระองค์พระเจ้า
วิลเฮล์มที่ 1 จึงทรงแต่งตั้งให้บิสมาร์ค หรือออตโต ฟอน บิสมาร์ค ขึ้นมา
เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งบิสมาร์คก็สามารถดำเนินงานตามพระราชดำรัสของ
องค์พระมหากษัตริย์ได้อย่างดียิ่ง เขาไม่สนใจและไม่หวั่นการต่อต้านของ
ฝ่ายค้านดังนั้นงานที่เขาเข้าไปจัดการจึงสำเร็จลงอย่างก้าวหน้า
ภายใต้อำนาจการบริหารของบิสมาร์คนั้น ว่ากันว่า เขาคือผู้ที่ทำให้
เกิด การรวมชาติเยอรมนีแท้จริง และบางแหล่งก็ว่าเขาคือวิศวกรผู้สร้าง
เยอรมนีมาด้วยมือของตนเอง
41/665

บิสมาร์ค ผูก้ ่อตั้งจักรวรรดิเยอรมันที่ 2 นั้น เกิดเมื่อวันที่ 1


เมษายน 1815 ที่เมืองเซินเฮาเซ่น รัฐแบรนเดนเบิร์ก บนฝั่งแม่น้ำเอลเบอ
ในตระกูลขุนนางผู้ดซี ึ่งมีที่ดิน ในวัยเยาว์เขาเป็นนักเรียนที่มิได้มีผลการ
เรียนดีเลิศอะไรนัก แม้ว่าเขาจะไม่ชอบระบบการเรียนการสอนในเวลานั้น
หลายอย่าง เช่น การเรียนพลศึกษา แต่เขาก็ไม่เคยทำตัวท้าทายหรือดื้อดึง
แต่อย่างใด เขาเข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนพลามันเช่น ที่กรุง
เบอร์ลิน ตั้งแต่อายุ 6 ขวบจนถึงอายุได้ 12 ปี และเป็นโรงเรียนที่อยู่
ห่างไกลจากบ้านของเขามาก จนเขาเป็นโรงคิดถึงบ้าน และต้องร้องไห้ออก
มาบ่อยๆ เมื่อไปพบสิ่งใดที่ชวนให้ระลึก ถึงบ้านอันแสนสุขของเขา
จากโรงเรียนพลามันเช่น เขาก็เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนฟรี
ดริด-วิลเฮล์ม และโรงเรียนมัธยมเกราเว่น โคลสเตอร์ ซึ่งทั้งสองโรงเรียน
ก็ตั้งอยู่ที่กรุงเบอร์ลินเช่นกัน จึงได้รับการอบรมบ่มนิสัยในแบบปรัสเซีย
อย่างเต็มที่ นิสัยที่ติดตัวเขาไปจากการเรียนในระบบนี้ จนเมื่อเขาไปศึกษา
ทีม่ หาวิทยาลัยเกิททิงเง่น คือ การดื่มจัด ในบันทึกความทรงจำของเขา
เขากล่าวว่า “.....ข้าพเจ้าลาจากโรงเรียนมาด้วยความรู้สึกเคร่งศาสนา
อย่างยิ่งและแม้ว่าข้าพเจ้าจะมิได้เป็นนักสาธารณรัฐนิยม แต่ข้าพเจ้าก็
เชื่อมั่นว่า สาธารณรัฐเป็นรูปแบบการเมืองการปกครองที่สมเหตุสมผล
ที่สุด โดยที่ผู้คนนับล้านสามารถ ไปลงคะแนนเสียงได้...”
42/665

จักรพรรดิที่ 2 ไกเซอร์วิลเฮล์มแห่งเยอรมณี

แม้ว่าบิสมาร์คจะกล่าวไว้เช่นนั้น แต่การอบรมให้นักเรียนตระหนัก
ถึงหน้าที่และอำนาจการบังคับบัญชาในแบบของปรัสเซีย ก็ทำให้เขาซึมซับ
ระบบนี้ไปด้วยและทำให้โลกทัศน์ของเขาเปลี่ยนไปในภายหลัง เมื่อเขาเป็น
ผู้ใหญ่ขึ้น เขากลับกลายเป็นนักอนุรักษ์นิยมผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการ
ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสุดขั้ว
43/665

ในปี 1847 บิสมาร์ค ได้เริ่มต้นชีวิตด้านการเมืองโดยการสนับสนุน


ราชวงศ์โฮเฮนซอลเลอร์และฝ่ายกษัตริย์ เขาถือว่าตัวเขาเป็นชาวปรัสเซีย
อย่างเข้มข้น และถือว่าปรัสเซียเท่านั้นที่เป็นรัฐผู้นำอย่างแท้จริงของรัฐ
เยอรมันทั้งหลาย
เขาเกลียดรัฐสภาและเกลียดความคิดเห็นแบบประชาธิปไตยของ
พรรคเสรีนิยมอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าการที่ชาติอย่างปรัสเซียจะ
ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้นั้นไม่ใช่จะมาโดยการทำให้สถาบันราชาธิปไตยอ่อนแอลง
กลับกันต้องสนับสนุนให้กษัตริย์มีอำนาจเข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อปรัสเซีย
สามารถรวมชาติเยอรมนีแล้ว เขาจึงทุ่มเทความมั่นใจทั้งหมดลงใน
นโยบาย “เลือดกับเหล็ก” โดยการนำเยอรมนีไปสู่ลัทธิทหารและลัทธิ
ชาตินิยมอย่างรุนแรงที่สุด
ในสมัยนี้เยอรมนีรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร และอื่นๆ
ถือว่าเป็นมหาอำนาจใหม่แห่งยุโรป มีอำนาจเทียบได้กับจักรวรรดิอังกฤษ
แต่ช่วงหลังของจักรวรรดิเยอรมนีได้มีปัญหากับบริเทนเรื่องการขยาย
อำนาจทางทะเล และการสร้างจักรวรรดิอาณานิคมขึ้นมา จึงทำให้เกิด
ปัญหากับจักรวรรดิอังกฤษ มหาอำนาจเดิม
หลังจากจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 1888
พระองค์มีแนวความคิดในการบริหารประเทศแตกต่างจากบิสมาร์ค จึงทรง
ปลดบิสมาร์ค ออกจากตำแหน่งมหาเสนาบดี พระองค์ทรงดำเนินนโยบาย
44/665

และปฏิบัติภารกิจ ของประเทศโดยไม่ยอมรับนับถือในนโยบายส่วนมาก
ของบิสมาร์ค
ปี 1914 จักรวรรดิเยอรมนีรุ่งเรืองสุดขีด มีอาณานิคมทั่วโลก ทั้งใน
แอฟริกา อาทิ โตโก แคเมอรูน นามิเบีย และ แทนซาเนีย ส่วนในเอเชีย
ก็มีบริเวณชิงเต่าของจีน และทางตอนเหนือของปาปัวนิวกินี รวมทั้ง
หมู่เกาะบางแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย
ต่อมาจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีมีปัญหากับเซอร์เบียจึงเกิดสงคราม
ขึ้นโดย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีดึงจักรวรรดิเยอรมนีเข้าร่วมสงคราม
ในนามฝ่ายมหาอำนาจกลาง เป็นเหตุให้เยอรมนีเข้าร่วมสงครามโลกครั้ง
ที1่ ช่วงต้นสงครามฝ่ายมหาอำนาจกลางได้เปรียบฝ่ายสัมพันธมิตรหลาย
อย่างทั้ง กลยุทธ์ทางการสงคราม และความแข็งแกร่งของทหาร ระหว่าง
สงครามเยอรมนีได้ประดิษฐ์ แก๊สพิษ ที่ทำให้ทหารฝรั่งเศสหายใจติดขัด
และอาจถึงตายได้ แต่ระหว่างสงครามพระโอรสของพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2
ได้ขอร้องพระบิดาให้ทำสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรแต่ไม่สำเร็จ
ช่วงท้ายของสงครามหลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมสงคราม เยอรมนีกเ็ ริ่ม
เสียเปรียบ พันธมิตรของเยอรมนีทั้ง ออสเตรีย-ฮังการีก็ประกาศยอมแพ้
ส่วนบัลแกเรียและออตโตมันแพ้สงครามให้กับสัมพันธมิตร ทำให้เยอรมนี
ต้องต่อสูก้ ับพันธมิตรอย่างโดดเดี่ยวและได้แพ้สงครามในปี 1918 และได้
เป็นจุดจบของจักรวรรดิเยอรมนี
45/665

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิเยอรมนี มีกษัตริย์ทนี่ ำพา


เยอรมนีเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนั้นคือ พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2 หรือที่เรียก
กันว่า ไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2
จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II) หรือ พระเจ้า
ไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ทรงประสูติเมื่อวันที่ 27 มกราคม 1859 เป็น
พระราชโอรสในพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับพระราชธิดาในสมเด็จพระ
ราชินีวิคตอเรีย ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเยอรมัน
และพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย ทรงดำรงวาระตั้งแต่
วันที่ 15 มิถุนายน 1888ถึง 9 พฤศจิกายน 1918
ทรงเป็นผู้ที่มคี วามชื่นชมในศักยภาพทางทหารของจักรวรรดิ ทรง
เห็นว่ากองทัพเป็นผู้รวมชาติเยอรมันและสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับ
จักรวรรดิ หาใช่สมาชิกรัฐสภาไม่ พระองค์จึงทรงมุ่งมั่นที่จะใช้กำลังทหาร
เพื่อขยายอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันไปทั่วโลก ซึ่งมีผลต่อสถานการณ์
การเมืองในยุโรปอย่างมาก ก่อให้เกิดการช่วงชิงผลประโยชน์และอำนาจ
ซึ่งกันและกัน ตลอดจนเกิดการแบ่งแยกมหาอำนาจยุโรปเป็น 2 ค่าย จน
เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงในปี 1918 ไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2
ทรงสละราชสมบัติ และเสด็จไปประทับที่เนเธอร์แลนด์ จักรวรรดิเยอรมัน
ซึ่งมีอายุ 48 ปีก็สลายตัวลง เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
46/665

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี เป็น


จักรวรรดิทมี่ ีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy)
เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปี 1867 จนถึงปี 1918 กล่าวคือจักรวรรดินถี้ ูกล้มล้าง
ลงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
ชื่ออย่างเป็นทางการของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีคือ The
Kingdoms and Lands Represented in the Imperial Coun-
cil and the Lands of the Holy Hungarian Crown of St.
Stephen, ซึ่งรวมๆ แล้วหมายถึง อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิภ์ ายใต้สภาอิม
พีเรียลและมงกุฎฮังการีอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์สตีเฟน
จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ.
1804-1867)โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจา
ต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปี 1867 (พ.ศ. 2410) กล่าวคือทั้ง
สองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาอย่างยาวนาน ดังนั้นจึง
มีการเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นจักรวรรดิหนึ่งเดียว ซึ่งจักรวรรดินี้
เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ทั้ง
ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม
ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะสมเด็จพระ
จักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักร
ฮังการีในฐานะสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี (Apostolic King of
Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า
47/665

นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้ง
ครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยูภ่ ายใต้จักรวรรดินี้
มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มรี ัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือ
รัฐบาลที่ประเทศเดียว
เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกัน
คือ กรุงเวียนนา ทีป่ ระเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี
ในยามนั้นจักรวรรดิแห่งนี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิ
รัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มปี ระชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจาก
จักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมนี ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็น
ส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน
ออสเตรียและฮังการีต่างมีรัฐสภาเป็นของตนเอง และมี
นายกรัฐมนตรีเป็นของตนเอง แต่รัฐสภาทั้งหมดอยูภ่ ายใต้อำนาจของ
สมเด็จพระจักรพรรดิหรือสมเด็จพระราชาธิบดีแต่เพียงพระองค์เดียว ด้วย
อำนาจเบ็ดเสร็จและสภาของสำนักอิมพีเรียลนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกองทัพ
ราชนาวี การต่างประเทศ และสหภาพต่างในจักรวรรดิ เป็นต้น
สภาคณะรัฐมนตรีของจักรวรรดิเป็นตัวควบคุมรัฐสภาทั้งหมด ซึ่ง
ประกอบด้วย 3 รัฐมนตรีทมี่ ีส่วนร่วมในการควบคุมด้วย คือ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีผู้ส่วนร่วมคน
อื่นๆ อีก เช่นอาร์คดยุคและอาร์คดัชเชส รวมทั้งพระราชวงศ์อิมพีเรียล
48/665

บางพระองค์อีกด้วย โดยคณะผู้แทนจากออสเตรีย 1 คน และจากฮังการี


อีก 1 คนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของสภาสามัญของคณะรัฐมนตรี
หรือการจัดการทรัพย์สินแผ่นดิน โดยให้ 2 รัฐบาลเป็นตัวกำหนดและ
ควบคุมการบริหารและการจัดการทรัพย์สินแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม ใน
ขั้นตอนสุดท้ายของการประชุมทุกครั้ง คณะรัฐมนตรีจะต้องยื่นถวายฎีกา
ต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ตัดสินความทั้งหมด
หน้าที่รับผิดชอบระหว่างคณะรัฐมนตรีฝ่ายหนึ่งกับคณะรัฐมนตรีอีก
ฝ่ายหนึ่ง ได้สร้างความไม่ลงรอยกันและไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน
การบริหารกองทัพบกนั้นได้อยู่ในภาวะลำบาก เป็นกองทัพที่ไร้
ประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่ารัฐสภากลางได้กำหนดทิศทางการบริหารงานของ
กองทัพบก และกระทรวงกลาโหมแล้ว แต่รัฐบาลออสเตรียและรัฐบาล
ฮังการีจะมีการกำหนดกฎหมายบังคับ การเกณฑ์ทหาร การจัดหาและการ
ย้ายทหารไปออกรบ และกฎหมายบังคับเฉพาะเมือง ที่ไม่ใช่ทหารเกณฑ์
แต่เป็นสมาชิกของกองทัพบก โดยบางส่วนให้กระแสว่า แต่ละรัฐบาลควร
จะเข้มแข็ง ควรเข้มงวดต่อการบริหารตัวเองมากกว่านี้ แทนที่จะไปใส่ใจ
รับผิดชอบรัฐสภาสามัญ
ความสัมพันธ์ทางการเมืองในครึ่งศตวรรษแรก หลังปี 1867 นั้นมี
การขัดแย้งในเรื่องของการจัดการพิกัดอัตราภาษีศุลกากรหรือ
ค่าธรรมเนียมภายนอก และการจัดการทางการเงินของคณะรัฐบาล ภายใต้
ข้อกำหนดของการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี รวมไปถึง
49/665

ข้อตกลงทีม่ ีการเจรจาทุกๆ 10 ปี โดยกำหนดสิ่งที่ต้องทำในคณะรัฐบาล


ต่างๆ โดยมีการออมเงินเพื่อให้ความสับสนอลหม่านทางการเมืองได้คืนสู่
สภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม การโต้เถียงระหว่างรัฐบาลในจักรวรรดิใน
ช่วงปี 1900 ซึ่งทำให้ยืดระยะเวลาวิกฤติการเมืองการปกครองไปอีก ซึ่งมี
ความขัดแย้งกันในรัฐบาลรวมทั้งหน่วยรบและกองทัพของฮังการีเป็นตัวนำ
ซึ่งเป็นการเพิ่มขยายอำนาจทางทหารของฮังการี เมื่อเดือนเมษายน 1906
โดยมีนักชาตินิยมฮังการีมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การกลับสูสภาวะ
ปกติในจักรวรรดิก็เป็นได้แค่เพียงชั่วคราว แต่ก็ได้จัดการให้กลับมาสู่
สภาวะปกติเมื่อเดือนตุลาคม 1907 และในเดือนพฤศจิกายน 1917 ได้วาง
รากฐานใหม่และสถานะใหม่ของจักรวรรดิใหม่ แต่ด้วยเวลาเพียงน้อยนิด
เท่านั้น จักรวรรดิก็นำไปสู่กาลอวสาน
50/665

ฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 จักรพรรดิแห่งออสเตรียและกษัตริย์แห่งฮังการี

จักรวรรดิออตโตมัน
จักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire) ถือกำเนิดขึ้นในปี
1453 หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ มีสุลต่านเมห์เมตที่ 2
เป็นผู้นำ มีคอนสแตนติโนเปิล(อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง ในตอนแรกที่
ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโน
51/665

เปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเกีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ใน


ศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม
อาณาจักรออตโตมันมีอาณาเขตทีค่ รอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่
เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทาง
ตะวันตกนครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์
ทางทิศใต้
จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมาน
ครองราชย์ระหว่างปี 1520-1566 ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทอง
ของจักรวรรดิ อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล
ทิศตะวันตก จรดดินแดนออสเตรีย
ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอาระเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไคร
เมีย ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของ
พระองค์ว่า “สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่” สำหรับชางตุรกีพระองค์ได้รับสมัญญา
นามว่า “สุไลมาน ผูพ้ ระราชทานกฎหมาย” เนื่องจากพระองค์ทรงมี
บทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมาย สุลต่านสุไลมานสิ้นพระชนม์ใน
ระหว่างทำสงครามที่ฮังการีในปี 1566 สิริรวมพระชนมายุได้ 74 พรรษา
ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี อดีตอันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตโตมัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสุลต่านสุไลมานเป็น 1 ใน 3 สิ่งทีช่ าวตุรกี
ภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ของชาติตน
52/665

สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม ซึ่งกิน


ระยะเวลายาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมา
จากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุลต่าน
17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี
1566-1789 การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสูก่ าร
เสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน สมัยสุลต่านเบยาซิต ที่ 1 (ครองราชย์
ระหว่างปี 1389-1402) โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของ
พระองค์เอง ทันทีที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัด
ปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณี
ปฏิบัติ สืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์ เมตที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี
1605 ทรงโปรดให้เปลี่ยน การสำเร็จโทษ มาเป็นการกักบริเวณ แทนการ
กักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับ
การทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ ทรงมี
สุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่อง จากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานาน บาง
พระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี
53/665

มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐตุรกี นักปฏิรูปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคน


หนึ่งในศตวรรษที่ 20

ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลต่านได้


ลดลงเป็นอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของ
อัครมหาเสนาบดีมมี ากขึ้น ในยุคนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวง การ
เล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมือง
54/665

ภายในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิกป็ ระสบปัญหาอย่าง


มากเช่นกัน
ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความ
เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จักรวรรดิออตโตมันกลับอ่อนแอ
ลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิกส็ ามารถประคับประคองตนเองให้อยู่
รอดมา ได้นานนับร้อยปี เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึง
ความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน
อย่างไรก็ดใี นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนัก
ถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า ควร
จะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโต
มันหากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อ
ดุลอำนาจ ในยุโรป
ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วย
แห่งยุโรป ฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผูต้ ั้งใน
เชิงดูหมิ่นเหยียด หยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย
(Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี 1854
อาณาจักรออตโตมันสิ้นสุดลงในปี 1923 มีสุลต่านเมห์เมตที่ 6 เป็น
สุลต่านองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เค
มาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก
ราชอาณาจักรอิตาลี
55/665

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชอาณาจักรอิตาลี (Kingdom of


Italy) เพิ่งจะก่อเกิดและรวมชาติกันใหม่อีกครั้งและโลกรู้จักกันในนาม
ของราชอาณาจักร อิตาลี
ราชอาณาจักรอิตาลีได้มกี ารสถาปนาขึ้นในปี 1861 จากการรวมตัว
กันของรัฐอิตาลีหลายๆ รัฐภายใต้นำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรง
อยูต่ ราบจนถึงปี 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มกี ารลงประชามติให้มี
การเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็น
สาธารณรัฐ
การรวมชาติของอิตาลีในระยะแรกอาจจะยังไม่สงบดีนัก แต่เมื่อมา
ถึงปี 1870 การเมืองในอิตาลีก็เริ่มนิ่งลงเมื่อพวกเสรีนิยมเข้ามามีอำนาจ
ยุคเสรีนิยม (ค.ศ. 1870-1914) หลังจากการรวมชาติ ทิศทาง
การเมืองของประเทศอิตาลีเป็นไปในวิถีทางของลัทธิเสรีนิยม สิทธิใน
ทางการเมืองถูกกระจายออกเป็นส่วนๆ และนายกรัฐมนตรีหัวอนุรักษนิยม
มาร์โค มิเจตตี ก็ได้รักษาอำนาจในตำแหน่งของตนไว้ด้วยการออก
นโยบายเชิงปฏิวัติและเอียงซ้าย (เช่น การดึงเอากิจการรถไฟมาเป็นของ
ชาติ) เพื่อเอาใจฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ในปี 1876 มิเจตตีได้พ้นจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีและแทนที่ด้วยอากอสติโนเดเพรสติส ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มสมัย
แห่งเสรีนิยมอันยาวนาน ยุคแห่งเสรีนิยมนี้เป็นที่จดจำจากการ
ฉ้อราษฎร์บังหลวง รัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ ภาวะความยากจนที่ยัง ดำรง
56/665

อยูใ่ นอิตาลีตอนใต้ และการใช้มาตรการแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยรัฐบาล


อิตาลี
เดเพรสติสเริ่มวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งอิตาลีโดย
การริเริ่มทดลองแนวคิดทางการเมืองที่เรียกว่า “ทรานสฟอร์มิสโม” (
“Transfor- mismo”-แนวคิดปฏิรูปนิยม) หลักของแนวคิดนี้กค็ ือ
คณะรัฐมนตรีควรเลือกนักการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ โดยต้องมีความ
หลากหลาย และนักการเมือง ทีเ่ ลือกมาต้องเป็นที่มคี วามสามารถและ
ความเหมาะสมจากผู้ที่มีทัศนะไม่เป็น กลุ่มหัวรุนแรง (non-partisan
perspective) แต่ในทางปฏิบัติ แนวคิดทรานสฟอร์ มิสโมเป็นแนวคิดที่
ผูกขาดแบบเบ็ดเสร็จและมีปัญหาการคอรัปชั่น
เดเพรสติสได้กดดันให้บรรดาอำเภอต่างๆ ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร
รับเลือกตั้งของเขา เพื่อแลกกับการได้รับการผ่อนปรนอันเป็นที่น่าพอใจ
จากเดเพรสติสในขณะที่เขาอยู่ในอำนาจ ผลของการเลือกตั้งทั่วไปในปี
1876ปรากฏว่ามีผู้สมัครเพียง 4 คน จากพรรคการเมืองฝ่ายขวาเท่านั้นที่
ได้รับเลือกตั้ง อันเปิดการเปิดทางให้เดเพรสติสสามารถเข้าครอบงำรัฐบาล
ได้ เชื่อกันว่าการกดขี่และการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่เกิดขึ้นในหลายคราว
เป็นกุญแจ สำคัญทีเ่ ดเพรสติสใช้จัดการเพื่อรักษาคะแนนเสียงสนับสนุน
ของเขาในอิตาลีตอน ใต้เดเพรสติสได้ใช้มาตรการเผด็จการเบ็ดเสร็จต่างๆ
ในการบริหารบ้านเมือง เช่น ห้ามการชุมนุมในทีส่ าธารณะ การส่งตัว
บุคคลที่เป็น “อันตราย” ไปเนรเทศในเกาะที่ห่างไกลของอิตาลี และการ
57/665

ออกนโยบายแบบทหารนิยม (militarist policies) เขายังได้ผ่าน


กฎหมายซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งในหลายคราว เช่น การยกเลิกการจำคุก
เพื่อใช้หนี้ การให้การศึกษาขั้นประถมศึกษาแบบให้เปล่า และการบังคับ
ให้เลิกการสอนวิชาศาสนาในโรงเรียนประถมศึกษา
ในปี 1887 ฟรันเซสโก คริสปี ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขา
ได้เริ่มให้ความสำคัญกับนโยบายต่างประเทศ เขาได้พยายามที่จะทำให้
อิตาลีได้เป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจของโลกด้วยการเพิ่มงบประมาณ
ทางการทหาร สนับสนุนให้อิตาลีมีการขยายอาณาเขต และพยายามเอาใจ
จักรวรรดิเยอรมนี อิตาลีได้เข้าร่วมกับกลุ่มไตรพันธมิตรที่มที ั้งจักรวรรดิ
เยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเป็นสมาชิกอยู่ด้วยในปี 1882
และยังคงมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการจนถึงปี 1915
ในขณะที่คริสปีได้ช่วยพัฒนาอิตาลีในเชิงยุทธศาสตร์ เขาก็ยังคง
บริหารบ้านเมืองตามแนวทางทรานสฟอร์มิสโมต่อไปด้วยความเบ็ดเสร็จ
เด็ดขาด ดังปรากฏว่าครั้งหนึ่งเขาคิดจะใช้กฎอัยการศึกในปิดกั้น
พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม แต่ถึงแม้เขาจะเป็นเผด็จการโดยการใช้อำนาจ
รัฐก็ตาม คริสปีก็ยังได้ออกนโยบายในเชิงเสรีนิยมออกมาบ้างเช่นกัน ยก
ตัวอย่างเช่น การตราพระราชบัญญัติการสาธารณสุขในปี 1888 หรือการ
ก่อตั้งองค์คณะศาลเพื่อพิจารณา ชดเชยสำหรับการใช้อำนาจโดยมิชอบ
จากรัฐบาล เป็นต้น
58/665

สังคมของชาวอิตาลีหลังจากการรวมชาติและตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่
ของยุคเสรีนิยม เป็นไปในลักษณะของสังคมทีแ่ บ่งแยกอย่างเด่นชัดทั้งใน
เรื่องของชนชั้น ภาษา ภูมิภาค และระดับทางสังคม
โดยทั่วไปลักษณะทางวัฒนธรรมของอิตาลีในเวลานั้นเป็นสังคมแบบ
อนุรักษนิยมโดยธรรมชาติ เช่น การเชื่อมั่นในคุณค่าของครอบครัวอย่าง
แรงกล้าหรือและค่านิยมของการนับถือบิดาเป็นใหญ่ในครอบครัว
ในการรวมชาติอิตาลีขึ้นมานั้น ราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้กพ็ บเจอกับ
ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรงและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ตลอดจนไปถึง
ปัญหาทางการเมือง สังคม และการแบ่งแยกชนชาติและชนชั้น ในช่วง
ยุคสมัยใหม่ของอิตาลีนี้สภาพทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศขึ้นอยู่กับ
การค้าขายจากต่างประเทศ และการส่งออกถ่านหิน
และจากการรวมชาตินี้เอง ทำให้อิตาลีกลายเป็นประเทศที่มอี ัตราการ
ทำงานของประชาชนในภาคเกษตรกรรมมากที่สุดในแถบยุโรปถึง 60%
ของ ประชากร และกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศ ส่วน
ศาสนจักรเองก็มที รัพย์สินจำนวนมากมายจากการบริจาคในประเทศ และ
ยังมีการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศที่รุนแรงอีกด้วย ทำให้ช่องทาง
และโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศในภาค
เกษตรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วหลังจากการรวมชาติขึ้นมาได้ไม่นาน แต่
ถึงอย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศทั้งหมดในช่วงระยะเวลานี้ ในขณะทีภ่ าคเกษตรกรรมทางใต้ของ
59/665

อิตาลีต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนในช่วงฤดูร้อน, ความแห้งแล้ง, และไม่


สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรได้ ซ้ำยังต้องเผชิญกับการระบาด
ของไข้มาลาเรียในพื้นที่เสื่อมโทรมตลอดทั้งชายฝั่งทะเลเอเดรียติก
เมื่อเกิดเป็นรัฐชาติที่ชัดเจนแล้ว อิตาลีก็มแี นวความคิดเรื่องการล่า
อาณานิคมไม่ต่างจากชาติอื่นๆ ในยุโรป โครงการสร้างอาณานิคมจำนวน
มาก ได้ผ่านการรับรองจากรัฐบาลอิตาลี เพื่อแสวงหาการสนับสนุนจาก
กลุ่มชาตินิยมและจักรวรรดินิยมชาวอิตาลี
ชาวอิตาลีมีความคิดในเรื่องการจะสร้างจักรวรรดิโรมันขึ้นมาอีกครั้ง
หนึ่ง ในเวลานั้นอิตาลีได้มเี ขตทีช่ าวอิตาลีได้ตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่อยูท่ ี่
เมืองอเล็กซาน เดรีย ไคโร และตูนิสบนทวีปแอฟริกาเหนืออยู่แล้ว
ประเทศอิตาลีได้พยายาม แสวงหาอาณานิคมครั้งแรกผ่านการเจรจากับ
ชาติมหาอำนาจอื่นๆ เพื่อขอสัมปทานดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งเป็น
อาณานิคมของอิตาลี ซึ่งการเจรจาดังกล่าวปรากฏว่าล้มเหลว นอกจากนั้น
อิตาลียังได้ส่งมิชชันนารีไปยังดินแดนที่ยังไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมเพื่อ
สืบหาช่องทางทีจ่ ะยึดครองเป็นอาณานิคมของอิตาลี พื้นทีท่ ี่อิตาลีมีความ
เป็นไปได้ที่จะสร้างอาณานิคมของตนขึ้นได้จริงมากที่สุดก็คือในทวีป
แอฟริกา มิชชันนารีของอิตาลีได้เริ่มบุกเบิกการเผยแผ่ศาสนาที่เมืองมาสซา
วา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเอริเทรีย) และเริ่มเดินทางลึกเข้าไปในจักรวรรดิ
เอธิโอเปียในช่วงทศวรรษที่ 1830
60/665

จักรพรรดิเมเนลิก (Menelik) ผู้นำเอธิโอเปียยัดเยียดความปราชัยแก่อิตาลีและพันธมิตรอังกฤษ,


รัสเซีย เมื่อปี 1896

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1885 ก่อนหน้าการสิ้นอำนาจการปกครอง


ของอียิปต์ในเมืองคาร์ทูมไม่นาน อิตาลีก็ได้ส่งทหารเข้ายึดเมืองมาสซาวา
61/665

และต่อมาก็ได้ผนวกเมืองมาสซาวาโดยการบังคับในปี 1888 นับเป็น


จุดกำเนิดของอาณานิคมเอริเทรียของอิตาลี
ในปี 1895 เอธิโอเปียภายใต้การปกครองของจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2
ได้ล้มเลิกข้อตกลงในการดำเนินตามนโยบายการต่างประเทศของอิตาลี ซึ่ง
ได้ลงนามไว้เมื่อปี 1889 อิตาลีจึงได้อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวยกเป็นเหตุใน
การยกทัพเข้าสู่เอธิโอเปีย เอธิโอเปียได้รับความช่วยเหลือจากจักรวรรดิ
รุสเซียซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในทวีปแอฟริกา โดยรัฐบาลของพระเจ้าซาร์นิ
โคลัสที่ 2 ได้ส่งอาวุธสมัยใหม่จำนวนมากเข้าช่วยเหลือชาวเอธิโอเปียใน
สงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 1 ผลสะท้อนที่กลับมาคือสหราชอาณาจักร
ได้ตัดสินใจเข้าหนุนหลังฝ่ายอิตาลีเพื่อท้าทายอิทธิพลของรุสเซียในทวีป
แอฟริกา ทั้งยังได้ประกาศว่าเอธิโอเปียทั้งหมดอยู่ในขอบเขตที่อิตาลีจะ
สามารถแสวงหาผลประโยชน์ได้
ในช่วงที่ใกล้จะเกิดสงครามนั้น ลัทธิชาตินิยมและทหารนิยมได้
ทะยานสูจ่ ุดสูงสุด ประชาชนชาวอิตาลีได้รวมตัวกันเข้าสมัครเป็นทหารใน
กองทัพบกอิตาลีด้วยความหวังว่าจะได้มีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้
กองทัพอิตาลีประสบกับความล้มเหลวในสมรภูมิ และพ่ายแพ้อย่าง
ยับเยินให้แก่กองทัพจำนวนมหาศาลของเอธิโอเปียในยุทธการอัดวา อิตาลี
จึงจำต้องถอนทัพกลับไปยังเอริเทรีย ความล้มเหลวในสงครามที่เอธิโอเปีย
ทำให้อิตาลีต้องอับอายขายหน้าในระดับนานาประเทศ
62/665

นับจากวันที่ 2 พฤศจิกายน 1899 ถึงวันที่ 7 กันยายน 1901 อิตาลี


ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกองกำลังพันธมิตรแปดชาติระหว่างที่เหตุการณ์
กบฏนักมวยในประเทศจีน ในวันที่ 7 กันยายน 1901 รัฐบาลของราชวงศ์
ชิงได้ส่งมอบสัมปทานเขตเช่าที่เมืองเทียนสินให้แก่อิตาลี ต่อมาในวันที่ 7
มิถุนายน 1902 สัมปทานดังกล่าวได้มบี ังคับใช้ นำไปสู่การตั้งกงสุลอิตาลี
เพื่อเข้าครอบครองและทำการบริหารจัดการ
ในปี 1911 อิตาลีได้ประกาศสงครามกับจักรวรรดิออตโตมันและเข้า
รุกรานดินแดนตริโปลิเตเนีย เฟซซัน และไซเรไนกา ดินแดนทั้งสาม
จังหวัดนีไ้ ด้รวมกันเป็นประเทศลิเบียในภายหลัง สงครามได้จบลงในอีก
หนึ่งปีถัดมาแต่การเข้ายึดครองของอิตาลีได้ส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
ต่อชาวลิเบีย เช่น การบังคับขับไล่ชาวลิเบียให้ออกจากหมู่เกาะทรีมิติ
(Tremiti Islands) ในเดือนตุลาคม 1911 เป็นต้น ถึงปี 1912 ปรากฏว่า
1 ใน 3 ของ ผู้ลี้ภัยชาวลิเบียได้เสียชีวิตจากการขาดอาหารและที่อยู่อาศัย
การผนวกดินแดนลิเบียได้ทำให้ฝ่ายชาตินิยมอิตาลีเรียกร้องให้อิตาลี
ครอบครอง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยการเข้ายึดครองราชอาณาจักรกรีซ
และภูมิภาคดัลเมเชีย ในชายฝั่งทะเลเอเดรียติก
ในปี 1892 โจวันนี โจลิตตี ก้าวขึ้นสูต่ ำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่ง
อิตาลีเป็นสมัยแรก แม้ว่าคณะรัฐบาลชุดแรกของเขาจะพังลงอย่างรวดเร็ว
ในปีต่อมา แต่ในปี 1903 โจลิตตีกก็ ลับขึ้นมาเป็นผู้นำของรัฐบาลอิตาลีอีก
ครั้งในยุคแห่งความยุ่งเหยิงซึ่งจะดำเนินไปจนถึงปี 1914
63/665

ในปี 1911 รัฐ บาลของโจลิตตีได้ส่งกำลังทหารเข้าไปยึดครองลิเบีย


ในขณะที่ความสำเร็จในสงครามลิเบียได้ยกสถานะของลัทธิชาตินิยมให้สูง
ขึ้นแต่ นั่นก็ไม่ได้ช่วยเกิดความสำเร็จในการบริหารงานของรัฐบาลโจลิตตี
แต่อย่างใด รัฐบาลได้พยายามขัดขวางการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยการพูดถึง
ความสำเร็จและความ สร้างสรรค์ของกองทัพอิตาลีในการสงครามว่า
อิตาลีเป็นชาติแรกที่ได้มกี ารใช้พโยมยาน (เรือเหาะ) ในวัตถุประสงค์
ทางการทหาร และได้ลงมือทำการทิ้งระเบิดทางอากาศใส่กองกำลังของ
จักรวรรดิออตโตมัน สงครามได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับ
รากฐานของพรรคสังคมนิยมอิตาลี กล่าวคือ กลุ่มนักปฏิวัติต่อต้าน
สงครามในพรรค ซึ่งนำโดยเบนิโต มุสโสลีนี ผู้ซึ่งจะกลายเป็นเผด็จการ
ฟาสซิสต์ในอนาคต ได้เรียกร้องให้มีการใช้กำลังในการโค่น ล้มรัฐบาล
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติ โจลิตตีได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
หนึ่งในเวลาอันสั้น แต่เมื่อถึงตอนนั้น ยุคเสรีนิยมก็ได้จบลงไปโดยสิ้นเชิง
แล้ว
การเลือกตั้งทั่วไปในปี 1913 และปี 1919 แสดงให้เห็นว่า
คะแนนเสียงการเลือกตั้งได้หันเหไปทางพรรคการเมืองกลุ่มสังคมนิยม
กลุ่มคาทอลิก และกลุ่มชาตินิยม เนื่องจากพรรคการเมืองสายเสรีนิยม
และราดิคัล (radical) ได้อ่อนแลลงเพราะปัญหาความแตกร้าวภายใน
และต้องพบกับความพ่ายแพ้ในที่สุด ---
3

การรวมกลุ่มพันธไมตรีก่อนสงคราม
เมื่อโลกเข้าสูศ่ ตวรรษที่ 19 ยุโรปก็กลายเป็นเจ้าใหญ่นายโตของ
โลกไปแล้ว ที่สำคัญอำนาจของยุโรปยังแพร่ลามขยายอิทธิพลของตัวเอง
ออกไปเหนือบริเวณต่างๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยในบริเวณซีกโลก
ตะวันตกได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อเมริกากลางและ
อเมริกาใต้ ล้วนแต่รับและดำรงอยูต่ ามวัฒนธรรมยุโรป ขณะที่ทาง
แอฟริกาใต้ก็ไม่ต่างกัน วิถีและชีวิตแบบยุโรปได้แพร่ลามเข้าไปอย่าง
ต่อเนื่อง ที่สำคัญวัฒนธรรมของยุโรปก็ยังเป็นรากฐานของออสเตรเลียและ
นิวซีแลนด์อีกด้วย เรียกว่าเวลานั้นกว่าครึ่งโลกไปแล้วที่วัฒนธรรมและวิถี
คิดอย่างยุโรปกระจายเข้าไปมีอิทธิพลต่อผู้คน
และว่ากันว่าอิทธิพลของยุโรปไม่ได้มอี ยูเ่ พียงเท่านั้น หากแต่ชนชาว
ยุโรป ยังถือสิทธิเขาไปแบ่งปันเขตแดนในแถบทวีปแอฟริกาใต้ ทวีปเอเชีย
รวมไปถึงบรรดาหมู่เกาะต่างๆ ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกภาคกลางและ
ภาคใต้มาเป็น ของประเทศตัวเองแต่ละประเทศจำนวนมากมาย
65/665

เรียกได้ว่าเวลานั้นบรรดาประเทศสำคัญในยุโรปต่างแย่งกันเข้า
ครอบครองดินแดนของคน อื่นกันอย่างสนุกสนาน ทั้งนี้กเ็ พื่อแสดงให้
ประเทศคู่แข่งเห็นถึงศักดิ์ศรีและเกียรติศักดิข์ อง ประเทศตัวเอง และเพื่อ
ความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ทางการค้า และเพื่อการเผยแพร่ศาสนา
ถึงขั้นที่ช่วงเวลานั้นได้มีการระบายสีลงในแผนที่ให้เห็นกันเลยว่าสีนี้เป็น
ของประเทศนี้สนี ั้นเป็นของประเทศนั้นจนเปรอะกันไปทั่วแผนทีโ่ ลก ที่
สำคัญการแพร่ลามอิทธิพลของชาว ยุโรปในช่วงเวลานั้นใช่ว่าจะมี
ความรู้สึกสำนึกก็หาไม่หากแต่กลับคิดว่า การที่ยุโรปเข้าไปยึดครองและ
แสวงหาผลประโยชน์ในแผ่นดินอื่นนั้น ก็เพราะเป็นภาระ ทีช่ าวยุโรปต้อง
ช่วยนำนานาประโยชน์จากอารยธรรมยุโรปไปสูบ่ รรดาชนที่ล้าหลัง ถือเป็น
การช่วยให้ชนเหล่านั้นมีสภาพและโชคชะตาที่ดขี ึ้น ครั้งนั้นชาว ยุโรปเรียก
มันว่า “ภาระของชนผิวขาว”
วิธีคิดอย่างที่ว่านี้เกิดขึ้นมาจริงในช่วงที่ยุโรปกำลังบ้าอำนาจและกำลัง
เห่อ เหิมกับการพัฒนาของตัวเองที่วางอยูบ่ นพื้นฐานของการเข้าไปสูบ
เลือดสูบเนื้อ ประเทศอื่นๆ เขา แต่ก็ไม่นานนัก ทั้งนี้เพราะในเวลาต่อมา
หลังจากที่ต่าง คนต่างก็คิดเข้าไปสร้างบารมีและอิทธิพลของตัวเองแล้ว
หลังปี 1870 ประเทศ ใหญ่ๆ ของยุโรปเองก็ต้องตกเข้าไปสู่วังวนของการ
แข่งขันกันเองและเป็นปฏิปักษ์ต่อ กันอย่างเอาเป็นเอาตายโดยเฉพาะเรื่อง
ทีเ่ กิดขึ้นมานี้ก็มีที่มาจากการแก่ง แย่งกันเป็นเจ้าของดินแดนต่างๆ แย่ง
กันค้าขายในตลาดโลกซึ่งอำนวยผลกำไรให้อย่างมหาศาล และรวมไปถึง
การเบ่งใส่กันเองอวดบารมีกันเองตาม เวทีการประชุมต่างๆ
66/665

เรียกว่าแข่งกันอวดบารมีและแข่งกันหาเล่ห์หาเหลี่ยมมาใช้ในการ
เจรจา กัน ผลสุดท้ายปรากฏว่าบรรดาประเทศทีแ่ ข่งขันกันนี้เองได้มกี าร
รวมตัวกันจนแยกออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรมิตร
กับฝ่ายสนธิสัญญาฉันทไมตรี
กำเนิดภาคีสัญญาพันธมิตร
เพื่อให้เราได้มองเห็นภาพของการเกิดกลุ่มอำนาจสองฝ่ายจำเป็นที่จะ
ต้องย้อนรอยกลับ ไปมองถึงการเกิดกลุ่มเหล่านี้ก่อนสงครามโลกกัน
เสียก่อน
ย้อนกลับไปยังปี 1871 หลังจากที่ปรัสเซียทำสงครามมีชัยชนะต่อ
ฝรั่งเศส อย่างงดงามและได้ประกาศสถาปนาจักรวรรดิเยอรมนีขึ้น
เยอรมนีก็มีฐานะที่เข้มแข็งด้านการทหารอย่างมาก อาจจะกล่าวได้ว่ามาก
ที่สุดในยุโรปเวลานั้นเลย ก็ว่าได้ ขณะเดียวกันนั้นฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นเจ้า
อำนาจทางทหารมายาวนานกว่า 200 ปีกต็ ้องเสียตำแหน่งให้กับเยอรมนีไป
เพราะความพ่ายแพ้ด้วยเช่นกัน
ผลของชัยชนะของปรัสเซียครั้งนั้นทำให้เยอรมนีได้แคว้นหรือมณฑล
ทีส่ ำคัญสองแห่ง จากฝรั่งเศส นั่นคือมณฑลอาลซาสและลอร์เรน ซึ่งทั้ง
สองแห่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่เหล็กและถ่านหินซึ่งมีความสำคัญอย่าง
มากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตและรุ่งเรืองในเวลานั้น
67/665

จากผลที่เกิดขึ้นมานี้เองที่ทำให้ในเวลาต่อมาเยอรมนีสามารถ
ปรับปรุงบ้านเมือง ของตัวเองให้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่รุ่งเรืองที่สุดทาง
อุตสาหกรรมบนแผ่นดินใหญ่ของยุโรป
และหากจะมีคู่แข่งอยู่ก็น่าจะมีชาติสำคัญทางอุตสาหกรรมอีก
ประเทศ เดียวเวลานั้นคือจักรวรรดิอังกฤษที่อยู่บนเกาะ
ความเติบโตและก้าวหน้าของเยอรมนีครั้งนั้นเองถือเป็นการเพาะ
เมล็ดพืชแห่งสงครามขึ้นมา
แม้ว่ากรุงเบอร์ลินจะกลายเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของ
ยุโรป ในเวลานั้นไปแล้วก็ตามที กระนั้น บิสมาร์ค หรือออตโต ฟอน บิส
มาร์ค อัครมหาเสนาบดีของเยอรมนี ผู้มีบทบาทอย่างสูงในการก่อตั้ง
จักรวรรดิเยอรมนีขึ้นมา ก็มีความหวาดเกรงอยูเ่ ช่นกันว่าวันหนึ่งฝรั่งเศส
อาจจะหาทางแก้แค้นทดแทนอย่างแน่นอน บิสมาร์คจึงพยายามดำเนิน
นโยบายธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ ในยุโรป ทั้งนีก้ ็เพื่อรักษาสถานะของเยอรมนี
ให้มั่นคงอยู่นานเท่านาน และด้วย นโยบายเช่นนี้เองที่บิสมาร์คมีความจำ
เป็นที่จะต้องทำให้เยอรมนีเข็มแข็งและฝรั่งเศสต้องอ่อนแอตลอดไป
สิ่งที่เขาคิดได้ก็คือ เยอรมนีจะต้องแวดล้อมไปด้วยเพื่อนฝูง และ
ฝรั่งเศส จะต้องโดดเดี่ยว ทีส่ ำคัญเขาจะต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้ฝรั่งเศส
และรุสเซียสามารถเข้ามาร่วมมือกันได้ เพราะหากว่าเมื่อใดที่ฝรั่งเศส
สามารถจับมือกับรุสเซียแล้ว หากเกิดสงครามขึ้นมาเยอรมนีกจ็ ะกลายเป็น
มีศัตรูสองด้านพร้อมกันทันที
68/665

กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เยอรมนีจะสามารถทำตัวเป็นศูนย์กลาง
ของ อำนาจและมิตรภาพได้ ทั้งนี้เพราะกว่าที่เยอรมนีจะสามารถประกาศ
ตัวเป็นจักรวรรดิเยอรมนีได้นั้นก็ต้องก่อศัตรูเอาไว้มากมายแล้ว ดังนั้น
นโยบายทุกอย่าง ทีเ่ ยอรมนีและบิสมาร์คคิดในเวลานั้นก็คือ จำเป็นที่สุดที่
จะต้องไม่ให้ฝรั่งเศสซึ่งคือศัตรูที่เยอรมนีกลัวที่สุดสามารถไปรวมตัวหรือ
จับมือกับใครได้
เมื่อเป็นดังนั้น เยอรมนีจึงใช้ยุทธวิธีทางการทูตเข้าไปดำเนินนโยบาย
การต่างประเทศของตัวเอง โดยบิสมาร์คเข้าไปสนับสนุนให้ฝรั่งเศสขยาย
อาณานิคมของตัวเองออกไปในแอฟริกา และเอเชียทั้งนี้เพราะเขารู้ดวี ่าการ
สนับสนุนฝรั่งเศสนั้นอาจทำให้ลดความ รู้สึกอยากแก้แค้นของฝรั่งเศสลง
ได้บ้าง ทีเ่ หนือไปกว่านั้นก็คือการที่ฝรั่งเศสขยายอาณานิคมอย่างต่อเนื่อง
ในแอฟริกา และเอเชียนั้นต่อไปแล้วก็จะต้องเกิดปัญหาขึ้นกับอังกฤษซึ่ง
เป็นเจ้าอาณานิคม ในแถบนั้นอย่างแน่นอน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็ย่อม
หมายถึงฝรั่งเศสไม่ได้มีศัตรูเพียงแค่เยอรมนีเท่านั้น
69/665

ออตโต ฟอน บิสมาร์ค

แต่ทั้งหลายทั้งมวลที่บิสมาร์คคิด ก็ใช่ว่าเขาจะมั่นใจเสียทีเดียว บิส


มาร์ค ยังมองการณ์ไกลไปกว่านั้นกล่าว คือเขา เห็นว่า ทางที่ดีที่สุดในการ
กีดกันฝรั่งเศส ไม่ให้สามารถรวมกำลังกับชาติอื่นๆ เพื่อกลับมาเล่นงาน
เยอรมนีได้นั่นก็คือ การทำให้เยอรมนีกลายเป็นศูนย์กลางของสัมพนธ
70/665

ไมตรีระหว่างประเทศให้มีอำนาจ กว่าอีกกลุ่มสัมพันธไมตรีที่ฝรั่งเศสอาจ
ตั้งขึ้นมาได้ในเวลาต่อมา ดังนั้นแนวความคิดเรื่องการรวมกลุ่มประเทศ
มหาอำนาจเพื่อคานอำนาจคนอื่นก็ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
โดยที่การรวมกลุ่มกันครั้งแรกนั้นเริ่มที่เยอรมนีโดยบิสมาร์คคิดทำ
สัมพันธไมตรีกับรุสเซียและออสเตรียก่อน โดยเกิดการลงนามเซ็นสัญญา
กันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1872 เรียกกันว่า สัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิ
สันนิบาตสามจักรพรรดิ มีอายุระหว่าง ค.ศ. 1872 - 1876 เกิดขึ้น
โดยการลงนามของสามจักรพรรดิของสามชาติคือ จักรวรรดิเยอรมนี
รุสเซีย และออสเตรีย
ต้องเข้าใจกันก่อนว่า ก่อนทีป่ รัสเซียจะรวมตัวและกลายเป็น
จักรวรรดิเยอรมนีนั้น ครั้งหนึ่งปรัสเซียเคยเข้าไปช่วยเหลือรุสเซียในการ
ปราบกบฏชาวโปล ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1863 จึงถือ ว่าทั้งสองประเทศมีความ
สัมพันธ์กันอยู่บ้าง ขณะที่กับออสเตรียนั้น แม้ว่าออสเตรียจะแพ้สงคราม
กับปรัสเซียมาก่อนแต่นโยบายทีป่ รัสเซียนำมาใช้กับ ผู้แพ้สงคราม
ก่อนหน้านั้นทีโ่ อนอ่อนผ่อนปรนกันมาก็ทำให้ออสเตรียเกิดความ รู้สึกที่ดี
อยู่ไม่น้อย
ครั้นเมื่อบิสมาร์คเจรจาทาบทามประเทศทั้งสอง ทั้งสองฝ่ายจึง
สามารถโอนอ่อนเข้าหากันได้ โดยในเดือนกันยายน 1872 กษัตริย์ทั้งสาม
พระองค์คือ ฟรานซิส โจเซฟแห่งออสเตรีย ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่ง
71/665

รัสเซีย และไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี ได้ทรงพบกันที่กรุงเบอร์


ลินและอีกหนึ่งปีต่อมาก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาสามจักรพรรดิขึ้น
กระนั้นสนธิสัญญาในการรวมตัวและช่วยเหลือกันนี้ก็มีปัญหา
ทั้งนี้เพราะไม่ได้คำนึงถึงกรณีความสัมพันธ์ของรุสเซียและออสเตรีย
โดยเฉพาะการที่ออสเตรียและรุสเซียแย่งชิงกันเข้าไปมีอำนาจทาง
คาบสมุทรบอลข่านอยู่ ดังนั้นผลจากความแตกแยกนี้กท็ ำให้สนธิสัญญานี้
มีอายุไม่ยืนยาว[2]และต้องปิดฉากลงในปี 1876 กล่าวคือหลังเกิดความ
แตกแยกระหว่างสองชาติแล้วก็นำมาสู่การลงนามในสนธิสัญญาใหม่ ครานี้
เรียกกันว่า สัญญาพันธไมตรีสอง ประเทศ ค.ศ. 1879
สัญญาพันธไมตรีสองประเทศ ค.ศ. 1879 นีเ้ กิดขึ้นเพราะบิสมาร์ค
รู้ดวี ่า หลังจากที่ได้มีการลงนามในการประชุมคองเกรสแห่งเบอร์ลินเมื่อปี
1878 เพื่อ แก้ไขสนธิสัญญาซานสเตฟาโนแล้ว บิสมาร์คก็รู้ดวี ่ารุสเซียเริ่ม
มีความไม่พอใจเยอรมนีทที่ ำตัวเป็นคนกลางใน การเรียกหลายฝ่ายมา
ประชุมจนต้องนำมาสู่การเสียประโยชน์ของรุสเซีย บิสมาร์คไตร่ตรองดู
แล้วก็เห็นว่า ออสเตรียเป็นพันธมิตรที่ดีซื่อสัตย์และไว้วางใจได้มากกว่า
รุสเซีย ดังนั้นบิสมาร์คจึงรีบจัดการ ให้เยอรมนีและออสเตรียลงนามใน
สัญญาพันธไมตรีสองประเทศ ค.ศ. 1879 และถือเป็นความลับโดย
เงื่อนไขในสัญญาฉบับนีม้ ีว่า ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดถูก รุสเซียโจมตี
อีกฝ่ายต้องเข้ามาช่วยเหลือ ข้อหนึ่ง อีกข้อหนึ่งว่า ในกรณีที่ประเทศ ใด
ประเทศหนึ่งนอกเหนือจากรุสเซีย(แท้จริงเยอรมนีคาดว่าน่าจะเป็น
72/665

ฝรั่งเศส) รุกราน ประเทศอีกฝ่ายจะต้องทำตัวเป็นกลาง จนกว่าหากเกิด


รุสเซียไปเข้าร่วม กับฝ่ายที่มาโจมตีนั่นละทั้งสองจึงจะหันมาร่วมมือกัน
เรียกว่าสัญญาฉบับนี้มีเอาไว้เพื่อป้องกันรุสเซียเป็นหลักและฝรั่งเศส
เป็นรองนั้นเอง
แต่ปรากฏในเวลาต่อมาว่า ได้มีความพยายามที่จะให้มีการกลับมา
ต่อสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
กล่าวคือ หลังสิ้นสุดสัญญาฉบับนี้ลงไปแล้ว แท้จริงนั้นบิสมาร์คก็ยัง
เสียดายสัญญาฉบับนี้อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจ้าไกเซอร์ที่ 1 แห่ง
เยอรมนีก็ได้ทรงยืนยันให้มีการต่อสัญญาขึ้นมาใหม่ อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไป
รุสเซียก็เริ่มมีความคิดที่อยากจะกลับมาต่อสัญญากับเยอรมนีอีกครั้งหนึ่ง
ทำให้เกิดการเจรจารอบใหม่ ประจวบกับทางออสเตรียในเวลานั้นมี
ผลกระทบจากการได้ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษของนายแกลดสตัน
ซึ่งเป็นบุคคลที่จงเกลียดจงชังออสเตรีย ทำให้ออสเตรียจำเป็นต้องแสวงหา
พันธมิตร เมื่อมีการทาบทาม ออสเตรียจึงยินยอมแต่โดยดีที่จะกลับมา
ลงนามอีกหนหนึ่ง ดังนั้นในเดือนมิถุนายน 1881 สัญญาฉบับนี้ก็ได้รับ
การต่ออายุอีกครั้ง
สัญญาฉบับนี้พอจะสรุปเงื่อนไขได้ว่า ในกรณีที่ประเทศหนึ่งประเทศ
ใดยกเว้นตุรกี (ออตโตมัน) บุกรุกประเทศในสัญญา ทุกฝ่ายจะวางตัว
เป็นกลาง แต่หากว่าตุรกีบุกรุกประเทศใดประเทศหนึ่ง ทุกฝ่ายจะต้องมา
ตกลงร่วมกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป และต้องปล่อยให้คาบสมุทร
73/665

บอลข่านดำรงอยูเ่ ช่นที่เป็นอยู่ในเวลานั้น โดยที่ทุกฝ่ายต้องไม่เข้าไป


เกี่ยวข้องยกเว้นแต่เรื่องที่ออสเตรียสามารถเข้ารวบรวมมนฑลบอสเนียและ
เฮอร์เซโกวินาได้ กับอีกกรณี คือโรมาเนียทีร่ ุสเซียจะสามารถเข้าไป
ดำเนินการได้ตามแต่สะดวก ซึ่งสัญญาฉบับนี้กใ็ ช้ได้สมัยหนึ่งคือ 3 ปี แต่
มีการต่ออายุอีกครั้งในปี 1884 แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงปี 1887 สัญญานี้กต็ ้อง
เลิกไปเพราะรุสเซียกับออสเตรียมีปัญหากันในเรื่องคาบสมุทรบอลข่านอีก
ครั้งหนึ่ง
กรณีการทำสนธิสัญญานีม้ ีเรื่องที่น่าสนใจแทรกอยู่ กล่าวคือเมื่อตอน
ทีเ่ กิดสัญญาพันธไมตรีสองประเทศ ค.ศ. 1879 เชื่อมความสัมพันธ์สอง
ประเทศ คือเยอรมนีและออสเตรีย อันเป็นสนธิสัญญาลับนั้น ปรากฏว่า
เมื่อถึงปี 1882 ก็มีการเจรจาขยายให้สนธิสัญญาฉบับนี้ให้กลายเป็น
สนธิสัญญาพันธไมตรีไตรมิตรขึ้นมา โดยไตรมิตรนี้กค็ ือการเพิ่มหรือ
ยอมรับเอาอิตาลีเข้ามาร่วมลงนามอีกประเทศหนึ่งนั่นเอง โดยมีการลงนาม
กันในเดือนพฤษภาคม 1882[3]
เงื่อนไขอย่างย่อของสัญญามีดังนี้
1. ในกรณีที่อิตาลีถูกฝรั่งเศสโจมตี เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี
จะต้องช่วยอิตาลี และในกรณีทเี่ ยอรมนีถูกฝรั่งเศสโจมตี อิตาลีจะต้อง
ช่วยเยอรมนี
74/665

2. ในกรณีที่ภาคีหนึ่งหรือสองประเทศแห่งสัญญานี้ ถูกประเทศนอก
ภาคี ประเทศใดก็ตามรวมสองประเทศขึ้นไปทำการโจมตี ภาคีหนึ่งหรือ
สองประเทศ ที่เหลืออยู่ตามสัญญานี้จะต้องเข้าช่วย
สัญญาลับนี้มอี ายุ 5 ปี มีการต่ออายุและเปลี่ยนแปลงแก้ไขในบาง
ประเด็นในปี 1887 และมีการต่ออายุเป็นครั้งคราวเรื่อยมาจนกระทั่งถึง
สงคราม โลกครั้งที่ 1 สัญญานีจ้ ึงได้เลิกร้างไป โดยอิตาลีปฏิเสธไม่ยอม
ร่วมกับเยอรมนีและออสเตรีย เพราะอิตาลีอ้างว่าฝรั่งเศสไม่ได้เป็น
ฝ่ายรุกราน
เรื่องราวการลงนามในสัญญาต่างๆ ในช่วงเวลานี้ของชาวยุโรปยังมี
มาก มายและสับสนกันอยู่ไม่น้อย กล่าวคือในระหว่างการลงนามที่กล่าว
ไปแล้วนั้น ปรากฏว่ายังมีการลงนามในสัญญาอื่นๆ อีก อาทิ สนธิสัญญา
อินชัวรันส์ ค.ศ. 1887 เป็นสัญญาระหว่างเยอรมนีกับรุสเซีย หลังสิ้นสุด
อายุสนธิสัญญาสันนิบาต สามจักรพรรดิ แม้ว่าในช่วงเวลานั้นจะเกิด
สนธิสัญญาไตรมิตรขึ้นมาแล้วก็ตามที กระนั้นเยอรมนีกับรุสเซียก็ยัง
ลงนามในสัญญาฉบับนี้ อาจนับเป็นสัญญาลับ หลังออสเตรียก็ว่าได้
กล่าวคือ ด้วยความที่เยอรมนีกลัวว่าตัวเองจะมีปัญหากับฝรั่งเศสอย่าง
มากและระแวงที่สุดว่ารุสเซียอาจจะร่วมกับฝรั่งเศสได้ในที่สุด ดังนั้นจึงจำ
ต้องกันรุสเซียให้อยู่ห่างเอาไว้ก่อน จึงได้แอบทำสัญญากับรุสเซียฉบับนี้ขึ้น
มา โดยมีเงื่อนไขว่า รุสเซียสัญญาจะไม่ร่วมกับฝรั่งเศสหากว่าฝรั่งเศส
รุกรานเยอรมนี และเพื่อเป็นการตอบแทนเยอรมนีกส็ ัญญาว่าจะสนับสนุน
75/665

ผลประโยชน์ของรุสเซียทางแหลมบอลข่าน ทั้งที่แท้จริงแล้วในสนธิสัญญา
สันนิบาต สามจักรพรรดิก็มีค้ำอยู่ก่อนแล้ว
สนธิสัญญาอินชัวรันส์ มีอายุ 3 ปี หมออายุลงในปี 1890 ทั้ง
เยอรมนีและรุสเซียอยากต่ออายุแต่ปรากฏว่าบิสมาร์คผู้มีความสำคัญใน
การทำสัญญา นี้ถูกพระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 จักรพรรดิพระองค์ใหม่
ของเยอรมนีบังคับให้จำต้องลงจากตำแหน่งเสียก่อน และพระเจ้าไกเซอร์
วิลเฮล์มที่ 2 ก็รวบอำนาจ ในการบริหารบ้านเมืองมาอยู่ที่พระองค์แต่เพียง
ผูเ้ ดียว พระองค์เห็นว่าเยอรมนี ก็มีผลประโยชน์อยูใ่ นคาบสมุทรบอลข่าน
ด้วยเช่นกันดังนั้นจึงควรจะร่วมมือกับออสเตรียในการรักษาผลประโยชน์
ในคาบสมุทรบอลข่านเอาไว้ดกี ว่า ดังนั้น เมื่อรุสเซียเสนอขอต่ออายุ
สนธิสัญญาอินชัวรันส์ กษัตริย์แห่งเยอรมันจึงตอบปฏิเสธไป
เมื่อไม่ได้มีสัญญาลับกับเยอรมนีแล้ว ในปี 1891 รุสเซียจึงหันไปทำ
สัญญากับฝรั่งเศสขึ้นมาฉบับหนึ่ง เรียกสัญญาฉบับนี้ว่า สนธิสัญญาสัม
พันธ ไมตรีฝรั่งเศส-รุสเซีย หรือสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีสองประเทศ
ค.ศ. 1891
จุดนี้ต้องย้อนกลับไปดูที่ฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ฝรั่งเศส
พ่ายแพ้ต่อประเทศรัสเซียในปี 1871 แล้ว ฝรั่งเศสก็กลายเป็นประเทศ
ยิ่งใหญ่ที่โดดเดี่ยว และบาดเจ็บ ต้องอยูต่ ามลำพังและหาเพื่อนไม่ได้
ทั้งนี้เพราะบิสมาร์คใช้ทุกวิธีทางในการกีดกันฝรั่งเศสไม่ให้สามารถจับมือ
กับใครได้ กระทั่งถึงวันที่รุสเซีย เกิดความโกรธอย่างมากต่อเยอรมนีที่ไม่
76/665

ยอมต่อสัญญาอินชัวรันส์ ผนวกกับที่รุสเซียก็ยังต้องการเงินจำนวนมาก
เพื่อมาใช้จ่ายในการพัฒนาบ้านเมืองและฝรั่งเศสยินดีให้กู้ยืมมาก่อนหน้า
นับแต่ปี 1888 เป็นต้นมาแล้ว
ลักษณะความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือฐานะเจ้าหนี้กับลูกหนี้ระหว่าง
ฝรั่งเศสกับรุสเซีย ส่งผลให้มิตรภาพทางการทูตระหว่างสองประเทศเกิด
ขึ้นมาโดยดี ดังนั้นจึงเกิดการทำสัญญากันขึ้นมาในปี 1891 โดยมีข้อตกลง
หลักว่า ทั้งสองประเทศจะร่วมกันในการรักษาสันติภาพให้เกิดขึ้นในยุโรป
ต่อมาในปี 1894 ก็ได้ขยายข้อตกลงโดยกำหนดให้เป็นอนุสัญญาลับ
ทางทหารระหว่างสองประเทศขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาป้องกัน
ช่วยเหลือโดยมีเงื่อนไขอย่างย่อๆ ว่า ในกรณีที่ฝรั่งเศสถูกอิตาลีซึ่งมี
เยอรมนีหนุนหลังอยู่เข้า โจมตี รุสเซียจะต้องใช้กำลังทั้งหมดที่มีอยูเ่ ข้า
โจมตีเยอรมนี และในกรณีทรี่ ุสเซีย ถูกเยอรมันหรือออสเตรียที่มเี ยอรมนี
หนุนหลังอยูโ่ จมตี ฝรั่งเศสก็จะต้อง ช่วยรุสเซียโดยการเข้าโจมตีเยอรมนี
และมีการกำหนดกำลังทัพที่ควรมีไว้ดังนี้ ฝรั่งเศสควรมีกำลังทัพ
1,300,000 นาย ขณะที่รุสเซียควรมี 700,000 ถึง 800,000 นาย
ดังนั้นสิ่งที่บิสมาร์คกลัวมากที่สุด คือ กลัวว่าฝรั่งเศสจะมีพันธมิตรก็
เกิด ขึ้นมาจริงในที่สุด เกิดขึ้นหลังจากที่เขาต้องลาออกจากตำแหน่งไป 4
ปี เท่านั้น กล่าวกันว่าตลอดระยะเวลา 20 ปีที่เขาอยูใ่ นอำนาจเขาต้อง
ทำงานหนักทุกอย่าง เพื่อไม่ให้ฝรั่งเศสสามารถกลับมามีอำนาจในยุโรปได้
77/665

อีก แต่เพียงไม่นานเท่านั้น หลังเขาลงจากตำแหน่งสิ่งที่เขากลัวก็เกิดขึ้นมา


จนได้
กล่าวกันว่า สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีฝรั่งเศส - รุสเซีย หรือ
สนธิสัญญา สัมพันธไมตรีสองประเทศ ค.ศ. 1891 นี้เป็นก้าวแรกที่นำไปสู่
การสถาปนาสัญญา ฉันทไมตรี (Triple Entente)
เป็นอันว่ามาถึงจุดนี้ก็เกิดกลุ่มการเมืองของสองมหาอำนาจขึ้นมาแล้ว
กล่าวคือ กลุ่มแรกคือกลุ่มทีเ่ กิดจากการสถาปนาสัญญาพันธไมตรีไตรมิตร
ค.ศ. 1882 ที่มี เยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลี กับอีกกลุ่มคือเกิดจาก
สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีฝรั่งเศส-รุสเซีย หรือสนธิสัญญาสัมพันธไมตรี
สองประเทศ ค.ศ. 1894 แล้ว ประเทศในทวีปยุโรปก็แบ่งออกเป็นสอง
ค่ายอย่างชัดเจน และเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอีกต่างหาก
ยังมีจักรวรรดิสำคัญที่ขาดเหลือไม่ได้เข้าร่วมสังฆกรรมกับการรวม
ตัวร่วมกลุ่มในครั้งนี้อยู่ก็อีกประเทศเดียวนั้นก็คือ อังกฤษ หรือจักรวรรดิ
บริเทน
จักรวรรดิบริเทน ตัวแปรของอำนาจ
นับแต่ปี 1890 เป็นต้นมา บริเทนใหญ่ก็เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า
การวางตัวและดำเนินนโยบายอยู่ตามลำพังนั้นจะถือว่าเป็นความฉลาดหรือ
ไม่ในเวทีการเมืองโลกหรือยุโรปในเวลานั้น
78/665

อีกทั้งก็ต้องคิดว่าเป็นการฉลาดหรือไม่ ที่แม้จะวางตัวเป็นกลางใน
เวลานั้นก็จริงอยู่ แต่การกระทบกระทั่งกันอยูเ่ สมอและหวิดจะก่อให้เกิด
สงครามกับรุสเซียและฝรั่งเศสในเรื่องอาณานิคมก็เกิดขึ้นมาอยูเ่ สมอ โดย
สาเหตุก็มาจากเรื่องของดินแดนในอาณานิคม แต่กระนั้นจักรวรรดิบริเทน
ใหญ่ก็ได้แต่คิดเท่านั้น
ต่อเมื่อถึงปี 1899 - 1902 ปรากฏว่าได้เกิดสงครามโบเออร์[4]ขึ้นมา
ประเทศใหญ่ๆ ทางภาคพื้นยุโรปไม่ว่า ฝรั่งเศส รุสเซียและเยอรมนี ได้
คิดการทีจ่ ะเข้าไปบังคับอังกฤษให้ยุติการรบพุ่งกับพวกโบเออร์ แม้แนวคิด
ทีจ่ ะร่วมมือ กันบังคับให้อังกฤษหยุดและสร้างสันติภาพขึ้นจะไม่ได้เกิดขึ้น
มาจริงเพราะมหา อำนาจทั้งสามต่างเกรงในแสนยานุภาพของอังกฤษใน
เวลานั้นอยู่ กระนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือแนวคิดที่ได้ยินมานี้กท็ ำให้อังกฤษ
ต้องหันกลับ มาคิดและพิจารณาให้ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน
นโยบายการวางตัวโดดเดี่ยวของตัวเอง
เมื่อพิจารณาไตร่ตรองกันดีแล้ว อังกฤษหรือบริเทนใหญ่ก็ได้เริ่ม
นโยบาย เปิดประเทศสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านขึ้นมาบ้าง โดยเริ่ม
จากการเข้าไปทาบทามเยอรมนีในปี 1898 เป็นครั้งแรก และอีกครั้งหนึ่ง
ในปี 1901 โดยมีรัฐบุรุษโจเซฟ เชมเบอร์เลน แต่ปรากฏว่าฝ่ายเยอรมนีไม่
สนใจ ทั้งกลับตีความหมายไปว่าอังกฤษกำลังอ่อนกำลังลงอีกต่างหาก
79/665

พลปืนเข้าประจำตำแหน่งในสงครามโบเออร์

กลายเป็นว่าเวลานั้นเยอรมนีก็เริ่มลำพองตัวเองแล้วว่าการที่อังกฤษ
เข้ามาทาบทาม นั้นแสดงให้เห็นว่าเยอรมนีกใ็ หญ่พอแล้วทีจ่ ะเข้มแข็งด้วย
ตัวเองและอีกอย่าง หนึ่งเยอรมนีกห็ ยิ่งเกินไปที่คิดว่าตัวเองสามารถจะ
ทำไมตรีกับใครก็ได้ตามข้อ เสนอของตัวเอง ทำให้ไม่สนใจอังกฤษหรือบริ
เทนใหญ่ในเวลานั้น
ดังนั้น ความสัมพันธ์ที่น่าจะเป็นไปด้วยดีกลับต้องแย่ลงเรื่อยๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเยอรมนีมีความคิดอยากที่จะเป็นที่ 1 ในทุกด้าน
80/665

เหนืออังกฤษให้ได้ ก็ยิ่งทำให้ช่องห่างระหว่างสองชาติเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ต่อเมื่อสภาไรซ์สตาคของ เยอรมนีผ่านกฎหมายทางนาวีซึ่งยอมให้สร้าง
กองทัพเรือตามโปรแกรมนาวีแบบใหม่ ซึ่งจะสามารถขยายกำลังและเข้า
ครอบครองน่านน้ำอันจะส่งผลต่อบริเทนใหญ่โดยตรง ทำให้อังกฤษเริ่ม
ตระหนกอย่างมากทั้งนี้เพราะหากแผนการนั้นของเยอรมนีสำเร็จ ย่อม
หมายความว่าความยิ่งใหญ่ทางนาวีของอังกฤษต้องถูกสั่นคลอนอย่าง
แน่นอน ดังนั้นอังกฤษจึงไม่อาจนิ่งเฉยอยูไ่ ด้ ค.ศ. 1902 อังกฤษจึงเริ่ม
นโยบายผูกมิตรกับชาติต่างๆ โดยเริ่มทำสนธิสัญญาพันธไมตรีกับญี่ปุ่น
เป็นชาติแรก ต่อมาในปี 1904 ก็ได้เริ่มปรองดองกับฝรั่งเศสจนเกิด
สนธิสัญญาฉันทไมตรีอังกฤษ-ฝรั่งเศส ขึ้นในปี 1904 นั้นเอง
ในสายตาชาวโลกเวลานั้นมองว่า สำหรับประเทศใดๆ ในโลกเวลา
นั้น คูก่ รณีที่จะหันเข้ามาทำสัญญากันได้ยากที่สุดน่าจะเป็นอังกฤษกับ
ฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะทั้งสองชาติต่างมีเรื่องที่ทำให้เป็นศัตรูคู่อาฆาตกันมานับ
ร้อยๆ ปี ที่สำคัญ ฝรั่งเศสก็เพิ่งทำสัญญาไมตรีกับรุสเซียซึ่งเป็นศัตรู
สำคัญในเรื่องการขยายดินแดนในเอเชียของอังกฤษอีกชาติหนึ่งด้วย
เรียกได้ว่าอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นพร้อมเสมอที่จะหันหน้ามารบกัน
แต่เมื่อถึงเวลาที่เหมาะเจาะคือ
1. เมื่ออังกฤษถูกเยอรมนีปฏิเสธเรื่องไมตรีที่เสนอ
2. เมื่อเยอรมนีตกลงใจสร้างกองกำลังทหารทางเรือ
81/665

และ 3. เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสเปลี่ยนท่าทีในความสัมพันธ์กับอังกฤษ
ภาย หลังการเลือกตั้งในฝรั่งเศสเมื่อปี 1902 ทำให้ความร่วมมือครั้งใหม่
เกิดขึ้นได้
แต่ เอาเข้าจริงๆ แล้ว ว่ากันว่าการทีฝ่ รั่งเศสเปลี่ยนท่าทีในความ
สัมพันธ์กับอังกฤษนั้น แท้จริงแล้วน่าจะมาจากการที่เวลานั้นฝรั่งเศสมี
นโยบายทีจ่ ะรุกและแผ่อำนาจ ของตัวเองเข้าไปในโมร็อกโกต่างหาก
หากว่าอังกฤษไม่ให้การสนับสนุนแล้วการแผ่อำนาจครั้งนั้นย่อมมีอุปสรรค
อย่าง มาก ดังนั้นเมื่อฝรั่งเศสหันมาทำไมตรีกับอังกฤษ จนสามารถลงนาม
ในสัญญาข้อตกลงต่างๆ ทีท่ ำขึ้นในปี 1904 แล้วฝรั่งเศสก็สามารถรุกเข้า
โมร็อกโกอย่างสะดวกสบาย
ข้อสัญญามิตรภาพระหว่างสองชาติ มีเนื้อหาคร่าวๆ ว่า ทั้งสองจะ
ปรองดองกันด้วยดีในกรณีพิพาทเรื่องสำคัญๆ ในแอฟริกาตะวันตก
สยาม มาดากัสการ์ หมู่เกาะนิวเฮบรีดิส สิทธิการจับปลาในนิวฟาวด์แลนด์
และทีส่ ำคัญที่สุดคือ ฝรั่งเศสยอมให้อังกฤษปฏิบัติการกับอียิปต์ได้ตาม
สะดวก กลับกันฝรั่งเศสก็ได้ประโยชน์จากอังกฤษคือปล่อยให้ฝรั่งเศสเข้า
ไปทำอะไรในโมร็อกโกได้ตามปรารถนา มีข้อแม้อยูเ่ พียงว่าฝรั่งเศสยึด
ได้แต่ต้องไม่สร้างค่ายคู ประตูหอรบหรือสร้างเครื่องต้านทานศาสตรา
วุธต่างๆ ขึ้นในบริเวณนั้น ทั้งนี้เพราะอังกฤษเกรงว่า การกระทำดังกล่าว
นั้นอาจจะกลายเป็นการคุกคามอังกฤษทางช่องแคบยิบรอลตาร์ได้
82/665

ประเด็นหลังนี้อังกฤษยังหวาดเสียวอยูไ่ ม่น้อย เลยได้ไปขอทำ


สัญญาลับกับสเปนอีกประเทศหนึ่ง โดยมีข้อตกลงว่า ฝรั่งเศสเข้ายึดโมร็
อกโกเมื่อใด อังกฤษก็จะยกโมร็อกโกอีกส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ฝั่งยิบรอลตาร์ให้
กับสเปนทันที
ว่ากัน ว่าสนธิสัญญาของทั้งสองชาติคืออังกฤษและฝรั่งเศสนั้นใน
ระยะแรกไม่ได้มกี ารลง นามแบบผูกพันเป็นพันธมิตร และไม่ได้มี
จุดมุ่งหมายเพื่อเล่นงานเยอรมนีโดยตรง แต่เมื่อเยอรมนีมีนโยบายสร้าง
ตัวเองอย่างต่อเนื่องก็ส่งผลให้ทั้งอังกฤษและ ฝรั่งเศสต้องจับมือกันแน่น
ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการทำความสัมพันธ์ทางการทหาร กระนั้นก็ไม่มกี าร
ลงนามในสัญญาพันธมิตรกันจนกระทั่งเกิดสงครามโลกขึ้นมาแล้ว นั่นเอง
กำเนิดสนธิสัญญาฉันทไมตรีไตรมิตร ค.ศ. 1907
อย่างที่ว่ามานั้นเอง เมื่ออังกฤษสามารถเข้าไปปรองดองกับฝรั่งเศส
ได้ แล้วทำไมจะไม่สามารถปรองดองกับรุสเซียได้ ในเมื่อมาถึงเวลานั้น
อังกฤษมอง ว่าชาติที่จะมีปัญหากับอังกฤษมากที่สุดคงไม่มีใครเกินไปกว่า
เยอรมนีที่กำลังขยายอำนาจทางทหารของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นใน
เวลาดังกล่าวอังกฤษจึงเริ่มหันกลับมาใช้กุศโลบาย “มิตรของศัตรูคือศัตรู
แต่ศัตรูของศัตรูย่อมคือมิตร แม้ว่าแท้จริงศัตรูของศัตรูนั้นก่อนหน้านี้เคย
เป็นศัตรูของเรามาก่อน”
เมื่อจับมือกับฝรั่งเศสได้แล้ว ในเวลาต่อมาอังกฤษก็เริ่มหันมามอง
รุสเซีย
83/665

อันที่จริงเราต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับรุสเซีย
เสียก่อน แท้จริงนั้นรุสเซียกับอังกฤษมีปัญหากันมาตลอดเวลา โดยเฉพาะ
มีความขัดแย้งกันในอดีตในเรื่องการแย่งชิงผลประโยชน์จากดินแดนสาม
แห่งของโลก นั่นคือ
1. บริเวณตะวันออกใกล้
2. ตะวันออกไกล
และ 3. ตอนกลางของทวีปเอเชีย
โดยทีท่ างตะวันออกใกล้นั้น รุสเซียหวังเสมอมาว่ารุสเซียจะเข้าไป
ปลดปล่อยผู้คนแห่งคาบสมุทรบอลข่านให้หลุดพ้นจากอำนาจของตุรกี
และหวังอยู่ เสมอเช่นกันทีจะเข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล)
นคร หลวงของตุรกีเอาไว้เป็นของตัวเองให้ได้ ซึ่งที่ผ่านมาอังกฤษก็มี
นโยบายปกป้องตุรกีให้พ้นจาก การรุกรานของรุสเซีย ทั้งนีก้ ็เพราะเพื่อหวัง
จะให้ตุรกีช่วยเหลือในการกีดกันรุสเซียไม่ให้ใหญ่ เกินไป แต่ปรากฏว่า
หลังปี 1900 เป็นต้นมาเมื่อเยอรมนีเข้าไป ทวีอิทธิพลของตัวเองในตุรกีเรื่อ
ยๆ ทำให้อังกฤษเกิดความตกใจและไม่แน่ใจว่าแท้จริงแล้วรุสเซียหรือ
เยอรมนีกันแน่ที่จะทำลายผลประโยชน์ของอังกฤษ
ขณะทีท่ างตะวันออกไกล คือ จีน ญี่ปุ่น และแมนจูเรียนั้น อย่างทีร่ ู้
กันมาอย่างดีว่าอังกฤษเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในแผ่นดินจีนมาอย่าง
ยาวนาน แล้ว แต่เมื่อเข้าถึงปี 1888 ปรากฏว่าชาวรุสเซียเริ่มเข้าไปมี
บทบาททางการค้าในจีนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเข้าไปเป็นคู่แข่งกับพ่อค้า
84/665

อังกฤษในเรื่องการค้า ไหมและใบชา อีกทั้งในเวลาต่อมาเมื่อรุสเซียยก


กองทัพเข้ายึดครองแมนจูเรียไว้ จึงส่งผลให้เกิดการลงนามในสัญญา
ระหว่างอังกฤษกับญี่ปุ่นที่เรากล่าวไปก่อน หน้านี้นั้นเอง อังกฤษทำสัญญา
ไมตรีกับญี่ปุ่นในปี 1902 ญี่ปุ่นเข้าทำสงครามกับรุสเซียในปี 1904 ดังนั้น
อังกฤษเลยทำทุกวิธที างที่จะต้องให้ญี่ปุ่นสามารถเอาชนะรุสเซียให้ได้ ซึ่งก็
ประสบความสำเร็จ ค.ศ. 1905 เมื่อรุสเซียพ่ายแพ้ในสงครามรุสเซีย-
ญี่ปุ่น รุสเซียจำต้องถอยทัพออกจากแมนจูเรียเพื่อให้ญี่ปุ่นกลับเข้าไป
ครอบครอง ความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ทำให้รุสเซียเสื่อมอิทธิพลในการหา
ผลประโยชน์ในจีนลงไป ด้วย ดังนั้นการแข่งขันกันเรื่องผลประโยชน์กับ
อังกฤษ จึงลดลงไปด้วย
ในส่วนเรื่องอำนาจในบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียนั้น ก็นับเป็น
ดินแดนอีกแห่งหนึ่งที่เกิดความขัดแย้งกันในเรื่องการหาผลประโยชน์ ของ
รุสเซีย และอังกฤษ กล่าวคือเมื่ออังกฤษได้แผ่อำนาจของตัวเองจาก
อินเดียขึ้นไปทางเหนือจนสามารถ ตั้งมั่นอยู่ในอัฟกานิสถาน พร้อมกัน
รุสเซียก็ยกกำลังลงใต้จากไซบีเรียมาตั้งประจันที่ชายแดนอัฟกานิสถาน
เช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้นในเปอร์เซียทั้งอังกฤษและรุสเซียต่างก็เข้าไปลงทุน
เพื่อหา กำไรอย่างมหาศาลดังนั้นรัฐบาลของทั้งสองชาติจึงสนใจที่จะเข้าไป
สร้างอิทธิพล ในเปอร์เซีย
แต่ปรากฏว่าเมื่อปี 1905 เมื่อมีการเลือกตั้งกันใหม่ในทั้งสองประเทศ
จน กระทั่งเปลี่ยนรัฐบาล ประเทศทั้งสองเลยเริ่มหันหน้าเข้าเจรจากัน
85/665

กระทั่งนำมาสูก่ ารลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี ระหว่างอังกฤษกับ


รุสเซียในปี 1907ในที่สุด โดยมีการตกลงแบ่งเขตเปอร์เซียออกเป็นเขต
อิทธิพลระหว่างอังกฤษกับรุสเซียและมีข้อตกลงว่าทั้งสองจะไม่เข้าไป
แทรกแซงในทิเบต และรุสเซียก็รับรองอำนาจของอังกฤษที่มตี ่อ
อัฟกานิสถาน
เรียกว่าสนธิสัญญาฉบับนี้ เป็นข้อตกลงที่ไม่ต่างกันกับที่อังกฤษทำ
กับฝรั่งเศสเอาไว้ นั่นคือเป็นสนธิสัญญาที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า
สัญญาการให้อภัยอโหสิต่อกัน นั่นเอง
และเมื่อแนวโน้มของมิตรภาพระหว่างชาติเหล่านี้ดูดีขึ้นแล้วนับแต่ปี
1905 เป็นต้นมา ทำให้บรรดารัฐบุรุษของทั้งสามชาติต่างพยายามสร้างภาพ
ให้โลกได้ประจักษ์ว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซียเป็นพวกเดียวกันแล้ว
แม้ไม่ได้มกี ารลงนามในข้อสัญญาผูกมัดใดๆก็ตาม กระนั้น ก็มีความ
พยายามที่จะสร้างภาพให้ประจักษ์กันโดยเรียกพันธมิตรทั้งสามประเทศว่า
ค่ายฉันทไมตรีไตรมิตร ซึ่งถือกันว่าจะเป็นเครื่องถ่วงดุลค่ายพันธไมตรี
ไตรมิตร ที่มีเยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลีในระยะแรกอยู่
และนับแต่นั้นเป็นต้นมา ปัญหาระหว่างชาติที่เกิดขึ้นมาทุกปัญหา
ก็ได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ และยิ่งตกลงกันยากยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา
ทั้งนี้เพราะแต่ละชาติแต่ละประเทศต่างคิดว่าตัวเองมีกลุ่มอำนาจการเมือง
ระหว่างชาติหนุนหลังอยู่ทั้งสิ้น และเมื่อเป็นเช่นนี้เองทุกประเทศจึงตั้งมั่น
พร้อมที่จะทำสงครามอยู่เสมอ
86/665

และนี่คือที่มาที่ไปของบรรดาการรวมกลุ่มพันธมิตรหรือพันธไมตรีที่
เกิด ขึ้นมาในระหว่างก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นมา และเมื่อ
เกิดขึ้นมาแล้วกลุ่มสองกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มที่ทะเลาะกันเองจนสร้างให้สงคราม
ในครั้งนั้นกลายเป็นสงครามโลกไปในที่สุด ---
4

วิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงคราม
ก่อนสงครามโลก 1
กล่าวได้ว่า นับเป็นเวลาร่วม 10 ปีก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
นั้นในยุโรปได้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ อันเป็นปัจจัยและล้วนแต่เป็น
ส่วนหนึ่งของการสั่งสมและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1
แทบทั้งสิ้น
นับแต่ปี 1904 - 1913 ภาย ใต้การพัฒนาทางการทหาร ลัทธิ
ชาตินิยม และจักวรรดินิยม ที่ครอบงำไปทั่วทั้งยุโรป ทำให้ยุโรปต้อง
เผชิญกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ระหว่างชาติทตี่ ิดตามกันมาเรื่องแล้วเรื่องเล่า
แต่กระนั้นคู่กรณีก็สามารถ ก้าวพ้นการเสื่อมเสียมาได้แทบทุกครั้ง
แต่กระนั้นด้วยแนวคิดชาตินิยมและการปลูกฝังที่มีอย่างต่อเนื่องสู่รุ่นลูก
รุ่นหลานก็ทำให้สั่งสมความเกลียดชังและขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่อง
88/665

ในจำนวนวิกฤตการณ์ทเี่ กิดขึ้นมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่น่า


สนใจและมีผลโดยตรงต่อความขัดแย้งมีดังนี้
วิกฤตการณ์โมร็อกโก ค.ศ. 1905 และ ค.ศ. 1906
วิกฤตการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นจากความขัดใจและขัดแย้งกันในเรื่องผล
ประ โยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีโมร็อกโกเป็นตัวกลาง และเป็นผู้ที่ต้องรับ
ปัญหาโดยตรง
กล่าวคือ ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 โมร็อกโกมีสถานะเป็นประเทศ
เอกราช โดยมีสุลต่านปกครอง ข้อดีของโมร็อกโกคือความอุดมสมบูรณ์
ในแร่ธาตุและมีผลิตผลทางการเกษตรที่ดีกว่าหลายประเทศในแอฟริกา
ตอนเหนือ ด้วยข้อดีเช่นนี้เองจึงทำให้โมร็อกโกเข้าไปเป็นที่พึงปรารถนา
ของยักษ์ใหญ่แห่งยุโรปในเวลานั้น
สิ่งสำคัญที่โมร็อกโกมีและเป็นที่หมายปองอย่างมากของยุโรปในเวลา
นั้นคือ โมร็อกโกมีบ่อแร่เหล็กและแมงกานิส และโอกาสด้านการค้าต่างๆ
อีก สองมหาอำนาจแห่งยุโรปเวลานั้นคือเยอรมนีและฝรังเศสประกาศตัว
ชัดเจนที่จะเข้า ไปหาผลประโยชน์ทโี่ มร็อกโก เมื่อทั้งสองชาติมาชิงดีชิงเด่น
กันเช่นนั้น ผลที่ออกมาก็คือไม่มีใครได้เปรียบและเสียเปรียบ
แต่เมื่อถึงปี 1904 เมื่ออังกฤษได้ตกลงทำสนธิสัญญาฉันทไมตรีไตร
มิตร อังกฤษ-ฝรั่งเศสขึ้นมา ซึ่งในสนธิสัญญานีม้ ขี ้อความตอนหนึ่ง
กำหนดเอาไว้ว่าให้ฝรั่งเศสปฏิบัติการกับโมร็อกโกได้ตามแต่ฝรั่งเศสจะ
ปรารถนา ซึ่งส่งผลกระทบ กระเทือนทางการทูตต่อเยอรมนีโดยตรง
89/665

ทั้งนี้เพราะเยอรมนีต้องการให้ชาติของตนเองมีส่วนร่วมในการเจรจาด้วย
หากมีการพูดคุยกันในเรื่องของปัญหาโมร็อกโก
ปลายปี 1904 นั่นเอง ฝรั่งเศสก็ได้ขอให้สุลต่านโมร็อกโกยอมให้
ฝรั่งเศส เข้าไปปรับปรุงด้านการทหารและการคลัง ซึ่งหากองค์สุลต่าน
ยินยอมก็จะทำให้ ฝรั่งเศสมีอำนาจในโมร็อกโกเท่ากับทีเ่ วลานั้นอังกฤษมี
อำนาจเหนืออียิปต์อยู่ก่อนแล้ว
รัฐบาลเยอรมนีวางเฉยในระยะแรก แต่อีกสองหรือสามเดือนต่อมา
ไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ของเยอรมนี เสด็จเยือนเมืองแทนเจียร์ของโมร็อก
โกอย่าง เป็นทางการในเดือนมีนาคม 1905 อีก ทั้งไกเซอร์ยังได้กล่าว
สุนทรพจน์ยอมรับในเอกราชและอธิปไตยของโมร็อกโก อีกทั้งในเวลานั้น
กระทรวงการต่างประเทศ ของเยอรมนีก็ได้เข้าขอร้องว่าหากจะมีการตกลง
เกี่ยวกับอนาคตของโมร็อกโกแล้ว ก็ขอให้มกี ารเปิดการประชุมระหว่างชาติ
ขึ้น
ผลที่เกิดขึ้นมานี้ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ
ฝรั่งเศสในเวลา นั้นโกรธอย่างมากถึงกับยืนยันที่จะให้เกิดสงครามขึ้นกับ
เยอรมนีให้ได้ แต่เมื่อเจรจากับพันธมิตรของตนเองอย่างรุสเซีย ซึ่งเวลา
นั้นยังไม่พร้อมจะไปออกรบกับใครได้เพราะกำลังติดพันในสงครามที่ทำ
กับญี่ปุ่นอยู่หรือเพิ่งจะพ่ายแพ้ญี่ปุ่นมา อีกทั้งเหตุการณ์ภายในประเทศ
ของตนเองก็ไม่น่าไว้วางใจนัก ขณะที่อังกฤษนั้นแม้ด้านการทูตจะแสดง
90/665

ออกถึงการสนับสนุนฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ แต่ก็ละเว้นการแสดงออกอย่าง
ตรงไปตรงมาว่าจะเข้าช่วยเหลือฝรั่งเศสหรือไม่หาก เกิดสงครามขึ้นมา
สุดท้ายฝรั่งเศสจึงจำต้องยอมจำนนต่อการกระทำของเยอรมนี ถึงขั้น
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสต้องลาออกจาก
ตำแหน่ง และถือว่าเป็นความพ่ายแพ้ทางการทูตที่หน้าอายของฝรั่งเศส
แต่กระนั้นก็ใช่ว่าเยอรมนีจะได้รับชัยชนะ ทั้นี้เพราะในการประชุม
นานาชาติที่เยอรมนียืนยันให้จัดขึ้นที่เมืองอัลจาซี รา ในการลง
คะแนนเสียงเยอรมนีพ่ายเกมการทูต โดยอิตาลีเข้าข้างฝรั่งเศสอย่างเต็มที่
ทุกกรณี ส่งผลให้เยอรมนีสามารถทำได้กเ็ พียงแค่ยืนยันให้โมร็อกโกเป็น
เอกราชแต่เพียง ในนามเท่านั้น
อธิปไตยของสุลต่านหมดไป โมร็อกโกต้องเปิดประเทศให้ชาติต่างๆ
เข้ามาค้าขายได้โดยมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ตามความเป็นจริงแล้ว
ส่วนใหญ่จะมีเพียงฝรั่งเศสกับสเปนที่ได้มีอำนาจเข้ามาตรวจตราดูแลรักษา
โมร็อกโก และการ ประชุมในครั้งนี้เองที่ทำให้เยอรมนีเริ่มสงสัยและไม่
ไว้วางใจอิตาลีรวมถึงประเทศ ในค่ายฉันทไมตรีไตรมิตร และเป็นจุด
เพิ่มพูนความกินแหนงแคลงใจ
การผนวกบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา
หรือวิกฤตการณ์บอลข่านในปี 1908
หากจะกล่าวถึงดินแดนที่น่าจะเป็นปัญหามากที่สุดในช่วงเวลาก่อน
สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วคาบสมุทรบอลข่าน น่าจะเป็นดินแดนส่วนทีว่ ่านี้
91/665

ด้วยว่าที่ตั้งที่อยู่ระหว่างมหาอำนาจและความเคลื่อนไหวไปจนถึงการ
เคลื่อนไหลของ กลุ่มชนที่หลากหลาย ทำให้เกิดเป็นแผ่นดินส่วนที่สร้าง
ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง
ตามข้อตกลงในที่ประชุมคองเกรสแห่งเบอร์ลิน ค.ศ. 1878
บอสเนียและ เฮอร์เซโกวินา ต้องอยู่ภายใต้การตรวจตราดูแลรักษาของ
ออสเตรีย-ฮังการีทั้งที่แท้จริงแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างยอมรับว่าดินแดน
ทั้งสองรัฐนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน แต่กเ็ ป็นเพียงในนาม
เท่านั้น
ครั้นเมื่อถึงปี 1908 รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของออสเตรียและ
รัฐมนตรีการต่างประเทศของรุสเซียได้ทำความตกลงกันว่า ให้ออสเตรีย
ผนวกบอสเนียและเฮอร์เซ โกวินาเข้าเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันกับออสเตรีย
ได้ โดยมีข้อแม้ว่าออสเตรียจะต้องยอมเปิดช่องแคบดาร์ดาเนลส์และ
บอสฟอรัสให้เรือ รบรุสเซีย ผ่านเข้าออกได้ ซึ่งต่อมาออสเตรียก็รีบเข้ายึด
แผ่นดินทั้งสองมณฑลหรือสองรัฐนั้นเข้าเป็นของ ตนเองอย่างเงียบๆ โดย
ทีร่ ุสเซียกลับไม่ได้อะไรตอบ แทน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการเปิดช่องแคบทั้ง
สองให้เรือรบผ่านไม่ใช่หน้าที่ของ ออสเตรียแต่ขึ้นอยูก่ ับอังกฤษที่ยึดถือ
นโยบายเดิมของตนเองตลอดมาว่าจะต้อง ปิดช่องแคบอยู่ตลอดเวลา
การที่ออสเตรียเข้าควบรวมสองมณฑลนั้นทำให้เซอร์เบียโกรธแค้น
อย่าง มาก ทั้งนี้เพราะเซอร์เบียนั้นต้องการรวมชาติสลาฟของตนเองอยู่
แล้วและประชากรส่วนใหญ่ในมณฑลทั้งสองนี้ก็เป็นชาวสลาฟ
92/665

เซอร์เบียหวังเอาไว้ว่าหากสามารถรวมประเทศได้แล้วก็จะส่งผลให้เซอร์เบี
ยกลายเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม และอาจเป็นมหาอาณาจักรเซอร์เบีย
ของชาวสลาฟเลยทีเดียว
ผลของความโกรธในครั้งนี้ทำให้ออสเตรีย-ฮังการี กับเซอร์เบียต้อง
ตั้งประจันหน้ากันจนเจียนจะเกิดการปะทะกันเป็นเวลาหลายเดือน แต่
หลังจากติดต่อและเจรจาพันธมิตรกันแล้วสุดท้ายเซอร์เบียก็จำต้องผ่อน
ท่าทีลง โดยเริ่ม จากเซอร์เบียนั้นคาดว่าหากเกิดสงครามขึ้นมาแล้วรุสเซีย
จะต้องเข้าช่วยเหลือ ตนเอง ทั้งนี้เพราะรุสเซียสนับสนุนนโยบายรวมชาติส
ลาฟมาแต่ต้น
แต่ปรากฏว่าด้วยปัญหาของรุสเซียที่มีอยู่ทำให้นอกจากไม่พร้อมที่จะ
ทำ สงครามแล้ว รุสเซียยังเชื่อว่าเยอรมนีกจ็ ะต้องเข้าข้างออสเตรีย-ฮังการี
อย่างแน่นอน ดังนั้นรุสเซียจึงจำต้องขอยอมจำนนก่อน สุดท้ายผลของ
วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นนีก้ ็ทำให้ ออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีได้รับชัยชนะ
ทางการทูต
และยิ่งสำหรับออสเตรียแล้วไม่เฉพาะแค่ชัยชนะทางการทูตเท่านั้น
แต่ยังได้ผนวกเอามณฑลใหญ่ของตุรกีสองมณฑลอีกด้วย ออสเตรียรู้สึก
ถึงชัยชนะ สามารถกอบกู้ศักดิ์ศรีของราชวงศ์ฮับสบูร์กไว้ได้ ส่วนเซอร์เบีย
และรุสเซียกลับ เสียหน้า ชัยชนะและพ่ายแพ้ของออสเตรียต่อเซอร์เบีย
ครั้งนี้ส่งผลให้เกิดความ คั่งแค้นไม่อาจสูญไปได้ กลับแปลงรูปลงสู่ใต้ดิน
93/665

ก่อเกิดสมาคมลับต่างๆ และมีการแพร่โฆษณาเพื่อการปฏิวัติต่อออสเตรีย
และคบคิดกันอย่างลับๆ เพื่อทำลายล้างออสเตรียต่อไป
ใช่เพียงเท่านั้น การกระทำของออสเตรียยังทำให้เสียพันธมิตรของ
ตนเอง ด้วย โดยในรุสเซียได้เกิดความไม่พอใจและเคียดแค้นเยอรมนี
อย่างรุนแรง ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าการดำเนินการของออสเตรียนั้นมีเยอรมนี
เห็นชอบและหนุนหลังเสมอมา ทำให้รุสเซียเริ่มหันเข้าหาฝรั่งเศสและ
อังกฤษมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ด้วยหวังว่าวันข้างหน้าบรรดาประเทศฉันทไมตรี
ไตรมิตรจะสามารถบีบออสเตรียไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับชาวสลาฟทางคาบสมุทร
บอลข่านได้
วิกฤตการณ์โมร็อกโก ครั้งที่ 2 ค.ศ. 1911
แม้ปัญหาโมร็อกโกจะถูกแก้ไขไปบ้างแล้วก่อนหน้านั้น แต่ก็
ดูเหมือนว่า ความลงเอยยังไม่สิ้นสุด ฝรั่งเศสยังมีความพยายามที่จะ
ผนวกดินแดนโมร็อกโก ให้ได้ ในปี 1911 บังเอิญเกิดเรื่องขึ้นภายในโมร็
อกโก เมื่อชาวพื้นเมืองได้ลุกขึ้น มาก่อการกบฏต่อฝรั่งเศสที่เวลานั้นมี
อำนาจอยู่ในนครเฟซ ทำให้ฝรั่งเศสใช้กำลัง เข้ายึดนครเฟซเอาไว้ได้ใน
ปลายปีนั้นเอง ด้วยการยกข้ออ้างว่าที่ตัวเองเข้าไปนั้นเพื่อคุ้มครององค์
สุลต่านรักษาความสงบ และพิทักษ์รักษาความปลอดภัยให้กับชาวต่างชาติ
เหตุการณ์ครั้งนี้ก่อความหวั่นไหวไปทั่วทุกชาติในยุโรป ทั้งนี้เพราะ
ทุกชาติต่างรู้ดีว่าฝรั่งเศสนั้นหวังทีจ่ ะยึดครองโมร็อกโก โดยหวังเปลี่ยนให้
โมร็อกโก กลายเป็นประเทศในอารักขาของตนเองอยูแ่ ล้ว เหตุการณ์ที่เกิด
94/665

ขึ้นต่อจากนีจ้ ึงเริ่มกลับมาซ้ำรอยเดิม กล่าวคือเยอรมนีลุกขึ้นมาขัดขวาง


เป็นรายแรก โดยการจัดส่งเรือปืนชื่อแพนเธอร์ เข้าไปทอดสมออยู่ที่อ่าว
หน้าเมืองอาร์กาดีร์ทางฝั่งตะวันตกของโมร็อกโก กลายเป็นการตั้ง
ประจันหน้ากัน สร้างความหวั่นไหว ไปทั่วว่าสงครามจะต้องเกิดขึ้นอย่าง
แน่นอน
ฝรั่งเศสนั้นเคยแพ้เกมมาแล้วในปี 1905 ครั้งนีจ้ ึงตั้งใจแน่วแน่ว่าจะ
ไม่ยอมแพ้อีกเด็ดขาด ยิ่งเมื่อมองกองทัพของตนเองในเวลานั้นที่มที ั้งกำลัง
พลและ อาวุธทีท่ ันสมัยมากกว่าครั้งที่ผ่านมาก็ยิ่งทำให้มั่นใจมากยิ่งขึ้น ที่
สำคัญครั้งนี้ฝรั่งเศสมั่นใจว่าอังกฤษจะต้องเข้าร่วมช่วยเหลืออย่างแน่นอน
ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากที่อังกฤษยื่นเรื่องให้เยอรมนีถอนเรือปืนออกไป
และแสดงท่าทีชัดเจน ว่าอยู่ข้างฝรั่งเศส
ปรากฏว่าสุดท้ายเยอรมนีไม่อยากสู้รบกับอังกฤษและฝรั่งเศส จำ
ต้องยอมตกลงให้ฝรั่งเศสเข้าไปเป็นรัฐอารักขาโมร็อกโก โดยให้มีเงื่อนไข
ว่าฝรั่งเศส ต้องยอมดำเนินนโยบาย “เปิดประตูการค้า” ที่โมร็อกโกเพื่อ
ชดใช้ และฝรั่งเศส ต้องยอมยกดินแดนป่าเขาในคองโกของฝรั่งเศสซึ่งมี
เนื้อที่ 100,000 ตารางไมล์ ให้แก่เยอรมนี
แม้สงครามจะไม่เกิดขึ้นและวิกฤตการณ์ผ่านพ้นไปได้ แต่กระนั้น
เหตุการณ์ครั้งนีก้ ็กลายเป็นสิ่งที่ค้างใจทั้งเยอรมนีและฝรั่งเศส ทั้งสองเกิด
ความ รู้สึกเป็นปฏิปักษ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ค่ายฉันทไมตรีไตรมิตรและค่าย
สัมพันธไมตรี ไตรมิตรเริ่มแข่งขันกันรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนทุกคนในโลก
95/665

ในเวลานั้นเริ่มตั้งคำถาม และพูดคุยกันแล้วว่าสงครามใหญ่จะต้องเกิดขึ้น
มาแน่ แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไรและเริ่มขึ้นที่ไหนก่อนเท่านั้น
สงครามออตโตมันกับอิตาลี ค.ศ. 1911
อาณาจักรหรือจักรวรรดิออตโตมัน ที่กำลังกลายเป็นคนป่วยแห่ง
ยุโรปในเวลานั้นดูเหมือนจะป่วยหนักขึ้นเพราะภาย ในของตนเองต้อง
ผจญกับการแก้ปัญหาการลุกขึ้นมาปฏิวัติของกลุ่มเติร์กหนุ่ม[5]ครั้นมาถึง
เดือนกันยายน 1911 อิตาลีก็ได้ส่งทหารเข้ายึดทริโปลีและซีเรไนกาและ
ประกาศตั้งตัวเองเป็นประเทศอารักขารัฐทั้งสอง
รัฐบาลเติร์หนุ่มของตุรกีในเวลานั้นซึ่งถือว่าดินแดนทั้งสองแห่งเป็น
ส่วน หนึ่งของจักรวรรดิตนเองก็ได้ลุกมาประกาศสงครามกับอิตาลี
พร้อมกับส่งกองทัพออกไปทำสงครามในดินแดนที่กล่าวมาทันที
การต่อสู้ดำเนินไปด้วยกำลังทัพของตุรกีที่มีอยู่น้อยนิดไม่อาจเปรียบ
กับของอิตาลีได้เลย เพียงปีเดียวสงครามก็สงบลง มีการลงนามใน
สนธิสัญญา โลซานน์ในเดือนตุลาคม 1912 โดยยอมให้อิตาลีได้ดินแดน
ทั้งสอง แห่งอีกทั้งอิตาลียังได้อารักขาหมูเกาะโดเดกานิสเป็นของแถมอีก
ด้วย
เรียกว่านอกจากจะพ่ายแพ้แล้ว ตุรกียังต้องบอบช้ำซ้ำเติมอีกต่างหาก
ในห้วงเวลานั้นเกิดการอภิปรายกันขนานใหญ่ในยุโรป ทั้งนี้เพราะรับรูก้ ัน
เสมอมาว่าตุรกีนั้นมีความสัมพันธ์อันดียิ่งกับเยอรมนี แม้อิตาลีกจ็ ะเป็น
หนึ่งในกลุ่มสัมพันธไมตรีไตรมิตรด้วยแต่อิตาลีก็ไม่ได้แสดงออกหรือ
96/665

สนใจจงรักภักดีอะไรมากนัก อีกทั้งการที่อิตาลีบุกตุรกีขณะที่เยอรมนียัง
พยายามผูกสัมพันธ์กับตุรกีก็ยิ่งดูไม่เหมาะสม แต่มันก็เกิดขึ้นมาแล้วและ
เกิดขึ้นมาจนได้ทำให้เกิดรอยร้าวไปทั่วยุโรปแล้ว
สงครามบอลข่าน ค.ศ. 1912 - 1913
จำต้องย้อนกลับไปยังสงครามบอลข่านครั้งที่ผ่านมาก่อน ผลของ
สงครามครั้งนั้นทำให้เซอร์เบียกับออสเตรียบาดหมางกันอย่างมาก ทั้งยัง
เป็นผลกระตุ้นให้อิตาลีหันไปทำสัญญากับรุสเซียเพื่อต่อต้านออสเตรีย-
ฮังการี ทั้งนีก้ ็เพื่อกันไม่ให้ออสเตรีย - ฮังการีขยายอิทธิพลเข้าไปบอลข่าน
อีก ซึ่งการลงนาม สัญญานี้เกิดขึ้นในปี 1909 ก่อนที่อิตาลีจะทำสงคราม
กับตุรกี

ทหารชาวเติร์กระวังตรงรอการตรวจแถวในสงครามบอลข่านปี 1912
97/665

ค.ศ. 1911 อิตาลีทำสงครามกับตุรกี กรณียึดทรีโปลี พร้อมกันนั้น


รุสเซีย ก็ได้เข้าไปเกลี่ยกล่อมบัลแกเรียประเทศซึ่งถือเป็นศัตรูโดยตรงของ
เซอร์เบีย ให้หันมาจับมือร่วมกันกับเซอร์เบียจนก่อเกิดสัญญาลับขึ้นมาเพื่อ
ร่วมกันโจม ตีตุรกี ในปี 1912 ซึ่งมีข้อตกลงในสัญญาลับนั้นว่า หากทำ
สงครามกับตุรกีจนได้รับชัยชนะแล้วบัลแกเรียจะได้ดินแดนส่วนใหญ่ของ
มาซิโดเนียซึ่งขณะนั้นเป็นของตุรกีอยู่ ฝ่ายเซอร์เบียก็จะได้ดินแดนมาซิ
โดเนียส่วนที่เหลือจากบัลแกเรีย รวมถึงได้อัลเบเนียตอนที่ติดกับฝั่งทะเล
อาเดรียติก
ผลของการรวมกลุ่มกันครั้งนี้ยังทำให้กรีซและมอนเตเนโกรกระโดด
มาเข้าร่วมจับมือด้วย กลายเป็นกลุ่มประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่าน
เรียกกันว่า กลุ่มสันนิบาตบอลข่าน โดยชาวประเทศกลุ่มนี้มีเป้ามหายคือ
ปลดปล่อยชาวสลาฟซึ่งถือว่าเป็นพวกเดียวกันกับตนเองให้หลุดพ้นจาก
อำนาจการปกครองของมุสลิมตุรกี
ตุรกีกำลังเดือดร้อนกับการทำสงครามกับอิตาลีอยู่ก็โดนโจมตีซ้ำอีก
จาก การปล่อยข่าวกล่าวหาว่า ตุรกีได้บีบคั้นชาวคริสต์ซึ่งอยู่ภายใต้การ
ปกครองของ ตุรกีแถบมาซิโดเนีย แล้ววันที่ 12 ตุลาคม 1912 กลุ่ม
สันนิบาตบอลติกก็ประกาศ สงครามกับตุรกี ทำให้ตุรกีต้องรีบปิดฉาก
ปัญหาของตนเองในแอฟริกา กับอิตาลี แล้วเร่งกลับมาตั้งรับทัพของ
สันนิบาตบอลข่านในประเทศตนเอง
98/665

กรีซส่งกองกำลังเข้ารุกมาซิโดเนียและเทรซ ขณะทีบ่ ัลแกเรียก็ส่ง


กำลังเข้าล้อมเมืองปราการสำคัญคือเอเดรียโนเปิลซ้ำยังรุกไล่กองทหารของ
ตุรกีไปจนเกือบถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล ด้านเซอร์เบียก็นำกำลังเข้าตียึด
บริเวณลุ่มแม่น้ำวาร์ดาร์ ได้รับชัยชนะเรื่อยไปจนได้อัลเบเนียตอนเหนือ
กล่าวได้ว่าเวลานั้นสันนิบาตบอลข่านสามารถเข้ายึดดินแดนของตุรกี
ในส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปไว้ได้เกือบหมด
และสงครามครั้งนี้ไม่เพียงแค่ทำให้ตุรกีลำบากเท่านั้น ในยุโรปก็เกิด
ปัญหาตามมา โดยมีจุดปัญหามาจากความเป็นศัตรูกันของออสเตรีย -
ฮังการีกับเซอร์เบีย ซึ่งการที่เซอร์เบียเข้าทำสงครามในครั้งนี้กเ็ พื่อให้ได้
อัลเบเนียเพื่อไว้ใช้เป็นทางออกทะเล แต่เดิมนั้นเซอร์เบียหวังจะยกไปยึด
เอาบอสเนียแต่ปรากฏว่าถูกออสเตรีย-ฮังการีกันท่าและยึดได้ก่อนในปี
1908 และครั้งนีเ้ ช่นกันออสเตรีย-ฮังการีก็พยายามกันท่าไม่ให้เซอร์เบียได้
อัลเบเนียอีก ขณะที่อิตาลี ซึ่งเวลานั้นก็คิดเช่นกันว่าไม่อยากให้เซอร์เบีย
ยิ่งใหญ่จนสามารถมาแข่งขันกับตนเองแถบทะเลเอเดรียติก เพราะอิตาลี
ถือว่าทะเลแห่งนี้เป็นของตนเอง อิตาลีจึงหันไปร่วมมือกับออสเตรียทำ
หนังสือรับรองความเป็นเอกราชของอัลเบเนีย และรุสเซียก็จำต้องยอมให้
เป็นเช่นนั้น ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงมีการ สถาปนาอัลเบเนียของตุรกีเดิมขึ้น
เป็นประเทศเอกราชมีกษัตริย์ปกครอง
เพื่อรักษาสันติภาพเอาไว้ เซอร์เบียจึงจำต้องยอมสละผลประโยชน์
ของ ตนเองไปอีกครั้งหนึ่ง
99/665

สงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ค.ศ. 1913


เมื่อเซอร์เบียถูกออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลีกันท่าในอัลเบเนียแล้ว
แต่ตนเองยังต้องการทางออกทะเลอยู่ ดังนั้นเซอร์เบียจึงหันไปขอส่วนแบ่ง
ในมาซิโดเนียจากบัลแกเรียเพิ่มมากยิ่ง ขึ้น บัลแกเรียก็รีบออกมาปฏิเสธ
โดยมีรุสเซีย หนุนหลังอยู่บัลแกเรียทีอ่ ดีตก็ไม่เคยถูกกับเซอร์เบียอยู่แล้ว
จึงส่งกำลัง ออกไปโจมตีกองทหารของเซอร์เบียกับกรีซทางมาซิโดเนียใน
เดือนมิถุนายน 1913
มอน เตเนโกร โรมาเนีย และตุรกี ก็กระโดดเข้าร่วมรบเป็นฝ่ายของ
เซอร์เบียกับกรีซ การทีต่ ุรกีกระโดดเข้ามาร่วมด้วยก็เพราะตุรกีหวังว่าหาก
เป็นไปได้ตนเองอาจจะ ได้รับดินแดนทางแคว้นเทรซซึ่งก่อนหน้านี้
บัลแกเรียแย่งเอาไปก่อนแล้วคืนได้
สงครามครั้งนี้มีการสู้รบกันอย่างหนัก จนสุดท้ายบัลแกเรียสู้ไม่ไหว
ต้องยอมแพ้และยอมรับเงื่อนไขในสนธิสัญญาบูคาเรสต์ เมื่อเดือน
สิงหาคม 1913 โดย เนื้อหาตามสนธิสัญญานี้มวี ่า บัลแกเรียจะได้รับ
ส่วนแบ่งในดินแดนมาซิโดเนียน้อยลงกว่าทีไ่ ด้ตกลงเอาไว้ เดิมมาก และ
เซอร์เบียก็จะได้ดินแดนทางมาซิโดเนียมากกว่าบัลแกเรียซึ่งก็ทำให้
เซอร์เบียใหญ่โตขึ้นกว่าเดิม แต่กย็ ังไม่มีทางออกทะเลอยูด่ ี ส่วนกรีซก็จะ
ได้รับเมืองสโลนิกาและฝั่งทะเลทางแคว้นเทสสาลี ทั้งบัลแกเรียยังต้องยก
โดบรุดจาตอนใต้ให้แก่โรมาเนีย ส่วนตุรกีจะเหลือดินแดนทางยุโรปเพียง
แค้นด้านตะวันออกของแคว้นเทรซและเมือง เอเดรียโนเปิล
100/665

บรรดาวิกฤตการณ์และสงครามที่เกิดขึ้นมานี้ ล้วนแต่เป็นจุด
ประกายของสงครามใหญ่ทกี่ ำลังจะเกิดขึ้นมาทั้งสิ้น แม้วิกฤตการณ์จะ
ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ว่ากันว่าหลังสิ้นสงครามบอลข่านภัยแห่สงครามได้แผ่น
เข้าครอบงำทวีปยุโรปเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น แม้สงครามการต่อสู้บน
คาบสมุทรบอลข่านจะยุติลงแล้วก็ตามแต่คาบสมุทรแห่งนี้ก็ยังคงอยู่ใน
สภาพยุ่งเหยิง
บัลแกเรียต้องการแก้แค้นเซอร์เบีย ส่วนเซอร์เบียเมื่อได้ดินแดนมา
เพิ่มจนประเทศตนเองใหญ่โตขึ้นเป็นสองเท่าก็ยิ่งกระหายที่จะสร้าง “มหา
อาณาจักรเซอร์เบีย” โดยมองและหวังว่าจะรวมเอาดินแดนซึ่งเป็น
ที่อยู่อาศัยของชาวสลาฟจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี มาไว้เป็นของตน
โดยรุสเซียก็สนับสนุน อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพราะมองว่าตนเองจะได้กลายเป็น
มหาอำนาจในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง อีกทั้งความต้องการที่
จะได้ใช้ช่องแคบดาร์ดาเนลส์กับช่องแคบบอสฟอรัสได้โดยสะดวก ซึ่ง
แผนการนี้ของรุสเซียก็ไปขัดกับแผนของเยอรมนีที่ต้องการสร้างทางรถไฟ
จากเบอร์ลินไปยังแบกแดดและต่อออกไป จนถึงอ่าวเปอร์เซีย ตุรกีนั้น
อนุญาตให้เยอรมนีสร้างได้แต่ส่วนหนึ่งของเส้นทาง นีก้ ็ยัต้องผ่านเซอร์เบี
ยอยู่ดี ดังนั้นเยอรมนีจึงต้องยืนยันแข็งขันไม่ให้ชาวสลาฟรวมตัวกันได้
มาถึงชั่วโมงนี้ประเทศทั้งหมดในยุโรปต่างรู้อยู่แก่ใจทั่วไปแล้วว่า
การแย่งกันแสวงหาผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นไปทั่วนี้จะนำมาซึ่งสงคราม
101/665

ทางออกเดียว ที่ทำได้เวลานั้นก็คือ แต่ละประเทศต้องเตรียมตัวให้ดที ี่สุด


เพื่อว่าเวลาเกิดเรื่อง ขึ้นมาตนเองจะได้สามารถเข้าปฏิบัติการได้ทันทีทันใด
เยอรมนีและฝรั่งเศสเพิ่มกำลังทหารบกของตนเอง ส่วนอังกฤษ
รัฐสภาก็ออกเสียงเพิ่มงบประมาณมหาศาลแก่กองทัพเรือของตนเอง
เยอรมนีและตุรกีตกลงให้นายทหารเยอรมนีเข้าฝึกวิชาทหารให้แก่กองทัพ
ของตุรกี แถมยังมีข้อตกลงอีกว่าเมื่อฝึกเสร็จแล้วก็จะให้ทหารเหล่านั้นอยู่
ใต้การบังคับบัญชาของนายทหารเยอรมนี แม้แต่เบลเยียมก็ยังนำเอา
วิธีการเกณฑ์พลเมืองเข้ามาเป็นทหารแบบเยอรมนีมาใช้ ทั้งนี้กเ็ พื่อเตรียม
ตัวเอาไว้เพราะถึงเวลานั้นเยอรมนีได้สร้างทางรถไฟจนมาประชิดชายแดน
เบลเยียมแล้ว ก็หมายความว่าหากเกิดสงครามขึ้นมาเยอรมนีต้องยกพล
ผ่านเบลเยียมไปยังฝรั่งเศสอย่างแน่นอน
ทั่วภาคพื้นยุโรปทุกคนรู้ดีว่าสงครามใหญ่ใกล้จะปะทุขึ้นทุกที
เหตุแห่งสงคราม
กล่าวกันว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของ
ระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป นำไปสู่การสิ้นสุดของจักรวรรดิ
ออตโตมันเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของ
ประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในหลาย
ประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้น ของสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1939 อีกทั้ง
สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามความขัดแย้งบนฐานการล่าอาณานิคม
ระหว่างมหาอำนาจยุโรปสองค่ายที่เกิด ขึ้นมา
102/665

โดยจุดเริ่มต้นนั้นอยู่ที่ การลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุค ฟรานซ์


เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี โดยกัฟ
รีโล ปรินซิป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด และการ
แก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้
เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิด สงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป
ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วนมากก็อยู่ในสภาวะสงคราม
กระนั้นหากจะว่าไปแล้ว การลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุค ฟรานซ์
เฟอร์ดินานด์ ในครั้งนั้นเป็นเพียงสัญญาณการเริ่มต้นของสงครามเท่านั้น
ทั้งนี้เพราะแท้จริงแล้วในบรรดามหาอำนาจของยุโรปและของโลกในเวลา
นั้นได้ตั้งค่ายและป้อมพร้อมที่จะหันเข้ามาห้ำหั่นกันก่อนหน้าอยู่แล้ว
กล่าวคือย้อนกลับไปในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้าง
จักรวรรดินิยม เยอรมนี เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศตั้ง
จักรวรรดิเยอรมนีแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three Emperor's
League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตร ระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย -
ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรก คือ ป้องกันการแก้แค้น
ของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย - ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้ง
เรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวน
อิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple Alliance (ไตรพันธมิตร) ขึ้น
ครั้นบิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิเยอรมนี (Kaiser Wilhelm
II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้
103/665

อังกฤษด้วยการ เริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลเหนือ
ดินแดนตะวันออก ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซีย
และสร้างความเข้าใจอันดีกับอังกฤษ และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจ
ตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคม ทีเ่ คยมีต่อกันได้แล้ว จึงจัดตั้ง
Triple Entente (พันธมิตร หรือมหาอำนาจไตร ภาคี) ในปี 1907
และทั้งสองฝ่ายต่างก็ตั้งป้อมและหันปากกระบอกปืนเข้าหากัน
พร้อมประกาศความยิ่งใหญ่ของตัวเองอย่างที่ไม่มีใครเกรงหรือกลัวใครกัน
จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1914 เมื่อ อาร์ค ดยุค
ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ [6](Archduke Franz Ferdinand)
มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่
เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ
กัฟริโล ปรินซิป (Gavrilo Princip) รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึง
ตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุน
จากเยอรมนี จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ ออส เตรีย-
ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
104/665

เจ้าหน้าที่รวบตัวกัฟริโล ปรินซิป ภายหลังก่อเหตุบุกยิงมกุฎราชกุมารฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่ง


จักรวรรดิออสเตรีย

รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้ เยอรมนีจึง
ได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง ครั้นสองมหาอำนาจไม่
ปฏิบัติ ตาม เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม
1914 และฝรั่งเศส ในวันที่ 3 สิงหาคม 1914 ตามลำดับ
และเพื่อให้มองเห็นภาพความขัดแย้งก่อนสงครามที่ปะทุขึ้นมาของ
สงครามโลกครั้งที่ 1 เราจำเป็นต้องย้อนกลับไปดูถึงสภาพความตึงเครียด
ของการเมืองระหว่างประเทศในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวกันเสียก่อน
105/665

กล่าวกันว่าในขณะที่ประเทศในยุโรปเวลานั้นต่างเผชิญหน้ากับความ
ตึงเครียดภายในประเทศอยู่แล้ว ความแตกแยกในระดับชาติระหว่าง
ประเทศก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ แม้มคี วามพยายามที่จะให้หรือจัดให้มีการเจรจา
ทางการทูตเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาจนเกิดสนธิสัญญาฉบับต่างๆ
มากมายก็ตามที กระนั้นด้วยวิกฤตการณ์ทางการทูตที่เกิดขึ้นหลายครั้ง
และการแก้ปัญหาในแต่ละครั้งก็ได้แค่เพียงทำให้รอดพ้นจากการทำ
สงครามอย่างหวุดหวิดไปเท่านั้น หากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้นยังส่งผลให้
เกิดการสะสมความระแวงและความแค้น จนในที่สุดก็นำมาสู่การเกิด
วิกฤตการณ์ที่ส่งผลให้ทุกฝ่ายต่างต้องเดินเข้าไปสู่ความพินาศในที่สุด
วิกฤตการณ์ซาราเจโว
สงครามบนคาบสมุทรบอลข่านระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
และเซอร์เบียนั้นถูกพิจารณาว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วยอิทธิพลของ
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้เสื่อมถอยและการเจริญเติบโตของลัทธิรวม
เชื้อชาติสลาฟ และความเจริญขึ้นของลัทธิชาตินิยมภายในประจวบกับการ
เจริญเติบโตของเซอร์เบีย ซึ่งความรู้สึกต่อต้านชาวออสเตรียอาจจะมีความ
รุนแรงมากที่สุด จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้นได้ยึดครองแคว้น
บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินาของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งมีจำนวนประชากรชาว
เซิร์บเป็นจำนวนมากในปี 1878 และจากนั้นก็ได้ถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่ง
ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในปี 1908 ความรู้สึกรักชาติที่เพิ่มมากขึ้น
พร้อมกับทีจ่ ักรวรรดิออตโตมัน รัสเซียนั้นได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อ
106/665

การรวมเชื้อชาติสลาฟ และกระตุ้นโดยมนุษยธรรม และความจงรักภักดี


ต่อศาสนาและการแข่งขันกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 1914 เวลาก่อนเที่ยงเพียงเล็กน้อย
อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ออสเตรีย-
ฮังการี พร้อมด้วยพระชายา ทรงพระนามโซฟี ในขณะที่ทรงประทับบ
รถม้าไปตามท้องถนนแห่งนครซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย อันเป็นการ
เสด็จเยือนแคว้นนั้นอย่างเป็นทางการ ได้มชี ายหนุ่มชาวบอสเนีย ชื่อกัฟริ
โล ปรินซิป ใช้ปืนเป็นอาวุธ แหวกฝูงชนทีก่ ำลังเฝ้าเสด็จ สาดกระสุนสอง
นัดเข้าใส่พระวรกาย สิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์
จำต้องรูก้ ่อนว่า ในสมัยนั้นบอสเนียเป็นแคว้นหนึ่งในจักรวรรดิ
ออสเตรีย-ฮังการี เมื่อเกิดเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ขึ้นมาแล้วในอีก 6
สัปดาห์ต่อมาก็ได้เกิดการรบกันขึ้นกระทั่งขยายพื้นที่ออกเป็นสงครามโลก
ในที่สุด
กัฟริโล ปรินซิป เป็นสมาชิกของสมาคมลับที่ชื่อ แบล็กแฮนด์ อัน
เป็นสาขาของสมาคมลับแพน-เซิร์บ ซึ่งมีความรู้สึกด้านชาตินิยมสูงและ
รุนแรง เกลียดชังชาวออสเตรีย และอยากจะแยกตนเองออกเป็นเอกราช
จากการปกครองของออสเตรีย และรวมชนเผ่าสลาฟเข้าเป็นประเทศ
เดียวกันภายใต้การปกครองของชาวสลาฟเอง
เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาเช่นนั้น รัฐบาลแห่งจักรพรรดิออสเตรีย-
ฮังการี ถือว่ารัฐบาลเซอร์เบียได้ปล่อยปละละเลยให้มีการมั่วสุมสมคบคิด
107/665

กันต่อต้าน รัฐบาลแห่งพระเจ้าจักรพรรดิจนกระทั่งมีผลให้เกิดคดี
ฆาตกรรมขึ้นมา ดังนั้นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย-ฮังการีจึงถือเอาโอกาสนั้น
ในการเข้าไปย่ำยีเซอร์เบีย รวมไปถึงการปราบปรามพวกสลาฟที่คอย
รบกวนอยู่เสมอ พร้อมประกาศว่าเซอร์เบียจะต้องรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิด
ขึ้นมาทั้งหมด
การประกาศออกมาเช่นนั้นของออสเตรีย-ฮังการี ในภาวะที่โลกหรือ
ยุโรป ในเวลานั้นต่างหันปากกระบอกปืนของกลุ่มเข้าหาและเตรียมพร้อม
กันอยู่เสมอ ตกตะลึงและพร้อมที่จะยกอาวุธขึ้นมาประทับบ่าทันที
กล่าว กันว่าจากการสอบสวนและดำเนินคดีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น
สรุปกันว่าแท้จริงแล้วรัฐบาลออสเตรียไม่มีพยานหลักฐานอันใดที่จะพิสูจน์
ให้ เห็นว่า รัฐบาลเซอร์เบียได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการลอบปลงพระชนม์
กระนั้นเคานต์แบคโทลด์ รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรียในเวลานั้น
ก็ได้แสร้งทำเสมือนหนึ่งว่า ออสเตรียมีหลักฐานทีจ่ ะเอาผิดแก่เซอร์เบียและ
เริ่มลงมือตระเตรียมดำเนินแผน การขั้นต่อไปโดยถามเยอรมนีถึงความ
ช่วยเหลือที่เยอรมนีเคยสัญญาว่าจะให้แก่ ออสเตรีย
เยอรมนีตอบว่า ออสเตรียจะปฏิบัตปิ ระการใดต่อเซอร์เบียก็ได้
ตามแต่ปรารถนาและเห็นสมควร และอาจจะนับเอาว่าเยอรมนีสนับสนุน
เพราะเยอรมนีเป็นคู่สัญญาร่วมกัน เมื่อได้รับคำตอบเช่นนีก้ ็ดูเหมือนจะ
เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ออสเตรียอย่างเต็มที่และโดยตรงนั้นเอง
108/665

ดัง นั้นเคานต์แบคโทลด์ จึงได้เชิญชวนให้จักรพรรดิฟรานซิส โจ


เซฟ และเคานต์ติสซา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของฮังการีเห็นว่าถ้า
ออสเตรียไม่รีบจัดการ เรื่องการลอบปลงพระชนม์แล้วออสเตรียก็จะกลาย
เป็นเพียงแค่เหยื่อของศัตรูเท่า นั้น
การดำเนินการของออสเตรียเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะทีป่ ระเทศ
ต่างๆ ทั่วยุโรปกำลังเงียบเสียงและเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจ ก็ปรากฏว่ารุสเซีย
ไม่อาจที่จะนั่งมองและสงวนท่าทีเอาไว้ได้ รุสเซียในเวลานั้นซึ่งก็ติดตาม
การเคลื่อนไหวของ ออสเตรียอย่างไม่ละสายตาก็ได้ออกประกาศเตือน
ออสเตรียว่า รุสเซียจะไม่ยอม นิ่งดูดายให้ออสเตรียรังแกเซอร์เบียได้อย่าง
แน่นอน
เป็นอันว่าเมื่อประกาศนี้ถูกแถลงออกไปแล้ว เหตุการณ์จากที่เป็นแค่
เรื่อง ลอบปลงพระชนม์ก็เริ่มขยายเป็นเรื่องปัญหาทางการเมืองของโลกขึ้น
มาทันใด ออสเตรียนั้นได้เยอรมนีเปิดไฟเขียวให้แล้วแต่กลับต้องมาเผชิญ
กับไฟแดงห้าม จากรุสเซียซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งมหาอำนาจในเวลานั้นด้วย
เช่นกัน
แต่ดูเหมือนออสเตรียกำลังเลือดขึ้นหน้าไปแล้ว ในเวลาต่อมา
ออสเตรีย จึงเดินหน้ายื่นคำขาดต่อเซอร์เบีย โดยมีข้อความสำคัญใน
คำขาดที่ต้องให้ตอบ มาภายในเวลา 48 ชั่วโมง สรุปได้ว่า เซอร์เบียจะ
ต้องยินยอมปราบปรามการพิมพ์ และสมาคมต่างๆ ที่บงการต่อต้าน
ราชวงศ์ทคี่ รองจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และให้กำจัดการอบรมสั่งสอน
109/665

ให้ชิงชังออสเตรียซึ่งดำเนินอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ ให้สิ้นซาก ให้ปลด


บุคคลที่รัฐบาลออสเตรียไม่ปรารถนาออกจาก ตำแหน่งข้าราชการฝ่าย
ทหาร และให้เซอร์เบียยินยอมให้ผู้แทนออสเตรียเข้า ไปทำการปราบปราม
ทำลายล้างขบวนการต่อต้านออสเตรีย รวมทั้งให้จับกุมผู้ร่วมคบคิด กัน
วางแผนเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน
แล้วเวลาก็ดำเนินไป ก่อนทีจ่ ะถึงเส้นตายที่กำหนด เซอร์เบียก็ได้ให้
คำตอบยอมรับเงื่อนไขที่ออสเตรียเสนอมาเกือบทุกข้อ ส่วนที่เหลือจากนั้น
เซอร์เบียก็ขอให้เสนอเรื่องต่อศาลโลก ณ กรุงเฮกเพื่อพิจารณาต่อไป ซึ่ง
คำตอบ ของเซอร์เบียที่ออกมานี้เรียกว่าทำให้ทุกฝ่ายสามารถถอนหายใจ
ได้ระยะหนึ่ง ทีส่ ำคัญมันสร้างความประทับใจให้กับบรรดาประเทศอื่นๆ ที่
เฝ้าคอยจับตามอง อยู่และเริ่มเข้ามาเห็นใจเซอร์เบียมากยิ่งขึ้น
แต่ปรากฏว่าออสเตรียกลับปฏิเสธคำตอบของเซอร์เบียอย่าง
ทันทีทันใด โดยทีท่ ันทีทเี่ อกอัครราชทูตออสเตรียประจำเซอร์เบียได้อ่าน
คำตอบเสร็จสิ้นลงแล้วเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง เขาก็เดินทางออกจากกรุงเบล
เกรดนครหลวงของเซอร์เบียและประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับ
เซอร์เบียทันที
เรียก ว่าประเทศต่างๆ ต้องตกใจกับปฏิกิริยาของออสเตรียขึ้นมาอีก
ครั้งหนึ่ง ทั้งทีค่ ิดว่าเรื่องนี้จะสามารถจบลงได้อย่างง่ายดายกลับกลายเป็น
ไม่เข้าใจ และมึนงงต่อท่าทีที่เกิดขึ้นมาครั้งใหม่ของออสเตรีย กล่าวกันว่า
บรรดานานาชาติทั้งหลายที่เกี่ยวข้องและจับตามองอยูต่ ่างตกใจเป็น การ
110/665

ใหญ่ เพราะต่างฝ่ายต่างคิดเหมือนกันว่า ไม่มใี ครอยากให้เกิดสงครามที่


หลายๆ ประเทศสำคัญต้องหันมาทำการรบกันเป็นการใหญ่ขึ้นมาแน่
ดังนั้นบรรดาประเทศเหล่านี้จึงไม่อาจนิ่งดูดายได้ ต่างพากันยื่นข้อเสนอ
เพื่อปัดเป่าสงครามอันอาจจะเกิดขึ้นมาได้นี้
โดยลอร์ดเกรย ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษในเวลานั้น ได้
เร่งเร้าให้มีการเปิดประชุมในระดับเอกอัครราชทูตของประเทศที่เกี่ยวข้อง
ขึ้นในวันที่28 กรกฎาคม แต่ปรากฏว่าเยอรมนีซึ่งเวลานั้นอยากจะเห็น
เซอร์เบียถูกลงโทษ ได้ขอให้ประเทศต่างๆ ใช้ความพยายามจำกัดเขต
สงครามโดยจะให้รบกันเพียง ออสเตรียและเซอร์เบียเท่านั้น ทางออกนี้
ดูเหมือนจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเช่นกัน กระนั้นรุสเซียกลับมองตรงข้าม
กัน กล่าวคือรุสเซียมองว่าถ้าทำเช่นนั้นก็มคี ่าเท่ากับพวกที่เกี่ยวข้องได้แต่
พา กันตีวงนั่งดูออสเตรียเข้าบดขยีเ้ ซอร์เบียเล่นอย่างสนุกเท่านั้นเอง
ดังนั้นการเจรจาระหว่างประเทศจึงไม่อาจนำมาใช้แก้ปัญหาในครั้งนั้นได้
และแล้วในวันที่ 28 กรกฎาคม 1914 ออสเตรียก็ประกาศสงคราม
กับเซอร์เบีย
เมื่อออสเตรียกระหายสงครามเช่นนั้น รุสเซีย ก็มิอาจนิ่งนอนใจได้
ในวันรุ่งขึ้นรุสเซียก็ได้ประกาศระดมพลของตัวเองทันทีทันใดเช่นกัน
สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นมา พร้อมกับที่ทางเยอรมนีเองก็ดูเหมือนจะ
เริ่มมองเห็นและเข้าใจถึงความสูญเสียที่กำลังจะเกิดขึ้นกับตัวเอง
โดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ทมี่ อี ยู่ในภูมิภาค ดังนั้นในเวลานั้นเองพระเจ้า
111/665

ไกเซอร์ของเยอรมนีก็ได้ตรัสสั่งให้อัครมหาเสนาบดีของพระองค์ส่งวิทยุ
ด่วนไปยังกรุงเวียนนา เพื่อพยายามยับยั้งออสเตรีย พร้อมกันก็ได้ต่อสาย
ตรงไปขอร้องพระเจ้า ซาร์แห่งรุสเซียให้ช่วยพยายามธำรงสันติภาพเอาไว้
ให้ได้ก่อน
แต่ปรากฏว่า ความพยายามนั้นสายเกินแก้ไปเสียแล้ว ทั้งนี้เพราะ
รุสเซีย โดยพระเจ้าซาร์ได้สั่งหยุดการระดมพลตามคำขอด่วนของพระเจ้า
ไกเซอร์กจ็ ริง แต่เป็นการระงับเอาไว้เพียงวันเดียว ทั้งนี้เพราะบรรดาคณะ
รัฐมนตรีของพระ องค์ต่างมองเห็นว่า หากรุสเซียมัวแต่ชักช้าอยูอ่ าจจะส่ง
ผลให้รุสเซียต้องเสียหายอย่างมหาศาลในเวลาต่อมาดังนั้นรัสเซียจึงเดิน
หน้าระดมพลต่อไป ---
5

สงครามปะทุ
แท้จริงนับได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อ
ออสเตรีย-ฮังการีประกาศสงครามกับเซอร์เบียเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม
1914 นั่นเอง
ซึ่งเมื่อออสเตรีย-ฮังการียกทัพเพื่อเข้าโจมตีเซอร์เบียแล้ว ในวัน
ต่อมา รุสเซียก็ได้สั่งระดมพลเป็นบางส่วน มุ่งตรงมายังชายแดนของ
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี กลายเป็นการขยายวงการสงครามออกมาอีก
ชั้นหนึ่ง แทนที่จะเป็นเพียงสงครามระหว่าออสเตรีย-ฮังการี กับเซอร์เบีย
ก็เริ่มกลายเป็นออสเตรีย-ฮังการี ต้องมารบกับรุสเซียอีกฝ่ายหนึ่ง และเมื่อ
ยับยั้งเหตุการณ์เอาไว้ไม่ได้แล้ว เยอรมนีก็เลยต้องประกาศว่า การระดม
พลของรุสเซียในครั้งนี้ก็ย่อมหมายความ ว่ารัสเซียต้องการทำสงครามกับ
เยอรมนีเช่นกัน ทั้งนี้เพราะเยอรมนีมีพันธะตามข้อสัญญาอยูก่ ับ
ออสเตรีย-ฮังการีเดิมอยู่แล้ว
113/665

ดังนั้นในวันที่ 1 สิงหาคม 1914 นั้นเองเยอรมนีก็ได้หันไปถาม


ฝรั่งเศสซึ่งเวลานั้นก็ดูเหมือนจะเตรียมตัวและเยอรมนีก็รู้ดีว่าฝรั่งเศสใน
เวลานั้นมีความ สัมพันธ์และเป็นกลุ่มเดียวกับรุสเซียอยู่ โดยถามกับ
ฝรั่งเศสว่าฝรั่งเศสจะมีข้อเสนออะไรต่อสงครามที่เกิดขึ้นมาครั้งนี้บ้าง
ฝรั่งเศสจึงประกาศอย่างท้าทายขึ้นมาทันใดว่า ฝรั่งเศสจะดำเนินการ
ตามทีฝ่ รั่งเศสเห็นสมควร นั่นก็คือ การสั่งระดมพลเพื่อเตรียมช่วยเหลือ
รุสเซีย
เมื่อเป็นเช่นนั้น เยอรมนีจึงไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปโดยการ
ประกาศ ทันทีว่าจะทำสงครามกับฝรั่งเศส โดยประกาศในวันที่ 3
สิงหาคม นั้นเอง
อันที่จริงแล้วแม้จะประกาศสงครามในวันที่ 3 ก็ตาม แต่เยอรมนีที่
ไม่ปล่อยเวลาให้ทันตั้งตัวได้ รีบยกพลเพื่อไปโจมตีฝรั่งเศสนับแต่วันก่อน
หน้านั้นแล้ว 1 วัน ทั้งนี้กเ็ พื่อให้ฝ่ายตนเองได้เปรียบมากที่สุด เยอรมนี
ทำลายกำแพงแห่งปัญหาลงอีกชั้นโดยการยกพลในวันที่ 2 สิงหาคมเข้าไป
ยึดครองประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งประกาศวางตัวเป็นกลางมาแต่แรก โดย
ไม่สนใจคำคัดค้านของผู้ครองเจ้านครเล็กๆ แห่งนี้ ไม่เพียงเท่านั้นแม้แต่
อีกประเทศหนึ่งทีป่ ระกาศเป็นกลาง นั้นคือเบลเยียม เยอรมนีก็รุกเข้าไป
หวังครอบครองในวันที่ 2 ด้วยเช่นกัน เยอรมนีได้ยื่นคำขาด โดยให้
เบลเยียมตอบภายใน 12 ชั่วโมง คือระหว่างหนึ่งทุ่มถึงหนึ่งโมงเช้าของ
114/665

วันรุ่งขึ้น ว่าเบลเยียมจะยอมอนุญาตให้เยอรมนีเดินทัพผ่านเพื่อไปโจมตี
ฝรั่งเศสได้หรือไม่
ในข้อเสนอและคำขาดทีว่ ่านั้นมีเงื่อนไขว่า ถ้าเบลเยียมยินยอม
รัฐบาลเยอรมนีจะให้สัญญาว่าจะเคารพในเขตแดนและประชาชนชาวเบลเยี
ยม แต่ถ้าปฏิเสธ เยอรมนีก็จะกระทำต่อเบลเยียมเยี่ยงศัตรู
และแล้วคำตอบของเบลเยียมก็ได้รับคำชื่นชม โดยในครั้งนั้นคำตอบ
ของเบลเยียมมีอย่างเด็ดเดี่ยวและเชื่อมั่นว่า ความเป็นกลางของเบลเยียม
นั้นมีมหาอำนาจทั้งหลายรวมทั้งเยอรมนีด้วยเป็นผู้ค้ำประกัน ดังนั้นเบลเยี
ยมไม่ยินยอมให้ผู้ใดละเมิดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะด้วยประการใดๆ ก็ตาม
ย้อนกลับมามองทางมหาอำนาจอย่างจักรวรรดิบริเทนใหญ่หรือ
อังกฤษ กันบ้าง เมื่อสงครามปะทุแล้ว ในวันที่ 1 สิงหาคม
เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำ กรุงลอนดอนได้เข้าสอบถามกับรัฐบาล
อังกฤษว่า จะวางตัวเป็นกลางในสงคราม ครั้งนีห้ รือไม่ แถมมีเงื่อนไข
ต่อมาอีกว่าหากอังกฤษประกาศเป็นกลางเยอรมนีก็จะยอมรับความเป็น
กลางของเบลเยียมด้วย
แต่ข้อเสนอนี้ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นถึงการแผ่บารมีของเยอรมนีที่
อังกฤษหวาดระแวงอยู่แล้วมากเกินไป ดังนั้นไม่เพียงแต่ปฏิเสธข้อเสนอ
นั้นเท่านั้น ในวันที่ 2 สิงหาคม อังกฤษยังได้ส่งสารถึงฝรั่งเศสโดยบอก
และยืนยันว่ากองทัพเรือของอังกฤษจะเข้า ช่วยเหลือและป้องกันฝรั่งเศส
115/665

อย่างเต็มที่ถ้าหากว่าเรือรบของเยอรมนียกเข้ามา ทางช่องแคบของอังกฤษ
หรือมาทางทะเล เหนือ
แล้วอีกสองวันรัฐบาลอังกฤษก็ได้ยื่นคำขาดถึงเยอรมนีในกรณีที่
เยอรมนี กำลังจะรุกเข้าเบลเยียม โดยที่อัครมหาเสนาบดีของเยอรมนีก็ได้
ตอบกลับมาว่าเยอรมนีจำเป็นทีจ่ ะต้องเดินทัพผ่านเบลเยียม ทั้งได้แจ้งผ่าน
อัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเบอร์ลินอีกว่า อังกฤษไม่ควรเข้าร่วมสงคราม
เพียงเพราะ “เศษกระดาษชิ้นนิดเดียว”

ทหารราบเยอรมันภายในกรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 1

ซึ่งนั้นหมายถึงสัญญาค้ำประกันความเป็นกลางที่ได้เคยทำขึ้นมา
ก่อนหน้านี้นั่นเอง การกล่าวอย่างดูหมิ่นต่อสัญญาทีไ่ ด้ทำขึ้นมาเช่นนีข้ อง
116/665

เยอรมนีทำให้อังกฤษไม่อาจทีจ่ ะนิ่งนอนใจได้ ทั้งนี้เพราะการไม่สนใจและ


ยอมรับในสัญญาที่ตัวเองได้ทำขึ้นเองเช่นนั้นแสดงให้เห็นถึงการไร้
คุณธรรมและไม่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม ภาพของเยอรมนีจึงเสื่อม
ลงในสายตาของชาวอังกฤษและประชาคมโลกบางส่วน
ประชาชนชาวอังกฤษไม่พอใจการกระทำของเยอรมนี และให้การ
สนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มทีใ่ ห้กระโดดเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ ดังนั้นใน
วันที่ 4 สิงหาคม รัฐบาลอังกฤษจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีขึ้นมา
อีกประเทศหนึ่ง
เรียก ว่าเมื่ออังกฤษประกาศเข้าร่วมในสงครามครั้งนีแ้ ล้ว ก็นับได้
ทันทีว่าบรรดาประเทศมหาอำนาจของโลกเวลานั้นได้เข้าตะลุมบอนกันใน
สงครามกันเกือบครบแล้ว บรรดาประเทศเล็กประเทศน้อยที่คอย
จับตามองอยู่อย่างหวาดระแวงจำเป็นที่จะต้อง เริ่มหันเข้าไปจับมือกับ
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่ออย่างน้อยก็จะได้มีแนวร่วมใน การป้องกันและ
ส่งเสริมซึ่งกันและกัน
มอนเตเนโกร ประเทศเล็กๆ อีกประเทศหนึ่งก็ได้ประกาศทำสงคราม
กับออสเตรีย-ฮังการีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม เป็นประเทศต่อมา
สงครามกำลังลุกลามอย่างต่อเนื่อง ญี่ปุ่นซึ่งนับเป็นพันธมิตรกับ
อังกฤษ ตามสนธิสัญญาที่เคยลงร่วมกันเอาไว้ ก็ไม่อาจนิ่งเฉยมอง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานี้ได้เช่นกัน แม้จะอยูห่ ่างไกลออกไปก็ตามที กระนั้น
117/665

ในเดือนพฤศจิกายน ต่อมาก็ได้ประกาศเข้าร่วมสงครามกับอังกฤษรบกับ
เยอรมนีด้วย
ความวุ่นวายที่กำลังดำเนินไปนี้ยังไม่มที ีท่าสิ้นสุดเมื่อจู่ๆ ตุรกีหรือ
จักรวรรดิออตโตมัน ก็ประกาศเข้าร่วมกับเยอรมนีเข้าทำสงครามอีก
ประเทศหนึ่ง
กลายเป็นว่าถึงเวลานี้ กลุ่มของเยอรมนี ก็มี เยอรมนี ออสเตรีย-
ฮังการี และตุรกี เรียกกันว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง ขณะทีฝ่ ่ายอังกฤษ
ฝรั่งเศส และรุสเซีย จะเรียกว่าฝ่ายสัมพันธมิตร
เพียงชั่วระยะเวลาเพียง 3 เดือน สงครามครั้งนั้นที่มีฝ่ายมหาอำนาจ
กลาง คือเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกี ต้องเข้าทำสงคราม
เผชิญหน้ากับฝ่ายสัมพันธมิตรที่มเี ซอร์เบีย รุสเซีย ฝรั่งเศส เบลเยียม
อังกฤษ มอนเตเนโกร และญี่ปุ่น
ซึ่งเวลานั้นอิตาลี แม้จะมีข้อผูกมัดและสัญญากับกลุ่มมหาอำนาจ
กลาง อยู่ก็ตาม แต่เมื่อเห็นว่ามหาอำนาจกลางมีตุรกีเข้าร่วมจึงประกาศขอ
วางตัวเป็น กลางเอาไว้ก่อน โดยอ้างว่า ในข้อสัญญานั้นมีว่าอิตาลีจะเข้า
ร่วมหรือช่วยคู่สัญญาต่อเมื่อประเทศคู่สัญญาถูกรุกเข้ามาโจมตีต่างหาก
เท่านั้น แต่กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องทีป่ ระเทศภาคีรุกเข้าไปโจมตีประเทศอื่น
อิตาลีจึงเป็นอิสระอยู่ภายนอกเงื่อนไขของสัญญานั้น
มาถึงเวลานีถ้ ือกันว่า ประเด็นแท้จริงของสงครามก็ได้แสดงตัวออก
มาให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วนั่นเอง กล่าวคือหลังสามเดือนเมื่อประเทศต่างๆ
118/665

กระโดดเข้ามาร่วมในสงครามแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เป็นจุดกำเนิดหรือ


เริ่มต้นระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบีย ก็ค่อยๆ กลายเป็นเรื่องรองที่
ถูกสนใจ การแข่งขัน กันเป็นปฏิปักษ์ของกลุ่มมหาอำนาจต่างหากที่แสดง
ตัวให้เห็นอย่างชัดเจนหลังจากจุดชนวนขึ้นมา ซึ่งมองกันว่าการทีเ่ ยอรมนี
รีบยกทัพบุกเบลเยียมเพื่อเข้าโจมตีฝรั่งเศส และอังกฤษต่างหากที่ถือเป็น
การรับผิดชอบที่สัมพันธมิตรจะต้องร่วมกันเข้าปราบปรามเยอรมนีที่ก่อ
สงครามแท้จริง ขณะที่ฝ่ายเยอรมนี หรือมหาอำนาจกลางนั้นกลับมองว่า
การรุกของเยอรมนีและมิตรประเทศในครั้งนั้น เป็นการรบกับฝ่ายศัตรูที่มี
เป้าหมายเพื่อทำลายล้างเยอรมนีนั่นเอง ---
6

สงครามโลก 1
สงคราม ค.ศ. 1914-1915
หลังจากทีก่ ระสุนนัดแรกดังขึ้นมาแล้ว แผนการการสงครามก็ถูก
นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
แนวรบด้านตะวันตก
ในแนวรบด้านตะวันตกนี้ หมายถึงการรุกเพื่อเข้าไปโจมตีฝรั่งเศส
ของเยอรมนี
กล่าวกันว่าแผนสงครามดั้งเดิมของเยอรมนีนั้นมีความมุ่งหมายที่จะ
ทุ่มเทกำลังทหารเข้าสู่ฝรั่งเศส และจะโจมตีฝรั่งเศสให้ชนะโดยเร็วที่สุด
คือไม่เกินสองหรือสามสัปดาห์ ซึ่งการที่จะให้สำเร็จดังนี้ จะต้องดำเนินไป
ตามแผนที่ชื่อว่า ชลีฟเฟน
120/665

นั่นคือ ต้องทุ่มเทกองทัพจำนวนมากเข้าสู่ฝรั่งเศสโดยผ่านทางเบลเยี
ยม เพราะเป็นทางตัดตรง แล้วจะตีโอบเป็นวงล้อมกองทหารฝรั่งเศสซึ่ง
เยอรมนีคาดเอาไว้ว่าจะมาตั้งรับอยู่ทางอัลซาซ
แผน การชลีฟเฟนนี้เป็นแผนที่ ชลีฟเฟน ซึ่งเป็นประธานคณะ
นายทหาร ฝ่ายเสนาธิการของเยอรมนีเป็นผู้คิดขึ้น และถือกันว่าเป็นแผน
ยุทธศาสตร์ชิ้นเยี่ยม แต่ปรากฏว่า มอลต์เก ซึ่งได้เข้ามารับตำแหน่ง
ประธานคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการแทนชลีฟเฟนได้ปรับ ปรุงแผนนี้
เสียจนกระทั่งแผนไม่ได้ให้ผลอย่างที่คาดเอาไว้แต่ต้นเลย
ทั้งนี้เพราะมอลต์เก ได้ทำให้ปีกขวาของกองทัพใหญ่อ่อนกำลังลง
ทำให้ขาดกำลังที่จำเป็นในการจะตีเข้าโอบล้อมทหารฝiรั่งเศส
แต่เดิม แผนการชลีฟเฟนได้มเี ป้าหมายเพื่อให้ปีกขวาของกองทัพ
เยอรมนีโจมตีเข้าสู่ทางตะวันตกของกรุงปารีส อย่างไรก็ตาม ด้วยความ
เชื่องช้าและความไร้ประสิทธิภาพของพาหนะม้าลากขัดขวางรถไฟขนเสบียง
ของเยอรมนี ทำให้กองทัพพันธมิตรสามารถหยุดยั้งการรุกของเยอรมนีได้
ที่ ยุทธภูมิแม่น้ำมาร์นครั้งที่ 1 (5-12 กันยายน)
ฝ่ายฝรั่งเศสนั้นแม้ว่าจะเพลี่ยงพล้ำไปในสัปดาห์แรกๆ เพราะถูก
โจมตีโดยไม่ทันได้ตั้งตัว กระนั้นภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลยอฟร์
กองทัพก็สามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว กองทัพบกของฝรั่งเศส
สามารถต้านทาน การรุกของเยอรมนีได้อย่างกล้าหาญ
121/665

กล่าวว่า การรบอย่างเด็ดขาดเกินขึ้นครั้งแรกที่แม่น้ำมาร์น ซึ่งเกิดขึ้น


ในเดือนกันยายน ประมาณวันที่ 5-12 โดยที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้ารบกันอย่าง
ดุเดือด และเมื่อเยอรมนีไม่สามารถยึดกรุงปารีสเอาไว้ได้การรบของทั้งสอง
ฝ่ายจึงต้องหยุดลง โดยที่เยอรมนีได้ถอยกำลังไปตั้งมั่นที่แวร์ดัง ที่นี่เองว่า
กันว่า เยอรมนี สามารถสังหารทหารพันธมิตรได้มากกว่า 230,000 คน
แม้ฝ่ายสัมพันธมิตรจะพยายามขับไล่แต่ก็ไม่สำเร็จ แถมเยอรมนีก็ยังได้
พยายามเข้ายึดเมืองท่าต่างๆ ทางบริเวณช่องแคบ ทั้งนี้กเ็ พื่อที่จะขับไล่
อังกฤษให้พ้นจากแผ่นดินทวีปออกไปแต่ก็ยังไร้ผล
กระทั่งสิ้นปี 1914 แนวรบด้านตะวันตกนี้ยังอยู่คงที่ แม้จะมีความ
เปลี่ยน แปลงบ้างก็เป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เหตุการณ์คงที่อยูเ่ ช่นนั้นถึงสาม
ปี
สงครามในแนวรบด้านตะวันตกนี้กลายเป็นสงครามที่คู่ปฏิปักษ์ทั้ง
สองฝ่ายต่างใช้สนามเพลาะเป็นที่มั่นกำบังตน แล้วหาทางสังหาร
ฝ่ายตรงข้าม จนกว่าจะล้มตายไปตามๆ กัน หรือจนกว่าจะหมดกำลัง
ยอมแพ้กันไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แนวรบด้านตะวันตกมีความยาวจากทะเลเหนือลงมาทางใต้ถึงสวิส
คือยาวทอดตามแนวเส้นกั้นเขตแดนฝรั่งเศสและเยอรมนี เว้นไว้เสียแต่
ดินแดนในฝรั่งเศสและเบลเยียมที่อยู่ในความยึดครองของเยอรมนี
เยอรมนียึดครองเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ และได้เข้ายึดครองดินแดน
122/665

ของฝรั่งเศสอีก 21,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในดินแดนส่วนนี้เป็นแหล่งแร่


และถ่านหินที่สำคัญ

ทหารฝรั่งเศสทในสมรภูมิที่แม่น้ำมาร์น

การรบที่แม่น้ำมาร์นได้ยุติปัญหาทางแนวรบด้านตะวันตกเป็นระยะ
เวลา ถึงสามปี ในที่สุดได้ทำให้เยอรมันต้องพ่ายแพ้ในสงคราม ความหวัง
ทีเ่ ยอรมนีเคยยึดมั่นเอาไว้ว่าจะมีชัยชนะอย่างรวดเร็ว และสุดท้ายมีเวลา
ทำให้สัมพันธมิตร สามารถหาทางเอาชนะเยอรมนีได้ในที่สุด
แนวรบด้านตะวันออก
เมื่อรุสเซียเคลื่อนทัพมาเป็นสองทางคือรุกไปทางทิศเหนือและ
ตะวันตกจากโปแลนด์เพื่อเข้าโจมตีปรัสเซียตะวันออกทางหนึ่ง
123/665

และอีกทัพหนึ่ง ก็ยกลงไปทางใต้เพื่อเข้าโจมตีออสเตรีย-ฮังการี
การเข้าโจมตีปรัสเซียตะวันออก กองทัพของรัสเซียต้องเข้า
ประจัญบาน กับกองทัพของเยอรมนีที่มอี าวุธที่ดีกว่าและทันสมัยกว่า อีก
ทั้งยังมีแม่ทัพที่ดกี ว่า นั่นคือมีนายพลฟอน ฮินเดนเบิร์ก และนายพลลู
เดนเดอร์ฟ เป็นผู้นำทัพของเยอรมนี
การรบที่เทนเนนเบิร์ก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25-30 สิงหาคม กับการรบที่
ทะเลสาบมาซูเรียน ในวันที่ 4-10 กันยายน ทั้งสองครั้งนีท้ ำให้กองทัพ
รัสเซีย ถูกกองทัพเยอรมนีเข้าตีแตกพ่ายอย่างไม่เป็นท่า จนดูเหมือนว่าจะ
ไม่สามารถจะกลับมารวมตัวกลับมาโจมตีใหม่ได้อีกต่อไป
ขณะทีท่ างด้านออสเตรียนั้น กลับปรากฏว่ารุสเซียมีชัยชนะติดต่อกัน
ได้หลายครั้ง โดยได้เข้ายึดครองภาคตะวันออกของกาลิเซียส่วนใหญ่ไว้ได้
และทำลายทั้งผู้คนและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ลงอย่างมหาศาล
ทำให้ฝ่ายเยอรมนีมองว่าจำเป็นที่จะต้องช่วยบรรเทาเหตุแห่งการ
โจมตี ของรัสเซียที่มีต่อออสเตรียลงได้บ้าง จึงได้วางปฏิบัติการตอบโต้
โปแลนด์
กองทัพรุสเซียวางแผนที่จะโจมตีหลายทิศทางโดยพุ่งเป้าหมายไปยัง
แคว้นกาลิเซียของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและปรัสเซียตะวันออกของ
เยอรมนี ถึงแม้ว่าการรุกเข้าไปยังแคว้นกาลิเซียจะประสบความสำเร็จอย่าง
งดงาม แต่ด้านปรัสเซียตะวันออกนั้นกลับถูกตีโต้ออกมาหลังความพ่ายแพ้
ทีย่ ุทธการเทนเนนเบิร์กและยุทธการทะเลสาบมาซูเรี่ยนครั้งที่ 1 ระหว่าง
124/665

เดือนสิงหาคมกับ เดือนกันยายนของปี 1914 เนื่องจากว่าพื้นฐานทาง


อุตสาหกรรมทีไ่ ม่มั่นคงของ รัสเซียและการนำกองทัพที่ไม่มปี ระสิทธิภาพ
กำลังจะนำไปสูค่ วามพ่ายแพ้ของรุสเซียในไม่ช้านี้ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี
1915 กองทัพรัสเซียได้ถอยทัพถึงแคว้นกาลิเซีย และเดือนพฤษภาคม
กองทัพฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ตีแนวรบรุสเซียด้านทางทิศใต้ในโปแลนด์
ได้อย่างน่าประหลาดใจ วันที่ 5 สิงหาคมกรุงวอร์ซอแตกและกองทัพ
รุสเซียล่าทัพออกจากโปแลนด์อีก เหตุการณ์นี้รู้จักกันในนาม “การล่าถอย
ครั้งใหญ่” ของรุสเซีย และ “การรุกครั้งใหญ่” ของเยอรมนี
สรุปได้ว่า ทางด้านแนวรบด้านตะวันออก แม้จะไม่มกี าร
เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าแนวรบด้านตะวันตก แต่เมื่อสิ้นปี 1914 ก็นับได้
ว่าทั้งสองฝ่ายสามารถยันกันเอาไว้อยู่และไม่มีอะไรคืบหน้า ในปี 1915
เยอรมนี ได้ทำการรุกทางแนวรบด้านตะวันออก โดยโจมตีลึกเข้าไปใน
โปแลนด์ และเข้ายึดกรุงวอร์ซอและเมืองวิลนาได้ รัสเซียเสียทหารและ
ล้มตายไปในสงครามด้านแนวรบ ตะวันออกนี้ร่วม 1 ล้านคน
และนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา รุสเซียก็ไม่ใช่ศัตรูที่น่ากลัวอีกต่อไปต่อ
มหาอำนาจกลาง แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะพ่ายแพ้เสียทีเดียว หากแต่ยังมี
สถานะเป็น คู่สงครามอยู่ และรุสเซียยังได้พยายามอีกครั้งในปี 1916 โดย
การโจมตีครั้งใหญ่ แต่ก็ทำให้ทหารรุสเซียต้องตายลงอีกจำนวนมากเช่น
เดิม
แนวรบด้านบอลข่าน
125/665

เมื่อฝ่ายออสเตรียยังคงยืนกรานที่จะปราบปรามเซอร์เบียตามคำขาด
ทีไ่ ด้ประกาศเอาไว้ กระนั้นออสเตรียก็ไม่มีกำลังทหารมากพอที่จะเอาชนะ
เซอร์เบียได้ ที่สำคัญการที่เซอร์เบียสามารถต้านทานอำนาจของออสเตรีย
ได้ก็ยิ่งทำให้ออสเตรียแปลกใจและไม่คาดฝัน
กองทัพเซอร์เบียได้ต่อสู้กับกองทัพออสเตรีย-ฮังการีผู้รุกรานระหว่าง
ยุทธภูมเิ ซอร์ ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ได้เข้ายึดตำแหน่งที่มั่นทาง
ตอนใต้ของแม่น้ำดรินาและแม่น้ำซาวา อีกสองสัปดาห์ถัดมา กองทัพ
ออสเตรีย-ฮังการีถูกโจมตีโต้กลับอย่างหนักประสบความเสียหายรุนแรง
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของชัยชนะครั้งแรกของฝ่ายพันธมิตรและทำลายความ
หวังของกองทัพออสเตรีย-ฮังการีไปสิ้น ซึ่งทำให้กองทัพออสเตรีย-ฮังการี
จำเป็นต้องรักษากองกำลังขนาดใหญ่ไว้ทางแนวรบเซอร์เบีย ซึ่งทำให้ความ
พยายามต่อต้านรุสเซียอ่อนแอลง กองทัพเซอร์เบียยังได้ชัยชนะเหนือ
กองทัพออสเตรีย-ฮังการีอีกครั้งในยุทธภูมิคาลูบารา
ออสเตรียได้ยกทัพเข้าไปโจมตีเซอร์เบียถึง 3 ครั้งในปี 1914 แต่
ปรากฏ ว่าไม่เคยประสบความสำเร็จ แต่เมื่อตุรกีกระโดดเข้าร่วมสงคราม
โดยจับมือกับกลุ่มมหาอำนาจกลาง ทำให้สถานะของเซอร์เบียต้องลำบาก
มากยิ่งขึ้น ในปี 1915 เซอร์เบีย อัลเบเนีย มอนเตเนโกร ทั้งหมดก็ถูก
ยึดครอง
กล่าวกันว่าการยึดครองเซอร์เบียได้สำเร็จนั้นเพราะบัลแกเรียอีกชาติ
หนึ่งที่ได้เข้าร่วมรบกับฝ่ายมหาอำนาจกลางในเดือนตุลาคม 1915
126/665

เป็นอันว่าแนวรบด้านนี้มหาอำนาจกลางสามารถเข้าไปยึดอำนาจได้
สำเร็จ
ในระหว่างเวลานั้นเอง อังกฤษก็ได้เริ่มรณรงค์ทางทะเลอย่าง
กว้างขวาง ทั้งนีก้ ็เพื่อที่จะสามารถเข้าไปทำลายบรรดาป้อมปราการต่างๆ
ของตุรกีที่เฝ้าป้องกันทางช่องแคบดาร์ดาแนลอันเป็นประตูทางเข้าสู่ทะเลดำ
แต่ก็ไม่อาจทำอะไรได้มาก ดังนั้นจึงกลายเป็นว่าตุรกีสามารถตัดกำลังและ
ช่องทางที่จะส่งเสบียงเข้าสู่รุสเซียได้อีกทางหนึ่งด้วย
ในปี 1915 นั้นเอง อิตาลีก็ประกาศเข้าร่วมสงครามกับกลุ่ม
สัมพันธมิตร แต่ก็ไม่ถือว่าการทีอ่ ิตาลีเข้าร่วมจะสามารถช่วยเหลืออะไรได้
มากทั้งนี้เพราะอิตาลีไม่ได้มีบทบาททางกำลังทหารและอาวุธอะไรมากนัก
สงครามทางทะเล
สงครามทางทะเลในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 แน่นอนว่าจะต้องเกิด
ขึ้นระหว่างอังกฤษกับเยอรมนี ที่เป็นเจ้าแห่งท้องทะเลอย่างแน่นอน
127/665

Emden เรือลาดตระเวนของฝ่ายเยอรมัน

กระนั้น ด้วยความทันสมัยและมีความเชี่ยวชาญในการทำสงคราม
ทางทะเลของอังกฤษทีม่ ีอย่าง ต่อเนื่องและยาวนานจนกระทั่งกลายเป็นเจ้า
แห่งราชนาวีทำให้อังกฤษได้เปรียบใน การทำการสงครามทางทะเลในการ
รบครั้งนี้เป็นอย่างมาก
128/665

กล่าวคืออังกฤษสามารถกักเขตฝั่งทะเลของเยอรมนี แล้วเริ่มทำการ
กวาดล้างเรือแพนาวาของเยอรมนีให้หมดไปจากท้องทะเลหลวง ซึ่งจะ
สามารถ ตัดการคมนาคมขนส่งซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำได้อย่างอิสระระหว่าง
เยอรมนีและโลกภายนอก ต่อจากนั้นอังกฤษก็เข้ายึดอาณานิคมของ
เยอรมนีทางแอฟริกา และเข้ายึดเส้นทางการคมนาคมทางทะเลเมดิเตอร์เร
เนียนระหว่างสัมพันธมิตร ตะวันตกทางคาบสมุทรบอลข่านเอาไว้ได้
ชัยชนะเช่นนี้ทำให้เยอรมนีจำเป็นต้องหายุทธวิธีเพื่อเอาชนะให้ได้
สุดท้ายจึงตัดสินใจรณรงค์ด้วยเรือดำน้ำแทน
กล่าวคือเมื่อเยอรมนีถูกกองทัพเรือของอังกฤษอุดช่องทางมิให้
กองทัพเรือของเยอรมนีออกมาได้ เยอรมนีกห็ ันมาใช้อาวุธแบบใหม่ใน
สมัย นั่นคือ เรือรบใต้น้ำ
ในตอนต้นปี 1915 เยอรมนีได้ประกาศให้น่านน้ำต่างๆ รอบเกาะ
อังกฤษ เป็น เขตสงคราม และประกาศเจตจำนงของเยอรมนีที่จะจมเรือ
สินค้าทุกลำที่ขนอาหารหรือยุทโธปกรณ์เข้ามาในเขตน่านน้ำดังกล่าว ไม่
เว้นแม้แต่เรือของชาติ ที่เป็นกลาง
การจมเรือลูซิเตเนียในเดือนพฤษภาคม 1915 พร้อมด้วยชีวิตของ
คนในเรือร่วม 1,200 คน ซึ่งในจำนวนนี้มชี าวอเมริกันรวมอยูด่ ้วยกว่า
100 คนส่งผลให้ชาวอเมริกันเกิดความรู้สึกอกสั่นขวัญแขวน และส่งผลให้
เกิดการเจรจา ทางการทูตกันขึ้นมา
129/665

กระนั้นก็ยังมีการโจมตีเรือสินค้าอื่นๆ อีกและมีชาวอเมริกันเสียชีวิต
เพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการโจมตีเรือกลไฟฝรั่งเศสชื่อซัสเซคส์
ทีท่ ำให้ชาวเมริกาเสียชีวิตอีกหลายคน ซึ่งการโจมตีเช่นนี้ทำให้เห็นอย่าง
ชัดเจนว่าเป็นความผิดตามสัญญาที่มไี ว้ว่าห้ามจมเรือสินค้าที่ไม่มอี าวุธ ทำ
ให้อเมริกา ต้องยื่นคำขาดแก่เยอรมนี ซึ่งส่งผลให้เยอรมนีจำเป็นต้องหยุด
ทำสงครามเรือรบใต้น้ำอย่างไม่มีขอบเขตไปได้เกือบหนึ่งปี
กระนั้นผลของสงครามใต้น้ำนี้ก็ยิ่งทำให้อเมริกันเกลียดชังเยอรมนี
มาก ขึ้นเรื่อยๆ และสุดท้ายก็นำมาสูก่ ารเข้าร่วมสงครามของอเมริกาใน
ที่สุด
สงครามในแอฟริกา
ทางด้านอื่นๆ นั้นเมื่อประกายแรกของสงครามเกิดขึ้น สงครามก็ได้
เข้ามาพัวพันกับอาณานิคมทั้งหลายของอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีใน
ทวีปแอฟริกา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1914 กองทัพอาณานิคมของอังกฤษ
และฝรั่งเศส ได้เข้าโจมตีรัฐในอารักขาของเยอรมนี นั่นคือโตโกแลนด์ อีก
สองวันต่อมา กองทัพเยอรมนีในนามิเบียก็ได้เข้าโจมตีแอฟริกาใต้ การรบ
ในทวีปแอฟริกายังมีขึ้นอย่างประปรายและรุนแรงตลอดช่วงเวลาของ
สงครามโลกครั้งที่ 1
การรบในเอเชีย
ใช่ เพียงแค่สงครามจะเกิดขึ้นในยุโรปเท่านั้น หากในเอเชียก็ปะทะ
ขึ้นมาด้วยเช่นกัน กระนั้นดูเหมือนว่ายุทธศาสตร์ทฝี่ ่ายสัมพันธมิตรนำมา
130/665

ใช้นั้นก็คือการยกพล เข้าไปยึดครองบรรดารัฐอาณานิคมของเยอรมนี
กล่าวคือเริ่มจาก นิวซีแลนด์ได้เข้ายึดครองซามัวตะวันตกเมื่อวันที่ 30
สิงหาคม แล้ววันที่ 11 กันยายน ทหารเรือและกองทหารนอกประเทศของ
ออสเตรเลีย ได้ขึ้นฝั่งบนเกาะนิว พัมเมิร์น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี
นิวกินี พร้อมกันญี่ปุ่นก็ได้เข้าโจมตีดินแดนอาณานิคมของเยอรมนีในไม
โครนีเซีย และภายในไม่กี่เดือนดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลของเยอรมนี
แถบมหาสมุทรแปซิฟิกก็ถูกกองทัพพันธมิตรยึดครองทั้งหมด
สงคราม ค.ศ. 1916
สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1914 ผ่านมาจนถึงปี 1916
ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ บรรดามหาอำนาจของโลกที่แบ่งออกเป็นสอง
ฝ่ายต่างยังห้ำหั่นและมีความหวังว่าจะประสบชัยชนะอยูท่ ั้งคู่ ทางฝั่ง
แนวรบด้านตะวันตกทีเ่ ยอรมนีปักหลักอยู่ทแี่ วร์ดังและแม่น้ำซอมม์ ถูก
เปิดฉากขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี 1916 นี้ โดยเริ่มจากการโจมตีแวร์ดังอย่าง
หนักของเยอรมนีเพื่อหวังที่จะเข้ายึดเมืองแห่งป้อมปราการนี้ให้ได้อย่าง
เบ็ดเสร็จ
กระนั้นภายใต้การนำของนายพลเปแตงของฝรั่งเศส ทหารเยอรมนีก็
ไม่อาจที่จะเข้ายึดได้แถมยังถูกรุกไล่กลับไปฐานของตัวเองอยูเ่ สมอ เช่นกัน
เขต แม่น้ำซอมม์ทหารเยอรมนีกต็ ้องต่อสู้กับกองทหารของอังกฤษและถูก
บีบให้ต้องถอยร่นออกไปเรื่อยๆ
131/665

ยุทธภูมิในการรบกันครั้งนี้ทำให้บรรดาทหารทั้งของเยอรมนีและ
ฝรั่งเศส-อังกฤษ ต้องสูญเสียชีวิตไปเป็นจำนวนไม่น้อย กระนั้นก็ไม่มีฝ่าย
หนึ่งฝ่ายใดสามารถฝ่าแนวรบของแต่ละฝ่ายผ่านเข้าไปได้ เรียกว่าไม่มีใคร
สามารถหาทาง เอาชนะอีกฝ่ายได้เด็ดขาดนั้นเอง
กระนั้นก็ว่ากันว่า สงครามในระยะนี้มีแต่ความสูญเสียซึ่งส่วนใหญ่
แล้ว ดูเหมือนฝ่ายพันธมิตรจะเสียมากยิ่งกว่า การรบในแนวรบตะวันตกนี้
ถูกเรียกว่า สงครามในแนวสนามเพลาะ นั้นคือการตั้งมั่นและรบกันเรื่อยๆ
วันที่ 1 กรกฎาคม 1916 เป็นวันแรกของยุทธการแม่น้ำซอมม์
กองทัพอังกฤษได้พบกับความสูญเสียที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์
ความสูญเสียกว่า 57,470 นายและเสียชีวิตกว่า 19,240 นาย ความ
สูญเสียส่วนใหญ่เกิด ขึ้นระหว่างชั่วโมงแรกของการรบ จนถึงตอนนี้การ
รุกของกองทัพอังกฤษในแนวรบด้านตะวันตกได้คร่าชีวิตทหารไปเกือบครึ่ง
ล้านนายแล้ว
ทั้งสองฝ่ายนั้นไม่สามารถที่จะโจมตีผ่านแนวรบของอีกฝ่ายได้เป็น
เวลา กว่าสองปี แม้ว่าการทำศึกยืดเยื้อของเยอรมนีที่ป้อมเปเดิง ตลอดทั้ง
ปี 1916 ประกอบกับความล้มเหลวของกองทัพพันธมิตรในแม่น้ำซอมม์
ทำให้กองทัพฝรั่งเศสใกล้ทจี่ ะล่มสลายเต็มที การทีก่ องทัพฝรั่งเศสยังคง
ยึดมั่นในหลักการเดิมๆ ในการใช้ทหารจำนวนมหาศาลนั้นเป็นวิธที ี่
ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วิธีนี้ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสสูญเสียชีวิตทหารจำนวน
132/665

สูงลิบและได้นำไปสู่การขัดคำสั่งของทหารฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
การรุกเนวิลล์
ทางฝั่งแนวรบด้านตะวันออกนั้นเมื่อเข้าถึงปี 1916 รุสเซียที่
ก่อนหน้านี้ต้องพ่ายแพ้ต่อกองทหารของมหาอำนาจกลางมาก่อน ก็เริ่มฟื้น
ตัวขึ้นมาบ้างแล้ว ฉะนั้นรุสเซียจึงได้เพิ่มความพยายามขึ้นโดยเฉพาะรุสเซี
ยมองว่าหากทาง ทหารเยอรมนีหรือมหาอำนาจกลางต้องมากังวลกับ
แนวรบด้านตะวันออกแล้ว ก็จะทำให้การรุกอย่างหนักที่แวร์ดังของ
เยอรมนีต้องเพลาๆ ลงด้วยเช่นกันทางหนึ่ง
ผลของสงครามในระยะนี้ปรากฏว่ารุสเซียสามารถเอาชนะกองทหาร
ออสเตรียได้อย่างงด งามทีเ่ มืองลุตส์ และเข้ายึดครองบัคโควินาส่วนใหญ่
เอาไว้ได้ แต่เมื่อกำลังจะเดินหน้ารุกต่อไปก็มีกองหนุนของเยอรมนีเข้ามา
ต่อต้านเอาไว้ กระนั้นผลจากชัยชนะอย่างต่อเนื่องในแนวรบด้าน
ตะวันออกของรุสเซีย นั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความสำเร็จและชื่นชมของ
ทหารฝ่ายพันธมิตรเท่านั้นหาก แต่ เรื่องที่เกิดขึ้นมานี้เป็นส่วนหนึ่งที่
ผลักดันและช่วยให้โรมาเนีย อีกหนึ่งประเทศใกล้เคียงแถบนั้นตัดสินใจ
ประกาศเข้าร่วมสงครามทั้งทีก่ ่อน หน้านี้ได้ประกาศว่าจะเป็นประเทศเป็น
กลางเอาไว้แล้ว การเข้าสู่สงครามของโรมาเนีย นั้นเข้าร่วมกับฝ่าย
พันธมิตร ทำให้กองกำลังของพันธมิตรมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น
กระนั้นกองทัพของบัลแกเรียที่ผสมกับตุรกีโดยการนำของนายพล
ฟอน แมกเคนเสน ก็ยังแข็งแกร่งและสามารถยกพลมารุกและเข้ายึดโรมา
133/665

เนียสำเร็จ ภายในเวลาสองเดือนหลังจากประกาศเข้าร่วมในสงคราม และ


แทนทีโ่ รมาเนีย เข้าร่วมสงครามจะทำให้สัมพันธมิตรแข็งแกร่งขึ้นก็ยิ่ง
กลายเป็นผลร้าย ทั้งนี้เพราะเมื่อโรมาเนียถูกยึดได้โดยกองกำลังร่วมของ
บัลแกเรียกับตุรกีแล้ว โรมาเนียเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมีข้าวสาลีและ
น้ำมันที่จะมาช่วยเป็นประโยชน์ให้แก่เยอรมนีทันที

หลุมหลบภัยและสนามเพลาะของฝ่ายฝรั่งเศสบริเวณสมรภูมิแวร์ดัง

ขณะเดียวกันการรบทางทะเลก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง ปี 1916 ยุทธ


นาวีแห่งคาบสมุทรจัตแลนด์ ได้กลายเป็นยุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน
สงครามโลกครั้งนี้ ซึ่งเป็นการปะทะกันเต็มอัตราศึกของกองทัพเรือทั้งสอง
ฝ่าย กินเวลา ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 1916 บริเวณ
134/665

ทะเลเหนือห่างจากคาบ สมุทรจัตแลนด์ กองเรือทะเลหลวงของกองทัพเรือ


เยอรมนีบัญชาการโดยพลเรือโท Reinhard Scheer เผชิญหน้ากับ
กองเรือหลวงของกองทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของพลเรือเอก เซอร์
John Jellicoe ผลของยุทธนาการครั้งนีค้ ือเสมอกัน ฝ่ายเยอรมนีนั้นมี
ชัยชนะเชิงเล่ห์เหลี่ยมเหนือกองทัพอังกฤษที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งกองเรือ
เยอรมนีวางแผนที่จะหลบหนีและได้สร้างความเสียหายต่อกองทัพเรือ
อังกฤษมากกว่าที่กองเรือเยอรมนีได้รับ แต่ทางยุทธศาสตร์แล้ว
กองทัพเรืออังกฤษยังคงครองความเป็นเจ้าสมุทรเหนือมหาสมุทรต่อไป
และกองทัพเรือบนผิวน้ำก็ถูกกักให้อยู่แต่ในท่า (ไม่สามารถปฏิบัติการได้)
อีกเลยตลอดช่วงเวลาของสงคราม
สงคราม ค.ศ. 1917-1918
แนวรบด้านตะวันตก
ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1917 การที่ทั้งสองฝ่ายยังคง ตั้งทัพยันกันอยูน่ ั้น
ทำให้นักการเมืองฝ่ายสัมพันธมิตรเกิดความไม่พอใจอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะ
ฝ่ายสัมพันธมิตรมีแต่จะสูญเสียกำลังพลและงบประมาณลงไปเรื่อยๆ มอง
อีกด้านหนึ่งก็เหมือนกับว่าเยอรมนีจงใจที่จะให้เป็นเช่นนั้นทั้งนี้เพราะ ผล
จากการสู้รบในสนามเพลาะนั้นมีแต่ทำให้ทหารฝรั่งเศสและอังกฤษสูญเสีย
ไป เรื่อยๆ รอแค่ให้หมดลงในท้ายที่สุดเท่านั้น
บรรดานักการเมืองฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเริ่มเห็นดีเห็นชอบกับแผนการ
ของ นายพลนิเวลล์ ทีเ่ สนอให้มกี ารเปิดฉากการรุกครั้งใหญ่เพื่อเข้าเจาะ
135/665

แนวรบอันเป็นสนามเพลาะทีข่ วางกั้นอยู่ กระนั้นการรุกในครั้งนั้นก็ไร้ผล


แถมยังทำให้ต้องสูญเสียกองทหารไปอีกจำนวนมาก
กล่าวกันว่าความพยายามในครั้งนั้นส่งผลอันร้ายแรงให้กับฝ่ายสัม
พัน- ธมิตร ทั้งนี้เพราะทำให้เห็นว่าเป็นการสูญเปล่าและเปลืองประโยชน์
เกิดความ บาดหมางกันเองอย่างมากในกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตร ผล
ของการสูญเสียที่เกิดขึ้นมานี้ไม่เพียงแต่ฝ่ายสัมพันธมิตรเท่านั้นที่คิด
เช่นนั้นฝ่ายเยอรมนีเองก็ไม่ต่างกัน ดังนั้นในช่วงเวลาของความตึงเครียด
นั้นจึงเกิดลัทธิหรือวิธีคิดในเรื่องของการยอมแพ้ดีกว่าที่จะยอมสูญเสียไป
เรื่อยๆ เช่นนั้น ทั้งนี้เพราะทุกฝ่ายต่างก็เห็นว่า ผลของสงครามในครั้งนี้
มีแต่ความสูญเสียมากกว่าประโยชน์ ที่จะได้รับ ที่สำคัญไม่มีผู้ใดที่จะกล้า
ตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไปได้ และเหนืออื่นใด ผลจากการทำสงครามที่
กำลังดำเนินมาร่วม 3 ปีนี้ก็ทำให้เกิดภาวะความขาด แคลนและอดอยาก
เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทำให้ทั้งขวัญและกำลังใจของทุกฝ่ายถดถอย ลงเป็นลำดับ
อเมริกาเข้าร่วมสงคราม
สหรัฐอเมริกา กระโดดเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ ในวันที่ 6 เมษายน
1917 โดยการประกาศสงครามกับเยอรมนี
ความเป็นจริงนั้นแม้ว่าประชาชนชาวอเมริกันจะเห็นชอบกับฝ่ายสัม
พันธ- มิตร กระนั้นส่วนใหญ่ก็ยังต้องการให้อเมริกาเป็นกลางมากกว่าที่
จะกระโดดเข้าไปร่วมในการรบครั้งนี้
136/665

ทหารในแนวรบสูดดมแก๊สพิษ

ค.ศ. 1916 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็น


ประธานาธิบดีของอเมริกาเป็นครั้งที่ 2 ด้วยคำขวัญที่หาเสียงกับประชาชน
ว่า จะไม่นำอเมริกาเข้าสู่สงครามที่ยุโรปและทั่วโลกกำลังห้ำหั่นกันอยู่ ซึ่ง
ชาวอเมริกันเห็นชอบด้วย
แต่กลับปรากฏว่าเมื่อประธานาธิบดีวิลสันประกาศเข้าร่วมสงครามใน
ปี 1917 กลับพบว่าชาวอเมริกันจำนวนมากกลับเห็นชอบด้วย
ทั้งนี้วิเคราะห์กันว่า สาเหตุนั้นมาจากการที่เยอรมนีได้ตกลงใจหันไป
อาศัยการทำสงครามที่ใช้เรือดำน้ำอย่างไม่มขี อบเขตอีกในวันที่ 1
กุมภาพันธ์ 1917 นั้นเอง โดยรัฐบาลเยอรมนีได้แจ้งให้ประเทศเป็นกลาง
137/665

ได้ทราบถึงการที่ตัวเองตกลงใจลงไป ดังนั้นเมื่อสหรัฐได้รับแจ้งเรื่องนี้แล้ว
ก็จึงตัดสินใจประกาศ ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนีในเดือน
กุมภาพันธ์ 1917
นอกจากนั้นก็ยังมองกันอีกว่ามีความจริงอีกเรื่องหนึ่งนั้นคือ ผลจาก
การโฆษณาและปฏิบัติการที่เป็นไปในแนวทางการก่อวินาศกรรมต่างๆ
ของตัวแทนฝ่ายเยอรมนี ทำให้ชาวอเมริกันรู้สึกไม่ชอบเยอรมนีมากยิ่งขึ้น
เรื่อยๆ และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของนักลงทุนชาวอเมริกันหลายคน
ก็ขึ้นอยูก่ ับความสำเร็จของกองทัพสัมพันธมิตร โดยเฉพาะเห็นอย่าง
ชัดเจนว่าฝ่ายสัมพันธ- มิตรได้กู้เงินจากบรรดานายทุนชาวอเมริกาเป็น
จำนวนมาก โดยเงินกู้ส่วนนี้ได้นำมาซื้ออาวุธและเครื่องอุปโภคบริโภคใน
อเมริกาเสียเป็นส่วนใหญ่
ดังนั้นหากฝ่ายสัมพันธมิตรต้องพ่ายแพ้ ก็แน่นอนว่าอาจจะทำให้
ความ สามารถในการใช้เงินต้องมีปัญหาลงด้วยเช่นกัน อีกทั้งการกูแ้ ละ
การซื้อในตลาดอเมริกาก็ต้องถดถอยลงอย่างแน่นอน
ไม่เพียงเท่านั้นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องของชาว
อเมริกัน ในเวลานั้นก็คือ ต่างคิดว่าหากฝ่ายมหาอำนาจกลางโดยการนำ
ของเยอรมนีชนะในสงครามครั้งนี้ แน่นอนว่าสวัสดิภาพของอเมริกาและ
ของโลกต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน
ดังนั้นการกระโดดเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ของอเมริกาจึงกลายเป็น
การเปิดศักราชใหม่ของการสงครามในสงครามโลกครั้งนี้
138/665

ครานี้มาดูรายละเอียดของการเริ่มเข้าสู่สงครามกันบ้าง
เหตุการณ์การรบในปี 1917 นั้นได้พิสูจน์ถึงชัยชนะของฝ่าย
พันธมิตรได้เป็นอย่างดี และสงครามก็ใกล้จะยุติลง แต่ก็ยังไม่เห็นผลของ
สงครามจนกระทั่งปลายปี 1918 ผลจากการปิดล้อมของกองทัพเรือ
อังกฤษนั้นทำให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงต่อเยอรมนี เยอรมนีได้โต้ตอบ
ด้วยการออกปฏิบัติการเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
1917 โดยมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ การกำจัดเสบียงของฝ่ายตรงกันข้าม
ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม เรือรบอังกฤษถูกยิงจมไปคิด
เป็นปริมาณเฉลี่ยกว่า 500,000 ตันต่อเดือน โดยความสูญเสียทีส่ ูงที่สุดใน
เดือนเมษายน (กว่า 800,000 ตัน) หลังจากเดือนกรกฎาคม ระบบขบวน
เรือคุ้มกันก็เริ่มได้ผล ทำให้เรือดำน้ำเยอรมนีปฏิบัติการได้ยากขึ้น ระหว่าง
นั้น อุตสาหกรรมของเยอรมนีก็หยุดชะงักไป
ชัยชนะของฝ่ายมหาอำนาจกลางที่ยุทธการแห่งคาร์ปาเร็ตโตได้ส่งผล
ให้ ฝ่ายพันธมิตรต้องมีการจัดตั้งสภาสูงสุดฝ่ายพันธมิตรขึ้น ตามผลของ
การประชุม ราเพลโลเพื่อให้มีการวางแผนร่วมกันของผู้บัญชาการฝ่าย
พันธมิตร ซึ่งก่อนหน้า นั้นกองทัพอังกฤษและกองทัพฝรั่งเศสต่างก็
แยกกันวางแผนของตนต่างหาก
ในเดือนธันวาคม ฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ลงนามในสนธิสัญญาพัก
รบกับรัสเซีย ทำให้ฝ่ายมหาอำนาจกลางดึงทหารจำนวนมากมารบทางด้าน
ตะวันตก เมื่อกองทัพเยอรมนีและกองทัพอเมริกันทีเ่ ข้ามาใหม่มา
139/665

เผชิญหน้ากันในแนวรบ ด้านตะวันตก จะเป็นการตัดสินผลของสงคราม


ฝ่ายมหาอำนาจกลางรู้ดวี ่าตนไม่สามารถเอาชนะการรบยืดเยื้อได้ แต่
สามารถรอคอยเวลาสำหรับการรุกอย่างรวดเร็วได้ นอกเหนือจากนั้น ผู้นำ
ฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายมหา อำนาจกลางต่างก็หวั่นเกรงต่อความไม่สงบของ
สังคมและการปฏิวัตทิ ี่มมี ากขึ้นใน ทวีปยุโรป เพราะฉะนั้น ทั้งสองฝ่ายจึง
ต้องการชัยชนะขั้นเด็ดขาดอย่างรวดเร็วเหมือนกันทั้งสองฝ่าย
สหรัฐอเมริกาซึ่งเคยปฏิบัติตามลัทธิแยกตัวอยูโ่ ดดเดี่ยว เพื่อ
หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้งระหว่างประเทศและรักษา
สันติภาพ เป็นผลให้เกิดความตึงเครียดในสหราชอาณาจักร เมื่อเรืออู
เยอรมนีจมเรือลูซิทาเนียของอังกฤษในปี 1915 ซึ่งมีชาวอเมริกันอยูบ่ นเรือ
128 คน ประธานาธิบดีวิลสันได้สาบานว่า “สหรัฐอเมริกามีทิฐิมากเกินกว่า
จะสู้” และต้องการให้เยอรมนี ยกเลิกการโจมตีเรือพลเรือน ซึ่งเยอรมนีก็
ยอมตาม แต่วิลสันก็ไม่สามารถทีจ่ ะประนีประนอมได้ เขาได้เตือนว่า
สหรัฐอเมริกาจะไม่ทนต่อการใช้เรือดำน้ำโดย ไม่จำกัด วิลสันได้รับ
แรงกดดันมาจากธีโอเดอร์ รูสเวลต์ ผู้ซึ่งเรียกการกะทำของเยอรมนีว่าเป็น
โจรสลัด ความต้องการของวิลสันที่จะได้นั่งเก้าอี้ในการเจรจา สันติภาพ
หลังสงครามเองก็เป็นส่วนสำคัญ ส่วนเลขาธิการแห่งรัฐ วิลเลียมเจนนิ่งส์
ไบรอันได้ลาออกเพื่อประท้วงต่อนโยบายผู้ค้าสงครามของวิลสัน ส่วนชาติ
อื่นทีต่ ้องการดึงสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม รวมถึงข้อสงสัยที่ว่าเยอรมนีจะ
เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการวางระเบิดนครต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา
140/665

เมื่อถึงเดือนมกราคม 1917 หลังจากแรงกดดันของกองทัพเรือที่มตี ่อ


จักรพรรดิไกเซอร์ ทำให้การใช้เรือดำน้ำแบบไม่จำกัดเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง
หน่วยถอดรหัสของราชนาวีอังกฤษ ที่เรียกว่า ห้อง 40 สามารถแกะรหัส
ลับทางการทูต ของเยอรมนีได้ ที่เป็นที่รู้จักกันในภายหลังว่า โทรเลขซิ
มเมอร์แมนน์ ถูกส่ง มาจากเบอร์ลินไปยังเม็กซิโกโดยเชิญชวนให้เม็กซิโก
เข้าเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี และต่อต้านสหรัฐอเมริกา ซึ่งข้อความ
ดังกล่าวได้เสนอว่า หากสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม เม็กซิโกก็ควรจะ
ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและประกาศตัวเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น
เนื่องจากการกระทำดังกล่าวน่าจะเป็นการดึงไม่ให้สหรัฐอเมริกาเข้ากับฝ่าย
พันธมิตรและส่งทหารเข้าสู่ภาคพื้นยุโรป และให้เวลากับเรืออูเยอรมนีที่จะ
ทำลายเรือของอังกฤษและเสบียงจำนวนมาก และเยอรมนีเสนอให้เม็กซิโก
ได้ดินแดนมลรัฐเท็กซัส มลรัฐนิวเม็กซิโกและมลรัฐแอริโซนาของ
สหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นการตอบแทน
หลังจากที่อังกฤษได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่สหรัฐอเมริกาแล้ว
ประธานาธิบดีวิลสัน ผู้ซึ่งชนะการเลือกตั้งครั้งใหม่ และความพยายามที่จะ
ป้องกันตัวเองในการเข้าไปพัวพันกับสงคราม เขาได้รีบเปิดเผยข้อความใน
โทรเลขนั้นแก่สาธารณชนเพื่อที่จะหาเสียงสนับสนุน การนำสหรัฐอเมริกา
เข้าสู่สงคราม เขาเคยประกาศว่าจะวางตัวเป็นกลาง ขณะที่มกี ารส่งยุทธ
สัมภาระให้แก่อังกฤษ และให้การสนับสนุนการปิดล้อมทางทะเลแก่
เยอรมนีอย่างลับๆ และวางทุ่นระเบิดในเขตน่านน้ำสากล และป้องกันไม่
ให้เรือส่งอาหารส่งให้แก่เยอรมนี ภายหลังจากที่เรืออูเยอรมนีจมเรือ
141/665

พาณิชย์อเมริกันไปเจ็ดลำ และมีการตีพิมพ์ข้อความในโทรเลขซิ
มเมอร์แมนน์ วิลสันก็ได้เรียกร้องให้มีการประกาศสงครามกับเยอรมนี ซึ่ง
สภาคองเกรสก็ได้ประกาศสงครามเมื่อวันที่ 6 เมษายน 1917
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่สงครามโดยอยู่ข้างเดียวกับ
ฝ่ายพันธมิตร แต่ไม่เคยเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของฝ่ายพันธมิตรเลย
โดยเรียกตัวเองว่าเป็น “อำนาจผูใ้ ห้ความช่วยเหลือ” สหรัฐอเมริกามี
กองทัพเพียงเล็กน้อย แต่กระนั้น ก็คิดเป็นจำนวนกว่าสี่ล้านนาย และ
ภายในฤดูร้อน 1918 ก็มกี ารส่งทหารใหม่กว่า 10,000 นายไปยังฝรั่งเศส
ทุกวัน ทางด้านฝ่ายเยอรมนี ก็ประมาทสหรัฐอเมริกามากเกินไป เพราะ
เชื่อว่าการส่งกำลังพลมายังทวีปยุโรปต้องใช้เวลาหลายเดือน ซึ่งเมื่อถึงเวลา
นั้น เรืออูของตนจะสามารถหยุดยั้งกองทัพอเมริกันเอาไว้ได้
กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้ส่งกองเรือรบไปยังสกาปาโฟลว์เพื่อเข้า
ร่วม กับกองเรือรบหลวงอังกฤษ และมีส่วนช่วยในการป้องกันกองเรือ
พาณิชย์ นาวิกโยธินจำนวนมากของสหรัฐอเมริกาได้ถูกส่งไปยังฝรั่งเศส
ทางด้านอังกฤษและฝรั่งเศสต่างก็มีความต้องการให้ทหารอเมริกันเข้าเสริม
กำลังในพื้นที่ และไม่ต้องการใช้เรือเพื่อเป็นการขนส่งเสบียง ซึ่งฝ่าย
สหรัฐอเมริกาปฏิเสธความต้อง การแรก แต่ยินยอมตามความต้องการข้อ
หลัง นายพลจอห์น เจ. เพอร์ชิง ผู้บัญชาการทหารอเมริกันต่างประเทศ
ปฏิเสธที่จะใช้ทหารอเมริกันเพื่อเป็นกำลัง สนับสนุนให้แก่ทหารอังกฤษ
หรือทหารฝรั่งเศส เขาได้มแี นวคิดที่จะใช้เพื่อเป็น การบุกทางด้านหน้า
142/665

แทน ซึ่งทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสล้มเลิกวิธีการนีไ้ ปแล้ว เพราะว่าประสบกับ


ความสูญเสียชีวิตจำนวนมหาศาล
กล่าวกันว่า เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม สหรัฐมีทหารบกไม่ถึง
175,000 คน แต่มีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง แม้ว่าจะเป็นกองทัพเล็กๆ ก็ตาม
สหรัฐ อเมริกาได้รีบส่งเรือพิฆาตตอร์ปิโดไปทันทีเพื่อต่อสูก้ ับเรือดำน้ำ
พร้อมกันอู่ต่อเรือก็ได้รีบต่อเรือให้เพิ่มจำนวนมากลำยิ่งขึ้นทั้งนี้หวังให้มี
จำนวนมากจนเกินกว่าที่เยอรมนีจะสามารถจมลงได้
ได้มีการพัฒนาวิธีการต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงและทำลายเรือดำน้ำ
โดยเฉพาะการให้เครื่องบินสะกดรอยเรือดำน้ำแล้วรีบแจ้งพิกัด ให้มกี าร
ฝังลูกระเบิดน้ำลึก แถมมีเรือขับไล่และเรือล่อเพื่อให้ท้องทะเลเป็นที่ที่
น่ากลัวสำหรับ เรือดำน้ำ
143/665

ทหารอเมริกันขึ้นจากสนามเพลาะมุ่งสู่การปะทะที่แนวหน้า

ฝ่ายพันธมิตรจะพรางเรือต่างๆ ของตนแล้วจัดเรือให้มีเรือขบวน
คุ้มกัน ซึ่ววิธีเหล่านีน้ ับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างดี ทั้งนี้เพราะเยอรมนี
ไม่สามารถ ที่จะหยุดยั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ อาหาร และอื่นๆ มิให้สามารถ
ส่งข้ามมหาสมุทร แอตแลนติกไปยังดินแดนต่างๆ ทางยุโรปในปี 1917
ได้
ในปี 1917 สหรัฐอยู่ในช่วงของการสร้างกองทัพใหญ่และกำลังฝึก
ทหาร ให้แก่กองทัพ แต่ทหารอเมริกันที่เดินทางไปทำสงครามที่โพ้นทะเลก็
มีจำนวนไม่มากนัก ว่ากันว่าในปลายปี 1917 มีทหารอเมริกัน 175,000
คนเท่านั้นที่เดินทางไปถึงฝรั่งเศส และในตอนปลายสงครามมีทหาร
อเมริกันอยู่ในดินแดนโพ้นทะเลสองล้านคน โดยการสงครามครั้งนั้น
144/665

กองทหารอาสาของสหรัฐอเมริกา ในฝรั่งเศสมีนายพล จอห์น เจ.เพอร์ชิง


เป็นผู้บัญชาการ
รุสเซียถอนตัวจากสงคราม
เนื่องจากความไม่พอใจต่อความพ่ายแพ้ของกองทัพรุสเซีย แม้ว่าจะ
มีความสำเร็จอยู่บ้างในการรุกบรูซลิ ลอฟต่อแคว้นกาลิเซียตะวันออก แต่
ความสำเร็จนั้นถูกขัดขวางโดยเหล่านายพลซึ่งไม่เต็มใจในการส่งกองกำลัง
ของตนเข้าไปสู่สนามรบ

ซาร์นิโคลัสที่ 2 ราชินีอเล็กซานดรา และพระบรมวงศานุวงศ์, พระธิดา: มาเรีย, โอลกา, ทาเทียนา,


อนาตาเซีย และพระโอรส อเล็กซี
145/665

กองทัพพันธมิตรและกองทัพรุสเซียฟื้นตัวแค่เพียงชั่วคราวเมื่อโรมา
เนีย เข้าสูส่ งครามเป็นฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม กองทัพ
เยอรมนีสามารถสมทบกับกองทัพออสเตรีย-ฮังการีในทรานซิลวาเนียและ
กรุงบูคาเรสต์ ถูกยึดครองโดยฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม
ไม่นานนัก ความไม่สงบก็แผ่กระจายไปทั่วรุสเซีย ขณะที่ซาร์แห่งรุสเซีย
ยังคงบัญชาการรบอยูท่ ี่ แนวหน้า จักรพรรดินอี เล็กซานดราซึ่งไร้ความ
สามารถในการปกครองไม่สามารถ ปราบปรามกลุ่มผูป้ ระท้วงได้และก็นำ
ไปสู่การฆาตกรรมรัสปูติน ปลายปี 1916
เมื่อเดือนมีนาคม 1917 การชุมนุมที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ได้
ลงเอยด้วยการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรุสเซียและ
การจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวของรุสเซียซึ่งมีความอ่อนแอและแบ่งปันอำนาจกับ
กลุ่มสังคม นิยมเปโตรกราดโซเวียต การจัดการดังกล่าวได้สร้างความ
สับสนและนำไปสู่ความวุ่นวายทั้งในแนวหน้าและในแผ่นดินรุสเซีย
กองทัพรุสเซียยิ่งมีประสิทธิ ภาพด้อยลงกว่าเดิม
สงครามและรัฐบาลชั่วคราวของรุสเซียไม่เป็นที่นิยมของประชาชน
มาก ขึ้นเรื่อยๆ ความไม่พอใจดังกล่าวได้ในไปสูก่ ารขึ้นครองอำนาจของ
พรรคบอล-เชวิค นำโดย วลาดีเมียร์ เลนิน ซึ่งเขาได้ให้สัญญากับชาว
รุสเซียว่าจะดึงรุสเซีย ออกจากสงครามและทำให้รุสเซียกลับมายิ่งใหญ่อีก
ครั้ง
146/665

ชัยชนะของพรรคบอลเชวิคในการปฏิวัติเดือนตุลาคมนั้นตามด้วย
การสงบศึกชั่วคราวและการเจรจากับเยอรมนี ในตอนแรก พรรคบอล
เชวิคปฏิเสธข้อเสนอของเยอรมนี แต่เมื่อกองทัพเยอรมนีทำสงครามต่อไป
และรุกถึงยูเครน เขาจึงต้องยอมเซ็นสนธิสัญญาเบรสต์-ลีโตเวส เมื่อวันที่
3 มีนาคม 1918 ซึ่งทำให้รุสเซียได้ออกจากสงคราม แต่ว่าต้องยอมยก
ดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล ของรุสเซีย รวมไปถึงฟินแลนด์ มลรัฐบอลติ
ก บางส่วนของโปแลนด์และยูเครน แก่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง แผ่นดินส่วน
ทีเ่ ยอรมนีได้รับจากสนธิสัญญาดังกล่าว สามารถชดเชยความล้มเหลวของ
การรุกฤดูใบไม้ผลิได้ แต่ว่าด้านอาหารและยุทธปัจจัยนั้นได้รับเพียง
เล็กน้อยเท่านั้น
เนื่องจากพรรคบอลเชวิคได้เซ็นสนธิสัญญาเบรสต์-ลีโตเวส
พันธมิตรไตรภาคีจึงล่มสลาย กองทัพพันธมิตรได้นำกองกำลังขนาดเล็ก
ของตนเข้ารุกรานรุสเซียเพื่อป้องกันเยอรมนีมิให้ใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรจำนวนมากของรุสเซีย และสนับสนุนกองทัพรุสเซียขาวใน
สงครามกลางเมืองรุสเซีย กองทัพพันธมิตรขึ้นบกที่เมืองอาร์คแองเจิลและ
วลาดิวอสต็อก
จักรวรรดิออตโตมันกับตะวันออกกลาง
จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางใน
สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งได้เซ็นสัญญาพันธมิตรออตโตมัน-เยอรมนีใน
เดือนสิงหาคม 1914 ซึ่งได้คุกคามต่อความมั่นคงของเขตคอเคซัสของ
147/665

รัสเซีย และการติดต่อคมนาคมกับอินเดียผ่านทางคลองสุเอซ อังกฤษและ


ฝรั่งเศสได้เปิดแนวรบโพ้นทะเลด้วย การรณรงค์กัลลิโปลี และ การ
รณรงค์เมโสโปเตเมีย ที่กัลลิโปลี จักรวรรดิออตโตมันสามารถขับไล่
กองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศสและกองทัพแอนแซกได้
แต่ในเมโสโปเตเมียนั้นกลับตรงกันข้าม จักรวรรดิออตโตมันพ่ายแพ้
อย่างหายนะจากการล้อมเมืองคุท กองทัพอังกฤษรวบรวมทัพใหม่และ
สามารถ ยึดครองกรุงแบกแดดได้ในเดือนมีนาคม 1917 ส่วนทาง
ทิศตะวันตก ในการรณรงค์คาบสมุทรไซนายและปาเลสไตน์ กองทัพ
อังกฤษสามารถพลิกกลับจากการเพลี่ยงพล้ำเป็นเอาชนะได้เมื่อกรุงเยรูซา
เลมแตกในเดือนธันวาคม 1917 กองทัพอียิปต์อีกประเทศใต้การ
บังคับบัญชาของจอมพลเอ็ดมุน อัลเลนบี สามารถตีกองทัพจักรวรรดิออต
โตมันแตกหลังยุทธการมากิดโด้ ในเดือนกันยายน 1918
ด้านเทือกเขาคอเคซัส กองทัพออตโตมันภายใต้อำนาจของจอมทัพ
เอนเวอร์ พาชา ผู้บัญชาการของกองทัพติดอาวุธออตโตมันนั้น
ทะเยอทะยานและใฝ่ฝันถึงการยึดครองเอเชียกลาง แต่เขาก็เป็น
ผู้บัญชาการทีอ่ ่อนแอ เขาได้ ออกคำสั่งให้โจมตีกองทัพรัสเซียในเขต
เทือกเขาคอเคซัสในเดือนธันวาคม 1914 ด้วยกำลังพล 100,000 นาย เขา
ยืนกรานทีจ่ ะโจมตีที่ตั้งของกองทัพรัสเซียเมื่อฤดูหนาว ซึ่งเขาสูญเสียกำลัง
พลไปกว่า 86% ระหว่างยุทธการซาริคามิส
148/665

ผู้บัญชาการกองทัพรุสเซียระหว่างปี 1915-1916 นายพล นิโคไล ยู


เดนนิช สามารถผลักดันกองทัพออตโตมันให้ออกไปจากเขตเทือกเขาคอ
เคซัสตอนใต้ ในปี 1917 แกรนด์ ดยุค นิโคลัสได้เข้ามาบัญชาการกองทัพ
รุสเซียแนวรบคอเคซัส เขาได้วางแผนสร้างทางรถไฟจากจอร์เจียไปยัง
ดินแดนยึดครอง ดังนั้นกองทัพรุสเซียจึงมีเสบียงอย่างพอเพียงต่อการรุก
ครั้งใหม่ในปี 1917 อย่างไรก็ตาม เดือนมีนาคม 1917 พระเจ้าซาร์ถูก
ล้มล้างหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ และกองทัพรุสเซียคอเคซัสก็เริ่มที่
จะแตกออกจากกัน
การปฏิวัติอาหรับนั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของความพ่ายแพ้ของ
จักรวรรดิออตโตมัน การปฏิวัตเิ ริ่มขึ้นด้วย ยุทธการเมกกะ โดย ชารีฟ
ฮัสเซน แห่งเมกกะ ด้วยความช่วยเหลือของอังกฤษในเดือนมิถุนายน
1916 และจบลง ด้วยการยอมแพ้ของจักรวรรดิออตโตมันที่กรุงดามัสกัส
หลังจากนั้นตามแนวชายแดนของลิเบียอิตาลีและอียิปต์อังกฤษได้มีเผ่าซา
นุสซี่ ซึ่งจักรวรรดิออตโตมันได้ส่งเสริมและติดอาวุธกลุ่มคนเหล่านี้ ได้ทำ
การรบแบบกองโจรต่อต้านกองทัพพันธมิตร กลุ่มเหล่านี้ถูกกำจัดเมื่อกลาง
ปี 1916
อิตาลีกับการเข้าร่วมสงคราม
อิตาลีนั้นเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ตั้งแต่ปี 1882 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไตรพันธมิตร อย่างไรก็ตาม อิตาลีนั้นมี
149/665

เจตนาของตน บนพื้นที่ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีใน เทรนติโน


อิสเตรียและดัลมาเทีย
อิตาลีได้แอบทำสนธิสัญญาลับกับฝรั่งเศสในปี 1902 ซึ่งลบล้าง
พันธมิตร ของตนอย่างสิ้นเชิง ในตอนเริ่มต้นของความเป็นปรปักษ์กัน
อิตาลีปฏิเสธทีจ่ ะส่งทำเข้าร่วมรบกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง และโต้เถียงว่า
ไตรพันธมิตรนั้นเป็น การรวมตัวเพื่อสนับสนุนกันและกันเมื่อชาติใดชาติ
หนึ่งถูกโจมตี แต่ว่าจักรวรรดิ ออสเตรีย-ฮังการีกลับเป็นผูเ้ ริ่มสงครามเสีย
เอง
รัฐบาลของออสเตรีย-ฮังการีเริ่มการเจรจาซึ่งพยายามจะให้อิตาลีเป็น
กลางในสงคราม ซึ่งเสนอตูนิเซีย ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นการ
ตอบแทน
อย่างไรก็ตาม อิตาลีเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อเดือนเมษายน 1915
และประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการีในเดือนพฤษภาคม และ
ประกาศสงครามกับเยอรมนีในอีกสิบห้าเดือนต่อมา
อิตาลีนั้นมีทหารจำนวนมาก แต่ว่าอิตาลีไม่ได้รับความได้เปรียบมาก
นัก เนื่องจากว่าต้องผ่านภูมิประเทศที่ยากลำบาก และยังรวมไปถึง
ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทใี่ ช้ด้วย จอมทัพอิตาลี ลุยดิ คาดอร์นา พยายาม
อย่างแข็งขันที่จะโจมตีจากทางด้านหน้า ฝันว่าจะโจมตีผ่านกองทัพข้าศึก
ไปยังที่ราบสูงสโลเวนเนี่ยน ตีเมืองลูบลิยานา และคุกคามกรุงเวียนนา ซึ่ง
เป็นแผนของสงครามนโปเลียน แต่ว่าแผนดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้อีกแล้ว
150/665

สำหรับยุคแห่งรั้วลวดหนาม ปืนกล การระดมยิงปืนใหญ่ และประกอบกับ


ภูมิประเทศซึ่งเป็นหุบเขาและภูเขา แต่เขาก็ยังดึงดันที่จะโจมตีทแี่ นวไอ
ซอนโซ
จอมทัพคาดอร์นาได้ออกคำสั่งโจมตีสิบกว่าครั้งโดยไม่คำนึงถึงความ
สุญเสียของทหารที่เกิดขึ้น กองทัพอิตาลีนั้นพยายามอย่างยิ่งทีจ่ ะโจมตี
แนวรบ ดังกล่าวเพื่อปลดเปลื้องความกัดดันทางด้านแนวรบอื่นๆ บน
แนวรบเตรนติโน กองทัพออสเตรีย-ฮังการีมีความได้เปรียบจาก
ภูมิประเทศซึ่งเป็นภูเขา ซึ่งให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตั้งรับ ภายหลังการการ
ล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในตอนต้นของ การรบ แต่ว่าแนวรบดังกล่าวก็
ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ระหว่างที่กองทัพของทั้งสองฝ่ายต้องเข้ามารบกันในระยะประชิดอัน
ขมขื่นอีกนาน ช่วงฤดูร้อน กองทัพออสเตรีย-ฮังการีพยายามตีโต้ในเมือง
Asiago มุ่งหน้าไปยังเมืองเวโรนาและพาดัว ในฤดูใบไม้ผลิปี 1916 แต่ก็
ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย
ตอนเริ่มต้นของปี 1915 กองทัพอิตาลีได้โจมตีประมาณสิบกว่าครั้ง
ตาม แนวแม่น้ำไอซอนโซ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของตรีเอสเต ซึ่งการ
โจมตีทั้งหมด ก็ถูกตีโต้โดยกองทัพออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งอยูใ่ นชัยภูมซิ ึ่งสูง
กว่า เมื่อฤดูร้อนของปี 1916 กองทัพอิตาลีสามารถตีเมืองกอร์ริซเซียได้
แต่ว่าแนวรบนี้ก็ยังคงเดิมไปเป็นเวลาอีกหนึ่งปี แม้จะมีการโจมตีอีกหลาย
ครั้ง เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1917 เนื่องจากสถานการณ์ในแนวรบด้าน
151/665

ตะวันออกดีขึ้น กองทัพออสเตรีย-ฮังการีได้รับกำลังสนับสนุนจากทหาร
เยอรมนี ซึ่งก็ได้แก่พลรบวายุ และ Alpenkorps ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
ได้เริ่มการรุกครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 1917 และได้ชัยชนะงดงามที่
เมืองคาปอร์เรตโต้ กองทัพอิตาลีต้องถอยร่นไปเป็นระยะทางกว่า 100
กิโลเมตร และมารวบรวมกองทัพใหม่ได้ที่แม่น้ำ Piave นับตั้งแต่การรบ
ทีย่ ุทธการแห่งคาปอร์เรตโต้ กองทัพอิตาลีประสบกับความสูญเสียอย่าง
หนัก รัฐบาลอิตาลีจำเป็นต้องเกณฑ์ทหารซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี เมื่อปี
1918 กองทัพ ออสเตรีย-ฮังการีก็ประสบความล้มเหลวที่จะโจมตีผ่านแนว
ฝ่ายพันธมิตรระหว่างยุทธการแห่งที่ราบสูง Asiago และท้ายที่สุดก็
พ่ายแพ้ยับเยินในยุทธการ แห่งวิตโตริโอ วีเนโตในเดือนตุลาคมปีนั้น
และท้ายที่สุดจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีก็ยอมจำนนในต้นเดือน
พฤศจิกายน 1918
แนวรบด้านบอลข่าน
เนื่องจากต้องเผชิญหน้ากับรุสเซีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจึง
สามารถ ส่งกองทัพได้เพียงหนึ่งในสามเพื่อเข้าโจมตีเซอร์เบีย ออสเตรีย-
ฮังการีต้องพบกับความสูญเสียอย่างหนักกว่าจะยึดครองเมืองหลวงของ
เซอร์เบีย กรุงเบลเกรด แต่ว่ากองทัพเซอร์เบียก็สามารถตีโต้กองทัพ
ออสเตรีย-ฮังการีได้จนหมดตอนปลายปี 1914 สิบเดือนต่อมา ออสเตรีย-
ฮังการีต้องใช้กองทัพจำนวนมากเพื่อสูก้ ับอิตาลี ทูตของเยอรมนีและ
152/665

ออสเตรีย-ฮังการีพยายามชักชวนให้บัลแกเรียร่วมเข้าโจมตีเซอร์เบีย ด้าน
มอนเตเนโกรเข้าเป็นพันธมิตรกับเซอร์เบีย
ในเดือนตุลาคม ฝ่ายมหาอำนาจกลางได้เข้าโจมตีทางทิศเหนือ และ
อีก สี่วันต่อมา กองทัพบัลแกเรียก็เข้าโจมตีทางทิศตะวันออก กองทัพ
เซอร์เบียต้อง สูศ้ ึกทั้งสองด้าน จากนั้นก็ประสบกับความพ่ายแพ้ และต้อง
ถอยไปถึงอัลเบเนีย กองทัพเซอร์เบียพยายามสู้อีกครั้งหนึ่งแต่กพ็ ่ายแพ้
และต้องนำเรือมาลำเลียงผู้คนหนีไปยังกรีซ
ช่วงปลายปี 1915 กองทัพพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่เธสสโลนิกิของกรี
ซ เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลกรีซประกาศสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง
แต่ว่ากษัตริย์ กรีก พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 ได้ออกพระบรมราชโองการ
ให้รัฐบาลพ้นจากตำแหน่ง ก่อนที่กองทัพพันธมิตรจะขึ้นบกสำเร็จ
แนวรบเธสสโลนิกิหยุดนิ่งที่ในตอนท้าย กองทัพพันธมิตรก็สามารถ
โจมตีผ่านได้สำเร็จ เนื่องจากกองทัพฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ถอนตัวออก
ไป กองทัพบัลแกเรียพ่ายแพ้ใน ยุทธการโดโบล โพล แต่ว่าไม่กวี่ ันต่อมา
กองทัพบัลแกเรียก็สามารถรบชนะกองทัพอังกฤษและกองทัพกรีซได้ที่
ทะเลสาบ Doiran อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันการถูกยึดครอง บัลแกเรีย
จึงได้เซ็นสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 29 กันยายน 1918 และถอนตัวออกจาก
ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
แนวรบด้านตะวันตก ค.ศ. 1917-1918
153/665

สัมพันธมิตรได้เริ่มทำการรุกในแนวรบด้านตะวันตกหลายครั้ง แต่
ไม่สำเร็จผลตามความคาดหวัง ในช่วงต้นปีนั้นเยอรมนีได้ถอยร่นมา
กระทั่งถึงแนวฮินเดนเบิร์ก (หรือแนวซิกฟริด) อันเป็นสนามเพลาะที่มี
ชื่อเสียงว่าสร้างอย่างตั้งใจจะให้เป็นป้อมปราการที่แข็งแรงเพื่อมิให้ศัตรูตี
แตกได้
อังกฤษทำการรุกในการรบที่อาร์ราส และฝรั่งเศสก็เปิดแนวรุกใน
สงคราม ที่ไอสเน การรุกของฝรั่งเศสไม่สำเร็จ ต้องสูญเสียกำลังทหารไป
จำนวนมาก จนเกิดความกระด้างกระเดื่องกันไปทั่ว
ขณะทีอ่ ังกฤษในระยะแรกนั้นนับได้ว่าประสบความสำเร็จดี แต่ก็
ต้องเสียดินแดนที่รบได้มาก่อนนั้นกลับไปอีกหน
ต้นปี 1918 แม้ว่าเยอรมนีจะไม่ประสบความสำเร็จในด้านการทำ
สงคราม โดยใช้เรือดำน้ำอย่างที่หวัง แต่เมื่อเข้าสู่ต้นปี 1918 เยอรมนีกม็ ี
ความหวังใหม่ว่าจะมีชัยชนะในสงครามอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะรัสเซียได้
ประกาศออกจากสงครามไปแล้ว ขณะที่อิตาลีกก็ ำลังเหนื่อยๆ ลงไป
เยอรมันสามารถย้ายแนวรบ ทั้งหมดไปในแนวรบด้านตะวันตกทำการรุก
ใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย
ในวันที่ 8 มกราคม 1918 ทั้งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ได้ออก
แถลงการณ์ ทีเ่ ข้าร่วมสงครามและความมุ่งหมายของตน ซึ่งถือเป็น
ปฏิบัติการทางจิตวิทยา เรียกกันว่า แถลงการณ์สิบสีข่ ้อ ซึ่งมีความสำคัญ
อย่างมากในภายหลังโดยเฉพาะในการทำสนธิสัญญาสันติภาพ
154/665

ดูเหมือนจะเป็นการเสนอเงื่อนไขในการทำสันติภาพต่อกัน กระนั้น
มหา อำนาจกลางก็ไม่อยากเจรจาปรองดองโดยการยึดแถลงการณ์นี้
นายกรัฐมนตรี เยอรมนีกล่าวว่า คำเรียกร้องเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า
ฝ่ายสัมพันธมิตรคิดว่าตนชนะสงครามแล้ว ทั้งที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น กระนั้น
แถลงการณ์นี้ก็มผี ลเพราะทำให้ เกิดกำลังใจขึ้นในกลุ่มสัมพันธมิตรอย่าง
มาก ขณะเดียวกันก็ทำให้ทางเยอรมนี เห็นและท้อแท้ลงไปอีกมาก จน
จำเป็นต้องเริ่มปฏิบัติการรุกครั้งสุดท้าย
นายพลเยอรมนี อิริค ลูเดนดอร์ฟ ได้ร่างแผนปฏิบัติการมิคาเอล
ขึ้นเพื่อ วางแผนการรุกในแนวรบด้านตะวันตก ระหว่างปี 1918 โดย
แผนการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อตัดกองทัพอังกฤษและกองทัพฝรั่งเศส
ออกจากกันด้วยการหลอกหลวงและการรุกหลายครั้ง โดยคณะผู้นำ
เยอรมนีหวังว่าการโจมตีอย่างเด็ดขาดก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่สงคราม
อย่างเต็มรูปแบบ ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 1918
โดยโจมตีกองทัพอังกฤษทีอ่ เมนส์ และสามารถรุกเข้าไปได้ถึง 60
กิโลเมตร ซึ่งนับว่าเป็นการรุกที่ประสบความสำเร็จที่สุดในสงครามครั้งนี้
ส่วนแนวสนามเพลาะของอังกฤษและฝรั่งเศสถูกเจาะผ่านด้วย
ยุทธวิธกี ารแทรกซึม ก่อนหน้านั้น ได้มกี ารโจมตีโดยการระดมยิงปืนใหญ่
อย่างหนักและการรุกโดยใช้กำลังพลจำนวนมหาศาล อย่างไรก็ตาม ตลอด
การรุกฤดูใบไม้ร่วง กองทัพเยอรมนีใช้ปืนใหญ่เพียงเล็กน้อยและจะ
แทรกซึมผ่านกองทหารข้าศึกทีอ่ ่อนแอแทน การโจมตีของกองทัพเยอรมนี
155/665

ได้ผ่านพื้นทีบ่ ัญชาการ และพื้นที่ส่งกำลังบำรุง โดยไม่พบกับการต้านทาน


อย่างหนาแน่น หลังจากทีก่ ารต้านทานถูกปิดล้อมไว้แล้ว ทหารเยอรมนีที่
แข็งแกร่งกว่าก็จะเข้าบดขยี้ในภายหลัง โดยความสำเร็จของฝ่ายเยอรมนี
นั้นเกิดขึ้นด้วยความประหลาดใจของฝ่ายศัตรู
ทหารเยอรมนีรุกเข้าใกล้กรุงปารีส โดยอยู่ห่างออกไปเพียง 120
กิโลเมตรเท่านั้น โดยเยอรมนีได้ยิงปืนใหญ่รถไฟกว่า 183 นัดเข้าใส่กรุง
ปารีส ทำให้ชาว ปารีสจำนวนมากต้องหลบภัย การรุกในช่วงแรกประสบ
ความสำเร็จอย่างงดงาม จนกระทั่งจักรพรรดิไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ทรง
ประกาศให้วันที่ 24 มีนาคมเป็นวันหยุดราชการ ชาวเยอรมนีจำนวนมาก
คิดว่าชัยชนะของสงครามอยู่ใกล้แค่เอื้อมแล้ว หลังจากการต่อสู้อย่างหนัก
ปรากฏว่าการรุกของเยอรมนีหยุดชะงักไป การขาดแคลนรถถังหรือ
ปืนใหญ่เคลื่อนที่ทำให้ฝ่ายเยอรมนีไม่สามารถรวมกำลังกันรุกต่อไปได้
การรุกที่หยุดลงอย่างกะทันหันยังเป็นผลมาจากกองกำลัง จักรวรรดิ
ออสเตรียจำนวนสี่กองพล ซึ่งสามารถยับยั้งการบุกของกองทัพเยอรมนี
ได้ และจากนั้นกองพลออสเตรเลียที่ 1 ถูกส่งออกไปป้องกันการบุกครั้งที่
2ของเยอรมนีทางเหนืออีกครั้งหนึ่ง
ส่วนทางด้านกองพลอเมริกัน ซึ่งนายพลเพอร์ชิงพยายามจะให้มี
อำนาจบัญชาการเป็นของตนเอง ถูกมอบหมายให้อยูภ่ ายใต้อำนาจ
บัญชาการ ของจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มีนาคม จาก
การก่อตั้งสภาสูงสุดกองกำลังฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน นาย
156/665

พลฟอชได้รับตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทัพพันธมิตรสูงสุด แต่นายพลคน


อื่นๆ ก็พยายามสงวนการควบคุมทางยุทธวิธีเหนือกองทัพของตนเองเอาไว้
นายพลฟอชจึงแสดงบทบาท ร่วม แทนทีจ่ ะบัญชาการกองทัพอังกฤษ
ฝรั่งเศสหรืออเมริกันโดยตรง ซึ่งแต่ละ กองทัพก็ยังคงปฏิบัติการเป็น
เอกเทศต่อกัน
หลังจากปฏิบัติการมิคาเอล เยอรมนีได้เริ่มปฏิบัติการจอร์เจตต์ โดย
พุ่งเป้าไปยังเมืองท่าที่ติดกับช่องแคบอังกฤษทางตอนเหนือ แต่กองทัพ
พันธมิตร สามารถยับยั้งกองทัพเยอรมนีได้ โดยที่เยอรมนีได้ดินแดนเพิ่ม
มาเพียงเล็กน้อย ส่วนกองทัพเยอรมนีทางใต้ได้เริ่มปฏิบัติการบลือเชอร์
และยอร์ค โดยพุ่งเป้าไปยังกรุงปารีส ส่วนปฏิบัติการมาร์นเริ่มขึ้นเมื่อวันที่
15 กรกฎาคม ในความพยายามทีจ่ ะล้อมเมืองแรมส์ และจุดเริ่มต้นของ
ยุทธการแม่น้ำมาร์นครั้งที่ 2
แต่ฝ่ายพันธมิตรก็สามารถเอาชนะได้อีกครั้ง โดยเป็นการบุกที่
ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกของสงคราม
157/665

นายพล เฟอร์ดินานด์ ฟอช ผู้บัญชาการทหารฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1

เมื่อถึงวันที่ 20 กรกฎาคม กองทัพเยอรมนี ถูกผลักดันออกไป


จนถึงจุดเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง โดยที่ฝ่ายเยอรมนีไม่สามารถบรรลุ
จุดประสงค์ทางการทหาร ได้เลย เมื่อสงครามทางตะวันตกมาถึงขั้นนี้แล้ว
เยอรมนีไม่อาจจะเป็นฝ่ายบุกก่อนได้อีกต่อไป ความสูญเสียของกองทัพ
เยอรมนีระหว่างเดือนมีนาคมและ เดือนเมษายนอยูท่ ี่ประมาณ 270,000
นาย รวมไปถึงทหารวายุ ซึ่งได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ผลที่เกิดขึ้นทำ
158/665

ให้เกิดการรณรงค์ต่อต้านสงครามอย่างหนักในเยอรมนี และกำลังใจของ
ทหารในกองทัพถดถอย ผลผลิตทางอุตสาหกรรมทรุดลงอย่างหนัก โดย
คิดเป็น 53% ของผลผลิตทางอุตสาหกรรมในปี 1913
ชัยชนะที่มาเยือนของสัมพันธมิตร
เมื่อกองทัพอเมริกันหน่วยแรกได้เริ่มต้นเข้าทำสงครามในเดือน
เมษายน 1918 โดย การเข้าไปเป็นฝ่ายผลัดเปลี่ยนกับทหารของฝรั่งเศส
และอังกฤษ ทหารอเมริกันที่ยังไม่ชำนาญจึงมักจะทำให้เสียพื้นที่อยู่เสมอ
จนกระทั่งผ่าน การต่อสู้มาระยะหนึ่งจึงเริ่มมีความคุ้นเคยกับการทำ
สงครามมากขึ้น
นายพลเพอร์ชิงได้ขอร้องให้ทหารอเมริกาได้เข้ารับผิดชอบใน
ส่วนหนึ่งของแนวรบ และให้ถือแยกออกเป็นกองทัพหนึ่งต่างหาก หลังจาก
นั้นทหารอเมริกันหน่วยที่ 2 ก็ได้เข้าโจมตีทหารเยอรมนีที่รุกเข้ามา ณ ชา
โต-ไทเออรี่ ให้แตกพ่ายและเป็นผลงานชิ้นแรกของอเมริกันที่สำเร็จ
ว่ากันว่าถึงเดือนกรกฎาคม 1918 มีทหารอเมริกันในฝรั่งเศสอยู่ถึง 1
ล้านคน ซึ่งนับว่าเป็นการเข้ามาได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้เพราะเมื่อสิ้นเดือน
พฤษภาคม ทหารเยอรมนีได้เข้ามาถึงแม่น้ำมาร์นแล้วและสามารถ
ช่วยเหลือสัมพันธมิตรได้อย่างได้ผลเหมือนที่กล่าวมา
ฝ่ายพันธมิตรได้โจมตีโต้กลับ ซึ่งเป็นทีร่ ู้จักกันว่าหรือเรียกกันว่า
การรุกร้อยวัน เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1918 ในยุทธการแห่งอเมนส์
กองทัพพันธมิตรสามารถรุกเข้าไปในแนวรบเยอรมนีได้ 12 กิโลเมตรใน
159/665

เวลาเพียง 7 ชั่วโมง นายพลอิริค ลูเดนดอร์ฟได้กล่าวถึงวันนีว้ ่าเป็น “วัน


อันมืดมนของกองทัพเยอรมนี”
กองทัพฝ่ายพันธมิตรนำโดยกองทัพผสมออสเตรเลีย-แคนาดาที่อ
เมนส์ และสนับสนุนการเดินทัพของกองทัพอังกฤษไปทางทิศเหนือ และ
กองทัพฝรั่งเศสไปทางทิศใต้ ขณะที่การต้านทานของฝ่ายเยอรมนีที่มตี ่อ
แนวรบกองทัพ อังกฤษที่สี่ที่อเมนส์
หลังจากทีก่ องทัพอังกฤษสามารถรุกเข้าไปได้ 23 กิโลเมตร และ
สามารถ ยุตกิ ารรบลงได้ ส่วนกองทัพฝรั่งเศสที่สามได้ขยายแนวรบที่อ
เมนส์ในวันที่ 10 สิงหาคม ขณะที่อยูท่ างปีกขวาของกองทัพฝรั่งเศสที่ 1
และสามารถรุกเข้าไปได้ 6 กิโลเมตร เข้าปลดปล่อยเมืองลาร์ชญ ิ ี ในการ
รบทีด่ ำเนินต่อไปจนกระทั่งถึงวันที่ 16 สิงหาคม ส่วนทางตอนใต้ นายพล
มานแชงได้นำกองทัพฝรั่งเศสที่สิบมุ่งหน้าไปยังเมืองชัวสซอนส์ในวันที่ 20
สิงหาคม และสามารถจับทหารข้าศึกเป็นเชลยได้กว่าแปดพันคน ปืนใหญ่
สองร้อยกระบอกและที่ราบสูงแอเนอ ซึ่งเป็นการกดดันทหารเยอรมนีซึ่ง
ประจำอยู่ทางตอนเหนือของเวสเลอ ซึ่งเป็น “วันอันมืดมน” อีกวันหนึ่งที่
นายพลลูเดนดอร์ฟได้กล่าวถึง
160/665

ทหารช่างอเมริกาเดินทางกลับจากแนวหน้าในสมรภูมิเซนต์มิอิล(Battle of St Mihiel)ส่วนหนึ่ง
ในการสงครามการรุกร้อยสันในปี 1918

ขณะที่กองทัพอังกฤษที่สามภายใต้การบัญชาการของนายพลบีนง
พบว่าแนวรบของข้าศึกเปราะบางลงเนื่องจากมีการถอนกำลังออกไป จึงได้
โจมตีด้วยรถถัง 200 คันไปยังเมืองบาโปม และในยุทธการแห่งอัลเบิร์ต
กองทัพดังกล่าวได้รับคำสั่งเฉพาะว่า “ทำลายแนวรบของข้าศึก เพื่อที่จะ
โอบหลังแนวรบ ของศัตรู ณ เวลานี้” (ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับกองทัพอังกฤษ
ทีส่ ี่ทเี่ มืองอเมนส์) ผู้บัญชาการทหารฝ่ายพันธมิตรพบว่าการโจมตีทางจุด
ต้านทานของศัตรูทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และเห็นว่าควรจะผ่านจุด
เหล่านีไ้ ป จากนั้นจึงมีการโจมตี อย่างรวดเร็วเพื่อชิงความได้เปรียบจาก
การโจมตีที่ประสบความสำเร็จ และยกเลิกการโจมตีหากพบว่าความเร็วใน
การรุกลดลงจากเดิมแล้ว
161/665

เมื่อเยอรมนีถอยไปเรื่อยจนถึงแนวฮินเดนเบิร์ก อเมริกันรบครั้ง
ใหญ่และชนะที่แซงต์มีฮิลและอาร์กอนน์ อังกฤษในขณะนั้นกำลังรบพุ่งอยู่
ทางเหนือ และมีชัยต่อเนื่องหลายแห่ง ในเดือนตุลาคม แนวรบฮินเดน
เบิร์กก็แตก ซึ่งก็ถึงเวลาที่ทางเสนาธิการเยอรมนีจะต้องคิดแล้วว่าจะยอม
ให้เยอรมนีถูกบุกหรือ ยอมเจรจาสันติภาพ ---
7

สงครามสิ้นสุด สันติภาพกำลังมา
เยือน
หลังฮินเดนเบิร์กแตก ก็ดูเหมือนจะถึงเวลาที่เยอรมนีต้อง
ยอมรับความจริงของความพ่ายแพ้แล้ว ในเดือนกันยายน บัลแกเรีย ได้
ขอทำสัญญาสันติภาพขึ้นทั้งนี้เพราะบัลแกเรียแพ้สงครามแก่กรีซและ
เซอร์เบีย
ในเดือนตุลาคมทหารอังกฤษภายใต้การบังคับบัญชาของของนายพล
แอลเลนบาย ได้รบชนะตุรกี ทั้งเข้ายึดเมโสโปเตเมีย ซีเรีย และ
ปาเลสไตน์ไว้ได้
ขณะทีท่ างด้านออสเตรีย ก็มีปัญหาภายในประเทศอย่างหนักจนใกล้
จะเกิดการปฏิวัติภายในขึ้นมาแล้ว
163/665

ส่วนอิตาลี เวลานั้นก็ดูเหมือนจะมีกำลังใจขึ้นมาเพื่อเห็นและรับรู้ถึง
ชัยชนะอย่างต่อเนื่องของฝ่ายสัมพันธมิตร ดังนั้นจึงได้รวบรวมพลเข้าไปตี
แนวรบ ด้านออสเตรีย และได้ดินแดนที่อิตาลีต้องเสียไปก่อนหน้าเมื่อครั้ง
ทีแ่ พ้ ณ คอปอเรตโต กลับคืนมาหมด ส่วนจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีก็
เกิดมีกลุ่มชาตินิยม หลายกลุ่มลุกขึ้นมาก่อการกบฏ พร้อมกับตั้งรัฐบาล
ปกครองตัวเองขึ้นมา แล้วแยกเป็นพวกๆ กันไป
ดังนั้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 1918 ออสเตรียจึงได้ขอสงบศึก และ
อีกสองสามวันต่อมากษัตริย์ออสเตรียก็ได้ประกาศสละราชบัลลังก์
ฝ่ายเยอรมนีที่ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้วในเวลานั้น จำเป็นที่จะต้องขอ
ทำสัญญาสงบศึกด้วย ทั้งนี้เพราะเมื่อเยอรมนีต้องสูญเสียพันธมิตรไป
พร้อมกันพลเมืองในประเทศก็เริ่มอดอยาก หิวโหย มีการหลอกหลวง
และกำลังเสื่อมโทรม อย่างหนัก พร้อมกันบรรดาทหารก็กำลังสูญเสีย
ความเชื่อมั่นอย่างหนัก ทีส่ ำคัญ ยิ่งไปกว่านั้นชาวเมืองและสังคมเยอรมนี
กำลังหวาดเสียวต่อฤดูหนาวที่กำลังจะมาเยือน ทั้งนี้เพราะความพ่ายแพ้
และยืดเยื้ออย่างต่อเนื่องของสงครามทำให้ เยอรมนีต้องเข้าสู่ภาวะ
ขาดแคลนหากผู้คนต้องฝ่าความหนาวของฤดูหนาวครั้งใหม่โดยที่ไม่มี
อะไรพอเพียงแล้วละก็การจลาจลและปัญหาอื่นๆ ต้องติดตาม มาอีกมาก
เมื่อกองทัพเรือถูกคำสั่งให้ออกทะเลเพื่อมิให้ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรเข้า
โจมตี บรรดาลูกเรือต่างรู้ดีว่าพวกตัวเองจะต้องประสบกับความหายนะ
164/665

กลางทะเลหลวงแน่นอน ดังนั้นจึงร่วมกันก่อการจลาจลขึ้นมา ซึ่งการ


จลาจลนี้กลาย เป็นการปฏิวัติที่ลุกลามไปทั่วทางเหนือของเยอรมนี
เวลานั้นฝ่ายสัมพันธมิตรยังไม่ยอมทำสัญญาสงบศึกกับรัฐบาล
เยอรมนี ไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 จึงจำต้องลงออกจากราชสมบัติแล้วหนีไป
อยูท่ ี่เนเธอร์แลนด์ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นแล้วเยอรมนีจึงได้รับการ
ประกาศให้เป็นสาธารณรัฐ และฟริดริค อีแบร์ ได้รับเลือกให้เข้ามาเป็น
ประธานาธิบดี
ตอนห้านาฬิกาของเช้าตรู่วันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 การสงบศึก
ระหว่าง ฝ่ายพันธมิตรกับเยอรมนีได้มีการลงนามในรถไฟโดยสารในป่า
กองเปียญ ซึ่งถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1 บนแนวรบด้าน
ตะวันตก ผู้ลงนาม หลัก ได้แก่ จอมพล เฟอร์ดินานด์ ฟอช ผู้บัญชาการ
สูงสุดฝ่ายพันธมิตร และมัทธิอัส เออร์ซเบอร์เกอร์ ผู้แทนของเยอรมนี
การสงบศึกดังกล่าวเป็นข้อตกลง ทางทหารซึ่งเป็นความพ่ายแพ้อย่าง
เด็ดขาดของเยอรมนี หากแต่มิใช่ทั้งการยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขหรือ
สนธิสัญญา
โดยมีเงื่อนไขที่รุนแรงมาก ดังนี้
ให้สิ้นสุดความเป็นปรปักษ์ทางทหารภายใน 6 ชั่วโมงหลังจากการ
ลงนาม
ให้มีการเคลื่อนย้ายกองกำลังเยอรมันทั้งหมดออกจากฝรั่งเศส
เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และอัลซาซ-ลอร์เรนในทันที
165/665

ให้การเคลื่อนย้ายกองกำลังเยอรมันทั้งหมดออกจากดินแดนทาง
ตะวัน ตกของแม่น้ำไรน์ บวกรัศมีหัวสะพานอีก 30 กิโลเมตรจากทางขวา
ของแม่น้ำไรน์ทเี่ มืองไมนซ์ โคเบลนซ์ และโคโลญน์ พร้อมทั้งให้มกี าร
ยึดครองโดยกองกำลังพันธมิตรและสหรัฐอเมริกาในภายหลัง
ให้ถอนกำลังเยอรมันทั้งหมดในแนวรบด้านตะวันออกไปยังดินแดน
เยอรมันเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1914

พลเรือนฝรั่งเศสเก็บกวาดซากปรักหักพังในมาตุภูมิ

ปฏิเสธสนธิสัญญาเบรสต์-ลีตอฟส์กับรัสเซียและสนธิสัญญาบูคา
เรสต์กับโรมาเนีย
166/665

พันธมิตรจะกักกันกองเรือเยอรมัน
และให้มีการส่งมอบยุทธปัจจัย: ปืนใหญ่ 5,000 กระบอก ปืนกล
25,000 กระบอก ปืนครก 3,000 กระบอก เครื่องบิน 1,700 ลำ
เครื่องยนต์รถจักร 5,000 เครื่อง และรถเดินราง 150,000 คัน
ในเวลา 11 นาฬิกา วันเดียวกันนั้น การสงบศึกก็มีผลทราบหรือรับรู้
กันทั่วไป เสียงปืนใหญ่ทยี่ ังคงดังต่อเนื่องสงบลงทันที ฝ่ายพลเรือนทำการ
เฉลิม ฉลองกันอย่างเต็มที่ และรอยยิ้มก็เริ่มเบิกบานบนใบหน้าชนชาว
ยุโรปและชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง ปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 1 ลงอย่าง
เรียบร้อยแล้ว
ค่าเสียหายของผู้พ่ายแพ้
หลังความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและมหาอำนาจกลางเกิดขึ้นและสิ้นสุด
สงครามโลกครั้งที่ 1 ลง คณะผู้แทนฝ่ายสัมพันธมิตรได้ร่วมประชุมกันที่
พระราช วังแวร์ซายส์ ในฝรั่งเศส เมื่อเดือนมกราคม 1919 ประกอบด้วย
ประเทศผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรห้าประเทศคือ บริเทนใหญ่ ฝรั่งเศส
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอิตาลี และผู้แทนของชาติต่างๆ รวม 32 ชาติมา
ร่วมประชุม ในการประชุมนั้นได้มีการดำเนินการร่างสนธิสัญญาสงบศึกขึ้น
การเจรจาระหว่างฝ่ายพันธมิตรเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 1919
ในอาคาร Salle de l'Horloge ของกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส โดย
เริ่มจากการประชุม ของคณะผู้แทน 70 คนจาก 26 ประเทศมีส่วนร่วมใน
การประชุม ส่วนเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ผู้แพ้สงครามถูกยกเว้นไม่ได้
167/665

รับเชิญเข้าร่วมประชุม สหภาพโซเวียต(เปลี่ยนมาจากรุสเซียแล้ว)ก็ถูกห้าม
มิให้เข้าประชุมด้วย เนื่องจากได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพแยกต่างหากกับ
เยอรมนีแล้วในปี 1917
จนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม 1919 บทบาทที่สำคัญที่สุดของการเจรจา
ความซับซ้อนและเงื่อนไขอันยุ่งยากของสันติภาพอยู่ระหว่างการประชุมของ
“สภาสิบ” ซึ่งประกอบด้วยบุคคลสำคัญจาก 5 ประเทศผู้ชนะสงครามหลัก
เท่านั้น (สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี ญี่ปุ่น) ด้วย
รูปร่างแปลกประหลาดอันไม่เหมาะสมและไม่เป็นทางการในการตัดสินใจ
ของที่ประชุม ญี่ปุ่นจึงได้ถอนตัวออกจากการประชุมหลัก จึงเหลือเพียง
“สี่มหาอำนาจ” เท่านั้น ต่อมาภายหลัง อิตาลีก็ได้ถอนตัวจากการประชุม
เช่นกัน (กลับมาเซ็นสัญญาในเดือนมิถุนายนเพียงชั่วคราวเท่านั้น) ทำ
ให้การครอบครองฟิอูเม (ปัจจุบัน คือ ริเจกา) ถูกปฏิเสธ ดังนั้น เงื่อนไข
สุดท้ายของฝ่ายพันธมิตรจึงเหลือเพียง “สามมหาอำนาจ” เท่านั้น คือ
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ส่วนทางด้านเยอรมนีนั้นถูก
ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุม ในการเจรจา ดังกล่าวนั้น เป็นการยากที่จะ
ตัดสินใจในฐานะธรรมดาเนื่องจากว่าเป้าหมายของแต่ละประเทศแตก ต่าง
กัน ซึ่งสุดท้ายก็ได้ออกมาเป็น “การประนีประนอมอย่างไม่มีความสุข”
โดยในแต่ละประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะ 3 มหาอำนาจผูช้ นะนั้น
มีความต้องการแตกต่างกัน กล่าวคือ
168/665

เป้าหมายของฝรั่งเศสเน้นไปทางการแสวงหาความมั่นคงปลอดภัย
จาก การรุกรานของเยอรมนี จากการรบบนแนวรบด้านตะวันตก ฝรั่งเศส
สูญเสียทหารไปราว 1.5 ล้านนาย รวมไปถึงพลเรือนอีกกว่า 400,000 คน
สงครามได้สร้างความเสียหายแก่ฝรั่งเศสพอๆ กับเบลเยียม
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส จอร์จส์ คลูมองโซ ได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนใน
การล้างแค้นเยอรมนี โดยต้องการให้เยอรมนีกลายเป็นอัมพาต ทั้งทางการ
ทหาร เศรษฐกิจและการเมือง
169/665

ภาพความเสียหายของโรงพยาบาลเชลซีจากการทิ้งระเบิดโดยเรือเหาะของกองทัพอากาศฝ่าย
เยอรมัน

เจตนาของคลูมองโซนั้นชัดเจนและเรียบง่าย นั่นคือ กองทัพของ


เยอรมนี ต้องไม่ถูกทำให้อ่อนแอเพียงช่วงเวลาหนึ่ง แต่ต้องทำให้อ่อนแอ
อย่างถาวรจนกระทั่งไม่สามารถทำการรุกรานฝรั่งเศสได้อีก นอกจากนี้ เขา
ยังต้องการให้มีการทำลายเครื่องหมายของลัทธินิยมทหารของจักรวรรดิ
เยอรมันเดิม เช่นเดียว กับความต้องการปกป้องสนธิสัญญาลับและ
170/665

เรียกร้องให้ขยายการปิดล้อมทางทะเลต่อเยอรมนีต่อไปอีก เพื่อให้ฝรั่งเศส
สามารถควบคุมสินค้าเข้าและสินค้าออกของประเทศผู้แพ้สงคราม คลูมอง
โซนั้นเป็นบุคคลที่รุนแรงที่สุดในกลุ่มผู้นำทั้งสี่ จนได้รับฉายา “Tigre”
(เสือ) ด้วยเหตุผลดังกล่าว
จอร์จส์ คลูมองโซแห่งฝรั่งเศสต้องการค่าปฏิกรรมสงครามจาก
เยอรมนี เพื่อฟื้นฟูความมั่งคั่งของประเทศที่ได้รับความเสียหายและเห็นว่า
การเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามนั้นจะเป็นการทำให้เยอรมนีอ่อนแอลง
โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง ความปรารถนาที่จะเอาแคว้นอัลซาซ-ลอร์เรน ซึ่งถูก
ฉีกออกไปจากฝรั่งเศสนับตั้งแต่สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ปี 1871
กลับคืน หรือถ้าเป็นไปได้ก็แสวงหา แม่น้ำไรน์เป็นพรมแดนธรรมชาติติด
กับเยอรมนี
ขณะที่อเมริกาก็ดูเหมือนจะมีมติสวนกับฝรั่งเศสอย่างเห็นได้ชัด
กล่าวคือ นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อเดือน
เมษายน 1917 สหรัฐอเมริกาก็ต้องการให้สงครามยุติลงโดยเร็วที่สุดโดยที่
ไม่มผี ู้แพ้และผู้ชนะ ก่อนสงครามยุติ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ได้
ผลักดันให้ข้อเสนอหลักการสิบสี่ข้อ ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าความ
ต้องการอังกฤษและฝรั่งเศส ให้เป็นจุดมุ่งหมายในการทำสงครามของ
สหรัฐอเมริกา มหาชนชาวเยอรมันคิดว่าสนธิสัญญาสันติภาพควรจะมี
เงื่อนไขออกมาประมาณนี้ ซึ่งทำให้พวกเขามีความหวัง แต่ทว่าหลักการ
ดังกล่าวไม่เคยประสบผลเลย
171/665

หลักการ 14 ข้อทีอ่ เมริกาเสนอในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น


สำคัญอย่างมาก จึงขอนำกลับไปดูรายละเอียดกันก่อน ดังนี้
1. สร้างข้อตกลงแห่งสันติภาพที่ไม่ปิดบัง ตรงไปตรงมา ซึ่งจะทำให้
ปราศจากความเข้าใจส่วนตัวนานาชาติ แต่ควรจะเป็นการทูตทีเ่ ปิดเผยและ
อยู่ ในสายตาของสาธารณชน
2. เปิดเสรีในการเดินทางทางทะเล ซึ่งเป็นเขตน่านน้ำสากล ทั้งใน
ยาม สงบและยามสงคราม ยกเว้นแต่ว่าจะถูกปิดกั้นจากการกระทำของ
นานาชาติเพื่อการดำรงไว้ซึ่งข้อตกลงนานาชาติ
3. การยกเลิกการกีดกันทางการค้า และการสร้างความเท่าเทียมกัน
ทางการค้าระหว่างประเทศซึ่งได้ยินยอมในสันติภาพและมีส่วนร่วมในการ
ดำรงรักษามันไว้
4. ให้ความมั่นใจว่าจะมีการอาวุธยุทธภัณฑ์ของกองทัพนานาชาติลง
จนถึงจุดทีม่ ีความปลอดภัย ต่ำกว่าความเสี่ยงของสงคราม และสามารถ
ป้องกัน ประเทศของตนเองเท่านั้น
5. ให้ความยุติธรรมอย่างทั่วถึงในการจัดการกับอาณานิคมโพ้นทะเล
ของทุกประเทศ รวมไปถึงให้โอกาสและความสำคัญแก่การประกาศ
เอกราชของชนพื้นเมืองภายในอาณานิคม ให้มีน้ำหนักเท่ากับประเทศแม่
6. การถอนเอาอาณาเขตปรัสเซียออกไป และรวมไปถึงรกรากของ
สหภาพโซเวียตนั้นเป็นการปลอดภัยและเสรีในความร่วมมือของนานาชาติ
172/665

ทีจ่ ะ เสนอโอกาสซึ่งไม่ขัดขวางและไม่อยูใ่ นฐานะที่อับอายในการที่มีสิทธิ์


เต็มทีใ่ นการ ใช้อำนาจปกครองตัวเอง เพื่อการพัฒนาทางการเมืองและ
นโยบายแห่งชาติของตัวเอง รวมไปถึงการให้ความรับรองแก่
สหภาพโซเวียตที่จะเข้าสู่เวทีนานา ชาติภายใต้สถาบันที่ได้จัดตั้งขึ้นมาเอง
และนอกจากนั้น ให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพโซเวียตในทุกวิถีทาง การ
ปฏิบัตติ ่อสหภาพโซเวียตโดยประเทศอื่นๆ ในช่วงเวลาต่อมานั้นก็ 7 เป็น
การทดสอบสำหรับจุดประสงค์ของแต่ละประเทศ และเปิดโอกาสให้
สหภาพโซเวียตมีความสนใจของตน ด้วยความใจกว้างและด้วยปัญญา
7. เบลเยียม ควรจะถูกกำหนดให้ได้รับการฟื้นฟูจากนานาชาติ โดย
ปราศจากความพยายามที่จะจำกัดเอกราชให้เท่าเทียมกับประเทศเสรีอื่นๆ
โดยการ กระทำดังกล่าวนั้นจะเป็นการฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างประเทศ
ในกฎหมายซึ่งพวก เขาได้จัดตั้งเองและตั้งใจแน่วแน่ที่จะสร้างความ
สัมพันธ์กับชาติอื่นๆ ผลจากการกระทำดังกล่าวจะเป็นการรักษาความ
มั่นคงของกฎหมาย นานาชาติอีกด้วย
8. ดินแดนของฝรั่งเศสทั้งหมดควรจะได้รับอิสระและฟื้นฟูส่วนที่
เสียหายจากสงคราม และความผิดของปรัสเซียต่อฝรั่งเศสในปี 1871
เกี่ยวกับมณฑลอัลซาซ-ลอร์เรน ซึ่งไม่ได้ชำระสะสางสันติภาพของโลกมา
เป็นเวลากว่า ครึ่งศตวรรษ ควรจะถูกทำให้ถูกต้อง เพื่อให้สันติภาพได้รับ
การดูแลรักษาอย่างมั่นคง
173/665

9. ควรจะมีการปรับแนวเขตแดนของประเทศอิตาลีควรจะตั้งอยู่บน
แนวเขตแดนของชาติที่สามารถจำได้
10. ประชาชนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเดิม ควรจะได้รับการ
ป้องกัน และช่วยเหลือ รวมไปถึงได้รับโอกาสอย่างเสรีที่จะพัฒนาตนเอง
11. โรมาเนีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกรควรจะได้รับการฟื้นฟูจาก
ความ เสียหายของสงคราม เซอร์เบียมีอาณาเขตทางออกสู่ทะเล และความ
สัมพันธ์ระหว่างรัฐบอลข่านต่อกันนั้นตั้งอยู่บนคำแนะนำของชาติพันธมิตร
ตามประวัติ ศาสตร์บนเส้นของความจงรักภักดีและความรักชาติ และ
นานาชาติสมควรที่จะรับรองความเป็นอิสระทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ
รวมไปถึงความมั่นคงในดินแดนของตน
12. ส่วนแบ่งของตุรกีจากจักรวรรดิออตโตมันเดิมควรจะได้รับความ
ช่วย เหลือให้มเี อกราช แต่เชื้อชาติอื่นๆ ซึ่งตอนนี้อยูภ่ ายใต้การปกครอง
ของตุรกีควรจะได้รับการรับรองถึงความปลอดภัยในชีวิตและโอกาสอย่าง
เสรีทจี่ ะได้รับการพัฒนาตนเอง และช่องแคบดาร์ดาแนลส์ควรจะถูกเปิด
เป็นเส้นทางเดิน เรือเสรีแก่ทุกประเทศ
13. รัฐอิสระของโปแลนด์ควรจะถูกสถาปนาขึ้นซึ่งรวมไปถึงดินแดน
ทีป่ ระชาชนโปแลนด์อาศัยอยู่ ซึ่งควรจะถูกรับรองทางออกสู่ทะเลเป็นของ
ตัวเอง รวมไปถึงความเป็นอิสระทางการเมืองและเศรษฐกิจ และความ
มั่นคงในดินแดนของตนตามข้อตกลงของนานาชาติ
174/665

14. การรวมตัวกันของประชาชาติควรจะถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้พันธะที่
แน่นอนเพื่อจุดประสงค์ที่สามารถให้ความช่วยเหลือกันได้กับทุกฝ่าย และ
ให้ การรับรองแก่รัฐที่มขี นาดเล็กกว่าเทียบเท่ากับตนเอง โดยการจัดตั้ง
องค์การสันนิบาตชาติขึ้นมา
ในการประชุมเพื่อร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์หลักการสิบสี่ข้อนี้ถูก
อภิปรายจนตกไปในที่สุด
ขณะทีอ่ ังกฤษ ก็มแี นวความคิดอีกอย่างหนึ่ง กล่าวคือ
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด ลอยด์ จอร์จ ได้สนับสนุนการเรียกเก็บ
ค่าปฏิกรรมสงครามจากเยอรมนีเช่นเดียวกัน แต่ในขอบเขตทีน่ ้อยกว่าการ
เรียกร้องของฝรั่งเศส อังกฤษเพียงแต่วางแผนที่จะฟื้นฟูสถานะของ
เยอรมนีให้เป็นประเทศคู่ค้าของอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้น เขายัง
กังวลกับข้อเสนอของวิลสันเกี่ยวกับการกำหนด การปกครองด้วยตนเอง
และต้องการปกปักรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตน ซึ่งเหมือนกับ
ฝรั่งเศส โดยสภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันระหว่าง
ประเทศทีย่ ิ่งใหญ่ที่สุดของโลกสองแห่ง ซึ่งได้มีส่วนในการรบเพื่อรักษา
ผลประโยชน์ของตน เดวิด ลอยด์ จอร์จก็เป็นผู้นำอีกคนหนึ่งที่สนับสนุน
การปิดล้อมทางทะเลกับเยอรมนีและสนธิสัญญาลับ
มีคำกล่าวบ่อยๆ ว่าลอยด์ จอร์จเดินทางสายกลางระหว่างข้อเสนอ
อันเพ้อฝันของวิลสันและข้อเสนอพยาบาทของคลูมองโซ อย่างไรก็ตาม
ข้อเสนอของเขานั้นเป็นข้อเสนอที่แสนบอบบางกว่าที่ปรากฏในตอนแรก
175/665

มหาชนชาวอังกฤษต้องการให้เกิดการลงโทษเยอรมนีให้หนักเหมือนกับ
ข้อเสนอของฝรั่งเศส เพื่อให้รับผิดชอบต่อผลของสงครามที่เกิดขึ้น และได้
สัญญาไว้เช่นสนธิสัญญา การเลือกตั้ง ค.ศ. 1918 ซึ่งลอยด์ จอร์จได้รับ
ชัยชนะ นอกจากนั้นยังมีการบีบคั้นจากพรรคอนุรักษนิยม ในความ
ต้องการแบบเดียวกันกับชาวอังกฤษ เพื่อปกปักรักษาจักรวรรดิอังกฤษ
ซึ่งสุดท้ายก็สามารถร่วมกันร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ค.ศ. 1919
สำเร็จขึ้นมา โดยมีสาระสำคัญพอสรุปออกมาได้ว่า
1. เยอรมนีต้องคืนมณฑลอัลซาซ-ลอร์เรนให้กับฝรั่งเศส
2. ดินแดนบางส่วนของเยอรมนีตะวันออก (ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำ
ไรน์) ให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ายึดครอง
3. เยอรมนีต้องมอบวัสดุในการทำสงคราม กองทัพเรือ เรือรบใต้น้ำ
ตลอดจนเรือสินค้าให้แก่ฝ่ายพันธมิตร
4. กำหนดให้เยอรมนีมีกำลังทหารไม่เกิน 1 แสนคน
5. ห้ามเยอรมนีมีรถถัง เครื่องบิน และปืนใหญ่ขนาดหนัก
6. การลงทุนเป็นเจ้าของของเยอรมนีในต่างแดนต้องถอนคืน โดย
มอบ ให้ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น เข้าปกครองในนามของสันนิบาตชาติ
7. มณฑลเกียวเจาของจีน ให้ประเทศญี่ปุ่นเข้าปกครองชั่วคราว
8. ให้มีการลงโทษผู้กระทำผิดในสงคราม และให้เยอรมนีใช้ค่า
ปฏิมา กรรมสงคราม
176/665

9. ห้ามเยอรมนีเข้าเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตชาติ
10. ประเทศโปแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และฟินแลนด์ได้
รับเอกราช
ผู้แทนของเยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้เมื่อวันที่ 28
มิถุนายน 1919
กล่าวกันว่าความทารุณโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้
ประเทศคู่ สงครามมีความเกลียดชังและอาฆาตกันอย่างรุนแรง เมื่อ
สงครามสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ฝ่ายที่ชนะจึง
บีบบังคับให้ฝ่ายแพ้ ยอมรับเงื่อนไขในสนธิสัญญาสันติภาพ
การบีบบังคับให้เยอรมนีลงนามในครั้งนั้นมีผลทำให้เยอรมนีต้อง
สูญเสีย ดินแดนของตัวเองให้แก่ประเทศรอบข้าง เช่น ดินแดนส่วนใหญ่
ในปรัสเซียตะวันตกทีต่ ่อมาเรียกว่า ฉนวนโปแลนด์ ให้แก่โปแลนด์ ซึ่ง
ดินแดนดังกล่าวนี้ทำให้โปแลนด์มที างออกสู่ทะเลบอลติก นอกจากนั้น
เยอรมนีต้องสูญเสียดินแดนทางด้านตะวันออกอีกมากมาย คิดเป็นร้อยละ
13.1 ของอาณาเขตเยอรมนี ก่อนสงคราม และสูญเสียพลเมืองไป
ประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนพลเมืองของเยอรมนีก่อนสงคราม และ
อื่นๆ อีกมากมาย
รายละเอียดในการเสียดินแดนของจักรวรรดิเยอรมนีในครั้งนั้นมี
ดังนี้
177/665

* อำนาจอธิปไตยของอัลซาซ-ลอร์เรน ซึ่งเป็นดินแดนของเยอรมนี
ตามสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1871 ให้คืนแก่
ฝรั่งเศส (คิดเป็นดินแดน 14,522 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ
1,815,000 คน (ประมาณการปี 1905) คลูมองโซเชื่อมั่นว่าเยอรมนีมี
ประชากรมากเกินไป และการยึดครองดินแดนอัลซาซ-ลอร์เรนดังกล่าวจะ
เป็นการทำให้เยอรมนีอ่อนแอลงและทำให้ฝรั่งเศสแข็งแกร่งขึ้น
* ดินแดนชเลวิกตอนเหนือต้องคืนให้แก่เดนมาร์ก ตามผลของการ
ลงประชามติ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1920 (คิดเป็นดินแดน 3,984
ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 163,600 คน) ส่วนดินแดนชเลสวิก
ตอนกลาง รวมทั้งเมืองเฟลนส์เบิร์ก ยังคงเป็นของเยอรมนี จากผลของ
การลงประชามติในปี 1920
* ส่วนใหญ่ของแคว้นโพเซนและปรัสเซียตะวันตก ซึ่งปรัสเซียได้รับ
มาหลังจากการแบ่งดินแดนโปแลนด์ เมื่อปี 1772-1795 ต้องคืนให้แก่
โปแลนด์ (คิดเป็นดินแดน 53,800 ตารางกิโลเมตร รวมไปถึงดินแดน
510 ตารางกิโลเมตร ประชากร 26,000 คน จากอัปเปอร์ซิลีเซีย) ซึ่ง
ดินแดนส่วนที่ฉีกออกมานั้นได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของโปแลนด์
อย่างสมบูรณ์หลังจากเหตุการณ์ก่อจลาจลเมื่อปี 1918-1919 แต่ประชาชน
ไม่ยอมรับการลงประชามติ การรวมเอาดินแดนปรัสเซียตะวันตกและการ
ละเมิดสิทธิชนกลุ่มน้อยของรัฐโปแลนด์ ทำให้พลเมืองปรัสเซียตะวันตก
178/665

อพยพสู่ดินแดนเยอรมนีเป็นจำนวนมากในช่วง ทศวรรษ 1920 โดยคิด


เป็นกว่า 1,000,000 คนในปี 1919 และอีกกว่า 750,000 คนในปี 1926
* ยกดินแดนฮุลทชิน ของอัปเปอร์ซลิ ีเซีย ให้แก่เชคโกสโลวาเกีย
(คิดเป็น ดินแดน 333 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 49,000 คน)
โดยปราศจากการลงประชามติ
* ยกทางตะวันออกของแคว้นอัปเปอร์ซิลีเซียให้แก่โปแลนด์ (คิด
เป็นดินแดน 3,214 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 965,000 คน)
โดย 2 ใน 3รวมเข้ากับเยอรมนี และอีก 1 ใน 3 รวมเข้ากับโปแลนด์ตาม
ผลของการลงประชามติ
* ยกมอเรสเนต ยูเพนและมาเมลคืนให้เบลเยียม รวมไปถึงยก
รางรถไฟ เวนบานให้แก่เบลเยียมด้วย
* ยกอาณาเขตของโซลเดา ในปรัสเซียตะวันออก ชุมทางรถไฟสาย
วอร์ซอ-ดานซิกที่สำคัญ ให้แก่โปแลนด์โดยไม่ต้องมีการลงประชามติ
* ยกดินแดนทางตอนเหนือของอัปเปอร์ซิลีเซีย หรือแคว้นมาเมล
ให้อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ต่อมาได้โอนให้แก่ลิทัวเนีย
* ยกดินแดนทางตะวันออกของปรัสเซียตะวันตกและทางตอนใต้
ของปรัสเซียตะวันออกให้แก่โปแลนด์ หลังจากผลการลงประชามติ
* ให้ดินแดนซาร์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของสันนิบาตชาติเป็น
เวลา 15 ปี และหลังจากครบกำหนดเวลาจะมีการลงประชามติว่าจะเลือก
179/665

รวมกับฝรั่งเศสหรือรวมกับเยอรมนีตามเดิม (ผลการออกเสียงในปี 1935


ได้รวมกับเยอรมนี) โดยในช่วงเวลาระหว่างที่อยูภ่ ายใต้การปกครองของ
สันนิบาตชาติ ผล ผลิตถ่านหินของแคว้นให้เป็นของฝรั่งเศส
* เมืองท่าดานซิก ซึ่งตั้งอยูบ่ นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวิสตูล่า ริม
ชายฝั่งทะเลบอลติก ต้องเป็นนครเสรีดานซิก ภายใต้การปกครองของ
สันนิบาตชาติ โดยปราศจากการลงประชามติ (คิดเป็นดินแดน 1,893
ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 408,000 คน (ประมาณการปี 1920)
* เยอรมนีต้องรับรองและให้ความเคารพแก่ความเป็นเอกราชของออ
ส เตรียอย่างเคร่งครัด และห้ามประเทศทั้งสองรวมเข้าด้วยกัน แม้ว่า
ประชาชนของทั้งสองฝ่ายมีความต้องการเช่นนั้น
* อาณานิคมโพ้นทะเลของเยอรมนีถูกแบ่งกันระหว่างอังกฤษ
ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพแอฟริกาใต้และเบลเยียม
ในทวีปแอฟริกา อังกฤษและฝรั่งเศสได้เยอรมันคาเมรุน (แคเมอรู
น) และโตโกแลนด์ เบลเยียมได้รูอันดา-อูรุนดีในทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา ตะวันออกของเยอรมนี โปรตุเกสได้รับ
สามเหลี่ยมคิออนกา แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนีเป็นดินแดนใน
อาณัติของสหภาพแอฟริกาใต้
ในแปซิฟิก ญี่ปุ่นได้เกาะของเยอรมนีเหนือเส้นศูนย์สูตร (หมู่เกาะ
มาร์แชลล์ หมู่เกาะแคโรไลน์ หมู่เกาะมาเรียนา หมู่เกาะปาเลา) และอ่าว
180/665

เกียวเจาในจีน เยอรมันซามัวได้รับมอบให้กับนิวซีแลนด์ เยอรมันนิวกินี


กลุ่มเกาะบิสมาร์ค และนาอูรูให้เป็นดินแดนอาณัติของออสเตรเลีย
แต่ประเด็นที่ทำให้เยอรมนีไม่พอใจมากที่สุดคือสัญญาข้อที่ 231 ใน
สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Treaty of Versailles) ซึ่งระบุว่า สงครามเกิด
ขึ้นเนื่องจาก เยอรมนีเป็นฝ่ายบุกรุก ซึ่งการยกความผิดให้ตกแก่เยอรมนี
ฝ่ายเดียวนั้น ทำให้เยอรมนีต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ในการสงครามครั้งนี้ ซึ่งผลก็คือการบีบบังคับให้เยอรมนีจ่าย
ค่าปฏิกรรมสงครามในอัตราปีละ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจนถึงปี 1921
แล้วจึงจะมีการตกลงกันใหม่อีกครั้ง
ว่ากันว่าจำนวนดังกล่าวนอกจากจะเกินความสามารถของเยอรมนีที่
จะต้องจ่ายได้แล้ว ฝ่ายผู้ชนะยังใช้มาตรการที่ทำให้เศรษฐกิจของเยอรมนี
ทรุด ลงไปอีก เช่น การที่ต้องส่งมอบเรือพาณิชย์ทั้งหมดและเรือประมง
ต้องส่ง 1 ใน 4 รวมทั้งรางรถไฟสำรองทั้งหมดให้ผู้ชนะ
ไม่เพียงเท่านั้นเยอรมนีจะต้องสร้างเรือบรรทุกที่มรี ะวาง 200,000
ตัน ชดใช้เรือของพันธมิตรที่ถูกจมอีกทุกปี และต้องส่งถ่านหินจำนวน
มหาศาลให้แก่ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยียม เป็นรายปี และยังถูกบีบบังคับอีก
หลายหลากประเด็น
เรียกว่าไม่ต้องเรียกร้องหาความเป็นธรรมกันอีกเลย และว่ากันว่า
การถูก บีบบังคับจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์นี้เองที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการ
เกิดสงคราม โลกครั้งที่ 2 ในเวลาต่อมา
181/665

แผนที่แสดงเขตแดนชาติต่างๆ ในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง

ขณะทีป่ ระเทศผู้แพ้สงครามอื่นๆ เช่น ออสเตรีย-ฮังการี ก็ได้รับการ


ปฏิบัตไิ ม่ต่างกัน จักรวรรดิของราชวงศ์ฮับส์บวร์กถูกแบ่งออกเป็นประเทศ
เล็กๆ ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นมาในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
ออสเตรียและฮังการี ถูกแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด โดยที่ต่างฝ่ายต่างมี
182/665

รัฐบาลและปกครองตัวเอง เด็ดขาด และที่สำคัญคือทั้งสองต้องแยกทำ


สัญญาสงบศึกกับฝ่ายพันธมิตร
ส่วนบัลแกเรียและตุรกีก็ได้รับการลงโทษเช่นกัน โดยตุรกีนั้นต้อง
พบกับความรุนแรงในสนธิสัญญาแซฟส์ (Treaty of Sevres) ซึ่งทำให้
ชาวตุรกีไม่พอใจมาก และนำมาสู่การเกิดขบวนการสาธารณรัฐที่นำโดยมุส
ตาฟา เคมาล ทำการปฏิวัตแิ ละเรียกร้องให้มกี ารเจรจาทำสัญญาฉบับใหม่
ขึ้นมา ซึ่งก็ได้ผลและตุรกีได้ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม
1923 ในสัญญาโลซานน์ และตุรกีได้แผ่นดินบางส่วนคืนมา
ไม่ว่าผลขอสงครามที่เกิดขึ้นมานี้จะส่งผลดีหรือร้ายต่อมหาอำนาจ
ของ โลกในช่วงเวลาดังกล่าว กระนั้นสิ่งหนึ่งที่ควรรับรู้เอาไว้ในที่นี้กค็ ือ
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและ
พันธมิตรทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงแผนที่โลกกันใหม่อีกครั้ง โดยครานี้
ได้เกิดประเทศใหม่ขึ้นในยุโรป อีกหลายประเทศ ประกอบด้วย
ออสเตรีย มีพื้นที่ 28,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 6 ล้านคน (แยก
ออกเป็นประเทศต่างหากจากฮังการี)
ฮังการี มีพื้นที่ 45,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 8 ล้านคน
เชคโกสโลวาเกีย (ประกอบด้วยแค้วนโบฮีเมีย โมราเวีย สโลวาเกีย
และ บางส่วนของไซลีเซีย) พื้นที่รวมประมาณ 5 หมื่น 4 พันตารางไมล์
มีพลเมือง 14 ล้านคน ประเทศนี้ดร.โธมัส มาซาริค เป็นผู้ประกาศตั้ง
ประเทศและรัฐบาลเฉพาะกาลในระบอบประชาธิปไตยจนถึงปี 1935
183/665

ประเทศใหม่นี้ก็เช่นกันคือมีความแตกต่างกันมาก คือมีชาวเช็ค ชาวสโล


วัก ชาวแมกยาร์ และชาวเยอรมัน เกิดปัญหาชนกลุ่มน้อยอยู่เสมอ
โดยเฉพาะชาวเยอรมันในแคว้นสุเดเทนและในโบฮีเมีย แต่กระนั้น
ประเทศนี้ก็มีความเจริญในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องแก้วและ
รองเท้า
ยูโกสลาเวีย (ประกอบด้วยแคว้นมอนเตเนโกร บอสเนีย เฮอร์เซโก
วินา ชลาโวเนีย คัลมาเซียและโครเอเชีย : ซึ่งเคยเป็นประเทศบอสเนียมา
ก่อน) รวมเนื้อที่ประมาณ 9 หมื่น 5 พันตารางไมล์ ดินแดนที่ได้มานี้
ส่วนใหญ่จะได้มาจากอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี มีพลเมือง 13 ล้านคน
การเกิดขึ้นมาของยูโกสลาเวียนี้แท้จริงก็มาจากการที่ชาวสลาฟได้รวมตัว
กันคิดที่จะเข้ารวมกับประเทศเซอร์เบีย แต่ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1
ยุติลงพวกเขาจึงรวมตัวกันเรียกชื่อประเทศตนเองว่า ยูโกสลาเวีย ซึ่ง
หมายถึงชาวสลาฟภาคใต้ มีกษัตริย์ ปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญ
ด้วยความที่ดินแดนส่วนนี้มีความแตกต่างด้านความเชื่อกันมากอยู่และมี
หลายชนเผ่า หลายศาสนา ทั้งวิธีวัฒนธรรมและ การเมืองก็ไม่เหมือนกัน
ทำให้ในเวลาต่อมาเกิดเป็นปัญหาภายในอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ชาว
เซอร์เบียนับถือคริสต์นิกายกรีกออร์ทอด็อกซ์ ขณะทีช่ าวโครเอเชีย นับถือ
นิกายโรมันคาทอลิก และเรียกร้องที่จะปกครองตนเอง ไม่เพียงเท่านั้นชาว
บอสเนียส่วนใหญ่ก็นับถือศาสนาอิสลาม เลยเกิดความแตกต่างและแปลก
แยกเรียกร้องการปกครองตนเองจนส่งผลให้ในเวลาต่อมาคือ ช่วงปี 1928
184/665

และ 1929 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ผู้ปกครองประเทศต้องทำการปราบปราม


อย่างหนักโดยใช้วิธีตามอำนาจเผด็จการ
โปแลนด์ มีพื้นที่ 120,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 12 ล้านคน มี
จอมพลโจเซฟ ฟิลซุสกี้ เป็นประมุขจนถึงปี 1935
ฟินแลนด์ มีพื้นที่ 150,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 3.5 ล้านคน
ก่อนสงครามโลกฟินแลด์ถือเป็นส่วนหนึ่งของรุสเซีย เมื่อสิ้นสงครามโลก
ชาวฟิน-แลนด์จึงเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชของตนเองสำเร็จโดย
ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ
เอสโตเนีย มีพื้นที่ 18,355 ตารางไมล์ มีพลเมืองกว่่า 1 ล้านคน
ลัตเวีย มีพื้นที่ 25,384 ตารางไมล์ มีพลเมือง 2 ล้านคน
ลิทัวเนีย มีพื้นที่ 21,000 ตารางไมล์ มีพลเมือง 3.5 ล้านคน ทั้ง 3
ชาติหลังนี้อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของรุสเซียตั้งอยู่บนฝั่งทะเลบอลติก เมื่อ
ได้เอกราชก็ปกครองประเทศในระบอบสาธารณรัฐ
ว่ากันว่า นับแต่เริ่มอารยธรรมโลกกระทั่งถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่
1 ไม่มีความเสียหายใดจะยิ่งใหญ่เท่ากับสงครามในครั้งนี้ ประเทศที่เข้า
ร่วมรบในครั้งนีม้ ีทั้งหมด 27 ประเทศ ในจำนวนนี้มปี ระเทศใหญ่ๆ 8
ประเทศ และไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งทหารไปช่วยฝ่ายสัมพันธมิตร
ในการรบที่ยุโรป
185/665

จำนวนทหารในกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรมหาอำนาจกลางมี
ประมาณ 21 ล้านคน คิดค่าสูญเสียในสงครามอย่างหยาบๆ ประมาณ
150,000,000,000 ดอลลาร์อเมริกา และประมาณว่าค่าสูญเสียในทางอ้อมก็
คงไม่น้อยไปกว่ากัน
และชีวิตที่สูญเสียก็ยากเกินกว่าจะนับได้ ทั้งนี้เพราะนอกจากที่เสีย
ไปในการรบแล้วยังพบว่ามีผู้ที่อดอยากและหิวตายไปเป็นจำนวนมาก ไม่
เพียงเท่านั้นยังมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอีกนับล้านๆ คน
ว่า กันว่าสงครามครั้งนีเ้ ป็นบทเรียนอันดียิ่งของชาวโลกในการ
แสวงหาอำนาจและการ ทำสงครามกระนั้นแท้จริงมนุษย์ก็ไม่เคยตระหนัก
ถึงความพินาศที่มากับการทำ สงครามนั้นเลย ---
8

บทสรุปสงครามโลก 1
การสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 1 นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่
โลกทั้งใบอยูไ่ ม่น้อย โดยเฉพาะภายหลังจากการลงนามในสนธิสัญญา
แวร์ซายส์แล้ว โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ซึ่งพอจะสรุปออกมา
ได้ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงในเรื่องอาณาเขต เยอรมนียอมยกมณฑลอัลซา
ซ-ลอร์เรนให้แก่ฝรั่งเศส และดินแดนบางส่วนให็แก่เบลเยียม ส่วนหนึ่ง
ของโปเสนและปรัสเซียตะวันตกให้แก่โปแลนด์ ทั้งยังต้องยกเมเมลให้แก่
ลิทัวเนีย ดานซิกให้เป็นนครอิสระ ลุ่มแม่น้ำซาร์ให้อยูภ่ ายใต้การปกครอง
ของสันนิบาตชาติ แต่ฝรั่งเศสมีสิทธิพิเศษที่จะใช้ถ่านหินที่ขุดได้จากแคว้น
ซาร์เป็นเวลา 15 ปี พลเมืองส่วนมากเป็นชาวเยอรมนี ในปี 1935 มีการลง
ประชามติว่าจะเข้าร่วมอยู่กับเยอรมนี
187/665

การเปลี่ยนแปลงในเรื่องเมืองขึ้น เยอรมนีต้องยอมยกเมืองขึ้น
ทั้งหมด ของตนเองให้กับประเทศต่างๆ นั่นคือ เมืองขึ้นในแอฟริกาแบ่ง
ให้แก่บริเทนใหญ่ เบลเยียม และฝรั่งเศส ดินแดนเกือบทั้งหมดในจีนและ
ทั้งหมดในมหาสมุทรแปซิฟิกต้องยกให้แก่ญี่ปุ่น
เกิดประเทศเอกราชขึ้น นั่นคือ โปแลนด์ ฮังการี ยูโกสลาเวีย เชก
โกสโลวาเกีย ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ และออสเตรีย

ฝูงชนสองข้างทางในนตรซานฟรานซิสโกต่างโบกไม้โบกมือต้อนรับประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันด้วย
ความยินดี

ด้านเศรษฐกิจ เยอรมนีจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่บรรดาประเทศ
ชนะ สงคราม โดยการจ่ายเป็นเงินสด เป็นวัสดุ หรือเป็นแรงงาน และจะ
188/665

ต้องจ่ายค่าเสียหายด้านผลงานศิลปะที่ถูกทำลายไป และจะต้องฟื้นฟู
เขตแดนที่ต้องเสียหายด้วยปศุสัตย์ เครื่องจักรกล และถ่านหิน
ด้านการทหาร เยอรมนีถูกกำหนดให้เหลือกำลังพลเพียง 100,000
คน และต้องมอบกระสุนและอาวุธทั้งหมดให้แก่สัมพันธมิตร เหลือเพียง
เรือรบไม่กลี่ ำในนาวีเยอรมนี ถูกบังคับให้เลิกมีเครื่องบินทหาร
ป้อมปราการที่เฮลิโกแลนด์และกีลถูกทำลายลง และดินแดนแถบ
ไรน์แลนด์เป็นเขตปลอดทหาร
การเกิดสันนิบาตชาติ สนธิสัญญาแวร์ซายส์กำหนดให้มีการจัดตั้ง
สันนิบาตชาติขึ้น โดยมีความมุ่งหมายสำคัญคือ การส่งเสริมความร่วมมือ
ระหว่างชาติ และการให้ได้มาซึ่งความสันติและความมั่นคงปลอดภัยของ
ชาติต่างๆ ความมุ่งหมายดังกล่าวนีด้ ูเหมือนจะเป็นอุดมคติ ที่
ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันยึดมั่น และได้เป็นผู้ร่างแผนเสนอที่ประชุมที่
แวร์ซายส์
ทีส่ ำคัญเหนืออื่นใด ว่ากันว่าการเกิดสงครามโลกและสิ้นสุดลง เป็น
การสิ้นสุดลงพร้อมกันกับลัทธิจักรวรรดินิยมด้วยเช่นกัน ประเทศที่เคย
แสวงหาอำนาจและการแสวงหาดินแดนเริ่มตระหนักในการควบคุมดูแล
ประเทศอื่นๆ การล่าอาณานิคมเริ่มชะงักลงพร้อมกับที่บรรดาประเทศใน
ตะวันตกเริ่มหันมาดูประเทศแม่ของตัวเองมากขึ้น
แม้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จะทำ
ให้ ผู้คนค่อนโลกเข้าใจและหวาดกลัวกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่กระนั้นก็ใช่ว่า
189/665

สงครามยิ่งใหญ่เช่นสงครามโลกครั้งที่ 1 จะไม่เกิดขึ้นมาอีก ทั้งนี้เพราะอีก


เพียงไม่กี่สิบปีต่อมาโลกก็ต้องมุ่งเข้าสู่สงครามอันยิ่งใหญ่ และเรียกกันว่า
สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สร้างความสูญเสียมากยิ่งกว่าสงครามคราวแรกนี้
อีกมากมายนัก ---
บทเสริม

สยามกับสงครามโลกครั้งที่1
ในด้านความสัมพันธ์กับนานาชาตินั้น กล่าวได้ว่า สยามหรือไทย
ในเวลา ต่อมา ได้ลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพกับทั้งสองประเทศ
มหาอำนาจ ในสอง ฝ่ายมานานพอสมควรแล้ว นั้นคือกับอังกฤษ สยาม
ได้ทำสนธิสัญญาบาวริ่งขึ้น เมื่อปี 1855 (พ.ศ. 2398) ตรงกับรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทีก่ ับกับเยอรมนีสยามก็ได้มี
การลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพการค้าและการเรือ ในปี 1862 (พ.ศ.
2405)
ช่วงทีเ่ กิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้า อยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 ได้ทรงครองราชย์อยู่ พระองค์ทรงสำเร็จการ
ศึกษาวิชาการทหารจากประเทศอังกฤษ เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์
ในปี 1910 (พ.ศ. 2453)
191/665

พระองค์ทรงสนับสนุนลัทธิชาตินิยมและการทหาร โดยการจัดตั้ง
องค์กร ลักษณะกึ่งทหาร (paramilitary) ขึ้นในประเทศสยาม เช่น ตั้ง
กองลูกเสือชาวบ้าน เป็นต้น
ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จะทรงนิยมอังกฤษอย่าง
มาก ก็ตาม เมื่ออังกฤษหรือสหราชอาณาจักรและประเทศในกลุ่ม
สัมพันธมิตรได้ประกาศสงครามต่อจักรวรรดิเยอรมนีในเดือนสิงหาคม
1914 รัฐบาลสยามก็มิได้เข้าร่วมกับฝ่ายอังกฤษ แต่ประกาศความเป็น
กลางเอาไว้
192/665

รัชกาลที่ 6 ทรงถวายเครื่องสังเวยต่อพระสยามเทวาธิราชและเทวดารักษากำภูฉัตร ในพระราชพิธี


ประกาศสงครามต่อเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 1917 (ภาพจาก
สมบัติ พลายน้อย, เรียบเรียง, 100 รอยอดีต.)

ทั้งนี้ เพราะสยามยังมีความสัมพันธ์ที่ดกี ับจักรวรรดิเยอรมนีของ


จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 อยู่ ที่สำคัญมีเจ้านายหลายพระองค์และสามัญชน
จำนวนหนึ่ง เคยเป็นนักเรียนเยอรมนีหรือกำลังเป็นนักเรียนที่เยอรมนีอยู่
193/665

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทางนิตินัยนั้นรัฐบาลได้แถลงความเป็นกลาง
ไว้ การกระทำของรัฐบาลหลายอย่างในช่วงเริ่มสงครามก็ได้บ่งบอกถึงการ
สนับสนุน ฝ่ายสัมพันธมิตร
ในปีแรกๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้พยายามชักชวน
สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่วางตัวเป็นกลางให้เข้าร่วมสงครามกับ
ฝ่ายสัมพันธ มิตร โดยเฉพาะ เมื่อสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้สูญเสีย
กำลังพลและอาวุธ ยุทโธปกรณ์จากการรบไปมาก จึงต้องการให้ประเทศ
อื่นๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ร่วมด้วย แต่ประธานาธิบดีวิลสันของสหรัฐฯ ใน
เวลานั้นยังยึดถือความเป็นกลางอย่างเหนียวแน่น
จนกระทั่งในเดือนเมษายน 1917 สหรัฐฯ จึงเข้าร่วมกับ
ฝ่ายสัมพันธมิตร ด้วยและในการที่สหรัฐฯ ร่วมสงครามกับ
ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น ทำให้มีแนวโน้มว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะชนะฝ่าย
เยอรมนี ด้วยเหตุที่สหรัฐฯ ยังมีศักยภาพ
194/665

ทหารอาสาของสยาม ร่วมเดินสวนสนามสวนสนามฉลองชัยชนะ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่


ประตูชัย ณ นครปารีส วันที่ 14 กรกฎาคม 1919

ทางการทหารทีส่ ูงมาก ฉะนั้น รัฐบาลสยามจึงเกิดความวิตกว่า ถ้า


ฝ่ายสัมพันธ มิตรชนะสงครามแล้ว ฝ่ายสัมพันธมิตรจะถือว่าความเป็น
กลางของสยามจะไม่เป็นที่พึงพอใจของฝ่ายสัมพันธมิตร
การที่สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น จะทำให้สยามมีน้ำหนัก
ในการต่อรองเรื่องสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมด้วย รัฐบาลสยามจึง
ประกาศสงคราม ต่อจักรวรรดิเยอรมนี และมิตรประเทศในวันที่ 22
กรกฎาคม 1917 (พ.ศ. 2460) คือหลังจากสงครามได้เริ่มไป 3 ปี และ
หลังจากที่พอคาดคะเนได้แล้วว่าใครจะเป็นผู้ชนะสงคราม!
195/665

การประกาศสงครามทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในหมู่ทหารกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งนิยมเยอรมนี ทหารกลุ่มนีไ้ ด้ก่อกบฏขึ้นในปีเดียวกัน (กบฏครั้งนีเ้ ป็น
กบฏครั้งที่ 2 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6) นักเรียนสยามทุกคนที่เรียนอยู่
ในเยอรมนี (ส่วนมากเป็นนักเรียนวิชาทหาร) ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควร
ถูกสั่งให้กลับหรือให้ไป เรียนต่อประเทศอื่น และได้ออกกฎหมายยึด
ทรัพย์สินสยามในจักรวรรดิเยอรมนี
ช่วงนี้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้ตกอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดใน
ประวัติ ศาสตร์ ประมาณหนึ่งปีหลังจากการประกาศสงคราม (ในเดือน
มิถุนายน 1918) สยามได้ส่งกองทัพที่มกี ำลังพล 1,300 นายไปยังฝรั่งเศส
เพื่อไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร และเพื่อแสดงต่อฝ่ายสัมพันธมิตรว่า
สยามได้เข้าร่วมสงคราม “ทางรูปธรรม” ด้วย
แต่เพียงหกเดือนหลังจากนั้น ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918
สงครามโลก ครั้งที่ 1 ก็ได้ยุติลง
ภายหลังจากการยุติสงคราม สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้หาวิธี
ลงโทษจักรวรรดิเยอรมนีอย่างเด็ดขาด จึงได้เสนอสนธิสัญญาสันติภาพ
เพื่อลดกำลังทหารของจักรวรรดิเยอรมนี และให้เยอรมนีเป็นผู้รับผิดชอบ
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากสงคราม
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บังคับให้ฝ่ายเยอรมนียอมรับสนธิสัญญานี้ ซึ่ง
แม้ว่า ฝ่ายเยอรมนีจะถือว่าสนธิสัญญานีเ้ ป็นมาตรการลงโทษที่เด็ดขาด
เกินไป แต่ก็จำต้องยอมลงนาม
196/665

สนธิสัญญานี้ได้มกี ารลงนามที่พระราชวังแวร์ซายส์ จึงมีชื่อว่า


“สนธิสัญญาแวร์ซายส์” สำหรับประเทศสยามนั้น ในฐานะที่เป็นสมาชิก
ของประเทศ ฝ่ายสัมพันธมิตรด้วย จึงได้รับสิทธิในการลงนามใน
สนธิสัญญานี้ สยามนั้นได้ส่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และ
อัครราชทูตประจำฝรั่งเศสเป็นผู้ลงนามแทนพระองค์
ในสนธิสัญญาแวร์ซายส์นี้ได้มีหมวดหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับความ
สัมพันธ์ระหว่าง ราชอาณาจักรสยามและจักรวรรดิเยอรมนีในฐานะ
ประเทศทีไ่ ด้รับชัยชนะกับประเทศ ทีป่ ราชัยในการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่
เป็นธรรมต่อสยาม กล่าวคือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัว สยาม “ถูกบังคับ” ให้ลงนามในสนธิสัญญา “มิตรภาพ” กับประเทศ
ตะวันตกหลายประเทศ ซึ่งรวมทั้งกับกลุ่มรัฐเยอรมนีด้วย โดยที่
สนธิสัญญาเหล่านี้มิได้เป็นธรรมต่อสยามเลย ตัวอย่างเช่น
1. ให้ชาวต่างชาติ ได้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (ไม่ต้องขึ้นศาลไทย
เมื่อเกิดคดี) และ
2. สยามถูกบังคับให้เก็บภาษีศุลกากรจากสินค้านำเข้าด้วยอัตราต่ำ
มาก
ฉะนั้น มาตรา 135 ของสนธิสัญญาแวร์ซายส์จึงระบุไว้ว่า
“Deutschland erkennt alle seine mit Siam geschlossenen
Vertraege samt den daraus entspringenden Rechten so
197/665

wie sein Recht auf die Konsulargerichtsbarkeit in Siam


als mit dem 22 Juli 1917 unwirksam an.”
เยอรมนีจึงได้ยกเลิกสนธิสัญญา (ที่ไม่เป็นธรรม) โดยเฉพาะที่
เกี่ยวกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (Konsulargerichtsbarkeit)
เนื่องจากจักรวรรดิเยอรมนี เป็นประเทศเดียวที่ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่
เป็นธรรมนี้ ผู้แทนสยามจึงถือโอกาส ใช้การประชุมทีแ่ วร์ซายส์เจรจากับ
ประเทศอื่นๆ เพื่อชำระสนธิสัญญาดังกล่าว เสียใหม่
แต่ความพยายามนี้ไม่สำเร็จ เพราะฝ่ายสัมพันธมิตรยังถือว่าเป็น
เรื่องที่ไม่มีความสำคัญ (จนถึงปี 1925 จึงเจรจาได้สำเร็จ)
สรุปได้ว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 มีผลต่อสยามหรือประเทศไทยอยู่
พอสมควร นั้นคือ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้สยามได้มีโอกาสที่จะยกเลิก
สนธิสัญญา ทีไ่ ม่เป็นธรรมกับประเทศทางตะวันตกได้หลายฉบับ และทำ
ให้สยามได้รับคำชื่นชมว่า เป็นส่วนหนึ่งของผู้ทรี่ ่วมพิทักษ์ปกป้องโลกใน
นามของสัมพันธมิตร แม้ว่าเราจะกระโดดเข้าร่วมเมื่อเห็นโอกาสในการที่
จะชนะแล้วก็ตามที
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจนั้นก็คือ การส่งทหารไปร่วมในการ
สงครามใน ยุโรปครั้งนีท้ ำให้ทหารของไทยได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจในวิทยาการ
การรบที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องเทคนิค
และวิธีการในการรบทางอากาศซึ่งถือเป็นของใหม่มากในเวลานั้น ---
ภาค 2
สงครามโลกครั้งที่ 2
(World War 2)
ค.ศ. 1939-1945
สงครามครั้งใหม่
199/665
1

สงครามครั้งใหม่
สงครามโลกครั้งที่ 2 ( World War II หรือ Second World
War) เป็นความขัดแย้งในวงกว้างครอบคลุมทุกทวีปและประเทศ
ส่วนใหญ่ในโลก โดยสามารถแบ่งความขัดแย้งได้เป็นสองภูมิภาค
นั้นคือ (1) ในทวีปเอเชีย บ้างว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1931 บ้างก็ว่าปี
1937 ใน สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น และอีกส่วนหนึ่งคือ (2) ในทวีป
ยุโรป เริ่มต้นเมื่อปี 1939 จากการรุกรานโปแลนด์ ของเยอรมนี และ
ดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี 1945
คาดว่ามีผเู้ สียชีวิตในสงครามครั้งนี้มากกว่า 60 ล้านคน นับเป็น
สงคราม ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตมนุษย์มากที่สุดในประวัติศาสตร์
ของมนุษยชาติ
201/665

ผู้เข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ แบ่งออกเป็นสองฝ่าย นั้นคือ


ฝ่ายสัมพันธมิตร เดิม ซึ่งประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและ
สหภาพโซเวียต
ส่วนฝ่ายตรงข้ามเรียกว่าฝ่ายอักษะ นำโดย เยอรมนี อิตาลี และ
ญี่ปุ่น
มีการระดมกำลังทหารทั้งหมดมากกว่า 100 ล้านนาย นับเป็น
สงครามขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา และเป็น “สงครามเบ็ดเสร็จ” ซึ่งได้
นำทรัพยากร ต่างๆ ไปใช้ในการสงครามโดยไม่เลือกว่าเป็นของพลเรือน
หรือทหาร
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ยังได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ของชาติ เพื่อนำไปใช้ในการทำสงคราม
202/665

4 วัน 4 คืนที่เครื่องบินรบของญี่ปุ่นปูพรมถล่มนครจุงกิงของจีน ไม่มีอะไรเหลือนอกจาก


ซากปรักหักพังเบื้องหน้าเด็กหาบน้ำกินน้ำใช้, 10 สิงหาคม 1940

ประมาณกันว่าสงครามโลกครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าราว 1 ล้าน
ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ตามค่าเงินในปี 1944 ยังผลให้เป็นสงครามที่ใช้เงิน
ทุนและชีวิต มากที่สุดด้วยเช่นกัน
ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ แต่ว่าชาติ
ตะวันตก ในทวีปยุโรปก็อ่อนกำลังลงอย่างมาก ส่งผลให้สหรัฐอเมริกากับ
สหภาพโซเวียต กลายเป็นประเทศมหาอำนาจและนำไปสูส่ งครามเย็นที่
ดำเนินต่อมาอีก 45 ปี สหประชาชาติได้รับการสถาปนาขึ้น ด้วยความหวัง
ว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งเช่นที่เกิดขึ้นนี้ได้อีก ภายหลัง
203/665

สงครามมีการเคลื่อนไหวในทวีปเอเชียและแอฟริกาเพื่อเรียกร้องเอกราช
จากการตกเป็นอาณานิคมของประเทศในยุโรป
ขณะเดียวกัน ยุโรปตะวันตกได้พยายามรวมตัวกัน ดังจะเห็นได้จาก
การ ก่อตั้งสหภาพยุโรป ในเวลาต่อมาเป็นต้น ---
2

ความเปลี่ยนแปลงหลังสงครามโลก 1
สนธิสัญญาแวร์ซายส์ อันเป็นสนธิสัญญาสันติภาพทีเ่ กิดขึ้นเพื่อ
นำมา บังคับใช้กับประเทศผู้แพ้สงครามหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น
ดังทีไ่ ด้กล่าวไปบ้างแล้วในภาคที่ผ่านมา แม้มันจะเป็นสนธิสัญญาที่เขียน
ขึ้นมาเพื่อบังคับใช้ และเพื่อเป็นการปิดฉากสงครามใหญ่ที่มนุษยชาติไม่
ต้องการพบเจออีกต่อไปก็จริงอยู่ แต่ผลของมันในเวลาต่อมากลับทำให้
สนธิสัญญาฉบับนี้ถูกมองว่าเป็น จุดระเบิดครั้งใหม่ของสงครามใหญ่ที่
กำลังจะติดตามมา
กระนั้นไม่ว่าผลที่ออกมาจะดีหรือไม่อย่างไรอย่างน้อยที่สุด
สนธิสัญญา ฉบับนี้ก็ทำให้เกิดการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้นมาใน
เวลานั้น
สันนิบาตชาติ
205/665

สันนิบาตชาติ (League of Nations) เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมกราคม


1919 ในการเจรจาเพื่อร่างสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ณ กรุงปารีส
ประธานาธิบดีวูดโรว์วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง
สันนิบาตชาติขึ้นมา โดยมีหลักการ 14 ข้อ ที่อเมริกาเสนอมาก่อนหน้านี้
โดยจะใช้เป็นหลักในการเจรจาทำสนธิสัญญาสันติภาพต่อผู้นำของประเทศ
อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลีซึ่งเป็นแนวความคิดที่จะป้องกันมิให้เกิด
สงครามร้ายแรงที่จะทำลายล้าง ประชาชาติขึ้นอีก โดยให้สถาปนาองค์การ
สันนิบาตชาติขึ้นเพื่อเป็นองค์กรกลาง ที่จะใช้แก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่าง
ประเทศ โดยสันติวิธีเพื่อดำรงรักษาสันติภาพอันถาวรไว้
ประเทศที่เป็นฝ่ายชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกประเทศได้ร่วม
ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพและเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ
โดยอัตโนมัติ ส่วนประเทศที่แพ้สงครามมีสิทธิเข้าเป็นสมาชิกขององค์การ
นีไ้ ด้แต่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาสันติภาพให้เรียบร้อยเสียก่อน ส่วน
ประเทศอื่นจะเข้าเป็นสมาชิกได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากการออกเสียง
สองในสามของประเทศสมาชิก ส่วนสหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นผู้ริเริ่มแนวคิด
การจัดตั้งองค์การนี้ กลับไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก เนื่องจากสภาคองเกรส
ของสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้สัตยาบัน
จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การสันนิบาตชาติ คือ การดำรง
สันติภาพ และป้องกันสงครามในอนาคต ประเทศสมาชิกต่างให้สัตยาบัน
ทีจ่ ะเคารพเอกราช และบูรณภาพแห่ง อาณาเขตของประเทศต่างๆ และใน
206/665

กรณีทปี่ ระเทศ สมาชิกใดถูกรุกรานทั้งทางด้านเศรษฐกิจหรือกำลังทหาร


ต้องเป็นหน้าที่ของประเทศสมาชิกอื่นในการร่วมมือกันต่อต้านผู้รุกราน
โดยองค์การสันนิบาตชาติมีหลักการในความร่วมมือกัน ดังนี้
1. ร่วมมือกันรักษาความปลอดภัยและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2. เป็นองค์กรกลางในการตัดสินชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ
3. ร่วมมือกันดำเนินการลดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์
4. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเปิดความสัมพันธ์ทาง
การทูต
การดำเนินงานขององค์การสันนิบาตชาติมีองค์กรต่างๆ ทำหน้าที่และ
รับผิดชอบ ดังนี้
สมัชชา คือ ที่ประชุมใหญ่ขององค์การ ประกอบด้วยผู้แทนของ
ประเทศ สมาชิกทั้งหมดกล่าวคือ ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจะส่ง
ผู้แทนไปประจำได้ ประเทศละ 3 คน เป็นอย่างมากแต่การออกเสียงแต่ละ
ประเทศลงคะแนนได้ 1 เสียง มีวาระการประชุมปีละครั้งเพื่อพิจารณา
ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะมีผลกระทบ ต่อสันติภาพของ
โลกคณะมนตรี ทำหน้าทีเ่ ป็นผู้บริหารองค์การประกอบด้วยสมาชิก
ประ เภทถาวร 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี และญี่ปุ่น และ
สมาชิกประ เภทไม่ถาวร ที่มาจากการเลือกตั้งอีก 4 ประเทศ คณะมนตรี
207/665

นีป้ ระชุมกันปีละครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เป็นภัยคุกคามต่อ


สันติภาพของโลกและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของสมัชชา
สำนักงานเลขาธิการ มีเลขาธิการซึ่งได้รับเลือกจากคณะมนตรีมี
หน้าที่ เป็นสำนักงาน จัดทำรายงานรักษาเอกสารหลักฐาน อำนวยการวิจัย
และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ
คณะกรรมาธิการ มีคณะกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ
กิจการด้าน เศรษฐกิจและสังคม ได้แก่
องค์การอนามัยระหว่างประเทศ สำนักแรงงานสากล
คณะกรรมาธิการฝ่ายดินแดนในอาณัติศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ทำหน้าทีเ่ กี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีต่างๆ และ
กรณี พิพาทเกี่ยว กับพรมแดนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วย
ผู้พิพากษา 15 คน
การปฏิบัติงานขององค์การสันนิบาตชาติในฐานะองค์
การระหว่างประเทศอาจนับได้ว่าล้มเหลวแม้ได้ทำการแก้ไขปัญหา
ข้อขัดแย้งได้สำเร็จอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อ
สังคมโลกและเป็นปัญหา ที่ชาติมหาอำนาจไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงผลงาน
ขององค์การสันนิบาตชาติที่ประสบความสำเร็จ เช่น กรณีหมู่เกาะโอลันด์
(Aland Islands) ทีส่ วีเดนและฟินแลนด์ต่างแย่งชิงกันจะเข้าครอบครอง
ในปี 1917 สวีเดนถือโอกาสส่งกองทหารเข้าไปยึดหมู่เกาะนี้ แต่ถูกกองทัพ
เยอรมนีซึ่งสนับสนุนขบวนการกู้ชาติของฟินแลนด์ขับไล่ ภายหลัง
208/665

สงครามโลกครั้งที่ 1 จึงมีการเสนอปัญหานี้ให้องค์การสันนิบาตชาติ
พิจารณาตัดสินให้มอบหมู่เกาะโอลันด์อยูภ่ ายใต้อำนาจ อธิปไตยของ
ฟินแลนด์ แต่ต้องเป็นดินแดนปลอดทหารและมีสถานภาพกึ่งอิสระ
เป็นต้น
ผลงานขององค์การสันนิบาตชาติที่ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น
เหตุการณ์รุนแรงที่เกาะคอร์ฟู (Corfu Incident) ในปี 1923 อิตาลีใช้
กำลังเข้ายึดครองเกาะ คอร์ฟูของกรีซ เพื่อบีบบังคับรัฐบาลกรีซให้ชดใช้
ค่าเสียหายกรณีฆาตกรรมนายพลอิตาลี เหตุการณ์นี้ท้าทายความมี
ประสิทธิภาพของการประกันความมั่นคงร่วมกันขององค์การสันนิบาตชาติ
ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ ไม่สามารถยับยั้งหรือลงโทษอิตาลีได้ ทั้งๆ ที่กรีซ
และอิตาลีต่างก็เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ
เหตุการณ์ญี่ปุ่นรุกรานแคว้นแมนจูเรียของจีนในปี 1931 องค์การสัน
นิ บาตชาติก็ไม่สามารถใช้มาตรการใดลงโทษญี่ปุ่นได้
209/665

เดวิด ลอยด์ จอร์จ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร. วิตทอริโอ ออร์ลันโด นายกรัฐมนตรี


อิตาลี, จอร์จ เคลมองเซ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส และวูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อครั้ง
การประชุมสันติภาพที่พระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1919 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1
สิ้นสุดลง

วิกฤตการณ์ระหว่างประเทศที่แสดงถึงความล้มเหลวขององค์การสัน
นิ บาตชาติที่ชัดเจนที่สุด คือ สงครามอบิสซิเนียหรือเอธิโอเปีย
(Abyssinian War) ที่อิตาลีส่งกองทัพบุกอบิสซิเนียโดยไม่
ประกาศสงครามเมื่อปี 1935 และสามารถ ยึดกรุงแอดดิสอาบาบาได้ในปี
1936 ซึ่งสมัชชาขององค์การสันนิบาตชาติได้ลงมติประณามอิตาลีว่าเป็น
ฝ่ายรุกราน อิตาลีจึงตอบโต้องค์การสันนิบาตชาติ ด้วยการลาออกจากการ
เป็นสมาชิกองค์การสันนิบาตชาติในปี 1937
210/665

แม้องค์การสันนิบาตชาติจะได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จในช่วงต้นๆ หลาย
กรณี แต่ต่อมาก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง ซึ่งน่าจะมีสาเหตุมาจาก
องค์ประกอบ ต่างๆ ดังนี้
1. การที่ประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิก ทำให้
กฎข้อบังคับขององค์การสันนิบาตชาติบังคับใช้ได้ผลก็เฉพาะกับประเทศ
สมาชิกที่ไม่ค่อยมีอำนาจและบทบาทมากนัก ไม่มีผลบังคับประเทศ
มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่
2. ประเทศมหาอำนาจโจมตีประเทศอื่น มหาอำนาจหลายประเทศได้
แสดงความก้าวร้าวรุกรานประเทศอื่นเสียเอง ได้แก่ ฝรั่งเศสและเบลเยียม
เข้ายึดครองเหมืองถ่านหินในแคว้นรูห์ ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นโลหิตใหญ่ของ
เยอรมนี เยอรมนีตอบโต้ด้วยการนัดหยุดงานทั่วประเทศ
การที่ประเทศต่างๆ ไม่ได้ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ของ
องค์การ สันนิบาตชาติ ซึ่งมีจุดหมายที่จะนำสันติภาพมาสู่มนุษยชาติ ทำ
ให้การดำเนิน งานขององค์การนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ กระนั้นการก่อกำเนิด
องค์การสันนิบาตชาติขึ้นมาอย่างน้อยก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า แท้จริงทุก
ชาติต่างตระหนักถึงภัยแห่งสงครามที่เกิดขึ้นมา
การละเมิดสนธิสัญญา
ดังที่ได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า ผลของการบังคับใช้สนธิสัญญาตาม
ข้อตกลง และเงื่อนไขที่เกิดขึ้นมานั้น ชาวเยอรมนีมปี ัญหาและไม่พอใจใน
มาตรา 231มากที่สุด
211/665

ตามมาตราที่ 231 ของสนธิสัญญาแวร์ซายส์กำหนดให้เยอรมนีต้อง


รับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้กำหนดค่าปฏิ
กรรม สงครามที่เยอรมนีจำเป็นต้องจ่ายให้แก่ฝ่ายพันธมิตร โดยฝ่าย
พันธมิตรได้เรียกร้องเอาทองคำจากเยอรมนีเป็นมูลค่า 226,000 ล้าน
ไรซ์มาร์ก (หรือ 11,300 ล้านปอนด์) ซึ่งเป็นจำนวนทีไ่ ด้รับการรับรองจาก
คณะกรรมการค่าปฏิกรรม สงครามของฝ่ายพันธมิตร แต่ในปี 1921 ถูก
ปรับลดลงมาเหลือ 132,000 ล้านไรซ์มาร์ก (หรือ 4,990 ล้านปอนด์)
การเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากเยอรมนีส่วนหนึ่งนั้นเป็นการ
แก้แค้นของฝรั่งเศส เนื่องจากผลของสนธิสัญญาแฟรงเฟิร์ตเมื่อปี 1871 ที่
ได้ลงนามหลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ซึ่งฝรั่งเศสจำเป็นต้องจ่ายค่า
ปฏิกรรม สงครามให้แก่เยอรมนีมากพอๆ กัน ขณะทีแ่ ผนการยัง ในปี
1929 ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ของเยอรมนี ซึ่งจะหมดอายุเมื่อปี 1988
การชดใช้หนี้ตามที่ระบุในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ได้อยู่ในหลาย
รูปแบบ อย่างเช่น ถ่านหิน เหล็กกล้า ทรัพย์สินทางปัญญา และผลผลิต
ทางการเกษตร เนื่องจากการคืนเงินในรูปของสกุลเงินจะทำให้เกิดภาวะ
เงินเฟ้ออย่างรุนแรง ซึ่งได้เกิดขึ้นในเยอรมนีในปี 1920 และเป็นการลด
ผลประโยชน์ที่ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรจะได้รับ
เศรษฐกิจของเยอรมนีภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อ่อนแอมาก
และค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่สามารถจ่ายคืนโดยเป็น
สกุลเงินของเยอรมนีได้ กระนั้น แม้แต่การจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเพียง
212/665

น้อยนิดนี้กย็ ังเป็นภาระหนักสำหรับเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยส่ง


ผลกระทบกว่าหนึ่งในสามของภาวะเงินเฟ้อในสาธารณรัฐไวมาร์ และส่งผล
ให้เกิดการละเมิดสนธิสัญญา แวร์ซายส์หลายครั้ง อย่างเช่น
ในปี 1919 ได้ปรากฏการล้มล้างกองเสนาธิการ อย่างไรก็ตาม แก่น
กลางของกองเสนาธิการกลับอยู่ในอีกองค์กรหนึ่ง ที่เรียกว่า ทรุปเปเนมท์
ซึ่งได้มีการปรับปรุงหลักสูตรของกองทัพบกและกองทัพอากาศขึ้นใหม่
และมีอุปกรณ์การฝึกสอนที่มีมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1
วันที่ 16 เมษายน 1922 ผู้แทนของรัฐบาลเยอรมนีและ
สหภาพโซเวียตได้ลงนามในสนธิสัญญาราพัลโล ณ การประชุมเศรษฐกิจ
โลก ทีเ่ มืองกานัว ประเทศอิตาลี สนธิสัญญาดังกล่าวได้สร้างความ
สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ ยกเลิกคำกล่าวอ้างทางเศรษฐกิจ
และให้การรับประกันต่อความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ในปี 1932 รัฐบาลเยอรมนีประกาศว่าเยอรมนีจะไม่ยอมปฏิบัติตาม
ข้อตกลงลดอาวุธตามสนธิสัญญา เนื่องจากความล้มเหลวของประเทศฝ่าย
พันธมิตรที่จะลดอาวุธ ตามเนื้อหาในส่วนที่ห้าของสนธิสัญญาแวร์ซายส์
ในเดือนมีนาคม 1935 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์สั่งให้มกี ารระดมพลใน
เยอรมนี และสร้างกองกำลังติดอาวุธขึ้นมาใหม่ รวมไปถึงกองทัพเรือ
กองพลยานเกราะ (เป็นครั้งแรกในโลก) และกองทัพอากาศ
ในเดือนมิถุนายน 1935 สหราชอาณาจักรละเมิดสนธิสัญญาอย่าง
ร้ายแรง เมื่อลงนามในข้อตกลงการเดินเรือระหว่างอังกฤษ-เยอรมัน
213/665

ในเดือนมีนาคม 1936 ฮิตเลอร์ส่งทหารเข้าไปยังเขตปลอดทหาร


ไรน์แลนด์
ในเดือนมีนาคม 1938 ฮิตเลอร์ผนวกออสเตรียเข้ากับเยอรมนี
ในเดือนกันยายน 1938 ฮิตเลอร์ได้รับความเห็นชอบจากอังกฤษ
ฝรั่งเศสและอิตาลีให้ยึดครองสุเดเทนแลนด์
ในเดือนมีนาคม 1939 ฮิตเลอร์ยึดครองเชคโกสโลวาเกียทั้งประเทศ
กระทั่ง 1 กันยายน 1939 เยอรมนีรุกรานโปแลนด์ นับเป็น
จุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ---
3

ชาติมหาอำนาจร่วมก่อสงคราม
ดังที่รกู้ ันอยู่ว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดหรือปิดฉากลงหลังปี
1919 กระนั้น ใช่ว่าปัญหาความขัดแย้งและปัญหาต่างๆ ของโลกจะหมด
ลงไป กลับกันปัญหาที่มีอยู่ดูเหมือนยังไม่ได้แก้ แต่กลับยังเพิ่มปริมาณ
และปัญหาอื่นๆ เข้ามาอีกมากกระทั่งสุดท้ายก็นำมาสู่การเกิดขึ้นของ
สงครามครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้ง นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ 2
เพื่อให้เราได้มองเห็นความเป็นไปของสังคมโลกและความ
เปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นกับบรรดาประเทศต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้อง
ย้อนกลับมาดู สภาพการณ์ของบรรดาประเทศสำคัญๆ ที่เป็นผู้มีบทบาท
และเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 กันเสียก่อน บรรดา
ประเทศสำคัญที่ว่านี้ ส่วนมากจะเป็นบรรดาประเทศที่เคยเกี่ยวข้องและ
เป็นผู้นำของสงครามโลกครั้งที่ 1 มาแล้วนั้นเอง เพียงแต่ในบทนีเ้ ราจะมา
215/665

ดูสภาพการณ์ของบรรดาประเทศต่างๆ ในช่วงนับจากหลังสงครามโลกครั้ง
ที่ 1 กระทั่งถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
ฝ่ายอักษะ
เยอรมนี ค.ศ. 1918-1939
หลังปี 1918 เยอรมนีกลายเป็นประเทศผู้แพ้สงครามที่เจ็บปวดและ
บอบ ช้ำมากที่สุด สภาพการณ์ทางสังคมและการเมืองภายในประเทศของ
เยอรมนีเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากผลกระทบภายนอกอย่างรวดเร็ว ใน
ระหว่างสงคราม โลกครั้งที่ 1 ระหว่างทีก่ องทัพเยอรมนีกำลังประสบ
ชัยชนะในแนวหน้า พระเจ้าไกเซอร์และบริวารได้รับการสนับสนุนจาก
ประชาชนของตัวเองอย่างเต็มที่ ไม่เว้นแม้แต่บรรดากลุ่มโซเชียลลิสต์ แต่
เมื่อเยอรมนีเริ่มเพลี่ยงพล้ำในสงครามครานั้นความแตกแยกภายใน
เยอรมนีก็เริ่มเกิดขึ้น ตึงเครียดถึงขั้นที่ทำให้พระเจ้าไกเซอร์ต้องทรงสละ
ราชสมบัติและเสด็จหนีไปประทับอยู่ยังประเทศเนเธอร์แลนด์
รัฐบาลชั่วคราวที่ตั้งขึ้นมาในเวลานั้นต้องดูแลประเทศแทนรัฐบาลของ
พระมหากษัตริย์ และแปลงระบบการปกครองมาเป็นระบบสาธารณะ โดย
มีสมาชิกรัฐสภาแห่งชาติซึ่งประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งได้มาเข้าร่วมประชุมกัน
ในปี 1919 และในครั้งนั้นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี
คือ นายเฟอเดอริก อีแบรต์ ผู้นำกลุ่มโซเชียลลิสต์ และมีการร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่เกิดใหม่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญไวมาร์
216/665

กระนั้นระบบสาธารณรัฐของเยอรมนีกต็ ั้งตัวอยู่ได้ไม่นาน เมื่อเกิด


การแข็งข้อต่อต้านรัฐบาลกันอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มคอมมิวนิสต์ ถือเป็น
คู่ปฏิปักษ์ทรี่ ้ายแรงต่อระบอบใหม่ โดยที่บรรดาคอมมิวนิสต์ต้องการให้
เยอรมนีมีระบอบการปกครองแบบรัสเซียที่เพิ่งเปลี่ยนมาก่อนหน้านี้
การ ต่อต้านระบอบสาธารณรัฐมีเบอร์ลินเป็นศูนย์กลาง ต่อมาเกิด
การจลาจล มีการต่อสูก้ ันตามท้องถนน ไม่เพียงเท่านั้นในเยอรมนีกย็ ังมี
กลุ่มนิยมกษัตริยท์ ี่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบ การปกครองแบบสาธารณรัฐทุก
รูปแบบอีก โดยที่กลุ่มหลังนี้ต้องการให้ราชโอรสของพระเจ้าไกเซอร์ขึ้นมา
ปกครองประเทศ เยอรมนี กระนั้นการจลาจลก็สามารถถูกปราบปรามลง
ได้แผนการล้มล้างรัฐบาลสาธารณรัฐก็ถูก กำจัดลงไปด้วย
ค.ศ. 1925 เมื่อประธานาธิบดีอแี บรต์ถึงแก่อสัญกรรม ชาวเยอรมนี
ก็ได้เลือกนาย พอล ฟอน ฮินเดนเบิร์ก อดีตนายพลแห่งกองทัพเยอรมนี
และเป็นนักรบที่มีชื่อเสียงมาก่อนให้มาเป็นประธานาธิบดี กระนั้นว่ากันว่า
โชคไม่เข้าข้างนายพลผู้นเี้ ลย ทั้งนี้เพราะเมื่อถึงเวลานั้นเยอรมนีกำลังก้าว
เข้าสู่ช่วงทีเ่ ศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ผู้คนทั้งประเทศยากจนปัญหาทาง
สังคมมีเพิ่มขึ้นมามากมายให้ต้องแก้ไข ประจวบกับบรรดากลุ่มการเมือง
ต่างๆ ก็มีความเข้มแข็งขึ้นมีการโจมตีรัฐบาลสาธารณรัฐโดยเฉพาะกรณีที่
ทำให้เกิดการว่างงาน ความยากจนข้นแค้น โดยทั้งหลายทั้งหมดโทษลงไป
ที่ว่าเป็นเพราะรัฐบาลสาธารณรัฐ ที่ทำงานผิดพลาดและอ่อนแอ
217/665

ในเยอรมนีเวลานั้นเกิดกลุ่มที่ตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลขึ้นเป็น
สามกลุ่มคือ
1. กลุ่มนิยมกษัตริย์
2. กลุ่มคอมมิวนิสต์
และ 3. กลุ่มโซเชียลลิสต์แห่งชาติ ซึ่งกลุ่มหลังนีร้ ู้จักกันดีในนามนา
ซี
กลุ่มนาซีมีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นผู้นำ ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้นำ
เพราะ มีนโยบายไปทางชาตินิยมซึ่งถูกใจประชาชน ที่สำคัญกลุ่มนี้มี
เป้าหมายที่จะฟื้นฟูเยอรมนีให้มีสภาพเหมือนเมื่อก่อนจะเกิด
สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นยังประกาศที่จะขจัดภาวะการไร้
งานให้หมดไป และทีเ่ หนืออื่นใดยังประกาศทีจ่ ะกอบกูเ้ กียรติของชาติ
เยอรมนีให้ได้
ว่ากันว่า นาซีเป็นชาตินิยมในความหมายแคบเพียงว่าเยอรมนีสำหรับ
เยอรมนี “ที่แท้จริง” ในด้านเชื้อชาติทฤษฎีนี้ถือว่า เยอรมนีที่แท้จริงก็คือผู้
ทีถ่ ือเลือดของติวตัน เพราะถือว่าชนพวกนี้เป็นชนที่มีคุณสมบัติที่ดีงาม
เหนือชนชาติใดๆ ลัทธินี้เป็นลัทธิชาตินิยมจัดที่สุด พวกนาซีส่งเสริมการไม่
เชื่อถือคัมภีร์ไบเบิล โดยเฉพาะคัมภีรเ์ ก่า ซึ่งนาซีถือว่าอันตรายต่อลัทธิ
ของตนเองด้วย ว่าเป็นวรรณคดีของชาวยิวไม่ใช่ของตัวเองหรือติวตัน
218/665

นาซีใช้เครื่องหมายสวัสดิกะ ซึ่งอ้างว่าเป็นเครื่องหมายที่พวกชนเผ่า
เยอรมนีโบราณเผ่าต่างๆ ใช้กัน เป็นเครื่องหมายของพรรค โครงการของ
พรรคนาซีที่สำคัญคือมีโครงการที่จะรวมรัฐเยอรมนีเข้าเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันด้วย ซึ่งนั้นก็หมายถึงอาณาเขตของเยอรมนีจะต้อง
ขยายออกไปรวมเอาถิ่นที่มีชนเชื้อชาติเยอรมนีอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่เข้าไว้
ด้วย
ต่อจากนั้นนาซีก็ได้ทำโฆษณาชวนเชื่อโจมตีสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่ง
พวกนาซีถือว่าเป็นเอกสารที่แสดงความสบประมาทชาวเยอรมนี ที่สำคัญ
พวก นาซีไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลระบอบอื่นๆ ทั้งสิ้น กล่าวคือรัฐบาลใน
อุดมคติของนาซีก็คือรัฐบาลที่รวมอำนาจทั้งหมดไว้ที่รัฐบาลกลาง และมีรัฐ
เป็นรัฐทหารภายใต้การบงการของพรรค การประชุมผู้นำนาซีอาวุโสไม่ว่า
ครั้งใดมักจะมีการต่อสู้กันอย่างเปิดเผย ความเกลียดชังกันระหว่างเชื้อชาติ
และอาชญากรรม ร้ายแรงมักจะเกิดติดตามมาเสมอ
ภายใต้การนำของฮิตเลอร์ นาซีได้มีการจัดกันเป็นกลุ่มขึ้น โดยมี
ระเบียบวินัยเคร่งครัด และปกครองอย่างทหาร โดยเรียกตัวเองว่า
กองทหารสตอร์ม ทรูพ ทหารเหล่านี้จะสวมเสื้อเชิร์ตสีน้ำตาล แขนข้าง
หนึ่งจะสวมเครื่อง หมายสวัสดิกะ กองทหารนี้จะทำการรักษาการในการ
ประชุมต่างๆ ของพวกนาซี
โดยเหตุที่ฮิตเลอร์เป็นผู้นำพรรค และมีเสียงมากที่สุดในรัฐสภา
เยอรมนี ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ฟอน ฮินเดนเบิร์ก
219/665

ให้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1933 ต่อมาอีก 1 ปี เมื่อฟอน ฮินเดนเบิร์ก


ถึงแก่อสัญกรรมลง ฮิตเลอร์จึงให้มีการออกกฎหมายให้อำนาจตนเองเป็น
ผู้นำสูงสุด เรียกว่า ฟือห์เรอร์ (Fuehrer)
ต่อจากนั้นสมาชิกพรรคนาซีของฮิตเลอร์ก็เพิ่มจำนวนขึ้นมาอย่าง
ต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะทุกชนชั้นในสังคมเริ่มมีความไว้วางใจต่อการปกครอง
ของรัฐบาลเผด็จการ ใครทีไ่ ม่เห็นชอบก็มักจะถูกติดตามความเคลื่อนไหว
หรือไม่ก็มักถูกขู่บังคับและจับตัวส่งเข้าคุก
ความรุ่งเรืองของฮิตเลอร์มีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะเขาเป็นผู้ที่มี
ความเชื่อมั่นในความคิดที่จะรวมชนเผ่าเยอรมนีให้เข้าอยู่ภายใต้การ
ปกครองเดียวกัน และเร่งรีบเสมอที่จะทำให้คำมั่นสัญญาที่เขาได้ให้ไว้แก่
ประชาในครั้งทีห่ าเสียง ปรากฏ โดยเรื่องแรกที่ชัดเจนในการดำเนินการ
ของเขานั้นคือ การลงมือกับชาวยิว ฮิตเลอร์ออกกฎข้อบังคับต่างๆ มาใช้
กับชาวยิว ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้กับตำรวจเยอรมนีข่มขู่และทารุณต่อชาว
ยิวได้ สิ่งที่เกิดขึ้นในระยะแรกทำให้ชาวยิวจำนวนมากต้องหนีออกนอก
ประเทศ และพวกที่ยังเหลืออยูก่ ็ต้องประสบ กับการทารุณกรรมต่างๆ
อาทิ สูญเสียตำแหน่งหน้าที่ราชการ สูญเสียความเป็นพลเมือง ถูกริบธุรกิจ
และทรัพย์สิน ถูกขับไล่ออกจากการค้าและอาชีพที่ทำอยู่ และถูกเยาะเย้ย
ถากถาง และอีกจำนวนมากที่ถูกจับกุมและส่งตัวเข้าคุกโดยไร้สาเหตุ
ต่อจากนั้นก็ได้เริ่มมีการบีบคั้นทางการเมืองขึ้น ซึ่งศัตรูของนาซีจะ
ถูกสังหาร จำคุก โบยหรือไม่ก็เนรเทศ มีการตรวจและกรองข่าวใน
220/665

หนังสือพิมพ์ พิจารณาคำปราศรัย การสอนศาสนาทั้งยิว คาทอลิก และโป


รเตสแตนท์ ถูกขัดขวางและบางครั้งก็ถูกห้าม โบสถ์บางแห่งถูกทำลาย
ต่อมาก็มีการเข้าควบคุมการบริหารงานอุตสาหกรรมรัฐบาลเข้าไป
ควบคุมการให้การศึกษาอย่างเด็ดขาด โดยเรื่องที่ใช้สอนและสำคัญที่สุด
นั้นก็คือ ความคิดของนาซีในเรื่องรัฐของชนเผ่าเยอรมนีทั้งหมด
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ต่อมาฮิตเลอร์ก็ได้เริ่มสร้างรัฐที่ปกครองด้วย
อำนาจเด็ดขาดของนาซี ว่ากันว่าแผนการดำเนินงานการปกครอง
ภายในประเทศของ ฮิตเลอร์นั้นร้ายกาจไม่น้อยไปกว่าแผนการต่างประเทศ
โดยกิจการทุกอย่างในประเทศไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเมือง ศาสนา
สังคม เศรษฐกิจ หรือการศึกษากลายเป็นของรัฐ และพวกนาซีเท่านั้นที่
สามารถและได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิทางการเมืองได้ ว่ากันว่าลัทธิการ
ปกครองอย่างทหารและการเตรียมสงครามกลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และ
เวลานั้นเยอรมนีทั้งชาติก็กลายเป็นค่ายทหาร
และฮิตเลอร์ก็กลายเป็นอัศวินแห่งชาติ ในการปกครองของฮิตเลอร์
ในเวลานั้นมีผู้ช่วยที่สำคัญอีกหลายคนที่ควรกล่าวถึงอาทิ นายรูดอล์ฟ
เฮสส์ เป็นรองหัวหน้าพรรคนาซี นายโจเซฟ เกิบเบิลส์ รัฐมนตรี
โฆษณาการ นายแฮร์มันน์เกอริง รัฐมนตรีกลาโหม นายไฮนริช ฮิมม์เลอร์
เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และดร.ฮาลมา ชัคท์ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ เป็นต้น
ภายใต้การนำอย่างเบ็ดเสร็จของฮิตเลอร์ เยอรมนีกเ็ ริ่มขยาย
อาณาเขต ของตัวเองออกไปจนเริ่มเกินเส้นแดนที่ระบุเอาไว้ในสนธิสัญญา
221/665

แวร์ซายส์ ลุ่มแม่น้ำซาร์กลับเข้ามาอยูก่ ับเยอรมนีในปี 1935 และใน


คส1938 ออสเตรียก็เข้ามารวมกับเยอรมนีด้วยวิธีอันชลูสส์ คือการรวม
ดินแดนนั้นเอง และปีเดียวกันนั้นเยอรมนีกใ็ ช้วิธีการยึดครองด้วยกำลัง
ทหารจนได้เชคโกสโลวาเกียมารวม การกระทำของเยอรมนีในครั้งนีท้ ำให้
ฝรั่งเศสและอังกฤษต้องยอมรับรองตามข้อตกลงที่เรียกกันว่า สัญญามิ
วนิค ในปี 1939 ต่อจากนั้นก็เริ่มส่งทหารเข้ายึดครองเขตอิสระดานซิกและ
เมเมล ต่อมาเยอรมนีกบ็ ุกโปแลนด์เปิดสงครามสายฟ้าแลบขึ้นในวันที่ 1
กันยายน 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสจึงต้องประกาศสงครามกับเยอรมนี
เปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นในยุโรป
อันที่จริงแล้วก่อนหน้านี้นั้นเยอรมนีได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับอิตาลี
ตามสัญญามหาอำนาจอักษะโรม-เบอร์ลิน ทั้งนี้เพราะทั้งสองประเทศมี
ลักษณะ หลายอย่างคล้ายกัน นั้นคือ เป็นประเทศที่เผด็จการที่รัฐปกครอง
อย่างทหาร และ ทั้งสองประเทศเป็นศัตรูกับลัทธิคอมมิวนิสต์ ทั้งสอง
ประเทศกระหายที่จะได้ดินแดนเพิ่ม รวมไปถึงทางระบายสินค้าและเมือง
ทั้งสองสนใจในแหลมบอลข่าน ทั้งสองถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติ และ
ทั้งสองไม่เห็นด้วยกับสนธิสัญญาแวร์ซายส์ แต่สิ่งทีน่ ่าสนใจในช่วงนั้นก็คือ
หลังจากที่เยอรมนีบุกเข้าโปแลนด์แล้ว เยอรมนีกลับไปทำสัญญาไม่รุกราน
กับกับสหภาพโซเวียต
รู้จักกับเยอรมันสมัย “นาซีเยอรมัน”
222/665

ในปี 1933 เมื่อฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อำนาจ ชื่อของรัฐยังคงใช้อย่างเดิม


(Deutsches Reich; จักรวรรดิเยอรมัน แต่หมายความถึง สาธารณรัฐ
ไวมาร์) แต่ในเวลาไม่กี่ปตี ่อมา ฮิตเลอร์ได้ใช้คำว่า จักรวรรดิไรช์ที่สาม ซึ่ง
เริ่มต้นมาจากนักเขียนต่อต้านประชาธิปไตยหัวเก่าในช่วงปลายสาธารณรัฐ
ตามข้อเท็จจริงแล้ว “นาซีเยอรมนี” เป็นเพียงคำที่ใช้ในทางการ
โฆษณาชวนเชื่อและมิได้ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ อีกคำหนึ่งซึ่งใช้ในการ
โฆษณาชวนเชื่อ ได้แก่ จักรวรรดิพันปี ในภายหลัง ฮิตเลอร์ได้ยกเลิกคำ
ว่า จักรวรรดิไรช์ที่สาม อย่างเป็นทางการ ในเดือนมิถุนายน 1939 แต่คำ
ดังกล่าวยังคงแพร่หลายในกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มผู้ต่อต้าน
การปกครองในนาซีเยอรมันมีส่วนคล้ายกันมากกับการปกครองตาม
ลัทธิฟาสซิสต์ ซึ่งได้ถือกำเนิดในอิตาลี ภายใต้การปกครองของเบนิโต มุ
สโสลินี ทว่าอย่างไรก็ตาม พรรคนาซีไม่เคยประกาศตนเองว่ายึดถือลัทธิ
ฟาสซิสต์เลย ทั้งลัทธินาซีและลัทธิฟาสซิสต์ต่างก็เป็นแนวคิดทางการเมือง
แบบนิยมทหาร ชาตินิยมและต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และการสร้างเสริม
กำลังทหารของตัวเอง รวมไปถึงทั้งสองแนวคิดตั้งใจที่จะสร้างรัฐเผด็จการ
แต่ว่าสิ่งทีท่ ำให้ลัทธินาซีแตกต่างจากลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี สเปนและ
โปรตุเกส นั่นคือ การกีดกันทางเชื้อชาติ
แนวคิดนาซียังได้พยายามสร้างรัฐที่รวมอำนาจเข้าสู่บุคคลคนเดียว
อย่าง เบ็ดเสร็จ ซึ่งไม่เหมือนกับลัทธิฟาสซิสต์ที่ได้ส่งเสริมการปกครอง
แบบรวมอำนาจเข้าสู่บุคคลคนเดียว แต่ยังคงอนุญาตให้ประชาชนมี
223/665

เสรีภาพบางส่วน ได้ ดังนั้น ผลที่เกิดขึ้น คือ อิตาลียังคงเป็นการปกครอง


แบบราชาธิปไตยอยู่เช่นเดิม และพระมหากษัตริยแ์ ห่งอิตาลีก็ยังคง
หลงเหลืออำนาจที่มีอย่างเป็นทางการอยู่ดี อย่างไรก็ตาม ลัทธินาซีไม่ค่อย
มีอะไรเป็นของตัวเอง ฮิตเลอร์ได้ลอกแบบสัญลักษณ์ตามอย่างฟาสซิสต์
อิตาลี ทั้งยังรวมไปถึง การทำความเคารพแบบโรมันมาใช้เป็นการทำความ
เคารพฮิตเลอร์ และมีการใช้พวกทีแ่ ต่งตัวเหมือนกับทหารมาเป็นส่วนหนึ่ง
ของพรรค (ในนาซีเยอรมนี คือ เอสเอ ส่วนในฟาสซิสต์ อิตาลี คือ พวก
เชิ้ตดำ) ฮิตเลอร์ยังได้ลอกการเรียก “ผู้นำของประเทศ” มาจาก อิตาลีด้วย
( “ฟือห์เรอร์” มีความหมายถึง ท่านผู้นำ ในนาซีเยอรมนี ส่วนใน
ฟาสซิสต์อิตาลีใช้คำว่า “ดูเช่” (Duce)) ทั้งสองเป็นแนวคิดที่ต่อต้านลัทธิ
คอม- มิวนิสต์ มีแนวคิดที่จะทำสงคราม และยังสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ
สายกลางระหว่างลัทธิทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ (เรียกว่า corporatism)
พรรคนาซีปฏิเสธสัญลักษณ์แห่งลัทธิฟาสซิสต์ และยืนยันว่าตนยึด
หลักตามแนวชาติสังคมนิยม แต่นักวิเคราะห์หลายท่านก็ยังจัดให้แนวคิด
ชาติสังคมนิยมให้เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิฟาสซิสต์อยู่ดี
แนวคิดเผด็จการของพรรคนาซีนั้นเป็นไปตามหลักคำสอนของลัทธิ
นาซี พรรคนาซีได้บอกแก่ชาวเยอรมันว่าความสำเร็จของชาติเยอรมนีใน
อดีตและประชากรชาวเยอรมันนั้นมีความเชื่อมโยงกับแนวคิดตามแบบชาติ
สังคมนิยม แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะยังไม่มีแนวคิดดังกล่าวก็ตาม
224/665

การเติบโตของลัทธิเผด็จการฟาสซิสต์ในปี 1935 ส่งผลต่อการเมืองในยุโรปกระทั่งเกิดส่งคราม


โลกครั้งที่ 2 ขึ้น แต่สิ่งที่ทำให้ลัทธินาซีแตกต่างจากลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี สเปนและโปรตุเกส นั่น
คือ การกีดกันทางเชื้อชาติ

การโฆษณาชวนเชื่อได้เพิ่มความน่าเชื่อถือและความแข็งแกร่งของ
แนวคิดของนาซี และสร้างความมีชื่อเสียงให้แก่ฟือห์เรอร์ ซึ่งก็คือ
225/665

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้ถูกวาดภาพให้เป็นอัจฉริยะที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ


ของพรรคนาซีและผู้ที่นำประเทศเยอรมนีให้พ้นภัย
เพื่อที่จะรักษาความสามารถที่จะสร้างรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ พรรคนา
ซีได้สร้างองค์กรของตัวเอง เป็นพวกทีแ่ ต่งตัวเหมือนกับทหาร คือ หน่วย
เอสเอ หรือ “หน่วยวายุ” ซึ่งมีหน้าที่จัดการกับพวกหัวซ้ายจัด พวก
ประชาธิปไตย ชาวยิว และคู่แข่งอื่นๆ หรือกลุ่มทางการเมืองขนาดเล็ก
ความป่าเถื่อนของหน่วยเอสเอได้สร้างความกลัวให้แก่พลเมืองของประเทศ
ทำให้ชาวเยอรมันหวาดกลัว ต่อการถูกลงโทษ ซึ่งบางครั้งถึงตาย ถ้าหาก
พวกเขาออกนอกลู่นอกทางที่ พรรคนาซีได้วางเอาไว้ นอกจากนั้น หน่วย
เอสเอยังได้มสี ่วนช่วยในการดึงดูดเยาวชน ที่แปลกแยกจากสังคมหรือ
ว่างงานเข้าสู่พรรคนาซีอีกด้วย
“ปัญหาของชาวเยอรมัน” ตามที่มักถูกกล่าวถึงในการศึกษาของ
อังกฤษ ได้พุ่งเป้าไปยังการปกครองของเยอรมนีทางภาคเหนือและภาค
กลางของทวีปยุโรป และเป็นแก่นสำคัญตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์
เยอรมนี ตามหลัก “ตรรกวิทยา” ของการรักษาให้ชาวเยอรมันทำงานเบาๆ
เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับ การแข่งขันทางเศรษฐกิจ และได้ถูกส่งไปปั่นป่วน
การสร้างรัฐโปแลนด์ขึ้นมาใหม่ หลังจากนั้น โดยมีเป้าหมายคือถ่วง
น้ำหนักจำนวนมากในความพยายามที่จะสร้าง “ความลงตัวของเยอรมนี”
พรรคนาซียังได้มีความคิดของการสร้าง Gro
226/665

deutschland หรือ เยอรมนีอันยิ่งใหญ่ และเชื่อว่าการรวมชาว


เยอรมันเข้าด้วยกันเป็นประเทศเดียวจะเป็น ขั้นตอนสำคัญที่จะนำพา
ประเทศให้ประสบความสำเร็จ แรงสนับสนุนอย่างจริง จังของนาซีต่อแนว
คิดเรื่องประชาชนซึ่งอยู่ในหลักการเยอรมนีอันยิ่งใหญ่ นำไป สู่การขยาย
ตัวของเยอรมนี ให้ความชอบธรรมและการสนับสนุนสำหรับจักรวรรดิ
ไรช์ที่สามที่จะเดินหน้าใช้กำลังเข้าควบคุมดินแดนของเยอรมนีที่เคย
สูญเสียไปในอดีต ทีม่ ีประชากรที่ไม่ใช่เยอรมันอาศัยอยูม่ าก หรืออาจเข้า
ยึดครองในดินแดนทีช่ าวเยอรมันอาศัยเป็นจำนวนมากอยูแ่ ล้ว พรรคนาซี
มักอ้างถึงแนวคิด ของเยอรมนีที่เรียกว่า Lebensraum (พื้นที่อาศัย)
ซึ่งกล่าวถึงความจำเป็นในการ เพิ่มประชากรเยอรมัน เพื่อเป็นข้ออ้างใน
การขยายดินแดน
เป้าหมายที่สำคัญสำหรับพรรคนาซีได้แก่การยุบรวมเอาฉนวน
โปแลนด์ และนครเสรีดานซิกเข้าสู่จักรวรรดิไรช์ที่สาม ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่ง
ของนโยบายการแบ่งแยกเชื้อชาติของนาซี แผนการ Lebensraum มี
ส่วนที่เกี่ยวข้องกันหลาย ประการ กล่าวคือ พรรคนาซีเชื่อว่า
ยุโรปตะวันออกควรจะเป็นดินแดนที่อยู่อาศัย ของชาวเยอรมัน และ
ประชาชนชาวสลาฟที่อยู่ในแผ่นดินของนาซีเยอรมนี พวกเขาเหล่านั้นจะ
ถูกใช้เป็นแรงงานราคาถูกหรือถูกเนรเทศไปทางทิศตะวันออกต่อไป
การเหยียดผิวและเผ่าพันธุ์นิยม ถือได้ว่าเป็นลักษณะสำคัญที่เกิดขึ้น
ในช่วงนาซีเยอรมนี พรรคนาซีได้รวมเอาแนวคิดต่อต้านเซมไมท์และ
227/665

ต่อต้านคอมมิวนิสต์ และรวมไปถึงขบวนการหัวเอียงซ้ายข้ามชาติ และ


ทุนนิยมตลาดสากลเช่นกัน ดังทีเ่ ป็นผลงานของ “พวกยิวที่สมรู้ร่วมคิด”
ซึ่งยังได้หมายความ รวมไปถึงขบวนการ อย่างเช่น “การปฏิวัติพวกต่ำกว่า
มนุษย์ ยิว-บอลเชวิค” ผลที่เกิดขึ้นตามมาหลังจากเกิดการโยกย้าย กักตัว
และการสังหารชาวยิวและชาวโซเวียตอย่างเป็นระบบขนานใหญ่ตาม
แนวรบด้านตะวันออก ทำให้ประชา ชนเสียชีวิตไปอย่างน้อย 11 ถึง 12
ล้านคน ในช่วงเวลาระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า
“การล้างชาติพันธุ์โดยนาซี”
คณะรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนี (1933-1945)
การเมืองของนาซีเยอรมนีมีรูปแบบของการแข่งขันเพื่อแย่งชิงอำนาจ
ทางการเมือง ด้วยการพยายามสร้างความประทับใจให้แก่ฟือห์เรอร์ คือ
ฮิตเลอร์ กฎหมายหลายข้อได้ถูกละเลยและแทนที่ด้วยการตีความ
กฎหมายในแบบที่ฮิตเลอร์ต้องการ ดังนั้น คำสั่งของฮิตเลอร์จึงมีลักษณะ
คล้ายกับกฎหมายของประเทศ ซึ่งเรียกกันว่าเป็น “การทำงานกับ
ฟือห์เรอร์” (Working with Fuehrer) ดังนั้น รัฐบาลของนาซีเยอรมนี
จึงไม่ได้ทำงานประสานกันอย่างแน่นแฟ้น และเต็มไปด้วยความ
อิจฉาริษยา หรือตัวใครตัวมัน ความพยายามของแต่ละส่วนที่แสวงหา
อำนาจและอิทธิพลเหนือตัวฟือห์เรอร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายของฮิตเลอร์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้
จำนวนมาก ซึ่งได้ทำให้สมาชิกพรรคนาซีที่ไร้คุณธรรมและมีความ
228/665

มักใหญ่ใฝ่สูงแสวงหา บุคคลผูใ้ ห้ความสนับสนุนและประกอบกับ


ธรรมชาติอันรุนแรงของแนวคิดของ ฮิตเลอร์ จึงทำให้เกิดการกระทำเพื่อ
ต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองขึ้นเกิบเบิลส์ได้โฆษณาชวนเชื่อรูปแบบ
ของรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนีอย่างประสบผล ว่ารัฐบาลเป็นสิ่งที่ควรอุทิศ
ยกย่องและลงตัวอย่างมีประสิทธิภาพ การแข่งขันในหมู่เจ้าหน้าที่ของ
รัฐบาลและการออกกฎหมายอันไร้ระเบียบ ได้เพิ่มให้รัฐบาล อยู่นอกการ
ควบคุมมากขึ้น
นักประวัติศาสตร์ได้ลงความเห็นระหว่าง “ลัทธินิยมสากล” (Inter-
nationa- lists) ซึ่งเชื่อว่าฮิตเลอร์ได้วางแผนโครงสร้างรัฐบาลให้มี
ลักษณะเช่นนี้ เพื่อต้อง การสร้างความจงรักภักดีและความอุทิศตัวให้แก่
ผู้สนับสนุนของเขา และป้องกัน การเกิดการสมรู้ร่วมคิดขึ้น หรือไม่กเ็ ป็น
แบบ “ลัทธิโครงสร้างนิยม” (Structura- lists) ซึ่งเชื่อว่าโครงสร้างของ
รัฐบาลได้เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง และให้การสนับสนุนอำนาจเผด็จการ
ของฮิตเลอร์เพียงน้อยนิด
คณะรัฐบาลดังกล่าวมีอายุ 12 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 1933 ถึง
วันที่ 30 เมษายน 1945 หลังจากทีฮ่ ิตเลอร์ยิงตัวตายในหลุมหลบภัย
ใต้ดินในกรุงเบอร์ลินแล้ว เขาได้สืบทอดอำนาจต่อให้แก่คาร์ล เดอนิตช์
ด้วยความปรารถนา ที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ของเขาต่อไปอีก
โครงสร้างและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองในรัฐบาลแห่งนาซี
เยอรมนี ประกอบด้วย
229/665

ฟือห์เรอร์ (หัวหน้าพรรค) : อดอล์ฟ ฮิตเลอร์


ทำเนียบรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนี : ฮันส์ แลมเมอรส์
สำนักงานที่ทำการพรรคนาซี : มาร์ติน บอร์แมนน์
สำนักประธานาธิบดี : ออตโต ไมส์ซเนอร์
สภาคณะรัฐมนตรีลับ : คอนสแตนติน วอน นูร์เรธ
สำนักฟือห์เรอร์ : ฟิลิป โบลเลอร์
คณะรัฐมนตรี
กระทรวงมหาดไทย : วิลเฮล์ม ฟริคส์ เฮนริช ฮิมม์เลอร์
สำนักงานควบคุมแผนการสี่ปี : แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง
กระทรวงการคลัง : ลุทส์ กรัฟ ชเวริน ฟอน โครซิกค์
กระทรวงเศรษฐกิจ : วัลเทอร์ ฟังค์
กระทรวงการอบรมมวลชน
และการโฆษณา : โจเซฟ เกิบเบิลส์
กระทรวงการบิน : แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง
กระทรวงป่าไม้ : แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง
กระทรวงแรงงาน : ฟรานซ์ เชลดท์เออ
กระทรวงการผลิตอาหาร
230/665

และการเกษตร : ริชาร์ด วัลเทอร์ ดาร์เร่


กระทรวงเยาวชน
กระทรวงยุติธรรม : ออตโต ไทเอียร์อัค
กระทรวงวิทยาศาสตร์ ศึกษาธิการ
และการให้ความรู้แก่มวลชน : เบอร์นนาร์ด รุสท์
กระทรวงกิจการของสงฆ์ : ฮันส์ เคอรล์
กระทรวงการคมนาคม : ยูไลอุส ดอร์พมึลเลอร์
กระทรวงไปรษณีย์ : วิลเฮล์ม โอเนสออร์จ
กระทรวงการสงคราม
และการผลิตอาวุธ : ฟริสซ์ ทอดท์ อัลเบิร์ต สเพียร์
กระทรวงการต่างประเทศ : โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอบ
สำนักงานผู้ตรวจการทางหลวงแผ่นดิน
สำนักงานประธานาธิบดีแห่งธนาคารไรช์
ผู้ตรวจการทั่วไปแห่งกรุงเบอร์ลิน
สมาชิกสภาแห่งกรุงเบอร์ลินว่าด้วยการเคลื่อนไหว ตั้งอยูท่ ี่มวิ นิค
และบาวาเรีย
231/665

รัฐมนตรีนอกตำแหน่งคณะรัฐมนตรี: คอนแสตนติน ฟอน เนรัธ


ฮันส์ แฟรงค์ ฮจาลมาร์ ชัคท์ อาเธอร์ ไซเยซซ-อินควารท์
เมื่อพรรคนาซีมอี ำนาจปกครองเยอรมันใหม่ๆ นั้น เยอรมันมีอัตรา
ว่างงานสูงถึง 30% นโยบายด้านเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีถือกำเนิดมา
จากแนวคิด ของ ฮยัลมาร์ ชอัคท์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานแห่งธนาคาร
เยอรมันในช่วงทีพ่ รรคนาซีขึ้นมามีอำนาจ และได้กลายมาเป็น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปีเดียวกัน เขาเป็นหนึ่งในรัฐมนตรี
ด้านการเงินเพียงไม่กี่คนที่ใช้ประโยชน์จาก การสิ้นสุดของมาตรฐาน
ทองคำ เพื่อคงอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำและอัตราขาดดุลของรัฐบาลให้สูง และ
ให้กิจการงานสาธารณะขนาดใหญ่ได้รับการอัดฉีดจากรัฐบาลกลาง ซึ่งได้
ส่งผลให้อัตราการว่างงานของชาวเยอรมันลดลงอย่างรวดเร็ว และนับได้ว่า
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดที ี่สุดในกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจาก ภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ในที่สุดแล้ว นโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์นี้ก็ได้
รับการส่งเสริมจากการสร้างกองกำลังทหารขึ้นมาใหม่และการเพิ่ม
งบประมาณทางด้านการทหารนั่นเอง
ในปี 1937 ฮยัลมาร์ ชอัคท์ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวง การคลัง ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งแทนคือ ร้อยเอก แฮร์มันน์ เกอริ
ง ผูซ้ ึ่งได้เสนอแผนการเศรษฐกิจสีป่ ีซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำให้เยอรมนี
สามารถทำสงครามได้ภายในเวลาสี่ปี แผนการดังกล่าวได้กำหนดให้ลด
การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (หรืออาจถึงขั้นยกเลิกการนำเข้าไปเลย)
232/665

อัตราค่าจ้างและราคาสินค้าทั่วประเทศอยูภ่ ายใต้การควบคุมของรัฐบาล ซึ่ง


ผูท้ ฝี่ ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวจะถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกัน เงินปันผลถูกกำหนด
เอาไว้ไม่เกิน 6% ของวงเงินในบัญชี และตั้งเป้าหมายทางยุทธศาสตร์อัน
ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของเครื่องจักรการผลิตยาง โรงงานผลิตเหล็กและ
โรงงานผลิตสิ่งทออัตโนมัติ ซึ่งคล้ายกันมากกับนโยบายทางเศรษฐกิจใน
ช่วงแรกของสหภาพโซเวียต
จากการที่พรรคนาซีได้แทรกแซงเศรษฐกิจของประเทศขนานใหญ่
และดำเนินนโยบายการสร้างกำลังทหารขึ้นอีกอย่างมโหฬาร ในช่วง
ทศวรรษ 1930 จึงแทบไม่มอี ัตราการว่างงานในเยอรมนีเลย (สถิตินี้ไม่
รวมชาวต่างประเทศและสตรี) อัตราค่าจ้างภายในเยอรมนีลดลงกว่า 25%
ระหว่างปี 1933 ถึงปี 1938 สหภาพการค้าถูกยกเลิก รวมไปถึงไม่อนุญาต
ให้มสี ัญญาซื้อขายระหว่างกันและสิทธิในการหยุดงานประท้วง รัฐบาลยัง
ห้ามมิให้ประชาชนลาออกจากงานของตน โดยรัฐบาลได้ออกบัญชีแรงงาน
ในปี 1935 ถ้าหากแรงงานต้องการ ที่จะลาออกเพื่อไปทำงานใหม่ จะต้อง
ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้างคนก่อนหน้าเสียก่อน นอกจากนั้น ยังมีการออก
กฎบังคับเพื่อกำหนดแนวทางการลงทุนให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐ
แทนทีก่ ารลงทุนเพื่อหากำไรตามปกติ ในที่สุดการออกเงินทุนโดยรัฐบาลก็
เข้าครอบงำขั้นตอนการลงทุน โดยสัดส่วนของ หลักทรัพย์ที่ออกโดยภาค
เอกชนนั้นลดลงอย่างมาก จากมากกว่า 50% ในปี 1933 และ 1934 เหลือ
เพียงประมาณ 10% ในปี 1935 ถึงปี 1938 บริษัทที่ออกเงินทุนเองก็ถูก
จำกัดด้วยอัตราภาษีกำไรที่สูงมาก แม้บริษัทใหญ่ๆ ได้รับการยกเว้นจาก
233/665

ภาษีกำไร แต่ทว่ารัฐก็ควบคุมบริษัทเหล่านี้อย่างเข้มงวดจนทำให้ “เหลือ


เพียงแต่เปลือกของความเป็นบริษัทเอกชนเท่านั้น”
ขณะที่นโยบายเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีอีกด้านหนึ่งพุ่งเป้าหมายไป
ยังการสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และเพิ่มจำนวนทหารบกของเยอรมนี
จาก 100,000 นาย เป็นหลายล้านนาย แผนการสี่ปีดังกล่าวได้รับการ
พิจารณาในที่ประชุมฮอสซบัค เมโมรันดุม ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาให้ผ่าน
แผนการดังกล่าว
แต่ถึงกระนั้น แผนการสี่ปขี องเกอริงจะหมดอายุในปี 1940 แต่
สงคราม ได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้ว เกอริงได้จัดตั้ง “ที่ทำการแผนการสี่
ปี” ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อควบคุมสภาพเศรษฐกิจของเยอรมนีและวัตถุดิบ
อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงเวลานั้น ในปี 1942 การที่สงครามโลกขยายตัว
ออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้เศรษฐกิจของนาซีเยอรมนีต้องกลายมาเป็น
เศรษฐกิจสงคราม ภายใต้การนำของอัลเบิร์ต สเพียร์ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงอาวุธยุทธภัณฑ์และอุตสาหกรรมสงคราม
เศรษฐกิจสงครามของนาซีเยอรมนีไม่สามารถสรุปได้อย่างเจาะจงว่า
เป็น “ตลาดเสรี” หรือ “ตลาดควบคุม” ริชาร์ด โอเวอร์รี่ กล่าวว่า :
“เศรษฐกิจของเยอรมนีอยู่ระหว่างม้านั่งสองตัว มันทั้งไม่ใช่ระบบเผด็จการ
อย่างระบบของโซเวียต หรือทุนนิยมอย่างระบบของอเมริกัน ในการหา
วิสาหกิจเอกชน”
กฎหมาย
234/665

โครงสร้างทางกฎหมายของนาซีเยอรมันนั้นได้รับสืบทอดมาจาก
สาธารณรัฐไวมาร์ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของตัวกฎหมายเกิดขึ้น
รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงคำตัดสินของศาลไปพอสมควร พรรคนาซีถือ
ว่าเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพรรคการเมืองเดียวใน
เยอรมนี พรรคการเมืองอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศจะถูกยุบพรรค กฎหมาย
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนส่วนมากได้ถูกตัดออกจากกฎหมายไรช์เกสเซทเท
(กฎหมายแห่งจักรวรรดิไรช์) คนกลุ่มน้อยบางพวก เช่น ชาวยิว
นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม และเชลยสงครามลิดรอนสิทธิและหน้าที่ที่พึงมี
และร่างกฎหมายวอล์คซ์ซตราฟเกสเซทซบุค ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมาในปี
1933 แต่ยังไม่ได้นำออกมาใช้จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
นอกจากนั้น พรรคนาซียังได้จัดตั้งศาลใหม่ขึ้นมา คือ
วอล์คส์เกอร์ริชท์ ชอฟ หรือ ศาลประชาชน ในปี 1934 แต่มีหน้าที่จัดการ
เฉพาะเกี่ยวกับคดีทเี่ กี่ยวข้องกับการเมืองเท่านั้น โดยตั้งแต่ปี 1943 จนถึง
เดือนกันยายน 1944 ศาลประชาชนได้มีคำสั่งประหารชีวิตไปกว่า 5,375
คน และตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 1944 จนถึงเดือนเมษายน 1945 ศาล
มีคำสั่งประหารชีวิตอีกไม่ต่ำกว่า 2,000 คน ผู้พิพากษาของศาลประชาชน
เป็นนักกฎหมายชื่อดัง โรแลนด์ ไฟรซ์เลอร์ ตั้งแต่ปี 1942 จนถึงปี 1945
ร่างกฎหมายที่สำคัญในสมัยของนาซีเยอรมนีส่วนใหญ่แล้วจะมาจาก
ความเห็นชอบของฮิตเลอร์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น กฎหมายของนาซี
235/665

เยอรมนีจึงเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ และส่วนใหญ่เป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน โดยตัวอย่างกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในนาซีเยอรมนี ได้แก่
กฤษฎีกาว่าด้วยเพลิงไหม้รัฐสภาไรช์ตาร์ก
รัฐบัญญัติมอบอำนาจ
ไรช์ซทัททัลเทอร์
การทหาร
กองทัพแห่งนาซีเยอรมนี เรียกว่า Wehrmacht ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ
กองกำลังติดอาวุธของเยอรมนีตั้งแต่ปี 1935 ถึงปี 1945 อันประกอบด้วย
Heer (กองทัพบก) Kriegsmarine (กองทัพเรือ) Luftwaffe
(กองทัพอากาศ) และองค์การทางทหาร Waffen-SS (กองกำลังรักษา
ประเทศ) ซึ่งทางพฤตินัยแล้วเป็นส่วนหนึ่งของ Wehrmacht เช่นกัน ใน
สมัยของนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ถือได้ว่าเป็นผู้บัญชาการทหาร
สูงสุดทั้งกองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพ อากาศ
กองทัพบกเยอรมันถูกจำกัดจำนวนไว้ที่ 100,000 นายตามที่กำหนด
ไว้ในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ฮิตเลอร์ซึ่งมีความเกลียดชังเนื้อหาใน
สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เขาได้แอบสร้างอาวุธอย่างลับๆ ทั้งในประเทศและ
นอกประเทศ หรือนำเข้าอาวุธจากต่างประเทศ โดยที่ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่
อาจตรวจจับได้ หลังจากนั้นก็สั่งระดมพลทั้งประเทศในปี 1935 ซึ่งชาว
เยอรมันตั้งแต่ 18-45 ปีจะต้องไปเกณฑ์ทหาร รวมไปถึงการสร้าง
236/665

กองทัพอากาศอีกในปีเดียวกัน แต่ทว่าทั้งสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสต่าง
ก็ไม่ได้ต่อต้านแต่ประการใด เนื่องจากยังเชื่อมั่นว่าฮิตเลอร์จะปรารถนา
สันติภาพ ต่อมา กองทัพเรือเองก็ได้รับการเพิ่มจำนวนจากผลของข้อตกลง
การเดินเรืออังกฤษ-เยอรมัน
กองทัพเยอรมันได้พัฒนาแนวคิดที่ได้ริเริ่มขึ้นในสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 1 อันเป็นปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพบกและ
กองทัพอากาศ ซึ่งเมื่อรวมกับรูปแบบการรบโบราณ อย่างเช่น การล้อม
และ “การรบแห่งการทำลาย ล้าง” กองทัพเยอรมันสามารถได้รับชัยชนะ
อย่างรวดเร็วในช่วงต้นของสงคราม โลกครั้งที่ 2 ซึ่งนักข่าวหนังสือพิมพ์
ชาวอเมริกันเรียกว่า “การโจมตีสายฟ้าแลบ” นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน
เชื่อว่ามีทหารเยอรมันในกองทัพไม่ต่ำกว่า 18,200,000 นาย กองทัพ
เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 สูญเสียชีวิตทหารไปอย่างน้อย 5,533,000
นาย
ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคนาซีได้ใช้กองทัพในการล้าง
ชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นทีร่ ู้กันดีตั้งแต่นายทหารชั้นสัญญาบัตรไปจนกระทั่ง
ผู้บัญชาการ ระดับสูง และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมและการ
สังหารหมู่ประชาชนในเขตยึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามต่อ
มวลมนุษยชาติ
การพัฒนาทางด้านการทหารของนาซีเยอรมนีเจริญไปจนถึงขั้นมี
โครงการทดลองระเบิดปรมาณูของตัวเอง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สองคน ออต
237/665

โต ฮัห์น และฟริตซ์ สเตรสแมน ซึ่งได้ยืนยันผลการทดลองขั้นแรกของ


ตนเมื่อวันที่ 13 มกราคม 1939 แต่ทว่าเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ
ลงด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมัน ดังนั้นการทดลองจึงยังไม่สัมฤทธิ์ผล
การศึกษา
การศึกษาภายใต้การปกครองของนาซีเยอรมนีจะมุ่งเน้นไปยัง
ชีววิทยา เชื้อชาติ นโยบายประชากร วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และที่สำคัญ
ที่สุด คือ ความแข็งแกร่งทางร่างกาย นโยบายต่อต้านเซมไมท์ได้ทำให้
พรรคนาซีออกคำสั่งให้ชาวยิวไม่สามารถเป็นครูอาจารย์หรือศาสตราจารย์
ตามสถานศึกษาของรัฐได้ และศาสตราจารย์ตามมหาวิทยาลัยจำเป็นจะ
ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมผู้บรรยายตามมหาวิทยาลัยแห่งชาติสังคม
เสียก่อนจึงจะสามารถสมัครเข้าสู่ระบบการศึกษาได้
ความเป็นอยู่ทางสังคม
พรรคนาซีได้ให้ความสำคัญแก่ความเป็นอยู่ทางสังคมของชาว
เยอรมัน จึงให้การสนับสนุนลดอัตราการว่างงานของชาวเยอรมันและ
รับรองความเป็นอยู่ ของประชาชน ซึ่งเขาได้พุ่งความสนใจไปยังแนวคิด
การอยู่ร่วมกันของชาวเยอรมันมากที่สุด พรรคนาซีมวี ิธีการที่ช่วยให้ชาว
เยอรมันมีความรู้สึกถึงการอยู่ร่วมกัน เช่น การใช้แรงงานของชาวเยอรมัน
และการหาประสบการณ์บันเทิง ซึ่งได้แก่ การจัดงานรื่นเริง การเดินทาง
ท่องเที่ยวและโรงหนังกลางแปลง ที่เรียก กันว่าโครงการ “ความแข็งแกร่ง
ผ่านความรื่นเริง”
238/665

นอกจากนี้แล้ว พรรคนาซียังได้พยายามสร้างความจงรักภักดีและ
มิตรภาพ โดยการสนับสนุนบริการกรรมกรแห่งชาติ และองค์การยุวชนฮิต
เลอร์ ด้วยวิธีการเกณฑ์ให้เข้าร่วมกับองค์กรของรัฐ ในการสนับสนุน
โครงการดังกล่าว โครงการสถาปัตยกรรมหลายแห่งได้รับหน้าที่ให้ทำการ
ก่อสร้าง โครงการเคดีเอฟได้ผลิตเคดีเอฟ-วาเกิน หรือที่ภายหลังรู้จักกัน
ในนาม “โฟล์คสวาเกน” (รถของประชาชน) ซึ่งมีราคาถูก และชาว
เยอรมันสามารถจะมีกำลังซื้อได้ และมันยังถูกสร้างขึ้นมาในข้อที่ว่าจะ
พัฒนาขีดความสามารถของมันให้เป็นพาหนะ สงครามได้ และที่สำคัญ
อย่างยิ่ง คือ การสร้างออโตบาน ซึ่งเป็นถนนที่ไม่จำกัด ความเร็วสายแรก
ของโลก (ทว่าข้อมูลจากบางแห่งกลับไม่เชื่อว่าพรรคนาซีจะเป็นผู้ริเริ่ม
โครงการออโตบาน)
สาธารณสุข
นาซีเยอรมนีได้ให้ความสำคัญแก่ด้านสาธารณสุขอย่างมาก ไม่
เหมือน กับที่หลายคนเข้าใจ จากการศึกษาวิจัยของโรเบิร์ต เอ็น. พร็อก
เตอร์ จากหนังสือ The Nazi War on Cancer ของเขา เขาเชื่อว่านาซี
เยอรมนีเป็นประเทศทีม่ ีการต่อต้านบุหรีอ่ ย่างหนักที่สุดในโลก คณะวิจัย
เกี่ยวกับโทษของบุหรี่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล และนักวิทยาศาสตร์
ชาวเยอรมันก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าควันพิษจากบุหรี่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเป็น
ครั้งแรกของโลก ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมันได้ทำการวิจัยศึกษา
การระบาดวิทยา และในปี 1943 ผลการทดลอง ที่ศึกษาจากอีเบอร์ฮาร์ด
239/665

ไชร์เรอร์ และอีรชิ เชอนิเกอร์ ซึ่งได้ข้อสรุปอย่างน่าเชื่อถือ ว่าการสูบบุหรี่


จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด รัฐบาลนาซียังได้บอกให้แพทย์แนะนำให้
ประชาชนหยุดการสูบบุหรี่เสีย
การวิจัยเกี่ยวกับภัยของบุหรี่ได้ชะลอตัวในช่วงระหว่างสงคราม ซึ่ง
กว่า นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันและชาวอังกฤษจะค้นพบผลการวิจัยของ
นักวิทยา ศาสตร์ชาวเยอรมนี้กเ็ ป็นช่วงทศวรรษ 1950 ไปแล้ว
นักวิทยาศาสตร์นาซียังได้พิสูจน์ว่าเส้นใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีก
ด้วย ในปี 1943 เยอรมนียอมรับว่าโรคที่เกิดจากเส้นใยหิน เช่นมะเร็ง
ปอด เป็นโรคที่เกิดระหว่างการปฏิบัติงานและยอมให้ค่าชดเชยแก่ผู้
เสียหายเป็นประเทศแรกของโลก
นโยบายด้านสาธารณสุขโดยทั่วไปของเยอรมนี ได้แก่ การทำความ
สะอาดแหล่งน้ำ การตรวจหาตะกั่วและปรอทในสินค้าที่ผลิตในเยอรมนี
และสตรีในเยอรมนียังได้รับคำแนะนำให้ไปตรวจหามะเร็งเต้านม
สิทธิสตรี
รัฐบาลนาซีไม่สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อปลดปล่อยสตรีและลัทธิ
เฟมินิสต์ ด้วยเหตุผลว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นการกระทำของชาวยิวและเป็น
พฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมสำหรับชาวเยอรมัน พรรคนาซีได้สนับสนุนแนว
คิดการปกครองฉันพ่อลูก ซึ่งจากแนวคิดดังกล่าวได้อบรมสตรีชาว
เยอรมันว่า “โลกเป็นสามีของ เธอ ครอบครัวของเธอ ลูกของเธอ และเป็น
บ้านของเธอ”
240/665

ฮิตเลอร์ได้กล่าวว่าเพศหญิงที่ใช้แรงงานหนักเหมือนกับเพศชายใน
ช่วง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่จะไม่เป็นผลดีต่อครอบครัว เนื่องจาก
ว่าในตอน นั้น เพศหญิงจะได้รับอัตราค่าจ้างเพียง 66% เมื่อเทียบกับอัตรา
ค่าจ้างของเพศชาย จากคำแถลงดังกล่าว ฮิตเลอร์จึงมิได้พิจารณาขึ้นอัตรา
ค่าจ้างให้แก่สตรีชาวเยอรมัน แต่บอกให้พวกเธออยู่กับบ้านแทน
พร้อมกับทีว่ ่าขอให้สตรีชาว เยอรมันลาออกจากงานที่ทำนอกบ้านเสีย และ
ให้สนับสนุนรัฐเกี่ยวกับกิจการสตรีอย่างแข็งขัน
ในปี 1933 ฮิตเลอร์ได้เลือกเอาเกอร์ทรุด ชอลทซ์-คลิงก์ ขึ้นเป็น
ผู้นำสตรีแห่งจักรวรรดิไรช์ ซึ่งเธอได้กล่าวถึงบทบาทหลักของสตรีในสังคม
คือ การให้กำเนิดบุตร และสตรีควรจะมีหน้าที่รับใช้บุรุษ ดังที่เธอเคย
กล่าวว่า “ภารกิจของสตรีคือการทำนุบำรุงเรือนของตน และยอมรับ
ความจำเป็นของชีวิต ตั้งแต่ วินาทีแรกจนถึงวินาทีสุดท้ายของบุรุษ”
ซึ่งแนวคิดนี้ยังมีอิทธิพลไปถึงสตรีชาวอารยันที่ได้แต่งงานกับบุรุษ
ชาวยิวอีกด้วย จึงทำให้เกิดเหตุการณ์การประท้วงโรเซนสเทรซเซ ที่สตรี
ชาวเยอรมัน กว่า 1,800 คน (พร้อมทั้งญาติ 4,200 คน) เรียกร้องให้นาซี
ปล่อยสามีชาวยิวของพวกเธอ
การปกครองแบบนาซีส่งผลให้สตรีชาวเยอรมันไม่กล้าที่จะศึกษาหา
ความรูต้ ่อในระดับมัธยมศึกษา วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย จำนวนสตรีที่
ศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัยลดลงอย่างมากในสมัยนาซีเยอรมนี ซึ่งลดลง
จาก 128,000 คน ในปี 1933 เหลือเพียง 51,000 คน ในปี 1938 จำนวน
241/665

เด็กหญิงทีศ่ ึกษาในระดับมัธยมศึกษาลดลงจาก 437,000 คน ในปี 1926


เหลือเพียง 205,000 คน ในปี 1937 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากต้องบรรจุ
เพศชายเข้าสู่กองทัพเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้จำนวนสตรี
ในระบบการศึกษานับเป็นจำนวน ครึ่งหนึ่งของทั้งหมดในปี 1944
พรรคนาซีได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมาหลายองค์กรเพื่อสั่งสอนแนว
คิดนาซีให้แก่สตรีชาวเยอรมัน อย่างเช่น ยุงมาเดิล (หมายถึง “เด็กหญิง”)
ซึ่งเป็นโครงการยุวชนฮิตเลอร์สำหรับเด็กหญิงอายุ 10-14 ปี และ บุนด์
ดอยท์เชอร์ เมเดล สำหรับเด็กสาวอายุระหว่าง 14-18 ปี
แต่นาซีมีท่าทีที่แตกต่างระหว่างเรื่องเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ของสตรีกับ
การกำหนดบทบาทของสตรีในสังคม พรรคนาซีมีหลักเกณฑ์ที่เสรีเกี่ยวกับ
เรื่อง เพศสัมพันธ์และให้ความเห็นอกเห็นใจสตรีที่ต้องเลี้ยงบุตรนอก
สมรส การเลือนหายไปของจริยธรรมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 กลับถูก
เร่งให้เกิดเร็วขึ้นอีกในการปกครองของนาซีเยอรมนี บางส่วนหายไปจาก
การปกครองตามลัทธินาซี และบางส่วนหายไประหว่างสงคราม ความ
เลวทรามได้เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อสงครามดำเนินต่อไป เหล่าทหารหนุ่มโสด
มักจะมีความสัมพันธ์ในเชิงชู้สาวกับผู้หญิงหลายคนในเวลาเดียวกัน สตรี
ทีแ่ ต่งงานแล้วมักมีหลายความสัมพันธ์ในเวลาเดียวกัน ทั้งกับทหาร
พลเรือนหรือแม้แต่ชนชั้นกรรมกร “ภรรยาชาวไร่ในวึรท์เทมเบิร์กได้เริ่มมี
ใช้เพศสัมพันธ์เป็นสินค้า โดยใช้การตอบสนองทางเพศเพื่อจ้างกรรมกร
ต่างด้าวให้ทำงานเต็มวัน” การแต่งงานและ การมีเพศสัมพันธ์ระหว่าง
242/665

บุคคลจะถูกแบ่งระหว่างผู้ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ “อารยัน” และ


ผูท้ นี่ อกเหนือจากนั้นทีถ่ ูกเรียกว่า “รัสเซนชันเดอ” ซึ่งถือเป็นความผิดและ
จะต้องโทษ (ชาวอารยันจะถูกส่งไปค่ายกักกัน และผู้ที่ไม่ใช่อารยันจะ
ต้องโทษประหาร)
แม้ว่าบทบาทของสตรีในสังคมเยอรมันจะลดน้อยถดถอยลงไปมาก
แต่สตรีบางคนก็ยังมีบทบาทสำคัญ ซึ่งได้รับการยกย่องสรรเสริญและ
ประสบความสำเร็จในชีวิต อย่างเช่น ฮันนา ไรท์ช นักบินประจำตัวฮิต
เลอร์ และเลนิไรเฟนสทฮัล ผู้กำกับภาพยนตร์และดารา
ตัวอย่างที่น่าเยาะเย้ยของความแตกต่างระหว่างคำสั่งสอนของลัทธินา
ซีและการปฏิบัตติ นนั้นคือ ถึงแม้การมีเพศสัมพันธ์กันในค่ายของยุวชนฮิต
เลอร์จะถูกห้ามอย่างชัดเจน ค่ายของเด็กชายกับเด็กหญิงกลับถูกวางให้อยู่
ใกล้กันราวกับจะต้องการให้เกิดเพศสัมพันธ์ขึ้น อีกทั้งสมาชิกของบุนด์
ดอยท์ เชอร์ เมเดล มักจะตั้งครรภ์ (หรือมีผลกระทบไปถึงการสมรสใน
ภายหลัง) เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับชายที่ยั่วยุได้ง่าย
การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในปี 1935 พรรคนาซีได้ผ่าน “บัญญัติแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติแห่ง
ไรช์” ซึ่งไม่ได้เป็นกฎหมายตามลัทธินาซีอย่างแท้จริง เพราะมีอิทธิพลมา
ตั้งแต่ก่อนทีพ่ รรคนาซีจะขึ้นสูอ่ ำนาจเสียอีก อย่างไรก็ตาม มันก็แสดงให้
เห็นถึงแนวคิดของพรรคนาซี แนวคิดของ “ดาวเออร์วัลด์” หรือ “ป่า
243/665

นิรันดร์” อันเป็นการรวบ รวมแนวคิดการบริหารและการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่ง


พรรคนาซีได้นำเสนอว่าป่าไม้สามารถป้องกันมลภาวะทางอากาศได้
นโยบายอนุรักษ์สัตว์
ในปี 1933 พรรคนาซีได้ร่างกฎหมายอันเข้มงวดเพื่อกำหนดการ
อนุรักษ์ สัตว์ขึ้นมา ทำให้การล่าสัตว์เป็นสิ่งผิดกฎหมายในนาซีเยอรมนี
ซึ่งแม้แต่ในประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ก็ยังมีการสืบทอดกฎหมายการ
ปกป้องสัตว์ของนาซีมาจนถึงปัจจุบันไม่มากก็น้อย แต่ว่าผลของกฎหมาย
ดังกล่าวก็มผี ลน้อยมากในการบังคับใช้ เนื่องจากพรรคนาซีเห็นว่ายังมี
ความจำเป็นที่ต้องชำแหละ สัตว์เพื่อการศึกษาทางการแพทย์
นโยบายกีดกันทางเชื้อชาติ
พรรคนาซีได้แบ่งประชากรออกเป็นสองประเภทคือ “เชื้อชาติอารยัน”
และ “ไม่ใช่เชื้อชาติอารยัน” ซึ่งหมายถึงชาวยิวหรือชนกลุ่มน้อยอื่น
สำหรับเชื้อชาติอารยันแล้ว พรรคนาซีได้ออกนโยบายทางสังคมซึ่งเอื้อ
ประโยชน์ให้แก่คนกลุ่มนี้ และเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งรวมไปถึงยกโทษ
ให้แก่เด็กทีเ่ กิดจากบิดามารดานอกสมรส รวมไปถึงให้การสนับสนุน
ทางการเงินให้แก่ครอบ ครัวชาวอารยันซึ่งให้กำเนิดบุตร
พรรค นาซีดำเนินนโยบายกีดกันโดยการข่มเหงและสังหารผู้ที่ไม่เป็น
ทีพ่ ึงปรารถนาของ สังคมและผูท้ ไี่ ม่ควรจะได้รับผลประโยชน์จากนโยบาย
ทางเชื้อ ชาติและสังคม ซึ่งเรียกว่าเป็น “ศัตรูของรัฐ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
“พวกที่ต่ำกว่ามนุษย์” อย่างเช่น ชาวยิว ชาวยิปซี ผู้นับถือลัทธิพยานพระ
244/665

เยโฮวาห์ ซึ่งรวมไปถึงผูท้ มี่ ีความบกพร่องทางจิตและทางกาย ซึ่งได้แก่ ไร้


สมรรถภาพและรักร่วมเพศ ในช่วงทศวรรษ 1930
แผนการของพรรคนาซีที่จะแยกหรือจนกระทั่งสังหารชาวยิวได้
เริ่มต้นขึ้นในนาซีเยอรมนีด้วยการสร้างนิคมชาวยิว ค่ายกักกัน และค่าย
แรงงาน ในปี 1933 ค่ายกักกันดาเชาเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งฮิมม์เลอร์ได้กล่าว
ถึงจุดประสงค์ของค่ายดาเชาว่าเป็น “ค่ายสำหรับนักโทษทางการเมือง”
245/665

สมาชิกนาซีเยอรมันหน้าร้านค้าของชาวยิวที่มีสัญลักษณ์ดาวดาวิด กระตุ้นให้ชาวเยอรมันฝักใฝ่นาซี
ต่างบอยคอตต์พ่อค้าชาวยิว

ภายหลังจากที่พรรคนาซีก้าวขึ้นสู่อำนาจแล้ว ชาวยิวจำนวนมากถูกยุ
ให้ หนีออกนอกประเทศ ซึ่งชาวยิวจำนวนมากก็ทำเช่นนั้น ในช่วงเวลาที่
กฎหมาย เมืองเนิร์นแบร์ก ผ่านในปี 1935 ชาวยิวถือว่าสูญเสียสัญชาติ
246/665

เยอรมันและถูกปฏิเสธจากตำแหน่งการงานของรัฐ ซึ่งทำให้ชาวยิวจำนวน
มากตกงานในประเทศ โดยชาวเยอรมันจะเข้าทำหน้าที่ตามตำแหน่งที่ว่าง
อยูน่ ั้น เหตุการณ์ทโี่ ดดเด่นก็คือ รัฐบาลพยายามที่จะส่งตัวชาวยิวเชื้อสาย
โปแลนด์กว่า 17,000 คนกลับสู่โปแลนด์ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่นำไปสูก่ าร
ลอบสังหารเอิร์ท วอม รัท ทูตชาวเยอรมัน โดยเฮอร์สเชล กรินสปัน ชาว
ยิวเชื้อสายเยอรมันที่อาศัยอยู่ในปารีส การลอบสังหารนีท้ ำให้เกิดข้ออ้าง
แก่พรรคนาซีที่จะปลุกระดมให้เกิดการต่อต้านชาวยิวในวันที่ 9
พฤศจิกายน ซึ่งมุ่งจะทำลายธุรกิจของชาวยิวเป็น พิเศษ เหตุการณ์ต่อต้าน
นีถ้ ูกเรียกว่า คริสทัลนัชท์ หรือ “คืนแห่งการทุบกระจก” “คืนคริสตัล”
เพราะกระจกหน้าต่างร้านค้าที่ถูกทุบทำให้ถนนดูเหมือนถูกโรยด้วยคริสตัล
จนกระทั่งเดือนกันยายน 1939 ชาวยิวกว่า 200,000 คนหลบหนีออกนอก
ประเทศ และรัฐบาลจะทำการยึดทรัพย์สินของชาวยิวเหล่านั้นเป็นของ
แผ่นดิน
พรรคนาซียังได้ดำเนินการสังหารชาวเยอรมันที่ “อ่อนแอ” และ “ไม่
เหมาะสม” อย่างเช่น พฤติการณ์ ที-4 ซึ่งมีการสังหารคนพิการและผู้ป่วย
เป็น จำนวนหลายหมื่นคนในความพยายามทีจ่ ะ “รักษาความบริสุทธิ์ของ
เชื้อสายอันยิ่งใหญ่”
อีกประการหนึ่งที่โครงการที่นาซีใช้เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ทาง
เชื้อชาติคือ เลเบนสบอร์น หรือ “น้ำพุแห่งชีวิต” ทีไ่ ด้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี
1936 โดยมีเป้าหมาย เพื่อที่จะให้ทหารเยอรมัน (ซึ่งส่วนใหญ่คือ หน่วย
247/665

เอสเอส) สืบเชื้อสายของพันธุ์ บริสุทธิ์ รวมไปถึงข้อเสนอที่ให้บริการ


สนับสนุนครอบครัวเอสเอส (รวมไปถึงจัดให้เยาวชนที่มีพันธุบ์ ริสุทธิ์เข้าไป
อยูใ่ นครอบครัวเอสเอสที่มีความเหมาะสม) และจัดหาสตรีที่มีความ
เหมาะสมทางเชื้อชาติให้เป็นภรรยาของชายที่ผ่านการ คัดเลือกแล้ว และ
ให้พวกเธออยู่อาศัยในเยอรมนีและดินแดนยึดครองในทวีปยุโรป และยัง
เลยไปถึงขั้นทีจ่ ะนำเด็กที่มีพันธุบ์ ริสุทธิ์ที่จับมาจากดินแดนยึดครอง เช่น
โปแลนด์ มาให้กับครอบครัวชาวเยอรมัน
เมื่อถึงตอนต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาล เยอรมนีได้ออก
คำสั่งในดินแดนยึดครองโปแลนด์ ผู้ชายชาวยิวต้องถูกใช้แรงงานหนัก
ผู้หญิงและเด็กจะ ต้องถูกจับไปยังนิคมชาวยิว ซึ่งในการกระทำดังกล่าว
แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ว่า การแก้ปัญหาชาวยิวที่ได้มีการถกเถียงกันมา
เป็นเวลายาวนานแล้วจะยุติลงด้วย การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย คือ
การทำลายล้างเชื้อชาติยิวจนสิ้นซาก
ผลงานทางศิลปะ
พรรคนาซีมีแนวคิดที่จะพยายามรักษาคุณค่าของวัฒนธรรมประเพณี
ดั้งเดิมของชาติเยอรมนีเอาไว้ ศิลปวัฒนธรรมที่ถือกำเนิดขึ้นมาให้เห็น
อย่างชัดเจนหลังจากช่วงสาธารณรัฐไวมาร์จะถูกปราบปราม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทัศน-ศิลป์ที่จะต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด
และต้องผ่านเกณฑ์ โดยจะต้องเน้นเพื่อเป็นการแสดงตัวอย่างของนโยบาย
ของรัฐ เช่น ความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ ลัทธินิยมทหาร วีรบุรุษ พลังอำนาจ
248/665

ความเข้มแข็ง และความอ่อนน้อมถ่อมตน ภาพศิลปะนามธรรมและศิลปะ


อาวองการ์ด จะถูกเคลื่อนย้ายออกจากพิพิธ- ภัณฑ์และจะถูกนำไปแสดง
เป็นพิเศษในหมวดหมู่ “ศิลปะอันเลวทราม” ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้
ประชาชนหัวเราะเยาะผลงานเหล่านี้ วรรณกรรมที่เป็นผลงานของชาวยิว
หรือเชื้อชาติที่ไม่เป็นอารยัน หรือนักประพันธ์ผู้มีความเห็นไปในทาง
ต่อต้านคำสอนของลัทธินาซีถูกทำลาย การทำลายวรรณกรรมทีโ่ ด่งดังที่สุด
คือการเผาหนังสือโดยนักเรียนชาวเยอรมันในปี 1933
แม้ว่าจะมีความพยายามของรัฐบาลที่จะสร้างวัฒนธรรมเยอรมัน
บริสุทธิ์ แต่ว่ายังมีศิลปะหรือสถาปัตยกรรมบางส่วน กลับเป็น
สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิค ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของสถาปัตยกรรมโรมัน
โบราณ ภายใต้การชักนำ ของฮิตเลอร์เอง ศิลปะแนวนี้โดดเด่นและ
ขัดแย้งกับศิลปะรุ่นใหม่ที่มีเสรีกว่าและได้รับความนิยมกว่าในสมัยนั้น
(เช่น อาร์ท เดโค) โดยผลงานสถาปัตยกรรม แบบโรมันในนาซีเยอรมนี
ส่วนมากเป็นผลงานของวิศวกรของรัฐ อัลเบิร์ต สเพียร์ ซึ่งเขาก็ได้
ออกแบบสถานทีส่ ำคัญของพรรคนาซีอันยิ่งใหญ่และสง่างาม อย่างเช่น
ลานชุมนุมของพรรคนาซีที่เมืองเนิร์นแบร์ก และที่ว่าการไรช์ในกรุงเบอร์
ลิน งานออกแบบชิ้นหนึ่งที่ไม่ได้นำมาสร้างจริงคือการสร้างพาเธนอนให้
ยิ่งใหญ่กว่า ในกรุงโรมและใช้เป็นศูนย์ทางศาสนาของลัทธินาซีในเบอร์ลิน
(ซึ่งจะถูกเปลี่ยน ชื่อเป็นเยอรมาเนีย) และ ประตูแห่งชัยชนะให้ยิ่งใหญ่
กว่าในกรุงปารีส แต่งานออกแบบสำหรับเยอรมาเนียเหล่านี้ล้วนเป็นเพียง
ความเพ้อฝันและไม่มวี ัน ที่จะสำเร็จลงได้เพราะขนาดของมันและดินของ
249/665

เบอร์ลินที่อ่อนเกินไป นอกจากนี้ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างล้วนถูกนำไปใช้


ในการสงคราม
สื่อและภาพยนตร์
ผลงานทางด้านสื่อและภาพยนตร์ของเยอรมนีในยุคสมัยนาซีนี้
ส่วนใหญ่จะมีจุดประสงค์เพื่อความบันเทิง กฎหมายได้ห้ามมิให้มกี าร
นำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 1936 อุตสาหกรรมของ
เยอรมนีได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นแนวชาตินิยมทั้งหมดในปี 1937 ซึ่ง
จะต้องทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศที่ขาดหายไป
(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกา) ความบันเทิงกลายมา
เป็นสิ่งทีจ่ ำเป็นอย่างมากในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะ
ภาพยนตร์เป็นสิ่งที่ดึงความสนใจจากการทิ้งระเบิด ของฝ่ายสัมพันธมิตร
และความพ่ายแพ้ของเยอรมนี ภาพยนตร์ทั้งในปี 1943และปี 1944 สร้าง
รายได้กว่าหนึ่งพันล้านไรช์มาร์ก
แม้จะมีการข้อกำหนดทางการเมืองและผู้ผลิตภาพยนตร์จำนวนมาก
หลบหนีออกนอกประเทศ ภาพยนตร์ของนาซีกย็ ังมีการคิดค้นนวัตกรรม
ทางเทคโนโลยีและความงามขึ้นมาใหม่ อย่างเช่น การผลิตภาพยนตร์โดย
ใช้ฟิล์มอักฟาโคเลอร์ ซึ่งเป็นการระบุลงไปอย่างชัดเจนว่าเป็นลักษณะ
เฉพาะตัวของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของนาซีเยอรมนี ผลงานภาพยนตร์
ส่วนใหญ่จะเป็นการ โฆษณาชวนเชื่อ นำเสนอนโยบายของรัฐบาลและ
คำสั่งสอนทางเชื้อชาติ
250/665

ศาสนา
พรรคนาซีได้นำสัญลักษณ์มาจากคริสต์ศาสนามารวมเข้ากับ
อารยธรรม โบราณ และยังได้เสนอคริสต์ศาสนาเชิงบวก ซึ่งได้ทำให้ชาว
เยอรมันคริสต์จำนวนมากเชื่อว่าหลักของลัทธินาซีเป็นไปตามหลักธรรม
ของคริสต์ศาสนา แม้ว่าจะอยู่ในช่วงสงครามโลก2 ก็ตาม
ทั้งหมดทีกล่าวมานี้คือภาพรวมของนาซีเยอรมัน ภายใต้การนำของ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และทำให้โลกเข้าสู่ภาวะของความหวาดกลัวอยู่หลายปี
อิตาลี ค.ศ. 1918-1939
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นประเทศต่อไปที่สำคัญและต้องกล่าวถึงก็คือ
อิตาลี
สงครามโลกทีเ่ กิดขึ้นในครั้งที่ 1 ทำให้เกิดความไม่สงบแผ่กระจาย
ไปทั่วทั้งอิตาลี การนัดหยุดงานกลายเป็นเหตุการณ์ประจำวันที่เกิดขึ้น
พร้อมกันความยากจนและการว่างงานมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ธุรกิจต่างๆ มี
ปัญหา แต่ปรากฏ ว่ารัฐบาลกลับไม่ได้แก้ไขอะไรได้และสถานการณ์ไม่ได้
ดีขึ้นแม้สงครามจะสิ้นสุดไปแล้วก็ตาม
ปี 1919 เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำคณะเชิร์ตดำ หรือ ฟาสซิสต์ ได้เริ่ม
เข้ามาจัดการให้บ้านเมืองเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เขาได้ขอร้องให้
ชาวอิตาลีที่รักชาติได้เข้ามาช่วยทำให้อิตาลีพ้นจากสภาพความไม่มีขื่อแป
ซึ่งข้ออ้าง ที่เขาบอกกับประชาชนก็คือเกิดจากความไม่พอใจและศัตรู
251/665

ต่างชาติ เมื่อชาวไร่ ชาวนาและกรรมกรได้ยินคำขอร้องดังนีก้ ็พากันมาเข้า


เป็นพรรคพวกและเริ่มจับอาวุธต่อต้านผูก้ ่อความยุ่งเหยิง ผลที่เกิดขึ้นก็คือ
พวกฟาสซิสต์ กลายเป็นพวกสารวัตรทหารนั้นเอง พวกนี้เคลื่อนย้ายจากที่
หนึ่ง ไปยังที่หนึ่ง เรื่อยๆ โดยการสวมเสื้อเชิร์ตสีดำ คอยสอดส่องดู
เหตุการณ์ เมื่อเห็นความไม่สงบเกิดขึ้น ไม่ว่าในลักษณะใด ก็จะเข้าไป
ระงับและบังคับให้เชื่อฟังเจ้าหน้าที่ฟาสซิสต์
กระนั้นรัฐบาลของอิตาลีเวลานั้นก็ยังคงอ่อนแอ และไม่ได้ดำเนินการ
อะไรให้เรียบร้อยได้ ทำให้พวกฟาสซิสต์ เริ่มโกรธเคืองจนถึงขั้นเริ่ม
เคลื่อนขบวน เข้าสู่กรุงโรม และขอให้กษัตริย์ วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3
บีบให้นายกรัฐมนตรีลาออก และเมื่อกษัตริยบ์ ีบให้นายกรัฐมนตรีลาออก
สำเร็จแล้ว ก็ได้เริ่มแต่งตั้ง รัฐมนตรีจากพวกฟาสซิสต์ขึ้น ในปี 1922 โดย
มี มุสโสลินี ซึ่งเวลานั้นได้รับการ ขนานนามว่า ดูเช่ที่ 2 เป็น
นายกรัฐมนตรี
ลัทธิ ฟาสซิสต์ก้าวขึ้นมามีอำนาจ เริ่มดำเนินการกำจัดคู่แข่งให้พ้นไป
โดยไม่เว้นแม้แต่การกำจัดปรปักษ์ด้วยการ ปิดปากหรือประหารชีวิต มี
การตรวจและตัดข่าวในหนังสือพิมพ์ ควบคุมการปาฐกถา และการกระทำ
ต่างๆ ส่งผลให้ชาวอิตาลีจำนวนหนึ่งต้องหนีออกนอกประเทศ รัฐบาลเริ่ม
เข้าควบคุม อุตสาหกรรมทุกชนิด มีการโฆษณาให้นิยมลัทธิฟาสซิสต์ อยู่
ทั่วไปทุกหนแห่งเพื่อให้ประชาชนฝังใจ นำลัทธิการปกครองแบบทหารขึ้น
มาใช้ มุสโสลินีได้เข้าจัดการให้ทางศาสนาและฝ่ายบ้านเมืองมีความ
252/665

สัมพันธ์อันดีต่อ กันได้สำเร็จ และองค์สันตะปาปาได้รับรองราชอาณาจักร


อิตาลีที่มีโรมเป็นนครหลวง
และเมื่อจัดการบ้านเมืองให้สงบราบคาบเรียบร้อยแล้ว มุสโสลินีก็ได้
เริ่มแผ่อำนาจ โดยเขาได้ส่งกองทัพเข้าไปยังแอฟริกา เพื่อรุกรานเอธิโอเปีย
ประเทศเล็กๆ ทีม่ ีทรัพยากรจำนวนมากมายในปี 1935 และไม่สนใจแม้จะ
ได้รับ คำขู่จากอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงไม่นานนักอิตาลีก็สามารถเข้า
ยึดครองเอธิโอเปียได้สำเร็จ ถอดกษัตริย์ของเอธิโอเปีย ไฮเล เซลาสสี
ออกจากบัลลังก์ ก่อนที่จะเสด็จหนีไปอังกฤษ
แม้การยึดครองเอธิโอเปียจะไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรนัก ทั้งนี้เพราะ
เอธิโอเปียเล็กและแทบจะไม่มีกองกำลังทางทหารมากนัก แต่กระนั้นอิตาลี
ก็ต้องสูญเสียอะไรหลายอย่างไปไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายทาง
ทหาร และทีส่ ำคัญคือการถูกบอยคอตต์ทางการเงินเศรษฐกิจ และรวมหัว
กันเลิกซื้อสินค้าอิตาลี นอกจากนั้นยังติดตามมาด้วยมติของสันนิบาตชาติ
ซึ่งทำตามคำร้องขอของไฮเล เซลาสสี โดยขอให้ประเทศภาคีงดให้อิตาลี
ยืมเงิน งดการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ และให้เลิกติดต่อทางการค้าด้วย
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ทำให้ประเทศอิตาลีต้องประสบปัญหาอย่างหนัก
เมื่อประเทศต้องย่อยยับเช่นนั้น แทนที่จะมีทางออกอื่นรัฐบาลกลับ
ต้องการรายได้โดยการเพิ่มภาษีให้สูงขึ้น กระนั้นก็มที างออกในที่สุด อัน
เป็นทางออกที่อิตาลีรู้จักหยิบมาใช้จากปัญหาความสับสนของการเมืองโลก
และความวุ่นวายของประเทศเพื่อนบ้าน
253/665

เบนิโต มุสโสลินี และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สองผู้นำสำคัญฝ่ายอักษะที่สร้างความหวาดผวาให้กับฝ่าย


ประเทศโลกเสรี

กล่าวคือ ในปี 1931 การเมืองภายในสเปนมีปัญหา เมื่อระบอบ


กษัตริย์ นำโดย พระเจ้าอัลฟองโซที่ 13 ถูกโค่นลง และเกิดมีสาธารณรัฐ
ขึ้นมา สาธารณ- รัฐทีต่ ั้งขึ้นใหม่นี้อ่อนแอ ทำให้ประชาชนเกิดความไม่
พอใจและก่อความวุ่นวาย ขึ้นมา
254/665

ในปี 1936 นายพลฟรานซิสโก ฟรังโก ซึ่งในเวลานั้นเป็นผู้


บังคับการกองทหารต่างด้าวของสเปนประจำการอยู่ในอาณานิคมโมร็อคโก
แถบแอฟริกา ได้เข้ามาเป็นผู้นำและพาพวกกบฏพร้อมประกาศตนเองเป็น
ผู้เผด็จการทางทหารของสเปนทั้งหมด
ฟรังโกมีชัยชนะในการรบ ก็เพราะได้รับความช่วยเหลือด้านการฝึก
การรบ และอาวุธ พร้อมกำลังพลจากอิตาลีและเยอรมนี พร้อมกับกำลัง
จากนานาชาติที่สมัครมาเข้าร่วมกับฟรังโก ทั้งนี้เพราะเวลานั้นยุโรปมองว่า
การรบกันครั้งนี้เป็นสงครามตัวแทนระหว่างฟรังโก (ฟาสซิสต์) กับกษัตริย์
(คอม มิวนิสต์)
ขณะที่ทางสหภาพโซเวียตและฝรั่งเศสนั้นได้ส่งกำลังเข้าช่วยเหลือ
ฝ่ายกษัตริย์ เริ่มทำให้เห็นภาพความแตกแยกอยู่กลายๆ แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้น
ในสเปนนี้ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสต่างหวาดระแวงว่าจะเป็นชนวนที่ทำให้
เกิดสงคราม ใหญ่ขึ้นในยุโรปอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นในปี 1937 อังกฤษจึงได้
ขอให้อิตาลีเซ็นสัญญาว่าจะไม่เข้าไปยึดครองสเปน แต่ก็ดูเหมือนจะไม่มี
ผลอะไรมากนัก ท่าที ของอิตาลียังคงแสดงออกว่าอยากเข้าครอบครอง
สเปนอยู่นั้นเอง โดยเฉพาะได้ส่งกองกำลังแทรกซึมเข้าไปในสเปนอย่าง
ต่อเนื่อง และในปีต่อมาอังกฤษก็มาทำสัญญากับอิตาลีอีกครั้งหนึ่งด้วย
ข้อตกลงทีว่ ่าอิตาลีจะยอมรับดินแดนใน อารักขาของอังกฤษในอาระเบีย
และอังกฤษก็สัญญาว่าจะผลักดันให้สันนิบาต ชาติรับรองว่าอิตาลีได้เอธิโอ
เปียไว้ในปกครอง
255/665

เมื่อเป็นเช่นนี้นายพลฟรังโก จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำของ
สเปน ขณะทีผ่ ลประโยชน์ของอิตาลีในเมดิเตอร์เรเนียนก็ได้รับคืนกลับมา
ความขัดแย้งกันระหว่างชาติก็สิ้นสุดลง
มุสโสลินีเริ่มเซ็นสัญญาทางการค้ากับบรรดาประเทศมหาอำนาจ
หลาย ประเทศ โดยเฉพาะสัญญาที่ทำกับอัลเบเนีย ค.ศ. 1927 ทำให้
อัลเบเนียตกอยู่ในทำนองชาติในอารักขาของอิตาลี ในปี 1938 ทหารอิตาลี
ก็ได้ยาตราเข้าสู่อัลเบเนียและเข้ายึดเอาประเทศของเขาด้วยกำลัง
หลังจากเข้ายึดอัลเบเนียแล้วเรื่องของ สนธิสัญญาอักษะโรม-เบอร์
ลิน กลายเป็นหัวข้อทีส่ นใจกันในระยะนั้น ทั้งนี้เพราะมองกันว่า ทั้งอิตาลี
และเยอรมนีทจี่ ับมือกันแน่นอยู่นั้นจะพยายามดึงเอารัสเซียมาเข้าพวก เพื่อ
เปิดฉาก สงครามกับบรรดาประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอื่นๆ หรือไม่
ที่สำคัญมีข่าวลือออกมาว่าอิตาลีกำลังจะส่งกองทหารเข้าไปยึดเมือง
ซาวอย นีซ เกาะคอซิกา และประเทศตูนิเซีย จากฝรั่งเศสอีก ยิ่งทำให้ไฟ
แห่งสงครามถูกกระพือและกล่าวถึงกันอย่างต่อเนื่อง กระนั้นในปีนั้นอิตาลี
ก็ไม่ได้ทำอะไรอย่างที่มีการพูดคุยกัน และเมื่อมีการประกาศสงคราม
ระหว่างฝรั่งเศส อังกฤษ กับเยอรมนีขึ้น อิตาลีกลับประกาศวางตัวเป็น
กลางในระยะแรก แต่ต่อมาเมื่อเห็นว่าฝรั่งเศสเริ่มเพลี่ยงพล้ำแล้ว อิตาลี
ก็ประกาศเข้าสู่สงครามอยู่กับฝ่ายเยอรมนี ในปี 1940
ญี่ปุ่น ค.ศ. 1918-1939
256/665

ในบรรดาประเทศผู้นำในสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายอักษะนั้น
เยอรมนี และอิตาลี มีบทบาทอยู่ในสงครามแถบยุโรปและฝั่งตะวันตก
ขณะทีฝ่ ั่งตะวันออกนั้นมีชาติมหาอำนาจจากเอเชียเป็นชาติผู้นำ และชาติที่
ว่านี้ก็คือ ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น นับได้ว่าเป็นชาติมหาอำนาจชาติเดียวที่อยู่นอกกรอบของทวีป
ยุโรป กระนั้น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ
ญี่ปุ่นก็มีไม่น้อยไปกว่าชาติใดๆ เลย
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ในปี 1919 แล้ว อาณานิคมของ
เยอรมนี ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือตกไปอยู่ในการปกครองของ
ญี่ปุ่นตามสนธิสัญญาแว ร์ซายส์ โดยสัญญาลับที่ได้ทำไว้กับ
ฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นญี่ปุ่นจะได้สิทธิต่างๆ ของเยอรมนีในมณฑลชานตุง
ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่จีนที่ถือว่า ญี่ปุ่นละเมิดสิทธิของตนเอง ดังนั้น
จึงมีความพยายามเจรจาและมีการเปิดการประชุมเพื่อตกลงปัญหากันขึ้น
โดย ในการประชุมทีว่ อชิงตันเมื่อปี 1922 ญี่ปุ่นก็ถูกบังคับให้คืนชานตุง
แก่จีน และยังให้ถอนทหารของตนเองออกจากไซบีเรีย และยังให้ยอมรับ
สิทธิต่างๆ ของจีนในฐานะประเทศเอกราช
สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ไม่ได้ทำให้ญี่ปุ่นหยุดยั้งการรุกรานประเทศต่างๆ ใน
เอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่นมีความต้องการแมนจูเรียของจีน ซึ่งเป็นดินแดนที่
มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ จึงส่งกองทหารไปยึด
และจีนจำต้องส่งทหารออกไปปราบแต่ก็ถูกญี่ปุ่นตีแตกกลับมา ในปี 1931
257/665

ญี่ปุ่นเชื้อว่าบรรดาชาติมหาอำนาจในยุโรปสนใจแต่ยุโรปไม่ใช่จีน
ดังนั้น จึงไม่มีความเกรงกลัวใดๆ ว่าชาติมหาอำนาจเหล่านั้นจะมาเข้า
ยุ่งเกี่ยวด้วย ดังนั้นจึงเริ่มรุกต่อนั้นคือในปี 1932 ญี่ปุ่นก็สามารถเข้ายึด
เอามณฑลชานตุงทั้งหมดเอาไว้ในอำนาจของตัวเอง และได้ทำการก่อตั้งรัฐ
ใหม่ขึ้นมา เรียกว่า แมนจูกัว โดยกำหนดให้ดินแดนนี้อยู่ภายใต้หรือใน
ความอารักขาของญี่ปุ่น และได้แต่งตั้งให้ ปูยี จักรพรรดิที่ถูกขับออกจาก
จีนให้มาเป็นจักรพรรดิหุ่น และใช้พระนามใหม่ว่า กังเต้
จีนได้ทำเรื่องร้องต่อสันนิบาตชาติ เมื่อพิจารณาแล้วสันนิบาตชาติ
ก็ได้ลงมติว่าแผ่นดินส่วนนี้เป็นของจีน สันนิบาตชาติของให้ญี่ปุ่นถอน
ทหารออกไปเสียจากแมนจูเรีย แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่ง ที่สำคัญ
ได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกภาพของสันนิบาตชาติอีกต่างหาก
ดังนั้นในปี 1934 รัฐบาลของญี่ปุ่นก็ได้แจ้งให้ชาติมหาอำนาจอื่นๆ
ทราบว่าข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องของทัพเรือจะสิ้นสุดลงในปี 1936 ดังนั้น
ญี่ปุ่นจะมุ่งสร้าง เรือของตนเองให้เท่าเทียมกับสหรัฐอเมริกา และหากเป็น
ไปได้จะให้เท่าเทียมกับอังกฤษที่เป็นมหาอำนาจทางนาวีเลยทีเดียว
ดังนั้นจากปี 1936 เป็นต้นมา จนกระทั่งถึงสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2
ญี่ปุ่นก็ได้เริ่มทำสงครามกับจีน และหวังที่จะเข้าครอบครองดินแดน
ทั้งหมดของตะวันออกและทางใต้ของจีน และบรรดาหมู่เกาะต่างๆ ใน
มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ที่สำคัญญี่ปุ่นหวังเอาไว้ว่าจะ
ขับไล่มหาอำนาจชาติยุโรป ให้ออกไปเสียจากดินแดน
258/665

ฝ่ายสัมพันธมิตร
ฝ่ายสัมพันธมิตร เดิมเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นประกอบด้วย
5 ชาติ มหาอำนาจเป็นหลักนั้นคือ รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี และ
ญี่ปุ่น ต่อมาก็มีสหรัฐอเมริกาเข้ามาร่วมแต่ปรากฏว่าเมื่อมาถึง
สงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลี และญี่ปุ่นประกาศเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายอักษะ
ดังนั้นทำให้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ ในระยะแรกมีผู้เข้าร่วมในกลุ่มผู้นำ
ฝ่ายสัมพันธมิตร คือ รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกา เป็นชาติ
สุดท้าย
รัสเซีย หรือสหภาพโซเวียต ค.ศ. 1918-1934
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ค.ศ. 1917 เมื่อพระเจ้าซาร์แห่ง
รัสเซียเสด็จกลับจากแนวหน้ามายังพระราชวังเครมลิน การปฏิวัติโดย
ประชาชนก็ทำท่าจะเริ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะประชาชนชาวรัสเซียกำลังเบื่อหน่าย
กับการทำสงครามอย่างต่อเนื่องและยืดเยื้อ ที่สำคัญประชาชนต้องประสบ
กับภาวะความจนและอดอยาก ไม่มงี านทำและล้มตายในการรบไปไม่น้อย
พระเจ้าซาร์ ถูกจับกุมในขณะเสด็จไปยังกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และถูก
บังคับให้สละราชสมบัติ
เมื่อมีการตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้นมา การจลาจลก็ยังคงดำเนินต่อไป
ตามท้องถนน มีการจัดตั้งกลุ่มโซเวียต (สภาคนงาน) ขึ้นเป็นกลุ่มๆ และ
มีการเรียกร้องให้รัสเซียยุติสงครามอย่างต่อเนื่อง และด้วยความรู้สึกหลัง
การโค่นล้มซาร์ลงได้ เมื่อมีรัฐบาลใหม่ที่เข้าปกครองในฐานะชนชั้น
259/665

ปกครองเช่นเดิมทำให้ประชาชนเริ่มไม่ไว้วางใจผู้ปกครองกลุ่มใหม่อยู่เช่น
เดิม และเรียกสงครามที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นอย่างเย้ยหยันว่า “สงครามของ
ซาร์”

ในปี 1928 โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียตได้เสนอ "แผนห้าปี" เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เป็น


มหาอำนาจโลก

แม้จะมีความพยายามจากเคเรนสกี้ผู้นำฝ่ายค้านคนหนึ่ง ที่พยายาม
ปลุกกระแสรักชาติแต่ก็ไม่สำเร็จกลับกันยังถูกกล่าวหาว่าเป็นคนทรยศต่อ
ชาติอีกด้วย
หลังโค่นล้มซาร์ลงได้แล้ว บรรดาผู้นำหัวรุนแรงที่ก่อนหน้านี้เคยถูก
พระเจ้าซาร์เนรเทศออกนอกประเทศก็เริ่มเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ
260/665

ในจำนวนนี้รวมถึงเลนิน นักคิดผู้สืบเชื้อสายมาจากขุนนาง และทรอตสกี้


ชนชั้นกลางคนหนึ่งรวมอยู่ด้วย ว่ากันว่าพระเจ้าซาร์และพระ
บรมวงศานุวงศ์ถูกกำจัดออกไปในเวลานั้นโดยการสังหารหมู่
ว่ากันว่าทั้งเลนิน และทรอตสกี้ ต่างเป็นพวกหัวรุนแรงที่มีแนวคิด
แบบโซเชียลลิสต์ ทั้งสองคนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาลเคเรนสกี้
เลนินซึ่งเวลา นั้นมีฐานะเป็นหัวหน้าพรรคบอลเชวิค ได้นำพวกเรดการ์ด
เข้ายึดที่ทำการสำคัญๆ ของรัฐบาลในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเข้าจับกุมตัว
เจ้าหน้าทีร่ ัฐบาลของเคเรนสกี้ไป สภาคองเกรสแห่งโซเวียตของชประชาชน
ชาวรัสเซียเห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นมา ดังนั้นในเวลาต่อมารัฐบาลก็ตกอยู่
ภายใต้อำนาจของสภาคอมมิสซาร์ประชาชน เลนินจึงได้รับการแต่งตั้งให้
เป็นประธานาธิบดี
เลนินและพรรคบอลเชวิคได้ให้คำมั่นสัญญาแก่ประชาชนว่าจะให้สิ่ง
ต่างๆ ที่พวกเขาเรียกร้องจากพระเจ้าซาร์ และจากรัฐบาลชั่วคราวชุดต่างๆ
แต่ไม่เคยได้รับ นั้นคือ สันติภาพ ความมั่งคั่งสมบูรณ์ สิทธิในการเป็น
เจ้าของที่ดิน และการได้รับการพิทักษ์ชีวิตและทรัพย์สินจากรัฐบาล การ
ประกาศว่ารัสเซียไม่ยอมรับรู้หนี้สินที่รัฐบาลสมัยพระเจ้าซาร์ทำเอาไว้ทำให้
ประชาชนยิ่งชื่นชอบ ความรู้สึกร่วมของประชาชนชาวรัสเซียในเวลานั้นต่าง
รู้สึกร่วมกันว่าตัวเองจะได้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นอิสระปราศจากความ
หวาดกลัวใดๆ ภายใต้ความคุ้มครอง ของรัฐบาลบอลเชวิค รัสเซียใหม่
261/665

หรือสหภาพโซเวียตโซเชียลลิสต์ ก็ได้เกิดขึ้นมา มีความแตกต่างจาก


รัสเซียในอดีตในประวัติศาสตร์โดยสิ้นเชิง
เมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับรัสเซียในเวลาต่อมาก็คือ ประเทศที่
เคยคบค้าสมาคมกับรัสเซียในอดีตค่อยๆ ลดน้อยๆ หลายชาติเชื่อว่า
สหภาพโซเวียต ได้ตกอยู่ใต้อำนาจของพวกหัวรุนแรงที่มุ่งหาผลประโยชน์
ใส่ตนเอง และไม่ยอมมีสัมพันธ์อย่างเป็นทางการใดๆ กับชาตินั้นต่อไป
ซึ่งประเด็นนี้เมื่อพิจารณาแล้วก็กล่าวได้ว่าประเทศต่างๆ ที่คิดเช่นนั้น
ก็มีเหตุผล ทั้งนี้เพราะพรรคบอลเชวิคได้เข้าทำการปราบปรามและ
กวาดล้างผู้ที่ ก่อความเดือดร้อนและศัตรูของตนเองหลายครั้งหลายหน
ทรัพย์สมบัตขิ องชาวต่างชาติก็ถูกริบ และชาวรัสเซียทีไ่ ด้หนีไปอยู่ต่าง
ประเทศก็ได้นำข่าวการทารุณกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไปบอกกล่าวให้
ชาวโลกได้รับรู้ ว่ากันว่าข่าวลือ ในเวลานั้นมีมากจนถึงขั้นที่ว่าแท้จริงแล้ว
โซเวียตตกเป็นของต่างชาติแล้ว บ้างก็ว่าตกอยูใ่ ต้อำนาจของเยอรมนีบ้าง
แม้แต่เมื่อสิ้นสงครามโลกลง พรรคบอลเชวิคได้ขอจัดส่งผู้แทนไปเข้าร่วม
ในการประชุมที่แวร์ซายส์แต่ปรากฏว่าบรรดา ชาติต่างๆ ทำเป็นหมางเมิน
ต่อคำขอนั้นไปเสีย
พรรคบอลเชวิค ใช้ชื่อเรียกพรรคอย่างเป็นทางการว่า พรรคคอมมิ
ว- นิสต์ ว่ากันว่าการแทรกแซงของต่างชาติและการนำกองกำลังทหาร
ต่างชาติเข้า มาตั้งประชิดพรมแดนของโซเวียตมีส่วนทำให้อำนาจการ
ปกครองของพรรคคอม มิวนิสต์สามารถยืนยงต่อไปอีกยาวนานด้วย
262/665

ทั้งนี้เพราะประชาชนชาวรัสเซียต่างเมื่อรู้เรื่องการแสดงท่าทีรุกรานเช่น นั้น
ต่อรัสเซียต่างก็หันเข้าไปร่วมมือกับพรรคที่ปกครองประเทศตนเองมากยิ่ง
ขึ้น ทั้งนี้เพราะแท้จริงแล้วประชาชนชาว รัสเซียในเวลานั้นเกรงกลัวการมี
การปกครองแบบระบบกษัตริย์มากกว่าเรื่องใดๆ
และ แล้วพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้รวบรวมกองทัพขึ้นเพื่อต่อต้านการ
เข้ามารุกราน ประเทศของตนเอง และได้ทำการปราบปรามบรรดาหัวหน้า
พวกปฏิวัติ ซ้อนที่คิดจะขจัดอำนาจการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ลง
ได้ กองทัพแดงเต็มไปด้วยชาวนาชาวไร่ผกู้ ระหายทีจ่ ะทำการรบเพื่อช่วย
รัสเซียไม่ ให้มพี วกใหม่มาปกครอง พวกชาวไร่ชาวนาถือว่าพวกทีต่ ่อต้าน
ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นพวก ที่พยายามจะเอาพวกจอมปลอม พวกขุนนางที่
ถูกเนรเทศ หรือพวกนายพลเข้ามามีอำนาจทั้งนั้น
ในที่สุด ค.ศ. 1920 สหภาพสาธารณรัฐโซเวียตโซเชียลลิสต์ ก็เริ่ม
สงบขึ้นมาบ้าง โดยพรรคคอมมิวนิสต์มอี ำนาจในการปกครองประเทศ
รัสเซียใหม่ และกว่าจะได้รับการรับรองจากบรรดานานาชาติก็ต้องผ่านไป
กว่า 16 ปี บรรดา ชาติอื่นๆ จึงจะเริ่มยอมรับว่านี่คือหนึ่งในประเทศที่ต้อง
สนใจ
ในปี 1921 เลนินได้วางแผนเศรษฐกิจของโซเวียตใหม่ โดยการ
ผ่อนคลาย การควบคุมอย่างเด็ดขาดที่ได้กระทำกับอุตสาหกรรมลง และ
เริ่มสนับสนุนให้เอกชนเข้าทำการค้าขายและส่งเสริมนายทุนและ
ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจชาวต่าง ประเทศให้เข้ามาชวยพัฒนาประเทศ
263/665

สหภาพโซเวียตที่ด้อยพัฒนาอยู่ในเวลานั้น แม้ว่าในทางทฤษฎีดินแดน
ทั้งหมดจะเป็นของรัฐ ชาวไร่ ชาวนา ก็ยังได้รับ อนุญาตให้ทำการ
เพาะปลูกในไร่นาของตนได้อย่างอิสระ เลนินอยู่ในตำแหน่งและ
ถึงแก่กรรมในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน ก็ได้ก้าวเข้ามารับตำแหน่งแทน
เมื่อสตาลินก้าวเข้ามาเป็นผู้นำประเทศคนใหม่ ในพรรคคอมมิวนิสต์
ก็เริ่มเกิดความแตกแยกขึ้น กล่าวคือ สตาลิน คิดแต่ลัทธิคอมมิวนิสต์ใน
ประเทศ รัสเซียเท่านั้น และไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของเลนินที่ว่า ความ
สำเร็จของลัทธิคอมมิวนิสต์รัสเซียจะมีได้กด็ ้วยการปฏิวัตทิ ั่วโลก ในขณะที่
ทรอตสกี้ต้องการให้รัสเซียเป็นผู้นำในการปฏิวัติของโลก ความแตกแยกนี้
สตาลินเป็นฝ่ายชนะ ทรอตสกี้ถูกขับออกจากพรรคและถูกเนรเทศในเวลา
ต่อมา
ในฐานะทีเ่ ป็นผู้นำของพวกคอมมิวนิสต์ สตาลินยอมรับเอาแผนและ
โครงการหลายอย่างในสมัยทรอตสกี้มาปฏิบัติต่อ พรรคคอมมิวนิสต์
ภายใต้การนำของสตาลิน เริ่มดำเนินการผลิตตามแผนเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า
แผนการห้าปี รัฐบาลยังคงควบคุมการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไป
อุตสาหกรรมหลัก เช่น เกษตร เหมืองแร่ การขนส่ง และการสร้างทาง ได้
รับความสนใจจากรัฐบาล ว่าเป็นการพัฒนาที่จำเป็นอันดับต้นๆ
ต่อมาเมื่อมีการพบแผนทำลายล้างรัฐบาลสตาลินโดยฝ่ายที่เป็น
ปฏิปักษ์ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ได้เริ่มเปิดฉากการทำลายล้างครั้งใหญ่
ขึ้นมา ผู้คนนับพันที่ต่อต้านนโยบายและปฏิบัติการของรัฐบาลถูกประหาร
264/665

จำคุก หรือถูกบีบให้หนี และในช่วงเวลาของการประหัตประหารอันไม่


หยุดหย่อนนี้เอง สตาลิน ก็ได้เริ่มดำเนินการสั่งสมอาวุธของชาติให้มีความ
เข็มแข็งขึ้น
ว่า กันว่า การสะสมอาวุธทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งเป็นอุดมคติที่
สตาลินยึดมั่นต้องล่า ช้าลง ขณะที่การพัฒนาด้านอาวุธกลับขยายตัวอย่าง
รวดเร็ว บรรดาทหารที่มาจากชาวไร่ชาวนามีเครื่องแบบสวมได้รับการฝึก
และมีระเบียบวินัย มีการจัดกรมกองเป็นอย่างดี โดยสตาลินประกาศว่า
กองทัพมหึมาของชาติต้องมีไว้ไม่ใช่เพื่อรุกรานต่างประเทศ แต่เพื่อตอบโต้
การย่ำยีของกองทัพศัตรู
นับแต่ ค.ศ. 1917-1929 ด้วยความที่สหภาพโซเวียตโซเชียลลิสต์
ปลีกตัวไม่ทำสัญญาใดๆ กับบรรดาประเทศในยุโรป ทำให้ประเทศ
สามารถสลัดหลุดจากความสับสนวุ่นวายของยุโรปได้ โดยโซเวียตมี
นโยบายทั่วไปนั้นก็คือการพัฒนากิจการภายใน กระทั่งปี 1929 รัสเซียก็
เริ่มเป็นไมตรีกับเยอรมนี และได้เริ่มมีการส่งผู้แทนไปร่วมประชุม
นานาชาติครั้งสำคัญๆ ในปี 1934 ก็ได้เข้าชื่อร่วมเป็นหนึ่งในสันนิบาตชาติ
นโยบายต่างประเทศของโซเวียตในเวลานั้นทีน่ ่ากล่าวถึงก็คือ แท้จริง
แล้วโซเวียตมีความสนใจในตะวันออกไกลมาก โดยได้เฝ้าดูการรุกคืบหน้า
ของ ญี่ปุ่นในประเทศจีนด้วยความกระวนกระวายใจ ทั้งนี้เพราะโซเวียต
หวาดเกรงว่าญี่ปุ่นจะเข้าไปยึดครองมองโกเลียนอก ซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ได้
265/665

อยู่ในการครอบครองของรัสเซียเพียงแต่รัสเซียอยากได้มาเป็นเวลานาน
แล้ว
ในปี 1936 เมื่อเยอรมนีและญี่ปุ่นได้ลงนามร่วมต่อต้านคอมมิวนิสต์
สหภาพโซเวียตประท้วงและได้ถอนการอนุญาตที่ได้ให้ญี่ปุ่นมีสิทธิจับปลา
ในน่าน น้ำไซบีเรีย แม้จะยอมให้สิทธินี้คืนในเวลาต่อมาก็ตาม และปัญหา
ก็มาเกิดอีกเมื่อดินแดนแมนจูกัว ไม่เคยมีการปักปันเขตแดนกันอย่าง
ชัดเจนระหว่างโซเวียตกับญี่ปุ่นดังนั้นในปี 1938 จึงเกิดข้อพิพาทเรื่อง
เขตแดนแห่งนี้ขึ้นมากับญี่ปุ่น แต่ก็เลิกราไปในที่สุด
เมื่อเยอรมนีบุกเข้าโปแลนด์ ในปี 1936 โซเวียตก็ได้ส่งกองทหาร
ของตัวเองเข้าไปในแถบนั้นทันทีเพื่อยึดเอาดินแดนที่เคยเป็นของโซเวียต
มาก่อนสงครามโลก พร้อมกันสหภาพโซเวียตก็ได้บีบบังคับให้เอสโตเนีย
ลัตเวีย และลิทัวเนีย ตกลงยินยอมทางการทหารแต่ตนเองบางประการ
และเพื่อจะสามารถ ควบคุมทางตะวันออกของทะเลบอลติก รัสเซียจึงเข้า
รุกรานฟินแลนด์ ซึ่งสุดท้ายรัสเซียก็ได้ยึดครองฟินแลนด์สำเร็จ
อังกฤษหรือบริเทนใหญ่ ค.ศ. 1918-1939
ก่อนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษหรือบริเทนใหญ่เริ่มมองออกว่า
จะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาอันอาจจะ
เกิดขึ้นและรักษามาตรฐานการครองชีพให้คงอยูเ่ ช่นเดิม อังกฤษจึงเริ่ม
ออกมาตรการ การควบคุมรายจ่ายลง พร้อมกันก็ได้จัดตั้งกำแพงภาษีเพื่อ
ป้องกันสินค้าอังกฤษ และเพิ่มภาษีกับชนชั้นสูงที่ร่ำรวย
266/665

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นา ยลอยด์ จอร์จ จากพรรคเสรีนิยม


อดีตนายก รัฐมนตรีสมัยสงครามโลกได้รับการเลือกตั้งให้กลับมาเป็น
นายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แม้ในความเป็นจริงอังกฤษจะได้รับผลประโยชน์
จากการพ่ายแพ้สงครามของเยอรมนีก็ จริง โดยเฉพาะได้ดินแดนใน
อาณานิคมของเยอรมนีไม่ว่า ในแอฟริกาและเอเชีย ตลอดจนบางแห่งใน
ตะวันออกกลาง กระนั้นเมื่อคำนึงถึงผลของการสูญเสียที่เกิดขึ้นใน
สงครามแล้วกลับมีมากเสีย กว่าประโยชน์ที่ได้รับ
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ขาดวัตถุดิบมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรม
ขาดตลาดการค้า เพราะประเทศที่เคยเป็นลูกค้าเริ่มหันมาผลิตเอง และที่
สำคัญยังขาดแรงงานทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทั้งนี้เพราะ
คนงานเหล่านั้นส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์ไปรบและเสียชีวิตไปมากใน
สงครามโลกครั้งที่ 1
เพียงไม่นานนัก อังกฤษก็ต้องก้าวเข้าสู่ภาวะแห่งความตกต่ำทาง
เศรษฐกิจอย่างหนักขึ้นมา ส่งผลให้เป็นปัญหาภายในที่รัฐบาลต้องเร่งรีบ
แก้ไข และหาทางออกอย่างเร่งด่วน นอกจากนั้นยังต้องประสบปัญหาและ
ถูกวิจารณ์ ในกรณีที่อังกฤษเข้าไปแทรกแซงและยุ่งเกี่ยวในกิจ
การต่างประเทศ ไม่ว่าปัญหา ไอร์แลนด์ การสนับสนุนรัสเซียขาวรบกับ
บอลเชวิค ปัญหาในอินเดีย และปัญหาในตะวันออกกลาง เป็นที่มาทำให้
นายลอยด์ จอร์จ และคณะรัฐมนตรีต้องลาออกไป นายโบนาร์ ลอร์ แห่ง
พรรคอนุรักษ์นิยมได้รับการเลือกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1922 แทน
267/665

รัฐบาลชุดนี้ได้พยายามเข้ามารักษาความสงบ และมีนโยบายไม่ยุ่งเกี่ยวกับ
กิจการภายในของประเทศอื่น ต่อต้านสังคม นิยม แต่กไ็ ม่มีแนวทางหรือ
ความคิดใหม่ๆ อะไร ต่อเมื่อนายโบนาร์ลอร์ เสียชีวิตลงในปี 1923
อังกฤษก็ได้นายสแตนเลย์ บอลด์วิน อดีตรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังสมัยโบนาร์ลอร์ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน กระนั้นก็
ไม่ได้ช่วยอะไรได้มาก แม้ว่านายสแตนเลย์ จะได้ยกเลิกนโยบายการค้า
เสรีเพื่อกันสินค้าจากต่างชาติเข้ามาตีตลาดอังกฤษแล้วแต่ก็ยังไม่เกิดความ
พอใจ ปีต่อมาปี 1924 เกิดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนขึ้นมาใหม่ ครานี้
พรรคแรงงานเดินเกมการเมืองจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยนายแรมซา
ย แมคโด แนลด์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี กระนั้นก็ไม่อาจแก้ปัญหาที่
ยุ่งเหยิงลงได้ ที่สำคัญ พรรคแรงงานได้เริ่มนโยบายเห็นใจพรรค
คอมมิวนิสต์รัสเซียก็ยิ่งทำให้ประชาชนไม่พอใจ จนสุดท้ายก็ต้องยุบสภา
ลงอีกครั้งหนึ่ง
ค.ศ. 1924-1929 พรรคอนุรักษ์นิยมได้รับเลือกให้เข้ามาตั้งรัฐบาล
อีกครั้ง ครานี้ได้สแตนเลย์ บอลด์วิน เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และได้
นายวินสตัน เชอร์ชิล มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระนั้นก็ไม่
อาจช่วยอะไรได้ โดยเฉพาะนโยบายทีพ่ ยายามผลักดันให้ค่าเงินบาทแข็ง
ค่าขึ้น และเริ่มนโยบาย การค้าเสรีที่ซ้ำเติมทำให้คนหันไปซื้อสินค้าจาก
ต่างชาติซึ่งราคาถูกว่ามากขึ้น ส่งผลด้านลบกลับมายังอังกฤษอีกครั้ง
268/665

ครั้นเมื่อถึงปี 1926 ก็ เกิดการนัดหยุดงานทั่วไปขึ้นมา แต่รัฐบาลก็


ยืนยัน ในนโยบายเดิม และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทีเ่ ดือดร้อน
สุดท้ายการนัดหยุดงานก็ต้องจบลง อย่างทีไ่ ม่ได้ผลอะไรขึ้นมา กระทั่ง
รัฐบาลตัดสินใจออกพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อพิพาทเกี่ยวกับแรงงานขึ้น
มาความสงบจึงเริ่มกลับมาและเศรษฐกิจก็ดูเหมือนจะกระเตื้องขึ้นมาบ้าง
ในปี 1929 นั้นเองรัฐบาล ได้ออกพระราชบัญญัติอีกฉบับหนึ่งให้สิทธิสตรี
ในการเลือกตั้งเท่าเทียมผู้ชาย และมีการเลือกตั้งใหม่ในปีเดียวกันนั้นเอง
การเลือกตั้งครั้งใหม่พรรคแรงงานได้กลับมาจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง
หนึ่ง ครานี้จับมือกับพรรคเสรีนิยม แต่ภาวะความปั่นป่วนและวุ่นวายด้าน
เศรษฐกิจ ของประเทศก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข อีกทั้งยังเกิดปัญหาเรื่อง
พรรคร่วมรัฐบาลจนสุดท้ายพรรคแรงงานขอลาออกจากการร่วมรัฐบาล
กษัตริยข์ องอังกฤษจึงโปรดให้นายแรมซายน์ แมคโดแนลด์ จัดตั้งรัฐบาล
แห่งชาติขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ได้ เรียกรัฐบาลผสม 3 พรรค
ครั้งนี้ว่า รัฐบาลแห่งชาติ
เช่นกันรัฐบาลแห่งชาติก็ยังไม่อาจแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ในระยะแรก
กระนั้นเมื่อเข้ามาถึงปี 1933 เศรษฐกิจของอังกฤษก็เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง
แล้ว
จนถึงปี 1935 ก็มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ขึ้นมา ครานี้นายสแตนลีย์
บอลด์วิน แห่งพรรคอนุรักษ์นิยมได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกวาระ แต่อังกฤษ
ก็เกิดมีปัญหา ภายในขึ้นมาอีก กล่าวคือ ปัญหาการสละราชสมบัตขิ อง
269/665

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 เมื่อเดือนธันวาคม 1936 อันมีสาเหตุจากการที่


พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะอภิเษกสมรสกับนางวาลลิส ซิมป์สัน ซึ่ง
เป็นหญิงม่ายชาวอเมริกัน แต่รัฐสภาและประชาชนไม่เห็นด้วย ดังนั้น
พระองค์จึงตัดสินพระทัยขอสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ดังนั้น
ดยุคแห่งยอร์ค พระอนุชาจึงได้เป็นพระมหากษัตริยพ์ ระองค์ต่อมาทรง
พระนามว่า พระเจ้าจอร์จที่ 6
ประชาชนเริ่มกินดีอยู่ดีขึ้น เศรษฐกิจเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น
ครานี้มาดูถึงการเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ของอังกฤษกันบ้าง แม้ว่า
อังกฤษจะประสบปัญหาภายในอยู่ไม่น้อยก็ตามตลอดหลังสงครามโลกครั้ง
ที่ 1 เป็นต้นมา กระนั้นอังกฤษก็ยังถือว่าเป็นชาติมหาอำนาจอันดับหนึ่งใน
เวลานั้น ดังนั้นจึงถือว่าอังกฤษมีบทบาทในการร่างสัญญาและเจรจาต่างๆ
ของโลกอย่าง ต่อเนื่อง ปี 1928 อังกฤษก็ได้ร่วมลงนามในกติกาสัญญา
ปารีส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามขึ้นในอนาคต
หลังการประชุมในแผนการยัง ในปี 1929 อังกฤษก็ดำเนินนโยบาย
ผ่อน ปรนเรื่อยมาทั้งนี้เพราะไม่ต้องการให้เกิดสงครามขึ้น ทั้งนี้เพราะ
อังกฤษรู้ดัว่าตัวเองมีปัญหาภายในและยังไม่พร้อมที่จะกระโดดเข้าไปทำ
สงครามในเวลานั้น อังกฤษพยายามหลีกเลี่ยงการทำสงคราม โดยการ
ยินยอมให้เยอรมนีละเมิดสัญญาแวร์ซายส์ในปี 1935 และได้ทำข้อตกลง
ยอมให้เยอรมนีสะสมกำลังทหาร และอาวุธและมีกองทัพเรือเป็นจำนวน
35 เปอร์เซ็นต์ของกองทัพเรืออังกฤษ ในปีเดียวกันนั้นเมื่ออิตาลีบุกเอธิโอ
270/665

เปียหรืออบิสซิเนีย อังกฤษก็ไม่ได้ร่วมมือกับสันนิบาตชาติอย่างจริงจังยอม
ให้อิตาลีรุกต่อไป และยังพยายามผูกมิตรกับอิตาลีต่างหาก
ค.ศ. 1938 อังกฤษก็เข้าร่วมประชุมข้อตกลงมิวนิค ยอมให้เยอรมนี
เข้าครอบครองแคว้นสุเดเทนของเชคโกสโลวาเกีย และอังกฤษยังกลัว
สงครามอยูน่ ั้นเองเพราะเวลานั้นอังกฤษรู้ดวี ่าหากเกิดสงครามขึ้น ฝรั่งเศส
ก็ไม่พร้อมแถม อเมริกาอาจจะวางตัวเป็นกลางก็ได้ หากเป็นเช่นนั้นและ
สงครามเกิดขึ้นก็หมายถึงความพ่ายแพ้ของอังกฤษอย่างแน่นอน
แต่กระนั้น เมื่อฮิตเลอร์เข้ารุกรานโปแลนด์ในปีต่อมาอังกฤษก็ยื่นประท้วง
และให้เยอรมนีถอนทหารแต่เมื่อเยอรมนีไม่ปฏิบัติตาม อังกฤษจึงต้อง
ประกาศสงครามในวันที่ 3 กันยายน 1939
ฝรั่งเศส ค.ศ. 1918-1939
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง ฝรั่งเศสพบว่า ด้วยความที่ประเทศ
ของ ตัวเองกลายเป็นสนามรบในครั้งนั้น ความเสียหายเกิดขึ้นกับฝรั่งเศส
มากมาย ไม่ว่าโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย เหมืองแร่ไม่อาจใช้งานได้
ไร่นาและเมือง ใหญ่น้อยพังพินาศ และไร่องุ่นก็ต้องถูกทิ้งให้รกร้าง
ว่างเปล่า สิ่งทีฝ่ รั่งเศสจะต้อง เร่งดำเนินการก็คือ การเร่งกอบกูเ้ ป็นการ
ด่วน และอีกภาระหนึ่งก็คือ ต้องเร่งสร้างสวัสดิภาพและความมั่นคงทาง
ด้านการทหารให้แก่ชาติในอนาคต
กระนั้นปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินก็ตั้งประจันหน้าให้รัฐบาล
ต้องรีบแก้ไขอยู่
271/665

อย่างไรก็ดี ในจำนวนประชากรทีม่ ีอยู่ 42 ล้านคนนั้น หลังการ


สำรวจและตรวจตราแล้วฝรั่งเศสยังพอชื่นใจได้ว่าผลิตผลที่เกิดขึ้นภายใน
ยังพอทีจ่ ะมีเลี้ยงคนของตัวเองได้อยู่ ขณะทีท่ รัพยากรธรรมชาติกด็ ูเหมือน
จะยังพอที่จะสามารถเอามาใช้งานในประเทศได้อย่างไม่ขาดแคลน
นอกเหนือจากนั้นผลจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ยังทำให้ฝรั่งเศสได้
มณฑลอัลซาซและลอร์เรนกลับคืนมา และได้สิทธิในการทำเหมืองแร่
ถ่านหิน ในแคว้นซาร์เป็นเวลา 15 ปี เพื่อเป็นการชดใช้ในฐานะทีเ่ ยอรมนี
ทำให้เหมืองแร่ถ่านหินของฝรั่งเศสย่อยยับในสงคราม
นอกจากนั้นยังได้รับค่าปฏิกรรมสงครามสำหรับความเสียหายที่
เยอรมนี ได้ทำลงไป ได้อาณานิคมของเยอรมนีบางแห่ง อีกด้วย
ด้านการเมืองภายในปี 1919 มีการจัดการเลือกตั้งภายในขึ้นมาผล
คือพรรคกลุ่มชาติ อันเป็นนักการเมืองฝ่ายขวาได้รับการเลือกตั้ง นายมิล
เลอรองค์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และนายปอล เดชาแนล เป็น
ประธานาธิบดี ปีต่อมาเมื่อนายเดชาแนลเสียชีวิตลง นายมิลเลอรองค์ได้
เป็นประธานาธิบดีแทน นาย อริสตอง บิยอง ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมา รัฐบาลชุดนี้ได้บริหารประเทศถึงปี 1924 ภายใต้นโยบายการแก้
ปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายการต่างประเทศนั้นด้วยเห็นว่าอังกฤษ
แสดงท่าทีไม่แน่ใจนัก อีกทั้งอเมริกาก็ดูเหมือนจะพยายามวางตัวเป็นกลาง
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยุโรป ส่วนรัสเซียก็ยังมีปัญหาอยู่ ฝรั่งเศสจึงรู้สึกว่าตัวเอง
โดดเดี่ยว ดังนั้นจึงได้พยายามเปิดความสัมพันธ์กับบรรดาประเทศใน
272/665

ยุโรปตะวันออก นั้นคือโปแลนด์ ยูโกสลาเวีย เชกโกสโลวาเกีย โรมาเนีย


และเบลเยียม
พร้อมกันฝรั่งเศสก็ต้องประสบกับปัญหาต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก
โดยเฉพาะ ปัญหาในตะวันออกไกล กล่าวคือ ตามสนธิสัญญาแซฟร์ ที่
ฝรั่งเศสจะต้องได้ส่วนแบ่งในดินแดนตุรกี แต่เมื่อเคมาล ปาชา เข้ายึด
อำนาจการปกครองในตุรกี ขับไล่กรีกออกจากสมีนาร์ และรุกมาถึงชานัค
ทีก่ องทัพฝรั่งเศสรักษาการอยู่ ฝรั่งเศสก็จำต้องถอนทหารหนีออกมา
เสียก่อนที่จะปะทะกัน
เช่นกันฝรั่งเศสได้ร่วมมือกับเบลเยียมเข้ายึดแคว้นรูห์ในปี 1923
แคว้นนีเ้ ป็นแหล่งอุตสาหกรรมทีส่ ำคัญของเยอรมนี โดยอ้างว่าเยอรมนีไม่
ได้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามตามกำหนด และไม่ได้ปรึกษาอังกฤษก่อน ทำ
ให้เยอรมนีคัดค้านและปลุกระดมให้คนงานนัดหยุดงานทั่วไป ทำให้
เศรษฐกิจตกต่ำสุดท้ายก็เป็นข้ออ้างในการไม่จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามต่อไป
เมื่อทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสไม่ได้ค่าปฏิกรรมสงครามเศรษฐกิจก็ยิ่งตกต่ำลง
ไปอีก
ด้วยปัญหาแคว้นรูห์นี้เองที่ทำให้รัฐบาลไม่ได้รับความนิยม ดังนั้นใน
การ เลือกตั้งทั่วไปในปี 1924 พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายจึงได้เข้ามาเป็น
รัฐบาลแทนมีนายเอดูอา แอริโอ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายดูแมก เป็น
ประธานาธิบดี ว่ากันว่าเพราะนายแอริโอ แม้จะเป็นคนเข้มงวดและเข้มแข็ง
แต่ก็ขาดการตัดสินใจที่ดี ภายใต้การบริหารงานรัฐทำให้เศรษฐกิจของ
273/665

ประเทศตกต่ำลง เกิดภาวะ เงินเฟ้อและเกิดการจลาจลขึ้นในซีเรีย และโม


ร็อกโก
ประชาชนจึงเริ่มหันกลับไปสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายขวาอีก ครานี้ประ
ธา-นาธิบดีจึงได้เชิญนายปวงกาเร่จัดตั้งรัฐบาลรวมชาติขึ้นมาในปี 1928
โดยมีสมาชิกสภาส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขวา รีบเร่งเข้าแก้ปัญหาเศรษฐกิจและ
ฐานะทางการเงินของประเทศอย่างเร่งด่วน ด้วยการเพิ่มภาษีรายได้ ลด
รายจ่ายที่ไม่จำเป็น ลดเงินเดือนขาราชการ และทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจ
ของประเทศดีขึ้น
กระนั้นแม้จะต้องคอยแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างหนัก
ก็ตามที แต่ฝรั่งเศสก็ไม่เคยละเว้นที่จะพยายามส่งเสริมเพิ่มกำลังทางทหาร
ของ ตัวเองเลย ฝรั่งเศสเสริมแนวเขตแดนด้วยเงินนับล้านฟรังค์ตามแนว
ป้องกันมาจิโนต์ ซึ่งเป็นเขตแดนที่ติดกับเยอรมนี ค.ศ. 1930 ก็สร้างแนว
ป้องกันตามเขตแดนที่ติดกับอิตาลีอีก เร่งผลิตอาวุธและสะสมกองกำลัง
ค.ศ. 1924 ฝรั่งเศสได้ร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตรในแผนการดอว์ส
เพื่อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ค่าปฏิกรรมสงครามและเงินกู้แก่เยอรมนี และ
ได้ร่วมในแผนการยัง ในปี 1925 เพื่อความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจแก่
เยอรมนี และได้ร่วมในข้อตกลงมิวนิค ในปี 1938 ยอมให้เยอรมนีได้
ครอบครองแคว้นสุเดเทน ว่ากันว่านโยบายของฝรั่งเศสไม่ต่างจากอังกฤษ
ตรงทีพ่ ยายามเอาใจฝ่ายอักษะ เพราะไม่พร้อมที่จะทำสงคราม เมื่อ
เยอรมนีละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ฝรั่งเศสก็ต้องนิ่งเฉย
274/665

เพราะไม่เข็มแข็งพอทีจ่ ะเข้าขัดขวางหรือจัดการได้ และเมื่อเยอรมนีรุกราน


โปแลนด์ในปี 1939 ฝรั่งเศสก็ต้องทำตามสัญญาที่มีกับโปแลนด์ นั้นคือ
การกระโดดเข้าช่วยเหลือโปแลนด์ประกาศสงครามกับเยอรมนีในเดือน
กันยายน 1939
สหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1918-1939
หลังจากส่งกองทัพเข้าไปช่วยในสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่ทันครบปี
สงครามก็สิ้นสุดลง ทหารอเมริกันเสียชีวิตในสนามรบประมาณ 50,000
คน ตามรายงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐในปี 1934
ปรากฏว่า สหรัฐสูญเสียค่าใช้จ่ายในสงครามโลกครั้งที่ 1 เกือบ
42,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
แม้ในการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ประธานาธิบดีวูดโรว์
วิลสันจะได้ร่วมลงนามด้วย แต่วุฒิสภาสหรัฐอเมริกาก็ไม่ยอมรับใน
สนธิสัญญานั้น ค.ศ. 1921 วุฒิสภาได้ประกาศให้ยุติสงคราม และแยก
ออกไปทำสัญญาต่างๆ เองกับเยอรมนี ออสเตรีย และฮังการี
เมื่อเกิดภาวะตกต่ำไปทั่วยุโรปหลังสงครามเป็นต้นมา สหรัฐแม้จะไม่
ใช่ สมรภูมิแต่ก็ต้องประสบกับแรงกระเพื่อมของภาวะเศรษฐกิจครั้งนั้น
ด้วย ทั้งนี้เพราะแท้จริงสหรัฐเริ่มต้นเป็นผู้ผลิตสินค้าแบบจำนวนมากออกสู่
ตลาดโลกมา อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว เมื่อยุโรปมีปัญหายอดการสั่งซื้อจึง
หยุดชะงักลงไปด้วย
275/665

ภาวะที่เกิดขึ้นมานี้ส่งผลให้อเมริกาต้องเร่งรีบหามาตรการและทำ
อะไร สักอย่างเพื่อแก้ปัญหาที่กำลังจะลุกลามไปทั่วประเทศของตัวเอง 4
มีนาคม 1933 แฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ ได้รับการเลือกตั้งให้เข้ามาเป็น
ประธานาธิบดี ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำกำลังดำเนินมาอย่างรุนแรง
ที่สุด เพียงไม่กี่วันหลังจากรับตำแหน่งรูสเวลต์ ก็ได้ประกาศใช้นโยบายนิ
วดีล เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองอย่างเร่งด่วน ที่สำคัญก็คือ
การธนาคาร อุตสาหกรรม การให้มีงานทำ การสงเคราะห์ชาวนา และการ
แก้ปัญหาความยากจน
ปีเดียวกันนั้นเอง สภาคองเกรสได้ออกกฎหมายทีม่ ีเงื่อนไขสำคัญคือ
ให้ฟิลิปปินส์หนึ่งในประเทศอาณานิคมของอเมริกา ได้ทดลองปกครอง
ตนเองเป็นเวลาสิบปี แต่กฎหมายนี้กย็ ังเปิดช่องให้อเมริกาได้ตั้งฐานทัพเรือ
ทีฟ่ ิลิปปินส์ ได้ และระยะนี้เองฟิลิปปินส์จะทำการปกครองตนเองโดยมี
สหรัฐเป็นผู้ดแู ล และหากฟิลิปปินส์สามารถตั้งมั่นอยู่ได้ก็จะให้มีอิสระ
เอกราชอย่างสมบูรณ์
ค.ศ. 1934 วุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา ได้ให้สัตยาบันแก่สนธิสัญญา
การ ค้าขายในระหว่างกันและกันกับคิวบา ยังผลประโยชน์แก่คิวบาอย่าง
มากมาย ทั้งนี้เพราะสหรัฐอเมริกายอมลดค่าภาษีให้แก่สินค้าของคิวบาที่ส่ง
เข้ามาขายในอเมริกา และปีเดียวกันนั้นเองก็เลิกกฎหมายอันไม่เป็นที่
พอใจของคิวบา ทำให้ปัญหาความรุนแรงและต่อต้านสหรัฐอเมริกาลดลง
อย่างมาก
276/665

ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งนั้นเอง บรรดาประเทศลูกหนีต้ ่างๆ


ของสหรัฐอเมริกาก็ไม่สามารถชำระหนีไ้ ด้ และเมื่อหมดเขตการพักชำระหนี้
ลงแล้ว ในปี 1934 สหรัฐอเมริกาก็ได้ออกกฎหมายห้ามชนชาวอเมริกันให้
เงินกู้แก่ชาวต่างประเทศที่ไม่ได้จ่ายหนี้ให้รับบาลอเมริกา
เหนืออื่นใดวันที่ 17 พฤศจิกายน 1933 คณะ รัฐบาลของรูสเวลต์
ได้ประกาศรับรองสหภาพโซเวียต วิเคราะห์กันว่าการที่สหรัฐอเมริกา
รับรองนั้น เพราะที่ผ่านมารัฐบาลบอลเชวิคปฏิเสธการจ่ายหนี้ที่รัฐบาลสมัย
พระเจ้าซาร์ทำ เอาไว้ อีกทั้งรัสเซียยังได้ไปตั้งกองโฆษณาชวนเชื่ออยูใ่ น
อเมริกาจำนวนมากมาก หากว่ารัฐบาลอเมริการับรองน่าจะทำให้
สัมพันธภาพดีขึ้นและน่าจะสามารถหาช่อง ทางไปเจรจาเรื่องหนี้ได้สะดวก
มากยิ่งขึ้นในระหว่างรัฐบาลด้วยกัน
แต่ในปี 1935 ทั้งสองประเทศก็เกิดภาวะตึงเครียดเข้าใส่กัน โดย
สหรัฐ อเมริกาได้กล่าวหาโซเวียตว่าละเมิดสัญญาว่าด้วยเรื่องโฆษณาที่ให้
ไว้ในปี 1933 ซึ่งกำหนดเอาไว้ว่ารัสเซียจะไม่ทำการปลูกฝัง ไม่ยุยงส่งเสริม
ให้เกิดการโฆษณา ต่อต้านอเมริกันภายในอาณาเขตประเทศสหรัฐอเมริกา
ค.ศ. 1933 คณะรัฐบาลของประธานาธิบดีรูสเวลต์ ก็ได้ประกาศ
ยกเลิกสิทธิที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวในกิจการของชาวละตินอเมริกา อันเป็นสิทธิ
ทีม่ ีอยู่ในวาทะมันโร ในปี 1934 ก็ยกเลิกสิทธิเดมในคิวบาอีก สหรัฐได้
ถอนกองเรือทั้งหมดจากไฮติและนิการากัวในปี 1936 และยังดำเนิน
นโยบายการเป็นเพื่อนบ้านทีด่ ีต่อไปกับปานามา และในปี 1935 นั้นเอง
277/665

ก็ได้ทำสัญญารวมทั้งหมด 5 ฉบับซึ่งถือเป็นการแผ้วถางทางไปสู่ความ
ร่วมมือกันในกลุ่มแพนอเมริกา
ในปี 1935 เมื่อปรากฏว่าฝั่งยุโรปเริ่มปรากฏปัญหาต่างๆ ขึ้นมาบ้าง
แล้ว บรรดาชาติในยุโรปพยายามที่จะดึงอเมริกาให้เข้าร่วม หากแต่สภา
คองเกรสกลับประกาศความเป็นกลาง
ในวันที่ 5 ตุลาคม 1935 ประธานาธิบดีรูสเวลต์ ได้สั่งห้ามขน
อาวุธยุทโธปกรณ์ไปยังอิตาลีและเอธิโอเปีย ทั้งนี้เพราะเกิดภาวะสงคราม
ขึ้นระหว่าง ประเทศทั้งสอง แต่กลับไม่ใช้มาตรการนี้ในสงครามที่เกิดขึ้น
ในเอเชียระหว่าง ญี่ปุ่นกับจีน โดยสหรัฐอ้างว่าเพราะสงครามในตะวันออก
นั้นเป็นสงครามทีไ่ ม่ได้มีการประกาศ และเมื่อเกิดสงครามขึ้นในปี 1939
สหรัฐอเมริกาก็ประกาศความเป็นกลางขึ้นมาแก่สหรัฐอเมริกา พร้อมกัน
สภาคองเกรสก็ได้ยกเลิกข้อห้ามการจัดส่งอาวุธไปยังประเทศคู่สงคราม
และในเดือนมีนาคม 1941 สหรัฐ อเมริกาก็ได้ผ่านกฎหมายเลนด์ลีส โดย
กฎหมายนี้ได้ยกเลิกกฎเกณฑ์ต่างๆ และประกาศความเป็นกลางพร้อมกับ
ให้อำนาจประธานาธิบดีอย่างกว้างขวาง
กระนั้นในเวลาต่อมาสหรัฐก็ไม่อาจที่จะวางตัวนิ่งเฉยอยู่ได้เมื่อถูก
ญี่ปุ่นโจมตีทเี่ พิร์ลฮาเบอร์ สหรัฐจึงประกาศเข้าร่วมสังฆกรรมในฝ่ายสัม
พันธ มิตรในเวลาต่อมาด้วยเช่นกัน ---
4

ปัจจัยแห่งชนวนสงคราม
ระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 คือปี 1918-1919 ไป
จนถึงช่วงทีเ่ กิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมานั้น นับเป็นระยะเวลา 20 ปี
ของความ หวาดระแวง ไม่ไว้วางใจ และแข่งขันกันเช่นเดิม เหมือนที่เคย
เกิดขึ้นมาแล้วในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 กระนั้นก็ใช่ว่า ทั้งหลาย
ทั้งปวงจะกลับมาซ้ำรอย อย่างเช่นเดิมไปเสียหมด ทั้งนี้ก็เพราะในช่วงเวลา
ดังกล่าวนีไ้ ด้เกิดข้อแม้ และเงื่อนไขใหม่ๆ ในสังคมโลกให้ได้กล่าวถึงและ
สนใจกันเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งในบทนี้ เราจะเข้าไปดูสภาพการณ์ ความวุ่นวาย
ทีเ่ กิดมาจากสาเหตุหรือปัจจัย ต่างๆ ในช่วง 20 ปีของความหวาดระแวง
กันนี้
ความหวาดระแวงคอมมิวนิสต์
ก่อนอื่น นับว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปทำความรู้จักกับ
คอมมิวนิสต์กันเสียก่อน
279/665

คอมมิวนิสต์ (Communism) คือ ระบอบแนวคิดและทฤษฎี


เกี่ยวกับการปกครองสังคมและการเคลื่อนไหวทางการเมือง ภายใต้
ข้อกำหนดของความเป็นเจ้าของร่วมกัน และการมีรายได้ที่ขึ้นอยูก่ ับการ
ผลิต การเคลื่อนไหวทาง การเมืองในแง่นี้หมายถึงระบอบคอมมิวนิสต์มุ่ง
จุดประสงค์ให้สังคมไร้ชนชั้น ประชาชนทุกคนมีฐานะทางสังคมเท่าเทียม
กัน

คาล มาร์กซ์เขาเห็นว่าแนวคิดคอมนิวนิสต์ในช่วงเริ่มแรกนั้นคือสถานะดั้งเดิมของ มนุษย์ชาติที่


พัฒนาตนเองขึ้นมาตั้งแต่ยุคดึกกำบรรพ์ ควบคู่ไปกับระบอบศักดินา
280/665

คอมมิวนิสต์สมัยใหม่มักจะยึดตามคำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์
ของคาร์ล มาร์กซ์และฟรีดริช เองเกลส์ ทีว่ ่าด้วยการแทนที่ระบบวัตถุแบบ
ทุนนิยมที่เน้นกำไรเป็นหลัก ด้วยระบอบสังคมคอมมิวนิสต์ทผี่ ลผลิต
โดยรวมที่ได้มาจะกลายเป็นของส่วนรวม
ลัทธิมาร์กซ์กล่าวไว้ว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถทำให้เกิดขึ้นได้
โดยการปฏิวัติรัฐประหารต่อบรรดานายทุนและชนชั้นสูง จากนั้นจึงเปลี่ยน
ถ่ายการปกครองไปสูส่ ถานะของการปกครองระบอบสังคมนิยม การ
กระทำดังกล่าว เรียกกว่าอำนาจเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ (Dictat-
orship of the Proletariat) ระบอบคอมมิวนิสต์ที่แท้จริงที่ไม่มรี ัฐบาล
บริหารยังไม่เคยเกิดขึ้น และยังเป็นไปได้ในแง่ทฤษฎีเท่านั้น เพราะ
ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ระบอบคอมมิว นิสต์” ตามทฤษฎีของ
มาร์กซ์คือ รัฐที่ปกครองโดยตลอดกาล หรือ รัฐบาลแนว สังคมนิยม
ความคิดที่มีรากฐานไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีมานานมากแล้วในโลก
ตะวันตกนานกว่าที่มาร์กซ์และเองเกลส์จะเกิดเสียอีก ความคิดที่ว่านี่ย้อน
ไปได้ ถึงยุคกรีกโบราณที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ถูกโยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับ
ตำนานเกี่ยวกับยุคทองของมนุษยชาติ ที่ๆ สังคมอยู่ด้วยกันด้วยความ
สามัคคีปรองดองกันเสีย ก่อน จึงร่วมกันสร้างความงอกงามทางวัตถุใน
ภายหลัง แต่บางคนก็แย้งว่า ตำราสาธารณรัฐ (The Republic) ของ
เพลโตและผลงานอื่นๆ ของนักทฤษฎีรัฐศาสตร์ ในยุคโบราณ เพียงแค่
สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ในด้านการอยูร่ วมกันในสังคม อย่างปรองดอง
281/665

เท่านั้น รวมถึงหลายๆ นิกายในคริสตจักรสมัยเก่า และเน้นเป็น พิเศษใน


โบสถ์สมัยเก่า ดังที่บันทึกไว้ในบัญญัติแห่งบรรดาอัครสาวก (Acts of
the Apostles) อีกทั้งชนเผ่าพื้นเมืองแห่งทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส
บุกเบิก ก็ยัง ปฏิบัติตามแนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ว่าด้วยการอยู่ด้วย
กันเป็นสังคมและครอบครองวัตถุร่วมกัน รวมถึงอีกหลายๆ ชนชาติที่
พยายามที่จะก่อตั้งสังคมคอมมิวนิสต์ได้แก่ นิกายเอซเซนแห่งยิว
(Essenes) และนิกายยูดาทะเลทราย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักบุญโธมัส มอร์ นักเขียนชาวอังกฤษ
กล่าวในหนังสือยูโทเปีย (Utopia) ของเขาว่า สังคมทุกสังคมมีรากฐาน
อยูท่ ี่การครอบครองวัตถุชิ้นใดๆ ร่วมกัน โดยมีหัวหน้าอยู่หนึ่งคนหรือ
หนึ่งคณะที่มีหน้าที่นำมัน ไปใช้ตามหลักแห่งเหตุและผลที่เหมาะสม ต่อมา
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แนวคิดคอมมิวนิสต์ผุดขึ้นมาอีกครั้งในประเทศ
อังกฤษ เมื่อเอ็ดเวิร์ด เบิร์นสไตน์กล่าว ในผลงานแห่งปี 1895 ของเขาที่
ชื่อ “ครอมเวลล์และคอมมิวนิสต์ (Cromwell and Communism)”
อย่างเผ็ดร้อนว่า มีหลายๆ กลุ่มในสงครามกลางเมืองอังกฤษ โดยเฉพาะ
พวกนักขุดหรือผูเ้ ผยเปลือกใน (Digger หรือ True Leveller) ที่แสดง
การสนับสนุนแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน เน้นความสำคัญไปที่
บรรดา ชาวไร่ชาวนา ซึ่งทัศนคติของ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ต่อคนกลุ่มนี้
มักเป็นความรำคาญ หรือแม้กระทั่งแสดงความเป็นศัตรูต่อคนกลุ่มนี้อย่าง
ชัดเจน ความไม่เห็นด้วยต่อการครอบครองวัตถุแต่เพียงผูเ้ ดียวยังคงถูก
แย้งมาโดยตลอดในยุค แสงสว่าง (The Age of Enlightenment)
282/665

แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผ่านนักวิชาการชื่อดังเช่น จัง-จ๊าค รุสโซ รวมถึง


นักเขียนสังคมนิยมยูโทเปีย เช่น โรเบิร์ต โอเวน ซึ่งบรรดาบุคคลเหล่านีก้ ็
ถูกขนานนามว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในบางครั้ง
เมื่อมาถึงคาร์ล มาร์กซ์ เขาเห็นว่าแนวคิดคอมมิวนิสต์ในช่วง
เริ่มแรกนั้น คือสถานะดั้งเดิมของมนุษยชาติทพี่ ัฒนาตนเองขึ้นมาตั้งแต่ยุค
ดึกดำบรรพ์ ควบคู่ไปกับระบอบศักดินา ที่เป็นสถานะของระบบทุนนิยม
ในขณะนั้น เขาจึงเสนอก้าวต่อไปในวิวัฒนาการทางสังคมกลับไปสู่ระบอบ
คอมมิวนิสต์ ทีม่ ีระดับ สูงกว่าแนวคิดคอมมิวนิสต์เก่าๆ ที่มนุษยชาติเคย
ปฏิบัติกันมา
ในขณะเดียวกัน ลัทธิคอมมิวนิสต์กเ็ ติบโตมาจากการเคลื่อนไหวของ
ชนผู้ใช้แรงงานในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การ
ปฏิวัตทิ างอุตสาหกรรมพัฒนายิ่งขึ้น แต่นักวิชาการหัวคิดสังคมนิยมเห็นว่า
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทำให้กำลังแรงงานด้อยคุณภาพลง ในขณะที่
คนงานที่ทำงานในโรงงานกลางเมืองก็ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่
เลวร้ายยิ่งขึ้น และช่องว่างที่แคบลงระหว่างคนรวยและคนยากไร้
มาร์กซ์ และเองเกลส์พยายามหาแนวทางที่จะนำจุดจบมาสู่ระบบ
ทุนนิยม และการกดขี่ผู้ใช้แรงงานเหมือนกับนักสังคมนิยมคนอื่นๆ แต่ใน
ขณะทีน่ ักสังคม นิยมคนอื่นหวังถึงการค่อยๆ ปฏิรูปสังคมในระยะยาว
ทั้งมาร์กซ์และเองเกิลส์คิดว่ามีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นที่จะนำไปสู่ระบอบ
สังคมนิยมได้ นั่นคือการปฏิวัติ ตามที่ข้อสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ของ
283/665

มาร์กซ์กล่าวไว้ว่า ลักษณะเฉพาะของ เผ่าพันธุ์มนุษย์ในสังคมชนชั้นคือ


ความไม่สนใจซึ่งกันและกัน และยังกล่าวอีกว่าความคิดแบบคอมมิวนิสต์
คือสิ่งทีม่ นุษย์ปรารถนา เพราะมันนำมาซึ่งความ หยั่งรูแ้ ละการพบกับ
อิสรภาพแห่งมนุษย์อย่างแท้จริง มาร์กซ์ในที่นี้กล่าวตามนักปรัชญาชาว
เยอรมัน ยอร์ช วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกล (G.W.F. Hegel) ที่กล่าวว่า
อิสรภาพมิใช่เพียงแค่การมิให้อำนาจเข้ามาควบคุมเท่านั้น แต่ยังหมายถึง
การกระทำทีม่ ีสำนึกศีลธรรมอีกด้วย ไม่เพียงแค่ระบอบคอมมิวนิสต์จะทำ
ให้คนทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการเท่านั้น แต่การทำให้มนุษย์ที่มีสถานภาพ
เดียวกัน และความเหมือนกันนั้น จะทำให้พวกเขาไม่ต้องการแสวงหา
ผลประโยชน์สู่ตนเองอีกต่อไป
ในขณะที่เฮเกลคิดถึงการใช้ชีวิตตามหลักจรรยา ผ่านมโนภาพที่
ยิ่งใหญ่ แต่สำหรับมาร์กซ์แล้ว คอมมิวนิสต์นั้นเกิดขึ้นได้จากวัตถุและ
ผลิตผล โดยเฉพาะการพัฒนารายได้ที่ประชาชนจะได้รับจากการผลิต
ลัทธิมาร์กซ์นั้นยึดถือว่า กระบวนการแตกแยกระหว่างชนชั้นที่ต่าง
กัน ผสมกับการดิ้นรนต่อสู่ที่จะปฏิวิติ จะนำชัยชนะมาสู่ชนชั้นแรงงาน
และนำมาซึ่งการก่อตั้งสังคมคอมมิวนิสต์ที่สิทธิ์ในการการครอบครอง
ทรัพย์สมบัตสิ ่วน บุคคลจะค่อยๆ ถูกลบล้างไป และรายได้ของประชาชน
จากการผลิต และความ เป็นอยู่ที่ยึดติดอยูก่ ับชุมชนจะค่อยๆ เข้ามาแทน
ที่ ตัวมาร์กซ์เองนั้นชี้แจงไว้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่เมื่ออยู่
ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ แต่กล่าวถึงข้อมูลเฉพาะส่วนหลักๆ ทีเ่ ป็น
284/665

แนวทางไปสูร่ ะบอบคอมมิวนิสต์เท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะเกี่ยวกับการลด


ขอบเขตของสิ่งที่บุคคลพึงกระทำ เห็นได้จากสโลแกนของกลุ่มเคลื่อนไหว
ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีความว่า สังคมคอมมิวนิสต์ คือโลกที่ทุกๆ คนทำใน
สิ่งที่พวกเขาถนัด และได้รับตามที่พวกเขาต้องการ
ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นิยามของคำว่า ระบอบ
สังคม นิยม และ ระบอบคอมมิวนิสต์ มักถูกใช้แทนกัน อย่างไรก็ตาม
มาร์กซ์และเองเกลส์เห็นว่า สังคมนิยมคือระดับปานกลางของสังคมที่
ทรัพย์สมบัตสิ ่วนใหญ่จากการผลิตมีมวลชนเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยที่
ยังคงความแตกต่างระหว่างชนชั้นไว้เล็กน้อย โดยที่พวกเขาสงวนนิยาม
ของระบอบคอมมิวนิสต์ไว้ว่า เป็นขั้นสุดท้ายของสังคมที่ไม่มีความแตกต่าง
ระหว่างชนชั้น ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี และรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่
จำเป็นอีกต่อไป
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวทฤษฎีของมาร์กซ์เป็น
แรงกระตุ้นให้เกิดพรรคสังคมนิยมทั่วยุโรป แม้ว่านโยบายของพวกเขาใน
เวลาต่อมาจะค่อนข้างคล้อยตามกับระบอบทุนนิยมที่กำลังปรับเปลี่ยน
ตัวเอง มากกว่าที่จะก่อการรัฐประหาร ยกเว้นเพียงแห่งเดียวคือ พรรค
แรงงานสังคมประชาธิปัตย์แห่งรัสเซีย (Russian Social Democratic
Worker's Party) โดยหนึ่งในกลุ่มในพรรค ที่เป็นที่รู้จักในนามของกลุ่ม
บอลเชวิค ซึ่งนำโดยวลาดิเมียร์ เลนิน
285/665

ในเวลาต่อมา บอลเชวิคประสบความสำเร็จในการปกครองประเทศ
หลังจากการล้มล้างรัฐบาลรักษาการณ์ในการปฏิวัติรัสเซีย (Russian
Revolution of 1917) ปีต่อมา พรรคดังกล่าวเปลี่ยนชื่อเป็นพรรค
คอมมิวนิสต์ ซึ่งจากนั้นมาทำให้เกิดข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างระบอบ
คอมมิวนิสต์และระบอบสังคมนิยม
การปรากฏตัวของพรรคคอมมิวนิสต์ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
กับรุสเซีย นำพาความหวาดระแวงไปทั่วทุกหัวระแหง
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วชัยชนะของบอลเชวิคนำพาพรรคคอมมิวนิสต์
และระบอบการปกครองคอมมิวนิสต์มาสู่โลก หลังจากนั้นได้มีความ
พยายามที่จะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งการปกครองที่คล้ายคลึงกันในบริเวณ
อื่นของโลก ซึ่งประสบความสำเร็จในฮังการีและบาวาเรีย
การกระทำดังกล่าวนำมาซึ่งความกลัวต่อการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์
ในหลายชาติยุโรปตะวันตก ยุโรปกลาง และทวีปอเมริกา ดังนั้นในปี
1919 ฝ่ายไตรภาคีถึงกับตั้งรัฐพรมแดนขึ้นประชิดชายแดนด้านตะวันตก
ของรัสเซีย โดยหวังว่าจะสามารถจำกัดคอมมิวนิสต์ไม่ให้แพร่ขยายออกมา
จากรัสเซีย
กำเนิดลัทธิฟาสซิสต์
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่นานนัก ลัทธิฟาสซิสต์ ก็ได้
ถือกำเนิดขึ้นมาในอิตาลีอีก
286/665

มุสโสลินี นำอิตาลีร่วมสงครามค้วยคาดว่าสงครามจบลงแล้ว แต่เขาคาดผิด สงคราวให้บางสิ่งที่


เรียกว่าความเจ็บปวดถึงตายแก่เขาในที่สุด

ฟาสซิสต์ (Fascism) เป็นหนึ่งในลักษณะการปกครองของรัฐ มี


แนวคิดสำคัญว่า รัฐเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าตนหรือบุคคล ฟาสซิสต์จะมีบุคคล
คนหนึ่งปกครอง ประเทศเรียกว่าผู้นำเผด็จการ มีอำนาจสิทธิในการ
ควบคุมรัฐบาลและประชาชน ซึ่งประชาชนภายในรัฐจะต้องเชื่อฟังผู้นำ
สูงสุด เพื่อใช้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัย และพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
287/665

ที่มาของชื่อฟาสซิสต์ นี้เกิดขึ้นในอิตาลีโดยเรียกการปกครองแบบ ที่


ว่านีว้ ่า “ฟาซิโอ” เป็นภาษาละติน แปลว่า สหภาพ หรือ สมาชิก ทั้งยัง
แปลได้อีก ว่าเป็นแขนงไม้ทพี่ ันรอบขวาน ซึ่งแท้จริงแล้วลัทธิฟาสซิสต์เป็น
ชื่อของอาณาจักรโรมันสมัยก่อน ความหมายของมันคือ เมื่อไม้มีอยู่แท่ง
เดียวก็จะหักได้ง่าย แต่เมื่อนำไม้มารวมกันนั้นจะหักได้ยากมาก เหมือน
กับ เมื่อชาติมีประชาชนมารวมกันก็จะทำให้ชาติแข็งแกร่งไร้เทียมทาน
ฟาสซิสต์ นั้นแตกต่างจากคอมมิวนิสต์ เนื่องจากฟาสซิสต์ไม่
ต้องการจะเป็นเจ้าของที่ดิน หรือโรงงานผลิตสินค้า แต่ลัทธิฟาสซิสต์จะ
ทำงานอย่างใกล้ชิดกับสิ่งเหล่านั้นและใช้เป็นทรัพยากรใน การผลิต
กองทัพที่แข็งแกร่ง หรือส่วนอื่นของลัทธิฟาสซิสต์ สำหรับลัทธิฟาสซิสต์
แล้วถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่โรงเรียนทุกโรงใน ประเทศจะสอนเด็กว่า
ผู้นำเผด็จการเป็นบุคคลที่สำคัญ ที่สุดในโลก เมื่อโตขึ้นแบบอย่างที่ควรทำ
คือเข้ารวมกลุ่มกับลัทธิฟาสซิสต์ โดยบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับลัทธิจักต้อง
ถูกสังหารหมู่ทั้งหมด ผู้นำลัทธิฟาสซิสต์มักจะเป็นบุคคลที่มียศสูงใน
กองทัพ ถึงแม้พวกเขาจะไม่มยี ศมาก่อนก็ตาม และมักปรากฏตัวในชุด
กองทัพบกหรือกองทัพเรือต่อหน้าสาธารณชน
เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำเผด็จการชาวอิตาลี เป็นผู้นำเอาลัทธิฟาสซิสต์
มาใช้ขึ้นครั้งแรกโดย เริ่มขึ้นในปี 1922 ในความหมายของมุสโสลินี
ฟาสซิสต์คือ แนวคิดทางการเมืองที่รัฐบาลจะมีการออกกฎข้อบังคับและ
การควบคุมทางเศรษฐกิจของประเทศ มีความแข็งแกร่ง และรวมอำนาจ
288/665

เข้าสู่ศูนย์กลาง ประชาชนไม่มสี ิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจที่


เกี่ยวข้องกับประเทศอย่าง เด็ดขาด ปกครองโดยผู้เผด็จการ และมีแนว
คิดเกี่ยวกับชาตินิยมอย่างแรงกล้า ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หลาย
ประเทศในทวีปยุโรปนำระบอบฟาสซิสต์ ไปใช้ในหลายประเทศของยุโรป
ไม่ว่าจากรัฐบาลของ เอ็นกิลเบริต ดอลฟิว ในออสเตรีย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ในนาซีเยอรมนี และฟรานซิสโก ฟรังโก ในสเปน ประเทศเหล่านี้ล้วนอยู่
ภายใต้การปกครองด้วยฟาสซิสต์ ซึ่งสรุปแนวทางการปกครองได้ว่า การ
ปกครองที่ดีคือการควบคุมประชาชนและอุตสาหกรรมของประเทศ
ฟาสซิสต์ได้มองกองทัพว่าเป็นสัญลักษณ์ของปวงชน ซึ่งประชาชน
ควร จะเอาเป็นเยี่ยงอย่าง หลายประเทศฟาสซิสต์จึงมีนักการทหารเป็น
จำนวน มาก และการให้ความสำคัญแก่วีรบุรุษนี่เองที่เป็นอุดมคติของ
ฟาสซิสต์ ในหนังสือ The Doctrine of Fascism ซึ่งเขียนโดยเบนิโต
มุสโสลินี เขาประกาศว่า “ฟาสซิสต์ไม่ได้มคี วามเชื่อในความเป็นไปได้และ
ประโยชน์ใดๆ ในสันติภาพนิรันดรแต่อย่างใด” ฟาสซิสต์เชื่อว่าสงครามจะ
เป็นการทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ และเริ่มเสาะแสวงหาสงคราม
พวกฟาสซิสต์จะมีคำขวัญที่ชัดเจนของตนเอง คือ “สามัคคีคือ
พลัง”อันมาจากความหมายเรื่องไม้ดังที่กล่าวมานั้นเอง
นาซีกับกำเนิดจอมเผด็จการ
ขณะทีล่ ัทธิฟาสซิสต์ ถือกำเนิดขึ้นในอิตาลี และเริ่มแพร่ลามไปใน
หลาย ประเทศในยุโรป สำหรับเยอรมนีแล้ว ในระยะแรกคือหลัง
289/665

สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา ชาวเยอรมนีเกิดความไม่พอใจต่อรัฐบาล


อย่างยิ่งทีน่ ำพาประเทศไป แพ้ในสงครามโลก ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน
1918 จึงเกิดการปฏิวัติขึ้นในเยอรมนี
ผลของการปฏิวัติในครั้งนี้ ทำให้ไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ต้องทรงเสด็จ
ลี้ภัย ไปฮอลแลนด์และทรงสละราชสมบัติในเวลาต่อมา และมีการเลือกตั้ง
ทั่วไปขึ้นในเดือนมกราคม 1919 พรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมัน
(German Social Democrat) ได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับอีก 2
พรรค โดยได้เลือกนายฟรีดริชเอเบร์ท ให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของ
สาธารณรัฐเยอรมัน แต่รัฐบาลกลับไม่ได้รับความนิยม มีความพยายามยึด
อำนาจจากรัฐบาลทั้งจากฝ่ายซ้ายและ ฝ่ายขวาในเวลานั้น ต่อมา
รัฐธรรมนูญซึ่งร่วมกันเขียนโดยสมาชิกรัฐสภาแห่งชาติที่เมืองไวมาร์ก็เสร็จ
สมบูรณ์ในปลายปี 1919 นั้น ส่งผลให้นับแต่ปี 1919-1933 สาธารณรัฐ
เยอรมันถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สาธารณรัฐไวมาร์ (The Weimar
Republic)
สาธารณรัฐไวมาร์ ขาดเสถียรภาพมาตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อต้องพบกับ
ภาวะ เศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกซ้ำเติมเข้าไปอีกในช่วงปี 1929 สถานะภาพ
ของสาธารณรัฐก็ง่อนแง่นกระทั่งสุดท้ายเมื่อถึงปี 1933 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
จากพรรค แรงงานสังคมนิยมแห่งชาติหรือพรรคนาซี ก็ลุกขึ้นมาล้มล้าง
เปลี่ยนการปกครอง ประเทศไปเป็นการปกครองในระบอบฟาสซิสต์
290/665

แม้ว่านาซี หรือลัทธินาซี จะเป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิเผด็จการ


ฟาสซิสต์ และมีลักษณะคล้ายกับลัทธิฟาสซิสต์ของมุสโสลินี แต่หลักการ
ของลัทธินาซีก็แตกต่างออกไปหลายประเด็น ดังเช่น
นาซี ไม่ได้เป็นเพียงพรรคการเมืองเท่านั้น แต่เป็นแนวทางชีวิตด้วย
นาซีกำหนดหลักการว่า ชนทุกชั้นในสังคมจะต้องผนึกกำลังกันเพื่อสร้าง
เยอรมนีให้เป็นชาติทยี่ ิ่งใหญ่อีกครั้ง ดังนั้นพรรคคอมมิวนิสต์และ
พรรคการเมืองอื่นจะต้องถูกกำจัด
รัฐบาลกลางจะเน้นและควบคุมวิถีชีวิตทุกด้านของประชาชน ดังนั้น
ประชาชนจะต้องเสียสละผลประโยชน์ของปัจเจกชนเพื่อความยิ่งใหญ่ของ
รัฐ ซึ่งก็หมายถึงการสร้างรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จนั่นเอง
นาซีเชื่อว่า ความยิ่งใหญ่ของรัฐจะเกิดขึ้นได้เพราะสงคราม ดังนั้นรัฐ
จะต้องมีการบริหารในลักษณะรัฐทหาร
นาซียังยึดเรื่องทฤษฏีเรื่องเชื้อชาติ กล่าวคือ นาซีมองว่ามนุษย์แบ่ง
ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอารยันและกลุ่มที่ไม่ใช่อารยัน กลุ่มอารยัน
คือชาวเยอรมัน ซึ่งจะมีรูปร่างสูงสง่า ผมสีทอง ชนกลุ่มนี้จะเป็นชนชั้นนาย
ทีป่ กครองโลก ส่วนชนเชื้อชาติอื่น ไม่ว่าสลาฟ พวกผิวสี หรือพวกยิวนั้น
เป็นเพียงทาสของชาวเยอรมัน เป็นต้น
ในระยะแรกก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นมานั้น บรรดา
พันธมิตร ตะวันตกต่างมองและหวาดกลัวในอิทธิพลและการขยายตัวของ
คอมมิวนิสต์ในตะวันตก มากกว่าการกำเนิดขึ้นมาของลัทธิชาตินิยมทั้ง
291/665

ฟาสซิสต์และนาซี ดังนั้นเพื่อตั้งแนวป้องกันการรุกล้ำและขยายอุดมการณ์
คอมมิวนิสต์ พันธมิตรตะวันตกจึงเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับนาซี
เยอรมันที่น่าจะสามารถเป็นแนวป้องกันพวกคอมมิวนิสต์ได้อย่างดี
โดยเฉพาะสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสนั้นได้ดำเนินแผนการของ
ตนเพื่อเอาใจฝ่ายเยอรมนีในตอนปลายทศวรรษ 1930 ภาย ใต้แผนการ
การเอาใจฮิตเลอร์ เพื่อหวังให้ฮิตเลอร์ต้านอำนาจของคอมมิวนิสต์
เยอรมนีนั้นได้รับข้อเสนอว่าตนจะสามารถขยายพื้นที่ของตนไปทาง
ทิศตะวันออกได้ โดยไม่ต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งจากทั้งอังกฤษและ
ฝรั่งเศส แต่เหตุการณ์ดังกล่าวนี้แทนที่จะส่งผลดีด้านการเมืองกลับกันมัน
ได้เพิ่มความ ทะเยอทะยานของฮิตเลอร์ให้มีโอกาสมากยิ่งขึ้น และ
หลังจากนั้นฮิตเลอร์ก็ได้เริ่มแผนการต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่สงครามในไม่ช้า
การล่าอาณานิคมใหม่
การล่าอาณานิคม คือ หลักการการผนวกดินแดนหรืออำนาจทาง
เศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องใช้กำลังทหารเข้าช่วย
ประเทศมหาอำนาจผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 อาจจะยังคงรักษา
ดินแดนของตนเอง รวมทั้งยังได้ดินแดนของชาติ และดินแดนใน
อาณานิคมเพิ่มขึ้นมาจึงไม่มีความเดือดร้อนหรือเจ็บปวดสักเท่าไร หากแต่
บรรดาประเทศ ที่ต้องเสียดินแดนไปในช่วงก่อนหน้านั้นไม่ได้คิดเช่นนั้น
เมื่อแนวความคิดเรื่องชาตินิยมถูกกระตุ้นขึ้นในบรรดาประเทศส่วนใหญ่
292/665

ของโลก แทบทุกชาติต่างตั้งคำถามและความหวังในการสร้างชาติของ
ตนเองกันแทบทั่วหน้า
อิตาลีนั้นได้รับความขมขื่นจากดินแดนเพียงน้อยนิดซึ่งได้รับหลังจาก
สงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างการประชุมที่แวร์ซายส์ อิตาลีนั้นหวังจะได้
ดินแดนจำนวนมากจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แต่กลับได้เพียง
ดินแดนสองสามเมืองเท่านั้น และคำสัญญาที่ขออัลเบเนียและเอเชีย
ไมเนอร์ก็ถูกผู้นำฝ่ายพันธมิตรอื่นๆ ละเลย
ทางด้านเยอรมนี หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมนีต้อง
สูญเสียดินแดนให้แก่ลิทัวเนีย ฝรั่งเศส โปแลนด์ และเดนมาร์ก โดย
ดินแดนทีเ่ สียไปที่เป็นทีร่ ู้จักกันเป็นอย่างดีก็คือ ฉนวนโปแลนด์ นครเสรี
ดานซิก แคว้นมาเมล (รวมกับลิทัวเนีย) มณฑลโปเซน และแคว้นอัลซา
ซ-ลอร์เรนของฝรั่งเศส และดินแดนทีม่ ีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ
แคว้นซิลิเซียตอนบน ส่วนดินแดน ที่มีค่าทางเศรษฐกิจอีกสองแห่ง คือ
ซาร์แลนด์และไรน์แลนด์ นั้นอยู่ใต้การยึดครองของฝรั่งเศส
ดินแดนที่ถูกฉีกออกไปจำนวนมากนี้ คนที่ไม่ใช่ชาวเยอรมันก็เข้ามา
อาศัยเป็นจำนวนมาก
ผลของการสูญเสียดินแดนดังกล่าวก่อให้เกิดความขมขื่นแก่ชาว
เยอรมัน และมีความสัมพันธ์อันเลวร้ายกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้การ
ปกครองของพรรคนาซี เยอรมนีกเ็ ริ่มต้นการแสวงหาดินแดนเพิ่มเติม
ตั้งใจที่จะฟื้นฟูดินแดน อันชอบธรรมของจักรวรรดิเยอรมนี โดยที่สำคัญก็
293/665

คือ แคว้นไรน์แลนด์และฉนวนโปแลนด์ ซึ่งอาจจะนำไปสู่สงครามที่


หลีกเลี่ยงไม่ได้กับโปแลนด์
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเอาใจของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ฮิต
เลอร์มั่นใจได้ว่าสงครามกับโปแลนด์จะราบรื่นไปด้วยดี และถึงแม้จะแย่
กว่านั้น ก็เพียงแค่เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรเท่านั้น
นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังมีแนวคิดที่จะสร้างเยอรมนีอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเขา
เห็นว่า ประชาชนเยอรมันควรที่จะรวมกันเป็นชาติเดียวกัน และรวมไปถึง
แผ่นดินที่ชาวเยอรมันได้อาศัยอยู่นั้น โดยในตอนแรกฮิตเลอร์ได้เพ่งเล็ง
ไปยังออสเตรียและเชคโกสโลวาเกีย
หลังจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนีพยายามที่จะรวมตัวกับ
ออสเตรีย แต่กถ็ ูกห้ามปรามโดยฝ่ายพันธมิตร เพราะว่าในอดีต ก็เคยมี
การรวมตัวเป็นรัฐเยอรมนีในปี 1871 มาก่อน เนื่องจากจักรวรรดิ
ออสเตรีย-ฮังการีประกอบด้วย หลายเชื้อชาติ ดังที่เห็นได้จากปรัสเซียและ
ออสเตรียแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงความ เป็นใหญ่ในทวีป ภายหลังจาก
สงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวออสเตรียส่วนใหญ่กเ็ ห็น ด้วยที่จะสร้างสหภาพ
ดังกล่าวขึ้น
ด้านสหภาพโซเวียตได้สูญเสียพื้นที่จำนวนมากจากดินแดนของ
จักรวรรดิ รุสเซียเดิม โดยสูญเสียโปแลนด์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย
ลิทัวเนียและโรมาเนีย ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามกลางเมือง
รัสเซีย รวมไปถึงดินแดนบางส่วนซึ่งสูญเสียให้แก่ญี่ปุ่น และ
294/665

สหภาพโซเวียตมีความต้องการอย่างยิ่งที่จะเอาดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมด
กลับคืน
ฮังการี ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรของเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ถูกฉีกออกไปเป็นดินแดนจำนวนมหาศาล หลังจากที่ฝ่ายพันธมิตรตัดแบ่ง
จักรวรรดิ ออสเตรีย-ฮังการีเดิม แต่ว่าฮังการียังคงต้องการที่จะคงความ
เป็นมิตรต่อกันกับเยอรมนี โดยในช่วงนีแ้ นวคิดฮังการีอันยิ่งใหญ่ กำลัง
ได้รับความสนับสนุนในหมู่ชาวฮังการี
โรมาเนีย ซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็น
ผูช้ นะ สงคราม กลับรู้สึกว่าตนจะเป็นฝ่ายที่สูญเสียผลประโยชน์ในช่วงต้น
ของสงครามโลกครั้งที่ 2 จากผลของสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ
ทำให้โรมาเนียต้องสูญเสียดินแดนทางทิศเหนือให้แก่สหภาพโซเวียต คำ
ตัดสินกรุงเวียนนาครั้งที่ 2 ทำให้โรมาเนียต้องยกแคว้นทรานซิลวาเนีย
ตอนบนให้แก่ฮังการี และสนธิสัญญาเมืองคราโจวา โรมาเนียต้องยก
แคว้นโดบรูจากให้แก่บัลแกเรีย ในโรมาเนียเองก็มีแนวคิดโรมาเนียอัน
ยิ่งใหญ่ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะรวมตัวกับนาซีเยอรมนี
บัลแกเรีย ซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ได้สูญเสียดินแดนให้แก่กรีซ โรมาเนียและยูโกสลาเวีย ในช่วง
สงครามโลกครั้งที่ 1 และในสงครามคาบสมุทรบอลข่านครั้งที่ 2
ฟินแลนด์ ซึ่งสูญเสียดินแดนให้แก่สหภาพโซเวียตในช่วงต้น
สงครามโลก ครั้งที่ 2 (สงครามฤดูหนาว) ดังนั้นเมื่อเยอรมนีโจมตี
295/665

สหภาพโซเวียตในปี 1941 ฟินแลนด์จึงเข้าร่วมกับเยอรมนี ด้วยหวังว่าตน


จะได้รับดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดกลับคืนมา
ในทวีปเอเชีย จักรวรรดิญี่ปุ่นนั้นมีความต้องการทีจ่ ะยึดครอง
ดินแดนเพิ่มเติม เนื่องจากว่าภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับ
ดินแดนเพียงน้อยนิด ถึงแม้ว่าจะได้รับอาณานิคมเดิมของเยอรมนีในจีน
และหมู่เกาะอีกจำนวนหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิกแล้วก็ตาม รวมไปถึง
ป่าสนไซบีเรีย และเมืองท่าของรัสเซีย วลาดิวอสต็อก ญี่ปุ่นนั้นไม่ได้มี
ความต้องการดินแดนเหล่านี้เลย ยกเว้นหมู่เกาะที่ตนเองตีได้ในช่วง
สงครามโลกครั้งที่ 1
เช่นกัน ประเทศสยาม ซึ่งเสียดินแดนกว่าครึ่งประเทศให้แก่ฝรั่งเศส
และสหราชอาณาจักรในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น
คริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีความต้องการทวงดินแดนคืนเช่นกัน
ในหลายกรณี แนวคิดการล่าอาณานิคมได้นำไปสูส่ งครามโลกครั้งที่
2 โดยมีเป้าหมายไปในทางชาตินิยมในการรวมเอาดินแดนดั้งเดิมของตน
คืน หรือวาดฝันถึงแผ่นดินอันยิ่งใหญ่ในวันข้างหน้าแทบทั้งสิ้น
การแข่งขันทางเศรษฐกิจ
การแข่งขันทางเศรษฐกิจก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่นำมาสู่สงครามเช่นกัน
แม้ว่าในยุโรป การแข่งขันจะไม่ได้รุนแรงมากนัก ทั้งนี้เพราะสภาพการณ์
ของยุโรปยังคงอยู่ภายใต้การบังคับใช้ในสนธิสัญญาแวร์ซายส์อยู่
แต่กระนั้นรัฐบาลของหลายประเทศก็ได้พยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้
296/665

รวดเร็วที่สุด และใช้ทุกวิธีทาง เพื่อทำให้ชาติของตนเองมีรายได้และเกิด


การพัฒนาทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว
แต่ผลสืบเนื่องมาจากตลาดหุ้นวอลล์สตรีทของสหรัฐอเมริกาล่มในปี
1929 ได้ก่อให้เกิดผลกระทบทั่วทั้งโลก กลุ่มประเทศในทวีปยุโรป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เยอรมนี ได้รับผลกระทบอย่างมาก ซึ่งได้นำไปสู่
การตกงาน ความยากจนและการก่อจลาจลไม่สิ้นสุด และความรู้สึก
หมดหวัง ก่อได้ทำให้ในเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รับการเลือกตั้ง
อย่างถล่มทลายและขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนี รวมไปถึงผู้นำเผด็จการอื่นๆ
ในสมัยนั้น
อย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นนั่นเองว่าการแข่งขันทางเศรษฐกิจในยุโรป
นั้น อาจไม่เป็นผลสักเท่าไร หากจะเป็นก็คงเป็นเพียงผลทางอ้อมแต่กลับ
กันทางเอเชียนั้น การแข่งขันทางเศรษฐกิจน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญเบื้องต้นที่
ทำให้สงครามเกิดขึ้นมา
ดังที่รู้กันอยู่ว่า นอกจากทรัพยากรถ่านหินและเหล็กในปริมาณน้อย
นิด ญี่ปุ่นนับได้ว่าเป็นประเทศที่ขาดแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ญี่ปุ่นใน
สมัยนั้น เป็นเพียงประเทศเดียวในทวีปเอเชียซึ่งมีความเจริญทาง
ด้านอุตสาหกรรมจนทัดเทียมประเทศตะวันตก เกรงว่าตนจะขาดแคลน
วัตถุดิบเพื่อเตรียมการทำสงครามกับสหภาพโซเวียต ญี่ปุ่นนั้นได้วาง
เป้าหมายโดยการเสาะแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติม ญี่ปุ่นได้รุกราน
แมนจูเรีย ในปี 1931 เพื่อนำวัตถุดิบ ไปป้อนให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม
297/665

ของตนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พวกชาตินิยมจีนทางตอน
ใต้ของแมนจูเรียได้พยายามขับไล่กองทัพญี่ปุ่นออกไป สงครามครั้งนี้กิน
เวลาไปสามเดือนและสามารถผลักดันกองทัพจีนลงไปทางใต้ แต่ว่าเมื่อ
วัตถุดิบที่ได้รับในแคว้นแมนจูเรียก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของ
ประเทศ กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นจึงวางแผนที่จะเสาะหาวัตถุดิบเพิ่มเติม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ทรัพยากรน้ำมัน
เพื่อที่จะเยียวยาความเสียหายดังกล่าวและเพื่อเป็นการรักษาแหล่ง
ทรัพยากรน้ำมันและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ อาจทำให้ญี่ปุ่นต้อง
เผชิญหน้ากับการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งยังครอบครองแหล่ง
น้ำมันอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์
โดยการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการล่าอาณานิคมของตะวันตกอาจจะนำไปสู่
ความขัดแย้งกับสหรัฐ อเมริกาได้ เดือนสิงหาคม 1941 สหรัฐอเมริกาซึ่ง
นำเข้าน้ำมันจากญี่ปุ่นเป็น จำนวนกว่า 80% ได้ประกาศคว่ำบาตรทางการ
ค้า ทำให้เศรษฐกิจและกำลัง ทหารของญี่ปุ่นกลายเป็นอัมพาต ญี่ปุ่นมี
ทางเลือก คือ ยอมเอาใจสหรัฐอเมริกา เจรจาประนีประนอมหาแหล่ง
ทรัพยากรอื่นหรือใช้กำลังทหารเข้ายึดแหล่งทรัพยากรตามแผนการเดิม
ญี่ปุ่นได้ตกลงใจเลือกทางเลือกสุดท้าย และหวังว่า กองกำลังของตนจะ
สามารถทำลายสหรัฐอเมริกาได้นานพอที่จะบรรลุวัตถุ ประสงค์เดิม
ดังนั้นญี่ปุ่นจึงโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาเบอร์ ในวันที่
7 ธันวาคม 1941 ซึ่งได้กลายมาเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวงของญี่ปุ่น
298/665

นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์ยังชี้ว่ามีปัจจัยอื่นๆ อีกได้แก่
ลัทธิโดดเดี่ยว
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สหรัฐอเมริกาได้มีแนวคิด ที่จะ
โดดเดี่ยวทางการเมืองกับประเทศภายนอก โดยที่สหรัฐอเมริกาจะเข้าไป
ยุ่งเกี่ยวกับเหตุ การณ์ในซีกโลกตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น
สหรัฐอเมริกาตัดสินใจ ที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองในทวีปยุโรป
แต่ว่ายังคงมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แนบแน่น ด้วยเหตุเช่นนี้ส่งผล
ให้ความรู้สึกของประชาชนในอังกฤษ และฝรั่งเศสก็มแี นวคิดที่จะ
โดดเดี่ยวเช่นกัน และเบื่อหน่ายสงคราม นายเนวิล แชมเบอร์เลน กล่าว
ถึงเชคโกสโลวาเกียว่า : “โอ้ ช่างเลวร้ายและมหัศจรรย์เหลือ เกินที่เราชาว
อังกฤษไปขุดสนามเพลาะและพยายามใส่หน้ากากกันก๊าซพิษที่นั่น
เพราะว่าความขัดแย้งอยู่ไกลจากตัวเรานัก ระหว่างคนสองจำพวกที่เราไม่
รู้จัก ข้าพเจ้านั้นเป็นบุคคลแห่งสันติภาพมาจากส่วนลึกของวิญญาณของ
ข้าพเจ้า” ปรากฏว่าภายในไม่กี่ปี โลกก็เข้าสู่สงครามเบ็ดเสร็จ
ลัทธินิยมทหาร
ความนิยมทางการทหารของผู้นำเยอรมนี ญี่ปุ่นและ อิตาลี ได้นำไป
สู่ความก้าวร้าวรุนแรง ประกอบกับที่กองทัพของทั้งสามประเทศ นั้นถูก
ประเทศอื่นมองข้ามไป ดังที่เห็นได้จากเยอรมนีประกาศเกณฑ์ทหารอีก
ครั้งในปี 935 ด้วยเป้าหมายที่จะสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และเป็นการ
ขัดต่อสนธิสัญญาแวร์ซายส์
299/665

ลัทธิชาตินิยม
ลัทธิชาตินิยม มีความเชื่อว่า คนชาติพันธุ์เดียวกันควรจะอยูร่ วมกัน
ทั้งในดินแดนเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกันและอยูร่ ่วมกันทางมนุษยชาติ
ผู้นำของเยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นมักจะใช้แนวคิดดังกล่าวเพื่อให้ได้รับแรง
สนับสนุน จากปวงชนในประเทศ ลัทธิฟาสซิสต์นั้นตั้งอยูบ่ นรากฐานของ
ลัทธิชาตินิยม และคอยมองหา “รัฐชาติ” ที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ฮิต
เลอร์ และพรรคนาซีนำลัทธิชาตินิยมไปในเยอรมนี ซึ่งประชาชนเยอรมัน
ได้มศี รัทธาอย่างแรงกล้า ในอิตาลี แนวคิดที่จะสร้างจักรวรรดิโรมันใหม่
ขึ้นมาได้ดึงดูดชาวอิตาลีจำนวนมาก และในญี่ปุ่น ด้วยความทระนงใน
หน้าทีแ่ ละเกียรติยศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์จักรพรรดิ ได้ถูกเผยแพร่ใน
ญี่ปุ่นมาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว
และลัทธิการแบ่งแยกเชื้อชาติ พรรคนาซีได้นำแนวคิดทางสังคมของ
ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้กล่าวถึงชนชาติทิวทัน และชนชาติสลาฟว่าจำเป็นต้อง
แย่งชิงความเป็นใหญ่ และจำเป็นต้องแย่งชิงพื้นที่และทรัพยากรที่มอี ยู่
อย่างจำกัด โดยได้กล่าวว่าชนชาติเยอรมัน คือ “เชื้อสายอารยัน” ซึ่งมีแนว
คิดอย่างชัดเจนว่าชาวสลาฟต้องตกเป็นเบี้ยล่างของชาวเยอรมัน ในช่วง
สงครามโลกครั้งที่ 2ฮิตเลอร์ได้ใช้แนวคิดการแบ่งแยกเชื้อชาติดังกล่าวเพื่อ
พวกทีไ่ ม่ใช่อารยัน โดยพวกที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวอย่าง
ร้ายแรง ก็คือ ชาวยิว ชาวโซเวียต และยังมีการกีดกันพวกรักร่วมเพศ ผู้ที่
300/665

ทุพพลภาพ ผู้ที่มอี าการป่วยทางจิต ชาวยิปซี สมาคมฟรีเมสันและผู้นับถือ


คริสต์ศาสนานิกายพยานพระเยโฮวาห์ เป็นต้น ---
5

ที่มาหรือชนวนแห่งสงคราม
สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1939-1945 ว่ากัน
ว่าที่มาของสงครามในครั้งนี้เกิดขึ้นจากปัญหาอันมาจากการดำเนินการ
ทางการทูต ของประเทศมหาอำนาจในยุโรป กล่าวคือเริ่มกันตั้งแต่การทำ
สนธิสัญญาสันติ ภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย เฉพาะสนธิสัญญา
แวร์ซายส์ ที่ทำความไม่พอใจให้แก่บรรดาประเทศที่พ่ายสงครามหลาย
ประเทศ โดยเฉพาะเยอรมนีที่ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามและต้องเสีย
ดินแดน หรือแม้แต่การที่อิตาลีซึ่งแม้จะชนะในสงครามแต่ก็ไม่พอใจใน
เรื่องการแบ่งดิน แดนกันภายหลังสงคราม และแม้แต่สหรัฐอเมริกาเองใน
เวลานั้นก็ไม่ยอมรับต่อสัญญาฉบับนี้โดยกล่าวว่า สนธิสัญญาฉบับนี้ไม่
ยุติธรรม
กระนั้น หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ลง บรรดาประเทศ
มหาอำนาจต่างๆ ก็พยายามที่จะระงับไม่ให้เกิดสงครามครั้งใหม่ขึ้นมาได้
302/665

อีก โดยเฉพาะการจัดตั้งสันนิบาตชาติในปี 1919 ทั้งนีม้ ีเป้าหมายก็เพื่อ


สันติภาพของโลก และเพื่อความร่วมมือกันระหว่างประเทศ
นอกจากนั้นยังมีการร่วมลงนามโดยการเจรจาทางการทูตของ
ประเทศมหาอำนาจยุโรปอีก นั้นได้แก่ข้อตกลงในสนธิสัญญาโลคาร์โน ใน
เดือนตุลาคม 1925 เพื่อยืนยันในข้อตกลงตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์
เพื่อให้เยอรมนีรับรู้อาณาเขตของตนเองในส่วนที่ติดกับฝรั่งเศสทาง
ตะวันตก รวมไปถึงในส่วนที่ติดกับเชคโกสโลวาเกียทางด้านตะวันออก
และสนธิสัญญาอื่นๆ อีกหลายฉบับ ล้วนมุ่งเพื่อธำรงซึ่งสันติภาพเอาไว้
ค.ศ. 1931 เมื่อญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรียของจีน ฉากของสงครามโลก
ครั้งใหม่กด็ ูเหมือนจะถูกเปิดขึ้นมาแล้ว กระนั้นภาพรวมก็ยังดูพร่ามัวและ
เลือนรางเต็มที ทั้งนี้เพราะบรรดาประเทศมหาอำนาจยังไม่ได้เข้าไป
เกี่ยวข้องโดยตรงนัก แม้แท้จริงจีนจะร้องเรียนสันนิบาตชาติให้ลงโทษ
ญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นก็ชิงลาออกจากสันนิบาตชาติเสียในปี 1933
และในปี 1933 นั้นเองทีฮ่ ิตเลอร์ก้าวขึ้นสูอ่ ำนาจอย่างเต็มที่ใน
เยอรมนี นโยบายที่สำคัญที่สุดของเขาก็คือการยกเลิกสนธิสัญญา
แวร์ซายส์ ทั้งนี้เพราะเขาและชาวเยอรมนีมองว่ามีความเป็นเผด็จการเกิน
ไป
ดังนั้น 2 ปีแรกที่เขาเข้ามามีอำนาจ ฮิตเลอร์กเ็ ริ่มสั่งสมอาวุธอย่างไม่
เปิด เผย พร้อมกันก็ได้ลาออกจากสันนิบาตชาติ และการกระทำ
ทุกสิ่งทุกอย่างทีเ่ ป็นการละเมิดสนธิสัญญาสันติภาพ หากแต่เขาก็ยัง
303/665

ยอมรับรองความเป็นกลางของเบลเยียมในปี 1934 ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็น


ถึงความตั้งใจที่จะรักษาสันติภาพในยุโรปเอาไว้
เพียงไม่นานเมื่อเห็นว่าไม่มีปฏิกิริยาอะไรที่รุนแรงน่ากลัวจากยุโรป
ฮิตเลอร์ก็ ประกาศยกเลิกข้อกำหนดลดอาวุธตามข้อกำหนดในสนธิสัญญา
แวร์ซายส์ หลังจากนั้นก็สั่งให้มีการเกณฑ์ทหารและฝึกหัดทหาร
ฮิตเลอร์มีความตั้งใจที่จะสร้างฐานะของเยอรมนีให้เป็นมหาอำนาจ
อีกครั้ง และเริ่มเรียกร้องดินแดนที่เคยเสียไปเช่น แคว้นซาร์ และฉนวน
โปแลนด์ และประกาศจะรวมชนเชื้อชาติเยอรมนีทั้งหมดเข้าไว้ใน
อาณาจักรไรน์
ค.ศ. 1936 ฮิตเลอร์ก็สั่งเคลื่อนกำลังทัพเข้าไปยึดครอง
เขตปลอดทหารในไรน์แลนด์โดยไม่มีประเทศใดๆ ขัดขวาง ผลที่เกิดขึ้น
ทำให้เยอรมนีมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น
ช่วงเวลาที่ฮิตเลอร์เริ่มก้าวเข้าสู่อำนาจนี้เองเป็นช่วงที่เริ่มปรากฏ
วิกฤตการณ์ต่างๆ ขึ้นอันจะนำมาสู่การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งสิ้น
วิกฤตการณ์ทเี่ กิดขึ้นตลอดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง และพอจะประมวลได้ดังนี้
สงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 2
สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นจากความปรารถนาอย่างแรงกล้าของมุสโสลินี
ในการสร้างจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่ ซึ่งดินแดนของจักรวรรดิที่มุสโสลินี
304/665

ต้องการ ครอบครองนั้นคือบริเวณรอบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและ
ตอนเหนือของทวีปแอฟริกา สงครามครั้งนีย้ ังเป็นความต้องการล้างอายที่
อิตาลีพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ต่อเอธิโอเปียในยุทธการอัดวาซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 1896
อันทำให้อิตาลีต้องเสื่อมเสียเกียรติภูมิเป็นอย่างยิ่ง
เอธิโอเปียเป็นดินแดนเป้าหมายชั้นดีในการยึดครองเป็นอาณานิคม
ด้วยหลายสาเหตุ จากการแข่งขันแย่งชิงทวีปแอฟริกาของชาติ
จักรวรรดินิยมยุโรป ในเวลานั้นเหลือดินแดนที่เป็นอิสระอยู่เพียงแห่งเดียว
คือเอธิโอเปีย การได้ยึดครองเอธิโอเปียจะทำให้อิตาลีสามารถรวมดินแดน
นี้เข้ากับเอริเทรียและและอิตาเลียนโซมาลีแลนด์ที่ตนยึดครองไว้ก่อนได้
อนึ่ง เอธิโอเปียเองก็มกี ำลังทหารที่อ่อนแอจากการที่ทหารชนพื้นเมืองใน
เอธิโอเปียมีอาวุธเพียงหอกกับโล่ และกองทัพอากาศก็มอี ากาศยาน
ประจำการเพียง 13 ลำเท่านั้น
สนธิสัญญาอิตาลี-เอธิโอเปีย ฉบับ ค.ศ. 1928 กำหนดให้พรมแดน
ระหว่าง โซมาลีแลนด์ของอิตาลีกับเอธิโอเปียมีความยาว 21 ลีก (ราว
73.5 ไมล์) โดยขนานไปตามชายฝั่งเบนาดีร์ (Benadir) ในปี 1930
อิตาลีได้สร้างป้อมขึ้นที่โอเอซิสเวลเวล (Welwel) ในบริเวณเขตโอกาเดน
(Ogaden) และส่งทหารนอกประจำการชาวโซมาลีที่เรียกว่าดูบัต
(dubat) เข้ามาประจำการ ป้อมที่สร้างขึ้นที่เวลเวลนั้นอยูน่ อกเหนือเขต
จำกัด 21 ลีกและรุกล้ำเข้ามาในเขตแดนของเอธิโอเปีย
305/665

ในเดือนพฤศจิกายน 1934 กองกำลังรักษาดินแดนของเอธิโอเปียซึ่ง


คุ้มครองคณะกรรมการปักปันชายแดนแดนอังกฤษ-เอธิโอเปีย ได้
ประท้วงการละเมิดอธิปไตยของอิตาลี สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายอังกฤษ
ได้ถอนตัวไปทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้อิตาลีเสียหน้า โดยที่กองกำลังทั้ง
ฝ่ายอิตาลีและเอธิโอเปียยังคงตั้งค่ายเผชิญหน้ากันในระยะใกล้
ต้นเดือนธันวาคม 1934 ความตึงเครียดของทั้งสองฝ่ายได้ปะทุขึ้น
จากเหตุการณ์ที่รู้จักกันในชื่อ “กรณีเวลเวล” ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำ
ให้มที หาร เอธิโอเปียเสียชีวิตประมาณ 150 นาย ฝ่ายอิตาลีตาย 50 นาย
และนำไปสู่ “วิกฤตการณ์อบิสซิเนีย[7]” ในที่ประชุมสันนิบาตชาติ
วันที่ 4 กันยายน 1935 สันนิบาตชาติได้ประกาศปลดเปลื้อง
ความผิดของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจากกรณีเวลเวล สหราชอาณาจักรและ
ฝรั่งเศสพยายาม อย่างอย่างทีจ่ ะดึงอิตาลีไว้เป็นพันธมิตรต่อต้านเยอรมนี
จึงไม่ได้ขัดขวางการเสริมสร้างกำลังทางทหารของอิตาลี ในไม่ช้าอิตาลีจึง
เสริมกองทัพของตนในบริเวณชายแดนของเอธิโอเปียด้านที่ต่อกับเอริเทรีย
และโซมาลีแลนด์ของอิตาลี
อิตาลีสามารถเปิดฉากการรุกโดยปราศจากการขัดขวางอย่างจริงจัง
เนื่องจากสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสให้ความสำคัญแก่การดึงเอาอิตาลี
เป็นพันธมิตรในการต่อต้านนาซีเยอรมนี ด้วยเหตุนี้ในวันที่ 7 มกราคม
1935 ฝรั่งเศสจึงได้ลงนามในข้อตกลงกับอิตาลี โดยยกให้อิตาลีจัดการกับ
306/665

ทวีปแอฟริกาได้โดยอิสระ เพื่อเป็นการประกันความมั่นคงในความร่วมมือ
กับอิตาลี
ถัดจากนั้นมาในเดือนเมษายน อิตาลีก็ได้ใจยิ่งขึ้นจากการเข้าร่วม
เป็นสมาชิกข้อตกลงแนวสเตรซา ซึ่งเป็นข้อตกลงในการกำหนดทิศทางการ
ขยายอำนาจของเยอรมนี ถึงเดือนมิถุนายน แผนการของอิตาลีดำเนินไป
ได้โดยสะดวก มากขึ้น จากการแตกร้าวทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นระหว่าง
สหราชอาณาจักรกับฝรั่งเศสอันมีมูลเหตุจากข้อตกลงทางนาวีของทั้งสอง
ประเทศ
ในเดือนเมษายน 1935 กองทัพบกและกองทัพอากาศแห่ง
ราชอาณาจักร อิตาลีในแอฟริกาตะวันออก ได้เริ่มการสะสมกำลังขึ้นอย่าง
จริงจัง ในไม่กเี่ ดือน ถัดมาได้มีการเคลื่อนกำลังทหารราบปกติ ทหารราบ
ภูเขา และหน่วยเชิ้ตดำ รวม 8 หน่วย เข้ามาในเอริเทรีย และส่งกำลัง
ทหารราบปกติ 4 หน่วยเข้ามาประจำการในโซมาลีแลนด์ของอิตาลี ตัวเลข
ของทหารชุดดังกล่าวมีรวม 680,000 คน โดยยังไม่ได้นับรวมกับทหาร
อิตาลีที่ประจำการในแอฟริกาตะวันออก กองทหาร อาณานิคม และ
จำนวนทหารที่เสริมกำลังเข้ามาระหว่างสงคราม เช่น ในเอริเทรียมีทหาร
อิตาลีอยู่แล้ว 400,000 คน และในโซมาลีแลนด์ของอิตาลี 220,000 คน
ก่อนหน้าจะมีการส่งกำลังเสริมเข้ามา เป็นต้น กองทัพขนาดใหญ่ ที่จัดตั้ง
ขึ้นในแอฟริกาตะวันออกนี้ยังมีหน่วยลำเลียงและหน่วยสนับสนุนจำนวน
307/665

มาก นอกจากนี้ยังมีนักข่าวสงครามของอิตาลีรวมอยูใ่ นกองทัพด้วยอีก


200 คน
วันที่ 28 มีนาคม 1935 พลเอกเอมิลิโอ เด โบโน ได้รับการแต่งตั้ง
เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพอิตาลีในแอฟริกาตะวันออกทั้งหมด
นอกจากนี้ เด โบโน ยังเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพในแนวรบด้าน
เหนือ ซึ่งรุกเข้ามาทางด้านเอริเทรียด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง กองทัพของเขา
ควบคุมหน่วยรบจำนวน ทั้งหมด 9 กองพล จาก 3 กองทัพน้อย อัน
ได้แก่ กองทัพน้อยอิตาลีที่ 1 กองทัพน้อยอิตาลีที่ 2 และกองทัพน้อยเอริ
เทรีย
พลเอกโรดอลโฟ กราซีอานีเป็นผู้ช่วยของเด โบโน โดยดำรง
ตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพในแนวรบด้านใต้ ซึ่งรุกเข้ามาทาง
ด้านโซมาลีแลนด์ ของอิตาลี ในชั้นต้นนั้น กราซีอานีคุมหน่วยรบ 2
กองพล และหน่วยรบขนาดย่อยอื่นๆ อีกจำนวนมาก ประกอบด้วยทหาร
จากหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี โซมาลี เอริเทรีย ลิเบีย และ
ชาติอื่นๆ เด โบโน ถือว่าโซมาลีแลนด์ ของอิตาลีเป็นยุทธบริเวณรองที่
จำเป็นต้องป้องกันตัวเองในชั้นต้น และอาจจะช่วยกองทัพหลักในการรุก
ได้หากกองกำลังฝ่ายศัตรูมีขนาดไม่ใหญ่นัก
เมื่อเริ่มต้นการบุกนั้น เครื่องบินของกองทัพอากาศอิตาลีได้บิน
กระจาย ไปทั่วประเทศเอธิโอเปียเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนต่อต้าน
จักรพรรดิเฮลี เซลาสซี และสนับสนุนอียาซูที่ 5 (Iyasu V of
308/665

Ethiopia) เป็น “จักรพรรดิที่แท้จริง” ขณะนั้นอียาซูที่ 5 (อดีตจักรพรรดิ


ของเอธิโอเปียผู้ไม่เคยได้รับการราชาภิเษกในระหว่างปี 1913-1916) มี
อายุ 40 ปี และถูกถอดจากตำแหน่งจักรพรรดิมาเป็น เวลาหลายปีแล้ว
แต่ยังคงถูกฝ่ายอำนาจรัฐจำคุกอยู่
ด้วยการโจมตีทไี่ ม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จักรพรรดิเฮลี เซลาสซี จึงมี
พระราช โองการให้ระดมกำลังพลทั่วประเทศ กองทัพแห่งจักรวรรดิเอธิโอ
เปียสามารถระดมทหารได้ประมาณ 500,000 คน โดยมากทหารเหล่านี้ไม่
มีอาวุธใดๆ นอกจากหอกหรือธนู ทหารจำนวนหนึ่งมีอาวุธสมัยใหม่รวม
ทั้งปืนไรเฟิล แต่ส่วนมากเป็นปืนรุ่นเก่าก่อนปี 1900 ซึ่งล้าสมัยมาก
จากการประเมินโดยฝ่ายอิตาลี ช่วงก่อนหน้าการเปิดสงครามนั้นเอธิ
โอ เปียมีกองทัพซึ่งมีกำลังพลราว 350,000-760,000 คน แต่มีเพียง 1 ใน
4 ของ กำลังพลดังกล่าวทีไ่ ด้รับการฝึกฝนตามวินัยทหาร และมีปืนไรเฟิล
เพียง 400,000 กระบอกเท่านั้น โดยนับรวมจากปืนไรเฟิลทุกชนิดและอยู่
ในทุกสถานะ
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว กองทัพเอธิโอเปียมีอาวุธประจำการในระดับ
ย่ำแย่ มาก กองทัพดังกล่าวมีเพียงปืนใหญ่สนามที่ล้าสมัยราว 200
กระบอก ปืนใหญ่ ต่อสู้อากาศยานทั้งชนิดเบาและชนิดหนักประมาณ 50
กระบอก (ประกอบด้วย ปืน Oerlikon ขนาด 20 มม., ปืนใหญ่ชไน
เดอร์ และปืนใหญ่วิคเกอร์ส ขนาดกระสุน 75 มม.) สำหรับยานพาหนะ
309/665

ประกอบด้วยรถรบหุ้มเกราะยี่ห้อฟอร์ดและรถถังเฟียต 3000 ซึ่งเป็นรุ่นที่


ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1เพียงจำนวนเล็กน้อย
ผลของสงครามที่เกิดขึ้นมาครั้งนี้ สันนิบาตชาติได้ประกาศว่าอิตาลี
เป็นผู้รุกราน แต่ก็ไม่สามารถลงโทษอิตาลีได้แต่อย่างใด
สงครามดำเนินไปอย่างเชื่องช้า แม้ว่าฝ่ายอิตาลีจะมีกำลังคนและ
อาวุธ ที่ดีกว่า (รวมไปถึง แก๊สมัสตาร์ด) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1936
กองทัพอิตาลีได้รับชัยชนะเด็ดขาดในสงครามที่ยุทธการเมย์ชวิ จักรพรรดิ
ฮาลี เซลาสซี ได้หลบหนีออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม
สามารถยึดเมืองหลวงเอดิส อบาบา ได้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม และอิตาลี
สามารถยึดครองได้ทั้งประเทศเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม และรวมเอาเอริเทรี
ย เอธิโอเปียและโซมาลีแลนด์เข้าด้วยกันเป็นรัฐเดี่ยว เรียกว่า แอฟริกา
ตะวันออกของอิตาลี
310/665

เฮลี เชลาสชี (Haile Selassie)ผู้นำประเทศเอธิโอเปียระหว่างปี 1930-1974

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1936 จักรพรรดิฮาลี เซลาสซีได้กล่าว


สุนทรพจน์ ต่อสันนิบาตชาติประณามการกระทำของอิตาลีและ
วิพากษ์วิจารณ์ประเทศอื่นทีไ่ ม่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ พระองค์ได้เตือนว่า
“วันนี้เป็นคราวของเรา แต่มันจะถึงคราวของท่านเมื่อถึงวันพรุ่งนี้” และจาก
การที่สันนิบาตชาติกล่าวโจมตีอิตาลี มุสโสลินีจึงประกาศให้อิตาลีถอนตัว
ออกจากความเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ
เยอรมนีถอนตัวจาก
311/665

การประชุมลดกำลังอาวุธและสันนิบาตชาติ
เรื่องนี้เริ่มจากเยอรมนีโดยฮิตเลอร์สั่งถอนผู้แทนออกจากการประชุม
ลดกำลังและอาวุธและจากสันนิบาตชาติ โดยให้เหตุผลว่า ฝรั่งเศสกีดกัน
และไม่ยอมให้เยอรมนีเสริมสร้างอาวุธได้เท่าเทียมประเทศอื่นๆ โดย
อังกฤษและอิตาลีแสดงท่าทีเห็นใจเยอรมนี และเพื่อผ่อนคลายบรรยากาศ
ลงเยอรมนีก็ได้ยอมลงนามในสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันกับโปแลนด์เป็น
เวลา 10 ปี ผลทีเ่ กิด ขึ้นนีท้ ำให้อังกฤษมองว่าฮิตเลอร์นั้นใฝ่สันติและควร
ได้รับความไว้วางใจ
เหตุการณ์รุนแรงในออสเตรีย
และการเริ่มสั่งสมอาวุธของเยอรมนี
กรกฎาคม 1934 เกิดความวุ่นวายขึ้นในออสเตรีย โดยฮิตเลอร์
สนับสนุน ให้นาซีออสเตรียสังหารนายกรัฐมนตรีออสเตรียเสีย แต่ปรากฏ
ว่าเมื่ออิตาลีเคลื่อนทัพเข้าประชิดพรมแดนออสเตรีย ก็ได้ออกมาเตือน
เยอรมนีไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยว ฮิตเลอร์เข้าใจดีว่าเยอรมนียังไม่พร้อมที่จะทำ
สงครามดังนั้นจึงรีบออก มาปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการกระทำของนาซี
ออสเตรีย ปี 1935 แคว้นซาร์ได้มกี ารลงประชามติว่าจะกลับมาเป็น
ส่วนหนึ่งของเยอรมนี ปลายปีนั้นเองฮิตเลอร์ก็ประกาศเพิ่มกำลังทหารเป็น
600,000 คนทันที
อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ได้ร่วมการประณามการละเมิดสิทธิตาม
สนธิสัญญาแวร์ซายส์ของเยอรมนี แต่กไ็ ม่มีการลงโทษ ที่สำคัญเยอรมนี
312/665

ยังสามารถทำข้อตกลงกับอังกฤษเพื่อเพิ่มกองกำลังทัพเรือได้อีกในเดือน
มิถุนายน 1935 เท่ากับอังกฤษยอมรับการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ของ
ฮิตเลอร์แล้วนั้นเอง ทำให้เยอรมนีฉวยโอกาสเสริมกำลังครั้งใหญ่อย่าง
ต่อเนื่อง ปลายปี 1938 กองทหารเยอรมนีก็มีกำลังพลถึง 51 กองพล
ประมาณ 800,000 คน และมีกองหนุนและเรือรบ เรือลาดตระเวน และ
เรือพิฆาตรวมกันถึง 21 ลำ มีเรือดำน้ำถึง 47 ลำ และมีกำลังเครื่องบินถึง
2,000 กว่าลำ
การส่งทหารเข้าไรน์แลนด์ ในเดือนมีนาคม 1936
เมื่อบุกเข้าไรน์แลนด์ทั้งที่ไม่มีสิทธิและฝ่ายสัมพันธมิตรกลับวางเฉย
ไม่ได้ออกมาต่อต้าน ผลที่เกิดขึ้นมานี้ทำให้มสุ โสลินีแห่งอิตาลีเริ่มมองว่า
ฝ่ายสัมพันธมิตรอ่อนแอโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส มุสโสลินีเริ่มหัน
มาหาและสร้างสัมพันธ์กับฮิตเลอร์ โดยทั้งสองฝ่ายได้เริ่มสถาปนาแกนร่วม
อักษะ โรม-เบอร์ลิน ขึ้นมาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1936 ไม่เพียงเท่านั้นใน
เวลาต่อมาฮิตเลอร์ ก็ได้ไปลงนามในสนธิสัญญาเยอรมนี-ญี่ปุ่น ในวันที่
25 พฤศจิกายน 1936 อีก แม้กติกาที่กำหนดไว้คือให้ความร่วมมือในการ
ต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่แท้จริงก็คือการขยายแนวร่วมอักษะโรม-เบอร์ลิน
นั้นเอง
สงครามกลางเมืองสเปน
สงครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) เป็นการรบใน
ประเทศสเปน ที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้าน
313/665

สาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ “ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ” ประกอบด้วยกลุ่ม


มัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวคาตาลันและชาว
บาสก์ทหี่ ัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ “ฝ่ายชาตินิยม” ที่เป็นฝ่าย
ก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสต์ พวกคาทอลิกหัวเก่า
และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสอง
ฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ ฝ่าย
นิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนฝ่าย ชาตินิยมดึงพวก
ฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี สงครามครั้งนีถ้ ูกมองว่าเป็นสงคราม
ตัวแทนระหว่างสองลัทธิ คือ คอมมิวนิสต์ และฟาสซิสต์
สเปนได้พบกับระบอบการปกครองหลายรูปแบบมาตั้งแต่สมัย
ระหว่างสงครามนโปเลียนในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการปะทุ
ของสงคราม กลางเมือง ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 19
สเปนอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็
ถูกโจมตีจากหลายทิศทาง สาธารณรัฐสเปนที่ 1 จึงเกิดขึ้นในปี 1873 แต่
มีอายุสั้นมาก
ลัทธิราชาธิปไตยได้กลับคืนมาอีกครั้ง ภายใต้การปกครองของ
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 1887 - 1931 แต่หลังจากปี
1923 เป็นต้นมา สเปนก็อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการของมิกูเอล พรีโม ดี ริ
เวอร์รา ภายหลังจากที่เขาถูกล้มล้างในปี 1930 ราชวงศ์สเปนก็ไม่อาจ
รักษาอำนาจของตนไว้ได้ และสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ก็ถือกำเนิดขึ้นมาในปี
314/665

1931 รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนมาจากพวกหัวซ้ายและพวกสายกลาง
และกฎหมายปฏิรูปหลายฉบับก็ถูกผ่านออกมา อย่างเช่น กฎหมายว่าด้วย
การแบ่งปันที่ดินแห่งปี 1932 ซึ่งเป็นการแจกจ่ายดินแดนให้กับชาวนาที่
ยากจน ชาวสเปนกว่าล้านคนมีชีวิตอยูใ่ นสภาพถูกปกครองจากเจ้าของ
ที่ดินในลักษณะของกึ่งศักดินา การปฏิรูปหลายอย่างและการห้ามศาสนา
เข้ามามีส่วนทางการเมือง รวมทั้งการตัดกำลังทางทหารและการปฏิรูป ทำ
ให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก
ย้อนกลับมาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1931 สเปนได้มกี ารประกาศใช้รัฐ
ธรรม- นูญฉบับใหม่ โดยมีเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเสรีภาพและการ
แสดงความคิดเห็น ของประชาชน แต่ว่ามีการกีดกันพวกคาทอลิกอย่าง
รุนแรง ซึ่งเป็น กลุ่มทีค่ ัดค้าน ต่อการก่อตั้งรัฐประชาธิปไตยเป็นส่วนใหญ่
รัฐธรรมนูญดังกล่าว ยังจัดให้ประ ชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง และการแบ่งแยก
ศาสนาออกจากการ เมืองอย่างสมบูรณ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับ
มอบอำนาจให้แก่รัฐบาลในการแทรกแซงกิจการของศาสนาได้ รวมไปถึง
การห้ามมีการสอนศาสนาในโรงเรียนเอกชน การริบทรัพย์สินบางประการ
ของคริสตจักร และการสั่งยุติลัทธิเยซูอิต โดยสรุปก็คือรัฐบาลสเปนที่มา
จากการปฏิวัติแห่งปี 1931 เป็นรัฐบาล ที่ต่อต้านศาสนาอย่าง จริงจัง
315/665

นายพล ฟรานซิสโก ฟรังโก โค่นล้มรัฐบาลฝ่ายซ้ายกรณีสงครามกลางเมืองในสเปน ถือกันว่าเป็น


ปัจจัยหนึ่งที่โหมโรงสงครามโลกให้เจริญรอยตาม

ไม่เพียงแต่จะมีการสนับสนุนการก่อตั้งลัทธิใหม่ขึ้นมาเท่านั้น แต่การ
ทำให้ เกิดการแบ่งแยกระหว่างการ เมืองกับศาสนาทำให้มกี ารต่อ ต้าน
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 1933 สมเด็จพระ
สันตะปาปาปิอุส ที่ 11 ได้ติเตียนการกีดกันเสรีภาพของรัฐบาลสเปน และ
316/665

การยึดทรัพย์สินของคริสต-จักรและโรงเรียนสอนศาสนาต่างๆ ผ่านทาง
จดหมายที่ท่านส่งมา
ตั้งแต่พวกหัวซ้ายจัดได้พิจารณาแล้วเห็นว่าทิศทาง ของการต่อต้าน
ศาสนาตามรัฐธรรมนูญนั้นกลายเป็นเรื่อง ทีไ่ ม่อาจยอมรับได้อีกต่อไป จึง
มีผใู้ ห้ความเห็นออกมาว่า “สาธารณรัฐในฐานะของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ
นั้นถึงคราวล่มสลายมาตั้งแต่เริ่มแรก” พวกเขา ยังบอกอีกด้วยว่าการ
เผชิญหน้ากันในฐานะคู่ปฏิปักษ์กันจะนำไปสู่สาเหตุที่นำ ไปสู่การล้มสลาย
ของระบอบประชาธิปไตยและการปะทุของสงครามกลางเมือง
ผู้ที่เข้าร่วมทั้งในการรบและตำแหน่งที่ปรึกษาในสงครามกลางเมือง
สเปน จำนวนมากนั้นไม่ใช่พลเมืองชาวสเปน รัฐบาลต่างชาติจำนวนมากได้
ให้การสนับสนุนทางการเงินและการทหารจำนวนมากให้แก่จอมทัพ ฟราน
ซิสโก ฟรังโก ส่วนฝ่ายที่อยู่ข้างเดียวกับสาธารณรัฐสเปนที่ 2 กลับได้รับ
การสนับสนุนเพียงเล็ก น้อยและถูกขัดขวางอย่างร้ายแรงจากการสั่งห้าม
ขนส่งอาวุธที่สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสประกาศขึ้น
อย่างไรก็ตาม การประกาศ สั่งห้ามขนส่งอาวุธนั้นก็ไม่ได้ประสบ
ความสำเร็จมากมายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลฝรั่งเศสต้องออกมา
รับผิดชอบต่อ การทีป่ ล่อยให้เรือสัญชาติฝรั่งเศสขนอาวุธไปให้ฝ่าย
สาธารณรัฐได้ ถึงแม้ว่าอิตาลีจะออกมาเรียกร้องฝรั่งเศส แต่อิตาลีเองก็มี
ส่วนพัวพันต่อฝ่ายชาตินิยมอยู่มาก การกระทำการอย่างลับๆ ของหลาย
317/665

ชาติในทวีปยุโรปได้เป็นสัญญาณ ที่จะนำไปสู่สงครามอันยิ่งใหญ่อีกครั้ง
หนึ่ง
ทั้งสองประเทศฟาสซิสต์ คืออิตาลีภายใต้การนำของเบนิโต มุสโส-
ลินี และนาซีเยอรมนีภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ส่งทหาร
เครื่อง-บิน รถถัง และอาวุธเพื่อทำการสนับสนุนจอมทัพฟรังโก รัฐบาล
อิตาลีได้จัดหา “กองทหารอาสาสมัคร” และเยอรมนีได้ส่ง “กองพันนก
แร้ง” (Legion Condor) โดยอิตาลีได้ส่งทหารไปยังสเปนกว่า 75,000
นาย ส่วนเยอรมนีส่งทหารไป 19,000 นาย
สหภาพโซเวียตได้ให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายสาธารณรัฐด้วยการส่ง
ทรัพยากรมาให้ แต่ไม่เคยปรากฏว่ามีทหารโซเวียตมากกว่า 700 นายใน
สเปน เลย อาสาสมัครชาวโซเวียตมักจะขับเครื่องบินและขับรถถังที่ซื้อมา
จากรัฐบาล สเปน สเปนได้ขอแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือของโซเวียตนี้
ด้วยทองคำสำรองอย่างเป็นทางการของธนาคารแห่งสเปน ซึ่งทำให้ได้รับ
ความช่วยเหลือตอบแทน แต่ทว่าเป็นการขายโก่งราคาของสหภาพโซเวียต
โดยมูลค่าความช่วยเหลือทีไ่ ด้รับมาจากสหภาพโซเวียตคิดเป็น 500 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าทองคำสำรองของสเปนเมื่อ
สงครามเริ่มต้น
สาธารณรัฐเม็กซิโกได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลสเปนอย่างเต็มที่ใน
สงครามกลางเมืองครั้งนี้ด้วย เม็กซิโกยังปฏิเสธนโยบายไม่แทรกแซง
กิจการภายในของอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเม็กซิโกก็สามารถจับได้ว่าทั้งสอง
318/665

ก็แอบให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายกบฏเช่นเดียวกัน ตรงกันข้ามกับ
สหรัฐอเมริกา เม็กซิโกมิได้มีความรู้สึกว่าตนวางตัวเป็นกลางระหว่าง
รัฐบาลและสภาทหารนั้นเป็นนโยบายที่ถูกต้อง ท่าทีของเม็กซิโกทำให้
ฝ่ายรัฐบาลมีความหวังมากขึ้น หลังจากประเทศกลุ่มละตินอเมริกัน
ส่วนใหญ่ทางแถบอเมริกาใต้ซึ่งมีท่าทีเปิดเผยน้อยกว่า แต่ว่าการช่วยเหลือ
ของเม็กซิโกทำได้เพียงน้อยนิดเท่านั้น เนื่องจากมีการปิดพรมแดน
ฝรั่งเศส-สเปน ทำให้ฝ่ายชาตินิยมสามารถหายุทโธปกรณ์เพิ่มเติมได้ตาม
ปกติ โดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้
อย่างไรก็ตาม เม็กซิโกก็ยังสามารถส่งวัตถุดิบมาสนับสนุนฝ่ายสาธาร
ณ- รัฐได้ รวมไปถึงส่งเครื่องบินอย่างเช่น เบลแลนกา ซีเอช-300 และ
สปาร์ตัน ซูส ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ประจำการอยู่ในกองทัพอากาศเม็กซิโก
ไอร์แลนด์เป็นเพียงประเทศเดียวที่มีอาสาสมัครสนับสนุนฝ่าย
ชาตินิยม มากกว่าฝ่ายสาธารณรัฐ ถึงแม้ว่ารัฐบาลไอร์แลนด์จะประกาศว่า
การที่ผู้ใดมีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้จะเป็นการผิดกฎหมายก็ตาม แต่ว่ามี
ชาวไอริชประมาณ 250 คนที่จากบ้านเกิดไปเพื่อรบให้กับฝ่ายสาธารณรัฐ
และพวกเสื้อฟ้าอีกประมาณ 700 คนที่ไปรบให้กับฝ่ายชาตินิยม
อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเสื้อฟ้ามาถึงสเปน พวกเขากลับไม่ยอมรบกับ
พวก แบ็คซให้กับฝ่ายชาตินิยม เนื่องจากมองเห็นถึงความเหมือนกัน
ระหว่างการดิ้นรนของพวกเขากับความทะเยอทะยานของพวกแบ็คซ
พวกเขายังเห็นว่าฟรังโกนั้นสู้เพื่อปกป้องลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่ มากกว่าจะ
319/665

เป็นการป้องกันบูรณภาพ แห่งดินแดนสเปน พวกเสื้อฟ้าทำการรบได้ไม่


นานก็ต้องถูกส่งตัวกลับประเทศ หลังจากที่พวกเขาถูกยิงโดยทหารฝ่าย
ชาตินิยมด้วยกันเอง
สงครามกลางเมืองของสเปนครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นนับจากวันที่ 17
กรกฎาคม 1936 และไปสิ้นสุดเอาในวันที่ 1 เมษายน 1939 โดยผลลัพธ์
คือฝ่ายชาตินิยมได้รับชัยชนะ ล้มล้างสาธารณรัฐสเปนที่ 2 และสเปน
เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นฟาสซิสต์
สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในปี 1937 เมื่อญี่ปุ่นเข้าตีจีนจาก
ดินแดนแมนจูกัว
สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมากลายเป็น
ส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 การรุกรานเริ่มต้นขึ้นเมื่อฝ่ายญี่ปุ่นส่ง
เครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าทำลายหัวเมืองหลายแห่ง เช่น เซี่ยงไฮ้ หนานจิงและ
กว่างโจว และท้ายสุด เมื่อวันที่ 22 และ 23 กันยายน 1937 ได้มีการยื่น
คำร้องประท้วง และลงเอยด้วยการลงมติของคณะกรรมการการข่าว
ภาคพื้นตะวันออกไกลของสันนิบาตชาติ
ผลที่ตามมา กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นสามารถยึดเมืองหลวงของจีน
คือ นานกิง และกระทำความโหดร้ายทารุณ เป็นต้นว่า การสังหารหมู่ที่นา
นกิง
320/665

การผนวกออสเตรีย
เข้ากับเยอรมนี ซึ่งเรียกว่าอันชลุสส์
วันที่ 11 มีนาคม 1938 ฮิตเลอร์ได้บีบบังคับให้ ดร.คูร์ท ฟอน
ชุชนิกก์ นายกรัฐมนตรีออสเตรียลาออก แล้วกองทัพของเยอรมนีกบ็ ุก
ออสเตรียในวัน
321/665

ฮิตเลอร์โบกมือให้ฝูงชนที่สนันสนุนหลังจากนายกฯ ออสเตรียประกาศรวมประเทศเข้ากับเยอรมนี
อย่างเป็นทางการ (Anschluss) เมื่อ 14 มีนาคม 1938

ต่อมา และวันเดียวกันนี้ (12 มีนาคม) ประธานาธิบดีมคิ ลาส ของ


ออสเตรียก็ลาออกอีก ในวันต่อมา ดร.อาร์ทูร์ ฟอน ไซส์-อินควาร์ท ซึ่ง
ได้รับการสนับสนุน จากฮิตเลอร์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีกป็ ระกาศรวม
322/665

ออสเตรียเข้ากับเยอรมนีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคม อังกฤษ


และฝรั่งเศสออกมาคัดค้านแต่ก็ไม่มีกำลังอะไร ที่จะมาบังคับได้
วิกฤตการณ์เชคโกสโลวาเกีย
เยอรมนีต้องการรวมแคว้นสุเดเทนของเชคโกสโลวาเกีย ซึ่งมี
พลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมนี ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศ
ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นในเดือนกันยายน 1938 จนยากที่จะหลีกเลี่ยง
สงครามได้แล้ว แต่แล้ว อังกฤษและฝรั่งเศสก็ยินยอมให้เยอรมนีผนวก
แคว้นสุเดเทนได้ ตามข้อตกลงในการประชุมที่เมืองมิวนิค ในวันที่ 29
เดือนกันยายน 1938 ซึ่งเท่ากับยินยอม ให้เยอรมนีผนวกส่วนที่เหลือขอ
งเชคโกสโลวาเกียทั้งหมด แม้ว่าในการประชุมนี้เยอรมนีจะยอมรับว่าจะ
รักษาบูรณภาพของส่วนที่เหลือของเชคโกสโลวาเกีย แต่สุดท้ายฮิตเลอร์ก็
ไม่รักษาคำมั่นสัญญา ต่อมาเชคโกสโลวาเกียก็ตกอยู่แก่เยอรมนีทั้งหมด
การยึดครองเชคโกสโลวาเกียทั้งหมดได้โดยไม่มีการต่อต้านด้วย
กำลังจากอังกฤษและฝรั่งเศสทำให้มสุ โสลินีเลียนแบบฮิตเลอร์ ในเดือน
เมษายน 1939 กองทัพของอิตาลีก็เข้ายึดครองอัลเบเนียอย่างสะดวกสบาย
ท่าทีอันก้าวร้าวของ ฝ่ายอักษะนีย้ ิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความอ่อนแอของฝ่าย
ประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ฮิตเลอร์จึงไม่เกรงกลัวอะไรอีกต่อไป
ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง เขาจึงประกาศบุกโจมตีโปแลนด์ อันเป็น
จุดเริ่มต้นแท้จริงของสงครามโลกครั้งที่ 2
323/665

เพื่อให้เราได้มองเห็นภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมานี้ชัดยิ่งขึ้น จำเป็น
ที่จะต้องหันมาดูนโยบายการต่างประเทศของมหาอำนาจประชาธิปไตยกัน
บ้าง
อันที่จริงแล้วปัญหาของความอ่อนแอของบรรดาประเทศมหาอำนาจ
ประชาธิปไตยนั้นมาจากนโยบายที่ขัดแย้งกันเองอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่
ได้มกี ารมาทำความตกลงกันอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อครั้ง
ทีฝ่ รั่งเศสยกทัพ เข้ายึดแคว้นรูห์ ในปี 1923 นั้น อังกฤษไม่เห็นด้วย
ทั้งนี้เพราะผลที่ติดตามมานั้นก็คือทำให้เยอรมนี มีข้ออ้างที่จะไม่จ่าย
ค่าปฏิกรรมสงคราม
ขณะที่ในเรื่องของการลดอาวุธและกำลังทหารนั้นก็ขัดแย้งกัน
อังกฤษได้ยอมให้เยอรมนีมีกำลังทางเรือ 35% ของกองเรืออังกฤษ ทำให้
ฝรั่งเศสไม่พอใจอย่างมากทั้งนี้เพราะฝรั่งเศสไม่ต้องการให้เยอรมนีมีอาวุธ
และกำลังมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อตกลงของสันนิบาตชาติ
นอกจากนั้นนโยบายผ่อนปรนของอังกฤษและฝรั่งเศสต่อประเทศ
มหาอำนาจอักษะก็ดูจะเป็นปัญหา ทั้งนี้เพราะฝรั่งเศสและอังกฤษคิดว่า
หากยอมผ่อนปรนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วอาจจะนำมาสู่สันติภาพได้ แต่
ความจริงแล้ว ยิ่งผ่อนปรนก็ยิ่งทำให้อีกฝ่ายเห็นว่าแท้จริงฝ่ายที่ผ่อนปรน
นั้นไม่มีอำนาจที่แท้จริงแล้ว
นโยบายคัดค้านคอมมิวนิสต์ของฮิตเลอร์ทำให้อังกฤษพอใจ จึง
พยายาม วางตัวเป็นกลางต่อกรณีต่างๆ ที่ฮิตเลอร์ปฏิบัติ
324/665

อังกฤษยังอยากวางตัวเป็นกลางและไม่ต้องการให้สงครามโลกครั้ง
ใหม่ เกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะรู้ว่าหากเกิดสงครามใหญ่อีกครั้งครานี้จะหนัก
กว่าครั้งที่ผ่าน มา กระนั้นแม้รู้ว่าเยอรมนีกำลังสั่งสมกำลังทหารและอาวุธ
แต่อังกฤษก็ยังวาง นิ่งเฉยอยู่
วินสตัน เชอร์ชิล ซึ่งเวลานั้นยังไม่มีอำนาจพอพยายามเตือนรัฐบาล
อังกฤษให้เตรียมสั่งสมกำลังทหารได้แล้ว แต่นายกรัฐมนตรีแชมเบอร์เลน
ก็ยังคงรักษานโยบายผ่อนปรนต่อไปเรื่อยๆ ในปี 1938
ฝ่ายฝรั่งเศสนั้น ไม่พอใจต่อนโยบายของพรรคนาซี แต่กไ็ ม่กล้า
ตัดสินใจ ทำอะไรลงไปถ้าอังกฤษไม่ให้ความสนับสนุนด้วย ฮิตเลอร์เข้าใจ
ดีว่าฝรั่งเศส ยังไม่พร้อมที่จะทำสงคราม ทั้งนี้นอกจากอย่างที่กล่าวแล้ว
ฝรั่งเศสยังมีปัญหา เรื่องเสถียรภาพการเมืองภายในที่ขับเคี่ยวกันอย่าง
ต่อเนื่องระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ และขวาจัดคือพรรคฟาสซิสต์ ดังนั้น
เมื่อเยอรมนีเข้ายึดไรน์แลนด์ ในปี 1936 ฝรั่งเศสจึงไม่อาจที่จะทำอะไรได้
มากกว่ายินยอมให้เยอรมนีทำลงไป
สงครามโลกครั้งที่ 2 เปิดฉากยอมรับกันแท้จริงเมื่อเยอรมนียกทัพ
บุกโปแลนด์ในวันที่ 1 กันยายน 1939 จำเป็นอย่างยิ่งทีเ่ ราจะต้องย้อน
กลับไปดูถึงสาเหตุของสงครามในครั้งนี้กันก่อน
ชนวนทีน่ ำไปสู่การบุกโจมตีโปแลนด์ คือ ปัญหาเรื่องเมืองดานซิก
และแนวฉนวนโปแลนด์ ซึ่งอดีตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีมาก่อน แต่ก็
ต้องยอมสูญเสียไปตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เดือนเมษายน 1939 ฮิต
325/665

เลอร์เรียกร้องให้โปแลนด์คืนเมืองดานซิก และยินยอมให้เยอรมนีสร้าง
ถนนและทางรถไฟข้ามฉนวนโปแลนด์ แม้ว่าข้อเรียกร้องของฮิตเลอร์จะมี
น้ำหนัก เพราะพลเมืองส่วนใหญ่ของดานซิกเป็นชาวเยอรมนี แต่กรณีเชค
โกสโลวาเกีย เป็นตัวอย่างทีท่ ำให้ โปแลนด์ไม่ยอมเจรจากับฝ่ายเยอรมนี
ทั้งนี้เพราะกลัวว่าจะเป็นการยินยอมให้เยอรมนียึดครองโปแลนด์ทั้ง
ประเทศอย่างที่เคยทำกับเชคโกสโลวาเกียมาก่อน
โปแลนด์ได้รับการค้ำประกันจากอังกฤษว่าจะช่วยเหลือถ้าหากว่ามี
การ กระทำที่คุกคามต่ออิสรภาพของโปแลนด์ ดังนั้นจึงมีความเชื่อมั่นและ
กล้าแข็งขืนต่อข้อเรียกร้องของฮิตเลอร์
กระนั้นอีกด้านหนึ่งฮิตเลอร์ได้ลงนามในสนธิสัญญากับรัสเซียเมื่อ
วันที่24 สิงหาคม 1939 เรื่องการไม่รุกรานกันรวมไปถึงการตกลงแบ่ง
ดินแดนในโปแลนด์ ก็ยิ่งทำให้ฮิตเลอร์เชื่อมั่นว่าหากเข้าโจมตีโปแลนด์ได้
อังกฤษและฝรั่งเศสจะไม่กล้าเข้าแทรกแซง
ดังนั้นเมื่อโปแลนด์ปฏิเสธข้อเรียกร้องเยอรมนีจึงยกทัพบุกโปแลนด์
ทันที 1 กันยายน 1939 อังกฤษยื่นคำขาดให้เยอรมนีออกจากโปแลนด์
โดยมีเส้นตาย กำหนดคือเวลา 11.00 น. ของวันที่ 3 กันยายน ปรากฏว่า
เยอรมนีไม่ยอมถอน ทัพตามกำหนด ดังนั้นอังกฤษจึงต้อง
ประกาศสงครามกับเยอรมนี และหลังจาก นั้นไม่นานเมื่ออังกฤษ
ประกาศสงครามแล้วฝรั่งเศสก็ประกาศสงครามติดตามมา นับเป็นการ
เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ---
6

ความสัมพันธ์ก่อนสงครามจะระเบิด
ขึ้น
นับเป็นประเด็นที่ต้องมาทำความเข้าใจกันอีกสักนิด ในกรณีของ
ความสัมพันธ์ในระหว่างบรรดาประเทศมหาอำนาจของยุโรปและบางชาติ
ที่เข้าร่วม ในสงครามในครั้งนี้
โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในกลุ่มอักษะ ที่ในระยะแรกนั้นมีเยอรมนี
และอิตาลีเป็นประเทศหลัก ต่อมาก็มีญี่ปุ่น และช่วงแรกเริ่มของสงครามก็
ยังมีโซเวียตอยู่ด้วย
ขณะที่ฝ่ายมหาอำนาจประชาธิปไตยนั้นแท้จริงแล้วมีเพียงประเทศ
หลัก อยู่เพียง 2 ชาติ นั้นก็คือ อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งก็คือกลุ่ม
สัมพันธมิตรเดิมจาก สงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นเอง แต่ในเวลาต่อมาเมื่อ
รัสเซียเกิดปัญหากับเยอรมนี ก็ได้ประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร
327/665

และต่อมาอีกอเมริกาก็กระโดดเข้ามาร่วมในการทำสงครามในครั้งนี้ด้วย
จนกระทั่งฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะในสงครามครั้งนี้ได้
ความสัมพันธ์ของฝ่ายอักษะ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา บรรดาการปกครองในประเทศ
ต่างๆ ของมหาอำนาจตะวันตกเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง นั่นคือหลังจากที่
รัสเซียเกิดการปฏิวัติและเปลี่ยนมาเป็นประเทศที่ปกครองภายใต้พรรค
คอมมิวนิสต์ขึ้น บรรดาชาติต่างๆ ในยุโรปเกิดความเกรงกลัวว่า ลัทธิ
คอมมิวนิสต์จะแพร่หลาย เข้าไปเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศของ
ตัวเอง ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศส ในฐานะประเทศประชาธิปไตยต้องตั้งมั่น
และประกาศตัวเป็นมหาอำนาจประชาธิปไตยขึ้นมา
กระนั้น ด้วยภาวะของความตกต่ำทางเศรษฐกิจที่เกิดกระจายตัวกัน
ทั่วทุกประเทศในแถบ ยุโรปเวลานั้น ทำให้แต่ละชาติจำเป็นที่จะต้องหันเข้า
มาหาตัวเองและต้องใช้ทุกวิธีทางในการ รักษาเสถียรภาพทางการเมืองการ
ปกครองและเศรษฐกิจของชาติให้อยู่รอดให้ได้
เยอรมนี คือชาติแรก ที่ต้องจัดการกับตัวเองให้เข้มแข็งให้มากที่สุด
ทั้งนี้เพราะนอกเหนือจากเศรษฐกิจที่ตกต่ำไปทั่วโลกแล้วเยอรมนีก็ได้รับ
ผล กระทบอย่างมากจากผลของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ทที่ ำให้เยอรมนีต้อง
มีค่าใช้จ่าย และ สูญเสียแผ่นดินอีกหลายส่วนไป
ประชาชนชาวเยอรมนีที่ไม่พอใจการบีบคั้นของชาติชนะสงครามต่าง
พยายามและหาทางป้องกันตัวเองด้วยการแสดงความรักชาติมากยิ่งขึ้น
328/665

กระทั่งสุดท้ายทำให้เกิดกลุ่มเผด็จการฝ่ายขวาชาตินิยมในนามพรรคนาซี
ขึ้นมา ซึ่งนำโดยฮิตเลอร์
แต่ถึงอย่างไร แม้ว่าเยอรมนีจะใช้ความพยายามทุกวิธที างแต่ด้วย
ความ เป็นผูป้ ราชัยในสงครามครั้งยิ่งใหญ่ทำให้เยอรมนียังกลายเป็น
ประเทศโดดเดี่ยวด้านความสัมพันธ์อยู่นั่นเอง การเกิดผู้นำเผด็จการขึ้นมา
ในประเทศมีข้อดี อย่างหนึ่งนั้นคือผู้นำสามารถมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จใน
การที่จะนำพาประเทศ ชาติเพื่อก้าวไปให้พ้นจากความทุกข์เข็ญ
แน่นอนที่สุดว่า เมื่อระบอบเผด็จการฝ่ายขวาเกิดขึ้นย่อมมีความคิด
แตกต่างจากเผด็จการฝ่ายซ้ายอย่างโลกคอมมิวนิสต์ ดังนั้นในระยะแรก
เยอรมนีโดยการนำของฮิตเลอร์จึงประกาศการต่อต้านคอมมิวนิสต์กับชาติ
อื่นๆ ด้วย
ขณะทีใ่ นอิตาลี ซึ่งในอดีตนั้นก็เป็นหนึ่งในประเทศสัมพันธมิตรที่
ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1 มา แต่ก็ยังต้องประสบปัญหาจากภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ำ ด้วย เมื่อมุสโสลินีก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของอิตาลี มุสโสลินี
เป็นหัวหน้าพรรคฟาสซิสต์ ซึ่งก็คือพรรคเผด็จการฝ่ายขวาของอิตาลี ใน
ระยะแรกอิตาลีกย็ ังไม่ได้สนใจเยอรมนีมากนัก ทั้งนี้เพราะถึงอย่างไรก็ยัง
จับมือกันเหนียวแน่นกับบรรดาประเทศประชาธิปไตยอยู่
329/665

Molotov Vyacheslav Mikhaylovich นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียตลงนามสนธิสัญญา


ไม่รุกรานต่อกันระหว่างนาซีและโซเวียต (Nazi-Soviet nonaggression pact)

แต่ภายหลังจากที่อังกฤษและฝรั่งเศสต้องยินยอมผ่อนปรนต่อ
เยอรมนีในหลายกรณี อีกทั้งเมื่ออิตาลีมีความต้องการที่จะเข้ายึดเอธิโอ
เปียในเดือนตุลาคม 1935 เอธิโอเปียเป็นประเทศเอกราชประเทศสุดท้าย
ของแอฟริกามีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะวัตถุดิบด้านต่างๆ ทำให้
อิตาลีมีความต้องการที่จะเข้าไปแสวงหาประโยชน์ในประเทศนั้น มุสโสลินี
ไม่สนใจคำคัดค้านจากองค์การสันนิบาตชาติที่ลงโทษอิตาลีว่าเป็นผู้รุกราน
อีกทั้งเมื่อมีการลงโทษอิตาลีทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ก็ยิ่งเหมือน
เป็นการบีบอิตาลีมากยิ่งขึ้นแม้สุดท้ายแล้วอังกฤษจะยกกองทัพเรือเข้าสู่
330/665

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อขู่ขวัญแต่อิตาลีก็ไม่สนใจยังคงเข้ายึดเอธิโอเปีย
จนสำเร็จ
ประจวบกับในปี 1936 เยอรมนียกทัพเข้ายึดเขตไรน์แลนด์ โดยที่
อังกฤษ และฝรั่งเศสไม่อาจทำอะไรได้ อิตาลีกย็ ิ่งเห็นถึงความอ่อนแอของ
ฝ่ายมหา อำนาจประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น พร้อมกันก็เห็นถึงความเติบโต
และอำนาจของฮิตเลอร์มากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นอิตาลีจึงเริ่มหันเข้าหา
เยอรมนี โดยสุดท้ายมีการเปิดเจรจาและได้ร่วมลงนามในการสถาปนา
แกนร่วมโรม-เบอร์ลิน (Rome-Berlin Axis) ขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม
1936 นั้นเอง นับเป็นการจับมือของประเทศเผด็จการฝ่ายขวาขึ้นอย่าง
ชัดเจนและมั่นคง เป็นการรวมกลุ่มทาง การเมืองที่ประกาศต่อต้าน
ประชาธิปไตยนั่นเอง
เมื่อสงครามเอธิโอเปียสิ้นสุดลง สงครามกลางเมืองในสเปนก็เกิดขึ้น
กลุ่มชาตินิยมฝ่ายขวาทีม่ ีนายพลฟรังโกเป็นผู้นำ เข้ายึดการปกครองจาก
รัฐบาลฝ่ายซ้ายซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์ สงคราม
รุนแรงมากขึ้น พรรคนาซีของเยอรมนีและพรรคฟาสซิสต์ของอิตาลี ได้ส่ง
กำลังทหารและอาวุธเข้าช่วยเหลือนายพลฟรังโกทำการปฏิวัติ เช่นกัน
รัสเซียก็ได้เข้าช่วยเหลือรัฐบาลของสาธารณรัฐสเปน แต่ปรากฏว่ากลุ่ม
ประเทศมหาอำนาจตะวันตกหรือมหาอำนาจประชาธิปไตยกลับวางตัวเป็น
กลาง
331/665

สงครามในสเปนสิ้นสุดลงในเดือนมีนาคม 1939 กลุ่มชาตินิยมของ


นายพลฟรังโก สามารถเข้ายึดกรุงมาดริดได้ และเพราะการวางตัวเป็น
กลางของ มหาอำนาจประชาธิปไตยในครั้งนั้นเองทำให้กลุ่มอักษะหรือ
ฝ่ายขวาจัดได้แสดง ความสามารถในการสงครามสำเร็จ และประกาศถึง
ความยิ่งใหญ่และชัยชนะต่อพรรคคอมมิวนิสต์ในสงครามตัวแทนครั้งนี้
ขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยกลับไม่กล้าเสี่ยง
อย่างน้อยในเวลานั้นฝ่ายอักษะก็มี 3 ประเทศเผด็จการเข้าร่วมแล้ว
เยอรมนียังมีความต้องการญี่ปุ่นให้เข้ามาเป็นพันธมิตรด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะ
ได้เป็นกำลังเสริมในกลุ่มเผด็จการด้วย ทั้งนี้เพราะทั้งเยอรมนีและญี่ปุ่นมี
ลักษณะ ที่คล้ายกัน คือมีนโยบายที่คล้ายกันหลายด้าน เช่น การปกครอง
ในระบอบเผด็จการ ต่อต้านคอมมิวนิสต์รัสเซีย มีนโยบายขัดแย้งกับ
สันนิบาตชาติ เป็นต้น ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน 1936 ทั้งสองประเทศ
จึงได้ลงนามในข้อตกลงต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ (Anti-Comintern
Pact) และในปีต่อมาอิตาลีก็ได้เข้าร่วมด้วย
เรียกว่าสัมพันธภาพของฝ่ายขวาเกิดขึ้นมาอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว ที่
สำคัญดูเหมือนเวลานั้น โลกกำลังแบ่งออกเป็นสามฝ่ายอย่างชัดเจน นั่น
คือ
1. ฝ่ายประชาธิปไตยมีอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นหลัก ขณะทีอ่ เมริกา
อยู่อีกทวีปหนึ่งและประกาศเป็นกลางมาอย่างต่อเนื่อง
2. ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่มีรัสเซียเป็นหลัก
332/665

3. ฝ่ายขวาจัดนั้นคืออักษะที่มีเยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น เป็น


แนวร่วม
แต่ทำไมเมื่อเกิดสงครามขึ้นใหม่ๆ รัสเซีย จึงได้ดูเหมือนเข้าร่วมกับ
ฝ่าย ขวาจัดทั้งที่แท้จริงมีการตกลงกีดกันกันอยู่
คำตอบก็คือ เบื้องหลังที่แท้จริงนั้นเมื่อครั้งปี 1932 นั้นสตาลินเคยมี
คำสั่งให้พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีก่อการจลาจลขึ้นในประเทศเพื่อต่อต้าน
รัฐบาลที่สังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยในเวลานั้น การกระทำเช่นนีถ้ ือ
เป็น การช่วยเหลือพรรคนาซีทางอ้อม ทั้งนี้เพราะเมื่อเกิดปัญหาในประเทศ
มากเข้า พรรคนาซีก็ได้รับการสนับสนุนให้เข้ามาบริหารประเทศ
ค.ศ. 1934 เยอรมนีมีรัฐบาลขวาจัดปกครอง โดยมีฮิตเลอร์เป็นผู้นำ
ได้ประกาศต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นมา และต่อมาก็ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น
ในปี 1936
ส่วนรัสเซียนั้นเพิ่งได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสันนิบาตชาติเมื่อปี
1934 และต่อมาก็ได้ไปลงนามในสนธิสัญญาป้องกันทางทหารกับฝรั่งเศส
และเชคโก สโลวาเกีย แต่ปรากฏว่าเมื่อบรรดาประเทศมหาอำนาจ
ประชาธิปไตยมีนโยบายผ่อนปรนต่อเยอรมนีมากยิ่งขึ้น ทำให้สตาลินเกิด
ความระแวงต่อความปลอดภัยของรัสเซีย โดยสตาลินกลัวว่าฮิตเลอร์อาจ
จะเข้ายึดครองยุโรปตะวันออกรวมทั้งอาจรุกรานรัสเซียได้ในที่สุด
โดยเฉพาะรัสเซียอาจร่วมมือกับญี่ปุ่น ที่กำลังมีปัญหาเรื่องเขตแดน
มองโกเลียกับตัวเองอยู่ในเวลานั้น
333/665

เดือนมีนาคม 1939 สตาลินจึงไม่อยูเ่ ฉยด้วยการเข้าไปทำการตกลง


กับฮิตเลอร์เรื่องที่จะไม่รุกรานต่อ กัน ทั้งนี้เพราะฮิตเลอร์ในเวลานั้นมองว่า
หากเยอรมนีจับมือกับรัสเซียแล้ว ในการบุกโปแลนด์ของเยอรมนีอังกฤษ
และฝรั่งเศส ที่เห็นว่าเยอรมนีได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียด้วยจะไม่กล้า
ออกมาคัดค้าน เช่นกันรัสเซียก็มองว่าหากตัวเองยอมวางตัวเป็นกลางใน
ขณะทีเ่ ยอรมนีบุก โปแลนด์ ก็จะได้ประโยชน์ตามข้อเสนอของฮิตเลอร์ที่
ว่าจะยกโปแลนด์ตะวันออกให้ แถมยังได้ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย
ลิทัวเนีย และเบสราเบีย อีกทั้งสองประเทศจึงร่วมกันลงนามใน
สนธิสัญญานาซี-โซเวียต แพค เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 1939 เป็นส่วนหนึ่ง
ทีท่ ำให้เยอรมนีมั่นใจที่จะบุกโปแลนด์ และที่สำคัญ ทำให้สงครามโลกเกิด
ขึ้น
ทำให้ในระยะต้นของสงครามโลกที่ปะทุขึ้นมานั้นโซเวียตจึงพยายาม
รักษาผลประโยชน์ ของตัวเองในโปแลนด์จึงยกทัพบุกโปแลนด์เข้าไปอีก
กลุ่มหนึ่ง จนกระทั่งปลายปี 1940 หลังจากที่สงครามก้าวมาระยะหนึ่งแล้ว
นั้นเองเมื่อเยอรมนีเกิดไม่ไว้ใจรัสเซียและยกพลบุกรัสเซีย ก็ทำให้รัสเซีย
จำจะต้องกระโดด เข้าร่วมสงครามจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ
สัมพันธมิตรในที่สุด ---
7

สงครามโลก2 เริ่มต้นที่โปแลนด์
สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นอย่างชี้ชัด
แน่นอนได้ นักประวัติศาสตร์จึงเลือกหลายช่วงเวลาว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ
สงครามโลกครั้งนี้แตกต่างกันไปตามแนวคิดของตน ซึ่งได้แก่ เหตุการณ์
ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย ในปี 1931 อิตาลีรุกรานเอธิโอเปีย ในปี 1935
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ในปี 1937 เยอรมนีรุกรานโปแลนด์ ในปี
1939 ญี่ปุ่นโจมตีที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ในปี 1941 และเยอรมนีรุกราน
สหภาพโซเวียต ในปี 1941 และยังมีนักเขียนบางท่านทีใ่ ห้ความเห็นว่า
สงครามโลกครั้งที่ 2 อาจจะเกิดขึ้นทันทีที่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพิ่งจะยุติ
ลงในปี 1918
ผู้เข้าร่วมสงครามแบ่งเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายสัมพันธมิตรเดิม
ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียต
335/665

ส่วนฝ่ายตรงข้ามเรียกว่าฝ่ายอักษะ นำโดย เยอรมนี อิตาลี และ


ญี่ปุ่น ซึ่งมีการระดมกำลังทหารทั้งหมดมากกว่า 100 ล้านนาย นับเป็น
สงครามขนาด ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา และเป็น “สงครามเบ็ดเสร็จ” ซึ่ง
ได้นำทรัพยากรต่างๆ ไปใช้ในการสงครามโดยไม่เลือกว่าเป็นของพลเรือน
หรือทหาร สิ่งที่เกิดขึ้นนีย้ ังได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนทาง
เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ของชาติ เพื่อนำไปใช้ในการทำ
สงคราม ประมาณกันว่าสงคราม โลกครั้งนีม้ ีค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าราวหนึ่ง
ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามค่าเงินในปี 1944 ยังผลให้เป็นสงครามที่ใช้
เงินทุนและชีวิตมากที่สุดด้วยเช่นกัน
ในสงครามโลกครั้งนี้ พันธมิตรทางทหารทั้งสองฝ่ายมิได้ให้ความ
ร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้น เพราะทั้งคู่เป็นเพียงการร่วมมือกันของกลุ่ม
ประเทศโดยมีจุดประสงค์เดียวกันก็คือ เพื่อทำลายอีกฝ่ายลงอย่างราบคาบ
เท่านั้น การรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทั้งยุทธศาสตร์ ยุทโธปกรณ์และยุทธวิธี จนกระทั่งมีนักประวัติศาสตร์ผู้
หนึ่งกล่าวไว้ว่า
“เป็นการรบที่กระทำอย่างโดยปราศจากการวางแผนอย่างยิ่งใหญ่
ที่สุดในประวัติศาสตร์”
เพราะว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่อาจกำหนดได้อย่างชัดเจนว่าที่ใด
คือจุดแตกหักของสงคราม อาวุธใดโดดเด่นที่สุดในสงครามและข้อสรุป
ทางประวัติ ศาสตร์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
336/665

สงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นกลายเป็นว่าเป็นการรบระหว่างสองแนวคิด
พื้นฐานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายหนึ่งคือ ฝ่ายทีต่ ้องการจะ
เปลี่ยนแปลง โลกใหม่ และอีกฝ่ายที่พยายามจะรักษาแนวทางเดิมของโลก
เอาไว้
สงครามเริ่มแล้ว
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิเยอรมันซึ่งเป็นฝ่ายแพ้
สงคราม ได้ถูกบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เป็นผลให้
จักรวรรดิเยอรมันล่มสลาย และกลายมาเป็น “สาธารณรัฐไวมาร์” ผลจาก
สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนีต้องจำกัดขนาดกองทัพและการขยาย
อาณาเขตของตน ทั้งยังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมหาศาล
ส่วนในรัสเซียนั้น ได้เกิดสงคราม กลางเมืองขึ้น จนนำไปสูก่ าร
เปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ในนามประเทศ
สหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมาไม่นานประเทศนีก้ ็อยูภ่ ายใต้การปกครองของโจ
เซฟ สตาลิน ที่ประเทศอิตาลี เบนิโต มุสโสลินีได้ยึดอำนาจปกครอง
ประเทศแล้วตั้งตนเป็นผู้เผด็จการฟาสซิสต์ พร้อมให้คำสัญญาต่อ
ประชาชนว่าจะสร้างจักรวรรดิโรมันใหม่ นอกจากสองประเทศเหล่านี้แล้ว
ก็ยัง ก่อให้เกิดแนวคิดเผด็จการขึ้นในหลายประเทศ และการล่มสลายของ
สถาบันกษัตริย์
ด้านประเทศจีน รัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งได้เริ่มแผนการรวมชาติ เพื่อ
ต่อต้านเหล่าขุนศึกก๊กต่างๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระในช่วงกลางทศวรรษ 1920
337/665

แต่หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลจีนกลับต้องเข้าไปพัวพันกับ
สงครามกลางเมืองเพื่อต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นพันธมิตรเก่า
ขณะทีใ่ นปี 1931 จักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในจีน ได้เพิ่ม
กำลังทหารในจีนอย่างขนานใหญ่ เพื่อเป็นแผนการขั้นแรกในการเข้า
ปกครองทั้งทวีปเอเชีย โดยใช้กรณีมุกเดนเป็นสาเหตุในการรุกรานแมน
จูเรีย หลังจากนั้นทั้งสองชาติเกิดการรบขนาดย่อยขึ้น หลายครั้ง
จนกระทั่งถึงการพักรบตางกู ในปี 1933
กลางปี 1937 ตามข้อตกลงหยุดยิงที่สะพานมาร์โคโปโล ญี่ปุ่นเริ่ม
การรุกรานจีนอย่างเต็มตัว สหภาพโซเวียตได้รีบให้ความช่วยเหลือแก่จีน
เพื่อยุติความร่วมมือกับเยอรมนีทมี่ ีอยู่ก่อนหน้า กองทัพญี่ปุ่นได้ผลักดัน
กองทัพจีนให้ล่าถอย โดยเริ่มจากทีเ่ มืองเซี่ยงไฮ้ และสามารถยึดนานกิง
อันเป็นเมืองหลวงในขณะนั้นได้ในเดือนธันวาคม ถึงเดือนมิถุนายน 1938
กองทัพจีนสามารถยับยั้งการรุกคืบของกองทัพญี่ปุ่นได้จากเหตุอุทกภัยที่
แม่น้ำฮวงโห ในช่วงเวลานี้พวกเขาก็ได้เตรียมการป้องกันที่เมืองอู่ฮั่น แต่ก็
ยังถูกตีแตกในเดือนตุลาคม
ระหว่างนั้น กองทัพญี่ปุ่นและกองทัพสหภาพโซเวียตได้มกี ารปะทะ
กันประปรายที่ทะเลสาบคาซานในช่วงเดือนพฤษภาคม 1939 ต่อมาจึง
บานปลาย เป็นสงครามตามแนวชายแดนที่ร้ายแรง และยุตลิ งโดยไม่เกิด
การเปลี่ยนแปลง ดินแดนใดๆ
338/665

เรียกว่าสงครามในเอเชียเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ในยุโรปยังไม่เริ่มกระสุน
นัดแรก ดังนั้นจึงไม่ยอมรับกันว่านี่เป็นสงครามโลก ครั้งที่ 2
สงครามนานกิง ธันวาคม 1937-มิถุนายน 1938
แม้สงครามที่เกิดขึ้นระหว่างจีนกับญี่ปุ่นตั้งแต่การเข้ายึดเซี่ยงไฮ้
กระทั่งถึงการเข้าครอบครอนานกิง จะไม่ถูกนักประวัติศาสตร์นับว่าเป็น
ส่วนหนึ่งของสงครามโลก กระนั้นสงครามที่เกิดขึ้นในนานกิงก็ปฏิเสธไม่
ได้เช่นกันว่า มันคือ ความปวดร้าวหนึ่งของสงครามและอันที่จริงแล้วมันก็
เป็นจุดด่างหนึ่งของสงครามโลกในครั้งนี้นั่นเอง
กรณีนานกิง นี้บางแหล่งเรียกว่า “การสังหารหมู่ที่นานกิง” (Nank-
ing Massacre) หรือรู้จักกันในนาม “การข่มขืนที่นานกิง” เป็น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการที่ทหารกองทัพจักพรรดิญี่ปุ่นเข้าบุกยึด
เมืองนานกิงไว้ได้ในวันที่ 13 ธันวาคม 1937 ในยุทธการนานกิง เป็น
ส่วนหนึ่งในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 และต่อมาก็คือส่วนหนึ่งของ
สงครามโลกครั้งที่ 2
เหตุการณ์ในครั้งนี้ทหารกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่นได้ทำการ
ทารุณกรรมแก่เชลยสงคราม สังหารพลเรือน โดยการทารุณกรรมต่างๆ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ “การข่มขืน” พลเรือนหญิงจำนวน
20,000-80,000 คน ซึ่งเป็นที่โด่งดังไปทั่วโลก ดังนั้นเพื่อให้สามารถ
มองเห็นความโหดร้ายของสงครามที่เกิดขึ้นมาเราจำเป็นต้องกลับไปดูการ
สงครามในครั้งนี้กันก่อน
339/665

ปลายเดือนพฤศจิกายน ทหารญี่ปุ่นสามกองทัพดาหน้าเข้าหานานกิง
ทัพหนึ่งมุ่งตะวันตกทางฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำแยงซี ทหารกองนี้เข้ามาทาง
แม่น้ำ ไป๋เหมา ซึ่งอยูท่ างตะวันตกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ โดยเดินทัพมา
ทางรถไฟสายนานกิง-เซี่ยงไฮ้
ทัพทีส่ อง เตรียมตัวบุกจู่โจมนานกิงทั้งทางน้ำและทางบกอยูท่ ี่
ทะเลสาบ อ้ายหู ทัพนีเ้ คลื่อนจากเซี่ยงไฮ้ลงมาทางตะวันตก และเดินทัพ
อยูท่ างทิศใต้ของทัพของนาคาจิมา โดยผู้นำทัพนี้คือ พลเอกมัตสึอิ อิวา
เนะ
ทัพทีส่ ามภายใต้การนำของพลโทยานากาวา ไฮสุเขะ เดินห่างจากทัพ
ของพลเอกมัตสึอิลงไปทางใต้และหักเลี้ยวเข้าหานานกิงจากทาง
ตะวันตกเฉียงเหนือ
ก่อนที่จะบุกถึงนานกิงนั้นทหารญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีเมืองซูโจวและฆ่า
ทุกคนที่พบ การบุกเข้าเมืองซูโจวครั้งนีท้ ำให้จำนวนประชากรลดลงจาก
350,000 คนลงเหลือไม่ถึง 500 ชีวิต
จนถึงรุ่งสางของวันที่ 13 ธันวาคม กองทัพญี่ปุ่นสามารถบุกผ่าน
ประตูเมืองนานกิงเข้ามาได้
หลังจากทีก่ องทัพญี่ปุ่นบุกเข้านานกิงได้เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเข้า
ปลด อาวุธทหารจีนทีย่ อมแพ้และยอมตกเป็นเชลย โดยมีคำสั่งต่อทหาร
ญี่ปุ่นว่าให้กำจัดคนจีนและเชลยทุกคนที่จับได้ และจากที่ประชุมตกลงว่า
จะทำการแบ่งเชลยออกเป็นจำนวนเท่าๆ กัน และจะถูกนำออกมาจากที่
340/665

คุมขังเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 50 คน เพื่อนำไปประหาร ใช้ทหารกองร้อยที่ 1,


2 และ 5 โดยกองร้อยที่ 1 ใช้พื้นที่บริเวณนาข้าว และบริเวณพื้นที่ลุ่มทาง
ตะวันตกเฉียงใต้ของกองร้อยที่ 2 และกองร้อยที่ 5 ใช้พื้นที่บริเวณนาข้าว
ทางตะวันออกเฉียงใต้ของที่ตั้งกอง
คำสั่งนั้นเป็นไปอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเหี้ยมโหดโดยปราศจาก
เมตตา เพราะไม่สามารถหาอาหารให้เชลยทั้งหมดได้ การดำเนินการเช่นนี้
จะสามารถ ช่วยขจัดปัญหาเรื่องอาหาร และลดการตอบโต้ได้
ญี่ปุ่นใช้วิธีการหลอกลวงเชลยเพื่อนำไปประหารหลายวิธีด้วยกัน
เช่น ให้สัญญาว่าจะปฏิบัตอิ ย่างดีหากไม่ต่อต้าน หลอกให้เข้ามอบตัว แบ่ง
ผู้ชายออก เป็นกลุ่ม กลุ่มละร้อยหรือสองร้อย แล้วหลอกไปยังจุดต่างๆ ที่
นอกตัวเมืองเพื่อฆ่าทิ้ง
ทั้งหมดนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างง่ายดายกว่าที่ฝ่ายญี่ปุ่นคาด การ
ต่อต้าน มีเพียงบางจุด เพราะทหารจีนส่วนใหญ่ทิ้งอาวุธและทิ้งเมืองไป
ก่อนแล้ว
341/665

บางส่วนของผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน ในกรณี "สังหารหมู่พลเรือนที่นานกิง-Nanjing Massacre


หรือ Rape of Nanjing" ช่วงเดือนธันวาคม 1937-มกราคม 1938

เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นไม่สามารถหาอาหารมาให้แก่เชลยศึกอย่าง
เพียง พอได้ จึงคิดทำการสังหารเชลยศึกเสีย แต่กฎหมายระหว่างประเทศ
ในขณะนั้นได้ให้การคุ้มครองแก่เชลยศึกอยู่ จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ จึงได้มี
รับสั่งแก่ทหารทุกนายให้ยกเลิกการใช้คำว่า เชลยศึก กับชาวจีนที่ถูกจับได้
และนำเชลยศึกเหล่านั้นไปทำการสังหารที่บริเวณแม่น้ำแยงซี การสังหาร
เชลยศึกส่วนใหญ่เกิดขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม (ซึ่งถูกเรียกว่า String
Gorge Massacre) ทหารญี่ปุ่น ใช้เวลาในช่วงเช้าเพื่อมัดเชลยศึก
เหล่านั้นเข้าด้วยกันเป็นจำนวนหลายแถว และเปิดฉากยิงใส่ด้วยปืนกล
เชลยศึกทีถ่ ูกมัดอยู่ไม่สามารถหนีได้ ทำได้เพียงกรีดร้องเท่านั้น เชลยศึก
ราว 57,500 คนถูกสังหาร
342/665

เชลยศึกบางส่วน ถูกทหารญี่ปุ่นมัดเข้าด้วยกัน และให้เชลยศึก


เหล่านั้น เหยียบกับระเบิดเพื่อสังหารหมู่ บ้างก็มัดเชลยเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
แล้วจุดไฟเผา
ทหารญี่ปุ่นทำการทารุณกับชาวนานกิงเกินกว่าที่มนุษย์จะเข้าใจได้
เช่น ฝังทั้งเป็น โดยจะขุดหลุมและฝังเชลยให้โผล่ขึ้นมาแค่เพียงหน้าอก
หรือแค่คอ เพื่อจะได้รับทุกข์ทรมานต่างอีกหลายอย่าง เช่น ฉีกเป็นชิ้นๆ
ทหารญี่ปุ่นคว้าน ตับไตไส้พุง ตัดหัวหรือสับเหยื่อเป็นชิ้นๆ แล้วโยนให้
สุนัขกิน ตอกเชลยไว้กับแผ่นไม้แล้วให้รถถังแล่นทับ ใช้เป็นทีซ่ ้อมเสียบ
ดาบปลายปืน ควักลูกตา หั่นจมูก และใบหูก่อนเผาทั้งเป็น
หลังทหารจีนทั้งหมดยอมแพ้ ก็เท่ากับไม่เหลือใครที่จะปกป้อง
พลเรือนในตัวเมือง ทหารญี่ปุ่นหลั่งไหลเข้ามา ยึดอาคารที่ทำการรัฐบาล
ธนาคารและ โรงเก็บสินค้า ยิงผู้คนตามท้องถนนอย่างไม่เลือกหน้า โดย
ใช้ทั้งปืนพก ปืนกล ปืนเล็กยาว ยิงเข้าไปในฝูงคนที่มที ั้งทหารที่บาดเจ็บ
หญิงชรา และเด็กๆ โดยทหารญี่ปุ่นฆ่าพลเรือนทุกมุมเมือง ไม่ว่าจะตาม
ตรอกเล็กๆ หรือถนนสายใหญ่ ในสนามเพลาะ หรือแม้แต่ในอาคาร
ที่ทำการรัฐบาล
กล่าวกันว่า ความโหดร้ายในครั้งนีท้ ำให้หญิงชาวจีนถูกข่มขืนเป็น
จำนวน ไม่ต่ำกว่า 20,000 คน ไม่ว่าจะเป็นสาว คนท้อง หรือคนแก่ ทหาร
ญี่ปุ่นข่มขืนชนิดไม่เลือกหน้า ไล่ตั้งแต่ชาวนา เด็กนักเรียน ครู พนักงาน
ระดับบริหาร คนงาน อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งแม่ชี ต่างก็เลี่ยง
343/665

ไม่พ้นการถูกข่มขืนทั้งสิ้น โดยผู้หญิงคนหนึ่งจะตกไปอยูใ่ นมือของทหาร


ประมาณ 15 ถึง 20 คน บางคนในจำนวนนี้ถูกเรียงคิวจนถึงแก่ความตาย
แต่กฎของกองทัพที่ว่าห้ามข่มขืนผู้หญิงของฝ่ายตรงกันข้ามนั้น ทำให้ทหาร
สังหารเหยื่อเสียเมื่อเสร็จธุระ
พฤติกรรมเช่นนี้ไม่ได้กระทำกันเฉพาะในหมู่พลทหาร แม้ระดับ
นายทหาร ก็ไม่เว้น บางคนไม่เพียงสนับสนุนการข่มเหง แต่ยังเตือนให้
พลทหารจัดการเหยื่อเมื่อเสร็จธุระเพื่อกำจัดหลักฐาน
หญิงในนานกิงถูกข่มขืนชนิดไม่เลือกทีแ่ ละไม่เลือกเวลา ประมาณว่า
หนึ่งในสามของการข่มขืนทั้งหมดเกิดขึ้นตอนกลางวันแสกๆ และไม่มี
สถานทีแ่ ห่งใดปลอดจากการข่มขืน เช่น คนท้อง หญิงชรา ในเรือนแม่ชี
ในโบสถ์ แม้แต่ในโรงเรียน
นอกจากนั้นคนเฒ่าคนแก่ยังไม่สามารถใช้ความชราเป็นเกราะคุ้มกัน
การข่มขืนได้ ผู้เฒ่าต่างต้องเผชิญทารุณกรรมทางเพศอย่างถ้วนหน้าและ
ซ้ำซาก ย่ายายวัยแปดสิบจำนวนมากถูกข่มขืนจนตายคาที่ และอย่างน้อยก็
ถูกยิงตาย เพราะปฏิเสธการถูกข่มขืน
แม้ผู้หญิงที่ท้องได้หลายเดือนก็ไม่ได้หมายความว่าจะรอดพ้น ทหาร
ญี่ปุ่นหลายรายข่มขืนผู้หญิงหลายรายทั้งที่เห็นชัดว่าใกล้คลอดหรือเพิ่ง
คลอดได้หมาดๆ ซ้ำร้ายกว่านั้นหลังจากข่มขืนเสร็จแล้ว ก็คว้านท้องของ
ผู้หญิงท้องทีถ่ ูกข่มขืน แล้วเขี่ยลูกอ่อนออกมาดูเล่นแล้วโยนขึ้นฟ้าเอา
ดาบปลายปืนเสียบ
344/665

เรียกว่าความเจ็บปวดในครั้งนี้ของชนชาวจีนไม่อาจลืมเลือนได้ และ
แม้จะสามารถยึดเมืองหลวงของจีนได้สำเร็จแต่ก็ใช่ว่าสงครามจะสิ้นสุดลง
แล้ว กลับกันสงครามทางภาคพื้นตะวันออกเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น
ต่อจากนั้นกองทัพ ญี่ปุ่นยังคขยายออกไปทั่วแผ่นดินจีนอย่างต่อเนื่อง ถึง
เดือนมิถุนายน 1938 กองทัพจีนสามารถยับยั้งการรุกคืบของกองทัพญี่ปุ่น
ได้จากเหตุอุทกภัยที่แม่น้ำ ฮวงโห ในช่วงเวลานีพ้ วกเขาก็ได้เตรียมการ
ป้องกันที่เมืองอู่ฮั่น แต่ก็ยังถูกตีแตกในเดือนตุลาคม
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วเช่นกัน การที่ญี่ปุ่นยกทัพยึดแมนจูกัว
ก่อนหน้านั้น ใช่เพียงแค่ต้องทำสงครามเพียงกับจีนเท่านั้น แต่ต้อง
กระทบกระทั่งกับโซเวียตที่มีชายแดนติดกันอยู่ด้วย รปะทะกันระหว่าง
ทหารญีป่ ุนกับทหารโซเวียต ตามแนวขายแดนแม้ระยะแรกจะเป็นเพียง
การยิงกันเล็กๆ น้อยๆ แต่สุดท้ายก็นำมาสู่สงครามที่สำคัญและร้ายแรง
โดยเริ่มตั้งแต่ยุทธการที่ทะเลสาบคาซาน
ยุทธการทะเลสาบคาซาน
ยุทธการทะเลสาบคาซาน (Battle of Lake Khasan) หรือ
เหตุการณ์ชางกูเฟิง ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่าง แมนจูกัว ซึ่ง
เป็นดินแดนยึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รุกล้ำอาณาเขตเข้าไปยังดินแดน
ของสหภาพโซเวียตการรุกล้ำอาณาเขตดังกล่าวนั้นเกิดจากความเชื่อของ
ฝ่าย ญี่ปุ่นที่ว่าสหภาพโซเวียตตีความตามสนธิสัญญาปักกิ่งผิดไป ซึ่งเป็น
สนธิสัญญาทีไ่ ด้รับการลงนามมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิรัสเซีย และประเทศ
345/665

จีนสมัยราชวงศ์ชิงแล้ว และนอกเหนือจากนั้น เครื่องหมายกั้นอาณาเขต


ของทั้งสองฝ่ายก็ไม่มีความแน่นอน
เบื้องหลังที่แท้จริงของปัญหาในครั้งนี้ เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษแรก
ของ คริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ได้เกิดความขัดแย้งตามแนวชายแดนระหว่าง
รัสเซีย ญี่ปุ่นและจีน ตามดินแดนซึ่งในปัจจุบันเป็นภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทางรถไฟสายจีนตะวันออก (Chinese
Eastern Railway) เป็นทางรถไฟที่เชื่อมระหว่าง แมนจูเรียและภาค
ตะวันออกไกลของรัสเซีย และทางรถไฟที่แยกไปทางทิศใต้ของทางรถไฟ
สายจีนตะวันออกนั้น หรือที่เรียกกันว่า ทางรถไฟสายแมนจูเรียใต้ ได้
กลายมาเป็นจุดสำคัญที่นำไปสู่สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น และต่อมาได้นำไปสู่
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 และสงครามชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่นด้วย
เช่นกัน ความขัดแย้งที่ได้ขยายออกไปนั้น อย่างเช่น ความขัดแย้งจีน-
โซเวียต (1929) และกรณีมุกเดน (1931)
เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1938 เมื่อผู้ช่วยทูต
ญี่ปุ่น ในกรุงมอสโก ต้องการให้ฝ่ายโซเวียตถอนกำลังทหารตามแนว
ชายแดนออกไปจากพื้นที่เบซีมยานนายา และเนินเขาซาโอซยอร์นายา ทาง
ตะวันตกของทะเลสาบคาซาน ทางตอนใต้ของไปรมอร์สกี้ ไคร ไม่ไกล
จากเมืองวลาดิวอสต็อก และให้เปลี่ยนไปยึดเอาแนวชายแดนโซเวียต-
เกาหลีเป็นหลัก แต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้รับการปฏิเสธ
346/665

กองทัพญี่ปุ่นโจมตีครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม แต่ก็ถูกตีโต้


กลับมา แต่ในวันที่ 31 กรกฎาคม กองทัพโซเวียตจำเป็นต้องล่าถอย
กองพลที่ 19 แห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองกำลังแมนจูกัวบางส่วนสามารถ
เอาชนะเหล่าทหารไรเฟิลที่ 39 ภายใต้การบังคับบัญชาของ G. Shtern
(ซึ่งอาจประกอบด้วย กองพลไรเฟิลที่ 32 ที่ 39 และที่ 40 และ
กองพลน้อยยานยนต์ที่ 2) หนึ่งในผู้บัญชาการ ของกองทัพญี่ปุ่นในการ
รบ คือ พันเอกโคโตกุ ซาโต ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 75 กองกำลัง
ของเขาสามารถขับไล่กองทัพโซเวียตลงจากเนินเขาได้จากการโจมตียาม
กลางคืน
นอกจากนั้น ยังมีรายงานอีกว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้นำรถถังขนาดเบาและ
รถถัง ขนาดกลางเข้ามาทำการรบด้วย ส่วนทางฝ่ายโซเวียตก็ได้มกี าร
ตอบโต้ด้วยรถถังและปืนใหญ่เช่นกัน ในปี 1933 ฝ่ายญี่ปุ่นได้มกี าร
ออกแบบและก่อสร้างรถไฟหุ้มเกราะพิเศษ (Rinji Soko Ressha) ซึ่ง
ได้บรรจุอยูใ่ นหน่วยรถไฟหุ้มเกราะที่ 2 ในแมนจูเรีย และมีส่วนร่วมใน
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 และในยุทธการทะเล สาบคาซาน และ
สนับสนุนการทำการรบโดยการส่งกองกำลังหนุนในแนวหน้า
ภายใต้การบังคับบัญชาของ Vasily Blyukher จอมพลแห่งแนว
ตะวันออก ไกล ซึ่งได้เรียกกำลังหนุนเข้าสูพ่ ื้นที่ และหลังจากการรบหลาย
ครั้งระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม จนถึงวันที่ 9 สิงหาคม กองทัพโซเวียตก็
สามารถขับไล่กองทัพญี่ปุ่นออกไปจากดินแดนโซเวียตได้สำเร็จ
347/665

ในวันที่ 10 สิงหาคม นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นได้เดินทางไปยัง


สหรัฐอเมริกา เพื่อเรียกร้องสันติภาพ และการรบสิ้นสุดเมื่อวันที่ 11
สิงหาคม 1938
ขณะทีท่ างด้านทวีปยุโรป บทบาทของเยอรมนีและอิตาลีเริ่มเด่นชัด
ขึ้น ในเดือนมีนาคม 1938 เยอรมนีก็ได้ผนวกเอาออสเตรียเข้ากับ
อาณาจักรของตน ซึ่งเป็นอีกครั้งเช่นที่ชาติตะวันตกอื่นๆ มีปฏิกิริยาต่อ
เรื่องนี้เพียงเล็กน้อย ด้วยความฮึกเหิม ฮิตเลอร์จึงได้เริ่มการอ้าง
สิทธิครอบครองสุเดเทนแลนด์ ฝรั่งเศสและอังกฤษยินยอมให้เยอรมนี
ยึดครองสุเดเทนแลนด์ได้ โดยแลกกับการหยุดแสวงหาดินแดนเพิ่มเติม
แต่เยอรมนีปฏิเสธทันที และในเดือนมีนาคม 1939 เยอรมนีก็ได้
ครอบครองเชคโกสโลวาเกียอย่างสมบูรณ์
ด้วยความตื่นตัวจากเหตุที่ฮิตเลอร์มีความต้องการยึดครองดานซิก
ฝรั่งเศสและอังกฤษจึงรับประกันความเป็นเอกราชของโปแลนด์หากถูก
เยอรมนี โจมตี และเมื่ออิตาลีสามารถครอบครองอัลเบเนียได้ในเดือน
เมษายน ฝรั่งเศสและอังกฤษก็ให้คำมั่นเช่นเดียวกันนี้แก่โรมาเนียและกรีซ
ด้วย ส่วนทางด้านเยอรมนีและอิตาลีกร็ ่วมมือกันเป็นพันธมิตรใน
สนธิสัญญาเหล็ก
ในเดือนเมษายน 1938 สหภาพโซเวียตได้พยายามเข้าร่วมเป็น
พันธมิตร กับอังกฤษและฝรั่งเศสเช่นกันในความพยายามที่จะจำกัดวงของ
เยอรมนี แต่ทั้งสองชาติก็บอกปฏิเสธ
348/665

ด้วยความแคลงใจในเจตนาและความสามารถของสหภาพโซเวียต
และเพราะระบบความมั่นคงโดยรวมของทวีปยุโรปถูกบั่นทอน โดย
ข้อตกลงมิวนิคและเหตุการณ์หลายๆ อย่าง สหภาพโซเวียตเกรงว่า
สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสไม่ปรารถนาที่จะให้ความร่วมมือทางการ
ทหารแก่ตน และวิตกว่าอาจจะ เกิดสงครามระหว่างเยอรมนีกับ
สหภาพโซเวียต โดยทีฝ่ ่ายสัมพันธมิตรอาจเอนเอียงเข้ากับฮิตเลอร์ เป็น
การทำให้สหภาพโซเวียตต้องทำสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างนาซี-โซเวียต
ซึ่งทำให้ประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ตกตะลึง รวมไป ถึงข้อตกลงลับระหว่าง
ทั้งสอง ที่จะแบ่งกันครอบครองโปแลนด์ และกลุ่มประเทศ ใน
ยุโรปตะวันออก
กลับมาทางด้านตะวันออกอีกครั้ง ต้นเดือนกันยายน 1938 กองทัพ
โซเวียตตีกองทัพญี่ปุ่นแตกพ่าย ส่วนกองทัพเยอรมันก็เริ่มการรุกราน
โปแลนด์
ด้วยคำมั่นสัญญาที่มีกับโปแลนด์ก่อนหน้านี้ ฝรั่งเศส อังกฤษ และ
บรรดา ประเทศในเครือจักรภพ จึงประกาศสงครามกับเยอรมนี แต่ก็ได้
ให้ความช่วยเหลือโปแลนด์เพียงแค่การส่งกองทหารฝรั่งเศสขนาดเล็กเข้า
ไปปฏิบัติการในซาร์แลนด์เท่านั้น
เยอรมนีเริ่มบุกโจมตีโปแลนด์เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 และ
สามารถรุกคืบไปอย่างรวดเร็ว แม้ว่าโปแลนด์จะต่อสู้อย่างทรหด แต่กไ็ ม่
สามารถต้านทานการรุกรานแบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) คือเยอรมันใช้
349/665

ปฏิบัติการทางอากาศควบคู่กับการใช้ขบวนยานเกราะที่ติดตามด้วย
กองกำลังเครื่อนที่เร็วยกทะลวงเข้าโจมตี
กลางเดือนกันยายน หลังจากทำสัญญาสงบศึกชั่วคราวกับญี่ปุ่นแล้ว
สหภาพโซเวียตจึงเริ่มแผนการรุกรานโปแลนด์ของตนเอง และประสบ
ความสำเร็จ ถึงต้นเดือนตุลาคม โปแลนด์จึงถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองของ
ทั้งเยอรมนีและสหภาพโซเวียต
กรณีการยกทัพเข้ายึดโปแลนด์ของเยอรมนีในเดือนกันยายน 1939
นั้นนับกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นหรือเริ่มแรกของสงครามโลกที่แท้จริง ดังนั้น
เพื่อความเข้าใจเราต้องกลับไปดูการสงครามในครั้งนั้นกัน
การรุกรานโปแลนด์ของเยอรมนี กันยายน 1939
การรุกรานโปแลนด์ หรืออาจเป็นทีร่ ู้จักกันว่า “การทัพเดือน
กันยายน” แต่ในทัศนะของชาวโปแลนด์กลับเรียกสงครามครั้งนีว้ ่า
“สงครามป้องกันมาตุภูมิปี 1939”
การรุกรานโปแลนด์เป็นแผนการโจมตีของนาซีเยอรมนี
สหภาพโซเวียต และสโลวาเกีย ต่อโปแลนด์ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นจุดเริ่มต้น
ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 กันยายน หนึ่งสัปดาห์หลังการ
ลงนามในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ จนถึงวันที่ 6 ตุลาคม
1939 เมื่อเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและปกครองโปแลนด์
ทั้งหมด
350/665

เบื้องหลังของเหตุการณ์ในครั้งนี้มีที่มาที่ไปอย่างแน่นอน เริ่มจาก
พรรคนาซีนำโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนีเมื่อปี
1933 เยอรมนีก็ได้มีนโยบายในการขึ้นครองความเป็นประมุขในทวีปยุโรป
เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในระยะยาว ในช่วงแรก ฮิตเลอร์ได้ใช้
นโยบาย ทอดไมตรีกับโปแลนด์ และนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาไม่
รุกรานกันระหว่างเยอรมัน-โปแลนด์ เมื่อปี 1934
เยอรมนีพยายามโน้มน้าวให้โปแลนด์ยอมเข้าร่วมกับสนธิสัญญา
ต่อต้าน องค์การคอมมิวนิสต์สากล เพื่อร่วมมือกันต่อต้านสหภาพโซเวียต
โดยที่เยอรมนีมีเป้าหมายจะครอบครองดินแดนของสหภาพโซเวียต ทั้งนี้
โปแลนด์จะได้รับปันดินแดนบางส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
แต่ชาวโปแลนด์ล้วนทราบดีว่าประเทศของตนจะต้องตกอยู่ใต้อำนาจ
ของเยอรมนีหากยอมทำตามเช่นนั้น และเอกราชของโปแลนด์กถ็ ูกคุกคาม
ด้วย นอกเหนือจากความต้องการในดินแดนของสหภาพโซเวียต พรรคนา
ซียังตั้งใจที่จะสร้างแนวชายแดนใหม่ขึ้นกับโปแลนด์ เนื่องจากฝ่าย
พันธมิตรได้ฉีกเอาแคว้นปรัสเซียตะวันออกออกไปตั้งแต่ครั้งหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 1 (เป็นส่วนที่เรียกว่า “ฉนวนโปแลนด์”) ชาวเยอรมัน
ส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะรวมนคร เสรีดานซิกกลับเข้าสู่แผ่นดิน
เยอรมนี แม้ว่านครดานซิกจะมีชาวเยอรมันอาศัย อยูม่ าแต่เดิมนับตั้งแต่
คริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่เนื่องจากเป็นดินแดนทางออกทะเลที่ค่อนข้างยาว
ทำให้เป็นข้อขัดแย้งระหว่างเยอรมนีกับโปแลนด์มาโดยตลอด โปแลนด์ได้
351/665

รับดินแดนดังกล่าวไปครอบครองหลังจากผลของสนธิสัญญา แวร์ซายส์
เนื่องจากดินแดนนี้เป็นส่วนหนึ่งในครอบครองของปรัสเซียซึ่งเยอรมนีมี
ความต้องการเรียกร้องดินแดนกลับคืน ฮิตเลอร์ได้ใช้สาเหตุดังกล่าวใน
การปลุกระดมลัทธิชาตินิยมภายในประเทศเยอรมนี โดยให้สัญญาแก่
ประชาชน ว่าตนจะปลดปล่อยชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมันทีย่ ังหลงเหลืออยู่
ในดินแดนดังกล่าวให้กลับคืนสู่เยอรมนี
ครานี้กลับมามองอีกด้านหนึ่ง คือสหภาพโซเวียตนั้นนับแต่ปลาย
ทศวรรษ 1930 สหภาพโซเวียตพยายามที่จะสร้างพันธมิตรต่อต้าน
เยอรมนีกับสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และโปแลนด์ ปรากฏว่าการเจรจา
ต่างๆ ประสบกับความยากลำบาก สหภาพโซเวียตยืนยันกับมหาอำนาจ
ยุโรปในสมัยนั้นว่าเขตอิทธิพลของตนลากจากฟินแลนด์ไปจนถึงโรมาเนีย
และต้องการความช่วยเหลือทางทหารนอกจากประเทศที่ถูกโจมตีโดยตรง
แล้ว แต่ยังรวมถึงทุกประเทศที่โจมตีประเทศในเขตอิทธิพลนี้ด้วย
นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเจรจากับฝรั่งเศสและอังกฤษ ความ
ต้องการ ของสหภาพโซเวียตในการยึดครองรัฐบอลติก (ลัตเวีย เอสโต
เนีย และลิทัวเนีย) ก็ได้ปรากฏให้เห็นออกมาอย่างชัดเจนแล้ว นอกจากนี้
ฟินแลนด์ ยังถูกรวมไปอยูใ่ นเขตอิทธิพลของโซเวียตเช่นเดียวกัน และ
ท้ายที่สุด สหภาพโซเวียตยังได้ต้องการสิทธิที่จะส่งกองทัพเข้าไปยัง
โปแลนด์ โรมาเนีย และรัฐบอลติก เมื่อสหภาพโซเวียตรู้สึกว่าความมั่นคง
ของตนถูกคุกคาม ทำให้รัฐบาลของประเทศ ต่างๆ ปฏิเสธข้อเสนอนั้น
352/665

ดังทีร่ ัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโปแลนด์ โจเซฟ เบค ได้


ชี้แจงว่า เมื่อสหภาพโซเวียตส่งทหารเข้ามาในดินแดน ของตนแล้ว ทหาร
เหล่านั้นอาจไม่ได้ถูกเรียกกลับประเทศของตนอีกเลยก็เป็นได้
สหภาพโซเวียตไม่ไว้วางใจในความมั่นคงร่วมกันอย่างมีเกียรติของ
อังกฤษและฝรั่งเศส นับตั้งแต่ทั้งสองประเทศประสบความล้มเหลวที่จะ
ป้องกัน ชัยชนะของฟาสซิสต์ในสงครามกลางเมืองสเปน หรือป้องกันเชค
โกสโลวาเกียจากนาซีเยอรมนี นอกจากนี้ สหภาพโซเวียตยังสงสัยว่าฝ่าย
พันธมิตรตะวันตก อาจต้องการให้สหภาพโซเวียตรบกับเยอรมนีอย่าง
โดดเดี่ยว ขณะที่พวกตนคอยเฝ้ามองอยูโ่ ดยไม่ช่วยเหลืออะไรและด้วย
ความกังวลดังกล่าว สหภาพโซเวียตจึงหันไปเจรจากับเยอรมนีแทน
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 1939 สหภาพโซเวียตได้ลงนามใน
สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ กับนาซีเยอรมนี ซึ่งทำให้ฝ่าย
พันธมิตรประหลาดใจมาก
รัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ประกาศว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็น
สนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน แต่ในข้อตกลงลับของสนธิสัญญานั้น
เป็นการตกลง แบ่งโปแลนด์และยุโรปตะวันออกให้อยูภ่ ายใต้เขตอิทธิพล
ของนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียต สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ
ซึ่งกล่าวว่าเป็นใบเบิกทางสำหรับการทำสงคราม และเป็นตัวแปรสำคัญใน
การตัดสินใจของฮิตเลอร์ในการรุกรานโปแลนด์
353/665

ฮิตเลอร์ตรวจกองทหารเยอรมันที่รุกเข้าโปแลนด์เมื่อเดือน กันยายน 1939

สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการเพิ่มพื้นที่ป้องกันเพิ่มเติมทางด้าน
ตะวันตก นอกจากนั้น ยังได้เป็นการเพิ่มเติมดินแดนซึ่งเคยถูกผนวกเข้า
กับโปแลนด์เมื่อยี่สิบปีก่อนคืน และเป็นการรวมประชากรชาวยูเครน
ตะวันตก ชาวยูเครนตะวันออกและชาวเบลารุสเข้าด้วยกันภายใต้รัฐบาล
โซเวียต ซึ่งนับเป็นครั้งแรก ที่ประชากรดังกล่าวนี้อาศัยอยูภ่ ายในรัฐ
เดียวกัน ผู้นำโซเวียต โจเซฟ สตาลิน มองเห็นประโยชน์จากการทำ
354/665

สงครามในยุโรปตะวันตก ซึ่งอาจเป็นการบั่นทอน กำลังของศัตรูทาง


อุดมการณ์ของเขา และเป็นการขยายดินแดนใหม่ต่อการแพร่ขยายของ
คอมมิวนิสต์
ส่วนเชคโกสโลวาเกียนั้น โปแลนด์ได้มสี ่วนร่วมในการแบ่งประเทศ
เชคโกสโลวาเกียซึ่งเกิดขึ้นหลังจากข้อตกลงมิวนิค แม้ว่าโปแลนด์จะไม่มี
ส่วนเกี่ยว ข้องในที่ประชุมก็ตาม แต่โปแลนด์ก็ได้ดินแดนบางส่วนจากเชค
โกสโลวาเกียเมื่อ 1 ตุลาคม 1938
ปี 1938 เยอรมนีเริ่มแสดงความต้องการในนครดานซิกเพิ่มมากขึ้น
โดยเรียกร้องให้สร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างแคว้นปรัสเซียตะวันออกกับ
แผ่นดินใหญ่ ของเยอรมนี แล่นตัดผ่านฉนวนโปแลนด์และต่อสนธิสัญญา
เยอรมนี-โปแลนด์ไปอีก 25 ปี โปแลนด์ได้ปฏิเสธแผนการก่อสร้าง
ดังกล่าว ด้วยกลัวว่าอาจนำไปสู่การสูญเสียเอกราชของตนและเพิ่มความ
ต้องการของเยอรมนีด้วย เช่นเดียวกับ ที่เชคโกสโลวาเกียเคยประสบมา
ก่อนหน้านี้โดยรีบทำสนธิสัญญาอีกฉบับกับสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 26
พฤศจิกายน ปีเดียวกัน
ชาวโปแลนด์นั้นไม่เชื่อใจฮิตเลอร์รวมไปถึงเจตนาของเขาเป็นอย่าง
มาก ในเวลาเดียวกันนั้น เยอรมนีก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่พวกชาตินิยม
ยูเครนซึ่งต่อต้านโปแลนด์ ทำให้ชาวโปแลนด์ไม่ไว้ใจเยอรมนีมากขึ้น เมื่อ
วันที่ 30 มีนาคม 1939 สหราชอาณาจักรซึ่งมีความตื่นตัวในเรื่องนี้
สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ได้ให้คำรับรองความช่วยเหลือแก่โปแลนด์
355/665

แต่ว่ากลับไม่ได้ให้คำรับรองว่าจะช่วยเหลือด้วยการส่งกำลังทหารเข้าไป
เพิ่มเติมในการป้องกันโปแลนด์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เนวิลล์
แชมเบอร์เลน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลอร์ด ฮา
ลิแฟกซ์ ยังคงหวังว่าเยอรมนีจะยอมทิ้งแผนการเพื่อยึดครองนครดานซิก
เสีย เขาและผู้สนับสนุนของเขายังคงเชื่อว่าสงครามนั้นอาจจะหลีกเลี่ยงได้
และหวังว่าเยอรมนีจะยอมผ่อนปรนในประเด็นปัญหาเรื่องดังกล่าว
ด้วยสถานการณ์ที่ตึงเครียด เยอรมนีได้เปลี่ยนท่าทีของตนเป็น
แข็งกร้าว เมื่อวันที่ 28 เมษายน 1939 เยอรมนีได้ฉีกสนธิสัญญาไม่
รุกรานกันระหว่างเยอรมัน-โปแลนด์ของปี 1934 และข้อตกลงการจำกัด
ขนาดของกองทัพเรือกรุงลอนดอน ของปี 1935 ทิ้งไป
ต้นปี 1939 ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้กองทัพเยอรมันเตรียมพร้อม
สำหรับ ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้ในโปแลนด์
หลังจากนั้น เยอรมนีก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนท
รอพ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 1939 ในตอนท้ายของสนธิสัญญา เยอรมนี
และสหภาพโซเวียตได้วางแผนกันอย่างลับๆ เพื่อยึดครองยุโรปตะวันออก
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จะรักษาท่าที
เป็นมิตรกับสหภาพโซเวียต
ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เยอรมนีมั่นใจได้ว่าสหภาพโซเวียตจะรักษาความ
เป็น กลางกับตนระหว่างการรุกรานโปแลนด์
356/665

การรุกรานเดิมนั้นกำหนดไว้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม เวลา 4.00 น.


แต่ทว่า ในวันที่ 25 สิงหาคม อังกฤษและโปแลนด์ได้ร่วมลงนามใน
สนธิสัญญาพันธมิตร ทางการทหารระหว่างอังกฤษ-โปแลนด์ ซึ่งได้รวม
กับสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารระหว่างฝรั่งเศส-โปแลนด์ ซึ่ง
อังกฤษเสนอตัวจะช่วยในการป้องกัน และรับประกันเอกราชของโปแลนด์
ในเวลาเดียวกันนั้น ชาวอังกฤษและชาวโปแลนด์พูดเป็นนัยไปยัง
เยอรมนี ว่าพวกตนต้องการการเจรจาอีกครั้ง ฮิตเลอร์จึงได้เลื่อนแผนการ
ออกไปเป็นวันที่ 1 กันยายน และวางแผนให้ประสบกับความเสี่ยงน้อย
ที่สุด
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ฮิตเลอร์ได้พยายามที่จะหน่วงเหนี่ยวอังกฤษ
และฝรั่งเศสไม่ให้ทำการตอบโต้กับความขัดแย้งที่กำลังจะเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระหว่างการเจรจา ฮิตเลอร์มั่นใจว่าอาจมีโอกาสที่
ฝ่ายสัมพันธมิตรจะประกาศ สงครามกับเยอรมนี และถึงแม้ว่าพวกเขาจะ
ทำเช่นนั้น แต่อังกฤษและฝรั่งเศส ได้ให้เพียงคำมั่นแก่โปแลนด์เท่านั้น
หลังจากที่โปแลนด์ถูกพิชิตแล้ว ฮิตเลอร์เชื่อว่าทั้งสองประเทศอาจขอเจรจา
ใหม่อีกครั้ง ต่อมา เครื่องบินลาดตระเวนจำนวนมากได้บินอยูเ่ หนือ
น่านฟ้า ซึ่งเป็นสัญญาณว่าสงครามใกล้จะเริ่มขึ้นในไม่ช้า
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม เยอรมนีได้ยื่นข้อเสนอทางการทูตเป็นครั้ง
สุดท้าย ตามแผนการกรณีสีขาว เมื่อเที่ยงคืนของวันที่ 29 สิงหาคม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี โจอาคิม ฟอน ริบ
357/665

เบนทรอพ ได้จับมือกับเอกอัครราชทูตอังกฤษ เซอร์ เนวิลล์ เฮนเดอร์สัน


เพื่อประชุมร่วมกันถึงสันติภาพในอนาคต นครดานซิกนั้นจะคืนให้แก่
เยอรมนี และจะมีการลงประชา มติในฉนวนโปแลนด์ภายในปี 1939 และ
มีการเสนอให้แลกเปลี่ยนประชากรของทั้งสองประเทศ ผู้แทนโปแลนด์
เดินทางมายังกรุงเบอร์ลินและตอบรับข้อเสนอดังกล่าวเมื่อตอนเที่ยงวัน
ของวันที่ 30 สิงหาคม
คณะรัฐมนตรีอังกฤษได้ลงความเห็นแล้วก็ได้ข้อสรุปว่า ข้อตกลง
ดังกล่าว มีเหตุผลและยอมรับได้ ยกเว้นแต่การเรียกร้องโดยการยื่น
คำขาดของเยอรมนีเท่านั้น เมื่อผู้แทนโปแลนด์ได้เข้าพบริบเบนทรอพเมื่อ
วันที่ 30 สิงหาคม เขาได้ แจ้งแก่ริบเบนทรอพว่าเขานั้นไม่มีอำนาจ
สมบูรณ์ทจี่ ะลงนามในสัญญาดังกล่าว ริบเบนทรอพก็ให้เขาออกไป โดย
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้มกี ารแพร่ภาพทางโทรทัศน์ทั่วประเทศ
เยอรมนีในภายหลังว่า โปแลนด์ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว และการเจรจากับ
โปแลนด์ก็ได้มาถึงกาลสิ้นสุด
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม กองทัพเรือโปแลนด์ได้ส่งเรือพิฆาตตอร์ปิโด
ไปยังเกาะอังกฤษตามแผนปฏิบัติการปักกิ่ง ในวันเดียวกัน จอมพลแห่ง
โปแลนด์ เอ็ดเวิร์ด ริดซ์ สมิกลี่ ก็ได้ประกาศระดมพลทหารโปแลนด์ทั้ง
ประเทศ อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสได้กดดันให้เขายุตกิ ารระดมพลไว้ก่อน
เนื่องจากฝรั่งเศสยังคงเชื่อว่าปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการทางการ
358/665

ทูต แต่ฝรั่งเศสมิได้ตระหนัก ว่ากองทัพเยอรมันได้สั่งระดมพลไว้ล่วงหน้า


แล้ว และกำลังยกกองทัพเข้าประชิดพรมแดนโปแลนด์
ทางด้านโปแลนด์ เนื่องจากฝรั่งเศสได้กดดันให้หยุดการระดมพล
ทำให้โปแลนด์มที หารทั้งหมด 70% ของจำนวนทหารที่สามารถจะมีได้ใน
เวลานั้น และทหารจำนวนมากยังไม่ได้อยูใ่ นตำแหน่งของตนตามแผนการ
หรือไม่ก็กำลังเดินทางไปยังแนวชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์ ในคืนของ
วันที่ 31 สิงหาคม 1939 ทหารเยอรมันได้จัดฉากการโจมตีสถานีวิทยุใน
เมืองกลีวิซ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า “กรณีกลีวิซ” อันเป็นส่วนหนึ่งของ
ปฏิบัติการฮิมม์เลอร์ และฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้การโจมตีโปแลนด์เริ่มขึ้น
เมื่อ 4.45 น. ของวันรุ่งขึ้น
การรุกรานเริ่มต้นหนึ่งวันหลังจากกรณีกลีวิซ พฤติการณ์ดังกล่าวถือ
ได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปยุโรป จากการ
ประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนีของฝ่ายพันธมิตรตะวันตก เมื่อวันที่ 3
กันยายน แต่ก็มีผลต่อการทัพเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
กองทัพโปแลนด์
ครานี้ย้อนกลับมาดูการเตรียมทัพทางฝ่ายโปแลนด์กันบ้าง ระหว่างปี
1936 ถึงปี 1939 โปแลนด์ได้พัฒนาขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมของ
ตนให้มคี วามเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การเตรียมการเพื่อทำสงคราม
รับมือกับเยอรมนีนั้นได้ใช้เวลาไปหลายปี แต่โปแลนด์ไม่ได้คาดว่า
แผนการทำสงครามนั้นจะต้องถูกนำออกมาใช้ก่อน ค.ศ. 1942 ดังนั้น
359/665

โปแลนด์จึงขายเครื่องมือยุทโธปกรณ์ทันสมัยจำนวนมากของตนที่ได้ผลิต
ออกมา เพื่อเป็นการเพิ่มเงินทุนการผลิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรม
ในปี 1936 ทางรัฐบาลโปแลนด์ได้ออกคำสั่งให้เก็บระดมเงินทุนเพื่อ
เสริมกำลังให้แก่กองทัพบกของโปแลนด์ กองทัพโปแลนด์มขี นาดไม่ต่ำ
กว่าหนึ่งล้านนาย ทว่าพลทหารกว่าครึ่งเพิ่งถูกเรียกระดมพลในวันแรกของ
การรุกราน ทั้งยังไม่สามารถตั้งตัวกันได้ติด เนื่องจากการคมนาคมทางบก
ถูกตัดขาด จากการโจมตีของกองทัพอากาศเยอรมนี กองทัพโปแลนด์ยังมี
ยานเกราะน้อยกว่าเยอรมนี ยิ่งกว่านั้นยังถูกส่งกระจายออกไปร่วมกับ
กองทหารราบ ทำให้ไม่สามารถบังเกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่
โปแลนด์เคยมีประสบการณ์การรบในสงครามโปแลนด์-โซเวียตมา
แล้ว จึงพัฒนาและปรับปรุงระบบกองทัพ ไม่เหมือนกับการรบแบบสนาม
เพลาะในสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามครั้งนีเ้ ป็นการรบโดยอาศัย
ประสิทธิภาพการเคลื่อน ไหวของทหารม้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก
โปแลนด์นั้นมีข้อได้เปรียบจากประสิทธิภาพของทหารม้า แต่ว่ากลับไม่
ต้องการทีจ่ ะพัฒนาต่อไป เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาแพง และ
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ก็ไม่พบว่าได้มีการคิดค้นพบนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา
เลย ทั้งทีก่ องทัพโปแลนด์นั้นมีกองพลน้อยทหารม้าซึ่งใช้เป็นทหารราบ
เคลื่อนที่เร็ว และก็ยังมีประวัติการรบกับทหารราบและทหารม้าเยอรมันที่
ประสบความสำเร็จมาก่อนหน้านี้แล้ว
กองทัพเยอรมนี
360/665

กองทัพเยอรมันมีความเหนือกว่ากองทัพโปแลนด์ ทั้งทางด้าน
จำนวน และด้านคุณภาพ ทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมการ
รบครั้งนี้ กองทัพบกเยอรมันได้แบ่งรถถังจำนวน 2,400 คัน ออกเป็น 6
กองพลแพนเซอร์ และใช้หลักนิยมทางทหารแบบใหม่เพื่อใช้ในการรบ ซึ่ง
เป็นการนำกองพลยาน เกราะไปปฏิบัติการร่วมกับทหารหน่วยอื่นๆ มี
หน้าทีห่ ลัก คือ เจาะผ่านแนวรบ ของศัตรู แยกศัตรูออกจากกัน แล้วจึง
ปิดล้อมและทำลาย หลังจากนั้นหน่วยทหารยานยนต์ประเภทอื่นๆ และ
ทหารเดินเท้าจึงจะติดตามไป ส่วนกองทัพอากาศทำหน้าที่ยึดครองน่านฟ้า
ทั้งโดยยุทธศาสตร์และยุทธวิธี โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเครื่องบินทิ้งระเบิดซึ่ง
ทำหน้าทีท่ ำลายแหล่งเสบียงและการคมนาคมของศัตรู เมื่อรวมปฏิบัติการ
ทั้งหมดเข้าด้วยกันจะได้เป็นรูปแบบการโจมตีสายฟ้าแลบ
นักประวัติศาสตร์สองคน คือ บาซิล ลิดเดลล์ ฮาร์ตและ เอ. เจ. พี.
เทย์เลอร์ ได้กล่าวว่า “โปแลนด์เป็นสนามทดสอบการโจมตีสายฟ้าแลบ
อย่างเต็มรูปแบบ” อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์อีกหลายคนไม่เห็นด้วย
กับแนวความคิดนี้
เครื่องบินรบมีบทบาทสำคัญมากในการทัพครั้งนี้ มีการใช้เครื่องบิน
ทิ้งระเบิดเพื่อทำลายเมืองเป้าหมาย และสามารถสังหารพลเรือนของฝ่าย
ศัตรูได้เป็นจำนวนมาก กองทัพอากาศเยอรมันมีเครื่องบินรบ 1,180
เครื่อง เครื่องบินดำทิ้งระเบิด จังเกอร์ เจยู-87 สตูก้า 290 เครื่อง
เครื่องบินธรรมดา 1,100 เครื่อง เครื่องบินขนส่ง 550 เครื่องและ
เครื่องบินลาดตระเวนอีก 350 เครื่อง เมื่อรวมกันแล้วก็มจี ำนวนมากกว่า
361/665

4,000 เครื่อง และทั้งหมดมีประสิทธิภาพพร้อมทำการรบสมัยใหม่


เครื่องบินรบเยอรมันกว่า 2,315 เครื่องได้ถูกส่งมาเพื่อปฏิบัติ การครั้งนี้
และเนื่องจากว่ากองทัพอากาศเยอรมันได้มีประสบการณ์มาจาก
สงครามกลางเมืองสเปนก่อนหน้านี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า กองทัพอากาศ
เยอรมัน เป็นกองทัพอากาศทีม่ ีประสบการณ์ดที ี่สุด ได้รับการฝึกฝนอย่าง
ยอดเยี่ยมที่สุด และมียุทโธปกรณ์ที่เพียบพร้อมมากที่สุดของโลกในปี
1939
กองทัพโซเวียต
การร่วมลงนามในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ กับนาซี
เยอรมนี ซึ่งนำไปสู่การรุกรานโปแลนด์ ทั้งโดยนาซีเยอรมนีและโดย
สหภาพโซเวียต สิบหกวันหลังจากการเริ่มต้นรุกรานโปแลนด์โดยนาซี
เยอรมนี โซเวียตก็รุกรานโปแลนด์ร่วมกับนาซีเยอรมนี รัฐบาลโซเวียต
ประกาศว่า การกระทำของตนเป็น การปกป้องชาวยูเครนและชาวเบลารุส
เซียน ซึ่งอาศัยอยู่ทางตะวันออกของโปแลนด์ เนื่องจากรัฐโปแลนด์ได้ล่ม
สลายลงในการเผชิญหน้ากับการโจมตีจากเยอรมนี และไม่สามารถ
รับประกันความปลอดภัยให้กับพลเมืองของตนได้
กองทัพโซเวียตนั้นพร้อมรบเช่นเดียวกันกับเยอรมนี แต่ว่ารัฐบาล
ของทั้งเยอรมนีและสหภาพโซเวียตก็ไม่ได้เตรียมการสำหรับความขัดแย้ง
ในวงกว้าง กว่านั้น และต่อมาก็ได้เป็นที่รู้จักกันในนาม “ความผิดพลาด”
กองทัพโซเวียตได้แบ่งกำลังออกเป็นสองสาย และจัดเป็นแนวกว้างใหญ่
362/665

ผู้บัญชาการรบของแต่ละแนวนั้นมีอำนาจบังคับบัญชาทหารม้าและ
ทหารช่างกล สหภาพโซเวียตเริ่มทำการรบกับโปแลนด์เมื่อวันที่ 17
กันยายน 1939
กองทัพสโลวาเกีย
อีกชาติหนึ่งที่กระโดดเข้าร่วมโจมตีโปแลนด์คือ สโลวาเกีย
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1939 สาธารณรัฐสโลวักได้จัดตั้งเป็นรัฐหุ่นเชิด
โดยได้รับการสนับสนุนของเยอรมนี ในดินแดนของสโลวาเกีย เมื่อวันที่ 2
พฤศจิ กายน 1938 พื้นที่ส่วนใหญ่ของสโลวาเกียนั้นถูกยึดครองโดย
ฮังการี ซึ่งเป็นผลมาจากการตอบแทนที่กรุงเวียนนา และบางส่วนของสโล
วาเกียยังถูกยึดครองโดยโปแลนด์และเยอรมนีอีกด้วย
ระหว่างการประชุมอย่างลับๆ กับผู้แทนเยอรมันระหว่างวันที่ 20-21
กรกฎาคม 1939 รัฐบาลสโลวาเกียนั้นตกลงใจที่จะร่วมรบกับโปแลนด์
นอกจากนั้นยังยอมให้เยอรมนีใช้ประเทศของตนเป็นดินแดนเพื่อใช้เตรียม
กำลังพล เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม สโลวาเกียก็ประกาศระดมพล (ได้ทหาร
จำนวนกว่า 160,000 นาย) และจัดตั้งกองทัพใหม่ภายใต้ชื่อรหัสว่า “เบอร์
โนลัค” โดยมีทหารประจำ การ 51,306 นาย ทหารสโลวักพบกับการ
ต้านทานเพียงเล็กน้อยเท่านั้นระหว่างการรุกราน
แผนการเริ่มต้นของเยอรมนี
363/665

แผนการรุกรานโปแลนด์ของฝ่ายเยอรมนีร่างขึ้นโดย นายพล
ฟรานซ์เฮลเดอร์ หัวหน้ากองเสนาธิการเยอรมัน โดยการรุกรานจะอยู่
ภายใต้อำนาจบัญชาการของนายพล วอลเทอร์ ฟอน เบราคิทช์ ซึ่งเป็น
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของการรุกรานครั้งนี้
ก่อนที่สงครามจะเริ่มต้น ก็ได้มีความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่ายอยู่
ก่อนหน้านี้แล้ว และนำไปสู่หลักการปิดล้อมและทำลายข้าศึกจำนวนมาก
ทหารราบซึ่งเคลื่อนที่ได้ช้า แต่ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากปืนใหญ่เร็ว
และการส่งกำลังบำรุงที่ดี มีหน้าที่ที่จะต้องสนับสนุนการทำการรบของรถถัง
และรถบรรทุก ทหาร เพื่อเพิ่มความเร็วให้แก่การโจมตี และการปิดล้อม
แนวของข้าศึก ในการ รุกรานโปแลนด์ครั้งนี้ได้มีการนำเอาแผนการการรบ
ด้วยยานเกราะ (หรือที่นักหนังสือพิมพ์อเมริกันเรียกว่า การโจมตีสายฟ้า
แลบ) ไปใช้โดยนายพล ไฮนส์ กูเดอเรียน โดยใช้วิธีการให้ยานเกราะเจาะ
ผ่านแนวข้าศึก จากนั้นก็รุกเข้าไปทาง ด้านหลัง แต่ว่าแท้จริงแล้ว การรบ
ในโปแลนด์ยังคงเป็นการรบแบบแนวรบดั่งในอดีต เนื่องจาก
ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของฝ่ายเยอรมนีนั้นสงวนยานเกราะและกองกำลัง
เครื่องยนต์ไว้เพื่อสนับสนุนการทำการรบของทหารราบ ซึ่งกลับกันจาก
แผนการการโจมตีสายฟ้าแลบ
ภูมิประเทศในโปแลนด์นั้นเหมาะมากสำหรับปฏิบัติการด้วยยาน
เกราะ ถ้าหากลมฟ้าอากาศเป็นใจ โปแลนด์มีลักษณะเป็นที่ราบ ซึ่ง
สามารถทำการรบได้เป็นแนวยาวเกือบ 5,600 กิโลเมตร ชายแดนของ
364/665

โปแลนด์ติดต่อกับเยอรมนี ทั้งทางทิศตะวันตกและทิศเหนือติดต่อกันกว่า
2,000 กิโลเมตร รวมไปถึงชายแดนด้านทิศใต้อีกเกือบ 300 กิโลเมตร ซึ่ง
เยอรมนีได้รับมาจากข้อตกลงมิวนิค และส่งผลให้สโลวาเกียตกอยูใ่ น
กำมือของเยอรมนี ซึ่งหมายความว่า แนวชายแดนด้านทิศใต้ตกอยูใ่ น
สภาวะล่อแหลม
เสนาธิการของเยอรมนีได้วางแผนการโจมตี โดยแยกกันโจมตีออก
เป็นสามทิศทางหลัก คือ
การโจมตีหลักทางชายแดนด้านตะวันตกของโปแลนด์ กองทัพกลุ่ม
ใต้ ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลเกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์ จากแคว้น
ซิลีเซีย แคว้นโมราเวียน และจากชายแดนสโลวัก ด้านกองทัพที่แปดของ
นายพลโยฮันเนส บลัสโควิทซ์ จะโจมตีไปทางทิศตะวันออกตรงเมือง
ลอด์ซ ด้านกองทัพ ที่สิบสี่ของนายพลวิลเฮล์ม ลิสท์ จะมุ่งหน้าสู่เมืองครา
โควและโอบกองทัพโปแลนด์ทเี่ ทือกเขาคาร์พาเธียน และกองทัพที่สิบของ
นายพลวอลเทอร์ ฟอน ไรเชนเนา ทางตอนกลางร่วมกับกองกำลังยาน
เกราะของกองทัพกลุ่มใต้จะเข้าตีทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี
และมุ่งหน้าสู่ใจกลางของโปแลนด์
สายที่ 2 จะโจมตีมาจากทางตอนเหนือของแคว้นปรัสเซีย นายพล
เฟดอร์ ฟอน บอค ผู้บัญชาการกองทัพกลุ่มเหนือ ร่วมกับกองทัพที่สาม
ของนายพลจอร์จ ฟอน คึชเลอร์ จะโจมตีลงมาทางใต้ และกองทัพที่สขี่ อง
กึนเธอร์ ฟอน คลุเกอ จะโจมตีไปทางตะวันออกสู่ฉนวนโปแลนด์
365/665

สายที่ 3 กองทัพสโลวาเกียจะโจมตีขึ้นไปทางทิศเหนือ ร่วมกับ


กองทัพกลุ่มใต้ จากภายในโปแลนด์ ชาวเยอรมันจะทำการปั่นป่วนและก่อ
วินาศกรรม ซึ่งเป็นแผนการที่ได้วางเอาไว้ตั้งแต่ก่อนสงคราม
การโจมตีทั้งสามสายนั้นจะมาบรรจบกันที่กรุงวอร์ซอ ขณะที่กองทัพ
โปแลนด์ส่วนใหญ่จะถูกโอบล้อมและถูกทำลายทางทิศตะวันตกของแม่น้ำ
วิสตูล่า ปฏิบัติการกรณีสีขาวได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 และถือ
ได้ว่าเป็นปฏิบัติการแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปยุโรป
แผนการของเยอรมนีถูกทักท้วงโดยพันธมิตรอิตาลี เพราะอิตาลีคิด
ว่าเยอรมนีจะไม่ทำสงครามอีกเป็นเวลาสามปีขึ้นไป เนื่องจากกองทัพอิตาลี
ยังคงอ่อนแอหลังจากสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 2
แผนการเริ่มต้นของโปแลนด์
แผนการตั้งรับของโปแลนด์ ใช้ชื่อรหัสว่า แผนตะวันตก ซึ่งตั้งอยู่
บนนโยบายทางการเมืองในการการจัดวางกองทัพตามแนวชายแดน
เยอรมนี-โปแลนด์ ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะได้รับความช่วยเหลือจาก
ฝ่ายสัมพันธมิตรในกรณีที่ถูกรุกรานจากเยอรมนี นอกเหนือจากนั้น ยัง
รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติ จำนวนมหาศาล เขตอุตสาหกรรมและเขตที่
ประชากรอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น ในแคว้นซิลีเซีย ทางทิศตะวันตก
นโยบายของโปแลนด์ได้กำหนดการป้องกันหลักโดยการรวมศูนย์การ
ป้องกันพื้นที่ดังกล่าวไว้
366/665

เนื่องจากนักการเมืองโปแลนด์จำนวนมากเกรงว่าหากตนต้องล่าถอย
ออกจากแคว้นซิลีเซียแล้ว อังกฤษและฝรั่งเศสก็อาจจะยอมตกลงเซ็น
สนธิสัญญาแยกต่างหากกับเยอรมนีเสียเอง ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์อันนำไป
สู่การลงนามในข้อตกลงมิวนิค ในปี 1938
นอกจากนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรก็มิได้ให้คำมั่นว่าจะช่วยธำรงรักษา
แนวชายแดนของโปแลนด์หรือบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นพิเศษ ดังนั้น
โปแลนด์จึงไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของฝรั่งเศสที่ให้จัดวางกองทัพหลังแนว
ป้องกันธรรมชาติ คือ หลังแม่น้ำวิสตูล่า และแม่น้ำซาน แม้ว่านายพลบาง
นายของโปแลนด์จะได้พยายามสนับสนุนแผนการดังกล่าวก็ตาม แผน
ตะวันตกทีไ่ ด้ร่าง ขึ้น ไม่อนุญาตให้กองทัพโปแลนด์ถอยกลับเข้ามาสู่
ประเทศ แต่ให้ค่อยๆ ล่าถอย มายังตำแหน่งแม่น้ำสำคัญ ซึ่งจะทำให้
โปแลนด์ระดมพลจนครบจำนวน และจะสามารถโจมตีโต้กลับได้
พร้อมกับการเข้าตีเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตรตาม ที่ได้สัญญากันไว้แล้ว
และแผนการขั้นสุดท้ายของโปแลนด์ คือ แผนการถอนทัพกลับข้ามแม่น้ำ
ซานไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเตรียมตัวทำศึกยืดเยื้อกับเยอรมนีที่
เขตหัวสะพานโรมาเนีย
ส่วนทางด้านฝรั่งเศสและอังกฤษก็ประเมินว่ากองทัพโปแลนด์จะ
สามารถตั้งรับไว้ได้เป็นเวลาสองถึงสามเดือน ขณะที่โปแลนด์คาดว่าจะ
สามารถ ตั้งรับได้เป็นเวลาหกเดือน แผนการทั้งหมดนี้ โปแลนด์คาดว่า
ฝ่ายสัมพันธมิตร จะทำตามสนธิสัญญาทางทหารและจะโจมตีเยอรมนี
367/665

อย่างรวดเร็ว แต่ว่าในขณะทีก่ ารรบยังดำเนินไป ฝ่ายสัมพันธมิตรกลับ


มิได้เตรียมตัวเพื่อการต่อสู้กับเยอรมนีแต่ประการใด เพียงแต่รอเวลา
เท่านั้น
ทั้งสองประเทศนั้นมองว่า สงครามจะพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบของการ
รบแบบสนามเพลาะเหมือนกับในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งผลที่เกิดขึ้น
หลังจากนั้น ก็คือ เยอรมนีจำต้องเซ็นสนธิสัญญาสันติภาพเพื่อฟื้นฟูแนว
ชายแดนเยอรมนี-โปแลนด์ ดังนั้น แผนการทั้งหมดของโปแลนด์จึงไร้
ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง เมื่อต้องฝากอนาคตของชาติไว้กับคำมั่นสัญญา
ของฝ่ายสัมพันธมิตร
กองทัพโปแลนด์ได้จัดวางกำลังอย่างหลวมๆ และมีความอ่อนแอเมื่อ
เทียบกับแนวชายแดนอันยาวเหยียดของประเทศ นอกจากนั้นยังไม่มกี าร
จัดแนวป้องกันอย่างเหมาะสม และยังตั้งอยู่บนชัยภูมิที่เสียเปรียบอีกด้วย
ซึ่งแผนการดังกล่าวมีโอกาสทีจ่ ะเปลี่ยนเป็นความหายนะใหญ่หลวง หากว่า
ไม่สามารถป้องกันแนวชายแดนของประเทศในช่วงแรกของการรุกรานได้
และการวางกำลังดังกล่าวยังเอื้อประโยชน์ต่อกองกำลังยานยนต์ของ
เยอรมนี ซึ่งสามารถปิดล้อมกองกำลังโปแลนด์ได้บ่อยครั้ง ด้านแนวขนส่ง
เสบียงของกองทัพโปแลนด์ก็ได้รับการป้องกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
กองทัพโปแลนด์อย่างน้อยหนึ่งในสามถูกส่งไปขัดตาทัพเยอรมันในเขต
ฉนวนโปแลนด์ ทำให้กองทหาร เหล่านี้ตกอยู่ในสภาวะปากคีม ซึ่งจะถูก
บีบเข้ามาเมื่อกองทัพเยอรมันโจมตี ทางด้านทิศใต้
368/665

กองทัพทหารม้าพ้นสมัยของโปแลนด์เตรียมรับมือยานเกราะติดอาวุธหนักของฝ่ายเยอรมนี

กองทัพโปแลนด์เผชิญหน้ากับกองทัพหลักของเยอรมนี แต่ทว่าก็มี
การป้องกันอย่างเปราะบางเช่นกัน ในเวลาเดียวกันนี้ กองทัพโปแลนด์อีก
กว่าหนึ่งในสามได้กระจุกอยู่ทางภาคเหนือของประเทศตามหัวเมืองหลัก
เท่านั้น ได้แก่ ลอดซ์และวอร์ซอ
การกระจายกำลังของกองทัพโปแลนด์นี้จะทำให้หมดโอกาสที่กองทัพ
โปแลนด์จะหยุดยั้งการรุกรานของเยอรมนี นอกจากนั้นแล้ว กองทัพ
โปแลนด์ส่วนใหญ่ยังต้องเดินเท้า กองทัพโปแลนด์จึงไม่สามารถผนึกกำลัง
กันได้เลยเมื่อถูกบุกทะลวงเข้าใส่โดยกองกำลังยานยนต์ของเยอรมนี
369/665

การตัดสินใจด้วยเหตุผลทางการเมืองดังกล่าวนี้ไม่ได้เป็นความผิด
พลาด เดียวของยุทธศาสตร์จากกองบัญชาการระดับสูงของโปแลนด์
เท่านั้น การโฆษณาชวนเชื่อของโปแลนด์ก่อนสงครามนั้นได้ปลูกฝังแก่
ประชาชนว่าการรุกรานของเยอรมนีจะถูกขับไล่ออกไปได้อย่างง่ายดาย
ดังนั้นเมื่อโปแลนด์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ประชาชนจึงตื่นตระหนกกับเหตุการณ์
ดังกล่าวมาก ประชาชนชาวโปแลนด์ไม่ได้เตรียมตัวพร้อมรับมือกับ
สถานการณ์การยึดครองเลยประชาชนจำนวนมากรู้สึกเสียขวัญและ
หลบหนีไปทางทิศตะวันออก และยังก่อให้เกิดความวุ่นวายภายในประเทศ
ซึ่งส่งผลให้ขวัญกำลังใจของทหารตกต่ำ ลง และการขนส่งทางถนนของ
โปแลนด์กลายเป็นอัมพาต
การโฆษณาชวนเชื่อยังได้ส่งผลร้ายต่อกองทัพโปแลนด์เอง เนื่องจาก
กองกำลังยานยนต์ของเยอรมนีได้ทำการกีดขวางการติดต่อสื่อสารของ
กองทัพ โปแลนด์ ทำให้ข่าวจากสนามรบถูกบิดเบือนไป โดยหนังสือพิมพ์
และสถานีวิทยุ มักจะกล่าวสดุดีถึงชัยชนะและปฏิบัติการทางทหารที่วาด
ฝันขึ้น ทำให้กองทัพโปแลนด์ถูกโอบล้อมหรือไม่กต็ ้องยืนหยัดสู้กับศัตรูที่
มีจำนวนเหนือกว่ามาก เมื่อทหารเหล่านั้นมีความเชื่อว่าพวกตนกำลังทำการ
ตีโต้หรือกำลังจะได้รับกำลังเสริมเพิ่มเติมจากสถานที่รบอื่นๆ ซึ่งกองทัพ
ของตนได้รับชัยชนะมาแล้ว
การรุกรานของเยอรมนี (1 กันยายน 1939)
370/665

การโจมตีหลักของเยอรมนีนั้นจะเข้ามาทางแนวชายแดนทางด้าน
ตะวันตก โดยได้รับการสนับสนุนจากการโจมตีสายที่ 2 ซึ่งมาจากแคว้นป
รัสเซีย ทางทิศเหนือ และพันธมิตรของเยอรมนี คือ สโลวาเกีย ก็บุกมา
จากทางทิศใต้ โดยมุ่งหน้าสู่กรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของโปแลนด์
ฝ่ายสัมพันธมิตรประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน
1939 แต่ว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศก็ไม่อาจให้ความช่วยเหลือทางการ
ทหารแก่โปแลนด์ได้มากนัก ตามแนวชายแดนฝรั่งเศส-เยอรมนีได้มกี าร
สู้รบกันอย่างประปราย ถึงแม้ว่ากองทัพเยอรมันจะรักษาแนวชายแดน
เพียงน้อยนิดก็ตาม (กว่า 85% ของกองกำลังยานยนต์เยอรมันกำลังทำ
การรบในโปแลนด์) เมื่อเวลา ผ่านไป ความเหนือกว่าทางยุทธวิธี
ยุทโธปกรณ์และจำนวนของกองทัพเยอรมัน ก็ได้ทำให้กองทัพโปแลนด์
จำเป็นต้องล่าถอยไปยังกรุงวอร์ซอและเมืองโลฟว์ ส่วนทางด้านลุควาฟเฟ
สามารถครองน่านฟ้าได้ในช่วงเวลาแรกๆ ของการรุกราน ลุควาฟเฟนั้นได้
ทำลายระบบการติดต่อสื่อสารของโปแลนด์ ซึ่งทำให้กองทัพเยอรมัน
สามารถรุดหน้าต่อไป สนามบินโปแลนด์ถูกยึด ระบบการเตือนภัยล่วง
หน้าไม่ทำงาน และทำให้การส่งกำลังบำรุงของโปแลนด์ประสบปัญหาอย่าง
หนัก กองทัพอากาศของโปแลนด์ขาดเสบียง เครื่องบินของโปแลนด์ 98
ลำได้บินไปยังประเทศโรมาเนียซึ่งยังคงเป็นกลางอยู่ กองทัพอากาศ
โปแลนด์ซึ่งเคยมีเครื่องบินอยู่ 400 ลำ เมื่อวันที่ 1 ถูกทำลายจนเหลือ
เพียง 54 ลำ เมื่อวันที่ 14 และหลังจากนั้น กองทัพอากาศโปแลนด์กไ็ ม่
สามารถออกปฏิบัติการได้อีกต่อไป
371/665

เมื่อวันที่ 3 กันยายน เมื่อกองทัพของนายพลกึนเธอร์ ซึ่งโจมตีมา


จากทางเหนือไปถึงเขตแม่น้ำวิสตูล่า (ซึ่งอยูห่ ่างจากแนวชายแดนของ
เยอรมนีเดิมในขณะนั้นประมาณ 10 กิโลเมตร) และกองทัพของนายพล
จอร์จก็ไปถึงเขตแม่น้ำนาร์รอว์ ทางด้านกองกำลังยานเกราะของนายพลวอ
ลเทอร์ ก็ได้เข้าถึงเขตแม่น้ำวาร์ท่า อีกสองวันต่อมา ทางปีกซ้ายของ
กองกำลังยานเกราะก็พุ่งเข้าสูท่ างด้านหลังของเมืองลอด์ซ และปีกขวานั้น
อยูท่ ี่เมืองไคลซี และจนถึงวันที่ 8 กันยายน กองกำลังยานเกราะบางส่วน
ของเขาก็ได้ตั้งอยูน่ อกกรุงวอร์ซอ กองกำลังยานเกราะของเยอรมนีได้
เคลื่อนที่มาไกลกว่า 225 กิโลเมตรจากแนวชายแดนทิศตะวันตกในช่วง
เวลาสัปดาห์แรกของการรุกราน กองพลน้อยของนายพลวอลเทอร์นั้น
ตั้งอยูบ่ นแถบแม่น้ำวิสตูล่า ระหว่างกรุงวอร์ซอกับเมืองซานโดเมิร์ซ ใน
วันที่ 9 กันยายน ขณะที่กองทัพของนายพลวิลเฮล์มจากทางทิศใต้ ตั้งอยู่
ที่แม่น้ำซานและทางใต้ของเมืองเพทเซมมายและนายพลไฮนส์ได้นำ
กองทัพรถถังทีส่ ามข้ามแม่น้ำนารอว์ และโจมตีแนวรบโปแลนด์ที่แม่น้ำบั๊ก
และปิดล้อมกรุงวอร์ซออย่างสมบูรณ์ กองทัพเยอรมันนั้นสามารถบรรลุถึง
จุดประสงค์ของปฏิบัติการกรณีสีขาว กองทัพโปแลนด์ถูกตัดขาดออกจาก
กัน ซึ่งกองทัพบางแห่งได้ถอนตัวออกไปขณะทีบ่ างส่วนได้ทำการโจมตี
อย่างไม่ปะติด ปะต่อกันกับสถานการณ์และแผนการโดยรวม
ด้านกองทัพโปแลนด์ได้ถอนกำลังออกจากแคว้นโพเมอราเนีย แคว้น
เกรทเทอร์โปแลนด์ และแคว้นซิลีเซีย ในช่วงสัปดาห์แรกเท่านั้น แผนการ
ตั้งรับ ตามแนวชายแดนของโปแลนด์นั้นได้รับพิสูจน์แล้วว่าประสบความ
372/665

ล้มเหลวอย่างใหญ่หลวง การรุกรานของเยอรมนีมิได้ช้าลงแต่อย่างใด เมื่อ


ถึงวันที่ 10 กันยายน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของโปแลนด์ จอมพลเอ็ด
เวิร์ด ริดซ์ สมิกลี่ ได้ออกคำสั่งให้ถอยทัพครั้งใหญ่ทั่วประเทศไปทาง
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไปยังเขตหัวสะพานโรมาเนีย
ในเวลาไม่นานนัก กองทัพเยอรมันก็ได้บีบวงล้อมกองทัพโปแลนด์
ซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำวิสตูล่า และยังสามารถโจมตี
ทะลุข้าม ไปยังภาคตะวันออกของโปแลนด์ ด้านกรุงวอร์ซอ ซึ่งเป็น
เป้าหมายการทิ้งระเบิด ทางอากาศตั้งแต่ชั่วโมงแรกของการรุกราน ได้ถูก
โจมตีเมื่อวันที่ 9 กันยายนและอยู่ใต้วงล้อมเมื่อวันที่ 13 กันยายน ใน
เวลาเดียวกันนี้ กองทัพเยอรมันได้เคลื่อนไปถึงเมืองโลฟว์ ซึ่งเป็นมหานคร
ทางตะวันออกของโปแลนด์ และในวันที่ 24 กันยายน เครื่องบินทิ้งระเบิด
เยอรมันจำนวน 1,150 ลำได้เข้าถล่มกรุงวอร์ซออย่างหนัก
ยุทธการที่ใหญ่ที่สุดในการรบครั้งนี้ คือ ยุทธการแม่น้ำบาซูร่า ณ
แม่น้ำบาซูร่า ทางตะวันตกของกรุงวอร์ซอ ระหว่างวันที่ 9-19 กันยายน
กองทัพโปแลนด์สองกองทัพล่าถอยมาจากฉนวนโปแลนด์ และโจมตีทาง
ปีกของกองทัพที่แปดของเยอรมนี แต่ก็ล้มเหลว หลังจากการรบครั้งนี้
กองทัพโปแลนด์ก็ไม่สามารถทำการรบและการตีโต้ได้อีก อำนาจทาง
อากาศของเยอรมันนั้นมีส่วนสำคัญในการรบนี้ ลุควาฟเฟได้ทำลาย
กองทัพโปแลนด์ที่เหลือใน “การสาธิตที่น่าหวาดเสียวของอำนาจทาง
อากาศ”
373/665

ไม่นานนัก ลุควาฟเฟก็ทำลายสะพานข้ามแม่น้ำบาซูร่า กองทัพ


โปแลนด์ ถูกดักอยู่ในที่โล่ง และถูกถล่มจากเครื่องบินสตูก้าระลอกแล้ว
ระลอกเล่า ด้วยการทิ้งระเบิดขนาด 50 กิโลกรัม ด้านกองกำลังต่อต้าน
อากาศยานของโปแลนด์ ก็กระสุนหมดต้องถอยเข้าป่า แต่ลุควาฟเฟก็
สามารถตรวจพบและทำลายกองทัพโปแลนด์ที่เหลืออย่างง่ายดาย
รัฐบาลโปแลนด์และเหล่านายทหารระดับสูงได้หลบหนีจากกรุงวอร์
ซอในวันแรกของการรุกราน และมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไป
ยังเมืองเบอเซค เมื่อถึงวันที่ 6 จอมพลของโปแลนด์ เอ็ดเวิร์ด ริดซ์ สมิ
กลี่ได้สั่งให้กองกำลังต้านทานของโปแลนด์ล่าถอยไปยังทิศทางเดียวกัน
หลังแม่น้ำวิสตูล่าและแม่น้ำซาน และเริ่มต้นการตั้งรับอันยาวนานในเขต
หัวสะพานโรมาเนีย
การรุกรานของสหภาพโซเวียต (17 กันยายน 1939)
ก่อนการรุกราน รัฐบาลเยอรมนีได้ทวงถามต่อโจเซฟ สตาลินและว
ยาเชสลาฟ โมโลตอฟหลายครั้ง เพื่อเรียกร้องให้สหภาพโซเวียตกระทำ
ตามสนธิสัญญาเดือนสิงหาคม และโจมตีโปแลนด์ทางตะวันออก
สหภาพโซเวียตมีความกังวลต่อการรุกรานอย่างรวดเร็วของเยอรมนี และ
เกรงว่าตนจะเสียผลประโยชน์ตามทีไ่ ด้ตกลงกันไว้ กองทัพโซเวียตจึงทำ
การรุกรานโปแลนด์เมื่อวันที่ 17 กันยายน และยังได้มีการตกลงว่า
สหภาพโซเวียตจะยอมสละแนวชายแดน ที่กำหนดไว้กับเยอรมนีเดิมและ
กรุงวอร์ซอเพื่อแลกเปลี่ยนกับการยึดครองลิทัวเนีย สหภาพโซเวียต
374/665

สนับสนุนการรุกรานของเยอรมนี นายโมโลตอฟได้กล่าวสุนทรพจน์
หลังจากโปแลนด์พ่ายแพ้ว่า:
“เยอรมนี กับประชากร 80 ล้านคน นั้น ได้รับการยอมรับจาก
ประเทศเพื่อนบ้านในความยิ่งใหญ่ และมีกำลังทหารอันแข็งแกร่งอย่าง
แท้จริง โดยได้กลายเป็นคู่แข่งสำคัญของพวกจักรวรรดินิยมในทวีปยุโรป
อย่างอังกฤษและ ฝรั่งเศสอย่างเห็นได้ชัด นั่นเป็นเหตุผลที่หลายประเทศ
ประกาศสงครามกับเยอรมนี โดยอ้างว่าเป็นการทำตามพันธะที่มตี ่อ
โปแลนด์ บัดนี้จึงเห็นได้ชัดเจน แล้วว่า ความประสงค์อันแท้จริงของคณะ
รัฐมนตรีจากประเทศเหล่านี้ผิดแผกไปจากความ ตั้งใจช่วยเหลือประเทศที่
ถูกยึดครองอย่างโปแลนด์กับเชคโกสโลวาเกียมากเพียง ใด”
เมื่อถึงวันที่ 17 กันยายน การตั้งรับของโปแลนด์กถ็ ูกทำลาย เหลือ
เพียง แต่ความหวังที่จะล่าถอยและไปรวมตัวกันใหม่ในเขตหัวสะพานโรมา
เนีย แต่ทว่าแผนการก็เปลี่ยนไปเพียงชั่วข้ามคืน เมื่อกองทัพแดงอัน
เกรียงไกรของสหภาพโซเวียตจำนวน 800,000 นายเข้าโจมตีทาง
ทิศตะวันออก ซึ่งเป็นการฝ่าฝืน สนธิสัญญาสันติภาพริกา และสนธิสัญญา
ไม่รุกรานระหว่างโปแลนด์-สหภาพโซเวียต รวมทั้งสนธิสัญญาระหว่าง
ประเทศอีกเป็นจำนวนมาก
นักการทูตของโซเวียตได้อ้างว่าสหภาพโซเวียตกำลังปกป้องชาวยูเค
รน และชาวเบลารุสในโปแลนด์ตะวันออกเมื่อประเทศโปแลนด์ใกล้จะล่ม
สลาย นายโมโลตอฟได้กล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันที่ 17 กันยายน ว่า
375/665

“เหตุการณ์ที่ได้นำไปสู่สงครามเยอรมนี-โปแลนด์ได้เผยให้เห็นถึง
ความ เปราะบางภายในและความอ่อนแออย่างเห็นได้ชัดของโปแลนด์
โปแลนด์นั้นเปรียบเสมือนกับคนสิ้นเนื้อประดาตัว... กรุงวอร์ซอในฐานะ
เมืองหลวงของโปแลนด์นั้นล่มสลายไปเสียแล้ว ไม่มีผู้ใดรับรู้ถึงถิ่นแถว
ของรัฐบาลโปแลนด์อีก ชาวโปแลนด์ถูกทอดทิ้งจากผู้นำที่หมดประกาย ซึ่ง
ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของพวกเขาได้อีกแล้ว จะไม่มีโปแลนด์
กับรัฐบาลโปแลนด์อีกต่อไป ความสัมพันธ์และสนธิสัญญาใดๆ ที่
เชื่อมโยงระหว่างโปแลนด์กับสหภาพโซเวียตก็ได้สิ้นสุดลง สถานการณ์ที่
ได้เกิดขึ้นในโปแลนด์ทำให้รัฐบาลโซเวียตต้อง หันมาเอาใจใส่กับความ
ปลอดภัยของรัฐนี้ โปแลนด์อาจกลายเป็นแหล่งกำเนิด ของกองกำลังอัน
ไม่คาดคิดซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับสหภาพโซเวียตได้... นอกเสียจาก
จะมาอยู่ในความคุ้มครองของรัฐบาลโซเวียต เพื่อรักษาชะตากรรม ของ
พี่น้องร่วมสายเลือดกันกับเรามิให้เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ ชาวยูเครนและ
ชาวเบลารุส (พวกรัสเซียขาว) ซึ่ง อาศัยอยู่ในโปแลนด์มาแต่เดิม ผู้ซึ่ง
ปราศจากสิทธิอันชอบธรรมและไม่ได้รับการเหลียวแลในชะตากรรมของ
พวกเขา เลย รัฐบาลโซเวียตเห็นว่าเป็นหน้าทีอ่ ันสูงส่งทีจ่ ะให้ความ
ช่วยเหลือแก่ชาว ยูเครนและชาวเบลารุสพี่น้องของเราซึ่งอาศัยอยูใ่ น
โปแลนด์เหล่านี้”
แนวชายแดนด้านตะวันออกของโปแลนด์นั้นได้รับการป้องกันโดย
กองกำลังพิทักษ์ชายแดน ซึ่งมีกำลังพลประมาณ 25 กองพัน จอมพลเอ็ด
เวิร์ด ริดซ์ สมิกลีไ่ ด้ออกคำสั่งให้กองกำลังเหล่านี้ล่าถอยโดยไม่ต้านทาน
376/665

การรุกรานของสหภาพโซเวียต แต่ว่าก็ยังเกิดการรบประปรายหลายครั้ง
เช่น ยุทธการกรอดโน ซึ่งทหารและพลเรือนท้องถิ่นพยายามป้องกันเมือง
ไว้อย่างเหนียวแน่น ระหว่าง การรุกราน ทหารโซเวียตได้สังหารชาว
โปแลนด์อย่างเลือดเย็น
ด้านองค์การชาตินิยมแห่งยูเครนก็ได้ลุกขึ้นสู้กับชาวโปแลนด์ และผู้
ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ทั้งหลายก็ลุกขึ้นก่อการปฏิวัตใิ นท้องถิ่น ปล้นขโมย
ทรัพย์
377/665

ครอบครัวพลเรือนชาวโปแลนด์หนบภัยสงครามในกรุงวอร์ซอว์

และสังหารชาวโปแลนด์ ขบวนการเหล่านี้ต่อมาได้รับการฝึกฝนจาก
กลุ่มผู้ตรวจ การพลเรือนแห่งราชการภายในของสหภาพโซเวียต (เอ็นเควี
ดี) การรุกรานของสหภาพโซเวียตในครั้งนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัฐบาล
โปแลนด์เริ่มเชื่อว่าตนจะเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ก่อนการโจมตีของ
378/665

สหภาพโซเวียตในทางตะวันออก จึงมีคำสั่งให้ทัพโปแลนด์ที่ตั้งรับเยอรมนี
ในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเริ่มการถอยทัพ ขณะที่ยังคงรอคอย
ความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรว่าจะมาโจมตีทางตะวันตกของ
เยอรมนี
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยอมจำนนหรือเจรจากับ
เยอรมนี กองทัพโปแลนด์ส่วนที่เหลือได้รับคำสั่งให้อพยพออกจาก
โปแลนด์และรวมตัวกันใหม่ในฝรั่งเศส
ในเวลาเดียวกันนี้ กองทัพโปแลนด์พยายามจะเคลื่อนตัวไปยังเขต
หัวสะพานโรมาเนีย และยังคงต้านทานการรุกรานของเยอรมนี ตั้งแต่วันที่
17-20 กันยายน กองทัพโปแลนด์สองกองทัพคราโคว และลูบลิน ถูกตรึง
ไว้ที่โทมาซอฟ ลูบเบลสกี้ ซึ่งเป็นยุทธการที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของการ
รุกรานครั้งนี้ ด้านเมืองโลฟว์ ก็ยอมจำนนเมื่อวันที่ 22 เนื่องจากถูกบีบ
จากกองทัพโซเวียต เมืองนี้เคยถูกกองทัพเยอรมันโจมตีเมื่อสัปดาห์ก่อน
กองทัพเยอรมันจับมือกับกองทัพโซเวียตในระหว่างการล้อมเมืองครั้งนั้น
ส่วนทางด้านเมืองหลวง กรุงวอร์ซอ ก็มกี ารต้านทานอย่างหนักจาก
ทหารโปแลนด์ทลี่ ่าถอยเข้าสู่เมืองหลวง อาสาสมัครพลเรือนและกองทหาร
อาสาสมัคร จนกระทั่งวันที่ 28 กันยายน ปราการมอดลิน ยอมจำนนเมื่อ
วันที่ 29 กันยายน หลังจากการรบเป็นเวลานานถึง 16 วัน เหล่าทหารที่
ถูกตัดขาดสู้จนกระทั่งตำแหน่งถูกล้อมไว้โดยกองทัพเยอรมัน ส่วนทีท่ ่า
เวสเทอร์แพลท ได้ยอมจำนนไปตั้งแต่วันที่ 7 กันยายนเรียบร้อยแล้ว
379/665

เมืองออคซีไวยอมจำนนเมื่อวันที่ 19 กันยายน เมืองเฮลยอมจำนนเมื่อ


วันที่ 2 ตุลาคม และในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกันยายน 1939 ฮิตเลอร์
ได้กล่าวปราศรัยที่นครดานซิกว่า “โปแลนด์จะไม่อาจรุ่งเรืองขึ้นเป็น
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์ได้อีก นีม่ ิใช่เพียงคำ
รับรองจากเยอรมนีเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึง... สหภาพโซเวียตด้วย”
แม้ว่าโปแลนด์จะได้รับชัยชนะที่แซค หลังจากที่ทหารโซเวียต
ประหารนายทหารโปแลนด์ที่ถูกจับตัวได้จนหมดสิ้น แต่กระนั้นกองทัพ
โซเวียตก็สามารถ บรรลุถึงแม่น้ำนารอว์ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำบั๊ก แม่น้ำวิ
สตูล่าและแม่น้ำซาน ภายในวันที่ 28 กันยายน โดยได้พบกับกองกำลัง
เยอรมันที่กำลังรุกเข้ามาจาก ทางตะวันตกหลายครั้ง ทหารโปแลนด์ใน
คาบสมุทรเฮลได้ต้านทานจนถึงวันที่ 2 ตุลาคม กองทัพโปแลนด์กอง
สุดท้าย กองทัพอิสระกลุ่มโปลิเซ่ ภายใต้การ นำของนายพลฟรานซิแซก
คลีเบิร์กได้ยอมจำนนหลังจากยุทธการค็อก ใกล้เมืองลูบลิน เมื่อวันที่ 6
ตุลาคม อันเป็นจุดสิ้นสุดของการรุกราน
หันมาดูปฏิกิริยาของฝรั่งเศสและอังกฤษหลังการรุกของโซเวียตต่อ
โปแลนด์กันสักนิด ปรากฏว่าทั้งสองชาติยังคงเงียบกริบ ไม่มีประเทศใดที่
ต้องการเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียตในสถานการณ์เช่นนี้
ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างโปแลนด์-
อังกฤษ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 1939 อังกฤษได้ให้สัญญาจะช่วยเหลือ
โปแลนด์หากถูกโจมตีจากอำนาจในทวีปยุโรป แต่เมื่อเอกอัครทูตโปแลนด์
380/665

เอ็ดเวิร์ด เบอร์นาร์ด แรคซินสกี ได้เตือนความจำของเลขาธิการแห่งรัฐ


ด้านกิจการต่างประเทศและเครือจักรภพ อี. เอฟ. แอล. วูด เอร์ลที่ 1แห่ง
ฮาลิแฟกซ์ เขากลับตอบอย่างทื่อๆ ว่า เป็นธุระของอังกฤษหรือที่จะ
ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
เนวิลล์ แชมเบอร์เลน พิจารณาให้มีการพิจารณา สาธารณะในการฟื้นฟู
สถานภาพรัฐของโปแลนด์ แต่ในตอนท้าย ก็กลายเป็นเพียงการ
แถลงการณ์ตำหนิเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ส่วนฝรั่งเศสเองก็ได้ให้สัญญากับโปแลนด์ รวมไปถึงการมอบความ
ช่วยเหลือทางอากาศ แต่กลับไม่ได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ ครั้นเมื่อกองทัพ
โซเวียตเคลื่อนทัพเข้าสู่โปแลนด์ ฝรั่งเศสและอังกฤษได้ตัดสินว่าตนไม่อาจ
ให้ความช่วยเหลือโปแลนด์ได้ในระยะเวลาอันสั้น และเริ่มต้นวางแผน
สำหรับชัยชนะในระยะยาวแทน ฝรั่งเศสได้ดำเนินการรุกในแคว้นซาร์
เพียงเล็กน้อย เมื่อต้นเดือนกันยายน แต่หลังจากความพ่ายแพ้ของ
โปแลนด์ กองทัพฝรั่งเศสก็ล่าถอยกลับไปยังแนวมากิโนต์ ในวันที่ 4
ตุลาคมชาวโปลจำนวนมากไม่พอใจกับหการให้ความช่วยเหลือเพียง
เล็กน้อยจากฝ่ายพันธมิตรตะวันตก ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่ามีการทรยศ
โดยชาติตะวันตก
สิ้นสุดสงคราม
ดินแดนของโปแลนด์ถูกแบ่งออกเป็นของนาซีเยอรมนี
สหภาพโซเวียต ลิทัวเนีย และสโลวาเกีย ดินแดนโปแลนด์ส่วนตะวันตก
381/665

ถูกนาซีเยอรมนียึดครอง โดยส่วนที่เหลือถูกปกครองโดย “คณะรัฐบาล


สามัญ” และในวันที่ 28 กันยายน สนธิสัญญาลับระหว่างเยอรมนีกับ
สหภาพโซเวียตได้ปรับเปลี่ยนข้อตกลงเดิมในเดือนสิงหาคม โดยเยอรมนี
จะยกลิทัวเนียให้อยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต แต่ว่าเยอรมนีจะได้
ดินแดนโปแลนด์เพิ่มขึ้นไปจนถึงแม่น้ำบั๊ก
แม้ว่าระหว่างเขตอิทธิพลของนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตจะมีผืน
น้ำขวางกั้นอยูก่ ็ตาม แต่ว่ากองทัพของทั้งสองประเทศก็พบกันหลายครั้ง
ระหว่าง การรุกราน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวที่สำคัญ คือ เมืองเบรสท์
ประเทศเบลารุส เมื่อวันที่ 22 กันยายน กองพลแพนเซอร์ที่ 19 ของนาย
พลไฮนซ์ กูเดอเรี่ยนซึ่งยึดครองเมืองแห่งนี้อยู่ และกองพลน้อยรถถังที่
29 ของโซเวียต และทั้งสองแม่ทัพ
382/665

เด็กชาวโปแลนด์นั่งลงอย่างหมดอาลัย ณ สถานที่ที่เคยเป็นบ้านของตน ระหว่างช่วงพักการทิ้ง


ระเบิดของฝ่ายเยอรมันในกรุงวอร์ซอ กันยายน 1939

ก็ได้ทำการทักทายกัน ทีเ่ มืองนี้ กองทัพเยอรมันและกองทัพโซเวียต


ได้จัดการเดินขบวนฉลองชัยร่วมกัน ก่อนทีก่ องทัพเยอรมันจะยอมถอน
ตัวออกไปยังแนวที่ได้ตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตาม สามวันก่อนหน้านี้
กองทัพเยอรมันก็ปะทะ กับกองทัพโซเวียตใกล้กับเมืองเลวีฟ เมื่อกรม
ทหารภูเขาที่ 137 ของเยอรมนีพบ กับกองลาดตระเวนของกองพลน้อย
รถถังที่ 24 ของโซเวียต หลังจากการปะทะ กันระยะหนึ่งแล้ว ทั้งสองฝ่าย
ก็ยอมเจรจากัน กองทัพเยอรมันยอมล่าถอยออก จากพื้นที่ และกองทัพ
โซเวียตเข้าสู่เมืองเลวีฟ เมื่อวันที่ 22 กันยายน
383/665

ทหารโปแลนด์กว่า 65,000 นายตายในการรบ ทหารอีกกว่า


420,000 นายถูกจับกุมตัวโดยกองทัพเยอรมัน และอีกประมาณ 240,000
โดยกองทัพโซเวียต ทหารโปแลนด์ราว 120,000 นายสามารถหลบหนีไป
ยังประเทศโรมาเนียและฮังการี และอีก 200,000 นาย หลบหนีไปยัง
ลัตเวียและลิทัวเนีย ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว พวกเขาเหล่านี้จะพยายาม
เดินทางไปยังอังกฤษและฝรั่งเศส ด้านกองทัพเรือโปแลนด์ก็ประสบความ
สำเร็จในการหลบหนีไปยังอังกฤษด้วยเช่นกัน ส่วนความสูญเสียของทหาร
เยอรมันอยู่ที่ประมาณ 16,000 นาย
ไม่มีฝ่ายใด ทั้งเยอรมนี ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก และ
สหภาพโซเวียต จะคาดว่าการรุกรานโปแลนด์นี้จะลุกลามจนกลายเป็น
สงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์ยังได้เตรียมแผนการทีจ่ ะเจรจากับ
ฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ทว่าฝ่ายสัมพันธ- มิตรก็ไม่เปิดโอกาสเลย
นักประวัติศาสตร์ถือว่าการรุกรานโปแลนด์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของ
สงครามโลกครั้งที่ 2 ในทวีปยุโรป ขณะทีก่ ารรุกรานจีนของญี่ปุ่นในปี
1937 และสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในปี 1941 รวมกันแล้ว จะเรียกว่า
“สงคราม โลกครั้งที่ 2” ---
8

ไฟสงครามลามทั่ว
ตะวันตก-ตะวันออก
ระหว่างทีก่ ำลังเกิดการรบในโปแลนด์อยู่นั้น กองทัพญี่ปุ่นก็
เปิดฉากการ โจมตีเมืองฉางซา ซึ่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญทาง
ยุทธศาสตร์ของจีนเป็นครั้งแรก แต่ก็ถูกตีพ่ายในตอนต้นเดือนตุลาคม
การโจมตีฉางซาหรือเรียกอีกนามว่า ยุทธการฉางซาในครั้งนีน้ ับได้ว่าเป็น
ช่วงเวลาต่อเนื่องในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 กระนั้นก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ของสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วด้วยเช่นกัน
ยุทธการฉางชา (17 กันยายน-6 ตุลาคม 1939)
ยุทธการฉางซา เป็นส่วนหนึ่งของสงครามจีน-ญี่ปุ่นที่ยังคงดำเนิน
ต่อไป หลังจากการสู้รบเป็นเวลาสองปี ในช่วงต้นเดือนกันยายน นายพล
ญี่ปุ่น โตชิโซะ นิชิโอะ ของ “กองทัพโพ้นทะเลญี่ปุ่นในจีน” และพลโท
385/665

เซย์ชโิ ร อิตากาคิ ได้วางแผนทีจ่ ะยึดครองฉางชา เมืองหลวงของมณฑลหู


หนาน กองพลที่ 101 และ 106 ของญี่ปุ่นได้มีการจัดวางกำลังทางฝั่ง
ตะวันตกของแม่น้ำกาน ทางตอนเหนือ ของมณฑลเจียงซี และกองพลที่
6, 3, 13 และ 33 เคลื่อนกำลังลงใต้จากมณฑลหูเป่ย์มายังมณฑลหูหนาน
ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจสองประการของญี่ปุ่นในการโจมตี ได้แก่
การ ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างพันธมิตรเยอรมนีและ
สหภาพโซเวียต ศัตรูของญี่ปุ่น และหลังจากความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นใน
มองโกเลียในการโจมตี ในจีนครั้งใหญ่จะช่วยฟื้นขวัญกำลังใจของกองทัพ
ได้
มีความชัดเจนว่ากองทัพญี่ปุ่นมีกำลังพลถึง 100,000 นาย ทีก่ ำลัง
มุ่งหน้ามาบรรจบกันทีฉ่ างชา ยุทธศาสตร์ของจีนคือการตอบโต้แนวของ
ข้าศึกทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซีแล้วจึงล้อมแนวที่กำลังเดินทัพมุ่งลง
ใต้
ฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มการโจมตีเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 เมื่อกองทัพที่
ประจำ อยูท่ างตอนเหนือของมณฑลเจียงซีโจมตีไปทางตะวันตกมุ่งหน้าไป
ยังมณฑลเหอหนาน
อย่างไรก็ตาม แนวของญี่ปุ่นขยายออกไปกว้างเกินไปทางตะวันตก
และถูกโจมตีโต้โดยกองทัพจีนทั้งทางเหนือและทางใต้ บีบบังคับให้ต้อง
ถอนกำลังกลับไปทางตะวันออก เมื่อวันที่ 19 กันยายน ฝ่ายญี่ปุ่น
ดำเนินการโจมตีจีนตามแม่น้ำซินเชียง
386/665

ถึงแม้ว่าการใช้แก๊สพิษจะถูกห้ามตามอนุสัญญาเจนีวา กองทัพญี่ปุ่น
ได้ใช้แก๊สพิษต่อที่ตั้งของทหารจีน เมื่อวันที่ 23 กันยายน กองทัพญี่ปุ่น
สามารถ ขับไล่ทหารจีนออกจากพื้นที่แม่น้ำซินเชียงได้ และกองพลที่ 6
และที่ 13 ข้ามแม่น้ำโดยมีการยิงสนับสนุนจากปืนใหญ่และเคลื่อนพลต่อ
ลงไปทางใต้ตามแม่น้ำมีหลัว
การสู้รบอย่างหนักยังคงดำเนินต่อไปหลังวันที่ 23 กันยายน และ
กองทัพ จีนล่าถอยไปทางทิศใต้เพื่อหลอกล่อให้ฝ่ายญี่ปุ่นติดตามมา ใน
ขณะทีก่ องพัน สนับสนุนเข้ามาถึงในทางตะวันออกและทางตะวันตก
สำหรับกลยุทธ์การโอบล้อมกองทัพจีน เมื่อวันที่ 29 กันยายน ญี่ปุ่นเข้าถึง
ชานเมืองฉางชา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายญี่ปุ่นไม่สามารถยึดเมืองนีไ้ ด้เนื่องจาก
เส้นทางเสบียงถูกตัดขาดโดยกองทัพจีน และในวันที่ 6 ตุลาคม กองทัพ
ญี่ปุ่นทีฉ่ างชาได้ถูกทำลายลงเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ส่วนที่เหลืออยู่
ล่าถอยไปทางทิศเหนือ
ชัยชนะครั้งนี้เป็นของทหารจีน และฉางชาถือเป็นเมืองหลักเมืองแรก
ทีไ่ ม่ตกอยูใ่ นเงื้อมมือหลังการโจมตีของญี่ปุ่น ผู้บัญชาการ เสวี่ย เยวี่ย ผู้
เป็นขุนศึก ที่มสี ีสันและพันธมิตรของเจียงไคเช็ค ได้รับการชื่นชมจาก
ชัยชนะที่ฉางชา การรักษาเมืองฉางชาไว้ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถขยาย
อิทธิพลลงไปทางตอนใต้ของจีนได้
ทางฝั่งยุโรปเริ่มลุกลาม
387/665

ส่วนการรบทางฝั่งยุโรป ภายหลังการรุกรานโปแลนด์และแบ่งเป็น
เขตยึดครองของทั้งเยอรมนีและสหภาพโซเวียตมีการลงนามในสนธิสัญญา
กำหนด สิทธิปกครองลิทัวเนีย

ศพผู้เสียชีวิตในนครจุงกิงจากการทิ้งระเบิดของทหารญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคม 1940 มีรายงานว่า


สงครามระหว่างปี 1939-1942 ระเบิดกว่า 3,000 ตันได้ถูกปูพรมถล่มนครแห่งนี้ ส่งผลให้พลเรือน
ชาวจีนเสียชีวิตกว่า 10,000 ราย

ช่วงระยะเวลานับแต่กันยายน 1939-พฤษภาคม 1940 นั้นแม้


สัมพันธมิตร ที่นำโดยฝรั่งเศสและอังกฤษจะประกาศสงครามกับเยอรมนี
แล้วก็ตามแต่สงครามแท้จริงยังไม่ได้เกิดขึ้นมาระหว่างสองฝ่าย วินสตัน
388/665

เชอร์ชิล เรียกช่วงเวลานั้นว่าช่วง สงครามคลุมเครือ และบางแห่งก็เรียกว่า


ช่วง Sitzkrieg ในภาษาเยอรมัน (หมายถึง “สงครามนั่งรอ”)
กล่าวคือไม่กี่เดือนหลังจากความพ่ายแพ้ของโปแลนด์ มหาอำนาจ
ของ ยุโรปได้ประกาศสงครามต่อกัน แต่ว่ายังไม่มีฝ่ายใดทีเ่ ริ่มการรบอย่าง
เป็นจริงเป็นจัง และเป็นเพียงแค่การรบประปรายเท่านั้น
ขณะทีก่ องทัพเยอรมันส่วนใหญ่ยังทำการรบอยู่ในโปแลนด์ เยอรมนี
ก็ส่งกองทัพไปขัดฝรั่งเศสตามแนวชายแดนด้านตะวันตกซึ่งเรียกว่าแนวซีก
ฟรีด ส่วนแนวเมกินนอต กองทัพสัมพันธมิตรได้ตั้งเผชิญหน้า แต่กม็ ี
เพียงการรบประปราย กองทัพอากาศของอังกฤษได้โปรยใบปลิว
โฆษณาชวนเชื่อเหนือน่าน ฟ้าเยอรมนี และกองทัพแคนาดาชุดแรกก็มา
เสริมกำลังแก่อังกฤษบนเกาะบริเทน
แนวรบด้านตะวันตกนั้นสงบเป็นเวลากว่าเจ็ดเดือน
สหภาพ โซเวียตได้เริ่มบีบบังคับรัฐบอลติกเพื่อยินยอมให้
สหภาพโซเวียต ส่งกองทัพเข้าไปประจำการภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญา
ความร่วมมือระหว่าง กัน ฟินแลนด์ปฏิเสธความต้องการดินแดนและถูก
สหภาพโซเวียตรุกรานในสงครามฤดูหนาว เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1939
สงครามฤดูหนาว หรือรู้จักกันในชื่อ สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์
หรือ สงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์ เป็นสงครามย่อยระหว่างสหภาพโซเวียต
กับประเทศ ฟินแลนด์ เกิดในช่วงต้นๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ
389/665

ฟินแลนด์ปฏิเสธไม่ยอม ยกดินแดนบางส่วนและไม่ยอมให้โซเวียตสร้าง
ฐานทัพเรือในดินแดนของตน
การโจมตีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1939 เมื่อทหารใน
กองทัพแดง ราวหนึ่งล้านคนบุกเข้าจู่โจมตามแนวรบหลายจุดบริเวณ
พรมแดนระหว่างสหภาพโซเวียตกับฟินแลนด์ กองทัพฟินแลนด์บัญชาการ
โดยจอมพลมานเนอร์ไฮม์ สามารถต่อต้านการโจมตีได้อย่างมี
ประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีกำลังพล น้อยกว่ามาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือน
กุมภาพันธ์ ทหารรัสเซียเข้าไปในฟินแลนด์ได้สำเร็จ หลังใช้ปืนใหญ่ระดม
โจมตีแนวป้องกันตามคอคอดคาเรเลีย ซึ่งอยูท่ างทิศใต้ของฟินแลนด์รวม
ทั้งการโจมตีทางอากาศ สงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 12 มีนาคม 1940 เมื่อมี
การลงนามในสัญญาสันติภาพมอสโก โดยฟินแลนด์ยอมยกดินแดนบาง
ส่วนให้โซเวียตและยอมให้โซเวียตก่อสร้างฐานทัพ เรือบนคาบสมุทรฮังโก
การรุกรานฟินแลนด์ในครั้งนี้ทำให้สหภาพโซเวียตถูกขับออกจากสันนิบาต
ชาติ
เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญหนึ่งในสงครามลวง
กล่าวคือเริ่มตั้งแต่สหภาพโซเวียตโจมตีฟินแลนด์เมื่อวันที่ 30 กันยายน
1939 ประชาชนส่วนใหญ่ของอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นมีความเห็นเข้าข้าง
ฟินแลนด์ และเรียกร้องให้รัฐบาลทั้งสองร่วมกันช่วยเหลือฟินแลนด์ แต่ว่า
กองทัพฟินแลนด์ก็สามารถยันทัพโซเวียตได้ สหภาพโซเวียตนั้นก็ถอนตัว
ออกจากสันนิบาตชาติ แผนการส่งทหารของอังกฤษและฝรั่งเศสเข้าไป
390/665

ช่วยเหลือฟินแลนด์นั้นได้ถูกคัดค้านอย่างหนัก กองทัพอังกฤษนั้นได้
ประชุมก่อนที่จะส่งไปช่วยเหลือฟินแลนด์ ทว่าก็มิได้ส่งไปก่อนที่สงคราม
ฤดูหนาวจะสิ้นสุดลง แต่กลับส่งไปช่วยเหลือนอร์เวย์ในการทัพนอร์เวย์
แทน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม หลังจากสงคราม ฤดูหนาวยุติ นายกรัฐมนตรี
ฝรั่งเศสก็ขอลาออก เนื่องจากประสบความล้มเหลว ที่จะส่งความ
ช่วยเหลือไปยังฟินแลนด์
จนกระทั่งเดือนเมษายน 1940 ทางด้านสหภาพโซเวียตและเยอรมนี
ได้บรรลุสนธิสัญญาการค้าระหว่างกัน ซึ่งสหภาพโซเวียตได้รับเครื่อง
ประกอบทาง ทหารและทางอุตสาหกรรมของเยอรมนีโดยแลกกับการส่ง
วัตถุดิบให้กับเยอรมนี ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบจากการถูกปิดล้อม
เมืองท่าโดยราชนาวีสหราชอาณาจักร
และเดือนเมษายน 1940 เช่นกันเยอรมนีกเ็ ริ่มขยายแนวรบโดยการ
รุกรานเดนมาร์กและนอร์เวย์ เพื่อควบคุมการขนส่งแร่เหล็กจากสวีเดน ซึ่ง
ฝ่ายสัมพันธมิตรพยายามที่จะขัดขวาง เดนมาร์กได้ยอมจำนนอย่างรวดเร็ว
และถึงแม้ว่านอร์เวย์จะได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรแล้ว
ก็ตาม แต่เยอรมนีก็ยังสามารถพิชิตนอร์เวย์ได้ในเวลาเพียงสองเดือน
ความไม่พอใจต่อผลของการทัพนอร์เวย์ของชาวอังกฤษได้นำไปสู่การ
เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรจากเนวิลล์ แชมเบอร์เลน
เป็นวินสตัน เชอร์ชิล เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1940
391/665

การรุกไปพิชิตนอร์เวย์ของเยอรมนีนั้นมีความสำคัญต่อสงคราม
ครั้งนี้อยู่ไม่น้อยทั้งนี้เพราะมันถือว่าเป็นการยิงกันครั้งแรกของสองฝ่าย
กล่าวคือ ระหว่างช่วงเวลาที่เรียกว่าสงครามลวง ดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายกำลัง
มองหาแนว รบที่ 2
สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะฝรั่งเศสนั้นมีความต้องการที่จะ
หลีกเลี่ยงมิให้เกิดการรบแบบสนามเพลาะอีกครั้งแบบในสงครามโลกครั้ง
ที่ 1 ซึ่งได้เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่ง
สร้างความสูญเสียและสิ้นเปลืองอย่างมากมาแล้ว
สำหรับฝ่ายเยอรมนี นายทหารระดับสูงนั้นมีความเห็นว่าเยอรมนียัง
มีทรัพยากรไม่เพียงพอทีจ่ ะทำการรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในขณะนี้ ดังนั้น
จึงควรโจมตีนอร์เวย์ก่อน เพราะนอร์เวย์เป็นแหล่งแร่เหล็กที่สำคัญ หาก
สามารถยึดครองดินแดนแถบสแกนดิเนเวียเหล่านี้ก็จะถือว่าได้เปรียบทาง
ยุทธศาสตร์ ซึ่งต่อจากนั้นจึงจะสามารถแผ่อิทธิพลออกไปในภายหลังได้
นอร์เวย์ในขณะนั้นยังคงวางตัวเป็นกลาง นอร์เวย์เป็นจุดยุทธศาสตร์
ที่สำคัญของทั้งสองฝ่ายโดยมีสองสาเหตุ
อย่าง แรกคือความสำคัญของเมืองท่านาร์วิก ซึ่งสามารถขนส่งเหล็ก
และ โลหะจากสวีเดน ซึ่งเยอรมนีต้องการมาก เส้นทางเดินเรือดังกล่าวยัง
เป็นเส้นทางสำคัญมากเป็นพิเศษในช่วงที่ทะเลบอล ติกได้กลายเป็นน้ำแข็ง
อีกทั้งนาร์วิกก็ยังมีความสำคัญต่ออังกฤษมาก โดยเฉพาะเมื่ออังกฤษทราบ
392/665

ว่าโครงการแคทเธอรีนของอังกฤษทีจ่ ะครอบครองทะเลบอล ติกนั้นไม่


สามารถเป็นจริงได้แล้ว
อย่างที่ 2 เมืองท่าของนอร์เวย์ยังเป็นช่องว่างหากมีการปิดล้อม
เยอรมนี ซึ่งเยอรมันมองว่าหากยึดครองที่นี่ได้เรือรบเยอรมันก็จะสามารถ
แล่นออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกได้
อีกทั้งนอร์เวย์ยังถูกมองจากพรรคนาซีว่าเป็นแหล่งกำเนิดของชนชาติ
นอร์ดิก-อารยันตามคำกล่าวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งพรรคนาซี
การยึดครองนอร์เวย์ยังมีผลสำคัญยิ่งต่อความสามารถในการ
ใช้อำนาจ ทางทะเลเพื่อต่อกรกับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
สหราชอาณาจักร
เมื่อนอร์เวย์ยังคงดำรงตนเป็นกลาง โดยไม่ถูกยึดครองโดยคู่
สงครามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอร์เวย์ก็จะยังคงไม่เป็นพิษภัย แต่ความอ่อนแอ
ในการป้องกัน ชายฝั่งของนอร์เวย์ และความไร้ความสามารถของ
กองทัพบกที่จะต่อกรกับศัตรู ที่เข้มแข็งกว่า นายพลเรือรีดเดอร์ได้ชใี้ ห้เห็น
หลายครั้งถึงความเป็นอันตรายของนอร์เวย์ที่จะมีแก่เยอรมนีโดยอังกฤษ
กล่าวคือหากอังกฤษฉวยโอกาสรุกรานนอร์เวย์ กองเรืออังกฤษสามารถยึด
เมืองท่าเบอร์เกน นาร์วิกและทรอนด์แฮม ได้ เยอรมนีก็จะถูกปิดล้อมทาง
ทะเลเหนือโดยสิ้นเชิง และกองทัพเรือเยอรมนีที่ประจำอยู่ในทะเลบอลติก
ก็จะตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง
393/665

นายทหารระดับสูงของเยอรมนีนั้นเพ่งความสนใจไปยังความเป็น
กลาง ของนอร์เวย์มาก ตราบเท่าทีเ่ รือรบฝ่ายสัมพันธมิตรยังไม่แล่นเข้าสู่
น่านน้ำของ ทะเลนอร์เวย์ เรือขนส่งสินค้าของเยอรมนีกย็ ังคงปลอดภัยที่
จะแล่นไปตามชายฝั่งของนอร์เวย์และขนส่งโลหะจากสวีเดนซึ่งเยอรมนี
นำเข้าอยู่
ทางด้านฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น หลังสิ้นสุดสงครามฤดูหนาว ฝ่ายสัม
พันธมิตร ตัดสินใจว่า หากปล่อยให้นอร์เวย์หรือสวีเดนถูกยึดครองจะก่อ
ให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี และมีโอกาสทำให้กลุ่มประเทศเป็นกลางเข้า
เป็นพันธมิตรกับเยอรมนีได้ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสคน
ใหม่ คือ ปอล เรย์โนด์ นั้น มีท่าทีรุนแรงกว่านายกรัฐมนตรีคนก่อนและ
ต้องการดำเนินการกับเยอรมนี ขณะที่เชอร์ชิลก็ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะ
โจมตีและยึดครองนอร์เวย์ให้ได้ ทั้งนี้เพราะเขามีความต้องการที่จะย้าย
การสู้รบให้ไกลไปจากแผ่นดินของอังกฤษ และฝรั่งเศสเพื่อป้องกันมิให้
เมืองของตนเองถูกทำลาย
เยอรมนีเริ่มต้นการบุกเดนมาร์กและนอร์เวย์ในวันที่ 3 เมษายน
1940 เมื่อเรือขนเสบียงได้ออกจากฝั่งเพื่อการรุกของกองกำลังหลัก ขณะที่
ฝ่ายสัมพันธ มิตรเริ่มต้นแผนการในวันต่อมา เรือดำน้ำฝ่ายสัมพันธมิตร
จำนวนสิบหกลำได้รับคำสั่งให้ไปประจำยังเมือง Skagerrak และ Kat-
tegat เพื่อใช้ตรวจการและแจ้งเตือนกองทัพเยอรมนีในการเตรียมตัวเข้า
394/665

สู่แผนปฏิบัติการวิลเฟรด ซึ่งได้ออกตามมาหลังจากนั้นอีกหนึ่งวัน โดยมี


เรือรบอังกฤษสิบสามลำ
ในวันที่ 7 เมษายน อากาศในภูมิภาคนี้เริ่มเลวร้ายลง ทำให้เกิด
หมอกหนาทึบและการเดินเรือประสบความยากลำบากอย่างหนัก กองกำลัง
อังกฤษที่ถูกส่งออกไปต้องหยุดชะงักในพายุหิมะขนาดใหญ่ สภาพอากาศ
เช่นนีไ้ ด้อำนวยความสะดวกให้แก่กองทัพเรือเยอรมนี และในตอนเช้าของ
วันนั้น กองเรือสายที่หนึ่งและสองเริ่มออกเดินทาง
กองทัพเรือเยอรมนีเข้าโจมตีนอร์เวย์เมื่อเวลาประมาณ 4.15 น. ของ
วันที่ 9 เมษายน ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กองทัพบกเยอรมันก็ยกพลขึ้น
บกทีท่ ่าเรือ Langelinie ในกรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของเดนมาร์ก
และเริ่มทำการยึดครอง นอกจากนั้นพลร่มเยอรมันยังได้เข้ายึดสนามบิน
Aalborg ได้
หลังจากนั้นไม่นาน เยอรมนีก็ส่งคำขาดผ่านทางเอกอัครราชทูตถวาย
แด่พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 ซึ่งก่อนหน้านี้เยอรมนีเคยส่งคำขาดนี้ให้แก่
รัฐบาลของเดนมาร์กมาไม่กี่วันก่อนหน้านี้แล้ว แต่ก็ถูกปฏิเสธ
กองทัพเดนมาร์กนั้นมีขนาดเล็ก ขาดการเตรียมพร้อมและมี
ยุทโธปกรณ์ ทีล่ ้าสมัย แต่ก็ต้านสามารถทานกองทัพเยอรมนีอย่างหนักใน
หลายส่วนของพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทหารรักษาพระองค์ในวังหลวง
Amalienborg ในกรุงโคเปน เฮเกน เมื่อถึงเวลา 6.30 น. พระเจ้า
คริสเตียนที่ 10 ได้ปรึกษากับนายกรัฐมนตรี แห่งเดนมาร์ก Thorvald
395/665

Stauning มีความเห็นว่าการต้านทานกองทัพเยอรมันต่อไปนั้นจะก่อให้
เกิดการสูญเสียชีวิตอย่างเปล่าประโยชน์ จึงยอมจำนนต่อกองทัพเยอรมัน
มหาชนชาวเดนมาร์กประหลาดใจมากกับการตัดสินใจดังกล่าวและ
รัฐบาลก็ให้ชาวเดนมาร์กทุกคนยอมร่วมมือกับเยอรมนี เป็นอันว่า
เดนมาร์กถูกยึดครองอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 1940 นั่นเอง
ส่วนในนอร์เวย์นั้น เมื่อเยอรมนีเริ่มการบุก กองทัพอังกฤษก็ได้เริ่ม
วางแผนการโจมตีโต้ทันที ความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการการโจมตีโต้กลับ
นั้นเกิดความขัดแย้งกัน กองทัพอังกฤษนั้นต้องการที่จะยึดเมือง Trond-
heim ในนอร์เวย์ตอนกลาง ขณะที่เชอร์ชิลนั้นต้องการที่จะยึดเมืองท่านาร์
วิกคืน ดังนั้น จึงได้ประนีประนอมกันด้วยการส่งทหารไปทั้งสองตำแหน่ง
แต่สุดท้ายกองทัพสัมพันธมิตรต้องถอนตัวออกจากนอร์เวย์ และ
กองทัพนอร์เวย์ยอมจำนน เยอรมนีก็เริ่มการยึดครอง
การยิงกันระหว่างเยอรมนีกับฝ่ายสัมพันธมิตรในนอร์เวย์ถือว่าเป็น
การปะทะกันครั้งแรกของสองฝ่ายอย่างแท้จริง อีกมุมหนึ่ง ฝรั่งเศสและ
สหราชอาณาจักรมองว่าสหภาพโซเวียตพยายามจะเข้าสู่สงครามโดยอยู่ข้าง
เยอรมนี
ชัยชนะอันสวยงามและสงครามยืดเยื้อของอักษะ
396/665

ในวันเดียวกับที่ยึดครองนอร์เวย์สำเร็จ เยอรมนีก็ใช้ยุทธวิธีสงคราม
สายฟ้าแลบหรือยุทธวิธีบลิทซครีก[8]โจมตีฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศต่ำ
คือเนเธอร์แลนด์หรือฮอลแลนด์และเบลเยียม
ฝรั่งเศส ได้แต่เฝ้าจับตามองเยอรมนี ช่วงก่อนสงคราม ฝรั่งเศสมี
การสร้าง แนวป้อมปราการเพื่อป้องกันเยอรมัน เรียกว่า แนวมากิโนต์
ด้านเยอรมันก็มีการสร้างแนวป้องกันเช่นกัน เรียกว่า แนวซีกฟรี๊ด
ด้านเบลเยียม และฮอลแลนด์ ต่างก็หวาดกลัวการบุกของเยอรมนี
แต่ก็ไม่มีการประสานงานกันกับอังกฤษและฝรั่งเศสเลย
10 พฤษภาคม 1940 เวลาเช้าตรู่ กองทัพใหญ่ของเยอรมันจำนวน
141 กองพล คิดเป็นทหาร 3,350,000นาย รถถัง 2,445 คัน ปืนใหญ่
7,378 กระบอก เครื่องบินรบ 5,446 ลำ แบ่งเป็นสี่กองทัพใหญ่ ทัพแรก
บุกเข้าทางทะเลฟรีเซียน ทัพหนึ่งบุกจากอิสเซลสู่อูเทรค ทัพที่ 3 บุกเข้า
โจมตีเมืองมาสตริคและป้อมปราการอีเบน-อีเมล ทัพที่ 4ใช้กำลังพลมาก
กว่าทัพอื่น บุกเข้าสู่ป่าเดนส์เพื่อข้ามแม่น้ำเมิร์ส
กองทัพอากาศเยอรมันทำการโจมตีสนับสนุนกองทัพบกอย่างใกล้ชิด
มีการส่งพลร่มเข้าโจมตีที่มั่นสำคัญ
กองทัพฮอลแลนด์ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เยอรมนีสามารถยึด
สนาม บินร็อตเตอร์ดัมส์ได้ รวมทั้งส่งเครื่องบินระดมทิ้งระเบิดเมือง
ร็อตเตอร์ดัมส์อย่างหนัก จนฮอลแลนด์ประกาศยอมแพ้ พระราชีนิวิลเฮล์
มิน่า และรัฐบาลฮอลแลนด์ ลี้ภัยไปอังกฤษ
397/665

กองทัพเบลเยียมระดมกำลังสู้เยอรมนีอย่างเต็มที่ โดยหวังใช้
ป้อมปราการอีเบน-อีเมล ในการป้องกันข้าศึก แต่เยอรมนีกลับยึดป้อมนี้
อย่างง่ายดาย โดยใช้ทหารพลร่ม และยึดในเวลา 36 ชั่วโมง
กองทัพของเยอรมันที่บุกจากเมืองมาสตริกได้บดขยี้แนวป้องกันของ
เบลเยียมพินาศ และบุกเข้าสู่กรุงบรัสเซลส์ และเมืองอันทเวิร์ป และยึดได้
ในที่สุด
398/665
ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรอพยพออกจากสมรภูมิดันเคิร์กเมื่อปี 1940

ด้านป่าอาเดนส์ เบลเยียมหวังใช้ป่าทึบและเส้นทางคดเคี้ยวในการ
ป้องกันการบุกของหน่วยยานเกราะเยอรมัน แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น ทัพ
เยอรมนี บุกผ่านแนวป่าอย่างรวดเร็ว และบุกข้ามแม่น้ำเมิร์สได้ในเวลา 2
วัน
พระเจ้าเลโอโปล กษัตริย์แห่งเบลเยียม พยายามขอความช่วยเหลือ
จากกองทัพสัมพันธมิตร แต่ไม่ได้รับการตอบรับ กองทัพเยอรมนีอยูใ่ น
สภาพพร้อมที่จะโจมตีแนวมากิโนต์ บุกกรุงปารีส หรือกวาดล้างกองทัพ
อังกฤษทางชายฝั่งทะเลก็ได้ วันที่ 26 พฤษภาคม พระเจ้าเลโอโปล พร้อม
ทหาร 300,000 นาย ยอมแพ้ต่อกองทัพเยอรมัน
จากสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ ลอร์ด กอร์ด แม่ทัพอังกฤษจึงให้
กองทหารอังกฤษถอนมาทีด่ ันเคิร์กเพื่อที่จะถอยกลับอังกฤษ กองทัพ
อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม โปแลนด์บางส่วนจำนวน 400,000 นาย ต่าง
มารวมกันทีด่ ันเคิร์กเพื่อถอยเข้าสูอ่ ังกฤษ ท่ามกลางการระดมโจมตีของ
กองทัพอากาศเยอรมนี อังกฤษได้ระดมเรือกว่า 887 ลำเข้าลำเลียงพล ใน
เวลา 10 วัน สามารถลำเลียง ทหารกลับอังกฤษได้จำนวนถึง 335,000
นาย
ขณะทีก่ ำลังส่วนหนึ่งของเยอรมนีเข้าถล่มดันเคิร์ก กองทัพอีกส่วนก็
รุกเข้าตีฝรั่งเศส ใช้เวลาเพียง 10 วันก็บุกข้ามแม่น้ำซอมม์ได้ ทัพเยอรมนี
บุกเข้าตีหลายด้าน ทั้งแคว้นบริตานี เมืองลีออง
399/665

ระหว่างการเข้ายึดครองกลุ่มประเทศต่ำของเยอรมนี อิตาลี อีกหนึ่ง


ประเทศแนวร่วมฝ่ายอักษะเมื่อเห็นว่า เยอรมนีได้รับชัยชนะอย่างต่อเนื่อง
และกำลังได้เปรียบอย่างมากในสงครามที่เกิดขึ้นมา อิตาลีซึ่งเป็นแกน
สำคัญในฝ่ายอักษะจึงไม่ปล่อยโอกาสทองให้หลุดลอยไป
ในวันที่ 10 มิถุนายน อิตาลีก็ยกพลเข้าโจมตีฝรั่งเศส และ
ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้อีก 2 วันต่อมาอังกฤษก็
ประกาศปิดล้อมอิตาลี
อิตาลีส่งทัพเข้าตีฝรั่งเศสทางภาคใต้ รัฐบาลฝรั่งเศสถอยไปที่เมืองตูร์
และเมืองบอร์โดซ์ ด้านกองทัพและพลเรือนฝรั่งเศสก็ล่าถอยอย่าง
อลหม่านลงไปทางใต้ วันที่ 14 มิถุนายน รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศให้ปารีส
เป็นเมืองเปิด เพื่อไม่ต้องการให้เยอรมนีทำลาย และเหล่าคณะบริหารของ
ฝรั่งเศสลงมติ ให้ยอม แพ้แก่เยอรมนี นายกรัฐมนตรีเรโนล์ ลาออกจาก
ตำแหน่ง จอมพลเปแตงก์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน โดยมีหน้าที่เจรจา
ยอมแพ้สงครามกับเยอรมนี
พิธยี อมแพ้เริ่มในวันที่ 21 มิถุนายน ที่ป่ากองเปียญ ในตู้รถไฟที่
จอมพล ฟอชของเยอรมนีเคยลงนามยอมแพ้ต่อพันธมิตรใน
สงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ครั้งนี้ เป็นการลงนามยอมแพ้ของฝรั่งเศส นับ
เป็นการแก้แค้นฝรั่งเศสอย่างเจ็บแสบที่สุดของเยอรมนี
หลังลงนามสงบศึก รัฐบาลฝรั่งเศสได้ถอยไปตั้งยังเมืองวิชี ภาคใต้
ของฝรั่งเศส หรือที่เรียกกันว่า รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ด้านนายพลเอกชาลล์
400/665

เดอ โกล ได้นำทหารฝรั่งเศสทีไ่ ม่ยอมแพ้ถอยไปยังอังกฤษ และจัดตั้ง


กองทัพฝรั่งเศสเสรี ต่อสู้กับเยอรมัน
12 วันให้หลังฝรั่งเศสยอมจำนน ฝรั่งเศสจึงถูกแบ่งเป็นเขตยึดครอง
ของ เยอรมนีและอิตาลี และจัดตั้งรัฐฝรั่งเศสวิชขี ึ้น ตอนต้นของเดือน
กรกฎาคม กองทัพเรืออังกฤษก็ทำลายกองทัพเรือฝรั่งเศสในแอลจีเรีย
เพื่อป้องกันมิให้กองทัพเยอรมนีนำไปใช้ เป็นอันว่าเมื่อมาถึงจุดนี้ยังคง
เหลือแต่อังกฤษที่ยังยืนหยัดต่อสู้กับเยอรมนี
ช่วงเวลาเดียวกับความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศส ในเดือนมิถุนายน
1940สหภาพโซเวียตที่รุกรานและยึดครองรัฐบอลติกมาได้ก่อนแล้ว ก็เริ่ม
จัดการเลือกตั้งที่ถูกจัดฉากขึ้นในรัฐบอลติกและผนวกดินแดนเหล่านี้ด้วย
กำลังอย่างผิดกฎหมาย ตามด้วยการผนวกแคว้นเบสซาราเบียในโรมาเนีย
เพิ่มเข้ามาอีก
401/665

ชาร์ลส์ เดอ โกล ผู้นำขบวนการปลดปล่อยฝรั่งเศส ตรวจแถวทหารและกระตุ้นประชาชนชาว


ฝรั่งเศสให้ต่อต้านนาซีเยอรมัน

แม้ว่าความร่วมมือระหว่างสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะมีมาก
ขึ้นแล้วก็ตาม โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจที่มีอย่างกว้างขวาง แม้ด้าน
การทหาร เล็กน้อยก็ตาม รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนประชากรและความ
ตกลงเกี่ยวกับชาย แดน อาจกล่าวได้ว่าสหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรโดย
พฤตินัยของเยอรมนีแล้ว แต่การยึดครองรัฐบอลติก เบสซาราเบียและ
นอร์ทบูโควิน่าของโซเวียตก็ได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่เยอรมนี
พฤติการณ์ดังกล่าว เมื่อผนวกกับความตึง เครียดที่เพิ่มมากขึ้นที่มาจาก
ความไม่สามารถบรรลุความร่วมมือระหว่างนาซี-โซเวียตได้เพิ่มเติมอีก ทำ
402/665

ให้ความสัมพันธ์ทั้งสองเริ่มเสื่อมทรามลง มาถึงปลายเดือนสภาพการณ์
ความสัมพันธ์ของสองชาติก็เข้าสู่วาระของการรอเวลา ทำสงครามกันเท่านั้น
เมื่อฝรั่งเศสถูกยึดครองและพ้นไปจากสงครามแล้ว ฝ่ายอักษะก็มี
กำลัง มากยิ่งขึ้น คู่แข่งทีเ่ หลืออยู่อีกเพียงหนึ่งเดียวคือ อังกฤษก็ดูเหมือน
จะบอบช้ำอยู่ไม่น้อย
กองทัพอากาศเยอรมนีจึงเริ่มเปิดแนวรบใหม่นั้นคือทำยุทธการแห่งบ
ริเทน นั่นก็คือการเตรียมการรบภาคพื้นในอังกฤษ (ปฏิบัติการสิงโตทะเล)
ขณะทีท่ างด้านอื่นๆ สงครามย่อยก็มีปรากฏให้เห็นทั้งนี้เพราะอังกฤษเป็น
ประเทศที่มีอาณานิคมมากมายทั่วโลก
ยุทธการบริเทน เป็นการรบทางอากาศที่กองทัพอากาศเยอรมัน เปิด
การ โจมตีทางอากาศเพื่อชิงความได้เปรียบกับกองทัพอากาศหลวงของส
หราชอาณา จักร ก่อนที่จะดำเนินการบุกทางทะเลและการทิ้งทหารพลร่ม
จากอากาศในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Operation Sea Lion) ที่ทาง
เยอรมันได้วางแผนไว้ก่อนหน้า
ต้น เหตุของการรบครั้งนี้มาจากความคิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และ
นายทหารในกองทัพบกเยอรมนีที่เชื่อว่าการบุกหมู่เกาะบริเทนข้าม ทะเลจะ
ไม่สามารถทำได้โดยง่ายถ้ากองทัพอากาศหลวงไม่ถูกทำลายเสียก่อน
เป้าหมายหลักของลุฟวาฟเฟิลในการเปิดศึกทางอากาศคือ เพื่อ
บั่นทอน หรือทำลายกองกำลังทางอากาศของอังกฤษจนอ่อนแอกว่าที่จะ
ยับยั้งการบุกได้
403/665

ส่วนเป้าหมายรองก็คือทำลายโรงงานผลิตเครื่องบินและ
สาธารณูปโภค ต่างๆ รวมทั้งทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการเมือง
เพื่อข่มขู่ชาวบริเทน ให้ยอมแพ้หรือยอมสงบศึกด้วย
กระนั้น แม้เยอรมนีจะมีเครื่องบินรบที่ดีกว่าและนักบินที่มี
ประสบการณ์ มากกว่า (สืบเนื่องจากการรุกรานโปแลนด์ก่อนหน้านี้) แต่
ความเด็ดขาดของ กองทัพอากาศหลวงและจำนวนเครื่องบินที่มากกว่า ทำ
ให้ฝ่ายเยอรมนีประสบ กับความล้มเหลวในการทำลาย หรือแม้แต่จะ
บั่นทอนกำลังของกองทัพอากาศ หลวงของอังกฤษ (หรือแม้แต่จะทำลาย
ขวัญกำลังใจของชาวบริเทน) และพ่าย แพ้ไปในที่สุด
ยุทธการบริเทนถือเป็นการรบครั้งแรกที่สู้กันทางอากาศตลอดทั้งศึก
รวมถึงเป็นศึกที่มีปฏิบัติการณ์ทิ้งระเบิดที่ยาวนานและสูญเสียมากที่สุดเท่า
ทีเ่ คยมีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นศึกที่มีการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ (ที่มี
จุดประสงค์ เพื่อทำลายเศรษฐกิจ หรือการผลิตของศัตรู ไม่ใช่การทำลาย
ข้าศึกโดยตรง) ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 แต่ยังไม่ได้ถูก
นำมาใช้จริง
กระนั้นแม้เยอรมนีจะไม่อาจเอาชนะอังกฤษด้วยการทิ้งระเบิดอย่าง
หนัก เหนือเกาะอังกฤษในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 1940 ที่เรียกว่า
สงครามเหนือเกาะอังกฤษ ได้ สงครามทีด่ ูเหมือนจะจบลงเร็วก็ต้องยืดเยื้อ
และต่อเนื่อง ต่อไป
404/665

แต่ในด้านอื่นๆ เยอรมนีกป็ ระสบความสำเร็จในยุทธการ


แอตแลนติกจากการจมเรือรบราชนาวีอังกฤษด้วยเรืออู

เด็กหนุ่มท่ามกลางความเสียหายของร้านหนังสือกลางกรุงลอนดอนภายหลังการโจมตีทางอากาศของ
เยอรมันเมื่อ 8 ตุลาคม 1940 ขณะก้มหน้าก้มตาอ่านหนังสือ "The Histiry of London"
(ประวัติกรุงลอนดอน)

ส่วนอิตาลีก็เริ่มการปฏิบัติการทางทะเลของตนในทะเลเมดิเตอร์เร
เนียน ด้วยการปิดล้อมเมืองมอลต้าในเดือนมิถุนายน และสามารถพิชิตโซ
มาลิแลนด์ ในเดือนสิงหาคม และเปิดฉากการรบในแนวรบทะเลทรายใน
ตอนต้นของเดือนกันยายน
405/665

ส่วนทางด้านญี่ปุ่นก็เพิ่มการปิดล้อมจีนโดยการโจมตีอินโดจีน
ฝรั่งเศส
เป็นอันว่าสงครามเริ่มขยายไปทั่วโลกแล้วเว้นไว้ก็เพียงสหรัฐอเมริกา
เท่านั้น ทั้งนี้เพราะนโยบายเป็นกลางครั้งนั้นทำให้อเมริกาสามารถกอบโกย
ผลประโยชน์จากการค้าอาวุธอยู่มาก
ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ฝ่ายสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นกลางก็ได้ออก
มาตรการ ในการช่วยเหลือจีนและฝ่ายสัมพันธมิตร เริ่มจากในเดือน
พฤศจิกายน 1939 สหรัฐอเมริกาขายอาวุธและยานพาหนะจำนวนมาก
ให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ระหว่างปี 1940 สหรัฐอเมริกาก็สนับสนุนการห้าม
ขนส่งสินค้า รวมไปถึงน้ำมัน เหล็ก เหล็กกล้า และชิ้นส่วนของเครื่องจักร
แก่ญี่ปุ่น และในเดือนกันยายน สหรัฐอเมริกาก็ตกลงขายเรือประจัญบาน
เพื่อแลกกับฐานทัพเรือโพ้นทะเลกับ อังกฤษ
ในตอนปลายเดือนกันยานั้น เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นก็ได้ทำ
สนธิสัญญาสามฝ่ายรวมตัวกันเป็นฝ่ายอักษะ ยกเว้นสหภาพโซเวียต ที่ยัง
ไม่เข้าสู่สงครามที่แท้จริง
สหภาพโซเวียตแสดงโดยนัยว่ามีความสนใจจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง
ของสนธิสัญญาดังกล่าว ในเดือนพฤศจิกายน 1940 สหภาพโซเวียตก็ได้
ส่งข้อเสนอทางเศรษฐกิจที่เยอรมนีประทับใจมาก ขณะทีเ่ ยอรมนียังคงปิด
เงียบในตอนแรกและก็ตอบตกลงในตอนหลัง
406/665

สหรัฐอเมริกายังคงสนับสนุนสหราชอาณาจักรและจีนต่อไปโดย
นโยบายให้กู้-ยืม และก็ยังได้สร้างพื้นที่ปลอดภัยแบบหยาบๆ มีพื้นทีเ่ ป็น
ครึ่งหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาจะคอย
คุ้มกันกองเรือสินค้าของอังกฤษ ---
9

สงครามโลกช่วงที่ 2 ความพ่ายแพ้
อักษะเริ่มปรากฏ
ไม่นานหลังจากสนธิสัญญาดังกล่าว โชคก็มิได้เข้าข้างอิตาลีอีก
ในเดือน ตุลาคม อิตาลีเริ่มรุกรานกรีซ แต่ภายในไม่กี่วันก็ถูกขับไล่และ
ถูกตีจนต้องถอย ร่นเข้าไปในอัลเบเนีย ซึ่งก็ถูกรุกจนมุม
หลังจากนั้นไม่นาน ในทวีปแอฟริกา กองทัพกลุ่มประเทศ
เครือจักรภพอังกฤษก็ได้เข้าโจมตีลิเบียในปฏิบัติการเข็มทิศและดินแดน
แอฟริกาตะวันออก ของอิตาลี ในตอนต้นของปี 1941 เมื่อกองทัพอิตาลี
นั้นถูกผลักให้เข้าไปสู่ดินแดนลิเบียโดยกองทัพกลุ่มประเทศเครือจักรภพ
นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลก็ได้ออก คำสั่งให้ส่งกองทัพเข้าไปช่วยเหลือกรีซใน
ปฏิบัติการแสงเหลือบ
408/665

กองทัพเรืออิตาลีได้พบกับความปราชัยครั้งสำคัญ เมื่อราชนาวี
อังกฤษ สามารถทำลายเรือประจัญบานของอิตาลีไป 3 ลำในยุทธนาวีตา
รันโต และเรือรบอีกหลายลำระหว่างยุทธนาวีแหลมมะตะปัน
ไม่นานนัก เยอรมนีก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออิตาลี ฮิตเลอร์ได้ส่ง
กองทัพ ของเขาสู่ลิเบียในปฏิบัติการดอกทานตะวันในเดือนกุมภาพันธ์
และภายในเดือน มีนาคม กองทัพฝ่ายอักษะก็ทำการรุกหนักกับกองทัพ
ของกลุ่มเครือจักรภพทีล่ ดจำนวนลงไป และภายในหนึ่งเดือน กองทัพ
เครือจักรภพก็ถูกตีถอยร่นกลับสู่อียิปต์ เว้นแต่เมืองท่าโทบรุค กองทัพ
เครือจักรภพพยายามจะขับไล่กองทัพอักษะออกไปในปฏิบัติการรวบรัด
และอีกครั้งในปฏิบัติการขวานศึกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือน
มิถุนายน แต่ก็ล้มเหลวทั้งสองครั้ง ตอนต้นของเดือนเมษายน กองทัพ
เยอรมนีก็โจมตีกรีซและยูโกสลาเวีย และในท้ายที่สุด กองทัพ
สัมพันธมิตรก็ต้องอพยพหลังจากความพ่ายแพ้ในยุทธการเกาะครีตใน
ตอนสิ้น เดือนพฤษภาคม
ย้อนกลับมามองในทวีปเอเชีย สมรภูมใิ นจีน ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้
ดำเนินการมานานก่อนทีจ่ ะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ
โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึง
การจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยเี ป็นประมุข และได้ทำการ
ยึดครองกรุง นานกิง ทีเ่ ป็นเมืองหลวงของจีน (ของรัฐบาลก๊กมินตั๋งในยุค
409/665

นั้น) และได้ทำการสังหาร หมูช่ าวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่ง


ทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองนานกิงยังรับไม่ได้
ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่าง
พรรค คอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋ง ที่มี
เจียงไคเช็กเป็นผู้นำ หลังจากเกิดกรณีซีอานขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้เคยเป็น
ศัตรูกันมาก่อนโดย พรรคคอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ
“สงครามกองโจร” ที่กลายเป็น แบบอย่างของสงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้น
โดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่เยนอานตาม เขตตอนเหนือและแมนจูเรียส่วน
พรรคก๊กมินตั๋งได้ย้ายเมืองหลวงไปอยูท่ ี่ฉ่งชิ่ง (จุงกิง) และได้รับการ
สนับสนุนจากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย
แต่หลังการรุกของทั้งสองฝ่ายในสงครามจีน-ญี่ปุ่นได้ถูกรุกจนมุมใน
ปี 1940 ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน คอมมิวนิสต์จีนก็ได้โจมตีจีนกลางใน
การรุกทหารร้อยกรม และในการแก้แค้น ญี่ปุ่นก็มมี าตรการรุนแรงออกมา
นั่นคือ การฆ่าชาวจีนในดินแดนยึดครอง เพื่อลดจำนวนคนและปัจจัยการ
ผลิตของคอมมิวนิสต์จีน และความตึงเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างพรรค
คอมมิวนิสต์จีนและกองทัพชาตินิยมจีน ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสอง
ฝ่ายสิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิงในเดือนมกราคม 1941 อันทำให้ปฏิบัติการทาง
ทหารที่กระทำร่วมกันยุติลงด้วย
ในขณะเดียวกัน ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ประสบความสำเร็จในช่วงเวลานี้
กล่าวคือในตะวันออกกลาง กองทัพเครือจักรภพ ได้รับชัยชนะในสงคราม
410/665

อังกฤษ-อิรัก ซึ่งอิรักได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพอากาศเยอรมนี ซึ่งมี


ฐาน ทัพอากาศในซีเรียอันเป็นหนึ่งในประเทศในอาณัตฝิ รั่งเศส และเวลา
นั้นฝรั่งเศส ตกเป็นของเยอรมนีไปแล้ว

คณะผู้แทนเยอรมัน อีตาลี และญี่ปุ่น ร่วมลงนามสนธิสัญญาพันธมิตรสามฝ่าย Tripartite Pact


เดือนกันยายน 1940

จากนั้น ด้วยความช่วยเหลือของขบวนการฝรั่งเศสเสรี
ฝ่ายสัมพันธมิตร ก็ประสบความสำเร็จในการทัพซีเรียและเลบานอน ใน
มหาสมุทรแอตแลนติก ประชาชนอังกฤษมีขวัญและกำลังใจเพิ่มขึ้นจาก
การที่ราชนาวีอังกฤษสามารถ จมเรือธงเยอรมันบิสมาร์คลงสู่ก้นทะเลได้
สำเร็จ และที่สำคัญสุด กองทัพอากาศ อังกฤษสามารถต้านทานการโจมตี
411/665

ของลุควาฟเฟ (กองทัพอากาศเยอรมนี)ในยุทธการบริเทนได้สำเร็จ และ


ฮิตเลอร์ต้องยกเลิกการทิ้งระเบิดเหนือเกาะอังกฤษไป
แม้จะหยุดโจมตีเกาะอังกฤษก็จริง แต่สภาพของสงครามก็ยังชี้ให้
เห็นว่าเยอรมนียังเป็นต่ออยู่
ด้วยสถานการณ์ในยุโรปและเอเชียนั้นค่อนข้างมั่นคงแล้ว เยอรมนี
ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียตก็ได้ตระเตรียมการ ด้านทางสหภาพโซเวียตนั้น
เบื่อหน่ายกับความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นจากเยอรมนี และความพยายาม
ของญี่ปุ่นที่จะหาผลประโยชน์จากสงครามในทวีปยุโรป โดยการยึดเอา
อาณานิคมของยุโรป ในเอเชียอาคเนย์ ขณะทีญ ่ ี่ปุ่นและสหภาพโซเวียต
ก็ได้ตกลงทำสนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต-ญี่ปุ่นในเดือนเมษายน
1941 ตรงกันข้ามกับเยอรมนีทตี่ ั้งใจอย่างไม่ลดละที่จะวางแผนทำสงคราม
ในสหภาพโซเวียต และระดมพลประชิดชายแดนสหภาพโซเวียต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟินแลนด์และโรมาเนีย
สงครามช่วง 2 เริ่มปรากฏลุกลามทั่วโลก
สภาพการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งปะทุขึ้นในยุโรปอย่าง
ต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 1939 กระทั่งฮิตเลอร์ยกเลิกการทิ้งระเบิดเหนือเกาะ
อังกฤษ ถูกนับว่าเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงแรก ซึ่งเริ่มจากชัยชนะ
อย่างต่อเนื่องของเยอรมัน และประเทศฝ่ายอักษะ และเริ่มปรากฏความ
พ่ายแพ้บ้างในสงครามที่ปะทุขึ้นตามประเทศต่างๆ ในทั่วทุกมุมโลกยกเว้น
อเมริกา
412/665

ต่อเมื่อก้าวเข้ามาสู่กลางปี 1941 สงครามโลกช่วงที่ 2 ก็เริ่มขึ้นอีก


ครั้งหนึ่ง
22 มิถุนายน 1941 เยอรมนีรวมไปถึงกลุ่มประเทศฝ่ายอักษะใน
ทวีปยุโรปและฟินแลนด์ ได้ยกพลเข้าโจมตีสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการ
บาร์บารอส ซา ซึ่งเป็นการโจมตีทเี่ หนือความคาดหมาย โดยเป้าหมายทาง
ยุทธศาสตร์ คือ การเชื่อมต่อแนวทะเลระหว่างทะเลบอลติกและทะเลขาว
และเป็นการทำลายอำนาจทางการทหารของสหภาพโซเวียต การทำลาย
คอมมิวนิสต์ และสร้าง “ที่อยู่อาศัย” และเป็นการสร้างหนทางไปสูก่ าร
ยึดครองทรัพยากรที่สำคัญและ ทำลายคู่แข่งของเยอรมนีที่ยังเหลืออยู่
ยุทธการบาร์บารอสซา
ยุทธการบาร์บารอสซา (Operation Barbarossa) เป็นชื่อรหัส
สำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ปฏิบัติการดังกล่าว
เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อ
ตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอัน
ศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12
วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทาง
ภาคพื้น ยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก
(Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตรา
คาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโวลก้า โดยแนวนี้ถูก
เรียกว่าแนว AA
413/665

ปฏิบัติการบาร์บารอสซาเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้ง
ทาง ด้านกำลังพล พื้นที่ปฏิบัติการ และความสูญเสียที่เกิดขึ้น ความ
ล้มเหลวในยุทธการบาร์บารอสซาเป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นสาเหตุโดยรวมที่
ทำให้นาซีเยอรมนีต้องประสบกับความพ่ายแพ้ และเป็นจุดเปลี่ยนของนาซี
เยอรมนีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จากการเปิดการโจมตีของนาซีทำให้เกิดการ
รบใหม่ขึ้นมาคือแนวรบด้านตะวันออก ซึ่งเป็นยุทธบริเวณทีใ่ หญ่ที่สุดใน
โลกตราบจนถึงปัจจุบัน
เบื้องหลังเหตุการณ์
อย่างที่รับรูก้ ันดีว่า สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอปได้รับการ
ลงนาม ไม่นานก่อนหน้าการรุกรานโปแลนด์ของเยอรมนีและ
สหภาพโซเวียตในปี 1939 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสนธิสัญญาดังกล่าวมีเนื้อหา
เป็นสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน แต่ทว่าได้มขี ้อตกลงลับระหว่างนาซีเยอรมนี
และสหภาพโซเวียตว่าจะแบ่งเขตอิทธิพลของทั้งสองชาติ
สนธิสัญญาดังกล่าวสร้างความตกตะลึงให้กับโลกเนื่องจากความเป็น
อริดั้งเดิมของทั้งสองฝ่าย รวมถึงอุดมการณ์ทตี่ รงข้ามกันอย่างเห็นได้ชัด
อย่างไรก็ตามเมื่อสนธิสัญญาได้รับการลงนามแล้ว ทั้งนาซีเยอรมนีและ
สหภาพโซเวียต ก็กลายเป็นประเทศคูค่ ้าที่สำคัญ และมีความสัมพันธ์
ทางการทูตอย่างเหนียวแน่น โดยที่สหภาพโซเวียตเป็นผูส้ ่งน้ำมันและ
วัตถุดิบต่างๆ ให้กับเยอรมนี ซึ่งช่วยให้เยอรมนีรอดพ้นจากการปิดล้อม
ทางทะเลของอังกฤษ ในขณะทีเ่ ยอรมนี ก็ส่งมอบเทคโนโลยีทางการทหาร
414/665

ให้กับสหภาพโซเวียต แต่ทว่าทั้งสองฝ่ายก็ยังคงความคลางแคลงในเจตนา
ของอีกฝ่าย
หลังจากเยอรมนีได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะร่วมกับอิตาลีและญี่ปุ่น
เยอรมนี ได้เจรจาเชิญชวนให้สหภาพโซเวียตเข้าเป็นสมาชิกด้วย หลังจาก
การเจรจานานสองวันในกรุงเบอร์ลินระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน
เยอรมนีได้ส่งข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่สหภาพโซเวียตเพื่อ
เชิญชวน ทางด้านสหภาพโซเวียตได้ส่งข้อเสนอของตนกลับมาในวันที่ 25
พฤศจิกายน 1940 แต่ไร้ท่าทีตอบสนองจากเยอรมนี เนื่องจากความเป็น
อริต่อกันของทั้งสองประเทศเพิ่มมากขึ้นทุกที และเมื่อเกิดข้อพิพาทที่
ขัดแย้งกันขึ้นในยุโรปตะวันออก จึงเป็นผลให้การปะทะกันทางทหารเป็น
สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ในช่วงปลายทศวรรษ 1930 สตาลินได้สั่งประหารและคุมขัง
ประชาชนจำนวนหลายล้านคนระหว่างการกวาดล้างครั้งใหญ่ ซึ่งผูท้ ี่ถูกสั่ง
ประหารและคุมขังนั้นได้รวมไปถึงบุคลากรทางทหารที่มคี วามสามารถ ทำ
ให้กองทัพแดงอ่อนแอและขาดผู้นำ การกระทำของสตาลินนี้ ได้ทำให้นาซี
เยอรมนีใช้เป็นข้ออ้างและเหตุผลเพื่อเตรียมการรุกรานและเพิ่มความ
เชื่อมั่นในความสำเร็จ นอกจากนี้ พรรคนาซียังได้ใช้ความโหดร้ายดังกล่าว
ในการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวหาว่า กองทัพแดงเตรียมการที่จะ
รุกรานเยอรมนี และการรุกรานของเยอรมนีนั้นเป็นการกระทำเพื่อป้องกัน
ตัว
415/665

ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ หัวหน้าหน่วยเกสตาโป (ตำรวจลับนาซีเยอรมัน) ตรวจแคมป์เชลยสงคราม


ระหว่างปี 1940-41 ที่โซเวียด

ระหว่างช่วงฤดูร้อนของปี 1940 เมื่อ ปริมาณวัตถุดิบของเยอรมนีตก


อยูใ่ นสภาวะวิกฤต และขีดความสามารถในการรุกรานสหภาพโซเวียต
เหนือดินแดนคาบสมุทรบอลข่านมีความ เป็นไปได้สูง ดังนั้น ฮิตเลอร์จึงมี
ความมั่นใจในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการรุกรานสหภาพโซเวียต แต่
ในขณะนั้น ฝ่ายเยอรมนียังไม่มีแผนการที่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ฮิตเลอร์
ได้กล่าวแก่นายพลของเขาในเดือนมิถุนายนถึงชัยชนะในยุโรปตะวันตกว่า
“เป็นการเตรียมการต่อเป้าหมายสำคัญที่แท้จริง นั่นคือ การจัดการกับพวก
บอลเชวิค”
416/665

แต่นายพลของเขาได้แย้งว่าการยึดครองสหภาพโซเวียตภาคพื้นยุโรป
จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองมากกว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
แต่ฮิตเลอร์ได้คาดหวังผลประโยชน์หลายประการที่จะได้หลังจากการ
เอาชนะสหภาพโซเวียต โดยเขาตั้งใจเอาไว้ว่า เมื่อสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้
แล้ว จะทำให้สามารถปลดประจำการทหารส่วนใหญ่ในกองทัพเพื่อนำไป
แก้ปัญหาการขาดแรงงานของเยอรมนีในขณะนั้น เนื่องจากเมื่อการรบ
สำคัญสิ้นสุดลงแล้ว ประเทศก็ไม่ต้องการทหารจำนวนมากอีกต่อไป
อีกทั้ง ยูเครนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโซเวียตก็จะกลายเป็นแหล่งอาหาร
ราคาถูกทีอ่ ุดมสมบูรณ์ให้กับชาวเยอรมนี เนื่องจากมีความเหมาะสมต่อ
เกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากสหภาพโซเวียตมีประชากรมากมาย ทำให้ฮิตเลอร์มอง
โซเวียต เป็นแหล่งแรงงานทาสราคาถูกซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางภูมิ
ยุทธศาสตร์ให้กับประเทศเยอรมนีอย่างมาก
ความพ่ายแพ้ของสหภาพโซเวียตจะยิ่งทำให้จักรวรรดิอังกฤษซึ่ง
กำลังจะพ่ายแพ้อยู่แล้ว ถูกโดดเดี่ยวมากขึ้นไปอีก
นอกจากนี้ เยอรมนีก็สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำมันบากู เพื่อตอบสนอง
ความต้องการทางเศรษฐกิจได้
ในวันที่ 5 ธันวาคม ฮิตเลอร์ได้รับทราบแผนการรุกรานที่เป็นไปได้
และอนุมัติแผนการทั้งหมด ต่อมา ในวันที่ 18 ธันวาคม ฮิตเลอร์ได้
417/665

ลงนามในคำสั่ง สงครามหมายเลข 21 ไปยังกองบัญชาการทหารสูงสุดของ


เยอรมนีในเรื่องปฏิบัติ การซึ่งตั้งชื่อว่า “บาร์บารอสซา”
โดยฮิตเลอร์กล่าวว่า “กองทัพเยอรมันต้องพร้อมที่จะบดขยี้
สหภาพโซเวียตให้ได้อย่างรวดเร็ว”
แผนการรุกรานถูกกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 1941
ส่วนทางด้านสหภาพโซเวียต สตาลินก็ได้กล่าวแก่นายพลของเขา
เช่นกันว่า จากที่ฮิตเลอร์ได้กล่าวถึงการรุกรานสหภาพโซเวียตใน เมีย
นคัมพ์ กองทัพแดงจะต้องพร้อมทีจ่ ะตั้งรับการรุกรานจากเยอรมนี และ
พูดว่า ฮิตเลอร์คิดว่ากองทัพแดงจะต้องใช้เวลาเตรียมการนานถึงสี่ปี แต่
เราจะต้องพร้อมได้เร็วกว่า นั้นและเราคิดจะยืดเวลาของสงครามได้นาน
ออกไปอีกสองปี
ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1940 นายทหารระดับสูงของกองทัพเยอรมนี
ได้ร่างบันทึกซึ่งกล่าวถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นภายหลังการรุกราน
สหภาพโซเวียต รวมไปถึงความคิดที่ว่ายูเครน เบลารุส และรัฐแถบบอลติ
กจะเป็นภาระใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจต่อเยอรมนี
ส่วนนายทหารอีกพวกหนึ่งได้แย้งว่าระบบรัฐการของโซเวียตจะไม่ได้
รับ ผลกระทบ และการยึดครองดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
ต่อเยอรมนี รวมไปถึงไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพวกบอล
เชวิคด้วย
418/665

ฮิตเลอร์ปฏิเสธความคิดเห็นทั้งหมด รวมไปถึงนายพลจอร์จ โธมัส


ซึ่งกำลังเตรียมการรายงานเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจในแง่ลบที่จะ
เกิดขึ้นภายหลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียต
ปฏิบัติการบาร์บารอสซาส่วนใหญ่เริ่มต้นมาจากความคิดของฮิตเลอร์
แต่เพียงผู้เดียว ในขณะที่บุคลากรทางทหารและสมาชิกในพรรคนาซี
แนะนำว่า เขาควรที่จะจัดการกับเกาะบริเทนให้เสร็จสิ้นไปก่อน แล้วจึง
ค่อยเปิดการโจมตีสหภาพโซเวียตในแนวหน้าตะวันออก แต่ส่วนใหญ่เหล่า
นายพลของฮิตเลอร์ก็เห็นด้วยกับฮิตเลอร์ว่าการบุกโซเวียตนั้นหลีกเลี่ยงไม่
ได้ และจะต้องเกิดขึ้นในวันใดวันหนึ่ง
กล่าวกันว่า ในตอนนั้นฮิตเลอร์พิจารณาแล้วว่าตนเองนั้นเป็น
อัจฉริยะทางการทหารและการเมือง และเป็นที่แน่ชัดว่าในขณะนั้นเขาได้รับ
ชัยชนะอย่าง รวดเร็วในแทบทุกประเทศที่เขาโจมตี (ยกเว้นเกาะบริเทนที่
ยังสามารถยันการโจมตีของเยอรมนีได้อยู่) ซึ่งทำให้ตอนนีผ้ ืนดินใน
ภูมิภาคยุโรปตะวันตกเป็นของ ฮิตเลอร์โดยสิ้นเชิง แต่กองทัพของเขาไม่
สามารถบุกข้ามช่องแคบอังกฤษไปยังเกาะบริเทนได้ในทันทีเนื่องจากความ
เหนือกว่าของอังกฤษในด้านการรบทาง ทะเล และมีอำนาจเท่าเทียมกัน
ทางอากาศ ซึ่งข้อได้เปรียบดังกล่าวของอังกฤษ ทำให้ยังไม่ยอมจำนนโดย
ง่าย แม้ว่าจะต้องยันกับเยอรมัน โดยไม่สามารถตอบ โต้กลับได้ก็ตาม
เมื่อความด้อยกว่าของกองทัพเรือเยอรมันในด้านกองกำลังทางทะเล และ
ไร้ความได้เปรียบในด้านกองกำลังทางอากาศ ทำให้การบุกมิอาจทำได้ใน
419/665

ช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้ฮิตเลอร์หมดความอดทน และในขณะเดียว กันความ


ต้องการในการบุกโซเวียตนั้นมีมากกว่าการบุกเกาะบริเทน (เนื่องจากฮิต
เลอร์เชื่อว่าชาวอังกฤษเป็นเผ่าพันธุท์ ี่เท่าเทียมกับเผ่าพันธุ์อารยัน) ทำให้ฮิต
เลอร์โน้มน้าวบุคลากรของเขาว่ารัฐบาลบริเทนจะต้องพยายามสงบศึกกับ
เยอรมันแน่นอนเมื่อสหภาพโซเวียตถูกล้มไปแล้ว โดยเขากล่าวว่า
“เราเพียงแค่ต้องถีบประตูลงมา แล้วอาคารที่เสื่อมโทรมทั้งอาคารก็
จะถล่มลงมาด้วย”
แต่ฮิตเลอร์นั้นมั่นใจเกินไป จากการที่เขาประสบความสำเร็จอย่าง
รวดเร็ว ในการรบในยุโรปตะวันตก อีกทั้งยังสบประมาทความสามารถ
ของโซเวียตที่จะ สู้รบในสงครามนอกฤดูหนาว ทำให้เขาเชื่อว่าการรบจะ
จบลงก่อนฤดูหนาวในรัสเซีย และไม่ได้สั่งการให้เตรียมเสบียงเสื้อผ้ากัน
ความหนาวเย็นให้กับทหาร ซึ่งจะส่งผลรุนแรงในเวลาต่อมา อดอล์ฟ ฮิต
เลอร์หวังไว้ว่าเมื่อเขาเอาชนะกอง ทัพแดงได้แล้ว รัฐบาลอังกฤษจะต้อง
เจรจาขอสงบศึกกับนาซีเยอรมนีอย่างแน่นอน
ฮิตเลอร์ได้สั่งการให้เคลื่อนพลจำนวนสามล้านสองแสนนายไปยัง
ชายแดนหน้าสหภาพโซเวียตเพื่อเตรียมตัวในการโจมตี, สั่งให้เริ่มปฏิบัติ
การณ์ สอดแนมทางอากาศเหนือน่านฟ้าของโซเวียต และยังสั่งให้กักตุน
เสบียงเป็นจำนวนมากในโปแลนด์ที่เยอรมนีได้มา
กระนั้น การบุกสหภาพโซเวียตก็ยังเป็นที่แปลกใจสำหรับฝ่าย
โซเวียตอย่างมาก ซึ่งความแปลกใจนี้ส่วนใหญ่มาจากความเชื่อที่มั่นคงของ
420/665

สตาลินว่าอาณาจักรไรซ์ ที่สามไม่น่าที่จะโจมตีประเทศของตนหลังจากที่
เพิ่งเซ็นสัญญา โมโลตอฟ-ริบเบนทรอพมาได้เพียงสองปีเท่านั้น
สตาลินยังเชื่อด้วยว่ากองทัพนาซีคงจะจัดการสงครามกับเกาะบริเทน
ให้เสร็จเสียก่อนถึงจะเปิดสมรภูมิรบใหม่กับตน แม้ว่าจะมีคำเตือนหลาย
ครั้งหลายคราวมาจากหน่วยข่าวกรองของเขา แต่สตาลินก็ยังปฏิเสธที่จะ
เชื่อการรายงานทั้งหมด โดยเกรงว่าข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นการปล่อยข่าว
โคมลอยจาก กองทัพอังกฤษ เพื่อที่จะจุดชนวนสงครามระหว่างนาซีและ
โซเวียต อีกทั้งการที่รัฐบาลเยอรมันออกมาช่วยทำการลวงสตาลิน โดย
กล่าวว่า พวกเขาแค่กำลัง เคลื่อนกำลังทหารให้ออกมานอกระยะของ
เครื่องบินทิ้งระเบิดของอังกฤษ และยังอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่าพวกเขา
พยายามจะหลอกรัฐบาลอังกฤษให้เชื่อว่ากองทัพนาซีกำลังจะบุก
สหภาพโซเวียตอีกด้วย แต่ตามจริงพวกเขากำลังเตรียมตัวในการบุกเกาะบ
ริเทนอยู่ต่างหาก
และหลังจากเหตุการณ์หลายๆ อย่างที่สตาลินได้รู้ ทำให้การเตรียม
ตัวตั้งรับการโจมตีของเยอรมนีเป็นไปอย่างไม่จริงจัง อย่างไรก็ตาม ควร
สังเกตกรณีที่ ดร. ริชาร์ด ซอร์จ สายลับของโซเวียต ได้ให้ข้อมูลที่กล่าว
ถึงวันที่เยอรมนี จะบุกโซเวียตได้อย่างถูกต้อง รวมถึงอาร์น บัวร์ลิง นัก
ถอดรหัสชาวสวีเดนที่ทราบวันที่เยอรมนีจะบุกก่อนที่โซเวียตจะทราบอีก
ด้วย
421/665

ปฏิบัตกิ ารณ์ลวงของเยอรมนีเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน 1941 โดย


จุดประสงค์คือเพิ่มมูลความจริงให้ตรงกับคำอ้างของเยอรมนีว่าเกาะบริเทน
คือเป้าหมายที่แท้จริง ปฏิบัติการณ์ดังกล่าวคือปฏิบัติการณ์ไฮฟิสก์ และ
ปฏิบัตกิ ารณ์ฮาร์พูน โดยทั้งสองปฏิบัติการณ์จำลองว่าการเตรียมตัวบุก
เกาะบริเทนเริ่มขึ้นในประเทศนอร์เวย์, ชายฝั่งตามแนวช่องแคบอังกฤษ
และจังหวัดบริตตานีย์ในฝรั่งเศส ประกอบกับการอ้างเหตุผลเกี่ยวกับการ
สะสมกำลังดังที่ระบุไว้ข้างต้น รวมถึงการปฏิบัติการณ์ระดมกำลังเรือรบ,
ปฏิบัตกิ ารณ์สอดแนม ทางอากาศและการฝึกซ้อมภาคสนาม ถูกจัดขึ้นเพื่อ
เพิ่มความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นไปอีก โดยแผนการบุกจริงๆ ถูกจัดขึ้น และ
ปล่อยให้ข้อมูลสามารถรั่วไหลได้บางส่วน
แต่เยอรมนีมีปัญหาในการคิดกลยุทธ์ที่จะรับประกันว่ากองทัพนาซี
จะสามารถยึดสหภาพโซเวียตได้สำเร็จ โดยทีฮ่ ิตเลอร์, กองบัญชาการ
กองทัพบกระดับสูง (OKW-Oberkommando der Wehrmacht)
และผู้บัญชาการระดับสูงอีกหลายๆ คนมีแนวคิดที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับแผน
กลยุทธ์ทจี่ ะใช้ในการโจมตีสหภาพโซเวียต และจุดประสงค์หลักของ
ยุทธการควรเป็นเช่นใด
กองบัญชาการกองทัพบกเสนอว่าควรเคลื่อนพลตรงไปยังเมืองหลวง
มอสโก แต่ฮิตเลอร์นั้นต้องการที่จะให้กองทัพเคลื่อนทัพไปยังยูเครนที่
อุดมสมบูรณ์และดินแดนบริเวณทะเลบอลติกเสียก่อนที่จะเคลื่อนพลไป
ยึดมอสโก
422/665

การโต้แย้งที่เกิดขึ้นทำให้แผนการในการส่งกำลังบำรุงต้องหยุดชะงัก
และทำให้การบุกล่าช้าไปอีกถึงหนึ่งเดือนกว่าๆ ตามกำหนดการการบุกใน
เดือนพฤษภาคม
กลยุทธ์ สุดท้ายที่ฮิตเลอร์และนายพลของเขาร่วมกันวางขึ้นคือการ
แบ่งกองกำลังออกเป็น สามกลุ่มกองทัพโดยแต่ละกลุ่มกองทัพถูกจัดให้
ยึดภูมิภาคที่กำหนดไว้รวมถึง เมืองใหญ่ๆ ในสหภาพโซเวียต เมื่อการบุก
สหภาพโซเวียตเริ่มต้นขึ้น จะแบ่งแนวทางการบุกออกเป็นสามทางโดย
เคลื่อนพลไปตามเส้นทาง ที่เคยถูกบุกในประวัติศาสตร์ (อ้างอิงตามการ
บุกราชอาณาจักรรัสเซีย ของนโปเลียน โบนาปาร์ต) กลุ่มกองทัพเหนือถูก
มอบหมายให้เคลื่อนพลผ่านดินแดน รอบทะเลบอลติก แล้วจึงเคลื่อนไป
ยังรัสเซียตอนเหนือ โดยทำการยึดหรือทำลายเมืองเลนินกราด (เมือง
เซนต์ปเี ตอร์สเบิร์กในปัจจุบัน) ส่วนกลุ่มกองทัพ กลางถูกมอบหมายให้
มุ่งหน้าตรงไปยังเมืองสโมเลนสก์ แล้วทำการยึดมอสโก โดยต้องทำการ
เคลื่อนพลผ่านประเทศเบลารุสในปัจจุบันและผ่านภูมิภาคกลาง แถบ
ตะวันตกทีส่ าธารณรัฐสังคมนิยมรัสเซียครอบครองอยู่ และกลุ่มกองทัพใต้
จะต้องเปิดการโจมตีในส่วนที่เป็นใจกลางของยูเครนที่เป็นศูนย์กลาง ทาง
เกษตรกรรมและประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น โดยยึดเมืองเคียฟ ก่อนที่จะ
เคลื่อนพลมุ่งไปทางทิศตะวันออกผ่านทุ่งหญ้าสเตปป์ในรัสเซียตอนใต้ไป
ยังแม่น้ำโวลกาและเทือกเขาคอเคซัสที่อุดมไปด้วยน้ำมันดิบ
423/665

มาดูฝ่ายโซเวียตกันบ้าง เมื่อสหภาพโซเวียตก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่
1940 ในตอนนั้นสหภาพโซเวียตคือชาติมหาอำนาจ จากการแปรรูป
อุตสาหกรรมอย่าง รวดเร็ว กล่าวคือในทศวรรษที่แล้วทำให้ผลผลิตทาง
อุตสาหกรรมของโซเวียตเป็นรองแค่สหรัฐอเมริกา และมีผลผลิตเท่าเทียม
กับประเทศนาซีเยอรมนี การผลิตยุทโธปกรณ์นั้นเพิ่มขึ้นอย่างคงที่
โดยเฉพาะในช่วงไม่กปี่ ีก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ที่เศรษฐกิจของโซเวียต
นั้นถูกกำหนดไปที่การผลิตอุปกรณ์ทางทหารอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากใน
ช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 หลักการปฏิบัติของกองทัพแดงนั้นถูกพัฒนาให้
ทันสมัยยิ่งขึ้นแล้วจึงประกาศให้เป็นหลักปฏิบัติภาคสนามของกองทัพในปี
1936 จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจดังกล่าวขึ้น
424/665
ฮิตเลอร์และนายทหารนาซีระดับสูงศึกษาแผนที่สงครามของรัสเซีย 7 สิงหาคม 1941

ในปี 1941 กองกำลังของโซเวียตในภูมิภาคตะวันตกนั้นน้อยกว่า


กองกำลังของเยอรมนีมาก อย่างไรก็ตามขนาดโดยรวมของกองกำลัง
โซเวียตในเดือนกรกฎาคม 1941 นั้นรวมแล้วมีถึงห้าล้านนายกว่าๆ ซึ่งมี
จำนวนมากกว่ากองกำลังภาคพื้นดินของเยอรมนีที่ใช้บุกโซเวียตใน
ยุทธการบาร์บารอสซาเสียอีก
นอกจากนี้การสะสมกำลังของกองทัพแดงยังแข็งแกร่งขึ้นอย่างคงที่
และยังมีความสามารถในการวางกำลังที่เป็นต่อกว่าเยอรมนีในสมรภูมิ
ตะวันออก แต่ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีกำลังมากน้อยต่างกันไป จะถูกต้อง
กว่าที่จะระบุว่า การบุกสหภาพโซเวียตในปี 1941 ของเยอรมนี ทั้งฝ่าย
ต่อสู้กันโดยใช้กำลังทหารที่ใกล้เคียงกันมากโดยประมาณ
อย่างไรก็ตาม ในด้านระบบยุทโธปกรณ์ที่สำคัญ ทางฝ่ายโซเวียตนั้น
มีอยู่มากทีเดียว อาทิเช่น กองทัพแดงนั้นมีความเหนือกว่าอย่างมากใน
กองกำลัง ยานเกราะที่มรี ถถังประจำการถึง 24,000 คัน ซึ่งมีถึง 12,782
คันทีป่ ระจำอยูใ่ น เขตทหารภูมิภาคตะวันตก (ซึ่งมีสามเขตในภูมิภาคที่
สามารถปะทะกับกองทัพ เยอรมันในสมรภูมิตะวันออก)
ส่วนกองทัพบกเวอร์มัคท์ (Wehrmacht) ของเยอรมนีมรี ถถัง
ประจำการอยู่ทั้งหมด 5,200 คัน โดยใช้ในการบุกโซเวียต 3,350 คัน นี่
ทำให้อัตราส่วนของรถถังที่สามารถใช้ได้ระหว่างเยอรมนีและโซเวียตนั้น
เป็น 4: 1 ซึ่งทำให้กองทัพแดงมีความได้เปรียบที่เหนือกว่า
425/665

รถถังรุ่น ที-34 ของโซเวียตเป็นรถถังที่ล้ำหน้าที่สุดและทันสมัยที่สุด


ในเวลานั้น และยังมีรถถังรุ่น BT-8 (หรือรถถังเร็ว) ที่เป็นรถถังทีเ่ ร็ว
ที่สุด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรถถังเยอรมันแล้ว ตามที่นายทหารข่าวกรอง
ของโซเวียต วิกเตอร์ ซูโวรอฟ (Viktor Suvorov) อ้างว่า รถถังหนักของ
เยอรมนีรุ่นแรกนั้นเพิ่งถูกออกแบบในวันที่ 26 พฤษภาคม 1941 ซึ่งถือว่า
ล้าหลังกว่าโซเวียตทีเ่ ริ่มโครงการ ออกแบบรถถังหนัก T-35 ตั้งแต่ต้น
ทศวรรษที่ 1930 อีกทั้งโซเวียตยังมีจำนวนอาวุธปืนใหญ่ และเครื่องบินรบ
ที่มากกว่าเยอรมนี ซึ่งรวมไปถึงปืนใหญ่สนาม A-19 ที่ว่ากันว่าเป็น
ปืนใหญ่ทดี่ ีที่สุดในโลกในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม รถถังรุ่นที่ทันสมัยที่สุด
ของโซเวียตยังไม่ถูกผลิตในปริมาณมากในช่วงต้นของสงคราม
อีก ทั้งความได้เปรียบทางปริมาณของโซเวียตนั้นยังถูกหักล้างด้วย
คุณภาพเหนือกว่า มากของเครื่องบินรบเยอรมัน รวมถึงการฝึกฝน
กองกำลังเยอรมันทีเ่ หนือกว่าและเตรียมพร้อมมามากกว่า การทีท่ หาร
เจ้าหน้าที่และผู้บัญชาการระดับสูงของโซเวียตถูกกวาดล้างในการ
กวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน (1935-38) ยังทำให้นายทหารของกองทัพ
แดงถึงเกือบหนึ่งในสาม และนายพลแทบทุกคนถูกประหารชีวิต หรือส่ง
ให้ไปประจำการในไซบีเรีย และถูกแทนที่ด้วยนายทหารที่มีแนวโน้มที่
“ไว้ใจได้ทางการเมือง” มากกว่านายทหาร ทีถ่ ูกกวาดล้าง ซึ่งรวมไปถึงสาม
ในห้าบรรดาจอมพลช่วงก่อนสงครามซึ่งถูกประหารชีวิต ผู้บัญชาการ
กองพลและกองร้อยประมาณสองในสามถูกจับยิงเป้า การกวาดล้าง
ดังกล่าวจึงทำให้เหลือแต่นายทหารที่อ่อนกว่าและได้รับการฝึกน้อยกว่ามา
426/665

แทนที่ อย่างเช่นกรณีหนึ่งใน 1941 ที่ 75% ของนายทหารของ กองทัพ


แดงได้ดำรงตำแหน่งนานน้อยกว่าหนึ่งปี และอายุโดยเฉลี่ยของ
ผู้บัญชาการกองพลของโซเวียตนั้น น้อยกว่าอายุโดยเฉลี่ยของผู้บัญชาการ
กองร้อยของเยอรมนีถึง 12 ปี โดยนายทหารเหล่านี้มีทีท่าที่ไม่เต็มใจ
อย่างยิ่งทีจ่ ะริเริ่มในการทำสิ่งใดๆ และส่วนใหญ่ขาดการฝึกฝนในการ
บัญชาการ
ในขณะที่สงครามในสมรภูมิทางตะวันตกกำลังดำเนินไป กำลังรบ
ส่วนใหญ่ของโซเวียตยังคงประจำการอยู่เหมือนในยามสงบ ซึ่งอธิบายว่า
ทำไมบรรดาเครื่องบินรบของโซเวียตถึงได้จอดเรียงกันและใกล้กันเป็น
กลุ่มๆ มากกว่าทีจ่ ะกระจายกันไปตามที่เคยปฏิบัติเป็นปกติในยาม
สงคราม ด้วยเหตุนั้น จึงทำให้กองเครื่องบินที่จอดอยูก่ ลายเป็นเป้าโจมตี
ง่ายๆ สำหรับเครื่องบินจู่โจมจากอากาศสู่พื้นดินของเยอรมันในวันแรกๆ
ทีเ่ ยอรมนีบุกโซเวียต อีกเหตุผลหนึ่งคือการที่กองทัพอากาศโซเวียตถูกสั่ง
ห้ามไม่ให้โจมตีเครื่องบินสอดแนมของเยอรมัน แม้ว่าจะมีเครื่องบิน
เยอรมันบินอยู่เป็นร้อยๆ ลำอยู่เหนือน่านฟ้าสหภาพโซเวียตก็ตาม กอง
เครื่องบินขับไล่ของโซเวียตประกอบไปด้วยเครื่องบินล้าสมัยย้อนไปถึง
สงครามโลกครั้งที่ 1 เช่นเครื่องบินปีกสองชั้น I-15 และเครื่องบินปีก
ชั้นเดียวรุ่นแรกของโซเวียต I-16 และเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่กว่าเช่นมิก
(MiG) และ LaGG (Lavochkin-Gorbunov-Goudkov) เพียงไม่กี่
ลำทีใ่ ช้งานได้ โดยมีเครื่องบินจำนวนไม่มากที่ติดตั้งวิทยุสื่อสารลงไป อีก
427/665

ทั้งวิทยุไม่กี่รุ่นที่มีอยู่นั้นก็ไม่ได้ถูกเข้ารหัสและมีสภาพการใช้งานที่ไม่
แน่นอน รวมถึงยุทธวิธีต่อสู้ทางอากาศที่ยังล้าสมัยอยู่
กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตกระจัดกระจายกันออกไป ไม่มีความ
พร้อมในการทำศึก และมีกองกำลังหน่วยต่างๆ ที่อยูแ่ ยกจากกัน โดยไม่มี
การลำเลียงไปยังจุดรวมพลเมื่อการรบเกิดขึ้น แม้ว่ากองทัพแดงจะมี
ปืนใหญ่ชั้นดีจำนวนมาก แต่ปืนส่วนใหญ่กลับไม่มีกระสุน กองปืนใหญ่
มักไม่สามารถเข้าสู่การรบได้เพราะไม่มีการลำเลียงพล กองกำลังรถถังนั้น
มีขนาดใหญ่และคุณภาพ ดี แต่ขาดการฝึกและการสนับสนุนทางเสบียง
รวมถึงมาตรฐานในการบำรุงรักษายังแย่มาก กองกำลังถูกส่งเข้าสู่การรบ
โดยไม่มีการจัดการเติมเชื้อเพลิง, สนับสนุนเสบียงกระสุน หรือทดแทน
กำลังทหารที่สูญเสียไป โดยมีบ่อยครั้งที่หลัง จากการปะทะเพียงครั้งเดียว
หน่วยรบถูกทำลายหรือถูกทำให้หมดสภาพ รวมไปถึงความจริงทีว่ ่า
กองทัพโซเวียตกำลังอยู่ในช่วงจัดระบบหน่วยยานเกราะ ให้กลายเป็น
กองพลรถถังยิ่งเพิ่มความไม่เป็นระบบของกองกำลังรถถังมากยิ่งขึ้น ไปอีก
ในช่วงก่อนสงคราม แน่นอนว่า สหภาพโซเวียตได้ประกาศโฆษณา
ชวน เชื่อออกมาโดยตลอด โดยกล่าวว่ากองทัพแดงนั้นแข็งแกร่งมาก และ
สามารถเอาชนะผู้รุกรานไม่ว่าหน้าไหนได้อย่างง่ายดาย
จากการทีโ่ จโซฟ สตาลินมีนายทหารประจำการทีจ่ ะรายงานเฉพาะสิ่ง
ทีเ่ ขาต้องการได้ยินเท่านั้น กอปรกับความเชื่อมั่นอย่างไร้มูลเหตุใน
สนธิสัญญาว่าด้วยการไม่โจมตีต่อกัน สตาลินถูกชักนำให้เชื่อว่าสถานภาพ
428/665

ของสหภาพโซเวียตในช่วงต้นปี 194 นั้น แข็งแกร่งกว่าที่มันเป็นจริงๆ


มาก ในฤดูใบไม้ผลิในปีเดียวกัน หน่วยงานข่าวกรองของสตาลินได้ทำการ
เตือนสตาลินถึงการโจมตีของเยอรมนีที่ กำลังจะเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง
ความเชื่อมั่นของสตาลินในนายทหารและกำลังทหารของเขานั้นมั่นคงมาก
จนเขาและคณะ นายพลที่ปรึกษา ที่ถึงแม้จะทราบดีถึงความเป็นไปได้ที่
เยอรมนีจะโจมตี และได้เตรียมการสำคัญๆ ไว้หลายอย่าง กลับตัดสินใจ
ทีจ่ ะไม่ยั่วยุฮิตเลอร์ ผลก็คือทหารตามแนวชายแดนโซเวียตไม่ได้อยูใ่ น
สถานะทีต่ ื่นตัวเต็มที่ ถึงขนาดทีท่ หารโซเวียตถูกห้ามไม่ให้ยิงโต้ตอบโดย
ไม่ได้ขออนุญาตเมื่อถูกโจม ตี แม้ว่าจะมีคำสั่งให้ตื่นตัวในบางส่วนในวันที่
10 เมษายน แต่กำลังทหารโซเวียตก็ยังคงไม่พร้อมเมื่อการโจมตีของ
เยอรมนีเริ่มต้นขึ้น
ถึง แม้ว่าฝ่ายกองทัพแดงจะมีการเตรียมการป้องกันทางยุทธศาสตร์
ไว้แล้วก็ตาม ระหว่างช่วงฤดูร้อน กองทัพฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะมาตลอด
และสร้างความเสียหายให้แก่สหภาพโซเวียตเป็นอย่างมาก แต่ว่าในช่วง
กลางเดือน สิงหาคม กองบัญชาการกองทัพเยอรมันตัดสินใจทีจ่ ะพักการ
รบไว้เพื่อที่จะจัดสรรกำลังของ กองทัพกลุ่มกลางและแบ่งบางส่วนของ
กองกำลังยานเกราะไปเสริมกำลังกับกองทัพที่ กำลังมุ่งหน้าไปยังภาคกลาง
ของยูเครนและเลนินกราด
429/665

การรบที่นครเคียฟประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และสามารถ
ปิดล้อมและทำลายกองทัพโซเวียตได้ถึงสี่กองทัพ และมุ่งหน้าต่อไปยัง
คาบสมุทรไครเมียและเขตอุตสาหกรรมยูเครนตะวันออก
สถานการณ์เริ่มตีกลับ
ในช่วงปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพกว่าสามในสีข่ องฝ่ายอักษะ
และกองทัพอากาศส่วนใหญ่ได้ถูกเคลื่อนย้ายจากฝรั่งเศสและทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน ไปยังแนวรบด้านตะวันออก
สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นแกนหลักของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เหลืออยู่ไม่
ปล่อยโอกาสนี้ให้หลุดลอยไป โดยได้รีบทำการพิจารณายุทธศาสตร์หลัก
ใหม่ทันที ในเดือนกรกฎาคม สหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียตก็ได้
รวมตัวกันจัดตั้งพันธมิตรทางทหารในข้อตกลงอังกฤษ-โซเวียต และใน
ช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่าง การรุกรานอิหร่านของอังกฤษ-โซเวียตเพื่อรักษา
ฉนวนเปอร์เซียและแหล่งน้ำมันในอิหร่าน ในเดือนสิงหาคม
สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกันตั้งกฎบัตรแอตแลนติกขึ้น
และในเดือนพฤศจิกายน กองทัพเครือจักรภพที่ทำการโจมตีโต้กลับ
ในแนวรบทะเลทราย ปฏิบัติการนักรบศักดิ์สิทธิ์ และสามารถตีได้ดินแดน
ที่เคยถูกยึดครองโดยกองทัพฝ่ายอักษะทั้งหมด
แล้วสงครามก็ยิ่งขยายตัวออกไปมากยิ่งขึ้นเมื่อญี่ปุ่นได้อาศัยโอกาส
ในช่วงที่เยอรมนียังได้รับชัยชนะในทวีปยุโรป เพื่อการแสวงหาทรัพยากร
430/665

จากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ (อินโดนีเซียและหมู่เกาะของ
อินโดนีเซียในปัจจุบัน) แต่ว่าการเจรจากลับถูกยกเลิกในเดือนมิถุนายน

ขบวนรถหุ้มเกราะของรัสเซียมุ่งหน้าสู่สมรภูมิในแนวหน้า 19 ตุลาคม 1941

ในเดือนกรกฎาคม ญี่ปุ่นได้กลายมาเป็นมหาอำนาจทางการทหารใน
คาบสมุทรอินโดจีน เพราะนอกจากจะสามารถบังคับให้ดัตช์ยอมจำนนได้
แล้ว ยังสามารถโจมตีประเทศจีนได้อีกด้วย และเมื่อสงครามจำเป็น ญี่ปุ่น
ก็ได้พัฒนา สถานภาพทางยุทธศาสตร์เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาและ
สหราชอาณาจักร รัฐบาลของประเทศตะวันตกจึงตอบโต้ด้วยการทำให้
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นหยุดชะงัก
431/665

สหรัฐอเมริกา (ญี่ปุ่นต้องอาศัยนำเข้าน้ำมันจากสหรัฐอเมริกากว่า
80%) ได้ตอบโต้ด้วยการห้ามขนส่งน้ำมันไปยังญี่ปุ่นอย่างสมบูรณ์ ญี่ปุ่น
ถูกบีบบังคับ ให้เลือกว่าจะถอนตัวออกจากเอเชีย หรือเข้ายึดแหล่งน้ำมัน
ด้วยกำลังทหาร กองทัพญี่ปุ่นเลือกอย่างหลัง และนายทหารระดับสูง
จำนวนมากคิดว่าการห้ามขนส่งน้ำมันไปยังญี่ปุ่นเป็นการประกาศสงคราม
เป็นนัย
แผนของกองบัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น นั่นคือ การสร้างแนว
ป้องกันขนาดใหญ่ซึ่งลากยาวผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เพื่ออำนวย
ความสะดวกในการทำสงครามป้องกันประเทศ ขณะเดียวกันกับการ
แสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในเอเชียอาคเนย์ และเพื่อการป้องกัน
การเข้าแทรก แซงจากภายนอก ญี่ปุ่นจึงพยายามวางแผนที่จะทำลาย
กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็นแผนขั้นแรก
ต้นเดือนตุลาคม หลังจากที่กองทัพฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะในยูเครน
และแถบทะเลบอลติก โดยมีเพียงเลนินกราดและเซวาสโตปอลทื่ยังคงรบ
ต้าน ทานอยู่เท่านั้น ยุทธการแห่งมอสโกก็เริ่มขึ้น
หลังจากผ่านการรบอันรุนแรงเป็นเวลาสองเดือน กองทัพฝ่ายอักษะ
เกือบจะเข้าพิชิตกรุงมอสโกแล้ว แต่เมื่อฤดูหนาวอันโหดร้ายใน
สหภาพโซเวียตมาถึง กองทัพของฝ่ายอักษะก็ต้องหยุดชะงักลง
แม้ว่าเยอรมนีจะได้ดินแดนมามากมายมหาศาล แต่ว่าจุดประสงค์
ทางยุทธศาสตร์กลับไม่บรรลุผลใดเลย นครสองแห่งที่สำคัญของโซเวียต
432/665

ยังไม่แตก และกองทัพแดงยังคงสามารถต้านทานการบุกของฝ่ายอักษะได้
และยังคงเหลือขีดความสามารถทางทหารอยู่มาก โดยหลังจากนี้ ระยะ
แห่งการโจมตีสายฟ้าแลบในทวีปยุโรปได้ยุติลงอย่างสมบูรณ์
เมื่อถึงต้นเดือนธันวาคม สหภาพโซเวียตได้รับกองหนุนที่ระดมมา
จากพรมแดนด้านตะวันออกซึ่งติดกับเขตแมนจูกัวของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการ
ยืนยันจาก ข่าวกรองแล้วว่า กองทัพโซเวียตจะสามารถต้านทานกองทัพ
ควันตงของญี่ปุ่นได้ ในวันที่ 5 ธันวาคม กองทัพโซเวียตก็ทำการโจมตี
กลับครั้งใหญ่ ตามแนวรบ ที่ยาวต่อเนื่องกันกว่า 1,000 กิโลเมตร และ
สามารถผลักดันกองทัพอักษะได้เป็นระยะทางถึง 100-250 กิโลเมตร
ในวันที่ 7 ธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นได้โจมตีประเทศในอาณัติดินแดน
ของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา และในเวลาเดียวกันนั้นญี่ปุ่น
โจมตีเอเชียอาคเนย์และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง รวมไปถึงโจมตี
ฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล และยกพลขึ้นบกในไทยและเข้ายึด
ดินแดนมาลายา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และพม่า ช่วงเวลาดังกล่าวนี้
ดูเหมือนว่าฝ่ายอักษะจะกำลังได้รับชัยชนะอีกครั้งหนึ่งทั้งนี้เพราะสามารถ
เข้ายึดดินแดนทั้งในทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ขณะที่
ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องเป็นฝ่ายตั้งรับและต้องสูญเสียดินแดนกับกำลังทหาร
มากมาย กระนั้นการเปิดการโจมตีเพิร์ล ฮาเบอร์ของญี่ปุ่นในครั้งนั้น
แท้จริงก็คือจุดเริ่มต้นของการปิดฉากสงครามอันยิ่งใหญ่ในนาม
สงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นเอง ---
10

สงครามช่วงที่ 3 ก่อนการพ่ายแพ้
นักประวัติศาสตร์แบ่งช่วงเวลาของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
ตั้งแต่ปี 1939-1945 ออกเป็น 4 ช่วง ดังทีเ่ ราได้กล่าวไปแล้วบางช่วง มา
ถึงช่วงที่ 3 ของสงครามคือนับกันตั้งแต่ปี 1942 เป็นต้นมาถึงกลางปี 1943
ผลจากการโจมตีเพิร์ล ฮาเบอร์ ของฝ่ายอักษะโดยญี่ปุ่น ทำให้สหรัฐ
อเมริกาจำเป็นต้องกระโดดเข้าร่วมในสงครามอย่างเต็มตัว
จากการโจมตีครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีนและ
ฝ่าย สัมพันธมิตรตะวันตกประกาศสงครามกับญี่ปุ่นทันที ส่วนทางด้าน
เยอรมนี อิตาลีและกลุ่มประเทศตามสนธิสัญญาสามฝ่าย ก็ได้ตอบสนอง
โดยการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา
ในเดือนมกราคม 1942 สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
สหภาพโซเวียตและจีน ร่วมด้วยอีกยี่สิบสองรัฐบาลซึ่งเป็นประเทศเล็กหรือ
เป็นรัฐบาลพลัดถิ่น ได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ รวมไปถึงการ
434/665

รับรองกฎบัตรแอตแลนติก เป็นการสร้างพันธมิตรเพื่อต่อต้านอำนาจของ
ฝ่ายอักษะ แต่สหภาพโซเวียตมิได้ยึดมั่นตามการเปิดเผยใดๆ และการคง
ความเป็นกลางกับญี่ปุ่น และจะทำการตัดสินใจตามหลักการของตนเพียง
ฝ่ายเดียว
อำนาจอักษะยังคงสามารถทำการรุกต่อไปได้ ญี่ปุ่นเกือบจะสามารถ
ครอบครองเอเชียอาคเนย์ทั้งหมดได้ โดยมีความสูญเสียเพียงเล็กน้อยใน
ตอนปลายเดือนเมษายน 1942 ญี่ปุ่นยึดพม่าจากอังกฤษ และได้รับ
นักโทษสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวนมากจากยุทธการฟิลิปปินส์
ยุทธการมาลายา การทัพอินโดนีเซียและยุทธการสิงคโปร์ และได้รับ
ชัยชนะในยุทธนาวีหลายครั้งในทะเล จีนใต้ ทะเลชวาและ
มหาสมุทรอินเดีย
ต่อมา ได้เคลื่อนมาทิ้งระเบิดที่ฐานทัพเรือดาร์วิน และจมเรือรบ
ฝ่ายสัมพันธมิตรอีกหลายแห่งนอกจากที่อ่าว เพิร์ล ฮาเบอร์ แต่ในทะเล
จีนใต้ ทะเลชวาและมหาสมุทรอินเดีย แต่ความสำเร็จที่แท้จริงเพียง
อย่างเดียวก็คือทีย่ ุทธการชิงชาครั้งที่ 2 ในตอนต้นของเดือนมกราคม
1942 เท่านั้น และก็ยังถูกทิ้งระเบิดโดยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ณ
กรุงโตเกียวในเดือนเมษายน
ทางด้านเยอรมนีก็สามารถทำการรุกต่อได้เช่นเดียวกัน เนื่องจาก
ทหารเรือสหรัฐอเมริกาไม่ค่อยมีประสบการณ์จากการบังคับเรือดำน้ำ
กองทัพเรือเยอรมนีสามารถทำลายทรัพยากรฝ่ายสัมพันธมิตรใกล้ชายฝั่ง
435/665

ด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกาได้ ทางด้านแนวรบทะเลทราย ฝ่ายอักษะ


ได้ทำการบุกอีกครั้ง ในเดือนมกราคม 1942 เป็นการผลักดันให้กองทัพ
ฝ่ายสัมพันธมิตร (สหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ) กลับไปยังแนวกา
ซาลา ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก การตีโต้ของกองทัพโซเวียตได้ยุติลง
เมื่อเดือนมีนาคม ทั้งแนวรบทะเลทราย และแนวรบด้านตะวันออก
เยอรมนียุติการรบชั่วคราว ซึ่งใช้เวลาเพื่อวางแผนในการโจมตีในครั้งหน้า
ต่อไป
ในตอนต้นเดือนพฤษภาคม ญี่ปุ่นได้เริ่มวางแผนยึดท่ามอร์สบี้ใน
ปฏิบัติการโม โดยการทำศึกแบบสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก เพื่อเป็นการตัด
เส้นทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสหรัฐอเมริกากับออสเตรเลีย ในขณะที่
ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าขัดขวางและโจมตีทัพเรือญี่ปุ่นได้หลังยุทธนาวีทะเลคอ
รอล และสามารถป้องกันตนเองจากการโจมตีได้ โดยแผนต่อไปของ
ญี่ปุ่น-อันเกิดจากการกระตุ้นหลังกรุงโตเกียวถูกทิ้งระเบิด-เป็นการ
ยึดครองหมู่เกาะมิดเวย์เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ในแนวป้องกันทั่ว
มหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น และเป็นฐานปฏิบัติการสำหรับแผนขั้นต่อไป
รวมไปถึงการทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันที่ยังคงเหลืออยู่ใน
มหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อทำตามแผน ญี่ปุ่นได้ส่งกองทัพไปยึดครองหมู่เกาะ
อลูเตียน ในต้นเดือนมิถุนายน ญี่ปุ่นก็ได้งัดเอาแผน ของตัวเองออกมาใช้
แต่ก็ถูกสกัดกั้น เนื่องจากกองทัพสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับของ
กองทัพเรือญี่ปุ่นได้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาจึง
ได้เตรียมตัวรับมือกับการบุกของญี่ปุ่น และจัดวางกำลังพล รวมไปถึงใช้
436/665

ความรู้ดังกล่าวจนได้รับชัยชนะเด็ดขาดในยุทธนาวีมิดเวย์เหนือกองทัพ
เรือญี่ปุ่น

เพลิงไหม้เรือยูเอสเอส เวสต์เวอร์จิเนียที่เพิร์ลฮาเบอร์

จุดเปลี่ยนของสงครามเริ่มปรากฏให้เห็นชัดยิ่งขึ้นเมื่อเกิดยุทธนาวีที่
เกาะมิดเวย์
437/665

ยุทธนาวีทเี่ กาะมิดเวย์ กล่าวคือในเดือนมิถุนายน 1942 นับได้ว่า


เป็นจุดหักเหของสงครามในมหาสมุทรแปซิฟิก เพราะเรือบรรทุกเครื่องบิน
3 ลำ และเครื่องบิน 233 ลำของสหรัฐอเมริกาสามารถทำลายเรือบรรทุก
เครื่องบิน 4 ลำ และเครื่องบิน 330 ลำของญี่ปุ่นลงได้ ทำให้กลายเป็นจุด
หักเหสำคัญทั้งนี้เพราะ การสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินและเครื่องบิน
โจมตีจำนวนมหาศาลทำให้ญี่ปุ่น อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด แม้ญี่ปุ่นจะมี
เรือรบและเครื่องบินจำนวนมากกว่าแต่ก็ไร้ประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะยุทธ
นาวีที่ได้ผลในมหาสมุทรแปซิฟิกที่กว้างใหญ่ไพศาลต้องอาศัยปฏิบัติการ
จากเรือบรรทุกเครื่องบินเท่านั้น และหลังจากยุทธนาวีครั้งนีส้ หรัฐอเมริกาก็
เริ่มเป็นฝ่ายรุกด้วยการทำสงครามยืดเยื้อและสูญเสีย
และเนื่องจากกองทัพเรือญี่ปุ่นสูญเสียทรัพยากรสำหรับการรบแบบ
สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนเป้าหมายไปทำการรบที่ศึกโคโคดาบน
ดินแดนปาปัวในความพยายามอีกครั้งหนึ่งในการยึดพอร์ตมอร์สบี้ สำหรับ
ฝ่ายอเมริกัน ก็ได้วางแผนที่จะโจมตีครั้งต่อไปในบริเวณหมู่เกาะโซโลมอน
โดย เริ่มต้นจากเกาะกัวดาลคาแนล อันเป็นก้าวแรกของการเข้ายึดราบูล
ซึ่งเป็นฐานทัพเรือหลักของกองทัพญี่ปุ่นในเอเชียอาคเนย์ แผนทั้งสอง
เริ่มต้นขึ้นในเดือนกรกฎาคม แต่ในกลางเดือนกันยายนยุทธการกัวดาลคา
แนลนั้น ญี่ปุ่นเป็น ฝ่ายได้เปรียบ และกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเกาะ
นิวกินีนั้นได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่เขตพอร์ต มอร์สบีไ้ ปยัง
ทางตอนเหนือของเกาะ (ปัจจุบันคือจังหวัดโอโร) กัวดาลคาแนลได้กลาย
เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับทั้งสองฝ่าย ทำให้เกิดการเรียกระดมคน
438/665

และเรือรบมาเป็นจำนวนมากในการรบแบบล้างผลาญ ในตอนต้นของปี
1943 กองทัพญี่ปุ่นก็พ่ายแพ้บนเกาะกัวดาลคาแนลและล่าทัพกลับไปใน
ปฏิบัติการคี
ไม่ห่างกันความพ่านแพ้ในยุทธการเอล อาลาเมน ของเยอรมันก็เป็น
อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายอักษะเริ่มอ่อนแรง
ยุทธการเอล อาลาเมน เกิดขึ้นและเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 1942
เมื่อกองทัพหน่วยแอฟริกัน ของจอมพลเออร์วิน รอมเมล ถูกกองทัพ
อังกฤษและนิวซีแลนด์รุกไล่จนต้องถอยร่นจากเอล อาลาเมน และยุติลง
ในเดือนตุลาคม 1942
ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรทีเ่ อล อาลาเมน ถือเป็นจุดสำคัญอีก
ครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพราะชัยชนะครั้งนี้ทำให้สัมพันธมิตรสามารถป้องกันอียิปต์
และคลองสุเอซ จากการยึดครองของฝ่ายเยอรมนี และสามารถยุติความ
เป็นไปที่ที่จะมีการเชื่อม กำลังของฝ่ายอักษะทางตะวันออกกลางกับยูเครน
และชัยครั้งนี้ยังทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถขับไล่ฝ่ายอักษะออกจาก
แอฟริกาเหนือ ทหารเยอรมนีและอิตาลีจำนวนกว่า 275,000 คนต้อง
ยอมแพ้ในเดือนพฤษภาคม 1943 สงครามทะเลทรายที่เกิดขึ้นทำให้
เยอรมันต้องสูญเสียทรัพยากรและกำลังพลไปจำนวนมาก อันส่ง
ผลกระทบต่อเนื่องถึงแนวรบด้านรัสเซียซึ่งต้องการแรงช่วยจากทรัพยากร
เหล่านี้อยู่
439/665

นาวิกโยธินสหรัฐฯ เคลื่อนพลเข้าสู่เกาะกัวดาลคาแนล จุดยุทธศาสตร์สำคัญในสมรภูมิแปซิฟิก

ขณะทีเ่ หตุการณ์ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพเยอรมันและ


พันธมิตร ฝ่ายอักษะ ยังคงเอาชนะกองทัพโซเวียตที่ยุทธการคาบสมุทร
เคิร์ชและยุทธการคาร์คอฟครั้งที่ 2 ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้เปิดฉากรุกหนักใน
ฤดูร้อนในกรณีน้ำเงิน ในแถบสหภาพโซเวียตตอนใต้ ระหว่างเดือน
มิถุนายน 1942 เพื่อยึดครองแหล่งขุดเจาะน้ำมันทุกแห่งในแถบคอเคซัส
ยุทธการที่สตาลินกราด เมื่อกองทัพเยอรมันบุกถึงเมืองสตาลินกราด
ในปลายเดือนสิงหาคม 1942 แม้จะถูกโจมตีอย่างหนักแต่โซเวียตก็ไม่
ยอมแพ้
440/665

กองทัพโซเวียตได้ตัดสินใจที่จะตั้งรับที่สตาลินกราด ซึ่งอยูใ่ น
เส้นทางเดินทัพของฝ่ายอักษะพอดี
ตอนกลางเดือนพฤศจิกายน เมื่ออากาศหนาวมาเยือน กองทัพอักษะ
เกือบจะพิชิตสตาลินกราดในการรบในเมืองอันขมขื่นได้แล้ว แต่กองทัพ
โซเวียต ก็ทำการตีโต้อย่างหนัก โดยเริ่มจากการล้อมกองทัพเยอรมันที่ส
ตาลินกราดในปฏิบัติการยูเรนัส ตามด้วยการโจมตีสันเขารีจเฮฟ ใกล้กรุง
มอสโกในปฏิบัติการ มาร์ส กระนั้นเมื่อมีการตีโต้อย่างหนักจากโซเวียต
กองทัพเยอรมนีซึ่งไม่คุ้นเคย กับอากาศหนาวอันโหดร้ายของรัสเซีย ต้อง
ประสบปัญหาอย่างหนักและทารุณ เส้นทาเสบียงอาหารถูกตัดขาดด้วย
หิมะ และที่สำคัญอาวุธยุทธภัณฑ์ก็เริ่มขาดแคลน และไม่สามารถถอย
กลับได้ ทั้งนี้เพราะเยอรมนีบุกถลำลึกมากเกินไป
ในตอนต้นของเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพเยอรมันและพันธมิตรฝ่าย
อักษะประสบกับความสูญเสียมหาศาล กองทัพเยอรมันในสตาลินกราดถูก
บีบบังคับให้ยอมจำนน จึงทำให้แนวรบด้านตะวันออกผลักดันไปยังจุด
ก่อนการรบในฤดูร้อน ว่ากันว่ากองทัพเยอรมนีที่มกี ำลังพลกว่า 100,000
คนต้องยอม จำนน และความพ่ายแพ้ครั้งนีเ้ ป็นความพินาศของกองทัพ
เยอรมนี ทั้งนี้เพราะ นอกจากไม่สามารถควบคุมเส้นทางน้ำมันอย่างที่หวัง
แล้วยังทำให้กองทหารของโซเวียตยิ่งได้ใจมากยิ่งขึ้น
ทางด้านทิศตะวันตก ด้วยความวิตกกังวลว่าญี่ปุ่นอาจใช้เกาะมาดา
กัสการ์ ซึ่งเป็นฐานทัพของวิชีฝรั่งเศส กองทัพอังกฤษจึงสั่งดำเนินการ
441/665

โจมตีเกาะมาดากัสการ์ในเดือนพฤษภาคม 1942 และทางด้านแนวรบ


ทะเลทรายการโจมตีครั้งล่าสุดของฝ่ายอักษะที่ยุทธการกาซาลา ได้ผลักดัน
ให้กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรให้กลับเข้าสู่อียิปต์ จนกระทั่งการบุกต้อง
หยุดชะงักในยุทธการ เอล อาลาเมน (El Alamein) ครั้งแรก ระหว่าง
การรบในช่วงนี้ หน่วยคอมมานโด ของฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถทำการ
โจมตีก่อกวนและทำลายเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ได้ดี และถึงที่สุดที่การ
ปล้นป้อมดิเอปเป ในเดือนสิงหาคม กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถ
ผลักดันแนวรบฝ่ายอักษะให้ถอยไปในยุทธการเอล อาลาเมนครั้งที่ 2
และด้วยการสิ้นเปลืองทรัพยากรอย่างสูงลิบ ก็สามารถขนทรัพยากรที่
ต้องการไปให้เมืองมอลต้าที่ถูกปิดล้อมเอาไว้ได้ในปฏิบัติการฐานเสาหิน
จากนั้น ไม่กี่เดือนหลังจากยุทธการเอล อาลาเมนครั้งที่ 2 ในอียิปต์
สหรัฐอเมริกาได้ยกพลขึ้นบกในทวีปแอฟริกาเหนือซึ่งเป็นการเปิดแนวรบที่
2 ในปฏิบัติการคบเพลิงซึ่งก็ได้ชัยชนะ ทางด้านอังกฤษและประเทศ
เครือจักรภพก็เริ่มเคลื่อนทัพไปทางทิศตะวันตกสู่ประเทศลิเบีย ฮิตเลอร์ได้
ตอบสนองต่อการเอาใจออกห่างของวีชี่ฝรั่งเศสโดยการออกคำสั่งกรณีแอน
ตอน แต่กระทรวงทหารเรือของวิชฝี รั่งเศสได้วางแผนจมกองทัพเรือของ
ตนเพื่อมิให้ตกอยู่ในมือของฝ่ายเยอรมนี ขณะทีก่ ารตีกระหนาบแบบก้ามปู
ของฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้กองทัพฝ่ายอักษะต้องถอยร่นไปตั้งรับใน
ตูนิเซีย ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ หลังศึกตูนิเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม
1943 ในที่สุด ---
11

สงครามช่วงที่ 4 ปิดฉากด้วยชัยชนะ
หลังจากเดือนพฤษภาคม 1943 เป็นต้นมาดูเหมือนฝ่ายอักษะจะ
ต้องตกเป็นฝ่ายรับแต่ถ่ายเดียวแล้ว สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ได้
ทุ่มกำลังทรัพยากรต่างๆ ผนวกกับความพยายามของอังกฤษและประเทศ
อาณา นิคมที่ต้องการเอาชัยชนะมาให้ได้
กล่าวคือภายหลังจากศึกบนเกาะกัวดาลคาแนล ก็เกิดปฏิบัติการทาง
ทหารมากมาย ในเดือนพฤษภาคม 1943 กองทัพอเมริกันถูกส่งออกไป
โจมตีกองทัพญี่ปุ่นในการทัพหมู่เกาะอลูเตียน และปฏิบัติการหลักในการ
ยึดครองเกาะรอบราบูล เพื่อตัดขาดกำลังสนับสนุน ให้ชื่อว่าปฏิบัติการล้อ
เกวียนและการแหกช่องโหว่ในแนวป้องกันในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง
การทัพหมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะมาร์แชล เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 1944
กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็สามารถประสบความสำเร็จทั้งในสองปฏิบัติการ
และยังสามารถ ทำลายฐานทัพเรือหลักของกองทัพเรือญี่ปุ่นบริเวณหมู่เกาะ
443/665

แคโรไลน์ในปฏิบัติการลูกเห็บ เมื่อถึงเดือนเมษายน กองทัพ


ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้เริ่มศึกเกาะนิวกินีตะวันตก
แล้วความพ่ายแพ้ของอิตาลีก็มาถึงเป็นประเทศแรก นั้นคือสงคราม
ด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้โจมตีเกาะซิซิลี เมื่อ
ต้นเดือนกรกฎาคม 1943

กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่เซอร์ลาโน ประเทศอิตาลี กันยายน 1943

การรุกรานเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร หรือในชื่อรหัสว่า
ปฏิบัติการฮัสกี ( Operation Husky) เป็นหนึ่งในปฏิบัติการหลักใน
444/665

สงครามโลกครั้งที่ 2 ของฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อยึดครองเกาะซิซิลีจากฝ่าย


อักษะ
การรุกครั้งนี้เป็นการปฏิบัติการระดับใหญ่โดยใช้ยานลำเลียงพลสะ
เทิน น้ำสะเทินบกและพลร่มจำนวนมาก และการรบภาคพื้นดินเป็น
เวลานานถึง 6 สัปดาห์ การรบครั้งนี้ยังนับได้ว่าเป็นเปิดฉากของการทัพ
อิตาลีอีกด้วย
ปฏิบัติการฮัสกี้เริ่มต้นขึ้นในคืนระหว่างวันที่ 9 และวันที่ 10
กรกฎาคม 1943 และยุติลงในวันที่ 17 สิงหาคม ปีเดียวกัน โดย
ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถบรรลุเป้าหมายในเชิงยุทธศาสตร์จากการขับไล่
กอง กำลังทางบก ทางน้ำและทางอากาศของฝ่ายอักษะออกไปจากเกาะซิ
ชิลีได้สำเร็จ ยังผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตร สามารถควบคุมน่านน้ำทะเล
เมดิเตอร์เรเนียน และมุสโสลินีต้องถูกขับไล่ให้พ้นจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีอิตาลี ความสำเร็จดังกล่าวได้ปูทาง สูก่ ารรุกคืบในอิตาลี
แผ่นดินใหญ่ในขั้นต่อไป
3 กันยายน 1943 การรุกคืบอิตาลีแผ่นดินใหญ่อิตาลีกเ็ ริ่มขึ้นภายใต้
การ บัญชาการของนายพลแฮโรลด์ อเล็กซานเดอร์ แห่งหมู่กองทัพที่ 15
(ร่วมด้วยนายพลมาร์ค เวย์น คลาร์ก แห่งกองทัพที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา
และนายพลเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี แห่งกองทัพที่ 8 ของบริเทน)
แผนการรุกดังกล่าวได้เริ่มขึ้นหลังจากฝ่ายพันธมิตรประสบความ
สำเร็จ ในการยึดเกาะซิซิลีจากฝ่ายอิตาลีระหว่างการทัพอิตาลี กำลังหลักที่
445/665

ใช้ในการรุกครั้งนี้ได้ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งอิตาลีด้านตะวันตกที่เมืองซาแลร์
โนภายใต้ชื่อ “ปฏิบัติการหิมะถล่ม” ( “Operation Avalanche”)
ขณะเดียวกันยึงมีปฏิบัติการสนับสนุนอีก 2 ชุดดำเนินไปพร้อมกันที่เมือง
คาลาบรีอา (ในชื่อ “ปฏิบัติการเบย์ทาวน์”) และเมืองตารันโต (ในชื่อ
“ปฏิบัติการสแลปสติ๊ก”)
การโจมตีบนแผ่นดินของอิตาลีสามารถมาเฉลี่ยกับความล้มเหลว
หลาย ครั้งก่อนหน้าได้ ภายหลังจากการโจมตีเกาะซิซิลีเพียงเวลาไม่นาน
ผลปรากฏว่าชนชั้นต่างๆ รวมไปถึงกษัตริย์อิตาลีได้ขับไล่และเข้าจับกุมตัว
มุสโสลินี กอง ทัพฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้เข้าโจมตีแผ่นดินใหญ่อิตาลีเมื่อ
ตอนต้นของเดือนกันยายน
ตามด้วยการหย่าศึกระหว่างอิตาลีกับกองทัพสัมพันธมิตร โดยเมื่อ
หลังจากสนธิสัญญาดังกล่าวถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนชาวอิตาลีเมื่อวันที่
8 กันยายน ฮิตเลอร์ได้ตอบสนองโดยการส่งกองทัพเข้าไปช่วยเหลืออิตาลี
แต่ปลดอาวุธกองทัพอิตาลี และทำลายอำนาจทางทหารของอิตาลีทั้งหมด
จากนั้น ก็ได้สร้างแนวป้องกันขึ้นมาหลายชั้นด้วยกัน
เมื่อวันที่ 12 กันยายน ฮิตเลอร์ได้ส่งกองกำลังพิเศษเข้าไปช่วยเหลือ
มุสโสลินี จากนั้นก็ได้สร้างสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลีขึ้นเป็นรัฐบริวารใน
การปกครองของเยอรมนี ทางด้านกองทัพสัมพันธมิตรก็ได้ทะลวงผ่าน
แนวป้องกัน เยอรมันได้จนมาถึงแนวป้องกันหลัก แนวฤดูหนาว เมื่อกลาง
เดือนพฤศจิกายน ในเดือนมกราคม 1944 กองทัพสัมพันธมิตรได้โจมตี
446/665

หลายครั้งทีย่ ุทธการมอนเต คาสสิโน และพยายามตีโอบด้วยการยกพลขึ้น


บกทีอ่ ันซิโอจนกระทั่งปลายเดือนพฤษภาคม การโจมตีทั้งสองครั้งประสบ
ความสำเร็จจากความสูญเสียอย่างหนัก ทำให้กองทัพเยอรมันต้องถอน
กำลังออกไป และในวันที่ 4 มิถุนายน โรมก็ตกอยูใ่ นมือของ
ฝ่ายสัมพันธมิตร
ทางด้านการรบทางทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติก กองทัพเรือ
เยอรมัน ประสบความสูญเสียอย่างหนักในเดือนพฤษภาคม 1943 ถูก
เรียกว่า “พฤษภาอนธการ” ความสูญเสียกองเรือดำน้ำของฝ่ายเยอรมนี
ทำให้การดักทำลายกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความล้มเหลวเมื่อ
อีกฝ่ายโต้กลับ
ทางด้านสหภาพโซเวียต ฝ่ายเยอรมนีได้ตระเตรียมแผนการมานาน
มาก ในฤดูใบไผลิและฤดูร้อนของปี 1943 สำหรับการบุกเมืองเคิร์สก์ของ
โซเวียตส่วนทางด้านฝ่ายโซเวียตเองก็ได้เสริมการป้องกันเมืองอย่าง
แข็งแกร่ง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม กองทัพเยอรมันก็พร้อมทำการโจมตีแล้ว
แต่ฮิตเลอร์กลับต้องยกเลิกแผนการนี้แม้ว่าจะผ่านไปเพียงเจ็ดวัน หลังจาก
นั้น สหภาพโซเวียตก็ได้ โจมตีกลับครั้งใหญ่ และเมื่อถึงเดือนมิถุนายน
1944 กองทัพโซเวียตก็สามารถขับไล่กองทัพฝ่ายอักษะทั้งหมดออกจาก
มาตุภูมิโซเวียตได้สำเร็จและยังเคลื่อนทัพไปถึงโรมาเนียด้วยในยุทธการ
ทาร์กูล ฟรูมอส
447/665

ในเดือนพฤศจิกายน 1943 แฟรงคลิน รูสเวลต์และวินสตัน เชอร์ชิ


ล ได้เดินทางไปพบกับ เจียงไคเช็กระหว่างการประชุมกรุงไคโร และอีก
ครั้งกับโจเซฟ สตาลินระหว่างการประชุมกรุงเตหะราน และผลจากการ
ประชุมได้ข้อสรุปว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกจะทำการรบในทวีปยุโรป
ภายในปี 1944 และสหภาพ โซเวียตจะประกาศสงครามกับญี่ปุ่นภายใน
เวลาสามเดือนหลังจากเยอรมนียอมแพ้เรียบร้อยแล้ว
ทางภาคพื้นทวีปเอเชีย ญี่ปุ่นได้ออกปฏิบัติการโจมตีครั้งใหญ่สอง
ครั้ง ครั้งแรก เริ่มในเดือนมีนาคม 1944 เป็นการโจมตีรัฐอัสลัม ประเทศ
อินเดีย ปฏิบัติการยู-โก และในไม่นานก็สามารถล้อมตำแหน่งของกองทัพ
เครือจักรภพได้ทเี่ มืองอิมพัลและเมืองโคฮีมา อย่างไรก็ตาม ในเดือน
พฤษภาคม กองทัพญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่งถูกล้อมไว้ที่เมืองมิตจีนาโดยกองทัพ
จีนซึ่งเข้าโจมตีพม่าตอนเหนือเมื่อปลายปี 1943
ส่วนครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในประเทศจีน โดยมีเป้าหมายที่จะทำลายกำลัง
คน ของจีน ให้ความปลอดภัยแก่รางรถไฟระหว่างดินแดนในยึดครองของ
ญี่ปุ่น และตีฐานบินของฝ่ายสัมพันธมิตรกลับคืน ทั้งหมดรวมกันอยูใ่ น
ปฏิบัติการไอชิ-โก ส่วนในเดือนมิถุนายน กองทัพญี่ปุ่นสามารถพิชิต
มณฑลเหอหนานและเข้าโจมตีฉางชาอีกครั้งในมณฑลหูหนาน
แนวป้องกันสุดท้าย
6 มิถุนายน 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้ยกพลขึ้นบกที่หาด
นอร์มังดีในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด และหลังจากดำเนินการกับกองทัพสัม
448/665

พันธ มิตรหลายกองพลในอิตาลีแล้ว จึงรุกเข้าสู่ฝรั่งเศสตอนใต้ในเดือน


สิงหาคม จนสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสได้ในวันที่ 25 สิงหาคม
การยกพลขึ้นบกที่ชายหาดนอร์มังดี คือการรบระหว่างกองทัพฝ่าย
อักษะนาซีเยอรมนีที่ประจำการอยู่ในยุโรปตะวันตก กับกองกำลัง
สัมพันธมิตรกว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้ามช่องแคบอังกฤษมาจากฐานที่
ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ (ส่วนใหญ่มา
จากเมืองพอร์ทสมัธ) มายังหัวหาดนอร์มังดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมัน
ยึดมาได้ ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Over-
lord) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน 1944 โดยทหารสัมพันธมิตรเรียก
วันนี้ว่า ดี-เดย์ (D-Day)
กล่าวคือในปี 1943 เยอรมนีตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงคราม และ
ฝ่าย พันธมิตรที่มีกำลังแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ เริ่มคิดแผนการที่จะตอบโต้
การรุกรานของเยอรมนีด้วยการโจมตีส่วนใดส่วนหนึ่งของยุโรปตะวันตก
ท้ายที่สุดในการประชุมที่เตหะราน ที่สามผู้นำหลัก (ประธานาธิบดี
แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์จากสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิล
จากสหราชอาณาจักร และโจเซฟ สตาลินจากสหภาพโซเวียต) ของ
ฝ่ายสัมพันธมิตรตกลงทีจ่ ะเปิดการโจมตีที่หัวหาดนอร์มองดีฝรั่งเศส ตาม
ข้อเรียกร้องของโซเวียตขอให้เปิดแนวรบที่ 2 เพื่อลดความกดดันแนวรบ
ทางตะวันออก และเพื่อบีบให้ฝ่ายอักษะต้องกระจายกำลังออกไปทั้ง
แนวรบตะวันออกและตะวันตก
449/665

กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นประกอบไปด้วยทหารจากหลาย
ประเทศด้วยกันได้แก่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา
นอกจากนี้ทหารจากกองกำลังฝรั่งเศสเสรีและโปแลนด์ก็ได้รวมเข้ากับ
กองกำลังสัมพันธมิตรด้วย เมื่อทหารที่ทำการจู่โจมจากเกาะอังกฤษเข้าสู่
ฝรั่งเศสได้แล้ว ยังมีกองทหารจากหลายประเทศเข้ามาร่วมกับพันธมิตร
หลังจากนั้นด้วย ได้แก่ เบลเยียมเชคโกสโลวาเกีย กรีซ เนเธอร์แลนด์
และนอร์เวย์
การบุกหัวหาดนอร์มังดีอย่างแท้จริงเริ่มต้นตั้งแต่คืนวันที่ 5
มิถุนายนโดยมีเครื่องบินทิ้งพลร่มและเครื่องร่อนลงมา และกองทัพอากาศ
ฝ่ายพันธมิตร เริ่มเปิดการทิ้งระเบิดใส่กองทัพเยอรมันที่ประจำอยู่ตาม
เมืองริมชายฝั่งของฝรั่งเศส รวมถึงการยิงปืนใหญ่จากเรือรบพันธมิตร
จนกระทั่งการบุกข้ามทะเล ของกองกำลังหลักเริ่มต้นขึ้นในตอนเช้าของ
วันที่ 6 และดำเนินต่อไปอีก 2 เดือน จนถึงการปลดปล่อยปารีสในตอน
ปลายของเดือนสิงหาคม 1944 ที่ปิดฉากการรบนี้ลง
แผนการครั้งนี้ ถูกกำหนดวันไว้คือวันที่ 5 มิถุนายน โดยจะมีพลร่ม
ลงไปหลังแนวก่อน คือวันที่ 4 มิถุนายน แต่สภาพอากาศเลวร้าย จึงเลื่อน
มาอีก 1 วัน เมื่อถึงเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน พลร่ม และเครื่องร่อนได้
ลงหลังแนวรบ เพื่อตัดกำลัง และ คุมสะพาน ไม่ให้พวกเยอรมันที่อยู่หลัง
แนวรบ ส่งกำลังมาหน้าแนวได้ทัน ได้มีการทิ้งหุ่นพลร่มปลอมในบางจุด
ด้วย
450/665

เมื่อเช้าวันที่ 6 มิถุนายน กองทัพเรือขนาดใหญ่ที่สุดใน


ประวัติศาสตร์โลก ยาตราเข้ามาในอ่าวนอร์มังดี บนหาดมีเครื่องกีดขวาง
มากมาย ทำให้แม้แต่เรือเล็กก็ไม่สามารถเข้าหาตัวหาดได้มากนัก เมื่อขึ้น
ไปบนหาด ถูกต่อต้านโดย ปืนใหญ่ ปืนกลหนัก เครื่องยิงลูกระเบิด และ
ปืนต่อต้านรถถังเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีรั้วลวดหนาม คูดักรถถัง และ
กับระเบิดบนหาด ทำให้เป็นการเสียชีวิตทหารมากมายก่อนจะยึดหัวหาด
ได้ โดยเฉพาะที่หาดโอมาฮ่า
แผนการของนายพลรอมเมล คือต้องการสร้างเครื่องกีดขวางและ
เครื่องป้องกันหาดต่างๆ บนหาดให้ได้มากที่สุด เพราะเมื่อหาดถูกบุก หาด
จะถูกป้องกัน พวกพันธมิตรจะต้องตายคาหาด แต่ฮิตเลอร์ไม่เห็นด้วย
เขาเห็นว่าการตั้งรับควรจะอยู่หลังแนวหาดมากกว่า คือถ้าหาดถูกบุก ควร
จะปล่อยให้ พวกพันธมิตรเข้ามาในแผ่นดินยุโรบก่อน แล้วค่อยจัดการบน
บกหลังแนวดีกว่า ด้วยความคิดของฮิตเลอร์นี้เอง นอร์มังดีจึงแตก
ต่อมาจนถึงสิ้นปีนั้น กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้ผลักดันให้กองทัพ
เยอรมันในยุโรปตะวันตกถอยร่นไปจนถึงแม่น้ำไรน์ ส่วนกองทัพเยอรมัน
ในอิตาลีก็ถูกตีจนถอยร่นไปยังแนวป้องกันสุดท้าย
กองทัพโซเวียตสามารถคลายวงล้อมของกองทัพเยอรมันได้ที่เลนินก
ราด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1944 อย่างไรก็ตาม สหภาพโซเวียตประสบ
ความล้มเหลวที่ ยุทธการนาร์วา และต้องสูร้ บกับกองทัพเยอรมันเป็นเวลา
451/665

กว่าแปดเดือน รวมไปถึงเอสโตเนียซึ่งทำการต่อต้านการยึดครองอีกครั้ง
ของสหภาพโซเวียต
ด้านแนวรบด้านตะวันออก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ปีเดียวกัน
กองทัพโซเวียตได้กระหน่ำโจมตีเป็นชุดอย่างหนักต่อเยอรมนี โดยเริ่ม
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ไล่ตั้งแต่ปฏิบัติการบากราติออนในเบลารุส ซึ่ง
สามารถทำลายกองทัพ กลุ่มกลางของเยอรมนีลงเกือบทั้งหมด ตามด้วย
ปฏิบัติการในยูเครนและโปแลนด์ตะวันออก ซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าว
ทำให้ขบวนการกู้ชาติโปแลนด์ ได้เริ่มต้นก่อการจลาจล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในกรุงวอร์ซอ และการจลาจลในสโลวาเกียทางตอนใต้ แต่ทั้งการก่อ
จลาจลทั้งสองครั้งได้ถูกปราบปรามลงโดยกองทัพเยอรมัน ส่วนการโจมตี
โรมาเนียได้ทำลายกองทัพเยอรมันไปเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดการ
รัฐประหารในโรมาเนียและบัลแกเรีย และทั้งสองก็ได้เข้ากับ
ฝ่ายสัมพันธมิตร
ในเดือนกันยายน 1944 กองทัพแดงได้เคลื่อนทัพไปยังยูโกสลาเวีย
ทำให้กองทัพเยอรมันในกรีซ อัลเบเนียและยูโกสลาเวียต้องถอนกำลังออก
ไป เมื่อถึงจุดนี้ พลพรรคชาวยูโกสลาฟวิก ภายใต้การนำของจอมพลโจซิบ
โบรซ ติโต ซึ่งได้ครอบครองดินแดนจำนวนมากในยูโกสลาเวียและโจมตี
กองทัพเยอรมันต่อไปทางทิศใต้
ในเซอร์เบีย กองทัพแดงได้มีส่วนช่วยเหลือพลพรรคในการ
ปลดปล่อยกรุงเบลเกรด เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ไม่กี่วันก่อนหน้านั้น
452/665

กองทัพแดงได้โจมตีฮังการีครั้งใหญ่ในการรุกบูดาเปสต์ ซึ่งกินเวลานาน
ก่อนที่กรุงบูดาเปสต์จะแตกในเดือนกุมภาพันธ์ 1945
เนื่องจากชัยชนะหลายครั้งในคาบสมุทรบอลข่าน ทำให้ฟินแลนด์ ซึ่ง
ปฏิเสธการยึดครองฟินแลนด์ของสหภาพโซเวียตระหว่างการรบในสงคราม
ต่อเนื่อง และนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกด้วยเงื่อนไขที่
เสียเปรียบ และทำให้ฟินแลนด์เปลี่ยนมาอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตรแทน
ถึงต้นเดือนกรกฎาคม กองทัพเครือจักรภพ ซึ่งตั้งมั่นอยูใ่ นเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ สามารถคลายวงล้อมของกองทัพญี่ปุ่นที่รัฐอัสลัมลงได้
และสามารถผลักดันให้กองทัพญี่ปุ่นถอยไปได้จนถึงแม่น้ำชินด์วินด์
ขณะทีก่ องทัพ จีนสามารถยึดเมืองมิตจีนาในประเทศพม่าได้ ส่วนทางด้าน
ประเทศจีน กองทัพญี่ปุ่นเริ่มได้รับชัยชนะอย่างมาก จากการยึดเมืองฉาง
ชาไว้ได้ในที่สุดในตอนกลางเดือนมิถุนายน และยึดเมืองเหิงหยางได้เมื่อ
ต้นเดือนสิงหาคม
จากนั้นจึงได้เคลื่อนทัพต่อไปยังมณฑลกวางสี สามารถเอาชนะ
กองกำลังหลักของจีนได้ที่กุ้ยหลินและหลิวโจวเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน
และประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อกองทัพญี่ปุ่นในจีนและใน
คาบสมุทรอินโดจีนในกลางเดือนธันวาคม
ด้านสมรภูมิมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพอเมริกันยังคงกดดันแนว
ป้องกัน ของญี่ปุ่นตามหมู่เกาะต่างๆ ต่อไป กลางเดือนมิถุนายน 1944
กองทัพอเมริกัน ได้ทำการโจมตีหมู่เกาะมาเรียน่าและปาเลา และได้รับ
453/665

ชัยชนะเด็ดขาดต่อราชนาวีจักรวรรดิญี่ปุ่นในยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์
ภายในเวลาไม่กี่วัน ตอนปลายเดือนตุลาคมกองทัพอเมริกันยกพลขึ้นบกที่
เกาะเลเต และหลังจากนั้นไม่นาน กองทัพเรือของสัมพันธมิตรก็ได้รับ
ชัยชนะครั้งใหญ่ต่อกองทัพญี่ปุ่นอีกครั้งในยุทธนาวีอ่าวเลเต
วันที่ 16 ธันวาคม 1944 กองทัพเยอรมันทำการตีโต้ที่ป่าอาร์เดน
เนอร์กับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ซึ่งกินเวลาไปหกสัปดาห์จนกระทั่ง
กองทัพเยอรมัน ถูกตีจนพ่ายแพ้กลับไป ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก
กองทัพโซเวียตโจมตีถึงฮังการี และกองทัพเยอรมันจำเป็นต้องทิ้งกรีซและ
ยูโกสลาเวีย ขณะทีใ่ นอิตาลี กองทัพสัมพันธมิตรยังคงยันกัน ไม่สามารถ
ตีผ่านแนวป้องกันของเยอรมันได้
กลางเดือนมกราคม 1945 สหภาพโซเวียตโจมตีโปแลนด์ สามารถ
ผลักดันกองทัพเยอรมันจากแม่น้ำวิซตูล่าถึงแม่น้ำโอเดอร์ และยึดครองป
รัสเซียตะวันออก
4 กุมภาพันธ์ ผู้นำของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ
สหภาพโซเวียต ได้เข้าร่วมการประชุมที่ยอลต้า ซึ่งได้ข้อสรุปถึงการแบ่งปัน
ดินแดนของ เยอรมนีภายหลังสงคราม และกำหนดเวลาที่สหภาพโซเวียต
จะเข้าโจมตีญี่ปุ่น
ในเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้เข้าสู่
แผ่นดินของเยอรมนีและเข้าประชิดแม่น้ำไรน์ ขณะทีก่ องทัพโซเวียตโจมตี
โพเมอราเนียตะวันออก ถึงเดือนมีนาคม กองทัพสัมพันธมิตรตะวันตกได้
454/665

ข้ามแม่น้ำไรน์ ทั้งทางเหนือและทางใต้ของแคว้นไรน์-รูร์ และสามารถล้อม


กองทัพเยอรมันขนาดใหญ่ไว้ในกระเป๋าแห่งรูร์
ส่วนด้านกองทัพโซเวียตสามารถรุกเข้าถึงกรุงเวียนนา ในที่สุด
กองทัพสัมพันธมิตรตะวันดกก็สามารถตีฝ่าแนวป้องกันของเยอรมันได้
และกวาดมาจากเยอรมนีตะวันตกในตอนต้นของเดือนเมษายน 1945
ขณะทีป่ ลายเดือนเดียวกัน กองทัพโซเวียตเข้าถล่มกรุงเบอร์ลิน กองทัพ
ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและกองทัพสหภาพโซเวียตได้มาบรรจบกันเมื่อ
วันที่ 26 เมษายน
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 12 เมษายน ประธานาธิบดีแฟรงคลิน รู
สเวลต์ถึงแก่อสัญกรรม ผู้ที่มารับตำแหน่งต่อก็คือ แฮร์รี เอส. ทรูแมน
ขณะทีเ่ บนิโต มุสโสลินีถูกสังหารโดยขบวนการกู้ชาติอิตาลีในวันที่ 28
เมษายน และอีกสองวันให้หลังฮิตเลอร์ก็ยิงตัวตาย และสืบทอดอำนาจต่อ
ให้แก่พลเรือเอกโดนิตช์
หลังจากนั้น กองทัพเยอรมันในอิตาลีได้ยอมแพ้ในวันที่ 29
เมษายน ส่วนเยอรมนียอมแพ้เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ซึ่งได้ถือว่าเป็นวัน
แห่งชัยชนะในทวีปยุโรป แต่ทว่ากองทัพเยอรมันยังคงรบกับกองทัพ
โซเวียตในแนวรบด้านตะวันออกต่อไปจนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม (ใน
วันนี้ถือว่าเป็น “วันแห่งชัยชนะในแนวรบด้านตะวันออก”) ส่วนกองทัพ
เยอรมันที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดได้ทำการ สู้รบแบบกองโจรกับกองทัพ
โซเวียตในกรุงปรากต่อไป จนกระทั่งยอมจำนนเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม
455/665

ทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพสหรัฐอเมริกาได้รุกเข้าสู่
ฟิลิปปินส์ หลังจากได้ชัยในเกาะเลเตเมื่อปลายปี 1944 จากนั้นก็ยกพลขึ้น
บกทีล่ ูซอนเมื่อเดือนมกราคม 1945 และที่เกาะมินดาเนาเมื่อเดือนมีนาคม
ขณะทีก่ องทัพ ผสมอังกฤษและจีนสามารถเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นได้ในพม่า
ตอนเหนือ ตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนมีนาคม จากนั้นก็รุกถึงกรุงย่าง
กุ้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม
456/665

วินสตัน เชอร์ชิล, แฮร์รี ทรูแมน และโจเซฟ สตาลิน ที่การประชุมพอตสดัม เดือนกรกฎาคม


1945

กองทัพอเมริกันยังคงมุ่งหน้าเข้าสูญ
่ ี่ปุ่น สามารถยึดเกาะอิโวจิมาใน
เดือนมีนาคม และเกาะโอกินาวาในเดือนมิถุนายน ขณะทีเ่ ครื่องบินทิ้ง
ระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้ทำลายเมืองต่างๆ ของญี่ป่น
457/665

และเรือดำน้ำอเมริกันก็เข้าปิดล้อมเกาะญี่ปุ่น ทำให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
และสังคมในญี่ปุ่น แต่เหล่าผู้นำของญี่ปุ่นได้ตัดสินใจที่จะสู้ต่อไป และ
หวังว่าความพ่ายแพ้อันนองเลือดจะเกิดแก่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร และ
จากนั้นก็จะจบลงด้วยการเจรจาสันติภาพ
วันที่ 11 กรกฎาคม เหล่าผู้นำของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้าประชุมกัน
ทีเ่ มืองพอตสดัม ประเทศเยอรมนี ได้ข้อสรุปว่าที่ประชุมให้การรับรอง
เกี่ยวกับข้อตกลงต่างๆ กับเยอรมนี และย้ำถึงความจำเป็นของญี่ปุ่นที่จะ
ต้องยอมแพ้อย่างไม่มเี งื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำกล่าวในตอนต้นว่า
“อีกทางเลือกหนึ่ง ของญี่ปุ่นก็คือหายนะเหลือแสน” ( “the alternative
for Japan is prompt and utter destruction”)
ภายหลังจากการประชุมนี้ สหราชอาณาจักรได้มกี ารเลือกตั้งทั่วไปปี
1945 และคลีเมนต์ แอตลีย์ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอา
ณา จักรแทน วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีคนเดิม
ญี่ปุ่นได้ปฏิเสธข้อเสนอทีพ่ อตสดัม สหรัฐอเมริกาจึงตัดสินใจทิ้ง
ระเบิดปรมาณูทั้งสองลูกบนแผ่นดินญี่ปุ่น ที่เมืองฮิโรชิมา (6 สิงหาคม)
และเมืองนางาซากิ (9 สิงหาคม)
ด้านสหภาพโซเวียตก็ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และโจมตีแมนจูเรีย
ของญี่ปุ่นระหว่างปฏิบัติการพายุสิงหาคมในวันที 8 สิงหาคม ซึ่งเป็นผลมา
จากการประชุมทีย่ อลต้า เนื่องจากญี่ปุ่นเกรงกลัวต่ออำนาจของ
สหภาพโซเวียต ญี่ปุ่นจึงตัดสินใจยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ในวันที่ 15
458/665

สิงหาคม 1945 หลังจากนั้นในวันที่ 2 กันยายน 1945 ญี่ปุ่นได้เซ็นสัญญา


ยอมจำนนอย่างเป็นทางการ ในวันนี้จึงถือได้ว่าเป็นจุดจบของสงครามโลก
ครั้งนี้อย่างแท้จริง
เป็นอันปิดฉากของสงครามครั้งยิ่งใหญ่ในนามสงครามโลกครั้งที่ 2
ลงอย่างสูญเสียมหาศาล
ว่ากันว่า สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำให้เกิดความร่วมมืออย่างที่ไม่
เคยมีมาก่อนในหลายประเทศ คนทุกคนเกี่ยวข้องกับสงครามอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นเป็น “สงคราม
ของประชาชนทุกคน” ---
บทเสริม

สมาชิกช่วงหลักและช่วงเวลาการเข้าร่วมสงครามของประเทศต่างๆ
ทั่วโลก
แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายอักษะ และฝ่ายสัมพันธมิตร
ฝ่ายอักษะ
สมาชิก
ประเทศหลัก
* นาซีเยอรมนี
* ฟาสซิสต์อิตาลี
* จักรวรรดิญี่ปุ่น
ประเทศสมาชิกรอง
* ฮังการี
* โรมาเนีย
* บัลแกเรีย
460/665

* ยูโกสลาเวีย
ประเทศผู้ทำสงครามร่วม
* ฟินแลนด์
* อิรัก
* ไทย
รัฐบาลหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น
* แมนจูกัว
* มองโกเลียใน
* รัฐบาลหวาง จิงเว่ย
* พม่า
* สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2
* อินเดีย
* เวียดนาม
* กัมพูชา
* ลาว
รัฐบาลหุ่นเชิดของอิตาลี
* มอนเตเนโกร
461/665

รัฐบาลหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี
* สโลวาเกีย
* เซอร์เบีย
* สาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี
* อัลเบเนีย
* ฮังการี
รัฐบาลหุ่นเชิดร่วมระหว่างนาซีเยอรมนีและอิตาลี
* โครเอเชีย
* กรีซ
* พินดัสและมาซิโดเนีย
ประเทศผู้ให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ
* วิชีฝรั่งเศส
* เดนมาร์ก
* สหภาพโซเวียต (ก่อนหน้า ค.ศ. 1941)
* สเปน
ฝ่ายสัมพันธมิตร
ตามช่วงเวลาการรุกรานโปแลนด์
462/665

* โปแลนด์ : 1 กันยายน 1939


* ออสเตรเลีย : 3 กันยายน 1939
* ฝรั่งเศส : 3 กันยายน 1939 รวมไปถึง
: ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส และโมร็อกโกในอารักขาฝรั่งเศส
* นิวซีแลนด์ : 3 กันยายน 1939
* สหราชอาณาจักร : 3 กันยายน 1939 รวมไปถึง
: บริติชราช จักรวรรดิอังกฤษ
* นิวฟาวด์แลนด์ : 4 กันยายน 1939
* เนปาล : 4 กันยายน 1939
* สหภาพแอฟริกาใต้ : 6 กันยายน 1939
* แคนาดา : 10 กันยายน 1939
* เชคโกสโลวาเกีย (รัฐบาลพลัดถิ่น) : 2 ตุลาคม 1939
ระหว่างและหลังสงครามลวง
* นอร์เวย์ : 9 เมษายน 1940 (แต่ยังไม่มีความ ร่วมมือกับ
ฝ่ายสัมพันธมิตรจน กระทั่งถึงปี 1941
* เดนมาร์ก : 9 เมษายน 1940 (วางตัวเป็น กลางใน
สงครามโลกครั้งที่ 2 จน กระทั่ง 29 สิงหาคม 1943)
463/665

* เบลเยียม : 10 พฤษภาคม 1940, รวมไปถึง


: เบลเยียมคองโก
* ลักเซมเบิร์ก : 10 พฤษภาคม 1940
* เนเธอร์แลนด์ : 10 พฤษภาคม 1940, รวมไปถึง
: หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของ ดัตช์ และอาณานิคมดัตช์
* กองทัพเสรีฝรั่งเศส : 18 มิถุนายน 1940
* กรีซ : 28 ตุลาคม 1940
* ยูโกสลาเวีย : 6 เมษายน 1941
หลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียต
* สหภาพโซเวียต : 22 มิถุนายน 1941
* ตันนู ตูวา : 25 มิถุนายน 1941 (ถูกผนวกเข้า เป็นส่วนหนึ่งของ
สหภาพโซเวียต ในปี 1944)
* มองโกเลีย : 9 สิงหาคม 1941
หลังจากการโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์
* ปานามา : 7 ธันวาคม 1941
* สหรัฐอเมริกา : 8 ธันวาคม 1941 รวมไปถึง
: ดินแดนโพ้นทะเลของ
464/665

สหรัฐอเมริกา
* คอสตาริกา : 8 ธันวาคม 1941
* สาธารณรัฐโดมินิกัน : 8 ธันวาคม 1941
* เอลซัลวาดอร์ : 8 ธันวาคม 1941
* เฮติ : 8 ธันวาคม 1941
* ฮอนดูรัส : 8 ธันวาคม 1941
* นิการากัว : 8 ธันวาคม 1941
* สาธารณรัฐจีน† : 9 ธันวาคม 1941 (ทำสงครามกับ จักรวรรดิ
ญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 1937)
* เครือจักรภพฟิลิปปินส์ : 9 ธันวาคม 1941
* กัวเตมาลา : 9 ธันวาคม 1941
* คิวบา : 9 ธันวาคม 1941
หลังจากประกาศก่อตั้งสหประชาชาติ
* เม็กซิโก : 22 พฤษภาคม 1942
* บราซิล : 22 สิงหาคม 1942
* เอธิโอเปีย : 14 ธันวาคม 1942 (ก่อนหน้านั้น อยู่ภายใต้การ
ยึดครองของอิตาลี)
465/665

* อิรัก : 17 มกราคม 1943 (ถูกยึดครอง โดยกองกำลัง


ฝ่ายสัมพันธมิตร ตั้งแต่ปี 1941)
* โบลิเวีย : 7 เมษายน 1943
* โคลอมเบีย : 26 กรกฎาคม 1943
* อิหร่าน : 9 กันยายน 1943 (ถูกยึดครอง โดยกองกำลัง
ฝ่ายสัมพันธมิตร ตั้งแต่ปี 1941)
* ยูโกสลาเวีย : 1 ธันวาคม 1943
* ไลบีเรีย : 27 มกราคม 1944
* เปรู : 12 กุมภาพันธ์ 1944
* อิตาลี : หลังจากการจับกุมตัว เบนิโต
มุสโสลินี ในปี 1943 อิตาลีตอน
เหนืออยูภ่ ายใต้การยึดครองของ นาซีเยอรมนี ขณะทีด่ ินแดนที่
เหลือทางตอนใต้อยู่ภายใต้การ ปกครองของพระเจ้าวิกเตอร์
อิมมานูเอลที่ 3 ซึ่งนำประเทศเข้า กับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อสู้
กับฝ่ายอักษะ
หลังจากปฏิบัติการบากราติออนและวันดีเดย์
* โรมาเนีย : 23 สิงหาคม 1944 (เคยอยู่ฝ่าย อักษะมาก่อน)
* บัลแกเรีย : 8 กันยายน 1944 (เคยอยู่ฝ่าย อักษะมาก่อน)
466/665

* ซานมารีโน : 21 กันยายน 1944 (เคยอยู่ฝ่าย อักษะมาก่อน)


* อัลเบเนีย : 26 ตุลาคม 1944 (เคยตกอยู่ ภายใต้การยึดครอง
ของ อิตาลี และนาซีเยอรมนี)
* เอกวาดอร์ : 2 กุมภาพันธ์ 1945 (แต่ว่าเคย ให้ความช่วยเหลือ
ฝ่ายสัมพันธ- มิตรมาแล้วตั้งแต่ปี 1943 ในการ ป้องกัน เกาะกาลาปาก
อส)
* ปารากวัย : 7 กุมภาพันธ์ 1945
* อุรุกวัย : 15 กุมภาพันธ์ 1945
* เวเนซุเอลา : 15 กุมภาพันธ์ 1945
* ตุรกี : 23 กุมภาพันธ์ 1945
* อียิปต์ : 27 กุมภาพันธ์ 1945
* เลบานอน : 27 กุมภาพันธ์ 1945
* ซีเรีย : 27 กุมภาพันธ์ 1945
* ซาอุดีอาระเบีย : 1 มีนาคม 1945
* อาร์เจนตินา : 27 มีนาคม 1945
* ชิลี : 11 เมษายน 1945
12

ผู้นำและบุคคลสำคัญใน
สงครามโลกครั้งที่ 2
ความสมบูรณ์ของเรื่องราวในสงครามโลกครั้งที่ 2 จะไม่สมบูรณ์ได้
หากว่า เราไม่ได้มาทำความรู้จักกับบรรดาผู้นำ สำคัญๆ ที่ถือเป็นสมอง
และหัวใจหลัก ของการทำสงครามอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ฉะนั้นบทนีเ้ ราจะ
มาทำความรู้จักกับบรรดาผู้นำคนสำคัญในแต่ละฝ่ายกัน
ฝ่ายอักษะ
เยอรมนี
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
นี่คือท่านผู้นำที่โลกยกย่องว่าเป็นจอมเผด็จการอันดับหนึ่ง อดอล์ฟ
ฮิตเลอร์
468/665

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เกิดในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ภาษีแห่งเมืองเบรา


เนา อัม อิน (Braunau-am-Inn)ในประเทศออสเตรีย ดังนั้นแทนที่จะ
เป็นอย่างที่เข้าใจกันว่าเขาเป็นผู้นำนาซีเยอรมัน ย่อมน่าจะเป็นชาวเยอรมัน
แต่เรื่องจริง ไม่ได้เป็นเช่นนั้น สัญชาติโดยกำเนิดของฮิตเลอร์กลับเป็น
ออสเตรีย ต่างหาก
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 1889
เวลา06.30 น.
469/665

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

พ่อของเขาชื่อว่า อาลัวส์ (Alois Shiklgruber) แต่งงานกับแม่ผู้มี


นามว่าคาร่า (Klara) มารดาของฮิตเลอร์ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของพ่อเขา
ทั้งคู่มีอายุห่าง กันมาก นั้นคือห่างกันถึง 23 ปี อันที่จริงแล้วก่อนที่พ่อของ
เขาจะมาเป็นเจ้าภาษีนั้นอาชีพเดิมของพ่อก็คือเกษตรกรธรรมดานี่เอง
แต่ว่ากันว่าด้วยความชาญฉลาด และมองการณ์ไกลของอาลัวส์นั้นเองทีท่ ำ
ให้เขาสามารถยกระดับชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้น
470/665

และก่อนทีอ่ าลัวส์จะมาแต่งงานกับคาร่าผู้เป็นแม่ของฮิตเลอร์นั้น พ่อ


ของฮิตเลอร์ก็เป็นพ่อหม้ายลูกติดที่พ่วงมาอีก 2 คน เมื่อแต่งงานกับแม่
ของฮิตเลอร์แล้วก็ให้กำเนิดลูกเพิ่มมาอีก 3 คนรวมเด็กๆ ในครอบครัวนี้
มีถึง 5 คน ว่ากันว่าในจำนวนพี่น้องทั้ง 5 คนนี้ ในเวลาต่อมาเหลือชีวิต
รอดมาแค่ 2 คน นั้นคือ ฮิตเลอร์กับน้องสาวของเขาเท่านั้น ส่วนสาเหตุ
การณ์ห่างหายรายชื่อไป เพราะอะไรนั้นไม่ปรากฏเรื่องราว
เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผเู้ ป็นพ่อซึ่งมีอายุห่างจากแม่ของเขามาก จึงต้อง
มีหน้าทีเ่ ป็นพ่อบ้านทีม่ ีอำนาจในการตัดสินใจทุกเรื่องราวในครอบครัว พ่อ
ฮิตเลอร์เป็นคนที่เข้มงวดมาก และนิยมใช้ความรุนแรงลงโทษหากลูกไม่
เชื่อฟัง ฮิตเลอร์จึงเป็นเด็กเรียนดีในตอนต้น เพื่อนๆ ยกย่องให้เป็นผู้นำ
ทั้งยังเคร่งศาสนา จนใครๆ คิดว่าโตขึ้นมาเขาจะต้องเป็นนักบวชอย่าง
แน่นอน
ในวัยเด็ก เขาเป็นเด็กทีข่ าดความรัก ความอบอุ่นจากบิดาและมารดา
แต่ ฮิตเลอร์ก็ไม่ชอบให้ใครมาวิจารณ์พ่อของเขาในทางที่ไม่ดี แม่ของเขา
แม้จะไม่ค่อยมีเวลาให้เขา แต่ก็จะคอยตามใจเขาทุกครั้งที่มีโอกาส ให้เขา
ในทุกๆ สิ่งทีเ่ ขาต้องการ ว่ากันว่า การเอาใจอย่างเกินเหตุนี้เอง ทีเ่ ป็น
สาเหตุของการก้าวไป สู่ความเป็นจอมเผด็จการแห่งยุคในที่สุด
แต่พอขึ้นเรียนชั้นสูงขึ้น วิชาต่างๆ ก็เริ่มยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสอบไม่
ได้ที่ 1 พ่อเริ่มเกรี้ยวกราด เพราะกลัวลูกจะเข้ารับราชการไม่ได้ ส่วนเพื่อ
นๆ ก็เริ่มไม่ปลื้มให้เป็นหัวหน้า ความกดดันต่างๆ ทำให้ฮิตเลอร์เบี่ยงไป
471/665

สนใจการต่อสู้กระนั้นก็ยอมรับกันว่าเขาเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาด
แม้ว่าจะขี้เกียจอย่างมาก โดยเฉพาะในงานที่ต้องใช้เวลานานๆ
เขาเป็นเด็กช่างฝัน มีเพื่อนไม่มากนัก พรรคนาซีของเขามักจะทำการ
ประชาสัมพันธ์อยู่เสมอว่า ฮิตเลอร์ในวัยเด็กมีความเป็นผู้นำตามธรรมชาติ
โดยเขามักจะนำเพื่อนๆ ทุกคนในสนามเด็กเล่นอยูเ่ สมอ อีกทั้งยัง
ประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังว่า ฮิตเลอร์สนใจในการค้นคว้าประวัติศาสตร์
ซึ่งที่จริงแล้ว มีคนแย้งอยู่เสมอว่า เขาไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์การบุก
รัสเซียของนโปเลียนเลยแม้แต่ผิวเผิน ทำให้เขาประสบกับความพ่ายแพ้ใน
รัสเซียเช่นเดียวกับนโปเลียน หนึ่งในวีรบุรุษที่เขาโปรดปราน
สำหรับวิชาที่ฮิตเลอร์สนใจมากอีกวิชาคือศิลปะ ซึ่งทำให้ทะเลาะ
รุนแรง กับพ่อ เพราะไม่เห็นด้วยเลยที่จะให้ลูกเป็นศิลปิน ศึกพ่อลูก
สิ้นสุดลงในปี 1903 เมื่อพ่อฮิตเลอร์เสียชีวิต ตอนนั้นครอบครัวไม่ได้รับ
ผลกระทบอะไรมากทางการเงิน ครอบครัวของเขาย้ายไปเมือง Linz ที่นี่
ฮิตเลอร์ตัดสินใจเรียนวาดภาพ อย่างไรก็ตาม พรสวรรค์ในการวาดภาพ
ของเขาได้ถูกทำลายลงด้วยการขาดความเพียรพยายามของเขา ฮิตเลอร์
ยังคงไม่รักเรียนเช่นเดิม จนแม่ยอมให้ออกจากโรงเรียน
ต่อมาในช่วงอายุ 18 ปี ฮิตเลอร์ได้รับมรดกของพ่อ และใช้เงิน
เดินทางไปกรุงเวียนนา หวังว่าจะไปเรียนวิชาศิลปะที่นั่น ฮิตเลอร์คิดว่า
ตนเองมีความสามารถทางศิลปะที่เหนือชั้น แต่พอไปถึงจริงกลับถูกสถาบัน
472/665

วิชาการศิลปะเวียนนาปฏิเสธใบสมัคร จากนั้นจึงย้ายไปสมัครที่โรงเรียน
สถาปัตยกรรม แต่ไม่ได้อีก เพราะไม่มีใบรับรองจากโรงเรียนเก่า
ว่ากันว่า ฮิตเลอร์อับอายมากที่ล้มเหลวเช่นนี้ จนไม่กล้าบอก
ความจริงกับแม่ว่าเกิดอะไรขึ้น แสร้งทำเป็นอยูใ่ นเวียนนาต่อไปว่าตนเอง
เป็นนักเรียนศิลปะ
ฮิตเลอร์ใช้ชีวิตไร้เป้าหมายอยู่ในเวียนนา 6 ปีหลังจากนั้น โดยไม่
ทำงาน อาศัยเงินบำนาญของพ่ออยู่ไปวันๆ บางวันก็ออกไปดูผลงานศิลปะ
บางวันก็ไปหลับอยู่ในบาร์ ไปอาศัยอยูท่ ี่พักของคนเร่ร่อน ซึ่งเป็นของชาว
ยิว ทั้งยังมีเพื่อน ในวงการศิลปะและความบันเทิงเป็นชาวยิวที่
เป็นใหญ่เป็นโต ทำให้ฮิตเลอร์ อิจฉาคับแค้นใจขึ้นไปทีละน้อย
ในระยะเวลาทีฮ่ ิตเลอร์เป็นจิตรกรคนยาก ฮิตเลอร์ได้พบกับความสุข
ทีเ่ รียกว่าความรัก เธอเป็นหญิงที่สวยงามและมีฐานะดีพอสมควร เป็นส่วน
ทีท่ ำให้ฝ่ายชายเกรงและอายที่จะขอหล่อนแต่งงาน ขณะเดียวกันฝ่ายหญิง
ก็ไปคบกับหนุ่มชาวยิวและทั้งคูก่ ็แต่งงานกัน ขณะที่ฮิตเลอร์เองก็ตกงาน
และในใจเขามีความแค้นอย่างมากในเวลานั้น (นี้อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้
ฮิตเลอร์เองจดจำและเก็บไว้ในใจ)
ค.ศ. 1907 แม่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง การเสียชีวิตของแม่ทำให้ฮิต
เลอร์เสียใจสุดซึ้ง เพราะรักแม่มากและมากกว่าพ่อ ตามประวัติศาสตร์ฮิต
เลอร์ถือรูปแม่ไปทุกที่ แม้กระทั่งวาระสุดท้ายรูปก็ยังอยู่ในมือ
473/665

อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรกล่าวข้ามไปนั้นก็คือ ในสมัยเรียนหนังสือ ครูชั้น


มัธยมฯ คนเดียวที่ฮิตเลอร์ชื่นชอบคือ ลีโอโพลด์ พอตช์ ซึ่งเป็นคนนิยม
ความสำเร็จของเยอรมนี มักเล่าถึงชัยชนะต่างๆ ของเยอรมันเหนือฝรั่งเศส
ในศึกปี 1870-1871 และต่อว่าออสเตรียว่าไม่ยอมเข้าร่วมกับเยอรมนี ฮิต
เลอร์พาลชอบเยอรมันไปด้วย โดยมีออตโต วอน บิสมาร์ค
นายกรัฐมนตรีของอาณาจักร เยอรมนี เป็นฮีโร่ในดวงใจ
ดังนั้นในปี 1909 ซึ่งเป็นปีที่ควรเกณฑ์ทหาร ฮิตเลอร์กลับไม่ยอมรับ
ใช้กองทัพออสเตรียของตัวเอง เพราะแค้นอยูล่ ึกๆ ที่สถาบันการศึกษา
ออสเตรียไม่เปิดโอกาสให้เรียน นอกจากนีเ้ ขายังชื่นชมอาณาจักรเยอรมนี
ทีเ่ หนือกว่าออสเตรียมาตั้งแต่เด็ก เขากลับหลบหนีไปอยู่ที่เมืองมิวนิคใน
เยอรมนี
ฮิตเลอร์พยายามหนีทหาร จึงย้ายจากเวียนนาของออสเตรียไปเมือง
มิวนิคในเยอรมนี แต่กห็ นีไม่พ้นถูกจับจนได้ สุดท้ายลงเอยแบบรอดตัว
เมื่อตรวจ ร่างกายแล้วพบว่าฮิตเลอร์ร่างกายอ่อนแอเกินไปที่จะรับใช้
กองทัพ ทำให้เขากลับไปอยูท่ ี่มิวนิคอย่างที่ตั้งหวังเอาไว้ได้ และที่นเี่ องที่
เขาได้พบกับลัทธิชาตินิยม (Nationalism) และลัทธิการแบ่งแยกเชื้อชาติ
(Racism) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นมา ฮิตเลอร์ จึงไปเป็น
อาสาสมัครในกองทัพเยอรมนี
ค.ศ. 1914 ฮิตเลอร์เข้าเป็นแนวหน้าของทัพบกเยอรมัน เข้าร่วมรบ
ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในตอนนั้นฮิตเลอร์ยังเป็นแค่พลทหารเขาอยูใ่ น
474/665

หน่วยรบแนวหน้า เขาจะตายหลายครั้งแต่ก็รอดมาได้ ในไม่นานด้วย


ความกล้าของเขา ทำให้เขาได้ติดยศสิบตรี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันภายใต้การนำของพระเจ้า
วิลเฮล์ม ไกเซอร์ (Kaiser) โดยอยู่ในกรมบาวาเรียนที่ 16 (the 16th
Bavarian Regiment) ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งๆ ที่เขามีปัญหาด้าน
สุขภาพมากมาย ในกองทัพนี่เอง ที่ทำให้ชีวิตที่เพ้อฝันและขาดการ
เอาจริงเอาจังของเขาเปลี่ยนไป เขากลายเป็นคนทีม่ ีระเบียบวินัย
สนุกสนาน ร่าเริง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ พร้อมที่จะรับภารกิจที่
เต็มไปด้วยอันตราย จนได้รับเหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็กชั้นที่ 2 (the
Iron Cross Second Class) ซึ่งภายหลังถูกยกระดับให้เป็นเหรียญ
ชั้นที่ 1
เป็นที่น่าสังเกตคือ เขาได้รับการเสนอชื่อให้เข้ารับเหรียญกล้าหาญนี้
โดยฝ่ายเสนาธิการประจำกรมของเขาซึ่งเป็นคนยิว ชนชาติทจี่ ะถูกเขา
ทำลาย ล้างในห้วงเวลาต่อมา ฮิตเลอร์มคี วามภาคภูมิใจใน
เหรียญกล้าหาญนี้มากเขาจะประดับเหรียญตรานี้อยู่เสมอ
ความคิดทางการเมืองของฮิตเลอร์เริ่มก่อตัวขึ้นในเยอรมันนี่เอง ว่า
กัน ว่าเขาบูชาปรัชญาของโชเปนเฮาเออร์อย่างมาก ถึงกับมีหนังสือปรัชญา
ของโชเปนเฮาเออร์ติดอยู่ในกระเป๋าเครื่องหลังของเขาในการรบเสมอ ใน
การเป็นทหารนั้น ว่ากันว่า ฮิตเลอร์เป็นทหารทีม่ ีความกล้าหาญ โดยทีเ่ ขามี
หน้าทีส่ ่วนใหญ่เป็นทหารนำสารของกรม ซึ่งต้องมีความคล่องตัวและ
475/665

กล้าหาญพร้อม เสี่งภัย เขาทำผลงานได้ดีจนได้รับคำชื่นชมว่าเป็นทหาร


กล้าตาย กระทั่งได้รับการเลื่อนยศให้เป็นนายสิบโท
และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ใกล้จะจบลงนั้นเขาก็ได้รับการแต่งตั้ง
ให้เป็นโฆษกทหารเยอรมัน ซึ่งการได้เลื่อนตำแหน่งและหน้าที่อย่าง
ต่อเนื่องของเขานี้ผนวกกับการเกิดแนวความคิดจากการสั่งสมความรู้ใน
เชิงปรัชญาทีเ่ ขาชื่นชอบ ทำให้เขาเริ่มหันมาสนใจการเมืองอย่างจริงจังมาก
ยิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นเขายังสนใจในปัญหาเกี่ยวกับสังคมเยอรมันมากอีก
ด้วย

(ขวาสุด) ฮิตเลอร์แต่งเครื่องแบบทหารช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914


476/665

ภายหลังเยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะได้
รีดนาทาเร้นเยอรมันเพียงประเทศเดียวตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์
บ้านเมืองระส่ำระสาย ความอดอยากหิวโหยแผ่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ ผู้นำ
เยอรมันแบ่ง แยกออกเป็นหลายฝ่าย มีทั้งสังคมนิยมแบบขวาจัดกลางขวา
กลางซ้าย ไปจน ถึงซ้ายจัดทีม่ ีผู้นำเป็นยิว ซ่องสุมกำลังคนนับแสนเพื่อ
เปลี่ยนประเทศเยอรมันให้เป็นคอมมิวนิสต์โดยการหนุนของรัสเซีย ใน
ปลายปี 1919 สิบโทฮิตเลอร์ผู้โด่งดังจากการได้รับเหรียญกล้าหาญกางเขน
เหล็กในสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้รับการคัดเลือกให้ไปเรียนปฏิบัติการ
จิตวิทยาในด้านประชาสัมพันธ์มวลชนทีม่ หาวิทยาลัยมิวนิค เขาฝึกหนักใน
เรื่องการใช้คำพูดให้คนที่ด้อยการศึกษาซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ให้เข้าใจใน
เนื้อหาและมองเห็นภาพคล้อยตาม ฮิตเลอร์ได้ย้าย ไปอยูม่ วิ นิค
เมืองหลวงของบาวาเรีย ซึ่งเป็นแคว้นเอกเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร
เยอรมัน และที่นี่ถือได้ว่าเป็นบันไดให้ฮิตเลอร์ก้าวย่างขึ้นไปสู่ถนน
การเมืองระดับชาติโดยที่เขาไม่เคยคิดไม่เคยคาดฝันมาก่อน เขาอยากเป็น
ศิลปินแต่กลับเริ่มต้นชีวิตการเมืองอย่างไม่ตั้งใจ
เมื่อคูร์ต ไอส์เนอร์ หัวหน้าพรรคอินดีเพนเดนท์โซเซียลลิสท์
ประกาศว่า บาวาเรียได้เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมแล้ว ซึ่งในสายตา
ของฮิตเลอร์ สังคมนิยมดังกล่าวคือการปฏิวัติยึดอำนาจโดยชาวยิว
ทำนองเดียวกันกับการปฏิวัตทิ ี่รัสเซีย คาร์ล มาร์กซ์ ผู้เผยแพร่ลัทธิ
สังคมนิยม รวมทั้งบรรดาผู้นำสังคมนิยมทั้งที่เยอรมันและรัสเซียล้วนเป็น
ยิว ฮิตเลอร์มีปรัชญาด้านการเมืองแบบชาตินิยมว่า เยอรมันเป็นอารยชาติ
477/665

ทีส่ ูงส่งเหนือกว่าชาติอื่นใดทั้งในด้านการเมือง ศิลปวัฒนธรรม


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เขามองเห็นว่า ลัทธิสังคมนิยมและ
คอมมิวนิสต์เริ่มคุกคามเยอรมัน ยุโรป และกำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก
ขณะนั้นรัสเซียที่เป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ภายใต้รัฐบาลโบลเซวิกได้ผ่าน
กฎหมายเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 1918 ยกเลิกการแบ่งแยกชนชั้นระหว่าง
ยิวกับไม่ยิว และชาย-หญิงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเสมอภาคกัน
ในชั่วโมงเรียนของศาสตราจารย์ อเล็กซานเดอร์ ฟอน มูลเลอร์ ฮิต
เลอร์ ได้โต้วาทีโดยสรุปว่า ประเทศชาติจะรอดได้กต็ ้องเนรเทศคนรัสเซีย
และยิวออก ไปให้หมดในเร็ววัน เพราะแคว้นบาวาเรียอยูใ่ นครอบครอง
ของพรรคคอมมิวนิสต์ ทีเ่ ต็มไปด้วยนักการเมืองยิว และในวันหนึ่ง
ข้างหน้า ยิวจะครองโลก ในขณะเดียว กันภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซายส์
เยอรมันต้องรับผิดชอบต่อการเป็นอาชญาสงครามแต่ผเู้ ดียว ต้องถูก
ลิดรอนยุทโธปกรณ์ทุกชนิด และให้เหลือกำลังทหาร ไว้แค่ 100,000 คน
น่านน้ำถูกร่วมใช้ ดินแดนแนวชายแดนถูกเฉือนให้กับเบลเยียม ฝรั่งเศส
และปรัสเซียถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งเพื่อให้มีทางออกสู่ทะเลบอลติก ชาว
เยอรมันสามล้านคนหลุดไปอยู่กับเชคโกสโลวาเกีย อีกหกล้านคนหลุดเข้า
ไปอยูใ่ นโปแลนด์ เดนมาร์ก เบลเยียม ฝรั่งเศส และเจ็ดล้านคนใน
ออสเตรีย รวมชาวเยอรมันสิบหกล้านคนที่ต้องไปเป็นประชาชนชั้นสอง
ของประเทศเจ้าบ้าน และต้องใช้หนี้กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าของทั้ง
ประเทศ ต้องส่งส่วยอีกสามในสีข่ องทรัพยากรแร่ หนึ่งในสามของถ่านหิน
478/665

หนึ่งในแปดของผลผลิตอุตสาหกรรม รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นสังหาและอสัง
หาของชาวเยอรมันที่อยู่นอกประเทศต้องถูกริบหมด
เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้ว ฮิตเลอร์ได้ออกไปปฏิบัติการฝึกซ้อม
ฝีปากในค่ายทหารต่างๆ เขาพูดทุกอย่างออกมาจากใจและด้วยความ
รักชาติอย่างแท้จริง สิ่งที่สำคัญของเขาคือ ความหวังในการกอบกู้ประเทศ
ชาติให้กลับมาเป็นใหญ่อีกครั้ง การพูดทุกครั้งเขาไม่เคยละเว้นโจมตีพวก
ยิวและยกย่องสายเลือดเยอรมัน เพราะหลังสงคราม ยิวระดับปัญญาชน
ได้เข้ามาเป็นใหญ่ในรัฐบาลจนถึงกับร่างกฎหมายใหม่ ยกเลิกข้อห้ามจำกัด
สิทธิต่างๆ ของยิว เพื่อให้ยิวมีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่ากับพลเมืองเยอรมัน
ทุกประการ นอกจากฮิตเลอร์เป็นนักปราศรัยเองแล้ว ตัวเขาก็เป็นนักฟัง
การปราศรัยของพรรคการเมือง อื่นและมักไปร่วมการชุมนุมอยู่เสมอด้วย
ฮิตเลอร์ได้รับทราบข้อมูลด้านลึกในระหว่างการเดินทางไปบรรยาย
ให้กับหน่วยทหารว่า ยิวและลัทธิมาร์กซิสต์จะทำการปฏิวัติโดยการ
เผยแพร่คำสอนและส้องสุมกำลังคนเพื่อบ่อนทำลายเยอรมัน กองทัพจึงให้
ฮิตเลอร์ทำหน้าทีเ่ ป็นสายลับเข้าไปในพรรคแรงงานเยอรมัน (GWP) โดย
ทางกองทัพเกรงว่าพรรคใหม่นี้อาจสนับสนุนการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์
แอนตัน เดร็กเลอร์ หัวหน้าพรรคได้ชักชวนฮิตเลอร์ให้เข้าร่วมงานกับ
พรรค เมื่อเขาได้อ่านนโยบาย ของพรรคแล้วเห็นว่ามันตรงกับสิ่งที่เขา
ต้องการ นั่นคือการเป็นสังคมนิยมแบบ เยอรมันและการต่อต้านมาร์ค
ซิสต์ เขาได้รับอนุมัติจากคาร์ล เมร์ ผู้บังคับบัญชา ให้เข้าเป็นสมาชิก
479/665

พรรคแรงงานเยอรมันได้ เขาจึงสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคลำดับที่ 44 มี
ตำแหน่งในคณะบริหารพรรคเป็นผู้จัดการโฆษณาชวนเชื่อ
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดลง พร้อมๆ กับความ
พ่ายแพ้ของ เยอรมนี ฮิตเลอร์เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากได้
รับบาดเจ็บจากการถูกโจมตีด้วยแก๊สพิษจากฝ่ายอังกฤษ เยอรมนีถูกจำกัด
ในทุกๆ ด้าน ด้วยสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (The Treaty of Versailles)
ฮิตเลอร์มีความเชื่อว่า ความพ่ายแพ้ของเขาและกองทัพเยอรมนี เกิด
ขึ้นมาจากศัตรูที่อยู่ภายใน (Enemy within) มากกว่า และเขาเชื่อว่าศัตรู
ที่อยู่ภายในนั้นหักหลังประเทศเยอรมัน พวกนั้นก็คือ พวกยิว พวก
คอมมิวนิสต์ หรือมาร์กซิสต์ และพวกนักการเมือง สนธิสัญญาแวร์ซายส์
จำกัดทุกอย่าง กองทัพ เยอรมันถูกลดลงเหลือเพียง 100,000 คน
เศรษฐกิจของประเทศเยอรมันถูกทิ้งให้อยู่ในสภาพที่สิ้นหวัง
เรียกได้ว่า ช่วงชีวิตในวัยเด็กและวัยหนุ่มตอนต้นของเขาอาจไม่
สวยงาม นัก หรือจะพูดให้กระจ่างขึ้นก็ต้องว่า เขาต้องพานพบกับ
ความผิดหวังอยูเ่ สมอ นั้นเอง เริ่มจากพบว่าครอบครัวของตัวเองมีพ่อที่
เผด็จการ แม่ที่แสนดีต้องทนทุกข์และเจ็บปวด ต่อมาเมื่อสนใจการเรียน
ศิลปะเขาก็ต้องผิดหวังเมืองสถาบัน ศิลปะชั้นสูงในเวียนนาไม่อนุญาตหรือ
ยอมรับให้เขาเข้าเรียน กลายเป็นบาดแผล ในจิตใจที่ทำให้เขาต้องเก็บ
บ่มมันเอาไว้
480/665

ในเวลาต่อมาเมื่อเขาเข้าเป็นทหาร จิตใจแห่งการต่อสู้กถ็ ูกปลุกให้ตื่น


แต่เขาก็ต้องพบว่า ประเทศที่เขานิยมอย่างเยอรมันต้องพ่ายแพ้ใน
สงครามโลก ครั้งที่ 1 อีก เหล่านี้เองที่เป็นช่องทางทำให้เขามองเห็นและ
คิดว่าตัวเองจะต้องเอาจริงเอาจังเพื่อนำพาชนชาติอารยันของเขาเองให้ก้าว
ขึ้นมาเป็นที่ 1ให้จงได้
เข้าสู่วงการการเมือง
ฮิต เลอร์ทำงานอย่างหนักและทุ่มเทเพื่อความเจริญเติบโตของพรรค
จากสมาชิกจำนวนสิบเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนร้อย จากการปราศรัยเดือนละสอง
ครั้งเป็นรายอาทิตย์ และขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นโดยการเดินสายไปปราศรัยทั่ว
ทุกทิศทุกทาง สมาชิกพรรคเพิ่มขึ้นจากจำนวนร้อยเป็นจำนวนพัน ซึ่ง
หมายถึงจำนวน เงินเข้าพรรคทีเ่ พิ่มขึ้นด้วย พร้อมกับตำแหน่งของเขาที่
เขยิบขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นรองหัวหน้าพรรค ฮิตเลอร์ใช้เครื่องหมายสวัสติ
กะที่เขาเคยเห็นในเมืองลามบัคตอนเป็นเด็กมา เป็นเครื่องหมายของพรรค
เพื่อต้องการข่มเครื่องหมายค้อนกับเคียวของพรรค คอมมิวนิสต์
ฮิตเลอร์ได้ชักชวน ผู้กองโรห์ม ที่ผ่านศึกสงครามมาอย่างโชกโชน
รวมทั้งคณะนายทหารที่มีอุดมการณ์ให้เข้ามาร่วมงานในพรรคแรงงาน
เยอรมัน การเข้ามาของโรห์มมีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเขาสามารถนำ
งบประมาณของทหาร กิจการด้านการเมืองมาสนับสนุนพรรคแรงงาน
เยอรมันในการโฆษณาประชา สัมพันธ์ โดยมีฮิตเลอร์เป็นผู้ปราศรัย ซึ่ง
เขาได้พัฒนาเทคนิคการโฆษณาชวนเชื่อ หลายรูปแบบ โรห์มผูน้ ี้ต่อมาได้
481/665

ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าหน่วยเอสเอ กองกำลังพิทักษ์ฮิตเลอร์ และสุดท้ายโรห์ม


ก็ถูกหน่วยเอสเอสกองกำลังพิทักษ์ฮิตเลอร์หน่วยใหม่สังหารเพราะเขา
กระด้างกระเดื่องต่อผู้นำ
การปราศรัยของฮิตเลอร์ เขาไปถึงเวทีล่าช้ากว่ากำหนดทุกครั้งเพื่อ
ต้อง การให้ผู้ฟังรอคอยเขาด้วยใจจดใจจ่อ เขาเดินไปที่โพเดียมแล้วยืน
นิ่งรอจนกระทั่งเสียงเงียบสนิท จึงเริ่มกล่าวคำปราศรัย เขาพูดพร้อมกับ
หันหน้ามองผู้ฟัง ทั้งด้านซ้ายและขวา กำมือประกอบการปราศรัย เขาพูด
เสียงดังขึ้นๆๆ ใบหน้าของเขามีเหงื่อไหลรินลงมาจากหน้าผาก สีหน้า
เปลี่ยนเป็นซีดขาว ดวงตาถลน พองโปน แหกปากคำรามลั่นคล้ายกับคน
เป็นโรคฮิสทีเรีย การวางไมโครโฟนจึง ต้องตั้งห่างจากปากของเขาอย่าง
น้อยครึ่งวา เมื่อจบคำปราศรัยแล้วเขารีบลงจากแท่นหลบหายไปอย่าง
ลึกลับทันที ไม่ยอมให้นักข่าว-ช่างภาพเข้าถึงตัว
การปราศรัยของฮิตเลอร์แต่ละครั้งขึ้นอยูก่ ับพื้นฐานของผู้ฟัง ถ้า
ปราศรัย ตามบ้านนอกในชนบท เขาสัญญาเรื่องยกเลิกการเก็บภาษีชาวไร่
ชาวนาและรัฐบาลรับประกันราคาพืชผล, ในพื้นที่ชนชั้นกรรมกร เขา
ปราศรัยเรื่องการกระจายความมั่งคั่งสู่แรงงานและเล่นงานบริษัทผู้ค้าปลีก
ขนาดใหญ่ทเี่ อากำไรสูง, กับนักธุรกิจและเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เขา
ปราศรัยเรื่องการขจัด ทำลายการเข้าครอบครองของคอมมิวนิสต์และลด
บทบาทการเคลื่อนไหวของสหภาพการค้าลง แล้วตามด้วยนโยบายของ
พรรคคือ การรวบรวมชาวเยอรมัน และดินแดนที่ถูกเฉือนไปให้กลับคืน
482/665

มาอยู่รวมกันเหมือนเดิม การยกเลิกสนธิสัญญาแวร์ซายส์ การให้


สวัสดิการคนแก่ การยึดสิทธิต่างๆ จากยิว และการเนรเทศยิวออกไปจาก
เยอรมันให้หมด
การปรากฏตัวในสถานที่อันอาจเสี่ยงอันตรายต่อชีวิต ฮิตเลอร์ใช้
ตัวแทน ชื่อ กูสตาฟ เวเลอร์ ผู้ซึ่งมีรูปร่างลักษณะและท่าทางเหมือนกับ
ฮิตเลอร์ทุกประการ ในวันที่กองทัพรัสเซียเคลื่อนเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน
เวเลอร์ได้ถูกทหารรัสเซียยิงที่หน้าผากเสียชีวิต โดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นฮิต
เลอร์ตัวจริง
ฮิตเลอร์เกลียดลัทธิสังคมนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิการเท่าเทียม
กันในเรื่องเชื้อชาติและเพศ อย่างไรก็ดี “สังคมนิยม” เป็นคำที่ใช้กันอย่าง
กว้างขวางในเยอรมันภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
ในความเจริญก้าวหน้าของพรรคโซเซียลดีโมเคร็ต (SDP) ที่เป็นพรรค
ใหญ่ที่สุดในเยอรมัน ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1920 พรรคแรงงาน
เยอรมัน (GWP) จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แนชันแนลโซเซียลลิสต์เยอรมัน
เวิร์คเคอส์พาร์ตี้ เขียนเป็นภาษาเยอรมันว่า National Sozialistische
Deutsche Arbeiter Partei = NSDAP หรือเรียกสั้นๆว่าพรรคนาซี
(National Sozialist = NAZI)
นับได้ว่า ตั้งแต่ปี 1916 ซึ่งฮิตเลอร์ มีอายุได้ 27 ปี เป็นต้นมาฮิต
เลอร์ก็กระโดดเข้าสู่วงการการเมืองอย่างเต็มตัว
483/665

จำเป็นต้องทำความเข้าใจการเมืองในประเทศเยอรมันช่วงนี้กัน
เสียก่อน
ค.ศ. 1918 เป็นช่วงที่เยอรมันจะกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามนั้น
ปรากฏว่าเป็นเวลาเดียวกับที่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่พอใจรัฐบาลอย่างมาก
ดังนั้นเมื่อถึงเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั่นเอง ก็เกิดการปฏิวัติขึ้นใน
ประเทศเยอรมัน ส่งผลให้ไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 กษัตริย์ของเยอรมันใน
เวลานั้นต้องเสด็จลี้ภัยไปยังฮอลแลนด์และทรงสละราชสมบัติในเวลา
ต่อมา
ฟรีดริซ เอแบร์ท (Feiedrich Ebert) ผู้นำพรรคสังคม
ประชาธิปไตยเยอรมัน (German Social Democrat) ได้รับตำแหน่ง
ผู้นำรัฐบาล ส่งผลให้เกิดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในประเทศในเดือนมกราคม
1919
ในปี 1919 ฮิตเลอร์ก็ได้ตัดสินใจครั้งใหญ่คือการทำงานด้าน
การเมืองโดยได้เข้าร่วมในพรรค National Socialist German
Workerûs Party หรือเขียนเป็นภาษาเยอรมนีว่า National Sozial-
istische Deutsche Arbeiter Partei ภายหลัง เปลี่ยนมาเรียกสั้นๆ
ว่า National Sozialist หรือ NAZI นั่นเอง
ในการเลือกตั้งปี 1919 นั้น พรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมัน ซึ่ง
ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนเยอรมัน หรือที่เรียกกันว่าสภาไรค์ซ
ตาก (Richstag) ก็ได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาโดยจับมือกับพันธมิตรอีก
484/665

2 พรรค ส่งผลให้ฟรีดริซ เอแบร์ท ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดี


คนแรกของสาธารณรัฐเยอรมัน แต่ปรากฏกว่ารัฐบาลก็ยังไม่ได้รับความ
นิยมจากชาวเยอรมัน อีกทั้งยังต้องเผชิญกับการก่อความไม่สงบจากทั้ง
ฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา
ในการทำงานของฮิตเลอร์ ฮิตเลอร์ย้ำคำว่า “ชาติ” โดยนำคำนี้มา
ไว้หน้าคำว่าสังคมนิยม เพื่อเน้นย้ำถึงสายเลือดเยอรมันแท้ๆ
ฮิตเลอร์ได้ดึงตัว Dietrich Eckart นักเขียนผู้กว้างขวางในวงไฮโซ
และเป็นผู้มีอันจะกินเข้ามาร่วมงานเพื่อหาเงินทุนอุดหนุนพรรค โดยได้รับ
การสนับ สนุนจากกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจในมิวนิคทีเ่ กลียดคอมมิวนิสต์
และยิว ในด้าน ส่วนตัวนั้นเขามีอายุมากกว่าฮิตเลอร์เกือบยีส่ ิบปี เขาเป็นผู้
ปรับปรุงบุคลิกของฮิตเลอร์ทั้งในเรื่องการแต่งกายและการใช้ภาษาที่
เหมาะสม เช่น ไม่เรียกคนชั้นล่างว่า กรรมกรหรือคนจน รวมทั้งได้พาไป
รับประทานอาหารในสถานที่หรูๆ พบปะกับบุคคลระดับไฮโซหลากหลาย
และในวันที่ 31 มีนาคม 1920 ฮิตเลอร์ได้พ้นจากการเป็นทหาร เขาจึงไป
เช่าห้องพักอยู่ในย่านชนชั้นกลาง เป็นตึกห้าชั้น เขาเช่าอยูด่ ้านหลังของชั้น
สอง
ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1920 พรรคนาซีมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 2,000
คน ซึ่งฮิตเลอร์รู้ดวี ่าการเติบโตของพรรคเกิดจากทักษะการปราศรัยของ
เขา และในต้นปีถัดมา ฮิตเลอร์ได้ไปเช่าศูนย์ประชุมในเมืองมิวนิคเพื่อ
ชุมนุมสมาชิกพรรคในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1921 บัตรจำนวน 6,000 ใบ
485/665

ขายหมดเกลี้ยง แถมด้วยบัตรฟรีให้กับครอบครัวของทีมงานและนักเรียน
อีก 2,000 ใบ ศูนย์ประชุมทีส่ ามารถบรรจุคนได้ 9,000 คน แน่นขนัดจน
ไม่มที ี่จะยืน ฮิตเลอร์ได้เขียนบันทึกไว้ว่า สองนาทีก่อนสองทุ่ม ฉัน
เดินทางไปถึงศูนย์ประชุม ได้พบกับสิ่งมหัศจรรย์ที่สุดในชีวิต ไม่ว่าจะมอง
ไปทางไหนก็พบกับคนนับพันที่อยู่กันแน่นไปหมดจนไม่มีที่ยืน
จากการทีฮ่ ิตเลอร์ทำเกินหน้าเดร็กเลอร์หัวหน้าพรรค คณะกรรมการ
จึงได้นัดประชุมเพื่อบั่นทอนบทบาทของฮิตเลอร์ลง แต่ผลการประชุมกลับ
ตรงกันข้ามด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ฮิตเลอร์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใน
การหาเงินเข้าพรรค, เป็นคนหาสมาชิกเข้าพรรค, เป็นคนสร้างชื่อเสียงให้
พรรค, เป็นคนประสานงานระหว่างสาขาของพรรค และถ้าหากบั่นทอน
บทบาทของฮิตเลอร์ลง เขาอาจพาพรรคพวกออกไปตั้งพรรคใหม่ขึ้นมาแข่ง
ในที่สุดคณะกรรมการพรรคได้เสนอตำแหน่งประธานบอร์ดอันดับหนึ่งให้
กับฮิตเลอร์ แต่เขาไม่หลงกลในตำแหน่งประธานบ้าบอนั่น เขาโวยวายลั่น
ว่า ถ้าไม่ใช่เพราะเขา พรรคไม่มีวันเงยหน้าอ้าปากมาได้จนถึงทุกวันนี้ ว่า
แล้วเขาก็เดินออกจากพรรคไป หลังจากนั้นเขาได้เขียนใบลาออกจากพรรค
ทางฝ่ายคณะกรรมการพรรคตระหนกตกใจต่างซัดทอดกันเอง แต่
การเมืองก็คือการเมือง การเมืองสะอาดไม่มใี นโลกนี้ คณะกรรมการจึง
รวมหัวกันใช้แผนอุบาทว์โจมตีฮิตเลอร์ด้วยใบปลิวหลายหมื่นใบ โปรย
เต็มถนนทั่วทุกชุมชนในเมืองมิวนิค เนื้อความกล่าวหาว่า ฮิตเลอร์เป็นผู้
ทรยศ ใช้พรรคเป็นบันไดไปสู่อำนาจ, ฮิตเลอร์ยักยอก ทรัพย์ของพรรคไป
486/665

ปรนเปรอหญิงโสเภณี, ฮิตเลอร์เป็นใคร มาจากไหนไม่มีใครรู้, ฮิตเลอร์ด่า


ยิว ทั้งที่ปู่ของเขาเป็นยิวที่ลักลอบทำให้ย่าท้องแบบไม่มีพ่อ ฯลฯ
ฮิตเลอร์ติดป้ายปฏิเสธทั่วเมือง พร้อมกับประกาศระงับการปราศรัย
ไว้ชั่วคราว ซึ่งมันเป็นอาวุธอย่างเดียวที่เขามี เพราะการอั้นปราศรัยนั้น ทำ
ให้การ ปราศรัยครั้งต่อไปจะต้องมีคนสนใจพากันมาฟังอย่างล้นหลาม เขา
กำหนดปราศรัยในวันที่ 20 กรกฎาคม 1921 ที่ศูนย์ประชุมเมืองมิวนิค
ครั้งนี้เขาเขียนป้ายขนาดใหญ่ว่า ยิวห้ามเข้า คนแห่มาฟังคำปราศรัยมาก
กว่าหกพันคน เก็บเงินค่าเข้าฟังคนละหนึ่งมาร์ค การปราศรัยของเขาใน
ครั้งนี้สะกดคนฟังราวกับร่ายเวทย์มนต์ เขาพูดออกมาจากใจโดยไม่ต้อง
ร่างสุนทรพจน์ เขาด่ารัฐบาลไล่ไปจนถึงนักการเมืองที่เห็นแก่ตัวไม่รู้จัก
เสียสละเพื่อชาติ หลังจบคำปราศรัย เสียงปรบมือกึกก้องยาวนานอย่างที่
ไม่เคยมีมาก่อน
วันที่ 29 กรกฎาคม 1921 เป็นวันศุกร์ ฮิตเลอร์ตั้งใจจัดประชุม
สมาชิกพรรคเพื่อให้คนมาร่วมน้อยเพราะผู้คนต้องทำงาน มีสมาชิกทีเ่ ป็น
พรรคพวกของเขามาร่วมประชุม 544 คน หลังจากแถลงนโยบายแล้ว ฮิต
เลอร์ได้รับคะแนน โหวตให้เป็นหัวหน้าพรรค 543 เสียง ขาดเพียง 1
เสียงของเดร็กเลอร์ ฮิตเลอร์เป็นผู้นำคนใหม่ของพรรคนาซีอย่างเป็น
เอกฉันท์ ส่วนเดร็กเลอร์ถูกลอยแพไปเป็นประธานกิตติมศักดิไ์ ด้แต่นั่งดู
ฮิตเลอร์ “เล่นการเมือง” อย่างเต็มตัวด้วยการนำเอาคนของตัวเองเข้ามานั่ง
ประจำในตำแหน่งสำคัญๆ ของพรรคทั้งหมด และลงชื่อในจดหมายว่า
487/665

ท่านผู้นำ (Fuehrer) เขาเริ่มต้นเป็นผู้นำเผด็จการภายในพรรคนาซีอย่าง


เต็มตัวนับตั้งแต่บัดนั้น
ในการเป็นสมาชิกพรรคของฮิตเลอร์ในเวลาต่อมาเขาก็ได้เลื่อนขึ้น
เป็น หัวหน้าโฆษกของพรรคก่อน† ฮิตเลอร์ได้รู้จักกับ รูดอล์ฟ เฮส ซึ่ง
ต่อมาได้เป็นหัวหน้าพรรคนาซี ตอนนั้นฮิตเลอร์ได้ค้นพบพรสรรค์ของ
ตนเองคือการพูดในที่ชุมชน ฮิตเลอร์ได้เรียนการพูดวาทศิลป์ สิ่งที่เขาพูด
สามารถชักจูงให้ชาวเยอรมัน หันเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรคนาซีเพิ่ม
มากยิ่งขึ้น จนกระทั่งปี 1921 ฮิตเลอร์ ก็ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคนาซี มี
นโยบายสำคัญนั้นคือนโยบายต่อต้านชาวยิว และผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์
ฮิตเลอร์ได้แถลงนโยบาย 3 ข้อที่โดนใจคนเยอรมันทั้งประเทศ คือ
1. ลัทธิสังคมนิยมแบบชาตินิยม คนเยอรมันสมรสกับคนเยอรมัน,
ความเท่าเทียมกันของชนชั้นเป็นสิทธิเฉพาะพลเมืองเยอรมันเท่านั้น คนยิว
และคนต่างด้าวต้องเนรเทศออกไปให้หมดประเทศ
2. ต่อต้านการปฏิวัติในรัสเซียที่เปลี่ยนเป็นสหภาพโซเวียตภายใต้
ระบอบคอมมิวนิสต์นำโดยโจเซฟ สตาลิน ซึ่งจะเป็นภัยต่อเยอรมัน
3. ยกเลิกสนธิสัญญาแวร์ซายส์ที่บังคับให้เยอรมันชดใช้ค่าปฏิกรรม
สงครามเป็นเงินจำนวนมากด้วยระยะยาวถึง 42 ปี
ฮิตเลอร์ปราศรัยที่ไหน ที่นั่นเต็มไปด้วยฝูงชนที่สนับสนุนพรรคนาซี
อย่างล้นหลาม
488/665

ว่ากันว่าวิธีการรวบรวมสมาชิกเข้าสู่พรรคก็คือ ฮิตเลอร์จะนัดชุมนุม
ตามโรงเบียร์ในเมืองมิวนิค โดยเปิดให้คนมาฟังดื่มเบียร์ฟรี โรงเบียร์ที่มี
ชื่อในมิวนิคที่ฮิตเลอร์ไปพูดประจำคือ “ฮอฟ บรอย เฮาส์” ตั้งอยู่ใน “มา
เรียนพลาส” ในมิวนิค ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงเบียร์และร้านขายอาหารที่มีชื่อ
การก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคย่อมหมายถึงความสำเร็จในวงการ
การเมืองก้าวสำคัญของเขาแล้ว และนับจากนี้ไปการเมืองเยอรมันก็อยูใ่ น
กำมือของเขา
ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็เริ่มประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากการ
ล้มราชวงศ์โรมานอฟของพระเจ้าซาร์ในประเทศรัสเซีย และแผ่ขยายเข้าสู่
เยอรมัน มีการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นในเยอรมัน ฮิตเลอร์ซึ่งสังกัด
อยูใ่ นลัทธิชาตินิยมขวาจัด ได้นำกำลังเข้าโจมตีสหภาพแรงงานซึ่งเป็น
หัวหอกของพวกคอมมิวนิสต์ ตลอดจนกลุ่มธุรกิจของฝ่ายคอมมิวนิสต์
ในเดือนกันยายน 1921 ฮิตเลอร์ถูกจับส่งตัวเข้าคุกเป็นเวลา 3
เดือนจากคดีทำร้ายนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามความเป็นเผด็จการของฮิต
เลอร์เริ่มต้นขึ้นหลังจากวันที่เขาออกมาจากคุก เขาได้ก่อตั้งกองกำลัง
ส่วนตัวเรียกว่า Sturm Abteilung : SA เป็นหน่วยกำลังสำหรับ
อารักขาฮิตเลอร์และเล่นงานทำร้ายฝ่ายตรงข้าม โดยมีแฮร์มานน์ เกอริง
อดีตเสืออากาศในสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นหัวแรงคนสำคัญในการฝึก
กองกำลังทีค่ ัดเลือกมาจากทหารผ่านศึกให้มรี ะเบียบ วินัยแบบทหาร
กองกำลังเอสเอแต่งเครื่องแบบด้วยเชิ้ตสีกากี สวมทับด้วยแจ็กเก็ตสีเทา
489/665

ติดปลอกแขนรูปสวัสติกะ หลังจากจัดระเบียบกองกำลังเรียบร้อย แล้ว


ฮิตเลอร์ได้มอบตำแหน่งหัวหน้าเอสเอให้กับโรห์ม อดีตผู้บังคับบัญชาที่เขา
ชวนมาร่วมงานในสมัยเริ่มก่อตั้งพรรค

ปล่อยตัวจากคุกแลนด์สเบิร์กเมื่อ 20 ธันวาคม 1924 ภาพนี้ถ่ายเมื่อเขาส่งมอบต้นฉบับหนังสือ


Mein Kampf ให้แก่รูดอล์ฟ เฮสได้ไม่นาน แปดปีต่อมาในวัย 43 ปี เขาก็ได้ดำรงตำแหน่ง
Chancellor of Germany ก่อนเถลิงอำนาจนำเยอรมันทำสงครามรุกรานไปทั่วยุโรปก่อนลุกลาม
เป็นความขัดแย้งระดับโลกในที่สุด

11 พ.ย. 1923 ฮิตเลอร์และพลพรรคนาซีของเขาพยายามทำการ


ปฏิวัติ แต่ไม่สำเร็จ เขาถูกจับพร้อมกับพรรคพวกของเขา เหตุการณ์
ดังกล่าวเกิดขึ้นที่ Munich Putch เขาถูกจำคุกด้วยโทษ 5 ปี แต่จริงๆ
เขาถูกจำคุกเพียงแค่ 9 เดือนเท่านั้น หนังสือพิมพ์ต่างตีพิมพ์คำให้การ คำ
490/665

สัมภาษณ์ของเขา ที่ต้องการฟื้นฟูประเทศเยอรมัน ความพ่ายแพ้ของเขาใน


ครั้งนี้ กลับทำให้เขาได้รับความนิยมมากขึ้น ในระหว่างจำคุกนี้ เขาได้
เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า “การต่อสู้ของข้าพเจ้า” (Mein Kampf)
ฮิตเลอร์ถูกจำคุกเก้าเดือนก็ได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกในวันที่
20 ธันวาคม 1924 หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ของเขาเกี่ยวกับการ
ฟื้นฟูประเทศเยอรมัน ทำให้เขาได้รับความนิยมมากขึ้น และในระหว่างที่
ติดคุกเพื่อนของเขาแนะนำให้เขียนหนังสือชื่อ การต่อสู้ของข้าพเจ้า (Mein
Kampf) และเขาได้เขียนเพิ่มเติมจนจบบริบูรณ์เมื่อออกมาจากคุกแล้ว
ต่อมาเพื่อนของเขาได้เอาต้นฉบับไปพิมพ์ มียอดจำหน่ายมากกว่าแสนเล่ม
ฮิตเลอร์จึงมีฐานะการเงินที่ดีขึ้น
เมื่อฮิตเลอร์ออกมาจากคุก เขาไปขอต่อใบอนุญาตกับหัวหน้ารัฐบาล
บาวาเรียเพื่อดำเนินงานพรรคนาซีต่อไปโดยสัญญาว่าจะไม่สร้างปัญหาใดๆ
อีก เขาได้รับอนุญาตในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1925 และเขาได้จัดประชุม
ขึ้นในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ มีคนมาชุมนุมฟังคำปราศรัยของเขามากกว่าสี่
พันคน ฮิตเลอร์ปราศรัยโจมตีรัฐบาลอย่างรุนแรงกว่าครั้งใดๆ เพราะเป็น
การปราศรัยครั้งแรกหลังจากออกมาจากคุก ผลปรากฏว่าเขาถูกห้าม
ปราศรัยเป็นเวลา 2 ปี คือตั้งแต่ปี 1925 ถึง 1927 ฮิตเลอร์จึงมอบภารกิจ
โฆษณาชวนเชื่อให้เกิบเบิลทำหน้าที่ ปราศรัยแทน และในเวลาต่อมา
เกิบเบิลได้รับตำแหน่งเป็นโฆษกของรัฐบาลเผด็จการฮิตเลอร์
491/665

แม้ดูเหมือนอุปสรรคจะขวางหน้าเขาอยูไ่ ม่น้อย กระนั้นในปีต่อมาเขา


ก็เริ่มงานการเมืองและออกปราศรัยได้ต่อไป และว่ากันว่าในช่วงปี 1928
นี่เองก็มีเรื่องหวานๆ เข้ามาในชีวิตของเขาเช่นกัน นั้นคือฮิตเลอร์เช่าวิลล่า
ทีโ่ อเบอร์ซอลเบิร์ก (Obersalzberg) ที่นี่เขาได้พบกับแอนเจล่า รูดอล
(Angela Raudal)พี่สาวต่างมารดาของเขาเอง ซึ่งเข้ามาในฐานะแม่บ้าน
พร้อมด้วยลูกสาวคือเกลลี่ รูลดอล (Geli Raudal) เป็นครั้งแรกทีฮ่ ิต
เลอร์ตกหลุมรักสาวน้อย เกลลี่อย่างบ้าคลั่ง บางทีอาจจะเป็นครั้งเดียวที่
เขาตกหลุมรักในชีวิตของเขาทั้งชีวิต
ฮิตเลอร์ได้พบรักครั้งแรกโดยตกหลุมรักแอนเจลิกา เรียกสั้นๆ ว่าเจ
ลิ หลานสาวของตัวเองอย่างบ้าคลั่ง เธอเป็นสาวสวยหุ่นดีมีเสน่ห์วัย 19 ปี
ฮิตเลอร์หลงรักและเกรงใจเจลิมาก ด้วยวัยทีแ่ ตกต่างกันระหว่างน้ากับ
หลาน ฮิตเลอร์ยอมทำทุกอย่างเพื่อเอาใจมิให้เธอทอดทิ้งเขาไป เจลิเป็นคน
เอาแต่ใจตัวเอง เธอกระทำในสิ่งที่ปรารถนาซึ่งสร้างความขมขื่นให้แก่ฮิต
เลอร์เป็นอาจิณ เธอต้องการหลุดพ้นจากลูกคนใช้มาเป็นสาวไฮโซ ให้คนรู้
ว่าเธอเป็นหลานของผู้นำ พรรคนาซีทมี่ ีชื่อเสียง น้าไปไหน ฉันไปด้วย เธอ
ทะเยอทะยานและโลดแล่นติดตัวน้าชายเพื่อจะได้โก้เก๋ในสายตาของเธอ
ฮิตเลอร์ไม่เคยเดินช้อปปิ้ง แต่กับหลานสาวคนนี้เขายอมเดินเข้าออกร้าน
แล้วร้านเล่า เธอซื้อเสื้อผ้าและของ ใช้ราคาแพง ซึ่งเป็นข้อขัดแย้งกับ
ภาพลักษณ์ของพรรคนาซีที่เป็นปากเสียงของ ผู้ใช้แรงงาน เป็นพรรคของ
กรรมกร เจลิเคยเล่าให้เพื่อนสาวฟังว่า เธอมิได้โชคดีอย่างที่ใครคิด
เพราะทุกสิ่งที่เธอได้มานั้นต้องเอาชีวิตเข้าแลก
492/665

ต่อมาฮิตเลอร์ได้พบกับสาวงามปราดเปรียววัย 17 ปีที่เป็นลูกจ้าง
ทำงาน อยูใ่ นร้านถ่ายรูปของฮอฟฟ์มานนั่นเอง เธอชื่อ อีวา บราวน์ เมื่อเจ
ลิรู้เรื่องนี้เธอทะเลาะกับฮิตเลอร์อย่างรุนแรงเป็นประจำ และในวันที่ 18
กันยายน 1931 ขณะทีฮ่ ิตเลอร์เดินทางไปฮัมบูร์ก เจลิได้กระทำ
อัตวินิบาตกรรมด้วยการยิงตัวตาย ฮิตเลอร์เสียใจมาก จึงเลิกทาน
เนื้อสัตว์หันมาทานมังสวิรัติตลอดชีวิต
การเสียชีวิตของเจลิยังเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ มีคำถามที่สงสัย
การตายอย่างซ่อนเร้นมีเงื่อนงำว่า เจลิตายเพราะฮิตเลอร์ใช้กำลังทำร้าย
ก่อนที่ เธอยิงตัวตาย หรือเจลิตั้งครรภ์ หรือว่านายพลฮิมม์เลอร์หัวหน้า
หน่วยเอสเอสสังหารเพราะเธอคุกคามขู่เข็ญแบล็กเมล์ฮิตเลอร์
พรรคนาซีเริ่มได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จากยอดของสมาชิก
พรรคนาซี ในปี 1927 ทีม่ ีอยู่ประมาณ 72,000 คน ได้เพิ่มเป็น 178,000
คนในปี 1929 หรือเพียง 2 ปีต่อมา
ใน ปี 1929 นี้เอง ที่ไฮนริชน์ ฮิมเลอร์ (Heinrich Himmler)
นักธุรกิจทีร่ ่างกายอ่อนแอ และล้มเหลว ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้นำระดับสูงสุด
คนหนึ่งของพรรค นาซี ได้ทิ้งฟาร์มเลี้ยงไก่ของเขา เข้าร่วมกับฮิตเลอร์
และได้เป็นหัวหน้าหน่วย Waffen SS (Armed SS) ซึ่งเป็นหน่วย
อารักขาของฮิตเลอร์ (Hitler bodyguard) โดยในขณะนั้นมีจำนวน
เพียง 200 คน แต่ก็เป็นสองร้อยคนที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี เพื่อ
คานอำนาจกับหน่วย SA
493/665

หน่วย SA หรือ กองกำลัง SA ย่อมาจาก Strumabtielung (สตุ


มอับไทลุง) ก่อตั้งขึ้นโดย เออร์เนส โรห์ม (Ernest Rohm) คนสนิท
ของฮิตเลอร์ เพื่อใช้เป็นกองกำลังส่วนตัวของฮิตเลอร์ แต่โรห์ม เริ่มทำตัว
เป็นเอกเทศ และมีทีท่าว่าจะไม่สามารถควบคุมได้ กองกำลัง SA เองก็
ดูเหมือนจะเชื่อฟังโรห์มมากกว่าฮิตเลอร์ ในปี 1930 จำนวนของ SA และ
SS มียอดเพิ่มสูงขึ้นถึง 100,000 คน ซึ่งมีจำนวนมากกว่ากองทัพเยอรมัน
(Reichswehr) ในขณะนั้น ที่ถูกจำกัดโดยสนธิสัญญาแวร์ซายส์เสียอีก
ตอนนี้หนทางสู่ความสำเร็จ ดูเหมือนจะถูกวางอยูข่ ้างหน้าของฮิต
เลอร์แล้ว เขาเริ่มวางแผนการจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี
1928 แฮร์มันน์ เกอริง (Herrmann Goering) ซึ่งต่อมาเป็น
ผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมัน หรือ ลุฟวาฟ (Luftwaffe) และ โจ
เซฟ เกิบเบิล (Goebbels) ซึ่งต่อมารับผิดชอบงานด้านการ
ประชาสัมพันธ์ของพรรคนาซี ได้รับเลือกเข้าสู่สภาไรซ์สตาค
(Reichstag)
ฮิตเลอร์รู้ดีว่า เศรษฐกิจของเยอรมันขณะนั้นอยูใ่ นภาวะที่ไม่มั่นคง
เต็ม ไปเงินกู้ยืมจากต่างประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามของ
รัฐบาลเยอรมันในขณะนั้น ก็ไม่ได้มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรม ฮิตเลอร์มองว่า
ความมั่งคั่ง ทางอุตสาหกรรม จะเป็นหนทางนำไปสู่ความเติบโตทาง
เศรษฐกิจ และส่งผลให้ เยอรมันมีอิสรภาพทางการเงิน ฮิตเลอร์จึง
494/665

ประกาศว่า พรรคนาซี เป็นพรรคที่นิยม การค้าเสรี (Free Enterprise)


และจะใช้อุตสาหกรรมนำความมั่งคั่งมาสู่เยอรมัน
ปลายปี 1930 ฮิตเลอร์ได้รับทุนจาก Emil Kirdorf ผู้นำ
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ของเยอรมัน เงินจำนวนนี้ได้สร้างพรรคนาซีให้ก้าว
ไปสูค่ วามยิ่งใหญ่ พระราชวัง Barlow ถูกเช่าเป็นสถานที่ต้อนรับแขกของ
พรรค เปลี่ยนชื่อเป็น The Brown House นอกจากนีฮ้ ิตเลอร์ยังใช้เงิน
จำนวนนี้รณรงค์ทางการเมือง และพิมพ์ใบปลิวปลุกจิตสำนึกของคน
เยอรมันอย่างมากมาย ส่งผลให้พรรคนาซีมสี มาชิกเพิ่มเป็นกว่าครึ่งล้าน
คน ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรจะหยุดยั้งฮิตเลอร์ได้อีกต่อไปแล้ว
ในทางตรงกันข้าม ประเทศเยอรมันกลับวิ่งสวนทางกับพรรคนาซี
ผลจาก เศรษฐกิจตกต่ำ (the great depression) ส่งผลให้เยอรมัน
กลายเป็นหนี้อย่างมหาศาล ค่าเงินมาร์กตกต่ำ สภาไรซ์สตาคไม่สามารถ
แก้ไขปัญหานี้ได้ ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างมาก
ค.ศ. 1930 เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในเยอรมนี ประชาชน
เบื่อหน่าย และเสื่อมศรัทธาในรัฐบาล ฮิตเลอร์จึงได้ฉวยโอกาสนั้นสร้าง
ความนิยม โดยมี โจเซฟ เกิบเบิลส์ ผู้มพี รสวรรค์ในการโฆษณาชวนเชื่อ
เป็นผู้ช่วยคนสำคัญ จนฮิตเลอร์สามารถสร้างความนิยมในหมู่ประชาชนได้
อย่างรวดเร็ว
เดือน ก.ย. 1930 มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรคนาซีประสบความสำเร็จ
อย่างมาก จากนโยบายทีฮ่ ิตเลอร์ใช้หาเสียง ความสำเร็จนีส้ ร้างความ
495/665

แปลกใจ ให้กับทุกคนแม้กระทั่งตัวฮิตเลอร์เอง โดยพรรคนาซีได้รับเสียง


ถึง 6,500,000เสียง ได้ที่นั่งถึง 107 ที่นั่งในสภา เป็นพรรคใหญ่อันดับสอง
จากเดิมที่เคยมีเพียง 12 ที่นั่งในการเลือกตั้งเมื่อปี 1928 ไม่เพียงแต่พรรค
นาซีเท่านั้นที่ประสบความ สำเร็จ พรรคคอมมิวนิสต์ก็เช่นเดียวกัน ที่ได้
ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากเดิม 23 ที่นั่งเป็น 77 ที่นั่ง แสดงให้เห็นว่าประชาชน
เยอรมันเริ่มแตกออกเป็นสองฝ่าย เพื่อหาทางสู้กับวิกฤติการณ์ทาง
เศรษฐกิจ
ผู้นำพรรคนาซีทั้งหกคน ประกอบด้วย ฮิตเลอร์ สตราสเวอร์
(Strasser) โรห์ม (Roehm) เกอริง (Goering) เกิบเบิลส์
(Goebbels) และ ฟริค (Frick) ต่างช่วยกันบริหารงานพรรค และ
ขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ในเดือน ก.ค. 1932 พรรคนาซีได้รับ
ความนิยมสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยสามารถครองที่นั่งในสภาได้ถึง
230 ที่นั่งจากที่นั่งทั้งหมด 608 ที่นั่งในสภา
อย่างไรก็ตาม จากการบริหารที่ผิดพลาดของ เกอริง ที่ได้รับเลือก
เป็นประธานสภา ได้นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ ส่งผลให้ที่นั่งของพรรคนาซี
ลดลงเหลือ 196 ที่นั่งจากทั้งหมด 584 ที่นั่ง ในขณะทีพ่ รรคคอมมิวนิสต์
กลับได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น เป็น 100 ที่นั่ง และแม้จะมีความพยายามในการ
หยุดยั้งฮิตเลอร์จากหลายๆ ฝ่าย ในวันที่ 30 มกราคม 1933 ฮิตเลอร์ก็ได้
รับการแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดี (Chancellor) หรือบางแห่งเรียก
496/665

นายกรัฐมนตรี โดยมีประธานาธิบดีคือ พอล ฟอน ฮินเดนเบิร์ก (Paul


von Hindenburg)
แม้ว่าแท้จริงในเวลานั้นพรรคนาซีจะไม่เคยมีเสียงข้างมากโดย
เด็ดขาดในสภาไรซ์ตาค แต่ก็ว่ากันว่าเพราะนักการเมืองฝ่ายขวากลุ่มเล็กๆ
บางกลุ่มที่มีอำนาจทางการเมืองและสนิทสนมกับกองทัพก็ส่งเสริมและ
ตัดสินให้ฮิตเลอร์ได้ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ทั้งนี้เพราะคนเหล่านั้นต่างคิดว่าจะสามารถควบคุมฮิตเลอร์ได้ อีกทั้ง
ยังมองว่าการสนับสนุนให้ฮิตเลอร์และพลพรรคเพียงไม่กี่คนมีอำนาจบ้างดี
กว่าปล่อยให้พวกนาซีเข้ายึดอำนาจรัฐโดยใช้กำลังของพวก เอสเอส อีกทั้ง
ฝ่ายขวา เหล่านั้นก็ยังหวังว่าพวกนาซีจะร่วมกันลงคะแนนเสียงสนับสนุน
ให้มกี ารฟื้นฟูระบอบการปกครองที่มพี ระมหากษัตริยเ์ ป็นประมุข ถือเป็น
การประเมินที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง
ปรากฏว่าเมื่อมีอำนาจแล้ว ในวันที่ 24 ก.พ. 1933 พลพรรคนาซี
ของฮิตเลอร์ ในสังกัดของเกอริง บุกเข้าไปในที่ทำงานของพรรค
คอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งพบหลักฐานว่าพวกคอมมิวนิสต์กำลังวางแผนจะ
ปฏิวัติ อีก 3 วันต่อมา คือ 27 ก.พ. เกิดไฟไหม้รัฐสภา ผู้นำนาซีหลายคน
เดินทางไปถึงที่เกิดเหตุกลางดึก พร้อมทั้งประกาศว่า เพลิงไหม้ครั้งนีเ้ กิด
จากการกระทำของพวกคอมมิวนิสต์ รุ่งขึ้นฮิตเลอร์เข้าพบประธานาธิบดีฮิน
เดนเบิร์ก เพื่อออกกฎหมายฉุกเฉิน ยกเลิกสิทธิเสรีภาพของประชาชนตาม
รัฐธรรมนูญ ทั้งนีเ้ พื่อปกป้องประเทศชาติและประชาชน จากนั้น พวก
497/665

คอมมิวนิสต์กว่า 4,000 คนก็ถูกจับและถูกกวาดล้างอย่างหนัก


อย่างไรก็ตาม ในภายหลังมีหลักฐานว่าผู้วางเพลิงรัฐสภานั้น ก็คือคนของ
พรรคนาซี ที่กระทำตามบัญชาของเกอริง
ช่วงนี้เองที่หน่วย เอส เอ (SA) ของโรห์มมีอำนาจมาก และแสดง
ท่าทีที่บ่งบอกถึงความไม่ภักดีต่อฮิตเลอร์ และมุ่งภักดีต่อโรห์ม ในที่สุด
ฮิตเลอร์ก็ตัดสินใจทำลายองค์กร SA ในวันที่ 6 มิ.ย. 1934 ณ โรงแรม
Tegernsee ซึ่งอยู่ห่างออกไป 50 ไมล์จากมิวนิค โรห์ม พร้อมกับ
เด็กหนุ่มคู่ขาของเขา (โรห์มเป็นเกย์ และใช้ SA ในการหาเด็กหนุ่มมา
เป็นคู่ขา) ถูกจับ ทหารเอสเอส ได้รับคำสั่งจากฮิตเลอร์ ให้ยื่นโอกาสแห่ง
เกียรติยศด้วยการฆ่าตัวตายกับโรห์ม ทหารเอส เอส วางปืนให้เขา แล้ว
ออกมา เวลาผ่านไป 10 นาที โดยทีไ่ ม่มเี สียงปืน ทหารเอสเอส จึงเดินเข้า
หาแล้วจ่อยิงโรห์มจนเสียชีวิต พร้อมกันนั้น หัวหน้าหน่วย SA ก็ถูก
จับตัว บ้างถูกขัง บ้างถูกสังหารโดยทหารเอสเอส ซึ่งได้ก้าวขึ้นมาแทน
กองกำลัง SA
กองกำลังเอสเอส ถูกฝึกขึ้นมาเพื่อให้จงรักภักดีต่อฮิตเลอร์อย่าง
ปราศจากคำถามใดๆ ทั้งสิ้น และเขาก็ภูมิใจในหน่วยนี้เป็นอย่างมาก
498/665

พอล ฟอน ฮินเดนเบิร์ก ประธานาธิบดีคนที่ 2 แห่งสาธารณรัฐไวมาร์

เดือนเมษายน 1934 สุขภาพของ ประธานาธิบดีฮินเดนเบิร์ก


(Hindenburg) ประธานาธิบดีเยอรมันในขณะนั้นไม่สู้ดีนัก เขาเสียชีวิต
ในวันที่ 2 สิงหาคม 1934 สามชั่วโมงหลังจากนั้นฮิตเลอร์ได้ประกาศรวม
ตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี (บางทีเรียกว่า
อัครมหาเสนาบดี-Chancellor) เข้าด้วยกันและตั้งตัวเองเป็นประมุขของ
499/665

รัฐและผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือที่เรียกว่า ผู้นำ (Fuhrer) ทำให้


เยอรมันก้าวเข้าสู่ความเป็นเผด็จการสมบูรณ์แบบนับแต่นั้นเป็นต้นมา
มาถึงจุดนี้จะขออธิบายการเมือง ในเยอรมัน ช่วงเวลาตั้งแต่ปี
1919-1933 เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจกันสักนิดก่อน
กล่าวคือหลังการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนมกราคม 1919 และพรรค
สังคมประชาธิปไตยเยอรมัน ได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาปกครองประเทศ
พร้อมกันก็มีการร่างรัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วนขึ้นมา โดยสมาชิกสภา
แห่งชาติร่วมกันร่างที่เมืองไวมาร์ (Weimar)
ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนีเ้ องที่เยอรมันในเวลานั้น คือช่วงที่ใช้รัฐ
ธรรม นูญฉบับนี้ (ปี 1919-1933) ถูกเรียกว่า สาธารณรัฐไวมาร์
กระนั้นระบอบสาธารณรัฐของเยอรมนีกต็ ั้งตัวอยูไ่ ด้ไม่นาน เมื่อเกิด
การแข็งข้อต่อต้านรัฐบาลกันอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มคอมมิวนิสต์ ถือเป็น
คู่ปฏิปักษ์ทรี่ ้ายแรงต่อระบอบใหม่ โดยที่บรรดาคอมมิวนิสต์ต้องการให้
เยอรมนีมีระบอบการปกครองแบบรัสเซียที่เพิ่งเปลี่ยนมาก่อนหน้านี้
การต่อต้านระบอบสาธารณมีเบอร์ลินเป็นศูนย์กลาง ต่อมาเกิดการ
จลาจล มีการต่อสู้กันตามท้องถนน ไม่เพียงเท่านั้นในเยอรมนีกย็ ังมีกลุ่ม
นิยมกษัตริย์ที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐทุก
รูปแบบอีก โดยที่กลุ่มหลังนี้ต้องการให้ราชโอรสของพระเจ้าไกเซอร์ขึ้นมา
ปกครองประเทศ เยอรมนี กระนั้นการจลาจลก็สามารถถูกปราบปรามลง
ได้แผนการล้มล้างรัฐบาลสาธารณรัฐก็ถูกกำจัดลงไปด้วย
500/665

ปี 1925 เมื่อประธานาธิบดีอีแบรต์ถึงมรณกรรม ชาวเยอรมนีก็ได้


เลือก เอานาย พอล ฟอน ฮินเดนเบิร์ก อดีตนายพลแห่งกองทัพเยอรมนี
และเป็นนักรบที่มีชื่อเสียงมาก่อนให้มาเป็นประธานาธิบดี กระนั้นว่ากันว่า
โชคไม่เข้าข้าง นายพลผู้นเี้ ลย ทั้งนี้เพราะเมื่อถึงเวลานั้นเยอรมนีกำลังก้าว
เข้าสู่ช่วงทีเ่ ศรษฐกิจ ของประเทศตกต่ำ ผู้คนทั้งประเทศยากจน ปัญหา
ทางสังคมมีเพิ่มขึ้นมามาก มายให้ต้องแก้ไข ประจวบกับบรรดากลุ่ม
การเมืองต่างๆ ก็มีความเข็มแข็งขึ้นมีการโจมตีรัฐบาลสาธารณรัฐ
โดยเฉพาะกรณีทที่ ำให้เกิดการว่างงาน ความยากจนค้นแค้น โดยทั้งหลาย
ทั้งหมดโทษลงไปที่ว่าเป็นเพราะรัฐบาลสาธารณรัฐ ที่ทำงานผิดพลาดและ
อ่อนแอ
ในเยอรมนีเวลานั้นเกิดกลุ่มที่ตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลขึ้นเป็น
สามกลุ่มคือ
1.กลุ่มนิยมกษัตริย์
2.กลุ่มคอมมิวนิสต์
และ 3.กลุ่มโซเชียลลิสต์แห่งชาติ ซึ่งกลุ่มหลังนี้รู้จักกันดีในนามกลุ่ม
นาซี
กลุ่มนาซีมีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นผู้นำ ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้นำ
เพราะมีนโยบายไปทางชาตินิยมซึ่งถูกใจประชาชน ที่สำคัญกลุ่มนี้มี
เป้าหมาย ทีจ่ ะฟื้นฟูเยอรมนีให้มสี ภาพเหมือนเมื่อก่อนจะเกิด
สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นยังประกาศที่จะขจัดภาวะการไร้
501/665

งานให้หมดไป และทีเ่ หนืออื่นใดยังประกาศทีจ่ ะกอบกูเ้ กียรติของชาติ


เยอรมนีให้ได้
สาธารณรัฐไวมาร์ ขาดเสถียรภาพตั้งแต่เริ่มตั้งขึ้นมาแล้ว แม้จะมีอยู่
ระยะหนึ่งคือ ปี 1923-1929 สถานภาพของสาธารณรัฐจะดูดีขึ้นมาบ้างจาก
ผลงานของ กุสตาฟ สเตรสมันน์ กระนั้นเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ทั่วโลกโดยเริ่มจากตลาดหุ้นที่วอลล์สตรีท สหรัฐอเมริกาล้มในเดือน
ตุลาคม 1929 ก็ส่งผลเสียหายต่อเยอรมัน
ว่ากันว่าช่วงเวลานั้นคนเยอรมันต้องตกงานถึง 6 ล้านครึ่ง โดยที่
รัฐบาล ไม่สามารถจะแก้ไขสถานการณ์ได้ ซึ่งช่วงเวลานีเ้ องที่ทำให้พรรค
นาซีของฮิตเลอร์ฉวยโอกาสหรือมองเห็นโอกาสมากยิ่งขึ้น โดยฮิตเลอร์ก็
เริ่มวางแผนการจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และประกาศว่า พรรค
นาซี เป็นพรรคที่นิยม การค้าเสรี (Free Enterprise) และจะใช้
อุตสาหกรรมนำความมั่งคั่งมาสู่เยอรมนี พร้อมกันก็โจมตีรัฐบาลว่าทำให้
เยอรมันต้องประสบกับความยากเข็ญต่างๆ นาๆ กระทั่งสุดท้ายทำให้เขา
สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดได้ และล้มเลิกสาธารณ รัฐไวมาร์ลงเสีย
ในปี 1933 นั้นเอง
เยอรมันใต้กำมือฮิตเลอร์ 1934-1939
เป็นอันว่าหลังปี 1933 เป็นต้นมาฮิตเลอร์กับพรรคนาซีของเขาก็ก้าว
ขึ้น สู่อำนาจอย่างเต็มที่ ในขณะทีฮ่ ิตเลอร์ขึ้นดำรงตำแหน่งนั้น เยอรมัน
กำลังอยูใ่ น สภาวะล้มละลาย เศรษฐกิจตกต่ำ คนว่างงานมากมาย
502/665

มหาศาล เมื่อเขาได้เป็นผู้นำ ระหว่างปี 1934-1938 เขาก็ไม่ได้หยุดนิ่งมา


นั่งเสวยอำนาจเหมือนผู้นำอื่นๆ แต่กลับกันเขากลับทำงานหนักมากยิ่งขึ้น
เพื่อฟื้นฟูเยอรมันให้ก้าวหน้า และกลับมายิ่งใหญ่ใหม่ให้ได้อีกครั้งหนึ่ง
ปี 1933 ฮิตเลอร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็น อัครมหาเสนาบดี ของเยอรมัน
ฮิตเลอร์ เริ่มกูป้ ระเทศอย่างเร่งด่วน โดยสร้างโรงงาน ระดมคนผลิตอาวุธ
สงคราม สร้างทางด่วน “ออโต้บาน” เพื่อประชาชนมีงานทำ ฮิตเลอร์ปลุก
ขวัญประชาชนให้มีกำลังใจ โดยมีการชุมนุมของฝูงชนจำนวนมาก มีการ
เดินขบวนด้วยแสงไฟ และการประชุมพรรคด้วยวิธีโหมกระพือไฟรักชาติ
เขาทำการสร้างและฟื้นฟูอุตสาหกรรมภายในประเทศ อย่างขนาน
ใหญ่ มีการสร้างอาวุธ อย่างชนิดทีโ่ ลกไม่เคยเห็นมาก่อน การพัฒนาเป็น
ไปอย่างก้าวกระโดด
ไม่เพียงเท่านั้นสิ่งที่ฮิตเลอร์มองเห็นว่าคืออุปสรรคและต้นตอของ
ปัญหา ที่ทำให้เยอรมันต้องประสบวิกฤตอย่างหนึ่งก็คือสนธิสัญญา
แวร์ซายส์ ทีเ่ ยอรมันจำยอมเซ็นรับสภาพหลังแพ้สงครามมา ทำให้ฮิตเลอร์
ตัดสินใจฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายส์ทิ้งอย่างไม่เกรงกลัว ชาวเยอรมันต่างพา
กันยกย่องฮิตเลอร์ ในฐานะผู้ทพี่ ลิกโชคชะตาของชาติ จากความ
ล้มละลาย กลับสู่ความเป็น มหาอำนาจอีกครั้ง ฮิตเลอร์ประกาศว่า
อาณาจักรไรซ์ที่สามของเขาจะมีอายุยืนยาวนับพันปี
503/665

กลายเป็นว่านับจากนั้นฮิตเลอร์ไม่เกรงกลัวมหาอำนาจชาติใดอีก
ต่อไป และที่สำคัญที่สุดในสายตาของชาวโลกก็คือการฉีกสนธิสัญญานั้นก็
เท่ากับการเตรียมตัวเพื่อทำสงครามอีกครั้งของเยอรมันนั้นเอง
พร้อมกันพรรคนาซีของฮิตเลอร์ยังเข้ามาดำเนินนโยบายการเมือง
อย่าง เต็มที่ ว่ากันว่านาซี เป็นชาตินิยมในความหมายแคบเพียงว่า
เยอรมันสำหรับเยอรมัน “ที่แท้จริง” ในด้านเชื้อชาติทฤษฎีนถี้ ือว่า
เยอรมนีที่แท้จริงก็คือผู้ที่ถือ เลือดของติวตัน เพราะถือว่าชนพวกนี้เป็นชน
ทีม่ ีคุณสมบัตทิ ี่ดีงามเหนือชนชาติ ใดๆ ลัทธินเี้ ป็นลัทธิชาตินิยมจัดที่สุด
พวกนาซีส่งเสริมการไม่เชื่อถือคัมภีร์ไบเบิล โดยเฉพาะคัมภีรเ์ ก่า ซึ่งนาซี
ถือว่าอันตรายต่อลัทธิของตนเองด้วยว่าเป็นวรรณคดีของชาวยิวไม่ใช่ของ
ตัวเองหรือติวตัน
นาซีใช้เครื่องหมายสวัสดิกะ ซึ่งอ้างว่าเป็นเครื่องหมายที่พวกชนเผ่า
เยอรมนีโบราณเผ่าต่างๆ ใช้กัน เป็นเครื่องหมายของพรรค โครงการของ
พรรคนาซีที่สำคัญคือมีโครงการที่จะรวมรัฐเยอรมันเข้าเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันด้วย ซึ่งนั้นก็หมายถึงอาณาเขตของเยอรมันจะต้อง
ขยายออกไปรวมเอาถิ่นที่มีชนเชื้อชาติเยอรมันอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่เข้าไว้
ด้วย
ต่อจากนั้นนาซีก็ได้ทำโฆษณาชวนเชื่อโจมตีสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซึ่ง
พวกนาซีถือว่าเป็นเอกสารที่แสดงความสบประมาทชาวเยอรมนี ที่สำคัญ
พวก นาซีไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลระบอบอื่นๆ ทั้งสิ้น กล่าวคือรัฐบาลใน
504/665

อุดมคติของนาซีก็คือรัฐบาลที่รวมอำนาจทั้งหมดไว้ที่รัฐบาลกลาง และมีรัฐ
เป็นรัฐทหารภายใต้การบงการของพรรค การประชุมผู้นำนาซีอาวุโสไม่ว่า
ครั้งใดมักจะมีการต่อสู้กันอย่างเปิดเผย ความเกลียดชังกันระหว่างเชื้อชาติ
และอาชญากรรม ร้ายแรงมักจะเกิดติดตามมาเสมอ
ภายใต้การนำของฮิตเลอร์ นาซีได้มีการจัดกันเป็นกลุ่มขึ้น โดยมี
ระเบียบ วินัยเคร่งครัด และปกครองอย่างทหาร โดยเรียกตัวเองว่า
กองทหารสตอร์ม ทรูพ ทหารเหล่านี้จะสวมเสื้อเชิร์ตสีน้ำตาล แขนข้าง
หนึ่งจะสวมเครื่องหมายสวัสดิกะ กองทหารนี้จะทำการรักษาการในการ
ประชุมต่างๆ ของพวกนาซี
ฮิตเลอร์ใช้นโยบายบังคับความร่วมมือ โดยการเปลี่ยนเยอรมันให้
กลาย เป็นรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จ โดยการเข้าคุมวิถีชีวิตของประชาชนทุก
ด้าน โดยใช้กำลังตำรวจและตำรวจลับที่เรียกกันว่าเกสตาโป ทำให้ชาว
เยอรมันไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล พรรคการเมืองอื่นๆ ถูกยุบลง จึง
เหลือเพียงพรรคเดียวคือพรรคนาซี
แล้วรัฐบาลนาซีก็เข้าควบคุมทุกอย่างภายในรัฐ เริ่มตั้งแต่โยกย้าย
หรือปลดข้าราชการเพื่อให้นาซีเข้าทำงานแทน ยุบสหภาพแรงงาน ห้ามมี
การนัดหยุดงาน เข้าควบคุมระบบการศึกษา เขียนตำราขึ้นมาใหม่เพื่อให้
สอดคล้องกับ ทฤษฎีของนาซี โดยเฉพาะตำราประวัติศาสตร์และชีววิทยา
ที่จะหล่อหลอมแนวคิดว่าการบรรลุและความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่จะทำได้ก็ด้วย
การใช้กำลังเท่านั้น
505/665

พร้อมกันเยาวชนจำนวนมากก็เข้าร่วมในขบวนการยุวฮิตเลอร์ โดยมี
หน้าที่สอดแนมการสอนหรือการบรรยายของอาจารย์ทั้งในโรงเรียนและ
มหาวิทยาลัยเพื่อรายงานต่อตำรวจลับ
ในขณะเดียวกัน เขาก็เริ่มสร้างความมั่นคงภายนอก เพื่อประวิงเวลา
การรุกรานจากภายนอกออกไป ทำให้เยอรมันไม่ต้องพะวักพะวนกับ
สงครามที่อาจจะมีขึ้น และสามารถทุ่มเทให้กับการพัฒนาประเทศได้อย่าง
เต็มที่ เช่น เซ็นสนธิสัญญาไม่รุกรานกันและกันระหว่างเยอรมันกับ
โปแลนด์ เพื่อทำให้มั่นใจว่า โปแลนด์ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสจะไม่
รุกรานเยอรมัน หากเยอรมัน รบกับฝรั่งเศส หรือในกรณีที่เยอรมันบุก
ฝรั่งเศส
ต่อจากนั้นสมาชิกพรรคนาซีของฮิตเลอร์ก็เพิ่มจำนวนขึ้นมาอย่าง
ต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะทุกชนชั้นในสังคมเริ่มมีความไว้วางใจต่อการปกครอง
ของรัฐบาล เผด็จการ ใครทีไ่ ม่เห็นชอบก็มักจะถูกติดตามความเคลื่อนไหว
หรือไม่ก็มักถูกขู่บังคับ และจับตัวส่งเข้าคุก
ความรุ่งเรืองของฮิตเลอร์มีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะเขาเป็นผู้ที่มี
ความเชื่อมั่นในความคิดที่จะรวมชนเผ่าเยอรมันให้เข้าอยู่ภายใต้การ
ปกครองเดียวกัน และเร่งรีบเสนอที่จะทำให้คำมั่นสัญญาที่เขาได้ให้ไว้แก่
ประชาชนในครั้งที่หาเสียงได้ปรากฏ
โดยเรื่องแรกที่ชัดเจนในการดำเนินการของเขานั้นคือ การลงมือกับ
ชาว ยิว ฮิตเลอร์ออกกฏข้อบังคับต่างๆ มาใช้กับชาวยิว ทั้งนีเ้ พื่อเปิด
506/665

โอกาสให้กับตำรวจเยอรมันข่มขู่และทารุณต่อชาวยิวได้ สิ่งที่เกิดขึ้นใน
ระยะแรกทำให้ชาวยิวจำนวนมากต้องหนีออกนอกประเทศ และพวกที่ยัง
เหลืออยูก่ ต็ ้องประสบกับการทารุณกรรมต่างๆ อาทิ สูญเสียตำแหน่งหน้าที่
ราชการ สูญเสียความเป็น พลเมือง ถูกริบธุรกิจและทรัพย์สิน ถูกขับไล่
ออกจากการค้าและอาชีพที่ทำอยู่ และถูกเยาะเย้ยถากถาง และอีกจำนวน
มากที่ถูกจับกุมและส'งตัวเข้าคุกโดยไร้สาเหตุ
ต่อจากนั้นก็ได้เริ่มมีการบีบคั้นทางการเมืองขึ้น ซึ่งศัตรูของนาซีจะ
ถูกสังหาร จำคุก โบย หรือไม่ก็เนรเทศ มีการตรวจและกรองข่าวใน
หนังสือพิมพ์ พิจารณาคำปราศรัย การสอนศาสนาทั้งยิว คาทอลิก และโป
รเตสแตนท์ ถูกขัดขวางและบางครั้งก็ถูกห้าม โบสถ์บางแห่งถูกทำลาย
ต่อมาอีกก็มีการเข้าควบคุมการบริหารงานอุตสาหกรรมรัฐบาลเข้าไป
ควบคุมการให้การศึกษาอย่างเด็ดขาด โดยเรื่องที่ใช้สอนและสำคัญที่สุด
นั้นก็คือความคิดของนาซีในเรื่องรัฐของชนเผ่าเยอรมันทั้งหมด
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ต่อมาฮิตเลอร์ก็ได้เริ่มสร้างรัฐที่ปกครองด้วย
อำนาจเด็ดขาดของนาซี ว่ากันว่าแผนการดำเนินงานการปกครอง
ภายในประเทศของ ฮิตเลอร์นั้นร้ายกาจไม่น้อยไปกว่าแผนการต่างประเทศ
โดยกิจการทุกอย่างในประเทศไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับการเมือง ศาสนา
สังคม เศรษฐกิจ หรือการศึกษากลายเป็นของรัฐ และพวกนาซีเท่านั้นที่
สามารถและได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิทางการเมืองได้ ว่ากันว่าลัทธิการ
507/665

ปกครองอย่างทหารและการเตรียมสงครามกลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด และ
เวลานั้นเยอรมันทั้งชาติก็กลายเป็นค่ายทหาร
และฮิตเลอร์ก็กลายเป็นอัศวินแห่งชาติ ในการปกครองของฮิตเลอร์
ในเวลานั้นมีผู้ช่วยที่สำคัญอีกหลายคนที่ควรกล่าวถึงอาทิ นายรูดอล์ฟ
เฮสส์ เป็นรองหัวหน้าพรรคนาซี นายโจเซฟ เกบเบลส์ รัฐมนตรี
โฆษณาการ นายเฮอร์มันน์ เกอริง รัฐมนตรีกลาโหม นายไฮนริช
ฮิมม์เลอร์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และดร.ฮาลมา ชัคท์ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ
เป็นต้น
ในเดือน มีนาคม 1935 ฮิตเลอร์เริ่มสร้างกองทัพอย่างขนานใหญ่
กองทัพอากาศ หรือ Luftwaffe ได้ถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นทางการ จริงๆ
แล้วเยอรมันมีการฝึกนักบินมาล่วงหน้านีอ้ ย่างลับๆ มากว่าสองปีแล้ว ใน
นามนักบินพลเรือน
ขณะเดียวกันชาวเยอรมันที่อยู่ในออสเตรีย โปแลนด์ และเชคโกสโล
วาเกีย ต่างก็พากันสนับสนุนรัฐบาลให้เข้าร่วมกับเยอรมัน
กล่าวคือภายใต้การนำอย่างเบ็ดเสร็จของฮิตเลอร์ เยอรมนีกเ็ ริ่ม
ขยายอาณาเขตของตัวเองออกไปจนเริ่มเกินเส้นแดนที่ระบุเอาไว้ใน
สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ลุ่มแม่น้ำซาร์กลับเข้ามาอยู่กับเยอรมนีในปี 1935
และในปี 1938 ออสเตรียก็เข้ามารวมกับเยอรมนีด้วยวิธีอันชลูสส์ คือการ
รวมดินแดนนั้นเอง และปีเดียว กันนั้นเยอรมนีก็ใช้วิธีการยึดครองด้วย
กำลังทหารจนได้เชคโกสโลวาเกียมารวม การกระทำของเยอรมนีในครั้งนี้
508/665

ทำให้ฝรั่งเศสและอังกฤษต้องยอมรับรองตามข้อตกลงที่เรียกกันว่า
สัญญามิวนิค ในปี 1939 ต่อจากนั้นก็เริ่มส่งทหารเข้ายึดครองเขตอิสระ
ดานซิกและเมเมล
ย้อนมาดูความสำเร็จในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของฮิตเลอร์กันอีกสัก
นิดปี 1933 ฮิตเลอร์วางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของเยอรมัน โดยมอบให้
Dr. Schacht อดีตผู้ว่าการธนาคารไรซ์ (Reichbank) เป็น
ผู้รับผิดชอบ ซึ่งแผนการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก และส่งผล
ให้ ปี 1937 เยอรมันสามารถลดจำนวนคนว่างงานลงได้จำนวนมาก สร้าง
ผลผลิตทางอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมหาศาล ยกระดับคูณภาพชีวิตของ
ชาวเยอรมันให้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชาวเยอรมันล้วนต่างภาคภูมิใจใน
ความเป็นชนชาติเยอรมัน ซึ่งคงจะโทษชาวเยอรมันไม่ได้ที่มีความรู้สึก
ภาคภูมิใจเช่นนี้ เพราะสิ่งมหัศจรรย์ทฮี่ ิตเลอร์สร้างขึ้นให้กับประเทศ
เยอรมันนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นง่ายๆ ในพื้นที่ใดในโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดขึ้นในประเทศที่พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 และ
ถูกควบคุมในทุกรูปแบบจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์ อย่างเช่นประเทศ
เยอรมัน มันก็เป็นสิ่งทีช่ าวเยอรมันควรจะภาคภูมิใจ และยกย่องฮิตเลอร์
อย่างสุดขั้ว ในฐานะผู้สร้างชีวิตใหม่ ผู้สร้างอนาคตและความหวังของชาติ
เมื่อเยอรมันมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจแล้ว ฮิตเลอร์ก็เริ่มมองไปที่
การ ครอบครองยุโรปและการสร้างอาณาจักรไรซ์ที่สาม โดยแผนการ
แรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 1936 ฮิตเลอร์เซ็นสัญญาไม่รุกรานกัน
509/665

ระหว่างเยอรมันกับรัสเซีย เพื่อสร้างความมั่นใจว่า สงครามทางด้านรัสเซีย


จะไม่เกิดขึ้นในขณะที่เยอรมัน ยังไม่พร้อม
ขณะเดียวกัน กองทัพเยอรมันก็กำลังเตรียมการครั้งใหญ่สำหรับ
สงคราม กรมทหารใหม่ถูกจัดตั้งขึ้น ทหารผ่านศึกจากสงครามโลกครั้งที่
1 ถูกเรียกเข้ามาเป็นครูฝึกให้กับทหารใหม่
วันที่ 7 มี.ค. 1936 ฮิตเลอร์เคลื่อนกำลังเข้ายึดครอง Rhineland
โดยอังกฤษและฝรั่งเศสไม่มกี ารต่อต้าน และเป็นการพิสูจน์ว่า สนธิสัญญา
แวร์ซายส์ ทีจ่ ำกัดสิทธิทุกอย่างของเยอรมัน ได้ถูกฉีกทิ้งอย่างสิ้นเชิงโดย
เยอรมัน และสันนิบาตชาติ (League of Nations) หมดสิ้นอำนาจลง
อย่างสิ้นเชิง
ขณะเดียวกัน กองทัพเยอรมันได้เพิ่มจำนวนถึงกว่าหนึ่งล้านคน ฮิต
เลอร์ เริ่มมั่นใจมากขึ้นว่า ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือใครก็ตาม ไม่
สามารถหยุดยั้งอาณาจักรไรซ์ที่สามได้อีกแล้ว
เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของ
อังกฤษ ได้ประกาศเตือนโลกว่า สงครามกำลังใกล้เข้ามา อันตรายรออยู่
ข้างหน้า แต่ผู้คนที่หวาดกลัวสงคราม ต่างก็พยายามทำเป็นไม่ได้ยิน
เสียงเตือนนี้ โดยเชื่อว่า การประนีประนอมกับเยอรมัน จะทำให้โลกพ้น
จากสงครามได้
510/665

ต่อมาเกิดสงครามกลางเมืองในสเปน ฮิตเลอร์ไม่รอช้าที่จะส่งรถถัง
เครื่องบิน และช่างเทคนิค เข้าไปช่วยในนาม คอนดอร์ (Condor
Legion)
ฮิตเลอร์ส่งกองกำลังคอนดอร์ ลีเจี้ยน (Condor Legion) เข้าไป
สนับสนุน สงครามกลางเมืองในสเปน ฝ่ายของนายพลฟรังโก จุดประสงค์
ก็เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับกำลังพลของเขา ในขณะเดียวกันอิตาลี
ภายใต้การนำของ จอมเผด็จการมุสโสลินี ก็ส่งทหารเข้าร่วมกับนายพลฟ
รังโก กว่าหกหมื่นคน กองทัพอากาศเยอรมัน (Luftwaffe) ได้ทำการ
ทดลองการใช้เครื่องบินแบบสตูก้า (Stuka) ในการดำทิ้งระเบิด เพื่อ
พัฒนาเทคนิคต่างๆ เมื่อนำมาใช้ในการเตรียม การรุกแบบสายฟ้าแลบที่
เยอรมันได้เตรียมการไว้
ภายหลังสงครามกลางเมืองในสเปน กล่าวกันว่า กองทัพอากาศ
เยอรมันมีนักบินที่มีประสบการณ์มากกว่าชาติใดๆในโลกทีเดียว
การร่วมกันในสงครามกลางเมืองในสเปน ยังทำให้อิตาลีเข้ามาร่วม
เซ็นนสัญญาเป็นฝ่ายอักษะกับเยอรมันในวันที่ 21 ต.ค. 1936 ทั้งๆ ที่ใน
สงคราม โลกครั้งที่ 1 อิตาลีอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับเยอรมัน แผนการดึงอิตาลี
ออกจากฝ่ายสัมพันธมิตรของฮิตเลอร์ประสบความสำเร็จเกินคาด
511/665

นักสู้ฝ่ายกบฏขว้างระเบิดมือใส่ทหารฝ่ายนิยมกษัตริย์ในสงครามกลางเมืองสเปน 12 กันยายน
1936

เดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน เยอรมันก็เซ็นสัญญา Anti-Comin-


ternกับญี่ปุ่น เพื่อเป็นการรับประกันว่า ญี่ปุ่นจะไม่ทำสัญญาใดๆกับ
รัสเซีย โดยปราศจากการยินยอมของคู่สัญญา โลกได้เกิดฝ่ายอักษะขึ้น
อย่างสมบูรณ์แล้ว นั่นคือ เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น
วันที่ 30 ม.ค. 1937 ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อรัฐสภา
ไรซ์สตาร์ค (Reichstag) ว่า เป้าหมายของเขาไม่ได้อยู่ที่สงคราม
หากแต่อยูท่ ี่การสร้างชาติเยอรมัน การยกระดับความอยู่ดีกินดีของชาว
เยอรมัน การสร้างความมั่นใจให้กับชาวเยอรมันในชีวิตและความเป็นอยู่
512/665

รวมไปถึงการสร้างความเป็นมหา อำนาจทางทหารทั้งทางบก เรือและ


อากาศของเยอรมัน ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 1937 ฮิตเลอร์อุทิศเวลาให้กับ
การสร้างความสัมพันธ์กับอิตาลี มุสโสลินีตกลงที่จะเดินทางมาเยือน
เยอรมันเป็นครั้งแรก
ในปี 1938 นายกรัฐมนตรีของออสเตรียได้รับเชิญให้ไปเยือน
เยอรมัน ฮิตเลอร์เรียกร้องให้มกี ารรวมประเทศ(anexation)
Schuschnigg นายกรัฐมนตรีของออสเตรีย ไม่กล้าให้คำตอบ ฮิตเลอร์
สั่งการให้กองทัพอากาศเตรียมการโจมตี
รัฐสภาออสเตรีย ทำการขอมติประชาชนชาวออสเตรียว่าจะผนวก
ดินแดนกับเยอรมันหรือไม่ (ฮิตเลอร์เกิดในออสเตรีย และในออสเตรียก็มี
ชนชาวเยอรมันเป็นจำนวนมาก) แม้จะมีเสียงคัดค้าน วันที่ 11 มีนาคม
1938 ฮิตเลอร์เรียกร้องให้มีการรวมประเทศ วันต่อมา กองทัพเยอรมันก็
ยาตราเข้าสู่ออสเตรีย ประกาศผนวกดินแดนภายใต้ชื่อ Anschluss
แท้ที่จริงแล้ว ผลการออกเสียง ชาวออสเตรียลงคะแนน 99 เปอร์เซ็นต์ให้
ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน นับการรวมดินแดนที่ไม่มีการเสีย
เลือดเนื้ออีกครั้งหนึ่งของฮิตเลอร์
เมื่อ ทหารเยอรมันกรีธาทัพเข้าไปในออสเตรีย ชาวยิวจำนวนมากถูก
จับ ค่ายกักกันที่ Mauthausen ได้ถูกจัดตั้งขึ้น และสังหารชาวยิวไปถึง
35,318 คน จนสิ้นสุดสงคราม ฮิตเลอร์เริ่มมองไปที่เชคโกลโลวาเกียเป็น
เป้าหมายต่อไป ในขณะเดียวกัน ชาวเยอรมันต่างก็พากันชื่นชมความ
513/665

สำเร็จของฮิตเลอร์และพรรค นาซีของเขา โดยเฉพาะการขยายดินแดนโดย


ไม่มกี ารเสียเลือดเนื้อ อะไรจะน่าภาคภูมิใจไปกว่า การขยายดินแดนโดย
ไม่มกี ารสู้รบ และการสูญเสีย และปีเดียวกันนั้นเยอรมนีกใ็ ช้วิธีการ
ยึดครองด้วยกำลังทหารจนได้เชคโกสโลวาเกียมารวม
เหตุการณ์ยึดเชคโกสโลวาเกียนั้นเริ่มจากในวันที่ 28 มีนาคม 1938
ผู้นำนาซีในสุเดเทน คอนราด เฮนไลน์ (Konrad Henlein) เข้าพบฮิต
เลอร์ ในขณะนั้น ซูเดเตนเป็นส่วนหนึ่งของเชคโกสโลวาเกีย และเชคโก
สโลวาเกียเอง ก็ปกครอง โดยชนกลุ่มน้อย ในขณะที่ชนกลุ่มใหญ่ของ
ประเทศ เป็นชาวเยอรมัน ฮิตเลอร์ บอกคอนราด ให้เรียกร้องต่อรัฐบาล
เชคโกสโลวาเกียว่า ชาวสุเดเทนต้องการปกครองตนเอง ซึ่งทุกฝ่ายต่างก็รู้
ว่า ข้อเรียกร้องนี้รัฐบาลเชคไม่สามารถจะยอมรับได้
ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 1938 อังกฤษและฝรั่งเศส ขอให้
รัฐบาลเชค มอบสุเดเทนให้กับเยอรมัน เพื่อพยายามหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่
อาจ จะมีขึ้น ฮิตเลอร์ยินดีกับการเรียกร้องดังกล่าว พร้อมๆ กับให้
สัมภาษณ์ถึงความแข็งแกร่งของกองทัพเยอรมันที่เรียงรายอยูต่ าม แนว
ชายแดนเชคโกสโลวาเกีย
ปลายเดือนพฤษภาคม ฝ่ายข่าวกรองอังกฤษเชื่อว่า เยอรมัน
เตรียมพร้อม ทีจ่ ะบุกเชคโกสโลวาเกีย ในขณะที่รัฐบาลเชคเองก็พร้อมที่
จะสู้ มาถึงตอนนี้ ฮิตเลอร์ถอยหลังมาหนึ่งก้าว พร้อมประกาศว่า เยอรมัน
ไม่มคี วามตั้งใจที่จะใช้ ความรุนแรงในกรณีสุเดเทน ทั้งลอนดอนและ
514/665

ปารีส ต่างพอใจกับการสั่งสอนฮิตเลอร์ในครั้งนี้ โดยหารู้ไม่ว่าแผนขั้น


ต่อไปของฮิตเลอร์พร้อมอยู่แล้ว
แผนการโจมตี เชคโกสโลวาเกียถูกวางไว้ ให้เปิดฉากในวันที่ 1
ตุลาคม 1938 ขณะที่ฝ่ายเสนาธิการของเยอรมันก็ขัดแย้งกันเองอย่างหนัก
โดยอีกฝ่าย หนึ่งเกรงว่าการบุกเชคโกสโลวาเกีย จะทำให้เกิดสงครามกับ
อังกฤษและฝรั่งเศส เพราะอังกฤษคงไม่ยอมให้เยอรมันครอบครองสุเดเท
น โดยปราศจากการต่อสู้
เดือน มิถุนายน นายกรัฐมนตรีเนวิล แชมเบอร์เลน (Naville
Chamberlain) ของอังกฤษในขณะนั้น กลับแสดงท่าทีออกมาว่า
ประชาชนในสุเดเทนส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมัน จึงไม่สมควรทีอ่ ังกฤษจะ
เข้าไปก้าวก่ายปัญหาในสุเดเทน ฮิตเลอร์บินไปพบแชมเบอร์เลนถึงอังกฤษ
แชมเบอร์เลนรับประกันถึงการที่จะไม่เข้าไปก้าวก่ายปัญหาดังกล่าว แต่
ปัญหาอาจจะมีขึ้นได้ หากรัสเซีย สนับสนุนเชคโกสโลวาเกีย เมฆหมอก
แห่งสงครามปกคลุมไปทั่วยุโรป ทุกฝ่าย คาดกันว่า การบุกของเยอรมัน
จะนำมาซึ่งสงคราม เด็กนักเรียนในลอนดอน และปารีส เตรียมการอพยพ
หน้ากากกันแก๊สพิษถูกนำออกมาแจกจ่าย
อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ได้แสดงออกมาว่า เวลานีย้ ังไม่ใช่เวลาในการ
เปิดสงครามของนาซี เนื่องจากเขาตระหนักดีว่า เยอรมันยังไม่พร้อมกับ
สงคราม ครั้งนี้ แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็ต้องการสุเดเทน โดยปราศจาก
สงคราม ปัญหาก็คือ เขาจะทำอย่างไร
515/665

ช่วงนี้เยอรมันและอิตาลีต่างร่วมกันเดินเกมทางการ เมืองระหว่าง
ประเทศอย่างสุดความสามารถ โดยเฉพาะการแสดงออกมาว่า สุเดเทนคือ
เป้าหมายสุดท้ายของฮิตเลอร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้ต้องการสงคราม เช่นเดียวกับ
ชาติยุโรปอื่นๆ ทีต่ ้องการสันติ จนในที่สุดเมื่อเวลา 01.00 ของวันที่ 30
กันยายน 1938 อังกฤษและฝรั่งเศสก็ตกลงกันในข้อตกลงมิวนิค (the
Munich Agreement) ทีจ่ ะมอบทุกสิ่งที่ฮิตเลอร์ต้องการ เพื่อหลีกเลี่ยง
สงคราม โดยจะยินยอมมอบดินแดน 10,000 ตารางไมล์ให้ ส่งผลให้เชค
โกสโลวาเกียสูญเสียแหล่งถ่านหิน 66 เปอร์เซ็นต์ของตน พร้อมทั้งอีก 70
เปอร์เซ็นต์ของแหล่งพลังงานไฟฟ้า 86 เปอร์เซ็นต์ของแหล่งเคมี 70
เปอร์เซนต์ของแหล่งแร่เหล็ก
แชมเบอร์เลนกลับไปยังกรุงลอนดอน พร้อมด้วยถ้อยวาจาอมตะทีว่ ่า
“สันติภาพในเวลาของเรา” (Peace in our time) เขาไม่รู้เลยว่า ใน
ขณะทีเ่ ขากำลังตกลงกับฮิตเลอร์ที่มิวนิคนั้น ฮิตเลอร์ได้ตกลงกับมุสโสลินี
ผู้นำอิตาลีว่า เมื่อเวลาแห่งสงครามมาถึง เยอรมันและอิตาลี จะร่วมกัน
ต่อสู้กับอังกฤษ และฝรั่งเศส
ในที่สุด เยอรมันก็เข้าครอบครองซูเดเตน ตามด้วยการเข้าผนวกเชค
โก สโลวาเกียทั้งประเทศ รัฐบาลเชคต่อสู้อย่างสิ้นหวัง โดยปราศจากความ
ช่วยเหลือจากโลกภายนอก 15 มีนาคม 1939 ฮิตเลอร์ส่งทหารเข้ายึดโบฮี
เมีย (Bohemia) และมอราเวีย (Moravia) และรุกเข้าสู่กรุงปราก
(Prague) ยึดปราสาท โบราณของกษัตริยโ์ บฮีเมีย เป็นที่พำนักของฮิต
516/665

เลอร์ ตามมาด้วยการเข้ายึดสโลวาเกียใน 16 มีนาคม 1939 เป็นอันว่า


ด้วยกลยุทธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่ยอดเยี่ยมของฮิตเลอร์ เชคโก
สโลวาเกียก็ถูกครอบครองโดยเยอรมันในที่สุด และสุดท้ายหากใครได้
อ่านหนังสือเรื่อง การต่อสู้ของข้าพเจ้า ของฮิตเลอร์ ก็จะทราบว่า เป้าหมาย
ต่อไปของฮิตเลอร์ คือ โปแลนด์ นั่นเอง
ปี 1939 ฮิตเลอร์ให้ความสำคัญกับนโยบายต่างประเทศเป็นอย่าง
มาก เขาแสดงถึงความเป็นอัจฉริยะบนหมากกระดาน แห่งความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ เขาสามารถทำให้มหาอำนาจของโลก ต้องรอฟัง
คำปราศรัยแต่ละครั้ง ของเขาอย่างใจจดใจจ่อ
14 เมษายน หลังจากอิตาลีส่งทหารรุกเข้าสู่อัลเบเนีย ประธานาธิบดี
รูสเวลต์ (Roosevelt) ของสหรัฐอเมริกา ได้แสดงสุนทรพจน์ถึงฮิตเลอร์
เรียกร้อง ให้ฮิตเลอร์รับประกันว่า เยอรมันไม่มีความต้องการดินแดนใน
ยุโรปมากกว่าที่เป็นอยู่ ฮิตเลอร์ตอบรูสเวลต์ ด้วยสุนทรพจน์ในรัฐสภา
ไรซ์สตาคของเยอรมัน กล่าวกันว่า สุนทรพจน์นี้ เป็นหนึ่งในยอด
สุนทรพจน์ของฮิตเลอร์เท่าที่เคยแสดง มา เขาเปรียบเทียบพื้นที่การ
อยู่อาศัย (lebensraum-living space) ในสหรัฐอเมริกา ว่า แม้
อเมริกาจะมีประชากรมากกว่าเยอรมันเพียงหนึ่งในสาม แต่ก็มพี ื้นที่
อยู่อาศัยมากกว่าเยอรมันถึงสิบห้าเท่า พื้นที่ที่กว้างใหญ่นี้ มิใช่ได้มาด้วย
การเจรจาบนโต๊ะเจรจา หากแต่ได้มาด้วยการยึดครองและสงคราม (by
517/665

occupation and war) ฮิตเลอร์กล่าวอีกว่า ข่าวลือที่ว่าเยอรมันจะบุก


สหรัฐนั้น ไม่เป็นความ จริง และเป็นข่าวที่ผิดพลาด
ในระยะนี้ ฮิตเลอร์มีชื่อเสียงมาก เขาสามารถครอบครองดินแดน
ต่างๆ โดยแทบจะไม่ต้องสูญเสียอะไรเลย สิ่งที่เขามองเป็นก้าวต่อไป ก็คือ
โปแลนด์ โดยมองไปทีด่ านซิก (Danzig) ซึ่งตามสนธิสัญญาแวร์ซายส์
กำหนดให้ดานซิก ซึ่งเคยเป็นของเยอรมันมาก่อนกลายเป็นเมืองเปิด
เยอรมันและโปแลนด์มีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้าออก ฮิตเลอร์เรียกร้อง
ให้โปแลนด์คืนดานซิกให้กับเยอรมัน คำตอบจากโปแลนด์คือ คำตอบ
ปฏิเสธ พร้อมทั้งมีสัญญาณให้เยอรมัน เห็นว่า โปแลนด์พร้อมจะสู้
อีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความแปลกใจให้กับฮิตเลอร์ก็คือ อังกฤษประกาศ
ออก มาอย่างชัดเจนว่า จะช่วยปกป้องโปแลนด์ หากถูกเยอรมันโจมตี แต่
อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ยังเชื่อว่า แชมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ
นั้น อ่อนแอเกินกว่าที่จะเข้าร่วมในสงครามหากเขาบุกโปแลนด์
ฮิตเลอร์รู้ดีว่า ถ้าเขาสามารถโดดเดี่ยวโปแลนด์ออกจากอังกฤษและ
ฝรั่งเศสได้ การเข้าครอบครองโปแลนด์ของเยอรมันจะไม่เกิดปัญหาใดๆ
ทั้งสิ้น เพราะแสนยานุภาพของนาซีเยอรมันในขณะนั้น กองทัพโปแลนด์
ไม่อาจจะต้านทานได้เลย ปัญหาอยูท่ ี่ว่า จะทำอย่างไรที่จะไม่ให้อังกฤษเข้า
มายุ่งเกี่ยวในปัญหานี้
เดือนเมษายน 1939 รัสเซียยื่นข้อเสนอไปยังอังกฤษและฝรั่งเศส
เพื่อขอทำสนธิสัญญาสามฝ่าย คือ รัสเซีย อังกฤษ และฝรั่งเศส ในการ
518/665

ร่วมมือทางทหาร หากโปแลนด์ถูกโจมตีจากเยอรมัน แต่อังกฤษปฏิเสธ


ข้อเสนอดังกล่าวของรัสเซีย การปฏิเสธดังกล่าว เท่ากับเป็นการยืนยัน
สมมติฐานของฮิตเลอร์ที่ว่า อังกฤษจะพยายามทุกวิถีทาง ที่จะหลีกเลี่ยง
การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงคราม
เมื่ออังกฤษปฏิเสธ ข้อเสนอของตน รัสเซียซึ่งนำโดยโมโลตอฟ
(Molotov) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ ก็ยื่น
ข้อเสนอมายังเยอรมัน เพื่อขอทำสนธิสัญญาไม่รุกรานซึ่งกันและกัน (a
Mutual Non-Aggression Pact) ฮิตเลอร์มองวัตถุประสงค์ของสตา
ลิน ผู้นำรัสเซียออกว่า การยื่นข้อเสนอมายัง เยอรมันนั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยง
สงครามกับเยอรมัน และเพื่อหาโอกาสเข้าครอบครองดินแดนใน
ยุโรปตะวันออก หากเกิดสงครามขึ้น เพราะหากรัสเซียเข้าครอบครอง
ดินแดนใด เยอรมันก็ไม่สามารถขัดขวางได้ เพราะต่างมีสนธิสัญญา ไม่
รุกรานซึ่งกันและกัน
ฮิตเลอร์นั้นยังคงจำประสบการณ์การลงนามในสนธิสัญญาร่วมกัน
ทางทหาร ระหว่างเยอรมันกับอิตาลีได้ดีว่า มุสโสลินี ผู้นำอิตาลีได้คัดค้าน
การลงนามของฝ่ายอิตาลี เนื่องจากเกรงว่า อิตาลีจะถูกชักนำเข้าไปสู่
สงคราม ร่วมกับเยอรมัน แต่ฮิตเลอร์ก็ต้องการหลักประกันความมั่นคง
ทางชายแดนตอนใต้ของยุโรป จึงส่งริบเบนทรอป (Ribbentrop)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมันไปเกลี้ยกล่อมมุ
สโสลินี โดยให้เหตุผลว่า เยอรมันก็ต้องการสันติภาพเช่นกัน เพียงแต่รอ
519/665

ให้สถานการณ์ในฉนวนดานซิกยุติลงก่อน มุสโสลินีถึงยินยอมให้เคาน์ ซิ
อาโน (Count Ciano) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ
อิตาลี ลงนามในสนธิสัญญาเหล็ก (the Pact of Steel) ในกรุงเบอร์
ลินของเยอรมัน เมื่อ 21 พฤษภาคม 1939
เมื่อฮิตเลอร์จัดการปัญหาทางใต้ได้แล้ว เขาก็ต้องการความมั่นคง
ทางชายแดนด้านรัสเซีย อย่างน้อยตอนนี้ ก็ยังไม่ถึงเวลาทีเ่ ยอรมันจะรบ
กับรัสเซีย ในวันที่ 22 สิงหาคม 1939 ฮิตเลอร์ก็ส่งริบเบนทรอปไปมอ
สโคว์ เมืองหลวงของรัสเซีย เพื่อร่วมลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกราน
ซึ่งกันและกัน ระหว่างเยอรมันกับรัสเซีย ในวันที่ 23 สิงหาคม ท่ามกลาง
ความงุนงงของโลก เพราะต่างรู้ดวี ่า นาซีเยอรมันนั้นเป็นศัตรูกับ
คอมมิวนิสต์อย่างสิ้นเชิง วินสตัน เชอร์ชลิ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้เป็น
นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ถึงกับกล่าวว่า สนธิสัญญานี้ไม่ใช่สนธิสัญญา
ธรรมดาแน่นอน
เมื่อจัดการทางด้านรัสเซียเรียบร้อยแล้ว ฮิตเลอร์ก็ส่งข้อเสนอไปยัง
อังกฤษ ผ่านทางเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเบอร์ลินว่า เยอรมันจะ
รับรอง ความปลอดภัยของเครือจักรภพอังกฤษ และจะจำกัดการเติบโต
ทางทหารของเยอรมัน หากอังกฤษสัญญาจะไม่เข้าร่วมในปัญหาโปแลนด์
อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกันนั้นเอง ขณะที่ฮิตเลอร์กำลังพบกับ
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส เขาก็ได้ข่าวว่า อังกฤษได้ลงนามความร่วมมือทาง
ทหารกับโปแลนด์ ในกรณีที่คู่สัญญาถูกรุกรานที่กรุงลอนดอนแล้ว
520/665

เป็นอันว่าความพยายามที่จะโดดเดี่ยวโปแลนด์ของเขาไร้ผล แผนการที่จะ
บุกโปแลนด์ในวันที่ 26 สิงหาคม 1939 ก็หยุดชะงักลงไปด้วยเช่นกัน
หลังจากทีอ่ ังกฤษลงนามความร่วมมือทางทหารกับโปแลนด์ ฮิตเลอร์
มีความเครียดเป็นอย่างมาก คนใกล้ชิดถึงกับกล่าวว่า เขาดูแก่ลง เก็บตัว
เงียบ นั่งครุ่นคิดอยู่คนเดียวเป็นเวลานานๆ จากอาการดังกล่าว ชีใ้ ห้เห็น
ว่า เขาไม่ต้อง การสงคราม ไม่ต้องการให้เกิดการล้มตาย แต่ใน
ขณะเดียวกัน เขาก็ต้องการครอบครองโปแลนด์ หรืออาจจะครอบครองทั้ง
ยุโรป โดยที่ไม่มีสงคราม ซึ่งในความเป็นจริงนั้น มันเป็นไปไม่ได้
สาเหตุ 3 อย่างที่สร้างความเครียดให้กับฮิตเลอร์ในช่วงนี้ คือ
1. แรงกดดันจากอังกฤษที่มีต่อเยอรมัน เกี่ยวกับปัญหาในโปแลนด์
เพื่อป้องกันการขยายตัวของสงคราม
2. ฮิตเลอร์กำลังพยายามหาเงื่อนไข ที่จะขจัดความร่วมมือทางทหาร
ระหว่างอังกฤษและโปแลนด์
3. ท้ายที่สุด ในกรณีที่หาทางออกอื่นใดไม่ได้ ฮิตเลอร์ต้องการพิชิต
โปแลนด์ให้ได้เร็วที่สุด โดยใช้ สงครามสายฟ้าแลบ (Lightning war-
Blitzkrieg) เพื่อ ให้การรบยุตลิ งก่อนที่อังกฤษและฝรั่งเศสจะส่งกำลังเข้า
มาช่วย หรือเปิดแนวรบตามชายแดนเยอรมัน ฝรั่งเศส
ฮิตเลอร์ขบคิดปัญหาทั้ง สามข้อตลอดเวลา 9 วันก่อนการบุก
โปแลนด์ วันที่ 27 สิงหาคม 1939 ฮิตเลอร์ประกาศเส้นตายในการบุก
521/665

โปแลนด์ว่าคือวันที่ 1 กันยายน 1939 ครั้นพอวันที่ 28 กันยายน อังกฤษ


ก็ตอบปฏิเสธข้อเสนอของฮิตเลอร์ ทีจ่ ะรับประกันความปลอดภัยของ
เครือจักรภพอังกฤษ เพื่อแลกกับการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในปัญหาโปแลนด์
ของอังกฤษ พร้อมกันนีอ้ ังกฤษได้เปิดช่องทางออกให้เยอรมันว่า อังกฤษ
พร้อมที่จะเจรจากับเยอรมันในปัญหาดังกล่าว
ฮิตเลอร์แปลความหมายในการเสนอทางออกของอังกฤษโดยการ
เจรจาผิดพลาด เขามองว่าอังกฤษกำลังจะส่งสัญญาณว่า อังกฤษจะเจรจา
มากกว่าการทำสงคราม หากโปแลนด์ถูกโจมตี อันเป็นการยืนยันถึง
ความคิดของฮิตเลอร์ที่มองว่า แชมเบอร์เลน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ
นั้น อ่อนแอเกินกว่าที่จะนำประเทศเข้าสู่สงคราม มันเป็นความผิดพลาด
ของฮิตเลอร์ครั้งใหญ่ และผู้ทจี่ ะได้รับผลกรรมจากการตัดสินใจผิดพลาด
ครั้งนี้คือ มวลมนุษย ชาติทั้งโลก ที่จะต้องเผชิญกับมหาสงครามโลกครั้ง
ที่ 2 มหาสงครามแห่งการทำลายล้างครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคย
ประสบมา
เมื่อใกล้ถึงเส้นตาย ฮิตเลอร์ประกาศให้โปแลนด์ยอมแพ้ ก่อนที่
ความเสียหายจะเกิดขึ้นแก่ประเทศโปแลนด์ รัฐบาลโปแลนด์ปฏิเสธ โดย
หวังว่า อังกฤษและฝรั่งเศสจะส่งทหารเข้าช่วยตนเอง หากเยอรมันเปิดฉาก
บุกโปแลนด์
และแล้วในรุ่งอรุณของวันที่ 1 กันยายน 1939 การบุกของเยอรมันก็
เปิดฉากขึ้น ยานเกราะจำนวนมากมาย พร้อมทหารราบรุกข้ามพรมแดน
522/665

เข้าสู่โปแลนด์ ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศเยอรมันหรือ
ลุฟวาฟ (Luftwaffe) กองทหารโปแลนด์ต่อสู้อย่างสุดกำลัง แต่ด้วย
ประสิทธิภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ต่างกันลิบลับ ทหารโปแลนด์จึงถูก
กวาดล้างไปจากแนวรบอย่างไม่ยากเย็นนัก
ฮิตเลอร์ รอคอยอย่างใจจดใจจ่อต่อปฏิกิริยาของอังกฤษและ
ฝรั่งเศส จนกระทั่งเวลา 09.00 น. ของวันที่ 3 กันยายน 1939 เขาก็ได้รับ
ข่าวจากลอนดอนว่า อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมันแล้ว
ความวิตกของฮิตเลอร์เป็นความจริง ข่าวนีแ้ พร่ไปทั่วเยอรมัน ประชาชน
ต่างฟังข่าวด้วยความเงียบงัน ไม่มใี ครต้องการให้สงครามเกิดขึ้น ไม่มี
แม้แต่คนเดียว ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่เป็นสาเหตุของสงครามในครั้งนีอ้ ย่าง
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ฮิตเลอร์ เยอรมัน และสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันกลายเป็นสาธารณรัฐและสิ้นสุด
สถาบันกษัตริย์ เศรษฐกิจในเยอรมันตอนนั้นตกต่ำมาก คนตกงานถึง 6
ล้านกว่าคน ประชาชนก็โทษรัฐบาล การเมืองระส่ำระสาย ซึ่งงนีเ่ ป็น
จุดเริ่มต้นของ ฮิตเลอร์ ซึ่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
จะเรียกฮิตเลอร์ ว่า “ผู้นำทีใ่ ครๆ ต้องการ” ก็ได้ เพราะว่าถึงแม้ฮิต
เลอร์ จะเป็นถึงผู้นำแห่งเยอรมนีที่มีอำนาจมาก แต่เขาก็ไม่ได้ใช้ชีวิตฟู่ฟ่า
เลย ผิดกับผู้นำหลายๆ คน เช่น เขาดื่มชาชนิดที่สามัญชนดื่ม อาหารที่เขา
กินก็เป็นแบบ ทีส่ ามัญชนกิน (อาหารจานโปรดของเขาคืออาหารกรรมกร
523/665

แบบ “หม้อเดียว” ทีป่ ระกอบด้วยถั่วเป็นส่วนมาก) บ้านของเขาก็ไม่ใช่บ้าน


ทีใ่ หญ่โตหรูหราเช่นกัน ยกเว้นบ้านที่แบร์กเชสการ์เทิน ทีต่ ั้งอยู่บนเขาสูง
2,600 เมตร มีขนาดใหญ่มาก มีลิฟต์หุ้มเกราะสำหรับขึ้นลงอุโมงค์ 16 ตัว
ที่พักใต้ดิน 3,000 คน มีห้องนอนอย่างดี มีอาวุธ กระสุน แชมเปญ ที่
เก็บเอกสารมากมาย ซึ่งเป็นทั้งที่ประชุมลับและป้อมปราการไปในตัว
แม้แต่ในสนามรบ ฮิตเลอร์ก็ชอบที่จะอยู่กับทหาร อย่างเช่นตอน
บัญชา การสนามอยู่แถบปรัสเซียตะวันออก แม้จะต้องนอนบนเตียงไม้
ฉำฉาแข็งๆ ผ้าห่มบางๆ เขาก็จะทำ เพราะเขาคิดว่าเป็นวิธีที่ทำให้เขารูถ้ ึง
กำลังใจของทหารได้ดี สิ่งนี้จึงทำให้ทหารเยอรมันมีขวัญกำลังใจที่ดี
ถึงกระนั้น ฮิตเลอร์เองก็ไม่บังคับ ให้ทหารคนอื่นๆ ต้องอยูล่ ำบาก
เช่นเดียวกับเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นายพลบางคน เช่น แฮร์มันน์ เกอริง
จึงอยู่อย่างสุขสบาย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้น ภายใต้การนำของฮิตเลอร์
สงครามเกิดขึ้น 7 ปีถูกจัดแบ่งออกเป็น 4 ช่วงระยะ ตามลักษณะของการ
สู้รบคือ
1. ช่วงต้นสงคราม จากกันยายน 1939-ธันวาคม 1940
2. ช่วงที่ 1 เริ่มจากกลางปี 1941-กลางปี 1942
3. ช่วงที่ 3 ตั้งแต่กลางปี 1942-กลางปี 1943
524/665

4. ช่วงที่ 4 มหาอำนาจฝ่ายอักษะพ่ายแพ้จากเดือนกรกฎาคม 1943


ถึงเดือนสิงหาคม 1945
ในที่สุดกองทัพสัมพันธมิตรตะวันตกก็สามารถตีฝ่าแนวป้องกันของ
เยอรมันได้ และกวาดมาจากเยอรมนีตะวันตกในตอนต้นของเดือน
เมษายน 1945 ขณะทีป่ ลายเดือนเดียวกัน กองทัพโซเวียตเข้าถล่มกรุง
เบอร์ลิน กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและกองทัพสหภาพโซเวียตได้
มาบรรจบกันเมื่อวันที่26 เมษายน
ปรากฏว่า ในวันที่ 30 เมษายน 1945 ฮิตเลอร์จบชีวิตโดยการยิงตัว
ตาย พร้อมภรรยาชื่อ อีวา บราวน์ ซึ่งกินยาพิษเป็นการฆ่าตัวตาย ในหลุม
หลบภัยเบอร์ลินเพื่อหนีการถูกจับเป็นเชลย
ภายใต้การนำของฮิตเลอร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพ
เยอรมันและฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่นและอิตาลี) ได้ยึดครองยุโรปได้เกือบทั้ง
ทวีป ฮิตเลอร์ได้ใช้นโยบายด้านเชื้อชาติ ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่ง
ทำให้ผู้บริสุทธิ์ตายไป อย่างน้อย 11 ล้านคน โดยเป็นชาวยิวถึง 6 ล้าน
คน ฮิตเลอร์เปลี่ยนแปลงเยอรมนีจากประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1
มาเป็นมหาอำนาจของโลก และกลายเป็นผูท้ ี่นำเยอรมันมาพบกับความ
พ่ายปพ้อีกครั้งด้วยเช่นกัน
แผนลอบสังหาร 20 กรกฎาคม
ช่วงทีเ่ ยอรมันกำลังเพลี่ยงพล้ำต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง ก่อ
ให้เกิดความตึงเครียดไปทั่งทั้งรัฐบาลนาซี สุดท้ายจึงเกิดแผนการหรือการ
525/665

สมคบ คิดกันเพื่อโค่นล้มฮิตเลอร์ ลงจากอำนาจ โดยเรียกแผนการนี้ว่า


แผนลับ 20 กรกฎาคม
แผนลับ 20 กรกฎาคม เป็นชื่อเรียกโดยทั่วไปของแผนการ
ลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ภายใน “รังหมาป่า” (กองบัญชาการภาค
สนามใกล้กับเมืองรัสเทนบูร์ก แคว้นปรัสเซียตะวันออก) เมื่อวันที่ 20
กรกฎาคม 1944 แผนการดังกล่าวเป็นความพยายามของขบวนการกู้ชาติ
เยอรมนี เพื่อที่จะทำลายการปกครองของนาซี แต่สุดท้ายแผนนี้กล็ ้มเหลว
ลง และความล้มเหลวของการลอบสังหารฮิตเลอร์และการก่อรัฐประหาร
นำไปสูก่ ารจับกุมประชาชนกว่า 7,000 คนโดยเกสตาโป และจากการ
บันทึกของการประชุมกิจการกองทัพเรือฟือห์เรอร์ (Fuehrer Confer-
ences on Naval Affairs) ระบุว่าได้มกี ารประหารชีวิตประชาชนกว่า
4,980 คน และทำให้ขบวนการกู้ชาติในเยอรมนีล่มสลายลง
เรื่องของเรื่องเริ่มขึ้น นับตั้งแต่ปี 1938 เป็นต้นมา โดยกลุ่มสม
คบคิดได้วางแผนล้มล้างรัฐบาลนาซีได้ปรากฏขึ้นแล้วในกองทัพบก
เยอรมัน และในองค์การข่าวกรองทหารเยอรมัน (อับเวร์) คณะผู้นำแผน
สมคบคิดในช่วงแรกประกอบไปด้วยนายพลโทฮันส์ โอสเตอร์ นายพลลุ
ดวิค เบค และจอมพลเออร์วิน ฟอน วิทเซลเบน โอสเตอร์เป็นหัวหน้า
ของสำนักงานข่าวกรองทางทหาร เบคเป็น อดีตหัวหน้ากองเสนาธิการแห่ง
กองบัญชาการกองทัพเยอรมัน (Oberkommando des Heeres,
OKH) ฟอน วิทเซลเบนเป็นอดีตผู้บัญชาการกองทัพที่ 1 แห่งเยอรมนี
526/665

และอดีตผู้บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการกองทัพเยอรมันด้านตะวันตก
(Oberbefehlshaber West, OB West)
กลุ่มสมคบคิดทางทหารมีอยู่หลายกลุ่มตั้งแต่กลุ่มพลเรือน
นักการเมือง และเหล่าปัญญาชน โดยกลุ่มที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น ไครเซา
เออร์ ไครส และในสมาคมลับอื่นๆ ส่วนมอลท์เคอเป็นผู้ที่ต่อต้านการ
สังหารฮิตเลอร์ แต่เขาต้องการให้มีการพิจารณาคดีความของฮิตเลอร์แทน
มอลท์เคอกล่าวว่า “เราทั้งหมดเป็นเพียงมือสมัครเล่น และก็จะ
ดำเนินการ (ลอบสังหาร) ผิดพลาด” มอลท์เคอยังเชื่อว่าการสังหารฮิต
เลอร์จะเป็นการ หลอกลวง ฮิตเลอร์และลัทธิชาติสังคมนิยมได้เปลี่ยน
“การกระทำผิด” ให้กลาย เป็นระบบ และสิ่งใดก็ตามที่เข้าไปขัดขวางก็
สมควรที่จะหลีกเลี่ยง
527/665

ฮิตเลอร์ท่ามกลางซากปรักหักพังของเมืองที่ถูกทิ้งบอมบ์แห่งหนึ่งในเยอรมันเมื่อปี 1944

แผนการที่จะล้มล้างและป้องกันฮิตเลอร์จากการเริ่มสงครามโลกครั้ง
ใหม่ได้ก่อตัวขึ้นระหว่างปี 1938-1939 แต่ต้องถูกยกเลิกไป เนื่องจาก
ความไม่แน่ใจของนายพลฟรานซ์ ฮัลเดอร์ และนายพลวัลเทอร์ ฟอน เบ
528/665

ราคิทช และความล้มเหลวของชาติตะวันตกในการรับมือกับท่าทีแข็งกร้าว
ของฮิตเลอร์ จนกระทั่งถึงปี 1939 กลุ่มทหารผู้สมคบคิดได้มกี ารเลื่อน
เวลากำหนดการของแผนการออกไป หลังจากความเป็นที่นิยมของฮิตเลอร์
เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลหลังจากได้รับชัยชนะในยุทธการแห่งฝรั่งเศส
ในปี 1941 ได้มีกลุ่มสมคบคิดกลุ่มใหม่ นำโดยพันเอกเฮนนิง ฟอน
เทรสคอว์ ซึ่งเป็นลูกน้องใต้บังคับบัญชาของจอมพลเฟดอร์ ฟอน บอค
(ผู้บัญชา การกองทัพกลุ่มกลางในปฏิบัติการบาร์บารอสซา) เทรสคอว์ได้
เกณฑ์เอากลุ่มผู้ต่อต้านเข้ามาทำงานในกองทัพเดียวกันอย่างเป็นระบบ
และสร้างเป็นเครือข่ายของกลุ่มต่อต้านในกองทัพบก เนื่องจากฮิตเลอร์ได้
รับการป้องกันอย่างแน่นหนา และไม่มีกลุ่มผูส้ มคบคิดสามารถเข้าใกล้ฮิต
เลอร์ได้ ทำให้ไม่สามารถ ทำอะไรได้มากนัก
ระหว่างปี 1942 นายพลโอสเตอร์และพันเอกเทรสคอว์ประสบความ
สำเร็จได้ในสร้างเครือข่ายของกลุ่มผูต้ ่อต้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมี
ตัวจักร สำคัญ คือ นายพลฟรีดริช ออลบริตช์ หัวหน้าสำนักงานใหญ่
กองทัพเยอรมันที่เบนด์เลอร์บล็อค ใจกลางกรุงเบอร์ลิน ผูม้ ีอำนาจ
ควบคุมระบบสื่อสารอิสระในการสนับสนุนผู้ร่วมขบวนการได้ทั่วประเทศ
ซึ่งเป็นการทำให้แผนการก่อรัฐประหารเป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้น
ปลายปี 1942 พันเอกเทรสคอว์และนายพลออลบริตช์ได้วางแผน
การลอบสังหารฮิตเลอร์ และวางแผนล้มล้างระหว่างการเยือน
กองบัญชาการใหญ่ กองทัพกลุ่มกลางของฮิตเลอร์ ที่เมืองสโมเลนสก์ ใน
529/665

เดือนมีนาคม 1943 โดยการลอบวางระเบิดบนเครื่องบินของเขา แต่ระเบิด


ไม่ทำงาน และความพยายาม ครั้งที่ 2 ในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ระหว่างที่
ฮิตเลอร์กำลังตรวจอาวุธที่ยึดได้จากฝ่ายโซเวียตในกรุงเบอร์ลินก็ไม่ประสบ
ความสำเร็จเช่นเดียวกัน ความผิดพลาดทั้งสองครั้งทำให้กลุ่มผู้สมคบคิด
เสียกำลังใจ
ระหว่างปี 1943 พันเอกเทรสคอว์พยายามที่จะเกณฑ์เอาผู้บัญชาการ
ระดับสูง อย่างเช่น จอมพลอีริช ฟอน มันสไตน์ และจอมพลเกอร์ด ฟอน
รุนด์ ชเทดท์ เพื่อขอความร่วมมือ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ มีเพียง
จอมพลฮันส์ กุนเธอร์ ฟอน คลุจ เท่านั้นทีเ่ ทรสคอว์สามารถชักชวนมาได้
สำเร็จ แต่เขากลับ ลังเลที่จะเข้าร่วมในนาทีสุดท้าย
ต่อ มานายพลออลบริตช์ได้เริ่มยุทธศาสตร์ใหม่ในการก่อรัฐประหาร
ต่อฮิตเลอร์ กองทัพหนุนมีแผนปฏิบัติการทีเ่ รียกว่า ปฏิบัติการวาลคิรี ซึ่ง
มีเจตนา จะใช้ในกรณีที่เกิดความระส่ำระสายในบ้านเมืองซึ่งเกิดจากการ
ทิ้งระเบิดของ ฝ่ายสัมพันธมิตร หรือการก่อจลาจลในแรงงานทาสใน
ประเทศทีถ่ ูกยึดครอง นาย พลออลบริตช์เสนอว่าแผนการดังกล่าว
ต้องการความช่วยเหลือจากกองทัพหนุนเพื่อ ที่จะบรรลุจุดประสงค์ในการ
ก่อรัฐประหารได้ แต่นายพลฟรอมม์ แม้จะทราบดีว่ามีการสมคบคิดทาง
ทหารเช่นเดียวกับนายทหารระดับสูงคนอื่นๆ แต่กไ็ ม่ได้ให้การสนับสนุน
หรือรายงานต่อเกสตาโปแต่อย่างใด
530/665

ระหว่างปี 1943 จนถึงต้นปี 1944 ได้มีความพยายามของพันเอกเท


รสคอว์ และพันเอกสเตาฟเฟนเบิร์ก เพื่อที่จะให้หนึ่งในคณะสมคบคิดเข้า
ไปใกล้ฮิตเลอร์ และสังหารเขาด้วยระเบิดมือ ระเบิด หรือ ปืนพกลูกโม่
ทั้งหมดจำนวน สีค่ รั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้การลอบสังหารฮิต
เลอร์เริ่มยากขึ้นตาม ลำดับ เมื่อสถานการณ์ในสงครามเริ่มเลวร้ายลง ฮิต
เลอร์เริ่มที่จะไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณะและเดินทางมายังกรุงเบอร์ลินเพียง
น้อยครั้ง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ “รังหมาป่า” โดยมีการคุ้มกันอย่าง
แน่นหนาและเขายังไม่ไว้วางใจคนอื่น ฮิมม์เลอร์และหน่วยเกสตาโปเริ่ม
สงสัยต่อแผนการลอบสังหารฮิตเลอร์ และมุ่งความสงสัยมายังนายทหาร
แห่งกองเสนาธิการ ซึ่งเป็นแหล่งกบดานของคณะลอบสังหารฮิตเลอร์
เมื่อย่างเข้าฤดูร้อนของปี 1944 หน่วยเกสตาโปเริ่มสืบหาตัวของคณะ
สมคบคิด และมีความรู้สึกว่าเวลากำลังจะหมดลง ทั้งในสนามรบ ซึ่งใน
แนวรบ ด้านตะวันออก ทหารเยอรมันเริ่มถอนกำลังเต็มรูปแบบ และ
ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกในฝรั่งเศส ในวันที่ 6 มิถุนายน และใน
เยอรมนี พื้นที่ในการลงมือถูกจำกัดมากขึ้น ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่าการ
ลงมือครั้งต่อไปจะเป็นโอกาส สุดท้ายสำหรับคณะสมคบคิด
เมื่อพันเอกสเตาฟเฟนเบิร์กส่งข้อความถึงเทรสคอว์ผ่านทางพันโท
ไฮนริช กรัฟ ฟอน เลฮ์นดรอฟฟ์-สไตนอร์ต เพื่อถามไถ่ถึงเหตุผลใน
ความพยายามลอบสังหารฮิตเลอร์โดยปราศจากเหตุผลทางการเมืองเข้ามา
เกี่ยวข้อง เทรสคอว์ตอบว่า “การลอบสังหารจะต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าจะแลก
531/665

ด้วยอะไรก็ตาม และแม้ว่ามันจะประสบความล้มเหลว เราต้องลงมือ [ก่อ


รัฐประหาร] ในกรุงเบอร์ลิน สำหรับจุดประสงค์ในการลงมือนั้นไม่สำคัญ
อีกต่อไป ไม่ว่าอย่างไรก็ตามขบวนการกู้ชาติเยอรมันจะต้องก้าวต่อไป
ต่อหน้าสายตาของโลกและประวัติ ศาสตร์ เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งเหล่านั้น
แล้ว อย่างอื่นก็ไม่มีความสำคัญอะไรเลย”
ในเดือนสิงหาคม 1943 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิย์ปรัสเซีย
โจฮันเนส โพพิตซ์ ผูซ้ ึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายของเกอร์เดเลอร์ ได้
ยื่นข้อเสนอให้ฮิมม์เลอร์เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ต่อต้าน เพื่อแลกกับการเข้ารับ
ตำแหน่งแทนฮิตเลอร์ และรับประกันการเจรจายุตสิ งคราม ไม่มีข้อมูลใดๆ
จากการนัดพบกันดังกล่าว แต่โพพิตซ์ไม่ถูกจับกุม และฮิมม์เลอร์ก็ไม่ได้
กระทำการใดๆ ในการสืบหาเครือข่ายต่อต้าน ซึ่งเขาทราบแล้วว่ากำลัง
ปฏิบัติการอยู่ภายใต้ระบบรัฐการ จึงมีความเป็นไปได้ที่ว่า ฮิมม์เลอร์ทราบ
ดีว่าสงครามครั้งนี้ไม่อาจเอาชนะได้ โดยปล่อยให้การลอบสังหารฮิตเลอร์
เกิดขึ้นเพื่อทีว่ ่าตนอาจจะได้รับสืบทอดเป็นทายาทของฮิตเลอร์ และจะ
สามารถนำสันติภาพกลับคืนมาได้ โพพิตซ์ไม่ได้มองว่าฮิมม์เลอร์เป็น
พันธมิตรแต่เพียงผู้เดียว นายพลฟอน บอคเองก็แนะนำให้เทรสคอว์รับ
การสนับสนุนจากเขา แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่ว่าเขาได้กระทำเช่นนั้น
เกอเดเลอร์เองก็ได้ติดต่อกับฮิมม์เลอร์ทางอ้อมผ่านทางคนรู้จัก คือ
คาร์ล ลังเบฮ์น นักอัตชีวประวัติ ไฮนส์ เฮอเนอ เสนอว่าคานาริสกับ
532/665

ฮิมม์เลอร์อาจกำลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง แต่ทั้งหมดก็ยังเป็น
เพียงแค่สมมุติฐาน
ในวันที่ 7 กรกฎาคม 1944 นายพลสไตฟฟ์เกือบจะสามารถสังหาร
ฮิตเลอร์ได้ทกี่ ารแสดงเครื่องแบบใหม่ ณ ปราสาทเคลสไชม์ ใกล้กับ
ซัลซบูร์ก อย่างไรก็ตาม สไตฟฟ์มีความรู้สึกว่าตนไม่สามารถสังหารฮิต
เลอร์ได้ พันเอกสเตาฟเฟนเบิร์กจึงตัดสินใจที่จะสังหารฮิตเลอร์ และ
ก่อการรัฐประหารในกรุงเบอร์ลินไปพร้อมๆ กัน
ในวันที่ 11 กรกฎาคม สเตาฟเฟนเบิร์กเข้าประชุมร่วมกับฮิตเลอร์
โดยถือกระเป๋าเอกสารซึ่งบรรจุระเบิดไว้ภายใน แต่เนื่องจากคณะสม
คบคิดตัดสินใจว่านายไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ และแฮร์มานน์ เกอริงควรจะถูก
สังหารไปด้วยในคราว เดียวกัน เพื่อให้ปฏิบัติการวาลคิรีมีโอกาสประสบ
ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น เขาจึงไม่ลงมือในนาทีสุดท้าย เนื่องจากฮิมม์เลอร์ไม่
เข้าร่วมประชุมกับฮิตเลอร์ อันเป็นปกติวิสัยของเขาอยู่แล้ว
ในวันที่ 15 กรกฎาคม สเตาฟเฟนเบิร์กเดินทางมายังรังหมาป่าอีก
ครั้งหนึ่ง แต่เงื่อนไขดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป แผนการของสเตาฟเฟนเบิร์ก
คือ การวางกระเป๋าใส่เอกสารบรรจุระเบิดไว้ในห้องประชุมของฮิตเลอร์
ก่อนจะถอนตัว ออกจากการประชุม รอจนเกิดการระเบิดขึ้น และบินกลับ
ไปยังกรุงเบอร์ลิน และเข้าร่วมกับผู้ก่อการคนอื่นที่เบนด์เลอร์บล็อค
ปฏิบัติการวาลคิรีก็จะเริ่มต้นขึ้น และกองทัพหนุนก็จะทำการควบคุม
เยอรมนีทั้งหมด และคณะผู้นำนาซีทั้งหมด ก็จะถูกจับกุม เบคก็จะได้รับ
533/665

การแต่งตั้งให้เป็นประมุขของรัฐ ขณะที่คาร์ล ฟรีดริช เกอดีเลอร์


นักการเมืองอนุรักษ์นิยมและผู้ต่อต้านนาซี ก็จะกลายเป็นมุขมนตรี และ
วิตเซลเบนก็จะเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
แต่แผนการดังกล่าวต้องถูกยกเลิกอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากถึงแม้ว่า
ฮิมม์เลอร์กับเกอริงจะเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ฮิตเลอร์ออกจากการประชุม
ในช่วงเวลาสุดท้าย สเตาฟเฟนเบิร์กสามารถยับยั้งระเบิดและป้องกันการ
ถูกตรวจพบได้
มาถึงวันที่ 20 กรกฎาคมเมื่อเวลา 10.00 น. สเตาฟเฟนเบิร์ก
เดินทางมา ยังรังหมาป่าเพื่อเข้าร่วมประชุมกับฮิตเลอร์อีกครั้งหนึ่ง
พร้อมกับกระเป๋าเอกสารซึ่งบรรจุระเบิดไว้เช่นเดิม โดยที่ผทู้ ี่เข้าร่วมประชุม
ทั้งหมดไม่ถูกตรวจค้นตัวเลย
534/665

สเตาฟเฟนเบิร์กนายทหารผู้ลอบสังหารฮอตเลอร์ด้วยการจุดระเบิดในกระเป๋าเอกสารเมื่อวันที่20
กรกฎาคม 1944แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังนายทหารผู้นี้ถูกจับกุมและโดนยิงเป้า

ราว 12.30 น. การประชุมเริ่มขึ้น สเตาฟเฟนเบิร์กขอตัวใช้ห้องน้ำใน


สำนักงานของวิลเฮล์ม ไคย์เทล ซึ่งเขาได้ใช้คีมกระทกปลายตัวจุดระเบิด
ดินสอ สอดเข้าไปในแท่งระเบิดพลาสติกซึ่งหุ้มด้วยกระดาษสีน้ำตาล ตัว
จุดระเบิดจะทำงานโดยกรดซึ่งจะกินสายจุดชนวนทองแดง ใช้เวลา
535/665

ประมาณ 10 นาที และเขาจัดวางระเบิดภายในกระเป๋าเอกสารอีกครั้งหนึ่ง


ใต้โต๊ะที่ประชุมของฮิตเลอร์ และนายทหารอีกกว่า 20 นาย
หลังจากนั้นไม่กี่นาที สเตาฟเฟนเบิร์กได้ขอตัวออกจากที่ประชุมอีก
ครั้งหนึ่ง เมื่อเวลา 12.40 น. เกิดการระเบิดขึ้นและทำลายห้องประชุม
นายทหาร 3 นายและนักเขียนชวเลขได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตใน
เวลาต่อมา แต่ฮิตเลอร์รอดชีวิต กางเกงของเขาขาดแต่ได้รับบาดจ็บเพียง
เล็กน้อย และได้มีการค้นพบในภายหลังว่ากระเป๋าเอกสารดังกล่าวถูก
เคลื่อนย้ายโดยพันเอกไฮนส์ บรันดท์ไปยังฝั่งตรงข้ามซึ่งมีขาโต๊ะที่แข็งแรง
ซึ่งเมื่อมันกระแทกกับเท้าของเขา และทำให้แรงระเบิดหันเหไป
พันเอกสเตาฟเฟนเบิร์กได้ยินเสียงระเบิดก็คิดว่าฮิตเลอร์เสียชีวิต
แล้ว จึงรีบเดินทางกลับกรุงเบอร์ลิน จนถึงเวลา 15.00 น. ได้มกี าร
โทรศัพท์แจ้งมาว่าฮิตเลอร์ยังคงรอดชีวิต แต่ข่าวของสเตาฟเฟนเบิร์กระบุ
ว่าฮิตเลอร์เสียชีวิตแล้ว ทำให้คณะผู้สมคบคิดลังเลที่จะเชื่อในข่าวทั้งสอง
ในที่สุด เวลา 16.00 น. นายพลออลบริตช์จึงเริ่มปฏิบัติการวาลคิรี ใน
เวลา 16.40 น. นายพลฟรอมม์ออกคำสั่งให้จับกุมตัวสเตาฟเฟนเบิร์ก เมื่อ
ถึงเวลานั้น ฮิมม์เลอร์จึงได้เข้าควบคุมสถานการณ์ และออกคำสั่งเรียก
กลับปฏิบัติการวาลคิรีของนายพลออลบริตช์ ในหลายพื้นที่
การก่อรัฐประหารยังคงเดินหน้าต่อไป นำโดยนายทหารที่เชื่อว่าฮิต
เลอร์ เสียชีวิตแล้ว ผู้บังคับการเมืองและผู้สมรู้ร่วมคิด นายพลพอล ฟอน
ฮาเซอออกคำสั่งให้มีการจับกุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการโฆษณา โจเซฟ
536/665

เกิบเบิลส์ ทางด้านกรุงปารีส สตึลพนาเกลออกคำสั่งให้มีการจับกุม


ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสและเอสดี และในกรุงเวียนา กรุงปราก และใน
หลายพื้นทีไ่ ด้มีการจับกุม นายทหารนาซี เกาไลเทอร์ และนายทหารหน่วย
เอสเอสจำนวนมาก
เมื่อเวลา 19.00 น. ฮิตเลอร์ใช้โทรศัพท์แจ้งไปยังพันตรีเรเมอร์ ผู้
บัญชา การกองกำลังรอบกระทรวงโฆษณา ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้เขาเข้า
ควบคุมสถาน การณ์ในกรุงเบอร์ลิน เขาได้ออกคำสั่งให้กองกำลังของเขา
ปิดล้อมเบนด์เลอร์บล็อค แต่ไม่เข้าไปในตัวอาคาร
เมื่อถึงเวลา 20.00 น. วิตเซยเบนมาถึงเบนด์เลอร์บล็อคและได้
โต้เถียงกับเสตาฟเฟนเบิร์กอย่างขมขื่น ไม่นานหลังจากนั้น การก่อ
รัฐประหารในกรุงปารีสสิ้นสุดลง เมื่อจอมพลกึนเทอร์ ฟอน คลุจ ซึ่งเป็น
ผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันด้านตะวันตกทราบว่าฮิตเลอร์ยังมีชีวิตอยู่
เมื่อผูส้ มคบคิดทราบว่าฮิตเลอร์ยังคงมีชีวิตอยู่ ทำให้เหล่าผู้สม
คบคิดแตกออกเป็นสองฝ่าย และเริ่มต่อสูก้ ันเอง สเตาฟเฟนเบิร์กได้รับ
บาดเจ็บ เมื่อเวลา 23.00 น. ฟรอมม์สามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ได้
เบคยิงตัวตาย ในศาลทหารได้มีการตัดสินให้ออลบริตช์ สเตาฟเฟนเบิร์ก
เฮล์ฟเทน และนายทหารคนอื่นถูกประหารชีวิต เมื่อเวลา 00.10 น. ของ
วันที่ 21 กรกฎาคม
การประหารได้ถูกจัดขึ้นภายในลานด้านนอก ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าการ
อำพรางเจตนาของนายพลฟรอมม์ก็เป็นได้ แต่เมื่อเวลา 00.30 น. หน่วย
537/665

เอสเอสได้มาขัดขวางการประหารชีวิต ฟรอมม์เดินทางไปพบเกิบเบิลส์เพื่อ
ขอผลตอบแทนจากการขัดขวางการก่อรัฐประหาร เขาถูกจับกุมตัวทันที
และถูกประหารในเดือนมีนาคม 1945 เนื่องจากประสบความล้มเหลวใน
การป้องกันการก่อรัฐประหารดังกล่าว
การลอบสังหารฮิตเลอร์ในครั้งนี้แม้ไม่ทำให้เขาเสียชีวิต และเขา
สามารถ จัดการปิดบัญชีได้เรียบร้อยแต่ผลของการบาดเจ็บก็ทำให้เขามี
ปัญหาสุภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น และเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ของชีวิตฮิตเลอร์
ดูเหมือนจะได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อย ทั้งนี้เพราะในเวลาต่อมาได้มกี าร
นำเรื่องไปเขียนเป็น นวนิยาย ทำเป็นละครหรือภาพยนต์จำนวนมากมาย
วาระสุดท้าย
แน่นอนที่สุดว่า เรื่องราวประวัติชีวิตของฮิตเลอร์ อีกช่วงทีน่ ่าสนใจ
ที่สุด นั่นก็คือ วาระสุดท้ายของเขา
ฮิตเลอร์ เป็นจอมเผด็จการ ที่รักและห่วงแหนชาติของตัวเองอย่าง
มาก ที่ผ่านมาเขาได้สั่งสังหารชาวยิวไปแล้วกว่า 6 ล้านคน ผลจาก
สงครามที่เกิดขึ้น ในครั้งนั้น แม้เขาจะไม่ได้เป็นผู้กระทำทั้งหมดแต่ก็
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาคือผู้จุดชนวนเริ่มต้นการสั่งหารและเข่นฆ่ากันในนาม
ของอำนาจ
ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่เขาพ่ายแพ้แน่นอนที่สุดว่าโลกทั้งใบย่อมอยากรู้
ว่าวาระสุดท้ายของเขาเป็นอย่างไร?
538/665

ในเดือนเมษายน ปี 1945 ฮิตเลอร์ได้ย้ายเข้าอยูใ่ นบังเกอร์ ซึ่งอยู่ใต้


ตึกบัญชาการในกรุงเบอร์ลินลึกลงไปราวห้าสิบฟุต บังเกอร์ใต้ดินนีม้ ีสอง
ชั้น ประกอบด้วยห้องเกือบสามสิบห้อง
สถานที่นี้ฮิตเลอร์จะใช้เป็นที่ประชุมกับบรรดานายพลทุกวันพร้อมกับ
รับทราบรายงานการใกล้เข้ามาของกองทัพโซเวียต อย่างไม่หยุดยั้ง
เมื่อวาระแห่งความพ่ายแพ้กำลังเดินทางมาเยือนอย่างคืบหน้า เขา
ออก คำสั่งที่ไร้สาระในการปกป้องกรุงเบอร์ลินด้วยกองทัพที่ถูกกวาดออก
ไปแล้วหรือ กำลังล่าถอยอย่างเร่งรีบไปทางตะวันตกเพื่อยอมแพ้ต่อ
กองทัพอเมริกัน ในวันที่ 22 เมษายน
ว่ากันว่าระหว่างการประชุมเป็นเวลาสามชั่วโมงในบังเกอร์ ฮิตเลอร์
กรีดร้องด่ากองทัพอย่างบ้าคลั่ง และประณามผูท้ ี่ทอดทิ้งเขาว่าเป็นพวก
ทรยศขั้นร้ายแรง, ฉ้อฉล, สับปลับ, และล้มเหลว ฮิตเลอร์อุทานว่า วาระ
สุดท้ายมาถึงแล้ว อาณาจักรไรซ์ของเขาคือความล้มเหลวและบัดนีไ้ ม่มี
อะไรเหลืออยู่สำหรับเขานอกจากจะอยู่ในกรุงเบอร์ลินและสู้จนลมหายใจ
เฮือกสุดท้าย
เรียกว่าแม้จะต้องพ่ายแพ้แต่ก็ต้องแพ้พ่ายอย่างมีศักดิ์ศรี สิ่งทีฮ่ ิต
เลอร์แสดงออกในเวลานั้นไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย ในเมื่อ
จุดมุ่งหมายที่จะครอบครองอำนาจในโลกของเขาช่างยิ่งใหญ่เสียเช่นนั้น
หากต้องผิดหวังในฐานะ ผู้นำเขาเองก็ย่อมต้องกล้าที่จะต้องเผชิญกับ
ความจริง
539/665

บรรดาลูกน้องพยายามเกลี่ยกล่อมให้ฮิตเลอร์หลบหนีไปอยู่ที่ภูเขา
แถว Berchtesgaden เพื่อบัญชาการกองทัพทีย่ ังเหลืออยูซ่ ึ่งจะทำให้
อาณาจักรไรซ์จะยังอยู่ต่อไปได้ ทว่าล้มเหลว ฮิตเลอร์บอกกับคนเหล่านั้น
ว่าการตัดสินใจของตนนั้นเป็นที่แน่นอนแล้ว เขาถึงกับพยายามจะให้มกี าร
ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้
รัฐมนตรีกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อ โจเซฟ เกิบเบิลส์ (Joseph
Goebbels) ก็ได้พาครอบครัวของตนซึ่งประกอบด้วยลูกเล็กๆ ถึงหกคน
เข้ามาอยู่กับฮิตเลอร์ ในบังเกอร์
ฮิตเลอร์เริ่มต้นค้นเอกสารของตนเพื่อเลือกว่าชิ้นไหนจะต้องถูกเผา
ทำลาย นับว่าเป็นการตัดสินใจที่เด็ดขาดและดูเหมือนเขาจะยอมรับสภาพ
ความ จริงได้ แต่กระนั้นก็ไม่เว้นที่จะแสดงความเป็นผู้นำที่น่านับถือโดย
อนุญาตให้คนรอบข้างไปจากบังเกอร์ได้เกือบทั้งหมด
บรรดาลูกน้องของเขาทำตามและมุ่งหน้าไปทางใต้ซึ่งเป็นพื้นที่รอบ
Berchtesgaden โดยอาศัยขบวนรถบรรทุกและเครื่องบิน จะเหลืออยูก่ ็
เพียงลูกน้องจำนวนหนึ่งที่ยังอยู่ในบังเกอร์ เช่นลูกน้องคนสนิทของฮิต
เลอร์คือ Martin Bormann, ครอบครัวของเกิบเบิลส์, องครักษ์จาก
กองทัพและจากหน่วยเอส เอส, เลขานุการสองคนของฮิตเลอร์ รวมไปถึง
เพื่อนสาวคนสนิทของเขาคืออีวา (Eva Braun)
วันที่ 23 เมษายน เพื่อนของฮิตเลอร์และรัฐมนตรีกระทรวง
ยุทธภัณฑ์ คือ อัลเบิร์ต สเปียร์ (Albert Speer) ได้มาขอพบกับฮิต
540/665

เลอร์เป็นครั้งสุดท้าย และได้แจ้งให้ท่านผู้นำทราบอย่างตรงไปตรงมาว่า
เขาไม่ได้ทำตามคำสั่งของฮิตเลอร์ ที่ให้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเยอรมัน
นั้นคือยังคงรักษาโรงงานและอุตสาหกรรม สำหรับเยอรมันในช่วงหลัง
สงคราม
ฮิตเลอร์รับฟังด้วยความเงียบงัน ไม่มกี ารแสดงออกใดๆ ทำให้
สเปียร์ประหลาดใจมาก ในช่วงบ่ายวันนั้น ฮิตเลอร์ได้รับโทรเลขจากเกอริ
ง (Goering) ผู้ซึ่งไปถึงเขตปลอดภัยใน Berchtesgaden เรียบร้อย
แล้ว ดังนี้
ท่านผู้นำ
จากการตัดสินใจของท่านที่จะอยู่ในบังเกอร์ในกรุงเบอร์ลิน ท่านจะ
เห็นด้วยหรือไม่ว่าข้าพเจ้าจะรับช่วงต่อความเป็นผู้นำของอาณาจักรไรซ์ต่อ
จากท่านพร้อมด้วยอำนาจเต็มที่ในการสั่งการใดๆ ทั้ง ในประเทศและต่าง
ประเทศในฐานะรองของท่าน ตามกฎหมายของท่านที่ออกเองเมื่อวันที่ 29
มิถุนายน 1941 หากว่าไม่ได้คำตอบจากท่านหลังเวลาสิบนาฬิกาของคืนนี้
ข้าพเจ้าจะขอถือว่าท่านได้สูญเสียอำนาจในการสั่งการและจะถือกฎหมาย
ของท่านฉบับนั้นเป็นหลักและจะทำการใดๆ เพื่อผลประโยชน์อันสูงสุดของ
ประเทศและประชาชนของเรา ท่านก็ทราบดีว่าข้าพเจ้ารู้สึกอย่างไรต่อท่าน
ในเวลาอันเลวร้ายที่สุดของชีวิตข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถสรรหาคำใดๆ
มาอธิบายความคิดข้าพเจ้าได้ ขอให้พระเจ้าทรงปกป้องท่านและดลบันดาล
ใจให้ท่านเดินทางมาที่นี่ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
541/665

ยังภักดีอยู่เสมอ
Hermann Goering
หลังอ่านจดหมายจบลง ว่ากันว่าฮิตเลอร์เดือดดาลเป็นยิ่งนักและได้
รับการแนะนำจากบอร์มานน์ให้ส่งโทรเลขกลับไปหาจอมพลเกอร์ริงเพื่อจะ
บอกว่า เกอริงได้ทำการทรยศอย่างร้ายแรง แม้ว่าโทษของเขาจะถึงตายแต่
เนื่องจากได้รับใช้ฮิตเลอร์มาแสนนาน ถ้าเกอร์รงิ จะลาออกจากทุกตำแหน่ง
ก็จะได้รับการยกเว้นโทษ
บอร์มานน์ได้ออกคำสั่งให้กับพวกเอสเอสที่อยูใ่ กล้ Berchtes-
gaden เพื่อจับกุมเกอร์ริงและลูกน้อง
ก่อนรุ่งสางของวันที่ 25 เกอร์ริงถูกจับขังไว้
วันต่อมาคือวันที่ 26 เมษายน กองทัพปืนใหญ่ของกองทัพโซเวียต
ได้ทำการโจมตีตึกบัญชาการโดยตรงเหนือบังเกอของฮิตเลอร์
ในเย็นวันนั้น เครื่องบินขนาดเล็กที่ขับโดยนักบินทดสอบหญิงนามว่า
Hanna Reitsch และผู้โดยสารคือนายพลประจำกองทัพอากาศคือ
Ritter von Greim ได้ร่อนลงบนถนนใกล้ๆ บังเกอร์อย่างอาจหาญ
โดยท่านนายพลได้รับบาดเจ็บที่เท้าจากการระดมยิงจากภาคพื้นดินของ
กองทัพโซเวียต
ภายในบังเกอร์นั้นเอง นายพล Greim ได้รับการแต่งตั้งจากฮิต
เลอร์ให้สืบทอดตำแหน่งแทนเกอร์ริ่ง นั้นคือได้เลื่อนขั้นเป็นจอมพลที่
542/665

บัญชาการกองทัพ อากาศของเยอรมัน ถึงแม้ฮิตเลอร์จะสามารถแจ้งให้


Greim ทราบทางโทรเลขก็ได้ ทว่าท่านผู้นำต้องการให้เขามาพบด้วย
ตัวเองเพื่อรับทราบภารกิจนี้ แต่เนื่องจากเท้าที่บาดเจ็บ Greim กลับต้อง
นอนซมเป็นเวลาสามวันในบังเกอร์
ในคืนวันที่ 27 เมษายน โซเวียตได้ระดมทิ้งระเบิดลงตึก
กองบัญชาการ อย่างหนักหน่วงที่สุดเท่าที่เคยมีมาก และมีจำนวนมากที่
โดนตัวตึกอย่างจัง
ฮิตเลอร์ได้ส่งโทรเลขไปยังจอมพล Keitel ให้เข้ามาปลดปล่อยกรุง
เบอร์ลินด้วยกองทัพ และแล้วฟางเส้นสุดท้ายก็มาถึงเมื่อวันที่ 28 ฮิตเลอร์
ได้รับทราบจากกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อของเกิบเบิลส์ว่า หน่วยข่าวของ
อังกฤษรายงานว่า ผู้บังคับบัญชาหน่วยเอสเอสคือ Heinrich Himmler
ได้พยายามเจรจา กับฝ่ายสัมพันธมิตรและถึงกับจะให้กองทัพเยอรมัน
ยอมแพ้ต่อตะวันตกกับนายพลไอเซนฮาว์น (Eisenhower)
ข่าวที่ฮิตเลอร์ได้รับรู้นั้นทำให้เขาโกรธและเสียใจอย่างมาก ตามคำ
ของ พยานที่อยู่ในบังเกอร์ บอกว่าฮิตเลอร์ “โกรธจัดเหมือนคนบ้า”
พร้อมด้วยอาการเดือดดาลที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน
ฮิมเลอร์นั้นทำงานให้ฮิตเลอร์มาตั้งแต่เริ่มต้นจนได้ชื่อว่าเป็น “der
treue Heinrich”(ไฮน์ริคผู้ซื่อสัตย์) ด้วยการรับคำสั่งในการเข่นฆ่า
ปรปักษ์อย่างบ้าคลั่งเป็นเวลาหลายปีเพื่อท่านผู้นำซึ่งบัดนี้ได้ออกคำสั่งให้
จับกุมเขาเสียแล้ว
543/665

เพื่อการแก้แค้น ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้จับกุมลูกน้องคนสนิทของ
ฮิม เลอร์ที่อยูใ่ นบังเกอร์คือ พลโท Hermann Fegelein ประจำหน่วย
เอสเอส และสามีของน้องสาวของอีวา บราวน์ และนำเขาขึ้นไปยังสวนของ
ตึกบัญชาการเพื่อ ยิงทิ้ง
เมื่อถูกทอดทิ้งจากทั้งเกอร์ริ่งและฮิมเลอร์ รวมไปถึงการรุกรานของ
กองทัพโซเวียตจนมาถึงกรุงเบอร์ลินแล้ว ฮิตเลอร์ก็ได้เตรียมพร้อมสำหรับ
วาระ สุดท้ายของตนเอง
เย็นวันที่ 28 เขาได้เขียนพินัยกรรมเป็นครั้งสุดท้ายและยังเขียน
คำสั่งเสียทางการเมืองซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน เพื่อบรรยายความรู้สึกที่เขาเคย
เขียนลงในหนังสือ Mein Kampf ในช่วงระหว่างปี 1923-1924 เขามุ่งที่
จะโยนความผิดไปให้ชาวยิวสำหรับทุกสิ่งรวมไปถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
เขายังได้อ้างอิงไปถึงการ คุกคามของเขาต่อชาวยิวในปี 1939 พร้อมกับ
บอกเป็นนัยๆ ถึงห้องรมควันพิษ ที่เกิดจากการคุกคามนั้นและว่า...
“นอกจากนี้ข้าพเจ้าจะสร้างความกระจ่างว่าเวลานี้ไม่ใช่เพียงแค่
ลูกหลานของเผ่าอารยันเป็นล้านๆ จะตายเพราะความอดอยาก ไม่เพียงแต่
ผู้ใหญ่ นับล้านจะทรมานจากความตาย และไม่เพียงแค่ผู้หญิงและเด็ก
หลายแสนคนจะถูกเผาหรือตายจากระเบิดทีท่ ิ้งในเมือง โดยปราศจาก
อาชญากรที่จะรับโทษ ทัณฑ์นี้ แม้ว่าจะเป็นแบบมีอารยธรรมยิ่งกว่า”
หลังเขียนพินัยกรรมแล้วฮิตเลอร์ยังมีภารกิจด้านหัวใจหรือความรู้สึก
อีก นั่นคือก่อนเที่ยงคืน ของวันนั้น ฮิตเลอร์แต่งงานกับอีวา บราวน์โดยมี
544/665

พิธีแบบพลเรือนเพียงสั้นๆ และมีการฉลองการแต่งงานนี้ในห้องของเขา
เอง
แชมเปญถูกนำมาแจกจ่าย ผู้ซึ่งอยูใ่ นบังเกอร์กร็ ับฟังฮิตเลอร์รำพัน
ถึงอดีตอันแสนหวาน ฮิตเลอร์สรุปว่า ความตายจะช่วยปลดปล่อยเขา
ภายหลังที่ถูกทรยศโดยเพื่อนและผู้สนับสนุนคนเก่าแก่
บ่ายของวันที่ 29 เมษายน กองทัพโซเวียตได้คืบคลานห่างจากบัง
เกอร์ของฮิตเลอร์เพียงไมล์เดียว และคนในบังเกอร์ได้ทราบข่าวล่าสุดจาก
โลกภายนอกถึงความหายนะและความตายของมุสโสลินี ผู้ซึ่งถูกจับกุม
ยิงเป้าและถูกแขวนห้อยหัว ก่อนที่จะถูกทิ้งลงไปในท่อ โดยกลุ่มใต้ดินชาว
อิตาเลี่ยน
ฮิตเลอร์บัดนี้เตรียมพร้อมแล้วสำหรับจุดจบโดยการทดลองยาพิษกับ
สุนัขตัวโปรดของเขาที่ชื่อ Blondi เขายังมอบแคปซูลยาพิษให้กับ
เลขานุการหญิง ของเขาและขอโทษว่าเขาไม่สามารถให้ของขวัญยามจาก
กันที่ดกี ว่านี้ พวกเธอ สามารถใช้มันได้หากพวกโซเวียตบุกเข้ามาในบัง
เกอร์
ประมาณ 2.30 น.ของเช้ามืดวันที่ 30 ฮิตเลอร์ได้ออกมาจากห้องมา
กล่าว คำลากับพวกลูกน้อง เขาจับมือกับคนเหล่านั้นด้วยคราบน้ำตาและ
ความเงียบ เมื่อฮิตเลอร์จากไป ทุกคนก็ขบคิดถึงเหตุการณ์สำคัญที่
พวกเขาเพิ่งประสบพบ ความตึงเครียดมหาศาลที่เกิดขึ้นก่อนหน้านีไ้ ด้จาง
545/665

หายไปเมื่อพวกเขารู้ว่าฮิตเลอร์ใกล้ถึงจุดจบแล้ว พวกเขาถอนหายใจและ
ตามด้วยการแสดงความยินดี เช่นเต้นรำ
ตอนเที่ยง ฮิตเลอร์เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับสถานการณ์ของการสู้รบ
เป็น ครั้งสุดท้ายและได้ทราบว่ากองทัพโซเวียตอยูห่ ่างออกไปแค่หนึ่งช่วง
ตึกเท่านั้น
เวลาบ่ายสอง ฮิตเลอร์นั่งรับประทานอาหารซึ่งเป็นมังสวิรัตเิ ป็นมื้อ
สุดท้าย
คนขับรถของเขารับคำสั่งให้ไปหาน้ำมันมาสองร้อยลิตร นำมายังสวน
ของตึกบัญชาการ
ฮิตเลอร์และภรรยาคืออีวาได้กล่าวคำอำลากับบอร์มานน์, เกิบเบิลส์,
นายพลเกรบส์ และเบิร์กดอร์ฟ รวมไปถึงทหารองครักษ์และบรรดา
ลูกน้องเป็นครั้งสุดท้าย และฮิตเลอร์กับภรรยาก็ได้เข้าไปในห้องส่วนตัวใน
ขณะที่บอร์มานน์และเกิบเบิลส์ยืนอยู่เงียบๆ ข้างนอก
สักครู่พวกเขาก็ได้ยินเสียงปืนพกแต่ต้องรออีกสักพัก จนเมื่อเวลา
3.30 น. ทั้งคู่ก็ได้เข้าไปและพบศพของฮิตเลอร์นอนเหยียดอยู่บนโซฟาชุ่ม
ไปด้วยเลือดทีเ่ กิดจากรอยกระสุนบนขมับด้านขวาของเขา ส่วน เอวา
บราวน์ตายจาก การกินยาพิษ ในขณะที่เสียงปืนใหญ่จากโซเวียตดังมาตก
ใกล้ๆ ศพของคนทั้งสองก็ถูกนำขึ้นไปยังสวนของตึกบัญชาการ ถูกราด
ด้วยน้ำมันและเผาไฟ
546/665

ส่วนบอร์มานน์ และเกิบเบิลส์ยืนอยู่ใกล้ๆ แล้วทำความเคารพครั้ง


สุดท้ายแบบนาซี สามชั่วโมงต่อมาศพก็ถูกราดซ้ำด้วยน้ำมันอีก ซากที่เหลือ
ก็ถูกโกยลงในผ้าใบและถูกนำไปฝังไว้ในหลุมที่เกิดจากกระสุนปืนใหญ่
เมื่อท่านผู้นำได้จากไปแล้ว ทุกคนในบังเกอร์ก็หันมาสูบบุหรี่ซึ่งเป็น
กิจกรรมทีฮ่ ิตเลอร์สั่งห้ามทำเวลาอยู่ต่อหน้า พวกเขายังร่วมกันวางแผนอัน
อาจหาญที่จะหลบหนีออกจากกรุงเบอร์ลินเพื่อหลบหนีจากการจับกุมของ
พวกกองทัพแดง
หนึ่งวันต่อมาคือวันที่ 1 พฤษภาคม เกิบเบิลส์และภรรยาก็ได้จัดการ
วางยาพิษลูกทั้งหกของตนจนเสียชีวิตหมด จากนั้นพวกเขาก็ขึ้นไปยังสวน
ของตึกบัญชาการและขอร้องให้พวกเอสเอสยิงที่ท้ายทอยจนเสียชีวิตทั้งคู่
และศพก็ถูกเผา ทว่าได้แค่บางส่วนเท่านั้นแถมยังไม่ทันได้ฝัง ซากที่ดำ
ไหม้ของคน ทั้งคูถ่ ูกค้นพบโดยทหารโซเวียตในวันต่อมา และถูกถ่ายเป็น
ภาพยนตร์ไว้ ซากศพของเกิบเบิลส์จึงมักกลายเป็นสัญลักษณ์ที่เห็นกัน
บ่อยครั้งแทนมรดกของอาณาจักรไรซ์ของฮิตเลอร์
กระนั้นในเรื่องวาระสุดท้ายของฮิตเลอร์ที่ว่ามานี้ บางกระแสก็ยังไม่
เชื่อว่าเขาจะฆ่าตัวตายเช่นนั้น ทั้งนี้เพราะไม่มีการพบศพหรือซากศพของ
เขา ทำให้มีการสันนิษฐานกันไปในหลายกระแส บ้างว่าเขากินยาพิษ
ฆ่าตัวตายและบ้างก็ว่าเขาแอบหนีและปลอมตัวหนีไปตลอดชีวิตเป็นต้น
ภาพเหตุการณ์ในวันที่ทหารรัสเซียเข้าไปตรวจค้นเพื่อจับกุมฮิตเลอร์
ในวันที่เบอร์ลินแตก มีว่า เมื่อรัสเซียเข้ายึดทำเนียบได้แล้วก็รีบควานหา
547/665

ตัวของฮิตเลอร์ แต่กไ็ ม่พบประตูต่างๆ ยังปิดอยู่พร้อมกับกองระเกะระกะ


ของอิฐหินที่พังลงมาเพราะแรงระเบิด ทหารรัสเซียระดมกำลังกันควานหา
เขาทั่วทุกซอกมุม พบซากศพมากมายและนำมายังห้องชันสูตรศพ ด้วย
ความมากของซากศพทำให้บรรดาแพทย์ต้องช่วยกันพิสูจน์ศพเหล่านั้นกัน
เป็นเดือน แต่ก็ไม่พบร่องรอยใดว่าจะเป็นศพของฮิตเลอร์
เรื่องราวการเสียชีวิตของฮิตเลอร์นั้นเป็นปริศนาและยังพูดกันจนถึง
ปัจจุบัน แต่ที่แน่นอนคือหลังจากวันนั้นก็ไม่เคยมีใครได้รับรูเ้ รื่องราวของ
เขาใน อนาคตอีกเลย นอกเพียงจากเรื่องราวในอดีตเท่านั้นที่ถูกขุดมาพูด
ถึง มาประณาม มาศึกษาและมาเรียนรู้กันถึงจอมเผด็จการที่โลกจะไม่มีวัน
ลืม
นิสัยส่วนตัวของฮิตเลอร์
เรื่องราวของฮิตเลอร์นั้น นอกเหนือจากการเป็นผู้นำที่เผด็จการ
สามารถ สั่งสังหารคนได้นับแสนนับล้านแล้ว มองกันในแง่ของความเป็น
มนุษย์แล้วฮิตเลอร์ก็เป็นเหมือนคนทัวไปอยู่เช่นกัน
ตามข้อมูลของนักเขียนบางท่านบอกเอาไว้ว่า ฮิตเลอร์เป็นคนอารมณ์
ร้าย และมักจะเกรี้ยวกราดอย่างไม่มเี หตุผล กระนั้น แพทย์ประจำตัวของ
เขากลับยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง
โดยความจริงแล้ว ฮิตเลอร์ไม่ใช่คนโมโหร้าย แต่หากมีใครเถียง
นอกเรื่อง ข้างๆ คูๆ เขาก็จะตะเบ็งเสียงดังจนกลบเสียงคู่สนทนาหมด
ทุกคน
548/665

นิสัยหนึ่งทีต่ ิดตัวเขาอยู่ตลอดนั่นก็คือ การเป็นคนชอบงานศิลปะ


แม้เขาจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดแล้วแต่จินตศิลป์ในตัวเขาก็ไม่ได้จืดจาง
ไป ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อเขาได้เป็นผู้นำเขาเคยมีแผนที่จะตบแต่งกรุงเบอร์ลิน
มิวนิค และลินซ์ ให้สวยงามเหมือนเมืองในฝัน อีกทั้งยังให้สร้างถนนสาย
เชื่อมเมืองต่างๆ ให้สวยงาม ที่สำคัญฮิตเลอร์ยังเป็นนักสะสมงานศิลปะ
ตัวยง แม้ว่างานเหล่านั้นจะได้มาโดยการยึดเขามาก็ตามที
และว่ากันว่าในการออกไปตรวจแถวทหารตามแนวรบต่างๆ หลาย
หนที่ฮิตเลอร์ยังเอาเวลาว่างมาวาดภาพที่เขาพบเห็นไม่ว่าป้อม ที่ตั้งปืนใหญ่
อีกทั้งฮิตเลอร์นั้นเองที่เป็นคิดเครื่องแบบของข้าราชการ
กระทรวงการต่างประเทศ ของเขา
ฮิต เลอร์ยังไม่ชอบฟังวิทยุหรือเสียงดนตรีที่ส่งผ่านคลื่นวิทยุ
หากแต่เขาชอบที่จะเปิดเพลงจากจานเสียงโดยเฉพาะเพลงจากมหาอุปรากร
อย่างว้า กเนอร์ ชนิดทีเ่ ขายกว้ากเนอร์ให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรี
เลยทีเดียว
นอกจากงานศิลปะแล้วฮิตเลอร์ยังชอบเครื่องยนต์ เขาศึกษาเรื่อง
เครื่อง ยนต์กลไกของรถอยู่เสมอ แต่น่าแปลกที่เขากลับไม่ชอบขับเอง
อีกสิ่งหนึ่งที่กล่าวถึงกันบ่อยนั่นก็คือฮิตเลอร์ชอบจูบมือผู้หญิง ซึ่งนับ
เป็น ลักษณะหรือกิริยาของสุภาพบุรุษแบบชาวเวียนนา ชอบเลขานุการ
หญิงมากชนิดทีว่ ่า ถ้าพวกเธอป่วย เขาก็จะไปเยี่ยมเลยทีเดียว ชอบพูดห
วานๆ กับเลขา และเขาเป็นคนรักสะอาดมาก ชอบอาบน้ำวันละหลายๆ
549/665

ครั้ง เสื้อผ้าส่วนตัวก็รักษาให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ เครื่องแบบของเขาก็มี


แค่ตรา “กางเขนเหล็ก” ที่ได้มาเมื่อครั้งเขาเป็นนายทหารเยอรมันเท่านั้น
เขาไม่ชอบลูบสุนัขด้วยมือเปล่า หากลูบแล้วเขาก็รีบไปล้างมือโดยไว
ฮิตเลอร์ยังชอบทำอะไรซ้ำๆ เช่น เวลาออกไปเดินเล่นก็ชอบเดินทางเดิมที่
เคยเดิน ฮิตเลอร์เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมาก เขามีหนังสือมากถึง
16,000 เล่มซึ่งถูกเก็บไว้ในห้องสมุดส่วนตัว ส่วนใหญ่เป็นหนังสือเกี่ยวกับ
สงคราม อัตชีวประวัติของบุคคลต่างๆ ศิลปะ และประวัติศาสตร์ ด้วย
ความทีเ่ ขาชอบอ่านหนังสือ เขาจึงสามารถบอกรูปร่างและลักษณะของ
เรือรบแบบต่างๆ และรอบรู้ ในเรื่องยุทโธปกรณ์ของกองทัพเยอรมันเป็น
อย่างดี และเขามีความจำที่เยี่ยมมาก สามารถจำได้ว่า เรือรบของราชนาวี
เยอรมนี (Kreigsmarine) มีระวางขับน้ำกีต่ ัน ปล่อยออกมาจากท่าเรือ
ไหน วันที่ใด ติดอาวุธอะไรบ้าง ฯลฯ
ฮิตเลอร์ยังเป็นคนรอบรู้ด้านอาวุธและยุทธวิธีจนไคเทล และ
เดอนิทซ์ชื่นชมเขาเลยทีเดียว นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังเป็นคนที่มีความ
ซื่อสัตย์ เช่น เขาบอกว่าจะฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายส์ทันทีเมื่อเป็นผู้นำ และ
เขาก็ฉีกจริงๆ เมื่อเขา ได้เป็นผู้นำเยอรมัน
ขณะทีใ่ นเรื่องชีวิตส่วนตัวก็เช่นเดียวกัน เขาเป็นคนที่สันโดษอย่าง
มาก จนใครๆ มักจะเรียกเขาว่า “ผู้นำที่ใครๆ ต้องการ” ก็ได้ เพราะว่า
ถึงแม้ฮิตเลอร์ จะเป็นถึงผู้นำแห่งเยอรมันที่มีอำนาจมาก แต่เขาก็ไม่ได้ใช้
ชีวิตฟูฟ่ ่าเลย ผิดกับผู้นำหลายๆ คน เช่น เขาดื่มชาชนิดที่สามัญชนดื่ม
550/665

อาหารที่เขากินก็เป็นแบบ ที่สามัญชนกิน (อาหารจานโปรดของเขาคือ


อาหารกรรมกรแบบ “หม้อเดียว” ทีป่ ระกอบด้วยถั่วเป็นส่วนมาก) บ้าน
ของเขาก็ไม่ใช่บ้านที่ใหญ่โตหรูหราเช่นกัน ยกเว้นบ้านที่แบร์กเชสการ์เทิน
ทีต่ ั้งอยู่บนเขาสูง 2,600 เมตร มีขนาดใหญ่มาก มีลิฟต์หุ้มเกราะสำหรับ
ขึ้นลงอุโมงค์ 16 ตัว ที่พักใต้ดิน 3,000 คน มีห้องนอนอย่างดี มีอาวุธ
กระสุน แชมเปญ ที่เก็บเอกสารมากมาย ซึ่งเป็นทั้งที่ประชุมลับและ
ป้อมปราการไปในตัว เขาชอบชมความโอ่อ่าสวยงามรอบกาย แต่เมื่อเบื่อก็
จะกลับไปอยูใ่ นห้องแคบๆ ของตัวเอง ที่ไม่มีเครื่องข้าวของตบแต่งอะไร
มากมาย
ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นคือฮิตเลอร์เป็นคนที่รักการทำงานอย่างมาก
ว่ากันว่าขณะที่เกิดสงคราม เขาต้องทำงานทุกวัน นับแต่ 7 โมงเช้า
เป็นต้นไป โดยเริ่มจากให้คนสนิทอ่านรายงานการโจมตีที่เกิดขึ้นในวันที่
ผ่านมาฟัง แล้วจึงจะเริ่มรับประทานอาหารเช้า โดยส่วนใหญ่อาหารที่
รับประทานจะเป็นอาหารอนามัย ได้แก่ นม ข้าวโอ๊ต ผลไม้ และองุ่นแห้ง
ซึ่งเขาได้สูตรอาหารเหล่านี้ตามตำหรับของนายแพทย์ชาวสวิสชื่อ Bircher
Benner
เสร็จจากอาหารเช้าก็จะเริ่มเซ็นเอกสาร แต่งตั้งหรือเลื่อนยศ
นายทหาร หรือให้รางวัลกับผู้ทำงานสำเร็จและมีความดีความชอบ เมื่อถึง
เที่ยงหรือเที่ยงครึ่งก็จะเริ่มเข้าประชุม ที่กองบัญชาการใหญ่ทุกวัน การ
ประชุมในแต่ละวันกินเวลาไป 2-3 ชั่วโมง
551/665

แล้วมื้ออาหารกลางวันก็จะเริ่มขึ้นเมื่อเวลาบ่าย 2 หรือบ่าย 3 โดยจะ


รับประทานอาหารคนเดียวเป็นส่วนใหญ่ หากไม่ทานคนเดียวจะมีคนอื่นก็
คง จะเพียงเลขาของเขาเท่านั้น ว่ากันว่าก่อนเกิดสงครามนั้นเขาต้อง
รับประทานอาหารกลางวันกับบรรดานายพลของเขาเองแต่เมื่อเกิดกรณี
ขัดใจกับนายพลของเขาในครั้งหนึ่ง เขาจึงตัดสินใจเลิกร่วมโต๊ะกับบรรดา
นายทหารนั้นเสีย
เมนูอาหารกลางวันของฮิตเลอร์ก็ไม่มีอะไรมากเช่นกัน นั่นคือ ซุป
หนึ่งชาม มันฝรั่ง แล้วก็ผัก ต่อจากนั้นสิ่งที่เขาต้องทำเสมอนั่นก็คือการ
แปรงฟันและล้างมือทันที
แล้วก็ถึงเวลาในการให้สัมภาษณ์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการ
วิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่างๆ เสร็จแล้วในเวลาประมาณ 5 โมงเย็นก็ถึงคิวเข้า
ร่วมประชุมกับบรรดานายพลและแม่ทัพนายกองครั้งที่ 2 ในแต่ละวัน การ
ประชุมนี้จะเป็นเรื่องทั่วไปกินเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง ทำให้การรับประทาน
อาหารเย็นจึงไม่เป็น เวลาที่ชัดอยู่กับการประชุมจะเสร็จลงเมื่อไร
อาหารเย็นก็ไม่ต่างจากกลางวันสักเท่าไร คือมีซุป มันฝรั่งและผัก
อาจจะมีไข่เพิ่มเข้ามาบ้าง ต่อจากนั้นก็จะเป็นผลไม้เป็นอาหารว่าง
ในช่วงที่เยอรมันกำลังเพลี่ยงพล้ำอย่างหนักตอนปลายๆ สงครามว่า
กันว่าการประชุมรอบเย็นนั้น ยาวนานและเคร่งเครียดเลื่อนเลยไปถึง
ดึกดื่น ทำให้ในแต่ละวันเขามีเวลาได้นอนพักเพียง 4-5 ชั่วโมงเท่านั้น มี
552/665

หลายครั้งทีเ่ ขาได้เข้านอนก็เข้ามาถึง 8 โมงเช้าของอีกวันแล้ว ก่อนเข้านอน


เขาต้องดื่มชาก่อนเสมอ
มีเรื่องเล่ากันว่าอาหารที่เขาโปรดปรานที่สุด ไม่ใช่อาหารหรูหราตาม
ภัตตาคารหากแต่คือ อาหารประเภทสำเร็จรูป หรือที่บางคนเรียกว่าอาหาร
กรรมกร ประเภท “หม้อเดียว” ส่วนใหญ่อาหารชนิดนี้จะมีถั่วอยูเ่ ป็น
ส่วนใหญ่ และว่าหลังจากทีเ่ ขาได้เป็นผู้นำแล้วเขาก็หันมาทานอาหาร
มังสวิรัติ ไม่กินเนื้อ โดยเด็ดขาด แถมกินอาหารตามหมอสั่งอย่าง
เคร่งครัด แต่ก็ไม่ได้เผด็จการเสีย ทีเดียวนั่นคือ เขาอนุญาตให้คนในบ้าน
กินเนื้อและดื่มสุราได้อยู่
สิ่งหนึ่งที่เป็นบุคลิกของเขานั่นคือความเรียบง่ายสามารถผูกใจ
ลูกน้องได้อย่างดี ว่ากันว่าเมื่อเขาออกไปประจำการทีก่ องบัญชาการสนาม
ซึ่งอยูแ่ ถบ ปรัสเซียตะวันออก เขาสามารถอยู่อย่างไร้พิธีรีตอง ห้องที่เขา
พักมีพิเศษก็เพียงแต่สร้างให้แข็งแรงกันระเบิดได้เท่านั้น นอกจากนั้นก็ไม่
มีเครื่องประดับอะไร ฝาก็ไม่ต้องทาสี พื้นก็เป็นเพียงกระดานธรรมดา
ขณะทีเ่ ตียงนอนก็เป็นเตียงไม้ฉำฉา อย่างทหารธรรมดา เขาคิดว่าเป็นวิธที ี่
ทำให้เขารู้ถึงกำลังใจของทหาร ได้ดี สิ่งนี้จึงทำให้ทหารเยอรมันมีขวัญ
กำลังใจที่ดี ถึงกระนั้น ฮิตเลอร์เองก็ไม่บังคับให้ทหารคนอื่นๆต้องอยู่
ลำบากเช่นเดียวกับเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นายพลบางคน เช่น แฮร์มันน์
เกอริง ได้อยู่อย่างสุขสบาย
553/665

สุขภาพของฮิตเลอร์ดอี ยู่เสมอ กระทั่งวันที่ 20 กรกฎาคม 1944


สุขภาพของเขาก็เริ่มทรุด โดยเฉพาะเส้นประสาทและหูที่เริ่มตึงเนื่องจาก
เขาถูกระเบิด
หมอโมเรลล์ ซึ่งเป็นหมดประจำตัว 1 ใน 4 ท่านของเขาบอกว่า ฮิต
เลอร์ มีกระเพาะอาหารผิดปกติเล็กน้อย เนื่องจากโรคเส้นประสาท ทำให้
อาหารไม่ค่อยย่อย แต่กไ็ ม่รุนแรงนัก ส่วนเรื่องทีเ่ ล่าลือกันว่าเขามีฝี
เนื้อร้ายหรือสมองพิการนั้นไม่เป็นความจริง
ยังมีเรื่องเล่ากันอีกว่าหลังจากที่เยอรมันต้องเสียปรัสเซียตะวันออก
ให้แก่รัสเซียไปนั้นเส้นประสาทของฮิตเลอร์เริ่มไม่ปกติมากขึ้น เขาต้องให้
แพทย์ฉีดกลูโคส วิตามิน น้ำตาลองุ่น และยาระงับประสาทต่างๆ ให้
ทั้งนี้มือซ้ายของเขาเริ่มสั่นมากขึ้น ขณะทีข่ าซ้ายจะต้องขอช่วยคนใกล้ชิด
ให้ช่วยยกขึ้นพาดเวลาทีเ่ ขานอนกลางวัน และเริ่มนอนไม่หลับ
ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนจะประเดประดังเข้ามา
ชัยชนะทีเ่ ขาเคยหวังเริ่มจางหาย ปัญหาต่างๆ เริ่มมากยิ่งขึ้น นำพา
ให้เขาเริ่มหันหาตัวเองและคิดหมกมุ่นในเรื่องการตายและฆ่าตัวตาย
ครานี้หันมาดูเรื่องหัวใจของฮิตเลอร์กันบ้าง ก่อนอื่นต้องรู้ว่าด้วย
ความสุภาพของเขา ฮิตเลอร์เป็นคนที่เกลียดเรื่องลามกเป็นอย่างมาก
ดังนั้นหนังสือ ลามกหรือเรื่องเล่าประเภทนั้นเขาจึงเกลียดตามไปด้วย เขา
มักปฏิเสธหรือทำให้ เขาหงุดหงิดหากได้รู้หรือได้ยินเรื่องราวนิทานประเภท
554/665

รักใคร่หรือชู้สาว แต่เขาก็ไม่ได้มีปัญหาทางเพศอย่างที่มคี นพยายามตั้ง


ข้อสังเกตกัน
ว่ากันว่าเขาไม่เคยละเลยเรื่องราวความสัมพันธ์ของเขากับ
เพศตรงข้าม แม้ตลอดชีวิตเขาจะไม่เคยเปิดเผยเรื่องนี้กับใครก็ตาม
ทีเ่ รารูก้ ันนั้นก็คือ หวานใจของเขาคือ อีวา บราวน์ ซึ่งเธอคนนีอ้ ยู่
กับเขา ยาวนานถึง 17 ปี โดยฮิตเลอร์รู้จักกับอีวามาตั้งแต่เธอยังอายุเพียง
16 ปี ซึ่งเวลานั้นอีวาทำงานอยู่ในร้านถ่ายรูปที่ชื่อว่าโฮฟมัน เมื่อทั้งสองพบ
กันเขาและ เธอก็ตกหลุมรักซึ้งกันและกัน และต่อมาเธอก็เข้ามาอยู่ในชีวิต
ของเขาดูแลบ้าน และคนรับใช้ให้กับเขาแต่เพิ่งจะได้มาทำพิธีแต่งงานกันก็
ต่อเมื่อก่อนวันสุดท้ายของชีวิตแล้วนั่นเอง
ทีเ่ พิ่งมาแต่งงานนั้น ไม่มีใครรู้เหตุผล หากแต่ที่รับรูก้ ันมากก็คือ ว่า
กันว่าอีวาเป็นหญิงสาวทีม่ นี ิสัยทีไ่ ม่ตรงตามอุดมคติของฮิตเลอร์นัก เธอ
เป็นคนร่างเล็กแต่ก็น่ารัก อีกทั้งสิ่งที่ฮิตเลอร์พยายามรณรงค์ให้สตรีชาว
เยอรมันเว้นการกระทำเช่นการใช้ ลิปสติก และแป้งแต่งหน้า แต่ปรากฏว่า
ทุกสิ่งนั้น อีวาทำเองเสียทุกอย่าง
ไม่เพียงเท่านั้น รู้กันอยู่ว่าสตรีทั่วไปไม่เว้นแม้แต่เยอรมัน มักไม่สูบ
บุหรี่ แต่ปรากฏว่า อีวากลับชอบสูบบุหรี่ แต่เมื่ออยูก่ ับฮิตเลอร์เธอจะไม่
สูบ จะทำก็ต้องเมื่อลับหลังฮิตเลอร์ไปแล้ว อย่างทีว่าคือเธอเป็นคนตัวเล็ก
แต'กลับชอบใส่รองเท้าส้นสูงมากๆ เพื่ออวดน่องที่เรียวสวย อีวามีผมสี
ทองปล่อยยาวถึงบ่าและดัดเป็นลอนคลื่นอย่างถาวร
555/665

สิ่งที่อวี ามีอีกคือเธอเป็นหญิงสาวที่ชอบเล่นกีฬาอย่างมาก เธอชอบ


เทนนิส สกี ขี่ม้า และชอบว่ายน้ำมากที่สุด โดยมีงานอดิเรกที่น่าสนใจอีก
อย่างก็คือการถ่ายภาพยนตร์ด้วยตัวเองแล้วนำมาให้ฮิตเลอร์ได้ดู
แม้เธอจะเข้ามาอยู่ในบ้านและดูแลบ้านของฮิตเลอร์บนภูเขาใกล้เมือง
เบอร์ลิน แต่เมื่อไปไหนมาไหนด้วยกันฮิตเลอร์ไม่เคยแสดงออกให้ใครเห็น
ว่าเขาและเธอรักกันอย่างดูดดื่ม และที่สำคัญอีวาเองก็ดูเหมือนว่าจะไม่
พยายาม ตีตนเสมอฮิตเลอร์ซึ่งเป็นท่านผู้นำของประชาชน แม้แต่การนอน
ก็ไม่ได้นอนห้องเดียวกัน แต่เป็นห้องติดกัน แม้แต่ห้องนั่งเล่นและห้องน้ำ
ก็ยังแยกกันอย่างชัดเจน
ความโรแมนติกของฮิตเลอร์ก็มีไม่น้อยเขาปฏิบัติกับอีวาไม่ต่างจาก
ชายหนุ่มปฏิบัตติ ่อคนรักของเขา ฮิตเลอร์ส่งดอกไม้ไปให้อีวาทุกครั้งที่ถึง
วันเกิด ไม่เว้นแม้แต่เพชร แม้เวลาทีต่ ้องห่างกันบ้างฮิตเลอร์ก็จะหาเวลามา
โทรศัพท์ถึงอีวาอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ในการแต่งงานกัน 2 วัน ก่อนฆ่าตัวตายนั้นคนใกล้ชิดฮิตเลอร์
สันนิษฐาน ว่าน่าจะเป็นความต้องการของอีวามากกว่าของฮิตเลอร์
ทั้งนี้เพราะฮิตเลอร์ไม่เคยมีความคิดในเรื่องการแต่งงานทั้งนี้เพราะเขากลัว
ว่าชีวิตจะไร้เสรีภาพ ฮิตเลอร์และอีวาเดิมเป็นคาทอลิกแต่เมื่อเขาเป็นผู้นำ
แล้วก็ไม่นับถือศาสนา อะไร ทั้งนี้กลับเป็นผลดีที่จะรวมชาติเยอรมันให้
เป็นปึกแผ่นทั้งนี้เพราะเวลานั้น ชาวเยอรมันนับถือศาสนาแตกต่างกัน
มากมาย
556/665

และที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือเรื่องราวและชีวิตส่วนตัวรวมทั้งอุปนิสัย
ใจคอ ของฮิตเลอร์ ผู้ทถี่ ูกโลกมองว่าเป็นจอมเผด็จการสามารถสั่งฆ่าคน
ได้อย่างเลือด เย็นทั้งที่แท้จริงแล้วเขาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน
และนี่คือความลับของฮิตเลอร์ ที่น่าสนใจ
1. “ไฮล์ ฮิตเลอร์” ได้แรงบันดาลใจมาจากทีมเชียร์ลีดเดอร์ของมหา
วิทยาลัย ฮาร์วาร์ด Ernst Hanfstaengl เพื่อนสนิทของฮิตเลอร์ ได้ถูก
ส่งตัวไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อกลับมา เขาได้เล่าเรื่องเชียร์
ลีดเดอร์ของที่นั่นให้ฮิตเลอร์ฟัง และท่าทางของเชียร์ลีดเดอร์ กับคำปลุก
เร้าใจว่า ùRah, rah, rahû ก็ได้ถูกดัดแปลงมาเป็น “Sig Heil, Heil
Hitler,” หรือ ไฮล์ ฮิตเลอร์ นั่นเอง
2. ฮิตเลอร์เลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ในฐานะชาวออสเตรีย ฮิตเลอร์ต้อง
เกณฑ์ทหารเมื่ออายุ 20 ปี นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่า การที่เขาเปลี่ยน
ที่อยู่บ่อยๆ ในช่วงอายุเท่านั้น เป็นเพราะหลีกเลี่ยงสิ่งนี้เอง หลังจากหลบ
ไปหลบมาได้ 5 ปี ฮิตเลอร์ถูกตามตัวพบในมิวนิค เยอรมนี และเข้า
เกณฑ์ทหารทีอ่ อสเตรีย แต่เขาไม่ผ่านการทดสอบทางร่างกาย และถูก
ปล่อยตัวไป
3. ฮิตเลอร์ขี้โรค ฮิตเลอร์เป็นคนขี้กลัวในเรื่องของการเจ็บป่วย
อย่างไรก็ตาม เขามีโรคร้ายหลายโรคมาก ส่วนมากเป็นโรคเกี่ยวกับ
ระบบประสาทที่ทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ ฮิตเลอร์ยังเป็นโรคความดัน
โลหิตต่ำเรื้อรัง พาร์คินสัน เป็นต้น
557/665

4. ฮิตเลอร์เป็นมังสวิรัติ ฮิตเลอร์เคยมีคนรักสาวคนหนึ่ง หลังจากที่


เธอเสียชีวิต เขาปฏิเสธที่จะกินเนื้อ และหาทางให้คนอื่นเป็นมังสวิรัตเิ หมือ
นๆ กับเขาเสมอ แต่บางรายงานบอกว่าที่เขาหันมากินมังสวิรัติเพราะ
สุขภาพเรื่องการย่อยอาหาร อีกทั้งเขาก็ไม่เคยห้ามใครให้กินเนื้อและสุรา
เลย
5. ฮิตเลอร์ชอบพูดเรื่องตลก กับชาวยิว เขาอาจจะเป็นปีศาจร้าย แต่
กับ เพื่อนร่วมงานชาวเยอรมันด้วยกัน ฮิตเลอร์มีมุขตลกแพรวพราว คนที่
เขาชอบแซวอยูเ่ สมอ คือรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ในตอนกลางคืน
เขาจะเป็นหัวเรือใหญ่ชวนเพื่อนร่วมงานสนทนา แต่ประเด็นหนึ่งที่จะไม่
นำมาพูดกันนั่นก็คือ เรื่องเพศ
6. ฮิตเลอร์เป็นอัจฉริยะเรื่องผิวปาก เครื่องดนตรีโปรดของฮิตเลอร์
คือ ฮาร์โมนิก้า และฟลุ้ต นอกจากนี้เขายังชอบร้องเพลง และมีพรสวรรค์
อย่างสูงในเรื่องผิวปาก เขาผิวได้ทั้งเสียงต่ำ เสียงสูง เสียงดัง แบบยาวๆ
หรือแบบสั้นๆ ได้หลากหลายสไตล์
7. ฮิตเลอร์ชอบหนังสุดๆ ตลอดชีวิตของเขา ฮิตเลอร์เป็นแฟน
ภาพยนตร์ มาตลอด หลังจากมีอำนาจ เขามักชวนเพื่อนร่วมงานดู
ภาพยนตร์ด้วยกันเสมอ และดาราสาวคนโปรดของเขาก็คือ เกรต้า การ์โบ
และเชอรี่ เทมเพิล ภาพยนตร์เรื่องโปรดของเขาก็คือ คิงคอง ดังนั้นจึงไม่
แปลกที่หากมีเวลาว่า เขาก็มักชอบดูภาพยนตร์ที่คนรักของเขาถ่ายทำเอง
558/665

8. ฮิตเลอร์ชอบของหวาน แม้จะไม่กินเนื้อ แต่เขากินช็อกโกแลตถึง


สอง ปอนด์ทุกวัน นอกจากนี้เขายังดื่มช็อกโกแลตร้อน ใส่วิปครีมเยอะๆ
แม้แต่กินน้ำชา เขาก็ยังใส่น้ำตาลถึง 7 ช้อน ดื่มไวน์ก็เติมน้ำตาลด้วย
9. ฮิตเลอร์รักหมามาก ฮิตเลอร์มหี มาอยู่ตัวหนึ่ง เป็นตัวเมีย พันธุ์
เยอรมัน เชพเพิร์ด ชื่อว่า บลอนดี้ ฮิตเลอร์รักมันมาก และสอนมันอย่างดี
เขาให้ความสำคัญกับหมาตัวนีอ้ ย่างมาก พาไปเดินเล่นด้วยทุกวัน และ
หาคู่ให้มันในเวลาที่เหมาะสม เมื่อมันมีลูก ฮิตเลอร์กท็ ะนุถนอมมันอย่างดี
แต่น่าเสียดาย ที่เขาฆ่ามันทิ้งหลังจากพ่ายแพ้สงครามโลก โดยการให้มัน
ลองยาพิษ
บุคคลสำคัญของเยอรมนี
จอมพล แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง
จอมพล แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง เป็นนายทหารและนักการเมือง
คนสำคัญของพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือพรรคนาซี มี
บทบาทสำคัญในการขยายระบบเผด็จการของพรรคนาซีให้ครอบคลุมทั่ว
เยอรมัน รวมทั้งสร้างเสริมแสนยานุภาพทางทหารของเยอรมนีโดยเฉพาะ
กองทัพอากาศให้มีความแข็งแกร่ง
เกอริงเกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 1893 ทีโรเซนไฮม์ แคว้นบาวาเรีย
เป็นบุตรคนที่ 2 ของภรรยาคนที่ 2 ของไฮม์รชิ เกอริง ซึ่งเป็นกงสุลใหญ่
เยอรมันประจำเกาะเฮติ ขณะเป็นเด็กเขาไม่ได้อยูก่ ับบิดาแต่ได้รับเลี้ยงดู
ในปราสาทเล็กๆ ชื่อเฟลเดนชไตน์ (Veldenstein) ของ ริทเทอร์ ฟอน
559/665

เอเพนชไตน์ แฮร์มัน ชาวยิว ซึ่งเป็นชู้รักของมารดาและเป็นพ่อทูนหัวของ


เขา ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ขณะอายุ 3 ปี บิดาปลดเกษียณ ครอบครัวเก
อริงจึงอยู่ร่วมกันอีกครั้งในเยอมนี
เกอริงเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยทหารแห่งคาลส์รเู ฮอ (Karlsruhe)
และเข้ารับราชการในปี 1912
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขามียศเป็ยนายร้อยโททหารราบใน
แคว้น อัลซาช-ลอร์เรน (Alsace-Lorraine) ก่อนทีจ่ ะย้ายไปสังกัด
กองทัพอากาศ เขาเป็นนักบินที่มคี วามสามารถและได้รับรางวัลปูเรอเมริต
(The Pour le Merite) และเหรียญกางเขนเหล็กชั้น 1 (Iron Cross)
ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดทางด้านความกล้าหาญ
ในช่วงความวุ่นวายภายหลังจากความพ่ายแพ้ของเยอรมัน เขารู้สึก
ขัดเคืองใจต่อการที่นายทหารถูกปฏิบัติอย่างเลวร้ายจากพลเรือน เขาจึงไป
ทำงานเป็นนักบินพานิชย์ในเดนมาร์กและสวีเดน ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งให้
เป็นเจ้าหน้าที่ของสายการบินสวีเดน และมีโอกาสได้พบกับบารอนเนสคา
ริน
560/665

แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง

ฟอน โรเชิน (Baroness Carin von Rosen) สตรีผสู้ ูงศักดิช์ าว


สวีเดนซึ่งอย่าขาดจากสามี เขาได้แต่งงาน กับบารอนเนสคารินที่นครมิ
วนิคเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1922
ในปีเดียวกัน เขาได้ร่วมกับพรรคนาซี และเนื่องจากมีชื่อเสียงใน
ฐานะวีรบุรุษในสงคราม ฮิตเลอร์จึงมอบหมายให้เขาบังคับ บัญชาหน่วย
561/665

เอสเอ (SA-Sturmab teilung หรือ Storm troopers) ซึ่งเป็น


กองกำลังของพรรคนาซี
ในเดือนพฤศจิกายน 1923 พวกนาซีได้ก่อการกบฏที่เรียกว่ากบฏมิ
วนิคหรือกบฏร้านเบียร์ (Munich Putch ; Beer Hall Putch) ซึ่งฮิต
เลอร์พยายามยึดอำนาจทั้งที่ยังไม่พร้อม การกบฏจึงล้มเหลว เขาจึงได้รับ
บาดเจ็บและถูกทาง การสั่งจับ แต่เขาและภรรยาหนีไปออสเตรีย เขาต้อง
ใช้มอร์ฟีนเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากบาดแผล เป็นผลให้เขากลายเป็น
คนติดมอร์ฟีนอย่างรุนแรง จนต้องเข้ารับการบำบัดในช่วงปี 1925-1926 ที่
โรงพยาบาลจิตเวชในสวีเดน ในช่วงนีเ้ ขาไม่มกี ารติดต่อที่ใกล้ชิดกับฮิต
เลอร์
เมื่อได้รับอภัยโทษในปี 1926 เขาได้เดินทางกลับเยอรมันในปี
1927ฮิตเลอร์เสนอให้เขาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาไรซ์สตาค
(Reichstag) ในเขตที่พรรคนาซีมีฐานเสียงมั่นคง ทำให้เขาเป็น 1 ใน
สมาชิกสภาไรซ์สตาคจำนวน 12 คนสังกัดพรรคนาซี เขาได้กระชับความ
สัมพันธ์กับนักอุตสาหกรรมและนักการเมืองอื่นๆ
ในปี 1930 เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง และเป็นผู้นำในสภาล่าง
ต่อมา ในเดือนกรกฎาคม 1932 เมื่อพรรคนาซีชนะการเลือกตั้งถึง 230
ที่นั่ง เขาได้รับเลือกเป็นประธานสภาไรค์ชตาก ความตั้งใจของเขาคือ
ล้มล้างระบบประชา ธิปไตย เขาใช้เล่ห์เหลี่ยมและตำแหน่งหน้าที่เอาชนะ
นายกรัฐมนตรี คูร์ท ฟอน ชไลเคอร์ (Kurt von Schleicher) และ
562/665

ฟรันซ์ ฟอน พาเพิน (Franz von Papen) พร้อมทั้งโน้มน้าวให้


ประธานาธิบดี ฮินเดนบูร์ก เชิญฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30
มกราคม 1933
เมื่อพรรคนาซีเถลิงอำนาจ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นทั้งมุขมนตรีและ
รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐปรัสเซีย เป็นผู้นำอันดับสอง
ของพรรคนาซี และคาดหมายว่าจะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากฮิตเลอร์
เขาทำงานหนักเพื่อผลัก ดันให้บทกฎหมายที่ให้อำนาจ (Enabling
Acts) ผ่านการพิจารณาของสภาไรซ์ สตาค เขามุ่งสร้างเสริมอำนาจ
เผด็จการด้วยทำให้ปรัสเซียเป็นรัฐนาซีจัดตั้งตำรวจลับหรือเกสตาโป
(Gestapo-Geheimes Staatspolizei) และให้สร้างค่ายกักกัน
สำหรับคุมขังศัตรู
นอกจากนี้ในปี 1933 เขายังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การบิน ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่และเป็นผู้บัญชาการกองทัพอากาศ หน้าที่ของเขา
คือสร้างเสริมกำลังทางอากาศซึ่งเป็นการขัดต่อสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เขาได้
สร้างเครื่องบินและฝึกนักบินอย่างลับๆ
ในปี 1938 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นจอมพลแห่งกองทัพอากาศเยอรมนี
และก่อนบุกโปแลนด์เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานสภาเศรษฐกิจสงคราม
และเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาก็เป็นผู้อำนวยการนโยบายเศรษฐกิจ
สงครามของประเทศ
563/665

กองทัพอากาศภายใต้การบังคับบัญชาของเขาก็ทำสงครามสายฟ้า
แลบ ซึ่งสามารถทำลายการต่อต้านของโปแลนด์ และขยายการโจมตีไปยัง
ประเทศต่างๆในยุโรป หลังจากชัยชนะในยุทธการที่ฝรั่งเศส ในปี 1940
ฮิตเลอร์ก็แต่งตั้งให้เขาเป็นจอมพลแห่งจักรวรรดิไรซ์ และเป็นผู้สืบ
ตำแหน่งของฮิตเลอร์อย่าง เป็นทางการ
ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสถานการณ์ของฝ่าย
เยอรมันอยู่ในขั้นวิกฤติ ในเดือนเมษายน 1945 เกอริงซึ่งอยูใ่ นออสเตรีย
พยายามรวบอำนาจขึ้นเป็นผู้นำเยอรมัน เพราะเขาเชื่อว่าฮิตเลอร์ถูก
ปิดล้อมอยูท่ ี่กรุงเบอร์ลิน และหมดหนทางที่จะเข้าไปช่วยเหลือ เขาเสนอ
ให้มกี ารเจรจาสงบศึกกับฝ่ายพันธมิตร แต่การกระทำดังกล่าวทำให้ฮิต
เลอร์ออกคำสั่งจับเขาในฐานะผูท้ รยศ ขี้ขลาดและยอมแพ้ อย่างไรก็ตาม
เมื่อเยอรมนีแพ้สงครามเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945 เขาก็ยอมจำนนต่อ
กองทัพที่ 7 ของสหรัฐอเมริกาในอีก 2 วันต่อมา
ในการไต่สวนคดีอาชญากรสงครามของศาลพิเศษพิจารณาคดี
อาชญา กรรมสงครามแห่งนูเนมเบิร์ก เขาได้รับการบำบัดการติดยาเสพติด
และสามารถ โต้แย้งข้อกล่าวหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขาปฏิเสธว่าไม่มี
ส่วนพัวพันใดๆ กับการกระทำที่เหี้ยมโหดของระบอบนาซี โดยอ้างว่าเป็น
งานลับของฮิมม์เลอร์ อย่างไรก็ตามเขาก็ถูกตัดสินประหารชีวิตในวันที่ 15
ตุลาคม 1946 แต่เขาก็กินยาพิษตายในห้องขังไม่กชี่ ั่วโมงก่อนกำหนดการ
ประหาร เกอริงถึงแก่กรรมขณะอายุ 53 ปี
564/665

ดร. โจเซฟ เกิบเบิลส์ (Joseph Goebbels)


ดร. โจเซฟ เกิบเบิลส์ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นผู้เปรียบดุจแขนซ้าย
ของฮิตเลอร์
จาก เด็กหนุ่มผู้ยากจนแต่มีความอดทนใความมุมานะอย่างสูง อัน
เป็น ลักษณะในตัวของเขาประกอบกับความที่เป็นคนซื่อสัตย์และมี
อัจฉริยภาพ ทางด้านความคิดเป็นเลิศ และที่กล่าวมาแล้วนี้ก็มิใช่ใคร
ที่ไหน เขาคือ ดร.โจเซฟ เกิบเบิลส์ นั่นเอง ถ้าเปรียบแล้วเขาก็เป็นดุจดัง
แขนของผู้นำแห่งอาณาจักรไรซ์
เกิบเบิลส์ ถือกำเนิดในวันที่ 29 ตุลาคม 1878 ณ เมืองไรท์
ประเทศเยอรมนี จากครอบครัวชาวนาในชนบท สภาพทางครอบครัวก็อยู่
ในฐานะยาก จน แต่จากความที่ตนเองนั้นเป็นเด็กทีม่ ีความขยันหมั่นเพียร
เป็นทุนอยูแ่ ล้วและรักความก้าวหน้าในชีวิต ทำให้เขาซึ่งขณะเรียนอยูน่ ั้น
สามารถสอบชิงทุนของรัฐบาลได้ และเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
เมื่อได้มีโอกาสศึกษาต่อแล้วเกิบเบิลส์ทุ่มเทในหน้าที่การเรียนอย่าง
หนักจนต่อมาอีกไม่กี่ปีเขา ก็สามารถสำเร็จการศึกษาขั้นสุงสุดในระดับ
ปริญญา เอก ในสาขาประวัติศาสตร์วรรณคดีจากมหาวิทยาลัยไฮเดนเบิร์
กอย่างน่าภาคภูมิใจ เมื่อจบจากมหาวิทยาลัยมาแล้วก็หันมาประกอบอาชีพ
ในด้านสาขาที่ สำเร็จเช่นเป็นนักเขียน นักประพันธ์ และนักข่าวมาระยะ
หนึ่ง
565/665

แต่ต่อมาไม่นาน เหตุการณ์บ้านเมืองของประเทศเยอรมันในขณะนั้น
เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองโดยมีพรรคการเมืองอยู่พรรคหนึ่งซึ่งชื่อ
ว่า พรรคเยอรมันนาซี (Nazi) หรือ “พรรคเยอรมันเนชั่นโซเซียลลิสต์”
เพิ่งจะถูกก่อตั้ง ขึ้นมาใหม่ ช่วงเวลานั้นพรรคกำลังระดมสมาชิกอย่างหนัก
และก็เป็นช่วงที่พรรคทำการเปิดรับสมัครสมาชิกพรรคอีกด้วยจากการ
ติดตามความ เคลื่อนไหวและนโยบายของพรรคอยูต่ ลอดเวลานั้น ทำให้
เกิบเบิลส์ให้ความสนใจต่อพรรคเยอรมันนาซีเป็นอย่างมาก
และอีกเหตุการณ์หนึ่งทีท่ ำให้ ดร.เกิบเบิลส์ตัดสินใจกระโจนเข้าสู่
การเป็นสมาชิกพรรคเยอรมันนาซีก็คือ การที่เขาได้มีโอกาสเข้าฟังการกล่าว
ปราศรัย ของฮิตเลอร์ ปรากฏว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ ฮิตเลอร์ทำให้
เกิบเบิลส์เกิดความศรัทธายิ่งนัก จนทำให้เขาตกลงใจสมัครเข้าร่วมเป็น
สมาชิกพรรคเยอรมันนาซี ในทันทีโดยไม่ลังเล
เมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคแล้วเขาได้รับความไว้วางใจจากฮิตเลอร์
ให้เข้ามาทำใน ด้านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ภายในพรรค ด้วยความ
สามารถ อันอัจฉริยะด้วยแล้วเขาได้สร้างผลงานด้านต่างๆ ที่โดดเด่น
หลายชิ้นให้แก่พรรคจนสามารถประกาศเผยแพร่พรรคและนโยบายของ
พรรคจน เป็นทีร่ ู้จักอย่างกว้างขวางจนนำไปสู่ชัยชนะอย่างถล่มทลายใน
การเลือกตั้ง ครั้งต่อมา
เมื่อพรรคเยอรมันนาซีได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งจนได้เป็นรัฐบาล
แล้ว จึงได้มีดำริจากฮิตเลอร์ว่า ควรจะมีการก่อตั้งหน่วยงานด้านการ
566/665

สื่อสารขึ้นให้มีความถาวรและเป็นเอกภาพจึง ได้ก่อตั้ง “กระทรวงโฆษณา


แถลงข่าวและโฆษณาชวนเชื่อ” ผู้ทคี่ วรจะมาดำรงตำแหน่งอันทรงอิทธิพล
แห่งนีไ้ ด้ต้องเป็นผู้ที่ต้องมีความสามารถอย่างยิ่ง ด้วยผลงานอันโดดเด่น
ทีผ่ ่านมาได้ประจักษ์ ผลมาอย่างเด่นชัดแล้ว ทำให้ฮิตเลอร์ได้มอบ
ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง โฆษณาประชาสัมพันธ์ชวน เชื่อนี้ให้แก่
เกิบเบิลส์เป็นผู้ควบคุม
ด้วยการที่เป็นผู้มปี ระสบการณ์ใน ด้านนี้มานานแล้ว เกิบเบิลส์ได้
ผลิตสื่อและผลงานของเขาเป็นทีโ่ ดดเด่นเพื่อประโยชน์สูงสุดของ พรรค
และปฏิบัติภารกิจของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อพรรคและนายของเขา
มา ตลอดช่วงของสงครามอย่างไม่เคยเปลี่ยน ทำให้เขาได้รับความ
ไว้เนื้อเชื่อใจจากนายของเขาคือฮิตเลอร์เป็นอย่างมากที่ สุดในบรรดาคณะ
พรรคนาซี
จึงไม่แปลกเลยที่หากว่าฮิตเลอร์ไป ณ ที่ใด มักจะปรากฏร่างของ
เกิบเบิลส์เคียงข้างเขาไปทุกหนทุกแห่งจนกระทั่งทั้งสองจบ ชีวิตลงในที่สุด
แม้กระทั่งในช่วงสุดท้ายของชีวิตก็ตาม ในช่วงที่สงครามโลกจะยุติ
ลงด้วยความพ่ายแพ้ของเยอรมัน ในขณะที่บรรดาคณะนายทหาร
ชั้นผู้ใหญ่หรือบุคคลใหญ่ๆ ของพรรคก็ต่างละทิ้งฮิตเลอร์ หนีเอาตัวรอด
กันทั้งนั้น แต่ปรากฏว่า เกิบเบิลส์แม้มีโอกาสเช่นกันแต่เขาก็ไม่คิดจะ
ทอดทิ้งนายของเขาเลย เพราะเขา พร้อมที่จะเป็นหรือตายอยูก่ ับนายของ
เขาได้ตลอดเวลา
567/665

จนในที่สุดฮิตเลอร์ตัดสินใจยิงตนเองกับภรรยาจนเสียชีวิต
เกิบเบิลส์เองก็ตัดสินใจทำตามแบบนายของตนโดยการ กรอกยาพิษให้ลูก
ของตนจนตายทั้งหมด 6 คน แล้วจัดการตนเองกับภรรยาด้วยการยิงตัว
ตายตามกันหมดทั้งครอบครัว เมื่อ 1 พฤษภาคม 1945 อย่างน่าเศร้าสลด
- ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ (Heinrich Himmler) (1900-1945)
ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ หนึ่งในสมาชิกพรรคนาซี เป็น ลูกน้อง คนสำคัญ
ของ ฮิตเลอร์ เขามีชื่อเสียงมากในฐานะเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของเหล่า
ตำรวจเยอรมันในสมัยนั้น ฮิมม์เลอร์ได้เข้าร่วมพรรคนาซีในปี 1925
ในปี 1926 ถึง 1930 เขาได้เป็นแกนนำสำคัญในการเผยแพร่โฆษณา
ชวนเชื่อของพรรค ในปี 1929 เขาก็ได้ก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญเป็น
ผูบ้ ัญชา การกองทหาร “ชูทซ์ทรัฟเฟล” (Schutztraffel) หรือที่เป็นที่
รู้จักกันในนาม “กองทหาร SS” ซึ่งเป็นกองทหารชั้นหัวกะทิ ของนาซี
และในปี 1945 เขาได้เป็นผู้นำของเหล่า “เกสตาโป” (Gestapo
คือ หน่วยตำรวจลับของฮิตเลอร์)
ในปี 1936 ถึงปี 1945 เขาได้รับมอบหมาย หรือยัดเยียดหน้าที่
สำคัญจากฮิตเลอร์ ให้กระทำภารกิจอันใหญ่หลวง นั่นก็คือ การกวาดล้าง
ถอนรากถอน โคนผู้ที่เป็นปรปักษ์กับพรรคนาซีอย่างไร้ความปราณี โดย
เฉพาะกับชาวยิว ซึ่งเชื่อได้เลยว่า การใช้ก๊าซพิษในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้น
ล้วนเป็นความคิดของเขาทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังได้คุมทัพในแนวรบทาง
พรมแดนของเยอรมันอีกด้วย
568/665

ในเดือนเมษายนของปี 1945 ฮิมม์เลอร์ถูกจับกุมตัวโดยกองทัพแห่ง


สหราชอาณาจักร เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งในอาชญากรสงครามตัวฉกาจ
แต่หลังจากถูกจับกุมตัวได้ไม่นาน เขาก็กัดถุงยาพิษที่อยู่ในปากฆ่าตัวตาย
คาร์ล รูดอล์ฟ เกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์
คาร์ล รูดอล์ฟ เกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์ (Karl Rudolf Gerd
von Rundstedt) เป็นจอมพลแห่งกองทัพเยอรมัน ในช่วง
สงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ได้รับสมญานาม ว่า “อัศวินดำ” (Black Knight)
ผู้เขียนมีข้อมูลในวัยเยาว์ของเขาน้อยเต็มที ทราบเพียงว่าเขาเกิดเมื่อ
วันที่ 12 ธันวาคม 1875 เท่านั้น
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้น เกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์ ถูก
เรียกตัวกลับมารับราชการทหารอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำกองทัพกลุ่มใต้ระหว่าง
การรุกรานโปแลนด์ และในระหว่างการรบในฝรั่งเศส เขาได้บัญชาการ
กองพลแพนเซอร์ 7 หน่วย กองพลยานยนต์ทหารราบ 3 หน่วย และ
กองพลทหารราบ 35 หน่วย
เกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจอมพลเมื่อวันที่ 19
กรกฎาคม 1940 และมีส่วนในการวางแผนปฏิบัติการสิงโตทะเล เมื่อ
แผนการบุกดังกล่าวถูกเลื่อนเวลาออกไป เขาจึงเป็นผู้บัญชาการกองกำลัง
ยึดครองและได้รับมอบหมายให้สร้างแนวป้องกันทางทะเลตามชายฝั่งของ
เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส
569/665

ต่อมาในระหว่างปฏิบัติการบาร์บารอสซา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 1941


เขาได้รับมอบอำนาจบัญชาการกองทัพกลุ่มใต้ ซึ่งประกอบด้วยกองพล
ทหารราบ 52 หน่วย และกองพลแพนเซอร์ 5 หน่วย บุกเข้าไปใน
สหภาพโซเวียต เมื่อถึงเดือนกันยายน กองทัพกลุ่มใต้สามารถยึดเคียฟ
ในปฏิบัติการโอบล้อมสองครั้ง ทำให้สตาลินจำเป็นต้องละทิ้งเมืองไว้
กองทัพเยอรมันอ้างว่าตนสามารถจับเชลยศึกชาวโซเวียตได้กว่า 665,000
นาย หลังจากนั้น จึงเป็นผู้บัญชาการการโจมตีคาร์คอฟและรอสตอฟใน
เวลาต่อมา เขามีความเห็นคัดค้านการเดินหน้า รุกรานสหภาพโซเวียต
ต่อไปในฤดูหนาวและแนะนำให้ฮิตเลอร์สั่งหยุดการโจมตีไว้ก่อน แต่
ข้อเสนอของเขาไม่ได้รับความเห็นชอบ
ในเดือนพฤศจิกายน 1941 เขาเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
แต่เขาปฏิเสธที่จะได้รับการรักษาพยาบาล และยืนยันที่จะบัญชาการรบ
ต่อไป หลังจากตีได้รอสตอฟ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน แล้ว แต่กองทัพ
เยอรมันถูกตีโต้กลับมา เขาจึงสั่งการให้กองทัพบางส่วนล่าถอย ฮิตเลอร์
โกรธมาก จึงสั่งให้นาย พลวัลเทอร์ ฟอน ไรเชนนาว บัญชาการรบแทน
ในเวลาต่อมาฮิตเลอร์เรียกตัวเกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์กลับเข้า
รับหน้าที่ดังเดิมในกองบัญชาการกองทัพเยอรมันด้านตะวันตก ในเดือน
มีนาคม 1942 แต่การทำงานของเขาล่าช้า จนกระทั่งถึงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ.
1943 ก็ยังแทบไม่มกี าร สร้างป้อมปราการใดตามแนวชายฝั่งมหาสมุทร
570/665

แอตแลนติกเลย จนเมื่อเออร์วิน รอมเมล ได้รับมอบหมายมาอยู่ใต้


บังคับบัญชาของเขา จึงค่อยได้เห็นความคืบหน้าการก่อสร้างบ้าง
ส่วนแผนการป้องกันทางทะเล เขาเห็นว่า ควรจะมีการจัดวางกำลัง
ยานเกราะอยูใ่ นแนวหลัง เพื่อที่จะได้สั่งโจมตีพื้นที่ที่กองกำลัง
ฝ่ายสัมพันธมิตร ยกพลขึ้นบกมา แต่จอมพลรอมเมลไม่เห็นด้วยกับแนว
ความคิดดังกล่าว เขาเห็นว่า ควรจะจัดวางกำลังยานเกราะใกล้กับแนว
ชายฝั่ง โดยอยู่นอกวิถีของปืนใหญ่ฝ่ายสัมพันธมิตร ส่วนทางด้านฟอน
รุนด์ชเทดท์ถูกชักจูงให้เชื่อว่า การยกพลขึ้นบกตามแนวชายฝั่งทางด้าน
ตะวันตกของฝรั่งเศสจะไม่เกิดขึ้น และควรจะมีการวางกำลังยานเกราะ
เพียงเล็กน้อยไว้ที่นั้น ทำให้มีกองกำลังยานเกราะเพียงสองกองพลป้องกัน
เขตนอร์มังดี ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียมหาศาล เมื่อการโจมตีของ
ฝ่ายสัมพันธมิตรมาถึง
หลังจากการยกพลขึ้นบกในนอร์มังดี เมื่อเดือนมิถุนายน 1944 เขา
ได้กระตุ้นให้ฮิตเลอร์เจรจาสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่เมื่อเขาถูก
ปฏิเสธ ว่ากันว่า เขาได้ระเบิดออกมาว่า “สงบศึกซะ ไอ้โง่” ฮิตเลอร์ได้
ปลดเขาออก และแทนที่โดยจอมพลกึนเธอร์ ฟอน คลุจ
กลางเดือนสิงหาคม 1944 เขาได้รับตำแหน่งในกองบัญชาการ
กองทัพเยอรมันด้านตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง เขาได้รวบรวมกองกำลังเพื่อ
ต่อกรกับปฏิบัติ การมาร์เก็ตการ์เดนอย่างรวดเร็ว และได้รับชัยชนะ เขา
ถูกปลดออกจากกองบัญชาการอีกครั้งหนึ่งในเดือนมีนาคม 1945
571/665

เนื่องจากเขาบอกกับเคย์เทลว่า ฮิตเลอร์ควรจะเจรจาสันติภาพกับ
ฝ่ายสัมพันธมิตร ดีกว่าสู้รบในสงครามอันสิ้นหวังนี้
หลังสงคราม ในวันที่ 1 พฤษภาคม 1945 เขาถูกจับกุมตัวโดย
กองพลทหารราบที่ 36 แห่งสหรัฐอเมริกา ระหว่างการถูกควบคุมตัว เขา
ประสบกับภาวะหัวใจขาดเลือดอีกครั้งหนึ่ง และได้ถูกนำตัวไปพิจารณาคดี
ทีเ่ กาะอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษแจ้งข้อกล่าวหาเขาในฐานะอาชญากรสงคราม
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสุขภาพอันย่ำแย่ของเขา เขาจึงถูกปล่อยตัวโดยไม่
มีการพิจารณาคดีในปี 1948 และอาศัยอยูใ่ นฮานโนเฟอร์ จนกระทั่ง
เสียชีวิตในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1953
เออร์วิน โยฮานเนส อูเก้น รอมเมล
เออร์วิน โยฮานเนส อูเก้น รอมเมล (Erwin Johannes Eugen
Rommel) หรือมักจะรู้จักกันในนาม จิ้งจอกทะเลทราย เกิดเมื่อวันที่ 15
พฤศจิกายน 1891 และเสียชีวิตในวันที่ 14 ตุลาคม 1944)
รอมเมล เป็นจอมพลที่โด่งดังที่สุดของกองทัพนาซีเยอรมนีใน
สงคราม โลกครั้งที่ 2 และอาจเป็นจอมพลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสงคราม
ด้วยเช่นกัน
รอมเมลเป็นนายทหารที่ได้รับการเชิดชูเกียรติขั้นสูงใน
สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยได้รับเหรียญกล้าหาญ Pour le Merite
สำหรับการกระทำการอันกล้าหาญ ในแนวรบอิตาลี
572/665

ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เขามีชื่อเสียงโด่งดังจากการบังคับบัญชา
“กอง พลปีศาจ” (Ghost Division) ในระหว่างการรุกรานฝรั่งเศสในปี
1940 แต่ฉายา “จิ้งจอกทะเลทราย” ของเขาได้มาจากอัจฉริยภาพทางการ
ทหารและความเป็น ผู้นำที่น่าเกรงขามของเขาในการบังคับบัญชากองกำลัง
ผสมเยอรมัน-อิตาเลียน ในแนวรบแอฟริกาเหนือ
รอมเมลได้รับการนับถือว่าเป็นผู้บัญชาการที่มีมนุษยธรรมสูงคนหนึ่ง
กองพลน้อยแอฟริกาอันโด่งดังที่เขาบังคับบัญชาอยู่ไม่เคยถูกกล่าวหาว่าก่อ
อาชญากรรมสงครามเลย ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่ถูกกองพลน้อยแอฟริกา
ของ รอมเมลจับกุมได้หรือยอมจำนนจะถูกปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรมยิ่งไป
กว่านั้น รอมเมลยังปฏิเสธคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาขั้นสูงกว่าในการฆ่า
ทหารและพลเรือนชาวยิวอีกด้วย
573/665
ซากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรฝีมือของหน่วย Afrika Corps ภายใต้การนำของนายพลรอ
มเมล นายพลผู้นี้ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในเรื่องภาวะผู้นำและความเชี่ยวชาญในยุทธการจาก
ฝ่ายสัมพันธมิตร

ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 รอมเมลต้องสงสัยว่าร่วมแผนการลับ
เพื่อ ลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในเดือนกรกฎาคม 1944 แต่ไม่ประสบ
ความสำเร็จ เขาถูกฮิตเลอร์บังคับให้ฆ่าตัวตายโดยการกลืนยาพิษ และได้
รับการฝังศพอย่างสมเกียรติ
นอกจากบุคคลสำคัญที่กล่าวมาแล้ว ในฝ่ายเยอรมนียังมีผู้นำที่
น'าสนใจอีกหลายคน นับแต่
* ไรน์ฮาร์ด เฮย์ดริช ผู้บัญชาการหน่วยเกสตาโปและกองกำลังเอส
ดีในกรุงปราก ประเทศเชคโกสโลวาเกีย
* เอริช แรดเดอร์ จอมพลเรือ (Gro?admiral) แห่งกองทัพเรือนา
ซีเยอรมนี (Kriegsmarine) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 1939-30 มกราคม
1943
* คาร์ล โดนิทซ์ เป็นจอมพลเรือต่อจากแรดเดอร์ และเป็น
ประธานาธิบดี แห่งเยอรมนีเป็นเวลา 23 วันหลังจากการตายของฮิตเลอร์
เป็นผู้บัญชาการกองเรืออูระหว่างยุทธบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก
* กึนเธอร์ ลึทเจนต์ นายพลเรือแห่งกองทัพเรือเยอรมันในช่วง
สงคราม โลกครั้งที่ 2 และได้เสียชีวิตไปพร้อมกับการจมของเรือ
ประจัญบานบิสมาร์ค
574/665

* ไฮนซ์ กูเดอร์เรียน เป็นผู้คิดค้นกลยุทธ์การโจมตีสายฟ้าแลบ


เป็นผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันจำนวนมากในช่วงต้นของสงคราม ต่อมา
ได้เป็นหัวหน้าเสนธิการของกองทัพภายหลังเดือนกรกฎาคม 1944
อิตาลี
เบนิโต มุสโสลินี
กลายเป็นชื่อที่คกู่ ันระหว่างอดอลฟ์ ฮิตเลอร์ นาซีเยอรมัน กับเบนิ
โต มุสโสลินี ฟาสซิสต์อิตาลี
ชื่อเต็มของมุสโสลินมี ีว่า เบนีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี
(Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า “อิลดู
เช” (Il Duce) แปลว่า “ท่านผู้นำ” เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรี
ของประเทศอิตาลี (ค.ศ. 1922-1943) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 1883
ในครอบครัวทีย่ ากจนที่เมืองโดวีอาดีเปรดัปปีโอ (Dovia di Predap-
pio) ในจังหวัดฟอร์ลิ แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา
ในวัยเด็กนั้น ด้วยความทีเ่ ป็นเด็กซนทำให้เขาเคยถูกไล่ออกจาก
โรงเรียน ถึง 2 ครั้ง ด้วยเหตุก่อการวิวาทกับนักเรียนคนอื่นโดยใช้มีด แต่
ด้วยเวลาไม่นาน มุสโสลีนีได้กลายเป็นนักสังคมนิยมยุวชนทีห่ ลักแหลม
และมีอันตราย
แต่กระนั้นต่อมาต้องลาออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลีเนื่องจากเขา
สนับสนุนการเข้าแทรกแซงสงครามโลกครั้งที่ 1 ของอิตาลี
575/665

ในปี 1919 มุสโสลีนีได้เข้าร่วมการก่อตั้งพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่ง


อิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) หรือพรรคฟาสซิสต์เพื่อ
เตรียมเป็นกองกำลังปฏิวัติ ในปี 1922 เขาก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งฉลอง
ชัยชนะด้วย “การเดินสวนสนามแห่งโรม” (เดือนตุลาคม)
ล่วงมาถึงปี 1925 เขาก็ได้สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูป บังคับ
ให้ยกเลิกระบบรัฐสภาทดแทนด้วย “รัฐบรรษัท” (Corporate State)
และวางระบบ รวบอำนาจอย่างเป็นทางการ จัดตั้งนครรัฐวาติกัน (ค.ศ.
1929) บุกยึดอบิสซิเนีย (เอธิโอเปีย) (ตั้งแต่ปี 1935-1936) และอัลเบเนีย
(ค.ศ. 1939) ไว้ในครอบครอง พร้อมกับการประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่าย
อักษะกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งประเทศเยอรมนี
การประกาศสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศสโดยที่กองทัพยังไม่
พร้อม ทำให้กองทัพอิตาลีได้รับความพ่ายแพ้ในเกือบทุกสนามรบ ทั้งใน
แอฟริกาเหนือ และแอฟริกาตะวันออก และแถบคาบสมุทรบอลข่าน การ
รุกเข้ายึดเกาะซิซลิ ีในเดือนมิถุนายน 1943 และการเอาใจออกห่างของผู้ที่
เคยสนับสนุน มุสโสลีนีจึงถูกโค่นล้มและถูกจับตัวได้ในเดือนต่อมา แต่ก็
หนีออกมาได้ ด้วยการบุกจู่โจม ทีค่ ุมขังโดยพลร่มเยอรมันและได้จัดตั้ง
รัฐบาลหุ่นสาธารณรัฐสังคม นิยมอิตาลี โดยการสนับสนุนของฮิตเลอร์ขึ้น
มุสโสลีนีถูกจับได้อีกครั้งโดยพวกอิตาลีฝ่ายต่อต้านเมื่อปี 1945 และ
ถูกยิงเป้าเสียชีวิตในวันที่ 28 เมษายน ปีเดียวกันนั้นเอง
576/665

ปิดฉากอีกหนึ่งจอมเผด็จการชื่อก้องโลกไปในระยะเดียวกับการ
สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ปีเอโตร บาโดลโย
ในจำนวนคนสำคัญของอิตาลีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกเหนือ
จากมุสโสลินีแล้วปิเอโดร บาโดลโย ก็นับเป็นหมายเลข 2 ของการเป็น
ผู้นำอิตาลี
ปีเอโตร บาโดลโย ดยุคที่ 1 แห่งแอดดิสอาบาบา มาร์ควิสที่ 1 แห่ง
ซาโบตีโน (เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 1871-เสียชีวิตเมื่อ 1 พฤศจิกายน
1956) เป็นนักการเมืองเป็นสมาชิกพรรคฟาสซิสต์และเป็นนายพลสังกัด
กองทัพแห่งราชอาณาจักรอิตาลีภายใต้ยุคเผด็จการของนายกรัฐมนตรีเบนิ
โต มุสโสลินี ผลงาน อันยอดเยี่ยมของเขาในสงครามอิตาลี-อบิสซิ
เนียครั้งที่ 2 ทำให้เขาได้รับการปูนบำเหน็จเป็นขุนนางยศดยุคแห่งแอดดิส
อาบาบา
ในวันที่ 24 กรกฎาคม 1943 หลังจากทีอ่ ิตาลีต้องเผชิญกับการ
โต้ตอบอย่างหนักจากฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้สภาใหญ่ของพรรคฟาสซิสต์
ลงมติไม่ไว้วางใจในตัวมุสโสลินี และตามติดด้วยการถอดถอนและจำคุกมุ
สโสลินี ทำให้จอมพลบาโดลโยได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ให้
เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งอิตาลีแทน และเมื่อความสับสนในสถานการณ์ได้
แผ่ขยายไปในหมู่ชาวอิตาลี เขาก็ได้ทำการลงนามสงบศึกกับ
ฝ่ายสัมพันธมิตร
577/665

เมื่อการสงบศึกได้ถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางการ ประเทศอิตาลีจึงเกิด
ความระส่ำระสายขึ้นจากสงครามกลางเมือง สภาพการณ์เช่นนี้ทำให้
จอมพลบาโดลโยและพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ 3 ต้องหนีออกจาก
กรุงโรม และทิ้งกองทัพไว้โดยไม่มีคำสั่งให้ติดตามมาด้วย
ถัดจากนั้นในวันที่ 13 ตุลาคม ปีเดียวกัน จอมพลบาโดลโยและ
ราชอาณาจักรอิตาลีก็ได้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการกับนาซีเยอรมนี
ทีเ่ มือง บรินดีซี อย่างไรก็ตาม เขาก็มิได้อยูใ่ นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ
อิตาลีได้นานนัก เพราะกระแสของโลกภายนอกต้องการให้ประเทศนี้มี
นายกรัฐมนตรีที่ไม่ใช่พวกฟาสซิสต์ คนที่ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนี้แทน
บาโดลโยคืออีวาโนเอ โบนอมี นักการเมืองจากฝ่ายพรรคแรงงาน
ประชาธิปไตย
นอกจากนี้ยังมีคนที่สมควรกล่าวถึงและรู้จักอีกคือ
อูโก คาวาเยโร ผู้บัญชาการทหารบกแห่งกองทัพราชอาณาจักรอิตาลี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาได้นำทัพอิตาลีในการทำสงครามกับกรีซซึ่ง
ประสบกับความล้มเหลว
อาร์ตูโร ริคาร์ดี ผู้บัญชาการทหารเรือแห่งราชนาวีอิตาลีระหว่าง
ค.ศ. 1940-1943
อิตาโล บัลโบ ผู้บัญชาการทหารอากาศแห่งกองทัพอากาศราชอาณา
จักรอิตาลีตั้งแต่ทศวรรษที่ 1930 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1940 และเป็นผู้
ควบคุมกองทัพที่ 10 ของอิตาลีในลิเบียตราบจนเสียชีวิต
578/665

กาลีซโซ ชิอาโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้ได้รับการ


แต่งตั้งจากมุสโสลินใี นปี 1936 (มุสโสลินีเป็นพ่อตาของคิอาโน) และดำรง
ตำแหน่งดังกล่าวจนกระทั่งสิ้นสุดการปกครองระบอบฟาสซิสต์ในปี 1943
เขาเป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญาเหล็กร่วมกับเยอรมนีในปี 1939 และใน
สนธิสัญญา สามพันธมิตรกับเยอรมนีและญี่ปุ่นในปี 1940 ชิอาโนได้
พยายามโน้วน้าวให้มุสโสลินีนำอิตาลีออกจากสงครามเพราะอิตาลีได้รับ
ความสูญเสียอย่างหนักแต่ถูกเพิกเฉย ถึงปี 1943 เขาได้สนับสนุนการ
ขับไล่มุสโสลินลี งจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ในเวลาต่อมาเขาถูก
พวกฟาสซิสต์ในฝ่ายสาธารณรัฐสังคม นิยมอิตาลี (รัฐบาลฟาสซิสต์อิตาลี
ภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนี) ประหารชีวิตในโทษฐานทรยศต่อมุ
สโสลินี
โรดอลโฟ กราซีอานี จอมพลแห่งกองทัพอิตาลี หนึ่งในผู้นำกองทัพ
อิตาลีในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 2 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
ผู้บัญชาการอาณานิคมแอฟริกาเหนือของอิตาลีและผู้ว่าการอาณานิคม
ลิเบียของอิตาลี หลังพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายอังกฤษในการบุกอียิปต์ เขาจึง
ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวในปี 1941 หลังมุสโสลินีสิ้นอำนาจจากการถูก
รัฐประหาร ค.ศ. 1943 กราซีอานิยังคงเป็นนายทหารคนเดียวที่ยังคงภักดี
ต่อมุสโสลินี เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ของสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลี และควบคุมกองทัพผสมอิตาลี-เยอรมนี
“กองทัพลิกูเรียที่ 97”
579/665

โจวานนี เมสซี ผู้บัญชาการกองทัพน้อยของอิตาลีในรัสเซีย


(Corpo di Spedizione Italiano in Russia, CSIR) กองกำลัง
ดังกล่าวนี้ร่วมมือกับกองทัพนาซีเยอรมนีรบกับฝ่ายสหภาพโซเวียตใน
แนวรบด้านตะวันออก
ญี่ปุ่น
สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ
สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระนามเดิม ฮิโรฮิโตะ ทรงเป็น
จักรพรรดิพระองค์ที่ 124 ของประเทศญี่ปุ่น ครองราชย์ระหว่างปี
1926-1989 รวมแล้วถึง 63 ปี
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงมีบทบาทที่สำคัญในช่วงสงคราม
โลกครั้งที่ 2 โดยเป็นผู้นำญี่ปุ่นเข้าร่วมฝ่ายอักษะร่วมกับนาซีเยอรมันและ
ฟาสซิสต์ ของอิตาลี
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะเสด็จพระราชสมภพ ณ ปราสาทอา
โอ-ยามะ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 29 เมษายน 1901 ทรงเป็นพระราชโอรส
ในสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช และเจ้าหญิงซาดาโกะ โดยมีพระนามในวัย
เด็ก ว่า เจ้าชายมิจิ
หลังจากสมเด็จพระจักรพรรดิไทโชทรงประชวร เจ้าชายฮิโรฮิโตะจึง
ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในขณะนั้นเจ้าชายฮิโร
ฮิโตะทรงมีพระชนมายุได้ 20 พรรษา และทรงกลายมาเป็นจักรพรรดิของ
580/665

ประเทศตามพฤตินัย ขาดเพียงพระอิสริยยศว่า “สมเด็จพระจักรพรรดิ”


เท่านั้น ขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิไทโชกลับเป็นพระประมุขเพียงในทาง
นิตินัย
เจ้าชายฮิโรฮิโตะ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในส่วนของสมเด็จพระ
จักรพรรดิในทันที เช่นการเสด็จไปร่วมพิธเี ปิดการประชุมสภา ต้อนรับอา
คัน ตุกะต่างแดน และเสด็จพระราชดำเนินชมแสนยานุภาพของการทหาร
เจ้าชาย ยังทรงเอาพระราชกิจด้านการเมืองการปกครองทั้งหมดในวังหลวง
ของสมเด็จพระจักรพรรดิมาทำ รวมถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรี และ
ออกราชโองการรับรองนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการ
ในปี 1921 เจ้าชายฮิโรฮิโตะในฐานะมกุฎราชกุมารได้เสด็จประพาส
ทวีปยุโรปเป็นเวลาครึ่งปี ซึ่งประกอบด้วย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส
อิตาลี นครรัฐวาติกัน เนเธอร์แลนด์ และ เบลเยียม ซึ่งการเสด็จประพาส
ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นมกุฎราชกุมารพระองค์แรกที่ได้เสด็จไปยุโรป
เจ้าชายฮิโรฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์ โดยมีพระนามว่า สมเด็จพระ
จักรพรรดิโชวะ ที่หมายถึงสันติภาพอันส่องสว่าง ทรงตั้งความหวังไว้กับ
ประเทศญี่ปุ่นไว้สูง โดยในพระราชโองการฉบับแรกแห่งรัชสมัยทีท่ รง
ประกาศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 1926 มีข้อความว่า “โลกเราในขณะนีก้ ำลัง
อยูใ่ นขั้นตอนของการ วิวัฒน์ไปอย่างต่อเนื่องประวัติศาสตร์บทใหม่แห่ง
อารยธรรมโลกกำลังพลิกเผย ตัวเองให้เราได้เห็นกัน” และว่า “นโยบาย
ของชาติเรามักจะมุ่งเน้นไปที่กระบวน การอันต่อเนื่องพร้อมกับการ
581/665

ปรับปรุงให้ดขี ึ้นไปเรื่อยๆ ความเรียบง่ายแทนการ สร้างภาพที่ไร้ประโยชน์


ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตนแทนการลอกเลียนแบบที่ไม่รู้จักคิด วิธี
ดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิวัฒนาการแห่งยุคสมัยที่ดำเนินอยู่ การ
ปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้นเพื่อให้ไหลลื่นไปกับกระแสความก้าวหน้าแห่ง
อารยธรรมโลก ความกลมเกลียวในชาติทั้งในด้านจุดหมายทีต่ ้องไปให้ถึง
และวิธีการที่จะทำให้บรรลุจุดหมายนั้นๆ คุณงามความดีเผยแผ่ไปทุก
ชนชั้น และสุดท้าย ความมีมิตรจิตต่อประเทศทั้งมวลบนผืนโลก สิ่ง
เหล่านี้คือจุดหมายหลักที่เราใฝ่ใจและมุ่งที่จะไปให้ถึงอย่างที่สุด”
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นกระทำการหลายอย่างที่
แสดง ถึงความเปิดกว้างและเป็นมิตร โดยเข้าร่วมแนวคิดสากลนิยมที่
ประกาศไว้ในหลักการขององค์การสันนิบาตชาติ นอกจากนีใ้ นการประชุม
ร่วมทีก่ รุงวอชิงตัน ญี่ปุ่นยังเห็นชอบที่จะสลายความเป็นพันธมิตรระหว่าง
อังกฤษกับญี่ปุ่น เพื่อแลกกับการลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการรักษา
ความปลอดภัยร่วมกับมหา อำนาจตะวันตก ซึ่งระบุให้จำกัดจำนวน
ยุทโธปกรณ์ทางน้ำ และยอมรับสิทธิและอำนาจเต็มของจีนเหนือดินแดน
จีนเองด้วย ค.ศ. 1925 ญี่ปุ่นยังขยายความ สัมพันธ์ทางการทูตไปถึง
สหภาพโซเวียต แม้กลุ่มโคมินเทิร์นจะคอยสนับสนุนความเคลื่อนไหวของ
ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียนอยู่ก็ตาม แต่ในอีกด้านหนึ่งความ
สัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นกลับเลวลง เมื่อมีกฎหมายห้ามชาว
ญี่ปุ่นเข้าสหรัฐอเมริกา สร้างความโกรธแค้นให้แก่ชาวญี่ปุ่นอย่างยิ่ง เพราะ
ไปประจวบกับเวลาที่ญี่ปุ่นเพิ่งถูกองค์กรสันนิบาตชาติปฏิเสธที่จะรับรอง
582/665

ข้อเสนอของญี่ปุ่นว่ามนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์เท่าเทียมกัน เข้าไว้ในพันธะสัญญา
ขององค์กร แม้กระนั้น ก็แทบจะไม่มีสัญญาณใดๆ ในช่วงทศวรรษ 1920
ถึงวิกฤตความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่างญี่ปุ่นกับ สหรัฐอเมริกาเลย
นโยบายเปิดเสรีการค้าของญี่ปุ่นที่ใช้ความร่วมมือทางการทูตโดย
สันติ เป็นสื่อ ก็ตรงกับนโยบายเปิดประตูความสัมพันธ์และการค้า ซึ่งริเริ่ม
โดยวุฒิสมาชิก จอห์น เฮย์ ในช่วงต้นศตวรรษด้วยซ้ำ ด้วยความไว้วางใจ
ในข้อตกลงที่ทำไว้กับนานาประเทศว่าจะเป็นหนทางเสริมสร้างสันติภาพ
และความมั่นคงในประเทศและภูมิภาคเอเชียได้
สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ เจ้าชายไซองจิ มากิโนะ และผู้นำที่
สนับสนุน ระบอบรัฐธรรมนูญคนอื่นๆ ในวังต่างพากันให้ความเห็นชอบ
กับนโยบาย ความร่วมมือทางการทูตของชาติมหาอำนาจ อังกฤษ-สหรัฐฯ
และจีนกันหมดทุกคน เจ้าชายไซองจิขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าผู้แทนชาติ
ญี่ปุ่นไปร่วมประชุมสันติภาพ ที่กรุงปารีส โดยมีมากิโนะ และ จินดะ สุเท
มิ เป็นผู้ช่วย เจ้าชายไซองจิเคยกล่าวไว้ว่า “หน้าที่ของฉันในการรับใช้
สมเด็จพระจักรพรรดิมี 2 ด้าน คือคอยหลบเลี่ยงความเสียหายใดๆที่อาจ
กระทบต่อรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น และส่งเสริมเกียรติสนธิสัญญาที่ทำไว้กับ
นานาชาติ”
แต่ในไม่ช้าสถานการณ์ในประเทศจีนทำลายภาพฝันที่จะมีความ
สงบสุขอย่างถาวรในประเทศจีนจนสิ้น เริ่มตั้งแต่ความสำเร็จของ แผนยึด
แดนเหนือ ของเจียงไคเช็ก ในปี 1926 เพื่อรวมชาติจีนให้อยู่ภายใต้การ
583/665

ปกครองของพรรค ชาตินิยม หรือ กว๋อหมินตั่ง หรือทีค่ นไทยรู้จักกันใน


นาม ก๊กมินตั๋ง ที่สร้างความ ตระหนกแก่นายทหารญี่ปุ่นประจำกองทัพก
วานตง ทีป่ ักหลักอยู่แถบแมนจูเรีย ใต้ เพราะพวกเขาไม่ไว้ใจ จาง
จว้อหลิน ผู้นำกองทัพทีเ่ ป็นลูกค้าของญี่ปุ่นอยูท่ างตอนเหนือของจีน คิด
ไปว่าจางจว้อหลินอาจช่วยหยุดยั้ง เจียงไคเช็ก และปกป้องสิทธิประโยชน์
ของญี่ปุ่นเหนือดินแดนแมนจูเรียไม่ให้ถูกองกำลังของเจียงไคเช็กคุกคาม
ไม่ได้ ดังนั้นในเดือนมิถุนายน 1928 ทหารญี่ปุ่นเหล่านี้จึงลอบสังหารจาง
จว้อหลิน ด้วยการระเบิดรถไฟที่เขาโดยสารมาขณะกำลังมุ่งสู่เมืองมุกเด็น
(ปัจจุบันคือเมือง เสิ่นหยาง) และโยนความผิดให้กองโจรชาวจีน ว่าเป็นผู้
ลงมือ
เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่สงคราม สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะย่อมมีพระราช
ประสงค์ ที่จะให้ญี่ปุ่นได้ชัยชนะ พระองค์จึงพอพระทัยเป็นอันมากที่
ปฏิบัติการโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ สร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่
กองกำลังสหรัฐอเมริกาประจำภาคพื้นแปซิฟิก
ต้นเดือนมีนาคม 1942 ทรงพอพระทัยไม่น้อยไปกว่ากันกับชัยชนะ
ปาน สายฟ้าแลบของญี่ปุ่นเหนือเกาะฮ่องกง กรุงมะนิลา สิงคโปร์ ปัตตา
เวีย (จาการ์ ตา) และย่างกุ้ง ขณะเดียวกัน ก็ทรงกังวลเกี่ยวกับปัญหาใน
การลำเลียงเสบียง และเชื้อเพลิงไปให้กับกองกำลังญี่ปุ่นที่กำลังรบอยูใ่ น
สมรภูมทิ หี่ ่างไกลมาตุภูมิ “ชัยชนะที่ได้ออกจะมาเร็วไปหน่อย” พระองค์จึง
มักจะทรงเตือนผู้นำทหารบกและทหารเรือให้ปรับปรุงการทำงานระหว่าง
584/665

สองกองทัพให้ประสานงานได้ดขี ึ้น เพราะสภาพที่เป็นอยู่นั้นจัดว่าไร้


ประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง และยังทรงเตือนให้สองกองทัพ เลิกใช้วิธีเหมือน
เล่นการเมืองพาทะเลาะกันเรื่องการเคลื่อนย้ายฝูงบินเสียที เมื่อทรงได้รับ
รายงานเกี่ยวกับความปราชัยครั้งสำคัญของญี่ปุ่นเช่นที่ ยุทธภูมิมิดเวย์ จึง
มีแต่พระราชดำรัสให้ผู้นำทหารทั้งหลายทำงานของตนให้ดีที่สุดในการ
ปฏิบัตคิ รั้งหน้า โดยแทบจะมิได้ทรงแสดงอารมณ์ใดๆ ออกมาอีก ราวกับ
ทรงปลงเสียแล้ว
พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติในระหว่างสงครามกระตุ้นให้ประชาชน
ฮึกเหิมกับศึกที่ เกิดขึ้นด้วยอีกแรงหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการทรงม้าขาวออก
เสด็จตรวจกำลังพล หรือมีพระราชดำรัสเปิดการประชุมรัฐสภาทีป่ ลุกเร้า
กำลังใจของ ราษฎรให้ช่วยกันพยายามเพื่อชัยชนะของประเทศตามหนังสือ
ทีร่ ่างโดยรัฐบาล พระราชกรณียกิจเหล่านี้ล้วนสร้างภาพว่า พระองค์กำลัง
ทรงบัญชาการความเคลื่อนไหวทั้งหมดของกองทัพในฐานะที่ทรงเป็นจอม
ทัพของชาติ แต่ขณะที่พระองค์ทรงอ่านรายงานการรบและลงพระนาม
รับรองแผนปฏิบัติการทางทหาร ต่างๆอยูอ่ ย่างขะมักเขม้นทุกวี่ทุกวันนั้น
สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะมิได้ทรงมีส่วนในการบังคับบัญชาใดๆ เฉกเช่น
ที่สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิไม่เคยได้ทรงกระทำหน้าที่นี้ทุกครั้งที่มีสงคราม
ขึ้นเลย
หากมองจากภายนอก ประชาชนอาจคิดว่าพระจักรพรรดิของพวกเขา
เป็นกษัตริยน์ ักรบ แต่แท้จริงแล้วพระองค์มีพระราชประสงค์ให้สงครามยุติ
585/665

ลงโดยเร็วต่างหาก เดือนกุมภาพันธ์ 1942 สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะได้มี


พระราช ดำรัสให้พลเอกโตโจรับทราบข้อเท็จจริงข้อนี้
“เราหวังตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ ท่านจะได้ใช้ความพยายามอย่างที่สุด
และใช้ทุกโอกาสที่มีเพื่อยุติการประหัตประหารกันนี้ในทันทีที่ทำได้ หาก
คิดถึงความสงบสุขของมนุษย์ด้วยกันแล้วการปล่อยสงครามยืดเยื้อต่อไป
รังแต่จะเปล่าประโยชน์” ทรงเสริมด้วยว่า “เราเกรงว่า ประสิทธิภาพของ
ทหารเราจะอ่อนด้อยลงไปหากสงครามต้องยืดเยื้อ”
แต่โดยหน้าที่แล้ว โตโจจำเป็นต้องทำสงครามต่อไป และแม้กระแส
การรบจะพัดย้อนไปกระหน่ำญี่ปุ่นแทน สงครามก็ยังไม่อาจยุติลงได้
ดูเหมือนว่าสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะกลับเป็นผู้ต่อเวลาทำสงครามออกไป
เสียเองถึง 2 ทางด้วยกัน ประการแรก แม้ในช่วงแรกๆจะมีขบวนการ
สันติภาพทีก่ ่อตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่ง
เชื้อพระวงศ์บางองค์ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโตโจออก
ตามคำเรียกร้องของสมาชิกขบวนการที่ต้องการจะหยุดยั้งสงครามไว้ให้ได้
เพราะในระหว่างยังไงเสียญี่ปุ่น ก็ต้องอาศัยโตโจดำเนินการรบไปจนกว่า
สถานะของญี่ปุ่นในการเจรจาสันติภาพ จะดีขึ้น และบรรลุเงื่อนไขตามที่
ญี่ปุ่นต่อรอง โดยพระองค์ทรงตรัสกับ เจ้าชาย ทาคาทัตสึ พระอนุชาองค์
รองว่า
586/665

“ใครๆ ก็ว่าโตโจไม่ดี แต่จะหาใครดีไปกว่านี้ได้อีกไหมในเมื่อไม่มี


คนเหมาะสมกว่า ยังจะมีทางเลือกอื่น นอกจากร่วมงานกับคณะของโตโจ
หรือ”
อิโนอุเอะ คิโยชิ นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเขียนไว้ว่า “บุคคลที่ชื่อฮิโร
ฮิโตะนั้น คือสุภาพบุรุษที่เปี่ยมไปด้วยความเห็นอกเห็นใจและกล้าหาญใน
สายตาของสมาชิกในครอบครัวและบรรดาที่ปรึกษาใกล้ชิดทั้งหลาย แต่
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ กลับขึ้นปกครองบ้านเมืองในสมัยที่ระบอบ
เผด็จการอันแข็งกร้าว และชูลัทธินิยมจักรพรรดิ รุ่งเรืองถึงขีดสุด ทั้งยัง
ทรงดำรง อยู่ในฐานะผู้นำทีก่ ่อสงครามร้ายแรงหลายต่อหลายครั้ง ชี้นำการ
ปกครองประเทศภายใต้ระบบที่กดขี่พลเมืองของตนเอง”
พระองค์ทรงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 7 มกราคม 1989
ฮิเดะกิ โตโจ
ฮิเดะกิ โตโจ คือนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิ
ญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นผู้มีอำนาจและบทบาทในฐานะ
ผู้นำที่แท้จริง ของญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้น
ฮิเดะกิ โตโจ เกิดที่เมืองโคจิมะชิชานกรุงโตเกียวในวันที่ 30
ธันวาคม 1884 เป็นบุตรคนทีส่ ามของฮิเดโนะริ โตโจ นายทหารในกองทัพ
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น พี่ชายสองคนแต่เสียไปก่อนที่เขาจะเกิด ในปี
1909 เขาได้สมรสกับคัตสุโกะ อิโตะ มีบุตร 3 คน และธิดา 4 คน
587/665

โตโจ สำเร็จการศึกษาระดับที่ 17 จากโรงเรียนนายร้อยแห่งกองทัพ


กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปี 1915 ในอันดับที่ 42 จากจำนวนนักเรียน
นายร้อย 50 คน ได้รับแต่งตั้งยศร้อยตรี สังกัดทหารราบต่อมาในปี
เดียวกันเขาได้สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดจาก Army War College
จากนั้นในปี 1919 เขาได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก บัญชาการกองร้อยทหาร
รักษาพระองค์ที่ 3 ต่อมาเขาได้ถูกส่งไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในฐานะ
ทูตทหาร หลังจากกลับมาจากภารกิจ ในปี 1920 เขาได้เลื่อนยศขึ้นเป็น
พันตรี ในปีต่อมาเขาก็ถูกส่งไปทำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายพลเรือนที่ประเทศ
เยอรมนี
ฮิเดะกิ โตโจ เป็นนายทหารอาชีพที่มีเกียรติประวัตดิ ีเด่น เขาเป็นคน
ดีซื่อสัตย์และมีคุณสมบัติครบถ้วนของความเป็นสุภาพบุรุษตามมาตรฐาน
ของซามูไร เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงทหารบกในรัฐบาลของ
เจ้าชายโคโนเอะ เมื่อที่ประชุมร่วมกับสมเด็จพระจักรพรรดิของรัฐบาล
โน้มเอียงไปในทาง การทำสงคราม เจ้าชายโคโนเอะได้กราบถวายบังคม
ลาออกจากนายกรัฐมนตรี และ โตโจ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ญี่ปุ่นสืบต่อมา อันเป็นการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการถล่ม
เพิร์ลฮาเบอร์ พร้อมๆ บุกเข้าสู่อินโดจีน สยาม มลายู ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ใน
เวลาต่อๆ มา
ด้วยชัยชนะติดต่อกันมาระยะหนึ่ง ก่อนจะเริ่มพ่ายแพ้และกลายเป็น
ฝ่ายรับหลังยุทธนาวีทมี่ ิดเวย์ ในช่วงแรกๆจะมีขบวนการสันติภาพที่ก่อตั้ง
588/665

ขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์บาง


องค์ ให้ปลดโตโจออกตามคำเรียกร้องของฝ่ายทีต่ ้องการจะหยุดยั้ง
สงครามไว้
แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโตโจออกตามคำเรียกร้อง
เพราะในระหว่างสงครามยังไงเสียญี่ปุ่นก็ต้องอาศัยโตโจดำเนินการรบ แต่
เมื่อ ชัดเจนว่าญี่ปุ่นกำลังเพลี่ยงพล้ำในสงครามหลังจากยุทธการโอกินาวา
อันเป็น ผลจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิ และการ
ประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหภาพโซเวียต เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศให้
ญี่ปุ่นยอมแพ้
589/665

นายพล ฮิเดะกิ โตโจ

โดยไม่มีเงื่อนไข โตโจ จึงลาออกและสมเด็จพระจักรพรรดิฮโิ รฮิโตะ


ทรงประกาศยุติสงครามด้วยการยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างไม่มี
เงื่อนไข โดยหวังว่าทางสหรัฐ อเมริกาจะใจกว้างกว่าสหภาพโซ-เวียต
ช่วง 1 วันก่อนจักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงประกาศยอมแพ้สง คราม
อย่างไม่มเี งื่อนไข มีความพยายามจากนายทหารฝ่ายขวาจัดบางกลุ่ม
พยายามก่อการรัฐ ประหาร เพื่อให้กองทัพสูต้ ายและไม่ยอมแพ้แต่ศัตรู
590/665

ทหารกบฏบางส่วนก็ฆ่าตัวตายหนีความผิดแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
หลังจากจักรพรรดิทรงประกาศยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคมแล้ว
ในระหว่างบริหารประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานานในช่วงสงคราม เขาเป็น
ตัวอย่างของนายทหารที่จงรักภักดีต่อสมเด็จพระจักรพรรดิอย่างยิ่งยวด มี
หลักฐานหลายครั้งว่าเขาดำเนินนโยบาย ด้วยความเคารพในแนวทางที่
สมเด็จพระจักรพรรดิทรงมีพระประสงค์ แม้จะมีเหตุผลด้านอื่นที่ดกี ว่า
หลังสงครามเขาถูกจับกุมตัวนำขึ้นพิจารณาคดีในศาลอาชญากรสงคราม
ในวันที่ถูกจับเขาพยายามยิงตัวตาย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ คำให้การของ
เขาต่อศาลอาชญากร สงครามนั้นยืนยันความรับผิดชอบแต่ผู้เดียวในการ
ก่อสงคราม รวมไปถึงคำให้การทีช่ ี้ว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮโิ รฮิโตะมิได้
ทรงเกี่ยวข้องกับการเริ่มสงคราม
ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ฮิเดะกิ โตโจได้ถูกตัดสินลงโทษประหาร
ชีวิตในข้อหาอาชญากรรมสงคราม ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ตาม
คำพิพากษาของศาลอาชญากรสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่ง เถ้า
กระดูกของโตโจ ประดิษฐานทีศ่ าลเจ้า Yasukuni ภายหลังได้มกี าร
สำรวจทรัพย์สินของนายพลผู้เฒ่าอาชญากรสงครามที่ทางสัมพันธมิตร
อายัดไว้ และพบว่าเขาไม่มที รัพย์สมบัติอะไรเหลืออยูเ่ ลยนอกจากบ้าน
เก่าๆ หนึ่งหลัง ซึ่งในเวลาต่อมาฝ่ายสัมพันธมิตรตัดสินใจส่งคืนให้กับ
ภรรยาหม้ายของโตโจไป
บุคคลสำคัญของญี่ปุ่น
591/665

เจ้าชายฟุมิมะโระ โคะโนะเอะ
ฟุมิมะโระ โคะโนะเอะ โคชาคุ 12 ตุลาคม 1891-16 ธันวาคม
1945) เป็นนัการเมืองของญี่ปุ่ในสมัยโชวะ และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่
34, 38 และ 39 ของญี่ปุ่น
เจ้าชายฟุมิมะโระ เกิดในตระกูลฟุจิวะระ สายตระกูลโคะโนะเอะ ซึ่ง
เป็น ตระกูลเก่าแก่ที่ทรงอำนาจมายาวนาน เจ้าชายได้รับการศึกษาทั้ง
ภาษาอังกฤษและเยอรมัน เป็นพระโอรสในเจ้าชายโคะโนะเอะ อัตสุมาโระ
ผูค้ ัดค้าน สังคมคอมมิวนิสต์แบบรัสเซีย บิดาของเขาเกือบจะได้เป็น
นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นแล้วหากไม่เสียชีวิตไปก่อน ตระกูลโคะโนะเอะนั้น
มีสถานะทางสังคมที่สูงส่ง แต่มีฐานะที่ไม่มั่นคงเทียบเท่าตระกูลคุโจ ซึ่ง
เป็นพระญาติในพระจักรพรรดิโชวะเนื่องจากมี สมเด็จพระจักรพรรดินเี ท
เม คอยสนับสนุนอยู่นั่นเอง
หลังจากการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าชายฟุมิ
มะโระได้ทำการปลิดชีพพระองค์เองโดยการเสวย โพแทสเซียมไซยาไนด์
เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสงคราม และเพื่อรักษาเกียรติยศของราชวงศ์
และประเทศ
การสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายส่งผลให้มีการฆ่าตัวตายมากมายในหมู่
นักการเมือง และเหล่าราชวงศ์รวมไปถึงนักธุรกิจที่มสี ่วนร่วมกับสงคราม
อนึ่งเชื่อกันว่าเหตุผลที่เจ้าชายปลิดชีวิตตนเองนั้นเป็นเพราะไม่อาจยอมรับ
ความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นได้ บวกกับการที่ทรงมีปัญหากับสมเด็จพระ
592/665

จักรพรรดิจนถูกปลดจากตำแหน่งจึงทำให้ทรงเครียดและหาทางออกด้วย
วิธีนี้
นอกจากนี้ก็มีคนสำคัญที่น่ารู้จักอีกดังนี้
มิสมี ะซะ โยะไน นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นในปี 1940 และเป็นรัฐมน
ตรว่าการกระทรวงกองทัพเรือตั้งแต่ปี 1944-ค.ศ. 1945
คุนิอะกิ โคะอิโซะ ผู้บัญชาการกองทัพและนายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่น
ตั้งแต่ปี 1944-1945
คันทะโร ซุซุกิ นายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1945 เขาได้ตกลง
ในการยอมจำนนต่อกองทัพพันธมิตร
ฝ่ายสัมพันธมิตร
สหราชอาณาจักร
เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล
นามเต็มว่า เซอร์วินสตัน เลโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Sir
Winston Leonard Spencer-Churchill) เกิดเมื่อวันที่ 30
พฤศจิกายน 1874 เป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรที่มชี ื่อเสียงในช่วง
สงครามโลกครั้งที่ 2 เขายังได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม เมื่อปี
1953
เชอร์ชิลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวาระแรกระหว่าง ในระหว่างปี
1940-1949 โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีหลังจากเยอรมนีบุก
593/665

ฝรั่งเศส เชอร์ชิลนำสหราชอาณาจักรฝ่าวิกฤตสงครามโลกครั้งที่ 2 และ


เป็นหนึ่งในผู้นำที่สำคัญของฝ่ายสัมพันธมิตรร่วมกับประธานาธิบดี
แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา และโจเซฟ สตาลิน ผู้นำของ
สหภาพโซเวียต
เชอร์ชิลกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งโดยนำพรรคอนุรักษ์นิยม
เอาชนะพรรคแรงงาน เมื่อปี 1951 และเขาได้ลาออกเมื่อปี 1955
เขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 24 มกราคม 1965 ณ กรุงลอนดอน
อังกฤษ ขณะมีอายุ 90 ปี
นอกจากนี้ยังมี
คลีเมนต์ แอตลีย์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรระหว่างปี
1945-1951 มีบทบาทสำคัญในการประชุมพอตสดัม
เนวิลล์ แชมเบอร์เลน เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรใน
ช่วงต้น ของสงคราม (ค.ศ. 1937-1940) ต่อมานโยบายด้าน
การต่างประเทศของเขาล้มเหลว จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง เขาเสียชีวิต
หนึ่งปีภายหลังจากนั้น
เบอร์นาร์ด มอนโกเมรี เป็นผู้บัญชาการทหารเครือจักรภพในทวีป
แอฟริกาเหนือ และยังมีบทบาทในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด รวมไปถึงการ
ยอมจำนนของเยอรมนีอีกด้วย
สหรัฐอเมริกา
594/665

แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์


แฟรงคลิน เดลาโน รูสเวลต์ (Franklin Delano Roosevelt)
เกิดวันที่ 30 มกราคม 1882 เสียชีวิตวันที่ 12 เมษายน 1945 เป็น
ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของ

แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์


595/665

สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่ง
ยาวนานที่สุด คือเป็นตั้งแต่ปี 1933-1945 และเป็นประธานา-ธิบดีเพียง
คนเดียวของสหรัฐ อเมริกา ทีไ่ ด้รับเลือกถึงสี่สมัย ก่อนการประกาศญัตติ
ข้อที่ 22 ในปี 1951 (22nd Amendment) ซึ่งจำกัดให้ประธานาธิบดี
สามารถดำรงตำแหน่งได้แค่สองสมัยเท่านั้น
แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ เป็นผู้นำของประเทศในช่วงสงครามโลกครั้ง
ที่ 2 และแนวคิดของเขายังก่อให้ เกิดองค์กรระหว่างประเทศ คือสห
ประชา ชาติ ถึงแม้ว่าเขาจะประสบปัญหาด้านสุขภาพในช่วงวิกฤตของ
ประเทศก็ตาม รูสเวลต์ เสียชีวิตขณะยังดำรงตำแหน่งเมื่อปี 1945 โดยไม่
ได้เห็นชัยชนะของสหรัฐฯ และฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 อายุ
รวม 62 ปี
* แฮร์รี เอส. ทรูแมน
แฮร์รี เอส. ทรูแมน ( Harry S. Truman) เกิดวันที่ 8
พฤษภาคม 1884 เสียชีวิตวันที่ 26 ธันวาคม 1972 เป็นรองประธานาธิบดี
คนที่ 34 (ค.ศ. 1945) และประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา โดย
รับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ที่เสียชีวิตขณะยัง
ดำรงตำแหน่ง
ในช่วงการดำรงตำแหน่งของทรูแมนเต็มไปด้วยเหตุการณ์สำคัญมาก
มาย เขารับตำแหน่งในขณะที่สหรัฐและพันธมิตรเริ่มได้เปรียบใน
สงครามโลกครั้งที่ 2 เขาเป็นคนอนุมัติให้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ประเทศญี่ปุ่น
596/665

เริ่มแผนมาร์แชลล์ ในการฟื้นฟูทวีปยุโรปช่วงเริ่มแรกของสงครามเย็น
การก่อตั้งสหประชาชาติและสงครามเกาหลี
นอกจากนี้ยังมีบุคคลที่มีบทบาทในสงครามและควรรู้จักอีกคือ
จอร์จ มาร์แชลล์
จอร์จ มาร์แชลล์ (George Marshall) เป็นจอมพลแห่ง
กองทัพบกสหรัฐ อเมริกาและหัวหน้านายทหาร และ หลังจากสงคราม เขา
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา
และเป็นผู้ริเริ่มแผนการมาร์แชลล์
จอมพลจอร์จ แคตเลตต์ มาร์แชลล์ เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม
1880 และเสียชีวิตในวันที่ 16 ตุลาคม 1959
จอมพลจอร์จ มาร์แชลล์ เกิดที่เมืองยูเนียนทาวน์ รัฐเพนซิลเวเนีย
ได้รับการศึกษาจากสถาบันการทหารเวอร์จิเนียและเข้าเป็นทหารทันทีที่จบ
การศึกษา ต่อมาได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในบังคับบัญชาของ
นายพลจอห์น เพอร์ชิง และร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับการ
เลื่อนยศและตำแหน่งก้าวหน้าเป็นลำดับถึงตำแหน่งหัวหน้าคณะ
เสนาธิการทหารบก ได้รับ ยศทางทหารระดับ “นายพลห้าดาว” ต่อมาคือ
ยศ “จอมพล” ซึ่งตั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเกษียณอายุเมื่อปี 1945
หลังจากนั้นอีก 2 ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง
ประเทศในปี 1947
597/665

จากบทบาทในแผนฟื้นฟูยุโรป ทำให้มาร์แชลล์ได้รับรางวัลโนเบล
สาขา สันติภาพ เป็นนายทหารชาวอเมริกันคนเดียวที่เคยได้รับรางวัลนี้
ได้มีการก่อตั้ง “มูลนิธิจอร์จ ซี. มาร์แชลล์” ขึ้นที่สถาบันการทหาร
เวอร์จิเนียเพื่อเป็นเกียรติแก่นายพลจอร์จ มาร์แชลล์ นอกจากนีย้ ังได้รับ
เหรียญ อิสริยาภรณ์อัศวินชั้นสูงสุด (Knight or Dame Grand
Cross-GCB) จากสหราชอาณาจักร
ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) หรือไอค์
(Ike) เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรป และเป็นผู้
วางแผนและควบคุมการบุกฝรั่งเศสและเยอรมนี
ดไวต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์ มีชื่อแต่กำเนิดคือ เดวิด ดไวต์ ไอ
เซนฮาวร์ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1890 และเสียชีวิตเมื่อ 28 มีนาคม
1969
ดไวต์ เดวิด ไอเซนฮาวร์ เกิดทีเ่ มืองเดนิสัน มลรัฐเทกซัส
สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คน เติบโตมา
ในเมืองอบีลนี มลรัฐแคนซัส สมรสกับ มามี เจนีวา เดาด์ (Mamie
Geneva Doud) ในปี 1916ภายหลังทีเ่ ข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนาย
ร้อยทหารบกเวสต์พอยต์ และเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มียศเป็นนายพลห้าดาว (เทียบได้กับยศจอมพล
ในบางประเทศ)
598/665

หลังสงครามเขาหันเป็นนักการเมืองจนได้ ดำรงตำแหน่ง
ประธานาธิบดี คนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.1953 - ค.ศ.1961)
ดักลาส แมกอาร์เธอร์
ดักลาส แมกอาร์เธอร์ (Douglas MacArthur) เป็นจอมพลแห่ง
กองทัพบกสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นผู้บัญชาการกองกำลัง
สหรัฐฯ ในตะวันออกไกล เขาบัญชาการกองกำลังสหรัฐฬนฟิลิปปินส์ก่อน
ที่จะย้ายไปบัญชาการกองกำลังที่ออสเตรเลีย
พลเอกดักลาส แมกอาร์เธอร์ เกิดที่เมืองลิตเติล ร็อก มลรัฐอาร์คัน
ซอ เมื่อ 26 มกราคม 1880 เข้ารับการศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อย
เวสพอยต์ เข้าเป็นทหารที่กรมทหารช่างเป็นครั้งแรก ในสงครามโลกครั้งที่
1 ได้เข้าสู่สมรภูมิที่ประเทศฝรั่งเศสและได้รับเหรียญกล้าหาญ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แมกอาร์เธอร์ได้เป็นผู้บัญชาการ
กองกำลังสหรัฐฯ ในตะวันออกไกลและได้ช่วงชิงพื้นทีม่ หาสมุทรแปซิฟิก
ด้านตะวันตกเฉียงใต้จากประเทศญี่ปุ่น (ค.ศ. 1942-1944) โดยใช้
ประเทศออสเตรเลียเป็นฐาน
ถ้อยวลีที่มีชื่อเสียงที่แมกอาเธอร์กล่าวแก่ชาวฟิลิปปินส์ระหว่างถอย
หนีกองทัพญี่ปุ่นในฟิลิปปินส์คือ “ข้าพเจ้าจะกลับมา” (I Shall Return)
และเมื่อ กลับมาตามคำสัญญาหลังการถอยไปตั้งหลักที่ออสเตรเลีย แมก
อาเธอร์ได้ประกาศอีกครั้งในขณะที่เดินลุยน้ำลงจากเรือที่อ่าวเลย์เตว่า
599/665

“ข้าพเจ้ากลับมา แล้ว” (I Have Returned) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม


1943
พลเอกแมกอาร์เธอร์ทำหน้าที่เป็นผู้รับการยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข
เป็นทางการของญี่ปุ่น เนื่องจากเขามีเชื้อสายของ นาวาเอก(พิเศษ) แมท
ทิว คราวเรท เพอรี่ ผู้ที่เคยบีบให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศในปี 1854 และดำรง
ตำแหน่งผู้บัญชาการยึดครองประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1944-1951 เป็น
ผู้จัดการให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของญี่ปุ่นที่กำหนดให้สมเด็จ
พระจักรพรรดิ์ฯ อยูภ่ ายใต้รัฐธรรมนูญและห้ามมีกองกำลังทหาร ทำให้
ญี่ปุ่นมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจและฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเนื่องจากไม่ต้องใช้
งบประมาณและทรัพยากรเพื่อการป้องกันประเทศ
600/665

ดักลาส แมกอาร์เธอร์

ในปี 1950 แมกอาร์เธอร์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง


ผู้บัญชาการกองกำลังสหประชา ชาติในสงครามเกาหลี เกือบจะสามารถ
เอาชนะเกาหลีเหนือ แต่ก็ถูกปลดออกจากหน้าที่ เนื่องจากการเตรียมบุก
ประเทศจีนและเสนอ ให้มีการใช้ระเบิดปรมาณู กับประ เทศจีนซึ่ง
ผู้สนับสนุนหลักของเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลี ซึ่งเป็นการพยายาม
ฝ่าฝืนคำสั่งของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน
601/665

เขาเสียชีวิตลงในวันที่ 5 เมษายน 1954


นอกจากนี้ก็มีนายทหารที่สำคัญอีกเช่น
จอร์จ เอส. แพตตัน (George S. Patton) เป็นหัวหน้านายพล
ระหว่างยุทธนาการในแอฟริกาเหนือ, เกาะซิซิลี, ฝรั่งเศส, เยอรมนีและ
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
โอมาร์ แบรดลีย์ (Omar Bradley) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบก
สหรัฐอเมริกา ในแอฟริกาเหนือและยุโรป และเป็นผู้นำกองทัพสหรัฐที่ 1
ระหว่างปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดและระหว่างการบุกยุโรป
ชารล์ส ดับบลิว. นิมิทซ์ (Charles W. Nimitz) เป็นพลเรือเอก
บัญชาการกองเรือแปซิฟิกแห่งสหรัฐ อเมริกา และเป็นผู้บัญชาการทหาร
สูงสุดของกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและ
ฝ่ายสัมพันธมิตร
สหภาพโซเวียต
โจเซฟ สตาลิน
โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1879
เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึงปี 1953 และ
ดำรง
602/665

โจเซฟ สตาลิน

ตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอม-มิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ.
1922-1953) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปรียบได้กับหัวหน้าพรรค
สตาลินสืบทอดอำนาจจาก วลาดิเมียร์ เลนิน และนำโซ เวียตก้าว
ขึ้นเป็นมหาอำนาจของ โลก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2ก็เป็นหนึ่งในขั้ว
อำนาจในการทำ สงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกา
603/665

โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อนี้เขาตั้งขึ้นมาเอง ขณะ


ทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ (stalin ในภาษารัสเซียแปลว่า เหล็กกล้า)
เขาเกิดที่ รัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐของจักรวรรดิรัสเซียสมัยนั้น เป็น
ลูกของช่างทำรองเท้า สตาลินหนีออกจากบ้านหลังจากทะเลาะกับบิดาแล้ว
ถูกตบด้วยรองเท้า
ในช่วงปี 1900 สตาลินเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ และปล้น
ธนาคารในบ้านเกิดของเขาเอง เพื่อเอาเงินไปสนับสนุนพรรค แต่เขาถูกจับ
ได้และถูกเนรเทศไปอยู่ไซบีเรีย บ้างก็ว่าสมัยเขาอยูจ่ อร์เจียเขาได้แต่งงาน
กับผู้หญิงคนหนึ่ง (ไม่มีบันทึกชื่อในประวัติศาสตร์) และมีลูกชายด้วยกัน
1 คน เมื่อสตาลินกลับมาจากไซบีเรียเขาได้ทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ต่อ
และตำแหน่งการงานก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ เขาเป็นคนมีความมักใหญ่ใฝ่สูง
มาก จนเลนินก็รู้สึกกลัวคนๆ นี้ เพราะเขาเป็นคนไม่มีการศึกษา กิริยา
ท่าทางก็หยาบคาย แต่ความก้าวหน้าของเขาเป็นได้จากความจงรักภักดีต่อ
พรรคของเขานั้นเอง ช่วงราว 1910-1920 นี้เอง สตาลินแต่งงานแบบมี
บันทึกในประวัติศาสตร์ มีลูกชาย 1 คน (ต่อมาทำหน้าที่เป็นนักบินใน
สงครามโลกครั้งที่ 2) และลูกสาวอีก 1 คน (ชื่อ สเวตลาย่า ต่อมา
แต่งงานกับยิวและลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในอเมริกาหลังสตาลินตาย)
เมื่อเลนินตายปี 1923 เขาเสนอชื่อชื่อตัวเองเข้ารับตำแหน่งประธาน
พรรค คอมมิวนิสต์ตอนนั้นคู่แข่งของเขาคือ ลีออง สตรอยคอฟ ลังเล
เพียงเสี้ยวนาทีในการตัดสินใจเสนอชื่อตนเอง ลีออง เลยต้องลี้ภัย
604/665

การเมืองไปอยู่เม็กซิโก เพื่อรักษาชีวิตตนเอง แต่เขาก็ถูกสตาลินส่งคนไป


ฆ่า
ในปี 1940 ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง ผู้นำของสหภาพโซเวียต เขา
ถูก เรียกว่า บิดาแห่งชาวสหภาพโซเวียตทั้งปวง เมื่อศาสนาเป็นสิ่งผิด
กฎหมายในรัฐคอมมิวนิสต์ บทบาทของพระเจ้าก็ถูกเล่นโดยสตาลิน เขา
นำระบบคอมมูน มาใช้ ทุกคนถูกห้ามมีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างรวมทั้ง
ตัวบุคคลเป็นของพรรคหรือคอมมูน ผูต้ ่อต้านถูกส่งไปค่ายกักกันและ
เสียชีวิตราว 10 ล้านคน ไมมีการสำรวจประชากรว่าระหว่างเขาเป็นผู้นำ
ประชากรโซเวียตลดไปเท่าไร ในช่วงที่มีการปฏิวัติระบบ นารวม มีคนอด
ตายอีกเป็นล้านๆ คน
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นกับรัสเซีย ปี 1941-1945 เขานำ
โซเวียตชนะสงคราม โดยประชาชนเสียชีวิต 20 ล้านคน ทหารเสียชีวิต 10
ล้านคน เขาสั่งพัฒนาประเทศต่อไปอย่างไม่รีรอ
เขาเสียชีวิตใน 5 มีนาคม 1953 ด้วยเส้นเลือดในสมองแตกขณะ
เถียงกับ ครุฟซอฟ เรื่องเนรเทศยิวกลุ่มใหม่ไปไซบีเรีย งานศพของเขา มี
คนเหยียบกันตายราว 3,000 คน หลังสตาลินตาย ครุฟซอฟ ผู้นำคนใหม่
ได้ผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้งประณามขุดคุ้ย
ความโหดร้ายของเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุกๆ ที่ ที่มีรูปปั้นสตา
ลินถูกทุบทิ้ง เพลงชาติถูกลบชื่อของเขาออก ศพของเขาถูกย้ายจากข้างๆ
เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงวังเครมลิน
605/665

จอมพล กิออร์กี้ ชูคอฟ


จอมพล กิออร์กี้ ชูคอฟ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
สหภาพโซเวียต และผู้บัญชาการทหารคนสำคัญของโซเวียต ทีใ่ นยุค
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงในการปลดปล่อย
สหภาพโซเวียต จากการรุกรานของนาซีเยอรมนี ปลดปล่อย
ยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ และเข้ายึดกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของนาซี
เยอรมนี
ชูคอฟ ได้รับเหรียญรางวัลวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็น
ตำแหน่งทีม่ ีเกียรติสูงสุดของสหภาพโซเวียตถึง 4 ครั้ง ซึ่งนอกจากเขาแล้ว
ก็มีเพียง เลโอนิด เบรชเนฟ อดีตผู้นำสหภาพโซเวียตเพียงคนเดียวเท่านั้น
ทีไ่ ด้ตำแหน่งนี้ 4 ครั้ง นอกจากนั้นเขาก็ยังได้รับเหรียญตรา และ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงมากมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่ง
เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่สตาลิน ไม่ไว้ใจและอิจฉาเขา
ชูคอฟเกิดในครอบครัวชาวนารัสเซีย 1 ธันวาคม 1896 เมื่อเริ่มหนุ่ม
ค.ศ. 1915 ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารในกองทัพบกจักรวรรดิรัสเซีย ระหว่าง
สงครามโลก ครั้งที่ 1 เขารบได้อย่างกล้าหาญ จึงได้รับเหรียญตราและได้
รับเลื่อนยศ หลังการปฏิวัตเิ ดือนตุลาคม แห่งปี 1917 ชูคอฟเข้าร่วมกับ
พรรคบอลเชวิค และต่อสู้ในสงครามกลางเมืองรัสเซีย ช่วงปี 1918-1921
ต่อมาเมื่อปี 1923 เขาขึ้นเป็นผู้บัญชาการกรม ค.ศ. 1930 เป็นผู้
บัญชา การกองพัน ชูคอฟเป็นผู้สนับ สนุนคนสำคัญในทฤษฎีใหม่ของ
606/665

สงครามยานเกราะ เขาโดดเด่นเรื่องการวางแผนการรบที่เต็มไปด้วย
รายละเอียดมากมาย เขาเน้นระเบียบวินัยและความเข้มงวด เขาเป็นหนึ่ง
ในบรรดานายทหารไม่มาก นักที่รอดพ้นจากการกวาดล้างกองทัพครั้งใหญ่
ของสตาลิน ช่วงปี 1937-1938
ค.ศ. 1938 ชูคอฟ เป็นผู้บัญชาการกลุ่มกองทัพโซเวียตมองโกเลียที่
1 และเป็นผู้บัญชาการรบกับกองทัพกวางตุ้งของญี่ปุ่นที่บริเวณพรมแดน
มองโกเลียกับรัฐแมนจูกัวของญี่ปุ่นในสงครามอย่างไม่เป็นทางการช่วง
1938-1939 ที่เริ่มจากการกระทบกระทั่งรายวันตามแนวพรมแดน โดย
ญี่ปุ่นหวังจะทดสอบ กำลังในการป้องกันเขตแดนของฝ่ายโซเวียต จนเรื่อง
นีก้ ลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบอย่างรวดเร็ว ที่เรียกว่า การรบแห่งฮาลฮิน
โกล ญี่ปุ่นทุ่มกำลังพล 80,000 นาย รถถัง 180 คัน และอากาศยาน 450
ลำเข้าสู่สงคราม งานนี้ชูคอฟสามารถ พิชิตฝ่ายญี่ปุ่นได้โดยง่าย และได้รับ
ตำแหน่งเป็นวีรบุรุษแห่งสหภาพโซเวียตแต่ชื่อเสียงของเขาไม่เป็นที่รู้จักใน
ภายนอก เพราะช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี ชาติตะวันตกไม่
สนใจการรบแบบยานเกราะเคลื่อนที่ที่เขานำมาลอง ใช้ที่ ฮาลฮิน โกล
สงครามสายฟ้าแลบของเยอรมันต่อ ฝรั่งเศส จึงสร้างความประหลาดใจให้
กับผู้คนมากมาย
ชูคอฟ ได้รับการเลื่อนยศเป็นพลเอกในปี 1940 ระหว่างเดือน
มกราคม-กรกฎาคม 1941 เขาเป็นประธานเสนาธิการกองทัพแดง แต่
607/665

เพราะความขัดแย้งกับสตาลิน เขาจึงถูกปลด หลังจากที่นาซีเยอรมนีบุก


สหภาพโซเวียตได้ไม่นาน
มูลเหตุของความขัดแย้งกับสตาลินในครั้งนั้นก็คือ ชูคอฟ ซึ่งเป็น
หนึ่งในนายทหารไม่กี่คน ทีก่ ล้าที่จะท้วงติงผู้นำ เขาทักท้วงสตาลินว่า
เคียฟคงจะทานการรุกของข้าศึกไม่ไหว ทางทีด่ ีน่าจะถอยทัพออกมาก่อน
แต่สตาลินไม่พอใจอย่างมาก จึงปลดเขาจากตำแหน่งเมื่อ 29 กรกฎาคม
1940 และส่งไปดูแล การรบที่เลนินกราด แต่ในที่สุดแล้วชูคอฟก็พิสูจน์ว่า
เขาเป็นฝ่ายถูกเมื่อโซเวียต เสียทหารไปถึงครึ่งล้านที่เคียฟ
ในเดือนตุลาคม 1941 เมื่อข้าศึกรุกเข้าประชิดกรุงมอสโก ชูคอฟถูก
เรียกตัวมาเป็นผู้บัญชาการแนวรบกลาง แทนนายพล เซมิยอน ติมาเชนโก
เพื่อปกป้องกรุงมอสโก ซึ่งเขาก็ทำได้สำเร็จ เมื่อสามารถผลักดันข้าศึกให้
ถอยออกไปจนมอสโกพ้นขีดอันตราย ความสำเร็จนี้ทำให้สตาลินยอมรับ
ฟังความคิดเห็นของนายพลของเขามากขึ้น และยอมถูกวิจารณ์มากขึ้น
และชูคอฟก็กลับมา เป็นนายทหารคู่ใจของเขาอีกครั้ง ปีต่อมา ชูคอฟ ได้
รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการสูงสุด และส่งไปดูแลสตาลินกราด ซึ่ง
ที่นี่ โซเวียตสามารถพิชิตกอง ทัพที่ 6 ของเยอรมนีลงได้สำเร็จ แม้จะต้อง
เสียทหารไปเป็นล้าน
ในเดือนมกราคม 1943 เขาดูแลการตีฝ่าการปิดล้อมเลนินกราดครั้ง
แรก ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ในบันทึกความทรงจำ ชูคอฟบอกว่า
เขามีบทบาท สำคัญในการวางแผนการรบที่คุสค์ (Kursk) ที่ประสบความ
608/665

สำเร็จอย่างดีเยี่ยม โดยที่นี่กองทัพเยอรมันประสบความปราชัยในช่วงฤดู
ร้อนเป็นครั้งแรก จึงถือว่าเป็นชัยชนะที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับทีส่ ตาลิ
นกราด
หลังจากนั้น ชูคอฟ ก็ดูแลเรื่องการปลดปล่อยการปิดล้อมเลนินก
ราดทีป่ ระสบความสำเร็จ เดือนมกราคม 1944 ชูคอฟ นำกองทัพโซเวียต
ในการรุกทีม่ ีชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเบรเกรชั่น ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นปฏิบัติ
การณ์ทางทหาร ที่สุดยอดที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือนเมษายน
พ.ศ. 2488 กองทัพโซเวียต ยึดกรุงเบอร์ลินได้ และเยอรมนียอมแพ้โดย
ไม่มีเงื่อนไข
หลังสงครามจบสิ้น ชูคอฟเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเขต
ยึดครอง โซเวียตในเยอรมนี และเป็นผู้ว่าการทหารที่นั่น ความที่เขาเป็นที่
นิยมชมชอบจาก คนหลายฝ่ายอย่างมาก จึงมองกันว่าเขามีแนวโน้มเป็น
อันตรายอย่างมากกับระบอบเผด็จการสตาลิน ปี 1946 เขาจึงถูกเก็บเข้ากรุ
และโดนย้ายมาเป็นผู้บัญชาการเขตการทหารโอเดสซา ซึ่งห่างไกลจาก
เมืองหลวง และไม่ค่อยมีความ สำคัญทางยุทธศาสตร์ หลังการตายของส
ตาลิน เขาก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยได้ขึ้นเป็น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในปี 1953 และเป็นรัฐมนตรี
กระทรวงนี้ในปี 1954
มิถุนายน 1957 ชูคอฟ ได้ขึ้นเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกลาง
สภาเปรสซิเดียม แต่ถูกนิกิต้า ครุสชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตยุคนั้นปลด
609/665

จากกระทรวง และคณะกรรมาธิการกลางเดือนตุลาคมปีเดียวกัน เพราะ


ความขัดแย้งทางนโยบายด้านการทหารหลายเรื่อง
หลังจากครุสชอฟถูกโค่นล้มเดือนตุลาคม 1964 เบรชเนฟ ผู้นำ
ประเทศ คนใหม่ได้ฟื้นฟูความนิยมให้ชูคอฟอีกครั้ง แต่ไม่ฟื้นฟูอำนาจให้
ชูคอฟกลับมาเป็นทีน่ ิยมในโซเวียตจวบจนเสียชีวิตไปในวันที่ 18
มิถุนายนค.ศ. 1974 และศพ ของเขาถูกนำมาประกอบพิธีอย่างสมเกียรติ
ค.ศ. 1995 รัสเซียออกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชื่อ ชูคอฟ ออร์เดอร์
และ ชูคอฟ เมดัล เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 100 ปีวันคล้ายวันเกิดของ
เขา
ทีม่ องโกเลีย มีรูปปั้นของชูคอฟ ที่สร้างเพื่อรำลึกการรบแห่งฮาลฮิน
โกล รูปปั้นดังกล่าวนับเป็นรูปปั้นชิ้นแรกๆ สำหรับชูคอฟ และหลัง
เปลี่ยนแปลงการ ปกครองจากระบอบคอมมิวนิสต์ รูปปั้นของเขาก็เป็น
หนึ่งในงานไม่กี่ชิ้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากกระแสต่อต้านโซเวียตของชาว
มองโกเลีย
และนี่คือประวัติอย่างคร'าวๆ ของผู้นำในการสงครามของ
สงครามโลกครั้งที่ 2 ---
13

เหตุการณ์ที่น่าสนใจใน
สงครามโลกครั้งที่ 2
การฆ่าล้างพันธุ์
ความโหดร้ายของสงครามนำมาสูก่ ารเข่นฆ่าอย่างไร้ความปราณี ใน
การรบกันนั้นความตายถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากแต่ใน
สงครามโลก ครั้งที่ 2 นี้ยังมีรอยหรือบาดแผลสำคัญที่จารเอาไว้ในหน้า
ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ซึ่งคงสร้างความอับอายให้แก่มนุษย์ไปอีกนาน
เหตุการณ์ที่ว่านั้นคือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวโดยนาซี รวมไปถึงการฆ่าผู้คน
ในค่ายกักกันในกรณี ต่างๆ อย่างไร้ความปราณีและมนุษยธรรมด้วย
การล้างชาติพันธุ์โดยนาซีได้สังหารชาวยิวในทวีปยุโรปเป็นจำนวน
อย่าง น้อย 6 ล้านคน รวมไปถึงเชื้อชาติอื่นๆ อีกที่ถูกพวกนาซีลง
ความเห็นว่าเป็นพวกที่ “ไม่คู่ควร” หรือ “ต่ำกว่ามนุษย์” (รวมไปถึงผู้ที่
611/665

ทุพพลภาพ ผูท้ ี่มีอาการป่วยทางจิต เชลยสงครามโซเวียต พวก


รักร่วมเพศ สมาคมฟรีเมสัน ผูน้ ับถือลัทธิพยานพระเยโฮวาห์และชาว
ยิปซี) โดยเป็นส่วนหนึ่งของถอนรากถอนโคนอย่าง จงใจ และได้รับการ
ดำเนินการโดยรัฐบาลฟาสซิสต์นาซี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มีกรรมกร
และคนงานราว 12 ล้านคน ซึ่งโดยส่วนมากมาจากยุโรปตะวันออก ได้ถูก
ว่าจ้างให้มาทำงานให้เศรษฐกิจสงครามของนาซีเยอรมนี
นอกเหนือจากค่ายกักกันของนาซีแล้ว ยังมีค่ายกูลัก หรือค่าย
แรงงานของสหภาพโซเวียต ซึ่งได้นำไปสูค่ วามตายของพลเรือนจำนวนมาก
ในดินแดน ยึดครองของฝ่ายนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียต ได้แก่
โปแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวียและเอสโตเนีย รวมไปถึงเชลยสงครามของ
เยอรมัน และยังมีชาวโซเวียต บางส่วนที่คาดว่าเป็นผู้สนับสนุนของฝ่ายนา
ซี จากหลักฐานพบว่าเชลยสงคราม ของโซเวียตกว่า 60% ของทั้งหมดได้
เสียชีวิตระหว่างสงคราม
ริชาร์ด โอเวรีได้บันทึกตัวเลขเชลยศึกชาวโซเวียตไว้ 5.7 ล้านคน ซึ่ง
ในจำนวนนี้ 57% เสียชีวิต คิดเป็น 3.6 ล้านคน เชลยศึกโซเวียตทีร่ อด
ชีวิตและหลบหนีเข้าสู่มาตุภูมิจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ
ค่ายเชลยสงครามของญี่ปุ่นเองก็มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และยัง
มีการตั้งเป็นค่ายแรงงาน ภายหลังจากการตัดสินของศาลทหารพิเศษ
นานาชาติ แห่งภาคพื้นตะวันออกไกล (เดิมชื่อ ศาลพิเศษโตเกียว) ได้
ลงมติว่าอัตราการเสียชีวิตของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรคิดเป็น 27.1%
612/665

(ในจำนวนนี้เป็นทหารสหรัฐอเมริกา 37%) คิดเป็นเจ็ดเท่าของอัตรา


เดียวกันของค่ายแรงงานของนาซี เยอรมนีและอิตาลี แต่จำนวนดังกล่าว
นั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชลยศึกชาวจีน ซึ่งจากคำสั่งที่ได้รับการ
อนุมัตเิ มื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1937 โดยจักรพรรดิฮโิ รฮิโตะ ได้ระบุว่า ชาว
จีนไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายระหว่าง ประเทศ หลังจาก
สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารสหราชอาณาจักรได้รับการปล่อยตัว 37,853
นาย ทหารเนเธอร์แลนด์ 28,500 นาย ทหารสหรัฐอเมริกา 14,473 นาย
แต่พบว่าทหารจีนถูกพบว่าได้รับการปล่อยตัวเพียง 56 นาย
อ้างอิงจากการศึกษาร่วมกันของนักประวัติศาสตร์ ได้สรุปว่า มีชาว
จีนมากกว่า 10 ล้านคนถูกเกณฑ์โดยกองทัพญี่ปุ่น และถูกใช้แรงงาน
อย่างทาส เพื่อร่วมวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา ทั้งในแมนจูกัวและทาง
ภาคเหนือของประเทศจีน ห้องสมุดรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ประมาณว่า
ในเกาะชวาว่าชาว อินโดนีเซียกว่า 4 ถึง 10 ล้านคนต้องถูกบังคับให้
ทำงานแก่กองทัพญี่ปุ่นระหว่าง สงคราม ชาวอินโดนีเซียบนเกาะชวากว่า
270,000 คนได้ถูกส่งไปทำงานในดินแดนที่ญี่ปุ่นยึดครองอยูใ่ นเอเชีย
อาคเนย์ ซึ่งมีเพียง 52,000 คนเท่านั้นที่สามารถกลับคืนสู่ถิ่นเดิมได้
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1942 ประธานาธิบดีรสู เวลต์ได้ลงนามใน
แผนการ หมายเลข 9066 ซึ่งได้ทำการกักตัวชาวญี่ปุ่น ชาวอิตาลี ชาว
เยอรมัน และผู้อพยพ บางส่วนจากหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งหลบหนีหลังจากการ
โจมตีที่ฐานทัพเรือเพริ์ล ฮาเบอร์ในช่วงเวลาระหว่างสงครามเป็นจำนวน
613/665

มาก ชาวญี่ปุ่น-อเมริกันถูกกักตัว โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและแคนาดา


เป็นจำนวนกว่า 150,000 คน รวมไปถึงชาวเยอรมันและชาวอิตาลีซึ่งอาศัย
อยู่ในสหรัฐอเมริกาเกือบ 11,000 คน

บรรดาหญิงสาวต่างริ้อกองรองเท้าของเพื่อนๆ ที่ถูกสังหารในค่ายกักกันเอาชวิตซ์

ขณะเดียวกัน ก็การใช้แรงงานโดยฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นกัน
ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในดินแดนตะวันออก อย่างเช่น ในโปแลนด์ แต่
ยังมีผู้ใช้แรงงาน อีกกว่าล้านคนในตะวันตก ในเดือนธันวาคม 1945
หลักฐานของฝรั่งเศสได้ระบุว่า มีเชลยสงครามชาวเยอรมันกว่า 2,000 คน
ตายหรือพิการทุกเดือนในอุบัติเหตุ จากการเก็บกวาดทุ่นระเบิด
การทิ้งระเบิดปรมาณู
614/665

อีกเหตุการณ์หนึ่งทีส่ ั่นสะเทือนความรู้สึกของผู้คนทั้งโลก ใน
สงครามโลก ครั้งที่ 2 ก็คือ การทิ้งระเบิดปรมาณูหรือระเบิดนิวเคลียร์ครั้ง
แรกและครั้งเดียวแต่ 2 ลูกและ 2 เมือง ซึ่งเกิดขึ้นที่เมืองฮิโรชิมาและ
เมืองนางาซากิของญี่ปุ่น
การทิ้งระเบิดปรมาณูในครั้งนี้นอกจากจะทำให้คนทั้งโลกสบายใจขึ้น
ว่าสงครามคงจะจบสิ้นลงเสียทีก็จริง แต่อนุภาพของระเบิดที่ปรากฏต่อ
สายตา และการรับรู้ของผู้คนก็ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและเริ่มต่อต้านไม่
ให้มีการนำมันมาใช้ในสงครามใดๆ อีก
การทิ้งระเบิดปรมาณูหรือนิวเคลียร์ที่ฮโิ รชิมาและนางาซากิ เป็นการ
โจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลาย
สงคราม โลกครั้งที่ 2 โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี
เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม 1945
หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่างๆ 67 เมืองของญี่ปุ่น
อย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง
“ระเบิดปรมาณู” หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มชี ื่อเล่นเรียก
ว่า “เด็กน้อย” หรือ “ลิตเติลบอย” ใส่เมืองฮิโรชิมาในวันจันทร์ที่ 6
สิงหาคม 1945 ตามด้วย “ชายอ้วน” หรือ “แฟตแมน” ลูกที่ 2 ใส่เมืองนา
งาซากิโดยให้จุดระเบิดทีร่ ะดับ สูงเหนือเมืองเล็กน้อย นับเป็น
ระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูกเท่านั้นที่นำมาใช้ในประวัติศาสตร์การทำ
สงคราม
615/665

การระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตที่ฮิโรชิมา 140,000 คนและที่นางาซากิ


80,000 คนโดยนับถึงปลายปี 1945 จำนวนคนที่เสียชีวิตทันทีในวันที่
ระเบิดลงมีจำนวน ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่กล่าวนี้ และในระยะ
ต่อมาก็ยังมีผู้เสียชีวิตด้วยการบาดเจ็บหรือจากการรับกัมมันตภาพรังสีที่
ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดอีกนับหมื่นคน ผูเ้ สียชีวิตเกือบทั้งหมด
ในทั้ง 2 เมืองเป็นพลเรือน
หลังการทิ้งระเบิดลูกที่ 2 เป็นเวลา 6 วัน ญี่ปุ่นประกาศตกลง
ยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1945 และลงนาม
ในตราสาร-ประกาศยอมแพ้สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่นับเป็นการยุติ
สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน 1945 (นาซี
เยอรมนีลงนามตราสารประกาศ ยอมแพ้และยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน
ทวีปยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 1945) การทิ้งระเบิดทั้ง
สองลูกดังกล่าวมีส่วนทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องยอมรับหลักการ 3 ข้อ
ว่าด้วยการห้ามมีอาวุธนิวเคลียร์
ระเบิดปรมาณูเริ่มขึ้นเมื่อ สหรัฐอเมริกา อังกฤษและแคนาดา ได้
ร่วมมือกันตั้งโครงการลับ “ทูบอัลลอยด์” และ “สถานีวิจัยคลาค รีเวอร์”
เพื่อออกแบบและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ลูกแรก ภายใต้โครงการที่เรียกว่า
“โครงการ แมนฮัตทัน” ภายใต้การค้นคว้าวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ และ
นักฟิสิกส์อเมริกัน นาม เจ โรเบิร์ต, ระเบิดปรมาณูที่ใช้ถล่มเมืองฮิโรชิมา
ของญี่ปุ่น ทีช่ ื่อ “ลิตเติลบอย” นั้น ได้ใช้ ยูเรเนียม-235, ส่วนระเบิดที่ใช้
616/665

ถล่ม นางาซากิ นั้นใช้ พลูโตเนียม-239 ลูกระเบิดลูกแรกถูกทดสอบที่ ท


รีนิตี้ ,นิวเม็กซิโก ในวันที่ 16 กรกฎาคม 1945,

สภาพร่างกายจากแผลเพลิงไหม้กรณีทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาของเด็กชายผู้รอดชีวิตในเหตุการณ์

ในวันที่ 10-11 พฤษภาคม 1945 ได้มกี ารคัดเลือกเป้าหมายที่ Los


Alamos นำโดยเจ โรเบิร์ต นักฟิสิกส์ ใน “โครงการแมนฮัตทัน” ได้
แนะนำ เป้าหมายสำหรับระเบิดลูกแรก คือ เมืองเกียวโต ,ฮิโรชิมา ,โยโก
ฮามา โดยใช้เงื่อนไขที่ว่า
617/665

เป้าหมายต้องมีพื้นที่ขนาดใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ไมล์
และเป็นเขตชุมชุนที่สำคัญขนาดใหญ่ ระเบิดต้องสามารถทำลายล้างและ
สร้างความ เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายมียุทโธปกรณ์และที่
ตั้งของทหารต้องได้รับการระบุที่ตั้งแน่นอน เพื่อป้องกันหากการทิ้งระเบิด
เกิดข้อผิดพลาด
ผูร้ อดชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น เรียกจุดที่ระเบิดถูกทิ้งลง
ใส่ ฮิโรชิมา ว่า “ฮิบะกุชะ” ในภาษาญี่ปุ่นหรือแปลเป็นภาษาไทยว่า “จุด
ระเบิดที่มีผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่น” ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่น จึงมีนโยบายต่อต้าน
การใช้ระเบิด ปรมาณู ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และประกาศเจตนาให้โลกรูว้ ่า
ญี่ปุ่นมีนโยบายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์, ในวันที่ 31 เดือนมีนาคม
2008 “ฮิบะกุชะ” มีรายชื่อผูเ้ สียชีวิตจากทั้งสองเมืองของญี่ปุ่น ที่ถูกจารึก
ไว้ประมาณ 243,692 คน และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน มีรายชื่อผู้
เสียชีวิตทีถ่ ูกจารึกไว้เพิ่มขึ้นมากกว่า 400,000 คน โดยแบ่งออกเป็น เมือง
ฮิโรชิมา 258,310 คน และเมืองนางาซากิ 145,984 คน
สวัสดิกะ, การสดุดีแบบนาซี และโฟล์คสวาเกน
สวัสดิกะ,การสดุดีแบบนาซี และโฟล์คสวาเกน นับเป็นประเด็นย่อย
ทั้งนี้ที่ทั้ง 3 ประเด็นนี้มารวมอยู่ด้วยกันนั้นก็เพราะ มันกลายเป็นภาพ
เป็นสัญ-ลักษณ์ และกลายเป็นความรู้องค์รวมเมื่อเรากล่าวถึงหรือมา
สนใจในเรื่องราวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เยอรมนี และสงครามโลกครั้งที่ 2
เริ่มต้นกันที่เครื่องหมายสวัสดิกะกันก่อน
618/665

สวัสดิกะของพรรคนาซี เป็นสวัสดิกะเวียนขวาสีดำ เอียง 45 องศา


อยู่บนพื้นกลมสีขาว พื้นหลังสีแดง
เครื่องหมายสวัสดิกะ (สวัสติกะ-swastika) อันเป็นรูปกากบาท
ปลายหัก คนส่วนใหญ่เมื่อเห็นแล้วก็นึกถึงพรรคนาซีและฮิตเลอร์ ซึ่ง
แท้จริงแล้วเครื่อง หมายสวัสดิกะนี้ เป็นเครื่องหมายอันเป็นมงคลสูงยิ่ง ที่
น้อยคนนักจะรู้จักเป็นส่วนหนึ่งในเทพปกรณัมที่ควรศึกษาและถูกบันทึก
อยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ มาอย่างยาวนาน
สวัสดิกะ หรือ สวัสติกะ คือ เครื่องหมายแห่งพลวัตร การ
เคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง ความเปลี่ยนแปลงอยูต่ ลอดเวลา เป็น
เครื่องหมายแห่งการหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เครื่องหมายสวัสดิกะ ได้ปรากฏ
ในงานศิลปะมาหลายยุคสมัย โดยเฉพาะในสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาฮินดู
ศาสนาเชน แม้แต่ศาสนาพุทธ หลายๆประเทศในแถบเอเชีย กรีก ยุโรป
และอเมริกันพื้นเมือง จะใช้เครื่อง หมายสวัสดิกะเป็นสัญลักษณ์ในการ
สื่อสาร โดยเฉพาะการใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาและเทพเจ้า
คำว่า “สวัสติกะ” มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต ว่า “สุ” แปลว่า
ดี ร่วมกับคำว่า “อัสติ” แปลว่า มี และ “กะ” หมายถึงอาคม และเมื่อเอา
สามคำ มารวมกันจีงเรียกได้ว่า สวัสดิกะ เป็นเครื่องหมายแห่งความโชคดี
หรือเครื่องราง วัตถุมงคล
ในภาพเขียนพระพิฆเนศของอินเดียส่วนใหญ่ จะมีเครื่องหมาย
สวัสดิกะ วาดไว้ให้อยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพเขียนนั้นๆ เช่น กลาง
619/665

หน้าผาก บริเวณงวง ฝ่าพระหัตถ์ หรือปรากฏในส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่บนพระ


วรกายของพระพิฆเณศ เช่น บนหนังสือ ฝาผนัง ที่ประทับนั่ง ฯลฯ
เมื่อชาวฮินดูพบเห็นสัญลักษณ์สวัสติกะนี้ ก็จะให้ความเคารพ
เฉกเช่น เดียวกับเครื่องหมาย โอม
ความหมายของสวัสดิกะในแรกเริ่มนั้น จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่ง
ความ ดีงาม ความอุดมสมบูรณ์ เป็นเครื่องหมายแทนตัวของเทพเจ้า แต่
ภายหลังก็ถูกเปลี่ยนแนวคิดไปโดยสิ้นเชิง เมื่อมันกลายมาเป็นสัญลักษณ์
ของพรรคนาซี ในเยอรมนี ที่ก่อตั้งโดยฮิตเลอร์ ทำให้คนทั่วไปมองว่า
เครื่องหมายนี้เป็นสัญ- ลักษณ์ของเผด็จการ และนำไปสู่ความเข้าใจผิดๆ
เกี่ยวกับความหมายของสวัสดิกะ ในประเทศอื่นๆ อีกด้วย
ความหมายของสวัสติกะถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงต้นศตวรรษ
ที่ 20 เมื่อกลายเป็นสัญลักษณ์ของพรรคนาซีในเยอรมนี และตั้งแต่ช่วง
สงคราม โลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ก็มองว่า
สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการ นำไปสู่ความเข้าใจผิดๆ
เกี่ยวกับความหมายของสวัสติกะ ในวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย
พรรคนาซี นำเครื่องหมายสวัสติกะมาใช้เป็นสัญลักษณ์ อย่าง
เป็นทางการในปี 1920 และบทบาทของพรรคภายใต้การนำของฮิตเลอร์
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทำให้ความหมายของสวัสติกะ เปลี่ยนไป
จากหน้ามือเป็นหลังมือ
620/665

และมีอิทธิพลต่อการใช้สัญลักษณ์นี้อย่างแพร่หลาย ส่วนสาเหตุทฮี่ ิต
เลอร์นำ “สวัสติกะ” มาใช้เป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์มี
ที่มาจากชนชาติอารยัน เผ่าพันธุ์ของเขาเอง ซึ่งฮิตเลอร์เชื่อว่าเก่งกล้าเหนือ
เผ่าพันธุอ์ ื่นๆ และ สวัสติกะเป็นสัญลักษณ์แห่ง “การต่อสู้เพื่อชัยชนะของ
ชนชาติอารยัน”
การออกแบบธงประจำพรรคนาซีเริ่มขึ้นในฤดูร้อนปี 1920 โดย
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ โดยใช้ธงที่มพี ื้นหลังสีแดง วงกลมสีขาว และสัญลักษณ์
สวัสดิกะสีดำ ตรงกลาง โดยทีส่ ีบนพื้นธงได้แสดงความเชื่อมโยงถึง
จักรวรรดิเยอรมัน เนื่องจากเลือกใช้สีบนธงตรงกับสีธงชาติจักรวรรดิ
เยอรมัน นอกจากนี้ ธงประจำพรรคนาซียังมีความหมายมากกว่านั้น ตาม
ทีฮ่ ิตเลอร์ได้เขียนเอาไว้ใน Mein Kampf ว่า สีขาว หมายถึง ชาตินิยม
สีแดง หมายถึง สังคมนิยม และเครื่องหมายสวัสดิกะ ซึ่งใช้เป็น
เครื่องหมายของ เชื้อชาติอารยัน
เมื่อพรรคนาซีเข้าบริหารประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 1933
ธงชาติสีดำ-แดง-ทองถูกประกาศเลิกใช้เป็นธงชาติของนาซีเยอรมนี ต่อมา
คำสั่งในวันที่ 12 มีนาคม รัฐบาลได้ประกาศใช้ธงสามสี คือ ดำ-ขาว-แดง
ซึ่งเป็นธงชาติทใี่ ช้มาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเยอรมัน และธงสวัสดิกะของ
พรรคนาซีให้เป็นธงชาติ ของรัฐอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งสองแบบ ใน
ปี 1935 หลังจากประธานาธิบดี พอล ฟอน ฮินเดนเบิร์ก
ถึงแก่อสัญกรรม ฮิตเลอร์ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฟือห์เรอร์ การใช้
621/665

ธงชาติประจำรัฐสองผืนถูกยกเลิก และประกาศใช้ธงของพรรค นาซีเป็น


ธงชาตินาซีเยอรมนี ขณะที่ธงสีดำ-ขาว-แดงแบบเก่าถูกห้ามใช้ด้วยเหตุผล
ที่ว่า “ถอยหลังเข้าคลอง”
ในตอนปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 กฎหมายฉบับแรกที่บังคับใช้
โดย สภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร คือ การสั่งให้ทำลายสัญลักษณ์ของนา
ซีทั้งหมด และประกาศเลิกใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ ยังมี
คำสั่งห้ามใช้ธงสวัสดิกะในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศ
เยอรมัน
ดังนั้นจากเครื่องหมายแห่งความโชคดี จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์
แห่งเผด็จการไป จนเราเองก็คิดไปเช่นนั้นจนถึงวันนี้
คราวนี้มาดูเรื่องราวของการสดุดีแบบนาซีกันบ้าง
การสดุดีฮิตเลอร์ หรือ การสดุดแี บบนาซี หรือเป็นที่รู้จักกันใน
เยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่า การทักทายแบบเยอรมัน เป็น
การดัดแปลงมา จากการทำความเคารพแบบโรมัน โดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
หลังจากการเคลื่อนไหว ของผูน้ ิยมลัทธิฟาสซิสต์ ภายใต้การนำของเบนิโต
มุสโสลินี และการเคลื่อนไหว มวลชนอื่นๆ โดยเป็นการแสดงถึงความ
ยิ่งใหญ่ของฮิตเลอร์ตลอดช่วงเวลาของนาซีเยอรมัน
การสดุดีฮิตเลอร์นั้น ทำโดยชูแขนขวาขึ้นทำมุม 45 องศากับพื้นราบ
และเบนออกทางขวามือเล็กน้อย พร้อมกับเปล่งเสียงอันมั่นคงและดัง
กังวานว่า “ไฮล์ ฮิตเลอร์” หากยืนอยู่ต่อหน้าผู้ที่อาวุโสกว่าควรจะตบเท้าไป
622/665

ด้วยในขณะเดียวกัน แต่หากอยูร่ ะหว่างการชุมนุมและการประชุม ฝูงชน


อาจจะชูแขนขึ้นในอากาศพร้อมกับตะโกนว่า ซีก ไฮล์
ถึงแม้ว่าลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีจะนำการทำความเคารพแบบดังกล่าวมา
จากการทักทายในสมัยโรมันโบราณ แต่ฮิตเลอร์และผู้นำหน่วยเอสเอส เฮ
นริช ฮิมม์เลอร์กลับเชื่อว่าการทำความเคารพแบบดังกล่าวเกิดจากการ
ชุมนุมกันของ ชาวเยอรมันโบราณ

การสดุดีแบบนาชี และ สวัสดิกะ แสตป์ที่ระลึกของนาชีในปี1936


623/665

ฮิตเลอร์พิจารณาการ ทำความเคารพดังกล่าวว่าเป็นการแสดงถึง
จิตวิญญาณ อันกระหายสงครามของชาวเยอรมัน ขณะทีฮ่ ิมม์เลอร์มองว่า
เป็นการมอบความสัตย์พร้อมกับหอกทีช่ ูปลายขึ้น จากคำกล่าวอ้างดังกล่าว
มีการอ้างสนับสนุนอยู่บางส่วน นักประวัติศาสตร์ได้ถกเถียงกันมานานแล้ว
ว่าการทำ ความเคารพในแบบเดียวกันถูกใช้เฉพาะแต่ในการสถาปนา
กษัตริย์เยอรมันในสมัยโบราณเท่านั้น
ส่วนทางด้านสารานุกรมโบรคเฮาส์ได้ตอกย้ำแนว คิดดังกล่าว โดย
แจ้งว่าการทำความเคารพแบบดังกล่าว สันนิษฐานว่านำมาจากกิริยา
ท่าทางที่ใช้ระหว่างการราชาภิเษกของกษัตริย์เยอรมันในยุคกลางตอนต้น
พร้อมกับเปล่งเสียงออกมาว่า “ไฮล์” ตามทฤษฎีอารยันของพรรคนาซี
ผู้ปกครองโรมันสมัยโบราณชอบท่องเที่ยวไปตามยุโรปตอนเหนือ ดังนั้น
พรรคนาซีจึงมีความเชื่อว่า ชาวโรมันได้นำเอาการทำความเคารพดังกล่าว
กลับไปยังกรุงโรมด้วย
ตั้งแต่ปี 1933 จนถึงปี 1945 การสดุดีฮิตเลอร์ถือว่าเป็นการทักทาย
แบบเยอรมันโดยทั่วไป การเปล่งเสียงว่า “ไฮล์ ฮิตเลอร์” (อันมี
ความหมายว่า “ฮิตเลอร์ จงเจริญ”) ถูกใช้ในการแสดงความเคารพต่อ
ประชาชนโดยตรง หรือกับนายทหารระดับสูงของหน่วยเอสเอส ส่วนการ
ทำความเคารพตัวฮิตเลอร์เอง นั้นให้ใช้คำว่า “ไฮล์ ไมน์ ฟือห์เรอร์” (ผู้นำ
ของเรา จงเจริญ) หรือจะเปล่งเสียง ง่ายๆ ว่า “ไฮล์” เมื่อกล่าวถึงตัวฮิต
เลอร์เป็นบุคคลที่สาม
624/665

ซีก ไฮล์ หรือ “ชัยชนะ จงเจริญ” เป็นถ้อยคำที่พรรคนาซีมักจะใช้


ในการ ชุมนุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการปราศรัยของฮิตเลอร์ โดย
ปกติแล้วผู้กล่าว จะทวนคำพูดสามครั้งจะได้ว่า “ซีก ไฮล์... ซีก ไฮล์...
ซีก ไฮล์”
โดย ส่วนตัวของฮิตเลอร์แล้ว เขามักจะใช้การแสดงความเคารพ
ดังกล่าว เช่นกัน และปรากฏรูปถ่ายมากมายทีเ่ ห็นว่าฮิตเลอร์แสดงความ
เคารพต่อฝูงชนจากรถเปิด ประทุนที่เขาโดยสาร ในขณะที่ฮิตเลอร์มักจะมี
การดัดแปลงแก้ไข รูปแบบใหม่เสีย โดยแขนของเขาจะงอขึ้นจากข้อศอก
พร้อมกับเอาฝ่ามือเอียง เข้าหาไหล่ โดยเป็นสัญลักษณ์ของการทำความ
เคารพธงชาติของชาวอเมริกัน ซึ่งได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการ
เคลื่อนไหวแบบลัทธินาซีและลัทธิฟาสซิสต์
หลังจากแผนการก่อรัฐประหาร 20 กรกฎาคม ในปี 1944 กำลัง
ทหารทั้งหมดในนาซีเยอรมนีได้รับคำสั่งให้เปลี่ยนจากการแสดงความ
เคารพแบบทหารตามปกติเป็นการสดุดีฮิตเลอร์ทั้งหมด โดยคำสั่งดังกล่าว
มีผลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กำลังพลบางส่วน
ปฏิเสธคำสั่งดังกล่าวและใช้การทำความเคารพแบบเดิมต่อไป โดย
ก่อนหน้านั้น การสดุดีฮิตเลอร์ถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถเลือกได้ในการแสดง
ความเคารพในกองทัพเยอรมัน และใช้เฉพาะเป็นการตอบรับการทักทาย
แบบดังกล่าวเท่านั้น
625/665

การสดุดีฮิตเลอร์ซึ่งเป็นการดัดแปลงมาจากการทำความเคารพแบบ
โรมันถูกใช้ในหลายประเทศด้วยความหมายหลายประการก่อนหน้า
สงคราม โลกครั้งที่ 2 อย่างเช่น การทำความเคารพแบบเบลลามี ซึ่งใช้
เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิญาณความจงรักภักดีต่อธงชาติสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
และการทำความเคารพแบบโรมันมีส่วนคล้ายกับการสดุดีฮิตเลอร์ ในปี
1942 จึงได้มีการยกเลิกการแสดงความเคารพดังกล่าวเนื่องจากสาเหตุนี้
และยังได้มีการยกเลิกการแสดงความเคารพแบบดังกล่าวในอีกหลาย
ประเทศ ในประเทศสเปน การทำความเคารพแบบฟาสซิสต์เป็นที่นิยม
น้อยลง ภายหลังการถึงอสัญกรรมของฟรานซิสโกฟรังโก ในปี 1975
ถึงแม้ว่าจะมีการใช้กันอยู่ในกลุ่มนีโอฟาลังก์
หลังปี 1945 การแสดงความเคารพดังกล่าวและการใช้ถ้อยคำ
ประกอบ ถูกห้ามในประเทศเยอรมนีและออสเตรียภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนการแสดงความเคารพยังคงมีใช้กันอยูโ่ ดยกลุ่ม
นีโอนาซี ซึ่งใช้ตัวเลข 88 ในการ สื่อความหมายว่า “ฮิตเลอร์ จงเจริญ”
(เลข 8 หมายถึง ตัวอักษร H ในภาษาอังกฤษ) การทำความเคารพ
รูปแบบหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า การทำความเคารพแบบคือเนน ซึ่งประกอบด้วย
นิ้วโป้ง นิ้วชี้และนิ้วกลางก็ถูกห้ามในประเทศเยอรมนีเช่นกัน
และสุดท้ายก็มาถึง ความอมตะของโฟล์คสวาเกน
626/665

บางคนอาจจะยังไม่รู้หรือเคยได้รู้มาก่อนว่า แท้จริงแล้วยี่ห้อหรือตรา
สำคัญของรถคลาสสิกเจ้าหนึ่งของโลก ทีม่ ีชื่อว่า โฟล์คสวาเกน (Volk-
swagen) นั้น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นคนคิดขึ้นมา หรืออาจกล่าวได้ว่าเขา
นั้นเองทีด่ ำริให้มันได้ถือกำเนิดมาในโลกนี้ จนกลายเป็นที่รู้จักและยังมีคน
นิยมมาจนถึงปัจจุบัน
เจ้ารถโฟล์คสวาเกนที่ว่านี้แท้จริงก็คือ รถเต่า ที่คนไทยเราเรียกหรือ
ฝรั่งก็เรียกว่า โฟล์คบีทเทิล นั่นเอง
ว่ากันว่า บันทึก ในฤดูร้อนปี 1932 ฮิตเลอร์วาดร่างออกแบบรถขึ้น
มา ระหว่างนั่งอยู่ในร้านอาหารทีเ่ มืองมิวนิค ที่เขาคิดเช่นนั้นก็เพราะว่าใน
ระยะแรก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมัน ในฐานะเป็นผู้นำ
กลุ่มอักษะ ได้ใช้ยุทธวิธที ั้งกำลังพลและกำลังอาวุธทีม่ ากด้วยประสิทธิภาพ
แล้วส่งไปตามจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั่วภูมิภาค เพื่อหวังจะยึดครองโลก
หนึ่งในบรรดาจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญนั้นเป็นพื้นที่ทะเลทราย ซึ่งต้องอาศัย
พาหนะที่ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับทุกสภาพ
อีกทั้งในเวลาต่อมาเขาก็คิดต่อยอดเอามาได้อีกว่าเพราะอยากให้
ผู้คนเยอรมันมีรถยนต์ขับขี่ ดังนั้นจึงเกิดคำว่าโฟล์คสวาเกน ขึ้นซึ่งมี
ความหมายว่า “รถของประชาชน”
คำว่า Volk ในภาษาเยอรมัน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ประชาชน
ส่วนคำว่า wagen นั้นแปลว่า รถยนต์
627/665

ฮิตเลอร์มีบัญชาให้ออกแบบสร้างรถยนต์ที่ดั้นด้นไปทุกแห่งหนได้
โดยไม่ต้องง้อน้ำ และต้องออกแบบให้เรียบง่าย ลดค่าใช้จ่ายทั้งในการ
ผลิตและซ่อม บำรุง วิศวกรเยอรมันชื่อ “ดร. เฟอร์ดินานด์ ปอร์เช่” ใช้
ความเป็นอัจฉริยะ และประสบการณ์ที่ได้จากการออกแบบ ทำรถยนต์ที่
สนองความปรารถนาของ จอมเผด็จการได้อย่างครบถ้วน และยังแถมให้
ด้วยความต้องการที่จะให้คนเยอรมัน มีคุณภาพชีวิตที่เทียมทัน ไม่
น้อยหน้าคนอเมริกันทีม่ ีรถที่สร้างทำง่ายๆ อย่างรถฟอร์ด Model T ใช้
กันเกลื่อนแทบทุกครัวเรือนในอเมริกา ซึ่งฮิตเลอร์มีบัญชาให้ปอร์เช่
เดินทางไปศึกษาด้วยตนเอง รถยนต์ที่ ดร.ปอร์เช่ ออกแบบสร้าง ให้ใน
เวลาอันรวดเร็วทันตามบัญชาของผู้เผด็จการ นอกจากจะเหมาะสำหรับใช้
ในการทำสงครามทะเลทรายตามความต้องการหลักของฮิตเลอร์แล้ว ยัง
เหมาะที่จะให้ใช้เป็นพาหนะของคนเยอรมันได้ถ้วยหน้า
ในปี 1938 รถโฟล์คคันแรกถูกผลิตออกมาให้ประชาชนได้ใช้งานกัน
อย่างจริงจังด้วยคำสั่งของฮิตเลอร์
628/665

"ออมไว้ 5 มาร์กต่อสัปดาห์ หากคุณปรารถนาไว้ขับขี่" คำโปรยโฆษณารถโฟล์คสวาเกนในสมัยที่ยัง


ใช้ชื่อ kdF-Wagen ยนตกรรมอมตะจากแนวคิดของนาซีเยอรมันสมัยฮิตเลอร์เรืองอำนาจ

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ยุติด้วยความปราชัยย่อยยับของ


เยอรมัน และความตายของฮิตเลอร์นั้น แม้แต่คนเยอรมันเองก็มอง
รถยนต์รูปร่างเหมือน “เต่าทอง” ด้วยความรู้สึกเป็นจิตใต้สำนึกว่า นีค่ ือสิ่ง
629/665

หนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่ง สงคราม และความปราชัยของเยอรมนี จึงไม่มี


ผู้ใดแยแสทีจ่ ะคิดต่อชีวิตให้แก่รถยนต์รูปร่างหน้าตาประหลาดนี้ เมื่อ
สงครามยุตแิ ละกลายเป็นนายทหารอังกฤษของสัมพันธมิตรผู้มีชัย ที่เกิด
ความคิดว่ารถเยอรมันคันเล็กๆ นี้ น่าจะแก้ปัญหาความขาดแคลน
ยานพาหนะของชาวโลกได้ในยุคหลังสงคราม
“Ripley” ต้องรีบเขียนคอลัมน์ “Belive it or not!” เมื่อปรากฏ
ว่าแทบจะทันทีที่โรงงานซึ่งมีสัญลักษณ์ “หมาป่า บนกำแพงขาว”
แปรสภาพจากกองอิฐหัก เพราะลูกระเบิดสัมพันธ์มิตรกลับเข้ารูปเข้ารอย
สามารถผลิตรถยนต์รูปร่างเหมือนเต่าทองได้อีกครั้งด้วยความสนับสนุน
ของพันธมิตร “โฟล์คสวาเกน” ทุกคันที่ออกจากสายการผลิต จะมีผู้
จับจองทันทีแทบไม่ให้สีมีโอกาส แห้ง
ในช่วงเวลาไม่กี่ปี สถิติการผลิตรถฟอร์ด Model T ก็ถูกทำลาย
ราบคาย ด้วยจำนวนรถ “เต่าทอง” ที่ผลิตจากโรงงานที่กระจัดกระจายอยู่
ทั่วโลก และทำให้โฟล์คสวาเกนเต่าทองกลายเป็นรถยนต์ชนิดเดียวใน
ประวัติศาสตร์ทคี่ นทั่วไปไม่อาจบอกได้ว่า รถคันที่วิ่งอยู่ตามถนนที่เห็นนั้น
เป็นรุ่น 1939 หรือ 1999 กันแน่
ทีส่ ำคัญยิ่งกว่านั้นอยู่ที่ว่า รถยนต์ซึ่งเกิดขึ้นด้วยความชิงชังคนทั้ง
โลกนอกจากคนเผ่าอารยันของตนเอง ได้กลับกลายเป็นรถยนต์ที่คนทั้ง
โลกชื่นชม รักใคร่ปรารถนาที่จะได้เป็นเจ้าของ ไม่เพียงเพราะตระหนักถึง
ความสำคัญในประวัติศาสตร์เท่านั้น หากยังเป็นด้วยบุคลิกที่ไม่เหมือนใคร
630/665

อีก ด้วยรูปลักษณ์ ที่ผิดแผกแตกต่างกับรถคันใด ได้ทำให้โฟล์ค


“เต่าทอง” เป็นขวัญใจของคนรักรถด้วยประเด็นที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่ง
บางทีก็อยูท่ ี่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างเช่นเมื่อหลายสิบปีมาแล้วความรักความ
หวงแหนห่วงใยนำมาซึ่งความเอาใจใส่ทะนุถนอม จึงยากที่จะเห็นว่ามี
โฟล์คเต่าคันไหนที่เจ้าของทอดทิ้งปล่อยปละ ไม่ดูแลรักษา ส่วนใหญ่มกี าร
ตกแต่งสวยงามไร้ตำหนิเหมือนเพิ่งถอยออกจากอู่ หรือร้านรับจ้างตกแต่ง
กระนั้น ด้วยเวลาที่ล่วงเลยไป และหลักฐานที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะมี
ข้อโต้แย้งในเรื่องความคิดหรือผู้ที่คิดค้นเจ้ารถโฟล์คสวาเกน นี้ขึ้นมาบ้าง
อย่างเช่น นาย Paul Schilperoord ได้เปิดโปงเบื้องหลังตำนานบันลือ
โลกของเจ้าโฟล์คเต่านี้ในหนังสือเล่มใหม่ของเขา โดย เนื้อหาใจความของ
หนังสือเล่มนีไ้ ด้กล่าว ถึงการกำเนิดแนวคิด ‘รถแห่งประชาชน’ ว่าเป็นของ
วิศวกรชาวยิวนามว่า Josef Ganz พร้อมทั้งอ้างอิงหลักฐานต่างๆ ที่
ความจริงนั้นมีอยู่ แต่ผู้คนมักมองข้ามและลืมเลือน พร้อมทั้งปักใจเชื่อคำ
โฆษณาชวนเชื่อของฮิตเลอร์อย่างหัวปักหัวปำ
หนังสือเล่มนี้ได้เท้าความถึงเรื่องของนาย Josef Ganz ผู้ที่ได้ร่าง
แบบรถยนต์ตามแนวคิด ‘รถแห่งประชาชน’ (หรือที่แปลตรงตัวเป็น
ภาษาเยอรมันว่า ‘Volkswagen’) ของเขาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัยใน
ปี 1923 (สิบกว่าปีก่อนที่ฮิตเลอร์จะกล่าวถึงรถแห่งประชาชนของชาว
อาณาจักรไรซ์ที่ 3 ...ก่อนทีฮ่ ิตเลอร์ จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศด้วย
ซ้ำ)
631/665

Volkswagen ของนายโจเซฟเป็นเค้าโครงรถขนาดเล็ก ตัวถัง


น้ำหนักเบา และมีการออกแบบทีอ่ าศัยหลักอากาศพลศาสตร์เข้ามา
ประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตด้วยต้นทุนที่ไม่แพงนัก
(ฟังดูแล้วช่างเหมือนกับคอนเซ็ปต์รถโฟล์คเต่าทองเสียนีก่ ระไร) แต่ด้วย
ความทีย่ ังเป็นนักศึกษาอยู่ จึงไม่มีสตางค์พอที่จะสร้างรถต้นแบบได้ จึงได้
แค่นำแบบร่างของเขาออกนำเสนอแนวคิด ‘รถแห่งประชาชน ในหนังสือ
วารสารวิศวกรรมต่างๆ และแนวคิด ของรถแห่งประชาชนของโจเซฟนี้
ก็ได้รับการยกย่องจากวงการวิศวกรรมยานยนต์ในสมัยนั้น ว่าเป็นแนวคิด
ที่สุดยอดวิศวกรรมแห่งความเรียบง่าย ผสมผสานกับประโยชน์ใช้สอยได้
อย่างเหนือชั้น
จนกระทั่งปี 1929 หลังจากเรียนจบและได้งานทำเป็นบรรณาธิการ
วารสารด้านวิศวกรรมยานยนต์ชื่อ Motor-Kritik และระหว่างนี้นายโจ
เซฟก็ได้เผยแพร่แนวคิด ‘รถแห่งประชาชน อย่างต่อเนื่อง และในเวลา
เดียวกันนายโจเซฟก็ได้ออกบทความโจมตีแนวคิดรถยนต์แบบดั้งเดิมที่
คันใหญ่เกินความจำเป็น ทำให้มนี ้ำหนักมาก สิ้นเปลืองวัสดุ ทำให้ต้นทุน
การผลิตแพงโดยใช่เหตุ และทีส่ ำคัญเปลืองน้ำมันมากเกินความจำเป็น
ด้วย
ในปี 1929 นี้ หลังจากที่สะสมเงินได้มากพอที่จะสร้างรถต้นแบบ
ภายใต้ แนวคิด ‘รถแห่งประชาชน’ นายโจเซฟจึงได้ไปจ้างบริษัทสองแห่ง
ให้ผลิตรถต้นแบบขึ้นมา 2 คัน โดยคันแรกชื่อว่า Ardie-Ganz ซึ่ง
632/665

ต่อมาได้เข้าสูส่ ายการผลิตและออกมาขายในปี 1930 และคันที่ 2 ชื่อเล่นๆ


ว่า Maikafer ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างตรงตัวว่า May Beetle
(เป็นภาษาไทยคงประมาณว่า ‘เจ้าเต่าทองน้อยแห่งฤดูใบไม้ผลิ’) แต่เจ้า
Maikafer ยังไม่ได้มีการผลิตออกมาขายอย่างเป็นทางการ
ด้วยระบบวิศวกรรมอันชาญฉลาดและนวัตกรรมรถยนต์ขนาดเล็ก
น้ำหนักเบาของเจ้า Maikafer ทำให้ชื่อเสียงของโจเซฟเป็นที่เลื่องลือใน
วงการถึงความอัจฉริยะในการออกแบบรถยนต์ จนทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่
อย่างเมอร์เซเดส -เบนซ์และบีเอ็มดับเบิลยูกย็ ังมาว่าจ้างนายโจเซฟ
ออกแบบรถให้ ซึ่งรถของทั้งสองบริษัททีโ่ จเซฟมีส่วนร่วมในการออกแบบ
และใช้เทคโนโลยีระบบกันสะเทือน แบบอิสระที่เขาคิดค้นขึ้น ก็ประสบ
ความสำเร็จอย่างถล่มทลาย ทั้ง Mercedes-Benz 170 และ BMW
BMW 3/20
ต่อมาในปี 1933 บริษัทรถยนต์เยอรมันที่ชื่อ Standard ได้สร้าง
รถยนต์ตามแนวคิดรถแห่งประชาชน Volkswagen Maikafer ของโจ
เซฟอย่างเต็มรูปแบบ กล่าวคือเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
สมรรถนะดี แต่ราคาย่อมเยา โดยรุ่นแรกชื่อว่า Standard Superior
ซึ่งเปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ทเี่ มืองเบอร์ลินในปีเดียวกัน และในงานนี้เอง
ผลงานนวัตกรรมยานยนต์ขนาดเล็กของโจเซฟได้เตะตาฮิตเลอร์ซึ่งดำรง
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (หรือทีเ่ รียกว่า Chancellor ในระบบของ
เยอรมัน) เข้าเต็มสองเบ้าตา ด้วยประโยชน์ใช้สอยที่ดีเยี่ยม สมรรถนะ
633/665

และความปลอดภัยเป็นเลิศ และทีส่ ำคัญคือราคาย่อมเยาเพียง 1,590


ไรซ์มาร์ก
แต่แล้ว ด้วยนโยบาย ‘เชิดชูเชื้อสายอารยัน บ่อนทำลายเชื้อสายยิว’
ของพรรคนาซี นายโจเซฟผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งบรรณาธิการฝีปากกล้าของ
วารสาร Motor-Kritik ก็กลายเป็นเป้าสำหรับปฏิบัติการ ‘เชือด’ นายโจ
เซฟถูกตั้งข้อหาบ่อนทำลายชาติและตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ต่ออาณาจักรไรซ์ที่ 3
และก็ถูกตำรวจลับเกสตาโปจับตัวไปตามระเบียบ ต่อมาในเดือนมิถุนายน
1934 นายโจเซฟ ‘จ่าย’ เบิกทางเพื่อหนีออกจากค่ายกักกันของนาซี
จากนั้นก็หลบๆ ซ่อนๆ หนีอย่างหัวซุกหัวซุนจากการตามล่าของตำรวจลับ
เกสตาโปข้ามไปอยู่ฝั่งสวิสได้ในที่สุด
ในเดือนมิถุนายน 1934 เดือนเดียวกับที่นายโจเซฟได้ ‘หายตัว’ ไป
ตำนานรถแห่งประชาชนซึ่งได้ความคิดริเริ่มจากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ
ผู้นำ แห่งอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ก็บังเกิด ... “เราต้องการรถแห่งประชาชน
เพื่อประชาชน ของอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ของเรามีรถยนต์ใช้อย่างทั่วหน้า
รถยนต์คันทีว่ ่านี้ จะต้องจุผู้ใหญ่ได้สองคนเด็กอีกสอง พร้อมทั้งสามารถจุ
สัมภาระสำหรับเดินทางสุดสัปดาห์ได้ มันต้องสามารถวิ่งได้ความเร็วระดับ
100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แถมราคาต้องเป็นที่เอื้อมถึงของประชาชนทั่วไป
ด้วย” เสียงประกาศก้องในการปราศรัยของท่านผู้นำได้รับการขานรับ
พร้อมกับเสียงปรบมือดังกึกก้องจากประชาชนของอาณาจักรไรซ์ที่ 3 และ
634/665

นายเฟอร์ดินัน ปอร์เช่ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ออกแบบ ‘รถยนต์แห่ง


ประชาชน’ ตามคำประกาศวิสัยทัศน์นี้อย่างเป็นทางการ
ในเวลาเดียวกับทีร่ ถโฟล์คเต่าสร้างตำนานแห่งยานยนต์ นายโจเซฟ
ก็ยังใช้ความพยายามในการทีจ่ ะสร้างประวัติศาสตร์กับแนวคิด ‘รถแห่ง
ประชาชน’ ของเขาอยู่เนืองๆ แต่หารู้ไม่ว่าความพยายามอย่างไม่ลดละของ
เขานี้ กลับกลายเป็นการสร้างความพยาบาทให้กับอีกฝ่าย ซึ่งประกาศตาม
ล่าหัวนายโจเซฟแม้อยู่นอกอาณาเขตของอาณาจักรไรซ์ที่ 3 แล้วก็ตาม
นายโจเซฟจึงต้องหนีอย่างหัวซุกหัวซุนจากการถูกตามล่าอีกครั้งหนึ่ง จาก
สวิสหนีไปฝรั่งเศส และสุดท้ายก็นั่งเรือหนีไปออสเตรเลียพร้อมกับร่างกาย
ที่อ่อนล้าแต่จิตใจที่แน่วแน่ เขายังคิดที่จะกอบกู้ชื่อเสียงของตนต่อไป
ต่อมาในปี 1951 นายโจเซฟก็ได้เข้าทำงานกับบริษัทรถยนต์โฮลเด้น
ของออสเตรเลีย แต่ในที่สุดสังขารอันอ่อนล้าจากการถูกทรมานใน
ค่ายกักกันและการหนีจากการถูกตามล่าก็เป็นอุปสรรค์ในการกอบกู้
ชื่อเสียงของเขา นายโจเซฟผู้ซึ่งมีอายุเพียง 53 ปีได้ทนทุกข์ทรมานจาก
อาการหัวใจวายหลายครั้งหลายคราจนร่างกายครึ่งซีกไม่สามารถขยับได้
ต้องนอนซมอยู่บนเตียง ในที่สุด เขาก็จากโลกไปในปี 1967 พร้อมกับ
ความพ่ายแพ้และชื่อเสียงที่ถูกลืมเลือนไปจากหน้าประวัติศาสตร์แห่ง
วงการยนตกรรมในที่สุด ---
14

ภาวะหลังสงคราม
สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุตลิ งเมื่อปี 1954 ประเทศมหาอำนาจอักษะ
เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม กระนั้นทั้งประเทศที่ชนะและพ่ายแพ้สงครามต่าง
ต้องประสบกับความยากลำบากด้วยกันทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะความ
เสียหายอันเกิด จากสงครามและกินพื้นที่กว้างไปทั่วโลก
ได้มีการประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจำนวน
มาก กว่า 60 ล้านคน ประกอบไปด้วยทหารอย่างน้อย 22 ล้านคน และ
พลเรือนอย่างน้อย 40 ล้านคน
สาเหตุเสียชีวิตของพลเรือนส่วนใหญ่นั้นมาจากโรคระบาด การอด
อาหาร การฆ่าฟัน และการทำลายพืชพันธุ์ ด้านสหภาพโซเวียตสูญเสีย
ประชากรราว 27 ล้านคนระหว่างช่วงสงคราม คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของ
ความสูญเสียทั้งหมด ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
636/665

จากความสูญเสีย 85% เป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร และ 15% เป็น


ของฝ่ายอักษะ มีการประมาณว่ามีพลเรือนราว 12 ล้านคนเสียชีวิตในค่าย
ล้างเผ่าพันธุ์ของนาซี 1.5 ล้านคนจากการทิ้งระเบิด และสาเหตุอื่นๆ ใน
ยุโรปอีก 7 ล้านคน รวมไปถึงอีก 7.5 ล้านคนในจีน โดยเหตุการณ์ที่
โด่งดังได้แก่ การสังหารหมู่ที่นานกิง
ความสูญเสียนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด เนื่องจากไม่ค่อยมีบันทึกเป็น
ลายลักษณ์อักษร และจากความสูญเสียดังกล่าวนั้น 6 ล้านคนเป็นเชื้อชาติ
ยิว ซึ่งถูกสังหารระหว่างการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี และด้านทหารญี่ปุ่นก็ได้
สังหารพลเรือนราว 3 ล้านถึง 10 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน
ระหว่างสงครามโลก ครั้งที 2
นอกจากนั้น เรื่องของการใช้อาวุธชีวภาพและอาวุธเคมียังได้ถูกนำมา
ตัดสินด้วย ทหารอิตาลีได้ใช้แก๊สมัสตาร์ดในการรุกรานเอธิโอเปีย ส่วน
ญี่ปุ่นได้ใช้อาวุธดังกล่าวในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 และในสงคราม
ชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่น โดยทั้งเยอรมนีและญี่ปุ่นได้มกี ารทดลองอาวุธกับ
พลเรือนและเชลยสงครามจำนวนมาก
ขณะที่การตัดสินคดีความอาชญากรรมสงครามของฝ่ายอักษะถูก
ชำระ ความ แต่ว่าอาชญากรรมของฝ่ายสัมพันธมิตรกลับตรงกันข้าม
ตัวอย่างอาชญา กรรมสงคราม เช่น การถ่ายเทพลเรือนในสหภาพโซเวียต
คำสั่งแผนกบริหารที่ 9066 การสังหารพลเรือนอย่างโหดร้ายของทหาร
637/665

โซเวียตในโปแลนด์ และการทิ้งระเบิดใส่เมืองเดรสเดนจนมีผู้เสียชีวิตใน
หลักแสน
นอกจากนั้น ยังมีความสูญเสียบางประการที่เป็นผลทางอ้อมของ
สงคราม อย่างเช่น ทุพภิกขภัยในแคว้นเบงกอล (1943) เป็นต้น
สนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพโซเวียต
และฝรั่งเศส ได้เข้าร่วมประชุมร่างสนธิสัญญาสันติภาพขึ้นหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการลงนามกันที่กรุงปารีสเมื่อปี 1947 ตาม
สนธิสัญญาสันติภาพนี้ ประเทศอิตาลี และบริวารของเยอรมนีคือ
บัลแกเรีย ฮังการี โรมาเนีย และฟินแลนด์ ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม
จำกัดอาวุธ และเปลี่ยนแปลงเขตแดน
โดยอิตาลีต้องเสียแคว้นทริเอสเต (Trieste) ให้อยู่ภายใต้การ
อารักขาของสหประชาชาติ เสียแคว้นเวเนเซีย (Venezia) กิเลีย (Gilia)
และเกาะเล็กๆ ในทะเลอาเดรียติกให้แก่ยูโกสลาเวีย เสียดินแดนบางส่วน
ให้ฝรั่งเศส เกาะโดเด คาเนส (Dodecanese) ตกเป็นของกรีซ
อาณานิคมในแอฟริกา ได้แก่ โซมาลิแลนด์ (Somaliland) เอริเทรีย
(Eritria) ลิเบีย (Libya) อยู่ในความดูแลของ 4 มหาอำนาจ ได้แก่
อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา
638/665

นอกจากนี้อิตาลียังถูกจำกัดกำลังทหาร โดยกองทัพบกจะมีกำลัง
ทหาร ได้ไม่เกิน 185,000 คน กองทัพเรือและกองทัพอากาศมีได้อย่างละ
ประมาณ 25,000 คน ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เขตแดนประเทศต่างๆ ในยุโรปหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

ฮังการี ต้องเสียทรานซิลเวเนีย (Transylvania) ให้โรมาเนีย คืน


ดินแดนทีย่ ึดมาจากเชกโกสโลวาเกียในปี 1938 ให้แก่เจ้าของเดิม ถูก
จำกัดกองทัพบก มีทหารได้ไม่เกิน 65,000 คนกองทัพอากาศมีทหารได้ไม่
เกิน 5,000 คน และต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
639/665

โรมาเนีย ได้ทรานซิลเวเนีย แต่ต้องเสียเบสสาราเบีย (Bessara-


bia) ให้รัสเซีย และเสียเขตทางใต้ของโดบรุดจา (Dobrudja) ให้
บัลแกเรีย กองทัพถูกจำกัดจำนวน มีทหารได้ไม่เกิน 120,000 คน
กองทัพเรือมีได้ไม่เกิน 5,000 คน และกองทัพอากาศได้ไม่เกิน 8,000 คน
ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
บัลแกเรีย ได้เขตทางใต้ของโดบรุดจา จากโรมาเนีย กองทัพบกมี
ทหาร ได้ไม่เกิน 55,000 คน เสียค่าปฏิกรรมสงคราม 7 ล้านดอลลาร์
สหรัฐ
ฟินแลนด์ เสียเปทซาโม (Petsamo) และเซาเทิร์นซา
เลเรีย(Southern Sarelia) ให้แก่รัสเซีย และต้องให้เช่าฐานทัพเรือที่อ่าว
ฟินแลนด์เป็นเวลา 50 ปี ถูกจำกัดกองทัพบก มีทหารได้ไม่เกิน 34,000
คน กองทัพเรือไม่เกิน 4,500 คน และกองทัพอากาศไม่เกิน 3,000 คน
เสียค่าปฏิกรรมสงคราม 30 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ
ส่วนเยอรมนี พี่ใหญ่ของสงครามในครั้งนี้ จากการประชุมตกลงสัน
นิภาพกำหนดให้แบ่งเยอรมนีออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายโลกเสรีและโลก
คอมมิวนิสต์ กล่าวคือ เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต ทางด้าน
ตะวันออกอยูใ่ นความดูแลของรัสเซีย ส่วนทางด้านตะวันตกอยูใ่ นความ
ดูแลของสหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส ขณะทีน่ ครดานซิกและป
รัสเซียตะวันออกตกเป็นของโปแลนด์
640/665

ชาวเยอรมนีที่อยู่ต่างแดนจะถูกส่งกลับคืนเยอรมนี กรุงเบอร์ลินถูก
แบ่ง ออกเป็น 4 เขต เช่นกันและอยู่ในความคุ้มครองของ 4 มหาอำนาจ
พรรคนาซีถูกพิจารณาโทษว่าเป็นอาชญากรสงคราม
ส่วนญี่ปุ่นนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ให้สหรัฐอเมริกาเข้ายึดครอง
ทั้งนี้เพราะ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ลงทุนในการทำสงครามกับญี่ปุ่นมาโดย
ตลอด โดยได้มีการตั้งองค์กรสำคัญขึ้นมาควบคุมดูแลได้แก่
กองบัญชาการสูงสุดสำหรับมหา อำนาจพันธมิตร มีชื่อย่อว่า SCAP โดย
มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดคือ นายพลดักลาส แมคอาเธอร์ องค์กรนีเ้ ป็น
คณะบุคลากรขนานใหญ่อันประกอบด้วยฝ่ายพลเรือนและทหาร โดยมี
เป้าหมายคือเพื่อเข้าไปควบคุมและสร้างให้ญี่ปุ่นเป็นรัฐปลอดทหาร การ
ลงโทษอาชญากรสงคราม และการสร้างระบอบประชาธิปไตย
โดยองค์กรนี้ได้ดำเนินการสร้างญี่ปุ่นให้เป็นรัฐปลอดทหาร โดยการ
ทำลายกำลังแสนยานุภาพญี่ปุ่นเป็นขั้นตอน ที่สำคัญคือ การทำลาย
กองทัพ อาวุธยุทโธปกรณ์ ยุบหน่วยราชการทหาร สลายกำลังพลที่มอี ยู่
กว่า 2 ล้านให้คืนถิ่นเกิดจนหมด และอพยพทหารอีกกว่า 3 ล้านคนใน
ดินแดนโพ้นทะเลที่ญี่ปุ่นยึดครองอยู่กลับประเทศและปลดประจำการ
ดินแดนที่ญี่ปุ่นได้ครอบครองได้คืนแก่เจ้าของเดิมหมด ที่สำคัญคือ
หมู่เกาะริวกิวและคูรลิ มีการลงโทษอาชญากรสงครามอย่างต่อเนื่องโดย
ผู้ต้องหา รายสำคัญจะถูกส่งไปพิจารณาคดีที่ศาลระหว่างประเทศ และ
ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม
641/665

องค์การสหประชาชาติกับสงครามเย็น
นับเป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่
1 ผู้ชนะในสงครามครั้งนั้นได้จัดตั้งองค์กรสันติภาพขึ้นในนามของ
“สันนิบาตชาติ” และหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศ
ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ก่อตั้งองค์การ สหประชาชาติขึ้น เมื่อวันที่ 24
ตุลาคม 1945 ด้วยความพยายามที่จะรักษาสันติภาพทั่วโลก อีกหน
ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มิได้เปลี่ยนแปลงพรมแดนของประเทศ
ใดประเทศหนึ่งมากนัก ไม่มีชาติใดสิ้นสภาพหรือเกิดรัฐขึ้นมาใหม่ในระยะ
แรกผู้ชนะสงครามได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพลเรือนแทนการ
เปลี่ยนแปลงพรมแดน ซึ่งก็ได้ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมแก่ชาวเยอรมันใน
สหภาพโซเวียตและ ชาวญี่ปุ่นในสหรัฐอเมริกา
ต่อมา สันติภาพที่เพิ่งจะได้มาก็ได้ก่อให้เกิดความยุ่งยาก มีหลาย
ปัญหา ที่ยังไม่ได้สะสาง และความต้องการของนานาประเทศต่างขัดแย้ง
กันเอง ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียต
ได้เสื่อมลงตั้งแต่ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จะจบลงแล้ว และชาติ
มหาอำนาจแต่ละฝ่ายต่าง ก็เริ่มการขยายอิทธิพลของตนเองอย่างรวดเร็ว
ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น ด้วย
ความพยายามที่จะรักษาสันติภาพทั่วโลก โดยมีผลอย่างเป็นทางการ เมื่อ
วันที่ 24 ตุลาคม 1945 และปรับใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ในปี 1948อัน เป็นมาตรฐานสามัญซึ่งทุกชาติสมาชิกจะต้องบรรลุความ
642/665

สัมพันธ์ระหว่างสัมพันธ มิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียตได้เสื่อมลง
ตั้งแต่ก่อนทีส่ งครามโลกครั้งที่ 2 จะจบลงแล้วและชาติอภิมหาอำนาจ
แต่ละฝ่ายต่างก็เริ่มสร้างเขตอิทธิพลของตนเองอย่างรวดเร็ว
ทวีปยุโรปได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ด้วยอิทธิพลของ
ฝ่ายสัมพันธมิตร ตะวันตกและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า
“ม่านเหล็ก” ซึ่งได้ลากผ่านประเทศเยอรมนีและประเทศออสเตรีย
สหภาพโซเวียตได้สร้างค่ายตะวันออกขึ้น โดยการผนวกดินแดนหลาย
ประเทศซึ่งถูกยึดครองอยู่ในลักษณะของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ซึ่ง
เดิมจะต้องผนวกรวมเข้ากับเยอรมนี ตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาโมโลตอ
ฟ-ริบเบนทรอพ อย่างเช่น โปแลนด์ตะวันออก
643/665

บรรยากาศการประชุมสหประชาชาติในปี 1946 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

รัฐบอลติกทั้งสาม บางส่วนของฟินแลนด์ตะวันออก และโรมาเนีย


ตะวันออกเฉียงเหนือส่วนรัฐอื่นที่สหภาพโซเวียตยึดครองในระหว่าง
สงครามก็ถูกเปลี่ยนเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต อย่างเช่น
สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนฮังการีสาธารณรัฐ
สังคมนิยมสโลวัก สาธารณรัฐประชาชนโรมาเนีย สาธารณรัฐประชาชน
อัลเบเนีย และเยอรมนีตะวันออกภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต
ในทวีปเอเชีย สหรัฐอเมริกาได้เข้ายึดครองญี่ปุ่น และดำเนินการ
ปกครอง หมู่เกาะต่างๆ ของญี่ปุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก
644/665

ขณะทีส่ หภาพโซเวียตก็เข้ายึดครองหมู่เกาะซาฮาลินและหมู่เกาะคูรลิ ส่วน


เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นนั้น ก็ถูกแบ่งแยกและถูกยึดครองโดย
สองขั้วอำนาจ จากความตึงเครียดทีเ่ พิ่มมากขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและ
สหภาพโซเวียต ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งพันธมิตรนาโต้ และทาง
สหภาพโซเวียตก็ได้ก่อตั้งสนธิสัญญาวอร์ซอขึ้น
ทั้งสององค์กรทางทหารนี้อาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นไม่นาน เกิดเหตุการณ์เกาหลีเหนือ
รุกราน เกาหลีใต้ขึ้น ระหว่างเกาหลีเหนือซึ่งได้รับการหนุนหลังโดยจีนและ
สหภาพโซเวียต กับเกาหลีใต้ภายใต้ความช่วยเหลือของสหประชาชาติ ซึ่ง
ทึส่ ุดแล้วจบลง ด้วยการเสมอกันและสัญญาหยุดยิง หลังจากนั้น ผู้นำเกา
เหลีเหนือ คิม อิล ซุง ได้สร้างรูปแบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้าสู่
ศูนย์กลางอย่างมาก รวมทั้งก่อให้เกิดลัทธิบูชาบุคคลอันน่าเกรงขาม
หลายประเทศซึ่งถูกชาติตะวันตกยึดครองเป็นอาณานิคม ได้
ประกาศเอกราชและแยกตัวออกมาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากความสูญเสีย
ทรัพยากรของชาติตะวันตก ทำให้อิทธิพลจากภายนอกอ่อนแอลง โดยการ
แยกตัวดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างสันติในหลายประเทศ ยกเว้นในเวียดนาม
มาดากัสการ์ อินโดนีเซีย และอัลจีเรีย ในอีกหลายพื้นที่ในโลก ทำให้เกิด
เป็นประเทศใหม่ขึ้นมามากมาย ด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรมและศาสนา
การประกาศเอกราชทีโ่ ดดเด่นมาก คือ ปาเลสไตน์ในอาณัติอังกฤษ อันนำ
645/665

ไปสูก่ ารก่อตั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ และในอินเดียก็เกิดการแตกออก


เป็นสองประเทศ คือ อินเดียและปากีสถาน
ส่วนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พบว่าใน
หลาย ประเทศมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น เยอรมนี
ตะวันตก อิตาลี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และญี่ปุ่น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาที่มีผลผลิตทางอุตสาหกรรมคิดเป็น
ครึ่งหนึ่งของโลก โดยรวมแล้ว เศรษฐกิจโลกได้ฟื้นคืนกลับมาเหมือนก่อน
สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประมาณปี 1953 ---
15

บทสรุปสงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในยุโรปและทั่วโลกตั้งแต่ปี
1939-1945 ว่ากันว่ามีผลสะท้อนมาจากนโยบายการต่างประเทศของ
บรรดาประเทศมหาอำนาจในยุโรป
สงครามเริ่มต้นจากการรุกรานของฮิตเลอร์ ในปี 1938 และ 1939
เยอรมันและฝ่ายอักษะอาจจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ หากว่า ไม่เปิดแนวรบ
จนกว้างเกินไป และทีส่ ำคัญคือหากไม่เปิดศึกกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งนั้น
นำมาสู่หายนะของฝ่ายอักษะในที่สุด
มีอีกหลายเรื่องหลายประเด็นที่เรายังไม่ได้กล่าวถึงโดยเฉพาะกรณี
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้น
การล้างชาติพันธุ์โดยนาซีได้สังหารชาวยิวในทวีปยุโรปเป็นจำนวน
อย่าง น้อย 6 ล้านคน รวมไปถึงเชื้อชาติอื่นๆ อีกที่ถูกพวกนาซีลง
ความเห็นว่าเป็นพวกที่ “ไม่คู่ควร” หรือ “ต่ำกว่ามนุษย์” (รวมไปถึงผู้ที่
647/665

ทุพพลภาพ ผูท้ ี่มีอาการป่วยทางจิต เชลยสงครามโซเวียต พวก


รักร่วมเพศ สมาคมฟรีเมสัน ผูน้ ับถือลัทธิพยานพระเยโฮวาห์และชาว
ยิปซี) โดยเป็นส่วนหนึ่งของถอนรากถอนโคนอย่าง จงใจ และได้รับการ
ดำเนินการโดยรัฐบาลฟาสซิสต์นาซี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มีกรรมกร
และคนงานราว 12 ล้านคน-โดยส่วนมากมาจากยุโรปตะวันออก-ได้ถูก
ว่าจ้างให้มาทำงานให้เศรษฐกิจสงครามของนาซีเยอรมนี

คอกจำเลยในคดีอาชญกรสงคราม การไต่สวนคดีที่นูเรมเบิร์กประเทศเยอรมนี หลังสิ้นสุด


สงครามโลกครั้งที่ 2

นอกเหนือจากค่ายกักกันของนาซีแล้ว ยังมีค่ายกูลัก หรือค่าย


แรงงานของสหภาพโซเวียต ซึ่งได้นำไปสูค่ วามตายของพลเรือนจำนวนมาก
648/665

ในดินแดน ยึดครองของฝ่ายนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียต ได้แก่


โปแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย รวมไปถึงเชลยสงครามของ
เยอรมัน และยังมีชาวโซเวียต บางส่วนที่คาดว่าเป็นผู้สนับสนุนของฝ่ายนา
ซี
จากหลักฐานพบว่าเชลยสงคราม ของโซเวียตกว่า 60% ของทั้งหมด
ได้ เสียชีวิตระหว่างสงคราม เชลยศึกโซเวียต ที่รอดชีวิตและหลบหนีเข้าสู่
มาตุภูมิ จะถูกตราหน้าว่าเป็นคนทรยศ
ค่ายเชลยสงครามของญี่ปุ่นเองก็มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และยัง
มีการตั้งเป็นค่ายแรงงาน ภายหลังจากการตัดสินของศาลทหารพิเศษ
นานาชาติ แห่งภาคพื้นตะวันออกไกล (เดิมชื่อ ศาลพิเศษโตเกียว) ได้
ลงมติว่าอัตราการเสียชีวิตของเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรคิดเป็น 27.1%
(ในจำนวนนี้เป็นทหารสหรัฐอเมริกา 37%) คิดเป็นเจ็ดเท่าของอัตรา
เดียวกันของค่ายแรงงานของนาซี เยอรมนีและอิตาลี แต่จำนวนดังกล่าว
นั้นมีสูงมาก โดยเฉพาะกับเชลยสงคราม ชาวจีน
649/665

นายพลโตโจ ถูกไต่สวนคดีอาชญากรสงครามในปี 1948

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารสหราชอาณาจักรได้รับการ
ปล่อยตัว 37,853 นาย ทหารเนเธอร์แลนด์ 28,500 นาย ทหาร
สหรัฐอเมริกา 14,473 นาย แต่พบว่าทหารจีนถูกพบว่าได้รับการปล่อยตัว
เพียง 56 นาย
อ้างอิงจากการศึกษาร่วมกันของนักประวัติศาสตร์ ได้สรุปว่า มีชาว
จีนมากกว่า 10 ล้านคนถูกเกณฑ์โดยกองทัพญี่ปุ่น และถูกใช้แรงงาน
อย่างทาส เพื่อวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ทั้งในแมนจูกัวและทาง
ภาคเหนือของประเทศจีน
650/665

ห้องสมุดรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ประมาณว่าในเกาะชวาว่าชาว
อินโดนีเซียกว่า 4 ถึง 10 ล้านคนต้องถูกบังคับให้ทำงานแก่กองทัพญี่ปุ่น
ระหว่าง สงคราม ชาวอินโดนีเซียบนเกาะชวากว่า 270,000 คนได้ถูกส่งไป
ทำงานในดินแดนที่ญี่ปุ่นยึดครองอยู่ในเอเชียอาคเนย์ ซึ่งมีเพียง 52,000
คนเท่านั้นที่สามารถกลับคืนสู่ถิ่นเดิมได้ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1942
ประธานาธิบดีรูสเวลต์ได้ลงนามในแผนการหมายเลข 9066 ซึ่งได้ทำการ
กักตัวชาวญี่ปุ่น ชาวอิตาลี ชาวเยอรมัน และผู้อพยพบางส่วนจากหมู่เกาะ
ฮาวาย ซึ่งหลบหนีหลังจากการโจมตีที่ฐานทัพเรือเพิร์ล ฮาเบอร์ ในช่วง
เวลาระหว่างสงครามเป็นจำนวนมาก โดยตัวเลขของชาวญี่ปุ่นซึ่งถูกกักตัว
โดยสหรัฐอเมริกาและแคนาดา มีจำนวนกว่า 150,000 คน รวมไปถึงชาว
เยอรมันและชาวอิตาลีซึ่งอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาเกือบ 11,000 คน
ขณะเดียวกัน ก็การใช้แรงงานโดยฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นกัน
ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในดินแดนตะวันออก อย่างเช่นในโปแลนด์ แต่ยัง
มีผู้ใช้แรงงานอีกกว่าล้านคนในตะวันตก ในเดือนธันวาคม 1945 หลักฐาน
ของฝรั่งเศสได้ระบุว่ามีเชลยสงครามชาวเยอรมันกว่า 2,000 คน ตายหรือ
พิการทุกเดือนในการอุบัติเหตุจากการเก็บกวาดทุ่นระเบิด
นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์ต่างๆ อันกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความ
น่าหวาดเกรงต่อโลกอีกมาก โดยเฉพาะสงครามที่เริ่มใช้อาวุธเคมีและอาวุธ
เชื้อโรค
651/665

แม้จะมีสนธิสัญญาระหว่างชาติที่คัดค้านต่อการใช้ก๊าซพิษของญี่ปุ่น
และกองทัพแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ใช้อาวุธเคมีหลายครั้ง ซึ่งถูกลงนามโดย
สันนิบาตชาติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1938 แล้วก็ตาม แต่ว่ายังได้มกี าร
ใช้ก๊าซพิษและอาวุธชีวภาพกับพลเรือนชาวเอเชียซึ่งถูกมองว่า “ต่ำกว่า”
ตามคำ โฆษณาของกองทัพญี่ปุ่น และจากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์
พบว่าการจะใช้อาวุธเคมีจะต้องมีคำสั่งโดยตรง (rinsanmei) จากสมเด็จ
พระจักรพรรดิฮโิ รฮิโตะเท่านั้น ดังตัวอย่างเช่นพระองค์ได้ทรงอนุญาตให้มี
การใช้ก๊าซพิษกับค่าย 375 ระหว่างยุทธการอู่ฮั่น ระหว่างเดือนสิงหาคม
จนถึงเดือนตุลาคม 1938ทางด้านอิตาลีก็ได้มีการใช้ซัลเฟอร์มัสตาร์ด
ระหว่างการทัพในเอธิโอเปีย
ส่วนอาวุธเชื้อโรคก็ได้ถูกทดลองกับมนุษย์ภายในค่ายกักกันของ
กองทัพแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ดังเช่นภายในค่าย 731 และ
ได้ถูกรวบรวม โดยพระราชกฤษฎีกาภายในกองทัพกุนทวงในปี 1936
อาวุธเหล่านี้ถูกใช้อย่าง แพร่หลายภายในจีน และทหารผ่านศึกชาวญี่ปุ่น
บางคน ก็ได้ใช้กับทหารมองโกเลียและทหารโซเวียตช่วงปี 1939 ระหว่าง
ยุทธการคัลคนิน กอล และตามหลักฐานของออสเตรเลียได้ระบุไว้ว่ามีการ
ทดลองก๊าซไซยาไนด์กับเชลยสงครามชาวออสเตรเลียและชาวดัตช์ระหว่าง
เดือนพฤศจิกายน 1944 บนหมู่เกาะไค
นับตั้งแต่ปี 1945 ถึง 1951 มีนายทหารเยอรมันและญี่ปุ่นจำนวน
มากได้ถูกดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมสงคราม โดยถูกตั้ง
652/665

ข้อหาว่าได้ก่ออาชญากรรมต่อต้านสันติภาพ ก่ออาชญากรรมต่อมวล
มนุษยชาติ การทำสงครามเพื่อการรุกราน และข้อหาอื่นๆ นายทหารอาวุโส
เยอรมันจำนวนมากได้หลบหนีขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรมีการพิจารณาจำเลย
นูเรมเบิร์ก และนายทหารญี่ปุ่นในศาลทหารพิเศษนานาชาติแห่งภาคพื้น
ตะวันออกไกล รวมไปถึงอาชญากรรมอื่นๆ ในเขตเอเชียและมหาสมุทร
แปซิฟิก ส่วนนายทหารชั้นผู้น้อยลงมาก็ถูกตัดสินว่าผิดในข้อหาที่เบาลงมา
แต่กลับไม่มีการให้ความสำคัญกับการละเมิดกฎหมายนานาชาติกับ
ฝ่ายสัมพันธมิตรใดๆ เลย รวมไปถึง อาญชากรสงครามฝ่ายสัมพันธมิตร
และการทิ้งระเบิดตามหัวเมืองสำคัญของฝ่ายอักษะ หรือสหภาพโซเวียตใน
ยุโรปตะวันออก
สงครามครั้งนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ แต่ว่าชาติตะวันตกใน
ทวีป ยุโรปก็อ่อนกำลังลงอย่างมาก ส่งผลให้สหรัฐอเมริกากับ
สหภาพโซเวียตกลายเป็นประเทศมหาอำนาจและนำไปสู่สงครามเย็นที่
ดำเนินต่อมาอีก 45 ปี สหประชาชาติได้รับการสถาปนาขึ้น ด้วยความหวัง
ว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งเช่นที่เกิดขึ้นนี้ได้อีก ภายหลัง
สงครามมีการเคลื่อนไหวในทวีปเอเชียและแอฟริกาเพื่อเรียกร้องเอกราช
จากการตกเป็นอาณานิคมของประเทศในยุโรป ขณะเดียวกัน
ยุโรปตะวันตกได้พยายามรวมตัวกัน ดังจะเห็น ได้จากการก่อตั้งสหภาพ
ยุโรป เป็นต้น
653/665

เมื่อพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้ว สำหรับโลกเรา บทเรียนความ


เจ็บปวด ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีมากมายเสียจนยากทีจ่ ะหลงลืมกันไป
ได้ กระนั้นทุกคนต่างก็ยังไม่มใี ครเชื่อมั่นได้ว่า สงครามครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะ
ยิ่งกว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 จะไม่เกิดขึ้นมาอีก ---
บทเสริม ไทยกับสงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามของทุกคน คือความจริงที่ไม่อาจ


ปฏิเสธ ได้ว่ากันว่าสงครามครั้งนี้ขยายตัวไปในวงกว้างที่สุดเท่าที่เคยมีมา
เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น ไทยหรือสยามในเวลานั้นเข้าร่วมก็
ต่อ เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังจะชนะ เราจึง
ประกาศเข้าร่วม สงครามและเสนอตัวส่งทหารเข้าไปช่วยรบในยุโรป แต่ใน
ประเทศไทยเองกลับ ไม่ได้มีการสู้รบกันแต่อย่างใด
แต่สำหรับสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากทีม่ ันปะทุขึ้นในยุโรปแล้ว
ไทยเราก็ได้แต่วางตัวเป็นกลางในระยะแรก ทั้งนี้เพราะเราเองก็ยังไม่แน่ใจ
และยังไม่ใช่หน้าที่ที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามของคนอื่นเขา
หากแต่ด้วยว่ามันคือสงครามโลกที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ต่อเมื่อ
ญี่ปุ่น ยกพลขึ้นบกของไทยเรา ไทยก็เหมือนกับถูกชักจูงมือให้เข้าร่วมใน
สงครามครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้ในที่สุด
เส้นทางการโจมตีประเทศไทยของญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพา
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอา
นันทมหิดล จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยอยู่
655/665

ภายใต้การปกครอง ของรัฐบาลทหาร ลัทธิชาตินิยมได้ถูกปลูกฝังในใจ


ของประชาชนไทย
วันที่ 8 ตุลาคม 1940 (พ.ศ. 2483) คณะนิสิตและนักศึกษาได้เดิน
ขบวนและเรียกร้องให้รัฐบาลเรียกร้องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนจาก
ฝรั่งเศส ซึ่งเสียไปหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 จากการสนับสนุนอย่าง
ท่วมท้นของประชาชนไทย รัฐบาลจึงได้ส่งกองทัพข้ามแม่น้ำโขงไปโจมตี
ประเทศลาวและกัมพูชา ซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส
การรบที่เป็นที่กล่าวขานมาก คือ ยุทธนาวีเกาะช้าง ซึ่งก็ทำให้เรือรบ
ฝรั่งเศสไม่กล้าเข้ามาใน อ่าวไทยอีก การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป
จนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นผู้เข้ามาเป็นผูไ้ กล่เกลี่ยในการเจรจาสงบศึก และ
ภายหลังสงครามไทย-ฝรั่งเศสสิ้นสุดเมื่อปี 1941 พ.ศ. 2484
ไทยก็ได้ดินแดนเพิ่มเข้ามาอีก 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครจัมปาศักดิ์
จังหวัดลานช้าง จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบอง เหตุการณ์
ครั้งนี้ภายหลังได้ชื่อว่า “กรณีพิพาทอินโดจีน”
หลังสงคราม ได้เป็นที่คาดหมายว่า ญี่ปุ่นจะตราทัพเข้าสูไ่ ทยใน
อนาคต รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงมีการรณรงค์ให้ประชาชน
ทำงาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเสริมสร้างเศรษฐกิจ โดยมีคำขวัญว่า “งาน
คือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” และรัฐบาลยังได้เปิดเพลงปลุกใจซึ่งถูก
กระจายเสียงโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
656/665

วันที่ 8 ธันวาคม 1941 (พ.ศ. 2484) กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยก


พลขึ้นบกในหลายจังหวัดของภาคกลางและภาคใต้ แต่ก็ได้รับการต้านทาน
อย่างหนัก ของทหารไทยและยุวชนทหาร ทางด้านรัฐบาลได้รับคำขูจ่ าก
อัครราชทูตญี่ปุ่นให้เปิดดินแดน เนื่องจากมองเห็นว่ากองทัพไทยไม่อาจ
ต้านกองทัพญี่ปุ่นไว้ได้นาน จึงยอมยุติการต่อสูเ้ มื่อวันที่ 11 ธันวาคม และ
ได้ตกลงลงนามร่วมเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ณ
อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาส-ดาราม
ขณะเดียวกัน ในต่างประเทศ มีผู้ทไี่ ม่อาจยอมรับต่อการตัดสินใจ
ของรัฐบาล หนึ่งในนั้น คือ มรว.เสนีย์ ปราโมช ได้ประกาศขบวนการ
เสรีไทยขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม เนื่องจากท่านมีความเห็นว่า
สหรัฐอเมริกามีขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูงกว่า
ทางด้านในประเทศเองก็มีบุคคลจากคณะราษฎรภายในประเทศไทยที่
ดำเนินการต่อต้านญี่ปุ่นในทางลับ เช่น ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งต่อมาได้เกิด
เป็นขบวนการเสรีไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทางด้านฝ่ายสัมพันธมิตรก็เริ่มเข้ามาทิ้งระเบิดภายในพระนครเมื่อ
ย่างเข้าปี 1942 (พ.ศ. 2485) หลังจากนั้น รัฐบาลไทยก็ประกาศสงคราม
กับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 1942 (พ.ศ. 2485)
657/665

ประกาศขายชะลอกข้าว สมัจอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที2่

หลังจากญี่ปุ่นได้ยอมจำนนเมื่อ 15 สิงหาคม 1945 (พ.ศ. 2488)


นายควง อภัยวงศ์ ซึ่งได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล
ป.พิบูลสงคราม ได้ออก “ประกาศสันติภาพ” มีผลให้การประกาศสงคราม
ของไทยต่อฝ่ายสัม- พันธมิตรเป็นโมฆะ ทำให้ประเทศไทยไม่ตกอยูใ่ น
ฐานะผูแ้ พ้สงคราม แต่ทางฝ่ายอังกฤษไม่ยอมรับ และเรียกร้องสิทธิจาก
658/665

ไทยในฐานะของผู้แพ้สงครามนายควง อภัยวงศ์ได้ลาออกจากเก้าอี้
นายกรัฐมนตรี และร้องขอให้ มรว.เสนีย์ ปราโมชขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
แทน ด้าน มรว.เสนีย์ก็สามารถเจรจากับอังกฤษ และสามารถตกลงกันได้
ในที่สุด
เป็นอันว่า แม้เริ่มต้นไทยเราจะเป็นฝ่ายอักษะแต่ด้วยกลยุทธ์ทางการ
ทูต และด้วยความหวังดีของคนอีกกลุ่มหนึ่งในนาม “เสรีไทย” สุดท้ายก็
ทำให้เราสามารถก้าวฝ่าข้ามวิกฤตครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
โลกไปได้อย่างสวยงามและกล่าวขานถึงจนวันนี้ ---
เชิงอรรถ

[1] ในหนังสือเล่มนี้จะใช้คำว่า "รุสเซีย" เมื่อหมายถึงจักรวรรดิ


รุสเซีย ที่ยังคงปกครองประเทศโดยระบอบราชาธิปไตย และจะใช้คำว่า
"รัสเซีย"หรือสหภาพโซเวียต เมื่อหมายถึงประเทศรัสเซียที่เปลี่ยนแปลงการ
ปกครองมาใช้ระบอบคอมมิวนิสต์แล้ว
[2] ปัญหาของรุสเซียและออสเตรียในคาบสมุทรบอลข่านที่ว่านี้ เกิด
ขึ้นเมื่อปี 1875 เมื่อบอสเนีย เฮอร์เซโกวินา และบัลแกเรียซึ่งตั้งอยู่บน
คาบสมุทรบอลข่าน แต่เวลานั้นอยูภ่ ายใต้การปกครองของตุรกี(ออตโต
มัน)ได้ก่อการกบฏขึ้นมา ทำให้รุสเซียฉวนโอกาสที่เกิดความวุ่นวายขึ้นมา
ในครั้งนั้นประกาศสงครามกับตุรกีในปี 1877 และตุรกีก็เป็นฝ่ายปราชัย
จำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพซานสเตฟานโน เมื่อปี 1878 กับ
รัสเซีย ซึ่งเงื่อนไขในสัญญาฉบับนี้เปิดโอกาสให้รุสเซียสามารถขยาย
อิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรบอลข่านอย่างมหาศาล ทำให้ออสเตรียตกใจ
ทั้งนี้เพราะออสเตรียมีนโยบายที่จะขยายอำนาจไปทางคาบสมุทรบอลข่าน
เหมือนกัน อังกฤษเข้าสนับสนุนออสเตียเพราะต้องการใช้ออสเตรียกัน
ผลประโยชน์ของตัวเองในตะวันออกกลาง และอังกฤษยังสนับสนุนฝ่าย
ตุรกีอีกด้วย ทำให้ออสเตรียเสนอกับรุสเซียให้มีการแก้ไขในสนธิสัญญา
660/665

สเตฟาโนขึ้น ซึ่งสุดท้ายรุสเซียก็จำต้องยอม ทั้งนี้เพราะบิสมาร์กของ


เยอรมันในเวลานั้นกลับวางตัวเป็นกลาง
[3] การรวมเอาอิตาลีเข้ามาเป็นอีกหนึ่งประเทศนั้น ในเวลานั้นถือ
กันว่าเป็นเรื่องที่แปลกมากทั้งนี้เพราะ อิตาลีกับออสเตรียนั้นนับเป็นคู่แค้น
กันมาอย่างยาวนานในหน้าประวัติศาสตร์ไม่น่าจะสามารถรวมเข้ากันได้
แต่ก็เกิดขึ้นมาแล้ว การที่สามารถเข้าร่วมเป็นไตรมิตรได้นั้นก็เพราะเหตุผล
ทีซ่ ับซ้อนซึ่งพอจะสรุปอย่างย่อได้ดังนี้ ในการประชุมคองเกรสแห่งเบอร์
ลิน ค.ศ.1878 นั้นฝรั่งเศสโกรธว่าอังกฤษได้เกาะไซปรัส ไป ทำให้บิ
สมาร์กและรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษต้องเอาใจฝรั่งเศสโดยการ
สนับสนุนให้ฝรั่งเศสยึดเอาตูนิสซึ่งเวลานั้นอยู่ใต้อำนาจของตุรกี
เหตุการณ์นที้ ำให้อิตาลีตกใจอย่างมาก ทั้งนี้เพราะตูนิสตั้งอยูท่ างฝั่งเหนือ
ของทวีปแอฟริกาตรงข้ามกับอิตาลี่พอดี ดังนั้นหากฝ่ายที่ครองตูนิสไม่
พอใจอิตาลีกส็ ามารถโจมตีอิตาลี่ได้สะดวกทันที ดังนั้นเมื่อฝรั่งเศสเข้า
ยึดครองตูนิสอิตาลี่จึงต้องหันเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับเยอรมันทันที บิ
สมาร์กจึงฉวยโอกาสนี้แนะให้อิตาลีปรองดองกับออสเตรีย ทำให้เกิด
สนธิสัญญาพันธไมตรีไตรมิตรขึ้นในที่สุด
[4] สงครามโบเออร์ เกิดจากพวกดัตช์เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่แหลมกู๊ดโฮ
ปนับแต่ปี 1652 ครั้นถึงปี 1795 กองกำลังของอังกฤษก็เดินทางมาถึง
จากนั้นในศตวรรษที่ 19 ทั้งอังกฤษและฮอลันดาต่างก็เริ่มขยายอาณานิคม
ของตนในภูมิภาคนี้ จนกระทั่งปี 1879 อังกฤษก็เริ่มแผ่ขยายดินแดน
661/665

ครอบครองดินแดนของพวกโบเออร์ พวกโบเออร์ นำโดยครูเกอร์ นำ


พลพรรคเข้าต่อต้านอังกฤษ ในปี 1880 นับเป็นสงครามโบเออร์ครั้งแรก
การรบในดินแดนแห่งนี้ระหว่างอังกฤษกับพวกโบเออร์ ดำเนินมาจนถึงปี
1902 จึงยุติลงด้วยการเจรจาสงบศึก.
[5] ในช่วง ค.ศ 1876 กลุ่มปัญญาชนในอาณาจักรออตโดมัน ซึ่ง
เรียกตนว่า เติร์กหนุ่ม (Young turks)ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มกี าร
ปฏิรูปการเมือง และได้บีบให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 พระราชทาน
รัฐธรรมนูญฉบับแรก เปลี่ยนแปลงการปกครองอาณาจักรออตโตมันมา
เป็นระบบรัฐสภาโดยมีสุลต่านเป็นประมุขเป็นครั้งแรก รัฐธรรมนูญ
ดังกล่าวประกาศใช้ได้เพียงปีเดียว ในปี 1877 สุลต่านอับดุลฮามิด ที่ 2ได้
ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว ส่งผลให้ในปี 1908 กลุ่มเติร์กหนุ่มได้
ก่อการปฏิวัติบีบบังคับให้สุลต่านอับดุลฮามิด ที่2 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
อีกครั้ง ต่อมาสุลต่านพระองค์นี้ได้ถูกปลดออกจากพระราชอำนาจ สุลต่าน
เมห์เมตที่ 5 ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อมาไม่มพี ระราชอำนาจทรงเป็นเพียงหุ่น
เชิดของกลุ่มเติร์กหนุ่มเท่านั้น อันวาร์ ปาชา ผู้นำเติร์กหนุ่มได้รวบอำนาจ
ปกครองประเทศไว้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และในปี 1914 ได้นำประเทศ
เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับฝ่ายเยอรมัน
[6] อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย มีพระนามเต็มว่า
ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ คาร์ล ลุดวิก โจเซฟ (Franz Ferdinand Karl
662/665

Ludwig Joseph von Habsburg-Lothringen) ทรงเป็นโอรสของ


อาร์คดยุคคาร์ล ลุดวิก
อาร์คดยุคคาร์ล ลุดวิก ทรงเป็นพระโอรส และพระราชบุตรองค์ที่ 3
ในอาร์คดยุคฟรานซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย (พระราชโอรสในสมเด็จพระ
จักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) และเจ้าหญิงโซฟีแห่งบาวา
เรีย เมื่อทรงพระเยาว์ อาร์คดยุคฟรานซ์ โจเซฟ พระเชษฐาของพระองค์
ได้ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ทำให้
พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทอันดับที่ 1 แห่งจักรวรรดิออสเตรีย (อาร์คดยุค
เฟอร์ดินานด์ แม็กซีมเี ลียน พระเชษฐาไม่ได้ทรงอยูใ่ นลำดับการสืบ
สันตติวงศ์ เพราะว่าทรงไปเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก) แต่เมื่อ
อาร์คดยุครูดอล์ฟ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟได้
ทรงประสูติ พระองค์ก็ทรงถูกเลื่อนไปอยูใ่ นลำดับ 2 ในลำดับการสืบ
สันตติวงศ์ แต่เมื่ออาร์คดยุครูดอล์ฟ ได้ทรงสิ้นพระชนม์กะทันหันด้วย
พระแสงปืน ทำให้พระองค์ได้ทรงถูกเลื่อนมาอยู่ในลำดับที่ 1 อีกครั้ง แต่
พระองค์ได้ทรงปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งองค์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิ
ออสเตรีย-ฮังการี โดยพระองค์ได้ทรงโอนมอบตำแหน่งองค์รัชทายาทให้
กับพระโอรสองค์โตของพระองค์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ดังนั้น
อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ก็ทรงดำรงตำแหน่งองค์รัชทายาทตั้งแต่วัน
นั้นเป็นต้นมา
663/665

อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ทรงเป็นอาร์คดยุคแห่งออสเตรีย-


เอสต์ ประมุขแห่งพระราชอิสริยยศออสเตรีย-เอสต์ ทรงเป็นเจ้าฟ้าชาย
แห่งฮังการีและโบฮีเมีย และองค์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
อีกด้วย โดยพระองค์ทรงเป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย ไม่มกี ารสถาปนา
อย่างเป็นทางการ พระองค์ทรงเป็นองค์รัชทายาทจวบจนกระทั่ง
สิ้นพระชนม์กระทันหัน โดยถูกลอบปลงพระชนม์โดยนักอนุรักษ์ชาติชาว
เซอร์เบีย ทีเ่ มืองซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาซึ่งขณะนั้น
ยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีอยู่ หลังจากพระองค์และ
พระชายาถูกลอบปลงพระชนม์นั้น ทำให้ออสเตรีย-ฮังการี
ประกาศสงครามกับเซอร์เบียในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทันที
[7] อบิสซิเนีย คือ ชื่อเรียกเดิมของประเทศ เอธิโอเปีย
[8] บลิทซครีก (Blitzkrieg) เป็นคำแผลง เป็นอังกฤษ ซึ่งอธิบาย
การโจมตีอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่
จะใช้ยานเกราะบุกเข้าโจมตีตามอย่างรวดเร็ว และสร้างความประหลาดใจ
ให้กับฝ่ายข้าศึก ทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะเตรียมการป้องกันใดๆ เลย
แนวคิดบลิทซครีกนั้นถูกพัฒนาโดยชาติต่างๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และ
ถูกนำออกมาใช้หลายปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเยอรมนีมาก
ที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำศึกยืดเยื้อ บลิทซครีกที่โดดเด่นใน
ประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงเวลาเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งทีส่ อง
@Created by PDF to ePub

You might also like